Creative Thailand Magazine

Page 1

นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

The SUBJECT Doors of Perception

Creative City อิสตันบูล

THE CREATIVE คาเมรอน ซินแคลร์

ธันวาคม 2554 ปีที่ 3 | ฉบับที่ 3

แจกฟรี

ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

1



Hope is not a dream but a way of making dreams become reality. ความหวังหาใช่ความฝัน แต่คือหนทางหนึ่ง ที่จะทำ�ความฝันให้กลายเป็นความจริง Leo Joseph Suenens อดีตพระสังฆราชแห่งเบลเยี่ยม


สารบัญ

บรรณาธิการอำนวยการ ที่ปรึกษา

The Subject

6

The Object

7

วัตถุดิบทางความคิด

8

Doors of Perception เมล็ดพันธุแหงความปรารถนาดี Featured DVD / Book / DVD

Matter

Cradle to Cradle จากจุดเริ่มตนสูจุดเริ่มใหม

10

Classic Item

11

เรื่องจากปก

12

XO-1

คิดบวก ขุมพลังฝาวิกฤติ

อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล กิตติรัตน ปติพานิช ชมพูนุท วีรกิตติ พิชิต วีรังคบุตร ศิริอร หริ่มปราณี มนฑิณี ยงวิกุล กนกพร เกียรติศักดิ์ วราภรณ วศินสังวร จรินทรทิพย ลียะวณิช อนันตา อินทรอักษร ศุภมาศ พะหุโล พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร กริยา บิลยะลา กมลกานต โกศลกาญจน ชิดชน นินนาทนนท ภูริวัติ บุญนัก

บรรณาธิการบริหาร ผูชวยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ เลขากองบรรณาธิการ บรรณาธิการศิลปกรรม นักศึกษาฝกงาน

จัดทําโดย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ sale@tcdc.or.th

Insight

19

คิด ทํา กิน

22

จับกระแสเมืองสรางสรรค

24

แยกสี บริษัท 71 อินเตอรสแกน จำกัด โทร. 02 631 7171 แฟกซ. 02 631 7181

มุมมองของนักคิด

28

คิด ทํา ดี

34

พิมพที่ บริษัท คอมฟอรม จำกัด โทร. 02 368 3942-7 แฟกซ. 02 368 2962 จำนวน 50,000 เลม

Help People, Help Society A Little Farm In The Big City Istabul อนาคตของอดีต

โลกรายในมุมบวก กับสถาปตยกรรมเพือ่ มวลมนุษยชาติ คาเมรอน ซินแคลร Let’s panic! เมืองจมนํ้า

นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอ สิง่ แวดลอม และทีส่ ำคัญคือ เปนผลผลิตจากความคิดของผูป ระกอบการไทย

Media Partner

จัดทำภายใตโครงการ “CreativeThailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิด สรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

4

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงทีม่ า-ไมใชเพือ่ การคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย Creative Thailand l ธันวาคม 2554

อานนิตยสารฉบับออนไลนและดูขอมูลเพิ่มเติมไดที่ www.creativethailand.org Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH Facebook: Creative Thailand


Editor's Note บทบรรณาธิการ

ของขวัญที่ดีที่สุด ถ้าจะต้องเลือกสรรของขวัญสักชิ้นในเทศกาลแห่ง ความสุขนี้ หน้าตาควรจะเป็นเช่นไร ...มากด้วยประโยชน์ใช้สอย สร้างคุณค่าทาง จิตใจ หรือทดแทนสิ่งที่ขาดหาย แนวคิดการมอบ ความปรารถนาดีได้ถูกตีค่าออกมามากมาย และ ในสถานทีห่ า่ งไกลออกไป ทีซ่ ง่ึ ความยากไร้เกิดขึน้ ซํ้าแล้วซํ้าเล่า ความคิดดีๆ อันเป็นส่วนผสมของ การส่งมอบความปรารถนาดี การบรรเทาทุกข์ และ การสร้างรายได้ที่มั่นคง กลายเป็นรากฐานที่นำ�ไป สูอ่ งค์กรการกุศลระหว่างประเทศทีช่ อ่ื “ออกซ์แฟม” (OXFAM Unwrapped) ทีม่ จี ดุ มุง่ หมายเพือ่ บรรเทา ความยากจนและสนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การพั ฒ นา ตนเองทัว่ ทัง้ ทวีปแอฟริกา โดยวิธกี ารของออกซ์แฟม นัน้ ชัดเจน เพราะการมอบสิง่ ดีๆ ให้แก่ผยู้ ากไร้ ก็คอื การมอบโอกาสในการประกอบอาชีพ ออกซ์แฟม จึงเปลี่ยนเงินบริจาคที่ดูห่างเหิน เป็นการมอบ เครื่องมือทำ�กินที่จะส่งให้พวกเขายืนหยัดอย่างมี ศักดิ์ศรี ผู้คนสามารถเลือกส่งมอบแม่พันธุ์วัว ลา ฝูงไก่ไข่ รังผึ้ง เมล็ดพันธุ์ หรือการผลิตนํ้าสะอาด เพื่ อ ให้ ช าวแอฟริ ก าเริ่ ม ต้ น ความอยู่ ดี กิ น ดี ห รื อ แม้แต่ธุรกิจเล็กๆ ต่อไปได้ การดำ�เนินงานของ ออกซ์แฟมเป็นไปอย่างรอบคอบและรอบด้าน เพื่อ มุง่ เน้นระบบการบริหารจัดการ “ของขวัญ” ให้ถงึ มือ และเพื่ อ บรรเทาความยากไร้ ไ ด้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ปัจจุบันออกซ์แฟมได้รับการตอบรับอย่างดี และมี ผู้ใช้บริการมากมาย ทั้งยังมีการจัดตั้งสำ�นักงาน อยู่ในหลายประเทศอีกด้วย

สังคมจะก้าวข้ามความปวดร้าวและทุกข์ยาก ไปได้อย่างไร ถ้าขาดทัศนคติและแรงผลักดันใน ทางบวกเพื่อขับเคลื่อนชีวิตให้ไปข้างหน้า ยิ่งเมื่อ โลกอยู่ในภาวะที่ถกู กระแทกกระทัน้ จากแรงกดดัน มหาศาล ทั้งจากธรรมชาติและจากความขัดแย้ง ของมนุษย์ที่สร้างขึ้นมาเอง ทั้งหมดสร้างความ เสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล เฉพาะในส่วนของ ภัยพิบัติจากธรรมชาติในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ก็ ประมาณการได้ว่า มีผู้ได้รับผลกระทบมากกว่า 4,000 ล้านคน การบาดเจ็บ พลัดพราก และล่มสลาย กลายเป็นส่วนหนึ่งในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เมื่อชีวิตต้องดำ�เนินต่อไปโดยไม่อาจให้ความ สิ้นหวังมาบดบังความสามารถใดๆ ของมนุษย์ การลุกขึ้นเพื่อเริ่มต้นใหม่จึงเป็นเรื่องน่าชื่นชม นอกเหนือจากพลังความคิดและแรงขับเคลื่อน จากภายในตัวเองแล้ว รากฐานที่หนักแน่นด้วยความรู้ จากการรูจ้ กั เลือกเทคโนโลยีทเ่ี หมาะสม ความเข้าใจ ต่อแนวโน้มทีเ่ ป็นไปของโลก จะทำ�ให้การลุกขึน้ ยืน และก้าวต่อไปนั้นแข็งแกร่ง พร้อมกับมันยังจะเป็น โช๊คอัพรองรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเมื่อบังเอิญว่า เส้นแบ่งของความชื่นมื่น กับความขมขื่นสำ�หรับเทศกาลแห่งความสุข ณ เวลานีย้ งั ทับซ้อนกันอยู่ แต่หากทุกคนล้วนมีความคิด ดี และอยากทำ�ความดีให้จบั ต้องได้ สิง่ นีจ้ ะเป็นดัง จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ท รงพลั ง และเป็ น ของขวั ญ สำ�หรั บ สังคมที่ดีขึ้นได้อย่างที่ทุกคนปรารถนานั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ

ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

5


The Subject

จากการประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารงานออกแบบนานาชาติทอ่ี มั สเตอร์ดมั ในปี 1993 ถือเป็นจุดกำ�เนิดก้าวแรกของ ‘ดอรส์ ออฟ เพอร์เซปชัน่ ’ (ดอรส์) โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้คนในแต่ละสาขาอาชีพ เพื่อมาร่วมกันวางแผน ออกแบบ และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง ทางเลือกใหม่ให้กับความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่านระบบ อิ นเทอร์เ น็ ต โดยในระยะก่อตั้งโครงการนี้ม ีจำ �นวนผู้เข้าร่วม ทั่วโลกกว่าหนึ่งพันคนจาก 50 ประเทศ เกิดเป็นกระบวนการ ทำ�งานทีแ่ ข็งแรงภายใต้แนวคิด “สร้างความร่วมมือด้วยเครือข่าย ระหว่างความคิดและวิธีการทำ�งานตามความถนัด” โดยเนื้อหา การประชุ ม ในแต่ ล ะครั้ ง ที่ ผ่ า นมานั้ น ถู ก รวบรวมเพื่ อ นำ � มา ตีพมิ พ์เป็นหนังสือ อิน เดอะ บับเบิล้ (1999) โดย จอห์น ทัคคาร่า ผูอ้ �ำ นวยการดอรส์ ออฟ เพอร์เซปชัน่ ซึง่ ได้รบั รางวัล “Peoples Voice Award” จากผูอ้ า่ นทางอินเทอร์เน็ต ซึง่ เป็นรางวัลทีเ่ ปรียบ เหมือนรางวัลออสการ์ของโลกออนไลน์ ดอรส์คือศูนย์กลางที่ ทำ�หน้าที่จัดการทักษะของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละความถนัดมาใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสร้าง ความยั่งยืนที่แท้จริง ให้เกิดกับเขตพื้นที่ที่ด้อยการพัฒนา

การปฏิบัติงานของดอรส์นั้นดำ�เนินงานอยู่บนพื้นฐานปัจจัยต่างๆ ในชีวิต ประจำ�วัน เช่น เรื่องของนํ้า อาหาร แรงงาน พลังงาน การศึกษา และ เศรษฐกิจ โดยจัดการเชื่อมโยงวิถีปฏิบัติเดิมเข้ากับนวัตกรรม เพื่อให้เกิด เป็นแนวทางทีเ่ หมาะสมและลงมือทำ�ให้เกิดผลได้จริง โดยอาศัยความถนัด ของเครือข่ายผูร้ ว่ มงานในแต่ละสาขาอาชีพ ตัง้ แต่สถาปนิก นักมานุษยวิทยา ภัณฑารักษ์ วิศวกร นักเขียน ผู้ประกอบการ ปราชญ์ชาวบ้าน นักศึกษา ไปจนถึงนักดนตรี และฟู้ด สไตลิสต์ 6

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

ตั ว อย่ า งโปรเจ็ ก ต์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายใต้ ด อรส์ นั้ น มี อ ยู่ ม ากมายและ ต่อเนือ่ ง ซึง่ ทัง้ หมดล้วนมีจดุ มุง่ หมายไปในทิศทางเดียวกันคือการออกแบบ หนทางแห่งความยั่งยืนให้ชดั เจนเป็นรูปธรรม อาทิ “ดอรส์ ออฟ เพอร์เซปชั่น ไนน์” การประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกันภายใต้ธีม “Juice” ที่ กรุงนิวเดลี อินเดีย โดยเนื้อหาว่าด้วยเรื่องข้อมูลในอุตสาหกรรมการผลิต อาหารในมิตติ า่ งๆ ทัง้ เรือ่ งการขนส่ง กระบวนการผลิต การบรรจุ ไปจนถึง การจัดจำ�หน่ายจนถึงมือผู้บริโภค นำ�มาศึกษาใหม่ผ่านการออกแบบและ วิเคราะห์ เพื่อให้ได้เป็นข้อมูลเชิงลึกและสามารถสร้างความยั่งยืนให้ เกิดขึน้ ในอุตสาหกรรมนัน้ ได้จริง หรือโปรเจ็กต์อน่ื ๆ อาทิ การสร้างโมเดล ในการทำ�เกษตรกรรมเชิงนิเวศน์และผลิตผลการเกษตรด้วยระบบการวางแผน และการเพาะปลูกที่ต้องผ่านกระบวนการออกแบบ การสร้างเครือข่าย การค้าทางเลือกเพื่อให้เกิดการค้าขายในราคาที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค การออกแบบผังเมืองโดยเฉพาะเรื่องระบบการระบายนํ้าและการจัดการ กับพื้นที่ลุ่มนํ้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายซํ้าซ้อน หรือการจัดตั้ง ธนาคารเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น ประตูสู่เครือข่ายแห่งความรู้บานนี้ เดินทางตามเป้าหมายเรื่องการ เรียนรู้กระบวนการออกแบบโดยใช้เครื่องมือขั้นพื้นฐานอย่างอินเทอร์เน็ต ได้ประสบความสำ�เร็จ ดอรส์จึงเปรียบเสมือนบันทึกเหตุการณ์ในแต่ละ ช่วงเวลา ทีท่ ำ�ให้คำ�ว่าความยัง่ ยืนนัน้ มีคณุ ค่ามากยิง่ ขึน้ ในวันทีค่ นรุน่ หลัง ได้สัมผัสถึงความหมายที่แท้จริง ที่มาและภาพ: www.doorsofperception.com


The Object

เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี

อะไรคือหลักประกันของความมั่นคงในชีวิต... ที่อยู่อาศัย เงินออม หรือกรมธรรม์ประกันชีวิต สิ่งเหล่านี้อาจไม่มีความ หมายเลย เมื่อประเทศของคุณอยู่ในดินแดนสงคราม ต้อง พบเจอกับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่สุดจะรับมือ หรือ โรคระบาดที่ไม่มีหนทางรักษา ลึกเข้าไปในหุบเขาที่หนาวเย็น ในเขตอาร์กติก ความคิดที่จะบริหารสินทรัพย์ท่ามกลาง ความเสีย่ งนานัปการของโลกใบนีก้ ลับกำ�ลังหลับใหล แต่สง่ิ ที่ ตื่ น อยู่ คื อ การบริ ห ารสิ น ทรั พ ย์ ท างธรรมชาติ เ พื่ อ ความ ยั่งยืนด้วยการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์พืช "สวาลบาร์ด โกลบอล ซี้ด วาลต์" ที่จะทำ�หน้าที่เก็บตัวอย่างเมล็ดพืชจาก ทั่วโลก เพื่อเก็บความหวังแก่อนาคตไว้ให้ลูกหลานของเรา ราวปี 2006 ผู้เชี่ยวชาญของนอร์เวย์เสนอแนวคิดที่เรียกกันว่า “เรือโนอาร์ แห่งอาหาร” โดยการจัดตั้งแหล่งเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชจากทั่วโลก แนว ความคิดที่อ้างอิงตามคัมภีร์ไบเบิ้ลนี้เป็นจริงในอีก 2 ปีต่อมา ธนาคาร เก็บเมล็ดพืชสวาลบาร์ดนี้ ตั้งอยู่บนเกาะสปิตสเบอร์เก้น ประเทศนอร์เวย์ ทีอ่ ยูห่ า่ งจากขัว้ โลกเหนือราว 1,000 กิโลเมตร และมีประชากรอาศัยเพียง 2,000 คน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่มีพืชใดๆ ขึ้น และยังมีหิมะปกคลุมอยู่ ตลอดทั้งปี จึงมีอุณหภูมิหนาวเย็นจัดที่ -14 องศาเซลเซียส เจ้าของโครงการเพือ่ ความยัง่ ยืนทางชีวภาพดังกล่าวนีค้ อื "เดอะ โกลบอล คร็อป ไดเวอร์ซิตี้ ทรัสต์ ฟันด์" (The Global Crop Diversity Trust Funds) ที่ได้ลงทุนงบประมาณการก่อสร้างกว่า 6 ล้านยูโร เพื่อสร้างอาคารโดย เจาะอุโมงค์เข้าไปในภูเขานํ้าแข็งเป็นระยะทาง 120 เมตร โดยภายใน อาคารถูกจัดแบ่งให้มีห้องเก็บเมล็ดพืช 3 ห้อง แต่ละห้องบรรจุตู้นิรภัยที่

สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชได้ทั้งหมด 4.5 ล้านชนิด ที่คิดเป็น 2 เท่าของ จำ�นวนความหลากหลายของพืชทุกชนิดบนโลกที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารได้ ตัวอาคารได้รับการออกแบบให้เป็นแบบ "แอร์ไทต์" คือป้องกันไม่ให้ อากาศเข้า ที่ประตูมียามรักษาการณ์ มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยจาก การบุกรุกแบบไม่คาดคิดของหมีขาว และถึงแม้แผ่นนํา้ แข็งกรีนแลนด์และ แผ่นนํ้าแข็งแอนตาร์กติกจะละลายไปทั้งหมดจากภาวะโลกร้อน นํ้าก็จะ ไม่ท่วมห้องนิรภัยนี้ เพราะตั้งอยู่เหนือระดับนํ้าทะเลถึง 130 เมตร และ ผนังคอนกรีตยังถูกสร้างให้ทนทานต่อการโจมตีด้วยขีปนาวุธนิวเคลียร์ เครื่องบินตก รวมทั้งแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นแผ่นดินไหว ครั้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของนอร์เวย์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2008 แท้จริงแล้ว ทั่วโลกนั้นมีธนาคารเมล็ดพันธุ์กว่า 1,400 แห่ง แต่เหตุ ความไม่สงบและภัยธรรมชาติเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ดังเช่น ธนาคาร เก็บเมล็ดพันธุ์ที่อิรักและอัฟกานิสถานที่ถูกทำ�ลายโดยระเบิดของสหรัฐฯ ส่วนธนาคารพันธุ์ที่ฟิลิปปินส์และฮอนดูรัสก็ได้รับความเสียหายจาก พายุไต้ฝุ่น ดังนั้น ทำ�เลที่ตั้งของเกาะภูเขานํ้าแข็งแห่งนี้จึงน่าจะเป็น เครื่องการันตีความอยู่รอดแห่งอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบัน มีกว่า ร้อยประเทศได้จัดส่งตัวอย่างเมล็ดพันธุ์มาจัดเก็บไว้ที่ธนาคารแห่งนี้ เช่น ศูนย์พัฒนาพันธุ์ข้าวโพดและข้าวสาลีของเม็กซิโก ที่ได้ส่งตัวอย่างพันธุ์ ข้าวสาลีตา่ งๆ จำ�นวนถึง 47,251 เมล็ด และพันธุข์ า้ วโพดอีก 10,470 เมล็ด รวมถึงธนาคารเมล็ดพันธุ์ในอเมริกาเหนือและแคนาดาที่ได้ส่งตัวอย่าง เมล็ดพืชสำ�หรับการเพาะปลูกนับพันชนิดมาเก็บไว้ ส่วนธนาคารไออาร์อาร์ไอ ของฟิลปิ ปินส์นน้ั จัดส่งตัวอย่างเมล็ดพันธุข์ า้ วมามากทีส่ ดุ กว่า 70,000 เมล็ด ซึ่งใช้ปลูกในประเทศต่างๆ กว่า 120 ประเทศ และถึงแม้นอร์เวย์จะเป็น เจ้าของห้องนิรภัย แต่ประเทศที่ส่งเมล็ดพันธุ์มาเก็บรักษาไว้ในตู้จะยังคง เป็นเจ้าของกรรมสิทธิเ์ มล็ดพันธุเ์ หล่านัน้ อยู่ แนวคิดดังกล่าวจึงคล้ายคลึง กับการเช่าตู้นิรภัยของธนาคาร ที่สมาชิกสามารถเบิกถอนได้ทันทีหาก ต้องการ และเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะคงสภาพอยู่ได้นานนับร้อยปี เดิมพันเพื่ออนาคตครั้งนี้คงไม่หนักหนาสาหัสเกินไปสำ�หรับความ ปรารถนาดีที่จะเห็นความขาดแคลน ความอดอยาก และความยากจน บรรเทาเบาบางลงในสักวันหนึ่งบนโลกของเรา ที่มา: www.matichononline.co.th www.nordgen.org ภาพ: Svalbard Global Seed Vault/Mari Tefre ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

7


วัตถุดบิ ทางความคิด

เรือ่ ง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

Life in a day (2011) ด้วยพลังสื่อสังคมออนไลน์ที่เชื่อมคนบนโลกนี้ เข้าไว้ดว้ ยกัน และแนวคิดของการแบ่งปันที่ทำ�ให้ เกิดพลังสร้างสรรค์ใหม่ๆ ขึน้ เสมอ สารคดีชวี ติ ที่ ส ะท้ อ นชี วิ ต จริ ง ของทุ ก ชี วิ ต ทั่ ว ทุ ก มุ ม โลก Life in a Day หยิบข้อดีของรูปแบบการสื่อสาร ที่รุดหน้าและความหลากหลายของชีวิตบนโลก ใบนี้ โดยมี “คุณ” รับหน้าที่เป็นตากล้องร่วม ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งชีวิต โปรเจ็กต์พิเศษนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง YouTube และ National Geographic Films ร่วมกับโปรดิวเซอร์แถวหน้าอย่าง Ridley Scott และผูก้ ำ�กับมือรางวัล Kevin Macdonald ด้วย การกำ�หนดวันหนึ่งวันคือวันที่ 24 กรกฎาคม 2010 เพือ่ ให้ผคู้ นทัว่ โลกส่งผลงานวิดโี อด้วยการ อัพโหลดลงใน YouTube ซึ่งปรากฏว่า มีวิดีโอ ถูกส่งเข้ามามากกว่า 80,000 เรื่อง จาก 192 ประเทศทั่วโลก และเมื่อนำ�มาต่อกันแล้วจะมี ความยาวมากกว่า 4,500 ชั่วโมง ซึ่งภาพวิดีโอ ทั้ ง หมดจะเป็ น เสมื อ นตั ว ต่ อ ภาพจำ�นวนนั บ ล้านที่ต้องถูกจัดเรียงและตัดต่อให้เป็นสารคดี ที่มีความยาวเพียง 90 นาที โดยมี Joe Walker เข้ า มาทำ�หน้ า ที่ คั ด สรรภาพที่ สื่ อ ถึ ง อารมณ์

8

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

ความรู้สึก และเหตุการณ์ที่ดีที่สุดออกมาเพื่อ สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายและเบื้องลึก ของความเป็นมนุษย์มากที่สุด ความโดดเด่นของสารคดีเรื่องนี้ จึงไม่ได้ อยู่ที่ผู้กำ�กับและช่างภาพจำ�นวนไม่กี่คน หรือ ภาพที่มีความละเอียดสูงและมุมมองที่สวยงาม เช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ หากแต่เป็น ความพิเศษที่ได้รบั การถ่ายทอดมาจากช่างภาพ ทั่วโลก ที่ต้องการจะถ่ายทอดสิ่งที่ตนคิด เชื่อ และเป็นอยู่ ผ่านอุปกรณ์กล้องที่หลากหลาย ตัง้ แต่ กล้องมืออาชีพ กล้องดิจิทัล หรือกล้องมือถือ คุณภาพตํ่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็นเสน่ห์ของ ภาพยนตร์สารคดีที่สามารถถ่ายทอดภาพการ ใช้ชีวิตที่แท้จริงของมนุษย์ เพราะตัวละครที่ พิ เ ศษที่ สุ ด อาจไม่ จำ�เป็ น ต้ อ งเดิ น ตามบท ที่ถูกเขี ย นขึ ้ น ทว่าควรเป็น ไปตามครรลอง การดำ�เนินชีวิตของตนเอง เรือ่ งเริม่ ด้วยพระจันทร์ดวงโตสะท้อนวันเวลา ของวันใหม่ ความต่างในมิติของเวลา ชาติพันธุ์ กิจกรรมทางสังคม ความเชื่อความศรัทธา ไป จนถึงเรื่องสามัญในชีวิตอย่างการตื่น การกิน การเดินทาง การหลับใหล และสัจธรรมของ มนุษย์อย่างการถือกำ�เนิด การเจ็บป่วย การ ล้มตาย ตลอดจนการสร้างจุดร่วมและจุดตัด ของการนำ�เสนอที่นา่ สนใจ เช่น ภาพของชนบทความเป็นเมือง ขอทาน-เศรษฐี ร้อน-เย็นฝนตก การเดินทาง-การหยุดพัก ซึ่งล้วนเป็น กิจวัตรที่เราต้องเจอบนวิถีการปฏิบัติที่แตกต่าง อันจะนำ�ไปสู่การเรียนรู้ การยอมรับ และการ เข้าใจในความต่างนั้นๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอน สำ�คัญในการทำ�ความรู้จักกับโลกใบนี้ และการ ตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิตอยู่


วัตถุดบิ ทางความคิด

Home (2009) โดย Yann-Arthus Bertrand

Swiss Design โดย Dorian Lucas เพราะสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้มีดีแค่นาฬิกากับ มีดพับ แต่ยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากที่คุณอาจเคย ผ่านตาหรือแม้กระทั่งผ่านมือมาแล้วด้วยซํ้า หนังสือเล่มนี้จะพาคุณลงลึกไปถึงหัวใจของ การออกแบบอย่างสวิส ที่มุ่งเน้นในเรื่องของ คุณภาพ การใส่ใจในรายละเอียด และการทำ�ให้ คุณภาพชีวติ ดีขน้ึ งานออกแบบของสวิสส่วนใหญ่ จึ ง ไม่ ใ ช่ ก ารสร้ า งสิ่ ง ใหม่ ที่ แ ปลกประหลาด อย่างไม่คาดฝัน แต่เป็นการตีความสิง่ ทีม่ อี ยูแ่ ล้ว และทำ�มันให้ดียิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลงาน การออกแบบของนักออกแบบชาวสวิสที่มีอยู่ หลากหลายสาขาทัง้ แฟชัน่ เฟอร์นเิ จอร์ กราฟิก เครือ่ งประดับ และงานออกแบบผลิตภัณฑ์ทเ่ี ป็น เอกลักษณ์

The Mesh: Why the future of business is sharing โดย Lisa Gansky เมื่อโลกเปลี่ยนไปขนาดนี้แล้ว ผู้ประกอบการ อย่างคุณจะยังคิดว่า คุณคือเจ้าของธุรกิจหรือ เจ้าของสินค้าและบริการอยู่หรือเปล่า แล้วกลยุทธ์ ของคุณ ยังเป็นการให้ในสิง่ ทีล่ กู ค้าต้องการบ้าง ไม่ต้องการบ้างอยู่หรือไม่ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ชักชวนบรรดานักธุรกิจเพื่อเปิดมุมมองใหม่ และลองใช้พลังของฝั่งลูกค้าเป็นฝ่ายผลักดัน ธุรกิจให้กา้ วหน้า เพราะลูกค้าเท่านัน้ คือเจ้าของ ผลิตภัณฑ์ที่แท้จริง ภายใต้แนวคิดพื้นฐานของ การแบ่งปัน ซึ่งเป็นแกนหลักของสังคมในยุค โซเชียลเน็ตเวิร์กที่เชื่อมโยงไปมาแบบไม่รู้จบ และปั จ จุ บั น หลายต่ อ หลายบริ ษั ท ต่ า งก็ ใ ช้ โมเดลแห่งอนาคตนี้เป็นพื้นฐานในการดำ�เนิน ธุรกิจอย่างยั่งยืน

ช่างภาพชาวฝรั่งเศส Yann-Arthus Bertrand ผู้มีความเชี่ยวชาญในการถ่ายภาพทางอากาศ ได้ร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำ�ไรที่ชื่อ Good Planet ร่วมผลิตโปรเจ็กต์ “Home” จาก ภาพถ่ายทางอากาศมุมสูงที่ละเมียดละไมด้วย สีสันที่ตัดกันของพื้นดิน ผืนนํ้า ทะเลทราย มหาสมุทร แสงและเงาของบ้านเรือน สิง่ ก่อสร้าง และชุมชน สารคดีเรื่องนี้ได้รับการเผยแพร่ครั้ง แรกในวันสิ่งแวดล้อมโลกในปี 2009 พร้อมกัน กว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดร่วมที่ทำ�ให้ มนุษย์เริม่ หันมองสิง่ ที่ตนกระทำ�ต่อโลกมากยิง่ ขึน้ ด้วยการหมุนกลับไปเริ่มเรียนรู้สรรพสิ่งจาก ต้นกำ�เนิดของโลกและมนุษย์ โดยเฉพาะในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาที่มนุษย์ได้สร้างความเสียหายให้ เกิดขึ้นกับโลกมากมาย เรื่อยไปจนถึงการสร้าง ดุลยภาพให้โลกในวันนี้ เช่น การเพิม่ สวนสาธารณะ เครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ ระดั บ นานาชาติ เพื่อ สิ่งแวดล้อม และการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อ ให้ทุกคนตระหนักว่า อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปหรือ ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพนัน้ ไม่ใช่สง่ิ น่ากลัว เท่ากับการเปลี่ยนแปลงที่กำ�ลังเกิดขึ้นโดยเรา ไม่รู้และไม่เคยเห็นเลยต่างหาก ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

9


Matter

แปลและเรียบเรียงจากนิตยสาร Matter ฉบับ 4.4 โดย เรื่อง: Cynthia Tyler, Ph.D. แปลและเรียบเรียง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

หลั ง การล่ ม สลายของระบบทุ น นิ ย มที่ ไ ด้ ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ สภาพสั ง คมและ สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็ น การบริโภคอย่าง สิ้ น เปลื อ งที่ นำ � มาสู่ ปั ญ หาขยะล้ น เมื อ ง หรื อ มลภาวะที่ เ กิ ด จากเศษเหลื อ ของ กระบวนการผลิ ต ในโรงงานอุ ต สาหกรรม ซึ่ ง ไม่ เ พี ย งแต่ ผู้ บ ริ โ ภคที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ ปลายทางจะลุ ก ขึ้ น มาแสวงหาทางเลื อ ก ใหม่ๆ แต่ด้านผู้ผลิตเองก็ตื่นตัวที่จะแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป เช่นกัน

แนวคิดหรือกระบวนทัศน์ดา้ นการออกแบบทีใ่ ห้ ความสำ�คัญกับวงจรชีวิตของทุกกระบวนการ ผลิตให้สามารถย้อนกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่ได้ ร้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ โ ดยไม่ ท้ิ ง สิ่ ง ตกค้ า งไว้ ใ น สภาพแวดล้อมที่เรียกกันว่า “Cradle to Cradle” หรือ “C2C” ได้กลายมาเป็นแนวคิดสำ�คัญที่ ถูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย ไม่เว้นแม้แต่ในวงการพัฒนาวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ท่ี มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวมด้วย วิถแี ห่งการพึง่ พาธรรมชาติให้มากที่สุด ดังจะเห็น 10

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

ได้จากตัวอย่างของการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ รุดหน้าในการจัดการกับเศษวัสดุให้สามารถ หวนกลับมาสู่จุดกำ�เนิดที่ใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง อย่างสมบูรณ์ อันได้แก่ แนวคิด “จากเศษขยะสู่ สารอาหารทางเทคนิค” (Waste Equals Food) และ “การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทดแทน” (Use Current Solar Income) แนวคิด “จากขยะสูส่ ารอาหารทางเทคนิค” คือการที่เราเลือกใช้วสั ดุจากธรรมชาติทส่ี ามารถ ย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์และปลอดภัยกลับมา ใช้ใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีดา้ นชีววิทยาในการ แปรเศษขยะให้เป็น “สารอาหารทางเทคนิค” (Technical nutrient) เช่นที่ศาสตราจารย์คีธ ไคเลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยอินเดียนาในเมือง พิตส์เบิร์ก ทำ�การเปลี่ยนหญ้าสวิตช์ แกรส ให้ เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และ นำ�มาใช้ผลิตเป็นพลาสติกห่อของ บรรจุภัณฑ์ หรือขวดพลาสติกชีวภาพต่างๆ หรือการที่บริษทั ผูผ้ ลิตพรมในรัฐจอร์เจียได้ใช้หลักการย่อยสลาย เส้นใยไนลอน 6 ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำ�คัญ ของพรมที่ผ่านการใช้งานแล้ว ให้กลับไปเป็น สารตั้งต้นที่ชื่อคาร์โปแลคตัม (Caprolactam) เพื่อนำ�มาสู่กระบวนการผลิตเป็นเส้นใยไนลอน 6 เพื่อใช้ทอพรมผืนใหม่ต่อไป ขณะทีแ่ นวคิด “การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทดแทน” นั บ เป็ น หนึ่งในวิ ธี ก ารใช้พลั ง งาน ทางเลือกนอกเหนือจากการใช้พลังงานสะอาดอืน่ ๆ เช่น พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานนํ้า

และพลังงานจากความร้อนใต้โลก ในกระบวนการ ผลิตและการประกอบชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ อย่ า งการที่ บ ริ ษั ท ไบโอโซลาร์ ไ ด้ พั ฒ นาวั ส ดุ ประเภทไบโอพลาสติกซึ่งใช้เป็นแผ่นรองด้าน หลังแผ่นโซลาร์เซลล์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถช่วยประหยัดต้นทุนการผลิตได้มาก ถึงร้อยละ 50 หรือการที่บริษัทไอบีเอ็มได้นำ� แผ่ น ซิ ลิ ค อนเวเฟอร์ ที่ แ ตกหั ก แล้ ว มาบด ละเอียดและผลิตขึ้นมาใช้ใหม่แทนที่จะนำ�ไป ทำ�ลายทิ้งเช่นเดิม ทำ�ให้ประหยัดพลังงานใน การผลิตชิ้นส่วนชนิดดังกล่าวขึ้นใหม่ได้มากถึง ร้อยละ 90 ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิตลงกว่า หนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี หรือแม้แต่ การแก้ปัญหาการขาดแคลนแร่ซิลิคอนบริสุทธิ์ ของบริษัทคาลิโซลาร์ บริษัทผู้ผลิตโซลาร์เซลล์ รายใหญ่ของโลก ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิต โซลาร์เซลล์จากแร่ซิลิคอนเกรดตํ่าที่มีราคาถูก และหาได้ง่าย นำ�มาผ่านกระบวนการที่คิดค้น ขึ้นเฉพาะ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นโซลาร์เซลล์ที่มี คุ ณ ภาพดี เ ที ย บเท่ า แผงโซลาร์ เ ซลล์ จ ากแร่ ซิลิคอนบริสุทธิ์ นวัตกรรมในการสร้างสรรค์วสั ดุขน้ึ ใหม่บน แนวคิด C2C ที่ถกู กล่าวถึงนี้ เป็นเพียงตัวอย่าง เล็ ก น้ อ ยในการเดิ น ทางของนวั ต กรรมด้ า น วัสดุศาสตร์ท่ียังคงก้าวเดินต่อไปอย่างรวดเร็ว และไม่หยุดยัง้ โดยเฉพาะการเดินทางมาบรรจบ กันของเทคโนโลยีการผลิตอันลํ้าสมัย และแนวคิด เรื่องการอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนที่ แท้จริง ซึง่ จะกลายมาเป็นเส้นทางหลักทีไ่ ม่เพียง แต่ผู้คนในแวดวงวัสดุเท่านั้นที่จะต้องเดินตาม แต่ยังหมายถึงคนทั่วโลกที่จะได้มาอยู่ร่วมเป็น ส่วนหนึ่งในทางเลือกใหม่บนโลกสีเขียวนีไ้ ด้อย่าง กลมกลืนและเป็นสุข

ที่มา: www.greenworld.or.th www.calisolar.com ภาพ: www.msbusiness.com


Classic Item

เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี โอกาสเข้ า ถึ ง ความรู้ ที่ เ ท่ า เที ย มกั น คื อ คำ�จำ�กัดความของโน้ตบุค๊ ตัวนี้ ทีแ่ ม้รปู ร่าง หน้าตาจะไม่ได้ลา้ํ สมัยเช่นเดียวกับโน้ตบุค๊ อืน่ ในท้องตลาด แต่ XO-1 นีก้ ค็ อื ผลลัพธ์ ของการปฏิวัติคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ให้ เ ป็ น อุ ป กรณ์ ก ารศึ ก ษาราคาถู ก สำ � หรั บ เด็ ก ด้อยโอกาสทั่วโลก ภายใต้ การดำ�เนินงานขององค์กร One Laptop per Child Association เพื่อว่าเด็กๆ เหล่านี้จะได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาและ ได้นำ�ความรู้ไปใช้เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต ที่ดีให้แก่ตนเองและชุมชนต่อไป

One Laptop per Child Association คือ องค์กรไม่แสวงหาผลกำ�ไรของสหรัฐฯ ก่อตั้ง ขึ้ น เพื่ อ ผลิ ต อุ ป กรณ์ ก ารศึ ก ษาราคาถู ก สำ�หรับใช้ในประเทศที่กำ�ลังพัฒนา ด้วยภารกิจ สร้างโอกาสทางการศึกษาสำ�หรับเยาวชนที่มี ฐานะยากจนทั่วโลก ผ่านการมอบอุปกรณ์ การศึ ก ษาที่ มี อ รรถประโยชน์ ห ลากหลาย อย่างโน้ตบุค๊ ที่ทนทาน ราคาถูก และประหยัดไฟ ให้เด็กๆ พร้อมด้วยเนื้อหาและซอฟต์แวร์ที่ ออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างสนุกสนานและ สามารถเรียนรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง เพื่อตอบเป้าหมาย ความมุ่งมั่นสู่การสร้างเสริมพัฒนาการและ ทักษะของเด็กๆ อีฟ บาร์ฮา รับหน้าที่เป็นหัวหน้านักออกแบบ ในโครงการ XO-1 เขามุ่งหวังและตั้งใจที่จะ สร้างโน้ตบุ๊คที่มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ ในทิศทางเดียวกับโน้ตบุค๊ ทีม่ อี ยู่ในท้องตลาด บน ปัจจัยสำ�คัญคือ ตรรกศาสตร์ที่มชี ดุ ประมวลผล เพียงพอ จอที่ใหญ่ และคียบ์ อร์ดเพือ่ การเรียนรู้ การพิมพ์และการเขียนของเด็กๆ ซึ่งทั้งหมด ต้องสอดคล้องกับข้อจำ�กัดในเรื่องของรูปแบบ เทคโนโลยี และสภาพการใช้งานในพืน้ ที่หา่ งไกล โดยเฉพาะราคาต้นทุนของ XO-1 ซึง่ อยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐฯ (3,000 บาท) เท่านั้น

ขณะที่นกั ออกแบบคนอื่นๆ มักศึกษางานดีไซน์ ต่างๆ เพื่อหาแรงบันดาลใจ แต่อีฟคิดว่าวิธีนี้ ไม่เหมาะกับโครงการเพื่อสาธารณะ เพราะ คิดว่าแรงบันดาลใจต้องมาจากตัวโครงการเอง ตั้งแต่เริ่มต้น เขาเชื่อว่าสิ่งนี้จะมอบรากฐาน ที่แข็งแกร่งให้กับโครงการผ่านจุดแข็งด้าน แนวคิด เขาและทีมจึงเรียนรู้และซึมซับเรื่อง ราวเล็กๆ แต่เปี่ยมด้วยความหวังของเด็กๆ เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็น XO-1 การลดขนาดและความซั บ ซ้ อ นแต่ ต้ อ ง สามารถอัพเกรดได้คือเงื่อนไขของซอฟต์แวร์ ขณะที่ รู ป ลั ก ษณ์ ภ ายนอกจะต้ อ งดึ ง ดู ด ใจ เด็กๆ ด้วยสีสนั สดใสและรูปทรงแปลกตา อีก ทั้งหน้าจอต้องสามารถอ่านได้กลางแสงแดด ขณะที่คีย์บอร์ดที่ผลิตขึ้นจากยางชิ้นเดียวก็ สามารถใช้งานได้งา่ ย ทัง้ ยังมีความทนทานสูง และสามารถเปลี่ยนเป็นภาษาต่างๆ เพื่อให้ เหมาะแก่การใช้งานของเด็กๆ ได้ทั่วโลกด้วย การกดเพียงปุ่มเดียวเท่านั้น เมื่อ XO-1 สำ�เร็จเป็นรูปเป็นร่าง มันสามารถ จำ�หน่ายได้กว่าล้านเครื่องในประเทศกำ�ลัง พัฒนาทัว่ โลก อาทิ เอธิโอเปีย อัฟกานิสถาน เฮติ เม็กซิโก รวันดา ปาปัวนิวกินี และมองโกเลีย และยังเป็นต้นแบบของการผลิตโน้ตบุ๊คราคา ถูกเพื่อการศึกษาของเยาวชนทั่วโลกอีกด้วย ล่าสุดเมือ่ เดือนตุลาคมทีผ่ า่ นมา อินเดียได้นำ� แท็ บ เล็ ต ราคาถู ก ที่ สุ ด ในโลกมาเปิ ด ตั ว ต่ อ สื่อมวลชนในกรุงนิวเดลี ในราคาเครื่องละ 35 เหรี ยญสหรั ฐ ฯ (1,050 บาท) เท่านั้น เพื่อ ปฏิวัติระบบการศึกษาในโลกยุคดิจิทัลของ อินเดีย และลดช่องว่างทางการศึกษาระหว่าง พื้ น ที่ ห่ า งไกลกั บ เขตเมื อ งที่ ถู ก แบ่ ง แยก ออกจากกันด้วยความลํ้าหน้าของเทคโนโลยี ที่มา: www.designboom.com www.inhabitat.com ภาพ: www.mikemcgregor.com

ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

11


Cover Story เรื่องจากปก

เรื่อง: มณฑิณี ยงวิกุล

12

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554


Cover Story เรื่องจากปก

สิง่ ก่อสร้างขนาดใหญ่ การฟืน้ ฟูประเทศหลัง สงครามจนกลายเป็ น มหาอำ � นาจทาง เศรษฐกิจ หรือบทเพลงอมตะก้องโลก ล้วน เป็นผลจากการทำ�งานของสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่มีพลังมหาศาลที่เรียกว่า “ความหวังและ แรงบันดาลใจ” แม้ว่ารูปแบบของภัยพิบัติที่ เกิดขึ้นบนโลกในวันนี้จะซับซ้อนและรุนแรง มากขึน้ แต่ความคิดด้านบวกในทำ�นองเดียว กั น นี้ ก็ ยั ง คงทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น แรงขั บ เคลื่ อ น สำ�คัญในการก้าวเดินไปข้างหน้าของเหล่า ผู้ประสบชะตากรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง

วันที่ 13 เมษายน 2011 สนามบินเซนไดกลับมา เปิดให้เครือ่ งบินลงจอดอีกครัง้ พร้อมกับทีถ่ นน หนทาง ตลอดจนเส้นทางรถไฟทางฝัง่ ตะวันออก ของญี่ป่นุ สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ บางส่วน หลังจากหนึ่งเดือนก่อนหน้าที่สถานที่ แห่งนี้เต็มไปด้วยซากปรักหักพังจากเหตุการณ์ สึนามิและแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง ในประเทศเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 การฟืน้ ฟูสาธารณูปโภคให้สามารถกลับมา ใช้งานได้ตามปกติภายในระยะเวลาอันสั้นนั้น เป็นผลจากการสั่งสมความรู้ในการจัดการกับ ภัยพิบัติมาอย่างยาวนาน จนสามารถจัดการ วิ ก ฤตการณ์เ ฉพาะหน้าได้อ ย่า งเร่ง ด่วน แต่ สำ�หรั บ ความเสี ย หายที่ มี มู ล ค่ า ไม่ ต่ํ า กว่ า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เพียง ต้ อ งใช้ ท รั พ ยากรมนุ ษ ย์ แ ละทุ น มหาศาลใน การฟื้นฟู แต่ยังต้องหล่อเลี้ยงด้วยจิตวิญญาณ แห่งการต่อสู้ที่ถา่ ยทอดจากรุ่นสู่รุ่น "ฉันไม่เคยคุยกับพ่อถึงความรู้สึกที่สูญเสีย แม่ และตอนนี้ฉันจะเช็ดนํ้าตาอำ�ลาการร้องไห้ เงียบๆ นี้ ฉันจะอยู่ด้วยความเชื่อว่ายังมีพรุ่งนี้ อยู่เพื่อใบหน้าที่มีรอยยิ้ม” ข้อเขียนของ จิโยะ ยาฮาตะ วัย 11 ขวบ ในเมืองโอสึจิ ที่เขียน อุทศิ ให้กบั แม่ผจู้ ากไปในหนังสือสึนามิ ซึง่ บันทึก เรื่ อ งราวของเหตุ ก ารณ์ สึ น ามิ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จาก เรียงความของนักเรียนในพื้นที่ประสบภัย เพื่อ สะท้อนให้เห็นถึงความกลัวต่อภัยธรรมชาติ และเรื่องราวที่น่าสะเทือนใจจากการสูญเสีย ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

13


Cover Story

© REUTERS/Kyodo Kyodo

เรื่องจากปก

14

© REUTERS/Issei Kato

© REUTERS/Issei Kato

สนามบินเซนได 11 มีนาคม 2011

สนามบินเซนได 12 มีนาคม 2011

สนามบินเซนได 7 กันยายน 2011

บุคคลอันเป็นที่รักในครอบครัวที่มียอดขายกว่า 140,000 เล่ม และตีพมิ พ์มาแล้วถึง 3 ครัง้ นับจาก เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา ขณะที่อีกหนึ่งคำ�พูด ปลุ ก กำ�ลั ง ใจของเด็ ก นั ก เรี ย นมั ธ ยมปลายที่ กล่าวกับคุณลุงผู้ประสบภัยว่า “ไม่เป็นไร ไม่ ต้องห่วง ต่อจากนี้ไป เมื่อเป็นผู้ใหญ่ พวกผม จะทำ�ให้มนั กลับมาเหมือนเดิมแน่นอน” ก็กลาย เป็นวลีที่น่าจดจำ�ซึ่งประทับลงในจิตใจของคน ทั่วโลก ความอดทนและความตั้งใจของประชาชน ชาวญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของความสำ�เร็จในการ กอบกู้สถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายลงไปในตลอด ช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ทั้งการระเบิดของเตา ปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิชิ ใน จังหวัดฟูกุชิมะ การขาดแคลนไฟฟ้าที่จะส่งผล ต่อชีวิตประจำ�วันและภาคการผลิตของประเทศ ไปจนถึงความหวาดวิตกเกี่ยวกับการรั่วไหล และการปนเปื้อนของสารกัมมันตภาพรังสีที่มี ต่อสินค้าและการท่องเทีย่ วของญีป่ นุ่ โดยความ พยายามดังกล่าวได้ถูกสะท้อนผ่านหลากหลาย เหตุการณ์ อย่างการที่เ จ้า หน้าที่ของบริษัท

โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ (เทปโก) ได้ทุ่มเท อย่ า งสุ ด กำ�ลั ง ในการเข้ า ไปปิ ด เตาปฏิ ก รณ์ นิวเคลียร์ แม้ว่าในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ พวกเขาจะต้องเปลี่ยนชุดป้องกันรังสีใหม่ทุกๆ หนึง่ ชัว่ โมง (ซึง่ ได้กอ่ ปัญหาใหม่ให้พวกเขานัน่ คือ การทำ�ลายชุดป้องกันรังสีที่ปนเปื้อนจำ�นวน มากกว่า 480,000 ชุด) นอกจากนี้พวกเขายัง ต้ อ งทนอยู่ ใ นสภาพการทำ�งานที่ แ สนจะ ตึงเครียด ทว่าพวกเขาก็มีเจตนาอย่างแน่วแน่ ว่า “ผมจะไม่ย อมไปจนกว่าจะทำ�งานเสร็ จ ไม่มีทาง”1 ขณะเดียวกันมาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณการใช้ไฟฟ้าและ กำ�ลังการผลิตของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น ก็ได้ผลตอบรับที่ดี เยี่ ย มจากการรณรงค์ แ ละการผลิ ต ข้ อ มู ล เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานเพื่อส่งผ่านระบบ โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ให้ กั บ ประชาชนในพื้ น ที่ ที่ ใ ช้ พลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของบริษัทเทปโก

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

1 The Economist ฉบับ 5 พฤศจิกายน 2554

และบริษัทโตโฮคุ อิเล็กทริก พาวเวอร์ โดยที่ มาตรการดั ง กล่ า วสามารถช่ ว ยลดการใช้ พลังงานได้ถึงร้อยละ 15.8 ในเขตโตโฮคุ และ ร้อยละ 18 ในเขตโตเกียว อย่างไรก็ ต าม หนทางในการฟื้นฟู ย ั ง มี ภารกิจอีกมากมายรออยู่ข้างหน้า โดยเฉพาะ ภาคการผลิ ต และการส่ ง ออกที่ ต้ อ งใช้ อี ก หลากหลายมาตรการในการสร้างความเชื่อมั่น เรื่องการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี รวมทั้ง การค้ น หาพลั ง งานทางเลื อ กใหม่ ใ นกรณี ที่ พลังงานจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เป็นที่ยอมรับ ของคนส่วนใหญ่ แต่สำ�หรับประเทศญี่ปนุ่ ที่ผจญ กับสึนามิและแผ่นดินไหวครั้งแล้วครั้งเล่ามา หลายชั่วอายุคนนั้น ไม่เพียงแต่ที่พวกเขาจะ มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ยังจดจำ� และเตรียมพร้อมสำ�หรับภัยพิบัติครั้งหน้าอย่าง เต็มกำ�ลัง


Cover Story เรื่องจากปก

ภาพจาก http://the-scientist.com

Fighto! Cyberdyne Hal Robotic Exoskeleton หรือ ชุดหุ่นยนต์สำ�หรับสวมใส่ภายใต้ระบบที่เรียกว่า Hybrid Assistive Limb (HAL-5) ที่ใช้หลักการตรวจจับการเคลือ่ นไหวของกล้ามเนือ้ ทีจ่ ะส่งสัญญาณ ไฟฟ้าบนผิวหนัง ซึ่งจะถูกตรวจจับด้วยเซ็นเซอร์ และส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผล และสั่งการให้มอเตอร์ไฟฟ้าของแต่ละส่วนทำ�งานนี้ เป็นผลงานของศาสตราจารย์โยชิยูกิ ซันไก แห่งบริษัทไซเบอร์ดีน ที่คิดค้นขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการช่วยเหลือคนพิการและคนชราสำ�หรับ ช่วยในการพยุงร่างกายของตนเองและการยกของทีม่ นี า้ํ หนักมาก รวมถึงการใช้ชว่ ยเหลือผูป้ ระสบ อุบัติเหตุต่างๆ บริษัทแห่งนี้มีฐานการดำ�เนินงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นเขตพื้นที่ ประสบภัย จึงได้ปรับปรุงชุดหุ่นยนต์ดังกล่าวให้มีคุณสมบัติป้องกันกัมมันตภาพรังสีเพื่อสร้าง ความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อีกทั้งยังได้ พัฒนาให้มีนํ้าหนักเพียง 60 กิโลกรัมเพื่อความสบายในการสวมใส่มากขึ้น

ภาพ: www.designboom.com

พลังคิดสู่มวลชน วิคตอเรีย เฮล ก็เป็นเหมือนกับอีกหลายคนที่ เป็นบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์สูงใน วิชาชีพของตนเอง และเลือกที่จะใช้ความสามารถ ของพวกเขานั้นทำ�ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เกิด กับผูค้ นมหาศาล สำ�หรับวิคตอเรีย ประสบการณ์ ในวงการอุตสาหกรรมยาในภาคเอกชนและ ภาครัฐ โดยเฉพาะการเป็นผู้ประเมินประจำ� องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ (Food and Drug Administration: FDA) ที่พบว่า มีสูตร ยารักษาโรคที่มีความเป็นไปได้ในการรักษา หลายสูตรของบริษัทยาที่พัฒนาไปได้ครึ่งหนึ่ง แล้วก็ถูกยกเลิก หรือที่เรียกว่า “สูตรกำ�พร้า” ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุนไปจนจบ เพราะกลุ่มเป้าหมายของโรคนั้นทำ�ให้ราคายา ทีต่ ง้ั ไว้ไม่คมุ้ ค่า เธอจึงตัดสินใจลาออกจากงาน

เพือ่ มาทำ�สิง่ ทีเ่ ธอตัง้ ใจไว้นน่ั คือ การแยกวิถแี ห่ง ธุรกิจออกจากวิถีทางการแพทย์ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำ�ไรที่ชื่อว่า Institute for OneWorld Health จึงถูกตั้งขึ้นเมื่อปี 2000 เพื่อเป็นสถาบันพัฒนายาราคาถูกสำ�หรับโรคใน กลุม่ คนและประเทศทีย่ ากจน อย่างเช่น มาลาเรีย หรือท้องเดิน ด้วยการติดต่อขอสูตรยาทีบ่ ริษทั ยา ไม่สนใจแล้ว นำ�มาพั ฒ นาต่อ จนกลายเป็ น ยารัก ษาโรค หลั ง จากนั้นจึงขออนุญาตจาก ภาครัฐเจ้าของประเทศที่ทำ�การผลิตที่มีต้นทุน การผลิตถูกกว่าแต่สามารถผลิตยาทีม่ คี ณุ สมบัติ เทียบเท่า ยาที่ผ ลิ ต ในสหรั ฐ ฯ หรื อ ประเทศ พัฒนาแล้วเพื่อทำ�การผลิตยาและแจกจ่ายไป ยังประเทศที่ขาดแคลน พาราโมมัยซิน (Paromomycin) เป็นยา ตัวแรกที่เกิดจากการร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ในการ

ขอสู ต รยาที่ ถู ก พั ฒ นามาถึ ง ระดั บ กลางนี้ จากไฟเซอร์ (Pfizer) บริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดใน สหรัฐฯ เพื่อนำ�มาพัฒนาในขั้นสุดท้ายให้เป็น ยาปฏิชีวนะสำ�หรับฉีดเพื่อรักษาโรคลิชมาเนีย ขั้นรุนแรง (Visceral Leishmaniasis)2 ซึ่งต้อง กดต้นทุนการผลิตให้ได้ตา่ํ กว่า 1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหน่วยเพื่อให้สามารถขายได้ในราคาถูกแสนถูก ให้กับผู้ป่วยในประเทศยากจน ดังนั้นนอกจาก การติดต่อขอเงินสนับสนุนการวิจัยขั้นต่อไป แล้ว ยังต้องรวมถึงการแสวงหาบริษัทผลิตยาที่ ผลิตยาเลียนแบบได้ในคุณภาพดี เช่นในอินเดีย เพือ่ ผลิตยาในราคาต้นทุน และการติดต่อองค์กร ไม่ แ สวงหาผลกำ�ไรในการระดมแพทย์ แ ละ อาสาสมัครมาช่วยกันฉีดยารักษาผู้ป่วย ด้วย โมเดลธุรกิจเพื่อสังคมของวิคตอเรียนี้ สามารถ ช่วยลดความเสีย่ งจากการเสียชีวติ ของประชากร กว่า 200 ล้านคนที่องค์การอนามัยโลกคาดว่า อยู่ในเขตที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ 2 โรคติดต่อจากพยาธิผ่านพาหะนำ�เชื้อ คือ ริ้นฝอยทราย

(sandfly) เมื่อถูกกัด จะเกิดอาการติดเชื้อในอวัยวะภายใน ร่างกายโดยเฉพาะที่ไขกระดูก ม้าม ต่อมนํ้าเหลือง และตับ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้จัดโรคนี้เป็น 1 ใน 6 โรคที่มีความ สำ�คัญในเขตร้อน โรคดังกล่าวพบในกว่า 88 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะบังคลาเทศ เนปาล บราซิล ซูดาน จีน อินเดีย ประเทศในแถบตะวันออกกลาง เมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกาเหนือ และอเมริกากลาง [Thai-NIAH eJournal : ISSN 1905-5048, www.dld.go.th/niah, V3 N1 (May - August 2008)]

ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

15


Cover Story เรื่องจากปก

16

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554


Cover Story เรื่องจากปก

ในอีกฟากหนึ่งของโลก เมื่อปี 1953 ชายฝั่ง ตะวันออกของอังกฤษมีบ้านเรือนกว่า 24,000 หลังต้องจมนํ้าและมียอดผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน เพราะแรงพายุและคลืน่ ทะเลได้ทลาย เขื่อนกั้นนํ้าพังลง ในอนาคตระดับนํ้าทะเลที่ เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อบ้านเรือน กว่า 2.6 ล้านหลังตามแนวชายฝั่งของอังกฤษ และเวลส์ กลุม่ สร้างอนาคต (Building Future) นำ�โดย ดิคกอน โรบินสัน (Dickon Robinson) ร่วมกับ สถาบันวิศวกรโยธา (Institute of Civil Engineer) ไม่รอให้เวลาแห่งความเสียหายนัน้ มาถึง พวกเขา มี ค วามมุ่ ง มั่ น ในการเปลี่ ย นปั ญ หาที่ ไ ม่ อ าจ หลีกเลี่ยงไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นใน เดือนกรกฎาคม ปี 2009 ที่ผ่านมา ทั้งสอง หน่วยงานจึงเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้ประกอบ อาชีพจากสาขาที่เกีย่ วข้องกับการออกแบบเมือง ประกอบด้วย สถาปนิก วิศวกรโยธา นักออกแบบ ผังเมือง นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผูจ้ ดั นโยบาย นักสิ่งแวดล้อม และนักวิจัยเชิงอนาคต เพื่อมา ร่วมกันตีโจทย์การรับมือกับระดับนํ้าทะเลที่ เพิ่มขึ้น 3 แนวทางคือ การยอมถอยให้กับนํ้า (Retreat) การป้องกันนํ้า (Defend) และการ ต่อสู้กับนํ้า (Attack) โดยใช้เมืองฮัลล์ (Hull) ซึ่งเป็นเมืองท่าสำ�คัญในการติดต่อกับยุโรปมา ตั้งแต่อดีตเป็นกรณีศึกษาสำ�หรับการดำ�เนิน การในอีก 100 ปีข้างหน้า การยอมถอยให้ก ั บนํ้า (Retreat) เป็น สมมติฐานแรกที่ตั้งอยู่บนข้อจำ�กัดของเงินงบ ประมาณ และความต้องการที่จะพลิกผันความ โชคร้ า ยให้ ก ลายเป็ น สิ น ทรั พ ย์ ใ หม่ ข องชาว เมือง ด้วยการปล่อยให้นํ้าไหลเข้าในบางพื้นทื่ ที่มีความเสี่ยงสูงให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางนํ้ า เพื่ อ ชดเชยกั บ พื้ น ที่ ที่ ต้ อ งสู ญ เสี ย ไป นอกจากนี้ยังสามารถประหยัดงบประมาณที่ ต้ อ งใช้ ส ร้ า งกำ�แพงกั้ น นํ้ า ตลอดแนวชายฝั่ ง มาทุ่ ม เทให้ กั บ การสร้ า งกำ�แพงพื้ น ที่ ท าง ประวัติศาสตร์ในย่านใจกลางเมืองให้สูงขึ้น

สำ�หรับระดับนํ้าทะเลในอนาคต เมื่อนํ้าทะเล ไหลเข้ า มาจึ ง ทำ�ให้ พื้ น ที่ บ างส่ ว นมี ส ภาพ เสมือนเกาะกลางทะเลที่จะต้องมีการปรับถนน และทางรถไฟ ซึง่ เป็นพาหนะสำ�คัญในการขนส่ง สินค้าจากท่าเรือสู่ตัวเมืองอื่นๆ ให้กลายเป็น ทางยกระดับและเชือ่ มต่อถึงกัน ลำ�ดับต่อมาจึง เป็นการกำ�หนดที่ตั้งใหม่ของบ้านเรือน ชุมชน โรงเรียน และสถานที่สันทนาการต่างๆ รวมไป ถึงการประชาสัมพันธ์ การกำ�หนดกรอบระยะ เวลาการก่อสร้างสถานที่ใหม่ การโยกย้ายจาก จุดเดิม และเงิ น ชดเชยที่จะมาจากส่วนของ งบประมาณที่ ป ระหยั ด ได้ จ ากส่ ว นของการ ซ่อมแซมและการป้องกัน การป้องกัน (Defend) เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ถ้ า หากได้ รั บ การจั ด สรรงบประมาณอย่ า ง เพียงพอ เพราะต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการ ปกป้องพื้นที่กว่าร้อยละ 90 ของเมืองฮัลล์จาก นํ้าที่จะไหลบ่าเข้าท่วมในอนาคต ดังนั้นแนว ป้องกันที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงต้องมีการปรับปรุง ให้มคี วามแข็งแรงกว่าปกติ โดยนอกจากจะต้อง มีความสูงและหนาเป็นพิเศษแล้ว แต่บริเวณ รอบนอกของกำ�แพงนั้ น ยั ง ต้ อ งมี อ่ า งเก็ บ นํ้ า ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกับคูคลองสายเล็กๆ ซึ่ง ตั้งอยู่ใ นระดั บ ที่ตํ่ากว่าตั ว เมื อ ง เพื่อ ให้นํ้า

จากแม่ นํ้ า และนํ้ า ฝนไหลลงอ่ า งเก็ บ นํ้ า ตาม แรงโน้มถ่วงและช่วยแบ่งเบาภาระของระบบ การสูบนํา้ ปกติ อย่างไรก็ตาม การป้องกันนํา้ เข้า ท่วมนัน้ จะต้องมีการสูบนํา้ ออกจากอ่างเก็บนํา้ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งเพื่อเป็นการป้องกันอีก ขั้นหนึ่ง

ภาพจาก www.buildingfutures.org.uk

ไม่ใช่ปัญหา แค่ต้องเตรียมตัว

ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

17


Cover Story เรื่องจากปก

ขณะที่ปัญหาสำ�คัญในการเลือกแนวทาง ป้องกันก็คือเรื่องของงบประมาณที่จำ�เป็นจะ ต้องใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อการดูแลรักษา ดังนั้น จึ ง ต้ อ งมี ก ารใช้ ป ระโยชน์ จ ากสิ่ ง ก่ อ สร้ า งใน เชิงพาณิชย์ควบคู่ไปด้วย โดยบนกำ�แพงของ อ่ า งเก็ บ นํ้ า นั้ น จะถู ก ออกแบบมาให้ มี ข นาด กว้างเพียงพอที่จะจัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการ ระดมทุนก่อสร้างและรายได้จากการพัฒนา พืน้ ทีก่ ารค้า ที่อยูอ่ าศัย และพืน้ ที่พกั ผ่อนริมนํา้ อย่างเช่นกีฬาทางนํา้ พืน้ ที่แสดงงานศิลปะและ การแสดง รวมถึงการจัดสรรพื้นที่การเกษตร และการประมงตามแบบฉบับวิถคี นเมืองสำ�หรับ ป้อนตลาดการค้าบริเวณนั้น การต่อสูก้ บั นํา้ (Attack) ถือเป็นการเปลีย่ น ความสัมพันธ์ของเมืองกับนํา้ เสียใหม่ จากที่เคย ตั้งรับมาสู่การยอมรับและอยู่ร่วมกับนํ้าในแบบ ของชุมชนลอยนํา้ ด้วยการนำ�สาธารณูปโภคเก่า มาปรับปรุงให้กลายเป็นพื้นที่ใหม่ในรูปของ อาคารทั้ ง แบบที่ มี ร ากฐานในนํ้ า และอาคาร ลอยนํา้ พร้อมกับการสร้างสิง่ อำ�นวยความสะดวก รวมถึงระบบนํ้าเสี ย และการกำ�จัดขยะเพื่อ รองรับชุมชนนํ้าที่เกิดใหม่ให้สามารถอยู่อาศัย ทำ�ธุรกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยได้ โดยในแต่ละแท่นก่อสร้างนั้น จะต้องมีสะพานและเส้นทางเชื่อมต่อสองสาย เพื่อใช้สำ�หรับการอพยพแบบเร่งด่วนไว้ด้วย รายงานฉบับนี้นับเป็นหนึ่งในอีกหลายผล การศึกษาเพื่อเป็นข้อเสนอต่อสาธารณชนให้ เกิดการคิดและถกเถียงในกลุ่มอาชีพต่างๆ ทั้ง สถาปนิก นักออกแบบ ไปจนถึงนักการเมือง และผูด้ ำ�เนินนโยบาย ในการรับมือกับความเสี่ยง จากนํ้าท่วมในอีก 20 ปีข้างหน้า แม้ว่าจะยังมี อุปสรรคมากมายจากหลายข้อจำ�กัดทั้งเรื่อง งบประมาณ ความต่อเนื่องของรัฐบาล หรือแม้ กระทั่งโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของแต่ละ หน่วยงานรัฐที่โยงใยกันอย่างซับซ้อน จนทำ�ให้ การสื่อสารระหว่างภาครัฐและเอกชนในการ จัดการปัญหาเฉพาะหน้าเกิดความสับสนและ ล่าช้า แต่สำ�หรับกลุ่มสร้างอนาคตนั้น พวกเขา ตระหนักดีวา่ ความคิดริเริ่มในการมองไปข้างหน้า 18

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

รู้สู้! Flood เหตุการณ์นํ้าท่วมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านนับเป็นอุทกภัยครั้งใหญ่สำ�หรับชาวกรุงเทพฯ ที่ไม่เคยประสบมาก่อน ความตื่นตระหนก ความหวาดวิตก และความสับสน จากข้อมูลข่าวสาร การเตรียมตัว และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเกี่ยวกับนํ้าท่วมที่ไหลเวียนผ่านสื่อออนไลน์และ สือ่ มวลชนได้สร้างผลข้างเคียงให้เกิดขึน้ ในสังคมหลากหลายรูปแบบ อย่างเช่นกรณีของการกักตุน สินค้าจนทำ�ให้ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยนํ้าท่วมรายอื่นๆ ไม่สามารถหาซื้อสินค้าสำ�หรับการ ดำ�รงชีวิตประจำ�วันได้ หรือการเกิดความสับสนในการเสพข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไป จนเกิด ความเครียดและรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมือ่ เร็วๆ นีก้ ลุม่ อาสาสมัคร “รูส้ !ู้ Flood” จึงได้จดั ทำ�วิดโี อแอนิเมชัน่ ในรูปแบบอินโฟกราฟิก (Infographic) เป็นชุดข้อมูลเกี่ยวกับการรับมือกับนํ้าท่วมเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อมัลติมีเดียต่างๆ โดยได้จัดทำ�มาแล้วทั้งหมด 8 ตอน อย่างเนื้อหาในตอนที่ 6 ในชื่อที่ว่า "เพิ่มความเข้าใจ สักนิด ก่อนคิดจะตุน" เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันว่า ในการใช้ชีวิตโดยปกติของคนเรานั้นมี ปริมาณความต้องการกินหรือต้องการใช้มากหรือน้อยเพียงใด เพื่อเป็นการเตือนสติในการซื้อ สินค้าเพื่อ "ตุน" ได้อย่างเหมาะสมและพอดีกับความต้องการ จากก่อนหน้านี้ที่มีการกว้านซื้อ สินค้าจนเกิดภาพชั้นวางสินค้าว่างเปล่าในซูเปอร์มาร์เก็ตแพร่กระจายออกไป ที่ยิ่งทำ�ให้เกิด ความตื่นตระหนกมากยิ่งขึ้น แอนิเมชั่นของกลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้นับเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ เฉพาะหน้าในกรุงเทพมหานคร ซึ่งแม้จะไม่ได้ทำ�ให้พฤติกรรมการซื้อสินค้าของคนกรุงเทพฯ กลับมาเป็นปกติในชั่วระยะเวลาอันสั้น แต่ทว่าความพยายามของกลุ่มคนเหล่านี้คงไม่สูญเปล่า เมื่อกราฟิกสีสันสวยงามและเนื้อหาที่เข้าใจง่ายนี้จะสะกิดใจคนหลายคนก่อนที่จะหยิบของลง ตะกร้ารถเข็นครั้งต่อไป

ย่อมดีกว่าการนิ่งเฉย เพราะอย่างน้อยรายงาน ของพวกเขาก็น่าจะกระตุ้นต่อมความคิดเพื่อ ก้าวสู่อนาคตของใครหลายคนได้ หรือคุณว่า ไม่จริง? ที่มา: รายงาน Facing Up To Rising Sea-levels Retreat? Defend? Attack? The future of our coastal and Estuarine cities จาก www.buildingfutures.org.uk www.meti.go.jp www.youtube.com/user/roosuflood www.fastcompany.com


Insight

เรื่อง: ศิตา ริวัฒนา คงเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์หากผู้พิการทางสายตาจะสามารถขับขี่ ยวดยานพาหนะบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัย ทว่าวันนี้ความ เป็นไปไม่ได้ที่ว่ากำ�ลังค่อยๆ กลายมาเป็นความจริง พร้อมๆ กับ การจุดพลังใจและความหวังให้กับผู้พิการทางสายตาในการพา ตัวเองไปยังที่ต่างๆ ได้อย่างที่ตั้งใจได้ด้วยตนเอง ด้วยโครงการ ทดลองอั น น่ า มหั ศ จรรย์ ที่ กำ � ลั ง เดิ น หน้ า เข้ า ใกล้ ค วามสำ � เร็ จ เข้าไปทุกที

ในปี 2004 สมาพันธ์ผู้พิการทางสายตาแห่งชาติ (National Federation of the Blind: NFB) ได้เปิดตัวศูนย์วิจัยและอบรมผู้พิการทางสายตาขึ้น อย่างเป็นทางการ โดยมีการบริหารงานโดยผูพ้ กิ ารทางสายตาเพือ่ ผูพ้ กิ าร ทางสายตาโดยเฉพาะภายใต้ชื่อ National Federation of the Blind Jernigan Institute และมีโครงการอย่าง Blind Driver Challenge ที่ท้าทายทีม นักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยทั้งหลายให้เข้าแข่งขัน โดยมี โจทย์เป็น “การสร้างยานพาหนะทีช่ ว่ ยให้ผพู้ กิ ารทางสายตาสามารถบังคับ และขับเคลื่อนเองได้โดยอิสระ” ซึ่งไม่ใช่การสร้างยานพาหนะที่สามารถ นำ�พาผู้ขับเคลื่อนที่ไปได้อย่างอัตโนมัติเท่านั้น แต่ต้องเป็นยานพาหนะที่ ผูข้ บั สามารถตัดสินใจ วางแผน และควบคุมยานพาหนะนัน้ ได้ดว้ ยตนเอง และที ม ที่ส ามารถพิ ช ิ ต โจทย์นี้ไ ด้ก ็ ค ื อ ทีมของดร.เดนนิ ส ฮอง นักวิทยาศาสตร์หุ่นยนต์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ RoMela จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย เทค สหรัฐฯ ผู้ตั้งปณิธานที่จะสร้าง แต่หุ่นยนต์เพื่อช่วยเหลือคน (Rescue Robot) เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิต และสังคมดีขึ้นเท่านั้น

"การสร้างหุ่นยนต์เหมือนเป็นดาบสองคม เพราะคุณสามารถสร้าง สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้และสามารถสร้างสิ่งที่ทำ�ลายล้างสังคมได้ เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ผมจึงยํ้ากับนักเรียนของผมเสมอว่า ให้นึกถึงผลของ งานตนเองว่าจะส่งผลต่อสังคมอย่างไร" แม้ว่าจะเป็นเพียงโครงการต้นแบบ แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นของการ ก้าวไปข้างหน้าก้าวใหญ่ๆ ของเทคโนโลยีใหม่ทถ่ี กู คิดค้นขึน้ ไม่วา่ จะเป็น ระบบเซ็นเซอร์ที่สามารถมองเห็นในที่มืดหรือบริเวณที่ถูกปกคลุมด้วย หมอกควัน และระบบเซ็นเซอร์ที่สามารถมองผ่านนํ้าฝนได้ พร้อมกับ ระบบอินเทอร์เฟซแบบใหม่ที่สามารถปรับใช้กับผู้พิการทางสายตาได้เป็น อย่างดี เทคโนโลยีที่ไม่อาจประเมินค่าได้เหล่านี้ยังสามารถนำ�ไปต่อยอด เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตาในด้านต่างๆ ได้ทั้ง ด้านการศึกษา การบริการ รวมทัง้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอน่ื ๆ มากมาย ถึงแม้คำ�ว่าหุ่นยนต์กับการใช้ชีวิตของมนุษย์จะดูห่างไกลกันแม้ ในปัจจุบัน แต่ทักษะความรู้และเทคโนโลยีที่เกิดจากการวิจัย ค้นคว้า และทดลอง ที่ได้จากการสร้างหุ่นยนต์หรือการพัฒนาเทคโนโลยี เมื่อ ผนวกกับความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ทีม่ คี วามเชีย่ วชาญเฉพาะด้าน มนุษย์ก็สามารถจะหวังใจได้ว่า ระดับของคุณภาพชีวิตในอนาคต ทั้งใน ด้านการสร้างสรรค์เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือระบบต่างๆ ที่จะช่วยให้การ ดำ�เนินชีวิตลื่นไหลได้อย่างที่สังคมต้องการ ย่อมจะเกิดขึ้นได้จริงอย่าง แน่นอน ที่มา: www.romela.org www.nfb.org www.ted.com ภาพ: www.theverge.com www.blinddriverchallenge.org ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

19


20

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554


ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

21


Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน

เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร

22

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

เมื่อระบบทุนนิยมไม่อาจตอบสนองความสุขทางจิตใจได้อย่าง แท้จริง ขณะทีเ่ ทคโนโลยีกไ็ ม่สามารถคาดคะเนความแน่นอนของ ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้คนจึงหันกลับไป มองรูปแบบการดำ�รงชีวติ ที่ใกล้ชดิ กับธรรมชาติแล้วนำ�มาปรับใช้ ให้เข้ากับยุคสมัย ไลฟ์สไตล์ของคนเมืองจึงไม่ได้ยึดติดอยู่กับ ชีวติ ทีห่ รูหราและทันสมัยอีกต่อไป แต่ก�ำ ลังก้าวสูค่ วามเรียบง่าย ถอยห่างจากนวัตกรรมที่เบียดเบียนสิง่ แวดล้อม และให้ความสำ�คัญ กับ “ความสุข” ของความเป็นอยูใ่ นปัจจุบนั มากขึน้ ไม่วา่ จะเป็นด้าน ที่อยูอ่ าศัย อาหารการกิน สุขภาพ ไปจนถึงบรรยากาศแวดล้อม อย่างเช่นการไปใช้ชวี ติ ในฟาร์มเพือ่ แสวงหาความสุขแบบองค์รวม ที่ “แฮกนีย์ ซิตี้ ฟาร์ม” ในกรุงลอนดอนแห่งนี้


Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน

Frizzante ความสุข… เริ่มต้นจากมุมปาก สำ�หรับไลฟ์สไตล์ของชาวเมืองทีต่ อ้ งเลือกบริโภค อาหารสำ�เร็จรูปหรือปรุงสำ�เร็จแบบเลี่ยงได้ยาก และพันธุกรรมของพืชผลและสัตว์ตา่ งๆ ก็กำ�ลัง ถูกดัดแปลงไปตามความต้องการของตลาด จนน่ากลัว ร้านอาหารเล็กๆ สไตล์ท้องถิ่นที่ชื่อ “ฟริซซานเต” ซึ่งตั้งอยู่ในแฮกนีย์ ซิตี้ ฟาร์ม นี้ จึงได้นำ�เสนอทางเลือกใหม่ให้กับชาวอังกฤษ และผู้ ที่ พั ก พิ ง ในลอนดอนด้ ว ยเมนู อ าหาร พืน้ บ้านทีแ่ สนเรียบง่ายแต่เลิศรส โดยมีจดุ เด่นที่ การเลือกใช้วตั ถุดบิ และเครือ่ งเทศตามฤดูกาลใน ฟาร์มทุกๆ วันพฤหัสบดี เพือ่ เปิดโอกาสให้ลกู ค้า ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ลิ้มรสความสดใหม่ของ วัตถุดบิ พืน้ บ้านที่เพาะปลูกเองโดยไม่ใช้สารเคมี ไม่วา่ จะเป็นไข่สดจากฟาร์ม ไก่อบตัวอ้วน หรือ สลัดผักปลอดสารพิษ ส่วนวันอืน่ ๆ นัน้ ทางร้าน จะนำ�ผลิตผลท้องถิ่นจากฟาร์มในเมืองเคนท์ มาปรุงอาหาร รวมทัง้ คัดสรรเมนูพเิ ศษและไวน์ สำ�หรับการเฉลิมฉลองตามเทศกาลต่างๆ มาไว้ คอยบริการอย่างครบครัน และแม้วา่ อาหารของ ทีน่ จ่ี ะไม่หวือหวา แต่กใ็ ห้ความรูส้ กึ อบอุน่ เหมือน ได้ รั บ ประทานอาหารที่ บ้ า นกั บ ครอบครั ว ประกอบกับบรรยากาศอันร่มรื่นและเงียบสงบ ก็ ทำ�ให้ ลู ก ค้ า เพลิ ด เพลิ น ไปกั บ การลิ้ ม รส อาหาร จนแทบจะลืมไปว่าร้านอาหารแห่งนี้ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงลอนดอน กระทั่งสื่อมวลชน ท้องถิ่นและต่างประเทศถึงกับยกย่องให้เป็น ร้านอาหารแนะนำ� พร้อมการันตีความอร่อย ด้วยรางวัลร้านอาหารยอดเยีย่ มอย่าง Time Out Award for Best Family Restaurant Hackney City Farm ความสุข… จากการอยู่กับธรรมชาติ การหลีกหนีความจำ�เจของชีวิตที่แสนวุ่นวาย กลายเป็นสิ่งที่คนเมืองถวิลหา ฟาร์มแห่งนี้ก็ ทำ�หน้าทีเ่ ป็นบ้านสำ�หรับสัตว์นานาชนิด ทัง้ เป็ด ไก่ หมู แพะ แกะ กระต่าย วัว ฯลฯ ให้ได้ ดำ�เนิ น ชี วิ ต อย่ า งอิ ส ระภายในรั้ ว ของฟาร์ ม ที่ถูกจัดแบ่งอย่างดี ภายใต้การดูแลของ คริส พาวนด์ส ผู้จัดการคนปัจจุบันที่ริเริ่มพัฒนา

รูปแบบของฟาร์มจนกลายเป็นชุมชนแห่งใหม่ ที่ อุ ด มไปด้ ว ยทรั พ ยากรและวั ต ถุ ดิ บ ทาง ธรรมชาติ ทั้งยังเป็นห้องเรียนกลางแจ้งสำ�หรับ นักเรียนต่างวัยทีม่ ใี จใฝ่รู้ ตัง้ แต่เด็กเล็กไปจนถึง ผู้สูงอายุ ขณะเดี ย วกั น ก็เปิดรั บ อาสาสมั คร เข้ามาช่วยดูแลด้านปศุสัตว์ การเกษตร และ การจัดกิจกรรมต่างๆ โดยคริสยังให้ความสำ�คัญ กับงานในฟาร์มในฐานะพืน้ ฐานการดำ�รงชีวติ ของ มนุษย์ ด้วยการจัดคอร์ส “การใช้ชวี ติ ” ที่สถาบัน การศึกษาบางแห่งอาจไม่ได้สอน เช่น การดูแล และเก็บนํา้ ผึง้ การสานตะกร้า การสร้างเตาอบ จากดิน การทำ�ครี มบำ�รุ ง ผิ ว แบบธรรมชาติ ไปจนถึ ง การประดิ ษ ฐ์ ข องทำ�มื อ ด้ ว ยตนเอง ตลอดจนอนุญาตให้เด็กๆ จากโรงเรียนต่างๆ เข้ามาเยี่ยมชมและทำ�เวิร์กช็อปเล็กๆ ร่วมกัน เพื่อเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติได้อย่างปกติสุข และช่วยกันพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนควบคู่ไป กับดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ยิง่ ไปกว่านัน้ คริส และอาสาสมัครยังช่วยกันสร้างสรรค์โครงการ ที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคนต่างวัยใน แต่ละชุมชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอย่างโครงการ “Waste not Want not” ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ ผลงานทัศนศิลป์และงานฝีมอื ด้วยไอเดีย ใช้นอ้ ย ใช้ซํ้า นำ�กลั บ มาใช้ใหม่ (Reduce-ReuseRecycle) ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ เด็กๆ สามารถ แสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างอิสระ ขณะที่ ผู้ ใ หญ่ ก็ มี ค วามสุ ข กั บ การแบ่ ง ปั น ประสบการณ์และทักษะที่ตนเชี่ยวชาญ Think on the Bike Side ความสุข… ระหว่างทาง ภายในฟาร์มแห่งนีย้ งั มีมมุ เล็กๆ ทีเ่ ป็นจุดนัดพบ ของนักปั่นจักรยานผู้ใส่ใจในสุขภาพและเป็น นักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมอีกด้วย คริ ส ตระหนักดีว่าความสุขที่แท้จริงไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากสภาพร่างกายและจิตใจทำ�งานได้ไม่เต็ม ประสิทธิภาพ ร้านซ่อมบำ�รุงจักรยานแบบครบ วงจรที่ชื่อ “ไบค์ ยาร์ด อีสต์” จึงถือกำ�เนิดขึ้น พร้อมกับโครงการ “BikeStart” เพื่อชักชวนผู้ที่ จะเดินทางมายังแฮกนีย์ ฟาร์ม ให้หันมาใช้ พาหนะสองล้ อ อย่ า งจั ก รยานแทนการขึ้ น

รถโดยสารประจำ�ทาง ซึ่งนอกจากจะช่วยลด มลภาวะและช่ ว ยเสริ ม สร้ า งสุ ข ภาพที่ ดี แ ล้ ว ทางฟาร์ ม ยั ง มอบบั ต รกำ�นั ล ให้ นั ก ปั่ น เป็ น การตอบแทนด้ ว ยคอร์ ส การฝึ ก ปั่ น จั ก รยาน ขั้นพื้นฐาน การวางแผนเส้นทาง พร้อมครูฝึก ประจำ�ตัว ฟาร์มเล็กในเมืองใหญ่แห่งนี้ได้พิสูจน์แล้ว ว่าความเจริญของสังคมไม่ได้ขึ้นอยู่กับมูลค่า สู ง สุ ด ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) อีกต่อไป หากเป็น “ความสุขมวลรวมของคนในประเทศ” (Gross Domestic Happiness - GDH) ซึ่งเกิด จากการที่ประชาชนทุกคนมองเห็นคุณค่าของ สิ่งแวดล้อม ใส่ใจกับคนรอบข้าง เรียนรู้ที่จะใช้ ชีวติ อย่างเรียบง่ายและสนุกสนาน และมองโลก ด้วยสายตาที่เปื้อนสุขอยู่เสมอต่างหาก ที่มา: www.hackneycityfarm.co.uk www.frizzanteltd.co.uk www.bikeyardeast.com ภาพ: www.frizzanteltd.co.uk http://now-here-this.timeout.com http://1.bp.blogspot.com http://3.bp.blogspot.com ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

23


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่องและภาพ: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร

24

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

หลายคนอาจจะรู้จัก “อิสตันบูล” ในฐานะนครสองทวีป ดินแดน ทีว่ ฒ ั นธรรมตะวันตกพบกับตะวันออก ทีท่ อ่ี ารยธรรมเก่าแก่และ กระแสสมัยใหม่มาเจอกัน ณ ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรไบแซนไทน์ ทีเ่ คยถูกเรียกขานในอดีตว่า กรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึง่ ไม่วา่ คุณ จะรูจ้ กั เมืองนีอ้ ย่างไร แต่ทส่ี ดุ แล้วเมืองทีเ่ ต็มไปด้วยเรือ่ งราวทาง ประวัติศาสตร์แห่งนี้ ถูกประกาศโดยสหภาพยุโรปในปีที่ผ่านมา ให้เป็น “เมืองหลวงทางวัฒนธรรมแห่งยุโรป” ซึ่งเป็นข้อพิสูจน์ส�ำ คัญ ถึงการเป็นตัวแทนแห่งความเป็นมา และอนาคตที่จะเป็นไปของ ผืนแผ่นดินใหญ่อย่างยุโรปในวันนี้


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เอกลักษณ์บนความแตกต่าง หากลองย้ อ นทบทวนไปในประวั ติ ศ าสตร์ จะพบว่า อิสตันบูลเคยถูกปกครองจากจักรวรรดิ โรมันเพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ทางดินแดน ตะวันออก ต่อมาเมื่อจั ก รวรรดิ ไบแซนไทน์ เรืองอำ�นาจ ที่นี่ก็กลายมาเป็นศูนย์กลางแห่ง คริสตจักรนิกายกรีกออร์โธด็อกซ์ และเมื่อถูก ยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมันในเวลาต่อมา ความรุง่ เรืองของศาสนาอิสลามก็เข้าครอบคลุม เมืองนี้ ทดแทนร่องรอยทางวัฒนธรรมอันแตกต่าง และหลากหลายที่เข้ามาผสมกลมกลืนกันบน ดินแดนแห่งนี้ ให้กลายมาเป็นรากฐานสำ�คัญ ที่ส ร้ า งเสน่ห์ให้กับเมืองอย่างเป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของ อดีตซึ่งยังคงถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี แม้จะ ผ่านพ้นมานับพันปีแล้วก็ตาม

หน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนใน อิสตันบูลต่างเห็นพ้องต้องกันว่า มรดกทาง วัฒนธรรมของเมืองเป็นสิ่งลํ้าค่า และสามารถ ดึ ง ดู ด เม็ ด เงิ น จากนั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ อ ย่ า ง มหาศาล ผู้บริหารมหานครอิสตันบูล กระทรวง วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งตุรกี รวมถึง หน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล จึงนำ�เอาหลักการ ปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมเข้ามาเป็นหัวใจหลัก ในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาเมืองใน อนาคต จนทำ�ให้อสิ ตันบูลมักจะติดอยูใ่ นลำ�ดับ ต้นๆ ของเมืองท่องเที่ยวที่ดีทส่ี ดุ ในโลก และนัน่ จึงเป็นเหตุผลในการขึน้ ครองตำ�แหน่งเมืองหลวง ทางวัฒนธรรมของยุโรปในครั้งนี้

เมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรป © Tulay Palaz/stock.xchng

ในแต่ละปีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวัฒนธรรมแห่งสหภาพยุโรปจะทำ�การคัดเลือกเมืองที่มี ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมบนเงือ่ นไขทีก่ ำ�หนดไว้ อาทิ เมืองนัน้ ต้องแสดงถึงศักยภาพทางวัฒนธรรม ของยุโรป สามารถเชื่อมโยงความเป็นพลเมืองยุโรปเข้าไว้ด้วยกัน มีการสนับสนุนงบประมาณและ กิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างยัง่ ยืนจากภาครัฐ ซึง่ นีจ่ ะเป็นโอกาสดีทท่ี ำ�ให้เมืองต่างๆ ปรับวิถกี ารพัฒนา บุคลิกของเมือง เพื่อเปิดมุมมองใหม่ทางวัฒนธรรมแก่ยุโรปและประชาคมโลก การที่สหภาพยุโรปยกให้อิสตันบูลเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมแห่งยุโรปปี 2010 ก็นับว่าเป็น การส่งสัญญาณที่ดีต่อตุรกี เพราะหากพิจารณาในเชิงกายภาพแล้ว ก็จะพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของตุรกี นัน้ อยูใ่ นทวีปเอเชียมากกว่ายุโรปด้วยซํ้า จะมีเพียงเมืองไม่กี่เมืองเท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คืออิสตันบูลที่ ตั้งอยู่บนแผ่นดินยุโรป แต่ด้วยความตั้งใจของรัฐบาลตุรกี และการมองถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อ เข้าเป็นส่วนหนึง่ ของสหภาพยุโรป ตุรกีจงึ พยายามอย่างมากทีจ่ ะพัฒนาประเทศทุกทางในแนวทางของ ประเทศฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติตนตามหลักเกณฑ์โคเปนเฮเกน เพื่อให้ตัวเองมี ความพร้อมที่สุดในการได้รับการยอมรับจากสหภาพยุโรปนั่นเอง ตุรกีได้ใช้ความพยายามอย่างไม่ย่อท้อมานานหลายทศวรรษ แม้จะถูกปฏิเสธมาโดยตลอด ด้วย เหตุผลที่คณะกรรมาธิการยุโรปมักจะใช้ในการกีดกันตุรกี เช่น ปัญหาการรับรองสาธารณรัฐไซปรัสที่ ยังคงยืดเยือ้ ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในคนกลุม่ น้อย ความแตกต่างทางศาสนา หรือปัญหาความยากจน ในบางพืน้ ทีท่ ส่ี ร้างความเหลือ่ มลํา้ และความแตกต่างด้านเศรษฐกิจกับประเทศในกลุม่ ยุโรป แต่พวกเขา ก็หวังว่าสักวันหนึง่ ความฝันนีจ้ ะต้องเป็นจริง โดยเฉพาะการที่ตุรกีมขี นาดใหญ่และมีประชากรจำ�นวนมาก ที่จะเป็นตัวแปรสำ�คัญต่อจำ�นวนที่นั่งในรัฐสภายุโรปของตุรกีที่จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย หากตุรกีได้รับ การยอมรับให้เข้าไปเป็นหนึ่งในสมาชิกของสหภาพยุโรป ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

25


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

โมเดิร์นอิสตันบูล อิสตันบูลไม่เคยปฏิเสธการพัฒนาจากโลกสมัย ใหม่ หนึง่ ในนัน้ คงต้องยกความดีให้กบั มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ประธานาธิบดีคนแรกของ ตุรกี ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาของประเทศ ผู้วาง รากฐานรัฐสมัยใหม่ให้กับตุรกีที่ไม่ยึดติดกับ ศาสนามากจนเกินไป และมีการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตย ในช่ว งไม่กี่ส ิ บ ปีที่ผ่า นมา ผู้ค นที่ไ ด้ไ ป เยี่ยมเยือนอิสตันบูลต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่า อิสตันบูลได้เปลี่ยนจากภาพที่เคยดูเงียบขรึม เต็มไปด้วยวัฒนธรรมดั้งเดิม มาเป็นเจ้าของ ภาพลักษณ์ของประเทศที่มคี วามสดใส น่าสนใจ และทันสมัยไม่แพ้เมืองใดๆ ในกลุม่ ประเทศทาง ตะวันตก ทั้งยั ง มี ความโดดเด่น ในการมอบ ความรู้ สึ ก เป็ น มิ ต รแบบเอเชี ย ที่ ห าได้ ย าก ในประเทศยุโรปอืน่ ๆ

26

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

ความเจริญตามแบบเมืองสมัยใหม่ของ ยุโรปเกิดขึน้ และขยายตัวอย่างรวดเร็วในอิสตันบูล แต่ยังคงมีการจัดวางผังเมืองและแบ่งสัดส่วน การใช้พน้ื ทีไ่ ว้อย่างชัดเจน ระหว่างพืน้ ที่อนุรกั ษ์ ทางประวัตศิ าสตร์และย่านธุรกิจใหม่ ซึง่ นอกจาก จะทำ�ให้เมืองมีความยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรม แล้ว ก็ยงั กลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ที่ มี ป ระชากรหนาแน่ น ที่ สุ ด ของตุ ร กี อี ก ด้ ว ย และแม้จะต้องพบกับปัญหาสภาพการจราจร ติดขัดเช่นเดียวกับเมืองที่กำ�ลังพัฒนาทั่วโลก แต่มหานครอิสตันบูลก็ได้แก้ปญั หาตามคำ�แนะนำ� ขององค์การยูเนสโก ด้วยการบรรจุแผนการจัดการ จราจรเข้าไปในแผนการจัดการทางวัฒนธรรม เพือ่ ให้เกิดการทำ�งานและวางแผนที่สอดคล้องกัน โดยไม่ ส่ ง ผลกระทบไปยั ง สิ่ ง ก่ อ สร้ า งทาง วัฒนธรรมอันเป็นมรดกโลก นอกจากนีม้ หานครอิสตันบูลยังได้วางแผน กลยุทธ์การพัฒนาเมือง โดยยึดถือหลักสำ�คัญ 3 เรื่องคือ การยกระดับคุณภาพชีวติ การรักษาไว้ ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรม และความยั่งยืนของ สภาพแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนา ชุมชนเมือง การจัดระเบียบสังคม การจัดการ ด้านระบบคมนาคมขนส่ง การจัดการระบบ ช่วยเหลือทางสังคม การจัดการระบบบริการ สุขภาพ การจัดการด้านสิง่ แวดล้อม การจัดการ ด้านวัฒนธรรม และการจัดการกับเหตุภัยพิบัติ ซึง่ การวางแผนพัฒนาด้านต่างๆ เหล่านี้ จะเป็น เสมือนเกราะป้องกันให้วัตถุทางวัฒนธรรมที่มี อยู่อย่างมากมายนั้นมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น และเมื่อคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้าง การจัดการที่ดี สังคมโดยรวมก็จะดีขน้ึ และทำ�ให้ เกิดการอยู่รว่ มกันอย่างเป็นระบบทีค่ วรจะเป็น


Creative City

จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

มิติใหม่ทางวัฒนธรรม แม้ว่าประชากรมากกว่าร้อยละ 90 จะนับถือ ศาสนาอิสลาม แต่คนเมืองนี้ก็ไม่ใช่กลุ่มเคร่ง ศาสนาเท่าใดนั ก เนื่องจากแนวคิดด้านการ ปกครองทีเ่ ป็นแบบลัทธิเซคคิวลาร์ (Secularism) ซึ่งแยกกิจกรรมทางศาสนาออกจากการใช้ชีวิต ประจำ�วัน ดังนัน้ เราจึงได้เห็นผูค้ นตามท้องถนน แต่งตัวทันสมัย และผูห้ ญิงส่วนน้อยทีจ่ ะสวมผ้า ฮิญาบคลุมศีรษะ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีนัยยะต่อการ เปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆ เช่นเดียวกับประเด็นเรื่องอายุเฉลี่ยของ ประชากรในตุรกีที่อยู่ประมาณ 29 ปี และจะ เด็กลงเหลือเพียง 16 ปีในอิสตันบูล ซึง่ สะท้อนถึง การเข้ามาของคนรุน่ ใหม่ที่นำ�พาวิถชี วี ติ แบบใหม่ มาสูม่ หานครแห่งนี้ ขณะทีว่ ฒั นธรรมดัง้ เดิมของ อิสตันบูลก็ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำ�คัญ ในการขั บ เคลื่ อ นความคิ ด สร้ า งสรรค์ ใ หม่ ๆ เช่นการเปิดพื้นที่ใหม่ๆ อาทิ Istanbul Modern พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัย แห่งแรกในอิสตันบูล หรือ Santral Istanbul สถานที่จัดแสดงงานทางศิลปะวัฒนธรรม เพื่อ การเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ สถานที่เหล่านี้ มีส่วนทำ�ให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่ในการแสดงออก ซึ่งวัฒนธรรมในยุคของพวกเขา ทำ�ให้มิติทาง วัฒนธรรมขยายตัวมากยิ่งขึ้น และไม่ถูกจำ�กัด อยูแ่ ค่ตามแบบดัง้ เดิมเท่านัน้ แต่ยงั หมายรวมถึง วัฒนธรรมสมัยใหม่ทั้งศิลปะร่วมสมัย ดนตรี ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์และการออกแบบ นอกจากนี้ ยั ง มี ห น่ ว ยงานที่ มี บ ทบาท สำ�คัญในการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมสมัยใหม่ ของอิ ส ตั น บูล อย่า งเช่น IKSV - Istanbul Foundation for Culture and Arts หรือมูลนิธิ อิสตันบูลเพือ่ วัฒนธรรมและศิลปะ ซึง่ เป็นองค์กร ไม่แสวงหาผลกำ�ไร ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ กลุ่มนักธุรกิจและผู้ที่สนใจงานศิลปะเพื่อจัด กิจ กรรมระดั บนานาชาติ โดยให้ศิลปะและ วัฒนธรรมเป็นสือ่ กลางในการสือ่ สาร ซึง่ ปัจจุบนั มีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจตลอดทั้งปี รวมถึง งานใหญ่อย่าง Istanbul Biennial ซึ่งเป็นงาน แสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยโดยศิลปินของตุรกี

และระดับนานาชาติ ที่มีการคัดเลือกและจัดแสดง ทุก 2 ปี และในปีหน้า IKSV จะขยายขอบเขต เพื่อจัดงาน Istanbul Design Biennial 2012 ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อกระตุ้นให้วงการออกแบบ ของอิสตันบูลคึกคักมากยิง่ ขึน้ นอกเหนือจากงาน Istanbul Design Week ทีจ่ ดั เป็นประจำ�อยูแ่ ล้ว ทุกปี ทัง้ หมดนีล้ ว้ นเป็นการตอกยํา้ อุตสาหกรรม สร้ า งสรรค์ ที่ กำ�ลั ง จะเกิ ด ขึ้ น อย่ า งเต็ ม ตั ว ที่ อิสตันบูล ที่มา: http://ibb.gov.tr http://news.thaieurope.net www.iksv.org www.thyssenkrupp-elevator-architecture.com

ในปี 1999 ภูมิภาคมาร์มาร่าเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 7.4 ริกเตอร์ ซึ่งส่งผลกระทบ กับผูท้ อ่ี าศัยอยูบ่ ริเวณชายขอบของเมืองอิสตันบูล โดยมีผเู้ สียชีวติ จากเหตุการณ์นน้ั ราวสองหมืน่ คน แม้ว่าจะผ่านไปแล้วกว่าสิบปี แต่ภัยคุกคามทางธรรมชาตินี้ยังคงสร้างความหวาดกลัวให้กับชาว อิสตันบูลเสมอมา เนื่องจากอิสตันบูลมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น หรือกว่าร้อยละ 20 ของ ประชากรทัง้ ประเทศ ซึง่ หากเกิดเหตุภยั พิบตั ริ นุ แรง โอกาสในความสูญเสียย่อมมีมากขึน้ เป็นทวีคณู เนือ่ งจากมีโอกาสทีจ่ ะพบกับนํา้ ท่วมและแผ่นดินถล่ม ทำ�ให้หน่วยงานภาครัฐและมหานครอิสตันบูล ได้ออกมาตรการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อที่จะลดความเสียหาย อาทิ การวางแผนการให้ความช่วยเหลือ เมื่อเกิดภัยพิบัติ การออกแบบระบบการติดต่อสื่อสารเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ รวมถึงกำ�หนด พื้นที่ความเสี่ยงภัยพิบัติต่อสาธารณชน เป็นต้น เพื่อให้มีหน่วยงานกลางในการให้ความรู้ด้านภัยพิบัติแก่ประชาชน มหานครอิสตันบูลได้รับการ สนับสนุนจากภาคเอกชน ริเริม่ จัดการประกวดออกแบบสถาปัตยกรรม ศูนย์การเรียนรู้ และป้องกัน ภัยพิบตั คิ รบวงจร ในลักษณะ Edutainment Center ชิงเงินรางวัลกว่า 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ ซึง่ ได้ ปิดการรับส่งผลงานไปแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีผู้เสนอแบบเข้าประกวดกว่า 287 โครงการจาก 59 ประเทศทั่วโลก และจะมีการประกาศผลผู้ชนะเลิศเร็วๆ นี้ ซึ่งโครงการที่ชนะ การประกวดนี้จะถูกนำ�ไปสร้างจริงที่ในย่าน Bakirkoy เมืองอิสตันบูล บนพื้นที่กว่า 27,000 ตารางเมตร

© mastino 70

ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

27


The Creative

มุมมองของนักคิด

เรื่อง: หทัยรัตน์ เอสเตร่า มณเฑียร ภาพ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขณะทีโ่ ลกกำ�ลังวิกฤติขน้ึ เรือ่ ยๆ จากหลายปัจจัยที่รมุ เร้า ทัง้ ภัยพิบตั ิ ทางธรรมชาติ ภัยจากสงคราม หรือภาวะความยากจน สถาปนิก หลายคนได้มแี นวทางสร้างสรรค์งานออกแบบสถาปัตยกรรมด้วยวิธี ที่ตา่ งไป จากการนั่งออกแบบอยูใ่ นสำ�นักงาน พวกเขาเข้าไปคลุกวงใน กับคนในชุมชนเพื่อสร้างสรรค์งานออกแบบร่วมกัน เพราะหลายครั้ง บ้านก็เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย เพราะมันคือการร่วมใจกันขีดเส้นสาย ของคนในชุมชนเพื่อออกแบบชีวิตตนเองตามแนวทางที่ควรจะเป็น

28

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

คาเมรอน ซินแคลร์ สถาปนิกชาวอังกฤษที่ย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่สหรัฐฯ เป็นอีกคนหนึง่ ทีท่ ำ�งานในด้านนีอ้ ย่างจริงจัง ด้วยการปลุกปัน้ องค์กรทีช่ อ่ื Architecture for Humanity ซึง่ มุง่ ความสนใจไปทีก่ ารออกแบบเพือ่ พัฒนา ให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ที่มีรายได้น้อย ด้อยโอกาส หรือ ประสบเหตุจากภัยพิบัติ การทำ�งานของเขาเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน การสร้างความเข้มแข็งที่หยั่งรากไปถึงการสร้างรายได้ของคนในหมู่บ้าน คาเมรอนได้ฝากผลงานเด่นไว้หลายโครงการอย่างเช่น โครงการทีอ่ ยูอ่ าศัย เพื่อผู้ประสบภัยจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาในเมืองนิวออร์ลีนส์ โครงการ สร้างสนามฟุตบอลเพื่อสุขภาพ 20 แห่งในทวีปแอฟริการ่วมกับฟีฟ่า โครงการสร้างชุมชนใหม่ให้กับ 218 ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากภัย สึนามิในเขตฮัมบันโตตาของศรีลังการ่วมกับองค์การสหประชาชาติ และ อีกกว่าร้อยโครงการสร้างสรรค์ในการทำ�งานกว่าสิบปีที่ผ่านมา


The Creative

มุมมองของนักคิด

สวัสดี คาเมรอน คุณคิดอย่างไรกับกรุงเทพ นีเ่ ป็นครัง้ แรกของคุณหรือเปล่า กรุงเทพสนุก! ที่จริงนี่ก็ไม่เชิงครั้งแรกหรอก ผมโฉบไปเฉี่ยวมาหลายครั้ง ตอนที่ทำ�โปรเจ็กต์ที่พม่า ผมจะผ่านมาทางนี้บ่อย แล้วก็เคยมีโปรเจ็กต์ เล็กๆ ในกัมพูชา แต่โปรเจ็กต์ในพม่าเป็นการทำ�งานทีน่ า่ สนใจมากทีเดียว เพราะเราต้องหลบๆ ซ่อนๆ และต้องทำ�งานแบบไม่ให้รัฐบาลเขารู้ แล้วใครเป็นทีมของคุณที่พม่าล่ะ จริงๆ เป็นทีมสถาปนิกจากเมืองไทย แล้วก็มีทีมที่เป็นนักออกแบบที่ อาศัยอยู่นอกย่างกุ้งอีกสองสามคนที่ตามเข้าไปสมทบ วิธีการติดต่อของ เราก็จะส่งข้อความทางโทรศัพท์คยุ กัน จะว่าไปแล้วโปรเจ็กต์นม้ี นั น่าสนใจ มากที่เราได้ลงพื้นที่ก่อน เก็บข้อมูล ทำ�งานกับชุมชน แล้วก็ปั้นโปรเจ็กต์ ขึ้นมา ซึ่งเรารู้ดีว่าถ้าเราเริ่มทำ�โปรเจ็กต์นี้เมื่อไหร่ ทางรัฐบาลจะต้องเข้า มาระงับแน่ๆ เราเลยชงแล้วส่งต่อไปให้อาเซียน (สมาคมประชาชาติแห่ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ทำ�โปรเจ็กต์นใ้ี ห้ คือเราศึกษาข้อมูลพืน้ ทีเ่ ตรียม ไว้ให้พร้อมแล้ว นี่ผมก็เพิ่งไปดูโปรเจ็กต์มา มันโอเคนะ แต่ว่ามันอาจจะ ดีกว่านีไ้ ด้อกี มาก และมีศกั ยภาพทีจ่ ะไปได้อกี กว่านีเ้ ยอะ แต่เราพลาดไป สิง่ ทีเ่ ราเรียนรูจ้ ากโปรเจ็กต์นก้ี ค็ อื เราควรจะมีสถาปนิกแบบเต็มเวลา อยูใ่ นพืน้ ที่ ถ้าเป็นอย่างนัน้ มันจะดีกว่านีม้ าก ว่าไปแล้วมันก็เป็นโปรเจ็กต์ ที่บ้าพอสมควร เพราะเรามีเงินน้อยนิดแค่ 30,000 เหรียญสหรัฐฯ ที่จะ สร้างโครงการบ้านให้ผู้ประสบภัยหลังพายุไซโคลนนาร์กีสทั้งหมด

พวกเด็กๆ เขาหาเงินมาทำ�โครงการกัน ผมอยากจับมือและมองตาพวกเขา ได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าทุกบาท ทุกสตางค์ได้ถูกใช้สอยไปในโครงการ ไม่ใช่เงินเดือนผม โปรเจ็กต์มากกว่าที่จะต้องถูกจ่ายให้ใครบางคนไปรอหาข้อมูลหรือปั้น โปรเจ็กต์ขึ้นมา เราต้องระวังด้วยในจุดนี้ ซึ่งสิ่งที่ยากที่สุดในงานของผมคือการพูดว่า “ไม่” และมันก็จะเป็น การดีกว่าที่เราพูดว่าไม่ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ไม่ให้คนที่อยู่ในชุมชนเกิด ความหวังลมๆ แร้งๆ

ปีๆ หนึง่ คงจะมีคนมาเสนอให้คณุ ร่วมทำ�โปรเจ็กต์ดว้ ยเยอะ คุณมีวธิ เี ลือก ว่าจะทำ�โครงการหรือไม่ อย่างไร ผมมีเกณฑ์หลักๆ อยู่สามอย่าง อย่างแรกก็คือ ดูว่ามีมันมีส่วนร่วมกับ ชุมชน (Strong community engagement) อย่างที่สองคือ ดูว่ามี สถาปนิกที่เราจะส่งไปอยู่ดูแลโครงการตั้งแต่ต้นจนจบไหม และสุดท้าย คือเรื่องใหญ่ คือเงินทุน มีโปรเจ็กต์หนึ่งที่ผมชอบมากคือโครงการจัดตั้ง กลุ่มทอผ้าของสตรีที่เคยขายบริการทางเพศ มันเป็นโปรเจ็กต์ที่ดีมากนะ ชุมชนร่วมมือกัน มีแผนงานทางธุรกิจเป็นเรื่องเป็นราว แต่มันติดอยู่ที่เรา ไม่ได้เงินสนับสนุนที่จะสร้างโปรเจ็กต์นี้ขึ้นมา ก็เลยไม่ได้ทำ�โครงการนี้

แหล่งเงินทุนในการทำ�โปรเจ็กต์ต่างๆ ของคุณมาจากไหน ครึ่งหนึ่งมาจากเด็กๆ ที่ร่วมกันพับนกมาให้ แล้วก็จะมีบริษัทต่างๆ ร่วม บริจาคเงินตามจำ�นวนนก หรือว่าการขายของประมูลเพือ่ หาเงินในทวิตเตอร์ ผมเชือ่ เรือ่ งพลังของโซเชียลเน็ตเวิรก์ นะ เราค่อนข้างโชคดีมากในหลายๆ โปรเจ็กต์จากสื่อเหล่านี้ ถ้าผมได้รับเชิญไปพูดที่ไหน เงินที่ได้ก็จะถูกไป รวมไว้ในกองกลาง ซึ่งเงินเหล่านั้นก็เอาไปจ่ายเป็นเงินเดือนที่สำ�นักงาน ในส่วนการบริหารต่างๆ เช่นเดียวกับเงินเดือนของผมที่ก็มาจากตรงนี้ ไม่ใช่เงินที่เด็กๆ ช่วยกันหามา พวกเด็กๆ เขาหาเงินมาทำ�โครงการกัน ผมอยากจับมือและมองตาพวกเขาได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าทุกบาททุก สตางค์ได้ถูกใช้สอยไปในโครงการ ไม่ใช่เงินเดือนผม แหล่ ง เงิ น ทุ น อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ก็ ม าจากมู ล นิ ธิ ส่ ว นตั ว หรื อ ไม่ ก็ บ ริ ษั ท ใหญ่ๆ ที่สนใจประเด็นทางสังคมอย่างพวกไนกี้ หรือยูไนเต็ด คัลเลอร์ส ออฟ เบเนตอง แล้วก็พวกดาราฮอลลีวูดทั้งหลายที่สนับสนุนให้โปรเจ็กต์ เหล่านี้เกิดขึ้นมาได้

เราจินตนาการได้ว่าคุณคงเป็นคนที่ชอบความท้าทาย และไม่ใช่ว่าถ้ามี อะไรที่ไม่ครบองค์ประกอบแล้ว คุณจะล้มโครงการไม่ทำ�เลย คุณกำ�หนด ระยะเวลาไว้ไหม ว่าภายในระยะเวลาเท่าไหร่กว่าคุณจะเลิกคิดเรื่อง โปรเจ็กต์นั้นๆ แน่นอน เราต้องเผื่อไว้อยู่แล้วแต่มันจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ แค่สองสาม เดือนเท่านั้นที่จะสร้างโปรเจ็กต์ เพราะเราต้องคิดตลอดเวลาว่าสิ่งที่เรา กำ�ลังทำ�อยู่ มันเป็นเรื่องเงินเรื่องทองทั้งนั้น ผมจะต้องจ่ายเงินเดือนพวก ที่ทำ�งานในออฟฟิศที่ซานฟรานซิสโก ต้องจ่ายเงินเดือนสถาปนิกที่เข้าไป อยู่ในพื้นที่ของโครงการทั้งหลาย ซึ่งจริงๆ แล้ว เงินมันควรจะถูกไปใช้ใน

ดาราฮอลลีวูดคนไหนบริจาคเงินให้คุณมากที่สุด โอปราห์ วินฟรีย์ครับ ในช่วงวิกฤติพายุแคทรีนา แต่จริงๆ แล้วก็มีหลาย คน อย่าง เบน สติลเลอร์ แล้วก็ยังมีพวกมูลนิธิของตระกูลต่างๆ ซึ่ง หลายๆ คนก็เป็นพวกที่สร้างฐานะขึ้นมาด้วยตัวเอง ซึ่งผมก็จะไปกิน อาหารคํ่ากับพวกเขา แล้วพูดคุยกันเรื่องโครงการต่างๆ ของเรา บางครั้ง เราก็จะได้ฟังเรื่องราวความฝันของเขา ว่าอยากจะทำ�อะไร หรืออะไรมี ความหมายสำ�หรับพวกเขา ซึง่ บางตระกูลก็จะเชือ่ มัน่ ในเรือ่ งการมีสว่ นร่วม ของคนในชุมชน พวกนี้ก็จะไม่ได้ให้เงินเฉยๆ แต่จะให้สำ�หรับโครงการที่ ไปช่วยชุมชน หรือสนับสนุนให้ไปจัดตัง้ ธุรกิจเล็กๆ เพือ่ ให้หาเลีย้ งตัวเองได้ ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

29


The Creative

มุมมองของนักคิด

เหมือนกับโปรเจ็กต์ทเ่ี ราเห็นในรายการทีวขี องโอปราห์ ทำ�นองนัน้ หรือเปล่า ประมาณนั้นครับ เราทำ�งานกับองค์กรที่ชื่อ Happy Hearts Fund ซึ่ง องค์กรนี้จะเน้นเรื่องการสร้างโรงเรียน หรืออย่างในเฮติ เราได้ทำ�งานกับ บริษัทการลงทุนที่อยากจะช่วยเรื่องการสร้างงานอย่าง The Clinton Foundation Haiti Fund ที่ไม่ได้สนใจแค่ให้เงินเราสร้างอาคารอย่างเดียว แต่สนใจในการสร้างงาน สนใจคนที่เราจ้างมาทำ�งานในอาคารที่เรา สร้างขึน้ การฝึกฝีมอื แรงงานให้กบั คนพวกนี้ เพือ่ ทีจ่ ะสร้างเฮติให้แข็งแกร่ง ด้วยการให้ประชากรมีงานทำ�และมีฝีมือแรงงานที่สูงขึ้น ซึ่งเมืองไทยเอง ก็เหมือนกัน คือแทนที่จะให้เงินเพื่อช่วยเหลือการซ่อมแซมบ้านให้ดีขึ้น กับผู้ประสบภัยนํ้าท่วมอย่างเดียว มันอาจจะดีกว่า ถ้าจะให้ผมมาช่วยใน เรื่องสร้างงานให้กับผู้คนที่สูญเสียทุกอย่างเหล่านั้น แต่คงต้องใช้เวลานานมาก แน่นอน มันต้องใช้เวลานานแน่ แต่ว่าเงินจะไปอยู่กับคนที่ถูกต้อง แทนที่ จะไปอยู่ที่บริษัทรับเหมาที่ใดสักที่หนึ่ง มันอาจจะเป็นการดีกว่าที่จะเอา เงินไปสร้างงาน จ้างคนที่เขาสูญเสียบ้านเรือนไป เงินในโปรเจ็กต์น่ะมัน มีแน่นอนอยู่แล้ว แต่คำ�ถามสำ�คัญคือว่ามันควรจะไปอยู่ที่ใคร รัฐบาลเข้ามาให้เงินสนับสนุนโครงการของคุณไหม คุณทำ�งานเจ๋งๆ ตั้ง หลายอย่าง ไม่นะ พวกเขาไม่ได้เข้ามาสนับสนุนเรื่องเงินทองอะไร แต่เราเกี่ยวข้อง กับรัฐบาลในลักษณะที่ให้พวกเขาสร้างงานของเราในขนาดที่ใหญ่ขึ้น อย่างเช่น สมมติจะสร้างบ้านร้อยหลังในไทยใช่ไหม เนื่องจากพวกเรา เป็นองค์กรทีเ่ ปิด เราให้กระทรวงทีด่ แู ลด้านทีอ่ ยูอ่ าศัยเข้ามาดูงานออกแบบ การปรับแผนโครงสร้างที่เราทำ�ขึ้น แล้วเอาไปใช้ เราไม่ได้ทำ�งานแทน หน้าที่รัฐบาลนะ แต่เราโชว์ความก้าวหน้าหรือนวัตกรรม นั่นมันคือหัวใจ ของงานเรา คือเราเป็นพวกที่โชว์ความก้าวหน้าแล้วหวังว่าพวกรัฐบาล จะเอามันไปใช้

แล้วผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง บางอันก็ดี บางอันก็แย่ แต่เนื่องจากเราเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำ�ไร พวกเราเลยได้รับการต้อนรับดี อย่างในเฮติ พวกเขาเอาแบบที่เราทำ�ขึน้ ไปสร้าง แล้วก็ จ ะเอาไปใช้ในหลายๆ ประเทศ หรื อ อย่า งโปรเจ็ กต์ แคทรีนาเองในสหรัฐฯ เราสร้างบ้านใหม่ให้พวกเขา โดยเราสร้างกองทุน ธนาคารของชุมชนขึ้นมา ซึ่งในท้ายที่สุดชาวบ้านจะจ่ายเงินแค่ 40,000 เหรียญสหรัฐฯ แทนที่จะเป็น 150,000 เหรียญสหรัฐฯ ตามจำ�นวนเงินที่ ลงไป เพราะมีเงินของรัฐบาลมาช่วยอุดหนุน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น รัฐบาลก็ เพิ่งจะเข้ามาช่วยตอนที่เราทำ�กันไปแล้วสามปี เพราะว่าเรื่องทางการ ระเบียบอะไรต่างๆ มันใช้เวลามาก แต่เราก็ทำ�ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว คือ ถ้าได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลก็จะเยี่ยม เพราะสามารถจะเอาไปรวมกับ ส่วนอื่นๆ ได้ก่อน เพื่อจะได้เป็นทุนสร้างในส่วนอื่นๆ ต่อๆ ไป ตอนนี้คุณช่วยงานรัฐบาลวางแผนเรื่องระบบสอดส่องการนำ�เอาเงิน บริจาคไปใช้อยู่ใช่ไหม ใช่ ผมคิดว่าพวกองค์กรไม่แสวงหาผลกำ�ไรทัง้ หลายควรจะหาหนทางทีจ่ ะ เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ให้สาธารณชนหรือคนที่บริจาคตรวจสอบได้ ผมเพิ่งเข้าไปอยู่ในหน่วยงานบริหารของสหรัฐฯ (U.S. Administration) เพื่อให้คำ�แนะนำ�หน่วยช่วยเหลือระหว่างประเทศ ว่าเราจะเปลี่ยนแปลง วิธีการให้เงินบริจาคเหล่านี้ได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้ารัฐบาลอเมริกันจะ ช่วยรัฐบาลไทยเรื่องนํ้าท่วม โดยปกติแล้วเราก็จะบริจาคผ่านรัฐบาลไทย เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยใช่ไหม และนั่นก็จะเป็นเงินก้อนใหญ่มากอย่าง เช่น 30-50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้วหลังจากนั้นเราก็จะอนุมานว่า มันจะ ถูกดูแลจัดสรรไปเป็นอย่างดี แต่จริงๆ แล้วเราไม่เคยมีมาตรการวัดผล อะไรเลยกับเงินที่เราบริจาค ว่ามันจะถูกใช้อย่างมีคุณค่าหรือไม่ ซึ่งคน อเมริกนั ค่อนข้างโกรธมากเมือ่ ได้ยนิ เรือ่ งการบริจาคเงินไปทีอ่ น่ื ๆ และมัน ถูกนำ�ไปใช้อย่างผิดวิธีอย่างที่มันควรจะเป็น เพราะนั่นเป็นเงินจากภาษี ของพวกเขา เหมือนเอาเงินที่ผมหามาได้มาช่วย แต่คุณเป็นคนอังกฤษนะ แต่ผมจ่ายภาษีให้รัฐบาลอเมริกัน และผมก็อยู่ที่นี่มา 15 ปีแล้ว ไม่สำ�คัญ หรอกว่าผมจะถือพาสปอร์ตชาติไหน ผมเป็นผู้เสียภาษีให้รัฐบาลอเมริกัน และพวกเราก็เป็นห่วงว่าเงินจะถูกนำ�ไปใช้อย่างถูกทางหรือเปล่า แล้วมัน คุ้มค่าไหม

30

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554


The Creative

มุมมองของนักคิด

ตกลง คุณได้ให้ค�ำ แนะนำ�อะไรไปบ้าง ที่กำ�ลังทำ�อยู่ตอนนี้แต่ยังไม่เสร็จก็คือ ระบบการตรวจสอบความโปร่งใส ที่จะทำ�ให้เห็นได้ว่า เงินบริจาคมันไปอยู่ตรงโครงการไหน อะไรบ้าง คือ เห็นในแผนทีเ่ ลยว่าโปรเจ็กต์อยูต่ รงไหน แต่ละโครงการใครเป็นผูร้ บั เหมา มีสญั ญาว่าอย่างไร บ้านนี้ บ้านนัน้ ได้เงินไปเท่าไหร่ ซึง่ มันจะเป็นจุดเริม่ ต้น ให้เห็นกั น ชั ด ๆ ว่าผู้ร ั บเหมาเจ้า ไหนคิดถูกคิดแพง และอาจจะเป็ น ข้อมูลให้เราสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าครั้งหน้าเรายังจะจ้างพวกเขา เหล่านั้นอีกไหม พูดง่ายๆ ก็คือ เราพยายามสร้างวิธีหรือแนวทางที่จะ ทำ�ให้เงินบริจาคระหว่างประเทศถูกนำ�ไปใช้ในส่วนภูมิภาคได้โดยตรง แล้วเราจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไร โปรแกรมจะขึ้นเลยว่าบ้านนี้ได้เงิน ไปเท่าไหร่ โปร่งใส ซึ่งเราไม่เคยมีการคิดระบบอย่างนี้ที่ไหนเลย ประเด็นของคุณก็คือเรื่องความโปร่งใส ซึ่งมันอาจจะเป็นไปได้ยากใน หลายๆ ประเทศที่มีปัญหาเรื่องทุจริตคอรัปชั่น ถึงแม้จะเป็นสหรัฐฯ เองก็ตามเถอะ มันก็ยงั เป็นเรือ่ งยาก เพราะเราไม่เคย ตรงไปตรงมาเกีย่ วกับเรือ่ งค่าใช้จา่ ย ทุกคนถามว่าบ้านหลังหนึง่ ในโครงการ มันราคาเท่าไหร่ จริงๆ แล้วมันไม่ใช่แค่ราคาบ้าน มันจะต้องมีค่าใช้จ่าย อื่นๆ ด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงานขององค์กร หรืออย่างในบาง พื้นที่เราต้องใช้การรักษาความปลอดภัยขั้นสูง บางพื้นที่ค่าวัสดุแพงมาก หรือไม่บางโครงการเราต้องมีการฝึกหัดคน ซึง่ เราต้องซือ้ คอมพิวเตอร์ใหม่ นี่ดีนะที่เราไม่ต้องจ่ายค่าซอฟต์แวร์เพราะเราได้รับบริจาคมาให้ใช้ฟรี ไม่ เช่นนั้น ปีๆ หนึ่งแค่ค่าใช้จ่ายตรงนี้อย่างเดียวมันคงเป็นตัวเลขมหาศาล เพราะฉะนั้นถ้าคุณถามว่าบ้านมันราคาเท่าไหร่กันแน่ มันอาจจะใช้เงิน สร้าง 1,000 เหรียญสหรัฐฯ แต่ตวั เลขจริงๆ มันอาจจะอยู่ที่ 1,200 เหรียญ สหรัฐฯ ก็เป็นได้ เงินในแต่ละส่วนที่องค์กรคุณได้รับมา มีการจัดสรรปันส่วนกันอย่างไร ในแวดวงขององค์ก รไม่แ สวงหาผลกำ�ไร เรามีเงินกองทุนที่เรียกว่า Unrestricted Fund ซึ่งมันจะเป็นเงินที่มาจากการระดมทุนเพื่อมาใช้จ่าย ในองค์กร อย่างที่คุณรู้น่ะ ว่าเรื่องแรงงานมันสมองนั้นเป็นของราคาแพง อย่ า งตอนนี้ ผ มประกาศหาคนที่ จ ะมาทำ�ตำ�แหน่ ง ผู้ อำ�นวยการฝ่ า ย ปฏิบัติงาน ซึ่งต้องบริหารโปรเจ็กต์ของเราในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก และออฟฟิศเราอยู่ในซานฟรานซิสโก ซึ่งคุณก็คงจะรู้ดีว่าค่าครองชีพมัน สูงแค่ไหน และเงินเดือนของพวกเขาก็ต้องแพงตามไปด้วย คุณระดมทุนบ่อยแค่ไหน ปีละครั้งหรือว่าอย่างไร ไม่หยุดเลย ผมต้องหาทุนตลอดเวลา เมื่อก่อนตอนที่เราเริ่มต้น อาจจะ ต้องหาเงินทั้งหมดปีละหมื่นเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างบ้านปีละหลังก็ ถือว่าเก่งแล้ว แต่เดี๋ยวนี้งานมันใหญ่ขึ้นมาก มันไม่ใช่ปีละหมื่นเหรียญ แล้ว มันต้องวันละหมื่นเหรียญ เพื่อที่จะสร้างโครงการบ้านปีละเป็นหมื่น

มันเป็นโอกาสที่จะได้คิดเรื่องการทำ� ธุรกิจเล็กๆ จะช่วยให้ชุมชนสร้าง ความแตกต่างได้อย่างไร ทำ�อย่างไร ให้มันแข็งแรง เรื่องพวกนี้สำ�หรับผม มันเป็นเรื่องน่าสนใจ เป็นแสนหลัง ผมต้องการเงินมากกว่าเดิมเยอะมากเพื่อให้มันไปได้ จะ ต้องออกไปพูดตามที่ต่างๆ มากกว่าเดิมหรือว่าจะต้องหาเงินจากการ ระดมทุนให้คนมาร่วมกัน มันคือธุรกิจของธุรกิจไม่แสวงหาผลกำ�ไร พวกสถาปนิกมักจะเป็นพวกที่ไม่ค่อยได้เรื่องในการจัดการเรื่อง การเงินหรือเรือ่ งธุรกิจอะไรเท่าไหร่ ไม่มสี ถาปนิกคนไหนอยากนัง่ คุยกับคุณ เรือ่ งเงินๆ ทองๆ หรือการบริหารหรอก พวกเขาอยากคุยเรือ่ งการออกแบบ มากกว่า หรือถ้าเกิดอยากพูดล่ะก็ มันก็จะเป็นทำ�นองบ่นเรื่องเงินน้อย ไม่คุ้ม อะไรทำ�นองนี้ จริงๆ มันน่าสนใจนะที่เราจะคุยเรื่องสไตล์การ บริหารขององค์กรด้านการออกแบบที่ไม่แสวงหาผลกำ�ไร คุณเปลี่ยนจากสถาปนิกไปเป็นเจ้าของกิจการเพื่อสังคมได้อย่างไร ผมเป็นทั้งสองอย่าง ใช่ แต่ตอนที่คุณเรียน คุณเรียนเพื่อเป็นสถาปนิกนะ คือตอนเด็กๆ พ่อแม่ผมต้องหารายได้พิเศษช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ด้วยการออกไปขายของตามตลาดต่างๆ เหมือนที่เมืองไทยนี่แหละ ผม จะไม่ค่อยได้เงินค่าขนมไปโรงเรียนเท่าไหร่ คือได้น้อยมาก พ่อแม่เลย บอกผมว่า ถ้าอยากได้เงินค่าขนม ก็ให้เลือกขนมจากที่ร้านของพวกเขา ออกไปขาย เงินส่วนต่างเหล่านี้ก็เป็นรายได้ของผม หมดวันผมก็ได้ ค่าขนมพอดี คือตัง้ แต่เด็กผมก็ได้เรียนรูเ้ รือ่ งเหล่านีว้ ่าทำ�อย่างไรจะไปให้รอด มันคงติดตัวมา เพราะว่าผมอยากมีเงินไปซื้อลูกกวาด อยากมีเงินไปซื้อ ของเล่น มันเลยทำ�ให้ผมชอบการทำ�ธุรกิจ ถึงแม้วา่ จะเป็นธุรกิจเพือ่ สังคม ก็ตามเถอะ มันเป็นโอกาสที่จะได้คิดเรื่องการทำ�ธุรกิจเล็กๆ จะช่วยให้ ชุมชนสร้างความแตกต่างได้อย่างไร ทำ�อย่างไรให้มนั แข็งแรง เรือ่ งพวกนี้ สำ�หรับผมมันเป็นเรื่องน่าสนใจ คุณคิดแบบแผนธุรกิจที่จะทำ�องค์กรคุณให้เป็นอย่างนี้ตั้งแต่ตอนแรกเริ่ม เลยหรือเปล่า ไม่เลย มันเป็นเรื่องของการเรียนรู้ ตอนแรกที่ผมเริ่มผมไม่ประสีประสา อะไรเลย ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

31


The Creative

มุมมองของนักคิด

นั่นคือเมื่อปี 1999 ใช่ นั่นเป็นปีที่ก่อตั้งองค์กร แต่จริงๆ แล้วผมเริ่มคิดเรื่องนี้ในช่วงปี 1995-1996 ตอนนั้นผมอายุประมาณ 19 หรือ 20 ปีเท่านั้นเอง ผมย้ายมา อยู่นิวยอร์ก ซึ่งความตั้งใจดั้งเดิมของ Architecture for Humanity เป็น เรื่องความเห็นแก่ตัวของผมล้วนๆ คือผมอยากทำ�โปรเจ็กต์ที่ช่วยเหลือ ตอบแทนชุมชนที่ผมอยู่ในนิวยอร์ก แล้วหลังจากที่ทำ�ให้คนมารวมตัวกัน ได้แล้ว ก็ค่อยๆ คิดว่ามันอาจจะเป็นเรื่องของบริษัทออกแบบ แล้วเราก็ ดำ�เนินงานแบบบริษัทออกแบบที่ไม่แสวงหาผลกำ�ไร แล้วต่อมาเราก็ ดำ�เนินงานแบบผูร้ บั เหมาทีไ่ ม่แสวงหาผลกำ�ไร มันก็จะค่อยๆ พัฒนาขึน้ มา ค่อยๆ โตขึ้น ปีแรกๆ ค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินการขององค์กรตกอยู่ที่ ประมาณ 70,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งเงินส่วนใหญ่เป็นเงินที่ผม ระดมทุนเอง แล้วปีต่อๆ มาก็ค่อยๆ มากขึ้น เมื่อสองปีก่อนค่าใช้จ่าย ตรงนี้ขึ้นไปถึงล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะฉะนั้นเราต้องปรับตัวกับความ ใหญ่โตที่เกิดขึ้น ว่าไปแล้วก็คล้ายๆ กับบริษัทไนกี้ คือผมกินข้าวกับบอสใหญ่ของ ไนกี้บ่อย คือแรกเริ่มทีเดียวมาจากการคิดว่าอยากทำ�รองเท้าสักคู่ แล้วก็ ทำ�รองเท้ากีฬา รองเท้าอื่นๆ ขยายไปเป็นเสื้อผ้า แตกไลน์ไปอันอื่นๆ จนเดี๋ยวนี้ผลิตรองเท้ากว่า 25 ล้านคู่ ไม่มีอะไรเหมือนเดิมจากปีที่เริ่มต้น แรกๆ เลย เพราะฉะนั้นมันเหมือนกับว่าผมต้องเรียนรู้ตามความเติบโต ไม่มีใครสอนได้เรื่องแบบนี้ หรือจะให้คำ�แนะนำ�อะไรได้ ฟังที่คุณเล่าเรื่องการเติบโตขององค์กรแล้ว อยากรู้ว่าคุณมีวิธีแบ่งงาน อย่างไร เชือ่ ใจ มันต้องเป็นเรือ่ งของความเชือ่ ใจ วิธกี ารบริหารทีผ่ มเป็น ผมอยาก จะเรียกมันว่าเป็นความยุ่งเหยิงแบบเซน คือมันจะวุ่นวายสับสนโน่นนี่ไป หมด แต่เพราะว่าเรามีความเชือ่ ใจในบุคลากรทีเ่ ราเลือกมา เราเลยใจเย็น ลงได้ เราปล่อยให้พวกเขาพยายามทำ�ให้สำ�เร็จ เพราะผมต้องการให้ วันหนึง่ พวกเขาขึน้ มาแทนทีผ่ ม แต่พวกเขาจะไม่สามารถขึน้ มาได้ถา้ ผมคอย บงการบริหารพวกเขาทุกกระเบียดนิ้ว เราได้เห็นสถาปนิกรุ่นเยาว์ไปดูแลโครงการของคุณในที่กันดารต่างๆ คุณรู้ได้อย่างไรว่าคนที่คุณส่งไปจะสามารถดูแลโครงการของคุณได้ไป จนจบ มีวิธีการเลือกผู้คนเหล่านี้เข้ามาทำ�งานกับคุณอย่างไร อย่างแรกเลยนะ ถ้าคุณสมัครงานทีอ่ งค์กรผม แสดงว่าคุณมีใจพอสมควร เพราะถ้าคุณอยู่ในลอนดอนคุณก็สุขสบายดี บางพื้นที่ในโครงการเราไม่มี นํ้ำ�สะอาด บางพื้นที่ลำ�บากมาก ต้องอยู่เต็นท์ สมัครมาเข้าร่วมงานกับ เรานีต่ อ้ งบ้าประมาณหนึง่ เลย แต่ละปีกจ็ ะมีประมาณ 40 คนทีส่ มัครเข้ามา แล้วในเว็บไซต์ของผมจะเขียนไว้เลยว่า เราจะไม่ทำ�งานกับพวกร้ายๆ หรืออารมณ์อ่อนไหว เพราะจะทำ�งานไม่ได้ถ้าเราเอาอารมณ์และความ 32

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

สงสารขึ้นหน้า คือในบางโปรเจ็กต์ ความเป็นจริงมันเลวร้ายมาก ถ้าคน ทำ�งานทีเ่ ราส่งไปมีอารมณ์รว่ มเกีย่ วกับสถานการณ์สงู สมองของพวกเขา จะหยุดทำ�งานทันที คือมันจะต้องอ่อนไหวพอสมควร มีความเห็นใจ มี ความหลงใหลในงานที่ทำ� แต่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้ ในส่วนของการคัดเลือก ทางออฟฟิศจะเป็นผู้คัดรอบแรกให้เหลือ ประมาณสีค่ น แล้วเราก็จะชวนผูบ้ ริจาคเงินในโปรเจ็กต์นน้ั มาร่วมคัดเลือก ในรอบสุดท้าย แต่บางทีก็มีเหมือนกันที่เดินเข้ามาสมัครแล้วเราก็รู้ทันที ว่าคนนี้ใช่เลย แต่โอกาสแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นสักปีละหนหรือสองหน เท่านั้นแหละ ไม่มาก แต่ที่พลิกล็อกก็มีนะ ตอนนี้มีอยู่โปรเจ็กต์หนึ่งซึ่งตอนแรกเราเลือก สถาปนิกหญิงคนนี้ไปคุมงาน และคิดว่ามันต้องออกมาเยี่ยมมากๆ แต่ ปรากฏว่า เธอมีปญั หาหลายอย่างมากในการปฏิบตั งิ านในพืน้ ที่ โปรเจ็กต์ จึงล่าช้าออกไปอีก 2 เดือน จริงๆ ผมควรจะถอดเธอออกจากโปรเจ็กต์ แต่ผมไม่ทำ�อย่างงัน้ หรอก มันไม่มอี ะไรแย่ไปว่าการถูกไล่ออกจากโปรเจ็กต์ กลางคัน ผมจะให้เวลาเธอเพิ่มขึ้นอีกสองเดือนให้จบโปรเจ็กต์ให้ได้ ซึ่ง มันจะทำ�ให้ผมเสียเงินเพิม่ อีก 6,000 เหรียญสหรัฐฯ แต่นน่ั คือการตัดสินใจ ในการบริหารของผม ผมต้องแบกภาระที่เพิ่มมาให้ได้ แต่มันก็จะทำ�ให้ เธอได้เรียนรู้ ได้มปี ระสบการณ์ทเ่ี ปลี่ยนชีวติ ของเธอไป และก็ได้ทำ�โปรเจ็กต์ จนสำ�เร็จเสร็จสิ้นไปถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรก คุณมีวิธีให้กำ�ลังใจกับสถาปนิกรุ่นใหม่พวกนี้อย่างไร ผมก็ทำ�ตัวเหมือนเป็นพ่อ ให้กำ�ลังใจ ให้คำ�แนะนำ� คือบุคลิกผมอาจจะ เป็นอย่างนี้ด้วยล่ะมั้ง วันนี้ก็เพิ่งมีคนโทรมาร้องไห้ แบบว่างานออกแบบ ที่ทำ�ไปโดนปฏิเสธจากชุมชน มีหลายอย่างซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก เพราะเรามี โปรเจ็กต์มากมาย เวลาที่ผมจะให้พวกเขาก็น้อยลง มันยากจริงๆ จริงๆ มีหลายองค์กรที่ทำ�งานคล้ายๆ ที่ผมทำ�อยู่ อย่างคนไทยที่ผม เจอที่นิวออร์ลีนส์จากกลุ่ม Design for Disasters ผมเห็นเขาทำ�งานหนัก มากเลยตอนอยูท่ น่ี น่ั พอได้คยุ กัน เขาเล่าให้ผมฟังว่าพยายามปัน้ โปรเจ็กต์ ที่จะช่วยเรื่องนํ้าท่วมมาสองปีแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจ ซึ่งเรื่องแบบนี้เป็น เรื่องที่เราเจอนะ อย่างแรกที่ผมตั้งคำ�ถามเสมอเลยคือ มันจะสร้างได้จริง ไหมเพราะมีพวกที่เอาแต่พูดเยอะ แต่พอเราถามว่าไหนล่ะเรื่องสัญญา ก่อสร้าง หรือเรื่องอื่นๆ ก็เงียบไป ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการสร้างความหวัง ให้กับชุมชนแล้วไม่ได้ทำ�ให้เกิดขึ้นจริงอีกแล้ว เพราะฉะนั้นก็อย่างที่ผม บอกไงว่าเราควรจะบอกว่าไม่ได้กันตั้งแต่เนิ่นๆ มีโปรเจ็กต์ไหนที่คุณชอบเป็นพิเศษไหม โปรเจ็กต์ถกั เปลของญีป่ นุ่ หรือโปรเจ็กต์พบั นกทีศ่ รีลงั กาผมก็ชอบ เพราะมัน เป็นเรื่องราวของผู้คนที่มาเกี่ยวข้องกันมากกว่าเรื่องของการสร้างตึก อย่างเดียว หรือมีโปรเจ็กต์เล็กๆ อันหนึ่งที่ผมได้ทำ�งานกับผู้หญิง ซึ่งใช้


เวลานานถึง 5 ปีแล้ว และถือเป็นการเดินทางด้วยกันที่ยาวนานมาก ตั้งแต่การขอที่ดินและสิ่งต่างๆ ที่ต้องทำ�มากมาย เราทำ�งานด้วยกันจน ผมรู้จักทุกคนในครอบครัวของเธอ ทั้งลูกและสามีของเธอ ซึ่งความเป็น เพื่อนมันจะค่อยๆ เกิดขึ้นจากการทำ�งานร่วมกัน วันๆ คุณคงจะยุ่งมากและเดินทางตลอดเวลา คุณทำ�อย่างไรกับชีวิต ส่วนตัว ผมมีลูกสาว แล้วผมก็จะพาไปเธอไปไหนด้วยเท่าที่โอกาสจะทำ�ได้ อย่าง ล่าสุดเราก็ไปซานตา เฟ่ด้วยกันมา คือผมได้รับเชิญไป ส่วนลูกสาวก็ไป เป็นคู่เดทให้ผม เราสนุกกัน หรือไม่บางทีเวลาเราจัดงานปาร์ตี้การกุศล เธอก็จะได้ไปเห็น ไปพบปะพูดคุยกับคนมากมาย ผมก็ไม่รู้หรอกว่ามัน จะดีกับเธอตอนโตขึ้นหรือเปล่า แต่มันเป็นชีวิตวัยเด็กอีกแบบหนึ่งที่ผม ไม่เคยมี ซึ่งผมก็พยายามทำ�ให้ดีที่สุด นอกจากนี้ ผมว่าการให้เวลาสำ�หรับตัวเองก็เป็นเรือ่ งสำ�คัญ ผมมักจะ หาโอกาสวันหรือสองวันในหนึ่งเดือนเพื่อจะให้เวลากับตัวเองได้ทำ�งานให้ บริษทั ออกแบบส่วนตัวอีกอันหนึง่ ซึง่ ออกแบบพวกสมุดจดบันทึก วันว่างๆ ผมก็จะวาดรูป หรือไม่เวลาผมนั่งเครื่องบินที่มักจะเป็นชั้นประหยัดอยู่ แถวหลังๆ ที่นั่งแคบๆ ซึ่งผมก็จะนอนไม่ค่อยหลับ ก็จะวาดรูปไป หรือ หาอะไรสร้างสรรค์ที่สนุกๆ ทำ�เพื่อจะได้เป็นแรงขับในการสร้างสรรค์ เรื่องอื่นๆ ถ้าพวกสถาปนิก นักออกแบบ หรือคนทั่วไปที่เมืองไทยสนใจสิ่งที่คุณทำ� อยูใ่ น Architecture for Humanity พวกเขาจะร่วมงานกับคุณอย่างไรได้บา้ ง คุณสามารถทำ�งานเป็นหน่วยย่อยของเราที่นี่ได้ หรือทำ�งานที่เกี่ยวข้อง กับปัญหาในพื้นที่ ผมจะไปเจอสถาปนิกที่นี่สองสามคน ผมจะพยายาม ชักชวนให้พวกเขามาร่วมกันจัดตั้งหน่วย Architecture for Humanity ให้ได้ ถ้าเกิดว่ามีหน่วยที่นี่ เราก็จะทำ�งานตอบสนองกันเรื่องนํ้าท่วมหรือ อะไรที่เกิดขึ้นที่นี่ได้ง่ายกว่า รวดเร็วกว่า อย่างเมื่อตอนเกิดวิกฤติที่เฮติ เรามีหน่วยเล็กๆ อยู่ที่นั่นมาก่อนแล้ว การทำ�งานมันดีกว่ามากเลย หรือ ไม่อย่างในปากีสถาน ก็มีหน่วยของเราที่ทำ�งานอยู่ในพื้นที่ด้วย มันจำ�เป็นหรือเปล่าที่ต้องทำ�แบบงานประจำ� ไม่เลย ทุกคนมีงานประจำ�ทำ� มาเจอกันตอนวันหยุดอะไรทำ�นองนีม้ ากกว่า เป็นสโมสรที่คนสนใจเรื่องเดียวกันมารวมกัน สโมสรของสถาปนิกผู้มีใจ รักที่จะสร้างความแตกต่าง (ยิ้ม)

ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

33


Creative Will คิด ทํา ดี

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: ภูริวัติ บุญนัก

จากภั ย พิ บั ติ ค รั้ ง ยิ่ ง ใหญ่ อ ย่ า งเหตุ ก ารณ์ สึ น ามิ เ มื่ อ ปลายปี 2547 ได้ทำ�ลายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน รวมถึงความหวังจากการ สูญเสียที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและท่วมท้น ในขณะที่การฟื้นฟู ทั้งสภาพพื้นที่ประสบภัยและสภาพจิตใจก็เป็นเรื่องที่ต้องลงมือ ปฏิบัติอ ย่า งเร่งด่ว น จนกลายมาเป็ น จุ ด เริ่ม ต้นสำ � คั ญ ของ เครือข่ายการวิจัยและการออกแบบที่เรียกตัวเองว่า “Design for Disasters” (D4D) ในอีก 6 ปีต่อมา ซึ่งเป็นการรวมตัวกัน ของผู้ค นหลากหลายอาชีพ ทั้งดีไ ซเนอร์ ศิล ปิน สถาปนิก นักวิชาการ แม้กระทั่งบุคคลทั่วไปที่มีแนวความคิดหรือไอเดียที่ สามารถนำ�มาสร้างสรรค์เป็นวิธีการป้องกันและขั้นตอนการ รับมือ (แบบระยะยาว) กับภัยพิบัติต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคตได้ ภายใต้การประยุกต์ใช้ความคิดเรือ่ งการออกแบบและ การลงมือสร้างสรรค์เป็นหลัก

“Let’s Panic!” หรือนิทรรศการ “เมืองจมนํ้า” ได้เปิดตัวสู่สาธารณชนใน เดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัว และสร้างความเข้าใจถึงเหตุที่นำ�ไปสู่การเตรียมรับมือที่เหมาะสม โดย เครือข่าย D4D ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต อาจารย์สันติ ลอรัชวี และ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้ร่วมมือกับ 15 ศิลปินและ นักออกแบบเพื่อสร้างสรรค์ “เมืองจมนํ้า” ในรูปแบบของการสร้างแบบ จำ�ลองในความเป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขของสภาวะที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ กรุงเทพฯ ต้องประสบกับภัยพิบตั คิ รัง้ ใหญ่ เนือ้ หาของนิทรรศการครอบคลุม 34

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554

จากการอิงความเป็นไปได้จริงของปริมาณฝนล้านปีทไ่ี ม่เคยหยุดตก วิธกี าร เอาตัวรอดในสถานการณ์ตา่ งๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร การทำ�ความรู้จัก กับชนิดของภัยธรรมชาติ โรคติดต่อที่คร่าชีวิต หรือศาสตร์ด้านสัตว์ พยากรณ์ ซึ่งเป็นการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ต่อสภาวะธรรมชาติเพือ่ รับมือกับสิง่ ทีอ่ าจเกิดขึน้ ในอนาคต และแม้วา่ จะเป็นเนือ้ หาทีถ่ กู หยิบยกมา พูดถึงบ่อยครัง้ แต่วธิ กี ารถ่ายทอดทีแ่ ตกต่างกันของศิลปินและนักออกแบบ แต่ละคน ก็ทำ�ให้นิทรรศการเมืองจมนํ้าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ ความรู้ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นที่น่าสนใจ เพื่อ กระตุ้นให้เกิดวิธีการสร้างสรรค์ การปลูกจิตสำ�นึก และเกิดเป็นแนวทาง ความร่วมมือในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ในที่สุด “ปัจจุบันเราใช้ทรัพยากรเหมือนกับว่าเรามีโลกอยู่ใบครึ่ง โดยเฉพาะ ประเทศที่พัฒนามากๆ มีงานวิจัยบอกต่ออีกว่า ถ้าเรายังใช้พลังงานมาก แบบนีไ้ ปเรือ่ ยๆ อีก 20 ปีขา้ งหน้าเราจะต้องมีโลกสองใบ ถึงจะให้ทรัพยากร เพียงพอกับที่เราต้องการ” ประโยคชวนคิดจากคุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์ ผู้ก่อตั้ง D4D ในงานเสวนา “ต้องรอด” กิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของ นิทรรศการเมืองจมนํ้า สะท้อนได้ดีถึงมิติของปัญหาและความเป็นจริงให้ กับผู้คนที่กำ�ลังเผชิญเหตุการณ์นํ้าท่วมใหญ่ในครั้งนี้ได้ฉุกคิดถึงสิ่งที่ควร เปลี่ยนแปลงหลังจากวิกฤตการณ์ผ่านพ้นไป ว่าแท้จริงในขณะที่เราใช้ พลังงานก็ควรสร้างความยั่งยืนควบคู่ไปด้วยเช่นกัน นิทรรศการเมืองจมนํ้า ไม่ใช่แค่เพียงพื้นที่หนึ่งในการแสดงเรื่องราว ความรู้เรื่องอุทกภัยเท่านั้น ทว่าความสำ�เร็จที่ได้รับคือการสร้างจิตสำ�นึก ที่เกิดขึ้นจริงสำ�หรับทุกคนที่มีส่วนร่วมจากเหตุการณ์น้าํ ท่วมใหญ่ในครั้งนี้ ซึ่งถือได้ว่าจะเป็นประโยชน์ที่มากทั้งคุณค่าและส่งผลดีต่อประเทศไทย ในระยะยาว

ที่มา: www.designfordisasters.org www.bacc.or.th


ธันวาคม 2554

l

Creative Thailand

35


36

Creative Thailand

l ธันวาคม 2554


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.