BIOMIMICRY คำตอบจากธรรมชาติ มีนาคม 2564 | ปีที่ 12 ฉบับที่ 6

Page 1

มีนาคม 2564 ปีที่ 12 I ฉบับที่ 6

Creative Place

พิพิธภัณฑ์ชีวิต

Creative Business

อภัยภูเบศร

The Creative

เชฟแวน ร้าน DAG


ไร

แบบ

ไปล

โ ล ด ก า ก ล น ั ต า ! ก ส อ ก โ า ยุ เพพ ม� รมแดน รคา

รวม 11 แพลตฟอรม

E-Commerce ชั้นนําทั่วโลก ข อมูลค าธรรมเนียม คอมมิชชั่น มัดจํา โอน จ�ดเด น จ�ดด อย ฯลฯ สรุปทุกอย างและตารางเปร�ยบเทียบ ให คุณแล วที่นี่ คลิกเพ�่อดูขอมูล สําหรับผู ประกอบการที่เน นแพลตฟอร มร วมขายส�นค า เพ�่อลดต นทุนในการพัฒนาและดูแลเว็บไซต ตนเอง CEA.OR.TH

หมายเหตุ : ข อมูล ณ เดือนตุลาคม 2563


“ I think the biggest innovations of the 21st century will be at the intersection of biology and technology. A new era is beginning.” “ ผมคิดว่านวัตกรรมที่ยง่ิ ใหญ่ที่สดุ แห่งศตวรรษที่ 21 คือการผนวกความรูด้ า้ นชีววิทยา เข้ากับเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำ�ให้ยุคสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้น”

Steve Jobs

ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตประธานบริหาร ของ Apple Inc.


Contents : สารบัญ

Creative Update _ สร้างบ้านด้วยปัสสาวะ / Plant Factory เทรนด์การเพาะปลูกแห่งอนาคต / เซ็นเซอร์ชีวภาพจากเชื้อรา Creative Resource _ Featured Book / Animation / Facebook Page / Film MDIC _ Power of Algae นวัตกรรมจากสาหร่าย Creative District _ ขมนี้อีกนาน Cover Story _ Biomimicry คำ�ตอบจากธรรมชาติ Fact and Fig ure _ The Science of Sleep เรื่องนอนเรื่องใหญ่ Creative Business _ ตำ�รับสมุนไพรอภัยภูเบศร อัพเกรดความรู้รุ่นปู่ย่าสู่ประชาชน How To _ คิดให้ล้ำ�สุดลำ�ไส้ Creative Place _ 4 สถานที่ที่จะพาท่องไปในโลกแห่งชีวิต The Creative _ วิทยาศาสตร์ในห้องครัวของเชฟแวน เฉลิมพล โรหิตรัตนะ Creative Solution _ Huue นวัตกรรมสีย้อมผ้า ที่จะแก้ปัญหาให้โลก

บรรณาธิการทีป่ รึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกลุ ทีป่ รึกษา l เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l อำ�ภา น้อยศรี เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร เว็บไซต์ l นพกร คนไว จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 ติดต่อลงโฆษณา : Commu.Dept@tcdc.or.th จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE


Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

Photo Courtesy of Eijiro Miyako

BE(E) CREATIVE

ฟองสบู่ที่ลอยละล่องจากปืนยิงในมือของเด็กน้อยดูไม่น่าจะไปเกี่ยวอะไรกับอนาคตของพืชผักผลไม้ที่เป็น อาหารเลี้ยงโลก ถ้าหากดร. เออิจิโร่ มิยาโกะ (Dr. Eijiro Miyako) จากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Advanced Institute of Science and Technology) ไม่ได้สังเกตเห็นฟองนี้จากสิ่งที่ลูกชายของเขากำ�ลัง เล่นอยู่ และเกิดไอเดียขึ้นมาว่า ฟองสบู่อันนุ่มละมุนนี้คงจะไม่ทำ�ให้เกสรดอกไม้เสียหาย สิง่ ทีเ่ ขาพยายามจะทำ�คือการกูส้ ถานการณ์รว่ มกับนักวิทยาศาสตร์ทว่ั โลกทีม่ องเห็นหายนะของพืชพรรณ จากจำ�นวนชนิดของแมลงที่ลดหายไปในอัตราทีเ่ ข้าขัน้ วิกฤต โดยเฉพาะในกลุม่ ของผึง้ มด แมลงเต่าทอง ทีม่ อี ตั ราการลดหายไปสูงกว่าการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและพวกนกถึง 8 เท่า ขณะที่แมลง บางกลุ่มอย่างเช่น แมลงวัน และแมลงสาบกลับมีแนวโน้มเพิ่มจำ�นวนขึ้น สาเหตุหลัก ๆ ในการหายไปของแมลงทูตสือ่ กลางที่คอยช่วยเรือ่ งกระบวนการผสมพันธุ์ของพืชพรรณ หลากหลายชนิดเหล่านี้ หนีไม่พ้นเรื่องระบบการเกษตรเชิงเดีย่ วทีเ่ น้นการปลูกพืชชนิดเดียวและการใช้ยา ฆ่าแมลงแบบเข้มข้นเพือ่ ให้ได้ผลผลิตจำ�นวนมาก รวมทั้งสภาพภูมิอากาศแปรปรวน ดังนั้น ดร. มิยาโกะ จึงคิดค้นหาวิธีการสร้างสื่อกลางในการถ่ายละอองเรณู (Pollination) หรือการผสมพันธุ์โดยการทำ�ให้ ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรตัวเมียมากขึ้น เพื่อเพิ่มกำ�ลังเสริมจากเดิมที่มีเพียงผึ้งที่เป็นสื่อกลาง ตามธรรมชาติ และใช้แรงงานคนเข้ามาช่วย เพื่อทำ�ให้พืชพรรณยังคงออกลูกออกหลานได้ในอัตราที่ สอดคล้องกับวิถีการใช้งานและการบริโภคที่นับวันจะยิ่งหลากหลาย ก่อนหน้านี้ ดร. มิยาโกะ เริ่มต้นการทดลองโดยใช้โดรนขนาดจิ๋วเลียนแบบผึ้งที่บินไปบินมาเพื่อเก็บ เกสรจากดอกหนึ่งแล้วไปปล่อยอีกดอกหนึ่ง แต่ถึงแม้ว่าตัวโดรนจะมีขนาดจิ๋วเพียงแค่ 2 เซนติเมตร แต่ก็

ยังมีบางส่วนที่ทำ�ให้เกสรเกิดความเสียหาย ทำ�ให้ อัตราความสำ�เร็จอยูท่ ร่ี อ้ ยละ 90 กระทัง่ ดร. มิยาโกะ ได้แรงบันดาลใจจากฟองทีล่ อ่ งลอยในอากาศทีผ่ ลิต จากเครือ่ งเป่าฟองของเด็ก ๆ จึงได้พฒั นาฟองสบู่ ทีม่ คี ณุ สมบัตพิ เิ ศษในบรรทุกละอองเกสรได้มากถึง 2,000 ตัว และได้ทดลองยิงฟองสบู่นี้ในสวนลูกแพร์ ก่อนจะพบว่าพืชพรรณเริ่มมีการแตกหน่อหลังจาก ผ่านไป 16 วัน ในปริมาณที่ใกล้เคียงกับการใช้มือ ในการเคลือ่ นย้ายเกสร (Hand pollination) ถึงร้อยละ 95 และแม้วา่ ผลการทดลองจะออกมาดี แต่ยงั มีจดุ ที่ ต้ อ งแก้ ไ ขทางเทคนิ ค อย่ า งเช่ น ฝนและลม ซึง่ ดร. มิยาโกะมองว่าน่าจะแก้ไขได้ดว้ ยเทคโนโลยี เกีย่ วกับการทำ�แผนที่ การวางเส้นทางและการควบคุม ทิศทาง อีกทั้งยังมีความเป็นไปได้ที่จะทำ�ให้เป็น ระบบอัตโนมัติเพื่อให้สามารถทำ�ได้ในปริมาณ มากขึ้นในอนาคต ในระหว่างการพัฒนาผึง้ จำ�ลองให้มปี ระสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ในการจำ�ลองพื้นที่เพื่อเซฟผึ้ง ตัวจริงก็มีให้พบเห็นเช่นกัน ป้ายรถเมล์ 316 แห่ง ในเมืองอูเทรคต์ (Utrecht) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เปลี่ยนจาก “บัสสต็อป” (Bus Stop) ธรรมดา เป็น “บีสต็อป” (Bee Stop) บนหลังคาป้ายรถเมล์ เพื่อปลูกพืชในกลุ่มไม้อวบน้ำ�ที่ไม่ต้องการน้ำ�มาก และยังเป็นที่ชื่นชอบของผึ้ง เพราะเนเธอร์แลนด์ ก็เป็นอีกประเทศที่ประสบปัญหาจำ�นวนชนิดของ ผึ้ ง ที่ มี อ ยู่ 358 ชนิ ด กำ � ลั ง ลดน้ อ ยลงในระดั บ ติดชาร์ตของสิง่ มีชวี ติ ทีม่ คี วามเสีย่ งต่อการสูญพันธุ์ จึงต้องเปลี่ยนให้เขตเมืองกลายเป็นฟาร์มเลี้ยงผึ้ง แบบกลาย ๆ ที่ผ่านมาอัตราการใช้ทรัพยากรทั้งธรรมชาติ และทีผ่ ลิตขึน้ เพือ่ ตอบสนองการใช้ชวี ติ ของเราให้ได้ สุขสบายและมัง่ คัง่ เป็นไปอย่างก้าวกระโดด เมื่อเทียบ กับอัตราการรักษาและฟื้นฟู ผลกระทบที่มีต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพจึงปรากฏให้เห็นเป็นระยะ และกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากมาย ในการใช้ทรัพยากรอย่างคุม้ ค่า จนถึงการคิดย้อนกลับ ไปถึงต้นกำ�เนิดของสรรพสิ่งตามธรรมชาติ ผึง้ จำ�ลองจากฟองสบูท่ ใี่ ช้วทิ ยาการสุดล้�ำ และ ป้ า ยรถเมล์ ผึ้ ง น้ อ ยที่ แ สนเรี ย บง่ า ยจึ ง ล้ ว นเป็ น ภาพสะท้อนของความพยายามที่เปี่ยมล้นไปด้วย ความสร้างสรรค์ ซึง่ จะช่วยเร่งให้โลกฟืน้ ฟูในอัตรา เร็วกว่าที่หวัง มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


Creative Update : คิดทันโลก

สร้างบ้านด้วยปัสสาวะ เรื่อง : กองบรรณาธิการ

dezeen.com

แนวคิดการใช้ประโยชน์จากของเหลือตามธรรมชาติกำ�ลังเป็นที่นิยมไปทั่ว ทุกวงการ ไม่เว้นแม้แต่การเปลี่ยน “ของเสีย” จากร่างกายมนุษย์ให้เป็น นวัตกรรมสุดคูลทีใ่ คร ๆ อาจคาดไม่ถงึ ล่าสุด ซูซานน์ แลมเบิรต์ (Suzanne Lambert) นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโทสาขาวิ ศ วกรรมโยธาและนั ก วิ จั ย จาก มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ได้วจิ ยั และสร้างวัสดุกอ่ สร้างจากแนวคิดการเปลีย่ น ขยะให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) โดยใช้ปัสสาวะมนุษย์มาทำ�ให้เป็นก้อนแข็ง ที่อุณหภูมิห้อง เพื่อใช้เป็นวัสดุทางเลือกทดแทนอิฐจากเตาเผาที่ก่อให้เกิด ผลเสียมากมายต่อสิ่งแวดล้อม แลมเบิ ร์ ต ได้ ส ร้ า งอิ ฐ จากของเสี ย มนุ ษ ย์ แ ละแบคที เ รี ย ที่ ยั ง มี ชี วิ ต ซึ่งสามารถผลิตออกมาได้ในขนาด รูปร่าง และความแข็งแรง ที่แตกต่างกัน ไปตามที่ต้องการ เธอเชื่อว่าอิฐชีวภาพมีศักยภาพที่จะเป็นทางเลือกทดแทน อิฐแบบดั้งเดิมซึ่งต้องผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำ�นวนมหาศาลออกมาสูช่ นั้ บรรยากาศ โดยกระบวนการทีเ่ ธอใช้ในการผลิตอิฐชีวภาพนีเ้ รียกว่าการตกตะกอน คาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ (Microbial Carbonate Precipitation) โดย เปรียบเทียบกับ “วิธีการก่อตัวตามธรรมชาติของเปลือกหอย สามารถทำ�ได้ โดยการผสมปัสสาวะมนุษย์ ทราย และแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์ยูรีเอส (Urease) ในแม่พิมพ์สำ�หรับทำ�อิฐบล็อก เอนไซม์ยูรีเอสจะชักนำ�ให้เกิด ปฏิกิริยาทางเคมีในการย่อยยูเรียที่อยู่ในปัสสาวะ พร้อมทั้งผลิตแคลเซียม คาร์บอเนตออกมา ซึ่งก็คือหินปูนที่เป็นส่วนประกอบหลักของซีเมนต์นั่นเอง โดยจะส่งผลให้ก้อนอิฐแข็งตัว และยิ่งอยู่ในแม่พิมพ์นานเท่าไร ก็จะยิ่งเกิด ปฏิกิริยาทำ�ให้แข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น จึงทำ�ให้สามารถปรับเวลาและ กระบวนการให้ได้ผลที่ดีที่สุดได้ งานวิจัยนี้ แลมเบิร์ตให้เครดิตกับงานศึกษาก่อนหน้านี้ของจูลส์ เฮนซ์ (Jules Henze) นักศึกษาชาวสวิสที่วิจัยเรื่องนี้มาก่อนในปี 2017 อย่างไร

ก็ตาม ผลงานของแลมเบิร์ตถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชิ้นแรกที่มีรูปร่าง เป็นอิฐ และยังเป็นชิ้นแรกที่ใช้ปัสสาวะมนุษย์แทนสารประกอบสังเคราะห์ ซึ่งแตกต่างจากงานศึกษาก่อนหน้านี้ เนื่องจากเป็นกระบวนการผลิตอิฐ ชีวภาพที่เป็นการเปลี่ยนขยะให้เหลือศูนย์อย่างแท้จริง ทั้งยังมีผลพลอยได้ จากการเปลี่ยนปัสสาวะมนุษย์มาเป็นอิฐคือไนโตรเจนและโพแทสเซียม ซึ่งนำ�มาใช้เป็นปุ๋ยต่อไปได้ อิฐที่สามารถปลูกขึ้นได้แทนอิฐที่ต้องเผาและผลิตขึ้นในโรงงานนี้ กำ�ลังเป็นที่นิยมและได้รับความสนใจจากวิศวกรทั่วโลก เพื่อลดปริมาณ คาร์บอนฟุตพรินต์จากการก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น ตึกแกลเลอรี MoMA PS1 โดย The Living ในปี 2014 ที่ประกอบไปด้วยการก่อสร้างจากอิฐที่ปลูกจาก ต้นข้าวโพดและเห็ด เมือ่ เทคโนโลยีและความชาญฉลาดของมนุษย์ในการนำ�องค์ความรูท้ าง วิทยาศาสตร์ชีวภาพมาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ได้เกิดขึ้นแล้วอย่าง ต่อเนื่อง คำ�ถามต่อไปจึงอาจเป็นแล้วเราจะปรับแต่งกระบวนการอย่างไร ให้ได้ผลดีที่สุดเพื่อสร้างกำ�ไรจากของเหลือจากมนุษย์ที่ถูกขับถ่ายออกมา ทุกเมื่อเชื่อวัน ที่มา : บทความ “Bio-bricks made from human urine could be environmentally friendly future of architecture” (6 พฤศจิกายน 2018) โดย Rima Sabina Aouf จาก dezeen.com

Plant Factory เทรนด์การเพาะปลูกแห่งอนาคต เรื่อง : มรกต รอดพึ่งครุฑ

กระแสคนรักสุขภาพยังคงมาแรง ไม่วา่ จะเป็นคนกลุม่ ไหน หรือเจเนอเรชันใด ก็ต่างใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ขณะที่ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพมีมูลค่า ต่อปีสูงกว่า 80,000 ล้านบาท แม้จะลดลงเล็กน้อยจากสภาวะเศรษฐกิจและ ปัญหาโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีพื้นที่ให้เติบโต โดยเฉพาะในธุรกิจ ที่มคี วามคิดสร้างสรรค์ และสามารถใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรสมัยใหม่ที่ มีการใช้ระบบอัจฉริยะต่าง ๆ เข้ามาควบคุมกระบวนการผลิต มีการบริหาร จัดการพืชผัก รวมถึงวิธกี ารเพาะปลูกเพือ่ ให้ได้ผลผลิตทีม่ คี ณุ ค่าทางอาหาร เพิ่มขึ้น แถมสะอาด ปลอดภัย กินได้เลยโดยไม่ต้องล้าง Plant Factory คือเทคโนโลยีการปลูกพืชในระบบปิดหรือกึ่งปิดที่ สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของพืชได้อย่างสมบูรณ์ เช่น ช่วงคลืน่ แสง ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชืน้ แร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีแหล่งกำ�เนิดแสงที่ นำ�มาใช้ทดแทนแสงอาทิตย์จากธรรมชาติ คือ แสงจากหลอดไฟ LED ที่ให้ ความร้อนน้อยกว่า และประหยัดไฟได้มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทีส่ �ำ คัญ ยังสามารถเลือกสี ความยาวคลื่นแสง ได้ตามความเหมาะสมของชนิดพืช และระยะการเจริญเติบโต ทำ�ให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตสูงและผลิตสารสำ�คัญ ได้ตามความต้องการ โดยต้นแบบของโรงงานผลิตพืชมูลค่าสูงในรูปแบบ Plant Factory นี้ อยูท่ ปี่ ระเทศญีป่ นุ่ ซึง่ มีการพัฒนาขึน้ เพือ่ ใช้ในการผลิตผักสลัดในเชิงพาณิชย์

CREATIVE THAILAND I 6


ศาสตราจารย์ ดร. โทโยกิ โคไซ (Prof. Toyoki Kozai) แห่งมหาวิทยาลัยชิบะ คือผูท้ ร่ี เิ ริม่ แนวคิดดังกล่าวจนได้รบั การยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งโรงงานผลิตพืช ของโลก” และได้เผยแพร่องค์ความรูน้ ผี้ า่ นผลงานเขียนและร่วมเป็นทีป่ รึกษา ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทย เช่น โรงงานผลิตพืชในโครงการพัฒนาพิเศษขนาดใหญ่ หรือ Big Rock ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และศูนย์ความร่วมมือทางการวิจัยและฝึกอบรมด้าน การปลูกพืชในอาคาร ของมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ประกอบการมากความคิดสร้างสรรค์อีกหนึ่งราย ที่ลงมือปรับเปลี่ยนธุรกิจจากโรงงานผลิตหลอดไฟ LED ทำ�ป้ายโฆษณาตาม ทางแยกและโคมไฟถนน มาเป็นแหล่งกำ�เนิดแสงทีส่ �ำ คัญของการ “ปลูกพืช” ที่จะเป็นเทรนด์แห่งอนาคต ภายใต้แบรนด์ LED Farm ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น โรงงานผลิตพืชด้วยแสงเทียมจากหลอดไฟ LED แห่งแรกของไทยทีม่ ผี ลิตผล จำ�หน่ายในเชิงพาณิชย์ และสามารถต่อยอดสู่ธุรกิจพืชผักฟังก์ชัน หรือ Functional Vegetables ได้อีกมากมาย “เนื่องจากบริษัทมีกิจการผลิตหลอด LED อยู่เดิม จึงสามารถต่อยอด ธุรกิจเดิมออกไปได้ ด้วยการศึกษาเพิม่ เติมจากตำ�ราทีเ่ ขียนโดยศาสตราจารย์ ดร.โทโยกิ โคไซ และเงินสนับสนุนจากสำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) จนสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ทวี่ างจำ�หน่ายได้แล้วทัง้ ในกลุม่ พร้อมปรุง (Ready to Cook) ได้แก่ เคล หรือคะน้าใบหยิก ทีถ่ อื เป็นราชินแี ห่งผักใบเขียว, มิซนู า่ (ผักน้ำ�ญี่ปุ่น), สวิส ชาร์ด (ผักกาดสีรุ้ง), ตั้งโอ๋ญี่ปุ่น, ร็อกเก็ต เป็นต้น และ กลุ่มพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น สมูตตี้ ขนมปัง ออกจำ�หน่าย” ชิงชัย คนธรรพ์สกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษทั ซีวิค มีเดีย จำ�กัด ผู้ก่อตั้ง LED Farm กล่าว โรงงานปลูกผักอัจฉริยะเช่นนี้ยังคงสามารถต่อยอดธุรกิจไปได้อีกไกล เช่น การลดหรือเพิ่มปริมาณสารประกอบในพืชให้เหมาะกับพฤติกรรม การบริโภคของผู้ป่วย รวมถึงเพื่อเป็นแหล่งอาหารเสริมตามธรรมชาติ ซึ่งย่อมจะสร้างแรงดึงดูดให้กับผู้บริโภคที่รักสุขภาพได้ แม้ราคาจะสูงกว่า ผักที่ปลูกด้วยแสงธรรมชาติทั่วไปก็ตาม ที่มา : สัมภาษณ์ ชิงชัย คนธรรพ์สกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัทซีวิค มีเดีย จำ�กัด ผู้ก่อตั้ง LED Farm / depa.or.th / kaset1009.com / today.line.me

เรื่อง : นพกร คนไว

หลายงานวิจยั ค้นคว้านวัตกรรมใหม่ได้พสิ จู น์ให้เห็นถึงคุณสมบัตมิ ากมายของ “เห็ดและเชือ้ รา” ตัง้ แต่การออกแบบบรรจุภณั ฑ์ หนังสัตว์เทียม อิฐสร้างบ้าน ไปจนถึงโครงการทีอ่ ยูอ่ าศัยบนดาวอังคารของนาซ่า แต่ใครจะคิดว่าอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่เราพกติดตัว ซึ่งมีโครงสร้างของแผงวงจรและส่วนประกอบ ทีซ่ บั ซ้อนสำ�หรับการทำ�งานของคอมพิวเตอร์ ก็อาจใช้เชือ้ ราเป็นส่วนประกอบ สำ�คัญในอนาคตเช่นกัน การค้นคว้าของทีมวิจัยที่นำ�โดยดร. โมฮัมหมัด มาห์ดิ เดห์ชิบิ (Dr. Mohammad Mahdi Dehshibi) จากมหาวิทยาลัยโอเบอร์ตา เดอ กาตาลุญญา (UOC) และศาสตราจารย์แอนดริว อดามัตสกี (Andrew Adamatzky) จาก มหาวิทยาลัยเวสต์ออฟอิงแลนด์ (UWE Bristol) ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถ ในการรับรูส้ ง่ิ เร้าภายนอกทีม่ ากมายของเชือ้ รา เช่น แสง การปรับเปลีย่ นของ อุณหภูมิ สารเคมี หรือแม้กระทัง่ สัญญาณไฟฟ้า ด้วยการทดสอบกับกลุ่มใยรา ของเห็ดนางรม ความโดดเด่นของใยรากลุม่ นีค้ อื การมีลกั ษณะเป็นเส้นใยทีร่ วมกันเป็น เนือ้ เยือ้ อาศัยอยูภ่ ายในผิวดิน ทำ�หน้าทีป่ ระมวลผลข้อมูลทีไ่ ด้รบั จากดอกเห็ดเพือ่ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างแสงสว่าง อุณหภูมิ ความชื้น สารเคมีที่อยู่ ในสภาพแวดล้อม หรือแม้แต่สญั ญาณไฟฟ้า ทำ�ให้เชื้อรามีคณุ ลักษณะเสมือนกับ เครื่องมือตรวจวัดหรือหน่วยประมวลผลในคอมพิวเตอร์ ทีมวิจยั ได้ท�ำ การทดลองกับกลุม่ ใยราของเชือ้ ราเห็ดนางรมทีเ่ ติบโตขึน้ บน ใยผ้ากัญชงโดยเชือ่ มต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ และกระตุน้ ให้เชือ้ ราตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมเช่นร่างกายมนุษย์ เพื่อให้เชื้อราทำ�หน้าที่เป็นตัว ตรวจวัดทางชีวภาพ (Biosensor) แยกแยะระหว่างสารเคมี และสัญญาณไฟฟ้า ซึง่ สามารถส่งข้อมูลกลับมายังคอมพิวเตอร์ได้ จนสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ใน การส่งข้อมูลอย่างอัตราการเต้นของหัวใจได้ นอกจากนีก้ ย็ งั สามารถเขียนโปรแกรม เพื่อออกแบบโครงสร้างของกลุ่มใยราให้ทำ�หน้าที่ตามที่ต้องการได้อีกด้วย การค้นพบที่ส�ำ คัญนี้ เปิดทางให้เกิดความเป็นได้ใหม่ในการนำ�เชือ้ รามาเป็น วัสดุทางชีวภาพของคอมพิวเตอร์ เช่นก่อนหน้านีเ้ ราได้เห็นตัวอย่างความสำ�เร็จ ในการปลูกเชือ้ ราให้กลายเป็นสิง่ ปลูกสร้างตามเค้าโครงที่ได้ออกแบบไว้ ซึง่ หาก สามารถออกแบบให้เชื้อราเติบโตในอนุภาคนาโนได้ ในอนาคต เราอาจเห็น เชือ้ ราในรูปแบบของชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิว๋ ทีเ่ ป็นส่วนประกอบในอุปกรณ์ อย่างสมาร์ตวอตช์กเ็ ป็นได้ เนือ่ งจากเห็ดและเชือ้ รามีคณุ สมบัตริ อบด้าน ทัง้ ยัง ย่อยสลายได้งา่ ย เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทำ�ให้มันกลายเป็นอีกหนึ่งในวัสดุตัวเลือกที่สำ�คัญในอนาคต ที่มา : บทความ “Fungal wearables and devices: Biomaterials pave the way toward science fiction future” โดย Universitat Oberta de Catalunya จาก phys.org / บทความ “Shroom FitBit: Processors In Tech Wearables Could Be Replaced With Fungi Mycelium, New Study Finds” โดย Tanuvi Joe จาก greenqueen.com.hk

CREATIVE THAILAND I 7

CC0 Public Domain

facebook.com/cmledfarm

เซนเซอร์ชีวภาพจากเชื้อรา


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด

spy.com

เรื่อง : อำ�ภา น้อยศรี

F EAT U RED BOOK The Art and Science of Ernst Haeckel โดย Julia Voss และ Rainer Willman ภาพลายเส้นพริ้วไหวสวยงามที่ปรากฏบนหน้าปกหนังสือ The Art and Science of Ernst Haeckel นี้ หลายคนอาจเคยเข้าใจว่าเป็นภาพของนักวาด ภาพประกอบฝีมือดี แต่หารู้ไม่ว่าภาพวาดรายละเอียดงดงามเหล่านี้เป็นผลงานการวาดของนักวิทยาศาสตร์อย่างเอิร์นสต์ แฮคเคล (Ernst Haeckel) ที่เขา วาดขึ้นเพื่อจดบันทึกภาพงานค้นคว้าระดับเซลล์ในงานวิจัยของตนเอง เนื่องจากแฮคเคลเป็นนักสัตววิทยาและชีววิทยาผู้หลงใหลศาสตร์แห่งชีววิทยา ทางทะเล ทั้งยังสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory) ของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) โดยผลงานเหล่านี้ได้หล่อหลอมและผสานเอา แนวคิดด้านวิวัฒนาการมาเป็นงานศิลปะที่แสดงถึงพลังสร้างสรรค์ของธรรมชาติอย่างแท้จริง นอกจากนี้แฮคเคลยังเป็นผู้ก่อตั้งนิเวศวิทยาร่วมกับยูจีเนียส วอร์มมิง (Eugenius Warming) รวมถึงเป็นผู้ค้นพบเรื่องเซลล์ต้นกำ�เนิด (Stem Cell) นิเวศวิทยา (Ecology) และไฟลัม (Phylum) ซึ่งสร้างคุโณปการอัน ยิ่งใหญ่ให้แก่วงการแพทย์ ถึงแม้ภาพวาดบางส่วนของแฮคเคลจะถูกมองว่าเป็นเรือ่ งที่ถูกปลอมแปลงขึน้ มา เนือ่ งจากไม่ปฏิบตั ติ ามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทน่ี กั วิทยาศาสตร์ในยุคนัน้ เคร่งครัดปฏิบัติกัน แต่ผลงานการวาดภาพของเขาก็ถือเป็นสารานุกรมภาพของสิ่งมีชีวิตโดยฝีมือของนักวิทยาศาสตร์ที่มองธรรมชาติด้วยสายตา ของศิลปิน แม้อาจจะผิดแปลกไปจากรูปแบบทางวิทยาศาสตร์ในยุคสมัยนั้น แต่ด้วยความงดงาม สมมาตร ลายเส้นที่แม่นยำ� และการแรเงาที่แสดงถึง ความพิถีพิถัน ก็ทำ�ให้เราสามารถมองเห็นและเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางอินทรีย์ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ที่สำ�คัญผลงานภาพวาดของแฮคเคล เหล่านี้ยังส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับศิลปินรุ่นต่อ ๆ มาในการสร้างสรรค์ผลงานอีกหลายแขนง อาทิ งานออกแบบสินค้า แฟชั่น และลวดลายผ้า CREATIVE THAILAND I 8


ANIM ATION Cells at Work! (Hataraku Saibou!) เซลล์ขยัน พันธุ์เดือด โดย Akane Shimizu แอนิเมชัน Cells at Work! ที่สร้างจากมังงะเรื่องเดียวกัน เขียนและวาดโดยอาจารย์อากาเนะ ชิมิซึ (Akane Shimizu) ได้แรงบันดาลใจจากระบบการทำ�งานของเซลล์ตา่ ง ๆ ในร่างกายมนุษย์ เรียกได้วา่ Cells at Work! คือ นิทานชีวิตในแบบฉบับที่สดใส ใส่ความคาวาอี้ และเปลี่ยนชีววิทยาที่น่าเบื่อ ตลอดจนคำ�ศัพท์ไม่คนุ้ หูในชีวติ ประจำ�วัน ให้กลายเป็นเรือ่ งเข้าใจง่ายและดูสนุกได้ทง้ั ครอบครัว ชิมซิ ึ เล่าเรือ่ งยาก ๆ นี้ผา่ นความน่ารักของเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวผูพ้ ทิ กั ษ์ ชวนให้ผชู้ มเพลิดเพลิน ไปกับการสำ�รวจการทำ�งานของเซลล์ตา่ ง ๆ ในร่างกาย และร่วมเอาใจช่วยไปกับภารกิจหลักของเหล่า เม็ดเลือดอย่างการต่อสูป้ กป้องร่างกายจากเหล่าเชือ้ โรค ไวรัส และแบคทีเรียวายร้ายได้อย่างสมจริง หากสนใจแอนิเมชันหรือมังงะทีเ่ ล่าเรือ่ งระบบร่างกายมนุษย์อน่ื ๆ ก็ยงั มีเรือ่ ง Bacteria at Work และ Cells That Don’t Work ที่เป็นอีกตัวเลือกที่จะทำ�ให้เข้าใจการทำ�งานของร่างกายเราได้ดียิ่งขึ้น

FI LM

FACEBOOK PAGE เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว เมื่อเห็นชื่อเพจ เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว แน่นอนว่า หลายคนต้องคิดว่าเป็นเพจทีเ่ ต็มไปด้วยศัพท์ทางฟิสกิ ส์ เคมี ชีวะ และน่าจะมี แต่เด็กสายวิทย์ทเี่ ข้าใจได้ แล้วพอกดเข้าไปอ่าน ก็เป็นจริงอย่างทีค่ ดิ เพราะ เต็มไปด้วยเนื้อหาที่ค่อนข้างยาว แถมยังแทรกศัพท์วิทยาศาสตร์ในวงเล็บ ที่มีเกือบทุกย่อหน้า ทว่าสิ่งที่น่าแปลกใจก็คือการอ่านเพจวิทยาศาสตร์นี้ กลับกลายเป็นเรือ่ งน่าเพลิดเพลิน และยังได้เข้าใจเรือ่ งราวของวิทยาศาสตร์ รอบตัว ที่ทางเพจหยิบยกมาเล่าได้อย่างเข้าใจง่าย แม้จะมีคำ�ศัพท์ทาง เทคนิคในทุกย่อหน้า แต่ก็ไม่ได้ลดทอนความสนุกของเนื้อหาลงแม้แต่น้อย เรียกว่ายิ่งอ่านยิ่งเพลินกับการที่ผู้เขียนหยิบเอาข้าวของรอบตัวมาเล่า พร้อมชวนคนอ่านตัง้ คำ�ถามและหาคำ�ตอบเพือ่ ปลดล็อกความสงสัยไปด้วยกัน นับเป็นการสอดแทรกหลักคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่ผู้อ่านสามารถซึมซับเอา วิธคี ดิ ไปใช้ในชีวติ ประจำ�วันได้จริงโดยไม่ตอ้ งติดอยูก่ บั คำ�ศัพท์หรือสูตรเคมี ที่จดจำ�ยากเลย

Little Shop of Horrors (1986) ร้านน้อยค่อย ๆ โหด กำ�กับโดย Frank Oz สิง่ ของเมือ่ เราวางไว้ธรรมดาก็เป็นแค่ของธรรมดา แต่หากนำ�จินตนาการมา ใส่เพิม่ ก็จะสร้างสรรค์ความพิเศษขึน้ ได้ เช่นเดียวกับภาพยนตร์มวิ สิกเคิล ตลก สยองขวัญ เจ้าของพล็อตเรือ่ งแหวกแนวหนังในตลาดยุค 80’s เรือ่ งนีท้ ี่ผเู้ ขียน เลือกหยิบลักษณะพิเศษของพืชพันธุ์ธรรมชาติของต้นกาบหอยแครงและ อะโวคาโด มาผสมผสานกับจินตนาการสุดขั้ว ด้วยการใส่ความเป็นมนุษย์ ลงไปเพือ่ เปลีย่ นจากต้นไม้ธรรมดา ๆ ให้กลายเป็น ออเดรย์ ทู (Audrey II) ต้นไม้ยกั ษ์พดู ได้ ร้องเพลงได้ แถมยังเจริญเติบโตได้ดว้ ยการกินเลือดมนุษย์ ถ้าหากย้อนกลับไปมองภาพยนตร์วทิ ยาศาสตร์ ท่องอวกาศ หรือไซ-ไฟ ในอดีต จากทีเ่ คยเป็นเพียงแค่เรือ่ งราวในจินตนาการของผูเ้ ขียน แต่ปจั จุบนั เทคโนโลยีทล่ี �ำ้ หน้าขึน้ เรือ่ ย ๆ ก็สามารถผลิตของบางชิน้ ในภาพยนตร์เหล่านัน้ ได้จริงแล้ว และถึงตอนนี้ แม้จะยังไม่มงี านวิจยั หรือการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ทีส่ ร้างต้นไม้ทค่ี ดิ ได้ พูดได้ หรือร้องเพลงได้ขน้ึ มา แต่เมือ่ ลองพินจิ พิเคราะห์ เทคโนโลยีในปัจจุบนั แล้ว ในอนาคตอันใกล้กไ็ ม่แน่วา่ เราอาจจะได้เห็นต้นไม้ ทีม่ ชี วี ติ และสือ่ สารกับเราได้แบบออเดรย์ ทู มาวางขายตามตลาดนัดต้นไม้ ก็เป็นได้ แถมล่าสุดยังมีขา่ วแว่วมาว่า Little Shop of Horrors กำ�ลังจะถูกนำ� กลับมารีเมกใหม่ และอยู่ระหว่างการทาบทามนักแสดงเจ้าบทบาทอย่าง คริส อีแวนส์ และสการ์เล็ต โจแฮนสัน มารับบทนำ�ในเรือ่ งอีกด้วย

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


Loliware

เรื่อง : มนต์นภา ลัภนพรวงศ์

ท่ามกลางวิกฤตการณ์ดา้ นสิง่ แวดล้อม โดยเฉพาะสภาพภูมอิ ากาศทีแ่ ปรปรวน ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งปัญหา มลพิษจากอนุภาคฝุน่ ขนาดเล็ก PM 2.5 ภัยแล้ง น้�ำ ท่วม ซึง่ การเปลีย่ นแปลง ที่เกิดขึ้นนั้นนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผล ต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีและ นวั ต กรรมให้ ส ามารถใช้ ง านทรั พ ยากรที่ มี อ ยู่ อ ย่ า งจำ � กั ดได้ อ ย่ า งเต็ ม ประสิทธิภาพ จึงมีส่วนสำ�คัญในการช่วยชะลอปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่าง ชัดเจน ศาสตร์แห่งเทคโนโลยีทางชีวภาพจึงเข้ามามีบทบาทสำ�คัญในการสร้าง เสถียรภาพของการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ให้มคี วามยัง่ ยืน แม้วา่ ก่อนหน้านี้ จะประสบความสำ�เร็จในการสังเคราะห์วสั ดุทางเลือกอย่างพลาสติกชีวภาพ หรือเนื้อจากพืช (Plant-based meat) จากต้นมันสำ�ปะหลัง ข้าวโพด และ ถัว่ แต่ดว้ ยอุณหภูมขิ องโลกทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ก็อาจสร้างข้อจำ�กัดในการเพาะปลูกพืช เหล่านั้น และทำ�ให้ปริมาณทรัพยากรที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของ ผู้บริโภคอยู่ดี แน่นอนว่าในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ นักวิจยั ค้นพบว่ายังมี “สาหร่าย” เป็นอีกหนึง่ ขุมทรัพย์ใต้น�้ำ ที่สามารถเป็นวัตถุดิบทางเลือกในการขับเคลือ่ น เศรษฐกิจอุตสาหกรรมทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภค ด้วยคุณสมบัติอัน หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการ สังเคราะห์แสงมาผลิตเป็นออกซิเจน อีกทัง้ ยังมีปริมาณกากใยและสารอาหารสูง สามารถนำ�ไปสกัดเพิ่มเติมได้อีกหลากหลายฟังก์ชันการใช้งาน ทั้งรูปแบบ ของเชื้อเพลิงชีวภาพ สารให้สี และสารทำ�ให้ข้น หนืด คงตัว รวมถึงจุดเด่น ของสาหร่ายที่ปลูกง่าย โตเร็ว แม้มีพื้นที่จำ�กัดในการเพาะเลี้ยง เมื่อนำ�ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาผนวกเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ เพือ่ ให้นกั ออกแบบได้รว่ มพัฒนาผลิตภัณฑ์ดว้ ยแนวคิดทีฉ่ กี ออกจากกรอบเดิม ๆ ทำ�ให้เกิดเป็นนวัตกรรมแห่งความยั่งยืนที่น่าสนใจและมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น จนบางครั้งถ้าไม่ได้อ่านคำ�อธิบายก่อน คงไม่อาจรู้ได้ว่านี่คือผลผลิตมาจาก สาหร่าย อย่างเช่น

Hypergiant Industries

Luisa Kahlfeldt

MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

• เครือ่ งปฏิกรณ์ชวี ภาพพลังสาหร่าย “Eos Bioreactor” จากบริษทั

Hypergiant Industries ทำ�งานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วย ประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม และใช้คุณสมบัติจากสาหร่ายในการทำ� หน้าที่ดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อเปลี่ยนเป็นก๊าซออกซิเจน กลับคืนสู่ธรรมชาติ พร้อมทั้งให้ผลผลิตเป็นพลังงานชีวมวล ผ้าอ้อมเส้นใยสาหร่าย จาก Luisa Kahlfeldt ผลิตด้วยเส้นใยชนิด พิเศษชือ่ ว่า “SeaCell” ซึง่ มีสาหร่ายเป็นส่วนประกอบหลัก มีคณุ สมบัติ ในการกำ�จัดแบคทีเรียและมีสารต้านอนุมูลอิสระ ผ้าอ้อมนี้ประกอบ ด้วยโครงสร้าง 3 ชั้น ชั้นด้านในสุดมีความนุ่มและอ่อนโยนเป็นพิเศษ ช่วยลดการระคายเคือง ชัน้ กลางซึมซับดีเยีย่ ม และชัน้ นอกทีเ่ คลือบไว้ เพือ่ ป้องกันการซึมผ่านของของเหลว ที่ส�ำ คัญยังสามารถซักทำ�ความสะอาด และนำ�กลับมาใช้ซ้ำ�ได้ หลอดดูดน้�ำ กินได้ “Lolistraw” จากบริษัท Loliware หลอดสีสัน สดใส ผลิตขึ้นจากสาหร่ายทะเล สามารถแช่ในเครื่องดื่มได้นานถึง 24 ชั่วโมง และเก็บวางบนชั้นได้ยาวนานถึง 24 เดือน สามารถเลือก ผสมกลิ่น รส หรือสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มเติมในการผลิตได้ อีกทั้งยัง สามารถนำ�ไปย่อยสลายทางชีวภาพผ่านการหมักได้อย่า งรวดเร็ว (ไม่เกิน 60 วัน) และยังย่อยสลายในน้ำ�ได้ 100% อีกด้วย

นวัตกรรมเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการนำ�ความคิดสร้างสรรค์ มาร่วมใช้กบั การออกแบบ สำ�หรับเป็นทางเลือกในการนำ�ไปใช้งานและรักษา ไว้ซึ่งสมดุลของธรรมชาติให้ได้มากที่สุด เพราะไม่มีใครรู้ว่าในอนาคตนั้น ทรัพยากรจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และถึงเวลาแล้วหรือยังที่มนุษย์ ต้องเริ่มปรับตัวเพื่อให้อยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลกได้อย่างยั่งยืน

ที่มา : บทความ “This ‘personal carbon sequestration’ device uses algae to remove CO2 from the air” โดย Adele Peters จาก fastcompany.com บทความ “Sumo seaweed-fibre nappies offer healthy and sustainable alternative” โดย Rima Sabina Aouf จาก dezeen.com และ “MC7800-03 Lolistraw” จากฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์ Material ConneXion® สามารถสืบค้นและพบกับตัวอย่างนวัตกรรมวัสดุระดับโลกเพิม่ เติมได้ทช่ี น้ั 2 ห้อง Material & Design Innovation Center (MDIC), TCDC กรุงเทพฯ CREATIVE THAILAND I 10


Creative District : ย่านความคิด

เรื่องและภาพ : รัชดาภรณ์ เหมจินดา และยอดมนุษย์คนธรรมดา

“หวานอมขมกลืน” ทีพ่ ดู ถึง “ความขม” ในบริบท ของสำ�นวนคติสอนใจ เปรียบเปรยถึงช่วงชีวิต เมื่ อ เจอสถานการณ์ ท่ี ก ลื น ไม่ เ ข้ า คายไม่ อ อก แต่ก็ต้องยอมรับให้ได้ไม่ว่าจะดีหรือร้าย หรือ “หวานเป็นลมขมเป็นยา” เปรียบเปรยคำ�ชมดั่ง รสหวานที่อาจทำ�ให้เราคล้อยตามจนขาดสติ แต่คำ�ติดั่งรสขมจะทำ�ให้เราฉุกคิดได้...สำ�นวน เหล่านีล้ ว้ นมีทมี่ าจากการรับรูร้ สชาติ โดยเฉพาะ “รสขม” ที่มักพาให้นึกถึง “ยา” ที่แม้รสชาติจะ ไม่ถูกปากมากเท่ากับอะไรที่หวาน ๆ แต่ก็คือ ตัวแทนของการรักษาอาการเจ็บป่วยทั้งทางกาย และทางใจ ในทางวิทยาศาสตร์ว่ากันว่า จากบรรดารส ทั้ ง หลาย “รสขม” สามารถรั บ รู้ ไ ด้ ไ วที่ สุ ด โดยเฉพาะบริ เ วณโคนลิ้ น ซึ่ ง รสขมเกิ ด จาก สารประกอบหลัก ๆ อย่าง แทนนิน (Tannin) กาเฟอีน (Caffeine) และแคทีชิน (Catechin) สารประกอบเหล่ า นี้ ม าจากพื ช และสมุ น ไพร จำ�พวกใบ เมล็ด หรือเปลือกไม้ ที่ให้สรรพคุณ ทางยา หากเคยชมซีรีส์จีนหรือเกาหลี เราก็พอ จะเห็ น ฉากการปรุ ง ยาที่ เ อาบรรดาสมุ น ไพร หลากชนิดมาต้มเป็นยาหม้อหรือเครื่องดื่มรักษา โรค (บ้างก็เป็นยาพิษใช้สังหารคนได้) วัฒนธรรม การ “ดืม่ เป็นยา” เพื่อรักษาความป่วยไข้ภายใน ร่างกายจึงได้รับการสืบทอดและเป็นที่นิยมมาถึง ปัจจุบัน ทั้งน้ำ�สมุนไพรหรือน้ำ�ชานานาชนิด จนกลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในชี วิ ต ประจำ � วั น ของ

กลุ่ ม คนวั ย กลางคนไปจนถึ ง ผู้ สู ง อายุ ที่ ด่ืม มา ตั้งแต่เล็กจนโต ไม่เว้นแม้แต่คนรุ่นใหม่ที่สนใจ รักษาสุขภาพแบบทางเลือกซึ่งเข้าถึงง่ายและ ราคาไม่แพงเหล่านี้ บนเส้ น ถนนเจริ ญ กรุ ง ตั้ ง แต่ โ ซนบางรั ก ไปจนถึ ง เยาวราช จุ ด กำ � เนิ ด ธุ ร กิ จ จำ � หน่ า ย สมุ น ไพรจี น โบราณ ตั้ ง แต่ ร้า นที่ ข ายวั ต ถุ ดิบ สำ�หรับเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มหรืออาหาร รวมถึงร้านทีข่ ายเครือ่ งดืม่ สมุนไพรแบบพร้อมดืม่ อย่าง “น้�ำ ขม” โดยมีรา้ นดังทีข่ นึ้ ชือ่ อย่างเช่นร้าน “หว่าโถ่ว หยั่นหว่อหยุ่น (บางรัก)” ร้านขาย ของชำ�สไตล์จีนที่ขึ้นชื่อเรื่องซีอิ๊ว แต่จริงๆ แล้ว น้�ำ ขมและน้�ำ สมุนไพรของทีน่ กี่ โ็ ดดเด่นไม่แพ้ใคร เพราะเป็นสูตรเด็ดจากกวางตุ้งที่สืบทอดมานาน ถึง 3 ชั่วคน “คนจี น จะชอบเครื่ อ งดื่ ม ที่ มี ส รรรพคุ ณ เชิงยามากกว่าดืม่ น้�ำ เปล่า” ประวิทย์ สิทธิพลากร ผู้ดูแลร้านรุ่นที่ 3 เล่าว่าสมัยก่อนเมื่อชาวจีน มาเมืองไทยที่มีอากาศร้อนและอาหารรสชาติ ร้อนแรง จึงมองหาเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เย็น ทำ�ให้ ทางร้านทำ�น้�ำ ขมจำ�หน่าย โดยยึดตำ�ราทีเ่ ป็นสูตร ของครอบครัว ซึ่งน้ำ�ขมสูตรดั้งเดิมประกอบด้วย สมุนไพร 36 ชนิด มีสรรพคุณทั้งแก้ร้อนใน บำ�รุง สมอง หัวใจ ลดน้ำ�ตาลในเลือด และอีกสารพัด เมื่อร่างกายรับสารพิษ ยาเหล่านี้จะเข้าไปช่วย โดยคนจีนสมัยก่อนจะดื่มน้ำ�ขมทุกวันไม่ใช่แค่ ตอนเจ็บป่วย เคล็ดลับทีท่ �ำ ให้น�้ำ ขมยังเป็นทีน่ ยิ ม ในการดื่มทุกวันนี้คือ พอดื่มขมมากแล้วต้องกิน หวานตาม เพราะจะช่วยให้ตัดรสกัน ทางร้านจึง ทำ�น้�ำ สมุนไพรรสหวานด้วย ยุคแรกมีเก๊กฮวยและ ใบบัวบก ก่อนจะขยายเป็น 12 ชนิด เพิม่ หล่อฮังก้วย รากบัว มะตูม จับเลี้ยง ฯลฯ ทุกชนิดไม่ได้เน้น

แค่ความอร่อย แต่ผสมยาจีนลงไปด้วยเพื่อให้มี ประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากเครื่องดื่มสมุนไพรจีนสุดขมอย่าง น้ำ�ขมแล้ว เครื่องดื่มรสชาติขมเบา ๆ ปนฝาด กลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์อย่าง “น้ำ�ชา” ก็เป็นที่ นิยมดืม่ กันเป็นประจำ�เช่นกัน “ห้างใบชา ก. มุยกี”่ คื อ หนึ่ ง ในร้ า นขายใบชาในตำ � นานแห่ ง ย่ า น เจริญกรุงที่อยู่ไม่ไกลจากหัวลำ�โพง ที่น่ีได้รับ ความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งเรื่องคุณภาพของ ใบชาที่ ห อมและให้ ส รรพคุ ณ ทางยา ณฐพล หิรัญสาโรจน์ เจ้าของร้านรุ่นที่ 3 เล่าว่า อากง เป็ นชาวแต้ จิ๋ ว อพยพจากเมื อ งจี นมารับจ้าง ทำ�งาน ต่อมาลองรับใบชาที่คั่วเสร็จมาแบ่งขาย โดยหาบเร่ไปตามถนนเยาวราชหรือย่านทีม่ คี นจีน พอมีทุนรอนจึงเปิดร้านขึ้นบริเวณแยกไมตรีจิตต์ เมื่อปีพ.ศ. 2451 โดยชาที่ขนส่งจากจีนมาถึงไทย ยิ่งเก็บไว้นาน ความชื้นจะหายไป กลิ่นควันไฟ เจือจางลง พอมาอบใหม่ก็จะได้ความนุ่มนวล เพิม่ ขึน้ และได้กลิน่ ควันไฟคืนกลับมา ร้านก. มุ่ยกี่ มีชานับ 100 ชนิด ทั้งชาขาว ชาเขียว ชาแดง ชาดำ� ชาม่วง บางชนิดเก็บไว้นานกว่า 10 ปีเพื่อ บ่มให้อร่อย ชาที่มีชื่อเสียงของร้านคือ สุ่ยเซียน ทิกวนอิมอบไฟ และผูเอ่อร์ ซึ่งชาทั้งสามชนิดนี้ โดยรวมแล้วมีฤทธิ์ทางยาสูง สามารถสลายพิษ ดับร้อน ชุ่มคอ ขับน้ำ� ช่วยให้สมองแจ่มใส รวมถึงเรียกน้ำ�ย่อยเป็นอย่างดี เสน่หข์ องรสขมอาจไม่ใช่แค่เรือ่ งของการรับรส ที่ทำ�ให้เราลืมไม่ลงเมื่อได้ลองชิม หากแต่เป็น การสะท้อนภูมปิ ญั ญาและวิถแี ห่งการรักษาสุขภาพ ปรับสมดุลของร่างกายที่หลอมรวมเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งในการดำ�เนินชีวิต เหนือสิ่งอื่นใดยังเป็น การสะท้ อ นตั ว ตนชาวไทยเชื้ อ สายจีนในย่าน เจริญกรุงที่ยังคงผูกพันกับการดื่มของขมที่ทำ�ให้ พวกเขาไม่มีวันลืมรสขมได้ลง ที่มา : บทความจาก Food Network Solution ศูนย์เครือข่าย ข้อมูลอาหารครบวงจร / ข้อมูลผู้ประกอบการดั้งเดิมจาก โครงการ Made in Charoenkrung 2

CREATIVE THAILAND I 11


Cover Story : เรื่องจากปก

BIOMIMICRY คำ�ตอบจากธรรมชาติ เรื่อง : แทนไท ประเสริฐกุล

ปีค.ศ. 1989 ขณะที่ผมในวัย 10 ขวบกำ�ลังพยายามฝึกเต้นไมเคิล แจ็คสัน อยู่ที่บ้าน การรถไฟของญี่ปุ่นก็กำ�ลังเผชิญกับ โจทย์ปัญหาที่ท้าทายมันสมองวิศวกรเป็นอย่างมาก รถไฟชินกันเซ็นรุ่นที่เร็วสุด ณ ขณะนั้นคือรุ่น N300 ซึ่งวิ่งเร็วมาก อยู่แล้ว คือประมาณ 270 กม./ชม. แต่แน่นอนว่า การพัฒนาของมนุษย์ย่อมไม่หยุดยั้ง และแผนการสำ�หรับรถรุ่นถัดไป ก็ถูกวางไว้ว่าอยากจะให้เร็วขึ้นอีก เป็น 300 หรือกระทั่ง 350 กม./ชม. เพื่อจะได้ทำ�เวลา 2 ชั่วโมง 20 นาที พาผู้โดยสาร ข้ามระยะทาง 515 กิโลเมตร จากสถานีชนิ โอซากาไปสถานีฮากาตะ และจะได้เพิม่ จำ�นวนรอบวิง่ ในแต่ละวันให้รองรับผูโ้ ดยสาร ได้มากขึ้นอีก ซึ่งสำ�หรับประเทศแห่งการเดินทางด้วยรถไฟอย่างญี่ปุ่น ถือเป็นเรื่องที่มีผลสำ�คัญมากมายมหาศาล

CREATIVE THAILAND I 12


ก็มอี โุ มงค์เยอะมาก โจทย์ทย่ี งุ่ ยากซับซ้อนขนาดนี้ จะแก้ไขสำ�เร็จได้อย่างไร โชคดีที่คุณเอจิ นาคัตสึ (Eiji Nakatsu) ผูจ้ ดั การแผนกวิจยั และพัฒนาทีด่ แู ลโครงการนีอ้ ยู่ มีงานอดิเรกเป็น “นักดูนก” เช้าวันหนึ่ง ในปีค.ศ.1990 คุณนาคัตสึ เปิดหนังสือพิมพ์ดู แล้วเจอกรอบเล็ก ๆ เชิญชวน ให้ ไ ปเข้ า ร่ ว มฟั ง บรรยายของสมาคมดู น ก แห่งประเทศญี่ปุ่นสาขาโอซากา ซึ่งคุณนาคัตสึ ก็ไปเพราะสนใจอยู่แล้ว แต่เขาไม่คาดคิดเลยว่า ทีน่ น่ั เอง จะเป็นแหล่งจุตแิ รงบันดาลใจอันนำ�มาซึง่ คำ�ตอบที่เขาหาอยู่ “ธรรมชาติ” เป็นแหล่งคำ�ตอบของโจทย์ ปัญหามากมาย ป่า ทะเล ผืนดิน ท้องฟ้า เป็นดัง่ ห้องวิจยั ทีช่ วี ติ ได้ท�ำ การทดลองผ่านผิดผ่านถูกมา แล้วเป็นล้าน ๆ ปี โดยมีความอยูร่ อดเป็นเดิมพัน ขณะทีม่ นุษย์เราเพิง่ จะเริม่ มีหอ้ งแล็บวิทยาศาสตร์ มาแค่ไม่กร่ี อ้ ยปีเท่านัน้ เราเป็นสปีซสี ท์ ล่ี ะอ่อนมาก และบางครัง้ เราก็ตอ้ งขอลอกข้อสอบจากธรรมชาติ ที่งานบรรยายของสมาคมดูนก คุณนาคัตสึได้ มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักดูนกคนอื่น ๆ โดยเฉพาะคนทีเ่ ป็นวิศวกรเหมือนกัน โดยเริม่ จาก คำ�ถามที่ว่า “นกอะไรบินเงียบที่สุด” ในขณะทีน่ กอืน่ มีเสียงตีปกี พึบพับ ๆ เวลาบิน แต่ “นกฮูก” สามารถบินโผเข้าตะครุบเหยื่อได้

อย่างเงียบกริบมาก ถ้าเป็นหนูก็โดนหิ้วไปโดย ไม่รู้ตัว วิวัฒนาการที่ยาวนานได้ปรับจูนร่างกาย ของนกฮูกให้กลายเป็นสุดยอดนักลอบสังหาร แห่งรัตติกาลผูม้ าพร้อมกับความเงียบ มันบินเงียบ ขนาดนั้นได้อย่างไรทั้ง ๆ ที่ตัวก็ออกจะใหญ่ ผลปรากฏว่ า นั ก ปั ก ษี วิ ท ยาเคยสงสั ย เรื่ อ งนี้ มานานแล้ว และหลังจากส่องเพือ่ ศึกษาดูปกี และ ขนนกฮูกอย่างละเอียดก็พบว่า มีโครงสร้างทีช่ ว่ ย ลดเสี ย งแหวกอากาศเป็ น องค์ ป ระกอบอยู่ มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือซี่เล็ก ๆ จำ�นวนมากที่ เรียงเป็นแถวอยู่บนสันด้านหน้าของปีกนกฮูก คล้าย ๆ มีคนเอาแผงขนตาเทียมมาแปะเรียงไว้ อย่างสวยงาม (ศัพท์วิชาการเรียกว่า Fimbria) หลักการทำ�งานของซี่ขนแข็ง ๆ งอน ๆ พวกนี้ก็ คือ เมื่อนกฮูกตีปีกหรือโผไปข้างหน้า ขนแต่ละซี่ จะช่วยแหวกกระแสอากาศให้แตกย่อยออกเป็น หย่อมความแปรปรวนม้วนวน (Vortex) ลูกจิ๋ว ๆ หลาย ๆ ลูก ซึ่งแต่ละลูกนั้นผลิตเสียงเบาเท่า เสียงกระซิบของมด แทนทีจ่ ะปล่อยให้ลมพัดเป็น ลูกใหญ่ลูกเดียว ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นต้นเหตุที่ทำ�ให้ เกิดเสียงดัง เมือ่ รูเ้ คล็ดลับของคุณนกฮูกแล้ว คุณนาคัตสึ จึ ง เริ่ ม เกิ ดไอเดี ย ว่ า หรื อ นี่ จ ะเป็ น สิ่ ง ที่ นำ � ไป ทดลองใช้กับรถไฟได้บ้าง โดยเฉพาะกับไอ้ตัว ก้านทีโ่ ผล่มาจากหลังคา ซึง่ ศัพท์ทางการเรียกว่า แพนโตกราฟ (Pantograph) หรือแหนบรับไฟ หรือชื่อเก่าคือสาลี่ ซึ่งไม่ว่าจะชื่อไหนก็ไม่สื่อให้

Christophe Haubursin / Vox / 99% Invisible

การจะบรรลุโจทย์นใ้ี นแง่ของ “ความแรง” เฉย ๆ คงไม่ตดิ อะไร แต่สง่ิ ทีต่ ดิ กลับเป็น “ความนุม่ นวล” เพราะว่ายิ่งรถไฟวิ่งเร็ว เสียงของมันก็จะยิ่งดัง และสร้างความรบกวนให้แก่ชาวบ้านผูท้ อี่ ยูอ่ าศัย ในละแวก มาตรฐานอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่น กำ�หนดไว้ว่า เสียงที่วัดได้ในระยะ 25 เมตรจาก เส้นกึ่งกลางรางจะต้องดังไม่เกิน 75 เดซิเบล ซึ่งเทียบเท่ากับเสียงเครื่องดูดฝุ่นดัง ๆ สักเครื่อง หนึ่งเท่านั้น ท่านผู้อ่านคงจินตนาการออกถึง ความซีเรียสจริงจังของชาวญี่ปุ่นในการเคารพ กฎกติกามารยาททางสังคม ผมเองนึกภาพทีม วิ ศ วกรทำ � พิ ธี ตั้ ง สั ต ย์ ป ฏิ ญ านว่ า จะต้ อ งบรรลุ ภารกิจนี้ให้จงได้ มิเช่นนั้น แม้ทำ�ให้คุณยาย สักคนเดียวต้องผวาตื่นเพราะเสียงรถไฟวิ่งดัง เกินไป พวกเขาจะพร้อมใจกันคุกเข่าคว้านท้อง เอ้ย ลาออกก็พอ จะอย่างไรก็ตาม โจทย์นไ้ี ม่ใช่โจทย์งา่ ย ๆ เลย ยิ่งรถไฟวิ่งเร็ว เสียงก็ยง่ิ ดังเพิม่ ขึน้ จากหลายแหล่ง เช่น รางเสียดสีกับตัวรถ ตัวแท่งก้าน ๆ ที่ยื่นขึ้น มาบนหลังคา ซึ่งเอาไว้แตะรับไฟฟ้าจากสายไฟ พวกนั้นก็เสียดสีกับอากาศจนเกิดเสียงดังมาก เช่นกัน และที่หนักสุดคือ ทุกครั้งที่ผ่านอุโมงค์ ตัวขบวนรถจะกลายเป็นเหมือนกระบอกสูบที่อัด อากาศเข้าไปในช่องแคบ ๆ ซึง่ พอใกล้จะโผล่พน้ ปากอุโมงค์อกี ฝัง่ แรงอัดนีจ้ ะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ เสียงดังกัมปนาทที่เราเรียกกันว่า “โซนิกบูม” (Sonic Boom) ซึง่ ดังมาก และทางรถไฟของญีป่ นุ่

CREATIVE THAILAND I 13


แต่ช้าก่อน ยังฉลองไม่ได้ โจทย์ถัดมายังมีเรื่อง ของเสียงโซนิกบูมทีด่ งั บูม้ ! เวลารถพุง่ ผ่านอุโมงค์ ซึง่ คุณนาคัตสึกม็ องหาแรงบันดาลใจจากโลกของ นกอีกเช่นเคย อากาศนอกอุโมงค์กับอากาศที่ถูก อัดอยู่ในอุโมงค์นั้นมีความหนาแน่นต่างกันมาก จะมีนกชนิดไหนบ้างไหมนะทีต่ อ้ งเผชิญกับโจทย์ คล้าย ๆ กัน คุณนาคัตสึนึกไปถึงราชันย์แห่ง การกินปลา (Kingfisher) หรือ “นกกระเต็น” นั่นเอง โจทย์ในธรรมชาติของนกกระเต็นคือ จะทิม่ ปากจากฟ้าลงสูน่ �้ำ ยังไงไม่ให้ปลาตืน่ โดยที่ ความหนาแน่นระหว่างน้ำ�กับฟ้านั้นต่างกันถึง 800 เท่า ขืนทิ่มไปแบบทู่ ๆ ก็คงไม่ต่างอะไรกับ คนอ้วนโดดน้�ำ แต่ในธรรมชาติเราเห็นนกกระเต็น จั บ ปลาได้ โ ดยแทบไม่ ทำ � น้ำ � กระเซ็ น เลย น่าเลียนแบบมาทำ�ชินคันเซ็นเป็นอย่างยิ่ง คุณนาคัตสึและทีมวิศวกรทำ�การทดสอบ เปรียบเทียบหัวรถรูปทรงต่าง ๆ ทัง้ ทรงหัวกระสุน

wikipedia.org

นึกภาพออกเท่าไร เอาเป็นว่า จากดีไซน์เก่าทีเ่ ป็น โครงเหลีย่ ม ๆ ทือ่ ๆ ดือ้ ๆ คุณนาคัตสึและทีมงาน ก็ได้ออกแบบแพนโตกราฟรุ่นใหม่ ซึ่งบริเวณที่ สัมผัสกับสายไฟถูกเปลีย่ นให้กลายเป็นทรงปีกนก มี ค วามลู่ ล มหรื อ แอร์ โ รไดนามิ ก ส์ ม ากขึ้ น มีการเจาะรูเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวให้กระแสอากาศ รีดผ่านแบบเดียวกับปีกนกฮูก ขณะเดียวกันตรงส่วน คอที่ต่อกับหลังคา (นึกถึงคอของตัว T) ซึ่งปกติ เป็นส่วนที่แหวกอากาศเสียงดังที่สุด ก็ถูกเติม รายละเอียดเข้าไป โดยอาศัยหลักการจากปีก นกฮู ก เช่ น กั น หากนึ ก ภาพคอนี้ เ ป็ น เหมื อ น กระโดงฉลามและมองจากด้านข้าง ในดีไซน์ใหม่ เราจะเห็นเส้นนูนที่เรียงสลับกันเป็นลายฟันปลา โดยเว้นช่องแคบ ๆ ระหว่างแต่ละเส้นไว้ ผลลัพธ์ ก็คอื เมือ่ รถไฟวิง่ กระแสอากาศจะถูกช่องและเส้น เล็ก ๆ พวกนีก้ รีดซอยให้กลายเป็นหย่อมหมุนวน เล็ก ๆ ซึ่งช่วยลดเสียงลงได้เหมือนปีกนกฮูก คุณนาคัตสึตง้ั ชือ่ ให้กบั แหนบรับไฟรุน่ ใหม่น้ี ว่า “วิงกราฟ” (Wing-Graph) และเมื่อนำ�ไป ติ ด ตั้ ง ทำ � การทดสอบก็ ป รากฏว่ า ลดเสี ย ง ได้จริง ๆ รถไฟทีต่ ดิ วิงกราฟและวิง่ ด้วยความเร็ว 320 กม./ชม. ทำ�เสียงดังแค่ 73 เดซิเบลเท่านั้น ซึง่ ถือว่าประสบความสำ�เร็จตามเป้าหมายทีต่ งั้ ไว้ อย่างสวยงาม

แบบเก่า ทรงหัวจรวดแหลมมาก แหลมน้อย ทรงเลี ย นแบบปากนกกระเต็ น และอื่ น ๆ นอกจากนั้นยังทดสอบหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การเอาแบบจำ�ลองไปทิง้ ลงน้�ำ แล้ววัดการกระเซ็น การยิงกระสุนรูปทรงต่าง ๆ เข้าท่อแล้ววัดคลื่น ความดั น ตลอดจนการทดสอบสถานการณ์ จำ � ลองแบบซิ มู เ ลชั น ในคอมพิ ว เตอร์ ทุ ก วิ ธี ให้ ผ ลออกมาตรงกันหมดว่า รูปทรงปากของ นกกระเต็นนัน้ มีสมการความแหลม ความยาว และความแบน ในลักษณะที่พอเหมาะพอเจาะ ที่สุด สำ�หรับการทิ่มแทงอย่างรวดเร็วแต่นุ่มนวล ในที่สุด เมื่อหัวรถทรงปากนกกระเต็นนี้ ถูกนำ�ไปสร้างจริงและทดลองวิ่งเข้าอุโมงค์จริง ก็ปรากฏว่าลดเสียงโซนิกบูมลงได้สำ�เร็จและทำ� เสียงดังไม่เกิน 70 เดซิเบล แม้จะวิง่ ด้วยความเร็ว ถึง 300 กม./ชม. ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่าง สวยงาม ดีไซน์หวั รถใหม่เลียนแบบปากนกกระเต็น รวมทัง้ วิงกราฟใหม่เลียนแบบปีกนกฮูก ถูกนำ�มา ประกอบรวมกันกลายเป็นรถไฟชินคันเซ็นรุน่ ใหม่ ที่ชื่อว่า N500 ซึ่งไม่เพียงเร็วขึ้น เงียบขึ้น แต่ยัง สร้างแรงต้านอากาศน้อยลงถึง 30% และประหยัด พลังงานกว่ารถรุน่ เก่าอีก 15% ด้วย รถซีรสี ์ N500 เริม่ ต้นวิง่ รับผูโ้ ดยสารจริงในปี 1997 และตัง้ แต่นน้ั มา คุณเอจิ นาคัตสึ ก็กลายเป็นตำ�นาน ไม่เพียงใน แวดวงวิศวกรรมของประเทศญี่ปุ่น แต่ในฐานะ ตัวอย่างสุดคลาสสิกของการออกแบบที่ได้รับ แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ซึง่ โด่งดังไปทัว่ โลก CREATIVE THAILAND I 14

ตั ว อย่ า งคลาสสิ ก ระดั บ ตำ � นานของแนวคิ ด Biomimicry หรือการลอกเลียนแบบธรรมชาติ ที่น่าจะคุ้นหูคุ้นตาท่านผู้อ่านยังมีอีกเยอะ เช่น เรือ่ งราวต้นกำ�เนิดของ เวลโคร (Velcro) ซึง่ บ้านผม เรียก “ไอ้แถบแควก ๆ” หลายคนอาจจะเคย ได้ ยิ น ว่ า คนที่ คิ ดค้ น ตั้ ง แต่ ยุ ค 1940s ได้ รั บ แรงบันดาลใจจากการไปเดินเล่นแล้วเจอเมล็ดหญ้า เจ้าชู้ติดเต็มเสื้อผ้า เลยสงสัยว่ามันติดได้ยังไง แล้ ว ก็ เ อาหนามมาส่ อ งดู ใ นกล้ อ งจุ ล ทรรศน์ พอเห็นว่าที่แท้หนามมันเป็นตะขอเกี่ยวเล็ก ๆ จำ � นวนมาก ก็ เ ลยปิ๊ ง ไอเดี ย เอามาออกแบบ สิ่งประดิษฐ์เสียเลย ในยุคใหม่ขึ้นมาหน่อย เทคโนโลยียิ่งเปิด ศักยภาพในการศึกษาและเลียนแบบธรรมชาติใน ระดับที่เล็กลงไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างของตีนตุ๊กแก น่าจะเป็นอะไรทีท่ กุ คนได้ยนิ บ่อย ตีนของมันเกาะ กำ�แพงได้ด้วยโครงสร้างที่เป็นขนเส้นเล็ก ๆ ระดับมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ซึ่งก็มีคนพยายาม จะเลียนแบบนำ�หลักการไปทำ�ส่วนผสมในกาวบ้าง ทำ�เทปแบบแกะแล้วไม่เหนียวบ้าง หรือกระทั่ง สร้างถุงมือทีท่ �ำ ให้คนไต่ตกึ ได้แบบสไปเดอร์แมน ซึ่งก็ทำ�ได้แล้วจริง ๆ แต่ยังอยู่ในขั้นวิจัย ยังไม่มี จำ�หน่ายตามร้านสะดวกซือ้ พอพูดถึงสไปเดอร์แมน ใยแมงมุมนี่ก็เป็นอีกวัสดุหนึ่งที่หลายคนคงเคย ได้ยนิ คำ�สดุดวี า่ เทียบกับใยเหล็กเส้นเท่า ๆ กันแล้ว ทัง้ เหนียวและเบากว่าหลายเท่า ทัง้ นี้ การเลียนแบบ


เรือ่ งของความสะอาดเป็นอีกโจทย์หนึง่ ทีน่ า่ สนใจ สิง่ มีชวี ติ หลาย ๆ ชนิดมีววิ ฒั นาการทำ�ความสะอาด พื้นผิวของตัวเองได้โดยไม่ต้องอาบน้ำ�ถูสบู่ หรือ แลบลิน้ เลียตัว ยกตัวอย่างปรากฏการณ์ “น้�ำ กลิง้ บนใบบัว” แน่นอนบัวไม่มีลิ้น แต่เมื่อซูมดูใบบัว เราจะพบตุ่มเล็ก ๆ เคลือบแว็กซ์จำ�นวนมาก ซึง่ สร้างความตะปุม่ ตะป่�ำ ให้กบั พืน้ ผิวในลักษณะ ที่หยดน้ำ�ไม่สามารถยึดเกาะได้ แต่จะกลิ้งไป กลิง้ มารวมตัวกันเป็นหยดใหญ่ และระหว่างกลิง้ น้�ำ ก็ดูดเอาเศษฝุ่น ละอองสกปรกอะไรต่าง ๆ

ติดไปด้วย ทำ�ให้สิ่งสกปรกไม่สามารถสะสมได้ เรียกว่าเป็นพืน้ ผิวแบบ Self-Cleaning ที่มบี างบริษทั เอาไอเดียนี้ไปประยุกต์ทำ�สีทาภายนอก ซึ่งเมื่อ แห้งแล้วจะเกิดเป็นตุ่ม ๆ ระดับไมโครสโคปิก (Microcopic) ทีม่ องไม่เห็นด้วยตาเปล่าแบบใบบัว ทำ�ให้หยดน้ำ�ไม่เกาะ ฝุ่นก็ไม่เกาะ และเมื่อเวลา ผ่านไปนาน ๆ ขณะที่สีปกติจะเริ่มมีคราบรา คราบตะไคร่ขึ้น สีเลียนแบบใบบัวนี้ ก็จะยังสวย สดใสไร้มลทินอยู่เหมือนเดิม นี่จึงเป็นอีกหนึ่ง นวัตกรรมที่ได้ผลและมีขายแล้วจริง ๆ (ชื่อสี StoColor Lotusan โดยกลุ่มบริษัท Sto Corp.) ใครสนใจก็ลองสั่งมาใช้ดูได้ จากใบบัวทีอ่ ยูป่ ริม่ น้�ำ เราดำ�ต่อลงไปใต้น�ำ้ บ้าง เหล่าปลาหลากหลายเอง แม้จะอยู่ในน้ำ�อยู่แล้ว แต่ ก็ เ ผชิ ญ โจทย์ ต้ อ งรั ก ษาผิ ว หนั ง ให้ ส ะอาด เหมือนกัน เพราะหากไม่ทำ�อะไรเลย อาจจะมี ทั้งเพรียง ทั้งสาหร่าย เชื้อรา เชื้อโรค และอะไร ต่าง ๆ มากมายมาเติบโตอยู่บนตัวได้ ปลากลุ่ม “ฉลาม” แก้ปัญหานี้โดยอาศัยการที่ผิวหนังของ มันปกคลุมด้วยร่องสันขรุขระเล็ก ๆ ซึง่ จัดเรียงตัว ในลักษณะพิเศษ นักวิจัยพบว่า บรรดาจุลินทรีย์ ต่าง ๆ ดูจะไม่ชอบเกาะหรือเติบโตบนพื้นผิว CREATIVE THAILAND I 15

ลักษณะนี้เลย ในที่สุดก็มีบริษัททดลองผลิตฟิล์ม เลียนแบบแพตเทิร์นบนผิวหนังฉลามขึ้นมา แล้ว พบว่า สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ แบคทีเรียได้จริงโดยไม่ตอ้ งใช้สารเคมี โดยบริษทั ตั้งชื่อเทคโนโลยีนี้วา่ ฟิล์ม Sharklet ซึ่งสามารถ เอาไปแปะกับสารพัดสิ่งที่คุณต้องการเพื่อทำ�ให้ เป็นพื้นผิวปลอดเชื้อ เช่น มือจับของประตูตาม โรงพยาบาล ปุม่ กดลิฟต์ ราวบันได มือจับรถเข็น ในซูเปอร์มาร์เก็ต และอื่น ๆ อีกมากมายเท่าที่ จะจินตนาการออก (จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีเลียน แบบหนังฉลามยังสามารถเอาไปทำ�ชุดว่ายน้ำ�ที่ ทำ�ให้ว่ายเร็วขึ้นได้ด้วย) จากโจทย์เรื่องความสะอาด มาดูเรื่องความ ปลอดภัยบ้าง หากถามว่าเทคโนโลยีหมวกกันน็อก น่าจะไปเลียนแบบจากสิ่งมีชีวิตอะไรดี ท่านจะ พอนึกออกกันไหม ตัวอย่างแรก ผมจะพาเรากลับ สู่โลกของนกอีกแล้ว “นกหัวขวาน” เป็นนกที่เอา หัวชนต้นไม้แรง ๆ วันละเป็นหมื่นรอบ จนบางที ก็อดสงสัยไม่ได้วา่ สมองมันไม่ได้รบั ความกระทบ กระเทือนบ้างหรือไร ปรากฏว่ากายวิภาคของมัน

William Thielicke

ใยแมงมุมให้สำ�เร็จก็ถือเป็นอีกหนึ่งความฝันของ วัสดุศาสตร์ ซึ่งแม้ทุกวันนี้จะยังทำ�ไม่ได้ แต่ก็มี รายงานความคืบหน้าออกมาอยู่เรื่อย ๆ อย่างทีเ่ กริน่ ไว้ตอนต้นว่า ธรรมชาตินนั้ เป็น แหล่งคำ�ตอบของโจทย์ปญั หามากมาย ใยแมงมุมเอย ตีนตุ๊กแกเอย หญ้าเจ้าชู้เอย อันที่จริงนั่นเป็นแค่ หลากหลายคำ�ตอบของโจทย์แค่โจทย์เดียวเท่านัน้ คือทำ�ยังไงจะยึดเกาะสิ่งอื่นได้ แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีโจทย์และคำ�ตอบเจ๋ง ๆ ที่คาดไม่ถึงอีกเยอะ ซึ่งผมจะพาสำ�รวจตัวอย่างกันต่อไป


warka water/architecture and vision

velorution.com

ทัง้ ในระดับกระดูก กล้ามเนือ้ และเนือ้ เยือ่ ต่าง ๆ ล้วนมีความพิเศษที่ช่วยซับแรงกระแทกทั้งนั้น แต่รายละเอียดคงเยอะเกินกว่าจะอธิบายได้ใน บทความนี้ อย่างไรก็ตาม มีคนหัวใสได้นำ�เอา บางองค์ประกอบของกายวิภาคนกหัวขวานไป สร้างเป็นต้นแบบหมวกกันน็อกแล้วจริง ๆ และ เมื่อทดสอบดูก็พบว่า สามารถรับแรงกระแทกได้ มากกว่าหมวกที่วางขายตามท้องตลาดถึง 3 เท่า นอกจากนกหัวขวานแล้ว อีกหนึ่งแรงบันดาลใจ เรื่องหมวกกันน็อกธรรมชาติก็มาจากแหล่งที่ คาดไม่ถึงพอ ๆ กัน นั่นคือผลไม้อย่าง “ส้มโอ” ที่ทั้งใหญ่ทั้งหนัก แต่เมื่อตกจากต้นสูง ๆ กลับ ไม่แตกเละตอนกระแทกพื้น (นึกภาพเทียบกับ แตงโม) แสดงว่าวัสดุซับแรงกระแทกที่เป็นเยื่อ ขาว ๆ ใต้เปลือกของมันจะต้องถูกออกแบบมา เป็นอย่างดีมาก ๆ และบริษทั ทีส่ นใจขอยืมไอเดีย จากส้มโอไปผลิตเป็นโฟมทีซ่ มึ ซับแรงกระแทกได้ ดีเป็นพิเศษก็ไม่ใช่ใครทีไ่ หน แต่เป็นยักษ์ใหญ่อย่าง BMW นั่นเอง (จริง ๆ แล้ว Adidas ก็สนใจด้วย คาดว่าน่าจะเอาไปทำ�รองเท้าวิ่ง)

โจทย์อีกประเภทหนึ่ง คือการไปดูสิ่งแวดล้อมที่ ลำ�บากมาก ๆ แล้วตัง้ คำ�ถามว่า สิง่ มีชวี ติ ทีอ่ าศัย อยู่ที่นั่นสามารถเอาตัวรอดได้อย่างไร เช่น พืช และสัตว์ทะเลทรายมีวิธีการหาน้ำ�ให้พอยังชีพ ที่ทะเลทรายนามิบ (Namib Desert) ที่บริเวณ ชายฝั่งประเทศนามิเบีย มี “ด้วง” อยู่ชนิดหนึ่ง ซึง่ ตอนกลางคืนจะออกมายืนชีต้ ดู ขึน้ ฟ้า เราเรียกว่า พฤติกรรม “อาบหมอก” (Fog Basking) บนหลัง ของมันมีปุ่มเล็ก ๆ จำ�นวนมากซึ่งจะคอยดึงดูด ไอน้�ำ ในอากาศให้มารวมตัวกันเป็นหยดใหญ่ขน้ึ ๆ เมื่อถึงจุดหนึ่งหยดน้ำ�ค้างเหล่านี้จะสัมผัสกับ พื้นผิวด้านข้างของปุ่มซึ่งมีความมันลื่น ทำ�ให้น้ำ� ไหลกลิง้ ตามร่องลงไปรวมกันทีป่ าก ด้วงจึงดืม่ น้�ำ ดับกระหายได้โดยไม่ต้องรอฝนตก หรือถ่อไปหา บ่อที่ไหนไกล ที่น่าสนใจคือ “แคคตัส” ซึ่งเรา เอามาเลี้ ย งดู เ ล่ น จนลื ม ไปแล้ ว ว่ า มั น เป็ น พื ช ทะเลทราย ก็มีการปรับตัวสำ�หรับดักน้ำ�ค้างใน ลักษณะคล้าย ๆ กัน คือถ้าไปส่องดูหนามของ แคคตัสอย่างละเอียด เราจะเห็นทั้งรูปทรงองศา เงี่ยงเล็กเงี่ยงน้อย และแนวร่องระดับจุลทรรศน์ มากมาย ซึง่ คอยเอือ้ ต่อการดึงความชืน้ ในอากาศ ให้ ก่ อ ตั ว เป็ น หยดน้ำ � แล้ ว นำ � ทางพวกมั น ให้ เคลื่อนเข้าสู่ตัวต้น ทั้งด้วงอาบหมอกและหนาม

แคคตัส ถูกนำ�ไปใช้เป็นแรงบันดาลใจออกแบบ อุปกรณ์ดกั หมอกต่าง ๆ มากมาย เช่น กระติกน้�ำ ที่เติมตัวเองได้ เพียงเอาไปตั้งค้างคืนไว้ข้างนอก ซึ่ ง น่ า จะเหมาะกั บ ตลาดของคนชอบแคมปิ ง เดินทาง (เป็นผมจะออกแบบกางเกงด้วงนามิบ สำ�หรับใส่ไปยืนโก้งโค้งชมทะเลหมอกแล้วดื่มน้ำ� ไปด้วย) มี นั ก ออกแบบชาวอิ ต าเลี ย นคนหนึ่ ง ชื่ อ อาร์ตูโร วิตโตริ (Arturo Vittori) ไปรับรู้ปัญหา ขาดแคลนน้ำ � สะอาดตามหมู่ บ้ า นห่ า งไกลที่ เอธิโอเปีย แล้วพยายามช่วย โดยการผสมผสาน ไอเดี ย ทั้ ง จากการอาบหมอกของด้ ว งนามิ บ จากวัสดุ วัฒนธรรม ภูมปิ ญั ญา และสถาปัตยกรรม ท้องถิน่ ซึง่ สุดท้ายได้ผลงานออกมาเป็น “หอคอย ดักหมอก Warka Tower” ซึ่งผลิตน้ำ�ค้างไว้ให้ ชาวบ้านใช้ได้จริง ทั้งยังสวยงามกลมกลืนไปกับ ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ที่ น่ั น ตลอดจนชุ ม ชนก็ มี ส่ ว นร่ ว มทำ � เองและดู แ ลรั ก ษาเองต่ อไปอย่าง ยั่งยืนอีกด้วย ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า แนวคิด เลี ย นแบบธรรมชาติ ไ ม่ ไ ด้ มี ไ ว้ เ พื่ อ แค่ ส ร้ า ง นวัตกรรมเจ๋ง ๆ สำ�หรับตอบสนองตลาดผูบ้ ริโภค เท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้คน ที่ยากลำ�บากได้อีกด้วย

CREATIVE THAILAND I 16


Photo by Daniel Oberg on Unsplash

ถึงที่สุดแล้ว ปรัชญาการเลียนแบบธรรมชาติ ในระดับที่ลึกจริง ๆ คงไม่ใช่แค่การก็อป “วิธี” แก้ปัญหาอะไรบางอย่างมาใช้แบบโต้ง ๆ แต่ เป็นการค่อย ๆ ซึมซับและซาบซึ้งกับ “วิถี” ของ ธรรมชาติ ซึ่ ง มี ทั้ ง ประสิ ท ธิ ภ าพ ความงาม ความอ่อนโยน กลมกลืน และยั่งยืน เมื่อเราได้ ใกล้ชิดศึกษาสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เราจะยิ่งรู้สึก เคารพในแบบอย่างจากธรรมชาติ จนบางทีเรา อาจจะเกิ ด แรงบั น ดาลใจอยากเปลี่ ย นแปลง ตนเองในระดับอารยธรรมให้สอดคล้องกับวิถี เหล่านั้นบ้าง มนุษย์เราเก่งและมาไกลมากแล้ว แต่เรามัก สำ�แดงความเก่งของเราด้วยวิธีที่รุนแรง บ้าพลัง และหยาบกระด้าง กระบวนการผลิตอะไรสัก อย่ า งของเรา ไล่ ตั้ ง แต่ ปู น ไปจนถึ ง พลาสติ ก มักต้องใช้ความร้อนและความดันมหาศาล ทัง้ ยัง ปล่ อ ยฝุ่ น และควั น พิ ษ มหาศาลไม่ ต่ า งกั น สร้ า งของเสี ย เหลื อ ทิ้ ง ก็ ใ นปริ ม าณมหาศาล ขณะทีธ่ รรมชาติสร้างสรรค์สง่ิ มหัศจรรย์พอ ๆ กัน ได้ด้วยกระบวนการที่อ่อนโยนกว่ามาก นึกถึงปะการังที่ค่อย ๆ สร้างนครคอนกรีต ได้โดยไม่ตอ้ งเผาอะไรเลย เพียงค่อยๆ ดึงแร่ธาตุ ออกจากน้ำ�อย่างอ่อนโยน นึกถึงต้นไม้ที่สามารถ

สร้างไม้ขนึ้ มาได้จากลมหายใจของสรรพสัตว์และ พลังงานจากแสงแดด นึกถึงหิง่ ห้อยและสิง่ มีชวี ติ อีกมากมายที่สามารถปล่อยแสงได้โดยหลอดไฟ ของมันไม่ร้อนแม้แต่นิด ในธรรมชาติ ทุกอย่าง แลดูจะเกิดขึ้นภายใต้สภาวะที่เอื้อต่อชีวิต และ นี่ คื อ ปรั ช ญาธรรมชาติ ที่ ม นุ ษ ย์ เ ราเพิ่ ง เริ่ ม จะ เล็งเห็นความสำ�คัญ และใฝ่ฝันจะเลียนแบบให้ ได้บ้าง หากยังไม่สายเกินไป ที่ ผ่ า นมา เริ่ ม มี บ ริ ษั ท จำ � นวนไม่ น้ อ ยที่ พยายามหาวิธีผลิตปูนและคอนกรีตโดยการดึง แคลเซียมและคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากน้ำ� แบบเดียวกับที่ปะการังทำ� (เช่น บริษัท Fortera และ Blue Planet Ltd.) บางบริษัทก็พยายามดึง คาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศแบบเดียวกับ ที่พืชสังเคราะห์แสง โดยคาร์บอนโพลีเมอร์ที่ ผลิ ต ได้ ก็ ส ามารถนำ � ไปใช้ เ ป็ น วั ส ดุ ท ดแทน พลาสติก (เช่น บริษัท Newlight และ Novomer) กระบวนการผลิ ต ประเภทนี้ ไ ม่ เ พี ย ง “หยุ ด ” ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศ แต่ยัง สามารถช่วย “ลด” คาร์บอนทีถ่ กู ปล่อยออกมาแล้ว โดยการไปเอาควันเสียจากมลพิษอุตสาหกรรม ต่าง ๆ มาใช้เป็นวัตถุดิบทดแทน พูดง่าย ๆ คือ ถ้าเราเลียนแบบธรรมชาติจนบรรลุวิถีนี้ได้สำ�เร็จ อากาศจะยิง่ สะอาดขึน้ ในทุก ๆ ครัง้ ทีเ่ ราสร้างตึก CREATIVE THAILAND I 17

และโลกจะยิ่งหายร้อนในทุก ๆ ครั้งที่เราผลิต เก้าอีพ้ ลาสติกขึน้ มาสักตัว ทัง้ หมดนีฟ้ งั ดูเหลือเชือ่ และกลับตาลปัตรมาก...แต่เป็นไปได้ “ธรรมชาติ” เป็นแหล่งคำ�ตอบของโจทย์ ปัญหามากมาย ป่า ทะเล ผืนดิน ท้องฟ้า เป็นดัง่ ห้องวิจยั ทีช่ วี ติ ได้ท�ำ การทดลองผ่านผิดผ่านถูกมาแล้ว นับล้าน ๆ ปี โดยมีความอยู่รอดเป็นเดิมพัน สิง่ มีชวี ติ แต่ละชนิดเปรียบได้ดงั่ หนังสือหรือตำ�รา ดี ๆ สักเล่ม และในขุมทรัพย์แห่งความหลากหลาย ทางชีวภาพของประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา ก็แทบคาดเดาไม่ได้เลยว่า ยังมีอะไรที่รอคอยให้ ค้นพบอยู่อีกมากมายขนาดไหน ในโลกที่ เ ชื้ อ ไวรั ส อุ บั ติ ใ หม่ กำ � ลั ง ระบาด เราอาจสงสัยว่า ทำ�ไมค้างคาวถึงอยูร่ ว่ มกับไวรัส เหล่านีไ้ ด้โดยไม่เจ็บป่วยอะไร ในโลกยุคใหม่ทเี่ รา กำ�ลังจะไว้ใจ AI ให้ขับรถแทนเรา เราอาจสงสัย ว่าฝูงปลาเป็นร้อยเป็นพันว่ายตามกันได้อย่างไร โดยไม่เคยชนกัน แต่ในโลกที่สิ่งแวดล้อมถูก ทำ�ลายไปเรือ่ ย ๆ คำ�ตอบของคำ�ถามเหล่านีอ้ าจ หายไปเสียก่อน เราอาจจะกำ�ลังเผาห้องสมุด โดยไม่ รู้ ตั ว น่ า เสี ย ดายหากคลั ง ความรู้ จ าก ธรรมชาติจะต้องสูญหายไปโดยที่เรายังไม่ทัน ได้มีโอกาสศึกษาด้วยซ้ำ�


THE SCIENCE OF SLEEP เรื่องนอนเรื่องใหญ่ เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ

“กว่าหนึ่งในสามของของชีวิตมนุษย์หมดไปกับการนอน” ในยุคที่โลกบังคับให้ทุกคนใช้เวลาทุกขณะให้มีค่าและ ทำ�ตัว Productive ให้ได้มากทีส่ ดุ การนอนจึงเป็นการปล่อย เวลาให้ เ คลื่ อ นผ่ า นไปโดยเปล่ า ประโยชน์ เป็ น ช่ ว งเวลา แห่งความ Unproductive ที่ได้แต่นอนนิ่ง ๆ เหมือนถูก ปิ ด สวิ ต ช์ ใ ห้ ร่ า งกายเข้ า สู่ โ หมดพั ก ผ่ อ น ที่ ห ลายครั้ ง ก็ กลายเป็นภาพสะท้อนของความขี้เกียจ (ไปซะงั้น) ตลอดประวัตศิ าสตร์ทผี่ า่ นมา การเดินทางหาคำ�ตอบของคำ�ถามทีว่ า่ “ทำ�ไม เราถึงต้องนอนหลับ” ยังคงเป็นหนึง่ ในปริศนาทางชีววิทยาทีไ่ ม่ได้รบั คำ�ตอบ ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบนั ก็ท�ำ ให้เราแน่ใจได้อย่างหนึง่ ว่า “การนอน” สำ�คัญต่อการดำ�รงอยู่ ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ และยังจำ�เป็นต่อร่างกายของเราไม่แพ้การกินหรือ การหายใจเลยทีเดียว

เรายอมเสี่ยงตายเพื่อให้ได้นอน หากสิ่งมีชีวิตต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด “การนอน” ก็อาจเป็นกิจกรรมที่ดู จะเสี่ยงอันตรายอยู่ไม่น้อย ลองจินตนาการชีวิตในยุคที่มนุษย์ยังคงต้อง ออกหาของป่าล่าสัตว์ ธรรมชาติทำ�ให้เราเป็นทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่าในเวลา เดียวกัน แต่ขณะทีเ่ ราหลับ นอกจากจะเป็นช่วงเวลาทีอ่ อกหาอาหารไม่ได้แล้ว เรายังไม่สามารถป้องกันตัวเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ ได้เลย เราเสียเวลา ในการทำ�งานสร้างผลผลิตต่าง ๆ การเข้าสังคม การสืบพันธุ์ หรือการเลีย้ งดูลกู ไปวันละหลายชัว่ โมง ซึง่ ดูจะเป็นสิง่ ตรงกันข้ามกับการเพิม่ อัตราการอยูร่ อด ของเผ่าพันธุ์อย่างสิ้นเชิง 1 2

Photo by Annie Spratt on Unsplash

Fact & Figure : พื้นฐานความคิด

สิ่งมีชีวิตสปีชีส์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมลง สัตว์น้ำ� หรือแม้กระทั่งแบคทีเรีย ก็ล้วนแต่มีช่วงที่นอนหลับด้วยกันทั้งนั้น แมทธิว วอร์คเกอร์ (Matthew Walker) ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยา ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Why We sleep นอนเปลี่ยนชีวิต ว่า “สัตว์ทุกสปีชีส์ที่เราเคยศึกษากันมาจนถึงทุกวันนี้ ล้วนแต่นอนหลับหรือ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คล้ายการนอนหลับโดยไม่มีข้อยกเว้น” ในขณะที่มนุษย์วัยผู้ใหญ่ใช้เวลานอนเฉลี่ยอยู่ที่ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน สัตว์ ผู้เป็นตัวแทนของความขี้เกียจอย่าง “สลอธ” ใช้เวลาไปกับการนอนวันละ 14 ชั่วโมง แต่ยังทิ้งห่างจากแชมป์การนอนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง “ค้างคาวสีน้ำ�ตาล” ที่นอนเฉลี่ยถึงวันละ 19 ชั่วโมง ขณะที่สัตว์ใหญ่อย่าง “ช้าง” กลับนอนเพียงวันละ 2-4 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วน “ปลา” ก็มีพฤติกรรม การนอนที่น่าสนใจ เพราะหลายคนอาจจะไม่เคยเห็นตอนที่พวกมันหลับตา มาก่อน แต่จริง ๆ แล้วที่เราเห็นว่าปลาส่วนใหญ่ไม่นอนนั้น พวกมันแค่ไม่มี เปลือกตาก็เลยหลับตาไม่ได้ อย่าง “โลมา” และ “วาฬ” ก็สามารถหลับ ด้วยสมองทีละซีก (และหลับตาทีละข้าง) โดยสมองซีกที่ทำ�งานอยู่จะช่วย ควบคุมเรื่องการหายใจและระวังอันตรายรอบตัว ดังนัน้ แม้สง่ิ มีชวี ติ จะมีการวิวฒั นาการเปลีย่ นแปลงไปมากน้อยขนาดไหน สิง่ หนึง่ ทีย่ งั คงดำ�รงอยูค่ กู่ บั ทุกชีวติ บนโลกใบนีก้ ค็ อื การนอน และการค้นพบ ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำ�ให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า การนอนไม่ใช่ข้อผิดพลาดของธรรมชาติ แต่จำ�เป็นต่อสิ่งมีชีวิต และ “การอดนอน” ยังสร้างผลเสียให้กบั ร่างกายได้ ไม่วา่ จะเป็นการทำ�ลายระบบ ภูมคิ มุ้ กัน เพิม่ ความเสีย่ งต่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และอันตรายต่อสมอง

จังหวะนี้ต้องนอนแล้วนะ! การนอนหลับของคนเรานั้นถูกควบคุมโดยสองปัจจัยหลักที่ทำ�งานอย่า ง สอดประสานกัน ได้แก่ จังหวะรอบวัน (Circadian Rhythm) เป็นจังหวะ ราว 24 ชั่วโมงที่ช่วยกำ�หนดว่าเราจะอยากตื่นและอยากนอนตอนไหน1 เป็นเหมือนนาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock) ในสมองทีค่ อยควบคุมร่างกาย จากภายในเพือ่ ให้เราใช้ชวี ติ ในช่วงกลางวันและกลางคืนได้อย่างสมดุล และ แรงกระตุ้นให้หลับหรือความอยากนอน (Sleep Pressure) ซึ่งเกิดจาก การทำ�งานของสารเคมีในสมองหลัก ๆ 2 ชนิดคือ เมลาโทนิน (Melatonin) ทีห่ ลัง่ ออกมาตอนกลางคืนเพือ่ เตือนร่างกายว่าถึงเวลานอนแล้ว และอะดีโนซีน (Adenosine) ที่จะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่เราตื่น ทำ�ให้ยิ่งตื่นนอน มานานแค่ไหน เราก็จะยิ่งอยากนอนมากขึ้นเท่านั้น2

นอกจากเวลาตื่นและเข้านอนแล้ว Circadian Rhythm ยังควบคุมพฤติกรรมในชีวิตประจำ�วันอื่น ๆ ด้วย เช่น ความหิว การกระหายน้ำ� การผลิตปัสสาวะ และอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเหตุที่ทำ�ให้หลายคนนิยมดื่มกาแฟ เนื่องจากมีสารคาเฟอีนที่ไปขัดขวางการทำ�งานของอะดีโนซีนทำ�ให้ร่างกายยังคงตื่นตัว CREATIVE THAILAND I 18


เมื่อจังหวะชีวิตของเราไม่เท่ากัน ทุกคนมีเวลาคนละ 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่เวลาที่เหมาะสมในการตื่นและ เข้านอนของแต่ละคนนัน้ ไม่เหมือนกัน บางคนอาจรูส้ กึ กระปรีป้ ระเปร่าทีส่ ดุ ในตอนเช้า ในขณะที่บางคนอาจจะรู้สึกมีสมาธิในช่วงค่ำ� ๆ (จึงเข้านอนดึก และตื่นสายกว่าคนประเภทแรก) การตื่นสายจึงอาจจะไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ ของความขี้เกียจเสมอไป แต่เป็นลักษณะอันเกิดจากพันธุกรรมที่เรียกว่า โครโนไทป์ (Chronotype) ที่ทำ�ให้แต่ละคนมีช่วงเวลาที่เหมาะสมใน การทำ�งานแตกต่างกัน ไมเคิล บรูส (Michael Breus) นักจิตวิทยาผู้เขียน หนังสือ The Power of When ได้แบ่งคนออกเป็น 4 ประเภทตามช่วงเวลา ที่เหมาะสมในการทำ�กิจกรรมต่าง ๆ โดยเปรียบเทียบกับลักษณะของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4 ชนิด ช่วงเวลาที่ตื่นตัว ช่วงเวลาที่ตื่นตัว 10.00 - 14.00 น. 8.00 - 12.00 น.

50 - 55%

15 - 20%

10% 15 - 20% ช่วงเวลาที่ตื่นตัว 17.00 - 24.00 น.

ช่วงเวลาที่ตื่นตัว 15.00 - 21.00 น.

หมี : กว่า 50 - 55% ของผู้คนอยู่ในกลุ่มหมี คือมีตารางนอนเป็นเวลา สอดคล้องกับเวลาทีพ่ ระอาทิตย์ขนึ้ และตก เป็นกลุม่ ทีน่ อนเยอะ แต่มกั รูส้ กึ ว่าตัวเองนอนไม่คอ่ ยพอ มีประสิทธิภาพในการทำ�งานมากทีส่ ดุ ช่วง 10 โมงเช้าถึงราวบ่าย 2 โมง มักจะหมดพลังในช่วงบ่ายแก่ ๆ และ ชอบนอนพักเก็บแรงในวันหยุด สิงโต : สัตว์เจ้าป่านักล่ายามเช้า มีผู้คนราว 15 - 20 % อยู่ในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่นอนเร็วตื่นเช้า เวลาการทำ�งานที่มีประสิทธิภาพคือ ช่วงก่อนเที่ยง เและเนื่องจากตื่นเช้า คนกลุ่มนี้จึงเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ� และมักจะนอนไม่เกิน 4 ทุ่ม หมาป่า : นักล่ายามราตรี คิดเป็น 15 - 20% ของประชากร เป็นตัวแทน คนนอนดึกและเกลียดการตืน่ เช้า มักจะกดเลือ่ นนาฬิกาปลุกอยู่เสมอ ๆ ช่วงเวลาทีต่ น่ื ตัวและมีประสิทธิภาพในการเรียนรูส้ ง่ิ ต่าง ๆ คือช่วงเย็น ๆ ไปจนถึงราวเที่ยงคืน โลมา : เนือ่ งจากเป็นสัตว์ทนี่ อนหลับแค่ครึง่ สมอง คนประเภทนีจ้ งึ เป็น กลุ่มที่นอนหลับไม่ค่อยสนิทและหลับไม่ลึก ประมาณ 10% ของ ประชากรอยู่ในกลุ่มนี้ ช่วงที่ตื่นตัวและมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ ที่สุดคือช่วงบ่าย 3 โมงถึง 3 ทุ่ม

ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นเมื่อเรานอน เนื่องจากในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับข้อมูลมหาศาล ช่วงที่เรานอนจึงเป็น ช่วงทีส่ มองจะนำ�ข้อมูลเหล่านัน้ มาประมวลผล จัดลำ�ดับ และเลือกนำ�ข้อมูล ที่สำ�คัญมาจัดเก็บ ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อการเรียนรู้ หลายคนอาจเคยผ่าน การโต้รงุ่ อ่านหนังสือสอบ เพือ่ ใช้เวลาเฮือกสุดท้ายในการจดจำ�ข้อมูลให้ได้มาก ทีส่ ดุ แต่จริง ๆ แล้วการอดนอนทำ�ให้ประสิทธิภาพของสมองในด้านความทรงจำ� ลดลงถึง 40% เพราะช่วงทีเ่ ราหลับ นอกจากจะเป็นช่วงกดปุม่ เซฟคอยบันทึก ข้อมูลแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเชื่อมโยงของชุดข้อมูลต่าง ๆ ในสมอง ซึ่งส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ไขปัญหา ทัง้ ยังเป็นการเตรียมสมองให้พร้อมต่อการเรียนรูเ้ รือ่ งใหม่ ๆ ในวันถัดไปอีกด้วย

6 เคล็ด (ไม่) ลับเพื่อการนอนหลับ อย่างมีประสิทธิภาพ นอนและตื่นให้เป็นเวลา (แม้ในช่วงวันหยุด) : การนอน ตืน่ สายขึน้ ในช่วงวันหยุดไม่สามารถชดเชยการอดนอนทีท่ �ำ มาตลอดทั้งสัปดาห์ได้ และจะทำ�ให้เราตื่นยากขึ้นในเช้า วันจันทร์ เลี่ยงคาเฟอีนและนิโคติน : เพราะมีสารกระตุ้นให้ตื่นตัว กาแฟหนึ่งถ้วยอาจใช้เวลานานถึง 8 ชั่วโมงกว่าจะหมดฤทธิ์ และบุหรี่ก็มักส่งผลให้หลับไม่สนิท หลีกเลีย่ งแอลกอฮอล์กอ่ นนอน : การดืม่ แอลกอฮอล์อาจ ทำ�ให้รสู้ กึ ผ่อนคลายและหลับง่าย แต่หากดืม่ ในปริมาณมาก แอลกอฮอล์จะไปขัดขวางไม่ให้ร่างกายเข้าสู่ช่วงที่หลับลึก กลายเป็นการนอนที่ไม่มีคุณภาพ อย่างีบหลังบ่ายสาม : การงีบพักระหว่างวันอาจช่วยชดเชย การอดนอนได้ในระดับหนึ่ง แต่มันจะทำ�ให้ง่วงยากขึ้นใน ตอนกลางคืน ทำ�ห้องนอนให้มืดและเย็น : เวลาที่ เ ราหลั บ อุ ณ หภู มิ ร่างกายของเราจะลดลงเล็กน้อย ทำ�ให้มนุษย์นอนหลับได้ดี ในห้องที่เย็นมากกว่าห้องที่อุ่น และแสงรบกวนโดยเฉพาะ หน้าจอต่าง ๆ ก็ส่งผลต่อคุณภาพการนอน การนอนเฉย ๆ ไม่ชว่ ยอะไร (ถ้าคุณนอนไม่หลับ) : ในกรณี ที่พยายมข่มตานอนเท่าไรก็นอนไม่หลับสักที การลุกจากเตียง ขึน้ มาทำ�กิจกรรมอืน่ ๆ ทีช่ ว่ ยให้ผอ่ นคลายจนกว่าจะง่วงนัน้ อาจจะช่ ว ยได้ ม ากกว่ า การบั ง คั บ ตั ว เองให้ น อนอยู่ บ น เตียงเฉย ๆ

ที่มา : หนังสือ “Why We Sleep นอนเปลี่ยนชีวิต” โดย Matthew Walk แปลโดย ลลิตา ผลผลา / หนังสือ “The Power of When พลังแห่งเมื่อไหร่” โดย Michael Breus, Ph.D. แปลโดย พรรณี ชูจิรวงศ์ / บทความ “How Do Different Animals Sleep?” โดย Joe Auer จาก mattressclarity.com

CREATIVE THAILAND I 19


Creative Business : ธุรกิจสร้างสรรค์

ตำ�รับสมุนไพรอภัยภูเบศร อัพเกรดองค์ความรู้รุ่นปู่ย่าสู่ประชาชน เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร I ภาพ : สุรเชษฐ์ โสภารัตนดิลก

ไม่กี่สปั ดาห์ที่ผา่ นมา หลายคนอาจจะฮือฮากับ “มาชิมกัญ” เมนูอาหารจากสมุนไพรทีม่ กี ญ ั ชาเป็นส่วนประกอบซึง่ เป็นผลงาน จาก “อภัยภูเบศร” จนมีบรรดานักชิมและเพจรีววิ แห่แหนกันไปลิม้ ลอง พร้อมกลับมารีววิ เมนูอาหารจานเด็ดกันอย่างคึกคัก ทีแ่ ห่งนีค้ อื อาณาจักรของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ทีน่ อกจากจะเป็นโรงพยาบาลประจำ�จังหวัดซึง่ คอยให้บริการ ทางการแพทย์กับประชาชนแล้ว อภัยภูเบศรยังมีอีกขาหนึ่งที่ดูแลเรื่อง “ธุรกิจ” มาร่วมสำ�รวจอาณาจักรและเบื้องหลังแนวคิดทางธุรกิจของอภัยภูเบศร กับ ดร. ภญ. ผกากรอง ขวัญข้าว หรือ ดร. สอง หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ดา้ นการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ประจำ�โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ พร้อมให้ความรู้เรื่อง “สมุนไพร” และการหยิบวัตถุดิบท้องถิ่นมาศึกษา วิจัย เพื่อปรับปรุงจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ สุดสร้างสรรค์อีกมากมาย เจ้าแห่งสมุนไพรไทย “อภัยภูเบศร” อภัยภูเบศรประกอบไปด้วยสองหน่วยงาน คือ มูลนิธิและโรงพยาบาล ในส่วนมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจะดำ�เนินงานด้านธุรกิจเพื่อสังคม และดูแลเรื่องผลิตภัณฑ์ เช่น ยาสมุนไพร เครื่องสำ�อาง อาหารสมุนไพร มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสมุนไพรในประเทศไทย

“ถ้าเราจะทำ�ให้ยงั่ ยืน มันไม่ใช่แค่การช่วยให้ผปู้ ระกอบการมีผลิตภัณฑ์ ไปขายต่อจากเรา แต่ตอ้ งพยายามอนุรกั ษ์ภมู ปิ ญั ญา ต่อยอดจากองค์ความรู้ ของปู่ย่าตายาย กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ให้คนไทยได้ใช้ พร้อมสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกร”

CREATIVE THAILAND I 20


ช่วง 10 กว่าปีแรก หลังเก็บข้อมูลจากหมอพืน้ บ้านมา อภัยภูเบศรมองเห็น ศักยภาพว่าสามารถนำ�มาต่อยอดได้ แต่ละปีกจ็ ะเลือกมาว่า สมุนไพรชนิดไหน ที่สามารถเติบโตได้ แล้วจึงนำ�ไปพัฒนา ทำ�วิจัย และสร้างเป็นสินค้าขึ้นมา ส่วนที่สอง ก็คือโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สังกัดกระทรวง สาธารณสุข ซึ่งมีหน้าที่ดูแลการรักษาพยาบาลโดยทั่วไปและมีศาสตร์ แพทย์ แ ผนไทยเข้ า มาผสมผสาน (นวดไทยก็ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของที่ นี่ ) จากการเก็บข้อมูลความรูท้ างภูมปิ ญั ญามาเป็นเวลานานจนสัง่ สมฐานความ รู้ได้มากพอแล้ว ส่วนนี้จึงได้รับมอบหมายให้เป็นต้นแบบเพื่อพัฒนาโมเดล ทางธุรกิจ อภัยภูเบศร เดย์ สปา เป็นหนึ่งในตัวอย่างศูนย์อบรมด้านธุรกิจสปา “7 - 8 ปีที่แล้วธุรกิจสปาเติบโตปีหนึ่งประมาณ 10% - 20% แต่พอดูภาพรวม ของธุรกิจ ก็พบว่าเรานำ�เข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมาใช้ในธุรกิจสปา เยอะมาก อภัยภูเบศรจึงหยิบองค์ความรู้จากในประเทศมาใช้แทน โดยทำ� เป็นต้นแบบและส่งต่อให้เอกชน” ก็เหมือนกับโมเดลล่าสุดที่รังสรรค์เมนูจากใบกัญชาออกมา ถึงตอนนี้ จะหยุดให้บริการไปแล้ว แต่ก็สามารถสร้างความเข้าใจและมอบความรู้ให้ กับประชาชนได้ ซึง่ ขณะนีอ้ ยูใ่ นระหว่างเตรียมพัฒนาหลักสูตรสำ�หรับส่งต่อ ให้กับประชาชนที่สนใจไปสร้างธุรกิจ “เมื่อต้องการพัฒนาโมเดล มันไม่ใช่ แค่เขียนลงกระดาษ แต่ต้องลองทำ�จริง ให้บริการจริง เก็บข้อมูลจริง เช่น กัญชามีบันทึกชัดเจนว่าเป็นอาหารของคนไทย” ดร. สองสรุปแนวทางของ อภัยภูเบศรให้ฟังอย่างคร่าว ๆ เรื่องเล่าสมุนไพร : จากวิทยุสู่พอดคาสต์ ด้วยความตัง้ ใจที่อยากเผยแพร่ความรูจ้ ากสมุนไพรถึงทุก ๆ คน ทีมอภัยภูเบศร จึงคิดหาช่องทางที่สามารถสื่อสารพูดคุยกับผู้ป่วย ลูกค้า และบุคคลที่สนใจ ผ่านการจัดรายการวิทยุทั้ง AM และ FM แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ก็เลีย่ งไม่ได้ทจี่ ะต้องปรับรูปแบบมาเป็นออนไลน์ให้มากขึน้ เพือ่ ตามผูบ้ ริโภค ให้ทัน เภสัชกรหญิงบอกว่า “ไม่จำ�เป็นต้องซื้อสินค้าอภัยภูเบศร แต่คุณต้องมี หลักการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์” จากประสบการณ์การทางเศรษฐศาสตร์สาย สุขภาพ เธอจึงมีมมุ มองทีต่ า่ งออกไป คือไม่ได้เน้นแต่จะขายผลิตภัณฑ์เพียง

อย่างเดียว แต่ต้องมีความรู้ประกอบการใช้ด้วย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ในการใช้สินค้าให้มากที่สุด “เราจะเน้นย้�ำ เสมอว่า ให้ดวู า่ เรามีความจำ�เป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์นน้ั ๆ หรือเปล่า ถ้าจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตอ้ งคำ�นึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพราะจะให้คนมาอ่านงานวิจยั บางทีกเ็ ข้าใจยาก” ตรงนีจ้ งึ ทำ�ให้ทางอภัยภูเบศร แตกรายการพอดคาสต์มาเพือ่ ช่วยย่อยองค์ความรูใ้ ห้เป็นมิตรต่อผูฟ้ งั มากขึน้ ความต้องการประชาชนอยู่ที่ไหน อภัยภูเบศรก็จะไปตรงนั้น ทุกวันนี้ นอกจากอภัยภูเบศรจะให้ความรูใ้ นงานวิจยั แล้ว พวกเขาก็ยงั แบ่งปันความรู้ ที่เป็นประโยชน์ในช่องทางอื่น ๆ ด้วย เช่น เฟซบุก๊ ยูทบู และพอดคาสต์ ปูทางให้สมุนไพร ด้วยหลักฐานทางวิชาการ ความรู้จากหมอพื้นบ้านหรือคนโบราณ บ้างก็พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลดีไม่แพ้ กับการแพทย์แผนปัจจุบนั แต่หากไม่มหี ลักฐานยืนยันทีช่ ดั เจน บางทีกอ็ าจจะ ไร้ประโยชน์ อภัยภูเบศรจึงให้ความสำ�คัญในเรือ่ งการเก็บข้อมูลในคนไข้และ สร้างหลักฐานผ่านงานวิจยั เพือ่ สร้างหลักประกันให้กบั สมุนไพรไทย อย่างที่ แพทย์แผนปัจจุบันมักทำ�กัน “แพทย์แผนไทยก็จะมีทฤษฎีและหลักการของตนเอง ซึง่ ของอภัยภูเบศรก็ ไม่ได้ตา่ งจากทีอ่ น่ื แต่สง่ิ ทีเ่ ราเน้นย้�ำ ก็คอื ต้องเก็บข้อมูล เพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ ให้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์เอง แล้วก็ผู้ป่วยด้วย บางทีผู้ป่วยไม่รู้หรอกว่า งานวิจยั คืออะไร แต่วา่ ถ้ามีการโฆษณาว่าสิง่ นีผ้ า่ นการวิจยั แล้ว ฉันจะไปซือ้ (ยิ้ม)” การรักษาบนพื้นฐานของหลักฐาน หรือ Evidence Based Medicine (EBM) เป็นสิ่งที่แพทย์แผนปัจจุบันนิยมกันมาก ที่น่าสนใจคือการที่บุคลากร จากแผนปัจจุบันนำ�มาปรับใช้กับสมุนไพรและศาสตร์การรักษาแบบดั้งเดิม อย่างที่อภัยภูเบศรพยายามศึกษา จะเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการในด้าน สุขภาพได้ต่อไป ตัวอย่างเช่นโรคสตรีและโรคบุรษุ คืออาการเฉพาะ (Subjective) เป็นโรค ที่ไม่สามารถตรวจเจอได้ทางการแพทย์แต่มีอาการ และยารักษาก็มีไม่มาก ทางอภัยภูเบศรจึงค้นตำ�รับยาเพือ่ นำ�ไปศึกษาต่อ กระทั่งพบสรรพคุณต่าง ๆ ที่สามารถบรรเทาอาการได้ “เราต้องให้บริการพร้อมกับการสร้างหลักฐาน ทางวิชาการด้วย” นี่คือสิ่งที่ดร. สองมักจะย้ำ�กับทีมงานสม่ำ�เสมอ

CREATIVE THAILAND I 21


วงจรสมุนไพรแบบอภัยภูเบศร วางแผน ให้เกษตรกรปลูกแบบอินทรีย์ และส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลเรื่อง ดิน น้�ำ และกระบวนการทำ�งาน เพือ่ ลดให้เกิดของเสียน้อยทีส่ ดุ พร้อม วางแผนบริหารจัดการวัตถุดิบในแต่ละปี ลงมือ การผลิตแคปซูลยาต้องดูเรื่องสารสำ�คัญในตัวยา เพราะเวลา

ปลูกต่างพื้นที่ สารสำ�คัญที่ได้จะต่างกัน จึงจำ�เป็นต้องตรวจสอบด้วย ว่าแต่ละแคปซูลที่ผลิตออกไปมีสารสำ�คัญปริมาณใกล้เคียงกัน

ตรวจสอบ เมื่อสินค้ากระจายออกไป ต้องจัดการเรื่องความเสี่ยง เช่น

ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้ในการใช้ผลิตภัณฑ์ นอกจากการเปลี่ยนคืน สินค้าให้แล้ว ต้องเช็กของล็อตทีเ่ ก็บไว้ (Retain Sample) เพือ่ ดูคณุ ภาพ และความคงสภาพของสินค้าด้วย

เทรนด์ผู้บริโภค : กลีบบัวแดง เพชรสังฆาต และมะระขี้นก เส้นทางในธุรกิจสมุนไพร ยังมีสิ่งที่ต้องศึกษาและทำ�งานวิจัยกันอีกต่อไป เรื่อย ๆ การดูแนวโน้มตลาดเพื่อพัฒนาธุรกิจก็จำ�เป็น ในขณะที่ปัญหา เฉพาะหน้าก็อาจจะสำ�คัญไม่น้อยไปกว่ากัน “บางเรื่องเราทำ�รอ บางเรื่องก็เป็นวิกฤตเฉพาะหน้า เช่น โควิด-19 แต่เราก็มองในแง่การตลาดด้วยว่า สุดท้ายมันอาจจะไม่ได้จบที่การฆ่าเชื้อ ไม่กี่ปี โควิด-19 ก็คงหมดไป แต่สินค้าเราต้องอยู่ได้นานบนเชลฟ์” ทีมงาน จึงต้องศึกษาเรื่องอื่น ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันหรือไวรัส ชนิดอื่นด้วย ในส่วนที่ไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วน อภัยภูเบศรก็พยายามคาดการณ์อนาคต เพื่อขับเคลื่อนให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไป สังคมผู้สูงอายุคือสิ่งที่ทีมงานเล็งเห็น และหนึง่ ในโรคคนแก่กค็ งไม่พน้ เรือ่ งความจำ� “เราได้ต�ำ รับยากลีบบัวแดงซึง่ เป็นตำ�รับยาพื้นบ้านมา เขาจะใช้กลีบบัวหลวงสีแดง ผสมกับพริกไทย และ บัวบก หมอพืน้ บ้านก็บอกว่ากินแล้วช่วยเสริมความจำ� พอเราก็มาใช้ในคนไข้ ก็พบว่ามันช่วยเรื่องนอนหลับดีนะ คนไข้ก็บอกว่าความจำ�ก็ดีขึ้น” แต่ถ้าจะ ว่ากันในความเป็นจริงทางวิชาการก็ไม่สามารถเชื่อถือได้ เพราะเป็นเพียง ข้อมูลจากปากคนไข้เท่านั้น ทีมงานจึงต้องดำ�เนินการทำ�วิจัยกันต่อไป หรือจะเป็นเรื่องกระดูกพรุน “เราเห็นว่ายาสำ�หรับโรคกระดูกพรุน แพงมาก จึงหันมาสนใจเพชรสังฆาต เพราะว่าองค์ความรูไ้ ทยบอกว่ามันช่วย เรื่องสมานกระดูก” ซึ่งดร. สองก็ให้ความรู้เพิ่มเติมว่า แต่เดิมเพชรสังฆาต ได้ใช้กับผู้ป่วยริดสีดวงทวารอยู่แล้ว แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีฤทธิ์ การช่วยเรื่องกระดูกพรุนเพิ่มเติมด้วย ในกลุ่มสมุนไพรที่มองเห็นโอกาส คือ สมุนไพรลดความเสี่ยง ถ้าเทียบ ง่าย ๆ ก็คือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เภสัชกรหญิงยกตัวอย่างโรคเบาหวาน ให้ฟัง อย่างกรณีที่ผู้ป่วยอ้วนลงพุงมาก ๆ และน้ำ�ตาลในเลือดสูง แต่ยังไม่ ถึงกับเป็นโรค ถ้าวันหนึง่ ปล่อยให้เป็น วันนัน้ ต้องใช้ยาหลายขนาน “เราพยายาม มองผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ปีที่แล้วจึงศึกษามะระขี้นก พบว่าน่าจะช่วย ชะลอในผู้ป่วยที่ดื้อต่ออินซูลิน ว่าง่าย ๆ คือผู้มีน้ำ�ตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ จัดเป็นเบาหวาน” เธอให้ความรู้

อภัยภูเบศรโมเดล : เริ่มต้นคิด ลงมือทำ� และส่งต่อ ระยะเวลากว่าหลายสิบปี (ตั้งแต่ราว ๆ ช่วงวิกฤตต้มยำ�กุ้งปี 2540) ที่ อภัยภูเบศรสัง่ สมความรูจ้ ากปัญญาชนคนพืน้ บ้านมาส่งต่อให้กบั บุคคลทัว่ ไป สร้างความภาคภูมใิ จให้กบั ทีมเภสัชกรได้ไม่นอ้ ย “เวลาทำ�อะไรขึน้ มาสักอย่าง แล้วมีคนเอาไปใช้ ไม่วา่ จะเป็นผลิตภัณฑ์หรือโมเดลทีเ่ ราสร้าง คือความภูมใิ จ ของเรา” ดร. สองกล่าวพร้อมร้อยยิ้มที่เป็นมิตร เธอยกตั ว อย่ า งโมเดลเมนู อ าหารกั ญ ชาที่ มี ค นไปเปิ ด ร้ า นอาหาร และใช้องค์ความรู้จากเอกสารที่อภัยภูเบศรแจก พร้อมโปรโมตในร้านของ ตนเอง “เราก็โอเคนะ ไม่ได้รสู้ กึ ว่า เฮ้ย อันนีไ้ ม่ลงทุนอะ แต่กลับรูส้ กึ ว่าสิง่ ที่ เราทำ� มันได้คืนสู่สังคม มันคือสิ่งที่หล่อเลี้ยงหัวใจและทำ�ให้เราทำ�งานได้ ถึงทุกวันนี”้ เภสัชกรกล่าวด้วยความดีใจ เธอเสริมด้วยว่าหากความรูท้ ไี่ ด้ไป มันไม่ดีก็ให้กลับมาบอกได้ เพื่อที่จะได้พัฒนาและปรับปรุงคืนสิ่งดี ๆ กลับ ออกไปอีก จุดยืนที่มั่นคงของอภัยภูเบศรแสดงให้เห็นชัดเจนจากวิสัยทัศน์อัน แน่วแน่ที่ส่งผ่านออกมาจากน้ำ�เสียงเภสัชกรหญิงผู้นี้ “ความรู้ปู่ย่าตายายที่ ใช้ประโยชน์ได้ต้องรีบเอามาบอก แล้วใครจะต่อยอดหลังจากเราก็เอาไป ได้เลย เรายินดี แล้วจะดีใจมาก ๆ ถ้ามันสามารถสร้างมูลค่าเชิงสุขภาพและ เศรษฐกิจได้” ดร. สองทิง้ ท้ายอย่างไม่ลงั เล 3 ระดับวิธีใช้สมุนไพร กรณีแรก : “ถ้าไม่ปว่ ย ก็กนิ พวกอาหารสมุนไพร พืชผัก กินให้เหมาะ และออกกำ�ลังกาย การดูแลองค์รวมนี่แหละสำ�คัญ” กรณีที่สอง : “แต่ถ้าป่วยเป็นโรคง่าย ๆ สามารถใช้ยาสมุนไพรเอง ได้เลย เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ไข้หวัด” กรณีที่สาม : “ถ้าเป็นโรคเรื้อรังแล้ว กรณีที่คุมอาการได้ ก็ไม่ต้องกิน อะไรแล้ว ทั้งยาสมุนไพรและยาอื่น ๆ แต่ถ้าไม่ได้ ลองใช้ตัวเลือกที่ ปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์ทเี่ คยเป็นอาหารมาก่อน หรือมีงานศึกษาวิจยั รองรับ” ปลูกกินเองดีที่สุด ดร. สองแนะนำ�รางจืด เพราะแก้แพ้ได้ดี ทัง้ ผืน่ คันหรือแม้แต่แพ้อาหาร หรือฟ้าทะลายโจร ช่วยต้านไวรัส นอกจากนีย้ งั มีขงิ และเครือ่ งเทศต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์ช่วยต้านหวัด

CREATIVE THAILAND I 22


เรื่อง : นพกร คนไว

รายงานจาก Tastewise สตาร์ตอัพผูเ้ ชีย่ วชาญด้าน การใช้เทคโนโลยี AI และ Machine Learning สำ�หรับพยากรณ์เทรนด์อาหารในอนาคต เผยข้อมูล แนวโน้มของผูบ้ ริโภคทีห่ นั มาสนใจสุขภาพของลำ�ไส้ มากขึน้ ซึง่ สะท้อนออกมาจากปริมาณการบริโภค อาหารบางชนิด โดยในปี 2019 ผลิตภัณฑ์หมักดอง อย่างคอมบูชา (Kombucha) กิมจิ และซาวโดวจ์ (Sourdough) ขนมปังจากยีสต์ธรรมชาติ เป็นเมนู ที่ผู้บ ริ โ ภคเลื อ กรั บ ประทานเพิ่ม ขึ้น กว่ า 26% สอดคล้องไปกับสถิติการพูดถึงหัวข้อ “สุขภาพ ลำ�ไส้” ในโลกโซเชียลทีเ่ พิม่ ขึน้ ถึง 42% ในปีเดียวกัน ยิ่งสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ ประชากรโลก ก็ย่งิ ทำ�ให้เทรนด์การดูแลสุขภาพ แบบองค์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลเรื่อง การบริโภคและสุขภาพลำ�ไส้ กลายมาเป็นประเด็น ทีไ่ ด้รบั การพูดถึงอย่างกว้างขวางในปีทผ่ี า่ นมา ทัง้ นี้ เนือ่ งจากกว่าร้อยละ 70-80 ของระบบภูมคิ มุ้ กัน ในร่างกายมีจดุ เริม่ ต้นที่ลำ�ไส้ หากสุขภาพของลำ�ไส้ดี ก็จะทำ�หน้าที่เป็นแหล่งรวมของแบคทีเรียที่ให้ ประโยชน์ตอ่ ร่างกาย ช่วยให้ระบบการย่อยอาหาร ทำ�งานได้เป็นปกติ และยังรวมไปถึงการส่งผลดีตอ่ สภาวะทางอารมณ์ สุขภาพจิต ระบบต่อมไร้ทอ่ ผิวพรรณ และลดโอกาสในการเกิดโรคร้ายอย่าง มะเร็ง

เทรนด์การดูแลลำ�ไส้น้ไี ด้ทำ�ให้เกิดแบรนด์ อาหารเสริมหัวใสอย่าง FRISKA ทีน่ �ำ เสนอผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพของลำ�ไส้โดยเฉพาะ โดยแบรนด์ได้ ให้ความสำ�คัญกับการวิจยั สูตรของ “เอนไซม์” ทีช่ ว่ ย ย่อยสารอาหาร และช่วยร่างกายดูดซับสารอาหาร ที่สำ�คัญโดยตรง อีกทั้งยังมุ่งเน้นไปที่การคัดสรร “โพรไบโอติกส์” ทีผ่ า่ นการตรวจสอบทางการแพทย์ และออกแบบมาเพือ่ ระบบการย่อยอาหารโดยเฉพาะ “การมีสขุ ภาพลำ�ไส้ทด่ี นี น้ั ก็เท่ากับว่าสุขภาพ โดยรวมของเราแข็งแรง” จอห์น ไพน์ (John Peine) ผูก้ อ่ ตัง้ แบรนด์ FRISKA กล่าว ซึง่ ผลิตภัณฑ์เด่นของ แบรนด์อย่าง Mood Boost หรือ Nightly Reboot ประกอบไปด้ ว ยการออกแบบสู ต รเอนไซม์ โพรไบโอติกส์ และส่วนประกอบทางธรรมชาติใน แบบเฉพาะ เพือ่ สนับสนุนการดำ�เนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดียิ่งขึ้นในชีวติ ประจำ�วัน นอกจากนี้ ความคิดสร้างสรรค์ยงั เดินทางตาม รอบความนิยมของการดูแลลำ�ไส้ ด้วยการหยิบเอา “อาหารเพือ่ สุขภาพของลำ�ไส้” มาพัฒนาจนสร้าง เป็นแบรนด์ทม่ี เี อกลักษณ์ขน้ึ เป็นจำ�นวนมาก เช่น ร้านอาหาร High Mood Food ทีต่ ง้ั อยู่ในย่านถนน อ็อกซ์ฟอร์ดของกรุงลอนดอน ก่อตัง้ โดยเออร์เซล บาร์นส์ (Ursel Barnes) ผูใ้ ส่ใจอาหารเพือ่ สุขภาพ และมีความสนใจในอาหารหมักดองเป็นพิเศษ ทีไ่ ด้ ร่วมมือกับโจอี โอ แฮร์ (Joey O’Hare) ผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านการถนอมอาหาร เปิดตัวร้านอาหารแบบ สเปเชียลตีท่มี ีเมนูโฮมเมดพิเศษเพื่อสุขภาพของ ลำ�ไส้อย่างกิมจิ และซาวเคราต์ (Sauerkraut) หรือ เมนูกระหล่�ำ ปลีหมักสไตล์เยอรมันทีใ่ ช้รบั ประทาน เป็นเครือ่ งเคียง นอกจากนีย้ งั มีเมนูเด่นประจำ�ร้าน ที่เรียกว่า “High Bowls” ซึ่งประกอบด้วยอาหาร ที่มีโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์1 ที่ร่างการ ต้องการ

SauerCrowd คือสตาร์ตอัพอีกรายจากเมือง อัมสเตอร์ดมั ที่เกาะกระแสเดียวกันนี้ โดยมาพร้อม สโลแกนสุดเท่ทว่ี า่ “Follow Your Gut Feeling” เพื่อสร้างคอมมูนิตีของคนรักอาหารหมักดองให้ บรรดาสมาชิกได้ร่วมกันแชร์สูตรอาหาร ความรู้ และเรื่องราวเกี่ยวกับลำ�ไส้ หรือไอเดียเกี่ยวกับ การรีไซเคิลต่าง ๆ ร่วมกัน โดยพวกเขาเล็งเห็นถึง ปัญหาของอุตสาหกรรมอาหารหมักดองทีเ่ กิดขึน้ ใน ปัจจุบนั จึงต้องการรวมกลุม่ กันพัฒนาความรูด้ า้ น กระบวนการถนอมอาหาร บรรจุภณั ฑ์ และการใช้ วั ต ถุ ดิ บ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด นอกจากนี้ SauerCrowd ยังเปิดให้ผทู้ ส่ี นใจสมัครรับอาหาร เป็นรายเดือน ซึง่ ในกล่องอาหารก็จะประกอบไปด้วย เมนูเด่น ๆ อย่าง ซาวเคราต์ กิมจิ คอมบูชา ชีสวีแกน เทมเป้ (Tempeh) หรืออาหารพืน้ เมือง ของชาวอินโดนีเซีย ทีห่ มักจากถัว่ เมล็ดแห้ง และ เมนูอน่ื ๆ อีกมากมายทีล่ ว้ นเป็นอาหารจากวัตถุดบิ ของเกษตกรท้องถิน่ ซึง่ ผ่านกระบวนการปรุงและ ขนส่งทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม เรียกได้วา่ นอกจาก จะรักลำ�ไส้แล้ว ก็ยงั รักโลกอีกด้วย

getfriska.com

facebook.com/HighMoodFood

1 พรีไบโอติกส์

CREATIVE THAILAND I 23

(Prebiotics) คืออาหารของจุลนิ ทรีย์ที่รา่ งกาย ไม่สามารถย่อยได้และไม่ถกู ดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร โดยจะเป็นอาหารของโพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือกลุม่ แบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารที่ช่วยในการทำ�งาน ของระบบทางเดินอาหารและระบบอืน่ ๆ ของร่างกายต่อไป ที่มา : รายงาน “Tastewise Functional Food Report 2019” โดย Tastewise / บทความ “Why Gut Health Is The Next Big Wellness Trend” โดย Dave Knox จาก forbes.com / บทความ “Join The Culture Club: 4 London Cafes Prioritising Your Gut Health” โดย AISH SHAH จาก press-london.com / sauercrowd.nl / getfriska.com

sauercrowd.nl

How To : ถอดวิธคี ดิ


Creative Place : พื้นที่สร้างสรรค์

4 สถานที่

Photo by hoch3media on Unsplash

ที่จะพาท่องไปในโลกแห่งชีวิต

เรื่อง : ชาลินี บริราช ทุกชีวติ บนโลกใบนีล้ ว้ นคือความมหัศจรรย์ทธ่ี รรมชาติสร้าง ไม่วา่ จะเป็นพืชพันธุต์ า่ ง ๆ สัตว์นอ้ ยใหญ่นานาชนิด รวมทัง้ มนุษย์อย่างเรา ไม่มีชีวิตไหนที่สำ�คัญน้อยไปกว่ากัน เพราะทุกชีวิตต่างมีส่วนช่วยสร้างสมดุลจากการอยู่ร่วมกัน ในช่วงเวลาที่โลกกำ�ลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทางอากาศและภัยธรรมชาติ องค์กรที่เป็นผูเ้ ชี่ยวชาญทางด้านชีววิทยาแขนงต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นพฤกษศาสตร์ สัตววิทยา สัตววิทยาทางทะเล หรือแพทยศาสตร์ ต่างพากันศึกษา ค้นคว้าวิจยั และนำ�เสนอองค์ความรูใ้ ห้ผคู้ น เข้าถึงในรูปแบบทีช่ ว่ ยลบความรูส้ กึ ว่า ชีววิทยาคือหนังสือเล่มหนาและการท่องจำ�ไปจนหมดสิน้ ฝากไว้แต่ความเข้าใจในความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ที่มาช่วยให้ทุกชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลมากขึ้นท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง CREATIVE THAILAND I 24


เมื่อพูดถึง Kew Gardens ภาพแรกที่หลายคน นึกถึงคือสวนขนาดใหญ่ทางใต้ของกรุงลอนดอน ทีเ่ ต็มไปด้วยต้นไม้ดอกไม้นานาพันธุ์ เรือนกระจก ขนาดใหญ่ทเ่ี ป็นบ้านของพันธุไ์ ม้จากทัว่ ทุกมุมโลก รวมถึงนิทรรศการและกิจกรรมทีบ่ อกเล่าเรือ่ งราว เกี่ยวกับพืชนานับชนิด สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็น ถึงภารกิจของ Kew Gardens ในการสร้างแรง บันดาลใจ ให้ความรู้ อธิบายถึงความสำ�คัญของพืช ผ่านคอลเล็กชันพืชพันธุ์จากทั่วทุกมุมโลกกว่า 30,000 ชนิด และต้นไม้อีกกว่า 14,000 ต้นที่ เติบโตอยู่บนพื้นที่ขนาด 300 เอเคอร์ (ประมาณ สนามฟุตบอล 120 สนามต่อกัน) ความหลากหลาย และความน่าสนใจของพืชพันธุใ์ นสวนแห่งนีท้ �ำ ให้ UNESCO ถึงกับประกาศให้ Kew Gardens เป็น มรดกโลกในปี 2003 ขณะที่จ�ำ นวนผูเ้ ข้าชมหลักล้าน ในแต่ล ะปี คือ หนึ่งในตัวบ่งชี้ความสำ� เร็จ ใน การนำ�เสนอและเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าว โดยล่าสุดปี 2019-2020 มีจำ�นวนผู้เข้าชมสูงถึง 2.24 ล้านคน ซึง่ ถือเป็นจำ�นวนผูเ้ ข้าชมสูงสุดเป็น ประวัติการณ์ ความยิง่ ใหญ่ของ Kew Gardens ไม่ได้หยุด อยู่แค่คอลเล็กชันพันธุ์ไม้หรือจำ�นวนผู้เข้าชมใน แต่ละปี แต่ยังรวมไปถึงผลงานการอนุรักษ์และ งานวิจัยด้านพืชพันธุ์นานาชนิด เพื่อคงไว้ซึ่ง ความหลากหลายทางธรรมชาติ ใ นอนาคต ภายในสวนแห่ งนี้ ยั งเป็ น ที่ ตั้ ง ของโรงเพาะชำ � เนอสเซอรีทใี่ ห้การดูแลพืชขนาดเล็กทีส่ ดุ หายาก ที่สุด หรือใกล้สูญพันธุ์มากที่สุด พืชกว่า 70 ชนิด ในเนอสเซอรีแห่งนี้สูญพันธ์ในธรรมชาติไปแล้ว พืชบางชนิดใช้เวลานาน 30-40 ปีกว่าจะมีความ สมบูรณ์แข็งแรงพอที่จะย้ายจากโรงเพาะชำ�เนอสเซอรี แห่งนี้ไปให้ผู้คนได้ชมใน Kew Gardens นอกจากนี้ ทีน่ ย่ี งั มีการส่งพืชแต่ละชนิดไปยัง Millennium Seed Bank ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองซัสเซกซ์ ทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสถานที่ ที่เป็นเสมือนธนาคารแห่งพืชพันธุ์ที่เก็บรักษา เมล็ดพันธุ์กว่า 40,000 สายพันธุ์จากทั่วโลกไว้ใน ห้ อ งเก็ บ ความเย็ น ชั้ น ใต้ ดิน ที่ ถู ก ออกแบบให้ สามารถกันน้�ำ ท่วม ระเบิด และรังสี เพือ่ ให้มนั่ ใจ ได้วา่ จะสามารถรักษาและส่งต่อความหลากหลาย ทางชีวภาพให้ถึงมือประชากรในโลกอนาคต นอกจากส่วนงานอนุรกั ษ์แล้ว Kew Gardens ยังมีนักวิทยาศาสตร์กว่า 500 คนที่ทำ�หน้าที่วิจัย

และศึกษาพืชแขนงต่างๆ พวกเขาเฟ้นหาพืช สายพันธุ์ใหม่ ทำ�งานร่วมกับเกษตรกรเพื่อเพิ่ม ความยั่งยืนในการปลูกพืชแต่ละชนิด รวมทั้ง ปรั บ ปรุ ง สายพั น ธุ์ สำ � หรั บ อนาคตให้ พ ร้ อ มรั บ สภาพอากาศทีเ่ ปลีย่ นแปลง “พวกเราพยายามหา คำ � ตอบว่ า สภาพอากาศที่ เ ปลี่ ย นแปลงจะ ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง เรารวบรวมข้อมูลจาก พื้นที่กว่า 35,000 กม. วิเคราะห์ และสร้างแผนที่ กาแฟเอธิโอเปียที่บอกเราว่า ตรงไหนมีการปลูก กาแฟบ้าง พื้นที่ตรงไหนเหมาะหรือไม่เหมาะกับ การปลูก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราวางแผน สำ�หรับกาแฟเอธิโอเปียในอนาคตได้ ถ้าเราไม่ท�ำ อะไรเลยเราแย่แน่” ศาสตราจารย์อารอน เดวิดส์ (Aaron Davids) หัวหน้าภาควิจยั กาแฟ (Head of Coffee Research) กล่าว ชุ ดข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วทำ � ให้ ที ม วิ จั ย สามารถ จำ�ลองผลกระทบจากความแห้งแล้ง อุณหภูมิที่ สูงขึ้น และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการผลิตกาแฟ เพือ่ นำ�ไปสร้างแผนการผลิตกาแฟทีพ่ ร้อมรองรับ สภาพอากาศในอนาคต รวมทั้งต่อยอดไปสู่การ พัฒนาสายพันธุ์กาแฟใหม่ที่ทนต่อสภาพอากาศ “ถ้าเราต้องย้ายแหล่งปลูกกาแฟเพราะว่าสภาพ อากาศเปลี่ยนแปลง นั่นคงไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ� เท่าไร” เดวิดส์กล่าว “เราพยายามใช้ความหลากหลาย ของสายพันธุแ์ ละโปรแกรมการเพาะพันธุเ์ พือ่ ผลิต กาแฟที่ทนต่อสภาพอากาศแทน” ในช่วงเวลาที่ โลกกำ � ลั ง เผชิ ญ กั บ วิ ก ฤตทางสภาพอากาศ

คงไม่มชี ว่ งเวลาไหนในประวัตศิ าสตร์แล้วทีผ่ ลงาน วิจัยจากทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Kew Gardens ซึ่งมุ่งหาทางออกและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ใน การดำ�รงชีวิต จะทรงพลังมากเท่าช่วงเวลานี้

Okinawa Churaumi Aquarium, Okinawa : ดำ�ดิง่ สูท่ อ้ งทะเล

ความรู้สึกเหมือนได้ยืนอยู่ใต้ท้องทะเลท่ามกลาง ฉลามวาฬทีก่ �ำ ลังแหวกว่ายกับฝูงปลานานาชนิด คือ ไฮไลต์ของตูป้ ลาคุโรชิโอะ ทีด่ งึ ดูดให้นกั ท่องเทีย่ ว ปีละกว่า 3 ล้านคน แวะมาเยี่ยมชมพิพธิ ภัณฑ์ สัตว์น�ำ้ ชุราอูมิ ทีต่ ง้ั อยู่บนเกาะโอกินาวะ ทางตอนใต้ ของประเทศญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้นำ�เสนอชีวิต ใต้ทอ้ งทะเลโอกินาวะด้วยการจำ�ลองสภาพแวดล้อม ของทะเลตั้งแต่บริเวณผิวน้ำ�ลงไปถึงใต้ทะเลลึก อย่างสมจริง โดยมีการควบคุมคุณภาพของน้ำ� และออกแบบแสงเพื่อให้สร้างการมองเห็นใต้นำ�้ ที่ เสมือนจริงกับทีเ่ ป็นในธรรมชาติมากที่สดุ นอกจากนี้ ยังออกแบบเส้นทางการเดินชมให้เหมือนกับการดำ�ดิง่ สู่ใต้ท้องทะเล การจัดแสดงเริม่ ต้นทีด่ า้ นบนของอาคารบริเวณ ชั้น 3 ซึ่งจำ�ลองสภาพของบริเวณผิวน้ำ�ด้วย การจัดแสดงตูป้ ลาเขตร้อนและตูป้ ะการังขนาดใหญ่ ที่มปี ะการังกว่า 70 สายพันธุอ์ ยู่ ตูป้ ะการังในโซนนี้ ได้รับการออกแบบให้ไม่มีหลังคาปิดเพื่อให้แสง ธรรมชาติสอ่ งลงถึงปะการังได้ ด้วยความได้เปรียบ ทางตำ�แหน่งที่ตั้งที่อยู่ติดทะเล พิพิธภัณฑ์จึง

Photo by Erik on Unsplash

Kew Gardens, London : เปิดประตูสู่โลกแห่งพืชพันธุ์

CREATIVE THAILAND I 25


Roslan Rahman / AFP

สามารถสูบน้�ำ ทะเลเข้ามาหมุนเวียนในตูจ้ ดั แสดง สัตว์น�ำ้ กว่า 77 ตูไ้ ด้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ ปะการังและสัตว์น�ำ้ ทีน่ มี่ คี วามสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เมื่อเดินทางต่อลงมายังชั้น 2 ผู้ชมจะได้พบกับ ไฮไลต์ที่ทุกคนรอคอย นั่นคือ ตู้คุโรชิโอะ ซึ่งเป็น บ้านของ “จินตะ” ฉลามวาฬดาวเด่นประจำ� พิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ รวมถึงปลากระเบนแมนตา และ สัตว์ทะเลหลากหลายชนิดทีแ่ หวกว่ายอยูใ่ นตูป้ ลา ทีม่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก และปิดท้ายการเดินทาง ด้วยการดำ�ดิ่งลงไปยังใต้ท้องทะเลที่บริเวณชั้น 1 ซึง่ จัดแสดงสัตว์ทะเลน้�ำ ลึกทีไ่ ม่สามารถหาดูได้ทไี่ หน ไม่ว่าจะเป็นปลาเรืองแสง สัตว์หน้าดิน และปลา น้ำ�ลึกอีกกว่า 100 สายพันธุ์ การออกแบบสถานที่และสภาพแวดล้อมให้ เหมาะกับสัตว์น้ำ�แต่ละประเภทไม่เพียงแต่สร้าง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าจดจำ�ให้กับผู้เข้าชม แต่ยงั มีสว่ นช่วยให้พพิ ธิ ภัณฑ์ประสบความสำ�เร็จใน การขยายพันธุส์ ตั ว์น�ำ้ ในทีป่ ดิ หลายชนิด ไม่วา่ จะเป็น ปลากระเบนแมนตา ซึง่ เป็นปลากระเบนขนาดใหญ่ ทีส่ ดุ ในโลกหรือโลมาปากขวด ตูค้ โุ รชิโอะเองก็ไม่ได้ เป็นแค่จดุ หมายของนักท่องเทีย่ วหลายต่อหลายคน แต่ ยั ง เป็ น ความหวั ง ของนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ใ น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ที่จะศึกษาและไขความลับของ สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลอย่างฉลามวาฬซึ่งเป็นปลา ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ยังมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ สัตว์ชนิดนี้ไม่มากนัก พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ�ชุราอูมิ จึงร่วมกับสถาบันวิจยั ชูราชิมะในการวิจยั ฉลามวาฬ และการขยายพันธุใ์ นทีป่ ดิ ในตูค้ โุ รชิโอะ ซึง่ ได้รบั การสร้างให้มีขนาดสูง 8.2 ม. กว้าง 22.5 ม. และ มีความหนาของอะคริลิกที่กั้นถึง 60 ซม.

ตู้ปลาขนาดมหึมานี้ยังเป็นบ้านของจินตะ ฉลามวาฬเพศผูท้ ยี่ า้ ยเข้ามาอาศัยอยูใ่ นตูน้ ตี้ งั้ แต่ มีนาคม ปี 1995 โดยมีขนาด 4.6 ม. และเติบโต ขึ้นจนมีขนาด 8.7 ม. ในปัจจุบัน สภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมภายในตู้คุโรชิโอะ การเปลี่ยนถ่ายน้ำ� จากทะเลเข้ามาในตูอ้ ย่างสม่�ำ เสมอ ความเอาใจใส่ ในการเลี้ยงดูที่สม่ำ�เสมอกว่า 24 ปี ทำ�ให้จินตะ กลายเป็นฉลามวาฬที่ได้รับการเลี้ยงในที่ปิดนาน ที่สุดในโลกในปี 2019 และยังทำ�ให้การศึกษา ฉลามวาฬก้าวไปอีกขั้น เมื่อทีมนักวิจัยเห็นว่า ระบบการสืบพันธุ์ของจินตะค่อย ๆ พัฒนาขึ้น และตรวจพบสเปิร์มในเดือนเมษายน ปี 2012 พิพิธภัณฑ์จึงจัดให้มีการตรวจสุขภาพของจินตะ ด้วยการตรวจเลือด เพื่อเช็กความเข้มข้นของ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเติบโตและ ฤดูกาล ในปี 2014 จินตะเริ่มเข้าหาฉลามวาฬ ตัวเมียทำ�ให้นักวิจัยคาดการณ์ว่าจินตะน่าจะ พร้ อ มผสมพั น ธุ์ แ ละกลายเป็ น ความหวั ง ใน การขยายพันธุฉ์ ลามวาฬในทีป่ ดิ เป็นครัง้ แรกของโลก แม้ความหวังจะยังไม่เป็นจริงในตอนนี้ แต่ทีม นักวิจยั ก็สามารถเก็บข้อมูลเกีย่ วกับการเจริญเติบโต และพฤติกรรมเรื่อยมา เพื่อสร้างความเข้าใจ เกีย่ วกับฉลามวาฬได้อย่างทีไ่ ม่เคยเกิดขึน้ มาก่อน

Singapore Zoo, Singapore : เที่ยวสวนสัตว์ ไร้กรง

ภาพลิงอุรงั อุตงั นัง่ อยูบ่ นต้นไม้ เดิน เล่น ปีนป่าย เถาวัลย์อย่างอิสระโดยมีนกั ท่องเทีย่ วยืนดูอยูแ่ บบ ที่ ไ ม่ มี ลู ก กรงกั้ น สามารถบรรเทาความรู้ สึ ก กระอักกระอ่วนจากภาพจำ�ของกรงขังสัตว์ที่มา CREATIVE THAILAND I 26

พร้อมกับคำ�ว่าสวนสัตว์ได้ไม่น้อย และทำ�ให้ นักท่องเที่ยวหลายคนอยากแวะกลับมาหาฝูงลิง เหล่านี้ Singapore Zoo คือ สวนสัตว์แห่งแรกที่ ออกแบบพื้ น ที่ แ ละจำ � ลองสภาพแวดล้ อ มให้ ลิงอุรังอุตังสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนในป่าฝน ในธรรมชาติ โดยใช้ คู น้ำ� หรื อ แนวพุ่มไม้เป็น เส้นแบ่งเขตระหว่างพื้นที่ของสัตว์และผู้เข้าชม แทนการใช้ลกู กรง หลักการในการออกแบบพืน้ ที่ ลั ก ษณะนี้ ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้ แ ค่ กั บ ลิ ง อุ รั ง อุ ตั ง เท่ า นั้ น แต่รวมไปถึงสัตว์ 2,400 ตัวกว่า 300 สายพันธุ์ ทีร่ อ้ ยละ 34 เป็นสัตว์ทหี่ ายาก ทุกชีวติ อยูร่ ว่ มกัน บนพืน้ ทีส่ เี ขียวกว่า 64 เอเคอร์ของสวนสัตว์แห่งนี้ สภาพแวดล้ อ มที่ เ อื้ อ ต่ อ ความเป็ น อยู่ แ ละ ความหลากหลายของสัตว์ในสวนสัตว์แห่งนีท้ �ำ ให้ Singapore Zoo มีผู้เข้าชมมากถึง 1.9 ล้านคน ต่อปี ทั้งยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสวนสัตว์ที่ น่าไปทีส่ ดุ ในโลก และได้รบั การจัดให้เป็นสวนสัตว์ ที่ดีที่สุดอันดับสามของโลกจากรางวัล Travelers’ Choice Awards ของ Trip Advisor ในปี 2018 นอกเหนือจากการเปิดประตูต้อนรับผู้คน เข้ามาเรียนรูเ้ กีย่ วกับสัตว์แต่ละชนิด ภารกิจสำ�คัญ อีกด้านของ Singapore Zoo คือเปิดโอกาสให้นกั อนุรักษ์ได้ศึกษาสัตว์ได้อย่างใกล้ชิด เพื่อหาวิธีที่ ดีขึ้นสำ�หรับการดูแลสัตว์แต่ละชนิดและสร้าง พืน้ ทีป่ ลอดภัยให้กบั สัตว์ทใี่ กล้สญู พันธุ์ ความจริง ทีน่ า่ เศร้าทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั คือป่าตามธรรมชาติ ไม่ ใ ช่ ส ถานที่ ที่ ป ลอดภั ย สำ � หรั บ สั ต ว์ เ สมอไป โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการซื้อขายสัตว์ป่าเกิดขึ้นเป็นจำ�นวนมาก ดังที่เห็นจากลิงอุรังอุตังสายพันธุ์สุมาตราน และ บอร์เนียน ซึง่ ถูกจัดให้เป็นสัตว์ใกล้ศนู ย์พนั ธุจ์ าก การทำ�ลายป่าและการล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมาย ทำ�ให้การขยายพันธุแ์ ละเลีย้ งลิงอุรงั อุตงั ในสวนสัตว์ เป็นอีกวิธหี นึง่ ทีจ่ ะช่วยป้องกันการสูญพันธุใ์ นวันที่ พืน้ ทีป่ า่ ธรรมชาติไม่ปลอดภัยเหมือนเก่า เอเลนา โคชาย (Elena Koshy) นักเขียนจาก New Straits Time กล่าวสนับสนุนประเด็นนี้ไว้ว่า “จำ�นวนเงินลงทุนสำ�หรับดูแลสัตว์ตา่ ง ๆ รวมทัง้ วิสยั ทัศน์ของสวนสัตว์ทม่ี งุ่ ไปในเรือ่ งของการอนุรกั ษ์ พันธุ์สัตว์และการศึกษา แสดงให้เห็นว่าโอเอซิส สำ�หรับสัตว์เหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับเรือโนอาห์ ที่ เ ป็ น ที่ พ าสั ต ว์ น้ อ ยใหญ่ เ หล่ า นี้ ใ ห้ พ้ น จาก การสูญพันธุ์”


พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน, กรุงเทพฯ : เรียนจากศพ

facebook.com/siriraj.museum

อาจจะไม่ ใ ช่ ทุ ก คนที่ คุ้ น กั บ ชื่ อ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน แต่ถ้าพูดถึง ชื่อ “ซีอุย” เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่รู้จักชื่อของ ชายคนนี้ เ ป็ น อย่ า งดี ความแปลกประหลาด สะเทือนขวัญของคดีนายซีอุย แซ่อึ้ง ทำ�ให้ศพ ของนายซีอยุ ทีเ่ ก็บรักษาไว้ภายในพิพธิ ภัณฑ์แห่งนี้ กลายเป็นไฮไลต์สร้างชื่อให้กับที่นี่และดึงดูดให้ ผู้คนแวะเวียนกันมาเพื่อดูโฉมหน้าของมนุษย์กิน คนที่ฆ่าเด็กเพื่อนำ�อวัยวะมากินในปีพ.ศ. 2501 ศ.นพ. สงกรานต์ นิยมเสน ผู้ริเริ่มงานด้าน นิติเวชวิทยาคนแรกของประเทศไทยและอดีต หัวหน้าภาควิชานิตเิ วชศาสตร์ โรงพยาบาลศิรริ าช ริเริม่ ให้กอ่ ตัง้ พิพธิ ภัณฑ์แห่งนีเ้ พือ่ จัดแสดงวัตถุพยาน จากคดีที่สน้ิ สุด เพื่อนำ�เสนอความรูแ้ ละความเข้าใจ เกี่ยวกับร่างกายผ่านแง่มุมของนิติเวชศาสตร์ให้ นักศึกษาแพทย์สาขาต่าง ๆ ตำ�รวจ และผูท้ สี่ นใจ การจัดแสดงศพของนายซีอยุ จึงไม่ได้มจี ดุ ประสงค์ เพื่อเล่าถึงคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญเพียง อย่างเดียว แต่ยงั เพือ่ เล่าถึงการประหารชีวติ ด้วย วิ ธี ยิ ง เป้ า ในสมั ย ก่ อ นผ่ า นรอยกระสุ น บนร่ า ง

facebook.com/siriraj.museum

จวบจนปี 2017 Singapore Zoo ประสบ ความสำ�เร็จในการขยายพันธุ์ลิงอุรังอุตังมากที่สุด แห่งหนึง่ ในโลก โดยมีลงิ อุรงั อุตงั กว่า 50 ตัวเกิดที่นี่ ลิงอุรงั อุตงั บางส่วนได้รบั การย้ายไปยังสวนสัตว์อน่ื ๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ แลกเปลี่ยนระหว่างแหล่งสงวนพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อ ป้องกันการสูญพันธุ์ของลิงอุรังอุตัง รวมทัง้ วิธกี ารเก็บรักษาศพด้วยการแช่และเคลือบ แว็กซ์ซง่ึ เป็นวิธที ช่ี ว่ ยคงสภาพศพก่อนทีจ่ ะมีการใช้ ฟอร์มาลีน เมื่อมองไปยังศพของชายอีกคนที่ จัดแสดงอยู่ข้างกันจะเห็นได้ว่าลักษณะผิวหนัง ของทัง้ สองศพเปลี่ยนเป็นสีด�ำ ไม่ตา่ งกัน แต่ศพของ อีกคนนั้นเป็นศพที่แห้งโดยธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเนื้อเยื่อในร่างกายแห้งก่อนที่แบคทีเรียจะ ทำ�งาน ซึ่งทำ�ให้เกิดสภาพมัมมี่โดยธรรมชาติ นอกจากศพแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังจัดแสดง กระดูก กะโหลกที่ถูกยิงในลักษณะที่แตกต่างกัน และอวั ย วะของผู้ ที่ บ าดเจ็ บ หรื อ เสี ย ชี วิ ต จาก สาเหตุต่าง ๆ เพื่อเป็นทำ�ให้นักศึกษาแพทย์ เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า เวลามีดหรือกระสุน เข้าไปในร่างกายแล้วทำ�ให้เกิดพยาธิสภาพอย่างไร พิพธิ ภัณฑ์นติ เิ วชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน ไม่ได้แค่อธิบายเรือ่ งของนิตเิ วชศาสตร์ผา่ นหลักฐาน จากคดีต่าง ๆ เพียงอย่างเดียว แต่ยังนำ�เสนอ บทบาทของทีมแพทย์ศริ ริ าชทีเ่ ข้าไปช่วยดูแลผูป้ ว่ ย และชันสูตรศพร่วมกับทีมแพทย์จากนานาชาติใน เหตุการณ์ภยั ธรรมชาติครัง้ ประวัตศิ าสตร์ของไทย ผ่ า นนิ ท รรศการ ศิ ริ ร าชกั บ สึ น ามิ ภายใน นิทรรศการนี้มีการจำ�ลองบรรยากาศการปฏิบัติ หน้าที่ของทีมแพทย์ที่กำ�ลังตรวจศพชายผู้เสีย ชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ความสมจริงของศพ จำ�ลองที่มีลักษณะท้องที่โป่งขึ้นจากการเสียชีวิต มาแล้วหลายวัน หนอนที่ชอนไช รวมทั้งรอยสัก บนร่างกาย ถูกสร้างขึ้นเพื่อนักศึกษาแพทย์ได้เห็น และสัมผัสถึงบรรยากาศในการปฏิบตั หิ น้าที่ เพราะ เหตุการณ์ดงั กล่าวไม่ใช่เหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ บ่อยนัก นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงลักษณะข้อมูล เอกลักษณ์บคุ คล เช่น ลายนิว้ มือ ฟัน และรอยสัก ซึง่ มีประโยชน์อย่างยิง่ ต่อการทำ�งานของทีมแพทย์ อย่างคิดไม่ถึง “ศพที่ส่งคืนได้เกือบทั้งหมดเป็น ศพชาวต่างชาติ บทเรียนที่เราได้รบั คือการเก็บ ข้อมูล การรวบรวมสถิติที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ตัวเราที่ CREATIVE THAILAND I 27

แตกต่างกันในประชากรไทยกับประชากรต่างชาติ” นพ.ชัยรัตน์ มานะเสถียรกิจ อาจารย์ประจำ�ภาควิชา นิตเิ วชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว “จากจำ�นวนศพทีส่ ง่ คืน ญาติได้จำ�นวน 2,779 คน มีชาวเยอรมนีเสียชีวติ ประมาณ 500 คน พวกเขากลับบ้านได้ 99.9% ไม่ใช่เป็นเพราะความเก่งกาจทางด้านดีเอ็นเอ หรือความเก่งกาจของหมอผ่าศพ ศพประมาณ 80% ถูกจับคูด่ ว้ ยข้อมูลการทำ�ฟันเนือ่ งจากระบบ สาธารณสุขมีการเก็บข้อมูลฟัน มีการเก็บข้อมูล เอกซเรย์ตา่ ง ๆ เราจับคูศ่ พประมาณ 80% ได้จาก ข้อมูลตรงนั้น ในส่วนของการผ่าศพและตรวจ ดีเอ็นเอ จริง ๆ แล้วมีประมาณ 10% เท่านั้นเอง ดังนั้นจึงอาจจะต้องมาทบทวนกระบวนการใน การเก็บอัตลักษณ์ของบุคคลของประเทศต่อจากนี”้ แม้ธรรมชาติจะพรากชีวติ มนุษย์เราไปอย่าง ไม่ทันตั้งตัว แต่ระบบการเก็บอัตลักษณ์ของ บุคคลที่เอื้อให้ทีมแพทย์ส่งร่างไร้วิญญาณกลับ บ้านอันเป็นที่รัก เปิดโอกาสให้ครอบครัวได้เห็น หน้ากันอีกครั้ง ก่อนที่จะต้องบอกลากันเป็นครั้ง สุดท้าย ก็เป็นการเติมกำ�ลังใจให้ผู้ที่อยู่ข้างหลัง พร้อมที่จะก้าวเดินและใช้ชีวิตต่อไป ที่มา : คลิปวิดีโอ “ศิริราช 360o [by Mahidol] 4 พิพิธภัณฑ์ การแพทย์ศิริราช (1/2)” โดย มหิดล แชนแนล จาก youtube.com / คลิปวิดีโอ “Inside Kew Garden’s Secretive Tropical Nursery” โดย BBC London จาก youtube.com / บทความ “Creature Comforts: On the Wonders of the Singapore Zoo” โดย Rumela Basu จาก natgeotraveller.in / บทความ “Face-to-Face Experience with Endangered Orangutan at Singapore Zoo” โดย Elena Koshy จาก nst.com.my / บทความ “Wildlife Reserves Sees Success in Breeding Endangered Species” โดย Cheryl Tan จาก straitstimes.com / รายงาน “Royal Botanic Gardens, Kew Annual Report and Accounts for the Year Ended 31 March 2020” โดย Parliament จาก assets.publishing.service.gov.uk / หนังสือ “London Coffee: the People, the Places, the History” โดย Lani Kingston จัดพิมพ์โดย Hoxton Mini Press


The Creative : มุมมองของนักคิด

วิทยาศาสตร์ ในห้องครัว

ของเชฟแวน เฉลิมพล โรหิตรัตนะ เรื่อง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ และ นันทกานต์ ทองวานิช ภาพ : สุรเชษฐ์ โสภารัตนดิลก

อัลตัน บราวน์ (Alton Brown) พิธีกร รายการอาหารชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ว่าด้วยเทคนิคการปรุงอาหาร วิทยาศาสตร์ ประวั ติ ศ าสตร์ และความบั น เทิ ง อย่ า ง รายการ Good Eats ที่ออกอากาศทาง ช่อง Food Network เคยพูดเอาไว้ว่า “ทุกอย่างในอาหารนั้นเป็นวิทยาศาสตร์ มีเพียงสิ่งเดียวที่เป็นเรื่องของรสนิยมและ ความเห็นส่วนตัว นัน่ ก็คอื ตอนที่คณ ุ กินมัน” (Everything in food is science. The only subjective part is when you eat it.) นั่นอาจกำ�ลังบอกว่า การทำ� อาหารที่ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ศิ ล ปะแขนงหนึ่ ง แต่ในขณะเดียวกันก็ผูกพันกับธรรมชาติ วั ต ถุ ดิบ ความหลากหลายทางชี ว ภาพ รวมไปถึงกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อย่างแนบแน่น อาหารทีด่ จี งึ ไม่ได้เป็นเพียง ผลลัพธ์ของการใช้ใจเต็มร้อยของพ่อครัว แม่ ค รั ว แต่ ยั ง หมายถึ ง ผลงานจาก การประยุกต์ ใช้ความรู้ความเข้าใจในสิ่ง มี ชี วิ ต และกระบวนการทางเคมี ใ นทุ ก ขัน้ ตอนของการทำ�อาหารหนึง่ จานอีกด้วย

CREATIVE THAILAND I 28


“เชฟแวน” เฉลิมพล โรหิตรัตนะ แห่งร้าน DAG คือผู้ที่คลุกคลีอยู่กับสายสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้มาโดยตลอด และ พยายามนำ�เสนอออกมาให้ผู้บริโภคได้รับรู้ จนเกิดเป็นการทำ�และการกินอาหารที่มากไปกว่ากระแสนิยมเพียง ชั่วครั้งชั่วคราว เชฟบอกว่าอาหารเป็นวิทยาศาสตร์ เลยอยากรูว้ า่ ตอนเด็ก ๆ เชฟเรียนวิทยาศาสตร์เก่งไหม ผมเป็นคนชอบวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ผมเห็นพี่สาวสองคนท่องสูตรเคมี ก็รู้สึกว่าวิชาอะไรวะมีทั้งตัวเลขและ ตัวหนังสืออยู่ในบรรทัดเดียวกัน เท่ดี แต่ด้วยระบบการศึกษาของไทยทำ�ให้ผมไม่สนุกกับมัน ครูสอนให้ท่อง ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม เราท่องได้ แต่เราไม่เคยเห็นว่าโซเดียมหน้าตาเป็นยังไง ตอนผมไปเรียนเมืองนอก ตัง้ ใจจะไปเรียนอะไรทีไ่ ม่ใช่วทิ ยาศาสตร์ เพราะก็รสู้ กึ ว่าเรายังไม่เข้าใจภาษามากพอทีจ่ ะไปเรียนพวกนัน้ เทอมแรก ลองลงวิชาประวัตศิ าสตร์ เลวร้ายมาก (หัวเราะ) ผมก็เลยไปลงเรียนฟิสกิ ส์ เคมี เลข แต่ไม่ลงชีวะเพราะไม่ชอบท่อง เรียนคาบแรก อาจารย์เอาโซเดียมโยนใส่น้ำ� แล้วไฟลุก อะไรวะเนี่ย ในขณะที่ที่เมืองไทย ครูบอกว่าต้องเก็บใน นํ้ามันพาราฟินนะ ไม่งั้นมันจะติดไฟ ต้องใส่ขวดทึบแสง แต่นี่เอามาตัดให้ดูว่าเป็นโลหะที่มีดตัดได้ โยนลงไป ไฟลุก แล้วบอกว่ายิง่ ไล่ลงมาท้ายตารางยิง่ ติดไฟง่าย เราก็ขอดูอกี เขาก็เอาโพแทสเซียมมาโยนใส่ในหลอดทดลอง แล้วระเบิด เราก็แบบ ใช่! นี่คือเราได้เห็นของจริง มันสนุกเพราะเราไปเจออาจารย์ที่เก่งด้วย กลายเป็นผมได้ ที่หนึ่งหมดเลย ฟิสิกส์ เคมี กลศาสตร์ เลข ซึ่งความชอบตั้งแต่เด็กนี้ ก็เลยถูกเอามาช่วยในการทำ�อาหาร ทุกวันนี้ด้วย ผมเป็นคนถนัดมือขวาแต่ถนัดเท้าซ้าย เรียกว่าสมองซีกวิทยาศาสตร์กับซีกศิลปะค่อนข้างสมดุลกัน ทำ�ไมการทำ�อาหารถึงเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และเป็นศิลปะ การทำ�อาหารมันเป็นทัง้ คูแ่ หละครับ เป็นทัง้ ศาสตร์และศิลป์ ผมว่าทุกอย่างบนโลกนีม้ นั เป็นสองฝัง่ ตลอด วิทยาศาตร์ เป็นข้อเท็จจริง (Fact) ศิลปะก็คอื ในทางสุนทรียะ เช่น เราต้องกินไก่และดูดอกไม้ไปด้วยในการใช้ชวี ติ ให้ดี ซึง่ เวลา ผมทำ�อาหาร มันก็แล้วแต่กาลและเทศะว่าเราจะเลือกใช้ศาสตร์ไหน อย่างเช่นว่าวันนีว้ นั วาเลนไทน์ (วันทีส่ มั ภาษณ์ คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์) ผมก็คงจะเลือกพูดว่า วันนี้เป็นวันแห่งความรักนะ จูงมือกันมากินข้าว มากกว่าพูด ในมุมมองของวิทยาศาสตร์ ผมว่ามันแล้วแต่เราจะเลือกเอาตรงไหนมานำ�เสนอมากกว่า เชฟเลือกใช้ศาสตร์ ไหนมากกว่ากันในครัวกับสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ช่วงโควิด-19 นี่ วิทยาศาสตร์อยู่ในครัวผมเยอะมาก ผมพยายามทำ�อาหารที่อยู่ในสุญญากาศ ส่วนหนึ่งก็คือ คนสามารถเอาไปไมโครเวฟแล้วกินได้เลยเหมือนอีซี่โก (Ezygo) แต่อาหารแบบนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราถูกสอนมาให้ทำ� ไม่ใช่สิ่งที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์การทำ�อาหารได้เลย เพราะไม่มีใครถูกสอนให้ทำ�อาหารจากเตาสู่กล่อง มีแต่ต้องสดใหม่ แต่ผมคิดว่าใครจะมานั่งกินไฟน์ไดนิ่ง (Fine Dining) ในสภาวะแบบนี้ ผมเลยคิดว่ากูจะเป็น ราชาอาหารไมโครเวฟ (หัวเราะ) ถ้าไปดูในครัวผม ผมเก็บของเกือบทุกอย่างในสุญญากาศหมดเลยเพื่อลดการเติบโตของแบคทีเรีย เกือบทุกอย่าง ถูกพาสเจอไรซ์ และที่สำ�คัญคือ หลังอุ่นในไมโครเวฟเสร็จ รสชาติต้องเหมือนตอนที่เพิ่งทำ�เสร็จ อันนั้นคือส่วนที่ ยากทีส่ ดุ ถ้าในระดับอุตสาหกรรม เขาจะมีตวั เช็กความเท่ากันของรสชาติแต่ละอย่างเลย สมมตินา้ํ จิม้ ก็จะวัดเลย เค็มเท่านี้ เปรี้ยวเท่านี้ ซึ่งในครัวผม ไม่ได้มีขนาดนั้น แต่ทุกอย่างจะถูกชั่งตวงวัดเป็นดิจิทัลหมด พอเป็นแบบนี้แล้วทำ�ให้เรารู้สึกว่าความเป็นศิลปะในการทำ�อาหารมันหายไปหรือเปล่า คือมันก็ขัดกับความเป็นศิลปะที่ใช้อารมณ์เยอะ แต่เราจะทำ�อย่างไรให้เราใช้วิทยาศาสตร์ด้วย แต่ยังรู้สึกถึง จิตวิญญาณของอาหารอยู่ อันนี้คือยากมาก ผมเพิ่งมาเข้าใจและบาลานซ์ได้เมื่อไม่กี่ปีนี้ ผมเลยมองว่า ทุกวันนี้ คำ�ว่า แมส (Mass) เป็นแค่ระบบ การที่เราเตรียมวัตถุดิบทุกอย่างด้วยวิทยาศาสตร์ มันเป็นแมส แต่เราสร้าง แมสขึ้นมาเพื่อครอบความคราฟต์ (Craft) ไว้อีกที ดังนั้นจึงไม่ได้แปลว่าคราฟต์แล้วแมสไม่ได้ หรือแมสแล้ว คราฟต์ไม่ได้ ผมว่ามันเป็นของที่ไปคู่กัน รู้มาว่าเชฟเข้าป่าไปหาธรรมชาติ ไปอยู่กับชุมชนต่าง ๆ ช่วงหลังมานี้ เหตุผลที่เลือกเข้าป่า เพราะอะไร ต้องการหาวัตถุดิบใหม่ ๆ หรือเปล่า ผมไม่เคยเข้าไปหาวัตถุดบิ เลย ผมเข้าไปเพราะอย่างแรก ผมอยากสนุก ไปป่าก็ไม่ค่อยได้พกั ผ่อนหรอก เจอเพือ่ น กินเหล้า เมาหนักกว่าอยู่ร้านอีก สอง เราอยากเข้าไปเจออะไรที่ไม่ใช่สง่ิ ที่เราเจออยู่ทกุ วันนี้ อยากเรียนรูอ้ ะไรใหม่ ๆ แน่นอนว่าวัตถุดิบเป็นหนึ่งอย่างที่เป็นของใหม่ทเี่ ราไม่เคยเห็น ซึ่งหลาย ๆ พื้นที่ วัตถุดิบพวกนั้นเขาก็ส่งขาย CREATIVE THAILAND I 29


ที่ว่าปลอดภัยกว่าความคิดมนุษย์ คือผมรู้สึกว่า ปัญหาอะไรก็ตาม ที่ เ ราเห็ น ในสื่ อ ออนไลน์ ต่ า ง ๆ มันเกิดจากความคิดมนุษย์ทั้งนั้น ผมเองก็เป็นคนทีช่ วี ติ เปลีย่ นเพราะ ได้เปลี่ยนความคิด เราคิดลบมัน มีผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ

เชฟพูดถึงการยืดอายุวตั ถุดบิ ด้วยวิทยาศาสตร์ การหมักดอง ก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่ร้านแดกมีประโยคเขียนว่า “ของหมักดองนั้น ปลอดภัยกว่าความคิดมนุษย์” หมายความว่าอย่างไร คนชอบบอกว่ากินของหมักดองแล้วจะถ่ายท้อง แต่วา่ คนแยกไม่ออกระหว่าง ท้องเสียกับขับถ่ายสะดวก เรามัวแต่กลัวของพวกนี้ ทัง้ ที่จริง ๆ แล้ว ของเหล่านี้ มีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอียิปต์ เขาใช้พวกแร่ธาตุอัลคาไลน์มาดองอาหาร ชาหมักคอมบุชะ (Kombucha) ที่กินกันก็มีมาตั้งแต่สองพันกว่าปีแล้ว สิ่งที่ น่ า กลั ว ในการหมั ก ดองคื อ ของที่ เ ราใส่ ล งไปกั บ ของหมั ก ดองมากกว่ า พวกสารกันเสียทั้งหลาย บางอย่างต้องศึกษาก่อน เช่น อยากทำ�มิโสะ แต่จะเอาราที่ไหนก็ไม่รู้มาใส่ไม่ได้ นั่นคือสิ่งที่น่ากลัวกว่า ที่ว่าปลอดภัยกว่าความคิดมนุษย์ คือผมรู้สึกว่า ปัญหาอะไรก็ตามที่ เราเห็นในสือ่ ออนไลน์ตา่ ง ๆ มันเกิดจากความคิดมนุษย์ทงั้ นัน้ ผมเองก็เป็น คนที่ชีวิตเปลี่ยนเพราะได้เปลี่ยนความคิด เราคิดลบมันมีผลต่อทั้งร่างกาย และจิตใจ ผมก็เลยรู้สึกว่า คนมาเห็นไหหมักดองพวกนี้ของผมแล้วกลัว แต่คนไม่เคยกลัวความคิดตัวเองที่มากลัวของของผมโดยที่ยังไม่รู้ด้วยซํ้า ว่ามันคืออะไร เลยเขียนประโยคนี้ขึ้นมา

ตามตลาดอยู่แล้ว แต่ก็มีที่เขาไม่เคยขายมาก่อนเหมือนกัน ผมก็แค่รู้สึกว่า เราอยากเอามาทำ�ให้คนอืน่ กิน เพราะว่ามันมีจดุ ขาย มันอร่อยจนเราชอบมาก หรือเห็นว่าอันนี้ขายได้ แต่ส่วนมากผมจะขายอะไรที่ผมชอบนะ อะไรที่ผม ไม่ชอบ ผมก็ไม่ขาย เพราะว่าเราจะไม่มีเรื่องเล่า ผมจะเอาของที่เรารู้สึกว่าเขายินดีที่จะขาย ในปริมาณที่เราแบก ได้ออกมา เพราะว่าเราไม่ได้ต้องการจะครอบครองมันทั้งหมด มันเป็นของ ธรรมชาติ เราก็ใช้ได้เท่าที่ธรรมชาติมันจะให้ ทุกอย่างมีอายุการเก็บรักษา (Shelf Life) แต่ว่าเมื่อ Shelf Life ตามธรรมชาติมาบวกกับวิทยาศาสตร์ มันก็สามารถยืดอายุขึ้นไปได้อีกหน่อยเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ

เชฟโชว์ของหมักดองไว้เต็มผนังหนึ่งของร้าน ได้นำ�มาใช้ ทำ�อาหารจริง ๆ บ้างไหม เอามาใช้ แต่มันไม่ได้อยู่ในเมนูประจำ� เพราะถ้าผมทำ�น้ำ�ปลาแล้วต้องเอา มาใช้ในเมนูประจำ� ผมน่าจะต้องมีโกดังใหญ่เท่าร้านแดกเพือ่ สำ�รองนํา้ ปลา ไว้ตลอด แต่ที่ผมทำ�ไว้ คือจะได้ไม่มีของเหลือ (Zero Waste) และผมรู้สึก สนุกกับการได้เจอรสชาติใหม่ ๆ ผมรู้สึกว่าทำ�ไมผัดผักทุกร้านถึงเป็น รสนํ้ามันหอยเดียวกันหมดเลย หรือนํ้าปลาต้องเป็นกลิ่นแบบนั้น มันเป็น การทดลองของผมที่เอามาใช้ได้เรื่อย ๆ คนถามว่าต้องรอนานแค่ไหนถึงจะ เอามาใช้ได้ ผมก็ไม่เคยจับเวลาว่าต้องนานแค่ไหน บางอย่างอยู่มาสามปี แล้วก็มี แต่จริง ๆ เราก็ตอ้ งศึกษาก่อนว่าแต่ละอย่างต้องใช้ระยะเวลาเท่าไร ซึง่ รสชาติกจ็ ะเปลีย่ นไปเรือ่ ย ๆ อันไหนไม่แน่ใจก็ปล่อยให้เกินสองปี เพราะ มีทฤษฎีว่าอะไรที่หมักดองเกินสองปีไปแล้ว ส่วนที่เป็นพิษทั้งหมดจะ กลายเป็นของที่ดีขึ้น ประโยชน์จริง ๆ ของไหหมักดองพวกนี้ไม่ใช่ตอนที่ผมขาย สมมติผม ขายวันที่ 365 ประโยชน์จริง ๆ ของมันคือช่วง 364 วันก่อนหน้านั้นมากกว่า ที่คนได้มาเห็น ได้รู้ว่าน้ำ�ปลาหน้าตาเป็นแบบนี้ เต้าเจี้ยวหน้าตาน่าเกลียด ขนาดนี้เลยหรือก่อนที่จะมาบรรจุขวด หรืออาจจะทำ�ให้บางคนเห็นว่า ของพวกนี้ทำ�เองได้ ของที่ผมดองจะไม่มีสารเคมีเลย ไหหมักดองพวกนี้ เป็นการทดลอง แล้วก็โชว์รูมเล็ก ๆ นี้ก็เหมือนไปท้องฟ้าจำ�ลอง

เรียนรู้อะไรในแง่อื่นอีกบ้างกับการเข้าไปสำ�รวจในพื้นที่อื่น ยกตั ว อย่ า งที่ ผ มเข้ า ไปในชุ ม ชนชาวปกาเกอะญอ เพื่ อ ทำ � โครงการ ปกาเกอะญอ คุ้กบุ๊ก กับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เราถูกสอนมาตั้งแต่เด็ก ว่าชาวเขาทำ�ไร่เลื่อนลอย มันก็จริง แต่ชาวเขามีเป็นร้อยเผ่าแล้วเราก็เหมา ไปหมด วิถขี องปกาเกอะญอคือจะมีการทำ�ไร่หมุนเวียน ซึง่ ยังเป็นทีถ่ กเถียงกัน แต่ว่าพวกผมไปอยู่ ไปเรียนรู้ ไปเห็นมาจริง การเผาไม่ได้ทำ�ลายอย่างเดียว ในทางตรงกันข้าม ไฟทำ�ให้เกิดชีวติ ใหม่เยอะแยะ นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราได้เข้าไปเรียนรู้ ทั้ง ๆ ที่เจตนาเราคือการเข้าไปเอาวัตถุดิบเขามาทำ�ในแบบเรา แล้วเอาไป ลงตำ�ราอาหาร ให้เขาเห็นว่าเมนูที่เขาเคยทำ�เป็นประจำ�สามารถเอาไปทำ� อย่างอื่นได้ แต่กลายเป็นว่าเราได้ไปเรียนรู้ ได้เห็นเยอะกว่านัน้ เยอะ ปกาเกอะญอ บอกว่า ปกาเกอะญอที่รวยที่สุดคือคนที่มีข้าวกินและมีบา้ นอยู่ เขาอยากกิน อะไรก็ปลูกอันนั้น แต่คือเราไม่เคยโตมาแบบนั้น อยากกินอะไรก็ต้องหาเงิน เราใช้เวลาตั้งยี่สิบปีใช้เงินพ่อแม่ กว่าจะหากระดาษเป็นของตัวเองได้ ในยี่ สิ บ ปี นั้ น เราเรี ย นในสิ่ ง ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ อาไปหากระดาษเหล่ า นั้ น ด้ ว ยซํ้ า แต่ปกาเกอะญอเขาเรียนที่จะปลูกข้าว ปลูกพืชผัก ฆ่าหมูไก่ ซึ่งมันย้อนศร กับสิ่งเราเกิดมา เรารู้แค่ว่าเป็นคนดี ต้องหาเงิน ต้องเรียนโรงเรียนดี ๆ ปกาเกอะญอไม่เห็นเดือดร้อนอย่างเราเลย

ในบางครั้ง ผู้บริโภคถูกการตลาดและโฆษณาเชิญชวนให้กิน แต่อาหารบางประเภท จนเราเคยชินอยูแ่ ค่อาหารประเภทนัน้ ๆ แต่จริง ๆ แล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสิง่ ทีม่ อี ยู่ และ ควรถูกนำ�เสนอ ใช่ครับ อย่างเช่นเรือ่ งปลา ส่วนใหญ่คนก็จะรูจ้ กั อยูแ่ ค่ปลากะพง ปลาเต๋าเต้ย แต่ผมเคยออกจากฝั่งภูเก็ตไปประมาณร้อยกิโลเมตร นอนในเรือประมง สามคืน ผมเจอปลาประหลาดเยอะมาก เจอปลากระพงเขียว ตัวเท่าขา

CREATIVE THAILAND I 30


หน้าตาเหมือนปลาคาร์ปแต่สเี ขียว และอร่อยมาก หรือปลาเก๋าดอกแดง เวลา ขึ้นมาจากนํ้า ครีบยังสยายอยู่ หน้าตาเหมือนในวิกิพีเดียเลย ทั้งที่เมื่อก่อน เวลาเราเห็นรูปในวิกพิ เิ ดียจะคิดว่าเขาแต่งภาพเกินจริง เพราะเราชินกับการเห็น ปลาเศร้า ๆ ตามแผง ผมคุยกับไต๋เรือ คุยกับเพื่อน ๆ ที่เขาเคยไปกันก่อน เขาบอกว่า เอาไปก็ขายไม่ออกเพราะคนไม่กิน ทำ�ไมคนถึงไม่กิน เพราะ อย่างแรก ปลาตัวใหญ่ คนซื้อยกตัวไม่มีที่เก็บ แล่ไม่เป็น พ่อค่าแม่ค้าส่วน ใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องอุณหภูมิในการสต็อกของ ดังนั้น ปลาดี ๆ อร่อย ๆ วาง ไว้ไม่นานก็เน่า อย่างปลากะพงเขียว เขาจับได้กไ็ ม่ได้ปล่อยนะ แต่มนั ไปจบ อยูท่ โี่ รงงานลูกชิน้ กับโรงงานอาหารสัตว์ หรือปลาทู เราไม่มปี ลาทูไทยกินมา เกินยีส่ บิ ปีแล้ว ผมรูจ้ กั กับเจ้าของแพปลาทูทม่ี หาชัย เขาบอกว่าในสิบปีทผ่ี า่ น มา เขาเคยได้กนิ ปลาทูไทยจริง ๆ แค่สองตัว คือเรื่องพวกนี้มันน่าเศร้า เชฟก็เลยเลือกใช้วิธีทางการตลาดมาทำ�ให้คนหันกลับมา กินอะไรที่หลากหลายไปจากเดิมบ้าง เมื่อสองปีที่แล้ว ผมขายปลาสาก ตัวยาว ๆ ปากแหลม ๆ ฟันคม ๆ ดุ ๆ แต่เป็นปลาที่ทอดกินอร่อย กินดิบก็ได้ถ้าทำ�ถูกวิธี ผมเขียนในเมนูว่าปลา สากทอด มีอยู่ 20 ที่ วันจันทร์ถึงพฤหัส ผมใช้ชื่อว่า ปลาสากทอด ขายได้ 2 ที่ พอศุกร์เสาร์อาทิตย์ ผมเปลี่ยนชื่อเป็น Deep Fried Barracuda เป็น ชือ่ ฝรัง่ ของปลาสากเหลือง แล้วเปลี่ยนคำ�ว่าทอด เป็น Deep Fried กลายเป็น ว่าขายได้หมดเลยอีก 18 ที่ ปลาช่อนทะเลก็เหมือนกัน ภาษาญีป่ นุ่ ชือ่ ซุกิ (Sugi) ผมเอามาขาย ทำ�อย่างดี รมควัน อร่อยกว่าแซลมอนรมควันอีก มี 20 ที่ จันทร์ถงึ พฤหัสใช้คำ�ว่า ปลาช่อนทะเลรมควัน แบ่งไว้ 10 ที่ ขายไม่ออกเลย พอวันศุกร์ ผมเพิ่มผักคลุกนํ้ามันมะกอก ขายเป็นสลัดปลารมควัน ขายหมดเลย ทั้ง ๆ ที่ คนถามว่าคือปลาอะไร ก็ตอบปลาช่อนทะเลนะ ส่วนอีก 10 ที่ ทำ�เป็นซาชิมิ ขายไม่ออกเหมือนเดิม ศุกร์เสาร์อาทิตย์ เขียนว่า Sugi Sashimi แป๊บเดียวหมด คือมันเหมือนเป็นการทดลอง (Social Experiment) ของผมด้วยน่ะ

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักทางวิทยาศาสตร์ จำ�เป็น สำ�หรับคนทำ�อาหารและผู้บริโภคขนาดไหน ประมาณ 8 ปีที่แล้ว เริ่มมีร้านที่ใช้คอนเซ็ปต์การกินตั้งแต่หัวจรดหาง (Nose to Tail) คนทีไ่ ปตามร้านพวกนัน้ กินเครือ่ งในได้หมดเลย แต่วา่ พอเป็น ตับไก่ปงิ้ เขาไม่กนิ นะ ซึง่ เขาก็ไม่ได้ผดิ อะไร แต่การปศุสตั ว์แบบอุตสาหกรรม ต่างหากที่ทำ�ให้ของพวกนี้ไม่อร่อย ตอนแรกผมก็ไม่รู้ พอขึ้นไปบนดอย เวลาเขามีงาน เขาจะล้มหมู สิง่ ทีต่ อ้ งกินอย่างแรกเลยคือเครือ่ งใน เพราะว่า ของพวกนี้ไม่ได้ผ่านการบ่มเนื้อ (Aging) เลือดมันเยอะ ปริมาณนํ้า (Water Content) มันเยอะ เพราะฉะนั้นของพวกนี้จะเสียเร็วที่สุด เขาจึงต้องหันไป ทำ�เมนูที่เป็นเครื่องในก่อน ซึ่งครั้งแรกที่ผมไปดูเขาล้มหมู เขาเห็นพวกเรา เป็นเชฟ พอล้มเสร็จเขาก็บอก เอาเลย ทำ�เลย ผมก็แบบ ใช่เหรอวะ ผมเป็น สายบุตเชอร์ (Butcher) ชอบทำ�พวกซากสัตว์อยู่แล้ว แต่ผมก็ไม่เคยสัมผัส ซากสัตว์ที่มันยังอุ่นอยู่ ความรูส้ กึ มันใหม่มาก จังหวะทีก่ รีดเข้าไป เครือ่ งใน ทะลักออกมา ควันออก ต้องเอามือล้วงเข้าไปแล้วมันอุ่นถึงข้อศอก อันนี้ มันเกินอาหารแล้ว มันคือชีวิตชีวิตหนึ่งแล้ว พอเขาเอาเครื่องในออก เอาเลือดเก็บไว้ รีดมูลออกจากไส้ ปรากฏว่า มันไม่เหม็นเลยครับ ไส้หมูที่เราซื้อตามซูเปอร์มาร์เก็ตยังเหม็นกว่าเยอะ มือผม ที่ล้วงเข้าไปเหมือนทำ�แท้ง เปื้อนเลือดเต็มสองแขน แต่ไม่มีกลิ่นเลย อันนี้ ไม่ได้โอเวอร์ เพราะเครื่องในเป็นเหมือนไส้กรองของเสียเกือบทุกอย่างใน ร่างกาย ถ้าของที่เข้ามาดี ไส้กรองก็ไม่ต้องทำ�งานหนัก หมูพวกนี้กินของ ธรรมชาติหมด เครือ่ งในเลยไม่มกี ลิน่ ผมจึงคิดได้วา่ เพราะว่าเราอยูใ่ นสังคม ที่เป็นปศุสัตว์เยอะ ของที่ควรจะอร่อยเลยกลายเป็นไม่อร่อย ของที่ไม่ควร เหม็นก็เหม็น อย่างปลา พอปลาไม่ได้ถูกปรนนิบัติอย่างที่ควรจะทำ�ตั้งแต่เอาขึ้นมา จากนํ้า มันก็คาว แล้วคนส่วนใหญ่ทไ่ี ม่ชอบกินปลา ก็เพราะไม่ชอบความคาว ถ้าไปตามตลาด เห็นปลาปากอ้าตาถลน แปลว่าไม่อร่อย เพราะมันปรับแรงดัน ไม่ทัน ปากอ้าเพราะเกิดการชักเกร็งของกล้ามเนื้อ เพราะฉะนั้นเนื้อจะ ไม่อร่อยเท่ากับปลาที่ตายอย่างสงบ สิ่งที่ผมพยายามทำ�คือสอนชาวประมง ให้เขาฆ่าปลาอย่างถูกวิธี เวลาเราเอาปลาขึน้ มาจากนํา้ เปรียบเหมือนจับคน กดนํ้า คนสำ�ลักน้ำ� กว่าจะตาย เทียบกับการที่เราเอาปืนยิงหัวคนเลย อย่าง หลังทรมานน้อยกว่า ดังนั้นวิธีที่ใช้คือแทงหัวปลา เรียกชื่อว่า อิเคจิเมะ (Ikejime) คือทำ�ให้สมองถูกทำ�ลาย เพราะฉะนัน้ ก็จะไม่มกี ารส่งสัญญาณใด ๆ ไปสู่ระบบประสาททั้งหมด นึกถึงคนนอนเป็นผัก สมองตายแต่หัวใจยังเต้น โดยเขาจะเจาะข้างเหงือก ถ้าปลาใหญ่กจ็ ะมีสบั หางด้วย เพือ่ ให้เลือดมันออก เพราะส่วนทีค่ าวในปลา ส่วนมากก็คอื เลือดกับน้�ำ ทีอ่ ยูข่ า้ งใน พอเจาะเหงือก สมองตาย หัวใจเต้น มันก็จะปัม๊ เลือดออก การเจาะเหงือกกับตัดหางเหมือน เวลาเราเจาะกระป๋องนมข้น เจาะรูเดียวไหลช้า สองรูไหลเร็วกว่า อีกวิธกี ารหนึง่ ชือ่ ชินเคจิเมะ (Shinkei-Jime) คือการไล่ลวด หรือการทำ�ลาย ไขสันหลัง (Spinal Cord) เพื่อยับยั้งปฏิกิริยาที่ชื่อ ไรกอร์ โมติส (Rigor Mortis) หรือภาวะการแข็งตัวของกล้ามเนื้อหลังสัตว์ตาย ซึ่งพอเราทำ�ลาย ไขสันหลัง ปลาจะเป็นอัมพาตร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่เกิดการชักเกร็งของกล้ามเนือ้ ทีส่ �ำ คัญอายุของปลาจะนานขึน้ อีกประมาณหนึง่ อาทิตย์ เพราะในไขสันหลัง มีแลคติกเอซิด (Lactic Acid) ซึ่งเป็นตัวที่ทําให้เกิดการเน่าของซากสัตว์ทกุ ชนิด เพราะฉะนั้นพอเราแทงลวดเข้าไปทำ�ลายตรงนี้ แทนที่ปลาจะเริ่มมีกลิ่นใน

CREATIVE THAILAND I 31


วันที่ 3 ก็อาจจะเป็นวันที่ 10 ถึงเริ่มมีกลิ่น เป็นต้น คือวิธีพวกนี้มันเป็น วิทยาศาสตร์ ถ้าคนเรารู้วิธีพวกนี้ เราจะได้กินของอร่อยกันอีกเยอะเลย แต่สิ่งที่เชฟกำ�ลังทำ�ก็คือช่องทางหนึ่งในการสื่อสารประเด็น พวกนี้ให้คนรับรู้ ใช่ครับ คือผมรู้สึกว่าไหน ๆ เราก็ชอบทำ�อาหาร ไหน ๆ เราก็พอมีพลัง ทางสื่อที่จะสื่อสารเรื่องดี ๆ เราก็คงต้องใช้มัน ให้ผมไปขับเครื่องบิน คนก็ ไม่กล้านั่ง แต่เวลาผมทำ�อาหาร คนส่วนหนึ่งเชื่อ เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะ เอาความเชื่อนั้นมาหากินอย่างเดียว เราก็เอาความเชื่อนั้นไปทำ�ให้โลกดีขึ้น สักหน่อย มันอาจจะขัดกับหน้าตาและทุกอย่างที่ผมเป็นนะ แต่เราเชื่อ อย่างนั้นจริง ๆ ก่อนหน้านี้ 4-5 ปี เราก็คดิ แค่วา่ เราทำ�อาหารอร่อย ไม่มีใครมีความสุข จากความหิว แต่พอวันหนึ่งมันรู้สึกหมดอาลัยตายอยาก ไหนใครบอกทำ� อาชีพที่รักแล้วมีความสุข แต่ทำ�ไมกูยังทุกข์อยู่ คือผมไม่สามารถหยุดคิด เรือ่ งอาหารได้ นอนยังฝันเป็นสูตรเลย ตืน่ มาทำ�เมนูใหม่เพือ่ ทีจ่ ะขาย ขายได้ ก็ดีใจ ใช้หนี้เก่า สร้างหนี้ใหม่ ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรเลย จนไปเข้าป่า เลย เห็นว่านอกจากเราหาเงินไปด้วย เราก็ยังทำ�ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก แต่ว่า มันก็เจ็บปวดพอสมควรนะกับการที่เราขายของแบบนี้ แทนที่จะไปขาย ปลาแซลมอน ไม่ต้องทะเลาะกับชาวประมง ไม่ต้องคอยบอกเขาให้เขา ฆ่าปลาแบบนี้ เก็บแบบนั้น คือมันต้องใช้พลังเยอะกว่าเดิมเยอะมากเลยกับ การที่เราจะไปให้ความรู้เขา เพราะเขาก็อาจจะรู้สึกว่ากูจะทำ�ไปทำ�ไมวะ เพราะก็ได้เงินเท่าเดิม แต่ผมลองคิดในมุมที่น่ารักที่สุดเลยนะ ถ้าเราลองทำ� ปลาอย่างที่บอกเมื่อกี้ ตัวหนึ่งราคาขึ้นเกือบเท่าตัว แล้วมีคนซื้อ แปลว่า เราก็จับปลาลดลง 50% ได้ แสดงว่าเราทำ�งานน้อยลงครึ่งหนึ่งเลยนะ แต่ได้เงินเท่าเดิม หรือถ้าเราทำ�งานเท่าเดิม บวกขั้นตอนพิเศษอีกนิดหน่อย เราก็ได้เงินเพิ่มขึ้นอีกสองเท่า แล้วในระยะเวลานั้น ถ้าเราจับปลาน้อยลง ปลาอื่นก็มีโอกาสโต เราก็มีโอกาสได้กินปลาอื่นที่หลากหลายขึ้น สังเกตว่า มันไม่มีของอะไรตามตลาดที่ถูกลงเลย เพราะว่าของมันน้อยลงเรื่อย ๆ มันไม่ได้แปลว่าค่าขนส่งหรือน้ำ�มันแพงขึ้นอย่างเดียว ในฐานะผู้ บ ริ โ ภค เราควรจะกิ น อย่ า งไรให้ เ ป็ น ทั้ ง ศาสตร์ และศิลป์จริง ๆ คือดีกับตัวด้วย ดีกับโลกด้วย ผมว่าอย่างแรกเลยคืออาจจะเริ่มจากกินอย่างพอดี อย่างพอเพียง คือเรา เข้าใจแหละว่าคนอยากกินหลายอย่าง แต่ผมเคยเจอเคสที่กินเหลือแล้ว ไม่เอากลับบ้าน ผมก็รู้สึกว่า โธ่! เราไปเมาเรืออยู่กลางทะเล ทรมานทุกวัน มันทำ�ให้เราเห็นคุณค่าของชีวิต หรือวัววากิวหนึ่งตัว หนักประมาณ 800 กิโลกรัม พอเอาหนังและอื่น ๆ ออก เหลืออยู่ประมาณ 400 กิโลกรัมเท่านั้น ที่เรากินได้ และมันไม่ได้แปลว่าเราไปเฉือนเนื้อวัวที่ยืนอยู่มา 150 กรัม เพื่อทำ�เบอร์เกอร์แล้วปล่อยวัวไปเดินต่อ มันไม่ได้ มันไม่ใช่ต้นไม้ที่แตก ออกมาได้ แต่มันคือชีวิตหนึ่งที่เรากินเข้าไป เราไม่อยากเหลือ ไม่อยาก ทิ้งขว้าง ผมเก็บทุกอย่างเลยนะ เครื่องในปลา ผมก็เอาไปทำ�เป็นไตปลา ไว้เยอะจนไม่รู้จะเอาไปทำ�อะไรแล้วตอนนี้

ทำ�อาหารอะไรให้ตัวเองกินบ่อยที่สุด ไข่ดาวครับ ไข่ขาวกรอบ ๆ ไข่แดงเยิ้ม ๆ แบบที่ขายที่ร้าน อะไรที่คิดว่าชีวิตนี้ทำ�ไม่อร่อยแน่ ๆ ผมอยากทำ�ขนม อยากเป็นผู้ชายสายซอฟต์ ๆ (หัวเราะ) ผมอยาก ทำ�ไอศกรีม ผมรู้สึกว่าผมจะปั่นอะไรลงไปในไอศกรีมก็ได้ จะปั่น ความวิปริตของเราลงไปในนั้นแค่ไหนก็ได้ (ยิ้ม) โปรเจ็กต์ ใหม่ของตัวเอง ปกติผมขี้เกียจทำ�กับข้าวที่บ้าน เพราะทำ�งานอยู่กับอาหารวันละ 8-10 ชั่ ว โมงแล้ ว กลั บบ้ า นยั ง จะให้ ทำ � อาหารอี ก เหรอ แต่ ต อนนี้ผ มมี โปรเจ็ ก ต์ ใ หม่ คื อ ถ้ า อยู่ บ้ า นผมจะทำ � กั บ ข้ า วให้ แ ม่ กิ น เท่ า ที่ ทำ � ได้ เพราะรู้สึกว่าแม่ผมก็อายุ 78 แล้ว จังหวะที่แม่จะอยู่กับเราน่าจะ น้อยกว่าชีวติ เราทีเ่ หลืออีก แม่ผมสอนให้ผมทำ�งานเสมอไม่วา่ จะเกิดอะไร แม่ไม่เคยให้หยุดงาน จนเราจำ�มาแบบนั้น แต่วันหนึ่งเราไปเห็นแม่ กินอะไรที่มันไม่อร่อย เลยสะเทือนใจว่าเราไม่ได้ทำ�ให้แม่ในสิ่งที่เรา ทำ�ได้ดี ทุกวันนี้ก็เลยทำ�กับข้าวให้แม่กินก่อนออกจากบ้านแทบทุกวัน

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Solution : คิดทางออก

เรื่อง : ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

ใครที่เป็นสายรักษ์โลกคงจะรู้กันดีว่า อุตสาหกรรมเสื้อผ้านั้นเป็นหนึ่งใน อุตสาหกรรมทีส่ ง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมสูงทีส่ ดุ อย่างไรก็ตาม สิง่ ทีห่ ลายคน อาจยังไม่รู้ก็คือ แท้จริงแล้ว กระบวนการในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าที่ก่อให้เกิด มลพิษมากที่สุด และยังเป็นตัวการใหญ่อันดับ 2 ที่ทำ�ให้เกิดมลพิษใน แหล่งน้ำ�ทั่วโลกคือ “กระบวนการย้อมสี” ปัจจุบนั เสือ้ ผ้าส่วนใหญ่ทผี่ ลิตออกมาสูต่ ลาดผลิตด้วยสียอ้ มสังเคราะห์ ซึ่งได้จากการสกัดน้ำ�มันปิโตรเลียม ทั้งยังต้องใช้สารเคมีอันตรายและน้ำ� ปริมาณมหาศาล บวกกับการควบคุมมาตรฐานที่ไม่เคร่งครัดในหลายพื้นที่ น้ำ�เสียจากกระบวนการผลิตในโรงงานจึงถูกทิ้งลงในแม่น้ำ�ลำ�คลองและ ส่งต่อสารพิษไปยังชุมชน ยกตัวอย่างไอเท็มยอดนิยมตลอดกาลอย่าง “กางเกงยีนส์” ที่ต้องใช้ สารเคมีอนั ตรายหลายชนิดในการย้อมและฟอกสี เช่น เบนซีน ฟอร์มลั ดิไฮด์ โซดามายด์ รวมถึ ง น้ำ � มั น ปิ โ ตรเลี ย มซึ่ ง เป็ น ที่ ม าของการปล่ อ ยก๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์ โดยกางเกงยีนส์เพียงหนึง่ ตัว ต้องใช้น�ำ้ ในกระบวนการผลิต ถึง 2,000 แกลลอน เมื่อจินตนาการว่าในแต่ละปีมีการผลิตกางเกงยีนส์ ตัวใหม่ออกมามากกว่า 4 พันล้านตัว นี่จึงเป็นการสร้างภาระให้โลกอย่าง ไม่น่าเชื่อ แต่วันนี้ความหวังใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อ “Huue” สตาร์ตอัพหน้าใหม่ ถือกำ�เนิดขึ้นจากงานวิจัยของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิ ฟ อร์ เ นี ย เบิร์กลีย์ ซึ่งศึกษาวิจัยเอนไซม์ในพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ที่สามารถผลิตสีย้อม ได้ตามธรรมชาติ จากนั้นจึงเลียนแบบกระบวนการนั้นด้วยเทคโนโลยี วิศวกรรมชีวภาพ เพื่อให้จุลินทรีย์ทำ�ปฏิกิริยากับน้ำ�ตาลและผลิตสีย้อม ออกมา โดยเลือกทดลองผลิต “สีน้ำ�เงิน” เพื่อใช้ผลิตเสื้อผ้ายีนส์เป็นสีแรก แทมมี่ ซู (Tammy Hsu) และ มิเชล จู (Michelle Zhu) สองผู้ก่อตั้ง ระบุว่า โดยทั่วไปการสกัดสีน้ำ�เงินสังเคราะห์ 1 กิโลกรัม ต้องใช้น้ำ�มัน ปิโตรเลียมถึง 100 กิโลกรัม แต่สีย้อมสังเคราะห์ชีวภาพของ Huue ไม่ต้อง ใช้ปโิ ตรเลียมและสารเคมีอนั ตรายอย่างฟอร์มลั ดิไฮด์เลย ทัง้ ยังมีแนวโน้มจะ สร้างมลพิษน้อยกว่าสีย้อมสังเคราะห์ถึง 5 เท่า ยิ่งไปกว่านั้นคือ ผู้ผลิต

สามารถนำ�สียอ้ มของพวกเธอไปใช้แทนสียอ้ มสังเคราะห์ในระบบอุตสาหกรรม ได้เลยโดยไม่ตอ้ งปรับเปลีย่ นเครือ่ งจักรหรือกระบวนการผลิต ด้วยประสิทธิภาพ เทียบเท่ากับแบบเดิม “ทีผ่ า่ นมา ธุรกิจเสือ้ ผ้าพยายามจะสร้างนวัตกรรมเส้นใยทีส่ ร้างผลกระทบ ทางสิง่ แวดล้อมน้อยลงเรือ่ ย ๆ แต่ปญั หาทีแ่ ท้จริงและสำ�คัญทีส่ ดุ ของอุตสาหกรรม ในตอนนี้ก็คือ เราจะผลิตสีย้อมผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร” อาดรีอาโน โกลด์ชมิด (Adriano Goldschmied) แฟชัน่ ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียน เจ้าของฉายา “เจ้าพ่อเดนิม” ผู้สร้างสรรค์สินค้าแบรนด์เดนิมชื่อดังอย่าง Diesel, Agolde, AG Jeans และเป็นทีป่ รึกษาให้บริษทั Huue กล่าว “ตอนที่ ผมพบกับมิเชลครัง้ แรกและเธอนำ�เสนอเทคโนโลยีของ Huue ให้ผมฟัง ผมรู้ ในทันทีว่านี่คือทางออกที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมนี้” ล่าสุดสตาร์ตอัพน้องใหม่รายนี้อยู่ระหว่างการทดสอบต้นแบบร่วมกับ ธุรกิจยีนส์หลายราย โดยมิเชล จู ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง ระบุในเดือน พฤศจิกายน 2020 ว่า บริษัทยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดการพัฒนา ล่าสุดแก่สาธารณชนได้ แน่นอนว่าหากการพัฒนาสีน้ำ�เงินสังเคราะห์ชีวภาพของ Huue เป็นไป ได้ด้วยดีและตีตลาดได้สำ�เร็จ อนาคตที่อุตสาหกรรมสีย้อมผ้ามูลค่า 3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จะถูกปฎิวัติด้วยสีย้อมที่เป็นมิตรกับธรรมชาติครบ ทุกเฉดสี ก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน “เราพัฒนามาไกลมากในการพิสูจน์ว่า เราไม่จำ�เป็นต้องเลือกระหว่าง ความยั่งยืนกับประสิทธิภาพการใช้งาน เทคโนโลยีแห่งอนาคตจะช่วยให้เรา สามารถผลิตสินค้าคุณภาพสูงได้โดยต้องไม่ทำ�ร้ายผู้คนและโลกใบนี้” ซีอีโอสาวกล่าว ที่มา : huue.bio / บทความ “Michelle Zhu: Tackling the Garment Industry - One Dye at a Time” (2020) จาก nasdaq.com / บทความ “This Melinda Gates-backed biotech startup is growing bacteria that make sustainable dye for denim” (2020) จาก fastcompany.com

CREATIVE THAILAND I 34




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.