Creative Thailand Magazine

Page 1

ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นิตยสารคิด (Creative Thailand) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ


CREATIVE THAILAND I 2


CREATIVE THAILAND I 3


CREATIVE THAILAND I 4


CREATIVE THAILAND I 5

pexels.com

Samuel Beckett นักเขียนบทละครชือ่ ดังชาวไอร์แลนด์


Contents : สารบัญ

The Subject

6

The Unseen is Essential / Digital Sneak Peek / Northern Solution

Creative Resource 8

Insight 20 Try again. Fail again. Fail better.

Creative Startup 22

Featured Book / Books / Movie

Aging 4.0 สตาร์ทอัพพันธุ์ใหม่ ที่ไม่ได้มีแค่เจน Y กับ Z

Matter 10

Creative City

24

Local Wisdom

12

The Creative

28

Cover Story

14

Creative Will

34

Wearable Devices เพื่อนผู้ช่วยดูแลสุขภาพ

One-Hit Wonder เพียงครั้งเดียว แต่อยู่ในใจเสมอ

Begin with the Challenge ความพยายามแห่งการยืนหยัดในทศวรรษหน้า

Mexico City เมืองหลวงแห่งการออกแบบร่วมกัน

Diamond Grains ความสำ�เร็จจากบทเรียนความล้มเหลว

ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ สำ�หรับวัยกระโปรงบานขาสั้น

บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ที่ปรึกษา l ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, พัทธ์ธีรา จตุรงค์ศรีพัฒน์ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7400 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 6 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ภาพวาดสีปาสเตล ฝีมือจักรพันธุ์ โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ โดยได้รับอนุญาตจากมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต สงวนลิขสิทธิ์


thelowdownblog.com

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

ความพยายามที่จะขับเคี่ยวกับอนาคตของมนุษย์นั้น เป็นเรื่องราวอันน่า เหลือเชือ่ ทัง้ ความสำ�เร็จและความล้มเหลว มีหว้ งเวลาทีไ่ ด้สมั ผัสความยิง่ ใหญ่ และความสูญเสีย กระบวนการที่สังคมเลือกใช้ในการฝ่าฟันสู่อนาคตก็มีความ เข้มข้นแตกต่างกันจากการเปลี่ยนแปลงจนถึงการปฏิวัติ เราทุกคนในแต่ละ ช่วงวัย จึงต่างมีประสบการณ์เผชิญกับความท้าทายของอนาคตกันถ้วนทั่ว แต่กระนั้นก็ยังยากที่จะรับมือและเคยชิน แท้ที่จริง เรานั่นเองที่เป็นผู้สร้างความท้าทายขึ้น และก็ได้ทำ�ลายมันลง ด้วยการก้าวข้ามไปด้วยสติปัญญาและความรู้อันเฉียบแหลม เพราะเราหวัง ถึงสิ่งที่ดีกว่าและดีขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เราจึงค้นหาความสมบูรณ์แบบ ณ ห้วงเวลานั้น เราก้าวข้ามการปฏิวัติสังคมเกษตรกรรมมาสู่อุตสาหกรรม และ วิ่งฝ่าอนาคตด้วยระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต แต่ท่ามกลาง ความรุดหน้าทางนวัตกรรม ในอีกด้านหนึง่ กลับกลายเป็นว่าความหวังสูอ่ นาคต ของเรากำ�ลังต้อนเราให้จนมุม เมือ่ เร็วๆ นี้ ข้อมูลจาก International Labour Organization หรือ องค์การ แรงงานระหว่างประเทศเปิดเผยผลสำ�รวจสภาวะล่าสุดของมนุษย์ท�ำ งานในเอเชีย พบว่าแรงงานในเอเชียที่ต้องทำ�งานหนักนั้น จะทำ�งานอยู่ที่เฉลี่ย 49 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์ ซึง่ ตามค่าเฉลีย่ ชัว่ โมงทำ�งานตามมาตรฐานสากล ควรจะอยูท่ ี่ 8 ชัว่ โมง ต่อวัน หรือราว 44 ชัว่ โมงต่อสัปดาห์ และยังสรุปด้วยว่า การทำ�งานหนักไม่ได้ การันตีประสิทธิภาพและผลสำ�เร็จ เมื่อเทียบกับแรงงานในกลุ่มประเทศ สแกนดิเนเวีย ทีช่ ว่ั โมงทำ�งานน้อยแต่ประสิทธิภาพสูง สถิตทิ นี่ า่ ขมขืน่ นี้ มาพร้อม กับรายงานของซิตี้แบงก์ร่วมกับมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดที่คาดการณ์ถึงอาชีพ

ที่กำ�ลังจะไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์ และทำ�ให้ความเสี่ยงที่มนุษย์จะตกงาน โดยเปลี่ยนไปใช้ระบบออโตเมติกทำ�แทนได้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ พนักงานต้อนรับและให้ขอ้ มูล พนักงานร้านค้าปลีก เป็นต้น โดยเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ยังประเมินว่าจะมีอาชีพ 5 ล้านตำ�แหน่งที่เคยทำ�โดยมนุษย์ถูกทำ�ลาย ลงไปภายในปี 2020 ขณะที่ประเทศที่จะใช้หุ่นยนต์ทำ�งานแทนมนุษย์สูงมาก ที่สุดในอนาคตคือจีน ที่ผลสำ�รวจคาดการณ์ว่าจะใช้มากถึงร้อยละ 77 ความวิตกดังกล่าวไม่เกินความจริง เมื่อรายงานของสำ�นักข่าวไชน่าเดลี่ ตอกยํ้าว่า อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของจีนเติบโตอย่างรวดเร็วและได้มาตรฐาน มากยิ่งขึ้น องค์กรพันธมิตรอุตสาหกรรมหุ่นยนต์จีน หรือ ‘ซีอาร์ไอเอ’ ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จีนสามารถขายหุ่นยนต์ได้มากถึง 19,000 ตัว โดยถูกนำ� ไปใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุหบี ห่อ การเชือ่ ม และโรงงานประกอบอุปกรณ์ตา่ งๆ ทั้งนี้ 11 เดือนที่ผ่านมาของปี 2016 จีนสามารถผลิตหุ่นยนต์ได้แล้วถึง 64,000 ตัว มากกว่าปี 2015 ถึงร้อยละ 90 โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีโรงงาน อุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์เปิดใหม่เกือบ 3,000 แห่งในจีน ทุกครัง้ ของการเปลีย่ นแปลงสูอ่ นาคต จะมีบางส่วนถูกทิง้ ไว้เบือ้ งหลังเสมอ และดูเหมือนช่องว่างก็ขยายกว้างขึน้ ทุกที เมือ่ ใครสักคนประสบความสำ�เร็จใน การเอาชนะความท้าทายใหม่ๆ ดังนั้น ความหวังที่ไม่ควรถูกมองข้าม คือการ สร้างสรรค์นวัตกรรมเพือ่ ลดช่องว่างทางสังคม เพิม่ เครือ่ งมือและโอกาสในการ เข้าถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และการนำ�พาผู้คนก้าวไปสู่อนาคตใหม่ร่วมกัน เพราะความหวัง เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงจิตใจและสติปัญญา ทำ�ให้เรามุ่งมั่น และกระตุ้นให้เรามีพลังลงมือทำ� สวัสดีปีใหม่ครับ อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

CREATIVE THAILAND I 7


The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: สุวภัศร สุคนธบพิตร

Digital Sneak Peek จากสือ่ สิง่ พิมพ์สกู่ ารเติบโตของสือ่ ออนไลน์รปู แบบใหม่

จากความเชื่อที่ว่า “ไม่ว่าจะทำ�อะไร ถ้าเป็นสิ่งที่ชอบ ย่อมไปได้ไกลเสมอ” ทำ�ให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อการท่องเที่ยวน้องใหม่ “LocalPillow.com” ที่ พัฒนาและขับเคลื่อนโดยฝีมือคนไทยอย่างวินัย ณัฏฐาชัย และนพเดช เตยะราชกุล เติบโตขึ้น พร้อมแรงสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กับบทบาทการเป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่างนักเดินทางและผู้ประกอบการ ธุรกิจที่พักอาศัยแบบพื้นถิ่น ให้เข้าถึงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก่อนจะกลายมาเป็นธุรกิจที่ว่านี้ ทั้งสองคนได้เรียนรู้ปัญหาจาก ความล้มเหลวมาก่อนด้วยธุรกิจลักษณะใกล้เคียงกัน “GoYeppey.com” ด้วยเพราะฟังก์ชันการใช้งานที่ไม่พอดีและเหมาะสมมากพอสำ�หรับผู้ใช้บน ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ทำ�ให้โมเดลธุรกิจไม่แข็งแรงและเป็นอันต้องปิดตัวลง ในเร็ววันนี้ ซึ่งทำ�ให้ทั้งคู่ได้พัฒนาธุรกิจใหม่ควบคู่กับความเชื่อเดิม และ มองหาโอกาสจากการจับเอาช่องโหว่ของธุรกิจชื่อดังอย่าง AirBnB.com, Agoda.com และ Booking.com มาเป็นโอกาส นั่นคือการที่ธุรกิจเหล่านั้น ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นพื้นถิ่นได้อย่างแท้จริง นักเดินทางแบบสะพาย กระเป๋าที่ต้องการสัมผัสเสน่ห์พื้นถิ่นต้องผิดหวังบ่อยครั้งจากการเข้าถึง สิ่งเหล่านั้นได้ยาก จากการต้องพักอาศัยในตัวเมืองอย่างเลือกไม่ได้ จนเกิด เป็นไอเดียทางธุรกิจดังกล่าวขึ้น ปัจจุบันเป็นเวลา 3 เดือนแล้วที่ LocalPillow.com ได้รับการตอบรับที่ ดีมากจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนทั้งในและต่างประเทศ เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), AIS The StartUp CONNECT, MaGIC Accelerator Program (MAP) และ Readme.me ตลอดจนเหล่า เจ้าของที่พักพื้นถิ่น กระทั่งนักเดินทางที่สามารถเริ่มต้นการเดินทางจาก ดิจิทัลแพลตฟอร์มได้จริง โดยทั้งคู่กำ�ลังพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่จะ เกิดขึน้ ในอนาคต ซึง่ เป็นรูปแบบทีน่ กั เดินทางจะผันตัวเป็นนักสำ�รวจสิง่ ทีโ่ ลก ยังไม่เคยเห็น และหลงเสน่ห์ไปกับลักษณะเฉพาะของพื้นถิ่น อันถือเป็น จุดเด่นของ LocalPillow.com

pexels.com

localpillow.com

The Unseen is Essential การกลับมาของธุรกิจ เพือ่ การท่องเทีย่ วพืน้ ถิน่ แห่งแรกและแห่งเดียวของไทย

ในช่วงครึง่ ปีทผี่ า่ นมา เราต่างรับรูก้ ารปิดตัวของสือ่ สิง่ พิมพ์ประเภทนิตยสาร หลายหัวผ่านการออกฉบับสุดท้าย ต้นเหตุของเหตุการณ์เหล่านี้ คงหนี ไม่พ้นการที่นิตยสารขายไม่ได้เพราะนักอ่านต่างหันไปเสพสื่อออนไลน์ ผ่านเครือ่ งมืออิเล็กทรอนิกส์ทสี่ ะดวกขึน้ ทำ�ให้บรรดาโฆษณาทีเ่ คยเป็นแหล่ง รายได้สำ�คัญของสื่อสิ่งพิมพ์ต่างฉีกตัวออกจากหน้ากระดาษไปโดยปริยาย เพื่อเป็นการปรับตัวให้สามารถอยู่รอดต่อไปได้ นิตยสารหลายหัว จึงจำ�เป็นต้องให้ความสำ�คัญและเปิดช่องทางใหม่ให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึง ดิจิทัลแพลตฟอร์ม พร้อมกับดึงโฆษณาให้กลับมาซื้อพื้นที่หน้าจอคู่หน้า กระดาษ ความนิยมของการเสพสื่อบนดิจิทัลแพลตฟอร์มจึงเกิดขึ้นทั้งใน รูปแบบของหน้าเพจบนเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ บล็อก ไปจนถึงแพลตฟอร์มเกิด ใหม่อย่างการทำ�สำ�นักข่าวออนไลน์ต่างๆ ที่มองเห็นโอกาสในวิกฤต เมื่อ ผู้อ่านต่างหันมาเสพสื่อบนโลกออนไลน์มากขึ้น และเลือกที่จะสูญเสีย พลังงานแบตเตอรี่และสายตาแทนเสียเงินซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ที่จับต้องได้ การ นำ�เสนอเนื้อหารูปแบบใหม่ที่ตรงไปตรงมา ด้วยการพาดหัวชัดเจน กระชับ ตรงประเด็น และขยันสรรหาเรื่องราวมาฟีดให้กับบรรดาลูกเพจ ด้วยลีลา การเขียนแบบสรุปความ เน้นความรวดเร็ว และทันสถานการณ์ จึงเหมาะ กับผู้อ่านยุคใหม่ที่ต้องการเสพเรื่องราวข่าวใหม่ที่ไม่ซํ้าเดิมอยู่ตลอดเวลา กระทัง่ สร้างมุมมองทีฉ่ กี กฎเดิมจากสิง่ ทีเ่ คยอยูบ่ นหน้ากระดาษให้กลมกลืน ไปกับพฤติกรรมใหม่ของผู้อ่านในวันนี้ ที่สำ�คัญคือยังแฝงโฆษณาลงไปใน เนื้อหาได้อย่างกลมกลืน จนทำ�ให้ผู้อ่านไม่รู้สึกถึงการขายตรงจนเกินไป นี่จึงเป็นอีกปรากฏการณ์แบบสู้ไม่ถอยของบรรดาผู้สร้างสรรค์เนื้อหาที่ต้อง พร้อมเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ท้าทายอยู่เสมอ

CREATIVE THAILAND I 8


mintpressnews.com

Northern Solution เมื่อความล้มเหลว เป็นแรงผลักดันสู่ทางออกไร้ขีดจำ�กัด

เราต่างได้ยินเรื่องราวมากมายจากประเทศแถบยุโรปในแง่ที่ว่าคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นของผู้คนทำ�ให้สังคมน่าอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าได้รับการสนับสนุนผ่าน นโยบายจากรัฐบาลและการตอบสนองของภาคเอกชน จนทำ�ให้เราต่างอิจฉา จนอยากจะย้ า ยไปใช้ ชี วิ ต ในประเทศเหล่ า นั้ น อย่ า งเมื่ อ ไม่ น านมานี้ เนเธอร์แลนด์เพิง่ ประกาศปิดคุกไปทัง้ สิน้ 19 แห่ง และกำ�ลังจะปิดอีก 5 แห่ง ในเวลาอันใกล้ เนื่องด้วยไม่มีนักโทษให้คุมขัง (ทั้งนี้ เบลเยียมและนอร์เวย์ ยังคงมีนโยบายส่งนักโทษมาฝากคุมขังที่นี่) หรือเรื่องราวด้านการจับจ่ายที่ เปลี่ยนไปเพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น โดยล่าสุดเดนมาร์กมีนโยบาย ส่งเสริมการใช้จา่ ยด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแทนการใช้จา่ ยด้วยเงินสด จากพฤติกรรมการจ่ายด้วยเงินสดของประชาชนทีต่ าํ่ กว่า 6% ของการใช้จา่ ย ทั้งประเทศ ซึ่งถือเป็นการสร้างความสะดวกสบาย และที่สำ�คัญยังช่วยลด การเกิดเหตุอาชญากรรมได้อีกด้วย ระดับคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ย่อมสร้างเสริมคูก่ บั จิตใต้ส�ำ นึกทีด่ ขี นึ้ เช่นกัน จากคนสู่สังคม จากสังคมสู่ประเทศชาติ ทำ�ให้มีการผลักดันนโยบายที่ รับผิดชอบต่อโลก โดยเฉพาะเรือ่ งความล้มเหลวของการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม และปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่กำ�ลังเป็นปัญหาสำ�คัญอยู่ในปัจจุบัน โดยประเทศมหาอำ�นาจทีป่ ล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สชู่ นั้ บรรยากาศอย่าง

สหรัฐอเมริกาที่ปล่อยไม่ตํ่ากว่า 5,400 ล้านตันต่อปี (ประมาณ 15% ของการ ปล่อยทั้งโลก) เป็นรองเพียงสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ปล่อยมากถึง 7,700 ล้านตันต่อปี (ประมาณ 28% ของการปล่อยทั้งโลก) ส่งผลให้ปัจจุบัน อุณหภูมโิ ลกพุง่ สูงขึน้ ถึง 3 องศาเซลเซียส ด้วยความทีเ่ ป็นประเทศใกล้บริเวณ ขั้วโลกเหนือ (เห็นผลกระทบชัดเจนที่สุด) และมีอัตราการแผ่ขยายของเมือง สูงที่สุดในยุโรป สวีเดนจึงประกาศนโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีโปรเจ็กต์ส�ำ คัญ เช่น Climate-Smart Cities ทีพ่ ยายามผลักดันให้ผคู้ น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากแหล่งนํ้าสะอาด แหล่งความร้อนสะอาด และ พลังงานสะอาด โดยพลังงานสะอาดถือเป็นส่วนสำ�คัญในการช่วยแก้ปัญหา ที่ประเทศมหาอำ�นาจสร้างไว้ โดยทางสวีเดนได้ประกาศการลดใช้นํ้ามัน เชือ้ เพลิงจากฟอสซิล ซึง่ เป็นตัวการหลักทีก่ อ่ ให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ และ หันไปผลักดันการใช้พลังงานรูปแบบอื่นอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน ชีวภาพ พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานคลื่นนํ้า และ พลังงานลม โดยภาคเอกชนต่างก็ขานรับนโยบายนี้อย่างเต็มกำ�ลังด้วยการ ลงทุนและสนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทนเหล่านีม้ ากมาย ซึง่ ไม่ใช่แค่ชว่ ย สร้างอนาคตเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนและประเทศเท่านั้น แต่ยัง เป็นการช่วยโลกอีกทางหนึ่งด้วย

ที่มา: static.guim.co.uk / statista.com / sweden.se CREATIVE THAILAND I 9


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ พัทธ์ธีรา จตุรงค์ศรีพัฒน์

CREATIVE THAILAND I 10


F EAT U RED BOOK 1) Don’t Read This Book: Time Management for Creative People โดย Donald Roos หากพูดถึงคำ�คมครีเอทีฟ เรามักนึกถึงคำ�ว่า “เดดไลน์ งานเผา ไม่นอนสามวัน ยันเช้า” อยู่ บ่ อ ยๆ หลายคนอาจสงสั ย ว่ า ทำ � ไมชี วิ ต นั ก สร้ า งสรรค์ ถึ งดู น อนน้ อ ยเช่ น นี้ หรื อ อาจเป็ น เรื่องธรรมดาของบุคคลสร้างสรรค์มักสอบตก เรื่ อ งการจั ด การเวลา หรื อ แม้ แ ต่ ก ารจั ด การ ความคิดตัวเอง เป็นไปได้ไหมที่ความสามารถ ในเชิงความคิดสร้างสรรค์และต่อยอดสิ่งต่างๆ ผนวกกับจินตนาการ ทำ�ให้บางครั้งความคิด เหล่านั้นก็แตกฟุ้งและจนเกินไป หรือไม่ก็แน่นิ่ง เหมือนกับความคิดไม่มีอยู่จริง แต่ในโลกของ

ความเป็นจริง ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้ต้อง แข่งขันกับเวลาอยู่เสมอ ความจริ ง อี ก ข้ อ หนึ่ ง คื อ การเกิ ด ขึ้ น ของ นวั ต กรรมสุ ด สร้ า งสรรค์ ต่ า งๆ บนโลกใบนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากความบังเอิญ ซึ่งหากปล่อยให้ ความคิ ด ได้ ต่ อ ยอดไปอย่ า งเป็ น ธรรมชาติ แตกร่างเป็นแผนผังเครือข่ายของความเชื่อมโยง เครื่องมือภายในหนังสือจะช่วยให้ได้มาซึ่งความ บั ง เอิ ญ ของความคิ ด ที่ โ ดนเด่ น สร้ า งสรรค์ ไ ด้ ทันเวลา เครื่องมือนี้เรียกว่า To-Do List คุณ สามารถเขียนได้ด้วยตัวเอง หรือจะใช้เทคโนโลยี ในรูปแบบแอพพลิเคชั่นก็ได้ หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการจัดการเวลา เล่มนี้ ใช้ชื่อที่ท้าทายผู้อ่านว่า Don’t Read This Book อาจเพราะเนื้อหาภายในต้องการให้ปฏิบัติ

ไปพร้อมกัน พร้อมนำ�เสนอตัวช่วยในการจัดการ ไอเดียและเวลาได้อย่างชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน ด้วยเทคนิค เครื่องมือ และแพลตฟอร์ม เช่น การจัดลำ�ดับความสำ�คัญของความคิดทีจ่ ะทำ�ให้ สามารถก้าวข้ามขีดจำ�กัดของเวลาได้ง่ายขึ้น อีกทั้งช่วยเลือกสรรความคิดที่เหมาะสมที่สุด ด้วยการคัดกรองอย่างเป็นเหตุและผล แผนการจัดการเวลานี้สามารถนำ�มาปรับ ใช้ได้กบั เรือ่ งในชีวติ ประจำ�วัน อีกทัง้ ยังเหมาะสม กับทุกกลุ่มอาชีพสร้างสรรค์ ซึ่งได้ให้วิธีการเพื่อ ปฏิบัติจริงอย่างตรงจุด แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อ การรังสรรค์ความคิดของผู้อ่าน เพื่อให้มั่นใจว่า ได้ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า

BOOK

MOVIE

2) Fail Better: Design Smart Mistakes and Succeed Sooner โดย Anjali Sastry และ Kara Penn

4) The Pursuit of Happyness กำ�กับโดย กาบริอาเล มุคชิโน

การเรียนรู้จากบริษัทที่ประสบความสำ�เร็จเป็นเรื่องดี แต่ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือการเรียนรู้บทเรียนจาก บริษัทที่ล้มเหลว ความท้าทายอย่างหนึ่งของการสร้างธุรกิจคือการออกแบบความผิดพลาดอย่าง ชาญฉลาด ซึ่งจะช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หนังสือ Fail Better: Design Smart Mistakes and Succeed Sooner จะช่วยให้สามารถออกแบบความผิดพลาดได้อย่าง ถูกทิศทาง ทั้งการเปิดตัวโปรเจ็กต์จากรากฐานที่ใช่ เรียนรู้แต่ละขั้นจากฟีดแบ็คที่ถูกต้อง หรือจำ�นวน ครัง้ ของการทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ เพือ่ ให้มนั่ ใจได้วา่ ทุกๆ ความล้มเหลวทีเ่ กิดขึน้ จะทำ�ให้เกิดประโยชน์ ต่อธุรกิจได้อย่างสูงสุด

มนุ ษ ย์ ทุ ก คนล้ ว นมี ค วามอยากที่ จ ะแสวงหา ความสุข แม้บางครั้งจะเป็นการมีความสุขบน เส้นทางทีแ่ ตกต่างกันก็ตาม ภาพยนตร์เรือ่ งนีเ้ ล่า เรื่องราวชีวิตของชายหนุ่มซึ่งเคยตัดสินใจลงทุน ผิ ด พลาดในอดี ต และส่ ง ผลกระทบต่ อ ชี วิ ต ครอบครัวในปัจจุบนั กับความพยายามทีจ่ ะแก้ไข สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยมี ลู ก เป็ น แรงผลั ก ดั น สำ � คั ญ เรื่องราวแสดงถึงการสร้างความฝันที่จะมีชีวิต อย่างมีความสุขผ่านการต่อสู้ดิ้นรนในช่วงระยะ เวลาทีล่ �ำ บากทีส่ ดุ จนดูเหมือนความสำ�เร็จจะอยู่ ห่างไกลเกินเอื้อม แต่ท้ายที่สุดนั่นก็เป็นบทเรียน ว่าอย่าให้ใครบอกว่าเราทำ�อะไรไม่ได้ แม้แต่ ตัวเราเองก็ตาม

3) Like a Virgin: Secrets They Won’t Teach You at Business School โดย Richard Branson อุปสรรคจากการเป็นโรคสมาธิสั้นและโรคดิสเล็กเซีย (ความบกพร่องในการอ่าน) ในวัยเด็กส่งผลให้ ริชาร์ด แบรนสัน เจ้าของธุรกิจในเครือเวอร์จินที่มีบริษัทมากกว่า 400 บริษัท ไม่ประสบความสำ�เร็จ ในการเรียนเท่ากับคนรุ่นเดียวกัน แต่อุปสรรคนั้นก็ช่วยหล่อหลอมเขาให้มีความคิดที่ต่างออกไป เนื้อหาของหนังสือแสดงทัศนะในการจัดการสิ่งต่างๆ แนวความคิดในการทำ�ธุรกิจ จากประสบการณ์ การต่อสู้ที่ผ่านมาได้อย่างน่าสนใจ โดยแบ่งย่อยเป็นบทสั้นๆ ถึง 82 บท รวมถึงวิธีก้าวข้ามความ ผิดพลาด เรียนรู้ ผลักดันตัวเองให้ขึ้นแท่นนักธุรกิจที่ประสบความสำ�เร็จ และใช้ชีวิตได้อย่างมีสีสัน ที่สุดคนหนึ่งของโลก พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 11


elitac.nl

Matter : วัสดุต้นคิด

เรือ่ ง: ชมพูนทุ วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ

การก้าวกระโดดของเทคโนโลยีแบบสวมใส่กลุ่ม Wearable Devices ที่เริ่ม ต้นจากการบันทึกและเก็บข้อมูลร่างกายของผู้สวมใส่ เพื่อนำ�ไปวิเคราะห์ และแสดงผลสมรรถภาพทางร่างกาย ทำ�ให้หลายบริษทั สามารถพัฒนากลุม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ดา้ นการแพทย์ทจี่ ะกลายเป็นสินค้าทีต่ ลาดต้องการได้มากขึน้ โดยเฉพาะบรรดา Wearable Devices ในหัวข้อฟิตเนสและที่เกี่ยวข้องกับ การแพทย์ ซึ่งสามารถต่อยอดข้อมูลที่บันทึกได้เพื่อนำ�มาทำ�งานร่วมกันได้ มากที่สุดเช่นเดียวกัน หนึ่งในสถิติเรื่องโรคจากการทำ�งาน (Office Syndrome) ในยุคนี้ เกิดจากท่านั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ตรงตามสรีระที่ควรจะเป็น ดังนั้นเพื่อ ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เกิดลักษณะท่าทางที่ถูกต้องและเป็นธรรมชาติ บริษัท Elitac ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สั่นไหวได้ หลากหลายวิธีใน Wearable Textile หรือที่เรียกกันว่า Haptic Wearable หรือเสื้อผ้าระบบสัมผัส จึงนำ�เทคโนโลยีนี้มาช่วยแก้ปัญหา โดยใช้การ สั่นไหวของอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปให้ผู้สวมใส่ได้รับรู้เมื่ออยู่ในท่วงท่าที่ไม่ตรง ตามสรีระที่ควรจะเป็น เพื่อเตือนให้ปรับท่วงท่าให้ถูกต้อง โดยข้อมูลที่รับรู้ ได้ด้วยการสัมผัส (Tactile Information) นี้ พิสูจน์แล้วว่าเป็นช่องทางการ สื่อสารที่มาจากสัญชาตญาณของผู้สวมใส่จริงๆ พอลลีน ฟาน ดอนเก็น (Pauline Van Dongen) นักออกแบบแฟชั่น ชาวดัตช์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Wearable Technology ได้ศึกษาวิจัยเรื่องความ สัมพันธ์ระหว่างร่างกายมนุษย์กับสิ่งที่อยู่รอบตัว เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน สุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมการมีท่าทางที่ไม่ถูกต้องของร่างกายส่วนบน จนทำ�ให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น ปวดหลัง โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น ประสาท เป็นต้น โดยพอลลีนได้ผลิตเสือ้ FysioPal ขึน้ เพือ่ จะหลีกเลีย่ งปัญหา ด้านสุขภาพ และจะได้ไม่ตอ้ งมาทำ�การฟืน้ ฟูสขุ ภาพของร่างกาย ทีเ่ กิดจาก

พฤติกรรมการมีทา่ ทางทีไ่ ม่ถกู ต้องของร่างกายส่วนบนจนทำ�ให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น ปวดหลัง โรคหมอนรองกระดูกทับ โดยใช้เซ็นเซอร์เก็บข้อมูล บริเวณคอ หลัง และไหล่ ของผู้สวมใส่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่บ่งบอกลักษณะ ท่าทางและพฤติกรรมที่เกิดขึ้น FysioPal จะทำ�หน้าที่เสมือนผิวที่สองที่ทำ� หน้าทีว่ ดั สัญญาณทีส่ มั ผัสได้บริเวณรอบคอ หัวไหล่ และส่วนหลังของร่างกาย ประกอบด้วยเสือ้ ซึง่ ออกแบบมาให้ใส่เป็นเสือ้ ทับทีม่ อี ปุ กรณ์ตดิ อยู่ เนือ้ ผ้าได้ รับการพัฒนาเป็นพิเศษให้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ฝังอยู่ในเนื้อผ้า สามารถ ซักเครือ่ งได้เหมือนเสือ้ ผ้าปกติ และมีแอพพลิเคชัน่ ในสมาร์ทโฟนซึง่ ทำ�หน้าที่ แสดงผลของข้อมูลที่เก็บได้จากท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สวมใส่ เมื่อผู้ที่สวม FysioPal นัง่ ปล่อยตัวตามสบาย เช่น หลังงอ หรือลำ�ตัวบิดเบีย้ ว ตัวเสื้อจะสื่อสารกับผู้สวมใส่อย่างเป็นมิตร โดยการสั่นเตือนให้ปรับท่าทาง ของร่างกายให้ถกู ต้อง จากเครือ่ งส่งสัญญาณทีไ่ วต่อการเคลือ่ นไหว (Sensor) และซอฟต์แวร์ด้านการสื่อสาร ด้วยฟังก์ชั่นการทำ�งานที่อยู่บนพื้นฐานของ Wearable Technology ลํ้ายุค ทำ�ให้ FysioPal เหมาะสำ�หรับใช้สวมใส่ในเวลาทำ�งานที่ต้องนั่งเป็น เวลานาน เพราะเมื่อร่างกายท่อนบนเริ่มโค้งงอหรือบิดเบี้ยว เสื้อจะสั่น เป็นการเตือนให้ผู้สวมใส่รู้สึกตัวและปรับท่าทางให้ถูกต้องตามลักษณะ กายภาพที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้แอพพลิเคชั่นยังได้รับการออกแบบให้มี โปรแกรมเทรนนิง่ และวิเคราะห์ลกั ษณะท่าทางทุกชัว่ โมง พร้อมระบบรวบรวม ข้อมูลสรุปในแต่ละเดือนให้ด้วย นับเป็นการนำ� Wearable Technology มา ใช้อย่างเพียบพร้อม ทั้งคุณค่าด้านประโยชน์การใช้งานและด้านความ สวยงาม ที่ผู้สวมใส่จะได้ทั้งเสื้อผ้าที่ให้ความเรียบง่าย คล่องแคล่ว ทันสมัย และดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง ที่มา: elitac.nl / paulinevandongen.nl

CREATIVE THAILAND I 12


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book café • Graph café นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab café • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 13 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์

เมื่อผลงานสักชิ้นหนึ่ง ไม่ว่าจะจากวงการเพลง ละคร กีฬา ธุรกิจ และอื่นๆ ได้รับความนิยมจนโด่งดังในช่วงเวลาหนึ่งอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปกระแสกลับเงียบหาย นี่จึงเป็นการสร้างบททดสอบเรื่องความสำ�เร็จกับความล้มเหลวแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน เพราะแม้ ผ ลงานที่ ดั ง มากๆ แบบชั่ ว ข้ า มคื น จะเป็ น หนทางสู่ อ นาคตที่ พุ่ ง แรง แต่ ใ นทางกลั บ กั น ผลงานนั้ น ก็ อ าจเป็ น ผลงาน ชิ้นสุดท้ายได้เช่นกัน ปรากฏการณ์นี้เรารู้จักกันว่า “One-Hit Wonder”

CREATIVE THAILAND I 14


i.ytimg.com

ทดลองผิดถูก แก้ไข เรียนรู้ สู่ความสำ�เร็จ ในศตวรรษที่ 21 ที่อุตสาหกรรมดนตรีของไทยรุ่งเรืองและมีศิลปินหน้าใหม่ เกิดขึ้นทุกวัน ใครจะรู้ว่ากว่าที่เนม-ปราการ ไรวา นักร้องนำ� (ซึ่งเคยปล่อย อัลบัม้ แรกของตัวเองเมือ่ ปีพ.ศ. 2549) และอีก 3 สมาชิกในวง ได้แก่ นาฑี-นาฑี โอสถานุเคราะห์, นต-ปณต คุณประเสริฐ และไปร์ท-คมฆเดช แสงวัฒนา โรจน์ ในนามวง GETSUNOVA ต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกกว่า 6 ปี กว่าจะ เรียนรู้และค้นพบทางที่ใช่ จนสามารถสร้างปรากฏการณ์เพลงยอดเยี่ยม แห่งปี 2555 “ไกลแค่ไหนคือใกล้” เพลงแรกของไทยที่มียอดวิวบนยูทูบเกิน 100 ล้าน นอกจากแนวเพลงที่โดนใจผู้ฟังแล้ว การโพกผ้าบนใบหน้าของ ศิลปินยังสร้างเอกลักษณ์ให้แฟนเพลงจดจำ� GETSUNOVA จึงเป็นศิลปินไทย ที่สร้างปรากฏการณ์ One-Hit Wonder ด้วยความไม่ย่อท้ออย่างแท้จริง

facebook.khunchaiputtipat

nonecss.com

One-Hit Wonder เพียงครั้งเดียวเท่านั้น One-Hit Wonder คือศัพท์เฉพาะใช้เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่า เรือ่ งใดจากวงการใดก็ตามทีไ่ ด้รบั ความนิยมอย่างมาก เพียงครัง้ เดียวก็ท�ำ ให้ เป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไป ปกติคำ�ว่า One-Hit Wonder มักนิยมใช้ กับศิลปินที่ผลิตผลงานเพลงสุดฮิต จนสร้างปรากฏการณ์ความดังแบบถล่ม ทลาย คำ�ว่า One-Hit Wonder สามารถแบ่งเป็น 3 กรณีหลักๆ ได้แก่ 1. ผู้ที่ผลิตผลงานแบบลองผิดลองถูกมาตลอด ไม่เคยหรือเคยได้รับความ นิยมน้อย ต่อมาได้รับความนิยมหรือเป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างน่า อัศจรรย์จากผลงานเพียงชิ้นเดียวในภายหลัง 2. ผู้ที่เคยสร้างผลงานมาแล้วและได้รับความนิยมอย่างมากแค่ครั้งนั้น ครั้งเดียว และผลงานที่ตามมาภายหลังไม่มีมาตรฐานเท่ากับที่สร้างไว้ ก่อนหน้า ทำ�ให้ถูกจับตามองน้อยลงเรื่อยๆ จนหายไป 3. ผู้ที่สร้างผลงานเพียงครั้งเดียวแล้วประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างมาก จนทำ�ให้ผลงานชิ้นนั้นเป็นใบเบิกทางไปสู่โอกาสมากมาย และทำ�ให้เป็น ที่รู้จักตลอดไป

ความสามารถ + ถูกที่ถูกเวลา เจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข คือพระเอกจากละครชุด สุภาพบุรุษจุฑาเทพ ตอน คุณชายพุฒภิ ทั ร ที่ออกอากาศไปเมื่อปีพ.ศ. 2556 จากหนุ่มพิจติ รวัยเพียง 19 ปี ได้กลายเป็นนักแสดงหน้าใหม่ทโี่ ด่งดังถึงขีดสุดและได้เสียงตอบรับอย่างมาก ล้นด้วยผลงานละครเพียงหนึ่งเรื่อง ยอดผู้ติดตามบนอินสตาแกรมเพิ่มจาก หมืน่ ต้นๆ เป็นห้าแสนภายในหนึง่ เดือนหลังจากละครแพร่ภาพ สร้างโอกาส สูผ่ ลงานโฆษณากว่า 40 ชุด และอืน่ ๆ อีกมากมาย ถือเป็นตัวอย่าง One-Hit Wonder ที่ประสบความสำ�เร็จ และยังสานต่อโอกาสของตัวเองได้อย่าง ต่อเนื่องและดีเยี่ยม เพียงครั้งเดียว และอยู่ในความทรงจำ�ตลอดไป หากย้อนกลับไปเมื่อ 13 ปีก่อน คงไม่มีใครไม่รู้จัก ‘เจี๊ยบ’ และ ‘น้อยหน่า’ จากภาพยนตร์ แฟนฉัน (พ.ศ.2546) หนังรักไทยวัยแรกรุ่น ที่นึกถึงทีไรก็ จุดประกายความคิดถึงในวัยเด็กได้เสมอ ภาพยนตร์เรื่องนี้มอบโอกาสให้แน็ก-ชาลี ไตรรัตน์ ได้แจ้งเกิดใน วงการบันเทิงด้วยวัยเพียง 10 ปี และมีโอกาสสร้างผลงานตามมาอีกหลาย ชิ้น แต่ไม่ว่าจะผ่านไปเท่าไร ก็ไม่มีผลงานชิ้นไหนที่ลบเลือนภาพของ เจี๊ยบที่ยังติดตรึงใจคนดูได้เลย และยังทำ�ให้แน็กยังคงถูกเรียกในชื่อของ ‘แน็ก-แฟนฉัน’ อยู่เสมอ One-Hit Wonder อาจมีความหมายอีกนัยว่า ไม่มีอะไรที่แน่นอน การประสบความสำ � เร็ จ อย่ า งรวดเร็ ว ในเวลาอั น สั้ น ใช่ ว่ า จะดี เ สมอไป ความล้มเหลวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และ ประสบการณ์ เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารผลิตผลงานทีด่ อี ย่างต่อเนือ่ งและสมํา่ เสมอ จะ เป็นบทพิสูจน์ให้ได้เห็นว่าผลงานนั้นเป็น ‘ของแท้’ หรือไม่ ไม่ใช่เพราะ คำ�ว่า ‘เพียงครั้งเดียว’

ที่มา: บทความ “ปรากฏการณ์ เกทสึโนวา มิติใหม่ของวงการเพลงไทย” จาก komchadluek.net / บทสัมภาษณ์ GETSUNOVA จากรายการ Life Records อัลบั้มชีวิต จาก onehd.net / wikipedia.org

CREATIVE THAILAND I 15


เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

ท่ามกลางสถานการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่อาจคาดเดา เทคโนโลยีที่ลํ้าหน้าขึ้น จนเหลือเชื่อ การเข้ามาแทนที่ของคนรุ่นใหม่ ในการรักษาสมบัติเก่าและการ เริ่มต้นสิ่งใหม่ที่ดูเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงมากขึ้นทุกที ความล้มเหลวจึงปรากฏให้เห็น บ่อยครั้งไม่ว่าจะอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่หรือในหมู่นักล่าฝันที่เป็นผู้ประกอบการ รายใหม่ แรงกดดันที่ไม่มีวี่แววจะผ่อนปรนจากการเผชิญหน้ากับอนาคตที่ไม่ แน่นอน อาจทำ�ให้การทำ�ความคุ้นเคยกับความท้าทายรูปแบบต่างๆ กลายเป็น ความหวังที่จับต้องได้ มากกว่าการทำ�ใจยอมรับและปล่อยให้โชคชะตานำ�พาไป CREATIVE THAILAND I 16

pexels.com

Cover Story : เรื่องจากปก


เดิมพันครั้งใหม่ของโนเกีย

จากไมโครซอฟต์ มู ล ค่ า 12,250 ล้ า นบาท (ราว 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และเดินกลยุทธ์ เมื่อปี 2013 แม้ว่าทีมวิจัยของโนเกียจะพยายาม สร้างความเข้มแข็งให้ฐานการผลิตด้วยการจับมือ พัฒนาโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ให้ทันต่อการ กั บ ฟ็ อ กซ์ ค อนน์ (Foxconn) ผู้ ผ ลิ ต อุ ป กรณ์ เปลี่ยนแปลงของตลาดสมาร์ทโฟน แต่ก็สาย อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน และ เกินไปสำ�หรับการกอบกู้สถานการณ์ของบริษัทที่ วางแผนเปิดตัวสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระบบ มี ย อดขายดำ � ดิ่ ง และต้ อ งจบลงด้ ว ยการขาย ปฏิบัติการแอนดรอยด์ตัวใหม่ในปี 2017 นี้ อุปกรณ์และบริการของโทรศัพท์มือถือภายใต้ อาร์โต นุมเมลา ( Arto Nummela) ประธาน แบรนด์โนเกียให้กับไมโครซอฟต์ (Microsoft) เจ้าหน้าทีบ่ ริหารของเอชเอ็มดี โกลบอล ทีท่ �ำ งาน การล้มของโนเกียสัน่ สะเทือนความรูส้ กึ ของ กับโนเกียมาอย่างยาวนานกล่าวว่า การสร้าง ชาวฟินแลนด์ ประเทศผู้เป็นต้นกำ�เนิดแบรนด์ แบรนด์เป็นสิ่งที่แยกความแตกต่างของโทรศัพท์ อย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน ว่าบริษัทที่ก่อตั้งมา มือถือแต่ละค่าย การต่อยอดแบรนด์โนเกียและ ตั้งแต่ปี 1865 จะเดินทางมาถึงจุดนี้ในที่สุด แต่ การกระตุ้ น ความรู้ สึ ก ผู ก พั น ที่ มี ม ายาวนาน เมื่อมาถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2016 ที่สัญญา (Nostalgia) จึงเป็นโมเดลธุรกิจสำ�คัญในการเข้า ผูกพันกับไมโครซอฟต์ในการห้ามดำ�เนินการ สู่ตลาดที่มีผู้ครองตลาดที่แข็งแกร่งในปัจจุบัน จำ�หน่ายสมาร์ทโฟนได้หมดลง อดีตผูบ้ ริหารและ มากมายอย่างเช่น ซัมซุง (Sumsung) แอปเปิล ทีมงานของโนเกียและซีเมนส์ (Siemens) ในนาม (Apple) และหัวเว่ย (Huawei) บริษัทเอชเอ็มดี โกลบอล (HMD Global) ก็ได้ แม้ว่าการแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนจะอยู่ ประกาศนำ�โนเกียกลับมาสูต่ ลาดสมาร์ทโฟนอีกครัง้ ระหว่างการลุ้นผลในปีนี้ แต่ทว่าการกลับมาของ เอชเอ็มดี โกลบอลได้ซื้อใบอนุญาตการ โนเกียครั้งนี้ก็ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ ด้วยสมบัติเก่าที่ ใช้ แ บรนด์ แ ละเทคโนโลยี ข องโนเกี ย คื น มา ได้กลับคืนมาอย่างการเป็นผูน้ �ำ ตลาดฟีเจอร์โฟน CREATIVE THAILAND I 17

(Feature Phone) หรือโทรศัพท์ที่สามารถใช้งาน ได้หลายแบบ เช่น ถ่ายรูป ฟังเพลง แต่ไม่สามารถ ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้เหมือนสมาร์ทโฟน แม้วา่ ยอดขายโทรศัพท์ชนิดนีจ้ ะลดลง เพราะคน หันไปใช้สมาร์ทโฟนมากขึน้ แต่กย็ งั นับเป็นธุรกิจ ขนาดใหญ่ของบริษัทที่ครองส่วนแบ่งตลาดถึง ร้อยละ 94 ในตลาดโลก โดยระหว่างที่โนเกียรอ การเปิดตัวสมาร์ทโฟน ก็ได้มีการเตรียมเปิดตัว ฟีเจอร์โฟนใหม่ในไตรมาสแรกของปีในอินเดีย ด้ ว ยราคาที่ ร วมภาษี แ ล้ ว ไม่ ถึ ง 1,000 บาท (ประมาณ 2,000 รูป)ี โดยอาศัยข้อได้เปรียบอย่าง การทีผ่ ใู้ ช้งานมีความคุน้ เคยกับระบบอินเทอร์เฟซ อยู่แล้ว ประกอบกับราคาที่ได้คุ้มค่า เพราะมา พร้อมกับฟีเจอร์วทิ ยุเอฟเอ็ม เอ็มพีสาม เกม และ แบตเตอรี่ที่คุยได้นานถึง 22 ชั่วโมง การเริ่มต้นจากตลาดอินเดียจึงเป็นเหมือน การเดินทางครั้งใหม่ของโนเกียที่มั่นคงมากขึ้น เพราะอินเดียได้ชื่อว่าเป็นตลาดสมาร์ทโฟนที่ เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การสร้างความ คุ้นเคยกับฟีเจอร์โฟนจึงจะสร้างโอกาสในการ เติบโตไปสู่ตลาดสมาร์ทโฟนในอนาคต


aib.edu.au

ข้อคิดสร้างธุรกิจพันล้าน เรื่องราวของนิค วูดแมน (Nick Woodman) มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งโกโปร (GoPro) กล้องถ่ายรูปพกพาเป็นแรงบันดาลใจให้คนมากมายรู้จักใช้ความกลัว และความล้มเหลวให้เป็นแรงขับเคลื่อน นิตยสารฟอร์บส (Forbes) ถอดบทเรียนของวูดแมนเป็น 5 ข้อ เพื่อให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และทดลองทำ� จากข้อแรกที่เป็นพื้นฐานของ การทำ�ธุรกิจอย่างการทำ�ตามความฝันในการเล่นเซิรฟ์ และอยากทีจ่ ะมีกล้องสำ�หรับบันทึกขณะทีเ่ ล่นเซิรฟ์ ซึง่ ไม่เคยมีในตลาดมาก่อน และจบลงด้วยการ จำ�หน่ายโกโปรที่เป็นกล้องสายรัดข้อมือ ข้อสอง ความกลัวทีจ่ ะล้มเหลว ผลักดันให้ตอ้ งสำ�เร็จ เพราะเคยล้มเหลวจากการระดมทุนทำ�เว็บไซต์ขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และความพยายาม อีกครัง้ ในการทำ�เว็บไซต์ทเี่ ป็นแพลตฟอร์มด้านการตลาดก็ตอ้ งปิดตัวลงภายในปีเดียว ทำ�ให้การกลับมาเริม่ พัฒนาโกโปรของวูดแมนเต็มไปด้วยความกลัว ว่าจะล้มเหลวเหมือนเว็บไซต์ จึงทำ�ให้เขาทำ�งานอย่างหนักและตั้งมั่นว่าต้องทำ�ให้สำ�เร็จ ข้อสาม หมกมุ่นอยู่กับสินค้า แม้ว่าจะมีข้อจำ�กัดมากมายในแง่ของการผลิต แต่วูดแมนก็ใช้เวลาอย่างคุ้มค่าไปกับการลงมือทำ� การค้นหาเครื่องมือ ในงานแสดงสินค้าต่างๆ เพื่อที่จะนำ�มาปรับใช้ได้ จนกระทั่งได้ติดต่อกับผู้ผลิตกล้องฟิล์มราคา 100 บาท (3.05 เหรียญสหรัฐฯ) จากเมืองจีน เพื่อพัฒนา แบบตามที่เขาต้องการ โดยไม่ยอมประนีประนอมหากสินค้าไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการจริงๆ ข้อสี่ เรียนรู้ที่จะขาย วูดแมนขับรถตระเวนไปตามชายหาดเพื่อขายสินค้า จนถึงการนำ�เข้าไปแสดงในงานแสดงสินค้ากีฬากลางแจ้งและเสนอให้ ร้านขายเครื่องกีฬา ซึ่งปีแรกวูดแมนก็สามารถทำ�ยอดขายได้ถึง 150,000 เหรียญสหรัฐฯ และเพิ่มขึ้นถึงเท่าตัวในปีถัดมา ทั้งยังได้ขายในเบสท์ บาย (Best Buy) ธุรกิจค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลกจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งยิ่งทำ�ให้โกโปรขยายตลาดไปได้มากขึ้น ข้อสุดท้าย พัฒนาหรือตาย เมือ่ แรกเริม่ โกโปรเป็นกล้องแบบฟิลม์ 35 มิลลิเมตร ซึง่ วูดแมนรู้ดีวา่ เขาจะต้องขยับไปทำ�กล้องดิจิทัลในที่สุด การพัฒนา จากกล้องฟิล์มมาเป็นกล้องดิจิทัลใช้เวลาถึง 10 ปี โดยเริ่มปรับจากยุคแรกที่ถ่ายได้แค่ 10 วินาที แล้วจึงเพิ่มฟังก์ชั่นการบันทึกเสียง จนได้เป็นกล้อง ดิจิทัลสำ�หรับเก็บภาพคุณภาพเอชดีขนาด 12 เมกะพิกเซล และบันทึกภาพวิดีโอที่คมชัดได้อย่างสมบูรณ์ในที่สุด และเมื่ออากาศยานแบบไร้คนขับหรือ โดรน (Drone) เริ่มได้รับความนิยม โกโปรก็ไม่ได้ถูกแทนที่ แต่กลับซุ่มเงียบอีก 2 ปี ก่อนจะปล่อยโกโปรที่ติดกับโดรนซึ่งใช้ง่ายและคุณภาพสูงออกมา สะท้อนความคิดของวูดแมนที่ว่า “พัฒนาหรือตาย เราเชื่อมั่นในความสามารถของเราที่จะคิดค้นสินค้าที่ทำ�ให้คนตื่นเต้นกับมันได้” ที่มา: บทความ “Five Startup Lessons From GoPro Founder And Billionaire Nick Woodman” โดย Ryan Mac (13 มีนาคม 2013) จาก forbes.com

CREATIVE THAILAND I 18


ถ้าหากเปรียบโนเกียเป็นสตาร์ทอัพขนาดใหญ่ ที่กำ�ลังก้าวสู่สนามแข่งขันของสมาร์ทโฟนที่ยัง ไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร อีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ ของวงการเสื้ อ ผ้ า ที่ กำ � ลั ง เผชิ ญ กั บ การ เปลี่ ย นแปลงซึ่ ง ลดทอนความยิ่ ง ใหญ่ ใ นอดี ต ก็ต้องการจิตวิญญาณแห่งสตาร์ทอัพเพื่อเผชิญ กับความท้าทายครั้งใหม่เช่นกัน ลีวายส์ (Levi’s) กางเกงยีนส์ที่อยู่คู่กับชาว อเมริกันมากว่า 160 ปี ถึงคราวต้องพบกับวิกฤติ ทีค่ แู่ ข่งไม่ใช่คนต่างถิน่ แต่เป็นชาวอเมริกนั เองที่ เปลี่ยนจากคนงานเหมือง คาวบอย สิงห์บรรทุก ฮิปปี้ และร็อกเกอร์ มาสูย่ ุคของหนุ่มสาวเมโทรที่ นิยมสินค้าพรีเมียม และกลุ่มวัยรุ่นที่ชื่นชอบ ฟาสต์แฟชัน่ ตำ�นานของลีวายส์จงึ ไม่อาจตราตรึง ในหัวใจของลูกค้ายุคนี้ได้เหมือนเดิม ยอดขาย ของบริษัทลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) ที่เคย ยิง่ ใหญ่กว่ารองเท้ากีฬาไนกี้ (Nike) ด้วยยอดขาย ที่ดิ่งลงมาเหลือ 147 พันล้านบาท (ราว 4.2 พัน ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในปี 2003 ลดลงจากในยุค ปี 90 ทีล่ วี ายส์เป็นเจ้าของยอดขายกว่า 248.5 พัน ล้านบาท (ประมาณ 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) เจมส์ เคอร์เลห์ (James Curleigh) รอง ประธานบริษัทลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค. (Levi Strauss & Co.) ที่ดูแลแบรนด์ลีวายส์ทั่วโลก วิ เ คราะห์ ว่ า ในช่ ว งที่ ผ่ า นมามี แ บรนด์ เ ดนิ ม เกิดใหม่มากมาย แม้ว่าลีวายส์จะมีคนรู้จักมาก ที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลก แต่ความชื่นชอบนั้น ถูกสกัดด้วยการบริหารและวิสยั ทัศน์การออกแบบ ทีไ่ ม่ไปไหน ไม่มรี ปู ทรง แบบสี หรือเนือ้ ผ้าใหม่ๆ ที่จะทำ�ให้ยอดขายเพิ่มขึ้น “ไม่ใช่เพราะเราเป็นผู้นำ� เราเป็นของแท้ เราถึงจะยึดติดกับสิ่งที่เราทำ�อยู่ ในขณะที่คนอื่น ไปถึงไหนแล้ว การจะลองทำ�สี ผ้า และทรงใหม่ เป็ น ความท้ า ทายอั น ยิ่ ง ใหญ่ ข องลี ว ายส์ ” โจนาธาน เฉิง (Jonathan Cheung) รองประธาน อาวุโสด้านการออกแบบที่เข้ามาร่วมงานในปี 2009 กล่าว ในปี 2013 ลีวายส์ยังถูกท้าทายไม่หยุดจาก กระแสทีเ่ รียกว่า “Athleisure” ซึง่ เป็นการพัฒนา ชุดกีฬาที่ข้ามเส้นแบ่งการสันทนาการมาเป็น ส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำ�วัน ทำ�ให้กางเกง

permanentstyle.com

การต่อสู้ของเดนิม

ยอดรายได้สุทธิของ Levi Strauss

โยคะกลายเป็นทางเลือกของผูห้ ญิงในการสวมใส่ ที่นอกจากจะสวมเพื่อออกกำ�ลังที่สตูดิโอ ก็ยัง สามารถจะนำ�มามิกซ์แอนด์แมทช์ให้เหมาะกับ การเดินเล่นในสวน การเดินไปร้านขายของชำ� และการเข้ า เรี ย น ที่ ทำ � ให้ พ วกเธอดู ลำ � ลอง อย่างมีสไตล์ จึงทำ�ให้ยอดขายของลูลูเลมอน (Lululemon Athletica Inc.) บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้า กีฬาและกางเกงโยคะจากแวนคูเวอร์ แคนาดา เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ชิป เบิร์จห์ (Chip Bergh) ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารของลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค. ที่ เ ข้ า มาดู แ ลตั้ ง แต่ ปี 2012 จึ ง ตั ด สิ น ใจจะ พั ฒ นากางเกงเพื่ อ เจาะตลาดผู้ ห ญิ ง มากขึ้ น จากที่เคยมองข้ามกระแสนิยมกางเกงแบบที่มี ความยืดหยุน่ ในตลาดผูห้ ญิง ซึง่ ลีวายส์มสี ว่ นแบ่ง ลูกค้าผู้หญิงร้อยละ 25 ขณะที่ลูกค้าผู้ชายมี สัดส่วนถึงร้อยละ 75 โดยสิ่งที่ผู้หญิงต้องการจากกางเกงยีนส์นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ลีวายส์แบบฉบับดั้งเดิมมีให้พวกเธอ ดังนั้นนอกจากการทำ�วิจัยตลาดด้วยการพูดคุย CREATIVE THAILAND I 19

ยอดรายได้สุทธิของ Lululemon

กับลูกค้าแล้ว เบิรจ์ ห์ยงั จัดการย้ายหน่วยวิจยั ของ ลีวายส์ที่เดิมตั้งอยู่ในเมืองคอร์ลู (Corlu) เมือง ผลิ ต สิ่ ง ทอในตุ ร กี ใ ห้ ก ลั บ มาใกล้ กั บ ส่ ว นงาน ออกแบบในซานฟรานซิสโก เพือ่ ให้ท�ำ งานร่วมมือ กันได้มากขึ้น และประหยัดทั้งค่าเดินทางและ ค่าขนส่งตัวอย่าง ในปี 2015 ลีวายส์ยงั คงยอดขายไว้ที่ 4.5 พัน ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้จะยังไม่ท�ำ ให้ยอดขายเพิม่ อย่างก้าวกระโดด และกระแสของชุดกีฬาลำ�ลอง ที่ใช้ได้ในชีวิตประจำ�วันยังคงจะแรงต่อเนื่องไป จนถึงปี 2020* เดนิมที่ใส่สบายและให้ความรู้สึก ร่วมสมัยจึงยังคงมีอนาคตสดใสเพียงแต่ตอ้ งเดิน ไปในทิศทางที่รองประธานแห่งลีวายส์กล่าวว่า “ยีนส์ไม่ใช่แค่เรื่องของมรดกตกทอดหรือของแท้ ดัง้ เดิม แต่เป็นเรือ่ งของการใช้งานทีผ่ สมระหว่าง ไลฟ์สไตล์และนวัตกรรม ดังนั้นเราจึงต้องทำ�ให้ บริษัทเหมือนสตาร์อัพที่อายุ 160 ปี” * รายงาน “Research Says Athleisure Trend is Driving Growth in Denim Market” (11 ตุลาคม 2016) จาก apparel.edgl.com


bloomberg.com

Design & Innovation = ทางออก ที่เทเลกราฟฮิล (Telegraph Hill) ในซานฟรานซิสโก อันเป็นที่ตั้งของหน่วยวิจัยและพัฒนาของลีวายส์ ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาเดนิมแบบใหม่ๆ โดยเฉพาะ กางเกงสำ�หรับผู้หญิงที่ต้องการเนื้อผ้าแบบใหม่ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและสบายโดยที่ยังคงความเป็นยีนส์ไว้ ในแต่ละเดือนจึงมีต้นแบบที่คิดค้นขึ้นมา มากกว่า 30 ชิ้น ที่มีรูปทรงและลวดลายใหม่จากเทคนิคต่างๆ รวมถึงรุ่นที่ประสบความสำ�เร็จอย่างรุ่นเรเวล (Ravel) ที่ใช้นวัตกรรม Liquid Shaping Technology ที่จะควบคุมและปรับเปลี่ยนเนื้อผ้าเพื่อให้รับกับรูปร่างและแนบไปกับส่วนโค้งเว้า หรือรุ่นคอมมิวเตอร์ซีรีส์ (Commuter Series) ชุดเดนิม สำ�หรับการขับขี่จักรยานที่มีการนำ�เมทัลลิกที่จะมองเห็นได้เวลากลางคืนและชัดขึ้นเมื่อกระทบกับไฟหน้ารถยนต์มาใช้ รวมถึงเทคนิคการทำ�สียีนส์ที่ เลียนแบบเทคนิคการแต่งหน้าอย่างการช่วยเสริมโครงหน้าและอำ�พรางส่วนบกพร่อง (Contouring) โดยใช้เลเซอร์แกะผิวชั้นแรกของครามและทำ�ไฮไลต์ ตรงกลางเพื่อดึงสายตาออกจากขอบสะโพก และทำ�ให้เป็นขีดบั้งเพื่อทำ�ให้ช่วงขาดูเพรียวยาวขึ้น นอกจากการพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่จะเป็นกลยุทธ์ฉุดรั้ง ไม่ให้ยอดขายตกตํา่ แล้ว แต่การรักษาจุดขายเดิมของลีวายส์ในตลาดยีนส์กย็ งั มีความสำ�คัญ โดยเฉพาะการผลิตลีวายส์รนุ่ 501 ให้สามารถตอบโจทย์ตลาด ผู้ชายยุคใหม่ ที่ก็เป็นอีกทางเลือกในการดึงลูกค้าให้หวนกลับมา ผ่านการพัฒนากางเกงยีนส์รนุ่ 501 ให้เป็นรุน่ 501 CT ทีม่ รี ปู ทรงของกางเกงหลากหลาย ตามรูปร่างของผูส้ วมใส่มากขึน้

CREATIVE THAILAND I 20


ทำ�ความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง ขณะที่วิสัยทัศน์ของการบริหารธุรกิจมุ่งหน้าสู่การอ้าแขนรับนวัตกรรมใหม่ ยังมีธุรกิจอีกจำ�นวนมากที่เกิดอาการลังเล เพราะไม่คุ้นเคยกับความล้มเหลว และยิ่งมุ่งมั่นค้นหาหนทางในการปกปิดข้อผิดพลาดเพื่อให้บังเกิดผลที่แน่นอน มากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ก็ดูเหมือนว่ายิ่งต้องเผชิญหน้ากับคลื่นความเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องรับมือลูกแล้วลูกเล่า แต่ในโลกที่ ความแน่นอนกลับไม่แน่นอนอย่างเช่นที่โนเกียและลีวายส์ แบรนด์ที่เคยแข็งแกร่งจนยากจะนึกภาพถึงวันที่ต้องก้าวสู่ ความถดถอย การทำ�ให้ผปู้ ระกอบการคุน้ เคยกับความเสีย่ ง (Risk-taking) ตัง้ แต่ผบู้ ริหารจนถึงพนักงานดูจะเป็นทางออก สำ�คัญของการบริหารองค์กรในยุคนี้ บริษัท 3M ในยุคของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จิม แมคเนอร์นีย์ (Jim McNerney) นอกจากจะประสบความ สำ�เร็จในด้านยอดขาย และยังได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการดีเยี่ยมด้วยแนวการบริหารแบบ “ซิกส์ ซิกม่า” (Six sigma) ที่มุ่งเน้นการลดความสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและรายได้ขององค์กร โดยใช้วิธีการทางสถิติมาตั้งเป้าหมายในการดำ�เนินการ เช่น การลดปริมาณสินค้าเสียหายจาก 100 ชิ้นให้เหลือ 10 ชิ้น ต่อเดือน จึงเน้นการขจัดปัญหาที่ทำ�ให้เกิดข้อบกพร่องขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้ได้ดีในยุคหนึ่ง แต่สำ�หรับ จอร์จ บักลีย์ (Gorge Buckley) ที่เข้ามารับช่วงงานต่อในปี 2005 กับภารกิจแรกที่ได้รับมอบหมายคือการปรับวัฒนธรรมองค์กร เสียใหม่ ด้วยการยกเลิกกฎซิกส์ ซิกม่าในห้องแล็บ เพราะผลที่คาดการณ์ได้เสมอ จะทำ�ให้พนักงานไม่ยอมเสี่ยงกับ ไอเดียที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ซึ่งผลจากการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ทำ�ให้บริษัทประสบความสำ�เร็จในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ใหม่ที่มาจากการสนับสนุนให้พนักงานนำ�เสนอไอเดียที่ใช้ทุนไม่มากแต่ได้ผลในวงกว้าง การสนับสนุนพนักงานให้กล้าคิดและบริหารบนความเสี่ยง ยังเป็นกุญแจสำ�คัญในการบริหารองค์กรแบบใหม่เพื่อ รับมือการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเป็นกระแสต่อจากสตาร์ทอัพ แอร์รอนด์ เดอ สเมท (Arrond De Smet) ผู้เชี่ยวชาญในการ ออกแบบองค์กรจากแมคคินซีย์ (McKinsey & Company) บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ�ของโลก อธิบายว่าความสามารถของ องค์กรในการปรับตัวใหม่ การประยุกต์และเปลี่ยนอย่างรวดเร็วให้ประสบความสำ�เร็จ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ ปั่นป่วนในปัจจุบัน ซึ่งเรียกว่า Agility นั้น คล้ายกับแนวคิดของสตาร์ทอัพที่กำ�ลังเบ่งบานในยุคนี้ แต่ในกรณีที่เป็น บริษัทนั้น จำ�เป็นจะต้องมีความมั่นคงในด้านต่างๆ รวมถึงผู้นำ�องค์กรที่ต้องสนับสนุนให้ทั้งองค์กรและพนักงานกล้าที่ จะลองเสี่ยง ล้มเหลว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ในที่สุด

flickr.com/photo/tokyoform

ที่มา: บทความ “Distressed Denim: Levi’s Tries to Adapt to the Yoga Pants Era” โดย Tim Higgins จาก bloomberg.com / บทความ “GoPro’s Karma Drone and New Cameras Look Mighty Hot” จาก wired.com / บทความ “Inside Levi’s Comeback Plans” โดย Vikram Alexei Kansara จาก businessoffashion.com / บทความ “Nokia’s Comeback Strategy Is to Launch New Feature Phones for India in 2017” จาก brandequity.economictimes.indiatimes.com / บทความ “Nokia Smartphones to Return in 2017” โดย Samuel Gibbs จาก theguardian.com / บทความ “Research Says Athleisure Trend Is Driving Growth in Denim Market” จาก apparel.edgl.com / บทความ “The Keys to Organizational Agility” จาก mckinsey.com

CREATIVE THAILAND I 21


Insight : อินไซต์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

ความจริงก็คือคนเรามักจะประเมินการตัดสินใจและการคาดการณ์ของตัวเองว่าถูกต้อง ไว้สูงเกินกว่าความเป็นจริง เมื่อเราต้องพบกับความล้มเหลว เราจึงเจ็บปวด แต่นี้ก็ไม่ใช่ ความผิดของเราซะทีเดียว

CREATIVE THAILAND I 22


สมองของมนุษย์นนั้ ทำ�งานอย่างหนักเพือ่ ให้มนั่ ใจ ว่าทุกๆ ความคิด การตัดสินใจ และการลงมือ ทำ � นั้ น ถู ก ต้ อ งและมี เ หตุ มี ผ ลที่ ดี แ ล้ ว แม้ ว่ า บางครั้งความคิดที่ผุดขึ้นมาจะขัดแย้งกับความ เป็นจริงก็ตาม ตัวอย่างเช่น แม้คนที่ติดบุหรี่จะ เชือ่ ว่าการสูบบุหรีเ่ ป็นอันตรายต่อร่างกายของตน และคนรอบข้าง แต่ก็ยังคงสูบบุหรี่ทุกวัน ซึ่งการ กระทำ�ที่ย้อนแย้งกับความเชื่อของตัวเองเช่นนี้ อธิ บ ายได้ ด้ ว ยทฤษฎี ท างจิ ต วิ ท ยาชื่ อ ว่ า “การไม่ลงรอยกันของการรู้คิด” (Cognitive Dissonance) ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราเกิดการ ไม่ลงรอยกันของความคิดและความเชื่อ เราก็จะ หาทางไกล่ เ กลี่ ย ความไม่ ล งรอยกั น นี้ ด้ ว ย 3 แนวทาง นั่นคือ 1.) การพยายามเปลี่ยนแปลง ความเชือ่ ทัศนคติ หรือพฤติกรรมทีไ่ ม่ลงรอยกัน 2.) การพยายามหาข้อมูลเพิ่มเพื่อช่วยลดความ ขัดแย้งที่รู้สึก 3.) การพยายามลืมหรือลดความ สำ�คัญของความคิดที่ไม่ลงรอยกัน เช่นคนสูบ บุ ห รี่ บ างคนใช้ วิ ธี ไ กล่ เ กลี่ ย ความรู้ สึ ก ขั ด แย้ ง โดยหาข้อมูลเพิ่มว่าบุหรี่ช่วยให้ผ่อนคลายได้ จึงตัดสินใจสูบต่อไป หากนำ�ทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์ถึงเบื้องหลังวิธี คิดของมนุษย์ผทู้ �ำ ธุรกิจแล้วล้มเหลว ซึง่ โดยมาก เกิดจากปัจจัยเรื่องเงินทุน เวลาที่ไม่เหมาะสม และความคิ ด เห็ น ที่ ขั ด แย้ ง กั น เองระหว่ า ง นักลงทุนกับผู้ประกอบการ ปัจจัยความล้มเหลว ทั้งหลายอาจถูกตีความได้แตกต่างกัน บางคน มองว่าความล้มเหลวนั้นเกิดจากปัจจัยที่ควบคุม ไม่ได้ เช่น เงินทุนหมดก็ไม่สามารถสานต่อ ธุรกิจได้ ในขณะที่บางคนคิดว่าล้มเหลวจากการ วางแผนการจัดการเงินตัง้ แต่แรก ซึง่ นัน่ ก็อยูท่ วี่ า่ ใครจะเลือกเชื่อ ตัดสินใจ และลงมือแก้ปัญหา ของตัวเองอย่างไร เพื่อท้ายที่สุดแล้วจะไม่เกิด ความไม่ลงรอยกันของการรู้คิด ความน่าสนใจ จึงอยูท่ ี่ว่า แม้คนเราจะเจอกับปัญหาทีค่ ล้ายคลึง กัน แต่ก็มักเลือกวิธีการจัดการกับความรู้สึกที่ ไม่ลงรอยกันของการรู้คิดนี้ต่างกัน บางคนอาจ จะพบหนทางแห่งความสำ�เร็จ ขณะทีบ่ างคนอาจ ไม่พยายามหาเหตุและผลต่อไปว่าสิ่งที่คิดและ ทำ � อยู่ นั้ น ดี ที่ สุ ด แล้ ว แต่ เ ราจะโทษตั ว เองได้ อย่างไรหากวันหนึง่ เราเกิดล้มเหลว เมือ่ สมองของ

หนังสือประกอบนิทรรศการ FAIL BETTER จัดโดย Trinity College Dublin ประเทศไอร์แลนด์ / เครดิต: dublin.sciencegallery.com

เราก็พยายามอย่างที่สุดเพื่อช่วยปกป้องเราจาก ความเจ็บปวดเพื่อหลีกเลี่ยงความจริงที่ว่าเรา คิดผิดและตัดสินใจพลาด แต่เมือ่ ความล้มเหลวกลับเป็นส่วนประกอบ สำ�คัญของการเรียนรู้และความสำ�เร็จในอนาคต โดยเฉพาะวงการสตาร์ทอัพที่มีความเชื่อที่ว่า ‘ล้มให้เร็ว ล้มให้บ่อย และลุกให้เร็ว’ จะเป็นวิธี ที่จะช่วยให้ได้เรียนรู้ความผิดพลาดและมองเห็น ลูท่ างเข้าใกล้ความสำ�เร็จได้ในอนาคต ในขณะที่ มนุษย์เรามีกลไกทางสมองที่ทำ�งานอย่างหนัก เพื่อปกป้องตัวเองจากความรู้สึกล้มเหลว และ มนุษย์ก็มีจิตใจและความรู้สึก การต้องเผชิญกับ ความเจ็บซํ้าๆ จากการล้มบ่อยๆ อาจเป็นสิ่งที่ดู ไร้หัวใจและอาจทารุณเกินกว่าบางคนจะรับไหว ดังนั้นการเตรียมตัวลุกขึ้นให้ได้อย่างมีคุณภาพ จากการล้มแต่ละครั้ง อาจจะเป็นทางเลือกที่ดี กว่าการต้องยอมเจ็บหลายหนจากการล้มให้บอ่ ย admittingfailure.org คือแพลตฟอร์มการ แชร์ประสบการณ์ล้มเหลวในโลกออนไลน์ ที่เปิด โอกาสให้ผู้ที่ทำ�งานอยู่ทุกภาคส่วนและบุคคล ทัว่ ไปจากทัว่ โลกได้เล่าเรือ่ งราวความล้มเหลวของ ตัวเอง และสิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูจ้ ากความล้มเหลวนัน้ ๆ ให้ผอู้ นื่ ฟัง ไม่วา่ จะเป็นแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และธุรกิจ ไปจนถึงการตัดสินใจส่วนตัวที่ ผิดพลาด เพื่อให้คนทั่วไปได้เข้ามาศึกษาและ

เรียนรู้ความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งแม้จะเป็น เรื่องที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรี ย นรู้ จ ากความผิ ด พลาด แต่ เมื่อ ความ ผิดพลาดมันยากที่จะยอมรับ แพลตฟอร์มนี้จึง เป็นตัวอย่างเล็กๆ ทีเ่ กิดขึน้ เพือ่ ช่วยให้เราได้ลอง ยอมรับความล้มเหลวและเปิดใจแชร์ประสบการณ์ แบบเฟลๆ ให้ผอู้ น่ื ได้เรียนรูไ้ ปด้วย ซึง่ ทุกบทเรียน จากความล้มเหลวก็เปรียบได้กบั ขุมทรัพย์ความรู้ ที่ จ ะช่ ว ยปู ท างให้ ตั ว เราและผู้ อื่ น ได้ ค้ น พบ องค์ความรู้และนวัตกรรมในอนาคตนั่นเอง แน่ น อนว่ า คงไม่ มี ใ ครวางแผนให้ ตั ว เอง ล้มเหลว แต่เมือ่ ความล้มเหลวเป็นสิง่ ทีห่ ลีกเลีย่ ง ไม่ได้และไม่มีใครมีสูตรสำ�เร็จเพื่อป้องกันได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การทำ�ความเข้าใจวิธีคิด ของตัวเอง ไม่โทษตัวเอง เรียนรูจ้ ากความผิดพลาด ของตัวเองและผูอ้ นื่ อาจจะเป็นคำ�แนะนำ�ทีแ่ ม้จะ ดูซาํ้ ซากและน่าเบือ่ แต่กน็ า่ จะยังใช้การได้ดที สี่ ดุ เพราะสิง่ สำ�คัญก็คอื เราได้อะไรจากการล้มแต่ละ ครั้งมากกว่า เหมือนอย่างที่ซามูเอล เบ็กเค็ทท์ (Samuel Beckett) นักเขียนบทละครชื่อดัง ชาวไอร์ แ ลนด์ เ คยกล่ า วไว้ ว่ า “เคยพยายาม เคยล้ม ไม่มีความหมาย จงพยายามอีกครั้ง จงล้มอีกครั้ง จงล้มให้ดีกว่าเดิม” (Ever tried. Ever failed. No matter. Try again. Fail again. Fail better.)

ที่มา: บทความ “การไม่ลงรอยกันของการรู้คิด (Cognitive dissonance)” โดย blackdogsworld.wordpress.com / บทความ “Why Silicon Valley’s ‘Fail Fast’ Mantra Is Just Hype” (14 กรกฎาคม 2014) โดย Rob Asghar จาก forbes.com / บทความ “Entrepreneurs, Failure and the Curse of Cognitive Dissonance” (3 เมษายน 2013) โดย Martin Soorjoo จาก alleywatch.com / บทความ “Why It’s Hard to Admit to Being Wrong” (7 กรกฎาคม 2008) จาก npr.org / บทความ “The Stunning Success of Fail Better” (มกราคม 2014) โดย Mark O’Connell จาก slate.com / บทความ “Why Scientists Need To Fail Better” (5 พฤศจิกายน 2015) โดย Stuart Firestein จาก nautil.us / admittingfailure.org CREATIVE THAILAND I 23


เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร

หลายคนอาจติดภาพจำ�ว่าเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพจะต้องเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยีที่เข้ามาพลิกโฉม พฤติกรรมการบริโภค และประสบความสำ�เร็จตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 ปี แต่ผู้คนที่เดินเข้าออกกันอย่างคึกคักตามงานประชุม เสวนาเกีย่ วกับธุรกิจและสตาร์ทอัพในปีนี้ ยังรวมไปถึงเหล่าคนสูงวัยผมสีดอกเลาและเบบีบ้ มู เมอร์ดว้ ย อาจเพราะเทคโนโลยี ในวันนีเ้ ปิดกว้างให้คนต่างรุน่ ต่างวัยได้เข้าถึงแหล่งข้อมูล แพลตฟอร์มการซือ้ ขาย และเครือ่ งมือการลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน ที่สำ�คัญกลุ่มคนเหล่านี้ยังมาพร้อมกับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มีแต่ ‘เวลา’ เท่านั้นจะบ่มเพาะได้ การเปลี่ยนแปลงระลอกใหม่ในซิลิคอน วัลเลย์ มันอาจเริ่มต้นในปี 2013 ตอนที่บาร์บารา เบสไคนด์ (Barbara Beskind) ได้ เห็นเดวิด เคลลี (David Kelly) ผู้ก่อตั้ง IDEO บริษัทด้านการออกแบบชั้นนำ� ของโลก ให้สมั ภาษณ์ทางโทรทัศน์วา่ ประสบการณ์และความหลากหลายของ ทีมงานนั้นสำ�คัญต่อการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ตอน นั้นเธออายุ 89 ปี และตัดสินใจเขียนจดหมายสมัครงานไปยัง IDEO ทันที บาร์บาราเล่าประสบการณ์การทำ�งานของเธอตัง้ แต่ตอนทำ�งานเป็นนักบำ�บัด ในกองทัพ และอธิบายว่าเธอจะมีส่วนช่วยบริษัทในการออกแบบเพื่อสังคม ผู้สูงอายุได้อย่างไร บาร์บาราเคยให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์กไทม์ว่า “ความคิดสร้างสรรค์คือ ยาอายุวฒั นะของชีวติ ” และดูเหมือนเธอจะพิสจู น์วา่ เป็นเช่นนัน้ จริง ปัจจุบนั เธอมีอายุ 92 ปี และทำ�งานเป็นนักออกแบบที่ IDEO สาขาพาโล อัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ร่วมกับคนหนุ่มสาวไฟแรงในซิลิคอน วัลเลย์ นอกจากจะ ดูแลโปรเจ็กต์บริการเดลิเวอรี่ของศูนย์สุขภาพ และร่วมออกแบบชุดดินสอ

สีนํ้าสำ�หรับคนที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแล้ว บาร์บารายังมีแบรนด์ อุปกรณ์ชว่ ยทรงตัวทีช่ อื่ “เทรกเกอร์” โดยดัดแปลงจากไม้สกี พร้อมออกแบบ ที่จับให้กระชับมือและติดไฟแอลอีดีเพิ่มความปลอดภัย เรื่องราวของนักออกแบบหญิงสูงวัยผู้นี้ไม่เพียงสร้างแรงบันดาลใจให้ คนหลายรุ่นทั่วโลก แต่ยังเปลี่ยนมุมมองความคิดและทัศนคติต่อคนสูงอายุ ในปัจจุบัน จากที่เคยถูกมองข้ามหรือตัดสินว่าเป็นภาระของรัฐ ทุกวันนี้ ผู้สูงวัยเริ่มกลับมาทำ�งานหรือทำ�ธุรกิจเล็กๆ ของตัวเองอย่างแอคทีฟ โดย ไม่มองอายุเป็นอุปสรรค และการทีบ่ ริษทั ชัน้ นำ�อย่าง IDEO รับเธอเข้าทำ�งาน ก็ยิ่งสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและทีมงานยุคใหม่ที่ไม่นำ� ‘อายุ’ มา ปิดกั้นทักษะ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน ที่สำ�คัญ ทั้งบาร์บาราและทีม IDEO เองก็เชื่อว่า การแชร์ความรู้ความเข้าใจที่เธอมี เกี่ยวกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงวัย และเข้ามามีส่วนร่วมใน การออกแบบ (Co-creation) จะนำ�ไปสู่การแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อผู้สูงวัยอย่างแท้จริง

CREATIVE THAILAND I 24

fastcompany.com

Creative Startup : เริ่มต้นคิด


Boomerpreneur จัดการความเสี่ยงด้วยประสบการณ์ ในสหราชอาณาจักร คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์กำ�ลังขานรับเทรนด์การประกอบ ธุรกิจแทนการปลดเกษียณ รายงานวิจัยโดย Future Laboratory เปิดเผยว่า เบบี้บูมเมอร์ยังคงต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม และอยากสร้างสรรค์สิ่งที่ มีประโยชน์ต่อสังคมด้วยทักษะและประสบการณ์ของตนเอง รายงานดังกล่าวยังระบุวา่ ปัจจุบนั คนวัยทำ�งานตอนปลายหันมาสนใจ ทำ�ธุรกิจขนาดเล็กและสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับงานคราฟต์ เพราะเชือ่ ว่าการทำ�งานจะทำ�ให้ตนยังคงแอคทีฟ โดยมีแนวโน้มเพิม่ ขึน้ จาก 1.7 ล้านคนเป็น 2 ล้านคนในปี 2020 ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ผู้สูงวัยในสหราชอาณาจักรกลับมา ทำ�งานกันอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเพราะการปรับนโยบายบางส่วนของรัฐบาล เช่น เงินบำ�นาญ และระบบไมโครไฟแนนซ์ทสี่ นับสนุนให้กลุม่ คนอายุ 50 ปีขนึ้ ไป มีธุรกิจของตนเอง และลดปัญหาการว่างงาน ขณะที่ภาคเอกชนเองก็ ไม่พลาดที่จะตอบสนองอุปสงค์ดังกล่าว เช่น เปิดโครงการปั้นสตาร์ทอัพ เพิ่มบริการเกี่ยวกับการลงทุนสตาร์ทอัพในระยะเริ่มต้น จนถึงการกู้ยืมเพื่อ ขยายสเกลธุรกิจสำ�หรับผู้ประกอบการสูงวัย

flickr.com/photo/Knight Foundation

ไม่ใช่แค่บาร์บารา เบสไคนด์เท่านัน้ ประตูของซิลคิ อน วัลเลย์ ได้เปิดต้อนรับ ผูส้ งู อายุและคนรุน่ เบบีบ้ มู เมอร์ทตี่ บเท้าเข้ามาในงานประชุมและเสวนาเกีย่ ว กับธุรกิจสตาร์ทอัพ เช่น งานประชุม Silicon Valley Boomer Venture Summit ทีก่ อ่ ตัง้ ในปี 2004 โดยได้รบั การสนับสนุนจากสมาคมผูเ้ กษียณอายุ ของสหรัฐอเมริกา (AARP) แมรี่ เฟอร์ลอง (Mary Furlong) ผู้ร่วมก่อตั้งงานดังกล่าวเห็นว่าสังคม ผู้สูงอายุเป็นประเด็นสำ�คัญระดับโลก เธอจึงต้องการชวนนักลงทุน แองเจิล อินเวสเตอร์ อินคิวเบเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม นักออกแบบ และ ผู้ประกอบการ มาร่วมค้นหาความเป็นไปได้ทางธุรกิจและการออกแบบ ผลิตภัณฑ์/บริการสำ�หรับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ ที่ทรงอิทธิพลในอเมริกา ตามแนวคิดเศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy) ของเอเออาร์พี หนึ่งในวิทยากรที่เข้าร่วมการบรรยายในปี 2016 คือ เคน ไดต์วัลด์ (Ken Dychtwald) นักจิตวิทยาอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ เขาเป็น ตัวแทนของคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ที่ยังคงทำ�งานอยู่ด้วยวัย 66 ปี ในตำ�แหน่ง ซีอีโอของบริษัท Age Wave ให้คำ�ปรึกษาและรายงานวิจัยเกี่ยวกับการ ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เคนได้เดินทางไปบรรยายตามเวที ระดับโลก เช่น การประชุมสภาเศรษฐกิจโลก และการประชุมเกีย่ วกับสังคม สูงวัยทีท่ �ำ เนียบขาว เพือ่ อธิบายโอกาสทางธุรกิจของเศรษฐกิจอายุวฒั น์ และ สนับสนุนให้คนเปลีย่ นนิยามการเกษียณอายุเสียใหม่ เพราะผูส้ งู อายุตอ้ งการ มีส่วนร่วมและพัฒนาตนเอง นอกจากซิ ลิ ค อน วั ล เลย์ แนวโน้ ม นี้ เ ริ่ ม ปรากฏชั ด เจนยิ่ ง ขึ้ น ใน สหรัฐอเมริกา มูลนิธิคอฟฟ์แมน (Kauffman Foundation) ได้เปิดเผย ผลสำ�รวจเกี่ยวกับการทำ�ธุรกิจและสตาร์ทอัพในปี 1996-2014 พบว่า กลุ่ม ชาวอเมริกันอายุ 55-64 ปี ที่เริ่มทำ�ธุรกิจใหม่ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่ม วัย 20-30 ปี และเกือบ 1 ใน 4 ของธุรกิจเกิดใหม่ในปี 2012 ล้วนก่อตั้งโดย ผู้ประกอบการอายุ 55 ปี หรือมากกว่านั้น

ปรากฏการณ์คล้ายกันนีย้ งั เกิดขึน้ ในหลายประเทศทัว่ โลก อาทิ ทอม เฟธ (Tom Fath) ประธานบริษัท FATH Group วัย 66 ปี ได้รับการยกย่องในฐานะ ผู้สนับสนุนสตาร์ทอัพตัวยง ผู้บริหารที่กล้าได้กล้าเสี่ยงและเป็นนักลงทุน มืออาชีพ เขายังถือหุน้ ในบริษทั ชัน้ นำ�ด้านเทคโนโลยี อาทิ Quantum Silicon, Bertech), MTI ขณะที่พอลลาและกอร์ดอน แม็กเนอร์เนย์ (Paula and Gordon McInerney) คูส่ ามีภรรยาชาวออสเตรเลียวัย 60 ตัดสินใจเปิดบล็อก ท่องเที่ยวที่ชื่อ Contented Traveller หลังเกษียณ และมีแฟนๆ ติดตาม จนได้รับเชิญมาเขียนคอลัมน์ให้กับ USA Today ในปัจจุบัน ส่วน สมเกียรติ ชินธรรมมิตร์ ก็เป็นซีอีโอรุ่นราวคราวเดียวกันที่น่าจับตามองในธุรกิจ สายฟินเทค จากการก่อตั้ง เวลธ์ เมจิก (Wealth Magik) บริการออนไลน์ ที่รวบรวมเครื่องมือทางการเงินและการบริหารจัดการการลงทุนมาแนะนำ� ให้นักลงทุนมือใหม่ ความเป็นไปได้ทวี่ า่ ผูป้ ระกอบการสูงวัยจะมีแนวโน้มประสบความสำ�เร็จ มากกว่าวัยรุ่น ทำ�ให้นักลงทุนเริ่มจับตามองกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีคนอายุ เยอะเป็นผู้บริหารหรือที่ปรึกษา เพราะคนมีอายุย่อมมีประสบการณ์ความรู้ การบริหารจัดการ การลงทุน และมีเครือข่าย ไม่ได้มุ่งมั่นจะ ‘เปลี่ยนแปลง โลก’ ให้ได้อย่างคนเจเนอเรชั่นวายหรือเด็กรุ่นใหม่ หากรู้จักรับมือกับความ เสี่ยงอย่างคนทำ�ธุรกิจเป็น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลวิจัยที่ออกมาสนับสนุน แนวคิดนี้ยังไม่สามารถยืนยันทฤษฎีดังกล่าวว่าเป็นจริง วั น ที่ โ ลกกำ � ลั ง มุ่ ง หน้ า สู่ สั ง คมผู้ สู ง อายุ เ ต็ ม รู ป แบบ รายงานจาก เอเออาร์พีระบุว่า กลุ่มประชากรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะเป็นแรงขับเคลื่อน สำ�คัญของระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อเจนเอ็กซ์และมิลเลนเนียลทั่วโลก เริ่มเข้าสู่ช่วงอายุดังกล่าว จะทำ�ให้สัดส่วนของกลุ่มคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจาก 1.6 พันล้านคนในปี 2015 เป็น 3.2 พันล้านคนในปี 2050 ที่น่า จับตามองนับจากนี้ไปก็คือ เส้นแบ่งช่วงอายุจะค่อยๆ ถูกสลายไป และเกิด วัฒนธรรมการทำ�งานใหม่ ทีเ่ น้นการทำ�งานระหว่างคนต่างรุน่ ต่างทักษะกับ ความถนัด และเติบโตมาในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ที่มา: ideo.com/people/barbara-beskind / รายงาน “The Kauffman Index 2015: Startup Activity | National Trends” โดย Kauffman Foundation จาก kauffman.org / รายงาน “The Longevity Economy: How People Over 50 Are Driving Economic and Social Value in the US” (กันยายน 2016) จาก aarp.org

CREATIVE THAILAND I 25


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช

นับจากนี้ไปเม็กซิโก ซิตี้ จะเต็มไปด้วยสีชมพู หากไม่ใช่สีชมพูแบบเม็กซิกันอันเป็นส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าพื้นเมืองแสนจัดจ้าน หรือความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมอย่างที่ต่างคุ้นเคยกันดี แต่คือสีชมพูท่ีสะท้อนพลังและความคิดสร้างสรรค์ของเมืองหลวง แห่งการออกแบบของโลก (World Design Capital) ซึง่ จะเป็นโฉมหน้าใหม่ของเมืองหลวงเก่าแก่แห่งละตินอเมริกาในปี 2018

แมวเก้าชีวิต ประวัติศาสตร์ของเม็กซิโก ซิตี้ นั้นเต็มไปด้วย เรือ่ งราวครบทุกด้านอย่างทีด่ นิ แดนเก่าแก่ดนิ แดน หนึ่ ง มั ก จะมี ทั้ ง ความเป็ น แหล่ ง อารยธรรม สำ�คัญของโลกจากความรุ่งเรืองของอาณาจักร แอซเท็ก (Aztec) ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิ สเปน และแม้กระทัง่ ทำ�สงครามเรียกร้องเอกราช จนสำ�เร็จ แต่คงไม่ต้องย้อนไปไกลถึงขนาดนั้น เพื่อที่จะบอกว่าเมืองหลวงเก่าแก่แห่งนี้ล้มลุก คลุกคลานมามากเพียงใด เพราะเพียงแค่ช่วง

50 ปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นได้ว่าเม็กซิโก ซิตี้ ต้อง เผชิญกับปัญหามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความวุ่ น วายทางการเมื อ ง มี ก ารสั ง หารหมู่ นักศึกษาหลายร้อยคนที่ต่อต้านรัฐบาล ซึ่งใน ขณะนั้ น ปกครองประเทศมาแล้ ว กว่ า 40 ปี (Tlatelolco Massacre) การชุมนุมประท้วงผล การเลื อ กตั้ ง จนกองทั พ ต้ อ งเข้ า มาสลายการ ประท้วงในปี 2006 เหตุการณ์นักศึกษา 43 คนที่ ถูกอุ้มหายไปในรัฐเกร์เรโร (Guerrero) เมื่อปี 2014 จนทำ�ให้เกิดการประท้วงไปทัว่ ประเทศเพือ่ เรียกร้องความยุติธรรมมาจนถึงทุกวันนี้ ยังไม่ CREATIVE THAILAND I 26

รวมถึ ง ความวุ่ น วายจากการชุ ม นุ ม ประท้ ว ง ต่อต้านประธานาธิบดีเอนริเก เปญา นิเอโต (Enrique Peña Nieto) จากความล้มเหลวในการ บริหารงานและการต้อนรับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ซึง่ ขณะนั้นกําลังอยู่ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ตําแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งเคยกล่าวโจมตีเม็กซิโกในการหาเสียงครั้ง หนึ่งว่าเป็นผู้ส่งยาเสพติดและนักข่มขืนข้ามแดน ไปยังสหรัฐอเมริกา


ต้ อ งมี อ ะไรถึ ง จะเป็ น เมื อ ง หลวงแห่ ง การออกแบบ ของโลก ทุกๆ สองปี หน่วยงานระหว่างประเทศ World Design Organization หรือ WDO จะกำ�หนด เมืองหลวงแห่งการออกแบบขึ้น เพื่อยกย่องเมือง ที่ใช้การออกแบบเป็นเครื่องมือในการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของผู้คนใน เมืองนั้นๆ โดยมีเมืองที่เคยได้รับตำ�แหน่งนี้มา

flickr.com/photo/mariordo59

ไม่เพียงแต่เป็นศูนย์กลางการชุมนุมประท้วงมา โดยตลอดเท่านั้น แต่เม็กซิโก ซิตี้ ยังขึ้นชื่อเรื่อง ความเหลือ่ มลํา้ ทางเศรษฐกิจ แม้วา่ รัฐจะมีกิจการ นาํ้ มันเป็นของตนเอง เป็นเมืองทีม่ มี หาเศรษฐีตดิ อันดับโลก แต่นั่นก็เป็นความรวยแบบกระจุกตัว แคมเปญของบริษัทโฆษณาปุบลิซิส (Publicis) แสดงภาพที่พักอาศัยของชาวเม็กซิโก ซิตี้ใน มุมสูง ที่แม้จะอยู่ติดกันชนิดที่เรียกว่ารั้วชนรั้ว แต่ความแตกต่างของบ้านที่บ่งบอกฐานะของ ผู้อยู่อาศัยนั้นเห็นได้อย่างชัดเจนจนน่าตกใจ นอกจากนี้ เม็กซิโก ซิตี้ ยังมีปัญหาด้านการ จัดการเมือง ไม่ต่างจากเมืองในประเทศกำ�ลัง พัฒนาอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของประชากร มลพิษทางอากาศ อาชญากรรม การให้ความสำ�คัญกับห้างสรรพสินค้าและถนน สำ�หรับรถยนต์มากกว่าสวนสาธารณะ ทางเดินเท้า และขนส่งมวลชน แต่ปัญหาที่รุมเร้าก็ไม่ได้ทำ�ให้เม็กซิโก ซิตี้ ไปต่อไม่ได้ในเวทีโลก ในปี 1968 เมืองหลวง แห่งนี้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก แม้ว่าสิบวันก่อนหน้าพิธีเปิดจะเกิดเหตุการณ์ สังหารหมูน่ กั ศึกษาทีต่ ลาเตลลอลโค (Tlatelolco) อีกทั้งยังเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกถึง สองครั้ง คือในปี 1970 และ 1986 หนึ่งปีหลังเหตุ แผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ทสี่ ง่ ผลให้มผี เู้ สียชีวติ กว่า 10,000 คนและบาดเจ็บกว่า 30,000 คน นอกจากนี้ นิตยสารเดอะ นิวยอร์ก ไทมส์ ยังยก ให้เม็กซิโก ซิต้ี เป็นเมืองน่าท่องเทีย่ วอันดับ 1 ใน ปี 2016 และล่าสุดกับบทบาทใหม่ที่กำ�ลังจะเป็น เมื อ งหลวงแห่ ง การออกแบบแห่ ง แรกในทวี ป อเมริกาในปี 2018

แล้วทั้งหมด 5 เมือง ได้แก่ ตูริน โซล เฮลซิงกิ เคปทาวน์ และไทเป การได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวง แห่งการออกแบบนัน้ เมืองทีไ่ ด้รบั การคัดเลือกจะ ต้องมีศักยภาพในการจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดปี เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้นโยบายการจัดการ เมืองด้วยการออกแบบอย่างยั่งยืน และการใช้ นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพีชีวิต ในปี 2018 เม็กซิโก ซิตี้ กำ�ลังจะเป็นเมือง หลวงแห่งการออกแบบเมืองที่ 6 และเป็นเมือง แรกในทวีปอเมริกาที่ได้รับตำ�แหน่งนี้ นายมูเกนดิ เอ็ม ริทา (Mugendi M’Rithaa) ประธาน WDO และหนึง่ ในคณะกรรมการคัดเลือก กล่าวว่า เม็กซิโก ซิตี้ จะกลายเป็นต้นแบบด้าน การจัดการเมืองให้กบั มหานครอืน่ ๆ ทัว่ โลก โดย ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อสร้างเมืองที่ ปลอดภัยและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย WDO ให้ความเห็นว่า เม็กซิโก ซิตี้ แสดง ให้คณะกรรมการเห็นแวดวงการออกแบบของ เมืองที่มีมาอย่างยาวนานได้เป็นอย่างดี ทั้งเต็ม ไปด้วยพลังของกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ และรูจ้ กั ใช้กระบวนการสร้างสรรค์เพือ่ หลอมรวม แนวคิ ด ดั้ ง เดิ ม เข้ า กั บ วิ สั ย ทั ศ น์ แ บบใหม่ นอกจากนี้ โปรเจ็กต์ต่างๆ เพื่อพัฒนาสังคมยัง พิสจู น์ให้เห็นถึงความพยายามอย่างสูงทีจ่ ะผลักดัน ให้เห็นความสำ�คัญของการออกแบบในวงกว้าง แต่เหนือสิ่งอื่นใด เหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้ เม็กซิโก ซิตี้ เอาชนะคู่แข่งอย่างเมืองกูรีตีบา (Curitiba) ของบราซิลได้สำ�เร็จ ดูเหมือนจะอยู่ ที่ความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน ที่ไม่เพียง มีแต่การสนับสนุนจากภาครัฐเท่านั้น แต่ยังรวม ไปถึงแวดวงการออกแบบในภาคประชาชนด้วย CREATIVE THAILAND I 27

การผลักดันจากรัฐ แม้ว่าเม็กซิโก ซิตี้ มักจะใช้เงินไปกับการสร้าง ถนนเพื่อแก้ปัญหาอัตราการเดินทางเฉลี่ยของ ชาวเมืองซึ่งอยู่ที่ 3 ชั่วโมงต่อวัน เพราะความไม่ เชื่อมต่อของระบบคมนาคมและเครือข่ายขนส่ง สาธารณะที่ไม่ทั่วถึง แต่นั่นก็หมายถึงระยะเวลา ในการเดินทางที่เพิ่มขึ้นตามไปอยู่ดี เนื่องจาก จำ�นวนรถยนต์ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในปี 2010 เม็กซิโก ซิตี้ จึงริเริ่มโครงการจักรยานสาธารณะ EcoBici ขึ้น และประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีสถิติการเดินทางกว่า 38 ล้านครั้ง ด้วย จำ�นวนจักรยานให้บริการ 6,000 คัน และสถานี จักรยานทั้งสิ้น 452 สถานี เพิ่มขึ้นจาก 1,200 คัน และ 84 สถานีในปีแรก ครอบคลุมพืน้ ที่ 35 ตาราง กิโลเมตรใน 42 พื้นที่ อีกทั้งยังมีแผนที่จะเติบโต ขึ้นเรื่อยๆ จากความต้องการใช้บริการที่สูงขึ้น ทั้ ง เพื่ อ ทดแทนระบบการคมนาคมที่ ไ ม่ มี ประสิทธิภาพ และประโยชน์ดา้ นอืน่ ๆ ทีจ่ ะนำ�ไป สู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการเวลา ความพยายามในการจัดการเมืองโดยรัฐเห็น ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในปี 2014 เมื่อเกิดการเปลี่ยน กฎหมายที่ให้ความสำ�คัญกับคนเดินเท้ามาเป็น อันดับหนึ่ง ตามมาด้วยผู้ใช้จักรยาน ขนส่ง สาธารณะ และรถยนต์มาเป็นอันดับสุดท้าย นอกจากนี้เม็กซิโก ซิตี้ ยังลงทุนเรื่องระบบรถ โดยสารด่วนพิเศษ หรือ BRT ส่งผลให้มีเส้นทาง BRT ทั้งสิ้น 6 สายภายในระยะเวลาเพียง 12 ปี และจะกลายเป็นเมืองที่มีระบบ BRT ใหญ่ที่สุด ในโลกในไม่ช้า


กลางปี 2015 รัฐบาลเม็กซิโก ซิตี้ เสนอแผน ปรับปรุงพื้นที่บริเวณ Avenida Chapultepec ซึง่ เป็นถนนทีเ่ ก่าแก่ทสี่ ดุ และวุน่ วายทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของเมือง เพราะแต่ละวันมีรถยนต์กว่า 75,000 คันวิง่ ผ่านไปมาบนถนนขนาด 10 เลนนี้ และการ จะข้ามถนนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เมกะโปรเจ็กต์นี้ใช้ ชื่อว่า Corredor Cultural Chapultepec (CCC) โดยมีต้นแบบเป็นโครงการที่ประสบความสำ�เร็จ ทั้งหลายอย่างลาส รัมบลาส (Las Ramblas) ใน บาร์เซโลนา หรือไฮ ไลน์ (High Line) ของนิวยอร์ก นั่นคือพื้นที่ใหม่จะเป็นทั้งทางเดินเท้า ทางข้าม ทางจักรยาน ร้านขายของ สวนสาธารณะ พื้นที่ สาธารณะสำ�หรับเป็นจุดนัดพบและจัดกิจกรรม ทางวัฒนธรรม อยู่ร่วมกับถนนสำ�หรับรถยนต์ ส่วนบุคคลและขนส่งสาธารณะ ในอัตราส่วน 70:30 ตามแนวคิด ‘Complete Streets’ คือถนน ทีผ่ ใู้ ช้ถนนทุกประเภทสามารถอยูร่ ว่ มกันได้อย่าง สงบสุข แต่ ภ าพที่ รั ฐ ฝั น ไว้ ก็ มี อั น ต้ อ งหยุ ด ชะงั ก เพราะเกิ ด กระแสคั ด ค้ า นขึ้ น ทั น ที ที่ บ ริ ษั ท สถาปนิก FR-EE ซึ่งร่วมกับสตูดิโอออกแบบ FRENTE และ RVDG เผยแพร่ภาพแบบโครงการนี้ ออกไป บ้างก็วา่ จะกลายเป็นเพียงห้างสรรพสินค้า อีกแห่งของเมือง บางกลุ่มกังวลถึงราคาที่ดิน โดยรอบที่จะสูงขึ้น จนบีบบังคับให้คนท้องถิ่น ต้องย้ายออกเพราะไม่สามารถสูก้ บั ค่าครองชีพได้ ในขณะที่อีกกลุ่มมองว่าโครงการเช่นนี้มักจะ กระจุกตัวอยูใ่ นพืน้ ทีก่ ลางเมืองทีไ่ ด้รบั การพัฒนา อยู่แล้ว แต่ยังมีพื้นที่อื่นซึ่งมีปัญหาและต้องการ การพัฒนาที่เร่งด่วนกว่า แม้จะยังไม่แน่ใจว่า CCC จะเป็นรูปเป็นร่าง ขึ้นมาได้จริงหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นอย่าง แน่นอนก็คือ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในด้านต่างๆ เพื่อหาทางออกร่วมกัน นับเป็นความล้มเหลวที่ น่าจับตาอย่างที่อาจจะหาไม่ได้จากบางเมือง ด้วยซํ้า

designboom.com

ความล้มเหลวที่น่าจับตา

รัฐเสนอ ชาวเมืองสานต่อ ไม่แปลกนักที่การเมืองมักจะถูกมองว่าเชื่อถือ ไม่ ไ ด้ ส่ ว นหน่ ว ยงานรั ฐ คื อ ความล่ า ช้ า และ สิ้นหวัง กาเบรียลลา โกเมซ-มอนต์ (Gabriella Gomez-Mont) ก็เป็นหนึ่งในคนที่มองภาครัฐ ด้วยสายตาเช่นนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา เธอคือ ผู้ ส นั บ สนุ น ตั ว ยงของการทำ � งานนอกสถาบั น จนกระทั่งเมื่อปี 2013 ที่มิเกล อังเคล มานเซรา (Miguel Ángel Mancera) นายกเทศมนตรี คนใหม่ของเม็กซิโก ซิตี้ ยืน่ ข้อเสนอให้เธอเข้ามา รับผิดชอบแผนกใหม่ในรัฐบาลท้องถิ่นของเขา โดยเปิดโอกาสให้โกเมซ-มอนต์ทำ�อะไรก็ได้ แต่ สิ่ ง นั้ น จะต้ อ งสร้ า งสรรค์ แ ละเป็ น สิ่ ง ใหม่ เ พื่ อ พัฒนาเมืองหลวงที่มีประชากรกว่า 22 ล้านคน แห่งนี้ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ทุกวันนี้ โกเมซ-มอนต์ เป็นผูอ้ �ำ นวยการของ Laboratorio para la Ciudad (Laboratory for the City) หน่วยงานด้านการสร้างนวัตกรรมให้ กับเมือง (Civic Innovation) และใช้ความคิด สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเมือง (Urban Creativity) CREATIVE THAILAND I 28

สำ�หรับเธอแล้ว แม้ว่าการทำ�งานกับรัฐจะหมาย ถึงระบบการบริหารงานแบบราชการ แต่นั่นก็ หมายถึงศักยภาพในการพัฒนาเมืองที่มากมาย มหาศาลเช่นกันถ้ารู้จักเลือกใช้แนวคิดที่ถูกต้อง และมี บ ทสนทนาที่ ถู ก ทางกั บ เครื อ ข่ า ยที่ ครอบคลุมอยู่ทั่วเมือง ทีมงาน Laboratorio para la Ciudad ประกอบไปด้ ว ยคนหนุ่ ม สาวจากหลากหลาย สาขาอาชีพ และแทบไม่มีใครเคยทำ�งานร่วมกับ หน่วยงานของรัฐมาก่อน ทัง้ สถาปนิก ผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้ า นเทคโนโลยี นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ป์ นั ก รัฐศาสตร์ นักวางผังเมือง คนทำ�ภาพยนตร์ นักสังคมวิทยา และนักออกแบบ สิง่ หนึง่ ทีท่ มี งาน ซึ่งแตกต่างมีร่วมกัน นั่นคือความต้องการที่จะ สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นกับเมืองขนาดใหญ่อย่าง เม็กซิโก ซิตี้ และลงมือจัดการกับปัญหาเหล่านั้น ด้วยความหวังที่จะเป็นพื้นที่ทดลองให้รัฐและ พลเมืองได้ท�ำ งานร่วมกัน โดยทีร่ ฐั ไม่ได้เป็นเพียง ผู้ควบคุม แต่เป็นตัวการสำ�คัญที่กระตุ้นให้เกิด การเปลี่ยนแปลง เพื่อเมืองแบบใหม่ที่เปิดกว้าง น่าอยู่ และสร้างสรรค์


inhabitat.com

การเข้ า ถึ ง และมี ส่ ว นร่ ว มกั บ ชุ ม ชนดู จ ะ เป็นการเริ่มต้นที่ควรทำ� โปรเจ็กต์แรกๆ ของทีม จึงเป็นการจัดสรรพืน้ ทีท่ มี่ อี ยูแ่ ล้วอย่างสร้างสรรค์ เพื่ อ กระตุ้ น ให้ เ กิ ด การตื่ น ตั ว ไม่ ว่ า จะเป็ น Urban Artifact โครงไม้ขนาดใหญ่ที่มีรูปร่าง คล้ายตัวหนอนและมีโพรงตรงกลางให้เข้าไป นั่งได้ เพื่อเก็บข้อมูลการใช้พื้นที่สาธารณะของ ชุมชนและเป็นสถานทีจ่ ดั เวิรก์ ช็อป โดยตัวงานจะ ถูกนำ�ไปวางตามจัตุรัสสำ�คัญๆ หลายแห่งทั่ว เมือง หรือเวทีสัมมนาที่เปลี่ยนดาดฟ้าตึกที่ต้ัง Laboratorio para la Ciudad ให้กลายเป็นพืน้ ที่ รับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกด้าน ตั้งแต่เรื่องอนาคตของการผลิตไปจนถึงความ ปลอดภัยของผู้ใช้ทางเดินเท้า โดยปัจจุบันเป็น กิจกรรมที่ได้รับความสนใจจากผู้ชมวัยหนุ่มสาว กว่าร้อยคนและจัดไปแล้วกว่า 40 ครั้ง เมื่อชาวเมืองเริ่มตื่นตัว โปรเจ็กต์อื่นๆ ที่ ตามมาก็เริ่มช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มากขึ้น ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่น Traxi เพื่อ ฟื้นความมั่นใจในการใช้บริการรถแท็กซี่ให้กลับ คืนมา หลังจากมีแท็กซี่ไม่ได้จดทะเบียนกว่า 20,000 คันทีเ่ กีย่ วข้องกับคดีลกั ทรัพย์และทำ�ร้าย ร่างกายผู้โดยสาร จนส่งผลให้มีการใช้รถยนต์ ส่วนตัวมากขึ้นและเป็นสาเหตุของการจราจร ติดขัดเพิ่มขึ้นอีก 30% จากการหาที่จอดรถ โดย Traxi จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลของกระทรวง คมนาคม เพื่อช่วยผู้โดยสารตรวจสอบว่าแท็กซี่ คันนี้จดทะเบียนแล้วหรือไม่ และยังมีปุ่มแจ้ง เหตุรา้ ยส่งตรงไปยังสำ�นักงานตำ�รวจในกรณีเกิด เหตุร้ายอีกด้วย

แอพพลิเคชั่น Traxi นี้เป็นผลลัพธ์จากความ พยายามของ Laboratorio para la Ciudad ใน การผลักดันให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูล ตัวเลขและสถิติที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ (Open-Data Platform) รวมไปถึงโปรแกรม Code for Mexico City ซึ่งฝึกอบรมนักพัฒนา แอพพลิเคชั่น 6 คนที่ผ่านการคัดเลือก ให้พัฒนา แอพพลิเคชั่นร่วมกับหน่วยงานสำ�คัญต่างๆ ของ เม็กซิโก ซิต้ี อีก 6 หน่วยงาน เช่น แอพพลิเคชัน่ กับกระทรวงสิง่ แวดล้อมเกีย่ วกับการทดสอบการ ปล่อยของเสียจากรถยนต์ เป็นต้น

รวมกันเมืองอยู่รอด เช่นเดียวกับมหานครอื่นทั่วโลกที่กำ�ลังเติบโต อย่างก้าวกระโดดโดยปราศจากการจัดการเมือง อย่างทันท่วงที เม็กซิโก ซิตี้ คือหนึ่งในเมืองที่มี มลพิษทางอากาศสูงทีส่ ดุ ในโลก มีรายงานว่าเมือ่ กลางปี 2016 เมืองหลวงแห่งนี้มีปริมาณมลพิษ พุง่ สูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทัง้ ชาวเมือง และนักท่องเที่ยว ด้วยภูมิประเทศที่อยู่กลาง หุบเขาซึ่งเอื้อต่อการกักเก็บควันพิษ ทำ�ให้ความ พยายามร้อยแปดของรัฐที่จะแก้ปัญหาซึ่งมีมา ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 นั้นยังไม่เป็นผลสำ�เร็จ ทั้งออกคำ�สั่งปิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อย ควันพิษ ประกาศใช้เกณฑ์การอนุญาตปล่อย ควันพิษที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น และควบคุมการใช้ รถยนต์ส่วนบุคคลในพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด แต่ในขณะที่รัฐยังหาทางออกที่ยั่งยืนไม่ได้ ดูเหมือนจะมีคนบางกลุ่มที่สามารถหาคำ�ตอบ ใหม่ให้กับปัญหาเดิมนี้ VERDMX คือองค์กร ไม่แสวงผลกำ�ไรซึง่ เป็นเจ้าของแนวคิดประติมากรรม สี เ ขี ย วที่ ตั้ ง อยู่ ต ามจุ ด สำ � คั ญ ต่ า งๆ ทั่ ว เมื อ ง ประติมากรรมสีเขียว หรือ Eco-Sculpture ของ VERDMX นั้น คือสวนแนวตั้งขนาดใหญ่ที่เป็นทั้ง งานศิลปะและออกซิเจนให้กับเมือง โดยพื้นที่ จำ � นวนหนึ่ ง ตารางกิ โ ลเมตรของสวนแนวตั้ ง สามารถผลิตก๊าซออกซิเจนที่เพียงพอกับความ ต้องการของคนหนึ่งคนสำ�หรับหนึ่งปี ส่วนสวน แนวตั้งที่มีความสูงเท่าตึก 4 ชั้น ก็สามารถลด ก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 40 ตัน ทั้งยังช่วยลด มลภาวะทางเสียงลงอีก 10 เดซิเบล CREATIVE THAILAND I 29

แน่นอนว่าลำ�พัง VERDMX คงไม่สามารถ ผลักดันโปรเจ็กต์นี้ให้เกิดขึ้นได้ สวนแนวตั้ง เหล่านี้คือตัวอย่างของความสำ�เร็จในการจัดการ เมืองที่เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ทั้งภาค เอกชนอย่างนิสสัน (Nissan) ที่เป็นสปอนเซอร์ หลัก และรัฐบาลท้องถิ่นเม็กซิโก ที่อนุญาตให้นำ� ประติมากรรมรูปร่างแปลกประหลาดเหล่านี้ไป ตั้งได้ทั่วเมือง แม้จะต้องใช้เวลาขอความร่วมมือ นานหลายปี ความก้าวหน้าอย่างหนึ่งของเม็กซิโก ซิตี้ ในวันนี้ คือสำ�นึกที่ว่าไม่ว่าใครก็สามารถสร้าง เมืองที่ดีกว่าให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการใช้ความคิด สร้างสรรค์ การออกแบบ และเทคโนโลยี ร่วมกับ การทำ�งานอย่างสอดประสานและส่งเสริมซึ่งกัน และกันของทุกฝ่าย แม้เม็กซิโก ซิตี้ อาจไม่ สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดที่กำ�ลังเผชิญอยู่ได้ ภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ละก้าวที่เดินไปมี ทั้งเสียงสนับสนุนและเห็นต่าง แต่นี่คือสัญญาณ ที่ดีของการจัดการเมืองซึ่งเคยล้มลุกคลุกคลาน มาโดยตลอด ให้ ก้ า วขึ้ น มาสู่ ค วามเป็นเมือ ง แถวหน้าในวงการออกแบบเพื่อพัฒนาเมืองและ คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ที่มา: วิกพิ เี ดีย / ecobici.cdmx.gob.mx/en / labcd.mx/ labforthecity / บทความ “เม็กซิโก...ดินแดนร้อยพัน เรื่องราว Mexico…The Land of Thousand Stories” (2016) จาก posttoday.com / บทความ “Fernando Romero Reveals Plans for a New Linear Park in Mexico City” (2015) จาก designboom.com / บทความ “Interview with Mario Ballesteros from Laboratorio para la Ciudad in Mexico City” (2014) จาก articurate.net / บทความ “Lush Walls Rise to Fight a Blanket of Pollution” (2012) จาก nytimes.com / บทความ “Mexican Protesters Demand Ouster of President Enrique Peña Nieto” (2016) จาก nytimes.com / บทความ “Mexico City Named the World Design Capital for 2018” (2016) จาก theculturetrip.com / บทความ “Mexico City’s Green Space Initiative” (2016) จาก theculturetrip.com / บทความ “Mexico City’s ‘Innovation Lab’ Tries Tech Solutions for Urban Issues” (2014) จาก citylab.com / บทความ “1985 Mexico City Earthquake” (2009) จาก history.com / บทความ “Q&A: How Could Mexico City Be Stronger and More Resilient?” (2015) จาก theguardian.com / บทความ “Re-Imagining a Megalopolis” (2014) จาก wired.com / บทความ “Stark Photos of Inequality in Mexico City Show a Metropolis Divided” (2014) จาก huffingtonpost.com / บทความ “The Backlash to Mexico City’s High Line-Style Park” (2015) จาก citylab.com / บทความ “Thousands March in Mexico City to Mark Year Since 43 Students Disappeared” (2015) จาก theguardian.com / บทความ “VERDMX’s Soaring Vertical Gardens Clean Mexico City’s Air” (2012) จาก inhabitat.com / ecobici.cdmx.gob.mx / labcd.mx/ labforthecity / wikipedia.org / บทความ “VERDMX’s Soaring Vertical Gardens Clean Mexico City’s Air” (2012) จาก inhabitat.com


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรือ่ ง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

หากว่าความสำ�เร็จ คือจุดหมายปลายทางที่ทุกธุรกิจต้องไปให้ถึง การสะดุดล้มระหว่างทางก็ไม่ควรเรียกว่า “ความล้มเหลว” นี่คือบทสรุปความเชื่อที่เราได้จากการพูดคุยกับ อูน-ชนิสรา โททอง และ แพ็ค-วุฒิกานต์ วงศ์ดีประสิทธิ์ คู่รักนักธุรกิจ รุ่นใหม่ไฟแรงเจ้าของ “ไดมอนด์เกรนส์ (Diamond Grains)” แบรนด์กราโนล่าสายคลีนเจ้าแรกในประเทศไทย ธุรกิจ หน้าใหม่ที่ได้ปลุกกระแสให้การรับประทานกราโนล่าแพร่หลายในบ้านเรา เรื่องราวการปลุกปั้นแบรนด์ การล้มลุกคลุกคลาน การลองผิดลองถูก และการแสวงหาสูตรสำ�เร็จที่ไม่มีวันจบสิ้น บนถนนสายธุรกิจของคนอายุน้อยคู่นี้ จะจุดประกายความคิดให้คุณมองความผิดพลาดด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิม CREATIVE THAILAND I 30


ที่มาที่ไปกว่าจะเป็นไดมอนด์เกรนส์ที่เรารู้จักกัน อูน: ตอนที่เริ่มต้นคิดว่าจะทำ�ธุรกิจ เราก็เป็นเหมือนวัยรุ่นทั่วไป คือเริ่มจาก การที่ชอบไปหาของกินอร่อยๆ ด้วยกันตลอด แล้วประกอบกับความอยาก จะทำ�ธุรกิจด้วย ก็เลยรู้สึกว่าถ้าจะทำ�อะไรสักอย่างก็ควรจะเป็นเรื่องของกิน เพราะจะอยู่กับมันได้นานๆ ก็คิดง่ายๆ แค่นี้ก่อนเลย พอเราเลือกที่จะทำ� ของกินแล้ว ก็ไปมองต่อทีเ่ ทรนด์โลกในช่วงนัน้ ว่าอะไรทีม่ นั เติบโต เพราะว่า ถ้าดูแค่เทรนด์ไทย บ้านเราตอนนั้นยังตามหลังอเมริกาอยู่พอสมควร เราก็ เห็นว่าเมืองนอกเขามีเทรนด์เรือ่ งของอาหารสุขภาพ อาหารออร์แกนิกเข้ามา แล้ว ซึ่งไม่ใช่แค่ในตลาดผู้สูงอายุหรือตลาดอาหารสำ�หรับเด็ก แต่ตลาด วัยรุ่นและคนทั่วไปก็เริ่มสนใจการทานอาหารสุขภาพกันแล้ว ก็เลยเป็น จุดเริ่มต้นที่เราตัดสินใจทำ�อาหารสุขภาพ พอเราดูเทรนด์แล้วเราก็เลยเห็น ว่ า มั น ไปได้ เพราะมั น เป็ น เทรนด์ ใ หญ่ ม าก ไม่ ใ ช่ แ ค่ ก ระแสที่ ม าแค่ ประเดี๋ยวประด๋าว ก็เลยตัดสินใจว่าจะทำ�ขนมอะไรก็ได้ที่ไม่ใส่แป้ง ไม่ใส่ แป้งสาลี ไม่ใส่สารเคมี และต้องเป็นธัญพืชเท่านั้น ซึ่งคอนเซ็ปต์นี้มันอยู่กับ เรามาตั้งแต่ครั้งแรกที่คิดจะทำ�ธุรกิจ เล่าถึงสินค้าตัวแรกที่เราเริ่มทำ�ออกมาให้ฟังหน่อย อูน: ครั้งแรกเราทำ�ออกมาในรูปแบบของคุ้กกี้ธัญพืชชิ้นกลมๆ เราก็ให้คน รอบตัวช่วยกันชิม ทุกคนบอกว่าอร่อย เราก็คดิ ว่าทุกคนบนโลกนีก้ ต็ อ้ งเข้าใจ ว่ามันอร่อยอย่างที่เราเข้าใจ เขาก็ต้องอยากกินเหมือนที่เพื่อนๆ เราอยาก กิน เป้าหมายเราตอนแรกเลยคือเราอยากทำ�ขายและส่งให้ห้าง ซึ่งเราเชื่อ ว่าเป็นความฝันของคนที่ทำ�ขนม ที่อยากขายในห้าง ในร้านสะดวกซื้อ เรา ก็ท�ำ อย. อะไรเรียบร้อย แต่กลายเป็นว่าการทีจ่ ะเข้าห้างได้ มันคุยยาก เพราะ ต้องมีความน่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ เอาขนมไปยื่นให้แล้ว เขาจะเอาไปขายได้เลย ช่วงระหว่างที่รอห้างตกลงรับของเราไปขาย เราก็ลองแวะร้านกาแฟ ข้างๆ ทางทุกร้านที่มีในปั๊มนํ้ามัน เดินเข้าไปทีละร้านๆ สิ่งที่เราได้จากวัน นั้นคือ ไม่มีใครรู้จักขนมของเราจริงๆ คือไม่ใช่แค่เขาไม่รู้จักแบรนด์ของเรา แต่คือเขาไม่เก็ทขนมของเราเลยด้วยซํ้า เขาไม่เข้าใจว่าทำ�ไมมันต้องไม่ใส่ แป้ง ทำ�ไมต้องใส่ข้าวโอ๊ต ทำ�ไมต้องมีธัญพืชอะไรเต็มไปหมด แล้วมันจะ ไปต่างจากคุ้กกี้ข้าวโอ๊ตหรือว่าซีเรียลธรรมดายังไง หลังจากนัน้ เราก็เลยพยายามหารูปแบบผลิตภัณฑ์ทคี่ ดิ ว่าจะเหมาะสม กับตลาด ทั้งเป็นบาร์ เป็นแท่ง หลายๆ รูปแบบของการปรุงธัญพืช แต่ว่า ส่วนใหญ่เราก็จะถูกปฏิเสธ คือการตอบรับมันก็ยังแทบจะเป็นศูนย์ หลายๆ คนก็รบั ของเราไปขายเพราะเห็นว่าเราเป็นเด็ก เขาก็สงสาร จนกระทัง่ เรามา เจอสิ่งสำ�คัญที่เรามองข้ามไป นั่นคือความต้องการของลูกค้า เราเข้าใจว่า เราคาดเดาได้วา่ เขาจะอยากได้แบบนัน้ แบบนี้ แต่เรากลับไม่เคยสนใจเลยว่า ในแต่ละวันชีวิตเขายังขาดเหลืออะไรบ้าง ใช้เงินวันละเท่าไหร่กับมื้อเช้า ต้องการแคลอรี่เท่าไหร่ ต้องการแพ็กเกจจิ้งแบบไหน อะไรจะทำ�ให้ชีวิตเขา ดีขึ้น แล้วฟีเจอร์อะไรของสินค้าของเราที่สามารถตอบโจทย์ แก้ไขปัญหาให้ เขาได้ ซึง่ พอเราเข้าใจจุดนีแ้ ล้ว เราก็น�ำ สิง่ ทีไ่ ด้จากการศึกษาพฤติกรรมของ ลูกค้าจริงๆ มาพัฒนาเป็นไดมอนด์เกรนส์

เราเข้ า ใจว่ า เราคาดเดาได้ ว่ า เขาจะอยากได้แบบนั้นแบบนี้ แ ต่ เ ร า ก ลั บ ไ ม่ เ ค ย ส น ใ จ เลยว่ า ในแต่ ล ะวั น ชี วิ ต เขา ยังขาดเหลืออะไรบ้าง ใช้เงิน วั น ล ะ เ ท่ า ไ ห ร่ กั บ มื้ อ เ ช้ า ต้ อ ง ก า ร แ ค ล อ รี่ เ ท่ า ไ ห ร่ ต้องการแพ็กเกจจิ้งแบบไหน อะไรจะทำ � ให้ ชี วิ ต เขาดี ขึ้ น แล้ ว ฟี เ จอร์ อ ะไรของสิ น ค้ า ของเราที่ ส ามารถตอบโจทย์ แก้ไขปัญหาให้เขาได้

อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำ�ให้เราเข้าใจว่าที่ผ่านมายังไม่เข้าใจ ความต้องการของลูกค้ามากพอ อูน: จุดเปลี่ยนที่ทำ�ให้เรามองออก มันเกิดขึ้นหลังจากที่เราเฟลมาหลาย ครั้งมาก คือเรารู้สึกว่าเราทำ�ในสิ่งที่เราอยากทำ�ครบหมดแล้ว จนไม่รู้แล้ว ว่าจะเปลี่ยนอะไร ลองทำ�อะไร หรือพลิกแพลงยังไงอีก รู้สึกเหมือนเจอทาง ตัน ก็เลยย้อนกลับมามองทีต่ วั เองใหม่ แล้วก็คดิ ได้วา่ เราต้องมองไปทีล่ กู ค้า บ้างว่าสุดท้ายแล้วเขาต้องการอะไร แล้วตั้งแต่วันที่เรามองเห็นจุดนั้น การ ทำ�งานของเราจนถึงทุกวันนี้มันก็เลยเกิดขึ้นจากความต้องการของลูกค้า เกือบหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์มาตลอด แล้วถึงจะเอาความต้องการของเขามา ผนวกกับไอเดียและนวัตกรรม (Innovation) ทีหลัง

CREATIVE THAILAND I 31


ตอนนั้ น เหมื อ นเริ่ ม ใหม่ เ ลย แต่เป็นการเริ่มใหม่ด้วยความ คิดที่เปลี่ยนไปแค่อย่างเดียว คือความคิดว่าเราจะยึดลูกค้า เป็นตัวตั้ง

แพ็ค: คือจริงๆ แล้วผลิตภัณฑ์ของไดมอนด์เกรนส์มันต่อยอดมาจากสินค้า ตัวเดิมๆ ทีเ่ ราเคยทำ�นีแ่ หละครับ พืน้ ฐานมันไม่ได้ตา่ งกันมาก เพียงแต่อาจ จะต่างกันด้วยวิธีการปรุงบ้าง รูปร่างหน้าตาของแพ็กเกจจิ้งบ้าง แล้วก็ ประจวบกับช่วงที่กระแสรักสุขภาพมันเริ่มเข้ามาในบ้านเราแล้วพอสมควร แต่ก่อนหน้านี้ร้านค้าสุขภาพมันแทบจะไม่มีเลย ทำ�ให้สินค้าเราต้องไปวาง คู่กับของในร้านเบเกอรี่ซึ่งไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของร้าน คนขายก็ยัง ไม่อิน ไม่เก็ทเรื่องอาหารสุขภาพเลย มันก็เลยค่อนข้างลำ�บาก ที่บอกว่าเฟลมาหลายรอบแล้ว ตอนนั้นเราทำ�ใจยอมรับมัน อย่างไรบ้าง อูน: เอาง่ายๆ คือเราไม่ได้มองว่าเราเฟล เราไม่ได้มานัง่ คุยกันว่า “เจ๊งอีกแล้ว เลิกทำ�ไหม ไปทำ�อย่างอื่นไหม” แต่เราจะมองแค่ว่า “อันนี้มันไม่เวิร์ก แล้ว ยังไงต่อดี” คือด้วยความที่เรามีความเชื่อที่เกิดขึ้นระหว่างคนสองคน เพราะ ฉะนั้นถ้าคนหนึ่งเริ่มหมดความเชื่อ แต่อีกคนยังเชื่อ มันก็ยังดึงกันได้ในช่วง เวลาที่อีกคนหนึง่ เฟล เลยยังไม่เคยละทิง้ ความเชือ่ ทีจ่ ะทำ�ธัญพืชแบบไม่มแี ป้ง แล้วก็ยงั เชือ่ ในเทรนด์ เชือ่ ในรสชาติของสินค้าเรา แค่มองว่ามันยังมีบางอย่าง ที่เรายังไม่เข้าใจ แพ็ค: ทุกธุรกิจมันต้องผ่านจุดนี้ด้วยกันมาทั้งหมด เราก็จะเข้าใจว่ามันเป็น ธรรมชาติ ซึ่งตอนนั้นเราเพิ่งเริ่มทำ�กันมาได้แค่ปีเดียว ถ้าปีเดียวแล้วท้อแท้ก็ ไม่ควรจะประสบความสำ�เร็จ อูน: มันเหมือนเวลาเราดูหนัง หนังบอกเราว่าคนคนหนึง่ สามารถทำ�อะไรตาม ลำ�ดับเอบีซี แล้วก็ประสบความสำ�เร็จเลย แต่เขาไม่ได้เอาแว่นขยายไปส่อง ว่าดีเทลใต้จุดเอบีซีมันมีอะไรบ้าง เราเห็นแต่ว่าเขาเจอปัญหา เขาแก้ปัญหา ได้แล้ว สำ�เร็จแล้ว เพราะฉะนั้นพอกลับมามองชีวิตเราเอง เวลาเจออุปสรรค เราก็ต้องรู้จักถอยออกมามองไกลๆ ด้วย

ทำ�อย่างไรต่อบ้าง หลังจากที่พบว่าต้องเข้าใจลูกค้ามากกว่านี้ อูน: เราได้ลองคุยกับกลุม่ เป้าหมาย ซึง่ จริงๆ แล้วคนใกล้ตวั เราเขาทานอาหาร สุขภาพมาตั้งแต่ก่อนมีเทรนด์เข้ามาด้วยซํ้า แต่เราไม่เคยถามเขา เพราะเรา อยากทำ�อะไรที่มันเริ่มจากตัวเราเอง อยากให้มันเป็นไอเดียของเราเอง แต่ พอเราได้เริม่ ถามคนทีเ่ รามองเห็นว่าจะเป็นลูกค้าของเราได้ ก็เอามาบาลานซ์ ดูว่าอะไรที่เป็นจุดศูนย์กลางของทุกคน หลังจากนั้นก็ปรับทุกอย่างใหม่ทั้งหมดเลย คือเริ่มปรับสูตรก่อนเป็น อย่างแรก ปรับหน้าตาผลิตภัณฑ์ให้เป็นซีเรียล ปรับแพ็กเกจจิ้งที่เป็นถ้วย ใส่นม ใส่โยเกิร์ตได้ ทำ�ฝาซีล รวมถึงกล่องไปรษณีย์ ปรับวิธีการรับออเดอร์ แล้วก็ปรับวิธีการสื่อสาร ตอนนั้นเหมือนเริ่มใหม่เลย แต่เป็นการเริ่มใหม่ด้วย ความคิดที่เปลี่ยนไปแค่อย่างเดียว คือความคิดว่าเราจะยึดลูกค้าเป็นตัวตั้ง เราคิดในมุมของลูกค้าว่าเขามีชีวิตแบบนี้ จะทำ�ยังไงให้สินค้าของเราไม่เป็น ปัญหาต่อชีวิตเขา และสามารถแก้ปัญหาในชีวิตเขาได้ด้วย

ช่องทางการขาย อูน: เราขายออนไลน์กันอยู่ประมาณ 5 เดือน ก่อนจะขยายไปช่องทางอื่นๆ ช่วงแรกที่เริ่มลงออนไลน์ก็เป็นกระแสแรงมาก เราก็เลยรู้สึกว่า ขายแค่ ออนไลน์มันไม่พอสำ�หรับลูกค้าแล้ว ต้องขายช่องทางอื่นด้วย ก็พอดีกับที่ ทางท็อปส์โทรเข้ามาพอดี ด้วยความที่เรามีอย.อยู่แล้ว จัดการเรื่องขั้นตอน ไม่ยากมาก ก็ได้เข้าไปวางขาย จนตอนนี้เรามีขายทั้งในท็อปส์ แฟมิลี่มาร์ท เดอะมอลล์ บิ๊กซี ซูรูฮะ ซีเอ็ดบุ๊ก เกือบจะครบแล้ว เราก็ค่อยๆ ขยาย ออกไป คือไม่ได้ขยายเพื่อให้ยอดขายเพิ่ม แต่ขยายเพราะว่าลูกค้าหาซื้อ ลำ�บาก เมื่อไหร่ที่ดีมานด์เพิ่มขึ้น เราก็ต้องขยายตามดีมานด์นั้น แพ็ค: ตอนนี้เราก็เพิ่งจะย้ายโรงงานไปที่ใหม่ กำ�ลังการผลิตเพิ่มขึ้น คาดว่า จะพร้อมส่งขายที่เซเว่นอีเลฟเว่นประมาณเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งเป็นเวลาที่ เราพร้อมจริงๆ ให้มฐี านยอดขายในช่องทางอืน่ ๆ ทีม่ นั่ คงก่อน เพราะถ้าเรา เข้าไปแล้วขายในเซเว่นไม่เวิร์ก ตัวเราก็จะยังอยู่ได้ ช่วงเวลาที่ท้าทายที่สุดในการทำ�ไดมอนด์เกรนส์ อูน: ช่วงหลังจากที่เพิ่งไปออกรายการ SME ตีแตก มีคนไลน์เข้ามาสั่งของ กับเราเยอะมากจนไลน์ล่ม จนเราต้องให้น้องๆ ในออฟฟิศ 7 คนมานอนที่ ออฟฟิศเล็กๆ ของเรากัน 7-8 คืน เพราะตอนนั้นที่อยู่จัดส่งของที่ลูกค้า ส่งมาให้ในไลน์หายไปหมดเลย เท่ากับว่าเรามีเงินที่เขาโอนมาแล้ว แต่เรา ไม่มีที่อยู่เขา แล้วด้วยความที่เราใหม่ในตลาด ก็จะมีคนที่ไม่เข้าใจ คิดว่า เราโกงเขา บอกว่าจะแจ้งความ เพราะว่าไลน์มนั ขึน้ เหมือนกับว่าเราไปบล็อก ลูกค้า มันก็เลยเป็นเรื่องใหญ่มาก ตอนนั้นเราก็เลยประชุมกันว่าไม่ว่ายังไง ก็ตาม ถ้าลูกค้าติดต่อมาใหม่ เราจะส่งของให้เขาทันทีโดยที่ไม่มานั่งเช็กว่า ก่อนหน้านี้เราส่งของไปให้ลูกค้าคนนี้หรือยัง ตอนนั้นก็เลยมีลูกค้าที่ได้ของ เกินเกือบทุกคน แต่เราแฮปปีม้ ากเวลาทีเ่ ขากลับมาบอกเราว่าเขาได้ของเกิน แล้วเราตอบไปว่าเราไม่เอาคืน

CREATIVE THAILAND I 32


แพ็ค: มันเหมือนเป็นการตอบแทนที่เขาได้ของช้า ซึ่งแค่นั้นมันก็เสียความ รู้สึกไปพอสมควรแล้ว อย่างน้อยเราก็ได้รับผิดชอบ อูน: ช่วงนั้นการที่เราโตขึ้นเร็วแบบนี้ ก็ต้องแก้ปัญหา คิดว่าต้องผ่านมันไป ให้ได้ หลังจากเหตุการณ์นนั้ ก็ท�ำ ให้เราคิดมาตลอดว่าเราต้องค่อยๆ โต ต้อง ก้าวอย่างระวัง การสื่อสารกับลูกค้าในช่องทางออนไลน์ อูน: เริ่มมาตั้งแต่ต้นจะเป็นอูนคนเดียว แล้วถึงจะเริ่มมีน้องๆ มาเข้าช่วย ซึ่งการหาคนมาตอบหน้าบ้านเป็นเรื่องยากมาก ยากกว่าการหาคนงานใน โรงงาน อูนแทบจะไม่ยอมจ้างใครเลย ถ้าหาคนที่ดีไม่ได้ อูนจะทำ�เอง เพราะว่าออนไลน์มันไวมาก ถ้าเขาสื่อสารออกไปในรูปแบบที่ไม่ใช่ดีเอ็นเอ ของแบรนด์ มันสามารถแตกได้เลยในวันเดียว วิธีรับคนของอูนคือจะดูว่า เขาเป็นคนมีนํ้าใจไหม เพราะเขาต้องมีนํ้าใจกับลูกค้าก่อน ช่วงแรกเวลาที่ เราส่งออร์เดอร์ผิด น้องๆ เขาจะกลัว เขาก็จะมาขอโทษที่ทำ�ให้เราต้องส่ง ไปให้ลูกค้าใหม่อีกรอบ สิ่งที่เราจะบอกน้องทุกคนเสมอคือ ไม่ว่าจะทำ�อะไร หรือตอบอะไรก็ตาม ให้เอาเราไว้หลังลูกค้า คนที่สำ�คัญที่สุดไม่ใช่อูนกับ พี่แพ็ค ไม่ใช่คนที่ให้เงินเดือนพวกคุณ คนที่ให้เงินเดือนพวกคุณจริงๆ แล้ว คือลูกค้า ถ้าลูกค้าไม่แฮปปี้ เราสองคนก็ไม่แฮปปี้ ดังนั้นลูกค้าต้องมาก่อน เราสองคนจะเป็นยังไงค่อยมาคุยกันทีหลัง นำ � ความต้ อ งการของลู ก ค้ า มาใช้ พั ฒ นาธุ ร กิ จ ยั ง ไงบ้ า ง แพ็ค: การที่เราโตมาจากการขายออนไลน์ เราก็จะมีฐานลูกค้าทางนี้ ค่อนข้างเยอะ ฟีดแบ็กก็จะมาทั้งหมด ตั้งแต่กลุ่มอายุ 20 ไปจนถึง 50 เลย ตรงนี้ก็จะเป็นข้อมูลที่สำ�คัญมาก บางทีทานปุ๊บเขาก็จะมาบอกเราแล้วว่า เป็นยังไง ช่วงแรกที่เรามีแค่กราโนล่า ลูกค้าที่อายุเยอะหน่อยหลายคนก็จะ บอกเราว่ามันแข็งไปนะ ทานไม่ค่อยสะดวก พอได้คอมเมนต์มาเยอะมาก สุดท้ายเราก็พฒั นาออกมาเป็นสินค้าตัวทีส่ องคือ Overnight (พัฒนาต่อยอด

โดยเลือกชนิดข้าวโอ๊ตและวิธกี ารอบต่างจากกราโนล่า เพือ่ ให้สามารถเทนม แช่ตู้เย็นไว้ข้ามคืนจนมีความนุ่มพร้อมรับประทานในตอนเช้า) ดังนั้น ออนไลน์มันไม่ใช่แค่ช่องทางการขาย แต่เป็นช่องทางที่ทำ�ให้เราได้พูดคุย และเก็บข้อมูลทุกอย่าง อูน: เมื่อก่อนที่เราเป็นคนรับออเดอร์เอง ในหนึ่งวันอูนได้คุยกับลูกค้า เยอะมาก อูนคิดว่าตอนนี้ถ้าอูนจะจัดงานวันเกิดหรืออีเวนต์สักอย่างของ ไดมอนด์เกรนส์ขึ้นมา เราเชื่อว่าเราสามารถเชิญคนที่เรารู้จักในฐานะลูกค้า จนกลายมาเป็นเพื่อนได้เป็นร้อยคน เพราะว่าเวลารับออร์เดอร์ไม่ใช่แค่สั่ง แล้วก็จบ แต่เราก็จะอยากถามเขาว่าสินค้าเป็นยังไงบ้าง คือคุยกันจนเป็น เพื่อนกันไปแล้ว จนทุกวันนี้น้องแอดมินที่เข้ามาช่วยก็ยังคุยกับลูกค้าแบบ เดียวกับที่อูนคุย คือมีการแนะนำ�หรือแซวเล่นกันบ้าง บางคนก็จะทักเข้ามา ว่าแอดมินเคยทานอันนี้กับอันนั้นไหม อร่อยหรือเปล่า ซึ่งจะเรียกว่าบริการ หลังการขายก็ได้ แต่มันก็เป็นการบริการตัวเองให้เราเข้าใจเขามากขึ้นด้วย เหมือนกัน สินค้าตัวใหม่ที่เพิ่งออกมาเป็นโจ๊ก ก็ได้ไอเดียจากลูกค้าด้วย เหมือนกันไหม อูน: มาจากลูกค้าเหมือนกันค่ะ เขาเข้ามาบอกว่าอยากกินของคาวบ้าง ซึง่ เราก็เข้าใจว่าเขาเริม่ เบือ่ แล้ว ถ้าลูกค้าอยากได้ เราก็อยากทำ�ให้ แต่วา่ การ ทำ�ของคาวมันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะว่าการทำ�ให้มันไม่มีผงชูรส ไม่มี สารปรุงแต่ง เกลือน้อย โซเดียมตํา่ มันเป็นอะไรทีท่ า้ ทายมาก อย่างกราโนล่า กว่าที่เราจะปรับจนได้รสชาติที่ทานได้ทุกวันขนาดนี้ก็ใช้เวลานาน ส่วนโจ๊ก ก็ทำ�กันอยู่ปีกว่าๆ ใช้เวลาพัฒนาจนรู้สึกว่ามันทานง่าย ผลตอบรับก็ถือว่าดี พอสมควร คื อ ตั้ ง แต่ เ ริ่ ม ต้ น จนถึ ง วั น นี้ การทดลองและพั ฒ นาสิ น ค้ า เราสองคนจะทำ�กันเองทั้งหมดเลย สูตรจะอยู่ที่เราทั้งหมด ซึ่งเรามองว่า การทีล่ งมือเองทัง้ หมดมีขอ้ ดีตรงทีเ่ ราพูดได้เต็มปากว่ามันเป็นสินค้าของเรา

CREATIVE THAILAND I 33


มองอนาคตของไดมอนด์เกรนส์ไว้อย่างไรบ้าง แพ็ค: ในภาพรวมเราก็คงจะค่อยๆ ขยายไปเรื่อยๆ แต่ว่าเราไม่ได้เซ็ตเรื่อง ยอดขายเป็นที่หนึ่ง ที่หนึ่งของเราคือลูกค้าต้องแฮปปี้กับสินค้าก่อน ทั้งด้าน ผลิตภัณฑ์และบริการหลังการขาย ส่วนแผนคร่าวๆ ในปีหน้า คือช่วงเดือน กุมภาพันธ์เราจะเข้าไปวางขายในเซเว่นอีเลฟเว่น แล้วกลางปีก็คงจะเริ่ม ส่งออก พอได้ขยายตลาดก็คงจะต้องปรับไลน์ผลิตภัณฑ์ แล้วก็จดั สมดุลของ บริษัทใหม่ จัดสรรยอดขายให้ดีไม่ให้อิงทางใดทางหนึ่งมากจนเกินไป เพราะถ้ามันไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดไว้ก็จะอันตราย อูน: สำ�หรับอูน นอกจากลูกค้าแล้ว มันคือคนในองค์กรด้วย เรามีน้องๆ ในออฟฟิศทีม่ าอยูก่ บั เรา เราอยูก่ นั มานานมาก ผ่านปัญหากันมาหลายอย่าง เรามองว่าการที่เราเติบโตคือ หนึ่ง เราต้องแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้เพิ่มขึ้น ทุกวัน สอง เราต้องแก้ปัญหาให้น้องๆ พวกนี้ได้ทุกวัน ความสุขของเรามัน ก็จะเลยจุดที่เรามองเรื่องยอดขายไปแล้ว เรามองที่เลเวลความสุขของเขา ความมั่นคงในการทำ�งานของเขามันมากพอหรือเปล่า คือถ้าบริษัทไม่ แข็งแรง ต่อให้เขารักเราแค่ไหนเขาก็ต้องการความมั่นคง พ่อแม่เขาก็ต้องมี คนเลี้ยง เราก็คิดอย่างนี้ ตอนนี้ในเมืองไทยเริ่มมีธุรกิจที่ลงมาเป็นคู่แข่งกับเราบ้างแล้ว คิดว่าจุดเด่นของไดมอนด์เกรนส์คืออะไร อูน: ถ้าพูดถึงจุดเด่นของตัวสินค้าหรือด้าน Functional เลย คือสูตรของเรา ทีไ่ ม่ใช่แป้ง เราผ่านธัญพืชกันมาทุกชนิดแล้ว ลองปรุงทุกอย่างทีม่ คี วามเป็น ไปได้มาหมดแล้ว เพราะฉะนั้นเรามีความรู้เรื่องธัญพืชเยอะมาก เราเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์เราคัดสรรคุณภาพได้ดีกว่าหลายๆ เจ้า เพราะว่าเราเป็นเจ้าที่ มาก่อน ฉะนั้นการคุยกับซัพพลายเออร์ให้ได้สินค้าและวัตถุดิบที่ดีเราคุยได้ ไม่ยาก เรามีทางเลือกในการคัดมาให้ลูกค้าได้ดีกว่ามากๆ มันคือขั้นตอน การผลิตเล็กๆ ทุกขัน้ ทีถ่ า้ เราไม่เข้าไปจีท้ ลี ะจุด ทุกอย่างมีผลกับสินค้าหมด มันคือรายละเอียด ส่วนในแง่ของ Emotional เราไม่เคยโกหกว่าเราไม่เคยผิดพลาด อะไร ที่ไม่พร้อมเราก็บอกว่าไม่พร้อม เราเชื่อว่าความซื่อสัตย์และความสัมพันธ์ ของเรากับลูกค้ามันทดแทนด้วยอะไรก็ไม่ได้ เพราะเราเชือ่ ว่าลูกค้าหลายคน ก็ไปลองของใหม่ แต่ก็กลับมาหาเรา นั่นเพราะว่า หนึ่งคือของเรามีคุณภาพ สองคือเขารู้ว่าความตั้งใจของเราในการผลิตสินค้ามันอยู่ตรงไหน แพ็ค: ผมมองว่าจุดเด่นของเราคือความใส่ใจที่มีต่อลูกค้า เราไม่ได้ขายแค่ สินค้าอย่างเดียว เรายังมีทีมงานที่พร้อมจะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับ ลูกค้า ซึ่งบางทีบริษัทใหญ่ๆ ที่อาจจะไม่ได้ใส่ใจตรงนี้มากนักจะค่อนข้าง ทำ�ได้ลำ�บาก อีกจุดคือเราจะไม่แข่งด้วยราคา แต่จะแข่งที่คุณภาพ เพราะ ตั้งแต่เริ่มแรกเราไม่เคยปรับราคาเลย ทำ�ไมต้องอยู่ในราคานี้ เพราะว่าเรา ยืนยันว่าสินค้าของเราคุณภาพต้องมาก่อน คือไม่ว่าเจ้าใหม่ๆ จะออกมา หน้าตาเหมือนกัน แต่ว่าท้ายที่สุดสินค้าข้างในวัตถุดิบมันก็มาจากคนละ แหล่งอยู่ดี เหมือนกับเวลาซื้อข้าวที่หน้าตามันก็คล้ายๆ กันหมด

บทเรียนส�ำคัญจากการท�ำธุรกิจ แพ็ค: ภาพที่เราล้มเหลววันนั้นมันเป็นบทเรียนให้เราว่ามันไม่ได้มีอะไร ง่าย ก่อนทีจ่ ะคิดท�ำอะไรใหม่ๆ เราจะกลับไปนึกถึงวันนัน้ เป็นเครือ่ งเตือน ใจเสมอ ต้องมองให้รอบด้าน แล้วก็ต้องท�ำใจเผื่อไว้ด้วย เพราะไม่ว่าจะ วางแผนไว้ดียังไง เราก็ไม่สามารถมองเห็นได้ทุกด้านอยู่ดี อูน: ช่วงแรกทีท่ �ำธุรกิจอูนจะเป็นคนมองลบ กลัวว่าถ้ามันไม่เป็นไปอย่าง ที่เราคิดจะท�ำยังไง แต่ว่าตอนนี้เปลี่ยนมุมมองใหม่แล้วว่า จะแย่หรือ ไม่แย่ มันไม่มีจุดจบเลย เวลาที่เราเศร้าเราผิดหวัง ความคิดนี้ก็จะ เข้ามาตลอดว่านี่ไม่ใช่จุดจบ ปัญหามันเล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับชีวิต ของเรา ทุกอย่างจะผ่านไป และไม่มีอะไรเป็นจุดจบ ต้นแบบสร้างแรงบันดาลใจ อูน: โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey), เอลเลน ดีเจนเนอเรส (Ellen DeGeneres) และ มาร์ธา สจ๊วต (Martha Stewart) โอปราห์เป็นผูห้ ญิง ที่ประสบความส�ำเร็จมากในโลกธุรกิจ แต่เขาทิ้งรายการของตัวเองมา เพื่อท�ำช่องรายการเพื่อให้คนเป็นคนดี ให้คนมีความสุขจากข้างใน เหมือนเอาเงินของตัวเองมาละลายเป็นความสุขให้คนอีกมากมาย ส่วน เอลเลน เขาเป็นเลสเบีย้ นทีม่ คี วามกล้าหาญมาก ในช่วงทีค่ นทัง้ ประเทศ ต่อต้านเกย์ เขากลับออกมายืนยันว่าทุกคนสามารถประสบความส�ำเร็จได้ ส่วนมาร์ธา เราประทับใจทีเ่ ขาเลือกทีจ่ ะเข้าไปอยูใ่ นคุก ทัง้ ๆ ทีจ่ ริงๆ แล้ว จะสู้คดีก็ได้ ทั้งหมดนี้คือการรู้จักให้ กล้าที่จะแตกต่างและเป็นคนดี แล้วก็กล้าที่จะยอมรับผิด แพ็ค: คุณปู่กับคุณตาของผมครับ ที่บ้านผมเป็นคนจีนที่อพยพเข้า มาในเมืองไทยโดยที่ไม่ได้มีอะไรติดตัวกันมา พอมาถึงก็ต้องเรียนรู้ ทุกอย่าง สิ่งที่ได้คือถ้าคุณสู้ แล้วก็รู้จักประหยัดอดออม รู้จักประมาณ ตัวเอง สักวันก็จะประสบความส�ำเร็จในธุรกิจ

CREATIVE THAILAND I 34


CREATIVE THAILAND I 35


Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

ถ้าหากการเรียนรู้ท่ดี ีท่สี ุด คือการได้ลงมือทำ�และรับรู้ผลของสิ่งที่ได้ทำ�ด้วยตัวเอง การจะสร้างพื้นฐานความกล้าในการริเริ่ม สิ่งใหม่ การลงมือทำ� และการเตรียมรับมือหากเกิดข้อผิดพลาด ก็น่าจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ท่ดี ีท่สี ุดสำ�หรับนักเรียนรู้ทุก ช่วงวัยเช่นกัน ที่แคนาดาจึงได้มีการริเริ่มนำ�หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำ�หรับการเป็น ผูป้ ระกอบการมาผสมผสานเข้าไว้ในชัน้ เรียนตัง้ แต่ระดับชัน้ มัธยมในโรงเรียน ทั่วประเทศเมื่อปี 2013 โดยจัดโปรแกรมให้เหมาะกับวัยของนักเรียน ด้วย เชื่อว่า การฝึกให้เด็กๆ ได้มีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ยังเป็น รุ่นเล็กถือเป็นสิ่งดี เพราะจะเป็นทั้งพื้นฐานวิชาชีพที่จะพัฒนาเพิ่มขึ้นได้ใน อนาคต และเป็นภูมิคุ้มกันเมื่อจะต้องรับมือกับปัญหาในสถานการณ์จริง โดยหลักสูตรดังกล่าวเกิดขึ้นจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำ�ไรที่มีชื่อว่า ‘YELL’ หรือ Young Entrepreneur Leadership Launchpad โดยมีทีมเมนเทอร์ อาสาสมั ค รซึ่ ง เป็ น ผู้ ป ระกอบการท้ อ งถิ่ น ที่ มี ค วามรู้ ค วามสามารถ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ตรงในการเป็นผู้ประกอบการมาเป็น ผู้สอนและแบ่งปันความรู้ต่างๆ ให้ สำ�หรับหลักสูตรผู้ประกอบการรุ่นเยาว์นี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 เฟส คือ เฟสแรก Business Accelerator (ภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วง) นักเรียนจะได้รับ ฟังเรือ่ งราวประสบการณ์ของเมนเทอร์ เพือ่ เป็นแรงบันดาลใจ รวมไปถึงการ เวิร์กช็อปเพื่อร่วมกันคิดหัวข้อทางธุรกิจที่อยากจะทำ�ไปด้วยกัน เฟสที่สอง คือ Idea Incubator (ภาคเรียนฤดูหนาว) จะมุ่งสู่วิธีการที่ทำ�ให้นักเรียนได้ เรียนรูเ้ มือ่ เกิดปัญหาในโลกธุรกิจจริง พร้อมลองคิดหาวิธแี ก้ไข โดยจะมีการ

วางคอนเซ็ปต์และร่างแผนธุรกิจอย่างคร่าวๆ ทีพ่ ฒั นาขึน้ ระหว่างผูป้ ระกอบการ จริงและนักเรียน และเฟสสุดท้าย Venture Challenge (ภาคเรียนฤดู ใบไม้ผลิ) นักเรียนจะได้นำ�เสนอไอเดียของตัวเองให้กับผู้ประกอบการได้ รับฟัง และมีการจัดการประกวดแข่งขันไอเดียกันด้วย เช่นผลงานของแอน มาโคซินสกี (Ann Makosinski) นักเรียนมัธยมวัย 15 ปีจากโรงเรียนมัธยม แวนคูเวอร์ ที่ได้รับรางวัลในงาน Google Science Fair 2013 จากผลงาน Hollow Flashlight ไฟฉายที่เกิดแสงจากการแปลงพลังงานความร้อนใน มือมนุษย์ให้กลายเป็นพลังงานส่องสว่าง เป็นต้น การได้ทดลองทำ�ในสถานการณ์จริงตั้งแต่ยังเด็ก ได้ลองผิดลองถูก รู้จักความล้มเหลวและได้สัมผัสกับความสำ�เร็จนั้น นอกจากจะทำ�ให้เด็กๆ มีภูมิต้านทานที่เข้มแข็งเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นแล้ว ก็ยังเป็นอีกหนึ่งทางออก ในการแก้ปัญหาระบบการศึกษาที่หลายๆ ครั้ง ก็ไม่อาจชี้แนะแนวทางแก่ นักเรียนได้ชดั เจนนักว่า เด็กๆ ชอบอะไร หรือต้องการทำ�สิง่ ไหนอย่างแท้จริง ในอนาคตกันแน่ได้อีกด้วย ที่มา: weyell.org / บทความ “High School Students In Vancouver To Pitch Tech Investors Thursday” โดย Joseph Czikk (22 เมษายน 2014) จาก betakit.com / บทความ “The Crucial Entrepreneurial Skil s Your Kids Aren’t Learning In School” โดย Jeff Booth (29 ตุลาคม 2016) จาก fastcompany.com

CREATIVE THAILAND I 36




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.