Green Research ฉบับที่ 25

Page 1


2013

December

No.25

Content

GREEN Research Journal

www

deqp.go.th/website/20/

Editor’s Talk [บรรณาธิการ ชวนคุย] Green Research กับการปรับโฉมใหม่

สวัสดีคะ่ กลับมาพบกันอีกครัง้ ฉบับนีย้ งั คงมีประเด็นงานวิจยั ด้านสิง่ แวดล้อมทีน่ า่ สนใจมาฝากเช่นเดิม โดยฉบับนี้ประเด็นเรื่องสารพิษจากหมอกควันถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในแง่สถานการณ์ที่เราอาจได้รับผลกระทบ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หากจะพูดถึงมลพิษในหมอกควันทีก่ อ่ ให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายอาจแบ่งเป็น 2 กลุม่ คือ ฝุน่ ขนาด เล็ก และแก๊สพิษ โดยผลจากการตรวจวัดระดับฝุน่ ในอากาศในหลายทีใ่ นปีผา่ นมา พบว่ามีจ�ำนวนมากขึน้ อย่างน่าเป็น ห่วง ซึ่งสารที่ปนเเปื้อนในหมอกควันทั้งสองนี้ก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบต่างๆ ของร่างกาย คือ ระบบทางเดิน หายใจ ระบบหัวใจ รวมไปถึงระบบสมอง ก่อให้เกิดโรคเฉียบพลัน อาทิ หลอดลมอักเสบ ไอ หายใจล�ำบาก อาจจะ ท�ำให้โรคที่เป็นอยู่ เช่น หอบหืดหรือถุงลมโป่งพองก�ำเริบหนักกว่าเดิม “เมือ่ ร่างกายดูดซึมสารพิษและฝุน่ ละอองเข้าไปสะสม จะส่งผลท�ำให้กล้ามเนือ้ หัวใจตาย และเส้นเลือดในสมองตีบ บางรายถึงขัน้ เป็นอัมพาธเพราะเลือดไม่สามารถไปเลีย้ งทีส่ มอง และโรคอืน่ ๆ นอกจากนีย้ งั เกิดโรคทีเ่ กิดจาก การสะสมก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ทีน่ า่ กลัวทีส่ ดุ และได้รบั การยืนยันแล้วคือในหมอกควันมีสารก่อมะเร็ง รวมอยู่ด้วย จึงท�ำให้ผู้ที่หายใจเอาหมอกควันเข้าไปเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งภาคเหนือเรามีจำ� นวนผู้ ป่วยมะเร็งปอดสูงสุดในประเทศ เป็นอันดับที่ 1 คือ จังหวัดล�ำปาง อันดับ 2 จังหวัดล�ำพูน และอันดับ 3 คือจังหวัดเชียงใหม่ โดยบางคนจะเห็นว่าไม่ได้สบู บุหรีแ่ ต่กเ็ สียชีวติ ด้วยโรคมะเร็งปอดจากสาเหตุหมอกควัน ได้เช่นกัน” ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่บรรณาธิการสรุปจากหลายๆ บทความ Green Reseach ฉบับนี้ จึงอยากน�ำทุกท่านมาท�ำความรู้จักกับหมอกควัน สารพิษ และฝุ่นละอองจากบทความที่น่าสนใจภายในเล่ม ที่ทางทีมงานได้รวบรวมไว้ และบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ แล้วพบกันใหม่กับการเกาะติดประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้งค่ะ

เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ • สารพิษจากการเผา ในที่โล่ง • ปัญหาหมอกควัน จ.เชียงใหม่ แก้ไม่ง่ายอย่างที่คิด

1 5

ติดตามเฝ้าระวัง • ท�ำไมต้องสนใจปรอทในอากาศ • เปิดแผนที่ปนเปื้อนสารพิษในประเทศไทย ผลลัพธ์จากการพัฒนา • ผลพวงจากทีวีอนาล็อกเป็นทีวีดิจิตอล

8 13 16

ก้าวหน้าพัฒนา • แนะน�ำห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม • การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-services : ES)

18 22

พึ่งพาธรรมชาติ • การต่อสู้เพื่อต่อลมหายใจให้ผืนดินเกิด • พุทธศาสนากับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

26 30

ERTC Management Update • งานวันสิ่งแวดล้อมไทย และวันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ (ทสม.) ประจ�ำปี 2556 • การประชุมเสนอผลการด�ำเนินงาน โครงการ “การประเมินความเสี่ยงนิเวศ แหล่งน�้ำในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง” • การสัมนาวิชาการ เรื่องการก้าวสู่สังคมคาร์บอนต�่ำ

คณะผู้จัดท�ำ

34

ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทคโนธานี ต�ำบลคลองห้า อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ 02-577-4182-9 โทรสาร 0-2577-1138 ที่ปรึกษา จตุพร บุรุษพัฒน์, เสริมยศ สมมั่น, สากล ฐินะกุล บรรณาธิการบริหาร สุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ บรรณาธิการ ณัฐพล ติยชิรวงศ์ กองบรรณาธิการ โสฬส ขันธ์เครือ, นิตยา นักระนาด มิลน์, ศิรนิ ภา ศรีทองทิม, หทัยรัตน์ การีเวทย์, รุจยา บุณยทุมานนท์, ปัญจา ใยถาวร, จินดารัตน์ เรืองโชติวทิ ย์, อาทิตยา พามี


เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ สารพิษจากการเผาในที่โล่ง วรรณา เลาวกุล นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

ปัญหาการเผาในที่โล่ง การเผาในทีโ่ ล่ง (Open Burning) เกิดจาก 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ การเผาเศษพืช เศษวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตร การเผาขยะมูลฝอย จากชุมชน การเผาป่าเพื่อบุกรุก ยึดถือ ครอบครองพื้นที่ป่า ล่าสัตว์ ท�ำไม้ เก็บ/หาของป่า เช่น ผักหวาน และเห็ดเผาะ เป็นต้น ซึ่งการ เผาในที่โล่งจากกิจกรรมดังกล่าว ก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) สารประกอบ โพลีไซคลิกอะโรมาติก (PAHs) สารไดออกซิน ก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ นอกจากนี้ยังมี เขม่า ควัน ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาหมอกควัน แล้วส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ดังจะเห็นได้จากช่วงเกิดวิกฤติ หมอกควัน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน 2555 ผู้ป่วยจ�ำนวนมากมีอาการแสบตา น�้ำตาไหล แสบคอ แสบ จมูก ไอ จาม และโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น ดังรูปที่ 1

เผานาข้าว

เผาไร่อ้อย

No.25 December 2013 Green Research 1


เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ

รูปที่ 1 สถิติผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษหมอกควันจ�ำนวน 4 โรค ช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2555 เปรียบ เทียบกับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 สูงสุดในแต่ละสัปดาห์ (ที่มา: ส�ำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัด เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค)

สารพิษจากปัญหาการเผาในที่โล่ง ชนิดและปริมาณของสารพิษขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีเชื้อเพลิงแต่ละประเภท (Fuel Composition) ค่าความร้อนของเชื้อเพลิง (Fuel Heating Value) ค่าความจุความหนา แน่นของเชื้อเพลิง (Bulk Density) ความถี่ของการเผา และปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะของการ เผาไหม้ เช่น อุณหภูมิของการเผา ความชื้นของเชื้อเพลิง สัดส่วนของอากาศต่อเชื้อเพลิง สภาวะที่ไฟไหม้ช้าๆ หรือไฟครุกรุ่น (Smoldering flaming) สภาวะที่ไฟลุกโชติช่วง (Flaming) หรืออีกนัยหนึง่ คือสภาวะทีม่ กี ารเผาไหม้สมบูรณ์ และสภาวะทีเ่ ผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ชนิดและ ปริมาณสารพิษที่ปลดปล่อยออกมาก็แตกต่างกัน ยกตัวอย่างการศึกษาปริมาณการปลด ปล่อยสารมลพิษ (Emission Factor) ของการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและ ไฟป่าในประเทศสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่าชนิดและปริมาณของสารพิษแตกต่างกัน เมื่อ ชนิดของเชือ้ เพลิงแตกต่างกัน ดังตารางที่ 1 นอกจากนีย้ งั พบว่าการเผาขยะมูลฝอยจากครัว เรือนในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งก�ำเนิดทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ทีม่ กี ารปลดปล่อยสารพิษในกลุม่ ของสารไดออกซิน เช่น สารโพลีคลอริเนตเตต ไดเบนโซ พาราไดออกซิน (polychlorinated dibenzo-para-dioxins และฟิวแรน (PCDDs/Fs) ตารางที่ 1 แสดงปริมาณการปลดปล่อยสารพิษ (Emission Factor) จากการเผาเศษวัสดุเหลือ ใช้ทางการเกษตรและไฟป่า หน่วย: มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของเชื้อเพลิง กลุ่มของสารพิษ ชนิดของสารพิษ สารอินทรียร์ ะเหย เบนซีน (Benzene) ง่าย (VOCs) โทลูอีน (Toluene)

เผาตอซังข้าวโพด -

เผาแกลบ -

ไฟป่าในเขตร้อน 400

22

-

250

สไตรีน (Styrene)

26

35

130

ฟีนอล (Phenol)

ไซลีน ฟีนอล

-

45

60 6

สารไดออกซิน

Toxic Equivalence Quantities PCDDs/FS

-

5.37 x 107

-

แหล่งที่มา : Paul M. Lemieux และคณะ, 2004

2 Green Research No.25 December 2013

องค์ประกอบทางเคมีเชื้อเพลิง แต่ ล ะประเภทค่ าความร้ อ นของ เชือ้ เพลิง ค่าความจุความหนาแน่น ของเชือ้ เพลิง ความถีข่ องการเผา และปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะของ การเผาไหม้ เช่น อุณหภูมิของ การเผา ความชื้นของเชื้อเพลิง สัดส่วนของอากาศต่อเชื้อเพลิง สภาวะที่ ไ ฟไหม้ ช้ า ๆ หรื อ ไฟ ครุกรุ่น สภาวะที่ไฟลุกโชติช่วง หรืออีกนัยหนึง่ คือสภาวะทีม่ กี าร เผาไหม้สมบูรณ์และสภาวะที่เผา ไหม้ไม่สมบูรณ์


อันตรายของสารพิษ ช่องทางทีส่ ารพิษจากการเผาในทีโ่ ล่งจะเข้าสูร่ า่ งกาย มีความเป็นไปได้ 2 ช่องทาง คือ ช่องทางการหายใจ และช่องทางการสัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตา ช่องทางการหายใจ สารพิษที่เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านระบบทางเดินหายใจ สามารถท�ำให้เกิดความเป็น พิษได้ โดยการดูดซับผ่านเยื่อบุและเมือกในบริเวณ ปาก คอ และ ปอด ท�ำให้เนื้อเยื่อถูก ท�ำลายอย่างรุนแรง นอกจากนี้สารพิษยังอาจผ่านเข้าไปยังระบบหลอดลม และถุงลมย่อย ในปอดและซึมต่อไปเข้าสูร่ ะบบหมุนเวียนของโลหิตได้ การดูดซับทีบ่ ริเวณปอดมักจะเกิดขึน้ อย่างรวดเร็วเนือ่ งมาจากผนังปอดจะมีพนื้ ทีผ่ วิ ค่อนข้างสูงถึงประมาณ 75 – 100 ตารางเมตร อย่างไรก็ตามอันตรายของสารพิษทีจ่ ะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผูท้ ไี่ ด้รบั หรือสัมผัส ขึน้ อยู่ กับความเป็นพิษของสารพิษแต่ละชนิด ความถี่และปริมาณที่ได้รับสัมผัส เป็นต้น สารพิษ บางชนิดหากได้รับหรือสัมผัสเป็นระยะเวลานานๆ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ ดังตัวอย่างความเป็นพิษของสารพิษที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แสดงดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 แสดงตัวอย่างความเป็นพิษของสารพิษที่มีผลต่อสุขภาพ กลุ่มของสารพิษ

ชนิดของสารพิษ

เบนซิน

โลหิตจาง กดประสาทส่วนกลาง ตาพร่า ชัก กระตุก และเป็นสารก่อมะเร็งในเม็ดเลือดขาว (Leukemia)

สไตรีน

กดประสาทส่วนกลาง ตับอักเสบ และเป็น สารก่อมะเร็ง

โทลูอีน

กดประสาทส่วนกลาง ตับอักเสบ โรคไต เม็ดโลหิตขาวน้อย

ไซลีน

ระคายเคือง ระบบอาหาร ปอดอักเสบ เลือด ไหลไม่หยุด ตับอักเสบ

สารอินทรีย์ระเหยง่าย

สารไดออกซิน สารประกอบโพลีไซคลิก อะโรมาติก (PAHs)

ความเป็นพิษ

น้ำ�หนักตัวลดลง เกิดความผิดปกติที่ตับ ไดออกซิน/ฟิวแรน เซลล์ตับตาย เกิดความผิดปกติของระบบ สืบพันธุ์ และเป็นสารก่อมะเร็ง เบนโซเอไพริน

มีความสามารถในการก่อมะเร็งต่ออวัยวะ หลายชนิด

ช่องทางการสัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตา ช่องทางการสัมผัสกับผิวหนังหรือดวงตาพบได้อยู่เสมอในอัตราที่ค่อนข้างสูง การ เข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส อาจเกิดผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น รูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และผิวหนังชั้นนอก เป็นต้น ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะท�ำให้การเข้าสู่ร่างกายได้มากหรือน้อย ขึ้น อยู ่ กั บ ความเข้ ม ข้ น ของสารพิ ษ ความว่ อ งไวหรื อ ความรุ น แรงในการท� ำ ปฏิ กิ ริ ย าเคมี

การเผาขยะมู ล ฝอยจากครั ว เรือนเป็นแหล่งกำ�เนิดทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ที่ มี ก ารปลดปล่ อ ยสารพิ ษ ใน กลุ่ ม ของสารไดออกซิ น เช่ น สารโพลีคลอริเนตเตต ไดเบนโซ พาราไดออกซิน / ฟิวแรน

No.25 December 2013 Green Research 3


เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ ของสารพิษ ความสามารถในการละลายน�้ำ สภาพและลักษณะความหนาบางของผิวหนัง บริเวณที่ได้รับการสัมผัส และระยะเวลาที่สัมผัส ยกตัวอย่างสารไดออกซิน/ฟิวแรน อาการ เฉียบพลันทีป่ รากฏ คือ ท�ำให้เกิดโรคผิวหนังที่เรียกว่า “Chloracne” คือ มีผวิ หนังขึน้ เป็นสิว หัวด�ำ มีถุงสีน�้ำตาลอมเหลืองของผิวหนังบริเวณหลังใบหู ขอบตา หลัง ไหล่ และบริเวณ อวัยวะสืบพันธุ์ อาจมีขนขึ้นในบริเวณที่ปกติจะไม่มีขึ้น ผิวหนังมีสีเข้มขึ้น สีของเล็บเปลี่ยน เป็นสีน�้ำตาล มีรายงานการเกิดอาการ “Chloracne” นี้ในคนที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับการปน เปื้อนไดออกซิน/ฟิวแรนที่ อิตาลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น (S.J. Harrad,1992, Lin-Chi Wang และ คณะ,2003) นอกจากนี้ยังเกิดอาการโรคผิวหนังอักเสบ ส�ำหรับช่องทางการสัมผัสบริเวณดวงตา ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่อันตรายรุนแรงที่สุด เนื่องจากดวงตาเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ละเอียดอ่อนมากที่สุด ดวงตาเป็นส่วนที่มีเส้น ประสาทและเส้นโลหิตฝอยมาหล่อเลี้ยงมากมายจึงเป็นแหล่งที่จะดูดซับสารพิษต่าง ๆ ได้ อย่างรวดเร็ว สารพิษบางชนิดเป็นอันตรายต่อดวงตาตั้งแต่ท� ำให้เกิดการระคายเคือง แสบตา สร้างความเจ็บปวด และมีโอกาสสูญเสียความสามารถในการมองเห็น ไปจนถึง ท�ำให้ตาบอดอย่างถาวรได้ ยกตัวอย่าง สารไดออกซิน เป็นสารทีท่ ำ� ให้เยือ่ บุตาอักเสบและมี ขี้ตา เป็นต้น

ช่องทางการสัมผัสของสารพิษ ทางผิวหนังขึ้นอยู่กับความเข้ม ข้นของสารพิษ ความว่องไวหรือ ความรุนแรงในการทำ�ปฏิกิริยา เคมีของสารพิษ

เอกสารอ้างอิง Paul M. Lemieux, Christopher C. Lutes, Dawan A. Santoanni. (2004). Emissions of Organic Air Toxics from Open Burning: A Comprehensive Review. Progress in Energy and Combustion Science. 30, pp. 1-32 J. Harrad and K.C. Jones. (1992). A Source Inventory and Budget for Chlorinated Dioxins and Furans in the United Kingdom Environment. Science of The Total Environment. Volume 126, Issues 1–2, 11 September, pp 89–107. Lin-Chi Wang , Wen-Jhy Lee , Wei-Shan Lee , Guo-Ping Chang-Chien , and Perng-Jy. (2003). Characterizing the Emissions of Polychlorinated Dibenzo-pdioxins and Dibenzofurans from Crematories and Their Impacts to the Surrounding Environment, Tsai. Environ. Sci. Technol, 37 (1), pp 62–67.

4 Green Research No.25 December 2013


ปัญหาหมอกควัน จ.เชียงใหม่ แก้ไม่ง่ายอย่างที่คิด ผศ.สุพจน์ เอี้ยงกุญชร

จากทัศนวิสัยทั่วไปที่เลวลงเป็น ลำ � ดั บ เช่ น ผู้ โ ดยสารเครื่ อ ง บิ น มาลงสนามบิ น เชี ย งใหม่ ไม่ ส ามารถมองเห็ น ตั ว เมื อ ง เชียงใหม่ได้ จนกว่าเครื่องบิน จะลดเพดานบินลงมาใกล้พื้นดิน หรือไม่อาจมองเห็นดอยสุเทพ จากในตัวเมืองเชียงใหม่ได้เช่น ปกติ เป็นต้น

หมอกควัน (Smog) หมายถึง สภาพอากาศทีป่ ระกอบไปด้วยหมอก (Fog) และควัน (Smoke) ผสมปนกันอยู่ (Smoke + Fog = Smog) สามารถมองเห็นได้จากทัศนวิสัยที่เลวลง และกลิ่นของควันไฟจากอากาศ ซึ่งจัดเป็นมลภาวะทางอากาศประเภทหนึ่ง โดยทั่วไปส่วน ของหมอก จะเกิดจากอุณหภูมอิ ากาศลดต�ำ่ ลงจนไอน�ำ้ ในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละออง น�้ำ โดยจะเห็นเป็นควันสีขาวไม่มีกลิ่นซึ่งมักจะเกิดขึ้นตามปกติในช่วงเช้าของฤดู หนาว แต่ควันนั้นจะเกิดจากการเผาไหม้ในลักษณะต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะเห็นเป็นสีเทา หรือด�ำ และมีกลิ่นไหม้ต่างๆกันตามชนิดของเชื้อเพลิง ควันจึงประกอบด้วยก๊าซชนิดต่างๆ จากการเผาไหม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นส�ำคัญ แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็ คือ ควันยังประกอบด้วยเขม่า ซึ่งเป็นฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กมากต่างๆ กัน โดย เฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10)นั้น สามารถเข้าสู่ระบบทาง เดินหายใจของคนและสัตว์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่งแม้ว่าปีนี้จะมีฝนตก ประปรายทั่วภาคเหนือตอนบนเป็นระยะๆ ก็ตาม (นับตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงต้นเดือน มีนาคม) จนหลายคนคาดการณ์ว่า ปีนี้หมอกควันในภาคเหนือตอนบนจะไม่รุนแรงเข้าขั้น วิกฤติเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา แต่พอฝนทิ้งช่วงได้ไม่นาน จังหวัดเชียงใหม่ก็ต้องตกอยู่ใน สถานการณ์หมอกควันในขั้นวิกฤติ (นับตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นมา) ทั้งนี้สามารถรับรู้ได้โดยตรงจากทัศนวิสัยทั่วไปที่เลวลงเป็นล�ำดับ เช่น ผู้โดยสาร เครือ่ งบินมาลงสนามบินเชียงใหม่ไม่สามารถมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่ ได้ จนกว่าเครือ่ งบิน จะลดเพดานบินลงมาใกล้พื้นดิน หรือไม่อาจมองเห็นดอยสุเทพจากในตัวเมืองเชียงใหม่ได้ เช่นปกติ เป็นต้น และจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศพบว่า ค่า PM10 สูงกว่าค่ามาตรฐาน ความปลอดภัย (120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) เช่นเดียวกับจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ตอนบนทั้ง 9 จังหวัด

No.25 December 2013 Green Research 5


เรื่องเด่นประจ�ำฉบับ จั ง หวั ด แม่ ฮ่ อ งสอนทางด้ า นตะวั น ตก จังหวัดเชียงราย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดลำ�ปางทางตะวันออกและจังหวัด ลำ�พูนทางด้านใต้ และในกรณีของจังหวัด ลำ�พูนนั้น แม้สถิติหมอกควันอาจจะไม่สูง เท่าจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน แต่ จั ง หวั ด ลำ � พู น นั้ น มี ที่ ตั้ ง อยู่ ใ นแอ่ ง ที่ ร าบ เดียวกันกับจังหวัดเชียงใหม่

6 Green Research No.25 December 2013

ปัญหานี้ทั้งทางจังหวัดเชียงใหม่ และกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นผู้รับ ผิดชอบโดยตรงต่างก็เตรียมการรับมือไว้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่ อาจหลีกเลีย่ งปัญหาได้ทงั้ นีเ้ พราะปัญหาหมอกควันแก้ ยากกว่าทีค่ ดิ ด้วยสาเหตุ ดังนี้ ประการแรก หมอกควันจากจังหวัดข้างเคียง เป็นที่ทราบกันดีจาก สถิติหมอกควันของทุกๆ ปีว่า จังหวัดที่เกิดหมอกควันสูงในอันดับต้นๆ คือ จังหวัดที่อยู่รายล้อมจังหวัดเชียงใหม่ อันได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอนทางด้าน ตะวันตก จังหวัดเชียงราย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดล�ำปางทาง ตะวันออกและจังหวัดล�ำพูนทางด้านใต้ และในกรณีของจังหวัดล�ำพูนนั้น แม้ สถิติหมอกควันอาจจะไม่สูงเท่าจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน แต่จังหวัด ล�ำพูนนั้นมีที่ตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบเดียวกันกับจังหวัดเชียงใหม่ หมอกควันใน จังหวัดล�ำพูน จึงแผ่ขยายเข้ามายังจังหวัดเชียงใหม่ได้ง่ายที่สุด โดยเฉพาะใน ช่วงที่มีมวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) แผ่เข้ามาปกคลุมตอนบนของ ประเทศไทย ดังนั้น การป้องกันการเผาในที่โล่งแจ้งเฉพาะพื้นที่ภายในจังหวัด เชียงใหม่จึงไม่ เพียงพอต่อการป้องกันสถานการณ์หมอกควันที่จะเกิดขึ้นได้ ทั้งหมด ประการที่สอง ยังไม่อาจหยุดยั้งการเผาของเกษตรกรรอบนอก ปัญหานีท้ กุ ฝ่ายทราบกันดีอยูแ่ ล้วว่า ยังไม่สามารถแก้ปญ ั หาได้ โดยเฉพาะการ เผาตอซังข้าวโพดในพืน้ ทีห่ า่ งไกลซึง่ มีการเผาสองถึงสามครัง้ ใน แต่ละรอบของ การปลูก เริ่มจากการเผาเปิดพื้นที่ปลูก เผาตอซังหลังเก็บเกี่ยวฝัก และเผาซัง ข้าวโพดหลังจากกะเทาะเมล็ดแล้ว ยิง่ ไปกว่านัน้ ยังพบว่า มีการขยายพืน้ ทีเ่ พาะ ปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้นทุกปีจาก การส่งเสริมของภาคธุรกิจอาหารสัตว์ของบริษัท เอกชน


นอกจากนี้ การเผาป่าเผาหญ้าก็ยงั คงมีอยูเ่ สมอๆในพืน้ ทีห่ า่ งไกลรอบนอก ด้วย เหล่าคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้เพราะคนเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์จากการเผาโดยตรง แต่พวกเขาแทบจะไม่ได้รับอะไรตอบแทนโดยตรงเลยจากการงดการเผา อีกทั้งคนเหล่า นีแ้ ม้มจี ำ� นวนน้อยแต่กลับสร้างหมอกควันได้มาก ดังนัน้ จึงเป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะชักจูงให้คน เหล่านี้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและยอมให้ ความร่วมมืออย่างจริงจัง ประการที่สาม การบริหารการเผายังท�ำไม่ได้อย่างจริงจัง จากความเข้าใจต่อ วิถีชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่กันดารและห่างไกลที่ยากจะขจัด การเผาได้อย่างเด็ดขาด ทางกรมควบคุมมลพิษ จึงคิดวิธีแก้ปัญหา โดยการยอมให้มีการเผาตามความจ�ำเป็น หรือการบริหารการเผานั่นเอง ด้วยการก�ำหนดวัน เวลา พื้นที่ และปริมาณการเผาตาม โควตา เพื่อให้สามารถควบคุมหมอกควันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงเกินค่ามาตรฐานความ ปลอดภัยได้ ซึ่งแม้วิธีการนี้จะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่วิธีนี้ก็น่าจะช่วยลดปัญหา ต่างๆ ในเบือ้ งต้นลงได้มาก ทัง้ ปัญหาด้านกายภาพและปัญหาด้านสังคม แต่นา่ เสียดาย ที่ในปีนี้ยังไม่มีความชัดเจนในทางปฏิบัติ วิธีนี้จึงยังไม่เห็นผลอย่างจริงจัง ประการสุดท้าย คนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันไม่ใช่ผู้ก่อเหตุ ทั้งนี้จะ เห็นได้ว่า ในพื้นที่ที่มีคนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตตัวจังหวัด ตัวอ�ำเภอ และในเขตเทศบาล จะมีการรณรงค์ให้งดการเผาในช่วง 80 วันอันตราย (ปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือน เมษายน) อย่างเข้มงวด และประชาชนส่วนใหญ่กใ็ ห้ความร่วมมือด้วยดี เพราะต่างเข้าใจ ดีว่า ประโยชน์จากการเผาขยะมูลฝอยในชุมชนไม่คุ้มกับผลกระทบจากหมอกควันที่เกิด ขึ้น อีกทั้งชาวเชียงใหม่เคยได้รับบทเรียนอย่างแสนสาหัสมาแล้วในปี พ.ศ. 2550 เพราะ ในปีนั้นมีการตรวจวัดค่า PM10 กลางเมืองเชียงใหม่ได้สูงสุดถึง 383 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร นับตั้งแต่นั้นมาการรณรงค์ให้งดการเผาในเขตชุมชนทั้งในระดับเทศบาลและ อบต. นับว่าได้ผลเป็นอย่างดี และยังไม่เคยปรากฏปัญหาหมอกควันรุนแรงในขั้นวิกฤติ ได้เท่าปีนั้นอีก แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถท�ำให้ปราศจากปัญหาหมอกควันลงได้อย่าง สมบูรณ์ เช่นเดียวกับปีนี้ แม้สถานการณ์หลายอย่างจะเป็นใจจนสามารถผ่านช่วง 80 วันอันตรายมาได้กว่าครึง่ ทางแล้ว แต่สุดท้ายปัญหาหมอกควันก็ยังยกระดับขึ้นจนถึงขั้น วิกฤติอีกจนได้ แม้ประชาชนชาวเชียงใหม่ส่วนใหญ่ (กว่าร้อยละ 80-90) ไม่ได้เป็นผู้ก่อ ขึ้นก็ตาม จังหวัดเชียงใหม่ได้ชื่อว่า เป็นเมืองที่น่าอยู่ติดอันดับต้นๆ ของโลก อากาศดี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้เมืองเชียงใหม่น่าอยู่ แต่ถ้าใครได้มาเชียงใหม่ ในช่วงที่มีวิกฤติ หมอกควัน คงไม่มีใครคิดเช่นนั้นอย่างแน่นอน เพราะหมอกควันไม่เพียงแค่ท�ำลาย ทัศนียภาพและบรรยากาศของการท่องเที่ยวเท่า นั้น แต่ก�ำลังท�ำลายสุขภาพของทุกคน ที่ต้องเผชิญโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ปัญหาหมอกควันก�ำลังบั่นทอนความน่าอยู่ของเมืองเชียงใหม่ลงไปอย่างน่า เสียดาย (ขนาดคนที่เคยอยู่เชียงใหม่มานานนับสิบปียังอยากย้ายหนีไปที่อื่นเลย) แม้ ปัญหาจะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ (ราว80-100 วัน) แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจ�ำแทบ ทุกปี ปัญหานีท้ ำ� ให้ความน่าอยูข่ องเมืองเชียงใหม่หดหายไปเป็นอันมาก ดังนัน้ แม้ปญ ั หา นีจ้ ะแก้ไม่งา่ ยอย่างทีห่ ลายคนคิด แต่ความพยายามทีจ่ ะแก้ปญ ั หานีจ้ ะต้องมีตอ่ ไปในทุก ระดับ

แม้สถานการณ์หลายอย่างจะเป็นใจ จนสามารถผ่ า นช่ ว ง 80 วั น อันตรายมาได้กว่าครึ่งทางแล้ว แต่ สุดท้ายปัญหาหมอกควันก็ยังยก ระดั บ ขึ้ น จนถึ ง ขั้ น วิ ก ฤติ อี ก จนได้ แม้ประชาชนชาวเชียงใหม่ส่วนใหญ่ (กว่าร้อยละ 80-90) ไม่ได้เป็นผู้ ก่อขึ้นก็ตาม

No.25 December 2013 Green Research 7


ติดตามเฝ้าระวัง ทำ�ไมต้องสนใจปรอทในอากาศ หทัยรัตน์ การีเวทย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

สารปรอทในสิ่งแวดล้อมนั้น elemental mercury ถือเป็นรูปที่ เสถียรที่สุด ละลายน้ำ�ได้น้อย และสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ที่ อุณหภูมหิ อ้ ง ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของปรอทในอากาศทีเ่ ป็น อันตรายได้

The Mercury Cycle Hg from other sources : local regional & more distant Dry Deposition Measurement of ambient air concentration Measurement of wet Emissions of GEM,GOM,PBM

Hg transported through watersheds; Hg converted to methylmercury (MeHg)

GEM ,GOM PBM

MeHg increases up the food chain

MeHg in fish is 1 million time greater than water

รูปที่ 1 วัฏจักรสารปรอทในสิ่งแวดล้อม ภาพโดย Dr. David Schmeltz, US. Environmental Protection Agency, 2013

8 Green Research No.25 December 2013

คุณสมบัติของสารปรอทและความเป็นพิษ ในสิ่งแวดล้อม สารปรอทเป็ น ธาตุ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เองตาม ธรรมชาติเ ป็น โลหะสีเ งิน มันวาว มีสถานะเป็น ของเหลวทีอ่ ณ ุ หภูมหิ อ้ ง มักเกิดปะปนอยูก่ บั โลหะ อื่นๆ โดยพบว่ามีการปนเปื้อนในระดับสูงในเชื้อ เพลิ ง ฟอสซิ ล (Fossil fuels) สารปรอทใน สิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นในสามรูปแบบ ได้แก่ ในรูป ของโลหะปรอท (elemental mercury) ในรูปของ ปรอทอนินทรีย์ (inorganic mercury) และปรอท อินทรีย์ (organic mercury) และทั้งสามรูปแบบนั้น มี คุ ณ สมบั ติ เ ป็ น สารพิ ษ ในสิ่ ง แวดล้ อ มทั้ ง สิ้ น elemental mercury ถือเป็นรูปทีเสถียรทีส่ ดุ ละลาย น�้ำได้น้อย และสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ที่ อุณหภูมหิ อ้ ง ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของปรอท ในอากาศทีเ่ ป็นอันตรายได้ inorganic mercury โดย ปกติจะอยู่ในรูปของเกลือโลหะ ใช้เป็นส่วนผสม ของสารฆ่าเชื้อโรค และยาฆ่าแมลง ซึ่ง inorganic mercury หลายชนิดได้ถกู ห้ามใช้โดยองค์กรพิทกั ษ์ สิง่ แวดล้อมของประเทศอเมริกา (http://www.epa. gov/opptintr/pbt/mercury.htm) ส�ำหรับ organic mercury เป็นสารที่สามารถสังเคราะห์ขึ้นทางเคมี หรือการเปลีย่ นรูปทางชีวะวิทยาโดยแบคทีเรีย เช่น


methyl mercury ส่วนมากมักใช้เป็นสารฆ่าเชือ้ รา สาร organic mercury บางชนิ ด สามารถละลายน�้ ำ ได้ ท� ำ ให้ ส ามารถเข้ า สู ่ ห ่ ว งโซ่ อ าหาร เกิดการสะสมตัวและขยายความเป็นพิษ ทีเ่ รียกว่ากระบวนการ bioaccumulation สารปรอทมักพบปนเปือ้ นอยูใ่ นอากาศ น�ำ ้ และดินเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะ ขยะผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ตามบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมทีใ่ ช้สารปรอทเป็นวัตถุดบิ เช่น โรงงานผลิตเยือ่ กระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ โรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน และโรงกลั่นน�้ำมัน เป็นต้น สารปรอทที่อยู่ ในรูปของเหลวสามารถระเหยเป็นไอได้ในภาวะปกติ ส่วนใหญ่พบอยู่ ในเทอร์โมมิเตอร์ (ปรอทวัดไข้) และหลอดไฟนีออน ถ้าเทอร์โมมิเตอร์ หรื อ หลอดไฟแตก สารปรอทที่ บ รรจุ อ ยู ่ จ ะสามารถกลายเป็ น ไอ แพร่กระจายออกมาปนเปื้อนในอากาศ นอกจากนี้ยังสามารถพบสาร ปรอทในเครื่องส�ำอางและอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเลพบมากใน สัตว์ทะเลตัวใหญ่ เช่น หูฉลาม ทูน่า โลมา วาฬ เนื่องจากมีช่วงชีวิต ที่ยืนยาวและกินปลาเล็กเป็นอาหาร จึงมีโอกาสที่สารปรอทสะสมอยู่ ในตัวค่อนข้างมาก (เรียกกระบวนการนี้ว่า Bioaccumulation) ซึ่งการ ปนเปื้อนของสารปรอทจากแหล่งน�้ำธรรมชาติมักมีสาเหตุมาจาก โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยสารปรอทออกมากับน�้ำทิ้งของโรงงาน นอกจากนี้สารปรอทในอากาศสามารถตกลงสู่น�้ำและดินได้โดยถูก ชะล้างมากับน�้ำฝน หรือปะปนอยู่กับฝุ่นละออง สารปรอทเข้าสู่ ร่างกายได้โดยตรงจากการหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง การกิน อาหารและน�้ำที่ปนเปื้อนสารปรอทที่เรียกว่าห่วงโซ่อาหาร ก่อให้เกิด อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้ รูปที่ 1 แสดงวัฏจักรของสาร ปรอทในสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อห่วงโซ่อาหาร ผลกระทบของสารปรอทต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพปรากฏ ให้เห็นครั้งแรกซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ “โรคมินามาตะ” ที่จังหวัด คุมาโมโตในประเทศญี่ปุ่น มีสาเหตุมาจาก methyl mercury อันเป็น สารประกอบอินทรีย์ของปรอทปนเปื้อนอยู่ในน�้ำเสียซึ่งเกิดขึ้นจาก โรงงานผลิต acetaldehyde acetic acid และ methyl mercury เกิดจาก กระบวนการผลิต acetaldehyde ในโรงงาน สารพิษเหล่านั้นได้เข้าไป สะสมอยูใ่ นตัวปลาและหอยทีช่ าวประมงจับขึน้ มาขายและรับประทาน รูปที่ 2 แสดงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสารปรอทในสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบของสารปรอทต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพปรากฏให้เห็นครั้งแรกซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคือ “โรคมินามาตะ” ที่จังหวัดคุมาโมโตในประเทศญี่ปุ่น มีสาเหตุมาจาก methyl mercury อันเป็นสารประกอบ อินทรีย์ของปรอท No.25 December 2013 Green Research 9


ติดตามเฝ้าระวัง ท�ำให้ประชาชนเสียชีวิต 46 คน และทรมานด้วยโรคดังกล่าวหลายร้อยคน (Japan Asia Quarterly Review 1997) นอกจากนีแ้ พทย์และผูเ้ ชีย่ วชาญต่างๆ ต้องใช้เวลาถึง 12 ปี ในการหาสาเหตุของโรคดังกล่าว รูปที่ 2 แสดงผู้ได้รับผลกระทบจาก สารปรอทในสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของสารปรอทในอากาศ สารปรอทที่ถูกปลดปล่อยออกสู่อากาศจะอยู่ใน 3 รูป คือ รูปของก๊าซ ปรอท Gaseous Elemental Mercury (GEM) ในรูปของออกซิไดซ์ก๊าซปรอท หรือที่ เรียกว่า Gaseous Oxidized Mercury (GOM) และในรูปที่เกาะอยู่กับฝุ่นละอองใน อากาศ หรือที่เรียกว่า Particulate Bound Mercury (PBM) ทั้งสามรูปนี้พบว่า GEM จะมีปริมาณมากที่สุดในอากาศ เนื่องจากถูกปลดปล่อยโดยตรงและมีความเสถียร มากที่สุดในอากาศ เมื่อถูกปลดปล่อยจากแหล่งก�ำเนิดแล้วจะสามารถคงอยู่ใน อากาศ (lifetime) ได้ค่อนข้างนานประมาณ 6-18 เดือน จึงสามารถพบได้ทั่วไปใน อากาศ ส่วน GOM และ PBM จะมีระยะเวลาคงอยู่ในอากาศได้ค่อนข้างสั้นคิดได้ เป็นหลายๆ ชั่วโมงหรือหลายๆ วัน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ท�ำปฎิกิริยาได้ง่ายใน อากาศ และละลายน�้ำได้ดี จึงสามารถถูกก�ำจัดออกจากอากาศได้อย่างรวดเร็ว ผ่านกระบวนการตกสะสมแบบเปียก (wet deposition) และ แบบแห้ง (dry deposition) แต่อย่างไรก็ตามส�ำหรับ PBM ในบางกรณีสามารถถูกพัดพาไปกับฝุ่นละอองใน ระยะไกลๆ แบบ long range transport ได้เช่นกัน แหล่งก�ำเนิดหลักของปรอทในอากาศเกิดจากจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะ ขยะผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้สาร ปรอทเป็นวัตถุดบิ เช่น โรงงานผลิตเยือ่ กระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก โรงงานผลิต เภสัชภัณฑ์ โรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน และโรงกลั่นน�้ำมัน เป็นต้น UNEP 2008 ได้ ประเมินว่าในทวีปเอเชียมีปริมาณการปลดปล่อยสารปรอทสูอ่ ากาศเพิม่ ขึน้ กว่า 50% นับจากปี 1990-1995 ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความต้องการการใช้ไฟฟ้าและพลังงาน เพิม่ ขึน้ ในภูมภิ าคนี้ ซึง่ สะท้อนให้เห็นถึงการเพิม่ ขึน้ ของประชากรและการเติบโตทาง เศรษฐกิจ ตลอดจนมีการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ European Monitoring and Evaluation Program (EMEP) ได้ประเมินว่า ระหว่างปี 1990-2007 ปริมาณการปลดปล่อยสารปรอทในทวีปเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคิดเป็น ปริมาณถึง 65% ของการปลดปล่อยสารปรอทสู่อากาศจากแหล่งก�ำเนิดที่มนุษย์ ท�ำขึน้ ทัว่ โลก (รูปที่ 3) โดยจากการประเมินแหล่งก�ำเนิดในทวีปเอเชียพบว่าประเทศ จีนและประเทศอินเดียมีการปลดปล่อยสารปรอทสู่อากาศสูงที่สุด (รูปที่ 4) แสดง ให้เห็นถึงการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของสารปรอท ในสิง่ แวดล้อม นัน่ เอง ปฏิกริ ยิ าเคมีของสารปรอทในอากาศมีความซับซ้อน และมีความไม่แน่นอน เป็นอย่างมาก เนื่องจากขึ้นกับหลายปัจจัย (Calvert and Lindberg 2005; Lin et al., 2006; Ariya et al., 2008; Steffen et al., 2008) การตรวจวัดสารปรอทในอากาศ และในน�้ำฝนจึงมีความส�ำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณการกระจายตัว ของปรอทในสิง่ แวดล้อม และสารปรอททีถ่ กู ก�ำจัดออกจากอากาศผ่านกระบวนการ wet and dry deposition 10 Green Research No.25 December 2013


รูปที่ 3 การประเมินปริมาณการปลดปล่อยสารปรอทสู่อากาศในทวีปเอเชียเทียบกับทวีปอื่นๆ ในโลก ที่มา: European Monitoring and Evaluation Program (EMEP): MSC-W Technical Report 2/2013

ท�ำไมต้องสนใจสารปรอทในอากาศ สื บ เนื่ อ งจากการประชุ ม คณะมนตรี ป ระศาสน์ ก าร โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP GC) พ.ศ. 2544 ได้ มีการประเมินผลกระทบของสารปรอทในระดับโลก ผลการประเมิน พบว่า สารปรอทส่งผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและสุขภาพอนามัยของ ประชากรโลก และต่อมา UNEP GC ได้ขอ้ สรุปว่า “การลดความเสีย่ ง” เป็นแนวทางหลักในการด�ำเนินงานเพื่อการจัดการสารปรอทระหว่าง ประเทศ (สารปรอทปนเปือ้ นข้ามแดน) ในระยะยาวพร้อมทัง้ เรียกร้อง ให้รัฐบาลประเทศต่างๆ องค์กรเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ ด�ำเนินกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากสารปรอทในผลิตภัณฑ์และ ขบวนการผลิต และมีมติให้จดั ท�ำมาตรการทางกฎหมายแล้วเสร็จ ซึง่ ต่อมาได้พัฒนาเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ใช้ชื่อว่า “The Minamata Convention on Mercury” มีวัตถุประสงค์ “เพื่อปกป้อง สุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากการปลดปล่อยสารปรอทและ สารประกอบปรอทจากกิจกรรมของมนุษย์สู่อากาศ แหล่งน�ำ ้ และ ดิ น ” ซึ่ ง จะมี ผ ลให้ ป ระทศต่ า งๆ รวมทั้ ง ประเทศไทยต้ อ งมี ก าร พิจารณารับรองหรือเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ ต่อไป โดย มีการรับรองอนุสัญญาฯ ในเดือนตุลาคม 2556 ที่ผ่านมานี้ และจะ มีผลบังคับใช้ใน 90 วัน หลังจากมีประเทศลงนามในอนุสัญญา ดังกล่าวครบ 50 ประเทศ ความพยายามในการเฝ้าระวังสารปรอทในอากาศได้มีขนึ้ มานานแล้วในอดีตในทวีปยุโรปและอเมริกา Iverfeldt (1991) ได้เริ่ม ท�ำการตรวจวัดสารปรอทในน�้ำฝนตัง้ แต่ปี 1991 ต่อมาได้มีการตรวจ วัดสารปรอทในอากาศในรูป GEM และเมื่อไม่นานมานี้จึงได้มีการ ตรวจวัดสารปรอทในอากาศทั้งสามรูปแบบ คือ GEM GOM และ

PBM ได้ ซึ่งวิธีการตรวจวัดสารปรอทในอากาศนั้น ในยุโรปและ อเมริกาส่วนมากจะใช้วธิ ขี อง US.EPA Compendium method IO-5 ซึง่ เป็นวิธเี ก็บตัวอย่างและวิเคราะห์สารปรอทในอากาศด้วยเทคนิค Cold Vapour Atomic Fluorescence Spectrometry (CVAFS) ส�ำหรับวิธตี รวจ วัดสารปรอทในน�ำ้ ฝน ใช้วธิ ี EPA method 1631 (Method 1631, Revision E, US.EPA. 2002) ซึง่ เป็นวิธเี ก็ บ ตัวอย่างและวิเคราะห์สาร ปรอทในน�้ำสะอาดด้วยเทคนิค Oxidation, Purge and Trap, and Cold Vapour Atomic Fluorescence Spectrometry (CVAFS). จากการเฝ้ า ระวั ง สารปรอทในอากาศในทวีปยุโรปและ อเมริกาตอนเหนือ พบว่าความเข้มข้นของสารปรอทในอากาศ GEM ในพื้นที่ที่ไม่มีการปนเปื้อนเฉลี่ยรายปีมีค่าอยู่ระหว่าง 1.5-1.7 นาโน กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสอดคล้องกับระดับที่พบในอาฟริกาใต้ ในพื้นที่ที่ไม่มีการปนเปื้อนคือมีค่าประมาณ 1.2-1.4 นาโนกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร แต่ส�ำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออก พบว่ามีค่าเฉลี่ย ที่สูงกว่าคือ ประมาณ 4 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (Kim 2004) แต่ถา้ หากเป็นพืน้ ทีท่ มี่ แี หล่งก�ำเนิด เช่น บริเวณเหมืองเก่าในประเทศ สเปน พบความเข้มข้นของ GEM มีค่าสูงถึง 5 ไมโครกรัมต่อ ลูกบาศก์เมตร (Ferrara et al., 1998) ในส่วนของระดับความเข้มข้น RGM ที่พบในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ มีค่าเฉลี่ยประมาณ 60 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (Wangberg et al., 2001) ปริมาณความ เข้มข้นที่พบมากที่สุดอยู่ที่ Point Barrow ในรัฐ Alaska มีค่า 100 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 1 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (Brooks et al., 2006a) ในพื้นที่แถบขั้วโลกเหนือ (Arctic) ปริมาณ RGM ทีต่ รวจวัดได้สงู สุดมีคา่ ประมาณ 40 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ PBM มีคา่ 100 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (Cobbett et al., 2007) No.25 December 2013 Green Research 11


ติดตามเฝ้าระวัง ส�ำหรับทวีปเอเชียมีการตรวจวัดสารปรอทในอากาศในประเทศจีน เกาหลีและญีป่ นุ่ แต่ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟกิ ยังคงมีการตรวจวัดน้อยมาก ส�ำหรับ ประเทศไทยมีการติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนของสารปรอทในแหล่งน�้ำ ในสัตว์น�้ำ และ ในดิน เพือ่ ปกป้องสุขภาพมนุษย์และสิง่ แวดล้อมในประเทศ แต่ยงั ไม่มกี ารตรวจวัดในอากาศ ซึง่ มีปริมาณน้อยและต้องใช้เทคนิคการตรวจวัดทีเ่ หมาะสม การปนเปือ้ นสารปรอทในอากาศ มีความส�ำคัญมากเพราะเป็นตัวกลางส�ำคัญที่ปรอทจะถูกพัดพาไปในสิ่งแวดล้อม

Mercury emission 2010, g/km2

0 2 5 10 100 1000

รูปที่ 4 แผนที่แสดงการปลดปล่อยสารปรอทสู่บรรยากาศจากแหล่งกำ�เนิดที่มนุษย์ทำ�ขึ้น ที่มา: United Nations Environment Programme (UNEP) Report 2013, The Global Atmospheric Mercury Assessment: Sources, Emissions and Environmental Transport.

นอกจากนี้การเกิดฝนมีบทบาทส�ำคัญในการชะล้างปรอทจากบรรยากาศลงสู่ดิน และน�้ำ ทั้งนี้จ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพในการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารปรอทใน อากาศส�ำหรับประเทศไทย เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพอากาศและลดการสะสมของ สารปรอทในสิ่งแวดล้อม ตลอดจนลดการสะสมของสารปรอทในห่วงโซ่อาหารไม่ให้เกิด อันตรายต่อสุขภาพประชาชน นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลให้แก่ประเทศไทยในการรับรอง อนุสัญญา “The Minamata Convention on Mercury” ต่อไป

12 Green Research No.25 December 2013

การพั ฒ นาศั ก ยภาพในการเฝ้ า ระวังการปนเปื้อนของสารปรอท ในอากาศสำ � หรั บ ประเทศไทย เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพ อากาศและลดการสะสมของ สารปรอทในสิ่งแวดล้อม ตลอด จนลดการสะสมของสารปรอทใน ห่วงโซ่อาหารไม่ให้เกิดอันตราย ต่อสุขภาพประชาชน เอกสารอ้างอิง European Monitoring and Evaluation Program (EMEP): MSC-W Technical Report 2/2013. Atmospheric Supply of Nitrogen, Lead, Cadmium, Mercury and Dioxins/ Furans to the Baltic Sea in 2011 United Nations Environment Programme (UNEP) Report 2013, The Global Atmo spheric Mercury Assessment: Sources, Emissions and Environmental Transport. EPA (U.S. Environmental Protection Agency). (1997). Mercury Study for Congress Volume III, Fate and Transport of Mercury in the Environment, page 2-3, EPA- 452/R-97-003, December 1997. George Schwedt, 2001. The Essential Guide to Environmental Chemistry, John Wiley & Sons, Ltd, ISBN 0 471 89954 2. UNEP Report 2008. Technical back ground Report to the Global Atmo spheric Mercury Assessment. US.EPA 2002. Method 1631, Revision E: Mercury in Water by Oxidation, Purge and Trap, and Cold Vapour Atomic Fluorescence Spectrometry US.EPA 1999. Compendium methods for the determination of inorganic compounds in ambient air, Chapter IO-5, Sampling and analysis for atmospheric mercury.


เปิดแผนที่ปนเปื้อนสารพิษในประเทศไทย ผลลัพธ์จากการพัฒนา อุบลวรรณ กระปุกทอง

เป็นความจริงที่ว่าการก้าวผ่านจากสังคมเกษตรสู่ยุคการ พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย ได้กอ่ ปัญหาไว้มากมาย หลักฐาน หนึ่งที่ประจักษ์คือ สารพิษที่ปนเปื้อนในดิน น้ำ� อากาศ และส่งผลก ระทบต่อสุขภาพของผู้คนในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เมื่อไม่นานมานี้ สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับ ศูนย์วจิ ยั และฝึกอบรมด้านสิง่ แวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัด ทำ�แผนที่พื้นที่ปนเปื้อนสารพิษในประเทศไทยขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็น ถึงปัญหาสารพิษที่ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยที่กำ�ลังเผชิญ และ ยังคงรอคอยการฟื้นฟูแก้ไข สมพร เพ็งค่ำ� ผูอ้ ำ�นวยการศูนย์ประสานงานการพัฒนา ระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ สำ�นักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกล่าวว่า แผนทีแ่ สดงพืน้ ทีป่ นเปือ้ น สารพิษในประเทศไทยเป็นเสมือนการเปิดประเด็น สือ่ สารไปถึงสังคม เพื่อให้รับรู้ว่าสารพิษที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำ�คัญที่ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน ทัง้ นี้ พืน้ ทีก่ ารปนเปือ้ น สารพิษที่ปรากฏในแผนที่ฉบับนี้มีมากเกือบ 50 แห่ง แต่ก็เป็นเพียง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่ประสบปัญหาเท่านั้น ซึ่งปัญหาเกิดจากหลาย สาเหตุ บางส่วนมาจากโรงงานอุตสาหกรรม บางส่วนเป็นผลกระทบ จากการทำ�เหมือง และบ้างก็เกิดจากการลักลอบทิง้ กากอุตสาหกรรม ขยะพิษ นอกจากนั้น หลายพื้นที่ต้องเผชิญการปนเปื้อนสารพิษมา ยาวนาน เช่น กรณีการปนเปื้อนของสารหนูในอำ�เภอร่อนพิบูลย์ อันเป็นผลมาจากการทำ�เหมืองดีบุกช่วงปี 2520 – 2528 ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่ได้รับการแก้ไข ขณะที่บางแห่งก็เพิ่งประสบปัญหา เช่น การ รั่วไหลของน้ำ�มันดิบจากท่อส่งน้ำ�มันของบริษัท PTTCG เมื่อเดือน กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา และทำ�ให้บริเวณอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ปนเปื้อนน้ำ�มันดิบ

“ในอดีตฐานการผลิตของไทยอยู่ที่ภาคเกษตรแต่พอมาถึง อีกยุคหนึ่งเราก็เริ่มพูดถึงการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าจน เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมหลังมีการสำ�รวจเจอก๊าซธรรมชาติ ไทยก็ให้ ความสำ�คัญกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อหวังใช้เป็นฐานในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มจีดีพี และลดการว่างงาน อย่างไรก็ตาม ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเติบโต มีการพัฒนาเทคโนโลยี แต่อีก ด้านหนึ่งกลับปรากฏว่ามีสารพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผล กระทบต่อระบบนิเวศและสุขภาพของประชาชนในพืน้ ที”่ สมพรกล่าว พื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงนับเป็น กรณีตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดกรณีหนึ่ง เนื่องจากเดิมพื้นที่มีความอุดม สมบูรณ์ เต็มไปด้วยทรัพยากรที่หลากหลาย ทั้งดินดำ�น้ำ�ชุ่ม เหมาะ กับการทำ�เกษตร รวมไปถึงมีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมหลากหลาย แต่เมื่อมีโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (อีสเทิร์นซี บอร์ด) เกิดขึน้ มาบตาพุดก็ได้แปรสภาพเป็นนิคมอุตสาหกรรม แม้จะ มีการวางเป้าหมายในการพัฒนาคือ เศรษฐกิจดี มีตวั เลขจ้างงานเพิม่ สูงขึน้ ทว่าผลลัพธ์อกี ด้านทีอ่ ยูน่ อกเหนือความคาดหมายก็คอื มีการ ปนเปื้อนสารพิษทั้งในดิน น้ำ� และอากาศ จนต้องมีการประกาศเป็น เขตควบคุมมลพิษเมื่อปี 2552 ไม่เพียงแค่นนั้ ในหลายกรณีสารพิษยังสามารถแพร่กระจาย จนเกิดผลกระทบในวงกว้างได้ผา่ นความสัมพันธ์ของระบบนิเวศและ ห่วงโซ่อาหาร ยกตัวอย่างกรณีลุ่มน้ำ�แม่ตาวที่มีการปนเปื้อนสาร แคดเมียมในพื้นที่ปลูกข้าว ฉะนั้นเราก็ไม่มีทางรู้เลยว่าข้าวที่ส่งเข้า โรงสีมาจากแม่ตาวหรือไม่ เช่นเดียวกับกรณีการลักลอบทิ้งขยะพิษ จำ�นวนมากที่หนองแหน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำ�คัญ โดยมีทั้ง ฟาร์มปศุสัตว์ นาข้าว การปลูกผัก รวมถึงปลูกมะม่วงที่ส่งขายทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ No.25 December 2013 Green Research 13


ติดตามเฝ้าระวัง สมพรเสนอว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องทบทวนแนวทาง การพัฒนา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ปัญหาการปนเปื้อนสารพิษใน สิ่งแวดล้อม แต่หมายถึงความเจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นอัน เนื่องมาจากความไม่เป็นธรรมในโครงการพัฒนาต่างๆ แน่นอนว่า ประเทศไทยไม่สามารถย้อนเวลากลับไปสูอ่ ดีตทีเ่ ป็นสังคเกษตรกรรม ได้ แต่ก็สามารถใช้บทเรียนที่ผ่านมาบวกกับงานวิจัยและการพัฒนา เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการทำ�ให้ประเทศเดินไปบนเส้นทางการ พัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ การบังคับใช้กติกาผังเมืองหรือจัดโซนนิ่งการใช้ ประโยชน์ที่ดินก็มีส่วนสำ�คัญ เช่นกัน สมพรกล่าวว่า ประเทศไทยมี ขนาดเล็กนิดเดียว เพราะฉะนั้นเราต้องทบทวนว่าพื้นที่อาหารจริงๆ เหลือเท่าไหร่ แล้วที่เหลืออยู่นี้เพียงพอสำ�หรับการผลิตอาหารเลี้ยง คนทัง้ ประเทศหรือเปล่า โดยต้องพิจารณาถึงปัญหาการขยายตัวของ ที่อยู่อาศัยและการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่เข้าไปเบียดบังพื้นที่ อาหาร เนือ่ งจากทีผ่ า่ นมาขาดการมองภาพรวมของทัง้ ประเทศว่าเรา มีพื้นที่ที่ ศักยภาพในการผลิตอาหารเหลือเท่าไหร่ และจะคุ้มครอง พื้นที่เหล่านั้นไม่ให้อุตสาหกรรมเข้าไปทำ�ลายได้อย่างไร “สังคมไทยต้องเห็นปัญหาร่วมกัน เพื่อผลักดันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง เพราะหากเดินไปบนเส้นทางเดิมก็เห็นแล้วว่าถึงที่สุด ก็คงจะไปไม่รอด” สมพรย้ำ�ถึงความสำ�คัญของปัญหา

ข้อมูลพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษในประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมลำ�พูน เริ่มตั้งเมื่อปี 2526 โดยมีโรงงานผลิตชิ้น ส่วนอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเปิดดำ�เนินกิจการ หลังจากนัน้ ไม่นานก็เกิด ปัญหาโลหะหนักอย่างตะกั่ว ทองแดง สังกะสี ปนเปื้อนในดินและ แหล่งน้ำ�ใต้ดนิ และตามมาด้วยความเจ็บป่วยของผูค้ น ทัง้ โรคภูมแิ พ้ โรคทางเดินหายใจ และบางรายเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ตำ�บลแม่ตาว จังหวัดตาก ปี 2547 สถาบันการจัดการน้ำ�นานาชาติ (IWMI) ได้ตรวจพบว่ามีการปนเปื้อนแคดเมียมปริมาณสูงทั้งในดิน น้ำ� และเมล็ดข้าวที่ปลูกในพื้นที่ตำ�บลแม่ตาว ซึ่งพื้นที่ปนเปื้อน ตั้งอยู่ใกล้กับเหมืองแร่และโรงงานถลุงสังกะสีของบริษัท ผาแดง อินดัสเตรียล จำ�กัด รัฐบาลแก้ปัญหาข้าวปนเปื้อนด้วยการให้เผา และฝังกลบ พร้อมแนะให้ชาวบ้านหันไปปลูกอ้อยแทน แต่ก็ไม่ได้ผล เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำ�แม่ตาวเหมาะแก่การปลูกข้าวมากกว่า อย่างไร ก็ตามเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาศาลปกครองได้มีคำ�พิพากษาให้ พื้นที่ ดังกล่าวเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตำ�บลวังสะพุง จังหวัดเลย ใน ปี 2551 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เข้าตรวจสอบคุณภาพน้ำ�รอบ เหมืองแร่ทองคำ�ของ บริษัททุ่งคำ� จำ�กัด ภายหลังที่เหมืองแร่เปิด ดำ�เนินกิจการมาได้ 2 ปี ผลการตรวจสอบพบสารพิษ เช่น สารหนู แมงกานีส และแคดเมียมในระบบประปา นอกจากนี้ยังพบว่า ชาว บ้านบางรายมีอาการเจ็บป่วย เมื่อตรวจเลือดก็พบว่ามีสารไซยาไนด์ สูงเกินค่ามาตรฐาน อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการยังคงมีความพยายาม จะขอขยายพืน้ ทีท่ ำ�เหมืองเพิม่ แต่กถ็ กู ชาวบ้านในพืน้ ทีค่ ดั ค้านเรือ่ ยมา ตำ�บลกลางดง อำ�เภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี 2547 มีข่าวการลักลอบทิ้งขยะอันตรายจำ�นวนกว่าหลายพันตัน ซึ่งขยะ เหล่านีเ้ ป็นขยะอุตสาหกรรมทีม่ าจากจังหวัดระยอง โดยผูล้ กั ลอบทิง้ คือ บริษัทที่รับกำ�จัดกากของเสีย จากการตรวจสอบพบว่ามีการ ปนเปือ้ น TEC (ไตรคอลโรเอทธิลนี ) และ PEC (เตตระคลอโรเอทธิลนี ) อำ�เภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ปลาย ปี 2555 มีการลักลอบทิ้งขยะ ติดเชื้อทางการแพทย์ เช่น ขวดน้ำ�เกลือ เข็มฉีดยา ถุงบรรจุเลือด โดยทิ้งไว้ในป่าใกล้กับร่องน้ำ�ธรรมชาติ ซึ่งถึงขณะนี้ก็ยังต้องรอการ ประเมินผลการปนเปื้อน ตำ�บลเขาเจ็ดลูก อำ�เภอทับคล้อ จังหวัดพิจติ ร บริษทั อัคราไมนิง่ จำ�กัด ได้รบั ประทานบัตรอนุญาตให้ทำ�เหมืองแร่ทองคำ�เฟสแรกในปี 2543 ซึ่งเหมืองนั้นตั้งอยู่ไม่ไกลจากบริเวณชุมชน ชาวบ้านก็ประสบ ปัญหาฝุน่ ละออง เสียงรบกวน และน้ำ�ทีไ่ ม่เพียงพอสำ�หรับการทำ�การ เกษตร ไปจนถึงมีโลหะหนัก เช่น สารหนู ปรอท ไซยาไนด์ ปนเปื้อน ในแหล่งน้ำ� ทำ�ให้หลายคนป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง

14 Green Research No.25 December 2013


หมูบ่ า้ นคลิตลี้ า่ ง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นข่าวโด่งดังในปี 2541 เมือ่ โรงแต่งแร่ตะกั่วปล่อยน้ำ�เสียลงสู่ลำ�ห้วย ทำ�ให้ชาวบ้านเจ็บป่วย แม้ แหล่งกำ�เนิดมลพิษจะหยุดดำ�เนินการไปแล้ว แต่ก็ยังคงมีสารตะกั่ว ตกค้างในตะกอนดินและสัตว์น้ำ� ล่าสุดศาลปกครองสูงสุดได้มีคำ� พิพากษา (เมื่อวันที่10 มกราคม 2556) ให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เข้าฟื้นฟูลำ�ห้วย พร้อมชดใช้ค่าเสียหายแก่ชาวบ้าน แต่จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่มีความชัดเจนจาก คพ. ว่าจะใช้วิธีการใดในการฟื้นฟูลำ�ห้วย ทำ�ให้วันนี้ชาวบ้านยังไม่สามารถใช้น้ำ�ในลำ�ห้วยได้ตามปกติ

ที่เต็มไปด้วยสารหนูทั้งในดินและแหล่งน้ำ� ซึ่งบางแห่งมีปริมาณสูง กว่ามาตรฐานความปลอดภัยถึง 50 เท่า และจากแบบจำ�ลองทาง คณิตศาสตร์ชี้ว่าถ้าไม่มีการแก้ไข ในอีก 50 ปี ข้างหน้าสารหนูจะ กระจายไปทั่วพื้นที่ทั้งอำ�เภอ

นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงจังหวัดระยอง ผลจากโครงการอีสเทิรน์ ซีบอร์ด ได้แปรสภาพมาบตาพุดและพืน้ ทีใ่ กล้ เคียงให้กลายเป็นแหล่งทีต่ งั้ นิคมอุตสาหกรรม วันนีส้ งิ่ ทีช่ าวมาบตาพุด และผูท้ อี่ าศัยอยูใ่ นพืน้ ทีต่ อ้ งเผชิญ คือ การปน เปือ้ นสารพิษทัง้ ในดิน อำ�เภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมือ่ ต้นปี 2556 มีการลักลอบ น้ำ� และอากาศ จนเมื่อปี 2552 มีการประกาศให้มาบตาพุดเป็น ทิง้ รองเท้ามือสองนับล้านคู่ ซึง่ เป็นรองเท้าทีเ่ หลือจากการคัดแยกเพือ่ เขตควบคุมมลพิษ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษหรือควบคุม ขาย โดยที่ในแต่ละวันมีการนำ�เข้ารองเท้าเก่าจากทั่วโลกมากหลาย คุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ สิบตัน และขณะนี้ยังต้องรอการประเมินผลการปนเปื้อน อ่าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 ร้านรับซือ้ ของเก่าพระประแดง ต้นปี 2543 เกิดเหตุสารกัมมันตรังสี ทีผ่ า่ นมา เกิดกรณีน้ำ�มันดิบจากท่อส่งน้ำ�มันของบริษทั PTTCG รัว่ ไหล โคบอลต์ 60 รั่วไหล เนื่องจากมีซาเล้งย่านพระประแดงเข้าไปขโมย ในทะเลเป็นวงกว้าง โดยน้ำ�มันดิบบางส่วนถูกคลื่นพัดเข้าสู่หาด แท่งวัตถุอนั ตรายทีว่ างทิง้ ไว้ใน บริษทั กมล สุโกศล อิเลคทริค จำ�กัด พร้าวจนชายหาดเปื้อนไปด้วยคราบน้ำ�มันสีดำ� อย่างไรก็ตามแม้จะ ภายหลังเมือ่ นำ�ไปแยกชิน้ ส่วน ปรากฏว่ามีสารกัมมันตรังสีแผ่กระจาย มีการเก็บคราบน้ำ�มันหมดแล้ว แต่ก็ยังต้องมีการเผ้าระวังผลกระทบ ทำ�ให้ซาเล้งและเจ้าของร้านรับซื้อของเก่าเสียชีวิต ผู้ที่อยู่ในบริเวณ ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบนิเวศต่อไป ทั้งในทะเลและบริเวณชายหาดที่ ใกล้เคียงที่ได้รับรังสี บางรายต้องสูญเสียอวัยวะ ขณะที่บางราย ได้รับผลกระทบ ก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ด้านสำ�นักงานปรมาณูเพื่อ สันติ (พปส.) ถูกศาลปกครองพิพากษาว่ามีความผิดฐานละเลยการ มีการลักลอบนำ�ขยะพิษ น้�ำ เสีย และกากอุตสาหกรรม ปฏิบัติหน้าที่ ฐานไม่มีการตรวจสอบและควบคุมที่รัดกุมเพียงพอจน มาทิ้งจำ�นวนมาก เพราะอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งของ เกิดการสูญเสียร้ายแรง 40 พื้นที่ ภาคตะวันออก ในจังหวัดระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี รวมถึงกรุงเทพฯ มีการลักลอบนำ�ขยะพิษ น้ำ�เสีย และกากอุตสาหกรรมมาทิ้งจำ�นวนมาก เพราะอยู่ไม่ไกล จากที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม อีกทั้งโรงงานรับรีไซเคิล กำ�จัดขยะ และบำ�บัดของเสียหลายแห่งที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่ขาดการจัดการทีไ่ ด้ มาตรฐาน สิ่งที่ชาวบ้านต้องเผชิญนอกจากจะมาในรูปของกลิ่น เหม็นแล้ว ยังมีผลกระทบไปถึงสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

นิคมอุตสาหกรรม อีกทัง้ โรงงานรับรีไซเคิลกำ�จัดขยะ และบำ�บัดของเสียหลายแห่งที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่ขาด การจัดการที่ได้มาตรฐาน อ้างอิง http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/2311

สนามบินบ่อฝ้าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2542 ระหว่าง การปรับปรุงสนามบินบ่อฝ้าย รถแบ็กโฮได้ขุดไปกระทบถังสารเคมี ที่ฝังอยู่ใต้ดิน จนเกิดการรั่วไหลและส่งกลิ่นเหม็น สันนิษฐานว่า สารเคมีดังกล่าว คือ เอเย่นต์ ออเร้นจ์ ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายชนิด เดียวกับที่ใช้ในสงครามเวียดนาม เรื่องนี้จบลงตรงที่มีการฝังกลบ สารเคมีไว้บริเวณเดิม โดยมีการเฝ้าระวังด้วยการเก็บตัวอย่างดินเพือ่ ตรวจสอบติดต่อกัน 10 ปี อําเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช กากขี้แร่ที่ถูกทิ้งไว้ หลังยุคดีบกุ บูม ช่วงปี 2520 – 2528 ทำ�ให้รอ่ นพิบลู ย์กลายเป็นพืน้ ที่ No.25 December 2013 Green Research 15


ติดตามเฝ้าระวัง ผลพวงจากทีวีอะนาล็อกเป็นทีวีดิจิทัล

พีรพงษ์ สุนทรเดชะ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

ความเป็นมา

สารอันตรายปนอยู่เป็นจำ�นวนมาก อาทิเช่น สารตะกั่วในแผงวงจร สารปรอทในจอภาพ กลุม่ สารพอลิสไตรีนจากพลาสติกทีท่ ำ�โครงทีวี สารเหล่านี้เป็นสารที่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิต

ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กสทช. มียทุ ธศาสตร์การเปลีย่ นผ่าน จากระบบรับส่งสัญญาณอะนาล็อกไปสู่ระบบการรับส่งสัญญาณแบบ ดิจิทัลภายใน 5 ปี ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 Digital Roadmap 2555-2559 ที่มา : http://xn--82cxef7ei9bzcbfb.xn--o3cw4h/

ซึง่ กสทช. ก�ำหนดให้ระบบการรับส่งสัญญาณดิจทิ ลั จะเริม่ ออก อากาศเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 และเดือนมกราคม 2558 กสทช. จะเริม่ กระบวนการยุตกิ ารรับส่งสัญญาณทีวรี ะบบอะนาล็อก (Analog Switch Off) นัน้ หมายความว่าทีวแี บบเก่าจะรับสัญญาณไม่ได้ กสทช. ได้ ก�ำหนดทางเลือกให้กับประชาชนไว้ 2 วิธีการ วิธีการที่ 1 ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ “Set Top Box” เพิ่มเข้า มา ซึ่ง “Set Top Box” จะท�ำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณ อะนาล็อกก็สามารถรับชมได้ วิธีการที่ 2 ซื้อทีวีรุ่นใหม่ๆ ที่รองรับสัญญาณดิจิทัล DVB-T2 16 Green Research No.25 December 2013


ผลกระทบ จากจ�ำนวนทีวีไม่ต�่ำกว่า 22 ล้านเครื่องที่รองรับระบบ อะนาล็อก บางส่วนก็ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ “Set Top Box” เพิ่มเข้ามาบางส่วนก็เปลี่ยนทีวีใหม่ที่รองรับกับระบบดิจิทัล ประเด็น ทีส่ ำ� คัญอยูต่ รงทีท่ วี ที ไี่ ม่ใช้แล้วจะไปไหน ปัญหาขยะอิเลคทรอนิคจาก ทีวีจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน และปัญหาหนึ่งที่ เกิดจากขยะทีวี คือ สารพิษที่ปะปนอยู่ในทีวีจะออกมาปนเปื้อนใน สิ่งแวดล้อมในมิติ อากาศ ดิน น�้ำและน�้ำใต้ดินอย่างน่ากังวล

ที่มา : http://window2nature.wordpress.com/

ส่วนประกอบของทีวีมีสารอันตรายปนอยู่เป็นจ�ำนวนมาก อาทิเช่น สารตะกั่วในแผงวงจร สารปรอทในจอภาพ กลุ่มสาร พอล์สไตรีนจากพลาสติกที่ท�ำโครงทีวี สารเหล่านี้เป็นสารที่มีพิษต่อ สิ่งมีชีวิต โดยที่ พิษของสารตะกั่ว จะท�ำให้เกิดอาการโลหิตจาง (Anaemia) กระดูกผุ อาการพิษทางประสาท และสมอง ท�ำให้ทรงตัว ไม่อยู่ เกิดอาการประสาทหลอน ซึมไม่รู้สึกตัว ชัก มือและเท้าตก เป็นอัมพาต และเด็กที่เกิดจากผู้ที่ได้รับสารตะกั่ว ส่วนใหญ่จะเป็น โรคภาวะปัญญาอ่อน พิษของสารปรอท เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปท�ำ อันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ท�ำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด และยังท�ำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การ มองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดี ดั่งเดิมได้ อาการที่เป็นพิษมากเกิดจากการหายใจ ปอดอักเสบ มี อาการเจ็บหน้าอก มีไข้ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและตายได้ พิษของสไตรีน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะมีผลต่อระบบประสาทเม็ดเลือด แดง และตับไต

สรุป น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งกับปริมาณขยะทีวี 20 ล้านเครื่องที่จะ เกิดขึน้ อีกไม่นาน หวังว่าหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจะมีแผนจัดการกับขยะ ทีวีที่มากมายได้อย่างเบ็ดเสร็จ มิฉะนั้นปัญหามลพิษจากขยะทีวี จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เอกสารอ้างอิง http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_txR_search.asp?info_id=41 http://window2nature.wordpress.com/ http://xn--82cxef7ei9bzcbfb.xn--o3cw4h

No.25 December 2013 Green Research 17


ก้าวหน้าพัฒนา แนะนำ�ห้องสมุด กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ก�ำไล ลิ่มสอน บรรณารักษ์ช�ำนาญการ ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม ณัญธิกานต์ ทะเสนฮด นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

ห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เป็นห้องสมุดด้านสิ่งแวดล้อมที่ท�ำหน้าที่เป็นห้องสมุดและหน่วยงานกลาง ในการจัดเก็บ รวบรวม จัดระบบการจัดเก็บด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและให้บริการข้อมูล สารสนเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ สาขาวิชาทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ประโยชน์ ในการศึกษา ค้นคว้า วิจยั งานวิชาการด้านสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ ทัง้ ทางตรงและทางอ้อม โดย ค�ำนึงถึงผลประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุนให้บคุ ลากร นิสติ นักศึกษา นักวิชาการ ผูม้ สี ว่ นได้ ส่ ว นเสี ย และประชาชนทั่ ว ไปสามารถน� ำ มาใช้ ป ระโยชน์ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น ได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล บริการห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 1. บริการข้อมูล ข้อสนเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมด้วยเทคโนโลยีตา่ งๆ ในฐานะศูนย์บริการข้อมูลข้อสนเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. บริการงานวิชาการช่วยในการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา วิจัย พัฒนา ถ่ายทอด ส่งเสริมเทคโนโลยีและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม 3. บริการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม รวมถึงสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 4. บริการสือ่ สารและกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำเนินงานและการสร้างจิตส�ำนึก ให้บริหารจัดการงานด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในฐานะศูนย์บริการ ประชาชน ห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีความตั้งใจจริงเป็นอย่างยิ่งในการ พัฒนารูปแบบและบริการให้ทันสมัยและเป็นมิตรกับประชาชนผู้เข้าใช้บริการของห้องสมุด ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งในเชิงให้ความรู้วิชาการ สอดแทรกความรู้ในรูปแบบง่ายๆ สบายๆ แต่แฝงไว้ด้วยความรู้วิชาการเพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจและง่ายในการ เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ เช่น 18 Green Research No.25 December 2013


งานแจกรางวัลผู้ใช้ห้องสมุดดีเด่นและกิจกรรมวันคริสต์มาส

กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาเล่าประสบการณ์ และ เชิญเจ้าของหรือนักเขียนมาเปิดตัวหนังสือ

เชิญพี่มาเล่าเรื่องสอนน้อง KM มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

บริการสังคม

ตักบาตรหนังสือท้องสนามหลวง

No.25 December 2013 Green Research 19


ก้าวหน้าพัฒนา

บูรณาการงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

ทัง้ ยังร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเครือข่ายจนเป็นทีย่ อมรับของบรรดาเพือ่ นร่วมอาชีพทัง้ หลาย

รูปแบบของบริการห้องสมุดถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. บริการแบบตั้งรับอยู่กับบ้านในรูปของ ” One Stop Service” ด้วยรูปแบบของการให้บริการ ณ จุดเดียว ที่ศูนย์บริการ ประชาชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกับผู้ใช้บริการที่เดินทางมารับบริการ ณ ห้องสมุด 2. บริการสารสนเทศเคลื่อนที่ โดยความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกและผู้ใช้บริการ ในโลกของสังคมยุคไฮเทค โลกแห่งเทคโนโลยี ห้องสมุดได้พัฒนารูปแบบของสื่อสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมของกรมเป็นแบบ สื่อดิจิตอลโดยสามารถให้บริการผ่านระบบ Intranet และระบบ Internet พร้อมให้บริการแบบไม่จ�ำกัดเวลาและสถานที่ ห้องสมุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม ตัง้ อยูบ่ ริเวณ ชัน้ 2 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม เลขที่ 49 ซ.พระรามหก 30 ถ.พระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 02-2788420 โทรสาร : 02-2985605 เว็บไซต์ : http://library. deqp.go.th อีเมล์ : Library@deqp.go.th

20 Green Research No.25 December 2013


กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม ยังมีหอ้ งสมุดอีกหนึง่ แห่งทีอ่ ยูใ่ น สังกัด ซึง่ ทำ�หน้าทีเ่ ป็นหน่วยงาน ส่งเสริม สนับสนุน การศึกษา วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่ง แวดล้อม และเป็นห้องสมุดเฉพาะ ทางทีร่ วบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ด้ า นทรั พ ยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม

นอกจากห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางแล้ว กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยังมีห้องสมุดอีกหนึ่งแห่งซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ท�ำหน้ า ที่ เ ป็ น หน่ ว ยงานส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น การศึกษาวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีดา้ นสิง่ แวดล้อม และเป็น ห้องสมุดเฉพาะทางทีร่ วบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งพัฒนาห้องสมุดให้เป็นคลังข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ในการศึกษาวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สามารถเข้ามาใช้บริการห้องสมุดได้ บริการห้องสมุดศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ห้องสมุดศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ต่างๆ เช่น หนังสือด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรม สิ่งแวดล้อม รายงานผลงานวิจัย เอกสารประกอบการฝึกอบรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม วารสาร/นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเก็บรวบรวม ค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่ออ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการให้ สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันห้องสมุดศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม มีทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษให้บริการกว่า 8,000 รายการ ไว้บริการผู้ใช้ เช่น • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมขั้นสูง • การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ • การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ • กลางใจราษฎร์ : หกทศวรรษแห่งการทรงงาน • Methods of Dendrochronology : Applications in the Environmental Science • In Situ Remediation Engineering • In Situ Chemical Oxidation For Groundwater Remediation • Groundwater Treatment Technology ห้องสมุดศูนย์วจิ ยั และฝึกอบรมด้านสิง่ แวดล้อม ตัง้ อยู่ ชัน้ 1 อาคารศูนย์วจิ ยั และ ฝึกอบรมด้านสิง่ แวดล้อม เทคโนธานี ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ : 02-5774182-5 ต่อ 1300, 1121 โทรสาร : 02-5774182-5 ต่อ 1121 No.25 December 2013 Green Research 21


ก้าวหน้าพัฒนา การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-services: ES) รัฐ เรืองโชติวิทย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

การใช้ ป ระโยชน์ การใช้บริการ ภายนอก การบริ ก ารในการ จัดการขยะการจัดการสารพิษและ การให้การปรึกษา ระบบข้อมูล ซึ่ ง จากนิ ย ามของการจั ด การ สิ่งแวดล้อมที่ดีในภาคบริการคือ การปรับปรุงเทคโนโลยี แนวทาง ในการใช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ การจั ก การด้านสิ่งแวดล้อม กลไกการ เงินที่ส่งเสริมให้เกิดการลดผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

22 Green Research No.25 December 2013

การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นสากลโดยองค์กรเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย (APO) ได้แบ่ง เป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่ ความสัมพันธ์การบริการกับการผลิตตั้งแต่การ จัดการ การปรับปรุงและการซ่อมแซม การใช้ประโยชน์ การใช้บริการภายนอก การบริการใน การจัดการขยะ การจัดการสารพิษ และการให้การปรึกษา ระบบข้อมูล ซึง่ จากนิยามของการ จัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีในภาคบริการ จากความสัมพันธ์การบริการกับการจัดการที่ต้นทางสู่ ปลายทาง การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีในภาคบริการ คือ การปรับปรุงเทคโนโลยี แนวทางใน การใช้ผลิตภัณฑ์ การจัดการด้านสิง่ แวดล้อม กลไกการเงินทีส่ ง่ เสริมให้เกิดการลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม (financial products) รวมถึงการใช้รถยนต์ร่วมกัน เช่น การที่คน 5 คนมาใช้ รถยนต์ร่วมกันแทนที่จะต่างคนต่างขับรถยนต์ของตัวเองไป ซึ่งจะช่วยลดจ�ำนวนรถยนต์ใน ท้องถนนและน�ำไปสูก่ ารลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมของการเดินทางได้ อีกตัวอย่างหนึง่ ของ การบริการทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม เช่น การบ�ำรุงรักษาและอัพเกรดอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ เพือ่ ทีจ่ ะให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึน้ นอกจากนีย้ งั รวมถึงกองทุน eco-funds ซึง่ การลงทุน ถูกท�ำโดยบริ ษั ท ที่ มี ก ารดู แ ละรั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ มดี เ ยี่ ย ม การพั ฒ นาเทคโนโลยี ข องการ ป้องกัน สิง่ แวดล้อมโดยทัว่ ไปต้องอาศัยทัง้ เงินและเวลา แต่อย่างไรก็ตาม อาศัยเพียงการมีไอเดียทีด่ ี ในการส่งเสริมให้เกิดการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จ�ำเป็นต้องเป็นที่รู้จักแพร่หลายใน ผูบ้ ริโภคแต่ระบบของการบริการควรถูกพัฒนา เพือ่ ทีจ่ ะส่งเสริมให้เกิดการแพร่กระจายเข้าไป ในสังคมและส่งเสริมให้เกิดการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป การบริการทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม ต้องได้รบั การรวบรวมจัดท�ำเป็นฐานข้อมูลทีเ่ ป็น ระบบและเผยแพร่ในวงกว้าง การบริการทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมส่วนใหญ่จะได้รบั การรับรอง ผ่านทางระบบฉลากสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ


ผูบ้ ริโภคหรือภาคธุรกิจอืน่ ๆ ซึง่ ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้ รับฉลากสิ่งแวดล้อมก็จะสอดคล้องกับข้อ ก� ำ หนดหรื อ มาตรฐานที่ ก� ำ หนดขึ้ น มาโดย แต่ ล ะประเทศ แต่ ล ะภู มิ ภ าค หรื อ แต่ ล ะ องค์กร ในส่วนของมาตรฐาน ISO ได้แบ่ง ประเภทของฉลากสิ่งแวดล้อมไว้ 3 ประเภท ได้แก่ ฉลากประเภทที่ 1 คือ การรับรองโดยที่ ผลิตภัณฑ์ต้องสอดคล้องกับข้อก� ำหนดซึ่ง ก�ำหนดโดยภาครัฐหรือ third party ฉลาก ประเภทที่ 2 เป็ น การรั บ รองตนเองด้ า น สิ่งแวดล้อมโดยผู้ผลิตเอง และประเภทที่ 3 เป็ น การเปิ ด เผยข้ อ มู ล เชิ ง ปริ ม าณของ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ นอก เหนื อ จากผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ด้ รั บ ฉลากด้ า นสิ่ ง แวดล้อมแล้ว ผลิตภัณฑ์หรือการด�ำเนินกา รอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความตระหนักด้าน สิง่ แวดล้อมของผูบ้ ริโภค รวมถึงการสร้างฐาน ข้อมูลเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถประเมินและ รับรองตนเองได้ก็ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ในการรวบรวมการบริการที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมไว้ในฐานข้อมูลของ APO นั้น ต้องได้รับการรับรองโดย third party หรือได้ รั บ การยอมรั บ จากคณะท� ำ งานของ APO เท่านั้นจึงจะสามารถรวบรวมเข้าไว้ในฐาน ข้อมูลได้ โดยที่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นการรับรอง ตนเองโดยผูผ้ ลิต (Eco label Type 2) นั้นจะ ต้ อ งแสดงเกณฑ์ แ ละหลัก ฐานที่ ใช้ใ นการ รั บ รองตนเองที่ ค รบถ้ ว นให้ กั บ ทางคณะ ท�ำงาน APO พิจารณาความครบถ้วนส่วน ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ก ารรั บ รองแต่ มี ก าร ประเมิ น ด้ า นผลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม (Eco label type 3) ก็ต้องมีการถูกประเมิน ตรวจสอบจากคณะท�ำงาน APO เพื่อที่จะ รับรองให้สามารถรวบรวมเข้าไว้ในฐานข้อมูลได้

จึงได้มีการจัดพื้นที่ให้ความส�ำคัญประเภท ของการบริการต่างๆ ไว้เป็นลักษณะตามพืน้ ที่ ในที่นี้ขอเสนอ 3 พื้นที่ 1.การบริ ก ารที่ มี ค วามเป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มในพื้ น ที่ อ นุ รั ก ษ์ ห รื อ พื้ น ที่ เฉพาะ การบริการในพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่ อนุรักษ์ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมี การค้นหาปัญหาสิ่งแวดล้อมและก�ำหนดจุด สนใจในภาวะการเปลี่ยนแปลงต่างๆ การใช้ ทรัพยากรในพืน้ ที่ และปัญหามลพิษทีเ่ กิดขึน้ การพัฒนาเศรษฐกิ จและสั งคมในพื้ นที่ ใน ส่วนของการแบ่งประเภทในหมวดนีจ้ ะช่วยให้ ผู้บริโภคเข้าใจว่าบริการนั้นมีความเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมในประเด็นปัญหาเรื่องอะไร โดยทีจ่ ดุ สนใจหลักจะอยูท่ เี่ รือ่ งภาวะโลกร้อน และการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ยังรวมถึง ประเด็ น สิ่ ง แวดล้ อ มด้ า นปั ญ หามลพิ ษ (อากาศ, น�้ำ, ดิน) ซึ่งเป็นปัญหาที่ส�ำคัญใน การพัฒนาเศรษฐกิจ และรวมถึงในเรื่องการ ก�ำจัดของเสีย

การบริการในพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ ความ เป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม ต้ อ ง มีก ารค้น หาปัญหาสิ่งแวดล้อ ม และกำ � หนดจุ ด สนใจในภาวะ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ การใช้ ทรั พ ยากรในพื้ น ที่ และปั ญ หา มลพิษที่เกิดขึ้น

2. การบริ ก ารที่ มี ค วามเป็ น มิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่เมือง โดยทั่วไปพื้นที่เมือง เป็นพื้นที่บริการ ส�ำหรับการท่องเที่ยวที่เป็นที่พัก สิ่งอ�ำนวย ความสะดวก การบริโภค และการใช้บริการ เพื่อเดินทางไปยังพื้นที่ท่องเที่ยว ซึ่งให้ความ ส�ำคัญการบริการทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมใน สถานบริการ โรงแรม สถานบริการทั่วไปและ แหล่งชอปปิ้ง ที่ต้องค�ำนึงการรองรับนักท่อง เที่ ย วปริ ม าณมาก ต้ อ งมี สิ่ ง อ� ำ นวยความ สะดวกที่ เ พี ย งพอ โดยทั่ ว ไปโรงแรมจะมี มาตรฐานใบไม้เขียว (Green leaf) เป็นต้น ซึง่ มี ค วามเข้ ม งวด และมี ม าตรฐานอื่ น ๆ ที่ เกี่ยวข้องตามระดับของการให้บริการ เช่น การจัดแบ่งหมวดหมู่ของฐานข้อมูลด้าน มาตรฐานโรงแรมสีเขียว มาตรฐานสินค้าที่ บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อที่จะท�ำให้เกิดความเข้าใจที่ตรง กั น ของบริ ก ารที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม No.25 December 2013 Green Research 23


ก้าวหน้าพัฒนา 3. การบริการที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ทางธรรมชาติ ซึง่ มักจะเป็นพืน้ ทีเ่ ฉพาะทีม่ คี วามสวยงามตามธรรมชาติหรือแหล่งศิลปกรรมทีส่ ำ� คัญ พื้นที่ทางธรรมชาติทั้งอุทยานแห่งชาติ เกาะแก่ง หรือสถานที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ บางแห่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก (World heritage) ที่มีเกณฑ์ในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์ การรักษาสภาพให้มีความคงทนและยืนยาว เพื่อการสงวนไว้เป็นพื้นที่ที่มี คุณค่า เป็นต้น บริการมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร? เป็ น การจั ด ประเภทบริ ก ารส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วให้ เ กิ ด การลดผลกระทบต่ อ สิ่งแวดล้อมที่ได้กล่าวถึงในสถานที่ต่างๆ ต้องมีการจัดประเภท และท�ำความเข้าใจอย่าง ชัดเจนเกีย่ วกับมาตรการ เพือ่ ช่วยลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมทีใ่ ช้กนั อยูใ่ นปัจจุบนั เช่น การ ประหยัดทรัพยากรสามารถท�ำได้หลายแนวทาง เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการ และจัดการอย่างเหมาะสม การยืดอายุการใช้งานของสถานที่ท่องเที่ยว การปรับปรุงความ สามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวเป็นสิ่งจ�ำเป็น เช่น การประเมินความจุของการท่องเที่ยว (capacity หรือ loading) ของพื้นที่ เป็นต้น

24 Green Research No.25 December 2013


การท่ อ งเที่ ย วในอนาคตต้ อ ง พั ฒ นาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจริ ง จั ง และมี แ ผนการพั ฒ นาอย่ า ง เหมาะสม มีความชัดแจน มีเจ้า ภาพในการดูแล ทั้งหน่วยงาน ในพื้นที่และส่วนให้การสนับสนุน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บริการมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมควรอยู่ที่ช่วงไหนของวงจรการให้บริการ? เป็นการจัดกลุม่ บริการว่าช่วยลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมทีช่ ว่ งไหนของวัฎจักรชีวติ ผลิตภัณฑ์ โดยวัฎจักรชีวติ ของผลิตภัณฑ์สามารถ แบ่งออกได้เป็น 7 ขัน้ ตอน ได้แก่ การสกัดวัตถุดบิ การผลิตวัตถุดบิ และส่วนประกอบ การออกแบบ การผลิตผลิตภัณฑ์ การขนส่ง การใช้งาน ผลิตภัณฑ์ และการก�ำจัดซากผลิตภัณฑ์ ซึ่งการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต้องให้ความส�ำคัญกับทุกช่วง ทุกขั้นตอนในการให้บริการ ตามแผนภาพด้านล่าง

ดังนั้น การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกับกระบวนการ ผลิตในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในทุกช่วงของการให้บริการ ได้แก่ 1. การจัดเตรียมสถานที่ท่องเที่ยว ที่เปรียบเหมือนวัตถุดิบ โดยการเตรียมการรับรองนักท่องเทีย่ วเหมาะสมกับพืน้ ที่ ป้ายแสดงการจัดระเบียบในสถานที่ท่องเที่ยว 2. การบริการท่องเที่ยว ในแต่ละพื้นที่ต้องค�ำนึงถึงสภาพ ความสมดุลย์ ความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ หรือมรดก ทางธรรมชาติให้รักษาสภาพได้ 3. การรองรับของเสีย จากการบริการ ต้องมีความเหมาะสม และไม่เกิดผลกระทบต่อสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ 4. การสร้างจิตส�ำนึกนักท่องเทีย่ ว ผูใ้ ห้บริการต้องท�ำอย่าง ต่ อ เนื่ อ งและให้ ค วามส� ำ คั ญ ต่ อ การให้ ค วามรู ้ อ ย่ า ง ต่อเนื่อง

บทสรุป การพัฒนาสถานบริการ การท่องเที่ยวในอนาคต ต้องพัฒนา อย่างต่อเนื่อง จริงจังและมีแผนการพัฒนาอย่างเหมาะสม มีความ ชัดเจนมีเจ้าภาพในการดูแล ทั้งหน่วยงานในพื้นที่และส่วนให้การ สนับสนุนความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว ในแต่ละพื้นที่มีความเฉพาะและประเมินอย่างเหมาะสม ในการ จัดการอย่างมีประสิทธิภาพรองรับการขยายตัวหรือการพัฒนาใน อนาคตให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เอกสารอ้างอิง สำ�นักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). เอกสารการประเมิน การการท่องท่องเที่ยวอย่างยั้งยืน. กรุงเทพมหานคร รัฐ เรืองโชติวิทย์ (2555). เอกสารประกอบการบรรยายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

No.25 December 2013 Green Research 25


พึ่งพาธรรมชาติ “การต่อสู้เพื่อต่อลมหายใจให้ผืนดินเกิด” การปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ กรณี: การกัดเซาะชายฝั่ง ชุมชนบ้านปากพญา ตำ�บลท่าซัก อำ�เภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช อัศมน ลิ่มสกุล1 วุฒิชัย แพงแก้ว1 ปกรณ์ ดิษฐกิจ2 1 ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2 ส�ำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 235 กิโลเมตร เป็นจังหวัดในล�ำดับแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง มีชายฝั่งที่อยู่ใน สภาพปกติไม่ถึงครึ่งของความยาวชายฝั่งทั้งหมด จากการส�ำรวจพื้นที่กัดเซาะ ท�ำให้เห็น ภาพการกัดเซาะในวงกว้าง โดยพืน้ ทีเ่ สียหายมีทงั้ ชุมชนชายฝัง่ บ่อปลา บ่อกุง้ สวนมะพร้าว รวมทัง้ โครงสร้างตามแนวชายฝัง่ ทัง้ เขือ่ นคอนกรีต และเขือ่ นหินทิง้ สาเหตุสว่ นใหญ่เป็นผล มาจากการพัฒนาพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทีไ่ ม่เหมาะสมต่อสภาพธรรมชาติของพืน้ ที่ โครงสร้างดังกล่าว ล้วนเป็นสิง่ ทีก่ ดี ขวางกระแสน�ำ้ และการเคลือ่ นทีข่ องตะกอนชายฝัง่ และท�ำให้เกิดการเปลีย่ น ทิศทางของกระแสน�้ำทะเล มีผลให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนด้านใต้ของโครงสร้าง แต่มี การกัดเซาะอย่างรุนแรงทางด้านทิศเหนือ เนือ่ งจากการเคลือ่ นตัวของกระแสน�้ำและตะกอน ชายฝัง่ ทีม่ ที ศิ ทางจากด้านใต้ไปทางเหนือนัน้ ไม่สามารถเคลือ่ นตัวผ่านโครงสร้างเหล่านีไ้ ปได้ ท�ำให้เกิดการแปลงแนวชายฝั่งที่ไม่พึงประสงค์ โดยกัดเซาะชายฝั่งต่อไปเรื่อยๆ และลุกลาม ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น แนวทางปรับตัวเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบยั่งยืน ต�ำบลท่าซัก เดิมทีมพี นื้ ทีป่ า่ ชายเลนประมาณ 13,200 ไร่ แต่พนื้ ทีส่ ว่ นใหญ่ได้ถกู เปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยขน์ที่ดิน จากป่าชายเลนซึ่งเป็นระบบนิเวศที่มีคุณค่า มากมายมหาศาล ได้ ถู ก ท� ำ ลายเปลี่ ย นสภาพกลั บ กลายเป็ น นากุ ้ ง เกื อ บเต็ ม พื้ น ที่ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนเป็นนากุ้งในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปี ได้สร้างมูลค่าทาง เศรษฐกิจแต่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง จนมีค�ำพูดสั้นๆ ว่า “กุ้งมา ... หอย ปู ปลา ... หายหมด” บ้านปากพญา ประชากรกว่า 100 หลังคาเรือนประกอบอาชีพท�ำนากุง้ มากว่า 30 ปี ประสบปัญหากับสภาพอากาศเปลีย่ นแปลงในช่วง 3-4 ปีหลัง ดังเช่น เมือ่ ต้นปี 2555 ชุมชน บ้านปากพญา ต.ท่าซัก ได้เกิดสถานการณ์นำ�้ ท่วมซ�ำ้ ซากในพืน้ ที่ หลังจากประสบปัญหาใน ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ปี 2554 ทีป่ ระสบกับภาวะอุทกภัยจากพิษภัยของลมมรสุม ที่พัดเข้าถล่มจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง ส่งผลให้ระดับน�้ำสูงจากพื้นดิน 26 Green Research No.25 December 2013


ผลกระทบจากการกัดเซาะชาย ฝั่ ง รุ น แรง มี ช ายฝั่ ง ที่ อ ยู่ ใ น สภาพปกติไม่ถึงครึ่งของความ ยาวชายฝั่ ง ทั้ ง หมด จากการ สำ�รวจพืน้ ทีก่ ดั เซาะ ทำ�ให้เห็นภาพ การกัดเซาะในวงกว้าง โดยพืน้ ที่ เสี ย หายมี ทั้ ง ชุ ม ชนชายฝั่ ง บ่อปลา บ่อกุ้ง สวนมะพร้าว รวมทั้ ง โครงสร้ า งตามแนว ชายฝั่ง ทั้งเขื่อนคอนกรีต และ เขือ่ นหินทิง้

1 เมตร จากการที่ ป ริ ม าณน�้ ำ ฝนที่ ต กใน แต่ล ะครั้ ง เพิ่ ม ปริ ม าณมากขึ้ น และฝนตก ผิ ด ฤดูกาลจากที่เคยเป็น ประกอบกับน�้ำ ทะเลในช่ ว งเวลาน�้ ำ หนุ น มี ป ริ ม าณสู ง มากกว่ า เดิ ม ท�ำให้น�้ำท่วมคันบ่อกุ้งได้รับ ความเสียหาย ชุมชนบ้านปากพญา มีพนื้ ทีท่ เี่ ปิด รับต่อภัยธรรมชาติรอบด้าน ด้วยเป็นชุมชนที่ อยู่ติดชายทะเลต้องเผชิญกับลมพายุจาก มรสุมที่มีความถี่และรุนแรงมากขึ้น สภาพ ชุมชนทีอ่ ยูร่ มิ คลองปลายน�ำ้ ต้องเผชิญกับน�ำ้ เหนือไหลบ่าในช่วงฤดูฝน และหากเจอกับ ช่วงน�ำ้ ทะเลหนุนก็จะเกิดน�ำ้ ท่วมได้ทนั ที รวม ทั้งสภาพชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาน ถนน น�้ ำ ไฟ ไม่ เ พี ย งพอ หากเกิ ด เหตุ ก ารณ์ ภัยพิบัติขึ้นการช่วยเหลือ หรือการติดต่อกับ ภายนอกแทบไม่สามารถท�ำได้ ประกอบกับ บ้านปากพญามีอาชีพหลัก คือ การเลี้ยงกุ้ง เพียงอย่างเดียว และไม่ได้ถือครองสิทธิที่ดิน ท�ำกินเป็นของตนเอง ทั้งหมดที่กล่าวมานับ เป็นความอ่อนไหวประการส�ำคัญของชุมชนที่ จะส่งผลให้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ เพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนวทางการปรับตัว ชาวบ้านใน ชุ ม ชนบ้ า นปากพญาได้ เ ริ่ ม ศึ ก ษาเรี ย นรู ้ ปัญหาจากโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้ประชาชนชายฝั่งทะเลเพื่อลดผลกระทบ จากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศที่ ด�ำเนินการโดยมูลนิธริ กั ษ์ไทย และชุดโครงการ พัฒนาความรู้ และยุทธศาสตร์ความตกลง พหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์

ลดโลกร้ อ น ส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การวิจัย (สกว.) ซึ่งสามารถสรุปแนวทางการ ปรับตัวได้ดังนี้ - แนวทางในการประกอบอาชีพใหม่ โดยหัน ไปศึ ก ษาการท� ำ เกษตรอย่ า งยั่ ง ยื น เช่ น การท�ำสวนปาล์ม ในพื้นที่นากุ้งเดิม - การรวมกลุม่ ของชาวบ้านทัง้ ในรูปแบบของ กลุ่มออมทรัพย์ และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพี ย งที่ มี อ ยู ่ ใ นปั จ จุ บั น จะเป็ น ต้ น ทุ น ที่ ส�ำคัญในการศึกษาและหาแนวทางในการ ตั้งรับและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เพิ่ ม เติ ม ความรู ้ ที่ ส ่ ง ผลต่ อ การ ประกอบอาชีพของชาวบ้านทั้งในส่วนอาชีพ เดิม อย่างช่วงเวลาที่เปลีย่ นไปของลมมรสุ ม ต่ อ การเพาะเลี้ยงและเก็บเกี่ยวผลผลิตจาก นากุ้ง และในส่วนของอาชีพเสริมหรืออาชีพ ใหม่อย่างสวนปาล์ม นอกจากนี้ แนวทางการปรับตัวของ ชาวบ้านชุมชนบ้านปากพญาทีส่ ำ� คัญอีกเรือ่ ง หนึ่ง คือ “การต่อสู้กับปัญหาการกัดเซาะ ชายฝั่ง” จากบทเรียนที่ผ่านมาของชาวบ้าน ปากพญา พบว่า ป่าชายเลนเป็นผืนป่าที่ เปรียบเสมือนหัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่ส� ำคัญ ที่สุดของร่างกาย การเยียวยารักษา ฟื้นคืน สภาพป่าชายเลนให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เหมือนก่อน จะเป็นแนวทางการปรับตัวต่อ การเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศที่ ส ร้ า ง ความสมดุลและความยั่งยืนอย่างสูงสุด “ท�ำไม ... ต้องฟืน้ คืนป่าชายเลน” ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความส�ำคัญ และมี ป ระโยชน์ อ ย่ า งมากมายมหาศาล

No.25 December 2013 Green Research 27


พึ่งพาธรรมชาติ เพราะป่าชายเลนเป็นที่รวมของพืช สัตว์น�้ำและสัตว์บกนานาชนิด ซึ่งมีความส�ำคัญและ ประโยชน์ต่อการด�ำรงชีวิตของมนุษย์หลายรูปแบบ เช่น ไม้ในป่าชายเลนน�ำมาใช้ประโยชน์ ในลักษณะต่างๆ กันได้หลายรูปแบบ หรือการท�ำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารส�ำคัญของสัตว์น�้ำ เป็นที่อยู่อาศัย และที่อนุบาลสัตว์น�้ำในระยะตัวอ่อนกุ้งและปลา ที่ส�ำคัญทางเศรษฐกิจได้ อาศัยป่าชายเลนเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงตัวอ่อน เช่น กุ้งกุลาด�ำ ปลากะพงขาว และปลาอื่นๆ รวมถึงเป็นแหล่งส�ำหรับลดความรุนแรงของคลื่น ป้องกันการพังทลายของดินชายฝั่ง ช่วยชะลอความเร็วของลมพายุให้ลดลงก่อนที่จะขึ้นสู่ฝั่งไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง แก่ทอี่ ยูอ่ าศัยและพืน้ ทีท่ ำ� กินของชาวบ้านทีต่ งั้ ถิน่ ฐานอยูบ่ ริเวณใกล้เคียง ช่วยเพิม่ พืน้ ทีต่ าม ชายฝั่ง เพราะระบบรากของไม้ป่าชายเลนจะช่วยในการทับถมของเลนโคลน ท�ำให้เกิดดิน เลนงอกใหม่อยูเ่ สมอ ช่วยกรองของเสียทีเ่ กิดจากโรงงานอุตสาหกรรมมิให้ไหลลงสูท่ ะเลสร้าง ความเสียหายแก่สัตว์น�้ำและระบบนิเวศในบริเวณชายฝั่งได้ แล้ว ... จะใช้วธิ ไี หน ? ชาวบ้านปากพญา โดยแกนน�ำกลุม่ ประมงพืน้ บ้านชุมชน ปากพญา ได้เรียนรู้ผ่านการศึกษาดูงานจากพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน พวกเขาระดมความคิด ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจคัดเลือกวิธีการที่จะน�ำ เข้ามาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง ... “แนวกันคลื่นคอนกรีต” จะใช้แบบนี้ดีหรือไม่ ... ไม่ดีกว่า ราคาสูงไป สร้างไปไม่ นานก็พังอีก เราไม่มีเงินมากขนาดนั้น ตัวอย่างก็มีให้เห็นสร้างเท่าไหร่ก็พัง...แกนน�ำคนหนึ่ง กล่าว “แนวกันคลื่นไม้ไผ่” คือ ค�ำตอบสุดท้ายของชาวบ้านปากพญา ซึ่งข้อดีของมันก็ คือ ใช้แนวทางธรรมชาติในการแก้ไขปัญหา ใช้งบประมาณน้อย และสร้างผลกระทบต่อ ชายฝัง่ ข้างเคียงและระบบนิเวศน้อย ในขณะทีข่ อ้ ด้อยของแนวกันคลืน่ ไม้ไผ่คอื ลดพลังคลืน่ ได้ไม่มาก อายุการใช้งานสั้น (3-5 ปี) จ�ำเป็นต้องมีการบ�ำรุงรักษาซ่อมแซมตลอด ใช้วัสดุ ปริมาณมากและต้องใช้แรงงานจ�ำนวนมาก ชาวบ้านปากพญาได้เลือกแนวทางของพวกเขาแล้ว แนวทางนีพ้ วกเขาเห็นว่าเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ทสี่ ดุ พวกเขาได้ดำ� เนินการปักไม้ไผ่กนั คลืน่ เป็นแนวยาวประมาณ 200300 เมตร บริเวณด้านหน้าผืนป่าชายเลนทีเ่ สียหาย ซึง่ อาจคิดเป็น 30% ของแผนการด�ำเนิน งานที่ ช าวบ้ า นปากพญาต้ อ งการ เนื่ อ งจากการจั ด ท� ำ แนวกั น คลื่ น ไม้ ไ ผ่ ต ้ อ งใช้ งบประมาณในการหาซือ้ ไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ซึง่ จ�ำเป็นต้องรอเวลาหรืองบประมาณการสนับสนุน จากภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่ให้ความส�ำคัญกับปัญหาของพวกเขา ในขณะนี้พวกเขา เพียงได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิรักษ์ไทซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีแก่พื้นที่เป็นอย่างยิ่งที่มี หน่วยงานเริ่มให้ความสนใจและให้การช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณในการด�ำเนินงาน

28 Green Research No.25 December 2013

ป่าชายเลนเป็นแหล่งเพาะเลีย้ งตัว อ่อน เช่น กุ้งกุลาดำ� ปลากะพง ขาว และปลาอื่นๆ รวมถึงเป็น แหล่งสำ�หรับลดความรุนแรงของ คลื่น ป้องกันการพังทลายของ ดินชายฝั่ง ช่วยชะลอความเร็ว ของลม


ท�ำได้แค่ไหน ... ก็ต้องท�ำไปก่อน ค�ำพูดสั้นๆ ที่ให้ความหมายอย่างชัดเจนจาก แกนน�ำชาวบ้านคนหนึง่ เขาให้ความเห็นว่าการจัดท�ำแนวกันคลืน่ ไม้ไผ่นี้ จะสามารถช่วยแก้ ปัญหาการกัดเซาะได้ไม่มากก็นอ้ ย เขาต้องการให้แนวกันคลืน่ ไม้ไผ่เป็นตัวกักเก็บหรือสะสม ตะกอนดิน เมือ่ ตะกอนดินมีมากพอจนมีลกั ษณะเป็นผืนดินประกอบกับเมือ่ ฤดูมรสุมหมดไป พวกเขาจะด�ำเนินการปลูกป่าชายเลนเพื่อเพิ่มผืนป่าให้มีพื้นที่มากขึ้น โดยหวังว่า วิธีการนี้ จะช่วยให้ระบบนิเวศป่าชายเลนของชุมชนปากพญากลับมามีความอุดมสมบูรณ์เหมือนก่อน

คำ � พู ด สั้ น ๆ ที่ ใ ห้ ค วามหมาย อย่ า งชั ด เจนจากแกนนำ � ชาว บ้ า นคนหน่ึ ง เขาให้ ค วามเห็ น ว่าการจัดทำ�แนวกันคลื่นไม้ไผ่นี้ จะสามารถช่วยแก้ปัญหาการกัด เซาะได้ไม่มากก็น้อย

เอกสารอ้างอิง ประสาร สถานสถิตย์, 2555: บ้านปากพญา อนาคตของชุมชนนากุ้ง กับวิถีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. มูลนิธิรักษ์ไท 31 มกราคม 2555 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=781610 ศูนย์ขอ้ มูลสิง่ แวดล้อมภาคใต้ตอนบน, 2555: ปัญหาการกัดเซาะชายฝัง่ . อุทยานการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ http://eic.wu.ac.th/Biodiversity/ coastal.html

No.25 December 2013 Green Research 29


พึ่งพาธรรมชาติ พุทธศาสนากับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พนมพร วงษ์ปาน นักวิชาการสิ่งแวดล้อมช�ำนาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม

มนุษย์ได้น�ำทรัพยากรธรรมชาติมาสนองความต้องการของตนอย่างมากมาย โดย ขาดความส�ำนึก ความตระหนัก ในความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยง ของธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และยิ่งมีการค้นคว้าด้านเทคโนโลยีที่อ�ำนวยความสะดวกแก่มนุษย์มากเท่าไหร่ ปริมาณการท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นและทวีความรุนแรงมากยิ่ง ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

พระสงฆ์กบั การอนุรกั ษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มนั้ น เนื่ อ งจากพระสงฆ์ ใ นพระพุ ท ธ ศาสนาเป็นทีเ่ คารพบูชาเป็นเสมือน ผู้ถือประทีปเส้นทางชีวิตให้กับ มนุษยชาติจงึ มีบทบาททีเ่ กีย่ วข้อง กั บ ความเป็ น อยู่ ทุ ก อย่ า งของ ศาสนิกชน

30 Green Research No.25 December 2013

การท�ำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าพืช สัตว์ แหล่งน�้ำ แหล่งแร่ ต่างๆ ย่อมท�ำให้สภาพแวดล้อมทัว่ ไปเสือ่ มโทรมลงอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการท�ำลายความ สมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างกรณีการบุกรุกท�ำลายป่าในบริเวณต้นน�้ำล�ำธาร ท�ำให้สภาพของดินเสียความสมดุลย์ เมื่อฝนตกลงมาก็ชะล้างหน้าดินลงสู่แม่น�้ำล�ำธารเป็น โคลนตะกอนก่อให้เกิดปัญหาน�้ำป่าไหลหลาก สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ส�ำหรับพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น เนื่องจาก พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเป็นทีเ่ คารพบูชาเป็นเสมือนผูถ้ อื ประทีปเส้นทางชีวติ ให้กบั มนุษยชาติ จึงมีบทบาททีเ่ กีย่ วข้องกับความเป็นอยูท่ กุ อย่างของศาสนิกชน และในทุกระยะแห่งชีวติ ของ มนุษย์ โดยอาศัยความบริสุทธิ์และการมีพฤติปฏิบัติที่งดงามเป็นแบบอย่างในการสั่งสอน อบรม ประชาชนให้ละเว้นจากความชัว่ ให้ตงั้ มัน่ อยูใ่ นความดีดว้ ยจิตเมตตาให้ซาบซึง้ ในบาป บุญคุณโทษแห่งการกระท�ำที่ผิดถูก ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยหลักของ พุทธศาสนา เช่น ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ไม่ให้ลักทรัพย์ ไม่ให้ผิดในกาม ไม่ให้พูดเท็จและไม่ให้ ประมาท เป็นการห้ามมิให้ท�ำลาย และเบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม ทั้งมนุษย์ด้วย


ในพระวินัยปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทเป็นศีลห้ามพระสงฆ์ท�ำลายต้นไม้ หรือพรากของเขียว ภูตคามทุกชนิด ห้าม มิให้ขุดดิน ห้ามถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน�้ำลายลงบนต้นไม้หรือในแม่น�้ำล�ำธารในวนโรปสูตพระองค์ทรงตรัสว่า การปลูกป่า และ การรักษาต้นไม้ล�ำธารเป็นบุญกุศล ดังนี้ “ชนเหล่าใด ปลูกป่า ปลูกสวน สร้างสะพาน สร้างโรงน�้ำ ขุดบ่อน�้ำ บริจาคที่พักอาศัย ชนเหล่า นั้นย่อมได้บุญตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน “

ในการปฏิบตั เิ พือ่ ส่งเสริมความมัน่ คงของทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมของพระสงฆ์ได้ใช้หลักธรรมมาสอนให้เห็นว่า มนุษย์ กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง อาศัยกันไม่มีใครอยู่ได้อย่างโดดเดี่ยว ดั่งค�ำที่ว่า “น�้ำพึ่งเรือเสือพึ่ง ป่า” แสดงเป็นค�ำพูดว่า “เสือมีเพราะป่ามาก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินดีเพราะหญ้าบัง หญ้ายังเพราะดินดี” No.25 December 2013 Green Research 31


พึ่งพาธรรมชาติ เนื่องจากพระพุทธศาสนาสอนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยวีธีการปลูกจิตส�ำนึกให้ตระหนักในคุณค่าและ ความส�ำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยหลักธรรมกตัญญูกตเวทีจึงเกิดมีคติในการสร้างพระพุทธรูป “ปรางถวายเนตร” เพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ประดับยืน เอาพระหัตถ์ขวาทาบบนพระหัตถ์ซ้าย อยู่ทางทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ลืมพระเนตรเพ่งดูต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยมิได้กระพริบพระเนตรเป็นเวลา 7 วัน ความหมายว่า “พระพุทธเจ้าทรงร�ำลึกถึงคุณของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ให้ร่มเงาแก่พระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

พระพุ ท ธศาสนาสอนการอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากร ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มด้ ว ยวี ธี ก ารปลู ก จิตสำ�นึกให้ตระหนักในคุณค่าและความสำ�คัญของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมด้วยหลักธรรม กตัญญูกตเวที

32 Green Research No.25 December 2013


ในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม นัน้ พระสงฆ์ทำ� หน้าที่ โดยการ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและสั่งสอนศีลธรรมให้ประชาชนมีจิตส�ำนึกในคุณค่า และความ จ�ำเป็นของสิ่งแวดล้อมท�ำให้เกิดความรักในธรรมชาติและเกิดความความภูมิใจในศิลป วัฒนธรรมอันดีงามของตน กล่าวคือ พระสงฆ์จะต้องด�ำเนินชีวิตเกื้อกูลต่อการอนุรักษ์ ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มในฐานะเป็ น แบบอย่ า ง แล้ ว ท่ า นยั ง ได้ ส อนให้ พุทธศาสนิกชนให้ตระหนักในคุณค่าของการพัฒนาจิตใจโดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมด้วยการปฏิบัติธรรม คือ การบ�ำเพ็ญสมาธิภาวนา เดินจงกรม (เดินแบบเจริญสติ) ใต้รม่ ไม้ เพราะในป่าจะมีตน้ ไม้มาก บรรยากาศร่มรืน่ ท�ำให้ผเู้ ข้าไปสัมผัส เกิดความรู้สึกร่มเย็นสบายมีความสงบสงัด ไม่มีความฟุ้งซ่าน ลดความวิตกกังวลได้อย่างดี ท�ำให้จิตสงบและร่างกายสดชื่น เพราะสัมผัสกับความสมดุลของธรรมชาติ เอกสารอ้างอิง - ไมตรี สุทธจิตต์ มนุษย์กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม การประชุมวิชาการทั่วประเทศไทยประจ�ำปี 2536 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พระสงฆ์ จ ะต้ อ งดำ � เนิ น ชี วิ ต เกือ้ กูลต่อการอนุรกั ษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมในฐานะ เป็นแบบอย่าง แล้วท่านยังได้สอน ให้พุทธศาสนิกชนให้ตระหนักใน คุณค่าของการพัฒนาจิตใจโดย อาศั ย ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมด้วยการ ปฏิบัติธรรม

No.25 December 2013 Green Research 33



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.