Creative Thailand Magazine

Page 1



Man is Small, and, therefore, Small is Beautiful. มนุษย์นั้นเล็กน้อย ความเล็กน้อยจึงงดงาม Ernst Friedrich Schumacher นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังและผู้ประพันธ์หนังสือ Small is Beautiful: A Study of Economics as if People Mattered (1973)


CONTENTS สารบัญ

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

29

Creative Will

34

3D Printing: เทคโนโลยีแหงโอกาส

6 8 10 11

The Subject Creative Resource

Documentary/ Magazine/ Book / Featured Book

Matter

เสนใยธรรมชาติ: จากงานคราฟท สูอุตสาหกรรมรถยนต

Planeta Organica: บมเพาะธุรกิจดวยแนวคิดออรแกนิก

Classic Item

Walt Disney Animation: อรรถรสจากปลายดินสอ

Portland: Keep Portland Weird

Joel Leong: เพราะเราลวนตางเปนชางฝมือ

12

Cover Story

Artisan Economy: หวนคืนเศษฐกิจคนตัวเล็ก

ปลอยไก

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช, ยิง่ ลักษณ สุนศิ ารัตน บรรณาธิการ บริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, มนฑิณี ยงวิกลุ , เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ , ศุภาศัย วงศกลุ พิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, อคีรฐั สะอุ สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิส์ งิ ห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l ชนันดา บุญประสพ, วันวิสาข ชิดทองหลาง, ณัชชา พัชรเวทิน ผูออกแบบปก | อร ทองไทย จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร ศิลปนผูสรางงานศิลปะภาพประกอบผสมกับไทโปกราฟก 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ชอบเลือกใชคาแรกเตอรที่เรียบงายแตแฝงไวดวยแนวคิด โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th ผลงาน: www.ornthongthai.com พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

รากฐานของความผลิบาน มรดกของการเป็นสังคมแห่งช่างฝีมอื หลายร้อยปีกอ่ นกำ�ลังมอบอานิสงส์ให้แก่คนรุน่ ปัจจุบนั ได้ใช้เป็นทุนสร้างสรรค์ผลผลิตอย่างล้นเหลือ เพราะ ความอ่อนไหวต่อวิกฤตการบริโภคสินค้าหน้าตาเหมือนๆ กันที่เกินขนาด ได้คืนอาณาจักรการผลิตให้กับองค์ความรู้และทักษะฝีมือที่เคยถูก หลงลืมไปในอดีต แต่ที่มากไปกว่านั้น อาณาจักรนี้ได้งอกเงยและเพิ่มพูนขึ้นด้วยแรงส่งของนวัตกรรมและเทคโนโลยี การบริหารจัดการที่ทัน เหตุการณ์ รวมถึงจำ�นวนผู้บริโภคทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น มวลของการผลิตและความต้องการที่ว่าจึงแน่นหนาพอที่จะเป็นเส้นเลือดใหม่ ที่หล่อเลี้ยง ความมั่งคั่งและกระจายความเสี่ยงให้กับระบบเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุน้ี สูตรลับหรือตำ�รับทีเ่ คยอยูใ่ นหนังสือจึงได้รบั การปัดฝุน่ และความเป็นช่างฝีมอื ก็ได้รบั การนับถืออย่างสูงสุด เมือ่ มองย้อนกลับไป ดูโรงงานหรือหมู่บ้านที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องทอง เครื่องหนัง หรือเครื่องไม้ ทุกแห่งในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ของโลกยังคงเต็มไปด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญเชิงขั้นตอน และหลายแห่งในโลกยังคงการผลิตแบบนั้นอยู่ด้วย แต่ขณะเดียวกัน ดินแดนที่มี โรงงานที่เป็นประวัติศาสตร์จำ�นวนมาก ก็อาจไม่ได้รับประกันมรดกตกทอดหลายศตวรรษมาถึงปัจจุบันได้ เพราะทุกวันนี้ความชำ�นาญพิเศษ นั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วในตลาดนานาชาติ ดังตัวอย่างของเปียโนเปลเยล (Pleyel) เปียโนผู้งามสง่าสัญชาติฝรั่งเศส ซึ่งก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่ปี 1807 เปียโนเปลเยล นับเป็นเปียโนหลังงามทีพ่ ถิ พี ถิ นั ด้วยทุกกระบวนการผลิต ตัง้ แต่ไม้ส�ำ หรับใช้ท�ำ เปียโนทีจ่ ะหาพบได้เพียงแห่งเดียวในหุบเขา ของอิตาลี และต้องตัดในเดือนข้างขึ้นเพื่อรับประกันคุณภาพด้านเสียง ทั้งต้องผ่านมือของช่างฝีมือจาก 20 สาขาอาชีพ และใช้เวลานาน 9 เดือนเพื่อผลิตเปียโนพิเศษแต่ละหลัง แต่ขณะที่ทั่วโลกมีความต้องการเปียโนราว 3-4 แสนหลังต่อปี และผู้เชี่ยวชาญของเปลเยลพิจารณา แล้วว่า ราวร้อยละ 95 ของเปียโนที่ผลิตขึ้นนั้นมาจากเอเชีย ส่วนที่เหลือร้อยละ 5 เท่านั้นที่ผลิตขึ้นในค่ายผู้ผลิตของยุโรป สำ�หรับผู้ผลิตเปียโน ด้วยจิตวิญญาณแล้ว พวกเขารู้สึกว่ามันกำ�ลังทำ�ให้ความสูงส่งที่ได้สั่งสมมากลายเป็นของสามัญไป ดังนั้นเพื่อรังสรรค์เปียโนในอุดมคติให้อยู่ ในโลกดนตรีต่อไปด้วยทักษะอันยอดเยี่ยมของช่างฝีมือ กลุ่มนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเปอโยต์ (Peugeot) ยานยนต์สัญชาติ ฝรั่งเศสจึงผลักดันโปรเจ็กต์การสร้างเปียโนในฝันที่มีนํ้าหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย และไม่ต้องพึ่งพิงไม้เนื้อดี ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพื่อการสร้างเปียโน หลังใหม่ แต่เพื่อเป็นการอนุรักษ์ความรู้ความชำ�นาญของการผลิตเปียโนไว้ เพราะหัวใจสำ�คัญของเปียโนคือคีย์บอร์ดกับซาวน์บอร์ด ซึ่งเป็น เครือ่ งกลทีซ่ บั ซ้อนแต่ประณีตอันจะสะท้อนเสียงสายเปียโนทีส่ นั่ สะเทือน ทีเ่ หลือก็คอื งานเฟอร์นเิ จอร์ลว้ นๆ ดังนัน้ เปียโนเปลเยลในโลกยุคใหม่ จึงเกิดขึ้นจากวัสดุคอมโพสิตและคาร์บอนไฟเบอร์ โดยหลังจากหลายปีของการพัฒนา เปียโนเปลเยลก็ได้เปิดตัวครั้งแรกในงานมิลานแฟร์ ในเดือนเมษายน 2014 และความยิ่งใหญ่ครั้งนี้ได้แสดงออกถึงการอนุรักษ์คุณภาพเสียงที่เป็นเลิศของเปียโนแห่งยุคโรแมนติกที่เป็นเอกลักษณ์ ของเปลเยลให้ก้าวคู่ไปกับยุคสมัย การถักทอแนวคิดอนุรักษ์เข้ากับเส้นสายของนักปฏิบตั หิ วั ก้าวหน้า กลายเป็นส่วนผสมทีช่ ว่ ยขยายฐานความรู้ของช่างฝีมอื ให้เติบโตในโลก ยุคใหม่และเป็นฟันเฟืองของโลกธุรกิจที่กำ�ลังหายใจอยู่ หวังเพียงว่าความมั่งคั่งครั้งใหม่นี้จะอยู่บนฐานของความมั่นคงอันเกิดจากความรู้จริง และคุณภาพจริง ไม่ใช่แค่กระแสที่จางไปหลังความนิยมเสื่อมมนต์ลงเท่านั้น อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

KNOWLEDGE

Coffee Center

flickr.com/photos/marcthiele

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส สถาบันการศึกษาชั้นนำ�ด้านการเกษตร และอาหาร ได้เปิดศูนย์อบรมทีช่ อ่ื ว่า Coffee Center เพือ่ สอนหลักสูตรที่ ครอบคลุมทุกหัวข้อของเมล็ดกาแฟตั้งแต่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไป จนถึงศิลปะแห่งการชงกาแฟทีห่ ลากหลาย อาทิ เราจะทำ�อย่างไรกับเมล็ด กาแฟที่ยังเป็นสีเขียวอยู่ สิ่งแวดล้อมแบบไหนที่เป็นมิตรต่อการคั่วกาแฟ มากที่สุด หรือทำ�ไมเราถึงได้หลงใหลในกลิ่นกาแฟกันนัก นอกจากนี้ยังมี การแสดงตัวอย่างของขั้นตอนทางวิศวกรรมเคมีผ่านการชงกาแฟ เพื่อ นำ�เสนอเรือ่ งราวความรูเ้ กีย่ วกับพันธุวศิ วกรรมของเมล็ดกาแฟอย่างลึกซึง้ ตลอดถึงการบ่มเมล็ดกาแฟด้วยวิธีการทางธรรมชาติ การวิเคราะห์ ส่วนประกอบ โครงสร้าง และหน้าที่ของกาแฟ รสสัมผัส หรือความรู้ด้าน วิศวกรรมกาแฟ อันประกอบไปด้วยเรือ่ งของกระบวนการทีเ่ หมาะสม คุณค่า และความยัง่ ยืน จนถึงเรือ่ งราวเกีย่ วกับสภาพการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม การดื่มกาแฟ เป็นต้น นับเป็นที่แรกที่เปิดหลักสูตรดีกรีปริญญากาแฟ อย่างเข้มข้นและจริงจัง ที่มา: บทความ “The UC Davis Coffee Center: Applying successful research infrastructure to coffee science” จาก ffhi.ucdavis.edu บทความ “A Major In Coffee? UC Davis Might Be Brewing One Up” (13 มีนาคม 2014) โดย Maanvi Singh จาก npr.org

PRODUCT ปิแอร์ เคอนาร์ (Pierre Renard) ดีไซเนอร์หนุ่มชาวฝรั่งเศสผู้หลงใหลใน การผสมศาสตร์และศิลป์เพือ่ สร้างสรรค์ผลงาน เจ้าของงานออกแบบเก้าอี้ สุดลํ้ารูปทรงระฆังควํ่าชื่อดัง โฟเตอิล เจอแนซ (Fauteuil Genese) ล่าสุด ปิแอร์ได้น�ำ เสนอผลงานใหม่ทยี่ งั คงแนวคิดการผสมผสานองค์ความรูแ้ บบ ดัง้ เดิมด้านการผลิตเฟอร์นเิ จอร์ไม้เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยการผลิต ประติมากรรมเก้าอีท้ ไี่ ด้แรงบันดาลใจมาจากแถบเมอเบียส (Mobius strip)1 ออกมาเป็นผลงานคองโซเล เมอร์เบียซ (Console Mobius) ซึง่ เป็นจุดร่วม ระหว่างความเป็นธรรมชาติและความสวยงามของไม้ชิงชัน เข้ากับการ กำ�หนดโครงสร้างของวัสดุดว้ ยการเคลือบคาร์บอนไฟเบอร์ โดยผลงานชิน้ นี้ จัดแสดงอยู่ที่เมซง ปารีเซียน (Maison Parisienne) เมืองบรัสเซลส์เมื่อ เมษายนที่ผ่านมา ที่มา: pierre-renart.com 1

พืน้ ผิวชนิดหนึง่ ซึง่ มีดา้ นเพียงด้านเดียวและมีขอบเพียงข้างเดียว ซึง่ ไม่วา่ เราจะเลือกสองจุดใดๆ บนแถบ จะสามารถลากเส้นเชื่อมต่อสองจุดนั้นได้โดยที่ไม่ต้องยกปากกาหรือว่าลากเส้นผ่านขอบ

6l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557

pierre-renart.com

Chair Pierre เก้าอี้ที่ก้าวข้ามขีดจำ�กัด


THE SUBJECT ลงมือคิด

flickr.com/Jessica Spengler

PLACE

Borough Market แหล่งรวมรสชาติแห่งอาหารทำ�มือ

เสน่ห์และชื่อเสียงของตลาดโบโรห์ ตลาดขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดใน ลอนดอนยังคงตรึงใจผูบ้ ริโภคในพืน้ ทีแ่ ละนักท่องเทีย่ วจากทัว่ โลก โดยหลังจาก ต้องย้ายพืน้ ทีท่ �ำ การบางส่วนออกไปเพราะโครงการสร้างสะพานทางรถไฟในปี 2010 และกลับมาเปิดตัวอีกครั้งในปี 2013 นั้น ตลาดโบโรห์ก็ยังคงได้รับ การต้อนรับกลับมาอย่างดีชนิดที่เรียกว่าสมกับการรอคอยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ การทีย่ งั คงไว้ซงึ่ ความโดดเด่นจากเรือ่ งราวของอาหารสารพัดชนิดทีย่ งั มีมาวาง ขายอย่างครบถ้วน ทั้งขนมปัง ชีส เนื้อ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ และเครื่องดื่ม ประเภทกาแฟหรือไวน์ ทำ�ให้โบโรห์กลายเป็นสวรรค์ของทัง้ เหล่านักชิม นักปรุง ไปจนถึงนักท่องเที่ยว ที่ต้องการวัตถุดิบคุณภาพดีเยี่ยม รสอร่อย และที่สำ�คัญ ทีส่ ดุ คือการได้มโี อกาสพบเจอกับคอมมูนติ แี้ ห่งการจับจ่ายบริโภคทีส่ ามารถแลก เปลีย่ นตัง้ แต่บทสนทนาเรือ่ งวัตถุดบิ เคล็ดลับสูตรอาหาร ไปจนถึงกระบวนการ ผลิตในแต่ละเมนูจากกลุ่มคนที่เพาะปลูกเอง หรือผู้ปรุงและผลิตอาหารแบบ โฮมเมด นอกจากนี้ ตลาดโบโรห์ยังยกระดับหน้าที่ในการเป็นเพียงศูนย์กลาง ในการจัดจำ�หน่ายไปสูก่ ารเป็นพืน้ ทีแ่ ห่งการเรียนรู้ โดยทำ�หน้าทีส่ ง่ ต่อชุดความ รู้และเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร ตลอดถึงการเปิดโอกาสให้ตั้งคำ�ถามและตอบ คำ�ถามระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในบรรยากาศอันเป็นเอกลักษณ์ ที่มา: boroughmarket.org.uk, standard.co.uk

INTERIOR DESIGN ความหรูหราของโรงแรมรอยัล มันซอร์ (Royal Mansour) ซึ่งเปิดตัวในปี 2010 เกิดจากความต้องการของกษัตริยม์ ฮู มั หมัดที่ 6 แห่งโมร็อกโก ทีจ่ ะสร้างจุดหมาย ปลายทางสำ�หรับนักท่องเทีย่ วกระเป๋าหนัก แห่งใหม่ซง่ึ สะท้อนถึงวัฒนธรรมและ ศิลปะของโมร็อกโกไว้อย่างครบถ้วนบนงบประมาณที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ช่างฝีมือกว่า 1,200 คน จึงลงมือทำ�งานอย่างประณีตภายในการก่อสร้างทั้งสิ้น 4 ปี สิ่งของทุกชิ้นที่ใช้ตกแต่งในโรงแรมต่างผลิตขึ้นจากทักษะฝีมือของช่าง ท้องถิ่นที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งการปูกระเบื้องแบบ Zelij เพื่อสร้างลวดลาย แบบสมมาตรอันเป็นเอกลักษณ์งานช่างของเมืองมาร์ราเกช ขณะที่เพดานและ ผนังเกิดจากการฉลุเหล็กเป็นลายผ้าลูกไม้เพือ่ ตกแต่งภายในส่วนของสปา พร้อม สร้างสรรค์ลวดลายส่วนทางเดินด้วยการใช้สวิ่ แกะสลักปูนผ่านทักษะที่เรียกกัน ว่า Gebs ไปจนถึงชุดเครื่องแบบของพนักงานที่เต็มไปด้วยเครื่องประดับ จากเงิน มีทางเดินใต้ดนิ และบันไดหลังสำ�หรับพนักงานเพือ่ ไม่ให้รบกวนผูเ้ ข้าพัก ในช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ซึ่งล้วนเป็นรายละเอียดที่ดึงดูดความสนใจของ ผู้เข้าพักและมอบประสบการณ์ที่จะสร้างความประทับใจแบบไม่รู้ลืม

royalmansour.com

Royal Mansour หรูหราเหนือระดับด้วยทักษะฝีมือ

ที่มา: royalmansour.com มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l7


เมื่อไม่กี่ปีมานี้กิจกรรมสำ�หรับ คนรุ่นเก่าอย่างการถักนิตติ้งได้ กลายเป็ น เทรนด์ สำ � หรั บ คน หนุ่มสาว จนยอดขายอุปกรณ์ หรื อ จั ก รเย็ บ ผ้ า เพิ่ ม ขึ้ น กว่ า เท่าตัว นั่นเป็นปรากฏการณ์ที่ คนรุน่ ใหม่ตอ้ นรับความโลว์เทค และการใช้ เ วลากั บ สิ่ ง ต่ า งๆ โดยสวนทางกับความรวดเร็ว ด้านเทคโนโลยี เฟย์ธ เลอวีน ช่างภาพ นักธุรกิจ และหนึ่งใน ผู้ ผ ลั ก ดั น งานฝี มื อ ในสหรั ฐ อเมริกา ทำ�ให้ภาพของธุรกิจ สร้ า งสรรค์ สำ � หรั บ งานทำ � มื อ ชัดเจนขึ้น เธอเริ่มเก็บข้อมูล ทัว่ อเมริกา พร้อมสัมภาษณ์ดไี ซเนอร์ เจ้าของธุรกิจด้านงานฝีมอื ขนาดย่อมกว่า 24 คน และพบว่างานฝีมือจากนักออกแบบรุ่นใหม่ต่างเป็นงานฝีมือแบบ “โมเดิร์น DIY” ทีแ่ ม้จะเป็นการหยิบยืมทักษะจากคนรุน่ ปู่ยา่ แต่ขณะเดียวกันก็เปลีย่ นแปลงรูปแบบ หรือลักษณะชิ้นงานไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งในแง่บริบททางสังคม วัฒนธรรมของยุคสมัย ทีต่ า่ งกัน รวมถึงความต้องการสร้างเอกลักษณ์ของชิน้ งานให้มคี วามชัดเจน เพือ่ ไม่ให้ เป็นเพียงงานฝีมือ แต่เป็นทั้งงานฝีมือเชิงศิลปะหรือเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่เปีย่ ม ด้วยคุณภาพบนช่องทางการจำ�หน่ายใหม่ๆ อย่างอินเทอร์เน็ตทีส่ ง่ ผลได้ในวงกว้าง

SMITH JOURNAL

HANDMADE NATION: THE RISE OF DIY, ART, CRAFT, AND DESIGN กำ�กับโดย Faythe Levine

MAGAZINE

DOCUMENTARY

บรรณาธิการ Louise Bannister

CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

แม้จะเป็นนิตยสารสำ�หรับผู้ชาย หากแนวทางการนำ�เสนอกลับไม่ใช่เรื่องการ ออกกำ�ลังกาย รถยนต์ หรือวิธกี ารจีบสาว รวมทัง้ ไม่มกี ารใช้นางแบบนุง่ น้อยห่มน้อย ขึ้นหน้าปก Smith Journal นำ�เสนอเรื่องราวของผู้คน ศิลปะ งานฝีมือ การถ่ายภาพ การท่องเที่ยวผจญภัย และรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นหลัก ซึ่งนี่เป็นวิธีคิดเดียวกับ การผลิตนิตยสาร Frankie หลุยส์ แบนนิสเตอร์ บรรณาธิการบริหารและทีมงาน ต้องการสื่อสารและส่งต่อข้อมูลไปยังผู้อ่านกลุ่มเล็กๆ ที่สนใจในรายละเอียดของ สิง่ ต่างๆ รอบตัว รวมถึงการใช้ชวี ติ ของผูค้ นจริงๆ กระทัง่ ความหลงใหลในการลงมือทำ� สิง่ ต่างๆ ด้วยตัวเองมากกว่ากลุม่ ทีเ่ สพความทันสมัยและตามเทรนด์ ซึง่ นัน่ หมายถึงว่า ผู้อ่านต้องเข้าใจความต้องการของตนอย่างชัดเจน แม้จะเป็นนิตยสารสำ�หรับผู้ชาย แต่ทจี่ ริงแล้วนิตยสารเล่มนีย้ งั เป็นมิตรต่อผูอ้ า่ นผูห้ ญิงด้วย เพราะเต็มไปด้วยเรือ่ งราว ทีน่ า่ สนใจของผูค้ นในหลากหลายมิติ พร้อมภาพถ่ายทีม่ ชี วี ติ ชีวา เนือ้ หายังอ่านสบาย และอัดแน่นด้วยกว่า 20 บทความ โดยวางจำ�หน่ายเพียง 4 ฉบับต่อปีเท่านั้น

EtsyPRENEURSHIP: EVERYTHING YOU NEED TO KNOW TO TURN YOUR HANDMADE HOBBY INTO A THRIVING BUSINESS โดย Jason Malinak Etsy.com ชูจุดแข็งในการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างคนที่รักงานแฮนด์เมด งานฝีมือที่มีเสน่ห์ในแบบฉบับเฉพาะตัวของศิลปินหรือ นักออกแบบอิสระทัว่ โลก ทุกคนสามารถเข้าไปซือ้ หรือขายผลงานของตัวเองได้ และเปลีย่ นสถานะเป็นผูป้ ระกอบการเล็กๆ ทีห่ ารายได้ จากการได้ทำ�ในสิ่งที่รัก ปีที่ผ่านมาเว็บไซต์แห่งนี้มีมูลค่าการซื้อขายเกือบ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 และมี แนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การเข้าไปเริ่มต้นใน Etsy นั้นไม่ยาก แต่หนังสือเล่มนี้จะช่วยจัดระบบความคิดทางธุรกิจ นำ�ทางให้คุณ ไปถึงความฝันต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่การวางแผนธุรกิจ การเงิน การตลาด และการจัดการเรื่องต่างๆ สำ�หรับการผลิตและ การจัดจำ�หน่าย สามารถใช้เป็นคู่มือในการเริ่มต้นธุรกิจได้ดี ทั้งกับผู้ที่สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เป็นงานอดิเรก หรือผู้ที่ต้องการขยับขั้น งานอดิเรกให้กลายเป็นอาชีพ

8l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

FEATURED BOOK THE NEW ARTISANS

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

โดย Oliver Dupon

คุณเคยมีประสบการณ์แบบนีบ้ า้ งหรือเปล่า ทีเ่ มือ่ ได้สมั ผัสกับสิง่ ของบางอย่าง ก็รสู้ กึ ได้ทันทีว่าสิ่งนั้นไม่ได้เพียงทำ�ด้วยมือ แต่เจ้าของผลงานยังสร้างสรรค์มันขึ้นมาจาก หัวใจ พิถีพิถันและใส่ใจในรายละเอียด ส่งความรู้สึกพิเศษไปยังผู้รับราวกับผลิต สิ่งของชิ้นนั้นมาเพื่อเราโดยเฉพาะ การมอบคุณค่าเช่นนี้ลงไปในสินค้าหรือบริการ อาจดูเหมือนไม่สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ แต่คุณค่านั้นกลับสร้างภาพจำ�เรื่อง คุณภาพ และความแตกต่างซึ่งยากจะหาได้จากสินค้าประเภทเดียวกัน “Artisan” หรือช่างฝีมอื เมือ่ แปลเป็นภาษาไทย อาจฟังดูหา่ งไกลจากชีวติ ประจำ�วัน แต่ปจั จุบนั คำ�คำ�นีถ้ กู นำ�กลับมาปัดฝุน่ อีกครัง้ และให้ความหมายทีก่ ระตุน้ ความสนใจ ของคนรุ่นใหม่มากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของกระแสนิยมที่มีต่อสินค้าทำ�มือและการ หวนระลึกถึงอดีต (Nostalgia) ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ช่างฝีมือในยุคนี้คือผู้ที่เปลี่ยน ความฝันและความหลงใหลให้ออกมาเป็นผลงาน โดยพวกเขามักนำ�เทคนิคหรือ วิธกี ารในอดีตมาใช้สร้างสรรค์ชน้ิ งาน ใส่ลกั ษณะเฉพาะของตนเองเข้าไป แล้วนำ�เสนอ สินค้ารูปแบบใหม่ที่เข้ากับจริตของคนในยุคปัจจุบัน เป็นการผสมผสานความรู้และ อารมณ์ได้อย่างลงตัว โดยบรรดาช่างฝีมือไม่ได้คดิ ว่าสิ่งที่พวกเขาทำ�เป็นงานด้วยซํ้า พวกเขารักในสิ่งที่ทำ�และพร้อมจะทำ�มันในรูปแบบที่ต้องการ ความหลงใหลในงาน ฝีมือท้าทายพวกเขาให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ในหนังสือ The New Artisans ผู้เขียนให้ข้อสังเกตว่าผลงานสร้างสรรค์มักเกิด จากสองแนวทาง ได้แก่ การทำ�สิง่ ใหม่ขน้ึ มาจากจินตนาการของตนเอง และการประยุกต์ สิง่ ต่างๆ จากสิง่ ของทีม่ อี ยูร่ อบๆ ตัวในลักษณะ Upcycling (กระบวนการแปลงสภาพ วัสดุของเสียหรือของทีไ่ ม่ใช้ประโยชน์อกี แล้วให้เป็นวัสดุใหม่) ซึง่ อาจทำ�ให้สง่ิ ของเดิม ชิ้นนั้นมีมูลค่าสูงขึ้น เนื้อหาในเล่มแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องราวและ ผลงานของช่างฝีมอื จำ�นวน 75 คน ซึง่ ผูเ้ ขียนได้คดั เลือกการออกแบบและวิธกี ารผลิต ทีน่ า่ สนใจ และนักออกแบบหรือศิลปินแต่ละคนจะเล่าถึงแรงบันดาลใจ แสดงให้เห็นถึง ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการออกแบบผลงาน พร้อมทั้งเปิดเผยพื้นที่ที่ใช้เป็นสตูดิโอ สร้างสรรค์ผลงานเหล่านัน้ ซึง่ สตูดโิ อส่วนใหญ่มกั เป็นบ้านพักส่วนตัวด้วย ส่วนทีส่ อง ของหนังสือเป็นการรวมภาพถ่ายเฉพาะผลงานตามกลุ่มการใช้งาน เช่น กลุ่มศิลปะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องประดับ เครื่องเขียน สิ่งทอ เป็นต้น เพื่อให้ผู้อ่านได้เลือกชม เลือกช้อปไอเดียได้ตามต้องการ ซึ่งหลายผลงานก็สามารถส่งต่อแรงบันดาลใจ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้กับเราได้อย่างน่าทึ่ง

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

เส้นใยธรรมชาติ

จากงานคราฟท์ สู่อุตสาหกรรมรถยนต์ เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

จากการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ทศวรรษ 1990 รวมทั้งมาตรการ ป้องกันและข้อกำ�หนดที่มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสหภาพ ยุโรปซึ่งได้ออกกฎข้อบังคับในการควบคุมให้วัสดุที่ใช้ในรถยนต์ว่าต้องมี คุณสมบัติย่อยสลาย หรือสามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของวัสดุทั้งหมด ทำ�ให้ผู้ผลิตรถยนต์หันมาเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ รวมถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการนำ�เส้นใยธรรมชาติมาใช้ทดแทน เส้นใยสังเคราะห์หรือเส้นใยแก้วที่เคยใช้เป็นส่วนประกอบหลัก เช่น แผงประตู ถาดรอง เบาะส่วนหลัง และส่วนบุผนังที่เก็บของท้ายรถ จุดเด่นของเส้นใยธรรมชาติ คือมีนาํ้ หนักเบากว่าเส้นใยแก้วร้อยละ 40 กระบวนการผลิตสิ้นเปลืองพลังงานเพียง 1 ใน 5 ของการผลิตเส้นใยแก้ว ทำ�ให้ต้นทุนการผลิตตํ่าและมีราคาถูก รวมทั้งไม่เกิดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ วัตถุดบิ หาได้งา่ ย มีคณุ สมบัตเิ ป็นฉนวนกันความร้อน และเสียง การใช้เส้นใยธรรมชาติยังลดการขีดข่วนและความเสียหายของ เครื่องจักรที่ใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ โดยเส้นใยธรรมชาติที่ใช้งานได้ดี ในทีอ่ ตุ สาหกรรมรถยนต์ คือเส้นใยพืชแบบใยยาวทีม่ คี วามแข็งแรงสูง เช่น ลินิน (Flax) ปอกระเจา (Jute) ปอแก้ว (Kenaf) และกัญชง (Hemp) การผสมเส้นใยธรรมชาติกบั เรซินแล้วนำ�ไปขึน้ รูปด้วยความร้อนเป็นชิน้ ส่วน ต่างๆ หรือนำ�มาผสมกับพลาสติกชีวภาพ ยังกลายเป็นวัสดุกรีนคอมโพสิต (Green Composite) ที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์หรือเอนไซม์ ฟอร์ด มอเตอร์ ถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่ได้ทดลองและพัฒนา ผลผลิตทางการเกษตรมาใช้เป็นชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเริ่มจากการใช้ แป้งสาลีผสมกับใยหินในการผลิตกล่องบรรจุขวดลวดในรถยนต์ และยัง พัฒนาอย่างต่อเนือ่ งจนสามารถผลิตชิน้ ส่วนรถยนต์จากเส้นใยธรรมชาติได้ ล่าสุด เมอร์เซเดส-เบนซ์ยงั ได้รว่ มมือกับเดมเลอร์ไครส์เลอร์ ตัง้ ธงอนาคต เกี่ยวกับการผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์ตั้งแต่พนักวางแขนและชิ้นส่วนของ ประตูให้สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้รอ้ ยละ 95 ภายใต้แนวคิดการรีไซเคิลเพือ่ สิ่งแวดล้อม (Concepts for Advanced Recycling and Environmental - CARE) เพื่อให้รถมีนํ้าหนักเบาลงและประหยัดพลังงานได้มากยิ่งขึ้น จากกฎข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและ เลือกใช้วัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้บริษัทรถยนต์หลายบริษัทจึง ให้ความสนใจทีจ่ ะพัฒนาเทคโนโลยีดา้ นนีเ้ พือ่ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดต้นทุนการผลิตให้ตาํ่ ลง และทีส่ �ำ คัญคือเพือ่ รังสรรค์คณุ ภาพ ชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม ที่มา: compositesworld.com, naturalfibersforautomotive.com และ nia.or.th

10 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557

ampliTex® power ribs (MC# 7132-01) ผ้านํ้าหนักเบาจากป่านและใยคาร์บอนที่สานขัดกันเป็นลายตารางใช้เสริมแรง แผ่นวัสดุคอมโพสิตผิวบาง มีคณุ สมบัตกิ ารดูดซับเสียงดีกว่าวัสดุชนิดอืน่ ใช้ทดแทน อะลูมิเนียมคอมโพสิตที่ใช้เส้นใยคาร์บอนหรือเส้นใยแก้วได้ เส้นด้ายปั่นจาก ใยป่านจะถูกวางเป็นตารางทำ�มุม 45o หรือ 90o และยึดเข้ากันด้วยเส้นด้ายยืน ใยคาร์บอนซึง่ ถักเป็นเกลียว นำ�ไปประกบกับผ้าป่านก่อนจะนำ�ไปหล่อลงในเรซิน ด้วยกระบวนการผลิตคอมโพสิตโดยเฉพาะ เช่น lay-up, pre-preg, vacuum infusion, bladder inflation molding, vacuum bagging หรือ resin transfer molding (RTM) ถ้าผสมกับเรซินโพลิเมอร์ชีวภาพ วัสดุจะสามารถรีไซเคิลและ นำ�ไปหมักเป็นปุย๋ ได้ เหมาะใช้เป็นวัสดุเสริมแรงในอุปกรณ์กฬี า (รองเท้าและเสาสกี โครงจักรยาน แผ่นเซิร์ฟบอร์ด) เฟอร์นิเจอร์ และชิ้นส่วนยานยนต์

Colors & Veneers (MC# 5842-03) วัสดุคอมโพสิตชีวภาพหล่อขึน้ รูป ผลิตจากเรซินซึง่ เป็นกรรมสิทธิเ์ ฉพาะทีท่ �ำ จาก ถั่วเหลืองผสมกับเส้นใยจากพืชที่ปลูกทดแทนได้ใหม่ทุกปี เช่น ปอกระเจา กัญชง ปอแก้ว เป็นต้น มีความแข็งแรงและรับแรงได้ดกี ว่าแผ่นพลาสติกขึน้ รูปใน ลักษณะเดียวกัน และยังสามารถผลิตรูปทรงที่ซับซ้อนได้มากกว่าไม้คอมโพสิต ทีม่ อี ยูใ่ นท้องตลาด สารเติมแต่งทีเ่ ป็นกรรมสิทธิเ์ ฉพาะในวัสดุนจี้ ะทำ�หน้าทีเ่ ชือ่ ม ขวางโมเลกุลของถั่วเหลือง ทำ�ให้ได้เรซินที่มีเนื้อแข็งกว่าที่เคยมีมา สามารถ รีไซเคิลได้ นำ�ไปเผา หรือหมักเป็นปุ๋ยได้หลังการใช้งาน เมื่อเทียบกับแผ่น พาร์ตเิ คิลบอร์ด วัสดุนร้ี บั แรงได้ดกี ว่าและมีนา้ํ หนักเบากว่าร้อยละ 66 กันไฟลามได้ ในตัว ไม่มสี ว่ นผสมของปิโตรเคมี และใช้พลังงานในการผลิตน้อยกว่าถึงร้อยละ 60 ปราศจากฟอร์มัลดีไฮด์ รวมทั้งย่อยสลายได้ทางชีวภาพทั้งหมด สามารถนำ� ไปขึน้ รูปด้วยความร้อนให้เป็นรูปลอนหรือให้มผี วิ สัมผัสนูนได้ รวมถึงเลือกความ แข็งได้ตงั้ แต่ระดับเท่ากับแผ่นคอร์กบอร์ดไปจนถึงแผ่นเหล็กกล้าเนือ้ อ่อน ปัจจุบนั เทคโนโลยีนไี้ ด้ถกู ใช้ท�ำ วัสดุทดแทนพาร์ตเิ คิลบอร์ดและแผ่นไฟเบอร์บอร์ดความ หนาแน่นปานกลาง (เอ็มดีเอฟ) รวมทั้งนำ�ไปหล่อขึ้นรูปเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น สเก็ตบอร์ด และตู้เก็บของ เป็นต้น พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Meterial ConneXion® Bangkok, TCDC


CLASSIC ITEM คลาสสิก

ANIMATION

อรรถรสจากปลายดินสอ เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

ความใส่ใจในทุกรายละเอียดของภาพให้มีความสมจริงเพื่อขับเน้นเนื้อเรื่องให้เข้มข้นเป็นลายเซ็นที่ปรากฏชัดในแอนิเมชั่นของ “วอลท์ ดิสนีย์” สตูดิโอชั้นนำ�แห่งวงการภาพยนตร์แอนิเมชั่นผู้ผลิตผลงานเปี่ยมคุณภาพ ที่สืบทอดวิสัยทัศน์การไม่หยุดพัฒนา เรียนรู้ และทดลองสิง่ ใหม่อยูเ่ สมอ เพือ่ สร้างประสบการณ์ทด่ี ที ส่ี ดุ แก่ผชู้ มทุกเพศทุกวัยมาเป็นเวลากว่า 90 ปีนบั ตัง้ แต่กอ่ ตัง้ สตูดโิ อ • “Cel Animation” คือวิธีสร้างแอนิเมชั่นดั้งเดิม ทีด่ สิ นียใ์ ช้ในการผลิตผลงานช่วงห้าสิบปีแรก ตัวละคร จะถู ก วาดด้ ว ยมื อ ลงบนแผ่ น เซลลู ล อยด์ โ ปร่ ง ใสที่ เรียกว่า “เซล (Cel)” ทีละภาพแล้วจึงนำ�ไปลงสี ก่อน จะวางซ้อนลงบนภาพแบ็กกราวด์และใช้กล้องบันทึก ภาพแต่ละช็อตไว้ ซึ่งเมื่อฉายภาพต่อเนื่องกันด้วย ความเร็วสูงก็จะเกิดเป็นภาพลวงตาของการเคลือ่ นไหว ภาพยนตร์ แ อนิ เ มชั่ น เรื่ อ งยาวเรื่ อ งแรกของดิ ส นี ย์ Snow White and the Seven Dwarfs (1937) ต้อง อาศัยช่างวาดกว่าหนึ่งร้อยคนทำ�หน้าที่ลอกลายเส้นที่ ศิลปินร่างไว้ลงบนแผ่นเซล กระบวนการซ้อนแผ่นเซล และบันทึกภาพเกิดขึ้นมากกว่า 5 แสนครั้ง รวมแล้วมี ภาพถูกวาดขึ้นเกือบ 2 ล้านภาพ และมีเพียง 166,000 ภาพที่ได้ปรากฏในภาพยนตร์ •เพื่อให้ศิลปินได้พัฒนาทักษะและเปิดมุมมองทาง ศิ ล ปะในการสร้ า งแอนิ เ มชั่ น ซึ่ ง มี ตั ว ละครเอกเป็ น มนุษย์ ดิสนีย์จึงได้จ้าง ดอน เกรแฮม (Don Graham) อาจารย์ศลิ ปะจากสถาบันศิลปะชุยนาร์ด (Chouinard Art Institute) ซึง่ ปัจจุบนั คือสถาบันศิลปะแคลิฟอร์เนีย (California Institute of the Arts) มาเป็นหัวหน้าชั้น

เรียนฝึกอบรมประจำ�สตูดโิ อระหว่างปี 1932-1940 และ ยังได้คดั เลือกนักแสดงมาเป็นต้นแบบของตัวละครเอก ในเรื่อง เพื่อให้ศิลปินถ่ายทอดบุคลิก ท่าทาง อารมณ์ และการเคลือ่ นไหวให้มคี วามสมจริงทีส่ ดุ ซึง่ กลายเป็น หนึ่งในเทคนิคที่สตูดิโอใช้ในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ต่อๆ มา • ในยุคที่ภาพถูกวาดลงบนแผ่นเซล ดิสนีย์ริเริ่มการ ใช้กล้อง “Multiplane Camera” โดยแบ่งองค์ประกอบ ของฉากตามระยะใกล้-ไกลและวาดลงบนแผ่นกระจก ใส เพื่อให้สามารถกำ�หนดระยะห่าง ควบคุมทิศทาง และความเร็วในการเคลื่อนที่ของกระจกแต่ละบาน ทำ�ให้ภาพทีไ่ ด้มมี ติ คิ วามลึกสมจริง ก่อนจะแทนทีด่ ว้ ย ระบบคอมพิวเตอร์ที่ดิสนีย์พัฒนาขึ้น (Computer Animation Production System หรือ CAPS) เพื่อให้ สามารถสแกนลายเส้นของศิลปินลงในคอมพิวเตอร์ และลงสีในโปรแกรมดิจิทัลได้เลย • เทคโนโลยีท�ำ ให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทใน การทำ�งานแอนิชน่ั มากขึน้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของดิสนีย์ ทำ�งานอย่างหนักร่วมกับศิลปินพวกเขาตระหนักดีว่า

ลายเส้นที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกแม้จะมีความ ชัดเจนและช่วยให้ท�ำ งานได้งา่ ยขึน้ แต่กย็ งั เทียบไม่ได้เลย กับความละเอียดอ่อนของลายเส้นจากปลายดินสอและ พูก่ นั ของศิลปิน ผมยาวสลวยของราพันเซลใน Tangled (2010) จึงเป็นผลจากความพยายามของเคลลี่ วาร์ด (Kelly Ward) ที่ใช้เวลาถึงหกปีในการเขียนซอฟต์แวร์ สำ�หรับการวาดเส้นผม ในขณะที่ Paperman (2012) ก็เป็นอีกก้าวของความสำ�เร็จในการผสมผสานราย ละเอียดของลายเส้นที่วาดโดยศิลปินกับภาพสามมิติ เข้าด้วยกันด้วยซอฟต์แวร์ Meander ซึ่งดิสนีย์พัฒนา ขึ้นเอง ที่มา: บทความ “Trying to Woo Animators, Disney Accidentally Invents ‘The Paperman Method’” (5 มีนาคม 2013) โดย Julia Kaganskiy จาก fastcolabs.com, บทความ “Walt Disney Animation Studio” จาก disney. wikia.com, วิกิพีเดีย, disney.wikia.com สารคดี “How Walt Disney Cartoons Are Made” (1938), สารคดี “Walt Disney’s Multiplane Camera” (1957) ภาพ: หนังสือ Snow White and the Seven Dwarfs: The Art and Creation of Walt Disney's Classic Animated Film โดย J.B. Kaufman, Walt Disney Family Foundation Press, 2012 มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l 11


© Ada

COVER STORY เรื่องจากปก

m Lern

er

หวนคืนเศรษฐกิจคนตัวเล็ก เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

12 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557


COVER STORY เรื่องจากปก

flickr.com/photos/inhabitat

บริเวณเทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees) การผลิตหมวกเบเร่ตต์ ามวิถอี นั เก่าแก่ของช่างฝรัง่ เศสกำ�ลังแข่งขันกับหมวกแบบเดียวกัน จากโรงงานในยุโรปตะวันออกด้วยราคาที่ต่างกันถึง 10 เท่า แต่ขณะที่การต่อสู้ระหว่างระบบการผลิตแบบสองขั้วยังคงดำ�เนินไป ตลาดท้องถิ่นที่หลอมรวมกำ�ลังการผลิตด้วยมือกับบริบทสมัยใหม่เข้าด้วยกันก็กำ�ลังเติบโตสวนกระแสความเปราะบางทาง เศรษฐกิจ

flickr.com/photos/pomegranate02

ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ทีเ่ ศรษฐกิจโลกขับเคลือ่ นไปบนระบบการผลิต แบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บนพืน้ ฐานของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ให้มากทีส่ ดุ (Maximization) ดูเหมือนจะตรงกันข้ามกับความคิดเห็นของ ดร.อี. เอฟ. ชูมาเคอร์ (Dr.E.F. Schumacher) ทีป่ รากฏในหนังสือ Small is Beautiful: Economics as if People Mattered ด้วยข้อเสนอการใช้ ทรัพยากรให้น้อยที่สุด (Minimization) เพื่อยืดอายุทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งระบบเศรษฐกิจควรจะมี “คน” เป็นศูนย์กลางมากกว่าเครื่องจักร และมีขนาดเล็กเพื่อให้คนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอันจะนำ�ไปสู่ความ ยั่งยืนของวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในอนาคต แม้วา่ ข้อเสนอของเขาจะปลุกความคิดในช่วงทศวรรษ 1980 ทีอ่ งั กฤษ และสหรัฐอเมริกาตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงพร้อมกับ ตัวเลขคนว่างงานจำ�นวนมหาศาล แต่การจะถอยหลังกลับมาสร้างความ สมดุลของระบบเศรษฐกิจด้วยการเพิม่ นํา้ หนักการผลิตแบบจำ�กัดและเน้น “คน” เป็นหลัก อาจจะดูฝืนกระแสท่ามกลางผู้คนในฝั่งตะวันตกที่เติบโต มากับการพัฒนาเทคโนโลยีเพือ่ การผลิตครัง้ ละจำ�นวนมาก และซีกตะวันออก ที่กำ�ลังเจริญรอยตามในการเป็นเสือเศรษฐกิจ แต่ทว่าในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมที่พรั่งพร้อมด้วย สิ่งอำ�นวยความสะดวก ความมั่งคั่งที่ส่ังสมมาจากช่วงยุคอุตสาหกรรม เบ่งบาน และทัศนคติใหม่ของเจเนอเรชัน่ รุน่ ต่อมาทีเ่ ติบโตมากับองค์ความรู้ และโอกาสใหม่ในยุคเทคโนโลยีและดิจิทัล ทำ�ให้โลกบางส่วนเคลื่อนไป ในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวคิดของเขามากขึ้น

มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l 13


เมื่ อ ตอนที่ ค ริ ส วอห์ ร ลี (Chris Woehrle) เกิ ด อาการเบื่ อ ชี วิ ต งานประจำ � อย่ า ง การออกแบบปกซีดีในบริษัทเพลง และตัดสินใจลาออกมาเป็นผู้ผลิตอาหารที่พยายาม ใช้วิถีการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งเน้นการทำ�ทุกอย่างด้วยมือให้มากที่สุด (Artisanal Food Craftsman) คริสใช้เวลาเกือบเดือนเพื่อทดลองทำ�เครื่องปรุงอาหารและเครื่องเคียง ชนิดต่างๆ อย่างซัลซ่า กิมจิ ผักดอง และซอสพริก แต่กลับพบว่าทุกอย่างทีเ่ ขาทดลองทำ� นัน้ ล้วนมีคนทำ�มาเกือบหมดแล้ว และทีเ่ ป็นเช่นนีก้ เ็ พราะว่าเขาอาศัยอยูใ่ นบรูกลิน

บรูกลิน (Brooklyn) เมืองในเขตคิงส์เคาน์ตี รัฐนิวยอร์ก สหรัฐฯ ไม่เพียงมีประชากรหนาแน่นถึง 2.56 ล้านคน แต่ประชากรส่วนใหญ่ท�ำ งานในธุรกิจบริการทัง้ ภาคการเงิน บัญชี บันเทิง และไฮเทคโนโลยี ซึง่ เป็นกลุม่ คนทีม่ กี �ำ ลังซือ้ สูงมากพอทีจ่ ะเลือกซือ้ แยมโฮมเมดทำ�จากผลไม้ทอ้ งถิน่ บรรจุในขวดแก้ว ที่สั่งทำ�มาจากเยอรมนีในราคาขวดละ 9 เหรียญสหรัฐฯ แทนแยมราคาเหรียญกว่าๆ จากโรงงาน อุตสาหกรรม บรูกลินจึงเป็นเหมือนสวรรค์สำ�หรับผู้ผลิตอาหารที่ให้ความสำ�คัญกับวัตถุดิบและ ความละเมียดละไมประหนึ่งงานฝีมือ ในอดีต บรูกลินไม่แตกต่างจากเขตอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ด้วยสถานทีต่ งั้ ทีเ่ หมาะกับการขนส่งสินค้า ทางแม่นา้ํ และออกสูท่ ะเล โรงงานขนาดใหญ่จงึ ตัง้ เรียงรายอยูร่ มิ นา้ํ และเป็นเขตทีแ่ รงงานหลากเชือ้ ชาติ มาอาศัยรวมตัวกัน แต่ในเวลาต่อมา ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีดา้ นการสือ่ สารและคมนาคม ขนส่งทำ�ให้บริษทั สามารถกระจายแหล่งผลิตข้ามชาติโดยมีการควบคุมจากสำ�นักงานใหญ่ นิวยอร์ก จึงกลายเป็นเมืองศูนย์กลางของการบริหารจัดการแทนที่การผลิตจริง บุคลากรที่ต้องการจึงเปลี่ยน จากผู้ใช้แรงงานมาเป็นคนทำ�งานบริการที่มีทักษะสูงขึ้น ตั้งแต่นักบัญชี นายธนาคาร นักกฎหมาย ผูจ้ ดั การ นักโฆษณา ตลอดจนนักเขียนทีถ่ กู ดึงตัวมาอยู่ จนทำ�ให้นวิ ยอร์กมีตกึ ระฟ้าจำ�นวนเพิม่ มากขึน้ และทำ�ให้ชนชั้นกลางค่อนไปทางชั้นสูงเหล่านี้ลองมองหาพื้นที่ใหม่ในการอยู่อาศัยที่ไม่พลุกพล่าน และบรูกลินก็เป็นตัวเลือกที่ถูกพิจารณา การตัดสินใจย้ายเข้ามาอยูใ่ นบรูกลินของคนกลุม่ ใหม่น�ำ ไปสูก่ ารปรับปรุงเมืองครัง้ ใหญ่ แม้จะต้อง พบกับการต่อต้านและความวุน่ วายในการพลิกเขตทีเ่ คยเป็นโรงงานมาสูย่ า่ นทีอ่ ยูอ่ าศัย แต่ความเข้มงวด ของตำ�รวจในการปราบปรามอาชญากรรม และนโยบายสำ�คัญของเทศบาลเมืองนิวยอร์กในการ จัดสรรพืน้ ทีใ่ หม่แบบให้ผสมผสานระหว่างทีอ่ ยูอ่ าศัย ย่านการค้า และอุตสาหกรรมเบา จึงทำ�ให้บรูกลิน สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาอยู่อาศัยและทำ�งานอย่างไม่ขาดสาย จนในปัจจุบันบางพื้นที่ เช่น วิลเลียมสเบิร์ก (Williamsburg) มีผู้อยู่อาศัยที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 จากในช่วงปี 2000 ถึง 2008 และร้อยละ 30 ของผู้ที่อาศัยในพื้นที่พาร์ก สโลป (Park Slope) และ คอบเบิล ฮิล (Cobble Hill) นั้นจบการศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า ซึ่งคนกลุ่มนี้นอกจากจะมี ความรูแ้ ล้ว ก็ยงั เติบโตมาพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั และการซึมซับการดำ�รงชีวติ แบบชาวเมืองโรแมนติกจนพลิกโฉมหน้าใหม่ให้กับบรูกลิน

14 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557

malkinphoto.blogspot.com

COVER STORY เรื่องจากปก


การย้ายฐานการผลิตไปยังเมืองที่มีต้นทุนการผลิตตํ่ากว่า ทำ�ให้เมืองอุตสาหกรรมเก่า หลายแห่งเกิดผลกระทบแตกต่างกันออกไป ถ้าดีทรอยต์ (Detroit) เป็นตัวอย่างของ ความล่ ม สลาย บรู ก ลิ น ก็ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องการเกิ ด ใหม่ ห ลั ง ยุ ค อุ ต สาหกรรม (Post-industrial City) อย่างเต็มตัว ด้วยสถานการณ์ทเี่ ดินมาถึงจุดทีส่ งิ่ อำ�นวยความ สะดวกและเทคโนโลยีกลายเป็นเรื่องพื้นฐาน ความคุ้นเคยกับทางเลือกในการบริโภคที่ เพิม่ มากขึน้ และทัศนคติใหม่ของคนรุน่ ใหม่ทเี่ ลือกจะหันหลังให้กบั งานประจำ�และมาลอง เสี่ยงกับการทำ�ตามใจตนเองแม้ว่าจะไม่เคยทำ�ธุรกิจนั้นมาก่อนเลยก็ตาม จึงเกิดเป็น ธุรกิจเล็กๆ ที่งดงามเพิ่มขึ้นมากมาย

GRADY’S

จากความคิดเพียงแค่อยากทำ�ให้การพักเบรก 10 นาที เปี่ยมไปด้วยความหมายเพราะเป็นช่วงเวลาที่ เกรดี้ เลียร์ด (Grady Laird) จะได้ดึงตัวเองออกมาจากห้อง ทำ�งานสี่เหลี่ยม และไม่อยากใช้เวลาเกือบทั้งหมดไป กับการต่อคิวที่ร้านกาแฟ เขาจึงลงมือผลิตกาแฟเย็น สูตรเข้มเข้นแต่รสละมุนจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำ�ไปแจกจ่ายให้กับเพื่อนๆ จนโด่งดังในย่านที่ ทำ�งาน เลียร์ดตัดสินใจเปิด “เกรดีส้ (Grady’s)” กาแฟ เย็นแบบหยด (Cold Brew) สไตล์นิวออร์ลีนที่ชงและ บรรจุขวดด้วยมืออย่างเต็มตัวเมื่อปี 2011

fineandraw.com

สำ�หรับคริสที่เลิกล้มกับเครื่องปรุงอาหารก็ประสบความสำ�เร็จในการเป็นเจ้าของเนื้อแห้งออร์แกนิก บรรจุถงุ ขนาดครึง่ ขีดกว่า (2 ออนซ์) ในราคา 10 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 330 บาท) ยีห่ อ้ "คิงส์เคาน์ตี เจอร์กี้ (Kings County Jerky)" ด้วยความพิเศษของเนื้อที่เขาไปเสาะแสวงหามาจากฟาร์มวัวที่เลี้ยง ในทุง่ หญ้าจากนิวเจอร์ซี (New Jersey) และเลือกทีจ่ ะสร้างความแปลกใหม่ดว้ ยรสชาติแบบตะวันออก คือ ขิงเสฉวนและกิมจิบาร์บีคิว ความสำ�เร็จเรือ่ งแล้วเรือ่ งเล่าในบรูกลิกทีเ่ ผยแพร่ออกไปได้ปลุกเร้าให้หนุม่ สาวคนอืน่ ๆ ลุกขึน้ มา ทำ�ตามกระแสธุรกิจในฝันเป็นจำ�นวนมาก วิลเลียมสเบิร์กกลายเป็นย่านอาหารบูติกตั้งแต่พืชผัก ออร์แกนิก เครื่องปรุง ส่วนผสม และร้านอาหารที่มาพร้อมกับสูตรต้นตำ�รับและสูตรพิเศษที่คิดค้น ขึ้นเพื่อนำ�ไปแจ้งเกิดในตลาดสมอร์กาสเบิร์ก (Smorgasburg) ตลาดขายของสุดฮิปที่คึกคักจนถึง ขั้นได้รับใบสมัครจองพื้นที่ทุกวัน และมีเพียง 10 รายเท่านั้นที่ได้รับเชิญให้เข้ามานำ�เสนองาน และ เหลือเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ได้พื้นที่ขายของ

CRAFT JOB

gradyscoldbrew.com

COVER STORY เรื่องจากปก

brooklynflea.com

FINE & RAW

หลังจากหันหลังให้อาชีพด้านการเงินในแมนฮัตตันแล้ว มาทำ�ช็อกโกแลต "ไฟน์แอนด์รอว์ (FINE & RAW)" ใน โรงงานเล็กๆ ดาเนียล สกลาร์ (Daniel Sklaar) และ ผู้ช่วยได้เลือกใช้กรรมวิธีที่เรียบง่าย ตั้งแต่การใช้มือ คัดเมล็ดคาเคา (Cacao) ไปจนถึงเทคนิคการผลิตด้วย อุ ณ หภู มิ ตํ่ า เพื่ อ รั ก ษาคุ ณ ค่ า ทางโภชนาการของ ช็อกโกแลต ตัดและห่อกระดาษด้วยมือ และเริ่มจาก การขีจ่ กั รยานส่งตามร้านขายเครือ่ งปรุงก่อนทีจ่ ะมีรา้ น ของตัวเองในที่สุด


empiremayo.com

flickr.com/photos/jeanacosta

CRAFT JOB

COVER STORY เรื่องจากปก

EMPIRE MAYONNAISE

อลิซาเบธ วัลโลว์ (Elizabeth Valleau) อดีตนางแบบ และครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ของกูเกิลตัดสินใจนำ�สูตร มายองเนสของแม่ท่ีเพื่อนบ้านในบรูกลินชื่นชอบมา ทำ�ใหม่ โดยเสนอแนวคิดนี้ให้กับแซม เมสัน (Sam Mason) เชฟขนมอบระดับเทพ จนได้ร่วมกันผลิตมา ยองเนสรสชาติใหม่ภายใต้ชื่อ "เอ็มไพร มายองเนส (Empire Mayonnaise)" ทีบ่ รรจุขวดแปะฉลากด้วยมือ ทุกขวด ซึ่งสามารถทำ�ยอดขายได้ถึง 850 กระปุกต่อ สัปดาห์

ขณะที่ ดัมโบ (DUMBO: Down Under the Manhattan Bridge Overpass) เป็นอีกหนึง่ ย่านทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงอย่างมหาศาล อาคารเก่า แก่ถกู เปลีย่ นเป็นทีท่ �ำ งานให้กบั ฟรีแลนซ์ทท่ี �ำ งานให้กบั บริษทั ใหญ่ รวมถึง กลุ่มดิจิทัลสตาร์ทอัพซึ่งประสบความสำ�เร็จอย่างเช่น Etsy.com เว็บไซต์ ร้านขายสินค้าแฮนด์เมดออนไลน์ที่มียอดขายทะลุ 32,000 ล้านบาท (หรือ ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในปี 2013 ธุรกิจของฟรีแลนซ์และผูป้ ระกอบการเหล่านีเ้ ป็นส่วนสำ�คัญ ของการผลักดันให้การจ้างงานในบรูกลินเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจ ถดถอยและการว่างงานในสหรัฐฯ ในปี 2012 การจ้างงานในบรูกลินมี สัดส่วนร้อยละ 15.1 ของการจ้างงานทั้งหมดในเมืองนิวยอร์ก เพิ่มขึ้นจาก เมื่อปี 2001 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 13.4 ขณะที่ในแมนฮัตตันมีสัดส่วนลดลง จากปี 1982 สัดส่วนร้อยละ 65.9 มาเหลือร้อยละ 63.1 ในปี 2000 และ ร้อยละ 60.5 ในปี 2012

16 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557

โจนาธาน โบวล์ส (Jonathan Bowles) ผูบ้ ริหารศูนย์เมืองแห่งอนาคต (Center for an Urban Future) ในนิวยอร์ก กล่าวถึงรายงานการจ้างงาน ของศูนย์ฯ ว่า แมนฮัตตันไม่ได้สูญเสียการจ้างงาน แต่เพราะนิวยอร์กมี เศรษฐกิจที่หลากหลายมากขึ้น ลูกจ้างในบรูกลินได้ประโยชน์อย่างมาก ทั้งดัมโบและวิลเลียมสเบิร์กเป็นแหล่งจ้างงานอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดเล็กๆ ในบรูกลินยังถูกกล่าวขวัญถึงในฐานะ โมเดลเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ทัง้ ในแง่ของการแข่งขันกับสินค้านำ�เข้าและการ เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวถึง 15 ล้านคน เช่นเดียวกับการขับเคลื่อน ด้วยระบบการผลิตแบบจำ�กัดจำ�นวนอย่างอุตสาหกรรมคราฟท์เบียร์ที่มี ยอดการเติบโตในแง่ของปริมาณขายถึงร้อยละ 18 ขณะที่เบียร์ทั่วไปกลับ ลดลงเหลือร้อยละ 1.9 ในปี 2013


ย้อนกลับมาที่คริส วอห์รลี เนื้อแห้งคิงส์เคาน์ตีของเขากำ�ลัง ประสบปัญหาเพราะกำ�ลังการผลิตที่ไม่สอดคล้องกับความนิยม ทีพ ่ งุ่ ขึน้ อย่างรวดเร็ว แต่วกิ ฤติของเขาก็ก�ำ ลังผ่านไปด้วยเงินทุน จำ�นวน 1,600,000 บาท (ราว 50,000 เหรียญสหรัฐฯ) จากเมือง นิวยอร์กที่มอบให้เพื่อใช้สำ�หรับการขยายกำ�ลังการผลิตในรัฐ เพนซิลวาเนียเพื่อให้เขาสามารถผลิตแบบขายส่งได้

thebrooklynink.com

COVER STORY เรื่องจากปก

อย่างไรก็ตาม คริสยังพยายามรักษาความเป็นแบรนด์ถิ่นกำ�เนิดอย่างถึง ทีส่ ดุ ด้วยการทำ�งานร่วมกับหอการค้าบรูกลินเพือ่ โน้มน้าวเมืองนิวยอร์กให้ สร้างโรงงานผลิตอาหารขนาดกลางขึ้นในบรูกลินเพื่อเป็นฐานการผลิต สำ�หรับแบรนด์อื่นๆ ที่แม้ว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะได้รับความนิยม ทั่วประเทศแต่อย่างน้อยการผลิตก็ยังอยู่ที่เดิม เนื้อแห้งของคริสอาจจะไม่ใช่รายเดียวที่ประสบกับความต้องการ ที่มากล้นเช่นนี้ เพราะการขยายตัวของความเป็นเมืองและกำ�ลังซื้อตาม การพัฒนาเศรษฐกิจและการเติบโตของอุตสาหกรรมบริการ ทีค่ อ่ ยๆ เข้ามา

แทนที่อุตสาหกรรมการผลิตแบบจำ�นวนมาก (Mass Production) อาจ ทำ�ให้ผผู้ ลิตบางรายต้องละทิง้ ความตัง้ ใจเดิมทีจ่ ะคงอยูภ่ ายใต้การผลิตใน ขนาดที่กำ�ลังคนจะผลิตได้ไหว แต่ไม่ว่าจะมีคนละทิ้งมากเพียงใด โลกก็ได้ก้าวมาถึงจุดที่โอบอุ้มให้ คนตัวเล็กมีที่ยืนมากขึ้น อีกทั้งยังปลุกเร้าให้คนใหม่เข้ามาแทนที่และร่วม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากส่วนต่างๆ ในโลกให้หมุนไปพร้อมกับระบบการ ผลิตขนาดใหญ่ ในส่วนหนึง่ ความคิดของชูมาเคอร์อาจจะดูเหมือนชนะแต่ ก็ไม่ใช่ทั้งหมดเสียทีเดียว

flickr.com/photos/isisizumi

HELLO FOLK ยุคดิจิทัลได้สั่นคลอนธุรกิจสิ่งพิมพ์อย่างรุนแรง สำ�นักพิมพ์หลายสำ�นักจึงต้องปิด ตัวลง แต่ในปี 2011 เด็กหนุ่มวัย 27 ปี นาธาน วิลเลียมส์ (Nathan Williams) จาก พอร์ตแลนด์ กลับเปิดตัวนิตยสารเล่มใหม่ "คินโฟล์ก (Kinfolk)" ของนาธานสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการนิตยสารด้วย ยอดจำ�หน่ายโดยเฉพาะในญี่ปุ่นที่มีสาวกผู้คลั่งไคล้ถึง 14,000 เล่มจนต้องผลิตฉบับ ภาษาญี่ปุ่นขึ้น ก่อนขยายไปเป็นภาษาเกาหลี จีน และรัสเซีย รวมถึงยอดผู้เข้าชม เว็บไซต์ 175,000 ครัง้ ต่อเดือน ด้วยเนือ้ หาเกีย่ วกับวัฒนธรรมการปรุงและผลิตอาหาร ที่นำ�เสนอผ่านภาพที่ละเมียดสวยงาม บทสัมภาษณ์ และเคล็ดลับต่างๆ ในการปรุง อาหาร แต่ส่วนสำ�คัญที่สุดมาจากเรื่องราวและวิธีการทำ�งานอันเกิดจากการร่วมมือ กับชุมชนนักเขียน ช่างภาพ ดีไซเนอร์ และเชฟจากทัว่ โลกมากกว่า 50 แห่งต่อหนึง่ ฉบับ รวมถึงกลยุทธ์การจัดปาร์ตี้ดินเนอร์ทุกเดือนที่เวียนไปตามสถานที่ต่างๆ และมีการ สร้างสรรค์ธีมของงาน เช่น ปาร์ตี้คนขายเนื้อหรือการทำ�อาหารแคมป์ปิ้ง เสมือนการ รวมกลุม่ ผูอ้ า่ นคินโฟล์กทั่วโลกให้มารวมกันทั้งที่ปาร์ตี้ และเวิร์กช็อปการปรุงอาหาร ภาพในหนังสือ และภาพยนตร์สั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำ�ให้ผู้อ่านถูกดึงดูดเข้าไปในเรื่อง ราวที่สุดแสนธรรมดาแต่เปี่ยมด้วยความสุนทรียภาพอย่างไม่รู้ตัว มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

ที่มา: บทความ “The Hollow Boom Of Brooklyn: Behind Veneer Of Gentrification, Life Gets Worse For Many” (25 กั น ยายน 2012) โดย Joel Kotkin จาก forbes.com บทความ “How Brooklyn Got Its Groove Back: New York’s biggest borough has reinvented itself as a postindustrial hot spot” (2011) โดย Kay S. Hymowitz จาก city-journal.org บทความ “Brooklyn's tourism business is boomin' as 15 million people visit to borough” (6 มกราคม 2011) โดย Erin Durkin จาก nydailynews.com บทความ “Yes, Artisanal Mayo” (7 มีนาคม 2013) จาก online.wsj.com บทความ “B’klyn tops outer-boro jobs boom” (12 กรกฎาคม 2013) โดย Andy SoltisJuly จาก nypost.com brewersassociation.org หนังสือ Small Is Beautiful: Economics as if People Mattered (1973) โดย E. F. Schumacher หนังสือ Human Demographer โดย Dr.Andrew Brown

18 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557

จากความสำ�เร็จของ Etsy.com ที่มียอดขายเกิน 3 หมื่นล้านบาท และผู้ใช้งานถึง 400,000 คนในปี 2013 มาสู่ "เชปเวย์ส (Shapeways)" เว็บไซต์สำ�หรับช่างฝีมือ ยุคใหม่ที่ยังคงแนวคิดการผลิตน้อยชิ้นตามอย่างงานฝีมือ เพียงแต่เครื่องมือที่ใช้เป็น เครื่องมือลํ้าสมัยอย่างเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งมีผู้ใช้งานเว็บนี้แล้วประมาณ 200,000 คน และในแต่ละเดือนจะมีชิ้นงานใหม่สำ�หรับซื้อขายกว่า 60,000 ชิ้นจากร้านค้า 10,000 ราย ทั้งเครื่องประดับแฟชั่น เคสโทรศัพท์มือถือ และส่วนประกอบต่างๆ ที่ เครื่องพิมพ์สามารถผลิตได้ นอกจากนี้ผู้ซื้อยังสามารถออกแบบและสั่งผลิตงานตาม ชอบโดยผ่านโปรแกรมการออกแบบในเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง การเติบโตของเว็บไซต์ท�ำ ให้ ปีเตอร์ วายมาร์สเฮาเซน (Peter Weijmarshausen) ผูก้ อ่ ตัง้ และซีอโี อของเชปเวย์สตัดสินใจลงทุนพัฒนาพืน้ ทีข่ นาด 25,000 ตารางฟุตเพือ่ เป็นทีพ่ กั อาศัย และเป็นโรงงานเครือ่ งพิมพ์สามมิตทิ มี่ ที งั้ นวัตกรรมและงานวิจยั เพือ่ รองรับธุรกิจขนาดเล็กระดับผูป้ ระกอบการคนเดียวให้สามารถปรับเปลีย่ นแบบสินค้า ตามความต้องการของลูกค้า และไม่จ�ำ เป็นต้องมีสถานทีเ่ ก็บสินค้าอีกต่อไป “เราเข้า มาทดแทนกำ�ลังการผลิตแบบซํ้าแล้วซํ้าเล่าจำ�นวนมาก ด้วยการผลิตได้จำ�นวนมาก แต่ไม่ซํ้ากัน และคนที่ช่วยให้สิ่งเหล่านี้เกิดก็คือผู้ประกอบการอิสระ ช่างฝีมือ และ ผู้ที่มีงานอดิเรก โรงงานแห่งนี้จึงเกิดเพื่อตอบสนองให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมใน การผลิตได้หากเพียงแต่มีจินตนาการ” ปีเตอร์กล่าว

shapeways.com

© shapeaways

ปัจจุบันอาการดื่มดํ่าความสวยงามของวิถีชุมชน ขนาดเล็ ก และสุ น ทรี ย ภาพแบบคนรุ่ น เก่ า ไม่ ไ ด้ ส่ ง ผลต่ อ การเติ บ โตของอุ ต สาหกรรมอาหารใน บรูกลินและคราฟท์เบียร์จากพอร์ตแลนด์เท่านั้น แต่เมื่อผนวกกับวิถีแห่งดิจิทัลที่แทรกซึมเข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ�วันก็มีส่วนทำ�ให้ตลาดงาน ช่ า งฝี มื อ ทั้ งเติ บ โตและเปิดกว้า งสำ�หรับ ผู้มีใจรัก งานฝีมือทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผลงานจากงานอดิเรก งานเทคโนโลยี หรืองานที่ลูกค้ามีส่วนในการผลิต


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ไดทุกเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล

รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม • โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October • ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon • บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public • รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café • Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café • Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art • มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • ชีสเคกเฮาส • Minimal • บรรทมสถาน • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • The Salad Concept • Hallo Bar • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • Take a Seat • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Greyhound (Shop and Café) • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน บายนิตา • I Love Coffee Design • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Caffé D’Oro • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อิฐภราดร ลําปาง โรงภาพยนตร / โรงละคร • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน • โรงภาพยนตรเฮาส แอนด มอร • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ภัทราวดีเธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน หองสมุด • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดมารวย แอนดคาเฟ ภูเก็ต • ศูนยหนังสือ สวทช. • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • SCG Experience • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • The Reading Room • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel พิพิธภัณฑ / หอศิลป สปา เลย • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • เลท ซี หัวหิน • บานชานเคียง • หอศิลป กรุงเทพฯ • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • บานใกลวงั • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • Hug Station Resort • บานจันทรฉาย • HOF Art ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • Numthong Gallery • รานเล็กเล็ก • ลูนา ฮัท รีสอรท โรงแรม • ราน all about coffee • The Rock • หลับดีโฮสเทล สีลม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น โรงพยาบาล (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศั​ัพทบาน โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

หญิง อายุ โโทรศั​ัพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..


INSIGHT อินไซต์

PRINTING

เทคโนโลยีแห่งโอกาส เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D Printing) คือนวัตกรรมเปลีย่ นโลกทีไ่ ด้รบั การกล่าวถึงมากทีส่ ดุ ในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมา เพราะ เทคโนโลยีทถี่ กู คิดค้นมาตัง้ แต่ปี 1984 กำ�ลังขยายการใช้งานเข้าสูผ่ ใู้ ช้ระดับครัวเรือนมากขึน้ ในราคาทีต่ าํ่ ลงเรือ่ ยๆ จนมีผนู้ �ำ ไปพัฒนา ต่อยอดและประยุกต์ใช้ในแวดวงต่างๆ อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ของเล่น ตุ๊กตาคนจริงย่อส่วน เครื่องประดับ รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงชิ้นส่วนรถยนต์ หรือแม้กระทั่งอาหารและอวัยวะเทียมซึ่งผลิตขึ้นเฉพาะบุคคล

2 ขั้นตอนง่ายๆ ในการพิมพ์สามมิติ 1. เตรียมไฟล์รูปจำ�ลองสามมิติ (.stl)

flickr.com/photos/creative_tools

สำ�หรับเทคนิคพื้นฐานในการสร้างชิ้นงานของ เครือ่ งพิมพ์สามมิติ จะเริม่ จากการนำ�วัสดุมาขึน้ รูป ทีละชั้นตามแบบที่กำ�หนดในไฟล์คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ปรับเปลี่ยนรายละเอียดและสั่งพิมพ์ใน ปริมาณทีต่ อ้ งการได้ทนั ที ทำ�ให้มคี า่ ใช้จา่ ยทีต่ าํ่ กว่าการสัง่ ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมแบบเดิม ซึ่งต้องสร้างเบ้าหล่อ (Mold) ก่อนแล้วจึงฉีด วัสดุลงไป นอกจากนี้ เทคนิคการสร้างชิ้นงาน ด้วยการเติมวัสดุ (Additive Manufacturing) ของเครื่องพิมพ์สามมิติยังทำ�ให้สูญเสียวัตถุดิบ น้อยกว่าการผลิตแบบทั่วไปซึ่งมักเริ่มด้วยวัสดุ ที่เป็นบล็อกใหญ่และตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก อีกด้วย

สร้างแบบจำ�ลองสามมิติด้วยโปรแกรมออกแบบสามมิติ* ดาวน์โหลดไฟล์รูปจำ�ลองสามมิติจากเว็บไซด์ที่ให้บริการ เช่น Thingiverse** สแกนวัตถุต้นแบบเพื่อสร้างไฟล์รูปจำ�ลองด้วยเครื่องสแกนสามมิติ * ซอฟต์แวร์สร้างแบบจำ�ลองที่ได้รับความนิยมและเปิดให้ใช้งานฟรี เช่น Blender, SketchUp, 123D Design, 3D Canvas, Seamless3d ฯลฯ ** Thingiverse คือเว็บไซด์ยอดนิยมที่เปิดให้สามารถอัพโหลด-ดาวน์โหลดไฟล์สามมิติ พร้อมฟังก์ชันแสดงผลไฟล์ในตัว โดยแบบจำ�ลองสามมิติเหล่านี้บางแบบสามารถนำ� มาปรับแต่งได้ตามความต้องการ

20 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557


INSIGHT อินไซต์

flickr.com/photos/hslphotosync

2. ตั้งค่าและสั่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ ที่ใช้เทคนิคและวัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงาน

การพิมพ์แบบหัวฉีด (FDM: Fused Deposition Modeling)

การพิมพ์ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (SLA: Stereolithography)

เทคนิค: ทำ�งานด้วยกลไกหัวฉีด (nozzle) ซึ่งจะทำ�ความร้อนเพื่อให้วัสดุที่มีลักษณะ เป็นเส้น (filament) อ่อนตัวลง แล้วจึงสร้างชิ้นงานขึ้นทีละชั้นโดยเริ่มจากฐาน วัสดุ: พลาสติกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ PLA และ ABS ปัจจุบันเริ่มมีการนำ�เทคนิคมา ต่อยอดเพื่อใช้กับวัสถุดิบอาหารอย่างช็อกโกแลต ไอซิ่ง ชีส ฯลฯ รวมถึงคอนกรีต สำ�หรับสร้างอาคาร เหมาะสำ�หรับสร้างตัวต้นแบบ (Rapid Prototype) ด้วยพลาสติก ชิน้ งานไม่ละเอียด เท่าการพิมพ์แบบอื่นๆ จึงมีพื้นผิวไม่เรียบและจำ�เป็นต้องมีการขัดเก็บงานก่อนใน กรณีที่จะนำ�ไปใช้งานจริง FDM เป็นเทคนิคการพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะดัดแปลงใช้ได้กับวัสดุหลากหลายประเภท และมีต้นทุนตํ่ากว่าการพิมพ์แบบ อื่นๆ ทั้งในแง่ของวัสดุและเครื่องพิมพ์

เทคนิค: สร้างชิ้นงานโดยยิงลำ�แสงอัลตราไวโอเล็ตให้ผิวนํ้าเรซินแข็งตัวทีละชั้น และเชื่อมต่อกับชั้นก่อนหน้า วัสดุ: ใช้ได้กับเรซิ่นอย่างเดียวเท่านั้น

การพิมพ์ด้วยแสงเลเซอร์ (SLS: Selective Laser Sintering)

การพิมพ์ด้วยการซ้อนแผ่นวัสดุ (LOM: Laminated Object Manufacturing)

เทคนิค: เครือ่ งพิมพ์จะยิงแสงเลเซอร์ลงบนผงวัสดุให้เกิดการหลอมละลายเฉพาะจุด และเกิดการเกาะติดกันทีละชั้น วัสดุ: ผงโลหะ แก้ว เซรามิก พลาสติก อีลาสโตเมอร์ (โพลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่น คล้ายยาง) ชิ้นงานที่ได้มีความคงทนกว่าการพิมพ์แบบ SLA เหมาะสำ�หรับทำ�สร้างชิ้นงานเพื่อ ใช้จริง เช่น เครื่องประดับเงินและทองคำ� ตุ๊กตาย่อส่วนคนจริงจากเซรามิก เครื่อง ดนตรีอย่างกีต้าร์ ไวโอลิน ฟลูต ฯลฯ

เทคนิค: ใช้เลเซอร์หรือมีดตัดวัสดุที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางทีละชั้น และเชื่อมแต่ละ ชั้นด้วยกาว วัสดุ: แผ่นกระดาษ ไม้ โลหะ

เหมาะสำ�หรับการสร้างชิ้นส่วนกลไกต่างๆ เพื่อนำ�ไปใช้ทดสอบการทำ�งานของ เครื่องต้นแบบ และสามารถสร้างวัสถุเพื่อเป็นชิ้นส่วนจริงในเครื่องมือต่างๆ ได้ เพราะมีความละเอียดมากกว่าและผลิตชิ้นงานได้เร็วกว่าการพิมพ์แบบ FDM มาก งานจึงมีผิวเรียบแต่ก็มีต้นทุนสูงกว่าทั้งในแง่เครื่องพิมพ์และวัสดุ

เหมาะสำ�หรับสร้างชิน้ งานเพือ่ เป็นวัตถุตน้ แบบ เพราะจุดเด่นของการพิมพ์แบบ LOM คือความเร็ว แต่ความละเอียดของงานยังต้องอาศัยการเก็บงานที่ดีด้วย ต้นทุนของ วัสดุค่อนข้างตํ่าเมื่อเทียบกับการพิมพ์แบบอื่นๆ

ทีม่ า: บทความ “3D Printers: Make Whatever You Want” (26 เมษายน 2012) จาก businessweek.com, บทความ “3D PRINTING นวัตกรรมพลิกโลก” (1 พฤษภาคม 2012) จาก bitwiredblog.com บทความ “ตะลุยโลกเครื่องพิมพ์สามมิติ ตอนต้น: สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อ ก่อนใช้” (2 พฤษภาคม 2014) จาก blognone.com, 3dprintedinstruments.wikidot.com มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: ณัชชา พัชรเวทิน

หากมองเพียงชัว่ ครู่ “พลาเน็ตตา ออร์กานิกา โชว์รมู (Planeta Organica Showroom)” คือร้านค้าสไตล์ญป่ี นุ่ ทีข่ ายของกระจุกกระจิก ดูนา่ รักและอบอุน่ สไตล์ “ซักกะ (Zakka)1” ไม่ว่าจะด้วยการออกแบบภายนอกร้ า นที่ ดู ค ล้ า ยกั บ บ้ า นสี ข าวหลั ง ย่ อ มท่ า มกลาง ป่าคอนกรีตบนถนนสุขุมวิท หรืออาจเป็นเพราะสารพัดของทำ�มือภายในร้าน แต่ทันที ที่บทสนทนาเริ่มต้นขึ้น ก็เป็นที่กระจ่างว่าที่มาของ “พลาเน็ตตา ออร์กานิกา” ไม่ใช่ ธุรกิจที่เปิดตามกระแสนิยม แต่เป็นได้มากกว่านั้น ออร์แกนิกคือแก่นแท้

สั ม ผั ส อ่ อ นโยนและธรรมชาติ คื อ ปรั ช ญาที่ มิยกุ ิ ชิมาดะ (Miyuki Shimada) ยึดถือมาตลอด ทางของการถักทอพลาเน็ตตา ออร์กานิกาให้ เป็นแบรนด์ออร์แกนิกอย่างแท้จริง โดยเริม่ ตัง้ แต่ จุดที่เล็กที่สุดคือการใช้เส้นใยและย้อมสีจาก ธรรมชาติ ผ่านกรรมวิธกี ารผลิตทีเ่ น้นทักษะของ มนุษย์มากกว่าเครือ่ งจักร การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่คำ�นึงถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าเพียงความ สวยงาม ไปจนถึงการตกแต่งร้านทีเ่ รียบง่ายและ ร่มรื่น

เมือ่ 15 ปีกอ่ น มิยกุ ซิ งึ่ เดิมทำ�งานออกแบบ ตกแต่งภายในได้เดินทางมาที่เชียงใหม่และ ตกหลุ ม รั ก กั บ เทคนิ ค การย้ อ มผ้ า ฝ้ า ยแบบ ธรรมชาติ "วิธีการย้อมผ้าแบบโบราณของไทย ปลอดภัยกับธรรมชาติและไม่ได้ใช้พลังงานอะไร เยอะมากเลย ยิง่ ดูกย็ งิ่ รูส้ กึ ว่ามีเสน่ห"์ ด้วยสีสนั ละมุนตาและเนือ้ ผ้านุม่ สบาย เธอจึงไม่รรี อทีจ่ ะ ลงมือสร้างแบรนด์ของตนเองด้วยการย้ายมาอยู่ ทีป่ ระเทศไทยเพือ่ ดูแลกระบวนการผลิตทัง้ หมด โดยกำ�หนดเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ชนิ้ แรกเป็น พวกเครือ่ งนอน ซึง่ เป็นของใช้ในชีวติ ประจำ�วันที่

1 โยชิโนริอธิบายว่า "ซักกะ (Zakka)” ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึงของกระจุกกระจิกทั่วไป ต่างจากภาษาอังกฤษที่หมายถึงดีไซน์ที่มี กลิ่นอายของวัฒนธรรมญี่ปุ่นในช่วงยุค 50-70 ส่วนสไตล์ซักกะที่คนไทยเข้าใจกันนั้น คืองานออกแบบหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นงานฝีมือ และสื่อถึงความเป็นธรรมชาติ

22 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

ต้องสัมผัสกับร่างกายของคนเราโดยตรงและ มีราคาสูง แต่กว่าระบบการทำ�งานจะเริม่ เข้าทีก่ ็ ต้องใช้เวลาร่วม 3 ปี ทัง้ การสนับสนุนเกษตรกรให้ ปลูกฝ้ายออร์แกนิก การเรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ และผูกมิตร กับช่างทอผ้าฝีมือดีในหมู่บ้านภาคเหนือ และ สนับสนุนให้ใช้กี่ทอมือแทนเครื่องจักรไฟฟ้าซึ่ง อาจเป็นอันตรายต่อชาวบ้านที่ไม่คุ้นเคยกับ โรงงานอุตสาหกรรมได้ โดยทุกกระบวนการจัดการ ต้องตัง้ อยูบ่ นมาตรฐานและคุณภาพทีไ่ ม่เป็นรอง ไม่เพียงเท่านัน้ มิยกุ จิ ะตรวจสอบผ้าทีละผืนและ เลือกย้อมสีด้วยพืชท้องถิ่น เช่น คราม มะเกลือ และครั่ง รวมทั้งออกแบบด้วยตัวเองโดยมีกลุ่ม ชาวบ้านในเชียงใหม่ช่วยตัดเย็บ จนได้รับการ รับรองจากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM) ซึง่ ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แบรนด์ เล็กๆ มีจุดยืนที่มั่นคงในตลาด "มันจะมีความ แตกต่างระหว่างของที่ทำ�ให้ลูกค้าพอใจกับของ ที่จะทำ�ให้ลูกค้าได้รบั รูถ้ งึ ความตัง้ ใจและคุณค่า ของงานแฮนด์เมด การทำ�ของแฮนด์เมดช่วยสร้าง สภาพแวดล้อมที่ดี คนทำ�ก็มีความสุข คนใช้ก็ มีความสุข สิง่ ทีเ่ ราระวังก็คอื ไม่สร้างมากจนเกิน ไปเพราะมันจะไปทำ�ลายธรรมชาติ" เลือกทำ�เลที่ตอบโจทย์และสะท้อนตัวตน ของแบรนด์

แต่ในเวลานั้น ตลาดออร์แกนิกในไทยยังไม่ เติบโตพอ และมิยุกิก็ยังไม่รู้ชัดว่าจะสื่อสารกับ ผูบ้ ริโภคชาวไทยอย่างไร ทำ�ให้ชอ่ งทางจำ�หน่าย ช่วงแรกๆ เป็นตลาดในญี่ปุ่นทั้งหมด จนกระทั่ง 3-4 ปีทผ่ี า่ นมา เธอได้รจู้ กั กับโยชิโนร มัทสึมรุ ะ (Yoshinori Matsumura) และเคียวโกะ คัทสึรางิ (Kyoko Katsuragi) ภรรยา ซึง่ ทำ�นิตยสารรายเดือน แจกฟรีภาษาญีป่ นุ่ ในเชียงใหม่ชอ่ื freecopymap โดยทัง้ สองมองว่าคนไทยเริม่ สนใจสินค้าออร์แกนิก กันมากขึ้น และช่องทางการขายก็ควรเป็นที่ๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เฉพาะกลุม่ มากกว่าห้าง สรรพสินค้าทัว่ ไป พวกเขาจึงช่วยลงทุนเปิดร้าน สาขาแรกที่ "จริงใจ มาร์เก็ต" ในเชียงใหม่ และ อีกสาขาในซอยสุขุมวิท 49 ที่กรุงเทพฯ โดยเปิด

เป็นร้านแบบโชว์รูมที่มีออฟฟิศ freecopymap ฉบับกรุงเทพฯ อยูช่ ัน้ บน ควบคูก่ บั การดูแลงาน โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนญี่ปุ่นได้รู้จัก กับแบรนด์ไทยไปพร้อมกัน เพราะลูกค้าประมาณ ร้อยละ 90 ของร้านเป็นแม่บา้ นชาวญีป่ นุ่ ทีอ่ าศัย อยูใ่ นย่านอโศก สุขมุ วิท ทองหล่อ ซึง่ มีก�ำ ลังซือ้ สู ง และคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกอยู่แล้ว และเพิ่มไลน์สินค้าเพือ่ รองรับความต้องการของ ลูกค้าทีม่ ากขึน้ แต่ยงั เน้นทีว่ ตั ถุดบิ หลักอย่างฝ้าย ออร์แกนิกและใยกัญชงที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ เช่น ผ้าเช็ดตัว เสือ้ ผ้าสำ�หรับเด็กและผูใ้ หญ่ และ ผ้าอนามัยออร์แกนิกสินค้าขายดีประจำ�ร้าน จากการบอกต่อในกลุ่มลูกค้า ประกอบกับ อาศั ย โฆษณาผ่ า นสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ แ ละรายการ โทรทัศน์ จึงทำ�ให้แบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จักและมี ลูกค้ารายใหญ่ติดต่อมาสั่งซื้อไม่ขาดสาย อาทิ โรงแรมในเครือซิกซ์เซนส์ รีสอร์ตแอนด์สปา (Six Senses Hotels Resorts Spas) ทว่ามิยุกิก็ยัง เข้าไปดูแลและประสานงานกับชาวบ้านเพือ่ รักษา มาตรฐานการผลิตสินค้าให้อยู่ระหว่างความ ต้องการของตลาดกับสิ่งที่เธออยากมอบให้กับ ลูกค้า “เราอยากให้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก วัยรุ่นสนใจเรื่องออร์แกนิกและภูมิปัญญาของ ไทยมากขึ้น นี่คือเป้าหมายในอนาคตของเรา" แฮนด์เมดคอมมูนิตี้ สร้างพื้นที่แห่ง มิตรภาพและโอกาส

เมื่อแผนการโปรโมตได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี เพราะกลุ่มเป้าหมายมีไลฟ์สไตล์และรสนิยม คล้ายกัน โยชิโนริจึงเกิดไอเดียที่จะนำ�ผลงาน ศิลปินไทยและญีป่ นุ่ ทีม่ แี นวคิดคล้ายกับมิยกุ มิ า จัดแสดงและจำ�หน่ายทีร่ า้ น รวมทัง้ จัดทำ�เวิรก์ ช็อป และอีเวนต์ภายใต้โปรเจ็กต์สว่ นตัว “Meets Project" ไปด้วย เพือ่ ให้คนในแวดวงออกแบบสร้างสรรค์มี พื้นที่แสดงออกและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ โดย ปราศจากกำ�แพงของความแตกต่าง โดยล่าสุด ก็ได้น�ำ งานฝีมอื ของศิลปินเชียงใหม่มาจัดแสดง อาทิ สตูดิโอเครื่องปั้นดินเผาอินเคลย์ (InClay Studio Pottery) สตูดโิ อสามสองหก (3.2.6 Studio)

ลินนิล (Linnil) และ อะ พีซเซส ออฟ เปเปอร์ (A Pieces of Paper) เป็นต้น โดยมีโทชิกะ ฮามะ (Toshika Hama) ผู้จัดการร้านเป็นผู้ช่วยเฟ้นหา และคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เก๋ไก๋และ ยังเป็นสินค้าที่ไม่มีในญี่ปุ่นมาวางขาย การจัดเวิรก์ ช็อปและอีเวนต์ไม่เพียงส่งเสริม ยอดขาย แต่ยังช่วยเปิดโอกาสให้คนไทยกับ คนญี่ปุ่นได้เข้ามาเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และสร้างพื้นที่ให้กับศิลปินรายย่อยไปในตัว ทั้ง จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำ�ให้ธุรกิจรายย่อยนี้ อยู่รอดได้ในฐานะทางเลือกที่ตอบโจทย์การใช้ ชีวิตที่เรียบง่ายและจริงใจกับลูกค้า ในวันที่ห้าง สรรพสิ น ค้ า ยั ก ษ์ ใ หญ่ ต่ า งประโคมแข่ ง กั น ไม่รจู้ บ และคำ�ว่า "ออร์แกนิก" เป็นเพียงคียเ์ วิรด์ ทางการตลาดที่ธุรกิจบางรายหวังใช้ประโยชน์ ประโลมใจผู้บริโภคเท่านั้น Tips for Entrepreneurs - ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง การรวมตัวของกลุ่ม ศิลปิน นักออกแบบ และช่างฝีมือจะช่วยเพิ่มอำ�นาจ การต่อรองทางธุรกิจมากขึ้น - นักออกแบบควรเลือกทำ�งานที่ชอบและตอบแทน สั ง คมควบคู่ไปกั บงานที่มีตลาดรองรับ และอยู่รอด ได้จริง - การตีตลาดนิทช์ไม่ใช่เรือ่ งง่าย นอกจากจะต้องพัฒนา คุณภาพของสินค้าอย่างจริงจังแล้ว ควรจะรู้ว่าจุดยืน ของแบรนด์คอื อะไรและกลุม่ ลูกค้าคือใคร จึงจะสามารถ จับทางธุรกิจได้ - ช่องทางออนไลน์คอื พืน้ ทีแ่ ห่งโอกาสของผูป้ ระกอบการ รายย่อยยุคใหม่กจ็ ริง แต่จะต้องไม่ลมื คำ�นึงถึงพฤติกรรม ของกลุ่มลูกค้าต่างชาติที่แตกต่างไปด้วย เช่น ลูกค้า ชาวญี่ปุ่นจะนิยมเล่นเฟซบุ๊กน้อยกว่าชาวไทย Planeta Organica Showroom: สาขากรุงเทพฯ: สุขุมวิท ซ. 49 ถ. สุขุมวิท โทร 02-662-6694 สาขาเชียงใหม่: จริงใจ มาร์เก็ต 45 ถ. อัษฎาธร อ. เมือง (อยู่ระหว่างการปรับปรุง) facebook.com/planetaorganica

มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l 23


KEEP PORTLAND WEIRD เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ

ข้อความในไกด์บกุ๊ ซึง่ จัดทำ�โดยมหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์สเตท (Portland State University) คงยิ่งกระตุ้นความอยากรู้ อยากเห็น เมื่อได้อธิบายถึงสโลแกนนี้ไว้สั้นๆ ว่าเป็นการ สะท้อนถึงการขยายตัวของกลุ่มคนหลากหลายสาขาอาชีพ ในพอร์ตแลนด์ทรี่ ว่ มกันสร้าง “เศรษฐกิจช่างฝีมอื (Artisan Economy)” ซึ่งยึดถือแนวทาง DIY (Do It Yourself) ใน ทุกระดับ นับตัง้ แต่การปกครอง การวางผังเมือง การตกแต่ง สวนหน้าบ้าน ไปจนถึงการดำ�เนินธุรกิจของผู้ประกอบการ รายเล็กๆ หากความแปลกคือความแตกต่างทีส่ ามารถสร้างรายได้ ให้แก่พอร์ตแลนด์ “คราฟท์เบียร์ (Craft Beer)” หรือที่แปล เป็นภาษาไทยแล้วฟังดูชอบกลว่า “เบียร์ทำ�มือ” คงเป็น หนึ่งในสินค้าหลักที่สร้างชื่อและสร้างธุรกิจให้แก่เมืองนี้ 24 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557

หนึ่งเมือง หลากชื่อ

พอร์ตแลนด์เป็นเมืองเล็กๆ ทีต่ ง้ั อยูใ่ นรัฐโอเรกอน (Oregon) ทางตะวันตก เฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประชากรไม่ถึง 6 แสนคน แต่กลับเป็น ศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ถึงขั้นที่ได้ รับการตั้งชื่อเล่นมากมายเพื่อสะท้อนจุดเด่นในแต่ละมุมที่แตกต่างกันไป ให้แก่เมืองแห่งนี้ จากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์อันอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าไม้ และเป็นที่ตั้งของบริษัทไอทีมากกว่า 1,200 แห่ง รวมทั้งอินเทล (Intel) ผูผ้ ลิตชิปสารกึง่ ตัวนำ�และไมโครโปรเซสเซอร์รายใหญ่ของโลก พอร์ตแลนด์ จึงถูกขนานนามหนึง่ ว่า “Silicon Forest” โดยนอกจากอุตสาหกรรมไฮเทค แล้ว พอร์ตแลนด์ยังเป็นศูนย์รวมของโรงงานผลิตรองเท้ารายใหญ่อย่าง อดิดาส (Adidas) ไนกี้ (Nike) และคีน (Keen) สำ�หรับผู้ที่ชื่นชอบเสียงดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ ก็ยังสามารถเลือกเที่ยว ร้องเพลงได้ไม่ซํ้าแห่ง 7 วันต่อสัปดาห์ ในพอร์ตแลนด์ “เมืองหลวงแห่ง คาราโอเกะ (The Capital of Karaoke)” ซึ่งยังถือเป็นแหล่งกำ�เนิดของ วงดนตรีอินดี้ชื่อดังมากมาย เช่น Pink Martini, The Shins และ The Decemberists เป็นต้น ส่วนในวงการบันเทิง พอร์ตแลนด์คอื บ้านเกิด ของศิลปิน แมตต์ เกรนิง (Matt Groening) ผู้สร้างการ์ตูนยอดฮิตอมตะ เดอะ ซิมป์สันส์ (The Simpsons) และกัส แวน แซงต์ (Gus Van Sant) ผู้กำ�กับภาพยนตร์ผู้พิชิตรางวัลปาล์มทองคำ�จากเทศกาลหนังเมืองคานส์

portlandbeer.org

ข้อความยอดฮิตบนสติ๊กเกอร์ท้ายรถที่ว่า “จงรักษา ความแปลกของพอร์ตแลนด์ (Keep Portland Weird)” คงทำ�ให้หลายคนสงสัยกันไปต่างๆ นานา ถึงความ ผิดหูผดิ ตาของเมืองแห่งนี้ อะไรทีท่ �ำ ให้ผอู้ ยูอ่ าศัยและ ทำ�มาหากินในพอร์ตแลนด์ตอ้ งเก็บความประหลาดไว้

portlandbeer.org

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์


pacificnorthwesttraveler.com

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ไม่ว่าจะเป็นฮิปสเตอร์ (Hipster) หรือผู้มีรสนิยมที่เลือกบริโภคและใช้ ชีวิตอย่างชาญฉลาด คงฝันอยากอยู่อาศัยในพอร์ตแลนด์ ซึ่งได้รับการจัด อันดับเป็นเมืองที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดอันดับที่ 42 ของโลก และเป็นเมือง สีเขียวอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา (The Most Greenest City) ในส่วน ของไลฟ์สไตล์ พอร์ตแลนด์ขึ้นชื่ออย่างครบเครื่อง ตั้งแต่แฟชั่น จักรยาน อาหาร และโดยเฉพาะเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอลล์ จนปัจจุบนั เมืองดังกล่าวถูก กล่าวขวัญว่าเป็น "สวรรค์ของนักดื่มเบียร์" หรือ “Beervana” ที่ชาวเมือง และนักท่องเที่ยวสามารถลองชิมและเลือกซื้อคราฟท์เบียร์ได้หลากหลาย ประเภทจนจุใจ จากโรงเบียร์ขนาดเล็กจำ�นวนถึง 53 แห่ง ซึ่งถือว่ามาก ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับเมืองต่างๆ ในสหรัฐฯ และเมืองในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

sonsofstevegarvey.com

มั่งคั่งด้วยความลงตัวของธรรมชาติและวิทยาศาสตร์

Duff Beer เบียร์ยี่ห้อโปรดของโฮเมอร์ ซิมป์สัน (Homer Simpson) ตัวละครหลักในการ์ตูน เดอะ ซิมป์สัน ที่ แมตต์ เกรนิง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1989 เพื่อล้อเลียนเบียร์อเมริกันราคาถูก Budweiser จากทศวรรษ 1970 ซึง่ เป็นเบียร์ทผ่ี ลิตจำ�นวนมากและมีปา้ ยโฆษณาอยูท่ ว่ั เมือง หลังจาก ได้มกี ารละเมิดลิขสิทธิน์ �ำ Duff Beer มาผลิตเป็นเบียร์ออกจำ�หน่ายจริงโดยผูผ้ ลิตหลายราย ปัจจุบนั สามารถหาซื้อและดื่ม Duff Beer ได้ที่ The Simpsons Ride ที่ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ ฮอลลีวูด

จวบจนทศวรรษ 1980 ภาพลักษณ์ของการดืม่ เบียร์อเมริกนั คือการบริโภค สินค้าอุตสาหกรรมทีผ่ ลิตครัง้ ละจำ�นวนมากๆ ไม่มคี ณุ ลักษณะพิเศษ และ ไม่มีเกร็ดวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมอะไรที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆ ให้น่า กล่าวถึง อย่างไรก็ตาม ในช่วง 20 ปีทผี่ า่ นมา ผูบ้ ริโภคกระแสหลักจำ�นวน มากได้เริ่มหันมาเลือกบริโภคอาหารแนวสโลว์คุก (Slow Cook) สินค้า เกษตรออร์แกนิก รวมทั้งเครื่องดื่มที่ผลิตโดยวัตถุดิบท้องถิ่นอย่างเป็น กิจลักษณะ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ที่ความนิยมคราฟท์เบียร์ได้กลาย เป็นกระแสระดับชาติ โดยมีศูนย์กลางความเคลื่อนไหวอยู่ที่พอร์ตแลนด์ ตัวเลขทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับตลาดเบียร์ในสหรัฐฯ ได้สะท้อนทิศทาง ดังกล่าวเป็นอย่างดี ถึงแม้สว่ นแบ่งตลาดของคราฟท์เบียร์ยงั คิดเป็นสัดส่วน ไม่ถึงร้อยละ 10 ของทั้งหมด แต่ยอดผลิตของคราฟท์เบียร์ได้เพิ่มสูงขึ้น มากกว่าร้อยละ 13 ต่อปีตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมียอดรวม การจำ�หน่ายสูงถึง 15.6 ล้านบาร์เรล ในขณะที่ยอดขายของเบียร์อเมริกัน รายใหญ่ตกตาํ่ ตามภาวะเศรษฐกิจทีซ่ บเซา ยอดขายของคราฟท์เบียร์กลับ เพิ่มสูงขึ้น มิถุนายน 2557 l Creative Thailand l 25


bisonbrew.com

blogs.mprnews.org

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ผลกระทบทางเศรษฐกิจของการผลิตคราฟท์เบียร์ส่งผลอย่างมีนัย สำ�คัญต่อความมั่งคั่งของพอร์ตแลนด์ โดยอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ใน รัฐโอเรกอนได้ก่อให้เกิดการจ้างงานจำ�นวน 29,000 ตำ�แหน่ง และสร้าง รายได้มูลค่า 2.83 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในส่วนของธุรกิจการท่องเที่ยว มีนักเดินทางและ “ผู้แสวงเบียร์” มาเยือนเทศกาล Oregon Brewers Festival สูงถึง 80,000 คนต่อปี ธรรมชาติทพี่ ระเจ้าประทานให้แก่พอร์ตแลนด์ถอื เป็นสินทรัพย์ส�ำ คัญ ที่โรงเบียร์ท้องถิ่นสามารถสร้างมูลค่าจนเป็นธุรกิจสร้างผลกำ�ไรเป็นกอบ เป็นกำ�อย่างต่อเนื่อง พื้นที่การเกษตรที่อุดมสมบูรณ์และสภาพอากาศที่ เหมาะสมตลอดปี ส่งผลให้โอเรกอนเป็นรัฐที่ปลูกฮ็อป (Hop) เป็นแหล่ง ใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯ เฉพาะในพอร์ตแลนด์ แถบหุบเขาวิลลาแมตต์ (Willamette Valley) มีฮ็อปถึง 10 ชนิด ที่ผู้ผลิตเบียร์รายย่อยแต่ละราย สามารถแสดงฝีมือเลือกส่วนผสมปรุงระดับความขมและกลิ่นหอมที่มี ลักษณะเฉพาะของตนเองได้ เช่นเดียวกับการปรุงแต่งรสหวาน ซึ่งผู้ผลิต สามารถเลือกสกัดมอลต์ได้ทั้งจากข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต และ ธัญพืชเกรดเอ ส่วนที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ได้แก่ แหล่งนํ้าธรรมชาติบริสุทธิ์ ถึงขั้นที่ชาวพอร์ตแลนด์โฆษณาว่าพวกเขาไม่ต้องการดื่มนํ้าบรรจุขวด เพราะสามารถดืม่ นํา้ ประปาจากแหล่งดังกล่าวได้โดยไม่ตอ้ งผ่านการกรอง เสียด้วยซํ้า อย่างไรก็ตาม ความสำ�เร็จของการผลิตคราฟท์เบียร์คุณภาพไม่ได้ เกิดขึน้ เพราะโชคช่วย พรสวรรค์ หรือธรรมชาติทฟี่ า้ ประทานมาให้เท่านัน้ การทดลองและปรับใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นกระบวน การสำ�คัญที่ส่งเสริมให้การผลิตเบียร์ทำ�มือประสบความสำ�เร็จในโลกยุค 26 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557

สมัยใหม่ เป็นทีน่ า่ สนใจว่ารัฐโอเรกอนนัน้ ไม่ได้ขนึ้ ชือ่ เฉพาะ “การดืม่ เบียร์” แต่ยังรวมถึง “การศึกษาเบียร์” อีกด้วย คณะวิทยาศาสตร์อาหารและเทคโนโลยี (The Department of Food Science and Technology) ทีม่ หาวิทยาลัยโอเรกอนสเตท (Oregon State University) ได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์การหมัก (Fermentation Science) โดยมีความเชี่ยวชาญพิเศษเรื่องการหมักเบียร์ ฉะนั้นจึงไม่ต้อง แปลกใจเลยว่าสูตรความอร่อยของคราฟท์เบียร์ทไี่ ด้มา คือผลผลิตของการ วิจยั ส่วนผสมต่างๆ อย่างขะมักเขม้นและถีถ่ ว้ น ตัวอย่างหนึง่ ได้แก่ งานวิจยั ของดร. โธมัส เชลล์แฮมเมอร์ (Dr.Thomas Shellhammer) ที่วิเคราะห์ เจาะลึกถึงคุณลักษณะของความขม ลักษณะกลิ่น และปฏิกิริยาที่ก่อให้ เกิดฟองเบียร์ของฮ็อปสายพันธุ์ต่างๆ นอกจากนี้ ชาวบ้านทีเ่ ริม่ ต้นทดลองผลิตเบียร์ส�ำ หรับดืม่ กันเองภายใน วงญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง คงไม่ได้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจไปเสียทุกคน มหาวิทยาลัยพอร์ตแลนด์สเตทยังได้เปิดคอร์สฝึกอบรมชือ่ “ธุรกิจการผลิต คราฟท์เบียร์ (The Business of Craft Brewing)” เพื่อให้ผู้สนใจจะผันงาน อดิเรกของตนเองเป็นอาชีพการงานได้เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการ การตลาด การเงินและการบัญชีในวงการธุรกิจคราฟท์เบียร์ หากการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาออกมาแล้วต้องตกงานถือเป็น ความล้มเหลวอย่างหนักของระบบการศึกษา การปรับและพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดทักษะและความรู้เรื่องการผลิตและดำ�เนินธุรกิจ เบียร์จากรุ่นสู่รุ่นอย่างเป็นระบบ คงถือได้ว่าเป็นการเลือกปรับตัวของ มหาวิทยาลัยเพือ่ ตอบสนองต่อความต้องการในตลาด จนสร้างผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจต่อพอร์ตแลนด์และรัฐโอเรกอนได้อย่างเป็นรูปธรรม


©yellowdog

flickr.com/photo/sallagashbrewing

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เล็กนั้น(งอก)งาม หากโครงสร้างเอื้อ

การสนับสนุน หรือการต่อต้านการผลิตและการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นปัจจัยหนึง่ ทีส่ �ำ คัญซึง่ ส่งผลต่อความเป็นไปของพอร์ตแลนด์ และความ สัมพันธ์ทางการค้ากับตลาดโลก ในยุคปัจจุบันที่การขนส่งสินค้าเป็นไป อย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนตํ่า และการแผ่ขยายอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรม การบริโภคใหม่ๆ จากทวีปหนึ่งสู่อีกทวีปหนึ่งเกิดขึ้นได้ในชั่วพริบตาผ่าน โลกออนไลน์ คงไม่ใช่เรือ่ งแปลกทีเ่ บียร์ท�ำ มือจากผูผ้ ลิตรายย่อยจากเมือง เล็กๆ อย่างพอร์ตแลนด์จะกลายเป็นที่นิยมในต่างแดน ตำ�นานการกำ�เนิดของเบียร์ในพอร์ตแลนด์สามารถสืบย้อนไปได้ถึง 162 ปี เมื่อเฮนรี แซกเซอร์ (Henry Saxer) ชาวเยอรมันอพยพผู้นำ�พา ทักษะความเชีย่ วชาญการผลิตเบียร์มาจากประเทศบ้านเกิด ตัดสินใจเปิด โรงเบียร์ Liberty Brewery อย่างไรก็ตาม กลุ่มเคลื่อนไหวทางศาสนาที่มี ความเชื่ออย่างแรงกล้าว่าการดื่มของมึนเมาถือเป็นบาป ได้ประสบความ สำ�เร็จในการผลักดันกฎหมายห้ามขายสุราทัว่ ประเทศ ส่งผลให้ในช่วงต้น ทศวรรษ 1920 ผูผ้ ลิตเบียร์ โดยเฉพาะรายย่อยได้ลม้ หายตายจากทางธุรกิจ ไปกันเกือบหมด มีแต่เพียง Wienhard Brewery Complex โรงเบียร์ราย ใหญ่ซึ่งก่อตั้งโดยเฮนรี ไวน์ฮาร์ด (Henry Weinhard) ชาวเยอรมันอพยพ อีกคนหนึ่งที่ยังสามารถอยู่รอดได้ ด้วยการผันตัวมาผลิตเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ตํ่ากว่าร้อยละ 5 หรือที่เรียกว่า “Near Beer” ตามมาด้วยการ ผลิตไซรัป โซดา และรูทเบียร์ ถึงแม้กฎหมายห้ามขายสุราจะถูกยกเลิกไปในช่วงต้นทศวรรษ 1930 แต่ตลาดเบียร์ก็ยังคงถูกคุมเข้มเต็มที่ และมีเพียงเฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่ เท่านั้นที่สามารถดำ�เนินธุรกิจได้ ความแพร่หลายของคราฟท์เบียร์ใน

ปัจจุบันคงเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากภาครัฐและภาคเอกชนไม่ได้ผลักดันให้มี การเปลีย่ นแปลงกฎหมาย ระหว่างช่วงทศวรรษ 1970-1980 คือจุดพลิกผัน เริ่มต้นด้วยนโยบายเปิดเสรีตลาดเบียร์ของประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) ซึง่ ยกเลิกการเก็บภาษีการผลิตเบียร์เพือ่ ดืม่ กันเองภายใน ระดับครัวเรือน สำ�หรับในระดับท้องถิน่ กลุม่ ผูผ้ ลิตเบียร์รายย่อยในพอร์ต แลนด์ถือเป็นผู้บุกเบิกเคลื่อนไหวให้มีการผ่านกฎหมายระดับรัฐ เพื่อออก ใบอนุญาตค้าปลีกให้แก่โรงเบียร์ขนาดเล็กจนสำ�เร็จในปี 1985 เมื่อ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้หลุดพ้นจากการควบคุมทางศาสนา และข้อจำ�กัดทางกฎหมาย จำ�นวนของผู้ผลิตคราฟท์เบียร์ทั่วสหรัฐฯ จึงได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากเพียง 8 รายในปี 1980 สู่จ�ำ นวน มากกว่า 2,300 รายในปี 2012 นอกจากนี้ การส่งเสริมของสมาคมผู้ต้มเหล้าแห่งสหรัฐฯ (Brewers Association) ในการสร้างความเข้าใจเกีย่ วกับตลาดต่างประเทศให้กบั ผูผ้ ลิต ชาวอเมริกัน ควบคู่ไปกับการโปรโมตคุณภาพและความหลากหลายของ คราฟท์เบียร์ในเวทีโลก ยังส่งผลให้ในปี 2013 การส่งออกคราฟท์เบียร์เพิม่ ปริมาณสูงขึ้นถึงร้อยละ 49 คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ประเทศแคนาดายังครองอันดับหนึ่งผู้นำ�เข้าคราฟท์เบียร์จาก สหรัฐฯ โดยคิดเป็นร้อยละ 92 ของยอดการส่งออกทั้งหมด การขยายตัว ของความนิยมบริโภคคราฟท์เบียร์ในประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และไทย ได้ส่งผลให้ยอดการส่งออกคราฟท์เบียร์สู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มสูงขึ้น ถึงร้อยละ 73 มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l 27


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

foundsf.org

จากโศกนาฏกรรมสู่ความรุ่งโรจน์ หนึ่งร้อยปีแห่งโลกาภิวัตน์ของพอร์ตแลนด์ หน้าประวัตศิ าสตร์โลกาภิวตั น์ไม่ได้มแี ต่ดา้ นดีงามเสมอไปสำ�หรับพอร์ตแลนด์ ถึงแม้ปจั จุบนั ผูค้ นจะรูจ้ กั พอร์ตแลนด์ ในฐานะหนึ่งในเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในสหรัฐฯ แต่หากย้อนเวลาไปหนึ่งร้อยปีก่อนหน้านี้ พอร์ตแลนด์เคยถูกกล่าวขวัญ ว่าเป็นหนึง่ ในเมืองท่าชายฝัง่ ตะวันตกทีอ่ นั ตรายทีส่ ดุ การค้าขายเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์เถือ่ นเกิดขึน้ เป็นกิจจะลักษณะ ควบคู่กับการค้าทาส ในช่วงครึง่ หลังของศตวรรษที่ 19 ย่านชุมชนริมท่าเรือของพอร์ตแลนด์นนั้ เต็มไปด้วยบาร์เหล้าและโรงเบียร์ สำ�หรับกะลาสีและคนงานทีแ่ สวงหาความผ่อนคลาย หลังผ่านงานหนักมาทัง้ วัน อย่างไรก็ตาม คาํ่ คืนแห่งความเมามายมักกลายเป็นฝันร้ายสำ�หรับชายร่างกำ�ยำ� เพราะเมือ่ พวกเขาได้สติขนึ้ มาหลังจากตืน่ นอน กลับต้อง พบว่าตนเองถูกลักพาตัวไปขายเป็นทาส การมอมเหล้าและลักพาตัวไปขายเป็นทาสถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ในช่วงเวลานั้น จนถึงขั้นที่ในโลกภาษา อังกฤษมีการบัญญัติศัพท์เรียกขานผู้ถูกกระทำ�การอันป่าเถื่อนดังกล่าวว่าถูก“เซี่ยงไฮ้ (Shanghai)" หรือการถูกวางยาแล้วจับส่งไปยังเซี่ยงไฮ้ เมืองท่าสำ�คัญของจีน ซึ่งชาติตะวันตกต่างบุกเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์อย่างเป็นลํ่าเป็นสันในยุคหลังสงครามฝิ่น ในส่วนของพอร์ตแลนด์ มีการประเมินว่า มีชายฉกรรจ์อย่างน้อย 1,500 รายต่อปีที่ถูกเซี่ยงไฮ้จากบาร์เหล้าและโรงเบียร์ โดยจะถูกกักตัวไว้ในอุโมงค์ลับใต้ตัวเมืองพอร์ตแลนด์จนรุ่งเช้า และขายให้กัปตันเรือเดินสมุทรในราคาหัวละ 50-55 เหรียญสหรัฐฯ

แปลงความแปลกเป็นรายได้

fluxstories.com

fluxstories.com

จากอดีตสู่ปัจจุบัน ความแปลกได้กลายเป็นเกร็ดเรื่องราวที่น่าค้นหาของ พอร์ตแลนด์ เมื่อปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โศกนาฏกรรมของความเมามาย การริดรอนสิทธิเสรีภาพ และตราบาป ทางศาสนา ได้ถูกแปลงเป็นทุนทางเศรษฐกิจ ทักษะความชำ�นาญในการ ผลิตเครือ่ งดืม่ มึนเมาทีเ่ คยถูกกล่าวหาว่าเป็นเรือ่ งผิดกฎหมายได้กลายเป็น แหล่งสร้างรายได้หนึ่งที่สำ�คัญให้แก่ตัวเมืองในปัจจุบัน แม้แต่อุโมงค์ลับ ใต้บาร์เหล้าเก่าแก่หรือทีร่ จู้ กั ในนาม “อุโมงค์เซีย่ งไฮ้ (Shanghai Tunnel)” ก็ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำ�หรับผู้สนใจใคร่รู้ ประวัติศาสตร์ด้านมืดของเมืองแห่งความประหลาดนี้ ที่มา: artisaneconomyinitiative.wordpress.com brewersassociation.org oregoncraftbeer.org “Business of Craft Brewing” จาก pdx.edu บทความ “A brewing fight” (11 พฤษภาคม 2013) จาก economist.com บทความ “Brewing history in Oregon” (8 มกราคม 2014) จาก thebrewstorian.tumblr.com บทความ “Hopping mad: the metros cape has a tall, cold, crafty one” จาก pdx.edu บทความ “It’s official: Craft brewers are now beating big beer” (2 มีนาคม 2014) จาก cnbc.com บทความ “Prohibition hangover” (8 กันยายน 2012) จาก economist.com บทความ “The Shanghai Tunnels” จาก nytimes.com บทความ “Why Portland’s beer economy is ‘hoppy’” (16 กันยายน 2011) จาก entrepreneur.com “2013 Portland Visitor’s Guide” จาก theoma.org “Learning Portland: Expert’s Guide to: Where to Find It and How It Happened” จาก pdx.edu

ทัวร์อุโมงค์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Tunnel Tour group)

28 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

JOEL LEONG เพราะเราล้วนต่างเป็นช่างฝีมือ เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

ในวันทีอ่ นิ เทอร์เน็ตเชือ่ มต่อแทบทุกอย่างจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกันได้อย่างง่ายดาย สถานะและความหมายของ “งานฝีมอื ” และ “ช่างฝีมือ” กำ�ลังได้รับการหยิบยกขึ้นมาทบทวน โจเอล เหลียง (Joel Leong) ผู้สร้าง “เฮย์สแต็กต์ (Haystakt)” ตลาดออนไลน์รูปแบบใหม่ ได้เบิกทางให้เราเห็นความเป็นไปได้ของการผลิตและการบริโภคสินค้างานฝีมืออันมีที่มา "จาก มวลชนเพื่อมวลชน" โมเดลสร้างสรรค์เช่นนี้ไม่เพียงเปิดโอกาสให้เราเป็นได้ทั้งผู้สร้าง ผู้กำ�หนดราคา และผู้ใช้งาน หากใน โลกที่กำ�ลังรุดหน้าด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากเครื่องจักรอัตโนมัติที่ไร้จิตใจและกลไกในการแข่งขันในตลาดโลกยุคหลัง อุตสาหกรรม อาจหมายถึงการกลับมาสำ�รวจว่า ในช่วงเวลาทีส่ งั คมกำ�ลังจะก้าวเข้าสูจ่ ดุ ทีเ่ ต็มไปด้วย “ข้าวของ” เช่นทุกวัน นี้ สินค้าหรือบริการที่สามารถเชื่อมโยงฝั่งผู้ผลิตเข้ากับผู้บริโภคได้นั้น แท้จริงแล้วควรเป็นอย่างไร อยากให้แนะนำ�ตัวกับผูอ้ า่ นว่าคุณเป็นใครและกำ�ลังทำ�อะไร สวัสดีครับ ผมโจเอลจากสิงคโปร์ ผมมีพน้ื ด้านธุรกิจ การออกแบบนิเทศศิลป์ และเทคโนโลยี ผมก่อตั้งเฮย์สแต็กต์ (haystakt.com) ตลาดออนไลน์ที่ เปิดให้ผผู้ ลิตงานฝีมอื มีชอ่ งทางทีจ่ ะขายสินค้าได้สะดวกยิง่ ขึน้ เฮย์สแต็กต์ ซึ่งเปิดตัวตั้งแต่ปลายปี 2012 เป็นโครงการที่ผมเองอยากทำ�มานานมาก แล้ว หลังจากที่เห็นเพื่อนๆ หลายคนเลือกที่จะเดินตามฝันด้วยการสร้าง ธุรกิจของตัวเองที่จัดอยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุกวันนี้เฮย์สแต็กต์ เป็นเวทีให้นกั สร้างสรรค์จากทัว่ เอเชียกว่า 100 คน ได้น�ำ ผลงานทีพ่ วกเขา ผลิตขึ้นเองมาจำ�หน่ายให้กับลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก โครงสร้างของเฮย์สแต็กต์ นอกจากจะประกอบด้วยส่วน Project (สัง่ จองและสัง่ ทำ�สินค้า) และส่วน Shop (ตลาดสินค้า งานฝีมือ) ยังมีส่วน Journal (บทความและบทสัมภาษณ์) ด้วย ทำ�ไมคุณถึงคิดว่าผูบ้ ริโภคจะต้องการรับรูเ้ รือ่ งราวของ สิ่งของที่พวกเขาซื้อหามาเป็นเจ้าของด้วย ในเฮย์สแต็กต์ ผู้ซื้อจะได้ซื้อของจากผู้ขายโดยตรง ผมมองว่าการที่ผู้ซื้อ ได้พบผู้ผลิตและสั่งซื้องานกันเองแบบนี้เป็นเรื่องที่พิเศษและทรงพลังมาก เมื่อเราได้รู้ว่าร้อยละ 95 ของเงินที่เราจ่ายไปจะกลับไปหาผู้ที่ผลิตผลงาน ชิ้นนั้นๆ ขึ้นมาเองจริงๆ และผมคิดว่าลูกค้าทุกวันนี้กำ�ลังเบื่อหน่ายกับ งานผลิตซํ้าแบบจำ�นวนมากจากโรงงาน พวกเขามองหาช่องทางที่จะ สามารถซือ้ สินค้าทีเ่ ป็นมากกว่าการจับจ่ายข้าวของเครือ่ งใช้ คือเปลีย่ นมา สนใจซือ้ หาเรือ่ งราวแทน เป็นการซือ้ ประสบการณ์ หรือทีอ่ าจเรียกได้วา่ เป็น การจับจ่ายแลกเปลี่ยนเพื่อความบันเทิง (Transactional Entertainment)

แนวคิดและกลไกสำ�คัญของส่วน Project คือการใช้วิธี "มวลชนกำ�หนดราคา (Crowd-Pricing)" หรือการให้ผซู้ อื้ ได้บริโภคสินค้าในราคาที่กำ�หนดเอง คุณคิดถึงกลไกนี้ได้ อย่างไร เมือ่ ปีทผี่ า่ นมา เราซักถามผูค้ นในแวดวงว่าปัญหาทางธุรกิจทีพ่ วกเขากำ�ลัง เผชิญอยู่ในฐานะผู้ประกอบการขนาดเล็กคืออะไร ปัญหาใหญ่ๆ สองข้อ ทีพ่ บคือ หนึง่ พวกเขาไม่สามารถคาดเดาความต้องการในสินค้าทีจ่ ะผลิต ล่วงหน้าได้ และสองซึ่งก็ตามมา คือพวกเขาควรตั้งราคาสินค้าเหล่านั้น เท่าไหร่ เรารูว้ า่ ถ้าใช้อนิ เทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์ ก็จะสามารถให้ผซู้ อื้ เป็น ผู้กำ�หนดราคาของสินค้าได้ แทนที่จะให้ผู้ผลิตเป็นคนตั้งราคาขายตาม ปกติ นั่นเป็นที่มาของระบบมวลชนกำ�หนดราคาที่เอื้อให้ผู้ผลิตสามารถ ขายสินค้าได้ก่อนจะลงมือผลิต และสามารถบริหารจัดการการประหยัด ต่อขนาด (Economies of Scale) ให้ได้ก�ำ ไรต่อหน่วยสูงสุด เพราะมีตน้ ทุน ต่อหน่วยทีต่ าํ่ ลง ในแง่หนึง่ มันก็เหมือนเป็นการต่อยอดจากโมเดลมวลชน ระดมทุน (Crowd Funding) เพราะราคาสินค้าจะอยู่ในมือลูกค้าจนกว่า ช่วงเวลาการสั่งจองสินค้าล่วงหน้าจะจบลง เราเรียกขั้นตอนนี้ว่าการตั้ง ราคาบนฐานของอุปสงค์ (Demand-Based Pricing) ยิ่งคนสั่งจองล่วง หน้ามากเท่าไหร่ ราคาของสินค้าต่อหน่วยจะยิ่งลดลงเท่านั้น เราคิดว่าวิธี การนีส้ มเหตุสมผลมากกับกลุม่ ลูกค้าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทจี่ จู้ ี้ เรือ่ งราคาในกลุม่ สินค้าทีม่ คี วามยืดหยุน่ เชิงราคาสูงเช่นพวกงานออกแบบ ดีไซน์ทั้งหลาย มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

มีตลาดออนไลน์อื่นๆ ที่ไหนในโลกอีกไหมที่ดำ�เนินงานโดย อาศัยหลักการเดียวกันนี้ เฮย์สแต็กต์เป็นตลาดที่ใช้กลไกมวลชนกำ�หนดราคาเป็นเจ้าแรกในโลก ออนไลน์ เราเพิง่ จะเปิดตัวส่วน Project หรือส่วนสัง่ จองสินค้าด้วยวิธมี วลชน กำ�หนดราคาไปเมื่อเดือนที่แล้ว พวกเราตื่นเต้นมากครับ เพราะว่าไม่มี ที่ไหนที่ใช้โมเดลเดียวกันให้ลองเปรียบเทียบวิธีการทำ�งานดูได้เลย แต่เรา ก็ชอบที่ได้ตื่นไปทำ�งานทุกวันในฐานะหนึ่งในผู้บุกเบิก ซึ่งนั่นยังทำ�ให้เรา ต้องมานัง่ ไล่หาวิธแี ก้ปญั หาจากเว็บไซต์ทเ่ี ราสร้างขึน้ มาเองด้วย

คุณมองว่าตลาดออนไลน์แบบเฮย์สแต็กต์ เป็นทางออกหรือ ทางเลือก เรามองกลไกของมวลชนกำ�หนดราคาว่าเป็นช่องทางการจัดจำ�หน่ายสินค้า ที่มีประสิทธิภาพ สิ่งที่เฮย์สแต็กต์นำ�เสนอก็คือ การบวกเปอร์เซ็นต์ราคา ขายปลีกสินค้าขึ้นไปเป็น 40-50 เปอร์เซ็นต์ของราคาทุนนั้น ไม่ใช่วิธีเดียว ในการจัดจำ�หน่ายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภค เพราะในความเป็นจริง ส่วน ต่างทีบ่ วกเพิม่ เข้าไปนีอ้ าจไล่กลุม่ ลูกค้าทีอ่ าจจะซือ้ สินค้าของคุณให้หนีไป ก็ได้ ยิ่งถ้ามองว่าผู้บริโภคยุคใหม่มีความรอบรู้ในเรื่องข้าวของที่ตัวเอง เลือกใช้มากขึ้น วิธีที่เราเลือกใช้ยิ่งทำ�ให้กระบวนการคิดราคาและข้อมูล ตัวผลิตภัณฑ์มีความโปร่งใส ซึ่งเอื้อให้นักออกแบบสามารถสำ�รวจและ รวบรวมความต้องการของตลาดก่อนทีจ่ ะผลิตสินค้าป้อนตลาดได้โดยตรง ได้ดีขึ้น เราหวังว่าเฮย์สแต็กต์จะเป็นทางออกให้กับนักออกแบบหรือผู้ ประกอบการหน้าใหม่ทเี่ พิง่ เข้ามาในตลาด โดยเรือ่ งอาจจะยุง่ ยากนิดหน่อย ถ้านักออกแบบหรือผู้ผลิตเหล่านั้นคุ้นและเคยชินกับช่องทางการจัด จำ�หน่ายแบบเดิมๆ เพราะพวกเขาจะคิดถึงการตั้งราคาค้าปลีกที่บวกค่า บริหารจัดการต่างๆ มาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจริงๆ เฮย์สแต็กต์หักค่าดำ�เนิน การนี้เพียงร้อยละ 5 เท่านั้น

การเน้น ไปที่ ก ารผลิ ต ตามคำ�สั่งซื้อ เป็นสิ่งที่คุณ ทำ � เพื่ อ ช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ไม่ต้องมีสินค้าค้างสต๊อก หรือ คุณมองว่ามันเป็นทางออกสำ�หรับประเด็นการบริโภคเกิน พอดีมากกว่า จากสโลแกนของเฮย์สแต็กต์ทวี่ า่ “ขายของได้ ก่อนจะมีคนซือ้ (Sell your next design before selling.)” พวกผมชอบแนวคิดนี้มากๆ เพราะทุกคนมีแต่ได้กับได้ ฝั่งผู้ผลิตหรือช่าง ฝีมือเองประสบความสำ�เร็จในเชิงการประหยัดต่อขนาด โดยราคาต้นทุน การผลิตสินค้าต่อหน่วยลดลง ฝั่งลูกค้าก็ได้ซื้อของในราคาที่ถูกลง ดังนั้น ทุกคนก็มีความสุข แล้วยิ่งมีการกำ�หนดจำ�นวนการสั่งจองล่วงหน้า ตลาด ุ มีผผู้ ลิตทีเ่ ข้าร่วมโครงการจากทีไ่ หนบ้าง แต่ละที่ จะบอกได้เลยว่าต้องการสินค้าชิน้ นัน้ ๆ จำ�นวนเท่าไหร่ ซึง่ ยิง่ ทำ�ให้ไม่เหลือ ตอนนีค้ ณ ผลิตของทีม่ ลี กั ษณะแตกต่างกันไหม และใครคือกลุม่ ลูกค้า สินค้าคงค้าง หรือถ้ามีก็น้อยมาก ผู้ผลิตของเราส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย หลักๆ คือสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และ คุณใช้กลไกมวลชนกำ�หนดราคาบวกเข้ากับผลิตภัณฑ์กลุม่ ไทย เป็นกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี และคุ้นเคยกับการใช้ อินเทอร์เน็ต กลุม่ ลูกค้าของพวกเขาเริม่ จากเครือข่ายคนใกล้ตวั ก่อน พวก งานช่างฝีมือ ทำ�ไมถึงจับทั้งสองอย่างมาเข้าคู่กัน เราตัง้ ใจจะไม่จ�ำ กัดแค่กลุม่ ผลิตภัณฑ์งานฝีมอื ครับ แต่ทเี่ ราเริม่ ทีช่ า่ งฝีมอื เพื่อนๆ ญาติๆ คนในครอบครัว แต่เมื่อเฮย์สแต็กต์โตขึ้น กลุ่มลูกค้าก็โต และสิ น ค้ า ออกแบบก่ อ น ก็ เ พราะอยากแก้ ไ ขในจุ ด ที่ ผู้ ป ระกอบการ ตาม ลูกค้าตอนนีเ้ ลยรวมกลุม่ คนในแวดวงสร้างสรรค์ทจี่ บการศึกษาระดับ สร้างสรรค์ในกลุม่ ของเราเองไม่พอใจก่อน (Pain Point) ถ้าลองคิดตามดีๆ มหาวิทยาลัยและมีอายุระหว่าง 25-35 ปีไว้ด้วย คณุ จะเห็นเลยว่าปัจจัย คุณจะเห็นว่าจริงๆ แล้วผลิตภัณฑ์เกือบทุกกลุ่มสามารถได้ประโยชน์จาก เรื่องสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมส่งผลต่องานออกแบบ ผู้ผลิตใน รูปแบบการจัดการทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพซึ่งคำ�นึงถึงค่าใช้จ่ายใน อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้แรงบันดาลใจและสร้างผลงานที่ดูเป็นงานช่าง ฝีมือมากกว่า ในขณะที่ของคนไทยจะผลิตขึ้นอย่างประณีต ส่วนสิงคโปร์ การดำ�เนินการก่อนอุปสงค์ในสินค้า ก็พยายามเล่นกับความเป็นพื้นถิ่น (ตีความมรดกตกทอดต่างๆ ที่เรามีอยู่ คุณคิดว่าข้อได้เปรียบของตลาดออนไลน์คืออะไร ถ้าเทียบ ไม่มากนัก) หรือไม่งั้นก็จะพยายามสร้างแบรนด์ที่ดูเป็นสากลไปเลย แต่ที่ กับช่องทางการจัดจำ�หน่ายสินค้าแบบเดิมๆ ผมบอกนีก้ ไ็ ม่ใช่ในทุกกรณีนะครับ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เป็นเรือ่ งส่วน ข้อได้เปรียบของการขายออนไลน์คือความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้ง ตัวมากๆ และคนเราต่างก็ได้แรงบันดาลใจที่ผลิตของขึ้นมาจากปัจจัย ยังเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก ใครก็ตามที่มีเวิร์กช็อปผลิตงานฝีมือของตัวเอง ต่างๆ กัน ในย่านชานเมือง สามารถขายสินค้าให้ใครก็ได้ในโลกใบนี้ ซึ่งทิศทางของ สิ่งที่กำ�ลังเกิดนี้ แน่นอนว่ามีองค์ประกอบทางกายภาพหลายอย่างที่ช่วย สร้างประสบการณ์การซื้อของในโลกจริงชนิดที่ตลาดออนไลน์ไม่สามารถ เลียนแบบได้ แต่ลูกค้าที่ช้อปปิ้งออนไลน์ก็ยังได้ประสบการณ์ในการซื้อหา สินค้าจากองค์ประกอบดิจิทัลต่างๆ เช่น การชมวิดีโอที่มีเนื้อหาและเรื่อง ราวเบือ้ งหลังของสินค้าชิน้ นัน้ ๆ ทีม่ อบประสบการณ์อกี แบบหนึง่ ทีต่ า่ งออก ฝาเสียบสายต่อยูเอสบี “Small Ville” โดย Pana Objects ประเทศไทย จาก haystakt.com ไปจากการไปซื้อสินค้าชิ้นนั้นที่ร้านด้วยตัวเอง 30 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

การบวกเปอร์ เ ซ็ น ต์ ร าคาขาย ปลี ก สิ น ค้ า ขึ้ น ไปเป็ น 40-50 เปอร์เซ็นต์ของราคาทุนนั้น ไม่ใช่ วิธีเดียวในการจัดจำ�หน่ายสินค้า ให้ถึงมือผู้บริโภค เพราะในความ เป็นจริง ส่วนต่างทีบ่ วกเพิม่ เข้าไป นี้ อ าจไล่ ก ลุ่ ม ลู ก ค้ า ที่ อ าจจะซื้ อ สินค้าของคุณให้หนีไปก็ได้

มิถุนายน 2557

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ช่ า ง ฝี มื อ ส มั ย ใ ห ม่ คื อ ผู้ ที่ รู้ จั ก ใ ช้ ประโยชน์ จ ากเทคโนโลยี แ ละข้ อ มู ล ข่าวสารเพื่อนำ�มาต่อยอดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งต่างๆ ในแบบฉบับของพวกเขา เอง และพวกเขามุ่ ง ที่ จ ะสร้ า งสรรค์ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า ไม่ใช่แค่ ผลิตสิ่งของขึ้นมาเท่านั้น อย่างนักออกแบบและผู้ผลิตคนไทย คุณขยายเครือข่ายไป ได้กว้างแค่ไหน คุณเป็นคนคัดเลือกงานของพวกเขา หรือ พวกเขาเข้ามาหาคุณเอง ตอนนี้เราทำ�งานกับนักออกแบบไทยรุ่นใหม่ที่เพิ่งเรียนจบหลายคน ซึ่ง พวกเขากระตือรือร้นมากในการสร้างสรรค์งานขึ้นมาจำ�หน่ายกับเรา เรา ทำ�การคัดเลือกผู้ผลิตที่จะมาขายกับเราเองครับ เราใช้เวลาทำ�ตัวเองให้ คุ้นเคยกับเมืองแต่ละแห่งเพื่อทำ�ความรู้จักกับผู้ผลิตแต่ละคนซึ่งได้พาเรา ไปรู้จักคนใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ผมโชคดีมากที่ได้รู้จักคนดีๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งเราก็ยังคงติดต่อกันและเป็นเพื่อนกันมาจนทุกวันนี้ รวมถึงทำ�ให้มีคน สนใจอยากจะมาเป็นส่วนหนึ่งของเฮย์สแต็กต์มากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้เรา กำ�ลังจะสร้างเครือข่ายแมวมองหาผูผ้ ลิตเจ๋งๆ และผูร้ ายงานเรือ่ งราวทีน่ า่ สนใจในภูมิภาค ถ้าคุณสนใจก็อย่าลืมติดต่อเรานะครับ คุณคิดว่าเทคโนโลยีจะช่วยช่างฝีมอื และผูป้ ระกอบการขนาด เล็กในกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ได้อย่างไร และงานแอนะล็อก อย่างของแฮนด์เมดจะไปกับโลกยุคดิจิทัลได้หรือไม่ เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยในเรื่องการเข้าถึงและการเพิ่มประสิทธิภาพ โดย นอกจากจะช่วยจัดการในเชิงธุรกิจและเปิดโอกาสให้ธรุ กิจขนาดเล็กพุง่ เป้า ไปยังการผลิตสินค้าให้มคี ณุ ภาพแล้ว ประสิทธิผลทีเ่ กิดขึน้ จากการจัดการ ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้าอีกด้วย เทคโนโลยีจะช่วยจัดการให้ กระบวนการจำ�หน่ายสินค้ามีความคล่องตัวขึ้น ช่วยให้ผู้ผลิตเข้าใจความ ต้องการของลูกค้ามากขึ้น และช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้ดีขึ้นและผลิต สินค้าบนพืน้ ฐานของข้อมูล ซึง่ ข้อมูลต่างๆ เหล่านีป้ กติแล้วผูป้ ระกอบการ ขนาดเล็กเข้าไม่ถึง แต่เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจะเป็นเครื่องมือ ให้ผผู้ ลิตสามารถรวมกลุม่ กันและได้ประโยชน์จากการแบ่งปันแหล่งข้อมูล ต่างๆ ซึ่งกันและกัน ซึ่งก็เป็นที่มาของชื่อเฮย์สแต็กต์ด้วย (Haystack ลอมฟางที่เมื่อมัดเส้นฟางรวมกันแล้วก็ทำ�ให้ลอมฟางแข็งแรงขึ้น ยากที่ จะหักงอลงได้) 32 l Creative Thailand l มิถุนายน 2557

ช่วยนิยามความเป็นช่างฝีมอื สมัยใหม่ได้ไหม พวกเขาคือใคร คนธรรมดาๆ ที่มีแนวคิดแปลกใหม่ที่อยากจะทำ�ให้มันเกิดขึ้นจริงๆ ช่าง ฝีมอื สมัยใหม่คอื ผูท้ รี่ จู้ กั ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารเพือ่ นำ�มาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นสิ่งต่างๆ ในแบบฉบับของพวกเขาเอง และ พวกเขามุง่ ทีจ่ ะสร้างสรรค์สนิ ค้าหรือผลิตภัณฑ์ทดี่ กี ว่า ไม่ใช่แค่ผลิตสิง่ ของ ขึ้นมาเท่านั้น หลังจากเปิดเฮย์สแต็กต์มาได้ 2 ปี คุณคิดว่าอนาคตของ ผลิตภัณฑ์แฮนด์เมดจะเป็นอย่างไร เราจะเห็นช่างฝีมือยุคใหม่และไอเดียแปลกใหม่มากกว่าเดิมในอีก 2-3 ปี นี้ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์จะหันไปยังการทำ�อย่างไรที่จะสามารถสร้าง ความแตกต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆ โดยเราจะเห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการ ผลิตงานเชิงช่างมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดจะถูกพัฒนาขึ้นจนถึงจุดที่ว่านิยาม ของงานช่างฝีมือคือผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีการผลิต จำ�นวนมากในเชิงอุตสาหกรรมได้เลย

CREATIVE INGREDIENTS ร้านหรือตลาดที่คุณชอบ ถ้าเมืองไทย ผมชอบสยามเซ็นเตอร์ทที่ �ำ ใหม่นะ รูส้ กึ ดีทเี่ ห็นว่า แบรนด์ไทยอิสระรายย่อยได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง ถ้า ที่อื่น ผมชอบเดินเล่นตามตรอกในย่านซัมซองดงของเกาหลี ร้านแมร์ซิ (Merci) ย่านเลอ โอต์ มาเรส์ (Le Haut Marais) ใน ปารีสก็เดินสนุกมากเหมือนกัน แหล่งค้นหาไอเดีย ผลิตภัณฑ์ และช่างฝีมือที่มี ความสดใหม่ อินเทอร์เน็ตที่ไม่ใช่แค่กูเกิล คือขุมทรัพย์ดีๆ นี่เองสำ�หรับผม คนจำ�นวนไม่นอ้ ยยังไม่คอ่ ยรูท้ างตะลุยโลกออนไลน์เท่าไหร่ แต่ ส่วนตัวผมชอบท่องเว็บไซต์มาก ของใช้แฮนด์เมดส่วนตัวที่ชอบที่สุด ผมมีของที่ชอบหลายชิ้น เอาเป็นลำ�โพงไอโฟนไม้แล้วกัน เป็น งานทำ�มือที่ไม่สามารถทำ�ขึ้นด้วยเครื่องจักร ผลิตจากไม้ที่เป็น เหมือนเครือ่ งขยายเสียงชัน้ ดีตามธรรมชาติ ทีท่ �ำ ให้ผมฟังเสียง สังเคราะห์แบบดิจิทัลได้ชัดเจนขึ้น ไม่ต้องใส่ถ่านด้วย เหมาะ มากสำ�หรับการไปนั่งฟังเพลงในสวนสาธารณะ


Ad Asia Books


CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

ความง่ายในการปรุงไข่ไก่ให้เป็นหลากหลายเมนูตามใจ ชอบนัน้ กลับมีทมี่ าทีก่ ว่าจะได้ไข่สกั ฟองไม่งา่ ยเลย เพราะ หากย้อนกลับไปดูเส้นทางกว่าที่ไข่ไก่จะเดินทางมาถึงมือ ของผู้บริโภค จะพบว่าไข่ไก่ใบเล็กๆ ที่ถูกผลิตมาเพื่อเป็น อาหารนัน้ แวดล้อมไปด้วยความยากและซับซ้อนของระบบ การผลิตอันทันสมัยทั้งในแบบโรงเรือนและแบบฟาร์ม อุตสาหกรรม

ปล่อยไก่ เรื่อง: ศภิสรา เข็มทอง ภาพ: ณัชชา พัชรเวทิน

แม้จะเต็มไปด้วยการบริหารจัดการที่แม่นยำ�เพื่อให้ได้ผลผลิตที่กะเกณฑ์ ปริมาณและคุณภาพได้ แต่ไข่ไก่จากฟาร์มอุตสาหกรรมกลับปิดทางเลือก ในการมีสขุ ภาพทีด่ ขี องผูผ้ ลิตคนสำ�คัญอย่างแม่ไก่ ซึง่ ถูกเลีย้ งดูและมีชวี ติ ความเป็นอยูแ่ บบปิด ทัง้ ฮอร์โมนเร่งโต ยาปฏิชวี นะ อาหารจากพืชตัดแต่ง พันธุกรรม และวงจรของชีวติ เพียงอย่างเดียวคือการผลิตไข่ปอ้ นสูส่ ายพาน บรรจุลงกล่องแล้วส่งขาย ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ คุณภาพของผลผลิตย่อมขึน้ อยูก่ บั สุขภาพของผูผ้ ลิต “อุดมชัยฟาร์ม” ผู้ทำ�ฟาร์มไก่ไข่จากอำ�เภอพระพุทธบาท สระบุรี จึงเลือก จะใช้วถิ ที างธรรมชาติแบบดัง้ เดิมในการเลีย้ งไก่เพือ่ เก็บไข่ ด้วยการปล่อย ไก่คืนทุ่ง หรือการปล่อยให้แม่ไก่ได้เดินออกไปคุ้ยเขี่ยหาอาหารคุณภาพดี ที่เป็นสูตรเก่าแก่กว่า 30 ปีของฟาร์ม เสริมด้วยนํ้าหมักชีวภาพจากพืชผัก เป็นส่วนเสริม และไม่ถกู จำ�กัดอยูภ่ ายในกรงแคบๆ ทีก่ ดดันจากขนาดของ พื้นที่ เมื่อเจ็บป่วยก็มียาสมุนไพรไว้รักษา ไม่ต้องฉีดยาปฏิชีวนะ แม่ไก่ฝูง ใหญ่นี้จึงเป็นแม่ไก่อารมณ์ดีที่ออกไข่สมํ่าเสมอ มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกาย และใจ โดยไม่ถูกเร่งเร้าให้เติบโตหรือผลิตไข่แบบฝืนธรรมชาติ ด้วยความใส่ใจและไว้วางใจในสิง่ ทีธ่ รรมชาติสร้าง ไข่ทุกใบที่ออกมา จากแม่ไก่สู่รางจึงปลอดภัยไม่ต้องผ่านการล้างทำ�ความสะอาด เนื่องจาก การล้างอาจทำ�ให้ผวิ เปลือกไข่มรี พู รุนซึง่ อาจดูดซึมนํา้ เข้าไปสะสมในเนือ้ เยือ่ เปลือกไข่และอาจทำ�ให้เกิดโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคหรือเน่าเสียได้ง่าย เมื่อผู้เลี้ยงไม่เอาเปรียบแม่ไก่ และให้การเลี้ยงดูที่พิถีพิถันบวกกับ ความใส่ใจ จึงส่งผลให้ไข่ไก่จากอุดมชัยฟาร์มมีความโดดเด่นกว่าไข่ไก่ ทั่วไป คือมีเนื้อละเอียด นุ่ม ไม่แตกตัวหรือจับตัวเป็นก้อน ไข่แดงมีสีสด และผิวมัน ให้รสสัมผัสที่แตกต่างกว่าไข่ไก่จากแหล่งอื่นๆ ขณะทีว่ งจรการ “ขอไข่” นีก้ ไ็ ม่มใี ครเอาเปรียบกัน ผูบ้ ริโภคเองก็ยอม จ่ายมากขึน้ เพือ่ รับไข่ทมี่ คี ณุ ภาพกลับไปปรุงเป็นอาหาร ธุรกิจของผูผ้ ลิตก็ หมุนเวียนอยูไ่ ด้ แม่ไก่กอ็ อกไข่อย่างมีความสุข นับเป็นหนึง่ แนวความคิดของ ธุรกิจพึง่ พิงธรรมชาติทร่ี ะบบอุตสาหกรรมไม่อาจทำ�ลายได้อย่างแท้จริง ที่มา: บทสัมภาษณ์คุณธนเดช แสงวัฒนกุล ผู้บริหารอุดมชัยฟาร์ม kasetporpeang.com และ manager.co.th

34 l

Creative Thailand

l มิถุนายน 2557

สามารถหาซือ้ ไข่ไก่จากอุดมชัยฟาร์มได้ทร่ี า้ นจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์เพือ่ สุขภาพต่างๆ เช่น ร้านเลมอน ฟาร์ม หรือ ซี แคร์ ในบิ๊กซีซูเปอร์มาร์เก็ต และท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.