GreenResearh 27

Page 1

เร�องเดนประจำฉบับ การศึกษาการปนเปอน สารอันตรายในพื้นที่ ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ความลมเหลวของการ จัดการขยะมูลฝอย ของประเทศไทย

ติดตามเฝาระวัง

ทาทีของสหประชาชาติ และทิศทางการดำเนินงาน ดานการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทย

ISSN:1686-1612

Research

ปที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

กาวหนาพัฒนา

ยุทธศาสตรการคาปจจุบัน แนวคิดเชิงรุก อยูที่ฉลากสิ่งแวดลอม “ดอยยาว - ดอยผาหมน” ชุมชน จัดการตนเองเพ�อแกไขปญหาหมอกควัน


บ.ก.เเถลง EDITOR’S TALK กลับมาพบกันอีกครั้งส�ำหรับ “Green Research” ฉบับที่ 27 ประจ�ำเดือนมิถุนายน 2557 ซึ่งภายในเล่มยังคง เต็มเปี่ยมไปด้วยเนื้อหาสาระและประเด็นส�ำคัญด้านงานวิจัยสิ่งแวดล้อมในหลายๆ เรื่องที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง โดยฉบับนี้ ประเด็นเรื่อง “ปัญหาขยะล้นเมือง” ซึ่งเพราะปัญหาดังกล่าวนี้เริ่มเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์อย่างมากในสังคม ซึ่งแต่เดิม นับว่าเป็นปัญหาเล็กๆ ที่เราสามารถควบคุมได้ เเต่ทว่าปัจจุบันจากการขยายตัวของจ�ำนวนประชากร ท�ำให้ปัญหาขยะมูลฝอย ขยายวงกว้างจนส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และสภาพสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป ปัจจุบนั แต่ละจังหวัดทัว่ ประเทศ ต้องประสบกับปัญหาขยะล้นเมืองไปตามๆ กัน ด้วยเหตุนที้ งั้ ภาครัฐ ภาคเอกชน และ ประชาชนในท้องถิ่นจึงต้องเริ่มตื่นตัว พร้อมร่วมมือกันฝ่าฟันปัญหาขยะล้นเมือง จุดเริ่มของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก�ำลังลุกลาม เป็นปัญหาระดับชาติ หลายจังหวัดเร่งแก้ไขน�ำโมเดลทีเ่ หมาะสมกับพืน้ ทีม่ าใช้เพือ่ ไปสูเ่ ป้าหมายยุทธศาสตร์เมืองสะอาดต่อไป ในอนาคต และนอกจากนั้น Green Research ฉบับนี้ ยังได้รวบรวมบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจไว้ให้ได้ติดตามกันเช่นเคยตลอด ทั้งเล่ม แล้วมาพบกันใหม่ในฉบับหน้าค่ะ

GREEN RESEARCH มิถุนายน 2557 ที่ปรึกษา

CONTENTS

เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ P.01_ขยะล้นเมือง ผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมที่เกิดจากตัวเรา P.05_การศึกษาการปนเปื้อนสารอันตรายในพื้นที่ต�ำบลหนองแหน

จตุพร บุรุษพัฒน์ เสริมยศ สมมั่น สากล ฐินะกุล

อ�ำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา P.11_ความล้มเหลวของการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย

บรรณาธิการบริหาร

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย

สุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ

กองบรรณาธิการ

โสฬส ขันธ์เครือ นิตยา นักระนาด มิลน์ ศิรินภา ศรีทองทิม หทัยรัตน์ การีเวทย์ เจนวิทย์ วงษ์ศานูน ปัญจา ใยถาวร จินดารัตน์ เรืองโชติวิทย์ อาทิตยา พามี

ติดตามเฝ้าระวัง P.14_ท่าทีของสหประชาชาติและทิศทางการด�ำเนินงานด้านการ ก้าวหน้าพัฒนา P. 21_“ดอยยาว-ดอยผาหม่น” ชุมชนจัดการตนเองเพือ่ แก้ไขปัญหาหมอกควัน P.25_ความคิดเชิงบวกต่อการพัฒนาคน P.28_ยุทธศาสตร์การค้าปัจจุบัน แนวคิดเชิงรุกอยู่ที่ฉลากสิ่งแวดล้อม พึ่งพาธรรมชาติ P.31_ความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง : หนทางสู่ความสุขแห่งวิถีชีวิต คนเมืองอย่างยั่งยืน (ตอนที่ 2)

P.1

ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนธานี ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02-577-4182-9 โทรสาร 02-577-1138 www.degp.go.th/website/20/

P.14

P.31


เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ

ขยะล้นเมือง

ผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมที่เกิดจากตัวเรา 4) น�ำ้ เสียทีเ่ กิดจากกองขยะมูลฝอยที่ ขยะมูลฝอยนัน้ นับวันจะเพิม่ มากขึน้ ตามจ�ำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มกี ารก�ำจัดขยะมูลฝอยให้ถกู ต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหา กองทิง้ ไว้ เป็นน�ำ้ เสียทีม่ คี วามสกปรกสูงมาก ความสกปรกต่างๆ ทีเ่ กิดจากขยะมูลฝอยจะต้องเกิดขึน้ อย่างแน่นอน ซึ่งมีท้งั สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว ขยะมูลฝอยนัน้ ไม่ได้มผี ลกระทบต่อ และสารพิษต่างๆ เจือปนอยู่ เมื่อน�้ำเสีย มนุษย์มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ จากกองขยะมู ล ฝอยไหลไปตามพื้ น ดิ น ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร บริเวณใด ก็จะท�ำให้บริเวณนั้นเกิดความ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม สกปรกและความเสื่ อมโทรมของพื้ น ดิ น ุ สมบัติ เป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย และอาจเปลีย่ นสภาพ ท�ำให้ดนิ มีคณ เป็นดินด่างหรือดินกรดได้ ในกรณีทนี่ ำ�้ เสีย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก จากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน�้ำก็จะ 1) ขยะมูลฝอย เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุข์ องแมลง ท�ำให้คุณภาพน�้ำเสียไป ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น น�ำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบ ยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนู แหล่งน�้ำผิวดินหรือแหล่งน�้ำใต้ดินก็ตาม และสัตว์อื่นๆ ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น�้ำและสิ่งมีชีวิต 2) ขยะมูลฝอย ท�ำให้เกิดกลิน่ เหม็นและก่อให้เกิดความร�ำคาญ ที่อาศัยในแหล่งน�้ำ น�้ำที่สกปรกมากหรือมี 3) ขยะมูลฝอยทีท่ งิ้ เกลือ่ นกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ สารพิษเจือปนอยู่ ก็อาจท�ำให้สัตว์น�้ำตาย ตามพื้น ท�ำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจ ในเวลาอันสั้น นอกจากนั้นสิ่งสกปรกต่างๆ แก่ผู้พบเห็น และผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตก ที่เจือปนในน�้ำ ก็จะส่งผลต่อระบบนิเวศ อยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน�้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของ ของน�ำ้ ท�ำให้สตั ว์นำ�้ ทีม่ คี า่ บางชนิดสูญพันธุไ์ ป น�้ำ ท�ำให้แหล่งน�้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

1


นอกจากนี้ น�้ ำ ที่ มี สิ่ ง สกปรก เจือปนย่อมไม่เหมาะแก่การอุปโภค บริโภค แม้จะน�ำไปปรับปรุงคุณภาพ แล้ ว ก็ ต าม เช่ น การท� ำ ระบบ น�ำ้ ประปา ซึง่ ก็ตอ้ งสิน้ เปลืองค่าใช้จา่ ย ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน�้ำ มากขึ้น 5) ขยะมู ล ฝอยทำ�ให้ เ กิ ด มลพิษแก่อากาศ ขยะมูลฝอยที่กอง ทิ้งไว้ ในเขตชุมชน หรือที่กองทิง้ ไว้ ในแหล่ ง กำ�จั ด ซึ่ง ไม่ มีก ารฝั ง กลบ หรือขณะทีท่ ำ�การเก็บขนโดยพาหนะ ที่ ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด ขยะ มู ล ฝอยเหล่ า นั้ น ส่ ง กลิ่ น เหม็ น น่ารังเกียจออกมา เศษชิ้นส่วนของ ขยะมูลฝอยจะสามารถปลิวไปในอากาศ ทำ�ให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และทำ� ความสกปรกให้กับบริเวณข้างเคียงได้ นอกจากนีข้ ยะมูลฝอยทีก่ องทิง้ ไว้นานๆ จะได้มกี า๊ ซทีเ่ กิดจากการหมักขึน้ ได้แก่ ก๊าซชีวภาพซึง่ ติดไฟหรือเกิด ระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งมีกลิ่นเหม็น ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะ ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถในการจัดเก็บ ขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงท�ำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้างตามสถานที่ต่างๆ หรือมีการน�ำไปก�ำจัด โดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาที่ขยะแต่ละชนิดย่อยสลายตามธรรมชาติ ชนิดของขยะ เศษกระดาษ เปลือกส้ม ถ้วยกระดาษเคลือบ ก้นกรองบุหรี่ รองเท้าหนัง กระป๋องอะลูมิเนียม ถุงพลาสติก โฟม

2 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

ระยะเวลาย่อยสลาย 2-5 เดือน 6 เดือน 5 ปี 12 ปี 25-40 ปี 80-100 ปี 450 ปี ไม่ย่อยสลาย ควรหลีกเลี่ยงการใช้


ท่านเป็นผู้หนึ่งที่สามารถแก้ ไขปัญหาขยะ มูลฝอยได้ โดยการ… 1. ก่อนจะทิง้ ขยะ หยุดคิดสักนิดว่าเราจะสามารถ ลดปริมาณขยะและน�ำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ไหม มีแนวคิดอยู่ 7R คือ • REFUSE การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือ

บรรจุภณ ั ฑ์ทจี่ ะสร้างปัญหาขยะรวมทัง้ เป็นมลพิษ ต่อสิง่ แวดล้อม เช่น กล่องโฟม หรือ ขยะมีพษิ อืน่ ๆ

• REFILL การเลื อ กใช้ สิ น ค้ า ชนิ ด เติ ม ซึ่ ง ใช้

บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นกว่า ขยะก็น้อยกว่าด้วย

• มูลฝอยย่อยสลาย

• RETURN การเลื อ กใช้ สิ น ค้ า ที่ ส ามารถส่ งคื น

หมายความว่า มูลฝอยที่ย่อยสลายได้เองตาม บรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่ม ธรรมชาติและ/หรือสามารถน�ำมาหมักท�ำปุย๋ ได้ เช่น เศษอาหาร ประเภทต่างๆ มูลสัตว์ ซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ เป็นต้น • REPAIR การซ่อมแซมเครื่องใช้ ให้สามารถใช้ แต่ไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่ เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ • REUSE การน�ำบรรจุภณ ั ฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

• มูลฝอยที่ยังใช้ได้ (รีไซเคิล)

เช่น ใช้ถุงผ้าไปช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บ

หมายความว่า มูลฝอยที่สามารถน�ำกลับมาท�ำ • RECYCLE การแยกขยะที่ ยั ง ใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ด้ ใ หม่ โดยผ่ า นกรรมวิ ธี ก ารผลิ ต ทาง ให้งา่ ยต่อการจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น บรรจุภณ ั ฑ์ อุตสาหกรรม เช่น เศษเหล็ก แก้ว พลาสติก กระดาษ เป็นต้น พลาสติก แก้ว กระป๋องเครื่องดื่มต่างๆ • มูลฝอยอันตราย • REDUCE การลดการบริ โ ภคและหาทางเพิ่ ม หมายความว่า มูลฝอยทีป่ นเปือ้ น หรือมีสว่ นประกอบ ประสิทธิภาพการใช้งานของสิง่ ของเครือ่ งใช้ตา่ งๆ ของวัตถุดังต่อไปนี้ 2. ทิง้ ขยะในทีท่ จี่ ดั ไว้ให้ และควรมีการคัดแยกขยะ 1. วัตถุระเบิดได้ • มูลฝอยทั่วไป 2. วัตถุไวไฟ หมายความว่า มูลฝอยที่ย่อยสลายได้ยากหรือ 3. วัตถุออกไซด์และวัตถุเปอร์ออกไซด์ อาจจะย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่ไม่คุ้มกับต้นทุน ในการน�ำกลับมาท�ำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธี 4. วัตถุมีพิษ การผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น กล่องบรรจุนมพร้อมดื่ม 5. วัตถุที่ท�ำให้เกิดโรค โฟม ซองหรือถุงพลาสติกส�ำหรับบรรจุอาหารด้วยวิธี 6. วัตถุกัมมันตรังสี สุญญากาศ ซองหรือถุงพลาสติกส�ำหรับบรรจุเครือ่ งอุปโภค ด้วยวิธีรีดความร้อน เป็นต้น 7. วัตถุทกี่ อ่ ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงทางพันธุกรรม

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

3


8. วัตถุกัดกร่อน 9. วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง 10. วัตถุอย่างอื่นที่อาจก่อให้เกิด ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรืออาจ ท�ำให้เกิดอันตรายแก่บคุ คล สัตว์ พืชหรือทรัพย์ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉายหรือ แบตเตอรีโ่ ทรศัพท์เคลือ่ นที่ ภาชนะทีใ่ ช้บรรจุ สารก�ำจัดแมลงหรือวัชพืช กระป๋องสเปรย์ บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น

ถังสีฟ้า

รองรับขยะทีย่ อ่ ยสลายไม่ได้ รีไซเคิลยาก แต่ไม่เป็นพิษ เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมีส่ ำ� เร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร ถังสีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถน�ำมาหมักท�ำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ ถังสีเหลือง รองรับขยะที่สามารถน�ำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ ถังสีเทา - ส้ม (เเดง) รองรับขยะทีม่ อี นั ตรายต่อสิง่ มีชวี ติ และสิง่ แวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่างๆ เอกสารอ้างอิง : http://www.sanook.com, www.thailegs.com, www.google.com

4 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ

การศึกษาการปนเปื้อนสารอันตราย

ในพื้นที่ต�ำบลหนองแหน

อ�ำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ดร.แฟรดาซ์ มาเหล็ม นายพีรพงษ์ สุนทรเดชะ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ ศูนย์วิจัยเเละฝึกอบรมด้านสิ่งเเวดล้อม

1. ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา จากเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมซึ่งเป็นชาวบ้านจากต�ำบลหนองแหนและต�ำบลเกาะขนุน อ�ำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เดินทางมายื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ร้องเรียนการลักลอบน�ำน�ำ้ เสียและสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม มาทิง้ ในต�ำบลหนองแหนและต�ำบลเกาะขนุน จากเหตุการณ์ครัง้ นัน้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ เเละสิง่ เเวดล้อมได้หารือร่วมกับรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ในวันที่ 13 กันยายน 2555 และได้มีการมอบหมายให้ หลายหน่วยงานด�ำเนินการเเก้ไขปัญหาในพืน้ ที่ ซึง่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อมได้รบั มอบหมาย ให้ดำ� เนินการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบต่อการปฏิบตั งิ านฟืน้ ฟู พืน้ ทีป่ นเปือ้ น และร่วมกับกรมควบคุมมลพิษและกรมทรัพยากรน�ำ้ บาดาลในการวิเคราะห์คณ ุ ภาพน�ำ้ และตะกอนดินในบ่อที่ท�ำการฟื้นฟู และตรวจสอบสภาพการปนเปื้อนของสารโลหะหนักและ สารอินทรีย์ระเหยง่ายในน�้ำใต้ดิน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ด�ำเนินการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อการปฏิบัติงานฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อน โดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

5


รวมทั้งหมด 492 คน ประกอบด้วย เพศชายร้อยละ 32 และ เพศหญิงร้อยละ 68 ส่วนใหญ่เป็นประชาชนทัว่ ไปทีอ่ าศัยอยู่ ในพืน้ ทีต่ ามภูมลิ ำ� เนาเดิม สามารถประเมินผลทีเ่ ห็นชัดเจนว่า ความคิดเห็นต่อสภาวะแวดล้อมทีม่ ผี ลกระทบจากกากของเสีย ในพืน้ ที่ ประชาชนส่วนใหญ่รอ้ ยละ 98 ทราบว่ามีการปนเปือ้ น จากกากของเสี ย โดยทราบข้ อ มู ล จากญาติ พี่ น ้ อ งหรื อ เพือ่ นบ้านมากทีส่ ดุ (34%) ทราบด้วยตัวเอง (20%) ผูใ้ หญ่บา้ น หรือก�ำนัน (17%) และข่าวสารจากชุมชนหรือหอกระจายข่าว ชุมชน (14%) ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ประชาชนคิดว่าส่งผลกระทบใน เรื่องกลิ่นและบ่อน�้ำตื้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51 และ 31 ตามล�ำดับ ซึง่ บ่อทิง้ จากกากของเสียดังกล่าว ท�ำให้ประชาชน ในพืน้ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการปนเปือ้ นในเรือ่ งกลิน่ มากทีส่ ดุ คิดเป็นร้อยละ 66 มีลักษณะกลิ่นเหม็นฉุน ท�ำให้มีอาการ เวียนศีรษะ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด แสบจมูก และผลกระทบ รองลงมาคิดเป็นร้อยละ 31 คือ น�ำ ้ ส่วนผลกระทบในเรือ่ งดิน คิดเป็นร้อยละ 3 ซึ่งปัจจุบันมีผลกระทบน้อยมาก แต่คิดว่า อนาคตอาจจะมีการปนเปือ้ น ในช่วงเวลาดังกล่าวกรมส่งเสริม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มได้ ด� ำ เนิ น การตรวจวั ด คุ ณ ภาพน�้ ำ และโลหะหนัก ในบ่อน�้ำตื้นและบ่อที่จะใช้เป็นประปาหมู่บ้าน ตรวจวัดคุณภาพน�้ำ จากตัวอย่างน�้ำจากบ่อน�้ำตื้นชาวบ้าน 30 บ่อ บ่อประปาหมูบ่ า้ น 4 บ่อ และบ่อเก็บน�ำ้ ขนาดใหญ่ 2 บ่อ พบว่าลักษณะทางเคมีและโลหะหนัก ประกอบด้วย เหล็ก (Fe), แมงกานี ส (Mn), ทองแดง (Cu), สั ง กะสี (Zn), สารหนู (As), ไซยาไนด์ (CN), ตะกั่ว (Pb), ปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd) และซีลเี นียม (Se), ซัลเฟต (SO4), คลอไรด์ (Cl), ฟลูออไรด์ (F) และไนเตรต (NO3-) ส่วนใหญ่มีปริมาณความ เข้มข้นน้อย ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานที่เหมาะสมและเกณฑ์ อนุโลมสูงสุด แต่พบแมงกานีส (Mn) มีปริมาณมากกว่า

6 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

ค่ามาตรฐานในบ่อน�้ำตื้นของชาวบ้านบางบ่อ และบ่อที่จะใช้ เป็ น ประปาหมู ่ บ ้ า น นอกจากนี้ ใ นเดื อ นเมษายน 2556 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมยังได้ด�ำเนินการตรวจสอบ เบือ้ งต้นหาสารอันตรายกลุม่ สารประกอบอินทรียใ์ นพืน้ ทีโ่ ดยการ เก็บตัวอย่างน�้ำจากบ่อที่ใช้ท�ำเป็นประปาหมู่บ้าน บ่อชาวบ้าน ส�ำหรับอุปโภคบริโภค คลองตาดน้อยและพื้นที่เกษตรกรรม ที่อยู่ใกล้กับสถานประกอบการก�ำจัดของเสียอุตสาหกรรม จากการวิเคราะห์เบือ้ งต้นพบสารปนเปือ้ นหลายชนิด ประกอบด้วย ตัวท�ำละลาย (solvent) สารประกอบไฮโดรคาร์บอนสายยาว สารประกอบฟีนอลและอนุพันธ์ สารกลุ่มอัลดีไฮด์ เป็นต้น ผูว้ า่ ราชการจังหวัดฉะเชิงเทราได้แต่งตัง้ คณะท�ำงาน ขึ้ น มาเพื่ อ ติ ด ตามการแก้ ไ ขปั ญ หาด้ ว ย ทั้ ง นี้ ข ้ อ มู ล จาก กรมสอบสวนคดีพเิ ศษ (DSI) แสดงให้เห็นว่า มีการลักลอบทิง้ กากของเสียอันตรายหลายจุดทั้งในต� ำบลหนองแหนและ ใกล้เคียง โดยพื้นที่หนองแหนมีจุดเสี่ยงต่อการปนเปื้อน สารเคมีอันตรายในสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสัตว์เลี้ยง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) โรงงานรีไซเคิล น�้ ำ มั น ซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ ติ ด กั บ คลองชลประทาน ตรงกั น ข้ า มกั บ จุดสูบน�้ำเพื่อท�ำประปาหมู่บ้าน และโรงงานรับก�ำจัดกาก ของเสียอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ติดริมล�ำห้วยตาดน้อยที่ไหล ไปยังหมู่บ้าน 2) หลุมฝังกลบขยะทั้งขยะจาก กทม.และ กากของเสียจากโรงงาน และ 3) บ่อดินลูกรังซึง่ มีการลักลอบ ทิ้งกากของเสียฯ ซึ่งจุดเสี่ยงเหล่านี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ต้นน�้ำ โดยทีช่ มุ ชนอยูท่ า้ ยน�ำ ้ ชาวบ้านต�ำบลหนองแหนเกือบทุกบ้าน มีบ่อน�้ำตื้นเพื่อใช้อุปโภค บริโภค เลี้ยงสัตว์และการเกษตร


2. การด�ำเนินงานของกรมส่งเสริม ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ตวั อย่างน�ำ้ ของกรมทรัพยากรน�ำ้ บาดาล คุณภาพสิ่งแวดล้อม

พบว่า มีการปนเปื้อนสารอันตรายโดยเฉพาะสารประกอบจ�ำพวกฟีนอล ในบ่อน�ำ้ ตืน้ หลายบ่อในลักษณะกระจายทัว่ พืน้ ทีห่ นองแหน จึงได้หา้ มชาวบ้าน น�ำมาใช้บริโภค ส่วนบางบ่อบริโภคได้หากมีการบ�ำบัดลดปริมาณเหล็กและ แมงกานีสก่อน ทั้งนี้ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน�้ำของกรมโรงงาน และกรมควบคุมมลพิษก็มผี ลไปในทิศทางทีส่ อดคล้องกัน การปนเปือ้ นสาร อันตรายในแหล่งน�้ำดังกล่าวท�ำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าอาจส่งผลกระทบ ต่อสัตว์เลีย้ งและสุขภาพอนามัยของประชาชน เนือ่ งจากในปี 2555 ฟาร์มหมู หลายแห่ ง มี ลู ก หมู แ รกคลอดตายยกครอก แม่ ห มู แ ท้ ง คลอดก่ อ น ก�ำหนด ลูกหมูพกิ ารแรกคลอด แม่หมูเบือ่ อาหาร น�ำ้ นมแห้ง ลูกหมูผอม โตช้า จนบางฟาร์มต้องปิดกิจการ มีผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตร ชาวบ้าน ที่ปลูกผักขายได้ลดลงเนื่องจากผู้บริโภคไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย ในช่ ว งเวลาที่ มี ก ารลั ก ลอบทิ้ ง น�้ ำ เสี ย อั น ตรายในบ่ อ ดิ น 15 ไร่ มี ช าวบ้ า นได้ รั บ ผลกระทบจากการได้ รั บ กลิ่ น มาขอรั บ การรั ก ษาที่ รพ.สต.หนองแหนและ รพ.สต.ปลายกระจับจ�ำนวนมาก ด้วยอาการที่ คล้ายกัน ได้แก่ เวียนศีรษะ มึนงง แสบจมูก หายใจล�ำบาก อ่อนเพลีย นอกจากนี้พบว่ามีชาวบ้านบางคนตรวจพบฟีนอลในกระแสเลือดตามที่ได้ มีการรายงานจากส�ำนักงานสุขภาพเเห่งชาติ ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่อย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2556 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มราษฎร “กลุ่มเรา รักษ์หนองแหน” ประมาณ 100 คนได้ยนื่ หนังสือเรียนนายกรัฐมนตรีขอให้ ช่วยเร่งรัดแก้ไขปัญหากรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมลักลอบทิ้งกากขยะและน�้ำเสียอันตรายท�ำให้กระทบต่อ วิถชี วี ติ ของประชาชนในพืน้ ทีบ่ ริเวณกว้าง ส�ำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ ใ ห้ ศู น ย์ วิ จั ย และฝึ ก อบรมด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพ สิง่ แวดล้อม ร่วมกับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และนักวิชาการ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิจารณาด�ำเนินการบ�ำบัด ฟืน้ ฟูพนื้ ทีป่ นเปือ้ นสารเคมี ในพืน้ ทีต่ ำ� บลหนองแหน อ�ำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามข้อเรียกร้องของประชาชน รายละเอียดปรากฏใน หนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0405(ลน3)/7085 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2556

กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อมเห็นว่า พื้ น ที่ ลั ก ลอบทิ้ ง กากอุ ต สาหกรรมอาจมี ส าร อันตรายอืน่ นอกจากสารฟีนอลทีส่ ง่ ผลต่อสุขภาพ ประชาชนและสั ต ว์ เ ลี้ ย ง ในการแก้ ไ ขปั ญ หา ในพื้ น ที่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ก ารศึ ก ษาเพิ่ ม เติ ม โดย ต้ อ งทราบว่ า เป็ น สารอั น ตรายชนิ ด ใดและมี ปริมาณความเข้มข้นเท่าใด กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่ ง แวดล้ อ มได้ ล งพื้ น ที่ เ ก็ บ ตั ว อย่ า งในเดื อ น กรกฎาคม 2556 ซึ่งการเก็บตัวอย่างครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณ ของสารอันตราย โดยได้สุ่มเก็บตัวอย่างน�้ำจาก บ่ อ น�้ ำ ตื้ น ของประชาชนรวมทั้ ง บ่ อ ที่ ใ ช้ ใ นการ เลี้ยงหมู (มีความลึกประมาณ 10 เมตร) จ�ำนวน 15 บ่อ บ่อน�้ำใช้ของโรงเรียนหนองแหน 2 บ่อ บ่อสัง เกตการณ์ของกรมทรัพยากรน�้ ำ บาดาล 12 บ่ อ อี ก ทั้ ง ได้ เ ก็ บ ตั ว อย่ า งน�้ ำ และดิ น ใกล้ สถานประกอบการรั บ ก� ำ จั ด ของเสี ย 2 แห่ ง เพื่ อ ประเมิ น โอกาสการปนเปื ้ อ นที่ อ าจมาจาก สถานประกอบการดังกล่าว โดยได้เก็บตัวอย่างน�ำ้ จากล�ำรางสาธารณะที่อยู่ใกล้สถานประกอบการ

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

7


ดังกล่าวทัง้ 2 แห่ง จ�ำนวน 4 ตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างดินตาม ความลึกโดยใช้เครื่องขุดเจาะเก็บตัวอย่างดินอย่างต่อเนื่อง (Geoprobe) โดยด� ำ เนิ น การขุ ด เจาะในพื้ น ที่ ป ระชาชน ที่อยู่ใกล้กับสถานประกอบการดังกล่าวทั้ง 2 แห่ง จ�ำนวน 5 จุด มีความลึกประมาณ 3-4 เมตร เก็บตัวอย่างดินตั้งแต่ พื้นผิวและทุก 50 เซนติเมตร หรือตามการเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพของดิน เช่น สีของเนื้อดิน เป็นต้น สารปนเปื้อนที่ศึกษา ประกอบด้วย 1) สารกลุ่ม ฟี น อล (phenol) จ� ำ นวน 10 ชนิ ด ดั ง นี้ Phenol, 2-chlorophenol, 2-methylphenol, 2-Nitrophenol, 2,4-dimethylphenol, 2,4-dichlorophenol, 4-chloro-3methylphenol, 2,4,6-trichlorophenol, 4-nitrophenol, และ Pentachlorophenol 2) สารกลุม่ พาธาเลท (Phthalate) จ�ำนวน 4 ชนิด ดังนี้ Di (2-ethylhexyl) phthalate (DEHP), Dibutyl phthalate (DBP), Benzylbutylphthalate (BBP), Di (n-octyl) phthalate (DnOP) 3) สารบิสฟีนอลเอ (Bis Phenol A) ทัง้ นีง้ านด้านการวิเคราะห์เป็นการศึกษาร่วมกัน ระหว่างศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อมและ รศ.ดร.อรพินท์ เจียรถาวร ภาควิชา เคมี สาขาเคมีวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมี ความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์สารเคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry) เป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลนี้มีความส�ำคัญอย่างยิ่งใน

การตัดสินใจเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ สารกลุ่มพาธาเลท (Phthalate) สารบิสฟีนอลเอ (Bis Phenol A) และสารกลุ่มฟีนอล (Phenol) เป็นกลุ่มสาร อันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพ สารกลุ่มพาธาเลท (Phthalate) เป็นสารที่ใช้เป็น พลาสติไซเซอร์ (plasticizers) เป็นสารทีใ่ ส่ในผลิตภัณฑ์พลาสติก เพื่อลดจุดหลอมที่ท�ำให้เกิดการไหล (flexing temperature) ของพลาสติกท�ำให้เม็ดพลาสติกมีความยืดหยุน่ และอ่อนนุม่ ขึน้ สารพาธาเลทเป็นสารที่มีผลต่อการสืบพันธ์ุ ตับ รวมทั้งเป็น สารทีอ่ าจก่อมะเร็ง และจากรายงานวิจยั ต่างประเทศ ซึง่ พบว่า สารกลุ่มพาธาเลทมีผลต่อการสร้างกระดูกของหนูที่ก�ำลัง เจริญเติบโต จ�ำนวนหนูที่มีชีวิตหลังคลอดลดลง สารบิสฟีนอลเอ (Bis Phenol A) ซึ่งเป็นสารเคมี ที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกของอาหาร เช่น ขวดน�้ำ ขวด นมเด็ก เป็นต้น จากการศึกษาโดย National Institute of Environmental Health Science ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานว่าสารบิสฟีนอลเอ เป็นสารที่อาจส่งผลกระทบต่อ ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมน การพัฒนาการทางสมองของ ทารกในครรภ์และเด็กทารก ซึ่งปัจจุบันบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ห้ามการใช้สารบิสฟีนอลเอ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ส�ำหรับเด็ก

8 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


ตัวอย่างสิ่งแวดล้อม จุดที่ตรวจพบสารดังกล่าว ประกอบด้วยบ่อน�ำ้ ตืน้ ชาวบ้านในหมู่ 9 และหมู่ 12 จ�ำนวน 3 บ่อ บ่อน�้ำในโรงเรียนบ้านหนองแหน และน�้ ำ จากล� ำ รางสาธารณะที่ อ ยู ่ ใ กล้ ส ถาน ประกอบการรับก�ำจัดของเสีย นอกจากนี้ได้ตรวจพบสารกลุ่มฟีนอล ประกอบด้ ว ย Phenol, 2-Nitrophenol, 2,4,6-trichlorophenol, และ Pentachlorophenol จุดที่ตรวจพบสารดังกล่าวประกอบด้วยบ่อน�้ำตื้น ชาวบ้ า นและบ่ อ น�้ ำ ตื้ น ส� ำ หรั บ การเลี้ ย งหมู ในหมู่ 7 หมู่ 9 และหมู่ 12 จ�ำนวน 7 บ่อ บ่อน�ำ้ ใน โรงเรียนบ้านหนองแหน และบ่อสังเกตการณ์ของ กรมทรัพยากรน�้ำบาดาลที่อยู่ใกล้กับบ่อลักลอบ ทิง้ กากอุตสาหกรรมทีม่ พี นื้ ที่ 15 ไร่ (มักถูกเรียกว่า บ่อ 15 ไร่) ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ให้ มีการบ�ำบัดแล้วแต่ประชาชนในพื้นที่ไม่แน่ใจ ว่าการบ�ำบัดเหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือไม่ ทั้งนี้บางจุดพบสารกลุ่มฟีนอลมากกว่า 1 ชนิด และเป็นที่น่าสนใจว่าพบสารฟีนอลชนิด Pentachlorophenol ในบ่อสังเกตการณ์ของ กรมทรัพยากรน�้ำบาดาลที่อยู่ใกล้กับบ่อลักลอบ ทิง้ กากอุตสาหกรรมทีม่ พี นื้ ที่ 15 ไร่ ในปริมาณทีส่ งู เกินกว่าค่ามาตรฐานน�ำ้ ใต้ดนิ (1 ppb) ซึง่ ตรวจพบ สารกลุ่มฟีนอล (Phenol) ที่เป็นสารประกอบฟีนอลสังเคราะห์ ในบ่อสังเกตการณ์ในปริมาณ 3.3 ppb ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นสาร ท�ำความสะอาด ฆ่าเชื้อ ฟอกหนัง ผลิตยา เป็นต้น โดยสารประกอบ ฟีนอลจะส่งผลต่อร่างกายท�ำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ความบกพร่องทางระบบประสาท มีผลต่อตับและไต ระบบหัวใจ และหลอดเลือด ท�ำให้หวั ใจล้มเหลว มีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ จากการศึกษาในครั้งนี้พบกลุ่มสารทั้งสามชนิดในตัวอย่างน�้ำ และดินในพื้นที่ต�ำบลหนองแหนและต�ำบลเกาะขนุน โดยตรวจพบสาร กลุ่มพาธาเลท เช่น Di (2-ethylhexyl) phthalate โดยในตัวอย่างน�้ำพบ สูงสุด 85 ppb (ค่าสูงสุดที่รับได้ของ USEPA 6 ppb) จุดที่ตรวจพบสาร ดังกล่าวประกอบด้วยบ่อน�ำ้ ตืน้ ชาวบ้านหมูท่ ี่ 7 ทีอ่ ยูใ่ กล้สถานประกอบการ รับก�ำจัดของเสีย บ่อน�้ำในโรงเรียนบ้านหนองแหน และน�้ำจากล�ำราง สาธารณะที่อยู่ใกล้สถานประกอบการรับก�ำจัดของเสีย การศึกษาครั้งนี้ยังได้ตรวจพบสารประเภท Bis Phenol A ใน ตัวอย่างน�้ำพบสูงสุด 53 ppb ทั้งนี้ยังไม่มีการก�ำหนดค่ามาตรฐานใน GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

9


ส�ำหรับผลการวิเคราะห์สารปนเปือ้ นในชัน้ ดินใกล้สถานประกอบการรับก�ำจัดของเสียทัง้ 2 แห่ง พบว่าดินมีการปนเปือ้ น สารกลุ่ม Phthalate และ Bis Phenol A โดยพบการปนเปื้อนของสารชนิด Di (2-ethylhexyl) phthalate สูงสุด 2265 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และพบ Bis Phenol A สูงสุด 2100 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม โดยสรุปจากผลการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารกลุ่มพาธาเลท (Phthalate) สารบิสฟีนอลเอ (Bis Phenol A) สารกลุม่ ฟีนอล (Phenol) ในพืน้ ทีพ่ บว่ามีการปนเปือ้ นกระจายทัว่ พืน้ ทีพ่ บการปนเปือ้ นทัง้ ในบ่อน�ำ้ ตืน้ ประชาชน บริเวณใกล้สถาน ประกอบการก�ำจัดของเสีย อีกทั้งพบการปนเปื้อนในบ่อน�้ำของโรงเรียนซึ่งเดิมมีการใช้น�้ำในบ่อส�ำหรับนักเรียน การปนเปื้อน สารอันตรายในพื้นที่มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งในการด�ำเนินการแก้ไขโดยด่วน ส�ำหรับแผนการด�ำเนินงานต่อไปในปีงบประมาณ 2557 ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม จะด�ำเนินการศึกษาการกระจายตัวของสารปนเปื้อนในพื้นที่ เพื่อใช้เป็น ข้อมูลในการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนในพื้นที่ต่อไป

รูปแสดงจุดเก็บตัวอย่างน�้ำที่ตรวจพบการปนเปื้อนของสารอันตราย

จุดที่ตรวจพบสาร Nitrophenol

จุดที่ตรวจพบสาร Pentachlorophenol

จุดที่ตรวจพบสาร Phenol จุดที่ตรวจพบสาร Di (2-ethylhexyl) phthalate

10 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

จุดที่ตรวจพบสาร 2,4,6-trichlorophenol

จุดที่ตรวจพบสาร 2,4 dichlorophenol

จุดที่ตรวจพบสาร Bis Phenol A


เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ

ความล้มเหลว ของการจัดการขยะมูลฝอย ของประเทศไทย ดร.วรรณา เลาวกุล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ของขยะมูลฝอย เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาขยะมูลฝอยนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณ ขยะมูลฝอยประมาณ 26.77 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปี 2555 ถึง 2 ล้านตัน และมีปญ ั หาการจัดการขยะมูลฝอยเป็นอย่างมาก ขยะมูลฝอยที่ได้รับการก�ำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลมีเพียง 7.2 ล้านตัน (ร้อยละ 27) เท่านั้น และมีการน�ำกลับมาใช้ ประโยชน์ใหม่เพียง 5.1 ล้านตัน (ร้อยละ 19) น�ำกลับไป ใช้ประโยชน์ 19% ไม่ได้มีการ เก็บขน 28%

แนวทางจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวม ถูกหลัก สุขาภิบาล 27% ไม่ถูกหลัก สุขาภิบาล 26%

การจัดการขยะมูลฝอย ปี 2556 เเหล่งที่มา : กรมควบคุมมลพิษ

ในการจัดการขยะมูลฝอยมีทั้งกฎหมายและ แผนการจัดการขยะแห่งชาติ ได้แก่ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แผนการจัดการขยะแห่งชาติ ซึ่งจัดท�ำโดยกระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมือ่ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2546 เพือ่ ใช้เป็น กรอบและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ ในภาพรวมของประเทศ ซึ่งแนวทางการจัดการขยะ มูลฝอยในภาพรวม สรุปได้ดังนี้ GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

11


ก�ำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิชาการ เช่น การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และ การหมักท�ำปุย๋ เป็นต้น ซึง่ แต่ละวิธมี คี วามแตกต่างกันในด้าน ต้นทุนการด�ำเนินงาน ความพร้อมขององค์กร ปริมาณและ ประเภทของขยะ เป็นต้น จัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 7 R คือ Reduce Reuse Recycle Refuse Refill Repair และ Return การแยกขยะ เพื่อลดขยะที่ต้องน�ำไปก�ำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยทีส่ ดุ เช่น ขยะแห้งบางชนิดทีส่ ามารถแปรสภาพ น�ำกลับมาใช้ได้อกี ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก ขยะเปียก สามารถน�ำมาหมักท�ำปุย๋ น�ำ้ ชีวภาพ ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องฉีดสเปรย์ ต้องมีวิธีก�ำจัดที่ปลอดภัย การจัดการขยะแบบครบวงจร ส่งเสริมการผลิตทีส่ ะอาดในภาคการผลิต โดยลด การใช้วัสดุ ลดพลังงาน และลดมลพิษ เพิ่มศักยภาพการใช้ ทรัพยากรหมุนเวียน การน�ำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนร่วมลงทุนและ ตัวอย่างการน�ำเศษวัสดุที่เหลือใช้มาแปรรูปให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ด�ำเนินการจัดการขยะ ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการจัดการขยะ มีหลายหน่วยงานตระหนักถึงความส�ำคัญของปัญหา อย่างถูกหลักวิชาการ รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตส�ำนึก ขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และพยายามรณรงค์ ให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของตนเอง การน�ำขยะกลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณขยะ ได้มีการจัดท�ำ โครงการต่างๆ ขึน้ เช่น โครงการคนไทยหัวใจสีเขียว โครงการ ในการร่วมมือกันจัดการขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน ส่ ง เสริ ม พหุ ภ าคี ใ นการพั ฒ นาชุ ม ชนอย่ า งยั่ ง ยื น ภายใต้ แผนปฏิบัติการ 21 ระดับท้องถิ่น โดยกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะอย่างยั่งยืนของเทศบาลต�ำบล พังโคน โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ศูนย์วสั ดุรไี ซเคิลชุมชน โครงการเรียกคืนบรรจุภัณฑ์โดยผู้ประกอบการ โครงการ ชุมชนปลอดขยะและการซื้อขายขยะที่น�ำกลับมาแปรรูปใช้ ใหม่ได้โดยร้านรับซือ้ ของเก่า โครงการ 45 วันรวมพลัง ลดถุง พลาสติก ลดโลกร้อน ด�ำเนินการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ร่วมกับผูป้ ระกอบการห้างสรรพสินค้าและประชาชน โครงการ จัดการขยะครบวงจร เป็นต้น แต่ในทางปฏิบตั กิ ารน�ำขยะกลับ มาใช้ใหม่ยังอยู่ในระดับต�่ำ ประมาณร้อยละ 19 เท่านั้น และ ยังคงมีปริมาณขยะมูลฝอยที่ตกค้างสะสมทั้งประเทศอยู่เป็น ปริมาณมากถึง 19.9 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 74

12 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


สาเหตุของความล้มเหลวในการจัดการขยะมูลฝอย มีหลายหน่วยงานและหลายองค์กร พยายามน�ำ แนวทางดังกล่าวข้างต้นมาใช้ปฏิบตั ิ อย่างไรก็ตาม การจัดการ ขยะมูลฝอย ก็ยังมีปัญหาและมีหลายสาเหตุ สรุปได้ดังนี้ การด�ำเนินงานจัดการขยะ การให้บริการเก็บ ขน และการก�ำจัดขยะมูลฝอยยังขาดประสิทธิภาพ และไม่ สามารถด�ำเนินการได้อย่างทั่วถึง โครงการรณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกขยะยังไม่ ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ควร เพราะเมื่อประชาชนคัดแยก ขยะแล้ว กลับไม่มกี ารเก็บขยะแบบแยกเพือ่ น�ำไปก�ำจัดอย่าง ถูกวิธี ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกว่าแยกขยะไปก็เท่านั้นเพราะ ในที่สุดรถเก็บขยะของส�ำนักงานเขตเทศบาลก็เทกองรวมกัน อยู่ดี หรือกลายเป็นหน้าที่ของซาเล้งที่จะเป็นผู้คัดแยก ระบบก�ำจัดขยะบางแห่งยังไม่ถูกหลักสุขาภิบาล บางแห่งหยุดเดินระบบ เนือ่ งจากต้องมีการปรับปรุง ซ่อมแซม ระบบ ระบบก� ำ จั ด ขยะที่ ส ร้ า งแล้ ว บางแห่ ง ไม่ เ คย เดินระบบเนือ่ งจากประชาชนทัง้ ในท้องถิน่ และพืน้ ทีใ่ กล้เคียง ต่อต้าน ข้อจ�ำกัดของทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชนในด้านการ ลงทุนเพื่อการจัดการขยะโดยใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสาน หลายวิธี ความไม่ชัดเจนในการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน ขาดระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมทีม่ ปี ระสิทธิภาพ การด�ำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการขยะประสบปัญหาขาดแคลนงบประมาณ และก�ำลังคนในการจัดการ ขาดความรู้ความเข้าใจในการ จัดการและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งเกิดความ ขัดแย้งในการด�ำเนินการ แผนการจัดการขยะมูลฝอยในระดับท้องถิน่ ยังไม่มี การพิจารณาด�ำเนินการในลักษณะศูนย์กำ� จัดขยะมูลฝอยรวม ระเบียบและแนวทางปฏิบตั ใิ นเรือ่ งศูนย์กำ� จัดขยะ มูลฝอยรวมยังไม่เคยมีการก�ำหนดขึ้นอย่างชัดเจน

การใช้เตาเผาขยะเป็นทางเลือกในการก�ำจัดขยะ แต่ท�ำได้ยาก เนื่องจากต้องได้รับการยอมรับจากประชาชน ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ก�ำจัดขยะ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะ ประชาชนขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้เตาเผาขยะ ปัญหาขยะนอกเขตเทศบาล ยังคงใช้วิธีเก็บ รวบรวมจากแหล่งชุมชนมากองรวบรวมบนพื้นดินในพื้นที่ ว่างๆ แล้วปล่อยให้ยอ่ ยสลายเองตามธรรมชาติ ไม่มกี ารก�ำจัด ตามหลักการสุขาภิบาล หรืออาจมีการเผากลางแจ้ง ปัญหาบ่อขยะหรือแหล่งทิ้งขยะหลายพื้นที่ที่ขาด การจัดการที่ดีพอ และมักมีปัญหาไฟไหม้บ่อขยะหลายแห่ง และบ่อย ท�ำให้มผี ลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในบริเวณ ใกล้เคียง และเกิดการร้องเรียนหลายพื้นที่ ขาดความเข้มงวดทางด้านกฎหมาย ไม่น�ำมา ปฏิบัติอย่างจริงจัง ในการลงโทษผู้กระท�ำผิด กรณีที่มีการ ลักลอบน�ำเอาขยะอุตสาหกรรมหรือขยะพิษมาทิ้งปนกันกับ ขยะมูลฝอยชุมชน จากปัญหาปริมาณขยะมูลฝอยทีเ่ หลือตกค้างสะสม เป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้มีการกองทิ้งตามบ่อขยะหรือแหล่ง ทิง้ ขยะหลายพืน้ ที่ ซึง่ ขาดการจัดการทีด่ พี อ และบางครัง้ มีการลักลอบน�ำเอาขยะอุตสาหกรรมหรือขยะพิษมาทิง้ ปน กันกับขยะมูลฝอยชุมชน ท�ำให้มกี ารสะสมกลิน่ และสารพิษ ทีเ่ ป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และหากมีไฟไหม้ บ่อขยะดังกล่าวก็ยิ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในวงกว้าง ซึง่ รายละเอียดท่าน สามารถติดตามได้ในวารสาร Green Research ศูนย์วจิ ยั และฝึกอบรมด้านสิง่ แวดล้อม ฉบับหน้า เอกสารอ้างอิง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2554. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2553. ISBN 978-974-286-919-9. สถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2556. ข่าวสารสิง่ แวดล้อม. กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 14/2557 วันที่ 19 มีนาคม 2557. [Online] Available from http://www.pcd.go.th/ Public/News/GetNewsThai.cfm?task=lt2009&id=17119

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

13


ติดตามเฝ้าระวัง

ท่าทีของสหประชาชาติและทิศทางการด�ำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ดร.สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.วรางคณา จุติด�ำรงค์พันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.สุดา อิทธิสุภรณ์รัตน์ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพิบัติภัย เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก ซึ่งจากการ ศึกษาโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติพบว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศที่มีระดับสูงเกินกว่าสภาพที่เหมาะสมต่อการควบคุมอุณหภูมิและความอบอุ่นของพื้นผิวโลก และหลักฐาน ทางวิทยาศาสตร์ยังแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ อาทิเช่น การเผาไหม้น�้ำมันและถ่านหิน (Fossil Fuels) จากภาคอุตสาหกรรมและขนส่ง น่าจะเป็นตัวการหลักของการเปลี่ยนแปลงภาวะเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ การเพิ่มขึ้น ของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก รวมถึงความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศในช่วงระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา (IPCC, 2007) อาทิเช่น ภาวะแห้งแล้งและน�้ำท่วมอย่างฉับพลันในหลายพื้นที่ทั่วโลก รูปแบบและปริมาณการเกิดฝนที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง กลุ่มนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจึงตื่นตัวในการทบทวนนโยบายและหามาตรการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในเวทีการประชุมระดับโลก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางแก้ไขปัญหาโดยอาศัยการปรับกระบวนทัศน์เชิงบริหารจัดการ รวมทั้งขับเคลื่อนประชาคมโลกไปสู่สังคมที่มั่นคงและทนทานต่อความเสี่ยงจากภูมิอากาศ (Climate Resilience Society) อย่างยั่งยืนต่อไป (ชยันต์และคณะ, 2556) ท่าทีของสหประชาชาติวา่ ด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ COP คืออะไร? เนือ่ งด้วยปัญหาการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ ถูกจัดอยู่ในวาระสากล หน่วยงานสหประชาชาติจึงเข้ามามีบทบาทส�ำคัญ ในการประสานงานและก�ำหนดกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) ในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) โดยมีเป้าหมาย หลักเพื่อควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบ ต่อระบบภูมิอากาศ อีกทั้งยังก�ำหนดให้มีการประชุมสมัชชาประเทศภาคี

14 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


(The Conference of the Parties - COP) ภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ อย่างต่อเนื่อง เป็นประจ�ำทุกปีเริ่มตั้งแต่สมัยที่ 1 ใน ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) จนถึงปัจจุบัน (ครั้งที่ 18 ในปี ค.ศ. 2012 ; พ.ศ. 2555) เพื่อเป็นการตรวจสอบ ติดตามผล การด�ำเนินงานและเจรจาร่วมกันในประเด็นทางกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องอย่างมีประสิทธิภาพ (UNFCCC, 1992) ดังสรุปรายละเอียด ไว้ในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 สาระจากที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ (UNFCCC, 2014 ; EPPO, 2011) COP1 (1995)

COP2 (1996) COP3 (1997)

COP4 (1998)

COP5 (1999) COP6 (2000)

เบอร์ลิน เจรจาเพื่อจัดท�ำข้อตกลงโดย ก) ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือสมาชิกในกลุ่ม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี Annex I มีพันธสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีที่เหมาะสม ข) ประเทศก�ำลังพัฒนาหรือ สมาชิกในกลุ่ม Non-Annex I ได้รับการยกเว้น การปฏิบัติตามพันธสัญญาฯ แต่ควรมีความรับผิดชอบที่จะเข้าร่วมลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่ (Common But Differentiated Responsibilities) เจนีวา จัดตัง้ คณะกรรมการเฉพาะกิจทีเ่ รียกว่า Ad Hoc Group on Berlin Mandate ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (AGBM) เพื่อท�ำการยกร่างพิธีสาร เพื่อใช้ในการเจรจาหารือเกี่ยวกับการตั้ง เป้าหมายปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เกียวโต ก�ำหนดพิธสี ารฉบับแรกของโลก ว่าด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ โดย ประเทศญี่ปุ่น ก�ำหนดให้ประเทศสมาชิก Annex I มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก1 อย่างน้อยร้อยละ 5 เทียบกับระดับการปล่อยในปีฐาน (ค.ศ. 1990) ภายในปี ค.ศ. 2012 ทั้งนี้ประเทศภาคีสมาชิก สามารถด�ำเนินงานตามกลไกยืดหยุ่น 3 แนวทางดังนี้ ก) กลไกการด�ำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI) ข) กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ค) กลไกการซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) (UNFCCC, 1997) บัวโนส ไอเรส วางแผนเพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถและศักยภาพในการด�ำเนินกิจกรรม ประเทศอาร์เจนตินา ภายใต้กลไกของพิธีสารเกียวโต ทั้งรูปแบบการด�ำเนินงาน กลไกการเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนหารือในประเด็นการเปลีย่ นแปลง การใช้ที่ดินและป่าไม้ เพื่อรักษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Sink Mechanism) กรุงบอนน์ พัฒนาแนวทางการจัดท�ำฐานข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (National Greenhouse Gas Inventory) โดยก�ำหนดให้ประเทศสมาชิก Annex I ต้องส่งฐานข้อมูลดังกล่าว ภายในปี ค.ศ. 2000 และ 2001 กรุงเฮก สนับสนุนทางการเงินส�ำหรับแผนงานลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้พิธีสาร ประเทศเนเธอร์แลนด์ เกียวโต โดยอาศัยความช่วยเหลือจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) เป็นกลไกพัฒนาโครงการฯ ในประเทศก�ำลัง พัฒนา หรือสมาชิกในกลุ่ม Non-Annex I

1

ก๊าซเรือนกระจกที่ระบุในพิธีสารเกียวโตมี 6 ชนิด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูโอคาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ (SF6)

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

15


COP7 (2001)

มาราเก็ช ประเทศโมร็อกโก

COP8 (2002)

นิวเดลี ประเทศอินเดีย

COP9 (2003)

มิลาน ประเทศอิตาลี

COP10 (2004)

บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา

COP11 (2005)

มอนทรีออล ประเทศแคนาดา

ทบทวนข้ อ ปฏิ บั ติ แ ละแนวทางปรั บ ปรุ ง การดำ�เนิ น งาน ตลอดจนพั ฒ นา ศักยภาพในการจัดทำ�บัญชีกา๊ ซเรือนกระจกตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ต้องให้ความช่วยเหลือและ คำ�ปรึกษาเชิงเทคนิคแก่สมาชิกในกลุ่ม Non-Annex I ตลอดจนมีการจัดตั้ง กองทุนขึ้นมา 3 แหล่ง เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศได้แก่ ก) The Least Developed Countries Fund (LDC) ข) Special Climate Change Fund (SCCF) และ ค) Adaptation Fund กำ�หนดข้อมูลเกีย่ วกับการดำ�เนินโครงการตามกลไกการพัฒนาทีส่ ะอาด (CDM) ครอบคลุมถึงรูปแบบกิจกรรม ขั้นตอนการดำ�เนินงานและเอกสารประกอบ โครงการ (Project Design Document: PDD) การคำ�นวณปริมาณก๊าซ เรือนกระจกทีล่ ดได้เทียบกับกรณีฐาน (Emission Reduction Unit) การขึน้ ทะเบียน และซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Certified Emissions Reductions : CERs) รวมถึงการพัฒนามาตรฐานเชิงเทคนิค สำ�หรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง ระบบลงทะเบียนภายใต้พิธีสารเกียวโต ทบทวนบทบาทหน้าที่ของสหประชาชาติ (UNFCCC) ในการตรวจสอบ/ ทวนสอบความถูกต้อง และขึน้ ทะเบียนคาร์บอนเครดิต ให้แก่ผพู้ ฒ ั นาโครงการ ตามกลไกการพัฒนาทีส่ ะอาด รวมถึงให้ภาคีสมาชิกใช้แนวทางปฏิบตั ทิ ด่ี ี เกีย่ วกับ กิจกรรมการใช้ท่ีดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้ ตลอดจนการปลูกป่าและฟื้นฟูป่า (Land Use, Land Use Change and Forestry : LULUCF) โดยจัดรวมไว้ ในภาคหลักของบัญชีก๊าซเรือนกระจก ของประเทศนั้นๆ สนับสนุนให้ภาคีสมาชิกด�ำเนินงาน เพื่อปรับตัวและรับมือต่อปัญหาการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation and Response to Climate Change) รวมทั้งสนับสนุนกลยุทธ์เชิงบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงิน การพัฒนาแบบจ�ำลองผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอันเกิดจากปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบมาตรการ สนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงานที่มีอ�ำนาจด�ำเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่ สะอาด (CDM) ที่ด�ำเนินการในกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา เห็นชอบให้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ด�ำเนินงานเพื่อสนับสนุนและ ช่วยเหลือสมาชิกประเทศ Non-Annex I ในการพัฒนาจัดท�ำรายงานแห่งชาติ รวมถึงพิจารณาสนับสนุนเทคโนโลยีการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก (Carbon Capture and Storage Technologies) เพื่อใช้เป็นแนวทางการด�ำเนินงาน ตามพันธกรณีของแต่ละประเทศที่ได้ก�ำหนดไว้ ตลอดจนจัดตั้งคณะท�ำงาน เฉพาะกิจก�ำหนดพันธกรณีลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในกลุ่ม Annex I ภายใต้พธิ สี ารเกียวโต (Ad Hoc Working Groups on Further Commitment for Annex I Parties under the Kyoto Protocol: AWG-KP)

16 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


COP12 (2006)

กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา

COP13 (2007)

บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

COP14 (2008)

พอซแนน ประเทศโปแลนด์

COP15 (2009)

กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

COP16 (2010)

แคนคูน ประเทศเม็กซิโก

ก�ำหนดกรอบด�ำเนินงาน เพือ่ เป็นแนวทางปฏิบตั ใิ ห้แก่ประเทศสมาชิกได้ใช้เงิน จากกองทุนสิง่ แวดล้อมโลก (GEF)เพือ่ พัฒนากิจกรรมตามข้อก�ำหนดของ COP ในด้านต่างๆ ดังนี้ ก) การปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือเทคโนโลยีเชือ้ เพลิงทีม่ รี ะดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต�ำ ่ ข) การพัฒนา งานศึกษา วิจยั ทีเ่ กีย่ วกับการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานในภาคอุตสาหกรรม และขนส่ง ค) การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ง) การปลูกป่าและใช้ประโยชน์จากที่ดินว่างเปล่า และ จ) การผลิตก๊าซมีเทน จากขยะและน�้ำเสีย สนับสนุนแนวทางการด�ำเนินงานตามแผนระยะยาวของภาคีสมาชิก ในการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ตามความสามารถและศักยภาพทีม่ อี ยู่ (Common But Differentiated Responsibilities)โดยจัดตัง้ คณะท�ำงานเฉพาะกิจด้านความ ร่วมมือระยะยาวภายใต้อนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Ad Hoc Working Group on Long-term Cooperative Action: AWG-LCA) ด�ำเนินงาน อย่างเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ โดยหวังที่จะบรรลุเป้าหมายภายในปี ค.ศ. 2012 ตามที่มีการระบุไว้ในพิธีสารเกียวโต ส่งเสริมกลยุทธ์ดา้ นการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Poznan Strategic Programme on Technology Transfer) และสร้างเสริมกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งยกระดับการลงทุน เพื่อด�ำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ สภาพภูมิอากาศในประเทศก�ำลังพัฒนา ตลอดจนติดตามความก้าวหน้าจาก แผนงานระยะยาวในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากประเทศภาคี สมาชิก พิจารณาตัวเลขเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในกลุม่ Annex I ตามพันธสัญญาภายใต้พิธีสารเกียวโต และติดตามผลการด�ำเนินงานของ คณะท�ำงาน AWG-LCA ภายใต้ความร่วมมือระยะยาวในการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก มติรบั รองเอกสาร Cancun Agreement ซึง่ ก�ำหนดให้มกี ารขยายผลการด�ำเนินการ ในการลดก๊าซเรือนกระจกโดย ก) ด�ำเนินมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจก ที่เหมาะสม โดยให้ประเทศที่พัฒนาแล้วจัดท�ำยุทธศาสตร์หรือการพัฒนา แบบการปล่อยคาร์บอนต�่ำ (Low-Carbon Development Strategies) และ ข) จัดท�ำมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจกทีเ่ หมาะสม โดยประเทศก�ำลังพัฒนา (Nationally Appropriate Mitigation Action by Developing Country Parties: NAMAs) ควรด�ำเนินมาตรการตามความเหมาะสม (ตามความสมัครใจ) หรือ NAMAs ในบริบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งอาจได้รับการสนับสนุน ด้านเงินทุน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพือ่ มุง่ ไปสูเ่ ป้าหมายในการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงภายในปี ค.ศ. 2012 (OAE, 2011)

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

17


COP17 (2011)

เดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้

COP18 (2012)

กรุงโดฮา รัฐกาตาร์

จัดตั้งคณะท�ำงาน Ad Hoc Working Group on the Durban Platform for Enhanced Action ซึง่ มีหน้าทีว่ างแผนการด�ำเนินงาน และเจรจาอย่างเร่งด่วน ในครึง่ ปีแรกของปี ค.ศ. 2012 โดยเริม่ กระบวนการพัฒนา “พิธสี าร หรือตราสาร กฎหมาย หรือข้อตกลงที่มีผลทางกฎหมาย ที่มีผลบังคับใช้กับทุกประเทศภาคี โดยครอบคลุมถึงแนวทางการบรรเทา (Mitigation) ปรับตัว (Adaptation) กลไกทางการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนมีการหารือถึงแผนงานลดก๊าซ เรือนกระจกของประเทศก�ำลังพัฒนา (NAMA) และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มติทปี่ ระชุมตัดสินใจด�ำเนินงานตามแนวทางทีจ่ ะน�ำไปสู่ ก) การรับรองพิธสี าร หรือตราสาร หรือข้อตกลงทีม่ ผี ลทางกฎหมาย ภายใต้อนุสญ ั ญาฯ เพือ่ ใช้กบั ทุก ประเทศภาคีสมาชิก ซึ่งมีผลบังคับใช้และด�ำเนินการได้นับจากปี ค.ศ. 2020 (พันธกรณีที่ 2) และ ข) บ่งชีแ้ ละแสวงหาทางเลือก เพือ่ เป็นขอบเขตด�ำเนินงาน ในการลดก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ (Work Plan on Enhancing Mitigation Ambition) รวมทั้งเห็นชอบให้ประเทศในกลุ่ม สมาชิก Annex I มีการทบทวนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Quantified Emission Limitation and Reduction Commitment: QELRC) ภายในปี ค.ศ. 2014 เพื่อเพิ่มเป้าหมายการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของ ประเทศ Annex I (Aggregate Reduction of Emission) อย่างน้อย 25-40% เทียบกับปีฐาน (ค.ศ. 1990) ภายในปี ค.ศ. 2020 รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพ ในการจัดท�ำรายงาน NAMAs และกลยุทธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Development Strategies) ตามที่ประเทศก�ำลังพัฒนา พึงจะท�ำได้ตามความสามารถของตน

ทิศทางหลังพิธีสารเกียวโตและบทบาทของประเทศไทย ภายหลังจากที่พิธีสารเกียวโตได้สิ้นสุดพันธกรณีแรกลงในปี ค.ศ. 2012 มติที่ประชุมสหประชาชาติยังคงมีความ เห็นพ้องให้มขี อ้ ตกลงตามพันธกรณีรอบทีส่ อง โดยด�ำเนินการอย่างเร่งด่วนในการลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 25-40 ภายใน ปี ค.ศ. 2020 เทียบกับปีฐาน (ค.ศ. 1990) และเพื่อให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ผ่านวิสัยทัศน์ ความร่วมมือกันในระยะยาว (Share Vision in Long-term Cooperative Action) ในการขยายผลการด�ำเนินงานลดก๊าซ เรือนกระจกดังต่อไปนี้ (แสดงไว้ในรูปภาพที่ 1) เร่งรัดให้ประเทศพัฒนาแล้วด�ำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสม โดยสร้างความชัดเจน เกี่ยวกับเป้าหมายและแนวทางลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกสาขาเศรษฐกิจ ตลอดจนให้ประเทศพัฒนาแล้ว ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการด�ำเนินโครงการเพื่อน�ำไปสู่เป้าหมาย วิธีการปรับปรุงรายงานแห่งชาติ (National Communication) และ/หรือ จัดท�ำยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาการปล่อยคาร์บอนต�ำ ่ (Low-Carbon Development Strategies or Plans) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในรายงานแห่งชาติต่อไป ประเทศก�ำลังพัฒนา (ซึง่ รวมถึงประเทศไทย) ต้องด�ำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกทีเ่ หมาะสม (NAMAs) ในบริบท การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน ภายใต้ความสมัครใจ รวมทัง้ ควรได้รบั การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี การเงินและเสริมสร้างศักยภาพในการ ปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ในลักษณะที่ตรวจสอบได้ รายงานได้และทวนสอบได้ (Measurement, Reporting and Verification: MRVs) (MRVs เป็นแนวทางการค�ำนวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงจากการด�ำเนินโครงการ

18 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


สามารถตรวจวัดได้ทั้งทางตรงจากเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน และ/หรือทางอ้อมจากการค�ำนวณตามหลักทฤษฎี ซึ่งหลักการ ดังกล่าวเป็นการน�ำเสนอรายละเอียดของโครงการในรูปแบบที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และยังสะท้อนถึงกระบวนการทวนสอบที่มี ความโปร่ ง ใสจากการอ้ า งอิ ง มาตรฐาน หรื อ การประกั น คุ ณ ภาพโดยผู ้ เ ชี่ ย วชาญหรื อ หน่ ว ยงานที่ ไ ด้ รั บ การรั บ รอง ของโครงการนั้นๆ) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ (COP) คณะท�ำงานเฉพาะกิจด้าน ความร่วมมือระยะยาวภายใต้ อนุสัญญาฯ (AWG-LCA)

การบรรเทา (mitigation) การปรับตัว (adaptation) กลไกทางการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี/องค์ความรู้

มาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจก ที่เหมาะสมของประเทศ (NAMA)

คณะท�ำงานเฉพาะกิจ ก�ำหนดพันธกรณีลดก๊าซ เรือนกระจกภายใต้พิธีสาร เกียวโต (AWG-KP)

แผนยุทธศาสตร์หรือแนวทางการ บริหารจัดการคาร์บอนต�ำ่ (Low Carbon Development Strategies or Plans)

รูปภาพที่ 1 แนวทางการด�ำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกระยะยาวภายใต้พิธีสารเกียวโต

ปัญหาและความท้าทายของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ภายใต้การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายในหลายประเด็น ดังนี้ ขาดความชัดเจนและต่อเนือ่ งของกรอบการด�ำเนินงานลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เนือ่ งจากปัจจุบนั (ค.ศ. 2014) ประเทศไทยยังคงถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศสมาชิก Non-Annex I ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีพันธกรณีหรือเป้าหมายเชิงปริมาณ ที่ชัดเจนในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นการด�ำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ย่อมเป็นไปตามความสมัครใจของ ผู้พัฒนาโครงการฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น ขาดองค์ความรู้เชิงเทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การด�ำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในลักษณะทีต่ รวจสอบได้ รายงานได้ แ ละทวนสอบได้ (MRVs) เนื่ อ งจากแนวคิ ด ดังกล่าวจัดว่าเป็นประเด็นใหม่ ส�ำหรับการพัฒนาโครงการ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจกรรมนั้นๆ ขาดความชัดเจนทั้งในแง่รูปแบบโครงการและ เงือ่ นไขเวลา ในการด�ำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะ แนวทางปฏิ บั ติ ต ามกลไกทางเศรษฐกิ จ หรื อ ระบบ การซือ้ -ขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Market) ทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศ รวมทัง้ ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในระดับ ภูมภิ าค GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

19


ทวนสอบได้ (MRVs) เพือ่ น�ำไปใช้เป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการ ด�ำเนินงานและตัดสินใจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป • ควรจัดเวทีประชุมระหว่างคณะท�ำงาน แลกเปลีย่ น องค์ความรู้เชิงเทคนิคและสร้างความสัมพันธ์เชิงร่วมมือ ในระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและผลักดันการ ด�ำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็น รูปธรรม • พัฒนาบุคลากรและสนับสนุนงานวิจยั ในรูปแบบ สหสาขาวิชาและการข้ามผ่านสาขาวิชาการ โดยบูรณาการ งานวิ จั ย เรื่ อ งการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศเข้ า กั บ องค์ ค วามรู ้ ท างวิ ท ยาศาสตร์ แ ละวิ ศ วกรรมสิ่ ง แวดล้ อ ม เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นต้น • พัฒนาและผลักดันให้เกิดตลาดคาร์บอน (Carbon Market) อย่างเป็นรูปธรรมและส่งเสริมกลไกสนับสนุนการ ด�ำเนินงานในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น การเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร หรือความช่วยเหลือทางเทคนิคและการเงินแก่ ผู้พัฒนาโครงการฯ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน

ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาโครงการลด ก๊าซเรือนกระจก ควรพิจารณาถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ส�ำหรับพัฒนาโครงการฯ ในระยะต่อไป ดังต่อไปนี้ • จัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อเตรียมตัวรับมือ หากประเทศไทยถูกก�ำหนดให้มีพันธกรณี หรือเป้าหมายเชิง ปริมาณ ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามอนุสัญญา สหประชาชาติฯ ในอนาคตต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิง่ ภาคส่วน อุตสาหกรรม ขนส่ง พลังงาน และการเกษตร มีความจ�ำเป็น ในการจัดท�ำกรอบทิศทางการด�ำเนินงานอย่างชัดเจนและ เป็นระบบ • ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และประเมินศักยภาพในการลดปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะรูปแบบโครงการ ลดก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถตรวจสอบได้ รายงานได้และ

20 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

เอกสารอ้างอิง ชยันต์ ตันติวัสดาการ ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล, นิรมล สุธรรมกิจ, บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, ศุภกร ชินวรรณโณ, สิริลักษณ์ เจียรากร, และ คณะ. 2556. รับมือโลกร้อนก่อน 4 องศา : สิ่งที่ประเทศไทย ท�ำได้. วิกิฯ: กรุงเทพฯ. EPPO. 2011. Conference of the Parties (COP), Energy Policy and Planning Office, Ministry of Energy, Thailand. [Online] Available from http://www.eppo.go.th/ccep/cop.html IPCC. 2007. Climate Change 2007: The Physical Science Basis, Summary for Policymakers. [Online] Available from http:// www.ipcc.ch/ OAE. 2011. Cancun Agreement on Long-term Cooperative Action, Office of Agricultural Economics. [Online] Available from http://www.oae.go.th/main.php?filename=COP16_Cancun UNFCCC. 1992. United Nations Framework Convention on Climate Change, IUCC/Geneva UNFCCC. 1997. Kyoto Protocol to the United Nations Framework Convention on Climate Change. [Online] Available from http://unfccc.int/cop5/resource/docs/cop3/l07a01.pdf UNFCCC. 2014. Conference of the Parties (COP). [Online] Available from https://unfccc.int/bodies/body/6383/php/view/ reports.php


ก้าวหน้าพัฒนา

“ดอยยาว-ดอยผาหม่น”

ชุมชนจัดการตนเองเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควัน

นางจินดารัตน์ เรืองโชติวิทย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม นายธีรวัฒน์ ท่อเสถียรธรรม รองประธานและผู้ประสานงานองค์กรเครือข่าย การเรียนรู้ฟื้นฟูนิเวศน์วัฒนธรรมชุมชนดอยยาว-ดอยผาหม่น

พื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น เป็นพื้นที่ป่าต้นน�้ำภายใต้ระบบนิเวศวิทยา ลุ่มน�้ำโขง มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว ตามแนวเทือกเขาหลวงพระบาง (เทือกเขาบ่อแก้ว และเทือกเขาไชยะบุร)ี ลักษณะภูมปิ ระเทศ เป็นภูดอย สลับล�ำห้วย มีที่ราบเพียงเล็กน้อย แต่มีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย มีแหล่งท่องเที่ยว ที่โด่งดังระดับประเทศ เช่น ภูชี้ฟ้า ผาตั้ง อาณาเขตพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น ครอบคลุ ม พื้ น ที่ ใ นเขตต� ำ บลปอ ของอ� ำ เภอเวี ย งแก่ น และต� ำ บลตั บ เต่ า ของอ�ำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ม้งมากที่สุด ในจังหวัดเชียงราย นอกจากนัน้ พืน้ ทีด่ อยยาว-ดอยผาหม่น ยังมีปา่ ต้นน�ำ้ ทีส่ ำ� คัญ หลายแห่ง อาทิเช่น น�้ำห้วยคุ น�้ำห้วยหาน น�้ำประชาภักดี น�้ำห้วยเมี้ยง น�้ำห้วย ทรายกาด และห้วยไคร้ เป็นต้น นอกจากนี้ พืน้ ทีด่ อยยาว-ดอยผาหม่น ยังเป็นหนึง่ ใน พื้นที่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ในยุคสงครามเย็นระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยกับรัฐบาลไทย และหลังจากรัฐบาลได้มขี อ้ ตกลงเจรจาให้ประชาชน และแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เข้าร่วมเป็นผู้พัฒนา ชาติไทยโดยให้วางอาวุธมอบตัวแล้วรัฐบาลได้จัดสรรที่ท�ำกินและที่อยู่อาศัย ให้กับทุกคน ในปั จ จุ บั น ประชาชนในเขตพื้ น ที่ ด อยยาว-ดอยผาหม่ น ก็ ยั ง คงมี ปัญหาทางเศรษฐกิจท�ำให้ชุมชนมีการขยายพื้นที่การผลิตเกษตรเชิงเดี่ยว GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

21


เพือ่ แลกกับรายได้ทเี่ พิม่ ขึน้ มาจุนเจือครอบครัว ซึง่ เป็นสาเหตุหลัก ของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้สารเคมีในการท�ำ การเกษตรทีไ่ ม่ถกู หลักวิชาการ และปัญหาหมอกควันทีเ่ กิดจาก การเผาเศษวัชพืชเหลือใช้จากการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพของชุมชน และระบบนิเวศป่า ซึ่งภาครัฐเอง ก็พยายามก�ำหนดนโยบายด้านการแก้ไขปัญหาหมอกควัน เช่น ค�ำสัง่ จังหวัดห้ามเผาทีไ่ ร่และทีป่ า่ ในเดือนมกราคมถึงเมษายน ทุกปีและในพื้นที่มีการจัดตั้งหน่วยงานควบคุมไฟป่ามาดูแล โดยมุ่งให้เกิดการแก้ไขปัญหา ในทางตรงกันข้ามวิธีเหล่านั้น ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งยังทวีความ รุนแรงเพิ่มมากขึ้น อาจเพราะยังไม่มีแนวทางแก้ไขที่ตรงจุด หรือเป็นเพราะสาเหตุของปัญหาในเชิงพื้นที่ไม่เหมือนกัน จึงยากต่อการจัดการปัญหา และวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกับป่า ที่ มี ม าตั้ ง แต่ อ ดี ต เริ่ ม สู ญ หาย ปั ญ หาทางเศรษฐกิ จ ท� ำ ให้ ชาวบ้านสนใจเรือ่ งราว ภูมปิ ญ ั ญาในการดูแลรักษาป่าน้อยลง และไม่มีการสืบทอดองค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาแก่ลูกหลาน นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า อคติ จ ากคนภายนอกที่ ไ ม่ รู ้ จั ก ชุ ม ชน ยังมองว่าชุมชนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ท�ำลายป่า จนท�ำให้บางครั้ง เกิดความขัดแย้งกับชุมชนโดยส่วนรวม แท้ทจี่ ริงแล้วชุมชนเอง ก็ยังมีวิธีการบริหารจัดการดูแลป่าต้นน�้ำ และที่ดินท�ำกิน โดยอาศัยภูมปิ ญ ั ญาแห่งวิถวี ฒ ั นธรรมของชุมชนมาอย่างต่อเนือ่ ง เพียงแต่ยังขาดกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนและ การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งผลกระทบที่จะตามมา

22 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

หากขาดการมีสว่ นร่วมจากชาวบ้าน และทุกฝ่ายทีม่ กี ารจัดการ บนพืน้ ฐานวิถวี ฒ ั นธรรมแล้วจะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง ชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น การขยายพืน้ ทีเ่ กษตรในพืน้ ที่ อุทยาน และการใช้สารเคมีในการท�ำเกษตรเชิงเดี่ยว ส่วน ผูป้ ระกอบการธุรกิจท่องเทีย่ วก็มกี ารก่อสร้างขยายกิจการ ซึง่ ล้วนแต่กระทบต่อระบบนิเวศ ดิน น�้ำ ป่า แม้จะมีการแก้ไข ปัญหาโดยหน่วยงานหลายหน่วยงาน แต่กลับพบว่า การแก้ไข ปัญหาของหน่วยงานต่างๆ นัน้ แยกส่วนกันไม่มกี ารบูรณาการ ร่วมกัน ขาดการวางแผนและการจัดการร่วมกับชุมชน ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนัก ถึงความส�ำคัญของการเเก้ไขปัญหาหมอกควันที่มีสาเหตุที่ เเตกต่างกันในบริบทของพื้นที่ จึงได้ร่วมกับสมาชิกเครือข่าย นักวิจัยด้านสิ่งเเวดล้อมในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น จัดท�ำ โครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมกระบวนการ เรียนรู้ของชุมชนในการพัฒนารูปแบบทางเลือกในการแก้ไข ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น โดยมองเห็น ว่าสาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันของพื้นที่เกิดจากการเผา เศษวัชพืชทางการเกษตร ซึง่ การจัดการพืน้ ทีเ่ กษตรด้วยวิธนี ี้ ถือเป็นการจัดการแบบระบบเก่าที่มีมาอย่างช้านาน ซึ่งยาก ต่อการใช้มาตรการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาอันสั้น เพราะ ยังไม่มีการพัฒนารูปแบบซึ่งเป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่อการ ประกอบอาชีพในภาคการเกษตรอย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อ ปัญหาเกิดจากระบบการด�ำรงชีพจากภาคเกษตรที่มีอยู่เดิม จึงจ�ำเป็นต้องค้นหารูปแบบทางเลือกในการจัดการปัญหา หมอกควันที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบทางเลือกใน การจัดการปัญหาหมอกควันในภาคการเกษตร ทีส่ ามารถตอบ โจทย์ของตัวเกษตรกรได้ เพื่อเป็นกลไกในการจัดการปัญหา หมอกควั น และการเผาในที่ โ ล่ ง ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ


รวมทั้งการฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวกับการจัดการระบบนิเวศ ป่ามาดูแลรักษาให้ป่าด�ำรงอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ตลอดจน ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการจัดการตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการยกระดับ คุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่นให้ดีขึ้นต่อไป ในอนาคต ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยดังกล่าว ศูนย์วิจัยและฝึกอบรม ด้านสิง่ แวดล้อม ได้ดำ� เนินการส�ำรวจบริบทชุมชน โดยการสังเกตเเละ สัมภาษณ์ผู้น�ำชุมชน การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และจัดการ องค์ความรูใ้ ห้กบั ชุมชน รวมทัง้ สร้างการมีสว่ นร่วมในการด�ำเนินโครงการ ของชุมชนในทุกกระบวนการ (วิเคราะห์ปญ ั หา/วางแผน/ลงมือปฏิบตั /ิ ประเมินผล) เพือ่ ให้ชมุ ชนตืน่ รูแ้ ละเกิดความตระหนักในการดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมของตนเอง รวมทัง้ สามารถหารูปแบบ ทางเลื อ กในการจั ด การปั ญ หาหมอกควั น ที่ เ หมาะสมกั บ พื้ น ที่ ข อง ชุมชนเองได้ ซึ่งจะได้รับจากประสบการณ์ที่ชุมชนได้เข้าร่วมลงมือท�ำ กิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา กระบวนการเรียนรู้เริ่มแรกที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิง่ แวดล้อมได้ดำ� เนินการให้กบั ชุมชน ได้แก่ การจัดเวทีให้กบั ชุมชนได้

มีโอกาสร่วมระดมความเห็นในการพัฒนารูปแบบ ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่เหมาะสม กับพืน้ ทีข่ องตนเอง ซึง่ ผลจากการระดมความคิดเห็น ในครั้งนี้ ชุมชนได้ร่วมกันพัฒนารูปแบบทางเลือก ในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ในพื้นที่ด อยยาวดอยผาหม่น ภายใต้ชอื่ โครงการชุมชนจัดการตนเอง เพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาหมอกควั น ในพื้ น ที่ ด อยยาวดอยผาหม่น การจั ด เวที ร ะดมความคิ ด เห็ น ดั ง กล่ า ว นอกจากจะเป็นกระบวนการจัดการความรู้ และ สร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการพัฒนา รูปแบบทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ทีย่ งั่ ยืนในพืน้ ทีด่ อยยาว-ดอยผาหม่นแล้ว ยังก่อให้เกิด การรวมตั ว กั น ของชุ ม ชนในพื้ น ที่ ด อยยาวดอยผาหม่น เพือ่ ขับเคลือ่ นให้เกิดการจัดการตนเอง ของชุมชนเพื่อน�ำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต ของชุมชนที่ดีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ชุมชนยังต้องการ การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ทางวิชาการ และ งบประมาณในการด�ำเนินโครงการชุมชนจัดการตนเอง เพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาหมอกควั น ในพื้ น ที่ ด อยยาวดอยผาหม่น ทั้งจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต่อไป...

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

23


การพัฒนารูปแบบทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหมอกควันที่ยั่งยืนในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น ภายใต้การด�ำเนินโครงการชุมชนจัดการตนเองเพือ่ แก้ไขปัญหาหมอกควันในพืน้ ทีด่ อยยาว-ดอยผาหม่น จังหวัดเชียงราย

พื้นที่เป้าหมาย อ.เวียงแก่น ม.8,9,11,12,13,14,15,18 อ.ตับเต่า ม.19,23,24

เป้าหมาย : ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม/ ลดพื้นที่การเผา จากภาคการเกษตร และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่

โครงการชุมชนจัดการตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควัน ในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น จังหวัดเชียงราย คณะกรรมการบริหารโครงการชุมชนจัดการตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันฯ

คณะทำ�งานขับเคลื่อนการดำ�เนินโครงการ ชุมชนจัดการตนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันฯ

รูปแบบทางเลือกพัฒนาจากการมีสว่ นร่วมของผูน้ ำ� ชุมชน/ เกษตรกร/เยาวชน/ผู้ประกอบการ ภายใต้การประชุม เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบทางเลือกในการแก้ไข ปัญหาหมอกควันของกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม เมือ่ วันที่ 1-2 เม.ย. 57

รูปแบบทางเลือกที่ 1: การจัดการพืน้ ทีเ่ พาะปลูก

1.1 การปลูกข้าวโพดแบบไม่เผาและเหลือ่ ม ด้วยพืชตระกูลถัว่ 1.2 การปลูกกะหล�ำ่ ปลีแบบไม่ใช้สารเคมี 1.3 การพัฒนาต้นแบบสวนยางพาราทีย่ งั่ ยืน

รูปแบบทางเลือกในการแก้ไขปัญหา หมอกควันภายใต้โครงการชุมชน จัดการตนเองฯ

องค์ประกอบคณะกรรมการฯ ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหาร อบต. ในพื้นที่เป้าหมาย หน้าที่ ก�ำกับ ดูแล สนับสนุน การด�ำเนินโครงการ ชุมชนจัดการตนเองฯ องค์ประกอบคณะท�ำงานฯ คัดเลือกจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบ ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาหมอกควันของกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 1-2 เม.ย. 57 หน้าที่ ขับเคลื่อนและประสานการด�ำเนินโครงการชุมชน จัดการตนเองฯ ในพื้นที่ กลไกการขับเคลื่อนการด�ำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ ชุมชนจัดการตนเองฯ - สร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน - สร้างกระบวนการจัดการความรู้ของชุมชน - สร้ า งการมี ส ่ ว นร่ ว มในการด� ำ เนิ น โครงการของ ชุมชน (วางแผน/ลงมือปฏิบัติ/ประเมินผล)

รูปแบบทางเลือกที่ 2: การสร้างมูลค่าเพิม่ จากวัสดุเหลือทิง้ ทางการเกษตร

รูปแบบทางเลือกที่ 3: การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยัง่ ยืน

2.1 การผลิตปุย๋ อินทรียจ์ ากวัสดุเหลือทิง้ จาก การเกษตรและมูลสัตว์ 2.2 การทำ�ถ่านอัดแท่งจากเศษซังข้าวโพด 2.3 การนำ�เศษซังข้าวโพดมาเพาะเห็ด

3.1 การพัฒนาระบบเกษตรอินทรียต์ น้ แบบ - พัฒนาการผลิตเกษตรอินทรีย์ - พัฒนาระบบตลาดเกษตรอินทรียท์ ี่ เป็นธรรมให้กบั ชุมชน - พัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ของชุมชน - พัฒนาการแปรรูปผลผลิตเกษตร อินทรีย์ 3.2 การปลูกหญ้าเลีย้ งสัตว์ทดแทนการ เลีย้ งวัวตามธรรมชาติ 3.3 การอนุรักษ์พันธุ์พืชชนเผ่าที่เป็น เอกลักษณ์ของชนเผ่า 3.4 การส่งเสริมการผลิตพืชผลทางการเกษตร ทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ของพืน้ ทีด่ อยยาว -ดอยผาหม่น 3.5 การพัฒนาระบบการปลูกพืชเลีย้ งสัตว์ แบบผสมผสาน 3.6 การผลิตพันธุพ์ ชื อินทรีย/์ การปรับปรุง พันธุพ์ ชื

รูปแบบทางเลือกที่ 5: การพัฒนาการท่องเทีย่ วทีย่ งั่ ยืน ในพืน้ ทีด่ อยยาว-ดอยผาหม่น 5.1 การพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม 5.2 การพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม (พืน้ ทีร่ ปู ธรรมปลูกข้าวโพดแบบไม่เผา/การท�ำ เกษตรอินทรียแ์ ละปุย๋ อินทรีย/์ การท�ำถ่านอัดแท่งจากเศษซังข้าวโพด) 5.3 การพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างผูป้ ระกอบการทีพ่ กั กับเกษตรกรในพืน้ ที ่ 5.4 การพัฒนาระบบตลาดอินทรียท์ เี่ ป็นธรรมให้กบั กลุม่ นักท่องเทีย่ ว

24 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

กลุ่มเป้าหมาย ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหาร อบต. เกษตรกร เยาวชน ผู้ประกอบการ ในพื้นที่เป้าหมาย

รูปแบบทางเลือกที่ 4: การฟืน้ ฟูระบบนิเวศป่าและการจัดการปัญหา หมอกควันแบบบูรณาการ 4.1 การปลูกป่าฟืน้ ฟูระบบนิเวศดอยยาว -ดอยผาหม่น 4.2 การจัดการปัญหาหมอกควัน แบบบูรณาการในพืน้ ทีด่ อยยาว -ดอยผาหม่น 4.3 จัดตัง้ เครือข่ายอาสาสมัครชุมชนและ เยาวชน ในการอนุรกั ษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม รูปแบบทางเลือกที่ 6: การอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูวฒ ั นธรรมชุมชน ดอยยาว-ดอยผาหม่น 6.1 จัดตัง้ เครือข่ายเยาวชนอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟู วัฒนธรรมชุมชนในพืน้ ทีด่ อยยาว -ดอยผาหม่น 6.2 การจัดการองค์ความรู้ เพือ่ อนุรกั ษ์ วัฒนธรรมชุมชนในพืน้ ทีด่ อยยาว -ดอยผาหม่น


ก้าวหน้าพัฒนา

ความคิดเชิงบวก ต่อ การพัฒนาคน

นายรัฐ เรืองโชติวิทย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาคน ในปัจจุบนั คือ การพัฒนา ศักยภาพของคน ทั้งความรู้ ความสามารถ และการปรับตัวเข้ากับงาน ความคิดเชิงบวก (positive thinking) มีความส�ำคัญต่อการ ท�ำงาน มุมมองต่อการพัฒนางานในอนาคต ความหมายของการคิดเชิงบวก หรือการมองโลก ในแง่ดี แง่บวก หมายถึง การมองทุกปัญหานัน้ มีหนทางแก้ไขได้ ส่วนอีกพวกหนึ่งมองโลก แง่ลบ หมายถึง หมดหวัง ท้อแท้ เบื่อหน่าย คล้ายกับว่าทุกหนทางมีปัญหา ท่านที่ผ่านชีวิต มาพอสมควรคงจะสังเกตความจริงเหล่านี้ได้ และพิ จ ารณาดู ชี วิ ต ของเราเอง เราก็ ค งจะ บอกได้ว่าเราเป็นคนประเภทใด หรือมีส่วน ประสมของสองลักษณะเข้าด้วยกัน บางช่วงก็ มองโลกในแง่ดีมีความหวังมากแต่พอประสบ ความผิดหวังในบางเรือ่ ง ก็พาลจะท้อแท้ยอมแพ้ เอาง่ายๆ และท�ำให้เริ่มมองโลกในแง่ลบไป จนกระทั่งมีคนเตือนสติหรืออ่านข้อคิดของคน บางคนที่ตกในที่นั่งล�ำบากกว่าเรา เขายังฮึดสู้ จนพบความส�ำเร็จในที่สุด ส�ำคัญที่สุดคิดและ เริ่มจากตัวเราดังนี้

ต้องสร้างความมั่นใจ ยิ้มได้เมื่อภัยมานั้นต้องฝึกหัดตัวเองให้ คุ้นเคยกับความจริงของชีวิต ว่าทุกอย่างมีขึ้นมีลง ไม่เที่ยง เราจึงไม่ควร ยึดมั่นกับสภาวะใดสภาวะหนึ่ง แต่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่ เกิดขึน้ ไม่ตโี พยตีพาย ตีตวั ไปก่อนไข้ แต่พยายามมีสติ รูเ้ ท่าทันอยูเ่ สมอ ท�ำใจ ให้นงิ่ แล้วรวบรวมสติปญ ั ญาเพือ่ แก้ปญ ั หาทีป่ ระสบอยูใ่ ห้บรรเทาเบาบางลง หรือหมดไป มีเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในอเมริกาสมัยสงครามกลางเมืองมี เจ้าของฟาร์มอยูใ่ นชนบทเลีย้ งม้าทีส่ วยงามไว้หลายตัว วันหนึง่ ม้าตัวโปรด หายไปในป่า ทัง้ เจ้าของฟาร์มและบุตรชายก็รสู้ กึ เสียดายมากออกติดตาม หาก็ไม่พบ แต่ผ่านไปประมาณ 4-5 วัน ม้าดังกล่าวก็กลับมาเองพร้อมกับ มีม้าป่าตามมาด้วยตัวหนึ่ง ทุกคนรู้สึกดีใจว่าโชคร้ายกลับกลายเป็นดี ลู ก ชายเจ้ า ของฟาร์ ม อยากจะลองขี่ ม ้ า ป่ า ที่ ต ามมาพยายามจะฝึ ก

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

25


แต่ม้าป่าก็พยศมาก จนในที่สุดลูกชายเจ้าของฟาร์มก็ตกม้า ขาหักเข้าเฝือกและเดินกะเผลกเสียความสง่างามไป ก็รสู้ กึ ว่า โชคดีกก็ ลับเป็นโชคร้ายอีก แต่ไม่นานหลังจากขาหักก็มกี ารเกณฑ์ เอาคนหนุ ่ ม ไปเป็ น ทหารออกรบในสงครามกลางเมื อ ง แต่เนือ่ งจากขาหัก-พิการจึงถูกยกเว้น ปรากฏว่าทหารทีไ่ ปออกรบ เสียชีวิตหมด จึงรู้สึกว่าการตกม้าขาหักก็ท�ำให้กลายเป็น โชคดี ไม่ต้องไปรบ ซึ่งอาจท�ำให้เสียชีวิตเช่นทหารคนอื่นๆ เรื่องดังกล่าวข้างต้นสอนเราให้มองทุกอย่างว่ามี 2 ด้านปนกันเสมอ โชคดีก็มาพร้อมกับโชคร้าย และโชคร้าย ก็อาจกลายเป็นโชคดีกไ็ ด้ ดังนัน้ เราจึงควรท�ำใจให้เป็นกลางๆ ยอมรับทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตด้วยใจเป็นกลาง ไม่วิตก กังวลถึงอนาคต แต่ก็ไม่ประมาทและท�ำชีวิตวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่ อ ให้ วั น นี้ ก ลายเป็ น วั น วานที่ ดี เ พิ่ ม ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ในที่ สุ ด เราก็ ไ ด้ ส ะสมวั น วานที่ ดี ม ากขึ้ น บวกกั บ วั น นี้ ที่ คิ ด ดี ท� ำ ดี มีความหวังเพิม่ ขึน้ ทุกวัน ก็จะเป็นแรงผลักดันไปสูอ่ นาคตทีด่ ี มีความสุขสมหวังอย่างแน่นอน กล่าวน�ำอารัมภบทมาพอสมควร แต่กย็ งั มีคนขีส้ งสัย ตัง้ ค�ำถามว่าท�ำไมต้องหัดคิดในทางบวก? ซึ่งพอจะตอบได้ดังนี้ ชี วิ ต คนเราสั้ น นั ก ประมาณ 70-80 ปี โดยเฉลีย่ อายุ ถ้ากรรมพันธุอ์ ายุยนื ยาว และ เรียนรูด้ แู ลสุขภาพกายและจิตดีๆ ก็มสี ทิ ธิทจี่ ะอยูถ่ งึ 100 ปีได้ แต่ก็ด้วยความล�ำบากล�ำบน ดังนั้นชีวิตที่มีอยู่ไม่ยาวนานนัก เฉพาะคิดแค่ดา้ นดีๆ ก็มเี วลาไม่มาก จึงไม่ควรเสียเวลาไปคิด สิง่ ทีร่ า้ ยๆ ท�ำให้เกิดความวิตกกังวลโดยไม่จ�ำเป็น เป็นการลด คุณภาพของวันคืนที่เรามีเหลืออยู่ มีประโยคภาษาอังกฤษ กล่าวสอนเราว่า “It’s better to add life to your years than to add years to your life” แปลท�ำนองว่า เพิ่มคุณภาพให้ ชีวิตดีกว่าเพิ่มปริมาณหรือจ�ำนวนปีให้ชีวิต คุณเป็นอย่างที่คุณคิด คุณคิดว่ามีทางเป็น ไปได้ คุณก็พยายามจนพบหนทาง แต่ถ้า เริ่มต้นก็บอกไว้ก่อนว่าเป็นไปไม่ได้ มันก็คงจะเป็นไปไม่ได้

1.

2.

26 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

(ส�ำหรับคุณ) คนจีนจึงมีค�ำพูดที่สอนลูกหลานว่า “ถ้าคุณ เริม่ เดินไปก็เริม่ เห็นทางชัดเจนขึน้ ” สมัยก่อนเวลาไปไหนใหม่ๆ ก็เป็นป่ารก แต่พอคุณเริ่มเดินบ่อยเข้า ทางก็เริ่มเกิดแนว ชัดเจนและขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ สุภาษิตสเปนก็สอนไว้ว่า “If you cannot build a castle in the air, you cannot build it anywhere” แปลท�ำนองว่า ถ้าคุณไม่กล้าคิด สร้างวิมานในอากาศก่อน คุณก็ไม่สามารถสร้างความส�ำเร็จ ทีไ่ หนได้เลย หมายความว่าคุณต้องกล้าคิดกล้าฝันก่อนว่าเป็น ไปได้ จึงจะเป็นไปได้ในชีวิตจริง การคิ ด ในทางบวก เริ่ ม ต้ น ที่ ก ารเข้ า ใจ ตนเอง เข้าใจผู้อื่นและธรรมชาติท�ำให้เห็น ความดีของตนเอง ของผู้อื่นและธรรมชาติที่แวดล้อมเรา ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ท�ำให้สามารถชื่นชมสิ่งดีๆ มี ความสุขใจมากกว่าทุกข์ใจ มีเพื่อนมากกว่ามีศัตรู มีสุขภาพ ที่ดีมากกว่าโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งปัจจุบันวิทยาศาสตร์สามารถ อธิบายได้ชัดเจนขึ้นว่า คนที่มองโลกในแง่บวกจะสุขใจและ มีอายุยนื ยาวกว่าการทีม่ องโลกในแง่ลบ เพราะความสุขใจหรือ ความปีติที่เกิดขึ้นนั้นจะกระตุ้นสมองให้หลั่ง “สารสุข” หรือ “Endorphine” ออกมา ท�ำให้แก้ปวด คลายเครียด เพิ่ม ภูมติ า้ นทานโรคแก่รา่ งกาย กินได้ นอนหลับดี สุขภาพโดยรวมก็ ย่อมดีขนึ้ ตรงกันข้ามคนทีเ่ ครียดตลอดเวลา จะหลัง่ “สารทุกข์” คือ Adrenaline ออกมามาก ก็จะกระตุน้ ให้ใจสัน่ นอนไม่หลับ ท้องผูก เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และมักจะเกิดโรคแทรก หรือ โรคจิต ประสาทขึ้นมาได้ บางคนเกิดภาวะซึมเศร้า ถึงกับ ฆ่าตัวตายได้ หลวงวิจิตรวาทการ จึงสอนเราในโคลงกลอน อีกตอนหนึ่งว่า สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวพราวแพรว

3.


4.

Positive Thinking เป็นของฟรีแทบไม่ต้อง ลงทุ น เลยแต่ ส ามารถน� ำ ไปเพิ่ ม คุ ณ ค่ า แก่ ชีวิตทุกๆ ด้าน เพียงแต่เราต้องเริ่มต้นและฝึกหัด จากสิ่งที่ ใกล้ตัวเราในชีวิตประจ�ำวัน เช่น การฝึกใช้ค�ำพูดในทางบวก และมีความเชือ่ มัน่ เสมอ เช่น แทนทีจ่ ะพูดว่า “ผมจะพยายาม เลิกบุหรี่ให้ได้” เราควรพูดให้หนักแน่นว่า “ผมต้องเลิกบุหรี่ ให้ได้” ขณะเดียวกันเราต้องเลี่ยงค�ำพูดที่ดูถูกตนเอง เช่น “ผมเป็นแค่คนขายของช�ำ จะไปช่วยสังคมได้อย่างไร” เราอาจ พูดว่า “ผมขายของช�ำ แต่ผมก็มสี ว่ นในการพัฒนาชุมชนของเรา” เมื่อฝึกบ่อยๆ เข้า เราก็จะเห็นโอกาส และสิ่งดีๆ ที่ซ่อนอยู่ใน ตัวเรา ในคนข้างเคียง และในสิ่งแวดล้อมของเรา เช่น มีคน พูดว่า “ในน�้ำเน่า ยังมีเงาจันทร์” หรือ “ศิลปินไม่หมิ่นศิลปะ กองขยะมองดีๆ ยังมีศิลป์” ในภาษาอังกฤษมีประโยคที่มี ความหมายคล้ายกันคือ Every cloud have a silver lining. Positive Thinking เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ ท�ำให้คนข้างเคียงเกิดการเลียนแบบ มีผลต่อ การพัฒนาตัวเราเองและคนข้างเคียงและสังคมโดยรวม นอกจากนั้นยังมีผู้กล่าวว่า ความคิดของคนเราที่คิดด้วย ความเชื่อมั่นในทางบวก เหมือนมีกระแสแม่เหล็กที่ดึงคนที่ คิดในลักษณะเดียวกันให้เข้ามาหากัน เกิดเพิ่มกลุ่มแกนที่คิด ในทางบวกมาเสริมกัน ท�ำให้มีพลังขับเคลื่อนสังคมไปในทาง ที่ดี กลายเป็นหนังสือที่ยิ่งใหญ่เล่มหนึ่ง การไปพักผ่อนหรือเปลีย่ นวิถชี วี ติ เช่น ไปเดิน ท่ามกลางธรรมชาติ สูดกลิน่ ไอดิน กลิน่ หญ้าฟาง เดินลุยน�้ำกลางล�ำธาร ภายใต้สายลม แสงแดด ฟังเสียง นกร้อง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้รับการฟื้นฟู ท่านอาจจะหายจากความดันโลหิตสูง โรคนอนไม่หลับ หรือ

5.

6.

โรคอ่อนเพลียเรื้อรังได้ เมื่อร่างกายรู้สึกสดชื่น จิตใจ และ วิญญาณย่อมได้รับการฟื้นฟูเช่นเดียวกัน ความคิดที่ออกมา ก็เป็นความคิดในทางบวก ที่มีพลังสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น จงช่วยเหลือผูอ้ นื่ โดยเฉพาะผูท้ ลี่ ำ� บากกว่าเรา จะช่วยให้เราลืมความทุกข์ที่รุมเร้า และมี ชัยชนะโดยง่าย เช่น คนไข้รายหนึ่ง ค้าขายวัสดุก่อสร้างด้วย ความขยัน วันหนึ่งเกิดไฟไหม้โกดังสินค้าเสียหาย ขาดทุน มากมาย เป็นความทุกข์ที่ท�ำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้ามาก และหลายครัง้ อยากฆ่าตัวตาย ในช่วงนัน้ ประมาณปี พ.ศ. 2530 เกิ ด พายุ ถ ล่ ม หมู ่ บ ้ า นชายทะเลจั ง หวั ด ชุ ม พร บ้ า นเรื อ น พั ง พิ น าศหมด และสวนมะพร้ า วล้ ม ลงไปนอนกั บ พื้ น ดิ น เสียหายหมด คนที่เคยมีรายได้ดีจากสวนมะพร้าวก็หมดเนื้อ หมดตัว และไม่มีบ้านพักพิงกายด้วย ผู้ป่วยรายนี้ได้เห็น ความทุกข์ของชาวชุมพรดังกล่าวแล้ว ก็ทำ� ใจได้กบั ความทุกข์ ของตนเอง จึงหยุดทีจ่ ะน�ำอดีตทีผ่ า่ นพ้นไปแล้วมาซ�ำ้ เติมปัจจุบนั ให้มีทุกข์ซ�้ำซากต่อไปอีก จงนับส่วนที่ท่านมี อย่านับส่วนที่ท่านขาด ในชีวิตจริงนั้น คนส่วนใหญ่มีส่วนที่ดี และ ส่วนทีบ่ กพร่อง และส่วนทีม่ สี ว่ นทีข่ าดคละกันไป แต่วธิ มี องนัน้ ท�ำให้คนมีชีวิตที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง คนที่มองส่วนที่มีก็จะ รู้จักชื่นชมยินดี ส่วนคนที่มองแต่ส่วนที่ขาด ก็จะน�ำไปเทียบ กับคนอื่นที่มีมากกว่า ท�ำให้เกิดความอิจฉา เกิดความทุกข์ใจ น้อยใจ เช่น คนหนึ่งบ่นน้อยใจที่ตนเองไม่มีเงินซื้อรองเท้าดีๆ มาใส่ ใส่แต่รองเท้าเก่าๆ ขาดๆ จนกระทั่งวันหนึ่งไปเห็นคน ที่ไม่มีแม้แต่เท้า (คนขาด้วน) จะใส่รองเท้า จึงเลิกบ่นเรื่อง รองเท้าเก่าของตนเอง

7.

8.

ในวงจรการศึกษา การพัฒนาตนเองของคนท�ำงาน ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ มาจากความคิ ด เชิ ง บวก การพัฒนาอารมณ์จิตใจจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น การปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน วันนี้เราอาจเห็นวิกฤติการณ์ รอบด้านที่ไม่สามารถตอบค�ำถามได้ทันที ต้องรอเวลาและ ไม่พึงพอใจ แต่นั่นหมายถึงหากมองในเชิงบวกจะเห็นว่าเรา ได้ฝกึ ฝนกับความอดทน และทนทานต่อสภาพปัญหาทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต นัน่ หมายถึงความคิดเชิงบวก จะเป็นภูมติ า้ นทานที่ จะช่วยให้การด�ำรงชีวติ ในวันข้างหน้าเดินไปอย่างมัน่ คง และ มีความหวัง เพื่อสิ่งต่างๆ ที่ดีในอนาคต GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

27


ก้าวหน้าพัฒนา

ยุทธศาสตร์การค้าปัจจุบนั

แนวคิดเชิงรุกอยูท่ ฉี่ ลากสิง่ แวดล้อม

นายรัฐ เรืองโชติวิทย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

มี ข ้ อ ตกลงการค้ า เสรี ร ะหว่ า ง ประเทศ จึงเกิดการค้ากับมาตรการกีดกัน ทางการค้า ที่มีประเด็นในหลายเรื่องถูก หยิบยกมาเพือ่ เป็นข้อตกลงทีด่ เู หมือนจะไม่ เกีย่ วกับการค้า เช่น เรือ่ งมาตรฐานการผลิต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาแรงงาน การใช้แรงงานเด็ก ความปลอดภัยในการ ท�ำงาน ซึง่ จากทีก่ ล่าวมาแล้ว ประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อม จากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ความปลอดภัยในการบริโภค ทีเ่ กีย่ วกับสิง่ แวดล้อมถูกหยิบยกเป็นข้อก�ำหนด ทางการค้าทีห่ ลายประเทศ ให้ความเข้มงวด มี ก ารตรวจสอบอย่ า งมากและก� ำ หนด เงือ่ นไขทางสิง่ แวดล้อมทัง้ การผลิต การใช้ ประโยชน์และการก�ำจัดซากจากการบริโภค ทีผ่ ผู้ ลิตต้องให้ความสนใจ จึงต้องพิจารณา ถึงการปรับเปลี่ยนการผลิตโดยภาคส่วน ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วพันกัน ดังแผนภาพที่ 1 แสดง ความสัมพันธ์จากการผลิตจนถึงผู้บริโภค ที่ จ ะขั บ เคลื่ อ นให้ เ กิ ด การปรั บ เปลี่ ย น

และจากทีย่ กให้เรือ่ งของ ฉลาก เป็นการแสดงความเป็นตัวตนของผลิตภัณฑ์ และบริการในด้านสิ่งแวดล้อม มีฉลากที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความ ต้ อ งการของผู ้ ผ ลิ ต ที่ ต ้ อ งแสดงถึ ง ความเป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มจาก ข้อก�ำหนดต่างๆ เช่น สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการ ก�ำจัดซาก การจัดการของเสียอย่างถูกวิธี และผู้ผลิตต้องรับผิดชอบจัดการ การออกฉลากประหยัดไฟฟ้าส�ำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่ง ในการเลือกสินค้าของผู้บริโภค ประชาชน

ภาคเอกชน

เปลี่ยนเทคโนโลยี เปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน เปลี่ยนเชิง institutional เปลี่ยนความคิด

ภาครัฐ

อุตสาหกรรม แผนภาพที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ในการปรับเปลี่ยนการผลิตที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมกับภาคส่วนต่างๆ

28 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


ฉลากสิ่งแวดล้อม (Environmental Label) เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้ผลิต ให้ความสนใจ ในประเทศไทยมีฉลากสิง่ แวดล้อมซึง่ หมายถึงฉลากที่ผผู้ ลิตให้ ความส�ำคัญต่อข้อก�ำหนด มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมในการผลิตจนถึง การก�ำจัดซาก มีมาตรฐานรองรับตามที่หน่วยงานระหว่างประเทศก�ำหนดไว้ แบ่งเป็นประเภทต่างๆ อยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ฉลากที่ มี ม าตรฐานรองรั บ มี ผู ้ ก� ำ หนดคุ ณ ลั ก ษณะสิ น ค้ า ที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิง่ แวดล้อม มีผตู้ รวจสอบตามเกณฑ์ทกี่ ำ� หนดไว้ ประเทศไทย ได้แก่ ฉลากเขียว (Green label) รับผิดชอบโดย ส�ำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนานาประเทศ ฉลาก สิง่ แวดล้อมประเภทที่ 2 แบบรับรองตนเอง ฉลากนีเ้ ป็นไปตาม ISO 14021 ทีผ่ ปู้ ระกอบการสามารถแสดงตัวตนทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมโดยตนเอง ตาม ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ก�ำหนดปัจจุบันมี 16 ประเด็น ในการผลิตและการ บริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมส�ำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น มีหน่วยงาน รับผิดชอบช่วยในการประชาสัมพันธ์ สร้างกลไกการรับรองตนเองของผู้ผลิต โดยผ่านช่องทาง website thaiecoproducr.com ทางศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติรับผิดชอบอยู่ และเชื่อมกับต่างประเทศ ผู้ผลิตสามารถ ด�ำเนินการด้วยตนเอง และผูป้ ระกอบการขนาดใหญ่ใช้ฉลากนีใ้ นการรับรองตนเอง ส�ำหรับผลิตภัณฑ์ของตน เช่น ฉลาก eco value ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จ�ำกัด (มหาชน) หรือขวดน�ำ้ ดืม่ ทีใ่ ช้ขวดพลาสติกย่อยสลายได้ เป็นต้น ฉลาก สิง่ แวดล้อมประเภทที่ 3 ฉลากทีต่ อ้ งได้รบั การตรวจประเมิน และมีการทวนสอบ แสดงตัวตนของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แสดงความรับผิดชอบ ต่อสังคม เช่น ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งผู้ประกอบการต้องอาศัยบุคคล ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาตรวจสอบและประเมินสภาพทางการผลิต ตลอด วงจรชีวติ ของผลิตภัณฑ์ รับผิดชอบโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) ทั้งนี้รวมถึงค่าการใช้น�้ำที่เรียกว่า ฉลากวอร์เตอร์ฟตุ พริน้ ท์ หรือฉลาก เบอร์ 5 ประหยัดพลังงานสูงส�ำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

จากที่กล่าวมาแล้วถึงฉลากทั้ง 3 ประเภท ในประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศ แรกๆ ในกลุ ่ ม อาเซี ย นที่ ริ เ ริ่ ม ระบบฉลาก ดังกล่าว ซึ่งจะท�ำให้เกิดความเข้มแข็งใน กระบวนการค้ า ระหว่ า งประเทศที่ เ ริ่ ม ให้ ค ว า ม ส� ำ คั ญ กั บ ก า ร พั ฒ น า ที่ ยั่ ง ยื น การรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการปัญหา การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ซึง่ ดูจะเป็น กับดักส�ำคัญทีจ่ ะใช้เป็นมาตรการทางด้านการค้า กับสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยเองพยายาม เป็นผู้น�ำในการส่งออกสินค้าหลายประเภท ที่ส�ำคัญคือต้องมีความพร้อมการเตรียมตัว รองรับต่อกติกาต่างๆ ของโลก และเมือ่ จะเข้าสู่ AEC ประเทศไทยเองคงต้องมองและพัฒนา ผู้ประกอบการให้ยืนในสังคมการค้าโลก เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) กลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน SMEs ดังนัน้ ในบทความนีน้ อกจากจะ ให้เห็นถึงความเป็นไปของสังคมการค้าโลก กับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้ และ อยากจะเสนอแนวคิดเชิงรุกดังนี้ 1. ต้องมีแนวคิดที่จะให้ความรู้ กับผู้ประกอบการรายย่อย ที่เสนอแนวคิดนี้ เป็นล�ำดับแรกเพราะประเทศไทยมีผป้ ู ระกอบการ รายย่ อ ยจ� ำ นวนมากที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ ส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อม สินค้าที่เป็น ผลิตภัณฑ์ชมุ ชน หรือผูป้ ระกอบการขนาดเล็ก มีความสามารถในการปรับเปลี่ยนการผลิตที่

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

29


4. การสร้างระบบการติดตามและประเมินกฎ กติกาด้านสิง่ แวดล้อมทีจ่ ะเกิดขึน้ เพือ่ เตรียมความพร้อมให้ ทันต่อสถานการณ์ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีข้อก�ำหนดใหม่ๆ ส�ำหรับ ประเทศที่เป็นลูกค้าก�ำหนดให้ผู้ผลิตต้องปรับตัว ระบบฉลาก สิ่ ง แวดล้ อ มจะเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ แ สดงตั ว ตนที่ ป ฏิ บั ติ ห รื อ ท�ำตามข้อก�ำหนด กติกานัน้ ในเชิงรุกมากกว่าทีจ่ ะรอข้อก�ำหนด มาท�ำให้ต้องปรับตัวตาม ส่วนส�ำคัญคือภาครัฐและเอกชนที่ เข้มแข็งต้องพยายามติดตามข้อก�ำหนดเหล่านี้ ทั้งที่มาจาก อนุสัญญา การประชุมส�ำคัญๆ ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ เอื้อต่อกฎกติกาของประเทศที่เป็นลูกค้าท�ำได้ยาก ต้องอาศัย เวที ก ารค้ า โลกที่ มั ก จะหยิ บ ยกประเด็ น ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม เวลาและทุนในการปรับเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น การควบคุม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกมาเป็นตัวก�ำหนด สีทมี่ สี ารตะกัว่ ปนเปือ้ นในผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นบรรจุภณ ั ฑ์ จึงต้อง ทิศทางการพัฒนาการค้าโลก มีการลงทุนในการศึกษาวิจัยและพัฒนาการผลิตให้เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม และเมื่อมีการพัฒนาแล้วต้องมีการประกาศ การค้ า โลกที่ มี ก ติ ก ามากมายที่ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว ใน ตนเองให้ลูกค้าทราบ โดยอาศัยระบบฉลากสินค้าที่เป็นมิตร อนาคตที่จะตามมาอีกมากมาย ท�ำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อมเข้าช่วยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในเชิงรุกมากกว่าจะตั้งรับและไม่ทันต่อสถานการณ์ ต้อง 2. การพัฒนากลไกการประชาสัมพันธ์สินค้าไทย ยอมรับว่าการแข่งขันทางการค้าในเวทีโลกเป็นไปอย่าง ทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมมากขึน้ จากทีผ่ า่ นมาระบบสินค้าไทย เข้มข้น ผูแ้ ข็งแกร่งและทันต่อสถานการณ์ยอ่ มจะด�ำรงอยูไ่ ด้ อยูไ่ ด้ ซึง่ ได้รบั การยอมรับ และลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามา ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมได้เปลีย่ นแปลงไปนัน้ เยี่ยมชม แต่สินค้าหลายชนิดพลาดโอกาสเพราะแม้ฝีมือดี หมายถึงการแข่งขันทางการค้า และการผลิตที่เป็นมิตร แต่ขาดในเรื่องการตลาด การประชาสัมพันธ์สินค้า และ ต่อสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับความสนใจอย่างจริงจัง สร้าง ยิ่งสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องได้รับโอกาสในการ กระบวนการค้าที่เป็นธรรมมากขึ้น รวมทั้งการรับผิดชอบ ประชาสัมพันธ์มากกว่านี้ การทีห่ น่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม คงจะไม่ใช่แค่ค�ำพูดสวยหรู ท�ำ road show ไปยังประเทศต่างๆ ต้องท�ำอย่างจริงจังและ แต่ต้องท�ำให้ได้ในเวลานี้เพื่ออนาคตของโลกใบนี้. แสดงสินค้ากลุ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ทั่วโลกได้รับรู้ ยกตัวอย่างเช่น การจัดท�ำโรงแรมสีเขียวทีเ่ กาะสมุย มีมาตรฐาน รองรับด้านสิ่งแวดล้อมท�ำให้นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเลือกที่จะ คาร์บอนฟุตพรืน้ ท์ของผลิตภัณฑ์ จองห้องพักกับโรงแรมสีเขียวที่มีการแนะน�ำบน website 487 ผลิตภัณฑ์ / 120 บริษทั (12/06/55) การท่องเที่ยวจากทั่วโลก กลไกตลาดและการประชาสัมพันธ์ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการ 3. การจัดท�ำยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการค้าและ สิ่งแวดล้อม จากที่เสนอมาแล้ว 2 ข้อ กระแสของสินค้า ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยแสดงออกทางระบบฉลาก สิ่งแวดล้อม เราต้องเปลี่ยนความเชื่อว่าสินค้าที่ดี เป็นความ เชื่ อ มั่ น ในตั ว สิ น ค้ า โดยระยะยาวต้ อ งมี ยุ ท ธศาสตร์ ที่ จ ะ เอกสารอ้างอิง สนับสนุนให้การค้าและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีระบบ และ ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. รายงาน การศึกษา การค้าและสิ่งแวดล้อม. กันยายน 2555, กรุงเทพฯ มีประสิทธิภาพ แบ่งงานกันท�ำในแต่ละภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ห ารจั ด การก๊ า ซเรื อ นกระจก. เอกสารประกอบการบรรยาย และเอกชน สร้างภูมิคุ้มกันต่อระบบการค้าและสิ่งแวดล้อม องค์การบริฉลากคาร์ บอนฟุตพริ้นท์. สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรม. ที่มีจังหวะก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน กรุงเทพฯ, กันยายน 2555

30 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


พึ่งพาธรรมชาติ

ความหลากหลาย ทางชีวภาพในเมือง: หนทางสู่ความสุข

แห่งวิถีชีวิตคนเมืองอย่างยั่งยืน (ตอนที่ 2)

ดร.จุฑาธิป อยู่เย็น นักวิชาการสิ่งเเวดล้อมช�ำนาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

บทความตอนที่แล้วได้บรรยายถึงความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ ในเมือง และสาเหตุแห่งปัญหา บทความตอนนี้สืบเนื่องจากตอนที่แล้ว กล่าวถึงความเป็นมาแห่งความหลากหลาย ทางชีวภาพในเมืองและแนวคิดในการสร้างสรรค์ ความคิ ด ในการจั ด การความหลากหลายทาง ชี ว ภาพในเมือ งมีการริเริ่ม จากการประชุม “Cities and Biodiversity Achieving the 2010 Biodiversity Target” ณ เมืองคูริติบา สหพันธรัฐบราซิล เมื่อวันที่ 26-28 มีนาคม 2550 ได้ ใ ห้ ก ารรั บ รองปฏิ ญ ญาคู ริ ติ บ าว่ า ด้ ว ยเมื อ งกั บ ความหลากหลายทางชีวภาพ (The Curitiba Declaration on Cities and Biodiversity) ที่ให้ความส�ำคัญเร่งด่วนกับ การสนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นในการด�ำเนินงาน และเพื่ อ ให้ บ รรลุ ต ามเป้ า หมายที่ 7 ของเป้ า หมายการ พัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goal) ในเรือ่ งสิง่ แวดล้อมทีย่ งั่ ยืนนัน้ จ�ำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จากองค์กรท้องถิ่น ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และ ความร่วมมือจากพลเมืองทุกคน การสร้ า งให้ เ กิ ด ความหลากหลายทางชี ว ภาพ ในเมืองของประเทศไทย เช่น ในปี 2008 มูลนิธิสถาบัน สิ่งแวดล้อมไทยได้เริ่มโครงการ “อนุรักษ์ระบบนิเวศและ ความหลากหลายทางชีวภาพของเมือง (Enhancing Urban Ecosystem and Biodiversity in Chiang Rai City)”

มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เมืองใหญ่หันมาให้ความ ส�ำคัญกับการฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิ เ วศอั น หลากหลายที่ มี อ ยู ่ ใ นเมื อ งที่ เ ป็ น ที่ อ ยู ่ อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ เพื่อด�ำรงไว้ซึ่งความสมดุลของการ พัฒนาเมืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดย คัดเลือกเทศบาลนครเชียงรายเป็น 1 ใน 3 เมืองน�ำร่องของ ประเทศไทย สร้างกิจกรรมความร่วมมือภาคี กระบวนการ มีส่วนร่วมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับชาติ ในการศึ ก ษาความหลากหลายทางชี ว ภาพ ในพื้ น ที่ ป ่ า แหล่งสุดท้าย “ป่าดอยสะเก็ด” ป่าปลูก “ป่าดอยพระบาท” การศึกษารวบรวมชนิดพันธุไ์ ลเคนส์เพือ่ ใช้เป็นดัชนีชวี้ ดั คุณภาพ อากาศจากมลพิษในเขตเมือง การด�ำเนินงานของเทศบาล เป็นตัวอย่างที่ดีจนท�ำให้ได้รับรางวัลตัวอย่างที่ดี ในงาน วันที่อยู่อาศัยโลก ปี 2011 ณ ประเทศเม็กซิโก การสร้ า งความหลากหลายทางชี ว ภาพในเมื อ ง โดยแนวคิ ด และแนวทางการปลู ก ป่ า นิ เ วศส� ำ หรั บ พื้ น ที่ เขตเมื อ ง เพื่ อ จ� ำ ลองป่ า มาไว้ ใ นเมื อ งตามหลั ก การและ แนวทางสร้ า งป่ า นิ เ วศ เป็ น การบู ร ณาการองค์ ค วามรู ้

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

31


2551

2552

2554

ภาพที่ 1 การปลูกป่านิเวศแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนในโรงงานโตโยต้าที่อ�ำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา แสดงการเติบโดของพืชระหว่างปี 2551-2554

ปลูกแบบ ศ.ดร.มิยาวากิ

ปลูกแบบทั่วไป

ภาพที่ 2 การเติบโตของป่านิเวศ (ป่าธรรมชาติ) ที่โรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์ เปรียบเทียบระหว่างวิธีการปลูกป่านิเวศของผู้คิดค้น (ศ.ดร.มิยาวากิ) และการปลูกแบบทั่วไป

32 GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557


การบริโภคที่ลดระยะทางขนส่งอาหารตลอดไปจนถึง การกระจายอาหารให้เข้าถึงได้งา่ ยด้วยตนเอง เป็นการสร้าง ศักยภาพในการเข้าถึงอาหารและการกระจายอ�ำนาจ ในระบบอาหาร เกษตรในเมือง ยังรวมถึงการน�ำกลับมา ใช้ใหม่ การสร้างผลิตภัณฑ์ และการบริการที่เกี่ยวข้อง เกษตรเมื อ งนอกจากเพิ่ ม พื้ น ที่ สี เ ขี ย วเพื่ อ รั บ มื อ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ยังเพิ่มแหล่งอาหาร เพิม่ อาชีพ เพิม่ รายได้ สร้างการบริโภคทีถ่ กู สุขขอนามัย ภาพที่ 3 โครงการปลูกป่านิเวศของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี การสร้างกิจกรรมยามว่างให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ทางด้ า นนิ เ วศวิ ท ยา (สั ง คมพื ช ) วิ ท ยาศาสตร์ สิ่ ง แวดล้ อ ม และสังคมด้วยราคาถูก และใช้พื้นที่น้อย (ดิน น�้ำ ลม ไฟ) และสังคมศาสตร์ (การมีส่วนร่วม ความสัมพันธ์ ระหว่างคนกับป่า) (อนงค์ ชานะมูล, 2556) ส�ำหรับประเทศไทย การสร้างป่านิเวศในพืน้ ทีเ่ ขตเมืองเพือ่ ฟืน้ ฟูระบบนิเวศป่าธรรมชาติ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพได้ด�ำเนินมาตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ในพืน้ ทีต่ า่ งๆ เช่น พืน้ ทีว่ า่ งเปล่าของโรงงานโตโยต้า อ�ำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงนิเวศ คาดว่าผืนป่านี้ ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้เฉลี่ย 800 ตัน ต่อปี การริเริ่มโครงการ “อาสาสมัครรักษ์ป่า พัฒนาสิ่งแวดล้อม พร้อมใจเทิดไท้องค์ราชา” อย่างไรก็ดีข้อเสียของการปลูกป่านิเวศ คือ ค่าใช้จา่ ยสูง เพราะใช้กล้าไม้ทอ้ งถิน่ จ�ำนวนมากกว่าการปลูกป่า ปกติ การเตรียมดิน การบ�ำรุงดิน และส�ำหรับในบางพื้นที่การมี ป่าทึบเกินไปในเขตเมืองอาจเป็นมุมสร้างแหล่งอาชญากรรม เช่น กรุงเทพฯ แนวคิดการสร้างความหลากหลายในเขตเมืองกรณีมพี นื้ ที่ จ�ำกัด คือ เกษตรเมือง การปลูกผักกินเองของคนเมืองในสังคมไทย เกษตรในเมืองในพื้นที่หลากหลายรูปแบบ เกิดขึน้ ในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา พร้อมๆ กับการขยายตัวของเมือง และ ภาพที่ 4 แสดงการท�ำ(www.google.com) ภาวะเศรษฐกิจและสุขอนามัยของบุคคลและครอบครัว เกษตรเมือง (Urban Agriculture) หมายถึงการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็น เอกสารอ้างอิง กระบวนการสร้างอาหารให้กบั ครอบครัว ชุมชน รวมถึงกระบวนการอืน่ ๆ อนงค์ ชานะมูล 2556. หลักการและแนวทางการปลูกป่านิเวศ ในห่ ว งโซ่ อ าหาร เช่ น กระบวนแปรรู ป ต่ า งๆ หรื อ การผลิ ต ส�ำหรับพืน้ ทีเ่ ขตเมือง การสัมมนาวิชาการภาคพืน้ เอเซีย เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง ครั้งที่ 1 : การจั ด การความหลากหลายทางชี ว ภาพในเมื อ ง อย่ า งยั่ ง ยื น เพื่ อ การปรั บ ตั ว และบรรเทาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The 1st Urban Biodiversity Regional Seminar: “Sustaining Urban Biodiversity for Climate Change Adaptation and Mitigation” โรงแรมดุสติ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, 18-20 ธันวาคม 2556. บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย จ�ำกัด (2554) www.google.com, 2554

หมายเหตุ : ภาพที่ 1, 2 และ 3 ได้รับความอนุเคราะห์จาก ส�ำนักส่งเสริมความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย จ�ำกัด

GREEN RESEARCH ปีที่ 11 ฉบับที่ 27 มิถุนายน 2557

33


โ ค ร ง ก า ร ฝ ึ ก อ บ ร ม เ ชิ ง ป ฏิ บั ติ ก า ร “เตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน” นวัตกรรม สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ลดมลพิ ษ ลดหมอกควั น ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

เมื่อวันที่ 22 เมษายน ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ที่ ผ ่ า นมา นางนิ ต ยา นั ก ระนาด มิ ล น์ นั ก วิ ช าการสิ่ ง แวดล้ อ มช� ำ นาญการพิ เ ศษ และ ทีมวิจยั เตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน เป็นวิทยากรในการ ฝึ ก อบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร “เตาเผาขยะชี ว มวล ไร้ ค วั น ” นวั ต กรรมสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ลดมลพิ ษ ลด หมอกควัน ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ล�ำพูน ล�ำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน และตาก ภายใต้โครงการ รณรงค์ ประชาสั ม พั น ธ์ สร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ป้ อ งกั น ลดการเผาในทีโ่ ล่งและหมอกควัน เพือ่ เป็นการสร้าง จิตส�ำนึกและกระตุ้นให้เกิดความตระหนัก ส่งเสริม ความร่วมมือในการลดปัญหาหมอกควัน ไฟป่า และ การเผาในทีโ่ ล่ง มีการแบ่งกลุม่ ผูอ้ บรมเพือ่ ฝึกปฏิบตั ิ การประกอบ และใช้งานเตาเผาขยะชีวมวลไร้ควัน และการตรวจวัดก๊าซทีป่ ลดปล่อยจากการเผา เพือ่ ให้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถใช้เตาเผาขยะชีวมวล ไร้ควันได้อย่างถูกต้อง นอกจากนีย้ งั มีการแลกเปลีย่ น ข้ อ คิ ด เห็ น ข้ อ เสนอแนะ ระหว่ า งวิ ท ยากรและ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อน�ำไปสู่การขยายผลในการ ลดปัญหาหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง และการ ผลิตถ่านใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทนลดโลกร้อน อย่างยั่งยืนต่อไป

การรับรองตนเองด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยและฝึกอบรม ด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดการ อบรมเชิงปฏิบตั กิ าร เรือ่ งการรับรองตนเองด้านสิง่ แวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14021 ครั้งที่ 1 ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริม การผลิตและการบริโภคสินค้าทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ณ โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ โดยมีนายโสฬส ขันธ์เครือ ผูอ้ ำ� นวยการกลุม่ ประสาน ความร่วมมือนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นผู้กล่าวเปิดการอบรมดังกล่าว พร้อมทั้งยังมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ร่ ว มบรรยายให้ ค วามรู ้ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มอบรมฯ มีความรู้ความเข้าใจในการจัดท�ำรายงานสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ประกอบการ จะต้องวิเคราะห์จุดเด่นของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตร ต่อสิง่ แวดล้อม ตามข้อก�ำหนดแนวทาง ISO 14021 ได้เข้าใจขัน้ ตอน และ สามารถน�ำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์มากที่สุด

การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ในการพัฒนา รู ป แบบทางเลื อ กเพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาหมอกควั น ในพื้ น ที่ ดอยยาว-ดอยผาหม่น

เมือ่ วันที่ 6-13 มิถนุ ายน 2557 ศูนย์วจิ ยั และฝึกอบรมด้านสิง่ แวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม ร่วมกับเกษตรกรภายใต้โครงการวิจยั เชิง ปฏิบัติการ เรื่อง การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการพัฒนา รูปแบบทางเลือกเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่ดอยยาว-ดอยผาหม่น จัดท�ำพื้นที่สาธิตการน�ำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ ซึ่งประกอบด้วย การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้จุลินทรีย์อัดเม็ด และการผลิต น�ำ้ หมักสมุนไพรก�ำจัดแมลงศัตรูพชื ซึง่ ปุย๋ หมัก และน�ำ้ หมักสมุนไพรก�ำจัด แมลงศัตรูพชื ทีผ่ ลิตได้ จะน�ำไปใช้ในพืน้ ทีส่ าธิตน�ำร่องต้นแบบการปลูกพืช ปลอดสารพิษแบบเกษตรอินทรียต์ อ่ ไป ทัง้ นี้ พืน้ ทีส่ าธิตดังกล่าวเป็นหนึง่ ใน รูปแบบทางเลือกทีพ่ ฒ ั นาขึน้ จากเวทีการระดมความคิดเห็นของเกษตรกรที่ เข้าร่วมโครงการวิจัยดังกล่าว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.