Creative Thailand Magazine

Page 1

เมษายน 2560 ปีที่ 8 I ฉบับที่ 7 แจกฟรี

Local Wisdom พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก Insight What Happens Now in Melbourne? Creative Startup Co van Kessel



Christy Ash

THE QUESTION IS NOT WHETHER YOUR PART OF THE WORLD IS GOING TO CHANGE. THE QUESTION IS HOW. คำ�ถามไม่ใช่วา่ ย่านของคุณจะเปลีย่ นไปหรือไม่ แต่คอื จะเปลีย่ นไปอย่างไร Edward T. McMahon นักเขียนจาก Urban Land Magazine ผูจ้ ดุ ประกายเรือ่ งการพัฒนาพืน้ ทีอ่ ย่างยัง่ ยืน


Contents : สารบัญ

The Subject

6

เสพศิลป์ใต้แสงจันทร์ River city แหล่งรวมศิลปะในย่านสร้างสรรค์ ห้างขายยาเบอร์ลนิ ...หมอยาของคนเจริญกรุง

Creative Resource 8 Featured Page / Documentary / Books

Matter 10 เจริญกรุง จิวเวลรี่ฮับของกรุงเทพฯ

Local Wisdom เมื่อเวลาหยุดนิ่งที่ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก”

Cover Story

Revalue Charoenkrung คุณค่าใหม่เจริญกรุง

12

14

Insight 20 What Happens Now in Melbourne?

Creative Startup 22 Co van Kessel ปั่นเพื่อปั้นกรุง

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Yet Charoenkrung Creative? คน อนาคต เจริญกรุง

Creative District Foundation กลุ่มคนสร้างเมือง เพื่อเมืองสร้างอนาคต

ดรุณบรรณาลัย ห้องสมุดในฝันของเด็กวัยซน

บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ที่ปรึกษา l ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, ศิครินทร์ มิลินทสูต เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ นักศึกษาฝึกงาน l ณัฐจรีย์ มีชัย, ไทกล้า หมายเจริญ, รัชฎาภรณ์ แทนปั้น จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7400 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ผู้วาดภาพประกอบปก: yoniam นักวาดภาพที่หลงใหลและพ่ายแพ้ต่อความงามของตึกเก่า ชอบบันทึกร่องรอยของอดีตลงในเวลาของปัจจุบัน มีของใช้ ประจำ�วันเป็นสมุดสเก็ตและดินสอ facebook.com/yoniam


Not ju st a Di strict, It’s Life. ชีวติ และความเคลือ่ นไหวของเมือง บอกอะไรเราได้หลายอย่าง อดีตทีเ่ คยเป็น ผูค้ นทีเ่ คยอยูอ่ าศัย ผูเ้ ยีย่ มเยือน ร้านเก่าแก่ กระทัง่ ความคาดหวัง หรือความ เปลี่ยนแปลงในอนาคต เมืองทุกเมือง ก่อร่างขึ้นจากการทับถม การโยกย้าย และการเกิดใหม่ ทัง้ ในด้านสิง่ ปลูกสร้างทางสถาปัตยกรรมและชีวติ ของผูค้ น กรุงเทพฯ ก็เช่นเดียว กับมหานครอื่นทั่วโลก ความหลากหลายของชุมชนและวัฒนธรรมจากอดีต ยังคงมีกลิน่ อายทีส่ งั เกตได้ ทัง้ จากชือ่ เสียงของถนน ซึง่ บางแห่งบ่งบอกถึงชุมชน ช่างฝีมอื หรือทักษะเก่าแก่ เช่น ถนนตีทอง หรือชุมชนบ้านบาตร ขณะที่ยุคสมัย ต่อมา ศิลปินและนักเขียนก็มีที่พบปะสังสรรค์ในย่านวังบูรพา และในยุคที่ วัฒนธรรมป็อปคัลเจอร์ดา้ นดนตรีและแฟชัน่ เฟือ่ งฟู สยามสแควร์คอื ย่านแฟชัน่ ที่เปลี่ยนบรรยากาศของเมืองให้เต็มไปด้วยสีสันจากนักออกแบบหน้าใหม่และ ธุรกิจมากมายภายใต้ห้องแถวและทางเชื่อมเล็กๆ แม้ย่านในอดีตอาจเกิดขึ้นอย่างธรรมชาติจากการรวมตัวกันของผู้คนใน ชุมชนบนโครงสร้างพื้นฐานที่พอจะเอื้ออำ�นวย แต่ปัจจุบัน แนวคิดการพัฒนา เมืองสมัยใหม่ได้ก้าวไปในจุดที่ต้องหาความสมดุลของอดีตมาบวกกับจุดแข็ง ของย่ า น ผสานกั บวิ สั ย ทัศน์ของการพัฒ นาพื้นที่แ ละการมีส่วนร่ ว มของ ท้องถิ่น สมการดังกล่าวกลายเป็นเครื่องมือพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ของเมือง เพราะเป็นการพัฒนาจากธรรมชาติและตัวตนเดิม ไม่วา่ จะเป็นคุณค่า

dezeen.com

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

ทางประวัติศาสตร์ของย่าน รูปแบบอาคารสถาปัตยกรรม ร้านค้าและชุมชน ดั้งเดิม เข้ากับการต่อเติมด้วยโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ที่จะส่งเสริมความ สามารถของย่านให้พิเศษและแตกต่าง เช่น เป็นพื้นที่เพื่อฝึกฝนทักษะใหม่ๆ ของผู้คน พื้นที่ที่มีความสะดวกและปลอดภัย ส่วนผสมทั้งเก่าและใหม่นี้ หากมีความแข็งแรงเพียงพอ ย่อมจะดึงดูดผู้คนและธุรกิจให้เข้ามาร่วม สร้างสรรค์ชีวิตชีวาใหม่ให้กับย่านได้อย่างน่าตื่นเต้น คนไทยนั้นคุ้นเคยกับวัฒนธรรมชุมชนและพื้นที่มายาวนาน คนรุ่นเก่า เห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งแบบฉับพลันและค่อยๆ เป็นไปของเมือง ขณะที่คน รุ่นใหม่มักจะซึบซับและดูดซึมวัฒนธรรมย่อยใหม่ๆ นี้ได้อย่างราบรื่น แต่การ ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับความหวังของสังคม ต้องอาศัยการเรียบเรียงความ ต้องการของความดั้งเดิมให้ยังคงอยู่ ควบคู่ไปกับชีวิตชีวา สีสัน นวัตกรรม หรือความแปลกหน้าของปรากฏการณ์ใหม่ แม้การพัฒนาย่านสร้างสรรค์ให้เป็นจุดหมายใหม่ของเมือง จะมีบทเรียน ด้านการบริหาร การลงทุน และวิสัยทัศน์จากผู้คนและเมืองต่างๆ มาแล้ว ทั่วโลก แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่มีสูตรสำ�เร็จใดๆ ที่จะเป็นคำ�ตอบสำ�หรับการ สร้างสรรค์และพัฒนาย่านของเราได้เลย เพราะคำ�ตอบที่ดีที่สุด เป็นสิ่งที่เรา ต้องค้นหา เปิดมุมมอง และทุ่มเทในสิ่งที่เราเชื่อมั่น เพื่อให้ความสมบูรณ์ บนความสมดุลเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้นี้ อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

CREATIVE THAILAND I 5


เสพศิลป์ใต้แสงจันทร์ เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ และ ณัฐจรีย์ มีชัย

หากต้องการรูจ้ กั ย่านสักย่าน คงไม่มอี ะไรจะดีไปกว่าการได้ลองไปเดินสำ�รวจ ย่านๆ นั้นผ่านสายตาช่างสังเกต พร้อมหัวใจที่ช่างสงสัยในสิ่งที่ได้เห็นและ รู้สึกระหว่างทาง การได้เดินสำ�รวจเมืองไปเรื่อยๆ คงไม่ต่างจากการได้ไข ปริศนาของเมืองแห่งนั้นด้วยตัวเอง ซึ่งสุดท้ายอาจนำ�ไปสู่การได้เรียนรู้ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของย่านแห่งนั้น หรือการได้รับมิตรภาพจากคน ในท้องถิ่น และแม้กระทั่งการได้มองเห็นโอกาสใหม่ที่รอการค้นพบ Gallery Hopping Night คือเทศกาลการเดินชมศิลปะในแกลเลอรี ต่างๆ ตามแผนที่ด้วยตนเอง ซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 2 เดือน โดยเทศกาลนี้ เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2014 ในพื้นที่ย่านสีลมและเจริญกรุง ย่านสร้างสรรค์ใจกลางเมือง ที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมของเหล่าศิลปินและที่ตั้งของ อาร์ตแกลเลอรีที่น่าสนใจจำ�นวนมาก อาทิ Bridge Cafe and Art Space, Kathmandu Photo Gallery, Modern Art Gallery, Serindia Gallery, Speedy Grandma, Soy Sauce Factory, Thavibu Gallery ฯลฯ ซึ่งพร้อมใจกันเปิด พืน้ ทีเ่ พือ่ ต้อนรับผูม้ าเยือน ให้ได้แลกเปลีย่ นความคิดเห็นเกีย่ วกับงานศิลปะ กันอย่างสร้างสรรค์ในช่วงเวลาทีผ่ า่ นพ้นความรีบร้อนของวัน ตัง้ แต่ 6 โมงเย็น จนถึงเที่ยงคืน โดยอัดแน่นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์มากมาย อย่างเช่น นิทรรศการผลงานศิลปะ การฉายภาพยนตร์ งานเสวนา และการแสดง ดนตรีสด ที่แต่ละแกลเลอรีต่างตั้งใจจัดขึ้นเพื่อต้อนรับเหล่าคนที่รักในงาน สร้ า งสรรค์ ใ ห้ ไ ด้ แ วะเวี ย นมาเยี่ ย มชมกิ จ กรรมพิ เ ศษเหล่า นี้ ใ นย่ า นกั น โดยหวังผลเพียงเพื่อช่วยสร้างมิตรภาพใหม่ๆ ระหว่างกลุ่มคนคอเดียวกัน สร้างความคึกคักยามคํ่าคืนให้กับพื้นที่ เปิดโอกาสให้คนเมืองได้ซึมซับ ความงามในศิลปะที่หลากหลาย พร้อมกับได้เรียนรู้วัฒนธรรมในชุมชนไป พร้อมๆ กัน

facebook.com/galleryhoppingbkk

facebook.com/galleriesnightcm

facebook.com/galleryhoppingbkk

The Subject : ลงมือคิด

และไม่ใช่แค่ที่กรุงเทพฯ เท่านั้น เพราะการได้สนทนาภาษาอาร์ตและ เสพงานศิลป์เช่นนีก้ เ็ กิดขึน้ ทีเ่ ชียงใหม่เช่นกัน กับเทศกาลทีม่ ชี อ่ื ว่า “Galleries’ Night Chiang Mai” ซึ่งได้จัดไปเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาเป็น ครั้งที่ 2 แล้ว โดยมีแกลเลอรีเข้าร่วมถึง 24 แห่งทั่วเชียงใหม่ พร้อมใจกัน เปิดพื้นที่โชว์งานศิลป์ พร้อมสวมบทบาทการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้เหล่าผู้มา เยือนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้เข้ามาเดินสำ�รวจแกลเลอรีและค่อยๆ ทำ�ความรูจ้ กั กับย่านเมืองเชียงใหม่ในมุมมองทีส่ ร้างสรรค์ ระหว่างช่วงเวลา สบายๆ ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินจนถึงเที่ยงคืน โดยมีไฮไลต์ของเทศกาล เป็นกิจกรรม “Young Artist Showcase” เวทีที่เปิดพื้นที่ให้ศิลปินหน้าใหม่ ในเชียงใหม่ได้นำ�เสนอผลงานศิลปะของตัวเอง เพื่อเป็นการสนับสนุน นั ก สร้ า งสรรค์ ใ ห้ ไ ด้ เ ติ บโตคู่ เ มื อ งเชี ย งใหม่ และปู ทางสู่ ก ารเป็นเมือ ง สร้างสรรค์แห่งใหม่ของไทยในอนาคต ติดตามกิจกรรมครั้งต่อไปและรายละเอียดเพิ่มเติม: Gallery Hopping Night: facebook.com/galleryhoppingbkk Galleries’ Night Chiang Mai: facebook.com/galleriesnightcm

River City แหล่งรวมศิลปะ ในย่านสร้างสรรค์ เรื่อง: รัชฎาภรณ์ แทนปั้น

หากจะให้นกึ ถึงสถานทีท่ มี่ เี สน่หม์ ากทีส่ ดุ อีกย่านหนึง่ ของกรุงเทพฯ หลายๆ คนคงนึกถึงพื้นที่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ที่นอกจากจะมีภูมิทัศน์งดงาม เต็มไป ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถชี วี ติ และการสัญจรทางนํา้ แล้ว ก็ยงั เป็นย่านธุรกิจที่สำ�คัญอีกแห่งของเมืองหลวงด้วย “ริเวอร์ ซิตี้” นับเป็น ศูนย์การค้าริมนํ้าที่ยืนระยะตั้งตระหง่านอยู่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยามายาวนาน กว่า 3 ทศวรรษแล้ว ด้วยจุดเด่นและความแตกต่างทางธุรกิจที่ชัดเจน อย่าง การเป็นช้อปปิง้ เซ็นเตอร์เฉพาะด้านซึง่ รวบรวมผลงานศิลปะชัน้ นำ� รวมไปถึง โบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าและเรื่องราวไว้มากมาย โดยนับเป็นศูนย์กลางของ โบราณวัตถุและงานศิลปะทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมตอบ โจทย์กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบงานศิลปะภายใต้สโลแกน The Anchor of Arts & Antiques

CREATIVE THAILAND I 6


thebigchilli.com

กว่า 30 ปีที่ริเวอร์ซิตี้ต้อนรับลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติด้วย กิจกรรมมากมาย โดยเฉพาะทุกวันเสาร์แรกของเดือน ที่ทางศูนย์การค้าจะ จัดให้มีการประมูลศิลปะและโบราณวัตถุ ณ บริเวณห้องประมูลชั้น 4 ที่ถือ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้แห่งนี้อย่างแท้จริง ภายใต้อาคาร 4 ชั้นที่ได้รับการออกแบบอย่างทันสมัยแตกต่างจาก ศูนย์การค้าทั่วไปในเวลานั้น จนได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นด้านการ ออกแบบในปี พ.ศ. 2527 นอกจากจะเป็นร้านค้าที่จำ�หน่ายศิลปวัตถุจากทั่ว ทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นศิลปะจีน ศิลปะตะวันตก หรือศิลปะไทย ที่นี่ก็ยังมี พื้นที่สำ�หรับกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ เช่น นิทรรศการผลงานของศิลปิน ชั้นแนวหน้าบริเวณโถงหลักชั้นหนึ่ง และในแกลเลอรีต่างๆ อยู่เสมอ พร้อมด้วยกิจกรรมที่ตรงใจนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่อย่างการจัดฉายภาพยนตร์ ในธีมต่างๆ ประจำ�เดือน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีรา้ นจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์จาก ผ้าไทย ร้านตัดเสื้อผ้า ร้านจำ�หน่ายจิวเวลรี่ เครื่องหนัง เครื่องถ้วยชาม เบญจรงค์ และของที่ระลึก รวมไปถึงร้านอาหารริมแม่นํ้าที่คอยต้อนรับให้ นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการ เมื่ อ ศู น ย์ ก ลางการค้ า ด้ า นศิ ล ปวั ต ถุ จ ากหลากหลายแห่ ง บนโลก มาผนวกกับแรงขับเคลื่อนของการจัดการย่านสร้างสรรค์ พื้นที่แห่งนี้ จึ ง มี ศั ก ยภาพในการพั ฒ นาให้ ร องรั บ การขยายตั ว ของธุ ร กิ จ ด้ า น ศิลปวัฒนธรรม ไปพร้อมๆ กับการทำ�หน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของย่านที่เรียกว่า “ย่านสร้างสรรค์” ได้อย่างลงตัว

ในปีพ.ศ. 2475 คุณหมอชัย ไชยนุวัติ ได้สำ�เร็จการศึกษาปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิตแผนตะวันตกจาก Tongji German Medical School (Tongji University ในปัจจุบัน) ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ของจีน หลังจากนั้นก็ได้ กลับมาเปิดคลินิกรักษาคนไข้ โดยใช้ชื่อว่า “ห้างขายยาเบอร์ลิน” ถือเป็น คลินิกเอกชนรุ่นบุกเบิกในย่านเจริญกรุง-เยาวราชเลยทีเดียว โดยการเปิด ทำ�การของคลินิกเมื่อครั้งนั้น บ่อยครั้งที่คนไข้ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษา คุณหมอ ชัยก็รกั ษาให้ฟรี ซํา้ ยังให้เงินเพือ่ นำ�ไปใช้จา่ ยเป็นค่ารถกลับบ้าน ด้วยความ เมตตา การวินิจฉัยที่แม่นยำ� และสูตรยาที่ดี ทำ�ให้คุณหมอเป็นที่รู้จักและ เคารพรักในหมู่ชาวบ้านละแวกนั้นเป็นอย่างดี ถึงแม้ปัจจุบันจะไม่มีห้างขายยาเบอร์ลินแล้ว แต่ก็ได้มีการคงสถานที่ แห่งนี้ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ และปรับเปลี่ยนจากคลินิกให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ห้างขายยาเบอร์ลิน เพื่อให้คนรุ่นหลังที่สนใจได้เข้าไปทำ�ความรู้จักกับ เรือ่ งราวอันน่าจดจำ�ในประวัตศิ าสตร์ โดยพิพธิ ภัณฑ์แห่งนีไ้ ด้รบั การจัดแบ่ง พื้นที่ภายในเป็นสามส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นโถงทางเดินที่บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาอย่างเป็น ลำ�ดับ ตัง้ แต่ครอบครัวของคุณหมอเริม่ ต้นอพยพมาจากจีน ชีวติ ในวัยต่างๆ ไปจนถึงเริม่ ก่อตัง้ ห้างขายยาเบอร์ลนิ ซึง่ ยังรวบรวมเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ตา่ งๆ เอกสารสำ�คัญ รวมไปถึงรูปถ่ายของครอบครัวของท่านไว้ด้วย ส่วนถัดมา เป็นการจำ�ลองห้องต่างๆ ของห้างขายยาเบอร์ลิน เช่น ห้องทำ�งานที่มีสมุด บันทึกของคุณหมอ และห้องจ่ายยา ให้ได้เรียนรู้วิธีการรักษาพยาบาลของ ชาวบ้านในอดีต และส่วนสุดท้ายเป็นการพูดถึงห้างขายยาเบอร์ลนิ ในยุคใหม่ ที่ปรับเปลี่ยนจากคลินิกรักษาโรคมาเป็นผู้ผลิตและจัดจำ�หน่ายยาสามัญ ระดับมาตรฐานสากลอย่างเต็มตัว โดยใช้ชื่อว่า บริษัท เบอร์ลินฟาร์มา ซูติคอลอินดัสตรี้ จำ�กัด สำ�หรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชม พร้อมศึกษาถึงความเป็นมา และดื่มดํ่ากับการจำ�ลองบรรยากาศของคลินิกในอดีต พิพิธภัณฑ์ห้าง ขายยาเบอร์ลิน ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมแยกเสือป่า ตัดกับถนนเจริญกรุง ทุกวัน ยกเว้นวันอังคาร เวลา 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ค่าเข้าชม 40 บาท/คน

รายละเอียดเพิ่มเติม: rivercitybangkok.com

ห้างขายยาเบอร์ลิน... หมอยาของคนเจริญกรุง เรื่อง: ไทกล้า หมายเจริญ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

ถ้าพูดถึงห้างขายยา คนรุ่นใหม่หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูนัก เพราะภาพที่ นึกออกมักจะเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบันเสียมากกว่า ยิ่งเป็น “ห้างขายยา เบอร์ลิน” นั้นก็ยิ่งมีลักษณะที่ต่างออกไป เนื่องจากไม่ใช่ร้านขายยาที่มี เภสัชกรประจำ�เหมือนอย่างที่คุ้นเคย แต่เปิดทำ�การในรูปแบบของคลินิกที่มี บริการตรวจรักษา ไปจนถึงผลิตและจำ�หน่ายยาด้วยตนเอง

รายละเอียดเพิ่มเติม: facebook.com/BerlinPharmaceuticalMuseumBangkok

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ รัชฎาภรณ์ แทนปั้น

F EAT U RED PAGE 1) Charoenkrung Creative District โดย TCDC “เจริญกรุง” คือย่านที่ผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์และความทันสมัย ไว้อย่างลงตัว ด้วยการคงไว้ซึ่งอดีตที่ทรงคุณค่าสำ�หรับคนรุ่นหลังและ นักท่องเที่ยวที่มาเยือน ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมเก่าที่เป็นเสมือนแหล่ง เรี ย นรู้ เ รื่ อ งราวทางประวั ติ ศ าสตร์ ใ ห้ แ ก่ ผู้ ส นใจ หรื อ ศาสนสถานจาก ความเชื่อที่หลากหลายซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มาที่เป็นรากฐานให้กับ ปัจจุบัน นอกจากนั้น ย่านเจริญกรุงยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ศิลปิน ร่วมสมัยอย่างศิลปินกราฟฟิตี้ได้แสดงฝีมือเพื่อบอกเล่าความรู้สึกและ อัตลักษณ์ของย่านบนกำ�แพงจนกลายเป็นแหล่งวอลล์อาร์ตที่ดึงดูดผู้ที่ ชื่นชอบงานศิลปะให้หลั่งไหลเข้ามาชมและเก็บภาพความประทับใจ ความ หลากหลายของผูค้ นในชุมชนทีอ่ ยูร่ ว่ มกันโดยไม่แบ่งแยกศาสนาและวิถชี วี ติ รวมถึงธุรกิจมากมายทั้งคลัสเตอร์เครื่องประดับ จิวเวลรี่ อาหารการกิน และธุ ร กิ จ บริ ก ารเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย วริ ม นํ้ า ล้ ว นแต่ เ ป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของ

ความร่วมมือระหว่างผู้คนในชุมชนและองค์กรต่างๆ ที่ตระหนักถึงความ สำ�คัญของการพัฒนาย่านให้เป็น “ย่านสร้างสรรค์” ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จึงได้รวบรวมคุณค่าและมูลค่า แห่งย่านมานำ�เสนอให้แก่ผทู้ ส่ี นใจทัว่ ไปได้รจู้ กั และเข้าถึงความเป็นเจริญกรุง ในมุมมองใหม่ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ชื่อ Charoenkrung Creative District ซึง่ ได้รวบรวมเรือ่ งราวและข้อมูลต่างๆ ในย่านเจริญกรุงเอาไว้อย่างครบครัน ทัง้ ข้อมูลเชิงประวัตศิ าสตร์ และการออกแบบสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่สะท้อน ถึงความรุง่ เรืองในอดีต กิจกรรมสร้างสรรค์ทจี่ ดั ขึน้ ภายในย่านหรือพืน้ ทีใ่ กล้ เคี ย ง รวมถึ ง พิ กั ด ของอาหารคาวหวานที่ โ ดดเด่ น ทั้ ง ด้ า นราคา และรสชาติ จุดมุ่งหมายเพื่อนำ�เสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในย่านเจริญกรุง ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้มาเยือนมากขึ้น และร่วม สืบเสาะเสน่หข์ องย่านที่อาจถูกลืมเลือนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

CREATIVE THAILAND I 8


D OCU M E N TA R Y

pogledaj.to

forbes.com

2) Urbanized กำ�กับโดย Gary Hustwit

เพราะ “เมือง” ไม่ใช่แค่การประกอบกันของหมูอ่ าคาร แต่คือพื้นที่หรืออาณาบริเวณที่ผู้คนใช้ชีวิตอยู่ ร่วมกัน การออกแบบผังเมืองทีด่ ี จึงมีผลโดยตรง ต่อวิถชี วี ติ ของคนในชุมชน สารดคีเรือ่ งนีบ้ อกเล่า ถึงความร่วมมือของสถาปนิก นักพัฒนา ภาครัฐ และตัวแทนชุมชน ทีเ่ ข้ามามีบทบาทในการแก้ปญั หา ของเมืองในแต่ละประเทศ การวางแผนเพื่อช่วย ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย การรองรับ การโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาอยูร่ วมกันในพืน้ ที่ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ รวมถึงจำ�นวนประชากรที่ เพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ ส่งผลให้ตอ้ งมีการพัฒนา และเปลีย่ นแปลงพืน้ ทีท่ เี่ รียกว่าเมืองอยูต่ ลอดเวลา

BOOK 3) Creative City เมือ่ ความมัง่ คัง่ สร้างจากเมือง โดย TCDC ด้วยความแตกต่างทัง้ ลักษณะทางกายภาพ ประวัตศิ าสตร์ และวัฒนธรรม ทำ�ให้การพัฒนาเมืองให้เป็นเมือง สร้างสรรค์นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว Creative City เมื่อความมั่งคั่งสร้างจากเมือง ได้นำ�เสนอตัวอย่างการ สร้างสรรค์เมืองจากหลายประเทศที่ใช้กลยุทธ์แตกต่างกันในมิติต่างๆ ทั้งจากความร่วมมือกันของชุมชน ภาครัฐ และองค์กรในประเทศ เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาของเมืองภายใต้บริบทของแต่ละพื้นที่ การบริหาร สินทรัพย์ที่มีเพื่อสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และเอื้อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชากรผู้อยู่อาศัย ซึ่งนอกจากจะได้เข้าใจลักษณะเด่นที่แตกต่างกันของเมืองสร้างสรรค์ทั่วโลก ยังช่วยให้เห็นภาพ เข้าใจ และ นำ�ไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาจัดการเมืองหรือแม้แต่ย่านที่อาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี 4) Old Town New World: Main Street And More In The New Economy โดย Jason Broadwater การขยับขยายทางเศรษฐกิจทำ�ให้ผคู้ นย้ายออกจากย่านเมืองเก่าแล้วมุง่ หน้าสูเ่ มืองทีเ่ ป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ แห่งใหม่ ส่งผลให้ความสำ�คัญของพื้นที่ดั้งเดิมลดลงไปหรือแม้แต่ถูกเพิกเฉย ทั้งที่หลายพื้นที่ยังคงมี ความได้เปรียบทางด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม เจสัน บรอดวอเตอร์ (Jason Broadwater) ผู้เป็นนักเขียนและ นักพัฒนาเศรษฐกิจ จึงได้เขียนหนังสือบอกเล่าประสบการณ์จากการดำ�เนินโครงการที่มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อชุมชน โดยให้ความสำ�คัญกับการเกิดใหม่ของวัฒนธรรมหมู่บ้านในระบบเศรษฐกิจ ใหม่ (New Economy) ที่ผสมระหว่างการเล่าเรื่อง การอ้างอิงตำ�รา และการนำ�เสนอกรณีตัวอย่าง เพื่อให้ เห็นกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนให้กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์ของโลกในวันนี้ พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


Matter : วัสดุต้นคิด

เรื่อง: ศิครินทร์ มิลินทสูต ภาพ: สรศักดิ์ ชุนหโสภณ

ถนนเจริญกรุงที่เคยนับว่าเป็น New Road หรือถนนสายแรกแห่งบางกอกกลับมาคึกคักอีกครั้ง จาก ย่านเมืองเก่าผนวกกับการเป็นเขตเศรษฐกิจแห่งแรกของกรุงเทพฯ ตลอดแนวถนนจึงมีอาคารเก่าแก่ จำ�นวนมากทีถ่ กู ปรับให้เป็นร้านจำ�หน่ายสินค้าหลากหลายชนิด โดยเฉพาะสินค้ากลุม่ งานเครือ่ งประดับ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามาเจริญกรุงจะต้องมาหาซื้อสินค้าจิวเวลรี่ ดังนัน้ ร้านจำ�หน่ายเครือ่ งประดับจึงนับเป็น คลัสเตอร์ธุรกิจที่น่าสนใจประจำ�ย่าน ที่มีตั้งแต่ร้านขายอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องจักรสำ�หรับทำ� เครือ่ งประดับ อัญมณี และหินธรรมชาติ ทัง้ ในรูปแบบของวัสดุและชิน้ งานทีส่ �ำ เร็จรูป จำ�หน่ายในราคา ปลีกและราคาส่งให้กับลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติที่แวะเวียนเข้ามา และนี่คือตัวอย่างธุรกิจที่ได้เข้าร่วมโครงการย่านวัสดุกรุงเทพฯ โดย TCDC ซึ่งได้รวบรวมข้อมูล แหล่งวัสดุย่านเจริญกรุง มาให้เหล่านักสร้างสรรค์ได้สรรหาและเลือกซื้อมาทำ�งานออกแบบในสาขา ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม Thada Gems & Jewelry ร้านสะสมของโบราณและอัญมณีของคุณธาดา ศิษย์ธนานันท์ เป็นร้านที่อยู่คยู่ า่ นนีม้ ายาวนานกว่า 26 ปี ทัง้ ยังเป็นช่างฝีมอื ทีท่ �ำ จิวเวลรีแ่ ละถ่ายทอดงานช่างให้กบั ลูกศิษย์ในละแวกนี้ ทางร้านมีวสั ดุหลากหลาย ทั้งหินธรรมชาติ ฟอสซิล ปะการัง งานโลหะโบราณ รวมทั้งบริการรับทำ�ตัวเรือน เจียระไน และ ประกอบแบบด้วย

นอกจากร้านค้าต่างๆ ทีอ่ ยูใ่ นโครงการย่าน วัสดุ กรุงเทพฯ แล้ว ย่านเจริญกรุงยังมีสถาบันวิจยั และพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตัง้ อยูใ่ นอาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ บนถนนสีลม ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ตลอดจนเป็น แหล่งศึกษาค้นคว้าเฉพาะทางที่สมบูรณ์ที่สุด แห่งหนึ่งของไทย ด้วยทรัพยากรสารสนเทศด้าน อัญมณีและเครือ่ งประดับมากเกือบ 10,000 รายการ อาทิ หนังสือด้านธรณีวทิ ยา อัญมณีศาสตร์ โลหะ วิทยา การผลิตและการออกแบบเครื่องประดับ การตลาด รายงานการวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ รวมถึงวารสารและนิตยสารจากทัง้ ในและ ต่างประเทศที่สามารถหาอ่านได้ ณ ห้องสมุด แห่งนี้ ทั้งยังได้จัดทำ�เป็นพิพิธภัณฑ์อัญมณีและ เครื่องประดับ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และกระตุน้ ให้เยาวชนและบุคคลทัว่ ไปได้ตระหนัก ถึ ง คุ ณ ค่ า ของอั ญ มณี แ ละเครื่ อ งประดั บ ไทย รวมถึ ง เป็ น การอนุ รั ก ษ์ ตั ว อย่ า งอั ญ มณี แ ละ เครื่องประดับ นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรม หลั ก สู ต รต่ า งๆ มี ห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารตรวจสอบ อัญมณี ห้องปฏิบัติการตรวจสอบโลหะมีค่า และ ห้องวิจัยตรวจสอบวัตถุดิบและคุณภาพอัญมณี โดยผูท้ สี่ นใจเรียนรูเ้ พือ่ ทำ�ความรูจ้ กั กับวัสดุ ประจำ�ย่านอืน่ ๆ ในกรุงเทพฯ สามารถสืบค้นข้อมูล เพิ่มเติมได้ที่ www.tcdcmaterials.com

Jin Sheng Jewelry ร้านขายเครื่องประดับจำ�พวกคริสตัลและอุปกรณ์สำ�หรับทำ�เครื่องประดับ เช่น กาวดิน ซึ่งเป็นกาวที่ใช้ สำ�หรับติดคริสตัล มีหลายเฉดสีเพื่อให้เนียนกับสีของคริสตัล กาวที่นี่มีความพิเศษกว่าที่อื่นๆ เพราะ คิดค้นสูตรขึ้นเอง จึงเป็นทั้งผู้ผลิตและจัดจำ�หน่าย รวมถึงส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย Jewelry Land ร้านขายเครื่องมือและเครื่องจักรสำ�หรับทำ�เครื่องประดับ ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 43 ตรงข้ามอาคาร ไปรษณีย์กลาง บางรัก ภายในร้านนอกจากจะมีเครื่องมือทำ�เครื่องประดับแล้ว ยังมีบริการอีกหลาย อย่าง เช่น บริการตรวจเปอร์เซ็นต์ทองคำ� รับซ่อมเครื่องจักร บริการอะไหล่ รับจ้างเขียนโลหะหรือตัด ด้วยเครื่องเลเซอร์ รับเชือ่ มและซ่อมเครือ่ งประดับ และบริการขัดเงา รวมถึงบริการรับ-ส่งสินค้าทาง ไปรษณีย์ ถือเป็นร้านจำ�หน่ายเครื่องมือเครื่องจักรที่มีบริการครบครันที่สุดในย่านนี้ CREATIVE THAILAND I 10

กาวดินสําหรับติดคริสตัล


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม ่มา:อมหลั komchadl uek.net littlebits.cc • แฟกซใบสมัคทีรพร กฐานการโอนเงิ นมาทีและ ่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

จากบ้านสู่พิพิธภัณฑ์

เมื่อเวลาหยุดนิ่ง

ที่ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก” เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 ก็เป็นเวลาถึง 80 ปีแล้ว ที่เรือนไม้สองชั้นสีครีม หลังคา ทรงปั้นหยา รายล้อมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่มได้ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจอันเก่าแก่ของประเทศไทย ในชื่อที่หลายคนคุ้นเคยว่า “พิพิธภัณฑ์ ชาวบางกอก” จากเดิมที่เคยเป็นบ้านที่อยู่อาศัยตั้งแต่สมัยคุณพ่อคุณแม่ของ อาจารย์วราพร สุรวดี มาจนวันนี้ เรือนไม้แห่งนี้ได้ส่งต่อประโยชน์ให้กับส่วนรวม และผู้ที่สนใจได้เรียนรู้เรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองกรุงสมัยก่อน เพื่ อ ทำ � ให้ เ รื่ อ งราวในอดี ต ไม่ ถู ก ลื ม เลื อ นอยู่ แ ค่ ใ นความทรงจำ � หากเป็ น การ ส่งต่อเรื่องราวให้ลูกหลานได้ร่วมระลึกถึงไม่ว่าจะผ่านกาลเวลามานานเท่าใด CREATIVE THAILAND I 12

พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง นี้ เ คยเป็ น บ้ า นของ ครอบครัวอาจารย์วราพร ซึ่งเมื่อก่อน อยูก่ นั เป็นครอบครัวใหญ่ พืน้ ทีบ่ ริเวณ ไร่เศษและบ้านสไตล์ตะวันตกที่สร้าง ขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้ง ที่ ส อง ได้ ก ลายมาเป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ หลังจากที่อาจารย์วราพรลาออกจาก การรับราชการเป็นอาจารย์ และมี โอกาสได้รอื้ ค้นบ้านจนพบว่ามีของเก่า แก่ ที่ มี คุ ณ ค่ า เก็ บ ไว้ ม ากมาย ด้ ว ย เพราะคุณแม่เป็นคนชอบเก็บสะสม และด้วยความสนใจในการจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่เป็นทุนเดิม เมื่อครั้ง ที่ได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาและ นอร์ เ วย์ และได้ พ บเห็ น พิ พิ ธ ภัณ ฑ์ ท้องถิ่นดีๆ มากมาย อาจารย์วราพร จึงตัดสินใจจัดตกแต่งบ้านด้วยข้าวของ ที่มีให้เหมือนกับเมื่อตอนที่อาศัยอยู่ ก่ อ นเปิ ด ให้ เ ป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ใ ห้ ผู้ ที่ สนใจทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชม และยก พิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ให้กบั กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดูแลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 พร้อมเปลีย่ นชือ่ ใหม่เป็น “พิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก”


บอกเล่าเรื่องราว ของกาลเวลา ผ่านข้าวของเครื่องใช้ สถาปั ต ยกรรมของเรื อ นพั ก อาศั ย บรรยากาศ ข้าวของ และเครื่องเรือน ที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ คือวัตถุ จัดแสดงชั้นดีที่ช่วยบอกเล่าเรื่องราว ในประวั ติ ศ าสตร์ ข องบ้ า นหลั ง นี้ ตั้ ง แ ต่ ค รั้ ง ส มั ย ก่ อ น แ ล ะ ห ลั ง สงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ว่าจะเป็น สภาพบ้านดั้งเดิมที่ถูกรักษาไว้อย่าง สมบู ร ณ์ สิ่ ง ของเครื่ อ งใช้ ข องคน สมัยก่อน ซึ่งของทุกชิ้นเป็นของที่เคย ใช้งานจริง และยังคงได้รบั การดูแลรักษา ไว้เป็นอย่างดีภายในพิพิธภัณฑ์

องค์ประกอบ ของพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประกอบด้วยอาคาร จัดแสดง 4 หลัง หลังแรกเป็นอาคาร ไม้ ส องชั้ น หลั ง คาทรงปั้ น หยาแบบ บ้ า นสไตล์ ต ะวั น ตก ซึ่ ง เป็ น หลั ง ที่ อาจารย์และครอบครัวเคยพักอาศัยจริง หลังที่สองเป็นอาคารไม้ที่รื้อย้ายมา จากบ้านคุณหมอฟรานซิส คริสเตียน (สามีคนแรกของคุณแม่อาจารย์วราพร ซึ่งเสียชีวิตหลังจากแต่งงานได้เพียง 5-6 ปี) ที่ทุ่งมหาเมฆ ซึ่งเดิมตั้งใจจะ เปิดเป็นคลินิกรักษาผู้ป่วย แต่ท่านได้ เสียชีวิตลงเสียก่อนที่จะเปิดทำ�การ ภายในอาคารหลังนีจ้ งึ จัดแสดงข้าวของ เครือ่ งใช้ และเครือ่ งมือทางการแพทย์ ในยุคนั้นไว้อย่างครบครัน ส่วนหลังที่ สาม เป็นอาคารทีจ่ ดั แสดงนิทรรศการ ภาพรวมของกรุงเทพมหานครตัง้ แต่อดีต จนถึงปัจจุบัน มีทั้งข้าวของเครื่องใช้ ในบ้าน เครื่องครัว เครื่องมือช่าง

เครื่องมืองานหัตถกรรม เป็นต้น และ หลั ง สุ ด ท้ า ยเป็ น อาคารไม้ ชั้ น เดี ย ว ใต้ถุนสูง ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลา ริมนํ้า ซึ่งปัจจุบันเปิดให้เป็นห้องสมุด อาจารย์วราพร

สำ�นักงานเขตบางรัก ผู้สืบทอดการดูแลรักษา พิพิธภัณฑ์ อาคารจัดแสดงทั้ง 4 หลัง รวมทั้ง ข้าวของต่างๆ ที่จัดแสดงอยู่ภายใน พิพธิ ภัณฑ์ อาจารย์วราพรได้ยกให้เป็น กรรมสิทธิข์ องกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา กว่า 13 ปีมาแล้ว ที่การบริหารจัดการ ไปจนถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ อยู่ภายใต้ ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึง่ ได้มอบให้ส�ำ นักงานเขตบางรักเป็น ผู้ดูแลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อาทิเช่น การปรับปรุงภูมทิ ศั น์และความสะอาด ค่าสาธารณูปโภค การรักษาความ ปลอดภั ย การปรั บ ปรุ ง ซ่ อ มแซม อาคาร เป็นต้น

ระดมทุนเพื่อรักษา ทัศนียภาพสีเขียวให้คงอยู่ ครัง้ หนึง่ อาจารย์วราพรเคยเปิดรับบริจาค เงิน 10 ล้านบาท เพื่อรักษาพืน้ ที่ที่ติด กับพิพิธภัณพ์เอาไว้ เนื่องจากเจ้าของ ที่ดินมีโครงการจะสร้างตึกแปดชั้นซึ่ง อาจบดบังทัศนียภาพพื้นที่สเี ขียวของ พิพธิ ภัณฑ์และส่งผลกระทบด้านอื่นๆ ต่อ พิพธิ ภัณฑ์ดว้ ย โดยราคาที่ดินมีมลู ค่า 40 ล้านบาท ซึ่งอาจารย์ได้บริจาคเงิน ส่วนตัวจากมูลนิธอิ นิ สอาง สุรวดี เป็น จำ�นวน 30 ล้านบาทไว้มัดจำ�ก่อน

CREATIVE THAILAND I 13

ล่วงหน้า แล้วจึงได้เปิดรับระดมทุนอีก 10 ล้านบาทเมือ่ วันที่ 19 กรกฏาคม 2559 โดยมีก�ำ หนดต้องชำ�ระเงินเพือ่ ซือ้ ทีด่ นิ ผืนนี้ภายในวันที่ 2 กันยายน 2559 แม้จะดูเป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นไปได้ยาก แต่ใน วันที่ 1 สิงหาคม 2559 อาจารย์วราพร ก็ได้รบั ยอดการบริจาคครบ 10 ล้าน และ ยังมีเงินเหลืออีกราวสี่ แ สนบาทอีกด้วย ทำ�ให้ความตั้งใจที่จะรักษาพื้นที่ข้าง พิพิธภัณฑ์ของอาจารย์เป็นผลสำ�เร็จ

ส่งต่อคุณค่า ให้กับลูกหลานสืบไป เคยมีคนบอกว่า ถ้าได้มาที่พิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก แล้วอาจารย์วราพรอยู่พอดีจะถือว่า โชคดีมาก เพราะอาจารย์จะเป็นไกด์ พาทัวร์เล่าเรื่องต่างๆ ภายในบ้านให้ ฟังได้อย่างครอบคลุม ครบใจความ และมี ชี วิ ต ชี ว า ทำ � ให้ ก ารเดิ น ชม พิพธิ ภัณฑ์เหมือนกับการทีเ่ จ้าของบ้าน พาเดินชมบ้านด้วยตัวเอง ถึงแม้ว่าใน วันนี้อาจารย์วราพรจะจากไปแล้ว แต่ พิพิธภัณฑ์ก็ยังคงทำ�หน้าที่เป็นแหล่ง เรียนรู้ของชาวบางกอกให้กับคนรุ่น หลังได้มองเห็นสิ่งปลูกสร้าง ซึมซับ บรรยากาศ และเรียนรู้เรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ของคนกรุงเทพฯ ในยุค ก่อน จึงนับเป็นสถานทีท่ คี่ วรค่าแก่การ อนุรักษ์ไว้ตราบนานเท่านาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก 273 ซอยเจริญกรุง43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพฯ เปิดทำ�การ: วันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-16.00 น. สามารถเข้าชมได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จา่ ย มีเจ้าหน้าทีน่ �ำ ชม โทร: 0-2234-6741, 0-2233-7027 / facebook: BkkMuseum ที่มา: สำ�นักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร / บทความ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ของอาจารย์วราพร สุรวดี” จาก baanlaesuan.com / บทความ “พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (BKK Museum)” จาก bangkok.go.th


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: พัณณิตา มิตรภักดี และ ชนกานต์ วงศ์กิตติขจร

จากการศึกษาถึงกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในทศวรรษที่ผ่านมา เป็นที่น่าจับตามองว่าหลายประเทศทั่วโลกไม่ได้ มุ่งเน้นเพียงแค่การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับมหภาคหรือระดับภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังให้ความสำ�คัญกับการ พัฒนาเศรษฐกิจในเชิงพืน้ ที่ โดยเน้นความร่วมมือของทัง้ ภาครัฐ เอกชน และประชาชน ให้รว่ มกันส่งเสริมศักยภาพ สินทรัพย์ ทางวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของย่าน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ ของย่านให้เป็นศูนย์กลางการรวมตัวของธุรกิจสร้างสรรค์และกลุม่ คนทำ�งานสร้างสรรค์ เกิดเป็นสินทรัพย์ใหม่ทางเศรษฐกิจ ที่เรียกกันว่า “ย่านสร้างสรรค์ (Creative District)” ซึ่งสามารถผลักดันเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในพืน้ ทีไ่ ด้อย่างยัง่ ยืน และเป็นกลไกพืน้ ฐานในการพัฒนาเพือ่ เพิม่ ขีดความสามารถทางการแข่งขันของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในระดับประเทศได้ในที่สุด

CREATIVE THAILAND I 14


Noppadol Weerakitti

ปัจจุบนั ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ซึง่ นับเป็นหนึง่ ในการลงทุนในโครงสร้างพืน้ ฐานทาง ความคิดสร้างสรรค์ของภาครัฐ ได้ย้ายที่ทำ�การ มายังอาคารไปรษณียก์ ลาง เจริญกรุง และได้จดั ทำ� โครงการศึกษาและวิจัยแนวทางการพัฒนาย่าน สร้างสรรค์เจริญกรุง เพือ่ ศึกษาความเป็นไปได้ตา่ งๆ ในย่านที่อดุ มด้วยสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ความ หลากหลายทางเชือ้ ชาติและความเชือ่ ซึง่ มีศกั ยภาพ ในการเป็นย่านสร้างสรรค์หากได้รบั การผลักดันให้ ใช้สินทรัพย์ท่ีมีอยู่ในพื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เพือ่ พัฒนาทัง้ ในมิตทิ างกายภาพและภาพลักษณ์ ในการตอบสนองธุรกิจและกลุม่ คนทำ�งานสร้างสรรค์

พัฒนาย่าน ให้เชื่อมโยง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ย่านเจริญกรุงเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง (Urban Area) ที่ครอบคลุม 4 เขต คือ บางรัก สุรวงศ์ สี่พระยา และสีลม โดยมีจุดเด่นคือเป็นพื้นที่ที่มี ความหลากหลายทางเชือ้ ชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และอยู่ติดริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่นํ้าสาย หลักของประเทศ จากการสำ�รวจพบว่า เจริญกรุง มีพื้นที่ว่างมากพอที่จะสามารถพัฒนา ต่อยอด และยกระดับสู่การเป็นย่านสร้างสรรค์ ตลอดถึง การพัฒนาให้เป็นพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจพิเศษได้ เช่นเดียว CREATIVE THAILAND I 15

กับประเทศผู้นำ�ทางด้านนวัตกรรมและความคิด สร้างสรรค์อน่ื ๆ ของโลกทีม่ กั กำ�หนดพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจ พิเศษเป็นพื้นที่ใจกลางเมือง เนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่มีการกระจุกตัวกันของนวัตกรรมและแรงงาน ฐานความคิด รวมถึงเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของ ประเทศมักถูกขับเคลื่อนผ่านพื้นที่เมืองเป็นหลัก ดั ง นั้ น การพั ฒ นาเจริ ญ กรุ ง ให้เป็นย่าน สร้างสรรค์จงึ ควรเริม่ จากการกำ�หนดให้เจริญกรุง เป็นพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจพิเศษและกำ�หนดขอบเขตการ พัฒนาย่านให้ชัดเจน ก่อนอื่นควรสร้างความ เข้าใจเรือ่ งประเภทของธุรกิจสร้างสรรค์ในพืน้ ทีก่ บั ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ตามด้วยการกำ�หนดขอบเขต


travelandleisure.com กิจกรรมสร้างสรรค์เจริญกรุง : The Jam Factory

ภาพจําลองโครงการ “Co-Create Charoenkrung” โดย บริษัท ฉมาโซเอ็น

mazirudoodnepal.strikingly.com

ในการพั ฒ นาที่ ชั ด เจนและให้ ข้ อ มู ล ประเภท อุตสาหกรรมในพื้ น ที่ ซึ่ ง จะทำ � ให้ ง่ า ยต่ อ การ ประเมินผลและช่วยให้การคาดการณ์ของภาครัฐ มีความเที่ยงตรงมากขึ้น นอกจากนี้ควรวางแผน พัฒนาย่านให้มีความเฉพาะเจาะจงและพัฒนา ควบคู่ไปกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ ภาครัฐและเอกชนกำ�ลังดำ�เนินการ เช่น โครงการ The Jam Factory และ Warehouse 30 ของ คุณดวงฤทธิ์ บุนนาค ที่ทำ�การรีโนเวทโกดังเก่า ริ ม แม่ นํ้ า ให้ ก ลายเป็ น พื้ น ที่ สำ � หรั บ ธุ ร กิ จ สร้างสรรค์ ทั้งร้านหนังสือ ร้านกาแฟ แกลเลอรี และร้านอาหารไทย โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่าน ตลาดน้อย โครงการพัฒนาฟืน้ ฟูพน้ื ที่ริมฝัง่ แม่นา้ํ ยานนาวา พื้ นที่ อนุรั กษ์ ย่า นคลองสาน การ ก่อสร้าง ICONSIAM ฝั่งธนบุรี และโครงการ Creative District Foundation ซึง่ เป็นการรวมตัว ของกลุม่ คนหลายภาคส่วนที่ร่วมมือกันสร้างย่าน สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นจริง จะเห็นได้ว่าการสร้าง ความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่และกลุ่มคนทำ�งาน สร้ า งสรรค์ ที่ ส อดรั บ กั บ แผนพั ฒ นาเศรษฐกิ จ จะช่ ว ยเปลี่ ย นแปลงภาพลักษณ์ของเจริญกรุง ให้เป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ เป็นย่านที่ น่าจดจำ� ดึงดูดบุคลากรและธุรกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวอันเป็นการสร้าง รายได้ให้กับกรุงเทพมหานคร

พื้นที่สร้างสรรค์เจริญกรุง : The Jam Factory

สร้างแนวร่วมในการพัฒนา เนื่ อ งจากย่ า นเจริ ญ กรุ ง เป็ น พื้ น ที่ ที่ มี ค วาม หลากหลายของชุมชน ศาสนา และวัฒนธรรม ดั ง นั้ น การพั ฒ นาพื้ น ที่ จึ ง จำ � เป็ น ต้ อ งเกิ ด จาก ความร่วมมือกันของทั้ง 3 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพราะการเปิด โอกาสให้ประชาชนที่มีความคุ้นเคยในพื้นที่และ เอกชนที่มีความคล่องตัวในการดำ�เนินงานสูง เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา จะช่วยให้ภาครัฐ สามารถมองเห็นปัญหา และดำ�เนินการแก้ไขได้ CREATIVE THAILAND I 16

อย่างรวดเร็วและตรงจุด เกิดเป็นการพัฒนาย่าน สร้ า งสรรค์ ที่ยั่ ง ยื น ทั้ ง นี้ ภ าครั ฐ จำ � เป็นต้อ งมี องค์กรหรือหน่วยงานกลางในการรับผิดชอบ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับชุมชน โดยอาจจะอยู่ใน รูปแบบของกิจกรรม เช่น การเปิดเวทีรับฟัง ความคิดเห็น การจัดทำ�ประชาพิจารณ์ เพื่อ เชือ่ มโยงภาครัฐ เอกชน และประชาชนเข้าไว้ดว้ ย กัน ก่อให้เกิดความรูส้ กึ มีสว่ นร่วม ความไว้วางใจ เอื้อต่อความร่วมมือให้การดำ�เนินแผนพัฒนา เป็ น ไปได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งและประสบผลสำ � เร็ จ ในที่สุด


timeout.com

สตรีทอาร์ต จากเทศกาลเมืองศิลปะ “บุกรุก”

เจริญกรุง จิวเวลรี่ฮับของกรุงเทพฯ

สร้างสาธารณูปโภคเพื่อสนับสนุน ธุรกิจสร้างสรรค์ จากการสำ � รวจ พื้ น ที่ ย่ า นเจริ ญ กรุ ง เป็ น ย่ า น ที่ มี อ าคารพาณิ ช ย์ ที่ มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ แ ละมี เอกลักษณ์จำ�นวนมาก แต่อาคารเหล่านั้นกลับ ถูกปล่อยทิ้งร้าง เพราะไม่สามารถตอบสนอง ต่อการใช้งานร่วมสมัยได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยน หน้าที่ใช้สอยอาคารเก่า จึงเป็นการสร้าง Hard Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานที่จับต้องได้) ที่ ไม่ได้เป็นเพียงการบูรณะฟืน้ ฟูอาคารเก่าเพือ่ การ อนุรักษ์ แต่เป็นการฟื้นฟูเพื่อการใช้งานร่วมสมัย (Adaptive Reuse) โดยคำ�นึงถึงลักษณะการ ทำ�งานของกลุม่ คนทำ�งานสร้างสรรค์ทเี่ ป็นปัจจัย สำ�คัญในการขับเคลื่อนเจริญกรุงสู่การเป็นย่าน สร้ า งสรรค์ โดยปรั บ เปลี่ ย นพื้ น ที่ ใ ห้ มี ค วาม ยืดหยุ่น สามารถเป็นได้ทั้งพื้นที่จัดแสดงผลงาน แกลเลอรี สตูดิโอ หรือพื้นที่อื่นๆ อันก่อให้เกิด การปฏิสมั พันธ์และแลกเปลีย่ นความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนีค้ วรเพิม่ การเชือ่ มต่อในพืน้ ทีด่ ว้ ยระบบ ขนส่งมวลชน ลดหรือยกเลิกสิ่งปลูกสร้างและ อุปกรณ์บนท้องถนนทีบ่ ดบังสายตา ขณะเดียวกัน ก็ก�ำ หนดขอบเขตพืน้ ที่ พร้อมกับปรับภูมทิ ศั น์เมือง

ให้สะอาด ร่มรืน่ และร่วมกันกำ�หนดภาพลักษณ์ ภายนอกของอาคารต่างๆ ให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน สำ�หรับการจัดเตรียม Soft Infrastructure (การบริหารจัดการภายในองค์กร) เพื่อสนับสนุน กลุ่มคนทำ�งานสร้างสรรค์ให้สามารถดำ�เนินงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วตลอด ทุกขัน้ ตอนกระบวนการผลิตจนถึงการขาย ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ (Incubator) เพื่อพัฒนา ผู้ประกอบการ การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้อย่าง ยืดหยุ่นตลอด 24 ชั่วโมง ระบบอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงฟรีครอบคลุมทั้งย่าน รวมถึงการ พัฒนากฎหมายและการมอบสิทธิประโยชน์ให้กบั กลุม่ คนทำ�งานสร้างสรรค์ ทัง้ ด้านเงินทุนสนับสนุน การเปิดพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรม และสิทธิประโยชน์ สำ�หรับเอกชน ผู้ลงทุน ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ย่ า น ตลอดจนผู้คนในพื้น ที่ ในลัก ษณะที่ เป็น สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในพื้นที่ (Area-based Incentives) อั น จะก่ อ ให้ เ กิ ด ระบบนิ เ วศ สร้างสรรค์ (Creative Ecosystem) เพื่อรองรับ การลงทุน การเข้ามาของธุรกิจ และกลุ่มคน ทำ�งานสร้างสรรค์

CREATIVE THAILAND I 17

สนับสนุนเจริญกรุงให้เป็นศูนย์กลาง ของการคิด-ผลิต-ขาย การเติบโตของย่านอย่างยั่งยืนนั้น ควรสนับสนุน ให้ เ กิ ด การสร้ า งห่ ว งโซ่ ก ารทำ � งานในพื้ น ที่ เจริญกรุงที่จะทำ�ให้ย่านสามารถดำ�รงอยู่ได้ด้วย วงจรเศรษฐกิจภายในย่านเอง ทั้งนี้เจริญกรุงมี ศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของการ ผสมผสานอุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นพื้ น ที่ (Hybrid of Creative Industries) เจริญกรุงควร ได้รับการพัฒนาย่านให้เป็นศูนย์กลางของการ คิด-ผลิต-ขาย ผ่านการสร้างแพลตฟอร์มของ ข้ อ มู ล โดยเริ่ ม ต้ น จากการจั ด ทำ � ฐานข้ อ มู ล อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตลอดห่วงโซ่การทำ�งาน ตั้งแต่ฐานข้อมูลผู้ผลิต สถานที่ ไปจนถึงผู้จัด จำ�หน่ายทัง้ ในพืน้ ทีแ่ ละบริเวณใกล้เคียง เพือ่ เป็น ฐานข้อมูลสำ�หรับการประเมินผลเชิงพื้นที่ สังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนการคาดการณ์แนวโน้ม ของสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ยังต้องมีการวางแผนการพัฒนาระยะยาว ซึ่งจะ ช่ ว ยผลั ก ดั น ให้ เ จริ ญ กรุ ง เป็ น ย่ า นสร้ า งสรรค์ จุดหมายปลายทางของทั้งธุรกิจ กลุ่มคนทำ�งาน สร้างสรรค์ และนักท่องเที่ยวในที่สุด


jilltate.com พื้นที่สร้างสรรค์ โรงงานทอฟฟี่ (Toffee Factory) ในนิวคาสเซิล CREATIVE THAILAND I 18

creativeboom.com

การพั ฒ นาย่ า นสร้ า งสรรค์ กำ � ลั ง เป็ น แนวทาง สำ � คั ญ ในการพั ฒ นาเมื อ งทั่ ว โลก เช่ น ที่ ย่ า น ออสเบิร์น วัลเลย์ (Ouseburn Valley) พื้นที่ทาง ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของเมื อ งนิ ว คาสเซิ ล ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่สำ�คัญและ น่าสนใจสำ�หรับย่านเจริญกรุงในเรื่องการสร้าง แนวร่วมเพื่อการพัฒนา ตลอด 4 ทศวรรษที่ ผ่านมา ย่านออสเบิร์น วัลเลย์ ได้รับการฟื้นฟู และพั ฒ นาจากพื้ น ที่ ว่ า งเปล่ า หลั ง ยุ ค ปฏิ วั ติ อุตสาหกรรม สู่การเป็นย่านสร้างสรรค์ที่เต็ม ไปด้วยนวัตกรรม วัฒนธรรม และความคิด สร้างสรรค์ ด้วยความร่วมมือของทั้ง 3 ภาคส่วน สำ�คัญ คือ ภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาค ประชาชน ในทศวรรษ 1960 หลังการเสื่อมลงของ อุตสาหกรรมในนิวคาสเซิล สภาเทศบาลเมือง นิวคาสเซิล (Newcastle City Council: NCC) ได้รายงานถึงโกดังและอาคารต่างๆ ที่ถูกทิ้งร้าง และคุณภาพชีวิตของประชาชนเริ่มแย่ลง ในปี 1980 จึงมีการวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนโกดังเก่า

และอาคารต่ า งๆ อาทิ นิ ค มอุ ต สาหกรรม ฟาวน์ดรี เลน (Foundry Lane) ให้เป็นพื้นที่ สตูดิโอกว่า 20 สตูดิโอ และโกดังของจอห์น ด็อบซัน (John Dobson) เลขที่ 36 ถนนไลม์ (Lime) ก็ได้ถกู ปรับให้เป็นพืน้ ทีท่ �ำ งานของศิลปิน เมกเกอร์และดีไซเนอร์กว่า 40 คน กระทั่งต่อมา ในปี 1987 ได้ มี ก ารจั ด ตั้ ง ไทน์ แ อนด์ เ วี ย ร์ ดิเวลอปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น (Tyne and Wear Development Corporation: TWDC) เพือ่ ส่งเสริม การลงทุนและพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่นํ้าไทน์และ เวียร์อย่างจริงจัง ซึ่งการปรับปรุงอาคารเก่าและ ฟื้ น ฟู พื้ น ที่ ท างภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของ อั ง กฤษให้ ส ามารถกลั บ มาใช้ ง านได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพอีกครั้ง รวมถึงการส่งเสริมการ พัฒนาอุตสาหกรรมทัง้ เก่าและใหม่เข้าไว้ดว้ ยกัน นี้ ได้นำ�ไปสู่การพัฒนาพื้นที่กว่า 990,000 ตาราง เมตรให้เป็นพื้นที่สำ�หรับการทำ�งาน และสำ�หรับ อยู่อาศัยอีกกว่า 4,550 ยูนิต ตลอดจนเกิดการ จ้างงานใหม่กว่า 33,707 ตำ�แหน่ง อย่างไรก็ตาม กระบวนการในขั้นตอนนี้ยัง ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบกับ เหตุ ก ารณ์ ไ ฟไหม้ ที่ โ รงงานทอฟฟี่ (Toffee Factory) ในฤดูร้อนปี 1993 จึงเริ่มมีการต่อต้าน

ย่านออสเบิร์น วัลเลย์ในปัจจุบัน

36limestreet.co.uk

ดูโลก ดูเรา เมื่อย่านสร้างสรรค์ คือคำ�ตอบของเมืองยุคใหม่

ภาพของอาคารทีต่ อ่ มาได้รบั การพัฒนาเป็น 36 Lime Street และ Seven Stories

แผนพัฒนาโดยนักเคลื่อนไหวในพื้นที่ และเกิด องค์กรสำ�คัญขึ้นในชื่อ Ouseburn Trust ซึ่งเป็น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และตัวแทน จากประชาชน ในการวางแผนฟืน้ ฟูดา้ นกายภาพ ของย่าน เพือ่ สร้างการรวมกลุม่ ของอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ (Creative Cluster) และเป็นพี่เลี้ยง (Facilitator) ให้เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์ขึ้นใน พืน้ ที่ ต่อมาในปี 1995 Ouseburn Trust ได้เปลีย่ น เป็น Development Trust ซึ่งจดทะเบียนเป็น บริ ษั ท จำ � กั ด มหาชนในต้ น ปี 1996 โดยในปี เดียวกันนี้ Development Trust ได้ร่วมมือกับอีก 18 หน่วยงานทัง้ ภาครัฐ เอกชน และธุรกิจในพืน้ ที่ เกิดเป็นกลุม่ Ouseburn Partnership ทีม่ บี ทบาท ในการบริหารจัดการงบประมาณทีไ่ ด้รบั จากภาครัฐ เพื่อการฟื้นฟูย่าน โดยมีเอกชนเป็นผู้ดำ�เนินงาน ร่วมกับประชาชน ซึง่ ในช่วงนีเ้ องทีเ่ ป็นจุดเริม่ ต้น สำ�คัญในการวางโครงสร้างพื้นฐานสำ�คัญ และ การสร้างภาพลักษณ์ความเป็นย่านสร้างสรรค์ให้ กับย่านออสเบิรน์ วัลเลย์ โดยการพัฒนาพืน้ ทีท่ าง ประวัติศาสตร์ พื้นที่สาธารณประโยชน์ (Open Space) ที่พักอาศัย และสตูดิโอ เพื่อจัดเตรียม พื้นที่สำ�หรับการดำ�เนินธุรกิจสร้างสรรค์ของทั้ง ภาคเอกชนและกลุม่ คนทำ�งานสร้างสรรค์ในพืน้ ที่


โครงการ The Biscuit Factory

chroniclelive.co.uk

The Biscuit Factory คือโครงการปรับเปลี่ยนคลังสินค้าเก่า ให้เป็นพื้นที่แกลเลอรีจัดแสดงผลงานทางศิลปะที่ใหญ่ที่สุด ในสหราชอาณาจักร โดยภายในอาคารเป็นผังแบบเปิดโล่ง 2 ชั้น ที่จัดให้เป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ประติมากรรม ภาพพิมพ์ต้นฉบับ เครื่องประดับ และงาน ฝีมอื ต่างๆ โดย The Biscuit Factory จะจัดแสดงโชว์ผลงาน 4 ครั้ง/ปี ซึ่งแต่ละครั้งหรือแต่ละฤดูกาล จะมีผลงานจาก ศิลปินกว่า 250 คนเข้าร่วมจัดแสดง โดยผู้เข้าชมไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

โครงการ Seven Stories

weedonder.wordpress.com

chroniclelive.co.uk

มูลนิธิ Seven Stories ก่อตั้งขึ้นโดยเอลิซาเบธ แฮมมิลล์ (Elizabeth Hammill) และแมรี่ บริกก์ส (Mary Briggs) ใน ปี 1996 เพื่อรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับศิลปะสำ�หรับเด็ก และ วรรณกรรมเด็ ก ในสหราชอาณาจั ก รไว้ อ ย่ า งครบถ้ ว น จนกระทั่งปี 2002 มูลนิธิได้ทำ�การปรับปรุงโกดังเก็บธัญพืช เก่า 7 ชั้นในย่านออสเบิร์น วัลเลย์ ให้กลายเป็นศูนย์หนังสือ สำ�หรับเด็กอย่างครบวงจร และได้รับรางวัลมากมาย เช่น Eleanor Farjeon Award จาก Children’s Book Circle, Gold in the Best Education Project Category จาก National Lottery Awards และ Gold Award for Large Visitor Attraction of the Year จาก North East England Tourism Awards ฯลฯ

หลังจากสิ้นสุดการทำ�งานของ Ouseburn Partnership ในปี 2002 ได้มีการจัดตั้ง Ouseburn Advisory Committee (OAC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก สภาเทศบาลย่านออสเบิร์นและย่านไบเกอร์ (Byker) ให้เข้ามาดำ�เนินการตามแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2006-2009 มีการจัดทำ� Urban Development Framework ซึ่งเป็นการวางกรอบการพัฒนาย่าน พร้อมมอบเงินทุนสนับสนุนการพัฒนาย่าน การอนุรักษ์อาคาร และพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนติดตามการดำ�เนินการ ให้ทางภาคเอกชนเป็นผูด้ �ำ เนินงานให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการพัฒนาย่าน ควบคูไ่ ปกับการพัฒนาเศรษฐกิจทีเ่ กิดจาก ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ยังคงมุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็นย่านสร้างสรรค์ เพื่อดึงดูดกลุ่มเอกชนและกลุ่มคนทำ�งาน สร้างสรรค์ให้เข้ามาลงทุนและใช้พื้นที่ และล่าสุดคือ Urban Regeneration Plan 2009-2020 ที่ดำ�เนินการต่อเนื่องมาจากแผนเดิม เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการ พัฒนาทักษะแรงงานและการจ้างงานในพื้นที่ อันจะนำ�ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนในย่านออสเบิร์น วัลเลย์ ต่อไป เช่นเดียวกันกับย่านเจริญกรุงที่ควรมีโครงการนำ�ร่องในการพัฒนา ซึ่งสามารถสร้างความร่วมมือของทั้ง 3 ภาคส่วนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อพัฒนาย่านเจริญกรุงให้เป็นย่านสร้างสรรค์ต้นแบบแห่งแรกในประเทศไทย ที่มา: ouseburntrust.org.uk, thebiscuitfactory.com และ sevenstories.org.uk CREATIVE THAILAND I 19


Bryony Jackson

Bryony Jackson

Insight : อินไซต์

เรือ่ ง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

หากพูดถึงเมลเบิร์น เมืองใหญ่แห่งศิลปะของออสเตรเลีย นอกจากการมีภูมิทัศน์งดงามเป็นที่จดจำ� ธรรมชาติและป่าไม้ที่ อุดมสมบูรณ์และไม่ห่างจากตัวเมือง มรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนานจากชนเผ่าพื้นเมืองที่สืบทอดมาเป็นสมบัติทรงคุณค่า การเป็นเมืองแห่งสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติที่ได้รับการยอมรับในหลักสูตรด้านการออกแบบและ ความคิดสร้างสรรค์ หรือการเป็นเมืองแห่งคาเฟ่และบาริสต้าแล้ว เมลเบิร์นยังถือเป็นเมืองที่โอบรับงานศิลปะและวัฒนธรรม ใหม่ๆ อย่างกระตือรือร้น ด้วยจำ�นวนพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองจำ�นวนมาก เช่น National Gallery of Victoria (NGV), Australian Centre for Contemporary Art (ACCA), Arts Centre Melbourne และ Monash Museum of Art (MUMA) เมลเบิร์นจึงเป็นเมืองแห่ง “หม้อหลอมของความต่างทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์” โดยแท้ ด้วยคุณสมบัตขิ องเมืองทีเ่ ต็มไปด้วยความพร้อม เหล่านี้ เมื่อบวกกับความร่วมมือของภาครัฐและ ภาคประชาชน เมลเบิร์นจึงกำ�ลังก้าวไปอีกขั้น ด้วยแคมเปญใหญ่ครัง้ ล่าสุดทีอ่ าศัยความร่วมมือ จากทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประเทศ ไล่มาจนถึง ระดับรัฐ เมือง และตัวบุคคล เพือ่ ก้าวสูเ่ ป้าหมาย ใหม่ นั่นคือการเป็น “เมืองสร้างสรรค์ (Creative City)” ที่แท้จริง

งานศิลป์ในตลาด เมื่อความหมายของพื้นที่สร้างสรรค์ ไม่ได้ จำ�กัดอยู่เพียงพื้นที่ที่รวบรวมผลงานหรือผู้คน ทีเ่ ปีย่ มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ แต่ยงั หมายถึง พื้ น ที่ ที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ผู้ ค นทั้ ง จากภายในและ ภายนอกพื้ น ที่ ไ ด้ เ ข้ า มามี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ พร้ อ ม แลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น ต่ อ กั น อย่ า งอิ ส ระ เพื่อนำ�ไปสู่การแก้ปัญหาและการค้นพบความ เป็นไปได้ใหม่ๆ

CREATIVE THAILAND I 20

การปรับภูมทิ ศั น์ของ “ควีนวิกตอเรียมาร์เก็ต” (Queen Victoria Market) ศูนย์กลางร้านค้า ร้านอาหาร และของทีร่ ะลึกใจกลางเมืองเมลเบิรน์ ซึ่งเปิดทำ�การมาตั้งแต่ปี 1878 จึงเกิดขึ้น เพื่อ สร้างบทสนทนาใหม่อันจะนำ�ไปสู่การตื่นตัวและ พัฒนาความเป็น “ย่านสร้างสรรค์” ด้วยความ ร่ ว มมื อ ทั้ ง จากภาครั ฐ อย่ า งเมื อ งเมลเบิ ร์ น (City of Melbourne) และศิลปินหลากหลาย สาขาจากกลุ่ม Melbourne Public Art ทำ�ให้


Marcus Westbury Bryony Jackson

Tatanja Ross

Cultural Arts Precinct

โครงการ Queen Victoria Market Precinct Renewal ที่มุ่งปรับปรุงพื้นที่ดั้งเดิมของตลาด ควี น วิ ก ตอเรี ย เกิ ด ขึ้ น จริ ง โดยมุ่ ง สร้ า งพื้ น ที่ สร้างสรรค์ ผ่านรูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการ ผลงานและเทศกาลศิลปะร่วมสมัยเพือ่ สาธารณะ (Public Art) ควบคูไ่ ปกับการปรับปรุงผังเมืองและ สาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำ�เป็น เช่น เส้นทาง สัญจร ที่จอดรถ และการสร้างพื้นที่สาธารณะ สำ�หรับบรรดาพ่อค้าแม่ขาย รวมถึงลูกค้าผู้มา จับจ่ายที่ตลาดแห่งนี้ให้ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อทำ�ให้ควีนวิกตอเรียเป็นย่านตลาดที่คึกคัก และมีคณุ ค่าทัง้ ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และชุมชน โดยรอบตลอดไป ภัณฑารักษ์ชื่อดังอย่างนาตาลี คิง (Natalie King) ได้เข้ามามีบทบาทจัดการดูแลผลงาน ต่างๆ ในนิทรรศการครั้งนี้ ซึ่งบางผลงานได้รับ การปรับไปเป็นส่วนหนึง่ ของภูมทิ ศั น์ถาวรในพืน้ ที่ ขณะที่บางชิ้นก็ช่วยกระตุ้นการตระหนักรู้ให้กับ คนในพืน้ ทีถ่ งึ บทบาทและความสำ�คัญของศิลปะ และความคิ ด สร้ างสรรค์ ที่มี ต่ อ ย่ า นและเมื อ ง ทั้งยังเป็นการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างใน สภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ อำ � นวยต่ อ ธุ ร กิ จ ของ ควีนวิกตอเรียมากยิ่งขึ้น โดยนิทรรศการ Public Art Melbourne Biennial Lab: What Happens Now? นี้ เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Melbourne Festival ปี 2016 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-23 ตุลาคมปีที่ผ่านมา และได้รับความร่วมมือจาก ศิลปินมากถึง 14 คน มาร่วมกันสร้างสรรค์

ผลงานเชิงทดลองเพื่อตีความพื้นที่แห่งนี้ใหม่ และถ่ายทอดผ่านผลงานศิลปะหลากประเภท เช่น งานศิลปะจัดวางที่สะท้อนถึงความเป็น ชุมชนแห่งการค้า การอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน การเชื่ อ มต่ อ ของผู้ ค น ไปจนถึ ง ยุ ค การไล่ ล่ า อาณานิคม เพือ่ ส่งต่อและแบ่งปันเรือ่ งราวเหล่านี้ พร้ อ มกั บ การตั้ ง คำ � ถามเพื่ อ เรี ย กร้ อ งการ เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในอนาคต ผลงานที่น่าสนใจก็เช่น ผลงานของศิลปิน ชาวเอเชีย ฮิโรมิ แทงโก (Hiromi Tango) ที่ชื่อ Wrapped ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากกิจกรรมที่ เกิดขึ้นภายในพื้นที่ตลาดควีนวิกตอเรียอยู่เสมอ อย่างการพันห่อสิง่ ของและแกะข้าวของต่างๆ อยู่ ตลอดเวลาที่ตลาดเปิดและปิดทำ�การ ศิลปินจึง ต้องการให้ผทู้ เ่ี ข้าร่วมชมงานได้มสี ว่ นร่วมด้วยการ ถ่ายทอดความทรงจำ�ที่มีต่อตลาดในรูปลักษณ์ ของสิ่งของที่ถูกห่อพันเอาไว้ หรือผลงาน Out in the Open ของศิลปินอิโซเบล โนวส์ (Isobel Knowles) และฟาน โซเวอร์วนี (Van Sowerwine) ที่ถ่ายทอดกิจวัตรและความรู้สึกของเหล่าพ่อค้า แม่ ค้ า ในตลาดที่ ต้ อ งลุ ก ขึ้ น มาก่ อ นฟ้ า สางใน แต่ละวันเพือ่ มาประกอบอาชีพ ผ่านผลงานสต็อป โมชั่นที่บอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่าง คนในพื้นที่และสถานที่ไว้อย่างน่าสนใจ เมื่อเมืองต้องประกอบไปด้วยคน กิจกรรม และวิถีชีวิต งานศิลปะจึงเป็นเสมือนตัวแทนที่ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้คน พื้นที่ และธุรกิจ เข้าไว้ด้วยกัน เทศกาลงานศิลป์ใจกลางตลาดนี้ จึงไม่เพียงสร้างแรงบันดาลใจให้คนในพืน้ ทีล่ กุ ขึน้ มาหาหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น กว่าที่เป็นอยู่เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบเชิงบวก ไปยังย่านใกล้เคียงอื่นๆ เพื่อให้มวลแห่งความ สร้างสรรค์นี้ถูกจุดติดขึ้นในระดับเมืองต่อไป

นอกจากย่านควีนวิกตอเรียมาร์เก็ตแล้ว คอลลิงวูด (Collingwood) ยังถือเป็นอีกหนึง่ ย่าน ชานเมื อ งทางทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของ เมลเบิร์น ที่กำ�ลังโอบอุ้มโปรแกรมสร้างสรรค์ ใหม่ล่าสุดซึ่งรอวันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับ ย่ า นนี้ ใ นไม่ ช้ า ด้ ว ยแนวคิ ด การปรั บ เปลี่ ย น พื้ น ที่ เ ก่ า แก่ ข องวิ ท ยาลั ย เทคนิ ค คอลลิ ง วู ด (Collingwood Technical College) ซึ่งมีอายุ กว่า 140 ปี และปิดทำ�การลงไปเมื่อราว 10 ปี ก่อน ไปสู่การเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ที่จะ เป็นเสมือนแหล่งบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ให้ กับเมือง ภายใต้โครงการ Creative Victoria มาร์คสั เวสต์เบอรี (Marcus Westbury) ผู้เชีย่ วชาญด้าน การจัดการพืน้ ทีส่ ร้างสรรค์ชาวออสเตรเลีย ได้รบั การเชื้ อ เชิ ญ ให้ ม านั่ ง ในตำ � แหน่ ง ซี อี โ อของ โครงการที่เรียกว่า Contemporary Arts Precincts Ltd (CAP) โดยมีหน้าที่ดูแลบริหารพื้นที่แห่งนี้ ตั้งแต่ปี 2010 เพื่อสร้างให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเป็นโมเดลสำ�คัญ ในการพัฒนาพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างให้กลายเป็นย่าน สร้างสรรค์ที่มีมูลค่าทางธุรกิจ “เป้าหมายของเราคือการเปลี่ยนพื้นที่น้ีให้ เป็นฮับของธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ และรวบรวม ทุกความเป็นไปได้ไว้ในที่เดียวกัน เพราะคำ�ว่า ย่านเป็นมากกว่าแค่กลุม่ อาคารบ้านเรือน แต่มนั คือความพยายามในการสร้างความเป็นหนึ่งที่มี คุณค่ามากกว่าผลรวมของแต่ละส่วนย่อยๆ” มาร์คัสกล่าว นอกจากนี้ CAP ยังเป็นธุรกิจเพื่อ สังคมแห่งแรกที่มีแนวคิดในการบริหารจัดการ พืน้ ทีใ่ ห้เป็นพืน้ ทีท่ เี่ หมาะสำ�หรับธุรกิจสร้างสรรค์ ต่างๆ เช่น สตูดโิ อ ร้านค้า หรือพืน้ ทีจ่ ดั เวิรก์ ช็อป สำ�หรับชุมชน ซึ่งขณะนี้หลายธุรกิจกำ�ลังเตรียม พร้อมเข้ามาอยู่ในพื้นที่และสร้างปรากฏการณ์ ครั้งสำ�คัญนี้ร่วมกัน

CREATIVE THAILAND I 21

ที่มา: บทความ “Collingwood Arts Precinct” จาก creative.vic.gov.au และ bienniallab.com


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่อง: ศรัณยู นกแก้ว ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

เมื่อหลายสิบปีก่อน ครั้งที่จักรยานถูกจำ�กัดความไว้ที่ยานพาหนะซึ่งไม่เหมาะกับสภาพการจราจรที่แน่นขนัดของกรุงเทพฯ โค แวน เคสเซ่ล (Co Van Kessel) ฝรั่งหัวใจไทยได้เปลี่ยนมุมมองใหม่ของยานพาหนะสองล้อนี้ ด้วยการนำ�จักรยานคู่ใจ ออกไปปัน่ ดืม่ ดาํ่ กับมุมเล็กๆ ทีไ่ ม่คาดคิดมาก่อนว่าจะมีอยูใ่ จกลางมหานคร ยิง่ ปัน่ ก็ยงิ่ รักและหลงในเสน่หเ์ มืองกรุงจนกลาย เป็นที่มาของทัวร์จักรยานเล็กๆ ที่มีคำ�เชื้อเชิญว่า...From the heart of China town to the garden of Siam

CREATIVE THAILAND I 22


จากฝรั่งหลงไทยสู่เส้นทางหลงกรุง “เมื่อปี 2003 ตอนที่เจอกับมิสเตอร์โค แวน เคสเซ่ล หรือลุงโก้นั้น เรายังนึก ภาพไม่ออกเลยด้วยซํ้าว่าทัวร์จักรยานคืออะไร แม้เราทำ�งานเป็นไกด์ทัวร์ อยู่แล้ว แต่ทัวร์ด้วยจักรยานนี่นึกไม่ออก เพราะถนนในกรุงเทพฯ มีแต่ตึก รถก็เยอะ ไม่ได้มีอะไรให้สวยงาม เราจึงยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะลอง ลุงโก้ ชวนบ่อยมาก กระทั่งสองปีผ่านไป จึงได้ตัดสินใจลองไปปั่นจักรยานกับ ลุงโก้ในย่านเยาวราช เราจึงได้รู้ว่าเส้นทางทัวร์ของแกนั้นทำ�ให้กรุงเทพฯ พิเศษขึ้นอย่างที่เคยบอกจริงๆ” คุณน้อง - จันทร์มณี พลภักดี คูห่ ตู า่ งวัยผูร้ ว่ มก่อตัง้ บริษทั ทัวร์จกั รยาน แห่งแรกในกรุงเทพฯ โค แวน เคสเซ่ล บางกอกทัวร์ แห่งนี้ ย้อนเล่าถึงที่มา ของธุรกิจทัวร์จักรยานเล็กๆ ที่เริ่มต้นจากเส้นทางปั่นจักรยานหลังเลิกงาน ของลุงโก้ - จาโคบัส แวน เคสเซ่ล ชาวเนเธอร์แลนด์ผู้หลงใหลเมืองไทย และอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มากว่า 30 ปี เมื่อลุงโก้ค้นพบว่าสองล้อนี่แหละ คือยานพาหนะที่จะพาออกไปค้นพบมุมมองใหม่ในกรุงเทพฯ ลุงโก้จึงชวน คุณน้องมาเปิดบริษทั ทัวร์เล็กๆ ทีเ่ ริม่ ต้นด้วยจักรยานเพียง 8 คัน จนปัจจุบนั ขยายไปถึง 500 คันแล้ว “วันแรกที่มาปั่นจักรยานกับแกเรารู้เลยว่าทัวร์จักรยานคือสิ่งที่ควรจะ เกิดขึน้ ในกรุงเทพฯ เพราะสิง่ ทีไ่ ด้เจอมันมากกว่าเรือ่ งของสถานทีแ่ ปลกใหม่ แต่เป็นมิตรภาพระหว่างทาง ไปเยาวราชเจออาแปะ อาม่า ข้ามมาฝั่งธนบุรี ก็มีความเงียบ สโลว์ไลฟ์ของแท้ก็มา เอาจักรยานลงเรือไปตลิ่งชัน ปั่นเข้า สวน เราก็ได้แต่อุทาน นี่หรือคือกรุงเทพฯ ค่าทัวร์หนึ่งพัน แต่ลูกค้าบางคน จ่ายให้สองพัน แล้วก็ยังมาขอบคุณเรามากที่พาไปเจอในสิ่งที่หาที่อื่นไม่ได้ เราเลยตัดสินใจมาร่วมงานกับลุงโก้ เพราะนี่แหละคือรูปแบบทัวร์ที่เรา อยากทำ� ได้เห็นความสุขของลูกค้า และเราเองก็ภูมิใจที่ได้นำ�เสนอสิ่งดีๆ ในกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจยังไม่รู้” เส้นทางตามอัธยาศัย เส้นทางปั่นจักรยานลัดตลาดน้อย ฝั่งธนบุรี ตลิ่งชัน หรือแม้แต่เอา จักรยานลงเรือ ใส่รถไฟสู่มหาชัย เป็นความต่างที่โค แวน เคสเซ่ล นำ�เสนอ ให้กับลูกค้า ซึ่งความไม่เหมือนใครของเส้นทางนี่เอง ที่ทำ�ให้โค แวน เคสเซ่ล มีลูกค้าเก่ากลับมาซื้อทัวร์ซํ้าๆ มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ บางคนมา ร่วมปั่นเป็นครั้งที่ 20 แล้วก็มี แน่นอนว่าแต่ละครั้งที่มา ลูกค้าจะต้องได้เจอ กับเส้นทางใหม่ที่ทางหัวหน้าไกด์การันตีว่าไม่ซํ้ากันสักครั้ง เหตุผลก็เพราะ ทุกเส้นทางถูกบรรจุอยู่ในจินตนาการของผู้นำ�ทัวร์ ซึ่งรู้จักทุกหลืบมุมของ กรุงเทพฯ บางกรุ๊ปที่มาปั่นอาจได้ตักบาตรตอนเช้าตรู่ กรุ๊ปไหนที่ค่อนข้างวัยรุ่น ก็อาจจะเจอสายโหดพาซอกแซกตามตรอก ให้ยกจักรยานมุดข้ามถนน สะพาน หรือเดินจูงผ่านตลาดสดอย่างสนุกสนาน โดยทุกเส้นทางหลักที่ใช้ ปั่นจักรยานนั้นมาจากเส้นทางที่ลุงโก้ได้สำ�รวจไว้ ส่วนหัวหน้าทัวร์รุ่นใหม่ๆ ก็มีหน้าที่พัฒนาเส้นทางหลักให้มีสีสันแตกต่างกันไป แต่ต้องไม่ลืมที่จะใส่ ส่วนผสมระหว่างไลฟ์สไตล์ของลูกค้า วิถีดั้งเดิมของชุมชน และการพักผ่อน ในพื้นที่สีเขียว

ยั่งยืนโดยไม่สร้างความหวัง ด้วยรูปแบบเส้นทางทัวร์ทน่ี �ำ เสนอวิถกี รุงเทพฯ ทีแ่ ท้จริงผ่านชุมชนต่างๆ ดังนัน้ จึงปฏิเสธไม่ได้วา่ ความร่วมมือของชุมชนทีส่ องล้อได้ปน่ั ผ่านคือหัวใจ สำ�คัญ ซึง่ สิง่ ทีล่ งุ โก้ได้ยา้ํ เสมอตัง้ แต่วนั แรกทีพ่ าลูกค้าไปปัน่ ซอกแซกในชุมชน ก็คอื เรือ่ งของความสุขทีไ่ ม่ได้หมายความเพียงลูกค้า แต่ยงั รวมไปถึงทุกคนใน ชุมชน กฎเหล็กของโค แวน เคสเซ่ล จึงเป็นการหันหลังให้กบั สถานทีเ่ ทีย่ วหลัก ร้านสะดวกซือ้ หรือห้างสรรพสินค้าเจ้าใหญ่ ตรงกันข้าม ไกด์ของโค แวน เคสเซ่ลจะพาลูกทัวร์ไปอุดหนุนสินค้าในร้านโชห่วยเล็กๆ ร้านก๋วยเตีย๋ วข้างทาง และร้านอาหารในชุมชนชนิดไม่ซา้ํ กัน “แม้ในวันนีล้ งุ โก้จะจากเราไปแล้ว แต่เราก็ยงั ยึดหลักการทำ�งานของแก เราไม่เคยเข้าไปให้ความหวังชุมชน ว่าต่อไปนีจ้ ะมีฝรัง่ มา หรือให้ชว่ ยจัดโชว์ จัดรำ� สร้างโน่นสร้างนี่ให้หน่อย เราไม่เคยทำ� เราขอเป็นเพียงสื่อกลางให้ นักท่องเทีย่ วได้รจู้ กั ชุมชน บางวันปัน่ ไปเจองานบวช บางวันเจองานศพ แต่ใน วันที่ไม่มีอะไร คุณก็จะได้เจอกับวิถีชีวิตในแบบที่เขาเป็นจริงๆ ถ้าเราให้ ความหวัง แต่วนั หนึง่ ข้างหน้าเราไม่ไป ชุมชนก็อยูไ่ ม่ได้ เพราะเขาได้เปลีย่ น วิถชี วี ติ ของเขาเพือ่ เราแล้ว ตรงกันข้ามถ้านักท่องเทีย่ วได้สมั ผัสวิถชี มุ ชนจริงๆ ถ้าเขาชอบ เขาจะกลับไปเอง ไปช้อปปิ้ง กินอาหาร ถ่ายรูป นี่จึงเป็นเหตุผล ทีเ่ ราไม่ไปยังสถานทีเ่ ทีย่ วหลัก เพราะทุกคนไปเองได้ แต่มมุ เล็กๆ ชุมชนเล็กๆ ของกรุงเทพฯ เหล่านีย้ งั ขาดสือ่ กลาง เราเชือ่ เสมอว่า ถ้าของดี สินค้าทีไ่ ด้เห็น มีความยูนกี คนก็จะต้องกลับไปหาเอง และชุมชนก็จะสามารถพัฒนาต่อไป ด้วยตัวเขาเองโดยทีไ่ ม่ตอ้ งพึง่ ใคร” นอกจากการเป็นสือ่ กลางระหว่างนักท่องเทีย่ วและชุมชนแล้ว อีกสิง่ ทีจ่ ะ ลืมไม่ได้ คือการรับผิดชอบต่อความรูส้ กึ ดังนัน้ ระหว่างทาง ไกด์ทกุ คนจึงไม่ ต่างจากลูกหลานทีเ่ ข้าไปทักทายสวัสดีแทบทุกบ้าน และคอยรับฟังความคิดเห็น จากทุกคน “ถ้าเกิดการเฉีย่ วชน เกิดความเสียหายเราต้องหยุดและเข้าไปแก้ไข บางเรือ่ งชุมชนเชิญให้เราไปร่วม แม้เราจะไม่สามารถช่วยอะไรชุมชนได้มาก แต่ในเมือ่ ชุมชนให้เกียรติเราเป็นส่วนหนึง่ ในชุมชน เราก็จะไป ทำ�เท่าทีท่ �ำ ได้ เพราะถ้าคนในชุมชนไม่มคี วามสุข ไม่เห็นด้วยกับสิง่ ทีเ่ ราทำ� ธุรกิจของเราก็ อยูไ่ ม่ได้เช่นกัน” คุณน้องกล่าวทิง้ ท้าย

www.covankessel.com / Facebook: Co Van Kessel Bangkok Tours CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

คน อนาคต เจริญกรุง เรื่อง: สุวภัศร สุคนธบพิตร ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์ และ สุรพัศ เคียงคู่

“เจริญกรุงคือย่านสร้างสรรค์(?)” อาจดูเป็นเพียงประโยคบอกเล่าธรรมดา ที่หลายครั้งก็ยังกลายเป็นการตั้งคำ�ถามด้วย เช่นกัน ไม่ว่าจะเกิดจากคนในพื้นที่ นักลงทุน นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่สัญจรผ่านไปมาในย่านนี้ สิ่งที่ทุกฝ่ายได้พยายามสร้าง แนวทาง กำ�หนดวิสัยทัศน์ มองไปข้างหน้า และเดินทางมาร่วมกัน เกิดเป็นโครงการมากมายอย่างเช่นที่ผ่านมา เช่น โครงการบุกรุก (Bukruk Urban Arts Festival) โครงการสร้างสรรค์เจริญกรุง (Co-Create Charoenkrung) เมื่อมอง ภาพของเจริญกรุงในขณะนี้ เราได้เดินทางมาถึงจุดที่เรียกว่า “ย่านสร้างสรรค์” แล้วหรือยัง หรือเราอยู่ตรงไหนกันแน่ เมื่อเทียบกับเมืองหรือย่านสร้างสรรค์แห่งอื่นๆ ทั่วโลก บางโครงการอาจเป็นจริงแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากคุณภาพชีวิต ของคนในพื้นที่ที่ดีขึ้น ในขณะที่บางโครงการยังเป็นภาพในอุดมคติที่หลายฝ่ายกำ�ลังผลักดันเพื่อก้าวไปให้ถึงเป้าหมาย CREATIVE THAILAND I 24


คน...ส่วนผสม ของเมืองสร้างสรรค์

ธุรกิจเกิดใหม่ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมามากกว่า 70% เป็นธุรกิจร้านอาหารและ เครือ่ งดืม่ ทีม่ กี ารเสนอรูปแบบการออกแบบและเมนูทแี่ ปลกตาแตกต่างไปจากเดิม นักลงทุนหน้าใหม่มากกว่า 50% เป็นคนยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่ชื่นชอบ การเสพศิลปะ อย่างเช่น ฝรั่งเศส และอิตาลี 85% ของธุรกิจเกิดใหม่มักอยู่ในอาคารเก่าอย่างเช่น โรงงาน โกดัง หรืออาคาร คูหาแบบโบราณ โดยนักลงทุนมีแนวโน้มต้องการรักษาความดั้งเดิมของอาคาร และปรับปรุงพื้นที่ภายในให้น่าสนใจ โดยไม่ทำ�ลายโครงสร้างเก่าทิ้ง นักลงทุนธุรกิจใหม่เกือบ 100% ตั้งใจดึงดูดลูกค้าด้วยศักยภาพของย่านเจริญกรุง ทั้งด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยา ทั้งนี้นักลงทุนต่างมองเห็นและต้องการสร้างธุรกิจในย่าน โดยพิจารณาจาก ลักษณะเศรษฐกิจ วัฒนธรรมที่มีมายาวนาน และลักษณะภูมิประเทศริมนํ้า ที่ส่งผลต่อการคมนาคมและวิวทิวทัศน์ที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์ เจ้าของธุรกิจใหม่ราว 90% ต้องการที่จอดรถสาธารณะแบบถูกกฎหมายที่มีระบบ การจัดการที่ดี ทั้งนี้พื้นที่จอดรถสาธารณะเป็นที่ต้องการอย่างมากในย่าน เจริญกรุง ทั้งยังเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ส่งผลต่อธุรกิจโดยตรง 80% ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการหรือซื้อหาสินค้าภายในย่านนี้ ประสบปัญหา ด้านการเดินทางและการหาที่จอดรถ โดยลูกค้าเกินกว่าครึ่งมีปัญหาในการหาที่ จอดรถ และรู้สึกกลัวที่ต้องเดินริมถนนในเวลากลางคืน ที่มา: รายงานจากโครงการ The Revival of District โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

หากตีความหมายของคำ�ว่า “สร้างสรรค์” เสียใหม่ โดยไม่ยึดติดเข้ากับความเป็นงานศิลปะหรืองาน ออกแบบ จะพบว่าความสร้างสรรค์นั้นสามารถ ผนวกเข้าได้กบั แทบทุกสิง่ รอบตัว มากกว่านัน้ คือ ยังใช้เพื่อระบุความคิด ทัศนคติ วิถีชีวิต และ การทำ�งานของ “คน” ได้อย่างไม่จำ�กัด คนที่ สร้างสรรค์ไม่จำ�เป็นต้องทันสมัยหรืออายุน้อย สภาพร่ า งกายหรื อ ความก้ า วหน้ า ในอาชี พ การงานก็ไม่สามารถบ่งบอกความสร้างสรรค์ได้ จอห์น ฮาวกินส์ (John Howkins) นักวิชาการ ด้ า นความคิ ด สร้ า งสรรค์ ช าวอั ง กฤษกล่ า วไว้ ว่า ‘ความสร้างสรรค์ต้องสะท้อนได้ถึงความ แตกต่าง ความไม่แน่นอน การเรียนรู้ใหม่ๆ ความเป็นเครือข่าย การเข้าถึงได้ ความซับซ้อน

ความร่ ว มมื อ กระทั่ ง ทั ศ นคติ แ ละจิ ต ใจ ซึ่ ง ตรงกั น ข้ า มกั บ ความมี เ อกลั ก ษณ์ ต ายตั ว ความแน่ น อน การศึ ก ษาอย่ า งเป็ น แบบแผน ความมีลำ�ดับชนชั้น การควบคุม ความเรียบง่าย การแข่งขัน กระทั่งความเป็นเปลือกนอก’ ดังนั้น คนที่สร้างสรรค์คือคนที่คิดสิ่งใหม่ๆ สร้างความ เปลี่ ย นแปลงไปในทางที่ ดี ขึ้ น กว่ า เก่ า อย่ า ง ไม่ยึดติด สะท้อนความเป็นตัวตนของตัวเองได้ และยอมรับสิ่งที่แตกต่างจากผู้อื่น จากหลายคน เป็นกลุ่ม หลายกลุ่มเป็นชุมชน และหลายชุมชน เป็นย่าน จนเราอาจกล่าวได้วา่ “ย่านสร้างสรรค์” นัน้ แท้จริงแล้วต้องเริม่ จากการมี “คนสร้างสรรค์” ก่อน ถึงจะพูดได้อย่างเต็มปากว่าย่านแห่งนี้มี ความสร้างสรรค์ CREATIVE THAILAND I 25

คุณค่าของคนในสังคมทีไ่ ด้รบั การพัฒนาต่างหาก ที่เป็นตัวชี้วัดความสร้างสรรค์ ในขณะที่ความ เจริญรุ่งเรืองทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตึกสูง ระฟ้า ตลอดจนความมัง่ คัง่ ไปด้วยรถยนต์สว่ นตัว ไม่สามารถชี้วัดได้ เมืองสร้างสรรค์อาจเป็นเมือง ที่เราสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ตกดินได้จาก ทุกมุมเมือง ผูค้ นออกมาใช้ชวี ติ ในพืน้ ที่ และเลือก ใช้ ร ะบบขนส่ ง สาธารณะได้ อ ย่ า งสะดวกและ สบายใจ พวกเขาสามารถมีคุณภาพชีวิตพื้นฐาน ทีด่ ดี ว้ ยการสนับสนุนจากภาครัฐ มีพนื้ ทีท่ างเลือก ที่ 3 หรือที่เรียกว่า Third Place (พื้นที่ใช้ชีวิต นอกจากที่อยู่อาศัยและที่ทำ�งาน) เป็นทางเลือก ในการเสพศิลปะหรือทำ�กิจกรรมด้านอื่นๆ ที่ สนใจจากการตระหนักในมูลค่าทางวัฒนธรรม การร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมที่แตกต่าง และไม่เหมือนกัน เพื่อผลักดันให้เกิดระบบนิเวศ ทางเศรษฐกิจใหม่ๆ จะสร้างความแข็งแรงให้กบั ย่ า น ควบคู่ กั บ การวางแผนพั ฒ นาที่ ส่ ง เสริ ม คุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรม และนวัตกรรม ซึ่ง แน่นอนว่า การทีค่ นในพืน้ ทีส่ ามารถนำ�วัฒนธรรม เก่ามาประยุกต์ให้ทนั สมัย และต่อยอดให้เกิดเป็น สิ่งใหม่ คือสิ่งที่ชี้วัดได้ชัดเจนที่สุด


ลงทุนให้ “เจริญ” ในย่านเจริญกรุง

สังคมที่พร้อมจะแผ่ขยายอัตลักษณ์ออกไป คือสังคม ที่มีความเจริญของความคิด ยอมรับความหลากหลาย และเกื้อกูล ไม่ใช่ความต้องการเม็ดเงินผ่านการสร้าง และพัฒนาเพียงเพื่อแก่งแย่งลูกค้ากัน

facebook.com/livesoulbarbangkok

facebook.com/livesoulbarbangkok

facebook.com/SpeedyGrandma

จากการสำ�รวจ พบว่านักลงทุนธุรกิจใหม่ๆ ในย่านเจริญกรุง ส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปทีเ่ ห็นศักยภาพของ เอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมที่ฝังแน่นในสังคมไทย จากการได้มาท่องเที่ยว หรือทดลองใช้ชีวิตในย่าน หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันถึงเหตุผลที่เลือกลงทุนในย่านนี้ ว่าเจริญกรุงมีรากเหง้าของวัฒนธรรมที่ สามารถพัฒนาต่อยอดไปได้หลากหลาย และเมื่อผู้คนในย่านเต็มใจรับสิ่งใหม่เข้ามา ความสนิทใจใน การพูดคุยแลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์จะเกิดขึน้ อย่างมีระบบ เมือ่ ได้รว่ มกันพัฒนา วัฒนธรรม ก็จะไม่หยุดอยู่กับที่ แต่ก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอย่างน่าสนใจกว่าเก่า

CREATIVE THAILAND I 26

แทนที่จะเดินตามแผนการ ที่ มี แ บบแผนสำ � เร็ จ รู ป เมืองควรได้รับการพัฒนา อย่ า งต่ อ เนื่ อ งโดยคนใน พื้ น ที่ ผ่ า นการมองเห็ น แ ล ะ เ ข้ า ใ จ มู ล ค่ า ท า ง สุนทรียศาสตร์ของตนเอง ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่า ทำ�ไม นั ก อ อ ก แ บ บ จึ ง ไ ด้ รั บ บทบาทที่ สำ � คั ญ มากใน การสร้างและพัฒนาเมือง เพราะพวกเขาได้ รั บ การ ฝึกสอนและเรียนรูม้ าให้คดิ ในเชิงแก้ปัญหา ไม่ใช่คิด เพื่อวางแผนระยะยาว เบิร์ต มัลเดอร์ จากหนังสือ Creative Cities

การเกิดขึ้นของธุรกิจอาร์ตแกลเลอรีอย่าง Speedy Grandma บาร์สำ�หรับผู้ที่หลงใหลใน ดนตรีแจ๊สที่ชื่อ SoulBar หรือบริษัทที่จับเอา วัฒนธรรมมาใส่ความคิดสร้างสรรค์ก่อนแปร ผลลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ ใ ห้ น่ า สนใจและร่ ว มสมั ย อย่ า ง Soy Sauce Factory โดยโธมัส เมอนาร์ด นักธุรกิจ ชาวฝรั่งเศส กำ�ลังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับ ย่านที่ขึ้นชื่อว่าเป็นย่านเมืองเก่านี้อย่างมากใน ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การมองว่าอาคารเก่าในย่าน วัฒนธรรมคือมูลค่าสำ�คัญของย่านทีไ่ ม่อาจหาได้ จากทีไ่ หน ควบคูไ่ ปกับอุดมการณ์ทตี่ อ้ งการรักษา สิ่งเก่าเหล่านั้นไว้ให้นานที่สุด ทำ�ให้นักธุรกิจ รุ่นใหม่อย่างโธมัสเลือกที่จะปรับลักษณะการ


ใช้งานอาคารให้ทันสมัย เข้ากับลักษณะการเสพ วัฒนธรรมแขนงต่างๆ อย่างศิลปะ ดนตรี อาหาร และแฟชั่นให้มากขึ้น เช่นเดียวกันกับโรมัง ดูปุย เพื่อนของเขาที่ร่วมกันสร้าง SoulBar ซึ่งได้เก็บ ความทรงจำ�ของอาคารหลังเก่านามว่า FooJohn แล้วเนรมิตพื้นที่ภายในใหม่ทั้ง 5 ชั้น เพื่อสร้าง ประสบการณ์แปลกใหม่ของร้านอาหารและบาร์ ที่แตกต่างกัน หรือแม้แต่แนวคิดการสร้างสตรีท อาร์ตของโรมัง คีโยก์ ที่เริ่มต้นด้วยการสร้าง เอกลักษณ์เชิงศิลปะให้กับเมนูอาหารฝรั่งเศสใน อาคารเก่า 1 คูหาภายใต้ชื่อ Outlaw Creative Cuisine จากนัน้ จึงต่อยอดด้วยการสร้างแกลเลอรี และร้านขายอุปกรณ์ศลิ ปะ รวมถึงสนับสนุนผลงาน จากนักออกแบบและศิลปินในพื้นที่

กิ จ กรรมของการเสพ วั ฒ นธรรมถู ก แบ่ ง เป็ น 5 ประเภท คื อ ศิ ล ปะ ดนตรี แฟชั่น อาหาร และ สถานที่ ท่ อ งเที่ ย ว ซึ่ ง จะ เกิ ด ขึ้ น เฉพาะในเมื อ งที่ มี ความร่ ว มสมั ย ต่ อ ยอด ในรู ป แบบธุ ร กิ จ อั น เป็ น รากฐานของการสร้ า ง เอกลักษณ์ทางเศรษฐกิจ ให้กับเมืองอย่างหนึ่ง ชารอน ซูกิน

ในขณะที่ ธุ ร กิ จ เพชรพลอยและเครื่ อ งประดั บ ที่ มี ม ายาวนานเต็ ม 2 ฝั่ ง ถนนเจริ ญ กรุ ง คื อ แลนด์มาร์กอันดับหนึ่งของย่าน แต่อาคารว่างหลายคูหาที่แทรกอยู่ระหว่างร้านจิวเวลรี่เหล่านั้น ก็ได้ ชี้ช่องทางผลักดันให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่มากขึ้น อย่าง Oriental Heritage Residence ของคุณพิศิษฎ์ นววัฒนทรัพย์ ทายาทเจ้าของธุรกิจร้านจำ�หน่าย เพชรพลอย ที่เลือกจะปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคารขายเครื่องประดับหลังเก่า เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว แบบสะพายกระเป๋าที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และนักซื้อขายเพชรพลอยชาวต่างชาติที่แวะเวียน มาเลือกซือ้ สินค้าในย่านนีเ้ ป็นกิจวัตร ด้วยแนวคิดการออกแบบทีแ่ ฝงจุดเด่นของวัฒนธรรมไทยมาผสม กับวัฒนธรรมจีนได้อย่างลงตัว โรงแรมแห่งนี้จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการรักษาวัฒนธรรมเดิมไว้ และต่อยอดอย่างสร้างสรรค์ให้แปลกใหม่ ที่สำ�คัญคือต้องตอบความต้องการที่ร่วมสมัยด้วย ย่าน (สร้างสรรค์) บนถนนเจริญกรุงแห่งนี้ กำ�ลังก้าวไปข้างหน้าในลักษณะกึ่งแบบแผน คือมีการ สนับสนุนอย่างเป็นทางการจากองค์กรภาครัฐ และได้รับการผลักดันที่หลากหลายจากคนในพื้นที่ ทั้งที่ เป็นผูอ้ ยูอ่ าศัยเดิมและผูเ้ ข้ามาลงทุนใหม่ โดยมีการพบปะพูดคุยกัน แสดงให้เห็นถึงความต้องการทีจ่ ะ เข้าใจในความสนใจและความตัง้ ใจของผูอ้ นื่ สามารถเรียนรูจ้ ากการแบ่งปันเรือ่ งราวความล้มเหลวและ ความสำ�เร็จ ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันแล้ว ยังทำ�ให้สามารถพัฒนาระบบ ความคิดและทัศนคติที่เป็นการเติมเต็มตัวตนและความต้องการได้อีกทางหนึ่ง เช่นเดียวกับในระดับ สังคม ที่จะเกิดเป็นเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่แข็งแรง ทำ�ให้โอกาสในการร่วมมือกันทางธุรกิจเกิดได้ ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้คำ�ถามถึงระดับความเป็น “ย่านสร้างสรรค์” ของเจริญกรุง นำ�มาซึ่งคำ�ตอบที่ ปรากฏแก่ใจของผู้อยู่อาศัยและผู้ที่มาเยือนได้อย่างชัดเจน ทีม่ า: หนังสือ Creative Cities: Cultural Industries, Urban Development and the Information Society (1999) โดย Jan Verwijnen และ Panu Lehtovuori / หนังสือ Creative Ecologies: Where Thinking is a Proper Job (2010) โดย John Howkins

CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์ CREATIVE THAILAND I 28


หากเปรียบพื้นที่ถนนเจริญกรุงตอนกลางเป็นคน คงไม่ต่าง กับคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน ทั้งเคยเป็น New Road ถนนใหม่ แ สนทั น สมั ย ของชาวบางกอก หรื อ แม้ วั น นี้ ที่ ก ลายมาเป็ น ถนนสายอดี ต ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย เรื่องเล่าครั้งเก่าและอนาคตที่คลุมเครือ และในเวลานี้ความ เปลี่ ย นแปลงกำ � ลั ง จะมาเยื อ นเจริ ญ กรุ ง อี ก ครั้ ง กลุ่ ม Creative District Foundation ซึ่ ง ประกอบไปด้ ว ย ผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง อตินุช ตันติวิท, เชน สุวิกะปกรณ์กุล, ถนั่น ลีลาวณิชกุล, เดวิด โรบินสัน, ดวงฤทธิ์ บุนนาค และ นพดล วีรกิตติ มีความหวัง ความฝัน และความพยายามที่ จะฟืน้ ชีวติ ให้กบั พืน้ ทีแ่ ห่งนีใ้ นรูปแบบของ “ย่านสร้างสรรค์” หรือ “Creative District” บนพืน้ ฐานของความร่วมมือและ ความคิดสร้างสรรค์ Creative District Foundation เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เดวิด: มันเริ่มจากที่ผมมาทำ�งานที่เมืองไทยเกี่ยวกับการโปรโมตพื้นที่ริมนํ้า ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนเมื่อเดือนมกราคม ปี 2558 ซึ่งทำ�ให้ผม เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้ มีชุมชนและกลุ่มคนที่น่าสนใจมากๆ ตั้งอยู่ก่อนแล้ว ทั้ง ชุมชนทางศาสนา ชาวมุสลิม ชาวคริสต์ ชาวจีน มีร้านอาหารเก่าแก่ มี สตรีทฟู้ด อตินุชกับเชนก็เพิ่งจัด Gallery Hopping ไป มีการนำ�ตึกเก่ากลับ มาใช้ใหม่อย่างน่าสนใจมากมาย มี P.Tendercool มีดวงฤทธิ์ทำ� The Jam Factory เมื่อสองปีก่อน แถม TCDC ก็ประกาศว่าจะย้ายมาอยู่ที่เจริญกรุง มันเหมือนว่าที่ตรงนี้มันมีทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว ทั้งหมดนี้ทำ�ให้เรามองว่า ควรต้องทำ�อะไรซักอย่างเพื่อโปรโมตพื้นที่แถบนี้นะ เราก็เริ่มนัดประชุมกัน โดยที่แต่ละครั้ง ก็มีคนจากหลากหลายกลุ่มเข้ามาร่วม ในที่สุดก็เลยเกิด ไอเดียที่จะทำ�ย่านสร้างสรรค์บางรัก-คลองสาน (Creative District) และตั้ง เป็น Creative District Foundation ขึ้นมา ทำ�ไมต้องเป็นมูลนิธิ (Foundation) เชน: มันเป็นกลไกที่ทำ�ให้เราขยายขอบเขตงานได้มากกว่าเดิม แทนที่จะ เป็นอะไรที่ไม่ทางการ เพราะถ้าไม่มีกลไกแบบนี้ เราก็ไม่สามารถจะทำ� โปรเจ็กต์ใหญ่ได้ เดวิด: เราจำ�เป็นต้องตั้งเป็นองค์กรอะไรบางอย่างที่มีความชอบธรรมทาง กฎหมาย เพราะเรารู้ว่าเราคงไปไกลไม่ได้ ถ้าเราไม่เป็นนิติบุคคล เช่นว่า เราจะเข้าไปคุยกับกรุงเทพมหานครได้อย่างไรถ้าเรายังเป็นแค่กลุม่ ทีร่ วมตัว กันอย่างไม่เป็นทางการ

1. ถนั่น ลีลาวณิชกุล / 2. เดวิด โรบินสัน 3. นพดล วีรกิตติ / 4. เชน สุวิกะปกรณ์กุล 5. อตินุช ตันติวิท

เราพูดถึงพื้นที่ในเชิงคอนเซ็ปต์ มากกว่าพื้นที่ทางกายภาพ เรา ต้องการจะโฟกัสทีค่ �ำว่า “ความคิด สร้างสรรค์” ซึง่ พยายามจะนิยาม มันในหลายๆ ทาง แต่สงิ่ หนึง่ ทีเ่ รา เน้นยาํ้ ก็คอื ความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในทุกอุตสาหกรรม

อตินุช: ด้วยความที่เรายังไม่ได้เป็นมูลนิธิ คนก็ยังมีความรู้สึกว่า คนพวกนี้ คือใคร เข้ามาทำ�อะไร เขาก็ยังต้องระวังตัวเขา เราเองก็อธิบายตัวเองไม่ถูก แต่เมื่อไหร่ที่เราจดทะเบียนเป็นมูลนิธิเสร็จเรียบร้อย ซึ่งน่าจะใช้เวลาอีกไม่ เกิน 6 เดือนจากนี้ เมื่อนั้นเราก็จะเข้าหาเขาได้ง่ายขึ้นและมั่นใจมากขึ้น เขาก็จะสบายใจว่าเราไม่ได้จะหาเงินเพื่อไปเข้ากระเป๋าตัวเองนะ เราจะไป ช่วยคุณ เพื่อทำ�อะไร ที่ทำ�ได้ตอนนี้ก็คือพยายามให้เอาพวกเขาเข้ามาอยู่ใน กระบวนการ นี่ก็เพิ่งส่งจดหมายไป บอกว่าเรากำ�ลังทำ�อะไรอยู่ มีแผนการ จะทำ�อะไรต่อไป ย่านสร้างสรรค์ (Creative District) ในความคิดของกลุ่ม จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร อตินชุ : เราคงไม่ได้จ�ำ กัดว่าหน้าตาจะเป็นแบบไหน เพราะทุกอย่างมันก็ตอ้ ง เกิดขึน้ อย่างเป็นธรรมชาติ และต้องพยายามปรับให้มนั เข้ากับบริบทของทีน่ ี่ ด้วย แล้วอีกอย่างที่สำ�คัญคือเราไม่อยากจะสูญเสียความน่ารักของเขตนี้ไป อย่างการมีหลายความเชื่อ หลายเชื้อชาติ หลายวัฒนธรรม มันคงไม่มี รูปแบบที่ชัดเจนว่าเราต้องการอะไร แต่ไหนๆ TCDC ก็จะมาอยู่ตรงนี้แล้ว เราก็อยากจะเห็นว่ามีคนที่ทำ�งานค้าขายในเชิงความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น หรือมีคนเข้ามาใช้พื้นที่มากขึ้น เพราะถ้ามองไปรอบๆ ตอนนี้ เราจะเห็นว่า มีร้านขายของคล้ายๆ กันอยู่เยอะ แล้วเขาก็ไม่ได้ขายกันเรื่องความคิด แต่สู้กันด้วยราคา เราอยากจะเห็นอะไรที่มันแตกต่าง เพื่อที่คนในชุมชนจะ ได้ได้อะไรมากกว่าแค่การลดราคา เพราะในทีส่ ดุ แล้ว ถ้าเธอเอาแต่ลดราคา คนทีไ่ ด้ประโยชน์กค็ อื ลูกค้า แต่ตวั เราเองจะเสียประโยชน์ไปเรือ่ ยๆ เราอยาก เห็นเขาสามารถจะพัฒนา ก้าวไปในเชิงนั้นมากขึ้น

CREATIVE THAILAND I 29


ถนั่น: เราไม่ได้มีภาพที่จะทำ�ตามประเทศไหนในโลก แต่เราพูดถึงพื้นที่ ในเชิงคอนเซ็ปต์มากกว่าพื้นที่ทางกายภาพ เราต้องการจะโฟกัสที่คำ�ว่า “ความคิดสร้างสรรค์” ซึ่งพยายามจะนิยามมันในหลายๆ ทาง แต่สิ่งหนึ่งที่ เราเน้นยํ้าก็คือ ความคิดสร้างสรรค์อยู่ในทุกอุตสาหกรรม ไม่ใช่แค่ในศิลปะ หรือแฟชั่น แต่อยู่ในอาหาร อยู่ในการแก้ปัญหา นพดล: สิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นคือการ Top Down มาบอกว่าตรงนี้ต้อง เป็นอะไร แต่มันต้องเป็นเหมือนประชามติของพื้นที่เอง เพียงแต่ว่าในอดีต มีเมืองหลายเมืองที่ถูกปล่อยไว้โดยไม่มีกรอบอะไรเลย แล้วมันก็กลายเป็น อะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราทำ�คือเหมือนเป็นกรอบหลวมๆ ที่มาช่วย กันนำ�เสนอว่าพื้นที่นี้มันควรจะเป็นอะไรได้บ้าง บางเรื่อง เราอาจจะเป็น ตัวกลางสื่อสารกับรัฐว่า แทนที่จะไปทุบตึกทิ้ง มาดูก่อนไหมว่าตึกนี้มัน สามารถที่จะอยู่ได้ เอามาใช้ประโยชน์ได้ มีรูปแบบการทำ�งานอย่างไรเพื่อให้เจริญกรุงกลายเป็นย่าน สร้างสรรค์ เดวิด: เราแบ่งขอบเขตการทำ�งานออกเป็น 6 ประเด็น ได้แก่ ศิลปะและ การแสดง งานออกแบบและดิจิทัล การอนุรักษ์อาคารเก่า การวางผังเมือง ชุมชน และอาหาร แต่เราต้องระมัดระวังในสิ่งที่เรากำ�ลังพยายามทำ�อยู่ เพราะที่นี่คือหนึ่งในพื้นที่ที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพฯ มีคนอาศัยอยู่มาหลาย ชั่วคน ดังนั้น สิ่งที่เรากำ�ลังทำ� การเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นย่านสร้างสรรค์ ก็ต้องดูด้วยว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ แคร์ไหมเมื่อมีคนใหม่ๆ เข้ามา เรื่อยๆ อย่างสมาชิก TCDC หรือแขกของโรงแรมเกิดใหม่ แล้วเราจะดึง พวกเขาเข้ามารวมกันอย่างกลมกลืนได้ไหม เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคน ท้องถิ่นจะได้ประโยชน์ ซึ่งนี่คือเหตุผลว่าทำ�ไมการป้องกันไม่ให้ราคาค่าเช่า แพงขึน้ เป็นเรือ่ งสำ�คัญ และเป็นหนึง่ ในงานหลักๆ ทีเ่ ราต้องทำ� เพราะฉะนัน้ สิ่งที่ผมมองว่าต้องระวังอยู่เสมอก็คือ การแน่ใจว่าเรารับฟังชุมชน แน่นอน ว่าผมไม่ใช่คนในชุมชน ผมคือผู้มาเยือน คนอื่นๆ อาศัยอยู่ที่นี่ ทำ�งาน ทำ� ธุรกิจที่นี่ ไปโรงเรียน สวดมนต์ที่นี่ ดังนั้น เราจะต้องระมัดระวังกับเรื่อง พวกนี้ และถ้าเราทำ�งานในลักษณะของความร่วมมือ (Partnership) อย่าง มีประสิทธิภาพ ทุกอย่างมันจะโอเค เชน: เราต้องทำ�อะไรต่างๆ ร่วมกับคนในชุมชนให้มีผลลัพธ์จับต้องได้ ให้ทางภาครัฐเห็นเป็นตัวอย่าง เขาถึงจะไปเปลีย่ นนโยบายทีจ่ ะมาช่วยเหลือ เรา สมมติเราบอกไปปากเปล่าว่าตรงนีจ้ ะเป็นย่านสร้างสรรค์นะ คุณต้องลด ภาษีให้ฉันอย่างนู้นอย่างนี้ เขาอาจจะมองไม่เห็น แต่ถ้าเราแสดงตัวเลขได้ ว่าวิธีที่จะทำ�ให้เศรษฐกิจก้าวหน้าคืออะไร โปรเจ็กต์ที่เราทำ�ไป วิธีการเป็น แบบนี้ พวกเราทำ�กันเองได้ผลลัพธ์แบบนี้ แต่ถ้าได้รับความช่วยเหลือเรื่อง นโยบาย ผลลัพธ์มันจะก้าวหน้าไปไกลได้อีกมากขนาดไหน

อตินุช: จริงๆ อย่างพี่ด้วง (ดวงฤทธิ์ บุนนาค ผู้ร่วมก่อตั้ง Creative District Foundation) เขาก็คิดไปถึงว่า ชุมชนอื่นหรือที่อื่นอาจจะเอาโมเดลที่ พวกเราทำ�ไปทำ�บ้างยังได้เลย คือเราไม่ได้จะกำ�หนดว่าอยู่ที่นี่มันต้องเป็น แบบนี้นะ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการทำ�งานร่วมกันมากกว่า ซึง่ เรื่องการทำ�งานร่วมกัน (Collaboration) มันค่อนข้างจะใหม่ในสังคมไทย เราต่างคนต่างอยู่กันมากกว่า ถ้าฉันไปร่วมมือกับคนอื่นมันจะทับซ้อน ผลประโยชน์กันหรือเปล่า เพราะฉะนั้นการทำ�งานร่วมกันจึงค่อนข้างยาก สิ่งที่เราทำ�ใน 5 ปีนี้ก็หวังว่าคนจะเข้าใจว่า Collaboration มันเป็นการ ช่วยกัน ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็นการโตไปด้วยกัน อย่าง Gallery Hopping เกิดขึ้นมาได้เพราะเราไม่ได้คิดว่าเรามาแข่งกัน แต่เราช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน คุณพูดถึงเรื่องลดภาษีกับการป้องกันไม่ให้ค่าเช่าแพงขึ้น มันคือสิทธิประโยชน์ทจี่ ะช่วยให้เจริญกรุงเป็นย่านสร้างสรรค์ ได้อย่างไร เดวิด: เราอยากให้มภี าษีพเิ ศษสำ�หรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในพืน้ ทีแ่ ถบนี้ อาจจะลดภาษีให้คนที่เข้ามาตั้งกิจการในพื้นที่ เช่น ถ้าไปทำ�ที่อื่นจ่ายภาษี 30% มาที่นี่จ่ายแค่ 20% นพดล: จริงๆ มันเทียบได้กับโครงการอย่างนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด ว่าถ้าเขาได้รับประโยชน์เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุน อุตสาหกรรม สร้ า งสรรค์ ก็ ค วรจะได้ บ้ า ง ในเชิ ง สาธารณู ป โภคพื้ น ฐาน (Hard Infrastructure) เขาไปสร้างถนน สร้างโรงไฟฟ้า เพื่อชักจูงโรงงานให้ เข้ามาตั้ง ของเราก็คือทำ�อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสิ ทำ�ถนนให้มันดีสิ ทำ�ไฟ ให้สว่าง ปลอดภัยตอนกลางคืน ส่วนที่เป็นผลประโยชน์อื่นๆ ที่เรียกว่า Soft Infrastructure เช่น การลดภาษีให้คนที่เข้ามา ก็จะช่วยให้ย่านนี้เป็น ย่านสร้างสรรค์เร็วขึ้น ถนัน่ : ส่วนเรือ่ งค่าเช่ามันเกีย่ วข้องกับประเด็นเรือ่ ง Gentrification เป็นอย่าง มาก และยังอาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการ Gentrification มากที่สุดก็ ว่าได้ Gentrification หมายถึงเมื่อพื้นที่น่าอยู่ ค่าเช่าก็เริ่มแพง คนจ่าย ค่าเช่าไม่ไหว กลายเป็นพื้นที่เอ็กซ์คลูซีฟ ซึ่งในการทำ�งานของพวกเรา เรามักจะพูดกันอยู่เสมอๆ ว่า ไม่ต้องก้าวเร็วเกินไป เพราะไม่อย่างนั้นเรา จะควบคุมมันไม่ได้ ในขณะทีเ่ รากำ�ลังทำ�โปรเจ็กต์หลายๆ โปรเจ็กต์ ผมคิด ว่าเราควรต้องพูดถึงการควบคุมราคาค่าเช่า (Rent Control) ไปพร้อมๆ กัน ด้วย เพื่อว่าเมื่อทั้งสองอย่างนี้มันเดินไปพร้อมกัน มันจะเป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิด Gentrification ไปได้ด้วย เพราะว่าถ้าเราทำ�แต่โปรเจ็กต์ แน่นอน ราคาค่าเช่าพุ่งแน่ แต่ถ้าทำ�พร้อมกัน ก็หวังว่าค่าเช่าจะยังเท่าเดิม นั่น หมายความว่าคุณได้ป้องกันการเกิด Gentrification ได้ส่วนหนึ่ง คุณคงไม่ สามารถป้องกัน Gentrification ทั้งหมดได้แน่ๆ แต่เราป้องกันส่วนหลักๆ ของมันได้

CREATIVE THAILAND I 30


การท�ำงานร่ ว มกั น จึ ง ค่ อ นข้ า ง ยาก สิง่ ทีเ่ ราท�ำใน 5 ปีนกี้ ห็ วังว่า คนจะเข้าใจว่า Collaboration มัน เป็นการช่วยกัน ไม่ใช่การแข่งขัน แต่เป็นการโตไปด้วยกัน

มีวิธีการอย่างไรบ้างในการดึงคนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม มีปัญหาบ้างไหม เดวิด: ตั้งแต่แรกที่เราคิดจะทำ�พื้นที่สร้างสรรค์ เราจัดประชุมกับคนทั้งใน และนอกพื้นที่อยู่ 6-7 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าเรากำ�ลังเดินไปในทางที่ถูกต้อง และชุมชนก็เห็นด้วย ซึ่งภารกิจหลักอีกอย่างที่เราต้องทำ�ก็คือหาความ ร่วมมือจากพาร์ทเนอร์ เพราะเราไม่ได้รู้จักชุมชนมากเท่ากับคนอื่นๆ เช่น ถ้าเราต้องการทำ�งานกับชุมชนมุสลิม เราก็ควรต้องทำ�งานกับคนที่เป็น ส่วนหนึ่งของชุมชนนั้น อตินชุ : ตัง้ แต่เริม่ มายังไม่มปี ญั หา เราทำ�โปรเจ็กต์เล็กๆ เป็น Wall Projection (การฉายภาพงานศิลปะบนกำ�แพง) เราก็พยายามจะดึงคนในชุมชนเข้ามา มีส่วนร่วม เช่นว่าเขาอยากจะเห็นอะไรบนกำ�แพงของเขา แต่มันก็ยังยาก เพราะว่าอยู่ๆ เดินเข้าไปที่โรงเรียน เขาก็ถามว่าคุณเป็นใครมาจากไหน เราก็อธิบายตัวเองไม่ได้ ทางโรงเรียนเขาก็ทำ�ได้แค่ช่วยประสานให้ แต่ทำ� อะไรมากไปกว่านั้นไม่ได้ เพราะมันยังไม่มีระบบที่เขาจะบอกได้ว่า มีมูลนิธิ นี้มาขอทำ�งาน มีจดหมายมา เดวิด: หรืออย่างบุกรุกเฟสติวัล ไอเดียก็คือการทำ�งานกับชุมชนในพื้นที่ ดังนัน้ พวกเขาคือส่วนหนึง่ ของโปรเจ็กต์ พวกเขาสามารถมาเพ้นท์ก�ำ แพงได้ อตินุช: มีเด็ก 5-6 ขวบอยู่คนหนึ่งมาด้อมๆ มองๆ แล้วก็สะกิดถามว่า ขอเพ้นท์ดว้ ยได้ไหม ซึง่ เขาก็มาเพ้นท์ทกุ วันอย่างตัง้ ใจ เขาอยูต่ รงวัดม่วงแค พอเราจะกลับบ้านเราก็บอกเขาว่า เฝ้ากำ�แพงให้ด้วยนะ อย่าให้ใครมาทำ� อะไรเลอะเทอะ เขาก็บอกว่า ได้เลยๆ คือมันก็ต้องค่อยเป็นค่อยไปแบบนี้ ให้เขาเห็นว่าเราทำ�อะไรก่อน พิสูจน์ตัวเองให้เขาเห็นก่อน แล้วหลังจากนั้น มันก็น่าจะมีโอกาสดึงเขาเข้ามาทำ�งานได้ง่ายขึ้น

เดวิด: อีกหนึ่งโปรเจ็กต์ก็คือ โรงหนังปริ๊นซ์ กรมธนารักษ์ เขาอยากให้มีคน มาเช่าโรงหนังปริ๊นซ์ไปทำ�อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งกลุ่มเราก็พยายามจะร่วมเสนอ โปรเจ็กต์เข้าไป โดยที่เราเข้าไปถามชุมชนว่าพวกเขาต้องการอะไร ถนั่น: เราส่งนักมานุษยวิทยาเข้าไปเลย เพราะว่าเขามีความสามารถในการ สัมภาษณ์เก่งกว่าพวกเรา คือรู้ว่าจะคุยกับชุมชนอย่างไร แต่พวกเราก็ เรียนรูจ้ ากพวกเขาเหมือนกัน เพราะวันหลังพวกเราก็ตอ้ งทำ�เอง มันค่อนข้าง เซนซิทฟี อย่างเรือ่ งวิธกี ารพูดเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูล ก็ตอ้ งระวังว่าเราไม่ได้ไปข่มขู่ บังคับเขา เราไม่พูดถึงย่านสร้างสรรค์เลย แต่ถามว่าคุณต้องการอะไร ซึ่งก็ เป็นวิธีที่ทำ�ให้เราได้ข้อมูลที่แท้จริงมาใช้ต่อไป รู้สึกอย่างไรที่บางคนมองว่าโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ขนส่ง มวลชน ถนน ยังไม่ดีเลย แล้วจะไปพัฒนาด้านอื่นๆ ในเชิง สุนทรียะ เช่น สตรีทอาร์ต ได้อย่างไร เดวิด: คนเรามีวิธีการที่ต่างกันในการทำ�อะไรก็ตามให้สำ�เร็จ ตอนผมยังเด็ก อาศัยอยูใ่ นออสเตรเลีย มันมีโครงการจะตัดต้นไม้เพือ่ สร้างเขือ่ นในทัสมาเนีย พวกนักสิง่ แวดล้อม นักเคลือ่ นไหวก็ออกมาต่อต้านด้วยการล่ามตัวเองไว้กบั ต้นไม้ ซึง่ นัน่ ทำ�ให้หลายสิบปีตอ่ มาพืน้ ทีต่ รงนัน้ ยังคงสวยงามตามธรรมชาติ เพราะสิ่งที่คนพวกนั้นทำ� แต่มันก็คงไม่ใช่คำ�ตอบสำ�หรับทุกอย่าง ถ้าเรา ต้องการจะรักษาตึกเก่าไว้ บางทีวธิ ที เี่ หมาะอาจจะเป็นการทำ�หนังสือ ชืน่ ชม และนำ�เสนอความงามของตึกพวกนี้ มันมีวธิ กี ารทีห่ ลากหลายในการจัดการ กับแต่ละเรือ่ งทีต่ า่ งกัน องค์กรหรือมูลนิธหิ ลายๆ แห่ง อาจจะโฟกัสแค่ประเด็นใดประเด็นหนึง่ เช่น สิทธิสตรี การศึกษา แต่ดำ�เนินงานทั่วกรุงเทพฯ กลุ่มของเราโฟกัส หลายอย่าง แต่เป็นหลายอย่างที่สัมพันธ์กัน ในพื้นที่เล็กๆ เราพยายามจะ มององค์รวม และพยายามจะบอกว่า การมีความสุข มีความคิดสร้างสรรค์ มีสุขภาพที่ดี มีสถานที่ที่น่าอยู่ มันเชื่อมโยงกัน เชน: สิ่งที่เราทำ�มันเกี่ยวกับปากท้องโดยตรง เราทำ�ตรงนี้ เพื่อให้มันพัฒนา ขึน้ มา เศรษฐกิจมันถึงจะเพิม่ เพือ่ ทีท่ กุ คนมีรายได้ดขี นึ้ เพราะความพยายาม เล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ พวกนี้ เดวิด: ตอนทีเ่ ราทำ�บุกรุกเฟสติวลั พ่อค้าแม่คา้ ถามว่าจะทาสีก�ำ แพงไปทำ�ไม แต่ตอนนี้ เราเห็นมีคนมาถ่ายรูปกำ�แพงพวกนี้ แล้วก็ซื้อของ ซื้ออาหารจาก พ่อค้าแม่ค้าพวกนั้น ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าเขาก็โอเค เพราะยิ่งมีคนเข้ามามากๆ ก็ หมายถึงจะขายดีขึ้นตามไปด้วย อตินุช: จริงๆ ความคิดสร้างสรรค์มันคือการแก้ปัญหา แต่บางอย่างเราก็ ยอมรับว่ามันยากที่จะทำ� เช่น เรื่องถนน ไม่ใช่ว่าเราจะทำ�คนเดียว หรือ กรุ ง เทพมหานครทำ � คนเดี ย ว มั น ต้ อ งเกี่ ย วโยงกั บ อี ก หลายหน่ ว ยงาน ถามว่าเราอยากจะทำ�ไหม มันก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราจะทำ� อย่างที่ว่าว่า ความคิดสร้างสรรค์คอื การแก้ปญั หา ไม่ใช่เรือ่ งความสวยงาม แต่มนั จะเป็น ตัวดึงดูดความสนใจแรกของคน

CREATIVE THAILAND I 31


อีก 5 ปีข้างหน้า มองเห็นเจริญกรุงเป็นอย่างไร อตินุช: เรามองว่าพื้นที่นี้มันเหมือนค่อยๆ แก่ลง เพราะไม่มีการพัฒนา จากทีเ่ คยเป็นถนนเส้นแรกคนก็เริม่ ออกไปทีอ่ นื่ จากทีเ่ คยเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจ ทุกอย่างมันย้ายไปอยู่ฝั่งสีลมหมดเลย เราก็อยากจะทำ�ให้เขา ฟื้นคืนขึ้นมาได้ แต่เป็นการฟื้นคืนโดยที่ไม่เสียเสน่ห์ของเขาไป เชน: ตรงนี้คือจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองเก่าในเขตพระนครที่เก่าแบบดั้งเดิม ไปเลย กับเมืองใหม่ที่เป็นธุรกิจ มันมีเรื่องราวที่สามารถจะเล่าได้เพื่อ เติมเต็มเรื่องราวของกรุงเทพฯ ให้สมบูรณ์ได้อีกมาก นพดล: ที่นี่มีประวัติศาสตร์ที่แข็งแรงมาก มีการผสมผสานทางวัฒนธรรม มาก พุทธ คริสต์ อิสลาม จีน ไทย เป็นความวุ่นวายในเชิงบวก (Positive Chaos) ที่น่าสนใจมาก ก็อยากให้คงความเป็นแบบนี้ไว้ การฟื้นพื้นที่ขึ้นมา ในศตวรรษที่ 21 ซึง่ มีคนรุน่ ใหม่เป็นคนบุกเบิก มันน่าตืน่ เต้นมากทีจ่ ะได้เห็น ความวุ่ น วายที่ เ ป็ น เสน่ ห์ ข องประเทศไทยนี้ มี ชี วิ ต ขึ้ น มาอี ก ครั้ ง ไม่ ใ ช่ เรียบกริบอย่างสิงคโปร์ แต่มีความสนุกสนานซ่อนอยู่ตามซอกซอย จะไป กินโรตี เดินทะลุซอยไป ก็เจอร้านเล็กๆ ขายของเต็มไปหมดแบบนั้น

พื้นที่จุดไหนในย่านที่ชอบที่สุด

นพดล: พื้นที่ริมน�้ำตรงตึกกสท. (CAT) อยากพัฒนาให้เป็นที่ทคี่ นสามารถไป ท�ำกิจกรรมริมน�ำ้ ได้ กินกาแฟ ปิกนิก ออกก�ำลังกาย หรือเป็นทางเดินริมน�้ำ เชื่อมไปรถไฟฟ้าแทนที่จะเดินตรงถนน ถนั่น: พื้นที่เจริญกรุงซอย 36, 38, 40 เพราะถ้ามองในเชิงผังเมืองตรงนี้มี ลักษณะเป็นกริดทีม่ี ศี กั ยภาพในการพัฒนาเป็นเส้นทางเดินเท้าทีด่ ไี ด้เลย มีตกึ ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล O.P. Place ศุลกสถาน ตึก The East Asiatic Company ชุมชนฮารูณ อตินุช: วัดสวนพลู ทั้งๆ ที่เป็นวัดใจกลางเมือง แต่พอเข้าไปแล้วรู้สึกพิเศษ เป็นวัดที่ยังไม่วุ่นวาย มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย

ย่านสร้างสรรค์หรือเมืองสร้างสรรค์ที่ชอบ

เดวิด: Carriageworks ทีซ่ ดิ นียเ์ ปลีย่ นสถานีรถไฟเก่าให้เป็นพืน้ ทีแ่ สดงศิลปะ อเนกประสงค์ (Multi-arts Centre) เชน: Chicago Riverwalk เป็นทางเดินริมน�้ำที่มีบันไดให้คนนั่งชื่นชม แม่น�้ำได้ ด้านหลังบันไดเป็นถนน ซึ่งก่อนหน้านี้จะมานั่งแบบนี้ไม่ได้ เพราะ จะเห็นเป็นเสาเหล็ก มีรถขับผ่านไปมา ติดตามความเคลื่อนไหวเพิ่มเติมได้ที่ www.creativedistrictbangkok.com

CREATIVE THAILAND I 32


CREATIVE THAILAND I 33


Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

ใครจะคาดคิ ด ว่ า เพี ย งระยะเดิ น ไม่ กี่ ก้ า วจากปากซอย เจริญกรุง 34 ในย่านการค้าเก่าแก่ จะพาเรามาพบกับ บ้านไม้โบราณสองชั้นสีเขียวละมุนที่ได้รับการบูรณะและ ตกแต่งใหม่อย่างสวยงามแห่งนี้ ประตูหน้าต่างที่เปิดโล่ง ดูโปร่งสบาย เชิญชวนให้ผู้มาเยือนก้าวเท้าเข้ามาอย่างสนใจ ใคร่รู้ ก่อนจะต้องประหลาดใจอีกครั้งเมื่อพบกับบรรยากาศ อบอุน่ น่ารัก และหนังสือสีสนั สดใสนับพันเล่มซึง่ จัดวางอยูใ่ น ตะกร้า ที่นี่คือ “ดรุณบรรณาลัย” ห้องสมุดสำ�หรับเด็ก ปฐมวัยแห่งแรกของประเทศไทย ซึง่ เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อต้นปี 2559 ห้องสมุดดรุณบรรณาลัยเกิดจากการร่วมมือระหว่างมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก และสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข รวมถึง งบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิสำ�นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยได้รับการออกแบบจากสถาปนิกอาสา บริษัท แปลน อาร์คิเทค ลงมือ บูรณะอดีตบ้านพักข้าราชการสมัยรัชกาลที่ 6 โดยคงโครงสร้างเดิมไว้ ออกแบบพืน้ ทีก่ ารเรียนรูส้ �ำ หรับเด็กให้อา่ นหนังสือได้ในหลากหลายอิรยิ าบถ ซึ่งได้รับการต่อยอดแนวคิดมาจากโครงการหนังสือเล่มแรก หรือ Bookstart Thailand ทีม่ ตี น้ แบบจากประเทศอังกฤษ ในการกระจายหนังสือสูส่ าธารณะ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าถึงหนังสือมากที่สุด นอกจากนี้การออกแบบ ภายในและรูปแบบการทำ�งานยังได้รับแนวคิดมาจาก “บุงโกะ” ของญี่ปุ่น ที่เริ่มจากแม่บ้านชาวญี่ปุ่นซึ่งต้องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ประจวบ กับห้องสมุดในสมัยนั้นมีจำ�นวนน้อยและห่างไกลจากชุมชน จึงแปลงบ้าน เป็นห้องสมุด โดยเปิดให้บริการประมาณสัปดาห์ละสองวัน มีทั้งหนังสือ และกิจกรรมสำ�หรับเด็ก รูปแบบของบุงโกะจึงมีความเป็นบ้านและความ เป็นกันเอง

เมื่อเข้ามาในห้องสมุดจะพบกับหนังสือที่ได้คัดสรรอย่างพิถีพิถันวาง เรียงรายอวดหน้าปกอยู่บนชั้นวางเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กวัยซน นอกจากนี้ บรรณารักษ์ยงั ได้ออกแบบการจัดเก็บหนังสือด้วยภาพสัญลักษณ์ ง่ายๆ เพื่อให้เด็กเล็กได้ฝึกวินัยในการเก็บของด้วยตนเอง ปัจจุบันที่นี่มีหนังสือสำ�หรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 7 ปี ทั้งภาษาไทย และอังกฤษ 2,800 เล่ม และบรรณารักษ์ที่พร้อมให้คำ�แนะนำ�พ่อแม่ในการ อ่านหนังสือกับเด็กเล็ก คุณสุธาทิพ ธัชยพงษ์ รองประธานมูลนิธหิ นังสือเพือ่ เด็กและผู้อำ�นวยการห้องสมุดดรุณบรรณาลัยกล่าวว่า หัวใจของห้องสมุด เด็กคือกิจกรรม ดังนั้นนอกจากจะเปิดให้บริการทุกวันพุธ-อาทิตย์แล้ว ทุ ก วั น เสาร์ ยั ง มี กิ จ กรรมเล่ า นิ ท าน และทุ ก วั น อาทิ ต ย์ ห้ อ งสมุ ด จะจั ด “นิทานในลานหญ้า” และเวิร์กช็อปพิเศษซึ่งจะสับเปลี่ยนหมุนเวียนทุก สัปดาห์ เพือ่ ให้เด็กๆ ได้ฟงั นิทานร่วมกับพ่อแม่ รวมทัง้ ทำ�กิจกรรมกับเพือ่ น วั ย เดี ย วกั น เช่ น กิ จ กรรมวาดรู ป กิ จ กรรมเข้ า จั ง หวะ ฯลฯ โดยมี ผู้เข้าร่วมเฉลี่ยครั้งละ 30 ครอบครัว และในปีนี้ จะเน้นการจัดกิจกรรม เวิร์กช็อปให้พ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเพิ่มกิจกรรมเล่านิทานในวันเสาร์ เพื่อ แนะนำ�วิธีใช้หนังสือภาพและเจาะลึกรายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่ม “ในระหว่างกิจกรรม เด็กๆ จะนั่งอยู่ด้วยกันกับพ่อแม่ พ่อแม่ก็จะได้เห็น เลยว่าจากลูกที่วิ่งซนอยู่ พอได้อ่านนิทานให้ฟังแล้วลูกเขาสามารถนิ่งลง ได้จริงๆ” คุณคัธริน กอประคอง ประชาสัมพันธ์ของดรุณบรรณาลัยอธิบาย นอกจากนี้ การเข้าร่วมกิจกรรมยังทำ�ให้พ่อแม่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และ วิธีการแก้ไขปัญหาระหว่างกันอีกด้วย ดรุณบรรณาลัยจึงเป็นอีกหนึ่งต้นแบบพื้นที่สร้างสรรค์ที่เกิดจากความ ตัง้ ใจและความร่วมมือจากหลายหน่วยงานในการพัฒนาศักยภาพของเด็กๆ และสร้างสังคมที่แข็งแรง ด้วยความมุ่งหวังอย่างยิ่งว่า ในอนาคตจะมีพื้นที่ เพื่อการเรียนรู้ พบปะ และสานสัมพันธ์เกิดขึ้นในทุกๆ ชุมชน

ดรุณบรรณาลัย: เลขที่ 1 ซ.เจริญกรุง 34 (วัดม่วงแค) เขตบางรัก กทม.10500 โทร. 02-630-5953-4 / ติดตามข่าวสารที:่ darunbannalai.in.th และ Facebook: ดรุณบรรณาลัย ห้องสมุดเด็กปฐมวัย CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.