นิตยสารสงเสริมความคิดสรางสรรคผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย TCDC
มกราคม 2558 ปที่ 6 I ฉบับที่ 4 แจกฟรี
เมื่อโลก (โรค) ไร พรมแดน
CLASSIC ITEM ชุดปองกันโรค
CREATIVE CITY Atlanta
THE CREATIVE Dr.Yonas Tegegn
Human spirit is the ability to face the uncertainty of the future with curiosity and optimism. จิตวิญญาณมนุษย์ คือพลังที่ช่วยให้เราสามารถเผชิญกับ ความไม่แน่นอนของอนาคตด้วยความใคร่รู้และมุมมองในแง่บวก จาก วรรณกรรมเยาวชน Genesis (2006) แต่งโดย Bernard Beckett นักเขียนชาวนิวซีแลนด์
CONTENTS สารบัญ
6 8
The Subject
Environment/ Idea/ Innovation
Creative Resource
Featured Movie/ Magazine/ Book
Cover Story
14
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
The Creative
29
Creative Will
34
เมื่อโลก (โรค) ไรพรมแดน
30 ป แหงการตอสู และชัยชนะที่ยังคงอยูของมนุษยชาติ
10
Matter
นวัตกรรมวัสดุทางการแพทย
ผีหาอโยธยา: ตนทุนสรางสรรคจากความตายไมยอมตาย
Atlanta: มหานครขจัดโรค
Dr.Yonas Tegegn: ผูเลนมือฉมังในเกมตองรอดของมนุษยโลก
12
Classic Item ชุดปองกันโรค
เสียงฟุงของขอมูลและการสื่อสารในชวงโรคระบาด
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, เบญจวรรณ แดงบุบผา สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
Never Give Up, Never Give In ค�ำภาวนาใดๆ อาจไม่ใช่เครือ่ งมือต่อรองกับความเป็นจริงของชีวติ ทีว่ า่ โลกถูกรุมเร้าด้วยความทุกข์นานัปการ จากภัยที่มนุษย์เรากระท�ำต่อกัน มนุษย์กระท�ำต่อธรรมชาติ และย้อนกลับมาที่ธรรมชาติกระท�ำต่อเรา และ บนความสั่นไหวที่สั่นคลอนการด�ำเนินชีวิต ธรรมชาติก็ไม่ได้ท้าทายเพียงความแข็งแกร่งของมนุษย์จาก ภัยพิบัติทางกายภาพ แต่ยังได้ผลิตภัยทางชีวภาพที่รุนแรงและให้ผลท�ำลายล้างรวดเร็ว ทิ้งความบอบช�้ำจาก ความหวาดกลัวในวงกว้างไว้อีกด้วย การผลัดกันแพ้ชนะระหว่างโรคภัยที่แพร่ระบาดกับสติปัญญาของมนุษย์ จึงยืดเยื้อและยาวนาน ในปี 2013 เชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola) ได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 7,900 คน และแพร่กระจายอย่างมาก ทั้งในไลบีเรีย กินี และเซียร์ราลีโอน ทั้งยังพบผู้ติดเชื้อในไนจีเรีย มาลี สเปน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ย้อนกลับไปราว 10 ปีก่อน เชื้อไวรัสโรคซาร์ส (SARS) ที่มีต้นตอจากมณฑลกวางตุ้งของจีนได้แพร่ระบาดไป กว่า 24 ประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และยุโรป ในครั้งนั้น แทบทุกประเทศต้องปิดกั้น พรมแดน ตรวจตราผูเ้ ดินทางเข้าออกอย่างเข้มงวด เพราะเพียงแค่หายใจอากาศร่วมกัน ก็อาจกลายเป็นผูต้ ดิ เชือ้ ได้ทันที ดังนั้น เมื่อความกลัวครอบง�ำการใช้ชีวิตปกติ ธุรกิจบริการและท่องเที่ยวจึงได้รับผลกระทบอย่าง รุนแรง สายการบินต่างว่างเปล่า โรงแรมที่พักไร้นักท่องเที่ยว กระทั่งโรงภาพยนตร์ก็ไร้ผู้คน และเป็นเวลา เกือบ 2 ปีหลังเกิดการระบาดในปี 2004 วิกฤตโรคซาร์สก็ควบคุมได้ด้วยความล�้ำเลิศของวิทยาการทางการ แพทย์ที่เข้ามาแทนที่ เมื่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงน�ำพาการปรับสายพันธุ์ท่ีแข็งแกร่งให้เชื้อโรค มนุษย์ก็ปรับวิธีคิดและ สร้างวิทยาการใหม่เพือ่ เอาชนะโรคร้ายทีแ่ พร่ระบาดเช่นกัน จากประวัตศิ าสตร์การต่อสูท้ เี่ ปรียบเหมือนสงคราม นี้ แสดงให้เห็นถึงการบาดเจ็บ ล้มตาย และความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ แต่ทุกครั้งหลังจากวิกฤตการณ์ โรคร้ายผ่านพ้น นวัตกรรมเพื่อการรักษา การด�ำเนินชีวิต และการป้องกัน ก็ปรากฏผลน่ายินดีที่ส่งสัญญาณ ว่าเราไม่เคยสิ้นหวัง เช่นเมื่อปีที่แล้ว กลุ่มเครือข่ายต่อต้านเอดส์ในอินโดนีเซียได้คิดค้น "เอดส์ ดิจิตอล (AIDS Digital)" ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นต้านเอดส์ที่ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากอินโดนีเซีย ประสบปัญหามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นจ�ำนวนมากราว 1.5 แสนคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และจากรายงานของ โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) พบว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ซึ่งถือว่าสูงกว่า ประเทศอื่นๆ ในเอเชียมาก โดยกลุ่มผู้คิดค้นหวังว่า แอพพลิเคชั่นนี้จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเอดส์ ได้มากขึ้น เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ได้จากทุกที่ทุกเวลา ส่วนผู้ติดเชื้อก็สามารถ ตรวจสอบโรงพยาบาลที่ให้การรักษาได้ทันที ปัจจุบัน ยอดดาวน์โหลดเอดส์ ดิจิตอลนี้มีจ�ำนวนมากกว่า 3,000 ครั้ง และยอดชมเวอร์ชั่นบนเว็บไซต์ก็มีถึง 2 แสนครั้งแล้ว แม้ว่านวัตกรรมบางอย่างจะจางหายและถูกพิสูจน์ว่าไม่ยั่งยืนในเวลาอันรวดเร็ว หรือแม้ว่าบางสิ่งจะให้ ผลที่เสถียรและถาวร แต่สังคมไม่เคยหยุดที่จะเติบโตเพื่อรับมือกับความไม่คาดฝันใดๆ เพราะปาฏิหาริย์ที่ ว่าวันหนึ่งภัยพิบัติอันเจ็บปวดจากการแพร่ระบาดของโรคร้ายจะหมดไป อาจเป็นความหวังที่ไม่มีวันเป็นจริง แต่สิ่งที่เราหวังได้ก็คือ ในความมืดมนย่อมมีแสงสว่างจากความทุ่มเทและอัจฉริยภาพจากสติปัญญา เพราะ สิ่งที่เหนือกว่าชัยชนะในวันนี้ ก็คือความรู้ที่พัฒนายิ่งขึ้นไปเพื่อเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่งให้กับลูกหลาน ของเราในอนาคต อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
ENVIRONMENT
สถาปัตยกรรมต้านโรคอ้วน
เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ
5plusdesign.com
แม้โรคอ้วนจะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากผลส�ำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่า จ�ำนวนผู้ป่วยเป็นโรคอ้วนในปัจจุบันนั้นสูงกว่า 1 พันล้านราย และ มีอัตราการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดจนน่าหวาดกลัวเช่นโรคระบาดอื่น ผู้คนทั่วโลกปีละ 3.4 ล้านรายต้องจบชีวิตจากภาวะร่างกายสะสมไขมันมากถึง ขีดอันตรายจนน�ำไปสู่การเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น เบาหวาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และมะเร็ง ไมเคิล เอลลิส (Michael Ellis) ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทสถาปนิก 5+Design ได้น�ำเสนอนิยามใหม่ของการออกแบบสิ่งก่อสร้าง “สถาปัตยกรรมต้านโรคอ้วน (Anti-Obesity Architecture)” หรือ กระบวนการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ชี้น�ำให้เกิดพฤติกรรมเพื่อสุขภาพตามแนวทาง “Mixed-Use Environment” ที่ผสานกลุ่มอาคารส�ำนักงาน ที่อยู่ อาศัย และแหล่งช็อป-กิน-เทีย่ วไว้ในอาณาบริเวณเดียวกัน เพือ่ สร้างประสบการณ์การเดินทีร่ นื่ รมย์โดยไม่ตอ้ งอาศัยยานพาหนะในการเดินทาง ตัวอย่าง งานสถาปัตยกรรมต้านโรคอ้วนของ 5+Design ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ได้แก่ โครงการ Luxehill ในเมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน
IDEA
openideo.com
ปลดทุกข์... แก้อีโบลา
ทีม่ า: บทความ “A personal portable toilet to prevent contact with foreign bodily fluids” จาก openideo.com
6l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
จ�ำนวนผู้เสียชีวิตอย่างเฉียบพลันจากไวรัสอีโบลาที่สูงถึง 7,900 รายในปีที่ผ่านมา ได้สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เพื่อต่อสู้กับวิกฤตการณ์ดังกล่าว บริษัทด้าน การออกแบบและนวัตกรรม Ideo จึงได้รว่ มงานกับองค์การเพือ่ การพัฒนาระหว่าง ประเทศของสหรัฐอเมริกา ในการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ “Open Ideo” เป็นเวที ให้นักคิด นักออกแบบ และบุคคลทั่วไปน�ำเสนอนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนบุคลากร ด้านสาธารณสุขภาคสนามที่ก�ำลังมุ่งมั่นควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา ในทวีปแอฟริกา โดยปัจจุบันมีผู้ร่วมน�ำเสนอแนวคิดแล้วทั้งสิ้น 605 ราย และหนึ่ง ในนั้นได้แก่ นวัตกรรมโถส้วมพกพาที่ผลิตได้จริงด้วยต้นทุนต�่ำจากวัสดุกระดาษ ลูกฟูกกันน�้ำและถุงพลาสติกชีวภาพสองชั้น ซึ่งสร้างความสะดวกและปลอดภัย เมือ่ ต้องท�ำการก�ำจัดของเสีย โดยทัง้ ผูใ้ ช้และผูใ้ ห้บริการสาธารณสุขมัน่ ใจได้วา่ ตน จะไม่ตอ้ งสัมผัสกับอุจจาระพาหะน�ำโรค นวัตกรรมนีเ้ กิดขึน้ จากการวิจยั กรณีศกึ ษา ในไลบีเรีย โดยวาเนสซา คูนาแอต (Vanessa Counaert) และเซดริค แวนฮอคก์ (Cédric Vanhoeck) ซึ่งพบว่า ประชากรชาวไลบีเรีย 1.2 ล้านคนต้องเสี่ยงชีวิต จากโรคระบาดร้ายแรง เพียงเพราะพวกเขาจ�ำต้องทนใช้หอ้ งน�ำ้ สาธารณะทีส่ กปรก และเป็นหนึ่งในแหล่งแพร่เชื้อไวรัสอีโบลาตัวฉกาจ
THE SUBJECT ลงมือคิด
INNOVATION
allazohealth.com
เบาหวาน... ที่ลืมไม่ลง แม้วิวัฒนาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าไปแล้วเพียงใด ก็คงไม่อาจรักษา อาการเจ็ บ ป่ว ยใดได้ หากตั ว ผู ้ ป่ว ยปฏิ เ สธการรั ก ษา หรื อ หลงลื ม ที่ จ ะ ปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำของแพทย์ จากผลการวิจัยปี 2013 ของสมาคมชุมชน เภสัชกรแห่งชาติ (National Community Pharmacists Association) พบว่า ผลพวงปัญหาจากการที่ผู้ป่วยในสหรัฐฯ ไม่ได้รับประทานยาตาม ค� ำ สั่ ง แพทย์ ก่ อ ให้ เ กิ ด ต้ น ทุ น ทางด้ า นสาธารณสุ ข สู ง ถึ ง 2.9 แสนล้ า น เหรียญสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว Allazo Health บริษัทนักวิเคราะห์ ด้านการดูแลสุขภาพ จึงได้พัฒนาระบบการพยากรณ์พฤติกรรมของผู้ป่วย จากฐานบัญชีข้อมูลเปิด (Open Data) และให้บริการค�ำปรึกษาแก่คลินิก และโรงพยาบาลถึงวิธีการแจ้งเตือนผู้ป่วยให้รับประทานยาตามก�ำหนดที่ มีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนต�่ำที่สุด และเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ป่วย แต่ละราย นวัตกรรมของ Allazo Health คือหนึ่งในนวัตกรรมที่ชนะเลิศ การแข่งขัน “The Data Design Diabetes Innovation Challenge 2013” ที่มีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทาง การแพทย์ใหม่ๆ เพื่อรักษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งมีอัตรา เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวจ�ำนวน 23.8 ล้านราย หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของประชากรชาวอเมริกัน
ที่มา: บทความ “5 data-driven ideas to combat diabetes” (18 เมษายน 2013) จาก fastcoexist.com, บทความ “AllazoHealth can predict whether you’ll take your pills: why that might be worth big money” (20 สิงหาคม 2014) จาก bizjournals.com, รายงาน “Medication Adherence in America: a National Report 2013” โดย National Community Pharmacists Association และ datadesigndiabetes.com
วัดไข้ก่อนที่จะสาย
kinsahealth.com
ลองจินตนาการดูว่าหากผู้คนสามารถทราบอาการป่วยไข้ของตนตั้งแต่ อยูท่ บี่ า้ นโดยทีย่ งั ไม่จำ� เป็นต้องเข้าพบแพทย์ การแพร่ระบาดของไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดนก จะถูกควบคุมได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้นเพียงใด โจทย์ดังกล่าวได้น�ำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ชื่อ “Kinsa” หรือปรอทวัดไข้อัจฉริยะอันแรกของโลก เพียงแค่เชื่อมต่อ Kinsa เข้ากับ สมาร์ทโฟนของคุณแล้วท�ำการวัดไข้ แอพพลิเคชัน่ บนมือถือจะแจ้งให้ทราบ ได้ภายในเวลาไม่ถึงนาที ว่าอาการตัวร้อนมีไข้ของคุณเข้าขั้นร้ายแรง เพียงใด การออกแบบฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่แสดงให้เห็นจ�ำนวนและ อาการของผู้ป่วยในแต่ละพื้นที่ ได้ถูกสร้างขึ้นบนแนวความคิดที่ว่า การตรวจพบการแพร่ระบาดของไวรัสได้ลว่ งหน้าย่อมหมายถึงการควบคุม การแพร่ระบาดได้ทันท่วงที ที่มา: บทความ “The Kinsa Smart Thermometer: early detection of epidemics of fever-inducing illness through rapid distribution of a ultra-low-cost phone-powered thermometer and its app” จาก openforum.hbs.org และ kinsahealth.com
มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
COLORS ISSUE.82 SHIT: A SURVIVAL GUIDE
MAGAZINE
บรรณาธิการบริหาร Rose George ในมาดากัสกา มีเด็กเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคทุกปี โดยร้อยละ 95 เกิดจากน�้ำที่ไม่ สะอาดและสภาวะสุขอนามัยไม่ดี ซึ่งสถิติการเสียชีวิตนี้ยังมากกว่าโรคเอดส์ด้วยซ�้ำ นี่เป็น เหตุการณ์ทวั่ ไปทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศก�ำลังพัฒนา และข่าวร้ายเหล่านีไ้ ด้น�ำไปสูป่ ระเด็นหลัก ของนิตยสารที่เปิดประตูสู่พื้นที่ส่วนบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องของอุจจาระและ สุขภาวะอันจะน�ำไปสู่ต้นเหตุของโรคระบาดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่การเจ็บป่วยจาก การติดเชื้อ อุจจาระและระบบการขับถ่าย ส้วมและต�ำแหน่งที่เหมาะสม สุขภัณฑ์รูปแบบ เฉพาะบุคคล สุนทรียะกับการขับถ่าย การท�ำความสะอาด ระบบและการจัดการ กระทั่ง ต้นทุนของอุจจาระในแง่ทรัพยากรที่แสนวิเศษ
CREATIVITY AND DISEASE: HOW ILLNESS AFFECTS LITERATURE, ART AND MUSIC
โดย Philip Sandblom ผู ้ ที่ ท�ำงานสร้ า งสรรค์ มั ก จะบั น ทึ ก ความรู ้ สึ ก ที่ เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาต่างๆ ลงไปบนผลงานของตน ฟิลิป แซนด์บลอม อาจารย์ศัลยแพทย์ผู้แต่งหนังสือ เล่มนี้ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษในการเชื่อมโยง ระหว่างสภาวะความเจ็บป่วย ผลงานศิลปะ และ ความคิดสร้างสรรค์ โดยรวบรวมผลงานจากศิลปิน นักเขียน นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงรวม 140 คน ซึ่งหลายผลงานสะท้อนถึงความเจ็บปวดที่ต้อง เผชิญจากโรคภัย แต่พวกเขาก็ยงั สร้างผลงานและใช้ การท�ำงานสร้างสรรค์นี้เป็นการบ�ำบัดทั้งร่างกาย และจิตใจ เพราะบางครัง้ เราก็ไม่อาจแสดงความรูส้ กึ เพื่อสื่อสารออกมาได้ด้วยภาษาพูดปกติ
BOOK
VISUAL STRATEGIES AGAINST AIDS: INTERNATIONAL AIDS PREVENTION POSTERS
โดย Museum Fur Gestaltung ความเชื่อ ความศรัทธา และศาสนา ถูกใช้เป็นสื่อกลางเพื่อที่จะท�ำความเข้าใจถึงการระบาดของโรคเอดส์ในหลายประเทศ ตัวอย่างเช่นโปสเตอร์จาก อินเดีย มีภาพหนูบริวารของพระพิฆเนศสองตัวก�ำลังคุยกันว่า ถ้าเรากินอาหารจานเดียวกัน เราจะติดเอดส์ได้หรือเปล่า ซึง่ สะท้อนให้เห็นว่าการออกแบบ รวมถึงวิธกี ารสือ่ สารนัน้ อ้างอิงกับบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละสังคม จึงเหมาะกับการศึกษาถึงวิธกี ารสือ่ สารกับมวลชนและการตีความโจทย์การระบาด ของโรคเอดส์ซงึ่ เป็นวาระร่วมกันของคนทัง้ โลก โปสเตอร์เหล่านี้ใช้เผยแพร่เพือ่ ป้องกันโรคเอดส์ โดยเฉพาะในแถบเอเชียแปซิฟกิ และแอฟริกา ทัง้ หมดถูก รวบรวมออกมาในรูปแบบหนังสือโดยพิพิธภัณฑ์เฟอร์ เกสไตล์ทง แหล่งรวบรวมคอลเล็กชั่นโปสเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 8l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
CREATIVE CREATIVERESOURCE RESOURCE วัวัตตถุถุดดิบิบทางความคิ ทางความคิดด
แม้ว่าไวรัสอีโบลาจะเริ่มระบาดครั้งแรกในปี 1976 และระหว่างปี 2012 หากมีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 ราย ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2014 สถานการณ์การแพร่ระบาดนี้กลับเข้าขั้นรุนแรงและกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในหลายประเทศของแอฟริกาตะวันตกที่มีอัตราผู้ป่วย และเสียชีวิตอยู่มากกว่าร้อยละ 71 เหตุการณ์ทั้งหมดท�ำให้ผู้เฝ้าตามสถานการณ์ต้องทบทวนถึงการเผชิญไวรัสมรณะ “โมตาบา” จากภาพยนตร์ Outbreak ในปี 1995 ที่น�ำเค้าโครง เรื่องมาจากงานเขียน The Hot Zone: The Terrifying True Story of the Origins of the Ebola Virus ของริชาร์ด เพรสตัน (Richard Preston) ที่ให้ รายละเอียดการเริ่มระบาดของโรคจากประเทศซาอีร์ (คองโก) ในแอฟริกา โดยผู้ลักลอบน�ำลิงคาปูชินเข้าไปจ�ำหน่ายยังสหรัฐอเมริกาเพื่อไปเพาะพันธุ์ ซึง่ ระหว่างทางได้เกิดการแพร่เชือ้ จากลิงสูผ่ เู้ คราะห์รา้ ยรายแรก และเมือ่ การส่งมอบไม่ตรงกับใบสัง่ ซือ้ ลิงตัวดังกล่าวจึงถูกน�ำไปปล่อยในป่าแคลิฟอร์เนีย อาการเจ็บป่วยจึงเริ่มต้นขึ้นจากคนสู่คน และตรงไปสู่ผู้ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย ก่อนที่เหตุการณ์การระบาดครั้งใหญ่จะเริ่มขึ้น เนื้อหาของภาพยนตร์ จึงไม่ต่างจากค�ำถามเบื้องต้นถึงกว่า 10 ปีล่วงหน้าในรูปภาพยนตร์ฮอลลีวูดว่า หากเกิดโรคระบาดรุนแรงที่ไม่มีวัคซีนหรือหนทางรักษา รวมทั้งมีการ แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการคมนาคมขนส่งยุคใหม่ที่เชื่อมคนจากทวีปหนึ่งสู่อีกทวีปได้เพียงไม่กี่อึดใจ เราจะตั้งรับกับภาวะเหล่านี้อย่างไร ทั้งในแง่ผู้น�ำและพลเรือนทั่วไป เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงท�ำให้เกิดการเสียชีวิตของผู้คนจ�ำนวนมาก แต่ยังน�ำมาซึ่งการประหวั่นพรั่นพรึงของ คนทั่วโลก ทั้งยังกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ส�ำคัญคือหลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายได้ไม่นาน เชื้อไวรัสอีโบลาก็ระบาดในแถบซาอีร์ขึ้นจริง และในปีนี้ องค์การสหประชาชาติก็ได้ออก ประกาศให้การระบาดของอีโบลาเป็นภาวะฉุกเฉินของโลก ความท้าทายของผู้คนบนโลกจึงหาใช่เพียงการมองหาทางเลือกที่ยั่งยืนด้านทรัพยากรเท่านัน้ แต่ยังหมายถึงความอยู่รอดให้ได้ในภาวะวิกฤตของโรคภัยไข้เจ็บที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และหาความแน่นอนไม่ได้
ก�ำกับโดย Wolfgang Petersen
FEATURED MOVIE
Outbreak มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้ประชากรมีอายุ ขัยเฉลีย่ เพิม่ ขึน้ แต่ในขณะเดียวกัน อุบตั กิ ารณ์ของโรคทีเ่ กิดจากความ เสือ่ มของอวัยวะต่างๆ ก็มแี นวโน้มสูงขึน้ ตาม การพัฒนาเทคโนโลยี ด้านเครือ่ งมือแพทย์ทจี่ ะช่วยให้คงไว้ซงึ่ ภาวะสุขภาพทีด่ ี จึงเป็นเรือ่ ง ทีท่ ว่ั โลกให้ความสนใจ ในวงการแพทย์ไม่มีการรักษาสาขาใดที่ใช้องค์ความรู้ด้าน วิศวกรรมมากเท่ากับการรักษาโรคหัวใจ การประดิษฐ์อุปกรณ์และ เครือ่ งมือทางวิศวกรรมการแพทย์จงึ ถูกออกแบบมาเพือ่ ซ่อมแซมและ ใช้ ทดแทนการท�ำงานส่วนต่างๆ รวมทัง้ หลอดเลือดทีไ่ ม่สามารถท�ำงาน ได้อย่างปกติ Edwards SAPIEN XT Transcatheter Heart Valve ผลิตโดย Edwards Life Sciences รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา คือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถทดแทนวาล์วหลอดเลือดแดงโดย ผู้ป่วยไม่จ�ำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่แบบเปิดทรวงอก โดยวาล์ว ขนาดเล็กนีท้ ำ� จากเนือ้ เยือ่ ของวัวซึง่ ออกแบบให้อยูภ่ ายในท่อสแตนเลส สตีลทีย่ บุ ตัวได้ จึงสามารถน�ำเข้าสูร่ า่ งกายทางเส้นเลือดทีต่ น้ ขาด้วย สายสวนทีส่ อดเข้าไปด้วยการผ่าตัดขนาดเล็ก เมือ่ ถึงจุดหมายบริเวณ ลิ้นหัวใจ อุปกรณ์นี้จะขยายขนาดขึ้นจนเต็มพื้นที่เพื่อท�ำหน้าที่แทน วาล์วเดิมทีท่ ำ� งานได้ไม่ดีของผู้ป่วย ทั้งนี้ องค์การอาหารและยาของ สหรัฐฯ อนุมัติให้ใช้อุปกรณ์นี้ได้ตั้งแต่ปี 2011 โดยสามารถใช้กับ ผู ้ ป ่ ว ยสู ง อายุ ห รื อ ป่ ว ยเกินกว่าที่จะรับการรักษาแบบผ่าตัดเปิด ทรวงอกเท่านัน้
หากพูดถึงในประเทศไทย ปัจจุบนั ได้มกี ารผลักดันอุตสาหกรรม วัสดุอปุ กรณ์ทางการแพทย์และสุขภาพให้เป็นอุตสาหกรรมเพือ่ อนาคต (New Wave Industry) โดยใช้ทรัพยากรทีอ่ ยูใ่ นประเทศ ตัวอย่างเช่น งานวิจัยจากข้าวมาพัฒนาเป็น “ข้าวเย็บแผล” หรือ วัสดุเย็บแผล ชนิดย่อยสลายได้ ผลิตจากแป้งข้าวเจ้า โดยคณะผูว้ จิ ยั จากภาควิชา ศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และหน่วยวิจยั ชีววัสดุและเครือ่ งมือ แพทย์ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัสดุเย็บแผลแบบเส้นใยเดี่ยวที่ได้พัฒนาสมบัติเชิงกลของ แผ่นฟิล์มโพลิเมอร์แป้งข้าวเจ้า ด้วยการผสมสารตัวช่วยอย่างเจลา ติน คาร์บอกซีเมทธิลเซลลูโลสและผงคาร์บอนขนาดนาโนเมตร และ เพิม่ คุณสมบัตแิ รงดึงยืด ความทนทานนาํ้ ด้วยผงนาโนคาร์บอนจาก กะลามะพร้าวทีใ่ ห้เส้นใยสีดำ� เพือ่ ช่วยให้ศลั ยแพทย์แยกแยะออกได้งา่ ย เมือ่ ปะปนกับเลือดภายในเนือ้ เยือ่ ระหว่างผ่าตัด ในอนาคต หากวัสดุทางการแพทย์ “ข้าวเย็บแผล” นี้ได้รับการ รับรองและใช้อย่างแพร่หลาย จะส่งผลดีทั้งต่อวงการวิทยาศาสตร์ ที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมชีววัสดุด้วยการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี การประดิษฐ์ทมี่ ตี น้ ทุนตาํ่ ในประเทศเอง ทัง้ ยังเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม และช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทยให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ทาง การแพทย์จากฝีมือนักวิจัยไทย ช่วยลดการน�ำเข้าและช่วยส่งเสริม การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยอีกด้วย ที่มา: บทความ "Visualizing the Sapien Heart Valve" (2011) โดย Michael MacRae จาก asme.org, edwards.com และ vcharkarn.com
10 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
Nylon 645 (MC# 7301-03) Taulman 3D Inc.
เส้นใยไนลอน (โพลีเอไมด์หรือพีเอ) ส�ำหรับงานพิมพ์สามมิติ ด้วยวิธีอัดรีด มีความคงทนสูง ใช้เป็นชิ้นส่วนรับน�้ำหนักได้ สามารถท�ำบานพับทั้งชิ้น เหมาะส�ำหรับพิมพ์ที่อุณหภูมิ 242˚C แท่นรองงานพิมพ์ต้องอุ่นที่ความร้อน 30-65˚C มี สี ข าวนวลตามธรรมชาติ มี ค วามทึ บ แสงร้ อ ยละ 65 สามารถย้อมสีติดได้ดีและใช้ได้กับสีย้อมผ้าที่เป็นกรด ทั่วไป เหมาะส�ำหรับงานพิมพ์สามมิติเพื่อผลิตอวัยวะเทียม งานซ่อมแซมและทดแทนกระดูก ของใช้ในครัวเรือน และ ต้นแบบที่ใช้ทดสอบการใช้งาน
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง Absorv™ (MC# 6702-01) Zeus Inc.
โพลิเมอร์ทถี่ กู ดูดซึมได้ทางชีวภาพสำ�หรับงานด้านการแพทย์ และเภสัชกรรม สามารถสลายตัวในร่างกายได้ พลาสติกที่ มีโพลีเอสเตอร์เป็นส่วนประกอบหลักนี้มีคุณสมบัติหลาย ประการคล้ายกับโพลีเอทิลีน (พีอี) และโพลีโพรพิลีน (พีพี) ออกแบบให้สามารถอัดรีดเป็นรูปทรงต่างๆ ได้เพือ่ ใช้สอดใส่ ในร่างกายตามจุดประสงค์ต่างๆ เช่น ขยายหลอดเลือด ลำ�เลียงยาเข้าสู่ร่างกายในช่วงเวลาหนึ่ง ขดลวดป้องกันการ ตีบของเส้นเลือด หรือใช้เป็นเครือ่ งมือแพทย์ทสี่ ามารถปล่อย ทิง้ ไว้ในร่างกายในระหว่างการผ่าตัดได้ ซึง่ จะค่อยๆ ถูกดูดซึม เข้าสูร่ า่ งกายโดยไม่กอ่ ให้เกิดอันตรายใดๆ โดยสามารถกำ�หนด อัตราการสลายตัวได้ตั้งแต่ไม่กี่วันจนถึงหลายปี รวมทั้ง กำ�หนดคุณสมบัติการรับแรงและความแข็งของวัสดุนี้ได้ พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 11
! ชุดป้องกันโรค
CLASSIC ITEM คลาสสิก
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
ในห้วงเวลาของความหวาดหวั่นที่ดูเหมือนว่าความเป็นและความตายอยู่ใกล้กันเพียงแค่เอื้อม การระบาดของโรคติดต่อเป็นอีกหนึ่ง แรงผลักดันที่ท�ำให้มนุษย์คิดสร้างสรรค์ ทดลอง และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่เพื่อความอยู่รอดบนพื้นฐานของความกลัวและ ความรู้ความเข้าใจตามบริบทของยุคสมัย เครื่องแต่งกายและเครื่องใช้ที่เกิดขึ้นใหม่จึงไม่เพียงปกป้องผู้สวมใส่จากโรคร้ายเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และมุมมองความเข้าใจที่มนุษย์ผู้รังสรรค์มีต่อโรคภัยที่อุบัติขึ้นอีกด้วย
LEPER COSTUME •การเดิ น ทางข้ า มถิ่ น ของนั ก รบและนั ก แสวงบุ ญ ในสงครามครู เ สด ซึ่งยืดเยื้อเป็นเวลานับร้อยปี ท�ำให้พวกเขากลายเป็นพาหะน�ำโรคเรื้อน มาแพร่ระบาดทั่วยุโรปและตะวันออกกลางในช่วงปี 1095 -1272 โดยเชื่อ กันว่าโรคเรื้อนเป็นการลงโทษจากพระเจ้า ผู้ป่วยจะต้องผ่านพิธีกรรม “Separatio Leprosorum” เพื่อประกาศว่าบุคคลนั้นได้ตายไปจากโลกนี้ และได้เกิดใหม่ในดินแดนของพระเจ้าแล้ว ก่อนจะถูกเนรเทศให้ไปอาศัย อยู่ในสถานสงเคราะห์ซึ่งคาดว่ามีอยู่เกือบ 19,000 แห่งทั่วยุโรป และต้อง สวมใส่เครื่องแต่งกายพิเศษเพื่อบ่งบอกว่าเป็นโรคเรื้อนซึ่งมักเป็นชุดที่ท�ำ จากผ้ากระสอบ ติดเครื่องหมายไม้กางเขนสีเหลือง และจะต้องสั่นกระดิ่ง เมื่ออยู่ในที่ชุมนุมชนเพื่อเตือนไม่ให้ผู้อื่นเข้าใกล้
GAUZE MASK •หน้ากากอนามัยผ้าก๊อซ (Gauze Mask) ที่เราคุ้นเคย เริ่มน�ำมาใช้กัน อย่างแพร่หลายในปี 1918 ที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของไข้หวัดใหญ่ สเปนที่คร่าชีวิตผู้คนไปถึงร้อยละ 5 ของประชากรโลก ซึ่งมากกว่าจ�ำนวน ผู้เสียชีวิตทั้งหมดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีการก�ำหนดข้อบังคับให้ ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด ในหลายพื้นที่ เช่น ซานฟรานซิสโก ซานดิเอโก ฯลฯ การชุมนุมในที่ สาธารณะและเดินทางท่องเที่ยวถูกจ�ำกัด โบสถ์ โรงละคร ร้านค้า (ยกเว้น ร้านอาหารและร้านยา) และสถานที่สาธารณะอื่นๆ ในหลายเมืองปิดให้ บริการนานกว่าหนึง่ ปี แม้แต่พธิ ศี พก็ถกู ก�ำหนดให้ใช้เวลาได้ไม่เกิน 15 นาที
PLAGUE DOCTOR OUTFIT •ร่างของหมอรักษากาฬโรคทีป่ กคลุมอย่างมิดชิดด้วยชุดผ้าใบสีเข้มเคลือบ แว็กซ์ยาวคลุมเท้า กางเกง รองเท้าบู้ต หมวก และถุงมือซึ่งล้วนท�ำจาก หนัง คือภาพจ�ำทีเ่ ป็นสัญลักษณ์สำ� คัญของการระบาดของกาฬโรคทีเ่ กิดขึน้ หลายครั้งในช่วงยุคกลางของยุโรป โดยเฉพาะหน้ากากสวมหัวที่มีจะงอย แหลมเหมือนปากนก ภายในบรรจุสมุนไพร ดอกไม้แห้ง และเครื่องเทศ เช่น ใบสะระแหน่ กุหลาบ การบูร ยางไม้หอม รวมถึงฟองน�้ำชุบน�้ำส้ม สายชู เพือ่ ดับกลิน่ ลมหายใจของผูป้ ว่ ยซึง่ เชือ่ ว่าเป็นสาเหตุของการติดโรค จนเป็นที่มาของชื่อ “หมอกาด�ำ (Beak Doctor)” •นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าต้นแบบชุดของหมอกาด�ำคิดค้นขึ้นในปี 1619 โดยชาร์ลส์ เดอ ลอร์ม (Charles de l’Orme) แพทย์ชาวฝรั่งเศสผู้เป็น หัวหน้าคณะแพทย์ของกษัตริย์ฝรั่งเศสถึงสามพระองค์ และกลายเป็น ที่นิยมมากเมื่อเกิดกาฬโรคระบาดในปี 1656 โดยหมอกาด�ำจะใช้ไม้เท้า ยาวในการตรวจวัดการเต้นของหัวใจและวินิจฉัยโรค แทนการสัมผัสถูก เสื้อผ้าและผิวของผู้ป่วยโดยตรง เนื่องจากการรักษากาฬโรคเป็นงานที่ มีความเสี่ยงสูง หมอกาด�ำซึ่งรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยไม่แบ่งชนชั้นฐานะ เหล่านี้จึงได้รับค่าจ้างสูงกว่าหมอทั่วไปถึง 4 เท่า
HAZMAT •แฮสแมต (Hazmat: Hazardous Material Suit) เป็นชุดป้องกันอันตราย ส่วนบุคคล (PPP: Personal Protective Equipment) แบบเต็มตัวที่ใช้กัน อย่างแพร่หลายในบุคลากรที่ต้องท�ำงานกับสารเคมีหรือสารชีวภาพใน ปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในปี 2014 ได้น�ำ มาสูข่ อ้ วิพากษ์วจิ ารณ์ในกลุม่ ผูเ้ ชีย่ วชาญเรือ่ งประสิทธิภาพในการป้องกัน และความสมเหตุสมผลของการเลือกใช้ชุดแฮสแมตที่หลายฝ่ายมองว่า เกินความจ�ำเป็นและมีราคาสูงกว่าที่ประเทศในกลุ่มเสี่ยงจะแบกรับไหว เนื่องจากเชื้ออีโบลานั้นจะติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านทางการสัมผัสสาร คัดหลั่ง เช่น เลือด น�้ำลาย อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ ฯลฯ หรือการสัมผัส อวัยวะและเครือ่ งใช้ของผูท้ ตี่ ดิ เชือ้ เท่านัน้ ไม่สามารถติดต่อทางอากาศหรือ การหายใจได้ ชุดแฮสแมตแบบเต็มยศจึงอาจสร้างความตื่นตระหนกและ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องแก่ประชาชนที่พบเห็น
ที่มา: บทความ “1918-1920: The Forgotten Epidemic” (2014) โดย Chris Wild จาก mashable.com, บทความ “Doctors of the Black Death” (2011) จาก doctorsreview.com, บทความ “Ebola Outbreak: Do Hazmat Suits Protect Workers, or Just Scare Everyone?” (2014)จาก livescience.com, บทความ “Hazmat suits: What are they and how do they protect medics against Ebola?” (2014) จากindependent.co.uk, บทความ “Philadelphia, Nurses, and the Spanish Influenza Pandemic of 1918” (2001) โดย Navy Medicine จาก history.navy.mil, บทความ “The Public Health Response” จาก virus.stanford.edu, บทความ “Why did doctors during the Black Death wear ‘beak masks’?” (2014) จาก historyanswers.co.uk, หนังสือ Leprosy: Hansen's Disease (2002) โดย Karen Donnelly และวิกิพีเดีย
12 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
commons.wikimedia.org
CLASSIC ITEM คลาสสิก
ภาพพิมพ์เครื่องแต่งกายของหมอรักษากาฬโรคในช่วงยุคกลางของยุโรป มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 13
© Dennis Kunkel Microscopy, Inc./Visuals Unlimited/Corbis
COVER STORY เรื่องจากปก
เมื่อโลก (โรค) ไร้พรมแดน เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล
เมื่อนาธาเนียล แลช (Nathaniel Lash) อัลแบร์ โต เซร์บันเตส (Alberto Cervantes) และดรูว์ ฮินชอว์ (Drew Hinshaw) ทีมนักข่าวและนักออกแบบกราฟิกจากเว็บไซต์เดอะวอลล์สตรีท เจอร์นัล สร้างสรรค์อินโฟกราฟิกแสดงข้อมูลจ�ำนวนบุคลากรและทรัพยากรทางการแพทย์ที่ องค์การแพทย์ ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders) ต้องใช้ในการท�ำความสะอาดและ ฆ่าเชือ้ โรคเพือ่ ป้องกันการติดเชือ้ ไวรัสอีโบลาในเรือนคนไข้ขนาด 125 เตียง ซึง่ ประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 300 - 600 คน น�้ำ 6,000 แกลลอน น�้ำยาฟอกขาว 2,500 แกลลอน ถุงมือยาง 1,050 คู่ และชุดป้องกันเชื้อโรค 350 ชุด หากในอนาคต เกิดกรณีเชื้อไวรัสเหมือน อีโบลาแพร่ระบาดไปยังผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก แค่ลองจินตนาการถึงจ�ำนวนทรัพยากรและ บุคลากรที่ต้องใช้ต่อวัน ภาพความโกลาหลและความขาดแคลนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก็ชวนให้น่า ตื่นตระหนกและวิตกกังวลอยู่ไม่น้อย
เชื้อไวรัสเอชไอวีแบ่งตัวในระบบนํ้าเหลืองของมนุษย์
COVER STORY เรื่องจากปก
ทุกครัง้ เมือ่ เกิดภัยพิบตั จิ ากโรคระบาด สิง่ ทีส่ อื่ และผูค้ นส่วนใหญ่ทวั่ ไปอาจให้ความสนใจและจดจ�ำได้เป็นอันดับแรกๆ คือสถิติ จ�ำนวน และตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อและการเสียชีวิต ข่าวขององค์การอนามัยโลกที่ได้ประกาศในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า จ�ำนวน ตัวเลขผู้ติดเชื้ออีโบลาล่าสุดมีมากกว่า 20,000 คน และในจ�ำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 7,900 คน การสูญเสียชีวิตผู้คนจ�ำนวนมาก ไปกับโรคภัยไข้เจ็บที่ยังไม่มียารักษาเป็นเรื่องเศร้าและน่ากลัว หากในขณะเดียวกัน เรื่องที่น่าคิดไม่แพ้กันก็คือ เราควรลงทุนไปกับ การจัดการ การพัฒนา และการป้องกันเชิงรุกมากน้อยแค่ไหนและอย่างไร และเราควรค�ำนึงถึงความสูญเสีย ความเสีย่ ง และผลกระทบ ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากภาวะการระบาดของเชื้อโรคหรือไม่
Each day, treating a single Ebola patient requires:
องค์การแพทย์ไร้พรมแดนระบุว่า แต่ละวันคนไข้อีโบลา 1 คน ต้องใช้ชุดป้องกันเชื้อโรค 3 ชุด ถุงมือยาง 8 คู่ น�้ำยาซักฟอกขาว 20 แกลลอน และน�้ำ 52.8 แกลลอน ที่มา: Treating Ebola: By the Numbers (2014) จาก graphics.wsj.com
มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 15
© Elise Zoker/Xinhua Press/Corbis
REUTERS/Enrique De La Osa
COVER STORY เรื่องจากปก
ป้องกันโรค = ปกป้องโลก ท่ามกลางความหวาดวิตกถึงภาวะการระบาดของไวรัสอีโบลาในปีที่ผ่านมา ส�ำนักข่าวบีบีซีได้รายงานข่าวถึงรัฐบาลคิวบาที่เร่งส่งเจ้าหน้าที่และผู้ช�ำนาญ การทางการแพทย์เข้ายังพืน้ ทีเ่ สีย่ ง เพือ่ ให้ความช่วยเหลือแก่ผตู้ ดิ เชือ้ อีโบลา ทั้งแพทย์ พยาบาล ศัลยแพทย์ และกุมารแพทย์ จ�ำนวนทั้งหมด 256 คน ไม่นบั อีก 200 คน ทีก่ ำ� ลังอยูร่ ะหว่างการเดินทาง ซึง่ นับเป็นความช่วยเหลือทาง บุคลากรทางการแพทย์ที่มากที่สุด และเป็นนโยบายด้านการต่างประเทศและ สาธารณสุขที่โดดเด่นในระดับนานาชาติ เพราะคิวบาเลือกส่งก�ำลังบุคลากร ทางการแพทย์ แทนการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือส่งก�ำลังทหาร เข้ายังพื้นที่ เช่นที่สหรัฐอเมริกาได้ส่งก�ำลังทหารเข้าไปยังแอฟริกาตะวันตก 3,000 นาย เพื่อสร้างโรงเรือนศูนย์รักษาผู้ติดเชื้อ
Ebola is Real
เต็นท์สำ�หรับใช้ในการฝึกซ้อมภารกิจเข้าช่วยเหลือผู้ติดเชื้ออีโบลาของแพทย์ ชาวคิวบาที่ Pedro Kouri Tropical Medicine Institute ในฮาวานา ก่อนถูกส่งไป ปฏิบัติภารกิจจริง
เจ้าหน้าทีผ่ ชู้ ำ� นาญการจากคิวบาไม่เพียงแต่ให้ความช่วยเหลือ ทางการแพทย์ หากยังช่วยระบุตัวผู้ติดเชื้อและพาตัวมา รับการรักษายังคลินิกด้วยการให้ความมั่นใจแก่ผู้ติดเชื้อว่า จะได้รับการรักษาที่ดี การท�ำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยของ คณะแพทย์และพยาบาลคิวบากลายเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้ ผู้ติดเชื้ออีโบลาคลายความหวาดกลัวและกล้าเดินทางไป เข้ารับการรักษา บทเรียนทีค่ วิ บามีให้ตอ่ นานาชาติคอื เมือ่ เกิด ภาวะโรคระบาด การให้ความช่วยเหลือเชิงบุคลากรทีม่ คี วาม เชี่ยวชาญด้านการแพทย์นั้นส�ำคัญไม่แพ้การให้ความช่วย เหลือทางการเงินในการต่อสูเ้ พือ่ สกัดกัน้ การระบาดของเชือ้ โรค การส่งบุคลากรเข้าพืน้ ทีภ่ าวะโรคระบาดของคิวบาได้รบั เสียงตอบรับอย่างล้นหลามจากนานาชาติ ขณะทีม่ าร์กาเร็ต ชาน (Margaret Chan) ผู้อ�ำนวยการองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า รูส้ กึ เป็นหนีบ้ ญุ คุณรัฐบาลและเจ้าหน้าทีท่ างการแพทย์ควิ บาที่ ท�ำหน้าที่เต็มก�ำลังในการควบคุมการระบาดของไวรัสอีโบลา ครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
ในช่วงเวลาวิกฤตที่ไม่อาจแน่ใจได้ว่าอะไรเป็นอะไร การได้รับข้อมูลข่าวสารที่เข้าใจง่ายจากแหล่งและช่องทางที่เชื่อถือได้ จะ เป็นปัจจัยสำ�คัญที่จะช่วยควบคุมสถานการณ์และมูลค่าความสูญเสียมหาศาลจากความตื่นตระหนกของประชาชนได้ เพราะ ข่าวลือปากต่อปากจากข่าวสารในโลกอินเทอร์เน็ตซึ่งหลายครั้งหาต้นตอไม่เจอ อาจแพร่กระจายสร้างความกังวลแก่ผู้รับรู้ได้ รวดเร็วไม่ตา่ งจากเชือ้ โรค ในปีทผ่ี า่ นมา สำ�นักข่าวบีบซี ไี ด้เพิม่ บริการส่งข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณสุขเกีย่ วกับอีโบลา ผ่านข้อความ ข้อความเสียง และภาพในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสให้แก่ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือและยังเลือกส่งข่าวผ่านเฟซบุ๊คและทวิทเตอร์ เพื่อให้ผู้คนในวงกว้างรับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและฉับไว ในขณะที่ใช้วอทส์แอพเพื่อให้บริการข้อมูลแก่ ผู้ใช้มือถือในประเทศเขตแอฟริกาตะวันตกซึง่ มีภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบล่าสูงสุด เพราะวอทส์แอพเป็นแชทแอพฯ ทีไ่ ด้ รับความนิยมสูงสุดในแอฟริกา
16 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
COVER STORY เรื่องจากปก
ยิ่งตื่นตระหนกยิ่งถดถอย ย้อนไปในวันที่ 5 กรกฏาคม 2003 เมื่อองค์การอนามัยโลก ประกาศการสิ้นสุดการระบาดของโรคซาร์ส ไม่น่าเชื่อว่ากลุ่ม อาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงนี้มีระยะเวลาการระบาด ทั่วโลกเพียง 7 เดือน และคร่าชีวิตผู้คนไปทั้งสิ้นไม่ถึง 1,000 คน จากจ�ำนวนผูต้ ดิ เชือ้ ทัว่ โลกราว 8,000 คน แต่มลู ค่าความสูญเสีย เชิงเศรษฐกิจกลับสูงถึง 54 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เฉพาะแค่ใน จีนซึ่งเป็นต้นก�ำเนิดของโรคซาร์ส ธนาคารโลกได้ประเมินมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจไว้ที่ 14.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และแม้ว่ายักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่เศรษฐกิจโลกก็หดตัวลง จีดีพี โลกในปีนั้นลดลงไปเหลือเพียง 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นผลจากมาจากการยกเลิกการเดินทาง การขาดทุน ในการค้าปลีก และภาวะการชะงักงันของการค้าข้ามพรมแดน
© Imaginechina/Corbis
นโยบายการให้ความช่วยเหลือทางสาธารณสุขนี้มีรากฐานมาจาก พันธสัญญาของรัฐบาลคิวบาในการให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ในระดับสากล ระบบการเรียนการสอนทางการแพทย์ที่เน้นการให้ความ ช่วยเหลือผูอ้ นื่ และความพยายามทีจ่ ะเสริมสร้างชือ่ เสียงด้านสาธารณสุข ในระดับนานาชาติ โดยคิวบามีประวัติความเป็นมายาวนานในการมุ่ง พัฒนาและให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่ทุกคนในฐานะสิทธิ ขั้นพื้นฐานที่มนุษย์พึงได้รับ ซึ่งได้มีการระบุไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 1976 นโยบายการลงทุนไปกับทรัพยากรบุคคลด้านสาธารณสุขของคิวบา สอดคล้องกับรายงานการศึกษาของธนาคารโลกที่ระบุว่า ในการจัดการ ความเสี่ยงจากภาวะโรคระบาด แต่ละประเทศควรเน้นไปยังนโยบาย การลงทุนในด้านสาธารณสุข ทั้งในการป้องกันการระบาดระยะแรกทั้งใน สัตว์และในคน และการลงทุนทางการแพทย์เพื่อลดการระบาดจากสัตว์ สู่คน รวมถึงการแสวงหาความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการ จัดการกับภาวะการระบาดของเชื้อ ตัวเลขการลงทุนทางสาธารณสุขของธนาคารโลกระบุว่า เพื่อสร้าง มาตรฐานจ�ำเป็นระดับต�่ำสุดในการป้องกันภาวะการระบาดของเชื้อโรค ประเทศก�ำลังพัฒนาต้องใช้เงินปีละราว 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึง่ ฟังดู สูงลิบเมือ่ เปรียบเทียบกับงบประมาณเฉลีย่ ทีป่ ระเทศก�ำลังพัฒนาใช้ไปกับ การพัฒนาด้านสาธารณสุขที่ 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มลู ค่าความคุม้ ค่า ต่อปีทไี่ ด้จากการมีระบบการป้องกันการระบาดทีไ่ ด้มาตรฐานเมือ่ ค�ำนวณ แล้วจะสูงถึง 37 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่างบที่ลงทุนไปถึง 10 เท่า อย่างไรก็ดี โลกยังประเมินและจัดการความเสีย่ งภาวะการระบาดของ โรคกับความเป็นไปได้ในการท�ำลายเศรษฐกิจต�ำ่ กว่าความเป็นจริง และมุง่ ไปยังการแก้ปัญหาเมื่อเกิดภาวะการระบาดของโรคแล้วมากกว่า ในแต่ละปี มีบันทึกสถิติการติดเชื้อจุลชีพก่อโรคจากสัตว์ (Zoonotic Pathogens) สู่มนุษย์ในกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนาสูงถึง 2.3 พันล้าน ครั้ง ตลอดศตวรรษที่ 20 เรื่องราวการระบาดของจุลชีพก่อโรคซึ่งมีที่มา จากสัตว์ก่อนจะพัฒนามาเป็นการระบาดจากคนสู่คน ไม่ว่าจะเอดส์หรือ ไข้หวัดนกท�ำให้มนุษย์รู้ว่าก�ำลังใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะที่ล่อแหลมแค่ไหน ในมุมมองด้านสาธารณสุข เมื่อค�ำนึงว่าภาวะการติดเชื้อจะส่งผลเสีย ต่อสุขภาพร่างกายและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางรายได้ ยิ่งใน ประเทศยากจนซึ่งประชากรยังไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข พื้นฐานและมีคุณภาพชีวิตต�่ำ หากไม่มีการจัดการด้านสาธารณสุขที่ดีพอ การติดเชื้อจุลชีพจากปศุสัตว์หรือสัตว์ป่าสู่คนอาจมีค่าเท่ากับหายนะ ประเทศใดก็ตามที่ล้มเหลวในการตรวจสอบและควบคุมภาวะการระบาด ของเชื้อจุลชีพจากสัตว์ ผลกระทบจะลามไปทั้งโลกที่ทุกวันนี้เชื่อมต่อกัน ด้วยเทคโนโลยี การค้า และการเดินทาง
ในรายงาน "The World Development Report 2014: Risk and Opportunity – Managing Risk for Development" ธนาคารโลกได้ กล่าวถึงประเด็นภาวะการระบาดของโรคติดต่อที่อาจมีผลกระทบต่อ การพัฒนาทางเศรษฐกิจไว้ในบทที่ 8 ซึ่งพูดถึงเรื่องความเสี่ยงส�ำคัญของ โลกว่า ในปี 2008 ธนาคารโลกประเมินมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ โลกในกรณีหากเกิดภาวะการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Severe Flu Pandemic) ไว้ที่ 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.8 ของ จีดีพีโลก ความน่าสนใจคือความสูญเสียส่วนใหญ่ไม่ได้มีที่มาจากสาเหตุ โดยตรงจากภาวะการระบาด เช่น จ�ำนวนผู้เสียชีวิตหรือภาวะการติดโรค มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 17
© REUTERS/Bobby Yip
COVER STORY เรื่องจากปก
แต่กลับมีที่มาจากปฏิกิริยาของผู้บริโภคที่ท�ำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการติดโรค เช่น งดการท่องเที่ยว งดการจับจ่ายและการออกไปยังที่ ประชุมชน เช่น ร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้า หรือการขึน้ เครือ่ งบิน การขาดแคลนแรงงาน และความล่มสลายชนิดดิง่ ลงเหวในภาคเศรษฐกิจและการเงิน ไม่เพียงเท่านั้น ภาวะโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในประเทศหรือทวีปใดทวีปหนึ่ง ยังหมายถึงภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือที่อาจตกลงฮวบฮาบของ ประเทศและทวีปนัน้ ๆ ในสายตาของนานาชาติ ซึง่ ต้องอาศัยทัง้ เวลาและเงินลงทุนในการกูค้ นื ความเชือ่ มัน่ และฟืน้ ฟูเศรษฐกิจให้กลับคืนมา อุตสาหกรรม การบินและธุรกิจภาคบริการ โรงแรม การท่องเทีย่ ว และการค้าปลีก จะเป็นแนวหน้าทีไ่ ด้รบั ผลกระทบก่อนทีอ่ ตุ สาหกรรมและการลงทุนอืน่ ๆ จะล้มตามกัน เป็นทอดๆ ทั่วทั้งโลก รายงานจาก The Financial Derivatives Company Limited (FDC) ในกรุงลากอสของไนจีเรียระบุว่า อีโบลาจะสร้างผลกระทบ เชิงลบทางเศรษฐกิจให้กบั ประเทศกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การวางแผนนโยบายเพือ่ การเตรียมตัวและเตรียมพร้อมรับมือในกรณีเกิดภาวะโรคระบาด ในเชิงสาธารณสุข รวมถึงการคิดแผนและนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงกลายเป็นวาระส�ำคัญไม่เพียงระดับชาติ หากเป็นระดับ โลกที่ทุกประเทศควรมีการวางแผนและเร่งรัดหามาตรการจัดการและรองรับ
WE LOVE HK 18 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
ภาวะการระบาดของโรคซาร์สในปี 2003 ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำ�นวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงฮวบฮาบ ได้ทำ�ให้ ในปีถัดมาสมาพันธ์การท่องเที่ยวแห่งฮ่องกง (The Tourism Coalition of Hong Kong) ซึ่งเป็นการรวม ตัวกันของสมาชิกในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ตัวแทนของกลุ่มธุรกิจสายการบิน โรงแรม และร้าน อาหาร ต้องออกแคมเปญ “ We Love HK” เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนกลับมาท่องเที่ยวและออกมาจับจ่ายใช้สอย อีกครั้ง มีรายงานว่าแคมเปญดังกล่าวใช้เงินลงทุนในการประชาสัมพันธ์และดำ�เนินงานสูงถึง 1.5 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นให้ชาวฮ่องกงกลับมาใช้ชีวิตตามปกติและนักท่องเที่ยวกลับมาจับจ่ายใช้สอย รวมถึงทำ�ให้บรรยากาศของเมืองกลับมาคึกคักสดใส ซึง่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านีส้ ง่ ผลกระทบต่อตัวเลข จีดีพีของประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย
COVER STORY เรื่องจากปก
จะเอาคนตายหรือจะเอาคนเป็น ธนาคารโลกเผยว่า หากยังไม่สามารถควบคุมการระบาดของ ไวรัสในกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนาที่ก�ำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ การระบาดของอีโบลาไปยังประเทศใกล้เคียง ภายในสิ้นปี 2015 ผลกระทบทางการเงิ น ในภู มิ ภ าคแอฟริ ก าอาจสู ง ถึ ง 32.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และอาจเร่งให้เกิดมหันตภัยในแอฟริกา ทีก่ ำ� ลังอยูใ่ นสภาวะเปราะบางอยูแ่ ล้วจากการระบาดของเชือ้ ไวรัส ให้เร็วยิ่งขึ้น มาตรการจัดการภาวะการระบาดและการศึกษาถึง ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ภาวะการระบาดน�ำมาและการลงทุน ไปกับการป้องกันจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าไม่ใช่เพื่อเรา ก็เพื่อคน รุ่นต่อๆ ไปในอนาคต ที่ยังต้องเผชิญหน้ากับจุลชีพที่ดูเหมือน จะพัฒนาสายพันธุ์มาคุกคามมนุษยชาติอย่างไม่หยุดยั้งและ เหมือนจะไม่มีวันสิ้นสุด
แม้จะฟังดูไร้นำ�้ ใจหรือไร้ศลี ธรรมทีเ่ อาเรือ่ งสุขภาพและความเป็นความตาย มาคิดวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แต่มาร์ติน เมลต์เซอร์ (Martin Meltzer) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสด้านสาธารณสุขประจ�ำศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) มักจะ ใช้วธิ ตี งั้ ค�ำถามง่ายๆ โดยอ้างอิงจากงานวิจยั ทีเ่ ขาเป็นผูเ้ ขียนน�ำในปี 1999 ว่าใครควรเป็นคนแรกทีไ่ ด้รบั วัคซีนป้องกันเมือ่ ต้องจัดล�ำดับการฉีดวัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อให้สาธารณชนเข้าใจถึงความส�ำคัญของการ ท�ำความเข้าใจมิตทิ างเศรษฐศาสตร์ในการป้องกันการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ตามการค�ำนวณของเมลต์เซอร์ ถ้าอยากลดความเสีย่ งในการเสียชีวติ กลุ่มแรกที่ควรได้รับวัคซีนคือประชากรผู้สูงอายุในกลุ่มเสี่ยง แต่ถ้าอยาก ลดจ�ำนวนผู้เสียชีวิต (ไม่ว่าจะในกลุ่มประชากรใด) กลุ่มแรกที่ควรได้รับ การฉีดวัคซีนคือประชากรวัยท�ำงานในกลุ่มเสี่ยง แต่ถ้าเป้าหมายคือเพื่อ ให้ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมากที่สุดจากการลงทุนฉีดวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ (เราต้องไม่ลืมว่ารัฐเป็นผู้ให้บริการสุขภาพพื้นฐาน และรัฐ จะเอางบมาจากไหน ถ้าไม่ใช่จากภาษีของประชาชน) กลุ่มแรกที่ยังควร ได้รับการฉีดวัคซีนก็คือประชากรวัยท�ำงานในกลุ่มเสี่ยง เพราะเป็นก�ำลัง ในการผลิต ตามด้วยประชากรวัยเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ส่วนประชากร ผู้สูงอายุมาในล�ำดับสุดท้าย นี่อาจฟังดูไม่ยุติธรรม และอันที่จริงค�ำตอบ ของเมลต์เซอร์ก็ได้สร้างความโกรธเคืองให้เหล่าผู้สูงอายุที่เข้าฟังการ
บรรยายของเขาหลายครั้ง แต่เขามักจะกลับค�ำถามใหม่อีกครั้งว่า ถ้ามี วัคซีนแค่เข็มเดียว คุณจะฉีดเองหรือจะเก็บไว้ให้หลานของคุณ แน่นอนว่า คราวนี้มติเป็นเอกฉันท์ว่าหลานควรได้รับสิทธิ์นั้น สังคมของเราท�ำการประเมินเชิงสัมพัทธ์เช่นนี้อยู่ตลอดเวลา แต่ สิ่งที่เมลต์เซอร์ชี้ให้เห็นจากงานวิจัยของเขาคือนักเศรษฐศาสตร์ด้าน สาธารณสุขจะไม่มีวันเป็นผู้ฟันธงว่าใครควรอยู่หรือใครควรจะไป แต่ท�ำ สิ่งที่ยากที่สุดรองลงมา นั่นคือท�ำให้ผู้รับผิดชอบเชิงนโยบายต้องฉุกคิด และเผชิญหน้ากับความจริงของความเป็นไปได้ของผลที่อาจตามมาจาก การตัดสินใจใดๆ ก็ตาม ซึง่ นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” หรือผลตอบแทนทีส่ ญู เสียไปจากการตัดสินใจในการเลือกท�ำสิง่ ใดสิง่ หนึง่ จากตัวเลือกทีม่ ี หรือทีเ่ มลต์เซอร์สรุปสัน้ ๆ ว่า “เราบังคับผูค้ นให้ตอ้ งตอบ ค�ำถามที่พวกเขามักจะหลีกเลี่ยง” ในหนังสือ Hello World: Where Design Meets Life (2013) อลิซ รอว์สธอร์น (Alive Rawsthorn) เล่าไว้ในบทที่ 4 "Why Good Design Matters" (ท�ำไมงานออกแบบที่ดีจึงส�ำคัญ) ถึงการตัดสินใจของบริษัท สัญชาติอเมริกันแห่งหนึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2003 ซึ่งเป็นเวลา ที่องค์การอนามัยโลกประการเตือนภาวะการระบาดโรคซาร์สขั้นสูงสุด เมือ่ ต้องส่งนักออกแบบอาวุโสของบริษทั ไปจีนเพือ่ ดูแลขัน้ ตอนสุดท้ายของ งานออกแบบต้นแบบที่บริษัทคาดการณ์ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ขายดีที่สุด เมือ่ วางตลาด บริษทั ตัดสินใจเช่าเครือ่ งเหมาล�ำและออกแบบตกแต่งภายใน ใหม่เป็นที่พักกึ่งสตูดิโอให้นักออกแบบได้ท�ำงานอยู่ในเครื่องที่จอดนิ่งๆ ที่สนามบินใกล้กับโรงงานในเมืองจีนมากที่สุด ในสิบวันนั้น เขาติดต่อ ทีมงานภายนอกผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์และดูแลการออกแบบปรับแก้ งานต้นแบบทีส่ ง่ เข้าและออกเครือ่ งบินในบรรจุภณั ฑ์ฆา่ เชือ้ ทีป่ ดิ ผนึกสนิท แน่นจนเสร็จเรียบร้อย ก่อนบินกลับสหรัฐอเมริกา โดยไม่ได้กา้ วเท้าออกจาก เครื่องบินเลยแม้แต่ก้าวเดียว ค�ำถามคงไม่ใช่วา่ ท�ำไปท�ำไม กระทัง่ จ�ำเป็นไหม เพราะท้ายทีส่ ดุ แล้ว อนาคตก็ขึ้นอยู่กับเราเองว่า จะหลีกเลี่ยงหรือหันมาเผชิญหน้า เพราะแน่นอนว่าโรคระบาดจะไม่แค่หายไปในอากาศ
ที่มา: บทความ "Avian Influenza and the Pandemic Threat" จาก un-influenza.org, บทความ "BBC Launches Whatsapp Ebola Service" จาก bbc.com, บทความ "BBC World Service Launches Chat App Ebola Information Service" จาก bbc.com, บทความ "Can You Catch Ebola on a Plane?" โดย Katia Hetter and Jacque Wilson จาก edition.cnn.com, บทความ "CDC Health Economists" จาก cdc.gov, บทความ "Cuba's Health Diplomacy in the Age of Ebola" โดย Eduardo J Gomez จาก bbc.com, บทความ "Diseases Without Borders: Managing the Risk of Pandemics" โดย Olga Jonas จาก blogs.worldbank.org, บทความ "Ebola Could Hit Global Economy, G-20 Leaders Warn" โดย Rob Taylor จาก wsj.com, บทความ "Ebola Crisis: The Economic Impact" โดย Richard Hamilton จาก bbc.com, บทความ "Ebola Guidance for Airlines" จาก cdc.gov, บทความ "External Events Threaten to Upend the Airline Industry" จาก blog.euromonitor.com, บทความ "Flu-Conomics: The Next Pandemic Could Trigger Global Recession" โดย Sharon Begley จาก reuters.com, บทความ "How the BBC Is Using WhatsApp to Combat Ebola in West Africa" โดย Anne Steele จาก csmonitor.com, บทความ "The Economic Impact of the 2014 Ebola Epidemic: Short and Medium Term Estimates for West Africa" จาก worldbank.org, บทความ "Treating Ebola: By the Numbers" โดย Nathaniel Lash, Alberto Cervantes and Drew Hinshaw จาก graphics.wsj.com และ รายงาน "Pandemic Risk" โดย Olga B. Jonas จาก worldbank.org มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 19
INSIGHT อินไซต์
30 ปี ของโรค การต่อสู้ และชัยชนะที่ยังคงอยู่ ของมนุษยชาติ 1984 2003 AIDS SARS
ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา เกิดโรคระบาดที่ฆ่าผู้คนทั่วโลกเป็นจำ�นวน กว่า 30 ล้านคน แต่หากมองให้ลึกกว่าจำ�นวนผู้เสียชีวิตในแต่ละ ปีที่โรคระบาดได้พรากพวกเขาไป เราจะได้ทบทวนอะไรบางอย่าง ทีซ่ อ่ นอยูใ่ นหายนะแต่ละครัง้ ซึง่ นำ�ไปสูค่ วามพยายามอยูร่ อดของ มนุษย์
© Ken Liu/dap/Corbis
© Thierry Prat
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
Can you change your attitude?
Fear Fast Furious
เมื่อ 16 ปีที่แล้ว กูกู ดลามินี (Gugu Dlamini) หญิงชาวแอฟริกันถูก รุมประชาทัณฑ์ด้วยการใช้ก้อนหินทุบตีจนเสียชีวิต หลังประกาศต่อหน้า สาธารณชนในวันเอดส์โลกว่า เธอเป็นเอดส์ ทุกวันนี้ความรู้สึกรังเกียจ และการปฏิบัติแบบแบ่งแยกที่เกิดขึ้นนี้ก็ยังไม่เคยจางหายไป ในปี 2014 ประธานาธิบดีทาจิกิสถานได้ลงนามอนุมัติกฎหมายที่ว่าด้วยการกักกัน เสรีภาพเรื่องที่อยู่อาศัยและการเดินทางของผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งข้อมูล ล่าสุด จากโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ระบุว่ามีอีกกว่า 40 ประเทศทั่วโลกที่ออกกฎหมายในลักษณะนี้ แต่กลับไม่เคยมีหลักฐาน ใดๆ ยืนยันว่าการจ�ำกัดเสรีภาพจะช่วยป้องกันการระบาดของโรคได้ องค์การอนามัยโลกยังรายงานอีกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่รู้สึกรังเกียจตัวเอง และกลัวโดนประณาม มักไม่กล้าออกมารับการรักษาจนส่งผลให้มีผู้ป่วย เสียชีวิตเป็นจ�ำนวนมาก การปรับทัศนคติใหม่ต่อเอดส์ยังเป็นเรื่องที่ต้องส่งเสริม เนลสัน แมน เดลา (Nelson Mandela) ได้ประกาศว่าลูกชายของเขาติดเชื้อเอชไอวี ด้วยค�ำกล่าวที่น่าคิดว่า “เราควรเปิดอกพูดให้สาธารณชนเข้าใจเสียใหม่ ว่าการเป็นโรคเอดส์ไม่ควรทีจ่ ะต้องหลบซ่อนอีกต่อไป เพราะทางเดียวทีจ่ ะ ไม่ทำ� ให้ผปู้ ว่ ยต้องละอายกับการเป็นโรคร้ายนี้ คือการออกมาพูดกับคนอืน่ ได้เหมือนการป่วยเป็นมะเร็ง ผูค้ นจะได้เลิกคิดเสียทีวา่ โรคนีเ้ ป็นโรคแปลก ประหลาด” การประชุมโรคเอดส์นานาชาติในปี 2014 ยังส่งเสริมให้หยุด การแบ่งแยกผู้ป่วยด้วยสโลแกนที่ว่า “No One Left Behind” เพราะแม้โรคเอดส์จะเป็นโรคร้าย แต่การเพาะเชือ้ ร้ายใส่ไปในทัศนคติ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ร้ายแรงยิ่งกว่า
เมื่อหมอชาวจีนเช็กอินเข้าพักในโรงแรมที่ฮ่องกงด้วยอาการที่เหมือนจะ เป็นไข้หวัด ภายใน 24 ชั่วโมง ก็มีคนติดโรคซาร์สอย่างรวดเร็วถึง 16 คน วันถัดมาบรรดาแขกทีพ่ กั ต่างทยอยกันบินออกนอกประเทศไปยังเวียดนาม สิงคโปร์ และแคนาดา อีก 4 เดือนต่อมาโรคซาร์สได้แพร่ระบาดลุกลาม ไปยัง 29 ประเทศทั่วโลก ด้วยลักษณะการแพร่เชื้อผ่านลมหายใจได้ส่งผลให้ทั่วโลกแตกตื่น และหวาดกลัวว่าโรคระบาดนี้จะสร้างหายนะต่อโลก แต่ความเร็วใน การแพร่ระบาดของซาร์สก็ไม่ได้เร็วไปกว่าเทคโนโลยีที่ก้าวไกลขึ้นมาก ในสมั ย นั้ น เพราะทุ ก หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งต่ า งใช้ ป ระโยชน์ จ ากสื่ อ ไม่วา่ จะโทรทัศน์ โทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตเพือ่ กระจายข้อมูลให้ทวั่ ถึงกัน การประสานงานกับแผนกตรวจคนเข้าเมืองในสนามบินเพื่อแยกตัวผู้ต้อง สงสัยมาตรวจโรคก่อนให้เดินทางต่อไป และการท�ำงานร่วมกันของ 11 แล็บ ทั่วโลกจนสามารถพบต้นตอของโรคได้ในเวลาเพียง 1 เดือน (โรคเอดส์ใช้ เวลาถึง 2 ปี) และสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ในที่สุด แม้จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เพียงพันกว่าคนในปี 2003 แต่ความตื่น ตระหนกกลับส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจมากจนน่าตกใจ โดยเฉพาะธุรกิจ การท่องเที่ยวและการค้าระหว่างประเทศ โดยสรุปมูลค่าความเสียหายไป กว่า 54 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มีเพียงธุรกิจเดียวที่สามารถท�ำก�ำไร มหาศาลนั่นคือ หน้ากากอนามัย หลายคนวิจารณ์ว่าผู้คนกลัวการแพร่ระบาดของโรคซาร์สในระดับที่ มากเกินไป แต่เมื่ออยู่ระหว่างความเป็นและความตาย ด้วยแค่การหายใจ ยังไม่สามารถไว้ใจกันได้ ก็คงเป็นไปได้ยากทีจ่ ะท�ำให้ผคู้ นหวาดกลัวโรคนี้ ได้ในระดับที่พอดี
20 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
INSIGHT อินไซต์
Influenza (H1N1)
2014
oasisdiscussions.ca
2009
cdc.gov
ที่มา: บทความ “Epidemics and Economics” โดย David E. Bloom and David Canning จาก hsph.harvard.edu, บทความ “Epidemics Through History” จาก edition.cnn.com, บทความ “HIV & AIDS Stigma and Discrimination” จาก avert.org, บทความ “Key Facts about Seasonal Flu Vaccine” จาก cdc.gov, บทความ “Tajikistan Lifts Travel Restrictions for People Living with HIV”จาก unaids.org, บทความ “2014 Ebola Outbreak in West Africa - Case Counts” จาก cdc.gov, บทความ “The virus detective who discovered Ebola in 1976” จาก bbc.com, บทความ “World Health Statistics 2014: Large Gains in Life Expectancy” จาก who.int, บทความ “Infographic: Google's Flu Map Might Predict The Next Big Epidemic” จาก fastcodesign.com, วิดีโอ “How Pandemics Spread” โดย Mark Honigsbaum จาก youtube.com, วิดีโอ “What We Know (and Don't Know) about Ebola” โดย Alex Gendler จาก youtube.com และวิกิพีเดีย
Ebola
Who wins?
Please help!
แม้องค์การอนามัยโลกจะประกาศการสิ้นสุดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 และสรุปยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกกว่า 18,000 คน แต่มี สิง่ ทีน่ า่ สนใจจากการตัง้ ข้อสังเกตของ ดร. แดเนียล เจอร์นแิ กน (Dr.Daniel Jernigan) แห่งหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) นั่น คือ "ผลการทดสอบเซรุ่มเลือดจากผู้สูงอายุแสดงว่าพวกเขามีแอนตีบอดีที่ สามารถโจมตีไวรัสชนิดใหม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี ทุ ก คนจะมี ภู มิ คุ ้ ม กั น ต่ อ โรคโดยสมบู ร ณ์ นั บ ตั้ ง แต่ มี ผู ้ สู ง อายุ ชาวอเมริกันและเม็กซิกันเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ชนิดใหม่นี้" นี่อาจ หมายถึงมนุษย์ได้มีการปรับตัวสู้เชื้อโรคได้เช่นกัน แต่ ด ้ ว ยธรรมชาติ ที่ เ ชื้ อ ไข้ ห วั ด ใหญ่ จ ะมี ก ารพั ฒ นาสายพั น ธุ ์ ในทุกๆ 20-40 ปี ท�ำให้การปรับตัวเพื่ออยู่รอดของสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ และการพัฒนาความรู้สู้โรคของมนุษย์ยังเป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้กันอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา รายงานว่าผู้ที่ ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จะมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าร้อยละ 60 หรือการพยายามคาดการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ผ่านกูเกิล ที่เรียกว่า "Google Flu Trends" โดยกูเกิลจะบันทึกที่อยู่ของผู้ค้นหาอาการ และการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่แบบเรียลไทม์จนได้เป็นข้อมูลที่สามารถ คาดการณ์พื้นที่ที่อาจเกิดการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกาได้พิสูจน์แล้วว่าการ คาดการณ์จากกูเกิลนี้มีความแม่นย�ำสูง
เมือ่ 40 ปีทแี่ ล้ว หมออาสาชาวเบลเยียมทีป่ ระจ�ำอยูใ่ นประเทศแถบแอฟริกา ได้ส่งตัวอย่างเลือดที่ติดโรคลี้ลับให้กับนักวิทยาศาสตร์ประเทศบ้านเกิด เพื่อทดสอบหาต้นตอของโรค แต่ปรากฏว่าเชื้อไวรัสนี้ไม่เคยถูกค้นพบ มาก่อน ท�ำให้นักวิทยาศาสตร์ ปีเตอร์ ไพออท (Peter Piot) ตัดสินใจ ออกเดินทางไปยังแอฟริกาเพือ่ ค้นหาต้นตอการแพร่ระบาดของโรค โดยเขา และทีมงานเริ่มต้นการสืบค้นที่หมู่บ้าน Yambuku โดยสังเกตเห็นว่าชาว บ้านที่กลับจากงานศพมักติดเชื้อกลับมาเสมอ นั่นเป็นเพราะพิธีกรรมของ หมูบ่ า้ นจะช�ำระล้างศพโดยไม่มกี ารป้องกันใดๆ และการน�ำเข็มฉีดยากลับ มาใช้ใหม่เนือ่ งจากมีจำ� นวนจ�ำกัดก็เป็นการแพร่ระบาดของโรคได้อกี ด้วย ข้อสังเกตทั้งหมดนี้เองจึงได้ข้อสรุปว่าโรคลี้ลับนี้แพร่ระบาดผ่านของเหลว ในร่างกาย เช่น น�้ำลาย เลือด น�้ำมูก อาเจียน อุจจาระ โดยวิธีการระงับ ไม่ให้แพร่ระบาดคือการแยกตัวผู้ติดเชื้อ สร้างสุขอนามัยที่ดีโดยการให้ ข้อมูลความรูแ้ ละวิธปี อ้ งกันทีถ่ กู ต้องแก่ผนู้ ำ� ชุมชนเพือ่ ให้ชาวบ้านได้ปฏิบตั ิ ตามจนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดในยุคนั้นได้ส�ำเร็จ โดยตั้งชื่อโรค ระบาดลี้ลับนี้ว่าอีโบลาตามชื่อแม่น�้ำที่อยู่ใกล้กับชุมชนแห่งนี้ ปี 2014 เกิดการแพร่ระบาดโรคอีโบลาขึน้ อีกในประเทศแถบแอฟริกา ตะวันตก ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ คือ หมอ เพื่อน หรือญาติสนิทที่ คลุกคลีอยู่กับผู้ป่วย ส่วนวิธีการป้องกันโรคที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้ยังคงเป็น วิธีเดิมที่เคยใช้เมื่อ 40 ปีที่แล้ว และดูเหมือนว่าบริษัทยาทั้งหลายจะ ไม่สนใจลงทุนวิจัยผลิตยาหรือวัคซีนในการรักษาโรคอีโบลาเพียงเพราะ โรคนี้แพร่ระบาดอยู่ในประเทศที่ยากจน มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
จากความคลั่งไคล้ ในภาพยนตร์แนวซอมบี้ที่มาแบบตัวเป็นๆ จนท�ำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกจนตรอกและน่ากลัวกว่าแนวผี นามธรรมทีเ่ ล่นกับความเชือ่ ทัง้ ยังเชือ่ มโยงได้กบั ความจริงทีเ่ ป็นข่าวในปัจจุบนั อย่างเช่นชายชาวอเมริกนั ทีล่ กุ มากินเนือ้ คน หรือเรือ่ งของแคนนิเบิล (คนกินเนือ้ คน) ทีม่ ใี ห้ ได้ยนิ อยูเ่ สมอ ท�ำให้คำ� ว่า “ซอมบี”้ กลายเป็นสิง่ ที่ ม.ร.ว. เฉลิมชาตรี ยุคล ให้ความสนใจมาโดยตลอดตั้งเเต่สมัยเรียน จนตัดสินใจลงมือถ่ายทอดเรื่องราวซอมบี้แบบไทยๆ ขึ้นจอภาพยนตร์ ด้วยส่วนผสมอันแปลกประหลาดคือ “แอ็กชั่น-สยองขวัญ-ย้อนยุค” ภายใต้ชื่อเรื่องว่า “ผีห่าอโยธยา”
ผีห่าอโยธยา ต้นทุนสร้างสรรค์จากความตายไม่ยอมตาย เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: พิรานันท์ พาวงษ์
ย้อนเวลาเมื่อคราวห่าลง
“พวกฝูงผีหา่ จัญไรนีก่ ม็ ากเหลือคณานับ หน�ำซ�ำ้ เหล่าศพโรคห่านีก้ ลับฟืน้ กัดกินผู้คนเสียนี่” นี่เป็นประโยคหนึ่งจากบทภาพยนตร์ที่นิยามถึง “ผีห่า” ที่อยู่ในหนังเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เบื้องหลังการเกิดขึ้นของผีห่าเหล่านี้คือ การท�ำงานหนักของม.ร.ว.เฉลิมชาตรีและทีมงาน ทั้งค้นคว้าข้อมูลอย่าง เจาะลึกมากว่าสองปี เพื่อออกแบบ ก�ำหนดที่มา และสร้างคาแรกเตอร์ ผีห่าขึ้นมาในแบบฉบับตัวเอง “โรคห่าความจริงแล้วในความเข้าใจของคนไทย เรามักจะเข้าใจว่า โรคห่าคืออหิวาตกโรค คือฝีดาษ แต่ค�ำว่าโรคห่าของผมหมายถึงการแพร่ กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว หยุดยั้งไม่ได้ ซึ่งไม่ได้เจาะจงเป็นเชื้อใดเชื้อ หนึ่งเท่านั้น อย่างซาร์สถือเป็นห่า ไข้หวัดนกก็ใช่ อีโบลานี่ก็ใช่ ซึ่งต่อมา คือออกแบบการแพร่กระจาย ในผีห่าฯ ผมเลือกกระจายเชื้อแบบ Blood Transfusion คือเหมือนโรคเอดส์ ติดผ่านของเหลวในร่างกาย ต่อมาเราก็ ต้องดูว่าไวรัสชนิดหนึ่งเกิดการสั่งงานในร่างกายได้มากน้อยแค่ไหน เช่น สั่งให้ร่างกายถ่ายเป็นของเสียเยอะ อย่างอหิวาตกโรค ของผมเปลี่ยนเป็น ไวรัสทีส่ งั่ ให้รา่ งกายวิง่ ไปกัด เป็นกึง่ อัมพาต หน้าทีม่ อี ย่างเดียวคือ ท�ำร้าย ผู้อื่นโดยการกัด โดยอาการของมันที่แสดงก็คล้ายคลึงกับโรคฝีดาษ เช่น มีตุ่มขึ้นตามบริเวณที่มีเส้นเลือดใหญ่ เช่น ปาก แขน และเลือดกลายเป็น เลือดด�ำ เพราะร่างกายหยุดการฟอกเลือด”
22 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
ซอมบี้พีเรียด เชื้อแพร่กระจายภายใต้ข้อจ�ำกัด
ในขณะที่ภาพยนตร์ซอมบี้ฟื้นคืนชีพในต่างประเทศมักจะมีเนื้อเรื่องที่เกิด ขึ้นในช่วงเวลาแห่งอนาคต และมีที่มาของเชื้อโรคจากความผิดพลาดทาง วิทยาศาสตร์ แต่ทางหนีทีไล่และเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ ตัวละครเสมอ หรือภาพยนตร์แนวซอมบีส้ ญั ชาติไทยอย่างบ้านผีปอบหรือ แก๊งค์ตบผี ก็เลือกเล่าความเป็นซอมบี้ในแนวตลก ม.ร.ว.เฉลิมชาตรีกลับ สร้างความแตกต่างด้วยการเลือกช่วงเวลาพ.ศ. 2108 ในยุคกรุงศรีอยุธยา เสียกรุง ซึ่งเป็นปีที่เขาคิดว่าเหมาะสมที่สุดในการสร้างสรรค์และวาง เส้นเรือ่ งให้กบั ภาพยนตร์เรือ่ งนี้ อย่างการทีบ่ า้ นเรือนยังท�ำจากไม้ ปูหลังคา ด้วยตับจาก นั่นหมายถึงการเพิ่มโอกาสท�ำลายล้างแบบไม่บันยะบันยัง ไม่มีที่หลบภัย ซึ่งท้าทายกว่าการสร้างหนังซอมบี้ในยุคปัจจุบันอย่าง แน่นอน รวมถึงความน่ากลัวแบบไทย ที่เขาได้ศึกษาจากภาพยนตร์แนว Undead Film ที่มีมาตลอดระยะเวลา 40 ปี “ผมศึกษาหนังไทยเรือ่ งอืน่ ทีป่ ระสบความส�ำเร็จ เช่น นางนาก (1997) ผมดูให้รู้ว่านี่คือความน่ากลัวแบบไทย นี่แบบฝรั่ง เอามาผสมกันอย่างไร ให้ลงตัว ภายในทรัพยากรทีม่ อี ยู่ แต่การท�ำหนังไทยมีทรัพยากรจ�ำกัด เรา ไม่เหมือน World War Z (2013) ที่ได้ไปถ่าย 3-4 ประเทศ ท�ำได้ทุกอย่าง แต่ความจ�ำกัดทีม่ เี ราจะท�ำยังไงให้นา่ กลัวในแบบทีเ่ ป็นตัวของเราเอง และ ยังมี Subtext หรือความหมายทางสังคมที่ผมก็แอบแทรกซ่อนเอาไว้เช่น กัน คือเราในฐานะคนท�ำหนัง เราจะเก่งกาจแค่ไหนที่จะซ่อนอะไรเอาไว้ ระหว่างบรรทัดของบทได้”
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
หนังทดลอง... สมมติฐานของผู้สร้าง ผลการทดลองของผู้ชม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการสร้างความแตกต่างในวงการภาพยนตร์ไทยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย การเปิดรับเนื้อหาใหม่ กับปัจจัยอีกนับไม่ถ้วนในการเลือก ดูภาพยนตร์สักเรื่องของผู้บริโภค ล้วนเป็นความท้าทายใหม่ที่ไม่มีการ ประนีประนอมเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นผู้ก�ำกับมือใหม่หรือมืออาชีพ แล้วก็ตาม แต่ม.ร.ว.เฉลิมชาตรีก็รับค�ำท้าทายนั้นด้วยความมุ่งมั่นในการ ผลิตผลงานที่คุณภาพดีและให้อะไรกลับไปสู่ผู้ชมเสมอ “ผมไม่มีทางคาดเดาได้เลยว่าคนดูต้องการดูอะไร ณ เวลานี้ ปัจจัย มีเป็นล้านอย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราคุมไม่ได้ทั้งหมด สิ่งที่เราคุมได้อย่าง เดียวคือคุณภาพของหนังเรา นั่นคือสิ่งส�ำคัญที่ผมสามารถท�ำได้ในฐานะ ผู้ก�ำกับ นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อถือตลอดว่าทุกๆ วันที่ผมท�ำงาน ผมต้องท�ำให้ เต็มที่ พอหนังออกไปแล้วนั่นเป็นสิ่งที่ผมพร้อมจะน�ำเสนอจริงๆ คนดูจะ ชอบหรือไม่ชอบ ผมไม่ว่าเลย” โดยภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้าที่ม.ร.ว.เฉลิมชาตรีเขียนบทและก�ำกับ อย่าง สารวัตรหมาบ้า (2013) จนถึงภาพยนตร์เรื่องผีห่าอโยธยานี้ ความ โดดเด่นที่ทั้งสองเรื่องมีเหมือนกันคือความแตกต่างทางด้านรูปแบบและ การน�ำเสนอเนือ้ หา เรียกได้วา่ เป็นการทดลองใหม่ๆ ทีก่ รุยทางให้กบั วงการ ภาพยนตร์ไทย “ค�ำว่าทดลองไม่ได้แปลว่าเราต้องท�ำหนังติสต์แตก แต่ หมายความว่าดูกระบวนการคือการตั้งโจทย์ ตั้งสมมติฐาน ซึ่งสมมติฐาน ผมมันอาจจะเป็นหนังตลาดมากก็ได้ แต่มนั เป็นของผม ส่วนจะส�ำเร็จหรือ ไม่อยูท่ คี่ นดูตดั สิน มันคือความบันเทิงทีค่ นได้อะไรกลับไปไหม ถ้าหนังได้ เงินก็คอื เป็น ถ้าได้รางวัลก็ถอื เป็นก�ำลังใจ แต่พวกนีไ้ ม่ได้ส�ำคัญเท่ากับการ ที่เราท�ำสมมติฐานของเราให้เต็มที่ แล้วที่เหลือให้คนดูเป็นคนตัดสิน”
Tips for Entrepreneurs
•จากจำ�นวนภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายในปี 2014 จำ�นวนรวม 69 เรื่อง มีภาพยนตร์ แนวโรแมนติก-คอมเมดีมากถึงร้อยละ 10 มีภาพยนตร์แนวผีสยองขวัญร้อยละ 14 ซึง่ กว่าครึง่ จากจำ�นวนนีเ้ ป็นภาพยนตร์สยองขวัญทีม่ เี นือ้ เรือ่ งตลก (Horror-Comedy) นั่นทำ�ให้ปี 2014 เป็นปีทองของภาพยนตร์ทางเลือกอย่างสารคดีที่มีมากถึง 4 เรื่อง ความอิม่ ตัวและล้นตลาดของภาพยนตร์แนวเดิมๆ นีเ้ องทีเ่ ป็นเครือ่ งบ่งชีว้ า่ ภาพยนตร์ แนวแปลกใหม่เป็นตัวเลือกที่ผู้ชมกำ�ลังต้องการ •Zombie - Undead Film ความตายไม่ยอมตายนีก้ ลายเป็นต้นทุนในการสร้างสรรค์ ผลงานมากมายในอุตสาหกรรมบันเทิง ทั้งหนังสือ การ์ตูน ภาพยนตร์ วิดีโอเกม ความนิยมที่ครองใจผู้ชมมายาวนาน นับตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง White Zombie จากฮอลลีวูดในช่วงยุค 30s จนถึงซีรีย์สฮิตสนั่นเมืองอย่าง The Walking Dead ที่ยัง สร้างความน่าติดตามมาสูแ่ ฟนคลับได้อย่างต่อเนือ่ งนับแต่ปี 2010 ในอีกแง่หนึง่ ซอมบี้ เป็นวัฒนธรรมย่อยทีผ่ คู้ นสร้างขึน้ มาเพือ่ หลบหนีความเป็นจริง โดยเป็นความบันเทิง ที่ทำ�ให้ผู้ชมรู้สึก “ปลอดภัย” จากโรคร้ายที่รุกรานอยู่นั่นเอง พบแนวคิดใหม่จากผู้ประกอบการไทยที่น�ำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างเป็น มูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ทรี่ วบรวม รายชือ่ และผลงานของนักออกแบบ ผูผ้ ลิต และผูป้ ระกอบการ จากทุกอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ในประเทศไทยไว้ในที่เดียวกัน
มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 23
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
มหานครขจัดโรค เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช
24 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
© REUTERS/Tami Chappel
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
รถพยาบาลฉุกเฉินพิเศษนำ�ตัวผู้ติด เชื้ อ อี โ บลาชาวอเมริ กั น เข้ า รั บ การ รั ก ษาที่ โ รงพยาบาลมหาวิ ท ยาลั ย เอโมรีในแอตแลนตา
ภาพของดร.เคนต์ แบรนต์ลีย์ (Dr. Kent Brantly) นายแพทย์ผู้ติดเชื้ออีโบลาจากไลบีเรียในชุดป้องกัน โรคที่ เ ดิ น ออกมาจากรถพยาบาลเพื่ อ เข้ า รั บ การ รั ก ษาที่โ รงพยาบาลมหาวิ ท ยาลั ย เอโมรี (Emory University Hospital) ในเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เมือ่ เดือนสิงหาคมปีทผ่ี า่ นมา อาจเปลีย่ น ภาพจำ�ของเมื อ งแห่ ง นี้ ใ นสายตาของคนทั่ ว โลกไป ตลอดกาล เมื่อเอ่ยถึง “แอตแลนตา” หลายคนอาจยังคงจำ�ได้ถึงเสียงโห่ร้องยินดีกับ เหรียญทองแรกของไทยจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี 1996 หรือยังคงติดตากับภาพเมืองเศรษฐกิจ แหล่งที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่ของ องค์กรชั้นนำ�ระดับโลกมากมาย อย่างโคคา-โคล่า (Coca-Cola) เดลต้า แอร์ไลน์ (Delta Air Lines) เอทีแอนด์ที (AT&T) ซีเอ็นเอ็น (CNN) และ ยูพีเอส (UPS) เป็นต้น แต่ตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลาในช่วงปีที่ ผ่านมา เมืองแห่งนี้กลับโดดเด่นขึ้นมาในด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประจำ�ชาติ จนอาจทำ�ให้เราต้องหันกลับมามองเมืองที่ปกคลุมไปด้วย ร่มเงาของต้นไม้น้อยใหญ่ ดังสมญานาม “City in a Forest” แห่งนี้ใหม่ อีกครั้ง
CITY IN A FOREST พื้นที่ร้อยละ 36 ของเมืองแอตแลนตานั้นปกคลุม ไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ ถือเป็นอัตราส่วนที่สูงที่สุด ในกลุ่มเมืองใหญ่ๆ ของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน แอตแลนตาก�ำลังประสบปัญหาจ�ำนวน ต้นไม้ลดลงอย่างรวดเร็วด้วยสาเหตุหลายประการ ไม่วา่ จะเป็นเชือ้ ราในต้นไม้ ศัตรูพชื หรือพายุทอร์นาโด อีกทั้งยังมีข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลคาร์บอน ไดออกไซด์ (Carbon Dioxide Information Analysis Center) ที่ระบุว่า ชาวเมืองแอตแลนตาผลิตก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์จ�ำนวนทั้งสิ้น 167 ล้านปอนด์ ต่อวัน เมื่อนับรวมกับชาวอเมริกันทั้งประเทศแล้ว ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของสหรัฐอเมริกานั้นสูงกว่าจีนถึงเกือบสามเท่า ล่าสุด เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2014 องค์กรไม่ แสวงผลก�ำไร ทรีส์ แอตแลนตา (Trees Atlanta) ซึ่ง รณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ทดแทนมาโดยตลอด และ ได้ปลูกต้นไม้มาแล้วกว่า 75,000 ต้นนับตัง้ แต่ทศวรรษ 1980 จึงได้ร่วมมือกับบริษัทกรีนพริ้นท์ (GreenPrint) ผลิตน�้ำมันที่ไม่ปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ออก สูช่ นั้ บรรยากาศ (Carbon Neutral Gasoline) เป็นครัง้ แรกในโลก โดยมีชื่อว่า ZERO ภายใต้โปรแกรม ZERO Clean Driving เพื่อรณรงค์ให้ชาวเมืองแอตแลนตา ใช้น�้ำมันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสามารถเติม น�้ำมันดังกล่าวได้ที่สถานีเติมน�้ำมันจ�ำนวน 4 แห่งรอบ เมืองแอตแลนตา ไม่เพียงแต่ความสามารถในการบริหารจัดการ ต้นไม้และมลภาวะทางอากาศ แอตแลนตายังเป็นเมือง ทีพ่ ร้อมจะจัดการทรัพยากรนำ�้ อย่างมีประสิทธิภาพกับ โปรเจ็กต์ Atlanta 2108, The city in the forest ที่จะ เปลี่ยนเมืองที่เคยประสบปัญหาความแห้งแล้งเมื่อปี 2007 ให้กลายเป็นเมืองต้นแบบให้เมืองอืน่ ๆ ในอนาคต ที่มา: บทความ “Trees Atlanta Encourages Drivers to Make a Difference with ZERO, Carbon Neutral Gasoline” จาก treesatlanta.org และ aecom.com มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 25
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
emoryhealthcare.org
THE SERIOUS CASE OF DISEASE
ชุดป้องกันโรค รถพยาบาล ตลอดจนห้องผู้ป่วยของ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอโมรี ได้รับการออกแบบ โดยคำ�นึงถึงการป้องกันการติดเชื้อ
26 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอโมรี ในเมืองแอตแลนตา เป็น 1 ใน 4 สถาบัน ทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาที่มีแผนกดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อขั้นร้ายแรง อย่างปลอดภัยในระดับสูง โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Serious Communicable Disease Unit แม้หลายคนจะตั้งค�ำถามกับการมีอยู่ของแผนกพิเศษนี้ แต่ทันทีที่ ทางการสหรัฐฯ ตัดสินใจส่งผู้ติดเชื้ออีโบลาสองรายแรกของสหรัฐฯ ได้แก่ ดร.เคนต์ แบรนต์ลีย์ และนางแนนซี่ ไรท์โบล (Nancy Writebol) นายแพทย์วัย 33 ปีและนางพยาบาลชาวอเมริกันวัย 59 ผู้อุทิศตนดูแล รักษาผู้ป่วยอยู่ในเมืองมอนโรเวีย ประเทศไลบีเรีย มาเป็นเวลาเกือบ หนึ่งปี มารักษายัง Serious Communicable Disease Unit แห่งนี้ใน ต้นเดือนสิงหาคม ค�ำถามต่อการมีอยูด่ งั กล่าวจึงได้รบั ค�ำตอบ “คณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกคนของเราได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษเพื่อ รับมือกับการดูแลรักษาผู้ป่วยประเภทนี้มาเป็นอย่างดี กระบวนการดูแล รักษาและวิธีการปฏิบัติต่อผู้ป่วยเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่เราฝึกท�ำกันอยู่เป็น กิจวัตร เพราะฉะนัน้ พวกเราจึงพร้อมเป็นอย่างยิง่ ส�ำหรับสถานการณ์เช่นนี”้ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเอโมรีกล่าว Serious Communicable Disease Unit แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ห้องผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ครบครันไม่ต่างจากห้องไอซียู ห้องสวมชุด ป้องกันเชื้อของเจ้าหน้าที่ ห้องพักรอส�ำหรับญาติที่มีช่องกระจกส�ำหรับ ให้สอื่ สารกับผูป้ ว่ ย ห้องน�ำ้ ภายในห้องผูป้ ว่ ยทีม่ รี ะบบจัดการขยะและของ เสียจากผู้ป่วยด้วยไอน�้ำแรงดันสูงและการเผา และห้องแล็บพิเศษส�ำหรับ การค้นคว้ารักษาผู้ติดเชื้อโรคติดต่อขั้นร้ายแรงโดยเฉพาะ จุดเด่นของหน่วยพิเศษแห่งนี้ คือระบบควบคุมการไหลเวียนของ อากาศถึงสองชั้น คือบริเวณก่อนเข้าห้องพักรอและก่อนเข้าห้องผู้ป่วย ที่จะควบคุมไม่ให้อากาศจากห้องผู้ป่วยไหลออกมายังห้องพักรอและ โถงทางเดิน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านทางอากาศ นอกจากนี้ ในแต่ละห้องจะมีการไหลเวียนของอากาศถึง 20 ครั้งภายใน หนึ่งชั่วโมง หรือทุกๆ ประมาณ 3 นาที เพื่อการก�ำจัดเชื้อโรคออกไป อย่างรวดเร็ว
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
© REUTERS/CDC/Handout
The Aeromedical Biological Containment System (ABCS) เต้นท์เคลื่อนที่ส�ำหรับดูแลผู้ป่วย ติดเชือ้ บรรจุในเครือ่ งบินฉุกเฉินล�ำนี้ ได้รับการออกแบบและสร้างโดย ความร่วมมือของกระทรวกลาโหม แห่ ง สหรั ฐ ฯ ฟิ นิ ก ซ์ แอร์ กรุ ๊ ป และ CDC
CDC: THE WAR ROOM OF THE U.S. เพราะแอตแลนตานั้นได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้แห่งสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่กลางศตวรรษ ที่ 19 จากการเป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายตะวันตก และยังเป็นจุดหมายของเส้นทางรถไฟจาก 4 ทิศตลอดช่วงปี 1845-1854 เมื่อประกอบกับการที่ทางการสหรัฐฯ ต้องการจัดตั้งโปรแกรมควบคุมเชื้อมาลาเรียในพื้นที่สงคราม (Malaria Control in War Areas) ขึ้น เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียที่อยู่คู่กับพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้มาโดยตลอด ไม่ให้ระบาดสู่ทหารที่ก�ำลังฝึกอบรมส�ำหรับ การรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ในพื้นที่แถบนี้ แอตแลนตาจึงกลายเป็นที่ตั้งของส�ำนักงานใหญ่ที่เหมาะสมที่สุดเหนือเมืองอื่นๆ ที่ได้รับ การพิจารณาเช่นกัน อย่างเท็กซัสและแคลิฟอร์เนีย โปรแกรมชั่วคราวที่ต้องการเพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่าง Malaria Control in War Areas ได้จุดประกายแนวคิดที่จะจัดตั้ง หน่วยงานที่ดูแลเรื่องโรคติดต่ออย่างจริงจัง จึงเป็นที่มาของส�ำนักงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ที่ไม่เพียงแต่ท�ำหน้าที่ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียเท่านั้น แต่ปัจจุบันยัง ครอบคลุมทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีการค้นคว้าวิจัยเพื่อรับมือกับเชื้อโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นและก�ำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงการ ก่อการร้ายด้วยสารชีวภาพ (Bioterrorism) มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อติดตาม ป้องกัน และควบคุมโรค ตลอดจน ให้การศึกษาด้านสาธารณสุขผ่านกิจกรรมต่างๆ แก่คนในชาติ มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 27
flickr.com/photos/MikeAppel
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
แม้จะมีขอ้ กังขาเกีย่ วกับการตัง้ สถาบันทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีความส�ำคัญระดับชาติเช่นนี้ไว้ห่างจากเมืองหลวงอย่างกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กว่าหลายร้อยไมล์ แต่นายแพทย์บิล ชาฟเนอร์ (Dr. Bill Schaffner) อดีตเจ้าหน้าที่ในหน่วยสืบราชการลับด้านโรคระบาดของ CDC กลับมอง ไม่เห็นความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องย้ายหน่วยงานนีอ้ อกไปจากแอตแลนตา “CDC เติบโตขึ้นแทบจะทันทีภายหลังการก่อตั้ง ตอนที่ผมไปเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ ทีน่ นั่ ห้องปฏิบตั กิ ารต่างๆ ก�ำลังเข้าทีเ่ ข้าทาง ผูเ้ ชีย่ วชาญ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทั้งหมดล้วนมีบ้านอยู่ที่แอตแลนตา หากจะย้ายหน่วยงานนี้ไป ตั้งที่อื่น คงจะเป็นงานช้างที่ต้องใช้ทั้งก�ำลังและความพยายามอย่างมาก อีกทั้งยังต้องใช้เงินจ�ำนวนมากอย่างไม่จ�ำเป็น” นายแพทย์บิลกล่าว นับตั้งแต่นั้นมา CDC ได้พัฒนาบทบาทหน้าที่ของตนเองจนก้าว ขึ้นมามีบทบาทอยู่ในวงการสาธารณสุขระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เรื่องของโรคระบาด อย่างไรก็ตาม หนึ่งในโปรเจ็กต์ของ CDC ที่แสดง ให้เห็นถึงความใส่ใจในสาธารณสุขของชาวอเมริกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดหรือไม่ก็ตาม ก็คือโปรเจ็กต์ Communities Putting Prevention to Work (CPPW) จากผลการส�ำรวจพบว่า ผู้ใหญ่ทุกๆ สามคน จะมีหนึ่งคนที่เป็น โรคอ้วน และมีชาวอเมริกันกว่า 45 ล้านคนที่สูบบุหรี่ ในขณะที่มีอีก 126 ล้านคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่กลับได้รับผลกระทบจากควันบุหรี่ ส่งผลให้ โรคอ้วนและบุหรี่คือสาเหตุการเสียชีวิตของชาวอเมริกันติดอันดับต้นๆ ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด โปรเจ็กต์ CPPW จึงเข้ามาให้การสนับสนุน 50 ชุมชนทั่วสหรัฐฯ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วนและอันตรายต่างๆ ที่ตามมาจาก การใช้บุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นการเสนอแนะให้การบริโภคอาหารสดในท้องถิ่น เป็นนโยบายและกลยุทธ์ของชุมชน มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและ ทางเท้าให้เอื้อต่อการเดินและการขี่จักรยาน ก�ำหนดให้เยาวชนได้ใช้เวลา อย่างน้อยครึง่ ชัว่ โมงต่อวันกับกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ รวมไปถึงสนับสนุน ให้รับประทานผัก ผลไม้ และเครื่องดื่มที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น 28 l Creative Thailand l มกราคม 2558
มีการประกาศให้บางพื้นที่สาธารณะเช่น ร้านอาหาร โรงแรม ไนต์คลับ ที่ท�ำงาน หรือสถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ ยกเลิกนโยบายทางการ ตลาดของบุหรี่ เช่น การลดราคาหรือการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จากยาสูบ หรือนิโคติน ตลอดจนเพิ่มฮอตไลน์ส�ำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ CPPW สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาว สหรัฐฯ ได้กว่า 50 ล้านคน หรือนับเป็น 1 ใน 6 ของชาวอเมริกันทั้งหมด กลับมาที่การจัดการกับเรื่องโรคระบาดที่ไม่อาจมองข้ามได้อีกครั้ง 2 สัปดาห์ภายหลังจากที่นายแพทย์แบรนต์ลีย์และนางไรท์โบลเข้ารับ การรักษาที่ Serious Communicable Disease Unit แห่งโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยเอโมรี ทั้งสองถูกปล่อยตัวกลับบ้านพร้อมได้รับการประกาศ จาก CDC ว่าหายจากโรคร้ายดังกล่าวแล้ว เช่นเดียวกันกับผู้ติดเชื้ออีก สองรายที่ถูกส่งตัวมารักษายังโรงพยาบาลแห่งนี้ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้รอด ชีวิตจากโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ ได้แก่ แอมเบอร์ วิลสัน (Amber Vinson) นางพยาบาลผู้ติดเชื้อจากการดูแล ผู้ป่วยอีโบลาที่เสียชีวิตในเวลาต่อมา และผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อจากการปฏิบัติ หน้าทีใ่ นองค์การอนามัยโลก (WHO) ในเซียร์ราลีโอนแต่ไม่ประสงค์ออกนาม ในขณะที่ผู้ป่วยในสหรัฐฯ อีก 6 ราย ที่ถูกส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลอื่น มี 2 รายที่เสียชีวิต ตราบใดที่การแพร่ระบาดของเชื้อโรคนั้นยังคงรวดเร็วว่องไวไม่ต่าง กับการคมนาคมและการติดต่อสื่อสารในสังคมโลกาภิวัฒน์ เราก็คงจะ ยังได้ยินข่าวคราวของมหานครแห่งนี้ในฐานะผู้บ�ำบัดและขจัดเชื้อโรคอยู่ ต่อไปอย่างแน่นอน ที่มา: cdc.gov, วิกิพีเดีย, บทความ “Emory University Hospital Special Isolation Unit” จาก emorymedicinemagazine.emory.edu, บทความ “Caring For The American Ebola Patients: Inside Emory's Isolation Unit” จาก npr.org, บทความ “Special Hospital Unit Readies for Ebola Patient” จาก nbcnews.com, บทความ “Ebola in America: Timeline of the Deadly Virus” จาก abcnews.go.com, บทความ “Centers for Disease Control and Prevention” จาก georgiaencyclopedia.org, บทความ “ Finds Its Identity as Tree Haven Is Threatened” จาก nytimes.com
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
Dr.Yonas Tegegn ดร.โยนาส เทคเกิน นายแพทย์ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจ�ำ ประเทศไทย จบการศึกษาสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัย แอดดิสอาบาบา (Addis Ababa University) เมืองหลวง ของเอธิโอเปีย มีประสบการณ์ด้านงานสาธารณสุขมานาน 30 ปี เคยท�ำงานในองค์กรของรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก ในบทบาทของ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในชนบท ผู้อ�ำนวยการธนาคารเลือดกลาง ของสภากาชาดเอธิ โ อเปี ย ผู ้ ป ระสานงานสาธารณสุ ข ให้ กั บ องค์กรไม่แสวงหาผลก�ำไร Africa Humanitarian Action (AHA) รองหัวหน้าภารกิจรวันดาเพื่อช่วยเหลือวิกฤตการณ์ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นในปี 1994 ทั้งยังเคยท�ำงานในแผนก ปฏิบัติการฉุกเฉินและด้านมนุษยธรรม ที่องค์การอนามัยโลก เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ก่อนขึ้นเป็นผู้แทนองค์การอนามัย โลกที่กรุงเปียงยางของเกาหลีเหนือ และเป็นผู้บริหารจัดการ สาธารณสุขศาสตร์ที่ส�ำนักงานองค์การอนามัยโลกในอินเดีย ดร. โยนาส เทคเกิน จึงเป็นอีกหนึง่ บุคคลระดับโลกทีไ่ ด้ทำ� งาน คลุกคลีกับทั้งความพยายามต่อกรกับเชื้อโรคร้าย ไปพร้อมกับ ความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะช่วยให้มวลมนุษย์ได้มโี อกาสเป็นเจ้าของสุขภาพ ที่ดีตามที่ควรจะเป็นไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหน ในโลก การเข้ามารับหน้าที่ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจ�ำ ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2013 จึงไม่ใช่แค่โอกาสอันดี ที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข ของไทยจะมีโอกาสร่ วมงานกั บ นักต่อสูท้ ชี่ �่ำชองมาจากหลากหลายเวทีทวั่ โลกผู้นเี้ ท่านัน้ แต่การ ถ่ายทอดความคิดและความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเดินทางและการ พาดผ่านประสบการณ์ที่ล�้ำค่าของดร.เทคเกิน ยังท�ำให้เราได้ เรียนรู้การรับมือกับปัญหาที่นับว่าท้าทายศักยภาพของมนุษย์ มากที่สุดอีกด้วย
มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
คุณคิดอย่างไรที่การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาในช่วงปี 2013 ที่ผ่านมาได้ท�ำให้ผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจเรื่องของโรคระบาดอีกครั้ง
โลกก�ำลังมองว่าการระบาดของโรคอีโบลาเป็นเรื่องที่ต้องถูกบันทึกไว้ใน ประวัติศาสตร์ เพราะมันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราไม่เคยเห็นการระบาด ของเชือ้ โรคในรูปแบบนี้ เพราะการระบาดในครัง้ นีเ้ กิดขึน้ ในหลายประเทศ ในพืน้ ทีท่ แี่ ตกต่างกัน เป็นการติดต่อทีเ่ ข้มข้นและแอบแฝง ทัง้ พืน้ ทีใ่ นเมือง และชนบท ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้นี่เองที่ท�ำให้ผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจ โดย เฉพาะสื่อมวลชน ที่ให้ความสนใจต่อการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาเป็น อย่างมากในปีทผี่ า่ นมา แต่นอกเหนือจากสิง่ ทีเ่ ราเห็นจากรายงานข่าว รวม ทั้งสถิติต่างๆ ประจ�ำวัน เราจ�ำเป็นต้องเข้าใจด้วยว่า การระบาดของโรค อีโบลาได้ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดผลกระทบส�ำคัญต่อภาคสังคมและเศรษฐกิจของประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน อยากให้ช่วยยกตัวอย่างผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจที่เป็น รูปธรรมที่เกิดขึ้นในสามประเทศที่คุณกล่าวมา
การระบาดของเชือ้ ไวรัสอีโบลาในครัง้ นี้ ส่งผลให้ราคาอาหารและข้าวของ เครื่องใช้ในประชีวิตประจ�ำวันพุ่งสูงขึ้น ท�ำให้ครอบครัวจากเดิมที่ยากจน อยู่แล้วยากจนขึ้นไปอีก ผู้คนก็หิวโหย จะออกไปท�ำงานก็ออกไปไม่ได้ เด็กอย่างน้อยกว่า 6 ล้านคนต้องหยุดเรียนเป็นเดือนๆ เด็กหลายพันคน ต้องกลายเป็นเด็กก�ำพร้า ท�ำให้พวกเขาหิวโหย ขาดสารอาหาร ยังไม่นับ ในบางกรณีที่เลือกใช้ความรุนแรงกันด้วย แต่เรื่องที่ท้าทายที่สุดเรื่องหนึ่ง ของการระบาดของโรคในครัง้ นี้ คือการมีศนู ย์รกั ษาโรคอีโบลาทีด่ ำ� เนินการ แบบเต็มตัว และการจัดหาผูใ้ ห้บริการสาธารณสุขและผูเ้ ชีย่ วชาญจากต่าง ประเทศมาช่วยกันป้องกันการระบาดของโรคให้ได้มากขึ้น เพราะวิกฤต โรคระบาดระดับโลกที่ซับซ้อนนี้ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมากใน ระดับโลกอย่างทันท่วงที
30 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
แต่ถึงจะมีการช่วยเหลือในระดับนานาชาติ เรายังได้ยินข่าวว่า บาง ชุ ม ชนเลื อ กปฎิ เ สธที่ จ ะใช้ ชี วิ ต ร่ ว มกั บ ผู ้ ป ่ ว ยที่ ติ ด เชื้ อ อี โ บลา เราจะสามารถจัดการกับข้อมูลข่าวสารและความตื่นตระหนกของ ผู้คนได้อย่างไร
ผมคิดว่าการต่อต้านของชุมชนยิ่งท�ำให้การรับมือกับอีโบลาเป็นเรื่อง ท้าทายยิ่งขึ้น ข่าวลือต่างๆ นานาเกี่ยวกับอีโบลาท�ำให้ผู้คนส่วนใหญ่ ปฏิเสธผู้ป่วยและเกิดความหวาดกลัวขึ้นในชุมชน ก่อนอื่น เราจ�ำเป็นต้อง ท�ำให้ผู้คนเข้าใจว่าใครคือผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดโรคสูงที่สุด นั่นก็คือ ผู้ที่คอยใส่ใจดูแลผู้ป่วยและคนที่สัมผัสร่างของผู้ป่วยโดยตรงในพิธี ฝังศพเพราะในประเทศทีม่ กี ารระบาดของอีโบลา อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ ของการติดเชือ้ ใหม่เกิดขึน้ ในช่วงการฝังศพของผูป้ ว่ ยทีเ่ สียชีวติ จากอีโบลา เมือ่ ให้ความรูแ้ ละสือ่ สารกับพวกเขา ผูค้ นก็จะรูส้ กึ กลัวน้อยลงและรูจ้ กั วิธี การป้องกันโรคที่ถูกต้องมากขึ้น การระดมความร่วมมือของชุมชนอย่างรวดเร็วก็เป็นเรื่องส�ำคัญ ทีจ่ ะช่วยลดตัวเลขการติดเชือ้ ได้ ไม่วา่ จะเป็นการรณรงค์ให้ฝงั ศพด้วยวิธที ี่ ปลอดภัยกว่า เช่น ใช้ทีมฝังศพของชุมชนที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี สร้าง ความเชือ่ มัน่ และความเคารพให้แก่ทมี ฝังศพ ครอบครัวทีส่ ญู เสีย และกลุม่ ศาสนาต่างๆ คือต้องสร้างความเชือ่ มัน่ และความปลอดภัยจากการรับมือ กับโรคอีโบลานั่นเอง การเชิญครอบครัวของผู้เสียชีวิตมามีส่วนร่วมในพิธี ฝังศพ โดยให้พวกเขาช�ำระล้างแห้งและใช้ผ้าห่อศพแทน จะช่วยให้เกิด การเปลี่ยนแปลงส�ำคัญในการควบคุมการติดเชื้อได้ ชุมชนเองก็จ�ำเป็น ต้องมีความรู้สึกรับผิดชอบที่จะหยุดการแพร่ระบาดจนกระทั่งการติดต่อ ของเชื้อเป็นศูนย์ การสื่อสารจะต้องเปลี่ยนจากการเปิดประเด็นเพื่อการ ถกเถียงและโต้แย้งข้อมูลอย่างกว้างขวางไปเป็นการร่วมมือร่วมใจและ ลงมือปฏิบัติของชุมชนแทน
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
แล้วในเรื่องของการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ
วิธเี ดียวทีเ่ ราจะหยุดอีโบลาได้ คือการหยุดการระบาดของโรคทีต่ น้ ตอ โดย ให้การรักษาผู้ป่วยทุกๆ ราย เราจะชนะสงครามโรคระบาดนี้ได้ก็ต่อเมื่อ เราร่วมแรงร่วมใจช่วยกัน อีโบลายังท�ำให้เราตระหนักด้วยว่าโรคติดต่อยัง คงคุกคามความมั่นคงด้านสุขภาพโดยส่วนรวมของมนุษย์ ทุกประเทศจึง ต้องระแวดระวัง ยกระดับมาตรการสาธารณสุขของตัวเองให้ดีขึ้น และ ท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับอีโบลาและการระบาดของโรคให้มากขึ้น ทุกวันนี้ องค์การสหประชาชาติ องค์การอนามัยโลก และชุมชนนานาชาติ ก�ำลัง ผนึกก�ำลังกันในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค อีโบลาอย่างแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพให้แก่รัฐบาลและประชาชนใน ประเทศกินี ไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน โดยตั้งมาตรการ STEPP ที่มา พร้อมวัตถุประสงค์ 5 ข้อ คือ หยุดการระบาดของโรค รักษาผู้ติดเชื้อ ให้บริการดูแลรักษาที่จ�ำเป็น ป้องกันไม่ให้มีการระบาดเพิ่ม และป้องกัน การระบาดในอนาคต
แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีรายงานระบุผู้ติดเชื้ออีโบลา แต่องค์การ อนามัยโลกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางระบบสาธารณสุขมากว่า 50 ปีจดุ เริม่ ต้นขององค์การอนามัยโลกในประเทศไทยเป็นมาอย่างไร
ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมเป็น สมาชิกขององค์การอนามัยโลก โดยเป็นสมาชิกมาตั้งแต่กันยายน 1947 ซึ่งตั้งแต่นั้นมาองค์การอนามัยโลกก็ได้ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถในด้านสาธารณสุขของไทย โดยเฉพาะการ ควบคุมโรคติดต่อ การให้บริการสุขภาพพื้นฐาน การอนามัยส�ำหรับแม่ และเด็ก รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณสุข และการมีส่วนร่วมในการ วางแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติของกระทรวงสาธารณสุขให้แข็งแกร่งมาก ยิ่งขึ้น ตัวอย่างโปรแกรมที่ชัดเจนที่เราร่วมพัฒนาจนประสบความส�ำเร็จ ในไทย ได้แก่ การสร้างภูมิคุ้มกันโรค การจัดหาวัคซีน ยาที่จ�ำเป็น และ การควบคุมโรคมาลาเรีย
องค์การอนามัยโลกยังมีโปรแกรมฝึกอบรมที่เชิญผู้รอดชีวิตจาก การติดเชื้อร้ายแรงเหล่านี้มาเป็นวิทยากรช่วยส่งต่อความรู้เกี่ยว กับการติดเชื้อของโรคด้วย
องค์การอนามัยโลกและพาร์ตเนอร์ของเรามีโครงการแต่งตัง้ ผูร้ อดชีวติ จาก อีโบลาให้ชว่ ยอบรมเรือ่ งการรอดชีวติ โดยเรือ่ งราวทีใ่ ช้ในการอบรมก็นำ� มา จากประสบการณ์ตรงของผู้รอดชีวิตเอง พวกเขาจะแชร์ข้อมูลและความ รูส้ กึ ถึงโรคอีโบลาทีร่ ะบาดในหลายประเทศ อะไรคือปัจจัยหลักทีท่ ำ� ให้พวก เขามีชีวิตรอดมาได้ ผู้รอดชีวิตจากอีโบลาบางรายยังรับหน้าที่เป็นผู้ป่วย จ�ำลองในการอบรมของแพทย์และเจ้าหน้าที่คัดกรองโรคด้วย บางรายได้ รับการจ้างงานให้เป็นเจ้าหน้าทีใ่ นศูนย์รกั ษา พวกเขาเปรียบเสมือนเครือ่ ง เตือนใจส�ำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีก�ำลังใจดีและระลึกได้ว่ายังมีผู้ติดเชื้ออีก หลายรายที่รอดชีวิตจากโรคอีโบลามาได้ นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก ยังเริ่มให้บริการคลินิกที่เซียร์ราลีโอนหลังการระบาดของอีโบลาด้วย เพื่อ ศึกษาและท�ำความเข้าใจเรื่องสุขภาพและความต้องการการฟื้นฟูทาง จิตใขจองผู้ที่รอดชีวิตจากโรคนี้ให้มากขึ้น
มกราคม 2558
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ซึง่ องค์การอนามัยโลกแต่ละแห่งจะท�ำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาล ในแต่ละประเทศ
ภาคสนาม รวมถึงเครือข่ายฝึกอบรมโรคมาลาเรียแห่งอาเซียน เรายังร่วม จัดโครงการเมืองน่าอยู่ ปฏิรูประบบสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพ และช่วยให้ เกิดความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคไม่ ติดต่อที่สร้างปัญหาอย่างใหญ่หลวง ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นประเด็นเรื่อง การควบคุมปริมาณการสูบบุหรี่
องค์การอนามัยโลกได้จดั ท�ำและพัฒนาแผนกลยุทธ์ตา่ งๆ เพือ่ เป็นแนวทาง ในการด�ำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับรัฐบาลของแต่ละประเทศ โดย เอกสารเหล่านี้จะเน้นไปที่บทบาทขององค์การอนามัยโลก และแผนการ ด�ำเนินการในระยะ 4-5 ปี ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่เราให้ความส�ำคัญ หรือ ปัญหาของแต่ละประเทศ และสิ่งที่พวกเขาวางแผนจะท�ำ ไปจนถึง การท�ำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ อย่างองค์การสหประชาชาติ และ หน่วยงานของประเทศนัน้ ๆ ส�ำหรับในประเทศไทย หน่วยงานยุทธศาสตร์ ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกกับประเทศไทย (Thailand Country Cooperation Strategies: CCS) นั้นได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2012 มีระยะ เวลาด�ำเนินการ 5 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พอดีกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 ซึ่ง CCS จะมีบทบาทส�ำคัญในฐานะหน่วยงานทีเ่ น้นการพัฒนาระบบสุขภาพ ในระดับชุมชน ที่ครอบคลุมถึงการสร้างความเข้มแข็งของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ในการร่วมกันสร้าง สุขภาวะให้เกิดขึน้ ในชุมชนนัน้ ๆ โดยเกิดจากความร่วมมือในการปฏิบตั งิ าน ขององค์กรด้านสุขภาพที่มีการด�ำเนินการในระดับต�ำบล และพัฒนาเป็น รูปแบบการด�ำเนินงานร่วมกันในประเด็นอื่นๆ ในอนาคต
ยาสูบถือเป็นสินค้าชนิดเดียวทีถ่ กู ใช้อย่างกว้างขวาง โดยในแต่ละปี มากกว่า 5.5 ล้านคนเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่โดยตรง และอีกกว่า 6 แสนคน เสียชีวติ จากการหายใจรับเอาควันบุหรีเ่ ข้าไป การเสียชีวติ จากบุหรีถ่ อื เป็น หนึ่งในสาเหตุส�ำคัญของการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่ออย่างภาวะหัวใจ ล้มเหลว มะเร็ง และโรคหัวใจ ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (The World Health Assembly) ปี 2003 ได้มีการพูดถึงการรับมือและป้องกัน ปัญหา “Tobacco Epidemic” ในระดับสากล โดยน�ำเอามาตรการจาก กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) จากองค์การอนามัย โลกมาปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกัน โดยเสนอให้ประชาชนทุก คนมีสิทธิ์ที่จะใช้ชีวิตให้ปลอดภัยจากยาสูบ มาตรการนี้ได้มีผลบังคับใช้ ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2005
ประเด็นหลักๆ ที่ก�ำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบันนั้นมีอะไรบ้าง
ซึ่งในทางปฏิบัติจะมีการปรับใช้จริงในแต่ละประเทศแต่ละพื้นที่
ประเด็นที่เราให้ความส�ำคัญร่วมกันในขณะนี้ มีอยู่ 6 ประเด็นด้วยกัน คือ การรับมือและจัดการเกี่ยวกับโรคติดต่อในหลายหลากช่องทาง การ พัฒนาศักยภาพในด้านของผลลัพธ์เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและ สุขภาพ การพัฒนาด้านความปลอดภัยบนท้องถนน การปรับปรุงและ พัฒนาศักยภาพของชาติในการเตรียมการและตอบรับกับภัยพิบัติ การ รับมือกับปัญหาและผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากการก้าวเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู วัย และ การพัฒนาเรือ่ งสุขภาพและสุขภาวะของผูล้ ภี้ ยั และแม้วา่ สิง่ ทีเ่ ราให้ความ ส�ำคัญส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้ 6 ข้อหลักๆ นี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรา จะละเลยงานอืน่ ๆ ประเด็นอย่างเรือ่ งโรคติดต่อ หรือการท�ำให้ผเู้ ชีย่ วชาญ ในประเทศไทยได้ร่วมแชร์ความรู้ระหว่างกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และประเด็นอื่นๆ ก็ยังคงเป็นงานส�ำคัญของเราที่ต้องดูแล หลายปีที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกยังได้ขยายความช่วยเหลือใน รูปแบบที่กว้างขึ้น ตั้งแต่การช่วยเหลือเพื่อลดความพิการจากโรคขาดสาร ไอโอดีน การวางแผนและด�ำเนินการควบคุมโรคเอดส์ การก�ำหนดกลยุทธ์ เพื่อรักษาวัณโรค (DOTS) การจัดโครงการฝึกอบรมแพทย์นักระบาดวิทยา
ล่าสุดองค์การอนามัยโลกทวีตข้อความรณรงค์เกีย่ วกับยาสูบถีม่ าก ถึงกับใช้ค�ำว่า Tobacco Epidemic
องค์การอนามัยโลกและอีกหลายประเทศได้ร่วมกันท�ำงานอย่างหนักใน เรื่องนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าภายใต้สนธิสัญญาที่ได้ตกลงร่วมกันเรื่องการ ควบคุมยาสูบนีจ้ ะต้องน�ำไปปฏิบตั ใิ ช้จริงในแต่ละประเทศ ซึง่ เราเองก็เห็น ผลลัพธ์ได้ชัดเจน เช่น ในประเทศไทยที่ไม่มีการเผยแพร่โฆษณาของบุหรี่ หรือยาสูบอีก และการที่รัฐบาลก�ำหนดนโยบายภาษีท�ำให้ราคาขายบุหรี่ แพงขึน้ ก็ชว่ ยลดจ�ำนวนผูท้ อี่ ยากจะเริม่ สูบบุหรีไ่ ด้ รวมถึงการห้ามใช้บหุ รี่ ไฟฟ้าและบารากุกช็ ว่ ยให้เยาวชนเข้าถึงการสูบบุหรีไ่ ด้ยากยิง่ ขึน้ เช่นเดียว กับการบังคับให้บนซองบุหรี่มีภาพและข้อความที่เตือนถึงอันตรายต่อการ สูบบุหรี่ที่ก็สามารถกระตุ้นให้ผู้สูบได้ตระหนักถึงผลร้ายต่อสุขภาพก่อนที่ จะตัดสินใจหยิบบุหรี่ออกจากซองมาสูบได้ โดยเฉพาะการที่มีเบอร์สาย ด่วนเลิกบุหรี่อยู่ต่อจากค�ำเตือนนั้นก็ช่วยได้มากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เราก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องท�ำอย่างการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนที่ก็อาจกระตุ้นให้เกิดการลักลอบซื้อขายยาสูบอย่างผิด กฎหมายซึง่ ประเทศในกลุม่ อาเซียนก็ตอ้ งเตรียมการเพือ่ รับมือกับสิง่ ทีอ่ าจ เกิดขึ้น ขอขอบคุณผู้ประสานงาน Ms. Joy R. Rivaca และ Dr. Mukta S. Sharma จาก World Health Organization (WHO)
32 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
STAY FRESH ADS ‘คิด’…คัดสรรเสนทางความสำเร็จของธุรกิจจากคนตัวเล็ก เริ่มตน…จากความหลงใหลและเขาใจบริบทของโลกที่หมุนเร็ว สรางสรรรค…เปนแรงบันดาลใจใหทุกฝนเปนไปได ธุรกิจ…จากคนตัวเล็กที่สรางปรากฏการณจนโลกใบใหญตองจับตามอง
วางจำหนายแลววันนี้ที่ The Shop@TCDC ชั้น 5 ดิ เอ็มโพเรียม, TCDC เชียงใหม และที่รานหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อออนไลนไดที่ www.tcdc.or.th/publications
เสียงฟุ้งของข้อมูล และการสือ่ สารในช่วงโรคระบาด เรื่อง: วิป วิญญรัตน์
ในปี 1998 เกิดการแพร่กระจายของเชือ้ ไข้สมองอักเสบนิปาห์ (Nipah Virus) ในมาเลเซีย ไวรัสชนิดนี้เกิดจากที่อยู่อาศัย ที่ทับซ้อนกันระหว่างค้างคาวและหมู ท�ำให้ ไวรัสเริ่มไปติด หมู และต่อมาก็ติดต่อถึงมนุษย์ด้วย ตอนที่โรคนี้เริ่มระบาด ใหม่ๆ รัฐบาลมาเลเซียวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคไข้สมองอักเสบ (Japanese Encephalitis) และเริ่มการรณรงค์เกี่ยวกับ โรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 8 เดือนกว่าที่นัก วิทยาศาสตร์จะค้นพบว่ามันคือไวรัสชนิดใหม่ จนถึงตอนนัน้ รัฐบาลมาเลเซียก็ได้สญ ู เสียความน่าเชือ่ ถือ มีผคู้ นติดเชือ้ ถึง 256 รายและเสียชีวติ 105 ราย โดยโรคระบาดหนนีย้ ตุ ไิ ด้ดว้ ย การฆ่าหมูในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ตายไปกว่าล้านตัว ส่งผล กระทบกับเศรษฐกิจของเกษตรกรอย่างมหาศาล
ปัญหาของโรคระบาดจึงไม่ใช่ปัญหาทางการแพทย์อย่างเดียว แต่เป็น ปัญหาของการจัดการพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย ในโลกสมัยใหม่นั้น การสื่อสารเพื่อควบคุมโรคระบาด และการจัดการพฤติกรรมของมนุษย์ จึงเป็นปัญหาใหญ่ โรคระบาดมักก่อให้เกิดความวิตกกังวลและความตื่น ตระหนก เพราะถ้าการจัดการไม่ได้ผล ผลกระทบทางลบทีม่ ตี อ่ ทัง้ สุขภาพ และความปลอดภัย ไปจนถึงด้านเศรษฐกิจการเมืองนั้นมีมหาศาล องค์การอนามัยโลก เสนอว่า การจัดการโรคระบาดที่ดีนั้นต้องมี การจัดการสื่อสารที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากระดับของรัฐ ในขั้นพื้นฐาน ทีส่ ดุ นัน้ รัฐต้องไม่จงใจปกปิดข้อมูล การรายงานข้อเท็จจริงของโรคระบาด ต้องตรงไปตรงมา และรายงานในภาษาทีเ่ ข้าใจได้งา่ ย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในโลกที่ข้อมูลข่าวสารถ่ายโอนกันได้อย่างรวดเร็ว ข่าวลือสามารถแพร่ กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว และสร้างความตื่นตระหนกได้ง่ายซึ่งจะยิ่ง ท�ำให้รัฐปกปิดข้อมูลได้ยากขึ้น กรณีโรควัวบ้าปี 1986 ในประเทศอังกฤษถือเป็นตัวอย่างที่ดีของ การไม่รายงานโรคระบาดอย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษ ต้องการที่จะปกป้องอุตสาหกรรมไว้จึงอ้างว่า มนุษย์สามารถบริโภคเนื้อ ได้อย่างปลอดภัยโดยปราศจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เหตุการณ์ครั้ง นั้นได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองตามมา ท�ำให้ผู้บริหารระดับ สูงของประเทศต้องรับผิดชอบ ในกรณีตรงกันข้าม เมื่อโรคนี้ระบาด ไปถึงเยอรมนี รัฐบาลมีนโยบายตรวจสอบวัวทุกตัวก่อนเข้าโรงฆ่าสัตว์ ถึงแม้ว่ากระบวนการตรวจสอบจะมีราคาแพง แต่ก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ผูบ้ ริโภคมีความมัน่ ใจในเนือ้ ทีว่ างขาย ขณะทีใ่ นอังกฤษผูค้ นเลิกบริโภคเนือ้ แต่อุตสาหกรรมดังกล่าวในเยอรมนีกลับไม่ได้รับผลกระทบ ในยุคสมัยที่ข้อมูลข่าวสารมีมากมายมหาศาลเป็นเสียงฟุ้ง (White Noise) การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมรวมหมู่ของ มนุษย์ในช่วงเกิดโรคระบาดจึงเป็นสิ่งส�ำคัญมาก อย่างที่ดอน เดอลิลโล (Don DeLillo) เขียนไว้ในนิยายเรื่อง White Noise (1985) ว่า มนุษย์จะ มีปฏิกิริยาต่อภาษาที่ใช้ผ่านสื่อ ดังนั้นการสื่อสารในสภาวะโรคระบาดจึง เป็นเงื่อนไขส�ำคัญว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นจากเชื้อโรคอย่างเดียว หรือจากพฤติกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ด้วย
ที่มา: รายงาน "Outbreak Communication: Best Practices for Communicating with the Public During an Outbreak" (2004) โดย WHO Expert Consultation จาก who.int, รายงาน "World Health Organisation Outbreak Communication Planning Guide" (2008) จาก who.int และ วิกิพีเดีย
34 l
Creative Thailand
l มกราคม 2558
©Bazuki Muhammad
CREATIVE WILL คิด ทำ� ทำ� ดี
DEBUT WALL พื้นที่เปดตัวผลงานของผูคนในแวดวง ธุรกิจสรางสรรค สำหรับผูท ต่ี อ งการหานักออกแบบ ผูผ ลิต หรือทีป่ รึกษา ซึ่ง TCDCCONNECT คัดสรรแลววามีผลงานโดดเดน และมีศักยภาพในการผลิตงานไดจริง
ขอแนะนำ 16 นักออกแบบ และผูประกอบการเดน ในหัวขอ “Chiang Mai Design Week 2014” วันนี้ - กุมภาพันธ 2558 / 10.00 - 21.00 บริเวณโถงทางเขา TCDC
“DEBUT by TCDCCONNECT” เป นโครงการความร วมมือระหว าง TCDC และคณะสถาป ตยกรรมศาสตร ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป (นานาชาติ)¶ จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย โดยจัดทำเป นพื้นที่แสดงผลงานและข อมูลของผู ประกอบการ นักออกแบบ ผู ผลิต และผู เชี่ยวชาญในสาขาต างๆ ซึ่งผ านเกณฑ การคัดเลือก รวมถึง มีการจัดกิจกรรมเชือ่ มโยงผ านทางเว็บไซต TCDCCONNECT.COM โดย จะมีการผลัดเปลี่ยนผลงานขึ้นแสดงทุก 3 เดือน ซึ่งโครงการนี้เป นการสร าง โอกาสให ผู ประกอบการ นักออกแบบ ผู ผลิต ผู เชี่ยวชาญในสาขาต างๆ ให มีพื้นที่ประชาสัมพันธ ธุรกิจของตนเอง รวมถึงผู ที่สนใจจะจ างงานได รู จัก และเกิดการจัดจ างงานจริง
หากคุณสนใจส งผลงานเข าร วม DEBUT by TCDCCONNECT ครั้งต อไป สามารถสมัครและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได ที่
TCDCCONNECT.COM E-mail : info@tcdcconnect.com โทร. 02 664 7667 ต อ 118, 131
TURN YOUR TRIP INTO AN INSPIRING EXPERIENCE IN DESIGN
An iconic marvel by Moshe Safdie, the ArtScience Museum’s lotus flower design celebrates creativity in full bloom.
TAP INTO DYNAMIC SINGAPORE There’s no better place to access world-class content, network with the top minds and still have a great time. yoursingapore.com/mice
SINGAPORE DESIGN WEEK (MAR 2015) INTERNATIONAL FURNITURE FAIR SINGAPORE MAISON & OBJET ASIA SINGAPORE DESIGN BUSINESS SUMMIT SG GOOD DESIGN MARK
BLUEPRINT (MAY 2015) INSIDE FESTIVAL (OCT 2015) WORLD ARCHITECTURE FESTIVAL (NOV 2015)
MR ALFIE LEONG, FASHION DESIGNER, PRESIDENT’S DESIGN AWARD – DESIGNER OF THE YEAR 2013 PARKROYAL ON PICKERING, SINGAPORE'S FIRST HOTEL-IN-A-GARDEN
STUNNING INFINITY POOL AT SANDS SKYPARK®
NETWORK WITH AWARD WINNING DESIGNERS
WORK HARD AND PLAY HARDER
MR TAI LEE SIANG, PRESIDENT OF DESIGN BUSINESS CHAMBER SINGAPORE AND GROUP MANAGING DIRECTOR OF ONG & ONG PTE LTD
STAY ON THE PULSE OF GROUND-BREAKING DESIGN TRENDS
COLLABORATE TO BRING INNOVATIVE IDEAS TO LIFE