Creative Thailand Magazine

Page 1

นิตยสารสงเสร�มความคิดสรางสรรคผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย TCDC ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบร�หารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน)

กุมภาพันธ 2557 ปที่ 5 | ฉบับที่ 5 แจกฟร�

คุ ณ

คา แ ห ง

ิจน

CLASSIC ITEM Romeo and Juliet

ิ รัน

ดร

CREATIVE ENTREPRENEUR Vatit Itthi

CREATIVE CITY Agra



The greatest thing you'll ever learn is just to love and be loved in return. สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่จะได้เรียนรู้ คือการได้รักใครสักคน และได้รับรักนั้นตอบแทน

จากเนื้อเพลง Nature Boy ปี 1947

Eden Ahbez

นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน


CONTENTS สารบัญ

6 7 8 10

11 12

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Matter

Creative City

22

Classic Item

The Creative

28

Cover Story

Creative Will

34

The Subject รักนี้ "รัฐ" จัดให

The Object

Organic Bouquet

Be My Valentine

Vatit Itthi: A Tailor-Made Love

Creative Resource

Featured Book/ Book/ Book/ Film

คริสตัล แกวเจียระไนที่เปนมากกวาเครื่องประดับ

Romeo and Juliet

Rocks & Roses คุณคาแหงนิจนิรันดร

Agra: รักนิรันดร… ปจจุบันที่สั่นคลอน

ปยฉัตร เรืองวิเศษ ฟินนี่

The Tutu ProjectTM

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกลุ พิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, อคีรัฐ สะอุ สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ผูออกแบบปก l Miss Ink ศิลปนอิสระ นักออกแบบรอยสักและชางสัก ผูเชื่อในคติที่วา “Even a Step Back Can Be Fatal.” ผลงาน: facebook.com/missink9


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

ผลผลิตจากโลกคู่ขนาน มนุษย์มีความชาญฉลาดที่จะหล่อเลี้ยงความหวังเอาไว้ใช้ในยามขาดแคลนเสมอ ทั้งความหวังเพื่อ ชีวติ ทีด่ กี ว่าหรือความหวังทีอ่ าจไม่มอี ยูจ่ ริงในรูปแบบของจินตนาการ และยังชาญฉลาดต่อไปด้วยการ สร้างองค์ประกอบรอบๆ ตัว เพือ่ ถ่ายเทจินตนาการสูช่ วี ติ จริงบนความเป็นไปไม่ได้หรือปรากฏการณ์ เหนือคำ�อธิบายที่น่าสนเท่ห์นั้น ซึ่งเป็นต้นทุนอันมีเสน่ห์สำ�หรับการขยายผลไปสู่เรื่องราวต่างๆ ใน ชีวิตประจำ�วัน โดยเฉพาะอุดมคติทางความรักที่เป็นนิรันดร์ แต่เมื่อกลับมาดูโลกที่เป็นชีวิตจริง เพื่อตามหาเหตุผลของสัมพันธภาพที่จะนำ�ไปสู่ความรักที่ ยั่งยืนนั้น แจ็คกี้ แกบบ์ (Jacqui Gabb) และเจเน็ต ฟิงก์ (Janet Fink) นักวิจัยของมหาวิทยาลัย โอเพ่น (The Open University) ในสหราชอาณาจักร จึงจัดทำ�โครงการ Enduring Love? Couple Relationships in the 21st Century เพราะในทุกความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นนั้นย่อมเป็นพื้นฐาน สำ�คัญของการสร้างสังคมทีเ่ ป็นสุขและช่วยลดทอนปัญหาสังคมอืน่ ๆ ทีต่ ามมาอีกนับไม่ถว้ น การวิจยั นีไ้ ด้ท�ำ การสำ�รวจคูร่ กั 5,445 คน ทัง้ ชายหญิงและกลุม่ รักร่วมเพศ จนนำ�ไปสูข่ อ้ สรุปทีช่ ใ้ี ห้เห็นปัจจัย ที่จะสร้างหรือบั่นทอนความสัมพันธ์ ซึ่งผลได้บ่งชี้ถึงตัวแปรของความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ว่า ปัจจัย ทางด้านเศรษฐกิจเป็นตัวแปรหลักที่ทำ�ให้ความสัมพันธ์ยุติลง ทั้งเรื่องความไม่แน่นอนทางการเงิน การว่างงาน ที่อยู่อาศัย และการเป็นพ่อแม่ ขณะที่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนนั้นเกิดจากความเชื่อมั่นที่ ยึดเหนี่ยวในสิ่งเดียวกัน ความนับถือซึ่งกันและกัน การสื่อสารที่ดี และการมีอารมณ์ขันร่วมกัน โดย สิ่งที่พวกเขาปรารถนาที่จะได้รับจากกัน ไม่ใช่เรื่องทางกามารมณ์หรือของขวัญราคาแพง ยิ่งใน สถานการณ์เศรษฐกิจทีย่ ากลำ�บากด้วยแล้ว สิง่ ทีจ่ ะช่วยเพิม่ ความยัง่ ยืนในความสัมพันธ์กค็ อื การกระทำ� ที่แสดงต่อกันอย่างเสียสละและมีนํ้าใจ ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ผู้คนพยายามสร้างสะพานเชื่อมโลกคู่ขนานให้มาบรรจบกันเสมอ จากความฝันแบบแฟนตาซีกับการอยู่ร่วมกันในชีวิตจริง จากอุดมคติสู่สัญลักษณ์ การเติมเต็มที่ ไม่มีทางเป็นไปได้นี้คงอยู่และดำ�เนินมาอย่างยาวนาน มีการพัฒนาและตีความความเชื่อ พิธีกรรม รูปแบบ และสัญลักษณ์ ออกมาเป็นสิ่งของเครื่องใช้นานัปการที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์อัน เป็นนิรันดร์ หรือความรักชั่วกัลปาวสาน เพื่อที่จะเป็นเจ้าของความนิรันดร์ผ่านข้าวของที่จับต้องได้ ดื่มดํ่าได้ ชื่นชมได้ และยังได้เพิ่มบทบาทและฐานะให้กับความนิรันดร์ด้วยความเลอค่าจาก สัญลักษณ์ทั้งหลายทั้งปวงขึ้นไปอีก แต่กระนั้น ความหมายของสัญลักษณ์ จะไม่ได้สะท้อนคุณค่า ที่แท้จริงของมัน หากว่าคำ�นึงเห็นแต่เพียงราคาของสัญลักษณ์ หรือหยิบยกมาใช้อย่างเลื่อนลอย ไร้ที่มาที่ไป เพราะสัญลักษณ์ใดๆ จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อ สัญลักษณ์นั้นเกิดจากเหตุผล สติปัญญา และจิตใจ ทีเ่ ชือ่ มต่อถึงกัน เมือ่ นัน้ เราคงพออนุมานได้วา่ โลกในอุดมคติกบั โลกในชีวติ จริง ถึงจะไม่บรรจบกัน แต่ก็ขนานกันอย่างมีความหวัง

อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th กุมภาพันธ์ 2557

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

ปัจจุบันอัตราการเกิดของเด็กในสิงคโปร์อยู่ที่ 1.2 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคน ซึ่งตํ่ากว่าอัตราปกติ* ทำ�ให้สิงคโปร์กำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่าง รวดเร็ว เพราะนอกจากที่หนุ่มสาวยุคใหม่จะไม่นิยมมีลูกแล้ว พวกเขายัง มีชวั่ โมงการทำ�งานในแต่ละวันทีย่ าวนานอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ จึงต้องยืน่ มือเข้ามาจัดการให้ “ความรัก” ลงเอยด้วยการสร้างครอบครัวที่ สมบูรณ์ โดยเพียรพยายามที่จะเปลี่ยนคู่รักให้เป็นคู่สมรสที่พร้อมมีบุตร ด้วยแพ็กเกจจูงใจดังที่ประกาศใช้เมื่อมกราคม 2013 ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การมอบทุนสำ�หรับเลี้ยงดูบุตร การยกเว้นภาษี การเพิ่มวันลาสำ�หรับการ คลอดบุตร และการเพิ่มวันลาระหว่างปีสำ�หรับพ่อแม่เพื่อการเลี้ยงดู นอกจากนี้ ยังนำ�เสนอสิทธิประโยชน์อนื่ ๆ เช่นสิทธิใ์ นการจองห้องพักของ การเคหะที่สร้างใหม่อย่างหรูหราใจกลางเมืองพร้อมค่าเช่าอัตราพิเศษ สำ�หรับครอบครัวที่มีลูก รวมเป็นมูลค่ากว่า 4.3 ล้านบาท (166,000 เหรียญสิงคโปร์) ต่อคน หรือคิดเป็นงบประมาณที่รัฐบาลจะต้องจ่ายถึง 52,000 ล้านบาท (2 พันล้านเหรียญสิงคโปร์) นอกจากนี้ เพื่อให้แคมเปญดังกล่าวดูสร้างสรรค์ ดึงดูด และเข้าถึง คนสมัยใหม่มากขึน้ รัฐบาลจึงเปิดโอกาสให้เยาวชนอายุระหว่าง 13-31 ปี

อลิซ (อินวันเดอร์แลนด์) เป็นตัวแทนของสาวสมัยใหม่ ผู้รักอิสระ ที่มาพร้อมกับ คำ�เตือนว่า ความสามารถ ในการมีบุตรจะลดลงตามวัย โดยหลังอายุ 40 ปีโอกาส ดังกล่าวจะลดลงถึงร้อยละ 95

6 l Creative Thailand l กุมภาพันธ์ 2557

ร่วมนำ�เสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนสถาบันครอบครัวเพื่อ ขอรับเงินทุนสนับสนุนจากโครงการซูเปอร์กลู (Project Superglue) ของสภาครอบครัวแห่งชาติ (National Family Council) โดยล่าสุด กลุ่มนักศึกษาด้านการสื่อสารจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง 4 คน ได้รับเงินทุนมาดำ�เนินโครงการที่ชื่อว่า "เดอะ สิงคโปเรียน แฟรี่เทล (The Singaporean Fairytale)" ซึ่งเป็นการนำ�นิทาน 15 เรื่องมาใช้เป็นสื่อเพื่อ กระตุ้นให้กลุ่มหนุ่มสาวตระหนักถึงความสำ�คัญของการแต่งงานและการ มีบตุ รในเวลาทีเ่ หมาะสม โดยภาพจากนิทานดังกล่าวได้รบั การเผยแพร่ทง้ั ในสือ่ ออนไลน์และใบปลิวทีถ่ กู แจกไปตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทัว่ ประเทศ จากนี้ไปจนถึงปี 2030 จะมีชาวสิงคโปร์จำ�นวน 9 แสนคนเข้าสู่ วัยเกษียณ รัฐบาลจึงต้องดำ�เนินมาตรการหลายประการที่รวมถึงการเปิด โอกาสให้ ค นต่ า งชาติ เ ข้ า มาทำ � งานและอาศั ย อยู่ ใ นสิ ง คโปร์ ไ ด้ โ ดย ตระหนักถึงการรักษาระดับจำ�นวนชาวสิงคโปร์ไว้ให้เป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ ของประเทศ และแม้ว่าแคมเปญนี้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าล้าสมัยและ เป็นการสร้างแรงกดดันให้ผหู้ ญิง แต่กน็ บั เป็นหลักประกันทีด่ วี า่ ในอนาคต สิงคโปร์จะมีทั้งกำ�ลังแรงงานและความเป็นชาติอยู่อย่างครบถ้วน

ที่มา: รายงาน “A sustainable population fora dynamic Singapore” (มกราคม 2013) โดยสำ�นักงานประชากร และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเทศสิงคโปร์ จาก nptd.gov.sg บทความ “Singapore uses 'modern fairytales' to warn women of declining fertility” โดย Kate Hodal (22 มีนาคม 2013) จาก theguardian.com thesingaporeanfairytale.com


THE OBJECT คิดแล้วทำ�

Organic เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช

ในวันที่ผู้คนต่างใช้ชีวิตใกล้ชิดกับโลกออนไลน์มากขึ้น การสั่งซื้อสินค้า อย่างดอกไม้สักช่อเพื่อเป็นตัวแทนในการแสดงออกซึ่งความรักและความ ปรารถนาดีก็กำ�ลังได้รับความนิยมบนโลกออนไลน์เช่นกัน แต่อะไรคือ ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเว็บไซต์ขายดอกไม้ทม่ี อี ยูจ่ �ำ นวนมาก และแต่ละ เว็บต่างก็มีประเภทดอกไม้ที่ใกล้เคียง หน้าตาเว็บคล้ายกัน อีกทั้งเทคนิค การจัดช่อและราคาก็ไม่ตา่ งกัน ออร์แกนิกบูเกต์ (organicbouquet.com) หนึง่ ในตัวอย่างธุรกิจทีม่ องเห็นความแตกต่างและความเป็นไปได้ของการซือ้ ดอกไม้ออนไลน์จงึ ต้องคิดให้หนักขึน้ ตัง้ แต่การเลือกทีจ่ ะใช้เฉพาะดอกไม้ จากฟาร์มในแคลิฟอร์เนีย เอกวาดอร์ และโคลัมเบีย ซึ่งผ่านการรับรอง มาตรฐานดอกไม้ออร์แกนิก ใส่ใจระบบนิเวศในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น การดูแลดิน นํ้า หรือการจัดการของเสีย และนอกจากจะมีดอกไม้หลาย ชนิดให้เลือกแล้ว ออร์แกนิกบูเกต์ยงั มีดอกไม้พเิ ศษอย่างดอกกุหลาบกลีบ โตก้านยาวทีไ่ ด้ชอื่ ว่า คราวน์ มาเจสตี้ (Crown Majesty) ซึง่ มีความคงทน และหาซื้อไม่ได้จากเว็บไซต์อื่นๆ มาไว้จำ�หน่ายด้วย ออร์แกนิกบูเกต์ยงั พยายามอย่างมากทีจ่ ะผลักดันธุรกิจให้ประสบความ สำ�เร็จท่ามกลางสภาพแวดล้อมเมื่อแรกก่อตั้งในปี 2001 ที่มีความตื่นตัว เรือ่ งผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกในแวดวงอาหารและการเกษตรหลากหลายประเภท แต่มีความต้องการซื้อดอกไม้ออร์แกนิกเท่ากับศูนย์ โดยได้ร่วมมือกับ

Bouquet ภาพประกอบ: อคีรัฐ สะอุ

ไซเอนทิฟิก เซอร์ทิฟิเคชัน ซิสเท็มส์ (Scientific Certification Systems) ผลักดันให้เกิดมาตรฐานการรับรองคุณภาพดอกไม้ตดั ดอกมาตรฐานแรกๆ อย่างเวริฟลอรา (VeriFlora) และเดินหน้าร่วมมือกับกลุ่มผู้ปลูกดอกไม้ ออร์แกนิกต่างๆ ให้หนั มาปลูกดอกไม้ทไ่ี ด้มาตรฐาน เพือ่ รองรับผูบ้ ริโภคใน กลุม่ ตลาดโลฮาส (LOHAS)* จนในปัจจุบนั ยอดขายของออร์แกนิกบูเกต์เติบโต ขึ้นจากปี 2011 คิดเป็นร้อยละ 178 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 60 ในปี 2014 ดูเหมือนว่าการซื้อดอกไม้ให้คนรัก อาจไม่ได้เป็นการแสดงออกซึ่ง ความรักต่อผู้รับเท่านั้น เพราะดอกไม้แม้เพียงหนึ่งดอกที่ซื้อผ่านเว็บไซต์ ออร์แกนิกบูเกต์ ยังหมายถึงการส่งต่อความรักและปรารถนาดีตอ่ โลกและ ผูค้ นอีกนับสิบนับร้อยทีเ่ กีย่ วข้องกับขัน้ ตอนของการผลิตดอกไม้ดอกนัน้ ด้วย ความรักแบบหนึ่งต่อหนึ่งจึงอาจไม่ใช่ความปรารถนาสูงสุดของมนุษย์อีก ต่อไป ที่มา: บทความ “Wouldn't You Prefer Your Bouquet Organic?” โดย Bill Robinson (20 ธันวาคม 2013) จาก huffingtonpost.com grist.org/article/prolman organicbouquet.com

* LOHAS (Lifestyles of Health and Sustainability) คือกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและ กระตือรือร้นต่อการใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี กับทั้งตัวเองและดีต่อโลก โดยส่วนมากจะเป็นผู้บริโภคที่มีการศึกษาดีและมีรายได้สูง กุมภาพันธ์ 2557

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา

FEATURED BOOK

Robert Indiana: Beyond LOVE โดย Barbara Haskell, Rene Paul Barilleaux และ Sasha Nicholas

จากภาพจิตรกรรมซีรีย์ LOVE ที่เริ่มขึ้นในปี 1961 กระทั่งพัฒนามาสู่งาน ประติมากรรมป็อปอาร์ตชิ้นเอกที่พบเห็นกันในจุดสำ�คัญๆ ของเมืองใหญ่ ทั่วโลก ผลงานการรังสรรค์ของโรเบิร์ต อินเดียน่า (Robert Indiana) ซึง่ นักประวัติศาสตร์ประจำ�พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่นิวยอร์ก (MoMA) เดบอราห์ ไว (Deborah Wye) ได้ให้คำ�จำ�กัดความไว้ว่า “เต็มไปด้วย ความรู้สึกทางกามารมณ์ ในขณะเดียวกันก็สามารถสื่อถึงความเชื่อทาง ศาสนา บอกเล่าประสบการณ์ชีวิต และมีนัยยะแอบแฝงทางการเมือง” ทำ�ให้ผู้ที่ได้พบเห็นสามารถจดจำ�และเข้าใจความหมายที่ซับซ้อนของผล งานชิ้นนี้ได้โดยง่าย เมแกน ไวลด์ (Megan Wilde) ยังให้รายละเอียดเพิ่ม เติมเกี่ยวกับผลงานชิ้นนี้ไว้ในนิตยสารเมนทัล ฟลอสส์ (Mental Floss) ด้วยว่า “คำ�ว่า LOVE เชื่อมโยงกับประสบการณ์ในวัยเด็กของโรเบิร์ต ในช่ ว งเวลาที่ เ ขาเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมกั บ โบสถ์ นิ ก ายคริ ส เตี ย นไซแอนส์ (Christian Science) ซึง่ ผนังของโบสถ์ไม่มกี ารตกแต่งใดๆ เว้นแต่ตัวอักษร ที่ถูกแขวนขึ้นบนผนังว่างเปล่าว่า God is Love” สิง่ ทีน่ อ้ ยคนจะรูเ้ กีย่ วกับสัญลักษณ์แทนคำ�ว่า “รัก” นี้ คือเดิมทีตวั อักษร ภาษาอังกฤษทั้งสี่ตัวถูกออกแบบโดยใช้สีแดงและเขียวเป็นสีของตัวอักษร หลัก ทาบซ้อนอยู่เหนือฉากหลังสีนํ้าเงินสด โดยสาเหตุที่อินเดียน่าเลือก สีทั้งสามสีนี้มาอยู่บนงานดีไซน์ ก็เนื่องจากเขาจดจำ�ภาพป้ายโลโก้ของ ปั๊มนํ้ามันยี่ห้อ Philllips 66 ซึ่งเป็นสถานที่ที่พ่อของเขาทำ�งานในช่วง 8l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557

ยุคเศรษฐกิจตกตํ่าของสหรัฐอเมริกาได้ติดตา ผลงานชิ้นนี้จึงไม่ได้ สะท้อนความรักทีม่ ตี อ่ ศาสนาเพียงเท่านัน้ แต่ยงั เปรียบเสมือนตัวแทนการ แสดงออกถึงความรักที่มีต่อ เอิร์ล คลาก (Earl Clarke) ผู้เป็นพ่อ และ แม้วา่ ต่อมาผลงาน LOVE ของอินเดียน่าจะถูกดัดแปลงและปรับเปลีย่ นไป เป็นอีกหลายเวอร์ชน่ั แต่ทกุ ๆ เวอร์ชน่ั ของอินเดียน่าก็ยงั สือ่ ถึงบุคคลจำ�เพาะ ที่เขานึกถึงและอยากจะมอบให้เสมอ และถึงแม้วา่ การแสดงออกทางความคิดของเขาในผลงานชิน้ อืน่ ๆ ทีม่ ี ต่อป้ายตามทางหลวงและป้ายบอกทางบนท้องถนนจะดูน่าตื่นตาตื่นใจ และสนุกสดใสเกินกว่าทีค่ นในยุคนัน้ จะยอมรับได้ แต่เมือ่ มองขัน้ ตอนการ ทำ�งานของเขาอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่างานออกแบบแต่ละชิ้นได้ผ่าน กระบวนการทางความคิดอย่างซับซ้อนและผ่านประสบการณ์ด�ำ มืดในบาง ช่วงของชีวิตมา เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ของอเมริกาที่มีทั้งเรื่องเล่า ตำ�นาน วรรณกรรม และประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึก หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมผลงานชิ้นสำ�คัญของโรเบิร์ต อินเดียน่า บทสัมภาษณ์ การตีความจากนักวิจารณ์และผูท้ รงคุณวุฒทิ างศิลปะหลาย ท่าน ที่ได้ร่วมกันอธิบายถึงพัฒนาการทางผลงานและอาชีพ ที่ทำ�ให้ โรเบิรต์ อินเดียน่า กลายเป็นศิลปินแถวหน้าของของวงการศิลปะอเมริกนั ในศตวรรษที่ 20


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

BOOK

BOOK

Universe of Design: Tiffany & Co. โดย Grace Mirabella

The Progress of Love เรียบเรียงโดย Kristina Van Dyke และ Bisi Silva

Before Sunrise กำ�กับโดย Richard Linklater

กล่ อ งสี่ เ หลี่ ย มขนาดเล็ ก สี ฟ้ า เทอควอยซ์ ผู ก ริ บ บิ้ น ขาวเป็ น ของขวั ญ ในฝั น ของหญิ ง สาว หลายคน ทว่าความสำ�คัญของแบรนด์และสีไม่ ได้มคี วามหมายเทียบเท่าสิง่ ของและความตัง้ ใจ ทีบ่ รรจุอยูภ่ ายใน เป็นเวลากว่า 170 ปี ทีช่ อ่ื เสียง ของทิ ฟ ฟานี่ ถู ก ถ่ า ยทอดผ่ า นผลงานอย่ า ง แหวนเพชร เครื่องเงิน และเครื่องประดับ ที่ได้ รับการเจียระไนอย่างสวยงามและประณีต ผ่าน ขัน้ ตอนการทำ�มือทุกชิน้ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ แห่งความหรูหรา รายละเอียดและคุณภาพทำ�ให้ ทิฟฟานี่ได้รับรางวัล Excellence in Silverware และนับเป็นแบรนด์อเมริกันแรกที่ได้รับรางวัล ในงาน Exposition Universelle ซึ่งจัดขึ้นที่กรุง ปารีสในปี 1867 เรือ่ งราวทีถ่ กู บันทึกลงในหนังสือ เล่มนี้จึงเป็นเสมือนการบันทึกประวัติศาสตร์ ของสังคมอเมริกนั ชัน้ สูง ทัง้ แสดงถึงแรงบันดาลใจ ในการออกแบบ และความสามารถในการถ่ายทอด แนวคิดของดีไซเนอร์จากรุน่ สูร่ นุ่ ทีย่ งั คงเอกลักษณ์ และความหรูหราของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

ภาพเขียนสีนา้ํ มันในศตวรรษที่ 18 The Progress of Love โดยฌ็อง-ออนอเร ฟรากอนาร์ (JeanHonore Fragonard) ศิลปินฝรั่งเศสคนแรกๆ ในประวัติศาสตร์ศิลปะยุโรปที่ถ่ายทอดความ รักเป็นปรากฏการณ์ร่วมสมัยที่สวยงามราวกับ วรรณกรรม ภาพของเขากลายเป็นหัวข้อหลักของ นิทรรศการซึง่ พิพธิ ภัณฑ์ 3 แห่งร่วมกันสร้างสรรค์ ขึ้น ได้แก่ The Menil Collection ในฮูสตัน, Centre for Contemporary Art ในลากอส และ The Pulitzer Foundation for The Arts ใน เซนต์หลุยส์ เปิดโอกาสให้ศลิ ปินตีความความรัก ในมุมมองใหม่ เช่น ผลงานของคริสตินา แวน ไดค์ (Kristina Van Dyke) ซึ่งขยายความงานเขียน จากการลำ�ดับขัน้ เรือ่ งความรักทัว่ ไป เป็นการมอง จำ�เพาะลงไปถึงช่วงเวลาและสถานทีซ่ ึ่งมีตัวแปร ด้า นวัฒนธรรมพื้ น ถิ่ น และประวั ติ ศาสตร์ มา เกี่ยวข้อง โดยการตีความของเธอเป็นมากกว่า แค่เรื่องโรแมนติก

จะด้วยความบังเอิญของที่นั่งบนรถไฟขบวน เดียวกัน หรือช่วงเวลาที่หนุ่มอกหักได้เจอกับ สาวโสดทีค่ ยุ ถูกคอ หรืออาจเป็นปกหนังสือเรือ่ งสัน้ อีโรติกของจอร์จส์ บาตาย (Georges Bataille) ทีเ่ ตะตา ซึง่ เป็นเหตุท�ำ ให้เจสและเซลีนได้พูดคุย กันจนกระทั่งเขาตัดสินใจชวนเธอให้ใช้เวลา ร่วมกันในกรุงเวียนนาตลอดคา่ํ คืน ความเรียบง่าย รวมถึงบทสนทนาที่ได้แลกเปลี่ยนมุมมองและ ทัศนะคติตอ่ สิง่ ทีพ่ บเห็นและสิง่ ทีค่ ดิ ฝันความเชือ่ ในพรหมลิขิตและความคาดหวังในความงาม ของรักได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำ�ให้ทั้งคู่เลือกที่ จะไม่แลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์กระทั่งที่อยู่ของ กันและกัน โดยมีเพียงคำ�สัญญาว่าจะกลับมา พบกันใน 6 เดือนข้างหน้าที่สถานีรถไฟแห่ง เดิมซึง่ ได้โบกมือลากันในครัง้ นี้ เพือ่ ว่าคำ�สัญญา จะเป็นคำ�ตอบและตัวแทนของความสัมพันธ์ที่ ต้องเรียนรู้ ตั้งแต่การพบกัน การจากลาและ การพบกันใหม่ ซึ่งทั้งอาจเป็นไปได้และเป็นไป ไม่ได้อีกเลยในอนาคต

FILM

กุมภาพันธ์ 2557

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

คริ ส ตั ล แก้วเจียระไนที่เป็นมากกว่าเครื่องประดับ เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

ด้วยคุณลักษณะที่มีเหลี่ยมมุมและความแวววาวพร้อมประกายใสคล้าย เพชร รวมถึงปัจจัยด้านราคาที่ย่อมเยากว่า ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา คริสตัล หรือ “แก้วผลึก” จึงได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จัก ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว คริสตัลเป็นวัสดุที่หลอมขึ้นจากแก้ว โดยมี สารประกอบของซิลิกาและสารผสมของตะกั่วออกไซด์มากกว่าร้อยละ 24 ทำ�ให้มีค่าดัชนีหักเหสูงกว่าแก้วทั่วไป ด้วยกระบวนการหลอมให้เป็น ของเหลวที่อุณหภูมิสูงและทำ�ให้เปลี่ยนสภาพเป็นของแข็งเมื่อเย็นตัวลง โดยไม่ตกผลึก ทำ�ให้ได้เนื้อโปร่งใส ประกายแวววาวสวยงาม เมื่อผ่าน การตกแต่งด้วยการตัด เจียระไน และแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ด้วย การผลิตที่ซับซ้อน ผนวกกับความละเอียดประณีต ทำ�ให้คริสตัลมีราคา สูงต่างจากวัสดุแก้วทั่วไป และสามารถสร้างมูลค่าในตลาดสินค้าได้ดีทั้ง

10 l

Creative Thailand

ที่มา: บทความ “Advantage to Buying Swarovski Crystal Jewellery” จาก selfgrowth.com รายงาน “Facts and Figures, Swarovski Group and Crystal Business 2012” จาก brand.swarovski.com kristallwelten.swarovski.com

Flat Back Leather Made with Swarovski® Elements

Tile 10 x 10 cm MC# 6684-01

ในตลาดเครือ่ งประดับ รวมถึงในอุตสาหกรรมการผลิตหลอดโทรทัศน์และ หลอดนีออนเนื่องจากคุณสมบัติในการต้านทานไฟฟ้า สวารอฟสกี้ (Swarovski) คือหนึ่งในผู้ผลิตแก้วคริสตัลรายใหญ่ของ โลกจากออสเตรียที่สร้างรายได้ต่อปีกว่า 2.3 พันล้านยูโร แบรนด์ดังกล่าว ก่อตั้งโดย แดเนียล สวารอฟสกี้ (Daniel Swarovski) ผู้เป็นเจ้าของ จินตนาการในการสร้างสรรค์คริสตัลสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยนอก เหนือจากการเป็นเครื่องประดับแล้ว คริสตัลสวารอฟสกี้ยังถูกนำ�ไปใช้ กับงานสถาปัตยกรรม ของตกแต่ง โคมไฟ รวมทั้งเครื่องแต่งกาย และ ล่าสุด สวารอฟสกี้ยังได้เปิด Swarovski Kristallwelten หรือสวารอฟกี้ คริสตัล เวิลด์ พิพิธภัณฑ์จัดแสดงคริสตัลซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ของการฉลองครบรอบ 100 ปีของบริษทั และยังเป็นการแสดงให้เห็นอย่าง ชัดเจนว่าสวารอฟสกี้เป็นได้มากกว่าเครื่องประดับหรืองานฝีมือสำ�หรับ ตัง้ โชว์ แต่ยงั เป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ และวัฒนธรรมของคนในท้องถิน่ จึงนับ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำ�คัญของสวารอฟสกี้ จากแบรนด์ที่มุ่งแต่ธุรกิจ เพียงอย่างเดียวมาเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ด้วยการ นำ�เสนอผลงานอันเกิดจากแรงบันดาลใจทีไ่ ด้มาจากคริสตัล ทัง้ ในรูปแบบ ของการแสดง ดนตรี หรือวิทยาศาสตร์ ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ ให้ลกู ค้าของสวารอฟสกี้ ได้มีประสบการณ์ในการสัมผัสความหรูหราที่เข้าถึงได้ ไปพร้อมๆ กับ การกระตุ้นการซื้อจากลูกค้าที่สามารถเลือกซื้อคอลเล็กชั่นที่มีอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ได้โดยตรง

แผ่นเรซินหล่อขึ้นรูป โดยมีชั้นคริสตัลของสวารอฟสกี้ ประกบเป็นแกนกลาง ชั้นบนสุดทำ�จากเรซินโปร่งใส สูตรเฉพาะของผู้ผลิต ซึ่งมีพื้นผิวแข็งแรงทนทานต่อ การสึกกร่อน ต้านทานการขีดข่วน มีความมันวาวเป็น ประกายเหมือนแผ่นกระจก สามารถผลิตให้มีรูปทรง ตามต้องการ มีคา่ การดูดซึมนํ้าตํ่าจึงเหมาะสำ�หรับใช้ งานในพืน้ ทีเ่ ปียก เช่นใช้ปภู ายในห้องนํา้ หรืออ่างล้างมือ สามารถกำ�หนดสีพนื้ ด้านหลัง รวมทัง้ เลือกสีและขนาด ของเม็ดแก้วเจียระไน Crystallized™ เหมาะสำ�หรับ ทำ�เฟอร์นเิ จอร์ ปูตกแต่งร่วมกับพืน้ หินอ่อน และปูผนัง ภายในอาคารทีพ่ กั อาศัยหรือโรงแรม

l กุมภาพันธ์ 2557

MC# 6068-09 Swarovski (Thailand) Limited โดยปกติกระบวนการติดเม็ดแก้วเจียระไนและชิน้ โลหะ ลงบนหนังผิวเรียบโดยใช้ความร้อนหรือกาวนั้นมัก ทำ�ได้ยาก เนือ่ งจากจะต้องหันผิวด้านเรียบของวัสดุลง บนพื้นผิวของหนังสัตว์เท่านั้น โดยไม่สามารถใช้เข็ม ขนาดเล็กในการยึดเม็ดแก้วเหมือนการติดลงบนวัสดุ อื่นๆ ได้ ดังนั้นวัสดุชนิดนี้จึงแก้ปัญหาด้วยการเย็บ ตะเข็บบนหนังเพื่อให้มีผิวหยาบก่อน เพื่อช่วยให้เม็ด แก้วเจียระไนหรือเม็ดวัสดุอื่นๆ สามารถยึดเกาะบน หนังได้ทนนานมากขึน้ ทั้งยังสามารถกำ�หนดสีสนั ของ หนัง เม็ดหิน เม็ดแก้ว หรือวัสดุตกแต่งอื่นๆ ได้ตาม ต้องการ เหมาะสำ�หรับงานแฟชั่น เครื่องประดับ รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ และงานออกแบบภายใน


CLASSIC ITEM คลาสสิก

• โศกนาฏกรรมรักนี้เกิดขึ้น ณ เมืองเวโรน่า อิตาลี เมื่อหนุ่มน้อยนามโรเมโอ แห่งตระกูลมงตากูไปพบรัก กับสาวงามจูเลียต แห่งตระกูลคาปุเล็ต แต่กลับต้องพบอุปสรรค เพราะครอบครัวของทั้งคู่นั้น บาดหมางกันมาช้านาน แม้จะลักลอบจัดงานแต่งงาน อย่างลับๆ และพยายามหนีไปด้วยกัน แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้ให้แก่ชะตากรรม ด้วยเหตุผลที่ว่าการปลิดชีพตัวเองเพราะรักนัน้ มีคา่ มากกว่าชีวติ ทีด่ �ำ เนินไปอย่างเดียวดาย

การต่อสู้ของสองตระกูล ไปจนถึงการตายของสอง ตัวละครเอกไว้อย่างครบถ้วน • ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โรเมโอและจูเลียต เวอร์ชั่นใหม่ ฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นผลงานกำ�กับของ คาร์โล คาร์เลย์ (Carlo Carlei) ที่ได้ดัดแปลงภาษาให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสร้างเวอร์ชั่นละคร บอร์ดเวย์ที่จูเลียตรับบทโดยนักแสดงผิวสี เป็นครั้งแรก ขณะที่บริษัทรอยัล เชกสเปียร์ (Royal Shakespeare Company) เรื่อง: โอ๊ต มณเฑียร ภาพประกอบ: โอ๊ต มณเฑียร และ Pomme Chan

ความรัก ความตาย และการแต่งงาน คือสามสัญลักษณ์แห่งความเป็นนิรันดร์ในคริสตศาสนามาตัง้ แต่ยคุ กลาง โดยในรัชสมัย ของสมเด็จพระราชินนี าถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ สามสิง่ นีย้ ง่ิ ผูกพันแน่นแฟ้นขึน้ ด้วยสงครามและโรคระบาด ทำ�ให้แนวคิดเรือ่ ง การระลึกถึงความตาย (Memento Mori) ปรากฏอยู่ในผลงานสร้างสรรค์ของอังกฤษยุคนี้มากมาย รวมไปถึงในบทกวีและ งานประพันธ์อย่าง โรเมโอและจูเลียต ของกวีเอกวิลเลียม เชกสเปียร์ • บทประพั น ธ์ นี้ ดั ด แปลงจากเรื่ อ งเล่ า โบราณของ อิตาลี และได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก โดยอาเธอร์ บรูก (Arthur Brooke) กวีชาวอังกฤษในปี 1562 และห้าปีหลังจากนัน้ เรือ่ งราวแห่งรักทีไ่ ม่สมหวัง นี้ก็ถูกนำ�มาเล่าอีกครั้งในหนังสือรวบรวมเรื่องเล่า คลาสสิกจากอิตาลีชื่อ The Palace of Pleasure โดย วิลเลียม เพนเตอร์ (William Painter) ต่อมาวิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shapespear) จึงนำ�โครงเรื่อง และตัวละครมาถ่ายทอดใหม่เป็นบทละครเวทีด้วย ลักษณะภาษาที่วิจิตรงดงามเป็นเอกลักษณ์ และเปิด แสดงครั้งแรกในปี 1597 •โรเมโอและจูเลียต ถือเป็นหนึง่ ในบทละครทีถ่ กู นำ�มา แสดงบ่อยที่สุดในประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังถูกนำ�มาดัด แปลงต่อยอดอีกหลายรูปแบบ ทัง้ บทเพลง ละครวิทยุ และโทรทัศน์ โอเปร่า และทีโ่ ด่งดังมากคือภาพยนตร์

ทั้งเวอร์ชั่นปี 1936 ซึ่งกำ�กับโดยจอร์จ คูกอร์ (George Cukor) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ หลายสาขา รวมถึงเวอร์ชน่ั ปี 1996 ของบาซ เลอห์มานน์ (Baz Luhrmann) ทีจ่ ดั ฉากขึน้ ใหม่แบบร่วมสมัย ทำ�ให้ เห็นความเชื่อมโยงของลักษณะตัวละครกับวัยรุ่นยุค เอ็มทีวี (MTV generation) อีกด้วย •ในปี 1922 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลและประพันธ์บทละครเรือ่ งนีเ้ ป็นกาพย์ยานี 11 เพื่อพระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดีศจี พระวรราชชายา ต่อมา ป.อนุคระหานนท์ได้แปลโรเมโอ และจูเลียตอีกครั้งเป็นร้อยแก้วจึงได้รับความนิยม อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ ยังมีการหยิบโครงเรื่องไป ดัดแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์เรือ่ งรักในรอยแค้น โดย บริษัท เอ็กแซ็กท์ จำ�กัด ออกฉายเมื่อปี 1992 โดย คงฉากสำ�คัญๆ อย่างการสาบานรักบนระเบียงบ้าน

ก็ได้พัฒนาการจัดแสดงบทละครสุดคลาสสิกเรื่องนี้ บนสื่อร่วมสมัย เพื่อเปิดให้ผู้ชมสามารถโต้ตอบกับ ตัวละครผ่านสือ่ สังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์และยูทบู ระหว่างการแสดง สะท้อนให้เห็นว่าเนื้อหาเรื่องความ รั ก และความตายนั้ น สามารถปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบ และยังคงเข้าถึงหัวใจผู้คนได้อย่างเป็นอมตะในทุก กาลสมัยอย่างแท้จริง ที่มา: The Drama of Love, Life and Death in Shakespeare (2000) โดย Anthony Holden วิทยานิพนธ์ “Shakespeare in Thailand” (2011) โดย Paradee Tungtang (phD, Warwick University)

กุมภาพันธ์ 2557

l

Creative Thailand

l 11


D COVER STORY เรื่องจากปก

ROCKS

R

AND

Y

SES

คุณค่าแห่งนิจนิรันดร์ เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

I

แม้ปอนเต เวคคิโอ (Ponte Vecchio) ในฟลอเรนซ์ จะมีชอื่ เสียงจากการเป็นย่านการค้าช่าง ทองฝีมือประณีต สะพานแห่งนี้ยังเป็นจุดหมายของคู่รักที่ต้องการนำ�แม่กุญแจแห่งรัก หรือ ลุคเคตติ ดามอเร่ (Lucchetti d’Amore) มาคล้องราวรั้วลูกกรงกั้นรูปปั้นของเบนเวนูโต เซลลินี่ (Benvenuto Cellini) ก่อนจะโยนลูกกุญแจให้จมหายลงในสายนํ้าอาร์โนด้วยเชื่อ ว่าจะทำ�ให้รกั คงอยูช่ วั่ กาล ไม่ตา่ งกัน ในปารีส เมืองทีข่ นึ้ ชือ่ ว่าโรแมนติกทีส่ ดุ ในโลก ซีล่ กู กรง สะพานคนข้ามปง เด ซาร์ต (Pont des Arts) และสะพานปง เดอ ลาร์คเชแวเช (Pont de l'Archeveche) ก็เต็มแน่นไปด้วยแม่กญ ุ แจหลากสีหลายแบบทีส่ ลักทัง้ ชือ่ และระบุวนั ทีค่ รู่ กั มาร่วมกันคล้องแม่กุญแจ 12 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557


COVER STORY เรื่องจากปก

© BrooksKraft/Corbis

© BarryLewis/InPictures/Corbis

แน่นอนว่าการกระทำ�นีส้ ร้างความสุขใจให้กบั คูร่ กั (อย่างน้อยก็ขณะทีล่ อ็ กแม่กญุ แจ) หากเป็นภาระปวดหัวให้เมืองทีต่ อ้ งจัดการ กับสัญลักษณ์แห่งรักที่เกิดขึ้นตามกระแสความนิยมของนักท่องเที่ยว และไม่ว่าตำ�นานการคล้องแม่กุญแจบนสะพานที่เปรียบ ดั่งการเชื่อมคนสองฝั่งเข้าหากันจะมีต้นกำ�เนิดจากอะไร ในแต่ละปี เทศบาลเมืองฟลอเรนซ์ต้องตัดแม่กุญแจทิ้งเป็นพันๆ ตัว เนือ่ งจากสร้างความเสียหายและทำ�ลายทัศนียภาพ ตัง้ แต่ปี 2006 ตำ�รวจฟลอเรนซ์ตอ้ งออกกฎห้ามและตัง้ ค่าปรับการแสดงออก ถึงความรักดังกล่าวเป็นเงินถึง 50 ยูโร ขณะที่ปารีส ทุกๆ หกเดือน เขต 6 ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสะพานปง เด ซาร์ต ต้องตัดล็อก บางส่วนบนสะพานออกด้วยเกรงว่านํา้ หนักแม่กญุ แจทีค่ ล้องต่อๆ กันอาจทำ�ให้ตวั ล็อกบางส่วนหักร่วงลงไปเป็นอันตรายแก่ผคู้ น บนเรือท่องเทีย่ วขณะลอดผ่านใต้สะพานได้ แต่ถ้าตัวแทนแห่งรักนิรันดร์นี้ถูกทำ�ลายเป็นขยะได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้คีมตัดออก ทำ�ไมปัจจุบันปรากฏการณ์ล็อกแห่งรัก ยังแพร่หลายไปทั่วโลก โดยตั้งแต่ต้นสหัสวรรษใหม่ มีสถานที่ที่ว่ากันว่าแสนโรแมนติกให้คู่รักประกาศความรักด้วยแม่กุญแจ อยู่ทุกทวีป ไม่ว่าจะเป็นบนภูเขา (จีน) บนยอดตึกชมวิว (เกาหลี) หรือกระทั่งบนชิ้นงานศิลปะ (เนเธอร์แลนด์) เพราะเหตุใด ความรักจึงต้องการสัญลักษณ์ และเราเลือกแสดงออกถึงความรักกันอย่างไร

แทนใจจากวันวาน B ในวันที่ 29 เมษายน 2011 เคท มิดเดิลตัน เดินเข้าสู่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์เพื่อเข้าพิธีเสกสมรสกับเจ้าชาย วิลเลียมโดยถือช่อดอกไม้ที่มองเผินๆ ดูเรียบง่ายไม่มีอะไรเป็นพิเศษ หากดอกไม้ทรงโล่ช่อเล็กนั้นกลับเต็มไป ด้วยดอกไม้และไม้ใบที่ปลูกในท้องถิ่นที่ถูกเลือกแล้วว่าสามารถสื่อถึงความรักและความสุข

เชน คอนนอลลี (Shane Connolly) นักจัดดอกไม้ประจำ�ราชสำ�นักคือผู้ที่ออกแบบและจัดช่อบูเกต์ที่มิดเดิลตันถือให้เป็นสีขาว ตามธรรมเนียมพระราชพิธี โดยมี ลิลลี่ ออฟ เดอะ แวลลีย์เป็นตัวแทนการกลับมาของความสุข ดอกสวีท วิลเลี่ยมคือความ กล้าหาญ ไฮยาซินธ์สื่อถึงรักมั่น เถาไอวี่และดอกของต้นไมร์เทิลเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและการสมรส ซึ่งตัดมาจากต้น ไมร์เทิลที่ปลูกโดยสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเองในปี 1845 กุมภาพันธ์ 2557 l Creative Thailand l 13


COVER STORY เรื่องจากปก

ปัจจุบันอำ�เภอพบพระ จังหวัดตาก เป็นแหล่งผลิตกุหลาบตัดดอก ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งเว็บไซต์จังหวัดตากระบุว่ากุหลาบเป็น หนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำ�คัญของจังหวัดโดยผลิตได้ปีละประมาณ 365 ล้านดอก คิดเป็นมูลค่าราว 730 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบัน นอกจากกล้วยไม้ทสี่ ง่ ออกเป็นอันดับ 1 ไทยกำ�ลังสนับสนุนให้ กุหลาบเป็นไม้เศรษฐกิจใหม่รว่ มกับ เฟิรน์ สับปะรดสี และแคคตัส

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557

หนึ่งในนักเขียนนวนิยายที่โด่งดังที่สุดในโลก ตะวันตกคือ เจน ออสติน (Jane Austen) ไพรด์ แอนด์ เพรจูดิซ (Pride and Prejudice) งาน ประพันธ์ทแี่ ต่งขึน้ ในปี 1813 ได้รบั การจัดอันดับ เป็นนวนิยายโรมานซ์ยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เคย มีมา นิยายที่จับใจนักอ่านทั่วโลกและเพิ่งฉลอง ครบรอบ 200 ปี ไปเมื่อปีที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่ จบลงอย่างสุขสมหวังตามขนบของนวนิยาย โรมานซ์ หากยังเปี่ยมเสน่ห์ด้วยการสร้างสรรค์ ตัวละครหลักได้ทรงพลังเสียจนนักอ่านทุกยุค สมัยก็เชื่อมโยงและเข้าถึงได้ แอนน์ แชนนอน จากพิพิธภัณฑ์บ้านเจน ออสติน ที่ชอว์ตันใน แฮมไชร์ กล่าวว่า “สาเหตุที่หนังสือเล่มนี้สั่น สะเทือนแวดวงวรรณกรรมในสมัยนั้น ก็เพราะ ออสตินสร้างตัวละครเอกเอลิซาเบธ เบนเน็ต ให้ กล้าลุกขึ้นมาต่อปากต่อคำ�กับสุภาษบุรุษชั้นสูง อย่างคุณดาร์ซี ซึ่งนับว่าเป็นพฤติกรรมที่แรง มากสำ�หรับสตรีในยุคนั้น” ออสตินเขียนงานชิ้นนี้ผ่านการสังเกตค่า นิยมและความเป็นไปของยุคสมัย รวมถึงสอด แทรกประเด็ น การค้ น หาตั ว ตนที่ ก ลายเป็ น รากฐานขนบการแต่งนวนิยายโรมานซ์มาจน ปัจจุบัน “เป็นนิยายเรื่องแรกในงานวรรณกรรม อังกฤษที่จับเอาความโรแมนติกถูกใจผู้หญิง ทุกคนมาใส่ไว้ เรื่องพาฝันทำ�นองซินเดอเรลล่า สาวหน้าตาสวยพอประมาณและมีฐานะไม่ได้ รํ่ารวยอะไรนัก แต่สามารถเอาชนะใจหนุ่มโสด ผู้มั่งคั่งได้” เจเน็ต ทอดด์ ประธานวิทยาลัยลูซี่ คาเวนดิช ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ให้เหตุผล

BarryPhillip/ZumaPress/Corbis

flickr.com/photos/r-hamdan

เมือ่ แฟนตาซีในการแสดงออกซึง่ ความรัก และการได้เป็นทีร่ กั คือเครือ่ งมือทีส่ ามารถ ช่วยปลดปล่อยจินตนาการและพาผู้อ่าน หลบหนีจากโลกแห่งความจริงได้อย่าง ซาบซึ้ ง ตรึ ง ใจ งานวรรณกรรมในกลุ่ ม นวนิยายโรมานซ์เป็นอีกหนึง่ อุตสาหกรรม สร้างสรรค์ที่ได้อานิสงส์จากสังคมสมัย วิคตอเรียนอันเต็มไปด้วยข้อห้ามและข้อ จำ�กัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำ�หรับสตรี

ธรรมเนียมการใช้ดอกไม้เป็นสือ่ แทนใจเป็นทีน่ ยิ มอย่างยิง่ ในสมัยวิคตอเรียน (ราวปี 1837-1901) ในปี 1717 เลดี้แมรี่ เวิร์ธลี่ มงตากู (Lady Mary Wortley Montagu) ภรรยาท่านทูตอังกฤษประจำ� คอนสแตนติโนเปิล ประทับใจในภาษาสัญลักษณ์ที่นางในฮาเร็มในตุรกีใช้เป็นรหัสสื่อสารกันและนำ� กลับมาแนะนำ�ให้ชาวอังกฤษรูจ้ กั เมือ่ สมเด็จพระราชินนี าถวิคตอเรียขึน้ ครองราชย์ในปี 1837 ความ หลงใหลส่วนพระองค์ทมี่ ตี อ่ ภาษาดอกไม้ได้ท�ำ ให้การเรียนรูศ้ าสตร์แห่งดอกไม้และพืชพันธุจ์ งึ กลาย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติและแฟชั่นใหม่ในหมู่สตรีสมัยวิคตอเรียน กรอบทางสังคมประเพณีอันเคร่งครัดและเคร่งขรึมของยุคสมัยคือแรงผลักดันสำ�คัญให้เกิดวิธี การสื่อสารอันสร้างสรรค์และโรแมนติกนี้ เมื่อความคิดและอารมณ์ความรู้สึกไม่อาจบอกกล่าวเป็น คำ�พูดได้โดยง่าย ผู้คนยุควิคตอเรียนมักส่งของขวัญเป็นดอกไม้ ต้นไม้ และช่อดอกไม้ที่ตั้งใจจัดขึ้น เป็นพิเศษเพือ่ บอกความนัย ตลอดศตวรรษที่ 19 มีการตีพมิ พ์พจนานุกรมภาษาดอกไม้จ�ำ หน่ายแพร่ หลายกว่า 400 สำ�นวน ซึ่งกลายเป็นแหล่งกำ�เนิดความคิดสร้างสรรค์ชั้นเยี่ยมให้ผู้คนสามารถส่ง “ทุสซี่-มุสซี่” หรือช่อบูเกต์ขนาดเล็กจัดเข้าช่อตามความหมายให้แก่กันและกัน ทุกวันนี้ การมอบดอกไม้ให้คนรูใ้ จในโอกาสพิเศษได้ชว่ ยเติมเต็มความรูส้ กึ และพาเราย้อนกลับ ไปหาขนบธรรมเนียมการสือ่ ใจอันโรแมนติกของอดีต อุตสาหกรรมดอกไม้ทเี่ ป็นหนึง่ ในอุตสาหกรรม หลักของหลายประเทศทั่วโลกได้เติบโตอย่างรวดเร็วและมีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงแม้ คนส่วนใหญ่อาจจะจำ�ได้เพียงว่ากุหลาบแดงสื่อรักแท้ และความหมายของดอกไม้ต่างๆ จะถูกลืม เลือนก็ตาม

14 l

เปลี่ยนจินตนาการ Y ให้เป็นจริง


flickr.com/photosthalita-carvalho

ว่าทำ�ไม ไพรด์ แอนด์ เพรจูดิซ ถึงเป็นนวนิยาย “ไอคอน” ตลอดมาของวรรณคดีอังกฤษ ปัจจุบัน ไพรด์ แอนด์ เพรจูดิซ มียอดจำ�หน่ายทั่วโลกกว่า 20 ล้านเล่ม และได้รับการดัดแปลง เป็นภาพยนตร์จอเงินและจอแก้วมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ราวปี 1940 เป็นต้นมา เมื่อคนจำ�นวนไม่น้อยยังคงโหยหาความรักโรแมนติกและ ความรู้สึกหวามไหวจากการอ่านนิยายโรมานซ์ ซึ่งอาจมีโครง เรือ่ งได้ตงั้ แต่การย้อนเวลาไปในอดีต ไปจนถึงรักระหว่างมนุษย์ กับมนุษย์หมาป่าหรือแวมไพร์ นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าเรา ประยุกต์ต�ำ นานความเชือ่ ทีส่ งั่ สมจากอดีตมาใช้เป็นต้นทุนทาง ความคิดอย่างสร้างสรรค์ ยังสะท้อนให้เห็นว่าเราสามารถ เปลีย่ นจินตนาการรักให้สามารถจับต้องได้อย่างกว้างไกล ในปี 2013 สถิติจาก Business of Consumer Book Publishing ระบุ ว่านวนิยายโรมานซ์สร้างยอดจำ�หน่าย สูงถึงราว 1.350 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 4.5 แสนล้านบาท โดยในปี 2012 นิยาย โรมานซ์ยงั ครองส่วนแบ่งตลาดนวนิยายในสหรัฐฯ มากทีส่ ดุ เป็น อันดับหนึ่งที่ร้อยละ 16.7 อีกด้วย

แทนคำ�รักในวันนี้

Q

ในการประมูลทีจ่ ดั ขึน้ ทีโ่ อเซนาท์ อ๊อกชัน่ เฮาส์ (Osenat Auction House) เมือ่ มีนาคม 2013 ทีฟ ่ องเตนโบลในปารีส แหวนหมัน้ ทีน่ โปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) มอบให้โฌเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ (Josephine de Beauharnais) ในปี 1796 ได้รบั การประมูลไปในราคาสูงทีถ่ งึ 730,000 ยูโร โดยสัญลักษณ์แทนคำ�มัน่ สัญญาและการแต่งงานนี้ ทำ�จากทองประดับ เพชรและแซฟไฟร์สีนํ้าเงินทรงลูกแพร์หนักหนึ่งกะรัตวางเคียงคู่กัน และมี ราคาเปิดประมูลอย่างถ่อมตัวที่ 10,000 ยูโร

ย้อนไปในปี 1968 ดาราจรัสฟ้าเอลิซาเบ็ธ เทเลอร์ (Elizabeth Taylor) ได้รับแหวนทับทิม Puertas Ruby แบรนด์ฟาน คลีฟ & อาร์เปล (Van Cleef & Arpels) หนัก 8.25 กะรัตจากริชาร์ด เบอร์ตนั (Richard Burton) เป็นของขวัญคริสต์มาส เมือ่ คริสตีส์ จัดการประมูลทรัพย์สินของเทเลอร์ในปี 2011 ภายหลังการเสีย ชีวิต แหวนวงดังกล่าวถูกประมูลไปในราคา 4,226,500 เหรียญ สหรัฐฯ โดยคอลเล็กชัน่ เครือ่ งประดับอัญมณีซงึ่ มีมลู ค่า 30 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ถูกประมูลไปในราคาทัง้ สิน้ รวม 115 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ สูงที่สุดตั้งแต่คริสตีส์เคยจัดการประมูลอัญมณีมา จากแหวนหมัน้ เพชรนํา้ เอกพร่างพรายตาตามขนบ เมือ่ เจ้า ชายวิลเลี่ยมขอเคทแต่งงานด้วยแหวนแซฟไฟร์สีนํ้าเงินซึ่งเคย

เป็นของเลดีไ้ ดอาน่าผูล้ ว่ งลับ แหวนประดับอัญมณีสกี ไ็ ด้กลายเป็นทางเลือกใหม่ส�ำ หรับ คู่รักที่ต้องการเกาะกระแส ในปี 2014 บริษัท แพนโทน (Pantone) ผู้เชี่ยวชาญในการ คัดเลือกเฉดสีระดับโลกได้ยกให้สีม่วงกล้วยไม้ (Radiant Orchid) เป็นสีประจำ�ปี ปัจจุบันทับทิม แซฟไฟร์หลากสี อะเมธิสต์ ทัวร์มารีน หรือมอร์เกนไนต์ กลายเป็นตัว เลือกอันขานรับช่วงเศรษฐกิจตกตํ่าด้วยราคาที่ย่อมเยากว่าเพชรและรูปแบบการ เจียระไนที่เอื้อให้สร้างสรรค์แหวนลุควินเทจดูเป็นมรดกตกทอดแม้จะจับคู่กับงาน ออกแบบตัวเรือนสมัยใหม่ พอลลี่ เวลส์ (Polly Wales) นักออกแบบอัญมณีชาวอังกฤษนำ�พื้นหลังด้านประติมากรรมมาผสม เข้ากับความหลงใหลในอัญมณีแหวนทั หลากสีบทิแมละเทคนิ การขึ้นรูปทรงชิ้นงานด้วยการหล่อขี้ผึ้งแบบเก่า PuertasคRuby โดย เฟาน อาร์เปล สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับแบบมี พียงชิคลี้นฟเดี&ยวในโลก ที่ให้ความรู้สึกเหมือนเครื่องประดับ กุมภาพันธ์ 2557

l

Creative Thailand

l 15


COVER STORY เรื่องจากปก

โบราณจากยุคไบแซนไทน์หรือสมัยบาโรค

“รักเป็น” หรือ “เป็นที่รัก”

ในหนังสือว่าด้วยศาสตร์แห่งการรัก (The Art of Loving) ซึ่งอีริช ฟรอมม์ (Erich Fromm) นักจิตวิทยาและนักปรัชญาสังคมศาสตร์เชื้อสายเยอรมัน เขียนขึ้นในปี 1956 ฟรอมม์อธิบายในบท "ความรักเป็นศาสตร์หรือไม่ (Is Love an Art?)" ว่า ศาสตร์แห่งรักเป็นผลของการเรียนรูแ้ ละการพยายาม เพื่อเติมเต็มความโดดเดี่ยวไม่ใช่ประสบการณ์ทางอารมณ์ โดยผู้คนส่วน ใหญ่มักมีทัศนคติว่าไม่มีอะไรต้องเรียนรู้เรื่องการรัก และมักคิดว่าการรัก ใครสักคนเป็นเรื่องง่ายๆ แม้จะมีหลักฐานแสดงถึงความล้มเหลวให้เห็น มากมายก็ตาม โดยสมมติฐานอันดับแรกคือ เพราะคนมักมองเรื่อง “การ เป็นหรือไม่เป็นทีร่ กั ” มากกว่าเรือ่ ง “การมีความสามารถทีจ่ ะรักผูอ้ นื่ ได้หรือ ไม่” คนจึงมุ่งไปที่การพยายามทำ�ตัวเองให้เป็นจุดสนใจหรืออาจสรุปสั้นๆ ได้ว่าคือการทำ�ตัวให้ป๊อปปูลาร์และมีแรงดึงดูดทางเพศ คนในสังคมสมัย ใหม่ยงั มองว่าการจะรักใครสักคนนัน้ ง่าย แต่จะหาคนมารักหรือมาเป็นทีร่ กั นัน้ ยาก ซึง่ เป็นการทอนความสัมพันธ์ให้เป็นเพียงเรือ่ งเชิงวัตถุมากกว่าเรือ่ ง ของศักยภาพ และสุดท้าย คนส่วนใหญ่ยงั สับสนระหว่างการตกหลุมรักและ การมีสัมพันธ์รักระยะยาว ซึ่งถ้าหากลองคิดตามแล้วก็ดูมีเหตุผล ช่วง “หมดโปรโมชั่น” พิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่ามีอะไรมากกว่าแค่ความรัก ที่จะ บอกว่าคนสองคนจะอยู่กันยืดหรือไม่ยืด

pollywales.com

และสำ�หรับคู่รักที่ต้องการของที่ระลึกถึงความรักของทั้งสองว่าแสน พิเศษเพียงใด ตั้งแต่ตุลาคมที่ผ่านมา แฮร์รี่ วินสตัน (Harry Winston) ผู้ ผลิตนาฬิกาและเครื่องประดับเพชรชื่อดังของสหรัฐฯ ก็มอบประสบการณ์ แสนพิเศษของการได้สั่งทำ�แหวนวงพิเศษให้คู่รักผ่านบริการ “Ultimate Bridal Collection” ที่นำ�เสนอบริการรังสรรค์แหวนหมั้นเพชรที่ไม่เหมือน ใครเช่นเดียวกับประสบการณ์รกั ของคนสองคนให้เป็นความทรงจำ�ไม่รลู้ มื เช่นเดียวกัน เดอ เบียส์ (De Beers) ได้เปิดให้บริการใหม่ “For You, Forever” บริการช่วยเหลือคู่รักที่ต้องการออกแบบและสั่งทำ�แหวนหมั้น มากเอกลักษณ์ชนิดมีวงเดียวในโลก และเพิม่ แอพพลิเคชัน The Bridal App ทีเ่ ปิดโอกาสคูร่ กั ได้ทดลองออกแบบแหวนบนไอแพดหรือโทรศัพท์เคลือ่ นที่ แม้การให้สัญลักษณ์แห่งรักจะไม่ได้รวมถึงการได้อยู่ร่วมกันชั่วกาล ดั่งหวัง นโปเลียนหย่าขาดกับโฌเซฟีน เบอร์ตันและเทเลอร์ก็เช่นเดียวกัน หากการให้ค่าความรักนี้ได้กลายเป็นทางเลือกหนึ่งในการแสวงหาและ แสดงออกถึงความรักในสังคมแห่งการบริโภค ไม่น่าแปลกใจที่ชายหญิง ต่างอัพเกรดโปรไฟล์เพื่อต่อรองแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียกว่า “ความรัก” อย่าง สมนาํ้ สมเนือ้ ในตลาดบนความโรแมนติก และเมือ่ นิยามของหนุม่ สาวสมัย นิยมแปรเปลีย่ นได้ตลอดเวลา การประกาศความรักผ่านสัญลักษณ์จงึ กลาย เป็นเครื่องมือประนีประนอมและบอกกล่าวถึงความเป็นที่รักต่อสาธารณะ ตามเงื่อนไขและบริบททางสังคม ที่หน้าตาคุณค่าแห่งรักนี้กลับแปรผกผัน ตามคุณค่า ราคา รสนิยมความชอบส่วนบุคคลและยุคสมัย

พอลลี่ เวลส์ Polly Wales

นักออกแบบอัญมณีชาวอังกฤษนำ� พื้นหลังด้านประติมากรรมมาผสม เข้ า กั บ ความหลงใหลในอั ญ มณี หลากสีและเทคนิคการขึน้ รูปทรงชิน้ งานด้ ว ยการหล่ อ ขี้ ผึ้ ง แบบเก่ า สร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับแบบมี เพียงชิน้ เดียวในโลก ทีใ่ ห้ความรูส้ กึ เหมือนเครือ่ งประดับโบราณจากยุค ไบแซนไทน์หรือสมัยบาโรค

16 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557


COVER STORY เรื่องจากปก

Rรักในโลกร่วมสมัย

R

กระแสสังคมที่สองคือประชาคมโลกกำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดย ฟิชเชอร์กล่าวว่า ยิ่งคู่สมรสมีอายุเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ แนวโน้มที่จะหย่า ร้างจะยิง่ ลดลง สถิตกิ ารหย่าร้างของชาวอเมริกนั คงทีแ่ ละมีแนวโน้มจะลด ลงเรื่อยๆ กล่าวได้ว่าโอกาสในการจะทำ�ให้ความสัมพันธ์ของเราสอง ยืนยาวนั้นไม่เคยสดใสเท่านี้มาก่อน ซึง่ หากลองคิดดูแล้วนัน่ อาจหมายถึง อายุขยั เฉลีย่ เพิม่ ขึน้ จะส่งผลกระทบกับการแต่งงานทีจ่ ะช้าลงเรือ่ ยๆ ตาม ความพร้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ และการก้าวเข้าสู่ความสัมพันธ์ และ การแต่งงานของคนที่มีวุฒิภาวะเต็มที่นั้นส่งผลต่อการคงความสัมพันธ์ เมื่อเรามองจากสภาพสังคมปัจจุบันที่เปิดกว้าง ไม่เพียงแต่เงื่อนไข ทางสังคมระหว่างคู่รักต่างเพศกำ�ลังค่อยๆ เลือนหาย การเลือกที่จะใช้ ชี วิ ต ร่ ว มกั น ของคู่ รั ก เพศเดี ย วกั น ก็ เ ริ่ ม ได้ รั บ การยอมรั บ และมี สิ ท ธิ ทางกฎหมายเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2011 เฟซบุค เพิ่มสถานะความสัมพันธ์ใหม่ให้คู่รักเพศเดียวกัน (In a civil union และ In a domestic partnership) และเมือ่ ปีทผี่ า่ นมาศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ได้ ตัดสินให้กฎหมาย Defense Marriage Act (DOMA) ซึ่งเป็นกฎหมาย รัฐบาลกลางที่ผ่านสภาคองเกรสในปี 1996 สมัยประธานาธิบดีคลินตัน เป็นกฎหมายที่กีดกันผลประโยชน์ของชาวรักร่วมเพศ จากการนิยามการ สมรสว่าเป็นการสมรสเฉพาะชายหญิงเท่านัน้ ทำ�ให้จากนีค้ รู่ กั เพศเดียวกัน ที่ผูกพันตามกฎหมาย (civil union) ในมลรัฐที่อนุญาต จะมีสิทธิได้รบั สวัสดิการทางสังคมและการลดหย่อนภาษี

กุมภาพันธ์ 2557

l

© JoseLuisPelaezInc./ImageSource/Corbis

ในงานสัมมนาประจำ�ปีของ TED เมื่อปี 2006 เฮเลน ฟิชเชอร์ นัก มานุษยวิทยาชาวอเมริกนั กล่าวในการบรรยาย “Why we love, why we cheat” ถึงกระแสสังคมครั้งใหญ่สองกระแสที่เธอเชื่อ ว่าจะคงอยู่ต่อไปอีกนับหมื่นปี หนึ่งคือ สตรีจะกลับเข้าสู่ตลาด แรงงานมากขึ้น เฉกเช่นในยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อผู้หญิงรับ หน้าที่เก็บสะสมของป่าเป็นเสบียง ฟิชเชอร์กล่าวว่าไม่มีช่วงเวลา ไหนทีผ่ หู้ ญิงจะกลับมาเท่าเทียมกับผูช้ ายเช่นในปัจจุบนั หากมอง ในเชิงการได้รบั การศึกษา ด้านสุขภาพ และอิสรภาพทางการเงิน ทำ�ให้เกิดปรากฏการณ์ “Marriage Equality” หรือการเข้าสู่ การแต่งงานกันระหว่างคนสองคนอย่างเท่าเทียมและสมัครใจ โดยที่คู่รักจะไม่แต่งงานกันหากไม่ได้ “รัก” กันจริงๆ

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

ไม่วา่ จะอย่างไร ปรากฏการณ์ลอ็ กแห่งรักได้บอกเรา ว่า จะยุคไหนสมัยใด สัญลักษณ์แทนความรูส้ กึ นึกคิด ของเราจะยังคงอยู่ และวิถีทางแห่งการแสดงออกซึ่ง รักนัน้ จะยังคงแปรเปลีย่ นไปเรือ่ ยๆ ทัง้ ทีช่ ว่ ยเติมเต็ม จินตนาการจนเกิดเป็นงานสร้างสรรค์อย่างวรรณกรรม ที่หล่อเลี้ยงให้ผู้อ่านยังคงใช้ชีวิตต่อไปในโลกแห่ง ความจริง หรือการให้คา่ แก่ดอกไม้หรืออัญมณีในฐานะ ตัวแทนแห่งรัก ซึ่งทรงพลังจนสร้างแรงสั่นสะเทือน แก่ทั้งสภาพสังคมและเศรษฐกิจมาโดยตลอด

แต่หากท้ายที่สุดแล้ว สัมพันธ์รักจะไม่ยืนยาวดั่งคำ�สัญญาและสัญลักษณ์ที่เคยใช้แทนใจได้ กลายเป็นตัวแทนของความล้มเหลวไปเสียแล้ว เว็บไซต์ neverlikeitanyway.com ก็ยังเปิด ให้ใครก็ตามสามารถนำ�ของที่ระลึกจากสัมพันธ์รักที่ล่มไป ไม่ว่าจะเป็นแหวน เสื้อผ้า ชุดแต่งงาน กระทั่งตั๋วเครื่องบิน มาขายในราคา “ลดเลิก” ที่ให้โอกาสของที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ได้ไปอยูก่ บั เจ้าของคนใหม่ และเจ้าของคนเก่าได้กา้ วเดินต่อไปข้างหน้าพร้อมเงินในกระเป๋า หรือหากอยากให้เรื่องราวความรักเป็นอุทาหรณ์แก่คนรุ่นหลัง พิพิธภัณฑ์ความสัมพันธ์ที่ไป ไม่รอด (Museum of Broken Relationships) ที่ซาเกร็บ โครเอเชีย ก็รับบริจาควัตถุจัดแสดง จากความรักที่ไม่ประสบความสำ�เร็จและนำ�คอลเล็กชั่นและเรื่องราวเบื้องหลังสัมพันธ์ไม่ ยืนยงออกจัดแสดงมาแล้วทั่วโลก (แน่นอนว่าชื่อและนามสกุลของเจ้าของวัตถุจัดแสดงไม่ เป็นที่เปิดเผย)

digitalnewsroom.co.uk

brokenships.com

เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รักนั้นมีค่าเสมอ

18 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557

ที่มา: บทความ “การพัฒนาไม้ดอกของไทยสูก่ ารแข่งขันในตลาดอาเซียน” (2013) โดย โสระยา ร่วมรังษี จาก วารสารแก่นเกษตร บทความ “ส่งเสริม “ไม้ดอกสี่ชนิด” ของไทย ขึ้นแท่นพันธุ์ไม้เศรษฐกิจโลก” (2012) จาก dailynews.co.th รายงาน “International Statistics - Flowers and Plant Edition 2013” จาก aiph.org บทความ “Facebook Adds New Relationship Status Types, but Not to the Ad Tool” (2011) จาก insidefacebook.com บทความ “Floriography: The Language of Flowers in the Victorian Era” (2011) จาก proflowers.com บทความ “Happy 200th birthday to Jane Austen's 'Pride and Prejudice'” (2013) จาก alaskadispatch.com บทความ “History of the Language of Flower Book” จาก literarycalligraphy.com บทความ “Love padlocks threaten Paris beloved Pont des Arts” (2013) จาก usatoday.com บทความ “Napoleon's Engagement Ring To Josephine Fetches $948,000 At Auction” (2013) จาก forbes.com บทความ “Paris love locks could cause fatal accident” (2013) จาก thelocal.fr บทความ “Rome mayor in 'love padlock' row” (2007) จาก news.bbc.co.uk บทความ “Royal Wedding: The Meaning Behind Princess Kate’s Bouquet” (2011) จาก glamour.com บทความ “Supreme Court strikes down Defense of Marriage Act” (2013) จาก usatoday.com บทความ “The Art of Loving” โดย Erich Fromm จาก archive.org วิดีโอ “Helen Fisher: Why we love, why we cheat” โดย TED Talks จาก youtube.com brokenships.com, euromonitor.com, neverlikeditanyway.com, prideandprejudice200.org.uk, rwa.org, thejewelleryeditor.com, unionfleurs.org


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล

รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม • โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October • ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon • บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public • รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café • Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café • Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art • มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • ชีสเคกเฮาส • Minimal • บรรทมสถาน • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • The Salad Concept • Hallo Bar • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • Take a Seat • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Greyhound (Shop and Café) • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน บายนิตา • I Love Coffee Design • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Caffé D’Oro • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อิฐภราดร ลําปาง โรงภาพยนตร / โรงละคร • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน • โรงภาพยนตรเฮาส แอนด มอร • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ภัทราวดีเธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน หองสมุด • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดมารวย แอนดคาเฟ ภูเก็ต • ศูนยหนังสือ สวทช. • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • SCG Experience • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • The Reading Room • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel พิพิธภัณฑ / หอศิลป สปา เลย • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • เลท ซี หัวหิน • บานชานเคียง • หอศิลป กรุงเทพฯ • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • บานใกลวงั • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • Hug Station Resort • บานจันทรฉาย • HOF Art ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • Numthong Gallery • รานเล็กเล็ก • ลูนา ฮัท รีสอรท โรงแรม • ราน all about coffee • The Rock • หลับดีโฮสเทล สีลม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น โรงพยาบาล (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศั​ัพทบาน โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

หญิง อายุ โโทรศั​ัพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..


INSIGHT อินไซต์

e n i t n e l a V y Be M

กาญจน์

เรื่อง: กมลกานต์ โกศล

การถูกอำ�นาจสั่งปลิดชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ด้วยเหตุแห่ง ความรักและความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าของนักบุญวาเลนไทน์ ได้กลายมาเป็นวันสำ�คัญทีผ่ คู้ นเลือกแสดงออกถึงความรักต่อกัน จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ของขวัญจึงเข้ามาทำ�หน้าที่เป็น สัญลักษณ์หนึ่งที่พิสูจน์ว่าการแสดงออกซึ่งความรัก ส่งผลให้ ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ช่วยส่งต่อความรู้สึกอันเป็นนามธรรม สูข่ องขวัญทีจ่ บั ต้องได้ในวันวาเลนไทน์นน้ั มีมลู ค่าสูงถึง 13 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ

Valentine’s Day Card

นับตั้งแต่การ์ดวาเลนไทน์ฉบับแรกถูกส่งในปี 1415 จากดยุคแห่งออร์เลอองส์ถึงภรรยาของเขาเมื่อครั้ง ถูกจองจำ�ในหอคอยแห่งลอนดอน บทกวีที่เต็มไปด้วย ควา มเสน่ ห านั้ น ก็ ไ ด้ ก ลาย เป็ น ต้ น แบบ การแ สดง ความรักให้แก่ผู้คนในอีกหลายศตวรรษถัดมา ทั้งการ เลือกสรรคำ�บอกความนัย ตลอดจนเฟ้นหาบทกวีหรือ เนื้อเพลงที่สื่อความหมายเพื่อถ่ายทอดลงบนกระดาษ จนเมอ่ื ฮอลลม์ าร์ก (Hallmark) บริษทั ผลิตการ์ดอวยพร สัญชาติอเมริกนั ก่อตัง้ ขึน้ ในปี 1913 การ์ดทีม่ คี �ำ หวาน พร้อมสรรพ เพียงแค่เลือกประโยคทถ่ี กู ใจ เขียนชือ่ ผูร้ บั และลงท้ายชื่อผู้ส่ง ความสะดวกสบายนี้ก็ยิ่งทำ�ให้ วัฒนธรรมการส่งมอบการ์ดให้กันนั้นเป็นที่นิยมมาก ขึ้น โดยปี 2013 มีการ์ดถูกส่งในวันวาเลนไทน์มากถึง 180 ล้านใบทั่วโลก ไม่นับรวมเหล่าอี-การ์ดที่มแี บบให้ เลือกหลากหลายและส่งถึงผู้รับได้ในไม่กี่วินาที

20 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557


INSIGHT อินไซต์

Diamond

Love Spoon

กะลาสีหนุม่ ชาวเวลส์จะบรร จง คํ่าคืนขณะออกเรือสู่มหา แกะสลักช้อนไม้ระหว่าง สม สื่อสารถึงความรักที่มีต่อหญุทร เพื่อใช้เป็นสื่อกลาง หวงั ว่าเธอจะยอมรับความรั ิงสาวที่หมายปอง และ ก สั ม พั น ธ์ ใ นร ะย ะย าว กา ทีร่ อ้ งขอเพือ่ เรมิ่ ต้นความ รม ของมื้ออาหารและบรรยาก อบ ช้ อ นไ ม้ เ ป็ น ตั ว แท น าศ บอกเป็นนัยกับหญิงสาวถ ของครอบครัว เป็นการ ึง ครอบครัวร่วมกัน ความละ ความต้องการที่จะสร้าง บนช้อนไม้ยังมีความหมายซเอียดซับซ้อนของลวดลาย ว่าหัวใจของผู้ให้ ล้อรถคื ่อนอยู่ โดยรูปกุญแจแปล อ ครอบครัว และจำ�นวนลูก การจะทุ่มเททำ�งานเพื่อ ปัดคือจำ�นวนทายาทที่คาด หวังว่าจะมี ความประณีต ที กลายเปน็ ของสะสม สำ�หร ่บรรจงสลักทำ�ให้ช้อนไม้ บั ผนังบ้าน ในปัจจุบัน ช้อ หญงิ สาวจะนยิ มแขวนไว้ท่ี นไ มอบให้กันในวันสำ�คัญอื่นๆ ม้กลายเป็นของขวัญที่ ขึ้นบ้านใหม่ด้วยเช่นกัน อาทิ วันครบรอบหรือวัน

Flower จะเป็ น อื่ น ใดไปไม่ ไ ด้ น อกจากสี แ ดงสดของกลี บ กุหลาบทีเ่ ป็นตัวแทนแห่งความรักในวันวาเลนไทน์ จน ทำ�ให้ราคาขายสูงขึ้นกว่า 2 เท่าสำ�หรับดอกกุหลาบ ธรรมดา และ 5 เท่าสำ�หรับดอกกุหลาบจัดช่อพร้อม บริการส่งถึงมือผูร้ บั แต่กอ่ นทีก่ หุ ลาบจะครองตำ�แหน่ง ผูน้ �ำ ยอดนิยมในวันนี้ สวีทพี ลิลลี่ ออฟ เดอะ แวลลีย์ และคาร์เนชั่น เคยถูกเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในการ ส่งมอบ รวมไปถึงดอกไวโอเล็ตด้วยเช่นกัน ที่ความ ชื่นชอบนั้นมีมากเสียจนทำ�ให้สีม่วงเป็นสีประจำ�วัน วาเลนไทน์ ก่อนที่จะโดนสีชมพูและสีแดงของกุหลาบ ค่อยๆ ขึ้นแซงจนครองความนิยมมาถึงปัจจุบัน

เลนไทน์ ถูกหยบิ วา ด ์ าร ะก แล ลต กแ กโ เมื่อดอกไม้ ช็อ หนำ�ใจ บริษัทผู้ผลิต จน ก รั ม วา ค ง ่ แห น แท ยี รส์ มาเป็นตัว ามนเ้ี ช่นกัน เมอ่ื เดอ เบd is สน ใน ่ น เล ลง ม ่ ว อร ข ก็ เพชร นกลยุทธ์ “A Diamon (De Beers) ได้วางแผ งคา่ นยิ มผ่านสือ่ อยา่ งนติ ยสาร า้ Forever” และคอ่ ยๆ สร แ ต่ ง งา น ด้ ว ย เพ ช รเ ม็ด งา ม อ ให้ผู้ค น รู้สึก ว่ า ก าร ข ะแ น่น อ น ว่ า เป็น แค ม เป ญ ที่ น้ัน เป็น เร่ือ งจำ� เป็น แลย่ า งล้ น ห ล าม จ น ใน วั น น้ี มี อ ป ระ ส บ ค วา ม สำ � เร็ จ ารอ้ ยละ 20 จะซือ้ เพชรใหค้ รู่ กั ก ผูบ้ ริโภคในสหรัฐอเมริ นไทน์ ส่งผลให้อุตสาหกรรม เป็นของขวัญในวันวาเล ียนมากถึง 4.4 พันล้านเหรียญ เครื่องเพชรมีเงินหมุนเว ดับยอดนิยมที่ถูกเลือกให้เป็น สหรัฐฯ โดยเครื่องประ นวันวาเลนไทนส์ องอันดับแรก วใ ของขวัญสำ�หรับหญงิ สา ู ได้แก่ แหวนและต่างห

Chocolate โรงงานผลิตช็อกโกแลตในญี่ปุ่นที่ชื่อว่าแมรี่ส์ (Mary’s Chocolate) หวังฟื้นธุรกิจหลังความยํ่าแย่อันเป็น ผลจ ากส งคร ามโ ลกที่ เ พิ่ ง ผ่ า นพ้ น ด้ ว ยกา รเปิ ด ตั ว โฆษ ณา วั น วาเ ลนไ ทน์ ใ นช่ ว งทศ วรร ษ 195 0 ว่ า “วันเดียวในหนึ่งปีที่ผู้หญิงจะสารภาพรักผ่านของขวัญ อย่างช็อกโกแลต” นับเป็นกลยุทธ์ที่เรียกความนิยมได ้ อย่างดี โดยเฉพาะเมื่อมันเกิดขึ้นในทศวรรษแห่งการ ปรับตัวสูค่ วามเป็นตะวนั ตกของญปี่ นุ่ วันวาเลนไทน์จ งึ กลายเป็นวาระพิเศษสำ�หรับผู้หญิงญี่ปุ่น (และร้าน ช็อกโกแลต) ผูไ้ ม่นยิ มการแสดงออกให้สามารถเปดิ เผย ควา มรู้ สึ ก ของ ตั ว เอง ต่ อ ผู้ ช ายที่ มี ใ จให้ โดย ในวั น วาเลนไทน์หญิงสาวจะมอบช็อกโกแลตให้กับผู้ชาย ที่แอบรัก เพื่อนร่วมงาน และเจ้านาย และอีกหนึ ่ง เดือนถัดมาผู้ชายจะให้กลับ ส่งผลให้ยอดจำ�หน่า ย ช็อกโกแลตในช่วงคร่ึงปีแรกของญี่ปุ่นมีมูลค่ามากกว่ า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนีน้ วัตกรรมการพิมพ์ แบบสามมิติ (3D Printing) ในยคุ นีย้ งั ทำ�ให้ชอ็ กโกแลต เป็นเรื่องพิเศษขึ้นไปอีก เมื่อร้าน FabCafe ในย่าน ชิบูย่า เปิดโอกาสให้สามารถขึ้นรูปช็อกโกแลตเป็น ใบหน้าคนรักเพื่อมอบให้กันในวันวาเลนไทน์

ที่มา: หนังสือ ความลับของดอกไม้ (2556) แปลโดย พลอยแสง เอกญาติ bain.com, forbes.com, harvard.edu, nytimes.com, poptech.org กุมภาพันธ์ 2557

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

Vatit Itthi

A Ta i l o r- M a d e L o v e เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: พิชญ์ วิซ

สิ้นเสียงประกาศว่า Vatit Itthi คือนักออกแบบหน้าใหม่ของวงการแฟชั่นไทยในงาน ELLE Fashion Week 2008 ชื่อของวทิต วิรัชพันธุ์ และ อิทธิ เมทะนี ก็กลายเป็นที่รู้จักในข้ามคืน ในปี 2010 วทิตและ อิทธิได้เซอร์ไพรส์วงการแฟชั่นอีกครั้งโดยการเปิดตัวมินิคอลเล็กชั่นชุดแต่งงานที่ออกแบบตัดเย็บ เองอย่างประณีตในลุคเรียบหรู งามสง่า สามารถสะกดทุกสายตาและความสนใจของผูช้ มงานได้อยูห่ มัด ทุกวันนี้ ชุดเจ้าสาวของห้องเสื้อ Vatit Itthi กลายเป็นสิ่งที่สาวสังคมสมัยใหม่ต่างใฝ่ฝันว่าจะได้สวมใส่ ในวั น สำ � คั ญ ของตน แต่อะไรคือปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ผู้หญิงหลายต่อหลายคนเลือกที่จะไว้วางใจให้ วทิตและอิทธิออกแบบตัดเย็บชุดวิวาห์ สัญลักษณ์แห่งความรักและความฝันของผู้หญิงในทุกยุคสมัย ซึ่งว่ากันว่ามีโอกาสใส่เพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต

22 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

To love is to discover yourself

วทิตและอิทธิเริ่มต้นเส้นทางความฝันในอาชีพ ดีไซเนอร์อย่างจริงจังที่เมืองชิคาโก โดยวทิตได้ เดินทางไปศึกษาต่อด้านการออกแบบแฟชั่นที่ เมืองแอตแลนตา ก่อนจะย้ายมาทำ�งานเป็นผูช้ ว่ ย ดีไซเนอร์ที่ห้องเสื้อ Mira Couture ในขณะที่ อิทธิศกึ ษาต่อทางด้านการละครเวทีทชี่ คิ าโกและ ได้เข้าร่วมงานสัมมนาเกี่ยวกับธุรกิจทางด้าน แฟชัน่ ซึง่ ถือเป็นครัง้ แรกทีเ่ ขาได้เรียนรูก้ ารสร้าง แบรนด์และรู้จักกับเครือข่ายในแวดวงนี้อย่าง จริงจัง แต่การตีตลาดแฟชั่นชั้นสูงย่อมไม่ใช่ เรือ่ งง่ายสำ�หรับมือใหม่ หลังจากลองผิดลองถูก ประมาณ 3-4 ปี แบรนด์เสื้อผ้าระดับไฮ-เอนด์ “Vatit Itthi” ที่ทั้งสองคนลงทุนลงแรงช่วยกัน สร้ า งขึ้ น มาตั้ ง แต่ ปี 2002 ก็ เ ริ่ ม ได้ ก ระแส ตอบรับที่ดีทั้งจากวงการแฟชั่นและสื่อมวลชน ในปี 2005 พวกเขาได้รับรางวัล "Style Makers & Rule Breakers" จากองค์กรแฟชั่น Fashion Group International สาขาชิคาโก และในปี ถัดมายังได้รับเชิญให้ไปร่วมจัดแสดงแฟชั่นโชว์ ในฐานะดีไซเนอร์หน้าใหม่มาแรง ซึ่งจัดขึ้นโดย Gen Art หน่วยงานที่สนับสนุนศิลปินด้านการ ถ่ายภาพ ภาพยนตร์ และแฟชั่นในชิคาโก แม้ว่าผลงานของ Vatit Itthi ทั้งในงาน แฟชั่นโชว์และวางจำ�หน่ายในร้านจะเป็นชุด ออกงานกลางคืนประเภทตัดสำ�เร็จ แต่น้อยคน ที่จะรู้ว่าผลงานชิ้นแรกคือชุดแต่งงานที่ทั้งสอง ออกแบบตัดเย็บเองให้กับพี่สาวของวทิต “เรา คิดว่า ready-to-wear มันค่อนข้างยากสำ�หรับ เราตอนแรก เพราะเราไม่รู้ว่า ready-to-wear ของ Vatit Itthi จะเป็นอย่างไร แต่ทำ�ไมชุด แต่งงานไม่มีความขัดแย้งเลย ทำ�ง่าย เลยลอง ทำ�คอลเล็กชั่นชุดแต่งงานเล็กๆ 6 ชุด แล้วไป ขายที่ร้าน Mira Couture ปรากฏขายดี ขายไป ได้เรื่อยๆ ตอนนั้นชุดแต่งงานเลยเป็นสิ่งที่เรา ชอบแต่ไม่มใี ครรู”้ ความสำ�เร็จเล็กๆ น้อยๆ นีเ้ อง ได้สร้างความเชือ่ มัน่ ในการออกแบบคอลเล็กชัน่ แรกของ Vatit Itthi ในเวลาต่อมา ด้วยการผสม ผสาน ลดทอนความถนัดและความชื่นชอบของ

แต่ละฝ่ายจนเกิดเป็นสไตล์ที่สะท้อนถึงตัวตน ของ Vatit Itthi ซึ่งก็คือความหรูหรา สง่างาม เรียบง่าย หมดจด โดยอาศัยทักษะการเย็บจักร และตัดเย็บด้วยมือเพื่อสอดแทรกรายละเอียด เล็กๆ น้อยๆ ของเสื้อผ้าแต่ละชุดอันแสดงถึง ความใส่ ใ จในการทำ � งานอย่ า งประณี ต ซึ่ ง เอกลักษณ์เหล่านี้ก็ได้ปรากฏอยู่ในคอลเล็กชั่น ชุดแต่งงานเช่นกัน Detail in every detail

หลังจากทั้งสองย้ายกลับมาสานต่อธุรกิจใน เมื อ งไทยและเริ่ ม เป็ น ที่ รู้ จั ก ในวงการแฟชั่ น การเปิดตัวมินคิ อลเล็กชัน่ ชุดแต่งงานในปี 2010 ก็ยงิ่ ตอกยํา้ ให้ทกุ คนรับรูว้ า่ ความคิดสร้างสรรค์ และการออกแบบของวทิตและอิทธิไม่ได้จำ�กัด แค่ชุดออกงานหรูหรามีระดับเท่านั้น เพราะทั้ง ดีไซน์และรายละเอียดปลีกย่อยของชุดวิวาห์ แต่ละชุดได้พิสูจน์แล้วว่าพวกเขามีทักษะความ ชำ�นาญการตัดเย็บและงานแฮนด์เมดไม่แพ้ชา่ ง ฝีมือในอดีต ทั้งยังสามารถเลือกใช้ผ้าและวัสดุ ที่ สื่ อ ถึ ง ความหรู ห ราและละเอี ย ดอ่ อ นได้ น่ า ประทับใจ ไม่นานนัก ชุดแต่งงานก็กลายเป็น ซิกเนเจอร์ของแบรนด์ไปโดยปริยาย ทำ�ให้มี ผูส้ นใจติดต่อเข้ามาไม่เว้นวัน เบื้องหลังดีไซน์สวยเรียบที่แฝงด้วยดีเทล ชวนมองก็คือกระบวนการทำ�งานอันละเอียด ถี่ถ้วน ตั้งแต่การนัดวันและเวลาสัมภาษณ์เพื่อ ทำ�ความรู้จักกับลูกค้ามากขึ้นและศึกษาถึงไลฟ์ สไตล์ รสนิยม ชุดแต่งงานในฝัน กระทัง่ ความ ต้องการส่วนตัวเล็กๆ น้อยๆ ของลูกค้าที่ไม่ อาจมองข้าม ก่อนจะพัฒนาจนเหลือ 3 ตัวเลือก ที่ดีที่สุดในลุคที่แตกต่างกันไปเพื่อพรีเซนต์ให้ ลูกค้าดูและเข้าสูข่ นั้ ตอนการตัดชุดจริง “ทุกคน มีงานแต่งงานในฝัน เพราะฉะนัน้ เราไม่สามารถ ละเลยความรู้สึก หรือที่มาของความฝันของ แต่ ล ะคนได้ เราจะสั ม ภาษณ์ ว่ า เป็ น ยั ง ไง งานเป็นยังไง ข้อจำ�กัดเป็นยังไง และเราจะดู personality และโฟกัสที่ความสัมพันธ์ของคน สองคนและความสุขที่จะเกิดขึ้นในวันนั้น"

พวกเขายังพิถพี ถิ นั กับการทำ�งานทุกขัน้ ตอน และมุ่งเน้นคุณภาพงานมากกว่าตามเทรนด์ แฟชัน่ โดยจะเลือกใช้ผา้ คุณภาพระดับท็อปจาก ซัพพลายเออร์เจ้าประจำ� โดยเฉพาะผ้าไหม 100 เปอร์เซ็นต์ที่ให้ความรู้สึกหรูหราเป็นพิเศษ ใน ส่วนของเทคนิคการตัดเย็บ การทำ�แพทเทิร์น และเดรปปิง (Drapping) พวกเขาจะลงมือทำ� ต้นแบบเองก่อน โดยเปิดกว้างและทดลองใช้ เทคนิคแตกต่างกันไปตามสไตล์ของแต่ละชุด อย่างอิสระ เช่น จับพลีต ทำ�ดอกไม้ประดับ จาก นั้ น จึ ง ยกหน้ า ที่ ใ ห้ ที ม ช่ า งตั ด เย็ บ รั บ ผิ ด ชอบ รายละเอียดในส่วนที่เหลือ “เทคนิคการตัดเย็บ เป็นส่วนประกอบที่ทำ�ให้ชุดมีซิกเนเจอร์ แต่สิ่ง ที่ทำ�ให้เราแตกต่างไปจากคนอื่นก็คือสไตล์” It’s not an art piece, it’s artistic

จากจุดเริ่มต้นในการวิ่งหาลูกค้าและตลาดใน ต่างแดนโดยไม่มีเส้นสาย ไม่มีชื่อเสียง มาวันนี้ Vatit Itthi กำ�ลังจะเข้าสู่ปีที่ 12 เสื้อผ้าของพวก เขายังคงเป็นที่ต้องการในตลาดแฟชัน่ ชัน้ สูงใน เมืองไทยและต่างประเทศ ทัง้ ไลน์สนิ ค้าสำ�เร็จรูป และสัง่ ตัด ซึง่ ทัง้ คูก่ ย็ นื ยันทีจ่ ะสานความฝันและ ความรักที่มีต่อทั้งสองสิ่งนี้ต่อไป เพราะการทำ� ชุดแต่งงานคือสิ่งที่พวกเขารักและสนุกที่จะทำ� ในขณะที่ ก ารออกแบบคอลเล็ ก ชั่ น เสื้ อ ผ้ า สำ � เร็ จ รู ป ก็ ทำ � ให้ พ วกเขาต้ อ งท้ า ทายความ สามารถของตนเองอยู่ตลอดเวลา จึงจะเห็นได้ ว่าผู้หญิงที่ใส่ชุดของ Vatit Itthi ไม่ว่าจะเป็น นางแบบบนรันเวย์ ดาราชื่อดังบนพรมแดง หรือเจ้าสาวในชุดสีขาวละมุนชวนฝันต่างก็ดโู ดด เด่นและสง่างามในแบบของตนเอง “ทำ�ให้งาน ดูเรียบคลีน หรูหรา ง่ายๆ นั่นคือสิ่งที่เราชอบ และเน้น personality ของคนใส่ มันต้อง artistic ประมาณหนึ่งแต่มันต้องไม่ดูเป็น art piece เพราะเราไม่ได้ทำ�งานศิลปะ แต่มันเป็นศิลปะ ในการทำ�เสื้อ” Vatit Itthi Studio 53 ซอยลาดพร้าว 94 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กทม. 10310 โทร. 089-036-7003 กุมภาพันธ์ 2557

l

Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

ริมฝั่งแม่นํ้ายมุนาทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ไกลจากกรุงนิว เดลีราว 200 กิโลเมตร คือที่ตั้งของ อดีตเมืองหลวงในยุครุง่ เรืองแห่งจักรวรรดิโมกุลก่อนทีจ่ ะ ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ภายใต้การปกครองของ ราชวงศ์โมกุลซึง่ ได้แผ่ขยายอาณาจักรใต้ปกครองออกไป กว้างไกลทัว่ ฮินดูสถาน “อักรา (Agra)” คือศูนย์กลาง แห่งการปกครองและบ่มเพาะทางศิลปวัฒนธรรมทีซ่ งึ่ นักปราชญ์และศิลปินได้รบั การสนับสนุน และเป็นแหล่ง กำ�เนิดของสถาปัตยกรรมแบบโมกุลชิน้ เอกซึง่ ได้รบั การ ขึน้ ทะเบียนเป็นมรดกโลก อนุสรณ์สถานแห่งรักที่เป็น ภาพจำ� สัญลักษณ์ และความภาคภูมิใจของอินเดีย “ทัช มาฮาล (Taj Mahal)” 24 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557

A PROMISS TO KEEP

เมื่อความไม่แน่นอนคือสิ่งที่แน่นอนที่สุดบนโลกใบนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากสิง่ ทีเ่ รียกว่า “คำ�มัน่ สัญญา” จะเป็นเครือ่ งยึดเหนีย่ วของมนุษย์ทต่ี กอยู่ ในห้วงรัก กล่าวกันว่าเมื่อมุมตัส มาฮาล (Mumtaz Mahal) มเหสีผู้เป็น ทัง้ คูร่ กั และเพือ่ นคูค่ ดิ ของจักรพรรดิชาห์ จาฮาน (Shah Jahan) แห่งราชวงศ์ โมกุลกำ�ลังจะสิ้นใจหลังให้กำ�เนิดพระโอรสองค์ที่ 14 คำ�สัญญาสุดท้ายที่ ร้องขอจากคนรักมีเพียงสองข้อ หนึง่ คือคำ�มัน่ ว่าจะมีเพียงพระนางผูเ้ ดียว ทีอ่ ยูใ่ นใจ และสองคือจะสร้างทีพ่ กั พิงแห่งสุดท้ายทีง่ ดงามเป็นทีก่ ล่าวขาน ของคนทั่วไป หกเดือนหลังการจากไปของพระมเหสี แม้ว่าจิตใจของพระเจ้าชาห์ จะยังบอบชํ้า แต่เพื่อทำ�ตามคำ�สัญญาที่ให้ไว้ การก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แห่งยุคจึงเริม่ ต้นขึน้ สถาปนิกเอกจากอินเดีย ตุรกี และเปอร์เซียได้รบั เชิญ ให้มาร่วมทีมเพื่อรังสรรค์ให้อนุสรณ์สถานแทนรักนิรันดร์บนพื้นที่ 105 ไร่ บริเวณริมฝัง่ โค้งของแม่นา้ํ ยมุนาซึง่ ให้ทศั นียภาพทีส่ วยงามนัน้ สมบูรณ์แบบทีส่ ดุ


จุดเด่นของอนุสรณ์สถานแห่งนี้คืออาคารโดมสีขาวซึ่งเป็นสุสานของ พระมเหสี ก่อสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวทัง้ หมดราวกับสรวงสวรรค์ ในขณะที่ สถาปัตยกรรมอืน่ ๆ บริเวณรอบสุสานอย่างมัสยิดและประตูทางเข้า (DarwazaI Rauza) ด้านหน้าสร้างด้วยหินทรายสีแดง วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างล้วน มาจากแหล่งทีด่ ที ส่ี ดุ โดยเฉพาะหินอ่อนสีขาวจากเมืองมาครานา ในแคว้น ราชสถานซึง่ ได้รบั การยกย่องว่าเป็นหินอ่อนทีม่ คี ณุ ภาพดีทสี่ ดุ ในโลก ด้วย เนื้อหินที่มีความแข็งและสีขาวนวลเปล่งประกายสวยงามซึ่งราชสำ�นัก สงวนไว้เพือ่ ใช้ส�ำ หรับสิง่ ก่อสร้างสำ�คัญ หินอ่อนสีแดงนำ�มาจากเมืองฟาตีบรุ ะ หินอ่อนสีเหลืองจากฝั่งแม่นํ้านรภัทฑ์ นอกจากนี้ อัญมณีและหินมีค่าซึ่ง ใช้ในงานตกแต่งก็มาจากทั่วทุกสารทิศ อาทิ โมราจากรัฐปัญจาบ เพชร ตาแมวจากกรุงแบกแดด ลาพิส ลาซูลีจากอัฟกานิสถาน แซฟไฟร์จาก ศรีลังกา เทอร์ควอยซ์จากธิเบต หยกและคริสตัลจากจีน ปะการังและ หอยมุกจากมหาสมุทรอินเดีย ฯลฯ วัสดุถกู ขนส่งด้วยช้างมากกว่าหนึง่ พัน เชือก และก่อสร้างด้วยแรงงานทั้งหมดมากกว่า 20,000 ชีวิต

© TimGraham/Corbis

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

มีการบันทึกไว้ว่า ในช่วงเวลา 22 ปีของการก่อสร้าง บริเวณรอบเขต ราชสำ�นักเต็มไปด้วยช่างอิฐ ช่างตัดหิน ช่างฝีมอื ช่างแกะสลัก และผูป้ ระดิษฐ์ อักษรจารึกทีท่ �ำ งานกันอย่างรีบเร่ง “ทัช มาฮาล” หรือ “มงกุฎแห่งพระราชวัง” กลายเป็นความสนใจทั้งหมดของชาห์ จาฮาน ผู้ซึ่งชื่นชอบและสนับสนุน งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นทุนเดิม ราชสมบัตสิ ว่ นใหญ่ถกู ใช้ไปกับการก่อสร้าง คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ หลากหลายตำ�นานยังเล่าต่อ กันมาอีกว่า หลังจากทัช มาฮาลสำ�เร็จสมบูรณ์ในปี 1653 ชาห์ จาฮานได้ให้ นายช่างและสถาปนิกทำ�สัญญา (บางตำ�นานเล่าว่าถูกประหารชีวติ หรือตัดมือ) เพือ่ ไม่ให้สร้างสิง่ ก่อสร้างใดๆ ทีย่ ง่ิ ใหญ่และงดงามไปกว่าทัช มาฮาล อีกเลย ความงดงามของทัช มาฮาลทีต่ ราตรึงอยูใ่ นใจคนทัง้ โลก จึงไม่ใช่เพียง สถาปัตยกรรมทีป่ รากฏอยูเ่ บือ้ งหน้า หากยังรวมถึงเรือ่ งราวการแสดงออก ถึงความรักอันมั่นคงบนความไม่แน่นอนของชีวิตที่แฝงอยู่เบื้องหลัง และ ความรักเดียวกันนี้เองที่นำ�ไปสู่คำ�มั่นสัญญาซึ่งต้องแลกมาด้วยปากท้อง และหยาดเหงื่อของชีวิตอื่นๆ อีกมากมาย


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

PIETRA DURA

© HugeSitton/Corbis

ลวดลายโมเสกอ่อนช้อยราวภาพวาดซึ่งเป็นที่กล่าวขานของทัช มาฮาล เป็นรูปแบบศิลปะการฝังหินสีลงบนแผ่นหินอ่อนหรือ ปิเอตรา ดูรา (ภาษาอิตาเลียน แปลว่า หินแกร่ง) ที่มีต้นกำ�เนิดและเฟื่องฟูในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ก่อนจะเผยแพร่เข้ามาในอาณาจักรโมกุลในช่วงสองร้อยปีถัดมาภายใต้การปกครองของราชวงศ์โมกุลที่ ราชสำ�นักมีความมั่งคั่งและเปิดรับการติดต่อแลกเปลี่ยนกับชาวต่างชาติ เกิดการบ่มเพาะและดัดแปลงเป็นรูปแบบที่สวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะ และได้พัฒนาสู่จุด รุ่งเรืองที่สุดในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลกอย่างทัช มาฮาล ซึ่งทำ�ให้เกิดเป็นชุมชนช่างฝีมือในอักรา ปิเอตรา ดูรา เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะและความละเอียดอ่อน หินมีค่าและอัญมณีชิ้นเล็กๆ แต่ละชิ้นผ่านการตัดด้วยมือช่างนับร้อยครั้ง ก่อนจะนำ�ไปกลึงเพื่อให้ได้ โมเสกที่ขนาดและรูปทรงเหมาะจะวางลงในช่องหินอย่างแม่นยำ� ลวดลายแบบคลาสสิกและเทคนิคที่ผ่านการฝึกฝนของช่างฝีมือของทัชมาฮาล ถูกส่งต่อโดยตรงจากพ่อ สู่ลูกชายเป็นเวลามากกว่าสิบรุ่น จนถึงทุกวันนี้ เสียงเครื่องตัดหินแบบดั้งเดิมยังคงดังก้องในอักรา ปิเอตรา ดูรา หรือ ปาร์ชีน คารี (Parchin Kari) ในภาษาพื้นถิ่น กลายเป็นหนึ่งในศิลปะที่เฟื่องฟูมากที่สุดของอินเดีย ข้าวของเครื่องใช้อย่างโต๊ะ ตู้เสื้อผ้า กล่องใส่เครื่องประดับ และรูปปั้นซึ่งตกแต่งด้วยลวดลายจากการฝังหินสี กลายเป็นสินค้าทำ�มือท้องถิ่นที่สร้างรายได้ให้แก่ช่างผู้สืบทอดภูมิปัญญาเหล่านี้

(N)EVER-LASTING LOVE

เวลาผ่านไปนับร้อยปี ดูเหมือนจะไม่มสี งิ่ ใดสามารถสัน่ คลอนอนุสรณ์สถาน แทนรักนิรนั ดร์ของชาห์ จาฮานได้ จนเมือ่ เข้าสูป่ ลายทศวรรษ 1990 สุสาน หินอ่อนที่ตั้งตระหง่านอย่างมั่นคงมาตลอดก็เริ่มปรากฏสัญญาณของการ เปลีย่ นแปลง ฝุน่ ละอองของเตาเผาถ่านและมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำ�ให้สีขาวนวลของกำ�แพงหินอ่อนไม่เปล่งประกายสดใสเหมือนเคยและ ค่อยๆ เปลีย่ นเป็นสีเหลือง ในปี 1997 โรงไฟฟ้าถ่านหินในอักราจึงได้รบั คำ�สัง่ จากทางการให้เปลีย่ นไปใช้พลังงานจากก๊าซ โรงกลัน่ นํา้ มันซึง่ ตัง้ อยูใ่ กล้กบั อนุสรณ์สถานต้องสร้างโรงพยาบาลเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ โดยเฉพาะ ในขณะทีบ่ ริเวณโดยรอบสุสานหินอ่อนเป็นระยะทางหลายไมล์ ก็ไม่อนุญาตให้ยานพาหนะที่ใช้นํ้ามันผ่านเข้าไป เงินทุนจำ�นวน 44 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ถูกใช้ในปีถัดมาเพื่อจัดการกับปัญหามลพิษในอักรา 26 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557

“มลพิษได้ทำ�ในสิ่งที่แม้แต่สงคราม การรุกราน และภัยธรรมชาติใน ช่วงระยะเวลา 350 ปีไม่อาจทำ�ได้ นัน่ คือการเริม่ ทำ�ลายกำ�แพงหินอ่อนอัน งดงามของทัช มาฮาล” คือคำ�พูดที่บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ กล่าวไว้เมือ่ ครัง้ เดินทางมาเยีย่ มชมอนุสรณ์สถานในวันคุม้ ครองโลกปี 2000 และสิ่งที่เกิดขึ้นกับทัช มาฮาลในเวลาต่อมาก็ไม่ได้ผิดไปจากนั้น เพราะ การเติบโตทางเศรษฐกิจและจำ�นวนประชากรทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วภายใน เวลาไม่กปี่ ขี องอักราและเมืองอืน่ ๆ ในอินเดีย ได้น�ำ มาสูป่ ญั หาใหม่ทคี่ อ่ ยๆ พอกพูนและกำ�ลังเผยโฉมหน้าให้เห็นทีละน้อย ในปี 2006 สถาบันวิจัยวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ NEERI (National Environment Engineering Research Institute) ซึ่งได้รับ มอบหมายจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอินเดียให้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของ


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

โครงการฟื้นฟูในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับทัช มาฮาล (Taj Trapezium Zone: TPZ) ซึ่งเริ่มดำ�เนินการตั้งแต่ปี 1998 รายงานว่า แม้โครงการฟื้นฟู มลภาวะของรัฐจะช่วยให้ไนโตรเจนไดออกไซด์ในอากาศซึ่งเป็นตัวการที่ ทำ�ให้หนิ อ่อนของทัช มาฮาล ไม่สอ่ งประกาย ลดปริมาณลงอย่างเป็นลำ�ดับ แต่ก็เป็นตัวเลขที่ลดลงเพียงเล็กน้อย ก่อนจะเริ่มเขยิบสูงขึ้นอีกครั้งในปี 2002 และทะลุสูงถึง 30 หน่วยต่อลูกบาศก์เมตรในปี 2006 ซึ่งมากกว่า สถิติเดิมในปี 1996 คือ 22 หน่วยต่อลูกบาศก์เมตร NEERI ยังรายงานอีกว่า มาตรการทีผ่ า่ นมาของรัฐทีพ่ ยายามแก้ปญั หา ด้วยการสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติมายังอักรา การขยายถนนให้กว้างขึ้น การสร้างเส้นทางเลี่ยง การทดแทนรถยนต์ดีเซลด้วยพาหนะจากพลังงาน ทีเ่ ป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึน้ หรือการสร้างโรงกลัน่ นาํ้ มันทีป่ ล่อยสารพิษ ออกสู่อากาศน้อยลงนั้น แม้จะมีผลดี แต่ก็ทำ�ได้แค่บรรเทาความรุนแรง ลงบ้างเท่านัน้ นอกจากนี้ ปัจจุบนั อักราซึง่ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของ รัฐอุตตรประเทศและเป็นเมืองปลายนา้ํ ของแม่นา้ํ ยมุนาทีไ่ หลมาจากกรุงเดลี ยังประสบกับปัญหามลพิษทางนํ้าจากการปนเปื้อนของสารเคมี สิ่งปฏิกูล ที่ยังไม่ได้รับการบำ�บัด และการทิ้งขยะลงในท่อระบายจนเกิดการอุดตัน ซึ่งรัฐบาลได้มีการจัดทำ�โครงการบำ�บัดนํ้าในแม่นํ้ายมุนาไปเมื่อก่อนปี 2010 แต่ก็ดูเหมือนว่าเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังคงแก้ไม่ตก TO LOVE, TO LEARN AND TO LIVE

มีนาคม 2013 ท่ามกลางมรสุมที่รุมเร้าและความพยายามในการบรรเทา ความรุนแรงของมลภาวะอย่างล้มลุกคลุกคลานในอักรา ประกายแห่งความ หวังใหม่ถูกจุดขึ้นอีกครั้ง เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานทางเลือก ของอินเดียอนุมตั โิ ครงการพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ทีม่ ขี นาดกำ�ลังการผลิต ติดตั้ง 2,000 กิโลวัตต์ในเมืองอักราด้วยงบประมาณราว 100 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ซึ่งหมายความว่า อักราจะกลายเป็นเมืองแรกในอินเดียที่เริ่มใช้ สาธารณูปโภคจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยในเบื้องต้นจะรองรับการใช้ พลังงานสำ�หรับไฟบนถนน 6,400 ดวง สัญญาณไฟจราจร 20 จุด หม้อหุงต้ม 4,600 เครื่อง และเครื่องทำ�นํ้าร้อนปริมาณ 1.5 ล้านแกลลอนต่อวัน โครงการนี้เป็นไปตามแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แห่งประเทศอินเดีย (National Solar Mission) ที่ประกาศเมื่อต้นปี 2010 โดยตั้งเป้าว่าจะพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ให้ได้ 20 กิกะวัตต์ ภายในปี 2022 แต่ด้วยเทคโนโลยีที่รุดหน้าไปเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับต้นทุนสำ�หรับระบบไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในประเทศที่ลดลง เทียบเท่ากับพลังงานอืน่ ๆ อย่างถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงลักษณะ ภูมปิ ระเทศทีเ่ ป็นทีร่ าบขนาดใหญ่ทไี่ ด้รบั แสงอาทิตย์ จึงดูเหมือนว่าตัวเลข เดิมที่ตั้งเป้าไว้อาจปรับขึ้นเป็น 33.4 กิกะวัตต์ ในปี 2022 โครงการเพือ่ ปกป้องอนุสรณ์สถานพยานรักแท้ซง่ึ เป็นหนึง่ ในสัญลักษณ์ และภาพจำ�ของอินเดียอย่างทัช มาฮาล ซึ่งหวังว่าจะช่วยลดการปล่อย

© REUTERS/BrijeshSingh

มลภาวะสูอ่ ากาศและนาํ้ นี้ จะยังตอบโจทย์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ที่สูงขึ้นจนถึงจุดที่ระบบจ่ายไฟฟ้าไม่อาจรองรับในปัจจุบันไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะการที่ในปี 2011 ประชากรหนึ่งในสามของอินเดียยังได้รับ กระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น อย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำ�ให้เกิดเหตุการณ์ไฟดับบ่อยครั้ง โดยเมื่อปลายกรกฎาคม 2012 เกิดเหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่ต่อเนื่องเป็น เวลาสองวัน ครอบคลุมพืน้ ที่ 20 รัฐจากทัง้ หมด 28 รัฐ รวมถึงกรุงนิว เดลี ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบมากกว่า 700 ล้านคน หนึ่งในแผนงานที่ได้เริ่มดำ�เนินการไปแล้ว ยังรวมถึงการปลูกต้นทีลซี (Tulsi) จำ�นวนหนึ่งแสนต้นเพื่อดูดซับสารพิษในบริเวณใกล้เคียงกับ อนุสรณ์สถาน และทดแทนต้นไม้จำ�นวนมากที่ถูกตัดไปสร้างถนนในช่วง หลายปีที่ผ่านมาอีกด้วย กล่าวกันว่าในวาระสุดท้ายของชีวติ ชาร์ จาฮาน เหม่อมองเศษกระจก ที่สะท้อนภาพของทัช มาฮาลจากหน้าต่างของป้อมอักราและสิ้นพระชนม์ ด้วยเศษกระจกในกำ�มือ ร่างของพระองค์ถกู นำ�ไปวางเคียงคูก่ บั พระมเหสี ในสุสานหินอ่อนแทนรักของคนทัง้ สอง และการพยายามก้าวผ่านความเจ็บ ปวดเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกที่มีต่อคนรักเป็นครั้งสุดท้ายก็ได้สิ้นสุดลง ขณะที่อักรากำ�ลังจะลุกขึ้นก้าวเดินอีกครั้ง แม้เส้นทางอาจดูยาวไกล หรือต้องใช้เวลาเนิ่นนาน แต่เชื่อว่าคืนวันแห่งความพยายามนั้นจะปลอบ ประโลมให้ เข้าใจและเรี ยนรู้ ที่ จะอยู่กั บ ปั จจุ บั น และอนาคตบนโลกที่ แปรเปลี่ยนให้ดีที่สุด ที่มา: สารคดี “Secrets of the Taj Mahal” โดย National Geographic บทความ “Air, water pollution rising near Taj Mahal” (2010) จาก hindustantimes.com บทความ “India Announces Its First Solar City (In Order To Protect Taj Mahal)” (2013) จาก cleantechnica.com บทความ “Taj Mahal could collapse within five years because wooden foundations are rotting” (2011) จาก dailymail.co.uk บทความ “Taj Mahal threatened by polluted air and water” (2010) จาก theguardian.com บทความ “Will India Become The Future Leader In Clean Energy?” (2012) จาก the9billion.com makranamarble.co.in, tajmahalindia.net, วิกิพีเดีย กุมภาพันธ์ 2557

l

Creative Thailand

l 27






THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

เคยมีคนกล่าวว่า “ชีวติ คูห่ รือความรักทีส่ มบูรณ์คอื แหล่งพลังงาน ที่สำ�คัญของชีวิต” คุณมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไร ถ้าชีวิตคู่ลงตัว มีความเข้าใจกัน ไม่มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งทั้งภายนอก และภายใน เราจะเหนื่อยน้อยลง เพราะถ้าเรามีความไว้วางใจ มีการ สือ่ สารทีต่ รงไปตรงมา เราก็จะไม่เสียเวลาเสียพลังงานไปกับการคิดว่าเขา ปกปิดอะไรเราอยู่ไหม เขาบอกอย่างนี้แล้วเขาคิดแบบนี้จริงๆ หรือเปล่า เราจะสามารถเปลี่ยนถ่ายพลังงานส่วนที่เป็นความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไปเสริมศักยภาพ เสริมความสร้างสรรค์ในด้านอื่นๆ ทั้งชีวิตส่วนตัวและ การทำ�งาน โดยที่ไม่ต้องวอกแวกหมดเปลืองเวลาและเสียพลังงานไปกับ ปัญหาเหล่านี้ ช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้หลายองค์กรใหญ่ๆ ในประเทศไทยเริ่มเห็น ความสำ�คัญของการดูแลความสัมพันธ์ในครอบครัว ชีวติ คู่ จะมีสวัสดิการ ที่เรียกว่า “สวัสดิการสุขภาพจิต” โดยบริษัทจะให้พนักงานได้มีชั่วโมงใน การปรึกษาด้านปัญหาสุขภาพจิตกับผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยา ถ้า พนักงานมีเรื่องไม่สบายใจทั้งเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องในครอบครัว สามารถ มาปรึกษาได้ฟรี 6 ชัว่ โมง สวัสดิการนีเ้ กิดมาจากการมองเห็นว่าถ้าพนักงาน มีความกังวลกับปัญหาชีวิตคู่ หรือเรื่องส่วนตัว ก็จะมีผลกระทบต่อการ ทำ�งาน แม้กระทั่งหน่วยงานราชการก็เริ่มมีสวัสดิการนี้บ้างแล้ว ซึ่งนี่เป็น สัญญาณที่ดี เพราะทำ�ให้เห็นว่าคนไทยเราให้ความสำ�คัญกับการดูแล สุขภาพจิตใจและมีแนวทางใหม่ๆ ที่จะดูแลความสัมพันธ์และชีวิตคู่กัน มากขึ้น

"บางคนจะคิดว่าระบบของความสัมพันธ์ที่เรียกว่า ครอบครัวหรือชีวติ คูน่ น้ั คือคบกัน รักกัน แต่งงานกัน มีลูกด้วยกัน เวลาทั้งหมดทุ่มเทให้ครอบครัว แต่ไม่เหลือเวลาให้ชีวิตของคนสองคน ไม่เหลือเวลา ที่เป็นส่วนตัว สิ่งนี้อาจเป็นหลุมพรางที่ทำ�ให้ชีวิตคู่ มีปัญหาได้"

32 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557

Creative Ingredients กิจกรรมยามว่างนอกห้องทำ�งาน

เมือ่ หมดชัว่ โมงการทำ�งานหรือวันว่างๆ ก็จะดูแลสุนขั ทีเ่ ลีย้ งไว้ทง้ั หมด 8 ตัว อาบนํ้า ล้างกรง วิ่งเล่น ถือเป็นการพักผ่อนที่มีคุณภาพ

เครือ่ งดืม่ ถ้วยโปรด

ชอบดื่มชาตะไคร้หอม เพราะกลิ่นหอมๆ ให้ความรู้สึกสดชื่น และดีต่อสุขภาพ



CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

The Tutu Project

เรื่อง: ภูริวัต บุญนัก

เรามักรอคอยโอกาสและเวลาให้เดินทางมาถึงเพือ่ มอบของขวัญให้กบั คนพิเศษ แต่ส�ำ หรับบางคนแล้ว เมือ่ เวลาเหลือไม่มากนัก สิ่งแทนค่าทางจิตใจจึงอาจไม่ใช่คำ�พูดสวยงามหรือของขวัญราคาแพง แต่คือการแสดงออกด้วยวิธีการบางอย่างที่สามารถ ทำ�ได้ดีที่สุดในขณะนั้น หลังจากทีร่ วู้ า่ ภรรยาของตัวเองกำ�ลังป่วยเป็นมะเร็งเต้านมในปี 2003 บ็อบ แครี่ (Bob Carey) ช่างภาพชาวอเมริกันผู้เป็นสามี ก็ริเริ่มโครงการเพื่อ แสดงออกถึงความรักและความห่วงใยต่อคูช่ วี ติ ด้วยวิธกี ารทีไ่ ม่เหมือนใคร ด้วยการลงมือดำ�เนินโครงการที่เรียกว่า “The Tutu ProjectTM” โดยการ หยิบกระโปรงบัลเล่ต์ทูทูสีชมพูสดใสและสวมมันออกไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเก็บภาพในอารมณ์สนุกสนานเป็นการสร้างกำ�ลังใจในการใช้ชีวิตต่อ ไปให้กับภรรยาของเขา ตลอดเวลาเกือบสิบปีทภ่ี รรยาของเขาต่อสูก้ บั มะเร็ง บ็อบไม่เคยหยุดถ่าย รูปตัวเองกับกระโปรงทูทู ภาพถ่ายจำ�นวนมากพอทีจ่ ะสร้างเป็นคอลเล็กชัน่ ขนาดย่อมๆ จึงถูกนำ�มารวมเล่มในหนังสือภาพชือ่ Ballerina พร้อมๆ กับ การก่อตั้งมูลนิธิ Carey Foundation องค์กรไม่แสวงหากำ�ไรเพื่อการกุศล ที่ทั้งคู่ร่วมกันก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงและ ครอบครัวของพวกเธอที่ได้รับผลกระทบจากการต้องเผชิญกับโรคมะเร็ง เต้านม ซึง่ ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินและการสนับสนุนค่าใช้จา่ ยต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาการรักษาโดยเฉพาะในส่วนที่ประกันสุขภาพ ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จา่ ยในการดูแลบุตร ค่าใช้จา่ ยในทีพ่ กั อาศัยอย่าง เช่นค่านํา้ ค่าไฟ กระทัง่ เรือ่ งเล็กน้อยอย่างค่าเดินทางเพือ่ ไปหาหมอให้ได้ตาม 34 l

Creative Thailand

l กุมภาพันธ์ 2557

นัดหรือการซือ้ วิกผม ซึง่ เป็นเงินทีท่ างมูลนิธนิ �ำ มาช่วยเหลือผูป้ ว่ ยนัน้ ล้วนแล้ว ได้มาจากรายได้ในการจำ�หน่ายภาพถ่ายผ่านเว็บไซต์ thetutuproject.com โดยร้อยละ 50 เป็นเงินจากการขายโปสการ์ดภาพถ่ายแต่ละใบ และอีก ร้อยละ 20 ได้จากหนังสือภาพ นอกจากนี้ The Tutu ProjectTM ก็ยังได้รับ ความสนใจและการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ในการระดมทุนอย่างต่อเนือ่ ง เช่น ภาพถ่ายชือ่ Swan Lake ทีค่ ณะบัลเล่ตร์ ะดับโลกอย่าง The American Ballet และโรงละคร The Metropolitan Opera House ได้เปิดโอกาส ให้บ็อบเข้าไปถ่ายรูปบนเวทีจริงกับนักแสดง พร้อมยกรายได้ทั้งหมดจาก การขายโปสเตอร์ชุดนี้ให้กับมูลนิธิเพื่อใช้ช่วยเหลือคนอื่นๆ ต่อไป การแบกภาระต่างๆ ในวันและเวลาทีร่ า่ งกายไม่พร้อมรับมือเป็นเรือ่ งที่ หนักหนาเอาการเสมอ แต่การได้รับรู้ว่าตัวเองไม่ได้เผชิญอยู่เพียงลำ�พัง อาจเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ช่วยให้ใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข เพราะแม้ว่า ภรรยาของเขาและผูป้ ว่ ยคนอืน่ ๆ จะต้องรับมือกับการรักษาอันแสนเจ็บปวด แต่นนั่ อาจเป็นเรือ่ งทีพ่ ร้อมสูไ้ หว เมือ่ หัวใจของพวกเธอกลับแข็งแรงขึน้ ได้ ด้วยความรัก ที่มา: forbes.com thetutuproject.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.