แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Page 1

แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 – 2559

(ฉบับปรับปรุงเดือนเมษายน 2556)


สารบัญ หน้า บทที่ 1 บทนํา 1.1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา 1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทําแผน 1.3 กระบวนการจัดทําแผน 1.4 เนื้อหาสาระสําคัญของแผนยุทธศาสตร์ 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1 4 4 4 4

บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐาน 2.1 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ การบริหารจัดการ 2.2 แนวโน้มของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น 2.3 พันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.4 หลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.5 กฎหมาย นโยบาย แผน และข้อกําหนด 2.6 การบูรณาการแนวทางการจัดการปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับ หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2.7 การวิเคราะห์บทบาทของหน่วยงาน 2.8 การดําเนินงานที่ผ่านมา/ บทเรียน

5 7 9 10 10 17 18 19

บทที่ 3 กรอบแนวคิดการจัดทําแผน 3.1 กรอบแนวคิดในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3.2 วิธีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3.3 กระบวนการและขั้นตอน 3.4 เงื่อนไข

20 22 23 24


สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 4 ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 – 2559 4.1 วิสัยทัศน์ (Vision) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 4.2 วัตถุประสงค์ (Objective) ของแผนยุทธ์ศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 4.3 ตัวชีว้ ัดของวัตถุประสงค์ 4.4 ผลกระทบ (Impact) จากการบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม 4.5 ผลลัพธ์ (Results) ที่จะนําไปสู่วัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม 4.6 ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 – 2559 ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างระบบการสื่อสารสาธารณะ ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจสู่สังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม

25 25 25 25 26 29 55 59 64 68 71

บทที่ 5 การนํายุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ (Strategic Implementation) และการติดตามประเมินผล 5.1 ขั้นตอนและวิธีการการนําไปปฏิบัติ 5.2 กลไก 5.3 เงื่อนไขความสําเร็จ 5.4 ระบบการติดตาม 5.5 ระบบการประเมินผล 5.6 ทบทวนและพัฒนายุทธศาสตร์ บรรณานุกรม ภาคผนวก ภาคผนวก ก ผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภาคผนวก ข ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์

74 74 75 75 76 76 78 79 82


บทที่ 1 บทนํา 1.1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา การเปลี่ยนแปลงของประชากรในประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของประเทศ แม้ว่าตามแผนประชากรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรของประเทศในอนาคต จากการคาดประมาณ ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583 โดยใช้ข้อมูลจากสํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 เป็ นฐานในการคาดประมาณประชากรไป 30 ปี ข้ างหน้ าพบว่ าในปี 2553 มี ป ระชากร 63.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 66.4 ล้านคนในปี พ.ศ.2569 จากนั้นค่อยๆ ลดลงเหลือ 63.9 ล้านคนในปี 2583 จะเห็น ได้ว่าในช่วงปี พ.ศ. 2553 – 2569 ประชากรของประเทศไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น ประชากรที่เพิ่มขึ้นหมายถึง ความต้องการใช้ทรัพยากรขยายตัวขึ้น ขณะที่การปลดปล่อยของเสียย่อมเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกจากนี้ พบว่า ปริมาณความต้องการทรัพยากรต่อคนของประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมาก เพื่อตอบสนองต่อความ สะดวกสบายและมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามระดับของพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กล่าวคือ ยิ่งประเทศมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจไปมาก ประชากรแต่ละคนก็ยิ่งมีความต้องการทรัพยากรมากขึ้น เป็นเงาตามตัว ปัญหาที่สําคัญเกี่ยวกับความยั่งยืนของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการ เปลี่ ย นแปลงของประชากร ไม่ ไ ด้ มี เ ฉพาะเรื่ อ งจํ า นวนประชากร แต่ ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น คื อ อั ต ราการบริ โ ภค ทรัพยากรของแต่ละคนที่เพิ่มขึ้น และการกระจุกตัวของประชากรในเขตเมือง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ อาทิ กรุงเทพมหานคร เป็นต้น การกระจุกตัวของประชากรส่งผลให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากร และการปลดปล่อย ของเสียสู่สภาพแวดล้อมเป็นจํานวนมาก ส่งผลให้เกิดความเข้มข้นของมลภาวะต่อพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ต่อสุขภาวะของประชากรและยิ่งเป็นปัญหาซับซ้อนที่ยากต่อการจัดการ การดํารงชีวิตประจําวันอย่างขาดความสํานึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่อยู่อาศัยนั้น ทําให้มีการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย และมีการปลดปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ เกิดปัญหามลพิษต่างๆ ตามมา ทั้งอากาศเป็นพิษ น้ําเสีย ขยะชุมชน รวมไปถึงของเสียและสารอันตรายต่างๆ ซึ่งแนวโน้มของปัญหามลพิษดังกล่าวนั้น มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมากเกินกว่าที่ศักยภาพของระบบ นิเวศธรรมชาติจะรองรับได้ รวมไปถึงมาตรการด้านการจัดการมลพิษและการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที เนื่องจาก มีศักยภาพของระบบการบริหารจัดการไม่เพียงพอ ทั้งในด้านบุคลากร งบประมาณ หรือ เครื่องมือและวิธีการที่ ไม่ทันสมัย การที่หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถบริหารจัดการปัญหาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะเวลาที่เหมาะสมได้นั้น จึงมีความจําเป็นที่ทุกภาคส่วนในสังคม อัน ได้แก่ ภาคธุรกิจเอกชน องค์กรและหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงภาคประชาชน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนร่วมในการใช้ ประโยชน์ จ ากทรั พยากรธรรมชาติ และก่ อมลพิ ษในสิ่ งแวดล้ อม จะต้ องเข้ ามามี ส่ ว นในการจั ดการปั ญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน


2 ในรอบทศวรรษที่ผ่ านมา กรมส่ งเสริ มคุ ณภาพสิ่ งแวดล้ อม ในฐานะที่ เป็ นองค์ กรหลั กของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในด้านสร้างจิตสํานึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ติดตามสถานการณ์และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาดังกล่าวมาอย่าง ต่อเนื่อง จึงเห็นควรที่จะมุ่งเน้นการทําบทบาทหน้ าที่และภารกิจที่ สําคัญของกรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้ นในการ เสริ มสร้ างความรู้ ความเข้ าใจ สร้ างความตระหนั กและจิ ตสํ านึ กในการดู แลรั กษาทรั พยากรธรรมชาติ และ สิ่ งแวดล้ อม รวมทั้ งการเสริ มสร้ างการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในการดู แลรั กษาทรั พยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดําเนินโครงการและกิจกรรมสําคัญต่างๆ เพื่อรณรงค์ให้เกิดการ ปรั บเปลี่ ยนพฤติ กรรมของประชาชนในภาคส่ วนต่ างๆ ได้ แก่ ภาคประชาชนทั่ ว ไป ภาคธุ รกิ จเอกชน ภาค ผู้ประกอบการผลิตด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร ภาคเยาวชน รวมไปถึงภาคองค์กรศาสนาต่างๆ เพื่อส่งเสริม ให้เกิดพฤติกรรมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศลดลง และมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนมากขึ้น ทั้งนี้โครงการ และกิจกรรมที่สําคัญของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดกิจกรรมและการประกวดธนาคารขยะ การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ การรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก การลดภาวะโลกร้อน การใช้เทคโนโลยีที่ เหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในการผลิต การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ตราสัญลักษณ์ตัว G – Green (Green Production) และ ฉลากคาร์บอน (C) เป็นต้น รวมไป ถึงการวิจัยและรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การ จัดการมลพิษ การนําน้ําเสียและขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ผลกระทบและการปรับตัวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ และการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ในการดําเนินงานกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมนั้น ได้มุ่งเน้นการมีส่วน ร่วมของประชาชน ผ่านกระบวนการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายลูกเสือสิ่งแวดล้อม เครือข่ายสตรีด้านสิ่งแวดล้อม เครือข่าย LA21 เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และเครือข่ายนักวิจัย ด้ านสิ่ งแวดล้ อม เป็ น ต้ น โดยมี ห ลั กแนวคิ ดในการดํ าเนิ น งานที่ จ ะส่ งเสริ มและสนั บ สนุ นให้ ทุ กภาคส่ ว นที่ เกี่ยวข้องในการก่อมลพิษเข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับ เพื่อการจัดการแก้ไขปัญหามลพิษด้วยตนเอง และให้ ภาครัฐมีหน้าที่เชิงยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนให้ภาคส่วนต่างๆ เหล่านั้น สามารถดําเนินงานและมีความเข้มแข็ง ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามการดําเนินงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา ยังไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการผลิตและการ บริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ครอบคลุมทั่วประเทศ เนื่องจากกระบวนการและวิธีการดําเนินงานที่ถูก กําหนดตามบทบาทหน้าที่ของส่วนย่อย ขาดการบูรณาการภายในองค์กร ทําให้มีการปฏิบัติงานในรูปแบบของ พื้นที่ทํางานที่แตกต่างกันไปและไม่ส่งผลกระทบ (Impact) ให้เกิดขึ้นในกลุ่มเป้าหมายใดๆ ได้อย่างชัดเจน


3 ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฉบับนี้จึงเสนอกรอบแนวคิดในการจัดทํายุทธศาสตร์ที่ เน้นการส่งเสริมให้มีการบูรณาการระหว่างส่วนต่างๆ ภายในกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยร่วมกัน กําหนดเป้าหมาย ยุทธศาสาตร์ ตัวชี้วัด และแผนการดําเนินงาน พร้อมทั้งใช้หลักเหตุผลสัมพันธ์เป็นกรอบ กําหนดรูปแบบในการจัดทํายุทธศาสตร์ฉบับนี้ นอกจากนี้ในการพัฒนายุทธศาสาตร์ฉบับนี้ ยังได้ตระหนักถึง ความสําคัญของปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน ปัจจั ย แวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและในอีก 5 ปีข้างหน้า (2555-2559) รวมทั้งสถานการณ์ของภูมิภาคและโลก กระบวนการที่ ใช้ ในการพั ฒ นายุ ทธศาสาตร์ ฉบั บนี้ ประกอบด้ ว ย การประชุ มเชิ งปฏิ บั ติการและ ประชุมกลุ่มย่อย ระหว่างเจ้าหน้าที่จากทุกส่วนภายในกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และระหว่างเจ้าหน้าที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับภาคีร่วมพัฒนาต่างๆ หน่วยงานและองค์กรภายนอก และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อยกร่างประเด็นยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในระยะ 5 ปี (2555-2559) ที่มีความ สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งได้จัดประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อกรอบแนวคิดและ ทิศทางการดําเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เป้าหมายหลักในการดําเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระยะ 5 ปีข้างหน้า (25552559) คือ ให้ประชาชนและภาคีร่วมพัฒนามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ทั้งนี้การที่จะส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทรั พยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้ อมจะต้ องตั้ งอยู่ บนพื้ นฐานความจริ งที่ การส่ งเสริ มให้ ประชาชนมี ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการสร้างและการจัดการองค์ความรู้ให้เป็นระบบและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย การ เสริมสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีศักยภาพ และเป็นต้นแบบใน การขยายผลที่ ครอบคลุ มและแพร่ หลาย ทําให้เกิ ดภาคีร่ วมพั ฒนาด้ านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้เกิดการทํางานที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันในลักษณะของเครือข่าย โดยการบูรณาการ การจัดทําแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาของท้องถิ่น และใช้ เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงการทํางานของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน รวมทั้งใช้กลไกในการส่งเสริมสนับสนุนและ เพิ่มพลังขับเคลื่อนในการทํางานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่ความสําเร็จ นอกจากนี้ยัง ต้ องส่ งเสริ มให้ เกิ ดกระแสและค่ านิ ย มในสั งคมให้ เกิ ดการตื่ น ตั ว ตระหนั ก และปรั บ เปลี่ ย นพฤติ กรรมจน กลายเป็ นวิ ถีในชี วิ ตประจํ าวั นที่ เกื้ อหนุ นต่ อการจั ดการทรั พยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้ อมอย่ างต่ อเนื่ อง ตลอดไป ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ ยังได้เสนอพื้นที่เริ่มดําเนินการตามแนวคิดการ ดําเนินการแบบบูรณาการของทุกส่วนในกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมใน 2 พื้นที่ใหญ่ ได้แก่ ชุมชนเมือง หลวง โดยบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านพื้นที่สีเขียว ได้แก่ สํานักงานสีเขียว (Green office) และชุม ชนต่า งจัง หวัด โดยสร้า งพื้น ที่นํ า ร่อ งในระดับ จัง หวัด หรือ ระดับ พื้น ที่ เช่น ลุ่ม น้ํา เพื่อ ให้เ ป็น ต้นแบบการ บูรณาการทุกภาคส่วนในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ อย่างไรก็ดี เพื่อให้งานของ


4 กรมส่งเสริมคุณ ภาพสิ่งแวดล้อ มได้ผ ลทั้ง ในระยะสั้น และในภาพรวมไปพร้อมๆ กัน จึงได้ดําเนิน การไม่ เพีย งแค่ 2 พื ้น ที ่เ ท่า นั ้น ยัง ได้ดํา เนิน การตาม 5 ยุท ธศาสตร์ ในกลุ ่ม เป้า หมาย 3 กลุ ่ม หลัก ๆ ได้แ ก่ ประชาชนทั่วไป ผู้นําชุมชน และ องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยในภาคประชาชน จะดําเนิน การประชาสัมพัน ธ์ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านการผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้านผู้นําชุมชน เน้นการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นําด้านการลด ภาวะมลพิษ หรือการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นการจัดทําแผนการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาท้องถิ่นในทุกพื้นที่ โดยกรมส่ง เสริม คุณ ภาพสิ ่ง แวดล้อ มเน้น ให้ค วามสํ า คัญ กับ การพัฒ นาองค์ค วามรู ้ด ้า นการจัด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ให้นําไปปฏิบัติได้จริง และให้ภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูล ความรู้ได้อย่างง่ายและเป็น ธรรม การสร้างเครือข่ายความร่ว มมือระหว่างภาคส่ว น ต่างๆ ให้เข้มแข็ง ทํางานร่วมกันอย่างบูรณาการ และการสนับสนุนภาคส่วนต่างๆ ให้เข้าถึงทรัพยากรและ ปัจจัยสนับสนุนการดําเนินงานตามแผนหรือตามวาระของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ เกี่ยวข้องกับตนเอง 1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทําแผน 1.2.1 เพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการดําเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และ เป็นเอกภาพ 1.2.2 เพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับการดําเนินงานในการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากทุกภาคส่วน 1.2.3 เพื่อให้การดําเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นผู้นําด้านการส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม 1.3 กระบวนการจัดทําแผน กระบวนการจัดทําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เน้นกระบวนการจัดทําแผนแบบมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอก ควบคู่กับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 1.4 เนื้อหาสาระของแผนยุทธศาสตร์ แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย บทนํา ข้อมูลพื้นฐาน กรอบแนวคิด ยุทธศาสตร์ และการนําไปสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีกรอบและทิศทางในการดําเนินงานที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ สามารถ เชื่อมโยงการดําเนิน งานในการส่งเสริมคุ ณภาพสิ่งแวดล้อมได้กับทุกภาคส่ วน รวมทั้งเป็นผู้นําการส่งเสริ ม คุณภาพสิ่งแวดล้อม


บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐาน 2.1 สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีแนวโน้มเสื่อมโทรมเห็น ได้จาก ปัญหาภาวะมลพิ ษด้ านต่ างๆ และปัญหาการร้องเรี ยนด้านมลพิษที่ส่ งผลกระทบต่ อสิ่งแวดล้ อมและความ เป็ น อยู่ ของประชาชน โดยมี ส าเหตุจ ากการเพิ่ มขึ้ น ของประชากรและการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ทํ าให้ เกิ ดการ ขยายตัวของกิจกรรมต่างๆ เช่น ชุมชน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การคมนาคมและขนส่ง การค้าและบริการ การผลิต และการเกษตร เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สารเคมี และพลังงาน ทําให้ เกิดของเสียและมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ประกอบกับหน่วยงานที่มีหน้ําที่ดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีอยู่ จํ า นวนมาก แต่ ยั ง ขาดการบู ร ณาการด้ า นการจั ด การคุ ณ ภาพสิ่ งแวดล้ อ มอย่ างมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จึ ง พบว่ า ในหลายพื้นที่ ภาวะมลพิษได้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน อย่างไร ก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้และตอบสนองต่อการบริโภคเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องมีการ บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการรักษาดุลยภาพ สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เนื่องจากยังมีการพัฒ นาเศรษฐกิจ และการค้าที่ไร้พรมแดน ประเทศไทยจึงเข้ าไป มีบทบาทและส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับทวิภาคี ระดับพหุภาคี ระดับภูมิภาค และ ระดับโลกด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดําเนินการ ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสารเคมี และของเสีย เป็นต้น ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาของโลกได้ เน้นการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Sustainable Consumption and Production) การพัฒนาเศรษฐกิจ สีเขียว (Green Economy) และสังคมคาร์บอนต่ํา (Low Carbon Society) ตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ ในฐานะประเทศสมาชิก จึงจําเป็นที่ประเทศไทยจะต้องมีการปรับบทบาทการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และก่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย (Zero waste) ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการนําของเสียกลับมา ใช้ประโยชน์ใหม่ 2.1.1 พื้ น ที่ ป่ า ไม้ ยั ง คงถู ก บุ ก รุ ก ทํ า ลาย ส่ ง ผลกระทบต่ อ ความสมดุ ล ของระบบนิ เ วศและความ หลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงจาก 171 ล้านไร่ ในปี 2504 เหลื อ 107.6 ล้านไร่ในปี 2552 ส่งผลกระทบต่ อระบบนิ เวศป่ าและความหลากหลายทาง ชีวภาพ ซึ่งเป็นแหล่งพึ่งพิงในการดํารงชีวิตของชุมชน 2.1.2 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงอย่ างต่อเนื่อง ปัจจุบันประเทศไทยมี พื้นที่ป่าชายเลนลดลงจาก 2.2 ล้านไร่ ปี 2504 เหลือ 1.5 ล้านไร่ ในปี 2552 แนวชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ 155 แห่ง รวมความยาว 600 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนในทั้งหมดซึ่งได้รับจัดเป็น พื้นที่ชุ่มน้ําที่มีความสําคัญระดับชาติ พบว่า มีอัตราการกัดเซาะรุนแรงมากกว่า 5 เมตรต่อปี 2.1.3 ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมและมีความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่ามีปัญหาคุณภาพดิน เสื่อมโทรม การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ ปัญหาที่ดินเสื่อมโทรมในระดับรุนแรงและระดับวิกฤต


6 เท่ากับ 36 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 11.2 ของพื้นที่ประเทศ มีการเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ อนุรักษ์ รวมทั้งมีการขยายตัวของเมือง พื้นที่อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม รุกพื้นที่เกษตรกรรมมากขึ้น 2.1.4 ปัญหาการขาดแคลนน้ํ าและภัย พิบั ติทางธรรมชาติ ทั้ งอุ ทกภัย และปัญหาภัย แล้ งมี แนวโน้ ม จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงขึ้น ปัญหาการขาดแคลนน้ํา และความขัดแย้งจากการแย่งชิงน้ําระหว่าง ลุ่มน้ําและระหว่างภาคการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นในทุกสาขาการผลิต ทั้งนี้ หมู่บ้านที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง ในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรงมีประมาณร้อยละ ๓๔.๐ ของจานวนหมู่บ้านทั้งประเทศ 2.1.5 ความต้องการใช้พลังงานมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมความต้องการ ใช้พลังงานของประเทศเพิ่มขึ้นตลอด ๓๐ ปีที่ผ่านมา การพัฒนาและการใช้พลังงานได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เนื่องจากการผลิตพลังงานมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหลาย ประเภท เช่น ทรัพยากรน้ํา ป่าไม้ อีกทั้งการพัฒนาและการใช้พลังงานที่มีการปล่อยสารมลพิษทางอากาศได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นสาเหตุสาคัญประการหนึ่งในการทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2.1.6 สถานการณ์มลพิษและสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ เช่น มลพิษทางอากาศ น้ํา และขยะมูลฝอยมี แนวโน้มเสื่อมโทรมและรุนแรงเพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของชุมชน และพฤติกรรม การบริโภคที่ฟุ่มเฟือย กล่าวคือ ๑) มลพิษทางอากาศในเขตเมืองใหญ่และพื้นที่เศรษฐกิจที่สําคัญมีค่าเกินมาตรฐานสาเหตุหลัก เกิดจากการจราจรขนส่งในเขตเมือง การอุตสาหกรรม หมอกควันจากการเผาในที่โล่งและไฟป่า ๒) สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี ๒๕๔๗ ประเทศไทยปล่อย ก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น ๒๖๕.๙ ล้านตัน รวมการปล่อยจากภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่และป่าไม้ ทั้งนี้ภาคการผลิตและการใช้พลังงานปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๐ รองลงมาคือ ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคของเสีย คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๐ , ๗.๐ และ ๔.๐ ของการปล่อยก๊าซเรือน กระจกทั้งหมด ๓) ปัญหามลพิษทางน้ํานับวันจะรุนแรงมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของจํานวนประชากรและจานวน โรงงานอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในปี ๒๕๕๓ คุณภาพน้ําในแม่น้ําสายหลักและ แหล่งน้ําสําคัญของประเทศ ที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีและพอใช้ ๔) ปริมาณของเสียทั้งจากชุมชนและภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นและยังขาดการจัดการที่ถูกต้อง ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนมีจํานวนประมาณ ๑๕.๒ ล้านตัน แต่ได้รับการกําจัดอย่างถูกต้องเพียงร้อยละ ๓๘ และมีอัตราการนํากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เพียงร้อยละ ๒๖.๐ ๕) การใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่การใช้ กลไกควบคุมยังขาดประสิทธิภาพ การนําเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ ๒๙.๕ ล้านตัน ทําให้มีโอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน อันเนื่องมาจากการรั่วไหลจากการขนส่ง การจัดเก็บที่ไม่ปลอดภัย และการใช้ที่ไม่ถูกวิธีนําเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ ๒๙.๕ ล้านตัน ทําให้มีโอกาส เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน อันเนื่องมาจากการรั่วไหลจากการ ขนส่ง การจัดเก็บที่ไม่ปลอดภัย และการใช้ที่ไม่ถูกวิธี


7 2.1.7 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขาดการบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงานรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การกําหนดเครื่องมือและกลไกในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นแบบแยกส่วน ระบบการจัดการข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมยังไม่เป็นมาตรฐาน ไม่ครอบคลุม 2.1.8 พั น ธกรณี แ ละข้ อ ตกลงระหว่ า งประเทศทั้ งด้ า นการค้ า การลงทุ น และการจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพั นธกรณี ที่เกี่ย วข้องกับการเปลี่ย นแปลงสภาพ ภูมิอากาศ มีแนวโน้มทวีความเข้มข้นและจะสัมพันธ์กันมากขึ้น โดยคาดว่าพันธกรณีและข้อตกลงเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังการสิ้นสุดระยะแรกของการดําเนินการตามพิธีสารเกียวโตในปี ๒๕๕๕ จะทําให้กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาต้องมีส่วนร่วมมากขึ้นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประกอบ กับการกีดกันทางการค้าที่เป็นผลมาจากมาตรการแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่ม มากขึ้น ทั้งในรูปแบบที่เป็นมาตรการภาษี และในรูปแบบที่ไม่ใช่มาตรการภาษี นับเป็นความท้าทายในการ วางยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศต่อไปในอนาคตให้สามารถรองรับ การเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกดังกล่าว 2.2 แนวโน้มของปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น 2.2.1 สถานการณ์มลพิษทางอากาศ น้ํา และขยะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของชุมชนและพฤติกรรมการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ในขณะที่การผลิตไฟฟ้า การคมนาคม/ขนส่ง และ อุตสาหกรรมปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 193,789 พันตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 98 ของการปล่อย สารมลพิษทางอากาศทั้งหมด น้ําบาดาลในหลายพื้นที่มีการปนเปื้อนจากสารเคมีที่เป็นอันตราย มูลฝอยชุมชน ได้รับการกําจัดอย่างถูกต้องเพียงร้อยละ 38 และมีอัตราการนํากลับมาใช้ประ โยชน์ใหม่ เพียงร้อยละ 23 สําหรับของเสียอันตรายเกิดขึ้นประมาณ 1.86 ล้านตันในปี 2551 ซึ่งเกิดจากภาคอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 78 นอกจากนี้การเกิดอุบัติภัยจากสารเคมีและปัญหาการร้องเรียนด้านมลพิษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2.2.2 ในภาคการเกษตรมีการปรับโครงสร้างโดยใช้องค์ความรู้และวิทยา การสมัยใหม่มาผสมผสานกับ องค์ความรู้ท้องถิ่น ทําให้มีการผลักดันการพัฒนาเกษตรอินทรีย์และจัดการความปลอดภัยอาหารและการตลาด เพิ่มขึ้น แต่ประชาชนยังขาดความตระหนักต่อความสําคัญของผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ การขับเคลื่อนดังกล่าว จึ งไม่ ต่อเนื่ องและยั่ ง ยื น แต่ ในขณะเดี ย วกั น การปรั บ โครงสร้ า งภาคอุ ตสาหกรรม ทํ าให้ เ กิ ดการรวมกลุ่ ม เครือข่ ายวิ สาหกิ จ มี การสนั บ สนุ น กระบวนการผลิ ตที่ เป็ น มิตรกับ สิ่งแวดล้ อม และพั ฒ นาปัจ จั ยสนั บสนุ น ที่เกื้อหนุนภาคอุตสาหกรรม เช่น การพัฒนามาตรฐานด้านความปลอดภัย และระบบโลจิสติกส์ เป็นต้น รวมทั้ง การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ นอกจากนี้การขยายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ พื้นที่ขนาด ใหญ่รองรับการลงทุน ก็มีการดูแลสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งมาตรการการขออนุมัติประเมินผลกระทบ สิ่ ง แวดล้ อ ม (EIA) และการประเมิ น ผลกระทบด้ า นสุ ข ภาพ (HIA) ตามบทบั ญ ญั ติ ข องรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจักรไทย การเปลี่ยนแปลงกฎ ระเบียบการค้าโลกที่เข้มงวดในเรื่องมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อม วงจร ผลิตภัณฑ์และแหล่งกําเนิดสินค้า เช่น การจัดการเศษซากเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทําให้การพัฒนาอุตสาหกรรมต้องให้ความสําคัญกับการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือสินค้าสีเขียว


8 (Green Industry) และส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ เช่น สินค้าที่เชื่อมโยงกับภาคเกษตรและ ภาคบริการที่สร้างมูลค่าโดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทยมาผสมผสานมากขึ้น 2.2.3 มาตรการและข้ อ กํ า หนดของประเทศคู่ ค้ า และเวที ก ารค้ า โลกจะเป็ น แรงกดดั น ต่ อ กลุ่ ม อุตสาหกรรมที่สร้างปัญหามลพิษและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยอุตสาหกรรมดังกล่าวนี้จะถูกกระแสสังคม และประชาชนในพื้นที่ต่อต้านมากขึ้น ทําให้เป็นแรงผลักดันในการยกระดับการจัดการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ หรืออุตสาหกรรมปลอดมลพิษ การผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่จะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิต ของประชาชน มีการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มที่ หน่วยงานภาครัฐ ให้มีการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.2.4 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมมีห น่วยงานที่เกี่ ยวข้ องดํ าเนิน การอยู่เป็นจํ านวนมาก แต่ทั้งนี้ หน่ วยงานเหล่ านี้ ยั งขาดการบู รณาการด้านการจั ดการคุณภาพสิ่งแวดล้ อมร่ว มกัน จึงพบว่ าในหลายพื้ น ที่ ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในภาวะที่เสื่อมโทรม มีการสูญเสียความสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพ และ เกิดภาวะมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชน 2.2.5 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้สถานการณ์และแนวโน้มทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ประเทศไทยมีความเปราะบางหลายด้านและมีแนวโน้มที่จะได้รับ ผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การสู ญเสี ยพื้น ที่ชายฝั่ง การขาดแคลนน้ํ า ความไม่มั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 2.2.6 รู ป แบบการผลิ ตและพฤติ กรรมการบริ โ ภคที่ ฟุ่ม เฟื อยทํ าให้ ทรั พยากรธรรมชาติ ถูกใช้ อย่ า ง สิ้นเปลืองโดยไม่คํานึงถึงข้อจากัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ดังนี้ 1) ประชาชนส่วนใหญ่ขาดจิตสํานึกสาธารณะและความตระหนักเกี่ยวกับการบริโภคที่ยั่งยืน อาจเป็นผลมาจากการขาดความรู้และความเข้าใจ รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล เพราะไม่มีระบบการให้ข้อมูล ที่เพียงพอต่อการตัดสินใจ จึงใช้จ่ายอย่างฟุมเฟือยตามกระแสวัตถุนิยม ก่อให้เกิดน้ําเสีย อากาศเสียขยะ และ กากของเสียอันตรายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เมือง 2) ภาคอุ ตสาหกรรมส่ ว นใหญ่ โ ดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็ กยังคงใช้เทคโนโลยี ที่มี ประสิทธิภาพต่ําในการผลิตและจัดการของเสีย ทําให้ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติถูก ใช้อย่างสิ้นเปลือง ขาดประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่า และเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นต้นเหตุของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีวงจรอายุที่สั้นลงภายใต้อิทธิพลของ กระแสบริโภคนิยม ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ในขณะที่การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้และตอบสนองต่อการบริโภคเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ การพัฒนาที่สามารถสร้างดุลยภาพระหว่างการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ เกิดเป็นแนวทางการพัฒนา ที่ยั่งยืน จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารจัดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการรักษาดุลยภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ในฐานะ ที่ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ยังมีการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าไร้พรมแดนที่ประเทศไทย เข้าไปมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับทวิภาคี ระดับพหุภาคี ระดับภูมิภาค และระดั บ โลกด้ ว ย เช่ น การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศโลก การลดการปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจก การ


9 ดําเนินการตามอนุสัญญาด้านสารเคมี อนุสัญญาด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อนุสัญญาด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น 2.3 พันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.3.1 อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพิธีสารเกียวโต อนุ สั ญ ญานี้ เ ป็ น พั น ธกรณี ร่ ว มกั น ของประชาคมโลกในการบรรเทาปั ญ หาสภาพภู มิ อ ากาศ เปลี่ยนแปลง โดยมีเป้าหมายหลักคือ 1) ทําให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกคงที่ (Stabilization of greenhouse gases) 2) เพื่อให้ระบบนิเวศสามารถปรับตัว (Ecosystem adaptation) 3) การผลิตอาหารมั่นคง (Food security) 4) มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Sustainable economic development) ประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาต้องทําการประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก กิจกรรมต่าง ๆ (Inventory of Greenhouse Gases) ซึ่งเป็นวิธีการเบื้องต้นที่ทําให้ทราบสัดส่วนในการ ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ นโยบายและข้อตกลงในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือให้ประเทศที่พัฒนาแล้วตามบัญชีชื่อต่อท้ายอนุสัญญาที่เรียกว่า Annex I Countries มีพันธกรณีที่ต้องลด การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามอนุสัญญา ส่วนประเทศไทยและประเทศที่กําลังพัฒนาอื่น ๆ จัดอยู่ในกลุ่ม Non-Annex ไม่มีพันธะกรณีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะสัดส่วนของการปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจกยังต่ํากว่ากลุ่มประเทศ Annex I ซึ่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากจากการพัฒนา เศรษฐกิจอย่างเข้มข้นในยุคอุตสาหกรรม และมีส่วนสําคัญที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2.3.2 อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เนื้อหาของอนุสัญญาฯ ว่าด้วยนโยบายกว้างๆ ที่ประเทศต่างๆ สามารถนําไปใช้เป็นแนวทาง ในการจัดทําและดําเนินนโยบาย มาตรการ แผนปฏิบัติการ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของตนเอง ในมาตรา 3 ของอนุสัญญาฯ ประเทศภาคีมีสิทธิตามอธิปไตยที่จะใช้ทรัพยากรของตนตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของแต่ละ ประเทศ โดยไม่ทําความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมอื่น ซึ่งอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพไม่ได้ เป็นเพียงกลไกทางกฎหมายระหว่างประเทศที่เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างนานาชาติเท่านั้น แต่เป็ น เครื่องมือช่วยกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจและมีความรับผิดชอบมากขึ้น ในการอนุรักษ์และจัดการ ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศของตนอย่างเหมาะสม โดยประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ เน้นการ อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน


10 2.4 หลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มมี แ นวคิ ด หลั ก การสํ า คั ญ ในการบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สอดคล้องและต่อยอดจากแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2550 – 2554 โดยยึ ด หลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งในการสร้ า งสมดุ ล ในการอนุ รั ก ษ์ แ ละใช้ ป ระโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีหลักการดังต่อไปนี้ 2.4.1 การบริ หารจั ดการเชิงระบบนิเวศน์ (ecosystem approach) เป็นหลักการบริ หารจั ดการ ทรั พยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้ อม โดยคํ านึงถึ งความสํ าคั ญเชิ งระบบหรื อองค์ รวม (holistic) ในการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เช่น การจัดการแม่น้ําอย่างบูรณาการ และการบริหารจัดการ กลุ่มป่า เป็นต้น 2.4.2 การระวังไว้ก่อน (precautionary principle) เป็นหลักการจัดการเชิงรุกที่เน้นการป้องกั น ผลกระทบแหล่งน้ําโดยการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่มีระบบนิเวศน์ที่เปราะบางและพื้นที่เสี่ยง 2.4.3 ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluters Pay Principle : PPP) และผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย (Beneficiaries Pay Principle : BPP) เป็นหลักการในการนําเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสร้างแรงจูงใจและภาระรับผิดชอบในการลดการก่อมลพิษ ส่งเสริมการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้เสียประโยชน์ เพื่อลดความขัดแย้งทางสังคม อันเกิดจากการนําทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์ และทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์ ร่วมกัน 2.4.4 ความเป็นหุ้นส่วนของรัฐ เอกชน (Public Private Partnership) เป็นหลักการที่ใช้สร้างการร่วม รับผิดชอบ และควรนํามาใช้ควบคู่กับหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนและ มีบทบาทในการจัดการสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 2.4.5 ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการ ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม โดยมี อ งค์ ป ระกอบสํ า คั ญ ได้ แ ก่ การมี ส่ ว นร่ ว มของทุ ก ภาคส่ ว น การกระจายอํานาจ ที่ยึดหลักการพื้นที่-หน้าที่-การมีส่วนร่วม (Area-Function-Participation: AFP) การ บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ความโปร่งใสในกระบวนการตัดสินใจ การเปิดเผยข้อมูล สู่สาธารณะ และการกําหนดภาระรับผิดชอบ (Accountability) ของทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง 2.5 กฎหมาย นโยบาย แผน และข้อกําหนด ประเทศไทยมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมานานกว่า 30 ปีแล้ว และในปี พ.ศ. 2535 มีการ ปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ครั้งใหญ่ โดยได้ออกพระราชบัญญัติต่างๆ มาแทนกฎหมายที่ใช้ อยู่เดิม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่สําคัญ ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 (2) พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535


11 (3) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (4) พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (5) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นอกจากนั้น นโยบายและแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้งระยะปานกลางและระยะยาวต่อไป ข้างหน้า ต่างมุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อรักษาดุลยภาพของการพัฒนาและการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ อี กทั้ งให้ ความสํ าคั ญกั บ การมุ่ งพั ฒ นาสั งคมไปสู่ การผลิ ตและบริ โ ภคอย่ างเป็ น มิ ตรกั บ สิ่ งแวดล้ อม เพื่ อให้ ประเทศไทยสามารถปรั บ ตั ว และมี ภู มิคุ้ มกั นในการรั บ มื อ ผลกระทบจากปั ญ หาสิ่ งแวดล้ อมโลก และการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กฎหมาย นโยบายและแผนที่สําคัญดังกล่าว ได้แก่ 2.5.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 เป็น กฎหมายที่เป็ นรากฐานสําคัญในการกําหนดกลไกในการจั ดการทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ที่ครอบคลุมทั้งด้านมลพิษทางนํ้า อากาศ เสียง และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ เน้นการสร้างความเป็นเอกภาพ และครอบคลุมทั้งการควบคุมดูแล การบังคับใช้กฎหมาย สิ่งแวดล้อมในด้ านต่างๆ อย่างจริงจั ง การกํ าหนดมาตรฐานคุ ณภาพสิ่งแวดล้อมด้ านต่างๆ และการจั ดทํ า รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 2.5.2 นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540 -2559 เป็นนโยบายและแนวทางการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะ 20 ปี ซึ่งจัดทําขึ้น ตาม ที่ พระราชบั ญ ญั ติ ส่ ง เสริ ม และรั ก ษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง ชาติ พ.ศ.2535 กํ า หนดไว้ โ ดย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบนโยบายระยะยาวในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมของประเทศ ซึ่งครอบคลุมการดําเนินการตามแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแผนระยะกลาง (5 ปี) ให้มีความ ต่อเนื่องกัน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายไปพร้อม ๆ กันด้วย ได้แก่ 1) รั ก ษาสถานภาพของทรั พ ยากรธรรมชาติ ไ ม่ ใ ห้ เ สื่ อ มโทรมไปกว่ า ปั จ จุ บั น และฟื้ น ฟู ทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม เพื่อเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต 2) ควบคุมป้องกันและขจัดปัญหาภาวะมลพิษ โดยให้คุณภาพน้ํา อากาศ รวมทั้งเสียง และความ สั่ น สะเทื อน ในแหล่ งต่ างๆ อยู่ ในระดั บ มาตรฐานที่ เหมาะสม และไม่ เป็ น อั น ตรายต่ อสุ ขภาพอนามั ย ของ ประชาชน เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบลทั่วประเทศ มีระบบรวบรวมและบําบัดน้ําเสียรวม ระบบ กําจัดมูล ฝอยและสิ่ งปฏิกูลที่ ถูกสุ ขลั กษณะ และมี ระบบการจั ดการของเสี ย อัน ตราย และสารอัน ตรายที่ มี ประสิทธิภาพ 3) อนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมของประเทศ 4) ชุมชนทุกระดับมีการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและพื้นที่สีเขียว เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ประชาชนที่ เหมาะสม สอดคล้องกับ ศักยภาพของระบบนิ เวศธรรมชาติ ระบบเศรษฐกิจ สังคม มรดกทาง วัฒนธรรม และเทคโนโลยี


12 5) ชุ มชนทุ ก ระดั บ และประชาชนมี จิ ต สํ านึ ก และจิ ต วิ ญญาณ รวมทั้ ง มี ค วามพร้ อ มในการมี ส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและขจัดปัญหาภาวะมลพิษ และอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ปั ญ หาที่ ผ่ า นมา พบว่ า กลไกทางกฎหมายในการจั ด การมลพิ ษ ไม่ เ อื้ อ ให้ อ งค์ ก รปกครอง ส่วนท้องถิ่นและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ ขาดกลไก และกระบวน การพิสูจน์ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบทางแพ่งทีชัดเจน ทําให้ยากที่จะ บังคับให้ผู้ก่อมลพิษชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่าง ดํ า เนิ น การปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขพระราชบั ญ ญั ติ ส่ ง เสริ ม และรั ก ษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2535 ให้ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์ ปั จ จุ บั น และเอื้ อต่ อ การบั งคั บ ใช้ ก ฎหมายในการคุ้ ม ครองและรั ก ษาคุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม 2.5.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555 - 2559 บทที่ 8 ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 5. แนวทางการพัฒนา 5.2 การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นเศรษฐกิจ และสังคมคาร์บอนต่ําและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.2.4 ปรับพฤติกรรมการบริโภคสู่สังคมคาร์บอนต่ําที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย 1) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีสํานึกรับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยนําหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดําเนินชีวิต เพื่อเป็นต้นแบบของสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) รณรงค์ปรับ เปลี่ยนทัศนตคิ และสร้างค่านิ ยมการบริโภคที่ยั่งยืนให้เป็น บรรทัดฐานของ สังคม โดยการใช้หลักศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี การดํารงชีวิตตามวิถีไทยเป็นเครื่องมือ เพื่อปลูกฝังค่านิยม การบริโภคอย่างพอเพียง โดยคํานึงถึงความพอดี พอประมาณ ยกย่องและให้เกียรติบุคคลและชุมชนที่เป็น แบบอย่างที่ดีของการบริโภคที่ยั่งยืนบนฐานภูมิปัญญาดั้งเดิม ผ่านกระบวนการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โรงเรียน อาทิ เวทีการเรียนรู้ของชุมชนและเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน รวมทั้งผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ 3) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการบริโภคที่ยั่งยืน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนในการเลือกบริโภคสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.3 การยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน 5.3.1 พั ฒ นาองค์ ความรู้ เกี่ย วกั บ ผลกระทบ และการปรั บ ตัว รองรับ การเปลี่ ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดย 1) ศึกษาวิจัยและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับสาเหตุและการคาดการณ์ การประเมินความเสี่ยง ความเปราะบาง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


13 2) สนั บ สนุ น การวิ จั ย และพั ฒ นาทางวิ ทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวั ตกรรมที่ เกี่ ย วข้ อง กับการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัว 3) สร้ างนั ก วิ จั ย และเครื อข่ ายวิ จั ย ด้ า นการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิอ ากาศ รวมทั้ งพั ฒ นา เครือข่ายความรู้ และการมีส่วนร่วม ตลอดจนหลักสูตรการศึกษาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4) พัฒนากลไกการประเมินองค์ความรู้ รวมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศให้ทุกภาคส่วนได้ทราบ เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการร่วมกันดําเนินการแก้ไข และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5.6 การเพิ่มบาบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลกทีเกี่ยวข้องกับกรอบความตกลงและพันธกรณี ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดย 5.6.1 ศึ ก ษารายละเอี ย ดและสร้ า งความเข้ า ใจของพั น ธกรณี รวมทั้ ง ติ ด ตามสถานการณ์ การเจรจาและท่าทีของประเทศต่างๆ ภายใต้อนุสัญญาข้อตกลง และพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อม และกรอบ ความตกลงอื่นๆ ที่มีประเด็นทีเกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะมีผลเชิงบวกและเชิงลบ ของประเทศ 5.6.4 สนับสนนุการดําเนินงานตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อตกลง อนุสัญญา และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ พันธกรณีและข้อตกลงว่าด้วยการพัฒนา ที่ยั่งยืน อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น 5.8 การพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม มีแนวทางหลัก ดังนี้ 5.8.1 พั ฒ นาชุ ม ชนให้ เ ข้ ม แข็ ง และส่ ง เสริ ม สิ ท ธิ ชุ ม ชนในการเข้ า ถึ ง และใช้ ป ระโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน 5.8.2 สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นและชุมชน โดยสนับสนุน การจัดการเชิงพื้ นที่ พัฒ นากลไลการจัดการร่วมที่ป ระกอบด้ วยภาครั ฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน รวมทั้งการจัดตั้งสภาสิ่งแวดล้อมชุมชนท้องถิ่น เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาของภาครัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมของชุมชนใน ทุกขั้ น ตอน บนพื้ นฐานขององค์ความรู้ ข้ อมูล ที่ ถูกต้ อง เปิ ดเผย โปร่ งใส สามารถเข้ าถึ งได้ อย่างเท่าเที ย ม เสริมสร้างบทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างความตระหนักรู้และความตื่นตัวของสาธารณชนในการคุ้มครอง ทุน ทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้อมของประเทศ รวมทั้ งพั ฒ นาศั กยภาพขององค์ กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็งด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการ บริหารจัดการ น้ํา และมลพิษทางน้ํา การจัดการขยะ และของเสียอันตราย รวมทั้งการจัดการภัยพิบัติ 5.8.7 พั ฒ นาระบบฐานข้ อมู ล และระบบติ ด ตามประเมิ น ผล รวมทั้ งส่ งเสริ ม การศึ ก ษาวิ จั ย เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพอย่างบูรณาการ


14 2.5.3 แผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2555 -2559 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับฐานการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แผนงานที่ 1.1 การส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน แนวทางปฏิบัติ 1.1.1 ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) ทั้งในภาครัฐ องค์กรวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และภาคเอกชน 1.1.3 เพิ่มขีดความสามารถและสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคประชาชน ในการเลือกบริโภคสินค้าและ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การติดฉลากสิ่งแวดล้อม (Eco–Labeling) และฉลากแสดงประสิทธิภาพ การใช้ พลั งงานของสิ นค้ า (Minimum Energy Performance) โดยเฉพาะรถยนต์และสิ นค้ าอิ ล็ กทรอนิ กส์ ตลอดจนการสร้างและพัฒนาฐานข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเสนอทางเลือกการเดินทางแก่ผู้ใช้บริการ เป็ นต้ น โดยภาครั ฐเพิ่ มบทบาทการเป็ นผู้ นําในการส่ งเสริมการสร้ างตลาดสิ นค้ าและบริ การที่ เป้ฯมิ ตรกั บ สิ่งแวดล้อม 1.1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและค่านิยมการบริโภคที่ให้ ให้ความสําคัญกับคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และ ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริโภคที่ยั่งยืนอย่างสม่ําเสมอและทั่วถึง เพื่อนําไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอกต่ําที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แผนงานที่ 2.1 การสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน แนวทางปฏิบัติ 2.1.4 สนับสนุนบทบาทความร่วมมือจากภาคเอกชน ในการสงวนรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ผ่านแนวทางต่างๆ เช่น การดําเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างธรรมาภิบาล แผนงานที่ 3.2 การจัดสรรทรัพยากรน้ําอย่างเป็นธรรมและยังยืน แนวทางปฏิบัติ 3.2.8 พัฒนาองค์ความรู้และสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการลุ่มน้ําในทุกระดับ เพื่อลดความขัดแย้งในการใช้น้ําระหว่างภาคประชาชน ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม แผนงานที่ 3.3 การจัดสรรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน แนวทางปฏิบัติ 3.3.4 สนับสนุนและส่งเสริมองค์ความรู้แก่ภาคีเครือข่ายเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน


15 ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาคนและสังคมให้มีสํานึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย ทุกภาคส่วนมีความตระหนักรู้ มีจิตสํานึกรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมตามบทบาท และหน้าที่ที่เหมาะสม ตัวชี้วัด 6.1 จํานวนรายการสื่อโทรทัศน์และวิทยุที่ผลิตรายการเผยแพร่และให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม (เพิ่มขึ้น) 6.2 จํานวนภาคีเครือข่ายที่มีการดําเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เพิ่มขึ้น) แผนงานที่ 6.1 การสร้างจิตสํานึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 6. สนับสนุนให้มีการสํารวจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทุกภาคส่วน แผนงานที่ 6.2 การพัฒนาและกระตุ้นบทบาทของภาคีเครือข่ายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 6.2.1 พัฒนาศักยภาพในการประสานและบูรณาการการดําเนินงานนะดับจังหวัดและท้องถิ่น โดยสร้างเครือข่ายเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ และผลักดันการกําหนดโครงการ และแผนงานการอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนยุทธศาสตร์จังหวัด กลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาท้องถิ่นให้ชัดเจน 6.2.5 สนั บ สนุ น และเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพการดํ า เนิ น งานของเครื อ ข่ า ยอาสาสมั ค รพิ ทั ก ษ์ ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มและองค์ ก รเพื่ อ สั ง คม (Social Enterprise) ด้ า นการอนุ รั ก ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อม หรือกองทุน อื่นๆ ที่มีรายได้จากการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.2.6 สนับสนุนการสร้างศักยภาพของสื่อมวลชนด้านสิ่งแวดล้อมในการสื่อสารการอนุรักษ์และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมจริยธรรมของสื่อ และสนับสนุนการสื่อสารด้านการอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมอย่าง สร้างสรรค์ 6.2.7 สร้ า งกลไกและองค์ ค วามรู้ เ พื่ อ ให้ ชุ ม ชนมี ส่ ว นร่ ว มกั บ ภาครั ฐ ในการจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้เกิดความตระหนักในคุณค่า และความรู้สึกเป็นเจ้าของและหวง แหนในทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การสนับสนุนการวิจัยแนวใหม่ เป็นต้น 2.5.6 แผนการจัดการมลพิษ พ.ศ. 2555-2559 1. กรอบแนวคิด 1.1 ลดและควบคุมการระบายมลพิษอั นเนื่ องมาจากชุ มชน เกษตรกรรม อุ ตสาหกรรม ยานพาหนะและการคมนาคมขนส่ง 1.2 จัดการมลพิษในระบบพื้นที่ตามลําดับความสําคัญของปัญหา 1.3 สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดําเนินงานจัดการน้ําเสีย ขยะมูลฝอย มูลฝอย ติดเชื้อและของเสียอันตรายชุมชน


16 1.4 ประยุกต์ใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (Polluter Pays Principle : PPP) การวางหลักประกันและการชดเชยค่าเสียหายจากการแพร่กระจายมลพิษ 1.5 พั ฒ นาระบบการบริ ห ารการจั ด การมลพิ ษ ให้ เ กิ ด เป็ น เอกภาพทั้ ง ทางด้ า นกฎหมาย กฎระเบียบ แผน และแนวทางปฏิบัติของแต่ละหน่วยงาน โดยมีการประสานความร่วมมือในการจัดการมลพิษ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชน ๑.๖ ส่งเสริมให้ภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และเข้ามาร่วมดําเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหา มลพิษ 2. เป้าหมาย “คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดํารงชีวิตของประชาชนและการรักษาสมดุล ระบบนิเวศทางธรรมชาติ” 3. ตัวชี้วัด ๓.๓.๒ อัตราการนําขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ (Recycle) ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของ ปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศ 4. แนวทางการจัดการมลพิษ ๔.๕ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ๔.๕.๑ ปรับรูปแบบและพฤติกรรมการบริโภคโดยบริโภคให้มีความพอดี ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย และใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ๔.๕.๒ ให้ความร่วมมือในการจ่ายค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการจัดการของเสียของ ภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเมื่อใช้สินค้าที่ก่อให้เกิดมลพิษสูง เพื่อร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ๔.๕.๓ ประชาชนและชุมชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ ภายในชุมชนได้เองในเบื้องต้น โดยมีส่วนราชการในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนให้การ สนับสนุน ส่งเสริมและเป็นพี่เลี้ยงให้องค์ความรู้ คําแนะนํา และทรัพยากรที่จําเป็นตามความเหมาะสม ๔.๕.๔ เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกับภาครัฐ ร่วม ตรวจสอบและติดตามการแก้ไขปัญหามลพิษของส่วนราชการและผู้ประกอบการ ตลอดจนแจ้งข้อมูลข่าวสาร ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายสิ่งแวดล้อมโดยสร้างเครือข่ายระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐ ๔.๖ การพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของภาคส่วน ๔.๖.๒ พัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นําชุมชนเครือข่ายภาคประชาชน และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง ให้มีองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและการ จัดการมลพิษ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา โดยคํานึงถึง องค์ความรู้ที่ต้องการ ปัญหามลพิษที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และการเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่น เพื่ อ สามารถนํ า ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ แ ละปฏิ บั ติ ไ ด้ จ ริ ง รวมถึ ง คู่ มื อ ปฏิ บั ติ ง านด้ า นเทคนิ ค ในการจั ด การมลพิ ษ (Technical Guideline) สําหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ


17 ๔.๖.๕ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความตระหนัก ความตื่นตัว แรงจูงใจ ทัศนคติที่ดีและความรับผิดชอบของประชาชนทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนท้องถิ่นในการร่วมมือรักษา สภาพแวดล้อม โดยใช้บทบาทของสื่อมวลชนและสื่อประชาสัมพันธ์ที่กว้างขวาง เช่น สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร ซีดี/ดีวีดี อินเทอร์เน็ตหรือระบบ Social Network ต่างๆ เป็นต้น ๔.๗ การวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนการจัดการมลพิษ ๔.๗.๑ สนับสนุนการวิจัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ เพื่อใช้ในการจัดการ มลพิษที่ง่ายสําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการนําไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพ และปัญหาในแต่ละพื้นที่มีการบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้ และเชื่อมโยงผลการวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์มากขึ้น 2.6 การบูรณาการแนวทางการจัดการปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับหลักคิดเศรษฐกิจ พอเพียง การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรมในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ด้วยการน้อมนําหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้ 1. ภาครัฐ ประยุกต์ใช้ทั้งในการกําหนดนโยบายและการปฏิบัติตามนโยบายโดยส่วนราชการ เช่น นโยบายส่ งเสริมและรั กษาสิ่ งแวดล้ อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริ มและรักษาคุ ณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน 2. ภาคธุรกิจเอกชน ประยุกต์ใช้ทั้งในมิติการผลิต การลงทุนที่ใช้ศักยภาพของประเทศเป็นหลัก เช่น การผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสะอาด โดยเน้นความโปร่งใสในการดําเนินงาน สะท้อนถึง ธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจเอกชนที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น 3. ภาคการเกษตร สามารถประยุกต์ใช้หลักคิดนี้ได้ในทุกระดับตั้งแต่ระดับตัวเกษตรกร ครอบครัว ชุมชน และระดับชาติ ซึ่งหลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตรที่เป็นรูปธรรมที่นําไปสู่ความพออยู่พอกิน มีความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหาร สามารถ ลดรายจ่าย ทําให้พึ่งตนเองได้และแก้ปัญหาความยากจนตั้งแต่ระดับครัวเรือน ทั้งนี้เพราะความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยคุณสมบัติที่สามารถนําไปบูรณาการกับการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ดังนี้ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคํานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทํานั้นๆ อย่าง รอบคอบ เพื่อสร้างดุลยภาพของการพัฒนาและการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ


18 3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยคํานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะผลกระทบจากปัญหา สิ่งแวดล้อมระดับโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดําเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่ จะนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดําเนินชีวิต 2.7 การวิเคราะห์บทบาทของหน่วยงาน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานปฏิบัติอื่นๆ ของกระทรวงฯ ที่มีภารกิจ หลักสําคัญ ดังต่อไปนี้ (1) ส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม (2) รวบรวม จัดทํา และให้บริการข้อมูล ข้อสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ในฐานะ ศูนย์ข้อมูล ข้อสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม (3) ส่ งเสริ มการมี ส่ว นร่ วมของประชาชนในการสงวน บํารุงรักษา และใช้ ประโยชน์ จาก ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลยั่งยืน รวมทั้งเป็นศูนย์ป้องกัน ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทด้านสิ่งแวดล้อม (4) ประสานและเสนอแนะแผน และมาตรการในการส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์การ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5) ศึกษา วิจัย พัฒนา ถ่ายทอดและส่งเสริมเทคโนโลยีและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็น ศูนย์เทคโนโลยีสะอาดและศูนย์ปฏิบัติการอ้างอิงด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงอยู่ในฐานะหน่วยงานหลักระดับชาติที่มีบทบาทสําคัญในการสื่อสาร และเผยแพร่ข้อมูลความรู้สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมค่านิยมในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนแกประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กร เอกชนและชุมชน ท้องถิ่น ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การดําเนินงาน ตามนโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานภายในกรม/กอง ส่วนใหญ่เป็น การทํางานตามภาระหน้าที่ของตน การบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานยังอยู่ในระยะต้น และการทํางานใน เชิ งรุ กยั งไม่ ม ากพอ ในขณะที่ ภ ารกิ จ ในการผลั กดั น เป้ าหมาย นโยบาย และแผนการจั ดการสิ่ ง แวดล้ อ ม จําเป็นต้องเน้นการทํางานเชิงรุกและการทํางานร่วมกับภาคีสําคัญๆ ในสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กระบวนทัศน์ในการพัฒนา ที่นําไปสู่ความร่วมมือระดับปฏิบัติ ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินงานของกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถเห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีการทํางานที่บูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ภายในและภายนอกกรมฯ มากขึ้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงจําเป็นต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพ


19 และประสิทธิผลขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การริเริ่มจัดทําแผนยุทธศาสตร์การดําเนินงานของกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมการใช้ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Result Based Management :RBM) ในการบริหารงานของกรมฯ แผนยุทธศาสตร์ฯนี้ จะครอบคลุมระยะเวลา 5 ปี ในช่วงปีงบประมาณ 25552559 เพื่อให้ สอดคล้ องกับระยะเวลาของแผนพั ฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยที่ กระบวนการจัดทําแผนฯ จะเน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภายในกรมฯ และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนตั้งแต่เริ่มต้น และใช้ข้อมูลสถานการณ์สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และปัญหาอุปสรรคการดําเนินงาน ที่ผ่านมา เพื่อให้ได้แผนยุทธศาสตร์ฯ ที่สามารถนําไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน อีกทั้งมีความเชื่อมโยง และสอดคล้องกับกรอบแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2559 และยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) 2.8 การดําเนินงานที่ผ่านมา/ บทเรียน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน การสนับสนุนส่งเสริมกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศอย่างมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ในสังคมไทย ซึ่งประกอบด้วย ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนทุกหมู่เหล่า ภารกิจที่สําคัญยิ่งและเป็นเอกลักษณ์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงไม่ได้จํากัดเฉพาะงานเชิง เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือ และระบบการทํางานร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดระบบ การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและยั่งยืน บทเรียนจากการดําเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในหลายปีที่ผ่านมา พบว่า แม้บุคลากร ของกรมจะได้ เพีย รพยายามดําเนิน การตามภารกิ จของแต่ ละสํ านั ก ส่ ว น กองอย่างเต็ มความสามารถ แต่ ผลสําเร็จที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักเป็นสําเร็จที่มีขนาดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความร่วมมือในกลุ่มองค์กรหรือกลุ่ม บุคคลเพียงจํานวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผลสําเร็จชิ้นเล็กๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ยังกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ ต่างๆ ขาดการเชื่อมโยงหรือบูรณาการระหว่างกัน ทําให้ไม่สามารถที่จะนําไปขยายผลเป็นการเปลี่ยนแปลงของ กระแสสังคมในภาพกว้าง ตลอดจนไม่สามารถคาดการณ์ถึงระดับของผลกระทบและความยั่งยืนของผลลัพธ์ได้ อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น เพื่อให้ย่างก้าวต่อไปของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพประสิทธิผลที่แน่นอนและ คาดการณ์ได้มากยิ่งขึ้น ทางสํานักยุทธศาสตร์จึงเห็นว่า จําเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรของกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมจะต้องนําบทเรียนกลับมาพิจารณาและวิเคราะห์กระบวนการดําเนินงานตามบทบาทหน้าที่ทั้งของ ตนเองและเพื่อนร่วมงานใกล้เคียงที่สังกัดในต่างส่วนต่างกอง เพื่อกําหนดทิศทาง กลยุทธ์ และระบบในการ ทํางานเชิงบูรณาการร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งนําไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ การจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อมเป็นกระแสหลักของสังคมมากยิ่งขึ้น “Environmental quality management is mainstreamed, not merely a voluntary option.”


20 บทที่ 3 กรอบแนวคิดการจัดทําแผน การพัฒนายุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งใช้เป็นแผนการ ดําเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแล โดยมีกรอบแนวคิดการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ที่เน้น การบูร ณาการระหว่ างหน่ว ยงานต่างๆ ภายในกรมส่ งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การร่วมกัน กําหนด เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัด โดยแบ่งความรับผิดชอบตามบทบาทภารกิจของตนเอง การจัดทําแผน ยุทธศาสต์อย่างมีส่วนร่วม ตั้งแต่การร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบ ต่อการดําเนินงาน การกําหนดทิศทาง วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ ตัวชี้วัด การออกแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ กําหนดแนวทางการดําเนินงานร่วมกัน เช่น การเลือกพื้นที่นําร่อง การเลือกประเด็นการดําเนินงานในพื้นที่นํา ร่ อ ง ได้ แ ก่ สํ า นั ก งานสี เ ขี ย ว การจั ด การพื้ น ที่ ลุ่ ม น้ํ า รวมไปถึ ง การใช้ หลั ก เหตุ ผ ลสั ม พั น ธ์ (Logical Framework) เป็นกรอบกําหนดรูปแบบในการจัดทํายุทธศาสตร์


21 3.1 กรอบแนวคิดในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Input

Process

สถานการณ์สิ่งแวดล้อมและแนวโน้ม อนาคต การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (ความ เคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย) กฎหมาย นโยบาย ข้อกําหนด บทบาทหน่วยงาน การดําเนินงานที่ผ่านมาของกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม แนวโน้มการจัดการปัญหาด้วยปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

การประชุมระดมความคิดเห็น

1. ผู้บริหารกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อมทุก ระดับ 2. เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม 3. ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย

Output ร่างแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 1. วิสัยทัศน์ 2. วัตถุประสงค์ (Objective) 3. ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ 4. ผลกระทบ (Impact) 5. ผลลัพธ์ (Results) 6. ยุทธศาสตร์

ภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการจัดทําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


22 3.2 วิธีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 3.2.1 การระดมสมองโดยการเน้นความเสมอภาคและกระจายโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น โดย ใช้กระบวนการ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรที่มีผลต่อการบรรลุสู่วิสัยทัศน์ขององค์กร ในการวิเคราะห์ปั จจัยภายในขององค์กรที่มีผลต่อการบรรลุ สู่วิสัย ทัศน์ขององค์กร เพื่อพิ จารณา จุดอ่อน จุดแข็งของกรมฯ ได้ใช้กรอบแนวคิด 3 ชนิด ได้แก่ กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์ )McKinsey 7 Ss Framework) PEST Analysis และ SWOT analysis ดังนี้ 1.1 กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์ (McKinsey 7 Ss Framework) เป็นแนวทาง ซึ่ง ประกอบด้วย 7 key words ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ดังรูปที่ 1

ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์ (McKinsey 7 Ss Framework) 1.2 การวิ เคราะห์ ปัจ จั ยภายนอกที่ ส่งผลกระทบต่อการดํ าเนิน งานของกรมส่ งเสริมคุ ณภาพ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ PEST Analysis (ปัจจัยด้านนโยบาย ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้าน เทคโนโลยี) 1.3 การวิ เ คราะห์ ปั จ จั ย รวมที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การดํ า เนิ น งานของกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ SWOT Analysis (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม) 2) ใช้หลักเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework) เป็นกรอบกําหนดรูปแบบในการจัดทํายุทธศาสตร์ 3.2.2 การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น 3.2.3 กําหนดแนวทางในการทํางานร่วมกัน เช่น เลือกพื้นที่ ประเด็นการทํางาน


23 3.3 กระบวนการและขั้นตอน ขั้นตอน

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

กรอบเวลา

(1) การประชุมระดมความคิดของคณะผู้บริหารจากทุก กองทุกสํานัก เพื่อกําหนดวัตถุประสงค์และ ยุทธศาสตร์หลักของแผนฯ

• ผู้บริหารของกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม ระดับ สํานัก ศูนย์ กอง สถาบัน

พฤศจิกายน 2553

(2) การประชุมระดมความคิดของผู้รับผิดชอบโครงการ/ กิจกรรม เพื่อร่วมกันกําหนดยุทธวิธีในการปฏิบัติงาน ร่วมกันอย่างมีบูรณาการ

• ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม (ข้าราชการระดับชํานาญการพิเศษ ชํานาญการ ระดับปฏิบตั ิการ และ พนักงานราชการ)

พฤศจิกายน 2553

(3) ประชุมสรุปรายงานความก้าวหน้าและระดมความ คิดเห็นเจ้าหน้าที่และผู้บริหารทุกระดับเพื่อคัดเลือก พื้นที่นําร่องในการปฏิบัติงานร่วมกัน

• ผู้บริหารทุกระดับ • เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

ธันวาคม 2554

(4) การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มสี ่วนได้ส่วนเสีย เพื่อพัฒนาแผนบูรณาการในพื้นทีน่ ําร่อง

• กลุ่มผูม้ ีส่วนได้เสียในพื้นที่นําร่อง (กรุงเทพฯ และเพชรบุรี) ได้แก่ อาสาสมัครพิทักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) องค์กรพัฒนาเอกชน ผู้แทนภาค ธุรกิจเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิใน สาขาด้านสิ่งแวดล้อม และผู้แทน ภาคราชการ

มกราคม 2554

(5) การประชุมระหว่างคณะผู้บริหารกับบุคลากรระดับ ปฏิบัติการของกรม เพื่อตรวจสอบ ทบทวนความ เข้าใจเกี่ยวกับสาระ ความเชื่อมโยง และบูรณาการ ระหว่างผลลัพธ์และกิจกรรมต่างๆ ของแผนฯ ตลอดจนหารือถึงแนวทางการนําแผนฯ สู่การปฏิบตั ิ อย่างมีประสิทธิภาพ

• ผู้บริหารทุกระดับของกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม • ผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม (ข้าราชการระดับชํานาญการ พิเศษ ชํานาญการ ปฏิบตั ิการ และพนักงานราชการ)

กุมภาพันธ์ 2554

(6) ประชุมสรุปผลการประชุมโครงการทบทวนเป้าหมาย กลยุทธ์ ผลผลิต กิจกรรมและตัวชีว้ ัด เสนอต่อ ผู้บริหารเพื่อรับนโยบาย

• ผู้บริหารทุกระดับของกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

มีนาคม 2554


24 (7) ประชุมชี้แจงสรุปผลการประชุมโครงการทบทวน เป้าหมาย กลยุทธ์ ผลผลิต กิจกรรมและตัวชี้วัดต่อ เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

• ผู้บริหารทุกระดับของกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม • เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

มีนาคม 2554

(8) ประชุมการจัดทํายุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

• เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

เมษายน 2554

(9) ประชุมสรุปรายงานผลการประชุมการประชุมการ จัดทํายุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เสนอต่อผูบ้ ริหารเพื่อรับนโยบาย

• ผู้บริหารทุกระดับของกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม • เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

เมษายน 2554

(10) ประชุมเพิ่มประสิทธิภาพของแผนยุทธศาสตร์กรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

• ผู้บริหารทุกระดับของกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม • เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม

เมษายน 2554

หมายเหตุ : คณะทํางานคณะทํางานการเรียนรู้กระบวนการหารืออย่างมีส่วนร่วม ในการทบทวนเป้าหมาย กลยุ ทธ์ ผลผลิ ต กิ จ กรรมและตั ว ชี้ วั ด ประจํ าปี งบประมาณ พ.ศ. 2555 ตามคํ าสั่ งกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อม ที่ 364/2553 ลงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2553 เข้าร่วมทุกขั้นตอน และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก นายเธียรเอก ติยะพงศ์พัฒนา 3.4 เงื่อนไข แผนยุทธศาสตร์กรมส่ งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจัดทําขึ้ นภายใต้กรอบและภารกิ จของกรมส่ งเสริ ม คุณภาพสิ่งแวดล้อม


25

บทที่ 4 แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2559 4.1. วิสัยทัศน์ (Vision) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม “บูรณาการทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีธรรมาภิบาลด้วย องค์ความรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วม” 4.2 วัตถุประสงค์ (Objective) ของแผนยุทธ์ศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม “ประชาชนและภาคีร่วมพัฒนา สามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน” 4.3. ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ 4.3.1 ระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วม 4.3.2 เกิดความสมดุลในการใช้ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ (ตามกรอบเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ ๑๑) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกําหนดให้ “การบริโภคสีเขียว” (Green Consumption) เป็น ประเด็นหลักของแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดผลงานเชิงประจักษ์อย่างเป็น รูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ “ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” และมีตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) ประชาชน ฉลาดซื้อ–ฉลาดใช้ หมายถึง พฤติกรรมการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการของ ประชาชนที่ปรับเปลี่ยนไป ได้แก่ ปริมาณการซื้อที่ลดลงบริโภคเท่าที่จําเป็น (ปริมาณ/คุณภาพ/เวลา) ไม่ตก เป็นเหยื่อโฆษณา ยอมจ่ายแพงกับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (2) มีสิน ค้าและบริ การที่ เป็น มิตรกั บสิ่งแวดล้ อม (Green Product) เพิ่มขึ้ นมากมาย และ หลากหลายประเภท (3) มีตลาดสําหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Market) แพร่หลาย และ ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการเหล่านี้ได้ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น (ทั้งนี้โดยคํานึงถึง ราคา ช่อง ทางการจัดจําหน่าย ที่เหมาะสมกับแต่ละประเภท ของสินค้าและบริการ) (4) มีการจัดการของเหลือหลังการอุปโภคบริโภค หมายรวมถึง การลดปริมาณวัสดุเหลือใช้จากการ อุปโภค บริโภค รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) เป็นต้น 4.4. ผลกระทบ (Impact) จากการบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม “คุณภาพสิ่งแวดล้อมดีขึ้นเป็นคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ”


26 4.5. ผลลัพธ์ (Results) ที่จะนําไปสู่วัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม การส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในการบริ ห ารจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนได้ ประชาชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงจําเป็นต้องสร้างการ จัดการองค์ความรู้ที่ครอบคลุมและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เนื่องจากองค์ความรู้เป็นปฐมบทของการ จั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและยั่ ง ยื น ต้ อ งเสริ ม สร้ า งผู้ นํ า การ เปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นต้นแบบและทําให้เกิดการ ขยายผลที่ครอบคลุมและแพร่หลาย รวมถึงส่งเสริมให้เกิดภาคีร่วมพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในลักษณะของเครือข่ายและส่งเสริมการจัดทําแผนการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ให้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงการทํางาน นอกจากนี้ ยังต้องส่งเสริมให้เกิดกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มพลังขับเคลื่อน การดําเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่ความสําเร็จ รวมทั้งยังต้องส่งเสริมให้ เกิดกระแสและค่านิยมที่เกื้อหนุนต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สังคมเกิดความ ตื่นตัว ตระหนัก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนกลายเป็นวิถีในชีวิตประจําวัน ผลลัพธ์ที่ ๑ มีองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายรวมถึง การมีข้อมูลและองค์ความรู้ที่พร้อมใช้งาน (Availability) เพื่อประชาชนสามารถเข้าถึง (accessibility) ข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ง่าย รวมเร็ว ถูกต้อง และทันสมัย กิจกรรมหลัก ได้แก่ การสํารวจแหล่งข้อมูล การจัดทําฐานข้อมูล การให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้และการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ทําอย่างไรให้ทุกย่างก้าวในการ ทํางานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและภาคส่วนต่างๆ กลายเป็นองค์ความรู้สําหรับการทํางานของคน อื่นๆและรุ่นต่อๆ ไปได้ ตัวชี้วัด ของผลลัพธ์ที่ ๑ ได้แก่ 1. จํานวนสาขาองค์ความรู้ 2. จํานวนผู้ใช้บริการ และช่องทางการให้บริการข้อมูล 3. ระดับการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการข้อมูลและองค์ความรู้ ผลลัพธ์ที่ ๒ มีผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ นํ า การเปลี่ ย นแปลง ในที่ นี้ ห มายถึ ง บุ ค คลที่ มี ศั กยภาพสู ง และมี ค วามเป็ น ผู้ ริ เ ริ่ มกิ จ กรรมหรื อ โครงการจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มในชุ ม ชน/พื้ น ที่ ต่ า งๆ ทั้ ง นี้ กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพ สิ่งแวดล้อมอาจจะร่วมสนับสนุนการดําเนินงานของผู้นําที่มีอยู่เดิมในแต่ละท้องถิ่นให้สามารถทํางานได้อย่าง เข้มแข็งยิ่งขึ้น หรืออาจเสริมสร้างผู้นําใหม่จากกลุ่มคนที่มีศักยภาพในชุมชน


27 การพัฒนาเสริมสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ให้มีจํานวนมาก และครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้น เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยให้การขยายผลการทํางานของกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ตัวชี้วัด ของผลลัพธ์ที่ ๒ ได้แก่ 1. จํานวนผู้นําด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. จํานวนสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผู้นําดําเนินการ 3. ผู้นําได้รับการยอมรับจากสังคมหรือการได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ อันเนื่องจากประสิทธิผลในการ ทํางาน ผลลัพธ์ที่ ๓ มีภาคีร่วมพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคี ร่ วมพั ฒนา คื อ กลุ่ ม องค์ กร หรื อสถาบั นที่ มีวั ตถุ ประสงค์ หรื อเป้ าหมายใกล้เคี ยงกั นเข้ ามาร่ วม ดําเนินงานกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น เครือข่ายนักวิจัย เครือข่ายภาคธุรกิจเอกชนที่มีนโยบาย รับผิดชอบต่อสังคม (Corporative Social Responsibility: CSR) เครือข่ายองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม เครือข่ายสตรี เครือข่ายเด็กและเยาวชน เครือข่ายชนเผ่า เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (ทสม.) เครือข่ายวัด-มัสยิด เครือข่ายสถานประกอบการ สภาอุตสาหกรรม และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อให้สามารถบรรลุผลในการปฏิบัติงานจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับประชาชน ในภาคส่วนต่างๆ อย่างครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงต้องอาศัยการทํางานอย่าง ใกล้ชิดร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ที่อาจมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน หรือทํากิจกรรมที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันใน ลักษณะของเครือข่าย ตัวชี้วัด ของผลลัพธ์ที่ ๓ ได้แก่ 1. จํานวนเครือข่ายเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นภาคีร่วมพัฒนา 2. จํานวนสาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ภาคีร่วมพัฒนาดําเนินการ ผลลัพธ์ที่ ๔ มีแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น แผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ในที่นี้หมายถึง การส่งเสริมให้เกิดแผน ของภาคีต่างๆ ในแต่ละท้องถิ่นที่อาจมีองค์ประกอบหรือกิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่ ง แวดล้ อม หรื อแผนกิ จ กรรมใดๆ ที่ อ าจใช้ ชื่ อ ที่ แ ตกต่ างออกไป เป็ น แผนหรื อยุ ทธศาสตร์ ที่จั ดทํ าโดย กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีร่วมพัฒนาต่างๆ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น ๑) แผนการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองท้องถิ่น ๒) แผนการจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ที่ครอบคลุมหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแผนใน ระดับภูมินิเวศ เช่น พื้นที่ลุ่มน้ํา หรือพื้นที่ชุ่มน้ํา หรือ ๓) แผนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporative Social Responsibility: CSR) ของ ภาคเอกชน เป็นต้น


28 ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่างานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นภารกิจร่วมของทุก ภาคส่วนอย่างแท้จริง ตัวชี้วัด ของผลลัพธ์ที่ ๔ ได้แก่ 1. จํานวนภาคีร่วมพัฒนาที่มีการจัดทําแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. คุณภาพของแผนฯ และกระบวนการจัดทําแผนฯ 3. ความสําเร็จของการนําแผนไปสู่การปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่ ๕ มีกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลไกหรือปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การแสวงหาแหล่งทุนหรือทรัพยากรในการดําเนินกิจกรรมตามแผน การ ปรับปรุงกฎหมายหรือข้อ ตกลงในท้องถิ่น การจัดตั้งคณะกรรมการ การจัดทําข้อตกลงความร่วมมือ ตัวชี้วัด ในการประเมิน การให้รางวัลยกย่องเชิดชู เป็นต้น ทั้งนี้ประเภทของกลไกหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องอาจมีการผัน แปรไปตามสถานการณ์ และช่วงเวลา ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จําเป็นต้องดําเนินการ เพื่ อสนั บ สนุ น เสริ ม สร้ างให้ เ กิ ดปั จ จั ย สํ าคั ญ ต่ างๆ เพื่ อให้ มั่น ใจว่ า แผนงานหรื อ กิ จ กรรมด้ านการจั ดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่างๆ จะสามารถดําเนิน การได้ตามที่วางแผนไว้ กลไกการขับเคลื่อน เป็นเครื่องมือใช้ประกอบในการดําเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีสิ่งที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ได้มาจากผลลัพธ์ที่ ๑ ๒ และ ๓ วัดจากความสําเร็จในการนําผลลัพธ์ที่ ๑ ๒ และ ๓ มาประกอบกับกลไก ดังนี้ ผลลัพธ์ ๑

ผลลัพธ์ ๒

ผลลัพธ์ ๓

กลไกการ ขับเคลื่อน

ผลกระทบ

ตัวชี้วัด ของผลลัพธ์ที่ ๕ ได้แก่ 1. สัดส่วนงบประมาณด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. จํานวนโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากภายนอก 3. การใช้ กฎหมายเป็ น เครื่ องมื อในการบริ ห ารจั ดการ หรื อมี ข้ อตกลง หรื อกติ กาท้ อ งถิ่ น ด้ า น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ ๖ มีค่านิยมและกระแสสังคมที่เกื้อหนุนต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การสร้างกระแสเพื่อให้วัฒนธรรมใหม่ในการจัดการทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลายเป็ น ค่ า นิ ย มของสั ง คมเป็ น ความจํ า เป็ น ในระยะยาว กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม จึ ง มุ่ ง มั่ น ที่ จ ะให้ ก าร ปฏิ บั ติงานตามแผนยุทธศาสตร์ ฉบับ นี้ ไม่ ได้ ยุ ติล งที่ การทํ ากิ จ กรรมเพื่ อให้ เกิ ดการเปลี่ ย นแปลงในระดั บ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ แต่ด้วยความร่วมมือของภาคีร่วมพัฒนา จะต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ขยายผล


29 ครอบคลุมทั้งประเทศไทยอย่างแท้จริง และสามารถดํารงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืนในระดับของค่านิยม (Value) โดยมีองค์ความรู้เป็นพื้นฐานในการกําหนดพฤติกรรมที่เหมาะสม ตัวชี้วัด ของผลลัพธ์ที่ ๖ ได้แก่ 1. ประเด็นการนําเสนอเรื่องสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สื่อสาธารณะ 2. ค่านิยมที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ผลิตและผู้บริโภค ผลลัพธ์ทั้ง ๖ ประการนี้ นับเป็นองค์ประกอบสําคัญที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ซึ่งได้เห็นชอบร่วมกันว่า ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีบูรณาการ ร่วมกัน ตามยุทธศาสตร์ ดังนี้ 4.6 ยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555 - 2559 ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างระบบการสื่อสารสาธารณะ กลยุทธ์ 1.1 พัฒนาและสร้างความหลากหลายของข้อมูล และองค์ความรู้ 1.2 พัฒนาช่องทางการสื่อสารที่ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างเป็นพลวัต 1.3 ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ 1.4 พัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการสื่อสารสาธารณะในมิติต่างๆ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 2 ยุ ทธศาสตร์ เ สริ ม สร้ า งธรรมาภิ บาลด้ า นการจั ด การทรั พยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม กลยุทธ์ 2.1 พัฒนาตัวชี้วัดการประเมินธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย กระบวนการมีส่วนร่วม 2.2 สร้างและค้นหาต้นแบบที่มีธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วย กระบวนการมีส่วนร่วม 2.3 พัฒนาศักยภาพผู้นําและภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ ๓.1. แสวงหาภาคีร่วมพัฒนาในการส่งเสริมเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๓.๒ วิจัย พัฒนานวัตกรรม ประยุกต์ใช้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๓.๓ พัฒนาศักยภาพและสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๓.๔ สร้างกระแสการส่งเสริมการตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


30 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจสู่สังคม กลยุทธ์ ๔.๑ ส่งเสริมความรับผิดชอบทางสังคม (CSR) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔.๒ สร้างตลาดความร่วมมือ (Match maker) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔.๓ เสริมศักยภาพชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม กลยุทธ์ ๕.๑ แสวงหาองค์ความรู้ พัฒนา และสร้างนวัตกรรม ๕.๒ พัฒนาระบบการทํางานเป็นทีมของบุคลากรภายในองค์กรและกระบวนการทํางานเป็นทีม ๕.๓ สร้างและพัฒนาเครื่องมือและกลไกแบบบูรณาการ


31 วิสัยทัศน์

“บูรณาการทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างมีธรรมาภิบาลด้วยองค์ความรู้ และ กระบวนการมีส่วนร่วม” “ประชาชนและภาคีร่วมพัฒนา สามารถบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน ท้องถิ่นอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน”

พันธกิจ

ผลลัพธ์

มีองค์ความรู้

มีผู้นําการ เปลี่ยนแปลง

มีภาคีร่วมพัฒนา

มีแผนจัดการ ทส.ท้องถิน่

มีกลไกสนับสนุน

มีค่านิยม/กระแส สังคม

1.2 พัฒนาช่อง ทางการสื่อสาร

1.3 ส่งเสริมการ เข้าถึงข้อมูล

2.1 พัฒนาตัวชีว้ ัด ธรรมาภิบาล

**เผยแพร่/สร้าง แรงจูงใจ

*สร้างกลไก/ ตลาด

3.4 ส่งเสริม

ยุทธศาสตร์ สร้างระบบการ สื่อสารสาธารณะ

เสริมสร้างธรรมาภิบาล ด้านการจัดการ ทส. ด้วยกระบวนการมีส่วน ร่วมสาธารณะ

ส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม

*สร้างพื้นที่

1.1 สร้างข้อมูล ความรู้ที่หลากหลาย

*นวัตกรรม การจัดการ ทส.

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ *การทําแผนแบบ มีส่วนร่วม

2.2 ค้นหาต้นแบบ ธรรมาภิบาล 2.3 พัฒนา ผูน้ ํา/ เครือข่าย

3.1 แสวงหา นวัตกรรม

3.3 พัฒนาศักยภาพผูน้ ํา

การตลาดทีเ่ ป็น มิตร สวล.

3.2 วิจัย พัฒนา นวัตกรรม ส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างภาคธุรกิจกับ ชุมชน

บูรณาการจัดการ ทส. แบบองค์รวม

5.1 แสวงหา/พัฒนา ความรู้ นวัตกรรม

4.3 เพิ่มศักยภาพ ชุมชน

4.1 CSR ภาค ธุรกิจ

4.2 พัฒนาช่องทาง Match maker

**เชิดชูยกย่อง

*สร้างความ ร่วมมือระหว่าง ภาคี

*แผนชุมชน (หลายมิติ)

5.3 เครื่องมือ /

**ขยายผล

กลไก บูรณาการ

หมายเหตุ กลยุทธ์ภายใต้ ยุทธศาสตร์

*กลยุทธ์ที่ควร กําหนดเพิ่มเติม

**กิจกรรมย่อย ภายใต้กลยุทธ์

ภาพที่ 3 แสดงโครงสร้างยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ปี 2555 - 2559


32 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ และ 6 ผลลัพธ์ ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างระบบการสื่อสารสาธารณะ ในการสร้างระบบสื่อสารสาธารณะนั้น จําเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ตามที่สังคมมีความต้องการ หรือ กระแสสังคมมีทิศทางอย่างไรบ้าง และระบบ IT ที่จําเป็นในการรวบรวมความรู้ให้สามารถสืบค้น เข้าถึงได้ง่าย เป็นอย่างไร รวมทั้งการสื่อสารหลายช่องทางกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายผ่านเครือข่ายต่างๆ จะนําไปสู่การ เปลี่ยนแปลงวิธีคิดและพฤติกรรมของสังคมให้สามารถสร้างสังคมที่มีการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การค้นหาต้นแบบผู้นําที่มีอยู่แล้วโดยเฉพาะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถ้ามีจํานวน น้ อ ย ต้ อ งสร้ า งศั ก ยภาพผู้ นํ า ในอนาคต โดยใช้ กิ จ กรรมการมี ส่ ว นร่ ว ม โดยเริ่ ม จากการทํ า แผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติตามแผน และสร้างสังคมที่มีการผลิตและ การบริโภคที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พบว่าบางครั้งองค์ความรู้อย่างเดียวไม่สามารถ นําไปสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ ต้องค้นคว้านวัตกรรม เทคโนโลยีมาเสริม ขณะเดียวกันเทคโนโลยี ท้ อ งถิ่ น ที่ ยั ง ไม่ เ ป็ น ที่ แ พร่ ห ลาย (ทั้ ง ตั ว เทคโนโลยี เ อง หรื อ การประยุ ก ต์ ใ ช้ ก็ ต าม) จึ ง ต้ อ งจั ด ให้ มี เ วที แลกเปลี่ยนในเรื่องความเหมาะสมและการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างตลาดให้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ เกิดขึ้นด้วย เพื่อให้สังคมปรับวิถีการผลิตและการบริโภคสู่ความยั่งยืนได้ ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจกับชุมชน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างคน 2 กลุ่ม ส่วนหนึ่งเป็นการหาทุนจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับภาคส่วน ต่างๆ ในท้องถิ่น โดยการค้นหาธุรกิจต้นแบบหรือตัวอย่าง เพื่อเชิดชูเป็นแบบอย่างของสังคม รวมทั้งส่งเสริม ให้ภาคธุรกิจให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Good Corporate and Corporate Social Responsibility (CSR)) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พร้อมกันนั้นก็สร้างหรือสนับสนุนให้เกิดตลาดสีเขียว (Green Market) จะนําผลประโยชน์กลับคืนไปสู่ภาคธุรกิจให้กลับไปคิดค้นเทคโนโลยี หรือ มีเงินทุนทํา CSR ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้ สุดท้ายความเกื้อกูลระหว่างภาคธุรกิจและสังคมจะนําไปสู่ วิถีการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืนได้ ยุทธศาสตร์ที่ 5 บูรณาการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม องค์รวม หมายถึง การบูร ณาการความรู้ในหลากหลายมิติของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้ อม ซึ่ งอาจมี ป ระเด็ น หลั กที่ เป็ น ศู น ย์ กลาง เช่ น การรั บ มื อต่ อการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิอากาศ เศรษฐกิจเขียว และ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การพัฒนากลไกเพื่อบูรณาการงานของกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาจดําเนินงานใน 2 รูปแบบ ได้แก่ เชิงพื้นที่ ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่ากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้เลือกพื้นที่ เพชรบุรี และ กรุงเทพมหานคร


33 เป็นพื้นที่เป้าหมายในการทํางาน และ เชิงประเด็น เช่น สํานักงานสีเขียว (Green Office) ที่เหมาะสมกับ พื้นที่กรุงเทพมหานคร และ การจัดการลุ่มน้ําซึ่งได้ดําเนินการนําร่องที่เพชรบุรี เมื่อพิจารณาประเด็นหลักใน 6 ผลลัพธ์ พบว่า ผลลัพธ์ที่ 1 มีองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีจุดเน้นที่การบูรณาการความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสํารวจความ ต้องการของสังคมและกระแสสังคมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบ IT ให้ ตอบสนองการใช้งานหลายภาคส่วน รวมทั้งค้นหาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อประยุกต์ใช้และนําไปสู่การปรับ ไปสู่วิถีการผลิตและการบริโภคที่ความยั่งยืน ผลลัพธ์ที่ 2 ผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นที่ผู้นํา 2 กลุ่ม ที่ต้องให้ความสนใจในระดับต้น คือ 1) ผู้นําด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น อาทิ กลุ่มประชาคม ผู้นําท้องถิ่น และ 2) ผู้นําด้านธุรกิจ ที่เป็นแบบอย่างการทําธุรกิจ เพื่อสังคม คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ 2 กลุ่มนี้เป็นตัวหลักขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีการ ผลิตและการบริโภคที่ความยั่งยืนของสังคมต่อไป ผลลัพธ์ที่ 3 มีภาคีร่วมพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เจตนารมณ์ของการมีเครือข่าย คือ ให้เกิดการสื่อสารระหว่างกลุ่มต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและหลาย ช่องทาง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอาจใช้เครือข่ายเดิมหรือช่องทางสื่อสารเดิม หรือ จัดเวทีแลกเปลี่ยน กระตุ้นให้ภาคีต่างๆ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันในบางด้าน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การแลกเปลี่ยน กระบวนการดําเนินงาน ซึ่งบางครั้งอาจจะทําให้ได้องค์ความรู้ใหม่เพื่อนําไปเสริมการทํางานของเครือข่าย ต่างๆ ผลลัพธ์ที่ 4 มีแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น แผนการจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มในที่ นี้ เ น้ น 2 จุ ด ใหญ่ 1) แผนการจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น ซึ่งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เน้นการปรับปรุงคุณภาพการ จัดทําและสาระสําคัญของแผน ให้เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมและเป็นแผนที่ใช้ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม และ 2) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทําหน้าที่กระตุ้นภาคเอกชนให้มีการ ดําเนินการ CSR และทําแผนสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน โดย กรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มทํ า หน้ า ที่ เ ชื่ อ มโยงภาคเอกชนเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของผู้ ร่ ว มพั ฒ นาแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น สนับสนุนองค์ความรู้ เทคโนโลยี เงินทุนให้ท้องถิ่นให้สามารถ ทํางานได้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากยิ่ง


34 ผลลัพธ์ที่ 5 มีกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลไกสนับสนุน มี 2 ลักษณะ ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ความสําคัญ คือ 1) สร้างบูรณาการ ภายในกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม และ 2) สร้ า งบู ร ณาการงานจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่างๆ ภายใน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) หมายถึง สํานัก ศูนย์ กอง มีเป้าหมายร่วมกัน มีตัวชี้วัด ร่วม เพื่อทุ่มเททรัพยากรและความสามารถเพื่อยกระดับการปฏิบัติงานของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับของภาคส่วนต่างๆ ภายนอก (ภาคส่วนต่างๆ ) หมายรวมถึงการเชื่อมโยงให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีโอกาสจัดการความรู้ และเชื่อมโยงภารกิจซึ่งกันละกัน โดยอาจดําเนินการในรูปแบบเวทีการจัดการความรู้ที่กล่าวแล้ว ในรูปเอกชน และชุมชนมาร่วมงานกัน อาจจะนํานักวิชาการ ภาคเอกชน และชุมชน มาพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ร่วมกัน หรือ ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาตลาดสีเขียวสําหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลลั พ ธ์ ที่ 6 มี ค่ า นิ ย มและกระแสสั ง คมที่ เ กื้ อ หนุ น ต่ อ การจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม การสร้ างกระแสสั งคม หมายถึง การที่ สั งคมโดยรวมของประเทศเริ่ มมีความตระหนั ก มี แรงจู งใจ ร่ ว มกั น ในการเปลี่ ย นแปลงพฤติ ก รรมการผลิ ต และการบริ โ ภคที่ ยั่ ง ยื น โดยคํ า นึ ง ถึ ง ผลกระทบที่ มี ต่ อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเลือกการใช้ชีวิตแบบมีผลกระทบน้อยที่สุด ในการนี้ต้อง อาศัยสื่อสาธารณะที่จะให้ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ อาศัยผู้นําที่เป็นต้นแบบ เวทีการจัดการความรู้ แรงจู งใจทางการตลาดและการสนับ สนุน จากภาครั ฐอย่างพอพี ย ง โดยภาคประชาสังคมเป็น หลั กในการ กระตุ้ น และขั บ เคลื่ อนกระแสดั งกล่ าว กรมส่ งเสริ มคุ ณภาพสิ่ งแวดล้ อ มทํ าหน้ าที่ เป็ น แกนกลาง และ facilitator ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การจั ด ทํา แผนยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริ มคุ ณ ภาพสิ่ งแวดล้ อมข้ า งต้ น เกิด จากแนวคิ ด บูร ณาการ ทํางานร่วมกัน ของหน่วยงานภายในกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และของทุกภาคส่วนในการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งผลให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่ างยั่ งยื น โดยให้ ความสํ าคัญกับการสร้างความเข้มแข็ งให้ กับประชาชน ผู้ นํา ภาคี ต่าง ๆ ตลอดจนองค์ กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยใช้หลักการเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework) .ในการดําเนินการ สรุปได้ดังนี้


35 หลักการเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework) ของ แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2559 สรุปสาระสําคัญ Narrative Summary วัตถุประสงค์สูงสุด (Overall Goal) ประเทศไทยมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการ ดํารงชีวิตของประชาชน และการพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ (Purpose/Outcome) ประชาชน (ภาคีร่วมพัฒนา) สามารถบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน ท้องถิ่นอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน [ปี 2555-2559 เน้นเรื่อง “การบริโภคที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Green Consumption)] ผลงาน/ผลลัพธ์ (Output/Result) 1. มีองค์ความรู้ด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดความสําเร็จ Objectively Verifiable Indicators; OVI

หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ Means of Verification; MOV

1.ประชาชน ฉลาดซื้อ-ใช้ 2.มีผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.มีตลาดสําหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม 4.การจัดการของเหลือหลังการบริโภค

1. ข้อมูลจากการสํารวจความคิดเห็น ของประชาชน 2. ข้อมูลเกี่ยวกับชนิดและปริมาณ สินค้าสีเขียว 3. ข้อมูลปริมาณขยะประเภทต่างๆ

1. จํานวนสาขาองค์ความรู้ 2. จํานวนผู้ใช้บริการ และช่องทางการให้บริการ ข้อมูล 3. ระดับการตอบสนองต่อความต้องการของ ผู้ใช้บริการข้อมูลและองค์ความรู้

1. ฐานข้อมูล 2. บันทึกของศูนย์ข้อมูล 3. บันทึกการบริการข้อมูล

เงื่อนไขความสําเร็จ Assumption


36 สรุปสาระสําคัญ Narrative Summary 2. มีผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3. มีภาคีร่วมพัฒนาด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4. มีแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น

ตัวชี้วัดความสําเร็จ Objectively Verifiable Indicators; OVI 1. จํานวนผู้นําด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 2. จํานวนสาขาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่ผู้นําดําเนินการ 3. ผู้นําได้รับการยอมรับจากสังคมหรือการได้รับ รางวัลเชิดชูเกียรติ อันเนื่องจากประสิทธิผลในการ ทํางาน 1. จํานวนเครือข่ายเป้าหมายที่เข้าร่วมเป็นภาคี ร่วมพัฒนา 2. จํานวนสาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ภาคีร่วมพัฒนาดําเนินการ

หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ Means of Verification; MOV 1. ฐานข้อมูล 2. บันทึกการติดตามผล 3. รายงานการสํารวจภาคสนาม

1. ฐานข้อมูล 2. บันทึกการติดตามผล 3. รายงานการสํารวจภาคสนาม

1. จํานวนภาคีร่วมพัฒนาที่มีการจัดทําแผนจัดการ 1. ฐานข้อมูล ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. บันทึกการติดตามผล 2. คุณภาพของแผนฯ และกระบวนการจัดทําแผน 3. รายงานการสํารวจภาคสนาม 3. ความสําเร็จของการนําแผนไปสู่การปฏิบัติ

เงื่อนไขความสําเร็จ Assumption


37 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI 5. มีกลไกสนับสนุนการจัดการ ทส. ของประชาชน 1. สัดส่วนงบประมาณด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 2. จํานวนโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก ภายนอก 3. การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการบริหาร จัดการ หรือมีข้อตกลง หรือกติกาท้องถิ่นด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6. มีค่านิยม/กระแสสังคม 1. ประเด็นการนําเสนอเรื่องสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สื่อ สาธารณะ 2. ค่านิยมที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ผู้ผลิตและผู้บริโภค ผลผลิตและกิจกรรม (Outputs and Activities) ผลลัพธ์ที่ 1 มีองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมวด ก กิจกรรมการจัดหาองค์ความรู้ 1.1 กิจกรรมสํารวจ รวบรวม องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม และวิเคราะห์ สังเคราะห์ 1.2 ศึกษา/วิจัยองค์ความรู้ใหม่ 1.2.1 โครงการวิจัยวัสดุทดแทนพลาสติกที่ทําจากชีวภาพ

หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ Means of Verification; MOV 1. ฐานข้อมูล 2. บันทึกการติดตามผล 3. รายงานการสํารวจภาคสนาม

1. ฐานข้อมูล 2. บันทึกการติดตามผล 3. รายงานการสํารวจภาคสนาม 4. บันทึก/รายงานของ อปท.

เงื่อนไขความสําเร็จ Assumption


38 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI 1.3 ต่อยอดความรู้เดิม 1.3.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ผลิต และผู้บริโภค (แบบสอบถาม/เวทีเสวนา) 1.3.2 รูปแบบการใช้พลาสติกชีวภาพในผลิตภัณฑ์ชุมชน หมวด ข กิจกรรมการจัดทําระบบข้อมูล 1.4 จัดทําฐานข้อมูล 1.4.1 ฐานข้อมูล ผลิตภัณฑ์/ผู้ผลิต/บริการ 1.4.2 ฐานข้อมูล ทําเนียบบุคคล/วิทยากร/เครือข่าย/ปราชญ์ชาวบ้าน 1.4.3 ฐานข้อมูล การตลาด 1.5 ข้อมูลสถิติการผลิต/บริโภคพลาสติก 1.6 ชุดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ 1.7 จัดทําหลักสูตรอบรมและเครื่องมือเผยแพร่เกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพ 1.8 จัดทําแหล่งเรียนรู้ "พลาสติกชีวภาพ" (เครือข่ายศูนย์เรียนรู้) 1.9 ห้องสมุดเคลื่อนที่ "พลาสติกชีวภาพ" 1.10 กิจกรรม K.M. (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) 1.11 E-Learning 1.12 website

หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ Means of Verification; MOV

เงื่อนไขความสําเร็จ Assumption


39 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI Means of Verification; MOV ผลลัพธ์ที่ 2 มีผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.1 แสวงหา 2.1.1 รวบรวม/สังเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ได้กลุ่มผู้นําที่มีอยู่แล้ว(กลุ่มผู้นําทางธรรมชาติ + บทบาท) 2.1.2 จัดกระบวนการคัดเลือก 2.2 ทํางานแบบบูรณาการ 2.2.1 จัดทําแผนการทํางานของแกนนําในพื้นที่ 2.2.2 จัดทําโครงการนําร่องเพื่อบูรณาการร่วมกัน 2.2.3 สนับสนุนวิชาการ/ บุคลากร/งบประมาณ 2.2.4 ทบทวนการทํางานร่วมกัน 2.3 การพัฒนาศักยภาพผู้นํา 2.3.1 เสริมสร้างศักยภาพผู้นํา - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ฝึกอบรมศึกษาดูงาน 2.3.2 สนับสนุนกระบวนการเกิดองค์ความรู้และพัฒนาทักษะของการเป็นผู้นํา 2.4 สร้างความเข้มแข็ง/ยั่งยืนของผู้นํา 2.4.1 สร้างช่องทางให้แสดงผลงานเป็นที่ประจักษ์รับรู้ในวงกว้าง 2.4.2 จัดกิจกรรมเพื่อค้นหาแกนนํารุ่นใหม่ 2.4.3 ค้นหาผู้นําต้นแบบ(ROLE MODEL) 2.4.4 จัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจและเชิดชูเกียรติ

เงื่อนไขความสําเร็จ Assumption


40 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ เงื่อนไขความสําเร็จ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI Means of Verification; MOV Assumption ผลลัพธ์ที่ 3 มีภาคีร่วมพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.1 จัดทําฐานข้อมูลภาคีเครือข่าย 3.1.1 จัดทําฐานข้อมูลเครือข่าย(แยกตามประเภท/พื้นที่/ประเด็น สิ่งแวดล้อม)ทั้งกลุ่มเครือข่ายซึ่งทํางานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและไม่ได้ ทํางานด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย 3.2.1 เสริมศักยภาพเครือข่าย - จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน 3.2.2 ขยายเครือข่าย - จัดประชุม/กิจกรรม - เข้าร่วมกิจกรรม /ร่วมเป็นคณะทํางาน - ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ (สื่อ สิ่งพิมพ์) 3.2.3 หนุนเสริมการดําเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่าย - สนับสนุนสื่อ/คู่มือ/วิทยากร - ส่งเสริมให้เป็นเครือข่ายต้นแบบ/เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานของเครือข่ายอื่น 3.3 บูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่าย 3.3.1 ส่งเสริมการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3.3.2 จัดทําพันธะสัญญา/ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย (ทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ) 3.3.3 ส่งเสริมการประสานงานของภาคีเครือข่าย (ให้คําปรึกษา/ข้อแนะนํา)


41 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ เงื่อนไขความสําเร็จ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI Means of Verification; MOV Assumption 3.3.4 พัฒนางานวิจัยร่วมกับภาคีเครือข่าย 3.4 พัฒนากลไกการขับเคลื่อนของภาคีเครือข่าย 3.4.1 สร้างการยอมรับ/เชิดชูเกียรติ 3.4.2 นําเสนอผลการดําเนินงานของภาคีเครือข่ายที่เป็นที่ประจักษ์สู่สาธารณชน 3.4.3 การผลักดันเชิงนโยบายและกฎหมาย เป็นปัจจัยให้เครือข่ายที่ไม่ได้ทํางานด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้ามาทํางานด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มากขึ้น ผลลัพธ์ที่ 4 มีแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น 4.1 กําหนดนโยบาย 4.1.1 กําหนดเป็นตัวชี้วัดร่วมระหว่าง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม+ กระทรวงมหาดไทย , กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม+จังหวัด ,กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม+สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาค+สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 4.1.2 จัดทํา Road Map การบริโภคที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม 4.2 สร้างความร่วมมือระหว่างภาคี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น(กระทรวงมหาดไทย),จังหวัด,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,สผ,คพ,สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัด,สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาค 4.2.1 จัดตั้งคณะทํางาน 4.2.2 บูรณาการแผนและกิจกรรม 4.2.3 Mou/ข้อตกลงร่วมกัน


42 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ เงื่อนไขความสําเร็จ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI Means of Verification; MOV Assumption 4.2.4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง 4.3 สนับสนุนเครื่องมือจัดทําแผนการบริโภคสีเขียว(องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) 4.3.1 สนับสนุนข้อมูลพื้นที่ (ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม+ข้อมูลพื้นฐาน) 4.3.2 สนับสนุนองค์ความรู้การจัดทําแผน 4.3.3 แสวงหาช่องทางแหล่งทุน (ใน+นอก) 4.3.4 แสวงหาแบบอย่างที่ดี 4.4 พัฒนาศักยภาพบุคลากร(ใน+นอก) 4.4.1 อบรมให้ความรู้ (วิทยากรกระบวนการ,เทคนิคในการจัดทําแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการบริโภคสีเขียว) 4.4.2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ (เทคนิคในการจัดทําแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการบริโภคสีเขียว,การนําแผนไปสู่การปฏิบัติ) 4.4.3 เพิ่มช่องการการเรียนรู้ (มัลติมีเดีย,สื่ออิเล็กทรอนิกส์,Social Network) 4.5 ระบบการติดตามประเมินผล 4.5.1 ถอดบทเรียน EE (การดําเนินงานที่ผ่านมา,การเสริมพลังขับเคลื่อนในระยะต่อไป) 4.5.2 พัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบรายงานให้มีมาตรฐาน(มีเกณฑ์ในการประเมิน,BAR,DAR,AAR) 4.5.3 ส่งเสริมการใช้เครื่องมือในการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 4.6 สร้างแรงจูงใจ 4.6.1ให้รางวัล/เชิดชู/ประกาศเกียรติคุณ อย่างต่อเนื่องและมีมาตรฐาน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน) 4.6.2 ส่งเสริมให้มีบทบาทในเวทีสาธารณะ (เวทีวันสิ่งแวดล้อมไทย,แสดงนิทรรศการผลงาน) 4.6.3 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ (ทุกสื่อ) 4.7 ขยายผล 4.7.1 อบรมพี่เลี้ยงแกนนําเพื่อขยายผลต่อ


43 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI Means of Verification; MOV 4.7.2 ขยายเครือข่ายแบบลูกโซ่เถาองุ่น(วิทยากรกระบวนการ,เทคนิคในการทําแผนและการบริโภคสีเขียว ผลลัพธ์ที่ 5: มีกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบาย 5.1 สร้างนโยบายการบริโภคสีเขียว 5.1.1 ประชุมภาคีร่วม 5.1.2 ประชุมกําหนดนโยบายกรมฯ 5.1.3 ประชุมเสนอนโยบายภาพรวมต่อท้องถิ่น 5.1.4 ติดตามผลการนํานโยบายไปใช้ 5.2 ผลักดันนโยบายสู่ระดับกระทรวง 5.2.1 ประชุมผู้บริหารระดับกระทรวงเพื่อเสนอนโยบาย ทุน 5.3 จัดทําฐานข้อมูลแหล่งทุน (เก่า+ใหม่) 5.4 หาช่องทางเข้าถึงแหล่งทุน 5.4.1 แนะนํา/ให้คําปรึกษาเทคนิคการเขียนโครงการ 5.4.2 อบรมเทคนิคการเขียนโครงการเพื่อขอทุน 5.5 ส่งเสริมให้มีการใช้ทุนทางสังคม 5.5.1 ศึกษา/รวบรวมข้อมูลชุมชนต้นแบบและถ่ายทอดไปสู่ชุมชนที่มีบริบทใกล้เคียงกัน 5.5.2 ศึกษาวิจัยการใช้ต้นทุนทางสังคมให้เหมาะสมกับชุมชน กฎหมาย 5.6 ศึกษา/รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5.7 ส่งเสริมให้มีการใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ 5.7.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อปรับใช้กฎหมาย

เงื่อนไขความสําเร็จ Assumption


44 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI Means of Verification; MOV 5.7.2 สร้างมาตรการลดหย่อนภาษีให้ผู้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตรการสังคม 5.8 สร้างกระแสการยอมรับและบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่องทาง/โอกาส 5.9 ส่งเสริมให้มีเกณฑ์ผลิตภัณฑ์/บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5.10 การมีระบบข้อมูลของประเทศในเรื่องสินค้า/บริการ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้เพียงพอที่จะตัดสินใจเลือกซื้อ 5.11 จัดทําพันธะสัญญาความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ผลลัพธ์ที่ 6: มีค่านิยม/กระแสสังคม 6.1 คาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า 6.1.1 การทํางานในรูปแบบคณะกรรมการ 6.1.2 จัดเวทีระดมความคิดเห็น 6.1.3 จัดทํารายงานสถานะการณ์ ทุก 6 เดือน 6.2 สร้างกระแสในองค์กร 6.2.1 ประกวดคําขวัญ 6.2.2 ตลาดนัดสีเขียว กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม(อาทิตย์ละครั้ง) 6.2.3 KM ภายใน 6.2.4 CSR ภายใน 6.2.5 เทศกาลของขวัญสัเขียว +green party 6.3 พัฒนารูปแบบและช่องทางสื่อสาร 6.3.1 social network (fb,t,you tube) 6.3.2 website 6.3.3 e-book , e-learning 6.4 รณรงค์ เผยแพร่ ปชส ให้ความรู้

เงื่อนไขความสําเร็จ Assumption


45 สรุปสาระสําคัญ ตัวชี้วัดความสําเร็จ Narrative Summary Objectively Verifiable Indicators; OVI 6.4.1 สร้างแรงจูงใจผู้ประกอบการ (รางวัล) 6.4.2 บรรจุไว้ในหลักสูตรฝึกอบรมภาคีและเครือข่าย 6.4.3 road show/ brand ambassador 6.4.4 seminar คนทําหนัง +ละคร (ประกวดหนังสั้น) 6.4.5 ผลิตสปอต TV +เผยแพร่ (prim time) PR ผ่านรายการ สารคดี วาไรตี้ 6.4.6 กิจกรรมวันสําคัญทางสิ่งแวดล้อม 6.5 สร้างเครือข่ายบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6.6 การพัฒนากลไกที่ส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6.6.1 วิจัยที่สนับสนุนการส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตร 6.6.2 มาตรการลดหย่อนภาษี

หลักฐาน/แหล่งพิสูจน์ Means of Verification; MOV

เงื่อนไขความสําเร็จ Assumption


46 อนึ่งการจัดทําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้ดําเนินการ 2 มิติ ได้แก่ มิติการ บูรณาการ ซึ่ งเกิดจากแนวคิดบูรณาการในการทํางานร่วมกัน ของหน่วยงานภายในกรมส่ งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และของทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมิติในการ ดําเนินงานยุทธศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกันและมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน โดย สรุปได้ดังนี้ มิติการบูรณาการ การบูรณาการการทํางานตามแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นการกําหนด รูปแบบการทํางานภายในกรมฯ ให้อยู่ในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน ดังนั้นการที่จะทําให้ทุกหน่วย สามารถทํางานร่วมกันจึงได้มีการกําหนดวัตถุประสงค์ในการทํางานร่วมกัน ดังนี้ “ประชาชนและภาคีร่วม พัฒนาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน” โดยใน ปี 2555-2559 เน้น การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม’ (Green Consumption) ประกอบด้วยการ ดําเนินงานใน 6 ผลลัพธ์ ดังนี้ ผลลัพธ์ที่ ๑: มีองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ ๒: มีผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ ๓: มีภาคีร่วมพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ ๔: มีแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ผลลัพธ์ที่ ๕: มีกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ ๖: มีค่านิยมและกระแสสังคมที่เกื้อหนุนต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนและภาคี ร่ ว มพั ฒ นาในการบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนได้ กรมฯ ต้องมีการสํารวจความต้องการและ กระแสของสั ง คม ตลอดจนพั ฒ นาระบบสารสนเทศให้ มี อ งค์ ค วามรู้ ที่ มี ห ลายมิ ติ ใ นการจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสามารถเข้าถึงได้ง่าย แสวงหาผู้นําที่และสร้างผู้นําใหม่ทางด้าน จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้นําทางธุรกิจที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นต้นแบบทําให้เกิดการ ขยายผลที่ครอบคลุมและแพร่หลาย ส่งเสริมให้เกิดภาคีร่วมพัฒนาเพื่อสื่อสารการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันในลักษณะของเครือข่ายและปรับปรุง แผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น หรือขององค์กรธุรกิจ ให้เป็นกลไกในการ เชื่ อมโยงการทํ า งานของทุ ก ภาคส่ ว นให้ ป ระสบผลสํ าเร็ จ ดั งนั้ น กรมส่ งเสริ มคุ ณ ภาพสิ่ งแวดล้ อมจึ งต้ อ ง ดําเนินการสนับสนุนกลไกและปัจจัยต่าง ๆ ในการดําเนินงาน เพื่อเพิ่มพลังขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปสู่ความสําเร็จ นอกจากนี้ยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสังคม ให้ไปแนวทางเดีย วกันโดยการสร้ างกระแสและค่านิยมที่เกื้ อหนุนต่ อการจั ดการทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ ให้ สั ง คมเกิ ด ความตื่ น ตั ว ตระหนั ก และปรั บ เปลี่ ย นพฤติ ก รรมจนกลายเป็ น วิ ถี ใ น ชีวิตประจําวัน การที่จะดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ การบูรณาการการทํางาน ภายในกรมจะต้องมีการดําเนินงานอย่างน้อย 6 ผลลัพธ์ ซึ่งเป็นงานที่มีการดําเนินงานอยู่แล้ว แต่ต้องทําแบบ


47 มีการบูรณาการในการทํางานร่วมกันจึงจะทําให้ผลลัพธ์ทั้ง 6 เกิดผลและทําให้งานมีประสิทธิภาพ โดยมี รายละเอียดการดําเนินงานดังนี้ ผลลัพธ์ที่ ๑: มีองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องดําเนินการสร้างและแสวงหาองค์ความรู้ พัฒนานวัตกรรมและ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่แพร่หลายและครอบคลุมกับความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย และนํามาจัดการให้เป็นระบบ ตลอดจนเพิ่มช่องทางในสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบ ต่าง ๆ ที่ เข้ าถึ งได้ ง่ายไปสู่ กลุ่มเป้ าหมายที่ ห ลากหลาย ตลอดจนมี การแลกเปลี่ ย นกระบวนการทํ างานที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิดและพฤติกรรมของสังคมให้มีการผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ ๒: มีผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การการบริหารจั ดการด้ านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิ ทธิภาพและยั่งยื นนั้น ไม่ สามารถดําเนินการได้ด้วยองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ดังนั้นกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในฐานะที่เป็นงานที่มี บทบาทภารกิจหลักในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงต้องมีการแสวงหาผู้นําที่มีศักยภาพเพื่อทํางานให้บรรลุเป้าหมายได้ ผู้นําโดยทั่วไปมี 2 ลักษณะคือ ผู้นําที่มี ธรรมชาติในการเป็นผู้นําและสนใจทํางานทางด้านสิ่งแวดล้อม และผู้นําที่มีความสนใจทํางานภารกิจอื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพผู้นํากลุ่มนี้ให้มาทํางานทางด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังต้องสร้างผู้นําใหม่ ขึ้นมาเพื่อเรียนรู้การจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมและเสริมการทํางานร่วมกับผู้นําเดิมที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นให้ สามารถทํางานได้อย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มผู้นํา และครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้น จึงเป็นกล ยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยให้การขยายผลการทํางานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ต่างๆได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ ผลลัพธ์ที่ ๓: มีภาคีร่วมพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้ประสบผลสําเร็จนั้นจําเป็นต้องอาศัยการทํางานร่วมกันจึงจะทําให้เกิดพลัง ในการทํางาน การรวมคนที่สนใจคล้ายกันหรือมีภารกิจคล้ายการให้มาสนใจและทํางานด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กรมจึงต้ องส่ งเสริ มให้เกิ ดเป็ นภาคี ร่ วมพั ฒนา คื อ กลุ่ ม องค์กร หรื อสถาบั นที่มีวั ตถุประสงค์ หรือเป้ าหมาย ใกล้เคียงกันเข้ามาร่วมดําเนินงานกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น เครือข่ายนักวิจัย เครือข่ายภาคธุรกิจ เอกชนที่มีนโยบายรับผิดชอบต่อสังคม (Corporative Social Responsibility: CSR) เครือข่ายองค์กรเอกชน ด้านสิ่งแวดล้อม เครือข่ายสตรี เครือข่ายเด็กและเยาวชน เครือข่ายชนเผ่ า เครือข่ ายอาสาสมัครพิทักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (ทสม.) เครือข่ายวัด-มัสยิด เครือข่ายสถานประกอบการ สภา อุตสาหกรรม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น เข้ามาทํางานร่วมกัน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนให้กลุ่ม องค์ ก รเหล่ า นี้ ไ ด้ มี โ อกาสแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ซึ่ ง กั น และกั น ทํ า ให้ เ กิ ดการสื่ อ สารในภาพกว้ า งและขยาย กลุ่มเป้าหมายในภาคส่วนต่างๆ อย่าได้ครอบคลุมทั่วประเทศ


48 ผลลัพธ์ที่ ๔: มีแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ท้องถิ่นในแต่ ละพื้นที่ มีการแผนการจั ดการทรั พยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อมบรรจุ เป็น แผนของ ท้องถิ่นซึ่งท้องถิ่นส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการทํางานในลักษณะกิจกรรมมากกว่าการทํางานเชิงยุทธศาสตร์ ดังนั้น จึงจําเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดแผนของท้องถิ่นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ท้องถิ่น สามารถดําเนินการเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่ง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้มีการดําเนินการแล้วในบางพื้นที่ให้ มีการขยายเพิ่มมากขึ้น เช่น แผนการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองท้องถิ่น แผนการจัดการ สิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ที่ครอบคลุมหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแผนในระดับภูมินิเวศ เช่น พื้นที่ลุ่มน้ํา หรือพื้นที่ชุ่มน้ํา หรือ แผนกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporative Social Responsibility: CSR) ของ ภาคเอกชน เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่า องค์กร ชุมชน สามารถดําเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้และมีความต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ ๕: มีกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น /ชุมชน/ภาคีร่วมพัฒนา/ผู้นํา จะสามารถ ดําเนินการจะต้องมีปัจจัยต่างๆ ในการสนับสนุนจึงจะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานกลางควรให้การสนับสนุนองค์ความรู้หลากหลายมิติ การเข้าถึงแหล่งทุน ทรั พ ยากรในการดํ า เนิ น กิ จ กรรมตามแผน การปรั บ ปรุ ง กฎหมายหรื อ ข้ อ ตกลงในท้ อ งถิ่ น การจั ด ตั้ ง คณะกรรมการ การจัดทําข้อตกลงความร่วมมือ ตัวชี้วัดในการประเมิน การให้รางวัลยกย่องเชิดชู เป็นต้น ทั้งนี้ประเภทของกลไกหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องอาจมีการผันแปรไปตามสถานการณ์ และช่วงเวลา เพื่อให้มั่นใจ ว่าแผนงานหรือกิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่างๆ จะสามารถ ดําเนิน การได้ตามที่วางแผนไว้ ผลลั พธ์ ที่ ๖: มี ค่ า นิ ยมและกระแสสั งคมที่ เ กื้ อหนุ น ต่ อ การจั ด การทรั พยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดการสิ่งแวดล้อมในวงกว้างและครอบคลุมไปถึงประชาสังคม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนของท้องถิ่น ถึงระดับชาติ ด้วยเนื้อหาสาระการมุ่งปรับเปลี่ยนการบริโภคและเกิด พลังงานในการขับเคลื่อน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดําเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกระแสการ บริ โ ภคที่ เป็ น มิ ตรกั บ สิ่ งแวดล้ อม รวมถึ งการสร้ างวั ฒ นธรรมใหม่ ในการจั ดการทรั พยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นค่านิยมของสังคมในระยะยาว กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงมุ่งมั่นที่จะให้การปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้ ทําให้เกิด การเปลี่ยนแปลงในระดับสังคม ที่ขยายผลครอบคลุมทั้งประเทศไทยอย่างแท้จริง และสามารถดํารงอยู่ต่อไป ได้อย่างยั่งยืนในระดับของค่านิยม (Value) บนพื้นฐานองค์ความรู้ และการบูรณาการ ผลลัพธ์ทั้ง ๖ ประการนี้ เกิดจากาการดําเนินงานที่ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และการดําเนินงานจะ ประสบผลสํ าเร็ จ หรื อ ไม่ นั้ น ขึ้ น อยู่ การบู ร ณาการภายในของกรมฯ เพื่ อ ให้ ส ามารถตรวจสอบได้ ว่ า มี การ ดําเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย หรือไม่ กรมจึงได้วางแนวทางในการติดตามประเมินผลการทํางานไว้


49 ทั้ง ก่ อนเริ่มดํ าเนิ นการ ระหว่างดํ าเนิ น การ และหลั งจากดํ าเนิ นการ และมีการประเมิน ผลกระทบภาย หลังจากที่การดําเนินงานเสร็จไปแล้วนระยะหนึ่ง ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสําเร็จของการดําเนินงาน มีดังนี้ 1. นโยบายในการดําเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ต้องมีความต่อเนื่อง 2. การสนับสนุนงบประมาณต้องสอดคล้องกับผลผลิต และเพียงพอ 3. การให้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการทํางานมีความต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน และเกิดการบูรณาการการทํางานภายในกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมและภายนอก จึงได้มีการมอบหมายบทบาทการนําไปปฏิบัติในระดับหน่วยงาน ดังนี้ ผลลัพธ์ ผลลัพธ์ที่ 1 มีองค์ความรู้ ผลลัพธ์ที่ 2: มีผู้นําการเปลี่ยนแปลงด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ 3: ภาคีร่วมพัฒนาด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ 4: มีแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น ผลลัพธ์ที่ 5: มีกลไกสนับสนุนการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลลัพธ์ที่ 6: มีค่านิยม/กระแสสังคม การติดตามและประเมินผล

หน่วยงานรับผิดชอบ ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม สํานักอาสาสมัครและเครือข่าย สํานักกิจการเยาวชนและลูกเสือ และสํานักงาน เลขานุการกรม สํานักส่งเสริมการมีส่นร่วมของประชาชน กองส่งเสริมและเผยแพร่ ศู น ย์ วิ จั ย และฝึ ก อบรมด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม และ สํานักยุทธศาสตร์

นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทํางานภายในกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และภายนอก และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน จึงได้มีการคัดเลือกพื้นที่ เพื่อให้เห็นการทํางานบูรณาการอย่างชัดเจน โดย จากมติที่ประชุมได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ดําเนินงาน 2 พื้นที่ มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ ดังนี้ - ระยะทางไม่ไกลจาก กทม. - เป็นพื้นที่ที่กรมดําเนินการอยู่แล้ว - มีประเด็นให้ทํางานแบบบูรณาการภายในองค์กรได้ - ความพร้อมของท้องถิ่น / ศักยภาพของคนในท้องถิ่น - มีเครือข่ายของกรมฯ ที่เข้มแข็ง เช่น ทสม. - สามารถทําได้จริง / วัดผลได้ / ขยายผลได้


50 - สําเร็จผลภายในระยะเวลาโครงการ - เป็นพื้นที่มีองค์ประกอบทั้ง ผู้ให้บริการ ผู้ผลิต ผู้บริโภค - พื้นที่วิกฤต เช่น พื้นที่ลุ่มน้ํา มีภัยพิบัติ - พื้นที่ที่มีภูมินิเวศหลากหลาย เช่น ป่า เขา ทะเล - เป็นตัวแทนพื้นที่เมืองและชนบท และทําใน 2 ลักษณะที่สําคัญที่ต่างกัน คือ เชิงประเด็น และเชิงพื้นที่ 1. เชิงประเด็น ได้พิจารณาเลือกประเด็นการจัดการสํานักงานสีเขียว (Green Office) และเลือกพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเมืองเป็นพื้นที่นําร่อง โดยหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ มีดังนี้ - เป็นตัวแทนของพื้นที่เมือง - มีต้นทุนการดําเนินงานอยู่แล้ว - เป็นพื้นที่ท้าทาย หากดําเนินการสําเร็จจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง 2. เชิงพื้นที่ เป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ที่ประชุมได้เลือกพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดย หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ มีดังนี้ - ต้นกําเนิดแม่น้ํา 1 สาย ไหลผ่านจังหวัดเดียว - ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ - มีทุนเดิมทั้งทางสังคม วัฒนธรรมสูง - ภาคประชาสังคมเข้มแข็ง - เคลื่อนไหวทํางานสิ่งแวดล้อมมาต่อเนื่อง - ไม่ไกลกรุงเทพ - มีโครงการพระราชดําริเกิดขึ้นแล้วหลายโครงการ สามารถพัฒนาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มิติการดําเนินยุทธศาสตร์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (social change) กรมจึงพัฒนาแผนที่ ยุทธศาสตร์ของกรม ดังนี้


51 แผนที ยทุ ธศาสตร์ กรมส่งเสริ มคุณภาพสิ งแวดล้อม

มิติดา้ นสิ งแวดล้อมขาด การบริ หารจัดการ

แผนที ยทุ ธศาสตร์

คุณภาพสิ งแวดล้อมดีข) ึน เป็ นคุณประโยชน์ต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศ

ผลกระทบ (Impact)

ตัวชี)วดั มิติการเปลี ยนแปลงทางสังคม (Social Change)

มิติดา้ นกลุ่มเป้ าหมาย (Customer Prospective)

ประชาชน ฉลาด ซื) อ-ใช้

มี ผลิ ตภัณฑ์ Green Product แพร่ หลาย

นโยบายของรัฐบาล และพรรคการเมือง

มีตลาด Green Product แพร่หลาย และประชาชนเข้าเมือง

การจัดการของเหลือ หลังการบริ โภค

5. ประชาชนมี การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ งแวดล้อม

กระแสทางเลือกในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ งแวดล้อม

3. กลุ่ม สื อมวลชน

4. สื อ Electronic

2. กลุ่มเครือข่าย

ความร่ วมมือกับพันธมิตร จากภาคส่ วนต่างๆ

1. กลุ่มแกนนํา

การบริ หารจัดการ เช่นPOSCORB Model

มิติดา้ นกระบวนการ (Internal Process Perspective)

มิติดา้ นการเรี ยนรู ้ (Learning and Growth Perspective)

P = Policy O = Organize S = Staff C = Coordinate O = Operate R = Report B = Budget

แผนงาน

• แผนยุทธศาสตร์ • แผนปฏิบตั ิราชการ 4 ปี • แผนปฏิบตั ิงานประจําปี

ทีมงานกรมส่งเสริ มคุณภาพสิ งแวดล้อมมีศกั ยภาพสูงในการทํางาน กระบวนการเรี ยนรู้ (ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ)

กระบวนการสร้างทีม (Teamwork)

ภาพที่ 4 แผนที่ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กระบวนการบริ หารจัดการ โครงการ/องค์กรอย่างมีส่วนร่ วม

กระบวนการเรี ยนรู ้ร่วมกัน ในองค์กร


52 มิติด้านการเรียนรู้ (Learning and Growth Perspective) ทีมงานกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องมีศักยภาพสูงในการปฏิบัติงาน โดย 1) การเสริมสร้างการเรียนรู้ พร้อมทั้งปรับทัศนคติของบุคลากรให้เป็นนักส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มืออาชีพมากยิ่งขึ้น 2) บุคลากรของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และภาคส่วนต่างๆ มีการพัฒนาการทํางานเป็นทีมให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น มิติด้านกระบวนการบริหารจัดการภายในองค์กร (Internal Process Perspective) ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก 1) หลักการ POSDCORB ซึ่งประกอบปด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (1) การวางแผน (Planning) คือ หน้าที่หรือบทบาท ในการกําหนดการทํางานที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตว่า จะทําอะไร จะทําอย่างไร จะทําเมื่อไร ใครเป็นผู้ทํา จะใช้งบประมาณเท่าไร (2) การจัดองค์การ (Organizing) คือ การจัดโครงสร้างองค์การที่เกี่ยวกับเรื่องการกําหนดภารกิจ หน้าที่ การแบ่งงานกันทํา การกําหนดอํานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ การจัดสายการบังคับบัญชา การ กําหนดขนาดของการควบคุม การจัดตั้งหน่วยงานหลัก (Line) และการจัดตั้งหน่วยงานที่ปรึกษา (Staff) (3) การจัดคนเข้าทํ างาน (Staffing) คือ หน้ าที่ ที่เกี่ ยวกั บการบริห ารทรั พยากรมนุ ษย์ ซึ่ ง ประกอบด้วย การวางแผนกําลังคน การสั่งการ การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนขั้น ลดขั้น การโยกย้าย และ การให้พ้นจากงาน (4) การสั่งการ (Directing) คือ การที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานตามแผนงาน หรือตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะสั่งการด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ (5) การประสานงาน (Coordinating) คือ หน้าที่ในการประสานกับหน่วยย่อยต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน องค์การให้ทํางานสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการประสานงานนั้นอาจทําได้โดยการจัดตั้ง คณะกรรมการกลั่นกรองงาน การจัดโครงสร้างองค์การให้มีความชัดเจน การใช้วิธีการงบประมาณ เป็นต้น (6) การรายงานผลการปฏิบัติงาน (Reporting) คือ การรายงานความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ ขององค์การให้ทุกฝ่ายได้ทราบ เพื่อประโยชน์ในการติดตามการแก้ไขปัญหาอุปสรรค ที่เกิดจากการทํางาน (7) การบริหารงบประมาณ (Budgeting) คือ หน้าที่ในการจัดสรร การวางแผนงบประมาณให้กับ องค์การ และหน่วยย่อยต่าง ๆ ให้มีงบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอในการทํางาน 2) แผนการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย (1) แผนยุทธศาสตร์ หมายถึง แผนที่แสดงทิศทางหรือแนวทางปฏิบัติตามพันธกิจและภารกิจให้ บรรลุตามวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ของส่วนราชการนั้นๆ แผนยุทธศาสตร์ที่ดีนั้นจะต้องมีวิสัยทัศน์ซึ่งมาจาก กลุ่ ม บุ ค ลากรที่ ทํ า งานร่ ว มกั น ที่ เ ห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น ว่ า เป็ น เป้ า หมายในระยะยาวที่ อ ยากจะมี อ ยากจะเป็ น วิสัยทัศน์นี้ควรแปลงมาเป็นเป้าประสงค์ที่เป็นรูปธรรมและวัดได้ ทั้งนี้ ส่วนราชการสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์


53 เป็นกรอบในการประเมินผลงานประจําปีงบประมาณ นอกจากนี้ส่วนราชการยังสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์ เป็นกรอบในการทําแผนปฏิบัติการรายปี เพื่อการจัดตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปี (2) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี หมายถึง แผนที่ใช้เป็นกรอบและแนวทางในการปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งส่วนราชการจะต้องนําแผนการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีให้ ความเห็นชอบแล้วไปแปลงเป็นแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ให้แล้วเสร็จตามกําหนดเวลาที่กําหนดในพระราช กฤษฎีกา ทั้งนี้ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี จะต้องระบุหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อใช้ในการขออนุมัติ งบประมาณประจําปีต่อไป แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือในการถ่ายทอดแผนการบริหาร ราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสําเร็จอย่างเป็นรูปธรรม (3) แผนปฏิ บั ติ ร าชการประจํ า ปี หมายถึ งแผนที่ ถ่ายทอดมายั งแผนปฏิ บั ติร าชการ 4 ปี และ นําไปใช้ในการขออนุมัติงบประมาณประจําปี เมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณจะนํามาจัดทําแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจําปี (4) แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจําปี เป็นแผนที่ถูกกําหนดขึ้นโดยระบุ รายละเอียดเกี่ยวกับแผนงานและโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่มีเป้าหมายผลงานสอดคล้องกับเป้าประสงค์และ เป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ที่กําหนดไว้ โดยหน่วยปฏิบัติจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผลงานที่ จะเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ระดับ ได้แก่ ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการชี้ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ของเป้าหมายในระดับต่างๆ ตัวชี้วัดความสําเร็จและทรัพยากรที่จําเป็นในการดําเนินงาน มิติกลุ่มเป้าหมาย (Customer Prospective) ในที่นี้กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้นํา เครือข่าย สื่อสาธารณะ (สื่อมวลชน) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การ สื่อสารโดยตรงถึงประชาชน ผู้นํา หมายถึง ผู้นําที่เป็นผู้นําทางธรรมชาติ หรือผู้นําทางการที่มีอยู่ในกลุ่มองค์กรต่างๆ โดยให้ผู้นําที่ เป็นผู้นําทางธรรมชาติ หรือผู้นําทางการที่มีอยู่ในกลุ่มองค์กรต่างๆ ทําหน้าที่เหมือนทูต หรือผู้แทนของกรม เพื่อขยายผลความรู้สู้กลุ่มอื่นๆ ในสังคมต่อไป เครือข่าย หมายถึง การรวมตัวกันโดยธรรมชาติของภาคส่วนต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์ หนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้เกิดการรวมตัว เพื่อเผยแพร่ หรือ กระจาย แนวคิดประเด็นสําคัญของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมสู่กลุ่มเป้าหมายในวงกว้างต่อไป กลุ่มเครือข่าย ได้แก่ กลุ่มประชาสังคม เครือข่ายการเรียนรู้ กลุ่มส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เป็นต้น สื่อมวลชน หมายถึงสื่อทุกแขนงที่ทําหน้าที่ช่วยเผยแพร่เหตุการณ์ ความรู้ ความคิด สู่สาธารณนะใน ภาพกว้าง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหลายรูปแบบ เช่น website blog e-mail social media เพื่อเข้าสู่กลุ่มเป้าหมาย เฉพาะ หรือกลุ่มในภาพรวม อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว กว้างขวาง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างทันเวลา


54 การเข้าสู่กลุ่มประชาชนโดยตรง เช่น การอบรม สัมมนา เยี่ยมพื้นที่ เข้าร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม ต่างๆ จากการทํ า ทั้ ง หมดนี้ เชื่ อ ได้ ว่ า จะนํ า ไปสู่ ก ารเปลี่ ย นแปลงทางสั ง คมใน 5 ปี ข้ า งหน้ า ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ


55

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างระบบการสือ่ สารสาธารณะ การสื่อสารเป็นกลไกและเครื่องมือสําคัญที่จะนําไปสู่การขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อม เพราะการ สื่อสารจะมีบทบาทในการสร้างผลกระทบต่อปัจเจกบุคคล ตั้งแต่ระดับการสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้าง ทัศนคติ จนถึงการกระทํา และบทบาทในการสร้ างผลกระทบต่ อสั งคมส่ วนรวมตั้ งแต่ร ะดั บการให้ ข้อมู ล ข่าวสาร การให้การศึกษา การระดมพลัง จนถึงการสร้างกระแสสังคม ซึ่งโจทย์สําคัญ คือ จะใช้การสื่อสารเป็น เครื่องมือในการเสริมสร้ างกระบวนการเรี ยนรู้ กระบวนการมีส่วนร่วม และความตระหนักในการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ได้อย่างไร การสื่อสารที่จะ นําไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ จึงจะต้องเป็นการสื่อสารที่ผู้รับและผู้ส่งสารสามารถมีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบกัน ได้ตลอดเวลา ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งทิศทางการรับและส่งสารจะต้องมาจากทุก ทิศทาง ทั้งจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน รวมทั้งจากภายในสู่ภายนอก ภายนอกสู่ ภายใน และระหว่ า งภายในด้ ว ยกั น เอง รวมทั้ ง มี ช่ อ งทางการสื่ อ สารที่ ห ลากหลายและเหมาะสมกั บ กลุ่มเป้าหมายและสาร ที่ต้องการสื่อ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมตระหนักถึงพลังของการสื่อสารดังกล่าว จึงมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและใช้ ประโยชน์ กระบวนการสื่ อสารตั้ งแต่ ผู้ ส่ งสาร (Source/Sender) ข้ อมู ลและองค์ ความรู้ หรื อสาร (Message) ช่องทาง (Channel/Media) และผู้รับสาร จึงได้กําหนดให้ การสร้างระบบสื่อสารสาธารณะ เป็นยุทธศาสตร์หลัก ทั้ ง นี้ การสื่ อ สาร (Communication) มี ห ลายรู ป แบบ ในฐานะที่ ต้ อ งทํ า งานกั บ กลุ่ ม เป้ า หมายที่ หลากหลายและครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงเลือกใช้การสื่อสารสาธารณะ เป็นกลไกหลักสําคัญ เพราะระบบการสื่อสารที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงกลุ่มบุคคลจํานวน มากได้ อย่ างรวดเร็ว หากมีการใช้ ประโยชน์ ได้ อย่ างถูกต้องและเหมาะสม ก็ จะเป็ นเครื่ องมือในการสร้าง ค่านิยมที่ดี (value) ในเรื่องสิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นกระแสสังคมที่มีพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงได้ การสื่อสารสาธารณะ คือ การส่งสารไปสู่คนจํานวนมาก สารที่ถูกส่งออกไปจะต้องก่อให้เกิดผลกระทบ หรือมีอิทธิผลต่อความคิด ความเชื่อ ทัศนคติของผู้รับสาร ซึ่งสารในที่นี้ คือ ข้อสนเทศ องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และงานวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และทันสมัยที่ครอบคลุมประเด็นสิ่งแวดล้อมแบบองค์ รวมในหลายมิ ติ หรื อเรี ยกรวมๆ ว่ า ข้ อมู ล และองค์ ความรู้ ซึ่ งกลุ่ มเป้ าหมายสามารถเข้าถึ งและนํ าไปใช้ ประโยชน์ต่อได้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับตัวบุคคลและกลุ่มพลัง โดยระบบการสื่อสาธารณะมีหลักการพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ 1. การสื่อสารที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (Universality) 2. การสื่อสารที่มีความหลากหลาย (Diversity) 3. การสื่อสารที่มีความเป็นอิสระ (Independence)


56 4. การสื่อสารที่มีความแตกต่าง (Distinctiveness) 1.1 กลยุทธ์หลัก 1.1.1 พัฒนาและสร้างความหลากหลายของข้อมูลและองค์ความรู้ 1.1.2 พัฒนาช่องทางการสื่อสารที่ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ได้อย่างเป็นพลวัต 1.1.3 ส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ 1.1.4 พัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านการสื่อสารสาธารณะในมิติ ต่างๆ 1.2 ความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์สร้างระบบการสื่อสารสาธารณะ เป็นยุทธศาสตร์สนับสนุนการดําเนินการยุทธศาสตร์อื่นๆ โดยการเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ แหล่งจัดหาหรือสร้างข้อมูลและองค์ความรู้ตามความต้องการ รวมทั้งการถ่ายโอนข้ อมู ลและองค์ ความรู้ ระหว่างกั น รวมทั้งเป็น แหล่งนั ดพบของผู้ รับ และผู้ส่ งสาร หรื อ ช่ อ งทางในการติ ด ต่ อ หรื อ ปฏิ สั ม พั น ธ์ รวมทั้ ง การพั ฒ นาสื่ อ บุ ค คล ในการเสริ ม สร้ า งธรรมาภิ บ าลด้ ว ย กระบวนการการมีส่วนร่วม การเสริมสร้างการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมความร่วมมือ จากภาคธุรกิจสู่สังคม และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม 1.3 แนวทางการดําเนินกลยุทธ์ กลยุทธ์ 1.พัฒนาและสร้าง ความหลากหลาย ของข้อมูลและ องค์ความรู้

กิจกรรมหลัก 1.1 พัฒนาและวิจัยองค์ความรู้ด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในมิติของเศรษฐกิจ และสังคม 1.2 พัฒนาและวิจัยความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายและกระแส สังคม 1.3 ออกแบบและพัฒนาระบบการ จัดการข้อมูลและองค์ความรู้ 2. พัฒนาช่องทาง 2.1 พัฒนาช่องทางการสื่อสาร การสื่อสารที่ทุก สาธารณะด้านต่างๆ แบ่งเป็น ภาคส่วนสามารถมี 2.1.1 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนร่วม มี 2.1.2 ด้านสื่อประชาสัมพันธ์ (เช่น ปฏิสัมพันธ์ และ สื่อบุคคล, สื่อสิ่งพิมพ์, สื่อ สนับสนุนกิจกรรม โสตทัศน์, สื่อกิจกรรม) ส่งเสริมคุณภาพ 2.2 พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทาง ด้าน สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย

ตัวชี้วัด 1. จํานวนสาขาองค์ความรู้ 2. จํานวนองค์ความรู้ที่ ตอบสนองความต้องการ

ผู้รับผิดชอบ - ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม - สถาบันฝึกอบรมและ ถ่ายทอดเทคโนโลยี - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม

1. จํานวนช่องทางการ สื่อสาร 2. จํานวนผู้ใช้บริการ 3. จํานวนระบบสนับสนุน การทํางานแบบจุดศูนย์ รวม (Hub หรือ Portal) ทางด้าน สิ่งแวดล้อมของประเทศ

- ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชน - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย


57 กลยุทธ์ รวมกันได้อย่าง เป็นพลวัต

กิจกรรมหลัก 2.3 การใช้ศูนย์เรียนรู้ของชุมชน

3. ส่งเสริมให้กลุ่ม เป้าหมายทุกภาค ส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าถึงข้อมูลและ องค์ความรู้

ตัวชี้วัด 4. จํานวนฐานข้อมูล

3.1 การปรับปรุงประสิทธิภาพใน 1. ความหลากหลายของผู้ใช้ การให้บริการข้อมูล บริการ 3.2 สื่อสารเชิงรุกไปยังกลุ่ม 2. ระดับความพึงพอใจของ เป้าหมายต่างๆ ผู้ใช้ บริการ 3. ความหลากหลายของ ข้อมูล 4.1 การจัดทําแผนพัฒนาบุคลากร 1.แผนพัฒนาบุคลากร ให้ทั่วถึงคลอบคลุม 2.จํานวนบุคลากรที่ได้รับ การพัฒนา

4. การพัฒนา บุคลากรของกรม ส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมให้มี ศักยภาพในการ ทําหน้าที่สื่อสาร สาธารณะในมิติ ต่างๆ

ผู้รับผิดชอบ

- ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม - กองส่งเสริมและเผยแพร่

- สํานักงานเลขานุการกรม - สถาบันฝึกอบรมและถ่ายทอด เทคโนโลยี

1.4 แนวทางการดําเนินงาน (Milestone) ปีงบประมาณ ปี 2555

ปี 2556

-

แนวทางการดําเนินงาน ศึกษาความต้องการและกระแสสังคม พัฒนาและวิจัยองค์ความรู้ ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ศึกษาความต้องการในการพัฒนาบุคลากรบุคลากร กําหนดแผนการพัฒนาบุคลากร จัดทําฐานข้อมูลและองค์ความรู้ ให้บริการข้อมูลและองค์ความรู้ จัดทําและทดลองใช้ระบบสนับสนุนการทํางานแบบ Hub หรือ Portal พัฒนาและทดลองใช้ช่อง ทางการสื่อสารสาธารณะ ดําเนินการพัฒนาบุคลากร ประเมินและติด ตามผลการพัฒนาบุคลากร


58 ปีงบประมาณ ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

-

แนวทางการดําเนินงาน ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลและองค์ความรู้ให้ทันสมัย ครบถ้วน และตอบสนองความต้องการ นําระบบสนับสนุนการทํางานแบบ Hub หรือ Portal ไปใช้ เปิดให้บริการช่องทางการสื่อสารสาธารณะ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมาย ดําเนินการพัฒนาบุคลากร - ประเมินและติดตามผลการพัฒนาบุคลากร ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลและองค์ความรู้ให้ทันสมัย ครบถ้วน และตอบสนองความต้องการ ปรับปรุงระบบสนับสนุนการทํางานแบบ Hub หรือ Portal ปรับปรุงช่องทางการสื่อสารสาธารณะ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมาย ดําเนินการพัฒนา บุคลากร ประเมินและติดตามผลการพัฒนาบุคลากร

-

ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลและองค์ความรู้ให้ทันสมัย ครบถ้วน และตอบสนองความต้องการ ปรับปรุงระบบสนับสนุนการทํางานแบบ Hub หรือ Portal ปรับปรุงช่องทาง การสื่อสารสาธารณะ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการข้อมูล ประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุม่ เป้าหมาย ดําเนินการพัฒนา บุคลากร ประเมินและ ติดตามผลการพัฒนาบุคลากร


59

ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ธรรมาภิบาล คือ การดําเนินงานที่เชื่อมโยงกันของภาคเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่จะจัดการ กิจการของประเทศในทุกระดับ เพื่อให้คนในสังคมได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน และมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ประกอบด้ วยหลักการสําคัญคื อ นิติธ รรม ความรับ ผิดชอบ ความโปร่งใส ความชอบธรรม ประสิทธิภาพ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้การมีส่วนร่วมของประชาชนจัดเป็นหัวใจสําคัญลําดับ แรก ที่ จะนํ าไปสู่การมีธรรมาภิ บาลที่แท้จริ ง ซึ่งสอดคล้ องกั บแนวทางในการบริ หารราชการ ในพระราช กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และพระราชบัญญัติกําหนด แผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ที่กําหนดอํานาจหน้าที่ใน การจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สําคัญประการ หนึ่งคือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีพันธกิจที่สําคัญด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงได้เน้นเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้ “ประชาชนและภาคีร่วม พัฒนา สามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน” ธรรมาภิบาล (Good Governance) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย กระบวนการมีส่วนร่วม เป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โดยให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการเข้าถึงข้อมูล ทําให้เกิดความโปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม คงเส้นคงวาสามารถคาดหมายได้ มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม


60 ยั่งยืน Sustainability

เป็นธรรม Social Justice

เข้าถึงได้

โปร่งใส

รับผิดชอบ

Accessibility

Transparency

Accountability

การมีส่วนร่วมของประชาชน Public Participation

คาดหมายได้ Predictability

นิติธรรม Rule of Law

แผนภาพที่ 6 แสดงธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.1 กลยุทธ์หลัก 2.1.1.พัฒนาตัวชี้วัดการประเมินธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย กระบวนการมีส่วนร่วม 2.1.2 สร้างและค้นหาต้นแบบที่มีธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย กระบวนการมีส่วนร่วม 2.1.3 พัฒนาศักยภาพผู้นําและภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม 2.2. ความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการ ค้ น หา พั ฒ นาผู้ นํ า เครื อ ข่ า ยธรรมาภิ บ าลด้ า นการจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ด้ ว ย กระบวนการมีส่วนร่วม รวมถึงการขยายผลเครือข่ายให้เป็นไปในวงกว้าง ซึ่งหากชุมชน ภาคธุรกิจ และองค์กร ต่างๆ สามารถยึดหลักธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการมี ส่วนร่วมในการดําเนินงานได้แล้ว จะทําให้ชุมชน ภาคธุรกิจ และองค์กรนั้น สามารถสื่อสารข้อมูลและองค์


61 ความรู้สู่สาธารณะ นอกจากนี้ เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะก่อให้เกิดการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ กับชุมชนรวมถึงสามารถบูรณาการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม กระบวนการพั ฒ นาตั ว ชี้ วั ด การประเมิ น ธรรมาภิ บ าลด้ า นการจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม รวมไปถึงตัวชี้วัดที่ได้ สามารถนําไปจัดกลุ่มเป็นข้อมูลองค์ความรู้ (input) ที่สามารถนําไปเผยแพร่ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนในช่องทางต่างๆ ที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้จัดทําขึ้น นอกจากนี้ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและการรับผิดชอบต่อสังคม จะช่ ว ยส่ งเสริมให้ ภ าคเอกชนมี เป้ าหมายชั ดเจนและจั ดทํ าแผนความรั บผิ ดชอบขององค์ กรธุรกิ จต่ อสั งคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ง่ายขึ้น และช่วยให้ภาคเอกชนหรือชุมชน มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยอ้างอิงตามตัวชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้น และภาคเอกชนหรือชุมชน เหล่านั้น จะเกิดการยอมรับและไว้ใจซึ่งกัน และกันในการดําเนินธุรกิจต่อไป ต้นแบบและเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นนวัตกรรม การจัดการเชิงบูรณาการ ที่สามารถเผยแพร่ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อขยายผลให้เกิดเครือข่ายที่มี ความหลากหลายและครอบคลุมได้ทั่วถึงต่อไป และยังสามารถนําไปใช้เป็นเครื่องมือ/กลไกในการบูรณาการ ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ได้ รวมทั้งทําหน้าที่เป็นสื่อประเภทหนึ่ง ที่ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลความรู้ ได้โดยตรง ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรมและการศึกษาดูงานต่างๆ 2.3 แนวทางการดําเนินกลยุทธ์ กลยุทธ์ กิจกรรมหลัก ตัวชี้วัด 1. พัฒนาตัวชี้วัดการ 1.1 จัดทําตัวชี้วัดการประเมิน 1.ตัวชี้วัดการประเมินธรรมาภิ ประเมินธรรมาภิบาล ธรรมาภิบาลด้านการจัดการ บาลด้านการจัดการ ด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและ ทรัพยากรธรรมชาติและ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวน สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการ และสิ่งแวดล้อมด้วย การมีส่วนร่วม ที่เหมาะสม มีส่วนร่วมตามประเภท กระบวนการมีส่วนร่วม กับประเภทเครือข่าย เครือข่าย

ผู้รับผิดชอบ - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของประชาชน - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรม ด้านสิ่งแวดล้อม 2. สร้างและค้นหาต้นแบบ 2.1 สร้าง (สร้าง,หา,รวบรวม) 1.จํานวนต้นแบบการดําเนิน - สํานักส่งเสริมการมีส่วน การดําเนินงานที่มี ต้นแบบการดําเนินงานที่มี งานที่มีธรรมาภิบาลด้าน ร่วมของประชาชน - สํานักอาสาสมัครและ ธรรมาภิบาลด้านการ ธรรมาภิบาลด้านการจัดการ การจัดการ จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและ ทรัพยากรธรรมชาติและ เครือข่าย ทรัพยากรธรรมชาติและ - สํานักกิจการเยาวชนและ สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวน สิ่งแวดล้อม ด้วย สิ่งแวดล้อมด้วย การมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วม ลูกเสือ กระบวนการมีส่วนร่วม 2.1.1 แสวงหาโดยการรวบ 2. ฐานข้ อ มู ล เครื อ ข่ า ยที่ - ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม รวม/สังเคราะห์ข้อมูล เป็น ปัจจุบัน เครือข่ายทั้งภายใน และภายนอก เพื่อให้


62 กลยุทธ์

3.พัฒนาศักยภาพผู้นํา และภาคีเครือข่าย ธรรมาภิบาลด้านการ จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมด้วย กระบวนการมีส่วน ร่วม

กิจกรรมหลัก ได้กลุม่ ผู้นําทีม่ ีอยู่เดิม และจัดกระบวนการ คัดเลือก เพื่อค้นหา แกนนํารุ่นใหม่ และ ผู้นําต้นแบบ 2.1.2 จัดทําฐานข้อมูล เครือข่าย (แยกตาม ประเภท/พื้นที่/ ประเด็น สิ่งแวดล้อม) ทั้งกลุ่มเครือข่ายซึ่งทํา งานด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมและ ยังไม่ได้ทํา

ตัวชี้วัด

3.1 เผยแพร่ต้นแบบธรรมาภิบาล 1. จํานวนผู้นําเครือข่าย ด้านการจัดการ ต้นแบบ ธรรมาภิบาลด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและ การจัดการ สิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการ ทรัพยากรธรรมชาติและ มีส่วนร่วม สิ่งแวดล้อมทีไ่ ด้รบั การ 3.1.1 สร้างช่องทางให้แสดง เผยแพร่ ผลงานเป็นที่ประจักษ์ 2. จํานวนกิจกรรมที่ รับรู้ในวงกว้าง เครือข่ายขับเคลื่อนประเด็น 3.1.2 จัดกิจกรรมสร้างแรง ต่างๆ ร่วมกับกรม จูงใจและเชิดชูเกียรติ 3.จํานวนนวัตกรรมการจัดการ 3.1.3 ประชาสัมพันธ์ผ่าน ทรัพยากรธรรมชาติและ ช่องทางต่างๆ สิ่งแวดล้อมที่มีธรรมาภิบาล 3.2 พัฒนาศักยภาพเครือข่าย โดยจัดกลุ่มเครือข่าย/NGOs ตามศักยภาพที่มีอยู่เพื่อ ขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ร่วมกับกรม 3.2.1 เสริมสร้างศักยภาพ ผู้นํา 3.2.2 สนับสนุนกระบวนการ เกิดองค์ความรู้และ พัฒนาทักษะของการ เป็นผู้นํารวมทั้งผลัก

ผู้รับผิดชอบ

- กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของประชาชน - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม


63 กลยุทธ์

กิจกรรมหลัก ดันให้เครือข่ายเข้า ทํางานด้านทรัพยากร ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมมากขึ้น 3.2.3 ทํางานแบบบูรณาการ จัดทําโครงการนําร่อง เพื่อบูรณาการร่วมกัน สนับสนุนและทบทวน การทํางานร่วมกัน 3.3 รวบรวมและวิจัยนวัตกรรม การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทีม่ ี ธรรมาภิบาล 3.3.1 พัฒนางานวิจัยร่วม กับภาคีเครือข่าย

ตัวชี้วัด

ผู้รับผิดชอบ

2.4 แนวทางการดําเนินงาน (Milestones) ปีงบประมาณ 2555

2556

2557-2559

แนวทางการดําเนินงาน - ตัวชี้วัดการประเมินธรรมาภิบาลด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วย กระบวนการมีส่วนร่วม - ร่วมมือกับเครือข่ายที่มศี ักยภาพอยู่แล้วในการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ร่วมกับกรม - ผู้นํา-เครือข่ายต้นแบบ (ROLE MODEL) - ฐานข้อมูลเครือข่าย (แยกตามประเภท/พื้นที่/ประเด็น สิ่งแวดล้อม) ทั้งกลุ่มเครือข่ายซึ่งทํางาน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและยังไม่ได้ทํา - เครือข่ายที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ร่วมกับกรม - มีนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีธรรมาภิบาล


64

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมกระแสบริโภคนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องย่อมนําไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ ระมัดระวัง เกิดความเสื่อมโทรมและสูญเสีย การที่จะหยุดยั้งการทําลายทรัพยากรธรรมชาติที่กําลังหมดไป ทํา ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน กระบวนการผลิตก็เป็นอีก สาเหตุหนึ่ง ที่ทําให้มีการสูญเสียทรัพยากรมากมาย และปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม ทําให้เกิดปัญหา มลพิษที่ทวีความรุนแรงตามการเปลี่ยนแปลงของประชากร และอัตราการผลิต นอกจากนั้นภาคอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กส่วนใหญ่ยังคงใช้เทคโนโลยี ที่มีกระบวนการ ผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้น เปลือง ของเสียถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีวงจร อายุที่สั้นลงภายใต้อิทธิพลของกระแสบริโภคนิยม ทําให้ทรัพยากรถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว ทําให้เกิดมลพิษ ที่ส่งผลกกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิต การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จะ นําไปสู่ความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าเป็นการปรับกระบวนทัศน์ของการผลิตไปสู่ ความยั่งยืน เพราะการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้สถานประกอบการได้ พัฒนาและยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยของเสีย ออกสู่สิ่งแวดล้อม และนําไปสู่ความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยยึด หลักการดําเนิ นธุ รกิจ อย่ างมีความรับ ผิดชอบ มี การส่งเสริ มให้มีการบริ หารจัดการอย่างเป็ นระบบ ทั้ งใน กระบวนการผลิตสินค้าและการให้บริการ มีการฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการส่งเสริม ให้ผู้ขายและผู้ให้บริการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีการรับรองนวัตกรรมสินค้าและบริการที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพี่อเป็นการสร้างมูลค่าทางสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการที่จะต้อง ตระหนักและคํานึงถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 3.1 กลยุทธ์ 3.1.1 แสวงหาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.1.2 วิจัย พัฒนา นวัตกรรม ประยุกต์ใช้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.1.3 พัฒนาศักยภาพและสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.1.4 สร้างกระแสการส่งเสริมการตลาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


65 3.2 ความเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์นี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์อื่นๆ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสื่อสารสาธารณะ เพราะการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นการปรับกระบวนทัศน์ทั้งของผู้ผลิตและ ผู้บริโภค ซึ่งการสร้างกระแสสังคมเป็นแนวทางหนึ่งที่จะใช้ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งภาคการ ผลิตจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับทราบข้อมูลและสื่อสารกับสังคมโลกถึงข้อกําหนดด้านการค้าต่างๆที่มีทิศทาง ไปสู่การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ซึ่งยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจสู่สังคม และยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการจัดการแบบองค์รวมจะช่วยให้ภาคการผลิตเชื่อมโยงกับภาคการบริโภคได้ อย่างมีทิศทาง เพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีการผลิตและบริโภคอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลักดันประเทศสู่ กระแส Green Economy 3.3 แนวทางการดําเนินกลยุทธ์ กลยุทธ์ กิจกรรมหลัก ตัวชี้วัด 1. แสวงหาเทคโนโลยี 1.1 สํารวจแหล่งข้อมูล รวบรวม 1.จํานวนฐานข้อมูล ที่เป็นมิตรกับ องค์ ค วามรู้ เ ทคโนโลยี ที่ เ ป็ น 2.จํานวนองค์ความรู้ สิ่งแวดล้อม มิตรกับสิ่งแวดล้อม 1.2 จัดทําฐานข้อมูล 1.3 ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ ต่าง ๆ

2. วิจัยพัฒนา 1.1 วิจัย พัฒนา นวัตกรรม 1. ร้อยละผลงาน วิจัย/ นวัตกรรม ประยุกต์ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับ นวัตกรรม ใช้และถ่ายทอด สิ่งแวดล้อม 2. จํานวนผู้เข้าร่วมเวที เทคโนโลยีที่เป็นมิตร 1.2 จั ด เวที แ ลกเปลี่ ย นระหว่ า ง แลกเปลี่ยนระหว่าง กับสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิตและผูใ้ ช้เทคโนโลยี ผู้ผลิตและผู้ใช้ เทคโนโลยี

3.พัฒนาศักยภาพและ 3.1 พั ฒ นาและส่ ง เสริ ม การนํ า 1. ร้อยละผู้นําการ สร้างผู้นําการ เกณฑ์ม าตรฐานไปใช้ ในการ เปลี่ยน แปลงที่นํา เปลี่ยนแปลงการใช้ ผลิต การบริการที่เป็นมิตรกับ เทคโนโลยีที่เป็นมิตร เทคโนโลยีที่เป็น สิ่งแวดล้อม กับสิง่ แวดล้อมไปใช้ มิตรกับสิ่งแวดล้อม 3.2 ส่งเสริมให้ผู้นําการเปลี่ยน

ผู้รับผิดชอบ - ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม - สํานักส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชน - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม - สถาบันฝึกอบรมและ ถ่ายทอดเทคโนโลยี - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย - ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม - สํานักส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชน - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม - สถาบันฝึกอบรมและ ถ่ายทอดเทคโนโลยี - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย - ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม - สํานักส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชน - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม


66 กลยุทธ์

กิจกรรมหลัก แปลงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด

4. สร้างกระแสการ 4.1 สร้างแรงจูงใจให้ผผู้ ลิต ผู้ 1.กฎหมาย/ข้อกําหนด ส่งเสริม การตลาดที่ บริการเลือกใช้ เทคโนโลยีที่ ที่พัฒนาเพื่อสร้าง เป็นมิตรกับ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้ แรงจูงใจ สิ่งแวดล้อม กลไกทางการตลาด และกลไก 2. เครื่องมือทางทาง ทางสังคม สังคมที่ได้รับการ พัฒนาเพื่อสร้าง แรงจูงใจ

ผู้รับผิดชอบ - สถาบันฝึกอบรมและ ถ่ายทอดเทคโนโลยี - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย - ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม - สํานักส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชน - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม - สถาบันฝึกอบรมและ ถ่ายทอดเทคโนโลยี - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย

3.4 แนวทางการดําเนินงาน (Milestone) ปีงบประมาณ ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

แนวทางการดําเนินงาน - ค้นหา รวบรวม และจัดทําฐานข้อมูลเทคโนโลยีฯ - วิจัยและพัฒนานวัตกรรม - สร้างกระแส (ตัว G) - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ผลิตผลงานวิจัย - ส่งเสริมการนํามาตรฐาน/เกณฑ์ไปใช้ - ค้นหา พัฒนา ต่อยอด และถ่ายทอด - สร้างกระแส (ตัว G, CT, LA21) - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ผลิตผลงานวิจัย - สร้างแรงจูงใจ - ถอดบทเรียน (ความแตกต่างอยู่ตรงไหน อธิบายในแต่ละปี) - ค้นหา พัฒนา ต่อยอด และถ่ายทอด - ปรับปรุงกระบวนการ กลไก ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม - สร้างกระแส (ตัว G, CT, LA21) - แลกเปลี่ยนเรียนรู้


67 ปีงบประมาณ

ปี 2558

ปี 2559

แนวทางการดําเนินงาน - ผลิตผลงานวิจัย - สร้างแรงจูงใจ - ถอดบทเรียน - สร้างกระแส (ตัว G, CT, LA21) - ส่งเสริ,การนํามาตรฐาน/เกณฑ์ไปใช้ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ผลิตผลงานวิจัย - สร้างแรงจูงใจ - พัฒนา ต่อยอด และถ่ายทอด - ถอดบทเรียน - พัฒนา ต่อยอด และถ่ายทอด - ถอดบทเรียน - สร้างกระแส - ส่งเสริมการนํามาตรฐาน/เกณฑ์ไปใช้ - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - ผลิตผลงานวิจัย - สร้างแรงจูงใจ - ประเมินผลยุทธศาสตร์ และนําไปปรับปรุง


68

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจสู่สังคม โลกในยุ ค ปั จ จุ บั น กํ า ลั ง เผชิ ญ กั บ ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ ม ทั้ ง ผลจากการพั ฒ นาที่ ไ ม่ ส มดุ ล และการ เปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บทบาทของการเป็น บรรษัทภิ บาล และความรั บผิดชอบต่อสั งคมของกลุ่ ม บรรษัท และกิจการธุรกิจ (Good Corporate and Corporate Social Responsibility) มีความสําคัญมาก ขึ้นทั้งใน แง่ของการเป็นแนวคิด กลไก และเครื่องมือที่สําคัญของการพัฒนาองค์กรธุรกิจและการพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างยั่งยืน เช่น การใช้หลักธรรมาภิบาล การผลิตสินค้าและบริการที่ปลอดภัยและ เป็น มิตรต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้าง “คุณค่า” ให้กับองค์กรธุรกิจนอกจาก “มูลค่า” ทางธุรกิจ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจแล้ว แนวคิดดังกล่าวยังสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนา ทางสังคมที่เต็มไปด้วย “ความเก่ง” และ “ความดี” ความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรษัทและกิจการธุรกิจ (Corporate Social Responsibility : CSR) มุ่งเน้นให้องค์กรธุรกิจดําเนินกิจการทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อ องค์กรและสังคมโดยส่วนรวมเพื่อชุมชนที่องค์กรตั้งอยู่ เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับชุมชน เป็นต้น โดย คํานึ งถึ งความสอดคล้องกั บลั กษณะของธุ รกิจ ที่องค์ กรดําเนิ นการและเน้ นการมีส่ วนร่ วมของบุ คลากรใน องค์กร เป็นการดําเนินกิจกรรมภายในและภายนอก ในอันที่จะส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและการอยู่ร่วมกัน ในสังคมอย่างปกติสุข ฐานความคิดและที่มาของ CSR สร้างความตื่นตัวให้แก่บรรดากลุ่มธุรกิจและให้ ความสําคัญในการขับเคลื่อนภารกิจ CSR ในองค์กรอย่างจริงจัง โดยมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายธุรกิจเพื่อ สังคมและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาสังคม ในขณะเดี ย วกั น มี ชุ ม ชนและประชาชนในฐานะผู้ ที่ อ ยู่ ใ กล้ ชิ ด กั บ ฐานทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม จํานวนมากได้รวมกลุ่มกันจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน ซึ่งหากทั้ง ๒ ภาคส่วนได้ร่วมมือกันจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย ภาคธุรกิจเอกชนสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และองค์ความรู้ในการจัดการ เพื่อให้ชุมชนสามารถ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 4.1 กลยุทธ์ 4.1.1 ส่งเสริมความรับผิดชอบทางสังคม (CSR) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.1.2 สร้างตลาดความร่วมมือ (Match maker) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.1.3 เสริมศักยภาพชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


69 4.2 ความเชื่อมโยง การส่งเสริมความรับผิดชอบทางสังคม (CSR) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาคธุรกิจต้อง เข้าถึงข้อมูล และองค์ความรู้ ที่หลากหลาย และทันสมัยในทุกมิติ ซึ่งการสื่อสารเพื่อสื่อถึงการทํา CSR ที่ดีของ ภาคธุรกิจ และมาตรการจูงใจต่างๆ เกิดเป็นกระแสของสังคม ที่จะกระตุ้นให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงการทํา CSR ในวงกว้างขึ้น ซึ่งการสร้างตลาดความร่วมมือ (Match maker) จะเป็นกลไกที่นําไปสู่ความร่วมมือ ระหว่างภาคธุรกิจและชุมชน โดยต้องสร้างฐานข้อมูลของภาคธุรกิจ และภาคชุมชนที่มีความพร้อม และเปิด โอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและเห็นถึงศักยภาพกันและกัน ที่สําคัญต้องเตรียมความพร้อมของ ชุมชนให้มีศักยภาพที่จะร่วมมือกับภาคธุรกิจในการดําเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน ท้องถิ่น 4.3 แนวทางการดําเนินกลยุทธ์ กลยุทธ์ กิจกรรมหลัก 1.ส่งเสริมความ 1.1 สร้างกระแสสังคมการทํา CSR ของ รับผิดชอบ ทางสังคม ภาคธุรกิจ (CSR) ด้าน 1.2 ส่งเสริมการใช้กลไกทางเศรษฐศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและ เป็นแรงจูงใจความร่วมมือ สิ่งแวดล้อม 2. สร้างตลาดความร่วมมือ 2.1 จัดทําฐานข้อมูลภาคธุรกิจที่มคี วาม ต้องการทํากิจกรรมร่วมกับชุมชน (Match maker) ด้าน หรือมีกิจกรรม CSR อยูแ่ ล้ว และ ทรัพยากรธรรมชาติและ ฐานข้อมูลชุมชนที่มีความต้องการใน สิ่งแวดล้อม การทํางานด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 2.2 พัฒนาช่องทางให้ภาคธุรกิจสนับสนุน การทํางานในพื้นที่ร่วมกับชุมชน เช่น เว็บไซด์ เวทีแลกเปลี่ยน เป็นต้น 2.3 ส่งเสริมให้เกิดตลาดสีเขียว (Green Market) 2.4 เชิดชูและยกย่องภาคธุรกิจและชุมชน ที่มีความร่วมมือที่ดี 3.เสริมศักยภาพชุมชน 3.1 ประเมินศักยภาพชุมชนและจัดลําดับ ด้านการจัดการ ตามศักยภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและ 3.2 เสริมศักยภาพความพร้อมให้กับชุมชน สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดทําและบริหารโครงการ

ตัวชี้วัด

ผู้รับผิดชอบ - กองส่งเสริมและเผยแพร่

หน่วยงานหลัก: - ศูนย์สารสนเทสิ่งแวดล้อม หน่วยงานสนับสนุน: - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย - สํานักส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของประชาชน

- สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย


70 4.4 แนวทางการดําเนินงาน (Milestones) ปีงบประมาณ ปี ๒๕๕๕

แนวทางการดําเนินงาน - สามารถจัดทําฐานข้อมูลภาคธุรกิจที่มีความต้องการทํากิจกรรมร่วมกับชุมชน หรือมีกิจกรรม CSR อยู่ แล้ว และฐานข้อมูลชุมชนที่มีความต้องการในการทํางานด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใน พื้นที่

- เกิดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและชุมชนในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ปี ๒๕๕๙

- เกิดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและชุมชนในพื้นที่ทั่วประเทศ


71

ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมแบบองค์รวม ในมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจความเชื่อมโยงขององค์ประกอบ 4 ด้าน ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การบรรลุ เ ป้ า หมายการพั ฒ นา นั่ น คื อ องค์ ป ระกอบด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คม การเมื อ งและ สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืนจึงจําเป็นต้องประกอบด้วย การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งการจัดการ “คน”ซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์และบริโภคทรัพยากร สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ให้มีจิตสํานึกและพฤติกรรมในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างมีความรับผิดชอบ ทั้งต่อปัจจุบันและอนาคต ยุทธศาสตร์ นี้ จึ งเป็ นการกํ าหนดรูป แบบการจั ดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม ด้ วยการ บูรณาการการทํางานในหลายมิติทั้งเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มีการ เชื่อมโยงกลยุทธ์ของทุกยุทธศาสตร์ ทั้งการสร้างระบบการสื่อสารสาธารณะ การเสริมสร้างธรรมาภิบาลการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความ ร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจสังคมที่มุ่งสู่ผลลัพธ์ขององค์ความรู้ การแสวงหาและสร้างผู้นําการเปลี่ยนแปลงที่ ก่อให้เกิดเครือข่าย ผ่านเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นําไปสู่การจัดทําแผนและกลไกสนับสนุนการดําเนินงาน เพื่อให้เกิดกระแสสังคม การทํางานภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ จึงเป็นการบูรณาการภารกิจหลักของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เกิดต้นแบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น โดยใช้ความรู้ความเข้าใจที่เป็นองค์รวมบนพื้นฐานแห่งการเชื่อมโยงมิติในการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 4 องค์ประกอบ ที่สามารถเป็นบทเรียนในการปฏิบัติและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างกว้างขวางต่อไป 5.1 กลยุทธ์หลัก 5.1.1 แสวงหาองค์ความรู้ พัฒนา และสร้างนวัตกรรม 5.1.2 พัฒนาระบบการทํางานเป็นทีมของบุคลากรภายในองค์กรและกระบวนการทํางานเป็นทีม 5.1.3 สร้างและพัฒนาเครื่องมือและกลไกแบบบูรณาการ 5.2 ความเชื่อมโยง แสวงหาองค์ ค วามรู้ แ ละนวั ต กรรมเพื่ อ ให้ เ กิ ด แหล่ ง เรี ย นรู้ ที่ ชุ ม ชนสามารถนํ า ไปจั ด การด้ า น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน สร้างช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อเป็นกลไกให้ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้และนวัตกรรมไปใช้ใน การปรับเปลี่ยนวิถีชุมชนเพื่อมุ่งสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากต้นแบบที่ดี (Best Practice) เพื่อนําไปสู่การ พัฒนาบุคลากรที่เป็นผู้นําหรือเครือข่ายให้เป็นมืออาชีพในการทํางานเป็นทีม และเกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง


72 เพิ่มศักยภาพผู้นําเครือข่ายที่เป็นมืออาชีพเพื่อให้เกิดค่านิยมและความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาและ ขยายผลเครือข่ายให้เพิ่มขึ้น และสามารถเป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลงได้ 5.3 แนวทางการดําเนินกลยุทธ์ กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ ๑ แสวงหา องค์ความรู้ พัฒนา และสร้างนวัตกรรม

กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนา ระบบการทํางานเป็น ทีม

แนวทางการดําเนินงาน ตัวชี้วัด /กิจกรรมหลัก 1.1 สํารวจ รวบรวม วิจัยให้ได้มา ๑.จํานวนองค์ความรู้และ ซึ่งองค์ความรู้และนวัตกรรม นวัตกรรม 1.2 จัดกิจกรรมแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ๒.จํานวนแหล่งเรียนรู้ 1.3 ถอดบทเรียน ๓.จํานวนพื้นที่ต้นแบบที่มี 1.4 จัดทําคู่มือ/แนวทางการ การจัดการทรัพยากร ดําเนินงาน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์รวม 1.5 สร้างแหล่งเรียนรู้ 1.6 สร้างพัฒนา แสวงหาต้นแบบ กระบวนการ ทํางานแบบ บูรณาการที่ดี (Best Practice) 1.7 กําหนดพื้นที่เรียนรู้ พร้อมการ ปฏิบัติจริงในพื้นที่นําร่อง

2.1 พัฒนาบุคลากรให้เป็นมือ อาชีพในการทํางานเป็นทีม 2.2 พัฒนาและขยายผลทีมงานมือ อาชีพให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เป้าหมายให้มีความเชี่ยว ชาญ ในหลากหลายประเด็นด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 2.3 สร้างค่านิยมร่วมในการ ทํางาน ความตั้งใจและมุ่งมั่น 2.4 การจัดแผนชุมชนแบบมีส่วน ร่วมในมิติที่เกีย่ วข้องกับพื้นที่ ของชุมชน กลยุทธ์ที่ ๓ สร้างและ 3.1 สร้างและพัฒนาเทคโนโลยีมา พัฒนาเครื่องมือ/กลไก ใช้ในการดําเนินงาน แบบบูรณาการ 3.2 กําหนดระเบียบ กฎ ข้อตกลง ในการทํางานแบบบูรณาการ องค์รวม

๑.จํานวนบุคลากรที่ได้รับ การพัฒนา ๒.จํานวนทีมงานมืออาชีพ ๓.จํานวนกระบวนการ ทํางานแบบองค์รวม ๔.จํานวนเครือข่าย/ภาคี/ ผู้นําที่มีการจัดการ ทส. แบบองค์รวม ๕.มีแผนชุมชนด้านการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ผู้รับผิดชอบ - สถาบันฝึกอบรมและ ถ่ายทอดเทคโนโลยี - ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน สิ่งแวดล้อม - ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักงานเลขานุการกรม - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย - สํานักกิจการเยาวชนและ ลูกเสือ

- สํานักส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชน - สถาบันฝึกอบรมและ ถ่ายทอดเทคโนโลยี - กองส่งเสริมและเผยแพร่ - สํานักงานเลขานุการกรม - สํานักอาสาสมัครและ เครือข่าย

๑.จํานวนเครื่องมือ/กลไก/ - ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีที่สามารถนํามา - สํานักส่งเสริมการมีส่วนร่วม ดําเนินการแบบบูรณาการ ของประชาชน


73 5.4 แนวทางการดําเนินงาน (Milestones) ปีงบประมาณ ปี 2555 - 2558

ปี 2559

แนวทางการดําเนินงาน ๑. พัฒนาบุคลากร เครื่องมือ นวัตกรรม กลไก ๒. สร้าง ส่งเสริม ทีมงานมืออาชีพ เครือข่าย ภาคี ๓. ผู้นําการเปลี่ยนแปลง ๔. สร้าง Model ต้นแบบ ๕. สร้างกระแสสังคม (ขยายผล) ๑. ติดตามประเมินผล ทบทวนยุทธศาสตร์การจัดการ ทส. แบบองค์รวม


บทที่ 5 การนํายุทธศาสตร์ไปสูก่ ารปฏิบัติ (Strategic Implementation) และการติดตามประเมินผล 5.1 ขั้นตอนและวิธีการการนําไปปฏิบัติ ขั้นตอนแรกของการนํายุทธศาสตร์ไปสู่การจัดทําแผนปฏิบัติการระดับหน่วยย่อยขององค์กร จําเป็น อย่างยิ่งที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจะต้องสื่อสารทําความเข้าใจถึงเป้าหมายและกลยุทธ์ต่างๆ และหลัก คิดสําคั ญของยุทธศาสตร์ ฉบับนี้ เพื่อให้บุคลากรในองค์กรมีวิสั ยทัศน์ และเป้าหมายร่วมในการผลักดันการ ทํางานตามภารกิจไปสู่เป้าประสงค์ในระยะ 5 ปีร่วมกัน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงกําหนดขั้นตอนและวิธีนําแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ดังนี้ (1) สื่อสารแผนยุทธศาสตร์ (พ.ศ.2555-2559) เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในองค์กรทุกระดับรวมทั้ง สื่อสารเพื่อให้บุคลากรทําความเข้าใจและเป็นข้อมูลในกาจัดทําแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ องค์กร (2) กําหนดแนวทาง วิธีการในการดําเนินงาน และจัดทําคู่มือการปฏิบัติงานเพื่อนําแผนไปสู่การปฏิบัติ (3) ประสานหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในทุกระดับ ดังนี้ (3.1) การประสานงานภายในกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม : มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดําเนินงาน ของหน่วยงานต่างๆ ภายในกรม มีส่วนช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน หรือมีการบูรณาการให้มากที่สุดทั้งในระดับ ระหว่ างสายงาน และระดับ กอง เพื ่อให้การดํ าเนิน งานเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิ ผลและมี คุณภาพมากยิ่งขึ้น (3.2) การประสานงานภายนอกกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม : มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การ ดํ าเนิ นงานของกรมสอดคล้ องกั บความต้ องการของหน่ วยงานอื่ น โดยเฉพาะอย่ างยิ่ งหน่ วยงานที ่มีห น้า ที ่ใ น การกํ า หนดนโยบายและแผนทรัพ ยากรธรรมชาติแ ละสิ ่ง แวดล้อ ม การจัด การมลพิษ และการจัด การ ทรัพยากรธรรมชาติ ทําให้เกิดการทํางานร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้ประชาชนและภาคีร่วมพัฒนาสามารถ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน (4) กําหนดผู้รับผิดชอบหลักทุกยุทธศาสตร์ และจัดทําแผนปฏิบัติการประจําปีให้สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ขององค์กร 5.2 กลไก เพื่อให้การขับเคลื่อนงานภายใต้กลยุทธ์มีทิศทางที่ชัดเจน ในขณะเดียวกันก็มีกลไกในการติดตามผล สะท้อนกลับอย่างสม่ําเสมอ เพื่อ ให้องค์กรสามารถปรับการทํางานให้ตอบสนองสถานการณ์และความต้องการ ที่แท้จริงของพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย จึงจําเป็นที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องมีการปรับรูปแบบการ ทํางานภายในให้ยืดหยุ่น และเอื้อต่อการทํางานเชิงรุก มีระบบการเรีย นรู้งานและสร้างองค์ความรู้จากการ ทํางาน รวมทั้งใช้ประโยชน์จากเครือข่ายภาคประชาชนที่เป็นจุดแข็งของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


75 แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้กําหนดกลไกในการทํางาน ดังนี้ (1) แต่งตั้งคณะกรรมการกํากับและติดตามประเมินผล/คณะ ทํางานพื้นที่ฯ ประกอบด้วยผู้แทนภายใน และภายนอกที่เกี่ยวข้อง (2) สร้างความพร้อมภายในองค์กรด้วยการพัฒนาระบบการทํางานเป็นทีมในการสนับสนุนภาคส่วน ต่างๆ โดยปรับปรุงระบบบริหารให้เอื้อต่อระบบการทํางานในทุกระดับ รวมทั้งส่งเสริมการจัดการความรู้ สร้าง ระบบการส่งผ่านความรู้และทักษะจากรุ่นสู่รุ่น ยกระดับทีมงานให้เชี่ยวชาญ นําเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ใน การสนับสนุนการปฏิบัติงาน มีแผนพัฒนาบุคลากรกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การทํางานขององค์กร และสร้างแรงจูงใจในการทํางาน (3) แต่งตั้งที่ปรึกษาภาคประชาชน (อยู่ในผลลัพธ์ที่ ๓) (4) สนับสนุนการดําเนินงานในพื้นที่ โดยกําหนดกรอบการดําเนินงานร่วมกัน และสนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งบุคลากรตามความเหมาะสม (5) จัดทําบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกัน (6) มีจัดสรรงบประมาณตามลําดับความสําคัญของภารกิจ 5.3 เงื่อนไขความสําเร็จ การจะบรรลุ เป้ าประสงค์ ของแผนยุ ทธศาสตร์ พ.ศ.2555-2559 มี เงื่อนไขความสําเร็ จ ของการ นําแผนฯ สู่การปฏิบัติอยู่บางประการ ซึ่งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จําเป็นต้องดําเนินการให้มีความ ชัดเจนโดยเร็ว ดังนี้ (1) ต้องกําหนดเป็นนโยบาย ยุทธศาสตร์ขององค์กร และพร้อมให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน (2) ต้องกําหนดโครงสร้างในการดําเนินงานที่มีผู้รับผิดชอบชัดเจน (3) มีกลไกการทํางานที่ยืดหยุ่นได้ โดยสามารถแต่งตั้ง task force ไปปฏิบัติงานเฉพาะได้ (4) ต้องมีค่านิยมร่วม มีความเป็นเอกภาพด้านความคิดและยอมรับในข้อตกลงร่วม (5) มีการจัดสรรงบประมาณตามแผนและมีความต่อเนื่อง (6) บุคลากรขององค์กรต้องมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการนําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาใช้ในทางปฏิบัติ (7) มีการสร้างระบบการติดตามประเมินผลที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.4 ระบบการติดตาม ระบบการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีวัตถุประสงค์ในการนําผลการติดตามมาเป็นข้อมูลในการ พัฒนาและปรับปรุงการทํางาน ให้มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายเป็นสิ่งจําเป็น และถือเป็นเครื่องมือสําคัญ ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมในการพัฒนางาน กําหนดงบประมาณและการวางแผนปฏิบัติงานในระยะ ต่อไป (1) แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทํางานหรือทีมงานในการติดตามประเมินผลกําหนดทีมงานรับผิดชอบใน การติดตาม วิเคราะห์ ประมวลผล และรายงานผล


76 (2) กําหนดรูปแบบการติดตามและรายงานผลการดําเนิน การเพื่อนํามาประมวลและจัดส่งข้อมูล ย้อนกลับให้แก่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยว ข้อง ได้นําไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแนวทางที่ เหมาะสม เช่น รายงานประจําเดือน รายไตรมาส รายงานประจําปี รวมทั้งกําหนดให้มีการรายงานผลการ ดําเนินงานในการประชุมผู้บริหาร (3) ใช้ระบบสารสนเทศในการติดตามงานแบบ Real Time พร้อมทั้งส่งผลการติดตามไปยังผู้บริหาร เจ้าของโครงการหรือกลุ่มเป้าหมาย 5.5 ระบบการประเมินผล ภารกิจหลักของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีความชัดเจนในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ตัวบุคคล ทั้งระดับปัจเจกและกลุ่มพลังที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา ฟื้นฟู และใช้ ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การประ เมินผลการทํางานจึงต้องมีรูปแบบและ เครื่องมือที่หลากหลาย และมีการประเมินหลายระดับตามความเหมาะสม (1) แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทํางานหรื อที มงานหรือผู้รั บ ผิ ดชอบในการติดตามประเมิน ผลและ รายงานผลการดําเนินงาน (2) กําหนดรูปแบบ เครื่องมือ และเกณฑ์การประเมินผลการดําเนินการเป็นระยะ ตามแผนฯ ทั้งระดับ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ทั้งก่อนเริ่มดําเนินการ ระหว่างดําเนินการ และเมื่อสิ้นสุดการดําเนินงานตาม ความเหมาะสม ตั ว อย่ างเครื่ องมื อการประเมิ น ผล ได้ แก่ CIPP Model เทคนิ คการระดมสมอง (Brainstorming Technique) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Technique) เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ตารางเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework) การบริหารแผนงาน/โครงการและประเมินผลที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Monitoring: RBM) เป็นต้น (3) จัดทํารายงานการประเมินผล และแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคสรุปบทเรียน และให้ข้อเสนอ ฯลฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนปรับปรุงกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมต่อไป (4) กําหนดให้มีการประเมินผลการดําเนินงาน โดยหน่วยงานภายนอก เพื่อความโปร่งใสและความ น่าเชื่อถือและได้รับข้อมูลสารสนเทศในมิติ มุมมองที่แตกต่างอออกไป จะช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายอย่างมี ประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น (5) ใช้ระบบสารสนเทศในการประมวลผล บันทึกจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล พร้อมทั้งส่งผลการประเมินไปยัง ผู้บริหารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เจ้าของโครงการและกลุ่มเป้าหมาย 5.6 ทบทวนและพัฒนายุทธศาสตร์ ข้อมูลและองค์ความรู้ในการทํางานที่ ได้จากระบบการติดตามและประเมิน ผล จะต้องมี การนํามาใช้ ประโยชน์ เ พื่ อ การทบทวนและพั ฒ นายุ ท ธศาสตร์ ต่ อ ไป โดยกรมส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มควรมี ก าร ดําเนินงาน ดังนี้ (1) กําหนดทีมงานรับผิดชอบ ในการทบทวนและพัฒนายุทธศาสตร์


77 (2) กําหนดแนวทางในการทบทวนและพัฒนายุทธศาสตร์ (3) ประมวลผลสําเร็จ ได้แก่ ผลจากการถอดบทเรียน และการประเมินผลภายในและภายนอก ตาม ยุทธศาสตร์ (4) ปรับปรุงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมปัจจุบัน


78

บรรณานุกรม กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ. 2554. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเพื่อ ระดมความคิดเห็นการจัดทํา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร. กรมควบคุ ม มลพิ ษ . 2553. รายงานสถานการณ์ คุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มของประเทศไทย ปี 2552. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมมลพิษ. 2554. เอกสารการประชุมรับฟังความคิดเห็น“รวมพลังความคิดเพื่อจัดการมลพิษของ ประเทศไทย ในอีก ๕ ปี ข้างหน้า (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)”(ร่าง)แผนการจัดการมลพิษ พ.ศ. 2555 – 2559.วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม. กรมส่ งเสริ มคุ ณภาพสิ่ งแวดล้ อม. แผนกลยุ ทธ์ กรมส่ งเสริ มคุ ณภาพสิ่ งแวดล้ อม พ.ศ. 2550 – 2554. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.ระเบียบกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าด้วยอาสาสมัคร พิทักษ์ทรั พยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ศูนย์บ ริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . 2554. รายงานฉบับสมบูรณ์ สรุป ผลการศึกษาแผน ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โครงการ “จัดทําแผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม”.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร. สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพมหานคร สํานั กงานคณะกรรมการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสังคมแห่ งชาติ . 2555. แผนประชากรในช่ ว งแผนพั ฒ นา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). กรุงเทพมหานคร สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.เอกสารประกอบการประชุมระดมความคิดเห็น (ร่าง) ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559). มีนาคม 2554. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรอบแนวคิดและทิศทางของแผนจัดการ คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2550. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2550 – 2554. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2554. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.


79

ภาคผนวก ก ผลการวิเคราะห์ SWOT analysis ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในการวิเคราะห์ปัจจัยภายในขององค์กรที่มีผลต่อการบรรลุสู่วิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อพิจารณาจุดอ่อนจุดแข็ งของกรมฯ ได้ ใช้ กรอบแนวคิ ด 3 ชนิ ด ได้แก่ กรอบแนวคิ ดของแมคคิ น ซีย์ (McKinsey 7 Ss Framework) PEST analysis และ SWOT analysis 1.1 กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์ (McKinsey 7 Ss Framework) เป็นแนวทาง ซึ่งประกอบด้วย 7 key words ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ดังภาพที่ 1 และมีผลการวิเคราะห์ดังนี้

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์ (McKinsey 7 Ss Framework) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร จุดแข็งที่สําคัญขององค์กร • บุคลากรของกรมฯมีอิสระทางความคิด • ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วม • แบ่งโครงสร้างตามกลุ่มเป้าหมาย • กระจายอํานาจตามภารกิจและหน้าที่ • ยุทธศาสตร์ของกรมฯตอบสนองต่อ ยุทธศาสตร์ชาติ

สรุปย่อ Shared Value

จุดอ่อน ที่สําคัญขององค์กร • บุคลากรของกรมฯ ยังขาดอุดมการณ์ร่วม

Structure

• ขาดความเชื่อมโยงในการทํางานระหว่าง ฝ่ายต่างๆในองค์กร

Strategy

• แต่ละส่วนในองค์กรยึดติดกับการทํางาน ของตนเอง และไม่มียุทธศาสตร์ร่วมกัน


80 จุดแข็งที่สําคัญขององค์กร • มีระบบระเบียบที่สอดคล้องตามกฎหมาย

สรุปย่อ System

จุดอ่อน ที่สําคัญขององค์กร • ขาดความต่อเนื่องของระบบการติดตาม ประเมินผล และไม่ได้พิจารณาความ คุ้มค่าในการดําเนินงาน

ให้ความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา มีอิสระในการทํางาน บุคคลากรคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนน้อย มีบุคลากรที่ชํานาญการในด้านต่างๆ

Style

• ขาดรูปแบบการบูรณาการระหว่าง หน่วยงานและระหว่างบุคคล

Staff

• มีความชํานาญการด้านการวิจัยสิ่งแวดล้อม กระบวนการมีส่วนร่วม และการสื่อสารกับ ประชาชน

Skill

• ขาดระบบในการสร้างคนให้เกิดระบบการ สืบทอดงาน • ขาดทักษะด้านการทํางานเป็นทีม

• • • •

1.2 การวิเ คราะห์ ปัจจั ยภายนอกที่ ส่งผลกระทบต่อการดําเนิน งานของกรมส่งเสริ มคุณ ภาพ สิ่งแวดล้อม โดยใช้ PEST Analysis ผลการปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยใช้ PEST Analysis สรุปได้ดังนี้ ปัจจัยด้านนโยบาย ที่เป็นปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ การที่มีนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประเทศ และ มี ข้ อตกลงมี ข้อ ตกลงระหว่ างประเทศด้ า นสิ่ งแวดล้ อ มอย่ า งชั ดเจน นอกจากนี้ รั ฐ บาลและท้ องถิ่ น ยั ง ให้ ความสําคัญกับงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยมีการกําหนดเป็นกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่ เป็นรูปธรรม ส่วนปัจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ การเข้าร่วมในกระบวนการอย่างไม่ตั้งใจ และแอบแฝงในเรื่อง ผลประโยชน์ หารถูกแทรกแซงจากผู้มีอํานาจเหนือกว่า นโยบายในแต่ละระดับที่อาจมีความขัดแย้งหรือไม่ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมไปถึงความไม่ต่อเนื่องกันของการบริหารราชการของฝ่ายการเมือง ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ การมีเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น และสามารถใช้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมต่อผู้ใช้ได้ การมีบทเรียนและความรู้ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ส่วนในขณะเดียวกัน การใช้เครื่องมือที่กล่าวถึงในทางที่ไม่ถูกต้อง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หรือการใช้ อย่างขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ใช้อย่างไม่ต้องเนื่อง หรือ ใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ ก็จัดเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ปัจจัยด้านสังคมที่เป็นปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ การที่สังคมให้ความสนใจตระหนักสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้ง ภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน สื่อมวลชน ต่างๆ แต่บางครั้งยังขาดพลังในการรวมกลุ่มอย่างจริงจัง ขาด ความรู้ ความเข้าใจชัดเจน หวังผลประโยชน์มากกว่าเพื่อสิ่งแวดล้อม ขาดผู้นําการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนและ เป็นต้นแบบได้


81 ปั จ จั ยด้ า นเทคโนโลยี ที่เป็ น ปั จ จั ย ส่ งเสริ ม ได้ แก่ การที่ มีร ะบบสื่ อสารที่ ร วดเร็ ว กว้ างขวางทํ าให้ ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น มีทางเลือเทคโนโลยีทีเหมาะสมสําหรับผู้ใช้ได้ ในทางตรงกันข้ามปัจจัย คุกคาม ได้แก่ ข่ าวเชิงลบที่ส ามารถสื่ อสารได้ อย่างรวดเร็ ว ข่ าวสารที่ ขาดความน่าเชื่อถือ ขาดศูนย์ ข้อมู ล รวบรวมเทคโนโลยี สิ่ งแวดล้ อมต่ างๆไว้ ในแหล่ งเดี ย วกั น ขาดเวที แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ ด้านเทคโนโลยี ขาด เทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างง่าย 1.3 การวิเคราะห์ปัจจัยรวมที่ส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยใช้ SWOT Analysis ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ดังนี้ จุดแข็ง เนื่องจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานระดับประเทศเพียงหน่วยงานเดียวที่มี หน้าที่ในการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความชํานาญการด้านการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม กระบวนการมี ส่ ว นร่ ว ม และการสื่ อ สารกั บ ประชาชน มี ก ารสร้ า งเครื อ ข่ า ยภาคี ร่ ว มพั ฒ นาด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและมี ก าร ดําเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้บุคลากรของ สส ยังได้รับโอกาสในการริเริ่ม สร้างสรรค์ แนวทางและวิธีการปฏิบัติงาน และมีความคล่องตัวในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างทั่วถึง รวมทั้ง ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วม จุ ด อ่ อ น กรมส่ งเสริ มคุ ณภาพสิ่ ง แวดล้ อมยั ง ไม่ ส ามารถให้ บ ริ การบางด้ า นได้ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง และไม่ มี หน่วยงานย่อยที่กระจายอยู่ในระดับท้องถิ่น ข้อมูล สารสนเทศและองค์ความรู้ทั้งภายในและภายนอกบางส่วน ยังไม่ครบถ้วนและไม่ทันสมัย การทํางานวิจัยยังขาดมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และไม่เชื่อมโยงกับสภาพ ปัญหาของพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงในระดับผู้บริหารในระยะเวลาสั้นๆ ทําให้การปฏิบัติงานขาดความต่อเนื่อง ขาดยุทธศาสตร์และเป้าหมายการทํางานร่วมกันของหน่วยงานภายใต้การกํากั บดูแล ปฏิบัติงานในเชิงรั บ มากกว่ าเชิงรุ ก และยั งมีข้อจํ ากั ดในการทํ างานเชิงยุทธศาสตร์อย่างแท้จริ ง การประเมิน ผลยังไม่ส ามารถ สะท้อนความสําเร็จในเชิงยุทธศาสตร์ ขาดระบบการสืบทอดงาน และขาดทักษะการทํางานเป็นทีม โอกาส กระแสความตื่นตัวทางด้านสิ่งแวดล้อม ทําให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนให้ความสนใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม ท้ องถิ่ นมีการจั ดทําแผน และข้ อบัญญัติในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีรัฐธรรมนูญและกฎหมายฉบับต่างๆ ให้สิทธิกับประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและให้สิทธิในการ ดูแล ปกป้องและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้ รวมถึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหม่ ๆ ที่ทํา ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ภัยคุกคาม ทิศทางการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมากกว่าความสมดุล ระหว่ า งเศรษฐกิ จ สั ง คม และสิ่ ง แวดล้ อ ม ประเด็ น ทางด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มถู ก นํ า ไปใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ สร้ า ง ภาพลักษณ์มากกว่านําสู่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน มีข้อจํากัดและไม่มีต้นแบบเกี่ยวกับกระบวนการมีส่วนร่วมที่ แท้ จ ริ ง ขาดการบู ร ณาการระหว่ า งหน่ ว ยงานทั้ งภายในและภายนอกกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่สามารถปรับโครงสร้างและอัตรากําลังองค์กรเพื่อรองรับกับสถานการณ์และภารกิจที่ เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี ในการจํากัดอัตรากําลังและการขยายองค์กร


82

ภาคผนวก ข ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ ความเชื่อมโยง 1.1-2.1

1.1-2.2

1.1-3.3

1.1-4.3 1.2-3.4 1.2-4.3 1.3-2.1

1.3-4.2

1.3-4.3

1.3-5.3

เชื่อมโยงอย่างไร ยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นเสมือนคลัง/ฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้ได้กลุ่มผู้นํา ที่มีอยู่แล้ว ทําการคัดเลือกเพื่อให้ได้ผู้นาํ ต้นแบบและจัดทําฐานข้อมูลเครือข่าย โดยแยกตาม ประเภท/พื้นที/่ ประเด็น สิ่งแวดล้อม จากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในเรื่องของผู้นาํ เครือข่าย สามารถนํามาใช้เพื่อพัฒนา พัฒนาศักยภาพ เครือข่ายผู้นํา/ โดยจัดกลุ่มเครือข่าย / NGOs ตามศักยภาพทีม่ ีอยู่เพื่อขับเคลื่อนประเด็น ต่างๆ ร่วมกับกรมฯ รวมทั้งสร้างช่องทางในการเผยแพร่ผลงาน จากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในเรื่องของผู้นาํ เครือข่าย สามารถนํามาใช้เพื่อพัฒนา พัฒนาศักยภาพ เครือข่ายผู้นําโดยส่งเสริมการนําเกณฑ์มาตรฐานไปใช้ในการผลิต การบริการ รวมถึง เปลี่ยนแปลง ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากฐานข้อมูลที่มีอยู่ สามารถนํามาประเมินศักยภาพชุมชน จัดลําดับตามศักยภาพ และเสริม ศักยภาพความพร้อมให้กับชุมชน ใช้ช่องทางการสื่อสารสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิต ผูบ้ ริการ เลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมโดยใช้กลไกทางการตลาด และกลไกทางสังคม ช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่สามารถนํามาใช้ประเมินและเสริมศักยภาพให้กับชุมชน ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการข้อมูลหรือ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆเพื่อให้ได้กลุ่มผู้นําที่มีอยู่แล้ว ทําการ คัดเลือกเพื่อให้ได้ผู้นําต้นแบบและจัดทําฐานข้อมูลเครือข่าย โดยแยกตามประเภท/พืน้ ที่/ ประเด็น สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการ ข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ การพัฒนาช่องทางให้ภาคธุรกิจ สนับสนุนการทํางานในพืน้ ที่ร่วมกับชุมชน และมีการยกย่อง เชิดชูเกียรติให้กับภาคธุรกิจและ ชุมชน ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการข้อมูลหรือ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ และนํามาใช้ประเมินและเสริมศักยภาพให้กับชุมชน ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการข้อมูลหรือ การประชาสัมพันธ์เชิงรุกไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ พร้อมทั้งนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงาน และกําหนดระเบียบ/ ข้อตกลง ในการทํางาน แบบบูรณาการองค์รวม


83 ความเชื่อมโยง 2.1-1.1

2.1-4.1 2.1-4.2,4.3

2.2,2.3 - 5.1

2.2,2.3 - 5.3 2.2,2.3-1.3

3.1,3.2-1.2,1.3

3.1,3.2-4.2 3.4-4.2 3.4-1.2 3.3-เวที 3.3-1.2,1.3

เชื่อมโยงอย่างไร ยุทธศาสตร์ที่ 2 กระบวนการพัฒนาตัวชี้วดั ธรรมาภิบาล รวมไปถึงตัวชี้วดั ที่ได้ สามารถนําไปจัดกลุ่มเป็นข้อมูล องค์ความรู้ (input) ที่สามารถนําไปเผยแพร่ ถ่ายทอดและ แลกเปลี่ยนในช่องทางต่างๆ ที่ สส.ได้จัดทําขึ้น ตัวชี้วัดธรรมาภิบาลด้านที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และการรับผิดชอบต่อ สังคม จะช่วยส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีความชัดเจนและง่ายขึ้นการจัดทําแผน CSR ธรรมาภิบาล จะช่วยให้ภาคเอกชน หรือ ชุมชน มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยอ้างอิงตาม ตัวชี้วัดทีไ่ ด้พัฒนาขึน้ (จนเป็นทีย่ อมรับ) และภาคเอกชน หรือ ชุมชน เหล่านัน้ จะเกิดการ ยอมรับ และไว้ใจซึ่งกันและกันในการดําเนินธุรกิจต่อไป ต้นแบบและเครือข่ายธรรมาภิบาล เป็นนวัตกรรมการจัดการเชิงบูรณาการ ทีส่ ามารถเผยแพร่ ถ่ายทอดและ แลกเปลีย่ นเรียนรู้ เพื่อขยายเครือข่ายให้มีความหลากหลายและครอบคลุมได้ ทั่วถึงต่อไป ต้นแบบและเครือข่ายธรรมาภิบาล สามารถนําไปใช้เป็นเครื่องมือ/กลไกในการบูรณาการ ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ได้ ต้นแบบและเครือข่ายธรรมาภิบาลจัดเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึง ข้อมูลความรู้ได้โดยตรง ผ่านเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมและเวทีต่างๆ ยุทธศาสตร์ที่ 3 แสวงหา/วิจัย/พัฒนา นวัตกรรมทั้งเทคโนโลยีที่เป็นhardware และsoftware แล้วนําไป ส่งเสริม ผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ เพื่อให้ให้ผู้ใช้เทคโนโลยีเข้าถึงข้อมูลและเกิดผู้นํา ในการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหา/วิจัย/พัฒนา นวัตกรรมทั้งเทคโนโลยีที่เป็นhardware และsoftware โดยการ ถ่ายทอดให้ความรู้กับผู้นาํ ในการใช้เทคโนโลยี โดยใช้กลไกทางการตลาด ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมผ่านช่องทางการตลาด เช่น matchmaker ของภาคธุรกิจ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ ในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมโดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้ในการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมผ่านช่องทางการสื่อสารสาธารณะ ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างกระแสการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม


84 ความเชื่อมโยง 4.1-1.4,3.4,1.1 4.2-1.3,3.4 4.3-5.1,1.1

5.1-4.3 5.1-1.2,1.3 KM-2.3

KM-3.3

เชื่อมโยงอย่างไร ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมความรับผิดชอบทางสังคม (CSR) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาค ธุรกิจต้องเข้าถึงข้อมูล และองค์ความรู้ ที่หลากหลาย และทันสมัยในทุกมิติ ซึ่งการสื่อสารเพื่อ สื่อถึงการทํา CSR ที่ดีของภาคธุรกิจ และมาตรการจูงใจต่างๆ เกิดเป็นกระแสของสังคม ที่จะ กระตุ้นให้ภาคธุรกิจตระหนักถึงการทํา CSR ในวงกว้างขึ้น ซึ่งการสร้างตลาดความร่วมมือ (Match maker) จะเป็นกลไกทีน่ ําไปสู่ความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและชุมชน โดยต้อง สร้างฐานข้อมูลของภาคธุรกิจ และภาคชุมชนที่มีความพร้อม และเปิดโอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้ เข้ามาแลกเปลี่ยนและเห็นถึงศักยภาพกันและกัน ที่สาํ คัญต้องเตรียมความพร้อมของชุมชนให้ มีศักยภาพที่จะร่วมมือกับภาคธุรกิจในการดําเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ 5 แสวงหาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ที่ชุมชนสามารถนําไปจัดการด้าน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมุชมชน สร้างช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพื่อเป็นกลไกให้ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้และ นวัตกรรมไปใช้ในการปรับเปลี่ยนวิถีชุมชนเพื่อมุ่งสู่การบริโภคทีเ่ ป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากต้นแบบที่ดี (Best Practice) เพื่อ นําไปสู่การพัฒนาบุคลากรที่เป็นผู้นาํ หรือเครือข่ายให้เป็นมืออาชีพในการทํางานเป็นทีม และ เกิดการบูรณาการอย่างแท้จริง เพิ่มศักยภาพผู้นําเครือข่ายที่เป็นมืออาชีพเพื่อให้เกิดค่านิยมและความมุ่งมัน่ ตั้งใจในการ พัฒนาและขยายผลเครือข่ายให้เพิ่มขึ้น และสามารถเป็นผูน้ ําในการเปลี่ยนแปลงได้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.