BUREAU VERITAS 2/11
E-Newsletter April 2011
INSIGHTS TO STANDARD FSC Integrated Codex
CLIENT STORY FPT: ISO 9001:2008
CONTENT
13 BV ACTIVITIES 15 BV SERVICES 17 BV TRAINING
03 FSC ต่อยอดมาตรฐาน ISO 9001 สู่ FSC 05 Integrated การจัดทำระบบการจัดการ คุณภาพแบบบูรณาการ 07 CODEX endorses joint ISO/IDF guidelines for detecting
09 FPT บ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ มุ่งเน้นบริการด้วยคุณภาพ ผ่าน ISO 9001:2008
Copyrights © 2011 Issue: April 2011 Bureau Veritas E-Newsletter is a publication of Marketing Department. Bureau Veritas E-Newsletter office : 16th floor, Bangkok Tower, 2170 New Petchburi Rd., Bangkapi, Huaykwang Bangkok 10310 Thailand Tel. 0 2670 4800 Fax: 0 2718 1941 E-mail : pr.thailand@th.bureauveritas.com
http://www.bureauveritas.co.th
INSIGHTS TO STANDARD
ต่อยอด
มาตรฐาน ISO 9001 สู่ FSC
03
การส่งออกผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ในบ้านเรานับว่ามีวิกฤต และ โอกาสในคราวเดียวกันเพราะหากมองมาตรฐานขององค์กรพิทักษ์ป่าไม้ (Forest Stewardship Council) หรือ FSC เกี่ยวกับห่วงโซ่แห่งการ คุ้มครอง (Chain of Custody) หรือ CoC ซึ่งเป็นความพยายามส่วนหนึ่ง ของการป้องกันการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำอุตสาหกรรมซึ่งอาจมี ผลต่อกลุ่มธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ได้ทั้งเป็นอุปสรรคขัดขวางการส่งออก และพรมแดงที่ปูต้อนรับสำหรับผู้ผลิตที่มีระบบบริหารที่แท้จริงและโปร่งใส ผู้ผลิตที่มีระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 อยู่แล้วจึงเป็น กลุ่ม ที่มีศักยภาพและสามารถเริ่มต้นได้ก่อนใคร มาตรฐาน FSC สำหรับการรับรอง CoC (FSC Standard for Chain of Custody Certification) กำหนดขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ ผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นถูกผลิตจากไม้ป่าที่ได้รับการควบคุมเป็นอย่างดี และ เนื่องจากผลิตภัณฑ์จากไม้นั้นมีโอกาสผสมปนเปกันได้ง่าย อีกทั้งยังอาจ มีการใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มาตรฐาน FSC จึงมีกำหนดไว้เฉพาะ ทาง อาทิเช่น FSC-STD-40-004 เป็นมาตรฐานสำหรับผู้ผลิตและส่งมอบ ผลิตภัณฑ์รับรอง FSC
04
INSIGHTS TO STANDARD
FSC-STD-40-005 เป็นมาตรฐานสำหรับตรวจประเมิน องค์กรของไม้ควบคุม FSC และ FSC-STD-40-007 เป็นมาตรฐานสำหรับการใช้วัตถุดิบซ้ำ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ FSC และโครงการที่รับรอง FSC เป็นต้น ดังนั้นสิ่งสำคัญในระบบการผลิตจึงเป็นเรื่องของการคัดแยก ชี้บ่งและสอบกลับได้ตลอดกระบวนการตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ รับ เข้าผลิตประกอบบรรจุจนถึงส่งมอบ จึงเป็นเรื่องไม่ยากเกินไปนัก สำหรับผู้ผลิตและผู้ส่งมอบที่ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001 จะสามารถ ประยุกต์ใช้มาตรฐาน FSC เนื่องจากมีระบบการคัดแยก ชี้บ่ง และสอบกลับเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้งนี้วัตถุดิบที่นำมาใช้จึงต้องมาจากป่าไม้ที่ได้รับการรับรอง FSC หรือมาจากแหล่งที่ได้รับ การควบคุมมาตรฐานไม้ควบคุม FSC (FSC-STD-40-005) ในกรณีที่ผู้ผลิตหรือผู้ส่งมอบมีการนำไม้อื่นเข้ามาร่วมใช้ใน กระบวนการผลิตสามารถขอการรับรองมาตรฐาน FSC- STD-40004 และ FSC-STD-40-005 ได้แต่การคัดแยก ไม่ให้มีไม้อื่นผสม อยู่กับผลิตภัณฑ์ที่เป็น FSC (ตามมาตรฐาน FSC-STD-40-004) จำเป็นต้องมีการดำเนินการที่รัดกุมเป็นอย่างมาก มิฉะนั้นแล้ว ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้ควบคุม FSC หรือ ไม่สามารถอ้างความเป็นไม้ FSC ได้ เนื่องจากไม่สามารถพิสูจน์ แหล่งที่มาของไม้ได้ทั้งหมด การสอบกลับได้เป็นข้อกำหนดหนึ่งของมาตรฐาน ISO 9001 ซึ่งต้องอาศัยการชี้บ่ง (บ่งชี้หรือระบุ แปลจาก Identification) โดย พื้นฐานของการชี้บ่งเป็นการแยกแยะและ ทำให้เป็นที่เข้าใจว่า
อะไรเป็นอะไร โดยเฉพาะวัสดุที่มีรูปร่างสีสันเหมือนกัน และมี
ความแตกต่างอยู่ภายในหรือองค์กรมีความต้องการให้เกิด ความแตกต่างและเมื่อภายหลังจากการแยกแยะออกเป็นกลุ่มประ เภทหรือพวกได้ การสอบกลับถึงที่มาหรือประวัติของกลุ่มดังกล่าว จะสามารถทำได้โดยง่าย ดังนั้นในวงการอุตสาหกรรมจึงมีความจำ เป็นที่ต้องมีการชี้บ่งและสอบกลับได้ เนื่องจากการผลิตเป็นการทำ ซ้ำๆ กัน ในขณะที่ผลผลิตที่ออกมาจาก การทำงานที่ซ้ำกันนั้นจำ เป็นต้องแยกแยะให้ออกเนื่องจากมีโอกาสจะถูกขายไปต่างที่กัน ตัวอย่างง่ายๆ ในการผลิตรถยนต์ จะมีแบบรุ่นและสีที่เหมือนกันที่ ถูกผลิตในวันเดียวกันจำนวนมากกว่า 1 คัน และรถยนต์ที่ดูเหมือน กันหมดเหล่านี้จะถูกขายให้เจ้าของคนละคนกัน ซึ่งหากมีรถยนต์ คันหนึ่งคันใดที่เจ้าของต้องการทราบประวัติการผลิต การสอบกลับ จะทำได้ ยากมากหากรถยนต์แต่ละคันไม่ได้รับการชี้บ่งมาตั้งแต่ เริ่มการผลิตในขั้นตอนแรกๆ เป็นต้น การสร้างห่วงโซ่แห่งการคุ้มครองหรือ Chain of Custody ถือการสอบกลับได้เป็นกุญแจสำคัญและเงื่อนไขของการสอบกลับ ได้จำเป็นต้องมีมากกว่าตราประทับหรือสติกเกอร์เครื่องหมาย FSC เนื่องจากหากเรามองซุงหนึ่งต้นจากป่าไม้ที่ได้รับรอง FSC ทุกอนู ของไม้จากซุงท่อนนั้นสามารถสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ FSC ได้ แต่ หากมีการปนเปื้อนจากไม้ที่ไม่สามารถพิสูจน์ที่มาได้เพียงเล็กน้อย มันก็จะกลายเป็นไม้ควบคุมไปในทันที และหากมีการจัดการที่ไม่ดี พอจะแยกแยะให้ทราบถึง ปริมาณที่ปนเปื้อนมาหรือส่วนที่ปน เปื้อนมาจะไม่สามารถอ้างความเป็นไม้ FSC ได้เลย ดังนั้นการสอบ กลับได้และการชี้บ่ง จึงถือเป็นจุดแข็งขององกรค์ที่ได้รับการรับรอง ISO 9001 แล้ว ในการต่อยอดไปสู่การรับรอง FSC
INSIGHTS TO STANDARD
Integrated System การจัดทำระบบการจัดการ คุณภาพแบบบูรณาการ
05
ประเทศไทยในปั จ จุ บ ั น อยู ่ ใ นยุ ค ของอุ ต สาหกรรมไม่ ว ่ า จะเป็ น อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิค หรือตลอดจนอุตสาหกรรม อาหารก็เช่นกัน ซึ่งผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมที่กล่าวมานั้น นอกจากจะ จำหน่ายสู่ตลาดภายในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกเพื่อจำหน่ายไปยังต่าง ประเทศอีกด้วย ซึ่งจากข้อมูลของกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์จะ พบว่าในปี 2553 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกรวมมากถึง 6,176,423.7 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ามากถึง 18.9% ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้น แสดง ถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนความไว้วางใจใน สินค้าจากประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการนำเอาระบบบริหารจัดการ (Management System) ที่ได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จักไปประยุกต์ใช้ ในปัจจุบันระบบบริหารจัดการมีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หลายระบบการจัดการ ออกแบบมาเพื่อให้นำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายประเภทธุรกิจ และในขณะ เดียวกันมีมาตรฐานอีกจำนวนหนึ่ง ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับบางธุรกิจ เท่านั้น ดังตารางที่ 1
06
INSIGHTS TO STANDARD
ตารางที่ 1 แสดงถึงตัวอย่างของมาตรฐานระบบการจัดการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระบบการจัดการ
ประเภทของธุรกิจที่นำไปประยุกต์ใช้
ขอบข่ายของระบบ
ISO9001:2008
ธุรกิจบริการ และการผลิตทั่วไป
ISO22000:2005
ธุรกิจอาหาร และธุรกิจบริการ / การผลิตที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหาร
ด้านคุณภาพ, ความพึงพอใจลูกค้า และ สอดคล้องข้อกฏหมาย ด้านความปลอดภัยอาหาร และสอดคล้อง ข้อกฏหมาย
GMP&HACCP
ธุรกิจอาหาร และธุรกิจบริการ / การผลิตที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหารบางส่วน
ด้านความปลอดภัยอาหาร และสอดคล้อง ข้อกฏหมาย
ISO14001:2004
ธุรกิจบริการ และการผลิตทั่วไป
ด้านสิ่งแวดล้อม
ISO/TS 16949
อุตสาหกรรมยานยนต์
ด้านคุณภาพ, ความพึงพอใจลูกค้า และสอดคล้องข้อกฏหมาย
ISO/IEC 27001
ธุรกิจบริการสารสนเทศ
ด้านคุณภาพ, ความพึงพอใจลูกค้า และการลดต้นทุนดำเนินงาน
OHSAS18001
ธุรกิจบริการ และการผลิตทั่วไป
ด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
จากจำนวนระบบบริหารจัดการที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจน ความต้องการของลูกค้าแต่ละราย หรือแต่ละกลุ่มประเทศที่ไม่ เหมือนกัน อาทิ ลูกค้าทางกลุ่มประเทศยุโรป และลูกค้าทาง กลุ่มประเทศเอเซียยอมรับระบบการจัดการที่ไม่เหมือนกัน ส่ง ผลให้โรงงาน หรือผู้ประกอบการจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ระบบ บริหารจัดการที่มากกว่า 1 ระบบบริหารจัดการ ในที่นี่ขอยก ตัวอย่างถึงโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ที่อาจมีประยุกต์ใช้ ระบบบริหารจัดการได้หลายรูปแบบ อาทิ - ISO9001:2008 และ GMP&HACCP หรือ - ISO9001:2008 และ ISO22000:2005 หรือ - ISO9001:2008 และ ISO14001:2004 หรือ - ISO9001:2008, ISO22000:2005 และ ISO14001:2004 ข้อดีของการประยุกต์ใช้ระบบบริหารจัดการหลายระบบ ก็คือทำให้องค์กรมีการพัฒนา ตลอดจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้มี คุณภาพเป็นที่ยอมรับ และสอดคล้องกับข้อกำหนดลูกค้า ตลอดจนถึงข้อกำหนดกฏหมาย แต่ปัญหาของการประยุกต์ ใช้ระบบบริหารจัดการหลายระบบร่วมกันก็ตามมาอีกหลาย เรื่อง อาทิเช่น 1. ความซ้ำซ้อนของข้อกำหนดบางเรื่อง ข้อกำหนดในกลุ่ม ISO อาทิ ISO 9001, ISO 14001,
ISO 22000 นั้นมีโครงสร้างของข้อกำหนดที่คล้ายคลึงกัน เมื่อ ประยุกต์ใช้มาตรฐานร่วมกัน จึงมีความซ้ำซ้อนของข้อกำหนด ที่เป็นเรื่องเดียวกัน อาทิ การควบคุมเอกสาร, การควบคุม บันทึก, การแก้ไข, การป้องกัน เป็นต้น 2. มีค่าใช้จ่ายในการจัดทำระบบ / การตรวจประเมินที่ เพิ่มมากขึ้น อาทิ - ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมทีละระบบ - ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างที่ปรึกษาทีละระบบ - ค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินแบบแยกระบบ - ค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารแยกระบบ 3. เกิดความเบื่อหน่ายของพนักงาน พนักงานเกิดความ รู้สึกเบื่อหน่าย เป็นภาระ เนื่องจากต้องทำความเข้าใจ ต้องทำ ความรู้จักกับระบบต่างๆเพิ่มมากขึ้น 4. สูญเสียเวลาในการจัดทำระบบมากขึ้น ซึ่งเป็นผลสืบ เนื่องจากความซ้ำซ้อน, การต้องทำเอกสารมากขึ้น ตลอดจน จากปัญหาความเบื่อหน่ายของพนักงาน ดังนั้นหากองค์กรมีความจำเป็นจะต้องจัดทำระบบบริ หารจัดการมากกว่า 1 ระบบแล้ว ทางออกที่ดีที่สุดคือการ เปลี่ยนไปใช้การจัดทำระบบบริหารจัดการแบบควบรวม หรือที่เรียกว่าการจัดทำระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการ (Integrated Management System)
INSIGHTS TO STANDARD
Codex endorses joint ISO/IDF guidelines for detecting
อ้างอิงข้อมูลจาก Ref.: 1412, www.iso.org
07
Guidelines developed by ISO and the International Dairy Federation (IDF) to help prevent a recurrence of the crisis caused by milk adulterated with melamine that affected thousands of children have been endorsed by the Codex Alimentarius Commission, the United Nations body responsible for food safety that protects the health of consumers and helps to ensure fair trade practices in the food trade. In 2008, a number of children died and many became seriously ill after drinking milk contaminated by melamine. The substance, which is used in the manufacturing of fire-retardant plastics, had been added to milk sold by some companies in order to make it appear as having higher protein content. In humans, ingestion of melamine can cause kidney stones and renal failure. This is particularly dangerous for babies and small children for whom it can prove fatal
08
INSIGHTS TO STANDARD
To help detect and prevent future adulterated milk products from entering the market, ISO and IDF prepared technical specification (TS) ISO/TS 15495 | IDF/RM 230:2010, Milk, milk products and infant formulae – Guidelines for the quantitative determination of melamine and cyanuric acid by LC-MS/MS, which was published in 2010. At its 32nd session, 7-11 March, the Codex Committee on Methods of Analysis and Sampling (CCMAS) endorsed the joint IDF/ISO guidelines for milk, milk products and infant formula. The endorsement of these guidelines means that an internationally harmonized procedure has now been approved that will allow authorities to check the level of melamine in powdered infant formula against the recently adopted Codex maximum level of 1 mg melamine per kg of product. CCMAS is recommending this method for final adoption by the Codex Alimentarius Commission in July 2011. Codex has already adopted more than 60 joint IDF/ISO standards for methods of analysis which facilitate international trade in dairy products and protect the consumer.
’These current recommended guidelines provide a robust means for regulatory authorities, manufacturers and producers to ensure the integrity and safety of tested milk and derivative products and help prevent further incidents” says Professor Árpád Ambrus, Chair of the CCMAS. ‘’The publication of these guidelines was achieved in a very short time span in response to the event of milk adulteration with melamine. The availability of the method will help reinforce consumer confidence in the milk industry’s ability to guarantee safe and nutritious products. It also clearly demonstrates the strength of IDF and ISO’s collaboration, especially concerning matters regarding food safety/public health and protection’’ says Richard Doyle, President of the IDF. ISO/TS 15495 | IDF/RM 230:2010 will be useful for dairy producers and suppliers, milk product and infant formulae manufacturers, regulatory and testing authorities, equipment suppliers, and the food industry in general.
CLIENT STORY
บ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ มุ่งเน้นบริการด้วยคุณภาพ ผ่าน ISO 9001:2008
09
เป็นที่ทราบกันดีว่า มาตรฐาน ISO 9001 สามารถประยุกต์ใช้ได้ใน หลากหลายกลุ่มธุรกิจ เพื่อให้บริการขององค์กรได้รับความพึงพอใจจาก ลูกค้ามากที่สุด แม้แต่บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ผู้ให้บริการขนส่ง น้ำมันผ่านระบบท่อและคลังน้ำมัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนา ระบบบริหารคุณภาพ ในวารสารฉบับนี้ทางบูโร เวอริทัส ได้รับเกียรติจาก คุณบุรี หวานชิด กรรมการผู้จดั การ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ในการแบ่งปันประสบการณ์จากการนำระบบ ISO 9001 มา ประยุกต์ใช้ในองค์กร บูโร เวอริทสั : จุดเริม่ ต้นนำ ISO 9001 มาประยุกต์ใช้กบั องค์กรได้อย่างไร คุณบุรี : จุดเริ่มต้นของการทำ ISO 9001:2008 เกิดจากทางฝ่ายบริหาร ได้เน้นความเป็นผู้นำ การแสดงข้อผูกพัน และเข้ามามีส่วนร่วม โดยเน้น ความสำคัญในการพัฒนาองค์กรเพื่อบรรลุถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ เสีย และเพิ่มความพึงพอใจแก่ลูกค้า
10
CLIENT STORY
จากนั้นผู้บริหารสูงสุดได้พิจารณาโดยกำหนดหัวข้อต่างๆ ที่จำเป็น ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและวัตถุ ประสงค์เชิงกลยุทธ์ สอดคล้องกับจุดประสงค์ขององค์กร มีการ สื่อสารทิศทางและคุณค่าขององค์กรเกี่ยวกับคุณภาพและระบบ บริหารคุณภาพ กำหนดให้มีการป้อนกลับข้อมูลประสิทธิผล และประสิทธิภาพของระบบริหารคุณภาพโดยตรง รวมทั้งระบุ กระบวนการที่ให้มูลค่าเพิ่มแก่องค์กร ระบุกระบวนการสนับ สนุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ นอกจากนี้จะต้องมีการสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการเข้ามามี ส่วนร่วมและการพัฒนาบุคลากร และ จัดให้มีโครงสร้างและ ทรัพยากรซึ่งจำเป็นต่อการสนับสนุนแผนกลยุทธ์ขององค์กร บูโร เวอริทัส: ทางบริษัทมีขั้นตอนในการประยุกต์ใช้มาตรฐาน อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงานขององค์กร คุณบุรี : ฝ่ายบริหารได้รับผิดชอบดำเนินการวางแผนคุณภาพ ขององค์กรร่วมกับที่ปรึกษาขององค์กรโดยการวางแผนได้เน้น ที่ การกำหนดกระบวนการที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ด้านคุณภาพขององค์กร และข้อกำหนดซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ ขององค์กรอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สำหรับข้อมูลป้อนเข้าเพื่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ของการวางแผนประกอบด้วย : กลยุทธ์ขององค์กร การระบุ เป้าหมายขององค์กร รวมทั้งระบุความต้องการและความคาด หวังของลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียอื่น การประเมินกฎระเบียบ และข้อกำหนดด้านกฎหมาย, ประเมินจากข้อมูลสมรรถนะของ
ผลิตภัณฑ์และกระบวนการ อีกทั้งศึกษาบทเรียนจาก ประสบการณ์ก่อนหน้านั้น มีการระบุโอกาสสำหรับการปรับ ปรุง และข้อมูลการประเมินและบรรเทาความเสี่ยง ผลจากการวางแผนสำหรับองค์กรได้พิจารณาถึงการวาง แผนกระบวนการหลั ก และกระบวนการสนั บ สนุ น ที ่ จ ำเป็ น ในรูปของ ความชำนาญและความรู้ที่จำเป็นต่อองค์กร มองด้าน ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ในการนำแผนการปรับปรุง กระบวนการสู่การปฏิบัติ ศึกษาข้อมูลทรัพยากรที่ต้องการ เช่น การเงิน และโครงสร้างพื้นฐาน จัดทำการวัดเพื่อประเมินผล สำเร็จของการปรับปรุงสมรรถนะองค์กร ความจำเป็นสำหรับ การปรับปรุง รวมถึงวิธีการและเครื่องมือ และความจำเป็น สำหรับเอกสาร รวมถึงบันทึก นอกจากนี้ทางฝ่ายบริหารได้กำหนดการทบทวนความคืบ หน้ า ของการจั ด ทำระบบบริ ห ารคุ ณ ภาพทุ ก สั ป ดาห์ โดยใช้เวลาในการดำเนินการก่อนได้รับการรับรองระบบทั้งสิ้น 8 เดือน บูโร เวอริทัส: อุปสรรคหรือปัญหาสำคัญในการจัดทำระบบ มาตรฐาน และทางบริษัทมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างไร คุณบุรี : อุปสรรคที่พบ คือ ปัญหาจิตสำนึกด้านคุณภาพของ พนักงานและการมีส่วนร่วมของพนักงาน ทั้งนี้ทางองค์กรได้ ดำเนินการแก้ไข โดยเน้นการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดย เน้นถึงความสำคัญของการทำได้ตามข้อกำหนดและความต้อง
CLIENT STORY
การของลูกค้า รวมถึงความตระหนักถึงผลที่ตามมาสู่องค์กร และบุคลากรจากความล้มเหลวในการทำได้ตามข้อกำหนดเพื่อ สนั บ สนุ น ให้ บ รรลุ ต ามเป้ า หมายขององค์ ก รและการพั ฒ นา บุคลากร ให้การศึกษาและการฝึกอบรม ในด้านประสบการณ์ ของบุคลากร ความรู้ ทักษะการนำและการบริหาร เครื่องมือ การวางแผนและปรับปรุง การสร้างทีม การแก้ปัญหา ทักษะ การสื่อสาร วัฒนธรรมและพฤติกรรมขององค์กร ความรู้เรื่อง ตลาด ความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า และผู้มีส่วน ได้เสียอื่น และความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม โดยการฝึกอบรมดังกล่าวเพื่อเอื้อต่อการเข้ามามีส่วนร่วม ของบุคลากร ซึ่งการฝึกอบรมได้เน้นหัวข้อต่างๆครอบคลุมทั้ง ด้านวิสัยทัศน์ในอนาคตขององค์กร นโยบายและวัตถุประสงค์ ขององค์กรการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการขององค์กรมีการ ริเริ่ม และการนำกระบวนการปรับปรุงสู่การปฏิบัติ ประโยชน์ จากความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ผลกระทบขององค์กร ต่อสังคม ปฐมนิเทศแก่ผู้เข้ามาใหม่ และโครงการเพิ่มพูนความ รู้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเป็นระยะ บูโร เวอริทัส: อะไรเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการทำ ระบบ ISO 9001 ขององค์กร คุณบุรี: “นโยบายและเป้าหมายที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับ ลูกค้าเป็นหลัก” ผ่านการกำหนดระบบ และกระบวนการซึ่ง สามารถเข้าใจได้ชัดเจน บริหารจัดการได้ และปรับปรุงประสิทธิ ผล รวมทัง้ ประสิทธิภาพได้ โดยสร้างความเชือ่ มัน่ ในประสิทธิผล และประสิทธิภาพของการปฏิบัติการและการควบคุมกระบวน
11
การ และการวัดผล และข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณา ระดับความ พึงพอใจในสมรรถนะขององค์กร โดยองค์กรที่ให้ความสำคัญกับลูกค้า ซึ่งประกอบด้วย กิจกรรมดังต่อไปนี้ กำหนดและส่งเสริมให้เกิดกระบวนการซึ่ง นำไปสู่การปรับปรุงสมรรถนะขององค์กร ทำให้ได้มาและใช้ ข้อมูลกระบวนการ รวมทั้งสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง บริหารมุ่งสู่ ให้ ก ้ า วหน้ า ด้ ว ยการปรั บ ปรุ ง อย่ า งต่ อ เนื ่ อ งและใช้ ว ิ ธ ี ก ารที ่ เหมาะสมเพือ่ ประเมินการปรับปรุงกระบวนการ เช่น การติดตาม KPI การตรวจติดตามภายในและการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร บูโร เวอริทัส: ประโยชน์หลังจากองค์กรได้รับการรับรอง มาตรฐานดังกล่าว กลุ่มลูกค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้นหรือ ไม่ อย่างไร คุณบุรี: ลูกค้าที่มีอยู่ปัจจุบันมีความเชื่อมั่นมากขึ้น โดยการ พิจารณาจากสารสนเทศของลูกค้าประกอบ ด้วยการสำรวจ ความพึงพอใจลูกค้า ข้อมูลป้อนกลับในด้านของการให้บริการ ข้อกำหนดของลูกค้า และข้อมูลจากข้อตกลง ความต้องการ ของตลาด และข้อมูลด้านการส่งมอบบริการ “ฝ่ายบริหารได้พิจารณาจากข้อมูลป้อนกลับจากลูกค้า เป็นเครื่องมือที่สำคัญ กระบวนการขององค์กรเพื่อสอบถาม วัด เฝ้าติดตามข้อมูลป้อนกลับความพอใจของลูกค้า โดยจัดให้มี อย่างต่อเนื่องทุก 6 เดือน โดยได้พิจารณาที่ความเป็นไปตาม ข้อกำหนด ตรงตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า รวมถึงราคา และการส่งมอบผลิตภัณฑ์”
12
CLIENT STORY
องค์กรได้จัดทำและใช้แหล่งสารสนเทศของลูกค้าและควร ประสานงานกับลูกค้าเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคต องค์ ก รได้ ว างแผนและจั ด ทำกระบวนการสำหรั บ การรั บ ฟั ง “เสียงของลูกค้า” อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การวาง แผนกระบวนการเหล่านี้ วิธีการรวบรวมข้อมูล รวมถึงแหล่ง ข้อมูล ความถี่ในการรวบรวม และทบทวน นอกจากนี้องค์กรยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า, การสื่อสารโดยตรงกับ ลูกค้า เช่น การประชุม การเข้าเยี่ยมลูกค้า และแบบสอบถาม และสำรวจความพึงพอใจ บูโร เวอริทัส: คำแนะนำสำหรับการจัดทำระบบมาตรฐาน ISO9001 เพื่อผู้ประกอบการรายอื่น คุณบุร:ี เพื่อให้การจัดทำระบบมาตรฐาน ISO 9001 มีประสิทธิ ผลและประสิทธิภาพ ควรเริ่มจากการวางแผนที่ผ่านการ ประเมินสถานะขององค์กร (Status Review) เทียบกับข้อ กำหนด ISO 9001 การวางแผนควรเป็นระบบ โดยอยู่บน พื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการ ประเมินข้อมูลจากประวัติเพื่อดูแนวโน้มและความวิกฤติเกี่ยว กับสมรรถนะขององค์กรและผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยเน้นการ ใช้ข้อมูลที่สำคัญในการวางแผน ดังนี้ ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ ความเสี่ยง เช่น การวิเคราะห์ความผิดพลาดและผลกระทบ การทบทวนความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ตลาด, ผลจากการทบทวนโดย ฝ่ายบริหาร ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูล การวัดความพึง พอใจ การวัดกระบวนการ จัดทำระบบซึ่งรวมแหล่งข้อมูลของ ลูกค้าหลาย ๆ แหล่งเข้าด้วยกัน บันทึกเกีย่ วกับระบบบริหารงาน
ขององค์กร ศึกษาจากบทเรียนที่เรียนรู้จากประสบการณ์ใน อดีต และผลของการประเมินตนเอง “การติ ด ตามผลการดำเนิ น การจั ด ทำระบบบริ ห ารคุ ณ ภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็นในการจัดทำระบบ เช่นกัน ผ่านทางตัวแทนฝ่ายบริหาร โดยผู้บริหารระดับสูง จำเป็นต้องทบทวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิจารณาแนวทางในการ พัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตรงตามวิสัยทัศน์ขององค์กร”
ประวัติความเป็นมา บริษทั ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด หรือ Fuel Pipeline Transportation Ltd. (FPT) ก่อตัง้ ขึน้ ตามมติ คณะรัฐมนตรี เมือ่ 21 พฤษภาคม 2534 โดยมีบริษทั การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำในการจัดตัง้ บริษทั ร่วมทุน เพือ่ ดำเนินการขนส่งน้ำมันทางท่อสาย บางจาก - ดอนเมือง - บางปะอิน รวมถึงก่อสร้างคลัง น้ำมันปลายทาง ด้วยทุนจดทะเบียนจนถึงปัจจุบนั 1,592 ล้านบาท มีบริษทั ร่วมทุนได้แก่ กลุม่ รัฐวิสาหกิจ กลุม่ บริษทั ผูค้ า้ น้ำมัน กลุม่ ธนาคาร สถาบันการเงิน และกลุม่ อืน่ ๆ บริษัทมีความมุ่งมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งของการ พัฒนาประเทศด้วยระบบควบคุมการขนส่ง น้ำมันทางท่อ ทีท่ นั สมัย รวมถึงการบริหารคลังน้ำมันทีม่ คี ณ ุ ภาพระดับ มาตรฐานสากลซึง่ เป็นทีย่ อมรับว่า เป็นระบบทีม่ ศี กั ยภาพ และความปลอดภัยสูงสุด รวมถึงความเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมตลอดจนสามารถรองรับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ และเพือ่ พัฒนาประเทศสืบไป ด้วยคติประจำ องค์กรทีว่ า่ “ปลอดภัย ไร้มลพิษ พัฒนาเศรษฐกิจให้ ก้าวไกล”
BV SERVICES
CERTIFICATION SERVICES
บริการตรวจประเมินซัพพลายเออร์ AIM PROGRESS SUPPLIER ASSESSMENT
13
กลุ่มผู้ผลิตสินค้าในกลุ่ม FMCG ได้แก่ ยูนิลีเวอร์, โคคา-โคล่า, เป็บซี่โค, เฟอร์เรโร่, คร๊าฟท์ฟู้ดส์ ได้รวมตัวกันในเวทีระดับโลกที่ เรียกว่า AIM Progress Program ซึ่งจัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ความ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ การพั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ลของการ ประเมินกลุ่มซัพพลายเออร์ อีกทั้งลดความซ้ำซ้อนของการตรวจ ประเมิน ดังนั้นซัพพลายเออร์แต่ละรายจะต้องแสดงรายงานการตรวจ ประเมินให้กับกลุ่มผู้ผลิตตามที่ต้องการ หรืออัพโหลดผ่านระบบ SEDEX (Supplier Ethical Data Exchange) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน ข้อมูลออนไลน์ที่มีความปลอดภัยระหว่างซัพพลายเออร์ กับลูกค้า AIM Progress Program อยู่บนพื้นฐานของโครงสร้าง ดังต่อไป นี้ 1.มาตรฐานแรงงาน 2. สุขอนามัยและความปลอดภัย 3. การจัด การสิ่งแวดล้อม 4.จรรยาบรรณทางธุรกิจ
AIM Progress program is based on four pillars: Labour Standards
Health and Safety
ประโยชน์ที่จะได้รับ มีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่่า สร้างความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นกับผู้ค้าปลีก แสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า ปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มีกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น มีการควรคุมกระบวนการภายในอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาด เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มผู้ตรวจ SEDEX Sedex เป็นองค์กรและระบบการจัดการที่รวมกลุ่ม สมาชิ ก ทางธุ ร กิ จ โดยมี ข ้ อ ตกลงร่ ว มกั น ที ่ จ ะพั ฒ นา จริยธรรมของกลุ่มผู้จัดจำหน่าย กล่าวง่ายๆ คือ ผู้ที่เข้า เป็นกลุ่มสมาชิกจะแลกเปลี่ยนข้อมูลและไม่ทำธุรกิจ ไม่ซื้อ ของจากบริษัทที่ไม่มีจริยธรรมในเรื่องของแรงงาน ถ้าบริษัทไหนได้มาตรฐานนี้ก็แปลว่าบริษัทนั้นปฏิบัติ ต่อแรงงานอย่างมีจริยธรรมทั้งระบบ คือไม่ใช่มีจริยธรรม เฉพาะในบริษัทของตนเองเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่จัด จำหน่ายสินค้าให้ ก็ต้องมีจริยธรรมต่อแรงงานด้วย
Environmental Management
Business Integrity
บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย สามารถให้ การตรวจประเมินความเสี่ยงเพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพของ กลุ่มซัพพลายเออร์ การนำเสนอตัวอย่างที่ดี, ส่วนที่ไม่ สอดคล้องกับข้อกำหนด การให้ข้อสังเกตผ่านกระบวนการ ตรวจประเมิน รวมทั้งจัดทำรายงานการตรวจ นอกจากนี้ ยังช่วยในการขึ้นทะเบียน SEDEX และอัพโหลดรายงาน การตรวจขึ้นบนเวบไซค์ของ SEDEX ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ฝ่ายการตลาด บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย โทร 02 670 4800 SMETA - Sedex Members Ethical Trade Audit SMETA stands for Sedex Members Ethical Trade Audit, and it incorporates three elements: - A common best practice guidance on conducting ethical trade audits SMETA - A common audit report format - A common corrective action plan format SMETA guidance and report formats were developed by the Sedex Associate Auditor Group in response to the challenge from Sedex members to provide a report format for ethical trade audits that could more easily be shared and to give greater transparency into the auditor qualifications and practices that underpin reports.
14
BV SERVICES
ประเทศอิรักได้มีประกาศข้อกำหนดเรื่องการตรวจสอบสินค้าก่อน ส่งออกภายใต้ข้อกำหนดของ The Central Organization for Standardization and Quality Control (COSQC) เริ่มมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2554 นี้ นอกจากนี้ประเทศแซมเบียได้ออกประกาศข้อกำหนดเรื่องการ ตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก ภายใต้ข้อกำหนดด้านมาตรฐานของ Zambia Bureau of Standard (ZABS) เพื่อปกป้องผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เริ่มมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 เมษายน 2554 นี้ ทั้งนี้ทางบริษัท บูโร เวอริทัส / BIVAC ได้รับมอบหมายให้ทำ การ ตรวจสอบสินค้า ตรวจเช็คผลทดสอบและออกใบรับรองสินค้า Certificate of Conformity (COC) ภายใต้โปรแกรม Verification of Conformity (VOC) เพื่อเป็นการรับรองว่าสินค้าที่ส่งออกได้ถูกตรวจสอบและผ่านการ รับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ เอกสารดังกล่าวต้องใช้ในการดำเนินพิธีการขนย้ายสินค้าที่ปลายทาง อีกด้วย
สินค้าที่ต้องทำการตรวจสอบก่อนส่งออกไป ประเทศอิรัก มีดังต่อไปนี้ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางค์และเวชภัณฑ์ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องครัว เคมีภัณฑ์ วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ยานพาหนะ ยาง และอะไหล่ยนต์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและรองเท้า ของเล่น เตาแก๊สและอุปกรณ์ อื่นๆ สินค้าที่ต้องทำการตรวจสอบก่อนส่งออกไป ประเทศแซมเบีย มีดังต่อไปนี้ อาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สารเคมีและเครื่องใช้ในครัวเรือน ผ้าและสิ่งทอ รองเท้า ของเล่นและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่เครื่องยนต์ สินค้าเก่าหรือมือสองทุกประเภท
Government SERVICES
ตรวจสอบสินค้าไป อิรัก และ แซมเบีย
บูโร เวอริทัส แผนก Government Inspection Services ให้ บริ ก ารตรวจสอบสิ น ค้ า ก่ อ นส่ ง ออกตามข้ อ กำหนดจากรั ฐ บาล ประเทศผู้นำเข้า หรือ Pre-Shipment Inspection โดยปัจจุบันนี้เป็น ตัวแทนให้กับรัฐบาลประเทศต่างๆ ดังต่อไปนี้ แองโกลา
แอลจีเรีย
บังกลาเทศ
อียิปต์
เบนิน
เอกวาดอร์
แอฟริกากลาง
อิหร่าน
ชาด
อิรัก (เริ่ม 1 พ.ค. 54)
โกตดิวัวร์
คูเวต
คองโก
เลบานอน
กานา
รัสเซีย
กินี
ซาอุดีอาระเบีย
อินโดนีเซีย
ซีเรีย
ไลบีเรีย
ยูกันดา
มาลี
แซมเบีย (เริ่ม 25 เม.ย.54)
ฟิลิปปินส์
เม็กซิโก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด สาขาบางนา โทร. 02748-7487 ต่อ 308, 305 หรือ 300 คุณกรรณพร, คุณเสถียร และคุณนันธิกานต์
BV ACTIVITIES
15
ขนส่งน้ำมันทางท่อ รับ ISO 9001:2008 คุณอุดมเดช คงทวีเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บูโร เวอริทัส เซ เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มอบใบรับรองมาตรฐานการบริหารงาน คุณภาพ หรือ ISO 9001:2008 ให้กับ คุณบุรี หวานชิด กรรมการผู้จัดการ บบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ผู้ให้บริการขนส่งน้ำมันผ่านระบบท่อ
จันวาณิชย์รับ ISO 27001 ตัวแทนฝ่ายบริหาร บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มอบใบรับรองมาตรฐานความปลอดภัย สารสนเทศ หรือ ISO/IEC 27001:2005 ให้กับคุณธนพล กองบุญมา รองกรรมการผู้จัดการบริษัท จันวาณิชย์ จำกัด ผู้ให้บริการงานพิมพ์ แบบ Security printing
ศูนย์ไอโซโทปรังสี รับ ISO 9001:2008 คุณธนากร ไหวนิยม ผู้จัดการฝ่ายรับรองมาตรฐาน บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มอบใบรับรองมาตรฐานการ บริหารงานคุณภาพ หรือ ISO 9001:2008 ให้กับ ศูนย์ไอโซโทปรังสี ผู้ ดำเนินงานด้านการผลิตและให้บริการยาในกลุ่มเภสัชภัณฑ์รังสี โดยมี ผศ.ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ เป็นผู้รับมอบ เมโทรฯ รับ ISO/IEC 20000 คุณอุดมเดช คงทวีเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บูโรเวอริทัส เซอร์ทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (ซ้ายมือ) มอบใบรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2005 ให้กับ คุณอรุณ ต่อเอกบัณฑิต ผู้อำนวยการกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์โซลูชั่น และ นายสมศักดิ์ มานะยิ่งเจริญ ผู้ช่วย ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์โซลูชั่น บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
16
BV ACTIVITIES
บูโร เวอริทัส ร่วมออกบูธงาน GHG บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมออกบูธในงานสัมมนา “Post-2012 Carbon Market and New Opportunities” จัดโดย องค์การบริ หารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อเผยแพร่ผลของการประ ชุม UNFCCC ณ เมืองแคนคูน และสถานการณ์ของตลาดคาร์บอนหลัง ค.ศ. 2012 โดยในงานคุณรัฐพร มาลยพันธ์ุ ผู้จัดการด้านการจัดการก๊าซ เรือนกระจก บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย ร่วมเป็นวิทยากร จัดสัมมนา FSC ร่วมกับ สมาคมผู้ผลิตเครื่องเรือน บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรม เครื่องเรือนไทย จัดงานสัมมนา “ก้าวทันเรื่อง FSC สำหรับอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดโลกด้าน สิ่งแวดล้อม” เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์ไทยในการ แข่งขันในตลาดโลก พร้อมสร้างความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยมาตรฐาน FSC
ร่วมเป็นวิทยากร ISO 14064 คุณรัฐพร มาลยพันธ์ุ ผู้จัดการด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก พร้อมด้วย Dinesh Shetty ผู้เชี่ยวชาญด้าน GHG บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยายและแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ ISO 14064-1 ณ ห้องประชุม 102 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถนนโยธี
จัดสัมมนา ISO 13485 บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย จัดสัมมนา How to use ISO 13485 as strategic tool for your medical device business เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการเครื่องมือแพทย์ โดยในงานได้รับความสนใจจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องมือแพทย์เป็น จำนวนมาก
BV TRAINING
17
แผนกฝึกอบรม บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด ให้บริการฝึกอบรม In-house Training พร้อมช่วยจัดทำแผนฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานไอเอสโอ โดย มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับองค์กรที่ต้องการทำมาตรฐานใหม่ๆ หรือท่านต้องการ Refreshment ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานที่ทำอยู่ก็สามารถจัดทำได้ นอกจากนี้บริษัทยังมีการจัดหลักสูตร Public Training สำหรับองค์กรที่ ต้องการส่งพนักงาน 1-2 ท่านเข้าร่วมอบรม โดยสามารถดูตารางการอบรมได้จาก www.bureauveritas.co.th ขอตารางการอบรมประจำปี 2011 หรือรายละเอียดหลักสูตร โทร 02 670 4800 ต่อ 839 หรือ 874 Email: bvt.training@th.bureauveritas.com Courses offering: (Most courses are offered both publicly and on-site) ISO 9001: Quality
ISO 14001: Environment
การตีความข้อกำหนด ISO 9001:2008 การพัฒนาผู้ตรวจประเมินสู่มาตรฐาน ISO 9000:2008 การตรวจประเมินระบบคุณภาพภายใน ISO 9001:2008 หัวหน้าผู้ตรวจประเมินรับรองระบบคุณภาพ การตรวจประเมินระบบคุณภาพภายในสำหรับโรงพยาบาล ISO 9001:2008 สำหรับตัวแทนฝ่ายบริหาร ISO 9001:2008 สำหรับ DCC การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า ข้อกำหนดด้านเอกสารตามมาตรฐาน ISO 9001:2008 ISO 9001:2008 สำหรับผู้บริหาร การควบคุมเอกสารอย่างมีประสิทธิผล จิตสำนึกด้านคุณภาพ ปฏิบัติการตรวจประเมินภายในมืออาชีพ การพัฒนาผู้ตรวจประเมินภายในสู่มาตรฐาน ISO 9001:2008 ตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพมืออาชีพ OHSAS 18001 & TIS 18001 Occupational Health & Safety
หัวหน้าผู้ตรวจประเมินด้านความปลอดภัย(IRCA 2010) ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น ผู้ตรวจประเมินภายใน OHSAS 18001:2007 การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง กฎหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001:2007 สำหรับผู้บริหาร การตีความข้อกำหนด มอก.18001:2542 ผู้ตรวจประเมินภายใน TIS 18001:2542 SA 8000 & TLS 8000: Social Accountability
SA 8000 เบื้องต้น หัวหน้าผู้ตรวจประเมินด้านสังคม การวางระบบมาตรฐานด้านแรงงาน SA 8000 ผู้ตรวจประเมินภายใน SA 8000
การตรวจประเมินภายในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หัวหน้าผู้ตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม การตีความข้อกำหนด ISO 14001:2004 ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการสารอันตราย ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและการสร้างจิตสำนึก กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม เทคนิคการตรวจประเมินภายในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม พัฒนาประสิทธิผลระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ข้อกำหนดด้านเอกสารตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ISO 14001:2004 สำหรับตัวแทนฝ่ายบริหาร Integrated Training
ผู้ตรวจประเมินภายในด้านคุณภาพและสิ่งแวดล้อม การควบรวมระบบบริหาร QMS และ EMS การควบรวมระบบบริหารสู่ความเป็นเลิศ ผู้ตรวจประเมินภายในด้านคุณภาพ, สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย การควบรวมระบบบริหาร QMS, EMS และ OHSAS การควบรวมระบบบริหาร EMS และ OHSAS ผู้ตรวจประเมินภายในด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย การควบรวมระบบบริหาร QMS และ OHSAS ISO 20000: IT Services
การตีความข้อกำหนด ISO/IEC 20000:2005 การตรวจประเมินระบบคุณภาพภายใน ISO/IEC 20000:2005 ISO 27001: Information Security
การตีความข้อกำหนด ISO/IEC 27001:2005 การตรวจประเมินระบบคุณภาพภายใน ISO/IEC 27001:2005
visit training website http://www.bureauveritas.co.th/03_training.asp
18
BV TRAINING
Bureau Veritas would be pleased to register you for a public course or provide a quotation for an on-site event. On-site quotations are available upon request.
Courses offering: (Most courses are offered both publicly and on-site)
Food Safety Management Systems Global standard for food safety (BRC issue 5 version 2.01) BRC Internal audit BRC/IoP Global standard Internal audit BRC/IoP Global standard GlobalG.A.P Requirements GlobalG.A.P Internal audit GMP Briefing for management GMP Requirements GMP Documentation requirements HACCP RvA Requirements (4th version-for based food safety system) HACCP RvA Internal audit Introduction to HACCP and awareness HACCP Briefing for management HACCP GMP Requirements HACCP GMP Internal audit IFS Requirements BRC and IFS Standard documentation requirements Food security ISO 22000:2005 Auditor/Lead auditor training course Interpretation of ISO 22000:2005 requirements ISO 22000:2005 Internal audit ISO 22000:2005 Briefing for management BRC&IFS Internal audit HACCP&BRC&IFS Internal audit IFS&BRC&ISO 22000 Internal audit GMP&HACCP&ISO 9001 :2008 Internal audit ISO 9001:2008 HACCP BRC IFS Standard documentation requirements Integrated management system audit (GMP HACCP ISO 9001 ISO 14001) GMP & ISO 9001:2008 internal audit
ISO/TS 16949: Automotive
การตีความข้อกำหนด ISO/TS 16949:2009 ผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพภายใน ISO/TS 16949 การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า (APQP) การอนุมัติชิ้นงานในกระบวนการผลิต PPAP กระบวนการวิเคราะห์ความล้มเหลว และผลกระทบ (FMEA) การวิเคราะห์ระบบวัด (MSA) การควบคุมกระบวนการด้านสถิติ (SPC) การแก้ปัญหาด้วย 8D Other courses
KPI และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เทคนิคการตรวจประเมินภายใน การพัฒนาศักยภาพผู้ตรวจประเมิน การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าด้วย KPI การแก้ปัญหาการผลิตด้วย Process Approach การวางแผนการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิผล วิทยากรมืออาชีพ ผู้ตรวจประเมินภายในมืออาชีพ พัฒนาระบบบริหารคุณภาพให้ได้กำไร แนะนำระเบียบ RoHS Cross functional allignment Introduction to Hazardous Substance Process Management System (HSPM) FSC standard for chain of custody certification - FSC-STD-40004 (Version 2-0) EN Ethical Trading Initiative
Contact Bureau Veritas today to register for courses at: www.bureauveritas.co.th or at Tel: 02 670 4800 Ext. 839, 874 Email: sale.support@th.bureauveritas.com
visit training website http://www.bureauveritas.co.th/03_training.asp
แนะนำหลักสูตรใหม่
BV TRAINING
19
สำหรับลูกค้าที่สนใจอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานฉบับใหม่ ภายในองค์กร ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมในหลักสูตรใด สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายฝึกอบรม บูโร เวอริทัส ประเทศไทย โทร 02 670 4800 ต่อ 839 หรือ 874 Email: bvt.training@th.bureauveritas.com
ISO 26000
มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) การตีความตาม Guildance ISO26000 มาตรฐานความมุ่งมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม
มรท. 8000
มาตรฐานแรงงานไทย Upgrade มาตรฐานแรงงานไทย การปรับเปลี่ยนจาก มรท.๘๐๐๑-๒๕๔๖ สู่ มรท.๘๐๐๑-๒๕๕๓ การตีความข้อกำหนด มรท.๘๐๐๑-๒๕๕๓ การตรวจประเมินภายในสำหรับมาตรฐาน มรท.๘๐๐๑-๒๕๕๓
ISO 50001
มาตรฐานการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน
แนะนำระบบมาตรฐานการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน ISO 50001
การตีความข้อกำหนด ISO 50001 การตรวจประเมินภายในสำหรับมาตรฐาน ISO 50001 Combine Audit System ISO 50001 / ISO 14001/ OHSAS 18000 visit training website http://www.bureauveritas.co.th/03_training.asp
www.bureauveritas.co.th TEL: +662 670 4800