Creative Thailand Magazine

Page 1


COPPER 40%

ALUMINIUM 35%

ณและตลอดไป วันนี้ DESIGNS FOR A SUSTAINABLE FUTURE

PAPER 50%

PLASTIC 30% TCDC, 6th Fl., The Emporium, 10.30 – 21.00 (Closed Mondays)

โทร. (66) 2 664 8448

#213, 214

www.tcdc.or.th www.britishcouncil.or.th/EFN

เขาชมฟรี Free admission จัดโดย บริติช เคานซิล รวมกับ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ

A British Council exhibition in collaboration with Thailand Creative & Design Center (TCDC)

จัดโดย

Presented by

ผูสนับสนุนหลัก

Main Sponsor

รวมโดย

Contributing Partners

ZIN INC C 30%

STEEL 40%

ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม 10.30 – 21.00 (ปดวันจันทร)


A CARTOONIST IS SOMEONE WHO HAS TO DRAW THE SAME THING EVERY DAY WITHOUT REPEATING HIMSELF. นักเขียนการ์ตูน คือ คนที่ต้องวาดสิ่งเดิมๆ ให้ไม่ซํ้ากันเลยทุกวัน ชาร์ล เอ็ม. ชูลซ์ นักเขียนการ์ตูนชาวอเมริกัน


สารบัญ The Subject

Being a superhero is not easy!

6

BEING A

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

LET'S Comic

c Astrid Westvang

บรัสเซลส เติบโต อยาง ติน ติน

The Object

7

Creative Source

8

Kyoto Manga Museum

Featured book / Book / DVD / Clip art

Matter

10

Classic Item

11

Cover Story

12

Insight

19

เมื่อพลาสติกแปลงรางเปนกันดั้ม

Peanuts

The power of comics in a contemporary world

World Greatest Super-Heroes

วิศุทธิ์ พรนิมิตร

สำนักการตูนไทย

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล ที่ปรึกษา l กิตติรัตน ปติพานิช, ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, กนกพร เกียรติศักดิ์, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทิพย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, ดุษฎี มุทุกันต, ณรัติ สุริยง ณ อยุธยา นักศึกษาฝกงาน l ภูริวัต บุญนัก ภาพปก l Astrid Westvang จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ sale@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

จินตนาการในลิ้นชัก คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หนังสือการ์ตูนคือหนึ่งในสมบัติชิ้นแรกๆ ของเด็ก มันจูงใจ ชักนำ� และยังพาให้เพลิดเพลินไปกับเนือ้ หาและลายเส้นทีโ่ ลดแล่นอย่างไร้พรมแดน เรื่องราวของพลังพิเศษ จักรวาลอันไกลโพ้น การพิชิตความฝัน จึงกลายเป็นเพื่อนสนิทที่ รอให้ค้นพบอยู่บนหัวเตียง จนกระทั่งเราเติบโตและหันไปสนใจในสิ่งอื่นของชีวิตมากกว่า วีรบุรุษในโลกจินตนาการจึงค่อยๆ เดินจากเราไป แต่สำ�หรับคนกลุ่มหนึ่งแล้ว ลายเส้นเหล่านี้มีชีวิตจริงและไม่ย่อท้อที่จะโลดแล่นต่อไป บนหน้ากระดาษ นักวาดการ์ตูนกลั่นเอาจิตวิญญาณมาหล่อหลอมเป็นภาพวาด ฝึกฝนและ พัฒนาให้เกิดคาแรกเตอร์ที่พิเศษ พร้อมทั้งเล่าเรื่องที่ดึงดูดให้ผู้อ่านเข้ามาอยู่ในโลกที่ ถูกตระเตรียมไว้ การ์ตนู ของแต่ละชาติจงึ มักเป็นตัวแทนความคิด เสรีภาพ และสะท้อนสังคม ซึ่งปรากฏให้เห็นทั้งแง่มุมเสียดสีการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมป๊อป เวทมนตร์ ของศิลปะแขนงนี้ยังขยายความต่อทางธุรกิจได้ไม่รู้จบ เมื่อเทคโนโลยีได้เพิ่มมิติใหม่ให้แก่ ตัวการ์ตนู จากในกระดาษมาสูจ่ อภาพดิจทิ ลั คมชัด วิดโี อเกม อนิเมชัน่ และเหล่าของสะสม อีกนับไม่ถ้วนที่ผลิตออกมา เพื่อท้าทายความผูกพันส่วนตัวระหว่างคนกับการ์ตูน ธุรกิจทีเ่ ล่นกับความฝันและความผูกพันนีจ้ งึ เทหมดหน้าตักเพือ่ ตรึงผูอ้ า่ นให้อยูใ่ นเขาวงกต แห่งจินตนาการ เฉพาะในประเทศญีป่ นุ่ มังงะมีมูลค่ากว่า 4.2 แสนล้านเยน (ราว 1.68 แสน ล้านบาท) ซึง่ มากพอทีจ่ ะทำ�ให้รฐั บาลญีป่ นุ่ ประกาศนโยบายพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรม มังงะให้เติบโตทั้งในและต่างประเทศ โดยฐานแฟนการ์ตูนญี่ปุ่นนั้นเหนียวแน่นอย่างมากใน กลุ่มชาวเอเชีย และครองสัดส่วนตลาดมากกว่าร้อยละ 30-50 ในกรุงเทพฯ เซี่ยงไฮ้ ไต้หวัน และฮ่องกง ขณะที่การ์ตูนจากค่ายตะวันตกอย่างมาร์เวล หรือ ดีซี ยังทำ�ได้ไม่ดีนัก และ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้มาร์เวลหมายตานักวาดการ์ตูนในแถบเอเชียให้เข้ามาร่วมทีมพัฒนา คาแรกเตอร์การ์ตูนยุคใหม่ เช่น การ์ตูนชุดสไปเดอร์แมน ที่ได้นักวาดการ์ตูนชาวสิงคโปร์ มาร่วมเป็นหนึ่งในทีมนักสร้างสรรค์ รวมถึงศิลปินเชื้อสายอเมริกัน-แอฟริกัน และศิลปิน เชื้อชาติอื่นๆ ที่ต่างเข้ามาเพิ่มสีสัน อรรถรส รวมถึงสร้างอารมณ์ใหม่ๆ ให้แก่จิตวิญญาณ ของการ์ตูน แม้ว่างานสร้างการ์ตูนจะเป็นงานที่ยากและน่านับถือ แต่ผู้สร้างสรรค์ก็มักถูกมองข้าม และละเลยจากการละเมิดลิขสิทธิท์ เ่ี กิดขึน้ ทัว่ โลก ในประเทศไทยตลาดสินค้าลิขสิทธิก์ าร์ตนู มีมลู ค่าราว 2-3 หมืน่ ล้านบาท ซึง่ มีมลู ค่าใกล้เคียงกับตลาดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยเหตุน้ี การสนับสนุนนักวาดการ์ตูน กราฟิก และอนิเมชั่นของไทยให้เติบโตได้ จึงต้องควบคู่ไปกับ การสร้างเกราะกำ�บังให้พวกเขาได้มีที่ยืนอย่างมั่นคงด้วย เพราะแทนทีจ่ ะปล่อยให้พวกเขาใช้ทนุ จากจินตนาการแต่เพียงฝ่ายเดียว เราต้องผลักดัน ให้ทุกคนที่มีสมบัติอยู่ในตัวได้ค้นหาสิ่งที่ซุกซ่อนไว้ และเอาใจช่วยให้พวกเขาเจอกุญแจที่ จะไขลิ้นชักที่เต็มไปด้วยจินตนาการนั้นออกมา อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Creative Thailand

l มีนาคม 2555 l 5


THE SUBJECT ลงมือคิด

ิ่มปราณุที ุกันต์ ร ห ร อ ิ ร ิ ศ เรื่อง: ระกอบ: ดุษฎี ม ภาพป

ไม่มีใครจะเหนื่อยเกินพวกเขาอีกแล้ว ต้องแบกรับความฝันแห่งสันติสุขของคนทั้งโลก ผดุงความยุติธรรมในที่ซึ่งกฎหมาย มิอาจกลํ้ากราย ทุกนาทีต้องจดจ่อกับสัญญาณขอความช่วยเหลือจากผู้อ่อนแอไร้ทางสู้ จะด้วยพลังพิเศษหรือภูมิหลังอัน คับแค้นใจก็ตามที ซูเปอร์ฮีโร่เหล่านี้ คือผลผลิตแห่งจินตนาการในยามที่วีรบุรุษขาดหายไปจากชีวิตจริง ต้องขอบคุณสองเด็กหนุม่ เชือ้ สายยิววัย 17 ปีจากโอไฮโอ ทีเ่ อาความช่างฝัน การนำ�สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมมาเป็นเงื่อนไขการดำ�เนิน บวกกับความแน่วแน่มานำ�เสนอเป็นพระเอกการ์ตูนแนวไซไฟรุ่นใหม่ที่ ชีวิตของซูเปอร์ฮีโร่นั้น ทำ�ให้พวกเขายังคงความร่วมสมัยจนวันนี้ มีนาคม แตกต่างจากฮีโร่ที่มีอยู่ เจอร์รี่ ซีเกล และ โจ ชัสเตอร์ ใช้เวลากว่า 8 ปี ปี 2010 มาร์เวล คอมิกส์เขียนชะตากรรมใหม่ให้กับ "สไปเดอร์แมน" ทำ�ให้ "ซูเปอร์แมน" สามารถตีพิมพ์ภายใต้สังกัดสำ�นักพิมพ์ดีซี คอมิกส์ โดยให้ ปีเตอร์ ปาร์กเกอร์ ถูกไล่ออกจากงาน เช่นเดียวกับชาวอเมริกัน ในปี 1938 ซูเปอร์แมนต่างจากซูเปอร์ฮีโร่รุ่นพี่อย่าง "แฟนธอม" หรือ หลายล้านคนทีต่ อ้ งว่างงานจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทางด้าน ดีซี คอมิกส์ "แฟลช กอร์ดอน" ที่มักออกไปผจญภัยนอกโลก ด้วยการใช้ชีวิตเช่น ก็นำ�เสนอซูเปอร์แมนโฉมใหม่ใน ซูเปอร์แมน: เอิร์ธ วัน ทีอ่ อกมาในเดือน คนทั่วไป ทำ�งาน มีคนรัก และเจ็บปวดได้ นั่นเป็นเหตุผลที่อเมริกันชน ตุลาคมปีเดียวกัน โดยเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้ยอดมนุษย์จากดาวคริปตอน คลั่งไคล้ซูเปอร์แมนในทันที และทำ�ให้ดีซี คอมิกส์สร้างยอดขายได้เกือบ เป็นเด็กหนุม่ วัย 21 ปี ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในจิตใจ และดิ้นรนเพื่อ ล้านเล่มต่อเดือน ค้นหาเส้นทางของตัวเองในโลกใบนี้ "คลาร์ก เคนต์" ยุคใหม่จึงมาพร้อม เมือ่ การผจญภัยในห้วงอวกาศไม่เร้าใจอย่างทีเ่ คยเป็น และอาชญากร กับแจ็กเก็ตฮูด้ กระฉับกระเฉง ไร้กรอบแว่นตา และฉากหลังในโลกปัจจุบนั ต่างดาวก็ไม่สร้างทุกข์เข็ญเพื่อนำ�ไปสู่อารมณ์ร่วมของคนในชาติได้ ที่ดูสมจริงมากขึ้น แดน ดีคิโอ บรรณาธิการร่วมของดีซี คอมิกส์ กล่าวว่า ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม อันเป็นภัยใกล้ตวั กว่าจึงถูกหยิบยก “พวกเขาต้องการเล่าเรื่องที่ทันสมัย เซ็กซี่ และฉุนเฉียว” ซึ่งทั้งดีซีและ และนำ�เสนอแก่ผอู้ า่ นอย่างตรงไปตรงมา ซูเปอร์ฮโี ร่อเมริกนั จึงต้องฟาดฟัน มาร์เวลต่างยืนยันว่าซูเปอร์ฮีโร่ในเวอร์ชั่นเดิมจะยังมีอยู่สำ�หรับแฟนคลับ กับคู่สงครามในสนามรบจริงของสหรัฐฯ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์แมน กลุม่ เดิม แต่กลยุทธ์การตลาดทีอ่ งิ กับค่านิยมใหม่ของสังคมจะสร้างให้เหล่า ที่ต้องหยุดยั้งสงครามโลกด้วยการต่อกรกับฮิตเลอร์และกองทัพนาซี ฮีโร่กลายเป็นปุถชุ นทีก่ ลมกลืนกับผูค้ น เพิม่ ความเห็นอกเห็นใจของคนอ่าน “วอทช์เมน” ของผู้แต่งอลัน มัวร์ ที่เป็นเหล่านักรบของประธานาธิบดี และยังนำ�มาซึ่งยอดขายที่น่าพึงใจของสำ�นักพิมพ์ด้วย นิกสันซึ่งถูกส่งไปรบในสงครามเวียดนาม ขณะที่ “ปีเตอร์ ปาร์กเกอร์” อันที่จริงแล้ว เซ็กซี่และฉุนเฉียวก็ไม่ได้แย่นัก ถ้าหากว่าซูเปอร์ฮีโร่ เด็กหนุ่มขี้อายที่แวดล้อมด้วยความทุกข์ก็ต้องรับมือกับยาเสพติดซึ่งเป็น เหล่านีย้ งั คงปกป้องโลกให้นา่ อยูไ่ ด้ดงั ทีเ่ ราจินตนาการเอาไว้ ปัญหาใหญ่ของสังคมอเมริกันในยุค 1970 ที่มา: สารคดี Comic Book Superheroes Unmasked (2003) จาก History Channel, tnnthailand.com, manageronline.co.th

6 l Creative Thailand l มีนาคม 2555


flickr.com/photos/nelc

THE OBJECT คิดแล้วทำ�

Kyoto Manga Museum เรื่อง: หทัยรัตน์ เอสเตร่า มณเฑียร

ตั้งแต่ปี 2006 ชาวเกียวโตในญี่ปุ่นคือคนกลุ่มแรกๆ ที่ได้มีโอกาสสัมผัส "มังงะ" ในลักษณะที่แตกต่างออกไป จากเดิมที่ เคยเห็นตามแผงร้านค้า หาอ่านตามบ้านเพื่อน หรือค้นคว้าจากการ์ตูนเก่าๆ ในห้องสมุด เพราะปัจจุบันมังงะจากที่เคยเป็น แค่วัฒนธรรมป๊อปนั้น ได้ยกระดับชั้นตัวเองไปเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างเป็นทางการแบบมีที่มีทาง เมื่อรัฐบาลท้องถิ่น เกียวโตร่วมกับมหาวิทยาลัยเกียวโต เซย์กะ และชาวบ้านในท้องถิ่น จัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์มังงะแห่งเกียวโต” ขึ้นเพื่อ รวบรวมเอาหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1945-2005 มาเก็บรักษาไว้ พิพธิ ภัณฑ์มงั งะแห่งเกียวโตนี้ ทำ�หน้าทีเ่ ป็นตัวกลางทีเ่ ปิดให้ประชาชนได้ ญีป่ นุ่ ทุกวันนี้ หากใครต้องการจะเข้าชมพิพธิ ภัณฑ์จบิ ลิ (Ghibli Museum) มาแสวงหาความเพลิดเพลินจากคอลเล็กชั่นหนังสือการ์ตูนที่เก็บไว้กว่า ที่จัดแสดงผลงานอนิเมะของสตูดิโอจิบลิ ในกรุงโตเกียวแต่ละครั้งนั้น จะ 300,000 เล่ม โดยมีการให้ความรู้ตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้าของสายธาร ต้องจองตัว๋ ล่วงหน้ากันเป็นเดือนๆ นอกจากนี้ ก็ยงั มีการสร้างบ้านพิพธิ ภัณฑ์ อุตสาหกรรมการ์ตนู ในญีป่ นุ่ มีกจิ กรรมเผยแผ่ความรูใ้ นเรือ่ งกระบวนการ นักวาดการ์ตูนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อยกย่องถึงพรสวรรค์ที่หาตัว ผลิต เทคนิคต่างๆ จนถึงเรือ่ งการบริหารงานสือ่ สิง่ พิมพ์ และยังปลูกฝังให้ จับยาก อย่างบ้านพิพิธภัณฑ์การ์ตูนของอาจารย์เท็ตซึกะ โอซามุ บุคคล ประชาชนได้มกี ารเรียนรูต้ ลอดชีวติ ผ่านสือ่ สร้างสรรค์อย่างการ์ตนู อีกด้วย ในระดับตำ�นานของแวดวงมังงะ หรือการทีภ่ าพบางภาพในหนังสือการ์ตนู พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ได้ทำ�หน้าที่เป็นแค่สถานที่จัดแสดงและจัดเก็บ ซึ่งเราเคยอ่านทิ้งอ่านขว้างได้ถูกนำ�มาตัดแปะใส่กรอบเพื่อแขวนผนังโชว์ หนังสือการ์ตูนขนาดใหญ่ชนิดที่เราจะหาอ่านได้แบบไม่มีวันหมดเท่านั้น อยูใ่ นพิพธิ ภัณฑ์ เพือ่ ให้ผคู้ นได้ชน่ื ชมกับมันในฐานะงานศิลปะชัน้ ดีได้โดย แต่ยงั ถูกจัดระเบียบให้สอดคล้องกับนโยบายแห่งชาติทส่ี ง่ เสริมการส่งออก ไม่ขัดเขิน วัฒนธรรมอย่างเป็นขบวนการ โดยมีการจัดตัง้ The International Manga เห็นความลา้ํ หน้าในกระบวนความคิดเรือ่ งพิพธิ ภัณฑ์การ์ตนู ของญีป่ นุ่ Research Center เพือ่ ทำ�หน้าทีส่ ง่ เสริมงานด้านการศึกษาวิจยั มังงะอย่าง จากพิพธิ ภัณฑ์มงั งะแห่งเกียวโตนีแ้ ล้ว ก็อดไม่ได้ทจ่ี ะนึกว่าเมืองไทยบ้านเรา จริงจัง ทั้งยังเป็นเสาหลักในการเก็บรวบรวมฐานข้อมูลเพือ่ ช่วยขับเคลือ่ น น่าจะคิดและลงมือทำ�ในเรื่องนี้กันอย่างจริงจังได้แล้วหรือยัง เพื่อว่าคน อุตสาหกรรมมังงะของญี่ปุ่นให้แผ่ขยายไปทั่วโลก ที่เก็บสะสมการ์ตูนดีๆ อยู่อย่างเดียวดายจะได้มีพื้นที่ในการจัดแสดงผล ในไม่กป่ี มี านี้ มีความเคลือ่ นไหวเรือ่ งพิพธิ ภัณฑ์การ์ตนู ในญีป่ นุ่ สูงมาก งานศิลปะของชาติท่มี ีคุณค่ามากไปกว่าการปล่อยให้เป็นเพียงศิลปะแห่ง งานการ์ตูนทั้งมังงะและอนิเมะ ต่างได้รับการยอมรับมากขึ้นจากสถาบัน อนาคตที่มีค่าไม่ต่างจากเศษกระดาษเท่านั้น ต่างๆ โดยในระดับมหาวิทยาลัยเองก็มกี ารจัดตัง้ ภาควิชาสอนการทำ�มังงะ กันโดยเฉพาะ ซึง่ เติบโตขึน้ จนถึงขัน้ เปิดเป็นภาคพิเศษนานาชาติ การจัดตัง้ พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับมังงะก็ผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ดในหลายภูมิภาคของ ที่มา: Kyotomm.jp Creative Thailand

l มีนาคม 2555 l 7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

FEATURED BOOK

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

The Art of Osamu Tezuka โดย Helen McCarthy

แม้หลายคนจะยกย่องให้ เท็ตซึกะ โอซามุ เป็นเสมือน วอลต์ ดิสนีย์ แห่งญี่ปุ่น แต่ผู้ที่ค้นคว้าเรื่องราว เกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่าง เฮเลน แม็กคาร์ธีย์ กลับเชือ่ ว่า โอซามุยง่ิ ใหญ่กว่านัน้ และเขาน่าจะเป็น ได้ทง้ั วอลต์ ดิสนีย์ บวกกับ สแตน ลี, แจ็ก เคอร์บ,ี คาร์ล เซแกน, อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก และทิม เบอร์ตนั หรือพูดง่ายๆ ว่า โอซามุคือ “พระเจ้าแห่งวงการ มังงะ” สิง่ ทีพ่ สิ จู น์ถงึ คำ�พูดดังกล่าวได้ดกี ค็ อื ผลงานที่ โอซามุได้สร้างสรรค์ไว้ให้โลก ซึง่ ได้แก่ภาพการ์ตนู กว่า 170,000 ภาพ จากกว่า 700 เรือ่ ง ในจำ�นวนนัน้ เป็นตัวการ์ตูนที่โด่งดังตลอดกาลอย่าง Astro Boy, The Phoenix, Kimba, Black Jack และอีกมากมาย โอซามุยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดนักวาดการ์ ตู น

8 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

มังงะขึ้นมากมายทั่วโลก รวมถึง ฮิโรชิ ฟุจโิ มโตะ และ โมโตโอะ อะบิโคะ ผู้เขียนการ์ตูนเรื่องดังอย่าง โดราเอมอน เสน่หข์ องมังงะหรือการ์ตนู ช่องคือการเปิดให้ นั ก อ่ า นได้ โ ลดแล่ น ไปในจิ น ตนาการของผู้ แ ต่ ง ผ่านเรื่องราวและภาพที่เข้าใจได้ง่ายไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในจินตนาการของโอซามุนั้น มักมีส่วนผสม ของการผจญภัย โลกแห่งอนาคต วิทยาศาสตร์ อวกาศ และการใช้ชวี ติ ร่วมกับหุน่ ยนต์อยูเ่ สมอ และ หากลองหลับตานึกสภาพความเป็นอยู่ในช่วงยุค บ้านเมืองยังไม่เจริญเช่นทุกวันนี้ อะไรคือสิง่ ทีท่ �ำ ให้ โอซามุฝันได้ไกลถึงเพียงนั้น หนังสือเล่มนี้บันทึก ทุกช่วงชีวิตของเท็ตซึกะ โอซามุ ไว้อย่างครบถ้วน รวมถึงแง่มุมต่างๆ ที่หล่อหลอมความเป็นตัวเขา

ทั้งเรื่องการศึกษา ครอบครัว สภาพสังคม และ ได้รวบรวมผลงานที่สำ�คัญๆ ในแต่ละช่วงเวลา มาลำ�ดับไว้อย่างน่าติดตาม หรือแม้แต่ผลงานที่ยัง คงเขียนค้างไว้อีกหลายเรื่อง หนังสือยังมาพร้อม กั บ แผ่ น ดี วี ดี ส ารคดี เ บื้ อ งหลั ง การสร้ า งการ์ ตู น เรื่อง Astro Boy และ Buddha อีกด้วย เพื่อให้ เราเห็นถึงแรงบันดาลใจในการทำ�งาน และความ ละเมียดละไมที่แฝงไว้ด้วยสุดยอดจินตนาการ อย่างยากจะหาใครเปรียบเหมือน


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

BOOK The Dawn of the Floating World

โดย Timothy Clark, Anne Nishimura Morse และ Louise E. Virgin
 การ์ตูนมังงะของญี่ปุ่นนั้นมีประวัติความเป็นมา ความทรงจำ� และความสุขสำ�ราญทีอ่ ยูเ่ พียงชัว่ ครัง้ ยาวนาน ซึ่งตามความหมายสมัยใหม่มักกล่าวถึง ชั่วคราว หนังสือเล่มนี้จะทำ�ให้รู้จักภาพอุคิโย-เอะ จุดเริม่ ต้นในช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง แต่ถา้ มากยิ่งขึ้น ผ่านคอลเล็กชั่นภาพพิมพ์แกะไม้ใน ย้อนความกันให้ลึกกว่านั้นจะพบว่า บางหลักฐาน สมัยเอโดะกว่า 140 ภาพ ที่รวบรวมโดยพิพิธภัณฑ์ อ้างอิงก็ระบุไว้ว่า มังงะคือหนึ่งในพัฒนาการของ วิจิตรศิลป์แห่งเมืองบอสตัน ภาพวาดและภาพพิมพ์แกะไม้แบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า อุคิโย-เอะ (Ukiyo-e) ซึ่งแปลว่า “ภาพโลกแห่ง ความล่องลอย” หรือหมายถึงภาพทีบ่ นั ทึกความงาม

DVD Paprika

กำ�กับโดย Satoshi Kon การ์ตนู อาจไม่ได้สร้างสรรค์ขน้ึ เพือ่ กลุม่ เป้าหมายที่ เป็นเด็กเท่านัน้ ซาโตชิ คอน คือหนึง่ ในนักสร้างสรรค์ การ์ตนู ที่เลือกจะสะท้อนด้านมืดของมนุษย์ไปพร้อม กับการดำ�เนินเรื่องที่ท้าทายเพื่อให้นักดูการ์ตูนวัย ผู้ใหญ่ได้ครุ่นคิด หนึ่งในผลงานที่สร้างชื่อของ เขาดัดแปลงมาจากนวนิยายเนื้อหาทันสมัยของ สึสึอิ ยาสุทากะ ในปี 1993 สู่อนิเมชั่นเรื่องดัง Paprika ที่บอกเล่าเรื่องราวของ DC Mini นวัตกรรม ชิ้นใหม่ ที่ใช้ในการสำ�รวจห้วงแห่งจิตใต้สำ�นึก อุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นเสมือนบานประตู ที่เปิด ให้ผู้บำ� บัดก้า วเข้า ไปเป็นส่วนหนึ่งกับ ความฝัน โดยมีนกั จิตบำ�บัด ดร.ชิบะ เอ็ตสึโกะ หนึง่ ในทีม

ทดลองทำ�หน้าทีเ่ ข้าไปสูอ่ าณาจักรฝันของผูป้ ว่ ยด้วย บุคลิกใหม่ ในนาม Paprika เพื่อช่วยค้นหาต้นตอ ของปัญหาและนำ�ไปสู่การแก้ไข คำ�ตอบของการ คลี่คลายนั้นจึงเป็นการสร้างสมดุลระหว่างโลกแห่ง ความฝันที่อาจถูกกดทับไว้ในจิตใต้สำ �นึ กตั้ง แต่ เยาว์วัยจนหลงลืมไปแล้ว กับโลกแห่งความจริง ณ ปัจจุบันให้คู่ขนานกันไปได้อย่างราบรื่น เพราะ ความฝันคือพลังปรารถนาในอดีตที่ไม่ได้ลงมือทำ� ซึ่งจะคอยทวงถามในใจเราเสมอ จึงอยู่ที่ว่าเราจะ เลือกให้ปรารถนานั้นยังคงค้างคาในห้วงความคิด หรือเชื่อในความฝันและเปิดโอกาสให้ฝันเหล่านั้น ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตจริงเสียที

CLIP ART Manga Clip Art ตัวละครชาย หญิง สัตว์ตา่ งๆ รวมถึงฉากเหตุการณ์ ในชีวิตประจำ�วัน ซึ่งเกิดจากแม่พิมพ์ไม้ที่กดทับ ลงบนกระดาษนัน้ นับเป็นมังงะยุคแรกๆ ที่เกิดขึ้น ในสมัยไอคอนคนสำ�คัญอย่างโฮคุไซ เทคนิคเหล่านี้ ยังคงเป็นพื้นฐานสำ�คัญของบรรดานักสร้างสรรค์ การ์ตูนที่ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบัน และ ด้ว ยเทคโนโลยีที่รุดหน้า แป้นพิมพ์ไม้ในอดีต จึงกลายมาเป็นแผ่นซีดที ท่ี �ำ หน้าทีเ่ ป็นอุปกรณ์รปู แบบ ใหม่เพื่อช่วยให้ผู้ที่สนใจในงานสร้างสรรค์การ์ตูน

สามารถลงมือผลิตชิ้นงานขึ้นได้ด้วยตนเอง ตั้งแต่ การเรียนรู้ทฤษฎีสี เทคนิคการลงสี การสร้าง บุคลิกตัวการ์ตูนในบทบาทต่างๆ ซึ่งมีตวั อย่างมา ให้ถึง 6 รูปแบบ พร้อมอุปกรณ์ตกแต่งมากกว่า 120 ชิ ้ น และบรรยากาศพื ้ น หลั ง สำ � หรั บ การ จัดวาง องค์ประกอบของเรื่องอีก 6 แบบ เพื่อ ช่ ว ยสร้ า งเอกลั ก ษณ์ ใ ห้ แ ต่ ล ะตั ว ละครสามารถ สื่อสารบทบาทของตนเองได้อย่างชัดเจนตามแต่ จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ Creative Thailand

l มีนาคม 2555 l 9


MATTER วัสดุต้นคิด

ABS

PVC

hobbyhunter.com

เมื อ ่ พลาสติ ก แปลงร่ า งเป็ น กั น ดั ม ้ เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

POM

นับเป็นความเชื่อมโยงที่แม้จะดูต่างกันสุดขั้ว ทว่าก็แยกจากกันไม่ออกเลย สำ�หรับโลกแห่งจินตนาการสร้างสรรค์อย่าง การ์ตูนและอนิเมชั่น กับโลกแห่งวัสดุศาสตร์ที่ก้าวลํ้าด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะองค์ประกอบสำ�คัญที่สุด อย่างหนึง่ ในการแปลงจินตนาการจากการ์ตูนเรื่องดังให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอันนั้น โลกแห่งการ์ตนู ก็จำ�เป็น ต้องพึ่งพานวัตกรรมลํ้ายุคจากโลกวัสดุไปไม่น้อยกว่าจินตนาการสร้างสรรค์ใดๆ ขณะที่วัสดุซึ่งมักจะถูกจับชูโรงให้เป็นตัวเด่นในแวดวงการผลิตของเล่นก็ เฉพาะในส่วนข้อต่อหรือฟันเฟืองต่างๆ ซึ่งจะทำ�ให้ชิ้นงานมีนํ้าหนักเบา หนีไม่พ้น “พลาสติก” อันเป็นส่วนประกอบหลักของบรรดาของเล่นที่เรา และไม่ต้องหยอดนํ้ามันเพื่อการหล่อลื่น คุน้ เคยเป็นอย่างดี ตัง้ แต่ตวั ต่อเลโก้ไปจนถึงฟิกเกอร์ราคาแพง แต่พลาสติกที่ จะเห็นได้ว่าพลาสติกทั้งสามชนิดนี้ มักถูกนำ�ไปฉีดขึ้นรูปและผลิต ถูกนำ�มาใช้ในการผลิตของเล่นนัน้ ไม่ได้มเี พียงชนิดเดียว แต่ยงั มีหลากหลาย ของเล่นควบคู่กันไป อย่างเช่น บันได (Bandai) บริษัทยักษ์ใหญ่ใน ชนิดต่างคุณสมบัติ เพือ่ ให้สามารถเลือกมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมสำ�หรับ อุตสาหกรรมการผลิตของเล่นของญี่ปุ่นได้เลือกใช้ Hybrid Material ด้วย ของเล่นแต่ละชิ้น การผสมผสานคุณสมบัติเด่นของพลาสติกทั้ง 3 ไว้อย่างลงตัว นั่นคือ พีวีซี (PVC) เอบีเอส (ABS) หรือพีโอเอ็ม (POM) คือชื่อทางวัสดุ คงทน นํ้าหนักเบา ผิวมันวาว เหนียวและอ่อนนุ่ม มาสร้างเป็นหุ่นยนต์ ศาสตร์ของประเภทพลาสติกที่มักจะปรากฏอยู่ข้างกล่องของเล่นสุดรัก กันดัม้ ชุด "The Robot Spirits" ทีไ่ ด้ยกระดับอุตสาหกรรมของเล่นของสะสม สุดหวงของเราเสมอ ซึ่งแต่ละชนิดต่างก็มีคุณสมบัติที่ต่างกันไป พีวีซี ไปสู่มาตรฐานใหม่ ด้วยเทคโนโลยีการขึ้นรูปแบบสามมิติ บวกกับการใช้ (Polyvinyl chloride) มักถูกใช้ในชิ้นงานทั่วไปที่ไม่เจาะจงในเรื่องของ ทักษะงานฝีมอื ชัน้ สูง เพือ่ เปลีย่ นเม็ดพลาสติกขึน้ รูปธรรมดาๆ ให้กลายเป็น สีสัน เช่น ตัวหุ่น แขน หรือขา บ้างก็ถูกนำ�ไปใช้ผลิตของเล่นเด็กชนิด ชิน้ งานศิลป์สดุ ประณีตทีม่ ากด้วยรายละเอียด ทัง้ ยังสามารถจัดปรับท่าทาง เป่าลม เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง ทำ�ความสะอาดได้ง่าย ไม่เกาะติด พิเศษของฟิกเกอร์ได้อย่างสมจริงมากที่สุด สิ่งสกปรก ทนทาน และมีสีใส ส่วนเอบีเอส (Acrylonitrile-butadiene- ซือ้ ของเล่นครัง้ หน้า ลองพลิกดูขา้ งกล่องสักนิด แล้วคุณอาจจะพบว่า styrene) มักถูกใช้ในชิ้นส่วนที่ต้องทนต่อแรงเสียดสีและการขีดข่วน หรือ พลาสติกธรรมดา เมื่อบวกกับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยี งานทีต่ อ้ งการผสมสีสนั เพือ่ ความสวยงาม และส่วนประกอบทีแ่ ยกชิน้ ส่วนได้ และความคลั่งไคล้ในโลกการ์ตูน พวกมันก็อาจมีค่ามากเกินกว่าคำ�ว่า เช่น เสื้อเกราะ หรืออาวุธต่างๆ ของหุ่นยนต์ เนื่องจากสามารถนำ�ไป “ของเล่นๆ” สำ�หรับผู้ที่มีสายตาเพื่อมันโดยเฉพาะ ชุบเคลือบได้ผวิ แวววาวเหมือนโลหะ หรือเรียบด้านได้แล้วแต่ความต้องการ ขณะที่พีโอเอ็ม (Polyoxymethylene) นั้นมีนํ้าหนักเบา แข็งแรง ลื่น ที่มา: บทความ อะไรคือ PVC / ABS หรือ POM จาก go-animate.com ไม่อมความชื้น และทนกระแสไฟ จึงเหมาะใช้ทำ�ชิ้นงานแทนเหล็กโดย plamoya.com 10 l Creative Thailand l มีนาคม 2555


CLASSIC ITEM คลาสสิก

เหตุการณ์ส�ำ คัญเช่นสงครามเวียดนามหรือการแข่งขัน กับสหภาพโซเวียตด้านอวกาศเป็นแหล่งวัตถุดิบชั้นดี ในการเขียนของชูลซ์ ในปี 1958 สนูปปี้โยนไลนัสขึ้น ไปบนอากาศ แล้วคุยอวดว่าเป็นสุนัขตัวแรกที่ปล่อย มนุษย์ขน้ึ ไป เพือ่ ล้อเลียนสหภาพโซเวียตทีส่ ง่ สุนขั ไลก้า ขึน้ ไปกับดาวเทียมสปุตนิก 2 สนู ป ปี้และชาร์ลี บราวน์ กลายเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ กึง่ ทางการของภารกิจการเดินทางไปสำ�รวจดวงจันทร์ ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) โดยมีการตัง้ ชือ่ ยานบังคับการของยานอพอลโล 11 ว่า ชาร์ลี บราวน์ และยานร่อนลงบนดวงจันทร์วา่ สนูปปี้

แนวคิดเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย ดูเหมือนจะลํ้าหน้าไปเป็นสิบปี เมื่อทีมเบสบอลของ ชาร์ลี บราวน์ ในการ์ตูนโทรทัศน์ตอนพิเศษ ชาร์ลี บราวน์ส์ ออล-สตาร์ส์ ประกอบด้วยผู้เล่นหญิงถึง 4 คน คือ เปปเปอร์มนิ ต์ แพทตี,้ ลูซ,่ี ไวโอเล็ต และ ฟรีดา้ ซึง่ ทำ�ให้ชลู ซ์ตอ้ งยอมปฏิเสธเงินสนับสนุนจาก เอกชนที่ยื่นคำ�ขาดว่าไม่ต้องการให้มีผู้หญิงและสุนัข ร่วมลงแข่งขันในลีคเกม

ชีวประวัติชูลซ์และพีนัทส์เขียนโดย เดวิด มิคาเอลลิส ตีพิมพ์ในปี 2007 วิเคราะห์ว่าชูลซ์ต้องการเสนอว่า คนเราสามารถปลดปล่อยข้อบกพร่องและบาดแผล ทางใจในวัยเด็กได้ หากมองเห็นความขบขันทีซ่ อ่ นอยู่ ในปมปัญหาของตัวละครเหล่านี้ จึงไม่น่าแปลกว่า ชาร์ลี บราวน์ ผูข้ าดความเชือ่ มัน่ ขีเ้ หงา และมักถูกเพือ่ น และสนูปปีแ้ กล้ง (ทัง้ ทีค่ วรจะต้องเชือ่ ฟังเจ้าของ) "ไลนัส" ในปี 1968 "แฟรงคลิน" เด็กชายผิวดำ�ปรากฏตัวบน ทีต่ ดิ ผ้าห่ม หรือ "วูด้ สต็อก" ทีค่ าใจเพราะไม่รวู้ า่ ตัวเอง หน้าหนังสือพิมพ์และเป็นตัวละครเพียงตัวเดียวที่ถูก เป็นนกชนิดไหนหรือเป็นอะไรกันแน่ จึงเป็นภาพตัวแทน บรรณาธิการปฏิเสธที่จะให้ร่วมอยู่ในฉากที่โรงเรียน ของแฟนผู้อ่านจำ�นวนมาก ของชาร์ลี บราวน์ แต่ชลู ซ์เลือกทีจ่ ะเพิกเฉย “ผมจำ�ได้ ว่าการปรากฏตัวของแฟรงคลินถูกวิจารณ์อย่างมาก แม้ จดหมายที่ส่งมาจะไม่เยอะ แต่ว่าค่อนข้างรุนแรง”

PEANUTS

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล ถ้าหากไม่ได้ตดิ ตามอ่านการ์ตนู ชุด พีนทั ส์ และมองเพียงหน้าตาตัวเอกของเรือ่ งทีเ่ ป็นสุนขั พันธุบ์ เี กิลสีขาวยืนสองขาชือ่ "สนูปปี"้ และ เด็กชายหัวกลมสวมเสื้อเหลืองชื่อ "ชาร์ลี บราวน์" เราอาจจะเข้าใจว่าการ์ตูนชุดนี้เต็มไปด้วยความสดใสและน่ารัก แต่ใครจะรู้ว่า ความสำ�เร็จของการ์ตูนชุดนี้กลับมาจากความคิดของ ชาร์ล เอ็ม. ชูลซ์ ที่ต้องการนำ�เสนอเรื่องราวความล้มเหลวของตัวละคร การเสียดสีสถานการณ์ของแต่ละยุคสมัย และจุดยืนทางความคิดที่เข้าขั้นกบฏของสังคมอเมริกันแห่งยุค 1950 และ 1960 ในปี 1984 พีนทั ส์ถกู บันทึกไว้ใน กินเนส บุก๊ หลังจาก ที่ถูกขายให้กับหนังสือพิมพ์ 2,000 หัวทั่วโลก และมี แฟนการ์ตนู พีนทั ส์มากกว่า 300 ล้านคนใน 75 ประเทศ

ที่มา: schulzmuseum.org

13 กุมภาพันธ์ 2000 เป็นวันสุดท้ายทีพ่ นี ทั ส์ปรากฏบน หน้าหนังสือพิมพ์ด้วยปลายปากกาของชูลซ์ที่เสียชีวิต ลงก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ชูลซ์ได้เขียนคำ�อำ�ลาไว้ว่า "ผมโชคดีทไ่ี ด้วาดชาร์ลี บราวน์และเพือ่ นมาเกือบ 50 ปี ซึ่งเติมเต็มความฝันในวัยเด็กของผม แต่โชคไม่ดีที่ ผมไม่สามารถที่จะผลิตงานได้ทันตามกำ�หนดเวลา ของการ์ตู นรายวั น ได้ และครอบครั ว ของผมก็ ไ ม่ ต้องการให้พีนัทส์ดำ�เนินต่อไปโดยฝีมือของคนอื่น ผมจึงต้องประกาศอำ�ลา ผมซาบซึ้งอย่างมากสำ�หรับ การสนับสนุนและความรักของทีมงานและแฟนการ์ตนู ที่มีต่อผม ชาร์ลี บราวน์ สนูปปี้ ไลนัส ลูซี่... ผมจะ ไม่มีวันลืมพวกเขา”

แม้จะสิ้นสุดการเป็นการ์ตูนแถบในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ในปัจจุบันพีนัทส์ยังคงโลดแล่นอยู่ในหมู่ผู้ชม ใน รูปแบบมัลติมีเดีย หนังสือ และซีรีส์การ์ตูนที่อิงตาม การ์ตูนแถบในช่วงปี 1964 โดยแบ่งออกเป็น 10 ตอน สำ�หรับซีซั่นแรก ซึ่งได้ฉายรอบแรกผ่านไอทูนส์ ใน ปี 2008 และวางจำ�หน่ายในรูปแบบดีวีดีเมื่อปี 2010

Creative Thailand

l มีนาคม 2555 l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

12Creative Thailand Thailal ndมีนาคม นาคม 2555 l Creative l มี2555


COVER STORY เรื่องจากปก

The Power of

Comics

in a Contemporary World

พลังการ์ตูนในโลกร่วมสมัย

flickr.com/photos/boojee

เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอีกต่อไป หากเดินเข้าไปที่ร้านหนังสือในเมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพฯ ริโอ เด จาเนโร โตเกียว นิวยอร์ก ปารีส หรือดูไบ แล้วพบกับชั้น “หนังสือการ์ตูน” หลากหลายสัญชาติวางเรียงรายอย่างเป็นกิจจะลักษณะในหมวดหมูข่ องตนเอง ทัง้ การ์ตนู ผจญภัยสำ�หรับเด็กจากฟินแลนด์ การ์ตูนวิพากษ์สังคมจากสหรัฐฯ หรือการ์ตูน อัตชีวประวัติจากอิหร่าน หนังสือรวมเล่มงานเขียนและภาพวาดเล่าเรื่องราวเป็นช่องๆ เหล่านี้ คือผลผลิตในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่กำ�ลังเป็นที่จับตามอง ในฐานะตัวแทน ทางวัฒนธรรมและทางเลือกใหม่ในการสร้างความมั่งคั่งในโลกร่วมสมัย

ส่วนหนึ่งจากโปสเตอร์ของ Lambiek ร้านขายการ์ตูนที่เก่าแก่ที่สุดในอัมสเตอร์ดัม เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 1968 มีนาคม 2555 l Creative Thailand l

13


COVER STORY เรื่องจากปก

เมื่อเรื่องราวคืออาวุธ

ในปี 2002 รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนยุทธศาสตร์ “คูล เจแปน” เพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจด้วยผลิตภัณฑ์จากวัฒนธรรมของกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และส่งเสริมการส่งออกวัฒนธรรมป๊อบไปยังตลาดโลก ช่วงเศรษฐกิจ ตกตํา่ หนึง่ ปีกอ่ นหน้านัน้ สินค้าทางวัฒนธรรมอย่างมังงะยังคงความนิยม และส่งอิทธิพลต่อโลกยิง่ กว่าเมือ่ ยีส่ บิ ปีกอ่ น เพราะทุกมุมโลกต่างหลงใหล ในภาพการ์ตูนสองมิติแบนราบที่เนื้อเรื่องและลายเส้นกลับลุกขึ้นมา มีชีวิตชีวาและขวนขวายสารพัดวิธีท่ีจะเข้าถึงเพื่อทำ�ความรู้จักกับมังงะ สำ�นักพิมพ์ทอ้ งถิน่ ในไทย ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมนี หรือสหรัฐฯ ต่างกว้าน ซือ้ ลิขสิทธิม์ งั งะเรือ่ งแล้วเรือ่ งเล่า ชีใ้ ห้เห็นว่ากำ�แพงทางภาษาไม่ใช่ปญั หา เลยแม้แต่นอ้ ย หากเป็นเสน่หท์ ท่ี ำ�ให้คนอยากจะจมดิง่ สูโ่ ลกฝันทีค่ วามเป็น ไปได้ไม่เคยสิ้นสุด เก้าปีต่อมา ในปี 2011 ภายหลังเหตุการณ์ระเบิดของเตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ในโรงงานไฟฟ้าที่ฟุคุชิมะ ยิ่งทำ�ให้กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า

© Ton Koene/ZUMA Press/Corbis

เพียงหนึ่งศตวรรษหลัง “มังงะ” ภาพวาดแห่งโลกอันล่องลอยจาก เรือ่ งเล่าทีถ่ กู ร้อยเรียงเป็นช่อง เป็น ที่นิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่นสมัยเอโดะ การ์ตนู จากแดนอาทิตย์อทุ ยั ก็กลาย เป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรม แบบ "ซอฟต์ พาวเวอร์" ที่ทรง พลานุภาพระดับนานาชาติ หน้า กระดาษพิมพ์ลายเส้นและเรือ่ งราว จากดินสอและปากกาคืออาวุธชนิด ใหม่ ทีช่ ว่ ยกรุยทางให้ญป่ี นุ่ ก้าวขึน้ สูจ่ ดุ สูงสุดทางเศรษฐกิจในทศวรรษ 1980

และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (มิทติ) หันมาหาตัวช่วยในกลุ่มอุตสาหกรรม สร้างสรรค์แทนกลุ่มอุตสาหกรรมหนัก (อย่างเช่นรถยนต์และผลิตภัณฑ์ อิเิ ล็กทรอนิคส์) ซึง่ แน่นอนว่าอุตสาหกรรมมังงะก็เป็นหนึง่ ในนัน้ โดยเป้าหมาย ของมิทติ คือเพิ่มยอดการส่งออกสินค้าทางวัฒนธรรมให้เป็น 11 ล้าน ล้านเยน (ราว 4.4 ล้านล้านบาท) ในปี 2020 ซึ่งมากเท่ากับที่ญี่ปุ่นได้ จากการส่งออกรถยนต์ โดยพยายามลดการละเมิ ด ลิ ข สิ ท ธิ์ลงให้ได้ ร้อยละ 50 ทุกวันนี้ มังงะสัญชาติญป่ี นุ่ เช่น "วัน พีซ" (โจรสลัดแฟนตาซีผจญภัย ของ เออิจิโร โอดะ) หรือ "นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ" (นินจาและเวทมนตร์ คาถาของ มาซาชิ คิชิโมโตะ) ต่างทำ�ยอดขายได้ดีทั้งในและนอกประเทศ แม้ว่าในทศวรรษ 1940 มังงะเป็นเพียง “อากะบอน” (หนังสือสีแดง) หรือหนังสือการ์ตูนราคาถูกที่นิยมเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่ ทั้งนี้ต้องขอบคุณ เท็ตสึกะ โอซามุ ผู้ปลุกกระแสการอ่านมังงะด้วยผลงานลายเส้นที่ใช้

14 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

"มังงะ" สืบย้อนต้นสายไปได้ถึงศตวรรษที่ 12 เมื่อปรากฏภาพวาดสัตว์ในกิริยา อาการต่างๆ ในม้วนหนังสือโชจู จินบุทสึ กิกะ ของพระสังฆราชนามว่าโตบะ ต่อมา คัทสึชกิ ะ โฮคุไซ (1760-1849) ศิลปินภาพพิมพ์ไม้ชาวญีป่ นุ่ ในสมัยเอโดะ เป็นผูแ้ รกทีเ่ ลือกใช้ค�ำ ว่ามังงะมาอธิบายคูม่ อื การวาดภาพของตน โฮคุไซ มังงะ ตีพิมพ์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 มีทั้งหมด 15 เล่ม ประกอบไปด้วยภาพร่างลาย เส้นสัตว์และพืชพรรณชนิดต่างๆ รวมถึงภาพล้อขำ�ขันบุคคลทางศาสนาและ คนเดินดินทั่วไปในอิริยาบถต่างๆ กว่าหนึ่งพันภาพ

© Ton Koene/ZUMA Press/Corbis

© Corbis

ยามแรกแต้มสีลงพู่กัน


COVER STORY เรื่องจากปก

มุมมองแบบภาพยนตร์พร้อมเสียงเอฟเฟ็กต์และเนื้อเรื่องขนาดยาวที่ แสดงถึงพัฒนาการอันซับซ้อนของตัวละคร จนกลายเป็นอุตสาหกรรม กระแสหลักของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1970 ไปในที่สุด ปัจจุบัน ตลาดมังงะกินพื้นที่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของญี่ปุ่นราว ร้อยละ 25 ประมาณการณ์วา่ มีนติ ยสารมังงะกว่า 670 ล้านฉบับ และมังงะ รวมเล่มกว่า 480 ล้านเล่มทีข่ ายได้ในแต่ละปี สร้างรายได้เฉพาะในประเทศ อย่างเดียวถึง 4.2 แสนล้านเยน (1.68 แสนล้านบาท) และเป็นแม่แบบ ให้แก่วัฒนธรรมป๊อปในสังคมร่วมสมัย ทั้งในญี่ปุ่นเองและทั่วโลก “ที่ยุโรป มังงะได้รับความนิยมมากในฝรั่งเศส ตามด้วยอิตาลี และ สเปน” เฮียวเอ นาริตะ ประธานของวิซ มีเดีย ยุโรป สำ�นักพิมพ์มังงะ ฉบับภาษาอังกฤษประจำ�ยุโรปกล่าว ปัจจุบันยอดขายมังงะในญี่ปุ่นต่อปี

อยู่ที่ประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (150 พันล้านบาท) ทำ�รายได้ ในตลาดต่างประเทศ เช่นสหรัฐฯ ไปราว 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (9 พัน ล้านบาท) ในขณะทีย่ โุ รปและตะวันออกกลาง สามารถทำ�ยอดขายรวมกัน ที่ราว 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (7,500 ล้านบาท) “ตลาดมังงะในยุโรป กำ�ลังขยายตัว” โยโกะ ทานิกากิ ผูจ้ ดั การฝ่ายขายประจำ�สาขาแคลิฟอร์เนีย ของสำ�นักพิมพ์ดิจิทัลมังงะบอก “ดูเหมือนว่าในแต่ละไตรมาส จะมี สำ�นักพิมพ์ใหม่ๆ จากยุโรป ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์จัดพิมพ์มังงะเรื่องใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ฉันได้อเี มลจากผูอ้ า่ นชาวยุโรปจำ�นวนมากถามว่า เมือ่ ไหร่ มังงะเรือ่ ง... จะออก เราพร้อมจะซื้อผ่านเว็บไซต์อะแมซอน ยูเอสเอ แล้ว จ่ายค่าส่งเอง ไม่ว่าจะแพงแค่ไหน”

เล่าด้วยภาพ วัฒนธรรมการอ่านเรือ่ งราวจากภาพวาดไม่ใช่ของใหม่ หากอยูค่ โู่ ลกมา หลายพันปีในแทบทุกวัฒนธรรม หากถามว่าเสน่หอ์ ะไรทีท่ �ำ ให้การอ่าน หนังสือการ์ตนู ยังคงจับใจผูอ้ า่ นทัว่ โลก คำ�ตอบอาจอยูท่ ค่ี วามหลากหลาย ของเรือ่ งราวและภาพวาดลายเส้น ทีไ่ ด้ให้ทง้ั ความรู้ สาระ และความบันเทิง ที่นำ�เสนอความเป็นพื้นถิ่นอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเรื่องราวจาก แต่ละท้องที่ หากยังคงไว้ซง่ึ แก่นอันเป็นสากลทีเ่ ข้าใจและเข้าถึงได้ ทัง้ ยัง สามารถปลุกเร้าจินตนาการของผู้อ่านได้ถึงขีดสุด

บ่อยครั้งที่การ์ตูนสามารถวิพากษ์วิจารณ์และตั้งกระทู้ถามต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ในประวัติศาสตร์ได้อย่างเจ็บแสบและแยบยล ช่วงปลายทศวรรษ 1980 อาร์ต สปีเกิลมานน์ นักวาดการ์ตูนชาวอเมริกัน บอกเล่าความโหดร้าย ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านการ์ตูน ความยาวสองเล่มจบที่ชื่อ "เมาส์: อะ เซอร์ไวเวอรส์ เทล" การ์ตูน อัตชีวประวัติของพ่อในวัยเด็กที่ถูกส่งตัวไปค่ายกักกันชาวยิวในเอาชวิตซ์ สปีเกิลมานน์เลือกใช้สัตว์แทนชนชาติต่างๆ อาทิ หนูแทนชนชาติยิว และแมวแทนชาวเยอรมัน โดยจงใจให้สัตว์แต่ละตัวดูเหมือนกันหมด เว้นในรายละเอียด เพราะต้องการแสดงความไร้เหตุผลของการเลือกแบ่งแยก คนด้วย “ชนชาติ” ที่ยังสื่อถึงการทำ�ลาย “ตัวตน” ด้วยตัวมนุษย์เอง การ์ตูนเรื่องนี้ถือเป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลพูลิทเซอร์ในปี 1992 ด้ ว ยความละเอี ย ดของเรื่ อ งราวที่ ไ ด้ ม าจากการสั ม ภาษณ์ ผู้ ผ่ า น ประสบการณ์ตรง ทำ�ให้การ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการจัดอันดับเป็นทั้งนวนิยาย และหนังสือประวัตศิ าสตร์ รวมถึงได้รบั เลือกเป็นสือ่ ประกอบการบรรยาย ในวิชาวรรณกรรมสมัยใหม่ ประวัติศาสตร์ยุโรป และวัฒนธรรมยิว ในปี 2008 เอ็นเตอร์เทนเมนต์ วีกลีย์ ยกให้หนังสือการ์ตนู ชุดนีไ้ ด้อนั ดับ 7 จากการจัดอันดับหนังสือ 100 เล่มจากปี 1983-2008 ทีค่ วรอ่านมากทีส่ ดุ ซึง่ นับว่าสูงทีส่ ดุ ในบรรดาการ์ตนู ทีไ่ ด้รบั เลือกทัง้ หมด มีนาคม 2555 l Creative Thailand l

15


amazon.com

COVER STORY เรื่องจากปก

สิ่งที่การอ่านการ์ตูนสามารถให้ได้พร้อมความบันเทิงก็คือความรู้ แม้จะใช้มดี ไม่เป็นหรือแยกความแตกต่างระหว่างกะเพราและโหระพาไม่ได้ แต่ผู้อ่านการ์ตูนทั่วโลกก็สามารถเรียนรู้เรื่องราวของอาหารการกินและ การทำ�อาหารได้จากการ์ตูนแนวกูรูเมะ (กูร์เมต์) หรือเรียวหริ (อาหาร) ซึ่งเป็นผลพวงของกระแส “กูร์เมต์ บูม” ที่ชาวญี่ปุ่นหันมาสนใจศึกษา หาความรู้เรื่องวัฒนธรรมการกินดื่มในทศวรรษ 1980 "โออิชินโบะ" เป็นหนึ่งในการ์ตูนชุดความรู้เรื่องอาหารการกินจากญี่ปุ่นที่โด่งดังที่สุด เรื่องหนึ่งซึ่งเริ่มตีพิมพ์ในปี 1983 โดยเป็นฝีมือการเขียนเรื่องของ เท็ตสึ คาริยะ และวาดภาพประกอบโดย อากิระ ฮานาซากิ เล่าเรือ่ ง ชิโร่ ยามาโอกะ และยูโกะ คูริตะ ทีมนักข่าวผู้รับผิดชอบโครงการตามหา “สุดยอดเมนู” ของหนังสือพิมพ์โตไซ นิวส์ การ์ตนู เรือ่ งนีไ้ ม่เพียงพาผูอ้ า่ นไปรูจ้ กั โลกของ อาหารพื้นถิ่น แต่ยังเจาะลึกไปถึงวัฒนธรรมการกินดื่มของโลกอีกด้วย สำ�นักพิมพ์โชกะกุคังตีพิมพ์โออิชินโบะลงในนิตยสารบิ๊ก คอมิกส์ สปิริต ระหว่างปี 1983-2008 โดยโชกะกุคังขายนิตยสารที่ตีพิมพ์ตอนแรกของ โออิชินโบะไปได้กว่าหนึ่งล้านเล่ม ในปี 2009 โออิชินโบะกลับมาตีพิมพ์ อีกครั้ง โดยปัจจุบันรวมเล่มไปแล้วทั้งหมด 104 เล่ม และมียอดขายรวม มากกว่า 100 ล้านเล่ม 16 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

จินตนาการและความจริงซ้อนทับกันอย่างแยกไม่ออกใน "แท็งค์ เกิรล์ " การ์ตนู แนวพังก์ วิชวล อาร์ต สัญชาติองั กฤษ เจมี่ ฮิวเล็ต และ อลัน มาร์ตนิ ผูใ้ ห้กำ�เนิดสาวพังก์ทอ่ี าศัยอยูใ่ นรถถังและมีแฟนเป็นจิงโจ้ใบ้ในออสเตรเลีย ยุคหลังหายนะช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยได้รับการตีพิมพ์ลงใน เดดไลน์ นิตยสารที่ให้พื้นที่กับการ์ตูนเรื่องใหม่ๆ แท็งค์ เกิร์ลเกิดจาก การสร้างงานหลากรูปแบบ ไม่วา่ จะเป็นคอลลาจ งานศิลปะแนวเหนือจริง การตัดแปะตัวบท และการทำ�นิตยสารทำ�มือ ที่ผสมปนเปไปกับเทคนิค การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ทั้งเรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่า และการเขียนตาม กระแสสำ�นึก โดยไม่สนใจโครงและเนือ้ เรือ่ ง ความสนุกสุดเพีย้ น ไร้แก่นสาร ก่อกบฏ ท้าทายสังคม และล่อแหลม ล้วนสะท้อนยุคสมัยและความเป็นไป ในสังคมอังกฤษได้อย่างแนบเนียน ทั้งการต่อต้านวัฒนธรรมชายขอบ กระแสสตรีนิยมในวัฒนธรรม ดนตรีพังก์ และวัฒนธรรมป๊อป รวมถึง ทำ�ให้การ์ตูนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง จนเพนกวิน สำ�นักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดใน อังกฤษ ถึงกับซือ้ ลิขสิทธิก์ าร์ตนู มารวมเล่ม และได้รบั การตีพมิ พ์ในหลาย ประเทศทั่วโลก ทั้งสเปน อิตาลี สวีเดน นอร์เวย์ อาร์เจนติน่า บราซิล และญี่ปุ่นล้านเล่ม ในปี 2009 โออิชินโบกลับมาตีพิมพ์อีกครั้ง โดย ปัจจุบันรวมเล่มไปแล้วทั้งหมด 104 เล่ม และมียอดขายรวมมากกว่า 100


COVER STORY เรื่องจากปก

เรื่องราวที่ปรากฏใน "บาคุมัง" มังงะตีแผ่ชีวิตมังงากะและอุตสาหกรรม การผลิตมังงะ ฝีมือ สึงุมิ โอตะ และ ทาเคชิ โอบาตะ ไม่ได้เล่าเกินจริง แม้แต่น้อย เมื่อเนื้อเรื่องจะเผยให้เห็นว่าเบื้องหลังการ์ตูนซึ่งออกมา โลดแล่นตามหน้านิตยสารการ์ตูนกระแสหลักในแต่ละรอบสัปดาห์นั้น คือการร่วมกันทำ�งานแข่งกับเส้นตายเป็นวัฏจักรของนักวาดการ์ตูน ผู้ช่วยบรรณาธิการ และสำ�นักพิมพ์ ความสำ�เร็จของการ์ตูนแต่ละเรื่อง ขึ้นอยู่กับฝีมือในการตีความข้อมูลและแรงบันดาลใจขึ้นมาเป็นผลงาน รวมถึงความวิริยะอุตสาหะและความมีวินัย ที่ต้องดูควบคู่ไปกับการ ตลาด และการสำ�รวจความชื่นชอบของนักอ่าน ซึ่งจะช่วยให้ต้นสังกัด ฟันธงได้วา่ ควรจะตัดจบหรือจะปล่อยให้การ์ตนู เรือ่ งไหน แนวใด ลงไล่ลา่ คะแนนนิยมและเงินในกระเป๋าของนักอ่านต่อไป

การทำ�งานเป็นทีม คือปัจจัยสู่ความสำ�เร็จ ในกรณีของ "แคลมป์" กลุ่ม นักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นที่ปัจจุบันมีสมาชิก 4 คน ซึ่งแบ่งบทบาทอย่างชัดเจน โดย นานาเสะ โอคาวะ รับหน้าที่ผู้ผลิตและผู้กำ�กับหัวแรงหลักในการคิด โครงเรื่องและเขียนบท ในขณะที่ โมโคนะ อะปาปา ทสึบากิ เนโคอิ และซัทสึกิ อิการาชิ ผลัดกันเป็นหัวหน้ารับผิดชอบการวาดภาพและ ออกแบบตัวละครในแต่ละเรือ่ ง การทำ�งานเป็นทีมนอกจากจะเพิม่ มุมมอง และมิติให้กับผลงานแล้ว ยังสร้างแต้มต่อในการทำ�งานให้กับสำ�นักพิมพ์ ได้มีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานต้นฉบับที่เปลี่ยนสไตล์และเนื้อหา ไปได้เรื่อยๆ ตามความชอบและความสนใจในแต่ละช่วงเวลา “เราคิด แก่นให้แต่ละเรื่องโดยเฉพาะทุกๆ ครั้งที่เริ่มเรื่องใหม่” โอคาวะซึ่งทำ� หน้าทีเ่ ป็นโฆษกเล่า ปัจจุบนั ผลงานการรวมเล่มกว่ายีส่ บิ เรือ่ งของแคลมป์ ทำ�ยอดจำ�หน่ายได้กว่า 100 ล้านเล่มทั่วโลก ด้วยเนื้อหาที่มีตั้งแต่โลก แฟนตาซี การใช้เวทมนตร์ การผจญภัยต่างมิติ ตำ�นานเทพเจ้าและเรื่อง วิญญาณลี้ลับ ไปจนถึงการต่อสู้และการล่มสลายของยุคสมัย แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีที่ว่างให้กับการ์ตูน นอกกระแส เพราะอุตสาหกรรมการ์ตูนนั้นใหญ่พอที่จะรองรับการเข้ามา แข่งขันของนิตยสารและสำ�นักพิมพ์การ์ตนู ทางเลือก รวมถึงการ์ตนู ใต้ดนิ ที่เกิดขึ้นมารองรับกลุ่มนักอ่านที่เบื่อหน่ายการ์ตูนกระแสหลักอย่าง

© Ton Koene/ZUMA Press/Corbis

กว่าจะ“เป็นเรื่อง”

การ์ตูนแนวยอดมนุษย์ซูเปอร์ฮีโร่ โดยนิตยสารและสำ�นักพิมพ์เหล่านี้ ซึง่ เริม่ ผุดขึน้ ราวทศวรรษ 1960-1970 เช่น แฟนตากราฟิกบุก๊ ส์ ในสหรัฐฯ หรือโกโระในญี่ปุ่น เพื่อเสนอการ์ตูนที่มีลายเส้น เนื้อเรื่อง และแนวทาง เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีกับผู้อ่านให้มีตัวเลือก มากขึน้ หลายครัง้ ยังนำ�มาซึง่ แนวการ์ตนู แบบใหม่ๆ เช่น การ์ตนู แนวการ รายงานข่าวสาร (Comic-book journalism) อย่าง "ปาเลสไตน์" ของ โจ ซักโก นักเขียนการ์ตูนชาวอเมริกันที่นำ�ประสบการณ์ลงพื้นที่จริงในเวสต์แบงก์ และฉนวนกาซามาเล่าในรูปแบบการ์ตูน หรือกระแส "นูแวล มังงะ" ที่นำ� เรื่ อ งราวในชี วิ ต ประจำ�วั น มาเป็ น แกนหลั ก ในการดำ�เนิ น เรื่ อ งของ นักวาดชาวฝรั่งเศส-เบลเยี่ยม และญี่ปุ่น เช่นผลงานของ จิโร ทานิงจู ิ และ เฟรเดริก บัวเลย์ จะอย่างไรก็ตาม การ์ตูนก็ยังถือเป็นงานพาณิชย์ศิลป์แบบหนึ่งซึ่ง ปฏิเสธไม่ได้วา่ ผลกำ�ไรจากยอดขายคือหนึง่ ในเป้าหมายหลัก ความเป็นจริง อันน่าเจ็บปวดก็คือชีวิตของนักวาดการ์ตูนมืออาชีพไม่ได้โรยด้วยกลีบ กุหลาบเสมอไป จากจำ�นวนมังงากะมืออาชีพประมาณสามพันคนทัว่ ญีป่ นุ่ นั้น มีแค่สามร้อยคนที่หาเลี้ยงตัวเองได้จากการวาดฝันเพียงอย่างเดียว หรือคิดเป็นร้อยละ 10 เท่านั้น และหากยึดเป็นอาชีพไม่ได้ สิ่งที่อาจ เกิดขึ้นตามมาก็คือ จะไม่มีการ์ตูนให้อ่านอีกต่อไป มีนาคม 2555 l Creative Thailand l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

แล้วจะวาดโลกข้างหน้ากันอย่างไร

kyoto-seika.com

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสือ่ สารเป็นปัจจัยหนึง่ ทีท่ �ำ ให้พฤติกรรม การอ่านการ์ตูนเปลี่ยนไปจากการพลิกหน้ากระดาษเป็นการคลิกเมาส์ บนหน้าจอ ความล่าช้าในการซื้อลิขสิทธิ์และการผลิตการ์ตูนฉบับแปล ของสำ�นักพิมพ์ต่างๆ กลายเป็นช่องว่างให้เกิดการ “สแกนเลชั่น” เมื่ อ นั ก อ่ า นลงมื อ สแกนและแปะหน้ า การ์ ตู น ออกใหม่ ที ล ะหน้ า จาก แต่ละตอนเผยแพร่ทางออนไลน์ให้นักอ่านทั่วทุกมุมโลกอ่านกันฟรีๆ ทั้งในภาษาต้นฉบับและฉบับแปลเป็นภาษาต่างๆ ซึ่งสร้างรายได้จาก ค่าโฆษณาแบนเนอร์ในเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องง้อสำ�นักพิมพ์

กระแสการอ่านการ์ตนู ละเมิดลิขสิทธิจ์ ากโลกไซเบอร์น้ี แม้จะทำ�ให้นกั วาด เจ้าของผลงานมีชื่อเสียงก็จริง แต่กลับทำ�ให้ยอดขายหนังสือการ์ตูนเล่ม ตกลงทัว่ โลกเช่นกัน ส่งผลให้มกี าร์ตนู ดีๆ ให้อา่ นน้อยลง เพราะสำ�นักพิมพ์ ต้องลดจำ�นวนพนักงาน กลายเป็นปัญหาการว่างงานที่รัฐต้องเข้ามาดูแล ต่อเนื่อง สิ่งที่อุตสาหกรรมการ์ตูนทำ�ได้ก็คือการปรับตัวให้ทันต่อกระแส ผูบ้ ริโภคอยูเ่ สมอ ซึง่ ในปีทผ่ี า่ นมาสำ�นักพิมพ์กาโดกาว่าของญีป่ นุ่ ตัดสินใจ ปล่อยลิขสิทธิ์การ์ตูนดังๆ ลงตลาดหลักในเอเชียอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ เทซุกะโปรดักชั่นลงทุนทำ�การ์ตูนยอดนิยมของสำ�นักพิมพ์ในรูปแบบ "อี-คอมมิค" ให้จ่ายเงินดาวน์โหลดมาอ่านบนคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ต หากหัวใจสำ�คัญของอุตสาหกรรมการ์ตูนนั้น ก็ยังอยู่ที่ทักษะและ ความสามารถของผู้สร้างงาน และพื้นที่ที่เปิดให้นักวาดการ์ตูนได้แสดง ศักยภาพอย่างเต็มที่ เพือ่ สร้างความหลากหลายของเรือ่ งราวและคงวัฒนธรรม การอ่านการ์ตนู ทีย่ งั ให้ความเคารพต่อความเป็น “ผ้สู ร้างสรรค์” และให้คา่ แก่ความคิด จินตนาการ และความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานของ นักวาดร่วมกับผู้พิมพ์ โดยไม่ลืมสร้างฐานนักอ่านและพัฒนาบุคลากรไว้

รองรับการเติบโตของตลาดไปพร้อมๆ กัน เมื่อหันมามองอุตสาหกรรม การ์ตูนไทย แม้จะโดนการ์ตูนญี่ปุ่นบุกยึดแผงหนังสือชนิดแทบไม่เหลือ ที่วาง ด้วยยอดพิมพ์เฉลี่ยที่ต่างกันระดับแสนเล่มกับไม่เกินหมื่นเล่ม หากแนวโน้มความสนใจในความเป็นพื้นถิ่นแบบสากลของสินค้าทาง วัฒนธรรมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ก็ส่งสัญญาณทีด่ แี ก่งานการ์ตูนของ ไทยทีต่ อ้ งปรับตัวและฉีกไปออกเป็นพ็อกเก็ตบุก๊ เพือ่ สร้างพืน้ ทีก่ ารวางขาย ในตลาดให้ตา่ งจากการ์ตนู ญีป่ นุ่ โดยผลงานการ์ตนู ไทยร่วมสมัยหลายเรือ่ ง ทีห่ ยิบยกเอาต้นทุนทางวัฒนธรรมมาตีความใหม่ได้อย่างน่าสนใจ เมือ่ บวก กับเทคนิคและลายเส้นทีโ่ ดดเด่นและมีพฒั นาการแล้ว การจะนำ�การ์ตนู ไทย บุกตลาดต่างประเทศจึงไม่ใช่ฝนั ทีไ่ กลเกินเอือ้ ม ดังเช่นที่ "อภัยมณี ซาก้า" การ์ตูนไทยที่ได้เค้าโครงวรรณคดีจากเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ ฝีมือ สุพจน์ อนวัชกชกร สามารถสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นการ์ตูนไทย เรื่ อ งแรกที่ ไ ด้ รั บ การซื้ อ ลิ ข สิ ท ธิ์ เ พื่ อ ไปจั ด พิ ม พ์ เ ป็ น ภาษาฝรั่ ง เศส ในชื่อ Apai Quest

ที่มา: นิตยสาร nippon ฉบับ Japan, Global Headquarters of Manga (2010) บทความ Branding Japan as “cool”: No limits, no laws The beautiful people join hands with the bureaucrats จาก economist.com บทความ Japan’s Gross National Cool โดย Douglas McGray นิตยสาร Foreign Policy (พฤษภาคม 2002) animenewsnetwork.com, t-kougei.ac.jp, geekout.blogs.cnn.com, danthompson.co.uk, empireonline.com, phoenixanime.com, 7thavenueproject.com, wipo.int, jstor.org, sunsite.utk.edu, ew.com, pocketonline.net, facebook.com/apaimaneesaga

18 l Creative Thailand l มีนาคม 2555


COVER INSIGHT STORY เรื่ออิงจากปก นไซต์

เรื่อง: ภูริวัต บุญนัก ภาพ: พิชิต วีรังคบุตร

สำ�หรับเด็กผูห้ ญิงชาวอเมริกนั "บาร์บ"้ี อาจเป็นคำ�ตอบทีด่ ที ส่ี ดุ เมือ่ ถามถึงของเล่นยอดนิยมในยุคหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง แต่สำ�หรับเด็กผู้ชายแล้ว คงไม่มีอะไรสนุกไปกว่าการได้อ่านหนังสือหรือดูการ์ตูนทางโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับซูเปอร์ฮีโร่ขวัญใจ ของพวกเขา ในปี 1957 เมือ่ Martin-Howard Corp จับทางได้วา่ สินค้าประเภทของเล่น แอ็กชัน่ ฟิกเกอร์ซเู ปอร์ฮโี ร่ทง้ั หลายจากดีซี คอมิกส์ และมาร์เวล คอมิกส์ สำ�หรับเด็กผูช้ ายเริม่ เป็นทีต่ อ้ งการของตลาด บริษทั ขนาดเล็กทีเ่ ดิมทำ�ธุรกิจ ก็เสียท่าให้กับแอ็กชั่น ฟิกเกอร์เหล่าอัศวินเจได หลังจากที่ภาพยนตร์ นำ�เข้าและค้าส่งสินค้าจึงผันตัวมาจับธุรกิจของเล่นอย่างจริงจัง และเปลีย่ น Star Wars: Episode IV - A New Hope ได้เข้าฉาย โดยก่อนหน้านัน้ หนึง่ ปี ชื่อบริษัทใหม่เป็น Mego Corporation หลังจากนั้น มาติน อับราหม์ Mego Corporation ปฏิเสธที่จะซื้อลิขสิทธิ์เพราะคาดไม่ถึงว่าภาพยนตร์ ผู้ บ ริ ห ารทายาทรุ่ น ต่ อ มาจึ ง ได้ เ ริ่ ม ไล่ ล่ า ซื้ อ ลิ ข สิ ท ธิ์ ค าแรกเตอร์ จ าก เรื่องนี้จะประสบความสำ�เร็จอย่างถล่มทลาย จนทำ�ให้บริษัทคู่แข่งอย่าง หนังสือการ์ตนู ทีป่ ระสบความสำ�เร็จ โดยเฉพาะซูเปอร์ฮโี ร่คา่ ยดีซี คอมิกส์ Kenner Products ที่ตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตแอ็กชั่น ฟิกเกอร์แซงหน้า และมาร์เวล คอมิกส์ เช่น ซูเปอร์แมน แบทแมน และกัปตันอเมริกา เพื่อ ขึ้นไปได้ มาสร้างเป็น "แอ็กชั่น ฟิกเกอร์" ซึ่งสายตาของเขาก็มองไม่พลาดเป้า ความพ่ายแพ้ต่อ Kenner Products ในครั้งนั้น ทำ�ให้ Mego เพราะหลั ง จากได้ เ ริ่ ม ทำ�การผลิ ต และจั ด จำ�หน่ า ยในตลาดของเล่ น Corporation หันกลับไปกว้านซือ้ ลิขสิทธิค์ าแรกเตอร์จากภาพยนตร์ไซ-ไฟ แอ็กชั่น ฟิกเกอร์ตระกูลซูเปอร์ฮีโร่เหล่านี้ก็ได้สร้างผลประกอบการมูลค่า เรือ่ งอืน่ ๆ ทีอ่ อกฉายในขณะนัน้ โดยหวังว่าจะได้รบั ความนิยมเช่นเดียวกับ มหาศาล ทำ�ให้อนั ดับของ Mego Corporation กระโดดจากอันดับที่ 300 Star Wars แต่ผลลัพธ์กลับไม่เป็นดัง่ คาดหมาย สุดท้ายก็คอื การต้องปิดตัวลง ขึ้นไปอยู่อันดับที่ 6 ของบริษัทของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 1976 ในปี 1983 และกลายมาเป็นบทเรียนครัง้ สำ�คัญของบริษทั ผลิตของเล่นต่างๆ นอกจากเรือ่ งราวทีม่ าพร้อมกับคาแรกเตอร์แต่ละตัวแล้ว ด้านเทคโนโลยี ทั่วโลกในเรื่องของการคาดการณ์อนาคตและการตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์เพื่อ การผลิต Mego Corporation ได้เปิดเผยถึงเคล็ดลับความสำ�เร็จในชุด ผลิตของเล่นรุ่นใหม่ๆ ของเล่นตระกูลซูเปอร์ฮโี ร่ภายหลังว่า การออกแบบส่วนหัวของหุน่ ให้สามารถ แม้ครัง้ นีเ้ หล่าซูเปอร์ฮโี ร่จะต้องพ่ายแพ้และเจ็บตัวอย่างสะบักสะบอม สลับสับเปลี่ยนได้เป็นเรื่องใหม่มากในยุคนั้น นอกจากนี้ ขนาดของหุ่นที่ แต่สำ�หรับแฟนๆ ทัว่ โลกแล้ว ซูเปอร์ฮโี ร่กย็ งั คงกำ�ชัยชนะในหัวใจของพวกเขา เล็กลงเหลือเพียง 8 นิ้ว จากรุ่นก่อนๆ ซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 12 นิ้ว ทำ�ให้ อยู่เสมอ พิสูจน์ได้จากยอดเงินหมุนเวียนในแวดวงการจำ�หน่ายสินค้า สามารถเล่นร่วมกับ "เพลย์ เซท" ไม่ว่าจะเป็นพาหนะคู่กาย ฐานทัพ และ ประเภทแอ็คชั่น ฟิกเกอร์ ที่ได้กลายมาเป็นของสะสมหายากนับตั้งแต่นั้น ยานศัตรูได้สนุกและสมจริงมากขึ้น ซึ่งบรรดานักสะสมต่างก็ยังทุ่มเทไล่ล่าหามาไว้ในครอบครองในราคาที่ อย่างไรก็ตาม แม้วา่ แอ็กชัน่ ฟิกเกอร์ตระกูลซูเปอร์ฮโี ร่จะสร้างรายได้ สูงกว่าเดิมหลายเท่าตัว และความยิง่ ใหญ่ให้กบั Mego Corporation อย่างทีส่ ดุ แต่ในปี 1977 บรรดา ที่มา: Mego 8” Super-Hero: World's greatest toys! (2007) โดย Benjamin Holcomb มีนาคม 2555 l Creative Thailand l

19


c Kantana

c CE PLANET

COVER STORY เรื่องจากปก

c Songsi n

c Kanta na

c Vithita

งาน BUSINESS NETWORKING ตอน

“ทองยุทธภพการตูน-กราฟิก-อนิเมชั่น” งานสรางเครือขายและเพิ่มวิทยายุทธในธุรกิจ (Business Networking) 31 มีนาคม 2555 | 14:00-17:00 น.

รวมกันเปดพื้นที่พบปะสังสรรค เพื่อแลกเปลี่ยน และฝกฝนวิทยายุทธ กับเหลายอดจอมยุทธดวยกระบวนภาพ การตูนกราฟิก อนิเมชั่น

29 - 31 มีนาคม 2555 | 10:30- 21:00 น.

สงผลงานแสบๆ เจงๆ เพื่อรวมจัดแสดงในนิทรรศการขนาดยอม เพื่อปาวประกาศในยุทธภพสรางสรรค เปดเวทีเล็กๆ ดวยการนำเสนอผลงานกระตุนตอมพลังสรางสรรค ในชวงเวลาสั้นๆ สไตลเพชชะคุชาหรือ เวทีปลอยแสง พบกับยอดเซียน คุณอัจฉรา กิจกัญจนาสน แหงกันตนา และคุณสันติ เลาหบูรณะกิจ แหงบริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น เพื่อรับการถายทอดกระบวนยุทธ เรียนรูกลเม็ดบูบุนเชิงธุรกิจ รวมสรางสหาย ในแวดวงการสรางสรรคภาพ และเก็บเกี่ยวแรงบันดาลใจจากคนไทยฝมือเยี่ยม

งานนิทรรศการขนาดยอมของเหลาจอมยุทธ การตูน-กราฟิก-อนิเมชั่น (The Showcase) ณ โถงทางเขา TCDC

สงผลงานของคุณไดแลววันนี้ - 22 มีนาคม 2555! สอบถามขอมูลเพิ่มเติมโทร. 02-664-7667 ตอ 118 หรือ info@tcdcconnect.com หรือคลิก www.tcdc.or.th และ www.tcdcconnect.com

จัดโดย

Presented by

20 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

ผูสนับสนุน

Sponsored by


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล

รานหนังสือ • Asia Books • B2S • คิโนะคูนิยะ • C Book (CDC) • Zero Book • ศึกษิตสยาม • โกมล รานกาแฟ / รานอาหาร • Chaho • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ • โอ บอง แปง • ซัมทาม คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย • ทรู คอฟฟ • ยูอารสเตชั่น • รานกาแฟวาวี • Sweets Cafe • วีวี่ คอฟฟ • แมคคาเฟ • Babushka • คอฟฟ คิส • มิลลเครป • ไล-บรา-ลี่ คาเฟ • ก.เอย ก.กาแฟ • อะเดยอินซัมเมอร • ชีสเคกเฮาส • คอฟฟแอลลียอินเดอะการเดน • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • ไอเบอรรี่ • Take a Seat • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • Chic 39 Bed&Breakfast • ซูเฟ House Bakery • Greyhound (Shop and Café) • รานกาแฟบางรัก โรงภาพยนตร / โรงละคร • โรงภาพยนตรเฮาส • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • ภัทราวดีเธียเตอร หองสมุด • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • หองสมุดมารวย • ศูนยหนังสือ สวทช. • หองสมุด The Reading Room • SCG Experience • The Reading Room พิพิธภัณฑ / หอศิลป • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หอศิลปวัฒนธรรม แหงกรุงเทพมหานคร • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • ดีโอบี หัวลำโพง แกลเลอรี • นับเบอรวัน แกลเลอรี่ • ไวท สเปซ แกลเลอรี่ • HOF Art โรงแรม • หลับดี (Hotel สีลม)

INSIGHT อินไซต์

สมาคม • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • สมาคมหอการคาไทย • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น • สถาบันราฟเฟลส • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน

เชียงใหม

• รานนายอินทร • รานเลา • ดอยชาง • 94 Coffee • รานแฮปปฮัท • คาเฟ เดอ นิมมาน • ขนม • รานมองบลังค • หอมปากหอมคอ • กูชาชัก & โรตี • จิงเกิ้ล • Impresso Espresso Bar • Minimal • Luvv coffee Bar • Gallery Seescape • The Salad Concept • casa 2511 • กาแฟโสด • รานสวนนม • กาแฟวาวี ทุกสาขา • อุนไอรัก • ช็อกโก คาเฟ • Love at first Bite • เวียง จูม ออน • Fern Forest Cafe' • Just Kao Soi

หัวหิน

• เพลินวาน • ชุบชีวา หัวหิน คอฟฟ • ทรู คอฟฟ หัวหิน • ดอยตุง คอฟฟ • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ แอนดคาเฟ • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • สตารบคั ส หอนาิกา • วรบุระ รีสอรท แอนด สปา • หัวหิน มันตรา รีสอรท • เลท ซี หัวหิน • กบาล ถมอ รีสอรท • บานใกลวงั • บานจันทรฉาย • ภัตตาคารมีกรุณา • ลูนา ฮัท รีสอรท • The Rock • บานถัว่ เย็น (ถนนแนบเคหาสน)

• อิฐภราดร • October • Tea House Siam Celadon • ดอยตุง คอฟฟ • Mood Mellow • Little Cook Cafe' • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • สุริยันจันทรา • Rabbithood Studio • Things Called Art • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • โรงแรมดุสิต ดีทู • เดอะเชดี • บรรทมสถาน • บานเส-ลา • Yesterday The Village • Hallo Bar • บานศิลาดล • Cotto Studio (นิมมานฯ) • 9wboutique Hotel • Food Coffee • รานวาซาบิ ซูชบิ าร (นิมมานฯ) • Just Milk • ไหม เบเกอรี่ • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ บายนิตา • Hub 53

ลําปาง

• A little Handmade Shop • อาลัมภางค เกสตเฮาส แอนด มอร • Egalite Bookshop

นาน

• รานกาแฟปากซอย • Nan Coffee Bean

ภูเก็ต

• รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • The Oddy Apartment & Hotel

เลย

• มาเลยเด เกสตเฮาส • บานชาบาเคียง

โคราช

• Hug Station Resort • Kamome Book Shop & Café

ปาย

• รานเล็กเล็ก

นครปฐม

• Dipchoc Café

อุทัยธานี หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น

• Booktopia

มีนาคม 2555 l Creative Thailand l

21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: ภูริวัต บุญนัก

© เดอะ ดวง

การเฝ้าติดตามเรื่องราวใหม่จากการ์ตูนเรื่องโปรด ความรู้สึกที่ได้เอาใจช่วยพระเอกซูเปอร์ฮีโร่ การได้ชื่นชมกับความเข้มแข็ง ของนางเอก หรือการร่วมลุ้นไม่ให้ตัวร้ายทำ�ลายเมืองไปจนหมดสิ้น คือเรื่องราวที่ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือการ์ตูนเล่มแล้ว เล่มเล่า เพื่อให้เหล่านักอ่านทั้งวัยเยาว์และวัยผู้ใหญ่ได้เปิดสัมผัสสู่จินตนาการของโลกใบใหม่ ผ่านเส้นสายและลีลาการเล่าเรื่อง อันสนุกสนาน ทว่าการ์ตูนก็ไม่ได้ทำ�หน้าที่เฉพาะการเติมเต็มจินตนาการ แต่ยังเป็นวัตถุดิบสำ�คัญที่นำ�ไปสู่ธุรกิจน่าจับตามองได้ อย่างเช่นที่ ธัญลักษณ์ เตชศรีสุธี เจ้าของสำ�นักพิมพ์การ์ตูนสัญชาติไทย LET’S Comic ได้แปลงความสนใจและความชอบ วาดการ์ตูนในวัยเด็ก มาสู่ธุรกิจสำ�นักพิมพ์หนังสือการ์ตูนที่วาดโดยคนไทย จนทำ�ให้ผลผลิตจากความหลงใหลในเบื้องต้น ก้าวขึ้นสู่ความสำ�เร็จในระดับสากล LET’S Begin… LET’S Comic จากพื้นฐานครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับการผลิต สื่อสิ่งพิมพ์อย่างนิตยสารสตาร์พิคส์ ส่งผลให้ วัยเด็กของธัญลักษณ์ถูกหล่อหลอมด้วยการ ซึ ม ซั บ ทั ก ษะการเล่ า เรื่ อ งที่ ไ ด้ ม าจากการดู ภาพยนตร์ร่วมกับครอบครัว และเติบโตมาด้วย ความต้องการทีอ่ ยากจะเล่าเรือ่ ง ลำ�ดับเหตุการณ์ การถ่ายทอดภาพต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในจินตนาการ ออกมาให้คนอืน่ ๆ ได้รบั รูบ้ า้ ง อาชีพนักวาดการ์ตนู จึงกลายเป็นหนึง่ ทางเลือกทีช่ ดั เจนซึง่ จะผลักดัน ความต้องการนั้นให้เป็นรูปธรรมขึ้นมาได้จริง เมือ่ ก้าวเข้าสูว่ ยั รุน่ ธัญลักษณ์จงึ เริม่ พิสจู น์ตวั เอง ด้ ว ยการทำ�หนั ง สื อ การ์ ตู น ทำ�มื อ ส่ ง ออกไป จำ�หน่ายตามงานเทศกาลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่วา่ จะเป็น "บ่น Comic" หรือ "เล็ด Gang" ทีม่ ี ผู้อ่านติดตามจำ�นวนไม่น้อยและขายดีจนต้อง พิมพ์ซา้ํ รวมถึงการได้รบั โอกาสจากบรรณาธิการ ชือ่ ดังอย่างโหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ ให้เป็น ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวของนิตยสาร a day ในรูป แบบการ์ตูนออกมาเป็นหนังสือชื่อ a day story ซึ่ ง ธั ญ ลั ก ษณ์ เ ริ่ ม ต้ น ทำ�หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ข ณะที่ กำ�ลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 และทำ�จนสำ�เร็จในอีก สองปีต่อมา อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลงานเป็น ทีย่ อมรับ แต่ความเป็นไปในวงการหนังสือการ์ตนู ไทยในยุ ค นั้ น ก็ ไ ม่ เ อื้ อ ให้ มี ท างเลื อ กที่ ห ลาก หลายอย่างในปัจจุบัน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ เขาลงมือสร้างเส้นทางในวงการหนังสือการ์ตูน ไทยขึ้นมาด้วยตัวเอง

22 l Creative Thailand l มีนาคม 2555


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เข้าใจนักอ่าน รู้ใจนักวาดเขียน ด้วยตระหนักดีถงึ หน้าทีข่ องสำ�นักพิมพ์ทต่ี อ้ งเป็น ฟั น เฟื อ งหลั ก ในการขั บ เคลื่ อ นความเป็ น ไป ของหนังสือ ไม่เว้นแต่ในแวดวงนักวาดการ์ตูน ธัญลักษณ์จึงมีวิธีคัดเลือกต้นฉบับด้วยความ พิถีพิถัน ดูแลคุณภาพทัง้ ด้านภาพประกอบและ ประเด็นของเรือ่ งด้วยตัวเองในทุกขัน้ ตอน เพราะ เชื่อว่าแม้ปริมาณของการ์ตูนไทยในปัจจุบัน จะไม่ได้มีจำ�นวนมากมายเพียงพอเหมือนกับ ในหลายประเทศ แต่การทุม่ เทคัดเลือกต้นฉบับ ด้วยคุณภาพที่ดอี ย่างแท้จริง จะทำ�ให้สำ�นักพิมพ์ สามารถสร้ า งกลุ่ ม เป้ า หมายของผู้ อ่ า นที่ ชัดเจนได้มากยิง่ ขึน้ และยังเป็นการประทับตรา สินค้าที่ดีให้กับวงการการ์ตูนไทย “สิ่งหนึ่ง ที่ผมเชื่อว่าเรามีศักยภาพก็คือ เราไม่ได้สร้าง แบรนด์ของสำ�นักพิมพ์ด้วยตัวเราเองคนเดียว เมือ่ นักวาดการ์ตนู สร้างแบรนด์ของตัวเอง เราก็ สร้างด้วย เราเดินไปด้วยกัน นั่นทำ�ให้ภาพของ LET’S Comic เติบโตเร็วกว่าแบบที่เราจะสร้าง ของเราเองโดยลำ�พัง” การเปลี่ ย นแปลงรู ป แบบครั้ ง แรกของ LET’S Comic เกิดขึ้นเมื่อสี่ปีที่แล้ว จากเดิมที่ ผลิ ต การ์ ตูน ไทยออกมาในรู ป แบบนิ ต ยสาร รายเดือน มาเป็นรูปแบบบุ๊กกาซีนรายสองเดือน เพื่อ ให้ เ นื้อ หาได้ รับ การพั ฒ นาให้ เ ชื่อ มโยง กั บ กลุ่ ม ผู้ อ่ า นได้ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด มากยิ่ ง ขึ้ น นอกจากนี้ก็ยังได้เพิ่มเติมความหลากหลาย ของเรื่องราว ทั้งการ์ตูน บทสัมภาษณ์ และ

สารคดี รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้กับนักวาด การ์ ตู น หน้ า ใหม่ ไ ด้ มี พื้ น ที่ ใ นการแสดง ผลงานของตัวเอง ซึง่ นับเป็นอีกหนึง่ วิธกี ารสำ�คัญ ที่ ช่ ว ยสร้ า งเอกลั ก ษณ์ ที่ ชั ด เจนของการ์ ตู น ไทยให้เกิดขึ้นได้จริง ส่งต่อวัฒนธรรมผ่านการ์ตูนไทย ในเวทีนานาชาติ นอกจากการผลิ ต บุ๊กกาซี น LET’S Comic ยังกระตุ้นวงการหนังสือการ์ตูนไทยด้วยการ จัดพิมพ์หนังสือที่รวบรวมผลงานของนักวาด การ์ตูนยอดนิยมอย่าง "เดอะ ดวง" (Around The Duang Artwork) และ "ไตรภัค" (Trial-Pack Artwork 2005-2010) ในรูปแบบพ็อกเก็ตบุ๊ก ปกแข็งที่มาพร้อมกับความหนาไม่ตํ่ากว่า 200 หน้า เป็นการเน้นยํ้าถึงการยกระดับและให้ ความสำ�คั ญ กั บ หนั ง สื อ การ์ ตู น ไทยใน มาตรฐานเดียวกับหนังสือที่ได้รับความนิยม จากนักอ่านประเภทอืน่ ๆ “ผมมองว่าแผงการ์ตนู มันเปิดตลาดให้การ์ตูนไทยได้ยาก เพราะแผง การ์ตูนในไทยนั้นขายในราคาถูกมาก มากทีส่ ดุ ที่ผมเคยเห็นในทุกประเทศเท่าที่ผมรู้ ต่อให้เรา ไปเจอการ์ตูนญี่ปุ่นเล่มเดียวกันในประเทศไทย การ์ตนู ทีญ่ ป่ี นุ่ ก็จะราคาแพงกว่าอยูม่ าก ในขณะที่ ต้ น ทุ น การผลิ ต ของเราก็ ไ ม่ ไ ด้ แ ตกต่ า งนั ก ผมต้องผลักดันให้หนังสือการ์ตูนไทยมาถึงจุดนี้ เพราะมันคงจะยากหากนักเขียนการ์ตูนจะต้อง ต่อสู้ด้วยต้นทุนที่เสียเปรียบขนาดนั้น”

จากความตัง้ ใจเริม่ ต้น จนถึงวันทีค่ วามสำ�เร็จ ออกผล ในที่สุดหนังสือการ์ตูนเรื่อง "ชายผู้ออก เดินทางตามเสียงของตัวเอง" ของ ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์ หรือนามปากกาว่า “สะอาด” ก็ได้รับรางวัลจากเวที International Manga Award 2012 จากญี่ปุ่น “ผมมองว่าการ์ตูน สำ�หรับผมคือวัฒนธรรม เหมือนที่ญี่ปุ่นมอง เขามองว่ า การวาดการ์ ตู น คื อ การเผยแพร่ วัฒนธรรม นั่นคือความฝันของผมเลยนะ คือ เด็กๆ เมื่อก่อนก็จะลอกดราก้อนบอล วาด โดราเอมอน แต่ในยุคนีม้ เี ด็กที่วาดตามนักเขียน การ์ตูนไทยแล้ว อย่างวาดให้เหมือนเดอะ ดวง วาดเหมือนคุณไตรภัค ผมว่ามันเป็นการเผยแพร่ วัฒนธรรมทีค่ อ่ นข้างป๊อป ผมเชือ่ ว่ามันมีพลังมาก ถ้าเราใช้มันให้ถูกทาง มันจะเป็นได้มากกว่า การ์ตูน” ความสำ�เร็จที่เกิดขึ้นบนเวทีของหนึ่ง ในประเทศผู้นำ�ด้านการ์ตูนอย่างญี่ปุ่นในครั้งนี้ นับเป็นการยํ้าชัดถึงเจตนารมย์ของธัญลักษณ์ ได้เป็นอย่างดี ว่าสิ่งที่เขากำ�ลังตั้งใจและลงมือ กับมัน ได้งอกเงยออกเป็นผลผลิตที่น่าจับตา มองต่อแปลงวรรณกรรมประเภทการ์ตูนที่เขา เพียรหว่านและเพาะปลูก คงเหลือเพียงว่าต่อจาก นี้ไป ผลผลิตจากจินตนาการของคนไทยจะได้ รับการเก็บเกี่ยวจากผูอ้ า่ น และได้รบั การตัดตอน กิ่งเพื่อแพร่ขยายความนิยมออกไปให้ได้มาก ทีส่ ดุ จากนักอ่านต่างชาติตา่ งวัฒนธรรมต่อไป

มีนาคม 2555 l Creative Thailand l

23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

BRUSSELS เติ บ โต อย่ า ง ติ น ติ น เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี

flickr.com/photos/lafalott

รักการผจญภัย กล้าหาญ กระตือรือร้น มากด้วย ไหวพริบ และต่อสูเ้ พือ่ ความถูกต้อง แอร์เชสร้างสรรค์ บุคลิกภาพอันฉลาดเฉลียวมาให้ "ติน ติน" และ ทำ � ให้ เ รื่อ งราวของเขายั ง เป็ น ที่รัก ของนั ก อ่ า น ทัว่ โลกจนถึงทุกวันนี้ เบือ้ งหลังลายเส้นการ์ตนู อันเป็นเอกลักษณ์และมุมมองอัศจรรย์ของ การท่องโลก หล่อหลอมขึ้นจากเมืองที่ สุ ข สงบและรํ่า รวยทางประวั ติศ าสตร์ แห่งหนึ่งของโลก "บรัสเซลส์" คือ เมืองที่ พ รั่ ง พร้ อ มด้ ว ยมรดกทาง ปั ญ ญาสำ � หรั บ การบ่ ม เพาะ วิ ถี ชี วิ ต จากเด็ ก ผู้ ใ ฝ่ รู้ สู่ ก าร เติบใหญ่อย่างมีคุณภาพ

24 l Creative Thailand l มีนาคม 2555


© Simon Aughton

© Ian T Edwards

© Romain Cintract/Hemis/Corbis

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

นิเวศแห่งปฏิภาณ สำ �หรับเมืองที่ เรี ยกตั วเองว่าเมืองหลวงของ ยุโรปทั้งตำ�แหน่งภูมิประเทศและการตั้งอยู่ ของสำ�นักงานองค์กรระหว่างประเทศหลาย แห่ง ทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป คณะมนตรี แห่งสหภาพยุโรป สภายุโรป รวมถึงองค์การ สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ทำ�ให้ บรัสเซลส์สะท้อนภาพลักษณ์แห่งการเจรจาและ การประชุมระดับนานาชาติ ความพร้อมเพรียง ของโครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ธุรกรรม การเงิน ระบบการศึกษา และระบบการแพทย์ ทีด่ ที ส่ี ดุ ในยุโรป ซึง่ ล้วนส่งเสริมให้ชาวเมืองเกือบ สองล้านคน มีความสงบสุขกับการดำ�เนินไปของ เมืองทีค่ าดเดาได้ ด้วยว่ามันไม่เคยมีเหตุการณ์ ขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงจนนำ�ไปสูก่ ารสูญเสีย หรือการหยุดงานประท้วงขนาดใหญ่ที่ก็ไม่เคย เกิดขึ้นในรอบ 20 ปีมานี้ ทั้งความระสํ่าระสาย ทางเศรษฐกิจก็แทบไม่ปรากฏ คุณภาพชีวติ แบบสุดยอดของชาวบรัสเซลส์ นับเป็นเรือ่ งน่าอิจฉา กระทรวงการต่างประเทศ ของสหราชอาณาจักร ระบุว่าบรัสเซลส์เป็น เมืองหลวงที่ปลอดภัยจากคดีฆาตกรรมมาก ทีส่ ดุ ในโลก ในอัตราส่วนร้อยละ 0.4 ต่อประชากร หนึง่ แสนคน (4 คดีตอ่ ล้านคน) ขณะทีเ่ มืองอืน่ ๆ อย่างกรุงโรมอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลอนดอน 2.1 มอสโก 18.1 และวอชิงตัน 69.3 นอกจากนี้ รายงานของสหประชาชาติยังระบุว่า บรัสเซลล์ และเบลเยี ย มได้ รั บ คะแนนในกลุ่ ม ที่ ดี ที่ สุ ด

สำ�หรับความเสี่ยงของการโจมตีและภัยคุกคาม ที่น่ากลัว จากหลักประกันชีวิตที่ดีนี้เองที่ได้ กลายเป็นพลังขับเคลือ่ นของประเทศทีส่ งู ตามมา ครั้งหนึ่ง เยอรมนีได้จัดทำ�สถิติเกี่ยวกับผลผลิต ทางอุ ต สาหกรรมของกลุ่ม ประเทศในยุ โ รป และพบว่า แรงงานชาวเบลเยียมคือกลุ่มคนที่ ให้ประสิทธิผลดีทส่ี ดุ ในโลก พวกเขามีอตั ราการ ขาดงานตํา่ มาก ทำ�ให้สามารถสร้างผลผลิตทาง อุตสาหกรรม (จำ�นวนของสินค้าทีผ่ ลิตต่อคนงาน) ได้สงู กว่าประเทศข้างเคียงอย่างเนเธอร์แลนด์ถงึ ร้อยละ 20 ทัง้ ยังดีกว่าอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ใน ญีป่ นุ่ เยอรมนี และสหรัฐฯ แน่นอนว่าทัง้ หมดนี้ ล้วนเกิดจากการให้ความสำ�คัญกับเรือ่ งคุณภาพ ชีวิตอย่างเคร่งครัด อาทิ ระบบประกันสังคม มาตรฐานชั่วโมงการทำ�งานที่เป็นธรรม และ การสร้างผลตอบแทนให้ทักษะแรงงานชั้นสูง ซึ่ งผลของมันย่ อ มสะท้อ นถึงเสถียรภาพของ ประเทศเล็กๆ แต่เปี่ยมล้นด้วยศักยภาพนี้ได้ เป็นอย่างดี ท่ามกลางความทรงประสิทธิภาพ เป็น ทางการ แต่แสนเย็นชืดนี้ บรัสเซลส์พยายาม สร้ า งท่ ว งทำ � นองของตั ว เองให้ มี สี สั น และ ชีวิตชีวา ผู้คนหลายเชื้อชาติหลากภาษาที่ใช้ ชี วิ ต อยู่ ท่า มกลางฉากหลั ง ซึ่ง เป็ น กลุ่ม งาน สถาปัตยกรรมโกธิคสมัยยุคกลางและอาร์ตนูโว แห่งศตวรรษที่ 19 คือรากฐานทางประวัตศิ าสตร์ ซึ่งบรัสเซลส์กระตือรือร้นที่จะรักษาไว้ และ

พร้อมจะก้าวไปข้างหน้าด้วยสินทรัพย์ที่จับต้อง ได้และจับต้องไม่ได้ ในปี 2012 เทศบาลเมืองลงทุนเพือ่ การบริหาร จัดการทรัพย์สนิ ในเมือง 77 ล้านยูโร เพือ่ พัฒนา เมืองให้นา่ อยูแ่ ละสวยงาม ทัง้ การจัดการทีอ่ ยูอ่ าศัย ร้านค้า ทีจ่ อดรถ รวมถึงการออกแบบและเชือ่ มต่อ เส้ น ทางจั ก รยานและทางเดิ น ท่ อ งเที่ ย วให้ สะดวกสบายขึ้น ขณะที่ภาคธุรกิจก็ต่างร่วมกัน บริหารเสน่ห์ของเมืองผ่านการปรุงโฉมหน้าร้าน โรงแรม ภัตตาคาร ให้โก้หรูและดึงดูดใจในสไตล์ ศิลปะแบบอาร์ตนูโว ซึ่งมีจุดกำ�เนิดที่บรัสเซลส์ โดยสถาปนิกผู้บุกเบิก วิคเตอร์ ฮอร์ตา อาคาร สี่หลังที่เขาออกแบบได้รับการขึ้นทะเบียนจาก ยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก เช่น Maison and Atelier Horta ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ Horta Museum เพือ่ อุทศิ ให้กบั แนวคิดและผลงานของ เขา นอกจากอาคารอนุรกั ษ์ บรัสเซลส์ยงั เปิดช่อง ให้สีสันใหม่ๆ เช่น Pantone Hotel ซึ่งนิตยสาร แทรเวล แอนด์ ลีเชอร์ คัดเลือกให้เป็นโรงแรม น่าประทับใจทีส่ ดุ ของปี 2011 ด้วยความกะทัดรัด และสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิด ‘Live in colors, dream in colors’ โรงแรมขนาด 60 ห้องนี้ จึงกลายเป็นที่หมายของนักท่องโลกรุ่นใหม่ ด้านการบริหารความรู้ พลังงานความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และนักสร้างสรรค์ ไหลเวียนทั่วเมือง เพื่อผลักดันให้เด็กรุ่นใหม่ได้ ทดลองประสบการณ์แบบมืออาชีพและแสดง มีนาคม 2555 l Creative Thailand

l 25


ความเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลในแต่ละช่วงอายุ สำ�หรับเด็กทีอ่ ยูใ่ นช่วง 6-10 ปี ห้องสมุดสาธารณะ ของเมืองได้จดั โครงการ Child and Youth Jury: The coolest book club เพื่อให้เด็กๆ มา รวมตัวกันพูดคุยถึงหนังสือที่พวกเขาชื่นชอบ และทุกเดือนเด็กๆ จะคัดเลือกหนังสือที่ดีที่สุด เพือ่ แนะนำ�ให้เพือ่ นๆ ของเขาอ่านต่อไป ขณะที่ กลุ่ ม วั ย รุ่ น ซึ่ ง อยู่ ใ นวั ย กำ � ลั ง ค้ น หาตั ว ตน โปรแกรมทัวร์สตูดิโอของศิลปินจะพาพวกเขา ไปสู่เบื้องหลังและแรงบันดาลใจของผลงานใน อาชีพต่างๆ เช่น จิตรกร ประติมากร ช่างภาพ ผูผ้ ลิตภาพยนตร์ นักออกแบบ สไตลิสต์ เป็นต้น และสำ�หรับกลุ่มวัยเริ่มต้นทำ�งาน B-Gallery เป็นโครงการทีจ่ ดั ขึน้ เพือ่ ส่งเสริมศิลปินหนุม่ สาว ในเบลเยียมที่อยู่หรือทำ�งานไม่ถึง 10 ปี ให้ได้ มีโอกาสจัดแสดงผลงานต่อสาธารณะผ่านการ คัดเลือกของศิลปินอาชีพ โดยแต่ละปีจะมี 9 คน ทีไ่ ด้โอกาสนัน้ เพือ่ เติบโตในเส้นทางศิลปินต่อไป และบรัสเซลส์ยังปักหมุดตัวเองไว้ในแผนที่โลก ภาพยนตร์ ด้วยการจัดเทศกาลภาพยนตร์สั้น บรัสเซลส์ (BSFF) ซึง่ เป็นครัง้ ที่ 14 แล้ว โดยในปี 2011 มีภาพยนตร์เข้าร่วมฉายกว่า 300 เรือ่ งจาก 40 ประเทศ และมีผรู้ ว่ มงานกว่า 25,000 คนจาก ฝั่งยุโรปและเอเชีย นับเป็นสถานที่ประชุมที่ สมบูรณ์แบบสำ�หรับผู้ผลิตภาพยนตร์ ผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์ ผูเ้ ชีย่ วชาญและหนุม่ สาวรุน่ ใหม่ท่ี ต้องการนำ�เสนอความสามารถในอุตสาหกรรมนี้ จากทุนทีม่ อี ยู่ บรัสเซลส์สร้างเมืองให้คมุ้ ค่า แก่ผมู้ าเยือนและผูอ้ ยูอ่ าศัย ด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง และเทศกาลศิลปวัฒนธรรม พร้อมกับเชิญชวน ผูค้ นให้รว่ มสำ�รวจเมืองผ่านพิพธิ ภัณฑ์ หอศิลป์ ห้องสมุด อนุสาวรีย์ โบสถ์ สวนสาธารณะ และ โรงละคร ซึ่งเฉพาะพิพิธภัณฑ์นั้นก็มีมากกว่า 100 แห่งทัว่ เมือง แต่ละแห่งโดดเด่นด้วยเนือ้ หา และมุ ม มองที่ แ สดงถึ ง อุ ป นิ สั ย อั น ถี่ ถ้ ว นของ ชาวเบลเยียมและบ่งบอกว่าอนาคตลูกหลาน ของพวกเขาจะเติบโตเช่นไร

26 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

flickr.com/photos/bcnbits

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

สะสมอย่างสร้างสรรค์ อาจเป็นเพราะบุคลิกเก็บตัว รักความสงบ และ มั่งคั่ง จึงทำ�ให้เบลเยียมเป็นชาติที่มีของสะสม ในพิพธิ ภัณฑ์มากมายโดยเฉพาะงานศิลปะ และ พวกเขาก็ใจกว้างทีจ่ ะแสดงผลงานสะสมอันมีคา่ เหล่ า นั้ น แก่ ค นรุ่ น หลั ง ผ่ า นการจั ด แสดงใน พิพธิ ภัณฑ์ นอกเหนือจากแง่มมุ ทางประวัตศิ าสตร์ และงานศิ ล ปะชิ้ น เอกของโลกที่ จั ด แสดงใน พิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ ของเมืองแล้ว ที่น่าสนุกกว่า นั้นคือ การได้เห็นชีวิตในวัยเด็กกลับมาอีกครั้ง เมื่อเดินเข้าพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ Belgian center for comic strip art องค์กร ทีไ่ ม่แสวงหาผลกำ�ไรซึง่ ก่อตัง้ ขึน้ ในปี 1984 จาก ความคิ ด ริ เ ริ่ม ของภาคเอกชนทั้ง กลุ่ม ผู้ผ ลิ ต การ์ตูนและสมาคมวิชาชีพของศิลปินการ์ตูน เพือ่ ส่งเสริมให้การ์ตนู เป็นสือ่ กลางทางวัฒนธรรม ที่มีคุณค่าและการรักษาผลงานชิ้นยอดเยี่ยม ของชาติให้สบื ทอดสูร่ นุ่ ต่อไป ภายในพิพธิ ภัณฑ์ มีผลงานของนักเขียนการ์ตูนมากกว่า 700 คน ที่เล่าเรื่องของวีรบุรุษในโลกกระดาษ Children's museum สถานทีเ่ พือ่ บ่มเพาะให้ เด็กๆ เข้าใจถึงการอยูร่ ว่ มกันในสังคม การสือ่ สาร การริเริ่มสร้างสรรค์ ผ่านรูปแบบนิทรรศการ และการแนะแนวจากผู้เชี่ยวชาญในโปรแกรม ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับความมัน่ ใจในตนเอง ความกลัว และจินตนาการ

Museum of musical instruments ทีจ่ ะได้ ค้นพบเครื่องดนตรีกว่า 7,000 ชิ้น หรือ 1,200 คอลเล็กชั่นจากประวัติศาสตร์ดนตรีทั่วโลก Autoworld พิพิธภัณฑ์รถยนต์เก่าที่ย้อน กลับไปในยุค 1890 เมื่อรถคันแรกวิ่งบนถนน โดยสะสมและจัดแสดงยานพาหนะจากอดีตไว้ มากกว่า 400 คัน รวมถึงยานพาหนะสุดลํ้า ที่จะเกิดขึ้นในโลกอนาคต Toy Museum พิพธิ ภัณฑ์ทน่ี �ำ เสนอเรือ่ งราว ทีเ่ ปีย่ มชีวติ ชีวาของของเล่นและกลไกไม่นอ้ ยกว่า 25,000 ชิ้น International Puppet Museum สถานที่ รวบรวมศิลปะการจัดแสดงหุ่น การทำ�หุ่น และ ละครหุ่นที่นำ�เสนอเพื่อสะท้อนเรื่องราวของยุค ต่างๆ ในสังคม Museum of Natural Sciences คอลเล็กชัน่ แมลงสวยงาม ไดโนเสาร์ รวมถึงคอลเล็กชัน่ วาฬ ที่โดดเด่น และอีกกว่า 2,000 ชนิดของหินแร่ จากจักรวาลของเรา Costume and lace museum พิพธิ ภัณฑ์ เครือ่ งแต่งกายและผ้าลูกไม้ เพือ่ ฉลองมรดกทาง วัฒนธรรมสิ่งทออันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ เบลเยียม


© Astrid Westvang

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

มหาวิหารแห่งการ์ตูน บรัสเซลส์อทุ ศิ ช่องว่างนับไม่ถว้ นของเมืองให้แก่ การ์ตนู ทัง้ จิตรกรรมฝาผนัง รูปปัน้ ร้านหนังสือ การ์ตนู ภัตตาคาร ร้านขายของทีร่ ะลึก พิพธิ ภัณฑ์ และงานเทศกาลต่างๆ ตัวอักษรและลายเส้นที่ เคลื่อนไหวไปทั่วเมืองนี้ถือเป็นอุตสาหกรรมที่ ได้รับการยอมรับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ของชาติและสร้างเม็ดเงินให้สบู ฉีดไปทัว่ ประเทศ และเบลเยียมเองก็เป็นชาติทม่ี ศี ลิ ปินการ์ตนู มาก ทีส่ ดุ ในโลก (เมือ่ เปรียบเทียบเป็นตารางกิโลเมตร) รัฐบาลกลางและเทศบาลเมืองจึงไม่รีรอที่จะ สนับสนุนงบประมาณและโอกาสเพือ่ ให้ตวั การ์ตนู โลดแล่นออกมาพบปะผูค้ นได้อย่างสนิทสนม ซึง่ มันได้ผลอย่างยอดเยีย่ มผ่านการจัดโปรแกรมทัวร์ "ตามรอยการผจญภัยของติน ติน" ซึง่ นักท่องเทีย่ ว จะได้แวะชมสถานที่อันเป็นฉากสำ�คัญในนิยาย การ์ตนู ชุดนี้ บรัสเซลส์จดุ พลุเรือ่ งนีข้ น้ึ เมือ่ ปี 2007 ด้วยการฉลอง 100 ปีให้กบั แอร์เช หรือ จอร์จ เรมี่ ผู้แต่ง ติน ติน การ์ตูนผจญภัยที่ถูกแปลไปกว่า 80 ภาษาและขายได้มากกว่า 350 ล้านเล่มทัว่ โลก ปี 2009 บรัสเซลส์ตอกยา้ํ เรือ่ งนีด้ ว้ ยการประกาศ ปีแห่งการ์ตนู สากล และยังเป็นโอกาสดีทส่ี ตีเว่น สปีลเบิร์ก และปีเตอร์ แจ๊คสัน จับมือกันนำ�

ติน ติน มาสู่โลกภาพยนตร์ในปี 2011 จึงทำ�ให้ กระแสความคลั่งไคล้ติน ติน ดำ�เนินไปอย่าง ต่อเนื่อง และได้เอื้อเฟื้อไปถึงพ้องเพื่อนการ์ตูน อื่นๆ ในบรัสเซลส์อีกด้วย วัฒนธรรมการ์ตนู ของเบลเยียมเบ่งบานหลัง สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง เมือ่ ผูค้ นต้องการแสวงหา จินตนาการทีก่ ว้างกว่าขอบเขตของดินแดนเล็กๆ และต้องการแสดงออกถึงมุขขบขันแบบรันทดหรือ เสียดสีทางการเมือง ซึ่งแสดงออกได้อย่างเป็น ธรรมชาติในการ์ตนู หนังสือพิมพ์ และยังต่อเนือ่ ง เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้ เช่นการ ล้อเลียนเรือ่ งวิบากกรรมของอียู กับวิกฤติหนีใ้ น ยุโรป และด้วยเหตุที่เมืองวางใจและเชื่อมั่นใน การ์ตูนนี่เอง บรรยากาศทั่วทั้งเมืองจึงแสดงถึง ศิลปะแขนงนีอ้ ย่างแจ่มชัด และในทุกวิถที างทีค่ น สามารถมองเห็นมันได้ ตั้งแต่ปี 1991 ที่มีภาพ จิตรกรรมฝาผนังรูปการ์ตนู ในฉากต่างๆ ทีไ่ ม่ซา้ํ กัน เกือบ 40 ผนัง และอีกกว่า 31 ถนนที่เปลี่ยนชื่อ เป็นตัวการ์ตนู เพือ่ แสดงความคารวะต่อพวกเขา ศิลปินกราฟิกชาวฝรั่งเศส ปิแอร์ อะลารี นักเขียนการ์ตูนชื่อดังและผู้ออกแบบการ์ตูน เวอร์ชน่ั ใหม่ๆ ให้แก่วอลต์ ดิสนีย์ อย่างซินแบด

กล่าวว่า "การ์ตนู เป็นวิธที ด่ี ที จ่ี ะบอกเล่าเรือ่ งราว ทีม่ เี สรีภาพ และนัน่ เป็นวิธที บ่ี รัสเซลส์เล่าประวัติ ของตัวเอง ผ่านสีสัน ผ่านถนน และฝาผนัง มันสอนให้เด็กๆ ได้เห็นชีวิตจากมุมมองของ ผู้ใหญ่” ปิแอร์เดินทางไปทั่วโลกเพื่อสรรหา แรงบันดาลใจในการสร้างงานศิลปะของเขา “สำ�หรับบรัสเซลส์ มันมีคณุ ค่าอย่างแท้จริง เพราะ มันอุทศิ สำ�หรับการ์ตนู ” น่าอัศจรรย์ที่เมืองเล็กๆ อย่างบรัสเซลส์ ได้สร้างอิทธิพลที่มีต่อความนิยมชมชอบเรื่อง การ์ตนู ให้กลายเป็นวัฒนธรรมสากล และสร้างให้ ตัวการ์ตูนเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความคิด สร้างสรรค์ที่ไร้พรมแดน การ์ตูนอาจเป็นเพียง ภาพสะท้อนทีไ่ ม่อาจเกิดขึน้ ในชีวติ จริง หรืออาจ เป็นเรื่องจริงที่ถ่ายทอดมาจากความทรงจำ�และ ความรูข้ องผูเ้ ขียน แต่ค�ำ ถามก็คอื สังคมแบบไหน ที่หล่อหลอมจิตวิญญาณให้เกิดอัจฉริยภาพบน กระดาษเหล่านี้ และสังคมแบบไหนที่คนรุ่น ปัจจุบันอยากทิ้งเป็นมรดกไว้ให้คนรุ่นต่อมา ซึง่ แน่นอนว่า บรัสเซลส์เป็นหนึง่ ในคำ�ตอบนัน้ ที่มา: brusselsmuseums.be, brusselscomics.com, eupedia.com, timescrest.com มีนาคม 2555 l Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

วันเวลากับช่องความคิดที่เปลี่ยนไปของ

วิศุทธิ์ พรนิมิตร เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: กิรตรา พรหมสาขา ณ สกลนคร

“ตั้ม” วิศุทธิ์ พรนิมิตร คือนักเขียนการ์ตูนไทยที่น่าจับตามองมากที่สุดคนหนึ่งในตอนนี้ ผลงานของเขามีสไตล์ ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วยลายเส้นที่เรียบง่าย ทว่าถ่ายทอดเนื้อหาที่ผ่านการครุ่นคิดอย่างลึกซึ้ง ส่งผลให้ HESHEIT คอลัมน์ประจำ�ของเขาที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร a day เป็นที่ชื่นชอบในหมู่มิตรนักอ่าน ล่าสุด ผลงาน การ์ตูนเรื่องยาว "ชิงช้า" กำ�ลังได้รับการแปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยอย่างต่อเนื่อง เขายังได้ทุนทำ�อนิเมชั่น ขนาดสัน้ ให้กบั audio-technica ของญีป่ นุ่ ทุกเดือน และจัดงานอีเวนท์เล็กๆ ของตัวเองเพือ่ วาดภาพพอร์เทรต ให้คนที่มาร่วมงานโดยเฉพาะ ตั้มเริ่มต้นบทสนทนาที่ว่าด้วยเรื่องราวในวัยเด็ก ท่ามกลางบรรยากาศ สบายๆ ในบ้านสีขาวหลังใหม่ทด่ี เู รียบง่าย ซึง่ มักจะปรากฏอยูใ่ นงานเขียน ของเขาอยูบ่ อ่ ยครัง้ ด้วยรูปแบบดีไซน์ทน่ี อ้ ยแต่ใส่ใจในทุกรายละเอียดของ บ้านหลังนี้ จึงอดไม่ได้ที่จะทำ�ให้นึกถึงช่องการ์ตูนของเขาในช่วงแรกที่ หนักแน่นไปด้วยเส้นสายของอารมณ์ ก่อนจะลดทอนสัดส่วนที่ว้าวุ่นออก

28 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

และปรับโทนการเล่าเรื่องให้เบาลง แต่ “รู้สึก” ถึงแก่นของเนื้อหามากขึ้น ในภายหลัง และนีค่ อื บทสัมภาษณ์ทบ่ี นั ทึกช่องความคิดของ วิศทุ ธิ์ พรนิมติ ร ตัง้ แต่วนั ทีเ่ ขายังเป็นเด็กทีว่ าดรูปไม่เก่งแต่หลงรักการอ่านการ์ตนู มาจนถึง วันทีเ่ ขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนการ์ตูนไทยที่โด่งดังไปถึงประเทศที่ให้ ความสำ�คัญกับวัฒนธรรมการ์ตูนอย่างสุดขั้วเช่นญี่ปุ่น


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

มีนาคม 2555 l Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

แล้วเริ่มเขียนการ์ตูนอย่างจริงจังหรืออยากมีผลงานของตัวเองเมื่อไหร่ ที่จริงแล้วก็เขียนเล่นๆ มาตลอด เมื่อก่อนจะมีนิตยสารไทคอมิค ที่เปิด รับสมัครให้คนส่งไปประกวด ก็วาดอยูป่ ระมาณ 3 ปี แต่ไม่จบเรือ่ ง เพราะ เรารูต้ วั ว่าวาดไม่ได้ในคุณภาพทีจ่ ะเอาไปตีพมิ พ์ เลยตัดสินใจวาดการ์ตนู ที่บ้านแทน จนกลายมาเป็นคอลัมน์ HESHEIT ซึ่งทำ�ให้เราสนุก จากนั้น ก็ได้รู้จักนิตยสาร Katch ของพี่บอย (บอย โกสิยพงษ์) ซึ่งทำ�ออกมาตอน ที่เรียนอยู่ปี 3 พอดี ด้วยความที่เป็นนิตยสารที่แปลกและมีการ์ตูนด้วย บวกกับชอบค่ายเบเกอรี่ ก็เลยลองการ์ตูนส่งไปที่ Katch อย่างน้อยแค่ให้ คนที่เราชอบได้ดูงานของเรา ก็ดีใจแล้ว ปรากฏว่าเขาชอบก็เลยได้ลง สังเกตว่าลักษณะของเรื่องราวในการ์ตูนช่วงที่ผ่านมาจะไม่เหมือนกับช่วง แรกที่เริ่มวาด จริงๆ แล้วเนือ้ หาข้างในก็เหมือนกันนะ เราจะพูดถึงสิง่ ทีเ่ ราได้เรียนรูใ้ นชีวติ เพียงแต่วิธีการเล่าจะเปลี่ยนไป เพราะชีวิตเราก็เปลี่ยนไปด้วยเหมือนกัน มันสบายๆ ขึ้น ไม่ค่อยรู้สึกต่อต้านอะไร แต่ก่อนเห็นอะไรก็จะต่อต้านว่า ทำ�ไมไม่เป็นอย่างนี้ เราจะพูดจากมุมมองทีต่ อ่ ต้าน แต่เดีย๋ วนีจ้ ะเป็นอะไรก็ชา่ ง ทุกอย่างก็เลยดีหมด เห็นอะไรก็โอเคไปหมด งานมันก็เลยไม่คอ่ ยบล็อกเท่าไร ก่อนจะมาเป็นการ์ตูนแต่ละช่อง คุณเริ่มต้นอย่างไร เราเป็นคนชอบอ่านการ์ตูนตั้งแต่ตอนเด็กๆ โดยเฉพาะขายหัวเราะ ส่วน การ์ตนู ญีป่ นุ่ กับฝรัง่ จะได้อา่ นบ้าง เช่น สนูปปี้ เพราะพีน่ อ้ งซือ้ มา หรือไม่ก็ ไปเช่าวิดโี อทีร่ า้ นเพือ่ นของแม่ เราก็ไม่รหู้ รอกว่าเด็กจะต้องอยากดูการ์ตนู แต่เขาให้ดู ก็เลยเลือกมาดูหมดเลย ทัง้ มิกกีเ้ ม้าส์ พิงค์แพนเตอร์ โร้ดรันเนอร์ เราดูทุกอย่างไปโดยไม่รู้ตัว แล้วก็วาดเลียนแบบ จากนั้นก็เริ่มวาดการ์ตูน ตัง้ แต่อายุ 6-7 ขวบ มันเป็นไปตามธรรมชาติของเด็กๆ มากกว่า ไม่ได้คดิ อะไร เพราะเราชอบอ่านการ์ตนู อย่างเดียว ไม่ชอบทำ�การบ้าน ในตอนนั้นมีการ์ตูนเล่มไหนที่อ่านแล้วรู้สึกชอบ อยากวาดได้อย่างนี้บ้าง มีสองเรือ่ งทีช่ อบและวาดเลียนแบบ คือ กัปตันซึบาสะ เพราะมีทา่ ไม้ตาย ดูเท่ และวาดง่ายกว่าพวกดราก้อนบอล ซึ่งมันจะยาก อีกเรื่องคือ คินิคุแมน ทีเ่ ป็นตัวการ์ตนู หน้ากลมๆ มีกล้ามเหมือนกันหมด ส่วนการ์ตนู ฝรัง่ ทีไ่ ด้ดู ตอนนั้นจะเป็นอนิเมชั่น ซึ่งเราไม่สามารถเลียนแบบได้ เลยดูไกลตัว การ์ตูนที่เราหยิบมาเปิดใต้โต๊ะเรียนแล้วอ่านเขียนตามก็เลยเป็นพวก การ์ตูนญี่ปุ่นมากกว่า ถามว่าทำ�ไมไม่เป็นการ์ตูนไทย คงเพราะว่าตอนนั้นขายหัวเราะมัน เล่มใหญ่ รูส้ กึ ไม่นา่ วาดตาม เพราะว่าเขาวาดสวยและมันเป็นเรือ่ งของผูใ้ หญ่ เรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับสังคม แต่สง่ิ ทีเ่ ด็กๆ ชอบและอยากเลียนแบบจะเป็นท่าไม้ตาย หรืออะไรทีเ่ วอร์ๆ มากกว่า ส่วนการ์ตนู ฝรัง่ อย่างมาร์เวล คอมิกส์ ก็ลอกตาม ไม่ได้ เพราะไม่มใี ห้อา่ น ถึงอ่านก็ไม่รเู้ รือ่ ง เพราะตัวหนังสือมันเยอะ ผิดกับ การ์ตูนญี่ปุ่นที่จะขยับเยอะ และพูดน้อยกว่า 30 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

แล้วอะไรที่ทำ�ให้มุมมองตรงนี้เปลี่ยนไป ด้วยความทีบ่ า้ นเราเป็นโรงเรียน เลยได้เจอกับคนหลายประเภทมาตัง้ แต่เด็ก อย่างเช่น ตอนชัน้ ประถมก็ได้เจอคนทีร่ วยมากๆ กับคนทีต่ รงกันข้ามกันเลย พอมัธยมก็ได้เล่นดนตรีในวงดุรยิ างค์ ซึง่ ทำ�ให้ได้เห็นคนหลายแบบ อย่าง บางคนฉลาดมาก เรียนเก่งมาก บางคนไม่เก่ง พอเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย ศิลปากร ก็ยิ่งเจอคนเยอะมากขึ้น ทั้งคนขอทาน ฝรั่ง แม่ค้า นักศึกษา พอเราได้เห็นอะไรหลายๆ อย่างก็จะเกิดเป็นจุดเปลีย่ นได้ จากตอนแรกทีเ่ รา รูส้ กึ ต่อต้านสิง่ ต่างๆ เพราะว่าเราเห็นแต่ตวั เอง อะไรทีไ่ ม่ใช่ตวั เองก็เลยต่อต้าน แต่พอเริม่ เห็นคนหลายๆ แบบ ก็เริม่ เข้าใจว่าทีค่ นเรามีนสิ ยั แบบนีเ้ พราะว่าเขา เคยเจอเหตุการณ์บางอย่างมาก่อน บางทีเราจะไปบอกเขาว่า “ทำ�ไมคุณ ไม่เป็นอย่างฉัน” ก็ไม่ได้ เพราะว่าเขาก็มโี ครงสร้างของชีวติ มีอดีตแบบนัน้ ซึ่งก็จะเข้าใจแล้วว่าทุกอย่างมันมีที่ทางที่ถูกต้องอยู่แล้ว จากนั้นก็ค่อยๆ ถ่ายทอดความคิดนี้ลงในการ์ตูน การ์ตูนของเราจึงเปิดกว้างมากขึ้น จากตอนแรกทีว่ าด HESHEIT ตัวการ์ตนู ก็จะมีแค่ผหู้ ญิง ผูช้ าย ซึง่ เป็นคน ชอบคิด เราก็เริ่มวาดคาแรกเตอร์เยอะขึ้น เช่น เราอยากรู้ว่าคนที่ไม่คิด อะไรเลยจะตอบหรือมีปฏิกริ ยิ าอย่างไรกับเนือ้ เรือ่ งทีส่ ร้างขึน้ หรือว่าลองวาด คนทีเ่ ราไม่ชอบ นิสยั ทีเ่ ราไม่ชอบ พอได้ลองวาด เราก็เริม่ “เห็น” และ “เห็นใจ” คนอื่นมากขึ้นด้วย ตอนนี้ก็เลยมีความสุขมาก เพราะว่ามันถูกไปหมด ถ้ามองว่าทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ ก็ไม่ต้องบ่นอะไรอีกแล้ว


,,

THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ความคิดที่เปลี่ยนไปสะท้อนออกมาทางลายเส้นด้วยหรือเปล่า เรือ่ งลายเส้นมันอาจจะอยูท่ ฝ่ี มี อื ด้วย พูดง่ายๆ ถึงเราวาดไม่เก่ง แต่ยงั วาด ต่อไปเรือ่ ยๆ ก็เก่งขึน้ ได้ ส่วนวิธกี ารวาดให้เก่งขึน้ ของเราคือ เราจะเริม่ วาด ให้มันเรียบง่ายขึ้นมากกว่าวาดให้ละเอียดขึ้น สังเกตว่าผลงานเก่าๆ มักจะมีตัวหนังสือและคำ�พูดเต็มไปหมด แต่ตอน นี้แทบจะไม่มีเลย ตอนที่อยู่ญี่ปุ่น การจะวาดการ์ตูนลงนิตยสารต้องแปลจากภาษาไทยเป็น ภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเราเคยลองทำ�มาหลายวิธีแล้ว ทั้งทำ�ไฟล์ใหม่หรือซีร็อกซ์ ใช้ลคิ วิดเปเปอร์ลบตัวหนังสือ ปรากฏว่ามันเสียเวลามาก ต่อมาเลยพยายาม ไม่เขียนคำ�พูด แต่วาดภาพทีส่ ามารถแสดงอาการออกมาแทน เพราะเมือ่ ก่อน เราจะเขียนหัวการ์ตนู ก่อนแล้วค่อยเขียนคำ�พูด แค่นก้ี ท็ �ำ ให้การ์ตนู พูดได้แล้ว แต่ถา้ เป็นแบบนัน้ ตลอดมันน่าเบือ่ มันต้องมีทา่ ทางอากัปกิรยิ าบ้าง ถึงจะ ไม่เสียชาติเกิดที่เป็นการ์ตูน แต่ก็เป็นแค่มุมมองของเรานะ พอการ์ตูน เริม่ มีทา่ มีทางก็ไม่ตอ้ งการตัวหนังสือแล้ว มันจะตัดทอนไปเรือ่ ยๆ ทัง้ ลายเส้น ทัง้ เนือ้ เรือ่ ง หลังๆ อาจจะมีประโยคเดียวหรือไม่มเี ลย มันเกิดจากความขีเ้ กียจ ของเราด้วย ให้คนอ่านไปคิดเองดีกว่า คนอ่านขยันกว่าเรา หลายคนบอกว่าการ์ตูนของคุณเป็นการ์ตูนเชิงปรัชญา ส่วนใหญ่กเ็ ขียนมาจากประสบการณ์ของตัวเอง และมักจะเขียนเนือ้ เรือ่ งที่ ตัวการ์ตนู มีการพัฒนาหรือได้เรียนรูบ้ างสิง่ บางอย่าง ซึง่ การเรียนรูก้ ถ็ อื เป็น ปรัชญาอย่างหนึง่ เราจะไม่สนเรือ่ งอืน่ ๆ ทีไ่ ม่พฒั นา เช่น คนทีม่ นี สิ ยั แบบหนึง่ ไปเจอเหตุการณ์หนึง่ แต่กย็ งั ทำ�ตัวเหมือนเดิมอยูโ่ ดยไม่ได้เรียนรูจ้ ากสิง่ ที่ เกิดขึน้ เลย แบบนีจ้ ะไม่คอ่ ยเขียน แต่มนั จะต้องมองสิง่ ทีเ่ จอในอีกแง่มมุ หนึง่ ทีแ่ ตกต่างไปจากเดิมด้วย แค่นก้ี น็ บั เป็นการพัฒนาของคนแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ผูช้ ายคนหนึง่ เดินไปเจอขนมจีบหน้าตาไม่หน้ากิน แต่ทเ่ี ขาคิดว่าไม่นา่ กิน ก็เพราะว่าเขาจำ�ได้วา่ สิง่ ทีไ่ ม่นา่ กินเป็นอย่างไร พอเขาไปฉี่ เห็นฉีน่ า่ เกลียด เลยเริ่มกลับไปคิดว่าทำ�ไมถึงคิดว่าฉี่มันน่าเกลียดได้ เหมือนตามสติทัน เขาก็เลยกลับไปซือ้ ขนมจีบ เพราะคิดได้วา่ จริงๆ แล้วขนมจีบทีม่ นั ไม่นา่ กิน อาจจะมีมมุ มองด้านอืน่ ๆ ทีด่ กี ไ็ ด้ พอกินแล้วผลจะเป็นยังไงก็ชา่ ง แต่เขา ได้คิดอะไรบางอย่างจากเหตุการณ์นี้แล้ว จากผลงานที่ผ่านมา คุณมักจะขมวดปม หรือทิ้งท้ายอะไรไว้ให้ผู้อ่าน ในตอนจบเกือบทุกครั้ง คล้ายกับว่าเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อ คนอ่านอย่างหนึ่ง นานแล้ว เราดูขา่ วช่อง 7 แล้วหลังจากนัน้ ก็จะมีพระบรมราโชวาทของในหลวง จำ�ได้วา่ ครัง้ หนึง่ ในหลวงทรงตรัสว่า “อย่าสร้างสิง่ ไม่มปี ระโยชน์ให้กบั โลก” ไม่รทู้ �ำ ไมแต่เราจำ�มันฝังใจเลย เวลาทีเ่ ราเขียนการ์ตนู ก็ตอ้ งใช้กระดาษพิมพ์ ใช่ไหม ถ้าเราทำ�ให้คนอ่านรู้สึกไม่ดีหรือฟุ้งซ่าน อยากจะไปฆ่าคนขึ้นมา หรือทำ�อะไรไม่ดี มันก็เปลืองกระดาษ เราเลยพยายามทำ�ให้การ์ตนู มันเบาลง

พอเริ่มเห็นคนหลายๆ แบบ ก็เริ่ม เข้ า ใจว่ า ที่ ค นเรามี นิ สั ย แบบนี้ เพราะว่ า เขาเคยเจอเหตุ ก ารณ์ บางอย่างมาก่อน บางทีเราจะไปบอก เขาว่า “ทำ�ไมคุณไม่เป็นอย่างฉัน” ก็ไม่ได้ เพราะว่าเขาก็มีโครงสร้าง ของชีวิต มีอดีตแบบนั้น ซึ่งก็จะ เข้ า ใจแล้ ว ว่ า ทุ ก อย่ า งมั น มี ที่ ท าง ที่ถูกต้องอยู่แล้ว จากนั้นก็ค่อยๆ ถ่ายทอดความคิดนี้ลงในการ์ตูน การ์ตนู ของเราจึงเปิดกว้างมากขึน้

,,

เพราะว่าเราเขียนการ์ตูนเพื่อให้ตัวเองเบาลงมาตั้งแต่แรกแล้ว อีกอย่าง เราชอบเขียนการ์ตนู แบบอิมโพรไวซ์ไปเรือ่ ยๆ แล้วเราจะรูส้ กึ ละอายใจมาก ถ้าไม่มีประโยคที่มาฟูลสต็อปมันสักหน่อย ทำ�ให้ตัวเองเบาลง หมายถึงอะไร สมัยเรียนมหาวิทยาลัย อาจารย์ทา่ นหนึง่ เคยบอกว่า “คุณเลิกเรียนศิลปะดีกว่า เพราะแม้แต่ลายมือคุณยังไม่เหมือนคนเรียนศิลปะเลย” เราก็รตู้ วั ว่าสูค้ นอืน่ ไม่ได้ ไม่รวู้ า่ จะเถียงกลับไปยังไง เลยกลับบ้านมาเขียนการ์ตนู เขียนอะไร ก็ได้ทท่ี �ำ ให้รสู้ กึ ดีขน้ึ อย่างน้อยก็เขียนถึงคนทีไ่ ม่ดา่ เรา ไม่ตอ้ งใช้เวลาวาดมาก แค่ให้อ่านสนุกก็พอ การ์ตูนเราก็เลยเหมือนเป็นอะไรที่อ่านแล้วเบาลง เราอยากเขียนเรื่องที่ไม่หนักหรือทำ�ให้ฟุ้งซ่าน แต่ช่วยให้มองปัญหา อีกด้านหนึง่ อย่างเข้าใจมากกว่า เช่น HESHEIT ตอน “เส้นชัย” ก็เป็นเหตุการณ์ ทีเ่ กิดขึน้ จริง คือเราขับรถเร็วแล้วมีคนเข้ามาปาด พอหลังจากนัน้ ก็กลับมา เขียนการ์ตนู เรือ่ งนีข้ น้ึ มา คือ พระเอกนอกจากจะขับรถเร็วแล้ว สติเขายัง เร็วกว่า มันเร็วจัดจนมองเห็นไปถึงอนาคตว่าเดีย๋ วจะขับไปชนคน ซึง่ จะทำ�ให้ ชีวติ เขาเปลีย่ นไป พอมองไปไกลถึงอนาคตได้ เขาก็ตดั สินใจชะลอรถให้ชา้ ลง ส่วนคนทีแ่ ข่งด้วยยังฮึกเหิม มีอารมณ์โกรธอยู่ เลยหันมาเยาะเย้ย แต่ผชู้ าย คนนัน้ กลับบอกว่าเขาถึงเส้นชัยแล้ว และทีเ่ ขาเร็วจนไปถึงเส้นชัย เข้าใจว่า ความเร็วในทีน่ ไ้ี ม่ใช่รถ แต่เป็นสติ ตัวละครนีไ้ ด้เจอสิง่ หนึง่ แล้วจึงเกิดการ เปลี่ยนแปลง เลยกลายมาเป็นไอเดียในการเขียนการ์ตูน มีนาคม 2555 l Creative Thailand

l 31


,,

THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

แสดงว่าคาแรกเตอร์ของพระเอกส่วนใหญ่คือตัวเองหรือเปล่า คาแรกเตอร์ของพระเอกมักจะเป็นคนทีเ่ ราอยากเป็น แต่เป็นไม่ได้ นอกจากนี้ ก็ได้แรงบันดาลใจมาจากเพื่อนบ้าง หรือเรื่องที่เราได้ไปเจอ แล้วเอาไป คิดต่อเองให้สนุกตามที่เราอยากให้เป็น เช่น วันหนึ่งเรากำ�ลังขึ้นลิฟต์ท่ี พารากอน ซึ่งลิฟต์ทั้งสองฝั่งจะหน้าเข้าหากัน เวลาขึ้นลิฟต์ก็จะเห็นลิฟต์ อีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีผู้หญิงสวยอยู่ข้างใน พอประตูลิฟต์ปิดก็ไม่เห็นหน้า หายไป เลยกลายมาเป็นเรื่อง Love Elevator ทั้งๆ ที่เรื่องจริงมันไม่มี อะไรเลย แต่เราเอาไปคิดต่อว่าถ้าขึน้ ลิฟต์ตอ่ ไปแล้วเจอกันอีกจะเป็นอย่างไร นอกจากวาดการ์ตนู แล้ว คุณยังทำ�อนิเมชัน่ ด้วย สองสิง่ นีม้ คี วามแตกต่าง กันมากน้อยแค่ไหน เราสามารถอ่านการ์ตนู แบบเงียบๆ ช้าๆ ตรงไหนไม่รเู้ รือ่ งก็ยอ้ นกลับไปอ่านได้ จะอ่านก่อนนอนหรืออ่านคนเดียวก็ได้ ใช้เวลาเท่าไหร่ก็ได้ ส่วนอนิเมชั่น เราทำ�เพื่อประกอบการแสดงสด (Live) มากกว่า เลยต้องคิดถึงงานที่คน สามารถดูได้หลายๆ คน ดูครั้งเดียวก็รู้เรื่อง ไม่ต้องย้อนกลับไปดูใหม่ ถ้าทำ�เป็นอนิเมชั่นแบบช้าๆ ก็ไม่ใช่ เลยพยายามทำ�อนิเมชั่นที่กระชับ และชัดมากที่สุด วิธีคิดจึงไม่ค่อยเหมือนกัน คือต้องพยายามคิดคล้ายๆ เพลงมากกว่า ส่วนหนังสือการ์ตูน ความรู้สึกจะละเอียดกว่า เห็นว่าตอนไปแสดงสดที่ญี่ปุ่นได้รับการตอบรับค่อนข้างดี พอเราเริม่ เล่นไลฟ์ทน่ี น่ั ก็เริม่ มีส�ำ นักพิมพ์เล็กๆ มาติดต่อ ซึง่ จริงๆ คอนเซปต์ ของการเล่นไลฟ์เกิดจากการที่เราออกหนังสือของตัวเองไม่ได้ในช่วงแรก เพราะยังไม่มชี อ่ื เสียง เราเป็นใครมาจากไหนก็ไม่รู้ วาดรูปสูค้ นญีป่ นุ่ ไม่ได้ ก็เลยคิดว่าฉายหนังดีกว่า เอาการ์ตูนของตัวเองมาทำ�เป็นการ์ตูนที่ไม่มี เสียง ไม่มีคำ�พูด แต่ทำ�เป็นภาพเคลื่อนไหว แล้วใช้โปรเจคเตอร์ฉายเป็น หนังการ์ตูนให้คนดูตามผับต่างๆ ที่ไปเช่าเอาถูกๆ แต่ตอนนั้นเราเพิ่งเริ่ม หัดใช้คอมพิวเตอร์ ยังอัดเสียงไม่เป็น ไรท์แผ่นไม่เป็น เลยยกเปียโน มาเล่นด้วย เพราะเรียนรู้ไม่ทันแล้ว กลายเป็นว่าสนุกดี คนชอบ

32 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

เวลาที่เราเขียนการ์ตูน ก็ต้องใช้ กระดาษพิมพ์ใช่ไหม ถ้าเราทำ�ให้ คนอ่ า นรู้ สึ ก ไม่ ดี ห รื อ ฟุ้ ง ซ่ า น อยากจะไปฆ่าคนขึน้ มาหรือทำ�อะไร ไม่ดี มันก็เปลืองกระดาษ

,,

ดูเหมือนว่าทั้งการวาดเส้น ลงสี ทำ�อนิเมชั่น เล่นดนตรี ทุกอย่างคือการ เรียนรู้ด้วยตนเอง ความตั้งใจตรงนี้เกิดจากอะไร เพราะอยากทำ�และมักจะทำ�เท่าที่ทำ�ได้ ส่วนผลมันจะเล็กน้อยยังไงก็ ไม่เป็นอะไร เช่น เล่นไลฟ์ให้คนดู 30 คน เขาจะชอบไม่ชอบหรือเราจะ ชอบไม่ชอบก็ไม่เป็นอะไร เพราะทำ�ได้แค่นี้ ส่วนรูปก็ทำ�ได้แค่นี้ วาดแค่นี้ ถึงจะเก่งขึ้นก็ไม่ต้องไปยึดติดกับสไตล์เก่ามากเกินไป พักหลังคนมักชอบ ถามว่าทำ�ไมไม่ขดี ฆ่าคำ�พูดเหมือนเมือ่ ก่อนแล้ว แต่กอ่ นขีดฆ่ามันดูมสี ไตล์ ทีจ่ ริงแล้วเป็นเพราะตอนนีเ้ ราคิดออกแล้วต่างหาก เลยไม่อยากเขียนอะไรที่ เราไม่ได้คดิ แล้ว เมือ่ ก่อนยังไม่รเู้ ลยด้วยซา้ํ ว่ากำ�ลังเขียนเรือ่ งอะไร วาดแบบ อิมโพรไวซ์ไปเรือ่ ยๆ แต่พอเขียนไปสัก 2-3 ปี มันเริม่ ตัน เคยอิมโพรไวซ์ไป 20 หน้า แล้วเพิ่งรู้ว่าเรื่องนี้มันควรเขียนแบบนี้ต่างหาก ก็เลยคิดเป็น ตัวหนังสือเร็วๆ ก่อนดีกว่าจะได้รู้ว่าเรากำ�ลังจะทำ�อะไร มันก็ไม่เสียเวลา หนึง่ ในปัญหาหลักทีน่ กั เขียนการ์ตนู มักจะเจอคือ “ไอเดียตัน” มีวธิ กี ารหา แรงบันดาลใจหรือไอเดียใหม่ๆ ให้กับตัวเองอย่างไรบ้าง เราเข้าใจแล้วว่า “ตัน” คือการคิดวน เวลาทีค่ นเราคิดวนได้แสดงว่ามันถึง จุดบาลานซ์แล้ว คือสิง่ ทีเ่ ราทำ�มาจนถึงทุกวันนี้ มันจบด้วยพลังงานทีว่ นอยู่ ถ้าอยากไม่ให้วนก็ต้องทำ�อย่างอื่น เช่น กินข้าว เลิกคิด เจอเพื่อน ดูหนัง ทำ�สวน ทำ�อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่การคิด นี่คือการใส่ก้อนพลังงานใหม่เข้าไป พอกลับมาทำ�งานเดีย๋ วมันจะไม่วนแน่นอน เพราะมันเปลีย่ นพลังงานไปแล้ว การเล่นดนตรีก็เป็นการเคลียร์พลังงานอีกวิธีหนึ่ง ยิ่งได้เล่นกับคนอื่นยิ่งดี เพราะไม่ใช่งานของตัวเอง แทนทีจ่ ะคิดว่าเสียเวลาทำ�งานของเรา ก็คดิ ว่า ไปช่วยเพือ่ นดีกว่า เผือ่ ว่าจะช่วยทำ�ให้เราเคลียร์อะไรบางอย่างได้ มันเป็นวิธี จัดการภาพรวม ไม่ใช่ไปทำ�แต่งาน นี่คือวิธีของเรา แต่เดี๋ยวนี้ท�ำ แต่สวน ไม่ได้ท�ำ งานเลย แต่มนั ต้องทำ�ทุกวันนะ รดนา้ํ ทีเป็นชัว่ โมง ตัดหญ้า แต่งกิง่ ใช้เวลานานมาก แต่ก็ไม่ต้องคิดอะไรดี


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

แล้วอย่างเรื่องมีคนนำ�ผลงานไปใช้โดยไม่ขอลิขสิทธิ์ คุณเจอบ้างไหมคะ ยังไม่มี ไม่รทู้ �ำ ไมคนไม่คอ่ ยก็อปงานของเรา เพราะเพือ่ นๆ เราก็โดนก็อป ทำ�เป็นเสื้อเต็มไปหมด แต่ที่จริง เราไม่สนอะไรแบบนี้ เดี๋ยวก็ตายแล้ว อะไรที่เราทำ�ให้ไปแล้ว มันก็เป็นของของโลก ถ้าสมมติมันฮาร์ดคอร์ ถึงขนาดที่ว่าเอารูปของเราไปขาย ไปทำ�อะไรสักอย่าง คงคิดว่าแบ่งตังค์ ให้เราบ้างสิ แต่ถ้าเอาไปใช้เป็นแรงบันดาลใจ ก็ให้เขาทำ�ไปเถอะ สุดท้ายแล้วแม้แต่นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นก็ยังมีปัญหาเรื่องความอยู่รอด เหมือนกัน คุณคิดว่าอาชีพนี้อยู่ได้ไหม นักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นมีเยอะ นอกจากโชเน็นจัมป์ที่ขายได้แน่นอน ก็ยังมี สำ�นักพิมพ์อื่นๆ ด้วย ที่จริงแล้วนิตยสาร IKKI ที่เราวาดลงเป็นประจำ�ก็ ไม่คอ่ ยมีใครรูจ้ กั แต่อยูใ่ นสำ�นักพิมพ์ใหญ่ซง่ึ เขามีเงินทีจ่ ะมาจ่ายค่าต้นฉบับได้ อย่างนี้มันก็อยู่ได้ แต่สำ�นักพิมพ์เล็กๆ ระดับไมเนอร์ที่เน้นเอาความสนุก ความพอใจส่วนตัว จะอยูไ่ ม่คอ่ ยได้ เหมือนกับวงการการ์ตนู ไทย ถ้าเขียนเพือ่ ความสร้างสรรค์ ความสนุกอย่างเดียวก็อยูไ่ ม่ได้ เพราะเราขาดบรรณาธิการ คนพิมพ์ คนขาย ขาดระบบของการหมุนเวียน ถ้าสำ�นักพิมพ์ใหญ่ๆ ทีข่ ายได้ มาช่วยหนุนการ์ตนู เล็กๆ หรือว่าแฟนการ์ตนู จากกลุม่ ใหญ่หนั มาอ่านการ์ตนู สเกลเล็กของบริษทั เดียวกันบ้างก็ยงั ดี แต่ทกุ วันนีก้ เ็ ห็นว่ามีการพัฒนามากขึน้ มีคนทำ�การ์ตนู เยอะขึน้ อึดมากขึน้ คงต้องพยายามไปก่อนสักพักหนึง่ เพือ่ ให้เกิดคนอ่านเยอะขึน้ หรือว่าวันหนึง่ คนอ่านโตขึน้ อยากเป็นบรรณาธิการที่ สามารถสร้างนิตยสารการ์ตนู ไทยซึง่ สนุกและขายได้ขน้ึ มา ก็จะดีมากเลย ติดตามผลงานของวิศทุ ธิ์ พรนิมติ ร ได้ท่ี www.soimusic.com/wisut/

Creative Ingredients หนังสือการ์ตูนเล่มล่าสุดที่ประทับใจ ไม่ได้อา่ นมา 6-7 ปีแล้ว พออ่านแทนทีจ่ ะรูส้ กึ อินกับการ์ตนู กลายเป็นว่าเรา เห็นหน้าคนวาดแทน เขาคงมีนสิ ยั แบบนี้ มีความเป็นอยูแ่ บบนี้ มีความสนใจ แบบนี้ ถึงวาดรูปแบบนี้ พอคิดอยูแ่ ต่อย่างนีก้ เ็ ลยเริม่ ไม่สนุก แต่ชอบอนิเมชัน่ ของสตูดิโอจิบลิ ที่ดูแล้วอินที่สุดคือ Ponyo หนังเรื่องโปรด หนังดีๆ ไม่ค่อยชอบแล้ว ชอบดูหนังที่ไม่ต้องได้รางวัลก็ได้ อย่างเช่น X-MEN: First Class คงเป็นเพราะตัวเราเปลี่ยนไปด้วย ไม่ค่อยยึดติด กับอะไรแล้ว กิจกรรมยามว่าง เมือ่ ก่อนคิดว่าจะต้องทำ�เวลาทุกวินาทีให้มปี ระโยชน์ แต่พกั หลังจะมองว่า การอยูเ่ ฉยมีประโยชน์มากกว่า ไม่ตอ้ งไปคิดมากหรือพยายามหาความหมาย ให้มนั อยูเ่ ฉยๆ เดีย๋ วมันจะมาให้ความหมายเราเอง ช่วงนีก้ ท็ �ำ สวนทุกวัน หรือบางทีก็เล่น “ชี่กง” คือ การยืนเฉยๆ เหมือนคืนตัวให้กับธรรมชาติ จะไม่มีโพสต์เหมือนโยคะ เหมือนเป็นการล้างพลังงานที่ไม่ดีออกไป สถานที่ที่ชอบไป เดีย๋ วนีเ้ วลาไปทีไ่ หนรูส้ กึ อยากกลับบ้านเลย เมือ่ ก่อนไปพารากอนทุกวัน มีของ ทันสมัย ร้านอาหารหลายแบบ ไปจนจำ�ได้หมด กินหมดทุกอย่าง เดีย๋ วนีพ้ อ ไปเจอคนเยอะแล้วเริม่ สังเกตได้วา่ มันติด ความคิดมันเข้ามาในหัวเรา เช่น คิดว่าอยากได้อนั นี้ อันนัน้ เหมือนโดนสะกดจิต ก็เลยชอบอยูบ่ า้ นมากกว่า มีนาคม 2555 l Creative Thailand

l 33


CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

สำ�นักการตูนไทย... เปิดกรุความทรงจำ� บนหนากระดาษ เรื่อง: ภูริวัต บุญนัก และ รัตติกาล เจริญทอง ภาพ: ภูริวัต บุญนัก

"โดราเอมอน" "ดราก้อนบอล" หรือ "เซเลอร์มนู " คงจะเป็นชือ่ ที่ เด็กไทยยุคนี้รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในฐานะสุดยอด การ์ตนู ญี่ปุ่นที่เป็นขวัญใจตลอดกาล แต่เชื่อว่าคงจะมีเด็กเพียง ไม่กค่ี นทีเ่ คยได้ยนิ ชือ่ ของการ์ตนู ไทยอย่าง "ตุก๊ ตา" "ดาบเจ็ดสี" หรือ "หนูเล็กลุงโกร่ง" ซึ่งเคยโด่งดังอย่างมากในยุค 2500

จากวันวานที่เด็กไทยทุกคนต่างเฝ้ารอและติดตามอ่านการ์ตูนเหล่านี้ ทีอ่ ดั แน่นด้วยเนือ้ หาสาระ ความรู้ และความสนุกสนาน แต่เมือ่ เวลาผ่านไป ความนิยมเหล่านัน้ กลับถูกกลบให้อยูใ่ ต้เงาความบันเทิงรูปแบบใหม่ของวันนี้ อย่างเช่น การ์ตนู ญีป่ นุ่ อนิเมชัน่ ของเล่นสุดลา้ํ หรือแม้แต่ความบันเทิงบน เครือข่ายสังคมและเกมออนไลน์ ซึง่ ล้วนเป็นตัวแปรสำ�คัญทีท่ �ำ ให้คา่ นิยม ทีม่ ตี อ่ หนังสือการ์ตนู ไทยโบราณของคนยุคนีถ้ กู ลดคุณค่าลงอย่างน่าใจหาย "การ์ตนู ไทยสมัยก่อนมีคณุ ค่าอยูส่ องอย่าง หนึง่ คือรูปเล่มและลายเส้น ทีส่ วยงามเพือ่ ดึงดูดคนอ่าน ใช้พกู่ นั วาดด้วยมือ สองคือเนือ้ หาทีส่ อดแทรก เรื่องประเพณีไทย คติสอนใจ" สุชาติ เกียรติชัยพิพัฒน์ กล่าวถึงคุณค่า ของหนังสือการ์ตนู ไทย ปัจจุบนั ชมรม "สุขสม" ของเขาได้รว่ มมือกับ "ห้องสมุด การ์ตูนไทย" ของวรวิชญ เวชนุเคราะห์ จัดตั้ง “สำ�นักการ์ตูนไทย” เพื่อ เปิดตำ�นานการ์ตูนที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีตให้ฟ้ืนคืนและคงอยู่เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมคูช่ าติ ก่อนทีจ่ ะหายไปพร้อมกับความทรงจำ�ของคนรุน่ ก่อน ด้วย การจัดให้มหี อ้ งสมุดการ์ตนู ทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในประเทศไทยขึน้ เพือ่ เก็บรวบรวม การ์ตูนไทยรุ่นแรกๆ ไว้ให้ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเก็บ รวบรวมการ์ตนู โบราณไว้แล้วมากกว่า 10,000 เล่ม หรือมากกว่า 1,000 เรือ่ ง โดยจะเปิดให้บุคคลทั่วไปได้ใช้บริการเข้าชมการ์ตูนเก่าฉบับจริง และ สามารถถ่ายเอกสารการ์ตนู ฉบับพิมพ์ครัง้ แรกกลับไปอ่านได้ นอกจากนี้ ยังได้

34 l Creative Thailand l มีนาคม 2555

เตรียมการแจกจ่ายการ์ตนู ไทยให้กบั โรงเรียนตัวอย่างทั่วประเทศเพื่อเผยแพร่ คุณค่าและความบันเทิงในอดีตให้เยาวชนรุ่นใหม่ พร้อมกับการแจกทุน การศึกษาให้นกั เรียนทีม่ คี วามสามารถโดดเด่นด้านการเขียนภาพการ์ตนู ไทย เพื่อส่งเสริมทักษะให้พัฒนาได้ในระยะยาว สำ�นักการ์ตูนไทยยังมีแผนที่จะดำ�เนินงานอื่นๆ เพื่อการอนุรักษ์ การ์ตูนไทยอย่างครบวงจร เช่น การสร้างหอเกียรติยศเพื่อเชิดชูวีรบุรุษ การ์ตนู ไทยในอดีต และเพือ่ บอกเล่าเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ในแวดวงการ์ตนู ไทย ในแต่ละยุคสมัย รวมถึงการเปิดสโมสรเพือ่ สร้างสังคมการ์ตนู ไทย และใช้เป็น พื้นที่พบปะสังสรรค์ของผู้ที่รักและชอบสะสมหนังสือการ์ตูนเก่า รวมถึง การเปิดสำ�นักการ์ตูนไทยให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่เยาวชนยุคใหม่ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมและซาบซึ้งไปกับเรื่องราวบนลายเส้นซึ่งจารึก คุณค่าทางวัฒนธรรมไว้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โครงการต่างๆ ของสำ�นักการ์ตนู ไทยทัง้ หมดนี้ กำ�ลังอยูใ่ นช่วงเตรียมการ และวางแผนอย่างขะมักเขม้น เพือ่ ให้เป็นอีกหนึง่ บทบาททีจ่ ะช่วยส่งเสริม และสืบสานประวัติศาสตร์ของสังคมไทย และเพื่อให้เกิดการตระหนักถึง คุณค่าของงานศิลปะในหนังสือการ์ตูนเก่าที่จะถูกรักษาไว้ไม่ให้ลางเลือน ไปพร้อมนํ้าหมึกและกาลเวลา ที่มา: บทสัมภาษณ์คุณสุชาติ เกียรติชัยพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ สำ�นักการ์ตูนไทย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการหรือร่วมสนับสนุนและสมทบทุนโครงการได้ที่ www.cartoonthai2500.co.cc


ปลอยแสง 9ลฯ ตอน เกา รอ กาว 3 พฤษภาคม – 17 มิถุนายน 2555

ณ หองนิทรรศการ 2 ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ

และ 26 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2555 ณ ลานอีเดน (Eden) ชั้น 1 ศูนยการคาเซ็นทรัลเว�ลด

พบสุดยอด 120 ผลงานจบการศึกษาของบัณฑิตใหมจากทุกสาขาวิชาทั่วไทย ที่พรอมตอยอดและสนับสนุน “กาวเล็กๆ” ของบัณฑิตหนาใหมให “กาวไกล” ไปสุดฝน สำหรับนิสิต นักศึกษาระดับปวช. ปวส. ปร�ญญาตร� และปร�ญญาโท ไมจำกัดสาขา ที่กำลังจะจบการศึกษาในปนี้ (2555) สามารถสมัครรับสิทธิ์เปน 1 ใน 120 เจาของพ�้นที่จัดแสดงผลงานฟร� ณ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) และศูนยการคาเซ็นทรัลเว�ลด พรอมลุนรวมจาร�กผลงานในนิตยสาร a day ไดตั้งแตวันนี้ถึง 12 เมษายน 2555 สอบถามขอมูลเพ�่มเติม โทร. 02-664-7667 ตอ 136 หร�อ 137 หร�อคลิก www.tcdc.or.th/ploy-saeng ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเร�ยม ช็อปป�ง คอมเพล็กซ 10.30 – 21.00 น. (ปดวันจันทร) จัดโดย

Presented by

ผูสนับสนุน

Sponsored by

มีนาคม 2555 l Creative Thailand

l 35



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.