Creative Thailand Magazine

Page 1



You can take an Indian out of India , but you can never take India out of an Indian. คุณสามารถนำ�คนอินเดียออกจากอินเดียได้ แต่คุณไม่สามารถนำ�ความเป็นอินเดียออกจากคนอินเดียได้


CONTENTS สารบัญ

6

The Subject

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Bollywood Go! Go!

Weddings by Keeran

8 10 12

Creative Resource

Featured Book/ Movie/ Book/ DVD

Matter

นวัตกรรมแปลงขยะทางการเกษตรเปนวัสดุกอสราง

Classic Item

Little India

Being Bangalored!

อดุลย โชตินิสากรณ: The Unexpected India

SAAF India Foundation

14

Cover Story

ตลาดอินเดีย ความหลากหลายภายใตความเปนหนึ่งเดียว

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l ธัญวรัตม กิจนุสนธิ์, ปยพัชร นุตตโยธิน จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ผูออกแบบปก | THE UNI_FORM Design Studio สตูดิโอออกแบบกราฟก ผูสรางสรรคทั้งผลงานเชิงพาณิชย ผลงานเพื่อสังคม และผลงานศิลปะ ผลงาน: facebook.com/TheUniFormDesignStudio


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

Monsoon Forecast ความพลุกพล่าน คลื่นฝูงชนแออัด เสียงแตรที่ผสมกับกลิ่นคละคลุ้งแตะโสตประสาท อาจคือภาพที่ไม่น่าพิศมัยนักเมื่อคิดถึงประเทศ อินเดีย แต่ดินแดนที่ถือเป็นอนุทวีปแห่งนี้หนักแน่นเกินกว่าเสียงพรํ่าบ่นของผู้มาเยือน เพราะการเดินทางผ่านประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ทั้งการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอกราช โศกนาฏกรรมทางการเมือง ความขัดแย้งทางศาสนาที่เป็นรอยร้าวลึก ได้กลายเป็นบทสรุป ณ ปัจจุบัน ของอินเดียที่ได้ใช้เป็นเส้นทางสู่อนาคต แม้จะเป็นที่จับตามองในฐานะความหวังใหม่ทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อค�ำนึงถึงอดีตอันเจิดจรัสสลับกับช่วงเวลาอันหดหู่ จึงไม่แปลกใจ ว่าเส้นทางสู่อนาคตของอินเดียนั้นไม่อาจก้าวกระโดดไปสู่ความโชติช่วงได้ในพริบตา ภาระอันหนักอึ้งนั้นมาพร้อมกับจ�ำนวนประชากร กว่า 1.2 พันล้านคนที่แตกต่างกันด้วยวรรณะ รายได้เหลื่อมลํ้า ตั้งแต่ที่ต้องอยู่ในสลัมจนถึงเป็นเจ้าของเครื่องบินเจ็ตส่วนตัว แต่อินเดีย ก็วางเดิมพันอนาคตในฐานะประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในโลก เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พรรคการเมืองฝ่ายค้านได้รับเลือกให้มีชัยชนะเหนือพรรคคองเกรสของตระกูลเนห์รู-คานธี ซึ่งกุมอ�ำนาจในประเทศมากว่าครึ่งศตวรรษ โดยมีนายนเรนทรา โมดี ลูกชายของพ่อค้าขายนํ้าชาบนรถไฟที่เกิดในวรรณะศูทรก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ผู้ที่สร้างมุมมองใหม่ ในการขับเคลื่อนอินเดียผ่านทั้งการพัฒนาด้านการศึกษา การยกระดับบทบาทเด็กและสตรี การวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดช่องว่าง แห่งโอกาสให้แคบลง พร้อมทั้งการขยายศักยภาพของชาติผ่านแบรนด์สัญชาติอินเดียภายใต้มาตรการ 5Ts คือ Talent, Trade, Tradition, Tourism และ Technology เมื่อมนต์ขลังของอารยธรรมอันเก่าแก่ก�ำลังท�ำหน้าที่ผ่านธุรกิจท่องเที่ยว สิ่งทอและแฟชั่น ภาพยนตร์ ขณะที่ทรัพยากรมนุษย์ ของอินเดียคือตัวแทนองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และช่างฝีมือ จึงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ดินแดนแห่งนี้มี รากฐานมาจากความศิวิไลซ์อย่างแท้จริง หน�ำซํ้าการตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษก็ได้ทิ้งภูมิคุ้มกันบางอย่างมาถึงปัจจุบัน ทั้งระบบการศึกษาตะวันตกที่รุดหน้า ภาษาอังกฤษที่แตกฉาน กระทั่งงานสถาปัตยกรรมที่มีมรดกมายาวนานหลายศตวรรษซึ่ง ผสมผสานกับแนวคิดของเลอ กอร์บูซีเย จนเป็นงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในแนวทางของอินเดียเอง ขณะที่แรงงานอินเดียที่ เป็นผู้อพยพไปยังดินแดนอื่นๆ ก็ได้น�ำเอาวัฒนธรรมอาหารการกินไปลงหลักปักฐานจนเกิดเป็นชุมชนที่มีสีสันและน่าตื่นตาใน ประเทศต่างๆ ทั่วโลก เมื่ออินเดียปรารถนาการแสวงหาพันธมิตรจากต่างประเทศ การอ้าแขนรับเพื่อนใหม่นั้นก็มีต้นทุนที่ต้องค�ำนึงถึงตามมา เพราะ จากเดิมที่ระบบอุตสาหกรรมตอบสนองต่อรสนิยมการใช้งานแค่ในประเทศ วันนี้โฉมหน้าการผลิตก�ำลังจะถูกท้าทายเพื่อให้ตอบโจทย์ กับความต้องการและรสนิยมที่เป็นสากล และในทางกลับกัน หากธุรกิจไหนหลงกลไปกับตัวเลขประชากรนับพันล้าน การเดินทาง สู่อินเดียจะไม่มีวันถึงที่หมาย เพราะวัฒนธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียนั้นมีความทับซ้อนกันหลายมิติ ทั้งภาษา ชนชั้นวรรณะ สภาพภูมิศาสตร์ และศาสนา ที่ต่างยึดเหนี่ยวจิตใจและการใช้ชีวิตประจ�ำวันของพวกเขาไว้จนยากจะเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการมอง อนาคตของเราให้สอดคล้องกับการเติบโตของอินเดียนั้นจึงย่อมเกิดจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อพื้นเพ ความต้องการ และความ คาดหวัง ที่หากเราตีความได้อย่างสมบูรณ์แล้ว จะไม่ใช่เพียงการเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเข้าถึงจิตใจและอารยธรรม อันแข็งแกร่งของอินเดียได้ด้วย อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

เรือ่ ง: นันท์นรี พานิชกุล

INVESTMENT

Reuters/Sivaram V

Reuters/Ahmad Masood

INFRASTRUCTURE

มต่ออเพื เพื่อ่อสร้ สร้าางเศรษฐกิ งเศรษฐกิจจ เชื่ออมต่

ลงทุนกับทองลงทุนกับทอง

หลัง เข้า รั บต�ำแหน่ ง นายกรัฐมนตรี นโยบายการพัฒนาระบบรถไฟ อินเดียที่นเรนทรา โมดี ใช้หาเสียงก็ดูเป็นรูปธรรมมากขึ้น องค์การความ ร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ก�ำลังศึกษาความเป็นไปได้ใน โครงการรถไฟความเร็วสูงน�ำร่องที่เชื่อมเส้นทางมุมไบ-อาเมดาบัด (เมือง ท่าและเมืองอุตสาหกรรมของฝัง่ ตะวันตก ศูนย์กลางส�ำคัญในการกระจาย สินค้าของอินเดีย) ซึ่งจะแล้วเสร็จพฤษภาคมปีหน้า โดยในการแถลงแผน งบประมาณประจ�ำปี 2015 ต่อโลกสภา (สภาผูแ้ ทนราษฎร) สดานันด์ คอฑา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการรถไฟได้เสนองบประมาณแผนพัฒนาเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงซึง่ จะเปิดให้บริการในปี 2021 ไว้ท่ี 5.26 แสนล้านบาท โดย รถไฟสายนี้มีความยาว 546 กิโลเมตร 11 สถานี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงจากต้นทางถึงปลายทางโดยไม่หยุดพัก และมีความเร็วเฉลี่ยที่ 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งจะย่นระยะเวลาเมื่อเทียบกับรถไฟที่ให้บริการ ในปัจจุบันซึ่งใช้เวลาเดินทางแม้จะไม่หยุดเลยที่ 7 ชั่วโมง ด้วยความเร็ว เฉลี่ย 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง

อุตสาหกรรมทองแท่งอินเดียเสนอแผนการเปิด “บัญชีทองค�ำ” ต่อธนาคาร ชั้นน�ำในประเทศ ในลักษณะเหมือนบัญชีเงินฝากประจ�ำในก�ำหนดระยะ เวลา 3 ปี โดยลูกค้าจะได้รับดอกเบี้ยเป็นทองเช่นกัน บัญชีทองค�ำนี้เปิด รับฝากทองขั้นตํ่าที่ 20 กรัม ซึ่งธนาคารที่เข้าร่วมสามารถเลือกฝากทอง ไว้กับธนาคารกลางอินเดีย หรือน�ำไปปล่อยกู้แก่ผู้ค้าอัญมณีก็ได้ เบื้องต้น ธนาคารกลางอินเดียได้อนุมัติแผนการนี้แล้ว และคาดว่าจะเปิดให้บริการ ภายในไตรมาสแรกของปี 2015 ปรากฏการณ์นิยมทองค�ำของชาวอินเดีย ถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะหากย้อนไปในทศวรรษ 1990 อินเดียยังห้ามการ น�ำเข้าทองค�ำจากต่างประเทศ ท�ำให้ทองที่ลักลอบน�ำเข้ามีราคาแพงกว่า ที่ขายในตลาดโลกถึงร้อยละ 50 แต่ทุกวันนี้ ลูกค้าทุกวรรณะสามารถ ซือ้ หาทองค�ำมาเก็บสะสมและให้เป็นของขวัญในงานแต่งงานจนติดอันดับ ท็อปของผู้บริโภคทองค�ำในตลาดโลก ส่วนหนึ่งเพราะนิสัยอดออมที่เพาะ บ่มจากความผันผวนของสถานการณ์การเมืองของอินเดีย ทองยังเป็นสิ่ง มงคลตามคติฮนิ ดู และเป็นเครือ่ งมือเสริมสถานะทางสังคมทีส่ ง่ มอบไปยัง ลูกหลานได้ ตลอดถึงน�ำไปปล่อยหมุนกู้ยืมได้ง่ายหากเศรษฐกิจฝืดเคือง

ที่มา: hsrc.in, บทความ “Mumbai-Ahmedabad high speed corridor proposed via Thane” (26 มกราคม 2014) โดย Manthan K Mehta จาก timesofindia.indiatimes.com, บทความ “Mumbai-Ahmedabad high-speed train may be operational by 2021” (2 กันยายน 2014) จาก indianexpress.com และ บทความ “Rail Budget 2014: India's first bullet train on Mumbai-Ahmedabad route” (12 กรกฎาคม 2014) จาก businesstoday.intoday.in

ที่มา: บทความ “7 reasons why Indians love gold” จาก moneycontrol.com, บทความ “Tops Indian banks ponder over proposed 'Gold Deposit Account' scheme” (5 กันยายน 2014) โดย Paul Ploumis จาก resourceinvestor.com และ บทความ “Why do Indians love gold?” (20 พฤศจิกายน 2013) จาก economist.com/blogs/economist-explains

6l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557


THE SUBJECT ลงมือคิด START UP BUSINESS

ART & ARCHITECTURE

kmomamuseum.org

nikeinc.com

theleela.com

TOURISM

เพราะเราใส่ใจ

ออกแบบเพื่อกีฬาแห่งชาติ

ความงามในความเป็นพหุนิยม

โรงแรมลีลา พาเลซ ออกแพ็คเกจใหม่เฉพาะ สาขานิวเดลีชื่อว่า "คามาล (ดอกบัว)" เมื่อ กันยายนที่ผ่านมา เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าหญิง ที่เดินทางมายังอินเดียเพียงล�ำพัง เน้นชูจุด ขายเรื่องความปลอดภัย โดยผู้จองแพ็คเกจ นี้ จ ะได้ ห ้ อ งพั ก บนชั้ น ที่ จั ด ไว้ พิ เ ศษส�ำหรั บ ลูกค้าสตรีซึ่งมีระบบกล้องวงจรปิดและลิฟท์ ขึ้นลงต่างหาก มีเจ้าหน้าที่หญิงพร้อมอ�ำนวย ความสะดวก และมีรถรับส่งไปยังสนามบิน โดยคนขับที่ลงทะเบียนกับโรงแรมเรียบร้อย แล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการคืนความ เชื่ อ มั่ น แก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วหญิ ง หลั ง เกิ ด คดี อื้ อ ฉาวกั บ นั ก กายภาพบ�ำบั ด หญิ ง คนหนึ่ ง บนรถบัสในกรุงนิวเดลีเมื่อธันวาคมปี 2012 จนท�ำให้จ�ำนวนนักท่องเที่ยวหญิงที่มาอินเดีย ลดลงถึงร้อยละ 35 ในไตรมาสแรกของปี 2013 นอกจากนี้ สถิติการเข้าแจ้งความในกรณีทาง เพศของกรมต�ำรวจเดลีในช่วงเวลาเดียวกัน ยังสูงขึ้นจนน่าตกใจ โดยมีการแจ้งความเรื่อง การถูกลวนลามเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 590.4 และ การแจ้งความเรื่องการถูกข่มขืนเพิ่มขึ้นกว่า ร้อยละ 147.6

แคมเปญโฆษณาไนกีอ้ นิ เดียล่าสุดเลือกทีจ่ ะเล่น กับสโลแกน “Make Every Yard Count” น�ำ เสนอภาพถ่ายการเล่นคริกเกต 225,000 ภาพ ของนักเล่นคริกเกต 1,440 คนจากทั่วอินเดีย ร้ อ ยเรี ย งเข้ า ด้ ว ยกั น จนเกิ ด เป็ น ภาพอั น น่ า ตื่นตาตื่นใจของการรู้จักแสวงหาพื้นที่ในการ เล่นคริกเกตได้แบบทุกทีท่ กุ เวลา และยังสะท้อน ความเป็ น ไปได้ อั น ไม่ สิ้ น สุ ด ในเกมกี ฬ าที่ มี ผู้เล่นหลักล้านคน สานาทย์ เรดดี อดีตนักเล่น คริกเกตระดับแคว้นจากบังกาลอร์ ตระหนัก ถึ ง โอกาสทางธุ ร กิ จ และรู ้ ดี ว ่ า สนั บ แข้ ง แบบ เทอะทะในปัจจุบันนั้นชะลอความเร็วในการ วิ่งของผู้เล่นมากแค่ไหน เขาและหุ้นส่วนจึงได้ ร่ ว มกั น เปิ ด บริ ษั ท สตาร์ ท อั พ MoonWalkr เพื่ อ วิ จั ย ออกแบบ และผลิ ต สนั บ แข้ ง จาก วั ส ดุ ผ สมที่ มี นํ้ า หนั ก เบากว่ า สนั บ แข้ ง ที่ ข าย ตามท้องตลาดถึงร้อยละ 50 และช่วยลดแรง กระแทกได้มากกว่าเดิมถึงร้อยละ 18 โดยตั้ง ราคาขายที่คู่ละ 2,999 รูปี หรือราว 1,500 บาท

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โกลกัตตาในรัฐเบงกอล ตะวันตกจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัย ใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โกลกัตตา มิวเซียม ออฟ โมเดิร์น อาร์ต (KMOMA: Kolkata Museum of Modern Art) ผลงานการออกแบบ ของ เฮอร์ซอก แอนด์ เดอ มูรอน บริษัท ออกแบบจากสวิตเซอร์แลนด์ ที่เปลี่ยนพื้นที่ กว่า 50,000 ตารางเมตรให้เป็นพื้นที่แสดงงาน ศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งได้มาตรฐานสากลจาก ห้องจัดแสดงทั้งสิ้น 44 ห้อง ในอาคาร 9 ชั้น ห้องสมุด ห้องออดิทอเรียม โรงละครขนาด ความจุ 1,500 ทีน่ งั่ ชัน้ เรียน สตูดโิ อส�ำหรับศิลปิน ร้านค้า ร้านอาหาร ฯลฯ ที่แน่นอนว่าจะก่อให้ เกิดการจ้างงานจ�ำนวนมาก โกลกัตตา มิวเซียม ออฟ โมเดิ ร ์ น อาร์ ต ยั ง เป็ น การสดุ ดี อ ดี ต อันรุ่มรวยศิลปะวัฒนธรรมจากแรงบันดาลใจ ในการออกแบบที่ได้จากสถาปัตยกรรมวัดและ วิหารโบราณของอินเดีย และการเฉลิมฉลอง อนาคตอันรุง่ โรจน์จากการคิดแปลงพืน้ ทีใ่ ช้สอย ให้เข้ากับภูมอิ ากาศ เช่น การจัดวางพืน้ ทีภ่ ายใน อาคารโดยดู ทิ ศ ทางของแสงแดดในฤดู ร ้ อ น ร่วมกับการเตรียมพื้นที่รับน�้ำในเขตลานกลาง เพื่อรอรับหน้ามรสุม

ที่มา: theleela.com, บทความ “Here's a Delhi hotel that serves women-only treat” (7 กันยายน 2014) จาก indiatoday.intoday.in และ บทความ “India tourist visits down 25% following fatal Delhi gang rape” (31 มีนาคม 2013) จาก theguardian.com

ที่มา: moonwalkr.com/beta, วิดีโอ “NIKE: MAKE EVERY YARD COUNT” จาก youtube.com

ที่มา: kmomamuseum.org

ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

FEATURED BOOK CRAFTS ATLAS OF INDIA

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

โดย Jaya Jaitly

แม้อินเดียจะเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่หากเจาะลึกลงไปในระดับภูมภิ าค ตัง้ แต่เทือกเขาหิมาลัยจนถึงดินแดน เขตร้อนทางตอนใต้ อาจพบทั้งความเหมือนและความต่างของทักษะ ช่างฝีมอื และงานออกแบบแต่ละท้องถิน่ ทีน่ า่ สนใจ หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหา ของงานฝีมือที่ค้นพบตามพื้นที่ทั้งหมด 5 ภูมิภาค โดยจำ�แนกตาม วัตถุประสงค์การใช้งาน ลักษณะการผลิต เทคนิค วัสดุ พร้อมภาพประกอบ ที่สะท้อนให้เห็นถึงที่มาของการสร้างสรรค์ จายา เจตลี ผูเ้ ขียนคือประธานผูก้ อ่ ตัง้ Dastkari Haat Samiti สมาคม ที่รวบรวมช่างฝีมือของอินเดีย เธอเล่าว่าต้องใช้เวลาถึง 11 ปีในการ รวบรวมทักษะท้องถิ่นของอินเดียทั้งประเทศเพื่อบันทึกลงในหนังสือเล่มนี้

นับเป็นงานใหญ่ท่ที ้าทายและต้องอาศัยความมุมานะอย่างยิ่ง แน่นอนว่า ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นเสมอ ทักษะ ฝีมอื ใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ อาจไม่ได้รบั การบันทึกไว้ ในขณะเดียวกันทักษะฝีมอื บางทักษะอาจถูกปรับเปลี่ยนตามสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ บางทักษะอาจไม่ได้รับการสานต่อและสูญหายไปพร้อมกับกาลเวลา หนังสือเล่มนีจ้ งึ มีคณุ ค่าในการบันทึกเอกลักษณ์งานฝีมอื ของท้องถิน่ ต่างๆ ในอินเดียไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังใช้เป็นเครื่องมือทำ�ความเข้าใจอดีตและ สร้างสรรค์อนาคตโดยไม่หลงลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมในยุคทีโ่ ลกกำ�ลัง หลอมรวมกัน

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center

8l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

MOVIE

BOOK

INDIAN BEAUTY: BOLLYWOOD STYLE 100% INDIA

โดย Catherine Geel และ Catherine Levy

โดย Berenice Geoffroy-Schneiter

แม้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ จากฮอลลีวูดจะครองใจผู้ชม จำ�นวนมาก แต่ภาพยนตร์เนือ้ แท้ฉบับอินเดียอย่างบอลลีวูด นั้นกลับเติบโตและตอบโจทย์ ผู้ชมในประเทศได้อย่างยอด เยีย่ ม ทัง้ ด้วยเหตุผลด้านภาษา ในการสือ่ สารซึง่ ส่วนใหญ่เป็น ภาพยนตร์ภาษาฮินดี ความ หลากหลายของจำ�นวนเรื่อง ที่เข้าฉายซึ่งมีมากกว่าปีละ 1,000 เรือ่ ง รวมถึงความคุม้ ค่า จากความยาวของภาพยนตร์ เฉลี่ยที่ 2-3 ชั่วโมงไปจนถึงความงดงามของนักแสดงหญิงที่มีทรวดทรง องค์เอว อันมีทม่ี าจากต้นแบบความงามทางศิลปะปูนปัน้ ของเหล่าทวยเทพ ที่ถํ้าอชันตา อย่างไรก็ตาม แม้อินเดียจะเป็นประเทศต้นกำ�เนิดของ กามาสุตรา แต่ภาพยนตร์กลับไม่ได้น�ำ เสนอบทรักทีด่ าษดืน่ เพราะมีผชู้ ม จำ�นวนไม่น้อยที่เป็นเด็ก หนังสือเล่มนี้ประมวลทุกเรื่องราวที่น่าสนใจใน อุตสาหกรรมภาพยนตร์บอลลีวูดซึ่งเปี่ยมด้วยสุนทรียภาพและความงาม พร้อมภาพประกอบงดงามชวนให้ทอ่ งไปในโลกบอลลีวดู ทีเ่ ต็มไปด้วยสีสนั

แคเธอรีน กีล และ แคเธอรีน เลวี ได้เก็บสะสมข้าวของในชีวติ ประจำ�วัน ของคนอินเดียจากเมืองต่างๆ ทีท่ ง้ั คู่เดินทางไปเยือน ไม่ว่าจะเดลี มุมไบ จัยปูร์ กัลกัตตา และอักรา ซึง่ ได้มาตามท้องตลาด แผงลอย จนถึงร้านชำ� แล้วถ่ายภาพเก็บไว้ตั้งแต่ปี 1996 ถึง 2003 โดยปี 2001 ถือเป็นจุดเปลี่ยน สำ�คัญด้านเศรษฐกิจและสังคมในอินเดีย เนื่องจากมีการผ่อนปรนเรื่อง กำ � แพงการค้ า ส่ ง ผลให้ สิ น ค้ า จากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่อินเดีย เพิม่ ขึน้ ข้าวของกว่า 250 ชิน้ ทีไ่ ด้รบั การนำ�เสนอ ผู้เขียนได้จัดกลุ่มและ ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ไว้อย่างละเอียด นอกเหนือจากรูปฟอร์มและรูปแบบ การใช้งานแล้ว พวกมันยังสะท้อนถึงบริบทต่างๆ ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ทั้ง ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และรูปแบบการใช้ชวี ติ ของผูค้ น นับเป็นหนังสือ ที่ช่วยบันทึกเรื่องราวในช่วงเวลาหนึ่งของอินเดียไว้ได้อย่างมีชีวิตชีวา

DIFFERENT STROKES โดย Ustad Vilayat Khan

บันทึกการแสดงสดคอนเสิรต์ ของศิลปินซีทาร์ระดับตำ�นาน อุสตาด วิลายัต ข่าน ศิลปินแถวหน้าซึง่ นำ�ดนตรี คลาสสิกอันมีเสียงเอื้อนเป็นเอกลักษณ์ของอินเดียไปเผยแพร่สู่โลกตะวันตกจนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คอนเสิร์ตนี้จัดขึ้นที่รอยัล เฟสติวัล ฮอลล์ ในกรุงลอนดอนเมื่อปี 1993 ทันทีที่มีโอกาสฟังเสียงซีทาร์และ เห็นการดึงสายจนระดับเสียงโหนขึ้นเป็นเสียงเอื้อนอันมีเสน่ห์ เราจะสัมผัสได้ถึงวัฒนธรรมอันเก่าแก่และ สวยงามที่ยังคงหลงเหลือในโลกปัจจุบัน ยิ่งด้วยการบันทึกภาพและเสียงใหม่ทั้งหมดในรูปแบบดิจิทัล ด้วยแล้ว ยิ่งนับเป็นการเปิดประสบการณ์การฟังดนตรีรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่ควรพลาด ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

หลังคาไม้ ไผ่ลอนลูกฟูก และ คอนกรีตผสมเถ้าจากแกลบ

นวัตกรรมแปลงขยะทางการเกษตรเป็นวัสดุก่อสร้าง เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

จากการพัฒนางานด้านวิศวกรรมโยธาที่เฟื่องฟูในอินเดีย ท�ำให้เกิดความท้าทายอย่าง มากในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง ผนวกกับความต้องการในด้านการใช้พลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพ และประเด็นปัญหาด้านมลพิษ โดยทั้งหมดล้วนเป็นแรงผลักให้เกิด นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่แตกต่างไปจากเดิม

ย้อนกลับไปในปี 1990 รัฐบาลกลางของอินเดียได้ จัดตั้ง "สภาส่งเสริมเทคโนโลยีและวัสดุก่อสร้าง (BMTPC: Building Material & Technology Promotion Council)" ขึ้น เพื่อส่งเสริมการใช้ วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมี ต้นทุนที่เหมาะสม โดยวัสดุจากธรรมชาติที่ BMTPC พิจารณาว่ามีศักยภาพในการผลิตวัสดุ ก่อสร้างนัน้ มีถงึ 27 ชนิด ตัง้ แต่เศษเหลือใช้จาก อุตสาหกรรมการเกษตร ไม้จากป่าปลูก ฟางข้าว ข้าวสาลี ชานอ้อย ใยมะพร้าว ไปจนถึงเส้นใย กัญชง ซึ่งในปัจจุบัน BMTPC ยังได้มีการนำ�เอา นวัตกรรมเข้าไปจับกับวัสดุตั้งต้นเหล่านี้เพื่อ พั ฒ นาเป็ น วั ส ดุ ก่ อ สร้ า งที่ โ ดดเด่ น และมี ศักยภาพด้วยคุณสมบัตดิ า้ นความทนทาน ราคา ที่คุ้มค่า และยังหาง่ายในท้องถิ่น จากที่ BMTPC พบว่ามีเศษเหลือใช้จาก อุตสาหกรรมเกษตรที่มีศักยภาพมากมายใน 10 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557

อินเดีย และได้ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่ทำ�งาน วิจัยเฉพาะด้าน อาทิ สถาบันวิจัยอุตสาหกรรม ไม้อัดแห่งอินเดีย (IPIRTI: Indian Plywood Industries Research & Training Institute) เพื่อ พัฒนาวัสดุที่สามารถนำ�มาผลิตเป็นวัสดุระบบ อุตสาหกรรมในรูปแบบต่างๆ ได้จริง หนึ่งใน นั้นคือ การนำ�ไม้ไผ่มาแปรรูปเป็น "แผ่นไม้ไผ่ ลอนลูกฟูก" สำ�หรับหลังคาเพื่อใช้ทดแทนแผ่น แร่ใยหิน (Asbestos) และแผ่นเหล็กเคลือบ สังกะสี โดยไม้ไผ่ลอนลูกฟูกแต่ละแผ่นจะผ่าน กระบวนการนำ�ลูกกลิง้ มาอัดแผ่นไม้ไผ่ทเี่ คลือบ ด้วยเรซินฟีนอลฟอร์มัลดีไฮด์ผ่านความร้อน แปรสภาพจนเป็นแผ่นไม้ไผ่ลอนลูกฟูกทีท่ นทาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังต้านทานไฟ ได้ดี ปัจจุบนั ได้มกี ารนำ�แผ่นไม้ไผ่ลอนลูกฟูกไป ใช้สำ�หรับการสร้างบ้านราคาถูกในรัฐทางภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของอิ น เดี ย ที่ มั ก เกิ ด แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง

นอกจากนี้ อีกหนึง่ วัสดุทน่ี �ำ มาใช้งานจริงใน อุตสาหกรรมก่อสร้างของอินเดีย คือ "คอนกรีต ผสมเถ้าจากแกลบ" โดยนำ�เถ้าจากแกลบ (RHARice Husk Ash) มาผสมลงในคอนกรีตเพื่อ ปรับปรุงคุณสมบัตขิ องคอนกรีตให้ใช้งานได้งา่ ย ขึ้นและการแข็งตัวเป็นไปได้ดี เพราะเมื่อซิลิก้า ที่ อ ยู่ ใ นเถ้ า แกลบเข้ า ไปผสานกั บ แคลเซี ย ม ไฮดรอกไซด์ทเี่ ป็นส่วนประกอบของคอนกรีตจะ ช่วยเพิ่มความทนทานในสภาวะแวดล้อมที่เป็น กรดได้ดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังเพิ่มความแข็งแรง โดยเพิ่มความหนาแน่นระหว่างชั้น จึงมีความ ทนทานสูง ป้องกันการซึมผ่านของนา้ํ และอากาศ ลดปฏิกิริยารวมตัวของด่างซึ่งช่วยลดการขยาย ตัวและขนาดของรูพรุน คอนกรีตผสมเถ้าแกลบ จึงนับเป็นวัสดุใหม่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นใน อุตสาหกรรมก่อสร้างของอินเดีย ทัง้ ยังเป็นการนำ� เศษเหลือทิง้ ทางการเกษตรมาบูรณาการเป็นวัสดุ ก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพได้เป็นจำ�นวนมาก


หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก Hybrid Wood (MC# 6822-01) บริษัท โซลูแมท จ�ำกัด ประเทศไทย

แผ่นคอมโพสิตไม้และพลาสติก (WPC: Wood plastic composite) ประกอบด้วยโพลีเอทิลนี ความหนาแน่น สูงร้อยละ 60 และเซลลูโลสจากไม้เนื้อแข็งร้อยละ 40 มีคณุ สมบัตทิ นทานต่อสภาพอากาศ ทนความชืน้ และต้านรังสียูวีได้โดยไม่ต้องทาสีรองพื้น ไม่ลามไฟ ตามมาตรฐาน UL 94 HB น�ำไปรีไซเคิลได้ ทั้งยังน�ำ ไปแปรรูปโดยใช้เครื่องมืองานไม้ทั่วไปและง่ายต่อ การติดตั้ง มี 4 สีให้เลือก (ไม้สัก โอ๊ค โอ๊คแดง และ โอ๊คเข้ม) และ 3 รูปแบบพื้นผิว (เรียบ ลายขนแปรง และลายไม้) เหมาะส�ำหรับปูพื้น ผนัง ท�ำบานประตู และเฟอร์นิเจอร์ ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก

สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ Glass Tile (MC# 6318-01) ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดแก้วสิงห์ ประเทศไทย

อิฐแก้วที่ผลิตขึ้นจากขวดแก้วรีไซเคิล เหมาะสำ�หรับ ปู พื้ น หรื อ ทำ � ผนั ง กั้ น ส่ ว นทั้ ง ภายในและภายนอก อาคาร มี 2 สีให้เลือก (นํ้าตาล และเขียว - จาก สีขวด) มีทั้งพื้นผิวขัดมันและพื้นผิวที่ไม่ได้ขัด แผ่น วัสดุมีขนาด 4x4 นิ้ว (10x10 เซนติเมตร) โดยจะ เป็นการผลิตตามสั่ง ใช้เป็นวัสดุทางเลือกที่สร้างผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมตํ่า พบกับวัสดุเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC ที่มา: บทความ “Innovative Building Materials in India: Need Sustainable Innovation” จาก greencleanguide.com

เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122


CLASSIC ITEM คลาสสิก

การเคลื่ อ นย้ า ยแรงงานอิ น เดี ย ไม่ ไ ด้ จำ � กั ด อยู่ แ ค่ แ รงงาน ไร้ฝีมือเท่านั้น ต้นศตวรรษที่ 21 หลายประเทศในตะวันตก เช่นเยอรมนี แ ละสหรั ฐ อเมริก าก็ต้องการแรงงานมีฝีมือด้า น เทคโนโลยีจากอินเดียอย่างมาก เช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สื่อสารและวิศวกรด้านต่างๆ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการ โยกย้ายแรงงานราคาถูกในสมัยอาณานิคมมาสู่ลูกจ้างทักษะสูง ในยุคหลังปฏิวัติอุตสาหกรรม

LITTLE INDIA NOT SO

“LITTLE”

ในปัจจุบนั อังกฤษเป็นประเทศในยุโรปทีม่ สี ดั ส่วนของชาวอินเดียอยูอ่ าศัย มากทีส่ ดุ คิดเป็นราวสองในสามของชาวอินเดียทัง้ หมดในยุโรป โดยเฉพาะ ในย่ านบริ ก เลน (Brick Lane) ในลอนดอน ซึ่ ง เป็ น ย่ า นที่ ผู้ อพยพ ชาวอินเดียและบังกลาเทศจะเข้ามาอยู่ก่อนย้ายไปอยู่ที่อื่น เนื่องจากที่อยู่ อาศัยมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับฝั่งตะวันตกของเมือง (West End) ปรากฎการณ์ที่น่าสนใจในรอบ 30 ปีที่ผ่านมาคือ ย่านบริกเลนกลายเป็น ย่านที่น่าสนใจสำ�หรับศิลปินที่เริ่มย้ายเข้าไปอยู่จนภาพลักษณ์ของย่าน กลายเป็นความคูลแบบใหม่ และทำ�ให้ร้านอาหารและร้านขายผ้าของ ชาวอินเดียเริ่มหดหายไป อย่างไรก็ดี ความนิยมของบริกเลนก็ได้ส่งผลให้ Little India กลายเป็นภาพลักษณ์ที่เก๋และดึงดูดชนชั้นกลางรุ่นใหม่ที่ ตามหารูปแบบเนื้อหาการบริโภคแบบใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน

การเคลื่ อ นย้ า ยคนอิ น เดี ย ออกไปทั่ ว โลกที่ ชัดเจนนัน้ เกิดขึน้ ในช่วงจักรวรรดินิยมอังกฤษ ในศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง หลั ง รั ฐ บาลอังกฤษยกเลิกการค้าทาสซึ่งทำ�ให้เกิด ความต้องการแรงงานสำ�หรับไร่ฝ้ายและไร่อ้อย ซึ่ ง เป็ น ตั ว ตั้ ง ต้ น สำ � คั ญ สำ � หรั บ อุ ต สาหกรรม เสือ้ ผ้าและนาํ้ ตาลตามส่วนต่างๆ ของจักรวรรดิ อังกฤษ เช่นในจาไมกา

เรื่อง: วิป วิญญรัตน์

การตั้งชุมชนของคนแขกพลัดถิ่นในเมืองส�ำคัญๆ ทั่วโลก ท�ำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “Little India” ขึ้น ค�ำว่าอินเดีย ในที่นี้ไม่ได้จ�ำกัดอยู่แค่คนอินเดีย แต่ยังกินความรวมถึงคนจากแถบเอเชียใต้และชาวอาหรับ การตั้งชุมชนของ กลุ่มคนเหล่านี้ได้น�ำเครือข่ายการค้า ทักษะ และวัฒนธรรมบางอย่างติดตัวมาด้วย การท�ำความเข้าใจ Little India จึงไม่อาจแยกขาดจากการท�ำความเข้าใจบริบททางเศรษฐกิจและการเมืองของโลกได้ Little India จึงไม่ใช่แค่ ย่านเล็กๆ ของแขก แต่เป็นส่วนหนึ่งของ "Global India" ด้วยเสมอ 12 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557


CLASSIC ITEM คลาสสิก

หากย้อนดูประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการค้าโลก การเคลื่อนย้ายทุนและคน ไปพร้อมๆ กับเครือข่ายการค้านั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติ แม้แต่ใน ยุคก่อนอาณานิคมช่วงศตวรรษที่ 18 ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่เป็น จุดกึ่งกลางของเส้นทางการค้าทางเรือระหว่างยุโรปและเอเชียทำ�ให้เกิด เมืองท่าสำ�คัญขึน้ หลายแห่ง ภูมภิ าคเอเชียใต้ในปัจจุบนั ก็เป็นเมืองท่าและ เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าที่สำ�คัญทั้งในแอฟริกาตะวันออกและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชาวอินเดียพลัดถิ่นในประเทศไทยจำ�นวนมากก็อยู่ภายใต้ เงื่อนไขของความเป็น Global India ด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่า การติดต่อค้าขายระหว่างอินเดียกับภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้นั้นจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่การย้ายเข้ามาตั้ง รกรากจำ�นวนมากกลับเกิดขึ้นในศตวรรษที่แล้วพร้อมๆ กับ จักรวรรดิองั กฤษ โดยคนอินเดียส่วนใหญ่ทเ่ี ข้ามาในไทยจะเป็น ชาวซิกข์จากรัฐปัญจาบที่มาสร้าง Little India ในกรุงเทพฯ ทีย่ า่ นพาหุรดั จนถึงปัจจุบัน จักรวรรดิอังกฤษจัดการสร้างระบบที่อยู่อาศัย (Housing System) ให้ กั บ แรงงานไร้ ฝี มื อ ชาวอินเดีย ทำ�ให้แรงงานอินเดียยังสามารถ คงเครือข่ายความสัมพันธ์ภายในชาติพันธุ์ เดียวกันเองได้ และอาจเป็นไปได้วา่ นีค่ อื ระบบ ที่ทำ�ให้ชาวอินเดียยังคงความได้เปรียบใน ธุรกิจขายผ้า ตั้งแต่วัตถุดิบต้นนํ้าอย่างฝ้าย ไปจนถึงเครือข่ายการค้าขาย

ที่มา: บทความ “7 Oldest Sea Ports of India” (2011) โดย Smita จาก marineinsight.com, บทความ “Emigration, Immigration, and Diaspora Relations in India” (2009) โดย Daniel Naujoks จาก migrationpolicy.org และ บทความ “Literature and Gentrification on Brick Lane” (2009) โดย Sarah Brouilette จาก วารสาร Criticism Vol.51 No.3 ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l 13


COVER STORY เรื่องจากปก

​เรื่อง: กันยารัตน์ วรฉัตร

เมือ่ อินเดียเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ใครๆ ต่างก็วาดฝันถึงผลก�ำไรมหาศาลจากตลาดใหม่ ทีค่ รอบคลุมปริมาณผูบ้ ริโภคมากมายขนาดพันล้านคน โคคา-โคล่า อินเดีย วางแผนที่จะขยายตลาดเข้าสู่พื้นที่ชนบทของอินเดีย โดยในปีทผ่ี า่ นมาได้ท�ำ การสำ�รวจความต้องการของผูบ้ ริโภค ด้วยการทดลอง นำ�ขวดขนาดแตกต่างกันวางตลาด และแก้ปญั หาไฟฟ้าดับบ่อยครัง้ ในชนบท โดยใช้วธิ กี ารติดตัง้ ตูแ้ ช่เย็นพลังงานแสงอาทิตย์ ตูแ้ ช่เย็นจำ�นวน 20 ตูท้ ต่ี ดิ ตัง้ ในเมืองอักราส่งผลให้ยอดขายของร้านค้าปลีกสูงขึ้นถึงห้าเท่า โดยปัจจุบัน บริษทั ฯ ได้ตดิ ตัง้ ตูแ้ ช่เย็นในพืน้ ทีช่ นบทไปแล้วเกือบ 110 ตู้ และทำ�การสัง่ ซือ้ มาเพิ่มสำ�หรับเฟสต่อไปแล้วเป็นจำ�นวนถึง 500 ตู้

14 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557

คงไม่ผิดนัก หากกล่าวว่าถนนทุกสายต่างมุ่งสู่อินเดีย แต่สิ่งที่หลายคน คาดไม่ถึงก็คือ ในความเป็นตลาดอินเดียที่ใหญ่โตมโหฬารนั้น กลับมี ความแปลกและแตกต่างซ่อนอยูม่ ากมาย อันเนือ่ งมาจากความหลากหลาย ทางเชื้อชาติ ศาสนา รากภาษา และวัฒนธรรม จนก่อให้เกิดเป็น ‘อินเดียที่ หลากหลาย ภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียว’ บริษทั ข้ามชาติทมี่ ชี อื่ เสียงหลายราย ไม่วา่ จะเป็น เคลล็อกซ์ โคคา-โคล่า หรือ แม็คโดนัลด์ ต่างก็ได้รับบทเรียนมาแล้วในการเข้าสู่ตลาดอินเดีย ช่วงแรกๆ ก่อนจะมาถึงทุกวันนี้ พวกเขาต่างก็ต้องพบเจอกับอุปสรรค นานัปการ เมื่อพบว่าถึงแม้อินเดียจะเปิดรับการพัฒนา แต่มุมมองและวิถี แบบสังคมตะวันตกนั้น ไม่สามารถน�ำมาใช้ได้กับตลาดอินเดีย


COVER STORY เรื่องจากปก

มองอิ น เดี ย อย่ า งเข้ า ใจในความเป็ น อิ น เดี ย อินเดียนัน้ มีศาสนาฮินดูเป็นหนึง่ ในรากฐานส�ำคัญของสังคมทีย่ ดึ ถือปฏิบตั กิ นั มานาน โดยเฉพาะ การนับถือ พระแม่ลกั ษมี เทวีแห่งความมัง่ คัง่ และร�ำ่ รวย ทีม่ กั จะมีการบูชาอยูแ่ ทบทุกบ้าน รวมทัง้ ระบบชั้นวรรณะที่ยังคงเป็นบรรทัดฐานของชาวอินเดียซึ่งมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นสิ่งส�ำคัญ ที่ท�ำให้อินเดียยังคงความเป็นอินเดียอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้

Reuters/Shailesh Andrade

อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมอินเดียทีแ่ ม้จะยังคงความเข้มข้น แต่กม็ กี ารเปลีย่ นแปลงอย่างต่อเนือ่ ง ส่วนหนึง่ มาจาก การเติบโตทางเศรษฐกิจ และอีกส่วนหนึ่งก็คือกระแสโลกาภิวัตน์ที่ท�ำให้ค่านิยมการออมเงิน “เก็บเงินก่อน แล้วค่อยซื้อ” ค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็น “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” เช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ความพยายามไล่ตามการเปลีย่ นแปลงของโลก ส่งผลให้ศาสนาฮินดูทเี่ คยฝังรากลึกในสังคมอินเดีย ค่อยๆ ถูกลดบทบาทลงมาจากรูปแบบของพิธีกรรมหลักทางศาสนาในหมู่ชนชั้นกลางอินเดีย มาเป็นสัญลักษณ์เพื่อ ยืนยันถึงศาสนาที่ตนสังกัดอยู่

เทศกาลคเณศจตุรถี (Ganesh Chaturthi) หรือเทศกาลกันปาตี (Ganpati Festival) ปี 2014 ชาวอินเดียผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาต่างมารวมตัวรอบเทวรูปพระคเณศ เทพเจ้าแห่งความสำ�เร็จเพื่อแห่เทวรูปไปทั่วเมือง ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปยังริมฝั่งแม่น้ำ�ศักดิ์สิทธิ์หรือริมทะเลในวันสุดท้ายของเทศกาล ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l 15


© Ed Kashi/VII/Corbis

ชนชั้นกลาง แรงขับเคลื่อนในสังคมอินเดีย ชนชั้ นกลางในอิ น เดี ย คือแรงขับ เคลื่อนที่ส�ำคัญที่สุด เพราะ พวกเขาคือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรงที่ท�ำงานหนักเพื่อรายได้ ทีม่ ากขึน้ ภายในปี 2050 อัตราการจับจ่ายใช้สอยเพือ่ การบริโภค ร้อยละ 40 จะมาจากกลุ่มชนชั้นกลางเหล่านี้

ยุคหลังการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 1991 และได้เริ่มส่งผล ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงต่อการด�ำเนินชีวิตของชาวอินเดียตั้งแต่ปี 2000-2001 เป็นต้นมานัน้ ชนชัน้ กลางจ�ำนวนมากจึงได้อพยพจากเมืองเล็กๆ เพือ่ มาเสาะแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ตามเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในยุควายทูเค หรือยุคดอทคอมนัน้ บุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ รวมทัง้ หมอ ทนายความ และ วิศวกร ต่างก็กระตือรือร้นที่จะเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเสาะแสวง หาต�ำแหน่งงานในต่างประเทศ ในปัจจุบันบรรทัดฐานของสังคมอินเดียได้เปลี่ยนถ่ายจากประเพณี ดัง้ เดิมไปสู่ความทันสมัย จากครอบครัวขยายมาสู่ครอบครัวเดี่ยว จาก การท�ำกิจกรรมรวมกลุ่มก็เริ่มแยกมาอยู่โดดเดี่ยวมากขึ้น ในส่วนของ ผลิตภัณฑ์และภาคบริการ จึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตเพื่อ ประโยชน์ใช้สอยมาเป็นเพื่อความสะดวกสบาย และจากความแข็งแรง ทนทาน เริ่มพัฒนามาสู่การออกแบบที่เน้นความสวยงามมากขึ้น

16 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557

Jugaad บริหารงานสไตล์อินเดีย วิถีชีวิตแบบอินเดียนั้น ส่วนหนึ่งถูกกำ�หนดด้วย ‘Jugaad’ ซึ่งเป็นคำ�ใน ภาษาฮินดี แปลว่า ‘กลวิธีการอุดช่องว่าง’ โดยมีแนวคิดในการทำ�ในสิ่งที่ จำ�เป็นต้องทำ� โดยไม่ต้องคำ�นึงถึงความเป็นไปได้ Jugaad ยังกลายเป็น บรรทัดฐานทีส่ อดคล้องกับอินเดียยุคหลังการได้รบั อิสรภาพ ทีต่ อ้ งประสบ กับความขาดแคลนต้นทุนและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และได้ฝังรากลึกทั้งใน ทางการเมือง เศรษฐกิจ และการดำ�เนินชีวิตในสังคมอินเดีย Jugaad ได้ รั บ การยอมรั บ ว่ า เป็ น กลวิ ธี ก ารบริ ห ารงานสไตล์ อินเดีย อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักทั่วโลกในรูปแบบของ Frugal Engineering (กระบวนการลดขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่ดลดต้นทุนการผลิตให้ กลุ่มผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้) ที่มีชื่อเสียงของ อินเดีย ซึ่งบริษัทต่างๆ ในอินเดียได้นำ�หลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ในการ ลดต้นทุนการทำ�วิจัยและพัฒนา ทั้งยังถูกนำ�ไปใช้ในการสร้างสรรค์งาน ต่างๆ แบบที่เรียกกันว่า คิดนอกกรอบ


COVER STORY เรื่องจากปก

เก็ บ เกี่ ย วโอกาสจากการขยายตั ว ของสั ง คมเมื อ ง เมื่อมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ และเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน สังคมเมืองใหม่ก็ขยายตัวใหญ่ขึ้น เกิดการจ้างงานและโอกาส ในการสร้างรายได้ ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคชาวอินเดียแต่ละกลุ่มนั้นก็มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้วในแง่ของรายได้ครัวเรือน นับตั้งแต่ กลุ่มผู้ขาดแคลนซึ่งมีรายได้น้อยกว่าปีละ 9 หมื่นรูปี และเป็นฐานล่างของพีรามิดที่ไม่มีกำ� ลังซื้อ ไล่ไปจนถึงกลุ่มโกลบอลอินเดียที่มี รายได้มากกว่าปีละ 1 ล้านรูปี ซึ่งจัดอยู่ในประเภทครีมของประเทศ ที่รวมไปถึงบรรดาผู้บริหารระดับสูง และเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือการที่ชาวอินเดียต่างก็ชื่นชอบการด�ำรงชีวิตแบบสนุกสนาน โดยมูลเหตุของความสุขที่ผู้บริโภคอินเดียยึดเป็น ศูนย์กลาง ได้แก่ หน้าที่การงาน เงิน ความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย และกิจกรรมในยามว่าง ซึ่ง อนันต์ ฮาล์ฟ ได้จ�ำแนกกลุ่มผู้บริโภคอินเดียใน ปัจจุบันไว้ในบทความ Indian Consumers Circa 2013 ดังนี้ THE MATERIAL MAN

THE QUEEN BEE

บุ รุ ษ เจ้ า สำ � อางผู้ มี ร สนิ ย มในการแต่ ง กายเนี้ ย บ ทั น สมั ย ผู้ บ ริ โ ภคกลุ่ ม นี้ จ ะใช้ จ่ า ยเงิ น ไปเพื่ อ การ ช้อปปิ้ง ทั้งโลชั่นบำ�รุงผิวและเครื่องประดับ ซึ่งไม่ใช่ เรื่องปกติของผู้ชายในทศวรรษก่อน หากแต่เป็นเรื่อง ธรรมดาที่พบเห็นกันทั่วไป อีกหนึ่งปัจจัยที่ บ่งบอกรสนิยมของชายหนุ่มยุคปัจจุบนั ก็คอื พฤติกรรมความสนุกสนานแบบ เด็กชายอยากได้ของเล่น เป็นต้นว่า ความตืน่ เต้นเมือ่ ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ หรือจักรยานขับเคลือ่ นด้วยเกียร์ไฟฟ้า หรืองานปาร์ตี้ที่เปียกชุ่มไปด้วยเบียร์

คำ�นิยามสตรีในยุคมิลเลนเนี่ยม เมื่อบทบาทของสตรีเริม่ มีหลากหลาย ขึ้น โอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น หน้าที่การงานที่สร้างรายได้ดี และวิถีชีวิตแบบครอบครัวเดี่ยว ซึ่งสร้างความเท่าเทียมกันระหว่าง สามีภรรยา ผู้หญิงในยุคนี้จึงมีความ เป็นตัวของตัวเองและมีความมั่นใจใน ตัวเองสูง เธอออกเดินทางท่องเที่ยว คนเดียวและสังสรรค์กับเพื่อนหญิง นี่คือแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่ ปรากฏทั่วไป

THE APP GENERATION หนุ่มสาวอินเดียรุ่นใหม่เติบโตมา กับโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และ การทำ�อะไรอย่างรวดเร็ว ภายใต้ความคิดที่ว่าพวกเขา คือเจเนอเรชั่นที่ฉลาดที่สุดของมนุษย์ ความเคยชิน กั บ ความสะดวกสบาย โลกซึ่ ง การติ ด ต่ อ สื่ อ สาร ทำ�ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และความบันเทิงที่ได้มาฟรีๆ หนุ่มสาวยุคนี้มีความต้องการไม่สิ้นสุดโดยไม่สามารถ อดทนรอคอยได้ หากสิ น ค้ า และบริ ก ารใดไม่ อ าจ ตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว พวกเขาก็ พร้อมที่จะเปลี่ยนไปหาแบรนด์อื่นทันที

THE LUXE SET

THE SILVER SET ชาวอินเดียเจเนอเรชั่นแรกที่เริ่มมีเงินทองขึ้นมาในทศวรรษ 1960 คือกลุ่มซึ่ง มีพลังการซื้อสูงและไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายภายหลังเกษียณอีกต่อไป แต่จะ ใช้เงินทุกรูปีเพื่อซื้อความสุขสนุกสนาน เที่ยวต่างประเทศ เดินห้างซื้อของ เข้าโชว์รูม รถยนต์ และเพลิดเพลินกับอาหารรสเลิศในภัตตาคารหรู

ความร�่ำรวยที่สร้างสมขึ้นมาจากตลาดหุ้น กิจการค้าต่างๆ รวมไปถึงอาชีพที่สร้าง รายได้และเงินเดือนแพงๆ คนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางตลาดไฮ-เอ็น ช้อปปิ้ง เครื่องแต่งกายหรูราคาแพง มีบีชไซด์ วิลล่า งานแต่งงานเลิศหรูอลังการ เรือยอชต์ ส่วนตัว จิบไวน์และเพลิดเพลินกับศิลปะ พวกเขายินดีจ่าย ให้กับที่ปรึกษาการช้อปปิ้งเพื่อช่วยให้ได้ ซื้อสินค้าชั้นเยี่ยม

การเปลี่ยนแปลงของสังคมเมืองและพฤติกรรมผู้บริโภคชาวอินเดีย ท�ำให้ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยในอินเดียเติบโตขึ้นเกินความคาดหมาย โดยเฉพาะ เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ ผู้บริโภคชาวอินเดียยอมรับและปรับตัวกับกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างดี โดยมีดิจิทัลมีเดียและโซเชียลมีเดีย เป็นตัวกระตุ้นที่ส�ำคัญในการเข้าถึงผู้บริโภค แม้ว่าสาธารณูปโภคในอินเดียจะยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่รอการแก้ไขอยู่ก็ตาม ถึงกระนั้นความท้าทายส�ำคัญยังคงเป็นโจทย์ข้อเดิม คือท�ำอย่างไรจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในตลาดอินเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการ หลายรายต่างก็ตระหนักในความส�ำคัญของการท�ำ Indianization หรือการท�ำให้สินค้าของตนนั้นถูกกับรสนิยมของคนอินเดียให้มากที่สุด ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

อย่ามองข้ามก�ำลังซื้อจากฐานพีรามิด ผู้ประกอบการส่วนมากจะโฟกัสไปที่ตลาดผู้บริโภคในเมือง โดยไม่สนใจตลาดชนบทซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามากเพราะกว่า ร้อยละ 70 ของชาวอินเดียอาศัยอยู่ในชนบท อาจเรียกได้ว่า หากมองข้ามคนกลุ่มนี้ไปแล้วก็เท่ากับพลาดโอกาสทองไป เลยทีเดียว

flickr.com/photos/zerega

จริงอยู่ที่รายได้ของกลุ่มชนชั้นล่างหรือคนชนบทนั้นจัดว่าขาดแคลน แต่ภายหลังการ “ปฏิวัติเขียว” ก็ท�ำให้ชาวอินเดียในวรรณะล่าง หรือ คนชนบทมีรายได้เพิม่ ขึน้ ชาวนามีหนีส้ นิ ลดน้อยลง ส่งผลให้เกิดกลุม่ ชนชั้นกลางในชนบท และการผุดขึ้นของเอาท์เล็ตและโรงงานขาย สินค้าจ�ำนวนมาก เพื่อให้ชาวชนบทได้จับจ่ายใช้สอย

Chik เจาะตลาดได้ด้วยราคาเพียง 1 รูปี ความสำ�เร็จของ CavinKare ในการนำ� แชมพู Chik บรรจุซองเล็ก ราคา 1 รูปี เข้าครองตลาดชนบทได้ส�ำ เร็จในปี 1983 นับเป็นตัวอย่าง ที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยก่อนนำ�สินค้าเข้าวางในตลาด บริษัทพบ ว่า price-to-value equation หรือแนวคิดที่ว่าราคาเป็นตัวบ่งบอก คุณค่าของสินค้านั้น ใช้ไม่ได้กับผู้บริโภคในเขตชนบทของอินเดีย CavinKare จึงได้นำ�เสนอแชมพูบรรจุซองขนาดเล็กราคาเพียง 1 รูปี ภายใต้แบรนด์ Chik โดยมีเป้าหมายจับกลุ่มผู้บริโภคในเมืองเล็กๆ และเขตชนบทที่ห่างไกลความเจริญ สินค้าราคาถูกนีไ้ ด้เข้าแทนทีส่ บูก่ อ้ นซึง่ ชาวชนบทอินเดียใช้สระ ผมเป็นประจำ� โดย CavinKare เลือกใช้ช่องทางโฆษณาผ่านวิทยุ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จนทำ�ให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของ แชมพู Chik เพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 21.4 ในปี 2010 ที่สำ�คัญคือความ สามารถในการแข่งขันกับแบรนด์ดงั ระดับสากลอย่างคอลเกต-ปาล์ม โอลีฟ พีแอนด์จี รวมไปถึง ฮินดูสถาน ยูนิลีเวอร์ ได้อย่างน่าทึ่ง

18 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557

Cavinkare.com

flickr.com/photos/garrettziegler

บอลลีวูดกับรากเหง้าวัฒ นธรรมอินเดีย Shree Pundalik คือภาพยนตร์อินเดียเรื่องแรกที่ออกฉายในปี 1912 ด้วย ราคาตั๋วหนังแสนถูกไม่ถึงครึ่งรูปี ต่อมาภายหลังการประกาศอิสรภาพ เมื่อปลายทศวรรษ 1940 ภาพยนตร์อินเดียจึงเริ่มผสมผสานระหว่าง การละคร ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม และจินตนาการเข้าด้วยกัน ภาพยนตร์ บอลลีวูดซึ่งมาจากคำ�ว่า ‘บอมเบย์’ กับ ‘ฮอลลีวูด’ ต่อมาจึงได้กลายเป็น อุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ ภาพยนตร์บอลลีวูดนั้นเป็นมากกว่าความบันเทิง เพราะนอกจากจะ เป็นช่องทางการเผยแพร่วัฒนธรรมแล้ว ยังช่วยรักษารากเหง้าของความ เป็นอินเดีย ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษาหรือวัฒนธรรม การดำ�เนินชีวิตของตัว ละครในภาพยนตร์ การแต่งกาย การเต้นรำ� และเสียงดนตรี ยังคงสื่อถึง เอกลักษณ์อินเดียได้อย่างลึกซึ้ง แม้ว่าในยุคหลังๆ จะมีกลิ่นอายของ ตะวันตกแทรกเข้ามามากก็ตาม เครือ่ งแต่งกายและเครือ่ งประดับในภาพยนตร์บอลลีวดู นัน้ ยังคงความ สวยงาม อลังการ น่าตื่นตาตื่นใจ และเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มแฟชั่นอินเดีย ได้เป็นอย่างดี แม้แต่เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกธรรมดาที่ตัวแสดงแต่ง เข้าฉาก ก็ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับบรรดาหญิงสาวและชายหนุ่มชาว อินเดียที่เข้าไปชมภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ


COVER STORY เรื่องจากปก

โอกาสของสินค้าไทยมีมากแค่ไหนในตลาดอินเดีย ผูป้ ระกอบการไทยมีโอกาสน�ำสินค้าไทยเข้าเจาะตลาดอินเดียในด้านใดบ้าง อาจใช้แนวทาง การวิเคราะห์ ‘Mega-Trends’ โดย มาโนจ โคธารี ดีไซเนอร์และนักวิเคราะห์เทรนด์ การบริโภคชื่อดังชาวอินเดียมาเป็นแนวทาง ซึ่งเขามองถึงแนวโน้มที่สินค้าและบริการ ของไทยจะสามารถเข้าสูต่ ลาดอินเดียหลักๆ อยู่ 5 ประเภท ได้แก่ งานเลีย้ งฉลองแต่งงาน ที่บ่าวสาวอินเดียยอมจ่ายไม่อั้นเพื่อความหรูหราอลังการ ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งใน ประเทศที่มีสถานที่สวยงามเหมาะแก่การจัดงานนี้ ธุรกิจงานแต่งงานยังสามารถขยาย ไปสู่การท�ำของช�ำร่วยและการ์ดแต่งงานส�ำหรับแขกผู้มาร่วมงานอีกด้วย

เทรนด์ต่อมาคือ ธุรกิจตกแต่งบ้าน ที่น�ำความ สะดวกสบายของรีสอร์ตมาเป็นส่วนหนึ่งของ บ้ า น อั น เนื่ อ งมาจากชี วิ ต คนเมื อ งที่ วุ ่ น วาย ก่อให้เกิดความต้องการท�ำบ้านให้เป็นสถาน ที่พักผ่อนอย่างสงบ สวยงาม และสะดวกสบาย เป็นต้นว่าการมีมมุ สปาอยูใ่ นบ้าน โคธารีมองว่า หากเอสเอ็ ม อี ไ ทยสามารถสร้ า งสปาขนาด กะทัดรัดที่สามารถถอดประกอบขึ้นเองได้ ก็ น่าจะตอบสนองความต้องการของคนเมืองใน อินเดีย ซึ่งสามารถขยายเป็นตลาดขนาดใหญ่ ได้ในอนาคต อี ก หนึ่ ง แนวโน้ ม ส�ำคั ญ ในตลาดอิ น เดี ย คือการที่ชาวอินเดียอยากให้ห้องรับแขกของ บ้านเป็นสถานที่ส�ำหรับบอกเล่าเรื่องราวของ คนในบ้าน พวกเขาจึงเต็มใจจ่ายแพงเพื่อซื้อ เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งห้องรับแขกและตกแต่ง

ห้องอืน่ ๆ แบบธรรมดา ซึง่ เป็นความคิดทีพ่ บเห็น ได้ทั่วไปในหมู่ชนชั้นกลางอินเดีย เช่นเดียวกับ แนวโน้มความนิยมในการสร้างและตกแต่งบ้าน สไตล์บตู กิ ทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะไม่ซำ�้ แบบใคร หรือ การผลิตสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้บริโภค เหล่านี้จะเต็มใจจ่ายเพื่องานสร้างสรรค์ที่ดีเลิศ จาคอบ แมทธิ ว ซี อี โ อบริ ษั ท ที่ ป รึ ก ษา การออกแบบที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย ยังได้ให้ ค�ำแนะน�ำต่อผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเปิด ตลาดอินเดียว่า ควรหาโอกาสไปเยี่ยมท�ำความ รู้จักกับลูกค้า กลุ่มผู้ถือหุ้น ผู้จัดจ�ำหน่าย รวม ทั้งบริษัทผู้ด�ำเนินการจัดส่งสินค้า เพื่อท�ำความ เข้ า ใจต่ อ วิ ถี ก ารท�ำธุ ร กิ จ แบบอิ น เดี ย และ ประเมินถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ในขณะที่สินค้าจีนถูกมองว่าเป็นสินค้า ราคาถูก และญี่ปุ่นคือตัวแทนของเทคโนโลยี

สมัยใหม่นั้น สินค้าเมดอินไทยแลนด์ในสายตา ผู้บริโภคอินเดียถูกมองว่าเป็น ‘Soft Brand’ ซึ่ง เชื่อมโยงกับการบริการที่อุดมไปด้วยกลิ่นอาย วัฒนธรรม นอกจากนีแ้ มทธิวยังกล่าวทิง้ ท้ายว่า ความเป็นซอฟต์แบรนด์ของไทยนัน้ สามารถน�ำ ไปเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จากเมืองไทยได้ เป็นอย่างดี

มองสิ น ค้ า ไทยผ่ า นค้า ปลีกอิน เดีย สเปนเซอร์ส รีเทล (Spencer’s Retail) คือบริษัทค้าปลีกเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ซึ่งเริ่มก่อตั้งเมื่อ 150 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากร้านขายของชำ�มาเป็นซูปเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขาอยู่มากมายทั่วอินเดียในปัจจุบัน นายเวนกะตระมัน เอส. ซึ่งมีตำ�แหน่งเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อเล่าถึงการดำ�เนินธุรกิจของสเปนเซอร์ส รีเทล ที่โฟกัสไปยังสินค้าในครัวจากทั่วทุก มุมโลก โดยสินค้าไทยจัดเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่สเปนเซอร์สเลือกไปวางขายบนชั้นวางสินค้าในห้าง เขามองว่าผลิตภัณฑ์จากไทยนั้นยังคงได้รับการยอมรับ ในกลุ่มผู้บริโภคอินเดียพอสมควร และสามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านของคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ และด้านราคาได้ เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์จากชาติอื่น สำ�หรับสินค้าประเภทอาหาร สเปนเซอร์ส รีเทล นำ�เข้าทั้งสินค้าจากญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก อิตาลี ไทย และอีกเล็กน้อยจากฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ขณะ ที่ในส่วนของสินค้าในครัวเรือนนั้น เขาให้ความเห็นว่าสินค้าไทยนั้นมีคุณภาพดีกว่าสินค้าจากอินเดีย รวมทั้งการบรรจุภัณฑ์ที่ก้าวหน้ากว่าอินเดียมาก ซึ่งความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ของไทยนี้อาจเป็นหนึ่งในโอกาสให้สินค้าไทยเจาะเข้าสู่ตลาดอินเดียได้ ที่มา: รายงาน “The India Story Of consumption, retail & opportunity” (มีนาคม 2014) โดย Sridhar Ryalie ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l 19


INSIGHT อินไซต์

Bollywood Go! Go! เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

ทั่วโลกรู้จักภาพยนตร์อินเดียในนามบอลลีวูด (Bollywood) แต่เมื่อเทียบกับขนาดของประเทศอินเดียแล้ว บอลลีวูดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ก�ำลังรอวันเติบโตทั้งในประเทศและตลาดโลก ช่วงสองทศวรรษแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการเปิดประเทศต้อนรับ การลงทุนจากต่างชาติ อุตสาหกรรมบันเทิงของอินเดียมีการเปลีย่ นแปลง ครั้งใหญ่ เมื่อบอลลีวูด อุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาษาฮินดี (Hindi) ที่ มีฐานที่ตั้งในเมืองมุมไบเริ่มเติบโตอย่างโดดเด่นจากการผสมผสานการ เล่าเรื่อง เครื่องแต่งกาย และเพลงประกอบในท่วงท�ำนองตามแบบ สไตล์ของภาพยนตร์ฮอลลีวูด (Hollywood) ตามมาด้วยการเติบโตของ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทางตอนใต้ของอินเดียที่ใช้ภาษาทมิฬและเตลูกู (Tamil & Telugu) ในนามของทอลลีวูด (Tollywood) ในเมืองไฮเดอราบัด (Hyderabad) ทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนส�ำคัญในการผลักดันให้อินเดียเป็น ประเทศยักษ์ใหญ่แห่งการผลิตภาพยนตร์และตลาดใหม่ทมี่ อี นาคตส�ำหรับ วงการบันเทิง

20 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557

ทั้งบอลลีวูดและทอลลีวูดต่างเป็นช่องทางใหม่ส�ำหรับการเข้าและ ออกวงการภาพยนตร์อินเดีย ตั้งแต่ผู้อยู่เบื้องหลัง อย่างเช่นการเขียน สคริปต์ การท�ำสเปเชียลเอฟเฟ็กต์ที่สามารถเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ จาก การร่วมมือกับค่ายภาพยนตร์ ยักษ์ใหญ่ เช่น ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ หรือ โซนี่ พิคเจอร์ส รวมถึงการอ�ำนวยการสร้างภาพยนตร์ที่ส่วนใหญ่อาศัย ทุนส่วนตัว ก็สามารถระดมทุนจากบริษัทข้ามชาติที่ต้องการเจาะตลาด อินเดียด้วยการเข้าร่วมเป็นสปอนเซอร์ในการผลิต เช่น ภาพยนตร์เรื่อง รา.วัน (Ra.One) ของ ชาห์ รุข ข่าน (Shah Rukh Khan) นักแสดง ค่าตัวแพงที่สุดของอินเดียที่สามารถลงทุนผลิตภาพยนตร์ที่ใช้สเปเชียล เอฟเฟกต์ระดับฮอลลีวูดด้วยต้นทุน 556.8 ล้านบาท (17.4 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ) ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงที่สุดที่เขาเคยท�ำมา ด้วยการร่วมมือกับ 25 แบรนด์ดังอย่าง แมคโดนัลด์ โคคา-โคล่า ฮอร์ลิกส์ และโซนี่เพลย์สเตชั่น เป็นต้น


INSIGHT อินไซต์

ภาพยนตร์เรื่องเดอะลันช์บ็อกซ์ (The Lunch Box) ก็เป็นผลผลิตของ บอลลีวูดในการท�ำงานร่วมกับค่ายต่างชาติเพื่อให้ได้เนื้อหาอันเป็นสากล ที่สามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วโลกรวมถึงการตลาดและกระจายภาพยนตร์ เพื่อฉายในต่างประเทศ อีกทั้งยังท�ำให้อินเดียก้าวเข้าสู่การส่งออกดารา และวัฒนธรรมสู่ตลาดโลก พอๆ กับที่เป็นโอกาสส�ำหรับดาราต่างชาติให้ เข้าไปโด่งดังในประเทศอินเดีย ทัง้ แอน มิตรชัย และ พิงกี้ สาวิกา ไชยเดช ต่างก็เป็นดาราไทยที่เข้าไปโด่งดังในบอลลีวูดและทอลลีวูดตามล�ำดับ ด้วยรูปร่างหน้าตาและความสามารถด้านการร้องเพลง ซึง่ ต่างจากนักแสดง หญิงของอินเดียที่ร้อยละ 90 เป็นการร้องลิปซิงค์ ทั้งสองนักแสดงสาวจึง ถูกแมวมองจากอินเดียชวนให้ไปเปิดตัวด้านการร้องเพลงก่อนที่จะเล่น ภาพยนตร์ในที่สุด แม้ว่าภาพยนตร์บอลลีวูดและทอลลีวูดจะสร้างผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ ชื่นชอบวัฒนธรรมตะวันตก แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตลาดภาพยนตร์ ทั้งหมด โดยในแต่ละปี อินเดียมีการผลิตภาพยนตร์เฉลี่ยมากกว่า 1,000 เรื่อง ในจ�ำนวนนี้มาจากบอลลีวูดและทอลลีวูดอย่างละร้อยละ 20 ส่วน ที่เหลือเป็นภาพยนตร์ภาษาต่างๆ อีกกว่า 20 ภาษา มียอดจ�ำหน่าย ตั๋ว 2.6 พันล้านใบ ทว่าสร้างรายได้เพียง 49 พันล้านบาท (1.53 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งนับว่ายังอยู่ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา ทีม่ รี ายได้จากการฉายภาพยนตร์ภายในประเทศสูงถึง 345.6 พันล้านบาท (10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ทางด้านเนื้อหาของภาพยนตร์ส่วนที่นอกเหนือจากบอลลีวูดและ ทอลลีวูดนั้น ส่วนใหญ่ยังคงได้รับอิทธิพลจากมหากาพย์มหาภารตะ และรามายาณะ ความเชื่อทางศาสนาและละครท้องถิ่น (Parsi Theatre)

ที่รวมเรื่องจริงกับแฟนตาซีเข้ากับดนตรีและการเต้นร�ำ ผสานกับแนวคิด เรื่องความคุ้มค่าเงินของผู้ชม จึงท�ำให้ภาพยนตร์อินเดียมีหลากรสใน เรื่องเดียวเหมือนเครื่องแกงมาสซาลา (Masala) ซึ่งภายใน 3-4 ชั่วโมง จะมีการร้องเพลงและเต้นตลอดเรื่อง มีดาราดังที่มารับบทตั้งแต่ฮีโร่ต่อสู้ กับเหล่าร้ายในภาพยนตร์แอ็กชัน่ ผสมตลกและรักสามเส้า ไปจนถึงเรือ่ งราว ของครอบครัวที่เต็มไปด้วยพ่อแม่ที่โกรธเกรี้ยว การชิงรักหักสวาท การ เสียสละ การฉ้อโกงและผู้ผดุงความยุติธรรม ญาติที่สูญหายและพี่น้อง ที่พลัดพรากโชคชะตาและความบังเอิญต่างๆ จนอาจจะดูเกินจริงส�ำหรับ ผู้ชมที่ไม่ใช่ชาวอินเดีย อย่างไรก็ดี ภาพยนตร์อินเดียยังมีหนทางอีกยาวไกลเมื่อเศรษฐกิจ ของอินเดียภายใต้การน�ำของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี มีแนวโน้ม จะเติ บ โตด้ ว ยนโยบายการสร้ า งงานและการพั ฒ นาสาธารณูปโภค รวมถึ ง การส่ ง เสริ ม การลงทุ น จากต่ า งชาติ ซึ่ ง ท�ำให้ ก�ำลั ง ซื้ อ ใน ประเทศเติ บ โตไปพร้ อ มกั บ การเปิ ด รั บ แนวคิ ด ใหม่ ใ นการพั ฒ นา ภาพยนตร์ นั่นย่อมหมายถึงการพัฒนาภาพยนตร์อินเดียให้มีเนื้อหา สากลแต่ยังคงความเป็นอินเดียได้อย่างมีชั้นเชิง ซึ่งน่าจะท�ำให้สัดส่วน รายได้ของภาพยนตร์อินเดียในบ็อกซ์ออฟฟิศโลกที่ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 7 เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา: บทความ “Bollywood and Bangalore as Clusters of Creativity” จาก citylab.com บทความ “Bollywood: India's Film Industry by the Numbers” โดย Niall McCarthy จาก forbes.com บทความ “East Side Story: Can Indian Cinema Go Global?” จาก mpaa.org บทความ “India’s Economic Growth Hits Two Year High” จาก bbc.com บทความ “How Does Indian Cinema Communicate with Indian Viewers?” จาก academia.edu ตุลาคม 2557 l Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เสียงเพลง การเต้นร�ำ ดอกไม้ และสีสันฉูดฉาด กลายเป็นภาพติดตาเมื่อนึกถึงงานแต่งงานของชาวอินเดีย หนึ่งในพิธีการที่ชาว อินเดียให้ความส�ำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะฝ่ายเจ้าบ่าว เหตุเพราะการเข้าพิธีแต่งงานถือเป็นการก้าวสู่ช่วงชีวิตวัย “คฤหัสถ์” หรือ วัยครองเรือนหลังจากส�ำเร็จการศึกษา ขั้นที่ 2 ของการด�ำเนินชีวิตมนุษย์ตามหลักธรรมของศาสนาฮินดู แต่เบื้องหลังงานแต่งงาน ที่ดูรื่นเริงหาใช่จะบริหารจัดการได้ง่าย เพราะแต่ละช่วงเวลานั้นมีพิธีการที่ต้องยึดถือปฏิบัติและมีผู้เกี่ยวข้องมากมาย ที่น่าสนใจคือ จ�ำนวนตัวเลขของคู่บ่าวสาวชาวอินเดียที่เดินทางออกนอกประเทศเพื่อจัดพิธีวิวาห์นั้นมีตัวเลขที่สูงขึ้น และหนึ่งใน ประเทศยอดนิยมก็คือประเทศไทย ในปีที่ผ่านมามีคู่แต่งงานชาวอินเดียเดินทางมาวิวาห์ในประเทศไทยประมาณ 400 คู่ โดยแต่ละ งานทุ่มงบเฉลี่ยมากกว่า 4 ล้านบาทไปจนถึง 80 ล้านบาท ท�ำให้โอกาสทางธุรกิจจัดงานแต่งงาน (Wedding Planner) นี้มีความ หอมหวานไม่แพ้ความรักของบ่าวสาวข้าวใหม่ปลามัน เมฮนา เมอร์พริ (Meghna Mirpuri) นักสร้างสรรค์และหุ้นส่วนของ Weddings by Keeran หนึ่งในบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดงานวิวาห์ในประเทศไทยให้คู่แต่งงานชาวอินเดียมากว่า 12 ปี จะท�ำให้ เราทราบว่า งานแต่งงานของคนอินเดียนั้นมีมากกว่าความรื่นเริงและลีลาของการเต้นร�ำ จากงานเลี้ยงในบ้านสู่ธุรกิจเว็ดดิ้ง แพลนเนอร์

ด้วยความที่มีคุณแม่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดงานเลี้ยงในบ้าน ทั้งการ ตกแต่งสถานที่ การเลือกอาหารและเครือ่ งดืม่ ไปจนถึงการดูแลต้อนรับแขก ด้วยดีตลอดงาน และเมือ่ ถึงงานแต่งงานของเมฮนาเมือ่ ประมาณ 12 ปีกอ่ น คุณแม่คีรัน บาวีจา (Keeran Baweja) จึงเข้ามารับหน้าที่ดูแลจัดงานให้ ด้วยความเต็มใจ และด้วยความทีค่ ณุ แม่ครี นั เป็นคนทีใ่ ส่ใจในรายละเอียด ชนิดหาตัวจับยาก จึงท�ำให้งานแต่งงานของเมฮนาเป็นที่กล่าวขวัญในหมู่ ญาติมติ รและแขกทีไ่ ด้รบั เชิญมางาน จนกลายเป็นจุดเริม่ ต้นทีท่ �ำให้คณุ แม่

คีรนั หันมาเปิดบริษทั รับจัดงานแต่งงานภายใต้ชอื่ Weddings by Keeran ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของบริษัทรับจัดงานแต่งงานของชาวอินเดีย ในประเทศไทยใน 7 ปีตอ่ มา โดยเน้นกลุม่ เป้าหมายชาวอินเดียทีไ่ ม่ได้จ�ำกัด เฉพาะที่บินมาจากอินเดียอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคู่รักชาวอินเดีย จากทั่วโลก อาทิ สเปน อเมริกา และฮ่องกง ซึ่งต้องการสร้างความทรงจ�ำ อันแสนประทับใจที่เมืองไทย

Weddings by Keeran Doodle Studio (doodlestudio.my)

เรื่อง: สุวิทย์ วงศ์จิราวาณิชย์

22 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

“ประเทศไทย” จุดหมายแห่งความหวานชื่น

ความเป็นมิตรและรอยยิ้มของคนไทยที่ท�ำให้แขกผู้มาเยือนรู้สึกอบอุ่น เหมือนอยูบ่ า้ นตนเอง งานบริการทีโ่ ดดเด่นเมือ่ เทียบกับประเทศเพือ่ นบ้าน สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วหลากหลายรูปแบบทัง้ โบราณสถาน แหล่งช้อปปิง้ สถาน บันเทิง และความสวยงามของธรรมชาติทงั้ เทือกเขา ทะเล และหาดทราย เหล่านี้ล้วนเป็นตัวแปรส�ำคัญที่ท�ำให้คู่บ่าวสาวชาวอินเดียมุ่งหน้ามาท�ำ พิธีแต่งงานและดื่มนํ้าผึ้งพระจันทร์ ขณะที่ปัจจัยเสริมอย่างอาหารที่มี รสชาติจัดจ้านคล้ายคลึงกับอาหารอินเดีย การเดินทางที่สะดวกด้วย เที่ยวบินตรงจากอินเดียสู่สุวรรณภูมิทุกวัน ก็ยังช่วยให้สถานที่ยอดนิยม ในการจัดงานแต่งงานอย่างภูเก็ตและหัวหินได้แต้มต่อคู่แข่งที่น่ากลัว อาทิ บาหลีในอินโดนีเซีย และเวียดนามไปได้ โดยช่วงเวลายอดนิยม ก็หนีไม่พ้นช่วงฤดูหนาวที่ปราศจากมรสุมประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์ “พิธีการ” เสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ในทุกช่วงของงานแต่งงาน

งานแต่งงานของชาวอินเดียที่จัดขึ้นในไทยส่วนใหญ่จะไม่ได้จบลงแค่ หนึ่งวัน แต่มักเป็นการเฉลิมฉลองแบบ 3 วันเต็มเป็นอย่างน้อย ทีมงาน จะเริ่มสร้างบรรยากาศของการเฉลิมฉลองตั้งแต่ก้าวแรกที่มาถึงด้วย เครื่องดื่มต้อนรับ ตามด้วยอาหารครบทุกมื้อ พร้อมพาเที่ยวชมเมืองหรือ ช้อปปิ้ง โดยสอดแทรกด้วยพิธีการตลอดช่วงระยะเวลาการจัดงาน เช่น พิธีเมเฮนดี (Mehendi) หรือการเพ้นท์เฮนน่าของเจ้าสาว โดยเชื่อว่า สีนํ้าตาลแดงของเฮนน่าเปรียบได้กับความมั่งคั่งรํ่ารวยที่เจ้าสาวจะน�ำ มาสู่ครอบครัวของเจ้าบ่าว และหากเจ้าสาวไม่ได้ผ่านพิธีเมเฮนดีก็ถือว่า พิธีแต่งงานนั้นไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีพิธีสังคีต (Sangeet) อันเป็น การเฉลิมฉลองปาร์ตี้สละโสด ที่มีการแสดงของญาติสนิทมิตรสหายและ บางรายถึงกับว่าจ้างครูสอนเต้นร�ำเพือ่ ช่วยให้การแสดงมีความสมบูรณ์แบบ มากที่สุด ในวันแต่งงานจะมีพิธีทางศาสนา โดยมีพราหมณ์เป็นผู้สวดบูชา เทพเจ้า สถานที่จะได้รับการตกแต่งด้วยดอกไม้สีสันสดใส เช่น ดาวเรือง กุหลาบ หรือแม้กระทั่งกล้วยไม้ไทยก็เป็นที่นิยมในหมู่ชาวอินเดีย โดย เจ้าบ่าวจะต้องฝ่าด่านกั้นประตูของฝ่ายญาติเจ้าสาวเหมือนประเพณีไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูนั่นเอง จากนั้นคู่บ่าวสาวจะ เข้าพิธีชัยมาลา (Jayamaala) ด้วยการแลกมาลัยคล้องคอซึ่งกันและกัน และครอบครัวทั้งสองฝ่ายจะแลกพวงมาลัยและของขวัญเพื่อส่งสัญญาณ ว่าต่อไปนีท้ งั้ สองจะเป็นครอบครัวเดียวกัน ก่อนทีท่ งั้ คูจ่ ะเดินวนรอบกองไฟ ศักดิส์ ทิ ธิ์ 7 รอบตามพิธสี ปั ตปาธี (Sapthapadhi) โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ สวดให้พร เจ้าสาวจะถูกพรมนํ้ามนต์เพื่อช�ำระบาปในอดีตให้พร้อมก้าวสู่ ชีวิตในวันข้างหน้า และจบลงด้วยพิธสี มรสและการเฉลิมฉลองทีเ่ ต็มไปด้วย ความรื่นเริง การเต้นร�ำ และการรับประทานอาหารอย่างอิ่มหน�ำ

3 สิ่งหลักที่ขาดไม่ได้ในงานแต่งงาน

นอกจากพิธีการทางศาสนา เมฮนาเล่าว่า “ครอบครัว เสียงเพลง และ การสร้างความทรงจ�ำอันแสนประทับใจ” เป็น 3 สิ่งที่ทีมงานให้ความ ส�ำคัญ เพราะการแต่งงานของชาวอินเดียไม่ได้หมายถึงการแต่งงาน ของคน 2 คนแต่คือการสร้างครอบครัวร่วมกัน ดังนั้นในทุกรายละเอียด ของการจัดงาน ทีมงานจะต้องสร้างความผูกพันให้เกิดขึ้นกับครอบครัว ทั้งสองที่จะรวมเป็นหนึ่ง โดยมีเสียงเพลงเป็นตัวสร้างบรรยากาศตลอด การจัดงาน ส่วนรูปแบบของการจัดงานเฉลิมฉลองนั้นจะขึ้นอยู่กับคู่บ่าว สาวว่าชอบรูปแบบงานแบบไหน โดยทั่วไปจะมีการก�ำหนดรูปแบบงาน แต่งงานเป็นธีม เพื่อสร้างสีสันในงานแต่งงาน เช่น ธีมการแต่งงานใน สวน ที่แขกทุกท่านจะแต่งกายด้วยสีขาวและมีการใช้ผงแป้งสีสาดใส่ กันเพื่อสร้างความรื่นเริงตลอดงาน พร้อมเนรมิตสไลเดอร์จากผ้าใบ ขนาดใหญ่กลางสนามหญ้าเพิ่มความสนุกสนาน และบางครั้งทีมงาน อาจต้องเตรียมพร้อมบริการเสริมอื่นๆ อาทิ ดีเจ วงดนตรี ช่างภาพ หรือแม้แต่การเช่าม้าหรือช้างส�ำหรับใช้ในพิธี ฯลฯ เพื่อให้การจัดงาน แต่ละครั้งสมบูรณ์แบบและสร้างประสบการณ์แสนประทับใจให้กับแขก ทุกท่านที่มาร่วมงาน TIPS FOR ENTREPRENEURS

•การวางแผนอย่างละเอียดเพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด โดยเฉพาะ พิธีการทางศาสนาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ •การแต่งงานของชาวอินเดียคือการรวมสองครอบครัวเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้น “ครอบครัว” จะต้องถูกน�ำมาร้อยเรียงผ่านพิธีการและงานจัดเลีย้ ง ตลอดทุกช่วงเพือ่ สร้างประสบการณ์อนั น่าประทับใจ •เนื่องจากคู ่ วิ วาห์และแขกผู้เข้าร่วมงานมาจากต่างประเทศ ดังนั้น นอกจากพิธกี ารและการจัดเลีย้ งแล้ว ทีมงานต้องเป็นตัวกลางประสานงาน ด้านที่พัก การเดินทาง การจัดดอกไม้ สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งช้อปปิ้ง ช่างภาพ ฯลฯ ให้ครบสมบูรณ์ตลอดทริป weddingsbykeeran.com พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความคิ ด สร้ า งสรรค์ ม าสร้ า งเป็ น มู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ กั บ สิ น ค้ า และ บริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ทรี่ วบรวมรายชือ่ และผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ จากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ใ น ที่เดียวกัน

ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l 23


© Samuel Aranda/Corbis

เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ

ไม่แน่ใจนักว่าชาวอเมริกันที่ตกงานจะข�ำหรือเจ็บปวด หากถูกถามว่า “คุณถูกบังกาลอร์หรือ” กระแสความเปลี่ยนแปลงของ ยุคปฏิวตั ไิ อที ท�ำให้การจ้างงานและการด�ำเนินธุรกิจข้ามพรมแดนมีความสะดวกรวดเร็ว ก่อให้เกิดศัพท์สแลงใหม่ในโลกภาษาอังกฤษ ความหมายของค�ำกริยาถูกกระท�ำทีว่ า่ “to be Bangalored” ได้ถกู บรรจุลงในพจนานุกรมแม็คมิลแลน โดยมีการอธิบายความไว้วา่ “หากใครสักคนถูกบังกาลอร์ แปลว่าเขาตกงานเพราะบริษัทของเขาได้หันไปจ้างแรงงานราคาถูกในประเทศอื่นแทน” การบัญญัติศัพท์ “to be Bangalored” สะท้อนถึงปรากฏการณ์ตลอดช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทข้ามชาติได้หันมา จ้างแรงงานผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียที่ใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วในบังกาลอร์หรือเบงกาลูรู (Bengaluru) เมืองทางตะวัน ออกเฉียงใต้ในรัฐกรณาฎกะ (Karnataka) ของอินเดีย ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางของ Business Process Outsourcing (BPO) หรือ “กิจการธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ” และยังได้รับการขนานนามว่าเป็น “Silicon Valley of India” เมืองผู้ส่งออกบริการ ทางด้านไอทีรายใหญ่ที่มีมูลค่าสูงถึง 11.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา

การเดินทางเยือนบังกาลอร์ของโธมัส แอล. ฟรีดแมน (Thomas L. Friedman) นักข่าวและนักเขียนชาวอเมริกันชื่อดัง เพื่อถ่ายท�ำสารคดีของดิสคัฟเวอรี่ แชนแนล ในปี 2004 ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งหนังสือ The World is Flat: A Brief History of the Twenty-First Century ซึ่งมียอดจ�ำหน่ายมากกว่า 4 ล้านเล่มทั่วโลก ระหว่างที่ฟรีดแมนลงพื้นที่ เพื่อส�ำรวจและศึกษาถึงสาเหตุที่ประชากรอินเดียได้กลายเป็นผู้ให้บริการ หลักของโลกในภาคธุรกิจเอาท์ซอร์สและเทคโนโลยีสารสนเทศ เขาถึงกับ ตืน่ ตะลึงเมือ่ ได้สมั ผัสกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของบังกาลอร์ ซึง่ เป็น ผลพลอยได้ของวิวฒั นาการการปฏิสมั พันธ์ทางธุรกิจ ในยุคทีค่ อมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล อีเมล เคเบิลใยแก้ว และระบบซอฟต์แวร์เกื้อหนุนให้การเข้า ถึงข้อมูลข่าวสารเกิดขึน้ อย่างเท่าเทียมแบบ ‘เรียลไทม์’ จากทัว่ ทุกมุมโลก จนกระบวนการร่วมงานและแบ่งงานกันท�ำในสายการผลิตและภาคบริการ ข้ามทวีปเป็นจริงได้ด้วยต้นทุนที่ต�่ำ 24 l Creative Thailand l ตุลาคม 2557

Reuters/Vivek Prakash

ผู้น�ำยุคปฏิวัติไอที


en.wikipedia.org

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ไม่ใช่เคล็ดลับอะไรที่ผู้มุ่งมั่นแข่งขันแสวงหาก�ำไร จะสรรหากรรมวิธี ต่างๆ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลิตภาพให้ได้มากที่สุด เมื่อกล่าวถึงเหตุผล ของการย้ายการจ้างงานจากประเทศโลกตะวันตกมายังบังกาลอร์ ซีอโี อชาว อเมริกันของบริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่งถึงกับเปรียบเทียบให้ฟรีดแมนฟังว่า พนักงานในบังกาลอร์ 1 คนสามารถท�ำงานได้เทียบเท่ากับพนักงานชาว ยุโรป 2-3 คน โดยไม่ได้เรียกร้องขอวันหยุดยาว 6 สัปดาห์ต่อปีเหมือน พนักงานชาวยุโรป ราวกับว่าซีอโี อรายนีต้ อ้ งการจะเตือนสติเพือ่ นชาวตะวัน ตก เมื่อเขากล่าวเสริมว่า “หากคุณคิดว่ามันเป็นแค่เรื่องของค่าจ้าง คุณก็ คงยังรักษาศักดิ์ศรีไว้ได้ แต่ความเป็นจริงนั้นช่างโหดร้าย เพราะพวกเขา [ในบังกาลอร์] กลับท�ำงานได้ดีกว่าคุณ” นับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1980 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ ฮิว เลตต์-แพคการ์ด โมโตโรล่า ออราเคิล ฟิลิปส์ ซิสโก้ อินเทล ไอบีเอ็ม และจีอี ต่างทยอยย้ายฐานการวิจัยและพัฒนาส่วนหนึ่งมายังบังกาลอร์ สิทธิบัตรมากกว่า 1,000 รายการที่ขึ้นทะเบียนโดยบริษัทเหล่านี้ เกิดจาก น�้ำพักน�้ำแรงการร่วมคิดค้นนวัตกรรมของวิศวกรและนักวิจัยชาวอินเดีย ภายหลังการตั้งสาขาของบริษัทข้ามชาติในบังกาลอร์ไม่นานนัก ชาว อินเดียผู้ใช้แรงงานทางสมองก็ได้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพของตนเอง ในยุค บุกเบิก บริษัทอย่างอินโฟซิส (Infosys) ไวโปร (Wipro) และทาทา คอนซัล แทนซี เซอร์วิสเซส (Tata Consultancy Services) เริ่มต้นด้วยการรับจ้าง พัฒนาซอฟต์แวร์และให้บริการทางด้านไอทีแก่สาขาท้องถิน่ ของบริษทั ข้าม ชาติ ก่อนผันตัวไปรับงานตรงจากบริษัทซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในโลกตะวันตกจน สร้างรายได้จากการส่งออกบริการไอทีแก่อินเดียอย่างมหาศาล ซอฟต์แวร์ทนั สมัยและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ดงึ แรงงานชาวอินเดีย ในบังกาลอร์เข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตและบริการระดับโลก (Global Supply Chain) ไม่วา่ จะเป็นบริการติดตามกระเป๋าหายของสายการบินเดลต้าและ

บริตชิ แอร์เวย์ การดูแลระบบการเช่ารถออนไลน์ให้เอวิส การบริหารจัดการ ธุรกรรมให้แก่ธนาคารพาณิชย์ดอยซ์แบงก์ ไปจนถึงการแปลงพิมพ์เขียว งานออกแบบเครื่องบินโบอิงสู่ระบบดิจิทัลเพื่อให้การผลิตจริงสะดวกและ ถูกต้องตามสเปค หากไม่นับคนที่ “ถูกบังกาลอร์” คงเป็นไปได้ที่ชาวตะวันตกจ�ำนวน มากจะรู้สึกว่าชาวอินเดียเป็นเพื่อนร่วมชาติของพวกเขา เมื่อมีพนักงาน คอลล์ เซ็นเตอร์ในเมืองบังกาลอร์ชื่อ “Rajan” หรือ “Sabita" แนะน�ำ ตัวผ่านสายโทรศัพท์ด้วยชื่อที่คุ้นเคยอย่าง Robert หรือ Sally และพร้อม ตอบค�ำถามด้วยส�ำเนียงภาษาอังกฤษที่คุ้นหู ยิ่งไปกว่านั้น บางรายอาจ รู้สึกว่ามีชาวอินเดียเป็นผู้ร่วมงานที่นั่งท�ำงานอยู่ใกล้ๆ ตัว เมื่อได้ลองใช้ บริการบริกเวิรก์ (Brickwork) บริษทั ทีต่ งั้ อยูใ่ นบังกาลอร์ซงึ่ ให้บริการผูช้ ว่ ย ผู้บริหารทางไกล (Remote Executive Assistant) ผ่านทางอีเมลและการ ประชุมออนไลน์ เสมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวที่ท�ำงานหามรุ่งหามค�่ำเพื่อสรุป เอกสาร จัดท�ำร่างสุนทรพจน์ และจัดเตรียมพาวเวอร์พอยต์ให้

The American Dream: ดินแดนแห่งชนชั้นกลางใหม่

เส้นทางการพัฒนาของบังกาลอร์แตกต่างจากเมืองส�ำคัญอืน่ ๆ บังกาลอร์ ไม่ได้เจริญรุ่งเรืองเพราะเป็นศูนย์กลางอ�ำนาจทางการเมืองเหมือนมหา นครเดลี (Delhi) ไม่ได้ร�่ำรวยจากการเป็นศูนย์กลางการเงินและการค้า เช่นเมืองท่าชายฝั่งมุมไบ (Mumbai) บังกาลอร์ถูกมองว่าเป็นดินแดน ของชนชัน้ กลางใหม่ทไี่ ร้ซงึ่ ความสัมพันธ์แบบพวกพ้องทีแ่ น่นแฟ้นกับกลุม่ การเมืองและอ�ำนาจทุนเก่าแก่ แต่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ขยันท�ำงานหนัก เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว กลุ่มคนซึ่งไม่ได้มีทุนทางการเงินหนา แต่มีทุนทาง ปัญญา (Intellectual Capital) เป็นเครื่องมือท�ำมาหากิน การไหลเข้าของแรงงานผูเ้ ชีย่ วชาญนัน้ เกิดขึน้ ระลอกแรกเมือ่ รัฐบาล กลางอินเดียเลือกย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่มีความส�ำคัญต่อ ยุทธศาสตร์ทางการทหาร ได้แก่ อุตสาหกรรมการบิน และอิเล็กทรอนิกส์ มายังบังกาลอร์ในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 เพราะเมืองตัง้ อยูห่ า่ งไกล จากชายแดนปากีสถานและสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย สงคราม นโยบายการเปิดเสรีทางการค้าของรัฐบาลอินเดีย ยังได้เอือ้ ประโยชน์ ให้อตุ สาหกรรมไอทีของบังกาลอร์ขยายตัวอย่างไม่หยุดยัง้ ชาวอินเดียระดับ หัวกะทิที่จบการศึกษาระดับปริญญาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของสหรัฐฯ ตุลาคม 2557 l Creative Thailand l 25


© Brianlee/Corbis

และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความส�ำเร็จของบริษัทชั้นน�ำในซิลิคอน แวลลีย์ ต่างย้ายกลับมาตั้งรกรากในบังกาลอร์และบุกเบิกธุรกิจสตาร์ทอัพ ในปีที่ ผ่านมา จ�ำนวนผู้มีพรสวรรค์ทางด้านเทคโนโลยีย้ายเข้ามาประกอบอาชีพ ในบังกาลอร์สูงถึง 26,453 คน ซึ่งเกือบเทียบเท่ากับซิลิคอน แวลลีย์ ซึ่ง มีแรงงานไอทีต่างถิ่นย้ายเข้ามาประกอบอาชีพจ�ำนวน 28,516 คน จาก การพิจารณาสถิติแรงงาน คงไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันนัก เมื่อศรีวัตสะ กฤษณะ (Srivatsa Krishna) เจ้าหน้าที่ระดับสูงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของ รัฐกรณาฎกะได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า บังกาลอร์จะแซงหน้าซิลิคอน แวลลีย์ ในปี 2020 โดยจะเป็นเมืองที่มีแรงงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสูง ที่สุดในโลกถึงระดับกว่า 2 ล้านคน บังกาลอร์ยังเปรียบเสมือนบันไดในการไต่เต้าทางสังคมของชาว อินเดียรุ่นใหม่ นักศึกษาจบใหม่สามารถคาดหวังที่จะสร้างรายได้กว่า 4,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือนจากการประกอบอาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ โดยภายในระยะเวลา 2 ปี เขามีสิทธิ์ที่จะสร้างรายได้ต่อปีมากกว่า ศาสตราจารย์ที่พร�่ำสอนเขามาด้วยซ�้ำ นอกจากนี้ ชาวอเมริกันยังได้เริ่มมุ่งหน้าสู่อินเดียเพื่อแสวงหาโอกาส ทางธุรกิจใหม่ ฌอน แบล็กสเวดต์ (Sean Blagsvedt) ผู้ย้ายมาก่อตั้ง ธุรกิจเว็บไซต์จัดหางานในบังกาลอร์ชื่อ Babajob.com ให้สัมภาษณ์กับ ส�ำนักข่าวบีบีซีว่า เขาเห็นโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาสังคม ของอินเดีย เช่น จะท�ำอย่างไรให้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนหรือให้ประชากร มีอาหารประทังชีพ โดยโอกาสเช่นนี้หาไม่ได้ในสหรัฐฯ อีกแล้ว ส่วนวาเลรี แวกอนเนอร์ (Valerie Wagoner) ผูจ้ บการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทอีเบย์ในซิลิคอน แวลลีย์ และมุ่งหน้ามายัง บังกาลอร์เพื่อก่อตั้ง ZipDial ซึ่งให้บริการท�ำการตลาดบนโทรศัพท์มือถือ และให้เหตุผลในการตัดสินใจไว้ว่า เพราะตลาดในอินเดียยังไม่อิ่มตัว ไม่วา่ คุณจะหันไปทางใด คุณก็สามารถมองเห็นโอกาสในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

ทั้งหวานและขมขื่น: ชนชั้นวรรณะทางเทคโนโลยี

ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น เป็นไปได้ยากยิ่งที่โอกาสทางเศรษฐกิจจะ ตกถึงมือทุกคนได้อย่างเท่าเทียม เช่นเดียวกับในบังกาลอร์ที่ความเจริญ รุ่งเรืองยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตคลัสเตอร์ไอที เอียน แจ็ค (Ian Jack) 26 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557

ต่อต้านหรือต่อยอด: อาณานิคมและทุนนิยมในโลกทัศน์ แบบอินเดีย อาจกล่าวได้ว่าความยิ่งใหญ่ของบังกาลอร์เกิดจากศักยภาพของประชากร อินเดียในการใช้ภาษาอังกฤษ การเป็นผู้ประกอบการ และทักษะทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไรก็ตาม เป็นเวลากว่าหลายทศวรรษทีส่ งั คมอินเดีย จะเปิดใจรับพัฒนาศักยภาพทั้ง 3 ด้านเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ แข่งขันบนเวทีเศรษฐกิจโลก ทัศนคติในการมองศักยภาพทั้ง 3 เปลี่ยนแปลง และพลิกผันไปมา ตามความสัมพันธ์ที่มีต่อโลกตะวันตกแบบลูกผสม ซึ่งมีทั้ง ความชื่นชมและเกลียดชัง นานดาน นิเลกานี (Nandan Nilekani) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินโฟซิส เล่าความเป็นมาของการต่อต้านและต่อยอดศักยภาพทั้ง 3 ด้านไว้ในหนังสือ Imagining India: The Idea of a Renewed Nation แต่เดิมในยุคอาณานิคม การสอนภาษาอังกฤษแก่ชาวอินเดียถือเป็นหนึง่ ในเครือ่ งมือของจักรวรรดิองั กฤษ ในการปกครองประเทศเมืองขึ้น โธมัส แมคคอเลย์ (Thomas Macaulay) ผู้เข้ารับต�ำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายสาธารณะในอินเดียในปี 1934 กล่าวว่า “เราต้องสร้างชนชัน้ ทีส่ ามารถท�ำหน้าทีเ่ ป็นล่ามระหว่างเรากับ ประชากรใต้การปกครองของเราที่มีจ�ำนวนหลายล้านคน ชนชั้นที่มีสายเลือด และสีผวิ แบบอินเดีย แต่มรี สนิยม โลกทัศน์ ความเชือ่ ทางศีลธรรม และปัญญา แบบอังกฤษ” อย่างไรก็ตาม เมือ่ อินเดียได้รบั เอกราช ภาษาอังกฤษกลับถูกมอง ว่าเป็นมรดกตกทอดของจักรวรรดินิยมที่น่ารังเกียจ ถึงขั้นที่มหาตมะ คานธี ผู้น�ำชาตินิยมในยุคนั้นได้กล่าวว่า “การให้ความรู้ภาษาอังกฤษกับคนนับล้าน คือการท�ำให้พวกเขากลายเป็นทาส” ในช่วงการสร้างชาตินี้ เหล่าผู้น�ำชาว อินเดียได้พยายามที่จะสถาปนาฮินดูเป็นภาษาราชการแทนภาษาอังกฤษ แต่ ด้วยความแตกต่างทางชนชั้นวรรณะและภาษาท้องถิ่น ท�ำให้เกิดการประท้วง จากรัฐอินเดียใต้ ซึง่ มองว่าการบังคับใช้ภาษาฮินดูคอื รูปแบบการล่าอาณานิคม ของอินเดียเหนือ อาจถือเป็นเรื่องตลกร้าย เพราะท้ายที่สุดแล้วภาษาอังกฤษ กลับกลายเป็นภาษาที่ท�ำให้ชาวอินเดียมีอิสรภาพและอ�ำนาจทางเศรษฐกิจ แข่งขันได้กับประเทศอดีตเจ้าอาณานิคม ประสบการณ์จากหน้าประวัตศิ าสตร์ การปฏิสมั พันธ์กบั บริษทั อีสต์อนิ เดีย ในยุคอาณานิคม ท�ำให้ผนู้ �ำชาวอินเดียยุคหลังการประกาศเอกราชรูส้ กึ เกลียด ชังระบบทุนนิยม และเกรงกลัวทีจ่ ะปล่อยให้ภาคธุรกิจเติบโตโดยปราศจากการ ควบคุมของรัฐ ผู้ประกอบการธุรกิจมักถูกมองว่าเป็น “นักล่า” ที่แสวงหาผล ประโยชน์ส่วนตน โดยไม่ค�ำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ อินทิรา คานธี (Indira Gandhi) นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของอินเดีย ถึงขั้นเคยกล่าวว่านักธุรกิจคือ “พลังด้านมืดและมัจจุราช” กว่าภาคเอกชนรายย่อยจะมีโอกาสในการพัฒนา ธุรกิจอย่างจริงจัง ก็ตอ้ งรอจนถึงยุคปฏิรปู นโยบายทางเศรษฐกิจในปี 1991 ของ มานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่ง ยกเลิกการผูกขาดให้ใบอนุญาตอุตสาหกรรม และยกเลิกการควบคุมเงินทุน ให้ภาคธุรกิจรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ นิเลกานีกล่าวว่าจวบจนทศวรรษ 1980 เมื่อคนทั่วไปคิดถึงอินเดีย ไม่มี ใครเลยที่จะคิดถึงเทคโนโลยี และหากย้อนอดีตไปก่อนหน้านั้นในยุคที่อินเดีย ยังเป็นประเทศสังคมนิยม คอมพิวเตอร์ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือของ “ปีศาจ ทุนนิยม” และ “เครื่องจักรกินคน” ที่จะมาแย่งงานของชาวอินเดียที่ประกอบ อาชีพในโรงงานและส�ำนักงานต่างๆ เมื่อราจีฟ คานธี (Rajiv Gandhi) อดีต นักบินฝึกหัดผู้ชื่นชมเทคโนโลยียุคใหม่ ได้ด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของประเทศ และออกนโยบายปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศ เขากลับต้องถูก กระแสต่อต้านอย่างหนักจากสหภาพแรงงาน จนวันแรงงานปี 1984 ขึ้นชื่อว่า เป็น “วันต่อต้านคอมพิวเตอร์”


นักข่าวต่างประเทศที่อยู่อินเดียมากว่า 30 ปี กล่าวถึงประสบการณ์ล่าสุด ในการเยือนบังกาลอร์ในปี 2007 ขณะเยีย่ มชมแคมปัสอินโฟซิสขนาดพืน้ ที่ 43 เอเคอร์ เพื่อดูการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด “แต่ถ้าคุณได้ขึ้นไปบนตึก สูงระฟ้าของอินโฟซิส แล้วมองออกไปนอกหน้าต่างเพือ่ ชมทัศนียภาพของ ตัวเมือง สิ่งที่คุณจะเห็นคือสลัม สถานที่ซึ่งเด็กเล็กๆ ไม่มีห้องน�้ำใช้ ต้อง นัง่ ขับถ่ายอุจจาระในบริเวณทีม่ สี นุ ขั จรจัดเดินไปมา ไม่ไกลออกไปนักจาก คูน�้ำสกปรกสีด�ำ” บังกาลอร์ถือเป็นศูนย์รวมของ “High Net Worth Individual” หรือ มหาเศรษฐีผมู้ มี ลู ค่าสินทรัพย์การเงินและการลงทุนมากกว่า 1 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ เป็นรองเพียงแค่มหานครเดลี และมุมไบเท่านั้น ในขณะที่ใจกลางตัวเมืองเต็มไปด้วยความศิวิไลซ์ของ โลกสมัยใหม่ ผู้คนที่ประกอบอาชีพในภาคการเกษตรที่อยู่ห่างออกไปไม่ ไกลนักกลับต้องเผชิญมรสุมชีวิต ในปี 2007 อัตราการฆ่าตัวตายของ ชาวนาชาวไร่ในรัฐกรณาฎกะสูงถึงกว่า 1,000 ราย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบังกาลอร์สะท้อนให้เห็นว่ายุคโลกาภิวัตน์ ได้สร้างทั้งราชาและกรรมกรแห่งวงการไซเบอร์ งานบริการลูกค้าสัมพันธ์ อย่างคอลล์ เซ็นเตอร์ แม้จะเป็นแค่การพูดคุยสนทนาทางโทรศัพท์ แต่ แรงงานชาวอินเดียจะต้องถูกฝึกอบรมอย่างหนักให้มสี �ำเนียงภาษาอังกฤษ และมีมารยาทการสนทนาที่ดีเลิศ การท�ำงานล่วงเวลาและการรับมือกับ ลูกค้ามากหน้าหลายตา ซึ่งบางครั้งพูดคุยด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด ได้ น�ำมาซึ่งความเครียดซึ่งส่งผลให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและอาการ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง สุขภาพจิตก็ถดถอยเพราะต้องท�ำงานในสภาพ วัฒนธรรมที่ตนเองรู้สึกแปลกแยก และจ�ำต้องแปลงโฉมอัตลักษณ์ของ ตนเองเพือ่ เข้าท�ำงาน ไม่วา่ จะเป็นการดัดส�ำเนียงภาษาอังกฤษและเปลีย่ น ชื่อของตนที่พ่อแม่ตั้งไว้ให้เป็นชื่อที่คุ้นหูชาวตะวันตก สภาวะความกดดันจากอาชีพการงานไม่ได้จ�ำกัดอยูแ่ ค่ในหมูพ่ นักงาน บริการลูกค้าสัมพันธ์ แต่ยังรวมถึงเหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์หน้าใหม่ ใน ช่วงไม่กี่ปีมานี้ กลายเป็นว่าไม่ใช่เพียงชาวนาชาวไร่เท่านั้นที่คิดสั้น แต่ยัง รวมถึงแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเอาท์ซอร์สและเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกด้วย จนบังกาลอร์ถูกกล่าวขวัญว่าเป็น “นครแห่งการฆ่าตัวตาย (The Suicide Capital)” ส�ำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่าในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ระหว่างพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2013 มีจ�ำนวนผู้ปลิดชีพตนเองสูง ถึง 572 ราย แม้อินเดียจะกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไอทีของโลก แต่อัตรา การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรกลับมีระดับต�ำ่ กว่าร้อยละ 10 ในขณะ ที่อังกฤษและสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับร้อยละ 80 อย่างไรก็ตามความพยายาม ที่จะลดความเหลื่อมล�้ำทางเทคโนโลยี (Digital Divide) ก็เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เช่น โครงการฝึกอบรมของอินโฟซิสที่มีหลักสูตรสอนภาษา อังกฤษและให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ชนชั้นจัณฑาล ซึ่ง ปกติเป็นกลุ่มคนด้อยโอกาสไม่ค่อยได้รับการจ้างงานในอุตสาหกรรมไอที หากมีนโยบายพัฒนาทีเ่ หมาะสม เทคโนโลยีสมัยใหม่ยอ่ มสามารถใช้ เป็นเครื่องมือกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับคนรากหญ้าได้ ปัจจุบัน องค์กรไม่แสวงหาก�ำไรชื่อ “สมาคมอินเทอร์เน็ต” สาขาประจ�ำเมือง บังกาลอร์ (Internet Society Bangalore Chapter) ได้ด�ำเนินโครงการ

“Empower Artisans” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพือ่ ธุรกิจแก่ผผู้ ลิตสินค้างาน ฝีมือรายย่อย ช่างตัดเสื้อ ช่างท�ำเฟอร์นิเจอร์ คนทอผ้าฝ้าย และแรงงาน จากอีกหลากหลายสาขาอาชีพ ผู้เข้าร่วมโครงการหลายร้อยชีวิตจะได้ รับการฝึกอบรมให้ใช้อีเมล เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ การประชุมออนไลน์ และ โปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ จนสามารถขายสินค้าของตนผ่านระบบ ออนไลน์และเว็บไซต์ต่างๆ สร้างรายได้จากการขยายฐานลูกค้า โดยไม่ ต้องถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางเหมือนในอดีต

ปริศนาของความก้าวหน้า

อาจกล่าวได้ว่าบังกาลอร์เป็นเมืองก�ำลังพัฒนาที่อยู่ในช่วงพิสูจน์ตนเอง ระยะเวลาเปลี่ยนผ่านทางสังคมเศรษฐกิจนี้ ความร�่ำรวยที่เกิดใหม่ยังคง ด�ำรงอยูค่ กู่ บั ความยากจนทีเ่ ป็นปัญหาเรือ้ รังมาแต่อดีต และความทันสมัย ทีเ่ พิง่ มาถึงยังไม่ได้เข้ามาทดแทนความล้าหลังจนหมดสิน้ ยังคงเป็นปริศนา ซึ่งรอบทสรุปเพื่อไขข้อสงสัยที่ว่า ความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมไอทีที่ สร้างความส�ำเร็จให้แก่ชาวอินเดียระดับหัวกะทิ จะถูกปรับใช้และพัฒนา ต่อยอดให้เกิดการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึงอย่างเป็นรูปธรรม ได้มากหรือน้อยเพียงใด

ที่มา: หนังสือ “The World is Flat: A Brief History of the Twenty-First Century” (2007) โดย Thomas L. Friedman, หนังสือ “Imagining India: The Idea of a Renewed Nation” (2009) โดย Nandan Nilekani, บทความ “Accent Neutralisation and a Crisis of Identity in India’s Call Centres” (9 กุมภาพันธ์ 2011) จาก the guardian.com, บทความ “Bangalore: The City Globalisation Built” (5 กันยายน 2011) จาก blogs.wsj.com, บทความ “Bangalore: The World’s Call-Centre Capital” (17 มีนาคม 2008) จาก telegraph.co.uk, บทความ “Bangalore with 26,453 New Workers Grows Tech Talent Faster Than Silicon Valley with 28,516 New Workers” (26 มิถุนายน 2014) จาก forbes.com, บทความ “Bollywood and Bangalore as Clusters of Creativity” (29 สิงหาคม 2012) จาก citylab.com, บทความ ”Business and Caste in India: with Reservations, India’s Government is Threatening to Make Companies Hire More Low-Caste Workers” (4 ตุลาคม 2007) จาก economist.com บทความ “Can the ‘American Dream’ Be Reversed in India?” (5 พฤศจิกายน 2012) จาก bbc.com, บทความ “How the ‘Silicon Valley of India’ Is Bridging the Digital Divide” (6 ธันวาคม 2012) จาก cnn.com, บทความ “India’s IT and Outsourcing Industries: The Bangalore Paradox” (21 เมษายน 2005) จาก economist.com, บทความ “Is the Next Silicon Valley Taking Root in Bangalore?” (20 มีนาคม 2006) จาก nytimes.com, บทความ “Snapshot of Call Centre Workers in Bangalore, India” (29 ตุลาคม 2012) จาก scienceblogs.com, บทความ “The Future of India: The Bangalore Enlightenment” (19 มีนาคม 2009) จาก economist.com, บทความ “The Making of a Miracle” (14 สิงหาคม 2007) จาก theguardian.com, บทความ “The Sociology of Suicide: The Increase of Suicides in City and Village is a New Development” (21 สิงหาคม 2004) จาก telegraphindia.com, สารคดี “The Other side of outsourcing” (2004) จาก discovery.com, รายงานข่าว “Bengaluru: Inside India’s Silicon Valley” (23 กุมภาพันธ์ 2014) จาก bbc.com, รายงานข่าว “India: High Tech Mirage” (20 มีนาคม 2014) จาก aljazeera.com, สารคดี “The Other Side of Outsourcing” (2004) จาก discovery.com ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

อดุลย์ โชตินิสากรณ์ เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

ในฐานะดินแดนเก่าแก่ที่มีการถ่ายทอด วั ฒ นธรรมความเชื่ อ มายาวนาน ต้ อ ง ยอมรับว่าอินเดียถือเป็นตลาดผู้บริโภคที่ มีความแข็งแรงด้านสังคมและวัฒนธรรม สูงและมีเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร ซึ่งก็ เป็นอุปสรรคส�ำคัญส�ำหรับผูป้ ระกอบการ จากต่างภาษาต่างวัฒนธรรม ถึงกระนั้น ในมุมมองของ ‘อดุ ล ย์ โชติ นิ ส ากรณ์ ’ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานส่งเสริมการค้า ระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ กลับมองว่า การที่อินเดียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดเป็น อันดับสองของโลก มีความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติ และต้นทุนค่า แรงงานทีถ่ กู มาก นับว่าเป็น“ความเย้ายวน ของโอกาสมหาศาล” ที่ ผู ้ ป ระกอบการ ต่างชาติไม่เว้นแม้แต่ผู้ประกอบการไทย ไม่อาจละเลย และต่างก็พยายามที่จะท�ำ ความเข้ า ใจเพื่ อ เปิด ประตู สู่โ อกาสใหม่ ที่อยู่เหนือความคาดหมายนี้ไปให้ได้

28 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

กล่าวกันว่า แม้ตลาดอินเดียจะถือเป็นตลาดที่น่าสนใจในมิติของ จ�ำนวนประชากรที่มีมากกว่าพันล้านคน แต่ก็เต็มไปด้วยความ หลากหลายและซับซ้อนทีต่ อ้ งค�ำนึงถึง คุณมีความคิดเห็นอย่างไร

อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรจ�ำนวนมาก และมีพื้นที่กว้างใหญ่ท�ำให้ มีความหลากหลายและซับซ้อนอย่างมาก ทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ ประชากร ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ และภาษา ยกตัวอย่างง่ายๆ เฉพาะใน เมืองมุมไบ ผู้คนจะสื่อสารกันด้วยภาษาที่หลากหลายคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดี และภาษามารตี แต่แค่ขับรถขึ้นไปด้านเหนือของมุมไบสัก 4 ชัว่ โมงครึง่ เข้าสูเ่ มืองสุราตในรัฐคุชราต ผู้คนจะพูดกันด้วยภาษาฮินดี ภาษาคุชราตี และภาษาสุราตี จนรู้สึกเหมือนเดินทางเข้าไปอีกประเทศ หนึ่งเลย ด้านอาหารการกินและรูปแบบการปรุงของแต่ละภาคก็แตกต่าง กันโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ถ้าพิจารณาจากศาสนาแล้ว ก็จะยิ่งเห็นความ แตกต่างมากขึ้นไปอีก ความแตกต่างเหล่านี้จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ผู้ที่สนใจ จะเข้าไปประกอบธุรกิจหรือลงทุนในอินเดียต้องเข้าใจและเข้าถึงอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้มีโอกาสประสบความส�ำเร็จในอินเดียได้ง่ายขึ้น เราจะแบ่งผู้บริโภคอินเดียเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้อย่างไรบ้าง

ส่วนใหญ่แล้วนักการตลาดมักจะแบ่งส่วนตลาดในอินเดียแบบง่ายๆ ตามฐานะทางเศรษฐกิจเป็นตลาดระดับบน กลาง และล่าง นอกจากนี้ ยั ง สามารถใช้ เ กณฑ์ ที่ ขึ้ น อยู ่ กั บ ทั้ ง ประเภทของสิ น ค้ า ช่ อ งทางการ จัดจ�ำหน่าย และเป้าหมายของบริษทั เช่น กลุม่ ตลาดคนชนบท กลุ่มตลาด คนในเมือง กลุ่มตลาดเด็กและวัยรุ่น กลุ่มตลาดผู้สูงอายุ กลุม่ ตลาด ผู้หญิง กลุ่มตลาดผู้ชาย กลุ่มตลาดออนไลน์ กลุ่มตลาดค้าปลีกแบบ ดั้งเดิม (Offline Retail Market) ฯลฯ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีลักษณะพิเศษ และมีความต้องการสินค้าและบริการที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบและ ข้อจ�ำกัดของตนเอง แต่บริษัทใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติในอินเดีย มักจะมองละเอียดกว่าเกณฑ์เหล่านี้ คือจะพิจารณาปัจจัยทัง้ เศรษฐกิจและ สังคมพร้อมกันไปเลย ตั้งแต่รายได้ อาชีพ ไปจนถึงศาสนา แล้วจึงแบ่ง เป็นกลุ่มตลาดต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการวางกลยุทธ์ เพราะตลาดที่ หลากหลายอย่างอินเดียยากทีจ่ ะใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเดียวทัว่ ประเทศได้ ต้องแบ่งส่วนตลาดเพือ่ ให้สนิ ค้าและบริการเข้าถึงผูบ้ ริโภคกลุม่ นัน้ ๆ ได้ดที สี่ ดุ

ชาวอินเดียจะมีลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งคือ ความอ่อนไหวด้านราคา (Price-Conscious) จนอาจจะเรียกว่าเป็นนิสัยประจ�ำชาติเลยก็ว่าได้ ผู้บริโภคอินเดียจะเน้นที่ความคุ้มค่ามาก ซึ่งการให้ความส�ำคัญกับราคาสินค้านี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิสัยรักการออม พฤติ ก รรมการบริ โ ภคของชาวอิ น เดี ย แต่ ล ะกลุ ่ ม มี ลั ก ษณะ อย่างไร

ชาวอินเดียจะมีลักษณะร่วมกันอย่างหนึ่งคือ ความอ่อนไหวด้านราคา (Price-Conscious) จนอาจจะเรียกว่าเป็นนิสัยประจ�ำชาติเลยก็ว่าได้ ผู้บริโภคอินเดียจะเน้นที่ความคุ้มค่ามาก ซึ่งการให้ความส�ำคัญกับราคา สินค้านี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิสัยรักการออม อินเดียเป็นประเทศ ที่ประชากรมีอัตราการออมอยู่ในอัตราที่สูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยเฉพาะการออมของครัวเรือนที่อยู่ในอัตราเฉลี่ยประมาณร้อยละ 22 ของจีดีพี โดยจะนิยมสะสมทองค�ำเป็นหลัก และปัจจุบันก็มีแนวโน้มที่ จะเปลี่ยนจากการออมเงินเป็นการออมด้วยการลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่นทองค�ำหรืออสังหาริมทรัพย์มากขึน้ อีก เนือ่ งจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้ม สูงขึ้น ประกอบกับอัตราผลตอบแทนจากการฝากเงินไว้กับธนาคารและ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับอัตรา เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอด กลุ่มผู้บริโภคอินเดียระดับบนจะมีความอ่อนไหวด้านราคาน้อยกว่า กลุ่มผู้บริโภคระดับล่างซึ่งก็เป็นปรากฏการณ์ปกติ กลุ่มนี้จะนิยมสินค้า แบรนด์เนม เดินทางท่องเทีย่ วและช้อปปิง้ ในต่างประเทศ และรับประทาน อาหารในภัตตาคารหรูตามโรงแรมห้าดาว ถ้าหากใครมีโอกาสได้เดินทาง มาเยือนเมืองใหญ่ๆ ในอินเดียฝั่งตะวันตกอย่างมุมไบซึ่งเป็นศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจและการเงินของอินเดีย ก็จะพบเห็นโชว์รมู รถยนต์ยหี่ อ้ แพงๆ และร้านจ�ำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมดังๆ อยู่ตามศูนย์การค้าเป็นเรื่องปกติ โดยผู้บริโภคอินเดียที่มีฐานะทางเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปนั้น มีจ�ำนวนประมาณ 350 ล้านคน คือมากกว่าประชากรของไทยทั้งประเทศ หลายเท่าตัว

ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ปัจจุบันมีธุรกิจไทยที่เข้าไปบุกตลาดอินเดียมากขึ้น เช่นกรณี ของธุรกิจไก่ย่างห้าดาว คุณคิดว่าอะไรคือปัจจัยที่ท�ำให้ประสบ ความส�ำเร็จ และเหตุใดจึงเลือกเปิดทีบ่ งั กาลอร์เป็นแห่งแรกแทนที่ จะเป็นนิวเดลีหรือมุมไบ

ปัจจุบันมีธุรกิจไทยเข้าไปบุกตลาดอินเดียมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ส่วนใหญ่จะ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ซีพี, อิตาเลียน-ไทย, พฤกษาเรียลเอสเตท, เดลตา อิเล็กทรอนิกส์, ร้อกเวิธ, ทองการ์เด้น ฯลฯ โดยมีรูปแบบการ เข้าตลาดที่แตกต่างกันไป แต่โดยภาพรวมแล้ว การเข้าไปลงทุนของ ธุรกิจไทยในอินเดียพอจะแยกออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มที่เข้าไป ประกอบธุรกิจด้านงานก่อสร้าง กับกลุ่มที่เข้าไปตั้งโรงงานผลิตสินค้าแล้ว จ�ำหน่ายในอินเดียเลย ซึง่ กลุม่ หลังนีน้ า่ จะตอบโจทย์เรือ่ งอุปสรรคในการส่ง ออกสินค้าจากไทยเข้าไปยังอินเดียได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ตอ้ งผ่านพิธกี าร ศุลกากรทีซ่ บั ซ้อนยุง่ ยาก ไม่ตอ้ งช�ำระอากรขาเข้าและภาษีตา่ งๆ ทีส่ �ำคัญ คือช่วยประหยัดต้นทุนได้มาก ส่วนกรณีธุรกิจไก่ย่างห้าดาวของกลุ่มบริษัทซีพี ที่ไปเริ่มเปิดครั้งแรก ที่บังกาลอร์เป็นแห่งแรกแทนที่จะเป็นมุมไบหรือนิวเดลีนั้น จากการที่ได้ เคยหารือกับผู้บริหารของบริษัทฯ ท�ำให้ทราบว่าปัญหาส�ำคัญคือค่าเช่า สถานที่ ใ นมุ ม ไบสู ง เกิ น ไป ซึ่ ง อาจท�ำให้ เ ป็ น อุ ป สรรคในการเริ่ ม ต้ น ธุรกิจ จึงได้เปลี่ยนไปเริ่มต้นที่บังกาลอร์ซึ่งมีค่าเช่าถูกกว่า ผู้คนก็เป็น คนทันสมัยเนื่องจากเป็นเมืองไอที มีคนต่างชาติและคนอินเดียอพยพ กลับจากต่างประเทศเข้าไปอยู่จ�ำนวนมาก จึงเป็นตลาดที่มีก�ำลังซื้อสูง และที่ส�ำคัญคื อ อยู ่ ใ กล้ กั บ แหล่ ง วั ต ถุ ดิ บ ของบริ ษั ท ฯ อย่ า งไรก็ตาม พฤติกรรมการบริโภคของคนอินเดียจะคุ้นเคยและนิยมบริโภคไก่ย่าง ของอินเดียที่เรียกว่าไก่แทนดอรี (Tandoori Chicken) มากกว่า บริษัทฯ จึงได้ปรับสินค้าจากไก่ย่างห้าดาวเป็นไก่ทอดห้าดาวแทน ซึ่งก็ประสบ ความส�ำเร็จเป็นอย่างดี มีนักธุรกิจอินเดียสนใจซื้อแฟรนไชส์จ�ำนวนมาก ท�ำให้จ�ำนวนสาขาของไก่ทอดห้าดาวในอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไล่หลังเจ้าตลาดไก่ทอดระดับโลกอย่างเคเอฟซีแบบหายใจรดต้นคอ ทั้งๆ ที่เคเอฟซีเข้าตลาดอินเดียมาก่อนหน้านานแล้ว มาตรการด้านภาษีของอินเดียส่งผลต่อการเข้าสู่ตลาดอินเดีย ของผู้ประกอบการไทยอย่างไรบ้าง

โดยปกติการส่งออกสินค้าจากไทยเข้าไปยังอินเดียจะมีตน้ ทุนสูงกว่าสินค้า ชนิดเดียวกันทีล่ งทุนผลิตและจ�ำหน่ายในอินเดียเลย เช่น น�ำ้ ผลไม้ บะหมี่ กึ่งส�ำเร็จรูป ฯลฯ เพราะต้นทุนการผลิตในไทยสูงกว่า แล้วยังต้องบวกค่า ขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าอากรขาเข้า บวกภาษีอื่นๆ อีก ความสามารถใน การแข่งขันในตลาดจึงลดลง ในขณะทีค่ แู่ ข่งขันจากประเทศอืน่ ทีเ่ ป็นบริษทั ข้ามชาติรายใหญ่ใช้กลยุทธ์ลงทุนผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบและแรงงาน ราคาถูกของอินเดียแล้วจ�ำหน่ายสินค้าในประเทศด้วยราคาที่ถูกกว่ามาก 30 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557

เช่น บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า ที่เข้าไปลงทุนผลิตน�้ำผลไม้ยี่ห้อทรอปิคานาในรัฐ มหาราษฏระแล้ววางจ�ำหน่ายทั่วประเทศ ไทยมี ค วามตกลงเขตการค้ า เสรี กั บ อิ น เดี ย อยู ่ 3 ความตกลง คือ ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย ความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-อินเดีย และ BIMSTEC โดยความตกลงเขตการค้าเสรีไทยอินเดีย มีการน�ำสินค้าเข้ามาเร่งลดอากรขาเข้า (Early Harvest Scheme) เหลื อ อั ต รา 0 เปอร์ เซ็ น ต์ แล้ ว จ�ำนวน 84 รายการ และความตกลง เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดียก็มีการทยอยลดอากรขาเข้าระหว่างกัน หลายพันรายการ และบางรายการเริม่ มีการลดอัตรามาอยูท่ ี่ 0 เปอร์เซ็นต์ แล้วด้วย ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยให้สินค้าจากไทยมีแต้มต่ออยู่บ้าง แต่ในขณะ เดียวกัน สินค้าจากไทยก็ต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการจากประเทศอื่น ที่เข้าไปลงทุนผลิตเพื่อจ�ำหน่ายในอินเดียด้วยต้นทุนที่ต�่ำกว่าด้วยเช่นกัน ระบบสาธารณู ป โภคโดยเฉพาะการคมนาคมในอิ น เดี ย เป็ น อุปสรรคในการพัฒนาและเปิดรับการค้าจากต่างประเทศมาก น้อยแค่ไหน

ระบบโครงสร้ า งพื้ น ฐานยั ง คงเป็ น ปั ญ หาหลั ก ของอิ น เดี ย แม้ว ่ า รั ฐ บาลจะพยายามทุ ่ มเทพั ฒ นาอยู ่ ก็ ต าม ปั ญหาหลั ก ๆ ก็ คื อ ระบบ การคมนาคมขนส่ ง ยั ง เชื่ อ มโยงไม่ ทั่ ว ถึ ง ถนนหนทางส่ ว นใหญ่ ยั ง ไม่ได้มาตรฐาน กระแสไฟฟ้าและระบบคลังสินค้าโดยเฉพาะห้องเย็นยัง ไม่เพียงพอ ซึง่ ท�ำให้พชื ผลการเกษตรของอินเดียเสียหายระหว่างการขนส่ง มากกว่าร้อยละ 40 ในแต่ละปี และยิ่งส่งผลให้ต้นทุนสินค้าที่น�ำเข้าจาก ต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปอีกจากค่าขนส่งภายในประเทศและความเสียหาย ของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเน่าเสียง่าย จึงเป็นเรื่องปกติมากที่ผลไม้สด จากไทยอย่างล�ำไยจะถูกตั้งราคาไว้สูงมากถึงกิโลกรัมละกว่า 300 บาท ตั้ ง แต่ ป ี 2548 เป็ น ต้ น มา รั ฐ บาลอิ น เดี ย ได้ ทุ ่ มงบประมาณกว่ า 4.9 พั น ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ฯ เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อม หัวเมืองเศรษฐกิจส�ำคัญของอินเดียเป็นระยะทางถึง 5,840 กิโลเมตร เป็นถนนสี่ช่องทางที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากล ด้วยโครงการที่มีชื่อว่า “โครงการสุวรรณจตุรพักตร์ (Golden Quadrilateral)” ซึ่งคาดว่าจะ แล้วเสร็จในปี 2593 นอกจากนี้ ตั้งแต่รัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม 2557 ก็มโี ครงการใหม่เกิดขึน้ มากมาย ทัง้ โครงการ พัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการเมืองอัจฉริยะ โครงการพัฒนาท่าเรือ โครงการดิจิทัล อินเดีย เป็นต้น ซึ่งจะเป็นปัจจัย ผลักดันให้อินเดียมีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต ประเทศอื่นๆ ต่างก็ เล็งเห็นถึงโอกาสอันมหาศาลนี้ ทั้งสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และจีน ต่างก็พร้อมที่ จะเข้าไปลงทุนในโครงการ โดยล่าสุดประธานาธิบดีจีนก็ได้เดินทางเยือน อินเดียอย่างเป็นทางการและตกลงจะลงทุนในอินเดียเป็นมูลค่า 2 หมื่น ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเอง เมื่อคราว


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ภาพลักษณ์ของเราในอินเดียถือว่าอยู่ในระดับดีมากแบบไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องเที่ยว สินค้า หรือบริการ ขอเพียงให้มีค�ำว่า “Thailand” หรือ “Made in Thailand” ติดอยู่ คนอินเดียก็จะมีความรู้สึกว่าเป็น “ของดีมีคุณภาพ” ทันที ที่นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี เดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเมื่อ ไม่นานมานี้ ก็ยืนยันแล้วว่าญี่ปุ่นตัดสินใจจะลงทุนในอินเดียในโครงการ ต่างๆ เป็นมูลค่าถึง 3.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยเหมือนกัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อพฤติกรรมการจับจ่ายของชาวอินเดียอย่างไรบ้าง

พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของชาวอินเดียเปลีย่ นไปมาก และมีแนวโน้ม ที่จะหันไปจับจ่ายผ่านระบบอี-คอมเมิร์ซกันมากขึ้น โดยปีที่ผ่านมามูลค่า ตลาดของอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 88 เปอร์เซ็นต์ โดย ปั จ จั ย ที่ ขั บ เคลื่ อ นการเจริ ญ เติ บ โตของอี - คอมเมิ ร ์ ซ ในอิ น เดี ย มี อ ยู ่ หลายอย่าง ตั้งแต่การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งขณะนี้มี ผูใ้ ช้งานอยูป่ ระมาณ 150 ล้านราย ช่องทางการช�ำระเงินทีห่ ลากหลายโดย เฉพาะการช�ำระด้วยเงินสดเมื่อได้รับสินค้า (Cash On Delivery: COD) ประกอบกับร้านค้าปลีกของอินเดียเองก็ยังไม่พัฒนา โดยร้อยละ 92 ยัง เป็นร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า Kirana การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจที่ช้าลงและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็ท�ำให้กลุ่มผู้ซื้อพิจารณา ถึงราคาสินค้ามากขึ้น และร้านค้าออนไลน์ก็เสนอความคุ้มค่าคุ้มราคา ให้แก่ผู้บริโภคมากกว่าร้านค้าปลีกปกติที่ต้องเสียเวลาในการเดินทางเพื่อ ไปเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง อิ น เดี ย ยั ง มี เ ครื อ ข่ า ยโทรคมนาคมใหญ่ เ ป็ น อั น ดั บ สองของโลก โดยในปี 2557 มีจ�ำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ ประมาณ 180 ล้านราย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 250 ล้าน ภายใน ปี 2558 ซึ่ งหมายความว่า จะมีก ารซื้อขายสินค้า และการท�ำธุรกรรม ทางการเงิ น บนมื อ ถื อ เพิ่ ม ขึ้ น โดยเฉพาะในกลุ ่ ม ผู ้ บ ริ โ ภควั ย รุ ่ น และวัยหนุม่ สาวทีเ่ ป็นประชากรทีม่ สี ดั ส่วนมากทีส่ ดุ ของประเทศ โดยอินเดีย เป็นประเทศที่มีประชากรวัยหนุ่มสาวมากที่สุดในโลกด้วยอายุเฉลี่ย ของประชากรเพียง 25 ปีเท่านั้น รัฐบาลชุดใหม่ของอินเดียยังมีแผนที่จะเปิดให้นักลงทุนต่างชาติ เข้าไปลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment: FDI) ในอุตสาหกรรม อี-คอมเมิร์ซในประเทศได้ โดยจะอนุญาตให้เว็บไซต์ค้าปลีกออนไลน์

ต่างชาติเช่นแอมะซอนหรืออีเบย์สามารถจ�ำหน่ายสินค้าสู่ผู้บริโภคได้ โดยตรง (ปัจจุบันกฎหมายอนุญาตให้เว็บไซต์ดังกล่าวด�ำเนินกิจการได้ เพียงเป็นสถานที่ซื้อขายหรือมาร์เก็ตเพลสเท่านั้น) เพื่อกระตุ้นการเจริญ เติบโตของภาคการผลิตและเป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินเดียอีก ทางหนึ่ง ภาพลักษณ์ของประเทศไทยและสินค้าไทยในสายตาชาวอินเดีย

ภาพลักษณ์ของเราในอินเดียถือว่าอยู่ในระดับดีมากแบบไม่น่าเชื่อ ไม่ว่า จะเป็นเรือ่ งการท่องเทีย่ ว สินค้า หรือบริการ ขอเพียงให้มคี �ำว่า “Thailand” หรือ “Made in Thailand” ติดอยู่ คนอินเดียก็จะมีความรู้สึกว่าเป็น “ของดีมีคุณภาพ” ทันที อันนี้ต้องถือว่า “แบรนด์ประเทศไทย” ในอินเดีย แข็งแรงจริงๆ และเชื่อว่าคงจะมีไม่กี่ประเทศในโลกนี้ที่ค�ำว่า “Thailand” จะสามารถเป็นที่ยอมรับได้มากขนาดนี้ สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับอย่าง มากในตลาดอินเดีย ตั้งแต่อาหารกึ่งส�ำเร็จรูป ผลไม้สดและเครื่องปรุงรส ไปจนถึงเสื้อผ้าสตรีส�ำเร็จรูป เสื้อผ้าและของใช้ส�ำหรับทารกและเด็กเล็ก เครื่องใช้ในบ้านและในครัว เป็นต้น ด้านการท่องเทีย่ ว ประเทศไทยถือเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วยอดนิยมของ คนอินเดีย เราได้รับรางวัล The Best Value Destination (International) 2014 จาก Lonely Planet Magazine India ต่อเนื่องมา 3 ปีแล้วตั้งแต่ ปี 2555-2557 ยังมี รางวัล The Best Wedding Destination 2014 ซึ่งก็ แทบจะเป็นรางวัลผูกขาดส�ำหรับประเทศไทยไปแล้ว เพราะในแต่ละปีจะมี คู่สมรสชาวอินเดียเดินทางมาจัดพิธีแต่งงานในไทยปีละประมาณ 200 คู่ จากจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วอินเดียประมาณ 1 ล้านคนทีเ่ ดินทางเข้ามาในไทย อนาคตของสินค้าและบริการไทยในอินเดีย

สินค้าและบริการไทยในอินเดียถือว่ามีอนาคตที่ดีมากซึ่งเป็นผลจาก “ความนิยมไทย” ดังที่กล่าวมาแล้ว คุณภาพสินค้าและบริการของเรา เป็นที่ยอมรับในตลาดอินเดียอย่างกว้างขวาง จุดเด่นของสินค้าไทยอยู่ที่ ความประณีต รูปแบบทันสมัยสวยงามด้วยดีไซน์ ราคาย่อมเยา และ คุณภาพดี แต่คนไทยยังสนใจทีจ่ ะเข้าไปบุกตลาดอินเดียไม่มากนัก ท�ำให้ ตุลาคม 2557

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

สินค้าไทยยังมีไม่หลากหลายพอทีจ่ ะตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริโภค อินเดีย ประกอบกับค่าขนส่ง อากรขาเข้าและภาษีต่างๆ ที่ท�ำให้ราคา สินค้าสูงขึ้น ท�ำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันไป ทั้งๆ ที่สินค้า ไทยยังเป็นที่ต้องการในตลาดอินเดียอีกมาก ด้านบริการของไทยที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ นวดแผนไทยก็ยังติดขัด เรื่องกฎระเบียบของรัฐบาลอินเดียที่ก�ำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าแรงงานขั้น ต�่ำส�ำหรับแรงงานต่างชาติในอัตราไม่ต�่ำกว่า 25,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ปีหรือประมาณเดือนละ 2,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็นไป ไม่ได้ นายจ้างชาวอินเดียจึงแก้ปญั หาด้วยการเปิดร้านนวดแผนไทยแต่ใช้ หมอนวดชาวอินเดียจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียซึ่งส่วนใหญ่ มาจากรัฐมณีปุระ ที่มีหน้าตาคล้ายคลึงกับคนไทยมาท�ำงานนวดแทน ส่วนอาหารไทยซึง่ เป็นอาหารยอดนิยมของคนอินเดียนัน้ เจ้าของร้าน อาหารไทยในอินเดียส่วนใหญ่มักจะเป็นคนท้องถิ่น เนื่องจากนักลงทุน ไทยยังไม่ค่อยสนใจเข้าไปลงทุนเปิดร้านอาหารไทยเท่าใดนัก แต่ก็ยัง โชคดีที่รัฐบาลอินเดียยกเว้นอาชีพพ่อครัวไม่ติดระเบียบเรื่องค่าแรงงาน ขั้นต�่ำเหมือนอาชีพอื่น จึงยังพอมีพ่อครัวอาหารไทยเข้าไปท�ำงานอยู่ใน อินเดียบ้างแต่ก็ยังไม่มากนัก ทั้งนี้ ธุรกิจร้านอาหารไทยในอินเดียยังมี

CREATIVE INGREDIENTS เรื่องราวในอินเดียที่อยากจะแบ่งปัน

การใช้ชวี ติ ในอินเดียท�ำให้ได้สมั ผัสชีวติ ทีแ่ ตกต่างกันอย่างสุดขัว้ ตัง้ แต่คน ทีย่ ากจนทีส่ ดุ จนถึงคนทีร่ ำ�่ รวยทีส่ ดุ อาศัยอยูใ่ นเมืองเดียวกัน แต่ในทีส่ ดุ ก็ พบว่า “ความรำ�่ รวย” ไม่ได้เป็นเครือ่ งชีว้ ดั ถึง “ความสุข” เพราะคนยากจน ทีน่ อนอยูข่ า้ งถนนและขอทานเพือ่ ยังชีพไปวันๆ กลับดูมคี วามสุขดี ก็ท�ำให้ ได้คดิ เหมือนกันว่าคนเราก็แค่นเี้ อง การใช้ชวี ติ ในอินเดียท�ำให้ได้รจู้ กั และ เข้าใจคนอินเดียมากยิ่งขึ้น เข้าใจว่าท�ำไมเขาถึงคิดแบบนี้ ท�ำไมเขาถึงท�ำ แบบนี้ ซึง่ เมือ่ เข้าใจแล้วก็จะท�ำให้เรามีชวี ติ อยูใ่ นอินเดียได้อย่างมีความสุข และรักอินเดียมากยิ่งขึ้น แรงบันดาลใจในการท�ำงาน

แรงบันดาลใจในการท�ำงานที่ส�ำคัญที่สุดคือ “ส�ำนึก” คือต้องส�ำนึกตลอด เวลาว่าเราเป็น “ข้าราชการ” ต้องท�ำงานเพือ่ ประเทศชาติ ยิง่ ได้รบั เลือกให้ มาท�ำงานในต่างประเทศซึ่งเป็นงานที่ส�ำคัญ ก็ยิ่งจะต้องมีส�ำนึกมากกว่า ปกติ และต้องมีส�ำนึกที่จะท�ำงานอย่างเต็มที่ให้คุ้มค่ากับเงินภาษีของ ประชาชน 32 l

Creative Thailand

l ตุลาคม 2557

โอกาสขยายตัวอีกมาก เพียงแต่นักธุรกิจไทยต้องเข้าไปลงทุนโดยร่วมทุน กับคนท้องถิ่นซึ่งน่าจะมีโอกาสประสบความส�ำเร็จมากขึ้น หากจะให้นิยามอินเดียยุคใหม่ คุณจะนิยามว่าอย่างไร

ผมคิดว่าไม่มคี �ำไหนเหมาะสมเท่ากับค�ำว่า “Incredible India” ทีอ่ งค์การ ส่งเสริมการท่องเที่ยวอินเดียน�ำมาใช้เป็นสโลแกนอีกแล้ว เพราะตลอด ระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่ท�ำงานอยู่ที่นี่ ผมคิดว่าอินเดียเป็น “ดินแดนแห่ง โอกาสที่คาดไม่ถึง” เพราะเป็นตลาดใหญ่ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์และ มีความหลากหลาย เฉพาะผู้บริโภคที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีก็มีจ�ำนวน มากกว่าประชากรของไทยทั้งประเทศแล้ว อินเดียในปัจจุบันยังมีผู้น�ำที่ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลอย่างนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผมคิดว่าท่านจะ สามารถน�ำพาอินเดียไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน เพราะหลัง จากทีร่ บั ต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ไม่กเี่ ดือน อินเดียก็ได้รบั ความสนใจจาก ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาก ส�ำหรับนักธุรกิจไทยซึ่งอยู่ไม่ไกลจากอินเดีย และมีรากฐานทางวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากอินเดีย ถ้าไม่รีบ เข้าอินเดียตอนนี้ก็อาจจะสายเกินไป



CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

SAAF INDIA FOUNDATION เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช

saafindia.in

แม้ว่าในปีที่ผ่านมา การรถไฟอินเดีย (Indian Railways) จะมีรายได้ถึง 16 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ จากการขนส่งผู้โดยสารกว่า 8 พัน ล้านคน หรือเฉลี่ยวันละ 23 ล้านคน แต่การที่ ผู้โดยสารหนึ่งคนทิ้งขยะคนละ 64 กรัมต่อวัน รวมแล้วเป็นขยะไม่ต�่ำกว่าวันละ 1,472 ตัน ก็ ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข

ซาฟ อินเดีย ฟาวด์เดชัน่ (Saaf India Foundation) องค์กรไม่แสวงผลก�ำไร ที่ก่อตั้งโดยเชมมี เจคอบ (Shammy Jacob) และดิเนซ โซนัก (Dinesh Sonak) ได้รับความร่วมมือจากการรถไฟอินเดียและการสนับสนุนจาก สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจ�ำกรุงนิวเดลี ในการใช้การคิดเชิงออกแบบเพือ่ ออกแบบกระบวนการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นจากการเดินทางด้วยรถไฟ อย่างยั่งยืน ซึ่งทีมซาฟ อินเดีย ฟาวด์เดชั่นได้เริ่มต้นเก็บข้อมูลพฤติกรรม การทิ้งขยะตลอดเส้นทางรถไฟกว่า 10,000 ไมล์ เพื่อน�ำมาพัฒนาเป็น แนวคิดในการลดปริมาณขยะ ทั้งในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการ จัดการ และการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมและทัศนคติของผูท้ มี่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง แต่เพราะการคิดเชิงออกแบบให้ความส�ำคัญกับการทดสอบแนวคิด หรือทดสอบต้นแบบ (Prototyping) ไม่แพ้ขั้นตอนอื่นๆ เมื่อตุลาคม 2013 ซาฟ อินเดีย ฟาวด์เดชั่นจึงได้ลองทดสอบแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้ จากการเก็บข้อมูลกับผู้เข้าร่วมงาน International Railway Equipment Exhibition ในเมืองนิวเดลี ด้วยการจ�ำลองสถานการณ์การเดินทางบน รถไฟในตู้รถไฟจ�ำลอง เช่น การแจกถุงขยะเปียกและถุงขยะแห้งแก่ ผู้โดยสาร การสื่อสารเรื่องความส�ำคัญของการจัดการขยะผ่านทางป้าย ที่มา: saafindia.in, smart-magazine.com, thnk.org, indiatoday.intoday.in และวิกิพีเดีย 34 l Creative Thailand l ตุลาคม 2557

ต่างๆ หรือโดยเจ้าหน้าที่บนรถไฟ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อสังเกตพฤติกรรมที่ เกิดขึ้นจริง ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวจากทั้ง ผูใ้ ช้บริการและผูใ้ ห้บริการส�ำหรับน�ำมาปรับปรุงเป็นแนวทางการแก้ปญั หา ที่จะน�ำไปใช้จริงต่อไป การทดสอบแนวคิดหรือทดสอบต้นแบบดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาส ให้กับแนวทางการแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่อาจมีเพียงผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับ สถานการณ์จริงเท่านั้นจึงจะมองเห็น เป็นการพยายามออกแบบการแก้ ปัญหาอย่างรอบด้านจากการระดมสมองร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการ ผู้ใช้ บริการ และผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ โดยทีมซาฟ อินเดีย ฟาวด์เดชั่น ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทั้งจากการรถไฟอินเดีย ธนาคารโลก บริษัท ที่ปรึกษาด้านการออกแบบไอดีโอ (IDEO) และ The Amsterdam School of Creative Leadership เป็นต้น ในอนาคต ซาฟ อินเดีย ฟาวด์เดชั่น หวังจะพัฒนาตัวเองไปสู่การ เป็นธุรกิจเพือ่ สังคม และไม่ได้หยุดอยูเ่ พียงแค่การจัดการขยะและของเสีย ทีเ่ กิดจากรถไฟเท่านัน้ แต่ยงั มีเป้าหมายจะต่อยอดไปยังโปรเจ็กต์อนื่ ๆ เช่น Saaf City, Saaf Beach และ Saaf School




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.