Creative Thailand Magazine

Page 1

Creative Startup Freshket

Creative City สยามสแควร์

The Creative ปราบดา หยุ่น

Tore Bustad

พฤษภาคม 2560 ปีที่ 8 I ฉบับที่ 8 แจกฟรี


พบกิจกรรมหลากหลาย บร�การใหม และพ�้นที่สรางสรรค

5-7 พฤษภาคม 2560

ณ TCDC อาคารไปรษณียกลาง เจร�ญกรุง


flickr.com/photos/Caroline Davis2010

EXPLORATION IS THE ENGINE THAT DRIVES INNOVATION. การสำ�รวจคือเครือ่ งมือขับเคลือ่ นนวัตกรรม Edith Widder นักสมุทรศาสตร์และนักประดิษฐ์ ผูบ้ นั ทึกภาพปลาหมึกยักษ์ใต้ทะเลลึกครัง้ แรกในประวัตศิ าสตร์


Contents : สารบัญ

The Subject

6

ล็อกจักรยานด้วยเบาะที่นั่ง Food for All / รถประจำ�ทางเพื่อสิง่ แวดล้อม LYFE ปลูกต้นไม้ในอากาศ

Creative Resource 8 Featured Book / Books / Movie

Matter 10 The New Craft ครามกับภาพลักษณ์ใหม่

Local Wisdom

12

Cover Story

14

ไทยสร้าง ไทยสรร

Thailand Creative Lanscape หวนมองอดีตการสร้างสรรค์ไทยใน 6 ทศวรรษ

Insight 20 Approaches of Creativity สร้างสรรค์อย่างไรเพื่อวันนี้และอนาคต

Creative Startup 22 Freshket: Freshen up the Market

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

สยามสแควร์ กับกระแสการเปลี่ยนผ่านแห่งยุคสมัย

ปราบดา หยุ่น: เท่าทันโลก ในแบบไทยๆ?

บ้านพิพิธภัณฑ์ ทุกอดีตล้วนมีค่า เมื่ออนาคตมาถึง

บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ที่ปรึกษา l ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ , โศภิษฐา ธัญประทีป เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมเี ดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ นักศึกษาฝึกงาน l ไทกล้า หมายเจริญ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

เมื่อความหวั่นใจในความไม่แน่นอนได้แผ่คลื่นมาปกคลุมสถานการณ์โลก เงื่อนไขในการดำ�เนินชีวิตก็ทวีความยุ่งยากขึ้นทันที เพราะอยู่ๆ เราก็ต้อง พะวักพะวงไปกับทีท่าของผู้นำ�โลก รวมทั้งการตัดสินใจของใครคนหนึ่ง ในประเทศที่ห่างไกลกันเป็นพันๆ ไมล์ ที่อาจส่งผลถึงชีวิตเราแบบไม่ทัน รู้เนื้อรู้ตัว แม้ความเปลีย่ นแปลงไม่ใช่เรือ่ งยากเกินจะรับมือ แต่การเปลีย่ นแปลงของ สถานการณ์โลกในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง ทั้งโครงสร้างทาง การเมืองที่ทัศนคติแบบขวาจัดหรือชาตินิยม ได้ถูกปลุกเร้าขึ้นมารับมือกับโลก ไร้พรมแดนที่เคยเป็นคำ�ขวัญของยุคมิลเลนเนียม โครงสร้างการผลิตที่ลดและ เลิกพึ่งพาทุนการผลิตแบบอุตสาหกรรมเดิมมาเป็นดิจิทัลเทคโนโลยี แรงงาน แบบเดิมที่ทดแทนได้ด้วยหุ่นยนต์ที่ไร้การประท้วงหยุดงาน ลูกค้าเก่าที่เย็นชา ไปพร้อมกับความทรงตัวของเศรษฐกิจ สู่ลูกค้าใหม่ เจเนอเรชั่นใหม่ ที่ยึดติด ความพึงพอใจเป็นทีต่ ง้ั และเมือ่ หันมามองตัวเลขทีส่ ะท้อนความเป็นจริง เมือ่ เร็วๆ นี้ สำ�นักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ หรือโอเอ็นเอส (Office for National Statistics) รายงานว่า ยอดค้าปลีกหดตัว 1.4% ในช่วงไตรมาสแรกปี 2560 ซึ่ง ยํ่าแย่ที่สุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ความซบเซาบ่งชี้ว่า การใช้จ่ายของประชาชน ชะลอตัวลงอย่างมาก สถานการณ์ดงั กล่าวส่งผลให้ตลาดหุน้ ลอนดอนปรับตัวลง และจะกระทบต่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดพี )ี ของอังกฤษ ราว 0.1% ในไตรมาสแรกด้วย ซึ่งตลาดหุ้นอังกฤษยังผันผวนจากข่าวผู้เข้าชิง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ที่มีนางมารีน เลอ แปน (Marine Le Pen) แคนดิเดต คนสำ�คัญกับนโยบายขวาจัดที่มุ่งนำ�ฝรั่งเศสออกจากสหภาพยุโรป ซึ่งหาก เป็นจริง จะนำ�ความปั่นป่วนมาสู่สหภาพยุโรปอีกครั้งหลังจากปรากฏการณ์ เบร็กซิต (Brexit) ที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่ยุ่งยาก เช่นนี้ พร้อมๆ กับการเตรียมตัวในเส้นทางการปฏิรูปในมิติต่างๆ ที่กำ�ลังจะ

divisare.com

Keep Challeng ing เกิดขึ้น การก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงในความอ่อนไหวหลายประการ ทำ�ให้เราต้องสำ�รวจความเป็นไปได้ในความสามารถ ขีดจำ�กัด และเป้าหมาย ที่เราได้มุ่งหวัง และนับเป็นโอกาสอันดีอีกครั้ง หลังจากการผลิดอกออกผลเมื่อ หลายปีก่อน ที่ในวันนี้ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยก็ได้รับการเชื้อเชิญให้ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือใหม่ของการพัฒนาประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์ อันยุ่งยากนี้อีกครั้ง การเติบโตของธุรกิจความคิดสร้างสรรค์มกี ารเดินทางทีเ่ ต็มไปด้วยเรือ่ งราว อันสะท้อนมาจากเสียงของสังคมไทยและสังคมโลก เราผ่านยุคเพื่องฟูของ เศรษฐกิจฟองสบู่ สูย่ คุ รัดเข็มขัด ปิดสถาบันการเงิน อาคารร้าง และการตกงาน มาถึงยุคที่คำ�ว่า SMEs คือโช๊กอัพทางเศรษฐกิจใหม่ ที่มาพร้อมนโยบาย เศรษฐกิจคู่ขนาน (Dual Track) ซึ่งพึ่งพิงการส่งออกพอๆ กับการสร้างรายได้ จากชุมชน และเราก็เดินทางมาถึงวันทีพ่ ลเมืองไทยและพลเมืองโลกไม่สามารถ แยกกันได้ แรงกดดันทางเศรษฐกิจ ความบีบคั้น หรืออิสระทางความคิด ล้วนเป็นที่มาของผลงานสร้างสรรค์ทั้งสิ้น ในฐานะนักสร้างสรรค์ การคิดค้นที่ นำ�ไปสูก่ ารสร้างผลิตภัณฑ์ทตี่ อบสนองวิธคี ดิ และวิถกี ารใช้ชวี ติ ของผูค้ นจึงเป็น เรื่องท้าทายมิใช่น้อย เพราะความคิดสร้างสรรค์ที่จะผันตัวเองให้กลายเป็น เครือ่ งมือในการผลิต เป็นฟันเฟืองทางธุรกิจ และก้าวไปถึงจุดทีเ่ ป็นกลไกระดับ ประเทศได้ ต้องพิสูจน์ให้เห็นมวลรวมของการเชื่อมโยงความเจริญรุดหน้าใน ด้านต่างๆ ของสังคม สะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ในห้วงเวลานั้นๆ บางครั้งผู้คนอาจไม่ได้จดจำ�ชื่อนักสร้างสรรค์หรือเคยผ่านตากับงาน ออกแบบ กระทั่งจุดที่มีผู้คนชื่นชมในผลงานและศิลปิน แต่ผลงานที่มีคุณค่า นัน้ ก็ไม่ได้จบลงทีก่ ารจดจำ�เท่านัน้ แต่กลับต้องการการเติบโตต่อไปเพือ่ อนาคต และในฐานะนักสร้างสรรค์แล้ว ความเสี่ยงที่จะเผชิญกับสิ่งใหม่ต่างหากที่จะ เป็นเครื่องวัดว่าเรามีคุณค่าเพียงใด อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์ ไทกล้า หมายเจริญ และ ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

seatylock.com

ล็อกจักรยานด้วยเบาะที่นั่ง

ชุด Seatylock แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. ตัวอแดปเตอร์สำ�หรับติดตั้ง ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถติดตั้งได้กับโครงอานจักรยานทุกประเภท และ 2. ตัวเบาะ ทีท่ �ำ จากวัสดุเพือ่ ผูใ้ ช้จกั รยานโดยเฉพาะ โดยมีขนาด รูปทรง และ สีให้เลือกหลายประเภทเพื่อตอบสนองรสนิยมและการใช้งานของผู้ใช้ จักรยาน ทัง้ นีต้ วั โซ่มคี วามยาว 1 เมตร ทำ�จากเหล็กผสมสแตนเลสคุณภาพดี นํ้าหนักเบา แข็งแรง ผ่านการทดสอบด้วยวิธีทำ�ลายตัวล็อกในรูปแบบต่างๆ มาแล้ว ทัง้ ยังใช้เวลาไม่ถงึ นาทีในการติดตัง้ และถอดล็อก ราคาทัง้ ชุดอยูท่ ร่ี าว 115 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 4,000 บาท Seatylock เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้การ ออกแบบมาช่วยปรับแต่งสิง่ ทีม่ อี ยูใ่ ห้มหี น้าทีก่ ารใช้งานหลากหลายยิง่ ขึน้ ได้ และนัน่ จะช่วยให้การใช้ชวี ติ ของมนุษย์สะดวกสบายมากยิง่ ขึน้ ตามทีต่ อ้ งการ นั่นเอง ที่มา: seatylock.com

คงจะดีไม่น้อยถ้าเราสามารถประยุกต์สิ่งที่มีอยู่ให้ดีกว่าเดิม โดยนำ�การ ออกแบบผสมผสานมาปรับใช้กับกระบวนการคิดสร้างสรรค์ เปลี่ยนสิ่งที่มี อยู่ให้มีประสิทธิภาพหรือใช้งานได้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น รายงานสถิตขิ องประเทศอังกฤษพบว่าใน 1 ปี อังกฤษมีจกั รยานถูกขโมย ไปถึง 300,000 คัน หรือเฉลี่ยได้ว่าทุกๆ 90 วินาทีจะมีการโจรกรรมจักรยาน เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาที่นักปั่นมักลืมพกที่ล็อกจักรยานไปด้วย เมื่อ นำ�จักรยานไปจอดตามสถานที่ต่างๆ จึงทำ�ให้ง่ายต่อการขโมย ปัญหานี้นำ� มาสูแ่ นวคิดทีว่ า่ ถ้าเราดีไซน์ให้สว่ นใดส่วนหนึง่ ของจักรยานสามารถปรับใช้ เป็นที่ล็อกได้ด้วย ปัญหาการลืมพกที่ล็อกจักรยานอาจจะหมดไปได้ แนวคิดของทีมนักออกแบบในนิวยอร์ก นำ�โดยโอเรน ลีฟน์ (Oren Livne) นักออกแบบชาวอิสราเอล ทำ�ให้เกิดการสร้างสรรค์ Seatylock เบาะจักรยาน ที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นโซ่ล็อกจักรยานได้ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาสำ�หรับ นักปั่นจักรยานในเมือง ทั้งปัญหาการพกพาโซ่ล็อกจักรยานที่มีนํ้าหนักมาก ติดตัวไปขณะปัน่ จักรยาน ปัญหาเบาะทีน่ ง่ั ทีม่ กั ถูกขโมยเป็นประจำ� ตลอดจน ปัญหาจักรยานถูกโจรกรรมด้วย

ทุกๆ ปีอาหารจำ�นวนมากถึง 19 ล้านตันในสหรัฐอเมริกา ถูกทิง้ ให้กลายเป็น ขยะ นั่นหมายความว่ามีสัดส่วนอาหารที่กลายเป็นขยะถึง 40% ในขณะที่ ปัญหาความอดอยากและการขาดสารอาหารก็ยงั คงทวีความรุนแรงไปทัว่ ทุก มุมโลก ปัญหาความเหลื่อมลํ้าของการบริโภคนี้นำ�มาสู่การระดมทุนใน โครงการ Food for All ขึ้น Food for All เป็นแอพพลิเคชัน่ ทีช่ ว่ ยให้เราสามารถสัง่ อาหารทีเ่ หลือทิง้ ในแต่ละวัน จากร้านในละแวกใกล้เคียงกับจุดที่เราอาศัยอยู่ได้ในราคาที่ถูก ลงจากราคาปกติสูงสุดถึง 80% แต่มีข้อแม้ว่าผู้ซื้อไม่สามารถเลือกรายการ อาหารแบบเฉพาะเจาะจงได้ เนื่องจากเป็นรายการอาหารที่ทำ�ไว้แล้วใน แต่ละวัน ทั้งนี้วิธีการใช้งานแอพพลิเคชั่นเริ่มจาก 1. ค้นหาร้านอาหารที่

CREATIVE THAILAND I 6

kickstarter.com

cubebreaker.com

Food for All


ที่มา: kickstarter.com

รถประจำ�ทางเพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งสาธารณะยังคงเป็นอีกหนึง่ ทางเลือกทีถ่ กู เลือกใช้ในการเดินทาง แต่ยานพาหนะที่ใช้ในระบบขนส่งสาธารณะยังคงใช้นํ้ามันเป็นเชื้อเพลิงอยู่ แทบทั้งหมด ด้วยเล็งเห็นว่านํ้ามันอาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจึงเกิดการร่วมมือกันระหว่าง 2 บริษัทผลิต ยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นอย่างอิซูซุและฮิโน โดยทั้ง 2 บริษัทได้ ทำ�ข้อตกลงในการทำ�งานร่วมกันเพือ่ พัฒนารถประจำ�ทางสองตอนเป็นระบบ ไฮบริดคันแรกที่ผลิตขึ้นในญี่ปุ่น โดยพัฒนาให้รถประจำ�ทางสองตอนมี ขนาดเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของประเทศญี่ปุ่น และใช้ระบบไฮบริดเพื่อลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด โดยมีแผนจะเริ่มปล่อยรถประจำ�ทาง สองตอนระบบไฮบริดคันแรกออกมาใช้งานในปี 2019 ทั้งนี้ การพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกันนี้ ถือเป็นอีกหนึง่ แนวโน้มสำ�คัญของภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่กำ�ลังแสวงหาหนทางใน การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภค ไปพร้อมๆ กับการบริหารจัดการ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าที่สุด

LYFE ปลูกต้นไม้ในอากาศ เพราะประเทศสวีเดนมีฤดูหนาวยาวนาน ( 8 เดือนใน 1 ปี) และมีกลางคืน ยาวนานกว่ากลางวันในฤดูหนาว จะมีเพียงฤดูร้อนสั้นๆ เท่านั้นที่กลางวัน จะยาวนานกว่ากลางคืน ทำ�ให้งานดีไซน์หลายงานในประเทศนี้ถูกคิดค้น ขึน้ มาเพือ่ แก้ไขปัญหาของการขาดแคลนแสงแดด ไม่เว้นแม้กระทัง่ การใส่ใจ ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างการปลูกต้นไม้เพื่อให้ได้รับแสงแดด อย่างทั่วถึง LYFE คือกระถางต้นไม้ที่ออกแบบโดยนักออกแบบชาวสวีเดนในกรุง สต็อกโฮล์ม หากดูผิวเผิน หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงงานดีไซน์เก๋ไก๋ที่ มีรูปลักษณ์สวยงามแปลกตา สามารถปลูกต้นไม้ให้ลอยได้โดยไม่ต้องตั้ง กระถางกับพื้น อีกทั้งมีรูปแบบที่เรียกว่า Geodesic ซึ่งเป็นการออกแบบ ให้เป็นผิวโค้งและหมุนได้รอบทิศทาง พร้อมสไตล์มินิมอลที่ดูเรียบง่าย แต่หากมองลึกลงไป LYFE ไม่เพียงแต่ถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงและ หน้าตาที่สวยงาม หรือเพื่อสร้างประสบการณ์การปลูกต้นไม้ที่แปลกใหม่ให้ แก่เหล่าคนรักต้นไม้เท่านั้น แต่ยังสะท้อนแนวคิดที่คำ�นึงถึงประโยชน์ต่อ ต้นไม้ผ่านรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น คุณลักษณะของกระถางที่ถูก ออกแบบมาให้ลอยได้และหมุนได้รอบทิศทาง เพื่อให้ต้นไม้ได้รับแสงแดดที่ ส่องมาได้จากทุกทิศ นำ�ไปสู่การสังเคราะห์แสงให้พืชเจริญเติบโตได้ดี การหมุนเวียนได้รอบทิศนี้ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพืชอากาศ เนื่องจาก สารอาหารถูกดูดซึมโดยใบผ่านอากาศมากกว่าดูดซึมจากระบบรากเหมือน พืชทัว่ ไป สำ�หรับลักษณะการวางกระถาง ตัวกระถางจะลอยด้วยแรงแม่เหล็ก ที่อยู่บนฐานไม้โอ๊ก ซึ่งงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่าสนามแม่เหล็กช่วยให้ต้นไม้ เติบโตได้เร็วขึน้ เพราะสนามแม่เหล็กของโลกมีผลต่อสิง่ มีชวี ติ โดยเฉพาะพืช โดยจะช่วยเร่งกระบวนการเมตาบอลิซึมของพืช ตลอดจนเร่งการสุกของ ผลไม้บางชนิด

flyte.se

ใกล้กับตำ�แหน่งของเราที่สุด 2. สั่งอาหารที่ถูกใจในราคาที่ถูกลง 3. ไปรับ อาหารที่ร้านก่อนร้านปิด เป้าหมายของ Food for All มีอยู่ 3 ข้อหลักๆ ข้อแรกแน่นอนว่าคือการ ลดปริมาณขยะที่เกิดจากอาหารเหลือทิ้ง โดยจะมีการสร้างความร่วมมือกับ ร้านอาหารต่างๆ เพื่อที่ทางร้านจะได้ไม่ต้องทิ้งอาหารที่เหลือในแต่ละวัน ไปโดยเปล่าประโยชน์ ข้อ 2 เพื่อช่วยประหยัดรายจ่ายของลูกค้าที่ค้นหา มื้ออาหารผ่าน Food for All เพราะราคาอาหารจะถูกกว่ามื้อปกติสูงสุดถึง 80% ตามแต่เงื่อนไขของร้านอาหารแต่ละร้าน ข้อสุดท้ายเพื่อให้ลูกค้าได้รับ ประทานอาหารที่ดีในราคาที่ถูกลง ทั้งยังได้ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมไปด้วย ขณะนีโ้ ครงการได้เปิดระดมทุนผ่านเว็บไซต์ kickstarter.com เป้าหมาย แรกของการระดมทุนอยู่ที่ 50,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อนำ�ไปพัฒนาและ ขยายพืน้ ทีใ่ ห้บริการ โดยจะปล่อยแอพพลิเคชัน่ ให้ดาวน์โหลดทีน่ วิ ยอร์กและ บอสตันในเดือนกรกฎาคมปีน้ี สำ�หรับผูท้ ส่ี นใจ สามารถติดตามความคืบหน้า ได้ที่เว็บไซต์ kickstarter.com

ที่มา: บทความ “Isuzu and Hino to Collaborate on First Domestic Hybrid Articulated Bus, Set for 2019 Release” จาก en.responsejp.com ที่มา: บทความ “Levitating Flower Pot” จาก boredpanda.com / บทความ “LYFE-Set Your Plants Free” จาก kickstarter.com / บทความ “These Floating Pots Let Your House Plants Levitate and Spin” จาก twistedsifter.com CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา

F EAT U RED BOOK 1) MADE…from Thai Creativity โดย TCDC ความคิดสร้างสรรค์ คือการเชื่อมโยงประสบการณ์ ซึ่งเมื่อนำ�ประสบการณ์ ในบริบทหนึง่ ไปใช้ในอีกบริบทหนึง่ อาจเกิดความหมายใหม่ทนี่ า่ สนใจ และ ด้วยบริบททีเ่ ต็มไปด้วยความขาดแคลน วัฒนธรรมทีผ่ กู ติดกับความเชือ่ และ ความศรัทธา สังคมแบบเกษตรกรรม ผนวกกับอุปนิสัยของผู้คนที่รักความ สบายและมีอารมณ์ขัน ความคิดสร้างสรรค์แบบไทยจึงมีความเฉพาะตัว บางครัง้ เราอาจพบความสร้างสรรค์นนั้ ในรูปแบบของนวัตกรรมเพือ่ แก้ปญั หา เฉพาะหน้า บ้างก็เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือกระบวนการจัดการกับธรรมชาติที่ เราเรียกว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่เมื่อโลกวิวัฒนาการมาถึงยุคที่เทคโนโลยี เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต โจทย์ในวันนี้จึงเปลี่ยนแปลงไป แล้วเราควร จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างไร การนิยามความหมายของคำ�ว่า “เมดอินไทยแลนด์” ขึน้ ใหม่ในศตวรรษ ที่ 21 จึงจำ�เป็นต้องทบทวน เริ่มสำ�รวจเพื่อทำ�ความเข้าใจที่มาที่ไป และ

ตั้งข้อสังเกตเพื่อหาคำ�ตอบที่ตอบสนองต่อความต้องการของบริบทสังคม ปัจจุบันนี้อีกครั้ง ซึ่งสิ่งสำ�คัญในตอนนี้ อาจไม่ใช่การสั่งสมความรู้ หากคือ การนำ�เอาความรู้และภูมิปัญญาที่มีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ขึ้นจริง หนังสือเล่มนี้จึงได้เดินทางสำ�รวจต้นแบบความคิดสร้างสรรค์ในทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพและพร้อมรับมือกับวันพรุ่งนี้ ทั้งยัง แสดงถึงความชาญฉลาดในการเปลี่ยนทักษะ ทรัพยากรธรรมชาติ และ สินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ไปสู่ผลิตภัณฑ์และบริการที่น่าประทับใจ หนังสือ MADE…from Thai Creativity เป็นส่วนหนึง่ ของการเฉลิมฉลอง การตั้งฐานที่มั่นแห่งใหม่ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เพื่อ เฉลิมฉลองให้กับความคิดสร้างสรรค์อันน่าทึ่งของคนไทย ตลอดจนร่วม เฉลิมฉลองให้กับทักษะฝีมือ นักคิด ผู้ประกอบการ และผู้ที่บุกเบิกวิธีการ ใหม่ๆ ทีต่ อบโจทย์การใช้ชวี ติ ในปัจจุบนั และสร้างความหวังใหม่แห่งอนาคต

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK 2) Thailand Only เรือ่ งแบบนีม้ แี ต่ไทยๆ โดย เวทิน ชาติกุล และ ภาคิน ลิขิตธนกุล ‘ไทยแลนด์โอนลี่’ เป็นคำ�ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน เปรียบเปรยถึงสิ่งที่มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งแม้จะมีการสื่อความหมายไปในทางลบถึงสิ่งที่สุดโต่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็นหนึ่งในเสน่ห์ที่ทำ�ให้ ประเทศไทยแตกต่าง หนังสือเล่มนี้แสดงถึงเอกลักษณ์ของไทยที่เราคุ้นเคย ทั้งพระโคเสี่ยงทาย ขบวนแห่นาค ก๋วยเตี๋ยวเรือที่ขึ้นมาขายบนบก นํ้าพริก ไปจนถึงละครไทย ในรูปแบบของอินโฟกราฟิก แสดงให้เห็นว่านอกจากช้าง ต้มยำ�กุ้ง และมวยไทยแล้ว วิถีชีวิตธรรมดาที่เราเติบโตมาก็นับเป็น เอกลักษณ์ที่สร้างทั้งความน่าสนใจและประหลาดใจให้กับชาวต่างชาติได้อยู่เสมอ 3) Making Thai: Everyday Objects of Thailand โดย Leenavat Teerapongramkul, Sitthisak Namkham และ Thanawan Chuchuy ด้วยความแตกต่างของวัฒนธรรมและความโดดเด่นทีน่ า่ สนใจ ทำ�ให้ไทยเป็นหนึง่ ในประเทศทวีปเอเชีย ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้นักออกแบบหลายต่อหลายคนผลิตผลงานที่น่าทึ่งออกมาเสมอ วัตถุดิบ รวมถึงวิธีการผลิตของไทยถูกประยุกต์ใช้กับงานออกแบบหลากหลายรูปแบบ หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวม เทคนิคและวิธีการสร้างชิ้นงานแบบไทยๆ โดยจำ�แนกบทตามกระบวนการ ทั้งการแกะสลัก การสาน การปัน้ การลงสี สิง่ ของธรรมดาอย่างว่าวจุฬา ไปจนถึงปิน่ โต และหัวโขน รวมถึงของใช้จากอดีตจนถึง ปัจจุบัน ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทุกผลงานสร้างสรรค์เหล่านี้มีร่วมกันก็คือ ต่างแสดงถึงวัฒนธรรมความเป็นไทย ได้เป็นอย่างดี

MOVIE

4) ลุงบุญมีระลึกชาติ กำ�กับโดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล แม้แต่ผคู้ นทีอ่ าศัยอยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ดียวกัน ยังมีวธิ กี าร ใช้ชีวิตและความเชื่อที่แตกต่างกัน การสร้าง ภาพยนตร์ทนี่ �ำ เอาความเชือ่ ของคนพืน้ ถิน่ ไทยมา ขยายให้ ช าวต่ า งชาติ เ ข้ า ใจจึ ง เป็ น เรื่ อ งยาก แต่ลงุ บุญมีระลึกชาติได้น�ำ เอาความเชือ่ ทางพุทธ ศาสนาออกมาสื่อเป็นภาพยนตร์เชิงเหนือจริง ซึ่งสามารถบอกเล่าถึงความตาย การเกิดใหม่ หรือการนั่งสมาธิในแบบของชาวตะวันออกให้ ชาวตะวั น ตกได้ เ ห็ น มุ ม มองใหม่ ใ นประเด็ น เหล่านี้มากขึ้น จนได้รับรางวัลปาล์มทองคำ� พร้อมเสียงชื่นชมจากงานเทศกาลภาพยนตร์ เมืองคานส์ครั้งที่ 63 พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


Matter : วัสดุต้นคิด

เรื่อง: ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข และ โศภิษฐา ธัญประทีป ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

ในยุคทีเ่ ทคโนโลยีพฒั นาอย่างก้าวกระโดด เอือ้ ให้เราทุกคนสร้างชิน้ งานและ ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร้ขดี จำ�กัด จนช่วยผสานเส้นแบ่งระหว่าง ผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ใกล้กันมากขึ้น หากเราถอยมามองในภาพกว้าง จะเห็นว่า “นวัตกรรมลํ้าสมัยอันเป็นมรดกทางภูมิปัญญา” ที่คนรุ่นก่อน รังสรรค์ไว้ในวัสดุทอ้ งถิน่ นัน้ มีความน่าอัศจรรย์ ยิง่ เปิดมุมมองเข้าถึงแก่นแท้ ของภูมิปัญญามากเท่าไหร่ ยิ่งเปิดโอกาสไปสู่การต่อยอดนวัตกรรมที่จะ ยกระดับคุณภาพชีวิตและโอกาสทางเศรษฐกิจให้กว้างไกลขึ้นมากเท่านั้น นวัตกรรม “คราม” ช่วยให้การย้อมครามเป็นเรื่องง่าย ลดขั้นตอนใน การเตรียม และเปิดโอกาสให้เกิดการต่อยอดสร้างสรรค์ ทัง้ ยังเป็นการส่งต่อ ภูมิปัญญาให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้อย่างร่วมสมัย วิธีการย้อมครามถือเป็น ภูมิปัญญาที่ได้สืบทอดมาเป็นเวลานานในภูมิภาคเขตร้อน เทคนิคมีความ แตกต่างกันไปตามพันธุ์พืชท้องถิ่นที่นำ�มาใช้ ซึ่งกระบวนการในการเตรียม วัตถุดิบและก่อครามนั้นต้องอาศัยประสบการณ์ ความประณีต ตั้งใจ และ ใช้เวลามาก โดยส่วนใหญ่ครามมักถูกย้อมลงบนผืนผ้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็น สิ่งทอ แต่ในปัจจุบันที่มีวัสดุหลากหลายมากขึ้น ครามจึงถูกนำ�มาประยุกต์ ใช้เพิ่มเติมอย่างน่าสนใจ โดยผู้ผลิตได้ริเริ่มทดลองนำ�ครามไปใช้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ย้อมครามได้ตามลักษณะการใช้งานที่ ต้องการ ยกตัวอย่าง “Mann Craft” ทีไ่ ด้คดิ ค้นนํา้ หมึกครามสำ�หรับกระดาษ โดยเริ่มจากการพรมนํ้าบนกระดาษทั้งสองด้านเพื่อให้ดูดซับหมึก จากนั้น จึงหยดสีครามพร้อมด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ดอกไม้ ใบไม้ หรือชิ้นกระดาษ แทรกไว้ระหว่างกระดาษสองแผ่นเพื่อสร้างลวดลายที่แตกต่างกัน ก่อนจะ ทิง้ ไว้แล้วจึงแกะแผ่นกระดาษออกจากกันเพือ่ นำ�ไปผึง่ แห้งและปล่อยให้หมึก ทำ�ปฏิกิริยากับออกซิเจน เมื่อแห้งสนิทจึงนำ�กระดาษไปล้างเอาสีย้อม ส่วนเกินออกและผึ่งแห้งอีกครั้ง กระบวนการนี้จะทำ�ให้สีย้อมซึมลงใน เนื้อกระดาษอย่างเต็มที่ ทำ�ให้สีไม่หลุดล่อนหรือไหลกลับออกมาอีกเมื่อ สั ม ผั ส กั บ นํ้ า จากการพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง สู ต รครามให้ ส ามารถย้ อ มหรื อ

ทำ�ลวดลายลงบนกระดาษทั้งแห้งหรือเปียกได้ และผงครามที่เปิดโอกาสให้ คนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญสามารถทดลองเล่นสนุกกับครามด้วยการนำ�ไป สร้างสรรค์ผ่านเทคนิควิธีใหม่ๆ เพื่อต่อยอดเป็นลวดลายและผลิตภัณฑ์ที่ น่าสนใจ จึงถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการส่งต่อภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าให้ เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้อย่างน่าสนใจ ขณะที่อีกหนึ่งแบรนด์อย่าง “Fulame” เครื่องหนังที่ย้อมด้วยคราม ธรรมชาติ ก็ถือเป็นอีกตัวอย่างของการผนวกความคิดสร้างสรรค์เข้ากับ ภูมิปัญญา โดยการพัฒนาเทคนิคย้อมครามให้เกิดลวดลายใหม่บนพื้นผิว วัสดุทแี่ ตกต่างกัน นับเป็นการขยายขีดจำ�กัดของการย้อมครามทีไ่ ม่ได้มเี พียง แต่ผ้าธรรมชาติ อีกทั้งยังขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการนำ�เสนอครามใน มุมมองใหม่ได้เป็นอย่างดี ส่วน “ฮูปแต้ม สตูดิโอ” ก็ได้คิดค้นกาบกล้วย ย้อมคราม ด้วยการแปลงกาบกล้วยให้เป็นวัตถุดิบแผ่นและเสริมความ สวยงามด้วยการย้อมคราม ทำ�ให้เนือ้ กาบกล้วยมีลวดลายของโครงสร้างทาง ธรรมชาติชัดเจนสวยงาม สามารถนำ�ไปใช้เป็นวัสดุตกแต่งที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม ไม่สร้างมลพิษ ตอบโจทย์การเพิ่มมูลค่าวัสดุอย่างกล้วยที่มี มากมายหลายสายพันธุใ์ นบ้านเราได้เป็นอย่างดี โดยตัวอย่างสีและความแข็ง ของกาบกล้วยจะแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ เช่น กล้วยนํา้ ว้า สีขาวครีม สว่าง กล้วยตานี สีเทาออกเขียวและแข็งกว่ากล้วยอื่นๆ กล้วยหอม สีขาวสว่างและนิ่ม กล้วยข้าว สีนํ้าตาลอมม่วง เมื่อความคิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยสำ�คัญในการก่อตัวของนวัตกรรม บวกเข้ากับความได้เปรียบทางความหลากหลายของวัสดุในท้องถิ่น และ ต่อยอดขีดจำ�กัดด้วยเทคนิควิธีลํ้าสมัยที่พัฒนาจากภูมิปัญญาที่สืบทอด กันมา ก็เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยุคใหม่ โดยการนำ�เสนอคุณค่าใหม่ทยี่ งั คงไว้ซงึ่ แก่นของภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ไว้ นับเป็น เสน่ห์ของวัสดุสร้างสรรค์ของไทยที่ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจไปได้อย่าง ไม่จำ�กัด

พบกับพื้นที่จัดแสดง The New Craft วัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม ่มา:อมหลั komchadl uek.net littlebits.cc • แฟกซใบสมัคทีรพร กฐานการโอนเงิ นมาทีและ ่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

เมื่อวันเวลาผ่าน ยุคสมัยเปลี่ยน งาน หั ต ถกรรมไทยและศิ ล ปกรรมจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างค่อยๆ ถูกลืม เลื อ นและแทนที่ ด้ ว ยการผลิ ต จาก โรงงานอุ ต สาหกรรม คำ � ถามคื อ หลั ก ฐานที่ เ คยบ่ ง บอกถึ ง ตั ว ตนและ รากเหง้าของเราจะหายไปด้วยหรือไม่ หรือการที่เราจะเลือกหยิบ จับ ปรับ ผสม เอางานหั ต ถกรรมไทยและ ภูมปิ ญ ั ญาชาวบ้านมาต่อยอดให้เข้ากับ บริบทของโลกยุคใหม่ จะสามารถต่อ ลมหายใจให้เรื่องราวดั้งเดิมยังคงถูก เล่าขานต่อไปได้

Thaitone (ไทยโทน): โทนสีไทยในบริบทสากล จากการพบหลักฐานที่ว่า ประเทศไทยมีสีเป็นของตัวเองมาเนิ่นนาน โดยสีไทยนั้นมีที่มาจาก การใช้ส่วนผสมของแร่ธาตุและพืชตามธรรมชาติ อย่างเช่น สีแดงมาจากแร่ เรียกว่าแดงชาด สีครามจากการหมักต้นคราม และสีเหลืองรงจากยางของต้นรง ฯลฯ โดยสีไทยมีเอกลักษณ์ตรงที่ ให้ความรู้สึกนุ่มนวลเฉพาะตัว ไพโรจน์ พิทยเมธี อาจารย์และนักวิจยั ผู้ศกึ ษาและเก็บรวบรวม หลักฐานข้อมูลสีไทยอย่างจริงจัง ได้สร้างมาตรฐานให้กับสีไทยที่เรียกว่า “Thaitone” (ไทยโทน) ด้วยจุดประสงค์เพื่อเป็นองค์ความรู้ที่สามารถนำ�ไปใช้ต่อยอดในงานศิลปะ งานออกแบบไทยและ สากล โดยปัจจุบันมีสีไทยที่รวบรวมและเผยแพร่ไว้แล้วกว่า 150 สี

facebook.com/thaitonecolor

และนี่คือตัวอย่างของกลุ่มคนไทยรุ่นใหม่ที่เลือก สร้ า งสรรค์ แ ละต่ อ ยอดงานหั ต ถกรรมและ ศิ ล ปกรรมพื้ น บ้ า นไทยให้ ก ลั บ มามี ชี วิ ต ใหม่ อีกครัง้ ผ่านการทำ�ความเข้าใจในรากเหง้า ตัวตน และเอกลักษณ์แบบไทย ผสมผสานเข้ากับความ หลงใหลส่วนตัว

CREATIVE THAILAND I 12


TAKTAI (ทักทาย): ทอด้วยใจ ห่วงใยโลก ฟื้นชีพกี่ทอผ้าด้วยงานดีไซน์สไตล์มินิมอลที่ใช้กระบวนการผลิตซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100 เปอร์เซ็นต์ กัญจิรา ส่งไพศาล ผูก้ อ่ ตัง้ แบรนด์ TAKTAI (ทักทาย) คือคนรุน่ ใหม่ทหี่ ลงใหล เรือ่ งเส้นใยธรรมชาติจากพืชท้องถิน่ ไทย และตัดสินใจร่วมงานกับชาวบ้านหลายชุมชนทีม่ ฝี มี อื เรื่องการทอผ้าแบบดั้งเดิม โดยเลือกใส่เสน่ห์ลายทอของไทย อย่างลายขิดและลายยกดอก เข้ามาทำ�ให้เสื้อผ้าเส้นใยธรรมชาติมีความเป็นไทยในสไตล์โมเดิร์น เพราะจงใจเลือกใช้โทน สีขาวล้วนอวดให้เห็นเส้นใยธรรมชาติ และนำ�มาตัดเย็บด้วยวิธีแฮนด์เมดอย่างประณีต ทักทายจึงเป็นแบรนด์เสื้อผ้าคุณภาพดีเอ็นเอไทยที่ไม่เพียงอนุรักษ์งานฝีมือท้องถิ่นเอาไว้ได้ แต่ยังเป็นมิตรกับโลกใบนี้ไปพร้อมๆ กัน

facebook.com/patapian facebook.com/patapian

facebook.com/pg-nuttiyartaan facebook.com/pg-nuttiyartaan

PDM Mat: เสื่อสัญชาติไทยสไตล์โมเดิร์น ด้วยคุณค่าดัง้ เดิมของเสือ่ ไทยทีท่ �ำ ให้พนื้ บ้านหรือลานวัดมีลวดลายสวยงามสดใส ไม่เก็บฝุน่ เคลื่อนย้ายสะดวก และทำ�ความสะอาดง่าย ดุลยพล ศรีจันทร์ และซินิ เฮนท์โตเนน (Sini Henttonen) จึงได้พัฒนาต่อยอดให้เสื่อไทยมีความร่วมสมัยและใช้งานได้ง่ายขึ้น สำ�หรับคนยุคใหม่ เสื่อภายใต้แบรนด์ PDM (Product Design Matters) จึงเลือกใช้การผลิต แบบอุตสาหกรรม แต่พิถีพิถันเรื่องการวิจัยและการออกแบบ โดยการเลือกใช้วัสดุพลาสติก เป็นสีด้าน ไม่สะท้อนแสงไฟ ทอให้แน่นขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน พร้อมใส่สารป้องกันยูวีเข้าไปในเนื้อพลาสติกเพื่อป้องกันการแห้งกรอบและสีซีดจางหากใช้ กลางแจ้ง รวมทั้งพัฒนาลายทอเป็นรูปเรขาคณิตให้ความรู้สึกโมเดิร์น สามารถนำ�ไปใช้ได้ หลายโอกาสและสถานที่

facebook.com/taktaibrand facebook.com/taktaibrand

facebook.com/PDMBRAND facebook.com/PDMBRAND

NUTTIYAR: แคนวาส & หวาย กระเป๋าสะพายดีไซน์เก๋ เริ่มต้นจากความชอบในงานหัตถกรรมประเภทหวายและงานผ้า ณัฐฏิยา รัชตราเชนชัย นักออกแบบผูก้ อ่ ตัง้ แบรนด์ NUTTIYAR ได้ประยุกต์เทคนิคการสานหวายแบบดัง้ เดิมมาผนวก เข้ากับการออกแบบกระเป๋าผ้าให้มีหลากหลายรูปแบบและขนาด ชูจุดเด่นไม่เหมือนใคร ด้วยการใช้หวายที่แข็งแรงทนทานแต่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ ตัดเย็บเข้ากับผ้าแคนวาส ทีใ่ ช้งานได้หลายโอกาส กลายเป็นผลิตภัณฑ์ลกู ครึง่ งานแฮนด์เมดผสมงานอุตสาหกรรมทีใ่ ส่ ดีไซน์ร่วมสมัย ปัจจุบันกระเป๋าแบรนด์ NUTTIYAR กำ�ลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ทั้ง ชาวไทยและเพื่อนบ้านแถบเอเชียอย่าง สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง จีน และญี่ปุ่น

PATAPiAN (ปาตาเพียร): เพียรรักในจักสาร เริ่มต้นจากการสังเกตสิ่งรอบตัวและพบว่าทั้งคู่ได้คลุกคลีและชื่นชอบงานหัตถกรรมไทย ประเภทจักสานตั้งแต่ยังเล็ก วลงค์กร เทียนเพิ่มพูล และสุพัตรา เกริกสกุล สองผู้ก่อตั้ง แบรนด์ PATAPiAN (ปาตาเพียร) จึงได้เริ่มต้นสร้างสรรค์ของใช้ชิ้นเล็กๆ เป็นของตัวเองโดย ผสมงานจักสานไทยเข้าไป และด้วยความมุมานะตามหาช่างฝีมือไทยด้านจักสานมา ร่วมงานกันได้สำ�เร็จ การต่อยอดผลิตภัณฑ์งานจักสานเข้ากับวัสดุหลากหลาย เช่น ไม้สัก และทองเหลืองจึงเริ่มต้นขึ้น เกิดเป็นโปรดักส์ใหม่ที่โชว์ความดั้งเดิมของงานจักสานไทย เอาไว้ภายใต้การดีไซน์ที่ดูร่วมสมัยไม่ซํ้าใคร ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ปาตาเพียรจึงได้มี โอกาสไปอวดโฉมในงานแฟร์ทญี่ ปี่ นุ่ และลอนดอนซึง่ ได้รบั การตอบรับทีด่ เี กินความคาดหมาย

ที่มา: บทความ “ปาตาเพียร โปรดักต์ดีไซน์สัญชาติไทยที่สร้างเอกลักษณ์ด้วยงานจักสาน” (20 เมษายน 2017) จาก kooper.co / บทความ “เสื่อกลายพันธุ์ ทันสมัยสไตล์ไทย : PDM Mat” จาก dsignsomething.com / บทความ “NUTTIYAR พลิกวัสดุ “หวาย” เป็น “กระเป๋าสะพาย” ร่วมสมัย” (26 กรกฎาคม 2016) โดย Somkid Anektaweepon จาก tcdcconnect.com / บทความ “THAITONE โทนสีไทย โดย ไพโรจน์ พิทยเมธี” (14 มกราคม 2016) จาก baanlaesuan.com / บทความ “TAKTAI แฟชั่นไลฟ์สไตล์เพื่อสังคม...บนวิถีธรรมชาติ 100%” (11 ตุลาคม 2016) โดย Suwicha Pitakkanchanakul จาก tcdcconnect.com CREATIVE THAILAND I 13


Cover Story : เรื่องจากปก

Tore Bustad

T H A I LAND CRE AT I VE LA N D S C A P E

เรื่อง: กิริยา บิลยะลา และ กมลกานต์ โกศลกาญจน์

...เราจำ�เป็นต้องรู้และเข้าใจอดีต เพื่อที่จะเดินหน้าสู่อนาคตได้ถูกทิศทาง... การมองย้อนกลับไปยังเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต เพื่อทบทวนปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงและแสดงให้เห็นภาพรวม ของการใช้งานความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยในตลอดระยะเวลา 6 ทศวรรษ นับตั้งแต่ปี 2501 ที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับแรกเกิดขึ้น และทำ�หน้าที่เป็นสัญญาณในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากสังคมเกษตรกรรมมาสู่ อุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว การเกิดขึ้นของวิกฤตต้มยำ�กุ้งที่เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำ�คัญในหน้าประวัติศาสตร์ มาจนถึงการ เกิดขึ้นของสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังในเวทีโลก ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา ไม่วา่ เราจะอยูท่ า่ มกลางความสัน่ คลอนทางการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจและสังคม หรือการปรับใช้เทคโนโลยี แต่สง่ิ หนึง่ ที่ค้นพบก็คือ การมีความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นหนึ่งในอาวุธที่สามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้เสมอ ซึ่งได้สะท้อนผ่านผลงานและกรณีศึกษาต่างๆ ของอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ไทย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงนับจากอดีตจนมาถึงปัจจุบัน และมองเห็นโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่สอดรับ กับอนาคตที่กำ�ลังใกล้เข้ามา CREATIVE THAILAND I 14


“นํา้ ไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ� บำ�รุงความสะอาด” นโยบายพัฒนาประเทศสู่ความทันสมัยทันโลก เน้นการปูพื้นฐานเพื่อเร่งรัดพัฒนาประเทศด้าน เศรษฐกิ จ โดยลงทุ น ด้ า นโครงสร้ า งพื้ น ฐาน (Infrastructure Facilities) อันได้แก่ การเร่งรัด สร้างระบบชลประทาน พลังงาน ถนน ทางรถไฟ และการคมนาคมอืน่ ๆ รวมทัง้ โครงการบริการต่างๆ เช่น โครงการวิจยั ทดลองด้านเกษตร อุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาการศึกษาสาธารณสุข 2505 การสร้างตัวพิมพ์ชุดโมโนไทป์

การใช้ระบบการพิมพ์ดว้ ยเครือ่ งพิมพ์เรียงอัตโนมัติ แทนที่การเรียงด้วยมือแบบเดิม โมโนไทป์จึงเป็น

2505

sarakadee.com โมโนไทป์ dek-d.com

ตึกอัมรินทร์ ตึกยุคบุกเบิกความหรูหราไทยด้วย เสาโรมัน โดยรังสรรค์ ต่อสุวรรณ สถาปนิกที่นำ� กระบวนการหล่อเสาโรมันด้วยระบบเสริมใยแก้ว (Glassfiber Reinforced Cement-GRC) เข้ามา แทนการแกะหินอ่อนเป็นครัง้ แรกในไทย เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการผลิต และ ในปี 2513 การก่อตัง้ โรงแรมอินทรา ออกแบบโดย จิระ ศิลป์กนก ศูนย์การค้าย่านประตูนำ�้ ก้าวขึ้น เป็นพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจใหม่ ทีต่ อบโจทย์ผคู้ นทีส่ ญั จร จำ�นวนมากและมีก�ำ ลังซือ้ มากขึน้ โรงแรมอินทรา จึงจัดวางผังพื้นที่ใช้สอยแบบอเนกประสงค์ มีทั้ง ร้านค้าและโรงภาพยนตร์ ตลอดจนห้องพักและ ส่วนบริการที่ได้มาตรฐานสากล

ตึกอัมรินทร์และเสาโรมัน

2508 บริ ษัท ไทยโทรทั ศ น์ จำ � กั ด (Thailand Television Company) (TTV) ประกาศ แผนพัฒนาระบบการกระจายภาพโทรทัศน์

การเกิดขึน้ ของบริษทั ไทยโทรทัศน์ จำ�กัด ตลอดจน การเริม่ เผยแพร่สถานีโทรทัศน์สกี องทัพบกช่อง 7 ในปี 2510 ทดลองออกอากาศโทรทัศน์ดว้ ยระบบ ภาพสีแห่งแรกในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การกำ�กับดูแลของกองทัพบกไทย และ สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ในปี 2513 ตามลำ�ดับ ส่งผลต่อความรุ่งเรืองสูงสุดในธุรกิจโฆษณาไทย ในระหว่างปี 2510-2519 2516 เปิดตัวสยามเซ็นเตอร์

ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ แหล่งรวม สินค้าแฟชั่นนานาชาติที่มีมาตรฐาน มีร้านค้า 60 ร้าน พร้อมสถานที่ทำ�งานและโรงภาพยนตร์ จนกลายเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ ศูนย์กลางแห่งแฟชั่นและแหล่งรวมตัวเพื่อทำ� กิจกรรมต่างๆ ทั้งยังเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่มี การออกแบบตามมาตรฐานสากล โดยมีบริษัท สยามพิวรรธน์ จำ�กัด เป็นกลุ่มผู้บริหารมาจนถึง ปัจจุบัน CREATIVE THAILAND I 15

โรงแรมอินทรา

2516

2504-2509 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1

สถาปัตยกรรมทันสมัย

beersingnoi.com

“น้�ำ ไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ� บำ�รุงความสะอาด” นี่คือหมุดหมายสำ�คัญของประเทศไทยใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ที่เป็นผลจากงานวิจัยของธนาคารโลกและการ สนับสนุนของสหรัฐอเมริกา ภายใต้ความสัมพันธ์ อันดีระหว่างกันในช่วงสงครามเวียดนาม ส่งผล ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและโครงสร้างพืน้ ฐาน ด้านต่างๆ ในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลเดินหน้าเพือ่ ยกระดับค่าครองชีพของ ประชาชนด้วยการขยายการผลิตและเพิม่ รายได้ให้ ประชากร ตลอดจนมุง่ ส่งเสริมการค้าเสรี ขยายการ ผลิต ส่งเสริมกิจกรรมและการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงการนำ�เข้าเทคโนโลยีทเี่ ป็นเครือ่ งมือสำ�คัญ ในการช่วยเปลี่ยนผ่านประเทศจากสังคมเกษตร ให้เป็นสังคมอุตสาหกรรมเต็มตัว มีการจัด ตั้ง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดตลาดหุ้น โดยในช่วง 30 ปีนี้ พบว่าคนไทยมีรายได้เพิม่ ขึน้ รายงานของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่ง ประเทศไทยพบว่า ตั้งแต่ปี 2500 รายได้คนไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จนถึงปี 2508 คนไทยมี รายได้อยู่ที่ 2,504 บาทต่อเดือน ภาคเศรษฐกิจมี ความก้าวหน้ามาก เกิดผลผลิตอุตสาหกรรม กิจกรรมการค้า อุตสาหกรรมนอกภาคการเกษตร และความบันเทิงรูปแบบใหม่มีความสำ�คัญ

ตัวพิมพ์ที่ออกแบบมาให้มขี นาดเล็ก ประหยัดเนื้อที่ อ่านได้สะดวก ออกแบบโดยพีระ ต. สุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายผลิตของไทยวัฒนาพานิชที่ร่วมมือ กับบริษัทโมโนไทป์ ประเทศอังกฤษ

zabzaa.com

ยุคที่ 1: ยุคก่อร่าง ปี 2500-2529

เปิดสยามเซ็นเตอร์


qsncc.com

2532 kongthong-group.com

topicstock.pantip.com

2530

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ปี 2530 Visit Thailand Year

อาคารใบหยก 1 และ ใบหยก 2

ยุคที่ 2: ยุคเพิ่มอัตราเร่ง ปี 2530-2539

ผลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำ � ให้ เ กิ ด การขยายตั ว ของระบบโครงสร้ า ง พื้นฐานของประเทศ การมาถึงของโลกาภิวัตน์ ทำ�ให้บริษัทข้ามชาติเคลื่อนย้ายทุนไปสู่ประเทศ ทีม่ คี า่ แรงต่�ำ เพือ่ สร้างฐานการผลิต รวมถึงในไทย ตอบรับกับช่วงเริม่ ต้นทศวรรษภายใต้การนำ�ของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ดำ�เนินการปรับ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ�เป็นอัตราเดียวกันทั้งประเทศ ปรับนโยบายต่างประเทศใหม่ด้วยการเปลี่ยน สนามรบเป็นตลาดการค้า เชื่อมสัมพันธ์ในแถบ ภูมิภาคอินโดจีนซึ่งกำ�ลังเปิดประเทศและระบบ เศรษฐกิจมากขึน้ พร้อมขับเคลือ่ นนโยบายพัฒนา ประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจไทยสามารถระดมทุนได้ สะดวกในต้นทุนที่ต่ำ�ลง ตลอดจนประกาศใช้ มาตรการกำ�หนดอัตราอากรร่วมหรือ CEPT ตัง้ แต่ ปี 2535 เป็นต้นมา ทำ�ให้มูลค่าการส่งออก ในภู มิ ภ าคอาเซี ย นเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งก้ า วกระโดด นับเป็นยุคเฟื่องฟูของการผลิตเพื่อส่งออกไปยัง ต่างประเทศอย่างแท้จริง พร้อมๆ กับการทีผ่ บู้ ริโภค ในประเทศเริม่ มีไลฟ์สไตล์แบบใหม่ ไม่วา่ จะเป็น

การหย่อนใจในห้างสรรพสินค้าที่มีบริการแบบ ครบวงจร (Mixed Use) กระจายไปทัว่ ไปประเทศ เช่น ห้างเซ็นทรัลขยายกิจการในหัวเมืองใหญ่ พร้ อ มโรงภาพยนตร์ อี จี วี ภาพยนตร์ เ ฟื่ อ งฟู ถึงขีดสุด ไม่ต่างจากความนิยมในช่องโทรทัศน์ จนเกิ ด ปรากฏการณ์ ถ นนโล่ ง จากละครรี เ มค คู่กรรม ปี 2533 ที่แพร่ภาพทางช่อง 7 นำ�แสดง โดยธงไชย แมคอินไตย์ และกมลชนก โกมลฐิติ ทีท่ �ำ ให้แฟนละครรีบกลับไปเฝ้าหน้าจอ และได้รบั เรตติ้ง 40 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดตลอดกาล เช่นเดียว กับคอนเสิร์ตของนักร้องชื่อดังจากต่างประเทศ อย่างไมเคิล แจ็กสัน ที่ใช้เงินลงทุนสูงมากใน ยุคนั้น ตลอดจนไลฟ์สไตล์ผ่านร้านสะดวกซื้อ ยุคใหม่ จากการเปิดตัว 7-11 สาขาแรกในไทย ในปี 2532 ที่มุมถนนพัฒน์พงศ์และถนนสุรวงศ์ โดยบริษทั เจริญโภคภัณฑ์ จนถึงปี 2550 มีจ�ำ นวน รวม 4,778 สาขา ท่ า มกลางบรรยากาศในยุ ค รุ่ ง เรื อ งทาง เศรษฐกิจ การลงทุนจากต่างประเทศ ช่องทีวแี ละ ธุรกิจใหม่ นับเป็นช่วงทีแ่ วดวงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยเฉพาะโฆษณาเฟือ่ งฟูถงึ ขีดสุด ด้วยการแข่งขัน ทางการตลาดเพือ่ นำ�เสนอสินค้าให้ครองใจผูบ้ ริโภค ด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ตั้งแต่การใช้บิลบอร์ด CREATIVE THAILAND I 16

ขนาดใหญ่ จ นเป็ น จุ ด เปลี่ ย นทำ � ให้ เ กิดการใช้ อี เ วนต์ ม าร์ เ ก็ ต ติ้ ง ในการประชาสั ม พั น ธ์ แ ละ จำ�หน่ายสินค้า ตลอดจนอิทธิพลจากต่างประเทศ ที่ส่งผลต่อวงการสื่อสิ่งพิมพ์ เช่นเดียวกับแฟชั่น ที่มีการนำ�สไตล์และเทรนด์ใหม่จากต่างประเทศ จนเกิดแบรนด์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นกู๊ด มิกเซอร์, อนุรักษ์, เซนาด้า และ ฟลายนาว เป็นต้น อาชีพ นักสร้างสรรค์เริ่มมีพื้นที่เป็นของตัวเอง เป็น จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งดีไซน์สตูดิโอขนาดเล็ก จำ�นวนมาก และจากช่วงเวลานี้ ความหมายของ นักออกแบบก็ไม่ได้เป็นเพียงช่างฝีมืออย่างที่เคย เป็นมา 2530-2534 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6

จุดเด่นทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ทีท่ �ำ ให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 แตกต่างจากแผนพัฒนาฯ ฉบับอื่นๆ ที่ผ่านมา คือการปรับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศให้ สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างสมบูรณ์ จึง มุ่งเน้นการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจควบคู่ไป กับการรักษาเสถียรภาพของการเงินการคลังอย่าง มีประสิทธิภาพ เน้นบทบาทภาคเอกชนในการ


outloei.com thaicinema.org

ปกอัลบั้มของวงโมเดิร์นด็อก

ภาพยนตร์วัยรุ่นบุญชู

ดำ�เนินธุรกิจ การพัฒนาฝีมอื แรงงานและคุณภาพ ชีวติ การมุง่ ปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาด ของประเทศให้กระจายตัวมากขึ้น จนส่งผลให้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลีย่ สูงถึงร้อยละ 10.5 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ที่ตั้งไว้ เนื่องมาจากการขยายตัวของ การส่งออก การลงทุน และการท่องเที่ยว 2532 ก่อสร้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ยุคแห่งตึกสูงและรุง่ เรืองในแวดวงสถาปัตยกรรม สะท้อนผลผลิตจากวงการศึกษาที่เปิดการเรียน การสอนในคณะสถาปัตยกรรมอย่างเป็นทางการ ทัง้ ในส่วนกลางและภูมภิ าค เกิดสํานักงานสถาปนิก และอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนโชว์รูม ร้านค้า ธุรกิจค้าปลีกและก่อสร้างทัง้ ทีน่ �ำ เข้าและ แบรนด์ไทย เช่น สตูดิโอเอกรัตน์, สโตน แอนด์ สตีล, เอนนี่รูม และแอคซิส สื่อสารมวลชนรุ่งเรือง

• โทรทัศน์ เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ บริษัทยักษ์ใหญ่ ด้านผลิตรายการโทรทัศน์และละครโทรทัศน์

เริ่มต้นในปี 2532 โดยมีปัญญา นิรันดร์กุล เป็น ผู้นำ�สำ�คัญ เผยแพร่เกมโชว์ ควิซโชว์ วาไรตี้โชว์ จนกลายเป็นกระแสฮิตให้กล่าวถึงเสมอ • สื่อสิ่งพิมพ์ วงการนิตยสารและสื่อสิ่งพิมพ์ได้รับความนิยม อย่ า งกว้ า งขวาง นิ ต ยสารเฉพาะทางเพิ่ม ขึ้น ทัง้ แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ การตกแต่งบ้าน อัดแน่น ตามแผงหนังสือ ไม่ว่าจะเป็น นิตยสารแอลและ แอล เดคคอเรชัน่ ทีร่ ว่ มทุนกับบริษทั ต่างประเทศ นิตยสาร Art4D นิตยสาร CARAVAN และนิตยสาร เพลงนอกกระแสอย่าง Generation Terrorist • ภาพยนตร์ ภาพยนตร์วยั รุน่ อย่างฉลุย และบุญชู ได้รบั ความ นิยมอย่างสูงและมีภาคต่อกว่าสิบภาค พร้อมการ เปลี่ยนผ่านรูปแบบจากการชมภาพยนตร์จาก โรงหนังเดีย่ ว (Stand Alone) สูโ่ รงภาพยนตร์ครบ วงจรหรือ Cinema Complex ในห้างสรรพสินค้า ขนาดใหญ่ ในปี 2537 อีจีวีเปิดตัวโรงภาพยนตร์ ระบบมัลติเพล็กซ์แห่งแรกในไทย ที่ศูนย์การค้า ฟิวเจอร์พาร์ค บางแค ยกระดับการชมภาพยนตร์ ให้เป็นไลฟ์สไตล์แบบหรูหราและทันสมัย CREATIVE THAILAND I 17

• เพลง ท่ามกลางการแข่งขันของค่ายเพลงยักษ์ ค่าย เพลงทางเลือกอย่างเบเกอรี่มิวสิก ได้เริ่มต้นขึ้น ในปี 2537 นับเป็นการเปิดตัวเพลงแนวอินดี้ป๊อป ซึ่งวงโมเดิร์นด็อกประสบความสำ�เร็จอย่างมาก ตั้งแต่เพลงจนถึงกราฟิกบนปกเทป จนสร้าง กระแสดนตรีอัลเทอร์เนทีฟในไทย รวมถึงการ แพร่ภาพช่องแชนแนลวีไทยแลนด์ ในปี 2539 ช่องโทรทัศน์เคเบิลรายการเพลงออกอากาศ 24 ชัว่ โมง เปิดมิวสิกวิดโี อเพลงไทย เพลงเอเชีย และ เพลงสากล นับเป็นรายการที่สร้างปรากฏการณ์ ให้กับวงการเพลงและรสนิยมสากลสำ�หรับคน รุ่นใหม่ 2538 ปลุกกระแส Vernacular Thai

ภาณุ อิงคะวัต เขียนบทความเรื่อง “ฮอทด็อก แฮมเบอร์เกอร์ และแอปเปิ้ลพาย” ตีพิมพ์ใน หนังสือของสมาคมผู้กำ�กับศิลป์บางกอก (B.A.D Awards 1995) วิพากษ์นิยามของอัตลักษณ์แบบ ดัง้ เดิม จนทำ�ให้เกิดการค้นหา ตีความ สร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ โฆษณา จนถึงการออกแบบบน ความเป็นไทยแบบใหม่


2551

bacc.or.th

mitpatravel.blogspot.com

centralembassy.com

2545

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

หนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ยุคที่ 3: ยุคต้นทุนความคิด ปี 2540-2560

บทเรียนต่อเนื่องที่ได้รับจากการล่มสลายทาง เศรษฐกิจวิกฤตต้มยำ�กุ้ง นำ�ไปสู่การทบทวน ตนเองพร้อมการปรับหมุนเข็มทิศใหม่อีกครั้ง ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ภาครัฐหันมาให้ความสำ�คัญกับการ พัฒนามนุษย์ในฐานะต้นทุนอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมการปรับตัวในภาคธุรกิจด้วยการกลับไป โฟกัสธุรกิจทีช่ �ำ นาญ ให้ความสำ�คัญกับการสร้าง มูลค่าเพิ่มด้วยการดึงเอกลักษณ์แบบไทยมาใช้ เพื่อก้าวจากประเทศที่เคยรับจ้างผลิตตามแบบ (Original Equipment Manufacturer-OEM) มา เป็นการออกแบบและผลิตในดีไซน์ของตนเอง นับเป็นยุคแรกๆ ของการสร้างแบรนด์สนิ ค้า เช่น อโยธยา โยธกา Propaganda พร้อมๆ กับนัก ออกแบบที่ เ ริ่ ม เปลี่ ย นมาเป็ น เจ้ า ของกิ จ การ ทยอยเปิดสตูดิโอขนาดเล็กหรือก่อตั้งแบรนด์ สินค้าของตนเอง นอกจากนี้ ภาครัฐยังคงเร่งเครื่องอย่างต่อ เนื่องโดยเลือกให้ “ความคิดสร้างสรรค์” เป็น หนทางใหม่ในการพัฒนาประเทศ โดยผนวก

แนวคิดเรือ่ งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เข้าเป็นส่วนหนึง่ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 11 เปิดตัวโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในปี 2545 เพื่อส่งเสริมรายได้ของชุมชน สร้างกระแสความสนใจด้านการออกแบบมากขึน้ และทำ � ให้ เ กิ ด การจั บ คู่ พั ฒ นาสิ น ค้ า ระหว่ า ง ชุมชนผู้ผลิตและนักออกแบบมากขึ้น ตลอดจน โครงการครัวไทยสูค่ รัวโลก และโครงการกรุงเทพ เมืองแฟชั่น ในปี 2546 เพื่อสะท้อนศักยภาพของ ต้ น ทุ น ทางวั ฒ นธรรมและศั ก ยภาพของนั ก ออกแบบไทย พร้อมกับเปิดตัวศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบเพื่อเป็นศูนย์กลางในฐานะแหล่ง ความรู้ ที่ ส ามารถผลั ก ดั น สร้ า งรายได้ แ ละ เศรษฐกิจของประเทศได้ เมื่ อ ทุ น มนุ ษ ย์ ผ นวกเข้ า กั บ ความคิ ด สร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มศักยภาพของธุรกิจตลอดจน ยกระดับคุณภาพชีวิต ประจวบกับเทคโนโลยี สารสนเทศและนโยบายใหม่ของภาครัฐทีเ่ ข้มแข็ง อย่าง ประเทศไทย 4.0 โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่ รั ฐ บาลตั้ ง เป้ า ในการปรั บ เปลี่ ย นโครงสร้ า ง เศรษฐกิจไปสู่ “Value - Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” โดยมี CREATIVE THAILAND I 18

ฐานคิดหลักคือการเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า โภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม สอดคล้องกับ สภาวการณ์โลกที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นช่องทาง สำ�คัญในการสร้างความร่วมมือ การระดมทุน ตลอดจนการดำ�เนินธุรกิจ สร้างการเชือ่ มต่อและ คืนอำ�นาจให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม 2540-2544 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

จุดเปลี่ยนสำ�คัญของการวางแผนพัฒนาประเทศ ที่ให้ความสำ�คัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาค ส่วนในสังคม มุง่ ให้ “คน” เป็นศูนย์กลางการพัฒนา และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือ ช่วยพัฒนาให้คน มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทั้ง ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็น บูรณาการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความสมดุล ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม ประเทศไทยในช่ ว งฟื้ น ฟู จ ากวิ ก ฤตเศรษฐกิ จ จึงจำ�เป็นจะต้องเร่งฟื้นฟูให้มีเสถียรภาพมั่นคง และลดผลกระทบจากวิกฤตที่ก่อให้เกิดปัญหา การว่างงานและความยากจนเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็ว


popporyfashion.blogspot.com

youtube.com

popporyfashion.blogspot.com

แฟชั่นจากนักออกแบบไทย โดย อาซาว่า (ซ้าย) และ ทูบ แกลเลอรี (ขวา)

Thailand 4.0

2545 หนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

เปิดตัวโครงการหนึง่ ตำ�บลหนึง่ ผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร มุง่ ส่งเสริมครัวเรือนในชนบททีป่ ระกอบกิจการใน ครัวเรือน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอุปโภคบริโภค ภายในประเทศ และยั ง เป็ น การสร้ า งความ เคลือ่ นไหวระหว่างการออกแบบกับผูป้ ระกอบการ ที่ร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจกลุ่ม ผู้บริโภคมากขึ้น 2551 สร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

ศูนย์กลางทางความรู้เกี่ยวกับศิลปะ มุ่งเน้นให้ ทุกคนสามารถเข้าถึงและชืน่ ชมศิลปะได้โดยง่าย มีพื้นที่สำ�หรับจัดกิจกรรมศิลปะที่หลากหลาย เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ให้คนไทยเข้าสู่ ความเจริญทางปัญญา

โฆษณาไวรัล (Viral Advertising)

เมื่ อ สื่ อ ออนไลน์ เ ข้ า มาเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในชี วิ ต ประจำ�วัน วงการโฆษณาปรับเปลี่ยนรูปแบบมา นำ�เสนอผ่านคลิปวิดีโอเพื่อสร้างให้เกิดกระแสใน โซเชียลมีเดียมากที่สุด แฟชั่นจากนักออกแบบไทย

นักออกแบบรุ่นใหม่เข้ามาสร้างสีสันด้วยสไตล์ ที่ซับซ้อนและทำ�ให้แฟชั่นเป็นธุรกิจมากขึ้น เช่น ทูบ แกลเลอรี, อาซาว่า, วิคธีรร์ ฐั , มิลนิ , สเรตซิส, ดิษยา ในปี 2548 มีการก่อตั้งสมาคมแฟชั่น ดี ไ ซเนอร์ ก รุ ง เทพ วงการแฟชั่ น ไทยเติ บ โต มากขึ้ น จากนั ก ออกแบบคลื่ น ลู ก ใหม่ ที่ ก ลั บ จากต่างประเทศ ทำ�ให้เกิดเสื้อผ้าในสไตล์ที่ หลากหลาย Thailand 4.0

โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยเป็นการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจเข้าสู่ “เศรษฐกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” คือการเปลี่ยนจาก การผลิ ต สิ น ค้ า “โภคภั ณ ฑ์ ” ไปสู่ สิ น ค้ า เชิ ง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศ CREATIVE THAILAND I 19

ด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม เทคโนโลยี ต่ า งๆ เอื้ อ ให้ เ กิ ด การสร้ า ง แพลตฟอร์มใหม่ เกิดสตาร์ทอัพและแอพพลิเคชัน่ ของคนไทยที่ ป ระสบความสำ � เร็ จ และได้ รั บ ความนิยมอย่างท่วมท้น ทั้งวงใน พันทิป หรือ อุ๊ ก บี เกิ ด สิ น ค้ า และบริ ก ารใหม่ รวมทั้ ง กระบวนการทำ�งานแบบใหม่ทเ่ี น้นการแลกเปลี่ยน แบบระยะไกลและการทำ�งานข้ามสาขา ในปี 2557 สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ เทคโนโลยีรายใหม่ก่อตั้งขึ้น มีเป้าหมายเพื่อ พัฒนาผูป้ ระกอบการหน้าใหม่ในวงการเทคโนโลยี สร้างความเข้มแข็งให้กบั ระบบนิเวศเทคสตาร์ทอัพ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ของผู้ ป ระกอบการและ คอมมู นิ ตี้ ใ ห้ เ ติ บ โตอย่ า งมี บู ร ณาการและมี ศักยภาพทัดเทียมนานาประเทศ

ที่มา: นิทรรศการ “Creativity Onwards: สำ�รวจความคิด สร้างสรรค์ไทยเพื่อไปต่อ” โดย TCDC


Insight : อินไซต์

เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช

ดูเหมือนว่านับตัง้ แต่การแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตในสังคมไทยเมือ่ กลางทศวรรษ 2540 ทัง้ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ราคาถูกเพียงครั้งละ 3 บาท และอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ซึ่งมีอยู่มากมายทุกหัวถนน จะทำ�ให้สังคมไทยไม่อาจแยกขาดออกจาก กระแสความเคลื่อนไหวของโลกยิ่งกว่าครั้งไหนๆ ดังนั้น กระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบในทุกวันนี้ จึงไม่ได้เพียงเกิดขึ้นจากวิธีคิดแบบเดิมๆ แต่กลับอิงอยู่กับความเป็นไปของโลก จนเกิดแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน แบบใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในหลากหลายมิติ

ปัจจัยที่เปลี่ยนไป จากโลก (และไทย) ที่เปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก การพัฒนา ของเทคโนโลยี และสถานการณ์ที่น่ากังวลทาง สิง่ แวดล้อม ล้วนส่งผลให้ทศั นคติดา้ นการบริโภค ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นปัจจัยใหม่ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และ นวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 รายงานจากองค์การสหประชาชาติในปี 2015 คาดการณ์ว่าภายในปี 2050 โลกจะมี ประชากรราว 9.7 พันล้านคน และพุ่งสูงขึ้นถึง 11 พันล้านคนภายในปี 2100 จากที่ปัจจุบันอยู่ที่ ประมาณ 7.5 พันล้านคน ในขณะที่บทความจาก

บีบีซี ฟิวเจอร์ (BBC Future) บอกกับเราว่า มี ประชากรเพิ่มขึ้นกว่า 83 ล้านคนระหว่างปี 2015 และ 2016 ซึ่งเทียบได้กับจำ�นวนประชากรของ เยอรมนีทั้งประเทศ ไม่เพียงแต่จำ�นวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่าง รวดเร็วในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ยังส่งผลให้ โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง โดยคาดการณ์ ว่าจำ�นวนผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 50 ในระหว่างปี 2015 และ 2030 คือจาก 901 ล้านคน เป็น 1.4 พันล้านคน และภายในปี 2050 จะพุ่งสูงถึง 2.1 พันล้านคน สำ�หรับ ประเทศไทย คาดการณ์วา่ ภายในปี 2050 จำ�นวน ประชากรจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 20 ล้านคน จาก CREATIVE THAILAND I 20

ปัจจุบันอยู่ที่ 68 ล้านคน เป็น 82 ล้านคน โดยมี สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 เป็น ร้อยละ 37 หรือประมาณ 23 ล้านคน การเปลี่ยนแปลงของจำ�นวนและโครงสร้าง ประชากรย่ อ มสะท้ อ นความก้ า วหน้ า ทาง เทคโนโลยี ทั้งความสามารถในการรักษาชีวิต เด็กแรกเกิด การดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และ การยื้อชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ยิ่งมีคนมาก ก็ ยิง่ ก่อให้เกิดการบริโภคทรัพยากรจำ�นวนมหาศาล และเพิม่ การเผาไหม้เชือ้ เพลิงจากการทำ�กิจกรรม ต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนึ้ สูช่ นั้ บรรยากาศ โดยคิดเป็นร้อยละ 87


ทางเลือกใหม่แห่งการสร้างสรรค์

นั ก สร้ า งสรรค์ ใ นวั น นี้ ทั้ ง เพื่ อ มองหาความ เป็นไปได้ใหม่ๆ และเพือ่ ให้ได้งานทีต่ รงใจผูบ้ ริโภค และยังรับผิดชอบต่อความคาดหวังของสังคมใน ทุกมิติ นอกจากนี้ ในปี 2006 นิตยสารไทมส์ (Times) ประกาศให้ คุณ (You) คือบุคคลแห่งปี เพือ่ ยกย่องคนหลายล้านคนทีร่ ว่ มผลิตข้อมูลผ่าน ทางออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น วิกิพีเดีย ยูทูบ และเฟซบุ๊ก นั่นหมายความว่า นอกจาก ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ แล้ว ผู้บริโภคใน ศตวรรษที่ 21 และมุมมองที่พวกเขามี ยังเป็น ทรัพยากรสำ�คัญในการสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่นบั จาก นี้ไปอีกด้วย

ปัจจุบันมีนักสร้างสรรค์ไทยจำ�นวนไม่น้อยมอง เห็นโอกาสจากความเป็นไปทัง้ ดีและร้ายของโลก เกิดเป็นแนวทางในการสร้างงานภายในประเทศ ที่ ป รั บ ตั ว ให้ ก ลมกลื น ไปกั บ บริ บ ทเหล่ า นั้ น โดยอาจแบ่งออกได้เป็น 5 แนวทาง การนำ�เสนอประสบการณ์ที่ดี

ไม่จ�ำ เป็นว่าการสร้างผลิตภัณฑ์ในปัจจุบนั จะต้อง เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำ�มา ก่อนจึงจะประสบความสำ�เร็จ แต่บ่อยครั้งที่การ สื่ อ สารอย่ า งตรงไปตรงมาเพื่ อ ให้ ผู้ บ ริ โ ภค เกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วม เช่น อารยา และ โฮม สวีท โฮม เกมสยองขวัญแบบไทยๆ ใน เทคโนโลยี VR ที่เล่นกับความสนุกแต่น่ากลัว จนถึงแก่น ตลอดจนการนำ�เสนอประสบการณ์ การใช้งานทีเ่ ป็นมิตร และเติมเต็มประสาทสัมผัส หลากหลายด้ า น ดั ง เช่ น ที่ ผู้ บ ริ โ ภคสั ม ผั ส ได้ ทุ ก ครั้ ง ทั้ ง กลิ่ น หอมและความสวยงามเมื่ อ ก้าวเข้าสู่ร้านคาร์มาคาเม็ต คือแนวทางการ สร้างสรรค์ชิ้นงานของวันนี้ที่สามารถเพิ่มมูลค่า ให้กับสินค้าและบริการได้ การหยิบจับผสมผสานเพื่อสร้างสิ่งใหม่

การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีใน ช่วงไม่ก่ีทศวรรษที่ผ่านมา มีส่วนอย่างมากใน การกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรมจำ�นวน มหาศาล การเปิดรับเทคโนโลยีแล้วนำ�มาปรับใช้ อาจเป็นหนทางในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ ตอบรับกับผู้บริโภคในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการ ต่อยอดเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม แบบไทยๆ เช่ น หลั ง คากั น แดดกั น ฝนของ รถกระบะแครี่บอยที่เหมาะกับอากาศร้อนชื้น ของไทย หรือการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือใน การพัฒนาสินทรัพย์ดั้งเดิมให้มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์วิถีชีวิตผู้บริโภคในศตวรรษที่ 21 ดังเช่นจีวรกันยุง ภายใต้แบรนด์เมตตาคุณ หรือ ส้มตำ�อบกรอบสำ�เร็จรูป ตราแม่ตุ๊ก

การพัฒนาเพื่อตอบสนองพลเมืองโลก การคิดคำ�นึงอย่างรอบด้าน

ในวั น ที่ ท้ อ งตลาดมี ตั ว เลื อ กมากมายเพื่ อ ตอบสนองปริ ม าณการบริ โ ภคของคนรุ่ น ใหม่ การออกแบบบริการควบคู่ไปกับตัวสินค้าอย่าง รอบด้าน ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังใช้ผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างความต่างและเพิ่มคุณค่าให้กับ ธุรกิจได้อีกมาก ในขณะเดียวกัน ปัญหาสังคม และสิ่ ง แวดล้ อ มก็ มี ส่ ว นให้ ก ารออกแบบ ผลิตภัณฑ์โดยคำ�นึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นใน หลากหลายมิติที่ทวีความสำ�คัญ และกลายเป็น กระแสการออกแบบยุคใหม่ที่น่าจับตา ดังเช่นที่ บริษัทแปลนทอยส์ มุ่งเน้นการผลิตของเล่นที่ ก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด และธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อสังคมอย่างทราเวลล์ ไทยแลนด์ ซึ่งมีหัวใจ สำ�คัญอยู่ที่การร่วมมือกับชาวบ้านเพื่อพัฒนา ชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเทีย่ วทางวัฒนธรรมอย่าง ยั่งยืน การร่วมคิดร่วมผลิตจากผู้เชี่ยวชาญ หลากสาขาหรือผู้บริโภค

การออกแบบโดยอาศัยความร่วมมือของความรู้ ความเชี่ ย วชาญจากคนในหลากหลายสาขา ไม่วา่ จะในขัน้ ตอนการสร้างโจทย์ การลงมือผลิต หรือการทดสอบต้นแบบ เป็นแนวทางในการ สร้ า งสรรค์ ชิ้ น งานที่ มี ค วามสำ � คั ญ สำ � หรั บ CREATIVE THAILAND I 21

เมื่ อ อิ น เทอร์ เ น็ ต เชื่ อ มโลกให้ ไ ร้ พ รมแดน เทคโนโลยี ช่ ว ยอำ � นวยความสะดวกและลด ต้ น ทุ น ในการเดิ น ทางข้ า มทวี ป การเข้ า ถึ ง วัฒนธรรมและรสนิยมการบริโภคจากทั่วโลก จนคุ้ น เคย จึ ง เปิ ด โอกาสให้ ก ารสร้ า งสรรค์ ผลิตภัณฑ์ในยุคใหม่ เป็นไปได้ทั้งการนำ�เสนอ ความเป็นตัวตนและพื้นถิ่น ตลอดจนคุณค่าและ การใช้งานที่เป็นสากล เพื่อตอบโจทย์ตลาดโลก ที่ใหญ่กว่า ดังจะเห็นว่าวงดนตรีอย่างพาราไดซ์ แบงค็อก หมอลำ� อินเตอร์เนชั่นแนล แบนด์ สามารถนำ�ดนตรีพื้นบ้านอีสานที่ผสมผสานกับ แนวดนตรีอื่นจากทั่วโลก ไปเข้าร่วมเทศกาล ดนตรีระดับโลกอย่างแกลสตันเบอร์รี่ เฟสติวัล 2016 ได้ ในขณะที่คาแร็กเตอร์สัญชาติไทย แต่มีสไตล์เป็นสากลอย่างบลัดดี้ บันนี่ มีกลุ่ม แฟนอยู่ทั้งในฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ อเมริกา ที่มา: นิทรรศการ “Creativity Onwards: สำ�รวจความคิด สร้างสรรค์ไทยเพือ่ ไปต่อ” โดย TCDC / บทความ “UN Projects World Population to Reach 8.5 Billion by 2030, Driven by Growth in Developing Countries” จาก un.org / รายงาน “World Population Ageing 1950-2050” โดย UN จาก un.org / บทความ “Five Numbers that Will Define the Next 100 Years” จาก bbc.com / บทความและอินโฟกราฟิก “The Causes of Increases in CO2 Emissions” จาก whatsyourimpact.org / รายงาน “World Population Ageing 2015” โดย UN จาก un.org


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

ไม่ใช่เรื่องแปลกสำ�หรับยุคนี้ถ้าใครสักคนจะซื้อเสื้อผ้าหรือข้าวของเครื่องใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าพูดถึงของสดที่เต็มไป ด้วยรายละเอียด ทั้งยังมีข้อจำ�กัดด้านเวลาและวิธีการจัดส่ง คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายหากจะให้ตกลงซื้อขายกันบนโลกออนไลน์ ยิ่งเป็นร้านอาหารที่ต้องการวัตถุดิบคุณภาพจำ�นวนมากยิ่งไม่ต้องพูดถึง การเกิดขึ้นของสตาร์ทอัพหน้าใหม่ไฟแรงอย่าง Freshket ตลาดสดออนไลน์สำ�หรับธุรกิจร้านอาหารเจ้าแรกในประเทศไทย ภายใต้การนำ�ทีมของ เบล - พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งซึ่งมาพร้อมความมุ่งมั่นที่จะทำ�ลายข้อจำ�กัดเดิมอย่างผู้รู้จริง จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวท้าทายที่น่าจับตามอง CREATIVE THAILAND I 22


ส่งของให้ร้านอาหาร ง่ายกว่านี้ได้อีกไหม แม้ไม่ได้ตั้งใจว่าจะสานต่อกิจการของครอบครัวอย่างจริงจัง แต่การเติบโต ในครอบครัวทีท่ �ำ ธุรกิจจำ�หน่ายเมล็ดพันธุ์ ทำ�ให้พงษ์ลดามองเห็นโอกาสทาง ธุรกิจจากการคลุกคลีอยู่ในแวดวงสินค้าเกษตร ก่อนหน้านี้เธอเคยก่อตั้ง ธุรกิจฟู้ดเซอร์วิสแห่งหนึ่งในตลาดไท ทำ�หน้าที่จัดหาวัตถุดิบส่งต่อให้ ร้านอาหารโดยรับสินค้าเกษตรจากผู้ผลิตมาเพิ่มมูลค่าด้วยการล้าง ตัดแต่ง และจัดชุดใหม่ตามความต้องการของร้านอาหาร การได้สวมบทบาท ผู้ประกอบการครั้งนั้น ทำ�ให้เธอค้นพบปัญหาสำ�คัญในธุรกิจที่รอการแก้ไข “ตอนนั้นเราทำ�ทุกอย่างตั้งแต่หาโรงผัก หาลูกค้า จนถึงรับออเดอร์ ซึ่งทำ�ให้เราค้นพบปัญหา แต่ก็เป็นปัญหาที่เชื่อว่าเราแก้ไขได้ อย่างแรกคือ เวลาออกไปหาลูกค้าใหม่ ก็จะต้องขับรถไปเคาะประตูตามร้านอาหาร ซึง่ ยากมากทีจ่ ะได้เจอเจ้าของร้านหรือคนทีม่ อี �ำ นาจในการตัดสินใจรับสินค้า จากเรา แต่วันไหนที่โชคดีได้เจอ หลายคนก็มักจะถามว่าเราไปอยู่ที่ไหนมา เพราะร้านอาหารก็ตามหาซัพพลายเออร์ไม่ค่อยเจอเหมือนกัน ดังนั้นเราก็ มองว่าจริงๆ แล้วเทคโนโลยียุคนี้มันตอบโจทย์ปัญหานี้ได้ นั่นคือต้องสร้าง มาร์เก็ตเพลสให้ทั้งสองฝ่ายมาเจอกัน” “ปัญหาต่อมาคือเมือ่ เป็นการซือ้ ขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) มันจะ ต้องมีขน้ั ตอนมากมาย เช่น การส่งใบเสนอราคา การออกบิล จากประสบการณ์ คือ ร้านอาหารส่วนใหญ่จะสั่งของเข้าร้านหลังจากปิดร้าน ทำ�ให้เราต้องรับ ออเดอร์ตอนกลางคืน และออเดอร์จะมาจากหลายช่องทางมาก อีเมลบ้าง ไลน์บา้ ง โทรศัพท์บา้ ง เราก็ตอ้ งสรุปออเดอร์ดว้ ยมือเพือ่ เตรียมไปซือ้ ของเช้า วันต่อมา ออเดอร์แค่ 20 ร้านเราใช้เวลาถึง 4 ชม. ตั้งแต่รับออเดอร์จนถึง ทำ�เอกสาร กว่าจะทำ�บิลทีละร้านเสร็จก็ตีสี่ เรารู้สึกว่าถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ยังไงธุรกิจก็ไม่มีทางโตได้ เพราะยิ่งลูกค้าเยอะ งานเอกสารก็ยิ่งเยอะ ก็เลย เกิดคำ�ถามว่าวิธีการทำ�งานมันง่ายกว่านี้ได้อีกไหม” นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างตลาดสดออนไลน์ในชื่อ Freshket ซึ่ง ไม่ เ พี ย งรวบรวมวั ต ถุ ดิบ คุ ณ ภาพจากหลากหลายซั พ พลายเออร์ ไ ว้ บ น แพลตฟอร์มเดียวกัน แต่ยังออกแบบโปรแกรมหลังบ้านเพื่ออำ�นวยความ สะดวกในการทำ�งานของซัพพลายเออร์และร้านอาหารแบบครบวงจร (Workflow Integrated Marketplace) อีกด้วย โดยระบบจะสร้างเอกสาร ซือ้ ขายให้แบบอัตโนมัติ ช่วยลดข้อผิดพลาด เพิม่ ความโปร่งใส และประหยัด เวลาในการทำ�งาน จากตลาดสด สู่สตาร์ทอัพ แม้จะมีเพียงไอเดีย แต่ดว้ ยความเข้าใจตลาดจากประสบการณ์จริง เฟรชเก็ต จึงได้รบั คัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ Dtac Accelerate Batch 4 ปี 2016 ผ่านหลักสูตรการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญเป็นเวลา 4 เดือน พงษ์ลดาก่อร่างสร้างทีมสตาร์ทอัพซึ่งลุยทำ�งานกันอย่างแข็งขัน “ตอนที่อยู่ ในแคมป์ดีแทค เราทดสอบไอเดียเบื้องต้นด้วยกลยุทธ์ MVP (Minimum Viable Product) คือลงแรงสร้างผลิตภัณฑ์ให้นอ้ ยทีส่ ดุ เพือ่ นำ�ออกมาทดลอง ตลาดก่อน โดยลองทำ�หน้าเว็บไซต์ธรรมดา บอกข้อมูลแค่ว่าเราเป็นใคร เราทำ�อะไร ซึ่งผลตอบรับที่ออกมาดีมาก คือภายใน 48 ชม.ที่เปิดทดสอบ ระบบ (สิงหาคม 2016) มีร้านอาหารถึง 500 ร้านและซัพพลายเออร์ 100 รายเข้ามาลงทะเบียนกับเรา แสดงให้เห็นว่ามีความต้องการในตลาดอยู่จริง หลังจากนั้นเราก็ลองติดต่อร้านและซัพพลายเออร์ที่ลงทะเบียนเข้ามาเพื่อ ถามว่าเขาคาดหวังอะไรจากเราบ้าง แล้วนำ�ข้อมูลมาพัฒนาต่อ”

หลังจากใช้เวลาพูดคุยและศึกษารายละเอียดเพื่อพัฒนาระบบให้ตอบ โจทย์ของผู้ใช้ ในที่สุดจึงได้เปิดตัวตลาดออนไลน์ Freshket เวอร์ชั่น 1.0 ให้ เริ่มใช้งานในเดือนมกราคม 2017 โดยปัจจุบันเฟรชเก็ตมีสินค้าในระบบที่ พร้อมให้ร้านอาหารเข้ามาสั่งซื้อทั้งหมด 20 หมวดหมู่ 2,500 รายการ และ ยังอยู่ในช่วงทดลอง โดยจำ�กัดพื้นที่ให้บริการสำ�หรับร้านอาหารในย่าน ทองหล่อ-เอกมัยเป็นหลัก และมีร้านที่สั่งของเป็นประจำ�ประมาณ 20 ร้าน เพราะทีมงานต้องการทดสอบระบบทั้งหมดก่อนว่า เมื่อนำ�มาใช้จริงแล้วยัง มีรายละเอียดส่วนไหนอีกบ้างทีต่ อ้ งปรับปรุง “วัตถุดบิ ของร้านอาหาร มักจะ มีการสเปคอยูแ่ ล้วว่าแบบไหนทีเ่ ขาต้องการ แต่ละร้านมีความต้องการต่างกัน แค่หมูสับก็มีได้ถึง 20 สเปค ดังนั้นความท้าทายคือเราจะเก็บข้อมูล รายละเอียดความต้องการเหล่านี้เข้ามาไว้ในระบบของเราได้ยังไง ยิ่งสินค้า ของเราเป็นของสดซึ่งมีรายละเอียดมาก การพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ ความต้องการทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย” เปิดโมเดลธุรกิจตลาดสดออนไลน์ ขึ้นชื่อว่าอาหารสด แน่นอนว่าการควบคุมคุณภาพสินค้าคือความท้าทาย อันดับหนึ่ง “สิ่งที่เฟรชเก็ตเข้าไปทำ�ตอนนี้คือตรวจสอบคุณภาพสินค้าของ ซัพพลายเออร์ โดยดูจากใบรับรองมาตรฐานต่างๆ ดูกระบวนการผลิตของเขา รวมถึงเรื่องการจัดส่งซึ่งต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและรายละเอียดต่างกัน นั่นคือเหตุผลว่าทำ�ไมวันนี้เรายังไม่ลงไปทำ�โลจิสติกส์เอง เพราะเรื่องนี้ต้อง อาศัยความเชี่ยวชาญและเรายังทำ�ได้ไม่ดเี ท่าซัพพลายเออร์แน่นอน ส่วนใน เรือ่ งคุณภาพของสินค้า เราก็หวังว่าในฐานะธุรกิจปลายนํา้ สิง่ ทีเ่ ราจะทำ�ได้คอื พยายามสร้างตลาดผู้ซื้อให้แข็งแรงและกว้างที่สุด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการ กระตุ้นให้ผ้ผู ลิตต้นน้าํ เห็นว่า มีตลาดที่ต้องการของดีมีคุณภาพในราคาที่ สมเหตุสมผลอยู่” หากมองไปทีโ่ มเดลธุรกิจ เฟรชเก็ตสร้างรายได้จากการคิดค่าบริการจาก ซัพพลายเออร์จ�ำ นวน 2% ของยอดขาย ทัง้ กลุม่ ซัพพลายเออร์แบบฟูด้ เซอร์วสิ ทีท่ �ำ หน้าทีร่ วบรวมวัตถุดบิ จากตลาดมาส่งต่อให้รา้ นอาหารเพือ่ ลดภาระให้รา้ น ไม่ตอ้ งติดต่อกับผูผ้ ลิตจำ�นวนมาก โดยส่วนใหญ่จะจัดส่งวัตถุดบิ ทัว่ ไปทีม่ อี ยูใ่ น ตลาด และอีกกลุม่ คือซัพพลายเออร์วตั ถุดบิ พรีเมียมและวัตถุดบิ หายาก เช่น ใบชะคราม ปูอลาสก้า หอยฮอกไกโด เป็นต้น “ลูกค้าของเราคือซัพพลายเออร์ เราก็ตอ้ งทำ�ยังไงก็ได้ให้เกิดประโยชน์กบั เขา เขาต้องขายของได้ ไม่ตอ้ งมาแข่ง ราคากัน เช่น ถ้าคุณเข้ามาอยูก่ บั เรา มีลกู ค้า 30 ร้าน เราขอราคาดีเลยได้ไหม ร้านก็จะได้ราคาดี ซัพพลายเออร์กม็ คี ณุ ภาพเพราะคัดมาแล้ว ก็วนิ -วินกันทัง้ คู่ ส่วนนโยบายการรับซัพพลายเออร์เพิม่ ก็จะขึน้ อยูก่ บั การเติบโตของจำ�นวนร้าน อาหารทีเ่ ข้ามาใช้บริการ การเป็นมาร์เก็ตเพลสต้องดูแลทัง้ สองฝ่าย ไม่วา่ จะ เป็นซัพพลายเออร์ หรือฝ่ายร้านอาหาร” “ทีผ่ า่ นมาเราทำ�งานกันหนักมากทุกวัน จนเราไม่มเี วลากลับมารีววิ ว่าสิง่ ที่ เราทำ�แต่ละขั้นตอนมันมีเป้าหมายเพื่ออะไร เราตั้งสมมติฐานมาจาก ประสบการณ์ แต่ไม่เคยทดสอบสมมติฐานเราอย่างจริงจังว่ามันใช่จริงๆ หรือ เปล่า ทำ�ให้เราต้องกลับมาตัง้ หลักก่อนว่า value ทีเ่ ราให้ กับ value ทีร่ า้ น อาหารมองเห็นมันตรงกันหรือเปล่า คือทุกคนบอกว่าสตาร์ทอัพต้องโตให้ไว แต่ถามว่าต้องโตยังไงถึงจะไว สำ�หรับเฟรชเก็ตเรามองว่าช่วงแรกต้องทำ�ให้ ดีกอ่ น แล้วถ้ามันดี มันจะมีจดุ ระเบิดของมันเอง เรายอมถอยหลังมาครึง่ ก้าว ก่อน แล้วเราค่อยกระโดดไกลๆ ดีกว่า”

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

ขึน้ ชือ่ ว่าเป็นแหล่งรวมตัวของวัยรุน่ ไทยทัง้ ที ย่อมปฏิเสธไม่ได้วา่ เราต่างมีภาพทรงจำ� มุมมองความคิด และประสบการณ์ชวี ติ เกี่ยวกับสยามในแบบของตัวเอง จึงไม่แปลกอะไรที่พื้นที่แห่งนี้จะถูกนำ�มาใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน นักออกแบบ ผูก้ �ำ กับ เจ้าของธุรกิจ ตลอดจนเป็นฉากหลังประกอบชีวติ ผูค้ นแตกต่างกันไปราวกับหนังคนละม้วน พืน้ ทีบ่ ริเวณ สยามจึงเปรียบเสมือนบทบันทึกทางประวัตศิ าสตร์นานกว่า 50 ปี ว่าด้วยความเปลีย่ นแปลงด้านรสนิยมและกระแสของวัยรุน่ ไทยทุกยุคสมัย วัฒนธรรมวัยรุ่น (Youth Culture) ก่อตัวขึ้นที่นี่ครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งด้านดนตรี แฟชั่น ศิลปะ และไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสแก่ประชาชนทั่วไปในปี 2542 โดยมีสถานีสยามเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางระหว่าง สายสุขุมวิทกับสายสีลม ยิ่งทำ�ให้พื้นที่ย่านนี้เป็นแม่เหล็กดึงดูดภาคเอกชนและภาครัฐเข้ามาลงทุนพัฒนาพื้นที่ และสร้าง รายได้ทางเศรษฐกิจมาจนถึงวันนี้ CREATIVE THAILAND I 24


จากสมรภูมิธุรกิจสุดโหด สู่บทบาทการพัฒนาย่าน ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ และธุ รกิจการค้า

ด้ ว ยความเป็ น ศู น ย์ ก ลางของความเจริ ญ ทาง ด้านเศรษฐกิจการค้า ปัจจุบัน ย่านสยามเป็น แหล่งรวมร้านค้ากว่า 4,200 ร้านค้า ทีม่ งุ่ ตอบสนอง ความต้องการและมอบประสบการณ์ในทุกๆ ด้าน อาทิ สินค้าแฟชั่น ร้านอาหาร ศูนย์บริการทาง ธุ ร กิ จ มี ผู้ สั ญ จรไปมาภายในย่ า นสยามราว 400,000 คนต่ อ วั น เพราะเป็ น จุ ด เชื่ อ มต่ อ เส้นทางการสัญจรหลักของกรุงเทพฯ ย่านสยาม จึงขึ้นชื่อว่าเป็นสนามประลองทางการค้าสุดโหด ทั้งสำ�หรับผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหญ่ที่ ต้องฝ่าฟันเพื่อพิชิตตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ รวมทัง้ ผูพ้ ฒั นาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก ที่เล็งเห็นโอกาสและความท้าทายจากย่านนี้ ซึ่ง แม้แต่สูตรสำ�เร็จของการทำ�ธุรกิจใดๆ ก็อาจใช้ ไม่ได้ผลกับตลาดทีเ่ ปลีย่ นแปลงตลอดเวลาเช่นนี้ อันที่จริง เหล่าผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอืน่ ๆ ภายในย่านนี้ ต่างก็เป็นกำ�ลังหลักที่ช่วยพัฒนา พื้ น ที่ ย่ า นสยามให้มีเอกลักษณ์เฉพาะและเป็น แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา 3 กลุ่มธุรกิจรายใหญ่ คือ สยามพิวรรธน์ บริษัท เอ็ม บี เค จำ�กัด (มหาชน) และกลุ่มธุรกิจ สยามสแควร์ ได้ร่วมมือกันจัดตั้งสมาคมการค้า พลังสยาม (Siam Synergy) เพื่อพัฒนาเครือข่าย ผู้ ป ระกอบการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สร้าง ศักยภาพการแข่งขันและผลักดันให้ย่านสยาม เป็นยุทธศาสตร์สำ�คัญทางเศรษฐกิจการค้าของ กรุงเทพฯ และทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจต่างก็เป็นผู้เล่น รายหลักในสมรภูมิธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ ที่มี บทบาทสำ � คั ญ ต่ อ การกำ � หนดภู มิ ทั ศ น์ ท าง เศรษฐกิจการค้าและความหมายของย่านสยาม มากว่า 5 ทศวรรษ เช่น การปรับปรุงพัฒนา อาคาร การก่อสร้างทางเดินยกระดับ และการ สนับสนุนผู้ประกอบการ บริษทั สยามพิวรรธน์ จำ�กัด ซึง่ มีศนู ย์การค้า ในพื้นที่ย่านนี้ด้วยกันถึง 3 แห่ง คือ ศูนย์การค้า สยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ และ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นรายแรกทีน่ �ำ ร่อง

จับมือกับบีทเี อส ทำ�ทางเชือ่ มจากสถานีรถไฟฟ้า เข้าสู่อาคาร ทำ�ให้ผู้คนเดินทางเข้ามาได้สะดวก และถือเป็นจุดเปลีย่ นเชิงยุทธศาสตร์ของธุรกิจค้า ปลีกบนพืน้ ทีท่ �ำ เลดังกล่าว นับจากนัน้ เป็นต้นมา บรรดาห้างค้าปลีกก็หันมาสร้างทางเดินเชื่อม จากสถานีรถไฟฟ้าเข้าสู่อาคารแทบทุกสถานี ใจกลางเมือง อย่างไรก็ตาม ด้วยวัฏจักรค้าปลีก ที่มีอายุสั้นลงในปัจจุบัน ผู้บริโภคมองหาความ แปลกใหม่ตลอดเวลา ทางบริษัทจึงปรับตัวอยู่

ย่านสยามเป็นย่านแห่งความหลากหลายและ มี สิ น ทรั พ ย์ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะของพื้ น ที่ ประกอบด้วย 4 พื้นที่หลักได้แก่ 1) พื้นที่ฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นที่ตั้ง ของโครงการสยามดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ และสยามพารากอน 2) พื้นที่ฝั่งทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งของ โครงการสยามสแควร์ 3) พื้นที่ฝั่งทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งของ โครงการเอ็ม บี เค สนามกีฬาแห่งชาติ และ โครงการพัฒนาพื้นที่ถนนบรรทัดทอง 4) พืน้ ทีฝ่ งั่ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นทีต่ งั้ ของ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ โครงการพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน

CREATIVE THAILAND I 25

บ่อยครัง้ และมีหน่วยการศึกษาพฤติกรรมผูบ้ ริโภค โดยเฉพาะ ล่าสุด การปรับโฉมใหม่ของสยาม ดิสคัฟเวอรี่ “ไลฟ์สไตล์สเปเชียลตี้สโตร์” ได้รับ ความสนใจจากสื่อไทยและต่างชาติ ด้วยการจัด ดิ ส เพลย์ สิ น ค้ า ตามแบรนด์ บนพื้ น ที่ เปิดกว้าง เพือ่ นำ�เสนอสินค้าตามความสนใจและไลฟ์สไตล์ ของลูกค้า ทัง้ ยังสามารถคว้ารางวัล World Retail Awards ในสาขา Store Design of the Year มา ครองในปี 2017

flickr.com/photos/105274483@N07


จากเวทีแจ้งเกิด ของเหล่าดีไซเนอร์ไทย สู่ยุคแห่งคอนเซ็ปต์สโตร์ และตลาดออนไลน์

หลังจากโครงการกรุงเทพเมืองแฟชัน่ ถูกพับลงไป รั ฐ บาลปั จ จุ บั น ได้ เ ปลี่ ย นมาผลั ก ดั น การเป็ น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมแฟชั่นอาเซียนแทนในปี 2557 แต่ ก็ ถื อ เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ น่ า สนใจของ อุตสาหกรรมแฟชั่นไทยและนำ�ไปสู่การรวมตัว ของกลุ่มดีไซเนอร์ไทยในสมาคมแฟชั่นดีไซเนอร์ กรุงเทพฯ (Bangkok Fashion Society หรือ BFS) โดยมี ย่ า นสยามเป็ น เวที แ จ้ ง เกิ ด นั ก ออกแบบ หน้าใหม่ ธุรกิจเอกชนกลับมีบทบาทเด่นชัด ในการสนับสนุนกลุ่มแฟชั่นดีไซเนอร์ไทยอย่าง เป็ น รู ป ธรรมและต่ อ เนื่ อ ง จากการที่ บ ริ ษั ท สยามพิวรรธน์ จำ�กัด ได้เปิดพื้นที่การจำ�หน่าย สินค้าของแบรนด์แฟชัน่ ไทยในศูนย์การค้าสยาม ดิ ส คั ฟ เวอรี่ แ ละศู น ย์ ก ารค้ า สยามพารากอน อีกทั้งยังเข้าไปทำ�งานกับนักออกแบบไทยและ แบรนด์สินค้าอย่างใกล้ชิด เช่น ทำ�การตลาด แบรนด์สินค้าเพื่อเพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่าผ่าน การเล่าเรื่องราว หรือแม้แต่เปิดโอกาสให้แบรนด์ และผู้ค้าทุกรายมีส่วนร่วมในการวางคอนเซ็ปต์ การออกแบบร้านค้าในสยามเซ็นเตอร์ ข้ามกลับมาฝัง่ สยามสแควร์ทยี่ งั คงเป็นศูนย์ ย่านการค้าเชิงราบ ฝูงชนพลุกพล่าน แต่ก็ไม่ได้ เป็นทำ�เลเดียวที่นักออกแบบหวังจะแจ้งเกิดหรือ เป็ น เทรนด์ เ ซ็ ต เตอร์ แ ห่ ง เดี ย วเหมื อ นในอดี ต เพราะคนรุ่นใหม่เลือกใช้ช่องทางการโปรโมท ติดต่อซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ซึ่งเข้าถึงกลุ่ม

เป้าหมายได้ง่าย เร็ว และลดความเสี่ยงจากการ ลงทุ น เช่ า พื้ น ที่ หรื อ ไม่ ก็ ร วมตั ว กั น เปิ ด ร้ า น ประเภทมัลติแบรนด์ แต่ก็ยังมีธุรกิจและบริการ ใหม่ๆ เกิดขึ้นตามแรงกระเพื่อมจากเทรนด์และ ความต้องการของผู้บริโภค สตรีทแฟชั่นในไทยถือเป็นคลื่นวัฒนธรรม อีกลูกทีเ่ ติบโตมาจากค่านิยมความชอบของเฉพาะ กลุม่ ก่อนก่อตัวเป็นกระแสหลักตามเทรนด์แฟชัน่ ของโลกซึ่ ง หมุ น กลั บ มาหาสปอร์ ต แวร์ แ ละ สตรีทแวร์อีกครั้ง ร้านค้าและแบรนด์สตรีทแวร์ สัญชาติไทยแข่งกันผุดขึ้นในสยาม กระทั่งไต่ ระดับขึน้ สูไ่ ฮ-เอนด์ โดยเฉพาะตลาดเสือ้ ผ้าผูช้ าย ไม่ทันไรสยามสแควร์ก็ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งช้อปฯ สนีกเกอร์และสินค้าสตรีทยอดนิยมทีด่ งั มากทีส่ ดุ แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ อนุพงศ์ คุตติกลุ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ Carnival ร้าน เสื้อผ้าและรองเท้าสตรีทแฟชั่นแบบมัลติแบรนด์ เล่าว่า ด้วยความที่โตมากับการเดินสยามและมี ภาพจำ�ว่าทำ�เลนีเ้ ป็นจุดศูนย์กลางด้านแฟชัน่ ของ คนวัยรุ่นแห่งเดียวในไทย แถมเดินทางสะดวก จึงเปิดร้านแรก Converse Carnival ในซอย สยามสแควร์ 10 เน้นขายเฉพาะรองเท้าคอนเวิรส์ รุ่นหายาก ก่อนเปลี่ยนมาจำ�หน่ายสินค้าแบบ มัลติแบรนด์ในนาม Carnival โดยทำ�การตลาด ผ่านเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ทำ�คอนเทนต์รีวิว เองทัง้ บทความและวิดโี อ จับมือกับแบรนด์สตรีท ไทยทำ � คอลเลคชั่ น พิ เ ศษ ทำ � ให้ เ ข้ า ถึ ง กลุ่ ม ผู้บริโภควงกว้าง ปัจจุบันธุรกิจเข้าสู่ปีที่ 6 เปิด บริ ก าร 6 สาขา โดย 2 สาขาปั ก หลั ก ใน สยามสแควร์ ซอย 1 กับซอย 7 ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ สโตร์ ที่ มี ค าเฟ่ สำ � หรั บ นั่ ง พบปะพู ด คุ ย ในตั ว CREATIVE THAILAND I 26

เพือ่ สร้างความแตกต่างจากคูแ่ ข่งและสอดรับกับ ไลฟ์สไตล์ของคนเมืองทีม่ องหาประสบการณ์ใหม่ๆ อนุพงศ์กล่าวว่าการรักษาภาพลักษณ์และ อัตลักษณ์ของแบรนด์เป็นสิ่งสำ�คัญในยุคแห่ง การแข่งขันระหว่างร้านค้ามัลติแบรนด์อื่นๆ กับ ห้าง โดย Carnival พยายามรักษาตัวตนและ จุดยืนของร้านทีไ่ ด้รบั การไว้วางใจในการจำ�หน่าย สินค้าจากแบรนด์ดัง เช่น อาดิดาส กับ ไนกี้ ซึ่งไม่มีวางขายที่อ่นื มีการจัดระบบสมาชิกและ การสะสมแต้ม คอยคัดสรรสินค้าให้ตรงกับกลุ่ม ผู้บริโภคที่น่าสนใจกว่านั้นคือ Carnival รุก ตลาดออนไลน์เต็มตัวหลังจากเปิดหน้าร้านได้ เพียง 3 ปีทำ�ให้เขาได้เปรียบกว่าเจ้าอื่นที่เริ่ม ช้ากว่า ทางร้านยังวางแผนขยายสัดส่วนของ ออนไลน์สโตร์เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากเป็นช่องทางทีข่ าย สินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เข้าถึงกลุ่มลูกค้าต่าง ประเทศ และสร้างรายได้มากถึงร้อยละ 30 ของ รายได้ทงั้ หมดในปัจจุบนั แต่กย็ งั มองว่าหน้าร้าน ยังมีความจำ�เป็น เพราะเลือกเฉพาะทำ�เลที่มี ทราฟฟิกสูง จึงมีโอกาสขยายฐานกลุ่มลูกค้าใน พื้นที่ต่างๆ ไปด้วย “ผมคิดว่าสยามสแควร์ไม่เหมือนกับสมัย ก่ อ นแล้ ว เมื่ อ ก่ อ นมั น เป็ น ที่ แ ฮงเอาต์ ที่ ค น สามารถมาเดินเล่นเรื่อยเปื่อยได้ แต่ปัจจุบัน คน มีทางเลือกเยอะขึ้น มีสยามพารากอน สยาม ดิสคัฟเวอรี่ สยามเซ็นเตอร์ ที่เดินแล้วเย็นสบาย กว่า สยามสแควร์กลายเป็นที่ที่คนเรียกกันว่า ‘สยามร้อน’ คนส่วนใหญ่ตงั้ ใจมาเพือ่ ซือ้ อะไรแล้ว ก็ ก ลั บ เลย ไม่ ไ ด้ ม าเดิ น เล่ น เหมื อ นเมื่ อ ก่ อ น เพราะฉะนั้นทราฟฟิกก็อาจจะลดลง”


ถัดจากถนนพระราม 1 ทีข่ นาบข้างด้วยศูนย์การค้า ใหญ่โตคึกคักและร้านรวงหลายพันแห่ง อาคาร สีขาวรูปทรงทันสมัยออกแบบโดยบริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำ�กัด ตั้งอยู่บริเวณ สี่แยกปทุมวัน เปิดต้อนรับสาธารณชนตั้งแต่ปี 2551 โดยปี 2559 มีผเู้ ข้าชมราว 1.2 ล้านคน และ สัญญาณชีพจรของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยก็ ดังขึ้นมาจากที่นี่ หากมองผ่านสายของนักลงทุน เรียกได้ว่า นีค่ อื ทำ�เลทองซึง่ รวบรวมทุกอย่างไว้ในพืน้ ทีเ่ ดียว ย่านการค้า โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ด้วย เหตุผลเดียวกันนี้เอง หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานครจึงเกิดขึ้นที่นี่ เพื่อพาศิลปะเข้า มาใกล้ชิดมวลชนให้ได้มากที่สุด และถ้ามองใน ระยะยาว การลงทุนด้านศิลปวัฒนธรรมก็น่าจะ ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า ที่จะได้พัฒนาคน สังคม และเศรษฐกิจไปพร้อมกัน “เราคุยกันมาตลอดว่าศิลปะมันดูห่างไกล จากประชาชน เพราะฉะนัน้ ถ้าจะมีท�ำ ขึน้ มาทัง้ ที ก็ควรให้มันใกล้ชิดประชาชน ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ก็ เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนมากและอยู่ในความ ดูแลของกทม.อยู่แล้ว และหอศิลป์กรุงเทพฯ มันเริ่มมาจากการรณรงค์ของคนในชุมชนศิลปะ มหาวิทยาลัย คณาจารย์ เครือข่ายศิลปินทัง้ หมด มารวมตัวกัน ไม่ใช่เป็นลักษณะของนโยบาย จากข้างบนลงมา แต่เป็นการเรียกร้องจากข้าง ล่างขึ้นไป โดยคนที่ต้องการ คนที่ใช้งาน ศิลปิน นั ก วิ ช าการ นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ป์ เพราะ กรุ ง เทพฯ ก็ เ จริ ญ เติ บ โตมาขนาดนี้ แ ล้ ว ถึ ง เวลาแล้วที่เราจะต้องมีโครงสร้างที่จะรองรับ การเติ บ โตของชุ ม ชนศิ ล ปะด้ ว ย” ลั ก ขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้อำ�นวยการหอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร กล่าว แนวทางการบริหารจัดการในปัจจุบัน คือ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สนับสนุนศิลปินควบคู่กับ พัฒนาผู้ชมให้เข้าใจคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม และมี ส่ ว นร่ ว มในการสนั บ สนุ น ผ่ า นการจั ด นิทรรศการและกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น การ บรรยาย เสวนา อบรมสัมมนา จนถึงการจัดฉาย ภาพยนตร์และการจัดแสดงคอนเสิร์ตแบบฟอรัม

(ไม่ ใ ช่ เ พื่ อ ความบั น เทิ ง อย่ า งเดี ย ว) ในขณะ เดียวกัน กิจกรรมเหล่านีก้ จ็ ะเป็นตัวสะท้อนถึงวิถี ชีวิต ความคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมของคน รุ่นใหม่ในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มคนอายุ 18-30 ปีที่เป็นผู้ใช้บริการหลัก “เรามองว่าหอศิลป์เป็นชีพจรทางวัฒนธรรม ของเมือง คุณแตะตรงนี้แล้วคุณจะรู้ว่ามีอะไร อยู่บ้าง มันอาจจะไม่ใช่ทั้งหมด แต่พอมันมี แหล่ ง รวมขึ้ น มา คนจะเริ่ ม เห็ น ชั ด เจนขึ้ น ว่ า ศิ ล ปวั ฒ นธรรมร่ ว มสมั ย มี ตั ว ตนอยู่ จ ริ ง ก่ อ นหน้ า นี้ มั น กระจั ด กระจายอยู่ ห ลายที่ เกิ น กว่ า ที่ วิ ถี ชี วิ ต คนเมื อ งซึ่ ง ยุ่ ง มากจะเห็ น ภาพรวมอย่ า งเป็ น รูปธรรม แล้วถ้าคุณอยาก จะค้ น หาลึ ก ลงไปกว่ า นั้น มี ค วามสนใจและ เวลามากพอ คุ ณ ก็ ค่ อ ยเข้ า ไปตามที่ ต่ า งๆ เดี๋ ย วนี้ มี แ กลเลอรี ทั่ ว กรุ ง เทพฯ กว่ า 36 ที่ เหมือนมีชีพจรเต้นเต็มไปหมด ไม่ได้มีแค่วัด วัง ซึ่งเป็นเรื่องของชนชั้นผู้นำ�เท่านั้นที่เป็นผู้อุปถัมภ์ สนั บ สนุ น หรื อ เป็ น ผู้ นำ � เสนอรสนิ ย มให้ กั บ คน ในประเทศ แต่ มั น เป็ น เรื่ อ งของคนธรรมดา คนชนชั้นกลางและคนทั่วไปที่สามารถมีพื้นที่ แสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้”

ย่านสยามสแควร์เปรียบเสมือนกับส่วนย่อ 1:10 ของกรุ ง เทพฯ ที่ ดึง ดู ดความต้ อ งการ อันหลากหลายของผู้คนมารวมกันทำ�ให้ภูมิทัศน์ และความหมายของสยามสแควร์แปรเปลี่ยนไป ตามผูเ้ ล่นหน้าเก่าใหม่ ระบบนิเวศ และบริบทของ ยุ ค สมั ย วั น นี้ สยามสแควร์ อ าจไม่ ใ ช่ แหล่งรวมจิตวิญญาณของวัยรุ่น แต่เป็นได้ทั้ง ตลาดปราบเซี ย น พื้ น ที่ เ ชิ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ท าง การเมือง กระจกสะท้อนโลกทุนนิยม เพราะถึง อย่างไร นี่คือย่านที่เกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อย ที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ

Did You Know?

ศูนย์ขอ้ มูลวิจยั และประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ ไทยระบุวา่ ราคาทีด่ นิ บริเวณสยามสแควร์เพิม่ ขึน้ สูงถึงร้อยละ 8 ต่อปี จากเดือนธันวาคม 2537 เป็นเงิน 400,000 บาท/ตร.ว. มาเป็น 1,900,000 บาท/ตร.ว. ในเดือนธันวาคม 2558 เพราะมี รถไฟฟ้า 2 เส้นตัดผ่านสยามสแควร์ ทำ�ให้ ราคาที่ดินสูงกว่าย่านเยาวราชถึงร้อยละ 58

flickr.com/photos/prin_t

สำ�รวจชีพจร ทางศิลปวัฒนธรรม ใจกลางเมือง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คุณมยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่อาวุโส บริษทั สยามพิวรรธน์ จำ�กัด / คุณลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้อำ�นวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร / คุณอนุพงศ์ คุตติกุล ผู้ร่วมก่อตั้งร้าน Carnival ทีม่ า: บทความ “เปิดโครงการกรุงเทพเมืองแฟชัน่ เพือ่ ยกระดับนักออกแบบไทย” จาก ryt9.com / บทความ “แลนด์มาร์ก” ค้าปลีก 5 ย่าน 5 ทำ�เล...แห่ยดึ ใจกลางเมือง” จาก prachachat.net / รายงานประจำ�ปีหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 2558 / property.chula.ac.th /wikipedia.org CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรื่อง: กิรญา เล็กสมบูรณ์ ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี CREATIVE THAILAND I 28


แม้ จ ะรํ่ า เรี ย นและชื่ น ชอบการทำ � งานศิ ล ปะหลากแขนง หากเมื่อรวมทุกอย่างที่เราเคยเห็นเข้าไว้ด้วยกัน เขาก็น่าจะ ใช้เวลาที่ผ่านมาส่วนใหญ่ในแวดวงหนังสือ นอกเหนือจากผลงานเขียนและแปลที่ผลิตออกมาอย่าง ต่อเนื่อง ปราบดายังเป็นเจ้าของสำ�นักพิมพ์ เป็นคนเคยทำ� นิตยสาร แม้แต่รา้ นหนังสือก็เคยทำ�มาแล้ว ยังไม่รวมบทบาท ในฐานะอุปนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำ�หน่ายหนังสือ แห่งประเทศไทย ที่เขารับหน้าที่เป็นฝ่ายต่างประเทศ กับอีก บทบาทในฐานะผูร้ ว่ มก่อตัง้ เทศกาลหนังสือกรุงเทพมหานคร ทีเ่ น้นการเปิดพืน้ ทีใ่ ห้ส�ำ นักพิมพ์ขนาดเล็กได้น�ำ เสนอหนังสือ ในแง่ของความสร้างสรรค์มากกว่าการขายหนังสือลดราคา อย่ าลื ม นึ ก ถึ ง การออกแบบ เพราะว่า เขาก็ออกแบบ หนังสือด้วย ย้อนกลับไปสมัยเด็กที่ได้เข้าไปคลุกคลีกับทีมนิตยสารลลนา (คุณแม่ของ ปราบดา คือนันทวัน หยุ่น อดีตบรรณาธิการนิตยสารฉบับดังกล่าว) แม้การ ได้เห็นคนดังมาถ่ายแฟชั่นในนิตยสารจะทําให้ตื่นเต้นได้มากกว่า แต่เขาก็ ยอมรับกับเราว่า ตนเองโชคดีเหมือนกันที่ได้สัมผัสบรรยากาศของสังคม นักเขียนในยุคนั้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่า หากเราต้องการคุยกับใครสักคนถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของอุตสาหกรรมหนังสือ-สิง่ พิมพ์ เราจึงคิดถึง “ปราบดา หยุน่ ” เป็นคนแรก หากมองอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ย้อนกลับไปในอดีตเราเห็น ภาพอะไร คิดว่าอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ในบ้านเรามันมาพร้อมกับรูปแบบของต่างชาติ คือมันเกิดขึ้นได้เพราะเทคโนโลยีใหม่ท่ีเข้ามาในตอนนั้น แล้วมันก็เป็น สัญลักษณ์ของความทันสมัยแบบหนึ่ง จริงๆ แล้วสิ่งพิมพ์มีบทบาทสำ�คัญ มากในการเปลี่ยนสังคมของเรา เพราะมันเป็นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นและ กระจายกว้างไปโดยคนธรรมดา คือก่อนหน้านั้นแม้แต่วรรณกรรมหรือ สิ่งพิมพ์เล็กๆ ที่มีอยู่ก่อนก็มักจะเกิดจากข้างบน นักเขียนหรือนักแปลก็ เป็นเจ้า แต่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์มันเกิดพร้อมกับการเข้ามาทำ�การค้าโดย คนจีน คนญี่ปุ่น ฝรั่งต่างๆ และมันก็เป็นที่นิยมมากในหมู่ประชาชน แล้ ว หนั ง สื อ พิ ม พ์ ห รื อ นิ ต ยสารสมั ย ก่ อ นมั น มี บ ทบาทในการสร้ า ง นักเขียนที่เป็นคนทั่วไปเยอะมากด้วย ทำ�ให้เรามีนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี มีคนที่เกิดมาเป็นคอลัมนิสต์ เป็นนักข่าว มันค่อนข้างดำ�เนินไปควบคู่กับ สากลเหมือนกัน คือประเทศอื่นมี เราก็มี ซึ่งน่าทึ่งนะ เพราะแม้ว่ายุคนี้เรา จะได้รับข่าวสารอย่างรวดเร็วมากเพราะมีโลกออนไลน์ แต่ในยุคนั้นมันก็ไม่ ได้ช้าอย่างที่เราคิด หนังสือบางเล่มมีที่ต่างประเทศแล้วปัญญาชนไทยก็ได้ อ่าน ได้แปลกัน มันก็มีผลเยอะกับการพัฒนาปัญญาของประเทศเรา และมี การแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศเยอะด้วย

แม้ ว ่ า ยุ ค นี้ เ ราจะได้ รั บ ข่ า วสาร อย่ า งรวดเร็ ว มากเพราะมี โ ลก ออนไลน์ แต่ในยุคนั้นมันก็ไม่ได้ ช้าอย่างที่เราคิด แล้วหากเทียบกับยุคนี้ ผมว่าในยุคนีม้ นั ก็ยงั มีลกั ษณะคล้ายกัน เวลาต่างประเทศมีความเคลือ่ นไหว อะไรในแง่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ บ้านเราก็มี แต่มันอาจเป็นสเกลที่เล็กมาก เพราะเราต้องยอมรับว่าวัฒนธรรมการอ่านหนังสือมันยังไม่ใช่วฒั นธรรมของ เราเท่าไร เรายังไม่เห็นภาพคนอ่านหนังสือเพื่อรอรถ หรืออ่านเวลาเดินทาง เรายังไม่เห็นคนคุยกันว่าซัมเมอร์นี้มีอะไรน่าอ่าน หรือไปเที่ยวทะเลจะเอา อะไรไปอ่านดี มันไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมแบบนั้น แต่ในขณะเดียวกัน อาจจะ เป็นเพราะคนไทยชอบที่จะทันโลก เราจึงมีหลายสิ่งที่ต่างประเทศมี เรามี ร้านหนังสือที่มันมีความเป็นสากลอยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต และเรา ก็มีสังคมย่อยๆ ที่ติดตามความเคลื่อนไหวในต่างประเทศอย่างเท่าทัน คือความเท่าทันโลกเป็นตัวผลักการอ่านของประเทศไทย จะเห็นได้วา่ เรามีการแปลหนังสือทีม่ ชี อื่ เสียงในต่างประเทศมาเป็นภาษาไทย มากขึ้นเรื่อยๆ คือเมื่อก่อนก็มีเยอะนะ แต่เดี๋ยวนี้ผมรู้สึกว่ามันเข้าถึงคนได้ มากขึ้นกว่าสมัยก่อน เพราะฉะนั้นในแง่อุตสาหกรรมก็ต้องถือว่าเรามีความ เท่าทันโลก แต่ในขณะเดียวกันก็เท่าทันแบบไทยๆ คือเราก็ยงั มีวธิ กี ารทำ�งาน ทีอ่ าจเรียกว่าไม่มคี วามเป็นมืออาชีพมากเท่าต่างประเทศ เพราะยังใช้ระบบ กันเองอยู่มาก หรือเรียกว่าไม่เป็นระบบบ้างเป็นระบบบ้างก็ได้ มันเลยทำ�ให้ มีความขลุกขลักบ้างอยู่ในการพัฒนา พอยกตัวอย่างได้ไหม มันมีหลายอย่างที่ยังเป็นการจัดระเบียบด้วยตัวเองโดยไม่มีมาตรฐานที่ ชัดเจน คือส่วนใหญ่คนที่เข้ามาในอุตสาหกรรมนี้เพราะความชอบ ไม่ใช่ เพราะอุตสาหกรรมนี้มีความเป็นมืออาชีพ มีค่าตอบแทนสมเหตุสมผล หรือ มีอะไรทีท่ �ำ ให้มกี ารพัฒนาไปได้ เพราะฉะนัน้ หลายคนก็ท�ำ แม้จะได้เงินน้อย บ้างก็ถูกหลอกถูกโกง แล้วมันยังมีการต่อรองแบบกันเองเยอะมาก อย่าง มาตรฐานทั่วไปของการพิมพ์หนังสือหนึ่งเล่ม นักเขียนจะได้ส่วนแบ่ง 10% แต่ในบ้านเรามันยังมีการต่อรองได้ เช่น คุณเป็นนักเขียนที่ไม่มีชื่อเสียง หรือคุณอยากทำ�งานนี้แต่ไม่มีโอกาส แล้วการที่สำ�นักพิมพ์ให้โอกาสคุณ มันเหมือนเขาพลิกเงื่อนไขได้ แล้วคุณก็ยอมเพราะอยากทำ�งาน

CREATIVE THAILAND I 29


สิ่งพิมพ์อาจไม่ได้ดูหวือหวาเหมือน ภาพยนตร์ทที่ �ำเงินร้อยล้านพันล้าน แต่ มั น สม�่ ำ เสมอกว่ า เรี ย กความ มั่นใจให้คนท�ำได้มากกว่า

สังเกตว่าในระยะหลังเริ่มมีเสียงเรียกร้องในเรื่องไม่เป็นธรรม ต่างๆ มันมีส่วนช่วยได้มากน้อยแค่ไหน อันนี้ยังไม่ชัด เท่าที่เห็นมันช่วยในแง่ของการสร้างดราม่า มันช่วยในแง่ของ การรุมด่า แต่ดราม่าอันนีย้ งั ไม่ได้พสิ จู น์วา่ มันส่งผลให้เกิดความเปลีย่ นแปลง เพราะสุดท้ายมันก็จะไปสู่บทสรุปแบบตัวใครตัวมัน สมมติว่าคนนี้ยอม ก็ยอมไป ที่ไม่ยอมก็ไม่ยอมไป คือมันไม่ได้มีความจำ�เป็นที่ต้องเปลี่ยนไป ตามปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสังคม พูดได้ไหมว่าอุตสาหกรรมนี้ของบ้านเรายังไม่แข็งแรง ทั้งนี้ทั้งนั้นจากประสบการณ์ที่ได้ไปดูงานบุ๊กแฟร์หรือได้ไปคุยกับประเทศ เพื่อนบ้านมา ก็ต้องเรียกว่าประเทศไทยมีความตื่นตัวและมีความก้าวหน้า มาก อาจเรียกว่ามากทีส่ ดุ ก็ได้หากเทียบกันใน AEC อันนีพ้ ดู ถึงในแง่คณุ ภาพ เช่น การออกแบบ การพิมพ์ ร้านหนังสือ การนำ�เสนอ ของเราดูดีกว่าหลาย ประเทศ มีคุณภาพมากกว่า แล้วก็มีอิสระและความหลากหลายให้ผู้บริโภค มากกว่า แม้แต่ใกล้ๆ บ้านเรา เช่นที่ไทเป บุ๊กแฟร์ของเขาก็ไม่ได้คึกคักแบบเรา คือของเราถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แล้วก็ สม่ำ � เสมอ ยิ่ ง ถ้ า เที ย บกั บ แวดวงอื่ น ที่ ผ มมี ป ระสบการณ์ ม าบ้ า งอย่ า ง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อันนัน้ มีความเสีย่ งตลอดเวลา เหมือนเล่นการพนัน คือไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำ�ไปจะได้อะไรกลับมาแค่ไหน ในขณะที่สิ่งพิมพ์อาจไม่ได้ดู หวือหวาเหมือนภาพยนตร์ที่ทำ�เงินร้อยล้านพันล้าน แต่มันสมํ่าเสมอกว่า เรียกความมั่นใจให้คนทำ�ได้มากกว่า ขยายความคำ�ว่าหลากหลายหน่อยได้ไหม ความทีว่ า่ ประเทศเพือ่ นบ้านของเรา ในแง่ของการเมือง การปกครอง สังคม วัฒนธรรม มันมีความแตกต่างเยอะ บางประเทศก็มีเรื่องศาสนาหรือ การเมืองด้วย อย่างเวียดนาม พม่า ลาว ก็ยังเป็นประเทศที่ถูกปกครองโดย รัฐทีเ่ ข้มงวด และทุกอย่างต้องผ่านรัฐหมด มันยังมีความยากทีเ่ ขาจะนำ�เสนอ ความหลากหลายทางสิ่งพิมพ์ หรือประเทศที่เป็นมุสลิมก็ยากที่จะมีความ หลากหลายของสื่อ ความหลากหลายที่ผมพูดถึงคือเนื้อหามันหลากหลาย แต่ในเนื้อหาที่หลากหลายมันคือภาษาไทย ซึ่งดีหรือไม่ดี มันคือปัจจัยสำ�คัญอันหนึ่งที่ทำ�ให้ทั้งอุตสาหกรรมภาพยนตร์และสิ่งพิมพ์ ของเรามีความจำ�กัด เพราะจริงๆ เรามีความพร้อมหลายอย่าง ทัง้ ในแง่ของ เทคโนโลยีและบุคลากรที่จะเติบโตได้มากกว่านี้ แต่ความที่ภาษาไทยเรา ใช้กันแค่ในเมืองไทย มันก็เลยมีขนาดที่จำ�กัด

CREATIVE THAILAND I 30


ดีมาก แต่ขายไปได้เรื่อยๆ ข้อดีของหนังสือคือมันเป็นอุตสาหกรรมขาย คอนเทนต์ และคอนเทนต์มันจะอยู่ในแพลตฟอร์มอะไรก็ได้ มีแพลตฟอร์ม ใหม่ก็ยังต้องการคอนเทนต์ เพราะฉะนั้นหนังสือที่มีคุณค่าในเชิงศิลปะมันก็ จะมีพื้นที่ของมันต่อไปเรื่อยๆ อย่างนั้นเราพูดได้ไหมว่า โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมนี้อาจมี ขนาดเล็กลง แต่มีคุณภาพมากขึ้น ใช่ และผมคิดว่ามันเป็นเทรนด์สากลด้วยเช่นกัน เพราะอย่างในอังกฤษ เท่าที่รู้สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สำ�นักพิมพ์อิสระมีมากขึ้น ร้านหนังสือเชนสโตร์ ปิดตัวเยอะขึ้น และที่ยังเปิดอยู่ก็ต้องเป็นมิตรกับสำ�นักพิมพ์อิสระมากขึ้น ทุกวันนี้เวลาเราไปอังกฤษ แล้วเข้าร้านหนังสือ ก็จะมีมุมสำ�นักพิมพ์อิสระที่ ชัดเจน แล้วก็มีการจัดกิจกรรม มีการเปิดตัวร่วมกัน มีการจัดเสวนาในร้าน ในขณะที่ยุคหนึ่งเขาแทบจะไม่ต้องง้อสำ�นักพิมพ์อิสระเลย ก็มีแบบนี้ให้เห็น มากขึ้น คล้ายๆ ของเรา

แล้วเราไม่มีข้อจำ�กัดด้านเนื้อหาเลยหรือ ในแง่ของการสื่อสาร วงการสิ่งพิมพ์เป็นวงการที่มีอิสระมากที่สุดวงการหนึง่ ผมไม่แน่ใจว่าเหตุผลมันคือ เพราะภาครัฐเขาไม่ค่อยอ่านหรืออย่างไร แต่ก็ น่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นมันจึงมีอิสรภาพพอสมควรในการนำ�เสนอ หรือแสดงความคิดเห็น จะมีปัญหาก็ต่อเมื่อมีคนอยากให้มันมีปัญหา เช่นมี คนไปชีน้ �ำ ว่าหนังสือเล่มนีม้ เี นือ้ หาทีห่ มิน่ เหม่ แบบนีจ้ ะเกิดขึน้ จากคนกันเอง ที่ไปชี้นำ�ให้สังคมรู้สึกกับมัน แล้วมีความเห็นอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร้าน หนังสือในปัจจุบัน ก็เหมือนในยุคหนึง่ ทีเ่ ทคโนโลยีสงิ่ พิมพ์เข้ามา ตอนนีเ้ ราก็มเี ทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เข้ามา จะเรียกว่ามันเข้ามาแย่งพื้นที่ก็ได้ จริงๆ แล้วมันมาแย่งเวลาของ คนในการใช้ชีวิตมากกว่า คนก็ไปร้านหนังสือน้อยลง มีวิธีสั่งซื้อหนังสือ ออนไลน์ ซึ่งก็เป็นเทรนด์สากลอีกเหมือนกันที่อีคอมเมิร์ซเติบโต คนนิยม สั่งซื้อหนังสือออนไลน์กันเยอะ มันก็ทำ�ให้พื้นที่การเป็นร้านหนังสืออยู่ ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะค่าเช่าก็แพง คือตัวหนังสือยังอยู่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับหนังสือด้วย ผมไม่คิดว่ามันเป็นจริงกับหนังสือทุกเล่ม แต่ว่า อุตสาหกรรมสิง่ พิมพ์หรือหนังสือนี่ ขาหนึง่ มันก็อยูใ่ นความเป็นอุตสาหกรรม บันเทิง เพราะคนซื้อหนังสือเพื่อเสพความบันเทิง เพราะฉะนั้นมันก็มีส่วนที่ เป็นกระแสแบบมาเร็วไปเร็ว แต่มันก็มีประเภทหนังสือศิลปะที่ไม่ได้ขาย

เทรนด์เรื่องร้านหนังสืออิสระก็คล้ายกันไหม ไม่นะครับ เพราะเขามีความเป็นชุมชน คือคนอยูช่ มุ ชนไหนก็ไปร้านในชุมชน นั้น แล้วก็ถ้ามันมีการสนับสนุนที่แข็งแรง ร้านก็จะอยู่ได้ ในขณะที่ของเรา ผูกมัดอยูก่ บั คนอ่านมากกว่า หมายถึงต่อให้ไปเปิดในทีต่ า่ งกัน คนทีไ่ ปก็เป็น คนกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจริงๆ มันจะดีกว่ามาก ถ้าเราสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ให้มันเกิดในชุมชน สร้างอย่างไรดี มันมีหลายอย่างที่น่าจะทำ�ได้ แต่อย่างหนึ่งที่มันไม่น่ายากเท่าไร เพราะมัน ควรจะมีอยู่ในทุกสังคม ก็คือเรื่องห้องสมุด มันมีประโยชน์ทั้งต่อชุมชนและ ต่อสาธารณะ ในขณะเดียวกันมันก็ช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ด้วย คือบางคนคิดว่าการทีม่ หี อ้ งสุมดเยอะจะทำ�ให้คนไม่ซอ้ื หนังสือ จริงๆ ผมว่ามัน ช่วยกระตุน้ ด้วยซํา้ ถ้าคนอ่านแล้วบอกต่อว่าหนังสือนีด้ นี ะ หรือการทีค่ นเริม่ อ่านหนังสือจากห้องสมุด แล้วเกิดความรูส้ กึ อยากรูจ้ กั หนังสือมากขึน้ อยาก จะเข้าร้านหนังสือมากขึน้ สนใจสำ�นักพิมพ์มากขึน้ สนับสนุนนักเขียนมากขึน้ ถ้าสมมติรัฐบอกว่าทำ�ห้องสมุดชุมชนแล้วนะ แต่คนไม่เข้าล่ะ แต่ว่าสิ่งที่รัฐทำ�มันสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง แล้วก็ไม่ใช่ระบบที่ ควรจะเป็น เพราะเรามีตัวอย่างการจัดการห้องสมุดดีๆ มากมายในโลกนี้ที่ ทำ�แล้วสำ�เร็จหรือเป็นผลดีตอ่ ชุมชน แต่เราไม่ได้เลียนแบบเขาในลักษณะนัน้ เราไม่ได้เอาวิธีการของเขามาใช้ อย่างในอเมริกาหรือญี่ปุ่นนี่ ห้องสมุดมี หนังสือใหม่พร้อมกันทั่วประเทศ เมื่อมีหนังสือใหม่ออก อาทิตย์ต่อมา ห้องสมุดก็จะมี แล้วคนก็ไปใช้ห้องสมุดชุมชนเยอะมาก อย่างบ้านเรามีนโยบายเปิดห้องสมุดชุมชนอยู่บ่อยๆ ก็จริง แต่ปัญหา คือเขาให้ความสำ�คัญกับตัวโครงสร้างห้องสมุดมากกว่าหนังสือ ขอบริจาค อย่ า งเดี ย ว ส่ ง จดหมายมาสำ � นั ก พิ ม พ์ ข อบริ จ าคหนั ง สื อ เข้ า ห้ อ งสมุ ด อย่างเดียว มันไม่ช่วยอุตสาหกรรมเลย

CREATIVE THAILAND I 31


การสนับสนุนจากรัฐสำ�คัญขนาดไหน จริงๆ แล้วทุกสังคมต้องการการช่วยเหลือจากภาครัฐ และมันควรจะเป็น นโยบายที่สำ�คัญ เพราะงานที่มันเป็นความรู้ เป็นเรื่องทางปัญญา ทาง วัฒนธรรม มันไม่ใช่งานที่มีค่าตอบแทนมากมายอะไร การที่ทุกคนต้อง ขวนขวายดิน้ รนเอง ต่อให้มแี พชชัน่ ขนาดไหน มันจะมีจดุ เหนื่อยล้า หลายคน เลิกทำ�เพราะสู้มานานจนไม่ไหวแล้ว อันนี้มันเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นจริง การสนับสนุนสามารถอยู่ในรูปแบบใดได้บ้าง มันควรจะเป็นเงินครับ มันสำ�คัญมากที่จะต้องมีเงินสนับสนุนจากภาครัฐ กลับมาเรือ่ งห้องสมุดก็ได้ บางประเทศเขาจะมีโควตาให้หอ้ งสมุดเลยว่าจะต้อง ซือ้ หนังสืออะไรบ้างในแต่ละปี ซึง่ แค่นโยบายนีก้ ท็ �ำ ให้ส�ำ นักพิมพ์ทท่ี �ำ หนังสือ วิชาการอยู่ได้โดยไม่ต้องแคร์ตลาดเลย เพราะเขามั่นใจว่าทำ�ยังไงก็มีคนซื้อ อันนีม้ นั ก็จะเป็นผลดีตอ่ คนทีท่ �ำ งานในเชิงวิชาการทีม่ นั ขายยาก ซึง่ ในเมืองไทย ไม่มเี ลย ไม่มจี นน่าแปลกใจ เพราะเรามีงบให้กบั สิง่ อืน่ มากมาย จะบอกว่า เราแคร์เรือ่ งหน้าตามากกว่าก็อาจจะจริง แต่ผมคิดว่าปัญหามันอยูทร่ี ะบบด้วย ว่าเจ้าหน้าทีห่ รือคนทีท่ �ำ งานเหล่านีเ้ ขาต้องทำ�อะไร มันเหมือนกับคุณค่าทาง เนื้อหามันถูกทำ�ให้เป็นเรื่องนามธรรมมาก จนเขาไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าเขาควรจะทำ�อะไรกับมัน ในขณะทีก่ ารมีตกึ สวยๆ มันถ่ายรูปให้เห็นได้ เคยพยายามพูดคุยกับภาครัฐบ้างไหม เคยพยายามบ่อยมาก แต่มนั ยากที่จะคุยกันเพราะเขาไม่มนี โยบายตัง้ แต่แรก ยกตัวอย่างเช่นงานแสดงหนังสือต่างประเทศทีส่ มาคมฯ ไป ภาครัฐทีส่ นับสนุน งานของเราคือกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมันผิดตั้งแต่แรก เพราะมันควรจะเป็น กระทรวงวัฒนธรรม อย่างในประเทศอืน่ คือกระทรวงวัฒนธรรมเขาสนับสนุน หมายถึงเรามองการอ่านเป็นสินค้า ไม่ใช่วัฒนธรรม คือประเทศไทยเรามองว่าการไปแสดงงานคือหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งถ้าเขามองแบบนี้โดยไม่มีเงื่อนไขอะไรมันก็โอเค เพราะอย่างน้อยเราก็ ได้รบั การสนับสนุน แต่ทกุ วันนีเ้ ราก็ตอ้ งสูร้ บด้วยการแสดงตัวเลขให้กระทรวง เห็นว่าเรานำ�เงินเข้าประเทศได้มากแค่ไหน ซึ่งมันน้อยมากเมื่อเทียบกับ อุตสาหกรรมอย่างรถยนต์หรืออาหาร ดังนั้นเวลาที่เขามองตัวเลข เขาก็จะ คิดทุกปีว่าทำ�ไมต้องสนับสนุนงานของสมาคมฯ เพราะว่ามันไม่ได้นำ�อะไร กลับมาให้เขาเห็นเลย คือเขาไม่มีความเข้าใจในการเผยแพร่วัฒนธรรม ซึ่งมันประเมินค่าเป็นตัวเลขที่ชัดเจนไม่ได้ ถามเรื่องการมาถึงของโลกดิจิทัลบ้าง คิดว่ามันจะเปลี่ยน อุตสาหกรรมนี้ไปขนาดไหน มันเป็นโลกทีเ่ ราปฏิเสธไม่ได้เพราะมันเกิดขึน้ แล้ว และมันก็เป็นโลกของการ สื่อสารข้อมูลที่มีบทบาทสำ�คัญมากในยุคนี้ ซึ่งเราก็คาดเดาไม่ได้หรอกว่า หลังดิจิทัลมันจะมีอะไร แต่จุดนี้ข้อมูลมันได้ถูกบรรจุลงเป็นดิจิทัลมากขึ้น เรือ่ ยๆ อาจมากกว่าทีเ่ ราเคยมีเป็นกระดาษก็ได้ แต่วา่ มันก็มคี วามเปราะบาง ของมันอยู่ ซึ่งผมคิดว่าคุณสมบัติของการเป็นหนังสือกระดาษ มันยังมีบาง มิติที่ดิจิทัลทำ�ไม่ได้ โดยเฉพาะการเก็บรักษาในระยะยาว ทุกวันนี้เรายังมี หนังสือที่พิมพ์เมื่อสองพันปีที่แล้ว ในขณะที่ไฟล์ดิจิทัลที่เราเขียนไปเมื่อ

6 เดือนก่อน มันอาจหายไปแล้วก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นผมรู้สึกว่าสองอย่างนี้ มันต้องควบคู่กันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วมันก็ไม่ชัดเจนด้วยว่าอะไรจะ อยู่คงทนกว่ากัน ฟังดูไม่น่าตื่นเต้นยังไงไม่รู้ มันก็แปลกนะ ผมรู้สึกแบบนี้ มันอาจเป็นความรู้สึกส่วนตัวก็ได้ แล้วอาจ เป็นเพราะเกิดทันยุคที่มันไม่มีด้วย ผมรู้สึกว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มันไม่ได้ลํ้าหน้าไปจากสิ่งที่เราเคยมี พูดง่ายๆ ว่าต่อให้วันนี้ไม่มีอะไรที่เป็น ดิจิทัล ทุกอย่างก็ยังเหมือนเดิม คนรับรู้ข่าวสารเร็วกว่าเมื่อก่อนไหม ผมว่า มันเร็วกว่ากันน้อยมากๆ สุดท้าย อยากเห็นอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างไรในอนาคต ก็อยากเห็นความเป็นระบบและโครงสร้างทีแ่ ข็งแรง จริงๆ แล้วไม่คอ่ ยกังวล ในแง่ของปัจเจกและบุคลากร เรารู้สึกว่าอะไรก็ตามที่เป็นงานวัฒนธรรม เราไม่สามารถกำ�หนดหรือคาดเดาได้วา่ ในแต่ละช่วงจะมีบคุ ลากรใดเกิดขึน้ หรือมีหนังสือดีเล่มไหนถูกเขียนขึ้นมา มันเหมือนกับเรารู้ล่วงหน้าไม่ได้ ว่าวันหนึ่งวงการภาพยนตร์ไทยจะมีอภิชาติพงศ์* เพราะฉะนั้นเรื่องปัจเจก ไม่สำ�คัญสำ�หรับเราเท่าไร แต่ว่าเมื่อมีบุคคลเหล่านี้เกิดขึ้น สิ่งสำ�คัญคือ เขาต้องได้รับการสนับสนุน แล้วถ้าโครงสร้างหรือระบบของเราไม่แข็งแรง มันก็จะเป็นเรื่องตัวใครตัวมันอย่างที่เคยเป็นมา

• หากให้ เ ลื อ กหนั ง สื อ ที่ ช อบ ปราบดาก็ ค งเลื อ กหนั ง สื อ แนวปรั ช ญา โดยเฉพาะปรัชญาอมตะที่เขียนมาเป็นพันๆ ปีแล้วอย่าง “เต้าเต๋อจิง” แม้ จะไม่ใช่คนที่ชอบอ่านอะไรที่เป็นการสั่งสอน แต่เขาบอกว่ามันมีผลในแง่ การจัดระบบความคิด และมีอิทธิพลกับตัวเขามาถึงปัจจุบัน • ตัวละครที่เขาชอบที่สุดในซีรีส์ Game of Thrones ก็คือลอร์ดวาริส (Lord Varys) ขันทีผไู้ ม่รวู้ า่ ตกลงจะภักดีกบั ใคร ซึง่ เขาบอกว่าเป็นตัวละคร ทีม่ คี วามกลมทัง้ หัว รูปร่าง และนิสยั ใจคอ “เรารูส้ กึ ว่าคนทีเ่ ข้าใจชีวติ หรือ เข้าใจโลก มันอาจสะท้อนออกมาเป็นได้ทั้งความเย็นชา ความโหดร้าย ความเมตตา คือมันมีหลายมุมมาก เพราะเขาอาจเป็นคนที่เห็นภาพใหญ่ คือถ้าเจาะไปเป็นจุดๆ เขาอาจไม่มคี วามผูกพันกับสิง่ ใดสิง่ หนึง่ เลย บางที ก็ร้าย บางทีก็ดี แล้วแต่มุมมองว่าเขาดีกับใคร เขาได้ประโยชน์จากใคร เขาให้ประโยชน์กับใคร” • ด้วยความชืน่ ชอบบทกวี บทเพลงของลีโอนาร์ด โคเฮน (Leonard Cohen) ทีม่ ที งั้ ความเป็นกวีและมีมมุ มองต่อโลกและชีวติ ทีน่ า่ สนใจ จึงเป็นดนตรีที่ เขาเลือกฟัง เช่นเดียวกับงานวรรณกรรมโดยเจมส์ ซอลเตอร์ (James Salter) นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกนั ทีม่ กั บรรยายสิง่ ต่างๆ รวมถึงฉากหลัง ด้วยความรู้สึก • เมือ่ พูดถึงสถานทีท่ ชี่ อบ ปราบดาบอกว่าเขาชอบนิวยอร์ก “เพราะเป็นเมือง ทีม่ คี วามใสในความซับซ้อน และอธิบายได้ยากว่าคุณสมบัตทิ แี่ ท้จริงของมัน คืออะไร” ขอขอบคุณสถานที่ถ่ายภาพ: Open House at Central Embassy

* อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (เจ้ย) ผู้กำ�กับภาพยนตร์ชาวไทยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ CREATIVE THAILAND I 32


CREATIVE THAILAND I 33


Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง / ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

มนุษย์เราไม่มี ‘เครื่องย้อนเวลา’ ที่จะพาเรากลับไปสู่อดีตได้ แต่เชื่อว่าเวลาที่เราค้นเจอสิ่งของในวัยเยาว์ ความทรงจำ� ทุ ก อย่ า งที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ สิ่ ง นั้ น ก็ ห ลั่ ง ไหลเข้ า มาในความคิ ด พาให้นึกถึงวันเก่าๆ ความสุขทุกข์หลากหลาย ถ้าไม่อยาก ให้ความทรงจำ�เหล่านั้นหายไป อย่ารีรอที่จะเก็บรักษามันไว้ ดังทีค่ ณ ุ อเนก นาวิกมูล ผูเ้ ป็นนักสะสม นักวิชาการ นักเขียน สารคดีคนสำ�คัญของไทย และผู้ก่อตั้ง “บ้านพิพิธภัณฑ์” ได้บอกเอาไว้ว่า “เก็บวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่า” “ถ้าเราเห็นว่าอะไรเป็นความทรงจำ� มันมีเรื่องราว มีความหมายต่อเรา เก็บมันไว้เลย ของที่ไม่มีสตอรี่มันก็คือวัตถุเฉยๆ แต่ถ้ามันมีสตอรี่มัน คือความผูกพัน ถึงวันหนึ่งความทรงจำ�มันจะเป็นสิ่งที่มีค่ามาก” คือสิ่งที่ คุณวรรณา นาวิกมูล ภรรยาของคุณอเนกกล่าว เมื่อถามถึงแรงบันดาลใจ และแนวคิดในการเลือกเก็บสิ่งของในชีวิตประจำ�วันทั้งหลาย ด้วยความเชื่อ ว่าสิ่งของมีเรื่องราวในตัวเองและสามารถบอกอะไรบางอย่างกับเราได้ จนเป็นทีม่ าของ “บ้านพิพธิ ภัณฑ์” สถานทีเ่ ก็บรวบรวมความทรงจำ�ของไทย ในรูปแบบของสะสมต่างๆ ตัง้ แต่พ.ศ. 2500 หลังยุคสงครามโลกที่วฒั นธรรม ป๊อปได้เกิดขึ้นและส่งอิทธิพลต่อประเทศไทยในวงกว้าง คุณอเนกมองว่า ประวัตศิ าสตร์ทมี่ กั ได้รบั การบันทึกจะเป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญ ต่อบ้านเมือง เรื่องชนชั้นสูง หรือไม่ก็เป็นเรื่องชาวไร่ชาวนาที่เป็นกำ�ลังหลัก ของชาติ แต่ไม่มีการบันทึกมิติของชีวิตคนธรรมดาทั่วไป จึงเกิดความคิดที่ ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ขาดตอน ผสมกับพื้นฐานที่เป็นคนหลงใหลใน การสะสมของเก่าอยู่แล้ว คุณอเนกจึงได้ระดมความคิดร่วมกับกลุ่มคนที่มี

อุดมการณ์เดียวกัน ค้นหาแนวทางจากเริ่มแรกที่เป็นเพียงโกดังสะสม ของเก่า จนเกิดเป็นบ้านพิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ห้องแถวของไทย ในอดีต เปิดให้ผู้ที่สนใจได้เข้าชมและมีประสบการณ์ร่วมกัน ของสะสมส่วนใหญ่ในบ้านพิพิธภัณฑ์มาจากการบริจาค บ้างมาแบบ ครบถ้วนสมบูรณ์ บ้างมาแบบแตกหัก แต่คุณอเนกก็เลือกที่จะเก็บไว้ พื้นที่ ทั้งหมดแบ่งเป็นสองอาคาร จำ�ลองเป็นร้านของเล่น ร้านขายของจิปาถะ ร้านขายยา ขายของที่ระลึก ร้านถ่ายรูป โรงพิมพ์ โรงภาพยนตร์ ร้านตัดผม ร้านขายแผ่นเสียง ฯลฯ ทุกๆ ห้องจะมีกลิ่นเอกลักษณ์ของสิ่งที่สะสม เช่น กลิ่นโต๊ะ กลิ่นสมุนไพร กลิ่นขนมหวาน กลิ่นฟิล์มภาพถ่าย หรือกลิ่น เครื่องไม้เก่า ประกอบกับการนำ�เสียงประกอบที่เกี่ยวข้องมาร่วมนำ�เสนอ ทำ�ให้บ้านพิพิธภัณฑ์เป็นเสมือนพื้นที่จำ�ลองเหตุการณ์ในอดีตเลยก็ว่าได้ บ้านพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นโมเดลพิพิธภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบของกลุ่มคน หลงใหลในการสะสม อาสาร่วมกันคิด สร้าง บริจาคให้เกิดขึน้ มา เป็นสถานที่ เก็บรวบรวมความทรงจำ�ในวันวานให้ยงั คงมีคณุ ค่า และบุคคลทัว่ ไปสามารถ เข้าถึงได้ เพือ่ สัมผัสพร้อมรับชมเสน่หแ์ ละวิวฒั นาการของงานออกแบบไทย ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เชื่อว่าทุกคนมีสิ่งของและความทรงจำ�ควรค่าแก่การเก็บไว้ หลายครั้ง ที่ได้ยินผู้เข้าชมพูดว่า “เสียดายจัง รู้อย่างงี้เก็บไว้ก็ดี” คุณวรรณาจึงฝาก บอกว่า “อย่าให้ถึงเวลาที่ต้องเสียดาย เก็บอะไรได้ก็เก็บ เราทุกคน ทุกบ้าน ควรจะมีมุมที่เป็นความทรงจำ�ของเรา” บ้านพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่ 170/17 ม.7 ซ.คลองโพ 2 ถ.ศาลาธรรมสพน์ ศาลาธรรมสพน์ ทวีวฒั นา กรุงเทพฯ / เปิดให้เข้าชม เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 - 17.00 น. ที่มา: การสัมภาษณ์ คุณวรรณา นาวิกมูล

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.