เรียนรูธ รรมะจากวาทกรรมในโลกไซเบอรกบ ั เปสโลภิกขุ
เมื่อธรรมวาทีมีก�ำลัง อธรรมวาทีก็เงียบเสียง
เมื่ออธรรมวาทีมีกำ� ลัง ธรรมวาทีก็เงียบเสียง
ออกแบบปกและรูปเล่ม Dhamma Design Club พิสูจน์อักษร มานี มีตา, ศิริสุรางค์ เดชพันธ์ คอมพิวเตอร์กราฟิก ibeepdesign@gmail.com เผยแพร่ครั้งแรก พฤศจิกายน 2557 สงวนลิขสิทธิ์ © 2014 Dhamma Design Club อีบุ๊คส์ www.issuu.com/dhammavalley อีกเล่ม www.issuu.com/pesalocation เฟซบุ๊ค www.facebook.com/pesalocation สนทนากับผู้เขียน dhammadesign@hotmail.com
4 / Keep Calm and Carry On
ค�ำน�ำ ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 รัฐบาลอังกฤษต้องการสร้างขวัญก�ำลังใจให้แก่ประชาชน จึงผลิตโปสเตอร์ออกมาสามชุด อันเป็นเสมือนพระราชสาส์นจากกษัตริยถ์ งึ พสกนิกร ของพระองค์ ในโปสเตอร์ชุดสุดท้ายมีข้อความว่า “KEEP CALM AND CARRY ON” ซึ่งหมายความถึง “การอยู่อย่างมีสติและด�ำเนินชีวิตต่อไป” ปัจจุบันโลกอยู่ในยุคสงครามข้อมูลข่าวสาร การ KEEP CALM จึงมีความจ�ำเป็น ไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่าโลกยุคทีใ่ ช้อาวุธยุทโธปกรณ์ทำ� ลายล้างกัน เมือ่ KEEP CALM แล้ว CARRY ON ด้วยพุทธิปัญญา เราจึงจะสามารถน�ำพาตนข้ามพ้นโกลาหลของสังคม สมัยใหม่ไปสู่ขอบฟ้าสีทองผ่องอ�ำไพได้โดยสวัสดี เปสโลภิกขุ
Stay Alive and Avoid Zombies /
5
เปสโลภิกขุคัดสรรค�ำถามมาตอบใหม่จาก a day bulletin Issue 263: Face to Faith (page 14-16)
ศาสนาไม่ว่ายุคใด โดยเฉพาะยุคนี้ควรท�ำหน้าที่อะไร พระพุทธศาสนาท�ำหน้าที่ในการเติมเต็มชีวิตของมนุษย์ หลายๆเรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นกับวงการศาสนาทุกวันนี้ มันคือยุคเสื่อมของศาสนา หรือเปล่า มันคือยุคเสื่อมของคนที่ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมค�ำสอนทางพระพุทธศาสนา ปัญหาทีพ่ ระเอาเงินไปใช้เช่นกรณีเณรค�ำทีม่ เี งินไหลเข้ามาแล้วใช้กนั กระหน�ำ่ สิง่ เหล่านี้ มันเกิดจากอะไร ดูเหมือนเป็นการหาประโยชน์จากความศรัทธาของคนหรือเปล่า ปัญหานีเ้ กิดจากสาเหตุสองประการคือพระไม่ปฏิบตั ติ ามพระธรรมวินยั และโยม ไม่เข้าใจพระธรรมวินัย นี่เป็นการหาประโยชน์จากความศรัทธาของคนที่ไม่เข้าใจ พระธรรมวินัย โดยพระที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นหน้าที่ของพระหรือไม่ที่จะท�ำประโยชน์แก่สังคม เป็น ในข้อแม้วา่ พระรูปนัน้ ต้องมีอนิ ทรียแ์ ก่กล้า แต่ถา้ ท�ำประโยชน์แก่สงั คมแล้ว มีแนวโน้มว่าตัวเองจะไปไม่รอด พระรูปนัน้ ก็ควรฝึกตนก่อน สมดังพุทธศาสนสุภาษิต ที่มาในขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ความว่า “อตฺตทตฺถํ ปรเถน พหุนาปิ น หาปเย” แปลให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า “ประโยชน์ของผู้อื่นถึงแม้จะมาก ก็ไม่ควรเป็นเหตุให้มา ท�ำลายประโยชน์อันเป็นเป้าหมายของตน” ในยุคนี้อะไรควรเป็นที่พึ่งทางใจของคน หลักธรรมค�ำสอนทางพระพุทธศาสนา
Stay Alive and Avoid Zombies /
7
คนตั้งค�ำถามกันว่าหาพระดีๆนับถือยาก เกณฑ์ของพระดีๆคืออะไร พระดีๆคือพระทีป่ ฏิบตั ติ ามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ตัง้ แต่จำ� ความได้จนอายุสสี่ บิ ปี เศษ กว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของพระที่อาตมาพบเป็นพระดีๆ “ปฏิรูปเทสวาโส การด�ำเนินชีวิตอยู่ในท้องถิ่นอันเหมาะสม มีผู้รู้ มีบัณฑิต มีนักปราชญ์” เป็นมงคล อย่างที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้จริงๆ ในแง่ความศรัทธาของเราเอง เราสามารถตรวจสอบได้ไหม ควรจะตรวจสอบ อย่างไรเพื่อไม่ให้กลายเป็นความงมงาย เราสามารถตรวจสอบศรัทธาของตัวเองได้ ศรัทธาที่ไม่งมงายคือศรัทธาที่น�ำเรา เข้าไปใกล้ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” สังคมของเรายังมีคนทีอ่ ยากท�ำบุญ แต่การท�ำบุญมันน�ำไปสูป่ ญ ั หาต่างๆอย่างทีเ่ ห็น อยากทราบว่าการท�ำบุญส�ำหรับท่านคืออะไร การท�ำบุญคือการช�ำระกิเลส หากท�ำบุญด้วยจุดประสงค์นจี้ ะมีความสุขเป็นปลายทาง แต่ถา้ คลาดเคลือ่ นจากเป้าหมายนีม้ นั จะน�ำเราไปสูป่ ญ ั หาต่างๆอย่างทีเ่ ห็น เราสามารถ เลือกท�ำบุญได้ตามอัธยาศัยถึง 10 วิธีดังนี้ 1.ทานมัย ท�ำบุญด้วยการแบ่งปันสิ่งของ 2.สีลมัย ท�ำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี 3.ภาวนามัย ท�ำบุญด้วยการเจริญภาวนาหรือฝึกอบรมจิตใจ 4.อปจายนมัย ท�ำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม 5.เวยยาวัจจมัย ท�ำบุญด้วยการช่วยเหลือขวนขวายในกิจการงานที่ดีงาม 6.ปัตติทานมัย ท�ำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น 7.ปัตตานุโมทนามัย ท�ำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น
8 / Keep Calm and Carry On
8.ธัมมัสสวนมัย ท�ำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ 9.ธัมมเทสนามัย ท�ำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ 10.ทิฏฐุชุกัมม์ ท�ำบุญด้วยการท�ำความเห็นให้ตรง
Stay Alive and Avoid Zombies /
9
พุทธศาสนาสอนว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ท�ำไมพระยังขอข้าวคนอื่นกิน? ข้อสงสัยจากกลุ่มอศาสนิก
พุทธศาสนสุภาษิตบทนี้มาจากพระไตรปิฎก ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท โดยมีเนื้อ ความเต็มสมบูรณ์ว่า อตฺตา หิ อตฺโนนาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ถุลฺลภํ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ ผู้ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก คนไทยค้นุ เคยกับพุทธศาสนสุภาษิตในวรรคแรก ซึง่ ถ้าน�ำไปใช้อย่างถูกกาลเทศะ ก็พอจะอะลุ้มอล่วย เช่นในการเรียนหนังสือผู้เรียนต้องขวนขวายด้วยตัวเองอย่าง ขยันหมั่นเพียรและมีสมาธิ มิฉะนั้นถึงตอนสอบต้องตกระก�ำล�ำบาก ถ้าใครคนนั้น ยอมรับผลกรรมทีเ่ กิดจากความเกียจคร้านของตัวเองก็ยงั พอให้อภัย แต่ถา้ อยากสอบ ผ่านโดยไม่อ่านหนังสือแล้วใช้วิธีทุจริตจนถูกจับได้ ความเสื่อมเสียก็จะหลั่งไหลไปสู่ วงศ์ตระกูล แต่บางตระกูลคงไม่รสู้ กึ อะไรมากนักเพราะทุจริตกันจนเป็นมรดกตกทอด จากรุ่นสู่รุ่นอยู่แล้ว เมือ่ พิจารณาพุทธศาสนสุภาษิตสีว่ รรคข้างต้นจะเห็นได้วา่ ไม่มขี อ้ ความใดทีพ่ าดพิงถึง “การแสวงหาปัจจัยสี่” เลยแม้แต่น้อย ก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะเสด็จออกผนวช ทรงปรารภว่า “ชีวิตของผู้ครองเรือนเป็นทางมาแห่งธุลี การจะประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์ในเพศภาวะเช่นนี้เป็นไปได้ยาก” เมื่อทรงเห็นดังนี้แล้วจึงละเพศคฤหัสถ์ เสด็จออกผนวช ในการด�ำเนินชีวิตทางโลกมีเรื่องหยุมหยิมรบกวนจิตใจเป็นอันมาก และครุกรุ่นวุ่นวายอยู่ตลอดเวลาดังค�ำกล่าวที่ว่า “กลางคืนเป็นควัน กลางวันเป็น ไฟ” จะหาช่องว่างให้สงบเย็นใจแม้เพียงครูห่ นึง่ ก็ยากเต็มที กระทัง่ ยามหลับนอนก็ยงั
Stay Alive and Avoid Zombies /
11
พกพาไปปรุงแต่งเป็นความฝัน การบ�ำเพ็ญเพียรภาวนาทางจิตเป็นงานละเอียด ประณีต ต้องอาศัยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาอย่างเข้มข้น เมื่อนักบวชไม่มี ภาระในการแสวงหาปัจจัยสี่จึงเกิดความปลอดโปร่ง ส่งผลให้สามารถทุ่มเทก�ำลัง กายก�ำลังใจให้กับการฝึกตนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วอย่างนี้ไม่เป็นการ เอาเปรียบญาติโยมหรือ? ดังได้กล่าวมาแล้วว่าชีวิตของคฤหัสถ์มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความกังวลเป็น อันมาก ทั้งจากหน้าที่ท�ำงานและภาระที่มีต่อครอบครัว หากความกังวลวุ่นวายที่ เกิดจากกิจกรรมเหล่านี้ถูกเก็บสะสมในระดับสูงก็จะส่งผลร้ายต่อตนเองและสังคม การผ่อนคลายอย่างถูกวิธีจึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษา ปลายเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2551 มูลนิธเิ ศรษฐกิจใหม่ (New Economics Foundation) แห่งประเทศอังกฤษ ได้ตพี มิ พ์ บทความซึ่งเป็นผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเจ็ดประการที่จะท�ำให้มนุษย์มีความสุข ทั้งด้านร่างกายและจิตใจอันได้แก่ (1) ความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้าง (2) การ บริหารร่างกายอย่างสม�่ำเสมอ (3) การมีสติสัมปชัญญะ (4) การเรียนรู้อยู่เป็นนิจ (5) การแบ่งปัน (6) การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย (7) การอยู่ใกล้ชิด ธรรมชาติ พูดไปก็จะหาว่าเข้าข้างตัวเอง แต่ความจริงก็ปรากฏให้เห็นอยู่ทนโท่ว่า ปัจจัยทั้งเจ็ดประการนี้ มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในวัดป่าที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย อย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังตั้งตารอผู้ที่ต้องการแสวงหาความสุข อันปราศจากทุกข์โทษ มานานกว่าสองพันห้าร้อยปี การ “ขอข้าวคนอื่นกิน” แม้ดูภายนอกจะเป็นเรื่องง่าย เพียงห่มจีวรแล้วสะพาย บาตรเดินไปตามถนนก็ได้อาหารกลับมาฉันทีว่ ดั สบายอุรา แต่ยงั มีความจริงอีกมุมหนึง่ ในชีวิตพระที่คนทั่วไปยังไม่ค่อยรู้กันก็คือ เมื่ออยากฉันของร้อนเขาก็ให้ของเย็น เมื่อ
12 / Keep Calm and Carry On
อยากฉันของเย็นเขาก็ให้ของร้อน เมือ่ อยากฉันเผ็ดเขาก็ให้จดื เมือ่ อยากฉันจืดเขาก็ให้ เผ็ดฯ ช่วงออกเดินธุดงค์ยิ่งหายห่วง บิณฑบาตได้ข้าวเหนียว 2-3 ปั้นกับกล้วยน�ำ้ ว้า สักลูกก็นับว่าพระรูปนั้นมีบารมีแก่กล้า นอกจากนี้พระป่ายังถือธุดงควัตรขัดเกลา กิเลสด้วยการฉันมื้อเดียวอีกด้วย พระหนุ่มเณรน้อยวัยก�ำลังกินก�ำลังนอนยิ่งสาหัส สากรรจ์ กว่าจะฝึกฝนจนตัวเองอยู่สบายก็ผ่านไปหลายกาลฝน บ่อยครั้งที่ผู้มีความ ประสงค์จะบวชประกาศกร้าวว่า “กูคือผู้สละโลก” แต่มาอยู่วัดได้ไม่ถึง 24 ชั่วโมง ก็เผ่นหนีปา่ ราบไปโดยไม่บอกลาใคร ถึงบรรทัดนีค้ งจะเห็นแสงร�ำไรแล้วว่า ผูด้ ำ� เนินชีวติ อยู่บนเส้นทางแห่งการฝึกตนคู่ควรแก่การสงเคราะห์ด้วยปัจจัยสี่อย่างสมเหตุสมผล
Stay Alive and Avoid Zombies /
13
อนันตริยกรรม 3 ข้อหลังบัญญัติขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ ให้กับกลุ่มของตัวเอง ข้อสังเกตุจากกลุ่มอศาสนิก
อนันตริยกรรมหมายถึงกรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ส่งผลคือตัดทางสวรรค์และ พระนิพพาน มีอยู่ห้าประการคือ (1) ฆ่ามารดา (2) ฆ่าบิดา (3) ฆ่าพระอรหันต์ (4) ท�ำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป (5) ท�ำสงฆ์ให้แตกกัน พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ รวมทั้งพระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบได้ชื่อว่าเป็น ผู้อนุเคราะห์โลก บุคคลใดประหัตประหารท่านผู้ทรงคุณวิเศษเหล่านี้จนถึงแก่ชีวิต หรือท�ำให้ทา่ นได้รบั ความยากล�ำบาก จนไม่สามารถเผยแผ่พระศาสนาได้โดยสะดวก ย่อมได้ชอื่ ว่าสร้างกรรมอันหนักหนาสาหัส เพราะการกระท�ำของบุคคลนัน้ ไปท�ำลาย โอกาสทีจ่ ะหลุดพ้นจากภัยใหญ่คอื การเวียนว่ายในกองทุกข์ของผูม้ นี สิ ยั ปัจจัยในการ ตรัสรูธ้ รรม อุปมาได้วา่ เกิดโรคระบาดในหมูบ่ า้ นห่างไกลแห่งหนึง่ ผูค้ นล้มตายลงเป็น จ�ำนวนมาก เศรษฐีผู้เปี่ยมด้วยความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ทราบข่าวจึงน�ำยารักษา โรคบรรทุกใส่กองคาราวานเพือ่ น�ำไปช่วยเหลือ แต่ระหว่างทางถูกโจรห้าร้อยดักปล้น ชิงทรัพย์ท�ำร้ายเศรษฐีใจบุญรวมทั้งบริวารบาดเจ็บและถึงแก่ความตาย ท้ายที่สุด ผูค้ นทัง้ หมูบ่ า้ นก็ตอ้ งสิน้ ชีวติ ตามเศรษฐีไปด้วย อนันตริยกรรมมิใช่สงิ่ ทีพ่ ระพุทธองค์ ทรงบัญญัตขิ นึ้ แต่เป็นความจริงทีป่ รากฏอยูต่ ามธรรมชาติ แม้พระพุทธองค์จะไม่ทรง น�ำมาแสดง อนันตริยกรรมก็ยงั คงส่งผลต่อเนือ่ งรุนแรงโดยไม่มกี รรมอืน่ ใดมาต้านทาน
Stay Alive and Avoid Zombies /
15
พระควรช่วยเหลือญาติโยม ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นไหม? ข้อสงสัยจากกลุ่มอศาสนิก
หน้าที่หลักของพระในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ผู้อื่นคือการช่วยยกระดับ จิตใจของญาติโยม ส่วนการยกระดับวิถีชีวิตความเป็นอยู่เช่นเรื่องปากท้อง สุขภาพ การศึกษา คมนาคมฯ เป็นหน้าทีข่ องผูบ้ ริหารประเทศ ในบางวัดจะมีการแจกทุนการ ศึกษา สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน บริจาคสิง่ ของช่วยอุทกภัยฯ เหล่านี้เป็นของแถม ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของพระ วัดไหนมีกำ� ลังท�ำได้ก็ช่วยกันไป แต่ถ้าวัดไหนไม่มีก�ำลังหรือพระไม่ถนัดงานสังคมสงเคราะห์ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ญาติโยม จะไปต�ำหนิท่าน เพราะท่านมีงานหลักที่สมัครมาท�ำอยู่แล้วนั่นก็คือการลดละกิเลส ภายในจิตใจของตัวเอง (ประโยชน์ตน) และการอบรมสั่งสอนญาติโยมให้ตั้งมั่นอยู่ ในศีลธรรมอันดี (ประโยชน์ผู้อื่น) ในแง่นี้ครูบาอาจารย์บางรูปอาจจะเทศน์ไม่เก่ง แต่ท่านก็สามารถสอนด้วยการ “ท�ำให้ดูอยู่ให้เห็น” เมื่อญาติโยมซึ่งเป็นผู้มีศีลธรรม อันดี สบโอกาสเข้าไปท�ำงานบริหารประเทศ กิจการบ้านเมืองก็จะด�ำเนินไปโดยสุจริต ส่งผลให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของส่วนรวมดีขึ้นไปโดยล�ำดับ ไม่นานมานี้อาตมามีโอกาสกราบนมัสการพระอุปัชฌาย์ ท่านเล่าให้ฟังว่าหลาย เดือนก่อน ท่านไปสอนชาวบ้านท�ำนาอินทรีย์ เนือ่ งจากมีชาวบ้านมากราบเรียนท่านว่า ผู้ชายในหมู่บ้านแทบจะไม่เหลือแล้ว ทยอยตายไม่เว้นแต่ละวันเพราะการฉีดพ่น สารเคมีและยาฆ่าแมลง พระอุปัชฌาย์ของอาตมาบวชปฏิบัติธรรมมากว่าห้าสิบ พรรษา ท่านเป็นผูฝ้ กึ ตนดีแล้ว ส่วนพระรูปอืน่ ๆเช่นอาตมายังอยูใ่ นระหว่างการฝึกตน ยังรับรองตัวเองไม่ได้ จะให้เอาเวลาไปทุ่มเทช่วยเหลือญาติโยมก็กระไรอยู่ ถ้าท�ำ อย่างนั้นแล้วพระมีอันเป็นไปใครจะรับผิดชอบ ครั้งหนึ่งพระอุปัชฌาย์เคยสอน พวกเราว่า “ท�ำอะไรยังไม่เป็น ล้างส้วมให้สะอาดก็ยังดี”
Stay Alive and Avoid Zombies /
17
เป็นไปไม่ได้ที่จะคาดหวัง ให้ศาสนาขาวสะอาด มนุษย์ก็คือมนุษย์ มนุษย์ก็มีกิเลส พระก็มีกิเลส ถ้าศาสนาเสริมสร้างมนุษย์ เราก็ต้องยอมรับความจริงข้อนี้ วิจักขณ์ พานิช – ผู้ท�ำงานด้านศาสนาเชิงลึก ในบทบาทของวิทยากรอบรมภาวนา a day bulletin issue 263 / 2-8 August 2013 (page 15)
ไม่วา่ ใครจะคาดหวังหรือไม่คาดหวัง รวมทัง้ คาดหวังว่าจะให้เป็นอย่างนัน้ อย่างนี้ พระพุทธศาสนาก็ยังคงเป็นศาสนาที่เปิดเผยความจริงซึ่งปรากฏอยู่ตามธรรมชาติ ตลอดจนแสดงระบบในการฝึกฝนเพื่อเข้าถึงความจริงที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาตินั้น ตัวอย่างเช่นอริยสัจสี่อันประกอบด้วยทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และ ข้อปฏิบตั ใิ ห้ถงึ ความดับทุกข์ทเี่ รียกว่ามรรคมีองค์แปด เมือ่ บุคคลพิจารณาเห็นว่าชีวติ ของตนเร่าร้อนเป็นทุกข์ จึงสละเหย้าเรือนออกบวชเพื่อฝึกตนให้พ้นจากความทุกข์ ตามหลักการของพระพุทธศาสนา สังคมไทยเรียกบุคคลที่ก�ำลังฝึกตนซึ่งยังมีกิเลส เต็มหัวใจว่า “พระ” เมื่อบุคคลนั้นพัฒนาตนจนพ้นจากความทุกข์ไปโดยล�ำดับ (เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน) สังคมไทยก็ยังคงเรียกบุคคลซึ่งมีกิเลสเบาบางหรือไกลจาก กิเลสนั้นว่า “พระ” เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เสริมสร้างมนุษย์อย่างค่อยเป็น ค่อยไป ไม่ว่าใครจะยอมรับหรือไม่ก็ควรจะรู้และเข้าใจความจริงข้อนี้
Stay Alive and Avoid Zombies /
19
‘ความยุติธรรม’ ไม่ได้ท�ำให้โลกนี้สงบร่มเย็น ‘การให้อภัย’ ต่างหากที่ท�ำให้คนในโลกนี้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เราต้องอย่าให้ ‘ความคับแค้น’ มาบดบัง ‘ความเมตตา’ หนุ่มเมืองจันทร์ - นักเขียน a day bulletin issue 169 / 14-20 October 2011 (page 36)
นอกจาก “การให้อภัย” จะท�ำให้ผู้คนบนโลกอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแล้ว “ความยุติธรรม” ก็เป็นองค์ประกอบส�ำคัญที่จะท�ำให้ผู้คนบนโลกอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุขและสงบร่มเย็น ผู้มีสติปัญญาสามารถด�ำเนินกระบวนการยุติธรรมได้โดย ไม่จ�ำเป็นต้องปล่อยให้ “ความคับแค้น” มาบดบัง “ความเมตตา” ดังตัวอย่างจาก ประเทศอินเดียทีน่ ยิ มน�ำมาเล่าสูก่ นั ฟังในกลุม่ ผูท้ ำ� สมาธิภาวนา ...สตรีนกั ปฏิบตั ธิ รรม ชาวอเมริกันผู้หนึ่งถูกชายขี้เมาลวนลาม เคราะห์ดีที่ผู้พบเห็นเหตุการณ์ช่วยไว้ได้ทัน เมื่อสตรีผู้นั้นเดินทางกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เธอจึงไปหาอาจารย์แล้วถาม ว่าเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ควรท�ำอย่างไร? อาจารย์ตอบว่าท�ำจิตของเราให้ เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาแล้วก็ใช้ร่มตีหัวเขา!!! เรื่องนี้อธิบายได้ว่า การ จะปล่อยให้คนอื่นมาท�ำลายความสงบสุขในชีวิตของเราเป็นเรื่องที่ไม่สมควร แต่การจะปล่อยให้ความโกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชังมาท�ำลายคุณงามความดีภายใน จิตใจของเราก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรเช่นกัน ขอสรุปเนื้อความจากธรรมบรรยายเรื่อง “แค่เมตตากรุณาคนไทยก็หลงป่า ไปไม่ถงึ มุทติ าอุเบกขาสักที” ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโฺ ต) มาเพือ่ การพิจารณาร่วมกัน “สังคมไทยเป็นสังคมทีห่ นักในด้านความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ โดยเฉพาะความเมตตากรุณา สังคมไทยใช้คำ� ว่าเมตตากรุณาในชีวติ ประจ�ำวัน กันจนฟุ่มเฟือย ใช้กันจนความหมายไม่ชัดเจน เมตตากับกรุณาต่างกันอย่างไรก็แยก ไม่ออก ด้วยความทีห่ นักในเมตตากรุณาจึงมีความรักใคร่ปรารถนาดีตอ่ กัน เป็นเพือ่ น เป็นมิตร ช่วยเหลือเกือ้ กูลกันในยามตกทุกข์ได้ยาก แต่ถา้ ช่วยเหลือกันจนไม่มอี เุ บกขา ธรรมมาคอยคุมไว้ก็จะเกิดการเสียดุล เพราะจะช่วยกันจนไม่มีขอบเขต หลักการ กฎเกณฑ์ กติกา ละเมิดกฎหมาย ละเมิดธรรมะ ละเมิดความถูกต้องเป็นธรรม สังคม ไทยจึงเป็นสังคมทีเ่ สียดุล นอกจากนีห้ ลายคนยังบ่นว่าสังคมไทยไม่คอ่ ยมีมทุ ติ า พบเห็น
Stay Alive and Avoid Zombies /
21
คนที่ประสบความส�ำเร็จหรือท�ำสิ่งดีงามก็ไม่ค่อยให้การสนับสนุน” ตามด้วยธรรมนิพนธ์จากหนังสือ “ประชาธิปไตยจริงแท้...คือแค่ไหน?” ของ พระเดชพระคุณฯ “เราให้อภัยได้แต่เราให้ความชอบธรรมไม่ได้ เราให้อภัยก็คือไม่มี ภัยจากเราแก่เขา แต่ความชอบธรรมหรือความผิดธรรม เป็นเรื่องของธรรม ไม่ขึ้น ต่อเรา เราเปลี่ยนมันไม่ได้ การให้อภัยนั้น มีการให้อภัยในจิตกับการกระท�ำภายนอก ซึง่ เป็นเรือ่ งการแสดงออก การให้อภัยในจิตเป็นเรือ่ งทีเ่ ราควรจะต้องท�ำและต้องออก มาจากภายในจิตใจ หมายความว่าเราจะไม่ถือเป็นเรื่องที่จะเอามากระท�ำการใดๆ ด้วยความเคียดแค้นชิงชัง แต่เป็นการกระท�ำเพือ่ รักษาธรรม เพือ่ รักษาประโยชน์ของ สังคม ซึ่งเรายังต้องท�ำ ตรงนี้ต้องแยกกันให้ออก”
22 / Keep Calm and Carry On
แทนที่จะถามว่าประชาชนส่วนใหญ่ เมื่อไหร่จะเรียนรู้วา่ อะไรดี อะไรไม่ดีกันได้สักที ชนชั้นปกครองควรเรียนรู้ที่จะหยุดบอกว่า อะไรดีหรือไม่ดีได้แล้ว อย่าเอาศีลธรรมอันดี มาปะปนกับการเลือกใช้กติกาและหลักการ ณัฐพงศ์ เทียนดี - พิธีกร Happening Magazine No.85 March 2014 (Page 31)
ผูค้ นบนโลกใบนีโ้ ดยเฉพาะอย่างยิง่ ในประเทศทีป่ กครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่วา่ จะอยูใ่ นสถานะใด ประกอบอาชีพใด หรือถูกบางใครจัดให้อยูใ่ นชนชัน้ หนึง่ ชนชัน้ ใด มีสทิ ธิเสรีภาพทีจ่ ะสือ่ สารไปถึงมนุษย์อนื่ ว่า “อะไรดีหรือไม่ด”ี ตามหลักการ ความ เชือ่ ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ของตน (Freedom of Speech) แม้แต่พระภิกษุ เองก็ได้เผยแผ่ความรู้ที่ว่า “อะไรดีหรือไม่ดี” ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา มานานกว่าสองพันห้าร้อยปี ส่วนมนุษย์อื่นที่เป็นผู้รับ “สาร” ก็มีสิทธิเสรีภาพที่จะ ยอมรับหรือไม่ยอมรับว่า “อะไรดีหรือไม่ดี” ตามหลักการ ความเชื่อ ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ของตนเช่นกัน การบอกให้คนนั้นคนนี้ “หยุดสื่อสาร” จึงเป็นสิ่งที่ ไม่สมควร เพราะเป็นการไปละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล สิง่ ทีส่ มควรก็คอื การเตือน สติให้มนุษย์สอื่ สารกันด้วยข้อเท็จจริง ปัญญา และเมตตาไมตรี เมือ่ บุคคลใช้สติปญ ั ญา ของตนพิจารณาจนลงใจว่า “อะไรดีหรือไม่ดี” เขาย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการให้การ สนับสนุนหรือปฏิเสธทีจ่ ะเข้าร่วมกิจกรรมกับบุคคลหรือองค์กรตามทีเ่ ขาเห็นสมควร ขอสรุปเนือ้ ความจากธรรมบรรยายเรือ่ ง “ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตย ไม่เจอ” ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เพื่อการพิจารณา ร่วมกัน “เพื่อให้ธรรมเป็นไปและบังเกิดผลต่อชีวิตและสังคม สมประสงค์ของเราให้ มากที่สุด เราจึงพยายามตั้งกฎของมนุษย์เช่นกฎหมายขึ้นมา เพื่อรองรับสนับสนุน ธรรมที่เป็นกฎธรรมชาติ (ความจริง ความถูกต้องดีงาม)” ตัวอย่างเช่น นาย ก. ปลูก ต้นมะม่วง ผลที่นาย ก. ควรจะได้รับก็คือการได้บริโภคผลมะม่วง สิ่งนี้เป็นความจริง หรือกฎธรรมชาติ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะนาย ก. อาจถูกนาย ข. ซึ่งแข็งแกร่งที่สุด ในปฐพีมาแย่งชิงผลมะม่วง เพราะฉะนัน้ เพือ่ ให้ความจริงหรือ “กฎธรรมชาติ” ด�ำเนิน ไปอย่างถูกต้อง (คนปลูกต้นมะม่วงได้บริโภคผลมะม่วง) มนุษย์จึงสร้าง “กฎหมาย” ขึ้นมา เช่นถ้านาย ข. ไปขโมยมะม่วงของนาย ก. หากถูกจับได้ต้องเสียค่าปรับ 5,000
24 / Keep Calm and Carry On
บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ หรือทั้งจ�ำทั้งปรับทั้งประหารชีวิต แต่มีความเป็นไปได้ที่ นาย ข. จะไปขโมยมะม่วงในขณะที่นาย ก. ก�ำลังนอนหลับเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับ ไปด�ำเนินคดี จากตัวอย่างที่ยกมาท�ำให้เห็นว่าแม้จะมีการก�ำหนดกฎกติกาและ บทลงโทษแต่กย็ งั เกิดปัญหา สิง่ ทีจ่ ะแก้ไขปัญหาได้อย่างขุดรากถอนโคนก็คอื “ศีลธรรม” เพราะเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ ในกรณีนี้ก็คือการให้นาย ข. ได้เรียนรู้ว่า สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา เนวชฺฌคา ปิยตรตฺตนา กฺวจิ เอวมฺปิ โส ปุถุ อตฺตา ปเรสํ ตสฺมา น หึเส ปรํ อตฺตกาโม ตรวจดูจิตทั่วทุกทิศแล้ว ไม่พบใครเป็นที่รักยิ่งกว่าตน แม้บุคคลอื่นก็รักตนเองมาก ฉะนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น
สังคมอังกฤษมีคณ ุ ค่าและหลักการทีส่ ำ� คัญเป็นพืน้ ฐานรองรับ ปวงชนทีอ่ าศัยอยู่ ในสหราชอาณาจักรควรให้ความเคารพ ตลอดจนให้การสนับสนุนคุณค่าและหลักการ เหล่านี้ ซึง่ จะเห็นได้จากความรับผิดชอบ สิทธิ์ สิทธิประโยชน์ของบุคคลทีม่ สี ถานะเป็น พลเมืองอังกฤษ หรือผู้อยู่อาศัยแบบถาวรในสหราชอาณาจักร คุณค่าและหลักการ ดังกล่าวมีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์และจารีตประเพณี คัดสรรจาก Thai Smile Magazine Vol.13, Issue 131, May-June 2014 (Page 39) แปลจาก Life in the United Kingdom: A Guide for New Resident (3rd edition) โดย ดร.คนึงนิจ การ์เน็ตท์
Stay Alive and Avoid Zombies /
25
สิ่งส�ำคัญในการคิดถึง Hate Speech (ถ้อยค�ำแห่งความเกลียดชังเช่นควายแดง สลิ่มฯ) คือส่วนใหญ่คนจะคิดว่าห้ามพูด แต่การห้ามพูด มันคือการกดมันลงไป กวาดปัญหาไว้ใต้พรม เอาอะไรปิดเตาถ่านไว้ ควันไฟมันก็จะขึ้นมาอีก มันต้องมีที่ให้ปล่อย แต่ปล่อยให้ถูกที่และถูกกาลเทศะ ดร.ชาญชัย ชัยสุโกศล – อาจารย์ประจ�ำศูนย์พัฒนาและศึกษาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล a day bulletin issue 293 / 28 Feb-6 Mar 2014 (page 15)
อาตมาเคยปฏิบัติธรรมร่วมกับคณะสงฆ์ชาวตะวันตกเป็นเวลา 2 ปีที่วัดป่าอภัย คีรี ส�ำนักสาขาของวัดหนองป่าพง ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ทุก สองสัปดาห์จะมีการประชุมที่เรียกว่า Circle Meeting หรือ Heart Meeting เป็น โอกาสให้พระได้เปิดอกคุยกันซึ่งจัดว่าเป็น Free Speech เพราะพระที่เข้าร่วม ประชุมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้ทุกเรื่อง แม้กระทั่งการวิพากษ์วิจารณ์ พระอาจารย์ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่นิยมปฏิบัติกันในวัฒนธรรมพุทธที่เมืองไทย เพราะเราจะ ยกครูบาอาจารย์ไว้เบื้องสูง Circle Meeting มีกติกาอยู่ว่าห้ามน�ำเรื่องที่พูดคุยกันไปแพร่งพรายให้ผู้ที่ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมรับรู้เป็นอันขาด เพราะฉะนั้นพระที่เข้าร่วมประชุมจึง Free Speech ได้อย่างเต็มที่ แต่ถึงกระนั้นการจะแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดก็ต้อง สอดคล้องกับหลัก “สัมมาวาจา-การพูดจาชอบ” คืองดเว้นจากวจีทุจริตอันได้แก่ ค�ำพูดโกหก ค�ำพูดส่อเสียด ค�ำพูดหยาบ ค�ำพูดเพ้อเจ้อ เท่าทีส่ งั เกตบรรยากาศในการ ประชุมอาตมาค่อนข้างมัน่ ใจว่า ไม่มพี ระรูปใดรูส้ กึ อึดอัดกับการปฏิบตั ิ “สัมมาวาจา” เพราะเราได้ใช้ปัญญาพิจารณาแล้วว่าค�ำพูดที่เป็นวจีทุจริตจะน�ำความร้าวฉานมา สู่คณะสงฆ์ และน�ำความอัปมงคลมาสู่ชีวิตของตัวเอง เราจึงเต็มใจที่จะฝึกตัวเอง ไม่ให้พูดในสิ่งที่เป็นวจีทุจริต โดยเทียบเคียงกับค�ำสอนของพระพุทธองค์และมี พระอาจารย์ผู้ผ่านการฝึกฝนมาก่อนคอยให้ค�ำแนะน�ำ (นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าเหตุใด ในวัฒนธรรมพุทธที่ประเทศไทยจึงยกครูบาอาจารย์ไว้เบื้องสูง) ถ้าใครรู้สึกอึดอัดกับการปฏิบัติสัมมาวาจาก็แสดงว่าผู้นั้นปฏิบัติผิดหรือปัญญา ยังไม่เกิด อุปมาเช่นเมื่อบุคคลเรียนรู้ว่าการบริโภคฟาสต์ฟู้ดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา นานจะท�ำให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง จึงพยายามลด ละ เลิก
Stay Alive and Avoid Zombies /
27
ส�ำหรับผู้ที่บริโภคฟาสต์ฟู้ดเป็นประจ�ำ เมื่อต้องลด ละ เลิก อาจรู้สึกอึดอัดบ้างใน ระยะแรก เนื่องจากต้องเอาชนะความเคยชินเก่าๆ แต่ถ้าเห็นโทษภัยอย่างชัดเจน แจ่มแจ้งบุคคลนัน้ ก็จะเกิดความมุง่ มัน่ และประสบความส�ำเร็จในทีส่ ดุ ในชีวติ ประจ�ำวัน ของผูป้ ฏิบตั ธิ รรมบางครัง้ อาจมีคำ� พูดทีค่ ลาดเคลือ่ นไปจากสัมมาวาจาอยูบ่ า้ ง เพราะ เรายังมีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ แต่สิ่งหนึ่งที่เรามีไว้ประจ�ำใจก็คือ “หิริโอตตัปปะความละอายและเกรงกลัวต่อบาป” ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาสัมมาวาจาและ ชีวิตด้านอื่นให้งอกงามยิ่งๆขึ้นไป “สัมมาวาจา” เป็นข้อปฏิบัติที่กินขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมการพูดทุกชนิด ของมนุษย์รวมทัง้ Hate Speech ซึง่ จัดเป็นวจีทจุ ริต จึงไม่ควรน�ำมาพูดหรือสือ่ สารไม่ ว่าจะเป็นกาลหรือสถานทีใ่ ด เพราะสิง่ ทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลัง Hate Speech คือเจตนาทีเ่ ป็น อกุศล ความโง่เขลา ความรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ แม้แต่คำ� พูดของกลุม่ KKK-คูคลักแคลนทีว่ า่ “เรามีความเห็นว่าคนต่างสีผิวไม่ควรอยู่ร่วมกัน” ก็เกิดจากโมหะคือการเลือกมอง เฉพาะบางแง่มุม ละเลยความจริงด้านอื่น ไม่เป็นไปเพื่อกุศลหรือสันติสุขของสังคม การเพ่งจ้องความแตกต่างท�ำให้เกิดการแตกแยก ด้วยเหตุนพี้ ระพุทธศาสนาจึงให้เรา มองในสิง่ ทีม่ นุษย์หรือสัตว์อนื่ มีรว่ มกัน นัน่ ก็คอื ความทุกข์อนั มีทมี่ าจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพื่อจะได้ไม่เบียดเบียนกันเพราะทุกชีวิตเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ มีความทุกข์ เบียดเบียนเป็นประจ�ำอยู่แล้ว จึงไม่ควรน�ำความทุกข์ไปเพิ่มให้กับชีวิตอื่นอีก นี่ไม่ใช่ การห้าม กดทับ กวาดปัญหาไว้ใต้พรม หรือเอาอะไรมาปิดเตาถ่าน แต่เป็นการใช้สติ ปัญญาพิจารณาอย่างรอบคอบจนมองเห็นประโยชน์ของการงดเว้น Hate Speech และเห็นความเสียหายที่จะตามมาหลังจากการถ่ายเท Hate Speech สู่ประชุมชน
28 / Keep Calm and Carry On
ศีลห้าที่มีนัยยะส�ำคัญ แก่สังคมปัจจุบัน ต้องเป็นข้อห้ามทางศีลธรรม ที่อยู่เหนือข้อห้ามของกฎหมาย มิฉะนั้นจะรับศีลไปท�ำไม ในเมื่อทุกคนก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายทั้งสิ้น ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ - นักวิชาการ http://www.matichon.co.th/news_detail.php? newsid=1336410078&grpid&catid =02&subcatid=0207
ค�ำว่า “ห้าม” ในภาษาไทยอาจจะให้ความรู้สึกรุนแรงและน่าอึดอัดไปสักหน่อย เมื่อน�ำมาใช้กับการถือศีล ในการแปลเป็นภาษาอังกฤษแทนที่จะใช้คำ� ว่า “Do not” คณะสงฆ์ชาวตะวันตกจึงใช้คำ� ว่า “Refrain” ซึง่ หมายถึง “การงดเว้น” เช่น “มุสาวาทา เวระมณีสิกขา ปะทังสะมาทิยามิ - I undertake the precept to refrain from fale and harmful speech” สาระส�ำคัญของการรับศีลคือการน�ำไปลงมือปฏิบัติ แล้วเทียบเคียงดูว่าก่อนและหลังการปฏิบัติมีความแตกต่างอย่างไรทั้งในส่วนบุคคล และสังคม หากบุคคลถือ “ศีล” ด้วย “ปัญญา” จะมีความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจ ดังจะเห็นได้จากการด�ำรงตนอย่างเป็นสุขของพระป่า ทั้งๆที่ท่านถือศีลมากมายถึง 227 ข้อและปฏิบัติข้อวัตรอื่นๆอีกนับร้อยนับพัน ความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจนี้เป็น สภาวะที่กฎหมายไม่สามารถหยิบยื่นให้แก่บุคคลได้ เพราะกฎหมายไม่ได้มาพร้อม กับสิ่งที่เรียกว่า “ปัญญา” กฎหมายระบุไว้แต่เพียงว่าห้ามท�ำอย่างนั้นอย่างนี้ หาก ฝ่าฝืนมีโทษอย่างนั้นอย่างนี้ แต่มนุษย์มีธรรมชาติส�ำคัญคือความต้องการอิสระเสรี เมือ่ ถูกบังคับหรือห้ามท�ำโน่นนัน่ นีก่ จ็ ะเกิดความรูส้ กึ อัดอัดและต่อต้าน นีเ่ ป็นจุดด้อย ของข้อห้ามทางกฎหมาย แม้หลักการจะมีอยูว่ า่ ทุกคนต้องอยูภ่ ายใต้กฎหมาย แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง กลับมีการฝ่าฝืนกฎหมายกันอย่างเอิกเกริก แต่ถงึ กระนัน้ กฎหมายก็ยงั เป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็น ส�ำหรับสังคม เพราะสมาชิกในสังคมมีความหยาบความละเอียดทางกาย วาจา ใจ ใน ระดับที่แตกต่างกัน บุคคลที่มีกาย วาจา ใจ ในระดับหยาบก็ต้องใช้กฎหมายบังคับ และมีบทลงโทษที่รุนแรงก�ำกับไว้ เพื่อไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายแก่สังคมส่วน รวม ทว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นโทษของการไม่มีศีลและเห็น ประโยชน์ของการถือศีล ก็จะน�ำศีลไปปฏิบตั ใิ นชีวติ ประจ�ำวันด้วยความเต็มใจ ศีลจึง เหนือชัน้ กว่ากฎหมายด้วยประการฉะนี้ ในทางตรงกันข้ามเราอาจกล่าวได้วา่ “ถ้าทุกคน ในสังคมมีศีลก็ไม่จ�ำเป็นต้องมีข้อห้ามทางกฎหมาย” 30 / Keep Calm and Carry On
เป็นที่ทราบกันดีว่าภูฏานมุ่งพัฒนาประเทศด้วยการยึด “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness หรือ GNH) เป็นส�ำคัญมาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 นโยบายและโครงการต่างๆจะจัดท�ำได้ก็ต้องผ่าน การประเมินก่อนว่าจะท�ำให้คนในชาติมีความสุขไหม ทั้งนี้การไม่ยึดการพัฒนาประเทศโดยการอิง GDP ก็เพราะ GDP วัดแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ค�ำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ หรือสุขภาวะของคนในชาติ ซึ่งดูเผินๆแล้วน่าจะดี
แต่การน�ำ GNH มาใช้บริหารประเทศมีปัญหาใหญ่คือ (1) เราจะวัด “ความสุข” อย่างไร และ (2) เห็นได้ชัดว่าไม่มีทางที่เราจะส�ำรวจความเห็นทุกคน ค�ำถามคือเรา จะไปสุ่มตัวอย่างคนที่ไหนมาวัดความสุข หรือพูดง่ายๆว่าจะไปถามใคร ในแง่นี้ แม้ GDP จะเป็นตัวชี้วัดการพัฒนาที่มีข้อบกพร่องหลายแง่ แต่ก็สามารถวัดได้จากข้อมูล ตัวเลขที่ชัดเจน เปรียบเทียบได้ ท�ำซ�ำ้ ได้ (ถึงกระนั้นค่าประเมิน GDP ก็ยังต้องมีการ แก้ตวั เลขหลังประกาศออกมาอยูบ่ อ่ ยครัง้ แล้ว GNH จะมีความคลาดเคลือ่ นเชิงระบบ เยอะขนาดไหน?) การวัดทีค่ ลุมเครือนีเ้ ปิดช่องว่างให้รฐั สามารถออกนโยบายได้แทบ จะตามอ�ำเภอใจโดยอ้างว่าท�ำไปเพือ่ ความสุขของคนในชาติ จะเห็นว่าประเทศภูฏาน เพิ่งเลิกแบนโทรทัศน์ (i.e. อนุญาตให้ประชาชนดูทีวี) เมื่อปี 1999 นี้เอง โดยในการ เลิกแบนดังกล่าวสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมีฯ ได้ทรงกล่าวเตือนพสกนิกรว่าการดูทีวี อาจจะน�ำมาซึ่งการเสื่อมเสียศีลธรรมอันดีของภูฏาน อาจกล่าวได้ว่าการไม่ได้ดูทีวี ไม่ได้รับข่าวสาร ไม่ได้ติดต่อโลกภายนอก ไม่มี เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะท�ำให้มี “ความสุข” น้อยลง เรา ต้องย้อนกลับมาที่ประเด็นข้างบนว่าอะไรท�ำให้ประชาชนมีความสุข อะไรคือวิธีการ วัดความสุขทีช่ ดั เจนและเปรียบเทียบได้ ซึง่ เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งถกเถียงกันต่อไป แต่ตวั เลข หนึ่งที่ Admin เสนอคืออัตราการตายของทารกแรกเกิดต่อทารกพันคนในกราฟ ซึ่ง แปรผกผันกับคุณภาพการสาธารณสุขในประเทศ จะเห็นว่าในนอร์เวย์มีทารกตาย ตอนแรกเกิด 2.8 คนในพันคนเท่านั้น ประเทศไทยตายเฉลี่ย 12 คนจากพันคน แต่คุณภาพชีวิตของภูฏานมีอัตราการ ตายของทารกอยู่ที่ 52.4 คนต่อพันคน หรือมากกว่าไทย 437% นอกจากอัตราการ ตายของทารกแล้ว อัตราการตายของเด็กวัยก่อน 5 ปีในภูฏานยังสูงมากด้วย กล่าว
32 / Keep Calm and Carry On
คือส�ำหรับเมืองไทยในจ�ำนวนเด็กทีร่ อดมาจากขัน้ ตอนการคลอดเฉลีย่ 13.5 คนในพัน จะตายก่อนอายุ 5 ขวบ แต่ที่ภูฏานจะตายไปเฉลี่ย 78.6 คน หรือมากกว่าไทย 580% (http://goo.gl/ADqKP) มีการกล่าวกันว่าชาวภูฏานมีความสุขที่สุดในโลก เพราะปรัชญาเศรษฐกิจ GNH ผู้ส�ำรวจคงไม่ได้ไปถามแม่ผู้สูญเสียลูกเป็นแน่ http://whereisthailand.info/2011/09/bhutan-infant-mortality/ หัวข้อ “ไทย-ภูฏาน: ความสุขมวลรวมประชาชาติ – ความสุขของใคร?”
ความพอเพียงมองได้สองอย่างคือวัตถุวสิ ยั (Objective) กับจิตวิสยั (Subjective) ด้านวัตถุวสิ ยั คือต้องมีกนิ มีใช้พออยูไ่ ด้ มีอาหาร เครือ่ งนุง่ ห่ม ทีอ่ ยูอ่ าศัย ยารักษาโรค มีปจั จัยสีพ่ อสมควรแก่อตั ภาพ ซึง่ ใกล้กบั ค�ำว่าพึง่ ตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ ส่วนด้าน จิตวิสัยก็ปรากฏว่าคนจะมีความพอเพียงไม่เท่ากัน บางคนมีเป็นล้านก็ยังไม่พอ แต่ บางคนมีนิดเดียวก็พอแล้ว สภาพปัจจุบันเราจะเห็นว่ามันไม่พอเพียงทั้งสองด้าน คนไทยส่วนใหญ่ที่เราบอกว่ายากจนค้นแค้นก็คือมันไม่พอเพียงด้านวัตถุวิสัย ของกินของใช้ให้พออยู่ได้ แค่นี้เขาก็ไม่ไหวแล้ว อย่างน้อยร่างกายของเขาก็ต้องมี สุขภาพดีจึงจะเรียกว่าพอเพียง หันมามองด้านจิตใจคนไทยก็ไม่พอเพียงเพราะมีการ สนับสนุนความโลภ กระตุน้ ความโลภ ก็ยงิ่ ขาดแคลนทวีคณ ู สภาพปัจจุบนั ของคนไทย กลายเป็นปัญหาสองชัน้ สิง่ ทีเ่ ราต้องการก็คอื ด้านวัตถุ เราสามารถตัง้ เกณฑ์ได้ไหมว่า แค่ไหนจึงจะเรียกว่าพอเพียงแก่การด�ำรงชีวติ อยู่ เช่นมีสขุ ภาพดีจนสามารถเกือ้ หนุน ให้ท�ำกิจกรรมอื่นๆได้เป็นต้น ส่วนด้านจิตใจ ความพอเพียงของคนส่วนใหญ่ก็ควรจะสอดคล้องกับความ
Stay Alive and Avoid Zombies /
33
พอเพียงด้านวัตถุ แต่มีคนจ�ำนวนหนึ่งซึ่งพัฒนาแล้วสามารถที่จะมีความพอเพียง ด้านจิตใจโดยมีวัตถุน้อยได้ คนทั่วไปมีเท่านี้จึงพอเพียง แต่คนที่พัฒนาด้านจิตใจ จะมีความพอเพียงได้ง่าย แม้มีวัตถุน้อยก็อยู่ได้ เป็นสุขง่าย ซึ่งแสดงถึงภาวะที่เขามี เรื่องอื่นที่จะต้องท�ำคือ (1) มีดีอื่นที่สูงขึ้นไป คนพวกนี้จะต้องมีปัญญามองเห็นว่ามี อะไรดีเหนือกว่าวัตถุทจี่ ะน�ำมาเสพมาบ�ำรุงบ�ำเรอ เขาต้องการจะเข้าถึงสิง่ ทีด่ งี ามกว่า (2) พอเพียงเพือ่ ทีจ่ ะสามารถช่วยเหลือเกือ้ กูลผูอ้ นื่ ได้ ถ้าไม่รจู้ กั พอเราก็จะดึงเอาจาก คนอื่นเรื่อยไป แต่ถ้าพอแล้วเราก็สามารถเอาส่วนที่เกินนั้นไปให้แก่ผู้อื่น ช่วยเหลือ สังคมหรือท�ำการสร้างสรรค์ต่างๆได้ คัดสรรจากธรรมบรรยายเรื่อง สนทนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ธรรมบรรยายโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
34 / Keep Calm and Carry On
หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องวิกฤตวัยกลางคน ที่เชื่อว่าพอถึงวัยที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ชีวิตจะเริ่มกลายเป็นเรื่องยากขึ้น ซึ่งเร็วๆนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ได้ออกมาเปิดเผยผลวิจัยที่สอดคล้อง กับความเชื่อดังกล่าว โดยทั่วไปความสุขของคนเรา จะมีลักษณะคล้ายๆกับตัว U คือค่อยๆลดลงเรื่อยๆ จนมาถึงอายุ 40-42 ปีที่จะลดลงต�่ำที่สุด ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆจนหมดอายุขัย โดยผลวิจัยนี้ท�ำการส�ำรวจผู้คนนับพันคน ใน 3 ประเทศคือออสเตรเลีย อังกฤษ และเยอรมนี a day bulletin issue 297 / 31 Mar-6 Apr 2014 (Page 11)
หลังจากได้อ่านข้อเขียนชิ้นนี้ ฉันในวัย 41 กะรัตจึงส�ำรวจตัวเองแล้วก็ท�ำให้พบ ว่าชีวติ ของฉันรวมทัง้ มนุษย์อนื่ ไม่สอดคล้องกับความเชือ่ และผลการวิจยั ข้างต้น เหตุ ทีว่ ยั กลางคนรูส้ กึ ว่า “ชีวติ เริม่ กลายเป็นเรือ่ งยากขึน้ ” ส่วนหนึง่ น่าจะเป็นเพราะอยูใ่ น ช่วงทีต่ อ้ งรับผิดชอบกิจการงานในหลายด้านพร้อมๆกัน เช่นการดูแลผูใ้ ต้บงั คับบัญชา การเอาใจใส่สมาชิกในครอบครัวฯ ซึ่งก็ไม่ต่างจากพระผู้ด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าอาวาสที่ มีงานประเดประดังเข้ามาไม่ขาดสาย เช่นงานก่อสร้างซ่อมแซมอาคาร งานบริหาร กิจการภายในวัด งานอบรมพระภิกษุสามเณร งานเผยแผ่ธรรมะ งานที่เกี่ยวข้องกับ พระฝ่ายปกครอง ตลอดจนการไปเยี่ยมเยียนให้ก�ำลังใจแก่ญาติโยมที่เจ็บไข้ได้ป่วยฯ แม้พระกับญาติโยมจะมีภาระในการรับผิดชอบต่อการงานต่างๆเหมือนกัน แต่สิ่งที่ แตกต่างกันก็คอื ความสุขของพระมิได้ขนึ้ อยูก่ บั การได้ตอบสนองต่อรูป เสียง กลิน่ รส สัมผัสเช่นคนทัว่ ไป ทว่าความสุขของพระหรือผูป้ ฏิบตั ธิ รรมอยูท่ จี่ ติ อันสงบปราศจาก เครือ่ งเศร้าหมองซึง่ เกิดจากการฝึกฝน หากปฏิบตั ถิ กู วิธคี วามสุขประเภทนีจ้ ะเพิม่ ขึน้ เรื่อยๆจนมีลักษณะคล้ายตัว I และมิได้ขึ้นต่อวัย ความสุขที่เกิดจากการได้ตอบสนองต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีลักษณะ คล้ายตัว O คือวนเวียนซ�้ำซาก และเข้ามาสัมพันธ์กับมนุษย์ทั้งปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย หากได้ตอบสนองตามที่ต้องการก็จะเกิดความสุข หากไม่สามารถตอบ สนองได้ตามที่ต้องการก็จะเกิดความอึดอัดขัดเคือง (ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือเมื่อ อินเทอร์เน็ตหรือเฟซบุค๊ ล่ม) และเมือ่ ย่างเข้าปัจฉิมวัยความสามารถในการตอบสนอง ต่อความสุขประเภทนี้จะลดลง เพราะประสิทธิภาพของเครื่องรับความสุขคือตา หู จมูก ลิ้น กาย เสื่อมคุณภาพและจะหมดอายุการใช้งานในที่สุด ช่วงหนุ่มเหน้าสาว สวยเราอาจจะมีความสุขกับการดูหนัง ฟังเพลง กิน ดื่ม เต้นร�ำ ใช้ชีวิตตามใจฝัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นเราก็เริ่มระแคะระคายว่าสังขารชักจะไม่อ�ำนวยต่อการแสวงหา
36 / Keep Calm and Carry On
ความสุขชนิดนั้น ผลการวิจัยที่ระบุว่า “ความสุขของคนเราจะลดลงต�่ำที่สุดเมื่อ อายุ 40-42 ปี ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆจนหมดอายุขัย” จึงตรงข้ามกับความจริง ที่ปรากฏอยู่ตามธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง
Stay Alive and Avoid Zombies /
37
บ่อยครั้งที่สังคมมักเชื่อว่าการส่งเสริมศีลธรรม จะท�ำให้คนในสังคมเป็น “คนดี” และหวังต่อไปว่า การเพิ่มจ�ำนวนคนดีจะช่วยลดเรื่องไม่ดีตา่ งๆลง (คอร์รัปชั่น อาชญากรรม ฯลฯ) แต่ปัญหาของแนวคิดนี้ คือเราไม่สามารถ ชั่ง ตวง วัด ความเป็น “คนดี” ของผู้คนได้ อีกทั้งการเป็นคนดีในแง่มุมหนึ่ง ก็อาจเป็นคนเลวในอีกแง่มุมหนึ่งได้เช่นกัน (เช่นโจรที่เลวก็อาจเป็นพ่อที่ดีได้ในคนเดียวกัน) ดังนั้นการมุ่งส่งเสริมศีลธรรม เพื่อหวังจะช่วยแก้ปัญหาสังคมนั้น อาจยังต้องเป็นข้อถกเถียงกันต่อไป เนื่องจาก ไม่สามารถหาหลักฐานข้อมูลทางสถิติมาสรุปได้ https://www.facebook.com/whereisthailand หัวข้อ ศีลธรรม GDP และอาชญากรรม
ถ้าคนในสังคมเห็นประโยชน์และน�ำศีลห้าไปลงมือปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวันจะ เกิดอะไรขึ้น? คอร์รัปชั่น อาชญากรรม ฯลฯ จะลดลงไหม? สังคมใดมีความอยู่เย็น เป็นสุขย่อมแสดงว่ามี “คนดี” เป็นสมาชิกอยู่ในสังคมนั้นเป็นจ�ำนวนมาก และสังคม ทีว่ า่ นีไ้ ม่ใช่ยโู ทเปียหรือเรือ่ งเพ้อฝัน แต่มอี ยูใ่ นโลกแห่งความเป็นจริงเช่นสังคมของวัด ป่าที่ปฏิบัติตามธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด รู้เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว จะหมกมุ่นหมักหมม อยู่กับจ�ำนวนนับเพื่อน�ำมาชั่ง ตวง วัด ความเป็น “คนดี” กันไปถึงไหนไทยแลนด์ สู้ เอาเวลาทีจ่ ะสูญเสียไปกับการหาหลักฐานข้อมูลทางสถิตใิ นเรือ่ งนี้ มาเพิม่ พูนคุณงาม ความดีในตัวเองจะคุม้ ค่ากว่า อย่างน้อยก็ปฏิบตั ศิ ลี ห้าให้ได้สม�ำ่ เสมอ จะได้พสิ จู น์กนั เป็นเรือ่ งเป็นราวเสียทีวา่ การเพิม่ จ�ำนวนคนดีจะช่วยลดเรือ่ งไม่ดตี า่ งๆในสังคมได้จริง หรือไม่ เริ่มที่ตัวเองนี่แหละง่ายที่สุด ส่วนในวงเล็บที่ว่า “โจรที่เลวก็อาจเป็นพ่อที่ดีได้ในคนเดียวกัน” ถ้าเขารู้ว่าการ เป็นพ่อที่ดีเป็นอย่างไร เขาคงจะไม่เป็นโจร เพราะการเป็นโจรนั้นเท่ากับว่า เขาได้ ปลูกฝังนิสัยโจรผ่านทางการกระท�ำค�ำพูดของเขาให้แก่ลูกทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ไม่ น่าแปลกใจเลยว่าเหตุใดสมาชิกของบางครอบครัวจึงเป็นโจรกันถ้วนหน้า นับเป็นการ ส่งต่อ “เรื่องไม่ดี” และสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่สังคมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
Stay Alive and Avoid Zombies /
39
วันนี้ (1 ส.ค. 2557) มีรายงานข่าวว่า องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ ปีการศึกษา2557 โดยมีนักศึกษาใหม่เข้าร่วมจ�ำนวนกว่า 4,000 คน โดยได้มีการท�ำข้อตกลงในการก�ำหนดรูปแบบ กิจกรรมรับน้องใหม่ ที่เน้นการสร้างความสามัคคี การฝึกความอดทน ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
การมีนำ�้ ใจต่อผูอ้ นื่ การมีระเบียบวินยั ในตนเอง การให้คำ� แนะน�ำในการใช้ชวี ติ ใน มหาวิทยาลัย การแข่งขันกีฬาน้องใหม่ การสอนร้องเพลงประจ�ำมหาวิทยาลัย ตลอด จนการพาน้องใหม่นั่งสมาธิ และสวดมนต์ไหว้พระ ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูป แบบการรับน้องแนวใหม่ ทีเ่ น้นสร้างสรรค์ อบอุน่ ประทับใจ ตามมาตรการการรับน้อง ทีก่ ระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายและมาตรการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้หลังจากที่มีการจัดกิจกรรมดังกล่าว อั้ม เนโกะ หรือนายศรัณย์ ฉุยฉาย นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีช่ แู นวคิดเรียกร้องเสรีภาพให้กบั นักศึกษา ได้โพสต์ ผ่านเฟซบุ๊คแสดงความคิดเห็นว่า สถานที่ของรัฐต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือของศาสนา ใดศาสนาหนึ่งอย่างเป็นทางการ เพราะรัฐไม่อาจสนับสนุนทุกศาสนาได้ จึงต้อง ไม่สนับสนุนศาสนาใดเลย แล้วหากอยากจัดกิจกรรมหรือชมรมใดๆก็ตามก็ต้องใช้ สิทธิอย่างเทียบเท่าชมรมอื่น รัฐและองค์กรของรัฐต้องไม่เข้าแทรกแซงด้วยการ เลือกที่รักมักที่ชังแก่ศาสนาใดศาสนาหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ของรัฐต้อง ไม่มีการบังคับเอาความเชื่อของศาสนาใดศาสนาหนึ่งขึ้นมาเป็นแก่นปฏิบัติหลัก http://news.mthai.com/hot-news/372116.html
ในการประชุมเศรษฐกิจโลกหรือ World Economic Forum ประจ�ำปี 2014 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 22-25 มกราคม 2014 ในช่วง เช้าของการประชุมวันที่สอง ได้จัดให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่ทรงอิทธิพลจากทั่วโลกราว 60 คน ท�ำสมาธิเป็นเวลา 30 นาที โดยมีพระ ดร.แมทธิว ริคาร์ด พระภิกษุชาวฝรัง่ เศส ทีบ่ วชในสายทิเบต เป็นผูน้ ำ� การท�ำสมาธิ ผูเ้ ข้าร่วมประชุมทัง้ หมดหลับตา อยูใ่ นอาการ
Stay Alive and Avoid Zombies /
41
สงบ ผ่อนคลายและเรียนรู้วิธีที่จะท�ำให้เกิดความสงบภายในจิตใจ ต่อจากนั้นโกลดี้ ฮอว์น นักแสดงหญิงชาวอเมริกันวัย 68 ปี เจ้าของรางวัล ออสการ์ ผู้ซึ่งปฏิบัติสมาธิในพุทธศาสนามาตั้งแต่ปี 1972 และได้จัดตั้งมูลนิธิขึ้น เพื่อสอนการท�ำสมาธิในโรงเรียนต่างๆ 5 ทวีป พูดถึงสาเหตุที่ทำ� โครงการสอนสมาธิ แก่เด็กๆในโรงเรียนว่า “ภายหลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2011 ซึ่งท�ำให้โลก ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เด็กๆของเราก�ำลังเผชิญหน้ากับโลกที่ฉันคิดว่า พวกเขาขาด สิง่ ทีจ่ ะรับมือกับมัน” ขณะเดียวกันดาราสาวใหญ่ยงั เอ่ยปากเรียกร้องต่อทีป่ ระชุมว่า “ขอให้ช่วยกันน�ำความมีมนุษยธรรมกลับคืนสู่ห้องเรียน” ด้านศาสตราจารย์ริชาร์ด เดวิดสัน จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้น�ำเสนอผลงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า คนที่ผ่านคอร์สการท�ำสมาธิจะ มีภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่สูงกว่าและทนต่อความเจ็บปวดได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ท�ำ สมาธิ นอกจากนี้การท�ำสมาธิตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยให้เด็กควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะท�ำผิดอาชญากรรมน้อยลง คัดสรรจากนิตยสาร ธรรมลีลา ปีที่ 14 ฉบับที่ 159 มีนาคม 2557 (หน้า 14) แปลและเรียบเรียงจากข่าวของส�ำนักข่าว AFP แหล่งข้อมูลอื่นๆ http://www.heraldsun.com.au/business/goldie-hawn-toutsmeditation-to-billionaires-and-world-leaders-at-davos/story-fni0d2cj1226809088219?nk=6f7a3d8a42ba08646b511d57db08d555
42 / Keep Calm and Carry On
ในหลายประเทศ รัฐบาลเข้ามามีบทบาท ในการก�ำหนดศาสนาประจ�ำชาติ ให้ความส�ำคัญ กับบางศาสนาเป็นพิเศษในฐานะศาสนาประจ�ำชาติ (เช่นก�ำหนดให้วันส�ำคัญทางศาสนา เป็นวันหยุดราชการ) ภายใต้ความเชื่อว่า ศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี ช่วยพัฒนา คุณภาพชีวิตประชากร ค�ำถามที่เราควรถามคือ ความเป็นรัฐศาสนา ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือไม่? อย่างไร? ซึ่งควรอภิปรายด้วยแผนที่รัฐศาสนาในโลก และแผนที่แสดงคุณภาพชีวิตประชากร ที่วัดด้วยดัชนีคุณภาพประชากร (Human Development Index หรือ HDI)
แม้เราจะเชื่อว่าศาสนาจะมีส่วนช่วยให้บุคคลหนึ่งๆเป็นคนดี แต่การก�ำหนด นโยบายของชาติจ�ำเป็นต้องใช้มากกว่าความศรัทธา ต้องใช้ข้อมูลที่วัดได้และพิสูจน์ ได้ ทัง้ นีอ้ าจเป็นทีถ่ กเถียงกันได้วา่ HDI ไม่ได้วดั ความเจริญทางจิตใจหรือคุณธรรม แต่ ความดี คุณธรรม ความสุข หรือความเจริญทางจิตใจนั้นเป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้และ วัดให้เป็นรูปธรรมได้ยาก ต่างจากอายุขัย การศึกษา และรายได้เฉลี่ย ที่สามารถวัด ได้เป็นตัวเลขชัดเจน จึงสามารถน�ำมาใช้ก�ำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวติ ของ คนในชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม ทีม่ า: https://www.facebook.com/whereisthailand หัวข้อ “รัฐศาสนาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวติ ?”
พ.ศ. 218 พระเจ้าอโศกมหาราชราชาภิเษกแล้วแผ่ขยายอาณาจักรออกไปจนได้ แม้แต่แคว้นกลิงคะทีเ่ ข้มแข็งยิง่ ยง กลายเป็นกษัตริยท์ ยี่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ และมีดนิ แดนกว้าง ใหญ่ไพศาลทีส่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์ของอินเดีย เมือ่ ตีแคว้นกลิงคะได้ในปีที่ 8 แห่งรัชกาล พระเจ้าอโศกทรงสลดพระทัยต่อความทุกข์ยากของประชาชน และได้หันมานับถือ วิถีแห่งสันติและเมตตาของพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชประกาศละเลิก “สังคามวิชยั -การมีชยั ด้วยสงคราม” หันมาด�ำเนินนโยบาย “ธรรมวิชยั -การมีชยั ด้วยธรรม” เน้นการสร้างสิง่ สาธารณูปโภค บ�ำรุงความสุข และศีลธรรมของประชาชน อุปถัมภ์บำ� รุง พระสงฆ์ สร้างวิหาร(วัด) 84,000 แห่ง เป็นศูนย์กลางการศึกษา และท�ำศิลาจารึกสือ่ สาร เสริมสร้างธรรมแก่ประชาชน ประกาศหลักการแห่งเสรีภาพแบบสมัครสมานทางศาสนา คัดสรรจากหนังสือ กาลานุกรม: พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก (หน้า 32 และ 34) ธรรมนิพนธ์โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
44 / Keep Calm and Carry On
เริ่มด้วยมองในวงแคบระดับไมโคร แบบจุลภาค ภิกษุสามเณรรายรูปกับรัฐ สมประโยชน์กนั โดยรัฐยอมรับสถานะของความเป็นภิกษุสามเณร ทีจ่ ะมีชวี ติ ความเป็นอยู่ ตามระบบธรรมวินัยของตน (พระเณรเดินทางไปในหลายประเทศมีสถานะที่รัฐนั้น ถืออย่างชาวบ้านทั่วๆไป) และให้มีสิทธิประโยชน์บางอย่างเช่นยกเว้นหรือลดครึ่ง ค่าโดยสารยานพาหนะตามที่ก�ำหนด (พร้อมกับเสียสิทธิบางอย่างหรือหลายอย่าง) ทีนี้มองกว้างออกไปในระดับแมโคร ขั้นมหัพภาค พระสงฆ์ทั่วไปมีหน้าที่สอน ธรรมให้การศึกษาแก่ประชาชน และมีชีวิตความเป็นอยู่ตามแบบแผนของตน แต่ก็ อยู่ในรัฐ ต้องอยู่ภายใต้อ�ำนาจการเมืองของรัฐ ไม่มีรัฐใดยอมให้ใครๆ รวมทั้งพระ สงฆ์แยกตัวพ้นออกไปจากอ�ำนาจการเมืองของตน (ในความหมายที่เคร่งครัดขั้นนี้ ไม่มีใครจะเหนือการเมืองไปได้) อย่างไรก็ดี ดังที่กล่าวแล้วว่าพระสงฆ์มีหน้าที่สอน ประชาชนให้มศี ลี ธรรม ไม่เบียดเบียนกัน ช่วยท�ำประโยชน์แก่สงั คมประเทศชาติ อยูด่ ี มีความสุข ทางฝ่ายรัฐก็มีหน้าที่จัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อย ไม่มีอาชญากรรม เป็นต้น ให้ประชาชนอยู่ดีมีความสุข นี่คือพระสงฆ์และรัฐมีประโยชน์ที่เป็นจุดหมาย ร่วมกัน ได้แก่มุ่งให้ประชาชนมีธรรม อยู่กันร่มเย็นเป็นสุข นี้เป็นความสมประโยชน์ ในความหมายที่ 1 ซึ่งเป็นธรรมดาที่ควรจะเป็นอย่างนั้น ด้วยเหตุนี้เมื่อพระสงฆ์สอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลในธรรม มีความขยันหมั่น เพียรในการประกอบการงานอาชีพที่สุจริต อยู่กันดีมีความสงบสุข อันเป็นการท�ำ ตามหน้าที่ของตน ก็เป็นการช่วยให้รัฐบรรลุจุดหมายของรัฐในการที่จะจัดการบ้าน เมืองให้ประชาชนอยู่กันดี มีความสงบสุข เมื่อเป็นอย่างนี้รัฐก็เห็นคุณค่าของพระ สงฆ์และต้องการส่งเสริมสนับสนุนให้พระสงฆ์มีก�ำลังและความสะดวกเป็นต้น ที่จะ ท�ำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้นซึ่งก็คือจะเกิดเป็นประโยชน์แก่รัฐให้ลุจุดหมายแห่งหน้าที่ของ
Stay Alive and Avoid Zombies /
45
รัฐได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง ดังนัน้ แม้วา่ ตามปกติพระสงฆ์จะอยูใ่ กล้ชดิ ประชาชน และประชาชนก็ดแู ลพระสงฆ์ เป็นพื้นอยู่แล้ว รัฐก็เสริมเข้ามาจัดการอุปถัมภ์บ�ำรุงพระสงฆ์ให้มีกำ� ลังที่จะท�ำหน้าที่ ได้ดียิ่งขึ้นไปอีก ครั้นเมื่อพระสงฆ์มีกำ� ลังพร้อมดีก็ทำ� หน้าที่ต่อประชาชนได้ผลยิ่งขึ้น เป็นการสมจุดหมายของตน พร้อมกับที่รัฐก็ยิ่งสมความมุ่งหมาย ท�ำให้เกิดประโยชน์ แก่กนั และในทีส่ ดุ คือประชาชนอยูร่ ม่ เย็นเป็นสุข อันเป็นประโยชน์แท้ทเี่ ป็นจุดหมาย ร่วมกันของทั้งสองฝ่ายคือทั้งของพระสงฆ์และของรัฐ นี่ก็เป็นการสมประโยชน์กันใน ความหมายที่ 1 เป็นขั้นเข้ามาสัมพันธ์กันในปฏิบัติการ คัดสรรจากหนังสือ ขว้างก้อนอิฐมา พัฒนาเป็นแก้วมณี (หน้า 23-25) ธรรมนิพนธ์โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
46 / Keep Calm and Carry On
คุณก�ำลังเอาวาทกรรม ดี เลว ชั่ว มาหลอกประชาชน นายกฯคนดีที่ไหน ที่ประชาชนไม่ได้เลือก เอก อัตถากร - แกนน�ำกลุ่ม Respect My Vote รายการคม ชัด ลึก 15/05/57 ตอนคนกลาง (4)
หลังสงครามยุติ เกาหลีใต้พยายามตั้งหลักพัฒนาประเทศอยู่ 8 ปีก่อนที่นายพล ปัก จุง ฮี จะยึดอ�ำนาจ นายพลปัก จุง ฮี บริหารประเทศอยู่ 18 ปีด้วยความมุ่งมั่น เด็ดเดี่ยวและปราศจากความฉ้อฉล (ประกาศใช้กฎอัยการศึกตลอดทั้ง 18 ปี) ซึง่ เป็นการกระท�ำตรงข้ามกับประเทศทีป่ กครองด้วยระบอบเผด็จการ เขาวางรากฐาน ในการพัฒนาส�ำเร็จจึงท�ำให้เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ขยายตัวต่อเนือ่ งอย่างน่าอัศจรรย์ เพียง 35 ปีหลังจากนายพลปัก จุง ฮี ยึดอ�ำนาจ เกาหลีใต้ได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม ประเทศอุตสาหกรรมชั้นน�ำ ซึ่งเท่ากับได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่ก้าวหน้า ทัดเทียมฝรั่งและญี่ปุ่น คัดสรรจากหนังสือ สู่จุดจุบ: The Coming Collapse of Thailand (หน้า 29) เขียนโดย ดร.ไสว บุญมา - อดีตนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจ�ำธนาคารโลก
ที่ว่าประชาชนเป็นใหญ่มีอ�ำนาจตัดสินใจนี้ การตัดสินใจนั้นวินิจฉัยด้วยเสียง ข้างมากคือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ เรื่องนี้มีข้อสังเกตสองอย่างคือ 1.ถ้าคนส่วนใหญ่เป็นคนโง่ เสียงข้างมากทีว่ นิ จิ ฉัยก็จะเป็นการตัดสินใจเลือกอย่าง โง่ๆ หรือแม้แต่เลือกไปตามที่ถูกเขาหลอกล่อ ท�ำให้ผิดพลาดเสียหาย แต่ถ้าคนส่วน ใหญ่เป็นคนดีมีปัญญา ก็จะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจเลือกถูกต้องเป็นผลดี จึงต้อง ให้ประชาชนมีการศึกษา เพื่อจะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจโดยใช้ปัญญา 2.ความจริงของสิ่งทั้งหลายย่อมเป็นอย่างที่มันเป็น มันย่อมไม่เป็นไปตามการ บอก การสัง่ การลงคะแนนเสียง หรือตามความต้องการของคน ดังนัน้ คนจะไปตัดสิน
48 / Keep Calm and Carry On
ความจริงไม่ได้ แต่เป็นหน้าที่ของคนที่จะต้องตัดสินใจเลือกสิ่งที่เป็นจริงหรือให้ตรง กับความจริง แต่คนที่จะท�ำอย่างนั้นได้ต้องมีปัญญา จึงต้องให้ประชาชนมีการศึกษา เพื่อจะได้เสียงข้างมากที่ตัดสินใจเอาสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง ขอย�ำ้ ว่า “เสียงข้างมากตัดสินความจริงไม่ได้” อันนีเ้ ป็นหลักธรรมดา “เราตัดสินใจ ไม่ใช่ตัดสินความจริง” เป็นไปไม่ได้ที่จะเอาเสียงข้างมากมาตัดสินความจริง หาก ย้อนหลังไปประมาณ 200 ปี ตอนนั้นถ้าไปถามคนทั้งหลายว่าโลกมีรูปร่างอย่างไร เขาจะบอกว่าโลกแบน คนตั้งร้อยล้านพันล้านบอกว่าโลกแบน แต่คนที่รู้และบอก ความจริงได้อาจมีเพียงคนเดียวและคนเดียวนั่นแหละถูกต้อง คัดสรรจากหนังสือ ประชาธิปไตยจริงแท้...คือแค่ไหน (หน้า 105-106) ธรรมนิพนธ์โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ผู้ได้รับการถวายรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพจากองค์การยูเนสโก ผู้ได้รับการถวายต�ำแหน่ง “เมธาจารย์” จากมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลก ผู้ได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก 15 สถาบันทั้งในและต่างประเทศ
Stay Alive and Avoid Zombies /
49
รัฐประหารแม้อาจเป็นสิ่งจ�ำเป็น ในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ก็มิใช่สิ่งที่ถูกต้อง (การที่แม่ขโมยอาหารมาประทังชีวิตลูกน้อย ที่ก�ำลังหิวโหย แม้เป็นสิ่งจ�ำเป็นแต่ก็ ไม่ใช่การกระท�ำที่ถูกต้องเช่นกัน) รัฐประหารครั้งนี้ แม้จะยุติปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆได้ (เช่นความวุ่นวายในบ้านเมือง จนเกือบเป็นอนาธิปไตยและใกล้นองเลือด รวมถึงนโยบาย ที่ก่อปัญหาแก่ประเทศ การทุจริตและใช้อ�ำนาจในทางมิชอบ ของนักการเมืองจ�ำนวนไม่น้อยฯลฯ) แต่มันเป็นจุดเริ่มต้น ของปัญหาใหม่ๆที่จะตามมาอีกมากมาย ซึ่งอาจรุนแรง กว่าปัญหาเดิม ใช่แต่เท่านั้นปัญหาเดิม ก็อาจผุดขึ้นมาใหม่
กลายเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างชั่วคราวเท่านั้น ดังที่เกิดขึ้นกับ รัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่าที่ผ่านมา การรื้อถอนของเก่าที่เป็นปัญหาออกไป เป็นเรื่องยากก็จริง แต่ที่ยากกว่าก็คือ การสร้างของใหม่ที่ดีกว่ามาแทนที่ โดยเฉพาะของใหม่ที่ได้มาด้วยวิถีแห่งอ�ำนาจ นี้คือสิ่งท้าทายอย่างยิ่งส�ำหรับผู้อยากเห็น อนาคตที่สดใสของบ้านเมืองหลังรัฐประหารครั้งนี้ พระไพศาล วิสาโล https://m.facebook.com/permalink.php?story _fbid=877284135621196&id=129633890386228
โฉมหน้าทางการเมืองได้พลิกผันเมือ่ นายพลปัก จุง ฮี เข้ายึดอ�ำนาจการปกครอง ในปี ค.ศ. 1961 นายพลกระดูกเหล็กได้สร้างความชอบธรรมในการปฏิวัติของเขา ด้วยประกาศแถลงการณ์ถึงเหตุผลของการท�ำรัฐประหารในครั้งนั้น และพิมพ์เป็น หนังสือชื่อ “เกาหลีใต้: การปฏิวัติและข้าพเจ้า” (The Country: The Revolution and I) พิมพ์ครัง้ แรกในปี 1962 ต่อมาพิมพ์ตดิ ต่อกันอีกหลายครัง้ และแปลเป็นภาษา ต่างๆอีกหลายภาษา หนังสือเล่มนี้มิใช่เป็นเพียงการแสดงถึงความเชื่อและความมุ่งมั่นของผู้เขียน เท่านัน้ แต่เป็นเสมือนพิมพ์เขียวทีใ่ ช้ในการด�ำเนินงานการพัฒนาประเทศเกาหลี เนือ้ ความของหนังสือทั้งเล่ม (ความยาว 191 หน้า) บรรจงเขียนเพื่อปลุกใจ โดยเกริ่นไว้ ในค�ำน�ำว่า สังคมเกาหลีมีอายุมากกว่า 5,000 ปี และได้ผ่านการปฏิวัติมานับครั้งไม่ ถ้วน แต่ทุกครั้งมิได้ท�ำให้สิ่งใดเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเลย ดังนั้นเกาหลีจึงอยู่ในสภาพอ่อนแอและถูกรุกรานจากต่างชาติที่ตั้งอยู่โดยรอบ เสมอมา ผู้เขียนจึงได้ยิงค�ำถามตรงๆว่า “เหตุใดจึงท�ำให้เราเป็นเช่นนี้?” และได้ให้ ค�ำตอบว่า “ที่เราเป็นเช่นนี้ก็เพราะจิตวิญญาณของคนในชาติตํ่า นิยมลอกเลียน ขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างชาติ มีการคอร์รปั ชัน่ กันอย่างกว้างขวาง ประชาชน นิยมความฟุ้งเฟ้อ ส�ำรวย และเกียจคร้านในการท�ำงาน” รองศาสตราจารย์ ดร. ด�ำรงค์ ฐานดี ผู้อ�ำนวยการศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง จากเอกสาร กรณีศึกษาประเทศเกาหลีใต้: บทความที่ 21 (หน้า 9-10) http://www3.ru.ac.th/korea/korean_wave_th/kwave21.pdf
52 / Keep Calm and Carry On
“อ�ำนาจตัดสินใจ” เป็นหัวใจของระบอบการปกครองนัน้ ๆ ใครมีอำ� นาจตัดสินใจ สูงสุดนั่นคือตัวก�ำหนดระบอบการปกครองนั้น ถ้าเป็น “ระบอบเผด็จการ” ก็คือ บุคคลเดียว ที่เรียกว่าผู้เผด็จการหรือผู้น�ำ มีอำ� นาจในการตัดสินใจ ถ้าเป็น “ระบอบ คณาธิปไตย” ก็คือหมู่คณะหรือกลุ่มบุคคล เป็นผู้มีอ�ำนาจในการตัดสินใจ ถ้าเป็น “ระบอบประชาธิปไตย” ก็คือประชาชนมีอ�ำนาจในการตัดสินใจ หรือว่าประชาชน เป็นเจ้าของอ�ำนาจตัดสินใจ เมื่อใครมีอ�ำนาจในการตัดสินใจก็ต้องให้คนนั้นตัดสินใจ บนฐานของ “ธรรมาธิปไตย” คือตัดสินใจด้วยเกณฑ์ของธรรมาธิปไตย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) จากหนังสือ ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ (หน้า 17)
เมือ่ ครัง้ เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช แม้จะยังไม่ทรงค้นพบวิธหี ลุดพ้นไปจาก ความแก่ ความเจ็บ ความตาย แต่พระองค์ก็ทรงมั่นในพระราชหฤทัยว่า “ธรรมดา สภาวะทั้งปวงย่อมมีของที่เป็นข้าศึกแก่กัน เช่นมีร้อนแล้วก็มีเย็นแก้ มีมืดก็มีสว่าง แก้ อุบายแก้ทุกข์สามอย่างนี้ก็พึงมีเช่นกัน” จากนั้นพระองค์ทรงทดลองบ�ำเพ็ญ ทุกรกิริยาอันเป็น “ของเก่า” ซึ่งเคยมีนักบวชในลัทธิอื่นๆปฏิบัติมาแล้ว ครั้นพบว่า นี่ไม่ใช่หนทางดับทุกข์จึงทรงกลับมาเสวยพระกระยาหารแล้วด�ำเนินทางสายกลาง บ�ำเพ็ญเพียรทางจิต ซึ่งนับว่าเป็น “ของใหม่” ในยุคนั้นจนกระทั่งตรัสรู้พระสัมมา สัมโพธิญาณ จากนั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนาและเผยแผ่อริยสัจจ์อย่าง กว้างขวางต่อเนื่องจนก่อเกิดคณะสงฆ์ แม้พระธรรมวินัยจะเป็นไปเพื่อสันติสุขของโลกแต่ก็มี “ปัญหาใหม่ๆ” ตามมา
Stay Alive and Avoid Zombies /
53
ให้แก้มากมายตัง้ แต่ครัง้ พุทธกาลจนกระทัง่ ปัจจุบนั (เพราะกิเลสของคนเป็นต้นเหตุ) นี้เป็นองค์ประกอบธรรมดาสามัญที่พ่วงมากับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ (สตีฟ จ็อบส์และ เพื่อนร่วมงานทราบเรื่องนี้ดี) พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยและจริยาวัตรต่างๆ ทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่และป้องกันปัญหาที่จะตามมาในอนาคต ตลอดจน บริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยพระปรีชาสามารถจวบจนเสด็จดับขันธปรินิพพาน จาก นั้นพระสงฆ์สาวกรุ่นหลังจึงรับช่วงสืบสานงานพระศาสนาต่อมาจนถึงพุทธศตวรรษ ที่ 26 เราควรน�ำเรื่องนี้มาเป็นอนุสติโดยไม่พึงกังวลกับ “ปัญหาใหม่ๆ” ที่ยังมาไม่ถึง จนกลายเป็นวิตกจริตบุคคลหวาดระแวงแสยงขนกับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้มี ความเป็นไปได้เช่นกันว่าชีวติ ของเราอาจไม่ยนื ยาวถึงวันที่ “ปัญหาใหม่ๆ” นัน้ ปรากฏ (สตีฟ จ็อบส์ ทราบเรื่องนี้ดีกว่าเพื่อนร่วมงาน) การสร้างของใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมาแทนที่ ของเก่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พระพุทธองค์ก็ทรงตัดสินพระทัยบากบั่นฟันฝ่าไปตามวิถีนี้ เนื่องจากทรงแจ้งประจักษ์แก่พระองค์เองแล้วว่า “ของเก่า” ที่มีอยู่นั้นไม่อาจน�ำไป สู่ความส�ำเร็จดังพระประสงค์ เราทั้งหลายพึงเจริญรอยตามปฏิปทานี้ด้วยความไม่ ประมาทให้สมกับที่เกิดมาบนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองกันเกิด บุคคลผู้กระท�ำความเพียรอยู่แม้จะตายก็ชื่อว่าไม่เป็นหนี้ คือไม่ถูกติเตียนในระหว่างหมู่ญาติ เทวดาและพรหมทั้งหลาย อนึ่งบุคคลเมื่อกระท�ำกิจของบุรุษอยู่ ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง - มหาชนกชาดก -
ป.ล. การที่แม่ขโมยอาหารมาประทังชีวิตลูกน้อยที่ก�ำลังหิวโหยนั้นไม่ได้เกิดขึ้น อย่างลอยๆ แต่มสี าเหตุหลายประการเชือ่ มโยงกันเช่น นโยบายทีก่ อ่ ปัญหาแก่ประเทศ
54 / Keep Calm and Carry On
การทุจริตและใช้อ�ำนาจในทางมิชอบของนักการเมืองจ�ำนวนไม่น้อยฯลฯ อนึ่งการ ด�ำเนินชีวิตไปบนหนทางสู่ความดับทุกข์โดยมีอนาคตสดใสเป็นเป้าหมายนั้นท้าทาย เสมอทั้งในระดับบุคคลและสังคม เปสโลภิกขุ
Stay Alive and Avoid Zombies /
55
ค�ำตาม
เปสโลภิกขุ : การเล่าเรียนเป็นยังไงบ้างครับ พระมหาฯ : ตอนนี้จบเปรียญธรรม 4 ประโยคแล้วครับ ก�ำลังเริ่มเปรียญธรรม 5 เรียนไวยากรณ์อย่างละเอียดและเรียนอภิธรรมด้วย กะว่าจะเรียนทัง้ หมด 3 ปีแล้วไป ค้นคว้าต่อเองได้ครับ อยากรู้พระพุทธพจน์มานานแล้ว กลัวเป็นแบบพระอาจารย์ บางรูปที่เอาพระพุทธพจน์ไปสอนแล้วพลาด ท่านตั้งใจสอนดีแต่เพราะไม่มีพื้นฐาน ภาษาบาลีท�ำให้เข้าใจผิดในหลายเรื่องครับ เดี๋ยวนี้โยมมาให้พระป่าสอนกันมาก ส่วนมากพระก็สอนจากประสบการณ์ตรงของตัวเองซึ่งบางทีอาจจะมีข้อจ�ำกัด ผมคิดว่าพึง่ พระพุทธเจ้าดีกว่า ผมไปอยูต่ ่างประเทศเคยเจอพระฝรัง่ บางรูปสอนตาม ความเห็นของตัวเอง ซึ่งถ้าพิจารณาสิ่งที่ท่านน�ำมาสอนแล้วไม่ถูกหลักของเถรวาท เท่าไรครับ ก็เลยอยากศึกษาจริงๆจังๆบ้าง ไม่อยากให้ตัวเองผิดอย่างนั้นครับ เปสโลภิกขุ : อนุโมทนาจริงๆครับและเห็นด้วยครับเรื่องภาษาบาลี ผมจ�ำได้ คร่าวๆว่าตอนที่ท่านมหาฯไปเรียนบาลีแล้วพระอุปัชฌาย์ทราบเรื่องนี้ ผมนึกว่าพระ อุปัชฌาย์จะดุเพราะเกรงว่าท่านมหาฯจะลืมเรื่องการภาวนา แต่พระอุปัชฌาย์กลับ บอกว่า “ดี...จะได้เป็นที่พึ่งของหมู่คณะ” ช่วงเข้ากรรมฐานฤดูหนาวที่ผ่านมาผมได้ อ่านหนังสือหลายเล่มเช่น “กรณีสันติอโศก” “กรณีธรรมกาย” “ขว้างก้อนอิฐมา พัฒนาเป็นแก้วมณี” และ “นักวิชาการเทศ-ไทย หาความรู้ให้แน่ใช่แค่คิดเอง” ของ หลวงพ่อเจ้าคุณประยุทธ์ (พระพรหมคุณาภรณ์ - ป.อ. ปยุตโฺ ต) ท�ำให้พบกรณีทเี่ ข้าใจ ผิดคิดเดาไปเองจ�ำนวนมาก บางกรณีเกิดจากความรู้ไม่พอ แต่บางกรณีก็จงใจท�ำให้ ผิดเพี้ยนเพราะมีจุดประสงค์แอบแฝง ผมเคยฟังสัมภาษณ์ลูกศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงพ่อชา ท่านไม่ได้เรียนบาลี ท่าน
Stay Alive and Avoid Zombies /
57
ภาวนาดูจิตของตัวเองแบบพระวัดป่าทั่วไป แต่ท่านมีหลักอยู่สองข้อเพื่อป้องกัน ความผิดพลาดคือ (1) อะไรที่สงสัย ท่านไม่ทำ� จนกว่าจะได้ค้นคว้าหรือสอบถามผู้รู้ ให้แน่ใจ (2) อะไรที่ครูบาอาจารย์ไม่พาท�ำ ท่านไม่ท�ำ ผมพิจารณาแล้วเห็นว่าสอง ประการนี้ป้องกันความผิดพลาดได้ โดยเฉพาะข้อที่สอง เนื่องจากบางครั้งแม้จะได้ สอบถามเทียบเคียงกับผู้รู้แล้ว แต่กิเลสซึ่งมีก�ำลังมากมันก็ยังลับ ลวง พราง ไม่ให้ เราด�ำเนินไปตามวิถีทางที่ถูกต้อง ทว่าด้วยความเคารพในตัวครูบาอาจารย์ “อะไรที่ ครูบาอาจารย์ไม่พาท�ำ เราไม่ทำ� ” จะช่วยให้เราผ่านสถานการณ์อันยากล�ำบากไปได้ สาเหตุทผี่ มให้คำ� จ�ำกัดความเฟซบุค๊ ของตัวเองว่า “ร่วมวงศึกษาพุทธศาสนาเถรวาท” เนื่องจากปัจจุบันผมพบว่ามีพระอาจารย์หลายรูปมักจะเอาโน่นนั่นนี่มาผสมพันธุ์กับ เถรวาท เช่นแนวธิเบต พม่า หรือหมู่บ้านพลัมฯ ซึ่งอาจจะดีสำ� หรับท่านหรือลูกศิษย์ ของท่านก็ได้ แต่โดยส่วนตัวผมต้องการจะเจาะจงลงไปให้ชัดเจนว่า “พุทธศาสนา เถรวาท” ในแบบ “วัดป่าสายหลวงพ่อชา” ผมเกิดและโตที่นั่น จึงอยากเป็นอีก เรี่ยวแรงหนึ่งในการรักษาแนวทางนี้ไว้ครับ การสอนจากประสบการณ์ตรงมีขอ้ ด้อยคือถ้าผูส้ อนบารมีไม่เยอะ ผูร้ บั สารมักจะ เหมาว่าเป็นเพียงความคิดเห็นหรือการตีความ เมือ่ เป็นความคิดเห็นหรือการตีความ ใคร ก็คดิ เห็นได้ตคี วามได้ แต่ถา้ ผูส้ อนบารมีสงู ส่งเช่นหลวงพ่อชา การสอนจากประสบการณ์ ตรงจะถึงใจกว่าการสอนแบบถอดเนื้อความจากต�ำรา แต่ถ้าผู้สอนยังอยู่ในระหว่าง สั่งสมบารมี การอ้างอิงพระพุทธพจน์จะหนักแน่นกว่าครับเพราะมีหลักฐานมีข้อยุติ ท�ำให้ไม่ตอ้ งต่อล้อต่อเถียงกันยืดยาว ทัง้ นีท้ งั้ นัน้ ผมก็ยงั ร�ำลึกถึงอุปมาของหลวงพ่อชา ที่ว่า “ถ้าเรารู้จักมะขามป้อมอย่างถ่องแท้ วันหนึ่งเมื่อเห็นผลไม้หลายชนิดรวมอยู่ใน กระจาด เราจะสามารถหยิบมะขามป้อมขึน้ มาได้ทนั ที” หมายความว่าเมือ่ เราปฏิบตั ิ จนรู้ว่า “อะไรเป็นอะไร” แล้ว ไม่ว่าใครจะอ้างพระพุทธพจน์หรือประสบการณ์ตรง
58 / Keep Calm and Carry On
เราก็จะสามารถจ�ำแนกได้ทันทีว่าสิ่งนี้เป็นไปเพื่อความดับทุกข์หรือไม่
Stay Alive and Avoid Zombies /
59
เปสโลภิกขุ 2516 2536 2539 2553-2554 2555 2556 2557
เกิดที่อำ� เภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เรียนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บวชที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี จ�ำพรรษาที่วัดป่าอภัยคีรี ประเทศสหรัฐอเมริกา พ�ำนักอยู่ตามส�ำนักสาขาของวัดหนองป่าพงในประเทศไทย จ�ำพรรษาที่วัดป่าจิตตวิเวก ประเทศอังกฤษ พ�ำนักอยู่ตามส�ำนักสาขาของวัดหนองป่าพงในประเทศไทย
ผลงานจัดพิมพ์เป็นธรรมทาน 2550 Dhamma Design Issue 1: Experimental, บทกวีในที่ว่าง Dhamma Design Issue 2: Evolution, แดนสนทนา 2551 2552 เรื่องเป็นเรื่อง, หนึ่งร้อย, เรื่องของเรา, เสียงฝนบนภูเขา, Poems on the Road Pesalocation 2553 2554 Fearless Diary + Spring Talk, To be Awake + Enchanted Hiking 2555 The Organic Experience, จุดชมวิว + 38 วัน ฉัน ซิดนีย์ 2556 บทกวีในที่อื่น, สาส์นจากความเงียบ 2557 ยุโรปสบตาหนุ่ม, ทูตยามวิกาล
60 / Keep Calm and Carry On
ผลงานจัดพิมพ์เพื่อการจ�ำหน่าย 2553 Dhammascapes (ส�ำนักพิมพ์พาบุญมา) 2556 อะไรเป็นอะไร (ส�ำนักพิมพ์โพสต์บุ๊คส์) 2557 เมื่อเกรียนไปเรียนธรรม (ส�ำนักพิมพ์อัมรินทร์ธรรมะ) 2557 สัตว์สอนธรรม (ส�ำนักพิมพ์ฟีลกู๊ด) 2557 อเมริกาประสาหนุ่ม (ส�ำนักพิมพ์โพสต์บุ๊คส์)
Stay Alive and Avoid Zombies /
61
Designed by
Dhamma
Design Club
in Ubon Ratchathani
เรียนรูธ รรมะจากวาทกรรมในโลกไซเบอรกบ ั เปสโลภิกขุ