handicraft camp brass

Page 1

1


2

สารบัญ เรื่อง

หน้า

โครงการ ค่ายหัตถกรรมเครื่องประดับ/เครื่องใช้สอยทองเหลือง ปะอาว อุบลราชธานี วิเคราะห์งานทองเหลืองของชุมชนบ้านปะอาว จ.อุบลราชธานี การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ/ เครื่องใช้สอย สรุปกิจกรรม ค่ายหัตถกรรมเครื่องประดับทองเหลือง / เครื่องใช้สอย การศึกษา หัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว การออกแบบ ร่างแบบ การจัดทาต้นแบบ การหล่อต้นแบบ ต้นแบบงานหล่อทองเหลือง ภาคผนวก ผู้เข้าอบรมค่ายหัตถกรรม ประวัติวิทยากร

3 6 16 17 17 19 24 29 31 37 38


3

โครงการ ค่ายหัตถกรรมเครื่องประดับ/เครื่องใช้สอยทองเหลือง ปะอาว อุบลราชธานี ความสาคัญและที่มาของปัญหา งานหัตถกรรมชุมชนแต่ละท้องถิ่นมีมานาน เป็นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึง่ งานหัตถกรรมแต่ ละชุมชนความหลากหลายทางด้านรูปแบบ รูปทรงและเทคนิควิธีการผลิต ตามวัสดุในท้องถิ่นและมีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็นงานทอผ้า งานจักสาน งานหล่อโลหะ โดยงานหัตถกรรมชุมชนนั้นเป็นการใช้เวลา ว่างจากการทานาเสียเป็นส่วนใหญ่ ผลิตงานออกขายภายในชุมชนและชุมชนอื่นๆ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการหารายได้ให้กับครอบครัว และเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจจุบันงานหัตถกรรมแต่ละชุมชนมีลักษณะเด่นในทักษะ และความชานาญที่ถ่ายทอดจะมีเอกลักษณ์ มีรูปแบบ ลวดลายดั้งเดิมตามที่ถ่ายทอดมา ทาให้การไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการของตลาด ภายในประเทศในปัจจุบันได้ดี ขาดการพัฒนารูปแบบ ประโยชน์ใช้สอย สีสันและความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ และเป็นการร่วมมือระหว่างนักออกแบบ/นักวิชาการที่มีความรู้ในการออกแบบจากวิทยาการสมัยใหม่/สากล กับช่างหัตถกรรมชุนชนพื้นบ้าน เพื่อให้พัฒนาไปพร้อมๆกันแต่การพัฒนาต้องไม่ทิ้งภูมิปญ ั ญาเดิมเพื่อให้คง เสน่ห์และเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป วัตถุประสงค์ 1.พัฒนาความรู้ทางการออกแบบเบื้องต้น และแนวคิดทางการตลาด 2.ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่า( Value added) ให้กับผลิตภัณฑ์ ให้ทันสมัย สอดคล้อง กับความต้องการของตลาดภายในประเทศ 3.สร้างผู้ประกอบการให้มีศักยภาพ สามารถบริหารการจัดการได้ด้วยตัวเอง และพัฒนางานได้อย่าง ต่อเนื่อง ขอบเขต 1.ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการบูรณาการวัสดุท้องถิ่นและวัสดุในตลาด เพื่อนามา ประยุกต์ ให้ตอบสนองกับความต้องการทางการตลาด 2.ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และจัดทาต้นแบบอย่างน้อย 1 ชิ้นในแต่ละกลุ่ม 3.บูรณาการความรู้ภาคทฤษฎีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการบูรณาการประสานเชื่อมโยงระหว่างนักออกแบบและชุมชนซึ่งเป็น ผู้ผลิตสินค้าหัตถกรรม 2.ทาให้กลุ่มชุมชนท้องถิ่นประกอบอาชีพด้านหัตถกรรม เกิดความพึงพอใจในการสร้างสรรค์งาน รูปแบบใหม่ที่ สามารถนาไปใช้ได้จริง ประกอบกับความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม 3.นักศึกษาภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ได้นาความรู้ภาคทฤษฎี นาไปผสมผสานการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย วิธีดาเนินงาน 2.1 การศึกษาวิเคราะห์งานทองเหลืองของชุมชนบ้านปะอาว จ.อุบลราชธานี โดยวิทยากร พร้อม ผู้ช่วย และ ผู้ผลิตงานทองเหลืองของชุมชนบ้านปะอาวไม่น้อยกว่า 15 คน 2.2. การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ/ เครื่องใช้สอย จานวนไม่น้อยกว่า 10 ชิ้นงาน หลังจาก การระดมความคิดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ระหว่าง วิทยากร พร้อมผู้ช่วย ซึ่งเป็นผู้ให้แนวคิดการออกแบบ


4

ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ/เครื่องใช้สอย และ ผู้ผลิตงานทองเหลืองของชุมชนบ้านปะอาว ซึ่งเป็นผู้ให้ภูมิปัญญา การผลิตเครื่องทองเหลือง 2.3. การจัดทาต้นแบบ จานวนไม่น้อยกว่า 10 ชิ้นงาน ตามแนวคิดจาก 2.2 2.4 .รายงานสรุปผล ซึ่งประกอบด้วย 2.4.1 รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์จากข้อ 2.1 จานวน 2 ชุดพร้อม Soft File 2.4.2 แบบร่างผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ/เครื่องใช้สอย จากข้อ 2.2 2.4.3 ต้นแบบเครื่องประดับ / เครื่องใช้สอย จากข้อ 2.3 2.4.4 รายงานสรุปการทางานในแต่ละขั้นตอน พร้อมรูปถ่าย จานวน 2 ชุดพร้อม Soft File กาหนดการฝึกอบรม วันที่5 สิงหาคม 2554 วันที่ เวลา รายละเอียดหัวข้อ/กิจกรรม วิทยากร 9.00-10.00น. การออกแบบเบื้องต้น ศึกษาการผลิต 10.00-10.15น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.15-12.00น. กิจกรรมการออกแบบ ร่างต้นแบบ 12.00-13.00น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00-14.00น. จัดทาแบบร่างเป็นต้นแบบ 14.00-14.15น. พักรับประทานอาหารว่าง 14.15-16.00น. นาเสนอต้นแบบ วันที่6 สิงหาคม 2554 วันที่ เวลา 9.00-10.00น. 10.00-10.15น. 10.15-12.00น. 12.00-13.00น. 13.00-14.00น. 14.00-14.15น. 14.15-16.00น.

รายละเอียดหัวข้อ/กิจกรรม ผลิตต้นแบบ พักรับประทานอาหารว่าง ผลิตต้นแบบ รับประทานอาหารกลางวัน ผลิตต้นแบบ พักรับประทานอาหารว่าง ผลิตต้นแบบ

วิทยากร

วันที่7 สิงหาคม 2554 วันที่ เวลา 9.00-10.00น. 10.00-10.15น. 10.15-12.00น. 12.00-13.00น.

รายละเอียดหัวข้อ/กิจกรรม ผลิตต้นแบบ พักรับประทานอาหารว่าง ผลิตต้นแบบ รับประทานอาหารกลางวัน

วิทยากร


5

13.00-14.00น. 14.00-14.15น. 14.15-16.00น.

นาเสนองาน ต้นแบบ พักรับประทานอาหารว่าง นาเสนองาน ต้นแบบและสรุป

กาหนดการดาเนินงาน วันที่5-7 สิงหาคม 2554 สถานที่จัดโครงการ กลุ่มทองเหลืองปะอาว จังหวัดอุบลราชราชธานี รายชื่อวิทยากร ที่ปรึกษาโครงงาน 1.ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ 2.ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ งานอบรม 1.อาจารย์เดชา อนันต์อิทธิ อาจารย์พิเศษภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ 2.อาจารย์ผศ.เอกชัย พันธ์อารีวัฒนา ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่เข้าอบรม จานวน(คน) ประโยชน์ที่ได้รับ สมาชิกชุมชนปะอาว 15 ความรู้ : ความรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่น และการออกแบบ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นักศึกษา 10 ทักษะ : ด้านการผลิตชิ้นงานจากภูมิปัญญาชุมชน

ผลสาเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ร่วมสมัยจานวนไม่น้อยกว่า 10 รายการ เหมาะสมกับตลาดปัจจุบัน และ เป็นแนวทางที่ชุมชนจะสามารถนาไปใช้พัฒนาต่อยอดต่อไป 2. การใช้วัสดุท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เกิดคุณค่าด้านจิตใจ ความงาม ฝีมือ รูปแบบและการใช้งานตลอดจนสามารถแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ข้างเคียงในตลาดสากล 3. นักศึกษาภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ได้ลงปฏิบัติงานจริง โดย นาความรู้ภาคทฤษฎีนาไปผสมผสานการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย


6

วิเคราะห์งานทองเหลืองของชุมชนบ้านปะอาว จ.อุบลราชธานี ชุมชนบ้านปะอาว จังหวัดอุบลราชธานี บ้านปะอาวเรื่มมีมาพร้อมกับการสร้างเมืองอุบลราชธานี มีอายุราว200กว่าปีมาแล้ว ได้อพยพ โยกย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บริเวณดงอู่ผึ้งในพื้นที่ใกล้เคียง และบางส่วนได้อพยพมาตั้งหลักปักฐานอยู่ ณ สถานที่ นี้ ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านปะอาว จนถึงปัจจุบัน (ปะอาว เพี้ยนมาจาก ป๋าอาว ออกสาเนียงภาษาลาว ป๋า หมายถึง ทิ้ง ปล่อยไว้ ส่วน อาว หมายถึง อา ผู้เป็นน้องของพ่อ ดังนัน้ บ้านปะอาว จึงหมายถึง บ้านที่พี่ชาย ปล่อยให้น้องชายรออยู่ที่นี่) ตามตานาน พี่ชายได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ บ้านโพนเมือง ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ตาบล หนองเล่า อาเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน เรื่องราวที่เกี่ยวกับงานหัตถกรรมหล่อทองเหลืองบ้านปะอาว ตามคาบอกเล่าที่สืบต่อกันมา มีทามากัน มานานแล้วสืบทอดต่อๆกันมา เป็นวิชาชีพงานช่างหล่อโลหะที่ติดตัวมาตั้งแต่เมื่อครั้งอพยพมาตั้งถิ่นฐาน จาก การสันนิษฐานได้ว่า เมื่อครั้งอพยพมาจากลาวและได้ไปตั้งถิ่นฐานแถวหนองบัวลุ่มภู ( ปัจจุบัน จังหวัด หนองบัวลาภู) ได้รับวิทยาการจากชุมชนแถบนั้นซึ่งมีอาณาบริเวณใกล้กับชุมชนบ้านเชียง หรือชุมชนลาวที่ อพยพมานั้นมีวิชาการติดตัวมาด้วยตั้งแต่ครั้งอพยพมาจากเวียงจันทร์ อย่างไรก็ตามชุมชนบ้านปะอาว ถือได้ว่าเป็นชุมชนที่สืบทอด สืบสานงานหัตถกรรมทองเหลืองโดยวิธี โบราณและคงเอกลักษณ์โบราณมานาน เข้าสู่รุ่นที่ 6 ของอายุคนแล้ว ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงมรดกอันล้าค่าสืบ ต่อมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลานในปัจจุบัน

ผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านปะอาว ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองที่ปัจจุบันได้ผลิตสืบทอดต่อๆกันมา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม - ชุดเชี่ยนหมาก - ขันน้าพร้อมพานรอง - ลูกกระพรวน ( บักหิ่ง) ขนาดต่างๆ - ระฆังขนาดต่างๆ - กระดิ่ง - คันโทน้า 2. ผลิตภัณฑ์ใหม่ - งานสั่งทาตามใบงาน - แจกัน - ตุ๊กตา - เชิงเทียน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์หลักที่ทากันมากที่สุดคือ ชุดเชี่ยนหมาก เป็นการรวมเอาผลิตภัณฑ์ทองเหลืองหลายชิ้น รวมเป็นชุด ประกอบด้วย ฐานรองพร้อมฝา 1 ชุด ผอบขนาดต่างๆ 2-3 อัน เต้าปูนหรือโบกปูน 1 อัน ตะบัน หมาก 1 อัน ที่ใส่พลู 1 อัน ขนาดของ ชุดเชี่ยนหมาก มี 3 ขนาด ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขันน้าพานรอง คันโทน้า ระฆัง จะเป็นสั่งตามออเดอร์ ส่วนกระดิ่ง ลูกกระพรวน(บักหิ่ง) จะทาเรื่อยๆ จะทา เก็บไว้ขายเวลาไปออกแสดงงานในมราต่างๆ ซึ่งมีขนาดเล็กและราคาไม่แพง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นิยมขายเป็น ของที่ระลึก ของฝาก ซึ่งทางกลุ่มยังไม่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับการใช้สอยในปัจจุบัน


7

ผลิตภัณฑ์ใหม่ จะเป็นประเภทงานสั่งทา ตามความต้องของลูกค้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทางกลุ่มก็ได้มีการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ เช่น แจกัน เชิงเทียน กาน้าทองเหลือง ได้แนวคิดมาจากภาพยนต์จีน ผลิตภัณฑ์ รายละเอียด ชุดเชี่ยนหมาก เป็นชุดผลิตภัณฑ์สาหรับใส่อุปกรณ์การกินหมาก ประกอบไปด้วย ผอบขนาดต่างๆ โบกปูน ที่ใส่พลู ที่ตาหมาก ฐานรอง มี 3 ขนาด ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เชี่ยนหมาก ผอบมีหลายรูปแบบ ผอบหัวแหลม ผอบหัวตัด ผอบตุ่ม เป็น ส่วนประกอบของเชี่ยนหมาก นิยมใส่ นวด(น้าหอมชนิดหนึ่ง ลักษณะ เหมือนขี้ผึ้งและสมุนไพร ใช้นวดมีกลิ่นหอม) ใส่ยาฉุน เป็นต้น มี 3 ขนาด ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ผอบ

โบกปูน เป็นภาชนะใสปูนกินหมาก มีฝาปิดมีห่วงผูกกระดิ่ง เมื่อเปิดมี เสียงดัง โบกปูน ขันทองเหลืองพร้อมพานรอง เป็นภาชนะใส่ข้าว เครื่องมงคลต่างๆใน เทศกาล ขันทองเหลืองจะกดลายอิงหมากหวาย เป็นเอกลักษณ์ของบ้าน ปะอาว พานรองทองเหลือง จะทาแฉกเหมือนกลีบดอกบัว เป็น เอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี(เมืองดอกบัว) ขันน้าพานรอง

กระพรวน(บักหิ่ง ภาษาท้องถิ่น) เป็นลักษณะเดินลายของขี้ผึ้ง ที่เป็น เอกลักษณ์ของบ้านปะอาว มี 3 ขนาด ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ กระพรวน


8

ระฆังทองเหลือง นิยมใช้แขวนชายคาโบสถ์ หรือชายคาบ้าน หรือแขวน คอวัว มี 2 ขนาด ขนาดเล็กจะเป็นพวงกุญแจ ระฆัง ลายบนงานหัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว ลายที่ปรากฎบนผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านปะอาว แบ่งออกเป็น2ประเภท คือ 1. ลายที่เกิดจากการขึ้นรูป ลายที่เกิดจากกการขึ้นรูป คือลายที่เกิดจากการขดของขี้ผึ้ง ทาให้เกิดลายลาย เช่น กระพรวน(บักหิง่ ) 2. ลายที่เกิดจากกการกด พิมพ์ลาย ลายที่เกิดจากกการกด พิมพ์ลาย เป็นการสร้างลายโดยการกดพิมพ์ลงบนขี้ผึ้ง ลายที่ใช้กดมีดังนี้ ลายดั้งเดิมมีด้วยกัน 6 ลายพื้นฐาน 1. ลายอิงหมากหวาย (ลายหมากหวาย) เป็นลายที่เลียนแบบ ความงามของธรรมชาติ(ลูกหวาย) ที่ปรากฎบนเปลือก เป็นสี่เหลี่ยม จัตุรัส ที่เอามุมมาซ้อนกัน อาจเป็นแถวเดียวหรือหลายแถวก็ได้ 2. ลายกลีบบัว เป็นลายที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี 3. ลายฟันปลา 4. ลายต้นสน 5. ลายไข่ปลา 6. ลายลูกกลิ้ง เป็นลายที่เกิดจากการกดลาย แล้วเกิดการผสมผสานของลาย ปัจจุบันช่างได้นาเอาชิ้นส่วน เฟือง มากลิ้งลงบนขี้ผึ้งเพื่อสร้างลวดลาย แท่งกดลายนั้นถูกแกะลงบนเขาควาย ซึ่งจะง่ายต่อการทางาน ไม่ติดขี้ผึ้ง ทาความสะอาดง่ายโดยการ จุ่มน้า

แท่ง กดลายอิงหมากหวาย


9

กรรมวิธกี ารทาหัตถกรรมหล่อทองเหลือง บ้านปะอาว กรรมวิธีการหล่อของบ้านปะอาว เรียกกันโดยทั่วไปว่า การหล่อแบบขี้ผึ้งหาย (Lost-wax Casting Process) วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ประกอบด้วย

ดินโพน(ดินจอมปลวก) 1. ดินโพน หรือดินจอมปลวก หาได้จากในพื้นที่ของหมู่บ้าน ลักษณะเด่น เป็นดินที่ละเอียดมีขนาด เล็ก สม่าเสมอกัน ทาให้งานหล่อออกมามีผิวเรียบสวยงาม มีความเหนียว ทนต่ออุณหภูมิสูงได้ดี 2. มูลวัว ใช้ผสมดินจอมปลวก ทาให้ดินเกาะตัวแน่น สามารถกลึงได้ง่าย มูลวัวทาให้มีความโปร่งเนื้อ ดินไม่อัดแน่นจนเกินไป ทาให้ก้อนดินขยายตัวได้ดีเมื่อได้รับความร้อนจากการเผา 3. มอนน้อย เป็นอุปกรณ์ใช้กลึงแต่งพิมพ์ เป็นอุปกรณ์จากภูมิปัญญาแบบโบราณ ประกอบด้วย ชิ้นส่วนต่างๆ ดังนี้ 3.1 โฮงเสี่ยน หรือ โฮงกลึง มีรูปร่างลักษณะเป็นไม้โค้ง คล้ายกับของล้อเกวียน มีความยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร เวลาใช้วางตั้งเอาส่วนโค้งนอกขึ้นด้านบน มี 1 คู่ 3.2 ไม้เหยียบ ทาจากไม้เนื้อแข็งเหลาให้กลม ทาปลายเป็นสี่เหลี่ยมหัวท้ายใช้สาหรับยึดโฮงเสี่ยน 2 ชิ้นให้ติดกัน และเวลากลึงใช้เท้าเหยียบไว้ไม่ให้โฮงเสี่ยนขยับไปมา 3.3 ไม้มอน ทาจากไม้เนื้อแข็งเหลาให้กลม ขนาดเท่านิ้วก้อย เป็นแกนเพลากลึงปลายหัวท้ายมี ลักษณะกลมสวมเข้ากับโฮงเสี่ยนที่เจาะรูไว้ขนาดพอดีทั้งสองข้าง ทาให้ไม้มอนสามารถหมุนได้รอบตัวเมื่อถูก ชักด้วยเชือกเพื่อทาการตกแต่ง 3.4 เหล็กเสี่ยน หรือ เหล็กกลึง ทาด้วยเหล็กหน้าตัดสี่เหลี่ยมปลายเรียวแบนคล้ายสิ่ว ใช้สาหรับกลึง แต่งพิมพ์ดินและพิมพ์ขี้ผึ้ง ให้ได้รูปทรงที่ต้องการ 3.5 เชือกดึง ใช้ร่วมกับไม้มอน โดยพันรอบไม้มอน จับปลายเชือกทั้งสองด้านดึงชักกลับไปมา ให้ไม้ มอนหมุน จึงทาให้สามารถกลึงแต่งดินพิมพ์ หรือขี้ผึ้งให้ได้ตามขนาดที่ค้องการ เชือกดึง เหล็กเสี่ยน

ไม้มอน ไม้เหยียบ โฮงเสี่ยน


10

4. บั้งเดียก ทาด้วยกระบอกไม้ไผ่กลวง โดยเลือกเอาไม้ไผ่ที่มีกิ่งติดมาด้วยเพื่อใช้เป็นมือจับในตัว เจาะรูตามขนาดที่ต้องการ และมีก้านอัด คล้ายกระบอกฉีดน้า โดยนาขี้ผึ้งไปรนไฟให้นิ่ม นามาปั้นเป็นก้อน ยาวๆ สามารถใส่ในกระบอกไม้ไผ่ได้ และนาไปรนคามร้อนอีกทีเพื่อให้ขี้ผึ้งนุ่มมากขึ้น นาก้านอัดมากดที่ปลาย ดันขี้ผึ้ง ให้ออกมาผ่านรูที่เจาะเอาไว้ จะได้ขี้ผึ้งออกมาเป็นเส้น ใช้กระด้งรองรับไว้ การฉีดผู้ฉีดต้องฉีดวนไปมา เป็นวงกลม ขี้ผึ้งจะไม่แข็งตัว มีความเหนียว นามาพันรอบหุ่นหรือพิมพ์ดินที่ผ่านการกลึงมาแล้ว

ภาพแสดงการ ใช้บั้งเดียก กดให้ขี้ผึ้งออกมาเป็นเส้น 5. ลูกกลิ้งพิมพ์ และแท่งกดพิมพ์ลาย ใช้สาหรับสร้างลวดลาย

ภาพ แท่งกดลาย อิงหมากหวาย 6. ขี้ผึ้ง ประกอบไปด้วย ขี้ผึ้ง ชัน และขี้สูด นาชันและขี้สูดผสมในขี้ผึ้งเพื่อให้ขี้ผึ้งเหนียว ไม่เปราะ สามารถปั้นขึ้นรูปและกลึงได้ง่าย

ภาพ ขี้ผึ้ง


11

7. อุปกรณ์ต้มหลอมขี้ผึ้ง โดยทั่วไปใช้กะทะ หรือภาชนะอื่นๆแทนได้ ใช้เตาถ่านและไม้พาย คน ส่วนผสมต่างๆให้เข้ากัน

ภาพ เตาเผา แสดงการเผาแม่พิมพ์เพื่อให้ขี้ผึ้งละลาย

8. เบ้าหลอม ทาจากดินประเภทเดียวกับที่ใช้ทาหุ่นและทาพิมพ์ ขยายตัวได้ดี ทนความร้อนได้ดี

ภาพ เบ้าหลอมโลหะ


12

ขั้นตอนการหล่อทองเหลือง 1. การเตรียมดิน นาดินโพนมาตาให้ละเอียดผสมกับมูลวัวและแกลบ คลุกจนเป็นเนื้อเดียวกัน

ภาพดิน ที่ผสมแล้ว (ดินโพน มูลวัว แกลบ)

2. ปั้นหุ่นต้นแบบ หรือพิมพ์ นาดินที่ตาเสร็จแล้ว มาปั้นเป็นหุ่นให้มีรูปร่างลักษณะตามที่ต้องการ โดยเผื่อขนาดไว้ก่อนที่จะนาไปกลึง หรือเสี่ยน 3. ประกอบหุ่นเข้ากับไม้มอน ใช้ไม้มอนเสียบกลางหุ่นเพื่อให้สามารถจับยึดกลึงหรือเสี่ยนได้ และ นาไปตากให้แห้ง

ภาพ หุ่นต้นแบบที่ประกอบกับไม้มอน 4. เสี่ยนพิมพ์ นาหุ่นหรือพิมพ์ที่แห้งแล้วไปประกอบใส่โฮงเสี่ยน เพื่อทาการเสี่ยนพิมพ์ กลึงให้เรียบ กลึงให้ได้ขนาดทีต้องการ

ภาพการเสี่ยนพิมพ์ 5. เคียนขี้ผึ้ง หรือพันขี้ผึ้ง นาขี้ผึ้งที่ทาเป็นเส้นแล้วนามาพันรอบๆหุ่นที่ผ่านขึ้นตอนการเสี่ยน ปรับ ขนาดแล้ว


13

ภาพ การใช้บั้งเดียก ภาพขี้ผึ้งที่รีดเป็นเส้น ภาพการเคียนขี้ผึ้ง 6. เสี่ยนขี้ผึ้ง หรือกลึงขี้ผึ้ง เมือ่ นาเส้นขี้ผึ้งมาพันโดยรอบหุ่นดิน นาหุ่นที่ผ่านการเคียนขี้ผึ้งมารนไฟ เพื่อให้นุ่มเพื่อกลึงเพื่อปรับผิวให้เรียบ และปรับขนาด ใช้มือบีบผิวให้เรียบมีความหนาสม่าเสมอ

7. พิมพ์ แต่งลาย เป็นการสร้างลวดลายโดยการกดพิมพ์ กลึงลาย ตามต้องการ

ภาพการกดพิมพ์ ลายอิงหมากหวาย 8. โอบเพ็ด เป็นขั้นตอนใช้ดินผสมมูลวัวโอบ หรือพอกหุ้มหุ่นหลังจากที่ทาลวดลายเสร็จ โดยติดสาย ชนวนให้ยื่นออกมา เพื่อเป็นการสร้างทางให้น้าโลหะวิ่งไหลทั่วชิ้นงาน

ภาพ การโอบเพ็ช


14

9. การติดแซง หรือ ติดพวง คือการรวมสายชนวน ผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็ก มารวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า เบ้า

10. โอบเบ้า โดยการใช้ดินเหนียวผสมแกลบ โอบ หรือหุ้มเบ้าให้สามารถตั้งวางบนดินเพื่อเทหล่อได้

11. สุมเบ้า หรืออุ่นเบ้า เป้นขั้นตอนการเผาเบ้าเพื่อให้ขี้ผึ้งละลายออก ต้องวางคว่าปากเบ้าลง ขี้ผึ้ง ละลายออกหมดจะเกิดช่องว่าง เพื่อเทน้าโลหะเข้าไปแทนที่

ภาพ การสุมเบ้า นาแม่พิมพ์ลงไปเผาให้ขี้ผึ้งละลาย 12. เททอง เป็นขั้นตอนการเทหล่อ โดยการเทโลหะที่ต้มให้หลอมละลายไว้รออยู่แล้ว นาพิมพ์ที่ผ่าน การสุมเบ้าแล้วออกมาจากเตามาวางเรียง หงายรู เทน้าโลหะในขณะที่เบ้ามีอุณหภูมิสูง เพื่อง่าย ต่อการน้าโลหะที่ไหลได้ทั่ว


15

ภาพการเททองเหลือง ลงแม่พิมพ์ 13. แกะพิมพ์ เมื่อโลหะแข็งตัวดีแล้ว ทาการทุบพิมพ์เพื่อเอาชิ้นงานออกมา ทาความสะอาด

ภาพการแกะพิมพ์ โดยการทุบ กระเทาะ 14. การเสี่ยน หรือกลึงแต่ง การการกลึงทาความสะอาด ให้ดินออกให้หมดและใช้เครื่องมือกลึงแต่ง ผิว และขัดเงาให้สวยงาม จากผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปแนวคิด ปัญหา และแนวความคิดในการพัฒนาได้ดังนี้

จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านปะอาว 1. เป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีเอกลักษณ์เดิม ที่ยังรักษาไว้ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก สามารถบอกเล่าเรื่องราว และเป็นอัตลักษณ์ของบ้านปะอาวได้อย่างดี 2. ยังคงวิธีการผลิตแบบชาวบ้าน แบบเดิมๆไว้อย่างดี เป็นจุดขายที่เหมาะกับการนาเสนอ 3. เป็นงานฝีมือ เกือบทุกขั้นตอน เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ชิ้นงานทุกชิ้นที่ผลิตไม่เหมือนกัน และมี ลักษณะที่ทิ้งร่องรอยของฝีมือช่างในแต่ละชิ้นงาน 4. กรรมวิธีไม่ยงุ่ ยากซับซ้อน และต้นทุนไม่สูงนัก

จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านปะอาว 1. 2. 3. 4. 5.

ต้องพึ่งดินฟ้า อากาศ ถ้าพิมพ์ไม่แห้ง ไม่สามารถเผาได้ ถ้าทาพิมพ์ไม่ดี ชิ้นงานมีปัญหา เสียหาย เป็นผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม ไม่มีการพัฒนาให้เหมาะกับตลาดในปัจจุบัน ผลิตได้จานวนน้อย ใช้แรงงานฝีมือ ขาดการนาเสนอ บอกเล่าเรื่องราว ถึงที่มาและคุณค่าของงาน


16

การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ/ เครือ่ งใช้สอย การออกแบบคานึงถึงความสวยงาม และประโยชน์ใช้สอยร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับความตั้งใจของช่าง ซึ่ง สามารถสร้างสรรค์งานที่แสดงออกมาเป็นสาคัญ โดยแบ่งแนวคิดเป็น 2 กลุ่ม 1. ด้านการตลาด 1.1 มุ่งประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความงาม 1.2 สามารถผลิตได้จานวนมาก รูปแบบซ้ากัน 1.3 รูปทรง รูปร่างไม่เน้นความคิดสร้างสรรค์ 1.4 สัมพันธ์และหวังผลทางการตลาด 1.5 สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย 1.6 ราคา และต้นทุนที่ไม่สูง 2. ด้านศิลปะ 2.1 ความสวยงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย 2.2 ไม่มีระยะการทางานที่แน่นอน 2.3 ลักษณะงานมุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์ ผู้สร้างหวังผลทางด้านเศรษฐกิจ จาเป็นอยู่ที่ต้องศึกษาความต้องการของตลาด และสร้างงานตาม ความต้องการของตลาด ยึดหลักความชอบ และไม่ชอบของกลุ่มชนเป็นหลัก และผลงานจะมีจานวนมากชิ้น เหมือนๆ กันได้ ส่วนงานมีลักษณะงานด้านศิลปะ มักจะมีรูปทรงแปลกใหม่เน้นความงาม ไม่คานึงถึงความชอบ หรือไม่ชอบของใคร และผลงานจะไม่ซ้ากับใคร มักจะเป็นงานชิ้นเดียว เช่นเดียวกับงานประติมากรรม ผู้ สร้างสรรค์สร้างตามอุดมคติ ความงามของตนเป็นหลัก ใส่ความคิดตามความพอใจแปลกใหม่ ไม่หวังผลการค้า โดยตรง งานเครื่องประดับนั้นก็จัดเป็นงานศิลปะได้ ดังนี้สรุปแนวคิดที่ได้คือ เน้นด้านการตลาดควบคู่กับเสน่ห์ความงามด้านศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของ บ้านปะอาว 1. 2. 3. 4.

ผลิตภัณฑ์สามารถผลิตได้ง่าย ใช้กรรมวิธีการเดิมของ บ้านปะอาว ผลิตได้จานวนมาก แต่คงเสน่ห์งานหัตถกรรมด้วยมือ กาหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้อง คงเอกลักษณ์ ของบ้านปะอาว 4.1 ลวดลายเดิม 4.2 กรรมวิธีเดิม 4.3 ลักษณะงานฝีมือหัตถกรรม


17

สรุปกิจกรรม ค่ายหัตถกรรมเครื่องประดับทองเหลือง / เครื่องใช้สอย แบ่งกลุ่มศึกษากรรมวิธี หัตถกรรมทองเหลือง บ้านปะอาว วันที่ 5 สิงหาคม 2554

นายบุญมี ล้อมวงศ์ ประธานกลุ่มหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ให้การต้อนรับ คณะวิทยากร นักศึกษา ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

แนะนาขั้นตอนการทางาน กระบวนการหล่อทองเหลือง ตอบข้อซักถาม

คณะนักศึกษา ศึกษาผลิตภัณฑ์ทองเหลือง เพื่อเป็นข้อมูลการออกแบบ


18

นักศึกษาศึกษากรรมวิธีการผลิต ในแต่ละขั้นตอน ช่วงบ่าย แบ่งกลุ่มดาเนินการออกแบบ ร่างแบบ ตามแนวคิดที่กาหนด

นักศึกษา แบ่งกลุ่มร่วมกับชาวบ้านเป็นทีป่ รึกษาแบบ ทาการออกแบบ ร่างแบบ

ตั้งใจ อย่างขมักเข้น เมื่อได้แบบแล้วปรึกษากับชาวบ้านเพือ่ สอบถามกรรมวิธีการผลิต

และนามาปรับ แก้ไข จนสามารถผลิตชิ้นงานได้


19

การออกแบบ ร่างแบบ ตามแนวคิดที่กาหนด วันที่ 6 สิงหาคม 2554 นักศึกษาได้แบบร่าง แล้วนาเสนอแบบร่าง และแนวความคิด

การนาเสนอ แบบร่างให้ชาวบ้าน และแลกเปลี่ยนกันสอบถาม

แบบร่างที่1

ผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย แนวคิด

รูปภาพประติมากรรมทองเหลือง เป็นกรอบรูป ประดับตกแต่ง นาภาพดอกบัวมาเป็นสื่อ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชราชธานี


20

แบบร่างที่๒

ผลิตภัณฑ์ ภาชนะ และตุ๊กตาทองเหลือง ประโยชน์ใช้สอย เป็นถาดใส่ของ ตุ๊กตาที่ทับกระดาษ ตั้งโชว์ ใส่ปากกาดินสอ แนวคิด นากรรมวิธีดั้งเดิมของกลุ่มมาประยุกต์ขึ้นรูปอย่างง่าย และปั้นตุ๊กตาด้วยรูปทรง เรขาคณิต อย่างง่ายและสร้างพื้นผิวโดยการขีดเส้น เจาะรู

แบบร่างที่๓

ผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย แนวคิด

กรอบรูป เป็นกรอบใส่รูป นาลายเส้น ภาพเชียนผาแต้ม มาใช้ในการออกแบบ


21

แบบร่างที่4

ผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย แนวคิด

ตุ๊กตาทองเหลือง วางโชว์ จากแนวคิดของชาวบ้านที่ต้องการอยากปั้นตุ๊กตา

แบบร่างที่5

ผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย แนวคิด

ที่ใส่เทียนหอม ใช้ใส่เทียนหอม และมีที่จัดเก็บ เป็นตุ๊กตารูปสัตว์ นาลักษณะรูปร่างมาประยุกต์


22

แบบร่างที่6

ผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย แนวคิด

พวงกุญแจ เป็นพวงกุญแจ ของที่ระลึก นาลายเส้น ลายผาแต้มมาประยุกต์ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี

แบบร่างที่7

ผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย แนวคิด

กระพรวน กระดิง่ เป็นพวงกุญแจ ของที่ระลึก นากระบวนการผลิตมาประยุกต์ แก้ปัญหากระดิ่งของเดิม


23

แบบร่างที่8

ผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย แนวคิด

กระพรวนปลาคราบ เป็นพวงกุญแจ ของที่ระลึก นากระบวนการผลิตมาประยุกต์

แบบร่างที่9

ผลิตภัณฑ์ ประโยชน์ใช้สอย แนวคิด

กระดิ่งรังผึ้ง เป็นกระดิ่งแขวนที่หน้าต่าง ของที่ระลึก นากระบวนการผลิตมาประยุกต์ สร้างชิ้นงาน ลดขั้นตอน


24

การจัดทาต้นแบบ ต้นแบบที่1

ต้นแบบที2่

ต้นแบบที่3


25

ต้นแบบที่4

ต้นแบบที่5


26

ต้นแบบที่6

ต้นแบบที่7


27

ต้นแบบที่8

ต้นแบบที่9


28

ต้นแบบอืน่ ๆ

การหล่อต้นแบบ นาต้นแบบขี้ผึ้ง มาติดสายชนวน และมาพอก โอบเพ็ด


29

นาชิ้นงานทีพ่ อกแล้วมาตากให้แห้ง แล้วจึงนามาพอกหยาบตากให้แห้งอีกรอบ เตรียมนาไป เผาเผื่อหล่อทองเหลือง การนาพิมพ์ไปเผาให้ขี้ผงึ้ ละลาย

การเททองเหลือง

การกระเทาะชิ้นงาน


30

ต้นแบบงานหล่อทองเหลือง

ประติมากรรม กบ


31

กรอบรูป ปลา

พวงกุญแจปลา

ตุ๊กตาช้างทาสีสนิม ถ้วยช้างใส่เทียนหอม


32

ตุ๊กตาชายหญิง

พวงกุญแจลายผาแต้ม

กระพรวนพวงกุญแจ


33

กาไลกระพรวน นาวัสดุเดิมมาดัดแปลงเพิม่ มูลค่า

กรอบรูป

ที่วางปากกา ดินสอ


34

ที่วางกระดิง่ โชว์

ที่วางเทียนหอม

กระดิง่ มือ


35

กรอบกระดิ่ง ตัง้ โชว์


36

การแก้ปญ ั หากระดิ่ง ที่จากเดิมทางกลุ่มใช้ลวดยึดลูกตุ้ม

แก้ปญ ั หาโดยการ ออกแบบปรับชิ้นงานเดิมให้สามารถใช้งานได้

1. กระดิง่ 2. ตัวยึด ลูกตุ้ม

นาลูกต้มมาคล้องด้านล่าง

นาตัวยึดสอดด้านบน

แสดงการใส่ภายใน


37

ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าอบรมค่ายหัตถกรรม รายชื่อวิทยากร 1. อ.เดชา อนันต์อิทธิ 2. ผศ.เอกชัย พันธ์อารีวัฒนา

รายชื่อนักศึกษา 1. นส.นริสา 2. นายปฏิพัฒน์ 3. นายวิทวัส 4. นายเอกชญงค์ 5. นส.ภัทธร 6. นส.ชุติมา 7. นส.ณฤดี 8. นส.มัชฌิมา

มุขเงิน รัฐรังสี อนุพันธ์ พรขจรกิจกุล งามสิริวงศ์ โพสิทธิ์วิญญู อภินันทกุลชัย วิศรุตพิชญ์

รายชื่อกลุ่มหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว 1. นายบุญมี 2. นายสมชาย 3. นายพงษ์ศักดิ์ 4. นายปริญญา 5. นายทองคา 6. นายบุญศรี 7. นายสมควร 8. นายอาไพ 9. นางนงค์นุช 10. นางสาวหนูกร 11. นางสาวสมฤดี 12. นางหนูมอน 13. นางรัชนีกร 14. นางสงคราม 15. นายเฉลิม

ล้อมวงศ์ เข็มเพชร แนวจาปา กตัญญู ประทุมมาศ ประทุมมาศ สาจันทร์ ล้อมวงศ์ แนวจาปา ร่วมรักษ์ ล้อมวงศ์ ประทุมมาศ ทุมมาพันธ์ ประทุมมาศ ภุมมาพันธ์


38

ประวัติหัวหน้าโครงการ ชื่อ นายเดชา อนันต์อิทธิ อายุ 40ปี เกิด วันที่ 24 มกราคม 2514 ตาแหน่งปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วุฒิการศึกษา ศิลปบัณฑิต สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กาลังศึกษาปริญญาโท สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โครงการบริการวิชาการ วิทยากรสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ โครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ร่วมสมัย จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2552 ผู้ร่วมโครงการวิจัย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพอลิคาร์บอเนต บริษัท พีทีที ฟีนอล จากัด ปี 2553 ผู้ร่วมโครงการวิจัย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน : ต้นแบบผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพท่าผา จังหวัดราชบุรี ปี2553 ผู้ร่วมโครงการวิจัย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยวัสดุธรรมชาติใน ท้องถิ่นจาก ผือ ปี2554 วิทยากร โครงการพัฒนาบุคลากรสานักเลขานุการคณะมัณฑนศิลป์ ปี 2554 คณะกรรมการโครงการพัฒนาศักยภาพกลุม่ ผู้ผลิตชุมชน OTOP โดยเครือข่ายองค์ ความรู้ (Knowledge – Base OTOP) จังหวัดอานาจเจริญ ปี 2554 คณะกรรมการโครงการพัฒนาศักยภาพกลุม่ ผู้ผลิตชุมชน OTOP โดยเครือข่ายองค์ ความรู้ (Knowledge – Base OTOP) จังหวัดชัยนาท ปี 2554 ที่ปรึกษาโครงการพิพิธภัณฑ์ชุมชน อาเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ปี 2554 ที่ปรึกษาโครงการชุมชนวัฒนธรรมกุดจอก อาเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ปี 2554 ประสบการณ์ทางาน ปี.2535-2538 เจ้าหน้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ บ.พรีเมียร์ โปรดักส์ จก. ปี.2538-2541 เจ้าหน้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ บ.รอยัล ปอร์ซเลน จก. ปี.2541-2545 เจ้าหน้าที่ออกแบบ บ.วนวิทย์แมนูแฟคเจอริ่ง จก.(พัดลม Hatari) ปี.2545-2547 เจ้าหน้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ บ. มินิซิสเต็ม จก. ปี.2544-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์


39

ผศ.เอกชัย พันธ์อารีวัฒนา Ekachai Panareewattana Place of Birth: Ratchaburi Thailand Date of Birth: 27 April 1973 Qualifications gained 1993-1996 Bachelor of Fine Arts (Interior), Silpakorn University, Bangkok Thailand Professional Experience Record 1996-2008

Head of Jewellery Department’s Workshop, the Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University

2000

Reseacher “The Studies of Thai Art /Culture and Stones Development of Prae Province Project, Phase 4, A Collaborative Project of Kasetsart University, Thailand

1998

Goldsmith training at Orapa (Alexandro Bottilglioni) Goldsmith Company,Sienna, ITALY

1996-Present

Full Time Lecturer: The Faculty of Decorative Arts, Department of Jewellery Design, Silpakorn University, Bangkok Thailand

1996-Present

Jewellery Artist and Designer

Selected Exhibition 2008 ”Silbhirasri Day”: Annual Exhibition of Art and Design by the Faculty of Decorative Arts Members, The Gallery of Art and Design, The Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Bangkok Thailand 2007 ”Silbhirasri Day”: Annual Exhibition of Art and Design by the Faculty of Decorative Arts Members, The Gallery of Art and Design, The Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Bangkok Thailand


40

2006 “Designer of The Year 2005”: Exhibition, The Siam Paragon Department Store, Bangkok Thailand 2006 Image “Ra Ya”, Top Fasion Report Book “Stone” for “A Project Bangkok Fasion City”, A Project of Ministry of Industry, Bangkok Thailand 2004 “The Flowers in the Title of the Queen Sirikit”: The Contemporary Arts Exhibition, Queen Gallery, Bangkok Thailand 2003 “Happiness and Celebration”: The Contemporary Jewellery Art and Design Exhibition, Jewellery Group of Art and Design Centre, Gallery of Art and Design, The Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Bangkok Thailand 1999 “Xe-non Project”: The First Contemporary Jewellery Exhibition, The Emporium Department Store, Bangkok Thailand 1999, 2000, 2004” Silbhirasri Day”: Annual Exhibition of Art and Design by the Faculty of Decorative Arts Members, The Gallery of Art and Design, The Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Bangkok Thailand Classification of Awards 2006 “The Best Designer of The Year 2005” ,Designer of The Year 2005, Silpakorn University, Bangkok Thailand


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.