TCDC 2013

Page 1

เหมาะสําหรับการอ่านแนวนอน

1


2



ข้อมูลพื้นฐาน สำ�หรับเทรนด์ ที่ก�ำ ลังจะเกิดขึน้ ในปี 2013

เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมถึงภัยธรรมชาติครัง้ รุนแรง ทีเ่ กิดขึน้ ในหลายประเทศทัว่ โลก ทัง้ สึนามิที่ญี่ปนุ่ แผ่นดินไหว นํา้ ท่วมครัง้ ใหญ่ในแถบเอเชียรวมถึงประเทศไทย ซึง่ เป็นแหล่ง ทรัพยากรและฐานการผลิตสำ�คัญของหลายอุตสาหกรรม ถึงแม้ บางบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่จะมีการวางแผนไว้อย่าง รัดกุม ก็ยังได้รับผลกระทบเกินความคาดหมาย แสดงให้เห็น ว่าธรรมชาติกลายเป็นตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อการดำ�เนินชีวิต และเป็ น องค์ ป ระกอบสำ�คั ญ ที่ ม นุ ษ ย์ ต้ อ งคำ�นึ ง ถึ ง ในการ ออกแบบและประกอบธุรกิจ ในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังอยู่ในสภาวะทรงตัว ประเทศแถบ ยุ โ รปและอเมริ ก ายั ง คงเผชิ ญ กั บ ปั ญ หาการขยายตั ว ทาง เศรษฐกิจทีต่ า่ํ กว่าเป้าและหนีส้ าธารณะ แต่เศรษฐกิจของกลุม่ ประเทศแถบเอเชียยังค่อนข้างเติบโตและขยายตัว นอกจากนี้ เกิดการรวมกลุม่ ระดับกลุม่ ประเทศและระดับภูมภิ าคเพือ่ สร้าง ความแข็งแกร่งและพลังในการต่อรอง เพราะคนในประเทศ หรือภูมิภาคเดียวกัน ย่อมเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของ กันและกันมากที่สุด การพัฒนาของเทคโนโลยีก็เป็นอีกส่วน หนึ่งที่ช่วยเอื้ออำ�นวยให้เกิดการรวมกลุ่ม โดยเริ่มต้นจากการ มีเป้าหมายเดียวกันนำ�ไปสู่ความร่วมมือและเครือข่ายอัน ไม่มีที่สิ้นสุด

จากปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญ กลายเป็นบททดสอบและบท เรียนเพื่อเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ด้วยการกลับไปสู่พื้นฐานในการ ใช้ชีวิตอย่างเข้าใจ ไตร่ตรอง ใส่ใจรายละเอียดในการดำ�เนิน ชีวติ เพือ่ เป็นหนทางในการสัมผัสกับความสุขได้มากขึน้ ในโลก ที่เน้นปริมาณและความเร็ว กุญแจสำ�คัญที่ช่วยให้เราเข้าใจถึงสิ่งที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น ดังที่ แสดงให้เห็นใน 4 แนวคิดหลักของ บทสรุป “เจาะเทรนด์โลก 2013 โดย TCDC: แฟชั่น วัสดุ เทคโนโลยี สี พื้นที่ และ การใช้ชวี ติ คือ การแสวงหาความสุขในชีวติ ด้วยวิถที เ่ี รียบง่าย และสงบนิง่ การนึกถึงผูอ้ น่ื การหลงใหลในอดีต การปลดปล่อย และดำ�เนินชีวิตแบบไร้กฎเกณฑ์ การรวมกลุ่มเพื่อพัฒนา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ นท้ อ งถิ่ น โดยยั ง คงอั ต ลั ก ษณ์ แ ละดำ�รงความ หลากหลายไว้ การสร้างสมดุลในความแตกต่าง รวมทัง้ การใช้ ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ สูงสุดอย่างแท้จริง

4


ความต่อเนื่อง ของเทรนด์ จากปี 2012 สู่ 2013

ความธรรมดา นิยามใหม่

2012

ความคิดสร้างสรรค์

วัฒนธรรม พื้นถิ่น

ธรรมชาติ​ิ

อิสระ ไร้กฏเกณฑ์

สังคมแห่ง ความเป็นหนึ่ง

สมดุล ในธรรมชาติ​ิ

คิดบวก

2013

สุนทรียะ แห่งความสุข

Aesthetic of Happiness

Carefree Attitude

Community of Unity

Natural Harmony

5


ความต่อเนื่อง ของเทรนด์ จากปี 2012 สู่ 2013

สุนทรียะ แห่งความสุข Aesthetic of Happiness

อิสระ ไร้กฏเกณฑ์

Carefree Attitude

สังคมแห่ง ความเป็นหนึ่ง Community of Unity

Natural Harmony

นำ�บุคลิกของความเรียบง่าย ผนวกกับความสุขที่สะท้อน ถึงคุณค่าทางจิตใจ ในฤดูกาล 2012 ต่อเนื่องสู่ฤดูกาล 2013 ด้ ว ยประเด็ น การแสวงหา ความสุขแต่ในแง่มุมที่ลึกซึ้ง ด้วยการปรับเปลี่ยนค่านิยม ไปสู่ ก ารเป็ น อยู่ ที่ เ รี ย บง่ า ย แบบพื้นฐาน ไตร่ตรอง และ สงบนิง่ รวมถึงการปรับรูปแบบ การใช้ ชี วิ ต และเทคโนโลยี ให้เป็นไปอย่างช้าลง ค่อยเป็น ค่อยไป และใช้ทุกช่วงเวลา อย่างมีคุณภาพ

ความอิสระแบบเด็กๆ ที่สร้าง สรรค์สิ่งต่างๆ ด้วยการเล่น และเรียนรู้ในฤดูกาล 2012 เติบโตขึน้ ในฤดูกาลนี้ดว้ ยการ แสดงออกถึงพลังและความ กล้า ฉี ก กฎกรอบเดิมๆ ซึ่ง สะท้อนวิธคี ดิ และจิตวิญญาณ แบบยุค 60 พร้อมปลดปล่อย จิ ต ใจให้ เ ป็ น อิ ส ระจาก การพั ก ผ่ อ นในบรรยากาศ เปี่ ย มด้ ว ยรสนิ ย มในสไตล์ แคลิฟอร์เนียวิลล่า และสนุก สนานไปกั บ กิ จ กรรมกลาง แจ้งที่มีชีวิตชีวา

สานต่อแนวคิดการออกแบบ ด้วยการใส่ใจถึงเทคนิคเชิง ช่างพื้นถิ่นในฤดูกาล 2012 ด้วยการเข้าถึงท้องถิน่ มากขึน้ ในฤดูกาลนี้ ซึง่ ไม่ใช่เพียงแค่ กรรมวิธี แต่เป็นการพัฒนา ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ท้ อ ง ถิ่ น ใ ห้ มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดย การให้คุณค่ากับทรัพยากร และคนในท้องถิ่นเอง นอก จากนั้ น การยึ ด ชุ ม ชุ น เป็ น ศูนย์กลางยังเป็นการสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืนแม้ กระทั่งแบรนด์สินค้าขนาด ใหญ่ ยั ง ให้ ค วามสำ�คั ญ กั บ เรื่องดังกล่าวและพร้อมเป็น ส่วนหนึ่งของชุมชน

ฤดูกาลนี้แรงบันดาลใจจาก ธรรมชาติยังคงมีอยู่ หากแต่ เปลี่ยนจากการลงลึกในราย ละเอียดของธรรมชาติจาก ทั้งดิน นํ้า และลม มาเป็น การให้ ค วามสำ�คั ญ กั บ ป่ า และพื ช พรรณในเขตเส้ น ศู น ย์ สู ต รที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ พร้อมบรรยากาศของความ ชุ่มฉํ่า ชุ่มชื่น นอกจากนั้น ยั ง ให้ ค วามสำ�คั ญ กั บ เรื่ อ ง พลังงานหมุนเวียน และการนำ� กลับมาใช้ใหม่ภายใต้แนวคิด upcycling เพื่อสร้างคุณค่า ให้ กั บ ทรั พ ยากรและการ ใช้ อ ย่ า งรู้ คุ ณ ค่ า ในยุ ค ที่ ทรัพยากรใกล้ขาดแคลน

สมดุล ในธรรมชาติ​ิ

6


โครงสร้างรวมแนวโน้มเทรนด์ 2013 นวัตกรรมเพื่อการปรนนิบัติ อุปกรณ์เพื่อตอบสนองรูปแบบชีวิตที่ลํ้าสมัย

เสรีแห่งการแสดงออก บรรเลงองค์ประกอบให้สะดุดตา การทดลองที่เกิดจากความสร้างสรรค์

ลักษณะโปร่ง นุ่มนวล สะท้อนแสง สร้างอารมณ์ผ่อนคลาย

การรับรู้ ด้วยสายตา

การตีความอดีตในความหมายใหม่ การแสวงหาความสงบนิง่ การหยุดพักเพือ่ ความมัน่ คงทางจิตใจ วิถที เ่ี รียบง่าย ไม่รบี เร่ง ลดขัน้ ตอน แต่ยงั คงคุณภาพ การคำ�นึงถึงผูอ้ น่ื

สร้างประโยชน์ จากทรัพยากรพื้นฐาน พัฒนารูปแบบการนำ�มาใช้ใหม่

รูปทรงในธรรมชาติที่ชัดเจน คุณค่าที่แฝงด้วยรอยตำ�หนิ

ความก้าวหน้า ทางวิทยาการ พลังแห่งการปลดปล่อย

จิตวิญญาณแห่งยุค 60 มนต์เสน่ห์แห่งการสังสรรค์และพักผ่อน

ความหลงใหล ในความทรงจำ� วิถีการทัศนาจร แนวใหม่ การเข้าถึง จิตวิญญาณภายใน

หลักการ ทางนิเวศวิทยา

พืน้ ถิน่ และชุมชน

โดดเด่นด้วยคุณลักษณะ

พืน้ ทีแ่ ละสังคมเสมือนจริง

คุณค่าแห่งท้องถิ่น การสร้างธุรกิจชุมชนแนวใหม่ ความหลากหลายที่สมดุล

การรวมกลุ่ม พื้นที่สร้างโอกาส

7


สุนทรียะ แห่งความสุข

8


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แนวความคิด สุนทรียะ แห่งความสุข

ความเร็วระดับไฮสปีดถือเป็นเครื่องประกันความได้เปรียบ ท่ามกลางการแข่งขันในภาคธุรกิจที่มีตัวแปรเป็นความคุ้มทุน ในทุกจังหวะนาที แต่ความรวดเร็วไม่ได้การันตีถึงคุณภาพ AESTHETIC ชีวิตที่ดีสำ�หรับสังคมยุคใหม่ เมื่ออาหารฟาสต์ฟู้ดกลายเป็น OF HAPPINESS เพียงสายพานของการรับประทานแบบไร้อรรถรส เสื้อผ้าที่ ผลิตในระบบอุตสาหกรรมครั้งละหลายพันตัวพร้อมลดราคา ในช่วงท้ายฤดูกาล และระบบการขนส่งให้คุณค่ากับการทำ� เวลามากกว่าช่วงเวลาแห่งการเดินทาง

เมือ่ ทุกสิง่ มีตวั กำ�หนดเป็นอัตราเร่ง การกลับสูพ่ น้ื ฐานในบริบท ของความช้า สงบ ไตร่ตรอง จึงกลายเป็น “สิ่งใหม่” ที่ผู้คน ถวิลหา ด้วยการให้ความสำ�คัญกับการใช้เวลาและเรียนรูเ้ รือ่ งราว เช่นเดียวกัน ผู้บริโภคยินดีใช้วันหยุดยาวไปกับการท่องเที่ยว ที่สามารถหวนระลึกถึงได้เสมอมากกว่าการจับจ่ายสิ่งของ ที่ให้ความรู้สึกดีเพียงไม่กี่เสี้ยววินาที เพราะนั่นถือเป็นการยืด เวลาความสุขให้ยาวนานออกไป ขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่ เคยมุ่งเน้นเพียงแค่ฟังค์ชั่นได้เริ่มคำ�นึงถึงอารมณ์ความรู้สึก ของมนุษย์มากขึ้น ทั้งในแง่ของวัสดุและรูปทรงที่เรียบง่าย ไป จนถึงการสร้างสรรค์จินตนาการสู่ภาพจริงเพื่อช่วยให้เรา สามารถคิดพิจารณาและตัดสินใจได้ดกี ว่าเดิม ส่วนนวัตกรรม ความงามไม่ใช่เพียงการฟื้นฟูหรือการให้ผลลัพธ์แบบทันใจ แต่ย้อนกลับสู่ความเป็นต้นตำ�รับ ความงดงามแบบใหม่จึง อาจไม่ได้หมายถึงความงามแบบฉับไว แต่อาจหมายถึงความ งามที่มาพร้อมกับเวลา

9


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แนวความคิด

10


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แนวความคิดด้านสี BRIGHT WHITE

SILVER BIRCH

BEIGE

INCENSE

DUSKY CITRON

BLUE SURF

Pantone: 11-0601 TPX RGB: 241, 242, 241 CMYK: 0, 0, 0, 5

Pantone: 13-4403 TPX RGB: 207, 206,195 CMYK: 0, 0, 6, 19

Pantone: 14-1118 TPX RGB: 212, 184, 149 CMYK: 0, 13, 30, 17

Pantone: 16-1010 TPX RGB: 171, 150, 119 CMYK: 0, 12, 30, 33

PALE LIME YELLOW Pantone: 12-0520 TPX RGB: 234, 237, 166 CMYK: 1, 0, 30, 7

LIME LIGHT

Pantone: 12-0740 TPX RGB: 243, 237, 124 CMYK: 0, 2, 49, 5

BROOK GREEN

GRANITE GREEN Pantone 16-5907 TPX RGB: 131, 163, 147 CMYK: 20, 0, 10, 36

Pantone 16-5106 TPX RGB: 143, 170, 165 CMYK: 16, 0, 3, 33

PEACH NECTAR

CAMEO ROSE

LUPINE

PINK MIST

PEAT

Pantone: 14-1228 TPX RGB: 255, 187, 162 CMYK: 0, 27, 36, 0

Pantone: 14-1310 TPX RGB: 215, 183, 170 CMYK: 0, 15, 21, 16

Pantone: 13-6009 TPX RGB: 172, 225, 206 CMYK: 24, 0, 8, 12

Pantone: 16-3521 TPX RGB: 190, 160, 200 CMYK: 5, 20, 0, 22

Pantone: 13-2805 TPX RGB: 234, 194, 214 CMYK: 0, 17, 9, 8

Pantone: 14-0827 TPX RGB: 229, 205, 127 CMYK: 0, 10, 45, 10

Pantone: 19-0508 TPX RGB: 62, 63, 62 CMYK: 2, 0, 2, 75

11


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แนวความคิดด้านองค์ประกอบ การเข้าถึงจิตวิญญาณภายใน

การแสวงหาความสงบนิง่ การหยุดพักเพือ่ ความมัน่ คง ทางจิตใจ วิถีที่เรียบง่าย ไม่รีบเร่ง ลดขั้นตอน แต่ยังคงคุณภาพ การคำ�นึงถึงผู้อื่น

ความหลงใหล ในความทรงจำ�

การตีความอดีต ในความหมายใหม่

การรับรู้ด้วยสายตา

ลักษณะโปร่ง นุ่ม นวล แสงสะท้อน สร้างอารมณ์ ผ่อนคลาย

ความก้าวหน้า ทางวิทยาการ

นวั ต กรรมเพื่ อ การ ปรนนิบัติ อุปกรณ์เพื่อตอบสนอง รูปแบบชีวิตที่ลํ้าสมัย 12


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ภาพรวม ความยากลำ�บากและค่านิยมในโลกปัจจุบนั ทัง้ ความไม่มน่ั คง ความรวดเร็ว ความรุนแรง ความหรูหราฟุ่มเฟือย และการ บริโภคเกินความจำ�เป็นทำ�ให้ผู้บริโภคเริ่มมองหาจุดสมดุล ระหว่างความมีสติและความหลงใหลในการซื้อหาด้วยการ บริโภคอย่างมีความหมายโดยไม่เน้นรายละเอียดเกินจำ�เป็น หรือปริมาณที่ล้นปรี่ “too much” แต่ให้นํ้าหนักกับความ ไม่มี “nothing” ซึ่งหมายถึงการตัดทอนสิ่งปลีกย่อยให้เหลือ เพียงรูปทรงหรือโครงร่างแบบพื้นฐาน

ทัศนคติแบบช้าๆ อย่าง slow food, slow fashion, slow technology เป็นหนทางในการแสดงออกถึงความหยั่งรู้ตาม สัญชาตญาณที่ดี เป็นภาพสะท้อนถึงความสงบในจิตใจ และ เป็นการครุ่นคิดทบทวนให้เกิดปัญญา เพื่อนำ�ไปสู่การได้รับ ความสุขอย่างมีคุณภาพ และลึกซึ้งกว่าเดิม แนวโน้มนี้สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่าความสุขสบายนั้นเป็น สิ่งปรารถนาสูงสุด สืบทอดทัศนคติจากยุค 90 ด้วยศิลปะ แห่งการใช้สง่ิ ของน้อยชิน้ แต่ให้คณุ ค่ามาก ซึง่ เพิม่ รายละเอียด ทางด้านความงามทางอารมณ์ ความบริสุทธิ์ และคุณภาพ ขั้นสูง

13


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ภาพรวม ขาว บริสุทธิ์ สงบเงียบ สง่างาม

14


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ภาพรวม อบอุ่น ละเอียดอ่อนเยี่ยงศิลปิน

15


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ภาพรวม รหัส สัญลักษณ์ อักษรสลัก โบราณคดี

16


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ภาพรวม ปรนนิบัติแบบต้นตำ�รับ

17


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ภาพรวม เบาบาง โปร่งใส สะท้อน มันเงา ระยิบระยับ

18


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ภาพรวม โครงร่าง ห่อหุ้ม ปกป้อง พักพิง

19


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

“พื้นฐานอันเรียบง่าย” คือ รูปแบบใหม่ที่ผู้บริโภคเรียก ร้องแม้จะไม่ได้วางตัวอยู่คน ละฝั่ ง กั บ ความศิ วิ ไ ลซ์ แ บบ สิ้นเชิง หากแต่การได้สัมผัส กับความน้อย ความช้า ความ ละเลี ย ดบ้ า งในบางโอกาส นั่ น ถื อ เป็ น การพั ก รบแบบ ชัว่ คราวของชีวติ วุน่ วายแบบ คนเมือง เพื่อค้นหาคุณค่า ทางประสบการณ์และอรรถรส ที่เหนือกว่า

สีขาว ความธรรมดา และความเรียบง่ายปรากฏมากยิ่งขึ้น สำ�หรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เพราะขณะรับประทานถือเป็น ช่ ว งเวลาแห่ ง การดื่ ม ดํ่ า กั บ รสชาติ ม ากกว่ า การให้ ค วาม สำ�คัญกับการเติมแต่งใดๆ

Ovale โดย Ronan และ Erwan Bouroullec คอลเลคชั่นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำ�หรับแบรนด์อิตาเลียนชื่อดัง อย่าง Allessi สะท้อนความเรียบง่ายด้วยรูปทรงแบบวงรี ที่หากสังเกตจะเห็นความไม่สมมาตรอย่างตั้งใจ ดูเงียบ ขรึม ขอบมนบางให้ความรู้สึกของงานทำ�มือและเครื่องจักรที่ละเมียดละไม เชื่อมโยงระหว่างเรขาคณิตแบบยุค คลาสสิคและการออกแบบยุคใหม่

20


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

Wasara biodegradable collection โดย Shinichiro Ogata ชุดภาชนะแบบใช้แล้วทิ้ง สามารถย่อยสลายได้ โดยทำ�จากวัสดุอย่างเปลือกไม้ เยื่อไม้ไผ่ ชานอ้อยที่ผ่านกระบวนการสกัดนํ้าตาลแล้ว มีรูปทรงโค้งมน นุ่มนวลให้ความรู้สึกแตกต่างจากรูปแบบเดิมๆ และที่สำ�คัญสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง

21


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

Alain Ducasse แห่งร้านอาหาร The Plaza Athenee กรุงปารีส กับแนวคิด “Back to Basics” เทคนิคสำ�คัญ คือ การเปิดเผยให้เห็นถึงคุณสมบัตพิ เิ ศษของวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ปรุงในมือ้ อาหารแต่ละมือ้ เพือ่ ให้ได้รสชาติทด่ี ี มีประโยชน์ ต่อสุขภาพด้วยสิ่งที่ธรรมดาที่สุด ใช้เครื่องปรุงที่ไม่หรูหราฟุ่มเฟือย มีแก่นสารในการนำ�เสนอ และมีคุณภาพในทุก คำ�ที่รับประทาน

22


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ ความสมดุลแบบใหม่ เป็นภาพสะท้อนระหว่างสมัยนิยมกับ การแสดงออกทางอารมณ์ ความละเอียดประณีตกับเทคโนโลยี ความหรูหราจึงไม่ได้แสดงออกด้วยรายละเอียด แต่ดว้ ยความ ไม่มี หรือเพียงเส้นโครงร่างธรรมดาแต่สวยงามและลึกซึ้ง

Tension bentwood chair โดย Dohoon Kim ใช้เทคนิครูปแบบดั้งเดิม สำ�หรับการทำ�เครือ่ งเรือน ซึง่ เป็นเทคนิคการใช้ไอนํา้ ในการดัดแผ่นไม้บางๆ แต่ผลงานของ Kim โดดเด่นเป็นพิเศษจากความโค้งที่ดูเป็นธรรมชาติ ยืด หยุ่น ช่วงรอยต่อเรียบเนียน กลมกลืน รู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของทั้งโครงสร้าง

23


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

Groupe โดย Maison Martin Margiela โซฟาซึ่งรวมเอาความแตกต่างของเก้าอี้อาร์มแชร์และเก้าอี้ยาวหลายยุคสมัยเข้าไว้ด้วยกัน คลุมด้วยผ้าลินินสีขาว ที่จับเดรป ตัดและเย็บโชว์โครงร่างที่อยู่ภายนอกซึ่งขณะเดียวกันก็ซ่อนสีและวัสดุที่แท้จริงเอาไว้

24


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ สถาปัตยกรรมเป็นภาษาสากล โดยสะท้อนวิธีคิดแบบสังคม ในอุดมคติยคุ ใหม่ (New Utopia) ซึง่ มิได้คำ�นึงถึงเพียงรูปแบบ แต่ เ ป็ น การสร้ า งความกลมกลื น เพื่ อ เปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ แ ก่ ผู้ ค น ทุกศาสนาและเชื้อชาติอยู่ร่วมกัน “Living together” รักษา สมดุลด้วยการขยายขอบเขตหรือโครงสร้างไปควบคู่กับการ ยกระดับทางจิตใจ

บ้านพักผู้สูงอายุ Nursing home in Alcácer do Sal โดย Aires Mateus ผสมผสานลักษณะของโรงแรมและโรงพยาบาล โดยรวมเอาพื้นที่สังคมและ ความเป็นส่วนตัวที่แต่ละบุคคลควรได้รับเข้าด้วยกัน ตอบสนองต่อทั้งความ ต้องการสังสรรค์ของผู้สูงอายุ และช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุอยากอยู่ตามลำ�พัง การตกแต่งเน้นแบบ minimal และ luxurious ใช้สีขาวทั้งหมด ส่วนพื้น ห้องพักมีสีเทาอ่อนซึ่งเป็นสีที่เพิ่มคุณสมบัติในการต้านทานแบคทีเรีย เหมือนที่ใช้ในโรงพยาบาล

25


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ อดีตกลับมาอีกครั้งด้วยการตีความใหม่ในมุมมองร่วมสมัยที่ ยังคงความชัดเจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความศิวิไลซ์ใน แบบโบราณหรือความทรงจำ�ที่งดงาม ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย ของรหัส สัญลักษณ์ อักษรแกะสลัก ตัวหนังสือประทับ จารึก โดยไม่หลุดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

Ecooler ท่อเซรามิกกลวงแบบโมดูลาร์ โดย studiokahn เลียนแบบจาก ศิลปกรรมแบบมุสลิม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Mashrabiya คล้ายลักษณะ ม่านระบายอากาศของสถาปัตยกรรมอิสลามและ Jara ภาชนะดินเหนียว โบราณ โดยมีลกั ษณะการทำ�งานแบบซึมนํา้ และการระเหยจากพืน้ ผิวภายนอก คล้ายกับระบบเหงื่อของร่างกายมนุษย์ สามารถบิดตัวและนำ�มาต่อกันด้วย ตัวเชื่อม

26


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

Jewish Community Center of Mainz ศูนย์ศาสนายิวในเมืองไมนส์ ประเทศเยอรมัน ถูกออกแบบให้มคี วามสอดคล้องกับคัมภีรศ์ าสนายิว Talmud ทีเ่ ขียนด้วยภาษาฮีบรูโบราณ ซึง่ เน้นยํา้ ถึงความสำ�คัญของการเขียน ปรากฏ ในโครงสร้างด้วยภาษาฮีบรู คำ�ว่า “‫( קדושה‬Qadushah)” และตกแต่งผนัง ภายในด้วยการสลักภาษาฮีบรู religious poetry ซึ่งสามารถตอบโจทย์ อาคารในบริบทของสังคมเมือง และกระตุ้นการรวมตัวเพื่อปฏิบัติพิธีกรรม ทางศาสนาของชาวยิวที่เคยถูกต่อต้านและพลัดถิ่นในยุคสงครามโลก ครั้งที่ 2

27


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ พื ้ น ที่ที่เ ต็ ม ไปด้ว ยสี ข าวและแสง โดยเปิ ด พื้นที่แ ละสร้าง บรรยากาศของที่โล่ง ว่าง เพื่อช่วยเยียวยาจิตใจและร่างกาย ของผู้อยู่อาศัยทั้งยังเป็นการค้นหาความสงบ บริสุทธิ์ ในทิศ ทางเดียวกับการใช้องค์ประกอบในการตกแต่งให้น้อยลง

Loom โคมไฟแบบแขวนรูปแบบใหม่ ออกแบบโดย Benjamin Hubert ใช้ รูปแบบดัง้ เดิมจากโคมไฟจีน วัสดุหลักทอจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ในรูปแบบ สามมิติ ซึ่งปกตินิยมใช้ในอุตสาหกรรมการทำ�เครื่องนอนและยังไม่เคยนำ� มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมแสงมาก่อน สามารถกระจายแสงผ่านความ แน่นของเส้นใยและยืดได้ตามรูปทรงที่ซับซ้อนของโคมไฟ

28


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

Hiroshi Senju Museum โดย Ryue Nishizawa พิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้กับ Hiroshi Senju ศิลปินด้านจิตรกรรมร่วมสมัยที่ยงั คงเทคนิคดัง้ เดิมอย่าง Nihonga ซึ่งตามธรรมเนียมจะนิยมแสดงภาพวาดในแสงธรรมชาติเพื่อขับความเข้ม อ่อนของสีให้แจ่มชัด การออกแบบพิพธิ ภัณฑ์จงึ ไปในทิศทางเดียวกันทีผ่ สม ผสานความเป็นสถาปนิกและศิลปินเข้าไว้ดว้ ยกัน โดยให้ความสำ�คัญระหว่าง ผลงานของ Hiroshi Senju ทีม่ กั เป็นภาพวิวทิวทัศน์ทล่ี ะเอียดอ่อนให้สมั พันธ์ กับอาคารที่มีความเรียบง่าย โปร่งด้วยกระจกใสให้แสงสามารถส่องผ่านได้ ทั้งยังมองเห็นสภาพแวดล้อมโดยรอบของอาคารที่เป็นผืนป่าธรรมชาติ ซึ่ง ผู้มาชมจะได้สัมผัสทั้งภาพวาด สถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ ที่ส่งผ่านถึงกัน และกันในท่วงทำ�นองเดียว

29


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

Kanazawa Umimirai ห้องสมุดสำ�หรับอนาคตโครงสร้างอาคารคล้ายกับ กล่องขนาดใหญ่ที่คลุมตึก 3 ชั้นไว้ โดยเจาะผนังตลอดแนวเป็นหน้าต่าง กระจก เพื่อช่วยกระจายแสงธรรมชาติ เติมความรู้สึกนุ่มนวล ชวนให้นึกถึง สภาพบรรยากาศกลางแจ้ง และที่สำ�คัญยังเป็นการกระตุ้นผู้อ่านให้ใช้เวลา อยู่ในพื้นที่ห้องสมุดมากขึ้น แทนที่จะใช้เป็นสถานที่เก็บหรือให้ยืมหนังสือ เพียงอย่างเดียว

30


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

เทคโนโลยี

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวด เร็ ว ในโลกเทคโนโลยี ทำ�ให้ สูญเสียความเป็นมนุษย์ ใน แง่การติดต่อสื่อสารระหว่าง กัน เทคโนโลยี ยุค ใหม่จึง พยายามหาหนทางเพิ่ ม การรั บ รู้ ท างด้ า นอารมณ์ และความรู้ สึ ก ไปพร้ อ มๆ กับการให้ความสำ�คัญเรื่อง การใช้ เ วลาในการเรี ย นรู้ การทำ�งาน ระยะเวลาสร้าง ความเข้าใจ ไตร่ตรองเพื่อ ใช้งานเทคโนโลยีอย่างค่อย เป็นค่อยไปภายใต้ปรัชญา แบบ slow technology

เทคโนโลยีจงึ มักถูกซ่อนอยูใ่ นรูปทรงแบบง่ายๆ ผูกโยงกับชีวติ คนเมืองโดยคำ�นึงถึงความเหมาะสมของเวลา ผู้ผลิตยุคใหม่ ลงทุนกับ soft technology ในกลุม่ software และ application ของโทรศัพท์มอื ถือมากกว่า hardware อย่างในอดีต เนื่องจาก สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่ายสอดรับกับอารมณ์และความรู้สึก ทางใจของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม

การกด like ใน Facebook กำ�ลังกลายเป็นกระแสความนิยมในสังคม social network เมื่อร้านเสื้อผ้าแฟชั่น C&A ในบราซิล นำ�วิธีการสำ�รวจความ ชื่นชอบในระบบออนไลน์มาติดตั้งบนไม้แขวนเสื้อผ้าสำ�หรับคอลเลคชั่นพิเศษโดยเชื่อมต่อระบบแบบเรียลไทม์ การกด like หนึ่งครั้งจึงเท่ากับเป็นการเพิ่ม ความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น

31


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

เทคโนโลยี เทคโนโลยียุคใหม่ไม่ได้ใส่ใจเพียงความรวดเร็วในการเข้าถึง หากแต่ เ ป็ น การเพิ่ ม ความสมจริ ง ในส่ ว นงานบริ ก ารแบบ ดิจิทัลรวมถึงการซื้อขายทั้งแบบ on-line และ off-line หลาย บริ ษั ท พยายามหาหนทางเพื่ อ เปลี่ ย นเทคโนโลยี ใ ห้ เ ป็ น ตัวเงินและสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจแนวใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับ พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคนี้ซึ่งชื่นชอบเทคโนโลยีที่มีส่วน ช่วยสร้างจินตนาการ และขณะเดียวกันผู้ซื้อก็มีส่วนร่วมใน การกำ�หนดสิ่งที่ต้องการด้วยตัวเอง adiVerse โดย Adidas ร่วมกับบริษัท Intel สร้าง ประสบการณ์ในการเลือกซื้อรองเท้าจากผนังเสมือน จริงในระบบดิจิทัลแบบจอสัมผัส บรรจุสินค้าทุกรุ่น มากกว่า 8,000 รายการ ลดปัญหาเรือ่ งขนาดของร้าน ที่มีพื้นที่จำ�กัดอย่างในเมืองใหญ่ เมื่อลูกค้าเดินเข้า ใกล้ผนัง ระบบจะบันทึกข้อมูล และช่วยคัดเลือก รองเท้าที่เหมาะกับลูกค้า นอกจากนีย้ งั สามารถค้นหา รองเท้าที่ต้องการจากรูปภาพสามมิติเสมือนจริงได้

32


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

เทคโนโลยี ยอมรับในเทคโนโลยี ตราบเท่าทีถ่ กู ใช้อย่างชาญฉลาดร่วมกับ งานหัตถกรรม เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างศิลปะร่วมสมัยด้วย ความเรียบง่ายที่รัญจวนใจ

Urushi Musical Interface โดยนักออกแบบชาวญี่ปุ่น Yuri Suzuki และนักดนตรีชาวอังกฤษ Matt Rogers สร้างแผ่นดนตรีผิวสัมผัส ซึ่งเป็นการนำ�จุดเด่นของเมือง Wajima ในด้านศิลปะการเคลือบของญี่ปุ่นทั้งเทคนิค Makie ซึ่งเป็นการโปรยผงโลหะหรือผงสีบนผิวเคลือบและ Chinkin ซึ่งเป็นการเขียนลายเส้นบนแลคเกอร์ แล้วถูด้วยผงโลหะ Urushi มาใช้ ผนวกลงไปในการทำ�งานของแป้นคีย์บอร์ดที่ออกแบบเป็นวงกลมซึ่งจะทำ�ให้ เข้าใจโค้ดตัวโน้ตได้ง่ายขึ้น โดยในทางวิศวกรรมลายเส้นทองจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างแผ่นคีย์บอร์ดผิวสัมผัสกับ MIDI interface ซึ่งเป็นชุดคำ�สั่งให้เล่นเสียง ดังนั้น เมื่อกดคีย์บอร์ด จึงเกิดเป็นตัวโน๊ตและเสียงออกมา

33


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แฟชั่นและความงาม

สีเป็นสิง่ ทีม่ บี ทบาทสำ�คัญกับ แฟชั่นในฤดูกาลนี้ สีเด่นคือ สีขาว ซึง่ สามารถสือ่ ถึงความ เป็นพืน้ ฐานของทุกๆ สิง่ ช่วย กำ�หนดทิ ศ ทางเชื่ อ มโยง ระหว่ า งความรู้ สึ ก เบาและ เรี ยบง่าย ทั้งยังบ่งบอกถึง ความหมายของฤดูกาล

ความสงบนิ่ง สุขุม แบบนักบวช ให้อารมณ์ความรู้สึกของ การปกป้อง ห่อหุ้ม รูปทรงของเสื้อถูกนิยามด้วยเส้นสี่เหลี่ยม แบบเสื้อ Tunic, ชุดผ้าคลุมศีรษะ (burnous), เสื้อ hood และ ผ้าโพกศีรษะแบบมุสลิม (turbans) และกางเกงทรงฮาเร็ม (zouave)

34


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แฟชั่นและความงาม ลักษณะการซ้อนผ้าทับกันหลายชัน้ ด้วยเนือ้ ผ้าโปร่ง บาง พลิว้ ไหว ไม่เป็นระเบียบ โครงสร้างหลวมๆ เน้นที่การตกแต่งด้วย เส้นใย แถบเส้นด้ายยาวๆ เชือกถัก เล่นกับการผูก บิดเกลียว หรือมีพู่ห้อยประดับตกแต่ง

35


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แฟชั่นและความงาม ความชัดเจนและความพิถพี ถิ นั ที่ดธู รรมดา ลดรายละเอียดเพื่อ ให้เกิดความรูส้ กึ ที่เรียบหรู อย่างชุดเดรสยาวแบบ Maxi dress ที่ยังแฝงความประณีตสไตล์ Madame Grès

36


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แฟชั่นและความงาม “Minimum of a maximum” สมบูรณ์ด้วยรายละเอียดเพียง ไม่กี่ชิ้นแต่สามารถสะท้อนความชัดเจนของบุคลิกด้วยเสื้อ แจ็คเก็ตยาวคลุมถึงช่วงเอวเข้าชุดกับกางเกงขากระบอก

เสื้ อ ยื ด คลาสสิ ค ที่ บ่ ง บอก หมวกรู ป ทรงดั้ ง เดิ ม เป็ น ความเป็นตัวเอง เครื่องประดับชิ้นสำ�คัญ

37


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แฟชั่นและความงาม ลั ก ษณะของเครื่ อ งแต่ ง กายแบบอาหรั บ ถู ก ตี ค วามใหม่ ให้ทันสมัย เหมาะกับคนเมืองอย่างเสื้อสูทเนื้อบางจากวัสดุ ธรรมชาติ ใส่รว่ มกับเครือ่ งแต่งกายอืน่ ๆ ในกลุม่ โทนสีเดียวกัน หรือเสื้อเชิ้ตแบบธรรมดาคลุมด้วยแจ็คเก็ตแบบหลวมกับ กางเกงทรงกระบอกกว้าง หรือ กางเกงแบบหลวมสไตล์ sarouel รองเท้ารูปทรงคลาสสิคแบบงานช่างฝีมอื มีสายรัดและส้นเตีย้

38


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แฟชั่นและความงาม

ประชากรชาวอังกฤษผู้หญิง ร้อยละ 20 พยายามหาวิธี สร้างความสุขให้มากยิ่งขึ้น โดย 2 ใน 3 วางแผนสำ�หรับ วั น หยุ ด ยาวในสถานตาก อากาศริมทะเล แต่การอาบ แดดไม่สามารถให้ประสิทธิผล ทีเ่ พียงพอ สปาและทรีตเมนท์ จึงเป็นทางออกสำ�หรับการ ปรนนิบัติร่างกายเพื่อช่วย ให้ เ กิ ด อารมณ์ ผ่ อ นคลาย และมีพลัง

ผูห้ ญิงยุคใหม่ชอบที่จะเป็นผูส้ ร้างสรรค์ความงามในรูปแบบของ ตัวเอง จากวิธเี รียบง่ายตามแบบโบราณด้วยวัตถุดบิ ธรรมชาติ หรือกรรมวิธีที่เล่าต่อกันมา เพราะการดูแลตนเองถือเป็นการ ผ่อนคลายและฟื้นฟู ทั้งยังยอมรับในเทคโนโลยีขั้นสูง ตราบ เท่าทีม่ นั ถูกใช้อย่างฉลาดร่วมกับธรรมชาติ เมือ่ เน้นไปที่ “ความ สวยงาม” จึงยอมรับได้ทั้ง “วิถีธรรมชาติล้วน” หรือ “วิถี วิทยาศาสตร์ล้วน” แต่อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านั้นต้อง ประกอบด้วยคุณสมบัติที่รับรองผลลัพธ์แล้ว

Linda Rodin คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อดูแลผิวพรรณ โดยใช้นํ้ามันที่สกัด จากดอกไม้และพรรณไม้เป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อดูแลผิวพรรณ เรือนร่าง ใบหน้า ผม และริมฝีปาก ด้วยคุณสมบัติพิเศษของนํ้ามันสกัดจากธรรมชาติ ที่ให้ความนุ่มนวล เปล่งปลั่ง ซึมซับเข้าสู่ผิวได้อย่างรวดเร็ว ทำ�ให้สามารถ ดูแลผิวพรรณได้ทันที โดยไม่ทิ้งคราบตกค้าง และถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ดูแล ความงามซึ่ ง เป็ น ที่ ต้ อ งการเพราะมี ค วามหรู ห ราในตั ว ของมั น โดยใช้ คุณสมบัติเด่นในธรรมชาติที่ใช้มาอย่างช้านาน

39


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

แฟชั่นและความงาม

Jurlique มีส่วนผสม 95% จากพืชสมุนไพรและดอกไม้ที่ปลูกด้วยวิถีธรรมชาติโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ผ่านกระบวนการผลิตที่มีลิขสิทธิ์เฉพาะเรียกว่า Bio-Intrinsic™ ซึ่งผสมผสานวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และเทคนิค โบราณของอียิปต์ เพื่อปลดปล่อยอานุภาพสูงสุดจากการรวมกันของพืชธรรมชาติกับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้ ได้ผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดกับผิวพรรณของมนุษย์

40


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

พื้นที่และการใช้ชีวิต

ความจำ�เป็ น ที่ ต้ อ งเผชิ ญ ความวุ่นวายทางสังคมและ ภาวะวิ ก ฤตจากภายนอก ทำ�ให้บ้านกลายเป็นที่พักพิง ที่ปลอดภัย ศูนย์ก ลางของ ค ว า ม อิ ส ร ะ แ ล ะ ก า ร ห า ความสำ�ราญโดยปราศจาก การถูกตัดสินของผู้อื่น เป็น สัญลักษณ์แทนความเงียบ สงบ ชะล้าง และเติมพลัง

การตกแต่ง เล่นกับความดัง้ เดิมและการอ้างอิงทางประวัตศิ าสตร์ เพือ่ สะท้อนความทรงจำ�ทีง่ ดงาม เพิม่ มุมมองของสุนทรียภาพ เพื่อลดความเงียบและซึมเซาแบบพิพิธภัณฑ์ อาทิ วัสดุจาก ธรรมชาติ หินมีค่า โลหะ เครื่องแก้ว เครื่องเคลือบซึ่งสะท้อน อารมณ์ของสตรี งานฝีมือและงานศิลปะ

41


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

พื้นที่และการใช้ชีวิต การสร้างความสมดุลของผู้อยู่อาศัยในเมือง คือ การกลับไป ยังจุดเริม่ ต้นเพือ่ สัมผัสบรรยากาศการอยูอ่ าศัยครัง้ แรกเริม่ ของ มนุษย์ ด้วยอาคารโครงสร้างพื้นฐานแบบรูปทรงเรขาคณิตที่ กลมกลืนกับภูมปิ ระเทศ คำ�นึงถึงการปรับใช้วสั ดุจากธรรมชาติ ในชิ้นงานและแสดงออกทางศิลปะ

42


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

พื้นที่และการใช้ชีวิต

ที่พักใจกลางทะเลทราย Mojave ของ Jerry Sohn เรียบง่ายแบบญี่ปุ่นตาม แนวคิดบ้านขนาดเล็กและใช้ของน้อยโดยจินตนาการของ Atelier Arata Isozaki ใช้โครงสร้างหลักจากภูมิทัศน์โดยรอบ ใช้ธรรมชาติเป็นอุปกรณ์ ตกแต่งภายใน จุดสำ�คัญของที่พักนี้ คือ เตียงนอน 3 แบบที่อยู่ภายนอก อาคาร ทีซ่ ง่ึ ผูม้ าพักจะสามารถสัมผัสกับความเปลีย่ นแปลงได้ในทุกฤดูกาล

43


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

พื้นที่และการใช้ชีวิต

Amangiri Resort นำ�เสนอพื้นที่ 243 เอเคอร์ บริเวณใจกลาง Canyon Point รัฐ Utah ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นหุบเขา ด้านหน้าของโรงแรม จะล้อมรอบไปด้วยหินและสปาหรู สระว่ายนํ้าและห้องพักที่สามารถมอง เห็นทิวทัศน์น่าตื่นตา

Fasano Las Piedras รีสอร์ทหรูโดยสถาปนิก Isay Weinfeld ซึ่งให้ความ สำ�คัญในการจัดสรรพื้นที่ระหว่างตัวอาคารและบริบทภายนอกให้เป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนไปกับภูมิทัศน์ภายในพื้นที่กว่า 480 เฮกตาร์ รีสอร์ทแห่งนี้ไม่ต่างจากบ้านพักส่วนตัว ที่มีการบริการและองค์ประกอบใน การออกแบบชั้นหนึ่ง

44


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

พื้นที่และการใช้ชีวิต นอกเหนือไปจากความหรูหราและความสุขทางใจแล้ว เห็นได้ ชัดว่าช่วงเวลาในการเดินทางได้เปลีย่ นบรรยากาศ ทัศนียภาพ และท่วงทำ�นองของชีวติ ไปชัว่ ขณะ ทัง้ จากรูปแบบการเดินทาง การบริการที่ หรูหราและมีมาตรฐานซึ่งช่วยให้เราสามารถ เดินทางไกลได้อย่างสะดวกสบาย และการพบปะแลกเปลี่ยน มุมมองของนักเดินทางที่มาจากคนละทวีป

Archipelago Cinema โรงละครลอยนํา้ ออกแบบโดย Ole Scheeren สำ�หรับงานเทศกาล Films on the Rocks Yao Noi 2012 ซึ่งวางแนวคิดโดย Tilda Swinton และอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล โรงละครนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่นัดพระหว่างศิลปะและภาพยนตร์ แขกจะถูกเชิญขึ้นเรือ มายังแพลอยนํ้า ซึ่งมีฉากหลังเป็นหินสูงตระหง่านขึ้นมาจากทะเล โครงสร้างทำ�จากไม้และวัสดุ รีไซเคิลผูกเข้ากับก้อนโฟมเชือ่ มไว้ดว้ ยเส้นยาง ให้ความรูส้ กึ แบบชัว่ คราวและไม่มแี บบแผน โดย หลังจากงานเสร็จสิ้นโครงสร้างลอยนํ้าได้ถูกบริจาคเพื่อให้เป็นเวทีและสนามเด็กเล่นแก่เด็กๆ

45


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 6900-01

เทคโนโลยีการตัดฉลุทองเหลืองและเงิน อัลลอยโดยใช้เลเซอร์ กระบวนการนี้ สามารถตัดเจาะชิ้นงานรูปทรงสามมิติ ได้ในทุกรูปแบบ และทำ�พื้นผิวได้หลาก หลาย เหมาะสำ�หรับผลิตอุปกรณ์หรือ ชิ้นส่วนในงานตกแต่งภายใน ออกแบบ แฟชั่น รองเท้า แว่นตา เฟอร์นิเจอร์ ช้อนส้อม โคมไฟและงานออกแบบตรา สัญลักษณ์

MC# 5824-02

แผ่นอะคริลกิ หล่อขึ้นรูปที่ให้คณุ ลักษณะ การมองเห็นและการกระจายแสงที่ดี ผลิ ต จากเรซิ น โพลี เ มทิ ล เมทาคริ เ ลต (PMMA) 100% ผสมสีให้ดูเหมือนแผ่น นํ้าแข็งโดยมีผิวสัมผัสคล้ายรอยพับที่ไม่ มีลายซํา้ กันเลย แผ่นวัสดุนม้ี คี วามคงตัว ภายใต้รังสียูวี พื้นผิววัสดุผ่านการพ่น ทรายและขัดด้วยมือ เหมาะสำ�หรับนำ� ไปใช้ทำ�เฟอร์นเิ จอร์ในงานตกแต่งร้านค้า ป้ายสือ่ ความหมายใช้ตกแต่งในสวนสัตว์ พิพธิ ภัณฑ์สตั ว์นา้ํ และงานสถาปัตยกรรม

Bangkok

MC# 6416-01

บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยที่สามารถนำ� ไปหมักเป็นปุ๋ยได้สามารถย่อยสลายได้ ตามธรรมชาติภายใน 45 วัน ใช้งานได้ ทีอ่ ณุ หภูมติ ง้ั แต่ -40oC ถึง 220oC (-40oF ถึง 428oC) ช่วงอุณหภูมิการใช้งานของ ผลิตภัณฑ์นี้ทำ�ให้ใช้งานในเตาอบและ เตาไมโครเวฟได้ อ ย่ า งปลอดภั ย และ ผ่านการรับรองโดย FDA สหรัฐอเมริกา ให้ใช้สัมผัสอาหารได้โดยตรง สามารถ ล้างทำ�ความสะอาดได้ กันนํ้า มีอายุ การใช้งานประมาณ 2 ปีปัจจุบันนำ�ไป ใช้ทำ�บรรจุภัณฑ์อาหารและสินค้าทาง การเกษตร

MC# 5532-04

กระเบือ้ งเนือ้ สีเคลือบผิวหน้าเป็นลวดลาย “แผนทีเ่ มือง” สำ�หรับปูพน้ื และผนังภายใน อาคารกระเบื้องสโตนแวร์นี้มีส่วนผสม ของวัตถุดิบรีไซเคิลจากการผลิต 40% มีคุณสมบัติกันการลื่นล้มและต้านทาน การขั ด ถู ใ นพื้ น ที่ เ ชิ ง พาณิ ช ย์ ที่ มี ก าร สัญจรสูง (DIN 51130 r9) ทนความเย็นและ การเปลีย่ นอุณหภูมฉิ บั พลัน ทนสารเคมี และรอยเปื้อน (ISO 10545-9 Class 5) เหมาะสำ�หรั บ ใช้ ใ นที่ พั ก อาศั ย และ เชิงพาณิชย์ ทั้งปูพื้น กรุผนังตามพื้นที่ สาธารณะที่มีการสัญจรสูง เช่น โรงแรม หมู่บ้าน ร้านค้าปลีก บาร์ ภัตตาคาร สนามบิน ศูนย์การค้า สถานีรถไฟ เป็นต้น 46


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 0247-07

วัสดุโพลิเมอร์คอมโพสิตหล่อผลิตโดย การนำ�อนุภาคควอตซ์ขนาดเล็กผสมลง ในพลาสติกที่เสริมแรงด้วยเส้นใยแก้ว (FRP) แผ่นวัสดุปิดผิวนี้มีความคงทน นํ้าหนักเบา ทนทานต่อการขีดข่วน รังสี ยูวี และนํ้าสามารถทำ�ความสะอาดโดย ใช้ผ้าแห้งสะอาดหรือผ้าหมาดชุบนํ้ายา ทำ�ความสะอาดที่มีฤทธิ์อ่อนๆ และไม่มี สารพิษ สามารถใช้ทำ�ผนัง กรุเชิงผนัง หุ้มเสาอาคาร บานประตูตกแต่งภายใน ลิฟต์ สร้างจุดเด่นภายในอาคารรวมไป ถึงงานผลิตตามสั่งที่ต้องการวัสดุซึ่งมี ความทนทานและมีความสวยงามของ พื้นผิวในเวลาเดียวกัน

MC# 4815-03

ผ้ า สำ�หรั บ ตกแต่ ง ภายในที่ ผ ลิ ต จาก ไหมและใยสับปะรด ผลิตโดยการนำ� เส้นใยไหมมาทอด้วยมือเข้ากับโครงผ้า โปร่ ง เส้ น ใยสั บ ปะรดสำ�หรั บ ใช้ เ ป็ น ผ้าม่านตกแต่ง เหมาะสำ�หรับใช้เป็น ผ้าม่านสำ�หรับงานตกแต่งภายใน

Bangkok

MC# 6010-01

ผ้าม่านหน้าต่างโพลีเอสเตอร์ที่ขยาย ขนาดได้ทำ�จากชิ้นส่วนที่ตัดเป็นรูปทรง เรขาคณิตแล้วนำ�มาเย็บซ้อนกัน ผ้านี้มี นํ้าหนักเบาสามารถนำ�ไปแขวนตกแต่ง ทำ�ม่ า นหน้ า ต่ า งหรื อ ม่ า นกรองแสง สำ�หรับกั้นสัดส่วนเหมาะสำ�หรับใช้ทั้ง ในอาคารพักอาศัยและอาคารพาณิชย์ และใช้ได้ทั้งในแนวนอนและแนวดิ่งมี ลวดลายทั้งหมดสีแ่ บบให้เลือก ได้แก่ Plain, Mega, Archi, และ Hex ผ้านี้ สามารถเคลื อ บผิ ว ป้ อ งกั น ยู วี สำ�หรั บ การใช้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เหมาะสำ�หรับทำ�ม่านหน้าต่าง

MC# 5301-01

แผ่นวัสดุซ้อนกันหลายชั้นประกอบด้วย ชั้ น แข็ ง และชั้ น ยื ด หยุ่ น ชั้ น ไม้ อั ด แข็ ง สองชั้นหรือมากกว่า จะถูกเคลือบไว้กับ วัสดุที่ยืดหยุ่นได้จากนั้นตัดด้วยเครื่อง CNC เพื่อทำ�เป็นบานพับที่ยืดหยุ่นและ ทนต่อการฉีกขาด สามารถกำ�หนดชั้น ยืดหยุ่นได้ด้วยตัวเลือกต่างๆ เช่น หนัง ผ้าลินิน หรือแผ่นฟอยล์และตกแต่งชั้น แข็งที่เป็นไม้อัดบางได้ด้วยแผ่นวีเนียร์ แผ่ น เหล่ า นี้ นำ�ไปใช้ ร ะหว่ า งขั้ น ตอน การออกแบบ หรือสำ�หรับทำ�แบบจำ�ลอง ติ ด ตั้ ง โคมไฟหรื อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ต้ อ งมี การพับ 47


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 6692-01

ผ้า Non-woven ที่มสี ว่ นผสมของอนุภาค เงินซึ่งต้านทานจุลินทรีย์ได้ ผ้านี้ไม่ก่อ ให้เกิดการระคายเคือง วัสดุนี้ยอมให้ อากาศและของเหลวผ่านได้ ไม่ทำ� ปฏิกิริยากับสารต่างๆ และไม่เป็นขุย ประจุ เ งิ น นี้ มี คุ ณ สมบั ติ ต้ า นทาน จุลินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจะ ออกฤทธิ์ทันทีที่ใช้งานและคงคุณสมบัติ ดังกล่าวได้นานถึง 5 วันจึงสามารถใช้ ป้ อ งกั น การติ ด เชื้ อ จากแบคที เ รี ย ใน อากาศและทำ�ให้แบคทีเรียไม่สามารถ ต่อต้านฤทธิ์ได้เหมาะสำ�หรับใช้ทำ�ผ้า พันแผลและงานทางการแพทย์

Bangkok

MC# 6765-03

สิ่งทอประสิทธิภาพสูงที่มีส่วนผสมของ คาเฟอีน เรตินอลกรดไขมัน ว่านหาง จระเข้ วิตามินอีและอืน่ ๆ ผ้าที่ยดื ได้สอง ทิศทางนี้ได้ผ่านการรับรองว่าสามารถ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตบริเวณ ผิวหนังและเพิม่ การดูดซึมออกซิเจนของ เนื้อเยื่อต่างๆ ทำ�ให้ร่างกายสามารถเผา ผลาญไขมันได้เร็วขึน้ ผ้านีป้ ระกอบด้วย โพลีเอไมด์ไมโคร 71% และอิลาสเทน (ไลครา) 29% มีนํ้าหนักเบามาก เนื้อผ้า บางเฉียบและระบายอากาศได้ดีผ้านี้ไม่ ม้วนตัวและคงรูปร่างได้ดี มีความเบา บางและทึบแสงสามารถต้านทานรังสียวู ี ได้ (UPF 50+) ไม่เป็นขุย แห้งตัว เหมาะ สำ�หรับทำ�ชุดชั้นในและชุดกีฬา

48


TREND 1

สุนทรียะแห่งความสุข (Aesthetic of Happiness)

วัตถุดิบทางความคิด โดย TCDC Resource Center

The architecture of natural light Henry Plummer NA 2794 P735 2009

Houses: Kazuyo Sejima + Ryue Nishizawa, SANAA Perez Rubio, Agustin NA 1559 .S26 H842 2007

Gres Laurence Benaim TT 505 .G74 B45 1999

Slow life: sustainable, local, organic, wholesome, learning, inspiring, fun, experiences

Aroma Mandy Aftel and Daniel Patterson TX 714 A2588 2004

Kate O’Brien GF 78 O136 2009

Less is more: minimalism in fashion Harriet Walker TT 507 W179 2011

Spa: the sensuous experience Robert D. Henry and Julie D. Taylor RA 794 H523 2005

Brilliant: white in design

Linda O’Keeffe NK 1548 O413 2011 Living with complexity

Donald A. Norman T 14.5 N842 2011

The serenity of minimal living

Jo Pauwels NA 682.5 .M55 S483 2008

49


อิสระ ไร้กฎเกณฑ์

50


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

แนวความคิด อิสระ ไร้กฎเกณฑ์

โดยสัญชาตญาณของมนุษย์ เมื่อเกิดสภาวะกดดันหรือมีสิ่ง กระทบความรู้สึกก็จะยิ่งเป็นแรงขับสู่การปลดปล่อย ซึ่งช่วง เวลายุค 60 ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการแสดงออก และยุคทอง CAREFREE ของอิสรชนในการผละตัวเองออกจากกฎ กรอบ และวิถเี ดิมๆ ATTITUDE ตามธรรมเนียมปฏิบตั ิ ความอิสระจึงถือเป็นอำ�นาจทีจ่ ะแสดง ออกถึงการตามใจตัวเองในรูปแบบต่างๆ ทัง้ เป็นการสร้างสรรค์ หนทางใหม่ที่สามารถสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ในตัวตน อย่างชัดเจน

การเคลื่อนไหวเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มาพร้อมกับความอิสระ ที่อยู่ ในทัง้ รูปแบบกิจกรรม การสังสรรค์ การจัดสรรพืน้ ทีส่ าธารณะ สำ�หรับการใช้ร่วมกัน การยืดหยุ่นปรับขยับงานออกแบบเพื่อ ผ่อนปรนตามข้อจำ�กัดของพื้นที่ รวมถึงลายกราฟิกที่สื่อสาร ด้วยเส้น ลาย สีสันอันเผ็ดร้อนที่ถือเป็นกระบอกเสียงสำ�หรับ การบอกเล่าเรื่องราว การปลดปล่อยในอีกแง่คือการเดินทางเพื่อไปสัมผัสกับช่วง เวลาแห่งอดีตในรูปแบบการพักผ่อนและบรรยากาศที่รื่นรมย์ สำ�ราญในวัฒนธรรมแบบวิลล่าแคลิฟอร์เนีย การล่องเรือยอร์ช เพื่อสัมผัสกับคลื่นลมทะเล ในบทบาทใหม่ที่มีความสนุก ทัน สมัย ทั้งยังท้าทายค่านิยมเดิมสำ�หรับความหรูหราที่อาจไม่ ได้ใช้เพียงสีโทนกลางอีกต่อไป

51


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

แนวความคิด

52


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

แนวความคิดด้านสี

ROSE VIOLET

FUCHSIA PURPLE Pantone: 18-2436 TPX RGB: 204, 57, 123 CMYK: 0, 72, 40, 20

Pantone: 18-1555 TPX RGB: 184, 41, 40 CMYK: 0, 78, 78, 28

Pantone: 14-1064 TPX RGB: 255, 172, 0 CMYK: 0, 33, 100, 0

Pantone: 12-0752 TPX RGB: 251, 227, 55 CMYK: 0, 10, 78, 2

BRIGHT CHARTREUSE

CERAMIC

HYACINTH VIOLET

SURF THE WEB

OTTER

Pantone: 17-2624 TPX RGB: 194, 76, 146 CMYK: 0, 61, 25, 24

Pantone: 14-0445 TPX RGB: 176, 188, 74 CMYK: 6, 0, 61, 26

Pantone: 16-5127 TPX RGB: 0, 175, 172 CMYK: 100, 0, 2, 31

MOLTEN LAVA

Pantone: 18-3331 TPX RGB: 147, 77, 145 CMYK: 0, 48, 1, 42

SAFFRON

Pantone 19-3952 TPX RGB: 47, 62, 134 CMYK: 65, 54, 0, 47

BUTTERCUP

Pantone 18-1018 TPX RGB: 124, 101, 76 CMYK: 0, 19, 39, 51

53


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

แนวความคิดด้านองค์ประกอบ พลังแห่งการปลดปล่อย

เสรีแห่งการแสดงออก บรรเลงองค์ประกอบให้ สะดุดตา การทดลองที่เกิดจาก ความสร้างสรรค์

วิถกี ารทัศนาจรแนวใหม่

จิตวิญญาณแห่งยุค 60 มนต์เสน่ห์แห่งการ สังสรรค์และพักผ่อน

54


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ภาพรวม ยุค 60 ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนสำ�หรับการปฏิวัติทาง ความคิด อันมีแรงกดดันทางเศรษฐกิจ การเมือง จนเกิดเป็น วัฒนธรรมเสรีที่มีพลัง สิ่งเหล่านี้กลายเป็นทัศนคติที่ชัดเจน ต่ อ ผู้ ส ร้ า งงานออกแบบและผู้ บ ริ โ ภคที่ ยั ง คงต้ อ งการเสพ ความแตกต่าง รวมถึงใช้แง่มุมศิลปะเพื่อสะท้อนการมองโลก ในแง่ดี

ในฤดูกาลที่จะมาถึง ศิลปะจึงเป็นตัวนำ�เสนอในทุกทิศทาง องค์ประกอบด้านสีที่เข้ม สด ชัดเจน คือ “ความใหม่” ที่ มิได้แปรเปลี่ยนตามฤดูกาล แต่กลายเป็นเครื่องบ่งบอกถึง รสนิยมที่ดี ส่วนรูปทรงเรขาคณิตที่มีเหลี่ยมมุมคมชัด ถือ เป็นงานออกแบบที่ดีคล้ายกับในช่วงเฟื่องฟูของยุคโมเดิร์น 50s และ 60s ซึ่งนับเป็นการนำ�ความรู้สึกแบบยุคคลาสสิคมา ผสมผสานกับสภาพสังคมทันสมัย เพื่อสร้างความสากลแบบ ใหม่ ที่ก้าวหน้า มีชีวิตชีวา และเฉียบขาดมากกว่าเดิม โดย ทั้งหมดช่วยให้เราใช้ชีวิตประจำ�วันได้อย่างสะดวกสบายและ สร้างบรรยากาศเพื่อการผ่อนคลาย

55


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ภาพรวม ชัดเจน สุดโต่ง แตกต่าง

56


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ภาพรวม เส้น สีสัน รูปทรงเรขาคณิต การทำ�ซํ้า และการทับซ้อน

57


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ภาพรวม เคลื่อนไหว ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ง่าย

58


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ภาพรวม ค็อกเทล เจลใส นํ้าเชื่อม เคลือบเงา

59


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ภาพรวม การผสมผสานของขั้วต่าง

60


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ภาพรวม พักผ่อน สังสรรค์ และกิจกรรมกลางแจ้ง

61


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น

เมือ่ คุณลักษณะทีช่ ดั เจนและ เปิดเผยซึง่ สะท้อนเอกลักษณ์ ตั ว ตนในทุ ก อณู ก ลายเป็ น อิ ท ธิพ ลต่อโลกแฟชั่น คง ปฏิเสธไม่ได้วา่ เลดี้ กาก้า คือ ไอคอนของความแปลกแหวก แนวและสร้างกระแสสังคม แทบทุ ก ครั้ ง เมื่ อ ผ่ า นเลนส์ ซึ่ ง เป็ น แนวคิ ด เดี ย วกั บ นั ก ออกแบบ นักลงทุนยุคใหม่ จึ ง มี ค วามกล้ า ได้ ก ล้ า เสี ย มากกว่ า ยุ ค ที่ ผ่ า นมาและ พยายามแสวงหาความ แปลกที่โดดเด่นจากศิลปินที่ มีแบบฉบับเฉพาะตัวหรือผู้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อ สร้างจุดเด่นที่ทำ�ให้คนต้อง พูดถึง และสร้างโอกาสทาง ธุรกิจ

แบรนด์เครื่องหนังคลาสสิคอย่าง LV เปลี่ยนโฉมหน้าร้านพร้อมนำ�เสนอ คอลเลคชั่นใหม่สำ�หรับสาวกแฟชั่นและผู้รักศิลปะภายใต้ชื่อ Infinitely Kusuma โดยใช้ศิลปินแนวป๊อปอาร์ตตัวแม่ Yayoi Kusama ผู้มองเห็น วงกลมหลากหลายขนาดอยู่ทุกที่ทุกเวลาจนได้รับฉายา Polka Dot Artist นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ มาร์ค เจค็อบ ครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ของ LV นำ�ศิลปินมา สร้างสีสนั ให้กบั สินค้า ก่อนหน้านี้ Richard Prince และ Takashi Murakami ก็ เ คยถู ก เชิ ญ มาสร้ า งความตื่ น ตาด้ ว ยกราฟิ ก และศิ ล ปะชั้ น เยี่ ย มเช่ น เดียวกัน

62


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น

Charlie Le Mindu ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าวงการออกแบบผมจากช่างทำ�ผม ธรรมดา ก้าวสู่ Hair Stylist จนกระทั่งปัจจุบันได้รับการยอมรับในฐานะ Hair Artist เพราะเส้นผมไม่ใช่แค่เรื่องตัด ดัด หรือทำ�สี แต่เส้นผมและ วงการศิลปะสามารถรวมอยู่ด้วยกันเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางสายตา ดึงดูด ผู้ชมและกลายเป็นองค์ประกอบชิ้นพิเศษสำ�หรับธุรกิจโชว์และการจัดแสดง

63


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น

หมวกและอุปกรณ์แต่งผมขนาดใหญ่กว่าปกติและสไตล์ที่ไม่เหมือนใครอาจเป็นความพิเศษ สำ�หรับแบรนด์ Pier Atkinson แต่ที่มากไปกว่านั้นคือความปราณีต ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ด้าน และดีไซน์หลุดโลกในแบบเฉพาะตัว

64


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น

ในส่ ว นผู้ บ ริ โ ภคยุ ค ใหม่ ก็ ต้ อ งการสร้ า งกฎเกณฑ์ ต่างๆ ด้วยตัวเองเพือ่ ท้าทาย ธรรมเนียมเดิมๆ ความมัน่ ใจ หรื อ รสนิ ย มที่ ดี บ างครั้ ง จึ ง หมายถึงความกล้าทีจ่ ะแต่งตัว กล้ า ที่ จ ะใช้ สี สัน ผสมผสาน แบบสุดเหวี่ยง ซึ่งแสดงออก ถึงความสนุกสนาน และภูมริ ู้ ด้านแฟชั่น

สีสันสำ�หรับเครื่องสำ�อางกลายเป็นเครื่องบ่งบอกถึงรสนิยม ที่ดี ความสุข ความกล้าที่จะออกจากสีโทนกลาง ส่วนเล็บ สีสันฉูดฉาด ก็ไม่ได้เป็นเครื่องหมายของคนบุคลิกแรงๆ อีก ต่อไป

เมคอัพอาร์ติส Romy Soleimani ใช้ที่เขียนขอบตาสีเข้มสด ลิปสติกแบบ Juicy ที่ปัดแก้มสีสด รวมถึงที่ทาเล็บสีแดงระกำ�สำ�หรับ Elle ฉบับฝรั่งเศส เพื่อนำ�เสนอแฟชั่นคอลเลคชั่นล่าสุด

65


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น

ยาทาเล็บของ Sephora Nail Bling คอลเลคชั่นพิเศษซึ่งเน้นสีสดพร้อมที่เคลือบแบบเจลใส

66


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น พลังแห่งการ Mix&Match เป็นการปฏิรูปวิถีชีวิตที่ซํ้าซาก แบบเดิมๆ โดยการเลือกผสมสิ่งต่างๆ ให้ลงตัว สำ�หรับผู้ บริโภค แนวทางนี้หมายถึงการทดลอง ตีความ และสร้าง ศิลปะอย่างไร้ข้อจำ�กัดด้วยตัวเอง

thecoveteur.com เว็บไซต์ที่ก่อตั้งโดยนักออกแบบรุ่นใหม่ Erin Kleinberg และ Stephanie Mark สไตลิสต์ชื่อดัง ที่จะพาไปเปิดตู้เสื้อผ้าคนดังเพื่อ เผยสไตล์เฉพาะตัว ที่ทำ�ให้เสื้อผ้าหลายชิ้นแจ้งเกิดจนมีอิทธิพลต่อรสนิยม คนทั่วโลก รวมถึงวิธีการเลือกซื้อสินค้า และการ Mix&Match เสื้อผ้าในตู้ เก่าให้กลายเป็นชิ้นใหม่ที่เปี่ยมเสน่ห์

67


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น กล้าที่จะผสมระหว่างความเก๋แบบดั้งเดิมและความนิยม แบบพื้นถิ่น อาทิ การใช้สไตล์คลาสสิคร่วมกับสีจัดจ้าน การ ตัดปะ การผสมสีร่วมกับเทคนิคแบบช่างฝีมือ เพื่อให้เกิด รูปแบบใหม่

Mary Katrantzou เป็นที่รู้จักจากแฟชั่นเสื้อผ้าที่ผสมผสานงานออกแบบ หลากแขนง รวมถึงความกล้าฉีกกฎที่นำ�ทั้งสีสัน ลายผ้า โครงสร้างแบบ สถาปัตยกรรมมารวมไว้ในคอลเลคชัน่ เดียว เธอได้รบั อิทธิพลมาจากแม่ทเ่ี ป็น มัณฑนากรและพ่อทีเ่ ป็นวิศวกร และนำ�มาผสมผสานได้อย่างลงตัว ผนวกกับ สาขาที่ได้เรียนมาทัง้ ในด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบผ้า และแฟชัน่ ผลงาน ของเธอออกแบบเพือ่ ให้ผหู้ ญิงมีอสิ ระทางความคิดและมีความมัน่ ใจในตัวเอง นอกจากนี้ คอลเลคชัน่ ใหม่ที่รว่ มมือกับ Topshop ยังเปิดโอกาสให้สาวๆ ได้ ครอบครองชุดสวยในราคาทีเ่ หมาะสมพร้อมคงคุณภาพในผลงานของเธออยู่

68


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น

ขณะเดียวกันช่วงยุค 60 ช่วง เวลาสุขสันต์แบบ cocktail hour หรือจิตวิญญาณรัก อิสระแบบชาวแคลิฟอร์เนีย ถือว่าเป็นแรงบันดาลใจหลัก สำ�หรับฤดูกาลนี้ หากแต่นำ� มาตี ค วามใหม่ ใ ห้ ร่ ว มสมั ย เพื่อสร้างความสดใส คล่อง ตัว เพิ่มโอกาสในการสวมใส่ รวมทั้งกระตุ้นการมองโลก ในแง่ดี สร้างบรรยากาศที่ รื่นรมย์และสง่างาม

เสื้อผ้าโดยทั่วไป ใช้สีแสดงออกถึงอารมณ์ เน้นลวดลายเรขา คณิต ลายทาง เพิ่มรสนิยมด้วยลายกราฟิกแบบ optical ที่ดู มีการเคลื่อนไหว สนุกกับการเล่นรูป motif ต่างๆ รูปลูกบอล ชายหาด ร่มกันแดดตามลักษณะของผู้อาศัยริมทะเลและรัก ทะเล

นำ�หลักการของสีแบบขัว้ ตรงข้ามในวงล้อสี (complementary color) มาใช้ เช่น สีแดงตัดกับสีเขียว สีส้มเหลืองตัดกับสีม่วงนํ้าเงิน เป็นต้น สามารถ สร้างพลัง ความโดดเด่นและสะดุดตาจากค่าตัดที่รุนแรงได้มากกว่า

69


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น ความร่วมสมัยของความงามแบบยุค 60s ที่นำ�มาตีความใหม่ ด้วยสีสนั ทีส่ ดใสร่วมกับรูปทรงทีช่ ดั เจน อย่าง princess a-line ของเสื้อแจ็คเก็ตของชุด air hostess

70


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น preppy look แบบใหม่เป็นที่นิยมมากกว่าเดิม ด้วยสูท เสื้อ เชิ้ต เสื้อโปโลแบบคลาสสิค และกางเกงขาสั้น ด้วยสีสัน สะดุดตา พร้อมเนื้อผ้าที่สะดวกในการทำ�กิจกรรมกลางแจ้ง และเคลื่อนไหวในทุกอิริยาบท

71


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น รูปแบบการแต่งหน้าเลือกใช้สี pure tone แบบสว่าง ในแบบ retro โดยเน้นการแต่งตาให้คมเข้ม ติดขนตาล่างและบนแบบ Twiggy และใช้ลิปมันสีอ่อนเคลือบ

แฟชั่นโชว์ของ Jil sander และ Louis Vuitton แสดงให้เห็นการกลับมา ของการแต่งหน้าแบบยุค 60-70 ซึ่งสอดรับกับเครื่องสำ�อางรุ่นใหม่ๆ ของ Givenchy, Yves Saint Laurent, Shu Uemura ซึ่งเน้นสีสันพร้อมกับการ เคลือบใส

72


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ธุรกิจสินค้าแฟชั่น

Anna Laub นักออกแบบแว่นตาและชุดว่ายนํา้ เจ้าของแบรนด์แว่นตา Prism ได้แรงบันดาลใจส่วนใหญ่มาจากยุค Jet-Set, Retro 70 รวมถึงการท่อง เทีย่ วชายหาด คติประจำ�ใจสำ�หรับการออกแบบของเธอคือ “ต้องการออกแบบ อะไรก็ตามที่เรียบง่ายหากแต่ดูแฟชั่นมากๆ ดูน่าเชื่อถือ ผ่านกระบวนการ ผลิตที่ดี พร้อมทั้งให้ความรู้สึกหรูหรา”

73


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ะใช้ เ ส้ น และสี จำ�นวนมากสำ�หรั บ การ ตกแต่ ง ในสไตล์ โ มเดิ ร์ น เสมือนเป็นการแสดงผลงาน ทางศิ ล ปะแบบร่ ว มสมั ย ที่ ท้าทายสายตา แต่ยังคงให้ ความสำ�คั ญ กั บ ลั ก ษณะ งานออกแบบในยุคลาสสิค อย่าง 50 และ 60 ที่มีวัสดุ รวมถึ ง รู ป ทรงที่ เ รี ย บง่ า ย หากแต่เน้นไปที่สีสัน รูปทรง แบบเรขาคณิต และเส้นที่ดู แปลกตา

Vibeke Fonnesberg Schmidt นักออกแบบชาวเดนมาร์ก ใช้ลกั ษณะรูปทรง เรขาคณิต วงกลม วงรี สี่เหลี่ยม ตามแบบศิลปินยุค abtract แต่ยังคงมอง เห็นอิทธิพลของงานไม้และความเรียบง่ายสไตล์สแกนดิเนเวีย ซึ่งมีลักษณะ โมเดิร์นแบบ constructivist ซึ่งคล้ายกับ Le Corbusier ที่มีการใช้สีและไม้ ในชิ้นงานออกแบบเพื่อลดความแข็ง

74


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

ชัน้ หนังสือ Carlton โดย Ettore Sottsass นักออกแบบชาวอิตาเลียนทีเ่ ติบโตขึน้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ชั้นหนังสือสีแปลกตานี้ทำ�จากพลาสติกลามิเนต ราคาถูกสีสันสดใส มีความขี้เล่นและไม่มีแบบแผน ซึ่งแสดงออกมาเหมือน ภาพวาดหรืองานประติมากรรมสไตล์ Memphis เพือ่ สะท้อนแนวคิดสำ�หรับ งานออกแบบว่า งานออกแบบทีด่ อี าจไม่ได้สร้างสรรค์เพียงความสมบูรณ์แบบ แต่เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นความคิดของผู้ใช้งาน

Big table ออกแบบโดย Alain Gilles โต๊ะที่มีลักษณะรูปทรงแบบตะวันออก แต่ให้ความรูส้ กึ ทีแ่ ข็งทือ่ แทนทีจ่ ะทำ�ให้รสู้ กึ อบอุน่ เล่นกับการผสมผสานวัสดุ ดั้งเดิมเช่นไม้และเหล็กเข้าไว้ด้วยกัน ขาโต๊ะเป็นแผ่นเหล็กตัดด้วยเลเซอร์ ลาดเอียงจากศูนย์กลางพื้นผิวโต๊ะ ขาแต่ละขามีความกว้างและสีที่ต่างกัน ทำ�ให้เวลามองในมุมที่ต่างจะให้ภาพ แสง และเงา ที่ต่างกันในทุกมิติ

75


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ สำ�หรับองค์ประกอบของเฟอร์นิเจอร์ มีการใช้สีสดๆ ในหลาย ส่วน ไม่วา่ จะเป็นทัง้ ตัวชิน้ งาน การไฮไลท์บริเวณขอบ ริม หรือ ใช้วัสดุที่แตกต่างกันอย่างไม้สีอ่อนธรรมชาติ เรซิน หรือยาง ย้อมสี เพื่อทำ�เอฟเฟคให้กับชิ้นงานออกแบบ

Flat Table Peeled โดย Jo Nagasaka นักออกแบบชาวญี่ปุ่นสร้างการ ตีความร่วมสมัยจาก hassoku dai หรือโต๊ะเตี้ยแปดขา โดยใช้ไม้กระดาน เป็นด้านบนของโต๊ะ ผิวโต๊ะเคลือบด้วยเรซินอีพอกซี สีชมพูหรือสีเหลือง สะท้อนแสง หลังจากนัน้ ได้ใช้กบั Flat Table ในเทคนิคเดียวกัน เพือ่ ควบคุม ความไม่เรียบและความแตกต่างของความเข้ม-อ่อนของสี นอกจากนี้ยังใช้ เรซินสีสว่างในการจัดระเบียบขอบและพื้นผิวที่ไม่เรียบของแผ่นไม้

76


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ จิ ต วิ ญ ญาณของเฟอร์ นิ เ จอร์ ที่ ใ ช้ ร่ ว มกั น หรื อ ตู้ ล็ อ คเกอร์ จัดวางรวมสีแบบไม่เข้ากัน และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม ใจชอบ

Stack ตู้เหล็กที่เชื่อมต่อกัน ออกแบบโดย Alessandro Zambelli ประกอบด้วยฐาน 3 ขนาด และตู้ขนาดเล็ก ทั้งหมด 8 ตู้ที่มีฟังก์ชันการใช้ที่แตกต่างกัน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากโกดังเก่าและตู้คอนเทนเนอร์เหล็กแบบ โบราณ โครงสร้างแต่ละชิ้นที่นำ�มารวมกันเป็นตู้ล็อคเกอร์ ลิ้นชักสำ�นักงาน ตู้ในแล็ป และตู้เชิงอุตสาหกรรม การใช้ สีอ่อนในชุดสีที่แปลกตาทำ�ให้นึกถึงอดีตและความทรงจำ�ที่คุ้นเคย ในขณะที่การรวมรูปทรงหลากหลายและสไตล์ ที่เข้ากันช่วยสร้างอารมณ์สนุกสนาน

77


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ ผลิตภัณฑ์แบบหน่วยแยกทีส่ ามารถรวมกันได้ (modular) งาน ออกแบบผลิตภัณฑ์รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ร่วมกัน นอกจาก จะคำ�นึงถึงความยืดหยุน่ เปลีย่ นแปลงตามข้อจำ�กัดของขนาด พื้นที่แล้ว ยังต้องสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ� วัน โดยสามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลง แยก แต่ละฟังก์ชันที่เฉพาะเจาะจง และเพิ่มขีดความสามารถให้ มากกว่าหนึ่งหน้าที่

Celsius โดย Angeline Meloche

Fridgerette โดย Electrolux

งานต้นแบบสำ�หรับเครื่องใช้ในบ้านอย่างตู้เย็นภายใต้ชื่อ Fridgerette โดยบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่อย่าง Electrolux และ Celsius โดย Angeline Meloche ปรับเปลี่ยนโฉมตู้เย็นจากทรงสี่เหลี่ยมที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เป็นงานต้นแบบที่ เป็นลักษณะของกล่องขนาดเล็กแบบซ้อนชัน้ ทีส่ ามารถยกเคลือ่ นทีไ่ ด้ จึงสามารถแบ่งแยกสัดส่วนการใช้งานของแต่ละสมาชิกภายในบ้าน โดยยังคงพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันและพื้นที่ส่วนบุคคลได้อย่างเหมาะสม

78


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

ไม่ต่างกับ NFridge นวัตกรรมใหม่ของตู้เย็นที่สามารถแยกส่วนได้ ประกอบด้วยตู้เย็นสี่เหลี่ยม ขนาดเล็ก ที่ผู้บริโภคสามารถจัดเก็บสิ่งของส่วนตัวได้ตามต้องการ ใช้นวัตกรรมการออกแบบ ด้วยวัสดุใหม่ๆ มีพื้นผิวและรูปทรงที่สะท้อนลักษณะเฉพาะและการแสดงออกของผู้บริโภค ขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่อยู่อาศัยซึ่งแตกต่างกัน เหมือนกับตู้เย็นที่สามารถแบ่งส่วน ให้กะทัดรัดขึ้นแต่ยังคงรักษาความสามารถในการจัดเก็บ ความแตกต่างของ NFridge ไม่ใช่เพียง แค่การออกแบบเพื่อให้ประหยัดพื้นที่ใช้สอย แต่ยังรวมถึงการใช้ประโยชน์และระบบเทคโนโลยี เช่น ตู้เย็นแม่เหล็ก การใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม และ digital membrane ที่ป้องกัน ฝุ่นและนํ้า

79


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

ร้าน 24 Issey Miyake โดย Hisaaki Hirawata และ Tomohiro Watabe จาก Moment Design ให้ความสำ�คัญกับรูปแบบการจัดหน้าร้านเพื่อแสดงสินค้าตามฤดูกาล สร้างตู้เก็บและจัดแสดง สินค้าที่มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนส่วนของชั้นวางได้อย่างรวดเร็ว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ บ่อยๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการสนับสนุนลักษณะเด่นของแบรนด์อีกด้วย

80


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

เทคโนโลยี

โครงการใหม่หลายโครงการ พยายามบูรณาการศิลปะใน ทุกแขนงและเทคโนโลยีสมัย ใหม่เข้าด้วยกัน เพื่อเปลี่ยน แ ป ล ง วั ต ถุ แ ล ะ ที่ ว่ า ง ใ น ความรู้สึกใหม่ รวมถึงสร้าง ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะ ห ว่ า ง นั ก ออกแบบและผูช้ มให้สมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น โดยไม่ได้จำ�กัด ว่ า จะเป็ น พื้ น ที่ ข นาดใหญ่ หรือพื้นที่ขนาดเล็ก ชั่วคราว หรือถาวร แต่ให้คุณค่าทาง ความรู้ สึ ก และมนต์ เ สน่ ห์ แห่งศิลปะ

Of light การแต่งหน้าด้วยแสงโดยนักออกแบบแฟชั่นแถวหน้า Hussein Chalayan ร่วมกับช่างภาพ Nick Knight ใช้เทคโนโลยีแสงสีโทนสดใส ฉายลงบนหน้าของนางแบบแทนที่การแต่งหน้าและผลิตภัณฑ์ความงาม โดยมีการปรับเปลี่ยนสีและตำ�แหน่งของสี พร้อมตั้งคำ�ถามกับสิ่งที่เห็นว่า แท้จริงความสวยงามนั้นเกิดจากสีหรือใบหน้านางแบบกันแน่?

81


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

เทคโนโลยี

Expo Digital Gallery (EDG) จอแสดงผล LED ขนาดใหญ่ที่ครอบคลุม เพดานและผนังบริเวณทางเดินหลักในงาน Yeosu Expo ที่ประเทศเกาหลี นำ�เสนอภาพใต้ท้องทะเลในรูปแบบเหนือจริง ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกำ�ลัง อยู่ในอุโมงค์ใต้นํ้า ผู้ร่วมงานสามารถส่งข้อความและภาพถ่ายส่วนตัวจาก application ในโทรศัพท์มือถือเพื่อให้แสดงผลบนเพดาน ภาพถ่ายทั้งหมด จะถูกรวมกันเพือ่ สร้างภาพปลาวาฬเคลือ่ นผ่านหน้าจอ ผูจ้ ดั งานสร้างสภาพ แวดล้อมที่สะดวกและเป็นมิตรโดยการใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มที่ แสดงออก ถึงความฉลาดในการใช้เทคโนโลยีมากกว่าในอดีต

82


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

เทคโนโลยี

Moodwall โดย Urban Alliance (ร่วมกับ Daan Hartoog) ออกแบบโดย Jasper Klinkhamer Studio Klink) และ Remco Wilcke (Cube) คือการแสดงแสงแบบมีปฏิสัมพันธ์บนผนังความ ยาว 24 เมตรในเมืองอัมสเตอร์ดัม โดยตัวเซ็นเซอร์จะจับความเคลื่อนไหวและแสดงภาพแสง อินฟาเรดสีสดใสบนผนัง เพื่อปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในอุโมงค์ให้มีชีวิตชีวาและสร้างความ รูส้ กึ ปลอดภัยมากขึน้ โปรเจ็คนีไ้ ด้รบั รางวัลจากแนวคิดช่วยปรับปรุงพืน้ ทีส่ าธารณะทีไ่ ม่ปลอดภัย ในเขต Amsterdam Bijlmer

83


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

พื้นที่และการใช้ชีวิต

ผู้ บ ริ โ ภคใฝ่ ฝั น ที่ จ ะครอบ ครองงานศิ ล ปะร่ ว มสมั ย ซึ่งรวมถึงบ้านแบบโมเดิร์น หรื อ บ้ า นที่ อ อกแบบโดย สถาปนิกดัง ที่มีการจัดสรร พื้นที่อย่างเหมาะสมเพื่อใช้ สำ�หรั บ การผ่ อ นคลายและ สังสรรค์ มีบรรยากาศโดย รวมแบบวิลล่าหรือบ้านพัก ตากอากาศริ ม ชายหาด การตกแต่งภายในมีการใช้ สีตัดกัน หรือลักษณะพู่กัน และลายเส้นแบบศิลปินเพื่อ เพิ่มพลังให้กับโครงสร้าง

การใช้เส้นขนาดหนาและบางตกแต่งบริเวณกำ�แพง เพดาน และพื้น ร่วมกับการใช้เฟอร์นิเจอร์ผิวด้าน มันวาว สีสดร่วม กับสีตามธรรมชาติ

84


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

พื้นที่และการใช้ชีวิต พื้นที่ต้องการแสงและการระบายอากาศที่ดี ปรับเปลี่ยนพื้นที่ โดยใช้บานเลื่อน รวมถึงใช้วัสดุต่างๆ เพื่อลดความแข็งของ โมเดิร์นนิสม์ลง เช่นการใช้องค์ประกอบของไม้และสีสว่าง

85


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

พื้นที่และการใช้ชีวิต ใช้สีสันสดใสกับสถานที่หรูหรา เพื่อเปลี่ยนมุมมองว่า สีสันก็ สามารถสะท้อนรสนิยมที่ดีได้เช่นเดียวกัน

Dar HI รีสอร์ทและสปารูปแบบใหม่ที่ให้ประสบการณ์การพักผ่อนเชิงนิเวศ โดย Matali Crasset นักออกแบบชาวฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองเนฟตา ประเทศ ตูนิเซีย ความร่วมสมัยระหว่างบ้านพักรับรองและ boutique hotel สีสดใส ตัวอาคารใช้เฉพาะวัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ไม้ปาล์ม อิฐดินเหนียว และ คอนกรีตทราย (ผสมคอนกรีตเข้ากับทรายจากทะเลทรายซาฮาร่า) รวมทั้ง ในงานโครงสร้างที่ซับซ้อน อาคารยกพื้นสูง ให้ความสันโดษ ช่วยดูแลทั้ง ร่างกายและจิตใจ ทั้งยังแยกพื้นที่ส่วนบุคคลและส่วนรวมสำ�หรับแขกเพื่อ พูดคุยและพักผ่อน

86


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

พื้นที่และการใช้ชีวิต กีฬาคือแรงบันดาลใจหลัก โดยเฉพาะกีฬากลางแจ้งที่มีการ เคลื่อนไหวและท้าทายความสามารถ อย่างการโต้คลื่น, kite surfing, windsurfing, การดำ�นํ้า, กิจกรรมริมชายหาด รวม ถึงการเดินเรือ

87


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

พื้นที่และการใช้ชีวิต รูปแบบพื้นฐานของการเดินเรือไม่ว่าจะเป็นสีแดง ขาว และ นํ้าเงิน สัญลักษณ์ของกะลาสี หรือกระทั่งเชือกบนเรือ ปม เงื่อนตามธรรมชาติของผ้าลินินหรือไนลอน

88


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 6320-01

วัสดุแกนกลางที่มีโครงรังผึ้งสามมิตินํ้า หนักเบา โครงสร้างนี้ได้มาจากลักษณะ ของฟองสบู่ที่เกาะติดกัน สามารถเลือก ผลิตขึน้ จากวัสดุชนิดต่างๆ เช่น โพลิเมอร์ เซรามิก โลหะ หรือวัสดุที่นำ�กลับมาใช้ ใหม่ได้อื่นๆ สามารถดูดซับแรงดึง แรงอัด แรงดัด แรงเฉือนและแรงบิดผ่านโครง ตารางแล้วกระจายไปทั่วทั้งแผ่น วัสดุนี้ เหมาะสำ�หรับใช้ทำ�แผ่นโครงสร้างนํ้า หนักเบาหรือแผ่นวัสดุคอมโพสิต เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ แผ่นวัสดุ อะคูสติก งานวิศวกรรมเครือ่ งกล การต่อ เรือ เครือ่ งกำ�เนิดไฟฟ้าพลังลม เฟอร์นเิ จอร์ และอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

MC# 5608-01

โฟมยางธรรมชาติรูปทรงต่างๆ ซึ่งมี ความคงทนและปลอดสารพิษ ขึ้นรูป จากยางธรรมชาติ 100% ผสมสารเติม เต็มและสารให้สี สามารถผลิตออกมา ในความหนาแน่นต่างๆ หรือทำ�ให้มีผิว สัมผัส สีสันและรูปทรงที่หลากหลายได้ ทนทานต่อรังสียวู แี ละความร้อน ไม่เปือ่ ย หรือเสื่อมสภาพ สามารถนำ�ไปทำ�ของ ใช้สำ�หรับเด็กได้และนำ�ไปรีไซเคิลได้ เหมาะสำ�หรับทำ�ของเล่นเด็ก อุปกรณ์ ประกอบในสนามเด็กเล่น สินค้ากีฬา และเครื่องออกกำ�ลังกาย

Bangkok

MC# 6240-01

สารเคลื อ บพื้ น คุ ณ ภาพสู ง จากเรซิ น อีพอกซีสำ�หรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองานเชิงพาณิชย์ เคลือบตกแต่งนี้ ประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ เคลือบรอง พื้นที่ปรับระนาบได้เองและเคลือบผิว ชัน้ บนที่มคี วามสวยงามและปกป้องพืน้ ผิว จากการแตกร้าวได้ ทำ�ให้พื้นผิวมีความ แข็งแรงและต้านทานต่อการขัดถูได้ดี นอกจากนี้ ยั ง สามารถกั น การลื่ น ไถล และกันนํา้ ได้ มีสสี นั และรูปแบบมากมาย ให้เลือก สำ�หรับใช้กบั พืน้ กันนํา้ ชัน้ ใต้ดนิ ห้องเก็บไวน์ และลานจอดรถใต้ดนิ รวม ทั้งเคลือบพื้นในงานระดับหรูหรา เช่น ในภัตตาคาร โรงแรมหรือห้องเสื้อ

MC# 5945-01

แถบพลาสติกเนื้อนุ่มพิเศษมีกาวในตัว สำ�หรับการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยและ ลักษณะพิเศษให้กับผลิตภัณฑ์ มีทั้งผิว เรียบและผิวลายนูนลักษณะต่างๆ ด้วย คุณสมบัติที่ดีด้านผิวสัมผัสและความ สามารถในการยึดติดบนวัสดุได้ทุกชนิด (ไม้ กระจก โลหะและพลาสติก) ใช้ในการ ดูดซับแรงกระแทก ลดแรงสั่นสะเทือน หรือเป็นฉนวนกันเสียงทั้งภายในและ ภายนอกอาคาร เหมาะสำ�หรับใช้ในงาน ก่อสร้าง อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมเครือ่ ง กล รวมทัง้ การใช้งานที่ต้องการความดูแล เป็นพิเศษเช่น อุตสาหกรรมอาหาร การ พยาบาลและสุขอนามัย และอุตสาหกรรม บรรจุภัณฑ์ 89


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 5824-01

กระบวนการหล่อขึ้นรูปที่ทำ�ให้สามารถ ผลิตชิ้นส่วนอะคริลิกใสขนาดใหญ่ที่มี คุณภาพสูงได้ ชิน้ งานทีไ่ ด้จะมีคณุ สมบัติ ในการส่งผ่านรังสียวู ี รวมทัง้ คุณลักษณะ ด้านการมองและการกระจายแสงที่ดี เยีย่ ม อะคริลกิ เหล่านีม้ นี า้ํ หนักเพียงครึง่ เดียวของกระจกแต่มีความทนทานต่อ แรงกระแทกสู ง กว่ า ถึ ง สิ บ เจ็ ด เท่ า เหมาะสำ�หรั บ ทำ�ชั้ น แสดงสิ น ค้ า เพื่ อ ส่งเสริมการขาย ใช้ผลิตชิ้นส่วนสำ�หรับ การแปรรูปด้วยเครื่องจักร ทำ�ตู้ปลา ใช้ ในงานสถาปั ต ยกรรมหรื อ งานทาง วิทยาศาสตร์ ทำ�ผนังรับแรงดันนํ้า แผ่น หลังคากระจก และงานป้าย

MC# 6210-01

วั ส ดุ ค อมโพสิ ต ระหว่ า งภาพถ่ า ยกั บ กระจก เป็นวัสดุคอมโพสิตที่ผลิตทีละ แผ่นซึ่งเป็นการนำ�ภาพถ่ายมาติดกับ กระจกอย่างถาวร ทนทานต่อการขีดข่วน ต้านทานไฟฟ้าสถิต ทำ�ความสะอาดได้ ง่าย และช่วยปกป้องรูปภาพจากฝุน่ ละออง และความชื้น เหมาะสำ�หรับใช้ทำ�บาน ประตู กรุผนัง ทำ�ผนังกั้นส่วน ผนังห้อง นํา้ ฝักบัว ออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ งานศิลปะ โคมไฟ และกรุฝ้าเพดาน

Bangkok

MC# 6381-02

วัสดุตกแต่งพื้นผิวจากแผ่นเอ็มดีเอฟ ย้อมสีที่นำ�ไปแกะลวดลายด้วยเครื่อง CNC ทำ�ให้เกิดลายเส้นสีสันที่หลาก หลาย ผิวสัมผัสนูนของวัสดุทำ�ให้เกิด แสงเงาที่แตกต่างเมื่อมุมมองเปลี่ยนไป สามารถสั่ ง ทำ�พื้ น ผิ ว ลวดลายและสี พิเศษตามต้องการได้ เหมาะสำ�หรับ งานตกแต่ ง ภายในและเฟอร์ นิ เ จอร์ คุณภาพสูง

MC# 6932-01

กระเบื้องเซรามิกที่ติดตั้งพร้อมชุดตัว ต่อไฟแอลอีดีสำ�หรับงานตกแต่งภายใน และภายนอกอาคาร หลอดไฟ LED เป็น ระบบโมดูลาร์สี่รูปแบบ (แบบเส้นตรง แบบเข้ามุม แบบปลายเส้น และแบบ จุดกลม) ผู้ใช้สามารถนำ�ไปจัดเรียงใน ลักษณะต่างๆ ได้ตามต้องการ กระเบื้อง มีสีเคลือบขาวหรือดำ� ไฟ LED สีขาวมี ทั้งโทนอุ่นและโทนเย็น เหมาะสำ�หรับปู ผนังภายในและภายนอกอาคาร

90


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 4996-12

ระบบผนั ง ที่ ป รั บ เปลี่ ย นได้ สำ�หรั บ ใช้ กั้นพื้นที่หรือปูผนังอาคาร ผลิตจากโฟม โพลียรู เี ทนทีม่ รี ปู ทรงต่างๆ กัน 5 รูปแบบ ซึ่ ง สามารถจั ด เรี ย งให้ เ ป็ น โครงสร้ า ง สำ�เร็จรูปได้ สามารถประกอบเป็นผนัง รูปทรงต่างๆ และทำ�ได้หลากสี โดยอาศัย การเกาะเกี่ยวกันอย่างง่ายๆ กับระบบ โครงกรอบและโครงแขวน สามารถซัก ทำ�ความสะอาดได้ เหมาะสำ�หรับใช้ทำ� ผนังกัน้ ห้อง หรือบุผนังภายในอาคารพัก อาศัยหรืออาคารเชิงพาณิชย์

Bangkok

MC# 6225-03

วั ส ดุ ปู พื้ น ทอด้ ว ยมื อ ที่ เ หมาะสำ�หรั บ งานตกแต่งภายใน ทำ�จากสักหลาดขน แกะนิวซีแลนด์ รองหลังด้วยผ้าฝ้ายและ ลาเท็กซ์ วัสดุปูพื้นเหล่านี้ต้านทานต่อ ไฟฟ้าสถิต และมีคณุ สมบัตทิ างอะคูสติก ที่ดี เหมาะสำ�หรับการวางเฟอร์นิเจอร์ และใช้กับระบบทำ�ความร้อนใต้พื้นได้ มีสีสันสดใสให้เลือกมากมาย รวมทั้ง สามารถสัง่ ทำ�ขนาด รูปร่าง และสีพเิ ศษ ได้ เหมาะสำ�หรับปูพื้นภายในอาคาร หรือ นำ�ไปปูผนัง

91


TREND 2

อิสระไร้กฎเกณฑ์ (Carefree Attitude)

วัตถุดิบทางความคิด โดย TCDC Resource Center

The visual miscellaneum: a colorful guide to the world’s most consequential trivia David McCandless AG 195 M122 2009

California here I come: vintage California graphics Ed. Jim Heimann NC 1845 .C35 C1531 2002

Best designed modular houses Martin Nicholas Kunz, Michelle Galindo Pure plastic: new materials NA 7145 K966 2005 for today’s architecture Chris van Uffelen NA 680 P985 2008

Holywood houses Tim Street-Poter and Diane Dorrans Saeks NA 737 .S35 S1274 2004

Yayoi Kusama

San Francisco in the sixties George C. Perry F 869 .S35 S194 2003

Crazy design

Laura Hoptman, Akira Tatehata, Udo Kultermann N 7359 .K8 H799 2001

Beatrix Foisil-Penther and Claire Chamot, Nicolas Marcais TS 886.5 .C45 F659 2011

Color, graphics&architecture

Roberto Bottura NA 2795 B751 2009

Lady Gaga :critical mass fashion

Lizzy Goodman ML 420 .L185 G653 2010

92


สังคมแห่ง ความเป็นหนึ่ง

93


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

แนวความคิด สังคมแห่ง ความเป็นหนึ่ง

สังคมถือเป็นพื้นที่ซึ่งรวมความหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน การผสมผสานหรือสร้างความเหมือนตามมาตรฐานแบบ โลกาภิวัฒน์จึงไม่ใช่สิ่งที่ยั่งยืนหรือวัฒนธรรมหลักอีกต่อไป COMMUNITY โลกกำ�ลั ง เดิ น หน้ า สู่ ยุ ค แห่ ง ท้ อ งถิ่ น นิ ย มด้ ว ยการค้ น หา OF UNITY อัตลักษณ์และลักษณะเฉพาะตัวที่มีเสน่ห์ พร้อมทำ�การปรับ พัฒนา และสนับสนุน คนในพื้นที่เดียวกันให้เกิดการรวมกลุ่ม เพื่อพัฒนาศักยภาพของการผลิตให้ดีขึ้น แทนที่วิธีการผลิต แบบเบ้าหลอมอย่างที่ผ่านมา ท้องถิ่นกลายเป็นจุดหมายใหม่ ของทุกแบรนด์ ทั้งในแง่ของแหล่งผลิต แหล่งต้นทุนทางภูมิ ปัญญา และสถานที่ลงทุน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเครือ ข่ายทางสังคม รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำ�หรับผู้ต้องการ สัมผัสประสบการณ์ความเป็นอยู่ในท้องที่อย่างแท้จริง

ท้องถิ่นยังหมายถึงพื้นที่ที่เราอยู่ ณ ขณะนั้น ธุรกิจจะเริ่มเน้น รูปแบบซึ่งจำ�เพาะพื้นที่ (location-based service) เพื่อ แบ่งปันข้อมูลและประชาสัมพันธ์ร้านค้า การรวมตัวในโลก เสมือนจริงยังคงเป็นเครือข่ายทีม่ ปี ระสิทธิผล แต่อาจเป็นเพียง ต้นทางให้เราสามารถเข้าร่วมกลุ่มที่มีความสนใจคล้ายกัน ได้ง่ายขึ้น เพราะมนุษย์ยังต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ด้วยการ พบปะ และทำ�กิจกรรมร่วมกัน

94


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

แนวความคิด

95


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

แนวความคิดด้านสี JAFFA ORANGE

GOLDEN HAZE

COMFREY

PRAIRIE SAND

GRAPE COMPOTE

CORAL

BITTERSWEET

Pantone: 16-1454 TPX RGB: 217, 109, 57 CMYK: 0, 50, 74, 15

Pantone: 12-0826 TPX RGB: 252, 219, 149 CMYK: 0, 13, 41, 1

Pantone: 18-6216 TPX RGB: 90, 123, 99 CMYK: 27, 0, 20, 52

TOAST

BRUNETTE

ORANGE RUST

Pantone: 16-1331 TPX RGB: 204, 153, 118 CMYK: 0, 25, 42, 20

Pantone: 19-1235 TPX RGB: 96, 65, 58 CMYK: 0, 32, 40, 62

MALAGA

BLUE INDIGO

Pantone: 17-1723 TPX RGB: 161, 80, 109 CMYK: 0, 50, 32, 37

Pantone: 18-1447 TPX RGB: 195, 93, 72 CMYK: 0, 52, 63, 24

Pantone: 16-1326 TPX RGB: 181, 153, 100 CMYK: 0, 15, 45, 29

Pantone 16-1539 TPX RGB: 236, 114, 102 CMYK: 0, 52, 57, 7

Pantone: 18-3513 TPX RGB: 110, 91, 122 CMYK: 10, 25, 0, 52

Pantone 17-1663 TPX RGB: 214, 57, 75 CMYK: 0, 73, 65, 16

Pantone: 19-3928 TPX RGB: 72, 84, 112 CMYK: 36, 25, 0, 56

96


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

แนวความคิดด้านองค์ประกอบ

พื้นถิ่นและชุมชน

คุณค่าแห่งท้องถิ่น การสร้างธุรกิจชุมชน แนวใหม่ ความหลากหลายที่ สมดุล พื้นที่และสังคม เสมือนจริง

การรวมกลุ่ม พื้นที่สร้างโอกาส

97


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ภาพรวม ในปัจจุบันเรามีชุมชนทั้งแบบเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ และแบบพื้นที่จริง คือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ในไม่ช้าโลกอาจไม่สามารถใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในการ แบ่งแยกชุมชน แต่จะถูกแทนที่ด้วยการแบ่งตามกลุ่มคนที่ มีความสนใจตรงกัน

ซึ่งจะเห็นว่า แม้เทคโนโลยีจะรุดหน้าเพียงใด ประสบการณ์ ในพื้นที่จริงยังคงเป็นสิ่งสำ�คัญ ส่วนพื้นที่เสมือนจริงเป็นเพียง จุดนัดพบ ซึ่งช่วยนำ�ไปสู่การรวมตัวคนที่มีความสนใจคล้าย กันและทำ�กิจกรรมสร้างสรรค์เฉพาะกลุ่ม

คนในท้องถิ่นหรือชุมชนแบบเก่าจะต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง โดยนำ�ความรู้ความชำ�นาญที่สืบทอดกันมาช่วยเพิ่มคุณค่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการ แต่นำ�เสนอในรูปแบบใหม่ทท่ี นั สมัยขึน้ ทั้งยังควรดึงคนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างพลังให้กับ ชุมชน แม้กระทัง่ แบรนด์ใหญ่ๆ ก็จำ�เป็นต้องนึกถึงสังคมอย่าง แท้จริงมากขึ้นเพื่อสร้างความผูกพันที่ลึกซึ้งและปฏิสัมพันธ์ ในระยะยาวกว่ากิจกรรมแบบ CSR ทั่วไป

98


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ภาพรวม ต้นกำ�เนิด อัตลักษณ์ ลักษณะเฉพาะตัว

99


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ภาพรวม จำ�นวน ความหลากหลาย การจัดเรียงวัตถุอย่างไม่มีรูปแบบ

100


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ภาพรวม การเชื่อมโยง การรวบรวม เส้นเชื่อมต่อ และจุดรวมสายตา

101


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ภาพรวม การเปลี่ยนแปลง เดินทาง อพยพ ย้ายถิ่นฐาน

102


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

การท่องเที่ยว

ผลกระทบจากการพยายาม สร้ า งความเหมื อ นในระบบ โลกยุค ใหม่ ยิ่ง กระตุ้น ให้ นักเดินทางโดยเฉพาะคนใน Gen Y ที่เกิดในช่วงปี 1980 2000 ต้องการประสบการณ์ การเดินทางแบบเต็มที่ โดย พยายามค้นหาจุดเริ่มต้นของ สิ่งที่ตนสนใจ ทักษะความรู้ เฉพาะด้าน และลักษณะการ ใช้ ชี วิ ต ที่ ส ะท้ อ นความเป็ น จริงในทุกมิติ

การวิจัยของ PGAV Destination ในปี 2011 พบว่า นักแบกเป้ ยุคใหม่กว่า 78% ต้องการทีจ่ ะเรียนรูจ้ ากการเดินทางและ 70% คาดหวังความพึงพอใจและการฝึกประสบการณ์อย่างเต็มที่ ด้ ว ยเหตุ นี้ ทำ�ให้ รู ป แบบการท่ อ งเที่ ย วเปลี่ ย นไปโดยนั ก เดินทางหลีกเลี่ยงการใช้บริษัททัวร์ในแบบเดิม แต่หันมาเดิน ทางด้วยตัวเอง เพื่อสัมผัสประสบการณ์ วัฒนธรรม และผู้คน เพื่อสร้างความหมายในการเดินทางอย่างแท้จริง

สถิติผู้ใช้บริการเว็บไซต์ couchsurfing.org เครือข่ายแบบอาสาสมัครทั่วโลกที่เชื่อมโยงนักเดินทางกับสมาชิกใน ชุมชนผู้ยินดีให้ที่นอนในบ้านของตนพร้อมคำ�แนะนำ�เกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบฟรีๆ เพิ่มขึ้นกว่า 2-3 ปีที่แล้วกว่า 2.7 ล้านคนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก และระดับความพึงพอใจมากถึง 99%

103


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

การท่องเที่ยว

องค์กร WWOOFing (Worldwide Opportunities on Organic Farms) เสนอรูปแบบใหม่ของ การท่องเที่ยว ที่เปิดโอกาสให้นักเดินทางร่วมใช้ชีวิตและทำ�งานในฟาร์มออร์แกนิคทั่วโลกเพื่อแลก กับอาหารและห้องพัก

104


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

การท่องเที่ยว

หากต้องการมุมมองของการท่องเที่ยวในแบบฉบับคนที่อาศัยอยู่ในลอนดอนจริงๆ Unseen Tours เครือข่ายอาสาสมัครที่ร่วมมือกับคนไร้บ้านในลอนดอน จะพานักท่องเที่ยวสำ�รวจทุก ซอกมุมของเมืองผ่านมุมมองของคนเร่ร่อน พร้อมสร้างจิตสำ�นึกที่ดีต่อสังคม

105


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

การท่องเที่ยว ขณะเดียวกันคำ�ว่า พื้นถิ่นและชุมชน ก็ไม่ใช่เพียงแหล่ง ต้อนรับนักเดินทางขาจร แต่เป็นการพัฒนาท้องถิ่นให้คนรุ่น ใหม่กลับมา คนเก่าได้รับประโยชน์ รวมถึงสร้างความรู้สึก ร่วมในมิติใหม่สำ�หรับถิ่นที่อยู่อาศัย

ชุมชน Here We Are (HWA) องค์กรเพื่อสังคมในชนบทที่เมือง Cairndow บนชายฝั่งตะวันตกของสก็อตแลนด์ จากเมืองที่ประสบปัญหาความเสื่อม โทรมของการทำ�ประมง การทำ�ไร่ อุตสาหกรรมป่าไม้ และการเพิ่มขึ้นของ บ้านพักตากอากาศ ทำ�ให้เกิดการระดมความคิดเพื่อปรับเปลี่ยนชุมชนเสีย ใหม่ ตั้งแต่สร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคม จัดสรรกิจกรรมที่ดึงดูดให้ คนหันมาท่องเทีย่ วเพือ่ สร้างงานให้กบั คนรุน่ เก่า ขณะเดียวกันก็ดงึ คนรุน่ ใหม่ ให้กลับมาพัฒนาท้องถิ่นแทนการอพยพเข้าสู่เมืองใหญ่ ช่วยสร้างมาตรฐาน และคุณค่าของชาวเมืองมากกว่าที่เคยเป็น

106


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์

ในตลาดโลก สิ่ง ที่ม าจาก ท้องถิ่นดูเหมือนจะมาพร้อม กับคำ�สัญ ญาที่ว่า เล็กแต่ สวยงาม ซึ่งช่วยสร้างความ รู้สึกใกล้ชิด สัมผัสได้ เชื่อ มั่ น ไว้ ว างใจในผลิ ต ภั ณ ฑ์ มากกว่ า สิ่ ง ของที่ ผ ลิ ต จาก องค์กรขนาดใหญ่ ทัง้ ยังช่วย ให้ ผู้ บ ริ โ ภครู้ สึ ก ถึ ง คุ ณ ค่ า และเอกลั ก ษณ์ จ ากแต่ ล ะ ท้องถิ่น

ผู้ผลิตในท้องถิ่น “Think Global Act Local” หากต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือสร้างธุรกิจที่จะขายได้ทั่วโลก และต่อต้านระบบอุตสาหกรรม ทีผ่ ลิตแบบเบ้าหลอมในยุคโลกาภิวฒั น์ เราต้องหาจุดเด่นของ ท้องถิน่ มาคิดต่ออย่างรอบด้าน โดยไม่ใช่แค่เพียงการนำ�เสนอ เอกลักษณ์แบบเก่า แต่เป็นการดึงศักยภาพของท้องถิน่ ออกมา ในทุกด้าน ตั้งแต่วัสดุ เทคนิควิธี การออกแบบที่ร่วมสมัย รวมถึงวิธีการจัดจำ�หน่าย

The People’s Supermarket ก่อตัง้ ขึน้ โดยทีมงานผูค้ รํา่ หวอดในการทำ�งาน เพื่อสังคม เน้นขายผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อชุมชนโดยรอบเป็นหลัก โดยมี สมาชิกของซูเปอร์มาร์เก็ตเองเป็นเจ้าของและร่วมดำ�เนินกิจการคล้าย ระบบสหกรณ์เพื่อที่จะขายสินค้า “ราคาที่ถูกกว่า” ให้แก่สมาชิก และสร้าง ความแตกต่าง มีการกำ�หนดแนวทางการบริหารใหม่ โดยดึงคนในชุมชน เข้ามาร่วมเป็นเจ้าของ และสร้างเครือข่ายจัดหาสินค้าท้องถิ่นคุณภาพดี นอกจากนี้ยังให้ความสำ�คัญกับการสร้างแบรนด์ ปัจจุบัน The People’s Supermarket มีภาพลักษณ์ของแบรนด์ทท่ี นั สมัย ใช้ดไี ซน์ทด่ี เี ป็นตัวสือ่ สาร แนวคิด ทำ�ให้สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้มากกว่าองค์กรไม่ แสวงหาผลกำ�ไรทัว่ ไป ถือเป็นอีกหนึง่ ธุรกิจทางเลือกใหม่ทน่ี า่ ติดตามผลลัพธ์ ในระยะยาว

107


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ ต้นกำ�เนิดหรือแหล่งผลิตกลายเป็นจุดขายสำ�คัญ ธุรกิจขนาด เล็กจึงเพิม่ จำ�นวนขึน้ อย่างรวดเร็ว โดยเป็นธุรกิจทีท่ ำ�ในท้องถิน่ ใช้แรงงานรวมถึงวัสดุประจำ�ท้องถิ่น และผู้บริโภคคือคนใน ท้องถิ่นหรือผู้ที่มีความสนใจเฉพาะ

Unto This Last ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในลอนดอนซึ่งทำ�การผลิตด้วยมือใน โรงงานท้องถิ่น แต่ขายราคาที่ใกล้เคียงกับเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปที่ผลิตแบบ จำ�นวนมากในระบบอุตสาหกรรม หลักการของบริษัทคือ ใช้นวัตกรรม ซอฟต์แวร์ทช่ี ว่ ยให้ไม่ตอ้ งพึง่ กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เฟอร์นเิ จอร์ ทุ ก ชิ้ น จึ ง สามารถผลิ ต ขึ้ น ในโรงงานขนาดเล็ ก ด้ า นหลั ง ร้ า นและขาย เฉพาะที่ร้านในกรุงลอนดอนเท่านั้น

108


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์

Raleigh Denim แบรนด์แฟชั่นจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ใช้ผู้ เชี่ยวชาญท้องถิ่นในการสร้างแบรนด์ เมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมารัฐนี้เคยมีโรง ทอผ้าเดนิมหลายร้อยโรงงาน จึงยังมีผู้สูงอายุที่เคยทำ�งานตัดเย็บและซ่อม เครือ่ งจักรทีโ่ รงงานเหล่านัน้ บริษทั นีม้ กี ลุม่ ลูกค้าเฉพาะซึง่ ชอบซือ้ กางเกงยีนส์ ทีท่ ำ�ในท้องถิน่ ซึง่ แสดงให้เห็นว่าเรือ่ งราวรวมถึงทีม่ าเกีย่ วกับท้องถิน่ นัน้ เป็น สิ่งสำ�คัญมาก

109


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ การจัดวางสิ่งของแบบง่ายๆ มองเห็นได้อย่างชัดเจนแสดงถึง ความมีเอกลักษณ์และกลายเป็นเครื่องหมายสินค้าที่มีเสน่ห์

Folklore โดย Danielle Reid และ Rob ร้านค้าอิสระในกรุงลอนดอน ขายของตกแต่งบ้าน โคมไฟ งานศิลปะ หรือของใช้ในชีวิตประจำ�วันที่ทำ�ด้วยความประณีต เปี่ยมคุณภาพ และทนทาน โดยคำ�นึงระยะเวลาการใช้งานที่ ยาวนาน ของทำ�มือบางชิ้นเป็นของเก่าหรือทำ�จากวัสดุใช้แล้ว ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการตกแต่งร้านที่เน้น โชว์ความเรียบง่ายของผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกับมุมมองที่ทันสมัย

110


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์

ผู้ บ ริ โ ภคสมั ย นี้ เ ป็ น คนช่ า ง เลือก ชอบแสดงความคิดเห็น และมองหาสิง่ ที่มคี วามหมาย ในชีวติ มากขึน้ ยินดีนำ�ความรู้ และประสบการณ์ ที่ เ ป็ น ประโยชน์คนื ให้กบั สาธารณะ รวมถึ ง ช่ ว ยชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น ของตน ดังนั้น แบรนด์ที่มี นโยบายตอบแทนสังคมจึง สามารถสร้างความสัมพันธ์ อันดีกับผู้บริโภคในกลุ่มนี้ได้ เป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้น หาก แบรนด์สร้างกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์กับท้องถิ่นและยึด ชุมชนเป็นหลักก็จะสามารถ ส ร้ า ง ค ว า ม ผู ก พั น กั บ ผู้ บริโภคจนถึงชุมชนในระดับ ที่ลึกซึ้งได้มากกว่า

กลุ่มผู้ผลิตที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ 5th P หรือ Purpose (วัตถุประสงค์) กลายเป็น P ตัวที่ 5 ของ การตลาด นอกเหนือจาก product, price, place และ promotion การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเช่นนี้ ทำ�ให้แบรนด์ สามารถสร้างกิจกรรมที่แน่นแฟ้นกับผู้บริโภคได้ และทำ�ให้ ผู้บริโภคสนับสนุนแคมเปญของแบรนด์และช่วยแก้ไขปัญหา สังคมไปพร้อมกัน

Pepsi Refresh Everything เป็นโครงการที่พยายามแก้ปัญหาสังคมโดยร่วมกันสร้างวัฒนธรรมของคำ�ว่า “เรา” ให้ เติบโตขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของโลก Pepsi ทุ่มงบประมาณการตลาดทั้งหมดที่เคยใช้เพื่อโฆษณา ระหว่างการแข่งขันอเมริกนั ฟุตบอลซุปเปอร์โบว์ลเปลีย่ นมาสนับสนุนโครงการนี้ โดยให้เงินทุน 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุกเดือนกับความคิดดีๆ ที่ทำ�ให้โลกน่าอยู่ขึ้น โครงการนี้สร้างแรงบันดาลใจให้กับทั้งคนอเมริกันและคนทั่วโลกใน การแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาของสังคม

111


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์

Orange ผู้ให้บริการสื่อคมนาคมของฝรั่งเศสสาขาประเทศอังกฤษ ทำ�งาน ร่ว มกั บ ชุมชนเป็น เวลาสองปีแ ล้ว ภายใต้ก ารอุป ถั ม ภ์ข อง Orange RockCorps โดยทำ�งานร่วมกับบริษัทที่ผลิตสินค้าเพื่อสังคม และเครือข่าย การกุศลทั่วประเทศ

112


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ แคมเปญทีป่ ระสบความสำ�เร็จ ต้องทำ�ให้คนในพืน้ ทีน่ น้ั ๆ เกิด อารมณ์รว่ ม ซึง่ อาจทำ�ได้ดว้ ยการทำ�งานร่วมกับคนในท้องถิน่ จำ�นวนมาก “hyperlocally” ซึ่งเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ ร่วมกันในรูปแบบกิจกรรมหรือการพัฒนาเชิงลึก

แบรนด์นํ้าผลไม้ Tropicana กลายเป็นหุ้นส่วนที่คนในท้องถิ่นไว้วางใจ เมื่อนำ�บอลลูนขนาดความกว้าง 36 ฟุตที่บรรจุก๊าซฮีเลียมและให้แสงขนาด 100,000 ลูเมนไปให้แสงสว่างในตอนเช้าที่เมือง Inuvik ประเทศแคนาดา เมืองนี้อยู่ด้านเหนือของประเทศและไม่เห็นแสงอาทิตย์ในฤดูหนาวเป็น เวลาหลายสัปดาห์ มีพลเมือง 35,000 คน นอกจากนี้บริษัทยังทำ�งานร่วม กับผู้นำ�ท้องถิ่นจัดทำ�โครงการคัดเลือกอาหารเช้าที่มีคุณภาพในชุมชนเพื่อ รับการสนับสนุนทางการเงิน และบริจาคเงินให้โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก และธนาคารอาหาร

113


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์

ขณะที่เสียงเรียกร้องต่อต้าน ก า ร ผ ลิ ต อ า ห า ร แ บ บ อุ ต สาหกรรมดั ง มากขึ้ น พลังความคิดของคนท้องถิน่ ก็ ยิ่ ง ได้ รั บ ความสนใจเพื่ อ ทัดทานระบบฟาร์มเกษตร ขนาดใหญ่ ปัจจุบันมี 3 สิ่ง ที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับอาหาร ในเมืองใหญ่คือ การผลิต การกระจายสินค้า และการ เข้ า ถึ ง อาหารที่ มี คุ ณ ภาพ และปลอดภัย

ฝั่งผู้บริโภคในเมือง วิธีคิดซึ่งสอดคล้องกับชุมชนแบบใหม่เรียกว่า urban island ชาวเมืองเริ่มแสดงความต้องการสินค้าอุปโภคและบริการ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แบบเดียวกับที่มีใน เมืองใหญ่ๆ

ในสหราชอาณาจักร ธุรกิจผักออร์แกนิคบรรจุกล่องซึ่งส่งตรงถึงผู้บริโภค กำ�ลังเป็นที่นิยม และเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์จากปีที่แล้ว ซึ่งแม้จะมีพื้นที่ ฟาร์มออร์แกนิคเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ Abel&Cole เป็นหนึ่งในบริษัทผัก ออร์แกนิคบรรจุกล่องที่ประสบความสำ�เร็จและครองตลาดมานานหลายปี ภายใต้หลักการที่ว่า ออร์แกนิคไม่ใช่เพียงพืชผักที่ปลูกโดยไร้สารเคมี แต่ หมายถึงทุกกระบวนการที่ลงมือทำ�ด้วยความรับผิดชอบและให้ผลที่ยั่งยืน ปัจจุบันมีผักและผลไม้สดบรรจุกล่องที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ราคาไม่สูงโดยเริ่มต้นเพียง 9 ปอนด์ทำ�ให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

114


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์

การรับประทานอาหารอย่างช้าๆ ทีร่ า้ นอาหารในเดนมาร์ก Noma ซึง่ อาหาร แต่ละเมนูนน้ั ใช้เครือ่ งปรุงสดๆ ทีห่ าได้จากท้องถิน่ กำ�ลังได้รบั ความนิยมมาก และถูกจัดอันดับให้เป็นร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลกเมื่อปีที่แล้วของนิตยสาร Restaurant

115


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

เทคโนโลยี

จากความสำ�เร็จอย่างท่วมท้น ของเว็บไซต์สอ่ื ออนไลน์ไม่วา่ จะเป็น Facebook, Linkedin และ Twitter ตอกยํ้าให้เห็น ว่า กำ�ลังเกิดชุมชนแบบใหม่ บนโลกอินเทอร์เน็ตทีถ่ กู แบ่ง ตามความชอบหรือหลงใหล ในสิ่งเดียวกันของผู้บริโภค โดยสมาชิ ก มี พื้ น ที่ ส่ ว นตั ว เพื่อแสดงออกถึงตัวตนและ ความสนใจของตนเอง ใน ขณะเดียวกันก็ยังสามารถ เชื่อมโยงกับสมาชิกคนอื่นๆ ที่ มี ค วามสนใจร่ ว มกั น ได้ อย่างง่ายดาย ซึ่งเราอาจไม่ ส า ม า ร ถ ส ร้ า ง สั ง ค ม ใ น ลักษณะนี้จากคนที่อาศัยอยู่ ในละแวกเดียวกัน

จริง-เสมือนจริง อินเทอร์เน็ตช่วยสร้างคำ�จำ�กัดความและความหมายของ วัฒนธรรมย่อย ความสนใจเฉพาะด้านและความชื่นชอบสิ่ง ใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษร่วมกันคือจุดเชื่อมโยงที่เปลี่ยนวิธีการ พบปะในพื้นที่จริงสู่โลกออนไลน์

จากการรวมกลุ่มอย่างเงียบๆ ของกลุ่มคนที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ชมรม หนังสือบางกลุ่มได้ขยายไปปักหลักในเว็บไซต์ รวมถึง Oprah’s Book Club 2.0 เจ้าแม่รายการโชว์ที่โด่งดังผู้นี้เปิดชมรมหนังสือที่สมาชิกสามารถ พูดคุยกันได้ออนไลน์ เข้าถึงข้อมูลที่เฉพาะมากขึ้น และมีโอกาสวิพากษ์ วิจารณ์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือได้อย่างเสรี

116


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

เทคโนโลยี ชุมชนออนไลน์เป็นเสมือนการสร้างพืน้ ทีส่ ำ�หรับ “ชนเผ่าใหม่” (new tribe) เพื่อเชื่อมสังคม อาชีพ และชีวิตส่วนตัวเข้าไว้ ด้วยกัน ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นสื่อสำ�คัญ แต่ก็เป็นเพียง ต้นทางเพื่อรวมตัวผู้มีสนใจคล้ายกันสำ�หรับการพบปะ เพราะ คนยุคนี้ยิ่งต้องการสัมผัสกับประสบการณ์จริง ร่วมกิจกรรม ในพื้นที่จริง และการลงมือทำ�สิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองมากยิ่งขึ้น

Bricolage London นักออกแบบสิ่งทอ 5 คนรวมตัวกันเพื่อจัดเวิร์คช็อป ร่วมกับชุมชน โดยผู้เข้าร่วมจะได้แบ่งปันความคิด ความชำ�นาญ และเรื่อง ราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับผ้า สิ่งทอ และการทำ�งานฝีมือ

117


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

เทคโนโลยี

Big Trees Project คือกลุ่มคนกรุงเทพฯ ที่รวมตัวกันเพื่อสร้างพลังกลุ่มคนรักษ์ต้นไม้ และ ต่อต้านการตัดต้นไม้ทั่วประเทศ โดยใช้ Facebook เพื่อสร้างเครือข่ายและช่องทางการ สื่อสาร เริ่มต้นจากจำ�นวนคนเพียงไม่กี่สิบคน ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 3,000 คน ภายในไม่ กี่วัน หลังแพร่กระจายไปในโลกแห่งสังคมออนไลน์

118


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

เทคโนโลยี

นักออกแบบควรคิดทบทวน ถึ ง ความเปลี่ ย นแปลงทาง เศรษฐกิ จ และสั ง คมที่ มี ผ ล ต่อทัศนคติผู้บริโภค ด้าน หนึ่ ง ค ว ามก้ า วห น้ า ทา ง เทคโนโลยีทำ�ให้คนต้องการ ผลิตภัณฑ์ที่มีตัวตนน้อยลง เพื่ อ ให้ ส ามารถเข้ า ถึ ง ได้ ทุ ก เวลาและลดภาระเรื่ อ ง พื้นที่แ ละค่าใช้จ่าย แต่อีก ด้า นหนึ่งพื้นที่ที่อยู่ กลาย เป็นการแสดงถึงตัวจริง ที่ยนื ในสังคม รวมถึงการสะท้อน ถึงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ

พื้นที่-ไม่มีพื้นที่ นักข่าวพลเมือง บล็อก รวมถึงเว็ปไซต์ที่ไม่ใช่สื่อกระแสหลัก เน้นเรือ่ งราวเฉพาะด้าน กลุม่ ผูบ้ ริโภคเพียงบางกลุม่ หรือเป็น การให้ความรู้สำ�หรับคนในท้องถิ่น ซึ่งให้ความรู้สึกถึงการ แนะนำ�อย่างเป็นส่วนตัว (P2P)

บล็อกภาพวงดนตรีของ Chris Owyoung ช่างภาพอิสระจากนิวยอร์ก ต่างจากบล็อกอืน่ ๆ ตรงที่ไม่ได้พดู ถึงเทคนิคการถ่ายภาพ แต่เน้นประสบการณ์ ในการมองเห็นและการเล่าเรือ่ งด้วยภาพ และผูต้ ดิ ตามบล็อกก็ให้ความสำ�คัญ กับมุมมองของเจ้าของบล็อกเผยให้เห็น มากกว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นจากสื่อ กระแสหลัก

119


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

เทคโนโลยี ผู้บริโภคต้องการใช้สิทธิ์ในการใช้งานมากกว่าความเป็น เจ้าของ การเข้าถึงได้ในทุกทีผ่ า่ นระบบออนไลน์หรือการมีสทิ ธิ์ ใช้งานโดยไม่ต้องเป็นเจ้าของ (access-only) จะสร้างความ พอใจได้มากกว่าเมื่อผู้บริโภคมีรายได้น้อยลง

Freecycle Network™ ในปัจจุบันมีกลุ่มคนต่างๆ จากทั่วโลก 5,071 กลุ่ม เป็นสมาชิกคิดเป็นจำ�นวนคนทั้งหมด 9,139,104 คน และกำ�ลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เครือข่ายนี้เป็นการร่วมมือกันโดยคนทั่วไปแบบไม่หวังผลกำ�ไรและสื่อสาร กันทางอีเมล โดยให้สง่ิ ของทีเ่ ราไม่ตอ้ งการใช้แล้วแก่คนอืน่ ทีอ่ ยูใ่ นเมืองเดียวกันฟรีๆ และขณะเดียวกันเราก็สามารถ รับของที่คนอื่นไม่ใช้แล้วกลับมาใช้ต่อได้ เป็นความพยายามที่จะให้สมาชิกนำ�สิ่งของที่ยังใช้งานได้ดีกลับมาใช้ใหม่ โดยส่งต่อให้ผู้อื่นที่ต้องการ เพื่อจะได้ไม่ต้องนำ�ไปทิ้งเป็นขยะ

120


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

เทคโนโลยี Location Based Service (LBS) และคำ�ว่า “check-in” เพื่อ แจ้งพิกัดและสถานที่อยู่ กลายเป็นธุรกิจจากการใช้พื้นที่จริง ผนวกกับเทคโนโลยีแบบเครือข่าย

Location Base Service (LBS) อย่าง FourSquare และ Gowalla มีตัวเลข ผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจากการ check-in โรงแรมและร้านอาหาร เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตแบบ backend ช่วยให้นกั การตลาดสามารถเข้าถึง IP address ซึ่งบอกว่าผู้ใช้อยู่ที่ไหน (แบบคร่าวๆ) ทำ�ให้สามารถสร้างโอกาสหรือส่วน แบ่งทางการตลาดได้ อาทิ การ tag ภาพด้วยข้อมูล GPS ระบุตำ�แหน่ง สถานที่สามารถช่วยประชาสัมพันธ์ธุรกิจของตนได้ดีขึ้น การทำ�โปรโมชั่น พิเศษให้ลูกค้าที่ยินดีจะแชร์ข้อมูลสู่ social network เพื่อเป็นการช่วย ประชาสัมพันธ์สนิ ค้าและบริการต่อ หรือการให้สว่ นลดผูใ้ ช้โปรแกรมทีอ่ ยูใ่ น วัน เวลา สถานที่ที่กำ�หนด

121


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

เทคโนโลยี พื้นที่ส่วนตัว-พื้นที่สาธารณะ แม้การรวมกลุ่มจะสร้างความอุ่นใจ สร้างการมีส่วนร่วม หรือ แบ่งปันความคิดเห็นกับผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนรวม ที่มีความเป็นส่วนตัวก็เป็นความต้องการที่ลืมไม่ได้ เพราะ แสดงถึงการจัดแบ่งพื้นที่ และการใช้งานอย่างเหมาะสม

Rewrite desk โดย Gam Fratesi โต๊ะที่มีโครงห่อหุ้มคล้ายถํ้า สร้างสภาพ แวดล้อมการทำ�งานที่เป็นส่วนตัว ทำ�จากวัสดุดูดซับเสียง ป้องกันแสงและ เสียงจากภายนอก ใช้วัสดุจากธรรมชาติทำ�ให้รู้สึกนุ่มนวลและปลอดภัย เพิม่ การมีสมาธิ เป็นการปลีกตัวมาใช้เวลาอยูใ่ นพืน้ ทีส่ ว่ นตัวแต่ยงั สามารถ เชื่อมกับโลกภายนอกได้

122


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

เทคโนโลยี

Confession table โดย Nick Ross โต๊ะทำ�จากท่อเหล็กและผิวโต๊ะทำ�จาก ไม้โอ๊คที่สามารถดูดซับเสียงได้ดี มีแนวคิดจากการสร้างสภาพแวดล้อม ขนาดเล็กโดยใช้พน้ื ที่สว่ นกลางขนาดใหญ่ซง่ึ สามารถผสมผสานกับความเป็น ส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพ แทนการสร้างผนังกั้นที่มีต้นทุนสูง แก้ปัญหา ความเป็นส่วนตัวและเพิม่ ความเงียบสงบ ช่วยให้เกิดพืน้ ทีส่ ำ�หรับการประชุม การคุยเรื่องส่วนตัว หรือแม้แต่การอ่านหนังสือ

123


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

พื้นที่และการใช้ชีวิต

อิทธิพลทางด้านวัฒนธรรม ทักษะ ช่างฝีมือ กลายเป็น การส่งต่อทางภูมิปัญญาชั้น เยี่ยม นอกจากนี้ยังเป็นการ สร้างมุมมองใหม่ต่อประเทศ ต่างๆ อย่างประเทศที่เคยปิด (BRICS) อาทิ บราซิล จีน รัสเซีย อินเดีย โดยจีนกลาย เป็ น ประเทศตลาดศิ ล ปะ อั น ดับหนึ่ง นำ�หน้า สหรั ฐ อเมริกาไปแล้วในปี 2010 มี ศิลปิน 4 คนติดอยู่ใน 10 อันดับศิลปินโลก ขณะเดียว กันงาน India Art Summit ที่อินเดียในปี 2011 ก็ดึงดูด ผู้ช มได้ก ว่า 128,000 คน ศิลปะเหล่านี้ได้สะท้อนการ สร้างสรรค์ความงาม ความ หลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้ ง ยั ง เป็ น การสร้ า งความ เข้าใจและเคารพความต่าง ของวัฒนธรรม

ของทีร่ ะลึกระหว่างการเดินทางท่องเทีย่ ว ช่วยให้เราหวนระลึก ถึงผู้คนและความมีชีวิตชีวาอันเป็นเอกลักษณ์ของสถานที่ นั้นๆ

124


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

พื้นที่และการใช้ชีวิต การตกแต่งบ้านให้อารมณ์แบบโบฮีเมียน แต่ไปไกลกว่างาน หัตถกรรมทั่วไป โดยเน้นทักษะเชิงช่างที่โดดเด่น มีคุณภาพ เป็นสไตล์มากกว่าแค่การประดับตกแต่ง หรือหากเป็นนัก ออกแบบหน้าใหม่อาจเป็นการร่วมทำ�งานกับคนท้องถิ่น

125


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

แฟชั่นและความงาม

เมือ่ วิทยาการต่างๆ ทำ�ให้ทกุ สิ่งเป็นเรื่องง่าย รวมไปถึง การย้ายถิ่นฐาน ลอนดอน ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพหุสังคม ซึ่ ง เป็ น จุ ด หมายปลายทาง ของผู้ค นจากทั่ว โลก ส่ว น นิวยอร์กเป็นเมืองแห่งความ หวั ง สำ�หรั บ นั ก แสวงหา โอกาสรุ่นใหม่ ความหลาก หลายที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เพียง การกลมกลืนความเหมือน หากแต่เป็นการสร้างความ สมบูรณ์ด้วยจุดเด่นและขั้ว ที่แตกต่างกัน

ปรัชญาการไม่แบ่งแยกชนชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ช่วยสร้าง สังคมของการอยูร่ ว่ มกัน การเปิดใจยอมรับและเข้าใจว่าความ สมบูรณ์จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนไม่ได้ถ้าจะอยู่เพียงลำ�พัง

เครื่องสำ�อาง Estée Lauder จับกลุ่มนางแบบที่สวย แตกต่างกันอย่าง Joan Smalls, Constance Jablonski และ Liu Wen มาถ่ายรูปรวมโดย Craig McDean ส่วน Nars ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ชื่อ The Immaculate Complexion ที่ช่วยขับเน้นคุณลักษณะเด่นของทุก สภาพผิว

126


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

แฟชั่นและความงาม เครื่ อ งประดั บ ที่ ไ ด้ รั บ แรงบั น ดาลใจจากหั ต ถกรรมหลาก หลายรูปแบบ ใช้วัสดุมีค่า พิถีพิถันด้วยงานฝีมือแบบช่าง ท้องถิ่น

Suno แบรนด์อิสระจากนิวยอร์ก แบรนด์ Lizzie Fortunato โดยสอง สาวฝาแฝด Elizabeth และ Kathryn Fortunato กลายเป็นสัญลักษณ์ของ เครื่องประดับชิ้นพิเศษซึ่งคัดเลือก วั ส ดุ ชั้ น ดี ที่ มี ลั ก ษณะพิ เ ศษจาก ทั่ ว โลกพร้ อ มวิ ธี ก ารออกแบบที่ ลงตัว และที่สำ�คัญคือใช้กระบวนการ ผลิตแบบช่างฝีมือ บางฤดูกาลยัง ทำ�งานร่วมกับ Suno แบรนด์อิสระ จากนิวยอร์กซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องผ้า และงานหัตถกรรมโดยคนพื้นเมือง แอฟริกา

127


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

แฟชั่นและความงาม เน้นความรู้สึกและบรรยากาศของการผจญภัย เสื้อผ้าแบบ ลำ�ลอง แจ็กเก็ตซาฟารี กางเกงที่มีกระเป๋าหลายช่อง

128


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 5983-01

เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติสำ�หรับ การสร้างหุ่นจำ�ลองที่ให้สีเหมือนจริง และมีความละเอียดสูง เป็นระบบการ พิมพ์สี 24 bit และให้แสงเงาที่ละเอียด คมชัดซึ่งทำ�ให้สามารถสร้างหุ่นจำ�ลอง ที่ให้สีขององค์ประกอบต่างๆ ได้เหมือน จริง เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถพิมพ์ งานด้ว ยความเร็ ว ที่ส ู ง มาก (เร็ ว กว่า กระบวนการสร้ า งผิ ว งานพิ ม พ์ ซ้ อ น กันแบบมาตรฐาน) เหมาะสำ�หรับใช้ใน งานสถาปัตยกรรม อุตสาหกรรมยานยนต์ เภสัชกรรม บรรจุภณั ฑ์ และเครือ่ งประดับ

MC# 6221-01

แผ่นหินแกะสลักลวดลายสำ�หรับงาน กรุผิวอาคาร แผ่นวัสดุนี้ผลิตด้วยเครื่อง CNC เป็นลวดลายต่างๆ แผ่นวัสดุเหล่า นี้มีคุณสมบัติทางเทคนิคเทียบเท่ากับ หินธรรมชาติ และสามารถนำ�ไปปูโดย ใช้ ก าวสำ�หรั บ วั ส ดุ ปู พื้ น หรื อ ใช้ ร ะบบ โครงแขวนสำ�หรับทำ�ผนังถ่ายเทอากาศ วัสดุกรุผิวอาคารนี้เหมาะสำ�หรับใช้ทั้ง ในพื้นที่เปียกและแห้ง

Bangkok

MC# 6779-01

แผงวัสดุกำ�เนิดไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ รีไซเคิลได้ 100% ประกอบด้วยวัสดุที่ทำ� ปฏิกิริยากับแสงซึ่งผลิตจากโพลิเมอร์ นำ�ไฟฟ้าและวัสดุอินทรีย์ท่ผี ่านกระบวน การทางวิศวกรรมระดับนาโน สามารถนำ� ไปพิ ม พ์ ห รื อ นำ�ไปเคลื อ บลงบนแผ่ น พลาสติกอ่อนตัวได้ โดยใช้กระบวนการ ผลิตที่ประหยัดและใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพซึ่งได้จดสิทธิบัตรไว้แล้ว วัสดุนี้มีความทนทาน แผ่นบาง อ่อนตัว กันนํา้ และง่ายต่อการใช้งาน เนือ้ ทึบแสง และโปร่งแสง เหมาะสำ�หรับใช้ทำ�เครือ่ ง ชาร์จแบตเตอรีแ่ บบพกพา อุปกรณ์ใช้งาน กลางแจ้ง เช่น เต็นท์และเป้สะพายหลัง เครื่องผลิตไฟฟ้า หรือปูหลังคาโรงรถ

MC# 2687-12

วัสดุปูผนังผลิตด้วยมือจากผ้าทอเส้นใย กัญชงกับกระดาษ Lokta เปลือกต้น Lokta จะถูกนำ�มาผลิตเป็นกระดาษแข็ง หยาบด้ ว ยแรงงานช่ า งฝี มื อ ท้ อ งถิ่ น จากนั้นจะถูกส่งไปยังเมืองกาฏมัณฑุ เพื่ อ ย่ อ ยกลั บ ไปเป็ น เส้ น ใยแล้ ว ผลิ ต เป็นกระดาษบาง ย้อมสีก่อนที่จะนำ�ไป ตัดและถักเป็นเส้นด้ายกระดาษ จากนัน้ นำ�ไปทอสลั บ กั บ เส้ น ด้ า ยปั่ น มื อ จาก ใยกัญชงที่ทาสีตกแต่งด้วยมือ เหมาะ สำ�หรับปูผนังภายในอาคารที่พักอาศัย และอาคารเชิงพาณิชย์

129


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 6755-01

ผ้าฝ้าย 100% ผ้าทอนี้มีลวดลายเรขา คณิตที่ซับซ้อนซึ่งเกิดจากการวางโครง สร้างลายในกี่ทอ ผ้านี้ผ่านการทดสอบ ความต้านทานการขัดถูได้ 10,000 รอบ ตามมาตรฐาน ASTM D4966 เหมาะ สำ�หรับทำ�ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ในอาคารพัก อาศัยและของตกแต่งบ้าน

MC# 6013-01

สีครามสำ�หรับย้อมผ้าที่มีส่วนผสมจาก ธรรมชาติลว้ นๆ กระบวนการย้อมนีเ้ ป็น เทคนิ ค โบราณซึ่ ง ใช้ เ พี ย งใบจากต้ น คราม นํ้าขี้เถ้าไม้ หินปูน และรำ�ข้าว สาลี ส่วนขยะที่เกิดจากกระบวนการนี้ จะถู ก รี ไ ซเคิ ล ไปผลิ ต เป็ น ปุ๋ ย ทั้ ง หมด สามารถสร้ า งลวดลายโดยอาศั ย การย้อมแบบรีซิสต์ เหมาะสำ�หรับงาน แฟชั่น (อุ ป กรณ์ป ระกอบและเครื่อ ง แต่งกาย) และตกแต่งภายใน (ผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์และเครื่องนอน)

Bangkok

MC# 3495-14

ผ้ า สำ�หรั บ งานตกแต่ ง ที่ มี ล วดลาย คล้ า ยการพั บ กระดาษของญี่ ปุ่ น หรื อ โอริงามิ ผลิตจาก Trevira CS 100% ซึ่ง เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติหน่วงไฟอยู่ในตัว เหมาะสำ�หรั บ ใช้ ทำ�ม่ า นตกแต่ ง ภาย ในอาคาร บุผนังและใช้ในโครงการรับ เหมาตกแต่ง

MC# 4670-01

แผ่นดูดซับเสียงทำ�จากไม้ตระกูล Aspen 100% ที่ผ่านนํ้าที่แรงดันสูง ทำ�ให้ผิว เป็นปุยฟูสามารถดูดซับเสียงได้ดี ที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะแรงดันนํ้ากัดเซาะเอาเนื้อ ไม้ออกไป คงเหลือไว้แต่เสี้ยนที่ดูคล้าย เส้นใยผ้า หลังจากผ่านนํ้าแล้วไม้จะถูก ทำ�สี แ ละเคลื อ บผิ ว ด้ ว ยสารทนไฟ ปัจจุบันนิยมใช้วัสดุนี้กรุผนังตู้โทรศัพท์ สำ�หรับการพูดโทรศัพท์มือถือ

130


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 0071-10

หนังม้าเจาะรูและตัดด้วยเลเซอร์ เป็น กระบวนการผลิ ต แผ่ น หนั ง ที ล ะแผ่ น โดยใช้เทคนิคการยิงเลเซอร์เพื่อเผาขน บางส่ ว นออกให้ เ ป็ น ลวดลายรู ป สั ต ว์ และดอกไม้ต่างๆ หนังนี้ผ่านการย้อมสี และเคลื อ บผิ ว ด้ ว ยสารเคลื อ บที่ มี นํ้ า เป็ น องค์ ป ระกอบแทนการใช้ ส าร ปิโตรเลียม มีคุณสมบัติไม่ติดไฟจาก บุหรี่ตามมาตรฐาน NFTA 260 ของ สมาพั น ธ์ ป้ อ งกั น อั ค คี ภั ย แห่ ง ชาติ เหมาะสำ�หรับบุเฟอร์นิเจอร์และปูผนัง

Bangkok

MC# 5056-06

เสื่ อ สานจากเส้ น ใยธรรมชาติ กั บ เส้ น ลวดโลหะบาง ผลิตจากเส้นใยกระดาษ บิดเกลียว 33% ฝ้าย 8% และเส้นลวด เหล็กกล้าที่ดึงขึ้นแบบเย็น 59% นำ�มา ทอรวมกั น และรองด้ า นหลั ง ด้ ว ยผ้ า กระสอบเพื่อให้เป็นเสื่อที่มีความคงทน เส้ น ลวดเหล็ ก กล้ า ทำ�ให้ โ ครงสร้ า งมี ลักษณะกึ่งแข็งซึ่งทำ�ให้แผ่นวัสดุรักษา รูปทรงได้ระดับหนึ่ง สามารถนำ�ไปผ่าน การปรับสภาพเพื่อให้ทนทานต่อรอย เปื้อน กันไฟ และทนต่อการซีดจางได้ เหมาะสำ�หรับใช้เป็นพรมปูพื้นในที่พัก อาศัยและพื้นที่เชิงพาณิชย์ 131


TREND 3

สังคมแห่งความเป็นหนึ่ง (Community of Unity)

วัตถุดิบทางความคิด โดย TCDC Resource Center

Net, blogs and rock ‘n’ roll: how digital discovery works and what it means for consumers, creators and culture David Jennings ML 3790 J542 2007

Interiors: collaboration + technology Lisa Findley NA 2850 I611 2009

Nutzlich, suss und museal: das fotografierte Tier Ute Eskildsen, Christel Liesenfeld-Steinberg TR 727 N988 2005

High Line: the inside story of New York City’s park in the sky

Bohemian modern: living in Silver Lake

Geo logics: geography, information, architecture Vicente Guallart NA 1313 .G83 G911 2008

Make space: how to set the stage for creative collaboration Scott Doorley&Scott Witthoft NA 2750 D691 2012

Co-experience: understanding user experiences in social interaction Katja Battarbee NK 1471 .F5 B335 2004

The mesh: why the future of business is sharing

Yohji Yamamoto

Joshua David and Robert Hammond F 128.65 .H54 D249 2011

Lisa Gansky HD 9999 .L4362 G199 2010

Barbara Bestor NA 7238 .S58 B561 2006

Ligaya Salazar TT 505 .Y36 Y547 2011

132


สมดุล ในธรรมชาติ

133


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

แนวความคิด สมดุล ในธรรมชาติ

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับ ภัยธรรมชาติที่รุนแรงโดยไม่ทันตั้งตัว ทำ�ให้ธรรมชาติกลาย เป็นตัวแปรลำ�ดับต้นๆ ที่มนุษย์ต้องพิจารณาถึง ทั้งภาวะที่ NATURAL คาดเดาไม่ได้และทรัพยากรธรรมชาติที่ลดจำ�นวนลงเรื่อยๆ HARMONY ความเป็นไปได้ครัง้ ใหม่ คือ การมองหาพลังงานจากทรัพยากร พื้นฐานที่มีอยู่รอบๆ ตัว ซึ่งปัจจุบันยังคงมีการใช้ประโยชน์ไม่ มากนัก ไม่ว่าจะเป็นลม ความร้อน หรือแสงแดด ทะเลทราย จึงกลายเป็นทางเลือกสำ�หรับแหล่งพลังงานยุคใหม่ โดยไม่ใช่ เพียงแหล่งสูบนํ้ามันดิบแต่กลายเป็นการใช้ประโยชน์จาก ความร้อนแห้งแล้งที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือจนเกิดเป็นทรัพยากร ลํ้าค่า นอกจากนั้นยังคำ�นึงถึงการสร้างความคุ้มค่าให้กับ ทรัพยากรที่ใช้แล้วด้วยกรรมวิธีแบบ Upcycling ซึ่งเป็น กระบวนการแปลงขยะหรือพลาสติกเหลือใช้ ให้กลายเป็น วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้งานได้อย่างไม่รู้จบ ทั้งยังเปลี่ยน มุมมอง เติมความคิดสร้างสรรค์ให้สนุก และมีลูกเล่นมาก กว่าที่เคย

ในแง่แรงบันดาลใจสำ�หรับผลิตภัณฑ์ ป่าดงดิบซึ่งเป็นป่า ผืนแรกและจุดเริ่มต้นสำ�หรับมวลมนุษย์สื่อถึงความใกล้ชิด และเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สีสันและรูปทรงขนาดใหญ่ ที่สมมาตรและเหมือนจริงคือความงามในฤดูกาลนี้ รวมถึง ความดิบและเหลี่ยมมุมของหินแร่ที่ไม่ผ่านการเจียระไน กลายเป็นการสร้างมูลค่าและเสน่ห์สำ�หรับผู้บริโภค

134


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

แนวความคิด

135


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

แนวความคิดด้านสี APPLE GREEN

DAIQUIRI GREEN

MACAW GREEN

GREEN SPRUCE

WILLOW BOUGH

FLUORITE GREEN

ANTIQUE GREEN

CANDIED GINGER

YOLK YELLOW

KANGAROO

CHOCOLATE BROWN

STRETCH LIMO

SILVER

Pantone: 15-0543 TPX RGB: 186, 184, 58 CMYK: 0, 1, 69, 27

Pantone: 17-0133 TPX RGB: 99, 142, 78 CMYK: 30, 0, 45, 44

Pantone: 19-0912 TPX RGB: 68, 55, 49 CMYK: 0, 19, 28, 73

Pantone: 12-0435 TPX RGB: 204, 217, 122 CMYK: 6, 0, 44, 15

Pantone: 18-5418 TPX RGB: 43, 105, 99 CMYK: 59, 0, 6, 59

Pantone: 19-4005 TPX RGB: 46, 50, 56 CMYK: 18, 11, 0, 78

Pantone: 16-0230 TPX RGB: 157, 183, 61 CMYK: 14, 0, 67, 28

Pantone: 15-1213 TPX RGB: 188, 166, 134 CMYK: 0, 12, 29, 26

Pantone: 16-5820 TPX RGB: 86, 160, 129 CMYK: 46, 0, 19, 37

Pantone 14-0846 TPX RGB: 227, 176, 75 CMYK: 0, 22, 67, 11

Pantone: 18-0119 TPX RGB: 82, 112, 63 CMYK: 27, 0, 44, 56

Pantone 18-0920 TPX RGB: 113, 96, 71 CMYK: 0, 15, 37, 56

Pantone: 14-5002 TPX RGB: 153, 155, 155 CMYK: 1, 0, 0, 39

136


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

แนวความคิดด้านองค์ประกอบ โดดเด่นด้วยคุณลักษณะ

รูปทรงในธรรมชาติที่ ชัดเจน คุณค่าที่แฝงอยู่ในรอย ตำ�หนิ

หลักการทางนิเวศวิทยา

สร้ า งประโยชน์ จ าก ทรัพยากรพื้นฐาน พั ฒ นารู ป แบบการ นำ�มาใช้ใหม่

137


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ภาพรวม นักคาดการณ์เทรนด์ Oltmans van Niekerk แนะนำ�ว่า ให้เพิ่มจำ�นวนรถในท้องถนนให้มากยิ่งกว่าที่เป็นอยู่ หรือใช้ ทรัพยากรให้หมดเร็วขึ้น เพราะเมื่อถึงทางตัน มนุษย์ก็จะ ต้องดิ้นรนค้นหาวิธีการแก้ปัญหาทรัพยากร ซึ่งนั่นก็คือ การ กลับไปยังจุดเริม่ ต้นโดยดำ�รงชีวติ อย่างเรียบง่ายด้วยทรัพยากร ธรรมชาติพื้นฐานที่อยู่กับโลกมาตั้งแต่ยุคแรก

นักออกแบบผลิตภัณฑ์ยุคใหม่ที่มองผลในระยะยาวจะไม่ คำ�นึงถึงเพียงกระบวนการผลิตที่ใช้ทรัพยากรน้อยลงเท่านั้น แต่ ยั ง มองถึ ง ความเป็ น ไปได้ ใ นการนำ�กลั บ มาใช้ ใ หม่ ใ น อนาคต เพื่อสร้างความสมบูรณ์ทั้งกระบวนการผลิต การใช้ งาน และหลังการใช้งาน อย่างมีคุณภาพครบทั้งสายพาน พร้อมยังคำ�นึงถึงเรื่องความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์เพื่อ กระตุ้นให้คนสนใจ ทั้งการสร้างสุนทรียภาพจากสีสัน รูปทรง และคุณลักษณะแบบพืชเขตร้อน รวมถึงหินแร่ที่มีเหลี่ยมมุม ร่องรอยตำ�หนิ ซึ่งทุกองค์ประกอบเหล่านี้ช่วยสะท้อนความ ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังสร้างความผ่อนคลายให้ผู้ บริโภคอีกด้วย

138


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ภาพรวม อุดมสมบูรณ์ ขนาดใหญ่โต และสมมาตร

139


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ภาพรวม ผิวสัมผัสที่ชุ่มฉํ่า ชุ่มชื่น

140


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ภาพรวม ตำ�หนิ ร่องรอย เหลี่ยมมุม ซึ่งซ่อนไว้ด้วยคุณค่า

141


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ภาพรวม รูปแบบการนำ�กลับมาใช้ใหม่อย่างสร้างสรรค์

142


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

มนุษย์ทุกวันนี้พยายามหลีก หนี ก ารครอบงำ�ของกรอบ และกฏเกณฑ์ที่เข้มงวด จึง ต้ อ งการงานออกแบบที่ มี คุณลักษณะหรือโครงสร้าง ที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น ซึ่ง สะท้อนแนวทางการบริโภค สิ น ค้ า วิ ถี ใ หม่ ที่ ไ ม่ เ พี ย งแค่ ใส่ใจอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ ยั ง เป็ น หนทางบำ�บั ด ความ รู้สึกตึงเครียดแบบไม่รู้ตัว

ป่าเขตร้อน (tropical forest) ถือได้ว่าเป็นป่าผืนแรกสำ�หรับ มนุษย์ เป็นแหล่งกำ�เนิดของพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตที่หลาก หลาย ทั้งยังเป็นแหล่งสร้างวัสดุธรรมชาติและต้นกำ�เนิดของ แรงบันดาลใจ

ลวดลายสำ�หรับงานพิมพ์ด้วยเทคนิคแบบผ้าบาติก เขียนลาย หรือแม่พิมพ์ลาย ใช้สีเขียวคลอโรฟิลล์เป็นสีหลัก พร้อมลวดลายพันธุ์พืชขนาดใหญ่ และไม้เลื้อย ที่สามารถแสดงออกถึงความสมบูรณ์และสมมาตรกันในทุกมิติ

143


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ สีของผลไม้เขตร้อนที่มีรสเปรี้ยวในตระกูล Citrus จำ�พวกส้ม ส้มโอ ส้มจี๊ด มะกรูด หรือผลไม้รูปทรงแปลกๆ อาทิ มะเฟือง แก้วมังกร สายพันธุ์ดอกไม้อย่างปักษาสวรรค์ กล้วยไม้ ดอก หน้าวัว สับปะรดสี หม้อข้าวหม้อแกงลิง โกสน หรือกราฟิก แมลง ผีเสื้อ ช่วยเติมเต็มรายละเอียดและความยิ่งใหญ่ของ ผืนป่า

งานออกแบบเครือ่ งแก้ว My Wide Life Necromantic โดย Ludvig Löfgren

Bloom Chair โดย Kenneth Cobonpue นักออกแบบชาวฟิลปิ ปินส์ทป่ี ระสบ ความสำ�เร็จจากความชาญฉลาดในการใช้วัสดุธรรมชาติท้องถิ่นร่วมกับ นวัตกรรมการผลิตบนรูปลักษณ์โดดเด่นทันสมัย เก้าอี้ Bloom Chair ได้รับ แรงบันดาลใจจากความงดงามในช่วงผลิบานของดอกไม้ มีไมโครไฟเบอร์ เป็นวัสดุหลักและใช้เหล็กเป็นฐานรอง คว้ารางวัล Coup D’Coeur Award ในงาน Maison&Objet Paris ในปี 2009 ส่วน YODA Easy Chair ใช้ หวายสี, ใบ buri, ไผ่ kawayan และต้นกล้วย abaca ซึ่งมีพื้นผิวและ สีเป็นเอกลักษณ์ โดยถักเข้ากับโครงเหล็กอ่อน วัสดุท้องถิ่นเหล่านี้สามารถ บิดงอและสร้างงานจักสานรูปทรงอิสระได้ตามที่นักออกแบบต้องการ

144


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ ความลํ้าค่าไม่ได้หมายความเพียงแค่มูลค่า แต่แสดงให้เห็น ถึงบริบทที่แตกต่างระหว่างคริสตัลจากโต๊ะเจียระไนและ สมบัติที่ถูกขุดสำ�รวจโดยนักโบราณคดี ความสมบูรณ์จึงไม่ ได้เกิดขึ้นจากเพียงรูปลักษณ์ แต่หมายถึงเรื่องราว ที่มาที่ไป ซึ่งสะท้อนแก่นความงามตามจริงแบบถ่อมเนื้อถ่อมตัว

Geodes โดย Paige Smith งานประติมากรรมกระดาษ 3 มิติที่นำ�เสนอ ลักษณะการเกิดแร่ เช่น คริสตัล ควอทซ์ หรือโพรงของผลึกใส แต่แทนที่ จะหาหินมีค่าเหล่านี้ตามธรรมชาติ Paige Smith กลับสร้างขึ้นมาเองใน ย่านที่อยู่อาศัยเก่าแก่ที่สุดของเมืองลอสแอนเจลิส ในการสร้างสรรค์งาน ออกแบบที่ไม่ได้ติดอยู่กับที่ เธอมองไว้ล่วงหน้าว่าแม้ผลงานบางส่วนจะถูก รื้อถอนหรือเปียกฝน ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากสิ่งที่เราเห็นตามธรรมชาติ แต่ ความทรงจำ�และภาพถ่ายนัน้ ยังคงอยู่ นอกจากนี้ Smith ยังทำ�แผนที่ออนไลน์ สำ�หรับคนที่ต้องการตามล่าขุมทรัพย์และสถานที่แสดงผลงานของเธอ ต่อไป

145


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ สินค้าด้านเทคโนโลยีจะออกแบบเป็นรูปไข่หรือวงรีซึ่งทำ�ให้ ดูเป็นมิตรมากขึ้น นอกจากนี้ยังสร้างความพึงพอใจด้วย ผิวสัมผัส โดยยังคงให้ประสิทธิภาพและการใช้งานที่ครบทุก อรรถประโยชน์

ความพิเศษของหูฟังบลูทูธ Jabra Stone 2 ถูกออกแบบให้หูฟังและแท่น ชาร์จเป็นทรงกลม พร้อมผิวสัมผัสเลียนแบบหินธรรมชาติ สามารถพกพา ได้สะดวก เมื่อนำ�หูฟังมาวางไว้ที่แท่นก็จะชาร์จไฟไปด้วยในตัว จึงใช้งาน ต่อเนื่องได้ยาวนาน

146


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

ความงามของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม สะท้ อ นมุ ม มองใ หม่ โ ดย คำ�นึงถึงฟังก์ชั่นการใช้งาน และความสวยงามไปพร้อม กัน ซึ่งยึดหลักการอนุรักษ์ แบบ Upcycling อั น เป็น กระบวนการแปลงสภาพ ของวัสดุ ของเสีย หรือของ ที่ ไ ม่ ใ ช้ ป ระโยชน์ อี ก แล้ ว ให้ เป็นวัสดุใหม่หรือผลิตภัณฑ์ ใหม่ที่มคี ณ ุ ภาพหรือมีคณ ุ ค่า ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ดีกว่าเดิม

ขยายมุมมองการรีไซเคิลที่ไม่ได้จำ�กัดเพียงใช้แล้วนำ�กลับมา ใช้ใหม่ หรือการรีไซเคิลที่ทำ�ให้คุณสมบัติต่างๆ ด้อยลงไป เรื่อยๆ (Downcycling) แต่หาหนทางสร้างวัสดุใหม่เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองแนวคิดวงจรการใช้งานที่ไม่สิ้นสุด

บริษัท Worn Again ได้รับการโหวตให้เป็นอันดับหนึ่งในการบริหารธุรกิจ แนว Upcycling จากหนังสือพิมพ์ The Independent ของสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2008 พวกเขาใช้วัสดุไม่มีค่ามาสร้างสินค้าดีไซน์สุดลํ้า โดยการแปลง เสื้อฝนแบบใช้แล้วทิ้ง เสื้อแจ็กเก็ต ผ้าหุ้มเบาะที่นั่งในรถไฟหรือเครื่องบิน โดยสาร ไปผลิตเป็นกระเป๋าและสินค้าใหม่นำ�กลับไปใช้ในบริษัทพร้อมนำ� ออกจำ�หน่าย ทั้งยังนำ�เงินรายได้ไปบริจาคเพื่อการกุศล

147


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

NewspaperWood โดย Mieke Meijer ร่วมกับ ViJ5 (Arjan van Raadshooven&Anieke Branderhorst) ร่วมกันออกแบบวัสดุเลียนแบบไม้ ทำ�จากการอัดกระดาษหนังสือพิมพ์เข้าด้วยกัน โดยใช้เรซินจากธรรมชาติ โดยวัสดุชนิดนี้สามารถใช้ได้เหมือนไม้ ทั้งตัด บด ขัดและตกแต่งด้วย สี หรือเคลือบเงา เมื่อตัดม้วนกระดาษแล้วจะเห็นชั้นกระดาษเป็นเหมือนลายไม้ที่มีสี และมีผิว สัมผัสที่น่าสนใจโดยไม่ต้องตกแต่งเพิ่มเติม

148


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ ภาพลักษณ์ของสินค้ารักษ์โลกดูสร้างสรรค์มากขึ้นและเพิ่ม ประสบการณ์ใหม่ในการสัมผัส

UniquEco แบรนด์สินค้าโดย Kenyans Juliet Church และ Tahreni Bwaanali ขยายความสำ�เร็จของความคิดริเริ่มทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อโปรเจค FlipFlop ซึ่งช่วยแก้ปัญหาระบบนิเวศทาง ทะเลและขยะบริเวณหมู่เกาะ Lamu โดย UniquEco ทำ�งานกับช่างฝีมือ และคนในท้องถิ่น ตั้งแต่เก็บรวบรวม ทำ�การตลาด ออกแบบ ไปจนถึง แปรรูปพลาสติกและโลหะ ให้กลายเป็นเครือ่ งประดับทีม่ ลี วดลายหลากหลาย และสวยงาม

149


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบ

แคมเปญ Vac from the Sea โดย Electrolux ให้ความสนใจกับปัญหามลพิษจากพลาสติกและตอบโจทย์ความต้องการใช้พลาสติกรีไซเคิลสำ�หรับเครื่อง ใช้ในบ้าน Electrolux และองค์กรพันธมิตรจึงรวบรวมพลาสติกจากทะเลและมหาสมุทร 5 แห่งทั่วโลก ทั้งตามแนวปะการัง ชายหาด และหินโสโครก นำ� มาออกแบบเป็นลวดลายแบบโมเสกที่มีสีสันจากเศษพลาสติกเหล่านั้นสำ�หรับเครื่องดูดฝุ่นแบบรักษ์โลก 5 แบบ ซึ่งทำ�จากพลาสติกรีไซเคิล 70% และ ประหยัดพลังงานถึง 50% เมื่อเทียบกับเครื่องดูดฝุ่น 2000 วัตต์ในรูปแบบเดิม

150


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

นวัตกรรมและแฟชั่น

ศิลปะชีวภาพเป็นผลจากการ รวมกั น ระหว่ า งศิ ล ปะและ วิ ท ยาศาสตร์ เ ชิ ง ชี ว วิ ท ยา ซึ่งปัจจุบันคนทั่วไปสามารถ เข้า ถึ ง ได้ จากการสำ�รวจ 53% ของชาวยุโ รปเชื่อว่า เทคโนโลยีชีวภาพสามารถ ให้ผลเชิงบวกต่อมวลมนุษย์ การค้นพบใหม่ๆ และข้อมูล ทางวิ ท ยาศาสตร์ ที่ ห าได้ ง่ า ยทางอิ น เทอร์ เ น็ ต ทำ�ให้ เกิดกลุม่ “bio-hackers” ซึง่ สร้ า งห้ อ งแล็ ป ที่ บ้ า นเพื่ อ การทดลองทางชี ว วิ ท ยา ด้วยตนเอง อันเป็นจุดเริม่ ต้น ของ Bio Art ศิลปะร่วมสมัย รู ป แบบใหม่ ที่ ส ร้ า งสรรค์ ผลงานในลั ก ษณะของการ ทดลอง สำ�รวจ เพื่อ สร้า ง แนวทางและความเป็ น ไป ได้ ที่ ดี ก ว่ า สำ�หรั บ การใช้ ทรั พ ยากรให้ คุ้ ม ค่ า ตั้ ง แต่ กระบวนการผลิ ต และหลั ง การใช้งาน

แฟชัน่ แบบใหม่ สะท้อนจินตนาการทีไ่ ร้ขอบเขตและนวัตกรรม ใหม่ๆ ของผ้าที่ถูกสร้างขึ้น นักออกแบบยุคนี้กล้าที่จะเล่นกับ เนื้อผ้าใหม่ๆ เสมือนผ้าเป็นสิ่งมีชีวิต เนื้อเยื่อหรือผิวหนังชั้น ที่สอง

BioCouture โดย Susan Lee นักวิจัยจากสถาบัน Central Saint Martins College of Art and Design ใน ลอนดอนได้พัฒนาวัสดุที่สร้างขึ้นโดยการเลี้ยงแบคทีเรียในนํ้าชาหมัก “คอมบูชา” ขณะที่ย่อยนํ้าตาลแบคทีเรียจะ ผลิตเส้นใยเซลลูโลสออกมาเป็นแผ่น ลีพบวิธีสร้างเซลลูโลสและทำ�ให้มันแห้ง เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายผิวหนัง สามารถขึ้นรูปและเย็บเป็นเสื้อเชิ้ตและเสื้อคลุม เมื่อความชื้นระเหยออกไปเส้นใยจะกลายเป็นผ้าถักเนื้อแน่น มีผิว เหมือนกระดาษปาปิรุสที่สามารถฟอกสีหรือเพิ่มสีสันด้วยสีจากพืชและผลไม้ เช่น มะขาม คราม และหัวบีทรูท แต่ การพัฒนาผ้าชนิดนี้ยังไม่สมบูรณ์เพราะเมื่อเปียกจะดูดนํ้าถึง 98% ของนํ้าหนัก ทำ�ให้ผ้าหนักขึ้นและเสียรูป

151


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

นวัตกรรมและแฟชั่น

Spray-on fabric เทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรโดยบริษัท Fabrican คือการสร้างของเหลวที่มี คุณสมบัตพิ เิ ศษ เมือ่ ฉีดสเปรย์ออกมาจะเกีย่ วพันเป็นเหมือนร่างแหของเส้นใยและติดกันต่อเนือ่ ง เป็นผืนเหมือนผ้า non-woven สามารถสเปรย์ได้บนพื้นผิวหลายแบบ และสามารถสร้างสรรค์ คุณสมบัติตามที่ลูกค้าต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่ซับซ้อน สีสันที่หลากหลาย ตั้งแต่สี ธรรมดาจนถึงสีฟลูออเรสเซนต์ ไปจนถึงการเปลีย่ นชนิดของเส้นใยได้ทง้ั ใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์ ทั้งยังสามารถใส่กลิ่นให้เข้ากับสีผ้าได้ด้วย ทำ�ให้นักออกแบบสามารถสร้างสรรค์เครื่องแต่งกาย แบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์ ใช้งานได้หลากหลาย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าและระบบ อุตสาหกรรม

152


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

นวัตกรรมและแฟชั่น ความต้องการลดปริมาณการใช้นา้ํ ซึง่ เป็นปัจจัยด้านการผลิต ที่สำ�คัญ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตรูปแบบ เดิมต้องเสียนํ้าเป็นปริมาณมากในขั้นตอนการผลิต

DyeCoo Textile Systems B.V. กระบวนการย้อมสีผ้าโดยไม่ใช้นํ้า สามารถย้อมสีผ้าได้ทั้งม้วนโดยใช้คาร์บอน ไดออกไซด์ซึ่งอยู่ในสถานะระหว่างของเหลวกับก๊าซ เป็นตัวกลางให้เม็ดสีเข้าไปเกาะตัวเข้ากับเส้นใยของผ้าทอจะ ประหยัดนํ้าได้มากกว่า 25,000 ลิตร แม้จะใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการย้อม แต่ก็ยังน้อยกว่าการย้อมสีแบบปกติ ถึง 75% ไม่มีการเติมสารเคมี ไม่ผ่านการอบแห้ง จึงใช้ระยะเวลาสั้นกว่าการย้อมโดยใช้นํ้าถึง 2 เท่า

153


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

นวัตกรรมและแฟชั่น

ในโลกที่ ส ภาพอากาศแห้ ง แล้ง เต็ ม ไปด้ว ยมลภาวะ รวมถึงมีความจำ�เป็นต้องลด ปริมาณการใช้นํ้า ผู้บริโภค ต้ อ งการความรู้ สึ ก ผ่ อ น คลาย สดชืน่ จากความชุม่ ฉํา่ ของนํ้า จุดขายใหม่สำ�หรับ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ค วามงามจึ ง มุ่ ง เน้ น การสร้ า งความชุ่ ม ชื้ น และการเติ ม นํ้ า ให้ กั บ ผิ ว พรรณในรูปแบบต่างๆ

เครื่องสำ�อางหลายแบรนด์เริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ สำ�หรับผู้หญิงในเมืองที่ต้องการผิวสัมผัสนุ่ม ชุ่มฉํ่า และ สะดวกต่อการใช้

Instant Moisture Mask รุ่นใหม่ของ Sephora คือชุดเครื่องสำ�อางสำ�หรับ ทุกสภาพผิว บรรจุลงในห่อเล็กๆ พร้อมใช้ โดยภายในมีผงให้ความชุ่มชื้น แบบเข้มข้น เพียงเติมนํ้า เขย่า แล้วใช้งานได้ทันที ซึ่งจะช่วยปรับสภาพ ความชุ่มชื้นได้เป็นอย่างดี

Diorskin Nude Compact Gel ของ Dior คือแป้งตลับในแบบครีมเจลที่ แปรรูปเป็นผง ทำ�ให้ละลายและซึมเข้าผิวหน้าได้ง่าย ช่วยบำ�รุงผิวพรรณ และคืนความเย็นฉํ่าสู่ผิว

154


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

นวัตกรรมและแฟชั่น ทิศทางของธุรกิจ “เครื่องดื่มเพื่อความงาม” มุ่งเน้นส่วนผสม จากผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือสารอาหารที่มีบทบาท สำ�คัญในการผ่อนคลาย เพิ่มนํ้า และเพื่อสุขภาพ

Nesfluid โดย Nestlé คือนํ้ามะพร้าวผสมด้วยนํ้าผลไม้ สารสกัดจากพืช และจุลสารอาหาร (micronutrients) ซึ่งสามารถดื่มทดแทนนํ้าได้

155


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

เทคโนโลยี

เทคโนโลยีมีส่วนช่วยให้เรา สามารถแก้ ไ ขเหตุ ก ารณ์ ฉุกเฉินต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง และลดการใช้ ท รั พ ยากร ทั้ ง ยั ง ใ ห้ ค ว า ม ส นุ ก แ ล ะ ประสบการณ์ แ ปลกใหม่ นอกจากนี้ ยั ง มี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ คำ�นึ ง ถึ ง นั ก เดิ น ทางหรื อ ผู้ ที่ อ ยู่ ใ นภาวะคั บ ขั น อย่ า ง survival kit ให้สามารถ พึ่ ง พาตั ว เองได้ ใ นขณะที่ มี ทรัพยากรในมือจำ�กัด

เปลี่ยนแปลงลักษณะการทำ�งานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้าน ตอบรับกับทรัพยากรที่มีจำ�กัดบนพื้นฐานชีวิตที่ ง่ายและสนุกมากยิ่งขึ้น

Wat โดย Manon Leblanc โคมไฟพลาสติกแบบชีวภาพจากพลังงานนํ้า เพียงหยดนํา้ ลงไปจากช่องใส่ดา้ นบน นํา้ จะทำ�ปฏิกริ ยิ าทางเคมีกบั แบตเตอรี่ ที่ประกอบด้วยแท่งคาร์บอนเคลือบผงแมกนีเซียม ทำ�ให้เกิดแสงสว่างขึ้น ได้โดยใช้นํ้าเพียงไม่กี่หยด

156


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

เทคโนโลยี

Swirl โดยสตูดิโอ Designaffairs ออกแบบเครื่องซักผ้าที่มีลักษณะคล้าย ลูกบอลทรงกลมแบบมีฝาปิด พร้อมกับที่จับเชื่อมกับท่อเหล็ก ทำ�ให้การซัก ผ้าง่าย สนุก และเร็วกว่าเดิม นอกจากนี้การใช้ลูกบอลกลิ้งบนพื้นผิวที่แตก ต่างทำ�ให้การทำ�ความสะอาดเสื้อผ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้ และช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำ�หรับผู้คนในประเทศ ที่กำ�ลังพัฒนาซึ่งการซักผ้าเป็นปัญหาสำ�คัญ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลจาก ระบบนํ้าประปา การขนส่งนํ้าเป็นไปอย่างยากลำ�บาก รวมทั้งวิธีการซักที่ ไม่สะดวก

157


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

เทคโนโลยี

BE ออกแบบแนวคิดโดย Tommaso Gecchelin อุปกรณ์สำ�รวจการใช้ พลังงานรูปทรงหกเหลี่ยมที่สามารถพกพาไปใช้ได้ทุกที่ โดยใช้พลังงานแสง อาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์หรือพลังงานลมจากกังหันลม สามารถคำ�นวณ ค่าการใช้พลังงานภายในบ้านหรือแม้แต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของยานพาหนะ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถแบ่งปันข้อมูลการใช้พลังงานกับ คนอื่นได้

158


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

เทคโนโลยี ไอเดียของอุปกรณ์ที่ใช้สำ�หรับการเดินทาง มุ่งเน้นการนำ� ทรัพยากรพืน้ ฐานรอบๆ ตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึง่ เกิดจาก การทดลองและคิดมาอย่างรอบด้าน

Backpacker’s Diary PC โดย Zhongren Zhang และ Chun Yang ไดอารี่นักเดินทางแบบดิจิทัลจากแนว คิดเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา ผสมผสานกับรูปแบบ หนังสือซึ่งแต่ละหน้าประกอบด้วยฟังก์ชั่นที่หลาก หลาย เช่น กล้อง ไมโครโฟน หน้าจอ LCD แสดง วันที่ สภาพอากาศและแผนที่ พร้อมทั้ง GPS นำ�ทาง ทั้ ง ยั ง สามารถม้ ว นเป็ น โคมไฟส่ อ งสว่ า งในตอน กลางคืน และชาร์จด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในขณะ เดินทางได้ด้วย

159


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

เทคโนโลยี

Donald E. Ingber นักออกแบบและนักวิศวกรรมจากสถาบัน WYSS ร่วม กับทีมงานในโครงการ Design Cellulaire ผลิตขวดพลาสติกที่เป็นมิตรต่อ สิง่ แวดล้อมจากสาหร่าย โดยผลิตจากเยือ่ หุม้ บางๆ ทีซ่ อ้ นทับกันซึง่ เป็นสาร ตั้งต้นที่สกัดจากผนังของสาหร่ายสีนํ้าตาลแล้วทำ�ให้แข็งเป็นแจกันทรง หยดนํา้ หลังจากแช่ในอ่างโซเดียมคลอไรด์ ช่วยลดขยะประเภทขวดพลาสติก เพราะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

160


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

พื้นที่และการใช้ชีวิต

ทะเลทรายเป็นสัญลักษณ์ของ ความขั ด แย้ ง อย่ า งแท้ จ ริ ง โดยเป็นทั้งตัวแทนของความ แห้ ง แล้ ง และความอุ ด ม สมบูรณ์ จากภาวะทรัพยากร มี อ ยู่ จำ�กั ด และใกล้ ยุ ค หลั ง นํ้ามัน ทะเลทรายจึงกลาย เป็นสถานที่ดึงดูดใจสำ�หรับ สร้างพลังงานแหล่งใหม่ ไม่วา่ จะเป็นโครงการ Desertec นำ�โดยกลุ่ ม บริ ษั ท เยอรมั น มีการติดตั้งโรงงานพลังงาน แสงอาทิตย์ 30 แห่งกลาง ทะเลทรายซาฮาร่า ด้วย จุดประสงค์ที่จะผลิตไฟฟ้า ให้ กั บ กลุ่ ม ประเทศยุ โ รป ในปริมาณ 15% ของความ ต้องการใช้ภายในปี 2050

แบบจำ�ลองบ้าน Off-grid itHouse ในเมือง Pioneertown ซึ่งอยู่ในทะเล ทรายใกล้อุทยาน Joshua Tree National Park รัฐแคลิฟอร์เนีย ออกแบบ โดยสถาปนิก Taalman Koch ที่นี่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือหรือ wi-fi ใช้เพียงพลังงานจากแสงอาทิตย์สำ�หรับอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเท่านั้น จึงเหมาะสำ�หรับการทดลองใช้ชีวิตอย่างสมถะที่มีเพียงสิ่งอำ�นวยความ สะดวกพื้นฐาน เพื่อเติมพลังและหลีกหนีความวุ่นวายในเมืองใหญ่

161


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

พื้นที่และการใช้ชีวิต จัดการพืน้ ทีใ่ นเมืองขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สงู สุด โดยคำ�นึง ทั้งในแง่โครงสร้าง ระบบการจัดการ ทรัพยากร และการใช้ พลังงานอย่างประสิทธิภาพ

อาคาร One Trinity Green ออกแบบโดย +3 Architecture อาคารแนวคิด ทันสมัยสำ�หรับให้เช่าทำ�สำ�นักงาน จัดเวิร์คช็อป และพื้นที่อเนกประสงค์ นอกเหนือจากสิง่ อำ�นวยความสะดวกสำ�หรับผูเ้ ช่าแล้ว ยังมีระบบการจัดการ พื้นที่และพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่เรียกว่า Art Environmental Energy System โดยชั้นดาดฟ้าติดตัง้ แผ่นโซลาร์เซลล์เพือ่ สร้างพลังงานไฟฟ้า หมุนเวียนใช้ภายในอาคาร พร้อมพื้นที่สีเขียวสำ�หรับพักผ่อน ใช้วัสดุหลัก เป็นกระจกบริเวณหลังคาและในพื้นที่ที่ต้องการแสงเพื่อประหยัดพลังงาน มีช่องหน้าต่างเพื่อรับลมตามธรรมชาติ อาคารนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศจาก Building Research Establishment Environmental Assessment Method (BREEAM) และรางวัลห้าดาว “Outstanding” จาก Building Research Establishment (BRE) ปี 2012 ประเภทอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง เป็นหนึ่งในไม่กี่อาคารในประเทศอังกฤษที่ได้รับรางวัลนี้

162


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

พื้นที่และการใช้ชีวิต

สวนแนวตั้ง (vertical garden) เป็นแนวคิดที่ใช้สำ�หรับการสร้างพื้นที่สีเขียวตามบ้านหรือสำ�นักงานหลายๆ แห่ง แต่สำ�หรับ Pasona Group ในโตเกียว ก้าวไกลกว่านั้น เพราะไม่ใช่เพียงพืชพรรณตกแต่งแต่เป็นการเพาะปลูกพืชผลที่สามารถเก็บเกี่ยวเพื่อรับประทานได้ โดยภายในตัวอาคารสี่เหลี่ยมที่ มีพื้นที่ 1,000 ตารางถูกจัดสรรเป็น 6 ห้อง โดยส่วนไฮไลท์อยู่ที่ห้องซึ่งเป็นแปลงข้าว มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวท้องถิ่นให้แข็งแรง ทนทานต่อเงื่อนไขใน ธรรมชาติ ผนวกกับใช้เทคโนโลยีในการควบคุมแสงจากหลอดไฟเมทัลฮาไลด์ ซึ่งมีกำ�ลังส่องสว่างมากใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติ และเสื่อมช้ากว่าหลอด ปกติ ทำ�ให้สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ 50 กิโลกรัมต่อหนึ่งแปลง 3 ครั้งต่อปี ซึ่งปกติเก็บได้เพียงแค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น แปลงเพาะทั้งหมดมีพืชพรรณหลาก หลายกว่า 200 ชนิด ทั้งยังเป็นพืชออร์แกนิค ปลอดแมลงและสารเคมี สิ่งที่น่าทึ่งอีกอย่างคือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสำ�นักงานยังสามารถช่วยลดระดับการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 2 ตันต่อปี Pasona จึงทำ�ให้การเกษตรในเมือง (urban farm) เกิดผลเป็นรูปธรรม เมื่อสามารถจัดการควบคุมการ เพาะปลูกในอาคารที่ได้ผลผลิตจริงๆ

163


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

พื้นที่และการใช้ชีวิต ผู้คนในเมืองใหญ่ให้ความสำ�คัญกับพื้นที่นอกบ้านมากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่ ม ลู ก เล่ น กั บ พื้ น ที่ ห รื อ หากิ จ กรรมสั ง สรรค์ ร่ ว ม กันระหว่างสมาชิกในบ้าน การเปิดหน้าต่างบานใหญ่ออกสู่ ระเบียงจึงเสมือนเป็นการก้าวสู่โลกใบใหม่เพื่อสูดอากาศ สดชื่น

เฟอร์นิเจอร์นอกบ้านหรือเปลญวนในบรรยากาศเงียบสงบจึงกลายเป็นจุด เพิ่มพลังและเติมความสดชื่นแห่งใหม่

164


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

พื้นที่และการใช้ชีวิต

Green Islands โดย Jean-Marie Massaud มีแนวคิดจากการจัดสรรพื้นที่ว่างและการจับคู่ระหว่างที่นั่งและต้นไม้ เพื่อมอบความรู้สึกผ่อนคลายจากการ นั่งใต้ร่มไม้ นอกจากนี้ยังเป็นการตกแต่งพื้นที่สาธารณะให้เป็นทั้งพื้นที่เปิดและปิดสำ�หรับสร้างมุมสงบยามที่ต้องการพักผ่อนและอยู่กับตัวเอง

165


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 5141-01

ชิ้นงานรูปกิ่งไม้ ขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ที่นำ� มาต่อชิน้ กันได้ สามารถประกอบกันเป็น ประติมากรรม นำ�มาต่อกันได้ด้วยปุ่ม ขาเล็กๆ รูปทรงที่ได้มีไม่จำ�กัดสามารถ สร้างสรรค์เป็นฉากกั้นหรือม่านอินทรีย์ เหมื อ นสาหร่ า ยไม่ จำ�กั ด ขนาดและ ความหนาแน่น ปัจจุบนั นำ�ไปใช้เพือ่ การ ตกแต่งภายใน

MC# 6153-01

วัสดุคอมโพสิตที่มีความยืดหยุ่นซึ่งเดิม พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกันการกัด เซาะแนวชายหาดโดยเฉพาะ ประกอบ ด้วยก้อนกรวดผสมกับโพลียูรีเทนซับ นํ้าที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ ทำ�ให้วัสดุมี ลักษณะเหมือนหินที่มีโครงสร้างแบบ เซลล์เปิด วัสดุนี้มีความยืดหยุ่นดีจึง สามารถปกป้องแนวกำ�แพงหินจากแรง กระแทกของนํ้าได้ สามารถใช้ก้อนหิน ที่มีขนาดต่างๆ มาปูทับกันให้ได้ความ หนาต่างๆ ตามต้องการ ซึ่งยังอาจนำ� ไปใช้ในการตกแต่งภายในหรืองานจัด แสดงสินค้าได้อีกด้วย

Bangkok

MC# 5959-02

ผ้ า ไหมทอที่ ใ ช้ ป ริ ม าณนํ้ า น้ อ ยใน กระบวนการย้อมสี ผ้าไหม 100% ทอ ขึ้นจากเส้นไหมที่ผลิตในประเทศไทย ด้ ว ยกระบวนการผลิ ต ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อม โดยที่ใช้นํ้าเพียงหนึ่งลิตร ต่อการย้อมสีผ้า 3 หลา สิ่งทอเหล่านี้ ได้รับฉลากสิ่งแวดล้อม EU flower Eco Label โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ ทำ�ลายสภาพแวดล้ อ มและไม่ ใ ช้ กระบวนการลอกกาวไหมก่อนการย้อมสี เหมาะสำ�หรับงานแฟชั่น (ผ้าพันคอ ผ้า คลุม และอุปกรณ์ประกอบเสื้อผ้า และ เครื่องนอน)

MC# 6073-01

โฟมอะลูมิเนียมสำ�หรับใช้งานได้หลาก หลาย เป็นโฟมเซลล์เปิดหรือเซลล์ปิดที่ สามารถรีไซเคิลได้ 100% นํ้าหนักเบา ไม่ติดไฟ (คุณสมบัติกันไฟที่ระดับ A1) และสามารถตัดแต่งด้วยเครื่องมือต่างๆ ได้ง่าย เนื่องจากวัสดุมีความพรุนจึงทำ� ให้มีอัตรานํ้าหนักต่อปริมาตรตํ่า และมี คุณสมบัตทิ างอะคูสติกที่ดี เป็นอะลูมเิ นียม โปร่งแสงที่มีผิวเซลล์เปิด เหมาะสำ�หรับ ใช้งานภายในอาคาร (เป็นองค์ประกอบ ของเพดาน ผนัง หรือผนังกัน้ พืน้ ที่) สร้าง ซุม้ แสดงสินค้า หรือใช้ในงานเชิงเทคนิค

166


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 6699-01

วั ส ดุ ปู ผ นั ง ทอมื อ จากแถบกระดาษ หนังสือพิมพ์ที่ใช้แล้วและรองหลังด้วย แผ่นกระดาษ ประกอบด้วยด้ายไนลอน 30% และแถบกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ รองหลังด้วยกระดาษ 70% สามารถติด ตั้งโดยการทากาวที่ด้านหลัง สามารถ กำ�จัดฝุ่นที่เกาะอยู่โดยใช้เครื่องดูดฝุ่น ติดหัวแปรงขนนุ่ม วัสดุนี้ใช้ทดแทนผ้า ป่านทั่วไปได้ เหมาะสำ�หรับใช้ปูผนัง

MC# 4760-04

สิ่งทอโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 100% ที่มี สูตรการทำ�ความสะอาดเป็นกรรมสิทธิ์ เฉพาะซึ่ง ได้ร ั บ การรั บ รองโดย EPA ซึ่ ง จะป้ อ งกั น การเจริ ญ เติ บ โตของ แบคทีเรียและไวรัสกว่า 48 ชนิด รวมถึง เอชไอวี ไวรัสไข้หวัดนก รา และราขาว ผ้าที่มีความทนทานนี้จะกันรอยเปื้อน กันความชื้นและการเกิดกลิ่น และของ เหลวไม่สามารถซึมผ่านได้ สำ�หรับนำ� ไปใช้เป็นกระเป๋า กระเป๋าถือ และเป็น ผ้าบุ

Bangkok

MC# 5617-02

แผ่ น โพลิ เ มอร์ อ่ อ นตั ว ที่ มี โ พลี ยู รี เ ทน (พียู) เป็นองค์ประกอบซึ่งมีผิวสัมผัส คล้ายผิวหนัง เป็นแผ่นบางและระบาย อากาศได้ ที่ผิววัสดุจะมีรอยย่นเล็กน้อย และเป็นลายเส้นนูน มีสีที่ดูเหมือนผิว หนังธรรมชาติหลายสีให้เลือก สามารถ นำ�ไปใช้งานโดยการเย็บ ติดกาว หรือ ปล่อยขอบไว้ตามลักษณะธรรมชาติก็ได้ สามารถนำ�ไปผลิตเป็นเครื่องแต่งกาย หรือสินค้าต่างๆ ตามแบบที่ต้องการ ได้ เหมาะสำ�หรั บ ทำ�เครื่อ งแต่ง กาย กระเป๋า เครื่อ งประดั บ หรื อ งาน ประติ ม ากรรมและใช้ ใ นงานตกแต่ ง ภายใน

MC# 3296-03

เส้นใยจากพรมที่นำ�ไปรีไซเคิลได้นี้มี ส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลจากการใช้ งาน 25% เหมาะสำ�หรับปูพื้นที่ใช้งาน หนักในงานเชิงพาณิชย์ ทำ�ความสะอาด ง่าย ทนเปื้อนและสามารถลบรอยเปื้อน ออกได้งา่ ย และสีไม่ตก มีความทนทาน ต่ อ แรงดึ ง สู ง สุ ด อี ก องค์ ป ระกอบ ของเส้นใยและสารเติมแต่งต่างๆ จะ ปลอดภั ย ต่ อ สุ ข ภาพและไม่ ทำ�ลาย สิ่งแวดล้อม เส้นด้ายเหล่านี้จะถูกนำ�ไป ทอเป็ น พรมผื น ใหญ่ แ ละพรมแผ่ น สำ�หรับปูพื้นในทุกรูปแบบ

167


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

วัสดุเพื่อการออกแบบ โดย Material ConneXion

®

MC# 6819-03

วัสดุปูผนังจากผ้าโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล เคลือบผิวด้วย EverGreen ซึ่งเป็นสาร เคลื อ บที่ ย่ อ ยสลายได้ โ ดยมี นํ้ า เป็ น องค์ ป ระกอบและไม่ มี ส่ ว นผสมของ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย สามารถ สั่งทำ�รูปแบบและลวดลายพิมพ์ดิจิทอล ได้ตามต้องการ วัสดุนี้พิมพ์ด้วยหมึก ยูวที เ่ี ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม มีคณุ สมบัติ กันไฟที่ class A เหมาะสำ�หรับติดตั้ง ภายในอาคารที่พักอาศัยและพื้นที่เชิง พาณิชย์

Bangkok

MC# 4760-04

แผ่ น กระจกลามิ เ นตสี เ หลื อ บแสงที่ มีความยั่งยืน แผ่นวัสดุเหล่านี้ผลิตจาก กระจก เรซินยูรเี ทนและโพลิเมอร์ไดโครอิก ที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะซึ่งสามารถนำ�ไป รีไซเคิลได้ทั้งหมด เหมาะสำ�หรับทำ� กระเบื้องปูผนัง บุพื้นผิว ทำ�แผ่นปิด หน้าโต๊ะประชุม ตกแต่งเฟอร์นเิ จอร์และ แผงติดตั้ง ผนังกั้นส่วน และปิดผิวบน เคาน์เตอร์

168


TREND 4

สมดุลในธรรมชาติ (Natural Harmony)

วัตถุดิบทางความคิด โดย TCDC Resource Center

The Tropical garden William Warren SB 466.T7 W294 2002

Towards zero energy architecture Mary Guzowski NA 2542.35 G993 2010

Facade greenery contemporary landscaping Chris van Uffelen SB 472 U23 2011

ศิลปะการคืนชีวิตให้ขยะ

สิงห์ อินทรชูโต TD 794.5 ส717 2552 C.1

Eco-chic: the fashion paradox

Sandy Black TT 515 B627 2011

Upcycling: create beautiful things with the stuff you already have

Experimental eco-->design: architecture, fashion, product Cara Brower, Rachel Mallory Zachary Ohlman TS 77 B877 2005

Graphic print source: Tropical prints GP Publications NC 998.6 .G4 G7663 2008

Urban Green: Architecture for the Future Neil B. Chambers. NA 2542.35 C445 2011

Green style = Un style en vert

Cillero & De Motta. NK 1520 G798 2009

Danny Seo TT 145 S478 2011

169


เกี่ยวกับเนื้อหา นย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design เจาะเทรนด์โลก ศูCenter: TCDC) จัดทำ�โครงการบทสรุปเทรนด์เพื่อเผยแพร่ 2013 ทรัพยากรความรู้ของ TCDC ออกไปสู่สังคมในวงกว้าง โดย โดย TCDC มุ่งเน้นเทรนด์ความเคลื่อนไหวที่จะมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคทั้ง

แฟชัน่ วัสดุ เทคโนโลยี สี ในประเทศและทั่วโลก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนไทยในหลาก พืน้ ที่ และการใช้ชวี ติ หลายสาขาอาชีพ ทัง้ ในทางตรงและทางอ้อม อาทิ นักออกแบบ นักการตลาด นักจัดซื้อ นักบริหารแบรนด์ นักบริหารจัดการ สินค้า ผู้นำ�เข้าและส่งออกผู้ผลิต ไปจนถึงผู้ประกอบการใน ทุกแวดวงธุรกิจ

บทสรุปเทรนด์นี้เป็นผลลัพธ์จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ปฐมภูมิ โดยบริษัทผู้คาดการณ์แนวโน้มความต้องการของ ผู้บริโภคระดับโลก อาทิ Carlin, Mix Trend, Nelly Rodi และ Pantone View เพื่อสรุปแนวโน้มหลักๆ ที่หลายสำ�นักเห็น พ้องกันว่าจะมาแรงในปี 2013 ข้อมูลดังกล่าวรวบรวมมาจาก หนังสือเทรนด์กว่าสิบเล่ม ซึง่ มักแสดงเนือ้ หาเป็นแนวคิดแบบ นามธรรมซึ่งตีความได้ยาก และนิตยสารเกี่ยวกับเทรนด์อีก หลายฉบับ มากลั่นกรองและนำ�เสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และใช้ได้จริง พร้อมกรณีศกึ ษาเพือ่ ให้ผอู้ า่ นสามารถนำ�ความรู้ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ TCDC ยังคัดเลือกตัวอย่างวัสดุและสื่อความรู้ที่ เกี่ยวข้องกับเทรนด์หลักๆ มานำ�เสนอประกอบแต่ละเทรนด์ โดยผู้อ่านสามารถค้นคว้าข้อมูลเหล่านี้เพิ่มเติมได้จากห้อง สมุ ด เฉพาะด้ า นการออกแบบและห้ อ งสมุ ด วั ส ดุ เ พื่ อ การ ออกแบบเพื่อต่อยอดความรู้ได้ต่อไป

170


เกี่ยวกับเนื้อหา ขั้นตอนการ วิเคราะห์ เนือ้ หาบทสรุป เทรนด์

การวิเคราะห์

การจัดกลุ่ม

การคัดกรอง ส่วนที่เหมือน

การตีความใหม่ ให้เข้าใจง่าย

การตีความใหม่ให้เข้าใจง่าย (Finalize) จัดโครงสร้างและเรียบเรียง เนื้อหาทุกส่วนให้เป็นระบบ และเข้าใจง่าย แปล keyword เป็ น ภาษาไทยเพื่ อ ให้ ไ ด้ ความหมายที่ถูกต้องตรงกัน เทียบคูส่ แี ต่ละสีกบั pantone เพื่ อ ให้ ค่ า ที่ เ ป็ น มาตรฐาน รวมถึงหาข้อมูลอ้างอิงและ ยกตั ว อย่ า งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ แต่ละกลุ่มเทรนด์เพื่อให้เห็น ภาพมากยิ่งขึ้น

ANALYZE

CATEGORIZE

NORMALIZE

การวิเคราะห์ (Analyze) ศึกษาแนวคิดและหลักการ เหตุผลของแนวคิดเทรนด์ทั้ง 17 เล่ม เพื่อทำ�ความเข้าใจใน ที่มาของการกำ�หนดเทรนด์ แล้วจึงวิเคราะห์แนวคิดสำ�คัญ ของทุกเล่มร่วมกัน เพื่อให้ ได้ภาพรวมแนวโน้มเทรนด์ ประจำ�ปี 2013

การจัดกลุ่ม (Categorize) คัดเลือกหัวข้อเทรนด์แต่ละ เล่มที่มีทิศทางตรงกับภาพ รวมแนวโน้มเทรนด์ที่ได้จาก ขั้นตอนแรก ทำ�การคัดเลือก keyword สำ�คัญที่มีความ หมายตรงกั บ แนวโน้ ม นั้ น แล้วจัดกลุ่ม keyword ตาม ความหมายและคุณลักษณะ กำ�หนดชื่อกลุ่มเพื่อสะท้อน ความหมายรวม โดยในปี 2013 แบ่งกลุ่มเทรนด์เป็น 4 กลุ่ม คือ สุนทรียะแห่งความ สุข อิสระไร้กฎเกณฑ์ สังคม แห่งความเป็นหนึง่ และสมดุล ในธรรมชาติ

การคั ด กรองส่ ว นที่ เ หมื อ น (Normalize) ในแต่ละกลุ่ม คัดกรอง keyword ให้เลือกเฉพาะคำ�สำ�คัญ ที่พูดถึงตรงกันมากที่สุด นำ� ไปเทียบกับ keyword ของ หนั ง สื อ เทรนด์ แ ต่ ล ะเล่ ม เพื่ อ คั ด กรองกลุ่ ม สี ที่ ใ ช้ keyword เดียวกันมารวมกัน เลื อ กสี ที่ ใ ช้ ต รงกั น มาก ที่ สุ ด เพื่ อ ให้ เ ป็ น สี ห ลั ก ที่ เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่ม เทรนด์

FINALIZE

171


เกี่ยวกับเนื้อหา ชื่อกิจกรรม

TCDC Trend Report 2013 ข้อมูลจากกลุ่มบริษัทวิเคราะห์เทรนด์ชั้นนำ�ระดับโลก

รายชื่อหนังสือและนิตยสารเทรนด์ที่ทำ�การรวบรวม

Trend book 01) Carlin Color Spring/summer 2013 02) Carlin Impulse Spring/summer 2013 03) Carlin Interior Spring/summer 2013 04) Carlin Interior Autumn/Winter 2013/14 05) Mix trends issue 24 Spring/summer 2013 06) Mix trends issue 25 Autumn/Winter 2013/14 07) Nelly Rodi Pilot: Truce Spring/summer 2013 08) Nelly Rodi Décor & Atmosphere Spring/summer 2013 09) Nelly Rodi Fabric Spring/summer 2013 10) Nelly Rodi Décor &Atmosphere Fall/Winter 2013/14 11) Pantone View Color Planner Spring/summer 2013 นิตยสาร 12) Collezioni trends 99 13) Molecule - Man Summer 2013 14) View Textile magazine issue 95 15) View 2 issue11 16) Viewpoint 28 17) Zoom on Fashion Trend issue 48 172


ดัชนีภาพ รูปอ้างอิง หมายเหตุ : จัดเรียงรูปจากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา หน้า 12 Graffiti Analysis: Sculptures, 2010, Evan Roth/ Chris Sugrue, graffitianalysis.com Wishbone chair, Carl Hansen & Son, scandinavia-designs.com.br Shelter of Nostalgia, 2012, Worapong Manupipatpong, dezeen.com Royal armchair white, Modani, Modani.com Photo: Studio 67, mietstudioberlin.de Photo: Hyatt Spas, beavercreek.hyatt.com Skiff Reader, Hearst, thecoolist.com หน้า 14 ‘Perfectly pale’, designtrolls.wordpress.com ‘The White Swan Lake’, prineyisabella-isabella. blogspot.com ‘Swan’, Photo: Andrea Paolini Merlo, bodymindcenter.wordpress.com หน้า 15 White light, Szilvia Gyorgy, szilverworks.com ‘Elaine Katzer on Jack and Susan Peterson’s Kick Wheel’, 1962, Photo: George Armstrong, pacificstandardtime.org หน้า 16 Nearer My God to Thee, 2009, Meg Hitchcock, meghitchcock.com Floating garden, 2012, Motoi Yamamoto, Photo: Jon Rou, designboom.com หน้า 17 ‘DIY Hair Treatments’, wholeliving.com ‘Mud therapy benefits’, naturopathycure.com

หน้า 18 ‘Looking back on 2011’, chudphoto.wordpress.com Untitled, 2003, Tara Donovan, acegallery.net Untitled, 2003, Tara Donovan, acegallery.net Let there be light, 2011, Tokujin Yoshioka, dailytonic.com 486 Mina El Hosn, Beirut, Archi: LAN Architecture, dezeen.com ‘A Scrapbook of assorted pictures’, faintfairylights.tumblr.com หน้า 19 ‘Invitation à la danse’, Photo: Solve Sundsbo, Numéro, No.91 March 2008 Paper chairs, Zhang Lei/Christoph John/Jovana Bogdanovic, designboom.com หน้า 20 Ovale, 2010, Ronan/Erwan Bouroullec, dezeen.com หน้า 21 Wasara biodegradable collection, Shinichiro Ogata, designboom.com หน้า 22 alain-ducasse.com หน้า 23 Tension bentwood chair, 2011, Dohoon Kim, designboom.com หน้า 24 Groupe, 2010, Maison martin margiela, designboom.com หน้า 25 Nursing home in Alcacer do Sal, Alcacer do Sal, Portugal, 2010, Archi: Aires Mateus, Photo: Fernando Guerra, yatzer.com หน้า 26 Ecooler, Studiokahn, tech.sc หน้า 27 Jewish Community Center of Mainz, Mainz, Germany, 2010, Archi: Manuel Herz, manuelherz.com หน้า 28 Loom, Benjamin Hubert, dezeen.com

173


ดัชนีภาพ หน้า 29 Hiroshi Senju Museum, Nagano, Japan, 2011, Archi: Ryue Nishizawa, Photo: Iwan Baan, archdaily.com Hiroshi Senju Museum, Nagano, Japan, 2011, Archi: Ryue Nishizawa, Photo: Daici Ano, designboom.com หน้า 30 Kanazawa Umimirai Library, Kanazawa, Japan, 2011, Archi: Kazumi Kudo/Hiroshi Horiba, Photo: Satoshi Asakawa, dezeen.com หน้า 31 C&A, DDB Brazil, 2012, coloribus.com C&A, DDB Brazil, 2012, fashionandmash.wordpress.com C&A, DDB Brazil, 2012, brandingmagazine.com หน้า 32 adiVerse, 2011, Adidas/Intel, fastcompany.com adiVerse, 2011, Adidas/Intel, news.adidas.com หน้า 33 Urushi Musical Interface, 2010, Yuri Suzuki/ Matthew Rogers, designboom.com หน้า 34 Fendi, style.com Marc Jacobs, vogue.es The Row, style.com หน้า 35 Kimberly Ovitz, style.com Kimberly Ovitz, style.com หน้า 36 Madame Gres, karinaoldemans.blogspot.com Madame Gres, maisonchaplin.blogspot.com หน้า 37 Margaret Howell, vogue.it Dior Homme, trendland.com Dior Homme, forums.thefashionspot.com

หน้า 38 Salvatore Ferragamo, thefashionisto.com Damir Doma, fashion-news.pro Salvatore Ferragamo, thefashionisto.com Hermes, hommemodel.blogspot.com Lanvin, vogue.com.au หน้า 39 Linda Rodin, apieceoftoastblog.com หน้า 40 Jurlique, worldarchitecturenews.com Jurlique, jurlique.hk หน้า 41 ‘The Bertoia Chair’, styletheories.com ‘All About Classical House’, interior-homedecor.blogspot.com หน้า 42 Obscured Horizon, Mojave, California, America, Archi: Atelier Arata Isozaki, Photo: Patricia Parinejad, sigalonenvironment.soup.io หน้า 43 Obscured Horizon, Mojave, California, America, Archi: Atelier Arata Isozaki, Photo: Patricia Parinejad, sigalonenvironment.soup.io หน้า 44 Amangiri, Utah, American, 2009, Archi: Marwan Al-Sayed/ Wendell Burnette/Rick Joy, amanresorts.com Las Piedras Fasano, Uruguay, 2008, Archi: Isay Weinfeld, Photo: Fernando Guerra, yatzer.com หน้า 45 Archipelago cinema, Kudu island, Thailand, 2012, Archi: Ole Scheeren, Photo: Piyatat Hemmatat, designboom.com

174


ดัชนีภาพ หน้า 54 ‘Strokes of Genius’, Photo: Steven Meisel, Vogue, March 2006 An Expression of Joy, Robin Rhode/Jake Scott, bmwblog.com Kunsth of passage Funnel Wall, Germany, Annette Paul/ Christoph Roßner/André Tempel, livefastmag.com ‘Cruise Fashion in Blue, White and Red’, Photo: nautical-style-fashion.blogspot.com Photo: Margaret Edwards, nothinglikeaustralia.com.au/th หน้า 56 ‘I am a camera’, Photo: Raymond Meier, Vogue UK, February 2012, p.152 ‘Lady Gaga contro il bullismo’, vanityfair.it Photo: Tommy Ton, nycprgirls.com หน้า 57 Photo: Zoltan Tombor, Model: Andressa Fontana, Grazia Italy, April 2012 ‘The amazing technicolor house’, nicholestakerstyle.blogspot.com Pedrali, 2012, Leftloft, Photo: Paolo Spinazzè, leftloft.com Bottino Vases, Agnes Fries, blog.hellodesign.hu หน้า 58 ‘What does music look like?’, Photo: Martin Klimas, martin-klimas.de Cross-Legged Living Chair, Vladimir Tsesler, media.designerpages.com หน้า 59 ‘Fashion Watcher: metallic lips frenzy’, social-beautys.tumblr.com ‘You made it through the week! Time to celebrate…’, theberry.com

หน้า 60 Chambord, 2011, Georges Rousse, georgesrousse.com หน้า 61 ‘Wishing I was at the Beach…’, glamorousinretrospect.wordpress.com ‘Little Miss Sunshine’ Photo: Patrick Demarchelier, Vogue UK, February 2012, p.119 หน้า 62 ‘Vuitton X Kusama’, trunkscast.blogspot.com ‘Connecting the Dots: Yayoi Kusama and Louis Vuitton’, firstview.com หน้า 63 Croquis de mode, The French Institute of Athens, Athens, Greece, 2011, Atopos CVC, ozonweb.com ‘Orange Hoodie’, Photo: Armin Morbach, Tush Magazine #1, March 2010, charlielemindu.com ‘Hair Artist’, niuleibel.blogspot.com หน้า 64 Hot Voodoo, Pier Atkinson, piersatkinson.com หน้า 65 Photo: David Slijper, Makeup: Romy Soleimani, Elle France, May 2011 หน้า 66 ‘Nail Art Gallery’, appszoom.com หน้า 67 ‘Must see site: The Coveteur’, rantingsofashopaholic.com thecoveteur.com ‘Little Luxuries, Part II’, thebigbrowneyes.com หน้า 68 Mary Katrantzou, trendland.com Mary Katrantzou, letswearthis.blogspot.com Mary Katrantzou, damorrish.com Mary Katrantzou, haveagreathairday.co.uk หน้า 69 ‘Anna Selezneva - Tory Burch Spring 2012 Lookbook’, photoshootbloger.blogspot.com ‘Going to Rainbow Beach’, Photo: Tommy Tom, Vogue Japan, July 2011, p.97

175


ดัชนีภาพ หน้า 70 Alberta Ferretti, style.com ‘Vintage Stewardesses of the Jet Age’, theinvisibleagent.wordpress.com หน้า 71 Ralph Lauren Cruise, trashness.com McNeal, imageamplified.com หน้า 72 ‘Get the Look: 60’s Make-Up Twiggy’, fashionforwardfaces.wordpress.com ‘Spring 2012 Brings 60s Inspired Beauty’, hautetalk.com หน้า 73 ‘Prism Eyewear’, streetpeeper.com ‘Prism by Anna Laub S/S 2013’, thefashionlist.com หน้า 74 Bau, Vibeke Fonnesberg Schmidt, vibekefonnesbergschmidt.dk Bau, Vibeke Fonnesberg Schmidt, core77.com Dining tables, Vibeke Fonnesberg Schmidt, vibekefonnesbergschmidt.dk หน้า 75 Carlton, Ettore Sottsass, stylepark.com Big Table, Alain Gilles for Bonaldo, arthitectural.com Big Table, Alain Gilles for Bonaldo, dezeen.com หน้า 76 Flat table peeled, Jo Nagasaka, designboom.com หน้า 77 Stack, Alessandro Zambelli, coolhunting.com หน้า 78 Celsius, Angeline Meloche, yankodesign.com Fridgerette, Imon Deshmukh, imon.org หน้า 79 NFridge, Roger Santos/Nuno Horta/Andreia Lopes, yankodesign.com ‘Industrial Design’, coroflot.com หน้า 80 24 Issey Miyake, Sapporo Japan, Archi: Hisaaki Hirawata/ Tomohiro Watabe, designboom.com หน้า 81 Of light, Hussein Chalayan, Photo: Nick Knight, we-find-wildness.com

หน้า 82 ‘2012 Yeosu Expo to Attract 8 Million Visitors from 100 Countries’, koreaittimes.com ‘Expo 2012 Yeosu’, gazette.gokmu.com ‘World Expo in Yeosu’, Photo: Jean Chung, jeanchung.net หน้า 83 Moodwall, Studio Klink/Urban Alliance, Photo: Thomas Anneson/Roel van Lanen, archdaily.com หน้า 84 ‘Carpet tiles’, thedesignpages.blogspot.com Uptown Kids, Oklahoma, America, Archi: Elliott/Associates, Photo: Scott McDonald, Interior design, April 2011, p.241 หน้า 85 ‘Room dividers wall’, 232designs.com หน้า 86 Dar HI, Tunisia, Archi: Matali Crasset, designboom.com หน้า 87 ‘Water Music’, Photo: Alexi Lubomirski, Vogue Germany, March 2012 ‘Embrace the winter sun at Bondi’, sunburnswimwear.com.au I was a teenager in the…, Fandango Projects, Photo: Ducasse/Quiksilver, dezeen.com หน้า 88 ‘Cottage: Hampton Beach’, homebunch.com ‘East Coast breeze’, blog.boatpeopleboutique.com ‘Not Your Typical Red, White and Blue’, designserendipityinteriors.com หน้า 97 Paper House Lights, Hutch, hutchstudio.blogspot.ro Close, 2011, Mary Ellen Croteau, maryellencroteau.net ‘Stoke Newington Farmers Market’, londontown.com ‘Communities built with mindfulness’, stltoday.com ‘Geotargeted Social Media Advertising Spending to Grow 33% Annually’, askingsmarterquestions.com หน้า 99 ‘New Romantic Ms.Min’s Ancient-Modern Masterpieces’, Tank, Issue The Great White, Spring 2011

176


ดัชนีภาพ หน้า 100 Dance Me, Nancy Standlee, nancystandlee.blogspot.com ‘Lego Samples HD Wallpapers Stock Photos’, vvallpaper.net หน้า 101 Untitled (Second), 2008, Victoria Haven, pdxcontemporaryart.com Gego, Gertrud Goldschmidt, claireellery.blogspot.com หน้า 102 ‘Morning Beauty’, Photo: Mario Testino, Vogue UK, March 2008 ‘Tattoo Time’, watchingyouwatchingme-aj.blogspot.com หน้า 103 couchsurfing.org หน้า 104 ‘N.J. WWOOFing: a hands-on education to sustainable living’, Photo: John O’Boyle, nj.com ‘Framework’, Photo: Al Seib, framework.latimes.com หน้า 105 ‘Unseen Tours Featured in Elemental’, sockmobevents.org.uk ‘Unseen Tour (London)’, architectureofrelationships.blogspot.com หน้า 106 hereweare-uk.com หน้า 107 thepeoplessupermarket.org ‘Power to the people: The People’s Supermarket is here’, stillorsparkling.wordpress.com หน้า 108 ‘Unto This Last’, spanishboyinlondon.blogspot.com ‘Unto This Last, Final Story Selection’, Photo: Clay Willis, claywillis.wordpress.com ‘Unto This Last’, spanishboyinlondon.blogspot.com

หน้า 109 ‘Down Home Denim. Raleigh Denim Celebrates the Opening of Their New Store: The Curatory’, newraleigh.com Raleigh Denim Featured in Elle Magazine Exclusive’, newraleigh.com หน้า 110 shopfolklore.com หน้า 111 ‘The Pepsi Refresh Project’, responsiblecorporation.wordpress.com ‘Pepsi Refresh Everything’, mediamind.com หน้า 112 ‘Orange Rockcorps’, youthdiscoveryventures.wordpress.com ‘Orange RockCorps: Give, Get Given!’, design21sdn.com หน้า 113 Tropicana Advert Commercial: Arctic Sun - Brighter mornings for brighter days, youtube.com หน้า 114 ‘The Hungry Gap’, marksvegplot.blogspot.com ‘Inspiration: Abel & Cole’, crumbsfordinner.com หน้า 115 Noma, Copenhagen, Denmark, 2012, Archi: Architects 3XN, Photo: Adam Mõrk, dezeen.com หน้า 116 Oprah.com หน้า 117 ‘Bricolage workshop’, clarabellacraft.blogspot.com Bricolage and Friends exhibition, Centre Commercial, Paris, France, 2012, mentsen.co.uk หน้า 118 BigTreesProject, facebook.com หน้า 119 chrisowyoung.com หน้า 120 bangkokfreecycle.com หน้า 121 ‘Geolocation Apps giving way to social travel guides’, betakit.com ‘Services Spot On !!’, socialf5.com หน้า 122 Rewrite, Gam Fratesi, dezeen.com

177


ดัชนีภาพ หน้า 123 Confession Table, Nick Ross, dezeen.com หน้า 124 ‘Hans Blomquist’, desiretoinspire.net ‘Interior Decorating Concrete Walls Design’, homedesignerdecorating.com หน้า 125 ‘Bohemian Dreamin’, threadsence.com หน้า 126 ‘Estee Lauder “Every Woman Can Be Beautiful” Campaign’, thefashionfiend.com ‘Introducing: NARS Pure Radiant Tinted Moisturizer SPF 30/PA+++’, blushingnoir.com หน้า 127 lizziefortunatojewels.com Suno, launderetteblog.com หน้า 128 Ralph Lauren, Photo: Carter Berg, myfdb.com hackett.com หน้า 137 ‘The Richard Hauck Quartz Collection’, irocks.com ‘The Prophecies of Love’, propheciesoflove.com ‘Solar panels connect to base electric grid’, nellis.af.mil Derelict, Ahti Grünberg, innerdesign.com หน้า 139 ‘Wallpaper, Botanical print, lemon’, countrybymail.co.uk Stella McCartney, stellamccartney.com Givenchy Birds of Paradise Blazer, givenchy.com ‘Tropical Ginger Flowers’, weeklysurprise.com หน้า 140 ‘Citrus Fruits’, thecitrusfruits.blogspot.com ‘Bell Whistles Fresh’, affinia.com หน้า 141 ‘Garnet’, sflorg.com ‘Weitzner’s Cumulus’, weitznerlimited.com หน้า 142 ‘Liquid Light’, liquidlightsite.com Frii plastic bike, Dror Peleg, designboom.com หน้า 143 anthropologie.com

หน้า 144 My Wide Life Necromantic, Ludvig LÖfgren, kostaboda.com Bloom Chair, Kenneth Cobonpue, kennethcobonpue.com Yoda Easy Chair, Kenneth Cobonpue, kennethcobonpue.com หน้า 145 Geode, Paige Smith, acommonname.com หน้า 146 Jabra Stone2, jabra.com หน้า 147 wornagain.co.uk หน้า 148 NewspaperWood, Mieke Meijer, vij5.nl From A to Z, Greetje van Tiem, vij5.nl หน้า 149 ‘Art Safari: AfricanColours 2009 GalleryWalk’, africancolours.com FlipFlop, Diederik Schneemann, dezeen.com หน้า 150 Vac from the Sea, Electrolux, electrolux.se หน้า 151 Biocouture, Susan Lee, designboom.com หน้า 152 fabricanltd.com หน้า 153 ‘New Fabric-Dyeing Technique Uses Fluid-State CO2, Not Water’, Photo: Amber Isabel, ecouterre.com หน้า 154 ‘Fond de teint Diorskin Nude de Dior, marieclaire.fr ‘Instant Moisture Mask’, sephora.com หน้า 155 ‘Nesfluid, pip’eau ou pas ?’, planete-beaute.blogspot.com หน้า 156 Wat, Manon Leblanc, yankodesign.com หน้า 157 Swirl, Designaffairs, studioblog.designaffairs.com หน้า 158 BE, Tommaso Gecchelin, tommasogecchelin.com หน้า 159 Backpacker’s Diary PC, ZhongrenZhang/Chun Yang, excitris.com หน้า 160 ‘Le Design Cellulaire’, François Azambourg/Don E. Ingber, Photo: Phase One, lelaboratoire.org

178


ดัชนีภาพ หน้า 161 Off-grid itHouse, Pioneertown, America, Achi: Taalman Koch, Photo: Chad Mellon, chadmellon.com Off-grid itHouse, Pioneertown, America, Achi: Taalman Koch, Photo: Courtesy Taalman Koch, architectureweek.com หน้า 162 One Trinity Green, London, England, Archi: +3 Architecture, Photo: +3 Architecture, inhabitat.com หน้า 163 ‘The Green Revolution: Urban Gardens Transform Traditional Cityscapes’, plantworksinc.com ‘Pasona O2: Urban Underground Farming’, treehugger.com หน้า 164 ‘How to create a relaxing balcony’, homedit.com ‘the north brooklyn ‘bloggers banquet’, underthehaystack.net หน้า 165 Green Islands, Jean-Marie Massaud, dezeen.com

179


เกี่ยวกับ TCDC ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative & Design Center: TCDC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 เป็นหน่วยงาน ภายใต้สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำ�นักนายกรัฐมนตรี เพือ่ เป็นศูนย์กลางความรูด้ า้ นการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ให้กับสังคมไทย TCDC มุ่งสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายความคิดผ่าน กระบวนการให้ความรู้แบบสากล ตั้งแต่การจัดนิทรรศการ งานอบรมและสัมมนา การเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์เปี่ยมสาระ ไป จนถึงการเป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้า ด้วยบริการห้องสมุด เฉพาะด้านการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ซึ่งเป็น แหล่งรวบรวมหนังสือด้านการออกแบบกว่า 34,000 รายการ วารสารกว่า 210 ชื่อเรื่อง พร้อมสื่อมัลติมีเดีย และยังมีห้อง สมุดวัสดุเพื่อการออกแบบซึ่งรวบรวมวัสดุที่ใช้ในการผลิต เพื่อการออกแบบจากทั่วโลกกว่า 6,500 ชิ้น

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ 622 สุขุมวิท 24 กรุงเทพฯ 10110 โทร: (66) 2 664 8448 แฟ็กซ์: (66) 2 664 8458 www.tcdc.or.th เวลาทำ�การ: อังคาร - อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) 10.30 - 21.00 น. Thailand Creative & Design Center (TCDC) 6th Fl. The Emporium Shopping Complex 622 Sukhumvit 24, Bangkok 10110, Thailand Tel: (66) 2 664 8448 Fax: (66) 2 664 8458 www.tcdc.or.th Opening hours: Tuesday - Sunday (Closed Mondays), 10.30 - 21.00

นอกจากนี้ TCDC ยังร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ 14 แห่ง เพื่อให้บริการห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบฉบับ ย่อส่วน เพื่อให้คนไทยในภูมิภาคมีโอกาสเข้าถึงความรู้ด้าน การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนสืบค้นข้อมูล วัสดุเพื่อการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 180


ลิขสิทธิ์ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสํานักหอสมุดแห่งชาติ

คำ�สงวนสิทธิ์

เจาะเทรนด์โลก 2013 โดย TCDC: แฟชั่น วัสดุ เทคโนโลยี สี อัตราค่าดาวน์โหลด 30 บาทนี้เป็นเงินช่วยค่าใช้จ่ายในการ พื้นที่ และการใช้ชวี ติ / ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบสํานักงาน บริหารจัดการเพื่อจัดเตรียมข้อมูลเท่านั้น TCDC มิได้มี จุดประสงค์ในการแสวงหากำ�ไร หากแต่เพียงมุ่งเผยแพร่ บริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ความรู้เพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคมไทย กรุงเทพฯ : 2555 © 2555 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ 182 หน้า : ภาพประกอบ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ไม่อนุญาตให้คัดลอกหรือ ISBN 978-616-325-156-3 1. แฟชั่น. 2. สี. 3. วัสดุ. 4. นวัตกรรมทางธุรกิจ. I. ชื่อเรื่อง. ทำ�ซํ้าส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของหนังสือนี้ โดยมิได้รับ อนุญาตจากศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ 746.92 NK1548 Disclaimer

จัดทำ�ครั้งแรก 2555 โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

The 30-baht download fee is a contribution towards the administration and information preparation cost only. TCDC seeks not to make profit from this download, but aims to disseminate knowledge to the Thai society. © 2012 Thailand Creative & Design Center All rights reserved. No parts of this publication may be reproduced in any form or by any means without the permission in writing from Thailand Creative & Design Center. 181


โครงสร้างรวมแนวโน้มเทรนด์ 2013 นวัตกรรมเพื่อการปรนนิบัติ อุปกรณ์เพื่อตอบสนองรูปแบบชีวิตที่ลํ้าสมัย

เสรีแห่งการแสดงออก บรรเลงองค์ประกอบให้สะดุดตา การทดลองที่เกิดจากความสร้างสรรค์

ลักษณะโปร่ง นุ่มนวล สะท้อนแสง สร้างอารมณ์ผ่อนคลาย

การรับรู้ ด้วยสายตา

การตีความอดีตในความหมายใหม่ การแสวงหาความสงบนิง่ การหยุดพักเพือ่ ความมัน่ คงทางจิตใจ วิถที เ่ี รียบง่าย ไม่รบี เร่ง ลดขัน้ ตอน แต่ยงั คงคุณภาพ การคำ�นึงถึงผูอ้ น่ื

สร้างประโยชน์ จากทรัพยากรพื้นฐาน พัฒนารูปแบบการนำ�มาใช้ใหม่

รูปทรงในธรรมชาติที่ชัดเจน คุณค่าที่แฝงด้วยรอยตำ�หนิ

ความก้าวหน้า ทางวิทยาการ พลังแห่งการปลดปล่อย

จิตวิญญาณแห่งยุค 60 มนต์เสน่ห์แห่งการสังสรรค์และพักผ่อน

ความหลงใหล ในความทรงจำ� วิถีการทัศนาจร แนวใหม่ การเข้าถึง จิตวิญญาณภายใน

หลักการ ทางนิเวศวิทยา

พืน้ ถิน่ และชุมชน

โดดเด่นด้วยคุณลักษณะ

พืน้ ทีแ่ ละสังคมเสมือนจริง

คุณค่าแห่งท้องถิ่น การสร้างธุรกิจชุมชนแนวใหม่ ความหลากหลายที่สมดุล

การรวมกลุ่ม พื้นที่สร้างโอกาส


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.