Creative Thailand Magazine

Page 1

สิงหาคม 2560 ปีที่ 8 I ฉบับที่ 11 แจกฟรี

Local Wisdom งานวัด

Creative City Gainesville, Florida

The Creative วิชัย พูลวรลักษณ์



“MAKE SIMPLE THINGS SIMPLE, AND COMPLEX THINGS POSSIBLE.” “ทำ�สิ่งที่ง่ายให้ง่าย ทำ�สิ่งที่ยากให้เป็นไปได้”

de.blomus.com

Alan Kay นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ UX และ UI


Contents : สารบัญ

The Subject

6

Eatsa ร้านอาหารของอนาคต / Fitting Room Mirror สะท้อนทุกสิ่งที่ต้องการ / Writer of Experience เขียนจากประสบการณ์ / Mayday ป้ายไหนก็ไม่หลง

Creative Resource 8 Journal / Books / Documentary

MDIC 10 Shoe Intelligence

Local Wisdom

12

Cover Story

14

งานวัด จัดให้ หลากสีสันความบันเทิงท้องถิ่น

UX กันไปทำ�ไม ทำ�แล้วได้อะไร

Insight 20 UX ไม่ใช่แค่ลูกค้า แต่พนักงานก็ต้องการ

Creative Startup 22 Fred & Francis “สูท” สําเร็จการบริการ

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Gainesville, Florida How to Make Citizen-Centered City

วิชัย พูลวรลักษณ์ ประสบการณ์แบบ UX และความสำ�เร็จที่ไปด้วยกัน

Beacon Interface เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมเี ดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ นักศึกษาฝึกงาน l พันทนี เพ็งสกุล, ชาคร ชะม้าย จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


Ex per ience Mat ters! ข่าวใหญ่ทสี่ ดุ ข่าวหนึง่ ในแวดวงธุรกิจและการตลาดเมือ่ ช่วงสองเดือนทีผ่ า่ นมา คือการที่บริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่อย่างแอมะซอน (Amazon) ประกาศซื้อ กิจการซูเปอร์มาร์เก็ตโฮล์ฟู้ดส์ (Whole Foods) ของสหรัฐอเมริกาที่มีสาขาอยู่ เกือบ 500 สาขาทั่วประเทศ ด้วยมูลค่าสูงถึง 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไม่วา่ การซือ้ กิจการในครัง้ นี้ จะเป็นการเดินหน้าแก้จดุ อ่อนของแอมะซอน ที่ไม่มีหน้าร้านให้ลูกค้าจับต้องสินค้า หรือเป็นจุดรับ-คืนของจากการสั่งซื้อ ออนไลน์ได้เหมือนคู่แข่งสำ�คัญอย่างวอลมาร์ท (Walmart) หรือเป็นการเพิ่ม ศักยภาพในการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคให้เร็วขึ้นกว่าเดิมได้จากหน้าร้านของ โฮล์ฟดู้ ส์ แทนโกดังสินค้านอกเมืองของแอมะซอนเอง หรือแม้แต่อาจเป็นความ พยายามในการแก้เกมธุรกิจขายสินค้าจำ�พวกเนือ้ สัตว์และผักผลไม้ทมี่ มี าเกือบ ทศวรรษของแอมะซอน แต่ไม่ประสบความสำ�เร็จนักก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจ ปฏิเสธได้และน่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ ต่อจากนี้ แอมะซอนจะสามารถเข้าถึง ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้ หรือที่ เรียกว่า User Experience (UX) ได้โดยตรง ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นก้าวสำ�คัญของ แอมะซอนที่ทั้งฉลาดและคุ้มค่า เพราะโฮล์ฟู้ดส์นั้นขึ้นชื่อในเรื่องของการสร้าง นวัตกรรมที่เกิดจากพฤติกรรมที่แท้จริงของลูกค้า และคำ�นึงถึงประสบการณ์ ดีๆ ที่ลูกค้าจะได้รับกลับไป ผ่านการทดลองและเรียนรู้ของพนักงานอย่าง สมํ่าเสมอ ดังจะเห็นได้จากการจัดวางสินค้าให้สวยงามดึงดูด พร้อมมอบ ประสบการณ์ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่ยังคงยึดความต้องการของลูกค้า และความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าเป็นหัวใจสำ�คัญ ประสบการณ์แบบที่ ลูกค้าโฮล์ฟู้ดส์ได้รับ อันเป็นผลมาจากความเข้าใจใน UX จึงเป็นต้นแบบให้กับ ซูเปอร์มาร์เก็ตในอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย

postandcourier.com

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

กรณีของแอมะซอนและโฮล์ฟู้ดส์ นับเป็นตัวอย่างหนึ่งที่บอกกับเราว่า แท้จริงแล้ว UX ไม่ได้จ�ำ กัดอยูแ่ ค่ในอุตสาหกรรมเทคสตาร์ทอัพแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยงั สามารถถูกนำ�ไปใช้และเป็นประโยชน์ในวงกว้างขึน้ ได้ ตัง้ แต่ระดับบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ทำ�งานในแวดวงการออกแบบและสร้างสรรค์ ซึ่งการ ทำ�ความเข้าใจผู้ใช้คือกระบวนการสำ�คัญในการผลิตงาน ไปจนถึงระดับธุรกิจ และองค์กร ที่สามารถนำ� UX ไปปรับใช้กับการสร้างวัฒนธรรมขององค์กร (Corporate Culture) ดังเช่นที่บริษัทชั้นนำ�หลายต่อหลายแห่งในปัจจุบัน เช่น กูเกิลและแอร์บีเอ็นบี ต่างสร้างพื้นที่ทำ�งานอย่างสร้างสรรค์ (Creative Workspace) ภายในบริษัท แทนที่ห้องสี่เหลี่ยมสำ�หรับประชุมและโต๊ะเล็กๆ สำ�หรับนัง่ ทำ�งาน ทัง้ นี้ ก็เพือ่ สร้างบรรยากาศทีเ่ อือ้ ต่อการสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่ให้ กับพนักงานในองค์กร ซึ่งถือเป็นผู้ใช้ที่สำ�คัญในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน แน่นอนว่าการที่แอมะซอนกระโดดลงมาเล่นในธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต อย่างเต็มตัว อาจกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำ�คัญในพฤติกรรมการ จับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ไปจนถึงเกิดคำ�ถามต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ แรงงานคน ว่าจะถูกแทนทีด่ ว้ ยระบบคอมพิวเตอร์อจั ฉริยะหรือไม่ แต่ทนี่ า่ จับตา ยิ่งกว่า กลับเป็นการที่แอมะซอนจะสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้าน UX เพื่อแก้ปัญหา สร้างนวัตกรรม หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดได้บ้าง ในอนาคต เพราะนั่นอาจเป็นหัวใจสำ�คัญที่สุดของการลงทุนครั้งยิ่งใหญ่นี้ เพื่อ ผลตอบแทนที่มีค่าและยั่งยืนของแอมะซอนเอง

CREATIVE THAILAND I 5

กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ


The Subject : ลงมือคิด

Eatsa ร้านอาหารของอนาคต เรื่อง: พันทนี เพ็งสกุล

การเข้าร้านฟาสต์ฟู้ดที่สะดวก อร่อย และราคาถูก ให้หันมาเลือกความ สะดวก อร่อย ได้สุขภาพอย่างยั่งยืน ในราคาเท่าๆ กันได้อย่างดี

ท่ามกลางวัฒนธรรมนิยมการบริโภคเนื้อสัตว์ในสหรัฐอเมริกา ร้านมังสวิรัติ อย่าง Eatsa กลับสามารถดึงดูดลูกค้าทัง้ ผูท้ ชี่ นื่ ชอบการทานเนือ้ สัตว์และคน ที่กินมังสวิรัติได้ด้วยการออกแบบประสบการณ์ในการรับประทานอาหารที่ แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร เพียงก้าวเข้ามาใน Eatsa ที่มีมากถึง 7 สาขาใน 3 รัฐแล้ว ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก และวอชิงตัน ดีซี ลูกค้าก็สามารถเพลิดเพลินไปกับ การสั่งอาหารผ่านไอแพด โดยเมนูส่วนใหญ่ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นควินัว ได้รบั การออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์การอาหาร เพือ่ รับประกันความอร่อย และคุณประโยชน์ทางโภชนาการของทุกจาน โดยลูกค้ายังเลือกหรือปรับ เปลีย่ นวัตถุดบิ ในจานได้ตามต้องการ ก่อนชำ�ระเงินผ่านบัตรเครดิต ซึง่ ข้อมูล ทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้เพื่อแนะนำ�เมนูใหม่ในการมาอุดหนุนครั้งต่อไป นอกจากนี้ หากลูกค้าไม่อยากรอคิวนาน ก็สามารถโหลดแอพพลิเคชั่นสั่ง อาหารล่วงหน้า เมื่ออาหารเสร็จเรียบร้อย ชื่อของลูกค้าจะปรากฏที่ตู้จอ แอลอีดเี พือ่ ให้มารับอาหารทีบ่ รรจุในบรรจุภณั ฑ์ยอ่ ยสลายได้ ซึง่ กระบวนการ ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเร็วที่สุดเพียง 90 วินาทีเท่านั้น ความเก๋ไก๋เหล่านีไ้ ม่ได้มไี ว้เพือ่ เรียกลูกค้าอย่างเดียว ทว่ายังตอบโจทย์ ลูกค้ายุคใหม่ที่ต้องการความรวดเร็ว คุณค่าทางอาหาร และราคาที่ย่อมเยา เพราะการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยและการกำ�จัดพืน้ ทีน่ งั่ รับประทานภายในร้าน นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการเช่าพื้นที่ ยังทำ�ให้การรับส่งอาหารถึง ลูกค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องมีพนักงานเสิร์ฟ ราคาเฉลี่ยของอาหาร ที่นี่จึงตกอยู่ประมาณ 7 เหรียญสหรัฐฯ (ราวๆ 235 บาท) ซึ่งตํ่ากว่าราคา อาหารทั่วไปในเมืองใหญ่ของสหรัฐอเมริกา แม้จะไม่ได้ประกาศตนเป็นบริษัทที่มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเป็น ทางการ แต่ Eatsa ก็เอาใจลูกค้าได้หลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มรักษ์โลก กลุ่มชอบเทคโนโลยี ผู้ที่ต้องการความรวดเร็ว ผู้ที่รักษาสุขภาพ ไปจนถึง ลูกค้าที่ต้องการประหยัดเงินในกระเป๋า ซึ่งตอบโจทย์ผู้ที่ต้องเลือกระหว่าง

Fitting Room Mirror สะท้อนทุกสิ่งที่ต้องการ เรื่อง: ชาคร ชะม้าย

wwd.comcom

sfchronicle.com

ที่มา: บทความ “Quinoa Is the New Big Mac” โดย Amanda Little จาก newyorker.com / บทความ “I tried the buzzy San Francisco restaurant where ‘robots’ serve you quinoa” โดย Melia Robinson จาก businessinsider.com / บทความ “Why This Robot Restaurant Should Terrify You” โดย Eve Turow Paul จาก forbes.com / บทความ “UX + Automation -  My Experience with Eatsa” โดย Lance Cassidy จาก medium.com

การเลือกซื้อเสื้อผ้าถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่การสร้างประสบการณ์ภายในร้าน เป็นสิง่ สำ�คัญทีไ่ ม่อาจมองข้าม เพราะเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับรูปลักษณ์ซงึ่ ละเอียด อ่อนไม่น้อย การเลือกซื้อเสื้อผ้าจึงมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกหาแบบ ตามสไตล์ทชี่ อบและไซส์ทใี่ ช่ ไปจนถึงการทดลองสวมใส่วา่ เหมาะกับตัวเอง จริงหรือเปล่า Oak Labs Inc. กลุ่มสตาร์ทอัพธุรกิจห้องลองเสื้อแบบอินเทอร์แอคทีฟ ในสหรัฐอเมริกา จึงได้สร้างสรรค์นวัตกรรมทีเ่ รียกว่า “Fitting Room Mirror” เพื่อสร้างประสบการณ์การเลือกซื้อและลองเสื้อผ้าแนวใหม่ โดยเชื่อมต่อ กระจกในห้องลองผ่านเทคโนโลยี RFID และหน้าจอแบบทัชสกรีน ทีเ่ ชือ่ มต่อ กับข้อมูลทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับช้อปปิง้ เพือ่ ให้ลกู ค้าจัดการทุกอย่างได้ผา่ นกระจก ในห้องลองด้วยตัวเอง เช่น การปรับแสงภายในห้องเพื่อให้เห็นภาพตัวเอง ในหลากหลายสภาพแสง หรือการเลือกแบบเสือ้ ผ้าทีต่ อ้ งการ ทัง้ ขนาด สีสนั รูปทรง และสไตล์ โดยที่ไม่ต้องออกมาเลือกใหม่ข้างนอก เนื่องจากระบบ จะส่งข้อมูลสินค้าที่ลูกค้ากดเลือกผ่านหน้าจอทัชสกรีนไปยังพนักงานขาย เพื่อให้จัดเสื้อผ้ามาส่งให้ลองถึงหน้าห้อง และเมื่อได้สินค้าที่ถูกใจแล้ว ก็ยัง

CREATIVE THAILAND I 6


สามารถสัง่ ซือ้ เสือ้ ผ้าผ่านจอทัชสกรีน เพือ่ ให้พนักงานนำ�สินค้าทัง้ หมดมาส่ง ให้ถึงหน้าฟิตติ้งรูมได้ทันที ประสบการณ์ที่เปลี่ยนไปของการเลือกซื้อเสื้อผ้าที่สามารถทำ�ทุกอย่าง ได้ภายในห้องลองเสือ้ ซึง่ มีทง้ั ความเป็นส่วนตัว สะดวกสบาย และไม่เสียเวลา นอกจากจะช่วยให้ลกู ค้าได้รบั ประสบการณ์ทนี่ า่ ประทับใจแล้ว ก็ยงั ช่วยเพิม่ โอกาสในการขายสำ�หรับผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกได้เป็นอย่างดี

ชัดเจน และเป็นประโยชน์ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับผู้ใช้ ให้มากที่สุด เช่นเดียวกับวิธีการสื่อสารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ที่การ เลือกใช้ถ้อยคำ�ที่ดี มักเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารที่ดีด้วยนั่นเอง

ที่มา: บทความ “Ralph Lauren, Oak Labs Debut Interactive Fitting Rooms” จาก wwd.com / บทความ “Smart Mirrors Might Be The Future of In- store Customer Analytics” จาก fastcompany.com

Mayday ป้ายไหนก็ไม่หลง

Writer of Experience เขียนจากประสบการณ์

ที่มา: บทความ “UX Writer ตำ�แหน่งใหม่ที่สำ�คัญไม่แพ้ UX/UI” จาก blog.uxacademy.in.th / บทความ “What is UX a writer ?” จาก blog.prototypr.io

เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์

เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์

ในปัจจุบนั มนุษย์ตา่ งใช้เทคโนโลยีเพื่ออำ�นวยความสะดวกในด้านต่างๆ มากขึน้ โดยเฉพาะด้านการสื่อสารและการใช้บริการแทบทุกรูปแบบ ทำ�ให้ข้อความ หรือการแสดงผลโต้ตอบ (Interface) กับผู้ใช้งานมีความสำ�คัญตามไปด้วย เนือ่ งจากเป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยสือ่ สารและสร้างปฏิสมั พันธ์เพือ่ นำ�พาผูใ้ ช้ไปสูเ่ ป้าหมาย ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น เมื่อเราใส่รหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบการให้ บริการต่างๆ ไม่ถกู ต้อง อาจมีขอ้ ความขึน้ เตือนว่า “Failure” หรือ “Sign in Error” ซึ่งอาจยังดูกำ�กวมและอธิบายต่อผู้ใช้งานได้ไม่ชัดเจนนัก แต่หาก เปลี่ยนคำ�ที่ใช้มาเป็น “Wrong Password” ผู้ใช้ก็จะสามารถเข้าใจได้ทันที ว่ารหัสที่กรอกไปไม่ถูกต้อง เป็นต้น จะเห็นได้ว่า การออกแบบและเลือกใช้ถ้อยคำ�เพื่อให้เกิดข้อความที่ สนับสนุนการสร้างประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ อย่างราบรื่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพนั้น มีความสำ�คัญอย่างยิ่งในยุคที่ เทคโนโลยีดิจิทัลกำ�ลังมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ และผู้ที่ทำ� หน้าที่สร้างสรรค์ข้อความเหล่านี้จึงต้องเป็นนักสื่อสารที่มีความเข้าใจและ ใส่ใจในประสบการณ์ของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง ในปี 2016 ที่ผ่านมา กูเกิล องค์กรยักษ์ใหญ่ที่ตระหนักถึงความสำ�คัญ ของบทบาทและหน้าที่ของผู้สร้างสรรค์ถ้อยคำ�เหล่านี้ ได้เปิดรับสมัคร ตำ�แหน่งงานเฉพาะด้านดังกล่าว โดยเรียกว่า “UX Writer” หรือผู้ทำ�หน้าที่ สร้ า งสรรค์ แ ละควบคุ ม องค์ ป ระกอบในการสนทนาระหว่ า งที่ ร ะบบมี ปฏิสมั พันธ์กบั ผูใ้ ช้งาน เพือ่ ทำ�งานควบคูไ่ ปกับนักออกแบบประสบการณ์ของ ผู้ใช้งาน (UX Designer) เพราะแม้จะเป็นข้อความเดียวกัน แต่เมือ่ ผูใ้ ช้มหี ลากหลายและแตกต่าง ทั้งด้านการใช้ภาษาและวัฒนธรรม ก็อาจทำ�ให้พื้นฐานการตีความข้อความ ต่างๆ นั้นไม่เหมือนกัน จนเกิดการรับรู้หรือมีประสบการณ์ที่แตกต่างไป นี่ จึงเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่บริษัทผู้ดำ�เนินการด้านระบบให้บริการต่างๆ ต้องออกแบบและเลือกใช้ถ้อยคำ�ที่เป็นมิตรต่อการใช้งาน มีความกระชับ

Mayday คือกลุ่มคนที่รวมตัวกันจากความสนใจอยากจะแก้ปัญหาระบบ ขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ด้วยการนำ�ข้อมูลและความคิดสร้างสรรค์มาสร้าง การเปลีย่ นแปลง เพือ่ ให้เป็นประโยชน์แก่ผใู้ ช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ สะดวก หรือเป็นแนวคิดตั้งต้นให้แก่ภาครัฐนำ�ไปปรับใช้ต่อไป จากจุดเริม่ ต้นในการคิดค้นรูปแบบการแสดงข้อมูลการเดินรถแบบใหม่ ที่สะดวกและเข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิม ด้วยการประยุกต์ป้ายเดิมที่มีอยู่ให้มี รายละเอียดที่จำ�เป็นมากขึ้น เช่น ป้ายนั้นมีชื่อเรียกว่าอะไร มีรถโดยสาร หมายเลขไหนผ่านป้ายบ้าง และแต่ละคันจะพาไปทีไ่ หน มาจนถึงการกำ�หนด สัญลักษณ์และจุดสีใช้บอกประเภทของรถเมล์ เช่น จุดสีนํ้าเงินคือรถ ปรับอากาศ หรือรูปพระจันทร์คือรถที่ให้บริการตลอดคืน เป็นต้น Mayday ยังได้ยกระดับบริการขนส่งมวลชนให้มาอยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้ เข้ากับยุคสมัยและกลุ่มผู้โดยสารรุ่นใหม่ ด้วยการเปิดเพจเฟซบุ๊กที่ให้ข้อมูล เกี่ยวกับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบต่างๆ ผ่านภาพหรือ อินโฟกราฟิกทีเ่ ป็นประโยชน์ รวมถึงเป็นสือ่ กลางให้เกิดการแลกเปลีย่ นข้อมูล ระหว่างผูใ้ ช้บริการหรือคนทัว่ ไปได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือแจ้งปัญหา ที่ต้องการร่วมกันแก้ไขอีกด้วย Mayday จึงถือเป็นตัวอย่างและจุดเริ่มต้นของการนำ�เอาความคิด สร้างสรรค์ มาการออกแบบร่วมกับวัตถุดบิ ทีม่ อี ยูแ่ ล้วเพือ่ ให้เกิดการใช้งานทีม่ ี ประสิทธิภาพ และอยูบ่ นพืน้ ฐานประสบการณ์รว่ มของผูใ้ ช้งานได้อย่างแท้จริง

ที่มา: mayday.city

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา

JOU RNA L Boom! Wow. Wow! WOW! BOOOOM!!!: James Bond, Miss Marple and Dramatic Arcs in Services วารสาร Touchpoint Vol.4 No.2 Autumn 2012 โดย Markus Hormeß และ Adam Lawrence เชือ่ ว่าทุกคนน่าจะเคยชมภาพยนตร์อย่างเจมส์ บอนด์ ทีท่ นั ทีทเี่ ริม่ ต้นดำ�เนิน เรื่อง เราจะพบกับการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ระทึกใจไปกับเหตุการณ์ที่ไม่ คาดฝัน ชวนให้สงสัยว่าเรื่องทั้งหมดมีที่มาจากที่ไหน ดึงดูดความสนใจ เป็นอย่างมาก หลังจากนั้นเรื่องก็จะเริ่มคลี่คลาย แต่ยังคงมีจังหวะตื่นเต้น มาเป็นระยะๆ แล้วจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่บีบคั้นหัวใจสุดๆ ตอน ท้ายเรื่อง ก่อนที่ทุกอย่างจะจบลงด้วยดี แต่ยังคงทิ้งปมเล็กๆ ไว้ชวนให้เรา ติดตามต่อไป หากลองพิจารณาจากเส้นเรื่องที่เล่ามานี้ แล้วพล็อตความรู้สึกลงเป็น กราฟ อาจเรียกการสร้างประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ว่า “บูม ว้าว ว้าว ว้าว บูมมม!” หรือ Dramatic Arcs (ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องคือ The Arc of Suspense) อันเป็นทฤษฎีในการเล่าเรื่องให้น่าสนใจที่มีมาตั้งแต่ ยุคกรีกโบราณ ซึ่งมาร์คัส ฮอร์ม (Markus Hormeß) และอดัม ลอว์เรนซ์

(Adam Lawrence) สองผู้เชี่ยวชาญแห่งบริษัทที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม บริการอย่าง WorkPlayExperience ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดนี้สามารถนำ�มา ประยุกต์ใช้กบั การออกแบบบริการได้เป็นอย่างดี โดยจะสามารถสร้างความ พึงพอใจและประสบการณ์อันดีให้กับลูกค้าตลอดการใช้บริการ การประยุกต์ใช้เทคนิคนี้ในการออกแบบบริการนั้น เป็นการมอบ ประสบการณ์โดยรวมตลอดเส้นทางการเดินทางของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ (Customer Journey) ว่าในแต่ละจุดปะทะหรือ Touchpoint นั้น สร้าง ความรู้สึกและสร้างคุณค่าต่อลูกค้ามากน้อยเพียงใด แน่นอนว่าทั้งหมด จำ�เป็นต้องถูกออกแบบ ทัง้ ลำ�ดับทีพ่ บเจอ การเกิดขึน้ ของสิง่ ต่างๆ ในจังหวะ เวลาที่เหมาะสม โดยสิ่งเหล่านี้ล้วนสามารถทำ�ให้เกิดความผูกพันได้ทั้งสิ้น และจากประสบการณ์ของมาร์คัสและอดัม ทั้งคู่แนะนำ�ว่าการกระหนํ่าใส่ ความรู้สึกแบบ บูม บูม บู​ูม เข้าไปตลอดเส้นทางนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุแล้ว เมื่อถึงจุดหนึ่ง ลูกค้าจะไม่รู้สึก ยินดีกับสิ่งที่เจออีกต่อไป แต่การเข้าใจจังหวะที่เหมาะสมในการสร้างความ ประทับใจจะสร้างประสบการณ์ทดี่ ไี ด้มากกว่า ยิง่ หากต้องการให้เกิดการใช้ ซํา้ ในอนาคต ก็ยงิ่ ต้องคำ�นึงถึงความรูส้ กึ ช่วงท้ายและภายหลังการใช้บริการ เป็นพิเศษ

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK Don’t Make Me Think Revisited โดย Steve Krug เราอยูใ่ นยุคทีต่ วั เลือกของผูใ้ ช้งานมีมากและหลากหลาย โดยเฉพาะเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชัน่ ทีส่ ามารถ ถูกแทนที่ได้ตลอดเวลา เพราะนักออกแบบหลายคนมองไม่เห็นถึงความต้องการหรือวิธีการใช้งาน ที่แท้จริงของผู้ใช้ได้ ทำ�ให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง Don’t Make Me Think Revisited เป็นต้น แบบหนังสือของการออกแบบโดยใช้ UX ซึ่งจะช่วยอธิบายถึงแก่นการออกแบบที่ไม่ต้องให้ผู้ใช้ต้อง คิดเยอะและคิดซับซ้อน แต่เป้าหมายคือการช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจระบบการทำ�งานได้ภายในระยะเวลา อันสั้น ด้วยการใช้เทคนิคการออกแบบให้เว็บไซต์มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และสื่อความหมายได้ด้วย ตัวเองมากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้

The Design of Everyday Things โดย Don Norman ศิลปะช่วยกระตุ้นให้คนคิด แต่การออกแบบช่วยให้เราแก้ปัญหา แต่เบื้องหลังของการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ ล้วนมีความซับซ้อนและผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน เพื่อหาทางออกของปัญหาการใช้งาน The Design of Everyday Things เป็นคู่มือการออกแบบที่เน้นการอธิบาย โดยใช้หลักการสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับวัตถุ แสดงกรณี ตัวอย่างทั้งดีและแย่ รวมถึงการใช้จิตวิทยาในการออกแบบ เพื่อทำ�ให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าต้องทำ�อะไรด้วยตัวเอง ซึ่งสิ่งสำ�คัญก็คือ การคำ�นึงถึงความต้องการของผู้ใช้งาน เพราะการออกแบบตั้งแต่ส่ิงของทั่วไปจนถึงบริการ ต่างๆ ล้วนอิงมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น

DOCU M E N TARY Design Disruptors กํากับโดย Matt D’Avella จากความสำ�เร็จของบริษทั หลายๆ แห่ง การพลิกโฉม (Disrupt) ธุรกิจจึงกลายเป็นหนึง่ ในเป้าหมาย ของกิจการที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการดั้งเดิมเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้าใหม่ Design Disruptors เป็นสารคดีที่เปิดเผยพลังของการออกแบบ ด้วยการรวบรวมคำ�แนะนำ� มุมมอง แนวคิด ข้อมูลเชิงลึก และบทสัมภาษณ์จากเหล่านักออกแบบของบริษัทชั้นนำ�อย่าง Google, Facebook, Dropbox, Airbnb และอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบจากประสบการณ์ ของผู้ใช้หรือเทคนิคอย่าง Sprint ที่ย่นระยะเวลาการออกแบบและทดสอบผลงาน จากหลายเดือน ให้เหลือภายในสัปดาห์เดียว ซึ่งช่วยให้ทำ�ความเข้าใจระบบความต้องการของตลาดและผู้ใช้งาน ได้ดียิ่งขึ้น

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

ผูป้ ระกอบการจากทัว่ โลกพยายามนำ�เสนอความคิดเพือ่ ระดมทุนผลิตรองเท้า คู่ใหม่ให้กับผู้บริโภคที่มีความต้องการเฉพาะทางและสร้างประสบการณ์ที่ดี ที่สุด หนึ่งในนั้นคือรองเท้าหนัง Digitsole Smartshoe รองเท้าที่ดูเหมือนมา จากอนาคตนี้ มีเป้าหมายการระดมทุนบน Kickstarter อยูท่ ี่ 50,000 ดอลลาร์ สหรัฐฯ แต่ได้รบั ความสนใจอย่างท่วมท้นจนมีคนร่วมลงทุนมากกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ รองเท้าอัจฉริยะเป็นนวัตกรรมล่าสุดของบริษทั ฝรัง่ เศสทีช่ อื่ Digitsole ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านรองเท้าที่ทำ�งานเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน ของผู้ใช้ระบบ iOS และ Android ผ่านทางบลูทูธเพื่อวัดระยะทาง การเดิน และการนับแคลอรี แต่ Digitsole สร้างความประทับใจมากขึ้นไปอีก เนื่องจากสามารถปรับอุณหภูมิพื้นด้านในรองเท้าได้เอง ทำ�ให้ร้อนขึ้นได้ใน ฤดูหนาว โดยใช้ดจิ ทิ ลั เทอร์โมสแตทบนมือถือ และยังปรับรัดรองเท้าให้พอดี กับเท้าได้ดว้ ย โดยใช้ระบบไฮดรอลิก 2-3 ครัง้ ดึงลิน้ รองเท้าให้เข้าที่ ทำ�ให้ ใส่รองเท้าได้กระชับพอดีโดยไม่ตอ้ งก้มผูกเชือกรองเท้าบ่อยๆ ทัง้ ยังช่วยบอก ได้วา่ ท่าเดินถูกต้องหรือไม่ เป็นประเภทเดินแบบเอียงเข้า หรือเดินแบบเอียง ออก นอกจากนั้นยังช่วยบอกและแก้ปัญหาการบาดเจ็บของเท้าจากท่าเดิน ที่ไม่ถูกต้องได้ด้วย สามารถชาร์จไฟได้โดยใช้สาย micro USB รองเท้านี้มี ทั้งของผู้ชายและผู้หญิง ถ้าซื้อในช่วงระดมทุนมีราคาคู่ละ 229 ดอลลาร์ สหรัฐฯ และตัง้ ราคาขายคูล่ ะ 599 ดอลลาร์ในร้านทัว่ ไป โดยจะจัดส่งรองเท้า ให้ในเดือนธันวาคมปีนี้ อีกหนึ่งทีมนักออกแบบชาวอิตาลีสร้างแบรนด์รองเท้าที่มีเอกลักษณ์ บริษัทกำ�ลังระดมทุนโดยชูจุดเด่นของรองเท้า ที่ใช้แผ่นรองเท้าที่มีกาว เพื่อ แทนที่รองเท้าแตะ ได้สร้าง Nakefit แผ่นรองเท้าที่มีกาวที่เมื่อใส่แล้วจะดู

เหมือนเท้าเปล่า แต่ชว่ ยป้องกันเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะสวมใส่แผ่น กาวที่อยู่ด้านบนของแผ่นรองเท้าจะติดแน่นกับเท้า นักออกแบบไม่เปิดเผย ว่าใช้วัสดุอะไรในการทำ� Nakefit เพราะเป็นความลับและอยู่ในขั้นตอนการ จดสิทธิบตั ร แต่บอกว่ากาวทีใ่ ช้ท�ำ จากวัสดุทไ่ี ม่ท�ำ ให้เกิดการแพ้ แผ่นรองเท้านี้ เป็นมิตรกับชาวมังสวิรัติ ไม่มีสิ่งเกี่ยวข้องกับสัตว์ Nakefit มีอายุการใช้งาน 24 ชัว่ โมง แต่อาจขาดเร็วขึน้ เมือ่ ใช้เดินในนํา้ ขณะนีไ้ ด้เงินจากการระดมทุน ผ่าน Kickstarter เป็นจำ�นวนเกือบ 300,000 ยูโร ถ้าสั่งซื้อใน Kickstarter ราคาจะอยู่ที่ 30 ยูโร สำ�หรับ 10 คู่ มีทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย ยิง่ ง่ายและตอบรับกับความต้องการในทุกโอกาส รองเท้า Mime et moi เปลี่ยนจากรองเท้าแบนเป็นส้นสูงภายในไม่กี่วินาที คุณอาจเคยต้องเลือก ระหว่างรองเท้าส้นเข็ม รองเท้าส้นตัน หรือรองเท้าส้นแบนเพือ่ แพ็คลงกระเป๋า ตอนจะไปพักร้อน หรือเคยมีประสบการณ์ทเ่ี จ็บเท้าตอนใส่รองเท้าส้นสูงแล้ว อยากได้รองเท้าส้นแบนมาเปลีย่ นเดีย๋ วนัน้ เลย รองเท้าแบรนด์ Mime et moi ได้น�ำ เสนอนวัตกรรมการเปลีย่ นส้นรองเท้า โดยมีสน้ รองเท้าให้เลือกถึง 7 แบบ คอลเลกชั่นแรกเรียกว่า #myheroes มีรองเท้า 5 แบบ ส้นรองเท้านี้ใส่เข้า และถอดออกได้งา่ ย ตัวรองเท้าทำ�จากหนังแพะคุณภาพสูงทีบ่ ดุ า้ นในด้วยวัสดุ ที่ทำ�จากไมโครไฟเบอร์ โดยเน้นการสวมใส่ให้สบายเท้ามากที่สุด ตัวพื้น รองเท้าใช้เทคโนโลยีที่มีสิทธิบัตรในการผลิต นวัตกรรมส้นรองเท้านี้ขายใน kickstarter เพื่อระดมทุน และได้เงินเข้ามาเกินจำ�นวนที่ตั้งเป้าไว้ ที่มา: digitsole.com / nakefit.com / mimemoi.com

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม ่มา:อมหลั komchadl uek.net littlebits.cc • แฟกซใบสมัคทีรพร กฐานการโอนเงิ นมาทีและ ่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

สำ�หรับหลายคน ห้างสรรพสินค้าอาจเป็นนวัตกรรมทางธุรกิจทีช่ าญฉลาด ด้วยการหยิบกิจวัตรประจำ�วันและความบันเทิงของ ผูค้ นมารวมไว้ทป่ี ลายทางเดียวกัน แต่หากลองมองย้อนไปในวันทีเ่ รายังไม่มศี นู ย์การค้า สถานทีแ่ ห่งหนึง่ ทีม่ อบประสบการณ์ บันเทิงแบบตอบโจทย์คนทุกรุน่ ทุกอารมณ์ได้อย่างครบครัน เพราะรวมไว้ทง้ั โรงหนัง สวนสนุก พิพธิ ภัณฑ์ โรงละคร ตลาดนัด คาเฟ่ และร้านอาหารในคราวเดียว ก็คอื “งานวัด” ด้วยเหตุทว่ี ดั เป็นศูนย์รวมของชุมชนมาแต่โบราณ การจัดงานวัดจึงเป็นเหมือน กุศโลบายทีเ่ ชือ่ มโยงพุทธศาสนาและวิถชี วี ติ ของผูค้ นในแต่ละยุคสมัยเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี

งานวัดมีความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี

แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เชื่อว่า งานวัดแบบโบราณเป็นไปอย่างเรียบง่าย ต่างจากงานวัดในช่วงรัชกาลที่ 5 หรือใน ปัจจุบัน ช่วงเวลาจัดงานวัดมักจะเกี่ยวพัน กับฤดูการทำ�ไร่ทำ�นา คือหากไม่จัดในช่วง หน้ า แล้ ง ในเดื อ น 5 ที่ ช าวนาว่ า งจาก เก็บเกีย่ ว ก็จะจัดในช่วงหน้านํา้ เดือน 11-12 ที่ข้าวกำ�ลังตั้งท้อง ผืนนํ้าแผ่กระจายทั่ว ท้องทุ่ง พายเรือสัญจรไปมาสะดวก เมื่อ

ข้าวสุกเต็มที่ก็ลงแขกเก็บเกี่ยว แล้วพากัน ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดียท์ ราย ทำ�อาหาร เลี้ยงพระ ทำ�บุญกราบไหว้พระพุทธรูปตาม ประเพณี พ่อค้าแม่ค้านำ�ผลไม้มาวางขาย บ้างก็มีการแข่งเรือ ร้องรำ�ทำ�เพลงอย่าง สำ�ราญใจ

หากพูดถึงงานวัดยอดนิยมที่ยังมีอยู่จนถึง ทุกวันนี้ ก็คงหนีไม่พ้น งานวัดภูเขาทอง หรือ งานวัดสระเกศ ซึง่ สันนิษฐานว่าเริม่ จัด

CREATIVE THAILAND I 12

เป็นงานที่มีการออกร้านขายของครั้งแรก เพื่อนมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญ มาบรรจุบนองค์พระเจดีย์บรมบรรพตใน ปีพ.ศ. 2421 โดยก่อนงานเทศกาลทุกปี จะ มีพิธีห่มผ้าแดงองค์พระเจดีย์บรมบรรพต ทีถ่ อื ปฏิบตั มิ าตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ 5 และเป็น อันรู้กันว่า ถ้ามองเห็นพระเจดีย์บนยอด ภู เ ขาทองมี ผ้ า แดงพั น รอบองค์ เ มื่ อ ไหร่ ก็ เ ป็ น สั ญ ญาณว่ า งานภู เ ขาทองกำ � ลั ง จะ เริ่มขึ้นแล้ว


หลากหลายกิ จ กรรมบั น เทิ ง ในงานวั ด

ตอบโจทย์คนต่างวัย บ้างก็ปรับเปลี่ยนและ เลือนหายไปตามยุคสมัย อย่างละครลิง ขวัญใจผูช้ มเด็ก ซึง่ ในงานภูเขาทองยุคหนึง่ มีถงึ 3-4 คณะ หนังถํา้ มองทีท่ �ำ เป็นตูห้ ยอด เหรียญสำ�หรับดูคนเดียว โดยจะมีฟลิ ม์ หนัง ผูกติดกับตู้ให้บริการ มีโปรแกรมหนังให้ เลือกดูทงั้ แบบหนังเต้นและภาพสามมิติ เช่น มิกกี้เมาส์ ซูเปอร์แมน มนุษย์ค้างคาว ฯลฯ หรือเกมช้อนปลาที่ท้าทายความสามารถ ของผูเ้ ล่นด้วยช้อนด้ามจับสัน้ ซึง่ ใช้กระดาษ ว่าวหรือกระดาษชำ�ระแทนตาข่าย บ้างก็ยงั มีให้เห็นทั่วไปในปัจจุบัน เช่น เกมยิงปืน ปาเป้า สอยดาว ม้าหมุน ชิงช้าสวรรค์

แม้จะเหลือเพียงเรื่องราวและภาพถ่ายเป็น

หลักฐาน แต่ “งานวัดเบญ” ก็เป็นทีก่ ล่าวขาน มาโดยตลอด เพราะเป็นงานวัดที่พิเศษ จากงานวัดอื่นๆ ซึ่งจัดโดยชุมชน งานวัด เบญจมบพิตรฯ เกิดขึ้นครั้งแรกหลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำ�ริให้ปฏิสังขรณ์วัด ครั้งใหญ่ และให้จัดงานฉลองสมโภชวัดใน ปีพ.ศ. 2443 โดยทรงเป็นประธานจัดงาน ด้วยพระองค์เอง ภายในงานเป็นการออกร้าน โดยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพาร เป็นโอกาสที่ชาวบ้านจะได้ชมมหรสพแบบ ราชสำ�นัก เช่น โขน ละครใน ฯลฯ พร้อม ด้วยการออกร้านทีน่ า่ สนใจ เช่น ร้านถ่ายรูป ของโรเบิร์ต เลนซ์ ช่างภาพชื่อดัง การเปิด หีบเพลงชาวตะวันตก และหุ่นทรงเครื่อง ของหม่อมราชวงศ์เถาะในปีพ.ศ. 2443 ซึ่ง เป็นหุ่นกระบอกของแปลกใหม่

ภายในงานวัดหลวง ยังมี ร้านหลวง หรือ ร้านของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งในแต่ละปีจะจัด ไม่ซํ้ากัน บ้างก็จำ�หน่ายหนังสือ บ้างก็จัด

แสดงละครเพื่อเก็บเงินเข้าบำ�รุงวัด แต่ปีที่ พิเศษที่สุดคือปีพ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงตั้ ง ร้ า น ถ่ายรูปหลวง และเสด็จฯ มาประทับที่ร้าน ทุ ก คื น เพื่ อ ทรงถ่ า ยรู ป พระราชทานแก่ บรรดาเจ้านาย ข้าราชการ และชาวต่างชาติ ที่กราบบังคมทูลร้องขอ โดยทรงเก็บค่า ถ่ายรูปคนละ 20 บาทเพื่อสมทบทุนโดย เสด็ จ พระราชกุ ศ ล นอกจากนี้ ยั ง ทรง ออกแบบจัดฉากถ่ายภาพด้วยพระองค์เอง บางฉากทรงทำ�เป็นกรอบรูปจำ�ลอง แล้ว โปรดฯ ให้เจ้านายยืนประทับอยู่ด้านหลัง บางฉากทรงกำ�กับให้โพสท่าต่างๆ หรือบาง รูปทรงถ่ายเป็นภาพล้อเลียน มอเตอร์ไซค์ไต่ถงั หนึง่ ในการแสดงยอดฮิต

ในงานวัด เริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วง ปีพ.ศ. 2475 - 2499 ต่อมาจึงมีคณะแสดง รถไต่ถังเกิดขึ้นในเมืองไทยหลายคณะ เช่น คณะบุญมีโชว์ คณะนายฉํ่า อินทรโฆษิต คณะล้อมมฤตยู คณะกรังปรีด์ และคณะ เปรือ่ ง เรืองเดช การแสดงมอเตอร์ไซค์ไต่ถงั ส่งอิทธิพลไปถึงวงการหนังไทยยุค 16 ม.ม. หนึง่ ในนัน้ คือภาพยนตร์ชอ่ื ดังเรือ่ ง “นํา้ ค้าง” (1966) ซึง่ เพชรา เชาวราษฎร์ รับบทนางเอก เป็นนักขีม่ อเตอร์ไซค์ไต่ถงั ประกบคูก่ บั มิตร ชัยบัญชา และลือชัย นฤนารถ

หากเทียบงานวัดกับห้างสรรพสินค้า ซุม้ ของ

แปลกในงานวัดก็คงไม่ตา่ งจากโรงละครทีม่ ี ทั้งการแสดงมายากลและนิทรรศการแห่ง ความประหลาด ทั้งเด็กสองหัว คนปากเท่า รูเข็ม นางเงือก จิ้งจกห้าหาง ควายแปดขา ความผิดปกติทางร่างกายของคนและสัตว์ เหล่านี้ถูกนำ�มาแสดงในซุ้มของแปลกเพื่อ สร้างความตื่นตาตื่นใจ คล้ายกับการแสดง ของคณะละครสัตว์ในต่างประเทศทีเ่ รียกว่า CREATIVE THAILAND I 13

Freak Show โดยด้านหน้าซุ้มเหล่านี้ มัก กระตุกต่อมความอยากรู้ของคนดูด้วยป้าย โฆษณาชวนเชือ่ ต่างๆ พร้อมหยิบจับเทคนิค มายากลมาสร้างความฉงนในหลายโชว์ เช่น ท้าวหัวข่อหล่อ ที่ดูเหมือนหัวคนวางอยู่ บนโต๊ะ แต่ใต้โต๊ะกลับว่างเปล่าไม่มีขาโผล่ ออกมา ฯลฯ บรรยากาศโรแมนติกในคํ่าคืนงานวัดแบบ

ร่วมสมัยทีม่ ที งั้ ร้านรวงแบบโบราณไปจนถึง ม้าหมุน ถูกนำ�มาใช้เป็นฉากสำ�คัญของ “พีม่ าก...พระโขนง” (2013) ภาพยนตร์ไทย จากค่ายจีทีเอชที่สร้างปรากฏการณ์กวาด รายได้แตะหลักพันล้านบาท โดยทีมเขียนบท วางเส้นเรือ่ งให้คพู่ ระนางพากันไปเทีย่ วงานวัด หลังจากที่นางนาคตายไปแล้ว นำ�ไปสู่บท สนทนาบนชิงช้าสวรรค์ที่สะกิดให้ผู้ชมหัน มามองความรักของพระเอกในตำ�นานซึง่ ถูก ตีความใหม่ เพราะแม้จะรู้อยู่แล้วว่านาง นาคตายแล้ว แต่ก็แกล้งทำ�เป็นไม่รู้ และ กลับยังรัง้ ให้คนรักอยูก่ นิ ด้วยกันต่อไปเสียเอง นับเป็นการฉีกกรอบตำ�นานหนังสยองขวัญ สูภ่ าพยนตร์โรแมนติกคอมเมดีท้ ผี่ สมผสาน อารมณ์รกั หวานซึง้ ตลกขบขัน และเขย่าขวัญ ไว้ได้อย่างกลมกล่อม ด้วยกระบวนการ พัฒนาบทนานถึงหนึง่ ปีครึง่ ท่ามกลางบริบท แบบที่คนไทยคุ้นเคย

ที่มา: บทความ “งานภูเขาทอง” จาก watsraket.com / บทความ “รถไต่ถัง : วังวนมหัศจรรย์แห่งวัยเยาว์” (2008) จาก oknation.nationtv.tv / วิดโี อ “คลายฉงน : จุดเริม่ ต้น ที่ทำ�ให้เกิดเรื่องราวของงานวัดไทย” (2014) โดย thairath จาก youtube.com / วิดีโอ “พี่มาก..พระโขนง เบื้องหลัง ฉากงานวัด” (2013) โดย GTHchannel จาก youtube.com / หนังสือ “ถนนสายอดีต เล่ม 3” (2005) โดย เอนก นาวิกมูล / หนังสือ “ราษฎรบันเทิง” (1999) โดย เอนก นาวิกมูล / หนังสือ “รูปทรงถ่าย ในงานวัดเบญจมบพิตร ดุสติ วนาราม รัตนโกสินทร์ศก 123” (2015) โดย กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร / หนังสือ “The Making of พี่มาก..พระโขนง” (2013) โดย วิชัย มาตกุล, นทธัญ แสงไชย, นครินทร์ วนกิจไพบูลย์


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: UX Academy Thailand

ถ้าอยากให้ของขวัญซักชิ้นกับเด็กผู้หญิง หลายคนคงจะเลือกตุ๊กตาน่ารักซักตัวหนึ่ง แต่ถ้าอยากให้ของขวัญเด็กผู้ชาย เราก็คงเลือกรถยนต์บังคับเท่ๆ ซักคัน แต่ถ้าเราไม่รู้ว่า จะเอาของขวัญนี้ไปให้ใคร การเลือกของขวัญจะกลายเป็นเรื่องยากมากๆ

CREATIVE THAILAND I 14


ในทางกลับกัน ถ้าเรารู้ข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้นว่า ผู้ที่รับของขวัญนั้น เป็นเด็กผู้ชายอายุ 5 ขวบ ที่ ติดตามรายการการ์ตูนและกีฬา ในวันว่างๆ พ่อกับแม่ของเด็กคนนี้จะชอบพาไปพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ และน้องชอบอ่านหนังสือทีม่ รี ปู ผี แต่ พ่อแม่ไม่อยากให้อ่านเลย ข้อมูลเหล่านี้ย่อมเป็น สิง่ ทีบ่ อกเราได้อย่างดีวา่ เราควรจะซือ้ อะไรให้นอ้ ง ลองเทียบดูสคิ รับ ระหว่างทีเ่ รารูแ้ ค่วา่ ผูท้ รี่ บั ของขวัญจากเราเป็นเพียงเด็กผู้ชายคนหนึ่ง กับ การทีเ่ รารูล้ กึ ลงไปถึงชีวติ ประจำ�วันของเด็กคนนี้ มันส่งผลต่อการเลือกของเรามากขนาดไหน และ การเลือกของโดยทีเ่ รารูว้ า่ จะเอาไปให้ใคร จะช่วย สร้างความประทับใจได้มากกว่าแบบเห็นได้ชัด และเราจะเสียดายขนาดไหน ถ้าเราต้องเลือก ของขวัญให้ใครคนหนึ่ง โดยที่รู้จักคนๆ นั้นแค่ เพียงผิวเผิน “ความรู้สึกเสียดายต่องานนั้นๆ ก็คือความ รู้สึกของคนที่ทำ�งานด้าน UX ครับ” ที่บอกได้แบบนี้ก็เพราะการรู้จักผู้ใช้เพียง ผิวเผินทำ�ให้เราพลาดโอกาสทีจ่ ะสร้างสิง่ ทีผ่ ใู้ ช้จะ รู้สึกว่ามันเป็นเสมือนของขวัญของเขา และเป็น สิง่ ทีจ่ ะช่วยแก้ปญั หาให้กบั เขาได้ แม้วา่ หลายครัง้ เขาจะไม่รู้มาก่อนเลยว่าเขาควรจะอยากได้มัน ไม่ ว่ า สิ่ ง นั้ น จะเป็ น เครื่ อ งปรั บ อุ ณ หภู มิ ห้ อ ง โปรแกรมในคอมพิวเตอร์ โปรแกรมบนสมาร์ท โฟน เว็บไซต์ หรือเครื่องดูดฝุ่น งานออกแบบ UX หรือ User Experience จะสามารถทำ�ให้ของ เหล่านั้นเป็นของขวัญที่ผู้ใช้ “รัก” ได้ ในทางกลับกัน ธุรกิจหรือสินค้าที่ไม่รู้จัก ผูใ้ ช้มาก่อน ย่อมมีโอกาสทีจ่ ะสร้างความประทับ ใจกับผู้ใช้ได้อย่างน้อยนิด และแทบจะพูดได้ว่า เป็นเหมือนการเสี่ยงดวงระดับปิดตายิงเป้าเลย ทีเดียว เพราะเมื่อเราไม่รู้ว่าเป้าอยู่ตรงไหน สิ่งที่ เรามักจะทำ� ก็คือการเพิ่มจำ�นวนลูกธนูให้เยอะ ที่สุด หรือทำ�ลูกธนูให้ใหญ่ที่สุด ยิงปืนใหญ่ได้ ยิ่งดี ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาแบบนั้น ทำ�ให้การลด ต้นทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำ�คัญของการทำ�ธุรกิจนั้น แทบเป็นไปไม่ได้ และกว่าจะได้งานชิน้ หนึง่ ออกมา ก็ต้องใช้เวลานานขึ้น และที่สำ�คัญคือการทำ�งาน กับทีมงานที่มีเป้าหมายในงานไม่ชัดเจนมันจะ ยากมากๆ

CREATIVE THAILAND I 15


ดังนัน้ มาลองดูกนั ว่านักออกแบบประสบการณ์ ผู้ใช้งาน (UX Designer) เวลาที่พวกเขาจะทำ� ของขวัญให้ผู้ใช้งานนั้น พวกเขาต้องคำ�นึงถึง อะไรบ้าง โดยผมจะแบ่งเรื่องที่ต้องคิดออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เข้าใจผู้ใช้ของเรา คือรูว้ า่ คนทีร่ บั ของขวัญ

คือใคร

เข้ า ใจคุ ณ ค่ า ของสิ่ ง ที่ เ ราให้ ว่ า มั น มี ประโยชน์อะไร แก้ปัญหาอะไร และสร้าง ความประทับใจได้อย่างไร เข้าใจผู้ปกครอง คือต้องเข้าใจผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียกับผู้ใช้คนนั้นๆ หรือสิ่งที่พ่อแม่ ต้องการในของขวัญชิ้นนั้น

เมือ่ เข้าใจก็รจู้ ริง...รูใ้ จผูใ้ ช้ให้ได้กอ่ น

อย่างที่ได้กล่าวได้แล้วว่า การที่เราจะสร้างสรรค์ สิ่งใดขึ้นเพื่อใคร สิ่งที่เราต้องคำ�นึงถึงเป็นอันดับ แรกๆ นั้นมีอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนที่หนึ่งก็คือ การ เข้าใจผูใ้ ช้ของเราก่อน (Understand User) หลาย คนอาจจะบอกว่า “ผมเข้าใจลูกค้าของผมอยูแ่ ล้ว ถ้ า อยากให้ เ ขามาซื้ อ ของก็ ต้ อ งทำ � โปรโมชั่ น ส่วนลดเยอะๆ โฆษณาชัดๆ และสินค้าต้อง แตกต่างจากคู่แข่ง” แต่ สิ่ ง นี้ อาจไม่ ใ ช่ ก ารเข้ า ใจผู้ ใ ช้ แ บบที่ เราต้องการ เพราะนั่นคือการเข้าใจลูกค้าแบบ นักการตลาด (Marketer) โดยปกติ ฝ่ายการตลาด ต้องรับผิดชอบในการจูงใจให้ลูกค้ามาลองใช้

สินค้า เพื่อให้เกิดการซื้อสินค้านั้นๆ ต่อไป และ การขายของต้องมองให้ออกว่า จะทำ�อย่างไรให้ ลูกค้าสนใจมาทดลองใช้สนิ ค้าหรือบริการของเรา ให้มากที่สุด หลังจากนั้นเมื่อ ลูกค้าเริ่มใช้สินค้า หรือบริการ ก็จะเป็นความรับผิดชอบของผูท้ สี่ ร้าง มันขึน้ มา โดยจะต้องมองให้ออกว่าสินค้าของเรา ต้องการแก้ปญั หาอะไร และจะแก้ดว้ ยวิธไี หนเพือ่ ให้ผู้ใช้มีความสุขที่สุด ซึ่งนั่นก็คือการทำ� UX นั่นเอง สรุปได้ว่า นักการตลาดต้องมองให้ออกว่า จะทำ�อย่างไรให้คนสนใจมาทดลองใช้สินค้าหรือ บริการ ส่วนคนทำ� UX ต้องมองให้ออกว่าจะ แก้ปัญหาอะไร และด้วยวิธีการไหน การที่เราเข้าใจผู้ใช้นี้ ต้องเข้าใจแบบไหน ต้องลึกแค่ไหน แล้วมันส่งผลอย่างไรต่อการ พัฒ นา ผมขอยกตัวอย่า งการพัฒนาหน้า จอ โปรแกรมให้กับโรงแรมแห่งหนึ่ง ซึ่งทางโรงแรม ได้ขอให้เราปรับหน้าจอการกรอกข้อมูลผู้เข้าพัก ให้ ในกรณีนี้ ผูใ้ ช้ของเราก็คอื พนักงานทีท่ �ำ หน้าที่ กรอกข้อมูล และทางโรงแรมได้แจ้งปัญหากับเรา ว่า พนักงานส่วนใหญ่มักจะบ่นว่า ฟอร์มนี้กรอก ข้อมูลยาก และกว่าหัวหน้าจะสอนให้พนักงานทำ� เป็นนั้น ก็ต้องใช้เวลาตั้งนาน พอเราได้โจทย์ แถมยังรู้ปัญหาแล้ว เราก็ ลงมือทำ�ได้ทันที โดยใช้วิธีแบ่งหน้ากรอกแบบ ฟอร์มออกเป็น 4 ขั้นตอน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถ กรอกตามได้ง่ายๆ มีลำ�ดับการซักถามลูกค้าที่ ชัดเจน แม้พนักงานอาจจะต้องกดปุม่ มากขึน้ แต่

CREATIVE THAILAND I 16

ต่อให้ไม่ผ่านการอบรมมาก่อน ก็สามารถเข้าใจ การใช้งานได้ทันที เมื่อนำ�โปรแกรมที่ออกแบบไปให้พนักงาน ดูและทดลองใช้ พนักงานก็บอกว่าใช้งา่ ยดี เช่นเดียว กับผู้บริหารที่ก็สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว และอนุมัติให้ทีมงานของผมลงมือทำ�โปรเจ็กต์นี้ ต่อได้ พวกผมดีใจมาก รีบลงมือทำ�โปรแกรมออก มาจนเสร็จสมบูรณ์ และเมือ่ นำ�ไปให้ผใู้ ช้ พวกเขา ก็ช่ืนชอบและขอบคุณที่เราทำ�สิ่งนี้ออกมา...แต่ กลายเป็นว่าหลังจากนัน้ ไม่นาน พนักงานส่วนใหญ่ กลับไปกรอกข้อมูลที่โปรแกรมเดิม!! “ทำ � ไมของใหม่ ที่ ทุ ก คนชอบถึ ง ไม่ ถู ก ใช้งานล่ะ!!” เมือ่ เราลงไปวิเคราะห์ถงึ ได้รวู้ า่ ปัญหาจริงๆ ของพนักงาน ไม่ใช่เรื่องความยากในการสอน เพราะปัญหาเรื่องการสอนใช้งานนั้นเป็นปัญหา ของหัวหน้าพนักงานที่ต้องเสียเวลามาสอน และ เป็นปัญหาในช่วงเริ่มต้นของคนทำ�งานเท่านั้น แต่ปัญหาทีแ่ ท้จริงก็คือ พวกเขารับลูกค้าไม่ทัน ขณะทีห่ วั หน้าต้องคอยดูแลลูกค้า ทำ�ให้ไม่มี เวลามาสอนพนักงานใหม่เวลาที่หาจุดแก้ไขใน โปรแกรมไม่เจอ ส่วนพนักงานที่ทำ�งานอยู่ ก็มี ปัญหากรอกข้อมูลไม่ทัน เพราะต้องย้อนกลับมา แก้ไขข้อมูลบ่อยๆ เนื่องจากลูกค้าให้ข้อมูลใหม่ แก้ไขข้อมูลไปมา และมักโลเลเมื่ออยู่หน้าโต๊ะ พนักงาน กว่าจะกรอกข้อมูลให้ลูกค้าคนหนึ่ง เรียบร้อย จึงใช้เวลานานจนทำ�ให้ลูกค้าที่รอราย ถัดไปเริ่มอารมณ์เสีย


ดังนั้น สุดท้ายทีมงานจึงแก้ปัญหาด้วยการ ซื้อจอภาพใหม่ให้พนักงาน แล้วกลับไปปรับ โปรแกรมตัวเดิมให้แสดงผลทุกอย่างได้ในหน้าจอ เดียว เพือ่ ให้สามารถค้นหาข้อมูลทีต่ อ้ งการแก้ได้ โดยไม่ต้องเปิดหน้าจอใหม่ และเมื่อใช้ไปนานๆ เข้าก็จดจำ�ตำ�แหน่งได้โดยไม่ตอ้ งหาเพราะมีเพียง หน้าเดียว นอกจากนัน้ เราได้เพิม่ คียล์ ดั ลงไปเพือ่ ให้แก้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วขึ้นไปอีก จะเห็นว่า เมือ่ เราเริม่ ทำ�งานโดยการฟังผูใ้ ช้ แบบคร่าวๆ โดยไม่ได้ลงไปศึกษาจริงนั้น ทำ�ให้ เราต้องเสียทั้งเวลา (Waste Time) เสียพลังงาน และกำ�ลังใจ (Waste Effort) เสียเงิน (Waste Money) และสิ่งที่เสียมากที่สุดก็คือ เสียโอกาส (Opportunity Cost) ทีเ่ ราสามารถเอาไปทำ�อย่าง อื่นได้อีกมากมาย ดังนั้น “การเสียเวลาทำ�ความเข้าใจผู้ใช้จึง คุ้มค่าเสมอครับ”

ไม่ใช่แค่ทำ�อะไรได้บ้าง แต่ทำ�ไปเพื่ออะไร

มาถึงสิ่งที่ต้องรู้ให้แน่ชัดก่อนจะลงมือทำ�อย่าง ที่สอง นั่นคือ การเข้าใจว่าเรามอบอะไรให้ผู้ใช้ (Understand Value) “สินค้าทีด่ จี ะต้องแก้ปญั หา ให้ผใู้ ช้ได้” ประโยคนีฟ้ งั ดูเป็นเรือ่ งธรรมดามากๆ ถ้าเราเข้าใจผู้ใช้แล้ว แต่กลายเป็นว่ามันทำ�ได้ ยากเหลือเกินสำ�หรับทีมพัฒนาสินค้าหลายๆ ทีม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้

หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มักมุ่งเป้าไปที่การ ผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ สวยงาม น่าใช้ และที่ สำ�คัญคือพัฒนาให้เสร็จโดยเร็วที่สุด จนทำ�ให้ ความตั้ ง ใจที่ จ ะแก้ ปั ญ หาให้ กั บ ผู้ ใ ช้ ง านจาง หายไป หากลองย้อนกลับไปถามผู้ที่สร้างหรือผลิต ของชิน้ หนึง่ ๆ ขึน้ มาว่า “มันทำ�อะไรได้” คำ�ตอบ ของคำ�ถามนีม้ ไี ด้ 2 ลักษณะ แล้วแต่วา่ ผูท้ พี่ ฒั นา จะเลือกสิง่ ทีต่ วั เองให้ความสำ�คัญสิง่ ไหนมาตอบ

แบบแรกคือตอบโดยใช้ลักษณะของงานที่

มันทำ�ได้ (Feature) เช่น มันสามารถชงกาแฟ ได้ในเวลา 2 นาที หรือ มันรองรับผู้เล่น พร้อมกันได้หลายคน หรือมันรับคำ�สัง่ ได้จาก ระยะไกล หากคำ�ตอบเป็นแบบนี้ แสดงว่า ผู้ผลิตให้ความสำ�คัญกับสิ่งที่มันทำ�ได้

แบบที่สองคือตอบโดยใช้ปัญหาเป็นตัวตั้ง

แล้วแสดงวิธีแก้ปัญหาให้ดู (Solution) เช่น มันช่วยให้พ่อบ้านที่ต้องรีบไปทำ�งานได้มี โอกาสดืม่ กาแฟดีๆ ก่อนออกจากบ้าน หรือ มั น ช่ ว ยให้ ค รอบครั ว ที่ ช อบทำ � กิ จ กรรม ร่วมกันได้เล่นสนุกไปกับเกมพร้อมๆ กัน หรื อ มั น ทำ � ให้ ค นที่ ก ลั บ มาถึ ง บ้ า นแล้ ว อุณหภูมิของบ้านเย็นเท่าที่ต้องการโดยไม่ ต้องรอเปิดแอร์ใหม่ หากเป็นแบบนี้ แสดงว่า ผู้ผลิตให้ความสำ�คัญกับปัญหาที่มันแก้ได้ CREATIVE THAILAND I 17

ลักษณะของคำ�ตอบทีแ่ ตกต่างกันใน 2 แนวทางนี้ ส่งผลต่อโปรแกรมและระบบการทำ�งานของสิ่ง ต่างๆ ที่เป็นผลลัพธ์สุดท้ายอย่างมาก เพราะมัน กำ�หนดตัวชี้วัดในใจของผู้ที่พัฒนามันขึ้นมา ถ้า คนๆ นั้ น ตั้ ง เป้ า ที่ จ ะได้ ก ารชงกาแฟให้ เ สร็ จ ภายใน 2 นาทีเป็นหลัก เขาก็จะวัดอยู่ตลอดว่า ได้ 2 นาทีหรือเปล่า ส่วนความละเมียดละไม ในการทำ�กาแฟก็ค่อยตามมา และสุดท้ายเครื่อง ชงกาแฟนัน้ ก็อาจจะมีคา่ เท่ากับการชงกาแฟซอง สำ�เร็จรูปเลยก็ได้ หรือถ้าเราตัง้ เป้าว่าจะทำ�เกมทีร่ องรับผูเ้ ล่น พร้อมกันได้หลายคน เราก็จะมองแต่เรือ่ งของการ เล่นพร้อมกัน จะพิจารณาเรื่องการเชื่อมต่อที่ รวดเร็ว จนอาจจะลืมไปเลยว่าจริงๆ แล้ว หาก มันเป็นเกมทีส่ ร้างความสนุกให้คนในครอบครัว ได้ อาจไม่จำ�เป็นต้องเล่นพร้อมกัน จะผลัดกันเล่นก็ สนุกได้ แล้วหันไปออกแบบให้เป็นเกมที่เชียร์ได้ สนุกแทน


จอดเรือให้ดูฝั่ง จะนั่งให้ดูพื้น

เพราะคิดเยอะไป อาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหา

หลายคนคงใช้ฟงั ก์ชนั การใช้งานในแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนกันไม่ครบ โดยเฉพาะเมือ่ นักพัฒนาแอพฯ ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว แอพฯ นั้นเน้นให้บริการอะไร แล้วมักไปเสียเวลาสร้างความแปลกใหม่แทน เช่น แอพพลิเคชันธนาคารบนมือถือของบางธนาคาร ที่แทบไม่มีใครรู้ว่าสามารถเปลี่ยนรูปหรือสีพื้นหลังได้ และการทีค่ นไม่รู้ นอกจากจะเป็นปัญหาด้านการออกแบบทีไ่ ม่ชดั เจนแล้ว มันยังเป็นเพราะว่าการเปลีย่ น พืน้ หลังไม่ใช่สง่ิ จำ�เป็นสำ�หรับแอพฯ นีเ้ ลย ผูใ้ ช้งานต้องการทำ�ธุรกรรมทางการเงินเป็นหลัก เมือ่ ทำ�ธุระเสร็จ ก็ปดิ โปรแกรมออกไป ไม่ได้อยากอยู่นานๆ เหมือนโปรแกรมแชทหรือออนไลน์ชอ้ ปปิง้ ขณะที่ทีมพัฒนาต้อง เสียเวลาพัฒนาการเปลี่ยนพื้นหลัง ทั้งๆ ที่ไม่ใช่คุณลักษณะหลักที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้ทำ�ธุรกรรมได้ง่ายขึ้น ยิง่ ถ้ามีใครบังเอิญไปเห็นความสามารถนี้ แล้วลองเปลีย่ นรูปเป็นภาพถ่ายทัว่ ไปหรือเลือกใช้พนื้ หลังสีขาว ก็จะยิ่งทำ�ให้มองปุ่มทำ�รายการต่างๆ ได้ยากขึ้นจนเป็นปัญหากับการใช้งาน ดังนั้นการที่นักออกแบบ และนักพัฒนาไม่รู้ชัดเจนว่า โปรแกรมของเรามอบอะไรให้ผู้ใช้ แทนที่จะไปช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ใช้กลับ ยิ่งสร้างปัญหามากขึ้นแทน หากมาดูที่การออกแบบสิ่งของบ้าง ผมอยากให้ลองนึกถึงเตาอบไมโครเวฟที่บ้านว่าเอาจริงๆ แล้ว เราใช้งานปุ่มไหนบ้าง ซึ่งคนส่วนมากก็จะใช้แค่การตั้งเวลาเริ่ม แล้วก็ปิด ส่วนปุ่มอื่นๆ ที่เป็นฟังก์ชัน พิเศษเรากลับลืมไป แล้วทำ�ไมถึง เป็นแบบนั้น? เพราะถ้าเราลองย้อนไปดูเป้าหมายหลักของเตาอบ ไมโครเวฟ จะพบว่าคือความสะดวกและรวดเร็วในการอุน่ อาหาร โดยเป็นสินค้าสำ�หรับผูใ้ ช้ทวั่ ไปมากกว่า จะเป็นสินค้าสำ�หรับมืออาชีพทีเ่ น้นการปรุงอาหารอย่างพิถพี ถิ นั เพือ่ ให้ได้คณุ ภาพเป็นหลัก ซึง่ เตาอบหรือ เตาแก๊สน่าจะตอบโจทย์นี้มากกว่า ที่สำ�คัญ ในเวลาที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ผู้ใช้ไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ การพยายามใส่ฟังก์ชัน มากมายมาให้กับเตาอบไมโครเวฟ จึงดูดี ดูขายได้ แต่สร้างปัญหาในการใช้งานจริง ทำ�ให้ไม่เกิดความ ประทับใจ และไม่เกิดการชักชวนให้คนอื่นมาใช้ตาม ขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้กับทีมพัฒนาด้วย เพราะการมีฟงั ก์ชนั มาก ก็ตอ้ งใช้เวลาในการพัฒนามาก แทนทีจ่ ะนำ�เวลาไปใช้ปรับการออกแบบเพือ่ เพิม่ ความทนทาน หรือออกแบบให้เด็กๆ ใช้งานได้อย่างปลอดภัย ก็ต้องเสียเวลามาพัฒนาฟังก์ชันเหล่านั้น ที่ไม่ได้ใช้งานเหล่านี้ การเข้าใจว่าโปรแกรมของเราแก้ปัญหาอะไรให้กับผู้ใช้ จะช่วยให้เราตั้งตัวชี้วัดได้ตรงขึ้น ซึ่งย่อม ส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงาน ทั้งด้านการใช้งาน เวลาในการพัฒนา ต้นทุน และสุดท้ายเมื่อมันแก้ปัญหา ให้ผู้ใช้ได้ ผู้ใช้ก็จะเห็นถึงคุณค่าของมัน และเกิดการบอกต่อ ทำ�ให้เราขายของได้ในที่สุด แทนที่จะ ตั้งเป้าที่การขายได้ หรือตั้งเป้าว่าจะทำ�ให้เสร็จเร็วๆ ซึ่งกลับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้สินค้าของตนเอง มากขึ้นโดยไม่จำ�เป็น

CREATIVE THAILAND I 18

มาถึงส่วนสุดท้ายในการทำ�งานแบบคน UX นั่น ก็คือ การเข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Understand Stakeholder) อย่างรอบด้าน ก่อนอื่นผมขอ พูดว่า “การทำ�งานแบบเอารายได้เป็นตัวตั้ง เป็น สิง่ ทีท่ �ำ ให้เราพลาดได้งา่ ยทีส่ ดุ ” เพราะเมือ่ ไหร่ที่ เรามุ่งเป้าไปที่รายได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างจาก บริษทั ผูว้ า่ จ้าง เป็นเงินเดือน เป็นค่าจ้างรายเดือน หรือเป็นเงินลงทุน สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ตามมาก็คอื ในหัว ของเราจะพยายามเอาใจคนจ่ายเงิน และการ ทำ�ให้เขารำ�คาญ จะกลายเป็นความเสี่ยงของเรา เราจึงมักทำ�ตามที่เขาบอก และเมื่อสงสัย เราจะ เลือกถามคำ�ถามที่น่ารำ�คาญใจให้น้อยที่สุด นั่นทำ�ให้เราเน้นทำ�ตามคำ�สั่งของผู้ว่าจ้าง โดยที่เราเข้าใจเขาน้อยมาก ไม่รู้ด้วยซํ้าว่าผู้มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย กั บ งานที่ เ ราทำ � นั้ น มี ใ ครบ้ า ง ลองนึกดูนะครับ ถ้าผู้ว่าจ้างของเราสั่งให้เราใส่ โฆษณาขนาดใหญ่ ไ ว้ ที่ ด้า นหน้ า ของเว็ บ ไซต์ ทั้งๆ ที่จุดนั้นควรที่จะเอาไว้บอกว่าเว็บไซต์นั้นๆ คื อ เว็ บ อะไร แล้ ว เราจะกล้ า ถามเขาไหมว่ า “ทำ � ไมถึ ง อยากเอาโฆษณาไว้ ต รงนั้ น ” หรื อ “ใครบอกให้ คุ ณ ทำ � ทั้ ง ๆ ที่ เ มื่ อ ก่ อ นไม่ เ ห็ น เคยบอก” หรือ “เอาใส่ตรงนั้นเพราะจะได้เงิน เพิ่มใช่ไหมครับ” เพราะมันดูเป็นเรื่องของเขา และเราก็น่าจะเดาออกว่าเพราะอะไร บางครั้ง ความเกรงใจไม่อยากให้เขาลำ�บากใจที่จะพูด กลัวเขารำ�คาญใจ เดี๋ยวคิดว่าเราเรื่องมาก พาล ไม่อยากจ้าง เราก็จะยิ่งยุ่งไปใหญ่ ก็ทำ�ให้เรา ห่างไกลจากผู้ว่าจ้างมากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ส่วนตัว ทีมงานของ ผมเพิ่งทำ�เว็บไซต์หนึ่งเสร็จตามโจทย์ที่ซีอีโอ ท่านหนึ่งให้มา จากนั้นไม่นาน ซีอีโอท่านนั้นก็ มาบอกว่าให้ผมรือ้ เว็บไซต์ใหม่ ทางเราก็พยายาม สอบถามว่า อยากให้ปรับเป็นแนวไหน เขาก็บอก ว่าอยากให้ปรับเว็บใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สามารถ เพิ่มขนาดของตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นได้ เพื่อทำ�ให้ ส่วนแจ้งราคาตัวหนังสือใหญ่ตามไปด้วย หลังจากที่เราได้รับการแจ้งให้แก้ไข เราก็ เข้าใจว่าที่ลูกค้าต้องบอกโจทย์ให้ซับซ้อน แทนที่ จะบอกแค่ให้ขยายตัวหนังสือที่บอกราคาให้มี ขนาดใหญ่ขนึ้ อย่างเดียว ก็เพราะว่าซีอีโอเป็นคน พูดมาตัง้ แต่เริม่ โครงการว่า ขนาดของตัวหนังสือ


ต้องใช้ระบบเดียวทัง้ เว็บไซต์ หัวเรือ่ งควรมีขนาด เดียวกัน ส่วนของเนื้อหาก็ต้องขนาดเดียวกัน ไม่ใช่หน้าแรกใหญ่ หน้าสองเล็ก แล้วพอมาถึง ตอนนี้ เขาก็ไม่อยากให้เรารู้สึกว่าเขากลับคำ� ผมคิดว่าเราหลายคนเริ่มเห็นแล้วว่า สิ่งที่ เรากำ�ลังจะทำ�มันห่างไกลจากสิ่งที่ควรจะทำ� มากมายนัก เพราะว่าพวกเราต่างมีวาระซ่อนเร้น ที่ไม่ได้บอกอีกฝ่าย และอีกฝ่ายก็ไม่กล้าถาม เช่นกัน ถ้าเรารู้ว่าจริงๆ แล้ว สิ่งที่ซีอีโอต้องการ คืออะไร เราจะตอบโจทย์ได้ตรงจุดมากกว่า แถมง่ายกว่า หรือในกรณีนี้ เราแค่เพิม่ ส่วนทีบ่ อก ราคานั้นไว้ในหน้าแรกของเว็บ หรือเพียงสร้าง

ข้อความที่น่าสนใจ เพื่อส่งคนไปยังหน้าราคา หรื อ แค่ เ พิ่ ม ลิ ง ก์ ไ ปยั ง หน้ า ราคาจากเมนู ห ลั ก ก็เพียงพอแล้ว หัวใจสำ�คัญจึงอยูท่ กี่ ารรูว้ า่ ผูใ้ ห้โจทย์ จริงๆ แล้วต้องการอะไร ก็จะทำ�ให้งานง่ายขึ้นมาก นอกจากนัน้ การรูว้ า่ ผูใ้ ห้โจทย์ตอ้ งการอะไร ยังเป็น การลดงานของเขาด้วย เพราะว่าเขาสามารถ เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เคยบอกได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเสีย เวลาอธิบาย เนื่องจากเป้าหมายเหมือนเดิม แค่ เขาค้ น พบวิ ธี ก ารใหม่ ซึ่ ง เราก็ จ ะเข้ า ใจสิ่ ง ที่ ต้องการเปลี่ยนได้ง่าย ทั้งยังสามารถช่วยแนะนำ� ได้ด้วยว่าควรเปลี่ยนหรือเปล่า

CREATIVE THAILAND I 19

เหมือนที่หลายคนบอกว่า จะรู้จักผู้ใช้งาน ต้องรู้ไปให้สุด เหมือนที่เราดูเด็ก ก็ต้องดูให้ถึง พ่อแม่ด้วย การเข้าใจผูใ้ ช้ เข้าใจคุณค่าของสิง่ ทีเ่ ราสร้าง และเข้าใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับงานของเราเป็น องค์ประกอบสำ�คัญที่ทำ�ให้เรารู้ว่าเป้าหมายอยู่ ทีไ่ หน ผมเชือ่ ว่าเมือ่ เราเห็นปัญหาทีช่ ดั เจน ไม่วา่ มันจะยากแค่ไหน เราก็จะสามารถแก้มันได้ อย่ากลัวที่จะรู้ปัญหา หรือกลัวที่จะถามหามัน เพราะการไม่รปู้ ญั หาจะทำ�ให้เราไม่สามารถสร้าง ของขวัญที่ดี หรือของขวัญที่ลูกค้าจะรักมันได้... ขอเป็นกำ�ลังใจให้นกั สร้างของขวัญทุกคนครับ


Insight : อินไซต์

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

แอพพลิเคชัน่ และเว็บไซต์กลายเป็นสิง่ จำ�เป็นในการให้บริการและการสือ่ สารทีข่ าดไม่ได้ในปัจจุบนั แต่ในการสร้างประสบการณ์ ทีด่ ใี ห้กบั ลูกค้า สภาพแวดล้อมและกระบวนการทำ�งานทีถ่ กู ออกแบบอย่างดี รวมถึงพนักงานต่างก็เป็นเครือ่ งมืออันทรงพลัง ไม่แพ้หน้าจอดิจิทัล เมือ่ ประสบการณ์การใช้สนิ ค้าและบริการไม่ได้จ�ำ กัดอยูแ่ ค่หน้าจอ กลิน่ กาแฟในร้านหนังสือเพือ่ สร้างบรรยากาศผ่อนคลาย การจัดวางสินค้าทีโ่ ดดเด่นหาง่าย ตลอดจนพนักงานที่ตอบคำ�ถามได้อย่างชัดเจนในสถานการณ์ที่ลกู ค้ากำ�ลังร้อนรนจากกรณีสินค้าจัดส่งมาผิดหรือสายการบินดีเลย์ไม่มีกำ�หนด ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ นักออกแบบประสบการณ์ (UX) ต้องคิดคำ�นึงเมื่อต้องการสร้างความประทับใจให้ลูกค้าจนย้อนกลับมาเป็นผลบวกกับแบรนด์ CREATIVE THAILAND I 20


news.microsoft.com/

ในปัจจุบนั UX เป็นสิง่ ทีอ่ งค์กรสมัยใหม่ตา่ ง ให้ความสำ�คัญเพื่อเป็นปัจจัยในการแข่งขันที่จะ ชนะใจลูกค้าในยุคดิจิทัล แต่ทว่า บทความจาก ฮาร์วาร์ด บิสสิเนส รีวิว ระบุว่า ในการนำ� UX มาใช้นั้น องค์กรมักคำ�นึงถึงผู้ใช้ที่เป็นลูกค้า เสียเป็นส่วนใหญ่ จนละเลยผู้ใช้อีกกลุ่มที่สำ�คัญ นั่นก็คือพนักงาน สำ�หรับฝ่ายบุคคลและผู้บริหารแล้ว การ ออกแบบประสบการณ์ให้กบั พนักงานนัน้ เป็นการ ทำ�ความเข้าใจถึงความต้องการของพนักงานทีไ่ ม่ แตกต่างจากลูกค้า (Employee Centric) ด้วย การสัมภาษณ์และสำ�รวจความพึงพอใจ ตามมา ด้วยการแบ่งประเภทของพนักงาน (Persona) เพื่ อ นำ � ไปสู่ ก ารออกแบบเส้ น ทางการทำ � งาน (Employee Journey) ที่ เ อื้ อ ให้ ก ารทำ � งาน

ของพวกเขาทรงประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้ สถานการณ์ที่แตกต่างกัน หนึ่งในความต้องการของพนักงานที่กลาย เป็ น เรื่ อ งบ่ น สุ ด คลาสสิ ก คงหนี ไ ม่ พ้ น เรื่ อ ง ระบบซอฟต์ แ วร์ ใ หม่ ที่ ที ม ไอที นำ � มาใช้ โดย รายงานจากเว็บไซต์ Knowledge@Wharton ของมหาวิทยาลัยวอร์ตนั ระบุวา่ ในช่วงสีท่ ศวรรษ ที่ ผ่ า นมา ผู้ จั ด จำ � หน่ า ยซอฟต์ แ วร์ สำ � หรั บ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำ�คัญกับการ รองรับขนาด ลูกเล่น และความปลอดภัยมากจน อาจลื ม ส่ ว นสำ � คั ญ อย่ า งประสบการณ์ ข อง พนักงานในการปฏิบัติงานไป เจอร์รี่ (โยแรม) วิน ( Jerry (Yoram) Wind) ผู้ อำ � นวยการศู น ย์ เ อสอี ไ อเพื่ อ การศึ ก ษาด้ า น การจัดการของมหาวิทยาลัยวอร์ตัน (Wharton SEI Center for Advanced Studies in Management) กล่าวว่า ก่อนเข้างานและหลัง เลิกงาน พนักงานเป็นลูกค้าของนักพัฒนารายอืน่ ทีไ่ ด้ใช้ผลิตภัณฑ์มากมายซึง่ มอบประสบการณ์ที่ ดีให้ แต่ในระหว่างเวลางาน พวกเขาก็ควรได้รับ ประสบการณ์ทดี่ ดี ว้ ยเช่นกัน เพราะถ้าแอมะซอน หรือกูเกิลได้สร้างมาตรการการใช้ที่ง่ายมาแล้ว ผูค้ นก็ยอ่ มคาดหวังว่าทีอ่ นื่ ๆ ก็จะเป็นแบบนัน้ ด้วย แซม เยน (Sam Yen) หัวหน้านักออกแบบ บริษทั ซอฟต์แวร์ SAP ในซานฟรานซิสโก กล่าวว่า ในการพั ฒ นาองค์ ก รสมั ย ใหม่ ใ ห้ ก้ า วทั น โลก นักออกแบบ UX และการทำ�งานแบบรวมกลุม่ คน และเงินเพื่อสร้างให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ (Agile) จะช่วยให้ระบบไอทีสามารถสร้างประสบการณ์ ที่ ดีใ ห้ กั บ พนั ก งานได้ ด้ ว ยวิ ธี ก ารใช้ ที่ ง่ า ย เหมาะสำ�หรับใช้ส่วนตัว และที่สำ�คัญคือช่วย สร้างประสิทธิภาพของงาน โดยต้องสามารถใช้ได้ กั บ อุ ป กรณ์ ตั้ ง แต่ เ ครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ ตั้ ง โต๊ ะ ไปจนถึงโทรศัพท์มือถือ เพื่อว่าจะได้ไม่ต้องเสีย เวลาเรียนรู้ใหม่ อย่างกรณีของบริษทั Dunn-Edwards ผูผ้ ลิต และจัดจำ�หน่ายสีพรีเมียมรายใหญ่ในลอสแองเจลลิส ทีต่ อ้ งสูญเสียลูกค้าให้คแู่ ข่ง เพราะความซับซ้อน ของระบบซอฟต์แวร์ในการบริหารความสัมพันธ์ กับลูกค้า บริษัทจึงได้พัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ โดย เปลีย่ นจากการใช้แล็ปท็อปมาเป็นโทรศัพท์มอื ถือ และแท็บเล็ต พร้อมกับทดสอบการใช้งานเพื่อให้ CREATIVE THAILAND I 21

พนักงานเข้าถึงข้อมูลลูกค้า ตัวอย่างสี และการ ทดสอบได้อย่างรวดเร็ว ผลก็คือส่วนต่างกำ�ไรที่ เพิ่มขึ้น เพราะพนักงานขายไม่เพียงขายได้ แต่ ยังลดความผิดพลาด และสามารถเจรจาเรื่อง ราคาได้ดีขึ้น Walt Disney Co. ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มอบ ประสบการณ์อนั ยอดเยีย่ มให้กบั ลูกค้า ไม่เคยลืม ว่าพนักงานเป็นบุคคลสำ�คัญ ราเชลล์ นิกเกลล์ (Rachelle Nickell) ผู้จัดการฝ่ายระบบข้อมูล ทรัพยากรบุคคลกล่าวว่า ฝ่ายต้องการแอพพลิเคชัน่ สำ�หรับพนักงานและผูจ้ ดั การทีไ่ ม่เพียงมอบความ เป็นส่วนตัว แต่ยังทำ�ให้พวกเขาเข้าถึงข้อมูลได้ จากโทรศัพท์มอื ถือหรือเครื่องมืออื่นๆ จากที่ไหน เวลาใดก็ได้ อีกทัง้ ยังใช้ได้ทว่ั โลก ง่าย และทำ�งาน ได้ครบในจุดเดียว ซึ่งในการพัฒนานั้น กลุ่ม นักออกแบบ UX ใช้เวลา 4 เดือนในการนำ�ร่อง ทดสอบกับพนักงาน 200 คนที่ปฏิบัติงานทั้งใน ยุโรปและเอเชียแปซิฟกิ ซึง่ ได้ผลตอบรับทีด่ อี ย่าง เช่นเรือ่ งของการใช้งานทีไ่ ม่ตอ้ งเปิดหลายหน้าจอ และผูจ้ ดั การสามารถอนุมตั ริ ายงานค่าใช้จา่ ยจาก ทีไ่ หนก็ได้ ก่อนทีจ่ ะพัฒนามาเป็นแอพพลิเคชัน่ ที่ รองรับการใช้งานถึง 14 ภาษา สำ�หรับพนักงาน 130,000 คนทั่วโลก ผลจากการใส่ใจกับประสบการณ์ของพนักงาน พบว่า ความพึงพอใจที่เพิ่มขึ้นนำ�ไปสู่อัตราการ ย้ายงานทีล่ ดลง ความร่วมมือภายในองค์กรเพิม่ ขึน้ และผลงานดีขึ้น UX จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการ รับมือกับพนักงานเจนวายที่ทยอยเข้ามาทำ�งาน มากขึ้นในวันนี้ ซึ่งพวกเขารวมการทำ�งานบน โลกดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต ดังนั้นสถานที่ทำ�งานที่มอบประสบการณ์เหมือน กับการใช้ชีวิตปกติ จึงไม่เพียงรักษามือดีไว้ได้ แต่ยังดึงดูดให้คนเก่งมาร่วมงานได้มากขึ้นอีกใน อนาคต

ที่มา: บทความ “Only Paying Attention to Your Website and App? Your UX Probably Sucks” โดย Jon Peterson (10 กันยายน 2015) จาก uxmag.com / บทความ “User Experience: Reimagining Productivity and Business Value” (22 กรกฎาคม 2015) จาก knowledge.wharton. upenn.edu / บทความ “What Does UX Have to Do With Employees? Everything” โดย Mark Miller จาก inc.com


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่อง: สุวภัศร สุคนธบพิตร ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

ในยุคที่สตาร์ทอัพเกิดขึ้นมากมายจนทำ�ให้เกิดคู่แข่งในตลาดมากขึ้น ตามมาด้วยการพยายามสร้างความแตกต่างและ เอกลักษณ์ของธุรกิจตัวเองไม่ให้ซํ้าใคร และใครที่จับจุดความต่างด้วยการตอบโจทย์ใหม่ที่ยังไม่มีใครปลดล็อกได้ กลายเป็น โซลูชั่นทางธุรกิจแบบใหม่ ที่นอกจากความเร็วแล้ว ยังต้องแม่นยำ�ในเรื่องการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้ากลุ่ม เป้าหมาย เช่นเดียวกับที่เราได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ “มาโนช พฤติสถาพร” เจ้าของธุรกิจบริการตัดเย็บชุดสูทแนวใหม่ที่มี แนวคิดพืน้ ฐานตามแนวทางของกลุม่ เทคสตาร์ทอัพ ด้วยการเสิรฟ ์ บริการทีแ่ ปลกใหม่ แตกต่าง และตอบโจทย์กลุม่ ลูกค้าใน ปัจจุบัน จนได้รับเสียงตอบรับที่น่าสนใจและกลายเป็นธุรกิจใหม่ที่น่าจับตา

CREATIVE THAILAND I 22


ก่อนจะมีสไตล์แบบ Fred & Francis “เริ่มจากการที่ผมเรียนจบ MBA จากสถาบันที่เน้นการเรียนการสอนเรื่อง สตาร์ทอัพมากๆ อย่าง Kellogg School of Management ที่สหรัฐอเมริกา ที่นั่นทำ�ให้ผมได้เรียนศาสตร์การทำ�ธุรกิจที่หลากหลายและครอบคลุม แต่ ธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากจนบางครั้งหลักสูตรก็ตามไม่ทัน ผมจึงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านการทำ�งานจริงที่บริษัทสตาร์ทอัพแห่งหนึ่งใน ซาน ฟรานซิสโก ต่อมาจึงได้ออกมาทำ�ธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้านแฟชั่นเป็นของ ตัวเอง เพราะค้นพบปัญหาที่เพื่อนคนไทยในสหรัฐฯ ไม่มีใครมีสูทที่ใส่ได้ พอดีตัวเลย และเราเองก็พอจะมีคอนเนคชั่นในการหาซัพพลายเออร์รับตัด สูทที่มีฝีมืออยู่ เมื่อมาบวกกับไอเดียด้านการทำ�เทคสตาร์ทอัพ เลยกลายมา เป็นธุรกิจรับตัดสูทออนไลน์ ที่ขณะนั้นก็ถือว่าไปได้ค่อนข้างดี แต่ก็ต้อง ปิดตัวลงหลังจากทำ�ได้เพียง 6 เดือนเพราะปัญหาเรือ่ งวีซา่ การทำ�งาน” แม้จะเจอกับอุปสรรคในช่วงแรก แต่คุณมาโนชก็ไม่ละทิ้งไอเดียธุรกิจ การรับตัดสูทออนไลน์ทดี่ จู ะไปได้สวย จึงได้กลับมาต่อยอดประสบการณ์และ ไอเดียทางธุรกิจนี้ต่อที่ประเทศไทย “สิ่งที่ค้นพบแล้วแตกต่างจากที่อเมริกา อย่างสิน้ เชิงเลยสำ�หรับธุรกิจรับตัดสูทออนไลน์ของเราก็คอื กลุม่ เป้าหมายที่ นี่จะไม่อยากเดินทาง และไม่มีเวลา แต่เรื่องการหาสูทดีๆ ที่พอดีตัวสำ�หรับ ลูกค้าคนไทยไม่ใช่เรื่องยาก นั่นจึงทำ�ให้ผมมองเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ และแบรนด์ Fred&Francis จึงเกิดขึ้น โดยเราโพสิชั่นแบรนด์ให้เป็นร้านขาย เสื้อผ้าผู้ชายที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่ดีที่สุด นั่นคือกลุ่มคนทำ�งานที่มี เวลาน้อย แต่เป็นคนที่ประสบความสำ�เร็จเร็ว อาจเป็นกลุ่มซีอีโอคนรุ่นใหม่ ทีไ่ ม่มเี วลา เพราะต้องทำ�งานเยอะ แต่ตอ้ งการบุคลิกภาพทีด่ ดี ว้ ยชุทสูทสไตล์ หรูหราในราคาที่เอื้อมถึง (Affordable Luxury) ด้วยการบริการที่เข้าถึง ความต้องการของลูกค้ามากทีส่ ดุ นัน่ คือการออกไปเซอร์วสิ วัดตัวลูกค้าแบบ นอกสถานที่ ซึ่งตรงนี้เองที่ทำ�ให้เราแตกต่างจากที่อื่น” ออกแบบบริการและประสบการณ์คือคีย์เวิร์ด “สำ�หรับผม ผมมองว่ามันสำ�คัญมาก เพราะสิ่งที่เราขาย ถึงจะอยู่บน แพลตฟอร์มที่เป็นออนไลน์ แต่สินค้าเราไม่ใช่ดิจิทัลโปรดักส์ แต่เป็นสินค้า ที่จับต้องได้และต้องการความละเอียดอ่อน พิถีพิถัน ทุกขั้นตอนจึงเกี่ยวกับ ประสบการณ์กบั ลูกค้าโดยตรง ซึง่ มันขึน้ อยูก่ บั ปัญหาทีม่ ใี ห้เราแก้ อย่างปัญหา แรกก็คือ ผู้ชายต้องการสูทคุณภาพดีโดยไม่ต้องเสียเวลา ซึ่งตลาดกลุ่มนี้มี อยู่จริงและมีมากขึ้นเรื่อยๆ” หลังจากค้นพบปัญหาในธุรกิจแล้ว คุณมาโนช ก็เริม่ ลงมือค้นหาโซลูชนั่ ด้วยตนเอง “ตอนแรกผมออกไปศึกษาตลาดเองก่อน อย่างเช่นลองไปเป็นลูกค้าของคู่แข่ง พร้อมกับการหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า กลุ่มเป้าหมายในโลกออนไลน์ ซึ่งทำ�ให้ผมได้เข้าใจทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะมาสร้างเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ทำ�ให้เราทำ�งานได้ง่ายขึ้น และ สื่อสารกับลูกค้าได้สะดวกขึ้น ตั้งแต่การสร้างเว็บไซต์ของแบรนด์ ควบคู่ไป กับการทำ�ตลาดออนไลน์ และการสร้างทีมสไตลิสต์” เมือ่ ต้องการสร้างประสบการณ์ทแี่ ตกต่าง ทีมงานทีต่ อ้ งคอยบริการและ มีปฏิสมั พันธ์โดยตรงกับลูกค้า จึงกลายเป็นกลยุทธ์ส�ำ คัญทีส่ ดุ ทีแ่ บรนด์ตอ้ ง ใส่ใจในทุกๆ รายละเอียด “ทีมงานสไตลิสต์ของเราแต่ละคนสามารถเข้าไป พบลูกค้าได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อวัดตัว ออกแบบ เสนอแบบ เสนอเนื้อผ้า กระทั่งลองโครงชุด ไปจนถึงขั้นตอนการส่งชุดสูทที่สำ�เร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง นอกจากทีล่ กู ค้าจะสามารถเลือกวันและเวลาทีส่ ะดวกจะพบกับเราได้เองแล้ว

การเข้าไปพบลูกค้าของสไตลิสต์ ยังเหมือนการออกไปให้คำ�แนะนำ�เรื่อง การแต่งกายจากมืออาชีพแบบส่วนตัวและเป็นกันเอง เพือ่ สร้างประสบการณ์ แบบเอ็กซ์คลูซีฟแตกต่างจากการไปตัดสูทตามร้านทั่วๆ ไป นอกจากนี้ การพบลูกค้าแต่ละครั้ง ทีมงานจะเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดไว้เพื่อ นำ�มาวิเคราะห์ ช่วยให้เราสามารถเข้าใจในความต้องการของลูกค้าได้มาก ขึ้นในการใช้บริการครั้งต่อๆ ไป และสามารถนำ�เสนอสิ่งที่แตกต่างและ เหมาะสมกับลูกค้าได้มากขึ้นกว่าเดิม เช่นเดียวกันกระบวนการเปิดรับ ฟีดแบ็กจากลูกค้าในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อนำ�มาเรียนรู้และปรับรูปแบบ การทำ�งานให้ทันและตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุด” ความท้าทายในธุรกิจ เพราะตลาดร้านรับตัดสูทนั้นก็ยังคงได้รับความนิยม ทั้งยังมีลูกค้าเก่าแก่ที่ เชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าและบริการ การก้าวเข้ามาในตลาดที่ถือว่าเป็น ตำ�นานความดูดีของผู้ชายไทยทั้งประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ไม่งา่ ยนักที่จะต้อง รับมือ “ความท้าทายอย่างหนึ่งที่เราเจอก็คือ คู่แข่งที่มีมานานแล้วและเป็น เจ้าเก่าที่ลูกค้าเคยใช้บริการเป็นประจำ� ทำ�ให้เราต้องทำ�แบรนด์ดิ้งให้ดีขึ้น เรื่อยๆ โดยการสื่อสารถึงตัวเขาผ่านช่องทางใหม่ๆ ที่ทันสมัยและเป็นช่องทาง การสื่อสารของกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ และการ สร้างสรรค์เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ผา่ นช่องทางที่สะดวกและเข้าถึงง่ายอย่าง เว็บไซต์ พร้อมให้คำ�แนะนำ�และโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วทันทีทันใด ซึ่งหลังจากที่เราได้เริ่มธุรกิจนี้มาจนถึงปัจจุบัน (8 เดือน) เรามีลูกค้าแล้ว ไม่ตํ่ากว่า 200 ราย และส่วนที่ท้าทายมากที่สุดก็คือ การสร้างทีมงานที่ ไม่เคยมีมาก่อน นัน่ คือการสร้างทีมงานสตาร์ทอัพทีม่ สี ว่ นผสมของความเป็น แฟชั่น และทีมงานกลุ่มนี้เองที่จะเป็นเสมือนผู้เชี่ยวชาญที่ตอบโจทย์เรื่อง ความมั่นใจในสไตล์การแต่งตัว แต่มีวิธีการเข้าถึงลูกค้าแบบสมัยใหม่ และ ตรงกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันของลูกค้า ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และ เอ็กซ์คลูซีฟ” อนาคตหลังจากนีข้ อง Fred & Francis จึงไม่ใช่แค่การสัง่ สมประสบการณ์ ให้กับทีมงานเพื่อความเป็นมืออาชีพมากขึ้น แต่ยังเป็นการขยายโอกาสทาง ธุรกิจให้แบรนด์ด้วยการเพิ่มโปรดักส์ไลน์ใหม่ๆ ที่ไม่จำ�กัดอยู่แค่เสื้อเชิ้ต และชุดสูทอีกต่อไป พร้อมไปกับการพัฒนาปัจจัยที่จะทำ�ให้ลูกค้ารู้สึกว่า ทุกอย่างสะดวกสบาย และสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ทนี่ า่ ประทับใจได้ อย่างแท้จริง “การดีไซน์ประสบการณ์ที่แตกต่างเป็นสิ่งสำ�คัญในวันนี้ที่เรา กำ�ลังพูดถึง เพราะมันจะทำ�ให้เราประสบความสำ�เร็จ โตเร็ว มีลกู ค้ามากขึน้ มีรายได้และผลประกอบการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ” คุณมาโนชกล่าว Fred & Francis’ Crew Founder x 1 Stylist x 7 Online Marketer x 1 Graphic Designer x 1

CREATIVE THAILAND I 23

Service Experience Process สื่อสารกับลูกค้าผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อนัดหมายวัน เวลา และสถานที่ สไตลิสต์พบลูกค้าครั้งที่ 1 เพื่อทำ�การวัดตัว ให้คำ�แนะนำ� เลือกแบบผ้า ออกแบบ และ นัดหมายเพื่อการลองชุด สไตลิสต์พบลูกค้าครั้งที่ 2 เพื่อให้ลูกค้าลอง ชุด และปรับแก้ไขจุดที่ควรปรับแก้ สไตลิสต์พบลูกค้าครั้งที่ 3 เพื่อนำ�ส่งชุดสูท แบบสำ�เร็จให้กับลูกค้า และรับฟีดแบ็ก


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

จินตนาการถึงเมืองที่มีอากาศอบอุ่น แสงแดดรำ�ไร อยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันอุดม พร้อมด้วยศูนย์รวมทางวัฒนธรรมและ แหล่งศึกษาประวัตศิ าสตร์ชนั้ เยีย่ ม แถมยังแวดล้อมไปด้วยหนุม่ สาวคนรุน่ ใหมทีแ่ บกความฝันพร้อมพลังงานทีม่ อี ยูเ่ ต็มเปีย่ ม ที่นี่คือ “เกนส์วิลล์” รัฐฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา เมืองที่รู้จักกันดีว่าเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยฟลอริด้า (University of Florida) 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐฯ CREATIVE THAILAND I 24


แต่จะมีเหตุผลอะไรที่ทำ�ให้เราไม่อยากอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เพราะทุกปีที่ นักศึกษาจบการศึกษา พวกเขากลับเลือกที่จะออกจากเกนส์วิลล์ เพื่อเดินทางไป เสาะหาโอกาสในเมืองอื่นแทน และปล่อยให้ที่นี่ต้องเผชิญกับปัญหาสมองไหล (Brain Drain) ทั้งๆ ที่เป็นเมืองแห่งมหาวิทยาลัยชั้นนำ�ของโลก

FIRST, Start with One Simple Question

twitter.com/uxgainesville

rehabsci.phhp.ufl.edu

“แล้วจะทำ�อย่างไรให้เกนส์วลิ ล์กลายเป็นเมืองทีส่ ามารถแข่งขันกับเมืองอืน่ ๆ ได้” นีค่ อื โจทย์ใหม่ทอี่ ดีต นายกเทศมนตรีเอ็ด เบรดดี้ (Ed Braddy) และผู้จัดการเมืองเกนส์วิลล์ แอนโทนี ไลออนน์ (Anthony Lyons) ร่วมกันถามขึน้ ในปี 2015 และการตามหาซึง่ คำ�ตอบอย่างจริงจังได้เริม่ ต้นเมือ่ คณะทำ�งานพิเศษ ชื่อว่า “Blue Ribbon Committee” ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อหาคำ�ตอบของคำ�ถามข้อนี้ ให้ได้ เริ่มแรกทีมงานพัฒนาเมืองเกนส์วิลล์ Blue Ribbon Committee ได้ทำ�การศึกษาตัวอย่าง เมืองต้นแบบที่ประสบความสำ�เร็จกว่า 20 เมืองทั่วโลก และพบว่าทุกเมืองมีกลยุทธ์คล้ายๆ กัน นั่นคือ การตัดทอนกฏบางอย่างเพื่ออนุญาตให้การดำ�เนินธุรกิจหรือการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ภายในเมือง เป็นไปได้อย่างลื่นไหล แต่แทนที่เกนส์วิลล์จะเดินตามแบบแผนนั้น เอ็ดคิดว่าสิ่งนี้ยังไม่ใช่คำ�ตอบ เพราะเกนส์วิลล์จะแข่งขันกับเมืองอื่นได้อย่างไร หากเกนส์วิลล์เองยังไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจาก เมืองเหล่านั้นเลย ทีมงานจึงตัดสินใจเดินทางไปศึกษาดูงานที่ซิลิคอน วัลเลย์ ณ เมืองซานฟรานซิสโก และได้แวะไปที่สำ�นักงานใหญ่ของบริษัทออกแบบชั้นนำ�ของโลกอย่าง Ideo ซึ่งที่นี่เอง ที่ทีมงานได้ พบกับวิธีการแก้ปัญหาที่จะทำ�ให้การพัฒนาเมืองของพวกเขาแตกต่างไปจากเมืองอื่นๆ วิธีนั้นเรียกว่า “การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)” ที่เลือกแก้ปัญหาจากมุมมองของผู้ใช้งานหรือลูกค้าเป็น ศูนย์กลาง ทีมงานพัฒนาเมืองเกนส์วิลล์จึงตัดสินใจจ้างบริษัท Ideo ให้มาเป็นที่ปรึกษาในที่สุด “พวกเราได้ข้อสรุปกันว่า เมืองที่ดีก็คล้ายกับบริษัทที่ดี สิ่งจำ�เป็นคือการเริ่มต้นคิดจากมุมมองของ ผู้ใช้งาน (User Experiences) แต่สำ�หรับการพัฒนาเมือง ประชาชนไม่ใช่เพียงแค่ลูกค้า แต่ต้องคิดว่า พวกเขาเป็นนักออกแบบผู้ร่วมพัฒนาบริการที่ภาครัฐกำ�ลังจะมอบให้ประชาชน และผลลัพธ์จะออกมา ดีกว่ามากเลย เพราะประชาชนจะได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆ ไม่ใช่สิ่งที่ภาครัฐคิดว่าประชาชน ต้องการ” แอนโทนีกล่าว

CREATIVE THAILAND I 25


SECOND, Learn to Be More Empathetic กลับมาทีค่ วามตัง้ ใจแรกทีเ่ มืองต้องการแข่งขันได้ แท้จริงแล้ว สิ่งนี้หมายความว่าอย่างไร ทีมงาน Blue Ribbon Committee ได้ตีความถึงความ เป็ น ไปได้ กั บ คำ � ตอบที่ จ ะเป็ น ประโยชน์ กั บ ประชาชน จนได้กรอบของคำ�ตอบกว้างๆ ว่า การแข่งขันได้ในที่นี้ หมายถึงการสร้างเมืองที่ ส่งเสริมให้คนสามารถสร้างสรรค์สงิ่ ต่างๆ ตามที่ คนเมืองต้องการได้ หรือหมายถึงการมีตัวเลือก หลากหลายให้ประชาชนได้เลือกใช้ชวี ติ ไม่วา่ จะ อยู่อาศัย ทำ�ธุรกิจ สร้างสรรค์ศิลปะ หรือศึกษา เล่าเรียน เมืองต้องเอื้อประโยชน์ให้ประชาชน อย่างรอบด้าน เหมือนอย่างทีเ่ จน จาค็อบส์ (Jane Jacobs) นักวางผังเมืองคนสำ�คัญเคยบอกไว้วา่ “จุดมุ่งหมายของการเป็นเมืองที่ดี คือการมอบ ทางเลือกทีห่ ลากหลายให้ประชาชน” คำ�ถามต่อไป ก็คอื แล้วจะสร้างเมืองทีม่ ตี วั เลือกหลากหลายได้ อย่างไร การตามหาคำ�ตอบที่ถูกต้องที่สุดจึงต้อง กลับไปถามประชาชน เพือ่ ให้พวกเขาเป็นผูก้ �ำ หนด ตัวเลือกในการใช้ชวี ติ อยูน่ น่ั เอง และนีค่ อื จุดเริม่ ต้น ของการสร้างเมืองเกนส์วิลล์ เมืองที่ประชาชน เป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centered City) ทีนี้ ลองจินตนาการดูว่า หากมีใครสักคน อยากจัดกิจกรรมในสวนสาธาราณะหรือกิจกรรม เอาท์ดอร์ภายในเมือง เขาจะต้องไปติดต่อใคร ที่ไหน ต้องเดินทางไปเทศบาลเมืองหรือเปล่า แล้ ว จะต้ อ งเข้ า ไปติ ด ต่ อ กั บ แผนกอะไรต่ อ ไป หากคิดในมุมของประชาชนจริงๆ แล้ว จะพบว่า มันไม่งา่ ยเลย ในการทำ�อะไรบางอย่างให้เกิดขึน้ ในเมืองของพวกเขาเอง ทีมงานพัฒนาเมือง เกนส์วิลล์จึงอยากเปลี่ยนแปลงเรื่องเหล่านี้

THEN, Let’s Do It!

(But If You Fail, It’s Ok. Just Do It Again) ทีมงานพัฒนาเมืองเกนส์วิลล์และ Ideo เห็น พ้องกันว่า สิ่งแรกที่จะต้องเปลี่ยนเพื่อช่วยให้ ประชาชนเป็นศูนย์กลางของเมืองได้ก็คือ เมือง ต้องพูดภาษาเดียวกับที่ชาวเมืองพูด การสื่อสาร กับภาครัฐจึงจำ�เป็นต้องง่าย และประชาชนต้อง

เข้าใจได้ในทันทีวา่ ต้องทำ�อะไรต่อไป เมือ่ ก้าวเข้า มาติดต่อกับหน่วยงานราชการ ทีมงานพัฒนา เมืองเกนส์วิลล์จึงจำ�ลองและออกแบบเส้นทาง ประสบการณ์ชาวเมือง (User Experiences) ใน กรณีที่พวกเขาต้องการเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง เกนส์ วิ ล ล์ จึ ง ได้ จั ดตั้ ง หน่ ว ยงานใหม่ ขึ้น ชื่ อ ว่ า “Department of Doing” โดยมีจุดประสงค์หลัก คือการเป็นผูช้ ว่ ยให้ประชาชนในเกนส์วลิ ล์ได้เริม่ ต้นลงมือทำ�ธุรกิจของพวกเขาเอง และนีค่ อื ตัวอย่างบางบริการที่ Department of Doing มอบให้กับประชาชนเกนส์วิลล์ที่มีฝัน อยากมีธุรกิจของตัวเอง บริการวาดฝันให้เป็นจริง (Service Diagram) ไม่ใช่เคล็ดลับอีกต่อไปที่ความสำ�เร็จของธุรกิจ ต้องเริม่ ต้นด้วยการวางแผนและออกแบบเส้นทาง ทำ�ธุรกิจอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบ บริการ แรกทีจ่ ะช่วยให้คนมีฝนั ได้มองเห็นภาพรวมธุรกิจ ได้ชดั เจนก็คอื การให้ความรูเ้ รือ่ งเส้นทางการทำ� ธุรกิจอย่างเป็นขั้นตอนด้วย Service Diagram ทีใ่ ห้ความรูเ้ รือ่ งเส้นทางทำ�ธุรกิจทีน่ กั ฝันต้องเจอ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสุดปลายทาง CREATIVE THAILAND I 26

เขียนการ์ดกำ�หนดฝัน (Build Business Journey Cards) เมื่อรู้เส้นทางที่ต้องเดินตลอดสายทางความฝัน แล้ว บริการต่อไปที่หน่วยงาน Department of Doing เตรียมการไว้ให้ก็คือ ชุดการ์ดเส้นทางทำ� ธุรกิจ ที่อนาคตนักธุรกิจรุ่นใหม่ของเกนส์วิลล์จะ สามารถเขี ย นเส้ น ทางทำ � ธุ ร กิ จ ตามขั้ น ตอน ที่ ว างแผนไว้ ไ ด้ อ ย่ า งละเอี ย ดและรอบคอบ เคียงข้างไปกับผู้เชี่ยวชาญทางธุรกิจที่คอยให้ ความรู้ แ ละคำ � ปรึ ก ษาตลอดเส้ น ทางฝั น ของ พวกเขา เลิกฝันแล้วลงมือทำ� (Action Officer) เพราะคงไม่มปี ระโยชน์อะไร หากวางแผนแล้วไม่ ลงมือทำ� Action Officer หรือคนกลางที่เป็น ผู้รู้เรื่องธุรกิจและนโยบายภายในเมือง จึงมีบริการ ให้ความรูแ้ ละช่วยเหลือดูแลเรือ่ งเอกสารไปจนถึง การติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ที่นักธุรกิจรุ่นใหม่ จำ�เป็นต้องรู้ แผนกนีจ้ งึ เป็นเสมือนไกด์น�ำ ทางให้ อนาคตนักธุรกิจในเกนส์วลิ ล์ได้ขยับเข้าใกล้ฝนั ที่ กำ�ลังจะเป็นจริงขึ้นอีกขั้น


และก็เหมือนกับการทำ�ธุรกิจ ที่คงจะง่าย เกินไปหากจะคาดหวังว่า แผนธุรกิจที่วางไว้ใน ตอนแรกจะประสบความสำ�เร็จได้ง่ายๆ ทีม พั ฒ นาเมื อ งเกนส์ วิ ล ล์ ก็ ต ระหนั ก ในเรื่ อ งนี้ ดี เช่นกัน พวกเขาจึงได้จดั ตัง้ อีกหนึง่ หน่วยงานใหม่ ขึ้นด้วย นั่นคือ Department of Measuring ที่ ทำ � หน้ า ที่ วั ด ผลการทำ � งานของหน่ ว ยงาน Department of Doing ซึ่งจะคอยเก็บฟีดแบ็ก รั บ ฟั ง เสี ย งตอบรั บ ของประชาชนหลั ง การใช้ บริการกับทางภาครัฐ รวมถึงวิเคราะห์ผลลัพธ์ ที่ได้ เพื่อนำ�ไปพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการ ที่ดีขึ้นกับชาวเมืองเกนส์วิลล์ในครั้งต่อไป ซึ่งทีม พัฒนาเมืองก็คาดหวังว่า วิธกี ารนีจ้ ะเป็นจุดเริม่ ต้น ที่ช่วยดึงดูดให้ประชาชนได้มีโอกาสแสดงความ

สามารถที่มีอยู่ ด้วยการลองเริ่มทำ�ธุรกิจของ ตัวเองภายในเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่ และช่วย หยุดภาวะสมองไหลที่กำ�ลังเกิดขึ้นอยู่ได้ แม้แผนการสร้างเกนส์วิลล์ที่ตั้งใจจะทำ�ให้ ประชาชนเป็นศูนย์กลางของเมือง (CitizenCentered City) เพิง่ จะอยูใ่ นช่วงเริม่ ต้น ทีต่ อนนี้ ยังไม่อาจเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน ความพยายามใน การตอบคำ�ถามที่ว่า จะทำ�อย่างไรให้เกนส์วิลล์ เป็นเมืองที่แข่งขันได้ จึงยังคงอยู่ในช่วงเวลา แห่งการทดลองและทดสอบเพื่อหาวิธีการที่ใช่ สำ�หรับคนเมืองเกนส์วิลล์ต่อไป แต่หากมองใน แง่ดี จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองที่คิดมาจาก ภาคประชาชนก่อน ก็นา่ จะเป็นสัญญาณของการ ขับเคลื่อนเมืองไปข้างหน้าได้อย่างดีทีเดียว

NEED SOME TIPS? “Fail Early, Often, and Small” “ความล้มเหลวไม่ใช่สง่ิ ทีอ่ นุญาตให้เกิดขึน้ ได้ในวัฒนธรรมการทำ�งานของภาครัฐ” แอนโทนีกล่าว ทัง้ ๆ ที่เขาก็รู้ดีว่ามันไม่จริง มีครั้งหนึ่งที่ทีมงานพัฒนาเมืองเกนส์วิลล์ได้ลองทดสอบวิธีการสื่อสารแบบ ใหม่ เพื่อให้ภาครัฐได้เข้าถึงความต้องการของชาวเมืองมากขึ้น โดยจัดแคมเปญที่ชื่อว่า “Mobile City Hall” ซึง่ มีคอนเซ็ปต์วา่ แทนทีป่ ระชาชนจะต้องเดินทางเข้ามาติดต่อกับภาครัฐในอาคารสำ�นักงาน ก็ลองยกหน่วยงานราชการไปอยูต่ ามสถานทีต่ า่ งๆ เพือ่ อำ�นวยความสะดวกให้ชาวเมืองมากขึน้ แทน ตัวอย่างเช่น จัดตั้งบริการให้คำ�ปรึกษาและให้ข้อมูลเรื่องงานสำ�หรับคนว่างงานในสวนสาธารณะ แต่สดุ ท้ายทีมงานก็พบว่า แคมเปญนีไ้ ม่เวิรก์ เพราะไม่ได้การตอบรับที่ดีจากประชาชน “พวกเราได้ เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายจากความล้มเหลวครั้งนี้ ซึ่งมันทำ�ให้เรารูว้ า่ ครัง้ หน้าจะต้องทดสอบและ ทำ�โปรเจ็กต์ใหม่ให้ดขี น้ึ ได้อย่างไร” แอนโทนีกล่าว

“Keep Testing Until It Works!” อี ก หนึ่ ง ตั ว อย่ า งที่ ที ม งานพั ฒ นาเมื อ ง เกนส์วลิ ล์และ Ideo ได้รว่ มกันทดลองทำ� ขึ้นก็คือ การทดสอบประสบการณ์ขา้ ม ถนนแบบใหม่ ที่จะช่วยลดอุบัติเหตุและ เพิ่มความปลอดภัยให้กับคนข้ามถนน มากขึน้ โดยการทดลองทำ�โมเดลโฟมเป็น รูปกำ�ปัน้ ใหญ่ๆ (Fist Bump) ครอบไว้บน ปุม่ กดก่อนข้ามถนน เพือ่ ดึงดูดให้คนที่รอ ข้ า มถนนไม่ ลืม ที่จ ะชนกำ � ปั้น กั บ ปุ่ม นี้ ก่อนข้าม และสร้างความรู้สึกว่าการได้ ชนกำ�ปัน้ กับปุม่ ข้ามถนนเป็นเรือ่ งน่าสนุก แทนความรูส้ กึ ทีว่ า่ จะต้องกดปุม่ ข้ามถนน เพราะทำ�ตามกฎจราจร และการทดลองนี้ ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากชาวเมือง

DID YOU KNOW?

แหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งของเมืองเกนส์วลิ ล์ตง้ั อยู่ ในมหาวิทยาลัยฟลอริดา้ ซึง่ เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็น อันดับ 6 ของสหรัฐอเมริกา ภายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของพิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะ Samuel P. Harn ที่บรรจุ ผลงานศิลปะไว้กว่า 6,000 ชิน้ และยังมีสนามกีฬา Ben Hill Griffin ทีช่ าวเมืองนิยมมาเชียร์กฬี าอเมริกนั ฟุตบอล กันทีน่ ่ี นอกจากนี้ หลายอาคารภายในมหาวิทยาลัยยัง เป็นตึกอนุสรณ์สถานที่เก่าแก่และเป็นทีน่ ิยมสำ�หรับนัก ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ท่ามกลางการจัดอันดับเมืองต่างๆ กว่า 200 เมือง ทัว่ สหรัฐฯ จากสือ่ หลายสำ�นัก อาทิ Forbes, U.S. News, World Report และ Huffington Post เกนส์วลิ ล์ได้รบั การจัดอันดับให้เป็นเมืองทีเ่ หมาะสำ�หรับการอาศัยอยู่ หลังวัยเกษียณมากทีส่ ดุ เป็นอันดับ 3 เพราะนอกจาก จะเป็นเมืองทีเ่ หมาะสำ�หรับผูส้ งู อายุทยี่ งั รักการเรียน รู้ในรั้วมหาวิทยาลัยฟลอริด้า ซึ่งจัดโปรแกรมการ เรียนสำ�หรับผูใ้ หญ่ให้แล้ว เกนส์วลิ ล์ยงั เป็นเมืองทีไ่ ม่ ไกลจากชายหาดแสนสวยของฟลอริดา้ อากาศอบอุน่ พร้อมแสงแดดสดใส รวมทั้งยังมีแหล่งพักผ่อนเชิง ธรรมชาติมากกว่า 30 แห่งอยูท่ วั่ เมือง ทีม่ าพร้อมกับ กิจกรรมกลางแจ้งหลากหลาย ตัง้ แต่วา่ ยนาํ้ ตกปลา ปัน่ จักรยาน และชมสัตว์ปา่

ที่มา: บทความ “How One Florida City Is Reinventing Itself With UX Design” (31 ตุลาคม 2016) จาก fastcodesign.com / บทความ “Most Affordable Cities to Retire” (กรกฎาคม 2014) จาก thesimpledollar.com / บทความ “ท่องเที่ยว Gainesville” จาก expedia.co.th / รายงาน “The City of Gainesville” (เมษายน 2015) จาก Blue Ribbon Report / วิกิพีเดีย CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

ภาพใหญ่ในความคิดของคนทั่วไปเกี่ยวกับนักธุรกิจตระกูล “พูลวรลักษณ์” คงหนีไม่พ้นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับความบันเทิง และการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ประสบความสำ�เร็จอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่การที่ วิชัย พูลวรลักษณ์ ประธาน กรรมการบริหาร บริษัท วรลักษณ์ พร๊อพเพอร์ตี้ จำ�กัด (มหาชน) หรือ W Property นักพัฒนาผู้เป็นเจ้าของอาณาจักร ไลฟ์สไตล์สดุ ยิง่ ใหญ่อย่าง W District ย่านพระโขนงเป็นธงรบสำ�คัญ หันมาร่วมมือกับโปรเจ็กต์ทใี่ ส่ใจ “ผูใ้ ช้” รายเล็กๆ และ คนรุ่นใหม่มาเป็นอันดับแรกอย่าง TCDC Commons ร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เพื่อเปิดพื้นที่แห่งการ เรียนรู้และบ่มเพาะไอเดียสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานสำ�คัญมาจากแนวคิดเรื่องการเข้าใจประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) อย่างจริงจัง อาจเป็นก้าวสำ�คัญก้าวใหม่ของกลุ่ม W Property ที่งานนี้ไม่ได้มีแค่คำ�ว่า “ทางลัด” CREATIVE THAILAND I 28


เริ่มจากสิ่งที่ทำ�อยู่ตอนนี้อย่างเรื่องธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ W Property มองตลาดอสังหาฯ เป็นอย่างไรบ้างในช่วงนี้ และอนาคตใกล้ๆ ต้องบอกว่าธุรกิจอสังหาฯ ทำ�ยากขึ้น ด้วยข้อจำ�กัดของเศรษฐกิจเอง หรือ ภาวะที่รายใหญ่กินรายเล็ก การเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์กับนอก ตลาดหลักทรัพย์ มีความได้เปรียบ-เสียเปรียบแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน ตัง้ แต่โอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร บวกกับต้นทุนทีต่ าํ่ กว่า หรือความได้เปรียบ เรื่องเครดิตอะไรแบบนี้ พอมาดูเรื่องการขาย รายใหญ่ก็ได้เปรียบอีกเพราะ มีเครือข่ายและความน่าเชื่อถือจากการเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ บวก กับเศรษฐกิจสองสามปีนไี้ ม่คอ่ ยดี ก็จะกระทบมากในกลุม่ ผูซ้ อื้ รายเล็ก พวก ราคาประมาณสองล้านลงไปก็จะเป็นปัญหา อย่างนโยบายใหม่ที่เข้มงวดใน การปล่อยกูม้ ากขึน้ ของสถาบันการเงิน ซึง่ ก็จะยิง่ ไปบีบกลุม่ ผูซ้ อื้ กลุม่ นีท้ สี่ ว่ น ใหญ่เป็นเด็กจบใหม่ เพิ่งมีรายได้ แต่ก็มีความสามารถ ตลาดตรงนี้มันเลย ค่อนข้างผกผัน เพราะฉะนัน้ โดยรวมๆ เศรษฐกิจยังคงรวยกระจุกจนกระจาย แล้วก็กลายเป็นดีอยู่กลุ่มเดียวคือกลุ่มบน แต่การที่เราเองก็เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการกลุ่มแรกๆ ที่เน้นเรื่องของ การสร้างนวัตกรรม การใส่ความคิดสร้างสรรค์ และการมีวิธีคิดที่แตกต่าง นอกกรอบ อย่าง W District ทีเ่ ริม่ มาเป็นโครงการแบบมิกซ์ยสู รายแรกๆ เรา มีโรงแรม ก็เป็นโรงแรมที่มีความครีเอทีฟเยอะ มีความร่วมมือจากศิลปิน มีการออกแบบที่ไม่เหมือนคนอื่น ทำ�คอนโดที่มีเอกลักษณ์ มีความสูงใหญ่ พิเศษถึง 50 ชัน้ จนเป็นคอนโดทีส่ งู ทีส่ ดุ ในเส้นสุขมุ วิทนี้ หรือการมีสกายวอร์ก อยู่บนชั้น 46 ที่กลายเป็นร้านอาหาร เป็นเสน่ห์และจุดขายของคอนโดให้คน เขามา หรืออย่างล่าสุดทีเ่ ราทำ�โครงการ E88 Bangkok และ U-691 ก็เป็นอะไร ทีค่ นรุน่ ใหม่ก�ำ ลังถวิลหา อยากได้ อยากเจอ เพราะมันเป็นพืน้ ทีอ่ อฟฟิศแบบ โคเวิรก์ กิง้ สเปซซึง่ จะช่วยเปิดโอกาสใหม่ให้พวกเขาด้วยต้นทุนที่ตํ่า รวมไปถึง การต่อยอดไปร่วมมือกับ TCDC ซึ่งในวันนี้ ที่นี่ก็ถือเป็นศูนย์รวมแหล่ง เรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ ที่อยากจะใช้ชีวิตให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว เราก็พยายามจะทำ�ให้ตัวเราทุกคนเด็กลง เพื่อรองรับกับคนรุ่นใหม่ ที่กำ�ลังจะเติบใหญ่ขึ้นมาแล้วเป็นกำ�ลังสำ�คัญของธุรกิจในอนาคต อยากจะ ไปกับเขา ไปสัมผัสความคิด วิธีคิดของเขา แล้วเมื่อเขาทำ�อะไรไปแล้ว ก็ หวังว่าเขาจะประสบความสำ�เร็จ แล้วเราก็จะสำ�เร็จไปกับเขาด้วย นีเ่ ป็นทีม่ า เลยว่า ทำ�ไม W Property ถึงมีความครีเอทีฟและอินโนเวทีฟอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าวิธีคิดของเรา พยายามจะไปพร้อมๆ กับคนรุ่นใหม่

เราก็พยายามจะท�ำให้ตวั เราทุกคน เด็กลง เพื่อรองรับกับคนรุ่นใหม่ ที่ก�ำลังจะเติบใหญ่ขึ้นมาแล้วเป็น ก�ำลังส�ำคัญของธุรกิจในอนาคต อยากจะไปกับเขา ไปสัมผัสความคิด วิธีคิดของเขา แล้วเมื่อเขาท�ำอะไร ไปแล้ว ก็หวังว่าเขาจะประสบความ ส�ำเร็ จ แล้ ว เราก็ จ ะส�ำเร็ จ ไปกั บ เขาด้วย ศิลปะ บวกกับสถานที่เรามีอัตลักษณ์ชัดเจน ข้างในเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 12 ไร่ เราจึงอยากทำ�ข้างในให้เป็นเมือง ก็เลยเป็นที่มาของ W District ที่มี สตรีทอาร์ท จนในที่สุดเราก็มีผลงานศิลปะอยู่ในพื้นที่ถึง 3,000 กว่าชิ้นให้ ดูฟรี ตอนที่เราคุยกับ TCDC ก็เหมือนกับเนื้อคู่ที่ต่างคนต่างหากัน เราก็ได้ รู้ว่าจริงๆ งานอาร์ทมันควรขยายไปให้ถึงคำ�ว่า “ครีเอทีฟ” เพราะความคิด สร้างสรรค์มันเป็นพื้นฐานของทุกๆ อย่าง คุณโท (อาคเนย์ ภววัฒนานุสรณ์ ผู้อำ�นวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจพิเศษของ W Property) ก็เอาโปรเจ็กต์ TCDC COMMONS ของ TCDC มาเสนอ ในจังหวะที่ TCDC ย้ายไปเจริญกรุงพอดี มันก็เกิดสุญญากาศขึ้นมาในโซนนี้ คุณโทก็เลยเสนอตัวจะทำ�สิ่งที่เราฝันใน หลายปีมานี้ให้มันเป็นจริงมากขึ้น โดยเลือกหัวข้อที่เป็น UX ซึ่งดูแล้วเป็น อะไรทีน่ า่ จะตอบโจทย์คนรุน่ ใหม่มากกว่า เพือ่ สร้างเป็นเมืองทีอ่ ดุ มสมบูรณ์ ไปด้วยคนรุ่นใหม่ แล้วก็เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผมว่ามันดีนะ

อะไรทีท่ �ำ ให้เลือกว่าสิง่ ทีจ่ ะสร้างความแตกต่างให้ W Property ต้องเป็นเรื่องของศิลปะหรือความครีเอทีฟ ก็ต้องบอกว่า รายอื่นเขาก็มีจุดแข็งของเขาชัดเจน ดังนั้นถ้าจะสร้างพื้นที่ ที่เหมือนเขาขึ้นมา ถ้าเราไม่มีจุดแข็งเท่าเขา เราก็ต้องใช้จุดอ่อนของเขา ก็คือจุดที่เขาไม่ทำ� สิ่งนั้นก็คือการทำ�งานเกี่ยวกับอาร์ทหรือครีเอทีฟ ซึ่งผม ก็โชคดีที่เจอพี่จารุต วงศ์คำ�จันทรา ผู้อำ�นวยการ Hof Art Space ที่มา จุดประกายวิธคี ดิ ว่างานศิลปะมันมีตลาดของมันอยู่ แต่วา่ มันไม่มคี นส่งเสริม พอดีกับที่เราก็อยากจะได้มาทำ�ให้ของๆ เรามีความแตกต่าง แล้วถ้าเราจะ โต เราอยากจะโตในวิธีคิดที่นอกกรอบ เพราะถ้าคิดเหมือนเขา เราก็สู้เขา ไม่ได้อยูด่ ี เพราะเรามาทีหลัง อีกอย่างมันตรงกับจริตเราด้วย ทีเ่ ราเองก็ชอบ CREATIVE THAILAND I 29


เหมือนว่าเรากำ�ลังจะเปลีย่ นจากจุดขายทีเ่ ป็นงานอาร์ท มาเป็น ความคิดสร้างสรรค์ที่น่าจะสร้างคุณค่าบางอย่างที่สำ�คัญ ผมเชือ่ ว่าโลกของความเป็นจริง มนุษย์ทกุ คนมีความเป็นอาร์ทติสในตัวอยูแ่ ล้ว ซึง่ มันก็มาจากความครีเอทีฟทีอ่ ยูใ่ นฝันลึกๆ ของแต่ละคน ถ้าเขาเป็นสถาปนิก เขาก็จะสร้างสรรค์ฝนั ด้วยลายเส้นออกมาเป็นอาคารรูปแบบต่างๆ ทีส่ วยงาม ได้ ไม่วา่ จะเป็นอาชีพอะไร คุณต้องมีฝนั หรือมีครีเอทีฟอยูใ่ นใจ แล้วถ้าแปลง สิง่ นัน้ ออกมาให้จบั ต้องได้ในชีวติ จริง มันก็คอื สิง่ ทีม่ คี า่ มหาศาล ประเทศเรา โตเพราะอะไรล่ะ ก็เพราะเราคิด และเราพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่เรามี อย่าง W Property เราก็มีดีเอ็นเอในการเป็น Creative Living มาตั้งแต่ต้น ซึ่งสิ่งที่เราคาดหวังในวันนี้ก็คือ เรามองตัวเองเป็นพื้นที่ที่ให้โอกาส ในแง่ของ UX ผมคิดว่าร้อยคนที่มีฝัน ใช่ว่าจะสำ�เร็จทั้งร้อยคน เพราะ อย่างงัน้ สิง่ ทีเ่ ขาควรจะได้กค็ อื หนึง่ เขาควรจะได้สถานทีท่ ลี่ ดความเสีย่ งให้ เขา จากร้อยคนทำ�ให้ซัคเซสซัก 10 คน ผมก็ถือว่าโอเค อีก 90 คนได้ ประสบการณ์ออกไป ผมก็ถือว่าโอเคเช่นกัน จริงๆ แล้ว มันไม่จำ�เป็นว่า ผลลัพธ์จะเป็นยังไง ที่สำ�คัญที่สุดคือคุณได้ประสบการณ์อะไรไปพัฒนา ต่อมากกว่า เราเลยมองตัวเองเป็นพื้นที่ เป็นสาธารณูปโภคที่ช่วยให้เขา ตอบโจทย์ และได้โอกาส

คุณต้องมีฝันหรือมีครีเอทีฟอยู่ ในใจ แล้ ว ถ้ า แปลงสิ่ ง นั้ น ออก มาให้ จั บ ต้ อ งได้ ใ นชี วิ ต จริ ง มั น ก็คือสิ่งที่มีค่ามหาศาล ประเทศ เราโตเพราะอะไรล่ ะ ก็ เ พราะเรา คิ ด และเราพั ฒ นาต่ อ ยอดจาก สิ่งที่เรามี

แล้วคาดหวังว่า คนที่เขามาที่นี่ จะเข้ามาทำ�อะไรหรือได้อะไร ออกไปบ้าง อันดับแรกคือเราต้องการจุดประกายความครีเอทีฟให้เขาก่อน ที่ TCDC COMMONS นี่จะแบ่งเป็นโมเดลที่เราคิดไว้ ยิ่งพอเราได้มาทำ�เวิร์กช็อปกับ ทีม UX เราก็ได้เรียนรู้ว่ามันมีกลุ่มคนประเภทหนึ่งที่มีฝัน แต่ไม่รู้จะเริ่มจาก จุดไหนดี สำ�หรับคนกลุม่ นี้ ผมก็อยากบอกว่าคุณมาเถอะ อย่างน้อยคุณอาจ จะได้ค�ำ ตอบกลับไป กลุม่ ทีส่ องคือกลุม่ คนที่เริม่ ต้นได้แล้ว แต่ตอ้ งการสถานที่ ที่จะต่อยอดได้อย่างมั่นคง เราก็อาจเป็นสถานที่ที่ช่วยซัพพอร์ต แล้วก็ช่วย ให้คุณได้มีโอกาสเจอกับคนอื่น เกิดเป็นคอมมูนิตี้คนทำ�งานสร้างสรรค์ที่ แบ่งปันไอเดียกันได้ ผมว่าตรงนีม้ นั เป็นประโยชน์ของคนทีอ่ ยากจะทำ�ต่อ หรือ เริ่มต้นได้ง่ายขึ้น แล้วเราไม่ได้มีแค่สเปซให้คุณเริ่มต้นธุรกิจ ให้คุณทำ�งาน แต่เรามีสเปซให้คุณจัดประชุมสัมมนา หรือเปิดตัวสินค้าอะไรสักอย่างก็ได้ แล้วอาจจะทำ�ให้คุณหาลูกค้าได้ง่ายขึ้น หรือทดสอบอะไรได้ง่ายขึ้น

CREATIVE THAILAND I 30


ถ้ า เราเป็ น คนที่ ใ ห้ โ อกาสเขาเป็ น คนแรกๆ เราหวั ง ว่ า วั น หนึ่ ง ข้ า งหน้ า เขาอาจจะโต ร้อยเปอร์เซ็นต์ พันเปอร์เซ็นต์ แล้วเราก็จะ เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตนั้น

อะไรคือโอกาสที่จำ�เป็นที่สุดสำ�หรับคนกลุ่มที่เป็นสตาร์ทอัพ รุ่นใหม่ๆ คือวันนี้เรามองว่า สำ�หรับเจนวาย เจนซี เขายังไม่มีกำ�ลังที่จะมาเริ่มต้น ธุรกิจด้วยตัวเอง ถ้าเราเป็นคนที่ให้โอกาสเขาเป็นคนแรกๆ เราหวังว่า วันหนึ่งข้างหน้า เขาอาจจะโตร้อยเปอร์เซ็นต์ พันเปอร์เซ็นต์ แล้วเราก็จะ เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตนั้น ซึ่งวันนี้เรากำ�ลังครีเอทคนกลุ่มใหม่ เหมือน เป็นห้องฟักไข่ เป็นแล็บให้เขาฟักตัว แล้วแตกออกมามีชีวิตรอดได้ เขาเริ่ม จากเรา เขาก็อาจไปกับเราได้ วันนีเ้ ด็กรุน่ ใหม่เองก็กล้าทีจ่ ะออกจากทีท่ �ำ งาน มาทำ�สิ่งที่ตัวเองอยากทำ�มากขึ้น เราเลยคิดว่าเราเป็นคนที่สนับสนุนเรื่อง พื้นฐานก่อน อย่างพื้นที่ แต่ถ้าไปอีกสเต็ป เราก็จะพัฒนาไปเป็น Mentor (ผู้แนะนำ�) เข้าไปกระตุ้นให้เขากล้าคิดกล้าแสดงออก แล้วเราก็อาจเป็น นักลงทุนทีร่ ว่ มลงทุนกับเขาก็ได้ ซึง่ สิง่ ต่างๆ เหล่านีเ้ ราพร้อมทีจ่ ะทำ� ซึง่ มัน เป็นอนาคตของพวกเราที่จะไปกระทบกับภาครวมได้ มีผลต่อเศรษฐกิจของ ประเทศ คือผมไม่เชือ่ ว่าคนไทยสูต้ า่ งชาติไม่ได้ เราเก่งเยอะแยะ ชนะรางวัล ทีห่ นึง่ ในโลกเต็มไปหมด แต่เราอยากให้เริม่ เล็กๆ จากทีเ่ ราก่อน ถ้าไม่มใี คร คิดอย่างนี้เลย ถ้ามันมีนักธุรกิจเน้นรวย ทำ�งานด้วยวิธีเดิมๆ มันก็จำ�เจไป แล้วเราจะสร้างอะไรให้แผ่นดินทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังใช้ต่อ มันก็ไม่มี มองอนาคตของการทำ�งานในโปรเจ็กต์นี้ไว้มากขนาดไหน ถ้าไม่ใช่แค่เรือ่ งกำ�ไร-ขาดทุน หรือกำ�ลังมองหาความสำ�เร็จใน รูปแบบอื่น วันนี้ผมมีเพื่อนเยอะ เพื่อนที่เป็นนักธุรกิจจ๋าเลยก็มี ที่เป็นอาร์ทติสก็มี บางคนอายุ 40 กว่าๆ ก็เกษียณแล้ว บอกว่าพอแล้ว ไม่ทำ�อะไร แต่ไปทำ� สิ่งที่ตัวเองอยากทำ� บางคนก็เดินทางทั่วโลก แบกเป้ไปจับปลา ไปเล่นกับ ฉลาม ดำ�นํ้าลึก แข่งกัน ถามว่าส่วนตัวเราต้องการอะไร ผมไม่ได้ต้องการ เงินนะ ผมว่าถ้าเงินมันมีเกินจุดหนึง่ ความจำ�เป็นก็ไม่มี แต่เราอยากจะสร้าง สังคมที่ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถ เราช่วยให้เขาได้โชว์ ความสามารถของเขาออกมา แล้วเราอยากมีส่วนร่วมในความสำ�เร็จกับเขา ด้วย ซึ่งการจะทำ�ตรงนี้มันต้องอึดพอสมควร ต้องใช้เงิน ใช้สถานที่ ใช้เวลา วันนี้ผมไม่ได้เป็นบริษัทที่มีกำ�ไรเยอะ ไม่ได้โตเยอะนะครับ แต่ว่าเราเป็น องค์กรที่มีคุณภาพ แล้วเราจะสร้างสิ่งที่ดีในกับสังคมเยอะๆ สร้างคนที่มี

คุณภาพได้ คือเงินไม่ต้องเยอะ แต่ความสุขทางใจอาจเยอะ นี่ก็คือสุขนิยม อีกแบบ คือทำ�ให้คนอื่นมีความสุข แล้วเราก็มีความสุขด้วย มันเป็นปรัชญา ในการดำ�เนินการ คือเป็นเรื่องที่นักธุรกิจคนอื่นๆ อาจไม่อยากทำ� เพราะ มันอาจจะเท่าทุน หรือไม่มีกำ�ไร แต่เราก็เลือกจะทำ� เพราะถ้าสังคมไม่มี สิ่งเหล่านี้ มันก็แค่ทำ�ให้ได้เงินแล้วจบไป เงินมันเกินความจำ�เป็น ก็ไม่ได้ใช้ เราจะไปกินวันละสิบมื้อได้ไง จะกินวันละเป็นแสนได้ยังไงทุกวัน คือเรา พอเพียง เรามีความสุข แล้วเราก็แฮปปี้กับมันแล้ว ในมุมมองของคุณวิชัย คิดว่า UX มันมีความสำ�คัญอย่างไร กับการทำ�ธุรกิจ ทำ�ไมเราต้องเข้าใจ หรือต้องทำ� ผมว่าทุกวันนีเ้ ทคโนโลยีมนั ไปเร็ว พฤติกรรมลูกค้าก็เปลีย่ นเร็วตามเทคโนโลยี พอข้อมูลมันมาเร็ว มาเยอะ คนก็เลือกสิง่ ทีต่ วั เองชอบได้งา่ ยขึน้ แล้วผูบ้ ริโภค ก็ถกู ย่อยลงเป็นหลายกลุม่ มาก จนเราต้องรูจ้ กั เขาจริงๆ เราถึงจะขายได้ คือ นักธุรกิจทำ�สินค้ามา เราไม่รู้หรอกว่าลูกค้าจะชอบแบบไหน ผมคิดว่าวันนี้ การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน กับการเรียนรู้จากคนอื่น มันต่างกัน คือถ้าอยาก เรียนรู้ซึ่งกันและกัน มันต้องใช้เวลาศึกษาดูใจ นิสัย ความต้องการ ใช้เวลา เยอะ แต่ถ้าเราเรียนรู้จากบุคคลอื่นมันเหมือนช่วยร่นเวลา เช่น คนอ่าน หนังสือเยอะ เขาอ่านชีวประวัติของคน คนนี้ประสบความสำ�เร็จ คิดแบบนี้ สำ�เร็จ คิดแบบนี้เฟล เขาก็ต้องเดินตามวิธีของคนที่สำ�เร็จ ผมเลยบอกว่า เทคโนโลยีมันพาเราไปลึก ไปไกล และใหญ่จนเรารู้ได้ทุกอย่าง เรามี ห้องสมุดเคลื่อนที่ในปลายนิ้วสัมผัส แต่สำ�คัญคือวิธีคิด ที่เป็นอะไรที่ไม่ สามารถเรียนรู้ได้จากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต คุณต้องไปวินิจฉัยเอาเองว่า อันนี้มันดีหรือไม่ดี แต่ UX มันจะมาร่นเวลา เพราะมันเหมือนแล็บในความ คิดที่เราเอามาทดสอบความจริงว่า สิ่งที่เราคิดมันถูกหรือผิด ปุ่มกดแบบนี้ วิธีคิดแบบนี้ คนแบบนี้จะชอบไหม ถ้าไม่ชอบ ไม่ทำ�ต่อ แปลว่ามันเฟล ดีกว่าต้องไปทำ�จริง ลองจริง ผลิตจริง ทำ�แบบสอบถาม มันร่นเวลาไปเยอะ เหมือนพอจะเริ่มขับรถตกไหล่ทาง มันมีเครื่องเตือนไม่ให้รถควํ่า คือ สมัยก่อนไม่มี มันต้องคว่ำ� ต้องเจ็บไปก่อน ถึงจะกลับมาขับรถดี แต่ UX มันชัดเจน เพียงแต่ว่าเราจะมีความฉลาดในสิ่งที่เราเรียนรู้มามากน้อย แค่ไหน และจะใช้มันเป็นอย่างไรเท่านั้นเอง

CREATIVE THAILAND I 31


คือทุกอย่างเราเตรียมไว้หมดแล้ว แต่เรือ่ งของความคิดจะต้อง พัฒนาเอง คือทุกวันนี้เราเห็นข้อมูลเดียวกัน แต่เราตัดสินใจไม่เหมือนกัน เพราะ ประสบการณ์เราต่างกัน เราก็มีหน้าที่เหมือนคอยซัพพอร์ตเขาเท่านั้น ส่วนเรื่องการตัดสินใจก็ต้องเป็นเรื่องของแต่ละคน ผมว่าสถานที่แบบนี้ มันต้องมีเยอะขึ้น ผมอยากเห็นมากขึ้นเยอะๆ เลย อย่างในประเทศที่ พัฒนาแล้ว ก็จะมีหน่วยงานแบบนี้เกิดขึ้นเยอะ เพราะประเทศเขามี ชนชั้นกลางเยอะ แปลกนะครับ ประเทศพวกนี้ไม่ค่อยมีคนรวย เพราะเขา คิดว่าจะรวยไปทำ�ไม ต้องเสียภาษีเยอะ ทำ�งานเยอะก็ไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว เขาก็จะกระจุกตัวอยู่ประมาณนี้ แต่ก็ไม่มีคนจนด้วย เป็นคนตรงกลาง 80% ถามว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง ก็เกิดจากการเรียนรู้พวกนี้ เพราะเขามีความ แข็งแรงในการให้ข้อมูลความรู้พื้นฐานพวกนี้ดี ฉะนั้นถ้าเกิดเราสามารถลด ช่องว่างให้มาอยู่ตรงกลางได้ มันก็จะทำ�ให้ประเทศแข็งแรงโดยธรรมชาติ เราก็ช่วยสังคมทางอ้อมแบบนี้

สไตล์การทำ�งานและการใช้ชีวิต มีคนถามผมเล่นๆ ว่าทำ�งานสัปดาห์ละกี่วัน ผมบอกว่าทำ�สัปดาห์ละ 7 วัน แล้วถามว่าพักผ่อนกี่วัน ผมก็บอกว่าพักผ่อน 7 วัน เพราะผม ทำ�งานบนความเอ็นจอยไลฟ์ เท่ากับว่าเราทำ�งานไปด้วย พักผ่อนไป ด้วย เราสนุกกับมัน เราก็จะไม่มีความเหนื่อยหรือเบื่อ แต่ความสุข เกิดขึ้นได้ตลอดทุกวันทุกเวลา เราทำ�ชีวิตให้เป็นปกติที่สุด อยากทำ� อะไรก็ทำ� ออกกำ�ลังกาย กินข้าว ไปเที่ยว เจอเพื่อนฝูง เข้าสังคม ทำ�งาน คุยกับผู้คน ซึ่งทำ�ให้เราได้ความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา

ขุมพลังความสร้างสรรค์ ผมชอบดูหนัง เพราะมันทำ�ให้เข้าสู่โลกจินตนาการได้รวดเร็วและ กระชับ เป็นความบันเทิงที่เราได้ความรู้ไปด้วย เวลาดูหนัง ผมชอบ เอาตัวเราเข้าไปอยู่ในหนังว่าถ้าเราเป็นตัวละครนั้น เราจะคิดยังไง ทำ�อะไร ก็สนุกดี อีกส่วนหนึง่ ก็มาจากลูกน้อง คือเวลาทำ�งานด้วยกัน พอเราส่งพลังไป หรือเขาส่งพลังมา มันก็จับต้องได้ รู้สึกได้ มันมี แรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้น คือพลังพวกนี้มันจากคนรอบตัวเรา ใกล้สุดก็ น่าจะมาจากลูกน้อง จากภรรยา จากครอบครัว

เจ้านายในแบบวิชัย พูลวรลักษณ์ ผมมีสเปซสำ�หรับการทำ�งานระหว่างกันระดับหนึ่ง แต่ผมก็มีใจที่ให้ กับลูกน้องตลอด เพราะลูกน้องก็อยากให้เรารูบ้ างอย่าง และไม่อยาก ให้รู้บางอย่าง แต่ใจเราอยู่ข้างพวกเขาทุกคน แต่คุณต้องอยู่ในข้าง ที่ถูกต้องนะ ถ้าเขาคิดถูก ทำ�ถูก เราก็ส่งเสริมเขา เราให้ใจลูกน้อง เต็มที่อยู่แล้ว

CREATIVE THAILAND I 32


CREATIVE THAILAND I 33


Creative Will : คิด ทํา ดี

techsauce.co

techsauce.co

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

ส่วนหนึ่งของการออกแบบที่ดี ก็คือการออกแบบที่คำ�นึงถึง ผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง และคงจะดีมากขึ้นไปอีก หากการ คำ�นึงถึงผู้ใช้งานนั้น หมายถึงกลุ่มผู้ใช้ที่หลากหลายมากพอ จนพูดได้วา่ เหมาะสำ�หรับทุกคน ไม่เว้นแม้แต่กลุม่ ผูท้ ตี่ อ้ งการ ความช่วยเหลือที่พิเศษและแตกต่างจากกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป เช่น กลุม่ ผูส้ งู อายุ เด็ก หรือผูพ ้ กิ าร เพือ่ ให้พวกเขาสามารถใช้งาน ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ได้งา่ ยและสะดวกขึน้ ด้วยตัวเอง ล่าสุด บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ร่วมกับกลุ่มวิจัยและ พัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ (ABLE Lab) ได้จัดทำ�แอพพลิเคชั่นที่ ชือ่ ว่า “บีคอน อินเตอร์เฟซ” (BEACON INTERFACE) ซึง่ เป็นแอพพลิเคชัน่ ทางการเงินสำ�หรับผูท้ บี่ กพร่องทางสายตาและการมองเห็น เพือ่ ให้ผทู้ มี่ ภี าวะ การมองเห็นเลือนราง ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสายตา หรือผู้ที่มองไม่เห็นเลย สามารถใช้งานแอพฯ นี้ได้เหมือนกับผู้ใช้งานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบริการ โอนเงิน ชำ�ระบิล หรือเช็กยอดเงิน ซึ่งก่อนที่จะพัฒนามาเป็นแอพพลิเคชั่น นี้ได้ ทีมงานก็ต้องผ่านทั้งการสำ�รวจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การวิจัยจากประสบการณ์ของผู้ใช้เพื่อให้ได้แอพฯ ที่ตรงใจและตรงความ ต้องการใช้จริงให้มากทีส่ ดุ ไปจนถึงการทำ�งานร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญด้านระบบ ออนไลน์สำ�หรับผู้บกพร่องทางการมองเห็นโดยเฉพาะ โดยแอพพลิเคชั่นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของการจัดทำ�และพัฒนา ฟีเจอร์ให้นำ�มาใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบและพร้อมเปิดให้ใช้งานในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2561 ทั้งนี้ รูปแบบการใช้งานโดยหลัก จะเป็นการช่วย ให้ผใู้ ช้สามารถเข้าใจและใช้งานแอพฯ ได้ดว้ ยประสาทสัมผัสอืน่ ๆ นอกเหนือ

จากการมองเห็น ได้แก่ การฟัง หรือการสัมผัส พร้อมสร้างระบบการใช้งาน ให้งา่ ยโดยลดทอนขัน้ ตอนทีอ่ าจสร้างความสับสนลง รวมถึงพัฒนาให้มรี ะบบ เสียงพูด และระบบการปิดหน้าจออัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยจากการลอบ ดูข้อมูลจากคนรอบข้าง โดยวิธีการใช้งานนั้น จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Non-location Based Interface ซึ่งผู้ใช้เพียงเลื่อนปัดขวาตรงหน้าจอจาก ตำ�แหน่งใดก็ได้เพือ่ ทำ�รายการโดยไม่จ�ำ เป็นต้องอาศัยการมองเห็น หรือหาก ต้องการพิมพ์ตัวอักษร ก็ทำ�ได้โดยแตะหน้าจอทิ้งไว้แล้วหมุนเพื่อเลือก ตัวอักษรคล้ายการหมุนแป้นโทรศัพท์ในสมัยก่อน หากแตะไปโดนตัวอักษร ตัวใด ก็จะมีเสียงขานตัวอักษรนั้นออกมา เพื่อกำ�กับการใช้งานและทบทวน ความถูกต้องให้ผู้ใช้งานอีกครั้ง ตัวอย่างการใช้งาน เช่น หากผู้ใช้ต้องการ โอนเงิน ก็เพียงพิมพ์ชื่อบัญชีผู้รับด้วยการหมุนแป้นตัวอักษร ระบบจะออก เสียงตัวอักษรที่กดไปออกมา จากนั้นจะช่วยตรวจสอบรายชื่อที่พิมพ์ไปว่า ถูกต้องหรือไม่ จากนั้นจึงระบุจำ�นวนเงินที่ต้องการโอน ก่อนที่ผู้ใช้จะเลื่อน ปัดขวาเพื่อยืนยันการโอนเงิน ระบบจะขานตัวเลขของจำ�นวนเงินที่ต้องการ โอน เพื่อให้ผู้ใช้รู้ยอดเงินที่ตัวเองระบุไปเป็นการยืนยันก่อนจะโอน เป็นต้น นอกจากนี้ แอพฯ ที่ว่ายังได้รับการออกแบบให้หน้าจอมีสีสันสดใส พร้อม ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ เพือ่ ตอบรับการใช้งานของผูส้ งู อายุและผูท้ มี่ องเห็น ได้เลือนรางให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นด้วย บีคอน อินเตอร์เฟซ จึงนับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างดีๆ ของการออกแบบที่ นอกจากจะคำ�นึงถึงการใช้งานของผู้ใช้หลากหลายกลุ่มให้สามารถใช้งาน บริการต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไปแล้ว ก็ยังมีแนวคิดพื้นฐานเพื่อ การสร้างประสบการณ์การใช้งานทีด่ ที สี่ ดุ ให้กบั ผูใ้ ช้งานเฉพาะกลุม่ อย่างผูท้ ี่ บกพร่องทางการมองเห็น นับเป็นการใช้เทคโนโลยีและการออกแบบที่ช่วย ยกระดับคุณภาพชีวิตและตอบรับกับความต้องการได้อย่างลงตัว ที่มา: beaconinterface.com / บทความ “Beacon Interface แสงสว่างโลกการเงิน” จาก bangkokbiznews.com / บทความ “BEACON INTERFACE สตาร์ทอัพน้องใหม่ไทย สร้างชื่อเสียงในเวทีประกวดนวัตกรรมการเงินระดับโลก” จาก thaitechnewsfeed.com

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.