Creative Thailand Magazine

Page 1

ธันวาคม 2560 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 3 แจกฟรี

Creative Will ๙ ศาสตรา

Creative City Rajasthan

The Creative ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล



Marco Djal o Thom

“ THERE IS NO CREATION WITHOUT TRADITION; THE ‘NEW’ IS AN INFLECTION ON A PRECEDING FORM; NOVELTY IS ALWAYS A VARIATION ON THE PAST.”

“ไม่มีการสร้างสรรค์ใดที่ไร้ราก สิ่งใหม่ล้วนแปรสภาพจากสิ่งเดิม ของที่เพิ่งเกิดจึงเป็นการผันแปร จากของเดิมในอดีตกาล” Carlos Fuentes นักประพันธ์นวนิยายชาวเม็กซิกัน


Contents : สารบัญ

The Subject

6

จากกิโมโนสู่แฟชั่นรันเวย์ Flowers with a Purpose รอยสักลบได้

Creative Resource 8 Trend Book / Books / Report

Insight 20

Everyday is (Contemporary) Runway หรือศิลปะจะสั้นกว่าชีวิต?

Creative Startup 22 สวัสดี “Craft”

Creative City

24

Innovative Craft Movement 2017

Rajasthan Live like you have the King’s heart

Local Wisdom

12

The Creative

28

Cover Story

14

Creative Will

34

MDIC 10

All about Heartmade Pattern

Crafting the Future ก่อร่างสร้างอนาคต... สานสิ่งใหม่ด้วยแรงใจจากอดีต

ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล กินอยู่อย่างไทยในพุทธศักราช 2560

๙ ศาสตรา ก้าวที่มุ่งมั่นของแอนิเมชั่นไทย

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมเี ดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ นักศึกษาฝึกงาน l ณัฏฐา เกียรติสกุลเดชา จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ผูอ้ อกแบบปก: นักรบ มูลมานัส นักทำ�ภาพประกอบ ผูส้ ร้างผลงาน ด้วยการตัดปะสิ่งที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่มีความหมายทาง วัฒนธรรม นำ�กลับมาประกอบสร้างความหมายใหม่ๆ facebook.com/nakrobmoonmarsnut Instagram: @nakrobmoonmarsnut


oneart.org

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

เข้าถึงอย่างทั่วถึง โลกที่ละเมียดละไม เฉพาะกลุ่ม และจำ�กัดวงการใช้ชีวิตที่มีอัตลักษณ์เป็น พิเศษนัน้ ในวันนีค้ วามพิถพี ถิ นั ที่เคยเป็นมาได้คอ่ ยๆ คลี่คลายความเฉพาะกลุม่ ลง และขยายเข้าไปถึงคนส่วนใหญ่ในสังคมมากขึ้น ต้องขอบคุณเทคโนโลยีและ วิวฒั นาการทางสังคมในหลายด้าน ทีท่ �ำ ให้เราทุกๆ คนสามารถเข้าถึง “ข้อมูล ข่าวสาร” ได้อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันนี้ เราอาจรู้จักร้านอาหารรสชาติด้ังเดิมที่ปรุงโดยฝีมือของเชฟ ต้นตำ�รับ หรือเข้าถึงวัฒนธรรมการดืม่ กาแฟจากร้านทีค่ ดั สรรเมล็ดกาแฟสายพันธุ์ พิเศษมาจากส่วนต่างๆ ทัว่ โลก และคัว่ ด้วยวิธสี ดุ พิถพี ถิ นั เต็มไปด้วยเคล็ดลับ มากมายมากขึน้ เพียงแค่เปิดเข้าเว็บไซต์รวี วิ ร้านอาหาร หรือร้านรวงต่างๆ ที่ มีให้เลือกไม่ต่ํากว่าร้อยเว็บ หรือแม้แต่เปิดแอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟนก็ สามารถระบุตำ�แหน่งให้เรา กระทั่งนำ�ไปถึงจุดหมายได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่อึดใจ สิ่งเหล่านี้ ช่วยให้เราเข้าถึงวิถีชีวิตที่เรียกว่าละเมียดละไม (Crafted Life) กันได้แบบเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราจะเลือกสิ่งที่ดีท่ีสุดหรือพิเศษที่สุดให้กับตนเอง เมื่อเรารู้มากขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น เราก็สามารถใช้ชีวิตในแบบที่ร้สู ึกพิเศษกันได้ ทุกคน โลกแห่งการผลิตทีเ่ คยผลิตแบบจำ�นวนมาก (Mass Production) ก็ปรับตัว เพื่อตอบสนองกับความต้องการพิเศษของคนหมู่มากได้ ด้วยการผลิตแบบ จำ�นวนมากทีต่ อบสนองลูกค้าแบบเฉพาะตนมากขึน้ กลายเป็นเทรนด์การผลิต แบบใหม่ที่เรียกว่า Mass Customization เช่น แทนที่จะจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์

สำ�เร็จรูปสำ�หรับทุกคน ก็เริ่มมีการแยกจำ�หน่ายอุปกรณ์ หรือวัตถุดิบที่ให้ ไปปรุง ประกอบ หรือลงมือทำ�เองได้ที่บ้าน เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับตนเองได้อย่างแท้จริง ชีวิตที่เต็มไปด้วยความคราฟต์ การคัดสรรสิ่งที่เข้ากับรสนิยมและความ ชื่นชอบของตนเองมากที่สุด ไม่ได้จำ�กัดวงอยู่แค่เรื่องราวละเมียดละไมอย่าง การกินอยู่เท่านั้น แต่โลกของความคราฟต์ยังตอบโจทย์ผู้ที่สนใจในสิ่งต่างๆ แบบเฉพาะเรื่อง คนที่ชื่นชอบการรับประทาน ก็สนใจที่จะคราฟต์การคัดสรร ร้านอาหารอร่อย ผูท้ ชี่ นื่ ชอบคราฟต์เบียร์ อาจสนใจวิธบี ม่ กว่าจะเป็นเครือ่ งดืม่ แก้วโปรด และแสวงหาแหล่งความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อการดื่มที่เข้าถึงความ รู้สึกมากขึ้น ขณะที่บางคนอาจเลือกที่จะคราฟต์เรื่องการเงินการลงทุน เพราะ เป็นเรื่องที่ตนเองให้ความสนใจและเชื่อมั่นว่าเป็นประโยชน์กับชีวิต ความเยอะกับสิง่ ต่างๆ ทีต่ วั เองสนใจ อาจเป็นความหมายอีกด้านทีส่ ะท้อน ความคราฟต์ของชีวิต ในอีกทาง เรายังสามารถส่งต่อความคราฟต์เหล่านี้ ออกไปให้ขยายวงมากขึน้ เพราะผูบ้ ริโภคทีร่ จู้ ริงจนถึงขัน้ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในการ เลือกบริโภคก็อาจผันตัวเองไปเป็นผู้ที่ส่งต่อและนำ�เสนอความคราฟต์ในสิ่งที่ ตนเองสนใจให้กับผู้อื่นได้อย่างไม่สิ้นสุด และเมือ่ นัน้ สังคมแห่งความคราฟต์ และการเข้าถึงวิถชี วี ติ ทีล่ ะเมียดละไม ใส่ใจในรายละเอียดทั้งกระบวนการของสิ่งที่ตนเองหลงใหล ก็กำ�ลังขับเคลื่อน เศรษฐกิจของโลกใบนี้ไปอย่างสุนทรีย์ด้วยเช่นเดียวกัน กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด

จากกิโมโนสู่แฟชั่นรันเวย์

ในเขตเกียวโต ยังคงมีโรงงานสิง่ ทอชือ่ ว่าโฮโซ (Hosoo) ซึง่ เป็นหนึง่ ในโรงงาน ทีม่ ชี อื่ เสียงด้านการทอผ้ากิโมโนมาตัง้ แต่ปี 1688 นักรบโชกุนและซามูไรจาก ตระกูลดังต่างเป็นลูกค้าของโรงงานแห่งนี้ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ตลาด กิโมโนแบบดัง้ เดิมก็แทบจะไม่มเี หลือ ดังนัน้ เพือ่ ทำ�ให้โรงงานอยูร่ อดต่อไปได้ ทายาทลำ�ดับที่ 12 ของโรงงานสิ่งทอโฮโซ “มาซาทากะ โฮโซ (Masataka Hosoo)” จึงตัดสินใจปรับกิจการให้ทนั กับความต้องการของลูกค้ายุคปัจจุบนั และตอบโจทย์ตลาดใหม่ อย่างตลาดแฟชั่น ศิลปะ และการตกแต่งภายใน ซึ่งหนึ่งในลูกค้าคนสำ�คัญที่ชื่นชอบผ้าทอเทคนิคโบราณของโรงงานนี้ก็คือ สถาปนิกชื่อดังอย่าง “ปีเตอร์ มาริโน (Peter Marino)” ผู้ออกแบบแฟล็กชิพ สโตร์ของแบรนด์สินค้าหรูมากมาย อาทิ Louis Vuitton, Christian Dior และ Chanel “ผมชอบสไตล์การผสมสีผา้ ของที่นี่ มันให้ความรูส้ กึ ราวกับภาพวาด สไตล์โมเดิรน์ ” ปีเตอร์กล่าว โดยเขาชอบสัง่ ผ้าทอจากโรงงานของมาซาทากะ เพื่อไปตกแต่งร้านของแบรนด์ดังเหล่านี้นั่นเอง นอกเหนือจากการใช้ผ้าเพื่อ การตกแต่งภายในแล้ว ผ้าทอของโรงงานโฮโซก็เป็นที่ถูกอกถูกใจของบรรดา แฟชั่นดีไซเนอร์ไม่น้อย การันตีจากการผ่านเวทีระดับโลกอย่าง Paris Fashion Week รวมทั้งทีมงานในโรงงานยังเคยทำ�งานร่วมโปรเจ็กต์กับ นักออกแบบรองเท้าดีไซน์ลํ้าให้กับเลดี้กาก้าใส่ระหว่างขึ้นคอนเสิร์ตอีกด้วย

medium.com

ateliercourbet.com/hosoo

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

“ผมเปิดพื้นที่การทำ�งานไว้แบบ 50/50 สำ�หรับลูกค้าที่รู้อยู่แล้วว่า ต้องการอะไร และสำ�หรับลูกค้าที่ยังไม่รู้ว่าต้องการอะไร ทีมงานของผมก็ ออกแบบให้ได้เหมือนกัน” มาซาทากะกล่าว ปัจจุบนั โรงงานแห่งนีม้ กี ารทำ�งาน ร่วมกันระหว่างคนจากหลากหลายสาขา ทั้งจากคนรุ่นเก่าที่มีฝีมือในการใช้ เทคนิคการทอผ้าโบราณแบบกิโมโน วิศวกรรุน่ ใหม่ทชี่ �ำ นาญการใช้เครือ่ งมือ พิเศษในโรงงาน รวมถึงหนุม่ สาวทีเ่ พิง่ จบจากโรงเรียนแฟชัน่ ทีร่ บั หน้าทีด่ า้ น การออกแบบ โดยคนทั้งหมดนี้ต้องทำ�งานร่วมกันเพื่อผลิตผ้า 1 ผืน ซึ่งมี กระบวนการทำ�งานไม่ตํ่ากว่า 20 ขั้นตอน และหลายขั้นตอนก็ยังคงถูกเก็บ เป็นความลับ แต่เคล็ดไม่ลับที่มาซาทากะสามารถเปิดเผยได้ก็คือ การที่เขา ยังเคารพและเชือ่ มัน่ ในรากเหง้าและเข้าใจถึงแก่นของผ้าทอแบบกิโมโนของ ครอบครัวตัวเอง และใช้แก่นนี้สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย นั่นเอง

ที่มา: บทความ “Inside Hosoo, the 327-Year-Old Textiles Mill Supplying Chanel and Dior” จาก businessoffashion.com

CREATIVE THAILAND I 6


Flowers with a Purpose รอยสักลบได้

vergecampus.com

เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์

bloom2bloom.com

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

ใครบางคนเคยกล่าวไว้วา่ “ในยามรืน่ เริงหรือเศร้าตรม ดอกไม้กย็ งั เป็นเพือ่ น ที่ม่ันคงของเราเสมอ” หรือนี่จะเป็นหน้าที่ของดอกไม้ สิ่งที่ธรรมชาติสร้าง ขึ้นเพื่อมอบความสมดุลให้กับระบบนิเวศ และยังสร้างความสุขให้กับมนุษย์ มาอย่างยาวนาน ด้วยคุณประโยชน์ของดอกไม้ที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้คนได้นี้เอง จึงไม่นา่ แปลกทีด่ อกไม้จะอยูใ่ นบริบทของชีวติ ผูค้ นทัว่ โลกตัง้ แต่เกิดจนตาย หรือแม้กระทั่งยามเจ็บป่วย ที่เราก็มักจะมอบช่อดอกไม้ไปเยี่ยมไข้เพื่อหวัง ให้จติ ใจของผูป้ ว่ ยดีขน้ึ จากการได้เห็นความสวยงามและน่ารักของดอกไม้บาน พร้อมกลิ่นหอมอ่อนๆ ที่ส่งออกมาช่วยเยียวยาจิตใจ และด้วยแนวคิดที่เชื่อ ว่าดอกไม้สามารถบรรเทาความทุกข์และคืนความสุขให้กับเพื่อนมนุษย์ได้ เช่นนี้ สองเพื่อนสาวคู่ซี้ วิทนีย์ พอร์ต (Whitney Port) และลอว์เรน เรสนิก (Laurenne Resnik) จึงได้ก่อตั้งธุรกิจ Bloom2Bloom ธุรกิจขายดอกไม้ที่ให้ บริการมากกว่าการจัดส่งดอกไม้ตามสั่ง แต่ยังส่งต่อเรื่องราวของดอกไม้ที่ จัดส่งไปให้ว่า ใครกันที่เป็นผู้ปลูก ดูแล เก็บดอกไม้ และจัดช่อดอกไม้มาให้ มากกว่ า นั้ น คื อ การได้ ส นั บ สนุ น เกษตรกรผู้ ป ลู ก ดอกไม้ ท้ อ งถิ่ น ใน แคลิฟอร์เนีย เนื่องจากปัจจุบัน ธุรกิจดอกไม้ในสหรัฐฯ ต้องนำ�เข้าดอกไม้ จากต่างประเทศมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ Bloom2Bloom จึงกลายเป็นอีกหนึง่ ช่องทางที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกดอกไม้ในพื้นที่ รวมทั้งนักจัด ดอกไม้ท้องถิ่นด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นแล้ว ทุกๆ การสั่งช่อดอกไม้จาก Bloom2Bloom เงินรายได้สว่ นหนึง่ จะมอบให้กบั องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร Wish Upon A Teen ในโปรแกรมที่ชื่อว่า Design My Room ที่อาสาสมัครจะนำ� เงินบริจาคไปจัดเซอร์ไพรส์ตกแต่งห้องพักฟื้นให้กับเด็กและวัยรุ่นที่เจ็บป่วย และจำ�เป็นต้องอยูร่ กั ษาอาการในโรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ เพือ่ ทำ�ให้เด็ก และวัยรุ่นเหล่านี้ได้อยู่ในบรรยากาศที่ดีและมีกำ�ลังใจในการรักษาตัวต่อไป ธุรกิจ Bloom2Bloom จึงเป็นเสมือนการส่งต่อความหวังดีให้กบั ผูท้ คี่ วรได้รบั ราวกับว่าพวกเด็กๆ ได้รับดอกไม้เยี่ยมไข้ช่อใหญ่จากผู้หวังดีที่ไม่ประสงค์ ออกนามเลยทีเดียว

การสักเป็นวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่อดีตในการสร้างสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารและ แสดงออกถึงคติบางประการ ในบางสังคม รอยสักอาจเป็นสัญลักษณ์ของการ ลงโทษ ตีตรา แต่อกี ด้านหนึง่ รอยสักก็เป็นสัญลักษณ์ของความเชือ่ เกียรติยศ ที่พึ่งทางใจ หรือศิลปะที่บ่งบอกตัวตน โดยหลักฐานที่พอจะอธิบายถึงความ เก่าแก่ของการสักก็คือ Otzi ศพมนุษย์ที่ถูกแช่แข็งอยู่ในธารนํ้าแข็งบนเทือก เขาแอลป์ในอิตาลีกว่า 5,300 ปีมาแล้ว ที่มีรอยสักอยู่ถึง 61 จุดบนร่างกาย แม้ปัจจุบัน การสักลวดลายต่างๆ ลงบนร่างกายจะสะท้อนถึงรสนิยม และสไตล์ความชอบส่วนตัวมากขึ้น แต่การสักลงบนผิวหนังที่จะติดอยู่กับ ร่างกายไปตลอดชีวติ ก็ท�ำ ให้ผทู้ จี่ ะสักต้องคิดไตร่ตรองมากเป็นพิเศษ กระทัง่ หลายคนต้องล้มเลิกความคิดในการสักไป อย่างไรก็ตาม เมือ่ ปลายปีค.ศ. 2015 สองพี่นอ้ ง ไทเลอร์ แฮนด์ลยี ์ (Tyler Handley) และ ไบรเดน แฮนด์ลยี ์ (Bryden Handley) ได้ประกาศแคมเปญเพื่อระดมทุนการผลิตหมึกเพื่อการสักแบบใหม่ที่ พวกเขาเรียกว่า INKBOX : TWO WEEK TATTOO ผ่านเว็บไซต์ KICKSTARTER.com จนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หมึกสักลายได้ส�ำ เร็จ ภายใต้แบรนด์ INKBOX ทีใ่ ช้ วัตถุดบิ จาก Ganipapo ผลไม้พน้ื ถิน่ ในอเมริกาใต้ โดยได้แรงบันดาลใจมาจาก การสักลายทีเ่ รียกว่า Jagua Painting ของชนเผ่าเอ็มเบรา (Embera) ในปานามา ทีม่ กี ารสักในพิธกี รรมเฉลิมฉลองหรือสร้างความหมายตามช่วงอายุทเี่ ปลีย่ นไป โดยหมึกจากผล Ganipapo จะซึมลงสูเ่ พียงผิวหนังชัน้ นอกหรือชั้นเอพิเดอร์มสิ เท่านั้น ดังนั้นเมื่อผิวหนังของเรามีการผลัดเซลล์อยู่ตลอดเวลา และเมื่อถูก ขจัดโดยการขัดและล้าง ก็จะทำ�ให้ลวดลายที่สักไว้ลบเลือนหายไปในเวลา 2-3 สัปดาห์ นอกจากนี้ รอยสักจากหมึกธรรมชาตินี้ยังปลอดภัยต่อผิวหนัง และ ได้การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก FDA หรือองค์การอาหารและยา สหรัฐฯ มาแล้ว ปัจจุบนั หมึก INKBOX มีจ�ำ หน่ายแล้วทัง้ แบบลายสำ�เร็จและ แบบปากกาวาดมือ สนนราคาอยู่ที่ 19-30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชิน้ เพื่อเป็นอีก หนึง่ ทางเลือกสำ�หรับผูท้ ไี่ ม่ตอ้ งการรอยสักแบบถาวร เพือ่ จะได้สมั ผัสกับการ สักลวดลายลงบนผิวหนังซักครั้งในชีวิต

ที่มา: บทความ “How Two Entrepreneurs Turned an Idea Into a Blooming Floral Business” (17 พฤศจิกายน 2017) จาก entrepreneur.com และ bloom2bloom.com

ที่มา: บทความ “Ancient Ink: Iceman Otzi Has World’s Oldest Tattoos” โดย insider.si.edu / บทความ “Decoding Russian criminal tattoos - in pictures” โดย theguardian.com / บทความ “inkbox: The 2 Week Tattoo” โดย inkbox.com / บทความ “The Embera and Waounan Indigenous People of Panama and Colombia” โดย nativeplanet.org

CREATIVE THAILAND I 7

vergecampus.com


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา

T R EN D BOOK SACICT CRAFT TREND 2018 โดย ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ สาเหตุที่งานคราฟต์หรือหัตถศิลป์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็น เพราะเทคโนโลยีที่ชว่ ยเอือ้ ในการแพร่กระจายของความรูไ้ ด้งา่ ย ซึง่ เป็นผลดี ในการอนุรกั ษ์ชนิ้ งานจากภูมปิ ญั ญาเก่าให้กลับมาเป็นทีส่ นใจมากอีกครัง้ ทัง้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลงานที่น่าสนใจ และชี้ให้เห็นถึงกระแสงานจากทั่ว โลก ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของตลาดให้มากขึ้น SACICT หรือศูนย์สง่ เสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศจึงได้จดั ทำ�หนังสือเทรนด์ส�ำ หรับ งานคราฟต์ที่วิเคราะห์แนวโน้มการออกแบบสำ�หรับงานคราฟต์โดยเฉพาะ ภายในเล่มได้สรุปแนวคิดเทรนด์ในปี 2018 ของงานคราฟต์ โดยหัวข้อ หลักจะอยู่ภายใต้เรื่อง Social Craft Network ที่กล่าวถึงการพัฒนาของ เทคโนโลยีซึ่งส่งผลกระทบกับการออกแบบและการผลิตชิ้นงานใหม่ๆ ซึ่ง เป็นการส่งต่อให้เกิดการออกแบบอย่าง Digital Detoxing หรืองานออกแบบ

จากพฤติกรรมของผูบ้ ริโภคทีต่ อ้ งการหลีกหนีความรวดเร็วของการใช้ชวี ติ ที่ เต็มไปด้วยเทคโนโลยี ผ่านการบำ�บัดที่ประกอบด้วยความช้าและประณีตเพื่อ สร้างความผ่อนคลาย หรือ Mass × clusivity ที่เปลี่ยนการผลิตงานคราฟต์ แบบเก่าไปสู่ขั้นตอนของอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่ยังคงเสน่ห์และเอกลักษณ์ ดั้งเดิมเอาไว้ รวมถึงเทรนด์สีที่น่าสนใจเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถสร้างผลงานที่ มีรูปลักษณ์น่าดึงดูดไปพร้อมกับประโยชน์ด้านการใช้งานพร้อมๆ กัน และ เพือ่ ให้เห็นแนวคิดภาพรวมของเทรนด์ทชี่ ดั เจนยิง่ ขึน้ ยังได้มกี ารยกตัวอย่าง สินค้าที่มีการออกแบบซึ่งเป็นตัวแทนของแนวคิดนั้นประกอบ เพื่อแสดงถึง ศักยภาพของการพัฒนางานคราฟต์ที่ไม่สิ้นสุด เพราะส่ ว นหนึ่ ง ของการอนุ รั ก ษ์ คื อ การขยายผลงานให้ เ ห็ น เป็ น วงกว้าง ซึง่ จะเกิดขึน้ ได้ยากหากยังใช้กรอบเดิมในการพัฒนาผลงานอยู่ ทัง้ นี้ การหาจุดสมดุลด้วยการผสานอัตลักษณ์ของงานคราฟต์ดั้งเดิมเข้ากับ นวัตกรรมใหม่จะช่วยพัฒนาสินค้าให้น่าดึงดูด ตอบโจทย์ของผู้บริโภคใน ปัจจุบัน และก้าวไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ ได้มากขึ้น

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK The Craft and the Makers: Between Tradition and attitude โดย Duncan Campbell งานคราฟต์ เป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยมากกว่าทักษะ เพราะทั้งหมดเกิดจากกระบวนการสร้างคุณค่าใน ชิน้ งาน ซึง่ ประกอบไปด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียด ตัง้ แต่การออกแบบ การเลือกใช้วสั ดุทมี่ คี ณุ ภาพ การผลิต ลักษณะการใช้งาน และเรื่องราวที่จะช่วยให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมกับงานชิ้นนั้นๆ โดยที่ คุณค่าเหล่านี้จะอยู่เหนือกาลเวลาหรือกระแสความต้องการที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวของสังคม กระทั่ง กลายเป็นนิยามของความหรูหราอย่างแท้จริง หนังสือเล่มนีเ้ ต็มด้วยตัวอย่างของธุรกิจทีห่ ลงใหลในการ สร้างงานฝีมอื หลากหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนมีฐานแฟนของตัวเองอย่างหนาแน่น ที่ไม่เพียงสร้างแรงบันดาลใจ ให้หันกลับมาพิจารณาทักษะที่อาจพอมีอยู่ในตัวเรา แต่ยังกระตุ้นให้คิดและลงมือสร้างเป็นธุรกิจที่เกิด จากฝีมือของเราดูสักครั้ง

เชียงใหม่ - ใหม่: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่แห่งเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2427-2518 โดย สันต์ สุวัจฉราภินันท์ / เรณู วิชาศิลป์ ความน่าสนใจของเมืองเชียงใหม่นั้น ไม่ได้ประกอบไปด้วยลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม หรือสภาพ ภูมิอากาศที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น แต่ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของเชียงใหม่ก็ น่าสนใจชวนให้ค้นหาไม่แพ้กัน ซึ่งสะท้อนผ่านรูปแบบอาคารอันเกิดจากการผสมผสานอิทธิพลของ สถาปัตยกรรมตะวันตกและล้านนาเข้าไว้ด้วยกัน หนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม ยุ ค โมเดิ ร์ น ที่ สำ � คั ญ ในตั ว เมื อ งเชี ย งใหม่ โดยให้ ร ายละเอี ย ดข้ อ มู ล ความเป็ น มา ลั ก ษณะทาง สถาปัตยกรรม ทั้งการระบุคุณค่าความสำ�คัญของแต่ละอาคาร ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้เห็นเสน่ห์ของ เชียงใหม่ในมุมมองใหม่แล้ว ยังฉายภาพของการพัฒนาเมืองในแต่ละย่านจนมีเอกลักษณ์เช่นในปัจจุบนั

REPORT โครงการสรรหาและรวบรวมวัสดุไทยจากภาคเหนือตอนบน โดย ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ และนายปวินท์ ระมิงค์วงศ์ รายงานนี้เป็นผลที่ได้จากการลงพื้นที่สำ�รวจและวิจัย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของไทย เพื่อค้นหา วัสดุที่มีศักยภาพในการนำ�มาต่อยอดด้านการออกแบบ และการส่งเสริมให้เข้าไปสู่ภาคการผลิตใน รูปแบบอุตสาหกรรมที่จะสามารถตอบสนองกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งทีม วิจยั พบว่า กลุม่ วัสดุส�ำ คัญในพืน้ ทีแ่ บ่งออกได้เป็น 4 กลุม่ ใหญ่ๆ ได้แก่ โพลิเมอร์ ซีเมนต์ วัสดุธรรมชาติ และโลหะ แต่ทงั้ นีด้ ว้ ยวิถชี วี ติ และสังคมส่วนใหญ่ทยี่ งั คงเป็นแบบเกษตรกรรม การนำ�วัสดุมาแปรรูปใน ปัจจุบันจึงมักมีกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก ในรายงานฉบับนี้ยังได้ระบุคุณสมบัติของวัสดุอย่างละเอียด พร้อมสำ�หรับการนำ�ไปต่อยอดสร้างสรรค์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของชีวิตสมัยใหม่ต่อไป อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://library.tcdc.or.th/record/view/b00038575 พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

งานคราฟต์ ก ลายเป็ น เทรนด์ ที่ เ ข้ า ถึ ง กลุ่ ม ผู้ บ ริ โ ภคในวงกว้ า งมากขึ้ น จากตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในสาขางานฝีมอื และหัตถกรรมในช่วงหลายปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า สินค้าประเภทหัตถกรรม และหัตถอุตสาหกรรมของประเทศไทยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น อย่างต่อเนือ่ ง กระแสความนิยมในงานทำ�มือทีผ่ สานนวัตกรรม (Innovative Craft Movement) ของไทยทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ กำ�ลังเป็นความต้องการของผูบ้ ริโภค เชิงลึก และส่วนหนึง่ อาจเรียกได้วา่ เป็นแรงส่งเสริมจากภาครัฐทีเ่ ห็นจุดแข็ง ของการพัฒนาหัตถกรรมของประเทศ ทีช่ ว่ ยให้เกิดผูป้ ระกอบการ ตลอดจน แพลตฟอร์มการซื้อขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หนึง่ ในแพลตฟอร์มทีเ่ กิดขึน้ จากความเคลือ่ นไหวของผูบ้ ริโภคทีห่ นั มา สนใจสินค้า Innovative Craft คือ พื้นที่ “วันนิมมาน” (ONE NIMMAN) แหล่งรวมร้านค้า ศิลปะ วัฒนธรรม และความร่วมสมัย ที่เชื่อมโยงระหว่าง รูปแบบชีวิตสมัยใหม่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นบนถนนนิมมานเหมินท์ซอย 1 จังหวัดเชียงใหม่ พืน้ ทีท่ เี่ ป็นเสมือนเมืองเล็กๆ ทีซ่ อ่ นตัวอยูใ่ นเมืองใหญ่ โดย ยึดหลักปรัชญา “พืน้ ทีเ่ สมือนเก่า เพือ่ ประสบการณ์แบบใหม่” นำ�เสนอดีไซน์ แบบร่วมสมัยที่ผสมผสานรูปลักษณ์ของความดั้งเดิมเข้ากับการใช้งาน สมัยใหม่ที่เข้ากันได้อย่างลงตัว นับเป็นการรื้อฟื้นและต่อยอดจากย่านอัน ถือเป็นจุดกำ�เนิดของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ร่วมสมัยของเชียงใหม่ ส่วนออนไลน์แพลตฟอร์มที่นำ�เสนอเรื่องธุรกิจในกลุ่มนี้ อย่างแบรนด์ Maison Craft ที่ได้ทำ�งานหัตถกรรมพื้นบ้าน ผสมผสานงานออกแบบ และ

ยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ดูทันสมัยยิ่งขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ หลากหลายตั้งแต่ของตกแต่งบ้านไปจนถึงเครื่องประดับบนพื้นฐานการเพิ่ม มูลค่าให้ดูน่าหยิบจับ และตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานในชีวิตประจำ�วัน ได้จริง ก็เป็นการทำ�งานร่วมกับชุมชนในหลายพื้นที่เพื่อปรับเปลี่ยนงาน หัตถกรรมดัง้ เดิมให้มภี าพลักษณ์และการใช้งานใหม่ แต่ยงั แฝงความเป็นไทย พื้นบ้าน ผ่านการโชว์ศักยภาพของวัสดุอย่าง กก ปอ ไม้ไผ่ และฝ้าย ซึ่งใน บางผลิตภัณฑ์กน็ �ำ วัสดุในแต่ละพืน้ ทีม่ าออกแบบเข้าด้วยกัน เพือ่ สร้างความ น่าสนใจให้กับผู้ใช้งาน ก่อนจะนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ประกอบไป ด้วยเรื่องราวเบื้องหลังอันน่าสนใจผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่นเดียวกับ แพลตฟอร์มออนไลน์ The Kindcraft ที่เกิดขึ้นในนิวยอร์ก แต่ผ้กู ่อตั้งซึ่ง เชี่ยวชาญในเรื่องสโลว์แฟชั่น ได้เลือกที่จะย้ายฐานการทำ�งานที่เชียงใหม่ และทำ�งานร่วมกับกลุม่ ผูป้ ระกอบการท้องถิน่ โดยบอกเล่าเรือ่ งราวบันดาลใจ เทรนด์ รวมทั้งบทสัมภาษณ์ทั้งในท้องถิ่นและในต่างประเทศผ่านช่องทาง แมกกาซีนออนไลน์ thekindcraft.com รวมทั้งยังมีส่วนที่เป็นตลาดสินค้า สำ�คัญในกลุ่มสโลว์แฟชั่นและสินค้าแฮนด์เมด การสร้างนิเวศของงานคราฟต์นั้น ควรเกิดจากคนทำ�งานคราฟต์ที่ ครบเครื่องทั้งฝีมือและการตลาด โดยการดึงเรื่องราวและความรู้สึกโหยหา คุณค่าของงานฝีมือมาเป็นจุดเด่น ที่สร้างความแตกต่างไปจากบริบทของ ความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน ขณะที่ก็ต้องไม่ลืมประโยชน์ของ เทคโนโลยีที่มีส่วนอย่างมากต่อการกลับมาของงานคราฟต์ในเวลานี้ ซึ่งไม่ เพียงทำ�หน้าที่กระตุ้นให้เกิดตลาดใหม่สำ�หรับกลุ่มสินค้าประเภทนี้ แต่ยัง เชื่อมโยงกลุ่มคนที่มีความสนใจคล้ายกัน ซึ่งไม่ใช่แค่ในท้องถิ่นแต่คือจาก ทั่วทุกมุมโลกเข้าหากันอีกด้วย

ที่มา: onenimman.com / thekindcraft.com / maisoncraft.com

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

ในทุกๆ ลวดลายล้วนมีเรื่องราว แพทเทิร์น (Pattern) คือลวดลายที่ถูกร้อยเรียงต่อกันอย่างมีแบบแผนและทำ�ซํ้าได้อย่างไม่ สิน้ สุด ลวดลายแพทเทิร์นถูกใช้เพือ่ สร้างทัง้ ความสวยงามและเอกลักษณ์ให้กบั สิง่ ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นเสื้อผ้า ข้าวของเครือ่ งใช้ ไปจนถึงอาคารสถาปัตยกรรม ขณะทีก่ ารประดิษฐ์ลวดลายของแต่ละชนชาติ ล้วนเกิดจากธรรมชาติรอบตัว ซึง่ สะท้อนให้เห็น ถึงศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความเชื่อ และความชื่นชอบที่แตกต่าง แพทเทิร์นแต่ละลวดลายจึงมีความ น่าสนใจในตัวเองแบบที่ไม่ซํ้ากัน Gingham ลายตารางแสนเรียบง่ายที่คงความนิยมอยู่เสมอ Gingham เป็นแพทเทิร์นลายตารางสี่เหลี่ยมที่มีลวดลายเรียบง่าย เกิดจากเส้นตรงคาดตัดกันบนพืน้ สีขาวหรือสีทอ่ี อ่ นกว่า ถูกคิดค้นขึน้ มาใช้เป็น ครั้งแรกที่อินเดีย กระทั่งช่วงก่อน ค.ศ.1600 Gingham จึงถูกส่งออกไปยัง แถบทวีปยุโรปและได้กลายเป็นแพทเทิรน์ ประจำ�ของชนชาติอเมริกนั ในทีส่ ดุ Gingham Dress คือชุดของนักเรียนประจำ�ลายตารางทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย เนื่องจากดูเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงเหมาะจะใช้ เป็นชุดนักเรียน ปัจจุบัน ลาย Gingham ยังคงเป็นแพทเทิร์นที่คงความสดใสและดู อ่อนเยาว์ จึงทำ�ให้ได้รับความนิยมเสมอมาไม่ว่าจะยุคสมัยใด

ต่อมาไม่นาน กฎหมายดังกล่าวก็ถูกยกเลิก ประกอบกับมีการจัดตั้ง สมาคมภูมภิ าคไฮแลนด์แห่งเอดินเบอระทีเ่ ดินหน้าส่งเสริมการสวมใส่ทาร์ทนั อย่างจริงจัง จนผ้าชนิดนีไ้ ด้รบั ความนิยมในหลายพืน้ ทีข่ องสก็อตแลนด์ และ ทำ�ให้ทาร์ทันเป็นชุดประจำ�ชาติของชาวสก็อตแลนด์ในเวลาต่อมา

Tartan/Scott

Flower Pattern, Liberty London ลายดอกไม้แสนน่ารักและอ่อนหวาน Liberty London คือห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ของกรุงลอนดอนที่ถูกสร้าง Gingham ขึ้นตั้งแต่ปี 1875 โดยอาร์เธอร์ เลเซนบี ลิเบอร์ตี (Arthur Lasenby Liberty) ด้วยความตั้งใจที่จะให้เป็นสถาบันทางศิลปะของลอนดอน และเป็นผู้นำ�ใน การรังสรรค์งานศิลปะสู่ตลาด Tartan/Scott: ลายสก็อตที่โด่งดังและไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ต่อมา Liberty London โด่งดังในฐานะแบรนด์ผู้ผลิตผ้าชื่อดังที่มี ลายผ้าทาร์ทัน (Tartan) หรือสก็อตต์ (Scott) คือผ้าขนสัตว์ถักทอที่มี ลวดลายสีสันสานไขว้กันไปมาเป็นลายคล้ายตารางหมากรุก เกิดขึ้นตั้งแต่ เอกลักษณ์เป็นของตัวเอง โดยการทอลายดอกไม้ลงบนผ้าตลอดทัง้ ผืน ทำ�ให้ เมือ่ สองพันกว่าปีมาแล้ว โดยชือ่ ทาร์ทนั นัน้ เป็นชือ่ ของชนเผ่าผูป้ ระดิษฐ์ลายนี้ ผืนผ้างดงามราวกับสวนดอกไม้ แบรนด์ Nike ได้นำ�เอาลายดอกไม้ของ Liberty London มาออกแบบ ชาวอเมริกนั จะเรียกผ้าลายสก็อตว่าแพลด (Plaid) ส่วนชาวอังกฤษเเละ ชาวสก็อตนั้นจะเรียกว่าทาร์ทัน หรือไม่ก็เรียกว่าลายเช็กด์ (Checked) ที่ คอลเล็กชั่นใหม่รับช่วงซัมเมอร์ของปี 2016 ส่วนแบรนด์จากญี่ปุ่นอย่าง Uniqlo ก็ร่วมมือกับ Liberty London ออกคอลเล็กชั่น Liberty London for แปลว่าลายหมากรุก ในยุคที่สก็อตแลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษนั้น ได้มีการ UNIQLO สำ�หรับฤดูกาลสปริง/ซัมเมอร์ 2016 เพื่อนำ�ลายพิมพ์ดอกไม้แสน ประกาศให้การสวมชุดลายทาร์ทันเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เนื่องจากรัฐบาล สดใสมาผสมผสานลงบนเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ทุกโอกาส ต้องการกดดันให้กลุ่มนักรบจากตระกูลต่างๆ ที่ต่างก็มีผ้าทาร์ทันประจำ� ตระกูลของตนเองอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล CREATIVE THAILAND I 12


Flower Pattern, Liberty London

Islamic Geometric Pattern ลายเรขาคณิตอันซับซ้อนและเปี่ยมเสน่ห์ ลวดลายเรขาคณิตโบราณของอิสลามมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 อันเป็น ช่วงแรกของประวัติศาสตร์อิสลาม โดยช่างฝีมือได้นำ�รูปแบบของโรมันกับ เปอร์เซียมาผสมผสานเป็นผลงานรูปแบบใหม่ จนได้เป็นลวดลายอันเกิดจาก รูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อน ซึ่งปรากฏอยู่ทุกที่ตั้งแต่มัสยิด ราชวัง โรงเรียน บ้านเรือน เช่น ลายดอกไม้ทอ่ี อ่ นช้อยบนผืนพรมหรือเสือ้ ผ้า ไปจนถึงรูปแบบ ของลายกระเบือ้ งทีง่ ดงามและไม่มที ส่ี น้ิ สุด แม้ว่าลวดลายเรขาคณิตที่เกิดขึ้นจะดูซับซ้อนมาก แต่แท้จริงแล้ว มันเกิดขึน้ จากการใช้เพียงวงเวียนและไม้บรรทัดในการสร้างเท่านัน้

Thai Traditional Pattern ลายผ้าทอที่อ่อนช้อยและสวยงามอย่างไทย ลายผ้าทอของไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะกลุม่ เชือ่ มโยงกับวิถชี วี ติ ธรรมชาติ วรรณกรรม และคติความเชือ่ แบบไทยๆ โดยความแตกต่างของลายผ้าทอ เกิดจากเทคนิคการทอทีแ่ ตกต่างกัน เช่น การย้อมสีเส้นด้ายก่อนทอ หรือการ เพิม่ เส้นด้ายพุง่ เข้าไประหว่างทอ เป็นต้น ผ้าลายนํา้ ไหล เป็นลายผ้าทอภาคเหนือล้านนาไทย สร้างสรรค์ขน้ึ จาก จินตนาการและวิถชี วี ติ ท่ามกลางธรรมชาติทห่ี อ้ มล้อมไปด้วยภูเขาและสายนํา้ ทีไ่ หลจากเหนือลงใต้ สะท้อนเป็นภาพทีง่ ดงามบนผืนผ้าทอล้านนาของไทย ผ้าซิ่นตีนจก คือตัวแทนของลายทอภาคกลาง โดยผ้าซิ่นจะมีการทอ ลวดลายเป็นพิเศษที่เชิงผ้า ด้วยการจกด้ายหลายสี ให้เกิดลวดลายสลับ ซับซ้อน ซิน่ ตีนจกประกอบด้วย 3 ส่วน คือ “หัวซิน่ ” อยูต่ รงบัน้ เอวของผูน้ งุ่ โดยมักเป็นผ้าพืน้ สีขาวหรือแดง “ตัวซิน่ ” คือผ้าส่วนกลางทีท่ อเป็นลายขวาง และ “ตีนซิน่ ” เป็นส่วนเชิงทีผ่ มู้ ฐี านะจะตกแต่งด้วยการจก ซึง่ ทำ�ด้วยด้าย หลายสีเป็นลวดลายต่างๆ ผ้าไหมมัดหมี่ คือผ้าทอทีโ่ ด่งดังของภาคอีสาน เป็นการทอผ้าทีใ่ ช้เทคนิค การสร้างลวดลายก่อนทีจ่ ะนำ�ไปย้อมสี โดยจะนำ�เชือกมามัดด้ายหรือเส้นไหม ตามลวดลายทีไ่ ด้ออกแบบไว้ โดยการมัดและย้อมลายจะมีการทำ�ทัง้ เส้นทาง แนวยืนและแนวพุง่ ผ้าพุมเรียง เป็นศิลปหัตถกรรมผ้าทอพืน้ บ้านของชาวใต้ ซึง่ สืบเชือ้ สาย มาจากชาวมลายู เป็นการทอยกดอกทีม่ คี วามพิเศษตรงทีจ่ ะยกดอกด้วยไหม และดิน้ เงินดิน้ ทอง

Islamic Geometric Pattern

Marimekko ลายดอกป๊อบปีฟ ้ นิ แลนด์ทก่ี มุ หัวใจใครหลายคน ในยุคทีฟ่ นิ แลนด์ประสบภาวะฝืดเคืองและถูกกดดันจากภาวะสงคราม อาร์มิ ราเทีย (Armi Ratia) ผูใ้ ห้ก�ำ เนิดแบรนด์ Marimekko เกิดแรงบันดาลใจ ในการต่อสูก้ บั ความรูส้ กึ หดหูแ่ ละสิน้ หวัง จึงได้ออกแบบเสือ้ ผ้าที่มลี วดลาย และสีสนั สดใสขึน้ เป็นครัง้ แรก The Iconic Uniko คือลายพิมพ์ดอกป๊อบปีท้ เ่ี ป็นลายเอกลักษณ์ของแบรนด์ Marimekko ออกแบบโดยไมยา อิโซลา (Maija Isola) ดีไซเนอร์มอื หนึง่ ของแบรนด์ ทุกวันนี้ Marimekko กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและสร้างความ สดใสให้กบั ฟินแลนด์ทเ่ี คยสิน้ หวังให้กลับมามีชวี ติ ชีวาอีกครัง้ จนกลายมาเป็น ลายดอกไม้ทค่ี รองใจคนทัง้ โลกได้ในทีส่ ดุ

Thai Traditional Pattern ที่มา: บทความ ‘ทาร์ทนั ’ จุดหลอมประวัตศิ าสตร์สกอตแลนด์ จาก www.voicetv.co.th / The complex geometry of Islamic design - Eric Broug จาก www.youtube.com / 7 Things You Need to Know About Marimekko จาก www.siamdiscovery.co.th / www.libertylondon.com / thaiunique.wordpress.com / www.qsds.go.th

Marimekko CREATIVE THAILAND I 13


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: ศิขรินทร์ ลางคุลเสน ภาณุพันธ์ วีรภูสิต และนักรบ มูลมานัส CREATIVE THAILAND I 14


เป็นที่รู้กันว่าในวงการศิลปะและงานสร้างสรรค์ทุกวันนี้ คงไม่มีสิ่งใดที่เป็น ‘ต้นฉบับ’ ของแท้ดั้งเดิมอีกต่อไป หากแต่ศิลปิน รุ่นใหม่ต่างก็เลือกรับปรับใช้ความคิดสร้างสรรค์ และแนวคิดจากศิลปินในอดีตมาต่อยอดเพื่อให้วงการศิลปะงอกเงย ไม่มากก็น้อย

01 แหกคอกให้เกิดศิลปะร่วมสมัย ถ้าเราเริม่ วิเคราะห์ประวัตศิ าสตร์ศลิ ป์แบบลงลึก จะพบว่า การดัดแปลงงานศิลปะและงานฝีมือ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมร่วมสมัยได้ ก่อเกิดมาช้านาน แม้แต่ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) ศิลปินระดับโลกก็มีชื่อเสียงได้จากการ เริ่มศึกษาและดัดแปลงศิลปะแอฟริกัน ไอบีเรีย รูปปัน้ หรือหน้ากากแบบชนเผ่า ทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์ลฟู วร์ ประเทศฝรั่งเศส อย่างซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า จนเขา วิเคราะห์ได้ถึงรูปทรงและสี เกิดเป็นแนวทาง สำ�หรับศิลปะโมเดิร์นที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน อย่าง Les Demoiselles d’Avignon (1907) ภาพวาดชิน้ สำ�คัญทีป่ ทู างให้กบั ศิลปะแบบคิวบิสม์ (Cubism) และสัน่ สะเทือนวงการศิลปะยุคนัน้ ถึง การแหกกฎดั้งเดิมที่บัญญัติไว้ในโรงเรียนศิลปะ รูปร่างของหญิงสาวอันบิดเบี้ยวและการตีความ ถึงความงามรูปแบบใหม่ ทำ�ให้เกิดการถกเถียง เป็นวงกว้าง ปูทางให้ศิลปินรุ่นหลังได้กล้าลอง และกล้าที่จะท้าทายความคิดเดิมๆ มากยิ่งขึ้น หรืออย่างเมื่อต้นปี 2016 ที่ผ่านมา ศิลปิน ชื่อดังชาวจีนอ้ายเว่ยเว่ย (Ai Weiwei) ได้สร้าง

งานศิ ล ปะชิ้ น ใหญ่ ใ จกลางเมื อ งปารี ส ในห้ า ง สรรพสินค้า Le Bon Marché ที่หยิบยกนิทาน พื้นบ้านจีนเก่าแก่ซึ่งถูกแบนโดยรัฐบาลจีนเรื่อง Shan Hai Jing อันเต็มไปด้วยสัตว์ในตำ�นาน นานาพันธุ์ สร้างสรรค์เป็นประติมากรรมงานว่าว ขนาดใหญ่ โ บยบิ น ระโยงระย้ า อยู่ ก ลางห้ า ง ผลงานของช่างฝีมือทำ�ว่าวในมณฑลซานตงที่ รวมตัวกันทำ�ว่าวขนาดเล็กใหญ่กว่า 20 ชิ้นอย่าง ประณีต ด้วยการสานไม้ไผ่เข้ากับผ้าไหมบางพลิว้ ดัดให้เป็นลวดลายที่สร้างชีวิตให้กับเหล่าสัตว์ใน เทพนิยาย โดยอ้ายเว่ยเว่ยเลือกโชว์โครงสร้าง ไม้ไผ่อย่างเดียวในบางชิ้นงานด้วย เพื่อแสดงถึง ความเชีย่ วชาญของช่างฝีมอื ทีส่ บื ทอดกระบวนการ ทำ�ว่าวมาตั้งแต่ช้านาน ประติมากรรม Er Xi (แปลว่าสิ่งที่ทำ�ได้ ง่ายๆ) ชิ้นนี้ สร้างสีสันและความตื่นตาตื่นใจให้ กับพืน้ ทีจ่ ดั แสดงเป็นอย่างมาก เมือ่ ความคิดของ ชาวตะวันออกมารวมอยูใ่ นพืน้ ทีข่ องตะวันตก นับ เป็นการผสมผสานระหว่างงานช่างฝีมอื พืน้ บ้านที่ มีมาช้านานกับอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ทั้งยังบอกเล่าถึงสถานะการเมืองของประเทศได้ อย่างแยบยลและสวยงาม

thetrendmix.com

แท้จริงแล้วหากเราลองย้อนกลับไปสูป่ ระวัตศิ าสตร์ ศิลปะตัง้ แต่ยคุ ฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาการ (Renaissance) ก็จะพบว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ชาวยุโรป ในยุคนั้นก็หวนกลับไปหยิบจับอารยธรรมกรีกโรมันที่รุ่งเรืองมาเป็นต้นแบบในการปลดแอก ตนเองจากยุคมืด หรือแม้แต่ช่วงที่สยามเริ่ม รื้อฟื้นทบทวนความเป็นมาของตนเองเป็นครั้ง แรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ปัญญาชนชัน้ นำ�ของสยาม ก็ ไ ด้ ศึ ก ษาสื บ สาวอารยธรรมย้ อ นกลั บ ไปถึ ง ราชธานีสุโขทัย องค์ความรู้ดังกล่าวเป็นปัจจัย หนึง่ ทีท่ �ำ ให้เกิดการปฏิรปู คณะสงฆ์และพระพุทธ ศาสนาครั้งใหญ่ และเป็นที่มาของการรื้อฟื้นนำ� รูปแบบสถาปัตยกรรมดัง้ เดิมอย่างสถูปเจดียท์ รง ระฆังควํ่ากลับมาใช้ใหม่ โดยปรับเปลี่ยนวัสดุ รวมถึงกรรมวิธีการก่อสร้างให้ทันสมัยมากขึ้น ปรากฏการณ์เหล่านีบ้ อกเราว่า การหยิบยืม รากฐานวัฒนธรรมอื่นๆ มาต่อยอดในงานฝีมือ หรืองานสร้างสรรค์ร่วมสมัยไม่ใช่เรื่องผิด และ ยืนยันกับศิลปิน รวมทั้งคนทำ�งานสร้างสรรค์รุ่น ใหม่ได้ว่า ความรู้เหล่านี้คือคลังสมบัติจำ�นวน มหาศาล ทีค่ นรุน่ เราหยิบจับไปใช้ได้ หากแต่ตอ้ ง ดั ด แปลงให้ เ ข้ า กั บ วิ ถี ชี วิ ต และกระแสโลกที่ เปลี่ยนไปอยู่ทุกวันๆ ด้วยเช่นกัน

CREATIVE THAILAND I 15


วงการภาพยนตร์ก็มีส่วนช่วยสานต่องานศิลปะ ดัง้ เดิมให้กลายเป็นภาพยนตร์ทสี่ อื่ สารเอกลักษณ์ ประจำ�ชาติไปทั่วโลก และกระตุ้นให้กลุ่มผู้ชมได้ คุ้นเคยและเฝ้ารอที่จะแสวงหาความแปลกใหม่ แนวนี้ ต้นปี 2017 ที่ผ่านมานี้เอง ภาพยนตร์จาก ประเทศจีน เรื่อง I’m Not Madame Bovary ผลงานของผู้กำ�กับเฝิงเสี่ยวกัง ที่หยิบเนื้อหามา จากนิยายจีน Wo bu shi Pan Jin Lian เล่า เรื่องราวของหญิงแกร่งผู้กล้าต่อกรกับหน่วยงาน รัฐบาลเพือ่ ทวงคืนความยุตธิ รรมจากการถูกสามี เอาเปรียบในกลการหย่าร้าง ซึ่งชื่อหนังไม่เพียง หยิบยืมเรื่องราวของ ‘หญิงทรงเสน่ห์ที่ไม่ตก อยู่ ใ ต้ อำ � นาจผู้ ช าย’ อย่ า งมาดามโบวารี ใ น วรรณกรรมฝรั่ งเศสระดั บ ตำ � นาน Madame Bovary ของกุสตาฟ โฟลแบรต์ (Gustave Flaubert) เท่านัน้ แต่งานภาพในหนังยังนำ�ศิลปะ ดั้งเดิมของจีนมาดัดแปลงสร้างสรรค์ เห็นได้ชัด จากการใช้ชอ็ ตรูปวงกลมทีห่ ยิบแรงบันดาลใจมา จากภาพวาดทิวทัศน์ของจีนโบราณอันเป็นทีน่ ยิ ม ในยุคราชวงศ์ซ่ง ประกอบกับภาพบรรยากาศ นอกเมืองของจีนอันวิจติ รตระการตาไปด้วยสีสนั ของตึกรามบ้านช่องและธรรมชาติ ตามเป้าหมาย ของผูก้ �ำ กับทีต่ อ้ งการประกาศศักดาของภาพยนตร์ จีน จนทำ�ให้ทกุ ช็อตในหนังสวยงามเปรียบเหมือน ภาพวาด และสร้างความรูส้ กึ อึดอัดกดดันในฐานะ

ผู้หญิงที่ถูกจ้องมองอย่างบีบคั้นและคับแคบของ รัฐบาลจีน ไม่ตา่ งจากการทีเ่ รากำ�ลังแอบมองใคร คนหนึ่งคนผ่านกล้องส่องทางไกลอยู่ห่างๆ สำ�หรับภาพยนตร์ไทยนั้น ถ้าจะกล่าวถึง ภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่หยิบเอารูปแบบ ความเป็นไทยมาผสมผสานกับวัฒนธรรมอื่นได้ อย่างเต็มที่ก็คงหนีไม่พ้นฟ้าทะลายโจร (2000) ผลงานการกำ�กับภาพยนตร์เรื่องแรกของ วิศษิ ฏ์ ศาสนเทีย่ ง เล่าเรือ่ งราวความรักไม่สมหวังอันสุด รวดร้าวของเสือดำ�และรำ�เพย ในรูปแบบของ ภาพยนตร์แอ็คชั่นไทยในยุค 70 ที่ครอบคลุมไป ถึงคาแร็กเตอร์ตวั ละคร บทสนทนาในหนัง งานภาพ สไตล์โพสต์โมเดิรน์ ทีย่ อ้ มให้ฉดู ฉาดเกินจริง และ ดนตรีประกอบเพลงไทยเดิมทีพ่ าคนดูเหมือนย้อน กลับไปในยุคนั้นได้อย่างงดงาม ฟ้าทะลายโจร ยังถูกขนานนามจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ระดับ โลกว่าเป็นหนัง ‘คาวบอยผัดไทย’ ทีผ่ สมกลิน่ อาย ภาพยนตร์คาวบอยสปาเก็ตตี้ของผู้กำ�กับหนัง คาวบอยชาวอิตาลีเซอร์จิโอ เลโอเน (Sergio Leone) ได้อย่างลงตัว ถึงแม้ฟา้ ทะลายโจร จะเข้าข่ายหนังเฉพาะตัว และอาจไม่เข้าถึงกลุ่มคนดูหมู่มาก จนทำ�ให้ รายได้ไม่สูงนักในช่วงที่ฉาย แต่ถือเป็นคลื่น ลูกแรกที่พัดเอาวัฒนธรรมไทยออกไปสู่สายตา โลก ด้วยการตีตวั๋ เครือ่ งบินออกทัวร์ตามเทศกาล ภาพยนตร์ตา่ งๆ ทัง้ ยังเป็นภาพยนตร์ไทยเรือ่ งแรก ที่เข้าสู่เวทีเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในปี 2001 โดยเข้าชิงรางวัลสาขา Un Certain Regard

chinafilminsider.com

02 จากตัวอักษรและภาพนิ่ง สู่เรื่องราวในภาพเคลื่อนไหว

CREATIVE THAILAND I 16

03 สอดประสานดนตรี ให้เกิดเสียงเพลงใหม่ มองเผินๆ เพลงและเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาจดู เชยหรือเป็นแค่วัฒนธรรมที่สืบสานกันแค่ในต่าง จังหวัดเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว วงการดนตรีสากล ยังคงหยิบเอาวัฒนธรรมพืน้ บ้านเหล่านีม้ าสานต่อ รื้ อ รากเพื่ อ หาแก่ น แท้ ข องเพลงพื้ น บ้ า นจาก หลากหลายประเทศ มารวบรวมจนเป็นพื้นฐาน ให้กับเพลงใหม่ๆ ได้ตีตลาดกลายเป็นเพลงฮิต ไม่ต่างจากงานศิลปะคอลลาจที่ตัดแปะชิ้นส่วน ต่างๆ ให้กลายเป็นผลงานชิ้นใหม่ไม่เหมือนใคร ในช่วงไม่กป่ี มี านี้ วงการเพลงไทยเกิดกระแส ‘อีสานโมเดิรน์ ’ ทีน่ �ำ ดนตรีพน้ื บ้านของภาคอีสาน มาดัดแปลงเพิม่ เติมให้กลายเป็นเพลงป๊อปฟังง่าย เข้าถึงได้ อย่างวงดนตรี The Paradise Bangkok Molam International Band จากวิสัยทัศน์ของ ดีเจ Maft Sai หรือณัฐพล เสียงสุคนธ์ เจ้าของ ค่ายแผ่นเสียง ZudRangMa Records และ นักดนตรีลกู อีสานฝีมอื ชัน้ ครูอย่างคำ�เม้า เปิดถนน และไสว แก้วสมบัติ ที่นำ�เพลงทำ�นองหมอลำ� ผ่ า นเสี ย งพิ ณ และแคน มาผสมลู ก ล่ อ ลู ก ชน ของดนตรีสมัยใหม่ เกิดเป็นความโจ๊ะและจังหวะ มันชวนเต้นจนทำ�เอาฝรัง่ แดนซ์กนั ขาขวิดมาแล้ว นับครั้งไม่ถ้วน พวกเขาได้สร้างความแปลกใหม่ ให้กับวงการเพลงไทยไปจนถึงระดับโลก จนได้ รับเชิญไปแสดงในเทศกาลดนตรีต่างประเทศ มาแล้วมากมาย สำ�หรับรัสมี เวระนะ หรือ Rasmee Isan Soul ผู้ มี ใ จรั ก ในเสี ย งเพลงหมอลำ � มาตั้ ง แต่ 5 ขวบผ่านการสนับสนุนของพ่อซึง่ เป็นทัง้ ครูและ นักดนตรีพนื้ บ้านเขมร เมือ่ ได้ยา้ ยมาอยูเ่ ชียงใหม่ จึงทำ�ให้เธอได้พบกับแนวดนตรีอกี หลายแนว โดย เฉพาะแนวเพลงแจ๊ส บลูส์ และโซล ที่โดนใจเป็น พิเศษ ประจวบเหมาะกับจังหวะชีวิตที่ได้มาพบ กับสาธุการ ทิยาธิรา มือกีตาร์คู่บุญ จนเกิดเป็น มิตรภาพที่ให้สองโลกดนตรีมาเจอกัน ไม่น่า แปลกใจที่ Rasmee Isan Soul จะกลายเป็น หมอลำ�ที่ฉีกกฎดั้งเดิม แถมยังสร้างคุณค่าให้กับ เพลงอีสานมากยิ่งขึ้น จนคว้ารางวัลใหญ่ถึง 3 รางวัลจากเวทีคมชัดลึก อวอร์ด เมื่อปี 2016 เป็นที่ยอมรับในฝีมือและความแปลกใหม่ทั้งใน และต่างประเทศ


redbull.com

ส่วนความสะเดิดแบบลูกทุ่งและหมอลำ� ไทยๆ ก็ยังไปเตะหูเตะตาชาวต่างชาติ อย่างวง ดนตรีแจ๊สสัญชาติฝรั่งเศส Limousine ก็เป็น ตัวอย่างที่ดีที่ดึงเอาดนตรีพ้ืนบ้านไทยมาผสม หลังจากที่พวกเขาเดินทางมาพักผ่อนและหา แรงบันดาลใจใหม่ๆ ที่ภาคอีสานบ้านเรา และ ค้นพบความคล้ายคลึงของหมอลำ�ในความเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยลูกเล่นแห่งการอิมโพรไวซ์ จนทดลอง สร้ า งเพลงแจ๊ ส รู ป แบบใหม่ ที่ มี ก ลิ่ น อายของ หมอลำ� ใส่เสียงพิณ แคน และโปงลาง ร่วมกับ นักดนตรีหมอลำ� ยอด-วรงค์ บุญอารีย์ จนออก มาเป็นเพลงแจ๊สฟังสบายทีล่ กุ ขึน้ มาเซิง้ ได้ไม่เขิน

04 ช่างฝีมือผู้ทำ�ให้รันเวย์แฟชั่น ไม่มีวันล้าสมัย ศิลปะในชีวติ ประจำ�วันอย่างเสือ้ ผ้าเครือ่ งแต่งกาย น่าจะเป็นหลักฐานยืนยันได้ดวี า่ มันถูกปรับเปลีย่ น มาอย่างต่อเนือ่ งตามยุคสมัยและวิถชี วี ติ ของผูค้ น ทีเ่ ปลีย่ นไป จากทีเ่ ป็นแค่สง่ิ ปกปิดร่างกาย ก็กลาย มาเป็นงานศิลปะทีบ่ ง่ บอกรสนิยมและตัวตนของ ผู้สวมใส่ เป็นเหตุผลว่าทำ�ไมแฟชั่นถึงไม่เคย หยุดนิ่ง หากแต่ดัดแปลงและหยิบยืมความคิด

สร้างสรรค์กันทั่วโลกจนเป็นอุตสาหกรรมที่สร้าง มูลค่ามหาศาลให้กับหลายประเทศ คอลเล็กชั่นของ Chanel ถือเป็นตัวอย่างที่ โดดเด่นเรื่องการใช้ผ้าทวีด (Tweed) เป็นองค์ ประกอบสำ�คัญในการออกแบบร่วมกับความ ประณีตวิจิตรตระการตา ที่ต้องอาศัยช่างฝีมือ จำ�นวนมากในการทำ�งานแต่ละชิ้น ตั้งแต่ยุค เริ่มต้นของแบรนด์โดยโคโค่ ชาแนล (Coco Chanel) และยังคงขนบธรรมเนียมนี้มาจนถึง ปัจจุบัน เมื่อถึงยุคสมัยใหม่ภายใต้การดูแลของ คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์ (Karl Lagerfeld) การพัฒนา ชุดสูทผ้าทวีดก็ยิ่งเดินหน้าไปเรื่อยๆ ร่วมกับ เทคโนโลยีอนื่ ๆ จนไม่วา่ จะผ่านไปกีป่ กี ไ็ ม่นา่ เบือ่ หรื อ ล้ า สมั ย เลย อย่ า งคอลเล็ ก ชั่ น Spring/ Summer 2018 ที่ผ่านมา ก็นำ�เอาพลาสติกมา ประยุกต์เพิม่ เติม ให้ความรูส้ กึ ถึงวัฒนธรรมป๊อป ในยุค 60 หรือจะเป็นคอลเล็กชั่นก่อนหน้าใน Spring/Summer 2017 ที่เพิ่มความเปรี้ยวด้วย กราฟิกสีจัดจ้านสดใส เส้นสายไฮไลต์เหมือน เลเซอร์เข้ากับหมวกสะท้อนแสงเพื่อเอาใจวัยรุ่น โดยเฉพาะ ไม่ใช่แค่การออกแบบเสื้อผ้าที่เดินหน้าเต็ม สูบสู่อนาคตเท่านั้น การทำ�แบรนดิ้งของ Chanel CREATIVE THAILAND I 17

ก็ไม่เคยหยุดนิ่ง เห็นได้จากแฟชั่นโชว์ทุกครั้งที่ แสดงถึงความล้ำ�ตระการตา รวมไปถึงการเลือก แบรนด์แอมบาสเดอร์ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้มาก ยิ่งขึ้น ฉีกขนบความโก้หรูมาสู่แบรนด์ที่เข้าถึงได้ ง่ายขึ้น ด้วยการใช้คนดังอย่างคาร่า เดเลวีน, คริสเตน สจ๊วร์ต, ลิลี่ โรส-เดปป์, วิลโลว์ สมิธ, ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ และจี-ดรากอน มาร่วมด้วย ช่วยกันปรับลุคลดวัยให้กบั แบรนด์อายุกว่า 100 ปี เสริมภาพลักษณ์ให้ชุดทวีดยังคงสวมใส่ได้ไม่ว่า เวลาจะผ่านไปกี่ปีก็ตาม เมื่อหันกลับมามองกระแสการแต่งกายของ คนไทยทีเ่ ริม่ มีพฒั นาการอย่างเห็นได้ชดั อาจพอ ยกตัวอย่างได้จากครัง้ เมือ่ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรงต้องเตรียม ฉลองพระองค์เพื่อตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เยือนสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 1960 โดยมีนายปิแอร์ บัลแมง (Pieere Balmain) ดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสจากแบรนด์ Balmain เป็นผู้รับผิดชอบฉลองพระองค์แบบ สากลในครั้งนั้น ฉลองพระองค์ของพระองค์ล้วน ดูเรียบง่ายแต่เปี่ยมไปด้วยความโก้หรู ถึงขั้น ได้รบั การกล่าวถึงในวงกว้างจากสือ่ มวลชนทัว่ โลก ว่าเป็นสุภาพสตรีที่แต่งกายงดงามที่สุดในโลก โดยหลังจากนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ยังทรงไว้วางพระราช หฤทัยให้ห้องเสื้อบัลแมงตัดเย็บชุดไทยพระราช นิยมทั้งแปดแบบให้ทันสมัยขึ้น แต่เดิมชุดไทย ประเพณี จ ะสวมใส่ ด้ ว ยการห่ ม และการนุ่ ง บัลแมงได้ศกึ ษาทดลองจนปรับปรุงเป็นแพตเทิรน์ ที่มีลักษณะเป็นชุดกระโปรง (Dress, Gown) ทำ�ให้ฉลองพระองค์มีความร่วมสมัยและสวมใส่ ได้สะดวกยิ่งขึ้น การตัดเย็บฉลองพระองค์ใช้ผ้า ไหมและผ้าทอของไทย ปักประดับด้วยลายไทย ผสานกับลายพรรณพฤกษาแบบตะวันตกโดย ช่างฝีมือระดับโลก ถือเป็นแรงผลักดันสำ�คัญที่ ทำ�ให้ผา้ ไหมไทยมีชอ่ื เสียงโด่งดัง และยังไม่ปดิ กัน้ ความคิดสร้างสรรค์ในวงการแฟชั่นไทยมาจนถึง ปัจจุบัน


archdaily.com

ศิลปะการพับกระดาษหรือโอริกามิ (Origami) คือ ศิลปะพื้นบ้านของญี่ปุ่นที่ถูกเผยแพร่ออกไปสู่ หลายประเทศ เพราะหัดพับได้ตงั้ แต่รปู ทรงง่ายๆ อย่างสัตว์ ไปจนถึงรูปทรงสามมิติซับซ้อน ซึ่ง โอริกามิยงั กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้สถาปนิก ทั่ ว โลกหยิ บ แนวคิ ด รู ป ทรงเหลี่ ย ม การพั บ และเชื่ อ มต่ อ มาเป็ น แก่ น ในการออกแบบ สถาปัตยกรรมมากมายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ฝั่งยุโรป เช่น Basque Health Department Headquarters ในเมืองบิลเบาของสเปน ทีอ่ อกแบบ ฟาซาดอาคารด้วยกระจกใสตัดเหลี่ยมแบบโอริกามิ นอกจากจะทำ�ให้อาคารสวยสะดุดตาแล้ว ยัง แยบยลด้วยการให้กระจกครอบอาคารจริงเพือ่ ไม่ ให้ ผิ ด กฎการรื้ อ โครงสร้ า งในย่ า นเมื อ งเก่ า แถมการหักมุมของกระจกยังช่วยลดมลภาวะทาง เสียงจากถนนด้านล่างได้ดี หรือจะข้ามฝั่งมาที่ แดนปลาดิบ พิพิธภัณฑ์ Karuizawa Museum Complex ก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโอริกามิ พัดจีนพับ และไม้ฉากกั้นของญี่ปุ่น ที่ทั้งหมดทำ� จากกระดาษแผ่ น เดี ย ว แต่ ดั ด แปลงมาเป็ น สถาปัตยกรรมเรียบง่ายที่เล่นกับรูปทรง แสงเงา

CREATIVE THAILAND I 18

archdaily.com

05 สถาปัตยกรรมที่ต่อยอดจาก งานฝีมือดั้งเดิม

ได้หลากรูปแบบ เอกลักษณ์ที่เกิดจากการพับ เหลี่ยมมุมเหล่านี้ยังสอดคล้องกับการออกแบบ เชิงเรขาคณิตของตะวันตกอีกด้วย ฝัง่ สถาปัตยกรรมไทยก็หยิบเอางานช่างฝีมอื ดัง้ เดิมมาประยุกต์ใช้ ผูท้ ไ่ี ปเยือนเชียงใหม่ชว่ งนี้ คงต้องสะดุดตากับอาคารฟาซาดกระจกขนาด ใหญ่ทส่ี ะท้อนส่องแสงวิวร่มไม้ในพืน้ ทีก่ ว่า 3,000 ตารางเมตรบนเส้ น ทางหลวงสายเชี ย งใหม่ สันกําแพง อย่ า งพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศิ ล ปะ MAIIAM Contemporary Art Museum ทีเ่ ปิดตัวเมือ่ ปลาย ปี 2016 ส่งเสริมให้เชียงใหม่กลายเป็นเมือง ศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรมไทยและศิลปะร่วม สมัยชัดเจนยิ่งขึ้น จากโกดังเก็บสินค้าเก่าก็ถูก แปลงโฉมใหม่ ด้ ว ยฝี มื อ ของสตู ดิ โ อออกแบบ all(zone) ทีม่ โี จทย์คอื ต้องสะท้อนเมืองเชียงใหม่ ในแบบร่วมสมัย ผลลัพธ์คือฟาซาดกระจกที่ได้ แรงบั น ดาลใจมาจากกำ � แพงวั ด ในเมื อ งที่ ใ ช้ กระจกตกแต่ง ผ่านการศึกษา ค้นคว้า และ ทดลองอย่างหนัก จนมาจบทีก่ ระจกเกรียบ ศิลป วัตถุทพี่ บมากในสมัยอยุธยา ผนวกกับเทคโนโลยี ปูนกาวยึดกระจกเข้ากับผนัง กลายเป็นการผสม ผสานระหว่างโลกโบราณและสมัยใหม่เข้าด้วยกัน โดยบังเอิญ


06 ปรุงรสมือเดิม เสริมแต่งเป็น รสชาติใหม่

osteriafrancescana.it

อาหารรสมือแม่เป็นตัวแทนของอาหารรสชาติ ดัง้ เดิมทีป่ รุงสืบทอดกันมาหลายรุน่ ปัจจุบนั มีรา้ น อาหารชั้นนำ�ที่หยิบแนวคิดอาหารพื้นบ้านและ รสชาติเหมือนกินทีบ่ า้ น มาดัดแปลงให้แปลกใหม่ ด้วยรสชาติและวิธีการนำ�เสนอที่ท้าทายขนบเก่า เป็นรสชาติที่เชิดชูวัฒนธรรม ความรู้ภูมิปัญญา ดั้งเดิม พร้อมกับความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างอิ่ม อกอิ่มใจ Osteria Francescana ร้านอาหารในเมือง โมเดนา ประเทศอิตาลี คือตัวอย่างที่เด่นชัดใน การท้ า ทายขนบธรรมเนี ย มอาหารอิ ต าเลี ย น ดั้งเดิม แต่เชื่อว่าจะพาอาหารอิตาเลียนเดินหน้า หลีกหนีความจำ�เจแม้ต้องต่อสู้กับเสียงวิจารณ์ จากนักชิมมากมายก็ตาม หัวเรือใหญ่มัสซิโม บอตตูรา (Massimo Bottura) ฝึกหมัดมวยต่อสู้ กับเสียงเหล่านั้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ หยิบ

รสชาติอันโดดเด่นของอาหารอิตาเลียนมาผสาน เข้ากับแนวคิดร่วมสมัย อาหารทุกชนิดถึงแม้จะ มีพื้นฐานแบบอิตาเลียน แต่จะถูกเสิร์ฟอย่าง กะทัดรัด ตรงข้ามกับอาหารอิตาเลียนทัว่ ไปทีม่ กั จะมาในไซส์ใหญ่ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อท้าทายการรับรู้ รสชาติและให้เกียรติองค์ประกอบอาหารแต่ละ ชนิด ให้คนกินได้ลิ้มลองอย่างละเมียด ภาพจำ� ของอาหารอิ ต าเลี ย นจึ ง ถู ก บิ ด เบื อ นด้ ว ยการ ตีความใหม่ รื้อถอดองค์ประกอบมาเรียงลำ�ดับ ในแบบที่คนไม่เคยเห็น เช่น จานเด็ดของร้าน Five Ages of Parmigiano Reggiano ที่เปิด โอกาสให้ผกู้ นิ ชิมรสชาติชสี ประจำ�เมือง 5 รูปแบบ แตกต่างกันไป หรือ The Crunchy Part of the Lasagna ทีน่ �ำ ส่วนอร่อยทีส่ ดุ ของลาซานญา นัน่ ก็คอื ส่วนชีสกรอบๆ ทีห่ อมกลิน่ อบเบาๆ มาเสิรฟ์ จนเป็นอีกหนึ่งเมนูดังของร้าน ด้วยความมุ่งมั่นศึกษาทั้งเรื่องอาหารและ ศิ ล ปะอย่ า งถ่ อ งแท้ บวกกั บ ความขยั น ที่ จ ะ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ของมัสซิโม ทำ�ให้รสชาติ

อาหารอิ ต าเลี ย นแบบใหม่ นั้ น ตราตรึ ง จน Osteria Francescana ขึ้นแท่นร้านอาหารที่ดี ที่สุดในโลกประจำ�ปี 2016 และติดท็อป 5 ของ โลกมาเป็นเวลาหลายปี อาหารไทยเองก็มีรสชาติและเอกลักษณ์จน โด่งดังไปทั่วโลก ทั้งความจัดจ้านกลมกล่อมของ รสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน รวมไปถึงคาแร็กเตอร์ ของอาหารแต่ละภาคทีไ่ ม่เหมือนกัน สำ�หรับร้าน อาหารน้องใหม่ย่านบางรัก 100 Mahaseth ที่ นำ�เสนออาหารไทยอีสานรสแซ่บในคอนเซ็ปต์ Nose to Tail หรือการใช้ส่วนต่างๆ ของสัตว์มา ทำ�อาหารโดยไม่เหลือทิ้ง (อาจฟังดูน่ากลัว แต่ ความจริงแล้ว การกินอาหารแบบครบทุกส่วนเป็น เรื่องที่มีมานานแล้ว โดยเฉพาะทางภาคอีสาน) ทางร้านจะคัดเลือกวัตถุดิบชั้นดีจากทั่วประเทศ ปรุงเมนูคุณภาพที่มีกลิ่นอายความไทยแท้ใน รูปแบบร่วมสมัย จนทำ�ให้เมนูพื้นบ้านคุ้นปาก อย่างไส้อั่ว กลายเป็นฮอทด็อกไส้อั่วรมควัน หรือ จะเป็นจานเด็ดของร้านอย่างไขกระดูกส้าขี้ม่อน ไขกระดูกแข้งวัวที่คลุกเคล้าด้วยเครื่องเทศจน หอมเกินห้ามใจ ตัวอย่างงานสร้างสรรค์สาขาต่างๆ ทีย่ กมา น่าจะพอทำ�ให้หลายคนเห็นภาพว่า การหยิบจับ หรือดัดแปลงวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ความคิด ของคนรุ่ น เก่ า หรื อ แม้ แ ต่ ค นจากต่ า งชาติ ต่างวัฒนธรรม มาทำ�ให้ ‘คราฟต์’ ขึน้ ด้วยเทคนิค วิธีร่วมสมัย ไม่เพียงจะทำ�ให้เราต่อยอดและ ขยับขยายวงการสร้างสรรค์ในทุกวันนี้ได้อย่าง สนุ ก ขึ้ น แต่ ยั ง ย้ อ นกลั บ มาตั้ ง คำ � ถามต่ อ คน ทำ�งานเองด้วยว่า ‘ราก’ ของแต่ละวัฒนธรรม แท้จริงนั้นคืออะไรกันแน่

ที่มา: บทความ “Pablo’s Punk” (9 มกราคม 2007) โดย Jonathan Jones จาก theguardians.com / “ai weiwei hangs bamboo + paper kite creatures in paris’ le bon marché department store” (15 มกราคม 2016) จาก designboom.com / “I am not Madame Bovary” (18 พฤศจิกายน 2016) โดย Sheila O’Malley จาก rogerebert.com / “I Am Not Madame Bovary’: Film Review | TIFF 2016” (09 กันยายน 2016) โดย Deborah Young จาก hollywoodreporter.com / “Tears of The Black Tiger : ฟ้าหลังฝนของ วิศษิ ฏ์ ศาสนเที่ยง” (23 มีนาคม 2007) จาก movie.mthai.com / “Gun-Slinging Cowboys in Colorful Thailand” (12 มกราคม 2007) โดย A.O. Scott จาก nytimes.com / “How Coco Chanel Discovered Her Iconic Tweed” (18 มีนาคม 2014) โดย Ruthie Friedlander จาก elle.com / “งานสมบรมราชินีนาถ” จาก qsmtthailand.org / “Basque Health Department Headquarters” (01 มกราคม 2013) จาก architravel.com / “Karuizawa Museum Complex / YASUI HIDEO ATELIER” (22 มีนาคม 2013) จาก archdaily.com / “Osteria Francescana Is Named the World’s Best Restaurant” (14 มิถนุ ายน 2016) โดย Chris Rovzar จาก bloomberg.com / “กินหัว กินหาง กินกลางตลอดตัว ‘100 Mahaseth’ อาหารสไตล์พน้ื บ้านเอเชียอาคเนย์” (7 ตุลาคม 2017) โดย วสิตา กิจปรีชา จาก thestandard.co / “100 Mahaseth” (4 พฤศจิกายน 2017) โดย จิรณรงค์ วงษ์สนุ ทร จาก readthecloud.co / “MAIIAM CONTEMPORARY ART MUSEUM” (30 พฤศจิกายน 2016) โดย Room จาก baanlaesuan.com / บทสัมภาษณ์ “สัมภาษณ์จดั หนักหมอลำ�อินเตอร์ The Paradise Bangkok Molam International Band” (30 มีนาคม 2017) โดย คณพล วงศ์วเิ ศษไพบูลย์ จาก gmlive.com / “Rasmee : Shades of Molam” (09 พฤศจิกายน 2016) โดย Montipa Virojpan จาก fungjaizine.com / “เพราะฉันมีใจให้กับเสียงเพลง ‘รัสมี Isan Soul’” (12 พฤษภาคม 2016) โดย อรปมน วงค์อินตา จาก waymagazine.com / “French Jazz Group Limousine’s Thai Folk Road Trip” (28 พฤษภาคม 2013) โดย Max Crosbie-Jones จาก sea.blouinartinfo.com / “MAIIAM Contemporary Art Museum พืน้ ทีศ่ ลิ ปะร่วมสมัย ใหม่ตลอดกาล” (28 กันยายน 2017) โดย SPD จาก dsignsomething.com / “เบือ้ งหลังแนวคิดการออกแบบ ‘พิพธิ ภัณฑ์ใหม่เอีย่ ม’ ของสถาปนิก all(zone)” (05 ตุลาคม 2017) โดย Chairman จาก creativethailand.net / วิดโี อ “Inside The Best Restaurant In The World: Osteria Francescana” (15 มิถนุ ายน 2016) โดย MR PORTER จาก youtube.com / “Abstract ตอน Osteria Francescana” จาก netflix.com / “Ai Weiwei - Making of ER XI - Le Bon Marché Rive Gauche” (2 มีนาคม 2016) โดย Le Bon Marché Rive Gauche จาก youtube.com / หนังสือ In Royal Fashion: The Style of Her Majesty Queen Sirikit of Thailand (2013) โดย Melissa Leventon, Dale Carolyn Gluckman / การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินยิ ม (2004) โดย ชาตรี ประกิตนนทการ CREATIVE THAILAND I 19


Mitch Rosen

Insight : อินไซต์

เรื่อง: ทรงวาด สุขเมืองมา

kfda.be

จากคติคุ้นหู ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น (Ars longa, vita brevis) สู่การตีความหมายว่าในวงจรชีวิตคนยุคใหม่ อะไรๆ ก็เข้ามา อย่างรวดเร็วและจากไปเร็วเช่นเดียวกัน ข้อมูลความรู้ ค่านิยม แฟชั่น หรือศิลปะต่างก็เปลี่ยนแปลงไปก่อนที่เราจะทันตั้งตัว เตรียมใจเสียอีก “ศิลปะสั้น ชีวิตยาว” เป็นคำ�พูดที่สรุปได้จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับอ. พิเชษฐ กลั่นชื่น ผู้กำ�กับ ออกแบบการแสดงและผู้ก่อตั้งคณะเต้น Pichet Klunchun Dance Company ที่มีความเห็นว่า “ความร่วมสมัย” คือการเปิดพื้นที่ให้สิ่งใหม่เข้ามา เพราะคนมีความสัมพันธ์กับพื้นที่และเวลา ศิลปะ จึงปรับเปลี่ยนไปพร้อมกัน ความโดดเด่นด้านการรังสรรค์การแสดงอันผสมผสานเอาท่วงท่าที่ได้จาก การสังเกตและตีความงานแสดงของคนในท้องถิ่น แล้วนำ�ไปศึกษาทดลองต่อจนกลายเป็นผลงาน เฉพาะตัว อย่าง “โขนขาวดำ�” ถือเป็นการดัดแปลงขนบแบบโบราณประเพณีตั้งแต่เครื่องทรงจนถึง ท่ารำ� แม้บางครัง้ อ.พิเชษฐจะถูกตัง้ คำ�ถามในประเด็นการอนุรกั ษ์ แต่สง่ิ ทีย่ ดึ มัน่ มาตลอดก็คอื ความตัง้ ใจ ทำ�ให้ศิลปะการแสดงเข้ามาอยู่ใกล้กับคนดูมากขึ้น เพราะศิลปะเกิดมาเพื่อเป็นตัวแทนความคิดและ ความเชื่อของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เอง ศิลปะจึงไม่ควรมีขอบเขต (No Boundaries) นอกจากศิลปะการแสดงทีเ่ ป็นเสมือนพืน้ ทีท่ ดลองให้เกิดการตีความและการทดลองทฤษฎีความคิด ใหม่ๆ ยังมีเรื่องราวของอาหาร สถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และแกลเลอรี ที่มักมีคำ�เรียกต่อท้ายว่า “คอนเทมพ์” (Contemp) แต่แท้จริงแล้วคำ�ว่า “ร่วมสมัย” (Contemporary) คืออะไร หากเทียบกับ “เวลา” (Timing) คำ�ว่า “สมัยใหม่” (Modern) คือการเคลื่อนไหวของยุคหนึ่งในอดีต โดยในสังคมไทย กับบริบทไทยๆ ที่ต้องการพูดถึงการอยู่หรือการเกิดร่วมในช่วงเวลาเดียวกันในปัจจุบัน จึงใช้คำ�ว่า “ร่วมสมัยหรือร่วมยุค” ซึง่ ก็ดูเหมือนว่าจะมีวนั หมดอายุเฉกเช่นเดียวกับคำ�ว่า “สมัยใหม่” ทำ�ให้บางครัง้ เราเรียกแทนปรากฏการณ์ร่วมยุคนี้ว่า “หลังสมัยใหม่” (Post Modern) ตามสังคมตะวันตก CREATIVE THAILAND I 20


โรงละครช้าง (Chang Theatre) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทุ่งครุ กรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นชุมชน ไทย-มุสลิม ที่มีกจิ กรรมหลากหลายโครงสร้างและส่วนประกอบต่างๆ ของโรงละคร ถูกตีความใหม่โดยให้คนดูนง่ั ในระนาบใกล้เคียงกับเวที เพือ่ ให้สงั เกตเห็นทุกอิรยิ าบถของ ผู้แสดงได้ด้วยตนแอง เป็นความแตกต่างจากการวางผังที่นั่งตามแบบแผนโรงละคร ทั่วไป การจัดพืน้ ทีเ่ ช่นนี้ คือการทลายความเป็นลำ�ดับชัน้ ในการชมการแสดงยุคก่อน และ เพื่อลดระยะห่างของภูมิปัญญาชั้นสูงแห่งการแสดงกับวิถีชีวิตของสามัญชน โรงละคร แห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงว่าพื้นที่กับเวลานั้นเติบโตไปด้วยกัน และต้องมีการ เปลี่ยนแปลงร่วมกัน ภาพภายในโรงละครช้างที่อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้าง

พื้นที่ทดลองทางวัฒนธรรม (Cultural Experiment)

การสร้างความหมายใหม่และการนำ�กลับมาทำ�ใหม่ (Revitalization)

bangkokbold.com

อาหารแนวร่วมสมัยมักกลายเป็นสื่อใหม่ (New Medium) ทีเ่ ปิดให้ผปู้ รุงนำ�ของที่คนุ้ เคย อยู่แล้วมาตีความเรียบเรียงใหม่ ร้าน Bangkok Bold Cooking Studio ซ่อนตัวอยู่ใน อาคารชุดย่านถนนพระสุเมรุ โดยดร.นิพัทธ์-ชนก นาจพินิจ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Chef’s Table แห่งนี้เล่าว่า ลูกค้าที่มารับประทานอาหารแทบไม่ต้องเอ่ยปากว่าต้องการอะไร ทางผูป้ รุงจะนำ�เสนอรายการอาหารที่ชูเรื่องราวของที่มาและคุณค่าจากวัตถุดิบ ก่อนนำ� ไปร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านเมนูต่างๆ เพื่อให้การรับประทานอาหารมื้อนั้นเป็นเหมือน การนั่งชมละครเวที หรือฟังกาพย์กลอนตามจินตนาการหรือเรื่องเล่าในวรรณคดี

โต๊ะสำ�หรับ 10-15 ที่นั่ง ที่เป็นทั้งร้านอาหารและแหล่งเรียนรู้ว่าทำ�อย่างไรวัตถุดิบธรรมดาๆ จึงสร้างมูลค่า ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล

เมือ่ เกิดการไหลไปของวัฒนธรรม ความเปลีย่ นแปลง ที่เกิดขึ้นนอกเหนือความรู้ความเข้าใจ และการ เข้าถึงของเราทุกวันนีจ้ งึ มีมากมาย พิพธิ ภัณฑ์ และ แกลเลอรีจึงกลายเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้มีการ ทดลองทำ�ความรูจ้ กั กับโลกใบทีเ่ ราไม่คนุ้ เคยแต่ตอ้ ง พบเจอ ไม่วา่ จะเป็น Museum of Contemporary Art (MOCA) / Speedy Grandma Gallery / Bangkok City City Gallery / Maison Close BKK และอีกมากมาย ที่ใช้พื้นที่ให้ทำ�หน้าที่เป็นสถานี ทดลองขนาดย่อม โดยหลายครั้งไม่ใช่เพื่อการ พิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ แต่เป็นการชักชวนผู้คน จากหลากหลายสาขาอาชีพ แต่มีความสนใจ ใกล้เคียงกันมาพบปะพูดคุย การแลกเปลี่ยนบท สนทนา ทีอ่ าจนำ�ไปสูก่ ารคิดโปรเจ็กต์สร้างสรรค์ ใหม่ๆ หรือถึงขั้นเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อน การเปลีย่ นแปลงในสังคม หรือทีเ่ รียกว่าพลังแห่ง วัฒนธรรมกลุ่มย่อยนั่นเอง ความร่วมสมัย หรือทีใ่ ครๆ เรียกติดปากว่า คอนเทมพ์นั้น อาจเข้าใจได้ยากหากเรามุ่งทำ� ความเข้าใจเพียงแค่แง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง แต่หาก มองให้รอบด้วยเงื่อนไขของความเป็นปัจจุบันที่ เชือ่ มโยงกับอดีตและอนาคต พร้อมเปิดกว้างรับเอา สิ่งใหม่เข้ามาผสมผสาน อาจพบว่า วัฒนธรรม หลังยุคสมาร์ทโฟน (Culture after Smartphone) ก็ไม่ถึงขนาดวุ่นวายอย่างที่คิด กลับจะกลายเป็น ยุคทีป่ ล่อยให้อสิ ระทางความคิดเกิดขึน้ และเรือ่ ง เก่าๆ ทีเ่ ราเคยคิดว่าน่าเบือ่ ก็อาจกลายเป็นเรือ่ ง สนุกสุดคูลขึ้นมาก็เป็นได้ เชื่ อ เถอะ...สมั ย นี้ อะไร อะไรก็ คอนเทมพ์

ที่มา: หนังสือ “สถาปัตยกรรมพันธุ์ใหม่ หลังยุคสมัยใหม่” โดย เด่น วาสิกศิริ (2558) / สัมภาษณ์ “พิเชษฐ กลั่นชื่น” ที่โรงละครช้าง (2559) / สัมภาษณ์ “ดร. นิพัทธ์ชนก นาจพินิจ” ที่ Bangkok Bold Cooking Studio (2559) CREATIVE THAILAND I 21


Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่อง/ภาพ: ภูริวัต บุญนัก

ผูค้ น วัฒนธรรม และวิถชี วี ติ คือวัตถุดบิ ชัน้ ดีทชี่ ว่ ยกระตุน้ บรรยากาศแห่งความคิดสร้างสรรค์ และสะท้อนถึงการเติบโตของ เมืองทีอ่ ดุ มไปด้วยรากเหง้าทางศิลปวัฒนธรรมอย่าง “เชียงใหม่” ทีบ่ ดั นีเ้ ป็นมากกว่าเมืองจุดหมายปลายทางของนักท่องเทีย่ ว แต่ยงั เป็นพืน้ ทีบ่ ม่ เพาะความสร้างสรรค์และจุดกำ�เนิดของธุรกิจจากงานฝีมอื ชัน้ เยีย่ ม ให้งอกเงยและแผ่ขยายออกไปได้ไม่รจู้ บ และแม้ว่าบริบทของงานออกแบบ กระบวนการ และเทคโนโลยี จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา หัตถกรรมและงานคราฟต์ก็ยังคง เป็นหัวใจสำ�คัญที่หลอมรวมเข้ากับไลฟ์สไตล์และวิธีคิดของนักออกแบบ รวมถึงผู้ประกอบการในท้องถิ่นอย่างแยกไม่ได้ This Is a Chair…Share to Chair “ทีเ่ ก้าอีแ้ ต่ละตัวแตกต่างก็เพราะคนทีม่ าซือ้ เก้าอีท้ ดี่ ไี ม่ใช่แค่สวยหรือใช้งาน ได้ดี แต่ตอ้ งแสดงตัวตนและไลฟ์สไตล์ของผูใ้ ช้ได้ดว้ ย เหมือนเลือกเสือ้ ผ้าหรือ นาฬิกา ฟังก์ชน่ั เดียวกัน แต่สไตล์มนั บ่งบอกคาแร็กเตอร์” รุง่ โรจน์ วิรยิ ะชน และวิจิตรา กิติศักดิ์ สองนักออกแบบจาก This Is a Chair อธิบายแนวคิด และวิธีการสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นของแบรนด์ซึ่งมีต้นกำ�เนิดใน จังหวัดเชียงใหม่ โดยให้ความสำ�คัญกับการสื่อสารหรือพูดคุยกับลูกค้า เพื่อ สร้างสรรค์เก้าอีท้ ม่ี เี อกลักษณ์เหมาะสมกับตัวตน และสามารถมอบประสบการณ์ ที่ดีที่สุดในการใช้งานให้กับผู้ที่ได้สัมผัสและใช้งานจริง “ปัญหาหนึ่งของลูกค้าคือเขาไม่รู้จะทำ�ยังไง เขาบอกไม่ได้ เพราะ ส่วนมากจะชินกับการซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบปกติ คือไปดูตามร้าน แล้วเลือก

ชิ้นที่ดีที่สุดที่ร้านจะมีให้ เราเลยเสนอทางเลือกให้ว่าถ้ามันมีแบบนี้ได้ เอาไหมล่ะ ไม่แพงกว่าด้วย ขั้นตอนคือ เขาจะดูจากตัวต้นแบบของเราก่อน เพื่อให้รู้ว่าชอบแบบนี้ ไม่ชอบแบบนี้ หรือชอบเพราะอะไร เราก็คอ่ ยๆ ถอด ความออกมาจากความต้องการของลูกค้าทีบ่ อกกับเรามาเรือ่ ยๆ เช่น อยาก วางเก้าอีต้ รงไหน สูงเท่าไหร่ การทำ�ธุรกิจของ This Is a Chair เลยเป็นเรื่อง ของการพูดคุย ทำ�ยังไงให้เรื่องที่อยู่ในใจของลูกค้าออกมาเป็นงาน นั่นคือ หน้าที่เรา เพื่อเปลี่ยน “a chair” ให้เป็น “your chair” ไม่ใช่แค่สกรีนชื่อ ลงไป แล้วบอกว่าเป็นซิกเนเจอร์ นี่จึงเป็นกระบวนการที่เราชอบที่สุดในการ ทำ�งาน เพราะจะได้งานที่ลูกค้าอยากได้จริงๆ เขาจะต้องแฮปปี้ทุกครั้งที่มา นั่งเก้าอี้ตัวนี้ เพราะว่าเขามีส่วนร่วมในกระบวนการคิดตลอด”

CREATIVE THAILAND I 22


อะไรก็ “ช่าง” ในวันที่หลายคนมองว่าแหล่งสินค้างานไม้ที่มีอดีตมั่งคั่งอย่าง “บ้านถวาย” ชุมชนช่างและงานหัตถกรรมไม้ในอำ�เภอหางดงของเชียงใหม่ เริ่มถูก ลดทอนความเคลือ่ นไหวและความน่าตืน่ เต้นลง รวมไปถึงความคาดหวังของ ลูกค้าที่คิดว่าราคาสินค้าที่บ้านถวายนั้นจะต้องมีราคาถูก This Is a Chair จึงมองหาโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการบอกเล่าเรือ่ งราวและสร้าง คุณค่าที่แท้จริงให้กับสินค้างานไม้ ด้วยการให้คุณค่ากับ “ช่างฝีมือ” ที่มี ประสบการณ์สูงซึ่งเป็นผู้ผลิตเก้าอี้แต่ละตัวของแบรนด์ “มาถึงตอนนี้ บ้านถวายต้องเปลี่ยนคอนเซ็ปต์แล้ว เราไม่อยากให้คนรู้สึกว่าบ้านถวายเป็น แค่แหล่งผลิตของโหลทั่วไป เพราะที่นั่นมีช่างมีฝีมือมากมาย เมื่อก่อนเวลา ใครอยากได้งานคราฟต์ งานไม้สักทำ�มือ ราคาโรงงาน หลายคนแนะนำ�ให้ มาที่นี่ แต่ที่จริงแล้วช่างใช้เวลาทำ�นานมาก แต่ก็ต้องทำ�ให้ได้จำ�นวนเยอะ ในเวลาที่น้อย พอต้องเร่งรีบ ต่อให้ช่างเก่งแค่ไหน เขาก็ผลิตงานที่เป็น มาสเตอร์พซี ไม่ได้ เราเลยอยากเปลีย่ นให้คนรูว้ า่ ทีจ่ ริงแล้วช่างเป็นทุกอย่าง เลยนะในงานชิน้ หนึง่ งานจะเกิดได้หรือไม่ได้ ไม่ได้อยูท่ แี่ บบยากหรือไม่ยาก แต่อยูท่ ชี่ า่ ง เพราะจริงๆ แล้ว ช่างทำ�ได้ทกุ อย่าง แต่จะทำ�ยังไงให้ชา่ งแสดง ฝีมอื ได้เต็มที่ นัน่ คือต้องตัดปัจจัยเรือ่ งเวลาออกไป ต้องไม่รบี แต่เน้นคุณภาพ ถ้างานมีคุณภาพ ทำ�ตลาดได้ เราก็ไม่ต้องกลัว” “เราต้องเริ่มเป็นเพื่อนเขาก่อน ให้เวลาเขาเต็มที่ ให้ค่าแรงตามที่เขา ต้องการ พอถึงเวลาทีเ่ ขาได้แสดงฝีมอื สุดขีด เขาก็ภมู ใิ จ เราเปิดวิดโี อช่างทำ� เครือ่ งหนังในเมืองฟลอเรนซ์ทอี่ ติ าลีให้ชา่ งดู ซึง่ ทีน่ นั่ ยกย่องช่างว่าเป็นศิลปิน งานบางชิ้นทำ�ได้เฉพาะมาก เป็นงานที่มีคุณค่ามาก พอดูเสร็จเราก็ถามเขา ว่า เราจะทำ�งานแบบนีไ้ ปเรือ่ ยๆ เหรอ ก็คอ่ ยๆ คุย ปรับหาเขา เขาก็ปรับตาม ถ้าเราพิสูจน์ได้ว่ามันทำ�ได้ เขาก็จะหมดคำ�ถาม เพราะเรามีแผนว่าต่อไปนี้ เก้าอีท้ กุ ๆ ตัวทีท่ �ำ ทัง้ งานไม้และงานเหล็ก ผมจะมีปา้ ยห้อยเล็กๆ ทีส่ อื่ สาร เรื่องราวไปถึงช่างเหล่านี้ เพื่อให้คุณค่าและให้เครดิตกับช่างมากขึ้น” Long Goy...ล้านนาสู่สากล ด้วยความที่ศุภกร สันคนาภรณ์ เติบโตที่เชียงใหม่ จึงคุ้นเคยกับวัฒนธรรม และประวัตศิ าสตร์ลา้ นนาเป็นอย่างดี แต่วนั หนึง่ เขากลับรูส้ กึ ว่าสิง่ เหล่านีถ้ กู ทอดทิ้งและไม่มีความน่าสนใจ จนเกิดความรู้สึกว่า หากเรื่องราว ภาษา และงานฝีมือเหล่านี้เลือนหายไปตามกาลเวลา ก็คงจะน่าเสียดายไม่น้อย Long Goy แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นล้านนาจึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างความเป็นสากล และส่งต่อวัฒนธรรมเหล่านี้ให้เข้าถึงผู้คนได้ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและเป็น ธรรมชาติมากขึ้น

“เพราะโลกเปิดกว้างมากขึน้ วัฒนธรรมตะวันตกกลายเป็นวัฒนธรรม หลัก ผมจึงคิดว่าจะทำ�ยังไงดีให้ผคู้ นสนใจแฟชัน่ ล้านนามากขึน้ และสือ่ ว่า ของของเราไม่ได้แย่หรือโบราณ ถ้ารูจ้ กั จับมันมาทำ�ในรูปแบบใหม่ และเล่า เรือ่ งราวแบบใหม่ งานของเราจะแตกต่างที่ลวดลายซึ่งมาจากเรื่องราวของ ทางเหนือ เช่น ภาษา ศิลปะ ซึ่งเรานำ�มาจัดวางใหม่ในรูปแบบที่ไม่มีใคร เคยเห็น ใช้เทคนิคพิเศษในการสร้างลวดลายขึ้นมา ดีเทลต่างๆ ในเสื้อผ้า จะถูกแต่งแต้มด้วยรายละเอียดที่มีกลิ่นอายของล้านนา เช่น การใช้ด้าย สายสิญจน์ของทางเหนือมาปักลวดลาย ใช้เหรียญสตางค์ของทางเหนือมา เจาะเป็นกระดุม หรือเทคนิคการกัดสีแบบพิเศษให้เกิดลวดลายด้วยด่างทับทิม ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้วยความที่เชียงใหม่มีกลุ่มแม่บ้านที่ทำ�ผ้า ย้อมสีธรรมชาติอยูเ่ ยอะ วัตถุดบิ ทุกอย่างเลยหาได้ไม่ยาก เราก็ไปคุยกับเขา แล้วก็ขอให้เขาทำ�ผ้าให้ เป็นการสนับสนุนเขาด้วย ดังนัน้ กระบวนการทัง้ หมด จึงทำ�ให้สินค้านำ�เสนอความเป็นล้านนาที่ออกมาในรูปแบบสากลได้” Profit ลิขิตเอง ระยะเวลาไม่ถงึ 1 ปีเพียงพอทีจ่ ะพิสจู น์ความสำ�เร็จของ Long Goy ในระยะ เริม่ ต้น ทัง้ การต่อยอดสินค้าเป็นหลากหลายคอลเล็กชัน่ หรือการวางจำ�หน่าย สินค้าในพื้นที่ของร้านคิง เพาเวอร์ โดย Long Goy มีแนวคิดการจำ�หน่าย สินค้าและการตลาดที่ชัดเจนตั้งแต่แรก ว่ากลุ่มลูกค้าคือใคร การจำ�หน่าย แบบไหนทีจ่ ะทำ�ให้เกิดคุณค่า โดยเริม่ จากการศึกษาวิธกี ารทำ�ตลาดของสินค้า แบรนด์เนมในต่างประเทศ ทั้งเรื่องเทคนิคการนำ�เสนอสินค้าและช่องทาง จัดจำ�หน่ายที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างให้เกิดการซื้อขายในที่สุด “คนไม่ได้ซื้อแค่เสื้อผ้า แต่ซื้ออะไรบางอย่างจากสินค้านั้นๆ เช่น คุณจะได้เรือ่ งราวของประวัตศิ าสตร์ลา้ นนาจากเรา บางครัง้ การตลาดก็เป็น เรือ่ งของจังหวะและการพาสินค้าไปอยูใ่ ห้ถกู ทีถ่ กู ทาง ถ้าเราอยากขายสินค้า ในราคาค่อนข้างสูง เราก็ตอ้ งหาตลาดทีเ่ ป็นไปได้ เช่น ห้างสรรพสินค้าหรือ ทีไ่ หนก็ได้ทส่ี ามารถขายได้ในราคานัน้ เราเลยเจาะกลุม่ ลูกค้าทีม่ กี �ำ ลังซือ้ มาก หน่อย เช่น ชาวต่างชาติ ผมก็เลือกไปทีค่ งิ เพาเวอร์เลย ซึง่ ผมโชคดีทไ่ี ด้ไป ประกวดงานอยู่งานหนึ่ง และตอนจบมีการจัดโชว์เคส แล้วทางคิง เพาเวอร์ มาเห็นเข้าแล้วสนใจ จากนัน้ ก็เริม่ ติดต่อกัน อีกช่องทางหนึง่ คือผ่านทางออนไลน์ โดยใช้วิธีการพรีออเดอร์ เพื่อลดปัญหาเรื่องการสต็อกสินค้า ส่วนงานด้าน การออกแบบและพัฒนาโปรดักส์ เราก็ปรับแบบให้ใส่ง่ายขึ้น และทำ�แบบที่ ไม่ต้องมีไซส์เยอะมาก เพื่อให้ทำ�งานง่ายขึ้น และคล่องตัวขึ้น”

พบกับผลงานคอลเล็กชั่นใหม่ของ This Is a Chair และ Long Goy ได้ที่ “Pop Market ตลาดสินค้าดีไซน์ ไลฟ์สไลต์สุดฮิป” เทศกาล Chiang Mai Design Week 2017 วันที่ 6-10 ธันวาคม 2560 เวลา 14.00 - 22.00 น. บริเวณลานร้าน Glass House ตรงข้ามวัดเชียงมั่น ดูรายละเอียดได้ที่ facebook.com/popmarketchiangmaidesignweek และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่: This Is a Chair > facebook.com/thisisachaircnx, 081-671-2190, thisisachaircnx@gmail.com / Long Goy > facebook.com/LONG GOY, 089-850-5334, supakornsunkanaporn@gmail.com

CREATIVE THAILAND I 23


flickr.com/photos/bandytam

Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ และ ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ว่ากันว่า ผู้คนในดินแดนแห่งนี้ยังยึดติดอยู่กับความรุ่งเรืองในอดีต... ที่นี่คือ “ราชาสถาน” หนึ่งในรัฐใหญ่อันดับต้นๆ ของอินเดีย หรือที่รู้จักกันว่า “ดินแดนของราชา” ผู้รํ่ารวยและมั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ และเงินทอง ดินแดนแห่งปราสาทและป้อมปราการหลากสีสันที่ตั้งตระหง่านย้อนแย้งอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งและปกคลุมด้วยทะเลทราย ปัจจุบันที่นี่ไร้ซึ่งพระราชา หากแต่ยังคงความมั่งคั่งอยู่ได้ด้วยความรํ่ารวยทางวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน จนนักท่องเทีย่ วทั่วโลกอยากจะมาเยี่ยมชมดินแดนของพระราชาแห่งนี้กันสักครั้ง CREATIVE THAILAND I 24


Jaipur…Welcome to the Pink Land ชัยปุระ (Jaipur) เมืองเอกทีเ่ จริญและใหญ่ ที่สุดของราชาสถาน ดินแดนที่ร้จู ักกันว่า “นคร สีชมพู” ซึง่ เมืองสีชมพูแห่งนีก้ ม็ ที ม่ี าทีไ่ ปว่า เมือ่ ครั้งที่เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวลส์กำ�ลังจะเสด็จมา เยือนชัยปุระอย่างเป็นทางการในช่วงศตวรรษที่ 18 กษัตริย์เมืองชัยปุระสมัยนั้นต้องการสร้างความ ประทับใจให้เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด จึงได้รับสั่งให้ ทางการปรับภูมิทัศน์เมืองให้น่าเยี่ยมเยือนด้วย การทาสีบา้ นเรือนและอาคารต่างๆ ให้เป็นสีชมพู ดินเผา สีท่เี ชื่อกันว่าเป็นสีแห่งการต้อนรับ โดย สีชมพูนม้ี สี ว่ นประกอบของแคลเซียมออกไซด์ทม่ี ี คุ ณ สมบั ติท นทานต่ อ แสงแดด ซึ่ง เหมาะกั บ ชัยปุระที่มีแดดจัดเกือบตลอดปี สีชมพูโทนนี้จึง ถูกทาทับบนอาคารบ้านเรือนมาตลอดและกลาย เป็นเอกลักษณ์ของเมืองชัยปุระถึงปัจจุบัน “เงินซือ้ โรงแรมทีด่ ที ส่ี ดุ ทัว่ โลกได้ แต่ไม่อาจ ซือ้ ประสบการณ์จากยุคสมัยทีผ่ า่ นมาแล้วจากทีน่ ่ี ได้” คือคำ�ให้สมั ภาษณ์จากธากุราเดีย วิคราม สิงห์ ทายาทรุ่นที่ 18 ผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์เก่าแก่ ราชวงศ์หนึ่งในนครสีชมพู โดยเขาก็เหมือนกับผู้ สืบเชื้อสายตระกูลกษัตริย์อีกหลายตระกูลใน ชัยปุระ ที่นิยมผันคฤหาสน์หรือสมบัติครอบครัว

yatramantra.com

และนีค่ อื 3 เมืองแห่งสีสนั ของราชาสถานที่ จะสะท้อนให้เห็นว่า ทำ�ไมผูค้ นของทีน่ ย่ี งั คงอยูใ่ น ความรุง่ เรืองจากอดีตทีส่ บื เนือ่ งและยืนยาว ทัง้ ยัง อยูไ่ ด้ทา่ มกลางโลกสมัยใหม่ทเ่ี ดินหน้าต่อไปอย่าง ไม่รอใคร

ให้กลายเป็นธุรกิจโรงแรม เพราะเมือ่ ดินแดนแห่ง นี้ไม่ใช่ดินแดนของพระราชาอีกต่อไป แต่เป็น เดสทิเนชั่นที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากมาเยือน “สมัยก่อนคฤหาสน์ของเราก็รับรองแขกบ้าน แขกเมือง จัดแสดงงานต้อนรับ พอมาถึงยุคนี้ คฤหาสน์หลังนี้ก็ทำ�หน้าที่เช่นเดียวกัน แค่อยู่ใน รูปแบบของธุรกิจโรงแรม ดังนั้นแขกที่ได้เข้ามา พักที่นี่ ก็จะได้สัมผัสถึงการอยู่แบบเชื้อพระวงศ์ กันเลยทีเดียว” ธากุราเดียกล่าว “ถ้าโลกใบนี้นิยมวัตถุ แล้วทำ�ไมเราไม่ทำ� วัตถุนั้นให้ใช้งานได้มากกว่าหนึ่งอย่าง” คือเบื้อง หลั ง แนวคิ ด การทำ � งานฝี มื อ โดยเฉพาะของ ตกแต่งบ้านสไตล์อนิ เดียโมเดิรน์ ทีเ่ ป็นได้มากกว่า ของตั้งโชว์ แต่เพิ่มฟังก์ชั่นประโยชน์ใช้สอยของ สตูดโิ อ Saswata หนึง่ ในตัวอย่างความสำ�เร็จของ งานคราฟต์สัญชาติอินเดียแท้ที่ขายได้ในระดับ

Khem Villas

โกลบอล ซึ่งความสำ�เร็จอาจอยู่ที่ทอซีฟ รีฮาน อาบีดี (Tauseef Rehan Abidi) ผูร้ ว่ มก่อตัง้ สตูดโิ อ แห่งนี้คือศิษย์เก่าของสถาบัน Indian Institute of Crafts and Design (IICD) ในกรุงชัยปุระ สถาบัน ทีส่ ง่ เสริมโดยภาครัฐอินเดียทีเ่ ห็นความสำ�คัญของ วิชาชีพงานฝีมือและต้องการส่งเสริมงานคราฟต์ อินเดียให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ยุคใหม่ จากสถิตขิ องประเทศพบว่านอกจากภาค เกษตรกรรมทีเ่ ป็นภาคส่วนรายได้อนั ดับหนึง่ ของ อินเดียแล้ว งานฝีมอื (Handicraft) ก็ถอื เป็นเซ็กชัน่ ทางธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ และ จากจำ�นวนประชากรกว่า 13 ล้านคนทีท่ �ำ งานฝีมอื เป็นอาชีพในอินเดีย ภาครัฐจึงเริม่ หันมาส่งเสริม และสนับสนุนผูป้ ระกอบการงานฝีมอื หรือทีพ่ วก เขาเรียกว่า “Craftepreneur” อย่างจริงจังมา ตั้งแต่ปี 2015

“แคมป์กลางป่าแบบลักชัวรี”่ คือนิยามของ “Khem Villas” รีสอร์ทในรัฐราชาสถานแห่งนี้ โกเวอร์ดาน สิงห์ (Goverdhan Singh) เจ้าของรีสอร์ทซึง่ เป็นลูกชายของนักอนุรกั ษ์เสือ คนสำ�คัญของอินเดียฟาเตห์ สิงห์ ราธอร์ (Fateh Singh Rathore) ได้ซอ้ื ทีด่ นิ บริเวณใกล้กบั อุทยานแห่งชาติรนั ทัมบอร์ (Ranthambhore National Park) แหล่งอนุรกั ษ์เสือชือ่ ดัง ของโลกในปี 1989 และลงมือฟืน้ ฟูพนื้ ทีท่ งุ่ หญ้าแห้งแล้งด้วยการปลูกพันธุพ์ ชื ท้องถิน่ และสร้างแหล่งน้�ำ ทัว่ บริเวณรีสอร์ต เพือ่ ให้เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยตามธรรมชาติของสัตว์นานาชนิด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้มาพักอาศัยจะพบเห็นแมวป่า จิ้งจอกทะเลทราย ไฮยีน่า หรือจระเข้ในบริเวณรอบรีสอร์ต เพราะที่นี่ได้กลายเป็นหนึ่งในพื้นที่สีเขียวที่ขึ้นชื่อว่ามีความ อุดมสมบูรณ์ที่สุดในย่าน จนคล้ายว่าเป็นส่วนขยายของอุทยานแห่งชาติเลยทีเดียว นอกจากจะเหมาะกับนักท่องเที่ยวที่มองหาสถานที่พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ปิกนิกชิลล์ๆ ริมแม่น้ำ� บริการสปา ศูนย์โยคะ ไปจนถึงการเที่ยว ลุยๆ แบบซาฟารี Khem Villas ยังเป็นตัวอย่างหนึ่งของธุรกิจรีสอร์ตที่เอาจริงกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การเลือกใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อลดการเผาผลาญพลังงานจากแหล่งอื่นๆ ทั้งยังเสิร์ฟเพียงเมนูอาหารแบบมังสวิรัติซึ่งรังสรรค์จากวัตถุดิบที่ปลูกเองภายในรีสอร์ต นอกจากนี้ระบบเก็บกักน้ำ�ฝนในพื้นที่ยัง ช่วยให้การอุปโภคบริโภคแทบไม่จำ�เป็นต้องพึ่งทรัพยากรน้ำ�จากภายนอก และยิ่งไปกว่านั้น รีสอร์ตแห่งนี้ยังให้ทุนสนับสนุนองค์กรไม่แสวงผลกำ�ไร Prakratik Society เพื่อ พัฒนาโครงการช่วยเหลือชุมชนผู้มีรายได้น้อยรอบอุทยานให้มีชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อตัดวงจรการลักลอบล่าสัตว์และตัดไม้ในอุทยานอีกด้วย

CREATIVE THAILAND I 25


media.cntraveller.in

remotetraveler.com

cdn.cnn.com

Jodhpur… This Blue City is So Green จอดห์ปรุ ะ (Jodhpur) หรือทีร่ จู้ กั กันในนาม “นครสีฟา้ ” เมืองใหญ่อนั ดับสองรองมาจากชัยปุระ เมืองทีบ่ า้ นเรือนถูกทาด้วยสีฟา้ หลากเฉด ไม่วา่ จะ ฟ้าอ่อนหรือฟ้าเข้ม เหตุจากหลากความเชื่อที่ว่า สีฟ้าคือสีสัญลักษณ์ของวรรณะพราหมณ์ สีฟ้า สามารถทำ�ให้บ้านดูเย็นสบายขึ้นท่ามกลางเมือง ที่มีแดดจัดเกือบตลอดปี ไปจนถึงความเชื่อที่ว่า เป็นสีทไ่ี ล่แมลงได้ดี แต่ไม่วา่ ชาวเมืองจะเลือกถือ ความเชื่อไหน ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าสีฟ้าที่เมืองนี้ จะยังคงฟ้าต่อไปอย่างไม่ยอมเลือนหายไปง่ายๆ

The Original Conservationist

สีฟา้ อาจมองเห็นได้ชดั ด้วยสายตา แต่จริงๆ แล้วเมืองนีม้ บี รรยากาศเป็นสีเขียวต่างหาก เพราะ จากกฎข้อห้ามใช้ถงุ พลาสติก การให้บริการรถไฟ สาธารณะด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งแรกใน อินเดียทีเ่ มืองจอดห์ปรุ ะ และในอนาคตอันใกล้ท่ี เมืองแห่งนี้จะมีสวนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย ก็ ทำ�ให้เมืองสีฟา้ แห่งนีเ้ จือด้วยสีเขียวเช่นกัน กลับมาที่ชีวิตคราฟต์ๆ ในจอดห์ปุระ ที่นี่มี ศู น ย์ เ รี ย นรู้วิถีชุ ม ชนที่ ไ ม่ ค วรมองข้ า มนั่ น คื อ “Arna-Jharna” หรื อทีช่ าวเมือ งรูจ้ ั ก กั น ว่า “พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ก ลางทะเลทราย (The Desert Museum)” พื้นที่จ�ำ ลองการพึง่ พาตนเองด้วยการ พึ่ ง พิ ง การใช้ ท รั พ ยากรพื ช และสั ต ว์ ท้ อ งถิ่ น (Flora and Fauna) มาเป็นต้นทุนชีวิต ซึ่งไม่ใช่ แค่ ก ารอนุ รั ก ษ์ ใ ห้ ช าวบ้ า นมีชีวิตตามแนวทาง ความเชือ่ หรือประเพณีดง้ั เดิมเท่านัน้ แต่เป้าหมาย ทีล่ กึ ซึง้ ยิง่ กว่าของพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ ก็คอื การมอบ “ทักษะ” และ “องค์ความรู”้ จากภูมปิ ญั ญาดัง้ เดิม ของคนท้องถิ่นสู่คนรุ่นใหม่ให้ดำ�รงวิถีชีวิตของ ตนเองได้ดว้ ยบริบททางสังคมในยุคปัจจุบนั

“ถ้าหัวของคนคนหนึ่งจะรักษาต้นไม้หนึ่งต้นไว้ได้ ก็ถือว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม” อัมริตา เทวี (Amrita Devi) หญิงชาวบิชนอยกล่าวกับกลุ่มชายฉกรรจ์ที่กำ�ลังจะลงมือตัดต้นเคจรี (Khejri) ในหมู่บ้านของเธอ เพื่อนำ�ไปสร้างปราสาทหลังใหม่ของราชาแห่งจอดห์ปุระ เธอถูกสังหารทันทีก่อนที่ต้นไม้จะถูกโค่น เช่นเดียวกับลูกสาวทั้งสามที่ยอมสละชีวิตตาม อย่างผู้เป็นแม่ เมื่อข่าวแพร่ออกไป ชาวบิชนอยทั้งคนแก่ หนุ่มสาว และเด็กๆ ต่างก็ลุกขึ้นปกป้องต้นไม้ในพื้นที่จากการถูกทำ�ลาย ด้วยการสละชีพเพื่อต้นไม้แต่ละต้นรวม ทั้งหมดถึง 363 คน และเมื่อกษัตริย์แห่งจอดห์ปุระได้ยินข่าว ก็สั่งให้หยุดการตัดต้นไม้ทันที นี่ไม่ใช่พล็อตนิยาย แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในศตวรรษที่ 17 ทุกวันนี้หมู่บ้านเคจาร์ลี (Khejarli) ต้นกำ�เนิดของเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งประวัติศาสตร์ (Khejarli Massacre) กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเทีย่ วทีอ่ ยากจะเข้ามาสัมผัสวิถชี วี ติ ของชาวบิชนอย ซึง่ แสดงให้เราเห็นว่าการอยูร่ ว่ มกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน นั้นไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ บิชนอยเป็นกลุ่มลัทธิซึ่งก่อตั้งในช่วงศตวรรษที่ 15 โดย กูรู จัมเบชวาร์ (Guru Jambeshwar) ผู้บัญญัติข้อปฏิบัติในการใช้ชีวิต 29 ประการ ซึ่งหลายข้อว่าด้วยการเคารพ ธรรมชาติ และเป็นที่มาของชื่อ ‘บิชนอย’ ซึ่งแปลว่า ‘29’ ในภาษาราชาสถาน ชาวบิชนอยปกป้องธรรมชาติอย่างแข็งขัน กฎข้อหนึ่งของพวกเขาคือห้ามตัดต้นไม้ หญิงชาว บิชนอยจึงมักจะออกเดินไกลเพื่อไปเก็บไม้ที่ร่วงจากต้น และนำ�มูลวัวมาเป็นเชื้อเพลิงแทนไม้ แม้กระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต พวกเขาก็เลือกที่จะนำ�ศพไปฝังในดินแทนที่จะ เผาศพตามธรรมเนียมฮินดู ความรักในธรรมชาติของพวกเขายังเผื่อแผ่ไปถึงสัตว์ต่างๆ นอกจากจะไม่กินเนื้อสัตว์แล้ว ทุกครัวเรือนจะมีถังน้ำ�วางไว้เพื่อให้บรรดากวางและ แบล็กบัก (Blackbuck) ได้แวะดื่มกิน และหากมีลูกสัตว์กำ�พร้าพลัดหลงมา หญิงชาวบิชนอยก็จะเอื้อเฟื้อน้ำ�นมจากอกให้ด้วยความยินดี ที่น่าสังเกตก็คือทุกวันนี้บิชนอยซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วบริเวณตะวันตกของราชาสถานแห่งนี้ นับว่าเป็นชุมชนที่มีความเป็นอยู่ดีกว่าชุมชนอื่นๆ ในทะเลทรายธาร์ เพราะใน ขณะที่ราชาสถานมักจะเผชิญกับปัญหาน้ำ�แล้ง แต่พื้นที่ที่บิชนอยอาศัยอยู่กลับมีพืชพันธุ์งอกงาม รวมถึงสัตว์น้อยใหญ่มาแทะเล็มหญ้าเขียวจนเป็นภาพชินตา ซึ่งเชื่อแน่ว่าวิถี ชีวิตของพวกเขาที่เชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่า “ธรรมชาติคือชีวิต” คงมีส่วนในเรื่องนี้ไม่มากก็น้อย

CREATIVE THAILAND I 26


visittnt.com

Jaisalmer… Colorful Life in the Golden City ใครจะไปเชื่อว่าป้อมปราการกลางทะเล ทรายธาร์อายุกว่า 850 ปี สถานที่ซึ่งยูเนสโก ยกย่องให้เป็นหนึ่งในมรดกของโลกจะยังคงมี ผู้คนอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ที่นี่คือ “ป้อมจัยแซล เมียร์ (Jaisalmer Fort)” ที่ตั้งอยู่ในนครจัยแซล เมียร์ หรือที่รู้จักกันว่า “นครสีทอง” (Golden City) เมืองในอดีตที่เคยรุ่งโรจน์ถึงขีดสุด เพราะ เหล่าบรรดาพ่อค้าและนักเดินทางต่างแวะเวียน กันมาค้าขายผ่านเส้นทางระหว่างอินเดียกับดิน แดนตะวันออกกลาง ป้อมปราการแห่งนี้จึงเคย เป็นทีพ่ กั พิงสำ�หรับคาราวานและพ่อค้าจากทัว่ ทุก สารทิศ จนพ่อค้าบางคนสร้างเนื้อสร้างตัวร่ำ�รวย กลายเป็นเศรษฐี และได้สร้างปราสาทต่างๆ ขึ้น อีกมากมายในนครสีทองสมชื่อสีแห่งความมั่งคั่ง หากตัดภาพมาในปัจจุบัน ภายในป้อมจัยแซล เมียร์แห่งนี้ ยังคงมีบ้านเรือนที่ชาวเมืองอาศัยให้ เห็นอยู่จริง แต่เพิ่มเติมด้วยร้านรวงงานฝีมือ ตัง้ แต่รา้ นขายผ้าทอพืน้ ถิน่ จิวเวลรี่ ภาพวาดงาน

ศิลปะสไตล์อินเดีย ร้านอาหาร คาเฟ่ โรงแรม และเกสต์เฮาส์ ทั้งหมดนี้เป็นธุรกิจเกิดใหม่จาก คนในเมืองซึง่ ต่างปรับตัวเพือ่ รองรับนักท่องเทีย่ ว จากทั่ ว โลก ที่ อ ยากมาสั ม ผั ส ส่ ว นเสี้ ย วของ ประวัตศิ าสตร์ทม่ี คี วามหมายจากนครสีทองแห่งนี้ นอกเหนื อ จากสี ทองอร่ า มที่ ส ะท้ อ นจาก ทะเลทราย ป้อมปราการ และปราสาทน้อยใหญ่ แล้ว จัยแซลเมียร์ยังเป็นเจ้าภาพการจัดงาน เทศกาลแบบคัลเลอร์ฟูล ที่ถือเป็นไฮไลต์ของนัก ท่องเที่ยวและชาวเมืองที่ต่างรอคอยกันมาทั้งปี นั่นคือ “Desert Festival Jaisalmer” เทศกาล เฉลิมฉลองที่จัดขึ้นช่วงต้นปีในวันพระจันทร์เต็ม ดวงเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน งานรื่นเริงที่อัดแน่น ด้วยสีสันที่จัดจ้านจากเครื่องประดับและเครื่อง แต่งกายของทั้งคนในท้องถิ่นและฝูงอูฐที่เดิน ขบวนอวดโฉมนักท่องเทีย่ ว ซึง่ หากซูมเข้าไปดูใน รายละเอียดของเครื่องประดับหลากสี และตั้งใจ ฟังเสียงดนตรีพื้นถิ่นที่ผลัดเปลี่ยนกันบรรเลงใน เทศกาลครั้งนี้แบบชัดๆ ก็น่าจะสัมผัสได้ถึงจิต CREATIVE THAILAND I 27

วิญญาณและความภาคภูมใิ จของชาวจัยแซลเมียร์ ที่ยังคงสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีจากรุ่นสู่ รุน่ ต่อกันมาได้ ไม่วา่ ความรุง่ เรืองของทีน่ จี่ ะผ่าน มากี่ร้อยปีแล้วก็ตาม และก็ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำ�ไมนักท่องเที่ยวที่กำ�ลังจากเมืองนี้ไป ถึงนิยม แวะซื้อของที่ระลึกเป็นงานฝีมือจากชาวบ้านติด ไม้ติดมือกลับไปด้วย ที่มา: ฐานข้อมูล “Global Nonviolent Action Database: Bishnoi Villagers Sacrifice Lives to Save Trees, 1730” จาก nvdatabase.swarthmore.edu / บทความ “An Insider’s Guide to Jodhpur: Blue Buildings and Green Energy” โดย Priyanka Sacheti จาก theguardian.com / บทความ “Go Green: 22 Eco-Sensitive Resorts in India” (2014) จาก natgeotraveller.in / บทความ “Meet Rajasthan’s Green Warriors, The Bishnoi Tribe” โดย Saumya Ancheri จาก natgeotraveller.in / บทความ “Top 10 North India Boutique Hotels” จาก enchantingtravels.com / สารคดี “มิตโิ ลกหลังเทีย่ งคืน: ท่องทัว่ ทวีป ตอน เดลีและราชสถาน” (31 พฤษภาคม 2559) และสารคดี “Spirit of Asia: มหาราชา ร้บลั ลังก์” (12 มิถนุ ายน 2559) จาก Thai PBS / สารคดี “The Bishnois of Rajasthan” โดย Wilderness Films India Ltd. / arnajharna.org / craftscouncilofindia.org / iicd.ac.in / khemvillas.com / moef.nic.in / tourism-of-india.com / wikipedia


The Creative : มุมมองของนักคิด

เรื่อง: กิรญา เล็กสมบูรณ์ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

อาหารไทยควรหวานแค่ไหน ความ สะดวกกับความประณีตอยู่ด้วยกัน ได้หรือไม่ และหากบอกว่าอาหารไทย ประยุกต์ได้ไม่ผดิ แล้วทำ�ไมผัดกะเพรา ใส่ซีอิ๊วดำ�จึงผิด? “มาสเตอร์เชฟคือสัญลักษณ์ของ ความรอบรู้ ความชำ�นาญ และความ ประณีต” ประโยคเปิดตัวในรายการ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ทอี่ อกอากาศ เป็นตอนแรก สำ�หรับเรา มันคือบทเปิด ที่แนะนำ�ตัวเธอเองได้ดีที่สุดด้วย CREATIVE THAILAND I 28


แม้การเป็นหนึง่ ในกรรมการรายการดังกล่าว จะทำ�ให้เธอกลายเป็นทีร่ จู้ กั ใน นาม “เชฟป้อม” แต่หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล ก็ยงั คงถนัดกว่าทีจ่ ะเรียก ตัวเองว่านักสร้างสรรค์อาหาร (Food Creator) นอกจากเป็นนักสร้างสรรค์อาหาร เธอยังเป็นทีป่ รึกษาให้กบั ร้านอาหาร ทัง้ ในและต่างประเทศ และเป็นเจ้าของคอลัมน์ “สำ�รับ” ตำ�ราอาหารทีเ่ ขียน ลงนิตยสารพลอยแกมเพชรเป็นเวลากว่าสิบปี รวมเล่มเป็นหนังสือได้ 5 เล่ม 250 สูตรด้วยกัน แม้จะฝึกฝีมอื การทำ�อาหารมาหลากหลาย แต่ภาพของเธอในวันนีก้ ค็ อื ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย ที่หลายคนอาจรู้สึกตรงกันว่ามันทั้งซับซ้อนและ ยากแก่การเข้าใจ เราจึงใช้โอกาสนีช้ วนเธอคุยตัง้ แต่เรือ่ งเล็กๆ อย่างผัดกะเพรา ไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างการพาครัวไทยไปครัวโลก โชคดีทเี่ ธอไม่ได้เป็นคนเข้าใจยากแบบอาหารไทย ทัง้ ยังตอบทุกคำ�ถาม อย่างตรงไปตรงมา นัน่ รวมถึงการยอมรับว่าเกีย๊ วกุง้ จากร้านสะดวกซือ้ มันก็ อร่อยเหมือนกัน นักสร้างสรรค์อาหารคืออะไร คือสร้างสรรค์จากโจทย์ที่ลูกค้าให้ บอกเรามา อยากได้อาหารประเภทไหน อยากได้ขนม อยากได้อาหารไทย อยากได้อาหารตะวันตก เราก็จะคิดให้ อย่างเช่นอยากได้กหุ ลาบ เราก็ตอ้ งไปหาจนเจอกุหลาบหนูจากสวนออร์แกนิก ที่เขาไม่ใช้สารเคมีเลย ได้มาแล้วก็ต้องดูเนื้อสัมผัสว่าทานได้เลยไหม หรือ ต้องเอาไปทำ�อะไรก่อน ก่อนจะนำ�มาคิดเป็นอาหารสักจาน

วันหนึ่งเราก็เลยให้แม่หยิบแล้วเราก็วัด โดยให้โจทย์แม่ว่าสมมติจะใช้ เนื้อสัตว์หนึ่งกิโลกรัม แม่จะทำ�อย่างไรบ้าง เราก็ให้แม่หยิบ แล้วเราก็เตรียม เลย..ถ้วยตวง ช้อนตวง ตราชั่ง สูตรเราเลยจะแปลกๆ หน่อย ชั่งบ้างตวง บ้างแล้วแต่อารมณ์ อันไหนตวงได้ก็ตวง อันไหนชั่งไม่ได้ก็มาตวง อะไร แบบนี้ เสร็จแล้วก็ให้แม่หยิบใหม่ ปรากฏแม่หยิบเท่ากันเป๊ะ แม่ครัวคุณย่าก็ เหมือนกัน หยิบกีท่ กี เ็ ท่ากันเป๊ะ แม้กระทัง่ เวลาทำ�กะปิเขาบอกเราว่านํา้ ตาล ปีบ๊ สีร่ อ้ ยกรัมแต่เขาหยิบมือเปล่า กีค่ รัง้ เขาก็หยิบสีร่ อ้ ยกรัม จนป่านนีเ้ รายัง ทำ�ไม่ได้เลย สรุปก็เลยจับวัดทัง้ แม่ ทัง้ แม่ครัว แต่คณุ ย่านี่ไม่ได้วัด ไม่กล้าหือ ทำ�อย่างนั้นอยู่นานแค่ไหน ก็เก็บสูตรเรื่อยมาจนคุณย่าเสีย ส่วนแม่ครัวคุณย่าทีแรกไม่มีให้นะสูตรน่ะ นางขี้หวง จนคุณย่าเสียไปหลายปี แกแก่มากแล้ว ยังแอบลุกมาทำ�อาหาร ตอนเที่ยงคืนอยู่เลย ไม่ให้ใครรู้ คือคนรุ่นเก่าที่รู้จักทำ�อาหารโบราณจริงๆ จะติดนิสัยหวงวิชา อย่าง แม่ครัวคุณย่านี่ที่บ้านจะเรียกว่าแม่ครัวมิดไนท์ คือสองทุ่มจะทำ�เป็นขึ้นไป นอน แต่เช้ามามีอาหารทีท่ �ำ เสร็จแล้ววางอยู่ คนอืน่ เขาขึน้ ไปนอนสีห่ า้ ทุม่ ยัง ไม่เห็นว่ามี เช้ามาทำ�ไมมี แล้วพอตีหา้ หกโมงแกก็เดินลงมาเหมือนไม่มอี ะไร ไม่แอบลุกมาทำ�ตอนเที่ยงคืนแล้วตอนไหนล่ะ

ความเกี่ยวข้องกับอาหารเริ่มต้นอย่างไร เราเกิดมาในครัว มีบ้านเป็นเสมือนโรงเรียนกินนอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล บ้าน เราเป็นครอบครัวทีท่ �ำ อาหาร ตัง้ แต่คณุ ย่ากับแม่ครัวคูใ่ จคุณย่า ซึง่ ทำ�อาหาร โบราณกับอาหารฝรั่ง ส่วนแม่ทำ�อาหารไทย แล้วก็แท็กทีมกันจับลูกหลาน ทำ�งานในครัว มีสมมติฐานว่าเด็กในบ้านต้องทำ�ครัวได้ เขาอยากให้เป็นอย่างนั้น แต่เขาก็มียุทธศาสตร์นะว่าเขาสอนตามอายุ หรือ บางทีคุณย่าทำ�แป้งพายก็เหมือนให้เราไปปั้นดินนํ้ามันเล่น คือพายของเรา จะดำ�หน่อย เพราะว่าปั้นอยู่นั้นแล้วก็ซํ้าๆ แล้วก็คงจะเค็มพิเศษด้วย (ยิ้ม) ก็ได้เล่นมาตลอด จากการเล่นกลายมาเป็นคนเขียนตำ�ราอาหารได้อย่างไร เราคงจะมีนิสัยเป็นคนขี้เกียจ ไม่ชอบท่องหนังสือแล้วก็ไม่ชอบจำ� ก็ไปจด อะไรไว้ของเรา เริ่มจดตั้งแต่อายุเท่าไร ก็ตั้งแต่พอเขียนหนังสือโย้เย้ แต่ก็ประถมแล้วนะ ตอนนั้นนึกด้วยว่าเก๋ มี ตำ�ราของตัวเอง จริงๆ คือขี้เกียจจำ� แล้วเมื่อก่อนแม่เราทำ�ร้านอาหารแล้วรับทำ�จัดเลี้ยงด้วย เครื่องแกงนี่ แม่จะทำ�เองหมด ไม่ว่าจะเลี้ยงมากเลี้ยงน้อยก็ทำ�เองหมด เราเห็นแม่ปรุง เครื่องแกงทุกวัน ก็สงสัย…รู้ได้อย่างไรว่ามันเท่ากัน คือเรานั่งดูก็พอรู้โดย พื้นฐานว่าใส่อะไรบ้าง แต่ให้เราหยิบคงไม่รอด CREATIVE THAILAND I 29


อย่าลืมว่าอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ ตายนะ วันหนึ่งเราเคยต้อง ท�ำอาหารบางจานตั้งแต่ศูนย์ มาปัจจุบนั มันมีให้เราครึง่ ทาง แล้ว เราก็น�ำมาใช้

แล้วทำ�อย่างไรจึงเก็บสูตรจากแม่ครัวคุณย่าได้ เราก็เลยหมั่นเปรยเข้าหู แก่จะตายแล้วยังเหนื่อยคนเดียว เดี๋ยวก็ตายไป กับตัว คือปากร้ายตัง้ แต่เด็กไง (ยิม้ ) สุดท้ายจากทีแ่ ยงไปเรือ่ ยๆ เธอก็บอก… ฉันจะสอนคุณป้อมคนเดียว แล้วตอนนั้นเราเริ่มเขียนหนังสือแล้ว (เขียน คอลัมน์ลงนิตยสารพลอยแกมเพชร) แล้วจะเหลือไหม แต่ก็ไม่ได้เลือกเรียนทางด้านอาหาร การเป็นเด็กที่โดนบังคับมากๆ มันทำ�ให้เราหนี เรียนอะไรก็ได้ที่จะไม่อยู่ ในครัว เราถึงเป็นคนจับฉ่ายอย่างทุกวันนี้ ทีท่ �ำ ได้หลายอย่างเพราะเราอยาก เรียนไปหมดที่ไม่ใช่ครัว เรียนรัฐศาสตร์นี่ชอบที่ไหนเล่า ไม่ชอบท่องหนังสือ เลย แต่โชคดีเป็นคนเรียนหนังสือแบบพอเอาตัวรอดได้ แต่พวกกิจกรรมนอก หลักสูตรนี่เก่งนัก ทุกวันนี้สูตรที่เก็บทั้งหมดนิ่งหรือยัง นิ่งไหม ที่เขียนใน “สำ�รับ” มันก็ยังใช้ได้อยู่ แต่อย่าลืมว่าอาหารเป็นสิ่งที่ ไม่ตายนะ วันหนึ่งเราเคยต้องทำ�อาหารบางจานตั้งแต่ศูนย์ มาปัจจุบัน มันมีให้เราครึ่งทางแล้ว เราก็นำ�มาใช้ หรือแทนที่เราต้องมาเคี่ยววัตถุดิบ ตัวนัน้ ตัวนีเ้ พือ่ ให้เป็นซอสขึน้ มา มันอาจจะมีอะไรทีส่ �ำ เร็จหรือประหยัดเวลา เราได้มากกว่า นั่นคือสิ่งที่เปลี่ยนไป ซึ่งตัวเราเองเราก็ยังไม่หยุดเรียนนะ ยังอยากรู้ไปหมด อาหารไทยจริ ง ๆ แล้ ว มี ก่ี แ บบ อาหารชาววั ง กั บ ชาวบ้ า น ต่างกันอย่างไร จริงๆ แล้วชาววังกับชาวบ้านกินเหมือนกัน แต่รสชาติกับความประณีตไม่ เหมือนกัน ยกตัวอย่างนํ้าพริกปลาทู พอชาวบ้านจับปลามา จะปิ้ง เผา หรือ ทอด เขาก็ทำ�เลย ในขณะที่ชาววังต้องเลาะก้างออก พอจะกินผัก ชาวบ้าน เด็ดมาสดๆ ใส่ชาม กินไปกัดไป แต่ชาววังตัดเป็นคำ� ถ้าเป็นผักต้มก็มีการ ห่อ การผูก เรื่องเยอะ

หรืออย่างเรื่องรสชาติ ชาวบ้านก็จะตำ�นํ้าพริกรสชาติสะใจ แต่ชาววัง จะใช้นํ้าตาลเป็นตัวเชื่อมประสานรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยวให้กลมกล่อม บางคน ไม่เข้าใจก็ชอบบอกว่าอาหารชาววังหวาน จริงๆ แล้วสิ่งใดจะหวานก็หวาน สิ่งใดจะเปรี้ยวก็ต้องเปรี้ยวนำ� เวลากินชาวบ้านก็สนุกสนานเฮฮาไป แต่ชาววังจะเน้นละเมียด มีทงั้ รูป รส กลิน่ เสียง สัมผัส รูปก็คอื สวยงาม รสต้องกลมกล่อม กลิน่ ต้องหอมชวน กิน สัมผัสก็มีความกรอบ ความนุ่ม จะไม่มีความเหนียวให้ต้องมาดึงมาทึ้ง ส่วนเสียงสมัยก่อนก็จะมีวงมโหรีขับกล่อม มาถึงเดี๋ยวนี้ก็มีการประยุกต์ สมัยก่อนคุณไม่มีเนื้อแกะ คุณไม่มีเนื้อ วากิว ไม่มีเนื้อมัตสึซะกะ แต่สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นวัตถุดิบชั้นดีที่จะเอามา ประยุกต์ใช้ สมัยก่อนจะกินเนือ้ ก็มแี ต่เนือ้ วัวเนือ้ ควายเท่านัน้ เหนียวซะไม่มี แต่เคยได้ยินว่าขัดใจเรื่องผัดกะเพราใส่ซีอิ๊วดำ� คือเราใช้คำ�ว่าไม่มีผิดในอาหาร แต่ไม่มีผิดบนพื้นฐานของความถูกต้อง ใช่ไหม แกงเขียวหวานใส่พริกแดงมันจะเขียวไหม กลิน่ มันจะใช่ไหม แต่คณุ จะเอาแกงเขียวหวานมาทำ�ให้หวานขึน้ สักหน่อยก็ได้ หรือว่าคุณไม่อยากกิน กะทิ คุณไปใช้นมก็ได้ ถ้าเข้าใจว่ารสพื้นฐานคืออะไร แต่น่ีคุณสาดซีอิ๊วดำ�เข้าไป คุณรู้ไหมเดิมผัดกะเพราสีเขามาจากอะไร มันมาจากพริก ลองเอาพริกแดงไปตำ�กับพริกเหลืองสิ นั่นคือสีของมัน แต่ ซีอิ๊วดำ�มันคือกากซีอิ๊วเติมนํ้าตาลไง แล้วกลิ่นมันได้ไหม ถ้าเป็น soy sauce (ซอสถั่วเหลือง) ยังโอเค กลิ่นมันยังหอม ความสะดวกในยุคใหม่กับความประณีตอยู่ด้วยกันได้ไหม ได้สิ คุณไม่ถงึ กับต้องนัง่ แกะสลักผักกินทุกมือ้ แต่วา่ หัน่ ให้มนั เป็นคำ�ซะบ้าง แล้วความสะดวกก็คือชีวิตของคนปัจจุบันที่มีเวลาน้อย ดั้งนั้นอะไรที่ย่น เวลาได้ก็ทำ�เถอะ เช่นใช้เครื่องทุ่นเแรง จะให้มานั่งโขลกเครื่องแกงอาจ ไม่ไหว มันมีเครื่องให้ใช้ก็ใช้ แต่คุณต้องรู้ว่าเครื่องมันปั่นได้ถึงแค่ไหน บางเครือ่ งปัน่ ได้ไม่ละเอียดพอ มันก็จะดูหยาบๆ แต่มนั มีเครือ่ งปัน่ ทีล่ ะเอียด และสวยได้ หรืออาจจะโขลกก่อนหน่อยหนึง่ ให้มนั แตกกลิน่ แล้วก็เอาไปปัน่ เคยซื้ออาหารอุ่นไมโครเวฟจากร้านสะดวกซื้อไหม ถามลูกสิ ดูถูกแม่สุดๆ เลย บอกแม่เกี๊ยวกุ้งอร่อย เราก็ลองชิมมันก็อร่อย จริงๆ นะ แต่อร่อยแล้วมันใส่อะไรบ้างล่ะ ไว้ใจได้ไหม คือเรานิสยั ไม่ดไี ม่ชอบ ซื้ออาหารสำ�เร็จ ไม่มีอะไรก็กินแค่สลัด ความยากของอาหารไทยอยู่ตรงไหน ไม่ยาก แต่ยุ่ง มีความวุ่นวายในการเตรียมเยอะมาก เพราะนั่นคือวิถีชีวิต เมื่อก่อนไง ครอบครัวใหญ่ใช่ไหม แจกงานกันทำ�ไป ซอยตะไคร้คนหนึ่ง ซอยหอมคนหนึ่ง เดี๋ยวก็เอามาโขลกแกงได้ สูตรมีความสำ�คัญแค่ไหน จริงๆ มันเป็นเรื่องของรสมือ สูตรมีไว้ให้คนที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองมีรสมือ หรือเปล่า รสมือตรงนี้คือถ้าคุณไปกินก๋วยเตี๋ยว คุณมีรสมือปรุงก็อร่อยแล้ว ถ้าไม่มีก็ปรุงอยู่นั่นแหละ

CREATIVE THAILAND I 30


คนทีม่ รี สมือจะรูว้ า่ ประมาณไหนอร่อย อยากได้เท่านีต้ อ้ งเริม่ ด้วยความ เค็มเท่าไร อยากได้เท่านี้ใส่นํ้าปลาช้อนเดียวก็เอาอยู่แล้ว อาจจะเกลืออีก สักหน่อย แต่บางคนขยอกเข้าไปครึ่งขวด กลัวไม่เค็ม หรือบางคนใส่ไป นิดเดียว เท่าไรก็ไม่เค็ม รสมือจึงเป็นประสบการณ์กับพรสวรรค์บวกกัน อาหารไทยมีศักยภาพในทางเศรษฐกิจระดับไหน ถ้าสนับสนุนในทางที่ถูกต้อง อาหารไทยเป็นที่ชื่นชอบของคนได้ทั่วโลกเลย ด้วยความที่มันมีหลากรสชาติ และคุณสามารถเลือกสิ่งที่ตัวคุณชอบได้ ผัดไทยกว่าจะได้สักจานคุณต้องบาลานซ์นู่นนี่นั่น เปรี้ยว เค็ม หวาน เต้าหู้ ถั่ว กุ้งแห้ง ไช้โป๊ว ละเอียดจะตาย นี่อย่างไรทำ�ไมคนถึงชอบอาหารไทย เพราะมันมีความลึกซึ้ง คิดอย่างไรกับการพาครัวไทยไปครัวโลก บางเรื่องก็ไม่ง่ายนะ อย่างการมีมาตรวัดความอร่อย (เครื่องวัดความอร่อย ทีจ่ ดั ทำ�โดยสำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ) ลิน้ คนมันไม่เหมือนกัน แล้วมาตร ความอร่อยมันมาจากลิ้นใครล่ะ หรืออย่างเราไปประชุมกับหน่วยงานภาครัฐ มีเชฟรุน่ ใหญ่กบั รุน่ เด็กมา คุยกัน ข้างพวกอาจารย์ผู้ใหญ่ก็บอก…ของไทยต้องแบบนี้ สมัยอยุธยาแบบ นั้นนี้ ของแท้ต้องแบบนี้ พวกเชฟหนุ่มตอบกลับว่าอย่างไรรู้ไหม ด้วยความ เคารพนะครับอาจารย์ ของอาจารย์ไม่ได้ผิด แต่ในอนาคตของผมก็เป็นของ โบราณเหมือนกัน แต่เป็นอาหารไทยจากพุทธศักราช 2560

อีกร้านเมนูยาวเหยียดเลย แต่ ใช้ซอสผัดตัวเดียว มาตรฐาน จากไหน นํา้ มันหอยลุน่ ๆ ดังนัน้ ท�ำอย่างไรเ ร า จ ะ ดึ ง คนใน สายอาหารทั้ ง หมดมาอยูใ่ น กรอบเดียวกันได้ แล้วยกระดับ อาหารไทยสู่ระดับโลกอย่างมี มาตรฐาน คือมีความแตกต่าง กันไม่เป็นไร แต่อยู่บนพื้นฐาน เดียวกันก่อน

ก็บอกแล้วไงว่าสมัยอาจารย์ไม่มีเนื้อวากิว ไม่มีมัตสึซะกะ แต่ในขณะ เดียวกันอาจารย์รู้ไหม ทำ�ยังไงให้แกะไม่มีกลิ่นสาบ แปลว่าทุกคนก็ยังเข้าใจไม่ตรงกันในเรื่องอาหารไทย ปัญหาอย่างหนึ่งคือคุณไม่ควบคุมการทำ�งานของกุ๊กไทย แล้วในปัจจุบัน โซเชียลมีเดียมันเป็นอะไรที่เรากังวล เพราะมันให้ความรู้ผิดๆ เยอะ เหมือน ที่เชฟเอียน (พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย) เทไข่ตุ๋นให้ดูในรายการ คือเห็นในรูป มันสวยน่ากิน ถ้าเขาไม่เทออกมาคนนอกจอจะรู้ไหมว่ามันไม่ได้นึ่ง หรืออย่างวิธกี นิ หลังๆ มานีจ่ ะพยายามบอกเขาไม่ให้กนิ เป็นคอร์สแบบ ฝรั่ง คือจะสอนให้เขาเห็นว่าคนไทยอยู่กันอย่างไร สิ่งที่อยู่ตรงหน้าคุณคือ ข้าว ที่เหลือเรากินแบบแบ่งกัน คือเราเคยไปเจอร้านอาหารไทยที่อังกฤษ เราสั่งข้าวกับแกงเขียวหวาน แล้วก็ไข่เจียว ปรากฏว่าเขาเสิร์ฟไข่เจียวก่อน พอเราถามถึงจานอื่น เขาก็ บอกว่าไข่เจียวเป็นจานเรียกนํา้ ย่อย เขารอให้เรากินไข่เจียวให้เสร็จก่อน เรา จะกินพร้อมกันเขาบอกว่าไม่ได้ ก็มีเยอะนะร้านที่เสิร์ฟแบบคอร์ส แต่ทำ� ไม่เป็น อีกร้านเมนูยาวเหยียดเลย แต่ใช้ซอสผัดตัวเดียว มาตรฐานจากไหน นํา้ มันหอยลุน่ ๆ ดังนัน้ ทำ�อย่างไรเราจะดึงคนในสายอาหารทัง้ หมดมาอยูใ่ น กรอบเดียวกันได้ แล้วยกระดับอาหารไทยสู่ระดับโลกอย่างมีมาตรฐาน คือมีความแตกต่างกันไม่เป็นไร แต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกันก่อน มีอะไรอยากฝากคนรุ่นใหม่ที่สนใจในเรื่องอาหาร ให้เลือกเชื่อ เลือกกินอย่างมีวิจารณญาณหน่อย เพราะตอนนี้เด็กๆ เสพสื่อ เยอะมาก ซึ่งมันมีทั้งจริงและเท็จ แล้วการกินอาหารไทยไม่ใช่ไม่เก๋นะ ยิง่ คุณรูจ้ กั อาหารโบราณ คุณยิง่ เก๋ใหญ่เลยนะ มันเหมือนคุณเป็นคนทีม่ อี ะไร มากกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน ในขณะเดียวกันยุคสมัยมันเปลี่ยนไป คนที่ทำ�อาหารไทยก็สามารถ ทำ�ให้รปู แบบมันเก๋ขนึ้ ได้ ให้การกินมันเก๋ขน้ึ ได้ จัดให้สวย ให้นา่ กิน ให้งา่ ยขึน้ มันทำ�ได้

CREATIVE THAILAND I 31


ม.ล. ขวัญทิพย์ เคยเปิดร้านอาหารไทยในชื่อ “เดวา” นอกจากเมนูข้าวแช่วังเทวะเวสม์ซึ่งเธอสืบสานจากบรรพบุรุษมาโดยตรง เมนูเด่น อีกจานก็คือโรตีแกงเนื้อพริกขี้หนู ที่เธอฟาดโรตีเองทุกวัน เพื่อให้ได้โรตีเนื้อนุ่ม ส่วนแกงพริกขี้หนูเป็นสูตรของคุณแม่ ซึ่งใช้พริกขี้หนูสด ลอยหน้าแกง ส่วนเครื่องแกงเป็นเครื่องแกงใต้ (คุณแม่ของเธอเป็นคนใต้) ใช้ขมิ้นกับพริกขี้หนูแห้ง หนักกะปิกับพริกไทย หากให้เลือกร้านอาหารทีเ่ ธอชอบ “ครัวอัปสร” คือหนึง่ ในนัน้ เพราะรสชาติกลมกล่อม ไม่ได้หรูหราแต่กน็ งั่ สบายระดับหนึง่ โดยเมนูทชี่ อบ ก็คือแกงเหลือง จากการพูดคุยกับเธอทำ�ให้เรารู้ว่า นอกจากการงานด้านอาหาร เธอยังทำ�งานพิธีกร ร้องเพลง ขี่จักรยาน และเดินทางท่องเที่ยว

ขอขอบคุณสถานที่: SEVEN Café bkk และ Good space bkk ซ.พหลโยธิน 18/1 แยก 2 เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 081 901 8622 / facebook.com/sevencafebkk CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

นีค่ อื แอนิเมชัน่ เรือ่ งยาวทีเ่ ริม่ จากความตัง้ ใจของคนไทยกลุม่ เล็กๆ ทีห่ วังจะ ส่งออกคอนเทนต์แบบไทยๆ สู่ตลาดภาพยนตร์ระดับโลก ด้วยระยะเวลาใน การสร้างถึง 5 ปี จำ�นวนทีมผู้สร้างชาวไทยกว่า 200 ชีวิต ข่าวการเปิดตัวของ “๙ ศาสตรา” ภาพยนตร์เรือ่ งใหม่จากค่าย Exformat Films เมือ่ ต้นเดือนพฤศจิกายนทีผ่ า่ นมากำ�ลังเป็นทีจ่ บั ตามองไม่นอ้ ย เพราะ นับได้วา่ เป็นอีกหนึง่ ปรากฏการณ์ของวงการแอนิเมชัน่ ไทย ทีน่ �ำ ศิลปะอย่าง มวยไทยซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วโลกมาเป็นองค์ประกอบหลัก นำ�เสนอในรูปแบบ แอคชั่นแฟนตาซีที่ดูสนุก ถูกใจทั้งคนไทยและต่างชาติ ด้วยเรื่องราวการ ผจญภั ย ของอ๊ อ ด เด็ ก หนุ่ ม ที่ ช ะตาลิ ขิ ต ให้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการกอบกู้ อาณาจักรรามเทพนครให้รอดพ้นจากอำ�นาจของเทหะยักษา เจ้าแห่งยักษ์ ผู้เข้ามายึดครองและก่อความทุกข์เข็ญแก่ประชาชน โดยได้รํ่าเรียนศิลปะ การต่อสูม้ วยไทยทีเ่ คยหายสาบสูญไปจากครูมวยอันดับหนึง่ ของแผ่นดิน และ นำ�มาใช้เป็นอาวุธไม้ตายในการทำ�ภารกิจครั้งสำ�คัญ แม้จะตัง้ โจทย์ตงั้ แต่วนั แรกว่าจะสร้างแอนิเมชัน่ ทีบ่ อกเล่าเรือ่ งราวของ มวยไทยที่มีมาแต่โบราณ แต่ณัฐ ยศวัฒนานนท์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นทั้งผู้เขียน บทหลัก ผูก้ �ำ กับ และผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายศิลป์ และยังเป็นผูก้ อ่ ตัง้ Igloo Studio สตูดิโอแอนิเมชั่นที่ดูแลการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ยํ้ากับเราว่า สิ่งที่สำ�คัญ ยิ่งกว่าคือเนื้อเรื่องที่ชวนติดตามสำ�หรับคนดู โดยมีเรื่องของศิลปวัฒนธรรม มาเป็นองค์ประกอบทีด่ ดั แปลงให้เหมาะสมกับรูปแบบการนำ�เสนอ เพือ่ สร้าง เสน่ห์ให้กับภาพยนตร์ สำ�หรับลีลาแม่ไม้มวยไทยทีป่ รากฏในเรือ่ ง ทีมผูส้ ร้างได้เข้ารับคำ�ชีแ้ นะ จากครูมวยอย่างเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง เพื่อทำ�ความเข้าใจพื้นฐานที่ ถูกต้องตามหลัก ก่อนจะศึกษาท่วงท่าการต่อสูแ้ บบมวยโบราณเพิม่ เติมจาก คณะโชว์มวยภาคอีสานที่มีประสบการณ์ออกแสดงทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยั ง ลงพื้ น ที่ ใ นสั ง เวี ย นเพื่ อ นำ � มาเป็ น วั ต ถุ ดิ บ อ้ า งอิ ง ในการ สร้างสรรค์ภาพการต่อสู้ “การดูมวยในสนามจริงมันต่างจากในโทรทัศน์มาก เลยนะครับ มันมีเสียงเนือ้ ปะทะเนือ้ มีอารมณ์รว่ มของคนในสนาม เราอยาก

จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ออกมาให้คนดูรู้สึกเหมือนได้ดูอยู่ข้างสนามจริงๆ” ณัฐอธิบาย ด้วยรายละเอียดจำ�นวนมากทีต่ อ้ งลงมือศึกษา ขัน้ ตอนการเขียน บทภาพยนตร์เรื่องนี้จึงใช้เวลาถึง 2 ปีครึ่ง โดยได้รับเกียรติจากดารกา วงศ์ศิริ มาเป็นที่ปรึกษา และมีศุภกร เหรียญสุวรรณ มาร่วมเขียนบท ขึ้นชื่อว่าแอนิเมชั่น หลายคนมักจะนึกถึงการ์ตูนที่วาดจากจินตนาการ ก่อนจะนำ�มาลงเสียงพากย์ แต่สำ�หรับภาพยนตร์เรื่องนี้ ทีมผู้สร้างมุ่งมั่นจะ ให้การถ่ายทอดบุคลิกและอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครแต่ละตัวมีความ สมจริงและมีความสอดคล้องระหว่างเสียงและภาพมากที่สุด ขั้นตอนการ ทำ�งานจึงเริ่มจากการเฟ้นหานักแสดงที่เหมาะสมกับบทบาท ให้มาร่วมกัน ตีความบทและทดลองแสดงจริงก่อน เพือ่ ให้ทมี แอนิเมเตอร์น�ำ ภาพการแสดง ไปใช้ในการอ้างอิงท่าทางและบุคลิกของตัวละคร และเมื่อแอนิเมชั่นเสร็จ สมบูรณ์จึงจะให้นักแสดงมาลงเสียงพากย์ นอกจากนี้ ยังได้ไรอัน ชอว์ (Ryan Shore) นักแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์ระดับรางวัลแกรมมี่ มาสร้าง สรรค์ดนตรีแบบจัดเต็มด้วยออร์เคสตร้าแบบเต็มวงอีกด้วย ๙ ศาสตรา มีกำ�หนดจะเข้าฉายในไทยวันที่ 11 มกราคม 2018 และ กำ�ลังเตรียมบุกโรงภาพยนตร์จีนและประเทศอื่นๆ นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าว สำ�คัญที่จะพาแอนิเมชัน่ ไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล “อุตสาหกรรมแอนิเมชัน่ ตอนนีม้ กี ารแข่งขันค่อนข้างสูง มีสตูดโิ อหน้าใหม่เกิดขึน้ จำ�นวนมากในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หรืออินเดีย เป้าหมายในการ สร้าง ๙ ศาสตรา คือเราอยากจะสร้างภาพยนตร์ที่เป็นออริจินัลคอนเทนต์ ทีม่ ดี พี อทีจ่ ะสามารถขายได้ทว่ั โลก เราอยากจะเป็นกำ�ลังหลักทีพ่ าอุตสาหกรรม แอนิเมชั่นไทยให้เติบโตในตลาดโลก เพราะเราเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์ที่ เกิดจากคอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์จะเพิ่มโอกาสให้ประเทศเรา เพราะมัน สามารถต่อยอดไปเป็นธุรกิจได้อีกหลากหลายมาก” ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่: 9satramovie.com และ Facebook: 9satramovie ทีม่ า: บทสัมภาษณ์ ณัฐ ยศวัฒนานนท์ โดย ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ (29 พฤศจิกายน 2017) / บทความ “๙ ศาสตรา แอนิ เมชั่น สุด ยิ่ง ใหญ่ อี ก หนึ่ง ความภาคภู ม ิ ใ จของคนไทย” (21 พฤศจิกายน 2017) จาก movie.mthai.com

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.