มิถุนายน 2560 ปีที่ 8 I ฉบับที่ 9 แจกฟรี
Local Wisdom ยิ้มไทยไปไกลถึงยิ้มโลก
Creative Startup DuckUnit
The Creative ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต
Jamie Dench
“I JUST FEEL LIKE THERE ARE SO MANY THINGS THAT I COULD BE DOING AND PROBABLY WANT TO BE DOING THAT I’M JUST NOT.”
“ผมรู้สึกว่ามีหลายอย่างที่ทำ�ได้ และอาจจะอยากทำ� แต่ไม่ได้ทำ�” Mason จากภาพยนตร์เรื่อง Boyhood (2014)
Contents : สารบัญ
The Subject
6
ครั้งแรกของโลกกับประสบการณ์วิ่งแข่งกับ ตนเอง / หน้าร้านนั้นสำ�คัญไฉน / Inscape วิธีรับมือกับชีวิตของคนรุ่นใหม่ / Are You Sure to Call Us “Generation Me”?
Creative Resource 8 Featured Book / Book / Magazine / Documentary
MDIC 10 EQ-Radio เทคโนโลยีที่เข้าใจทุกความรู้สึก
Local Wisdom
12
Cover Story
14
ยิ้มไทยไปไกลถึงยิ้มโลก
“โอ๊ย เด็กสมัยนี้”
Insight 20 ผมผิดตรงไหน?
Creative Startup 22 DuckUnit เพราะแสงคือออกซิเจน
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Chinawood ฮอลลีวูดแดนมังกร
ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต: The Film Editor’s Life that can’t be Edited
ฟังด้วยใจ
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ , โศภิษฐา ธัญประทีป เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมเี ดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ นักศึกษาฝึกงาน l พันทนี เพ็งสกุล จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th ภาพปกโดย: Erik Eastman นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
quantamagazine.org
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
ความหมายของเทคโนโลยีคืออะไร สำ�หรับเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ที่เกิดมาพร้อมๆ กับนวัตกรรมที่ถูกสร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยี ที่ ก้ า วลํ้ า ไปจากยุคสมัย มากๆ บางครั้งก็ก่อให้เ กิด ความรู้ สึ ก แปลกแยก น่าหวาดหวั่น และไม่น่าไว้วางใจ จนทำ�ให้เทคโนโลยีที่ไม่คุ้นเคย ถูกสื่อผ่านภาพของวายร้ายที่จ้องมุ่งร้ายต่อโลกหรือมนุษยชาติ แทนที่จะเป็น เครื่องมือช่วยอำ�นวยความสะดวก แต่กลับเป็นเรื่องยากจะควบคุม แต่เมื่อเทคโนโลยียิ่งมีวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดด พร้อมๆ กับช่วงยุคที่ เปลี่ยนผ่าน การเกิดขึ้นของเจเนอเรชั่นใหม่อย่างเจนวาย ที่เติบโตมาพร้อมๆ กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในระดับความเร็วที่ยากจะไล่ทัน เมื่อเด็ก รุ่นใหม่เกิดและโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี สิ่งที่เคยแปลกแยกจึงกลายเป็นเรื่อง ปกติ ความหมายของเทคโนโลยีสำ�หรับพวกเขาจึงไม่ใช่ “การพยายามเข้า ควบคุม” แต่คอื การอยูร่ ว่ มกันอย่างธรรมดา และพยายามมองหาประโยชน์จาก การใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ เพื่ออำ�นวยความสะดวกในการดำ�เนินชีวิตให้มาก ที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ นั่นอาจเป็นเพราะปัญหาที่พวกเขาเผชิญแตกต่างอย่าง สิน้ เชิงกับคนรุน่ ก่อนหน้า หากคนรุน่ พ่อ รุน่ พี่ กำ�ลังมุง่ มัน่ เดินตามความคาดหวัง ของสังคม ด้วยคำ�ถามพืน้ ฐานตั้งแต่เด็กว่า “โตขึน้ อยากเป็นอะไร” สิ่งที่คนรุน่ นี้ กำ�ลังทำ�ก็คือ การมุ่งมั่นเดินตามความต้องการที่แตกต่างของแต่ละคน เพื่อ ตอบคำ�ถามที่ว่า “โตขึ้นฉันอยากจะมีชีวิตอย่างไร” นั่นเอง
แม้จะแตกต่างกันในความรู้สึกต่อเทคโนโลยี แต่การเกิดขึ้นของเรื่องที่ สั่นสะเทือนวงการหมากล้อมหรือโกะเมื่อไม่นานนี้ ที่เซียนโกะมือหนึ่งของโลก ต้องพ่ายแพ้ให้กับ AlphaGo โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ซึ่งถูกป้อนข้อมูลให้ เรียนรู้และเข้าใจกลยุทธ์การเล่นโกะได้อย่างแยบยล เพราะมันถูกวางระบบ การทำ�งานให้คล้ายกับระบบสมองของมนุษย์ จึงสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาด และนำ�มาปรับพัฒนาเป็นกลยุทธ์ใหม่ได้โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยนั้น ก็ได้สร้าง “ความรู้สึกร่วม” ให้เกิดขึ้นกับคนทั้งสองรุ่นอีกครั้ง เพราะเมื่อปัญญาประดิษฐ์ กำ�ลังไล่ล่าเอาชนะมนุษย์แบบหายใจรดต้นคอ สิ่งที่ไม่ว่าจะเป็นคนเจเนอเรชั่น ไหนก็หวาดเกรงเหมือนกัน จึงเป็นความกังวลเรื่องเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่ยังไม่คลี่คลาย และกลายเป็นประเด็นสำ�คัญที่ต้องถกเถียงกันต่อไปในกลุ่ม ประชาคมโลก แต่ก่อนที่จะมนุษย์ทุกเจนจะก้าวไปถึงจุดนั้น สิ่งสำ�คัญที่ต้องลงมือทำ� เสียก่อน ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปอีกไกลแค่ไหน หรือยุคของผู้คนจะ เปลีย่ นผ่านอีกมากเท่าไหร่กค็ อื การลงมือทำ� ทีไ่ ม่ใช่เพียงแค่การวางเป้าหมาย แต่คอื การออกแบบอย่างรอบคอบ เพือ่ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมได้อย่าง ที่ต้องการ นั่นเพราะมนุษย์จะยังคงเป็นเจ้าของความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และสร้างผลกระทบ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากใครคนใดคนหนึ่ง หรือเพือ่ เจเนอเรชัน่ ใดเจเนอเรชัน่ หนึง่ แต่มนั คือผลกระทบทีจ่ ะมีตอ่ ชุมชนของ โลก และเกิดจากประชากรของโลกที่จะต้องร่วมมือกัน…ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ
CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด
ครั้งแรกของโลกกับ หน้าร้านนั้นสำ�คัญไฉน ประสบการณ์วิ่งแข่งกับตนเอง เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
เชื่อว่านักวิ่งหลายคนต้องการจะก้าวข้ามขีดจำ�กัดในการวิ่งของตนไปให้ได้ แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราวิง่ แข่งกับตัวเองได้ Nike ร่วมกับทีมครีเอทีฟเอเจนซี่ Bartle Bogle Hegarty (BBH) สร้าง Nike Unlimited Stadium สนามวิ่ง LED Running Track แห่งแรกของโลก ที่ใช้เทคโนโลยีระบบนักวิ่งติดตามเสมือน จริงเพือ่ ให้นกั วิง่ ได้สมั ผัสประสบการณ์วงิ่ แข่งกับตนเองในรูปแบบแสงไฟและ ความเร็วขนาดเท่าคนจริง LED Running Track ตั้งอยู่ในเมืองมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ โดยสนามมีรูปร่างเป็นพื้นรองเท้าที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรองเท้ารุ่น Nike LunarEpic สามารถรองรับนักวิ่งได้สูงสุด 30 คน สนามมีระยะทาง 200 เมตร ทั้งพื้นราบและเนินตลอดเส้นทาง จุดเด่นคือผนังรอบเส้นทางที่ ใช้เทคโนโลยีจอแอลอีดีร่วมกับระบบการติดตามแบบเรียลไทม์ จากชิพ RFID - Radio Frequency Identification ที่ติดไว้กับรองเท้าของนักวิ่ง โดยระบบจะประมวลผลทำ�งานสัมพันธ์กับผนัง แสดงภาพกราฟิกจำ�ลอง เสมือนเป็นนักวิ่งอีกคนขึ้นมาวิ่งตามคล้ายเงา โดยผู้ใช้สามารถเลือกระดับ ความเร็ว (Pace) ได้ เช่น ให้ภาพกราฟิกวิ่งเป็นเพื่อนด้วยระดับความเร็ว เท่ากัน หรือจะให้วิ่งแข่งกันก็ได้ พร้อมด้วยลูกเล่นต่างๆ มากมาย เช่น ถ้าวิ่งไล่ๆ กัน ตัวนักวิ่งจะใหญ่ขึ้น หรือเมื่อวิ่งเข้าเส้นชัยแล้ว ตัวจะสลายไป เพื่อสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้นักวิ่งได้สัมผัส นอกจากนี้ ยังมีการเก็บสถิตอิ ตั ราความเร็วการวิง่ ของนักวิง่ ระดับแชมป์ โลกให้เลือกปรับ แล้ววัดฝีเท้าได้อย่างสนุกในระยะทาง 200 เมตร โดยใน อนาคต LED Running Track อาจถูกจัดขึ้นอีกในหลายๆ แห่งทั่วโลก เพื่อ เปิดโอกาสให้นักวิ่งได้สัมผัสกับประสบการณ์การวิ่งแบบใหม่ที่น่าสนุกและ ตื่นเต้นนี้ ที่มา: บทความ “Nike Just Opened a Running Track Where You Can Race against Your Digital Self” โดย Keith Nelson Jr. จาก digitaltrends.com / บทความ “Nike Really Is One Step Ahead: Virtual LED Running Tack Brought to Life” จาก taylorherring.com และบทความ “What Are Some Benefits of Running on Nike’s New LED Running Track?” จาก quora.com
ในวันที่เรามีช่องทางในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น จะซื้อหาอะไรเพียง เปิดดูอินสตาแกรมหรือเฟซบุ๊กก็ง่ายดาย โดยปี 2559 ที่ผ่านมา มีงานวิจัย รายงานว่า มีการจับจ่ายใช้สอยมูลค่าสูงถึง 2.1 ล้านล้านบาทในตลาด อีคอมเมิรซ์ ในประเทศ และสินค้าทีไ่ ด้รบั ความนิยมเป็นอันดับหนึง่ ก็คอื สินค้า แฟชั่น แต่ถึงอย่างนั้นเหล่านักช้อปเจนวายก็ไม่ได้เลือกซื้อสินค้าทันทีที่เห็น เพียงรูปของสินค้าในโซเชียลมีเดีย จากงานสัมมนา “InStagram-InStores เปิดเช็กลิสต์ พลิกโอกาสร้าน สินค้าแฟชั่นจาก Online สู่ On Shelves” โดยนักศึกษาปริญญาโท สาขา การตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า คนไทยใช้ อินสตาแกรมเพื่อค้นพบสิ่งใหม่ๆ 60 % สร้างการเรียนรู้ 59 % และซื้อสินค้า 49 % จากผลการสำ�รวจยังพบว่า นักช้อปที่มีอายุในช่วง 16 - 30 ปี ชอบ รูปแบบการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เป็นหลัก (อินสตาแกรม) ชอบดูรูปที่มี พรีเซ็นเตอร์หรือคนดังในโลกออนไลน์เป็นผู้สวมใส่ ตลอดจนชอบการลง รายละเอียดของสินค้าและราคาที่ชัดเจน แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ถึงแม้ นักช้อปกลุ่มนี้จะชอบเลือกดูสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ แต่พวกเขาก็ ยังจะซื้อสินค้าผ่านทางหน้าร้านอยู่ดี นี่จึงเป็นที่มาของซีเล็คเต็ดช็อปหรือ ร้านรวมมัลติแบรนด์ที่เกิดขึ้นมากมายจากอินสตาแกรม เช่น ร้าน Matchbox, SOS Sense of Style หรือ CAMP ฯลฯ ที่เปิดให้นักช้อปรุ่นใหม่ได้เลือกและ ลองจากสินค้าจริง เพื่อให้มีความมั่นใจเกี่ยวกับสินค้ามากขึ้น เพราะของ บางอย่างก็จำ�เป็นต้องมีหน้าร้านให้เลือกและลองก่อนตัดสินใจซื้อ facebook.com-matchbox.official
realclearlife.com
เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์
ที่มา: บทความ “รวม 6 ร้านเสื้อผ้ามัลติแบรนด์ รวมแฟชั่นสุดเก๋มากมายรวมไว้ได้ภายใน ร้านเดียว!” จาก spiceee.net และบทความ “ส่องพฤติกรรมนักชอปออนไลน์ วัยรุ่นชอป ในไอจี-ผู้ใหญ่ชอปในเฟซบุ๊ก” จาก positioningmag.com
CREATIVE THAILAND I 6
Inscape Are You Sure to Call Us วิธรี บั มือกับชีวติ ของคนรุน่ ใหม่ “Generation Me”? เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
เมือ่ นึกถึงการนัง่ สมาธิ หลายๆ คนคงจะนึกถึงสถานทีเ่ งียบสงบและศักดิส์ ทิ ธิ์ อย่างวัดวาอาราม แต่ที่มหานครนิวยอร์กในสหรัฐอเมริกา Inscape หนึ่งใน หลายบริษัทที่เปิดธุรกิจขายประสบการณ์การนั่งสมาธิกำ�ลังเปลี่ยนโฉม การนั่งสมาธิแบบที่คุ้นเคยไปสิ้นเชิง โดยเมื่อลูกค้าจ่ายเงินสำ�หรับคอร์สการ นั่งสมาธิที่ Inscape (ซึ่งยังมีคอร์สนอนหลับให้เลือกด้วย) ลูกค้าก็จะได้นั่ง ฟังเสียงเทศน์นุ่มๆ ของอาจารย์ในระบบเสียงสเตอริโอรอบทิศทางภายใน ห้องโดมที่ออกแบบโดยสถาปนิกเลื่องชื่ออย่างวินคา ดับเบลแดม (Winka Dubbeldam) นอกจากนัน้ ลูกค้ายังจะได้นงั่ สมาธิบนหมอนรองนัง่ ทีค่ ลุมด้วย ผ้าขนอัลปากาจากเอกวาดอร์ โดยสามารถเลือกได้ว่าอยากจะนั่งสมาธิเป็น เวลา 22, 33, 44 หรือ 66 นาที ส่วนราคาตกอยู่ประมาณ 600-1,000 บาท ต่อครัง้ หรือหากใครไม่สะดวกทีจ่ ะเดินทางมาที่ Inscape ซึง่ ตัง้ อยูบ่ นตึกสูง ใจกลางเมือง ก็สามารถเลือกซื้อโปรแกรมผ่อนคลายตัวเองได้ผ่านทาง แอพพลิเคชั่นของบริษัทด้วย ทุกวันนี้บริษัทระดับโลกต่างๆ หันมาให้ความสำ�คัญกับการนั่งสมาธิ เพราะเชื่อว่าการฝึกสมาธิจะช่วยให้คนรุ่นใหม่ที่ต้องเผชิญกับความรวดเร็ว ในชีวิตจนเกิดความสับสนว้าวุ่นใจ และนำ�มาซึ่งอาการเครียดนอนไม่หลับ หรือซึมเศร้าในบางราย สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดีขึ้น ผู้ประกอบการยุคนี้จึงเห็นช่องว่างทางธุรกิจและสร้างเป็นธุรกิจใหม่อย่าง คอร์สการนั่งสมาธิหรือคอร์สฝึกการนอนหลับให้ผู้คนรู้สึกผ่อนคลายและมี สมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ได้ดีมากขึ้น ไม่นา่ แปลกใจว่าในโลกทีห่ มุนเร็วขึน้ นี้ ผูค้ นกลับต่างไขว่คว้าความสงบ ที่หยุดนิ่งแม้จะเป็นเพียงเวลาหลักนาทีก็ตาม
flickr.com/photos/kk
Bobby Doherty ©nymag.com
เรื่อง: พันทนี เพ็งสกุล
จากรายงาน The Deloitte Millennial Survey ประจำ�ปี 2016 ได้เผยข้อมูล ที่น่าสนใจว่า ภายในปี 2020 จะมีหนุ่มสาวมิลเลนเนียล 2 ใน 3 คน ลาออก จากงานทีท่ �ำ อยู่ หากองค์กรนัน้ มุง่ หวังผลกำ�ไรมากเกินไป เพราะจริงๆ แล้ว พวกเขาอยากทำ�งานที่ให้ประโยชน์กับสังคมด้วย โดย 9 ใน 10 คนเชื่อว่า ธุรกิจที่ประสบความสำ�เร็จ ควรวัดผลได้มากกว่าแค่เรื่องเงินๆ ทองๆ และ เมื่อถามพวกเขาว่า “ปัจจัยอะไรที่จะทำ�ให้ธุรกิจประสบความสำ�เร็จใน ระยะยาว” หนุม่ สาวมิลเลนเนียลก็ให้ค�ำ ตอบว่า ธุรกิจควรให้ความสำ�คัญกับ พนักงานเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งจะนำ�ไปสู่การไว้เนื้อเชื่อใจ เคารพและให้เกียรติ กันในการทำ�งาน ส่วนสิง่ สำ�คัญอืน่ ๆ ทีค่ วรมีตามมาก็คอื การให้ความสำ�คัญ กับลูกค้าและคุณภาพของสินค้าหรือบริการ รวมทั้งการทำ�ประโยชน์เพื่อ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ตอบว่า ธุรกิจควรมุ่งเน้น แค่ เ รื่ อ งผลกำ � ไร และร้ อ ยละ 20 จะไม่ ทำ � งานให้ กั บองค์ ก รที่ทำ� เพื่อ ผลประโยชน์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียวนานเกิน 5 ปี ในขณะที่ผู้ใหญ่หลายคนวิพากษ์วิจารณ์คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ว่าเป็น เจเนอเรชั่นที่นึกถึงแต่ตัวเอง (Generation Me) แต่พวกเขาส่วนใหญ่กลับ เลือกที่จะทำ�งานที่ให้คุณค่าและมีความหมายมากกว่าเรื่องเงินทอง แต่มอง ไปถึงสังคมและคนรอบข้างเช่นกัน คงถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจเสียใหม่ หากไม่ต้องการให้แรงงานในปัจจุบันและอนาคตของพวกเขาหายไปในอีก ไม่ช้า ที่มา: บทความ “Millennials want business to shift its purpose” จาก deloitte.com
ที่มา: บทความ “Inside New York’s Luxury Meditation Center” จาก nymag.com CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา
F EAT U RED BOOK Contagious: Why Things Catch On โดย Jonah Berger ทุกวันนี้สื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลเหนือกว่าสื่อมวลชนและสื่อโฆษณาใน รูปแบบดั้งเดิม เพราะหลายครั้งสื่อใหม่สามารถสร้างปรากฏการณ์ให้กับ สังคมในเวลาอันรวดเร็ว เปลี่ยนสิ่งธรรมดาหรือคนธรรมดาให้กลายเป็น คนดังอย่างไม่ทันตั้งตัว เหมือนเป็นเรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่โจนาห์ เบอร์เกอร์ ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ อธิบายให้เข้าใจถึงเหตุผลที่อยู่ เบื้องหลังการกดไลก์ กดแชร์ ซึ่งทำ�ให้สิ่งต่างๆ กลายเป็นไวรัลหรือกระแส สังคมในทีส่ ดุ ไว้วา่ ปัจจัยสำ�คัญทีท่ �ำ ให้เรือ่ งบางเรือ่ งกลายเป็นไวรัลได้นนั้ คือ การให้ความสำ�คัญกับเนื้อหาที่เข้ากันกับผู้รับสารอย่างดี และง่ายต่อการนำ� ไปเผยแพร่ตอ่ โดยเขาได้สรุปเป็นหลักการ 6 ข้อทีส่ ามารถจดจำ�ได้งา่ ยๆ ว่า STEPPS ซึ่งมาจาก Social Currency - การที่เรื่องราวเหล่านั้นให้สถานะทางสังคมแบบใด แบบหนึ่งกับผู้ที่แชร์ออกไป เช่น ทำ�ให้รู้สึกประสบความเร็จ มีรสนิยมดี มี ฐานะดี เป็นต้น เมื่อการแชร์นั้นทำ�ให้ดูดีคนก็อยากแชร์มันออกไป Triggers - มีบางอย่างทีเ่ ชือ่ มโยงกันทำ�ให้สงิ่ นัน้ ถูกพูดถึงอย่างต่อเนือ่ ง โดยเฉพาะเมื่อสิ่งเหล่านั้นถูกผูกเข้ากับบางเรื่องในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเห็นสิ่งหนึ่งแล้วอาจนึกถึงอีกสิ่งหนึ่งเสมอ เนื่องจากมีการโปรโมตอย่าง ต่อเนื่องให้คนจดจำ�ว่าสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกัน
Emotion - แชร์เมื่อมีความรู้สึกร่วมกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรง เช่น ชอบมาก รักมาก โกรธมาก เกลียดมาก กลัวมาก ซึ่งความรู้สึกนั้นต้องมา ถูกเวลาและโอกาส โดยอารมณ์และความรูส้ กึ ทีต่ อ้ งระวังมากเป็นพิเศษหาก จะนำ�มาใช้กับสินค้าและบริการก็คือความเศร้า Public - คนเรามักจะทำ�อะไรเหมือนๆ กัน หากรู้ว่าคนอื่นก็ทำ�เช่นนั้น ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมทำ�ให้เกิดการมองเห็นและรับรู้อย่างชัดเจน Practical Value - แชร์เมื่อมีการนำ�เสนอสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการใช้ ชีวิตมากๆ ช่วยให้ทำ�บางเรื่องได้ง่ายขึ้น หรือทำ�ให้มีความรู้ในบางเรื่อง เพิ่มขึ้น Stories - การเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวสุดเจ๋ง แปลกแหวกแนว แตกต่างอย่างน่าสนใจที่อาจสร้างคำ�อุทานว่า “แบบนี้ก็ได้เหรอ” การพูดปากต่อปากนั้น โดยทั่วไปก็ทำ�ให้สารแพร่กระจายไปได้รวดเร็ว อยู่แล้ว และเมื่อมีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย ก็ยิ่งทำ�ให้การแพร่กระจายรวดเร็ว เพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งหากโฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องด้วยแล้ว ก็ย่อมเกิดการ แชร์ตอ่ ทันที ดังนัน้ หากธุรกิจในปัจจุบนั นำ�หลักการเหล่านีไ้ ปประยุกต์ใช้กบั สินค้าและบริการของตน ก็อาจทำ�ให้สิ่งของสุดธรรมดากลายเป็นของที่ น่าจับตาขึ้นมาได้ทันที
CREATIVE THAILAND I 8
BOOK The 4-Hour Workweek โดย Timothy Ferriss คนทำ�งานยุคก่อนจะเชือ่ มัน่ ในความอดทนและการทำ�งานหนัก แต่เมือ่ สภาพแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี เปลีย่ นไป การทำ�งาน 20 ชม. ต่อวันเพือ่ เก็บออมหวังสร้างตัว จึงไม่ใช่เป้าหมายของคนรุน่ ถัดมา หนังสือ เล่มนี้ได้นำ�เสนอวิธีการทำ�งานที่เน้นผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผลมากกว่าการเน้นปริมาณ เพื่อลดเวลาการ ทำ�งานให้น้อยลง และหันมาสร้างทักษะที่จำ�เป็นโดยใช้หลักการสำ�คัญคือการนิยามความหมายของ ความรํ่ารวยใหม่ กำ�จัดสิ่งที่ทำ�ให้เสียเวลา เรียนรู้วิธีการทำ�งานแบบใหม่ และหาช่องทางสร้างงานในฝัน เพื่อให้เกิดสมดุลของงานและชีวิตส่วนตัวอย่างที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความสำ�คัญ
M AGA ZIN E i-D ฉบับ Summer 2016 นิตยสาร i-D เป็นหนึ่งในนิตยสารวัยรุ่น ‘เด็กแนว’ หัวแรกๆ ที่เริ่มผลิตขึ้นตั้งแต่ปี 1980 เน้นเนื้อหา เกี่ยวกับแนวคิด แฟชั่น ดนตรี และวัฒนธรรมวัยรุ่น ในฉบับ Summer 2016 Futurewise ได้หยิบยก ประเด็นความคิดและการแสดงออกของเด็กรุ่นใหม่ที่มีต่อสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเมืองหรือการ ใช้ชีวิต ผ่านบทสัมภาษณ์นักต่อสู้อายุ 15 ที่ยื่นฟ้องรัฐบาลเนื่องจากการเพิกเฉยต่อภาวะโลกร้อน หรือ บทสัมภาษณ์สั้นๆ ของวัยรุ่นตามท้องถนนที่เป็นตัวแทนของคนเจเนอเรชั่นใหม่ เพื่อทำ�ความเข้าใจ ความคิดเบื้องหลังภาพลักษณ์ของการเห็นตัวเองเป็นหลัก ติดโซเชียลมีเดีย และไม่ขยันเท่าคนรุ่นก่อน
DOCU M E N TARY My Millennial Life โดย Maureen Judge สารคดีชนะเลิศรางวัลจากนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และแคนาดา เรื่องราวของผู้ที่เกิดและเติบโตในช่วง ยุคมิลเลนเนียล ซึ่งกำ�ลังก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่วัยทำ�งาน สารคดีเรื่องนี้ใช้ตัวแทนชีวิตของคนกลุ่ม หนึ่งเพื่อแสดงภาพรวมของสิ่งที่คนยุคนี้ต้องเผชิญ ทั้งผู้ที่จบจากมหาวิทยาลัยมีชื่อ ผ่านการฝึกงานใน บริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ยังไม่สามารถหลุดพ้นจากความรู้สึกของการทำ�งานไปวันๆ สตาร์ทอัพที่ล้มเหลว จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และยังต้องยืมเงินพ่อแม่มาจ่ายค่าเช่าบ้าน หรือนักศึกษาจบใหม่ทกี่ �ำ ลังหว่าน ใบสมัครกว่า 200 แห่ง หวังว่าจะมีบริษทั ซักทีเ่ รียกตัว เพือ่ แสดงถึงชีวติ ของเหล่าเจเนอเรชัน่ วายทีก่ �ำ ลัง จะกลายเป็นกำ�ลังหลักขับเคลื่อนโลกต่อไป
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
news.mit.edu
divutec.org
MDIC : วัสดุต้นคิด
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
จะดีแค่ไหนถ้าเทคโนโลยีช่วยบอกได้ว่าความรู้สึกที่แท้จริงของแต่ละคน เป็นอย่างไร การเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของใครสักคนเป็นเรื่องยาก การ แสดงออกทางสีหน้าก็เชื่อถือไม่ได้ทุกครั้ง รอยยิ้มอาจซ่อนความกังวลใจไว้ ในขณะที่สีหน้าเรียบเฉยอาจหมายถึงการปิดบังผลประโยชน์ที่อยากได้จาก อีกฝ่าย แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กำ�ลังจะบอกเราได้ว่าคนๆ หนึ่ง กำ�ลังรู้สึกตื่นเต้น มีความสุข โกรธ หรือเศร้า ด้วยการวัดอัตราการเต้น ของหัวใจและการหายใจ ล่าสุดกลุ่มนักวิจัยจาก MIT Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory (CSAIL) ได้พัฒนา “EQ-Radio” อุปกรณ์ตรวจจับความรูส้ กึ ของคนด้วยสัญญาณไวไฟ โดยวัดการเปลีย่ นแปลง เพียงเล็กน้อยจากการหายใจและจังหวะการเต้นของหัวใจ อุปกรณ์ EQ-Radio นี้มีความเที่ยงตรงถึง 87 เปอร์เซ็นต์ในการตรวจจับว่าคนๆ นั้นตื่นเต้น มี ความสุข โกรธ หรือเศร้า และสามารถทำ�ได้โดยไม่มีเซ็นเซอร์อยู่บนร่างกาย ดีนา่ คาทะบี (Dina Katabi) ศาสตราจารย์และหัวหน้าโครงการคิดว่าอุปกรณ์ EQ-Radio สามารถใช้ได้กบั งานในหลายๆ ด้าน ทัง้ ความบันเทิง การตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การดูแลสุขภาพ รวมทั้งสตูดิโอภาพยนตร์และเอเจนซี่ โฆษณาก็สามารถนำ�อุปกรณ์ไปใช้ทดสอบปฏิกิริยาของผู้ชมที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนัน้ ซึง่ แสดงให้เห็นว่าสัญญาณไวไฟสามารถจับข้อมูลพฤติกรรมของ คนทีไ่ ม่สามารถมองเห็นได้ดว้ ยตา และเชือ่ ว่าผลทีไ่ ด้จะเป็นการปูทางสำ�หรับ เทคโนโลยีในอนาคตทีจ่ ะติดตามและวิเคราะห์สภาวะต่างๆ เช่น ความหดหู่ และความวิตกกังวลได้อย่างแม่นยำ�มากขึ้น ผนวกกับบริษัท Emerald ได้ พยายามพัฒนาอุปกรณ์เพือ่ ตรวจจับและทำ�นายการหกล้มของผูส้ งู อายุ โดย
ให้ EQ-Radio ใช้สญั ญาณไวไฟทีส่ ะท้อนออกจากร่างกายมนุษย์ เป็นตัวช่วย วัดอัตราการเต้นของหัวใจให้ได้ถกู ต้องเหมือนการตรวจคลืน่ ไฟฟ้าหัวใจด้วย เครื่อง ECG โดยมีความผิดพลาดอยู่เพียงแค่ 0.3 เปอร์เซ็นต์ จากนั้น เครื่องนี้จะทำ�การศึกษาลักษณะคลื่นหัวใจ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม ของแต่ละคนว่ามีลักษณะอย่างไรในสภาวะทางอารมณ์ทั้งสี่ด้าน (ตื่นเต้น มีความสุข โกรธ หรือเศร้า) ทั้งนี้หลักการทำ�งานของ EQ-Radio เป็นการ ส่งสัญญาณไวไฟที่สะท้อนออกจากร่างกายย้อนกลับไปยังอุปกรณ์ตัวนี้ โดยขั้นตอนอัลกอริทึม (Algorithm) ได้แยกจังหวะการเต้นของหัวใจที่มี รูปแบบเฉพาะของแต่ละคน และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยใน รอบการเต้นของหัวใจ เพื่อระบุระดับการตื่นตัวทางอารมณ์ เช่น คนที่มีการ ตื่นตัวตํ่าและอารมณ์เป็นลบจะถูกวิเคราะห์ว่าอยู่ในอารมณ์เศร้า ขณะที่ถ้า อีกคนมีสัญญาณที่สัมพันธ์กับการตื่นตัวสูงและอารมณ์ที่เป็นบวกก็จะถูก วิเคราะห์ว่ารู้สึกตื่นเต้น ซึ่งอุปกรณ์ EQ-Radio สามารถตรวจจับอารมณ์ ความรู้สึกได้ถูกต้องถึง 70 เปอร์เซ็นต์ แม้ไม่ได้มีข้อมูลการวัดการเต้นของ หัวใจของคนๆ นั้นมาก่อนเพื่อใช้เปรียบเทียบก็ตาม ทำ�ให้นักวิจัยเชื่อว่า ขั้นตอนอัลกอริทึมสามารถตรวจจับลักษณะของคลื่นจากการเต้นของหัวใจ ได้ทงั้ หมด นัน่ หมายความว่าในอนาคตอุปกรณ์นจี้ ะสามารถนำ�ไปใช้ตดิ ตาม สุขภาพของผู้ป่วยในแบบที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและช่วยวินิจฉัยโรคได้ แม่นยำ�มากขึ้น ที่มา: บทความ “Detecting Emotions with Wireless Signals” จาก news.mit.edu
พบกับพื้นที่จัดแสดง The New Craft วัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place
หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา
• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน
• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม ่มา:อมหลั komchadl uek.net littlebits.cc • แฟกซใบสมัคทีรพร กฐานการโอนเงิ นมาทีและ ่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122
Local Wisdom : ภูมิความคิด
๑
เรื่อง: ทรงวาด สุขเมืองมา
หลายทศวรรษมาแล้วที่ “ยิม้ สยาม” ถูก ใช้สอ่ื ถึงความเป็นไทย เช่น ความร่าเริง หรือความอบอุ่นเอื้ออาทร และมักถูก ตีความไปถึงการเป็น “เจ้าบ้านที่ดี” เพื่อ ประชาสัมพันธ์การท่องเทีย่ วไทยให้คกึ คัก หรือกระทั่งกลายเป็นวัตถุดิบสำ�คัญใน การสร้างธุรกิจอีกหลากหลายประเภท มารีอานน์ ลาฟรองซ์ (Marianne LaFrance) นั ก จิ ต วิ ท ยาสั ง คมจากมหาวิ ท ยาลั ย เยลใน สหรัฐอเมริกา ได้ท�ำ งานวิจยั เพือ่ ค้นหาคำ�อธิบาย ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการยิ้ม และพบว่า นอกจากการแสดงถึงความสุขอย่างจริงใจแล้ว มนุ ษ ย์ ยั ง ยิ้ ม เพื่ อ จุ ดประสงค์ อื่ น อี ก ด้ ว ย Lip Service หนึ่งในหนังสือจากผลงานวิจัยของ ลาฟรองซ์กล่าวว่า ลักษณะวิธีการยิ้มของคนเรา เป็ นไปตามอาชีพ ได้ อาทิ ยิ้ มเชิ ญชวนแบบ เซลส์แมน ยิ้มมีเล่ห์ของนักการเมือง และยิ้มใน แบบฉบับของทหารตำ�รวจ ทัง้ ยังเชือ่ มโยงรอยยิม้ พิมพ์ใจเข้ากับอำ�นาจ กล่าวคือคนทีอ่ ยูเ่ หนือกว่า มักยิ้มเมื่อต้องการ ตรงกันข้ามผู้น้อยจะยิ้มเมื่อ จำ�เป็น และใครจะนึกว่าภูมิปัญญาการปั้นยิ้มใน แบบไทยๆ ก็สามารถสื่อสารได้อีกหลายอารมณ์ เช่นเดียวกัน จากหนังสือทีเ่ ขียนโดย เฮนรี่ โฮล์มส์ สุชาดา ตัง้ ทองทวี และ รอย โทมิซาวา ผูเ้ ชีย่ วชาญ ทางด้านการจัดการพฤติกรรมต่างวัฒนธรรม ได้แบ่งประเภทของการยิ้มไทยๆ ออกเป็น 13 รูปแบบ
๕
ยิ้มเยาะ (I told you so) เมื่อต้องการแสดงออกว่า “เราบอกคุณแล้ว (เสียงสูง)”
ยิ้มเชือดเฉือน (I got my upper hand over you!) แสดงออกชัดเจนว่า ถือไพ่เหนือกว่า และกำ�ลังซ่อนเรื่อง ไม่น่าไว้ใจอยู่
๒
๖
ยิม้ ชื่นชม (I admire you) บางครั้งก็ไม่จริงใจเท่าไหร่ แต่ต้องแสดงความยินดี ชื่นชมหรือภูมิใจ ในตัวผู้อื่น
ยิ้มต่อต้าน (Disagree, but I won’t say it out loud) ฟังคนพูดไปเรื่อยๆ ไม่ขัด ไม่พูดแย้ง แต่ไม่เห็นด้วยและ ไม่คิดว่าจะทำ�ตาม
๓
๗
ยิ้มไม่ออก (Struggling) ซ่อนความรู้สึก ฝืนยิ้มตอนรู้สึกเจ็บปวดทางกาย หรือเมื่อเสียใจ อกหัก (ความยากระดับสิบ!)
ยิม้ เศร้า (Smile of sadness) นี่คือขั้นตอนการฝึกฝนเบื้องต้น เมื่อต้องฝืนยิ้มเมื่อรู้สึกเศร้า ไม่มีความสุข
๔
๘
ยิ้มมีเลศนัย (Hiding bad intention) แอบแฝงความคิดไม่ตรงไปตรงมา (ค่อนข้างน่ากลัว) หากได้เห็น แบบนี้พึงระวัง!
CREATIVE THAILAND I 12
ยิ้มแห้ง (Cannot return the money I owe you) ยิ้มเพื่อบอกเป็นนัยว่ากำ�ลังอยู่ใน สภาวะลำ�บากใจ (หรือทุกข์ยาก ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย!)
๙
ยิ้มซื่อซื่อ (Cheer up. You can do this!) ต้องการเป็นกำ�ลังใจให้ใครสักคน หรือบอกตัวเองว่าเราทำ�ได้!
๑๐
ยิ้มเหยาะแหยะ (No point in crying over spilt milk) เมื่อเปลี่ยนอะไรไม่ได้ ก็ยิ้มให้สิ่งที่เพิ่ง ผ่านพ้นไปซะ
๑๑
ยิ้มทั้งนํ้าตา (I’m crying inside) หน้าชื่น อกตรม
๑๒
ฝืนยิ้ม (Fake it coz you needed to) ยิ้มเพื่อช่วยให้ผู้อื่นรู้สึกดี หรือให้สถานการณ์คลี่คลาย ไปได้ด้วยดี
๑๓
ยิ้มทักทาย (Convenience & Polite smile) ยิ้มที่คนไทยทำ�บ่อยที่สุด ยิ้มเมื่อไม่รู้ ไม่เข้าใจ แต่ไม่อยากหาคำ�ตอบ ให้บทสนทนายืดยาวอีกแล้ว!
จากวิธียิ้มแบบต่างๆ นี้ แสดงให้เห็นว่า คนไทยเป็นชนชาติที่แคร์คนรอบข้างอย่างมาก ความไม่พอใจหรือความระทมทุกข์จะถูกเก็บไว้ ในใจ แต่บางครั้งกล้ามเนื้อบนใบหน้าก็มิได้ อำ�นวยให้ยิ้มนั้นสดใสอย่างที่ควรจะเป็น รอยยิ้ม แบบไทยๆ จึ ง เกิ ด เป็ น วั ฒ นธรรมกลุ่ ม ย่ อ ย (Subculture) ที่ ช าวต่ า งชาติ ห รื อ แม้ ก ระทั่ ง ชาวไทยเองต้องเรียนรูท้ �ำ ความเข้าใจเพือ่ ป้องกัน การสื่ อ สารที่ ผิ ด พลาด ทั้ ง ยั ง สามารถนำ � ไป สร้างสรรค์เป็นผลงานจากมาตรฐานการยิ้มแย้ม ของไทยได้อีกด้วย ไลน์ ครีเอเตอร์ส มาร์เก็ต (LINE Creators Market): ธุรกิจประดิษฐ์ภาพแทนอารมณ์ การแสดงออกทางสี ห น้ า และรอยยิ้ ม หลาก อารมณ์แบบคนไทย ประกอบกับกลยุทธ์การสร้าง “ความเป็นท้องถิ่น” (Localization) เพื่อเข้าถึง ผู้ใช้ของประเทศต่างๆ ทำ�ให้ “สติกเกอร์ไลน์” ในแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) กลายเป็นธุรกิจที่ คนรุ่นใหม่เลือกที่จะลงทุน ทั้งในรูปแบบการ สร้างสรรค์ผลงานและผู้จ้างผลิต ปัจจุบันบัญชี ของผูท้ เี่ ป็นเจ้าของสติกเกอร์ (Official Account) มีทั้งจากบุคคลทั่วไป และเจ้าของผลิตภัณฑ์ แบรนด์ดังต่างๆ ที่ยอมจ่ายราวๆ 4.5 ล้านบาท (ไม่รวมกับค่าลิขสิทธิ์) เพื่อทำ�สติกเกอร์จากการ แสดงสีหน้าและรอยยิม้ ของดาราดังของเมืองไทย รวมไปถึงกลุ่มบริษัทนักพัฒนาตัวการ์ตูนชื่อดัง เช่น บริษัทบรรลือสาส์น เจ้าของการ์ตูนอารมณ์ ดีในตำ�นานของไทยอย่าง ขายหัวเราะ มหาสนุก หนูหิ่นอินเตอร์ ฯลฯ และ “ติดลม” ผู้สร้าง คาแรกเตอร์ ค วายไทยผู้ ใ ฝ่ ฝั น จะบิ น ได้ ซึ่ ง มี CREATIVE THAILAND I 13
ยอดดาวน์ โ หลดแล้ ว ในต่ า งประเทศ ขณะที่ ความนิ ย มในการใช้ ภ าพสื่ อ แทนคนพู ด นี้ เ อง ถือเป็นการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ในวิถกี ารทักทาย ของคนไทย จากการไปมาหาสู่กันในสมัยหนึ่ง กำ�ลังถูกวัฒนธรรมการส่งข้อความเข้ามาแทนที่ จนทำ � ให้ ก ารทำ � ความรู้ จั ก กั น ของคนรุ่ น ใหม่ ซับซ้อนขึ้น เพราะไม่อาจรู้ได้ว่าเบื้องหลังการยิ้ม ให้กันในไลน์ แท้จริงใบหน้าหลังจอภาพนั้นจะ เป็นอย่างไร ธุรกิจท่องเที่ยวบริการเชิงสุขภาพ (Medical Tourism): ยิ้มแบบไทยจับใจทั่วโลก จากข้ อ มู ล แผนพั ฒ นาประเทศไทยให้ เ ป็ น ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ. 2559 - 2568) หากเทียบจากสิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย และเกาหลีใต้ พบว่าประเทศไทย มี ค วามได้ เ ปรี ย บทางด้ า นการบริ ก ารสู ง เป็ น อันดับหนึ่ง โดยเฉพาะการนำ�เสนอเรื่องความ เป็นไทย (Thainess) เช่น การนำ�ความโอบอ้อม อารี ความเป็นกันเองและรอยยิ้มของคนไทยมา เป็นจุดเด่นในการบริการ และการตั้งมาตรฐาน ให้โรงพยาบาลมีการบริการในระดับเทียบเคียง โรงแรมชั้นนำ� ผลสำ� รวจจากสำ� นักข่าวบีบีซี พบว่า เพียงปีเดียวยอดผู้เดินทางมาท่องเที่ยว และรับการรักษาด้านทันตกรรม ผิวหนัง และ ผ่ า ตั ด ศั ล ยกรรมในประเทศไทยพุ่ ง สู ง ถึ ง ร้ อ ย ละ 20 (จากปี 2554 - 2555) ด้วยความเชื่อมั่น ในการบริการ และมาตรฐานเทคโนโลยีของ โรงพยาบาลกว่า 52 แห่งในไทยที่ผ่านมาตรฐาน จากสหรัฐอเมริกา (JCI) และอีกสาเหตุหลักที่ ช่วยมัดใจคนไข้เหล่านี้ก็อาจเป็น “ยิ้มสยาม” ที่ คนไทยคุ้นเคยกันดีนี่เอง ที่มา: หนังสือ Lip Service: Smiles in Life, Death, Trust, Lies, Work, Memory, Sex, and Politics โดย Marianne LaFrance (2011) / หนังสือ Working with the Thais : a guide to managing in Thailand โดย Henry Holmes and Suchada Tangtongtavy with Roy Tomizawa / บทความ “LINE Sticker ธุรกิจสื่ออารมณ์สร้างรายได้” (1 กุมภาพันธ์ 2558) โดย ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จาก Creative Thailand ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 / บทความ “สู่เส้นทาง...’สติกเกอร์ไลน์’ ต้องจ่ายเท่าไหร่ กว่าจะไปถึงความฮิต!” (8 มกราคม 2558) โดย IT Digest จากไทยรัฐออนไลน์ / บทความ “The rise of medical tourism in Bangkok” (4 กันยายน 2555) โดย Caroline Eden จาก bbc.com / บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ภาคบริการ ประเทศไทยกับการพัฒนาเป็น Medical Hub of Asia โดย ณัฐพล วุฒิรักขจร จาก gsb.or.th
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง
“โอ๊ย เด็กสมัยนี้นะ...” หากนี่คือประโยคเริ่มต้นบทสนทนาของคนวัย 30 หรือ 40 ปีขึ้นไป เชื่อได้เลยว่าสิ่งที่ตามมาคือการพรํ่าบ่นยาวเหยียดถึง เด็กรุ่นใหม่ หรือที่เรียกกันว่าเด็กรุ่นเจนวายหรือเจนซี บ้างก็บ่นลูกหลานตัวเอง บ้างก็ระบายความเหนื่อยใจถึงลูกน้อง บ้างก็ กล่าวรวมถึงวัยรุ่นยุคนี้ ประเด็นการบ่นมีตั้งแต่ลักษณะนิสัย การแสดงออก ไปจนถึงการใช้ชีวิต ยิ่งถ้าจับกลุ่มคุยกันเป็น หมู่คณะรับรองได้ว่า การเม้ามอยจะยาวเป็นชั่วโมง และคำ�ว่า ‘เด็กสมัยนี้’ จะถูกเอ่ยขึ้นมาไม่ตํ่ากว่ายี่สิบครั้ง
CREATIVE THAILAND I 14
ทว่าหากลองลดทอนความหงุดหงิดลง แล้วมอง แบบถอยห่างออกมาสักหน่อย เราจะพบว่าโดย มากแล้วฝ่ายผู้ใหญ่มักมีมุมมองต่อคนรุ่นใหม่ แบบแนวดิ่ง มองบนลงล่าง คิดว่าตัวเองอยู่ เหนือกว่า หรือความคิดความเชื่อของตัวเอง ถูกกว่า พฤติกรรมหรือการกระทำ�ต่างๆ ของ เจนวายที่ต่างจากสิ่งที่ตัวเองคุ้นชินถูกเหมารวม ว่าเป็น ‘ปัญหา’ ไปเสียหมด โดยที่เราไม่ได้เว้น ช่องว่างไว้คดิ เลยว่า มันอาจมองได้อกี แบบว่าเป็น ‘ความแตกต่าง’ หรือ ‘ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง’ หรือกระทัง่ การลองไตร่ตรองว่าทำ�ไม หรือเพราะ อะไรเจนวายถึงมีลักษณะแบบนั้น ในฐานะอาจารย์พเิ ศษในมหาวิทยาลัยทีต่ อ้ ง มีปฏิสัมพันธ์กับเจนวายอยู่ทุกวี่ทุกวัน ผมเลยขอ เล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ ‘ปัญหาคลาสสิก’ ของเด็ก รุน่ ใหม่ทพี่ วกผูใ้ หญ่ชอบบ่นกัน แต่ทงั้ นีข้ อบอกไว้ ก่ อ นว่ า มั น อาจไม่ ไ ด้ ทำ � ให้ คุ ณ ผู้ อ่ า นเข้ า ใจ เจนวายอย่างกระจ่างแจ้ง (เพราะผูเ้ ขียนเองก็อาจ ยังไปไม่ถึงจุดนั้น) แต่อย่างน้อยมันก็อาจช่วยให้ คุณพูดประโยคว่า “โอ๊ย เด็กสมัยนี้” น้อยลงบ้าง ปัญหา 1 : เป็น (โรค) ซึมเศร้ากันหมด เพื่อนของผู้เขียนมักถามอยู่บ่อยๆ ว่าเด็ก เดี๋ยวนี้เป็นอะไรกัน ทำ�ไมถึงเป็นโรคซึมเศร้ากัน เยอะมาก บ้างก็สงสัยนี่ป่วยกันจริงไหม บางคน ก็ถึงขั้นบอกว่านี่มันเป็นเทรนด์หรือแฟชั่นอะไร หรือเปล่า
ก่อนอื่นเราต้องแยก ‘โรคซึมเศร้า ’ กับ ‘ช่วงจิตตก’ ให้ได้ก่อน โรคซึมเศร้า - ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นโรค วินิจฉัยกันมาแล้วว่าเกิดจากสารเคมีในสมองไม่ สมดุล อันที่จริงโรคซึมเศร้ามีมาตั้งนานแล้ว แต่สมัยนี้เริ่มพูดถึงในวงกว้างมากขึ้นด้วยยุค ที่เปลี่ยนไป แต่ก่อนคนไม่กล้ายอมรับว่าตัวเอง เป็ น โรคซึ ม เศร้ า เพราะกลั ว ถู ก มองว่ า เป็ น บ้ า แต่เดี๋ยวนี้โรคซึมเศร้าคือโรคชนิดหนึ่ง เหมือน ไข้หวัด เหมือนภูมิแพ้ คนเรากล้ายอมรับมากขึ้น ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ สังคมเลยได้รับรู้ถึงโรคนี้ มากขึ้น ส่วนอีกกรณีคือ ‘ช่วงจิตตก’ คือมาเป็นช่วง ไม่ได้เป็นถาวร อาจจะหายไปเอง เป็นช่วงที่ อยู่ดีๆ ก็รู้สึกหมดกำ�ลังเรี่ยวแรงในชีวิต ไม่อยาก ไปเรี ย น ไม่ อ ยากทำ � งาน รู้ สึ ก เบื่ อ ต่ อ ทุ ก สิ่ ง รอบข้าง ความน่ากลัวคือน้องๆ หลายคนพอ จิตตกขึ้นมาก็ตีขลุมไปเลยว่า ฉันต้องเป็นโรค ซึ ม เศร้ า แน่ ประกอบกั บ เดี๋ ย วนี้ ช อบมี แ บบ ทดสอบทางอินเทอร์เน็ตประเภทว่าคุณเป็นโรค ซึ ม เศร้ า หรื อ เปล่า ซึ่ ง หลายอั น ไม่ ว่ า จะตอบ อะไรไป มันก็จะขึ้นว่ามีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า อยูเ่ รือ่ ยจนอาจารย์ตอ้ งคอยเตือนนักศึกษาว่าคน ที่บอกได้ว่าหนูเป็นหรือไม่เป็นโรคซึมเศร้าคือ จิตแพทย์จะ้ ไม่ใช่การนัง่ ทำ�แบบทดสอบทางเน็ต หรืออ่านเฟซบุ๊ก หรือถ้าจิตตกเป็นเวลานาน ไม่หายสักที อันนี้ก็ควรไปหาหมอ
CREATIVE THAILAND I 15
อันทีจ่ ริงอาการจิตตกใครๆ ก็เป็น อย่างคน ทำ�งานก็ต้องเผชิญวิกฤติวัยกลางคน แต่ถ้าถาม ว่าทำ�ไมเจนวายถึงมีอาการจิตตกกันง่าย ก็คง เป็นเพราะคนรุ่นนี้มีเวลา ‘อยู่กับตัวเอง’ มากขึ้น คือถ้าเป็นเด็กรุ่นเจนเอ็กซ์ ทางเลือกในชีวิตมีไม่ มาก เลิกเรียนก็ไปเตะบอลกับเพื่อน หรือกลับไป ฟังวิทยุที่บ้าน แต่เด็กรุ่นนี้สามารถอยู่ในห้อง คนเดียวแล้วทำ�กิจกรรมได้สารพัด ทั้งดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แชท ไลฟ์เฟซบุ๊ก ขอแค่มี แล็ปท็อปหรือสมาร์ทโฟนสักเครื่องก็พอ ที นี้ พ ออยู่ กั บ ตั ว เองมากเข้ า ก็ เ ริ่ ม คิ ด ใคร่ครวญชีวิตไปเรื่อยๆ แต่บางครั้งทิศทาง การคิ ดมั น ไม่ ไ ด้ ไ ปข้ า งหน้ า ทำ � นองว่ า ชี วิ ต นี้ อยากทำ�อะไรบ้างหรือเรียนจบแล้วจะทำ�อะไร แต่กลายเป็นการคิดวนเวียนไปมา ว่าทำ�ไมถึง เลือกเรียนคณะนี้นะ คิดผิดชัดๆ อยากซิ่ว แต่ พ่ อ แม่ ต้ อ งไม่ ย อมแน่ เ ลย หรื อ เรื่ อ งประเภท ทำ�ไมไม่มีแฟนสักที นกตลอด โดนเททั้งชาติ ไปถึงขั้นเรื่องคนเราเกิดมาทำ�ไม ฯลฯ อี ก สาเหตุ ข องการจิ ต ตกง่ า ย คื อ โลกที่ เปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น ข่าวดราม่าที่มาใหม่ทุกวัน หรือคลิปไวรัลที่ฮิตได้สองวันก็เลิกแล้ว กระแส โลกที่ ไ หลเร็ ว แบบหน้ า นิ ว ส์ ฟี ด ทำ � ให้ เ จนวาย ไม่ ล งรอยกั บ สภาวะที่ ต้ อ งอยู่ แ น่ นิ่ ง ไปนานๆ ซึ่งการเรียนมหาวิทยาลัยสี่ปีนั่นแหละคือสภาวะ ที่ว่า (โดยเฉพาะคนที่เลือกคณะผิดหรือเรียน ตามใจพ่ อ แม่ ) พอใช้ ชี วิ ต ซํ้ า ซากไปเรื่ อ ยๆ ก็ เ กิ ด ความท้ อ แท้ ใ จว่ า ชี วิ ต คนเรามั น มี แ ค่ นี้ เหรอ (วะ) นี่ เ องเป็ น ที่ ม าว่ า นั ก ศึ ก ษาจำ � นวนมาก ทำ�ไมถึงดูเซื่องซึมตลอดการเรียน จนอาจารย์ เรียกว่า ‘เด็กซอมบี้’ แต่ทั้งนี้ก็เป็นภารกิจอย่าง หนึ่ ง ของอาจารย์ ที่ ต้ อ งปลุ ก ซอมบี้ ใ ห้ ตื่ น วิ ธี ที่ เ รามั ก จะแนะนำ � กั น ก็ คือ DON’T THINK. JUST DO! หมายถึงว่ า อย่ า มั ว แค่ คิ ด แต่ ใ ห้ เทกแอ็กชั่น ออกไปทำ�อะไรสักอย่าง เคยเจอ เด็ ก บางคนคิ ดว่ า ตั ว เองอยากเป็ น ช่ า งภาพ แต่ วั น ๆ เอาแต่ น่ั ง หาเรเฟอร์ เ รนซ์ ใ นเน็ ต อาจารย์ เ ลยต้ อ งพู ดบิ ล ด์ ใ ห้ อ อกไปถ่ า ยรู ป ถ่ า ยต้ น ไม้ ถ่ า ยเพื่ อ นในมหาวิ ท ยาลั ย ก็ ไ ด้ (แต่ถ้าไม่มีเงินซื้อกล้องนี่ อาจารย์ช่วยอะไร ไม่ได้จริงๆ)
ปัญหา 2 : สื่อสารไม่ได้ เคยมีมุกตลกในหมู่เพื่อนของผู้เขียนว่า ในการ พิจารณารับเด็กฝึกงานของบริษัท ให้ดูจากการ ใช้คำ�ว่า ‘คะ’ กับ ‘ค่ะ’ ถ้าใครเขียนผิดมาให้ ตกรอบทันที ผลกลายเป็นว่าปีนั้นบริษัทไม่มี เด็กฝึกงานเพราะทุกคนเขียนผิดหมด (โธ่ถัง) เหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติแล้ว ถ้ายุคนี้ เจอเด็กรุ่นใหม่เขียนมาทำ�นองว่า “ขอความ กรุณาด้วยนะค่ะ” หรือเด็กเอกฟิล์มที่เขียนคำ�ว่า ‘ภาพยนตร์’ ผิด ก็มีอยู่เรื่อย แม่ของผู้เขียนเคย ถามว่าเดีย๋ วนีเ้ ด็กๆ เขาไม่ตอ้ งเรียนภาษาไทยกัน แล้วหรือ คำ�ตอบคือก็ยังเรียนกันอยู่เหมือนเดิม นั่นแหละ เอ แล้วทำ�ไมเด็กยุคนี้ถึงเขียนภาษา ไทยไม่ค่อยถูกกันนะ คำ�ตอบอาจมีสองประการด้วยกัน หนึง่ - เด็ก เจนวายอ่านหนังสือกันน้อยลง เราต้องยอมรับ กันแล้วว่าการอ่านหนังสือไม่ใช่หนึ่งในกิจกรรม หลักของเด็กยุคนี้แล้ว โลกยุคนี้หล่อหลอมด้วย วัฒนธรรมที่เป็นภาพ พวกเขาชอบที่จะ ‘ดู’ มากกว่า ‘อ่าน’ คุ้นชินกับ ‘ภาพเคลื่อนไหว’ มากกว่า ‘ตัวหนังสือ’ ซึ่งนี่อาจไม่ใช่ปัญหา แต่ เป็นไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป สอง - คนรุ่นใหม่ไม่ได้เคร่งครัดกับความ ถูกต้องทางหลักภาษามากนัก ด้วยความเคยชิน
กับการสือ่ สารทางเฟซบุก๊ หรือทวิตเตอร์ทพี่ มิ พ์ผดิ ก็ไม่มีใครมาแก้ไขอะไร ดังนั้นการจะให้เจนวาย เขียนหนังสือถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์คงเป็นเรื่อง เป็นไปไม่ได้ (ขนาดเจนเอ็กซ์ยงั งงเลยว่าภาษาไทย บางคำ�เขียนอย่างไรกันแน่) ในระดับมหาวิทยาลัย จึงเน้นเรื่องสำ�คัญ เช่น จดหมายสมัครงานหรือ จดหมายแนะนำ�ตัว อีกทัง้ เราต้องยอมรับว่าภาษา เป็นสิง่ ทีล่ นื่ ไหลไม่ตายตัว โลกอนาคตทีค่ นไม่พดู ควบกลา้ํ ร.เรือ ล.ลิง อีกต่อไปแบบในนิยายเรื่อง ชิทแตก! ของปราบดา หยุ่น อาจมาถึงในเร็ววัน อย่างไรก็ดี ความไม่เคร่งของเจนวาย บางที ก็ อ าจจะหย่ อ นยานไปหน่ อ ย บางครั้ ง ผมถู ก นักศึกษาทักมาทางเฟซบุก๊ ว่า “จารย์ อยูป่ า่ ว” (!) หรือเพือ่ นผมสอนภาคอินเตอร์ฯ ก็เจออีเมลมาว่า “Hello Ajarn” (!!) ซึ่งหลายครั้งเด็กๆ ไม่ได้ตั้งใจ จะยียวนพวกเรา แต่เขาไม่รู้จริงๆ ว่าการสื่อสาร แบบทางการควรทำ�อย่างไร อันนี้ก็ต้องตักเตือน กันไป แต่ ป ระเด็ น ที่ ห นั ก กว่ า การเขี ย นผิ ดหรื อ ไม่ ถู ก กาลเทศะคื อ เรื่ อ งที่ เ จนวายไม่ ส ามารถ สื่อสารความคิดของตัวเองออกมาได้ เห็นได้จาก การเขียนข้อสอบอัตนัยหรือจดหมายแนะนำ�ตัว รุ่นพี่ของผู้เขียนที่เป็นอาจารย์ที่ประเทศอังกฤษ เล่าว่ามหาวิทยาลัยที่นั่น จะมีสถาบันภาษาคอย CREATIVE THAILAND I 16
ช่วยเด็กทีท่ กั ษะการเขียนหรืออ่านไม่ดพี อ แต่ของ ไทย คือถ้าอยู่มหาวิทยาลัยแล้วยังเขียนไม่ดี ก็รับศูนย์คะแนนไป เหมือนเป็นการฆ่าตัดตอน นักศึกษาอย่างกลายๆ หรือเพือ่ นอีกคนทีเ่ ปิดบริษทั โปรดักชัน่ เฮ้าส์ ก็เคยมาบ่นว่า ทำ�ไมเด็กที่มาสมัครไม่สามารถ พู ดความคิ ด/ไอเดี ย ของตั ว เองออกมาได้เลย การพูดทุกอย่างดูเป็นห้วงสั้นๆ เหมือนสเตตัส เฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ ผู้เขียนก็บอกให้เพื่อนใจ เย็นๆ และลองพิจารณาที่ผลงานของเด็กดูก่อน หลายครั้งพบว่าเด็กที่พูดงงๆ เนี่ย มักทำ�งาน ได้ดี จึงยํ้านักศึกษาเสมอว่าตัวผลงานแท้จริง หรือพอร์ตโฟลิโอนั้นสำ�คัญมาก จะว่าไปเรือ่ งนีก้ เ็ กีย่ วโยงกับเรือ่ งวัฒนธรรม ภาพที่ ก ล่ า วไปข้ า งต้ น เหมื อ นกั น ครั บ อย่ า ง ตัวผมที่สอนสาขาภาพยนตร์ พบหลายครั้งมาก ที่เด็กเขียนบทมาเป็นตัวหนังสือ (Screenplay) ไม่รู้เรื่องเลย แต่ปรากฏว่าตัวหนังจริงออกมา ดี ม าก ภายหลั ง ก็ ต้ อ งลองปรั บ รู ป แบบการ ส่งงาน เช่นว่านอกจากตัวบทแบบตัวหนังสือแล้ว ก็ให้วาดสตอรี่บอร์ดเป็นภาพแนบมา หรือลอง ถ่ายภาพนิ่งประกอบมาเลย สรุปแล้ว บางทีเจนเอ็กซ์ก็ต้องเป็นฝ่ายลอง ปรับการสื่อสารเหมือนกัน
ปัญหา 3 : ติดโซเชียล ยุคนีใ้ ครๆ ก็ตดิ โซเชียลมีเดียกันทัง้ นัน้ แหละครับ เชือ่ ว่าทุกคนต้องเจอสถานการณ์ญาติผใู้ หญ่แอด เฟซบุ๊กมา หรือต้องมานั่งสอนพ่อแม่ตัวเองเล่น ไลน์ แต่มันจะต่างออกไปตรงที่พวกผู้ใหญ่มักใช้ โซเชียลในการสื่อสารกัน (แม้บางครั้งจะเป็นการ ส่งรูปดอกไม้หรือสูตรยาแก้มะเร็งมั่วๆ ก็เถอะ) แต่ส�ำ หรับเจนวายแล้ว โซเชียลถือเป็นพืน้ ทีแ่ สดง ‘ตัวตน’ ของพวกเขา คนวัย 30+ ก็ใช้โซเชียลแสดงตัวตนด้วยการ โพสต์รูปไปเที่ยวต่างประเทศเก๋ๆ ส่วนเจนวายที่ อาจจะไม่มโี อกาสไปท่องโลกกว้าง ก็พยายามเล่า เรื่องราวชีวิตด้วยการโพสต์ภาพอาหาร เซลฟี่ ตัวเองกับกระจกห้องนาํ้ ห้างหรู กลายเป็นยุคสมัย ที่คนรุ่นใหม่ ‘เปิดเผย’ (Expose) ตัวเองต่อ สาธารณะอย่างมาก ซึ่งก็กลายเป็นประเด็นเรื่อง ความปลอดภัย เช่น เด็กสาวหน้าตาสะสวย เช็กอินสถานทีท่ เี่ ธอไปตลอดเวลา หารูไ้ ม่วา่ นีค่ อื ข้อมูลชั้นดีของผู้ไม่ประสงค์ดีที่เฝ้าสะกดรอย ตามเธอ นอกจากนั้นเจนวายหลายคนตั้งค่าสเตตัส เป็นแบบสาธารณะ (Public) มีทั้งแบบที่ไม่รู้วิธี
เปลีย่ นค่าและแบบทีจ่ งใจ เข้าไปอ่านก็ได้รถู้ งึ ชีวติ ของเจ้าตัวแบบหมดไส้หมดพุง แต่ความประหลาด คือ บางทีนกั ศึกษาตัง้ สเตตัสก่นด่าอาจารย์กเ็ ป็น สถานะแบบพับลิกซะงั้น (หรือจงใจให้เราเห็นก็ ไม่รู้) ปัญหาเกิดขึ้นคือบางบริษัทพิจารณาคน เข้าทำ�งานด้วยการไปส่องเฟซบุ๊กของผู้สมัคร ซึ่งที่จริงผมก็ไม่เห็นด้วยนัก เพราะมีความเชื่อว่า ตัวตนในโลกโซเชียลกับตัวตนในโลกความเป็นจริง บางครั้งมันก็ไม่ได้แนบสนิทกัน อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ โซเชียลมีเดียทำ�ให้ ทุกคนสามารถมีสื่อของตัวเองได้ ทั้งการอัพภาพ ในอินสตาแกรม หรือล่าสุดก็เป็นการไลฟ์ทาง เฟซบุ๊ก ‘สื่อ’ ที่ผลิตออกมาตอนนี้จึงมีคอนเทนต์ หลากหลายไปถึงขัน้ สะเปะสะปะ บางคนก็เอาตัว เข้ า แลกด้ ว ยการไลฟ์ ค ลิ ป วาบหวิ ว (แต่ อ าจ โฆษณาสินค้าไปด้วย น่าจะรวยกว่าอาจารย์อีก) บางคนไลฟ์ตัวเองตอนนอน (!?) หรือเทอมล่าสุด ก็ เ จอนั ก ศึ ก ษาเป็ น เน็ ต ไอดอลไลฟ์ เ ฟซบุ๊ ก ไป เรียนไป แต่ที่ใช้ในทางสร้างสรรค์ก็มีบ้าง เช่น ไลฟ์เฟซบุ๊กติวหนังสือกับเพื่อนๆ ในเมื่อโซเชียลมีเดียกลายเป็นปัจจัยหลัก ของชีวิต พวกอาจารย์ก็ต้องปรับตัวกัน โดยปกติ
CREATIVE THAILAND I 17
แล้วทางมหาวิทยาลัยจะมีเว็บไซต์ให้เราใช้สอื่ สาร กับเด็ก ทว่าส่วนใหญ่ล้วนเทอะทะใช้งานยาก แถมนักศึกษาก็ไม่ค่อยสนใจหรอก อาจารย์เลย ต้องปรับกลยุทธ์สร้างกรุ๊ปเฟซบุ๊กเพื่ออัพโหลด พาวเวอร์พอยต์หรือแจ้งกำ�หนดการเรียนต่างๆ หรื อ เวลามี ป ระกาศสำ � คั ญ ก็ ไ ปประกาศใน ทวิตเตอร์ เพราะเจนวายจะนิยมเล่นทวิตเตอร์ มากกว่าเฟซบุ๊ก การสั่งการบ้านแนววิเคราะห์สื่อ ก็ตอ้ งเข้ายุค 4.0 หมดสมัยแล้วกับการตัดข่าวจาก กรอบหนังสือพิมพ์มานำ�เสนอหน้าชั้น แต่ต้อง เปลี่ยนให้เป็นการเอาคลิปไวรัลมาถกเถียงกัน ทั้งนี้ อาจารย์ไม่สามารถไปควบคุมการใช้ โซเชียลมีเดียของนักศึกษาได้ แต่จากการไป แอบสอดรู้ส่องเฟซบุ๊กของพวกเขา บางครั้งก็ กลุ้มใจหนัก เพราะคอนเทนต์ที่เด็กเสพมักจะ วนเวียนอยู่กับเพจดราม่า เพจคลิปฉาว รีวิว เครื่องสำ�อาง หรือการแชร์คาถาได้แฟน (อืม...) เลยต้องใช้วิธีบอกแกมบังคับให้นักศึกษากดไลค์ เพจที่มีสาระประโยชน์ หรือเพจรายงานข่าวที่มี หลักฐานเชื่อถือได้ ส่วนจะอ่านหรือไม่อ่านก็แล้ว แต่นักศึกษาแล้วล่ะ
ปัญหา 4 : เรือ่ งแค่นตี้ อ้ งบอกด้วยเหรอ สำ�หรับหัวข้อนี้ผมมี 3 สถานการณ์มาแชร์ ให้ฟังครับ 1. ผมสอนหนังสือมาหลายปี 70 เปอร์เซ็นต์ ของนักศึกษาที่ส่งงานเกินหนึ่งแผ่น ไม่เคยเย็บ แม็กซ์มาให้ผมเลย ผมต้องมานั่งเย็บเอง เหตุผล ของนักศึกษาคือ เขาไม่มีที่เย็บกระดาษเป็นของ ตัวเอง หรืออีก 40 เปอร์เซ็นต์มักส่งงานมาด้วย กระดาษไซส์ประมาณโพสต์อิท 2. มี อ ยู่ เ ทอมหนึ่ ง ผมสั่ ง ท้ า ยคาบว่ า มี การบ้านให้ทำ�เป็น ‘งานกลุ่ม’ ตอนเลิกเรียน นักศึกษาก็เดินมาถามว่า “งานกลุม่ ให้ท�ำ ส่งแบบ กลุ่ ม หนึ่ ง ส่ ง แค่ ชิ้ น เดี ย ว หรื อ ทุ ก คนในกลุ่ ม ทำ�คนละชิ้น” (!!??) อันนี้เล่นเอาผมอึ้งไปสาม วินาทีเต็ม 3. เพื่อนผมที่เป็นผู้กำ�กับภาพยนตร์ชื่อดัง เคยเจอเด็กเข้ามาถามว่า “เมื่อไหร่หนังพี่จะอัพ ลงยูทูบสักทีล่ะคะ” สามเรือ่ งทีว่ า่ ไป อาจฟังดูเหลือเชือ่ จนเหลือ ทนใช่ไหมครับ แต่ทั้งหมดคือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเป็นเรื่องประเภทที่ผมต้องประสบอยู่แทบ ทุกวัน ถามว่าเจนวายจงใจกวนประสาทหรือมี
จุดประสงค์มุ่งร้ายหรือเปล่า ก็ต้องตอบว่าไม่เลย แต่พวกเขาทำ�สิ่งเหล่านั้นด้วยความเคยชินหรือ ความไม่รู้จริงๆ ผมขอขยายความจากเรื่องที่สามแล้วกัน นะครับ เชื่อไหมครับว่าแม้นักศึกษาเอกฟิล์ม ยุคนี้แทบไม่ได้ดูหนังในโรงภาพยนตร์กันแล้ว แต่พวกเขาดูทางออนไลน์ ซึ่งไม่ใช่เว็บสตรีมมิ่ง แบบถูกกฎหมายด้วย แต่เป็นการดูผา่ นพวกคลิป ทีอ่ พั กันเถือ่ นๆ ในยูทบู หรือเว็บออนไลน์ทงั้ หลาย ซึ่งพวกเขาดูหนังแบบนี้จนเคยชิน และไม่รู้ว่านั่น คือสิง่ ทีผ่ ดิ กฎหมาย บางคนอาจสงสัยว่า อ้าว เขา ก็เถียงกันเรือ่ งกฎหมายลิขสิทธิก์ นั อยูป่ าวๆ ไม่ใช่ หรือ ก็ต้องบอกว่าเรื่องเหล่านี้อาจไม่ได้อยู่ใน ความสนใจของเจนวายบางคนนั่นเอง ถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะเริ่มรู้สึกว่าทำ�ไม เจนวายบางคนถึงโลกแคบ ไม่สนใจโลกภายนอก หรือเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางขนาดนี้หนอ ผมคิด ว่าเรื่องทำ�นองนี้ คงต้องมองเป็นเรื่องความต่าง ทางยุคสมัยหรือวัฒนธรรมต่างรุ่นแล้วล่ะครับ อาจมองเหมือนเรือ่ งประเภท เราอาจไม่รมู้ าก่อน ว่ า คนอเมริ กั น ใส่ ร องเท้ า เดิ น ในบ้ า นหรื อ คน อินเดียใช้มือกินข้าว ฟังดูแล้วอาจรู้สึกว่าทำ�ไม
CREATIVE THAILAND I 18
เจนเอ็กซ์กับเจนวาย มันถึงเหมือนคนละโลก กันเลย แต่นคี่ อื สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จริงครับ ดังนัน้ ถ้าเขา ไม่รหู้ รือเราคิดว่าเขาควรรู้ ก็ควรบอกกันดีๆ ก่อน ก็ได้ครับ ทีนี้ปัญหาคือบางเรื่องที่เจนวายไม่รู้ บางที มันก็ช่างน่าเหลือเชื่อ (อย่างเช่นเรื่องส่งงานใน ข้อหนึง่ ) มันก็เลยเป็นประเด็นในยุคนีว้ า่ เจนวาย บางคนขาด ‘คอมมอนเซนส์’ หรือ ‘ทักษะในการ ใช้ชีวิตประจำ�วัน’ ซึ่งจากประสบการณ์ของผม เด็กกลุ่ม ‘มีสติ’ กับ ‘ไม่มีสติ’ มักแบ่งกลุ่ม ขาดกันอย่างชัดเจน จึงเห็นได้ว่า สังคมเพื่อนใน มหาวิทยาลัยมีผลมาก เพราะลักษณะของคนไทย ไม่ค่อยยึดมั่นในปัจเจกบุคคลเท่าไร เรามักเป็น แนวไหลๆ ไปตามเพื่อนพ้อง ผมเคยคิดเล่นๆ กับเพื่อนอาจารย์ด้วยกัน ว่า บางทีมหาวิทยาลัยอาจจะต้องมีการสอนวิชา Common Sense 101 ด้วยซํ้า ไล่ตั้งแต่การเขียน อีเมล การสื่อสารกับอาจารย์ทางเฟซบุ๊ก การส่ง งานที่ถูกต้อง การเขียนจดหมายลาป่วย ลากิจ ฯลฯ อาจตกใจกันว่า เรือ่ งพวกนีม้ นั ต้องสอนด้วย หรือ แต่ถา้ เขาไม่รจู้ ริงๆ มันก็คงต้องถึงเวลาสอน แล้วล่ะครับ
บทสรุป : การอยู่ร่วมกับเจนวาย ผมเดาได้เลยว่าผูอ้ า่ นบางคนอ่านบทความนี้ อาจจะไม่คอ่ ยถูกใจนักทีท่ �ำ ไมเราต้องประนีประนอมหรือ ‘โอ๋’ เด็กรุน่ ใหม่ กันขนาดนี้ ขนาดผมเป็นคนเขียนบทความนี้เองยังรู้สึกเลย (ฮา) แต่ผมขอเปลี่ยนเป็นคำ�ว่า ‘พยายามทำ�ความเข้าใจ’ เพื่อที่ ‘จะอยู่ร่วมกันได้’ ดีกว่าครับ เราหนีการอยู่ร่วมสังคมกับเจนวายไม่ได้หรอกครับ อย่างผม ถ้าทำ�งานเป็นอาจารย์ก็ต้องเผชิญกับคนรุ่นใหม่ ต่อไป ใครที่เปิดบริษัทหรือเป็นเจ้าคนนายคนก็ต้องมีลูกน้องเป็นเด็กจบใหม่ หรือเจนวายบางคนก็เก่งกาจจนมาเป็น เจ้านายเราหรือคนที่เราต้องดีลงานด้วย หรือเอาให้ถึงที่สุด น้องหรือหลานของเราตอนนี้ก็คือเจนวายหรือเจนซีกัน ทั้งนั้น อย่าลืมนะครับว่า เจนเอ็กซ์อย่างเราๆ เนี่ย ใช้ชีวิตกันมาครึ่งค่อนชีวิตแล้ว อีกไม่กี่สิบปี เราก็คงจากโลกนี้ไปแล้ว ล่ะครับ เป็นพวกเด็กเจนวายและเจนซีต่างหาก ที่จะมีลมหายใจอยู่ในประเทศนี้ โลกนี้ต่อไป ดังนั้นก็คงไม่มีประโยชน์ ที่คอยตั้งแง่ชิงชังเด็กรุ่นใหม่ต่างๆ นานา ต้องระลึกอยู่เสมอนะครับว่า เราล้วนเคยถูกข้อหาว่า “เฮ้อ เด็กสมัยนี้” เหมือนกัน อย่างรุ่นเจนวายอาจต้องถูก บ่นเรื่องติดโซเชียล รุ่นเราก็ถูกคุณพ่อคุณแม่บ่นเรื่องคุยโทรศัพท์(บ้าน)นาน หรือเรื่องซื้อเทปนักร้องแกรมมี่อาร์เอส เป็นตัง้ เอาเข้าจริงแล้ว การปะทะด้วยความแตกต่างทางเจเนอเรชัน่ มันก็เป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เสมอ เป็นวงจรทีว่ นลูปมาเรือ่ ยๆ ไม่มีใครชอบถูกเหมารวมโดยไม่เต็มใจหรอกครับ ผมว่าปัญหาสำ�คัญอีกประการของเรื่องเจนวาย คือเราพยายาม จำ�แนกลักษณะต่างๆ ของพวกเขาเป็นข้อๆ (ไอ้ที่มีประจำ�ก็พวก ไม่มีความอดทน เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง และอีก มากมาย) แต่บางทีก็ลืมนึกถึงความหลากหลายแบบปัจเจกบุคคลไป ไม่ใช่เจนวายทุกคนจะต้องเป็นแบบนั้นเสียหน่อย ที่จริงแล้ว บทความชิ้นนี้ก็เข้าข่ายเช่นนั้นเหมือนกันครับ ตอนนี้เลยกลายเป็นว่า คำ�ว่าเจนวายกลายเป็นคำ�แง่ลบ เป็นกลุ่มคนที่มีปัญหา มีลักษณะว่าคนรุ่นก่อนกดทับและ มองเหยียดเจนวาย ซึ่งมันทำ�ให้ฝั่งคนรุ่นใหม่รู้สึกต่อต้าน แทนที่เขาจะเอาเวลาไปพัฒนาตัวเอง ค้นหาตัวเอง กลับต้อง มาถูกบั่นทอนด้วยการถูกตราหน้าว่าไม่ดีแบบนั้นแบบนี้จากคนรุ่นก่อน ผมว่าแบบนี้ในระยะยาวไม่ส่งผลดีครับ เพราะเอาจริงแล้ว น้องๆ เขาก็อาจจะกำ�ลังบ่นว่า “เฮ้อ ผู้ใหญ่สมัยนี้” อยู่ในใจก็ได้
CREATIVE THAILAND I 19
Insight : อินไซต์
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
เมื่อนึกถึงเจนเนอเรชั่นวายที่กำ�ลังเดินหน้าเข้าสู่ตลาดแรงงานและเป็นลูกค้ารายใหญ่ในอนาคต คุณคิดถึงอะไรบ้าง เพราะ ภาพที่ถูกนำ�เสนอเกี่ยวกับเจเนอเรชั่นนี้มักเป็นภาพการที่พวกเขาไม่สนใจใครนอกจากตัวเอง อยากมีชื่อเสียงเร็วๆ ด้วยการ ลงมือทำ�หลายสิ่งหลายอย่างทันที ภาพจำ�เหล่านี้กำ�ลังก่อเป็นทัศนคติด้านลบให้เกิดขึ้นในใจของเพื่อนร่วมงานต่างรุ่น แล้ว ทางออกขององค์กรสมัยใหม่ที่ต้องอ้าแขนรับคนกลุ่มนี้ จึงไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำ�ความเข้าใจว่า “พวกเขาไม่ได้มีอะไร ผิดปกติถ้าหากเติบโตมาในยุคนี้” CREATIVE THAILAND I 20
Generation of Me : Why Today’s Young American Are More Confident, Assertive, Entitled and More Miserable Than Ever Before หนั ง สื อ ของดร.จี น ทเวนจ์ (Jean Twenge) นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยซานดิเอโก ที่ได้ปลุกกระแสให้เกิดการเรียกขานคนเจนวาย (คนที่เกิดในช่วงค.ศ. 1980-1990) ทั้งในสื่อที่ นำ�เสนอและเมื่อมีการเอ่ยถึงคนกลุ่มนี้ แต่คน อีกหลายกลุ่ม รวมถึง ดร. เจฟฟรีย์ เจนเซน อาร์เนตต์ (Jeffrey Jensen Arnett) อาจารย์จาก มหาวิทยาลัยคลาก (Clark University) และผูแ้ ต่ง หนังสือ Emerging Adulthood: The Winding Road from the Late Teens Through the Twenties กลับมองว่ามันออกจะไม่ยุติธรรมอยู่ สั ก หน่ อ ย เพราะพวกเขาเติ บ โตมาในสภาพ แวดล้อมที่ผิดแผกจากคนรุ่นก่อนอย่างสิ้นเชิง อาร์เนตต์ได้สำ�รวจพฤติกรรมของคนกลุ่ม อายุ 20-30 ปีในสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่า พวกเขา ผ่านช่วงที่เศรษฐกิจตกตํ่าหลายครั้งตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1990 1997 2000 และ 2008 และรับรู้ว่างาน เป็นสิง่ หายาก ขณะทีก่ ารเลย์ออฟขององค์กรเป็น เรื่องปกติ งานประจำ�ไม่ได้แปลว่ามั่นคงเสมอไป ทำ�ให้พวกเขาต้องหันกลับไปพึ่งพาพ่อแม่แทน การออกจากบ้านตัง้ แต่พน้ ความเป็นวัยรุน่ เหมือน คนยุคก่อน เกิดภาวะทีเ่ รียกว่าความล่าช้าในการ ก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ (Emerging Adulthood) ที่ มี แ นวโน้ ม จะพึ่ ง พาคนอื่ น เพื่ อ การตั ด สิ น ใจ มากขึ้น ซึ่งสะท้อนออกมาในคำ�ตอบ 3 อันดับ แรกเมื่อถามถึงความหมายในการเป็นผู้ใหญ่ คือ 1 หนังสือ
เรื่องการยอมรับความรับผิดชอบส่วนบุคคล การ ตัดสินใจได้โดยปราศจากอิทธิพลจากคนอืน่ และ การมีอิสระทางการเงินจากพ่อแม่ อย่างไรก็ตาม อาร์เนตต์กล่าวว่า เขาไม่ได้ เจาะจงเฉพาะกลุ่มเจนวาย แต่เพราะการประวิง เวลาเช่นนี้เกิดขึ้นกับกลุ่มคนช่วงอายุ 18-29 ปี ซึ่งตรงกับคำ�เรียกขานคนกลุ่มนี้ และเริ่มมีขนาด ใหญ่มากขึน้ จนอาจจะสร้างความเปลีย่ นแปลงให้ กับสังคมการทำ�งานในสหรัฐอเมริกา เพราะ พัฒนาการสู่วัยผู้ใหญ่ที่ล่าช้านี้ทำ�ให้คนกลุ่มนี้ ที่ปราศจากภาระ มีเวลาไปกับการสำ�รวจและ ค้นหาตัวตน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องสนุกในบางครั้ง เพราะการดิน้ รนเพือ่ ค้นหาความเป็นตัวเองอาจจะ นำ�ไปสูว่ กิ ฤติวัยยี่สิบ (Quaterlife Crisis1) ที่รู้สึก ไม่มั่นคง สงสัยในตัวเอง และหดหู่ จนกลายเป็น กลุ่มคนที่ต้องการการดูแลให้คำ�ปรึกษาไม่ต่าง จากวิกฤติวัยกลางคน (Midlife Crisis) ได้เช่นกัน ความคิดของอาร์เนตต์อาจจะดูผิดแปลก สำ�หรับสังคมเอเชียที่คนส่วนใหญ่นิยมการอยู่ อาศัยกับพ่อแม่ แต่เขาและนักจิตวิทยาอีกหลาย คนเห็นตรงกันว่า เทคโนโลยีมีส่วนในการสร้าง บรรทัดฐานใหม่ของการใช้ชีวิตและการทำ�งานที่ อาจจะดูขดั ตาและเป็นประเด็นให้ถกเถียงมากมาย อย่างเช่นการมุง่ มัน่ ไปกับการประชาสัมพันธ์ตนเอง จนดูเหมือนพวกหลงรักตัวเอง (Narcissistic) แต่ ทว่า แดน ชอว์เบล (Dan Schawbel) ผู้แต่ง หนังสือ Promote Yourself: The New Rules for Career Success กล่าวว่า ในสภาพการแข่งขัน ปัจจุบนั พวกเขาไม่มที างเลือกนอกจากต้องลงทุน
Quarterlife Crisis: The Unique Challenges of Life in Your Twenties โดย Alexandra Robbins CREATIVE THAILAND I 21
ไปกับการสร้างชือ่ เสียงบนโลกออนไลน์ และทุกคน ก็คิดเหมือนกันหมดทุกที่ พวกเขาจึงต้องสร้าง ความโดดเด่นมากขึ้น นอกจากการโปรโมตตัวเองแล้ว การเปลีย่ น งานเป็นว่าเล่นก็เป็นอีกข้อกังขาที่ เชอร์ร่ี บัฟฟิงตัน (Sherry Buffington) ผูร้ ว่ มแต่งหนังสือเรือ่ ง Exiting Oz : How the New American Workforce is Changing the Face of Business Forever and What Companies Must Do to Thrive มองว่า “พวกเขามีความเชือ่ ทีต่ า่ งออกไปในโลกทีเ่ ชือ่ มต่อ กันนี้ เทคโนโลยีทำ�ให้คนกลุ่มนี้คาดหวังชัยชนะ อย่างรวดเร็ว และถ้าหากไม่ใช่ก็เลิก พวกเขาจึง ไม่มปี ญั หาหากต้องทำ�งาน 15-18 อย่างในชีวติ ” เจฟฟ์ อาวาลลอน (Jeff Avallon) รองประธาน ด้านการพัฒนาธุรกิจ บริษัท IdaePaint ใน บอสตันกล่าวว่า “ทุกเจอเนอเรชัน่ มีความเชือ่ และ ความต้องการในแบบอย่างของตัวเอง พวกเขา แค่พยายามแก้ปัญหาความต้องการพื้นฐานของ สังคมทีพ่ วกเขาอยู่ และมีวธิ กี ารสือ่ สารทีแ่ ตกต่าง จากคนเจนอื่นๆ เท่านั้นเอง” ที่มา: บทความ “Emerging Adulthood: The Two Most Important Words in Hiring and Parenting” โดย Haydn Shaw จาก huffingtonpost.com / บทความ “Gen Y Delaying Adulthood” จาก smallbizlabs.com / บทความ “How Millennials’ Long Road to Adulthood Is the new Normal” โดย Christina Scotti จาก foxbusiness.com / บทความ “Instagram Ranked Worst Social Network for Young People’s Mental Health” จาก telegraph.co.uk บทความ “The Beat (Up) Generation” โดย Abby Ellin จาก psychologytoday.com / บทความ “Why Millennials Are Lonely” โดย Caroline Beaton จาก forbes.com / allgroanup.com
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
เรื่อง / ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
แน่นอนว่าองค์ประกอบหลักในงานคอนเสิร์ตต่างๆ คือ ศิลปินและเสียงดนตรี แต่จะมีใครสังเกตหรือไม่ว่า “แสง” ก็เป็น องค์ประกอบสำ�คัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยสร้างประสบการณ์ให้กับคนดู เมื่อผสมผสานการออกแบบแสงร่วมกับเทคนิคต่างๆ ยิง่ ทำ�ให้ผชู้ มเกิดอารมณ์และความรูส้ กึ ร่วมทีแ่ ตกต่างกัน แสงทีเ่ รามองเห็นจึงไม่ได้ท�ำ หน้าทีใ่ ห้ความสว่างเท่านัน้ แต่ยงั สะท้อน อัตลักษณ์และตัวตนของงานต่างๆ เบื้องหลังงานแสงที่ว่านี้ ต้องอาศัยการออกแบบอย่างเข้าใจของทีมงานมืออาชีพ DuckUnit สตูดิโอเจ้าของผลงานการออกแบบแสงที่ทรงพลังมากมาย อาทิ Big Mountain Music Festival 1-7, Genie Fest 16, HUGO, Palmy Barefoot Acoustic Concert งานอินสตอลเลชั่นต่างๆ และการเปิดตัวตึกมหานคร ย่านสาทร เป็นหนึ่งในสตูดิโอที่เข้าใจการเล่นแสงกับความรู้สึกนี้ จนสามารถถ่ายทอดและสะท้อนทิศทางของอุตสาหกรรมดังกล่าวได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งใน ประเทศ พื้นที่รวมตัวคนรักแสง DuckUnit ก่อตั้งโดย วิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ เพื่อทำ�หน้าที่นักออกแบบผู้สร้างสรรค์ผลงานด้วยการผสมผสานหลายสาขาวิชา (Multidisciplinary) ตั้งแต่การ สร้างผลงานที่แสดงผลบนหน้าจอภาพต่างๆ (Screen Based Design) ก่อนจะขยายขอบเขตไปยังงานออกแบบแสง (Lighting Design) ที่ใช้ในงานศิลปะ คอนเสิร์ต และอีเวนต์ต่างๆ ด้วยการนำ�เอาประสบการณ์และความรู้มาปรับใช้บนแนวคิดพื้นฐานการทำ�งานหลากหลายแบบ คล้าย ‘เป็ด’ ที่สามารถ บินได้ เดินได้ ว่ายน้ำ�ได้ สามารถสร้างผลงานแบบไม่จำ�กัดเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง CREATIVE THAILAND I 22
การที่ประเทศไทยยังไม่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับ Lighting Design โดยเฉพาะ ทำ�ให้ผลงานการจัดแสงต่างๆ ที่ DuckUnit สร้างสรรค์ขึ้นเกิด จากความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการลองผิดลองถูก จนพัฒนาเป็นลักษณะการทำ�งานที่ชัดเจน โดยใช้พื้นฐานทางด้านการ ออกแบบการสื่อสาร (Communication Design) ร่วมกับงานกราฟิกและ สถาปัตยกรรมมาใช้เล่าเรื่อง คุณต้น-เรืองฤทธิ์ สันติสุข หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง บอกเราถึงแนวคิดการ ทำ�งานที่สำ�คัญว่า ในการทำ�งานแต่ละครั้งของ DuckUnit จะเริ่มจากการมี จุดประสงค์ในการเล่าเรื่องให้ชัดเจน จึงต้องทำ�ความเข้าใจให้ตรงกันกับ ลูกค้าเสียก่อนตั้งแต่แรก เพื่อให้สามารถผลิตผลงานได้ตามความต้องการ อย่างดีที่สุด โดยเอกลักษณ์ในการทำ�งานของ DuckUnit คือการควบคุม ภาพรวมทั้งหมดของงานให้ไปในทิศทางเดียวกันและสื่ออารมณ์ได้อย่าง สมบูรณ์แบบ ไม่เพียงแค่องค์ประกอบด้านแสง แต่ยังรวมถึงการออกแบบ สถานที่อย่างเวทีคอนเสิร์ต และองค์ประกอบด้านเสียงอีกด้วย จับต้องไม่ได้แต่รู้สึกได้ “จริงๆ การจัดแสงมีอิทธิพลเยอะ แต่ธรรมดาเราจะไม่เห็นว่าสำ�คัญ แสง เหมือนอากาศ มีอยู่ แต่ไม่มีใครรู้สึก เช่นทุกวันเราจะตื่นเพราะพระอาทิตย์ ขึ้น หรือจะนอนเพราะพระอาทิตย์ตก หรือวันที่ฟ้าปิด กับวันที่แดดแรง ก็ จะทำ�ให้พฤติกรรมเราเปลี่ยนไป เพราะเราอยู่กับแสงตลอดเวลา พูดถึงการ จัดแสงทีเ่ ข้าใจได้งา่ ยๆ ก็เช่นการทีเ่ ราเอาไฟไปประดับตกแต่งต้นคริสต์มาส หรือไฟตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ ในวันเฉลิมฉลองสิ้นปี หากสังเกตดีๆ จะ พบว่าการประดับไฟเหล่านี้ สามารถสร้างมวลรวมของทัง้ ประเทศ ให้ทกุ ๆ คน มีความสุขได้อย่างง่ายดาย” เมือ่ คนเรารับรูถ้ งึ แสงได้จากการมองเห็น แสงจึงเป็นองค์ประกอบสำ�คัญ ที่สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ หลายครั้งที่ DunkUnit นำ�วิธีการคิด เช่นเดียวกับการทำ�หนังหรือเอ็มวีเพลงมาใช้ในการลงรายละเอียดเรื่องแสง เพื่อกําหนดว่า ณ ช่วงเวลาไหน คนดูจะมองเห็นอะไร อย่างไร และทำ�ให้ เกิดความรู้สึกอะไร เพื่อสื่อสารไปยังคนจำ�นวนมากให้เกิดอารมณ์ร่วม อย่างเช่น Blackhead White Line Concert ทีใ่ ช้วตั ถุปนู ปัน้ รูปหน้าคนสีขาว
เป็นองค์ประกอบหลักบนเวที โดยเริ่มต้นคอนเสิร์ตด้วยการฉายไฟธรรมดา ในช่วงแรก ก่อนที่จะปิดไฟมืดทั้งหมดหลังเพลงจบเพื่อดึงความสนใจผู้ชม แล้วจึงเริ่มฉายแสงและภาพจากโปรเจคเตอร์ลงไปบนปูนปั้นบนเวที เพื่อให้ เกิดเป็นใบหน้าที่มีชีวิตและสื่ออารมณ์ต่างๆ เช่น มีนํ้าตา มีเลือดไหล ออกมา เป็นตัวแทนของความเจ็บปวดและเสียใจ เพราะแม้ว่าแสงจะไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง แต่การที่มันไปควบคู่ กับการมองเห็น มันจึงสามารถทำ�ให้คนรูส้ กึ ร้อน รูส้ กึ สนุก รูส้ กึ ตืน่ เต้น รูส้ กึ กลัว หรือรู้สึกปลอดภัยได้ จะเห็นว่าแสงส่งผลให้คนเกิดการคิด รู้สึก และ ตัดสินใจ การใช้การออกแบบร่วมกับแสงจึงเป็นการดีไซน์ความรู้สึกของคน ที่เข้าไปเจอว่าจะรู้สึกอย่างไร เมื่อมีแสง ย่อมเกิดเงาสะท้อน แม้ในประเทศไทยอุตสาหกรรมในด้านการออกแบบแสงจะยังไม่ได้รับ ความนิยมในวงกว้างมากเท่ากับวงการงานออกแบบอื่นๆ แต่คุณต้นบอกว่า ปีที่ผ่านมาก็เริ่มเห็นผลงานที่ใช้การออกแบบแสงร่วมอยู่ด้วยเพิ่มขึ้น และ หลายๆ ผลงานที่ DuckUnit สร้างสรรค์ขึ้นก็ถือเป็นการจุดประกายให้ผู้คน เริ่มมองเห็นความสำ�คัญของศาสตร์ด้านการจัดแสงเพื่อสื่อสารในการสร้าง ให้เกิดประสบการณ์และอารมณ์ร่วมกับผลงาน ตลอดจนการปรับใช้ร่วมกับ องค์ประกอบอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น “คือเรารักมัน เราตั้งใจทำ�มันออกไปแล้วมีคนสนใจ มันจะทำ�ให้ตัว อุตสาหกรรมโตขึ้นไปอีก อย่างตอนนี้ซัพพลายเออร์เจ้าต่างๆ ที่แค่จัดหาไฟ หรือองค์ประกอบเวทีทเ่ี ขาทำ�มาหลายปี เขาก็เริม่ สนใจว่าการใช้ดไี ซน์เข้ามา ช่วยมันทำ�ให้เกิดอารมณ์รว่ มแบบนีไ้ ด้นะ เราได้ท�ำ ให้คนรูว้ า่ มันมีอตุ สาหกรรม การสื่อสารด้วยแสงแบบนี้ แค่นั้นก็คุ้มมากๆ แล้ว และผมชื่นใจเวลาเห็น คนอื่นมาทำ�มัน ถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ เด็กรุ่นใหม่ก็จะผลิตงานใหม่ๆ มา ได้มากขึ้นไปอีก สิ่งที่ทำ�ก็คงจะมีประโยชน์อะไรกับโลกใบนี้บ้าง”
ติดตามผลงานของ DuckUnit เพิ่มเติมได้ที่ Duckunit.tv และ Facebook: DuckUnit CREATIVE THAILAND I 23
flickr.com/photos/kanegen
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
ไกลจากมหานครเซี่ยงไฮ้ออกไป 300 กิโลเมตร นางสนมในชุดราชวงศ์ชิงคนหนึ่งกำ�ลังยกมือขึ้นปาดเหงื่อ ทิ้งตัวลงบนเก้าอี้ ข้างตำ�หนัก ก่อนจะหยิบไอโฟนขึ้นมาเช็ก ห่างออกไปไม่ไกล สาวใช้อีกคนเพิ่งจะเดินผ่านกลุ่มทหารถือปืนไรเฟิลบนถนน กวางโจวปี 1930 ด้วยความเมื่อยล้า เธอถอดรองเท้าผ้าออกแล้วคว้ารองเท้าพลาสติกทรงคร็อกส์สีฟ้ามาสวมแทน ภาพของนักแสดงในชุดโบราณที่เดินกันขวักไขว่ในฉากอาคารบ้านเรือนและพระราชวังโบราณต่างยุคสมัย เป็นสิ่งที่ เกิดขึน้ ทุกวันจนชินตาทีน่ ี่ “Hengdian World Studios” สตูดโิ อถ่ายภาพยนตร์กลางแจ้งทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก ซึง่ ตัง้ อยูท่ เี่ มือง เหิงเตี้ยน มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน CREATIVE THAILAND I 24
flickr.com/photos/kanegen
จากเมื อ งชนบทเล็ ก ๆ ที่ เ คยหลั บ ใหล อุตสาหกรรมผลิตภาพยนตร์ได้ปลุกเหิงเตี้ยน ให้มีชีวิตชีวา จากที่ต้องออกไปหางานทำ�ใน เมืองอื่นๆ ทุกวันนี้ชาวเมืองหนึ่งในสี่ประกอบ อาชีพในธุรกิจบันเทิง รวมถึงธุรกิจภาคบริการ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง อย่ า งธุ ร กิ จ รั บ จั ด เลี้ ย ง โรงแรม ธุ ร กิ จ ให้ เ ช่า อุ ป กรณ์ ถ่ า ยภาพยนตร์ คอสตู ม นักแสดง ไปจนถึงธุรกิจท่องเที่ยว โดยในปี 2011 เหิงเตี้ยนสร้างรายได้จากธุรกิจบริการมากกว่า 6 พันล้านหยวน ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสามของจีดีพี ของเมืองเลยทีเดียว
เหิงเตี้ยนถือว่าเป็นหนึ่งในศูนย์รวมทรัพยากรแทบทุกอย่างที่จำ�เป็นสำ�หรับการสร้างหนัง ตัง้ แต่ธรุ กิจให้เช่าอุปกรณ์ถา่ ยทำ�ภาพยนตร์ เครือ่ งแต่งกาย และแหล่งจ้างงานนักแสดงตัวประกอบ ที่ใหญ่ที่สุดในจีน โดยหนึ่งในเขตสตูดิโอถ่ายภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนอย่าง Xiangshan Film and Television City ก็ใช้อุปกรณ์จากเหิงเตี้ยนถึงร้อยละ 80 ขณะที่ทีมงานกองถ่าย นักออกแบบ ฉาก และช่างไม้ของ Huairou Film Base ในปักกิ่งกว่าครึ่งก็มาจากเหิงเตี้ยนเช่นกัน นอกจากทีมสร้างภาพยนตร์และนักท่องเที่ยวแล้ว เหิงเตี้ยนยังดึงดูดนักแสดงตัวประกอบ หลายพันคนเข้ามาด้วยความฝันที่อยากจะโลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิง ซึ่งแม้ว่าค่าตอบแทน สำ�หรับตัวประกอบจะไม่สูงนัก แต่หลายคนก็มองว่าเป็นช่องทางหารายได้ที่น่าสนใจกว่าการ ทำ�งานในโรงงาน โดยตัวประกอบทั่วไปจะได้รับค่าตอบแทนประมาณ 50 หยวน หรือ 250 บาท ต่อวัน (8 ชม.) แต่หากได้เล่นบทที่จะต้องตายจะได้เพิ่มอีก 10 หยวน ส่วนบทบาทที่ได้รายได้ สูงสุดเล่ากันว่าเป็นบทตัวประกอบสมัยราชวงศ์ชิงที่ต้องโกนผมและถักเปียทรงแมนจู ซึ่งจะได้ ค่าตัวเพิ่มอีกประมาณ 40 หยวน ทั้งนี้ หากเป็นตัวประกอบที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น ค่าตอบแทนจะ อยู่ที่ 200 หยวนขึ้นไป ตัวอย่างภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่ถ่ายทำ�ในเหิงเตี้ยน สตูดิโอ ได้แก่ The Emperor and the Assassin (1998) Crouching Tiger, Hidden Dragon (2000) รวมถึง Hero (2002) และ Curse of the Golden Flower (2006) ของผู้กำ�กับดังอย่างจางอี้โหมว
CREATIVE THAILAND I 25
flickr.com/photos/petirroj
flickr.com/photos/petirroj
อาณาจักรมายาเหิงเตี้ยน เหิงเตี้ยน เวิลด์ สตูดิโอ ก่อตั้งในปี 1996 ด้วยเงิน ลงทุนจากเหิงเตี้ยนกรุ๊ป บริษัทแม่ซึ่งมีกิจการอยู่ ในอุตสาหกรรมสิง่ ทอ เคมีภณั ฑ์ และเภสัชภัณฑ์ สวี่ เหวินหรง (Xu Wenrong) มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง เกิดความคิดที่จะสร้างสตูดิโอแห่งนี้เมื่อครั้งไป เยือนฮอลลีวดู แม้วา่ ธุรกิจภาพยนตร์จนี ในยุคนัน้ จะยังไม่เฟื่องฟูนัก แต่เขาก็ยอมเสี่ยงด้วยการ ลงทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างฉาก ถ่ายทำ�ภาพยนตร์จากต่างยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาสิบกว่าปี ทัง้ ฉากจำ�ลองกำ�แพงเมืองจีน พระราชวังสมัยราชวงศ์ฉนิ หมูบ่ า้ นโบราณ วัดจีน ถนนในฮ่ อ งกงยุ ค อาณานิ ค ม พระราชวั ง ยุ ค ราชวงศ์หมิงและชิง เรือโจรสลัดในทะเลสาบ หรือ แม้แต่ฉากจำ�ลองตามขนาดจริงของพระราชวังที่ ใหญ่ทส่ี ดุ ในโลกอย่างพระราชวังต้องห้ามในปักกิง่ ซึ่งโดยปกติแล้ว การขอถ่ายทำ�ในพระราชวังจริง นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ ล่าสุด เหิงเตี้ยน สตูดิโอ ยังลงทุนอีก 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพือ่ สร้างธีมพาร์กใหม่บน พื้นที่ 4 ล้านตารางเมตร ซึ่งจำ�ลองพระราชวัง หยวนหมิงหยวนทีส่ ว่ นหนึง่ ถูกเผาทำ�ลายเมือ่ ครัง้ สงครามฝิ่นในทศวรรษที่ 1980 โดยพื้นที่หนึ่งใน สี่เริ่มเปิดให้เข้าชมแล้วตั้งแต่กลางปี 2015 และ ตั้งเป้าว่าจะคืนทุนทั้งหมดภายในปี 2025 จนถึงทุกวันนี้ อาณาจักรมายาบนพื้นที่ 7,000 เอเคอร์เป็นสถานที่ถ่ายทำ�ภาพยนตร์และ ละครโทรทัศน์ทั้งจีนและต่างชาติมากกว่า 1,000 เรื่อง โดยมีทีมโปรดักชั่นเข้ามาถ่ายทำ�ประมาณ 30 ทีมต่อวัน ขณะทีน่ กั ท่องเทีย่ วมากกว่า 10 ล้าน คนต่อปีก็เข้ามาแย่งชิงพื้นที่เพื่อชมฉากจำ�ลอง จากหลากยุค ชะโงกมองการทำ�งานของกองถ่าย ภาพยนตร์ และสัมผัสประสบการณ์จากการ แสดงสดตามจุดต่างๆ รอบสตูดิโอ
ภาพยนตร์ Kung Fu Panda 3 (2016) ซึง่ เกิด จากการทำ�งานร่วมกันระหว่าง DreamWorks ใน แคลิฟอร์เนียและ Oriental DreamWorks ใน เซีย่ งไฮ้ โดยทีมผูส้ ร้างได้น�ำ แอนิเมชัน่ ฉบับพากย์ ภาษาจีนมาแก้ไขรายละเอียดการขยับปากของ ตัวละครใหม่ เพื่อให้ตรงกับเสียงพูดภาษาจีน สร้างอรรถรสในการชมที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งน่าจะ เป็นครัง้ แรกในประวัตศิ าสตร์การผลิตภาพยนตร์ ฮอลลีวูด จากคำ�บอกเล่าของเจมส์ ฟาง (James Fong) ซีอีโอของ Oriental DreamWorks “ทุกวันนีใ้ ครๆ ก็นกึ ถึงจีน นักเขียน โปรดิวเซอร์ พวกเขามักจะถามผมตลอดว่า คุณคิดว่าคนจีน จะชอบไหม ตอนนีจ้ นี เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง” เฉิน หลง ซึง่ เพิง่ จะได้รบั การจัดอันดับจากฟอร์บส์ ให้เป็นนักแสดงที่มีรายได้สูงสุดเป็นอันดับสอง กล่าวตรงกับที่ ดีด นิกเคอร์สนั (Dede Nickerson) โปรดิวเซอร์อเมริกันที่สร้างผลงานภาพยนตร์ใน จีนมาเป็นเวลา 20 ปีได้ให้สมั ภาษณ์กบั สำ�นักข่าว CBS News ว่า ในการประชุมเพื่อหาข้อสรุปใน การทำ�งานของสตูดิโอฮอลลีวูดทุกครั้ง จะต้องมี ประเทศจีนเป็นประเด็นที่มีคนพูดถึงเสมอ
imdb.com
สร้างหนัง สร้างชาติ หลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีท่าทีเอาจริงในการ สนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มากขึน้ ผ่านการ ให้สตั ยาบันสนธิสญั ญาปักกิง่ ว่าด้วยการแสดงด้าน ภาพและเสียง (Beijing Treaty on Audiovisual Performances) และการวางแผนออกกฎหมาย สนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ นั่นเพราะจีน มองเห็นว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไม่เพียงมี ศักยภาพในการเป็น Soft Power ที่ลํ้าค่า แต่ยัง จะเป็นอีกหนึง่ อุตสาหกรรมทีข่ บั เคลือ่ นเศรษฐกิจ จีนในยุคหลังอุตสาหกรรม “จีนต้องการแข่งกับ เมืองอย่างลอนดอน โตเกียว และนิวยอร์ก และ พวกเขารู้ดีว่าต้องมีอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ เข้มแข็งจึงจะทำ�ได้” แอนดริว ไวต์ (Andrew White) ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และสือ่ ดิจทิ ลั จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม เมือง หนิงโปกล่าว ปัจจุบันรัฐบาลจีนกำ�หนดโควต้าสำ�หรับ การนำ�ภาพยนตร์ต่างชาติเข้าฉายในประเทศ จำ�นวน 34 เรื่องต่อปี ซึ่งทำ�ให้ฮอลลีวูดใช้วิธี จับมือสร้างหนังกับสตูดิโอท้องถิ่นเพื่อหลบเลี่ยง
imdb.com
โรงภาพยนตร์ในสหรัฐฯ ทำ�รายได้เพียง 353 ล้านเหรียญฯ หลายปีที่ผ่านมา นํ้าหนักของตลาดผู้ชม ชาวจีนมีผลกับการตัดสินใจในหลายมิติของการ สร้างหนังฮอลลีวูด เรามองเห็นสูตรสำ�เร็จบาง อย่างในภาพยนตร์หลายเรื่องที่พยายามเอาใจ ผู้ชมแดนมังกร และมองไปถึงรัฐบาลจีนซึ่งมี อำ�นาจคุมเข้มเนื้อหาในภาพยนตร์ก่อนจะได้รับ อนุญาตให้เข้าฉาย ตั้งแต่ The Martians (2015) ภาพยนตร์อวกาศที่ตัวเอกติดอยู่บนดาวอังคาร ก่อนทีอ่ งค์กรอวกาศจีนจะกลายเป็นอัศวินขีม่ า้ ขาว มาช่วยให้ภารกิจช่วยเหลือเสร็จสิ้นในช่วงท้าย หรือ Transformers: Age of Extinction (2014) ซึ่งมีหลี่ ปิงปิง นักแสดงสาวชาวจีนชื่อดังร่วม แสดงและมีเหตุการณ์ส่วนหนึ่งในเรื่องเกิดขึ้นใน ฮ่องกง ยังไม่นบั โฆษณาสินค้าจีนทีแ่ ฝงอยูใ่ นหนัง จำ�นวนมาก โดยภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างสถิติใหม่ ให้แก่ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในจีน ด้วยการกวาด รายได้ถึง 320 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2014 ยิ่งไปกว่านั้น การให้ความสำ�คัญกับตลาด คนดูแดนมังกรยังถูกยกขึน้ ไปอีกระดับในการสร้าง
imdb.com
ตลาดที่ใหญ่เกินจะมองข้าม ในศตวรรษที่ 21 ทีจ่ นี ผงาดขึน้ ในทุกเวทีเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็เช่นเดียวกัน การออก ไปดูหนังในโรงภาพยนตร์กำ�ลังเป็นค่านิยมใหม่ จากการทีเ่ มืองขยายตัว โดยขณะนีม้ โี รงภาพยนตร์ เกิดใหม่ในจีนถึงวันละ 21 โรง รายงานจาก หน่ ว ยงานกำ � กั บ ดู แ ลด้ า นสื่ อ ของจี น (State Administration of Press, Publication, Radio, Film and Television: SAPPRFT) ระบุว่าในปี 2015 รายได้จากการขายตั๋วภาพยนตร์สูงถึง 6.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยจำ�นวนโรงภาพยนตร์ ทั้งหมด 31,627 โรง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ สหรัฐฯ ทีม่ โี รงภาพยนตร์ 40,547 โรงในปีเดียวกัน คาดว่ารายได้จากการขายตั๋วในจีนจะแซงหน้า เจ้ า ตลาดอย่ า งอเมริ ก าและกลายเป็ น ตลาด คนดูหนังที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2017 โดย ทีผ่ า่ นมา มีภาพยนตร์จากฝัง่ ฮอลลีวดู หลายเรือ่ ง ที่ ทำ � รายได้ ใ นจี น สู ง กว่ า ในตลาดเจ้ า ถิ่ น แล้ ว เช่น Furious 7 (2015) ที่กวาดรายได้จากการ เข้าฉายในจีนถึง 391 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่
CREATIVE THAILAND I 26
เมื่อมังกรบุกฮอลลีวูด ข่าวการประมูลภาพวาด “Femme au chignon dans un fauteuil” (1948) ของปิกสั โซเมือ่ ปี 2015 คงจะไม่เป็นที่สนใจมากนักสำ�หรับสาธารณชน หากว่างานศิลปะชิ้นนี้ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ซามูเอล โกลด์วนิ (Samuel Goldwyn) ผูอ้ �ำ นวยการ สร้างภาพยนตร์คนสำ�คัญแห่งฮอลลีวูดตั้งแต่ปี 1956 ในขณะทีผ่ ชู้ นะการประมูลครัง้ นีก้ ไ็ ม่ใช่ใคร ที่ไหน แต่คือเดนนิส หวาง (Dennis Wang) เศรษฐีจีนผู้ก่อตั้งบริษัท Huayi Brothers หนึ่งใน สตูดิโอยักษ์ใหญ่ที่สุดจากจีน ที่ประมูลภาพวาด ไปด้วยราคา 29.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่า หนึ่งพันล้านบาท การทีผ่ ลงานศิลปะชิน้ ดังถูกเปลีย่ นมือ นับได้ ว่ า เป็ น อี ก หนึ่ ง สั ญ ญาณการเปลี่ ย นขั้ ว อำ � นาจ ครั้งใหญ่ของวงการภาพยนตร์ เพราะในปี 2016 ที่เศรษฐกิจจีนชะลอการเติบโตลง บวกกับความ ไม่แน่นอนในตลาดหุ้น แต่อุตสาหกรรมหนึ่งที่ ไม่ได้รับแรงกระเพื่อมใดๆ ก็คืออุตสาหกรรม
en-yibada.com
ข้อบังคับ แต่ไม่ว่าอย่างไร ภาพยนตร์ทุกเรื่อง จะต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานกำ�กับ ดูแลด้านสื่อของรัฐ (SAPPRFT) ด้วยเหตุผลว่า ทางการต้องการเซ็นเซอร์ภาพที่อาจสร้างความ แตกแยกหรือไม่สงบในสังคม ฮอลลีวดู จึงพยายาม ประนี ป ระนอมด้ า นเนื้ อ หาเพื่ อ ให้ ไ ด้ เ ข้ า ฉาย อย่างที่ผู้สร้าง Men in Black 3 (2012) ยอมตัด ฉากหนึ่งในภาพยนตร์ซึ่งมีตัวร้ายชาวจีนออก อย่างไรก็ตาม เมือ่ ต้นปีทผ่ี า่ นมา หนังสือพิมพ์ โกลบอลไทม์สของจีนอ้า งการคาดการณ์ของ ผู้เชี่ยวชาญว่า จีนอาจจะเพิ่มโควต้าการนำ�เข้า ภาพยนตร์จากต่างประเทศเพิม่ ขึน้ อีกราว 12 เรือ่ ง ทัง้ ยังจะเพิม่ ส่วนแบ่งรายได้จากภาพยนตร์ทผี่ สู้ ร้าง ได้รับให้เป็นเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ เหมือนกับใน ประเทศอื่ น ๆ จากที่ ปั จ จุ บั น กำ � หนดไว้ ที่ 25 เปอร์เซ็นต์เท่านัน้ ซึง่ หากเป็นจริงตามทีค่ าด ก็นา่ จะกระตุน้ ผูผ้ ลิตฮอลลีวดู ให้เข้ามาเจาะตลาดจีน มากขึ้น ในขณะที่การกำ�หนดโควต้าภาพยนตร์ ต่างประเทศก็เป็นนโยบายที่นับว่าฉลาดไม่น้อย เพราะแม้จะทำ�ให้ผู้ผลิตต่างชาติไม่พอใจ แต่ก็ ช่วยซื้อเวลาให้บรรดาผู้สร้างต่างชาติหันมาร่วม ทุ น กั บ บริ ษั ท ท้ อ งถิ่ น ส่ ง ผลให้ อุ ต สาหกรรม ภาพยนตร์จีนได้เรียนรู้เทคนิคจากผู้ครํ่าหวอด ในวงการไปโดยปริยาย
ภาพยนตร์ ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา บ๊อกซ์ออฟฟิศ ในจี น เติ บ โตถึ ง ร้ อ ยละ 350 และสตู ดิโ อจี น ก็ ส ร้ า งสรรค์ ภ าพยนตร์ อ อกมามากกว่ า 600 เรื่องในหนึ่งปี ทั้งหนังแอ็กชั่น ไซไฟ ไปจนถึง สยองขวัญ เบือ้ งหลังอุตสาหกรรมผลิตภาพยนตร์ในจีน มูลค่ามหาศาลนี้ คือกลุ่มเศรษฐีผู้มีอำ�นาจอย่าง เดนนิส หวาง และบริษัทร่วมชาติอีกหลายแห่งที่ เริ่มเข้าไปจับมือลงทุนกับสตูดิโออเมริกันเพื่อ สร้ า งภาพยนตร์ ตี ต ลาดโลก โดยในปี 2015 Huayi Brothers กับ STX Entertainment สตูดิโอ อเมริกันหน้าใหม่ซึ่งเพิ่งก่อตั้งในปี 2014 โดย โรเบิร์ต ไซมอนด์ส (Robert Simonds) ได้ทำ� ข้อตกลงอำ�นวยการสร้างและจำ�หน่ายภาพยนตร์ ร่วมกัน ตามมาด้วย Dalian Wanda Group บริษทั พั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ละธุ รกิ จ บั นเทิ งยั กษ์ ใหญ่ของจีน ซึ่งได้เข้าซื้อหุ้นบริษัท Legendary Entertainment บริษทั ทีใ่ ห้เงินทุนหนังในฮอลลีวดู
ฟอร์มยักษ์อย่าง Jurassic World, The Dark Knight Trilogy และ Godzilla ในปี 2016 โดยการซื้อหุ้น ครั้งนี้ นอกจากจะเป็นดีลที่มีมูลค่าสูงสุดของ ระหว่างฮอลลีวูดและบริษัทจีนคือ 3.5 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ แล้ว ยังทำ�ให้ต้าเหลียน ว่านต๋า กรุ๊ป เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร ซึ่งย่อมจะ เปิดทางให้ผจู้ ดั จำ�หน่ายภาพยนตร์จนี ได้เผยแพร่ งานสู่ผู้ชมนานาชาติมากขึ้น ในขณะที่ว่านต๋า กรุ๊ป เองก็ยังเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์เอเอ็มซี เครือโรงหนังทีม่ ขี นาดใหญ่อนั ดับสองของสหรัฐฯ อีกด้วย การเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และ ตลาดผู้ชมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องด้วยจำ�นวน ประชากรถึง 1.3 พันล้านคนในจีนแผ่นดินใหญ่ รวมถึงความร่วมมือระหว่างเจ้าตลาดผู้บุกเบิก วงการอย่างฮอลลีวูดกับผู้มาใหม่แต่เงินล้นอย่าง จีน จึงเป็นเหมือนการเปิดประตูด้านวัฒนธรรม และการเงินที่ต้องจับตามองกันต่อไป
ที่มา: บทความ “China’s ‘Hollywood’ shines in business” (2012) จาก usa.chinadaily.com.cn / บทความ “China’s Movie Studio Tycoon Xu Wenrong Opens Summer Palace Replica Theme Park” (2015) จาก forbes.com / บทความ “Chinese movie mogul is buyer of Goldwyn family’s Picasso painting” (2015) จาก latimes.com / บทความ “Hengdian; The Chinese Hollywood” (2011) จาก timeoutshanghai.com / บทความ “Hooray for Hengdian!” (2015) จาก globaltimes.cn / บทความ “How China Is Remaking the Global Film Industry” (2017) โดย Hannah Beech จาก time.com / บทความ “Rising in the East” (10 เมษายน 2016) โดย Holly Williams จาก cbsnews.com / บทความ “สือ่ รัฐเผย จีนอาจเพิม่ โควต้านำ�เข้าภาพยนตร์ตา่ งประเทศ ส่อเค้ากระตุน้ ผูผ้ ลิตฮอลลีวดู้ เข้ามาเจาะตลาดจีนมากขึน้ ” (2017) จาก bangkokbiznews.com / บทความ “หนังจีนโตพรวด จะตีตลาดฮอลลีวดู ได้หรือไม่?” (2016) จาก prachachat.net / วิดีโอ “If You Build It, They Will Come: Chinese Town Gets Hollywood Makeover” (2011) จาก wsj.com / วิดีโอ “Making movies in ‘China’s Hollywood’ in Hengdian” (2014) จาก bbc.com CREATIVE THAILAND I 27
The Creative : มุมมองของนักคิด
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
CREATIVE THAILAND I 28
ในเสี้ ย ววิ น าที ที่ เ รากำ � ลั ง จดจ่ อ อยู่ กั บ ฉากบางฉากของ ภาพยนตร์สักเรื่อง เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าฉากๆ นั้นผ่านการ คิดและประดิษฐ์สร้างขึ้นมาอย่างแยบยลเท่าไร โดยหนึ่งใน อาชี พ ล่ อ งหนที่ มี ห น้ า ที่ ต รึ ง ผู้ ช มให้ อ ยู่ กั บ จั ง หวะของ ภาพยนตร์ราวกับโดนเวทมนตร์สะกดก็คอื “นักตัดต่อ” หรือ ผู้ ที่ ใ ช้ ศิ ล ปะและเทคนิ ค มาหยิ บ ฉวยจั ง หวะให้ แ ต่ ล ะฉาก ร้ อ ยเรี ย งเข้ า ด้ ว ยกั น และที่ สำ � คั ญ ต้ อ งดึ ง อารมณ์ แ ละ ความรูส้ กึ ของผูช้ มให้อยูร่ ว่ มกับภาพยนตร์ไปได้อย่างตลอด รอดฝั่ง หรือพูดได้อีกอย่างว่า ยิ่งผู้ชมไม่รู้สึกถึงการตัดต่อ มากเท่าไร ก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงพลังของการตัดต่อเท่านั้น แต่นอกโลกภาพยนตร์ชวี ติ ของอาร์ม-ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต นักตัดต่อภาพยนตร์วัย 26 ปี ที่มีผลงานการตัดต่อทั้ง ภาพยนตร์ไทยสายเมนสตรีมและอินดี้อย่าง 36, Mary is Happy, Mary is Happy, ฟรีแลนซ์...ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ, แฟนเดย์... แฟนกันแค่วันเดียว, พรจากฟ้า และล่าสุดฉลาดเกมส์โกง จะเป็นอย่างไร การสนทนาครั้งนี้ ทำ�ให้เรารู้ว่าความสามารถในการตัดต่อของเขา ไม่ได้อาศัย เพียงเรื่องของเทคนิคหรือประสบการณ์ แต่มันคือมุมมอง ของคนๆ หนึ่งที่พยายามทำ�ความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ที่ผ่าน เข้ามาในชีวิต และแน่นอนว่าบางซีนหรือบางจังหวะ ชีวิตจริง ก็ไม่อาจตัดต่อได้ ทำ�ไมถึงตัดสินใจเรียนด้านภาพยนตร์ เราคิดว่าพี่ชายคนโตมีส่วนเยอะเหมือนกัน เพราะเขาเริ่มทำ�วิดีโอก่อน อย่างตอนที่เขาไปรับทำ�วิดีโองานแต่งงาน เขาไปถ่าย แล้วก็เอามาให้เรา ลองตัด ตอนนั้นประมาณ ป.6 ทำ�ได้แค่ตัดแล้วเอามาวางกับเพลง แค่พี่ใช้ ทำ�แล้วคิดว่าสนุกดี ก็ยังไม่เข้าใจหรอกว่ามันเป็นหนังหรืออะไร นึกว่าเป็น เรื่องคอมพิวเตอร์ ก็เลยคิดว่าจะเรียนต่อวิทย์คอม ตอน ม.4 เลยตัดสินใจ เลือกเรียนสายวิทย์ แต่พอเข้าไปเรียนก็ไม่ได้สนใจเรียนขนาดนั้น ไม่รู้ว่า ฟิสกิ ส์เรียนไปทำ�ไม แต่กร็ สู้ กึ ว่าตัวเองเก่งภาษาอังกฤษ เลยคิดจะเข้าอักษรฯ พอดีมเี พือ่ นเราคนหนึง่ ชือ่ กตัณณ์ทอี่ ยากทำ�หนังมาก แล้วมันก็ให้เราตัดหนัง สั้นให้เพราะเราใช้คอมได้ ซึ่งก็ยังไม่เข้าใจนะว่านั่นคือการทำ�หนังหรือเปล่า คือเราไม่ใช่คนที่อยากทำ�หนังตั้งแต่เด็ก แต่จุดเปลี่ยนคือตอน ม.5 เราได้ ไปดูหนังเรือ่ ง รักแห่งสยาม ของพีม่ ะเดีย่ ว (ชูเกียรติ ศักดิว์ รี ะกุล) เรารูส้ กึ ว่า มันแคปเจอร์ความรู้สึกบางอย่างให้เราได้ ซึ่งทุกวันนี้ยังจำ�ซีนได้อยู่เลย ก็คดิ ว่าอยากเรียนหนังขึน้ มา เลยไปหาว่าคนทำ�หนังเป็นใคร เลยรูว้ า่ มันต้อง เข้านิเทศฯ แต่เราก็ไม่ได้ติดนิเทศฯ จุฬาฯ เพราะตอนนั้นเกรดเราห่วยมาก เพราะเราเรียนสายวิทย์ไม่รเู้ รือ่ งเลย สุดท้ายก็ได้เข้าไอซีที สาขานิเทศศาสตร์ เอกภาพยนตร์ ที่ศิลปากร จากนั้นชีวิตเรามาชัดมากขึ้นตอนเรียนมหา’ลัย เราตั้งใจเรียนมากขึ้นเป็นอัตโนมัติเพราะเรารู้สึกว่าชอบ แตกต่างจากมัธยม มากที่ไม่รู้จะเรียนทำ�ไม คือเรารู้ว่าอยากทำ�หนังแน่ๆ แหละตอนนั้น และ จินตนาการว่าเราจะไปทำ�อย่างอื่นไม่ได้ ที่เป็นอาชีพนะ
แล้วเส้นทางการเป็นคนตัดต่อหนังเริ่มจากตรงไหน ตอนที่เราเรียนกับอาจารย์เดียว วิชชพัชร์ โกจิ๋ว (ผู้กำ�กับภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน) เขามาสอนเราตัดต่อ คาบแรกเลยเขาให้ท�ำ หนังแนะนำ�ตัวเองไปส่ง เขาก็พูดว่าคุณมาทำ�งานกับผมไหม ก็เลยคิดว่าหรือเราจะทำ�ได้วะ ตอนนั้น อยูป่ ี 3 และเหมือนเขาดูออกว่าเราตัดได้ ซึง่ มันก็เกีย่ วกับทีเ่ ราทำ�บ่อยๆ ด้วย เราทำ�มาก่อน เลยมีความเข้าใจประมาณหนึ่ง เราว่าการตัดต่อมันต้องมี ความเข้าใจในจังหวะ ในความพอดีอะไรแบบนี้ อาจจะไม่ได้พอดีกบั เขามาก แต่เขาอาจจะรู้สึกว่าเรามีแววที่จะทำ�ได้ในอนาคต แล้วในขณะที่ผู้กำ�กับเขาก็มีภาพหนังในหัวอยู่แล้ว ในฐานะ คนตัดต่อเรามีบทบาทต่อตัวหนังอย่างไร เราเพิ่งพบเหมือนกันว่าจริงๆ เราเป็นซัพพอร์ตเตอร์ เหมือนอย่างคนถ่าย คนทำ�อาร์ตก็เป็นซัพพอร์ตเตอร์ให้ผกู้ �ำ กับ ซึง่ ในความคิดเรา เราต้องเคารพ ภาพในหัวผู้กำ�กับแม้ว่าเราจะรู้สึกว่ามันแปลกๆ แต่เราก็ต้องเคารพสิ่งที่ เขาคิด แล้วเราก็ตอ้ งลองทำ�ให้เขาดู เราเรียนรูอ้ ย่างหนึง่ ว่ามันมีเรือ่ งรสนิยม ด้วย ถ้าเรารู้สึกไม่เวิร์กในทีแรกต้องลองก่อนแล้วก็จะแบบ เออ เหมือนมัน ก็เวิร์กเหมือนกัน มันก็เป็นแบบนั้นที่มันเป็น แล้วคนจะสงสัยว่าทำ�ไมเรา ตัดหนังได้หลายแนว เพราะว่าเราเคารพผูก้ �ำ กับไง เพราะเขาอยูก่ บั โปรเจ็กต์ นั้นมาก่อนเรา เห็นภาพมาก่อนเรา เช่นตอนที่ตัดเรื่องแฟนเดย์ ถ้าแต่ก่อน อาจจะรู้สึกว่าหนังมันบิ้วอารมณ์ไปรึเปล่า แต่พอมาทำ�จริงก็รู้สึกว่าหนังมัน มีทางของมัน ซึ่งผู้กำ�กับมีหน้าที่ทำ�ให้หนังเป็นไปในทางที่ถูกต้องแบบที่เขา คิดและให้มนั เวิรก์ ด้วย ซึง่ พีโ่ ต้ง (บรรจง ปิสญั ธนะกูล) ก็คดิ ว่ามันเป็นแนวนี้ ตั้งแต่แรกและมันก็เวิร์กสำ�หรับคนดูที่ชอบ เราเลยได้มาเข้าใจว่าหนังมันก็ เป็นหนัง ไม่ว่ามันจะเป็นแนวไหน ถ้ามันทำ�ได้ดีในทางนั้น มันก็เป็นหนังที่ ดีเรื่องหนึ่ง ยิ่งผู้กำ�กับมีภาพชัดแล้วมุ่งไปโดยที่ไม่หวั่นไหวกับอะไรทั้งสิ้น มันก็เป็นข้อดีสำ�หรับคนทำ�งานอย่างเรา แล้วอิสระในการคิดของเราอยู่ตรงไหน มันต้องเป็นฟรีในแง่ที่ว่าตรงกับไดเร็กชั่นของผู้กำ�กับด้วย เพราะถ้าฟรีแบบ ที่มันไม่ตรงกับเขาเลย เขาก็ไม่เอา มันก็ไม่ใช่ ผู้กำ�กับบางคนให้อิสระมาก บางคนให้อิสระน้อย อย่างพี่วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ (โปรดิวเซอร์ค่ายหนัง GDH) เคยพูดว่า หนังมันก็มรี สมือของคนตัด มันอาจจะเห็นหรือไม่เห็นก็ได้ แม้แต่ไดเร็กชั่นเดียวกันให้คนตัด 3 คน หนังมันก็จะไม่เหมือนกัน การเลือก ช็อต เลือกเพลง เลือกจุดทีต่ ดั มันก็จะไม่เหมือนกัน แล้วอิสระเราอยูต่ รงไหน คือถ้าเขาไม่ถงึ กับว่าจับมือเราทำ� มันก็มอี สิ ระแหละ เพราะสุดท้ายเราก็ตอ้ ง คิดไง หรือถ้าเราต้องแก้อะไรอย่างหนึง่ เราว่าผูก้ �ำ กับที่เขาเข้าใจการทำ�งาน เขาจะไม่บอกหรอกว่าให้เอา A มาต่อกับ B แต่เขาจะอธิบายให้ฟงั ว่า พีอ่ ยาก ได้มู้ดประมาณนี้ แล้วเราก็จะคิดวิธขี องเรา มันก็เป็นวิธแี ก้ปัญหาให้เขาด้วย ซึ่งมันไม่ใช่การเอาแต่ใจ และก็ไม่ใช่ว่าเราเป็นทาสเขาด้วย เพราะว่าเราอยู่ ในตำ�แหน่งทีท่ �ำ งานซัพพอร์ตเขา ถ้าหนังไม่ดคี นทีโ่ ดนด่าคนแรกคือผูก้ �ำ กับ ไม่ใช่คนตัด เราก็ตอ้ งเข้าใจเขาด้วยว่าเขาแบกอะไรไว้เยอะมาก ยิ่งเป็นหนัง สตูดิโอก็ยิ่งเยอะ
CREATIVE THAILAND I 29
หนังมันอาจจะท�ำง่ายขึ้น ใครๆ ก็ พู ด ว่ า มี ก ล้ อ งก็ ท�ำได้ แ ล้ ว แต่ จริ ง ๆ สิ่ ง ที่ ย ากเท่ า เดิ ม ก็ คื อ สิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งคิ ด คื อ มั น ไม่ มี ท างลั ด ในการคิด เพราะสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยน เลยก็ คื อ กระบวนการในกระดาษ ที่ต้องเริ่มจากไอเดีย เริ่มจากว่าเรา ชอบอะไร เราอยากท�ำอะไร ซึ่งมัน ไม่ใช่แค่เรือ่ งเทคโนโลยีกล้องแต่เป็น การเข้าถึงข้อมูลมากกว่า
อยากให้ลองเล่ากระบวนการตัดต่อหนังยาวให้ฟังหน่อย พอได้บทหนังมาเราก็จะอ่านรวดเดียวจบเพราะเราคิดว่ามันเหมือนการดูหนัง พออ่านจบแล้วเรารู้สึกยังไงกับมันเราก็จะจำ� เช่น ตอนอ่านฟรีแลนซ์ซีน งานศพ เราอ่านแล้วพีคมาก แต่ไม่รู้ว่าผู้กำ�กับจะถ่ายมายังไงเพราะเราก็ยัง ไม่เห็นฟุตเทจ เลยโทรไปคุยมู้ดกับพี่เต๋อ (นวพล ธำ�รงรัตนฤทธิ์) แล้ว กระบวนการทำ�งานมันก็จะเป็นแบบนี้ไปตลอด ซึ่งแรกๆ เราก็จะยังทำ�ไม่ ตรงหรอก ก็ต้องจูนกันไปเรื่อยๆ สำ�หรับเรา พอได้บทมา เราจะอยากคุย กับผู้กำ�กับก่อน เพราะเราเคารพความคิดของเขาว่าเขาคิดแบบไหน เขาคิด กับหนังเรื่องนี้ยังไง เพราะไม่งั้นเราจะเหมือนเอากรอบอื่นไปครอบแล้วมัน จะไม่เวิร์กทุกที หรือตอนทำ�เรื่องฉลาดเกมส์โกง ตอนอ่านบทก็รู้สึกมันและ สนุกมาก พอเราคุยกับพี่บาส (นัฐวุฒิ พูนพิริยะ) เขาก็ไม่ได้คิดว่าเป็นหนัง แอคชัน่ ขนาดนัน้ มันเป็นหนังวัยรุน่ แบบ Coming of Age (ประเภทของหนัง ที่พูดถึงการเติบโตหรือการก้าวพ้นวัยของตัวละครผ่านเหตุการณ์สำ�คัญบาง อย่างที่จะส่งผลต่ออนาคต) และจริงๆ แล้ว ซีนแอคชั่นมันมาเคลือบสิ่งนี้ เฉยๆ ซึ่งมันต้องสนุกแหละ แต่เขารู้สึกว่าไม่ได้แอคชั่นแบบใหญ่ พอเราคุย กั บผู้ กำ � กั บก็ เ หมื อ นเราได้ ส โคปแคบลง ความเป็ น ไปได้ ใ นการตัดมัน ประมาณนี้ และถ้าเกิดมันยังไม่ดีเราก็จะคิดหาทางต่อไป แล้ว Coming of Age ของอาร์ม ชลสิทธิ์ล่ะ พี่เต๋อเคยพูดกับเราว่า อาร์มไม่ต้องพิสูจน์อะไรแล้วในการตัดต่อ ก็ทำ�ได้ ทุกแนวแล้วนี่ แต่มันก็คงเหมือนเป็นคำ�ถามไปเรื่อยๆ บางคำ�ถามก็อาจจะ ยังไม่มคี �ำ ตอบให้เรา แต่วา่ มันดำ�เนินด้วยสิง่ นี้ ชีวติ มันคือการถามไปเรือ่ ยๆ เหมือนการจะทำ�หนังเรื่องหนึ่ง มันก็ต้องเกิดจากคำ�ถามไง ไม่งั้นเราจะทำ� ไปทำ�ไมถ้าทำ�แล้วได้แบบเดิม และสำ�หรับเรา มันก็มีสิ่งที่เราต้องตอบ มากกว่าถามด้วย เช่น ถ้าทำ�หนังเรือ่ งใหม่จะทำ�ได้ไหม และเราก็ไม่รจู้ นกว่า เราจะทำ�มัน เหมือนที่เราทำ�ฉลาดเกมส์โกง ก็จะถามตัวเองว่าจะทำ�ให้ไม่ เหมือนหนังแอคชั่นเรื่องอื่นได้หรือเปล่า พอมีคำ�ถาม เราก็สนุกที่จะคิด สิง่ ใหม่ ซึง่ ก็ไม่รวู้ า่ มันใหม่จริงๆ หรือเปล่าด้วยนะ แต่มนั ใหม่ส�ำ หรับเราแล้ว และเราจะตื่นเต้นมากเลยถ้าได้ตัดซีนๆ หนึ่ง แล้วเราไม่เคยเห็นแบบนี้เลย เราก็จะชอบเพลย์ดู มันตื่นเต้นมาก มันก็คงตอบอะไรเราได้บางอย่าง หรือ อย่างตัดแฟนเดย์ ที่เป็นหนังเมโลดราม่า เราและพี่โต้งผู้กำ�กับก็ไม่เคยทำ� เหมือนกัน แต่เราก็อยากทำ�เป็นครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะว่าถ้าได้ทำ�แล้ว ก็จะ โอเคเรารู้แล้วว่ามันเป็นแบบนี้ ก็หาแนวทางอื่นที่จะทำ�ต่อไปเรื่อยๆ แล้ ว ในฐานะที่ เ คยร่ ว มงานกั บ คนทำ � หนั ง มาหลายคนและ หลายแนว ตั้งแต่ผู้กำ�กับรุ่นเก๋าจนถึงรุ่นใหม่ ทั้งหนังแมสและ หนังอินดี้ด้วย เราจูนกับพวกเขาอย่างไร ตอนเราทำ�งานแรกๆ เราเด็กมากเลยนะ เคยตัดหนังสั้นโฆษณาอันแรกกับ พีเ่ อส (คมกฤษ ตรีวมิ ล) ซึง่ เราก็ชอบงานพีเ่ ขาเรือ่ งเพือ่ นสนิท ตอนทีร่ บั งาน นั้นอายุประมาณ 23 เอง แล้วพี่เอสก็เกือบ 40 แล้ว ซึ่งมันก็ต่างกันพอ สมควร ตอนแรกเราเกร็งเหมือนกัน เพราะไม่รู้ว่าจะคุยกับเขายังไงหรือจะ คุยกันรู้เรื่องหรือเปล่า แต่จริงๆ แล้ว มันเหมือนอยู่ที่การปรับตัวเข้าหากัน คือเราไม่ได้ชอบอะไรเหมือนกันหรอก แต่เราต้องยอมรับในสิ่งที่เขาชอบ
CREATIVE THAILAND I 30
เคารพในสิ่งที่เขาคิด นั่นหมายถึงว่าพี่เอสเขาก็จะคิดแบบนี้กับเราด้วย ซึ่ง การเคารพกันและกันมันเป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญมากเลย เพราะพอมันผสมกันแล้ว มันก็จะลงตัวและรู้สึกว่าเป็นการทำ�งานร่วมกันที่ดีไม่ว่างานนั้นมันจะออก มายังไง ซึ่งผู้กำ�กับที่มีประสบการณ์แล้ว เขาก็จะมีสิ่งนี้ให้เรา แล้วเราก็ไม่ ได้คดิ เลยว่าคนทีอ่ ายุมากกว่าจะเป็นคนคิดแบบเก่า เพราะเขาแค่คดิ ในแบบ ที่เขาเชื่อ ในสิ่งที่เขาโตมา ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องผิดหรือถูก อย่างคนที่อายุ เยอะสุดที่เคยทำ�งานด้วยน่าจะเป็นพี่จุ๊ก (อาทิตย์ อัสสรัตน์) แต่จริงๆ เขา วัยรุ่นมาก คือเขาไม่ได้เป็นผู้ใหญ่แล้วจบเลย แบบฉันรู้หมดแล้ว เขาไม่ใช่ แบบนั้น เพราะพอเราเสนอสิ่งที่ไม่เหมือนที่เขาคิด เขาก็เปิดรับ และเราจะ สบายใจที่ทำ�งานกับเขามาก คือเราคิดอะไรก็ได้ แล้วก็ลองทำ�ว่าเขาจะ ชอบไหม ถ้าเขาชอบก็ดี แล้วมันก็ท�ำ ให้เราคิดได้หลายทางมาก ซึง่ ถ้าผูก้ �ำ กับ ทีเ่ ขาเปิดรับมากๆ เขาก็จะถามเราว่าทำ�ไม เขาก็จะเข้าใจและลองดู เหมือน กับว่าเขาพร้อมจะลองอะไรใหม่ๆ แม้ว่าเขาจะอายุต่างจากเรามากก็ตาม ในทางกลับกัน เคยทำ�งานกับคนที่เด็กกว่าบ้างไหม แล้วรู้สึก อย่างไร เราว่าโซเชียลมีเดียมันเกี่ยวมากเลยนะ คือเขาจะมีวิธีนำ�เสนอไอเดียหรือ วิธกี ารพูดออกมาในแบบที่ไม่เหมือนกัน เราก็เคยทำ�งานกับเด็กๆ เหมือนกัน แต่ไม่ได้ทำ�ตรงๆ เช่น เราไปคุยกับเด็กที่เรียนหนังอยู่ก็รู้สึกได้ว่าเขาเข้าถึง สิง่ ต่างๆ ได้เร็วกว่าเราแล้ว เช่น กล้องทีเ่ ราเคยใช้ตอนปีสี่ แต่เขาใช้มาตัง้ แต่ มัธยม สำ�หรับเรา เขาจะเก่งเร็วกว่าในแง่เทคนิค หนังนักศึกษาจะถ่าย สวยมากเพราะว่าใช้กล้องเป็นเร็ว และสื่อสารได้เร็วด้วยมั้ง ส่วนตัวเคยมีพี่ ที่ทำ�งานด้วยคนหนึ่งพูดไว้ว่า เราไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ที่เราเกลียด เรื่องนี้ จริงมาก แล้วพอเราเริ่มอยู่กับเด็กเจนใหม่เยอะๆ เราก็พอเข้าใจพ่อแม่เรา แล้วว่า ทำ�ไมพ่อแม่เรารู้สึกอย่างนี้ มันจะไม่เข้ากัน แต่เราก็จะนึกย้อนไป ถึงว่าถ้าเราเป็นเหมือนพี่ๆ ที่เคยทำ�งานด้วยล่ะ เพราะพี่ๆ เขาก็ไม่ได้ เกลียดเรา เขาก็ฟังเรา เราก็ อ๋อ ก็ต้องใจเย็นๆ ต้องลองฟังเขาก่อนด่วน ตัดสินใจ ไม่งั้นเราก็จะกลายเป็นคนแบบนั้นที่เราไม่อยากเป็น คือพออายุ
ห่างกันประมาณ 5 - 10 ปี เราต้องถอยก้าวหนึ่งเพื่อไม่ใช่แค่คิดก่อนพูดนะ แต่ต้องคิดก่อนคิดเลย แล้วก็ค่อยๆ ฟังว่าเหตุผลของเขาคืออะไร หลายคนบอกว่าตอนนี้ใครๆ ก็ทำ�หนังได้ คิดว่าเทคโนโลยีที่ ดี ก ว่ า เดิ ม จะช่ ว ยคนรุ่ น ใหม่ ที่ อ ยากทำ � หนั ง จริ ง ไหม หรื อ จริงๆ แล้ว พอใครๆ ก็ทำ�ได้ มันเลยยิ่งยากกว่าเดิม มันทั้ง 2 อย่าง คือเทคโนโลยีมันให้ประโยชน์กับทุกคน หนังมันอาจจะทำ� ง่ายขึ้น ใครๆ ก็พูดว่ามีกล้องก็ทำ�ได้แล้ว แต่จริงๆ สิ่งที่ยากเท่าเดิมก็คือ สิ่งที่เราต้องคิด คือมันไม่มีทางลัดในการคิด เพราะสิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยก็ คือกระบวนการในกระดาษ ที่ต้องเริ่มจากไอเดีย เริ่มจากว่าเราชอบอะไร เราอยากทำ�อะไร ซึง่ มันไม่ใช่แค่เรือ่ งเทคโนโลยีกล้องแต่เป็นการเข้าถึงข้อมูล มากกว่า เช่น พอมีสื่อโซเชียลก็มีคนแชร์หนังสั้น ก็เริ่มรู้จักคนทำ� อาจจะ มีเฟซบุ๊กคนทำ�ด้วย ลองจินตนาการดู ถ้าเราดูแมรี่ (Mary is Happy, Mary is Happy) ตั้งแต่ ม.2 เราก็คงรู้สึกว่ามันเป็นหนังที่แปลกมาก ก็ลอง เข้าไปดูเฟซบุ๊กนวพล เราก็จะได้รู้จักเขาเผินๆ แต่เร็วขึ้น ซึ่งมันมีผล เพราะ ว่าเด็กก็จะรู้ตัวเร็วขึ้น เข้าใจอะไรได้เร็วขึ้นถ้าเขาคิดนะ เด็กอาจจะเริ่มค้น แล้วว่าเขาเรียนอะไรมาหรือพอจะเข้าใจว่าถ้าอยากทำ�หนังต้องทำ�ยังไง และ มันอาจจะมีการก็อปปี้ได้เร็วขึ้นด้วย ซึ่งไม่ใช่สิ่งไม่ดี คือถ้าเด็กก็อปปี้ 36 มันคงแปลกมาก น้องถ่ายหนังดีไซน์แบบซีนละ 1 ช็อตตัง้ แต่ ม.3 อะไรแบบนี้ น้องอาจจะเริม่ ไปดูหนังทีแ่ ปลกๆ มากขึน้ อาจจะเริม่ เข้าใจว่าทำ�ไมถ่ายช็อต เดียว ก็อาจจะทำ�ให้นอ้ งเป็นผูก้ �ำ กับทีด่ ใี นอนาคตก็ได้จากการเคยก็อปปี้ 36 ข้อดีคือวงการศิลปะมันอาจจะดีขึ้น แต่พอโตขึ้นน้องก็ควรจะเลิกก็อปปี้นะ และมันก็จะขึ้นกับประสบการณ์ด้วยแหละ เช่น เขาอาจจะเก่งมากในการ ดีไซน์ชอ็ ต แต่สงิ่ ทีจ่ ะพูดในหนังมันอาจจะได้มาทีหลัง แต่เราก็เชือ่ นะว่าเขา จะคิดได้เร็วกว่าเรา เพราะตอนนี้มันมีตัวอย่างเต็มไปหมด ซึ่งถ้ามันดี ก็จะ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก เหมือนตอนที่เราดูรักแห่งสยามแล้วรู้สึกว่าทำ�ไม มันกินใจจัง เขาทำ�ยังไง
CREATIVE THAILAND I 31
จริ ง ๆ คนดู ห นั ง แล้ ว ประทั บ ใจก็ น่ า จะอยากเป็ น ผู้ กำ � กั บ แล้วอาร์มอยากเป็นไหม จริงๆ เราอยาก แต่เรารู้สึกว่าในแง่ของการทำ�งาน เรายังไม่ใช่คนที่พูดแล้ว นำ�คนได้ขนาดนั้น คือยังไม่สตรองพอที่จะนำ�คน 100 คนให้มาทำ�หนัง ด้วยกัน คนบางคนอาจทำ�ได้เลย แต่เราต้องการความเข้าใจ ซึ่งพอเราอยู่ กับการตัดต่อไปก็ได้รู้เรื่องพวกนี้ไปด้วย ถ้าเราทำ�ก็อยากทำ�เองเล็กๆ เลย รู้สึกว่าตอนนี้เป็นคนตัดน่าจะเหมาะที่สุดถ้าเป็นทำ�งานหาเงินนะ แต่ว่าถ้า จะทำ�หนังเอง สักพักถ้ามีโอกาสก็คงได้ทำ� อย่างตอนทำ� W (ภาพยนตร์เรื่อง ยาวที่เป็นโปรเจ็กต์จบสมัยเรียน และสุดท้ายได้ฉายที่โรงภาพยนตร์ House RCA) ก็พอจะรูว้ า่ เราชอบแบบนี้ ถ้าทำ�เรือ่ งต่อไปเราคงต้องถามตัวเองว่าจะ พัฒนาให้มนั เป็นสิง่ ทีเ่ ป็นเรามากกว่านีไ้ ด้ไหม แต่วนั หนึง่ อาจจะเขียนหนังสือ ก็ได้นะ หรืออย่างที่เราสัมภาษณ์นี่ก็เป็นเรื่องใหม่ เราก็ไม่ค่อยให้สัมภาษณ์ เพราะเป็นคนตัดหนัง เหมือนกับว่าในประเทศไทยจริงๆ แล้วคนไม่คอ่ ยสนใจ ตำ�แหน่งรองๆ เท่าไหร่ มันเลยเป็นผลให้เด็กอยากเป็นผู้กำ�กับเยอะมาก คนไม่ค่อยสัมภาษณ์ตากล้อง คนทำ�เสียง แต่จริงๆ คนทำ�เสียงสำ�คัญมาก มันเป็นอาชีพล่องหนยิ่งกว่าคนตัดต่ออีก แต่ก่อนสมัยลงชื่อเข้าชิงรางวัลยัง เป็นชื่อบริษัทเลย เพิ่งจะเป็นชื่อคนหลังๆ นี่เอง หรือตอนเราไปบรรยาย ก็รู้ ว่าต้องฝึกอีกเพราะมันยังไม่เวิร์กเท่าไหร่ ไม่ใช่แค่การตัดหนังไง เราก็อยาก ทำ�อีกตั้งหลายอย่าง แล้วเป้าหมายตอนนี้คือ เป็นคนที่ไม่ได้ตั้งเป้าไกลมากๆ อยู่กับปัจจุบันมากกว่า ไม่ได้คิดขนาดว่า จบไปจะต้องเป็นผู้กำ�กับใหญ่ เพราะมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำ�มากกว่าสิ่งที่ เราเป็น เหมือนกับว่าเราต้องการจะทำ�อันนี้แต่ไม่จำ�เป็นต้องเป็นสิ่งนั้น คือ เราไม่ต้องเป็นผู้กำ�กับแต่เราทำ�หนังได้ไง แล้วก็ไม่ได้คิดว่าเราเป็นคนตัดต่อ ด้วยซํ้า เราคิดว่าเราเป็นฟิล์มเมกเกอร์ เพราะเราทำ�อย่างอื่นได้ด้วย แต่เรา ถนัดตัดต่อมากที่สุด เราเลยรู้สึกว่าเราไปช่วยเขาคิดมากกว่าไปทำ�ตัด อยากฝากอะไรถึงคนรุ่นใหม่ที่อยากเป็นฟิล์มเมกเกอร์บ้าง ก็คงต้องลองมัง้ เราก็ไม่รวู้ า่ เราอาจจะฟลุก๊ ก็ได้เพราะบังเอิญว่าพีเ่ ราทำ�วิดโี อ พอดี มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาโตมากับอะไร และมันก็ขึ้นอยู่กับงานที่คนรุ่นเรา ทำ�เหมือนกันที่ส่งผลกับเขา ซึ่งมันก็เป็นความรับผิดชอบอย่างหนึ่งเหมือน กันนะ คือเราก็ตอ้ งทำ�งานให้ดี เหมือนทีเ่ ราดูหนังพีม่ ะเดีย่ วแล้วเรามีก�ำ ลังใจ จะเรียนฟิลม์ นัน่ แหละ และถ้าวันหนึง่ มีเด็กมาดูหนังทีเ่ ราตัดต่อแล้วเขาอาจ จะอยากทำ�ตัดต่อขึ้นมาบ้าง เราก็จะดีใจนะ เพราะเขาอาจจะอยากโฟกัส ตำ�แหน่งต่างๆ เยอะขึน้ กว่าผูก้ �ำ กับ มันก็จะเป็นเรือ่ งทีด่ ี เพราะจะทำ�ให้หนัง ดีขึ้นไปเรื่อยๆ
• เมื่อลองถามว่าเซนส์ในการตัดต่อหนังที่ดีเป็นอย่างไร อาร์ม อธิบายให้ฟงั ว่า มันคือความเป็นเหตุและผลทีต่ อ้ งอาศัยประสบการณ์ เพื่อเข้าใจหนัง และอีกอย่างคือ “บังเอิญว่าเราดูหนังได้หลายแบบ เราไม่ได้เกลียดหนัง เรารู้สึกว่าเราเข้าใจในสิ่งที่คนทำ�หนังต้องการ จะทำ� ถึงมันอาจจะไม่ตรงกับรสนิยมเรา แต่เราดูได้ คือทำ�อะไรก็ได้ แค่อย่าชุ่ยพอ” • แล้วหนังที่ตรงรสนิยมของอาร์ม ชลสิทธิ์ คือ “เราชอบหนังที่ เล่าเรื่องคนเป็นพิเศษ ยิ่งเป็นหนังที่เรียบยิ่งชอบ ล่าสุดที่ชอบคือ Happy Hour หนังญี่ปุ่นยาว 5 ชั่วโมง และเรื่อง Court ของอินเดีย ที่เล่าเรื่องศาล” • อีกสังคมทีเ่ ขามีคอื สังคมการเล่นเกม โดยเกมทีช่ อบเล่นมาตัง้ แต่ เด็ก คือเกมประเภท Rhythm Game หรือเกมที่ต้องกดให้ตรงจังหวะ และอาร์มคิดว่า “คนที่เดินทางสายเกม ลำ�บากกว่าคนที่เดินทาง สายหนัง” เพราะการทํางานสายเกมในประเทศไทยยังเป็นเรื่องที่ เข้าใจยากสําหรับคนส่วนใหญ่ • “พี่ครับ ผมยังไม่ได้นอน” เคยเป็นสโลแกนประจำ�ตัวของอาร์ม ทีเ่ ต๋อ (นวพล ธำ�รงรัตนฤทธิ)์ ตัง้ ให้เหตุจากสมัยก่อนเขาเป็นฟรีแลนซ์ ที่รับงานเยอะเกินไป แต่ตอนนี้อาร์มบอกกับเราว่า “พอโตขึ้นก็คิด ง่ายๆ ว่าให้ทำ�งานทีละ 1 งาน เพราะทำ�หลายๆ งานในทีเดียว ประสิทธิภาพจะลดลง งานมันก็อาจจะดีบา้ งไม่ดบี า้ ง เพราะงัน้ ถ้ารับ งานเดียวแล้วเวิร์กหมด แถมได้นอนด้วย จะดีกว่า”
CREATIVE THAILAND I 32
CREATIVE THAILAND I 33
Creative Will : คิด ทํา ดี
เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี
“ทำ�ไมเพื่อน like รูปน้อย” “ทำ�ไม read แต่ไม่ตอบ” “ทำ�ไม ออนไลน์อยูแ่ ต่ไม่ทกั chat” “ทำ�ไมเวลาเจอหน้ากันไม่เห็นคุย ดีเหมือนใน chat” “ทำ�ไมชีวิตดีจัง ไปเที่ยว ปาร์ตี้ อัพไอจี ตลอด” เชือ่ หรือไม่วา่ การเสพสือ่ ออนไลน์สามารถสร้างสารพัดความรูส้ กึ แสนอ่อนไหว ที่ส่งผลต่อสภาวะจิตใจได้อย่างเหลือเชื่อ รายงานของ Royal Society for Public Health (RSPH) สหราชอาณาจักร เผยถึงผลสำ�รวจล่าสุดว่า วัยรุ่น อายุ 14-24 ปีรสู้ กึ หดหู่ กระวนกระวาย และโดดเดีย่ วจากการใช้สอื่ ออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นอินสตาแกรม สแนปแชต เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และยูทูบ ในยุคทีค่ นบริโภคสือ่ ออนไลน์ทกุ วินาทีและสิง่ ทีต่ ามมาคืออารมณ์ออ่ นไหว ทีม่ ผี ลต่อสภาวะจิตใจ ทีป่ รึกษาทีเ่ ป็นทีต่ อ้ งการตัวในเวลานีจ้ งึ เป็นคนทีพ่ ร้อม เปิดใจรับฟังเรื่องราวต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้คนข้ามผ่านอารมณ์ที่ไม่แน่นอน เหล่านี้เพื่อไปพบกับวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับตนเอง ดังจะเห็นได้จาก โครงการต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่มุ่งให้ความช่วยเหลือโดยการ “ฟังด้วยใจ” เพื่อช่วยกอบกู้สภาวะจิตใจของผู้คนให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม
ในปี 2015 กวิน เจิดจรรยาพงศ์ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อุดมพล ทิวากรกฎ นักศึกษาคณะเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้ง มุมมอง เพจที่นิยามตัวเองว่าเป็น “เพื่อนซี้ที่เข้าใจในโลกออนไลน์” เพื่อเป็นพื้นที่สำ�หรับรับฟังเรื่องราวต่างๆ และให้กำ�ลังใจผ่านบทความที่นำ�เสนอมุมมองแง่บวก โดยมีเงื่อนไขสำ�คัญ คือ การร่วมแบ่งปันข้อมูลในเพจนี้จะไร้ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ว่าอะไรคือถูก หรือผิด แต่มุ่งแลกเปลี่ยนมุมมองเพื่อให้ผู้ใช้หาวิธีจัดการกับปัญหาได้ด้วย ตัวเอง มุมมองได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำ�งานเป็นอย่างดี จนในปั จ จุ บั น มี ค นติ ด ตามเพจกว่ า 56,000 คน รวมทั้ ง เปิ ด เว็ บ ไซต์ moom-mong.com เพื่อขยายพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองให้กว้างขึ้น อีกหนึง่ โครงการโดยคนรุน่ ใหม่เพือ่ คนรุน่ ใหม่ทนี่ า่ สนใจไม่แพ้กนั แม้วา่ จะหยุดให้บริการในขณะนี้ชั่วคราว คือ We Listen พิมพ์ชนก วิทยวีระศักดิ์ และ กฤษฎา ปิยปริญญากิจ นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มต้นโครงการนี้ครั้งแรกในปี 2014 จาก welistenth เพจที่เปิดพื้นที่ให้คนที่มีเรื่องในใจได้พบกับอาสาสมัครที่พร้อม รับฟัง อาสาสมัครของ We Listen จะได้รับการฝึกอบรมทักษะการฟังเชิงรุก (Active Listening) เพือ่ ให้สามารถรับฟังโดยไม่ใช้ประสบการณ์ของตนตัดสิน เรื่องราวต่างๆ ว่าผิดหรือถูก แต่มุ่งเปิดใจฟัง คิดตามจนเข้าใจความรู้สึก และช่วยผ่อนคลายความเครียดของผู้พูด โครงการ We Listen ได้รับการ ตอบรับเป็นอย่างดี โดยมีกลุม่ นักเรียนเข้ามาเล่าถึงปัญหาผ่านพืน้ ทีอ่ อนไลน์ นี้กว่า 700 คน ปลายเดือนมิถุนายน 2016 เกล็น โมริอาร์ตีย์ (Glen Moriarty) นักจิตวิทยาคลินิก เปิดตัวโครงการ 7 Cups of Tea เพื่อสร้างทางเลือกให้ กับผู้ที่ต้องการคำ�ปรึกษาทางด้านจิตใจแต่ไม่ต้องการพบจิตแพทย์ 7 Cups of Tea คือ พื้นที่ออนไลน์ที่ผู้ใช้บริการสามารถเล่าถึงปัญหาของตนให้กับ ผู้ฟังผ่านทางแอพแชท และถ้าสบายใจที่จะพูดคุยกับผู้ฟังแล้ว ก็สามารถ เปลี่ยนเป็นการสนทนาทางเสียงได้ 7 Cups of Tea เปิดรับผู้ฟังจาก หลากหลายองค์กรในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็น National Alliance On Mental Illness (NAMI) Active Minds รวมถึงนักเรียนปริญญาโทด้านจิตวิทยา เพื่อ เป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการได้คุยกับผู้ฟังที่มีภูมิหลังคล้ายกัน โครงการ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเปิดรับสายให้บริการกว่า 1,000 สายต่อ สัปดาห์ มีผรู้ บั ฟังกว่า 100 คน และได้รบั เงินทุนสนับสนุนเพือ่ พัฒนาโครงการ จาก Y Combinator ผูส้ นับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ แห่งหนึง่ ของโลก ในขณะที่สังคมออนไลน์กำ�ลังเปิดพื้นที่รับฟังเรื่องราวจากคนที่ไม่เคย เห็นหน้ากันมาก่อน เราเองพร้อมเปิดใจรับฟังเรื่องราวจากอารมณ์อ่อนไหว ของคนในครอบครัวและเพือ่ นสนิทแล้วหรือยัง เพราะคงไม่มโี ครงการไหนที่ จะรักษาสภาวะจิตใจได้ดีเท่ากับความเห็นอกเห็นใจจากคนใกล้ตัว ที่มา: บทความ “โครงการ ‘มุมมอง’ ตอบโจทย์สุขภาพจิตวัยใส” จาก innnews.co.th / บทความ “ชวนระบายความเครียดที่ ‘We Listen’ โครงการเด่นเข้ารอบสอง iCARE Awards 2016” จาก matichonweekly.com / บทความ “Active Listening การฟังเชิงรุก” จาก schoolofchangemakers.com / บทความ “Instagram ‘Worst for Young Mental Health’ ” จาก bbc.com / บทความ “We Listen” จาก schoolofchangemakers.com / บทความ “Y Combinator Startup 7 Cups of Tea Connects People in Need of Emotional Support with Trained Listeners” โดย Catherine Shu จาก techcrunch.com
CREATIVE THAILAND I 34