Creative Thailand Magazine

Page 1

กุมภาพันธ์ 2560 ปีที่ 8 I ฉบับที่ 5 แจกฟรี

Matter คิดส์นวัตกรรม

Local Wisdom NetDesign

The Creative ศรานนท์ ลิ้มปานานนท์



flickr.com/photos/katieb50

ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่การศึกษา พุทธทาสภิกขุ CREATIVE THAILAND I 3


Contents : สารบัญ

The Subject

คบเด็กสร้างเมือง / Design Thinking วิธีแก้ปัญหาของนักคิดรุ่นจิ๋ว / นวัตกรรมจากไอเดียของคนรุ่นใหม่

6

Featured Book / Books / Documentary

Matter 10 คิดส์นวัตกรรม

Local Wisdom

12

Cover Story

14

Let’s Change การศึกษาที่ต้องตามโลกให้ทัน

หลักสูตรกำ�หนดอนาคต

Creative Startup 22

Creative Resource 8

NetDesign ตำ�นานโรงเรียนเว็บดีไซน์เมืองไทย

Insight 20

EdWINGS ติดปีกการศึกษาไทย

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Buenos Aires: City of Design, City of Changemakers

ศรานนท์ ลิ้มปานานนท์ The Possibility ความเป็นไปได้ การคิดเชิงวิพากษ์ และหลักสูตรการศึกษาไทย

คิดก้าวหน้า : ก้าวต่อไปของนักเรียนไทย และความคิดสร้างสรรค์

บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ที่ปรึกษา l ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, พัทธ์ธีรา จตุรงค์ศรีพัฒน์ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ นักศึกษาฝึกงาน l ณัฐจรีย์ มีชัย, ไทกล้า หมายเจริญ, รัชฎาภรณ์ แทนปั้น จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7400 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


dexigner.com

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

ทุกครั้งที่การจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันด้านการศึกษาระดับ นานาชาติปรากฏผลขึ้น ความเกรียวกราวของการวิพากษ์ระบบการศึกษาไทย ก็มกั ปะทุขนึ้ อย่างเข้มข้นเสมอ ยิง่ เมือ่ ในระยะหลัง ความสำ�เร็จด้านการพัฒนา ระบบการศึ ก ษาของประเทศเพื่ อ นบ้ า นรุ ด หน้ า อย่ า งรวดเร็ ว และการที่ คนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นผลผลิตทางการศึกษายุคปฏิรูปกลายเป็นพลังทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมของสังคมได้อย่างน่าทึ่ง เมื่อความสำ�เร็จของการศึกษามักถูกวัดที่ปลายทางว่าคนที่มีคุณภาพ คือใคร มีลักษณะอย่างไร จากระดับการอ่านออกเขียนได้ จนถึงการวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ� และโดดเด่นด้วยทักษะพิเศษทีม่ ากมาย แต่เบือ้ งหลัง ของการปลูกฝังความสำ�เร็จในระบบการศึกษายุคใหม่ คือการพัฒนาหลักสูตร ที่นำ�เอาศาสตร์ทางด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ และการบริหารจัดการ เข้ามา หลอมรวมและแตกขยายออกเป็นรายวิชาที่เข้มข้น ตลอดจนลงลึกไปในแต่ละ ช่วงวัย หลักสูตรนี้ คือ Design and Technology ที่หลายประเทศ เช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ได้ปลูกฝังการเรียนการสอนเช่นนี้ให้แก่เด็กตั้งแต่ ระดับประถมจนถึงไฮสคูล และผลลัพธ์ของการเรียน Design and Technology นี้ ไม่ใช่การฝึกให้เด็กออกแบบได้ หรือมีความสามารถด้านเทคโนโลยีอย่างตรงไป ตรงมาเท่านั้น แต่กระบวนการเรียนการสอนยังนำ�ไปสู่การสร้างเสริมโลกทัศน์ และวิสัยทัศน์ของเด็ก 1 คน ให้สามารถมองเห็นความเป็นไปได้ในการสร้าง ทางออกเพื่อแก้ปัญหา สามารถกล้าที่จะคิด ทดลอง และลงมือทำ� ที่สำ�คัญ

พวกเขาจะต้องกล้าที่จะล้มเหลว และพร้อมที่จะลุกขึ้นใหม่อย่างคนที่มี ประสบการณ์ในความล้มเหลวมาก่อน ท่ามกลางผลการจัดอันดับการศึกษาของประเทศไทยที่ไม่น่าพึงใจนัก เราได้เห็นความกระตือรือร้นและความพยายามของกระทรวงศึกษาธิการไทยที่ จะสร้างและผลักดันให้เด็กเติบโตขึ้นพร้อมกับทักษะและพัฒนาการด้าน Design and Technology มีกระบวนการการแก้ปญั หาบนฐานความรู้ สามารถ เลือกใช้ระดับเทคโนโลยีทเี่ หมาะสม และมีรปู แบบการบริหารโครงการให้บรรลุ เป้าหมาย โดยแนวทางพัฒนาหลักสูตร Design and Technology เริ่มเห็น ทิ ศ ทางจากการจั ด กิ จ กรรมสะเต็ ม (STEM Education) ที่ สำ � นั ก งาน คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดเป็นกิจกรรมในหลักสูตรการเรียนการสอนขึ้น โดยเริม่ ในโรงเรียน 2,000 กว่าแห่งทัว่ ประเทศ อันมีสาระสำ�คัญทีจ่ ะฝึกฝนทักษะ ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การทำ�งานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ และ การสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในบ้านเรา ความอึดอัดบนความคาดหวังที่ดำ�เนินมายาวนานนั้น ควรจะค่อยๆ บรรเทาลง จากการเติมเต็มสิ่งใหม่ ที่จะเป็นเครื่องมือและทักษะที่จะพา ลูกหลานของเราก้าวไปในทิศทางที่พวกเขาตั้งใจ...ไม่ใช่ในทิศทางที่เราตั้งใจ เพราะการลองผิด ลองถูก และลองทำ� ไม่อาจเกิดจากการบังคับ แต่ควรเกิด จากการเปิดกว้าง เพื่อสรรหาความเป็นไปได้ที่ดีที่สุดนั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด

jamespaulius.com

เรื่อง: ณัฐจรีย์ มีชัย, ไทกล้า หมายเจริญ และ รัชฎาภรณ์ แทนปั้น

คบเด็กสร้างเมือง พิพิธภัณฑ์เด็กทั่วโลกนั้น นอกจากจะต้องได้รับการออกแบบมาให้ดึงดูด ความสนใจจากผู้ชมวัยเยาว์ได้ดีแล้ว อีกเรื่องที่สำ�คัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ การนำ�เรื่องราวอันสดใหม่ ทันสมัย และเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการเรียน รู้ของเด็กๆ มาสับเปลี่ยนหมุนเวียนนำ�เสนอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในหัวข้อ ใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยรูปแบบและเรื่องราวที่เด็กๆ มักจะให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือ นิทรรศการที่เปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ เพื่อให้เกิด ประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือทำ�จริง ดังเช่น นิทรรศการ “หมู่บ้าน ลอยฟ้า” (Sky Villages) โดยเจมส์ เปาเลียส (James Paulius) ที่ได้สร้าง ผลงานศิลปะสุดสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นต่อมความคิดให้กับเด็กๆ ในการ จัดสรรทีอ่ ยูอ่ าศัยแห่งโลกอนาคต โดยเขาได้น�ำ เสนอในรูปแบบของตัวต่อไม้ รูปบ้านหลากสีหลายรูปแบบ ให้เด็กๆ ได้หยิบจับเคลื่อนย้ายมาต่อกันได้บน ผนังสีฟ้าและแผ่นไม้รูปเมฆ เสมือนเป็นเมืองลอยฟ้าที่ปรับเปลี่ยนได้ตาม จินตนาการ พร้อมแฝงแนวคิดให้เด็กๆ รู้จักการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ แบบสามมิติ ไปจนถึงการเรียนรู้เรื่องปัญหาจำ�นวนประชากรโลกที่เพิ่มมาก

ขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทำ�ให้ที่อยู่อาศัยในอนาคตจำ�เป็นต้องย้ายขึ้นไปอยู่บน ท้องฟ้า ถึงแม้ปัญหาเรื่องประชากรโลกที่เพิ่มจำ�นวนขึ้นจนพื้นที่อาศัยบน แผ่นดินเริ่มไม่เพียงพอ อาจยังเห็นได้ไม่ชัดเจนมากนัก แต่ในอนาคต กลุ่มคนที่จะต้องพบเจอกับปัญหานี้ก็อาจเป็นเด็กๆ ในปัจจุบันที่จะเติบโต ขึ้น ดังนั้นหมู่บ้านลอยฟ้า จึงเป็นวิธีการสำ�คัญที่จะช่วยให้เยาวชนในวันนี้ เกิดความคิดและตระหนักถึงปัญหาทีจ่ ะเกิดขึน้ กับพวกเขาในอนาคตอันใกล้ เพือ่ ร่วมกันคิดหาหนทางแก้ไขทีม่ ปี ระสิทธิภาพทีส่ ดุ ก่อนทีจ่ ะสายเกินไป หมู่บ้านลอยฟ้านี้ จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เด็ก SPARK Brooklyn Children’s Museum ในย่านบรูกลิน กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และแม้ จะไม่ใช่นิทรรศการที่ลํ้าด้วยนวัตกรรมที่สุด แต่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการ นำ�เสนอประเด็นทางสังคมที่น่าขบคิดให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้อย่างน่า สนใจ เพราะบ่อยครัง้ เนือ้ หาทีด่ กี ต็ อ้ งการรูปแบบการสือ่ สารทีเ่ หมาะสมและ ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามผลงานอื่นๆ ของ ศิลปินรายนี้ได้ที่ www.jamespaulius.com

ที่มา : jamespaulius.com CREATIVE THAILAND I 6


Design Thinking วิธีแก้ปัญหาของนักคิดรุ่นจิ๋ว กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือวิธคี ดิ แบบนักออกแบบ (Design Thinking) ในวันนี้ไม่ได้ถูกจำ�กัดอยู่เฉพาะในแวดวงของนักออกแบบที่จะคิดพัฒนา นวัตกรรมต่างๆ บนรากฐานของการเข้าใจความต้องการของผู้คนอย่าง แท้จริงเท่านัน้ แต่กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมยังเกิดขึน้ อย่างแพร่หลาย และถูกส่งต่อไปในทุกวิชาชีพ ทุกเพศ และทุกวัย ล่าสุด ประเทศในแถบทวีป อเมริกาและยุโรปได้เริม่ มีการปลูกฝังแนวคิดนีใ้ ห้กบั เด็กๆ นักเรียนชัน้ ประถม และมัธยมศึกษากันแล้วอย่างเป็นจริงเป็นจัง การประยุกต์เอา Design Thinking เข้าไปอยู่ในห้องเรียนของเด็กๆ นั้น มีกรณีศกึ ษาทีน่ า่ สนใจมากมาย หนึง่ ในนัน้ คือ ห้องเรียนในมูลนิธิ The George Lucas Educational Foundation ซึ่งได้นำ�แนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ กับเด็กประถมในวิชาเรียน Digital Shop Class: Fun and Profitable ซึ่ง คลาสนี้เปิดโอกาสให้เด็กๆ ประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ ที่สร้างขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างแท้จริง โดยเด็กๆ ต้องเป็นทั้งผู้ออกแบบ ผลิตภัณฑ์ไปจนถึงเป็นเจ้าของธุรกิจเอง ตัวอย่างผลงานที่นักเรียนของ มูลนิธิฯ ได้สร้างสรรค์ก็เช่น การออกแบบระบบขนส่งอาหารเวลาไปเที่ยว เพื่อให้กักเก็บอุณหภูมิเดิมของอาหารไว้ได้นานที่สุด ซึ่งนอกจากจะช่วย แก้ปัญหาให้กับนักเดินทางแล้ว ก็ยังสามารถพัฒนาต่อไปใช้กับบริษัทส่ง อาหารแบบเดลิเวอรี่ได้อีกด้วย หรืออีกหนึ่งกรณีศึกษาของเมอรี่ เชอร์รี่ (Meri Cherry) ครูศิลปะชาว แคนาดาที่ได้นำ�กระบวนการคิดเชิงออกแบบมาผสานกับการเข้าอกเข้าใจ ผู้อื่น โดยให้เด็กๆ ชั้นประถมไปค้นหาความต้องการของน้องๆ ชั้นอนุบาล ว่าต้องการพื้นที่แบบไหนในโรงเรียน ซึ่งเด็กๆ อนุบาลที่สนุกกับการกินขนม และการเล่น ก็ต้องการพื้นที่ที่ทั้งเล่นและกินขนมได้ทั้งวัน แต่ความเป็นจริง ไม่อาจทำ�แบบนัน้ ได้ บทสรุปจึงออกมาเป็น ร้านขายลูกอมสำ�หรับเด็กอนุบาล ที่พี่ๆ ชั้นประถมได้มีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของการพัฒนาพื้นที่ใช้สอยนี้ เพื่อที่จะรู้จักวางความต้องการของตัวเองลง เข้าใจปัญหาของส่วนรวม และ ร่วมแก้ไขปัญหาเหล่านั้น การปลูกฝังวิธีคิด Design Thinking ให้กับเด็กๆ อาจไม่ใช่การฝึกให้ พวกเขารูจ้ กั การออกแบบสินค้าและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เท่านัน้ แต่พนื้ ฐาน สำ�คัญก็คือ การได้ปลูกฝังแนวคิดการแก้ปัญหาบนพื้นฐานของความเข้าใจ มนุษย์ ซึ่งเป็นความเข้าใจตั้งต้นในการเติบโตต่อไปในสังคมนั่นเอง ที่มา: บทความ “Digital Shop Class: Fun and Profitable” โดย Kevin Jarrett (5 มกราคม 2017) จาก edutopia.org / บทความ “Design Thinking And Building Empathy For Kids” โดย Meri Cherry (10 มีนาคม 2015) จาก mericherry.com

เด็กตัวน้อยๆ แต่มีพลังความคิดสร้างสรรค์ยิ่งใหญ่ เพราะโลกของพวกเขา ไม่ได้จำ�กัดอยู่ที่คำ�ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่เด็กๆ มักมีความกระตือรือร้นที่จะ ลองคิด ลองฝัน และหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี กว่าเดิมอยู่เสมอ การส่งเสริมให้เหล่านักออกแบบรุ่นเยาว์ได้แสดงความคิด สร้างสรรค์และแสดงออกถึงศักยภาพ จึงเป็นหนทางที่จะช่วยพัฒนาอนาคต ของชาติให้ไปได้ไกลเท่าที่พวกเขาจินตนาการ ที่อินเดีย มีเวทีเฟ้นหานวัตกรรมใหม่ๆ จากนักคิดรุ่นเยาวชน ผ่านการ ประกวดนักคิดรุ่นจิ๋วที่ช่อื ว่า Dr APJ Abdul Kalam IGNITE Awards ซึ่ง ในแต่ละปี จะมีเด็กๆ จากทัว่ ประเทศส่งผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ของ ตนเองเข้าร่วมประกวดมากกว่า 20,000 ชิน้ โดยผลงานประกวดส่วนใหญ่จะมา จากความช่างคิด ช่างฝัน และช่างสังเกตของเด็กๆ ทีม่ องเห็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำ�วัน เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ที่ มีพนื้ ฐานจากการเข้าใจต้นเหตุของปัญหา ก่อนจะแสวงหาวิธกี ารต่างๆ เพือ่ นำ�มาแก้ไขและพัฒนาสิง่ ทีเ่ ป็นปัญหาอยูใ่ นสภาพแวดล้อมของชุมชนใกล้ตวั ตัวอย่างเช่น Septic Tank Level And Pressure Indicator ผลงานของ เด็กหญิงอินดู มานิกปูริ (Indu Manikpuri) ทีไ่ ด้แนวคิดมาจากการเห็นปัญหา ห้องนํา้ สาธารณะทีห่ มูบ่ า้ นในชนบทของเธอ มักจะมีของเสียล้นออกมาเสมอ และกลายเป็นปัญหาสุขภาวะที่สำ�คัญ เธอจึงคิดสร้างถังบำ�บัดสิ่งปฏิกูลที่ สามารถบอกระดับปริมาตรของเสีย อุณหภูมิ รวมไปถึงความดันของของเสีย ที่อยู่ภายในบ่อบำ�บัด พร้อมแจ้งเตือนว่า ถึงเวลาที่ต้องทำ�ความสะอาด บ่อบำ�บัดแล้ว หรือผลงาน Manual Hand Lever-Based Tapioca Plant Uprooter/Digger ของเด็กชายเอส วัณชินาธัน (S Vanchinathan) ที่เห็น ว่ามันสำ�ปะหลังซึ่งเป็นพืชอุตสาหกรรมที่สำ�คัญของอินเดียนั้น มีวิธีการ เก็บเกี่ยวที่ยากลำ�บาก เนื่องจากมีรากฝังอยู่ในดิน จึงต้องใช้แรงและเวลา มากในการเก็บเกี่ยวผลผลิตแต่ละครั้ง เขาจึงคิดสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ ขุดมันสำ�ปะหลังขึน้ มาจากดิน ทีท่ นุ่ แรง และช่วยประหยัดเวลาในการทำ�งาน สิง่ ประดิษฐ์ทตี่ รงไปตรงมาเหล่านี้ อาจไม่เกิดขึน้ หากไม่มดี วงตาทีช่ า่ ง สังเกต และความคิดที่ต้องการเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นของเด็กๆ และคงจะดี ไม่น้อย หากจินตนาการที่เป็นประโยชน์ได้รับการส่งเสริม พร้อมผลักดันจน นำ�ไปต่อยอดใช้งานได้จริงจากผู้ใหญ่ในสังคมที่ไม่ละเลยความคิดเล็กๆ ที่ เต็มไปด้วยนวัตกรรมและการแก้ปัญหา

nit.org.in/ignite

mericherry.com

นวัตกรรมจากไอเดียคนรุ่นใหม่

ที่มา: nif.org.in

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ รัชฎาภรณ์ แทนปั้น

F EAT U RED BOOK 1) Design and Technology in the Primary School: Case Studies for Teachers โดย Hind Makiya และ Margaret Rogers อั ง กฤษเป็ น อี ก ประเทศหนึ่ ง ที่ มี ค วามตั้ ง ใจที่ จะสร้ า งชาติ ด้ ว ยความคิ ด สร้ า งสรรค์ อ ย่ า ง จริงจัง ในปี 1989 อังกฤษได้ประกาศใช้หลักสูตร ภาคบั ง คั บ กั บ นั ก เรี ย นทุ ก คนตั้ ง แต่ ร ะดั บ ชั้นประถมศึกษา ให้เรียนวิชา “การออกแบบ และเทคโนโลยี” นั่นนับเป็นการปรับโครงสร้าง การศึ ก ษาพื้ น ฐานครั้ ง ใหญ่ ใ นการพั ฒ นา ทรัพยากรมนุษย์ อันเป็นกำ�ลังสำ�คัญสำ�หรับ การสร้างชาติในอนาคต

วิชาทีว่ า่ ด้วยการออกแบบและเทคโนโลยีนนั้ มุ่งพัฒนาทักษะที่สำ�คัญ 2 ด้าน ได้แก่ การ ออกแบบ (Designing) และการลงมื อ ทำ � (Making) โดยเรี ย นรู้ เ รื่ อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เทคโนโลยีวัสดุไปพร้อมๆ กัน เมื่อพิจารณา รายละเอียดของหลักสูตรจะพบว่า ความหมาย ของการออกแบบที่อังกฤษพยายามจะปลูกฝังให้ แก่คนในยุคปัจจุบันนี้ คือกระบวนการใช้ความ คิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา ตอบสนองต่อ ความต้องการ และคำ�นึงถึงบริบททีเ่ กีย่ วข้อง แล้ว เลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยเติมเต็ม สร้างความ เป็นไปได้รูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นจริง การเรียนการสอนเพื่อให้เด็กพัฒนาทักษะ การใช้ความคิดสร้างสรรค์นั้น ผู้สอนต้องสร้าง CREATIVE THAILAND I 8

บรรยากาศที่เอื้อต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ขึ้นมา และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความคิด อย่างเต็มที่ โดยที่ผู้สอนนั้นเป็นเพียงผู้ส่งเสริม และสนับสนุนให้ความคิดเหล่านั้นของนักเรียน ไปถึงจุดหมายปลายทางได้สำ�เร็จ และเมื่อการ เรียนการสอนเน้นการแก้ปัญหา ผู้เขียนหนังสือ เล่มนี้จึงเชิญชวนให้ผู้สอนลองทำ�ความเข้าใจ กับรูปแบบของคำ�ถามและวิธกี ารได้มาซึง่ คำ�ตอบ ที่แตกต่างกัน คำ�ถามปลายเปิดและข้อถกเถียง ที่ท้าทายว่าสิ่งนั้นดีที่สุดสำ�หรับความต้องการ ที่หลากหลายแล้วหรือยัง มักช่วยให้เกิดช่องทาง ทีท่ �ำ ให้เกิดการออกแบบและการพัฒนาสิง่ ใหม่ๆ ซึ่งเป็นที่มาของนวัตกรรมใหม่ๆ ในสังคม


BOOK 2) โรงเรียนบันดาลใจ โดย Ken Robinson และ Lou Aronica การผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพย่อมส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจและระบบโดยรวมของประเทศ ด้วยเหตุนี้นโยบายเพื่อยกระดับระบบการศึกษาจึงถูกกำ�หนดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในทัศนะของ เซอร์เคน โรบินสัน เขามองว่าเรากำ�ลังเดินไปผิดทาง เพราะการพัฒนาระบบการศึกษาแบบอุตสาหกรรม มีแนวโน้มจะทำ�ให้เด็กทุกคนได้เรียนหลักสูตรเดียวกัน ในขณะที่การเพิ่มนโยบายกลางโดยกำ�หนด มาตรฐานความเข้มงวดให้สงู ขึน้ จะยิง่ ส่งผลเสียต่อตัวบุคคล โรบินสันมองว่าสิง่ ทีค่ วรเน้นยํา้ คือการเรียน การสอนแบบปัจเจก ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์ วางแนวการสอน อิงไปที่ตัวบุคคล ซึ่งนั่นจะทำ�ให้เด็กได้เริ่มเรียนจากความสนใจและความชอบเฉพาะของตน ไม่ใช่จาก หลักสูตร 3) Creating Innovators: The Making of Young People Who Will Change the World โดย Tony Wagner Innovation Skill (ทักษะด้านนวัตกรรม) เป็นหนึ่งในทักษะที่สำ�คัญสำ�หรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกลายเป็นทักษะที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ด้วย โทนี่ แว็กเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจะแสดงให้เห็นว่าทำ�ไมทักษะการสร้างนวัตกรรม จึงกลายเป็น สิ่งที่ควรรู้และก่อให้เกิดประโยชน์ในระดับโลก หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่คู่มือ แต่เป็นแนวคิดที่แว็กเนอร์ ต้องการแนะนำ�ให้ครูและผู้ปกครองลองนำ�ไปปรับใช้ เพื่อพัฒนาความสามารถ ส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ จุดประกายจินตนาการให้แก่เด็กๆ รวมถึงช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้จากความล้มเหลว ทั้งหมดนี้เป็นการช่วยบ่มเพาะให้เกิดนวัตกรรุ่นใหม่ นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาเยาวชนให้ สอดรับกับทักษะใหม่ๆ ในอนาคต

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9

D OCU M E N TA R Y 4) The Forbidden Education กำ�กับโดย Germán Doin

การศึกษาถือเป็นเรื่องสำ�คัญที่ไม่ว่าจะผ่านไป กี่ยุคกี่สมัยก็ยังคงต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนา อยู่ เ สมอ อาจเพราะวั น เวลาเปลี่ ย นไปและ เทคโนโลยีกา้ วไกลมากขึน้ การศึกษาในยุคเก่าๆ จึ ง ไม่ อ าจตอบสนองความต้ อ งการของเด็ ก รุ่นใหม่ๆ ได้ สารคดีเรื่อง The Forbidden Education ตั้งคำ�ถามว่าต้นแบบของการศึกษา ที่หน่วยงานจัดสรรให้แก่เด็กๆ นั้น สามารถ พัฒนาและทำ�ให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้น ได้ อ ย่ า งไร โดยดำ � เนิ น เรื่ อ งจากสถานการณ์ จำ � ลองของระบบการศึ ก ษาในประเทศสเปน รวมทั้ ง มี ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นการศึ ก ษามาให้ คำ�แนะนำ�และวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ จะไม่มีบทสรุปว่าการศึกษาที่สมบูรณ์นั้นเป็น อย่างไร แต่สิ่งสำ�คัญของพื้นฐานการศึกษาที่ สารคดีเรื่องนี้บอกก็คือ การเอาใจใส่ อิสระใน ความรั ก และความรั ก ความผู ก พั น ระหว่ า ง นักเรียนกับครู หรือนักเรียนกับครอบครัวนั่นเอง


businessinsider.com

mcknights.com

Matter : วัสดุต้นคิด

เรือ่ ง: ชมพูนทุ วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ

ต้นกำ�เนิดของนักประดิษฐ์ส่วนใหญ่เริ่มจากความต้องการช่วยเหลือคนอื่น และเปลี่ยนแปลงโลกเมื่อครั้งอายุยังน้อย และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวลํ้าใน ปัจจุบัน ก็ยิ่งส่งผลให้เด็กๆ รุ่นใหม่สามารถสร้างต้นแบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ส่งผลดีต่อสังคมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เคนเนธ ชิโนซึกะ (Kenneth Shinozuka) เยาวชนอายุ 18 ปี ผูส้ ร้างสรรค์ ระบบการเตือนสำ�หรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคที่มีอัตราเติบโตที่รวดเร็ว ที่สุด และกำ�ลังคุกคามสุขภาพของชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก เพราะอาการ ของโรคนี้ส่งผลกระทบกับทั้งผู้ป่วยเองและญาติพี่น้อง ชิโนซึกะเข้าใจ เรื่องนี้ดี เพราะจำ�ได้ว่าตอนอายุ 4 ปี คุณปู่ของเขาเกิดหลงทางขณะกำ�ลัง เดินเล่นกับเขาในสวนที่ประเทศญี่ปุ่น จนทำ�ให้ทุกคนในครอบครัวเรียนรู้ว่า คุณปู่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ชิโนซึกะจึงคิดอยากหาวิธีที่จะทำ�ให้รู้ว่า ปู่ของเขา เดินออกไปข้างนอกตอนกลางดึกหรือไม่ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น กับคุณปูข่ องเขา ดังนัน้ ตอนอายุ 15 ปี เขาจึงได้ออกแบบถุงเท้าทีม่ เี ซ็นเซอร์ ตรวจจับแรงกด โดยถุงเท้านี้จะเริ่มทำ�งานเมื่อมีการก้าวเดิน และจะส่ง ข้อความไปยังสมาร์ทโฟน ของผู้ดูแลผู้ป่วย สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นนี้ นอกจาก จะทำ�ให้ชิโนซึกะประสบความสำ�เร็จในการดูแลปู่ของเขาแล้ว เขายังได้รับ

รางวัลชนะเลิศเป็นเงินจำ�นวน 50,000 เหรียญสหรัฐฯ จาก Scientific American Science in Action Award โดยปัจจุบันชิโนซึกะ กำ�ลังเรียนที่มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด และเป็นกรรมการตัดสินในรายการ Invent for Good Challenge รวมทั้งได้รับเชิญไปบรรยายถึงแนวคิดที่เป็นประโยชน์ของเขานี้ในเวที TED Talk อีกด้วย อีกหนึง่ เยาวชนทีน่ า่ สนใจเป็นเด็กสาววัย 15 ปี อย่าง แอนนาห์ เฮิรบ์ สต์ (Hannah Herbst) กับการค้นหาพลังงานจากมหาสมุทร เฮิร์บสต์มีความคิด อยากช่วยจัดสรรนํ้าสะอาดและแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนให้กับผู้คนที่อยู่อาศัย ในประเทศกำ�ลังพัฒนา เธอจึงประดิษฐ์อปุ กรณ์คน้ หาพลังงานจากมหาสมุทร ซึ่งสามารถเปลี่ยนกระแสนํ้าในมหาสมุทรให้เป็นพลังงานที่ใช้ได้จริงผ่าน เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้า โดยเธอเลือกใช้ซอฟต์แวร์ CAD ในการทำ�ต้นแบบแล้ว พิมพ์ออกมาด้วยเครือ่ งพิมพ์สามมิติ พร้อมประเมินว่า ถ้าเพิม่ ขนาดต้นแบบ จะสามารถเปลี่ยนกระแสนํ้าเป็นพลังงานที่เพียงพอให้แบตเตอรี่สามตัว ทำ�งานได้หนึ่งชั่วโมง ซึ่งพลังงานที่ได้นี้สามารถนำ�มาใช้เป็นพลังงานให้กับ เครื่องสูบนํ้าเพื่อกลั่นนํ้าทะเลให้เป็นนํ้าบริสุทธิ์ที่ใช้ดื่มได้ “ฉันตื่นเต้นมากที่ จะช่วยวิกฤตพลังงานของโลก ฉันอดใจไม่ไหวที่จะช่วยชีวิตคนด้วยงาน

CREATIVE THAILAND I 10


brit.co vcharkarn.com

ประดิษฐ์ของฉัน” ผลงานของแอนนาห์ยังได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวที ประกวด Discovery Education 3M Young Scientist Challenge ซึ่งเป็น เวทีประกวดสำ�หรับนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ในสหรัฐอเมริกา เมือ่ กลับมาดูทปี่ ระเทศไทย ก็มกี ลุม่ เยาวชนจากโรงเรียนสุราษฎร์พทิ ยา ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลกที่ประเทศสวีเดน จากการคิดนวัตกรรม การกักเก็บนํา้ โดยเลียนแบบสับปะรดสี นับเป็นแนวทางหนึง่ ในการแก้ปญั หา การขาดแคลนนํ้า โดยเฉพาะในภาคการเกษตร แนวคิดตั้งต้นเกิดจากการ

สังเกตรูปทรงของสับปะรดสีทกี่ กั เก็บนํา้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีสว่ น ที่สามารถดักจับนํ้าที่สำ�คัญหลายส่วน เช่น แผ่นใบที่มีขอบใบทั้งสองข้าง บางกว่าบริเวณกลางใบ ทำ�ให้แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปตัวยูเหมือนรางนํ้า นํ้าจะไหลไปกักเก็บที่แอ่งระหว่างกาบใบ หนามเล็กๆ บริเวณรอบใบช่วยให้ นํ้าไหลลงไปรวมกันที่รางรับนํ้า เนื่องจากแรงยึดติดระหว่างนํ้ากับผิวใบ มากกว่าแรงเชือ่ มแน่นของนํา้ และจากการสังเกตพบว่า ในเวลากลางคืนจะ มีหยดนํา้ เกาะตามแผ่นสังกะสีเคลือบอะลูมเิ นียมมุงหลังคาบ้าน จึงได้น�ำ มา เป็นต้นแบบสร้างอุปกรณ์กักเก็บนํ้าเลียนแบบสับปะรดสี โดยประดิษฐ์จาก แผ่นอะลูมเิ นียม เนือ่ งจากเป็นวัสดุทเี่ ก็บความร้อนน้อย ในเวลากลางคืนเมือ่ ไอนํ้าในอากาศมากระทบจึงกลั่นตัวเป็นหยดนํ้าได้ง่าย เมื่อนำ�ชุดอุปกรณ์นี้ ไปใช้จริงโดยติดตั้งบนต้นยางพารา พบว่าต้นยางพาราที่ใช้ชุดอุปกรณ์ สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าต้นที่ไม่ได้ใช้ชุดอุปกรณ์ถึง 57.50 เปอร์เซ็นต์ และ ด้วยราคาต้นทุนชุดละ 25 บาท เมือ่ นำ�ไปใช้กบั ต้นยางพาราเพียง 6 วัน ก็จะ คุ้มราคาต้นทุน อุปกรณ์นี้ยังสามารถช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถปลูกพืช ได้แม้ในสภาวะแห้งแล้ง ด้วยผลงานสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ จึงเป็นอีกหนึง่ ข้อพิสจู น์วา่ หากเด็กๆ ได้รบั การปลูกฝังให้ช่างสังเกต และพร้อมต่อยอดให้เป็นสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์ ใหม่ๆ แล้ว โลกในวันหน้าย่อมจะเต็มไปด้วย ‘คิดส์นวัตกรรม’ ที่เกิดจาก การสร้างสรรค์ของเหล่าเยาวชนอย่างแท้จริง ที่มา: komchadluek.net และ littlebits.cc

CREATIVE THAILAND I 11


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

หากพูดถึงชื่อ “NetDesign” เชื่อว่า แทบไม่ มี ใ ครไม่ รู้ จั ก โรงเรี ย นสอน ออกแบบเว็ บ ไซต์ แ ละคอมพิ ว เตอร์ กราฟิกในตำ�นานแห่งนี้อย่างแน่นอน เกือบ 20 ปีแล้วที่ NetDesign อยู่คู่ กับคนไทยยุคไซเบอร์ โดยมีเฉลิมรัฐ นาควิเชียร (นนท์) เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ความสำ�เร็จของโรงเรียน ท่ามกลาง กระแสความเปลี่ยนแปลงในช่วงวิกฤต เศรษฐกิ จ ปี 2540 ที่ ทำ � ให้ ธุ ร กิ จ นั บ ไม่ ถ้ ว นล้ ม ละลาย ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น ทุกวันนี้เส้นทางธุรกิจของกลุ่มบริษัท NetDesign ยังไม่ได้ว่าด้วยการเป็น สถาบันการศึกษาอย่างเดียวอีกต่อไป หากแต่ กำ � ลั ง มุ่ ง หน้ า สู่ ก ารเป็ น ยั ก ษ์ ใหญ่แห่งภูมิภาคที่มีบทบาทกับการทำ� ธุรกิจบนโลกออนไลน์

จากนักศึกษาศิลปะ สู่นักสร้างเว็บไซต์

ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำ�กุ้ง เฉลิมรัฐ นาควิเชียร (นนท์) บัณฑิตจบใหม่จากสาขา นิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นนักศึกษายุคแรกที่เริ่มทำ� ผลงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการออกแบบสื่อบนอินเทอร์เน็ต (ขณะนั้นตัวเลขผู้ใช้งาน อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังอยูใ่ นหลักหมืน่ เท่านัน้ ) ด้วยต้นทุนความรูจ้ ากการฝึกงาน ทั้งในบริษัทผลิตโฆษณา สารคดี คอมพิวเตอร์กราฟิก รวมถึงการรับงานออกแบบ นอกห้องเรียน ทำ�ให้เขาได้เข้าทำ�งานเป็นเว็บดีไซเนอร์ในบริษัทรับออกแบบเว็บไซต์ สัญชาติฝรั่งเศสซึ่งมีลูกค้าหลักเป็นบริษัทในยุโรป หลังจากที่เขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการทำ�งานในบริษัทอยู่หนึ่งปี ได้เรียนรู้เรื่อง เทรนด์การออกแบบและธุรกิจอีคอมเมิร์ซซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักนักในเมืองไทย และเริ่ม เปิดบริษัทรับออกแบบเว็บไซต์ของตนเอง เฉลิมรัฐค้นพบว่างานที่มักจะพ่วงมากับ การรับทำ�เว็บไซต์ คือลูกค้าจะกลับมาให้เขาแก้ไขข้อมูลให้เสมอ เขาจึงเปิดอบรม เพิ่มเติมให้ลูกค้ารู้จักการเขียนโค้ด HTML เพื่อแก้ไขข้อมูลได้เองโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เพิ่ม ด้วยวิธีการสอนที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้ภาษาเทคนิค จึงมีลูกค้าแวะมาให้สอนมากขึ้น ทุกวัน บ้างก็พาพนักงานไอทีและการตลาดมากันทั้งแผนก บ้างก็ชวนเพื่อนมาเรียน ด้วย เขามองเห็นว่านี่คือสิ่งที่ตลาดกำ�ลังขาดแคลนมาก จึงตัดสินใจเปิดโรงเรียน

CREATIVE THAILAND I 12


โรงเรียน NetDesign สาขาแรกตั้งอยู่ที่อาคารฟอร์จูน ทาวน์ ชั้น 22 โดยเฉลิมรัฐเช่า พื้นที่ในตึกอยู่ฟรี 6 เดือนแรก เขาสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 9 เครื่องโดยขอชำ�ระเงิน ภายใน 30 วัน โดยในเดือนแรกมีคนสมัครเรียนถึง 300 กว่าคน ด้วยค่าเรียนประมาณ 7,000 บาทซึ่งนับว่าสูงมาก ลูกค้าทั้งหมดอายุมากกว่าเขา และส่วนใหญ่เป็นเจ้าของ บริษัทหรือนักวิชาการ สีสม้ เป็นสีประจำ�โรงเรียน เพือ่ สร้างภาพลักษณ์ทแี่ ตกต่าง แสดงถึงความกระฉับกระเฉง ทันสมัย ไปด้วยกันกับสไตล์การสอนแบบสบายๆ และนำ�ไปใช้งานได้จริง ต่างจาก โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นซึ่งมีบรรยากาศค่อนข้างจริงจัง “เรียนออกแบบเว็บไซต์ อาชีพที่มีรายได้สูงสุด” คือสโลแกนที่ปรากฏบนใบปลิวของ NetDesign ในยุคแรก เพราะขณะนั้นมีคนตกงานจำ�นวนมาก และคนไทยส่วนใหญ่ยัง มีบทบาทเป็นแค่ผู้ใช้งาน (user) อย่างเดียว จึงเกิดแนวคิดที่ต้องการเปลี่ยนผู้ใช้งาน ชาวไทยให้กลายเป็นนักพัฒนา (developer) คอร์สแรกที่ NetDesign เปิดสอนในปี พ.ศ.2541 จึงมีเพียงคอร์สเดียวคือ “การออกแบบและสร้างเว็บไซต์” โดยเน้นเรื่องการ ออกแบบเป็นศูนย์กลาง “เราไม่ได้สอนให้เป็นมนุษย์ไอทีทเี่ ข้าใจแต่ระบบ ผูเ้ รียนจึงต้อง ออกแบบเว็บไซต์ให้มีความสวยงามและตอบโจทย์การใช้งานได้เหมาะสมด้วย”

ไม่ใช่แค่อาชีพ แต่คือวิถีชีวิต

ปีแรกของ NetDesign ดำ�เนินไปโดยมีเฉลิมรัฐเป็นครูผู้สอนเพียงคนเดียวตั้งแต่ 9 โมง จนถึง 4 ทุ่มตลอด 7 วัน จนเข้าปีที่สอง เขาจึงเริ่มสร้างทีมงานผู้สอนและเปิดสาขา สองทีเ่ มเจอร์รชั โยธิน เพราะเล็งเห็นว่าขณะนัน้ เริม่ เกิดค่านิยมการใช้เวลาว่างในสถานที่ ที่ไม่ใช่บ้านและที่ทำ�งาน หรือที่เรียกกันว่า “Third Place” เช่น ร้านกาแฟและโรงหนัง “ผมคิดว่าถ้าเขามีเวลาดูหนัง 3 ชม. เขาก็น่าจะมีเวลามาเรียน ก็เลยพยายามสร้าง ค่านิยมให้การเรียนออกแบบเว็บไซต์ในเวลาว่างกลายเป็นไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ เป็นการลงทุนกับความรู้ เพือ่ ต่อยอดในอนาคต” นักเรียนของ NetDesign จากหลากหลาย สาขาอาชีพ จึงได้รับเลือกให้เป็นพรีเซนเตอร์ของโรงเรียน เพื่อสื่อสารว่าไม่ว่าจะทำ� อาชีพอะไรก็สามารถเรียนออกแบบเว็บได้ ทำ�ให้จ�ำ นวนนักเรียนเพิม่ ขึน้ จาก 1,000 คนใน ปีแรก เป็น 4,000 คนในปีถัดมา NetDesign มีการปรับหลักสูตรให้ทันยุคและตอบโจทย์ตลาดเสมอ ปัจจุบันมีหลักสูตร ให้เลือกเรียนทั้งหมด 70 หลักสูตร โดยตั้งแต่เปิดโรงเรียนจนถึงวันนี้ มีนักเรียนที่ผ่าน การอบรมทัง้ หลักสูตรภายในสถาบันและจัดอบรมภายนอก มากกว่า 300,000 คน “คืออะไร ที่ตลาดมีออกมาให้ใช้ เราจะสอนวิธีการพัฒนา เช่น ช่วงที่เริ่มมีภาพยนตร์แอนิเมชั่น เราก็เปิดหลักสูตรโดยเชิญแอนิเมเตอร์คนไทยทีจ่ บจากต่างประเทศมาสอน พอถึงยุคที่ เด็กติดเกมออนไลน์อย่าง Ragnarok เราก็สอนวิธีสร้างเกม พอเริ่มมีสมาร์ทโฟน เราก็ เปิดคอร์สเขียนแอพพลิเคชั่น” นโยบายรับรองคุณภาพการสอนของ NetDesign ที่ใช้มาตลอดจนถึงทุกวันนี้ คือ ถ้า ผูเ้ รียนเรียนจบแล้วยังไม่เข้าใจ หรือต้องการทบทวนบทเรียน ก็สามารถกลับมาเรียนอีก ได้ฟรีตลอด 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม

CREATIVE THAILAND I 13

มากกว่าโรงเรียน แต่คือผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากธุ ร กิ จ โรงเรี ย นแล้ ว NetDesign ยังให้บริการออกแบบ เว็ บ ไซต์ แ ละค่ อ ยๆ ขยายไปสู่ บริการอื่นๆ ตั้งแต่เว็บโฮสติ้ง* การรับจดโดเมนเนม การทำ�ระบบ ชำ � ระเงิ น ออนไลน์ (Payment Gateway) ไปจนถึงการทำ�การ ตลาดออนไลน์ จนเรียกได้วา่ เป็น ธุรกิจอินเทอร์เน็ตแบบครบวงจร ล่าสุด NetDesign Group ได้ร่วม ทุ น กั บ บริ ษั ท GMO (Global Media Online) Internet Group ซึง่ เป็นหนึง่ ในห้าบริษทั ไอทีทใี่ หญ่ ทีส่ ดุ ในญีป่ นุ่ มีบริษทั ในเครือ 105 บริษัททั่วโลก เปิดบริษัท GMO-Z com NetDesign Holdings เพื่อ ดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ตอบสนองดิ จิ ทั ล ไลฟ์สไตล์ในประเทศไทย โดย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ โครงสร้ า งพื้ น ฐานอิ น เทอร์ เ น็ ต การโฆษณาออนไลน์ การซื้อขาย หลักทรัพย์ออนไลน์ และธุรกิจ มือถือและเกม การร่วมทุนในครั้งนี้ นับว่าเป็น การลงทุนนอกประเทศครั้งใหญ่ ที่สุดของ GMO ด้วยเงินลงทุน มากกว่า 1 พันล้านบาท โดย GMO วางแผนให้ ไ ทยเป็ น ศู น ย์ ก ลาง ธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

*เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คือ รูปแบบการให้บริการที่ผู้ใช้ งานอินเทอร์เน็ตสามารถฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้กับผู้ให้ บริการเซิร์ฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้ เว็บไซต์ของตนเองออนไลน์อยูบ่ นโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม. ที่มา: บทสัมภาษณ์ ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร ประธานเจ้าหน้าที่ บริ ห าร บริ ษ ั ท จี เอ็ ม โอ-แซด คอม เน็ตดีไซน์ โฮลดิ้ง จำ�กัด (16 มกราคม 2017) โดย ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ / หนังสือ รวยสู้วิกฤต (2011) โดย ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร / netdesign.ac.th


robertpennorgallery.com

Cover Story : เรื่องจากปก

เรือ่ ง: สมรรถพล ตาณพันธุ์ และ กัลยา โกวิทวิสทิ ธิ์

ในขณะที่สังคมกำ�ลังต้อนรับเด็กเจเนอเรชั่นมิลเลนเนียมเข้าสู่ตลาดแรงงาน ในรั้ว การศึกษาก็กำ�ลังต้อนรับเด็กเจเนอเรชั่นอัลฟ่าที่กำ�ลังเติบโตอย่างรวดเร็วพอๆ กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป CREATIVE THAILAND I 14


Generation เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เจเนอเรชั่นที่เปลี่ยนไป เจเนอเรชั่นอัลฟ่าเป็นชื่อเรียกเด็กที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไปซึ่งเป็นลูกของกลุ่มคนที่ถูก เรียกว่าเจเนอเรชัน่ เอ็กซ์ หรือกลุม่ คนทีเ่ กิดในยุคซึง่ ต้ อ งปรั บ พฤติ ก รรมและวิ ถี ชี วิ ต ให้ ส อดรั บ กั บ กระแสคลื่นเทคโนโลยีที่เริ่มผลิบาน ผิดกับกลุ่ม เจเนอเรชั่ น อั ล ฟ่ า ที่ เ กิ ด ขึ้ น ท่ า มกลางกระแส เทคโนโลยีทสี่ กุ งอม เด็กเจเนอเรชัน่ อัลฟ่าเกิดและ เติบโตในโลกแห่งโซเซียลเน็ตเวิร์ก ในยุคสมัยที่ ข้อมูลต่างๆ เคลื่อนที่ผ่านอากาศที่ความเร็วแสง

makezine.com static.guim.co.uk

กระแสธารแห่งเทคโนโลยีที่เชี่ยวกรากกำ�ลังไหล ผ่านทัว่ ทุกพืน้ ทีบ่ นโลกใบนีอ้ ย่างไม่หยุดยัง้ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อ ศาสนา และความรู้ ต่างถูกทำ�ให้เปลีย่ นรูปไปตามแรงส่ง จากเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงจากที่แต่เดิม ใช้เวลาเนิ่นนานกว่าจะเห็นชัด นับวันกลับยิ่งทวี ความเร็ ว แบบติ ด สปี ด คงไม่ เ กิ น จริ ง หากจะ กล่าวว่าทุกๆ นาทีจะเกิดของใหม่ ที่เป็นผลพวง จากเทคโนโลยี ขึ้ น ช่ ว งเวลาไม่ กี่ ปี ที่ ผ่ า นมา คนยุคใหม่ล้วนรอคอยงานจัดแสดงสินค้าทาง เทคโนโลยีที่จัดขึ้นทุกๆ ปี เราเฝ้าดูความเร็ว ของการประมวลผลจาก CPU ที่ดูเหมือนจะ เร็วขึ้น 2 เท่าทุกๆ 6 เดือน สิ่งของต่างๆ ที่เรา ซื้อวันนี้เหมือนจะตกรุ่นทันทีที่จ่ายเงิน ความเร็ว ของการสื่อสารจาก 2G สู่ 3G และไปที่ 4G เหมือนจะไม่สามารถรัง้ รอได้อกี ต่อไป เทคโนโลยี ของผู้ ค นที่ เ กิ ด ขึ้ น ในวั น นี้ แ ตกต่ า งจากผู้ ค นที่ เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้วมหาศาล กลุ่มเด็กๆ เจเนอเรชั่นอัลฟ่าในวันนี้จึงต้อง ใช้ชีวิตราวกับอยู่บนกระดานโต้คลื่น ท่องไปบน กระแสธารแห่ ง เทคโนโลยี ความเร็ ว ของ เทคโนโลยีที่ว่าเร็วแล้ว และต่อให้เร็วขึ้นอีกสัก กี่เท่า ก็อาจยังไม่เท่าทันใจเด็กๆ เจเนอเรชั่นนี้ การศึกษาสำ�หรับเจเนอเรชัน่ อัลฟ่าจึงไม่สามารถ ดำ�เนินตามรูปแบบเดิมๆ ได้ในทุกมิติ หากระบบ การศึกษาต้องเผชิญกับการปรับตัว ตั้งแต่สถานที่ สภาพแวดล้อม ห้องเรียน อุปกรณ์การเรียน การสอน หลักสูตรเนื้อหาสาระการเรียน จนไป ถึงผูส้ อนทีไ่ ม่เพียงแต่ตอ้ งปรับเปลีย่ นวิธกี ารสอน แต่ยังต้องเข้าใจธรรมชาติของเยาวชนในวันนี้ อย่างแท้จริงด้วย

สามารถเข้าถึงทุกที่ในทุกมิติด้วยสิ่งที่เรียกว่า สมาร์ทโฟน ถูกหลอมด้วยวัฒนธรรมแห่งข้อมูลที่ ท่วมท้น เข้าถึงง่าย และให้ความสำ�คัญกับภาพ สะท้อนความสำ�เร็จที่รุนแรงทันทีทันควัน นิยม การเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง ให้ความ สำ�คัญกับการลงมือทำ�ตามวิถีทางที่กำ�หนดขึ้น ด้วยตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้ในห้องเรียน ค่ า นิ ย มที่ ส ะท้ อ นออกมาทางพฤติ ก รรม เหล่านี้ เริ่มเห็นได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น สองสาวพี่น้องตระกูลบีตตี (Beatty) ที่เริ่มจาก ความสนใจในหุ่นยนต์ จนนำ�มาสู่การเรียนรู้ การสร้ า งและเปิ ด บริ ษั ท จำ � หน่ า ยหุ่ น ยนต์ ใ ห้ พิพิธภัณฑ์ในอเมริกาในวัยเพียง 11 และ 14 ปี หรือ เอเลนา ไซม่อน (Elena Simon) ที่เอาชนะ โรคมะเร็งตับที่คุณหมอชั้นนำ�ทุกคนบอกว่าไม่มี ทางรักษาด้วยการยืมใช้หอ้ งแล็บของมหาวิทยาลัย ค้นหาวิธีรักษาตัวเองจนหายขาด และหากเรายิ่ง ค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ก็จะยิง่ พบกรณีศกึ ษา จากเด็กกลุ่มนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนต้องมาตั้ง คำ � ถามขึ้น ว่ า แล้ ว ระบบการศึ ก ษาจะเข้ า มามี บทบาทอย่างไรกับเด็กเจเนอเรชั่นนี้ได้บ้าง CREATIVE THAILAND I 15

Space สลายขอบเขตพื้นที่แห่งการเรียนรู ้ เมือ่ แหล่งความรูแ้ ละข้อมูลสามารถเข้าถึงได้เพียง ปลายคลิ ก ห้ อ งเรี ย นแบบเก่ า ที่ มี คุ ณ ครู เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางจึ ง ถู ก ปรั บเปลี่ ย นไปสู่ รู ปแบบพื้นที่ การเรียนรู้ใหม่ โดยกระจายสู่พื้นที่นอกโรงเรียน ในรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เชิงปฏิบัติการ โมเดลการ เรียนรู้ใหม่ๆ ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อเชื่อมโยงความรู้ และทักษะของเด็กสู่การปฏิบัติจริง เช่น Kid Zania ที่ให้เด็กทดลองสวมบทบาทอาชีพต่างๆ การปรั บ พื้ น ที่ ทำ � งานจริ ง ของผู้ ใ หญ่ ใ ห้ เ ด็ ก ๆ ได้ลงมือทดลอง เช่น FABLAB Makerspace หรือ Tinker Lab ที่มีเครื่องไม้เครื่องมือ ตลอดจน อุปกรณ์ตา่ งๆ ให้พวกเขาได้ทดลองแปลงแนวคิด สู่ ชิ้ น งานด้ ว ยเทคโนโลยี ก ารผลิ ต แบบดิ จิ ทั ล (Digital Fabrication) หรือรูปแบบพื้นที่ที่ดึง ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสอนผ่านกระบวนการคิดเชิง ออกแบบ (Design Thinking) พร้อมทุนสนับสนุน เช่น space10 ของ IKEA


rosanbosch.com

มิตหิ นึง่ ระบบการศึกษามีรปู แบบเป็นเส้นตรงและ ถูกแบ่งเป็นส่วนๆ ตามช่วงภาคการศึกษา เนือ้ หา สาระถูกจำ�กัดไว้เฉพาะที่มีในตำ�รา ถูกนำ�เสนอ ตามลำ�ดับช่วงวัยของผู้เรียน เกิดขึ้นเฉพาะใน คาบเรี ย น และจบลงทั น ที ที่ สิ้ น สุ ด คาบเรี ย น กล่าวอีกอย่างก็คือหากคุณอยากเรียนหนังสือ คุณต้องพาตัวเองเข้าสู่ชั้นเรียนให้ได้ ในเวลาที่ เหมาะสม และยิ่งถ้าความรู้ที่สนใจเป็นเรื่อง เฉพาะทางด้วยแล้ว อาจจะต้องรอเรียนในระดับ มหาวิทยาลัย ซึง่ แตกต่างอย่างมากกับมิตบิ นโลก อินเทอร์เน็ตซึ่งพื้นที่ไม่ได้ขึ้นตรงต่อเวลา อยาก เรียนอะไร อยากรู้อะไร ก็สามารถเรียนได้ทันที ไม่ว่าเรื่องที่อยากเรียนรู้จะเป็นเรื่องอะไร โลก อินเตอร์เน็ตจะมีกลุ่มสังคมที่สนใจเรื่องเดียวกับ เรารออยู่แล้วเสมอ ข้อมูลหรือองค์ความรู้นั้น รับประกันได้เลยว่าสดใหม่และไม่ใช่ข้อมูลระดับ พื้นๆ แต่เป็นข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มคนที่เรียกว่า แฟนดอม หรือแฟนพันธุ์แท้ที่หมกมุ่นกับสิ่งที่ ตนเองสนใจอย่ า งสุ ด ตั ว ข้ อ มู ล จากกลุ่ ม คน เหล่านี้ถูกแบ่งปันอยู่บนพื้นที่ของโซเชียลมีเดีย ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ มี เ ฉพาะบทความ เสี ย ง หรื อ ภาพ เคลื่อนไหวเท่านั้น แต่หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ สามารถแปลงให้อยู่ในรูปของดิจิทัลได้ แต่ที่น่า สนใจกว่านั้นคือข้อมูลหรือองค์ความรู้เหล่านี้ไม่ ได้เป็นเพียงความรู้ที่หยุดนิ่ง แต่เป็นองค์ความรู้ ที่เปิดให้เกิดการแลกเปลี่ยน วิพากษ์วิจารณ์ ทำ � ให้ เ กิ ด การแก้ ไ ขและต่ อ ยอดไปสู่ ข้ อ มู ล สำ�เร็จรูปใหม่ล่าสุดที่นำ�ไปปรับใช้ได้ทันที เรียก ได้ว่าความรู้วางอยู่ตรงหน้าจอให้เราเลือกเรียน ได้โดยอิสระ

unsplash.com

Fandom แฟนดอม แฟนพันธุ์แท้ คุณครูพันธุ์ใหม่

Reframing Knowledge การรื้อสร้างหลักสูตร มี อ ะไรบ้ า งที่ ไ ม่ ส ามารถหาได้ จ ากโลก อิ น เทอร์ เ น็ ต การศึ ก ษาแบบดั้ ง เดิ ม เปรี ย บ เป็นเสาหลักของภาคการศึกษา โดยรับหน้าที่ ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ผู้เรียนส่วนใหญ่ซึ่ง เป็นเด็กรุ่นใหม่ ด้านหนึ่งพวกเขาเหล่านี้ใช้ชีวิต อยู่ในโลกโซเชียลมีเดียที่การศึกษาต่างเป็นอิสระ ไร้ ข อบเขตและแปรเปลี่ ย นไปตามห้ ว งเวลา ซึ่งห้วงเวลาของพวกเขาดูเหมือนนับวันจะยิ่ง หมุ น เร็ ว ความรู้ บ างประการจึ ง ก้ า วลํ้ า กว่ า CREATIVE THAILAND I 16

ความรู้ที่สอนในโรงเรียนแบบเก่าไปมาก แต่ใน ทางกลับกัน องค์ความรู้สำ�คัญๆ ที่ถูกมองข้าม และเพิกเฉยไปนั้น กลับมีเสียงสะท้อนที่บอกเรา ว่าเราไม่อาจละทิ้งการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม ไปได้เสียทั้งหมด การเรียนการสอนรูปแบบนี้ยัง คงต้องมีอยู่ แต่ถูกปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น ความอิสระของการเรียนบนโลกอินเทอร์เน็ต นำ � ไปสู่ บ ทบาทใหม่ ข องผู้ เ รี ย น ผู้ เ รี ย นหรื อ นักเรียนไม่ได้เป็นผู้รับข้อมูลเพียงฝ่ายเดียวอีก ต่อไป แต่ยังมีอิสระในการออกแบบวิธีการเรียน ให้ ต รงกั บ ความสนใจของตนเองมากที่ สุ ด


เด็กๆ มากมายก�ำลังก้าวออกมาไล่ตามความฝัน โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในทุกมิติ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เทคโนโลยีที่เคยถูกมอง ว่าเป็นของซับซ้อน ยาก และเป็นเรื่องของอนาคต ไม่ใช่ข้อจ�ำกัดส�ำหรับเด็กๆ ยุคใหม่อีกต่อไป

โดยเลือกตัดทอนสิ่งที่ไม่จำ�เป็น เพิ่มพูนเนื้อหา สาระที่จำ�เป็น ตลอดจนพัฒนาและปรับปรุงผล ที่ได้จากการเรียนด้วยตัวเอง เพื่อแบ่งปันบน โซเชี ย ลมี เ ดี ย และแลกเปลี่ ย นพู ด คุ ย กั บ กลุ่ ม แฟนดอม สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ความรู้ใหม่ๆ แต่ ยังรวมถึงแผนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ วิธี เรียนแบบใหม่ เครือ่ งมือใหม่ๆ ซึง่ หลุดจากกรอบ การเรี ย นในโรงเรี ย นแบบดั้ ง เดิ ม โดยสิ้ น เชิ ง เครื่ อ งมื อ รู ป แบบใหม่ ถู ก สร้ า งขึ้ น จากผู้ เ รี ย น โดยตรง ซึ่งตอบโจทย์ที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ อย่างตรงประเด็น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น Summly เป็นแอพพลิเคชั่นที่พัฒนา โดยนิค ดัลลอยซิโอ (Nick D’Aloisio) ในขณะที่ เขาอายุเพียง 17 ปี เพื่อสรุปประเด็นเนื้อหาทาง ออนไลน์ ให้กระชับทันใจวัยรุ่น กลุ่ม Lifelong Kindergarten ของ MIT Media Lab ได้ทดลองใช้ ห้องปฏิบตั กิ ารคอมพิวเตอร์ของชุมชนย่านบอสตัน ในการย่อยการเรียนโปรแกรมมิ่งที่ดูซับซ้อนให้ กลายเป็นชุดของเล่นเด็กอย่าง scratch หรือ Vittra School Telefonplan ที่จัดพื้นที่การเรียน เป็นกลุ่มที่สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ให้เด็กเข้ามา เลือกใช้และเชื่อมโยงการเรียนรู้ของตัวเอง

Money แหล่งเงินทุนในหมู่เมฆ ในขณะที่การศึกษาเป็นเป้าหมายในการพัฒนา ของหลายๆ ประเทศ แต่การจัดสรรงบประมาณ เพื่ อ รองรั บ การเปลี่ ย นแปลงนั้ น กลั บ ใช้ เ วลา ดำ � เนิ น การช้ า และกลายเป็ น ปั จ จั ย ที่ ช ะลอ ความก้าวหน้าด้านการศึกษา Crowdfunding (การระดมทุนสาธารณะ) จึงกลายเป็นทางออก ในปั จ จุ บั น ของหลายพื้ น ที่ โ ดยเฉพาะพื้ น ที่ ขาดแคลน ซึง่ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรูแ้ ละ พัฒนาในรูปแบบของโปรเจ็กต์ จากการระดมทุน บนแพลตฟอร์มอย่าง Kickstarter, Indiegogo หรือ 100 Percent Project ตั้งแต่การซื้ออุปกรณ์ การเรียนการสอนในถิ่นทุรกันดาร ตลอดจนการ สนั บ สนุ น ปั จ จั ย สำ � หรั บ การสร้ า งยานอวกาศ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำ�ไมทุกวันนี้เด็กๆ รุ่นใหม่ สามารถเติบโตและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และ กลายเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำ�เร็จได้ ตั้งแต่อายุยังน้อย ความสำ�เร็จที่เกิดขึ้นเร็วและท่วมท้นจาก กลุ่มเด็กเจเนอเรชั่นซี (Generation Z) คนแล้ว

คนเล่า ตามมาแบบติดๆ กับกลุม่ เด็กเจเนอเรชัน่ อัลฟ่าที่ตบเท้าเข้าแถวเป็นเศรษฐีตัวน้อย สิ่งที่ เรียกว่าตำ�นานถูกเขียนขึน้ และลบลงชนิดวันต่อวัน จากเด็กคลื่นลูกใหม่ที่มาเร็วกว่าที่เคย ความ สำ�เร็จอาจไม่สามารถวัดได้จากตัวเลขในบัญชี แต่กค็ งปฏิเสธไม่ได้วา่ เงินคือมาตรวัดความสำ�เร็จ หนึง่ ทีง่ า่ ยและตรงไปตรงมาทีส่ ดุ เด็กๆ มากมาย กำ � ลั ง ก้ า วออกมาไล่ ต ามความฝั น โดยใช้ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีในทุกมิติให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เทคโนโลยีที่เคยถูกมอง ว่าเป็นของซับซ้อน ยาก และเป็นเรือ่ งของอนาคต ไม่ใช่ข้อจำ�กัดสำ�หรับเด็กๆ ยุคใหม่อีกต่อไป อย่างไรก็ดี ความสำ�เร็จที่ปรากฏนั้นเป็น เพียงมิติหนึ่ง แต่ยังมีอีกหลายมิติที่เด็กต้องเรียน รู้และต้องการการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมอยู่ แม้ว่าวิธีการสอนแบบดั้งเดิมนั้นดูราวจะหยุดนิ่ง ไปกับช่วงเวลาในอดีตก็ตาม การปลดล็อกเวลา ให้กลับมาเดินได้อีกครั้งอาจไม่พอ แต่ยังต้องเร่ง เวลาให้เร็วกว่ากระแสธารแห่งเทคโนโลยี เพื่อที่ การศึกษาจะเป็นผูป้ ระคับประคองและผลักดันให้ เด็กเจเนอเรชั่นใหม่เติบโตและก้าวไปข้างหน้า อย่างที่ควรจะเป็น

ที่มา: beatty-robotics.com / en.wikipedia.org/wiki/Fab_lab / indiegogo.com / kidsteachingkids.com /llk.media.mit.edu / 100percentproject.org / summly.com / today.com/ video/today/54974685 / youtube.com CREATIVE THAILAND I 17


CREATIVE THAILAND I 18


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 19 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


sandberg.nl

Insight : อินไซต์

เรือ่ ง: ณัฐา อิสระพิทกั ษ์กลุ

ตั้งแต่ม่านของศตวรรษที่ 21 เริ่มเปิดฉาก โลกก็เผชิญกับปัญหาและเหตุการณ์ความไม่สงบที่ทำ�ให้มนุษย์จากทุกศาสตร์ ต้องกลับมาทบทวนแนวคิดและบทบาทของตนต่อสังคมกันใหม่ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน สงครามกับกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ อาหรับสปริง เหตุการณ์เบร็กซิตของสหราชอาณาจักร ไปจนถึงแนวคิดสุดโต่งอย่าง “America First” ของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 45 ของชาติทรงอำ�นาจอย่างสหรัฐอเมริกา บทบาทของการออกแบบสำ�หรับโลกในวันนี้ก็มี แนวโน้มปรับตัวให้ตอบสนองกับประเด็นในสังคม มากขึ้นเช่นกัน ทิศทางของโมเดลหลักสูตรและ วิธีการสอนที่ต้องสอดคล้องกับอนาคตและการ เปลี่ยนแปลง เพื่อบ่มเพาะนักศึกษาให้มีแนวคิด ที่ไม่ใช่แค่สอดคล้องกับยุคสมัย แต่ต้องลํ้าสมัย ไปอย่างน้อยอีก 10 ปี กลายเป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับ การศึกษาในวันนี้ เพือ่ ช่วยกำ�หนดทิศทางอนาคต

ที่ยากจะคาดเดา ดังนั้น “การสร้างสิ่งที่มาถึง ก่อนกาล” จึงกลายเป็นเรื่องที่สำ�คัญ โมเดลการศึกษากึ่งทดลองแบบใหม่อย่าง การเพิ่มหลักสูตรพิเศษชั่วคราว (Temporary Programme) ในการศึกษาระดับปริญญาโทของ สถาบั น Sandberg Instituut ในประเทศ เนเธอร์แลนด์ ทีเ่ ริม่ มาตัง้ แต่ปพี .ศ. 2554 ในฐานะ ส่วนต่อขยายจากหลักสูตรปกติ (Permanent CREATIVE THAILAND I 20

Programme) ทีม่ อี ยูแ่ ล้วของสถาบัน จึงเป็นเสมือน การตอบโต้กับบริบท ปรากฏการณ์ และวิกฤตที่ กำ�ลังเป็นประเด็นร้อนต่างๆ ซึ่งมีความจำ�เป็นที่ จะต้องหยิบยกขึ้นมาในปีนั้นๆ เยอร์เกน เบย์ (Jurgen Bey) นักออกแบบระดับตำ�นานของดัชต์ ดี ไ ซน์ ผู้ ดำ � รงตำ � แหน่ ง ผู้ อำ � นวยการสถาบั น เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของการเตรียมความพร้อม และพัฒนาศักยภาพให้แก่นกั ออกแบบ ตลอดจน


artandeducation.net

นักคิดรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการตอบโต้ กับประเด็นในอนาคตเหล่านั้น ตลอดระยะเวลา 2 ปีของการเรียนหลักสูตร พิเศษนี้ นักศึกษาจะได้ส�ำ รวจ ตัง้ คำ�ถาม ทดลอง พร้อมคิดค้นแนวคิดและกระบวนการใหม่ๆ ไปจนถึง กระบวนการผลิตผลงานภายใต้หวั ข้อเดียวกันใน แง่มมุ ต่างๆ เช่น การคิดค้นวิธกี ารสร้างประโยชน์ อย่ า งสร้ า งสรรค์ จ ากตึ ก ร้ า งที่ มี ม ากมายใน เนเธอร์แลนด์ หรือแม้กระทั่งการค้นหานิยาม วิถี และบทบาทใหม่ของประชาธิปไตย โดยตัว โปรแกรมจะทำ�หน้าที่เป็นพื้นที่เพื่อเปิดรับผู้คน

จากหลากหลายวิชาชีพที่มีความสนใจในหัวข้อ เดียวกัน ตั้งแต่นักออกแบบ ศิลปิน นักวิจัย ภัณฑารักษ์ สถาปนิก ไปจนถึงนักวิทยาศาสตร์ ให้ได้มาร่วมกันแลกเปลี่ยนไอเดียสดใหม่เพื่อหา โอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ภายใต้การดูแล ของติวเตอร์ผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อนั้นๆ ซึ่งทำ� หน้าที่เป็นโค้ชผู้คอยให้คำ�ปรึกษาและเปิดทัศนะ ของนักศึกษาอีกด้วย นั่นจึงสะท้อนว่าโปรแกรม ที่ว่านี้มุ่งเน้นไปที่การทำ�งานร่วมกันของคนจาก หลากหลายความเชี่ยวชาญ มากกว่าที่จะแบ่ง แยกตามสาขาวิชาชีพเหมือนการเรียนการสอนใน

CREATIVE THAILAND I 21

หลักสูตรอื่นๆ ด้วยเชื่อว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในวันนี้ต่างทวีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะจัดการ ได้ด้วยความรู้จากสาขาวิชาเดียวได้อีกต่อไป หากเปรี ย บสถาบั น การศึ ก ษา คื อ ห้ อ ง ทดลองที่บ่มเพาะและนำ�เสนอหน้าตาของความ เป็นไปได้ของอนาคตออกสู่สังคม บทบาทของ ผู้อำ�นวยการสถาบันและหลักสูตรก็ไม่แตกต่าง อะไรไปจากนักออกแบบอนาคต ทีต่ อ้ งมีความเข้าใจ อย่างลึกซึ้งถึงความเป็นไปและการเปลี่ยนแปลง ของโลก การต้องมองเห็นว่าโลกนั้นจะหมุน และ ควรหมุนไปในทิศทางใด อุตสาหกรรมมีช่องว่าง ทีต่ อ้ งเติมเต็มในส่วนไหน ต้องพัฒนาหรือต่อยอด ในส่วนใดบ้าง โดยผลงานทีพ่ วกเขาสร้างสรรค์จะ นำ�มาซึ่งโมเดลการศึกษา เนื้อหาหลักสูตร วิธี และทิศทางของการเรียนการสอน ที่รอให้กลุ่ม นักเรียนนักศึกษามาร่วมเติมเต็มในฐานะผูท้ รี่ ว่ ม ขับเคลื่อนการสร้างอนาคตไปด้วยกัน ทีม่ า: บทความ “Designers: 2017 is the year to find your purpose” โดย Mark Wilson จาก fastcodesign.com / รายงาน “Sandberg Guide 2017” โดย Sandberg Instituut จาก sandberg.nl / sandberg.nl/


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ และ ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ภาพ: สุรพัศ เคียงคู่

เมื่อระบบการศึกษาไทยยังทำ�หน้าที่ลดความเหลื่อมลํ้าทางสังคมได้ไม่เต็มที่ เด็กไทยส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในช่องว่างในการ เข้าถึงการศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพปฏิบตั กิ ารติดปีกการศึกษาของ EdWINGS จึงเริม่ ต้นขึน้ พร้อมความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะเป็นลำ�ธารเล็กๆ เพื่อหล่อเลี้ยงระบบการศึกษากระแสหลักให้สมบูรณ์กว่าที่เคยเป็น พร้อมเป็นแหล่งนํ้าใหญ่ที่จะหล่อเลี้ยงเหล่าทรัพยากร มนุษย์ อนาคตของชาติให้มีประสิทธิภาพ และพร้อมรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วที่กำ�ลังเกิดขึ้นทั้งในวันนี้และ วันข้างหน้า โมเดล EdWINGS ปีกแห่งฝันที่กำ�ลังกลายเป็นจริง EdWINGS เกิดจากความฝันของคุณจอย ณัฐรดา เลขะธนชลท์ อดีตทีป่ รึกษา มือดีทคี่ ราํ่ หวอดในแวดวงการศึกษามานาน หลังได้คน้ พบแรงบันดาลใจของ การเป็น “ครู” ที่เป็นเสมือนผู้สร้างให้เด็กๆ ได้เป็น “นักเรียน” ที่มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมกัน “ที่มาที่ไปของ EdWINGS มันมาจากกลุ่มนักเรียนที่สอน ให้เราอยากเป็นครูเป็นผู้ให้ที่เข้าใจ แต่สิ่งที่ทำ�ให้ EdWINGS เกิดขึ้นจริงๆ มันคือการรวมกันของความหวัง ความฝัน ที่อยากจะเห็นตัวเองมีประโยชน์ ได้ท�ำ ให้สงั คมดีขนึ้ ซึง่ พอกลับมามองว่าเราทำ�อะไรได้บา้ ง สิง่ ทีท่ �ำ ได้ดที สี่ ดุ ก็คือการให้การศึกษา ให้ความรู้ เราอยากเป็นปีกทำ�ให้การศึกษามันไปได้ เร็วกว่านี้ และเป็นปีกที่ช่วยให้เด็กทุกคนไปได้ไกลเท่าที่เขาทำ�ได้”

แต่การติดปีกให้ระบบการศึกษาไม่ใช่งานเล็กๆ ที่จะลงมือทำ�ได้ด้วย คนๆ เดียว เพราะคือการปรับเปลีย่ นและยกระดับทัง้ ระบบนิเวศของการศึกษา ตัวกลางที่คอยประสานให้ภาคส่วนต่างๆ ที่ต้องการมีส่วนร่วม ได้ช่วยกัน เป็นผู้สร้างสรรค์ระบบนิเวศทางการศึกษาที่ดีให้เกิดขึ้นได้จริง จึงเป็นจุด เริม่ ต้นสำ�คัญสูก่ ารพัฒนาอย่างยั่งยืน “จริงๆ องค์กรภาคธุรกิจชัน้ นำ�ต่างๆ มี การจัดสรรงบประมาณสำ�หรับกิจกรรมเพือ่ สังคม (CSR) โดยเฉพาะงานด้าน การศึกษาอยูแ่ ล้วแต่หลายครัง้ ทีอ่ งค์กรก็ไม่รวู้ า่ จะลงทีไ่ หนดีทจี่ ะมีประโยชน์ สูงสุด ก็เลยไปลงที่การซื้ออุปกรณ์การศึกษาแจกซึ่งเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่หลังจากนัน้ เราไม่รเู้ ลยว่า ลูกบอลทีเ่ คยให้ไปมันแฟ่บไปรึยงั หรือชีวติ เด็กๆ ดีขนึ้ จริงไหม แล้วการทีเ่ ราทำ�งานด้านนีม้ าตลอด เราเลยรูว้ า่ จุดทีเ่ หมาะกับ เราที่สุดก็คือ การเป็นตัวประสานกับฝ่ายโรงเรียนที่มีความต้องการ เพื่อให้ ตัวนักเรียนได้รับประโยชน์สูงสุด นั่นคือจุดที่ EdWINGS พยายามจะทำ�”

CREATIVE THAILAND I 22


กิจการเพื่อสังคม (และการศึกษา) ที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ เมื่อแนวคิดตั้งต้นคือการช่วยให้เด็กไทยได้อยู่ในระบบนิเวศทางการศึกษาที่ ดีขึ้น รูปแบบการดำ�เนินกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) จึงเป็นโมเดล ธุรกิจที่เหมาะสมอย่างมากสำ�หรับ EdWINGS “เราทำ�ในส่วนที่เราถนัดที่สุด นั่นคือการเทรนนิ่ง (Training) การให้คำ�ปรึกษา (Consulting) การทำ� นวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน (Innovative Learning Tools) และการวัด ประเมินผล (Assessing) นีค่ อื ส่วนที่เราทำ�เพือ่ หารายได้ในธุรกิจ เราให้ความรู้ ให้ค�ำ ปรึกษากับโรงเรียนและธุรกิจด้านการศึกษา แล้วช่วยวัดประเมินผลว่า การลงทุนในภาคการศึกษา มันเกิดผลแบบจับต้องได้อย่างไรบ้าง EdWINGS จึงตอบภาคเอกชนทีม่ เี งินทุนได้ ว่าเขาใช้เงินทุกบาททุกสตางค์อย่างมีคณุ ค่า และวัดผลได้ จากนัน้ เราจึงนำ�รายได้ตรงนีก้ ลับมาคืนสังคม ซึง่ งานทีเ่ ราเน้น ก็คือ การลดช่องว่างทางการศึกษา และขยายโอกาสให้เด็กนักเรียนทุกๆ พื้นที่ได้เข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม ที่สำ�คัญมันต้องยั่งยืนได้จริงๆ” โรงเรียนฤดูร้อน ของขวัญสำ�หรับทุกคน การถามหาความยั่งยืนในระบบการศึกษาของวันนี้ อาจไม่ใช่การประคับ ประคองหลักสูตรที่เคยมีให้ได้รับการถ่ายทอดไปยังเยาวชนคนรุ่นใหม่แบบ ไม่มจี ดุ สิน้ สุด เพราะความเปลีย่ นแปลงทีร่ วดเร็วในวันนี้ ต้องการความยัง่ ยืน ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน ในการสร้างระบบนิเวศ ทางการศึกษาทีเ่ หมาะสมและขับเคลือ่ นด้วยตัวผูเ้ รียนอย่างแท้จริง “สิง่ ทีเ่ รา รู้จากการลงพื้นที่สำ�รวจก็คือ ในห้องเรียนวันนี้ เด็กๆ ไม่รู้ว่าเขามาทำ�ไม เขารูส้ กึ ว่าห้องเรียนไม่นา่ สนใจอีกแล้ว นัน่ คือจุดทีเ่ ราต้องแก้ไข เราอยากให้ เด็กตอบได้เองว่าเขาเรียนไปทำ�ไม และจะสู้เพื่อตัวเองได้ยังไง นั่นคือสิ่งที่ เรารู้สึกว่ามันสำ�คัญมาก” Summer School Project หรือโครงการพิเศษภาคฤดูรอ้ นทีเ่ ด็กๆ หลาย คนไม่เคยมีโอกาสได้สมั ผัส จึงถูกพัฒนาขึน้ เป็นโมเดลจุดพลุของ EdWINGS “ด้วยธรรมชาติของเด็กในโรงเรียนรัฐบาล พอปิดเทอม เขาจะถูกส่งกลับไป ต่างจังหวัด ไม่ก็ไปทำ�งานพิเศษช่วยผู้ปกครอง แต่จริงๆ ช่วงเวลานี้คือช่วง ที่เหมาะในการนำ�โปรแกรมไปใส่เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เราพบ โดยเราเลือก ทำ�โปรแกรมกับเด็กป.6 ขึน้ ม.1 เพราะเป็นช่วงหัวเลีย้ วหัวต่อ หลายคนเลือก ที่จะไม่เรียนต่อ แล้วพอมานั่งดูหลักสูตรจริงๆการขึ้นจากประถมเป็นมัธยม เด็กต้อง Shift (พัฒนา) ตัวเองมาก บวกกับสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งเร้าเยอะใน วันนี้ เลยเป็นช่วงวัยที่เหมาะในการลงไปทำ�ความเข้าใจด้วยมากๆ” และเพราะนักเรียน 1 คนที่จะมาเข้าร่วมโครงการได้ ต้องผ่านหลาย บุคคลที่อยู่รายรอบตัวเขา การทำ�หน้าที่ตัวกลางที่คอยประสานงานทุกฝ่าย ของ EdWINGS จึงยิ่งเข้มข้นขึ้น “เราต้องทำ�ความเข้าใจกับทั้งผู้ปกครอง ผู้อำ�นวยการ ครู ชุมชน อาสาสมัครผู้สอน และกลุ่มที่ทำ�งานเกี่ยวข้องกับ การศึกษา ในการที่จะเปลี่ยนชีวิตเด็กคนหนึ่ง เพราะทุกคนคือระบบนิเวศ ของเด็ก เราต้องเข้าไปพูดคุยปรึกษากับทุกฝ่าย เอาหลักสูตรมากาง แล้วก็ มานั่งดูว่าหลักสูตรแกนกลางตัวไหนที่จะต้องเข้าไปแตะ โดยมุ่งให้เด็กได้ เลือกเรียนตามความสนใจ เวลา 3 สัปดาห์ (เริ่มเดือนเมษายน 2560) ที่ทำ� โครงการนี้ เด็กๆ ทุกคนจะต้องได้เลือกในสิ่งที่อยากรู้ อยากเรียน ได้ลงมือ ทำ� ได้นำ�ผลผลิตของตัวเองไปจำ�หน่ายจริงในตลาดที่เราจัดขึ้น ซึ่งเราเชิญ คนในชุมชนของพวกเขามาเข้าร่วมด้วย เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้การบริหาร

คุณจอย ณัฐรดา เลขะธนชลท์

สิ่งที่เรารู้จากการลงพื้นที่ส�ำรวจก็คือ ในห้องเรียนวันนี้ เด็กๆ ไม่รู้ว่าเขามา ท�ำไม เขารู้สึกว่าห้องเรียนไม่น่าสนใจ อีกแล้ว นั่นคือจุดที่เราต้องแก้ไข เรา อยากให้เด็กตอบได้เองว่าเขาเรียนไป ท�ำไม และจะสูเ้ พือ่ ตัวเองได้ยงั ไง นัน่ คือ สิ่งที่เรารู้สึกว่ามันส�ำคัญมาก จัดการซึ่งเป็นทักษะชีวิตที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน เป็นการสร้างทักษะที่จะถูก นำ�ไปต่อเชื่อมกับหลักสูตรในระบบของพวกเขาเมื่อเข้าสู่ภาคการศึกษา ถัดๆ ไป เราหวังว่า โครงการภาคฤดูร้อนนี้จะได้รับการสานต่อและพัฒนา โดยทุกฝ่ายที่เห็นความสำ�คัญ จนเป็นอีกหนึ่งโมเดลทางการศึกษาที่ยั่งยืน และได้ประโยชน์จริง” “ถึงแม้เราจะเปลี่ยนระบบการเรียนการสอน mainstream (หลักสูตร หลัก) ไม่ได้อย่างใจคิด แต่เราเลือกจะสร้างลำ�ธารเล็กๆ อยูใ่ กล้ๆ สร้างความ ชุ่มชืน่ ให้กับระบบการศึกษาได้ เราเชือ่ ว่าถ้าเราสร้างลำ�ธารเล็กๆ ให้เกิดขึน้ ได้มากพอ มีโครงการที่ดีและเยอะมากพอ มันจะค่อยๆ รวมกันเป็นแม่นํ้า ใหญ่ ไหลเข้าสูก่ ระแสกหลักได้อย่างไม่ท�ำ ลายคนในระบบ ทุกคนทุกฝ่ายจะ ได้รว่ มสร้างระบบการศึกษาทีด่ ขี นึ้ ไปด้วยกัน โจทย์ตอ่ ไปคือคนรุน่ ใหม่ทเี่ ขา มีความสามารถและอยากจะเข้ามาช่วยกันในระบบการศึกษาของประเทศนี้ จะเข้ามาร่วมกับเราได้ยังไง นั่นคือความท้าทายของเรา” ติดตามข่าวสารของ EdWINGS ได้ที่ www.facebook.com/EdWingsEducation/

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

“ปารีสแห่งทวีปอเมริกาใต้” คือชื่อเล่นของบัวโนสไอเรส (Buenos Aires) เมืองหลวงของ ประเทศอาร์เจนตินา เมืองทีม่ สี ถาปัตยกรรมสไตล์ฝรัง่ เศส สองข้างทางเต็มไปด้วยร้านรวง เก๋ไก๋และคาเฟ่ในพื้นที่เปิดกว้าง จังหวะของเมืองคึกคักราวจังหวะการเต้นแทงโก้ ชีวิตของ ผู้คนจัดจ้านเหมือนสีสันฉากหลังของเมือง บัวโนสไอเรสคือตัวอย่างเมืองที่ได้หลอมรวม ศิลปวัฒนธรรมและเสน่ห์การใช้ชีวิตของผู้คนมาเป็นสินทรัพย์ของชาติ ด้วยการวางแผน และจัดการอย่างเป็นระบบจนยูเนสโก (UNESCO) ยกย่องให้บวั โนสไอเรสเป็นเมืองแห่งการ ออกแบบ (City of Design) เมืองแรกของโลก CREATIVE THAILAND I 24


ภาพยนตร์อิสระบัวโนสไอเรส (Buenos Aires International Festival of Independent Film: BAFICI) เทศกาลที่ฉายภาพยนตร์อิสระจาก 150 ประเทศทัว่ โลก ซึง่ สามารถดึงดูดนักท่องเทีย่ วได้ ปีละกว่า 3.8 แสนคน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มี แนวโน้มมากขึน้ ทุกปีจากการแวะเวียนมาเสพงาน ศิลป์และงานดีไซน์ประจำ�ปีทบี่ วั โนสไอเรสจัดขึน้ โดยมี ห น่ ว ยงานรั ฐ ซึ่ ง เป็ น หั ว เรื อ ใหญ่ อ ย่ า ง The Metropolitan Design Center (CMD) เป็น ศู น ย์ ก ลางคอยส่ ง เสริ ม งานออกแบบให้ ช่ ว ย กระตุ้นการเกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศ แล้ ว ผลลั พ ธ์ ค วามสำ � เร็ จ จากความ สร้างสรรค์ในเมืองบัวโนสไอเรสทั้งหมดนี้บอก อะไรกับเราได้บ้าง มันสามารถสะท้อนไปถึง รากฐานที่ แ ข็ ง แกร่ ง ของระบบการศึ ก ษาของ ประเทศ ว่ามีส่วนช่วยพัฒนาเมืองบัวโนสไอเรส ให้กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์และเป็นผู้นำ�เรื่อง ดีไซน์ได้มากน้อยแค่ไหนกัน

flickr.com/photos/hernanpc

การศึกษาที่ดี ในสังคมที่ล้มเหลว?

ย้อนกลับไปในปี 2001 หน่วยงานด้านวัฒนธรรม กับหน่วยงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของเมืองบัวโนสไอเรส ได้ร่วมกันจัดตั้งแผน พัฒนาเมือง 10 ปี ซึง่ ช่วยผลักดันความแข็งแกร่ง ของบัวโนสไอเรส โดยการชูดีเอ็นเอเรื่องความ สร้างสรรค์พร้อมใช้มาตรการส่งเสริมให้เมืองมี บทบาทเป็นผู้สร้าง ผู้ผลิต และผู้เผยแพร่ศิลปวั ฒ นธรรมของประเทศ ทำ � ให้ อุ ต สาหกรรม สร้างสรรค์และการรวมตัวกันของคลัสเตอร์จาก

หลากธุรกิจในบัวโนสไอเรสค่อยๆ เกิดขึ้นอย่าง มั่นคง จนในวันนี้ นอกจากบัวโนสไอเรสจะได้รับ การยกย่องให้เป็นเมืองแห่งการออกแบบเมืองแรก ของโลกแล้ว ความสำ�เร็จในเรื่องการให้คุณค่า ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และความสร้างสรรค์ของ ชาติยังให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นรูปธรรม เช่น การ เกิดขึ้นของเทศกาลเต้นแทงโก้ (World Tango Festival) ที่ดึงดูดนักเต้นและนักท่องเที่ยวจาก ทัว่ โลกกว่า 6 แสนคนให้มาร่วมงานทุกปี เทศกาล CREATIVE THAILAND I 25

“อาร์เจนตินาคือประเทศแรกๆ ในกลุ่มประเทศ ละตินอเมริกาที่สามารถพัฒนาระบบการศึกษา ควบคู่ไปกับระบบเศรษฐกิจได้ดีที่สุดในภูมิภาค โดยในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ชาวอาร์เจนตินา เกือบทุกคนในประเทศสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งศักยภาพของประชากรที่ดีขึ้นนี้ส่งผลให้เกิด ชนชัน้ กลางกลุม่ ใหม่ทส่ี ร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ให้ประเทศได้” นีค่ อื การวิเคราะห์ของกิลเลอร์มนิ า ติรามอนติ (Guillermina Tiramonti) นักสังคม วิทยาและนักวิจัยด้านการศึกษาประจำ�สถาบัน Latin American Social Sciences Institute แต่เมื่อเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 ดูเหมือนว่า ระบบการศึกษาของอาร์เจนตินากลับต้องสะดุด และหยุดชะงักลง เมื่อผลการสอบประเมินผล นักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) ของ เด็กนักเรียนในเมืองตกมาอยู่ในอันดับท้ายๆ ของโลก ซึ่งย้อนแย้งกับการทุ่มงบประมาณภาค การศึกษาที่สูงถึง 6 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ (GDP) โดย ติรามอนติให้ ความเห็นว่าผลการสอบ PISA ไม่ได้เป็นตัวชี้วัด ถึงความสามารถของนักเรียนหรือภาคการศึกษา


PISA คืออะไร PISA หรือ Programme for International Student Assessment คื อ โครงการ ประเมินผลนั ก เรี ย นร่ ว มกั บ นานาชาติ ทีจ่ ดั ตัง้ โดยองค์การเพือ่ ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) มีวัตถุประสงค์ เพือ่ ประเมินคุณภาพของระบบการศึกษา ในการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนมี ศั ก ยภาพหรื อ ความสามารถพื้ น ฐานที่ จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิตในโลกที่มีการ เปลี่ยนแปลง โดย PISA จะประเมิน สมรรถนะของนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่งเป็น วัยทีจ่ บการศึกษาภาคบังคับ และเป็นการ ทดสอบทักษะเกี่ยวกับการใช้ความรู้ใน ชีวติ จริงมากกว่าการเรียนรูต้ ามหลักสูตร ในโรงเรียน ปัจจุบนั มีประเทศจากทัว่ โลก เข้าร่วมโครงการมากกว่า 70 ประเทศ โดย PISA จะประเมินสมรรถนะ 3 ด้าน ได้แก่ การรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) โดยข้อสอบของ PISA มี ลั ก ษณะเป็ น คำ � ถามที่ ย ก สถานการณ์ในชีวิตจริงให้นักเรียนอ่าน แต่ ล ะสถานการณ์ อ าจมี ห ลายคำ � ถาม และหลากหลายรูปแบบในการตอบ เช่น เลือกตอบ เขียนตอบสั้นๆ และเขียน อธิบาย โดย OECD จะเป็นผูค้ วบคุมดูแล การสุม่ เลือกนักเรียนทีจ่ ะเป็นตัวแทนของ นักเรียนทั้งระบบให้ทำ�แบบทดสอบ PISA

การขับเคลื่อนนวัตกรรมที่ เริ่มต้นในห้องเรียน ในปี 2013 ผลสำ�รวจจากภาคการศึกษาของ อาร์เจนตินาพบว่า อัตราการไม่เลือกเรียนต่อของ เด็ ก นั ก เรี ย นในช่ ว งมั ธ ยมศึ ก ษาพุ่ ง สู ง ขึ้ น เป็ น ประวัติการณ์ โดยเด็กๆ ให้เหตุผลส่วนใหญ่ว่า “เพราะมันไม่น่าสนใจ” เนื่องจากหลักสูตรการ เรียนยังคงมุง่ ให้นกั เรียนเรียนวิชาเดิมเหมือนเมือ่ 10 ปีที่แล้ว แต่การเรียนวิชาเหล่านี้ในปัจจุบัน กลับไม่สามารถนำ�มาประยุกต์ใช้กับการทำ�งาน และความสนใจของเด็กๆ ได้ ซึ่งสัมพันธ์กับ ปัญหาภายในประเทศ ณ ขณะนัน้ ทีบ่ วั โนสไอเรส กำ�ลังประสบกับอัตราการจ้างงานที่ชะลอตัวลง เศรษฐกิจซบเซา และค่าเงินเฟ้อ ทำ�ให้แผนการ ปฏิ วั ติ ก ารศึ ก ษาใหม่ ข องเอสเตบั น บู ล ริ ช (Esteban Bullrich) รัฐมนตรีกระทรวงการศึกษา เมืองบัวโนสไอเรส เริ่มต้นขึ้น ด้วยความเชื่อใหม่ ที่ว่า นวัตกรรมจะเป็นกำ�ลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศให้เติบโต และนวัตกรรมต้องเริ่มต้น ในห้องเรียน “เราจำ�เป็นต้องสอนเรื่องนวัตกรรมให้กับ เด็กๆ ในโรงเรียน เพราะนวัตกรรมจะทำ�ให้เด็ก เลิกกลัวการเปลีย่ นแปลง เมือ่ พวกเขาสามารถอยู่ ร่ ว มกั บ การเปลี่ ย นแปลงหรื อ ควบคุ ม การ เปลี่ยนแปลงได้ เด็กเหล่านี้ก็จะโตขึ้นเป็นผู้สร้าง การเปลี่ยนแปลงให้ประเทศ” บูลริชกล่าว โดย หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการสอนใน

โรงเรียนครั้งใหญ่ภายใต้การนำ�ของบูลริชก็คือ เด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษาทุกคนจะได้รบั การสอนให้เขียนโค้ด (Coding) เป็น และเมือ่ เข้า เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา เด็กๆ ก็จะได้เรียน รู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งบูลริชได้ให้ เหตุผลที่ต้องบังคับให้เด็กๆ เรียนรู้พื้นฐานการ เป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ยังเล็กไว้ว่า “เพราะ ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึง่ ของกระบวนการสร้าง นวัตกรรม ความล้มเหลวไม่ใช่ปัญหาเลย ถ้า เด็กๆ ยังคงพยายามต่อไป” นอกจากนี้แล้ว กระทรวงการศึ ก ษายั ง ได้ อ นุ ญ าตให้โ รงเรีย น ระดับมัธยมสร้างหลักสูตรการสอนของตัวเอง ขึ้นอย่างอิสระ ผ่านการออกแบบหลักสูตรที่ต้อง ตอบสนองความสนใจของนักเรียนในห้องเรียน เป็นหลัก ซึ่งกระทรวงการศึกษาจะมีบทบาทเป็น เพี ย งผู้ แ นะแนวการสร้ า งหลั ก สู ต รพื้ น ฐานให้ เท่านั้น โดยการยืดหยุ่นหลักสูตรในลักษณะนี้ หวังผลเพือ่ ให้เด็กนักเรียนสามารถมองเห็นลูท่ าง อาชีพที่ตนอยากทำ�เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ได้ตั้งแต่ ยังเด็ก ผลลัพธ์จากการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้ หากวั ด จากคะแนนการสอบ PISA ระบบ การศึกษาภายใต้การดูแลของบูลริชก็ถือได้ว่า ประสบความสำ�เร็จอย่างงดงาม เพราะสถิติ คะแนนตั้งแต่ปี 2010-2015 ได้ชี้ชัดว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ เด็กนักเรียนบัวโนสไอเรส มี พั ฒ นาการที่ ก้ า วกระโดดที่ สุ ด เมื่ อ เที ย บกั บ เด็กนักเรียนจากประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

flickr.com/photos/buenosairesprensa

เพียงอย่างเดียว แต่มนั ยังแสดงให้เห็นถึงความไม่ เท่ า เที ย มกั น ระหว่ างชนชั้ น ทางสั ง คมอี ก ด้ ว ย เพราะคงเป็นไปได้ยากหากจะพัฒนาระบบการ ศึกษาให้ประสบผลสำ�เร็จในประเทศที่ยังคงมี ความเหลือ่ มลาํ้ กันสูงอยูเ่ ช่นนี้ และนีค่ อื สัญญาณ ที่กำ�ลังบอกให้รู้ว่าระบบการศึกษาแบบเดิมของ ประเทศไม่สามารถดึงศักยภาพของเด็กๆ ให้ เติบโตและสามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลก ทีท่ นุ มนุษย์ (Human Capital) คือหัวใจสำ�คัญของ การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวติ ของผูค้ นได้

เรียบเรียงจาก: pisathailand.ipst.ac.th

CREATIVE THAILAND I 26


flickr.com/photos/everydayinbuenosaires

ตารางผลการสอบ PISA เฉลี่ยทุกรายวิชาของ เด็กนักเรียน 73 ประเทศทั่วโลก (ปี 2006 - 2015)

469 437 422 418

424 415

อันดับที่ 40 บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา อันดับที่ 59 ประเทศไทย ที่มา: OECD

ตัง้ แต่ปี 2014 เป็นต้นมา รัฐบาลเมืองบัวโนสไอเรส ได้วางแผนการสร้างเมืองให้มีระบบนิเวศเป็น เมืองแห่งผู้ประกอบการ ซึ่งมีต้นแบบมาจาก ประเทศอิสราเอลและซิลคิ อนแวลลีย์ โดยเอนริเก อโวกาโดร (Enrique Avogadro) เลขานุการ หน่ ว ยงานเศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ป ระจำ � เมื อ ง บัวโนสไอเรส อธิบายถึงเหตุผลของแผนการนี้ว่า เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศขึน้ อยูก่ บั ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ในเมือง การเริ่มต้น ส่งเสริมผู้ประกอบการในชุมชนจึงเป็นเรื่องที่ จำ�เป็นต้องทำ� ซึ่งแผนการนี้จะรวมไปถึงการมุ่ง พัฒนาภาคการศึกษาที่ต้องตอบรับนโยบายของ การสร้างเมืองแห่งผู้ประกอบการในอนาคตด้วย โดยหลังจากทีเ่ ด็กนักเรียนระดับชัน้ มัธยมได้เรียน รูเ้ รือ่ งทักษะการเป็นผูป้ ระกอบการแล้ว ต่อจากนี้ ไปเด็กนักเรียนบัวโนสไอเรสยังจะได้รบั การเทรนนิง่ ที่มุ่งพัฒนา หรือทักษะทางสังคม (Soft Skill)

สายตรงถึงรัฐมนตรี ก่อนการปฏิรูปการศึกษาจะเกิดขึ้น บรรดาคุณครูในเมืองบัวโนสไอเรสได้ลุกขึ้นมาต่อต้าน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ด้วยความที่ไม่เชื่อในระบบการศึกษาที่กำ�ลังจะถูกพัฒนาขึ้น การแก้ปัญหา ทีแ่ สนจะตรงไปตรงมาเริม่ ต้นทีบ่ ลู ริชตัดสินใจให้เบอร์โทรศัพท์สว่ นตัวของเขากับคุณครูทมี่ าประท้วง รวมถึงผูป้ กครองทีย่ งั คงมีขอ้ สงสัยในการเปลีย่ นแปลงทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ กับลูกหลานของตนในโรงเรียน การได้พูดคุยโดยตรงกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาในช่วงนั้นทำ�ให้สถานการณ์ที่เคย ตึงเครียดกลับคลี่คลายลงไปได้ ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำ�ให้บูลริชได้ตระหนักว่า หากเขาต้องการ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในระบบการศึกษาโดยการสอนเรื่องนวัตกรรมให้กับเด็กๆ ใน โรงเรียน เขาก็ต้องเริ่มต้นสร้างคุณครูที่จะต้องเป็นผู้นำ�เรื่องนวัตกรรมให้ได้เสียก่อน โดยแรงจูงใจ แรกคือการเพิ่มเงินเดือนให้คุณครู ลำ�ดับต่อมาคือการพาคุณครูเหล่านี้ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียน ด้านนวัตกรรมชั้นนำ�ในประเทศฟินแลนด์และสวีเดน

CREATIVE THAILAND I 27

flickr.com/photos/stephen_downes

การเปลี่ยนแปลง เพิ่งเริ่มต้นขึ้น

อย่างเช่น การเรียนรู้ที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รู้จัก ยืดหยุ่นและปรับตัว ยอมรับความล้มเหลว และ การทำ�งานเป็นทีม ซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนด้วย วิธีคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการ เทรนนิ่งนี้จะนำ�ไปใช้กับเด็กๆ ในพื้นที่ที่มีรายได้ ตํ่าที่สุดในเมืองก่อน แม้ว่าตอนนี้อาจยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการศึกษาของ บัวโนสไอเรสในครั้งนี้จะเรียกได้ว่าประสบความ สำ�เร็จ แต่การเปลี่ยนแปลงก็ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว และในตอนนี้บัวโรสไอเรสก็กำ�ลังพยายามสร้าง นิเวศการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ในประเทศได้ เดินทันเกมการแข่งขันของโลกในปัจจุบนั อยูอ่ ย่าง ไม่ต้องสงสัย ทีม่ า: บทความ “Argentina’s Education Dilemma: The Best Educated with the Weakest System?” (7 ธันวาคม 2012) โดย Soledad Vega จาก argentinaindependent.com / บทความ “Argentina’s Plan to Grow a Culture of Innovation from the Classroom Up” (1 ธันวาคม 2015) โดย Sveta McShane จาก singularityhub.com / บทความ “Buenos Aires Government Outlines Plans to Support Entrepreneurship” (17 เมษายน 2014) โดย Clarisa Herrera จาก pulsosocial.com / บทความ “Reforming Education from the Bottom Up in Buenos Aires, Argentina” (9 เมษายน 2015) โดย Gabriel Zinny จาก brookings.edu / บทความ “What the World Can Learn from the Latest PISA Test Results” (10 ธันวาคม 2016) จาก economist.com / unesco.org / worldcitiescultureforum.org


The Creative : มุมมองของนักคิด

ความเป็นไปได้ การคิดเชิงวิพากษ์ และหลักสูตรการศึกษาไทย เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: สุรพัศ เคียงคู่

หากเราต้องต้อนรับการมาถึงของปี 2560 ด้วยการเป็นปีแห่งการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งถูกระบุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชามติ ทั้งยังต้องปะทะกับเทคโนโลยีที่รุดหน้า แต่เงื่อนไขบางประการก็ท�ำให้ประเทศไทยเรายังถูกจัดอันดับว่า ยังล้าหลัง ระบบส�ำคัญอย่าง “ระบบการศึกษา” จึงตกเป็นเป้าให้ถูกพูดถึงและได้รับการพัฒนาอยู่บ่อยครั้ง ด้วยบทบาท ของการเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญที่สุดของการสร้างคน เป็นความหวังของการเดินหน้าประเทศ และเป็นทางออกท่ามกลาง ความสับสนอลหม่านของฝีเท้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่ทั้งวิ่งตามและแซงหน้าไปอย่างไม่เห็นฝุ่น

CREATIVE THAILAND I 28


การพูดคุยกับ ศรานนท์ ลิ้มปานานนท์ นักออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้ง Studio Aeroplane บริษัทที่ปรึกษากลยุทธ์ด้านการออกแบบหลากหลายสาขา ในฐานะตัวแทนจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผู้ที่ใช้ชีวิตและดำ�เนินกิจการ บนรากฐานของการคิดวิเคราะห์ การลงมือทำ� และการทำ�ความเข้าใจใน เทคโนโลยีของโลกทีเ่ ปลีย่ นแปลง จึงเป็นการร่วมสะท้อนภาพของการศึกษา ไทยในปัจจุบัน กับความเป็นไปได้ หากมีการบรรจุวิชาการออกแบบลงใน หลักสูตรของนักเรียนทั่วประเทศ เพื่ออนาคตของเด็กไทยจะมีความพร้อม ยืดหยุน่ และสามารถรับมือกับทุกสถานการณ์ ทีห่ ากไม่เปลีย่ นวันนี้ วันหน้า ก็อาจสายเกินไปแล้ว ทำ�ไมเราถึงมีวิชาศิลปะในหลักสูตรการศึกษา แต่กลับไม่มี วิชาการออกแบบ วิชาศิลปะที่ผมเคยเรียนในโรงเรียนจะว่าไปคือการวาดรูประบายสี ทำ�งาน ฝีมือ แล้วก็ได้ผลลัพธ์มาเป็นคะแนนจากการใช้ความคิดเห็นของคุณครู พอ มองกลับไปก็เลยคิดว่าตัวเองก็ไม่คอ่ ยได้เรียนศิลปะจากวิชาศิลปะในโรงเรียน เท่าไหร่อยู่ดีครับ ส่วนการออกแบบสำ�หรับผม มันคือการสร้างแนวคิดใหม่ (Conceptualizing) บางอย่าง เพือ่ ตีความสิง่ ที่รับรูอ้ อกมาเป็นสิง่ ที่สร้างสรรค์ จากกระบวนการคิดของเราเอง ซึ่งถ้ามองแบบนี้การออกแบบเองอาจยังไม่ ต้องเป็นวิชาการออกแบบโดยตรงสำ�หรับนักเรียนก็ได้ แต่จะไปอยู่ในวิชา อะไรก็ได้ เพราะทุกวิชาก็มีพื้นที่ให้ออกแบบสร้างสรรค์ได้ทั้งนั้น ในขณะที่ ถึงแม้จะมีวิชาออกแบบเป็นเรื่องเป็นราวในหลักสูตรขึ้นมา แต่ถ้าเป็นการ สอนด้วยระบบให้เด็กท่องจำ�หรือไม่มีการคิดเชิงวิพากษ์อะไรในชั้นเรียน วิชานั้นก็จะเป็นแค่วิชาชื่อออกแบบที่ไม่ใช่วิชาออกแบบอีกเช่นกัน คำ�ถามนีจ้ งึ ยากเพราะมันต้องถอยกลับไปไกล คำ�ว่าศิลปะและออกแบบ ของแต่ละประเทศก็มีรากศัพท์มาจากทัศนคติและวัฒนธรรมที่ต่างกัน ผมไม่รู้ว่าศิลปะในความหมายของไทยคืออะไร ซึ่งมันก็อาจจะเป็นคนละ ความหมายกับศิลปะในมุมของคนทีเ่ รียนมาจากตะวันตกก็ได้ ส่วนการเรียน การออกแบบนั้นแต่ละวัฒนธรรมก็คงแตกต่างกันไปอีก เช่นฝั่งตะวันตก บางประเทศก็จะใช้พนื้ ฐานมาจากให้เด็กๆ เข้าใจ Art เป็นพืน้ ฐานในใจก่อน แล้วถ้าจะเรียนออกแบบก็ถึงเป็น Applied Arts (ประยุกต์ศิลป์) ลูกของ พี่น้องผมที่เขาเติบโตที่ต่างประเทศ วิชาศิลปะสมัยประถม เขาก็ได้ไปเที่ยว พิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะกัน ไม่ตอ้ งระบายสีให้เหมือนกันกับครูหรือเพือ่ นก็ได้ มีการ ถกเถียงเรือ่ งทัศนคติทมี่ ตี อ่ ความงามทีต่ า่ งกันได้ตงั้ แต่ยงั เด็ก ในวันข้างหน้า ไม่ว่าเด็กจะไปทำ�อาชีพอะไร ถ้ามีศิลปะและมีพื้นฐานการคิดเชิงวิพากษ์ อยู่ในชีวิตประจำ�วัน เขาก็น่าจะมีสมองที่เหมือนกับเป็นระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ที่พร้อมจะลงโปรแกรมสร้างสรรค์อื่นๆ เพิ่มเติมได้ แต่ถ้าใคร เติบโตมาในสังคมที่บีบให้ระบบปฏิบัติการของคุณต้องใช้ DOS เท่านั้น ต่อให้คุณจะลงซอฟต์แวร์ใหม่ที่ชื่อทันสมัยยังไงก็คงจะลงไม่ได้

CREATIVE THAILAND I 29


เราสามารถสร้างวิธคี ดิ เชิงออกแบบได้โดยไม่จ�ำ เป็นต้องอยูใ่ น หลักสูตรได้ไหม การคิดเชิงออกแบบน่าจะเรียนที่ไหนก็ได้ คำ�ว่าการออกแบบของแต่ละคน คงมีความหมายไม่เหมือนกัน สำ�หรับผม การออกแบบคือการสร้างสรรค์ สิ่งที่มันเป็นกระบวนการของ input - process - output ซึ่ง input ก็คือ การรับสิ่งต่างๆ เข้ามา process คือเราโตขึ้นมาแล้วระบบการใช้สมองมัน ก็พัฒนามาเป็นแบบนี้ output คือผลลัพธ์จากการที่ได้ตีความออกมา ถ้า เส้นทางระหว่าง input ไปถึง output ไม่มีส่วนไหนของ process ที่เป็นของ เราเลย ผมคงไม่เรียกสิง่ นัน้ ว่าการออกแบบ ซึง่ สำ�หรับผมการทำ�งานออกแบบ นัน้ ก็ตา่ งกับเวลาทำ�งานศิลปะ ศิลปะคือการทำ�เพือ่ ตัวเราเอง เราคือคนดู ส่วน คนอื่นจะชอบด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่เขา แต่การออกแบบคือเราจำ�เป็นต้อง เข้าใจคนอื่นด้วย แล้วโลกมันก็ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการคิดเชิง ออกแบบ (Design Thinking) เลยถูกเรียบเรียงมา เพื่อทำ�ให้เราตระหนักว่า ควรจะทำ�ความเข้าใจคนอืน่ ให้มากขึน้ ได้อย่างไรบ้าง แต่กระบวนการคิดเชิง ออกแบบเองก็ยังไม่ใช่การออกแบบด้วยตัวมันเอง การเข้าใจคนอื่นนั้นเป็น เพียงการได้ไฟล์ข้อมูลที่สำ�คัญเพิ่มเข้ามาเป็น input ในการทำ�งานเท่านั้น แต่ถา้ ระบบปฏิบตั กิ ารเราไม่รองรับ มันก็ไม่มปี ระโยชน์อะไร ในขณะทีถ่ า้ เรา สามารถทำ�ความเข้าใจคนอืน่ มากขึน้ เมือ่ ได้ขอ้ มูลมาแล้วก็สามารถแปลค่า ข้อมูลนัน้ ออกมาเพือ่ สร้างสรรค์เป็นสิง่ ใหม่ทมี่ ปี ระโยชน์ได้ ผมคิดว่านัน่ ก็คอื การออกแบบเช่นกัน ไม่ว่าผลลัพธ์นั้นจะอยู่ในรูปของอะไรก็ตาม

ผมคิดว่าโรงเรียนเป็นเพียงส่วนหนึง่ ของสังคมของเด็ก ไม่ใช่ทั้งหมด เราคงต้องเป็นสภาพแวดล้อมทีด่ ี ให้เด็กเท่าที่ท�ำได้ สนับสนุนให้ เด็กๆ สามารถอยู่ร่วมกับสังคม ภายนอกแบบที่มันเป็นอยู่ให้ได้ แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ให้เขา ยอมจ�ำนนกั บ สิ่ ง ที่ เ ขาอาจจะไม่ เห็นด้วยกับโลกที่ผู้ใหญ่สร้างไว้ ในปัจจุบันเช่นกัน

คิดอย่างไรกับการที่พ่อแม่ยุคนี้เริ่มส่งลูกไปเรียนโรงเรียน ทางเลือกหรือโฮมสคูลกันมากขึ้น แทนที่จะเข้าโรงเรียนใน หลักสูตรปกติ ผมเห็นความเหลื่อมลํ้าชัดขึ้นในช่วง 5-10 ปีท่ีผ่านมา เคยรู้สึกว่าเด็กบาง กลุ่มโตขึ้นมา ต้องเจ๋งแน่เลย เพราะว่าพวกเขาได้รับโอกาสที่ดีและได้อยู่ใน สภาพแวดล้อมที่ดีมากทั้งที่บ้านและโรงเรียน แต่ขณะเดียวกันก็เห็นพ่อแม่ บางกลุ่มเริ่มคิดที่จะส่งลูกไปเรียนโรงเรียนหลักสูตรธรรมดาแล้ว เพราะคิด ว่าที่ผ่านมาสิ่งที่พวกเขากำ�ลังทำ�คือการสร้างห้องปลอดเชื้อให้ลูกเขาอยู่ใน ประเทศที่ก็ยังมีแต่เชื้อโรคอยู่ดี แล้วเด็กคนนั้นจะออกไปเผชิญกับสังคม ภายนอกได้อย่างไร หมายความว่าเขาสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีมากๆ ให้ลูก ของเขา จนอยู่มาวันหนึ่งเขาเริ่มสงสัยตัวเอง ว่ามันต่างอะไรกับการที่เขา สร้างห้องปลอดเชื้อ เมื่อเด็กอยู่แต่ในห้องนั้น พอมาเจอโลกข้างนอกจริงๆ ก็จะลำ�บากได้ ผมคิดว่าโรงเรียนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคมของเด็ก ไม่ใช่ ทั้งหมด เราคงต้องเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้เด็กเท่าที่ทำ�ได้ สนับสนุนให้ เด็กๆ สามารถอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกแบบที่มันเป็นอยู่ให้ได้ แต่ขณะ เดียวกัน ก็ต้องไม่ให้เขายอมจำ�นนกับสิ่งที่เขาอาจจะไม่เห็นด้วยกับโลกที่ ผู้ใหญ่สร้างไว้ในปัจจุบันเช่นกัน

ถ้าแบบนั้น เราควรช่วยกันแก้สังคมข้างนอกจะดีกว่าการไป จัดการสิ่งแวดล้อมเฉพาะแบบนั้นไหม เห็นด้วยครับ ผมคิดว่าปัญหามันคือระบบนิเวศของสังคมวันนี้ การจะไปแก้ ต้นไม้ตน้ เดียวว่าทำ�ยังไงให้นกมาเกาะมากขึน้ แต่ละเลยสภาพแวดล้อมรอบๆ ว่ามันไม่ได้เหมาะกับการเติบโตของสิ่งมีชีวิตเลย มันคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น คงต้องทำ�ไปพร้อมกันทั้งหมด ซึ่งลำ�พังแค่โรงเรียนหรือบ้านก็ไม่ใช่คำ�ตอบ ทั้งหมดของชีวิตวัยเด็ก ประเด็นคือ สังคมรอบตัวมนุษย์เรา มีทั้งบ้าน คนรอบข้าง แล้วก็ประเทศ การสร้างระบบนิเวศก็คงต้องเริ่มจากบ้านก่อน แล้วก็คนรอบข้าง ซึ่งก็มีบางคนที่อาจจะสนใจแต่จะให้แก้ไขระบบการศึกษา แต่ลืมคิดจะแก้ไขตัวเอง ทางออกมันง่ายมาก นั่นคือเวลาเจอเด็กเราก็ทำ�ตัว เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้เขา แค่นั้นเลย ไม่ว่าจะทำ�อาชีพอะไร เพราะเรา ทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่ว่านี้ แต่การเปลี่ยนทั้งระบบนิเวศเองก็จำ�เป็นต้องใช้เวลา เรามี ทางเลือกอื่นอย่างไรบ้าง คงมีสองทางเลือกขนานกันไป นั่นคือส่วนตัวกับส่วนรวม เรารอส่วนรวม ไม่ได้อยู่แล้ว หมายถึงรอให้คนอื่นดีก่อน รอระบบให้ดีก่อน รอประเทศให้ดี ก่อน แล้วเราค่อยได้ดี มันไม่มีวันนั้นอยู่แล้ว อย่างผมเคยเรียนหนังสือในยุค ไม่มีอินเทอร์เน็ต ในแง่ของการเข้าถึงความรู้ในวันนั้น โอกาสของผมยังน้อย กว่าเด็กต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกลแหล่งเรียนรู้ในวันนี้อีก ขณะที่เด็กทั่วไปใน วันนี้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เกือบหมดแล้ว คำ�ถามคืออะไรที่ทำ�ให้เด็กบางคน

CREATIVE THAILAND I 30


ไม่หาความรู้ ไม่ใช้เครื่องมือไปในทางที่จะช่วยพัฒนาความรู้ทางการศึกษา ของเขา มันไม่ได้แปลว่าเขาไม่มีโอกาสนะ ถ้าแค่ต้องการหาความรู้ พวกเขา ทำ�ได้ทันทีเลย นี่คือทางเลือกส่วนตัวที่ทำ�ได้เลย ไม่ต้องรอโรงเรียนสั่งให้ไป อ่านหนังสือก็ได้ ถ้ามีทัศนคติที่ดี เด็กต้องอย่ายอมแพ้ในการเลือกอนาคตที่ ตัวเองต้องการ อะไรพอจะทำ�ได้ ก็ท�ำ เลย ในขณะทีส่ ว่ นรวมก็คอื ผูใ้ หญ่ สังคม รอบข้าง และผูม้ อี �ำ นาจทัง้ หมด ซึง่ ก็เป็นเรือ่ งยากหน่อยทีจ่ ะเปลีย่ นอะไร แต่ ถ้าลองใส่กระบวนการคิดเชิงออกแบบเข้าไปให้ผู้ใหญ่บ้าง ให้พวกเขาลอง ทำ�ความเข้าใจเด็กให้ได้กอ่ น ให้ผใู้ หญ่ได้เรียนรูก้ ารปรับตัวและการออกแบบ สภาพแวดล้อมทีส่ นับสนุนการเรียนรูแ้ ละความสร้างสรรค์ให้เด็กๆ ถ้าทำ�ส่วน นั้นได้ ส่วนรวมจากนั้นก็จะน่าจะแก้ได้ไม่ยากนัก

บทบาทของโรงเรียน บ้าน สังคมที่เปลี่ยนไปในประเทศไทย ทั้ ง การนำ � โรงเรี ย นเข้ า มาอยู่ ใ นบ้ า น หรื อ การเกิ ด ขึ้ น ของ โรงเรียนทางเลือก ปรากฏการณ์เหล่านี้กำ�ลังสะท้อนอะไร ผมคิดว่ามันสะท้อนความสิ้นหวังในการแก้ปัญหาผ่านระบบที่การศึกษา หลักสูตรปกติสร้างไว้ให้ คือมันมีปญั หากันทุกประเทศ แต่ประเด็นคือปัญหา ไม่ได้มาจากระบบการศึกษาอย่างเดียว ปัญหามันมาจากระบบนิเวศโดยรวม ไม่มปี ระเทศไหนทีร่ ะบบการศึกษาดี ทัง้ ทีป่ ระเทศแย่ มันก็กลับมาทีเ่ รือ่ งการ สร้างสภาพแวดล้อมทีด่ ที งั้ จากทีบ่ า้ น คนรอบข้าง และสังคมของประเทศให้ กับเด็กๆ รวมถึงระบบการศึกษาแบบที่เป็นอยู่ ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นการ ตัดเสือ้ ขนาดเดียว แล้วแจกให้เด็กทุกคนต้องใส่ให้ได้เหมือนๆ กัน ทัง้ ทีไ่ ทย เป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม ภูมิประเทศ เศรษฐกิจ ซึ่ง ทำ�ให้ข้อจำ�กัดและความเหมาะสมของเด็กแต่ละครอบครัวก็ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนอาจต้องช่วยพ่อแม่ทำ�งาน บางครอบครัวก็อาจหาโรงเรียนที่ เหมาะกับลูกของตนในระยะใกล้บา้ นไม่ได้ การเรียนทีบ่ า้ นก็อาจเป็นทางออก ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งเช่นกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมในประเทศกับระบบการศึกษาก็ น่าจะมีส่วน การเรียนที่โรงเรียนนั้นน่าจะเป็นการเรียนเพื่อให้เด็กสามารถ พัฒนาตัวเองต่อไปหลังจากนั้นเองได้ สามารถเรียนรู้และทำ�งานในโลกที่ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาได้ด้วย แต่จากประสบการณ์ที่เจอมา ผมคิดว่า การเรียนในประเทศไทยนั้นยากมาก กว่าที่เราจะเรียนจบได้ ไม่ว่าจะระดับ มัธยมจนถึงมหาวิทยาลัย แต่จบมาบางครั้ง ก็ไม่ได้ใช้ความรู้ยากๆ ที่เรียน มาเหล่านั้นอีกเลย นอกจากใช้สอบ แล้วมันก็ไม่เกี่ยวกับสิ่งที่จะไปทำ�อะไร ในชีวติ มากนัก คือมันไม่คอ่ ยสัมพันธ์กนั เท่าไหร่ระหว่างสิง่ ทีเ่ รียนในห้องเรียน กับชีวติ ข้างนอก ไม่วา่ จะข้างนอกในปัจจุบนั หรือการเปลีย่ นแปลงในอนาคต หรือถ้าเป็นบางประเทศในยุโรป การเรียนออกแบบในมัธยมปลายก็จะมีเป็น โรงเรียนสายอาชีพไปเลย ก็คือการได้ไปเรียนกับช่างฝีมือระดับมาสเตอร์ แล้วก็ฝึกงานกับอุตสาหกรรมที่กำ�ลังเกิดขึ้นจริง พัฒนาไปพร้อมๆ กัน แต่ วิชาออกแบบของประเทศไทยก็ยงั ไม่คอ่ ยมีอตุ สาหกรรมใดมารองรับมากนัก หรือต่อให้มี ก็ยังมีเพดานบางอย่างที่สิ่งที่เรียนกับสิ่งที่ต้องใช้ก็อาจจะไม่ได้ สัมพันธ์กัน หลายครั้งการเรียนออกแบบในบ้านเรา จึงเป็นการไปเรียนแค่ เพื่อได้เรียนออกแบบ หรืออย่างเรื่องการออกแบบที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ผมเรียนมา ประเทศ ที่เป็นผู้นำ�เทคโนโลยีจริงๆ ก็ไม่ได้สอนเพียงการผลิตหรือบริโภคเทคโนโลยี ที่ใหม่ล่าสุด แต่สอนวิธีคิดที่จะเข้าใจกลไกของการพัฒนาเทคโนโลยีไปด้วย นั่นคือการทำ�ให้สมองยืดหยุ่นพอ ที่ไม่ว่าอะไรจะมาจะไปก็ตาม ก็สามารถ หยิบนำ�มาใช้ให้เป็นประโยชน์ตอ่ งานของเราได้หมด ถ้าเมืองไทยเพิม่ ทัศนคติ การมองการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในลักษณะนี้เข้ามาด้วย เราก็อาจ จะพัฒนาอะไรได้งา่ ยขึน้ นะ เป็นตรงกลางระหว่างการหยิบอะไรมาประกอบ เป็นสิ่งใหม่ได้ พัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่แล้วได้ คาดการณ์การพัฒนาของโลก เองได้ สามารถเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนได้ ทักษะพวกนี้ มันคนละ ทักษะกับการเก็งข้อสอบหรือการท่องจำ�มา ว่าเทรนด์เทคโนโลยีอะไรจะ มาแรงในอีกห้าปีสิบปี ผมเลยคิดว่าเราจำ�เป็นต้องสร้างคนที่มีพื้นฐาน ความคิดที่สร้างสรรค์และยืดหยุ่นพอที่จะรับมือการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

CREATIVE THAILAND I 31


การคิ ด เชิ ง ออกแบบนั้ น เป็น เหมือนยา ยังไม่น่าจะให้เด็กกิน เพราะเด็กไม่ได้ป่วย คนที่ป่วย ในเวลานี้คือผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ คื อ เพดานที่ มี ผ ลต่อ สภาพ แวดล้อมของเด็ก ต่อให้เด็กมี ความสร้างสรรค์ มีการคิดเชิง ออกแบบที่ ไ ด้ ม าตรฐานตาม หลักสูตรวิชาการ แต่ถ้าต้อง อยู่ใต้เพดานอ�ำนาจของผูใ้ หญ่ ในระบบนิเวศแบบเดิมๆ ก็ยาก จะที่เด็กโตขึ้นมาแล้วไม่จ�ำนน ต่อเงือ่ นไขหรือสภาพแวดล้อม จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบแบบเดิมอีกอยู่ดี

เป้าหมายในภาพใหญ่ที่เราควรจะไปคืออะไร ท่ามกลางโลกที่ เทคโนโลยีก้าวไปเร็วมาก กับการเพิ่มเติมวิชาการคิดเชิง ออกแบบเข้าไป ความคิดเห็นส่วนตัวคือ ผมไม่แน่ใจว่าผมเห็นด้วยกับการใส่วิชาการคิดเชิง ออกแบบเข้าไปกับหลักสูตรการศึกษาของเด็กตรงๆ โดยเฉพาะเด็กประถม ถึงมัธยมต้น คิดว่าการคิดเชิงออกแบบควรใส่ให้ผู้ใหญ่ก่อน แล้วค่อยให้ ผู้ใหญ่สามารถไปออกแบบระบบนิเวศที่สร้างสรรค์ให้กับเด็กได้เหมาะสม ตามข้อจำ�กัดทีต่ า่ งกันของแต่ละพืน้ ที่ การคิดเชิงออกแบบนัน้ เป็นเหมือนยา ยังไม่น่าจะให้เด็กกินเพราะเด็กไม่ได้ป่วย คนที่ป่วยในเวลานี้คือผู้ใหญ่ และ ผู้ ใ หญ่ คื อ เพดานที่ มี ผ ลต่ อ สภาพแวดล้ อ มของเด็ ก ต่ อ ให้ เ ด็ ก มี ค วาม สร้างสรรค์ มีการคิดเชิงออกแบบทีไ่ ด้มาตรฐานตามหลักสูตรวิชาการ แต่ถา้ ต้องอยู่ใต้เพดานอำ�นาจของผู้ใหญ่ในระบบนิเวศแบบเดิมๆ ก็ยากจะที่เด็ก โตขึน้ มาแล้วไม่จ�ำ นนต่อเงือ่ นไขหรือสภาพแวดล้อมจนกลายมาเป็นส่วนหนึง่ ของระบบแบบเดิมอีกอยู่ดี เด็กนั้นเป็นพลังที่เจ๋งมากอยู่แล้ว การนำ�การคิด เชิงออกแบบไปครอบพวกเขาเร็วเกินไปดูเป็นเรือ่ งแปลกสำ�หรับผม เราน่าจะ ทำ�ให้ผู้ใหญ่มีความสร้างสรรค์มากขึ้น พร้อมที่จะทำ�ความเข้าใจเด็กให้มาก ขึน้ แล้วช่วยกันออกแบบระบบทีช่ ว่ ยสนับสนุนให้เด็กสามารถโตขึน้ เป็นผูใ้ หญ่ ที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพได้มากกว่า ถ้าอยากใส่การคิดเชิงออกแบบเข้าไปในหลักสูตรการศึกษาจริงๆ สิง่ ที่ ผมคาดหวังคือ ระบบปฏิบัติการในสมองของเด็ก เหมือนถ้าหากคุณเรียน วิชาพละ มันคือการฝึกร่างกายและจิตใจ แต่ถ้าเรื่องการคิดเชิงออกแบบ ผมว่ามันคล้ายวิชาเรียนยืดหยุ่นตอนมัธยม เมื่อร่างกายยืดหยุ่นได้มากขึ้น เราก็เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ถ้าระบบปฏิบัติการในสมองยืดหยุ่นได้ เราก็จะ คิดถึงความเป็นไปได้ตา่ งๆ ได้งา่ ยขึน้ แล้วถ้าเขามีทศั นคติการใช้ความคิดที่ ยืดหยุน่ (Flexible Thinking) มีพนื้ ฐานการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) สามารถรักษาความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ไปพร้อมกับ ความรูใ้ หม่ๆ (Knowledge) ทีไ่ ด้รบั เพิม่ เติมด้วยได้ จากนัน้ จะไปเรียนอะไร เพิ่มก็น่าจะง่ายขึ้น การคิดเชิงวิพากษ์สำ�คัญกับการเรียนรู้อย่างไร ผมมองว่ามันคือเซ็นเซอร์ (Sensor) ทางความคิด ทีส่ ามารถฉุกคิด ตระหนัก เฉลียวใจได้เวลาสมองรับรู้เรื่องใหม่ๆ เช่น ถ้าร่างกายเราไม่มีเซ็นเซอร์ เราจะไม่รู้ว่าเราเจ็บ ไฟไหม้แขน เราก็ไม่รู้ว่าเราร้อน การไม่มีเซ็นเซอร์ทาง ความคิดว่าสิ่งนี้ดีหรือไม่ดี สิ่งนั้นพอหรือไม่พอ ไม่รู้สึกสงสัยอะไร มันก็ อันตรายเหมือนกัน ความสร้างสรรค์ของเด็กเปรียบเหมือนในการ์ตูนที่เด็ก ได้พลังวิเศษมา แล้วถ้าเขาคุมพลังไม่เป็น เพราะไม่รู้ว่าจะหยุดที่ตรงไหน ก็อันตราย แต่ถ้ามีการคิดเชิงวิพากษ์นิดหนึ่งมันจะเกิดเป็นการประมวลผล ออกมาได้ ว่าเขาน่าจะใช้พลังเท่าไหนพอ หรือไม่พอสำ�หรับเขา อะไรที่ คนอืน่ ว่าดี เขาก็อาจคิดเองได้วา่ ไม่ได้ดสี �ำ หรับเขาก็ได้ ซึง่ ของแบบนีก้ ค็ อ่ ยๆ ลองผิดลองถูก เรียนรู้ และปรับปรุงไปได้เรื่อยๆ เช่นกัน ซึ่งระบบการศึกษา เองก็ไม่ควรให้เด็กเหลือทางเลือกเพียงแค่จะใช้หรือห้ามใช้พลังนั้น ผู้ใหญ่ เองควรสนับสนุนให้เด็กๆ รูจ้ กั ควบคุมและรักษาพลังสร้างสรรค์ทเี่ ขามีไปจน โตได้ และถ้าพวกเขามีทงั้ พืน้ ฐานความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงวิพากษ์ ในตัว ก็น่าจะมีพื้นฐานในการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบในขั้นต่อไปได้

CREATIVE THAILAND I 32


คิดว่าเด็กจะพร้อมรับวิชาการยืดหยุ่นของสมองไหม น่าจะพร้อมนะ ผมว่ามันง่ายมากเลยสำ�หรับเด็กๆ น่าจะช่วยได้ถ้าผู้ใหญ่ ออกแบบระบบที่สนับสนุนให้เด็กสามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการของเขาไป ได้เรื่อยๆ เช่น ตอนเด็กๆ คือให้เขาเล่นอย่างมีความสุข แต่ก็ให้เขาเรียนรู้ ว่า คนอื่นที่เล่นกับเขาหรืออยู่ใกล้เขานั้นเจ็บหรือไม่เจ็บ กับให้เขารู้ว่าเขา ไม่ใช่คนสำ�คัญที่สุดอยู่คนเดียวบนโลก เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนอื่นให้ได้ ถ้าเริม่ เกิดความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) เดีย๋ วเรือ่ งของการคิดเชิงออกแบบ จะเกิดขึ้นได้เอง แต่คนที่คิดถึงแต่ตัวเองมาทั้งชีวิต วันหนึ่งบอกให้ไปทำ� User Journey Map (เส้นทางการตัดสินใจและพฤติกรรมของผู้บริโภค) คือ คงยากเพราะเขาไม่มีพื้นฐานการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น การฝึกตั้งแต่เด็กทำ�ให้ ไม่ว่าเขาจะโตมาทำ�อาชีพอะไร อย่างไรก็มีเซนส์ของการดีไซน์อยู่

ทัศนคติพวกนี้มันเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ แต่เป็นปัจจัยสำ�คัญในระบบ ความคิดของสังคม ถ้าสังคมยังเชื่อว่าเด็กต้องยอมรับว่าผู้ใหญ่ถูกต้องกว่า การแก้ปญั หาของผูใ้ หญ่หรือสิง่ ทีเ่ คยมีมาแล้วคือสิง่ ทีด่ กี ว่า นัน่ ก็เป็นอุปสรรค ในการสร้างระบบนิเวศทีส่ นับสนุนให้เด็กสามารถพัฒนาหรือรักษาความคิด สร้างสรรค์ของตนไว้ได้

ความแตกต่างระหว่างการศึกษากับการเรียนรู้คืออะไร ผมคิดว่า การศึกษาคือระบบ มันมีการสอน มีการเรียน แต่การเรียนรู้คือ คุณไม่มีคู่มือชี้นำ� การศึกษาเองก็มีทั้งคู่มือชี้นำ�ที่ดีและคู่มือที่อันตราย ถ้า คุณได้คมู่ อื ทีด่ ี คุณจะเติบโตเร็วมาก แต่ถา้ คุณได้คมู่ อื ทีอ่ นั ตราย คุณจะเดิน วนอยู่กับที่ ก็จะกลับมาที่เรื่องของการคิดเชิงวิพากษ์ ถ้าเด็กมีส่วนนี้ เขาก็ จะรู้ได้ว่าคู่มืออันไหนเป็นคู่มือที่ดีสำ�หรับเขา ผมอ่านเจอในตำ�ราวิธีการเรียน เขาบอกว่า ศรัทธาเป็นสิ่งสำ�คัญ แต่ ว่าต้องมีเดดไลน์ คือถ้าคุณเรียนกับอาจารย์ที่คุณไม่มีศรัทธากับเขา มันจะ มีหลายอย่างมากที่เขาพูดแล้วคุณไม่เก็ท ทำ�ให้คุณไม่อยากทำ�ตาม แต่ถ้า คุณอยากให้เขาเป็นอาจารย์ คุณต้องมีศรัทธา ลองทำ�ตามที่เขาสอนไปก่อน แต่ก็ต้องมีเดดไลน์ ถ้าศรัทธาไปแล้วจนถึงเดดไลน์ก็ยังไม่ได้ผลอะไร คุณต้องก้าวออกมาแล้ว ซึ่งการจะวัดผลตัวเองได้ว่าเรียนแล้วได้ผลหรือไม่ ก็ต้องมีพื้นฐานการคิดเชิงวิพากษ์อยู่บ้าง ต้องพิจารณาตัวเองเป็นด้วย อันนี้ เป็นพื้นฐานการเรียนวิทยายุทธทั่วไป ไม่ใช่แค่ต้องเชื่อหรือไม่เชื่ออาจารย์ ไปเลย พื้นฐานวิธีการเรียนรู้พวกนี้น่าจะบรรจุเข้าไปอยู่ในวิชาที่ว่าด้วยการ เรียนอย่างไร เพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ของการสร้างระบบปฏิบตั กิ ารในสมอง ให้เด็ก ได้เรียนวิธีการเรียนรู้ครับ เมือ่ มองในภาพใหญ่ เป็นไปได้ไหมทีเ่ ราจะพัฒนาทัศนคติของ ทั้งประเทศ ถ้าทัศนคติของคนในประเทศคือ “พรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้” จากนี้ไป เวลาเขา เห็นอะไรที่มันไม่ดี ไม่เข้าท่า เขาก็จะมองหาว่าแล้วจะทำ�ให้มันดีขึ้นได้ยังไง ได้บ้าง พรุ่งนี้จะดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง หรือแม้แต่เห็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว เขาก็จะไม่ กลัวที่จะเปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้นไปอีกตามความเหมาะสมของยุคสมัย ความหวังโดยรวมของประเทศก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนก็จะมองปัญหาเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตที่สามารถช่วยกันแก้ไขพัฒนาให้มันดีขึ้นกว่าเก่าได้ แต่ถ้า ทัศนคติรวมของประเทศคือ “วันวานคืออดีตอันยิง่ ใหญ่” เรามองไปทางไหน ถ้าเจอปัญหาอะไรก็จะโทษการเปลีย่ นแปลงว่าเป็นตัวการทีท่ �ำ ให้ปจั จุบนั มัน ไม่ดเี หมือนอดีต แล้วทางออกทีค่ ดิ ขึน้ มาก็จะเป็นทางออกทีเ่ ลือกมาจากอดีต เพื่อจะกลับไปในอดีตมากกว่าจะแก้ปัญหาเพื่อไปสู่อนาคต

วิชาที่ชอบมากที่สุด ผมชอบวิชาเลข เพราะเป็นวิชาที่อ่านเองที่บ้านได้ มันอยู่ในชีวิตประจ�ำวัน แล้วพอไปท�ำงานออกแบบหรือศิลปะ เลขก็มีประโยชน์ช่วยในระบบวิธีคิด ได้เยอะมาก เวลาว่างชอบท�ำอะไร ถ้ามีเวลาว่างเล็กน้อย ผมชอบท�ำความสะอาดออฟฟิศ หรือถ้าว่างจริงๆ ก็นอนพัก ตัวการ์ตูนที่ชอบที่สุด ปาร์แมน ผมว่าปาร์แมนหมายเลข 1 เป็นตัวแทนของเด็กกลางๆ ที่มี ความพยายาม

CREATIVE THAILAND I 33


Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช

ปฏิเสธไม่ได้วา่ ยิง่ เด็กมีประสบการณ์ทห่ี ลากหลายมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการค้นพบตัวเองได้เร็วขึ้นและมากขึ้น เท่านัน้ การส่งเสริมให้พวกเขารูจ้ กั และเข้าถึงความรูใ้ หม่ๆ อยู่ เสมอ จะช่วยเปิดมุมมองของพวกเขาให้กว้างไกลไปกว่าอาชีพ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยอยู่แล้วอย่างหมอ วิศวกร นักบัญชี หรือ สถาปนิก คิดก้าวหน้า คือโครงการที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาในชั้นปีที่ 3 และ 4 จากทั่วประเทศได้สัมผัสกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยอย่างใกล้ชิดใน รูปแบบต่างๆ เพือ่ เปิดมุมมอง สร้างแรงบันดาลใจ เพิม่ พูนความรูแ้ ละทักษะ สร้างสรรค์ตามความสนใจ ตลอดจนเรียนรู้กระบวนการใช้ทุนทางความคิด สร้างสรรค์ควบคู่ไปกับงานวิจัยและเทคโนโลยี ให้พร้อมที่จะก้าวสู่ตลาด แรงงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่อไปเมื่อจบการศึกษา จุดเด่นของโครงการฯ นอกจากจะเต็มไปด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์จาก ทัง้ หน่วยงานรัฐและเอกชน ที่จะสร้างความมั่นใจว่าเยาวชนที่มาเข้าร่วมจะ ได้รับความรู้และประสบการณ์ที่แท้จริงจากมืออาชีพโดยตรงแล้ว ก็ยังมี

กิจกรรมต่อยอดเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น อย่างกิจกรรม Drone Photography ของ TCDC ที่เกิดขึ้นทั้งเพื่อ สนองนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของรัฐบาล และเพื่อให้พวกเขา สามารถดึงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่แล้วภายในตัวออกมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ รู้จักเรียนรู้จากการลงมือทำ�จริง และมีโอกาสในการเข้าถึง เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเท่าเทียม กิจกรรมดังกล่าวหวังจะช่วยบ่มเพาะทักษะและกระบวนการคิดทีจ่ ะเป็น ประโยชน์ตอ่ การเติบโตไปเป็นบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทมี่ คี ณุ ภาพ ในอนาคต ผ่านการผลิตภาพยนตร์เชิงสารคดีด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่กำ�ลังเป็นที่นิยมและมีประโยชน์หลากหลาย ไม่ว่าจะใช้ติดกล้องถ่ายรูปเพื่อถ่ายภาพจากมุมสูง ตรวจสภาพจราจร เก็บข้อมูลภูมิศาสตร์ ขนส่งสินค้า ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ เข้าถึงได้ยาก เป็นต้น นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้กระบวนการ สร้างสรรค์สารคดีจากทีมงานมืออาชีพ ตั้งแต่ทักษะการเล่าเรื่องด้วยภาพ การเขียนบทบรรยาย การถ่ายภาพด้วยอากาศยานไร้คนขับ การตัดต่อ จน กระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นภาพยนตร์เชิงสารคดีขนาดสั้นเกี่ยวกับสถานที่ สำ�คัญต่างๆ บริเวณรอบโรงเรียนและชุมชน ความยาวประมาณ 3 นาที ในปี 2016 ที่ผ่านมา มีโรงเรียนรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ทั้งหมด 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดสังเวช โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โรงเรียนพุทธจักรวิทยา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยา และโรงเรียนมาแตร์เดอี วิทยาลัย และมีแผนจะทำ�ต่อเนื่องกับอีก 6 โรงเรียนในปี 2017 เพื่อเป็น ช่องทางหนึง่ ในการสือ่ สารกับเยาวชนไทยในวันนีว้ า่ โลกใบนีย้ งั มีงานทีส่ ร้าง รายได้อีกมากมาย และความคิดสร้างสรรค์คือทุนที่สามารถนำ�ไปประยุกต์ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ ที่มา: สํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) / ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) / อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) / พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (Museum Siam)

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.