Creative Thailand Magazine

Page 1



คุณอาจจะไม่สามารถผลิตเสื้อผ้าที่ไม่ทำ�ให้โลกร้อนหรือทำ�ให้ โลกร้อนน้อยลงได้ แต่ที่แน่ๆ คุณสามารถผลิตเสื้อผ้าที่สร้าง ผลกระทบให้น้อยที่สุดต่อภาวะโลกร้อนได้ Rick Ridgeway นักปีนภูเขา นักเขียน และรองประธานด้านสิ่งแวดล้อม ของ Patagonia แบรนด์เสื้อผ้ากลางแจ้ง


CONTENTS สารบัญ

Insight

19

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

American Quilts

The Creative

28

Cover Story

Creative Will

34

Fashion Legacy

6 8

The Subject Creative Resource

Featured Book / Books

APRILPOOLDAY

10

Matter

11

Classic Item

12

New Generation of Apparel

The Future of Fashion is Here

Galicia: Into the Heart of Fast Fashion

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ มองทางรอดสิ่งทอไทย ดวยเทคโนโลยีเพิ่มมูลคา

Luxury Brand Ethical Mind

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช, ยิง่ ลักษณ สุนศิ ารัตน บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, มนฑิณี ยงวิกลุ , เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ , นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, อคีรฐั สะอุ สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ผูออกแบบปก l อคีรัฐ สะอุ ศิลปนผูชื่นชอบการสรางสรรคภาพประกอบ ผานการเลาเรื่องดวยเทคนิคการตัดแปะ ผลงาน: www.behance.net/ehirakit


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

ลูกไม้ของผืนผ้า ห่างออกไปทางตอนใต้ของโตเกียว เกาะอามามิ โอชิมา (Amami Oshima) เป็นมากกว่าสถานที่ ท่องเทีย่ วอันบริสทุ ธิ์ เพราะเกาะแห่งนีม้ คี วามสำ�คัญอย่างมากต่อการดำ�รงไว้ซงึ่ ประเพณีญปี่ นุ่ ดัง้ เดิม “ซูมูกิ (Tsumugi)” หรือผ้าไหมทอมือสำ�หรับตัดเย็บกิโมโนถูกผลิตขึ้นที่นี่มานานหลายศตวรรษ ลวดลายบนซูมูกิแต่ละผืนเกิดจากเทคนิคการทอไหมแทนการเขียนลาย โดยเส้นไหมดิบแต่ละเส้นที่ ผ่านการสาวมือที่ย้อมขึ้นเป็นพิเศษ จะถูกเคลือบด้วยกาวจากสาหร่ายทะเลซึ่งขึ้นอยู่ใกล้เกาะแห่งนี้ เท่านั้น ก่อนนำ�ไปย้อมด้วยเปลือกต้นไทชิกิเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและการดูดซับสีแดงกํ่าให้เด่นชัด เส้นไหมจะถูกย้อมไว้ 24 ชั่วโมงและทำ�ซํ้า 30-40 ครั้ง เพื่อให้ได้สีที่สมํ่าเสมอ และนำ�ไปหมักด้วย โคลนตามกรรมวิธีดั้งเดิม กิโมโนแต่ละชุดจะต้องใช้เส้นไหมถึง 1,200 เส้นเพื่อให้ได้ผ้าซูมูกิยาว 12 เมตร และช่างทอต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2-12 เดือนที่หกู ทอผ้าเพือ่ ให้ได้กิโมโนซูมกู ิที่สมบูรณ์แบบ แต่กระบวนการของผ้าซูมูกิน้ันสวนทางกับวิถีชีวิตปัจจุบันของชาวญี่ปุ่น ดังนั้นในโรงงาน อุตสาหกรรมทอผ้าทีโ่ ตเกียว เครือ่ งจักรจึงผลิตผ้ากิโมโนจากใยสังเคราะห์ ทีช่ ว่ ยลดทัง้ เวลา แรงงาน และต้นทุน โรงงานเหล่านี้มีกำ�ลังการผลิตกิโมโนมากกว่า 2,000 ชุดต่อเดือน เพื่อตอบสนองความ ต้องการกิโมโนผ้าใยสังเคราะห์ที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความทนทานและดูแลง่าย ขณะที่การ ออกแบบลวดลายก็เป็นไปตามกระแสแฟชั่นที่ขายได้รวดเร็ว ความหลากหลายของกิโมโนทั​ั้งซูมูกิ หรือกิโมโนใยสังเคราะห์มีราคาขายตั้งแต่ 3,000-2,600,000 บาท และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของ ตลาดสิ่งทอญี่ปุ่น กิโมโนเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของเรื่องราวยาวนานในการถักทอผืนผ้า ตามวัตถุประสงค์การใช้ งานทีเ่ ปลีย่ นไป จากเครือ่ งป้องกันร่างกายจากความหนาวร้อน ความศรัทธาตามประเพณี จนกระทัง่ ใช้หอ่ หุม้ ร่างกายเพือ่ ส่งวิญญานไปยังสวรรค์ เวลาได้พฒั นาให้การรังสรรค์ผนื ผ้าเต็มไปด้วยชีวติ ชีวา อุตสาหกรรมทอผ้าจากโรงงานเล็กๆ ทีผ่ ลิตอย่างเรียบง่ายเติบโตเป็นโรงงานขนาดใหญ่ทผี่ กู พันอย่าง แน่นแฟ้นกับอุตสาหกรรมแฟชั่น ความต้องการสิ่งทอเหล่านี้วิ่งพลุ่งพล่านจากเวทีแฟชั่นที่มิลานไป ถึงนิวยอร์ก และสร้างความเติบโตให้กบั อุตสาหกรรมข้างเคียง ทัง้ เครือ่ งหนัง เครือ่ งประดับ โฆษณา สื่อ กระทั่งวงการกีฬา โฉมหน้าของผ้าและสิ่งทอยังถูกเสริมเติมแต่งให้ทันสมัยด้วยนวัตกรรมทาง วิทยาศาสตร์ที่น่าทึ่งจนเกิดเป็นเครื่องมือที่มีคุณสมบัติมากมายกว่าเครื่องนุ่งห่ม คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจสิ่งทอมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจโลก ในบางประเทศ การตก ขบวนเพราะปรับตัวด้านการผลิตไม่ทนั ทำ�ให้อตุ สาหกรรมนีอ้ บั แสง บางประเทศได้โอกาสจากความ ได้เปรียบเรื่องต้นทุนแรงงาน ขณะที่บางประเทศกำ�ลังชื่นชมกับผืนผ้าในแง่มุมของงานฝีมือลํ้าค่าที่ บัดนี้ได้กลายเป็นมรดกตกทอด และไม่ว่าเส้นด้ายที่ทอขึ้นมาเป็นผืนผ้านั้น จะมาจากเสียงกี่ทอผ้าที่ กระทบกันจากหมู่บ้านไกลโพ้น หรือเสียงเครื่องจักรที่ดังกึกก้องจากโรงงานขนาดใหญ่ ผลลัพธ์ของ การผลิตนี้ล้วนเป็นเรื่องน่าชื่นชมทั้งสิ้น เพราะมันได้สะท้อนให้เห็นถึงความมานะอย่างแรงกล้าของ ช่างฝีมือ และความชาญฉลาดด้านเทคโนโลยีของคนเรานั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

INNOVATION

ที่มา: seetheunseen.co.uk

woolmark.com

ในงานลอนดอน แฟชัน่ วีก 2014 ลอเรน โบว์เกอร์ (Lauren Bowker) ศิลปินนักทดลองด้านวัสดุ ชาวอังกฤษ ผูก้ อ่ ตัง้ T H E U N S E E N สตูดโิ อที่ เชีย่ วชาญเคมีและชีววัสดุ ได้น�ำ เสนอคอลเล็กชัน่ เสื้อผ้าที่มีโครงสร้างทับซ้อนเป็นชั้นๆ ลักษณะ คล้ายปีกของแมลงปีกแข็ง ตัดเย็บขึ้นจากชิ้น หนังย้อมสีด้วยหมึกชนิดพิเศษที่จะทำ�ปฏิกิริยา เปลีย่ นเป็นสีเหลือบในเฉดต่างๆ ไปตามลักษณะ และเงื่อนไขของสภาพแวดล้อม ทั้งความร้อน รังสีอลั ตราไวโอเลต ความชืน้ สารเคมี การเสียดสี และเสียง โบว์เกอร์ยงั เคยออกแบบเครือ่ งประดับ ศีรษะคริสตัลที่เปลี่ยนแสงสีได้ตามคลื่นสมอง ของผูส้ วมใส่ให้กบั ชวารอฟสกี้ และ PHNX ผลงาน การทดลองย้อมสีหมึกลงบนผ้าที่ทำ�เป็นขนนก ซึง่ จะเปลีย่ นสีสนั ไปตามสภาพแวดล้อมได้อย่าง มีมนต์ขลัง

seetheunseen.co.uk

แปลงกายไปกับธรรมชาติ

สวมชุดผ้าขนสัตว์ในอากาศร้อน

ในอี ก ไม่ กี่ สิ บ ปี ข้ า งหน้ า ที ม นั ก บิ น อวกาศ ผู้บุกเบิกดาวอังคารกลุ่มแรกจะสวมชุดแนบเนื้อ แทนชุดอวกาศเทอะทะ "ไบโอสูท (BioSuit)" ถู ก ออกแบบมาสำ � หรั บ สภาพแวดล้ อ มสุ ด ขั้ ว โดยเฉพาะ ดาวา นิวแมน (Dava Newman) ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ จากสถาบันเอ็มไอทีและทีมงาน กำ�ลังวิจัยและ พัฒนาชุดอวกาศโดยได้รับทุนสนับสนุนจาก นาซ่า ไบโอสูทมีโครงสร้างกึ่งยืดหยุ่นผลิตจาก ไนลอนสแปนเด็ ก ซ์ แ ละเส้ น ใยทองคำ � พร้ อ ม เซนเซอร์ไบโอเมตริกที่สามารถส่งข้อมูลของ ผู้สวมใส่กลับไปยังหอควบคุมได้ จุดเด่นคือ โครงสร้ า งแนวเส้ น ตะเข็ บ ที่ไ ม่ ข ยายตั ว ออก (Lines of Non-Extension) ความยาวนับพันฟุตซึ่งถูกเย็บยํ้าพาดผ่านจุดสำ�คัญๆ ทั่วชุดกว่า 140,000 ฝีเข็ม ซึ่งจะควบคุมแรงดันอากาศและสร้างระบบต้านแรงดันเชิงกลศาสตร์ ทำ�ให้นักบินอวกาศ สามารถเคลื่อนไหวทำ�ภารกิจต่างๆ ในสภาวะสุญญากาศได้สะดวกขึ้น

เพื่ อ นำ � เสนอทางเลื อ กการใช้ ผ้ า ขนแกะใน ภูมอิ ากาศเขตร้อน เช่น กลุม่ ประเทศคาบสมุทร อาหรับ ตุรกี และอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดใหม่ มาแรง และเปลีย่ นทัศนคติทวี่ า่ ผ้าขนแกะนำ�มา ตัดได้แค่ชุดกันหนาวเท่านัน้ ตัง้ แต่ปี 2012 เดอะ วูลมาร์ก คอมปานี (The Woolmark Company) ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นสิ่ ง ทอขนแกะโมริ โ น่ จ าก ออสเตรเลีย จึงปัดฝุ่นแคมเปญ "คูล วูล (Cool Wool)" นำ�เสนอผ้าขนแกะเนือ้ เบาสบาย ระบาย อากาศและความชืน้ ทีพ่ ฒั นาขึน้ ตัง้ แต่ทศวรรษ 1980 ให้เหมาะกับตลาดในศตวรรษที่ 21 โดย ล่าสุดได้จับมือกับเรมอนด์ (Raymond) ผู้นำ� ด้านการผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกายบุรุษใน อินเดียมานานกว่า 80 ปี เปิดตัวคอลเล็กชั่น เครื่องแต่งกายบุรุษซึ่งตัดเย็บจากผ้าขนแกะที่มี นํ้าหนักเพียง 190 กรัมต่อตารางเมตร และทอ จากเส้นใยทีม่ เี ส้นผ่าศูนย์กลางแค่ 22.5 ไมครอน ฝีมอื การออกแบบของเการัฟ ชัย คุปต์ (Gaurav Jai Gupta) นักออกแบบแฟชัน่ ชือ่ ดังชาวอินเดีย

ที่มา: หนังสือ Textile Visionaries: Innovation and Sustainability in Textile Design (2013) โดย Bradley Quinn

ที่มา: woolmark.com

DESIGN

mit.edu

ท่องอวกาศในภาพลักษณ์ใหม่

6l

Creative Thailand

l กันยายน 2557


RESEARCH & DEVELOPMENT

EVENT

cityzensciences.fr

ตั้งแต่ปี 2008 ซิติเซน ไซแอนซิส (Cityzen Sciences) บริษัทวิจัยสัญชาติ ฝรั่งเศสได้ทดลองค้นคว้าร่วมกับกลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีโดยได้รับการ สนับสนุนจากธนาคารเพื่อการสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง ฝรัง่ เศส (La Banque publique d'investissement) เพือ่ ผลิตผืนผ้าอัจฉริยะ ฝังไมโครเซ็นเซอร์ โดยล่าสุดชุดกีฬาต้นแบบ "ดี-เชิร์ต (D-Shirt)" ได้รับ รางวัลสาขานวัตกรรมเพือ่ การดูแลสุขภาพประจำ�วัน จากงานแสดงสินค้า อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคปี 2014 โดยสามารถตรวจจับตั้งแต่อุณหภูมิ ร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ตำ�แหน่งของผู้สวมใส่ บนแผนทีโ่ ดยอ้างอิงกับจีพเี อส ความเร็วและอัตราเร่งในการออกกำ�ลังของ นั ก กี ฬ าผู้ ส วมใส่ ไ ด้ แ บบเรี ย ลไทม์ เ มื่ อ เชื่ อ มต่ อ กั บ อุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า หรื อ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซิติเซน ไซแอนซิส วางแผนจะทดลองนำ�ดี-เชิร์ตวาง ตลาดในปีนี้ แสดงให้เห็นถึงวิสยั ทัศน์ของฝรัง่ เศสว่าพร้อมแล้วทีจ่ ะพัฒนา ประเทศด้วยการลงทุนในกลุม่ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการผลิตผ้าอัจฉริยะ

wearablefutures.co

ถักทออนาคต

รองรับการสวมใส่เทคโนโลยี

เราอาจไม่ รู้ แ น่ ชั ด ถึ ง ทิ ศ ทางการผลิ ต สิ่ ง ทอและการออกแบบเครื่ อ ง แต่งกายในอีกหลายสิบหลายร้อยปีข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร หากในงาน Wearable Futures 2013 ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยราเวนส์บอร์นในอังกฤษ ระหว่างวันที่ 10-11 ธันวาคมที่ผ่านมา นักออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญ และนัก สร้างสรรค์เชิงทดลองจากหลากหลายสาขาวิชากว่า 50 คน ได้ร่วมกัน บอกเล่าเรื่องราวผลงานสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีการสวมใส่ต่างๆ ที่เมื่อ ปะติดปะต่อเศษเสี้ยวหลากมุมต่างๆ แล้ว ได้ให้เค้าลางแห่งอนาคตที่ เต็มเปี่ยมด้วยความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุด ซึ่งนอกจากจะเผยให้เห็นทิศทาง การพั ฒ นาแนวคิ ด และกระบวนการสร้ า งสรรค์ ใ ห้ ส อดรั บ กั บ กระแส Internet of Things หรือเทคโนโลยีที่สิ่งของต่างๆ สามารถเชือ่ มต่อสือ่ สาร กันเองแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงจินตนาการและนิ ย ามของการสวมใส่ เทคโนโลยีทไี่ ปไกลกว่าการแต่งกายด้วยเครือ่ งมือไฮเทคหรืออุปกรณ์ลาํ้ ยุค สมกับทีน่ ิตยสารฟอร์ปส์ ได้ยกให้ปี 2014 เป็นปีแห่งเทคโนโลยีทสี่ วมใส่ได้

ที่มา: cityzensciences.fr ชมตัวอย่างเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ wearablefutures.co/content

จับมือกันสร้างความเป็นไปได้ การทดลองทำ�งานข้ามสาขาแบบสหศาสตร์ได้เผยให้เห็นช่องทางใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ หลังจากทีเ่ คยแสดงผลงานออกแบบแฟชัน่ ชีวภาพในนิทรรศการ “จับคูค่ ดิ พลิกโฉมวัสดุไทย” กับ Material ConneXion® Bangkok เมื่อปี 2011 กฤษณ์ เย็นสุดใจ นักออกแบบประจำ� มูลนิธแิ ม่ฟา้ หลวง กลับมาร่วมงานกับสมบัติ รุง่ ศิลป์ จากบริษทั ไทยนาโนเซลลูโลส จำ�กัด ผูผ้ ลิตวัสดุไบโอเซลลูโลสแบบแห้ง ในนิทรรศการ “The Cooperation คูส่ ร้างสรรค์ ปีท่ี 2” ที่จะเปิดให้ชมกันยายนนี้ โดยกฤษณ์นำ�แผ่นเซลลูโลสชีวภาพที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเชื้อ จุลนิ ทรียจ์ ากปลายข้าว มาอัดรวมกันด้วยวิธรี ดี ร้อนเป็นวัสดุทมี่ หี น้าตาและผิวสัมผัสคล้าย ผืนหนังจระเข้ ผืนวัสดุชีวภาพนี้จะเป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักในการผลิตกระเป๋าต้นแบบ ที่จะขึ้นรูปไร้ตะเข็บด้วยพิมพ์ชิ้นเดียว ติดตามนิทรรศการ “The Cooperation คู่สร้างสรรค์ ปีที่ 2” ได้ที่ materialconnexion.com/th กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

FEATURED BOOK COLOR INTELLIGENCE SPRING/SUMMER 2015

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา โดย Nelly Rodi

จากลอสแอนเจลิส ไมอามี เมลเบิร์น ถึงเซาเปาโล เมืองริมชายหาดใน ภูมิภาคต่างๆ ของโลกสะท้อนภาพเมืองแห่งการผ่อนคลายและกิจกรรม กลางแจ้ง พลังการเคลือ่ นไหว และการแสดงออกทางกายภาพทีม่ ชี วี ติ ชีวา ตอกยํา้ ถึงอุณหภูมคิ วามร้อนและวัฒนธรรมสากลของการออกกำ�ลังกายที่ เชื่อมต่อถึงกัน "Colors Beach & The City" หนึ่งในแนวโน้มสำ�คัญของปี 2015 นำ�จุดเด่นมาจากลักษณะพิเศษแบบเขตร้อน และเมืองเด่นๆ ใน ซีกโลกใต้ โดยเฉพาะรีโอเดจาเนโรของบราซิล โดยสอดประสานไปกับ วัฒนธรรมพืน้ ถิน่ การถักทอ และสีสนั อันจัดจ้าน เหมือนดึงความหลงใหล ของคนในท้องถิ่นมาเป็นแรงบันดาลใจสู่การผลิตผลิตภัณฑ์สากล เช่น อาดิดาสที่ได้ออกรองเท้ารุ่น Samba Primeknit รองเท้ารุ่นแรกของโลก ที่ทำ�จากนวัตกรรมผ้าถักในจำ�นวนจำ�กัด โดยได้รวมความสบายและการ ปกป้องเท้าด้วยนวัตกรรมเส้นด้ายแบบพิเศษ ตั้งแต่ส้นเท้าจรดปลายเท้า มีความยืดหยุน่ สูง นาํ้ หนักเบา รวมถึงเส้นด้ายแต่ละเส้นยังเคลือบป้องกัน ความเปียกชื้นและนํ้าได้ ยิ่งไปกว่านั้น ด้านสีสัน ทางแบรนด์ยังนำ�สีฟ้า ส้ม ชมพู และเขียวมะนาว มาใช้เพื่อเชื่อมโยงกับคอลเล็กชั่น Samba ที่ ออกมาในช่วงฟุตบอลโลก 2014 เช่นเดียวกับไนกี้ที่พัฒนานวัตกรรมและ ใช้วัสดุเส้นใย Flyknit สำ�หรับรองเท้าวิ่ง โดยวัสดุที่ใช้นอกจากจะเบาและ นุ่มสบายแล้ว ยังให้ความรู้สึกแนบชิดกับเท้าเสมือนเป็นผิวหนังชั้นที่สอง แนวโน้มเทรนด์ดังกล่าวยังใช้คำ�ว่า "Move On" เป็นคำ�หลักในการ ขับเคลื่อนความคิดและแรงบันดาลใจ ทั้งยังนำ�ไอเดียนี้ไปปรับใช้กับ งานออกแบบอืน่ ๆ เพือ่ สร้างบรรยากาศใหม่ๆ ให้กระตือรือร้น เช่น แนวคิด "Tonic Suits" เปลี่ยนชุดทำ�งานจากเดิมที่เคร่งขรึมมาเป็นสไตล์ใหม่ที่ ดูลำ�ลองด้วยวัสดุอย่างผ้าร่ม หรือหยิบรองเท้ากีฬามาเป็นไอเท็มสำ�คัญ สำ�หรับชุดทำ�งานในแต่ละวัน "Sporty Line" นำ�ลวดลายกราฟิกที่สะท้อน ถึงความเคลื่อนไหวมาเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบ "Puzzle Mania" เฟอร์นิเจอร์ที่ผู้ใช้มีโอกาสในการขยับสับเปลี่ยนตำ�แหน่งได้ด้วยตัวเอง "Peppy Gridding" ใช้สขี าวและดำ�มาบล็อกสายตาจากสีสดและสีหวานๆ "80s Sportswear" ความสนุก สีสัน รูปทรงเรขาคณิตแบบศิลปะเมมฟิส สร้างพลังและกราฟิกใหม่ๆ และ "Giant Motifs" ใช้สีสดในลวดลาย ขนาดใหญ่ คล้ายบรรยากาศที่มีสีสันแบบป๊อปสไตล์

8l

Creative Thailand

l กันยายน 2557


BOOKS

CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

FASHIONING THE FUTURE TOMORROW'S WARDROBE

โดย Suzanne Lee

ถ้าเราลองขยายขอบเขตนิยามของเสื้อผ้าที่หมายถึงเฉพาะเครื่องนุ่งห่มที่ใช้ ปกปิดร่างกาย อาจทำ�ให้เกิดไอเดียหลากหลายในการประดิษฐ์สร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ เพื่อการสวมใส่ซึ่งทะลุขอบเขตของความเป็นไปได้ในวันนี้ ซูซาน ลี นักออกแบบแฟชัน่ ผูห้ ลงใหลในการศึกษาเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพือ่ นำ�มาใช้กบั งานออกแบบ ได้รวบรวมผลงานการออกแบบของนักออกแบบแฟชัน่ ชือ่ ดังหลาย ต่อหลายคน ที่นำ�เอาจินตนาการที่เคยอยู่ในนิยายวิทยาศาสตร์มาเปลี่ยนเป็น เสื้อผ้าที่สวมใส่ได้จริง นอกจากนั้น ตัวเธอเองยังเป็นผู้บุกเบิก "ไบโอกูตูร์ (BioCouture)" ซึ่งเป็นการนำ�เอางานวิจัยเกี่ยวกับ Microbial-Cellulose หรือ เส้นใยเซลลูโลสที่เกิดจากการทำ�งานของแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใช้ทดลองสร้าง เป็นเสื้อผ้าจนได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในวงการออกแบบ

พันธุ์ ไม้ย้อมสีธรรมชาติ โดย พินัย ห้องทองแดง

TEXTILE TECTONICS

มีงานวิจยั จำ�นวนมากทีก่ ล่าวถึงอันตรายซึง่ เกิดจากการใช้สเี คมีในการย้อม เส้นใยและผ้า แต่ผผู้ ลิตส่วนใหญ่กย็ งั มีขอ้ กังวลถึงคุณภาพของสีธรรมชาติ ในด้านของการเกาะติด ความคงทนต่อการซักและแสง หนังสือเล่มนี้จึง นับเป็นหนึง่ คูม่ อื ชัน้ ดีทคี่ วรมีเก็บไว้ใช้ในการอ้างอิง โดยได้รวบรวมผลวิจยั จากโครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุ์ไม้ย้อมสีอันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้รับ การยืนยั น และทดสอบคุ ณ ภาพแล้วจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม สิ่งทอ ในเล่มประกอบด้วยข้อมูลของพันธุ์ไม้ย้อมสีกว่า 50 ชนิด ซึ่งทำ�ให้ เกิดสีในหลากหลาย โทน อาทิเช่น แดง ฟ้านํา้ เงิน เหลือง-ทอง เขียว นํ้าตาล และ เทา-ดำ � เป็ น ต้ น นอกจากนัน้ ยังแนะนำ� วิธีในการย้อมสีเพื่อ ให้ ไ ด้ คุ ณ ภาพที่ ดี อันจะสามารถใช้ใน เชิงพาณิชย์ได้อกี ด้วย

หนังสือเล่มนี้ผนวกทฤษฎี ประวัติศาสตร์ งานวิจัย เข้ า กั บ กระบวนการและ เทคนิคแบบดิจิทัล อย่าง กระบวนการพิมพ์และการ ออกแบบไฟล์แบบสามมิติ โดยพบว่าทั้งศิลปะ สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยี ดิจทิ ลั ต่างมีความเชือ่ มโยง กัน การพัฒนาที่รุดหน้า ได้ ส ร้ า งมาตรฐานหรื อ รู ป แบบการก่ อ สร้ า งที่ ลดทอนความเป็นไปไม่ได้ ในยุคก่อนๆ ลง รวมทัง้ ยัง ดึงรูปแบบของการถักทอในลักษณะต่างๆ มาเป็นองค์ประกอบสำ�คัญใน การก่อสร้างยุคใหม่ ทั้งรูปทรงและลวดลายตามแบบธรรมชาติ หรือลาย สอดประสาน (Celtic Knotwork) ซึ่งเป็นลักษณะโครงสร้างของเรขาคณิต ที่มักจะเขียนเติมให้เต็มเนื้อที่ที่ว่างในศิลปะยุคกลาง ความสลับซับซ้อน เหล่านีส้ ร้างผลลัพธ์และรายละเอียดทีง่ ดงามได้ผา่ นเทคโนโลยีแบบดิจทิ ลั และการพิมพ์แบบสามมิติ การสร้างรูปแบบใหม่ในงานสถาปัตยกรรมจึง ช่วยลดทอนความแข็ง ขับให้ผลงานนัน้ ดูออ่ นช้อยและมีสนุ ทรียภาพมากขึน้

เรียบเรียงโดย Lars Spuybroek

กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

NEW GENERATION OF APPAREL

รูปแบบการผลิตสิ่งทอผ่านเครื่องจักรอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการถักทอ หรือลักษณะการผลิตสิ่งทอโดยใช้การสานไปมาของเส้นใยและยึดติดกัน โดยการใช้ความร้อนที่เรียกว่า “ไม่ถักทอ (nonwoven)” กำ�ลังจะเปลี่ยน โฉมหน้าไป เนื่องจากปัจจุบัน การพัฒนาของกระบวนการพิมพ์แบบสาม มิตเิ พือ่ ผลิตเครือ่ งนุง่ ห่มได้ โดยเข้ามาช่วยลดขัน้ ตอนการถักทอลง รวมถึง ระยะเวลาและพลังงานในการผลิตให้น้อยลง เป็นเวลากว่าทศวรรษ ทีบ่ ริษทั ทามิแคร์ (Tamicare) เมืองแมนเชสเตอร์ ในอังกฤษได้ลงทุนทำ�วิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติ ทีแ่ ตกต่างจากเครือ่ งพิมพ์สามมิตทิ ว่ั ไป จนในปี 2013 จึงสามารถผลิตสิง่ ทอ ที่มีความนุ่มและระบายอากาศได้ดี ซึ่งเหมาะกับผลิตกางเกงชั้นในแบบ ใช้แล้วทิ้งที่ย่อยสลายได้ ชุดกีฬา และผ้ารัดกันกระแทก ด้วยกระบวนการ

DyeCoo MC# 6917-01 กระบวนการย้อมสีผา้ โดยไม่ตอ้ งใช้นาํ้ แต่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในรูป Supercritical ที่อยู่ระหว่างสถานะของเหลวกับก๊าซเป็นตัวกลางให้เม็ดสีเข้าไปเกาะตัวกับเส้นใย ของผ้าทอหรือผ้าถัก ทำ�ขึ้นในห้องปิดภายใต้ความร้อนและแรงดัน และไม่จ�ำ เป็น ต้องแผ่ผ้าออกจากม้วน โดยการย้อมผ้าหนึ่งม้วนที่หนัก 300 ปอนด์จะประหยัด นํ้าได้ 25,000 ลิตร และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าการย้อมสีปกติถึงร้อยละ 75 เนื่องจากไม่มีการเติมสารเคมี ไม่ต้องผ่านการอบแห้ง และใช้เวลาน้อยกว่า การย้อมแบบใช้นา้ํ ถึงสองเท่า สียอ้ มทีใ่ ช้เป็นสีดสิ เพิรส์ (Disperse Dyes) ชนิดพิเศษ ใช้ได้ดีกับผ้าใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์หรือไนลอน เหมาะสำ�หรับใช้ย้อมผ้า ทำ�เครื่องแต่งกายและงานตกแต่งภายใน

10 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557

พิมพ์แบบสามมิติ และเพื่อแสดงถึงศักยภาพของบริษัทว่าทำ�ได้จริงตามที่ ประกาศไว้ ทามิแคร์จงึ ได้เริม่ ผลิตชุดชัน้ ในทีย่ อ่ ยสลายได้ยหี่ อ้ Cosyflex™ ออกวางจำ�หน่ายออก ด้วยกระบวนการพิมพ์ขึ้นรูปทีละชั้น จากหัวฉีด สเปรย์ของเครื่องพิมพ์ที่จะพ่นโพลิเมอร์ที่เป็นยางลาเท็กซ์ และเส้นใยฝ้าย ออกมาเป็นชัน้ ๆ เพือ่ เป็นโครงสร้างของกางเกงชัน้ ในแบบใช้ครัง้ เดียวแล้ว ทิ้ง ภายในเวลาที่น้อยกว่า 3 วินาที และหากเครื่องพิมพ์นเ้ี ดินเครือ่ งเต็ม กำ�ลังจะสามารถผลิตกางเกงชัน้ ในได้ถงึ 10 ล้านชิน้ ต่อปี โดยไม่จ�ำ เป็นต้อง ตัดผ้าตามแพทเทิรน์ และไม่มเี ศษเหลือทิง้ ทัง้ ยังสามารถเลือกใช้วสั ดุตงั้ ต้น โพลิเมอร์ทอี่ ยูใ่ นรูปของเหลวได้หลายชนิด เช่น ซิลโิ คน และเทฟลอน หรือ นา้ํ ยางลาเท็กซ์ธรรมชาติ ส่วนเส้นใยก็มที ง้ั ฝ้าย วิสโคสเรยอนและไนลอน ที่ เลือกได้ตามต้องการ นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตชุดชั้นในชั้นนำ�อย่าง วิคตอเรีย ซีเคร็ต (Victoria's Secret) ยังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่ง ในอนาคตอาจมีการผลิตชุดชั้นในจากกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติออก มาขายอย่างแพร่หลายมากขึ้น ในขณะเดียวกัน บริษทั แฟบบริแคน (Fabrican) ทีล่ อนดอน ได้คดิ ค้น "Spray-on fabric" ซึง่ จดลิขสิทธิก์ ระบวนการผลิตการทอแบบไม่ถกั ทอ ที่ สามารถทำ�ขึ้นได้อย่างรวดเร็วจากการฉีดพ่นของเหลวที่มีเส้นใยจาก กระป๋องอัดความดันลงบนรูปทรงทีต่ อ้ งการ ทำ�ให้เกิดเป็นตาข่ายแน่นและ มีความละเอียดจนเป็นโครงสร้าง โดยสามารถทำ�สีต่างๆ ได้ตามต้องการ นับเป็นเทคโนโลยีที่ให้อิสระกับนักออกแบบที่จะสร้างเสื้อผ้าแบบใหม่ได้ อย่างโดดเด่น โดยไม่ต้องใช้เครื่องจักร และยังเพิ่มลูกเล่นด้วยกลิ่นหอม สสารทางการแพทย์ หรือวัสดุที่นำ�ไฟฟ้า ลงในสิ่งทอเพื่อให้เหมาะสมกับ ผู้สวมใส่ และการใช้งานในวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้อย่างไม่จำ�กัด ที่มา: fabricanltd.com และ tamicare.com

Wicking/Water Repellent MC# 7181-04 กระบวนการเคลือบผิวผ้าให้มีคุณสมบัติตรงกันข้าม โดยด้านหนึ่งจะมีคุณสมบัติ กันนํ้าขณะที่อีกด้านหนึ่งจะดูดซับนํ้าได้ ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติ ดูดซับนํ้าได้ดี หลังจากถักหรือทอเป็นผืนแล้ว จะเคลือบผิวด้านหน้าด้วยสารเคมี กันนาํ้ โดยจะเคลือบเฉพาะพืน้ ผิวชัน้ นอกสุดของผ้าเท่านัน้ เพือ่ ไม่มผี ลต่อคุณสมบัติ การดูดซับนํ้าของเนื้อผ้าส่วนที่เหลือทั้งหมด ซึ่งสารเคลือบกันนํ้าและคุณลักษณะ การดูดซับนํ้าของเส้นใยจะไม่มีสีและไม่มีผลต่อความงามหรือผิวสัมผัสของเนื้อผ้า สามารถพิมพ์ลงบนผ้าได้ทุกชนิด โดยเฉพาะผ้าใยสังเคราะห์ เช่น โพลีเอสเตอร์และ ไนลอน เหมาะสำ�หรับชุดกลางแจ้ง รองเท้าใช้งานในเรือ และชุดว่ายนํ้า พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC


CLASSIC ITEM คลาสสิก

• ในยุคล่าอาณานิคม ชาวยุโรปหลั่งไหลเข้ามา ในตั้งรกรากในอเมริกาพร้อมนำ�ขนบประเพณี และของใช้ประจำ�วันติดตัวมาด้วย หนึ่งในนั้น คือผ้าห่มบุนวมที่เรียกกันว่า "ควิลต์ (Quilt)” ซึ่ง ใช้ผ้าเย็บเข้าด้วยกันถึง 3 ชั้น เพื่อใช้เป็นผ้าห่ม ผ้าปูเตียง ไปจนถึงผ้าแขวนผนังแต่งบ้านและ กันลม โดยมีสตรีในตระกูลมั่งคั่งและแรงงาน ทาสชาวแอฟริ กั น -อเมริ กั น ทั้ ง ชายหญิ ง เป็ น ผูบ้ กุ เบิกประวัตศิ าสตร์ของอเมริกนั ควิลต์บนทาง คูข่ นาน ก่อนทีจ่ ะค่อยๆ มาบรรจบกันในยุคถัดมา

• ธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับควิลต์ทะยานไปถึงขีดสุด ในทศวรรษ 1920-1930 ควิลต์กลายเป็นสินค้า กึ่ ง สำ � เร็ จ รู ป ที่ เ ข้ า ถึ ง คนทุ ก ชนชั้ น แม่ บ้ า น อเมริกันสามารถซื้อชุดอุปกรณ์เย็บแอพพลิเก้ที่ มีแพทเทิร์นแบบได-คัท พร้อมผ้าตัดสำ�เร็จ (Quilt Kits) ได้ในราคาเพียง 2.85 เหรียญสหรัฐฯ แม้จะตอกยํ้าความเป็นสังคมประชาธิปไตยแต่ คุณค่างานฝีมอื กลับสูญหาย สะท้อนอีกด้านหนึง่ ของสังคมอเมริกนั ทีเ่ สพติดการผลิตและใช้แบบ เร่งด่วน เชิดชูสินค้าและเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่ง ช่วยอำ�นวยความสะดวกและประหยัดเวลา แต่ขาด อัตลักษณ์และเสื่อมความนิยมไปตามกระแส

American Quilts • ก่อนที่ควิลต์จะเป็นที่นิยมแพร่หลาย มารี ดี. เว็บสเตอร์ (Marie D. Webster) สตรีวัย 50 ปี ได้ออกแบบแอพพลิเก้ (Applique) หรือผ้าแต่ง ลายดอกไม้สีพาสเทล เช่น ดอกกุหลาบสีชมพู ดอกไอริส ผลึกหิมะ สะท้อนถึงแนวคิดธรรมชาติ นิยม ผลงานทั้ง 14 ชิ้นของเธอถูกตีพิมพ์สีลงใน นิตยสารผูห้ ญิง Home Journal ปี 1913 จนโด่งดัง เว็บสเตอร์เปิดบริษทั “The Practical Patchwork Company” เพือ่ จำ�หน่ายแพทเทิรน์ ทางไปรษณีย์ พร้อมแนบเอกสารสอนวิธที �ำ และผ้าตัวอย่าง ซึ่ง นอกจากจะเป็นต้นแบบของผูป้ ระกอบการหญิง ยุ ค ใหม่ แ ล้ ว เธอยั ง เป็ น ที่ ย อมรั บ ในฐานะผู้ บุกเบิกกระแสการกลับคืนมาของอเมริกนั ควิลต์ (American Quilt Revival) และนักออกแบบ ลวดลายควิลต์สุดคลาสสิกมาจนถึงวันนี้

• ควิ ล ต์ ก ลายเป็ น เครื่ อ งมื อ สำ � คั ญ ในการ เรียกร้องสิทธิเสรีภาพและต่อต้านสงครามของ กลุม่ เฟมินสิ ต์ในช่วงทศวรรษ 1960-1980 มิเรียม ชาปิโร (Miriam Shapiro) ศิลปินชาวแคนาเดียน ในสหรัฐฯ ได้ลกุ ขึน้ ต่อต้านโดยใช้ควิลต์และงาน เย็บปักอื่นๆ มาผสมผสานกับการวาดและภาพ คอลลาจจนเกิดเป็นเทคนิค "Femmage” เพื่อ สื่อถึงความน่าทึ่งของผู้หญิง เช่น ไอเดียการ รีไซเคิลวัสดุเหลือใช้ และอิสระทางความคิดที่ ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ตลอดจนทลายอคติ ของเหล่าเฟมินิสต์ที่มีต่องานฝีมือของผู้หญิง สมัยก่อนลงไป เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร

เอ็มมา คุก้ (Emma Cook) ดีไซเนอร์ชาวลอนดอนประเดิมคอลเล็กชัน่ ฤดูใบไม้รว่ ง 2014 ด้วยเสื้อผ้าหลากสีสันที่โดดเด่นด้วยลายกราฟิกเรขาคณิต วัสดุ และงาน ฝีมือพื้นบ้านอย่าง "อเมริกันควิลต์ (American Quilts)" ซึ่งถูกนำ�มาตีความใหม่ ด้วยเครื่องมือทางเทคโนโลยีและการออกแบบ เพื่อสะท้อนคุณค่าที่ซ่อนเร้นอยู่ใน งานทำ�มือทั้งความอุตสาหะของคนรุ่นเก่า และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่จะช่วย กำ�หนดทิศทางของอุตสาหกรรมแฟชั่นในอนาคตได้เป็นอย่างดี

• ในปี 1971 โจนาธาน โฮลสไตน์ (Jonathan Holstein) และ เกล แวน เดอ ฮูฟ (Gail van der Hoof) สองผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอและ นักสะสมของวินเทจได้นำ�ควิลต์ที่ทำ�ขึ้นในช่วง ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 มาจัดแสดง นิทรรศการ “Abstract Design in American Quilts” ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศิ ล ปะอเมริ กั น วิ ท นี ย์ (Whitney Museum of American Art) นับ เป็นครั้งแรกที่ชาวอเมริกันได้เห็นของทำ�มือใน บ้าน (Home Craft) ก้าวไปสูโ่ ลกของศิลปะสมัย ใหม่ในฐานะ "ศิลปะงานควิลต์ (Art Quilt)" ซึง่ มี คุณค่าไม่ด้อยไปกว่าศิลปะชั้นสูง แสดงให้เห็น ถึงการหวนคืนสูว่ ถิ ชี วี ติ ดัง้ เดิม และให้คณุ ค่ากับ ศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art) กับงานฝีมือ (Craft) ของบรรพบุรุษอีกครั้ง

• ปัจจุบนั ความหมายของควิลต์ไม่ได้ถกู กำ�หนด ตายตัวอีกต่อไป สำ�หรับคนรุ่นเก่า ควิลต์คือ ตัวแทนของความรักความห่วงใย สำ�หรับเทรซี เอมิน (Tracey Emin) ศิลปินร่วมสมัยชาวอังกฤษ มันคือสื่อกลางของการ 'บันทึก' และ 'สื่อสาร' เสี้ยวส่วนของชีวิต สำ�หรับวงการธุรกิจอเมริกัน ควิลต์คืองานฝีมือที่ทำ�รายได้มากถึง 3.58 พัน ล้านเหรียญสหรัฐฯ1 และสำ�หรับนักออกแบบ สร้างสรรค์ ทุกองค์ประกอบของควิลต์ ไม่ว่าจะ เทคนิคการเดินด้าย ตัดเย็บ สร้างแพทเทิร์น หรือลวดลายของชนพื้นเมืองเก่าแก่ ก็คือความ ท้าทายของการสร้างสรรค์งานที่ไร้ขีดจำ�กัด ที่มา: หนังสือ The Art Quilt โดย Robert Shaw, สารคดี The Great American Quilt Revival โดย Paul Bonesteel, global.britannica.com, quiltershalloffame.net, quiltstudy. org, style.com, theamericanquilt.com, worldquilts.quiltstudy.org และวิกิพีเดีย

1 จากผลการสำ�รวจในปี 2010 โดยครีเอทีฟ คราฟต์ กรุป๊ ทีย่ งั ระบุวา่ มีผปู้ ระกอบอาชีพควิลเตอร์ทม่ี อี ายุตง้ั แต่ 19 ปีเป็นต้นไปจำ�นวนมากถึง 21.3 ล้านคน

กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

The

Future

of

Fa-

shioN iS H e re เรื่อง: ฐาดิณี รัชชระเสวี

คำ�ว่า “แฟชั่นแห่งโลกอนาคต” อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่อง ไกลตั ว บ่ อ ยครั้ ง ที่ เ รามั ก นึ ก ถึ ง ภาพการแต่ ง กายจาก ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ในชุดสีเงินเมทัลลิกที่มาพร้อมกับ คุณสมบัติในการกันนํ้า ลม ไฟ ซึ่งดูแล้วเหมือนเป็นชุด ที่ ใ ส่ ไ ม่ ไ ด้ จ ริ ง และไม่ น่ า จะเกิ ด ขึ้ น เร็ ว วั น ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น "แฟชัน่ แห่งโลกอนาคต" ยังมีค�ำ นิยามทีก่ ว้าง และส่วนหนึง่ ถูกนำ�มาสร้างเป็นเทรนด์และใช้ทางการตลาดของวงการ แฟชั่นอีกด้วย โลกทีห่ มุนเร็วขึน้ ในปัจจุบนั ทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงโดยที่ เราไม่รู้ตัว ไม่เว้นแม้กระทั่งภาคส่วนของแฟชั่น ที่ได้ชื่อว่ามี ประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งมักจะให้คุณค่ากับเรื่องราวเก่าๆ ในอดีตและหยิบขึน้ มาใช้ในการออกแบบอยูเ่ สมอ ทำ�ให้เกิด เสื้อผ้าสไตล์ “คลาสสิค” ที่เราเห็นคุ้นตากันอยู่ในชีวิต ประจำ�วัน แต่แท้จริงแล้วในความคลาสสิกนัน้ ยังมีนวัตกรรม ด้านวัสดุและสิ่งทอที่ได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ และสิ่งที่ เปลี่ยนแปลงนี้ก็มาพร้อมกับแนวคิดของโลกในวันข้างหน้า ที่อาจพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีเงินหมุนเวียน กว่า 1.7 ล้านล้านเหรียฐสหรัฐฯ และรูปแบบการบริโภคของ ผู้คนไปตลอดกาล

ชุดนักบินอวกาศในโลกอนาคตที่ เจน ฟอนดา (Jane Fonda) ผู้รับบทนำ�ในภาพยนตร์เรื่องบาร์บาเรลล่า (Barbarella) ในปี 1968 ออกแบบโดย ปาโก ราแบนน์ (Paco Rabanne) และ ฌาก ฟอนเทอเรย์ (Jacques Fonteray) แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมวัสดุและ สิ่งทอลํ้าสมัยที่ไม่เคยถูกใช้มาก่อน เช่น การหล่อพลาสติกใสและการใช้ผ้ายืดเนื้อโปร่งคล้ายถุงน่องที่โอบกระชับร่างกาย

12 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557


COVER STORY เรื่องจากปก

เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองวิถีการใช้งาน การหยิ บ เอานวั ต กรรมมาใช้ ใ นอุ ต สาหกรรมแฟชั่ น และชู เ ป็ น จุ ด ขายเกิ ด ขึ้ น เรื่ อ ยมา โดยเฉพาะการออกแบบ เครื่องแต่งกายกีฬาของสปอร์ตแบรนด์ชั้นนำ� ที่มุ่งเน้นการเลือกใช้วัสดุหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ของ การใช้งานทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากขึน้ และตัวอย่างของการพัฒนาคุณภาพสินค้าด้วยนวัตกรรมทีเ่ ปลีย่ นแปลงภาพลักษณ์ ของแฟชั่นกีฬาในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 คงหนีไม่พ้นการที่ไนกี้ (Nike) ส่ง "ไนกี้ แอร์ (Nike Air)" ออกมา ตีตลาดช่วงทศวรรษ 1990 ด้วยนวัตกรรมการบรรจุแก๊สเข้าไปยังแคปซูลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของส้นรองเท้าผ้าใบ เพื่อ รับแรงกระแทกและเพิ่มความเบาสบายในการเคลื่อนไหวยามสวมใส่

Fashion & Technology

การเปิดตัวของไนกี้ แอร์ ที่ออกแบบโดย ทิงเกอร์ แฮตฟิลด์ (Tinker Hatfield คนเดียวกับที่ออกแบบ Air Jordan III) ในตอนนั้นคือ นวัตกรรมสุดลาํ้ ทีก่ ระตุน้ วงการสปอร์ตแวร์ให้ตนื่ ตัวและกลายเป็นธุรกิจทำ�เงินมากมาย จากวันนัน้ จนถึงวันนี้ วงการเสือ้ ผ้าสไตล์สปอร์ต แวร์ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาการดีไซน์ให้มีรูปลักษณ์ที่ลํ้าสมัยตามไปด้วย

nike.com

ฤด แบบ ูใบไม้ผลิ 2 Jacq 014 uard ไนกี้อ ซึ่งมีม อกคอล าตั้งแ เล็กช ต่ศตว ั่นรอง รรษท เท้า N ี่ 19 เ ike A พื่อให ir Ma ้รองเท x 90 ้ามีคว Jacqu ามยืด ard หยุ่นแ ซึ่งใช้เ ละนํ้า ทคโนโ หนักเ ลยีกา บา รทอ

ในปี 2005 อาดิดาส (Adidas) ลงทุนจ้าง สเตลลา แมคคาร์ทนีย์ (Stella McCartney) ดีไซเนอร์อังกฤษคนดังมานั่งแท่นออกแบบ เสื้อผ้ากีฬาสำ�หรับผู้หญิง และสร้างไลน์ใหม่โดยใช้ชื่อว่า Stella McCartney for Adidas เพือ่ ดึงตลาดลูกค้าสายแฟชัน่ ให้หนั มาเลือก อาดิดาส แมคคาร์ทนีย์ไม่เพียงมุ่งเน้นการดีไซน์ที่มีความเป็นแฟชั่นมากขึ้นเท่านั้น แต่เสื้อผ้าของเธอยังเหมาะกับกิจกรรมกีฬาในแต่ละ ประเภท เช่น วิ่ง ขี่จักรยาน ว่ายนํ้า และโยคะ เธอหลงใหลในเทคโนโลยีสิ่งทอและคำ�นึงเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นทุนเดิม ในแต่ละฤดูกาล เธอจึงผลักดันให้คอลเล็กชั่นที่ทำ�ร่วมกับอาดิดาสมีพัฒนาการอยู่เสมอ ในคอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2014 แมคคาร์ทนีย์เลือกใช้ เส้นใยรีไซเคิล (Recycled Yarn) และผ้าฝ้ายออร์แกนิกที่ผ่านกระบวนการย้อมสีซึ่งสร้างของเสียจำ�นวนน้อย (Low-Waste Dyeing Process) เป็นวัสดุหลัก นำ�เทคโนโลยีพเิ ศษของอาดิดาส Climaheat มาปรับใช้กบั กางเกงวิง่ เพือ่ รักษาอุณหภูมริ า่ งกายขณะวิง่ ท่ามกลาง อากาศหนาวแต่ยังระบายเหงื่อได้ดี รวมถึงการใช้เทคโนโลยี Recco Geolocation โปรแกรมบอกจุดพิกัดของผู้สวมใส่มาใช้ในแจ็กเก็ต เล่นสกี กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l 13


adidas.com

COVER STORY Stella McCartney for Adidas คอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2014เรื่องจากปก

ยูนิโคล่ปฏิวัติการออกแบบเสื้อผ้าศึกษาวิถีชีวิตประจำ�วันของผู้คนเป็นหลัก ในปี 2013 ยูนิโคล่ได้ เปิดตัวโปรเจ็กต์ "ไลฟ์แวร์ (Lifewear)" ซึ่งประกอบไปด้วย 12 โปรเจ็กต์ย่อย ซึ่งหนี่งในนั้นคือ HEATTECH ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

14 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557

อับชื้นอีกด้วย แน่นอนว่ายอดขายเปิดตัวครั้งแรกได้รับการตอบรับอย่าง ถล่มทลาย จนถึงปี 2013 สินค้ากลุ่ม HEATTECH จำ�นวนกว่า 300 ล้าน ชิ้นได้ถูกจำ�หน่ายออกไปทั่วโลก วันนี้น้อยคนที่จะไม่รู้จัก HEATTECH ซิกเนเจอร์ไอเท็มของ ยูนิโคล่ (Uniqlo) แบรนด์ญี่ปุ่นชื่อดังจากฮิโรชิมาที่ผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำ�เร็จรูป และเมื่อยูนิโคล่มองตัวเองเป็นบริษัทที่ให้ ความสำ�คัญกับเทคโนโลยีมากกว่าแฟชั่น ยูนิโคล่จึงทุ่มเทในเรื่องของ เทคโนโลยีมากกว่าที่จะวิ่งตามเทรนด์ ปัจจุบัน ยูนิโคล่ยังมีการพิจารณา คอมเมนต์จากลูกค้าในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์มากกว่า 90,000 คอมเมนต์ ต่อปี เช่น การปรับเนื้อผ้าของ HEATTECH ให้นุ่มขึ้นและยังรักษาความชุ่ม ชืน้ ของผิวหนังเอาไว้ และยังคงผลิตสินค้าใหม่ๆ ออกมาสูต่ ลาดอย่างต่อเนือ่ ง เช่น Dry Stretch Pants กางเกงทีผ่ ลิตขึน้ จากใยโพลีเอสเตอร์ทเี่ บาบางเป็น พิเศษ 100% ซึ่งยูนิโคล่ผลิตร่วมกับโทเร อินตัสตรี (Toray Industrie) uniqlo.com

การดึงเอาเทคโนโลยีและวัสดุลํ้ายุคมาใช้ไม่ได้จบแค่นั้น จากสปอร์ต แบรนด์มาถึงแมสแบรนด์ที่มีเสื้อผ้าดีไซน์เรียบไว้ขายกลุ่มคนหมู่มาก แม้ จะไม่เน้นในเรื่องของความลํ้าในสไตล์ของเสื้อผ้า แต่แมสแบรนด์ก็ยินดีที่ จะทุม่ ทุนสร้างเพือ่ นำ�เทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาสินค้าเพือ่ ตอบสนองไลฟ์ สไตล์ของผู้บริโภคเช่นกัน ในปี 2008 ชื่อเสียงของเสื้อยืดตัวในที่ใส่แล้วช่วยกันหนาวได้เริ่มเป็น ที่รู้จัก และทำ�ให้คนจำ�นวนมากเริ่มหันมาสนใจในเทคโนโลยีของเนื้อผ้าที่ พวกเขาสวมใส่ นวัตกรรม HEATTECH มาพร้อมกับคุณสมบัตพิ เิ ศษของใย ผ้าทีช่ ว่ ยดูดความร้อนจากร่างกายมาเก็บกักไว้เพือ่ ให้ผสู้ วมใส่ได้รบั ความ อบอุ่นโดยไม่เก็บกักความชื้น นั่นหมายความว่าเมื่อเสื้อโดนนํ้าจะแห้งเร็ว เป็นพิเศษ HEATTECH ประกอบด้วยใยผ้าไฟเบอร์ 4 ชนิดที่ทำ�หน้าที่แตก ต่างกัน เช่น ไมโครอะคริลิกช่วยเก็บกักความร้อน โพลีเอสเตอร์ทอพิเศษ ทำ�ให้ผา้ แห้งไวขึน้ นอกจากนีย้ งั มีคณุ สมบัตแิ อนตีแ้ บคทีเรียทีป่ อ้ งกันกลิน่


COVER STORY เรื่องจากปก

เครื่องมือสนับสนุนการดีไซน์ในวันหน้า หลายปีมานี้มีการพัฒนาและคิดค้นเนื้อผ้าหรือวัสดุที่ตอบสนอง ในแง่ของการใช้ชวี ติ มากมาย คำ�ใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ อย่าง "Wearable Technology" หรือ "Smart Textile" กลายเป็นที่จับตามอง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่บ่อยครั้งที่เราเห็นว่างานเทคโนโลยี สุดลํ้า มักจะมาพร้อมกับดีไซน์ที่ไม่น่าดึงดูด

เปาลีน ฟาน ดองเกน (Pauline van Dongen) ออกแบบคอลเล็ ก ชั่ น เสื้ อ ผ้ า ที่ ช าร์ ต โทรศั พ ท์ มือถือได้ด้วยพลังงานจากโซลาร์เซลล์ paulinevandongen.nl

เว็บไซต์ของ CNBC เลือกผลงานของดีไซเนอร์รนุ่ ใหม่ทมี่ คี วามโดดเด่นทัง้ เรือ่ งเทคโนโลยีและงานออกแบบมานำ�เสนอ โดยให้ชอื่ บทความว่า "Wearable Tech That Looks Good and Reads Your Mind" ซึ่งเป็นการรวม ผลงานของดีไซเนอร์รนุ่ ใหม่ทใี่ ช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบของเสือ้ ผ้า เครื่องแต่งกาย โดยงานออกแบบของพวกเขายังเน้นความสวยงามและใส่ ได้จริง ผลงานเหล่านีจ้ ดั แสดงขึน้ ในงานโซเชียล มีเดีย วีก (Social Media Week) ที่นิวยอร์กและได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเจริญเติบโตของธุรกิจ Wearable Technology นั้น คาดว่า จะเติบโตถึงร้อยละ 350 ในปี 2014 หนึ่งใน Wearable Tech ที่โดดเด่น คือคอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วง 2013 ของแอเชอร์ เลวีน (Asher Levine) ดีไซเนอร์วัย 26 ปีผู้สร้างลุคเด่นๆ ให้ กับเลดี้ กาก้า (Lady Gaga) และวิลล์.ไอ.แอม (Will.i.am) ที่จับมือกับผู้ นำ�เทคโนโลยีบลูทธู โฟน เฮโล (Phone Halo) ในการฝังชิปเข้าไปในเสือ้ ผ้า และกระเป๋าสำ�หรับการแทร็กกิ้งผ่านแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟน ซึ่ง เป็นการป้องกันของหายได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะขณะเดินทาง นอกจากนี้ ยังมีบริษัท Acustom Apparel ที่นำ�เครื่องสแกนสรีระแบบสามมิติ (3D Body Scanner) มาใช้ในการดีไซน์เสื้อผ้าเพื่อให้พอดีกับรูปร่างของผู้ใส่ มากที่สุด ส่วน Smart Textile ซึง่ เป็นเนือ้ ผ้าทีถ่ กู พัฒนาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อทำ�ให้ผ้ามี “ชีวิต” ขึ้นมา ล่าสุดทางเว็บไซต์ของนิตยสารฟอร์บส์ ได้ เล่าอย่างน่าสนใจว่า Smart Textile นั้นถูกพัฒนาให้มีความสามารถใน ตัวเอง เช่น มีแสงไฟในตัวเอง สามารถเปลีย่ นสีได้ สัน่ สะเทือนเคลือ่ นไหว ได้ นอกจากนี้ สิ่งทออัจฉริยะเหล่านี้ยังถูกพัฒนาเพื่อใช้ในเสื้อผ้าสำ�หรับ เล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีมหรือเสื้อผ้าทหาร เนื่องจากมีเนื้อผ้าบางชนิดที่สามารถ ปรับอุณหภูมใิ ห้เข้ากับอุณหภูมริ า่ งกาย ป้องกันลม หรือแม้กระทัง่ ควบคุม การเคลือ่ นไหวของกล้ามเนือ้ สำ�หรับผ้าทีป่ อ้ งกันลมหรือนํา้ ได้นนั้ ส่วนใหญ่ จะถูกเคลือบด้วยไขมันสัตว์หรือการแว็กซ์ รวมไปถึงการใช้นาํ้ มันทีท่ �ำ จาก พืช ซึ่งใส่สบายกว่าการใช้ผ้าสังเคราะห์อย่างพีวีซี สิ่งทอเหล่านี้กำ�ลังถูก พัฒนาเพือ่ นำ�มาใช้กบั เสือ้ ผ้าฤดูหนาวหรือเสือ้ ผ้าทีต่ อ้ งการการปกป้องทาง ร่างกายสูง นอกจากนี้ ในอนาคตจะมีการนำ� Smart Textile มาใช้ในวงการ ความงาม เช่น เพื่อช่วยเก็บกักความชุ่มชื้นให้ผิว ใช้เป็นนํ้าหอม หรือแม้ กระทัง่ ใช้ปอ้ งกันริว้ รอย ทัง้ หมดนีค้ อื สิง่ ทีน่ า่ จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง ในอนาคตและมีความเป็นไปได้สูงที่จะประสบความสำ�เร็จ

กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l 15


COVER STORY เรื่องจากปก

news.cision.com

ปัจจุบัน มีดีไซเนอร์เลือดใหม่หลายคนเริ่มนำ� Smart Textile มาใช้ เช่นผลงานของ อิง เกา (Ying Gao) ดีไซเนอร์จากกรุงเจนีวาทำ�เสือ้ ผ้าเรืองแสงและ สามารถขยั บ ได้ เ มื่ อ ถู ก จ้ อ งมอง คิ ว ท์ เ ซอร์ กิ ต (CuteCircuit) จากลอนดอนได้ท�ำ โชว์ทนี่ วิ ยอร์กโดย ให้นางแบบใช้โทรศัพท์มือถือเปิดไฟบนชุดที่ใส่เดิน แบบบนเวที หรือ สตูดิโอ เอ็กซ์โอ (Studio XO) ใน อังกฤษที่เคยออกแบบชุดให้เลดี้ กาก้า ด้วยการติด ตั้งเครื่องปล่อยฟองสบู่ลงไปในชุดเพื่อสร้างลูกเล่น ยามเธอปรากฏตั ว ซึ่ ง นอกจากจะเป็ น การโชว์ เทคโนโลยีและไอเดียสุดลํ้าแล้ว นี่ยังถือเป็นหนึ่งใน งานศิลปะเสื้อผ้าที่งดงามด้วย

ทั้งหมดนี้คือวิวัฒนาการที่เรามักจะเห็นใน ภาพยนตร์แห่งโลกอนาคต นัน่ หมายความว่าเรา มีเทคโนโลยีมากพอที่จะส่งให้การดีไซน์เสื้อผ้า เดินทางไปสู่ความลํ้าแบบสูงสุด อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นแค่เพียงตัวอย่างของการนำ�มา ปรับใช้ซึ่งได้รับความสนใจในวงการเทคโนโลยี หากแต่ในอุตสาหกรรมแฟชั่นหลักที่มีจำ�นวน เม็ดเงินมหาศาลในการขับเคลือ่ นนัน้ สิง่ เหล่านี้ ดูเหมือนจะเป็นเพียงฟันเฟืองเล็กๆ ทีส่ ร้างสีสนั ให้ แ ก่ ว งการ และถื อ เป็ น อี ก หนึ่ ง ทางเลื อ ก สำ�หรับผู้บริโภคเท่านั้น เพราะสำ�หรับแบรนด์ ใหญ่ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลเรื่ อ งการแต่ ง ตั ว ของคนหมู่ มากนั้น ก็ยังคงเน้นไปที่งานฝีมือและงานดีไซน์ เสียมากกว่า ผลงานของ อิง เกา

16 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557

domus.it

ผลงานของ สตูดิโอ เอ็กซ์โอ


การสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องกับผู้นำ�เทรนด์ ในอุตสาหกรรมแฟชั่นหลัก แบรนด์ผู้นำ�เทรนด์ (Trendsetter) ที่มีฐานลูกค้าที่มั่นคงเหนียวแน่น และสร้างตำ�นานให้กับวงการ แฟชัน่ มายาวนาน มักจะนำ�เทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและไม่ยอม ล้าหลังใครอย่างแน่นอน หากเทคโนโลยีที่นำ�มาใช้ดูเหมือนจะ สนับสนุนงานดีไซน์มากกว่าจะคิดค้นขึน้ เพือ่ ให้สอดคล้องกับการ ใช้ได้จริงในชีวิตดิจิทัล

อาว็อง-การ์ด (Avant-garde) และโลกอนาคตไม่ใช่สิ่งใหม่สำ�หรับ อุตสาหกรรมแฟชั่น ดีไซเนอร์ชาวตุรกีผู้ที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสาร โว้กว่าเป็นดีไซเนอร์นักคิดอย่างฮุสเซน ชาลายัน (Hussein Chalayan) เคยทำ�โชว์ที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับสื่อและลูกค้าที่มาชมคอลเล็กชั่น ฤดูร้อน 2007 ด้วยการเปลี่ยนรูปฟอร์มของชุด ลดทอนความยาว-สั้น การปิด-เปิดคอเสือ้ ของนางแบบทีส่ วมใส่ ฤดูกาลต่อมาเขาได้น�ำ เสนอชุด เรืองแสงที่ใช้คริสตัลของสวารอฟสกีมาเป็นวัสดุหลัก ในปีหลังๆ เขาเล่น สนุกกับเนื้อผ้ามากขึ้นด้วยการใช้สิ่งทอสำ�หรับตกแต่งบ้านอย่างผ้าคลุม โซฟามาทำ�เป็นชุดโดยนำ�มามิกซ์กับเนื้อผ้าสำ�หรับเครื่องแต่งกาย ส่วน อเล็กซานเดอร์ แมคควีน (Alexander McQueen) ก็เน้นเรื่องโชว์ที่เป็น ไซ-ไฟมาหลายฤดูกาล โดยวัสดุที่เขาเลือกใช้เป็นประจำ� ได้แก่กระจก หนัง พลาสติก รวมไปถึงขนนกทั้งหลาย คอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2010 ฤดูกาลก่อนโชว์สุดท้ายของเขา ได้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปรินต์เพื่อพิมพ์ลายลงบนผ้าอย่างไหมชีฟองหรือผ้าไหมแก้ว รวมไปถึง บนรองเท้าหนัง สร้างสีสันและความตื่นตาให้กับวงการแฟชั่น การจับมือร่วมกันของ หลุยส์ วิตตอง (Louis Vuitton) และ บีเอ็มดับเบิ้ลยู (BMW) เพื่อออกแบบคอลเล็กชั่นกระเป๋าเดินทางแห่งโลก อนาคตในฤดูกาลที่ผ่านมา ถือเป็นตัวอย่างของการที่เทคโนโลยีได้เข้ามา มีบทบาทด้านการออกแบบของแบรนด์แฟชั่น โดยกระเป๋าทุกใบนั้น แม้จะคงสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ของหลุยส์ วิตตองไว้อย่างครบถ้วน แต่ วัสดุที่ใช้ทำ�กระเป๋านั้นกลับไม่ใช่ผ้าใบพิมพ์ลายแต่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ซึ่งเดิมใช้ในอุตสาหกรรมการบินเท่านั้น ส่วนสาเหตุหลัก ทีห่ ลุยส์ วิตตองตัดสินใจใช้วสั ดุนกี้ เ็ พราะนํา้ หนักทีเ่ บา ไม่ตา่ งจากปรัชญา ในการออกแบบโครงสร้างของรถยนต์สปอร์ต BMWi8 นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์อินดี้อย่างเมซง มาร์แตง มาร์เจลา (Maison Martin Margiela) ที่นำ�เสนอคอลเล็กชั่นรีสอร์ต 2015 ซึ่งโดดเด่น เรือ่ งการปรับเปลีย่ นวัสดุของสไตล์เสือ้ ผ้าฤดูหนาวให้เข้ากับอากาศทีอ่ บอุน่ ขึ้นของฤดูร้อน มาร์เจลานำ�เสนอซัมเมอร์ เฟอร์ (Summer Fur) ที่มาใน รูปแบบของแจ็กเก็ตผ้านวม และสร้างผ้าทวีดซัมเมอร์ทเี่ กิดจากการถักทอ ด้วยใยผ้าพิเศษเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทและใส่ได้สบายในฤดูร้อน ทางด้าน แบรนด์โจนาธาน ซอนเดอร์ส (Jonathan Saunders) ก็ใช้เทคโนโลยีใน การสร้างนิตแวร์ ทีเ่ หมาะกับฤดูรอ้ น ส่วนอเล็กซานเดอร์ แวง (Alexander

Trendsetter

COVER STORY เรื่องจากปก

Wang) ที่มาทำ�คอลเล็กชั่นให้กับบาลองเซียกา (Balenciaga) ก็ใช้วัสดุ ใหม่ๆ อย่างผ้าใบ หรือชาแนล (Chanel) ซึง่ ได้ชอ่ื ว่าเป็นผูใ้ ห้ก�ำ เนิดผ้าทวีด ก็พฒั นาเรือ่ งใยผ้าเพือ่ ให้เหมาะสมกับภูมอิ ากาศเช่นกัน สิง่ เหล่านีค้ อื ความ สนุกของดีไซเนอร์ที่เดินออกนอกกรอบโดยใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย แต่ที่ สำ�คัญกว่านั้นคือการดีไซน์ที่ยังคงตัวตนและเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้ได้ อย่างไม่เสื่อมคลาย การเดินทางมาถึงของครีเอทีฟไดเร็กเตอร์หรือดีไซเนอร์คนใหม่ของ แบรนด์ใหญ่ชน้ั นำ�ของโลกในช่วง 2-3 ปีทผ่ี า่ นมา ยิง่ ทำ�ให้มกี ารเปลีย่ นแปลง ในโลกแฟชัน่ ค่อนข้างมาก เพราะพวกเขาจะเข้ามาพร้อมกับแนวความคิด ในการพัฒนาดีไซน์ของแบรนด์เพื่อให้ต่างไปจากเดิม ความท้าทายอยู่ที่ “จะทำ�อย่างไรให้ต่างจากเดิมโดยไม่ทิ้งตัวตนของแบรนด์” สองฤดูกาลที่ ผ่านมาของปี 2013 และ 2014 เราจึงได้เห็นการใช้ผ้าใหม่ๆ การเล่นสนุก กับวัสดุ รวมถึงดีไซน์ที่ดูลํ้าขึ้นของแบรนด์ดั้งเดิมอย่างหลุยส์ วิตตอง บาลองเซียกา รวมไปถึงดิออร์ (Dior) ที่ทีมดีไซเนอร์ใหม่ถูกจับตามอง ตั้งแต่ยังไม่เริ่มทำ�งาน แน่นอนว่าโจทย์ที่ “ต้องการจะเห็นความต่าง” ของแบรนด์ทำ�ให้ดีไซเนอร์ต้องทำ�งานมากขึ้น และเทคโนโลยีที่ใช้กับ เนื้อผ้าและวัสดุต้องได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดเพื่อสนับสนุนผลงานการ ออกแบบของพวกเขา ราฟ ซิมงส์ (Raf Simons) แห่งดิออร์ดึงความคลาสสิกของเสื้อผ้าที่ สร้างสรรค์โดยมงซิเออร์ดิออร์ตั้งแต่เมื่อห้าสิบปีที่แล้วมาปัดฝุ่น เขาสร้าง รูปทรงใหม่ขึ้นมาเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเก็บไว้คือการใช้ เนื้อผ้าอย่างผ้าไหมเนื้อดีและการตัดเย็บแบบออริจินัล แม้ไม่ใช่ทุกชุดใน คอลเล็กชั่น แต่ก็ต้องมีส่วนหนึ่งที่เป็นแบบนั้น คอลเล็กชั่นรีสอร์ต 2015 ก็ เป็นตัวอย่างหนึง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั เมือ่ เขาใช้ผา้ ไหมพิมพ์ลายมาเล่นสนุกกับรูป ทรงคลาสสิกของชุดเดรสสไตล์ทศวรรษ 1950 หรือการดึงบาร์ แจ็กเก็ต (Bar Jacket) ซึ่งออกแบบโดยมงซิเออร์ดิออร์มาทำ�ใหม่ให้ดูร่วมสมัยและ ยังคงใช้ผ้าวูลแบบเดิม นัน่ หมายความว่าไม่วา่ ดีไซเนอร์รนุ่ ใหม่จะคิดนอกกรอบไปไกลแค่ไหน ใช้วัสดุใหม่เพียงใด สุดท้ายแล้ว เนื้อผ้าและวัสดุ รวมทั้งโครงร่างแบบ คลาสสิกเท่านั้นคือคำ�ตอบสุดท้าย เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องคำ�นึงถึงไม่ใช่ แค่ผลงานของตัวเอง หากต้องตอบสนองความพอใจและความต้องการ ของลูกค้า รวมทั้งสื่อแฟชั่นทั่วโลกด้วย กันยายน 2557 l Creative Thailand l 17


หลายปี ที่ ผ่ า นมาแนวคิ ด "ออร์ แ กนิ ก (Organic)" "อี โ ค เฟรนด์ลี่ (Eco Friendly)" และ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability)" คื อ หั ว ใจหลั ก ที่ แ ทรกซึ ม อยู่ ใ นกระบวน การคิดของแทบจะทุกวงการ และหนึ่งในนั้นคือวงการแฟชั่น การตื่นตัวของกระแสรักษ์โลกในทุกวันนี้ ได้มีส่วนช่วยกระตุ้น ในการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อพยายาม หาความเป็นไปในการรักษาสมดุลของโลกใบนี้

ปัจจุบนั มีแบรนด์แฟชัน่ ทีห่ นั มาลงเล่นในตลาดอีโคมากขึน้ และประกาศตน ในการไม่ฆ่าสัตว์และใช้วัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อธรรมชาติอย่างชัดเจน เช่น สวีลู (Svilu) แบรนด์สญั ชาติองั กฤษทีเ่ น้นเฉพาะผ้าออร์แกนิก วัสดุรไี ซเคิล และสินค้าที่ผลิตในประเทศ ฟรีดอม ออฟ แอนิมอลส์ (Freedom of Animals) แบรนด์กระเป๋าที่ใช้หนังเทียมคุณภาพเทียบเท่าหนังจริง วัสดุ จากธรรมชาติอย่างผ้าฝ้ายออร์แกนิก รวมถึงวัสดุลดโลกร้อน นอกจากนี้ แบรนด์ฟาสต์แฟชั่นระดับโลกอย่างเอช แอนด์ เอ็ม (H&M) ก็ออกไลน์ H&M Conscious Collection ซึ่งเป็นไลน์ที่เน้นเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ และการนำ�กลับมาใช้ใหม่เช่นกัน ในปี 2030 ทั่วโลกจะมีความต้องการนํ้าสะอาดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 และขั้นตอนการย้อมสีผ้าก็จำ�เป็นต้องใช้ปริมาณนํ้าจำ�นวนมาก เว็บไซต์ ecouterre.com ได้ ร วบรวม 7 นวั ต กรรมแห่ ง การประหยั ด นํ้ า ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอขึ้นในปี 2012 หนึ่งในนั้นคือนวัตกรรม Avitera ซึ่งใช้ปริมาณนํ้าเพียง 15-20 ลิตรในการย้อมผ้าฝ้ายหนัก 1 กิโลกรัม จากเดิมที่ต้องสูญเสียนํ้ามากถึง 100 ลิตร คิดค้นและพัฒนา โดยบริ ษั ท ดั ช ต์ Huntsman และถู ก ใช้ ใ นเสื้ อ คอโปโลของลาคอสต์ (Lacoste) และมาร์กส์ แอนด์ สเปนเซอร์ (Marks & Spencer) นวัตกรรม ในการย้อมผ้าโดยใช้คาร์บอนไดอ็อกไซต์แทนนํ้า Dyecoo ทีไนกี้และ อดิดาสเลือกใช้ก็เป็นของ Huntsman เช่นกัน ซึ่งระบบ Dyecoo นอกจาก จะช่วยลดการสูญเสียนํา้ ได้ 100% ยังช่วยลดการใช้พลังงานและการใช้เคมี ไปกว่าครึ่งหนึ่ง โดยโรงงานแรกที่ผลิตเครื่องจักรเชิงพาณิชย์นี้ตั้งอยู่ใน ประเทศไทย ภายใต้ Yeh Group ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในขณะที่โลกกำ�ลัง เดินหน้าสู่ความลํ้าสมัย พร้อมนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทุกวัน อีกมุมหนึ่งนั้นคือการเดินทางสู่ความยั่งยืนแบบดั้งเดิม ทั้งยังเป็น อี ก หนึ่ ง ทางเลื อ กในการใช้ วั ส ดุ ที่ จ ะต่ อ ยอดเป็ น แรงกระตุ้ น ให้ เ กิ ด การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และนั่นถือเป็นอีกหนึ่งหนทางของ การคืนทุนสู่โลกโดยธุรกิจแฟชั่น

hm.com

คืนทุนโลกด้วยแฟชั่น

Sustainability

COVER STORY เรื่องจากปก

ชุดกระโปรงจากคอลเล็กชั่น H&M Conscious ทำ�จาก ขวดพลาสติกรีไซเคิล

ที่มา: businessoffashion.com, buzzfeed.com, ecoterre.com, fastretailing.com, forbes.com, mashable.com, style.com และ vogue.com

18 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557


INSIGHT อินไซต์

Fashion Legacy

reuters/Phillippe Wojazer

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

ในฝรั่งเศส เลส์ เปอตีส์ มังส์ (Les petites mains) หรือกลุ่มช่างฝีมือชั้นสูง ถือเป็น สมบัติล้าํ ค่าของชาติ เพราะหากปราศจาก มื อ ที่ ชำ�นาญการเหล่ า นี้ ย่ อ มหมายถึ ง การสู ญ เสี ย แฟชั่ น ชั้ น สู ง หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า “โอกูตูร์ (Haute Couture)”

เมซง เลอซาจ (Maison Lesage) สตูดิโอเย็บปักถักร้อยอายุ 125 ปี ที่ ฟรองซัวร์ เลอซาจ (Francois Lesage) รับช่วงต่อมาจากบิดา ได้รับการ โอบอุ้มจากแบรนด์หรูอย่าง ชาแนล (Chanel) ไม่แตกต่างจากสตูดิโออีก 5 แห่ง ประกอบด้วย งานรองเท้ามาสซาโร (Massaro) งานเครือ่ งประดับเงิน ทองกูสเซนส์ (Goossens) งานปักดอกไม้และขนนกเลอมาครี (Lemarie’) งานทำ�หมวกสตรีมเิ ชล (Michel) และกระดุมและเครือ่ งตกแต่งเสือ้ ผ้าเดครูส์ (Desrues) เพื่อเป็นหลักประกันว่าความประณีตงดงามของแฟชั่นอันเกิด จากสตูดโิ อเหล่านี้ จะไม่ลม้ หายตายจาก และทำ�ให้ชาแนลยังสามารถเนรมิต งานแฟชั่นสุดอลังการได้อย่างต่อเนื่อง ทัง้ นี้ เพราะจำ�นวนช่างฝีมอื ในฝรัง่ เศสได้ลดลงอย่างน่าใจหาย เลอซาจ กล่าวว่าเมื่อปี 1920 มีช่างปักเย็บเสื้อผ้านับหมื่นคนในฝรั่งเศส แต่ปัจจุบัน ได้ลดจำ�นวนลงมาเรื่อยๆ จนเหลือแค่ 200 คน เนื่องจากราคาที่สูงลิบลิ่ว ของเสื้อผ้าโอกูตูร์อันเกิดจากคุณภาพและความประณีตที่ทำ�ให้ชุดราตรี สามารถขายได้ในราคาเกือบ 5 ล้านบาท ให้กับลูกค้าไม่ถึงพันคนทั่วโลก เมื่อเทียบกับตลาดเสื้อผ้าสำ�เร็จรูปที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงทุกคนได้เข้าถึง เสื้อผ้าที่สวยงามในราคาที่ตํ่ากว่า ประกอบกับลูกหลานที่ไม่อยากสืบสาน กิจการของตระกูลท่ามกลางสายการผลิตแบบอืน่ ๆ ที่มีต้นทุนถูกกว่า ภายใต้ร่มเงาของชาแนล สตูดิโอเหล่านี้ไม่เพียงสามารถรักษาความรู้ และมาตรฐานการทำ�งานทีส่ บื ทอดมาอย่างยาวนาน เพราะนอกจากจะผลิต

งานให้กบั ชาแนลแล้ว พวกเขายังสามารถรับงานจากแบรนด์อน่ื ๆ ทีต่ อ้ งการ ทักษะของพวกเขาดังทีห่ ลุยส์ วิตตอง (Louis Vuitton) ก็เป็นลูกค้ารายใหญ่ เช่นกัน รวมถึงแบรนด์นอ้ งใหม่จากสหรัฐอเมริกาอย่างโอเพนนิง เซเรโมนี (Opening Ceremony) ทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ ในปี 2002 โดยสองนักออกแบบเชือ้ สาย เอเชีย แครอล ลิม (Carol Lim) และฮัมเบอร์โต เลียน (Humberto Leon) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิรก์ ลีย์ (University of California, Berkeley) ทีต่ อ้ งการสัญลักษณ์รปู ตัวเอ็มของเมซง มิเชลมาเติมภาพลักษณ์ของความ ประณีตให้กับคอลเล็กชั่นหมวกของพวกเขา ความต้องการของลูกค้าเช่นนี้ ทำ�ให้รอ้ ยละ 80 ของช่างในสตูดโิ อทำ�งาน ให้กับคอลเล็กชั่นเสื้อผ้าสำ�เร็จรูป ส่วนที่เหลือคือการทุ่มเทให้กับโอกูตูร์ ที่แม้จะไม่ใช่เพื่อการสวมใส่แต่เป็นการแสดงออกถึงคุณภาพของห้องเสื้อ และแบรนด์ในแบบทีไ่ ม่ตอ้ งคำ�นึงถึงต้นทุน ซึง่ วาเลรี สตีล (Valerie Steele) ผู้อำ�นวยการและหัวหน้าภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ส ถาบั น เทคโนโลยี แฟชั่น (Museum of the Fashion Institute of Technology) อธิบาย ว่า “แฟชัน่ ไม่จ�ำ เป็นต้องหมายถึงแค่แนวคิด แต่เป็นเรือ่ งของงานฝีมอื ทีต่ อ้ ง ใช้คนในการผลิตหมวกหรือริบบิ้นที่ดีที่สุด เพราะสิ่งเหล่านี้ทำ�ให้วงการ แฟชั่นของฝรั่งเศสยังเปี่ยมไปด้วยศักดิ์ศรีและความคิดสร้างสรรค์” ที่มา: บทความ "The Hands That Sew the Sequins" (2006) โดย Elizabeth Hayt บทความ "Francois Lesage: Doyen of French haute couture embroidery" (2011) โดย Martin Childs กันยายน 2557 l Creative Thailand l 19


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

INSIGHT อินไซต์

ไดทุกเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล

รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม • โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October • ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon • บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public • รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café • Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café • Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art • มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • ชีสเคกเฮาส • Minimal • บรรทมสถาน • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • The Salad Concept • Hallo Bar • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • Take a Seat • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Greyhound (Shop and Café) • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน บายนิตา • I Love Coffee Design • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Caffé D’Oro • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อิฐภราดร ลําปาง โรงภาพยนตร / โรงละคร • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน • โรงภาพยนตรเฮาส แอนด มอร • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ภัทราวดีเธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน หองสมุด • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดมารวย แอนดคาเฟ ภูเก็ต • ศูนยหนังสือ สวทช. • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • SCG Experience • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • The Reading Room • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel พิพิธภัณฑ / หอศิลป สปา เลย • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • เลท ซี หัวหิน • บานชานเคียง • หอศิลป กรุงเทพฯ • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • บานใกลวงั • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • Hug Station Resort • บานจันทรฉาย • HOF Art ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • Numthong Gallery • รานเล็กเล็ก • ลูนา ฮัท รีสอรท โรงแรม • ราน all about coffee • The Rock • หลับดีโฮสเทล สีลม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น โรงพยาบาล (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น 20 l Creative Thailaหมายเหตุ nd l กัส:นถานที ยายน่จัด2557 สามารถดู วางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศั​ัพทบาน โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

หญิง อายุ โโทรศั​ัพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..



CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

ในยุคทีก่ ารใช้สอื่ สังคมออนไลน์เป็นช่องทางขายสินค้ากำ�ลังเบ่งบานและเร่งให้เกิดผูป้ ระกอบการหน้าใหม่ จำ�นวนมากในตลาด อทิตยา ประเสริฐสังข์ (ส้มโอ) รัตนเทพ แป้นกระโทก (เป๊ก) ลีลานันทน์ รณเกียรติ (มิญช์) และปัทมา บัวแก้ว (ปุย๋ ) เป็นอีกหนึง่ กลุม่ คนรุน่ ใหม่ทมี่ องเห็นโอกาสและอยากจะทดลองทำ�ธุรกิจ ของตนเองนอกเหนือจากงานประจำ�ที่ทำ�อยู่ ด้วยการลงแรงคิดและลงมือทำ�อย่างจริงจังของกลุม่ เพือ่ นสนิทสีค่ นทีม่ บี คุ ลิกและความถนัดเฉพาะ ตัวแตกต่างกัน ทำ�ให้แม้จะเปิดตัวได้ไม่กเี่ ดือนและมีสนิ ค้าคอลเล็กชัน่ แรกออกมาเพียงสองแบบ แต่ภาพ ของชุดว่ายนาํ้ ดีไซน์เก๋กลิน่ อายวินเทจด้วยผ้าสีพนื้ หลากสีกนุ๊ ขอบขาวเป็นเอกลักษณ์ ซึง่ ปรากฏบนหน้า อินสตาแกรมและเฟซบุ๊กเพจภายใต้ชื่อ "เอพริลพูลเดย์ (APRILPOOLDAY)" ก็สามารถแสดงตัวตน ของแบรนด์ออกมาได้อย่างหนักแน่นจนดึงดูดกลุม่ ลูกค้าทีช่ นื่ ชอบความเรียบง่ายแต่แฝงลูกเล่นไว้ภายใน

มากกว่าชุดว่ายนํ้า

จุดเริ่มต้นของเอพริลพูลเดย์เกิดขึ้นในวันหยุดช่วงฤดูร้อนที่มีการนัดพบปะสังสรรค์ริมทะเลหรือสระว่ายนํ้าบ่อยครั้ง จนเกิดการตัง้ ข้อสังเกตทีน่ �ำ ไปสูค่ วามเป็นไปได้ทางธุรกิจทีว่ า่ “ทำ�ไมผูห้ ญิงจะต้องมีชดุ ว่ายนาํ้ หลายชุด” “เราสังเกต กันว่าเวลาไปว่ายนํ้าแต่ละครั้งผู้หญิงจะใส่ชุดว่ายนํ้าไม่ค่อยซํ้ากันเลย เหตุผลที่ต้องซื้อชุดว่ายนํ้ากันบ่อยๆ นี่เพราะ อะไร เพราะเขาเบื่อหรือเปล่า หรือจริงๆ แล้วเขาแค่อยากใส่ชุดสวยๆ หัวใจหลักที่ใส่ชุดว่ายนํ้าไม่ใช่เพราะเขาอยาก ว่ายนํ้าขนาดนั้น อีกอย่างหนึ่งคือ ณ ตอนนั้นร้านขายชุดว่ายนํ้าในอินสตาแกรมยังมีไม่มากนัก ส่วนที่ขายในห้างก็ไม่ ค่อยมีแบบที่ถูกใจเรา ทั้งยังราคาค่อนข้างสูง ก็เลยตัดสินใจว่าเริ่มทำ�ชุดว่ายนํ้า” ในเรื่องของดีไซน์ ทั้งสี่เล่าว่าเกิดจากการค่อยๆ ปรับแก้ทีละนิดจนได้แบบที่ตอบโจทย์ทุกสรีระ “เรามาคิดกันว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบโชว์ส่วนไหน กังวลส่วนไหน เราเลือกที่จะโชว์แผ่นหลังซึ่งเป็นส่วนที่เราคิดว่าสวยสำ�หรับผู้หญิง เกือบทุกคน แล้วปิดส่วนหน้าเพื่อให้เขามั่นใจเวลาว่ายนํ้าหรือทำ�กิจกรรม กางเกงเป็นส่วนที่เราแก้กันหลายรอบมาก ครึง่ ซม.ก็แก้ เพราะไม่อยากให้เว้าสูงมาก แต่ถา้ คลุมลงมามากก็จะดูเรียบร้อยเกินไป เราอยากทำ�ชุดว่ายนาํ้ ทีส่ วยด้วย และใส่ว่ายนํ้าได้ดีด้วย อยากให้เป็นชุดเก่งที่หยิบขึ้นมาเมื่อไหร่ก็รู้สึกว่า โอ๊ย น่ารัก ฉันชอบชุดนี้” 22 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

แม้ว่าจะมีความรู้เรื่องการตัดเย็บพื้นฐานกันมาบ้าง แต่เมื่อพูดถึงชุด ว่ายนํ้าที่มีความเฉพาะเจาะจง สมาชิกทั้งสี่คนก็แทบต้องเริ่มจากศูนย์ อาศัยการลองผิดลองถูกจนได้ผลงานทีถ่ กู ใจ “เราใช้วธิ สี อบถามจากคนขาย และรีเสิรช์ ด้วยตัวเอง เสียต้นทุนค่าประสบการณ์ในการเลือกวัสดุและการ ขึ้นแบบไปเยอะมาก ผ้าที่ใช้ทำ�ชุดว่ายนํ้ามีลักษณะเฉพาะตัวที่ต้องยืดได้ รอบด้าน ประกอบกับเราอยากจะได้ผา้ ทีม่ คี วามหนากว่าทีใ่ ช้กนั ทัว่ ไปเพือ่ ให้มีความกระชับแนบไปกับสรีระ เพราะแบบชุดเรามันมีส่วนที่เว้าค่อน ข้างมาก เลยต้องลองเปลีย่ นผ้าหลายครัง้ ช่างตัดเย็บก็ให้หลายๆ เจ้าลอง ตัดมาเปรียบเทียบว่าเจ้าไหนดีกว่ากัน แล้วค่อยๆ แก้ไปทีละจุด คือยอม ให้คิดค่าแรงแพงขึ้นแต่ของานเนี๊ยบเลย”

มัดใจลูกค้าออนไลน์

เติบโตอย่างสุขใจ

เมือ่ ถามถึงก้าวต่อไปของเอพริลพูลเดย์ ทัง้ สีค่ นเล่าว่ามีการวางแนวทางไว้ บ้างแล้ว โดยจะรักษาเอกลักษณ์ของแบรนด์ไว้ให้มีความแข็งแรง และมี แผนจะทำ�คอลเล็กชั่นร่วมกับเพื่อนที่มีแบรนด์เป็นของตัวเองอยู่แล้วเพื่อ ขยายกลุ่มลูกค้า ทั้งยังมองตลาดต่างประเทศไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม พวก เขายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากจะเติบโตอย่างช้าๆ แต่มั่นคง โดยยัง เน้นการผลิตในปริมาณน้อยและทยอยออกแบบชุดใหม่ครั้งละเพียง 2-3 แบบ “เราพยายามทำ�อะไรที่เราควบคุมได้ พยายามจะขายแบบและสี ให้ เป็นของสะสม ค่อยๆ ทำ�ทีละน้อยตามกำ�ลังที่เรามี อยากให้เป็นธุรกิจที่ ทำ�ด้วยความสุข เพราะจุดมุ่งหมายของการทำ�เอพริลพูลเดย์คือการที่เรา ได้ทำ�มันมาด้วยกัน คือความรู้สึกภูมิใจที่ได้รู้ว่าลูกค้าชอบชุดของเรา”

ในวันที่เทคโนโลยีสามารถเสกให้ทุกสิ่งบนหน้าจอดูสมบูรณ์แบบได้เพียง ปลายคลิก พวกเขามองว่าการใช้เครือ่ งมือเหล่านีอ้ ย่างพอเหมาะพอดีเป็น สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อคิดจะทำ�ธุรกิจบนโลกออนไลน์ “ความซื่อสัตย์ต่อ ลูกค้าเป็นสิ่งสำ�คัญมาก เราอาจจะรีทัชรูปให้สวยแค่ไหนก็ได้ แต่ถ้าได้รับ ของแล้วมันไม่เหมือนในรูป ลูกค้าจะรู้สึกไม่ดี เพราะฉะนั้นต้องลงรูปให้ เหมือนจริง อีกอย่างคือถ้าลูกค้ากลับมาซื้อเพิ่มแล้วเรามีการเปลี่ยนผ้ากุ๊น หรือทำ�อะไรใหม่ ก็ต้องบอกเขาว่ามันจะไม่เหมือนตัวที่ซื้อไปนะ หรือถ้า ผ้าขาดตลาด เราดูแล้วว่าถ้าเปลี่ยนผ้ารายละเอียดส่วนไหนจะเปลี่ยนไป ก็ตอ้ งมาปรึกษากันว่าเรารับได้ไหม ถ้ารับไม่ได้กไ็ ม่เปลีย่ น ยอมรอหรือไม่ ก็ลองหาผ้าใหม่ที่ใกล้เคียงกว่าเดิม เพราะคิดว่าถ้ายังไม่มีที่ดีพอ ก็อย่า ขายดีกว่า” ในขณะเดียวกัน การตั้งราคาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำ�คัญที่ทั้งสี่คนเชื่อ ว่ า มี ผ ลกั บ การตั ด สิ น ใจของลู ก ค้ า ไม่ น้ อ ย “เราอยากให้ ร าคามั น น่ารัก เห็นปุ๊บ โอนเงินเลย เพราะยิ่งลูกค้าไม่ได้เห็นของก่อน ความมั่นใจ เขาก็จะลดลงไปด้วยส่วนหนึง่ เราอยากให้ลกู ค้ารูส้ กึ คุม้ ค่าเวลาได้รบั ของ” ด้วยความใส่ใจในรายละเอียด ดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์ และราคาที่เข้าถึงง่าย จึงทำ�ให้ลูกค้าที่ชื่นชอบเอพริลพูลเดย์ค่อยๆ เพิ่มจำ�นวนขึ้นด้วยการ แนะนำ�แบบปากต่อปาก “ส่วนใหญ่ลกู ค้าทีเ่ คยซือ้ ไปแล้วเขากลับมาซือ้ อีก เป็นแบบเดิมแต่คนละสี และมีหลายคนมากที่ส่งข้อความกลับมาบอกเรา ว่าได้ของแล้ว ชอบมาก ต่างจากที่ก่อนหน้านี้เราเคยขายของออนไลน์ซึ่ง ไม่ได้ออกแบบเอง เขาซื้อแล้วเขาก็หายไป ไม่ได้มีการติดต่อกลับมาอีก” TIPS FOR ENTREPRENEURS

เราอยากให้ราคามันน่ารัก เห็นปุ๊บ โอนเงินเลย เพราะยิ่ง ลูกค้าไม่ได้เห็นของก่อน ความมัน่ ใจเขาก็จะลดลงไปด้วย ส่วนหนึ่ง เราอยากให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าเวลาได้รับของ

•การศึกษาตลาดเพื่อมองหาความเป็นไปได้และทำ�ความเข้าใจพฤติกรรมของ ผูบ้ ริโภค เป็นกุญแจสำ�คัญทีท่ �ำ ให้สามารถเริม่ ต้นธุรกิจและกำ�หนดทิศทางของสินค้า ได้อย่างมั่นใจ •ความหลากหลายของสินค้า ไม่ได้สำ�คัญเท่ากับการผลิตสินค้าให้ที่มีเอกลักษณ์ คุณภาพ และตรงใจกลุ่มเป้าหมาย

APRILPOOLDAY Instagram: aprilpoolday Facebook: Aprilpoolday-Aprilpoolday กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

หากเอ่ ย ถึ ง กาลิ เ ซี ย (Galicia) แคว้ น ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปนในวันนี้ หลายคนอาจนึ ก ถึ ง บทบาทของการ เป็ น ผู้ นำ � ของกลุ่ ม ฟาสต์ แ ฟชั่ น (Fast Fashion) มากกว่ า การเป็ น ดิ น แดน ติ ด ทะเลหรื อ เมื อ งที่ รํ่ า รวยเรื่ อ งราว ทางประวั ติ ศ าสตร์ แ ละอุ ด มไปด้ ว ย อาคารสถาปัตยกรรมจากยุคก่อน ด้วย เมืองหลวงของแคว้นอย่า งอาโกรุ ญ ญา (A Coru ñ a) และภาพจำ�ประภาคาร เฮอร์ควิ ลิสทีย่ นื หยัดท้าลมทะเลมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 1 นัน้ ได้ถกู แทนทีด่ ว้ ยร้านซาร่า (Zara) ทีม่ ขี นาดใหญ่โอ่อา่ ตรงหัวมุมถนน

เมื่ อ ย้ อ นกลั บ ไปในประวั ติ ศ าสตร์ เส้ น ทางอุ ต สาหกรรมเสื้ อ ผ้ า ของพื้ น ที่ แห่งนี้เริ่มต้นจากการเป็นเมืองที่เต็มไป ด้ ว ยผู้ ห ญิ ง เย็ บ ผ้ า เพื่ อ แลกกั บ รายได้ เล็กๆ น้อยๆ ระหว่างรอสามีออกไปหาปลา ในท้องทะเลนานแรมเดือน หากใครจะรู้ว่า การเย็บผ้าของหญิงสาวเหล่านั้นเกิดเป็น ทั ก ษะสั่ ง สมให้ แ คว้ น ที่ ย ากจนที่ สุ ด ในประเทศได้ นำ � ไปใช้ พั ฒ นาเศรษฐกิ จ ในอนาคต และด้ ว ยเงื่อ นไขนี้ทำ� ให้ ช าว กาลิเซียซึ่งมีทางเลือกไม่มากนัก ตัดสินใจ สร้างธุรกิจที่จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่ และนำ�ทักษะด้านการผลิตสินค้าจากผ้ามา เป็นใบเบิกทางในการสร้างผู้ประกอบการ หน้าใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา

Into the Heart of Fast Fashion เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

©Tarker/Corbis

ซานเตียโก เด กอมโปสเตลา (Santiqgo de Compostela) เมืองหลวง ของแคว้นกาลิเซียในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อยู่ในจังหวัดอาโกรุญญา ปัจจุบันได้รับยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลก โดยเป็นที่ตั้งของมหาวิหารที่ เป็นแหล่งท่องเทีย่ วทางวัฒนธรรม ศูนย์กลางของอุตสาหกรรมทีห่ ลากหลาย ตลอดจนมหาวิทยาลัยเพื่อการศึกษาต่อในระดับสูง

24 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557


reuters/Miguel Vidal

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

จากภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าในช่วงปี 1980 หลังการจากไปของนายพลฟรังโกและวิกฤตินํ้ามันที่ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจของสเปนไป วิกฤติเศรษฐกิจได้กระตุน้ ให้อตุ สาหกรรมเครือ่ งนุง่ ห่มต้องลุกขึน้ มาขยับตัวมองหาทิศทางใหม่ ปี 1986 สเปนเข้าเป็นส่วนหนึง่ ของสหภาพยุโรป (EU) โดย มีเป้าประสงค์เพือ่ ขจัดอุปสรรคต่างๆ ทางการค้าระหว่างประเทศ และผลักดันเรือ่ งการจัดเก็บภาษี เกิดการนำ�เอาสินค้าราคาถูกจากประเทศกำ�ลังพัฒนา เข้ามาแบ่งส่วนตลาดจากสินค้าเดิมภายในประเทศ จากสถานการณ์ในครั้งนั้น อุตสาหกรรมแฟชั่นของแคว้นกาลิเซียจึงต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงด้วยการยกระดับสู่กลุ่มลูกค้าที่มั่งคั่งกว่า หลีกเลี่ยงการต้องลงแข่งในสนามเดียวกันกับสินค้านำ�เข้าราคาถูกแต่ไร้รสนิยม การตัดสินใจ ครั้งนี้ส่งผลให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้ากลายเป็นต้นทุนแห่งเศรษฐกิจของกาลิเซียมาจนถึงปัจจุบัน 1. A Coruña: ดินแดนแห่งฟาสต์แฟชั่น

ทางตอนเหนื อ ของกาลิ เ ซี ย คื อ จั ง หวั ด อาโกรุ ญ ญา ต้นกำ�เนิดแห่งฟาสต์แฟชัน่ ร้านซาร่า สาขาแรกเกิดขึน้ ที่นี่ ภายใต้การดูแลโดยบริษัทอินดิเท็กซ์ (Inditex) เสื้อผ้ากว่าร้อยละ 97 จากอุตสาหกรรมเสื้อผ้าส่งออก ของสเปนผลิตขึ้นที่เมืองนี้

2. Pontevedra: ดินแดนแห่งเสือ้ ผ้าเด็ก

แม้จะครองตัวเลขการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 16 และส่งออก เพียงร้อยละ 1.5 แต่ปอนเตเวดราก็เป็นเมืองของการ ผลิตเสือ้ ผ้าเด็กชัน้ นำ�อย่าง ปิลิ คาร์เรร่า (Pili Carrera) และ นาโนส (Nanos) ซึง่ ได้มาตรฐานการผลิตจนครอง ใจคุณแม่ทั่วโลก โดยเหตุผลที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้ ฝีมือช่างชาวกาลิเซียแทนที่จะส่งไปผลิตในประเทศ แรงงานราคาถูก ก็เพื่อให้ได้คุณภาพการผลิตอันเป็นที่ ไว้วางใจได้นั่นเอง

Atl

ic ant

Oce

an

3. Ourense: ดินแดนแห่งไฮแฟชั่น

แบรนด์เสื้อผ้าราคาแพงระยับสัญชาติสเปนส่วนใหญ่ ตัง้ อยูบ่ นพืน้ ทีท่ างใต้ของกาลิเซีย ไม่วา่ จะเป็น อดอล์ฟโฟ โดมิงเกซ (Adolfo Domínguez) คาโรลิน่า เอร์เรร่า (Carolina Herrera) หรือ ปูริฟิกาซิออน การ์เซีย (Purificación Garcia) สินค้าจากเมืองนี้ส่งออกเพียง ร้อยละ 2 เท่านั้น แต่มีอัตราการจ้างงานกว่าร้อยละ 32 ของแรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรม

กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l 25


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

Zara Miracle

ปาฏิหาริย์จากการปฏิวัติวงการแฟชั่น

zara.com

“กาลิเซียคือซิลคิ อนวัลเลย์แห่งอุตสาหกรรมแฟชัน่ ” อัลแบร์โต โรชา ทีป่ รึกษา และเลขานุการแห่ง Confederación de Industrias Téxtiles de Galicia เคยกล่าวไว้ จากแคว้นทีเ่ ป็นจุดอ่อนด้านเศรษฐกิจของสเปน ด้วยอัตราการว่างงาน อยู่ในระดับสูง อันเป็นผลมาจากความล้มเหลวของอุตสาหกรรมประมง ซึ่งแทบจะเป็นอุตสาหกรรมเดียวที่หล่อเลี้ยงแคว้นนี้ สู่การเปิดโอกาส มหาศาลที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่ติดทะเล จนมาถึงช่วงทศวรรษ 1980 การตั้งตน เป็นแคว้นปกครองตนเองของกาลิเซีย เพื่อสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ก็เปิดโอกาสและสร้างพื้นที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ แม้จะเป็นย่างก้าวแห่งการเติบโตทีช่ า้ แต่ทว่ามัน่ คง เช่น การริเริม่ โครงการ "กาลิเซีย โมดา (Galicia Moda)" คอมมูนิตี้สื่อสิ่งพิมพ์ และเอเจนซี่ด้าน แฟชัน่ ของกาลิเซีย เพือ่ ยกระดับและสร้างความตืน่ ตัวให้แก่วงการ ซึง่ เป็น ช่วงเดียวกับที่อามานซิโอ ออร์เตกา เกานา (Amancio Ortega Gaona) ผู้ประกอบการหัวก้าวหน้าเริ่มขยายสาขาของซาร่า และสร้างอาณาจักร อินดิเท็กซ์กรุ๊ป (Inditex Group) ในช่วงปลายทศวรรษ ซึ่งนั่นเป็นจุด เริ่มต้นที่ทำ�ให้กาลิเซียกลายเป็นเมืองศูนย์กลางของเสื้อผ้าระดับโลกและ อาณาจักรของอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุด เมื่ อ เห็ น แนวโน้ ม ว่ า แคว้ น กาลิ เ ซี ย มี ศั ก ยภาพในการสร้ า งกลุ่ ม ผู้ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค การออกแบบ และองค์ความรู้ด้านการ ค้าปลีก อามานซิโอจึงสร้างฐานความแข็งแรงให้กับแรงงานต่อยอดจาก ปัจจัยสนับสนุน 2 ข้อ ข้อแรกคือกาลิเซียเต็มไปด้วยแรงงานราคาถูก และ ข้อสองคือเนื่องจากหญิงสาวในกาลิเซียไม่มีโอกาสได้เข้ามาอยู่ในตลาด แรงงานมากเท่าที่ควร ดังนั้นเมื่อแรงงานคือฟันเฟืองหลักในการผลิต อามานซิโอจึงใช้ระบบคล้ายคลึงกับระบบการทำ�งานในฟลอเรนซ์ เมือง ศูนย์กลางการผลิตของอิตาลี กล่าวคือการริเริ่มทำ�เวิร์กช็อปกว่า 350 ครั้ง ให้กับแรงงาน 11,000 คน ภายใต้แนวคิดที่ว่าหัวหน้างานของพวกเขานั้น 26 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557

ไม่ใช่อินดิเท็กซ์ แต่เป็นคนในครอบครัวอย่างแม่หรือยาย คนหนุ่มสาววัย ทำ�งานจึงเริม่ ต้นวางแผนสร้างรายได้จากพืน้ ทีท่ พ่ี วกเขาอาศัยอยูไ่ ด้ ในทีส่ ดุ บริษทั อินดิเท็กซ์ จึงนำ�ไปสูก่ ารจ้างงานคนในพืน้ ทีก่ าลิเซียได้กว่าหนึง่ แสนคน ในปี 2013 ความนิยมจากผู้ซ้ือทำ�ให้ซาร่าสร้างรายได้กว่า 22,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซาร่าสร้างเกณฑ์การผลิตใหม่ที่แตกต่างจากร้านค้า หรือแบรนด์อื่นทั่วไป นั่นคือการเป็นเจ้าของทั้งกระบวนการผลิตไปจนถึง การจัดจำ�หน่ายในแต่ละสาขา ระบบด้านเทคโนโลยีไอที และการจัดการ อุปทานที่เป็นเลิศ (Supply Chain Management) เป็นสองปัจจัยสำ�คัญ ที่ทำ�ให้ซาร่าแตกต่างและประสบความสำ�เร็จ สำ�หรับการผลิตแบบฟาสต์ แฟชั่น แต่ละปี อินดิเท็กซ์ผลิตเสื้อผ้าออกมากว่า 840 ล้านชิ้น ทั้งนี้เพื่อ รองรับลูกค้าตลาดใหม่จากฝั่งเอเชีย และเพื่อหมุนเวียนที่หน้าร้านทุกสอง สัปดาห์ การจัดจำ�หน่ายตามสาขาทีก่ ระจายตัวไปทัว่ โลกนัน้ ต้องอาศัยระบบ การขนส่งทีเ่ ป็นเลิศเช่นกัน อินดิเท็กซ์มรี ถไฟใต้ดนิ รางเดียวเป็นของตัวเอง เพือ่ ทำ�หน้าทีข่ นส่งควบคูไ่ ปกับการใช้รถบรรทุก เพราะเส้นทางการคมนาคม ที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองนั้นยังใช้ถนนเป็นหลัก (ระหว่างรอรถไฟความเร็ว สูงสู่เมืองมาดริดและบีโกที่กำ�ลังจะเปิดให้บริการ) แต่ผลที่ตามมาจาก ระบบการผลิตและขนส่งนั้นคือมลพิษจากโรงงาน รวมทั้งนํ้าและพลังงาน ที่ถูกใช้ไปเป็นจำ�นวนมาก ด้วยเหตุนี้เสื้อผ้าจานด่วนจึงกลายเป็นประเด็น ของหน่วยงานเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างกรีนพีซ ที่นำ�เสื้อผ้ามาวิเคราะห์และ แสดงผลของสารเคมีที่พบในเนื้อผ้า สารก่อมะเร็งจากการใช้สีย้อมกลาย เป็นประเด็นทีก่ รีนพีซออกมาเรียกร้องให้ผเู้ ล่นรายใหญ่หลายเจ้าได้หนั กลับ มาตระหนักถึงผลที่จะเกิดขึ้น บริษัทกลุ่มอินดิเท็กซ์จึงตัดสินใจใช้ผ้าฝ้าย ออร์แกนิก และเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกของ Textile Exchange องค์กร ไม่แสวงผลกำ�ไรที่เน้นการสร้างความยั่งยืนให้แก่สิ่งแวดล้อม


reuters/Sergio Perez

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์ การย้ า ยฐานการผลิ ต ก ลั บ ม า ยั ง ก า ลิ เ ซี ย ไม่ ไ ด้ มี ผ ลกระทบกั บ อุ ต สาหกรรมสิ่ ง ทอ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การบริการการคมนาคม อีกด้วย

Plan Textil Moda Vision 2020

Made in Galicia

ฉลากแห่งความหวังใหม่ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มกาลิเซียและสเปนตอนเหนือ (The Working Community Galicia-Northern Portugal) ได้ลงนามผ่านการจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ Confederación de Industrias Téxtiles de Galicia ด้วยหวังว่าจะเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมเกิดการแข่งขัน และการช่วยเหลือแรงงานในพื้นที่ สร้างแบรนด์และดึงดูดกลุ่มผู้ซื้อ โดยมีวัตถุประสงค์รองลงมา คือการสร้างสรรค์นวัตกรรมและอนาคตของผู้ประกอบการขนาดเล็ก เป็นการสร้างผลประโยชน์ ร่วมกันระหว่างแคว้นกาลิเซียและโปรตุเกส ช่วงทศวรรษ 1990 สเปนมีแรงงานเสื้อผ้ามากกว่า 3 แสนคน แต่ตัวเลขนี้ลดลงมาอยู่ที่ 1.3 แสนคนเมื่อเกิดการกระจายตลาดแรงงานสู่ฝั่งเอเชียอย่างประเทศจีน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังระดับภูมภิ าคแห่งกาลิเซีย ฆาเบียร์ แกร์รา (Javier Guerra) ออกมาประกาศแผนอุตสาหกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกาลิเซีย โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดตั้งแผนธุรกิจสำ�หรับกลุ่มผู้ประกอบการ ขนาดเล็กและขนาดกลาง ให้สามารถเติบโตได้เหมือนกับธุรกิจตัวอย่างเครืออินดิเท็กซ์ แผนนี้ ประกอบด้วยการสนับสนุนและช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจ การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินกับกลุ่ม เศรษฐกิจ การมองหาโอกาสในการส่งออกเสื้อผ้าสู่ระดับนานาชาติ และการจัดตั้งคณะกรรมการ ที่จะกำ�กับดูแลและตรวจสอบกลุ่มอุตสาหกรรม นอกจากนี้ กาลิเซียยังพยายามที่จะให้ผู้บริหารที่ มีทกั ษะจากการซือ้ ขายในระดับโลกมาช่วยเหลือผูป้ ระกอบการขนาดเล็ก เพือ่ ให้ภาคธุรกิจภายใน แคว้นเติบโตมากขึน้ และสามารถภาคภูมใิ จกับสินค้าทีต่ ตี ราว่าเป็นแบรนด์ทม่ี าจาก “กาลิเซีย”

โครงการทีร่ เิ ริม่ โดย อัลแบร์โต นุนเยซ เฟยโฆ่ (Alberto Núñez Feijóo) ผูว้ า่ คนปัจจุบนั ของแคว้นกาลิเซีย โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนกับ กลุ่ ม ผู้ ป ระกอบการทั้ ง ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านการทำ�การตลาดสูร่ ะดับ นานาชาติ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เหนือไปกว่าตลาด การซื้อขายภายในประเทศ โดยเน้นที่การแข่งขันด้วย ราคาขายและข้อได้เปรียบสำ�คัญเรือ่ งระยะเวลาทำ�งาน (เนื่องจากสเปนเป็นประเทศที่มีเวลาการทำ�งานต่าง จากประเทศอื่นๆ คือมีการพักเบรกช่วงกลางวัน) แต่ ก็มีข้อพึงระวังคือเรื่องของงานดีไซน์และค่าแรงที่อาจ ยังเป็นรองประเทศคู่แข่ง รัฐบาลกาลิเซียทุ่มงบประมาณกว่า 11 ล้านยูโร เพื่ อ ผลั ก ดั น ให้ ก าลิ เ ซี ย เป็ น ผู้ นำ � ในอุ ต สาหกรรม เครื่องนุ่งห่ม โดยมีปัจจัยสำ�คัญอย่างความร่วมมือจาก ผูป้ ระกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมกว่า 500 แห่ง ทีช่ ว่ ยให้เกิดการจัดจ้างแรงงานในพืน้ ทีก่ ว่า 13,000 คน คิ ด เป็ น รายได้ ห มุ น เวี ย นสะพั ด กว่ า พั น ล้ า นยู โ ร ต่อปี ทั้งนี้โครงการ Plan Textil Moda Vision 2020 จะ ประสบความสำ�เร็จในระยะยาวได้จริงจะต้องอาศัย ความร่วมมือกันสร้างองค์ความรู้ ทักษะ และการพัฒนา ด้ า นนวั ต กรรม เพื่ อ ให้ อุ ต สาหกรรมเสื้ อ ผ้ า ของ กาลิเซียนั้นอยู่แถวหน้าในระดับโลก

ที่มา: บทความ “Innovate to Stay Competitive: Galician Textiles Told” จาก fibre2fashion.com บทความ “Made in Spain: Developing Slowly, But Surely” จาก fashionunited.co.uk รายงาน “Apparel Cluster in Galicia (Spain)” จาก isc.hbs.edu รายงาน “High-fashion, Low-price Logistics of Apparel Industry” จาก dspace.mit.edu รายงาน “Zara-Inditex and the Growth of Fast Fashion” จาก ebhsoc.org

กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ในยุ ค ซึ่ ง เทคโนโลยี เ ข้ า มามี บ ทบาทในทุ ก ภาคส่ ว นของ อุตสาหกรรม วงการสิ่งทอไทยเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ ต้องปรับตัวอย่างหนัก โดยเฉพาะเมือ่ ไม่สามารถต่อสูใ้ นเรือ่ ง ของราคาได้อีกต่อไปในตลาดโลก ก็ต้องพยายามพัฒนา คุณภาพของสินค้าไทยให้โดดเด่นขึ้นมา ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำ�นวยการฝ่ายส่งเสริม เทคโนโลยี สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผู้มีความฝัน ในการสร้างไทยให้เป็นศูนย์กลางการออกแบบและการค้าผ้า นับเป็นคียแ์ มนคนสำ�คัญในการพัฒนาและสร้างสรรค์ผา้ ไทย ยุคใหม่ที่ก้าวทันทั้งผู้สวมใส่และความต้องการของโลกที่ยัง คงถักทอด้วยเส้นใยอันไม่สิ้นสุด

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ มองทางรอดสิ่งทอไทย ด้วยเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่า เรื่อง: กันยารัตน์ วรฉัตร ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

28 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

การพั ฒ นาเทคโนโลยี สิ่ ง ทอ สำ � หรั บ อุตสาหกรรมแฟชั่นของเมืองไทย มีการ พัฒนาไปถึงขั้นไหน

โดยภาพรวม อุ ต สาหกรรมแฟชั่ น ของไทย ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะคนไทยสนใจเรือ่ งแฟชัน่ ซึง่ ประเทศไหนทีจ่ ะมามีบทบาทในวงการแฟชัน่ ได้ คนของเขาต้องสนใจในเรื่องของแฟชั่นก่อน ยกตัวอย่างเช่น การท่องเที่ยวเราดัง อาหารเรา มีชอื่ เสียง เป็นเพราะว่าคนไทยชอบกินชอบเทีย่ ว ขณะเดียวกันคนไทยก็ชอบแฟชั่น ชอบแต่งตัว เพียงแต่ว่าความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับ แฟชั่ น มั น ค่ อ นข้ า งตื้ น เราจะสนใจเพี ย งแค่ ดีไซเนอร์ แบรนด์เนม หรือเสื้อผ้าที่ผลิตออกมา สวมใส่แล้วดูสวยงาม แต่เราไม่เข้าใจว่าเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นนั้นมีเยอะแยะมากมาย ถ้าอย่างนั้นคำ�ว่า “อุตสาหกรรมแฟชั่น” มีขอบเขตอย่างไร

สำ�หรับสถาบันสิง่ ทอ เราไม่ได้ไปเน้นในเรือ่ งการ ตัดเย็บและเรือ่ งของแฟชัน่ โดยตรง แต่เราจะเน้น ในเรื่องของการพัฒนาผ้า ซึ่งจริงๆ แล้ว วัสดุ เป็นเรือ่ งสำ�คัญ เหมือนเราทำ�กับข้าว ถ้าวัตถุดบิ ไม่ดี องค์ประกอบไม่ดี อาหารก็จะออกมาไม่อร่อย ขณะเดียวกัน เมืองไทยมีวสั ดุคอ่ นข้างจำ�กัด และยังจัดเป็นผู้ผลิตที่เรียกว่า OEM คือรับผลิต การพัฒนาวัสดุต่างๆ เราก็ทำ�ตามคำ�สั่งของ คนจ้าง เปรียบเหมือนร้านอาหารตามสั่ง ซึ่งเรา ยังไม่คอ่ ยเข้าใจว่า ทีล่ กู ค้าสัง่ อย่างนัน้ เพราะอะไร ขณะทีป่ ระเทศผู้นำ�แฟชั่นอย่าง อิตาลี ฝรั่งเศส คนของเขาค่อนข้างมีความรูค้ วามเข้าใจในเรือ่ ง ของเนื้ อ ผ้ า เขาไม่ ไ ด้ ม องตื้ น แค่ เ รื่ อ งเสื้ อ ผ้ า ที่สวยงาม แต่มองลึกไปกว่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ผม พยายามผลักดันให้วงการอุตสาหกรรมสิ่งทอ ไทย มีความคิดสร้างสรรค์มากขึน้ มีความเข้าใจ กระบวนการผลิต เพือ่ ทีจ่ ะพัฒนาวัสดุให้แตกต่าง อย่างในอุตสาหกรรมแฟชั่นระดับสากล เสื้อผ้า สวยๆ มากมาย การตัดเย็บจะไม่เยอะมาก ส่วนใหญ่แบบจะเรียบหรู แต่ทำ�ไมจึงขายได้ ราคาแพง นัน่ ก็เพราะวัสดุทเี่ ขาทำ�นัน้ มีคณุ ภาพ มีความแตกต่าง มีความพิเศษ

เพียงแต่ว่าความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแฟชั่นมัน ค่อนข้างตื้น เราจะสนใจเพียงแค่ดีไซเนอร์ แบรนด์เนม หรือเสื้อผ้า ที่ผลิตออกมาสวมใส่แล้วดูสวยงาม แต่เราไม่เข้าใจว่าเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นนั้นมีเยอะแยะมากมาย วัสดุของบ้านเรา มีความแตกต่างจาก วัสดุจากต่างประเทศตรงไหน

แตกต่างกันทีเ่ ทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ที่ใส่เข้าไป ที่อิตาลีซึ่งเป็นประเทศผู้นำ�แฟชั่น อันดับต้นๆ ตัวผู้บริโภคจะรู้ว่าวัสดุไหนดีหรือ ไม่ดี เวลาเขาดูผ้า ก็จะให้ความสนใจว่าเส้นใย ทำ�มาจากอะไร มีคุณภาพและความโดดเด่น อย่างไร ขณะที่ผู้บริโภคไทยไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อย สนใจ หรือรู้แต่เพียงผิวเผินแค่เป็นผ้าฝ้าย ไหม โพลีเอสเตอร์ หรืออาจมีคนไทยบางคนที่สนใจ เรื่องเสื้อผ้ารู้บ้าง แต่คนทั่วไปไม่รู้ เมื่อเราไม่มี ความเข้าใจตรงนี้ จึงไม่รวู้ า่ อะไรจะสามารถเพิม่ มูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นเวลาทำ�ออกมา เราก็จะคิดแค่ว่า ทำ�อย่างไรให้มันสวย สวยนี่ สวยฉาบฉวยก็ได้ สวยแบบถูกก็ได้ สวยแบบต้นทุน ตาํ่ แต่คณุ ภาพมันไม่ได้มากับความสวยตรงนัน้ แล้ ว เราควรเริ่ ม พั ฒ นาอุ ต สาหกรรม ผ้าไทยตรงจุดไหนบ้าง

คำ�ว่าคุณภาพ คำ�ว่าวัสดุ เป็นสิ่งที่เราต้องย้อน กลับมาให้ความรู้กับผู้ผลิตและผู้บริโภค พอถึง จุดนี้ เทคโนโลยีที่มีอยู่ก็เข้ามา ซึ่งการพัฒนา วัสดุให้ได้ดนี น้ั เป็นแนววิศวกรรม เราต้องคิดตัง้ แต่ ต้นว่า วัสดุที่เราใช้คืออะไร กระบวนการทาง เทคโนโลยีที่เราจะนำ�มาใช้กับวัสดุนั้นคืออะไร คนไทยพยายามพัฒนาผ้าไหมโดยการเอา ผ้าไหมทีท่ อแล้วมาตัดเย็บ ซึง่ ทำ�ยังไงก็ไม่โดดเด่น เพราะเราเอาของที่ทำ�ไว้แล้วครึ่งหนึ่งมาทำ�ต่อ เหมือนถูกบังคับโชว์ แต่ถ้าเรารื้อตั้งแต่ต้น ทำ� ผ้าไหมที่เป็นสมัยใหม่ออกสู่ตลาดสากลก็จะให้ ผลลัพธ์ทต่ี า่ งไป ทุกอย่างต้องมีการคิดตัง้ แต่แรก การเลือกเส้นใย ปั่นเส้นด้าย เลือกสี การทอผ้า ไปจนถึงการตกแต่งสำ�เร็จ

สถาบั น ฯ มี วิ ธี ก ารทำ � งานร่ ว มกั บ ภาค เอกชนในการพัฒนาสิ่งทออย่างไร เมื่อ เปรียบเทียบกับต่างประเทศ

ต่างประเทศค่อนข้างทึ่งกับรัฐบาลไทยที่ให้การ สนับสนุนโครงการผ้าไทยมากมาย เช่น โครงการ กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นในอดีต หรือว่าโครงการ ผ้าพื้นเมือง รัฐบาลก็ลงไปช่วยรากหญ้าเยอะ แต่ดูเหมือนเราให้ยาไม่ค่อยตรงกับโรค เวลา ทำ�งาน เรามักจะทำ�แบบไม่ยง่ั ยืน ไม่ได้ศกึ ษาให้ ถ่องแท้ว่าความต้องการของตลาดเป็นอย่างไร ปัญหาและอุปสรรคที่แท้จริงของการผลิตคือ อะไร และเรามักจะส่งเสริมกันในระยะสั้นๆ ขณะที่ อิ ต าลี ก็ มี โ ครงการส่ ง เสริ ม สิ่ ง ทอ เหมือนกัน แต่สว่ นใหญ่จะเป็นโครงการระยะยาว กว่าจะเรียนรู้ กว่าจะแก้ไขอุปสรรคจนไปถึง ตลาดได้มันต้องใช้เวลา สถาบันฯ พยายามจะ ใช้การพัฒนาระบบในระยะยาวเข้ามาจับ ว่าทำ� ยังไงให้ผปู้ ระกอบการไทยขายได้ในตลาดสากล ได้เม็ดเงินหมุนกลับมาพัฒนาต่อ เราไม่ตอ้ งการ เน้นแค่ให้เงินไปผลิต ออกมาแล้วสวย ถ่ายรูป สวย มีการโปรโมต จบโครงการ เสร็จแล้วขาย ต่อไม่ได้ เราก็ไม่อยากทำ� แต่ถ้าเรามีตลาดให้ เขาด้วย เขาก็จะกลับมาพัฒนาตัวเองได้ตอ่ เนือ่ ง มองอนาคตการผลิ ต สิ่ ง ทอไทยแบบ ดัง้ เดิมทีท่ �ำ กันมาเป็นอย่างไร และหนทาง อยู่รอดในตลาด

พูดตรงๆ คือเราผ่านยุครุง่ เรืองมาแล้ว หมายความ ว่าเมืองไทยเคยรุ่งเรืองมากในเรื่องของสิ่งทอ และการผลิตเสือ้ ผ้า เพราะต้นทุนเรายังไม่สงู ถึง ขนาดนี้ เราเคยรับผลิตทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เสือ้ ผ้ากีฬา ชุดชัน้ ใน เสือ้ ผ้าเด็ก ซึง่ ต่างประเทศ รู้ว่าเราเก่ง แต่ตอนนี้ต้นทุนสูง ผู้ผลิตได้กำ�ไร น้อยก็เริ่มท้อ เพราะต้องดิ้นรน เราไม่สามารถ กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

เราก็จะคิดแค่ว่า ทำ�อย่างไรให้มันสวย สวยนี่สวยฉาบฉวยก็ได้ สวยแบบถูกก็ได้ สวยแบบต้นทุนตํ่า แต่คุณภาพมันไม่ได้มากับ ความสวยตรงนั้น สู้ราคากับโรงงานในจีนหรือในเวียดนามได้ เรา อยู่ในสถานภาพที่ขึ้นก็ได้ ลงก็ได้ เพราะขณะนี้ เรายังเป็นผู้ผลิตผ้ารายใหญ่ของอาเซียน จะมีก็ เพียงอินโดนีเซียทีส่ ามารถทำ�ผ้าได้ดี นอกจากนี้ เวียดนามก็พยายามที่จะพัฒนาธุรกิจสิ่งทอ แต่ ก็ยังตามหลัง เพราะฉะนั้นหนทางอยู่รอดคือ การเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งทอไทย เราต้องคิดว่าจะ ใส่อะไรลงไปในผ้าเพื่อเพิ่มมูลค่าบ้าง วิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของ ไทย ที่สถาบันฯ กำ�ลังทำ�อยู่มีอะไรบ้าง

ประการแรกคือ "ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ซึง่ ณ วันนีเ้ ป็นเรือ่ งทีข่ ายได้ ทำ�อย่างไรให้ผา้ เรา เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม เช่นเราอาจเลือกเส้นใย ธรรมชาติแทนโพลีเอสเตอร์ที่เป็นพลาสติก ซึ่ง เราก็มีทั้งไหมและฝ้าย นอกจากนี้ที่สถาบันฯ ก็ ยังพยายามผลักดันในเรือ่ งเส้นใยธรรมชาติอนื่ ๆ เรามีการวิจัยเรื่องเส้นใยสัปปะรด เส้นใยกัญชง เส้นใยปาล์ม เส้นใยบัวหลวง เพราะเมืองไทย เป็นเมืองเกษตรกรรม เรามีเส้นใยธรรมชาติอยู่ เยอะก็พยายามดึงมาใส่ลงไปในผ้า ซึ่งจะให้ อัตลักษณ์ของความเป็นไทย ความเป็นธรรมชาติ ในเรื่องของเทคโนโลยีการผลิต ก็พยายามเลี่ยง สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สารก่อ มะเร็ง ยาฆ่าแมลงที่มากับฝ้าย หรือโลหะหนัก ทีม่ ากับการย้อมต่างๆ เราต้องเลิกใช้ให้หมด เพือ่ 30 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557

แสดงให้เห็นว่าสินค้าที่มาจากไทยมีความเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมจริงๆ ทุกขั้นตอน ประการที่สอง ได้แก่ "ความสร้างสรรค์ที่ สอดคล้องกับตลาดสากล" สังคมไทยเป็นสังคม ครีเอทีฟ เรามีศิลปิน มีนักออกแบบมากมาย เพียงแต่นัก สร้ างสรรค์ ของเราจะต้ อ งเข้ าใจ ด้วยว่า ความต้องการของตลาดเป็นอย่างไร ตลาดอยากได้ประมาณไหน การสร้างสรรค์จะ ต้องมีความพอดี ไม่ใช่ท�ำ ได้ชนิ้ เดียว หรือทำ�ได้ ไม่กชี่ นิ้ แล้วผลิตไม่ได้อกี ทำ�แล้วจะต้องสามารถ ทำ�ได้เยอะ แล้วก็สามารถทำ�ซํ้า ใส่ความคิด สร้างสรรค์เข้าไปในการออกแบบ การเลือกใช้ วัสดุ การให้สี เป็นต้น ประการที่สามเป็นเรื่องของ "นวัตกรรม" การใช้ วั ส ดุ ใ หม่ ๆ การใช้ เ ทคโนโลยี ต่ า งๆ กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี มี ก าร พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ เช่น สารนาโน หรือการย้อมโดยไม่ใช้นา้ํ ซึง่ ทัง้ สามองค์ประกอบ นี้จะทำ�ให้ผ้าไทยแตกต่างและหลากหลาย การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต Smart Fabric, E-Textile หรือ Wearable Technology ในบ้านเรา มีการพัฒนาไป ถึงไหนแล้ว

จริงๆ มีมาก่อนแล้ว แต่ว่าตอนนี้เริ่มแผ่วลงไป เพราะสินค้านวัตกรรม แม้กระทัง่ ในต่างประเทศ

เอง ตลาดก็ยงั ค่อนข้างแคบ ตัวอย่างเช่น เสือ้ นาโน ที่ใช้เทคโนโลยีสูง แต่สุดท้ายก็ไปได้ไม่ไกล ประเด็นก็คือ ราคาต้นทุนที่ยังคงสูงมาก คน ส่วนใหญ่ไม่นิยมของแพง ต่อมาคือเรื่องความ ปลอดภัย นาโนเป็นเรือ่ งของอนุภาคทีเ่ ล็กมากๆ ก็จะมีความเป็นห่วงเรื่องของความปลอดภัย บริษทั ใหญ่ๆ อย่างไนกี้ ก็ไม่ลงทุนเรือ่ งนี้ เพราะ ถ้าลงทุนไปแล้วเกิดปัญหาด้านสุขภาพขึ้นมา แล้ว บริษัทเขาจะเสียหายมาก ก็ไม่คุ้มที่จะ ลงทุน ปัจจัยข้อที่สาม เสื้อผ้าบ้านเราไม่ได้เน้น ฟังก์ชั่นการใช้งานมากนัก ไม่เหมือนเมืองนอก ที ่ มี 4 ฤดู ก าลซึ ่ ง มี ก ารเปลี ่ ย นแปลงชั ด เจน เสื้อผ้าก็ต้องทนความหนาวได้ ระบายเหงื่อได้ เขาก็จะใช้เทคโนโลยีมากกว่า และจะขายของ ได้แพงกว่าเรา แต่เมืองไทยนี่ขายของแพงมาก ไม่ได้ ตลาดไทยยังเป็นตลาดที่ยังไม่ใช่ตลาดที่ มีราคาสูง ไม่เหมือนเกาหลี ญี่ปุ่น ที่สินค้าพวก นี้จะได้รับความนิยมมากกว่า มีโอกาสที่เราจะไปเปิดตลาดต่างประเทศ ไหม สำ�หรับสินค้านวัตกรรม

โอกาสพอมี แต่ป ัจจัยสำ�คัญคือ เทคโนโลยี ส่วนใหญ่เราก็นำ�เข้ามาจากฝั่งยุโรป อเมริกา ญีป่ นุ่ และมักเป็นการร่วมทุน แต่ถา้ เป็นของไทย ทีพ่ ฒั นามาตัง้ แต่เริม่ ต้นจนผลิตเป็นสินค้าเองนี่ ยังค่อนข้างยาก เพราะว่าเทคโนโลยีมักจะแพง มาก่อน ก่อนจะเข้ามาในไทย และถ้าเรามาเริ่ม ทำ � เทคโนโลยี ข องเราเองอย่ า งที่ ก ระทรวง วิทยาศาสตร์ฯ ทำ�งานวิจยั มากมาย ต้นทุนเริม่ ต้น ก็อาจสูง ถึงอย่างนัน้ ถ้าเราทำ�ขึน้ มาได้เอง ข้อดี ที่เห็นได้ชัดก็คือเราสร้างความแตกต่างได้และ คู่แข่งน้อยแน่นอน แล้ ว อนาคตของอุ ต สาหกรรมเสื้ อ ผ้ า สำ�เร็จรูป

อุ ต สาหกรรมเสื้ อ ผ้ า สำ � เร็ จ รู ป เป็ น เรื่ อ งที่ น่ า เป็นห่วง เพราะต้นทุนค่าแรงเราสูง ปัญหาคือ เราสูร้ าคาประเทศเพือ่ นบ้านไม่ได้เลย โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าราคาถูกที่จะ


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

หมดไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม เสื้อผ้าในระดับที่ แพงขึน้ มาหน่อย เรายังครองตลาดอยู่ เป็นต้นว่า เรายั ง เป็ น ผู้ ตั ด เย็ บ เสื้ อ ผ้ า กี ฬ าซึ่ ง ต้ อ งอาศั ย ทักษะสูงกว่า ตรงนีเ้ ราแข็งแรงกว่า หรือชุดชัน้ ใน ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำ�ยาก แต่เราทำ�มา นานมาก เช่น วาโก้ ซาบีน่า เราก็ทำ�มานาน แบรนด์ใหญ่ๆ อย่างวิคตอเรีย ซีเคร็ต ก็มาทำ� ในไทย หรืออย่างเสือ้ ผ้าเด็ก ซึง่ เป็นงานละเอียด เราก็ทำ�ได้ดีกว่าตลาดจีนที่จะเย็บเสื้อผ้าเด็ก ไม่ ค่ อ ยได้ เพราะเขาเน้ น งานเร็ ว และหยาบ เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำ�เร็จรูปของ บ้ า นเราก็ จ ะเปลี่ ย นมาทำ � เสื้ อ ผ้ า ที่ เ ป็ น งาน ละเอียดขึ้น อนาคตของผ้าทอพื้นเมืองไทยมีทิศทาง เป็นอย่างไร ในแง่ของการนำ�ไปใช้งานได้ จริงในชีวิตประจำ�วัน

จริงๆ แล้ว คนอยากใช้ผ้าไทยนะ อย่างสินค้า โอท็อป แต่พอซื้อไป มันใช้งานไม่ได้จริง สีตก บ้าง ลวดลายเยอะไปบ้าง เพราะฉะนัน้ เราต้อง พัฒนาคุณภาพให้ดขี นึ้ และสมํา่ เสมอ สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ทม่ี ลี วดลาย สีสนั เข้ากับความต้องการ ของตลาดสากล ต้องพัฒนาคนรุน่ ใหม่ให้เข้ามา อยูใ่ นการผลิตให้มากขึน้ ตอนนีเ้ ริม่ มีกลุม่ ชาวบ้าน ทีม่ คี ณุ ยายคุณป้าทอผ้ากันมานาน แล้วลูกหลาน ก็ไม่ท�ำ ต่อ เข้ากรุงไปทำ�งานโรงงาน 7-8 ปี แล้ว สุดท้ายก็เริม่ รูว้ า่ ธุรกิจของบ้านไปเราเองทีม่ อี ยู่ แล้วมันดีกว่า น่าจะทำ�มากกว่า คนรุน่ ใหม่กม็ กี ลับ ไปพัฒนาธุรกิจผ้าทอพืน้ เมืองบ้านเราบ้าง มีการ ใช้ไอที ใช้อเี มลรับออเดอร์ แล้วก็คยุ กับคนรุน่ แม่ รุน่ ย่ายาย ว่าควรพัฒนาให้เป็นระบบอย่างไรบ้าง เพือ่ ทีจ่ ะให้เข้ากระแสตลาด ถึงอย่างไรอุตสาหกรรม ชุมชนผ้าทอมือก็ยงั คงอยู่ ยังไงก็ไม่สญู สลายไป ให้ตลาดโรงงานหมด อุ ป สรรคด้ า นอื่ น ๆ ของการนำ � ผ้ า ทอ พื้นเมืองไทยเข้าตลาด

เรือ่ งความไม่เป็นระบบของการทำ�งานซึง่ ยังเป็น หัตถกรรมมากเกินไป เราต้องพัฒนาการบริหาร

จัดการแบบใหม่ และอีกปัจจัยหนึง่ ในธุรกิจยุคใหม่ ก็คือการบริการซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ โดย เฉพาะการส่งมอบให้ตรงเวลา นี่คือปัญหาที่ เรายังทำ�ไม่ได้ ดังนั้นควรต้องมีเอเจนซีหรือ คนกลาง เพราะลูกค้าบริษทั ต่างชาตินนั้ ไม่นยิ ม ซือ้ ตรง ซึง่ เราไม่มหี รือยังมีนอ้ ย จะมีกแ็ ต่บริษทั ใหญ่ๆ เช่น จิม ทอมป์สัน เรื่องเหล่านี้เรายัง ไม่ได้แก้ทตี่ น้ เหตุ ถึงเราจะมีการโปรโมตผ้าไทย แต่เราก็ยงั ไม่ได้แก้ทงั้ ระบบ ดังนัน้ เราก็ยงั วนอยู่ ตรงนี้ หรืออย่างการคาดการณ์ความต้องการของ ตลาด เราก็ยงั ไม่ได้ท�ำ เป็นระบบจริงจัง อย่างเช่น เดือนนี้ก็มีปัญหาเรื่องผ้าไหมไทยสีฟ้าไม่พอกับ ความต้องการ เนือ่ งในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึง่ ถ้าเราทำ�อย่างเป็นระบบสากล เราจะรูท้ นั ทีวา่ เดือนสิงหาคม ผ้าสีฟ้าจะเป็นที่ต้องการ แล้ว ยังจะเดือนธันวาคมอีก เราก็จะสามารถสต็อก สินค้าได้ถูกต้อง อุปสรรคต่อการพัฒนาผ้าทอไทย

การทีม่ ฝี า่ ยต่อต้านหรือฝ่ายอนุรกั ษ์ทไี่ ม่อยากให้ “modernize” (ทำ�ให้ทันสมัย) ผ้าทอของไทย เช่น เราจะไปปัน่ เส้นไหมแบบใหม่ ทอแบบใหม่ เขาก็คิดว่าเราจะไปทำ�ให้ผ้าเสีย ซึ่งผมก็ต้อง เรียนว่าสามารถทำ�คูก่ นั ไปได้ คุณจะอนุรกั ษ์ของ ดั้งเดิมไว้ก็ทำ�คู่กันได้ การทอละเอียดด้วยมือที่ ใช้เวลานาน 3-6 เดือนกว่าจะเสร็จ ก็ยงั คงทำ�ได้ ต่อไป แต่ขณะเดียวกัน เราก็ตอ้ งคำ�นึงถึงตลาด อื่นด้วย เราต้องแยกตลาด ซึ่งเรื่องนี้มันอยู่ที่ ความเข้าใจกัน ใครจะมาบอกว่า มันไปด้วยกัน ไม่ได้นี่ ผมเถียง ทำ�ไมญี่ปุ่นเขาทำ�ได้ ทำ�ไมเรา จะทำ�ไม่ได้ ในหนึ่งโลกเขาอนุรักษ์ อีกหนึ่งโลก เขาก็ พั ฒ นาความทั น สมั ย และคนนิ ย มซื้ อ

แนวคิดต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ว่าเราเก่ง แต่ เราเห็นเป้าหมายที่กว้างขึ้น อินเทอร์เน็ตทำ�ให้ เราเข้าถึงความรู้และเทรนด์ของโลกได้เร็ว เช่น ตอนนี้ เรารู้ว่าสีไหนกำ�ลังเป็นที่นิยม เราก็ต้อง เอาองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แล้วอุปสรรคด้านกฎหมาย และภาษีต่อ วงการสิ่งทอ

เมืองไทย ยังมีปัญหาเรื่อง “กฎหมายสัดส่วน” ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไหมไทยร้องทุกข์ เรื่องนี้มาหลายปี และเป็นกฎหมายที่ทำ�ให้ อุตสาหกรรมไม่โต เพราะตั้งขึ้นมาด้วยความ อนุรักษ์นิยม ไม่อยากให้ไหมไทยตายไป ถ้า นำ � เข้ า เส้ น ไหมส่ ว นหนึ่ ง ต้ อ งซื้ อ ในไทยอี ก ส่วนหนึ่งเท่ากัน ทีนี้ไหมในไทยไม่พอ เราอยาก ผลิตจำ�นวนมาก เราซื้อไหมไทย 100 กิโล เรา ก็ซื้อไหมนอกได้แค่ 100 กิโล กลายเป็นการ ตีกรอบ ทีนี้ถ้าปลดล็อก ทุกคนก็กลัวอีกว่าจะ เกิดอะไรขึ้น ไหมไทยจะตายไหม ซึ่งผมว่าเรา กลัวเกินไป เราต้องเข้าใจว่าไหมไทยมีข้อดีอยู่ แล้ว เราต้องเข้มแข็ง เราต้องกล้าเปิด ประเด็นต่อมาคือ "ภาษีสินค้านำ�เข้าที่เรา ถูกเรียกเก็บในต่างประเทศ" เพราะไทยไม่ได้ เป็นประเทศด้อยพัฒนาอีกต่อไป ขณะทีเ่ ขมร ลาว พม่า เวียดนาม ยังได้จีเอสพี (สิทธิพิเศษทาง ภาษีศุลกากร) อยู่ ก็คือต่างประเทศจะไม่เก็บ ภาษีนำ�เข้าจากประเทศเหล่านี้ เพราะฉะนั้น สินค้าของเขาจะมีราคาถูกกว่าของเรา เมื่อเรา สู้ด้านราคาไม่ได้ก็ต้องหันมาเพิ่มมูลค่าอย่าง เดียวเลย อีกอย่างคือ "กฎหมายจำ�กัดโซนโรงงาน ฟอกย้อม" ทีเ่ ป็นอุปสรรคสำ�คัญอีกข้อและกำ�ลัง จะทำ�ลายอุตสาหกรรมฟอกย้อมของไทย คือ กันยายน 2557

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

การทอละเอียดด้วยมือที่ใช้เวลานาน 3-6 เดือนกว่าจะเสร็จ ก็ยังคง ทำ�ได้ต่อไป แต่ขณะเดียวกัน เราก็ต้องคำ�นึงถึงตลาดอื่นด้วย เราต้องแยกตลาด ซึ่งเรื่องนี้มันอยู่ที่ความเข้าใจกัน ใครจะมาบอกว่า มันไปด้วยกันไม่ได้นี่ ผมเถียง ทำ�ไมญี่ปุ่นเขาทำ�ได้ ทำ�ไมเราจะทำ�ไม่ได้ ในหนึ่งโลกเขาอนุรักษ์ อีกหนึ่งโลกเขาก็พัฒนาความทันสมัย และคนนิยมซื้อ เมืองไทยห้ามตั้งห้ามขยายโรงงานฟอกย้อมใน เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะมีนํ้าเสีย มี สารเคมี ต้องไปตั้งในนิคมอุตสาหกรรม พอไป สร้างนิคมฯ ก็ปรากฏว่าค่าใช้จ่ายแพงกว่ามาก และที่สำ�คัญนํ้าที่ใช้ต้องไม่เป็นนํ้าประปาซึ่งมี คลอรีน เพราะการฟอกย้อมควรใช้นํ้าบาดาล เมื่อในนิคมฯ มีนํ้าบาดาลไม่พอ อุตสาหกรรม ฟอกย้อมเลยไม่โต และมีแต่จะลดลงไป ทั้งๆ ทีเ่ ป็นอุตสาหกรรมสำ�คัญเพราะเพือ่ นบ้านเราทำ� ไม่ได้ การย้อมผ้าให้ได้สีตามลูกค้าสั่งเป็นทั้ง ศิ ล ปะและวิ ท ยาศาสตร์ ถ้ า นํ้า มี คุ ณ ภาพไม่ สมํา่ เสมอ สีจะเพีย้ นได้ อุตสาหกรรมนีเ้ ลยกลาย

ในแผนใหญ่ เ ราอยากให้ ไ ทยเป็ น ศู น ย์ ก ลาง อาเซี ย นสำ � หรั บ อุ ต สาหกรรมสิ่ ง ทอ แต่ ต้ อ ง ยอมรับว่า เราเป็นศูนย์กลางการผลิตไม่ได้อีก ต่อไป เพราะสูไ้ ม่ได้ในเรือ่ งต้นทุน แต่เราสามารถ เป็นศูนย์กลางในการออกแบบได้ ตั้งแต่เส้นใย เส้นด้าย เนื้อผ้า ส่วนประกอบต่างๆ เรียกว่า

ออกแบบทุกอย่าง ซึ่งจะทำ�ให้เราเป็นเหมือน ฮ่องกงที่เป็นศูนย์กลางให้กับจีน เราต้องใช้สิ่งที่ มีอยู่เป็นต้นทุนวัฒนธรรม ต้นทุนเกษตรกรรม ต้นทุนความสร้างสรรค์ เพื่อทำ�ให้สินค้าเรามี ความแตกต่าง และขายได้โดยไม่ตอ้ งกังวลเรือ่ ง ราคามากเกินไป อีกประการทีอ่ ยากเป็นคือศูนย์กลางการค้า อยากให้ท ุ ก คนมาซื ้ อ สิ ่ ง ทอบ้า นเรา ตอนนี้ ต่างประเทศก็มาซื้อเสื้อผ้าจากจตุจักร โบ๊เบ๊ ประตูนา้ํ แพลตตินมั เรามีศกั ยภาพ ตรงนีถ้ า้ เรา เป็นผู้นำ�ด้านการออกแบบ และการค้า เราก็จะ สามารถเป็นผู้นำ�ที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน

หนังสือที่ชอบอ่าน

หลักคิดในการดำ�เนินชีวิต

เป็นคอขวด อย่างเขาสัง่ สินค้ามากำ�หนดส่งมอบ ใน 90 วัน กลับต้องมารอคิวเข้าโรงงานฟอกย้อม มันก็ไปต่อไม่ได้ งานก็ล่าช้าเสียหาย โดยสรุปถ้าหากเราต้องการรักษาตลาด สิ่งทอ เราต้องเร่งพัฒนาอะไรบ้าง

CREATIVE INGREDIENTS แรงบันดาลใจสำ�คัญ

ผมเรียนด้านเท็กซ์ไทล์มาจากออสเตรเลีย ซึ่งก็ โชคดีทไี่ ด้ท�ำ งานตรงสาย ผมก็อยากเห็นผ้าไทย มีมลู ค่าเพิม่ ขึน้ เพราะสังคมไทยนัน้ เกีย่ วข้องกับ ผ้ามานาน แล้วเมืองไทยก็มศี กั ยภาพในเรือ่ งการ ทอผ้ามาก ทำ�ไมเราถึงไม่มาพัฒนาต่อยอดตรง นี้ขึ้นไป

32 l

Creative Thailand

l กันยายน 2557

ผมชอบอ่านหนังสือธรรมะ อ่านแล้วทำ�ให้เข้าใจ ในธรรมชาติ ม ากขึ้ น มองเห็ น ความเป็ น ไป ชัดเจน ซึ่งสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้กับงานได้ คือสอนให้เราดูที่เหตุปัจจัย องค์ประกอบของ ความสำ�เร็จ โดยใช้หลักธรรม คือเราต้องสร้าง ปัจจัยที่จะนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จ แต่อย่าพะวงกับ ความสำ�เร็จมากเกินไป ไม่ต้องคิดเรื่องความ ล้มเหลว แต่มองว่าเราต้องการช่วยสังคมของเรา

อยูก่ บั ปัจจุบนั ให้มากทีส่ ดุ เพราะเหตุทเี่ ราสร้าง ในปัจจุบัน ก็คือผลในอนาคต เพราะความไม่ แน่นอนมีมากมาย เราไปกำ�หนดทุกอย่างไม่ได้ แต่ถ้าเราทำ�วันนี้ให้ดีที่สุด ผลจะออกมาเป็น อย่างไรเราก็ยอมรับกับตรงนั้น



CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

เรื่อง: ภูษณิศา กมลนรเทพ

ในวงการแฟชั่น เครื่องแต่งกายระดับ ลักชัวรีแบรนด์มักเป็นที่จับตามองใน ทุ ก ซี ซั่ น บางแบรนด์ มี อิ ท ธิ พ ลมาก ขนาดเป็นเทรนด์เซ็ตเตอร์ของแฟชั่น ฤดูกาลนัน้ ๆ ขณะทีแ่ ต่ละแบรนด์กต็ อ้ ง เร่ ง สร้ า งความแตกต่ า งซึ่ ง ไม่ เ ฉพาะ แค่ ด้ า นการคั ด สรรวั ต ถุ ดิ บ หรื อ การ ออกแบบเท่านัน้ แต่ยงั รวมถึงการหันมา ใส่ใจในคุณภาพของสังคม โดยหวังให้ กิจกรรมต่างๆ ช่วยสือ่ สารภาพลักษณ์ ที่ ดี ข องแบรนด์ พร้ อ มๆ กั บ การส่ ง ความตัง้ ใจดีผ่านสินค้าที่หลากหลาย

เช่นเดียวกับลักชัวรีแบรนด์ดังจากนิวยอร์ก “ไมเย็ต (Maiyet)” ทีไ่ ด้บกุ เบิก ความเป็นลักชัวรีแบรนด์ขึ้นใหม่ โดยการเฟ้นหาทักษะงานฝีมือชั้นเยี่ยม จากสถานที่ที่ไม่มีใครคาดคิด ไปพร้อมๆ กับการช่วยเหลือสังคม ไมเย็ต ก่อตั้งในปี 2011 โดย 3 หุน้ ส่วนทีม่ ปี ระสบการณ์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปอล ฟาน ซิล (Paul van Zyl) เป็นทนายความนักสิทธิมนุษยชน แดเนียล ลูเบตสกี (Daniel Lubetzky) เป็นนักธุรกิจ ส่วนคริสตี เคย์เลอร์ (Kristy Caylor) คืออดีตหัวหน้าฝ่ายกระจายสินค้าของแบรนด์ระดับโกลบอล ด้วย ส่วนผสมที่หลากหลายนี้ ประกอบกับการที่ทางแบรนด์ได้ทำ�งานร่วมกับ เนสต์ (Nest) องค์กรไม่แสวงหาผลกำ�ไรอิสระซึ่งเชี่ยวชาญด้านการเสริม สร้างศักยภาพช่างฝีมอื ผ่านผูป้ ระกอบการ ทำ�ให้ไมเย็ตได้รว่ มสรรหาทักษะ ช่างฝีมือคุณภาพเยี่ยมจากทั่วโลกมาร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งจากไนโรบี ในเคนย่า อาเมดาบัดในอินเดีย แม้กระทั่งเทือกเขาในเปรู พร้อมเข้าไป ช่วยส่งเสริมและแก้ปัญหาแรงงานฝีมือ ตลอดจนสนับสนุนคุณภาพชีวิต เพื่อให้การประกอบงานฝีมือในชุมชนเป็นระบบและสร้างรายได้ได้อย่าง ยั่งยืน ล่าสุด ไมเย็ตมีโครงการใหญ่ร่วมกับสถาปนิกชื่อดัง เดวิด แอดเจย์ (David Adjaye) เพื่อออกแบบโรงงานทอผ้าให้แก่กลุ่มช่างทอในเมือง พาราณสี เมือใหญ่ทมี่ วี ฒั นธรรมและฝีมอื เลือ่ งชือ่ ในการทอผ้ามานานกว่า 500 ปี ซึ่งยังคงการผลิตแบบทอมือดั้งเดิมไว้ทุกประการ ตั้งแต่ การปัก จุดออกแบบแพทเทิร์น การปั่นฝ้ายด้วยการเลือกชนิดและสีก่อนนำ�มาทอ รวมกัน กระทัง่ เรือ่ งราววิถชี วี ติ เรียบง่ายตามสายนา้ํ คงคา ทว่ากลุม่ ช่างทอ ต้องเผชิญปัญหาด้านการแข่งขันทีส่ งู ของงานทอผ้าทัง้ ในประเทศและทาง ตะวันออกกลาง ไปจนถึงปัญหาการไม่มผี ซู้ อื้ สินค้าอย่างสมาํ่ เสมอ ไมเย็ต 34 l Creative Thailand l กันยายน 2557

จึงได้ลงพื้นที่พูดคุยเพื่อศึกษาปัญหาและเข้าถึงวิถีชีวิต ก่อนจะนำ�มา ออกแบบโดยคำ�นึงถึงประโยชน์ใช้สอยของช่างเป็นหลัก ทั้งยังเข้าไปช่วย อบรมฝีมือแรงงานแก่ชุมชน และเป็นช่องทางรองรับงานผลิตที่สำ�คัญ ปอล ฟาน ซิล พูดถึงวิธีบริหารงานของแบรนด์ว่า “เราติดตามการ ทำ�งานทุกขั้นตอนตั้งแต่ร่วมงานกับเหล่าช่างฝีมือ เช่นเราทำ�ให้ชุมชนมี รายได้เท่าไหร่ เราจะสั่งของกี่ชิ้น การพัฒนาคุณภาพสินค้าแต่ละชนิด ไป จนถึงจำ�นวนคนในชุมชนทีไ่ ด้รบั การจ้างงาน โดยเราจะประเมินทุกอย่างนี้ เป็นเวลา 5 ปี เพื่อดูว่าจากการลงทุนเริ่มแรกเราสามารถช่วยธุรกิจของ พวกเขาให้เติบโตอย่างต่อเนื่องได้ดีแค่ไหน” นับเป็นตัวอย่างที่ดีของ ผู้ประกอบการทีค่ ดิ ถึงการอยูด่ ขี องสังคมไปพร้อมกับการเติบโตของแบรนด์ ว่า การทำ�ธุรกิจด้านแฟชั่นแบบคืนกำ�ไรให้สังคมอย่างสร้างสรรค์นั้น ต้อง ประกอบกับวิธีการบริหารที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย ขณะที่ คริสตี เคย์เลอร์ กล่าวว่า “ไมเย็ตไม่ได้แค่เลือกสรรสินค้าจาก ช่างฝีมอื เรามองหาทักษะการทำ�งานทีพ่ วกเขามีและร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปพร้อมๆ กับพวกเขาโดยเลือกชนิดของชิน้ งานทีเ่ ข้าได้ดกี บั ดีไซน์ของเรา ในแต่ละซีซนั่ ” ด้วยวิธกี ารเช่นนี้ ทำ�ให้ชนิ้ งานในแต่ละคอลเล็กชัน่ มีมลู ค่า สื่อถึงที่มาและความงดงามของวิถีชีวิตท้องถิ่น ความประณีตใส่ใจของ ช่างฝีมือ กระทั่งสำ�เร็จออกมาสู่สายตาผู้คนบนรันเวย์แฟชั่นระดับโลก ซึ่ง นับเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ตอบสนองกลุ่มลูกค้าระดับลักชัวรีผู้มองหาสิ่งพิเศษ ที่มีความหมายให้กับตัวเองได้เป็นอย่างดี ดูวิดีโอโครงการต่างๆ ที่ไมเย็ตร่วมพัฒนางานฝีมือของชุมชนได้ที่ maiyet.com/video ทีม่ า: maiyet.com และ บทความ “The Luxurious Goodness of Maiyet” โดย Suleman Anaya (9 เมษายน 2013) จาก businessoffashion.com

maiyet.com

Luxury Brand Ethical Mind




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.