The_Organic_Experience-issuu

Page 1

เปสโลภิกขุ + แขกรับเชิญ

The Organic EXperience ประสบการณ์สุกสดของภิกษุหนุ่ม

จากบางมุมของอเมริกา




The Orga สารบัญ Fearless Diary 2 บันทึกพลัดหล่นบนแผ่นดินอเมริกา Spiritual Journey in California แคลิฟอร์เนีย : เดี่ยวธุดงค์คงไม่ลืม Take a Seed หนึ่งร้อยเมล็ดพันธ์ุบันดาลใจ A Cup of Wisdom ธรรมกถาคัดสรร

006

141 173 220


anic


EXPER แด่...บ้านเกิดเมืองนอน


ปั้นเรื่องและสร้างภาพ  เปสโลภิกขุ แขกรับเชิญ  ยติโกภิกขุ ออกแบบปกและรูปเล่ม  Dhamma Design Club พิสูจน์อักษรภาษาไทย  มานี มีตา พิสูจน์อักษรภาษาอังกฤษ  มนาโปภิกขุ และ ธมฺมทีโปภิกขุ คอมพิวเตอร์กราฟิก  ibeepdesign@gmail.com จัดพิมพ์เป็นของขวัญธรรมะครั้งแรก  มีนาคม ๒๕๕๕ จ�ำนวน  หนึ่งพันเล่มส�ำราญ สงวนลิขสิทธิ์  2012 © Dhamma Design Club สืบค้นภาพถ่ายหลักฐานได้ที่  http://fearlessdiary.exteen.com สืบหาเปสโลภิกขุได้ที่  peslo123@yahoo.co.th พิมพ์ที่  ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 02-433-0026-7

RIENCE


6 เปสโลภิกขุ


Fearless Diary 2


“เราอาจจะได้แง่คิดข้อสังเกตอะไรๆที่ดี เป็นความรู้ที่จะกลับมาช่วยพัฒนาสังคมไทย พัฒนากิจการพุทธศาสนาในประเทศไทย เราก็ค�ำนึงไว้ด้วย อย่าทิ้ง” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) จากหนังสือ พระธรรมฑูตไทยเบิกทางสู่อารยธรรมใหม่

8


วัดป่าอภัยคีรกี อ่ ตัง้ มาเป็นระยะเวลากว่า 15 ปี ปัจจุบนั มีชาวอเมริกนั เป็นจ�ำนวนมากเดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ ในบาง โอกาสจะมีพระภิกษุชาวไทยมาพ�ำนักกับเรา และเราก็พยายามทีจ่ ะ นิมนต์ทา่ นอยูเ่ สมอ การมีพระภิกษุชุ าวไทยอยูด่ ว้ ยเป็นคุณปู การอย่าง มากต่อคณะสงฆ์ เพราะท่านเป็นตัวอย่างที่ดีส�ำหรับชาวตะวันตก ในด้านคุณประโยชน์ของการได้เติบโตในวัฒนธรรมพุทธศาสนา คุณค่าและมุมมองทีม่ าจากการเติบโตในวัฒนธรรมแบบพุทธ ได้ฝงั รากลึก และเป็นส่วนหนึง่ ในชีวติ ประจ�ำวันของคนไทย วิถชี วี ติ ทีแ่ นบ แน่นอยูก่ บั หลักธรรมค�ำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นนี้ จะเป็นสิ่งที่น�ำไปสู่การเข้าถึงสัจธรรม แต่ส�ำหรับพระภิกษุ สามเณรตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาชาวอเมริกัน สิ่งเหล่านี้ยัง เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ความสมัครสมานสามัคคีและตัวอย่างที่ พระภิกษุชาวไทยน�ำมาสู่ชาวตะวันตก เป็นสิ่งที่เราชื่นชมและ หวังว่าจะสามารถสานต่อความสัมพันธ์นี้ได้ไปอีกยาวนาน พระอาจารย์ปสันโน เจ้าอาวาสวัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

9


ค�ำน�ำ หนังสือสองเล่มสี่รสที่ชื่อ Fearless Diary + Spring Talk และ To be Awake + Enchanted Hiking เป็นผลิตภัณฑ์จากประสบการณ์ ของข้าพเจ้า ขณะปฏิบัติศาสนากิจอยู่ที่วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ส�ำนักสาขาในต่างประเทศ ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างปลายเดือน มกราคมถึงสิ้นเดือนกันยายน พ.ศ.2553 ส่วน Fearless Diary 2 เป็นภาคเสริมที่คัดสรรจากเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งโคจรมาปะทะนานาอิริยาบถของข้าพเจ้าบนแผ่นดินเดียวกัน ระหว่างต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ไม่ต้องร�่ำลือให้ลือลั่นก็คงพอจะระแคะระคายแล้วว่า Fearless Diary 2 คือรายงานอย่างไม่เป็นทางการฉบับสุดท้าย ของพระธรรมฑูตไทยตัวเล็กๆรูปหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ก�ำลังเอกเขนกอยู่ บนแผ่นดินเกิดด้วยความสวัสดี เปสโลภิกขุ

10


ค�ำ (อนุรักษ์) นิยม เหตุผลเดียวที่ข้าพเจ้าตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอเมริกัน ก็เพียงเพราะต้องการให้สอดคล้องกับงานเขียนขบวนแรก หลังจากขบเคี้ยวขนมปังทาเนยถั่วสลับน�้ำปลาพริกบีบมะนาว เฉียดเข้าใกล้สองขวบปี รสชาติที่คุ้นลิ้นมานานของอาหาร ประเภทหลัง ก็ท�ำให้ข้าพเจ้าเฝ้าครุ่นคิดถึงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมที่ เมืองไทย  ไม่วา่ จะเป็นพุทธศาสนาเถรวาท  ข้อวัตรปฏิบตั ขิ องพระป่า สายหลวงพ่อชา วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งสถาปัตยกรรม ล้วน ฉายชัดเจนอยู่ในความทรงจ�ำ แล้วข้าพเจ้าก็ร�ำพึงร�ำพันล�ำพังว่า ถ้าพวกเรากันเองมองไม่เห็นคุณค่าของภูมปิ ญ ั ญาทีห่ ล่อหลอมเรา มาตั้งแต่เล็กจนโตและร่วมใจกันออกแรงรักษา เราจะให้นกอินทรี ทีฟ่ ากฟ้าใดมาช่วยดูแล  นีอ่ าจเป็นเพียงความคิดเห็นซือ่ ๆทีก่ ระฉอก ออกมาตามวัย แต่ถึงกระนั้นข้าพเจ้าก็รู้สึกชื่นใจที่ได้มาเกิดใน ดินแดนซึ่งอบอวลไปด้วยวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา เปสโลภิกขุ (เจ้าเดิม)

11



... Asubha วันนี้ที่วัดป่าอภัยคีรีมีการจัดอบรมปฏิบัติธรรมเป็นพิเศษในหัวข้อ อสุภกรรมฐาน ซึ่งหมายถึงการพิจารณาให้เห็นว่า ร่างกายเป็น ของไม่งาม เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูลโสโครก มีทั้งการบรรยายธรรม และฉายสไลด์ภาพศพในลักษณะต่างๆ เมื่อสิ้นสุดการอบรม ข้าฯ ถามอุบาสิกาผูห้ นึง่ ว่ารูส้ กึ อย่างไร? เธอตอบว่า “ผะอืดผะอม” และ เพื่อเป็นการเสริมบรรยากาศในช่วง Tea Time ญาติโยมใจดีจึงจัด แคนดี้หนุบหนับซึ่งประดิษฐ์เป็นรูปอวัยวะต่างๆของร่างกายเช่น ลูกตา นิ้ว โครงกระดูก มาให้ผู้เข้าอบรมได้อมแก้อืด นับว่าเป็น อุบายที่ร้ายกาจมากมาย

... Midnight Tea Story เหตุการณ์ปรกติในวันพระส�ำหรับชาววัดป่าอภัยคีรีก็คือการ ปฏิบตั ิธรรมตัง้ แต่หวั ค�่ำยันสว่าง ในวงการจะมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “เนสัชชิก” หรือ “All Night Practice” ช่วงเที่ยงคืนจะเป็นเวลาพัก ฉันน�้ำชาชุดใหญ่และแบ่งปันประสบการณ์ในการปฏิบัติธรรม คืนนี้มีญาติโยมอยู่ร่วมเนสัชชิก 5 ท่าน หัวข้อในการสนทนาธรรม 13


ส�ำหรับคืนนี้เริ่มต้นจากพระที่เดินทางไปร่วมฟังหลวงพ่อทะไล ลามะเทศน์ที่มหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด ซึ่งต้องซื้อบัตรในราคา 120 ยูเอสดอลล่าร์ (นักบวชลดพิเศษ 70%) ในงานนี้มีผู้เข้าร่วม กว่า 6,000 คน หลวงพ่อใช้เวลาเทศน์ประมาณ 1.5 ชั่วโมง หลัง จบการเทศนา หลวงพ่อได้มอบปัจจัยให้กับโครงการวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้วย ในคืนนีม้ เี รือ่ งเล่าทีก่ ระตุกความ ง่วงเหงาหาวนอนของข้าฯได้อย่างยอดเยี่ยมอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งมา จากค�ำบอกเล่าของอุบาสิกาฝรัง่ สูงอายุ…เด็กผูห้ ญิงอายุประมาณ 5 ขวบได้รบั บริจาคหัวใจจากโรงพยาบาลแห่งหนึง่ ในลอสแซนเจลิส หลังจากผ่าตัดเปลีย่ นหัวใจได้ไม่นาน เด็กก็เริม่ มีอาการฝันร้าย เรือ่ ง ที่ฝันเป็นเรื่องเดิมๆซ�้ำๆคือฝันถึงเหตุการณ์ฆาตกรรม เด็กมีอาการ ฝันร้ายติดต่อกันหลายวันจนพ่อกับแม่ต้องพาไปพบหมอ ในที่สุด ก็สืบทราบว่าหัวใจที่ก�ำลังเต้นอยู่ในทรวงอกของเด็กคนนี้ ทาง โรงพยาบาลได้รับมาจากผู้บริจาคคนหนึ่งซึ่งถูกฆาตกรรม ข้อคิดเห็นจากคุณป้าเอ็กซิสต์ : จิตกับกายมีความสัมพันธ์อย่างไร กันแน่? ในเมื่อกายเป็นรูป จิตเป็นนาม เพราะฉะนั้นการระลึกรู้ ไม่น่าจะระบุได้ว่ามาจากอวัยวะส่วนใด เรื่องนี้น่าสนใจมาก เจ้าค่ะ อ่านแล้วคิดถึงเพื่อนที่เรียนปรัชญาคนหนึ่ง เขาพยายาม ท�ำวิทยานิพนธ์เรื่องจิตในคอมพิวเตอร์ ถ้าเขาอ่านกรณีนี้ คงสลบ ไปเลย…นมัสการเจ้าค่ะ

14


ข้อคิดเห็นจากเปสโลภิกขุ : พระฝรั่งบอกว่ามีหนังสือเกี่ยวกับกรณี คล้ายๆอย่างนีช้ อื่ ว่า Twenty Cases Suggestive of Reincarnation โดย Dr.Ian Stevenson ส�ำนักพิมพ์ University of Virginia Press แต่อาตมาเสนอว่า ถ้าจะเรียนรู้สิ่งใดก็เลือกเรื่องที่ส�ำคัญจริงๆกับ ชีวิตของเราดีกว่า เพราะเราทุกคนมีเวลาจ�ำกัด เรื่องที่น่าเรียนรู้ ก็อย่างเช่น ชีวิตคืออะไร? ชีวิตเป็นอย่างไร? ชีวิตเป็นไปอย่างไร? ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร? และชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร?

... Good Enough โยม : ตอนนีโ้ ยมก�ำลังตามหานิตยสารสารคดี ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ให้พระที่วัดอยู่คะ เพราะมีคนหยิบไปอ่านแล้วหาย ไปจากห้องสมุดของวัด เล่มนี้เขียนถึงประวัติหลวงปู่มั่น โยมลอง ติดต่อไปที่ส�ำนักพิมพ์เค้าบอกว่าหมดเกลี้ยง ต้องไปหาตามร้าน หนังสือมือสอง นี่ก็หาเป็นสิบร้านแล้วคะ แต่ไม่มีหรือบางร้านมี ก็ไม่ยอมขาย เค้าบอกว่ามีเล่มเดียวจะเก็บไว้ ก็เลยบอกให้เค้า ช่วยหาจากเพื่อนๆของเค้าอีกที แทบพลิกแผ่นดินหาเลยคะ ช่วง กลางวันโยมว่าจะไปหาที่จตุจักร ถ้าไม่มีก็จะไปดูที่งานสัปดาห์ หนังสือ ถ้าเจอนะ จะเหมามาเลย ท่านรับสักเล่มไหมคะ?

15


เปสโลภิกขุ : หลายปีมาแล้วมีคนน�ำสุนัขตัวหนึ่งมาปล่อยที่วัด อาตมาจับสุนัขตัวนั้นไปปล่อยที่อื่นแต่มันก็ยังกลับมาได้อีก อาตมาจึงจับมันไปปล่อยอีก เหตุการณ์ด�ำเนินไปเช่นนี้ถึง 5 ครั้ง แต่อาตมาก็ไม่ยอมแพ้ จนกระทั่งประสบความส�ำเร็จในครั้ง ที่ 6 ขณะที่อาตมาก�ำลังภูมิใจในความเพียรของตัวเอง ท่าน พระอาจารย์ก็เคาะกบาลเบาๆว่า “ชื่อว่าการงานก็ใช่ว่าจะต้อง ท�ำความเพียรไปเสียทุกอย่าง แต่ต้องพิจารณาดูก่อนว่า มัน คุ้มค่ากันไหมกับเรี่ยวแรงก�ำลังที่ทุ่มเทลงไป เมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่าคุ้มค่า จึงประกอบความเพียรในกิจการงานนั้น” หนังสือ ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาตมาเคยอ่านเพียงเล่มเดียวคือ ฉบับที่เขียนโดยพระเดชพระคุณพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน) ซึ่งมีพลังและละเอียดละออเพียงพอแก่ การปลุกปลอบเร้าใจผู้ปฏิบัติธรรมให้อาจหาญร่าเริง ... ดวงเหนือคน โยม : นมัสการค่ะ…เมื่อไม่นานมานี้น้องสาวบ้านใกล้ผู้ชื่นชอบ การดูดวง (ซึ่งเป็นธรรมชาติของผู้หญิง) ชวนไปท�ำบุญด้วย ความจริงเธอจะไปดูดวงน่ะค่ะแต่เอาเรื่องท�ำบุญมาอ้าง เธอว่า หลายคนบอกหลวงพ่อท่าน โค-ตะ-ระ แม่น ไปเป็นเพื่อนหน่อย นะป้า เราก็ลูกอ่อนแต่ก็ต้องกระเตงไปเป็นเพื่อนกันเพราะอยาก 16


ท�ำบุญ อุแม่เจ้า! วัดเงียบมากกกกกกก เราก็ไหว้ๆน้อมจิตน้อมใจ ท�ำบุญกันไปจนใกล้จะกลับ มีหลวงพ่อท่านหนึ่ง ออกมาถามว่า ดูดวงเร๊อะ? มาทางนี้…ทางกุฏิ ในใจเราคิด…อึดอัดจริงน๊อ… ท�ำไมหลวงพ่อดูน่ากลัว ไม่ใช่น่ากลัวแบบน่าเกรงขามแต่น่ากลัว แบบสยดสยอง เราบอกน้องเบาๆ นางเอย…เมือบ้านเถิดเฮา (กลับบ้านเต๊อะ) แต่เธอก็ดึงดันจะดู เราคิดในใจ..ถ้าปล่อยให้ คุณนายเธอมาเอง จะเป็นไงบ้างน๊อ…นางเอย หลวงพ่อบอกว่าให้เปลี่ยนชื่อ ให้เลขก�ำกับวันนั้นวันนี้ ต้องไป ท�ำการเปลี่ยน ชีวิตจะอภิมหา…ดีขึ้นทันตา อ้อ...เบอร์โทรศัพท์ ก็ต้องเปลี่ยน ลงท้ายต้องให้ได้หมายเลขเท่านั้นเท่านี้ เราก็ได้แต่ อุ้มลูกคุมกองหลังอยู่ใกล้ๆ หลวงพ่อท่านเมตตาจะดูให้เราด้วย เราเลยบอกท่านไปว่า ขอบคุณคะ ไม่เป็นไร ท่านก็ทักแม๊นแม่น พ่อเด็กไปไหน? เรายิ้มส่อพิรุธเพราะท่านมาสะกิดต่อมเข้าให้ หลวงพ่อรู๊...รู้น่า แล้วท่านก็ถามว่า เอาไหมจะท�ำให้เขากลับมา หรืออยากได้ใหม่? เราก็เลยนมัสการลาค่ะท่าน...เฮ้อ!รู้สึกขัดๆ ไม่รู้จะว่ายังไงดี แต่เอาเถอะ จริตของแต่ละบุคคลไม่เหมือน กัน ความชื่นชอบแต่ละบุคคลก็ไม่เหมือนกัน บุญที่ท�ำไปเหมือน ให้ติ๊บ…หลวงพี่คะ คิดอคติอย่างนี้บาปไหมเจ้าคะ? เปสโลภิกขุ : เจริญพร…อาตมาอ่านจดหมายฉบับนี้แล้วก็ท�ำให้ นึกถึงค�ำถามจากนิตยสาร a day ฉบับ 108 สองข้อคือ ข้อแรก เมืองไทยมีวัดทุกต�ำบลแต่ท�ำไมพระสงฆ์จึงไม่สามารถสอนให้ 17


ทุกคนเข้าใจในแก่นธรรมได้อย่างถ่องแท้? และข้อที่สอง ดูเหมือน ว่าหลักธรรมของพุทธศาสนาจะตอบได้ทุกค�ำถาม ดับทุกข์ได้ ทุกอย่าง แต่ท�ำไมคนไทยส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธ จึง ไม่เห็นมีความสุขอย่างที่ควรจะเป็น? เหตุการณ์ที่โยมเล่าข้างต้น ได้ตอบค�ำถามข้อแรกไปแล้ว ส่วนค�ำถามข้อที่สองก็พอจะอธิบาย ได้ว่า คนไทยไม่มีความสุขอย่างที่ควรจะเป็นเพราะเขาไม่ได้ นับถือศาสนาพุทธ แต่เขาพากันนับถือศาสนาผี! ... Farang Massage ในช่วง Work Period (08:00-10:30 น.) ของสัปดาห์นี้ พระสงฆ์ ร่วมกับญาติโยมที่มาอยู่ปฏิบัติธรรม พร้อมใจกันใส่เสื้อกันฝน ขนไม้แบกหินขึ้นๆลงๆเนินเขาอย่างสนุกสนาน ส่งผลให้แข้งขา หลังไหล่ของข้าฯยอกล้าระบมไปแทบทุกอณู จู่ๆในช่วงเย็น ของวันพระจันทร์ครึ่งดวงก็มีพระนวกะชาวแคลิฟอร์เนียมาขอ บีบนวดให้ข้าฯหน้าตาเฉย ข้าฯเห็นว่าประหลาดจึงถามท่านว่า ท�ำไม? ท่านตอบว่า “ช่วงนี้ผมนั่งสมาธิไม่ค่อยสงบ...ผมท�ำสมาธิ ไม่เก่งแต่นวดเก่ง” ถ้าไม่เป็นการมั่วนุ่มเกินไป ข้าฯจับใจความที่ ซ่อนอยูใ่ ต้ดวงหน้าสะท้อนแสงไฟเดย์ไลท์ได้วา่ “ช่วงนีผ้ มนัง่ สมาธิ ค่อยสงบ จึงอยากจะท�ำความดีอย่างอื่นทดแทน” 18


หัวข้อในชั่วโมงเรียนพระวินัยตอนท้ายพรรษา เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ข้อวัตรที่ผู้เป็นศิษย์พึงปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ เรียกว่า อุปัชฌายวัตรและอาจาริยวัตร ข้อวัตรอย่างหนึ่งที่ลูกศิษย์ต้องท�ำอย่าง สม�่ำเสมอก็คือ การบีบนวดให้ครูบาอาจารย์ เมื่ออธิบายมาถึง ตรงนี้ ผู้ศึกษาพระวินัยชาวฝรั่งต่างก็ถามกันเซ็งแซ่ว่า สิ่งนี้เป็น พระวินัยหรือวัฒนธรรมไทย? ด้วยค�ำถามที่คงไม่มีใครถามที่ เมืองไทย ท�ำให้ข้าฯนึกถึงตัวเองกับน้องๆเมื่อครั้งยังเยาว์วัย พวกเรามักจะบีบนวดแขนขาคอไหล่และเหยียบหลังให้คุณตา คุณยาย คุณพ่อคุณแม่อยู่เป็นประจ�ำ ข้าฯถามพระฝรั่งที่ก�ำลัง ตั้งใจนวดแขนขวาของข้าฯว่า ก่อนบวชเคยนวดให้พ่อกับแม่ไหม? ท่านตอบว่า “เคย...ประมาณ 4-5 ครัง้ ” ข้าฯพิจารณาเห็นว่า ถ้าเด็กๆ ถูกปลูกฝังความมีน�้ำใจต่อผู้อื่น โดยเฉพาะกับผู้ที่รักเขาอย่าง บริสุทธิ์ใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน สังคมไทยคงไม่ทุพพลภาพ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน--วันนี้คุณนวดให้ใครหรือยัง? ภาษาปะกิตค�ำละวัน : Protocols = ข้อวัตร ... Beware of Cake สองสิ่งที่ข้าฯพิจารณาโดยแยบคายเป็นอันดับต้นๆ เมื่อย่างเท้า เข้าสู่กาแฟสถานก็คือกาแฟกับขนมเค้ก ข้าฯไม่มีอาการลังเล 19


แม้แต่น้อยเมื่อต้องสั่งกาแฟ เพราะรสขมอุ่นอ่อนฟูฟ่องฟองนมที่ เรียกว่าคาปูชิโน นั้นแนบสนิทเป็นมิตรประจ�ำเรือนใจมานานแล้ว ต่างจากขนมเค้กซึ่งข้าฯมักจะประเมินสถานการณ์ และความ ต้องการแทบทุกครั้ง แล้ววันหนึ่งข้าฯก็ได้พบชีทเค้กสีครีมเขียว นวลประดับป้ายกะทัดรัด อวดสรรพคุณว่าเป็นรสมะนาว ไม่นาน นาทีถัดมาความเปรี้ยวของรสมะนาวก็คลุกเคล้ากับฟองขุ่นครีม ในอุ้งลิ้น แต่ครั้นหนึ่งชั่วโมงผ่านไป ความหวานขมกลมกลืนที่ เคยเป็นมิตรกลับแผลงฤทธิ์ประทุษร้ายเร่งเร้าให้ข้าฯหุนหัน เข้า ห้องบรรเทาทุกข์ดว้ ยอาการของพระท้องเสีย--ปากหวานก้นเปรีย้ ว ... Suicide Clean Up ขณะที่รถก�ำลังแล่นอยู่บนถนนสายคะนองของแคลิฟอร์เนีย ข้าฯก็ได้ยินพิธีกรรายการสนทนาทางวิทยุพูดว่า “รับเก็บกวาด เศษสมองของคนที่คุณรักในบ้านของคุณเอง” จากนั้นพิธีกรอีก ท่านหนึง่ ก็ให้ขอ้ มูลว่า บริษทั รับท�ำความสะอาดในแซนแฟรนซิสโก จะคิดค่าบริการปัดกวาดเช็ดถูหอ้ งทีม่ คี นฆ่าตัวตายในราคาหกร้อย ยูเอสดอลล่าร์ต่อหนึ่งชั่วโมง เมื่อกลับมาถึงวัดแล้วค้นคว้า เรื่องนี้เพิ่มเติม ข้าฯก็พบข้อมูลจากผลการวิจัยของ บริษัทรับ ท�ำความสะอาดว่า ผู้ที่เก็บกวาดซากศพของคนในครอบครัว ด้วยตัวเองนอกจากจะมีโอกาสติดเชื้อในระดับสูงแล้ว ยังมี 20


แนวโน้มในการอยากฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นถึงเจ็ดสิบห้าเปอร์เซนต์ เมื่อรับรู้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว ข้าฯก็บังเกิดความสังเวชใจ ถ้าเป็น ฝรั่งก็พอถูไถให้อภัยเพราะวิถีชีวิตของเขาขมุกขมัวจนมอง ไม่เห็นหนทางปล่อยวางความทุกข์ได้อย่างสุดจิตสุดใจ แต่ถ้า เกิดเป็นคนเมืองพุทธเมื่อถึงคราวชีวิตช�ำรุดแล้วไม่รู้จะหันหน้า ไปพึ่งอะไร ข้าฯเห็นทีต้องส่ายหัวดุ๊กดิ๊กแล้วพูดอย่างตรงไป ตรงมาว่า “เสียชาติก�ำเนิดจริงๆ” ... Van Gogh, Gauguin, Cezanne & Beyond หลังจากทัศนานิทรรศการศิลปะที่ de Young Museum ตัวข้าฯ เองไม่มีข้อกังขาว่าผลงาน Post-Impressionist Masterpieces ของจริงนั้นสวยซับซ้อนมีมิติน่าตื่นตากว่าที่เคยเห็นในหนังสือหรือ สไลด์ สมัยที่ข้าฯยังเป็นนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ทว่าจากมุมมองของนักบวช  แม้ว่าการเสพงานศิลปะ จะเป็นความสุขที่ปราณีต แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องให้สัมผัสได้ อย่างน้อยสองประการ 1.ต้องซื้อบัตรผ่านประตูราคา 20$ ในการเข้าชม แม้จะเป็นราคา ที่คนทั่วไปสามารถควักกระเป๋าจ่ายได้ แต่ก็มีความสุขอย่างอื่นที่ ปราณีตกว่าและไม่ต้องควักแม้แต่ Buck เดียว นั่นก็คือความสุขที่ 21


เกิดจากการได้อยู่ตามล�ำพังในความสงบสงัดของธรรมชาติ 2.ต้องเบียดเสียดกันเข้าไปชม ห้องนิทรรศการแม้จะมีขนาดใหญ่ และจัดวางต�ำแหน่งของภาพเขียน ได้อย่างลงตัว แต่เมื่อมีคน อยากเข้าไปทัศนาเป็นจ�ำนวนมากทาง de Young Museum จึง ต้องจ�ำกัดจ�ำนวนผู้เข้าชมในแต่ละรอบ ข้าฯกับโยมเพื่อนรุ่นน้อง สมัยเรียน วจศ.มช.ไปถึงเคาน์เตอร์ซื้อบัตรในเวลาสิบเอ็ดนาฬิกา ของวันเสาร์ แต่ได้ควิ เข้าชมในรอบบ่ายสามโมงครึง่ ของวันอาทิตย์ ข้อคิดอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างเดินประจัญบานกับภาพ เขียนของศิลปินระดับโลกก็คือ “ความส�ำเร็จไม่ว่าในวงการใดก็ ต้องอาศัยความพากเพียร”

22



... Little Ghost โยม : เพื่อนคนหนึ่งบอกว่าไม่สบาย มารับไปหาหมอหน่อย เราก็ พาไปส่งที่คลินิค นั่งรออยู่หน้าห้องประมาณหนึ่งชั่วโมง เพื่อนก็ กลับออกมาแบบสะโหลสะเหล เราก็พาไปส่งที่บ้านทั้งๆที่ยังไม่รู้ ว่ามันเป็นอะไร จนหลายปีผ่านไป อ่านเจอข่าวคลินิคท�ำแท้งเถื่อน ปรากฏว่ามันคือที่ๆเราพาเพื่อนไปคราวนั้น ตกใจมาก เราถาม มันว่าที่ให้ฉันพาไปวันนั้น แบบนี้ใช่ไหม? ยิ่งช่วงนี้เจอแต่ข่าว ท�ำแท้ง เรายิ่งจิตตก พอรู้ความจริงทีหลัง มันจิ๊ดนะ เรานี่แหละที่ ขับรถพามันไป เปสโลภิกขุ : เรื่องมันก็ผ่านไปแล้ว เราไม่มีเจตนาที่จะท�ำร้ายใคร แต่ถ้ายังไม่หายสงสัยก็ควรบ�ำเพ็ญคุณงามความดีให้มากๆ แล้ว ตั้งจิตอุทิศส่วนบุญให้แก่เขา ส่วนบุญที่เราอุทิศไปจะถึงเขาหรือ ไม่นั้น คงจะติดตามดูกันล�ำบาก แต่ผลที่เห็นในปัจจุบันทันทีก็คือ ตัวของเราเองเจริญขึ้นแน่ๆ ถ้าบุญกุศลที่เราท�ำในปัจจุบันมีก�ำลัง มาก เรื่องเศร้าหมองในอดีตมีก�ำลังน้อย มันก็ตามกันไม่ทัน เรื่องท�ำแท้งนี้อาตมาเห็นใครๆต่างก็หมกมุ่นวุ่นอยู่กับถุงยาง อนามัย เรามามองมุมอื่นกันบ้างดีไหม? พระเดชพระคุณ 24


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อรรถาธิบายไว้ในหนังสือ พุทธธรรมว่า ธรรมชาติสร้างเพศรสขึ้นมาเพื่อเป็นตัวล่อให้มนุษย์ สืบเผ่าพันธุ์ ธรรมชาติรู้ว่าถ้าไม่มีเพศรสเป็นตัวล่อ มนุษย์จะ ไม่ยอมประกอบกิจกรรมนี้ เพราะมันเป็นเรื่องน่าเหนื่อยหน่าย แต่ไปๆมาๆมนุษย์กลับประกอบกิจกรรมทางเพศเพราะต้องการ เพียงเพศรส ถุงยางอนามัยจึงถือก�ำเนิดขึน้ มาเพือ่ ตอบสนองความ ต้องการนี้ แทนที่จะรณรงค์ให้วัยรุ่นใช้ถุงยางอนามัยหรือยาเม็ด คุมก�ำเนิด เรารณรงค์ให้เขาเกิดสติปัญญาด้วยการพิจารณา เนื้อความข้างต้นจะดีกว่าไหม? หากเห็นชัดเจนว่ามนุษย์มีเพศ สัมพันธ์เพื่อการด�ำรงเผ่าพันธุ์ คงไม่มีมนุษย์หน้าใดอยากสืบ เผ่าพงศ์พนั ธุข์ ณะก�ำลังอยูใ่ นวัยเรียน เพราะการออกจากห้องเรียน มาเลีย้ งตัวอ่อนอยูก่ บั บ้านไม่ใช่เรือ่ งสนุกแน่ๆ ไม่เชือ่ ก็ถามพ่อแม่ดู แต่ก็อีกนั่นแหละพอหมดปัญหานี้ก็ยังมีปัญหาอื่นรอให้เแก้อีก อักโข เท่าที่อาตมาพอจะนึกได้ตอนนี้ก็คือ นักศึกษารุมตบเพื่อน นักศึกษาขายตัวเพื่อหาตังค์ซื้อไอโฟน นักศึกษาเกรดตกแล้วฆ่า ตัวตาย นักศึกษารับน้องใหม่ด้วยการมอมเหล้า สรุปแล้วอาตมา เสนอว่ารณรงค์ให้วัยรุ่นศึกษาเรื่องศีลห้า จะเป็นการแก้ปัญหาได้ อย่างยั่งยืนที่สุด ใครจะร้องยี้ชี้หน้าว่าเชยก็ช่างหัวเขา อาตมาก็ ช่วยได้เพียงเท่านี้

25


... ความเห็นของหลวงพ่อชาเกี่ยวกับจักรวาล โยม : ส่งต่อเรื่องนี้มาให้ท่านพิจารณา เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาโยม ได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าอภัยคีรี (หวังว่าท่านฯคงจ�ำได้) มีชาย คนนึงถามเรื่องก�ำเนิดของจักรวาล รวมทั้งก�ำเนิดของสัตว์เเละ มนุษย์ในเเง่ของศาสนาพุทธ เเต่เขาก็ไม่ได้รบั ค�ำตอบ โยมมีขอ้ มูลนี้ และคิดว่าอาจเป็นประโยชน์กับท่าน เปสโลภิกขุ : หลวงพ่อชาเคยเฉลยปัญหานี้ไว้แล้วว่า “ถ้าเราจะ เดินข้ามภูเขา เราก็เพียงแต่ตัดต้นไม้ ให้พอเป็นทางเดินข้ามไปได้ โดยไม่จ�ำเป็นต้องไปโค่นต้นไม้ทั้งภูเขา” ซึ่งก็หมายความว่าให้เรา เลือกศึกษาเฉพาะเรื่องที่จ�ำเป็นแก่ความพ้นทุกข์ อาตมาไม่ได้ อ่านข้อมูลที่โยมส่งมา แต่เรื่องนี้ก็เป็นประโยชน์แก่ตัวอาตมาเอง ในแง่ที่ได้พิจารณาว่า มีคนเป็นอันมากในโลกนี้ที่ไม่ได้ศึกษา ก�ำเนิดของจักรวาล สัตว์ หรือมนุษย์ แต่เขาก็ยังด�ำเนินชีวิตให้เป็น ปรกติสุขอยู่ได้เพราะเขาศึกษาเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา

26


... เคร่งของใคร โยม : พระชาวอเมริกันสายมหายานเคยคุยกะหนูว่า พระเถรวาท ท�ำไมไม่ช่วยเหลือสังคม ผ่าง ผ่าง ผ่าง แล้วเค้าท�ำอะไรกัน ผัก ก็ไม่ได้ปลูก ฮ่าๆๆ พี​ี่ที่เคยไปที่วัดนั้นบอกว่าพระฝรั่งที่นั่นเค้าสึก กันเยอะเจ้าค่ะ แต่เห็นว่ามีท่านเจ้าอาวาสวัดในต่างประเทศ (หนูจำ� ชือ่ วัดไม่ได้) ท่านเคยมาฝึกสายหลวงปูช่ า แต่เห็นว่าหนักไป เคร่งครัดมากก็เลยไม่บวช ตัดสินใจมาบวชกะสายมหายานแทน จนตอนนี้บวชได้หลายสิบปีแล้ว เปสโลภิกขุ : เรื่องการช่วยเหลือสังคมให้ลองพิจารณาข้อความ ต่อไปนี้ ครั้งหนึ่งมีโยมถามว่า สังคมทุกวันนี้วุ่นวาย พระจะมีส่วน ช่วยเหลือได้อย่างไร? พระอาจารย์รูปหนึ่งตอบว่า สังคมวุ่นวาย เพราะคนเห็นแก่ตัว พระควรเป็นตัวอย่างของคนที่ไม่เห็นแก่ตัว อาตมาได้ยินเรื่องที่คนต�ำหนิว่า นักปฏิบัติธรรมเห็นแก่ตัว หรือตัดช่องน้อยแต่พอตัวจนขี้เกียจจะได้ยิน เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้านักการเมืองไทยมีศีลห้าจะเกิดอะไรขึ้น? หน้าที่ของพระก็คือ หาอุบายแนะน�ำพร�่ำสอนให้ผู้คนไม่เห็นแก่ตัว ไม่เบียดเบียนกัน นอกจากนี้เรายังท�ำให้ดูเป็นตัวอย่างอีกด้วย เราท�ำให้ผู้คนเห็นว่า ชุมชนที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มุ่งลดละความไม่เห็นแก่ตัว และ ฝึกฝนความไม่เบียดเบียน มีความเป็นอยู่อย่างร่มเย็น และชุมชน 27


ที่ว่านี้ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันแต่มีอยู่จริงในโลก ส่วนเรื่องหนักหรือ เคร่งครัดหลวงพ่อชาเคยอุปมาไว้ว่า หินก้อนหนึ่งหนักห้ากิโลกรัม ถ้าให้เด็กตัวเล็กๆมายก เขาก็ยกไม่ขึ้นเพราะไม่มีก�ำลัง แต่ถ้าให้ ผู้ใหญ่วัยฉกรรจ์มายก มันก็ยกได้อย่างสบาย ทั้งๆที่เป็นหินก้อน เดียวกัน ... Did the Buddha Exist? พ็อกเก็ตบุ๊คเล่มหนึ่งของส�ำนักพิมพ์ a book ตั้งชื่อได้อย่างน่า เสียวไส้ว่า พระพุทธเจ้ามีจริงไหม? ช่างเป็นค�ำถามที่แนวเร้าใจ ได้เรื่อง แต่ถ้าเราเอาแต่ตั้งค�ำถามแนวๆแล้วคาดเดาโน่นนั่นนี่ โดยไม่ลงมือพิสูจน์ให้เห็นจริงกับตัวเองสักที ก็ต้องสงสัยอย่างนี้ ไปจนวันตาย อย่ากระนั้นเลยพลพรรคผู้ฝักใฝ่ความแนวทั้งหลาย ไหนๆเราก็รกั ทีจ่ ะสงสัยกันแล้ว เรามารักทีจ่ ะขจัดความสงสัยควบคู่ กันไปด้วยดีกว่า เพื่อที่ว่าชีวิตแนวๆของพวกเราจะได้เหลือที่ว่าง ส�ำหรับค�ำถามแนวๆที่จะตามมาอีกมากมายในอนาคต พุทธองค์ทรงตรัสรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่เป็นปรกติธรรมดาตามธรรมชาติ แล้วน�ำความรู้นั้นมาแบ่งปันแก่เพื่อนร่วมโลก ถ้อยธรรมะบทหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงหลังจากการตรัสรู้ก็คือ “นตฺถิ สนฺติ ปรมํ สุข”ํ แปลเป็นไทยได้วา่ “สุขอืน่ ยิง่ กว่าความสงบไม่ม”ี การทีก่ าลิเลโอ 28


จะพิสจู น์ให้คริสตจักรประจักษ์วา่ โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึง่ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ หาใช่ศูนย์กลางของจักรวาลหรือถูกสร้าง โดยพระผู้เป็นเจ้า เขาย่อมต้องพึ่งพาอุปกรณ์สองอย่างอันได้แก่ ท้องฟ้าและกล้องดูดาว ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อเราต้องการจะพิสูจน์ว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” จริงหรือไม่? เราก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ สองอย่าง อันได้แก่ สถานที่วิเวกและลมหายใจเข้า-ออก ขณะนี้เรามีอุปกรณ์อย่างหนึ่งพร้อมแล้วนั่นก็คือลมหายใจ ส่วน สถานทีอ่ นั เหมาะสมและสะดวกแก่การไปมาหาสู่ เท่าทีป่ รากฏอยู่ ในเมืองไทยขณะนี้ก็คือวัดป่า เมื่อไปสู่วัดป่าก็ต้องปฏิบัติตามกฏ ระเบียบของวัด ซึ่งกฏระเบียบที่ว่านี้ไม่ใช่สิ่งที่พระสงฆ์ตั้งขึ้นมา ลอยๆเอาไว้ทรมานกันเล่นๆ แต่เป็นอุปกรณ์ทไี่ ด้รบั สืบทอดมาจาก พระพุทธองค์ เพื่อส่งผู้สนใจใคร่ทดลองให้ไปถึงเป้าหมายอย่างมี อุปสรรคน้อยทีส่ ดุ กฏระเบียบภายในวัดทีผ่ คู้ นอ่อนศรัทธาขยาดกัน นักหนาก็คอื ศีล ล�ำพังศีลห้าอาจไม่มกี ำ� ลังพอทีจ่ ะช่วยให้เราพิสจู น์ ว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” จริงหรือไม่? เพื่อเสริมพละก�ำลัง ในส่วนนีเ้ ราจึงต้องถือปฏิบตั ศิ ลี แปด ซึง่ อีกสามข้อทีเ่ พิม่ เข้ามาก็คอื 1.งดเว้นอาหารหลังเที่ยงวัน เพื่อบรรเทาความกังวลวุ่นวายในการ ประกอบอาหาร หรือการเก็บกวาดเช็ดล้างภาชนะ และเพื่อให้ ร่างกายมีความปลอดโปร่งโล่งเบาไม่ง่วงเหงาหาวนอน 2.งดเว้นจากการร้องร�ำท�ำเพลงดูการละเล่นและ iPod เพือ่ บรรเทา ความฟุ้งซ่าน งดเว้นจากเครื่องหอม และอุปกรณ์เสริมความงาม 29


เพื่อบรรเทาความก�ำหนัด 3.งดเว้นจากที่นอนนุ่มหนา เพื่อให้ตื่นคล่องว่องไว ผ่านมาถึงบรรทัดนี้ยังเหลือมนุษย์แนวอีกกี่ท่านที่ต้องการพิสูจน์ ให้ประจักษ์แจ้งแก่ใจตนว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” จริง หรือไม่? ถ้ายังพอมีมนุษย์ชนิดนี้เหลืออยู่ก็จงอย่าลังเลที่จะ ก้าวเข้าไปสู่ที่สงัดแล้วนั่งลง ตั้งกายให้ตรงด�ำรงสติให้มั่น ก�ำหนด ลมหายใจเข้า-ออกไปเรื่อยๆด้วยความผ่อนคลาย สิ่งส�ำคัญ ประการหนึ่ง ที่ควรรู้ไว้ในขั้นตอนนี้ก็คือ ไม่มีผู้ใดรับรองได้ว่าเรา ต้องใช้เวลานานเพียงใดจึงจะไปถึงจุดหมาย บางคนอาจจะใช้เวลา ไม่ถึงหนึ่งนาที แต่บางคนอาจต้องใช้เวลานานเป็นแรมปี เรื่อง แบบนีข้ นึ้ อยูก่ บั บุญบารมีและสติปญ ั ญาของใครของมัน แต่เมือ่ ใด ก็ตามที่เราได้ลิ้มรสความสุขอันเกิดจากความสงบ เมื่อนั้นปัญหา ที่ว่า พระพุทธเจ้ามีจริงไหม? ก็จะได้รับการเฉลย ... Good Message เช้านี้ข้าฯถูกจัดให้ท�ำงานร่วมกับสามเณรฝรั่ง ข้าฯถามสามเณรว่า ก่อนที่จะมาบวชเคยเรียนสาขาอะไร? ที่ไหน? และจบไหม? ท่าน ตอบว่าเรียนปรัชญาและจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยเดนเวอร์ แต่ เรียนได้แค่สองปีกร็ สู้ กึ ว่ามากพอแล้วจึงลาออก (ฮาประสานเสียง) 30


ช่วงเข้าพรรษาปี 2553 ที่วัดป่าอภัยคีรีมีพระภิกษุ 12 รูป สามเณร 1 รูป อนาคาริกะ 3 ตน ในบรรดาสมาชิกทั้งหมดมีทั้งที่จบการ ศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก แต่ประเภท ที่ใช้ชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้เพียง 2-3 ปีแล้วหนีมาบวช มีอยู่เกินครึ่ง! ข้าฯเองก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ (ฮาไม่ประสานเสียง) ในยุคฮิปปี้ตอนปลายคือประมาณปี ค.ศ.1980 มีนักศึกษาจ�ำนวน ไม่นอ้ ยทีโ่ บกมือลามหาวิทยาลัย เพือ่ เข้าร่วมขบวนการหริกฤษณะ (Hare Krishna) ซึ่งเป็นนักบวชประเภทหนึ่งนุ่งห่มด้วยผ้าสีส้ม สด โกนหัวแต่ไว้จุก กิจกรรมกลุ่มที่ชาวหริกฤษณะปฏิบัติกันเป็น ประจ�ำก็คือการขับประโคมดนตรีพรางพร�่ำบ่นค�ำว่า “หเร รามา หเร รามา” ออกตระเวณไปตามย่านชุมชนเพื่อขอรับบริจาคเงิน บ่อยครั้งที่ฝรั่งคิดว่าพระภิกษุในพุทธศาสนาเป็นนักบวชประเภท นี้ พ่อแม่ของคนหนุ่มสาวที่หนีมาเข้าร่วมขบวนการหริกฤษณะ เห็นไม่ได้การ จึงไปแจ้งต�ำรวจ เป็นเหตุให้ขบวนการหริกฤษณะ ถูกด�ำเนินคดีในข้อหาล้างสมอง (ฺbrainwashing) บางกลุ่มก็ต้อง คดีมอี าวุธสงครามไว้ในครอบครอง ข้าฯถามน้องเณรว่าทีว่ ดั ของเรา ก็มีหนุ่มๆที่ออกจากมหาวิทยาลัยกลางคันอยู่เยอะ ท�ำไมไม่ถูก ด�ำเนินคดีล้างสมองบ้าง? น้องเณรตอบว่าล้างสมองคือการ ยัดเยียดให้คนอื่นเชื่ออย่างที่ตัวเองอยากให้เชื่อ ข้าฯจึงพิจารณา สืบไปว่า ไม่มีศาสนาใดในโลกนี้ที่นักบวชแสดงหลักการทาง ศาสนาของตนจบแล้วยังบอกกับผู้ฟังอีกว่า “อย่าเพิ่งเชื่อหรือ อย่าเพิ่งไม่เชื่อ แต่ให้น�ำไปพิจารณาดูก่อน ถ้ามีเหตุผลอันสมควร 31


แล้วจึงเชื่อ” และนี่คือความใจกว้างของพุทธศาสนา น้องเณร เห็นสมจึงถมท้ายด้วยหนึ่งประโยคว่า “Good Message” ... Poster From Los Angeles ช่วงก่อนเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ มีกลุ่มหนุ่มสาว ชาวเวียดนามจากลอสแซนเจลิส เดินทางมาปฏิบัติธรรมที่วัด เป็นเวลาหนึ่งวันหนึ่งคืน ผ่านไปสองสัปดาห์พวกเขาก็ส่งโปสเตอร์ ท�ำมือมาให้ชาววัดป่าอภัยคีรีได้ระทึกใจ Highlights -Riding in the back of a truck -Seeing monks jump off a truck -Seeing the monks’ hut & toilets -The hike -A well-organized monastery -A calm & peaceful environment Lessons -How to find ease in meditation -To see monks live very simple lives 32


-How to rid ourselves of fear -How to be mindful -Compassion “Watch it & let it be” Inspiration -Awesome views -A peaceful & good environment -Working -Serenity -Mindful work, mindful people Thank You -For the food -For teaching us about Buddhism -For the clean bathrooms -For making time to host our group -For teaching Dhamma & compassion

33


... ค�ำถามจากทะเล ค�ำตอบจากภูเขา ระหว่างต้นเดือนมกราคมถึงปลายเดือนมีนาคมของทุกปีจะเป็น ช่วงที่เรียกว่า Winter Retreat หรือการเข้ากรรมฐานในฤดูหนาว คณะสงฆ์วัดป่าอภัยคีรีจึงมีนโยบายให้พระภิกษุสามเณรงดใช้ โทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต เพื่อจะได้จดจ่ออยู่กับการปฏิบัติธรรม อย่างเต็มที่ หลังจาก Winter Retreat ผ่านไปข้าฯจึงได้เช็คอีเมล์ เป็นครั้งแรกในรอบสามเดือน แล้วก็พบการบ้านชิ้นใหญ่จาก “หลามแม็กกาซีน” ฟรีก็อปปี้อารมณ์เค็มๆคันๆของชาวชลบุรี โดยชาวชลบุรี เพื่อชาวชลบุรี นามเปสโลภิกขุของพระอาจารย์มีความหมายว่าอะไรครับ เปสโล แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก ภิกขุหรือภิกษุ แปลว่า ผู้เห็นภัยใน วัฏฏะสงสาร พระธรรมฑูตคืออะไรครับ พระที่ท�ำหน้าที่เผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ การไปประกอบกิจพระธรรมฑูตของพระอาจารย์นั้น ต้องท�ำ หน้าที่อะไรบ้างครับ 34


หน้าที่หลักของพระธรรมฑูตก็คือการเผยแผ่ธรรมะ ซึ่งการเผยแผ่ ธรรมะไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ สามารถท�ำได้สอง ลักษณะใหญ่ๆคือ เผยแผ่ด้วยการพูดและเผยแผ่ด้วยการท�ำให้ดู อยู่ให้เห็น ในสายวัดหนองป่าพงจะเน้นอย่างหลังมากกว่า พระอาจารย์จ�ำพรรษาอยู่ที่วัดใด มลรัฐอะไรครับ อาตมาพ�ำนักอยู่ที่วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นี่เป็นส�ำนัก สาขาในต่างประเทศของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ค�ำว่า “ส�ำนักสาขา” หมายถึงการมีข้อวัตรปฏิบัติในแนวเดียวกัน เช่น การฉันอาหารหนเดียวต่อวัน การไม่รับเงินทองเป็นของ ส่วนตัว การไม่บอกเลขใบ้หวยหรือท�ำเครื่องรางของขลัง เป็นต้น ซึ่งผู้ที่วางข้อวัตรปฏิบัติเหล่านี้ไว้ให้แก่พระภิกษุสามเณรใน สายวัดหนองป่าพงก็คือ พระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) ในวัยเยาว์พระอาจารย์เป็นเด็กแบบไหนครับ เอ…อันนี้ไม่แน่ใจแฮะ แต่คุณครูที่สอนอาตมาสมัยเรียนชั้น ประถมศึกษา บันทึกลงในสมุดรายงานผลการเรียน ในส่วนความ ประพฤติว่า “สุขุม” ซึ่งตอนนั้นอาตมาก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันแปล ว่าอะไร ทราบมาว่าพระอาจารย์สำ� เร็จการศึกษาในแนวทางของศิลปะ และดูจะเป็นมนุษย์ที่ชื่นชอบความติสต์เสียด้วยซ�้ำ สิ่งใดที่ 35


ท�ำให้พระอาจารย์ตัดสินใจบวชครับ ตอนนัน้ ก�ำลังเรียนอยูช่ นั้ ปี​ี 3 คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณยายของอาตมาป่วยเป็นโรคมะเร็ง โยมแม่บอกว่าถ้าบวชตอน ที่คุณยายยังมีชีวิตอยู่ คุณยายจะดีใจที่ได้เห็นหลานชายในผ้า เหลือง ดีกว่าบวชหน้าไฟเพราะบวชตอนนั้นคุณยายไม่ได้เห็น อาตมาก็คิดว่าคุณยายอายุมากแล้ว ป่วยด้วย เราอายุยังน้อย ดร็อปเอาไว้สักหนึ่งปีค่อยกลับมาเรียนก็ได้ วันที่อาตมาบวช คุณยายก็มาถวายผ้าไตรด้วย หลังจากออกพรรษาได้ประมาณ สามเดือน คุณยายก็ถึงแก่กรรม ช่วงที่เรียนอยู่เชียงใหม่ อาตมาทั้งสับสนและสงสัย ศิลปินเขาน�ำ เสนอกันมาได้ไหนแต่ไรว่า ศิลปะจะท�ำให้มนุษย์บรรลุถึงความดี ความงาม ความจริง ซึ่งอาตมาคิดว่าสิ่งเหล่านี้ส�ำคัญต่อชีวิตของ มนุษย์ และมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวในโลกที่มีศักยภาพ ในการเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ แต่เราก็สังเกตดูรุ่นพี่ ดูอาจารย์ผู้สอน ดูศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับประเทศหรือระดับโลก ก็ไม่เห็นใครมี วี่แววว่าจะบรรลุถึงความดี ความงาม ความจริง ได้ด้วยวิธีการ ทางศิลปะอย่างที่พร�่ำพูดกัน ต่อเมื่อได้มาปฏิบัติธรรมจึงท�ำให้ อาตมาค้นพบว่า วิถีชีวิตของนักบวชต่างหากที่จะน�ำพามนุษย์ มุ่งตรงไปสู่ความดี ความงาม ความจริง อาตมาจึงตัดสินใจมา ทางนี้และไม่ได้กลับไปเรียนศิลปะอีก

36


พระอาจารย์เป็นนักคิดนักเขียนที่มีความสร้างสรรค์ในการ ถ่ายทอดมาก เล่าให้ฟงั ถึงทีม่ าทีไ่ ปของ คณะสหายธรรมหนุม่ หรือ Dhamma Design Club หน่อยครับ เริ่มจากความสงสัยของอาตมาเองที่ว่า ท�ำไมปกหนังสือธรรมะ ต้องเป็นรูปพระ บาตร จีวร ธรรมจักร ต้นไทร ใบโพธิ์ ดอกบัว ลายรดน�้ำ เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ไหม? เราก็เลยทดลองท�ำกันดู บังเอิญว่าอาตมามีโยมเพื่อนที่มีจิตใจดีในวงการศิลปะหลายคน ซึ่งเขาพอจะให้ความช่วยเหลือได้ ถ้าจะให้อาตมาไปท�ำงาน ออกแบบเองคงไม่ไหว เพราะร้างวงการมานานแล้ว อาตมา จึงรับหน้าที่ดูแลเนื้อหาในส่วนของธรรมะ เพราะเป็นผู้ที่อยู่ใน วงการนี้่โดยตรง ส่วนคนท�ำงานศิลปะก็มอบให้เขาดูแลส่วน นั้นไป แต่ก็ต้องคอยปรับให้พอดี เพราะถ้าให้คนที่ไม่ได้ศึกษา ธรรมะมาท�ำงานแนวนี้เขาจะเกร็ง เพราะเห็นว่าธรรมะเป็นของ สูง เมื่อเกร็งก็ไม่สนุก หรือบางทีก็เล่นเกินไปจนขาดความเคารพ ในธรรม ก็ต้องปรับหาความพอดีกันไปเรื่อยๆ แรกๆเราท�ำเป็นบุ๊คกาซีนโดยให้ชื่อว่า Dhamma Design ซึ่งเป็น หนังสือธรรมะ ที่มีส่วนผสมของงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้ง กราฟิก ภาพถ่าย ภาพวาดสีน�้ำ ดรออิ้ง การ์ตูน เรื่องสั้น บทกวี บทความ บทสัมภาษณ์ เมื่อท�ำออกมาได้สองเล่มอาตมาก็พบว่า การท�ำบุ๊คกาซีนไม่เหมาะกับความเป็นอยู่ของพระป่า และนิสัย ของตัวเอง ตอนนั้นอาตมาเป็นบรรณาธิการ มีหน้าที่ในการติดต่อ ประสานงานและรับผิดชอบสารพัดอย่าง ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง 37


อาตมาก็แอบท�ำพ็อคเก็ตบุ๊คเล็กๆส่วนตัวออกมาสองเล่ม ปรากฏ ว่าพ็อกเก็ตบุ๊คซึ่งใช้บุคลากรน้อยกว่า ใช้ระยะเวลาในการผลิต น้อยกว่า ใช้งบประมาณน้อยกว่า และที่ส�ำคัญคือสงบกว่า แต่ กลับได้รับการตอบรับจากผู้อ่านที่แรงกว่า หลังจากนั้นเราก็ท�ำ พ็อคเก็ตบุ๊คกันเรื่อยมา โดยให้น�้ำหนักด้านเนื้อหามากกว่าดีไซน์ เมือ่ พระอาจารย์ใช้ศลิ ปะและโลกอินเตอร์เน็ตในการถ่ายทอด ธรรมะ เทคนิคของพระอาจารย์ มีอย่างไรบ้างครับ จึงท�ำให้ น่าสนใจถึงเพียงนี้ ที่จริงก็ไม่ได้มีเทคนิคพิเศษอะไรมากมาย เราเพียงแต่ท�ำตาม ความรู้ ตามก�ำลังความสามารถ หรือความถนัดของตัวเอง บรรยากาศในการแนะน�ำธรรมะส่วนใหญ่จะมีท่าทีแบบอาจารย์ สอนลูกศิษย์ ส่วนบรรยากาศในการแนะน�ำธรรมะของอาตมา จะมีทีท่าเหมือนเพื่อนพ้องน้องพี่ก�ำลังนั่งคุยกันในร้านกาแฟ ซึ่ง ก็พอเหมาะพอดีกับประสบการณ์และระดับความรู้ความเข้าใจ ในธรรมะที่อาตมามีอยู่ขณะนี้ ส่วนที่บอกว่าท�ำได้น่าสนใจก็คง จะเป็นความรู้สึกเฉพาะกลุ่ม เฉพาะบุคคล เฉพาะคนที่มีอะไร คล้ายๆกัน หรือชอบอะไรเหมือนๆกัน เพราะอาตมาเคยได้ยิน บางคนบ่นว่า หนังสือธรรมะของเปสโลภิกขุอ่านไม่รู้เรื่อง ในขณะทีว่ ยั รุน่ ยังนิยมความวุน่ วายทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ พระอาจารย์มองว่ายังไงบ้างครับ 38


เพื่อนเป็นองค์ประกอบส�ำคัญในชีวิตของวัยรุ่นมาทุกยุคสมัย และ หน้าที่หลักของวัยรุ่นก็มีเพียงการเรียนหนังสือ เมื่อว่างจากการ เรียนจึงมีเวลาให้ประกอบกิจกรรมได้หลากหลาย เพราะไม่มี เรื่องอื่นให้ต้องรับผิดชอบ แต่เมื่อโตขึ้นภาระในการหาเลี้ยงชีวิต และการดูแลครอบครัวก็จะกลายมาเป็นหน้าที่หลักแทน ถึง ตอนนั้นถ้ามีเวลาว่างก็ต้องชั่งใจว่าจะงีบหลับเอาแรงหรือเข้าไป คลุกคลีกับสังคมออนไลน์ แต่ไม่ว่าจะเป็นสังคมออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ ถ้าสื่อสารกันด้วยธรรมะ ความอยู่เย็นเป็นสุขของสมาชิก ในสังคมนั้นก็เป็นอันหวังได้ ในมุมมองของพระอาจารย์ วิธแี สวงหาความสุขของสังคมไทย กับสังคมตะวันตกนั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างครับ ความสุขในโลกนี้มีอยู่สองอย่างคือ ความสุขอย่างหยาบ ได้แก่ การเสพบริโภครูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และความสุขอย่าง ละเอียดได้แก่การบ�ำเพ็ญบุญกุศล วิธีแสวงหาความสุขอย่าง หยาบไม่ว่าที่ไหนในโลกก็เหมือนกัน คือมีทั้งชนิดที่เป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตน-เบียดเบียนคนอื่น และชนิดที่เป็นไปเพื่อความ ไม่เบียดเบียนตน-ไม่เบียดเบียนคนอื่น ส่วนวิธีแสวงหาความสุข อย่างละเอียด ในอดีตที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่า คนไทยชอบท�ำบุญ ให้ทาน ฝรั่งชอบเจริญภาวนา (สมาธิ+ปัญญา) แต่ในปัจจุบันมี การตื่นตัวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน คนไทยสนใจการภาวนา มากขึ้นและฝรั่งก็มาท�ำบุญบ่อยๆ 39


อะไรทีจ่ ะช่วยให้สงั คมไทยขับเคลือ่ นไปข้างหน้าได้ดที สี่ ดุ ใน ความเห็นของพระอาจารย์ครับ เมื่อทราบข่าวเหตุการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่เมืองไทย อาตมาก็เกิดความสงสัยขึ้นมาว่า เขาแย่งเอาอะไรกัน? โลกนี้ มันมีอะไรที่เป็นของเราจริงๆบ้าง? ถ้าคนไทยตอบค�ำถามสองข้อ นี้ได้ บ้านเมืองจะกลับมาร่มเย็นมีน�้ำใจเหมือนในอดีต ซึ่งจะเป็น สิ่งที่ช่วยให้สังคมไทยขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีความสุข พระอาจารย์คดิ ว่าอะไรช่วยดับร้อนในหน้าร้อนได้ดที สี่ ดุ ครับ? หิมะขาวพราวพรูอยู่ชั้นฟ้า ละลิ่วมาห่มหทัยไฟแผดเผา ความอดทนอดกลั้นนั้นเปลี่ยนเรา เคยร้อนเร่ากลับเยือกเย็นเห็นตัวเอง ตีพมิ พ์ครัง้ แรกใน หลามแม็กกาซีน ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 ประจ�ำเดือนเมษายน 2554

40



... If I Have 1,000,000 $ ข้อความข้างต้นเป็นหัวข้อในการประกวดความเรียง ส�ำหรับเด็ก นักเรียนตัวน้อยของวัดแซนแฟรนซิสโกธรรมาราม ต่อไปนี้คือ บางส่วนของผลงานดีเด่นที่ได้รับรางวัลในวันสงกรานต์ โดย เด็กชายเพ็ชร อายุ 6 ขวบ If I have one million I will give all the money to the temple. The money will be used for the Thai Temple. Because you can teach Thai and it is very good. I will come to learn on Sunday and buy food for everyone. ... Lucky Me อากาศที่วัดป่าอภัยคีรีช่วงเดือนเมษายนจะอยู่ในอารมณ์แห้งๆ อุ่นๆ เป็นเหตุให้งูเงี้ยวเริ่มโผล่หน้าออกมาจากเรี้ยวรู งูส่วนใหญ่ ทีข่ า้ ฯพบระหว่างไต่ภเู ขากลับกุฏจิ ะเป็นงูหางกระดิง่ (Rattle Snake) ว่ากันว่าถ้าถูกงูหางกระดิ่งรุ่นหนุ่มฉกจะไปสู่ที่ชอบๆเร็วกว่างู หางกระดิ่งรุ่นผู้ใหญ่ เพราะงูหางกระดิ่งรุ่นหนุ่มยังไม่รู้ประมาณ 42


ในการปล่อยพิษ ถ้าได้ฉกใครแล้วก็จะปล่อยพิษออกมาเต็มก�ำลัง ล�ำพอง ขณะทีข่ า้ ฯก�ำลังเพลินกับการชมนกชมไม้ งูลายทางสีเหลืองสลับด�ำ ตัวหนึ่งก็เลื้อยหลบเข้าไปในพุ่มไม้ข้างทาง มันท�ำให้ข้าฯกระหวัด ถึงสมัยที่ยังเป็นเด็ก ในครั้งกระนั้นถ้าบังเอิญมีงูเลื้อยเข้ามาใน บ้าน คุณยายจะโบกมือ ไล่พลางตะโกนว่า “โชคๆๆ” ตอนนั้น ข้าฯไม่ได้คิดอะไรแต่เพิ่งจะสงสัยในวันนี้ว่า “โชคๆๆ” นี่มันคือ โชคอะไรหว่า? เมื่อพิจารณาแล้วก็พบว่าคงจะเป็นอุบายของคน สมัยโบราณ เมื่อมีสัตว์ร้ายเพ่นพ่านเข้ามาในบ้าน ผู้ที่พบเห็น จะเกิดความรูส้ กึ สะดุง้ หวาดเสียวหรืออาจถึงขัน้ วิตกกังวลไปต่างๆ นานาว่านี่คงเป็นลางร้าย อาจจะมีอันตรายหรือเกิดเหตุไม่ชอบมา พากลกับคนในครอบครัว สาเหตุที่จิตใจของเจ้าของบ้านหวั่นไหว ไปได้ถึงเพียงนี้ก็เพราะสังคมบ้านเรา มีค่านิยมเกี่ยวกับการเชื่อ ถือโชคลางเป็นทุนเดิม เพียงประสบเหตุการณ์ไม่คาดฝันเล็กๆ น้อยๆก็โมเมโมหะเหมาว่าอัปมงคล ทั้งที่ตามความเป็นจริงแล้ว สัตว์มันก็เลื้อยๆคลานๆไปตามประสา ตรงไหนมีช่องมีรูพอมุด เข้าไปได้มันก็กระเสือกกระสนดิ้นรนไป หรือแม้แต่เสียงของนก บางชนิดที่คนไทยถือว่าจัญไร นกมันก็ไม่ได้รู้เรื่องด้วยเลยและถ้า นกชนิดนั้นรู้ว่าคนไทยถืออย่างนี้ มันอาจจะบ่นกระปอดกระแปด ว่า เราแสบท้องแสบไส้ก็ครวญครางไปตามประสา มันจัญไร ยังไงหว่า? 43


อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุการณ์น่าขนพองสยองสยิวเช่นนี้ขึ้น ภายในบ้าน เพื่อไม่ให้จิตสลดหดหู่หรือหวาดระแวงจนอยู่ไม่เป็น สุข คนโบราณจึงตัดก�ำลังของอารมณ์เหล่านัน้ ด้วยการพูดถึงสิง่ ดีๆ เพือ่ ให้จติ ใจเกิดความรูส้ กึ ปลอดโปร่ง ซึง่ จะเป็นฐานในการพิจารณา หาวิธีแก้ไขปัญหาจนประสบความโชคดีมีชัยในที่สุด นี่คือหนึ่ง ในความแยบคายของคนโบราณซึ่งมีวิถีชีวิตแนบแน่นอยู่กับ พุทธศาสนา ... คุยกับพระเซน พระไทย : คณะสงฆ์ทที่ า่ นจากมามีการฝึกสอนอานาปานสติไหม? พระเซน : มีทั้งอานาปานสติและสติปัฏฐาน พระไทย : ถ้าปฏิบัติอยู่ที่นั่นไปเรื่อยๆ ท่านคิดว่าจะถึงความ ดับทุกข์ได้ไหม? พระเซน : คณะสงฆ์ที่นั่นเน้นเรื่องความเมตตา ผมคิดว่านักบวช ส่วนใหญ่จะไปเกิดในภพภูมิของเทวดา พระไทย : อ้าว! ท�ำไมล่ะ? ก็มีทั้งอานาปานสติและสติปัฏฐาน น่าจะไปถึงความดับทุกข์ได้ พระเซน : เขาสอนอย่างนั้นก็จริงแต่มีส่วนน้อยที่ปฏิบัติจริงจัง ส่วนใหญ่เขาจะเล่น ที่นั่นมีของให้เล่นหลายอย่าง ทั้งปิงปอง รักบี้ ฟุตบอล ดนตรี ร้องเพลง แล้วก็เกมอื่นๆ ทั้งๆที่จริงแล้วที่นั่นเป็น สถานที่เงียบสงบ น่าปฏิบัติธรรมมาก แต่ผมคิดว่าถ้าต้องการไป 44


ให้ถึงความดับทุกข์ต้องรักษาพระวินัยด้วย พระไทย : นักบวชที่ตั้งใจจะไปให้ถึงความดับทุกข์เขาจะท�ำอย่าง ท่าน คือหาสถานที่ใหม่ซึ่งปฏิบัติทั้งธรรมและวินัยควบคู่กันไป พระเซน : (ยกมือไหว้ท่วมหัว) ... Happy Earth Day อาหารเช้าของชาววัดป่าอภัยคีรีตามปรกติแล้วจะเป็นข้าวโอ๊ต ราดนมถั่วเหลืองหรือน�้ำอัลมอนต์ แล้วกลั้วคอด้วยชาหรือกาแฟ แต่ในโอกาสพิเศษเช่นวันนี้จะมีขนมที่สั่งท�ำเฉพาะกิจจากร้าน เบเกอรี่ ซึ่งมีอยู่เพียงแห่งเดียวในหมู่บ้าน Redwood Valley ไม่กี่ วินาทีก่อนที่ขนมสามชิ้นจะเข้าไปอีนุงตุงนังอยู่ในท้อง ข้าฯจึงรู้ว่า ตัวเองเข้าใจผิด นี่ไม่ใช่การฉลอง Earth Day แต่เป็นการเฉลิม อนาคาริกซึง่ ก�ำลังจะบวชเป็นสามเณรในอีกไม่กวี่ นั ข้างหน้า ไหนๆ ก็เข้าใจผิดจนอิ่มขนาดนี้แล้ว เห็นทีข้าฯต้องอุทิศความเรียงนี้ให้ แก่โลกของเราเพื่อเป็นการแก้เขิน ข้าฯเคยเสนอกับพระฝรั่งครั้งหนึ่งว่า “คิดแบบฝรั่งแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมไม่ได้ แต่ถ้าคิดแบบพุทธจึงจะแก้ได้” หนังสือเกี่ยว กับสิ่งแวดล้อมที่ฝรั่งนิยมอ่านกันทุกวันนี้ เท่าที่ข้าฯได้พิจารณาก็ ยังไม่ปรากฏว่าจะมีประเด็นแปลกใหม่อันใด เพราะเขาคิดวกวน 45


วงเวียนกันอยู่เพียงว่าจะผลิตวัตถุเพื่อน�ำมาเสพบริโภคตามความ อยากได้อย่างไรโดยไม่ท�ำลายธรรมชาติ? และค�ำตอบของโจทย์นี้ ก็คือ การน�ำพลังงานสะอาดอันได้แก่ลม น�้ำ แสงอาทิตย์ มา ทดแทนพลังงานจากน�้ำมัน นิวเคลียร์ ถ่านหิน แต่ต่อให้ผลิตออก มามหาศาลเพียงใด ก็ไม่สมดุลกับความอยากของมนุษย์ซึ่งกว้าง ใหญ่ไหลเชี่ยวยิ่งกว่าแม่น�้ำในฤดูฝน สมดังพุทธศานสุภาษิต ที่มาในขุททกนิกาย คาถาธรรมบทความว่า “นตฺถิ ตณฺหาสมา นที แม่น�้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี” โลกของเราอบอวนกระอักกระอ่วนไปด้วยบรรยากาศของการห�ำ้ หัน่ มานานแล้ว ส�ำนวนคุ้นหูที่เป็นประจักษ์พยานมาหลายชั่วอายุคน ก็คือ ปลาใหญ่กินปลาเล็กและปลาเล็กกินปลาที่เล็กกว่า ข้าฯ ปลดปล่อยวางกังวานกังวลที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมาหลายปี เพราะเชื่อว่าไม่มีทางแก้ไขได้หากมนุษย์ไม่ฝึกหัดขจัดไขมันส่วน เกิน เอ้ย! ความต้องการส่วนเกินของตัวเอง แต่จะขจัดปัดเป่าสิ่งนี้ ได้อย่างไรในเมือ่ คูแ่ ข่งทางธุรกิจใช้เทคโนโลยีทเี่ หนือกว่าให้เห็นอยู่ ต�ำตา ถ้านักธุรกิจผูห้ นึง่ ใช้โทรศัพท์มอื ถือรุน่ เดิมซึง่ มีฟงั ค์ชนั่ ในการ ใช้งานเพียงไม่กี่อย่าง แต่นักธุรกิจอีกผู้หนึ่งใช้โทรศัพท์ทัชสกรีน รุ่นล่าสุดที่รวดเร็วปานสายฟ้า แถมมีแอ็พพลิเคชั่นสารพัดเอาไว้ อัดคู่ค้า ไม่ว่าจะเป็นการตรวจดูราคาหุ้น สภาพอากาศ การจราจร แผนที่ โรงแรม ร้านอาหาร เที่ยวบิน สนามกีฬา พจนานุกรม สารานุกรม อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลอดจนดูเวลาทั่วโลก ถ้า ใครไม่อยากถูกฉลามหัวฆ้อนเขมือบ ก็ต้องรีบรุดฉุดโทรศัพท์รุ่น 46


ที่ใกล้เคียงหรือล�้ำกว่ามาครอบครอง ซึ่งก็หมายความว่าต้องไป กระชากเอามาจากธรรมชาติชัวร์ๆ ประเทศที่รับเคราะห์ในกรณีนี้ ที่ปรากฏเด่นก็คือสาธาณรัฐประชาธิปไตยคองโก เพราะเป็น แหล่งชุกชุมด้วยแร่โคลลัมไบต์-แทนทาไลต์ อันเป็นส่วนประกอบ ส�ำคัญในการผลิตโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประดับชีวิตของ มนุษย์ในยุค Social Network และสิง่ ทีน่ า่ ขนพองสยองคองโกก็คอื บริษัทวิจัย Strategy Analytics ได้ให้ตัวเลขไว้ว่าระหว่างปี พ.ศ. 2553-2557 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นถึง 1.2 พันล้านราย! แม้ข้าฯจะเชื่อหนักแน่นว่าโลกของเราก�ำลังกระเด็นไปสู่ความ หายนะ แต่ขา้ ฯก็มไิ ด้กระหน�่ำซ�ำ้ เติมเพิม่ อัตราเร่งช�ำรุดทรุดฮวบแต่ ประการใด ในทางตรงกันข้าม วิถีชีวิตที่ข้าฯและนักปฏิบัติธรรม จ�ำนวนน้อยก�ำลังด�ำเนินอยู่ กลับเป็นการช่วยชลอพิบัติภัยหายนะ ของโลกบุบบู้ใบนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้าฯขอตีแผ่แล่เนื้อเถือหนัง ให้เห็นกันสดๆด้วยการวัดปริมาณการใช้พลังงานดังต่อไปนี้ งานฉลองปีใหม่ของพุทธศาสนิกชนจ�ำนวนหนึ่งร้อยคน ณ วัดป่า แห่งหนึ่ง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:00 – 00:00 น. - ต้มน�้ำส�ำหรับเครื่องดื่มในตอนเย็น - สูบน�้ำเก็บไว้ในถังเพื่อใช้ในการช�ำระร่างกายและขับถ่าย - เปิดไฟในศาลาเพื่อดูหนังสือสวดมนต์ท�ำวัตรเย็นประมาณ 30-45 นาที 47


(ขณะนั่งสมาธิเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงลดการใช้กระแสไฟ กว่า 70-90%) - เครือ่ งขยายเสียงส�ำหรับสวดมนต์และฟังเทศน์ประมาณ 1 ชัว่ โมง - เปิดไฟส�ำหรับห้องสุขา วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 00:00 – 12:00 น. - เปิดไฟส�ำหรับห้องสุขา - เปิดไฟในศาลาเพือ่ ดูหนังสือสวดมนต์ทำ� วัตรเช้าประมาณ 30-45 นาที (ขณะนั่งสมาธิเป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงลดการใช้กระแสไฟ กว่า 70-90%) - เครื่องขยายเสียงส�ำหรับสวดมนต์ท�ำวัตรเช้า ฟังเทศน์และ ประชาสัมพันธ์ประมาณ 2-3 ชั่วโมง - สูบน�้ำเก็บไว้ที่ถังเพื่อใช้ช�ำระร่างกาย ขับถ่าย และล้างภาชนะ - ปรุงอาหารและบริโภคเพียงหนึ่งมื้อต่อวัน งานฉลองปีใหม่ของปุถชุ นจ�ำนวนหนึง่ ร้อยคน ณ ไนท์คลับแห่งหนึง่ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เวลา 12:00 – 00:00 น. - ปรุงอาหารและบริโภคไปเรื่อยๆประมาณ 3 ชั่วโมง - เครื่องท�ำความเย็นประมาณ 3 ชั่วโมง - เครื่องดูดควันประมาณ 3 ชั่วโมง - เครื่องเสียงก�ำลังวัตต์สูงประมาณ 3 ชั่วโมง - ไฟแสงสีประมาณ 3 ชั่วโมง 48


วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 00:00 – 12:00 น. - ปรุงอาหารและยังบริโภคไปเรื่อยๆประมาณ 2 ชั่วโมง - เครื่องท�ำความเย็นประมาณ 2 ชั่วโมง - เครื่องดูดควันประมาณ 2 ชั่วโมง - เครื่องเสียงก�ำลังวัตต์สูงประมาณ 2 ชั่วโมง - ไฟแสงสีประมาณ 2 ชั่วโมง *ช่วงเวลาของการเปิด-ปิดของสถานบริการประเภทไนท์คลับหรือ บาร์เต้นร�ำตามกฏหมายของประเทศไทยคือ 21:00-02:00 น. ตัวอย่างที่ยกมาเป็นเพียงการเปรียบเทียบปริมาณการใช้พลังงาน นอกจากนี้ยังมีผลสืบเนื่องตามมาหลายประการ หลังจากกิจกรรม ฉลองปีใหม่ของทั้งสองกลุ่มชน พุทธศาสนิกชน - เอิบอิ่มใจเพราะได้เจริญศีล สมาธิ ปัญญา - เบิกบานใจเพราะได้ท�ำบุญตักบาตรรับวันปีใหม่ - ได้พบกัลยาณมิตร - ประสบสิ่งอันเป็นมงคลส่งผลไปถึงครอบครัว ญาติมิตร และ สิ่งแวดล้อม ปุถุชน - ขยะจ�ำนวนมาก 49


- มึนหัว อาเจียน - ติดยาเสพติด - เกิดโรค - เสียทรัพย์ - เสียตัว - ท�ำแท้ง - อุบัติเหตุ - พิการหรือเสียชีวิต - ทะเลาะวิวาท - เกิดคดีความ - ประสบสิ่งอัปมงคลนานัปการ ไม่ว่าจะมองมุมใด พระภิกษุสามเณรและนักปฏิบัติธรรมต่างก็ เป็นผูท้ ชี่ ว่ ยพยุงให้โลกนีห้ มุนไปอย่างบอบช�ำ้ น้อยทีส่ ดุ เพราะท่าน เหล่านั้นเห็นการบริโภคปัจจัยที่ได้จากธรรมชาติเป็นเพียงสิ่ง สนับสนุนอัตภาพให้เป็นไป เพื่อจะได้มีเรี่ยวแรงก�ำลังในการ ฝึกตนให้เข้าถึงความสุขที่ปราณีตกว่าการเสพวัตถุกาม ซึ่งเป็นที่ ชัดเจนแล้วว่า การสวาปามกามสุขอย่างไม่บันยะบันยัง เป็นเหตุ น�ำปัญหาสารพันมาสู่อารยธรรมของมนุษย์ไม่รู้จบสิ้น ภาษาปะกิตค�ำละวัน : Sustainable development = การพัฒนา ที่ยั่งยืน 50


แหล่งข้อมูล 1.ธรรมบรรยายเรือ่ ง “การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน” โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 2.เว็บไซต์ http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php ?mode=quote&comment=2&index=1 &table_id=1&cate_id=21&post_id=7103 3.เว็บไซต์ http://webboard.sanook.com/forum/3140212_15934042 4.เว็บไซต์ http://www.senate.go.th/senate/question_detail. php?question_id=23 5.เว็บไซต์ http://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20 EMR/Web%20IS%20Environment%20gr.1/contect/1-1-2.html ... Reflection on Funeral ในช่วงเข้ากรรมฐานฤดูหนาวระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ข้าฯรับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอกเพียงสองข่าวคือ ข่าวการมรณภาพและงานพระราชทานเพลิงศพของพระเดชพระคุณ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ส่วน อีกข่าวหนึ่งก็คือคลื่นยักษ์สึนามิบุกญี่ปุ่น ข่าวหลังนี้ทราบเพียง คร่าวๆ เพราะเห็นภาพปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ New York Times จึงพลิกดูผ่านๆ ส่วนข่าวแรกมีการรายงาน 51


ชนิดเกาะติดสถานการณ์มาให้ทราบเป็นระยะๆ จากพระที่ เดินทางไปสังเกตการณ์ ท่านแจ้งมาว่ามีพระภิกษุสามเณรเข้า ร่วมพิธีประมาณ 5,000 รูป และญาติโยมอีกกว่า 600,000 คน นานมาแล้วหลวงพ่อท่านหนึ่งเคยเตือนว่า “จะท�ำอะไรหรือไปไหน มาไหนก็ให้ระมัดระวัง เพราะคนสมัยนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน เขา บอกว่าพระก็เป็นคนเหมือนกัน” หลวงพ่อกลั้วเสียงหัวเราะ ก่อนปิดประโยคสุดท้าย ข่าวงานพระราชทานเพลิงศพท�ำให้ข้าฯ ฉุกใจขึ้นมาว่า เมื่อบางคนละจากโลกนี้ มีญาติพี่น้องผองเพื่อน ไปร่วมงานศพเพียงหลักร้อยหรือหลักพัน หลังจากเสร็จงาน ฌาปนกิจญาติๆก็น�ำกระดูกไปบรรจุไว้ตามก�ำแพงวัด นานทีปีหน จึงท�ำบุญอุทิศเผื่อแผ่ไปให้ ลูกหลานรุ่นหลังๆบางครั้งก็ไม่ใส่ใจ ท้ายที่สุดใครคนนั้นก็ถูกลืม ส่วนอีกผู้หนึ่งมีประชาชนแห่แหนไป ร่วมร�ำลึกถึงคุณงามความดีของท่านกว่าครึ่งล้าน เมื่อเสร็จจาก งานพิธีญาติธรรมก็ร่วมใจกันสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ เพื่อให้ ประชาชนจากทั่วสารทิศ เดินทางมากราบไหว้บูชา หลายคนมี ศรัทธามหาศาลแม้ต้องตีตั๋วชั้นหนึ่งนั่งเครื่องบินข้ามมหาสมุทร แปซิฟิกก็ไม่คิดเสียดาย นอกจากนี้อนุชนรุ่นหลังยังน�ำค�ำสอน ของท่านมาเผยแผ่และศึกษากันอย่างกว้างขวาง สร้างประโยชน์ ให้แก่โลกอีกชั่วกัปกัลป์ ข้าฯเห็นควรต้องต่อท้ายประโยคใน โคเทชั่นข้างต้นว่า “พระก็เป็นคนเหมือนกันไม่แต่ไม่เหมือนกัน” หรือใครว่าไม่จริง 52



... พ่อ (แม่) บ้านนอนดึก เป็นเรือ่ งหวานขมกลมกลืนไม่นอ้ ยส�ำหรับข้าฯ หากต้องบอกให้หนุม่ เหน้าสาวสวยละลดเลิกการดวดดื่มและเที่ยวกลางคืน เพราะสมัย ที่ตัวเองรุ่นกระทงก็บุกป่าฝ่าดงคอนกรีตเข้าคลับนั้นออกผับนี้อยู่ ไม่เว้นวาย ด้วยความอยากรู้อยากเห็นอยากทดลองใช้ชีวิต ผสาน สนิทกับการเสพติดเพื่อนจนเป็นเหตุให้ตัวเองสะบักสะบอมก่อน อ้อมเข้าสู่ดงธรรม แต่ด้วยวัยใกล้สี่สิบ ข้าฯไม่รู้สึกสะเทิ้นเขินขวย แม้เท่ารอยแมวข่วน หากต้องบอกเล่า เกาหรือเขกกระโหลกของ พ่อบ้านแม่เรือน ผูย้ งั หมกมุน่ หมมหมักรักการท่องราตรีเพือ่ ให้หยุด พิจารณาความจริงสี่ประการดังต่อไปนี้ ๑.เราได้รบั การยอมรับจากเพือ่ นและได้รบั ความสนุกสนานจากการ กินดื่มก็จริงอยู่ แต่ในขณะเดียวกันเราก็สูญเสียความไว้เนื้อเชื่อใจ และบรรยากาศอบอุน่ ภายในครอบครัว ซึง่ ก็นา่ พิจารณาเหมือนกัน ว่ามันคุ้มค่ากันหรือเปล่า? ๒.เวลาทีค่ วรจะให้แก่ตวั เองและคนในครอบครัว เราเอาไปสังสรรค์ กับเพื่อน ซึ่งเพื่อนประเภทนี้นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายท่านให้ หลีกไกล เพราะไม่เกือ้ กูลแก่ชวี ติ ทีด่ งี าม เราเป็นเพือ่ นร่วมงานกันได้ แต่ตอ้ งรูจ้ กั รักษาระยะห่างจึงจะเกิดผลดีทงั้ แก่ตวั เองและครอบครัว ๓.ลองเขียนแง่บวก-แง่ลบของการดืม่ เหล้าลงในกระดาษแผ่นหนึง่ จากนั้นเขียนแง่บวก-แง่ลบของการไม่ดื่มเหล้า ลงในกระดาษอีก 54


แผ่นหนึง่ แล้วชัง่ น�้ำหนักดูวา่ เราควรจะเลือกอะไรระหว่าง “ได้นอ้ ยเสียมาก” กับ “ได้มาก-เสียน้อย” ๔.ถ้าเราหยุดได้จะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนและคนในครอบครัว สิง่ ดีงามทัง้ หลายก็อยากจะมาอยูก่ บั เรา ทัง้ เพือ่ นทีด่ ี สามีหรือภรรยา ที่ดี ลูกที่ดี สุขภาพที่ดี บรรยากาศในครอบครัวที่ดี บรรยากาศในที่ ท�ำงานทีด่ ฯี แต่ถา้ เราด�ำเนินชีวติ ไปในทิศทางตรงกันข้าม สิง่ ดีงาม ทั้งหลายก็จะจากเราไป ภาษาพระใช้ส�ำนวนว่า “สิริไม่อยู่ร่วม” เพียงเท่านีก้ น็ า่ จะเพียงพอแก่การกระตุกกระตุน้ สัญชาตญาณใฝ่ดี ของพ่อบ้านแม่เรือนให้หายจากอาการแฮ้งก์โอเว่อร์ แต่ก็คงจะมี หลายใครที่อ่านเรื่องนี้จบแล้วโทรศัพท์เรียกผองเพื่อนขาเม้าท์ ขาเมา นัดกันแฮงก์เอ้าท์ที่เก่าเวลาเดิม หรืออาจจะมีบางใครใน จ�ำนวนนี้ที่อยากท�ำสิ่งมงคลแต่ทนค�ำค่อนแคะค่อนขอดของบาป มิตรไม่ได้ สมัยเป็นนักศึกษากลับใจข้าฯก็เคยโดนถลุงด้วยถ้อยค�ำ ประเภทนีม้ านับครัง้ ไม่ถว้ น ลมปรามาสสองพยางค์ทขี่ า้ ฯได้ยนิ อยู่ เป็นประจ�ำก็คือ “ตุ๊ดว่ะ” สาเหตุที่ข้าฯเอาตัวรอดปลอดภัยพเนจร มาเกาะชายผ้าเหลืองได้ ก็เพราะอาศัยคาถาศักดิ์สิทธิ์ประจ�ำใจ สี่พยางค์ที่ว่า “ด้านได้ อายอด” ถ้าเราท�ำหน้าด้านๆเข้าไว้ ก็ได้ บ�ำเพ็ญขันติบารมี แต่ถา้ เราเอาแต่อายก็อดและฉิบหายจากคุณงาม ความดี

55


... ครอบครัวครอบคน ไม่บอ่ ยครัง้ นักทีข่ า้ ฯจะสบโอกาสได้เข้าร่วมพิธเี จริญพระพุทธมนต์ ในงานมงคลสมรส และแต่ละครั้งที่ไปก็จะได้ฟังเทศน์ประเภท แสบซึ้งเสียวไส้ “เมื่อก่อนเราอยู่อย่างมีอิสระ จะไปไหนมาไหนก็ สะดวกสบาย แต่พอแต่งงานมีครอบครัวก็เหมือนมีกรงมาครอบ เอาไว้ ในครัวก็มที งั้ พริก ทัง้ น�ำ้ ปลา ทัง้ ควัน ทัง้ ไฟ แสบร้อนวุน่ วาย” ดูจากรูปการแล้วธรรมะที่มีเนื้อหาประมาณนี้ ครูบาอาจารย์คง มีเจตนาส่งตรงให้พระหนุ่มที่ก�ำลังนั่งหวั่นไหวอยู่ในที่นั้น ส่วน เจ้าบ่าวเจ้าสาวก็คงใจเต้นระทึกนึกไหวหวัน่ ไปตามพระธรรมเทศนา ไม่มากก็น้อย แต่ธรรมะประเภทอ่อนโยนให้ก�ำลังใจก็เคยปรากฏ เช่นกัน “การมีเพื่อนรู้ใจไม่ใช่สิ่งที่หาได้ง่ายๆ หากใครได้พบก็ ถือว่าเป็นโชคดี คนทีแ่ ต่งงานกันใหม่ๆมักจะมองเห็นแต่ขอ้ ดีของกัน และกัน แต่พออยู่ด้วยกันไปนานๆก็จะเห็นแต่ข้อเสียของกันและ กัน คูท่ หี่ ย่าร้างไม่ใช่เพราะไม่รกั กัน แต่เป็นเพราะไม่เป็นเพื่อนกัน” ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา คณะสงฆ์วัดป่าอภัยคีรีมีโอกาสแวะ ไปเยี่ยมโยมฝรั่งครอบครัวหนึ่ง ตัวบ้านได้รับการออกแบบอย่างดี พร้อมมีอุปกรณ์อ�ำนวยความสะดวกครบครัน สวนประดับประดา ด้วยดอกไม้สวยงามและเงียบสงบ แต่บ้านทั้งหลังอยู่กันล�ำพัง เพียงคุณตากับคุณยาย คุณตาป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย 56


นอนซมอยู่บนเตียง โดยมีคุณยายคอยช่วยเหลือดูแล แรกๆข้าฯ เกิดความสังเวชใจเจือค�ำถามว่า ลูกหลานหายไปไหนไม่มา เหลียวแล แต่หนึ่งเดือนถัดมา ข้าฯกลับรู้สึกตื้นตันในความผูกพัน และกรุณา ทีค่ ณ ุ ตากับคุณยายมีให้แก่กนั จะมีหนุม่ สาวกีม่ ากน้อย ในยุคนีท้ จี่ ะประคับประคองชีวติ คู่ไปได้ตลอดรอดฝัง่ ดัง่ ค�ำอวยพร ในวันแต่งงานที่ว่า “ขอให้ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร” หากจะสืบสาวถึงสาเหตุทที่ ำ� ให้ความสัมพันธ์ของคุณตากับคุณยาย ยั่งยืนยาวนาน ข้าฯมองไม่เห็นธรรมหมวดใดจะเหมาะสมและ น่าประทับใจไปกว่า “ฆราวาสธรรม” หรือธรรมะส�ำหรับผู้ครอง เรือน ขอบูชาเนื้อความจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวล ธรรม ของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มาเพื่อการพิจารณาร่วมกันดังต่อไปนี้ 1.สัจจะ หมายถึง ความจริง ซื่อตรง ซื่อสัตย์จริงใจ พูดจริง ท�ำจริง 2.ทมะ หมายถึง การฝึกฝน การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว รู้จัก ควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้ เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา 3.ขันติ หมายถึง ความอดทน ตั้งหน้าท�ำหน้าที่การงานด้วยความ ขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย 4.จาคะ หมายถึง ความเสียสละ สละกิเลส สละความสุขสบาย และผลประโยชน์ส่วนตนได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็นและความต้องการของผูอ้ นื่ พร้อมทีจ่ ะร่วมมือ ช่วยเหลือ 57


เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว หลังจากอ่านทบทวนหลายรอบข้าฯก็ถึงกับหลุดอุทาน Oh, Man!! นี่มันเข้มข้นพอๆกับธรรมะของนักบวชเลยนะเนี่ย!! เมื่อหาย สะดุ้งข้าฯก็พบความจริงว่า เพราะปัญหาในชีวิตของผู้ครองเรือน มันข้นเข้ม ธรรมะจึงต้องเข้มข้นพอฟัดพอเหวี่ยงกันจึงจะเอาอยู่ ในหนหลังครัง้ ทีข่ า้ ฯยังไม่ได้รบั อนุญาตให้ออกเดินธุดงค์ตามล�ำพัง เพราะอายุพรรษายังไม่ผา่ นห้ากาลฝน ข้าฯมักจะขอโอกาสติดสอย ห้อยติ่งครูบาอาจารย์ออกจาริกธุดงค์เป็นครั้งคราว เย็นย�่ำวันหนึ่ง หลังจากที่เดินกร�ำแดดกันมาเกือบตลอดทั้งวัน เราก็เข้าไปพัก ปักกลดที่ศาลาร้างในวัดประจ�ำหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งก�ำลังมีการ บูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถขนานใหญ่ ห่างจากศาลาออกไปสิบ กว่าเมตรเป็นบ้านของคนงานก่อสร้าง ขณะทีข่ า้ ฯก�ำลังเอนหลังเคลิม้ จะหลับก็ได้ยินเสียงผัวเมียคู่หนึ่ง ทะเลาะกันสะเทือนเลื่อนลั่น ต่างฝ่ายต่างพ่นถ่มบ้วนค�ำผรุสวาทถล่มกันชนิดไม่เกรงหน้าอินทร์ หน้าพรหมและหน้าพระ เรื่องที่ทั้งคู่ขนมาก่นด่าโพนทะนากันข้าฯ ฟังไม่ได้ศัพท์ จับได้แต่อารมณ์ร้อนร้ายรุนแรง กว่าจะยุติเลิกลา ก็ปาเข้าไปค่อนคืน ท�ำเอาพระธุดงค์หนุ่มน้อยเช่นข้าฯอกสั่นขวัญ แขวนแน่นทวาร แต่ถงึ กระนัน้ ค�ำสอนของหลวงพ่อชาก็ยงั โคจรมาให้ ใจได้คุ้นจ�ำ “คนที่ผ่านการมีครอบครัวแล้วมาบวช เขาอาจจะไป (ถึงที่สุดของการปฏิบัติ)ก่อนเรา เพราะเขาประสบกับความทุกข์ ยากล�ำบากมากับตัวเองจริงๆ ส่วนพวกเราที่บวชตั้งแต่ยังหนุ่ม มันมีแต่การเพ้อฝันคาดเดา” 58


... Second Grader คณะครูพาเด็กนักเรียนอายุประมาณ 10 ขวบจ�ำนวนสิบกว่าคน มาทัศนศึกษาที่วัดป่าอภัยคีรี สิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งของเด็ก ฝรั่งและผู้ใหญ่ฝรั่งก็คือถ้าสงสัยสิ่งใดแล้วต้องถาม ข้อดีก็คือได้รู้ ในสิง่ ทีต่ นยังไม่รู้ แต่ขอ้ เสียก็คอื ไม่รจู้ กั คัดสรรว่าสิง่ ใดควรถามและ สิง่ ใดไม่ควรถาม ข้าฯคิดเลยเถิดไปว่าอาจมีเด็กบางคนในจ�ำนวนนี้ ที่เป็นอย่างเรื่องในพระสูตร ณ อังสวดีนคร มีมานพหนุ่มผู้หนึ่งชื่อนันทะ เป็นบุตรชายคนเดียว ของตระกูลมหาเศรษฐี เมือ่ มารดาบิดาสิน้ ชีวติ จึงต้องรับหน้าทีด่ แู ล ทรัพย์สมบัตทิ งั้ หมด นันทะมานพพิจารณาเห็นว่า มารดาบิดาตลอด จนปู่ย่าตาทวดท�ำงานเก็บรวบรวมทรัพย์สมบัติเอาไว้ด้วยความ เหนื่อยยากล�ำบาก เป็นทาสรับใช้เงินอยู่นานแล้วก็ตายไปโดยน�ำ ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ติดตัวไปด้วยไม่ได้ หน�ำซ�้ำยังทิ้งไว้เป็นภาระ แก่ลูกหลาน ถ้าเราอยู่ครองเรือนต่อไปก็คงจะประสบชะตากรรม เช่นเดียวกับมารดาบิดาปู่ย่าตาทวด เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น นันทะมานพจึงน�ำเอาทรัพย์สมบัติทั้งหมดบริจาคทาน แล้วออก บวชเป็นฤๅษี *พระไตรปิฎก เถรคาถา เรื่องพระสุภูติเถระ 59


ความคิดเห็นจากน้องแอม : นมัสการค่ะหลวงพี่ เด็กที่โน่นน่ารักจัง ยกพระสูตรได้ตรงกับใจแอมอีกแล้วค่ะ นีแ่ อมว่าจะไปปฏิบตั ธิ รรม 9 วัน คุณแม่ก็งอนซะแล้ว 5555 เวลาพูดเรื่องความตาย คุณแม่ ก็งอน เวลาพูดว่าจะอยู่เป็นโสด คุณแม่ก็งอน เวลาพูดว่าถ้าไม่มี พ่อกับแม่แล้ว แอมจะไปอยู่วัด แม่ก็งอน 555555 โอย…ง้อยังไง ดีคะหลวงพี่ (ปกติแอมใช้วิธียิ้มเงียบๆสู้ แต่สงสัยใช้มุขนี้บ่อยๆ จะไม่ได้ผล) ความคิดเห็นจากเปสโลภิกขุ : สิ่งที่แม่ให้เรามาตั้งแต่เกิดจนโต เราต้องคิดถึงส่วนนี้บ่อยๆ ส่วนความไม่ฝักใฝ่ในธรรมก็ยกให้เป็น เรื่องของท่าน เพราะความพร้อมของแต่ละคนมาถึงไม่พร้อมกัน อย่างเช่นโยมแม่ของอาตมาเป็นคุณครูที่ชอบจัดค่ายคุณธรรม บ่อยๆ แต่อาตมาไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมนี้เลย ทั้งๆที่อยู่โรงเรียน เดียวกัน นานๆได้เข้าร่วมสักทีก็อยู่ได้เพียงครึ่งเดียวแล้วหนี กลับบ้าน โดยอ้างว่ามีการบ้านต้องท�ำ แต่พอถึงเวลาอยากบวช ใครเอาฮิปโปโปเตมัสมาฉุดก็ไม่อยู่ เป็นบุญเหลือหลายที่โยมพ่อ โยมแม่ของอาตมาเข้าใจ และให้โอกาสลูกๆได้เลือกทางชีวิต ของตัวเอง มีพระฝรั่งเล่าให้ฟังว่าท่านกลับไปเยี่ยมครอบครัวซึ่ง นับถือศาสนาคริสต์มาแต่เดิม ญาติๆของท่านสาปแช่งว่า เธอไม่ นับถือพระเจ้า ตายไปจะต้องตกนรก!! สถานการณ์ที่น้องออน ก�ำลังประสบอยู่คงไม่หนักหนาขนาดนี้ วิธีง้อก็คือบ�ำเพ็ญคุณงาม ความดีของเราไปเรื่อยๆ และมีความสุขให้แม่เห็น ฝากข้อคิดไว้ ส�ำหรับการพิจารณาอีกเล็กน้อย “ค�ำพูดจริง มีประโยชน์ แต่ไม่เป็น ที่ชอบใจของผู้ฟัง พระพุทธองค์ทรงเลือกกาลที่จะตรัส” 60


... Questions from San Francisco นักศึกษาชาวไทยกลุ่มหนึ่งจาก University of San Francisco เดินทางมาท�ำบุญที่วัดป่าอภัยคีรี พอดีท่านพระอาจารย์มีธุระด่วน จึงให้ข้าฯท�ำหน้าที่สนทนาปราศรัยกับพวกเขา มีบางค�ำถามที่ น่าสนใจ แต่รู้สึกว่าตัวเองยังตอบได้ไม่ดีในตอนนั้น จึงขอยกมา ตอบใหม่ในตอนนี้ ถาม : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือความสุข อะไรคือความทุกข์? ตอบ : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือความอบอุ่น อะไรคือความ เหน็บหนาว ถาม : สมาธิจะช่วยเราได้ยังไง? ตอบ : ช่วยให้เราได้สัมผัสความสุขอีกแบบหนึ่งที่ไม่ต้องพึ่ง iPod ถาม : พระวิปัสนาท�ำไมต้องมีหลวงพ่อสายนั้นสายนี้? ตอบ : ขอยกอุปมาของหลวงพ่อชามาเพื่อการพิจารณาดังนี้ คน สามารถจับปลาได้หลายวิธี บางคนช�ำนาญในการใช้แห บางคน ช�ำนาญในการใช้คนั เบ็ด บางคนช�ำนาญในการใช้ฉมวก ใครช�ำนาญ วิธใี ดเขาก็สอนวิธนี นั้ แต่จะเป็นวิธใี ดก็ตามขอให้จบั ปลาได้กแ็ ล้วกัน 61


... Noisy Ghost ค�่ำวันหนึ่งในห้อง Sauna พระฝรั่งเล่าเรื่องผีที่ชอบท�ำเสียงให้คน ตกใจเช่นเปิด-ปิดหน้าต่าง ลากโซ่ ท�ำของหล่นลงมาจากที่สูง ผีนิสัยแย่ๆแบบนี้มีศัพท์เรียกเฉพาะว่า Noisy Ghost เมื่อข้าฯ ได้ยินเรื่องนี้ก็ได้พิจารณาว่า ถ้าผีสามารถขยับหรือเคลื่อนย้าย สิ่งของได้ก็แสดงว่าผีมีพลังงาน ถ้าเช่นนั้นมาช่วยกันล้างส้วม ล้างถ้วยชามหรือถูบ้าน ยังจะมีประโยชน์กว่าการใช้พลังงาน ไปท�ำในสิ่งไร้ค่า แต่ผีนิสัยดีแบบนี้คงหายาก เพราะผีนิสัยดีมา จากคนนิสัยดี และคนนิสัยดีส่วนใหญ่ก็ไม่มาเกิดเป็นผี ... ทางเลือกของความสุข โยม : นมัสการหลวงพี่ค่ะ…เมื่อวานน้องเหน่งโทรมาปรึกษา (หรือ บ่น) เรื่องที่ท�ำงานให้ฟังค่ะ สรุปก็คือไม่ชอบบรรยากาศในการ ท�ำงานค่ะ ท�ำงานเจ็ดวันไม่มีหยุด พูดจาแย่ๆ (สุนัขไม่รับประทาน) สังคมแบ่งฝักฝ่าย จับกลุ่มนินทา น้องเค้าเลยปรึกษาว่าจะออก ดีไหม แล้วจะไปท�ำอะไรยังไงดีคะ ก็สงสารเหมือนกันนะคะ ยิ่งน้องเค้าเคยอยู่แต่ในที่สงบๆ พูดจาภาษาดอกไม้ เจอแบบนี้ สงสัย Culture shock ค่ะ 62


เปสโลภิกขุ : อนาคาริกชาวอเมริกันที่สึกออกไป 2-3 คนเล่าให้ฟัง ว่า พวกเขาอยู่กับโลกข้างนอกไม่ได้ หลังจากสึกออกไปแล้วก็ยัง วนเวียนอยู่ในกลุ่มนักปฏิบัติธรรม อดีตอนาคาริกสองคนท�ำงาน เป็นเจ้าหน้าต้อนรับที่ Spirit Rock Meditation Center อีกคนหนึ่ง บินไปสอนภาษาอังกฤษให้แก่ลามะที่ธรรมศาลาทางตอนเหนือ ของประเทศอินเดีย แม้จะได้ค่าตอบแทนไม่มากแต่พวกเขาก็ดูมี ความสุขกันดี จุดส�ำคัญอันหนึง่ ก็คอื ทัง้ สามคนยังไม่มคี รอบครัว แต่ ถ้าตัง้ ใจจะสร้างเนือ้ สร้างตัวกันจริงๆ ตังค์แค่นคี้ งไม่พอรับประทาน ทั้งคนและสุนัข ... วิวาทะบางเวลา โยมผู้หนึ่งฝากโยมอีกผู้หนึ่งมาถามว่า พระทะเลาะกันบ้างไหม? ฉับพลันที่ได้ยินค�ำถามนี้ข้าฯแทบไม่ต้องควานหาค�ำตอบให้เมื่อย ตุ้ม เพราะมันติดอยู่ที่มุมปากและพร้อมเสมอที่จะหล่นค�ำว่า Absolutely! แต่เท่าที่ข้าฯได้สังเกต พระที่ชอบก่อเรื่องทะเลาะ เบาะแว้งให้เห็นบ่อยทีส่ ดุ มักจะมาจากกลุม่ โทสจริต ข้าฯเคยได้ยนิ พระบางรูปในกลุม่ นีบ้ ว้ นประโยคน่าขนหัวลุกว่า “ผมมีการทะเลาะ วิวาทเป็นอาหารว่าง” เหตุทกี่ ารทะเลาะวิวาทเป็นขนมหวานส�ำหรับ พระ (หรือโยม) ในกลุ่มโทสจริต เพราะท่านเหล่านี้มีหูตาอันว่องไว ในการจับผิดผู้อื่น จู้จี้เจ้าระเบียบ ชอบบังคับควบคุมจักรวาล 63


หากเป็นพระเจ้าถิ่นก็จะมีอารมณ์อีกอย่างหนึ่งเพิ่มเข้ามานั่นก็คือ “ข้าอยู่ที่นี่มานาน รู้ข้อวัตรปฏิบัติเยอะ เอ็งมาทีหลังต้องฟังข้า” ยิง่ ถ้าเป็นพระหลวงตา (ผูท้ บี่ วชตอนอายุมาก) ก็จะหนักหนาสาหัส เป็นพิเศษ เพราะท่านมองเห็นพระที่มีอายุน้อยกว่าเป็นลูกหลาน ที่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนไปแทบทุกเรื่อง เท่านั้นยังไม่พอ ถ้าเป็นฝรั่งก็จะเพิ่มดีกรีขึ้นมาอีกเพราะสังคมของเขาอยู่กันด้วย กฏระเบียบข้อบังคับ เมื่อได้ตั้งกติกาขึ้นมาแล้ว ถ้าใครตุกติกกูกัด หางขาด! แม้การทะเลาะวิวาทจะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกชุมชน แต่ความ ได้เปรียบของพระสงฆ์มีอยู่สองประการคือ ประการแรกเรามี โอกาสหลีกเร้นอยู่ในสถานที่อันสงบสงัดอย่างสม�่ำเสมอ ซึ่งความ วิเวกของธรรมชาติส่งผลให้จิตใจผ่อนคลาย และเกิดสติปัญญา ประการที่สอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบระหว่างพระด้วยกัน เราจะพยายามแก้ไขตัวเอง ก่อนที่จะสร้างความร�ำคาญให้กับชีวติ ของผู้อื่น

64



... Comment with Hard Core Metta คุณป้าหน้ามนคนหนึง่ ร่วมกับเพือ่ นพ้องน้องพีด่ ำ� เนินการผลิตหนังสือ ธรรมะกันขนานใหญ่ จากนั้นจึงฝากผลงานเล่มหนึ่งมาให้ข้าฯช่วย แนะน�ำและวิจารณ์ แถมมีการก�ำชับในตอนท้ายของจดหมายว่า “คอมเม้นท์ด้วยความเมตตานะคะ” - ปก Pop Art เก๋ไก๋ให้อารมณ์หนังสือธรรมะแนวใหม่ - รูปเล่มทันสมัยสะดุดตา - ภาพประกอบสดใสน่าเอ็นดูกระตุ้นจินตนาการ - เนื้อหาอุดมด้วยแง่คิดเบิกบานสนานสนุก - แทรกเรื่องราวกระตุกให้ตื่นเต้นเป็นระยะๆ - ฟอนท์อวบอ้วนอ่านสบายเป็นมิตรต่อสายตา - ขออนุโมทนากับลุงป้าน้าอามาด้วยประการฉะนี้แลฯ ... เรื่องเดิม โยม : หลวงพีค่ ะ่ หลวงพี่เคยเจอคนแบบนีไ้ หมคะ พวกพีๆ่ ทีท่ �ำงาน ค่ะ กลุ่มหนึ่งมีศรัทธาที่จะปฎิบัติ โดยการหาสถานที่วิเวกเข้า 66


คอร์สกรรมฐาน แต่อีกกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อว่าฉันสามารถปฏิบัติ เองได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร แค่มีสติกับสิ่งที่เราท�ำให้ตลอด (โยม บอกเค้าว่านั่นแหละที่ยาก แต่เค้าบอกว่าไม่ยากๆๆ อยู่ที่จะท�ำ หรือไม่ท�ำ เอ...แล้วมันไม่ยากยังไงหว่า) เค้ามองว่าการที่ต้อง เตรียมตัวเข้าวัด สมัครเข้าคอร์ส มันเป็นสิ่งยุ่งยากค่ะ เค้าบอกว่า เจอแต่เทศน์ที่ใช้ความโลภน�ำอย่างนู้นอย่างนี้ เค้าเล่าว่าขนาด พระหนุ่มที่มีชื่อเสียงบอกว่าฆ่าช้างบาปกว่าฆ่ามดเพราะช้างตัว ใหญ่ ซึ่งเค้าก็แย้ง คนกลุ่มนี้ไม่อยากฟัง ไม่อยากอ่าน เพราะเชื่อ ว่าฟังไปเค้าก็แย้ง เพราะเค้าว่าไม่ใช่แก่นแท้ค่ะ อ้อ สาเหตุที่เริ่ม คุยกันเรื่องนี้เพราะว่า โยมเอาซีดีของหลวงตามหาบัวไปให้เค้า ค่ะ แล้วเค้าก็เอามาคืน น่าเสียดายแทนมากๆเลยค่ะ คนกลุ่มนี้มี ความคิดที่ดี แต่มีมิจฉาทิฎฐิและเจอแต่สิ่งที่ไม่ใช่แก่น เปสโลภิกขุ : เรื่องที่โยมเล่ามีแง่มุมให้พิจารณาหลายประการ 1.ปัจจัยสองอย่างที่เกื้อกูลแก่นักปฏิบัติธรรมมือใหม่ได้มากก็คือ สถานทีอ่ นั เหมาะสมและกัลยาณมิตร ความวิเวกของป่าท�ำให้การ ภาวนาท�ำได้สะดวกเพราะมีสิ่งยั่วยวนน้อย การได้อยู่ใกล้ครูบา อาจารย์ท�ำให้การปฏิบัติก้าวหน้าเพราะท่านจะช่วยชี้แนะในจุด ที่เราติดขัด ธรรมอุปมาของหลวงพ่อชาตอนหนึ่งก็น่าพิจารณา เหมือนกัน มีใจความประมาณว่า “ม้าที่ฝึกดีแล้วจะควบขี่โลดโผน โจนทะยานพิสดารอย่างไรก็ได้ แต่ม้าที่ยังไม่ได้ฝึกมีแต่จะพา จ๊อกกี้เข้ารกเข้าพงลงเหวลงห้วย” 67


2.ฆ่าช้างบาปกว่าฆ่ามด เพราะช้างเป็นสัตว์มีคุณ ท�ำประโยชน์ ได้มากกว่ามด เรื่องช้างๆมดๆนี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกขึ้นมาพูด คุยกันเท่านั้นเอง เพราะในชีวิตประจ�ำวันของคนเมืองสามารถ ปฏิบัติศีล ข้อปาณาติบาตฯได้อย่างสะดวกดาย อยากกินทอด ไก่ก็แค่เดินไปสั่งที่ร้านไก่ทอด ไม่จ�ำเป็นต้องรบกวนมด หรือช้าง ตัวอย่างต่อไปนี้น่าพิจารณาเป็นยิ่งนักเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง นานมาแล้วที่วัดป่าอภัยคีรีเกิดวิกฤติการณ์กองทัพแมลงสาบยก โขยงบุกห้องเก็บอาหาร ทุกซอกมุมเต็มไปด้วยแมลงสาบหลาก อิริยาบถ ทั้งไต่คลานและบินผร่ึบผรั่บยุบยับน่าเอ็นดู คณะสงฆ์จึง ประชุมกันว่าควรท�ำอย่างไร ในที่สุดก็ตัดสินใจเรียกใช้บริการของ บริษัทก�ำจัดแมลง เพราะถ้าไม่ท�ำเช่นนี้ หากมีแมลงสาบบินไป ถึงหูเจ้าหน้าที่ของรัฐ โทษสถานหนักก็คือต้องถูกสั่งปิดวัด เพราะ แทนที่วัดจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อารยชนแต่กลับกลายเป็นแหล่ง แพร่พันธุ์เชื้อโรค คณะสงฆ์จึงต้องเลือกระหว่าง “ได้น้อยเสียมาก กับได้มากเสียน้อย” พุทธศาสนามุ่งให้คนเข้าถึงความจริงและ ใช้ปัญญาในการแก้ไขความทุกข์ (ปัญหา) หลังจากหยั่งรู้ความ จริงนั้นๆ 3.ครูบาอาจารย์แต่ละท่านมีคุณธรรม จริตนิสัย ตลอดจนไหวพริบ ปฏิภานในการแสดงพระธรรมเทศนาแตกต่างกัน ผู้ฟังก็มีจริต นิสัยแตกต่างกัน อาจจะทดลองอ่านหรือฟังพระธรรมเทศนา ของครูบาอาจารย์ท่านอื่นๆ ซึ่งยุคนี้มีให้ดาวน์โหลดมากมาย ทางอินเทอร์เน็ต ทั้งภาษาไทย ภาษาอีสานและภาษาอังกฤษ 68


4.สาวกลัทธิมิจฉาทิฐิมีมาตั้งแต่ยุคก่อนพุทธกาล แม้ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีอยู่ 5.พรหมวิหารสี่คือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นธรรมะแบบ องค์รวม ต้องปฏิบัติให้ครบโดยพิจารณาน�ำมาใช้ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์จึงจะส�ำเร็จประโยชน์ เรียกว่า “การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม” ข้อคิดเห็นจากน้องแอม : สาธุค่ะหลวงพี่ ขนาดแอมเข้าป่าทุกปี เวลาโมโหทีก็เกือบตามไม่ทันทุกทีเลยค่ะ ยังต้องฝึกอีกเยอะนักๆ พระอาจารย์เคยตอบค�ำถามนี้เหมือนกัน ประมาณว่ามีโยมถาม ว่าคนที่ไปปฏิบัติธรรมแล้วยังโกรธอยู่ กับคนที่มีจิตใจดีอยู่แล้ว แต่ไม่ฝึกตน คนแบบไหนน่ายกย่องกว่ากัน พระอาจารย์ตอบว่า แบบแรกน่าชื่นชมกว่าเพราะรู้จักหาทางออก คิดอีกแง่ถ้าไม่ไปวัด อาจจะแย่กว่านี.้ ..(ฟังแล้วโดนใจ ถ้าไม่ได้ไปวัดคงจะแย่กว่านีจ้ ริงๆ) สาธุ สาธุ สาธุ ค่าาาา ข้อคิดเห็นจากเปสโลภิกขุ : เป็นไปได้ทีเดียวว่า คนใจดีที่ว่านั้น อาจจะกระทบอารมณ์ที่มีความรุนแรงเพียงระดับต�่ำถึงปานกลาง ซึ่งเขาพอทนได้ แต่ถ้ากระทบอารมณ์ที่มีความรุนแรงระดับสูง ถึงสูงมาก รายไหนก็รายนั้น ตราบใดที่ยังไม่ถึงที่สุดของการ ปฏิบัติประมาทไม่ได้เลย

69


... ว่าไปเรื่อย โยม : เวลาปวดขี้ก็รู้แค่ว่าห้องน�้ำอยู่ไหน เวลาหิวจะหากินยังไง ไปเรียนธรรมะท่องภาษาบาลีท�ำไม มันไม่ได้ช่วยให้ดับทุกข์ เหมือนตัดต้นไม้ทงั้ ภูเขา แล้วก็ไม่ได้อะไร ได้แต่ถอื ดีวา่ รูศ้ พั ท์ธรรมะ ท�ำตัวเหนือกว่าสัตว์โลก นั่งให้คนมากราบไหว้ ที่มา : http://fearlessdiary.exteen.com Entry : ความเห็นของหลวงพ่อชาเกี่ยวกับจักรวาล Commented on 2011-06-10 16:05 เปสโลภิกขุ : การรับประทานอาหารและการขับถ่ายเป็นเพียงการ แก้ไขความทุกข์ด้านร่างกาย มนุษย์ยังมีความทุกข์ด้านอื่นที่ต้อง เผชิญ นั่นก็คือความทุกข์ที่มีสาเหตุมาจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย การประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก การพลัดพราก จากสิ่งอันเป็นที่รัก ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ซึ่งความ ทุกข์เหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อจิตใจ (แม้ขณะที่โยม ก�ำลังกระแทกนิ้วลงบนคีย์บอร์ดเพื่อคอมเม้นท์บล็อกนี้ โยมเองก็ ก�ำลังถูกความทุกข์บางอย่างข้างต้นปู้ยี่ปู้ย�ำ!) แล้วเราจะแก้ไขกัน อย่างไร? 70


การท่องบ่นสาธยายมนต์ แม้จะท่องเป็นภาษาบาลีโดยไม่รู้ความ หมายใดๆก็สามารถใช้เป็นอุบายในการท�ำจิตให้สงบได้ เมื่อจิต เกิดความสงบจะมีคุณสมบัติเหมือนน�้ำในล�ำธารสามประการคือ “ไหลไปทางเดียว” ท�ำให้เกิดพลัง “ใส” ท�ำให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ใต้ ผิวน�ำ ้ และ “นิง่ ” ท�ำให้สงบสุข ผูท้ ไี่ ด้สมั ผัสความสงบอย่างสม�ำ่ เสมอ จะมีความสุขอยู่ภายใน จึงไม่จ�ำเป็นต้องดิ้นรนขวนขวายตะกาย หาความสุขจากภายนอกซึง่ มาจากการเสพบริโภควัตถุกาม อันเป็น เหตุให้เกิดการเบียดเบียนธรรมชาติและมนุษย์ดว้ ยกัน สถานการณ์ สิง่ แวดล้อมเป็นพิษทัว่ โลกและเหตุการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรง ที่เมืองไทยเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้ นอกจากนีจ้ ติ ทีส่ งบยังเป็นจิตทีค่ วรแก่การงาน การสวดมนต์ทำ� วัตร แปลบาลี-ไทยหรือบาลี-อังกฤษ มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความ เข้าใจความหมายของบทสวดมนต์นั้นๆ เมื่อเข้าใจก็สามารถน�ำ ไปพิจารณา หาอุบายอันแยบคายในการถ่ายถอนกิเลสอันเป็น ต้นเหตุของความทุกข์ทงั้ ปวง เมือ่ จิตของบุคคลใดไม่ถกู ครอบง�ำด้วย อ�ำนาจของกิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลง การกระท�ำ ค�ำพูด ความคิดของบุคคลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ทั้งชีวิต ของตนเองและผู้อื่น ยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆสักหนึ่งกิเลส เมื่อ ความโกรธเกิดขึ้นในจิตของบุคคลที่ยังไม่ได้ฝึกตน การกระท�ำ ทางกาย วาจา และความเคลื่อนไหวภายในจิตของผู้นั้นย่อมเป็น ไปเพื่อเผาท�ำลายทั้งตนเองและผู้อื่น สิ่งที่จะบรรเทาความโกรธ ได้ก็คือความเมตตา ซึ่งหมายถึงความปรารถนาให้ผู้อื่นอยู่เย็น 71


เป็นสุข บุคคลที่ฝึกตนตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างถูกต้อง ความโกรธจะลดลงและความเมตตาจะเพิ่มขึ้น อุปมาความโกรธเป็นน�้ำเสียและความเมตตาเป็นน�้ำดี ในแก้ว ที่หนึ่งมีน�้ำเสียอยู่เต็ม 100% ในแก้วที่สองมีน�้ำดีกับน�้ำเสียปะปน กันอยู่อย่างละ 50% และในแก้วที่สามมีน�้ำดีอยู่เต็ม 100% เป็นที่ ชัดเจนอยู่แล้วว่า น�้ำในแก้วที่สามย่อมสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างบริบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย จะน�ำมาดื่มหรือล้างหน้าก็ให้ ความรู้สึกสดชื่นรื่นรมย์ ปิดท้ายด้วยพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่มที่ 45 หน้า 207 ปฐมนกุหนาสูตร (ว่าด้วยแนวประฤติพรหมจรรย์) ความว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติ มิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและความสรรเสริญ มิใช่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสังวระ คือความส�ำรวม เพื่อปหานะ คือความละ เพื่อวิราคะ คือคลายความก�ำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะ คือความดับทุกข์ 72


ภาษาปะกิตค�ำละวัน : Find Fault = จับผิด ... ศาสนา-มีไปท�ำไม? และค�ำตอบ โยม : มีคนเกรียนอีกแล้วล่ะค่ะ (http://www.pantip.com/cafe/ religious/topic/Y10007300/Y10007300.html) เปสโลภิกขุ : นั่นน่ะสิ อาตมาก็สงสัยเหมือนกันว่า ศาสนา-มี ไปท�ำไม? ถ้าศาสนานั้นไม่ได้เป็นเพื่อความร่มเย็นของโลก ถ้า ศาสนานั้นมองผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากตนเป็นศัตรูที่ต้อง ก�ำจัด ถ้าศาสนานั้นเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนคนอื่น เราจะมีศาสนาแบบนี้กันไปท�ำไม แต่ถ้าเจาะจงลงไปว่า พุทธ ศาสนา-มีไปท�ำไม? อาตมาก็ขอตอบด้วยการย้อนถามว่า ข้าวกินไปท�ำไม? ข้อคิดเห็นที่หนึ่ง : ตอบแบบ Zen อีกแระ แล้วตกลงศาสนากะ ข้าวมีไปท�ำไม? ต่าง-เหมือนอย่างไร? ชี้แนะด้วยค่ะท่านเปสโล ข้อคิดเห็นจากเปสโลภิกขุ : ชี้มาสิบกว่าเล่มแล้ว ข้อคิดเห็นที่สอง : อาตมาขอย้อนถามบ้างว่ามันเกี่ยวอะไรกับกิน 73


ข้าว? ศาสนามีก็ได้ ไม่มีก็ได้ มนุษย์มีมาก่อนที่จะมีศาสนาก็อยู่ กันมาได้ การเปรียบเทียบด้วยค�ำถามที่มันบิดเบือนความจริง ไม่ฉลาดและไม่จริงใจ ข้อคิดเห็นจากเปสโลภิกขุ : พระพุทธองค์ทรงแสดงวิธีตอบค�ำถาม ไว้สี่แบบคือ 1. เอกังสพยากรณ์ การตอบนัยเดียวเด็ดขาด ถาม : กรรมคืออะไรครับ? ตอบ : การกระท�ำประกอบด้วยเจตนา 2. วิภัชชพยากรณ์ การตอบแบบแยกประเด็น ถาม : การท�ำบล็อกสมควรแก่พระหรือไม่? ตอบ : ถ้าเป็นไปเพือ่ กุศลก็สมควร แต่ถา้ เป็นไปเพือ่ อกุศลก็ไม่สมควร 3. ปฏิปุจฉาพยากรณ์ การตอบด้วยการย้อนถาม ถาม : อะไรจะการันตีให้เราได้คะ่ ว่า ถ้าปฏิบตั ธิ รรมแล้วจะได้ผลจริง? ตอบ : อะไรจะการันตีให้เราได้ว่า ถ้าตั้งใจท�ำงานแล้วจะได้เลื่อน ต�ำแหน่ง? 4. ฐปนะ การตอบโดยไม่ตอบ ถาม : ที่สุดของจักรวาลอยู่ที่ไหน? ใครคือผู้สร้างโลก? ตอบ : ไม่ตอบเพราะตั้งค�ำถามผิด ค�ำถามเป็นปัจจัยหนึ่งในการ 74


ก�ำหนดทิศทางของการสนทนา ถ้าตั้งค�ำถามผิดค�ำตอบก็ผิดตาม ไปด้วย ยิ่งถามยิ่งตอบยิ่งถกเถียงกันไม่รู้จบสิ้น ท�ำให้เสียเวลา และไม่เกิดประโยชน์ อาตมาใช้วิธีที่สามค่อนข้างบ่อยเพราะเจอค�ำถามที่ต้องตอบด้วย การย้อนถามอยู่เป็นประจ�ำ ค�ำถามในลักษณะนี้ก่อตัวขึ้นจาก ความอวดดีและอยากเอาชนะ มิได้เกิดจากความสนใจใฝ่รู้ ถ้า เป็นสมัยยังหนุ่ม อาตมาคงจะอดกล่าวชื่นชมผู้ถามด้วยส�ำนวน ของคนในวัยนั้นไม่ได้ว่า “ค�ำถามของนายกวงตีงมาก” ในเมื่อ ค�ำถามกวงตีงค�ำตอบก็ต้องกวงตีงเพื่อให้สมน�้ำสมเนื้อกัน ยิ่ง ตอบให้ผู้ถามงุนงงสงสัยมากเท่าใดยิ่งดี เพราะค�ำตอบซึ่งมาใน รูปของค�ำถามจะวนเวียนอยู่ในใจของเขา จนส่งผลให้เขาเกิด ความกระตือรือร้นค้นหาค�ำตอบด้วยตัวของเขาเอง แต่ถึงเขาจะ ไม่สนใจค้นคว้าหาค�ำตอบมันก็เป็นเรื่องของเขา อย่างน้อยเราก็ ไม่ต้องเหนื่อยอธิบาย ถึงแม้ว่าเราจะอธิบายละเอียดละออ เพียงใดเขาก็คงไม่เปิดใจรับ เพราะจิตของเขาถูกห่อหุ้มด้วยความ อวดดีและอยากเอาชนะอยู่อย่างแน่นหนา อันที่จริงการตอบ ค�ำถามประเภทที่หนึ่งและสองคือ ตอบนัยเดียวตรงไปตรงมา และตอบแบบแยกประเด็น อาตมาก็ใช้บ่อยเหมือนกัน ครั้งล่าสุด ก็คือ บทสัมภาษณ์ใน “หลามแม็กกาซีน” ซึ่งปรากฏอยู่ในหน้า 34-40 ของหนังสือเล่มนี้ ส่วนการตอบค�ำถามประเภทที่สี่ คือตอบ โดยไม่ตอบ ในชีวิตประจ�ำวันอาตมาแทบไม่ได้ปะทะกับค�ำถาม ประเภทนี้ 75


ถาม : ศาสนา-มีไปท�ำไม? ตอบ : ข้าว-กินไปท�ำไม? ขยายความ : เรากินข้าวเพราะร่างกายของเราหิว เราปฏิบัติธรรมะ ในพุทธศาสนาเพราะจิตใจของเราหิว ในยุคดึกด�ำบรรพ์ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ส่งผลให้มนุษย์เกิดความหวาดกลัว ด้วยเหตุที่มนุษย์ยังไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ได้ เพราะความรู้และวิทยาการในยุคนั้นเพิ่งเริ่มต้น มนุษย์จึงน�ำ ปรากฏการณ์เหล่านัน้ มาเทียบเคียงกับประสบการณ์ในชีวติ ประจ�ำวัน ของตน ซึ่งท�ำให้เกิดความกลัวเช่นกันนั่นก็คือ การที่ผู้มีก�ำลัง มากกว่าข่มแหงรังแกผู้มีก�ำลังน้อยกว่า เพื่อไม่ให้ถูกเบียดเบียน ผูม้ กี ำ� ลังน้อยกว่าจึงต้องหาวิธเี อาใจผูม้ กี �ำลังมากกว่า และมนุษย์ก็ ใช้วิธีการเดียวกันนี้กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เพราะเข้าใจว่า เป็นการกระท�ำของผูท้ มี่ กี ำ� ลังเหนือกว่าตน ด้วยเหตุนกี้ ารบวงสรวง อ้อนวอนจึงเกิดขึ้น ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องปลอบประโลมใจให้ มนุษย์ คลายความหวาดกลัวและด�ำรงเผ่าพันธ์มุ าจนถึงยุคปัจจุบนั แต่ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือมนุษย์ยุคหลัง การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ต่างก็ถูกบีบคั้นด้วยความทุกข์ซึ่งมี สาเหตุมาจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย การประสบกับสิ่งไม่เป็น ที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ สิ่งนั้น ความเศร้าโศก ความร�่ำไรร�ำพัน ความไม่สบายกาย ความ 76


ไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึง่ ความทุกข์เหล่านีม้ นุษย์ไม่สามารถ ปลดเปลื้องได้ด้วยการบวงสรวงอ้อนวอน หรือใช้เทคโนโลยีล�้ำ สมัยเข้าต้านทาน จนกระทั่งสองพันห้าร้อยกว่าปีที่ผ่านมา พระผู้มี พระภาคเจ้าได้บังเกิดขึ้นในโลก สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้คือ อริยสัจจ์สี่ เป็นเครือ่ งมือซึง่ สามารถขจัดความทุกข์ทงั้ มวล ทีค่ กุ คาม มนุษย์มาตั้งแต่ยุคดึกด�ำบรรพ์ได้อย่างสิ้นเชิง ถาม : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหลักการที่ว่ามาทั้งหมดเป็นความจริง? ตอบ : เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวหมกไก่จานนี้อร่อยหรือไม่อร่อย? ขยายความ : โอยยย…หิว

77



... Dukkha is… โยมท่านหนึ่งถามว่า ทุกข์ในไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) กับทุกข์ในอริยสัจ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เหมือนหรือต่าง กันอย่างไร? ข้าฯอธิบายไปตามที่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่รู้สึกว่ายัง ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร โยมท่านนั้นบอกว่าสงสัยเรื่องนี้มานาน พยายามสืบค้นในกูเกิ้ลก็ยังไม่หายสงสัย ข้าฯเสนอว่าไม่เป็นไร หรอก เรื่องนี้เป็นความรู้ในเชิงปริยัติ เราสามารถศึกษาค้นคว้า จากต�ำรับต�ำราเพิ่มเติมได้ในภายหลัง แต่ความทุกข์ที่เกิดขึ้น ภายในจิตใจของเราในขณะปัจจุบันต่างหาก ที่ควรรีบเร่งศึกษา เพื่อหาวิธีปล่อยวาง หลายเดือนต่อมาข้าฯพบค�ำอธิบายเรื่อง “ทุกข์” จากหนังสือ “ไตรลักษณ์” โดยพระเดชพระคุณพระพรหม คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งหนังสือเล่มนี้เกิดจากการน�ำเฉพาะ บทที่ 3 จากหนังสือ “พุทธธรรม” มาจัดพิมพ์ใหม่ ทุกข์ในไตรลักษณ์ หรือ ทุกขลักษณะ หรือ ทุกขตา ได้แก่ภาวะ ที่ไม่คงตัว คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เพราะมีความบีบคั้นกดดัน ขัดแย้งที่เกิดจากความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลาย ซึ่งเป็น ลักษณะของสังขารทั้งหลายทั้งปวง (สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา) กิน ขอบเขตเท่ากันกับความไม่เที่ยงคือ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (ยทนิจฺจํ ตํ ทุกขํ) 79


ทุกข์ในอริยสัจ หรือ ทุกขอริยสัจ ก็คือสภาวะที่เป็นทุกข์ใน ไตรลักษณ์นั่นเอง แต่จ�ำกัดขอบเขตเฉพาะที่จะเกิดเป็นปัญหา แก่มนุษย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกระทบต่อชีวิต ขยายความว่าสังขาร ทั้งหลายถูกบีบคั้นตามธรรมดาของมัน โดยเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ และสังขารเหล่านั้นนั่นแหละ (ไม่ทั้งหมดและไม่เสมอไป) ก็ก่อ ความบีบคั้นขึ้นแก่คน โดยเป็นทุกข์ในอริยสัจ (แต่การที่มันจะ กลายเป็นของบีบคั้นคนขึ้นมาได้ ก็เพราะมันเองถูกบีบคั้นโดย เป็นทุกข์ในไตรลักษณ์) พูดง่ายๆว่าทุกขอริยสัจหมายเฉพาะเรื่อง ของเบญจขันธ์ หรืออุปาทานขันธ์ เรียกเป็นศัพท์ว่า ได้แก่ทุกข์ เฉพาะส่วนที่เป็นอินทรียพัทธ์คือเนื่องด้วยอินทรีย์ ไม่รวมถึงทุกข์ที่ เป็นอนินทรียพัทธ์ (ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์) ซึ่งเป็นทุกข์ในไตรลักษณ์ แต่ไม่จัดเป็นทุกข์ในอริยสัจ (พุทธธรรม หน้า 70) ป.ล.ญาติโยมน�ำวัตถุประหลาดมาถวายสังฆทาน มีหลากหลาย รสชาติให้เลือกตามจริตนิสัยของผิวหนังใต้วงแขน ทั้งขมิ้น มังคุด ว่านหางจระเข้ และคริสตัล นับว่าเป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวง ต่อจมูกของคณะสงฆ์ ในเดือนที่อากาศอบอ้าวเช่นนี้ ข้อคิดเห็นจากน้องแอม : กราบนมัสการงามๆค่ะหลวงพี่ พูดถึง ความทุกข์ ตอนนี้หนูก็ทุกข์ค่ะ…คอเคล็ด พูดถึงวัตถุแปลกๆของ หลวงพีแ่ ล้วนึกถึงประสบการณ์ตอนไปปฏิบตั ธิ รรมครัง้ แรกกับทาง มหาวิทยาลัย มีนกั ศึกษาถามพระอาจารย์วา่ ของแบบนีใ้ ช้ได้ไหม? พระอาจารย์บอกว่า โปรดกรุณาต่อเพื่อนร่วมโลกด้วยเถิด (ฮา) 80


... เรื่องเศร้าเช้านี้ ช่วงท�ำงานในเช้าวันหนึ่งขณะที่พระภิกษุสามเณรโดยสารรถ กระบะขึ้นไปบนภูเขา ข้าฯถามโยมฝรั่งที่ก�ำลังขับรถว่า “บ้าน เกิดอยู่ที่ไหน?” เขานั่งนึกอยู่อึดใจใหญ่ๆแล้วบอกว่า “ตอบยาก ผมเกิดที่ฟีนิกส์แต่ไปโตที่บอสตันแล้วก็ย้ายมาอยู่แคลิฟอร์เนีย” ข้าฯสาวต่อไปว่า “เป็นเรื่องธรรมดาของชาวอเมริกันใช่ไหมที่ย้าย บ้านกันบ่อยๆ?” เขาตอบว่า “ใช่ ถ้าใครอยู่เมืองเดียวตั้งแต่เกิด จนตายถือว่าเป็นเรื่องผิดปรกติ” เขาถามข้าฯบ้างว่า “ที่เมืองไทย เป็นแบบนี้ไหม?” ข้าฯนั่งนึกด้วยอึดใจที่ใหญ่กว่าแล้วตอบว่า “บางช่วงเขาก็โยกย้ายถิ่นฐานเหมือนกัน แต่เรียกว่าย้ายที่ท�ำมา หากินจะเหมาะกว่า ทางภาคอีสานหลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยว คน หนุ่มสาวก็จะเข้ากรุงเทพฯเพื่อรับจ้างท�ำงานต่างๆเช่นก่อสร้างตึก รามบ้านช่อง พอถึงฤดูท�ำนาจึงจะกลับบ้านลงมือปลูกข้าว มอง ในแง่หนึ่งก็ดีเหมือนกัน เพราะถ้าอยู่บ้านว่างๆเขาก็จะดื่มเหล้า เล่นปลากัดหรือชนไก่ อากาศที่เมืองไทยค่อนข้างสบาย ไม่มี ภัยธรรมชาติบีบคั้น คนจึงคิดแต่เรื่องหาความสนุกสนานใส่ตัว ไม่เหมือนที่อเมริกาแม้อากาศสบายๆก็ยังต้องท�ำงาน เช่นผ่าฟืน หรือหาเสบียงเตรียมไว้ส�ำหรับฤดูหนาว” โยมฝรั่งบอกว่า “Idle hands do the devil’s work”. 81


ข้าฯให้ข้อมูลแก่โยมฝรั่งเพิ่มเติมว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์และ ปีใหม่คนไทยจะเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุไม่ต�่ำกว่าหกร้อยคน ในแต่ละปี สถานการณ์นี้มีต้นตอมาจากการดื่มของมึนเมา หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามรณรงค์เรื่องเมา ไม่ขับ แต่ไม่เคยได้ผลเพราะเกาไม่ถูกที่คัน สิ้นเปลืองงบประมาณ ในแต่ละปีไม่ใช่น้อย อันที่จริงการหาอุบายให้ประชาชนปฏิบัติ ศีลห้าจะได้ผลที่ยั่งยืนกว่า แต่ก็มักจะถูกมองข้ามและตราหน้า ว่าเชย โยมฝรั่งเล่าว่า “ช่วงที่มีการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลประจ�ำ ปีที่เรียกว่าซุปเปอร์โบล์ ชาวอเมริกันก็ตายเพราะเมาแล้วขับ เยอะเหมือนกัน พ่อของผมถูกคนเมาเหล้าขับรถชนเสียชีวิต ขณะรถติดไฟแดง” เป็นเรื่องเศร้าที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างสม�่ำเสมอใน ซอกมุมมึนๆของโลกใบนี้ ... Organic Talk ก่อนวันพระทุกกึ่งเดือนจะเป็นเวลาที่พระภิกษุสามเณรพร้อมใจ กันปลงผมโกนหนวดตัดเล็บ หลังจากเสร็จภาระกิจนี้แล้ว ข้าฯ กระชับเป้แนบหลังเตรียมเดินขึ้นภูเขากลับกุฏิ บังเอิญมีพ่อลูก คู่หนึ่งเอาผักสดกล่องเบ้อเร่อมาถวายคณะสงฆ์ ข้าฯจึงเข้าไปพูด คุยกับเขา คุณพ่ออายุ 28 ปีเป็นเจ้าของไร่ออร์แกนิกซึ่งอยู่ไม่ไกล จากวัด ส่วนคุณลูกอายุ 4 ขวบก�ำลังช่างพูดช่างคุย หลังจาก 82


ปรารภกันเรื่องผักแล้ว คุณพ่อก็ขออนุญาตถามปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติธรรมหนึ่งข้อคือ หลังจากนั่งสมาธิไปแล้ว 20 นาที ท่านมีความรู้สึกอย่างไร? ข้าฯตอบว่า ก็แล้วแต่ว่านั่งเวลาใด ถ้าเป็นเวลาเช้าส่วนมากจะสงบเพราะได้พักผ่อนมาทั้งคืน แต่ถ้า เป็นช่วงเย็นก็ขึ้นอยู่กับว่าตลอดทั้งวันเราสั่งสมอะไรมา ถ้าจิต สั่งสมกุศลธรรมไว้มากเมื่อมานั่งสมาธิก็จะสงบง่าย ตรงกันข้าม ถ้าจิตสั่งสมอกุศลธรรมไว้เยอะก็จะสงบยากอยู่สักหน่อย เราก็ ต้องหาวิธีแก้ไขขณะนั่งสมาธิ สนทนากันได้สักครู่ คุณลูกก็ถาม ขึ้นว่า ข้างบนมีศาลาใหญ่ใช่ไหมครับ? หนูอยากขึ้นไปดู จากนั้น เราทั้งสามจึงเดินขึ้นภูเขาไปพร้อมกัน สองพ่อลูกเดินเท้าเปล่าน่าสนุก โชคดีที่เมื่อสามวันก่อนฝนตก หนักดินจึงนุ่มนิ่ม และความชื้นในอากาศก็ท�ำให้เรารู้สึกสดชื่น ต่างจากสัปดาห์ที่แล้วซึ่งร้อนแล้งแทบละลาย ระหว่างที่เดินไต่ ภูเขาเราก็สนทนากันไปเรื่อยๆ ข้าฯถามคุณพ่อว่า หนูน้อยจะไหว เหรอ? ครึ่งชั่วโมงเชียวนะกว่าจะถึงศาลาอเนกประสงค์ คุณพ่อ ตอบว่า ถ้าไม่ไหว เขาจะหยุดเอง ข้าฯถามคุณพ่อต่อไปว่าเวลา หนึ่งวันในไร่ท�ำอะไรบ้าง? เขาตอบว่าดูแลพืชผัก รีดนมแพะ แล้ว ก็พาแพะทั้งฝูงไปเดินออกก�ำลังกายบนเนินเขา ข้าฯได้ยินแล้วถึง กับหูผึ่งจึงถามออกไปทันทีว่า ไปด้วยได้ไหม? เขาตอบว่าได้เลย แต่เราต้องนัดเวลากัน เพราะเวลาที่ออกเดินในแต่ละวันไม่ตรงกัน ข้าฯบอกว่า พรุ่งนี้จะไปบิณฑบาตที่ไร่ของเขากับพระอีกรูปหนึ่ง เรานัดเวลากันตอนนั้นน่าจะดี ข้าฯถามเขาอีกว่าในวันหนึ่งๆ มี 83


เวลานั่งสมาธินานไหม? เขาตอบว่าประมาณ 15-30 นาที เพราะ ต้องดูแลเด็ก ส่วนใหญ่จะใช้เวลาช่วงที่พาแพะไปเดินออกก�ำลัง หามุมสงบนั่งสมาธิ เพราะตอนนั้นไม่มีใครรบกวน--ข้าฯเปล่ง อนุโมทนาภายในใจฉับพลัน ... Almsround to Organic Farm เมือ่ สองสัปดาห์ทแี่ ล้วเจ้าของไร่ออร์แกนิกแห่งหนึง่ ซึง่ อยูไ่ ม่ไกลจาก วัด ได้นิมนต์พระสองรูปให้ไปรับบิณฑบาตที่ไร่ของเขาเป็นประจ�ำ วันนี้เป็นวันที่สองของการบิณฑบาต เราใช้เวลาเดินทั้งขาไป และขากลับประมาณสองชั่วโมง คิดเป็นระยะทางสองไมล์หรือ 3.218688 กิโลเมตร ระหว่างทางจะพบรถรับส่งนักเรียน ซึ่งถูก ทิง้ ร้าง เล้าไก่ โรงเก็บไวน์เก่าแก่ และสระน�ำ้ ขนาดใหญ่ทคี่ รอบครัว เจ้าของไร่ออร์แกนิกจะมาลงเล่นในวันที่อากาศร้อนจัด เมื่อ ไปถึงบ้านก็พบจดหมายจากผู้เป็นพ่อฝากไว้ให้ข้าฯวางอยู่บน ระเบียงหน้าบ้าน ข้อความในจดหมายบอกว่าวันนี้เขาต้องเอารถ ไปซ่อม อีก 2-3 วันจะโทรไปที่วัดเพื่อนัดเวลาเดินออกก�ำลังกาย พร้อมฝูงแพะ ขณะที่ข้าฯก�ำลังอ่านจดหมาย คนงานในไร่ก็ เดินไปเก็บผักในแปลงใกล้ๆน�ำมาม้วนลงในบาตร ผักสดมาก โดยเฉพาะแครอทหัวเล็กๆสีแดงที่ยังมีโคลนฉ�่ำๆติดมากับราก 84


... คุยกับหมอฟัน ก่อนเข้าพรรษาเป็นช่วงเวลาที่ชาววัดป่าอภัยคีรีจะผลัดเปลี่ยน แวะเวียนกันไปเยี่ยมเยียนหมอฟัน ปีนี้ข้าฯสังกัดอยู่ในทีมแรก คลินิคหมอฟันในเมือง Ukiah ก็เหมือนคลินิคหมอฟันที่เมือง ไทย ต่างก็แต่กลิ่นน�้ำยากระตุ้นความรู้สึกเสียวไส้จะฉุนน้อยกว่า บ่ายนี้พวกเราโคจรมาเจอคุณหมอคุยเก่ง ยิ่งคุณหมอรู้ว่า ข้าฯ มาจากไทยแลนด์ยิ่งสนุกกระหน�่ำค�ำถาม เหตุเพราะเพิ่งมีคนไข้ รายหนึง่ เดินทางไปท�ำงานทีเ่ มืองไทยเป็นเวลาหกเดือนแล้วกลับมา เล่าให้ฟงั หลายเรือ่ งเช่น ชาวพุทธ ชาวคริสต์ และชาวมุสลิมในเมือง ไทย อยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีความขัดแย้ง หรือที่นี่เป็นประเทศเดียว ในโลกที่ผู้คนจะแย้มยิ้มเสมอ ไม่ว่าจะมีความสุขหรือความทุกข์ ข้าฯคันปากอยากจะบอกคุณหมอว่า สองเรื่องข้างต้นนั้นมันเป็น อดีตแสนหวานนมนานมาแล้ว แต่ข้าฯก็ไม่สามารถจะอธิบายได้ เพราะเครื่องมือของคุณหมอกระจุกอยู่เต็มปาก มีเรื่องหนึ่งที่คุณหมอเล่าแล้วข้าฯเห็นด้วยเต็มร้อยก็คือ อาหาร ไทยอร่อยมาก คุณหมอบอกว่าจดชื่ออาหารไทยชนิดหนึ่งเอาไว้ จ�ำชื่อไม่ได้แต่จ�ำส่วนประกอบได้ หลังจากฟังคุณหมอสาธยาย วัตถุดิบจนน�้ำลายไหลเต็มกระพุ้งแก้ม ข้าฯก็ระบุได้ทันทีว่า อาหารไทยชนิดนี้มีชื่อในวงการว่าแกงจืดเต้าหู้ คุณหมอบอกว่า 85


ในเร็ววันนี้ จะไปสั่งแกงจืดเต้าหู้ที่ร้านอาหารไทยในเมือง Ukiah ข้าฯสนับสนุนเต็มสองร้อย เพราะร้านนี้ใจดีนิมนต์พระไปรับ บิณฑบาตทุกสัปดาห์ ขณะที่หินปูนหย่อมสุดท้ายก�ำลังโบกมือลา หลืบฟัน คุณหมอก็กระทุง้ เครือ่ งมือมาพร้อมกับหนึง่ ค�ำถาม คนไทย เกลียดรัฐบาลแต่รักพระเจ้าอยู่หัว เรื่องนี้จริงหรือเปล่า? วินาทีนี้ ข้าฯรู้สึกร้าวระบมไปทั้งปากจนอยากจะบอกคุณหมอว่า “เฮ้! เบาๆหน่อย” ... Smells like Thai Spirit โยม : กราบนมัสการคะพระอาจารย์…มีรายการ “พื้นที่ชีวิต” ตอน เกาหลีในหัตถ์พระเจ้ามาแนะน�ำค่ะ ถ้าหลวงพี่พอมีเวลาว่างก็เปิด ดูได้นะคะ http://www.thaipbs.or.th/clip/index.asp?content_ id=307750&content_category_id=1076 ที่น่าสนใจเพราะ ตอนนีพ้ ดู ถึงเหตุทคี่ นพุทธหันไปเลือกคริสตจักร โดยเฉพาะคนไทย ที่ไปอยู่ที่โน่น ดูจากสาเหตุแล้วก็อึ้งๆ ส่วนหนึ่งหันไปพึ่งพระเจ้า เพราะผิดหวังที่ศาสนาพุทธไม่เคยช่วยอะไร เลิกสนใจค�ำสอน “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ” หันไปสวดอ้อนวอนแทน ดูแล้วมันก็ น่าตกใจเหมือนกัน ทุกคนมีสทิ ธิเ์ ลือกทีจ่ ะนับถืออะไรหรือไม่นบั ถือ อะไร แต่ถ้าดูจากเหตุปัจจัยที่หันไปนับถือคริสต์ มันก็ให้น่าคิด คนไทยที่โน่นเป็นอย่างที่เกาหลีไหมคะ? 86


เปสโลภิกขุ : เจริญพร…ก่อนอื่นมาฟังสองข่าวจากอเมริกาบ้าง ข่าวแรกคือระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม พ.ศ.2554 วัยรุ่นชาว อเมริกันจ�ำนวน 15 คนจากโปรแกรม Teen Weekend ของ Spirit Rock Meditation Center มาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดป่าอภัยคีรี ข่าวที่สองคือระหว่างวันที่ 5-15 กรกฎาคม พ.ศ.2554 หลวงพ่อ ทะไลลามะแสดงธรรมที่วอชิงตัน ดี.ซี. มีนักบวชในพุทธศาสนา จากนานาชาติเดินทางมาร่วมงานนี้กว่า 800 ท่าน อันที่จริงเรื่อง ที่โยมส่งมาให้อาตมาพิจารณา อาตมาเองก็เคยให้ความเห็นกับ กองบรรณาธิการนิตยสารฉบับหนึ่งนานมาแล้ว เขาถามว่า “ท�ำไม คนไทยส่วนใหญ่ทนี่ บั ถือพุทธจึงไม่มคี วามสุขอย่างทีค่ วรจะเป็น?” อาตมาตอบว่า “เพราะไม่ได้นับถือพุทธอย่างที่คนไทยส่วนน้อย ทีม่ คี วามสุขเขาปฏิบตั กิ นั ” ถ้าโยมต้องการทราบค�ำอธิบายทีช่ ดั เจน ในแง่มุมต่างๆของปัญหานี้ ก็ขอเชิญเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ วัดญาณเวศกวัน แล้วคลิ๊กหาธรรมบรรยายของพระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) ในหัวข้อ “ประเทศพุทธอย่างไทย ท�ำไมจึงไม่เจริญอย่างฝรั่ง” และ “นับถือพุทธศาสนาอย่าให้เพี้ยน” เชื่อขนมกินได้เลยว่านับตั้งแต่วินาทีนี้จนถึงวินาทีสุดท้ายที่เรา โบกมืออ�ำลาโลก จะมีข่าวผู้คนออกมาแสดงอคติและความไม่รู้ จริงในหลักธรรมทางพุทธศาสนาให้เราได้พบเห็นอยู่เนืองๆ ซึ่ง ข่าวเหล่านีส้ ามารถสัน่ คลอนศรัทธาของญาติโยมทีย่ งั ไม่หนักแน่น ในธรรมอย่างได้ผล ส่วนผู้ที่มีหลักใจมั่นคงแล้วข่าวดังกล่าวกลับ เป็นสิ่งช่วยท�ำให้เกิดปัญญา ส่วนค�ำถามสุดท้ายที่ว่า “คนไทยใน 87


อเมริกาเป็นอย่างที่เกาหลีไหม?” อาตมาขอตอบว่า “ผู้สนใจศึกษา พุทธศาสนาไม่ว่าเชื้อชาติใดหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใดของโลก หากไม่ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติจนเกิดหลักธรรมประจ�ำใจ ก็ต้องมีอัน เป็นไปเหมือนข่าวคนไทยในเกาหลี” ... เรื่องของหอย โยมชาวไทยคนหนึ่งซึ่งมีอาชีพนวดบ�ำบัดเล่าให้ฟังว่า มีฝรั่งหนุ่ม ใหญ่คนหนึ่งมานวดด้วยเป็นประจ�ำเพราะเป็นโรคพากินสัน โรคนี้ ท�ำให้เส้นเอ็นของเขาหดตัวและกระตุก แต่ก็มักจะเกิดกับผู้ที่มี อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนฝรั่งคนนี้อายุเพียง 40 ปีเท่านั​ั้น อาชีพ ของเขาก็คือแกะเปลือกหอย Abalone ซึ่งเป็นหอยที่มีรสชาติ อร่อยมาก วิธีแกะก็คือเปิดเปลือกหอยที่ประกบกันอยู่แล้วใช้มีด ตัดตัวหอยซึ่งเชื่อมติดกับเปลือกออกมา บางครั้งก็ต้องใช้ฆ้อนทุบ โยมชาวไทยบอกฝรั่งหนุ่มใหญ่ว่า โรคที่คุณเป็นอยู่ตอนนี้เกิดจาก กรรมที่คุณท�ำกับหอย Abalone มานับสิบปี ฝรั่งหนุ่มใหญ่ไม่ว่า กระไร เพียงแต่ส่ายหน้าแล้วหัวเราะด้วยกังวานของซาตานป่วย

88



... Endless Summer ญาติโยมใจดีรู้ว่าข้าฯจะเดินทางกลับเมืองไทยปลายปีนี้ จึงอาสา พาไปทัศนศึกษาแถบ California West Coast เราวางแผนคร่าวๆ กันว่าจะขับรถไปเรื่อยๆโดยเริ่มต้นจากวัดพุทธานุสรณ์ เมือง Fremont ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ San Francisco และมีจุดหมาย ปลายทางคือวัดเมตตาวนารามเมือง San Diego ใกล้ชายแดน ประเทศ Mexico ใช้เวลาเดินทางทั้งไปและกลับประมาณ 6 วัน สถานที่แห่งแรกที่ต้อนรับเราก็คือ Monterey Bay Aquarium หลังอาหารกลางวัน (แฮมเบอร์เกอร์เนื้อปู) ข้าฯกับพระอีกรูปหนึ่ง จึงเข้าไปในอแควเรียมแห่งนี้ ส่วนญาติโยมอีกสองท่าน ขอตัวไป เดินช้อปปิ้งเพราะเคยพาลูกๆมาหลายรอบแล้ว ข้าฯรู้สึกตื่นตา กับตู้ปลาขนาดใหญ่ ภายในไม่มีก้อนหินหรือสาหร่ายประดับ รุงรัง มีเพียงฝูงปลาและเต่ายักษ์ว่ายไปมาในท้องน�้ำแฟนซี สีคราม ล�ำแสงสีขาวที่ส่องลงมาจากด้านบน ท�ำให้ภาพที่ปรากฏ อยู่เบื้องหน้าล่องลอยราวกับฝัน จนบางใครที่ยืนอยู่บริเวณนั้น ไม่อยากตื่น จาก Monterey ถึง Santa Barbara มีจุดท่องเที่ยวส�ำคัญหลาย แห่งเช่น Carmel by the Sea เมืองมหาเศรษฐีที่เต็มไปด้วย ร้านรวงเก๋ๆ Bixby Bridge สะพานทรงเสน่ห์ Big Sur แหล่ง 90


หย่อนใจอันลือลั่นจากหนังสือชื่อเดียวกันของ Jack Kerouac ทั้งสามสถานที่กล่าวมาถูกเชื่อมโยงด้วย Highway 1 ถนน คดเคี้ยวขนาบมหาสมุทรแปซิฟิก คืนนี้เราพักกันที่โรงแรมใน เมือง Santa Barbara หลังอาหารเช้าในล็อบบี้ของโรงแรมเราก็ เดินทางมาที่ชานเมือง Los Angeles เพื่อแวะเยี่ยมบ้านโยมพ่อ โยมแม่ของพระชาวจีนที่เดินทางมาด้วยกัน ซึ่งท่านไม่ได้กลับ มาเยี่ยมบ้านเป็นเวลาสองปีแล้ว พี่สาวของท่านดีใจจนถึงกับโผ เข้ากอดพระน้องชาย หลังจากทักทายกันพอหายคิดถึงเราก็ยก โขยงทั้งครอบครัวไปที่ร้านอาหารไทย เมื่ออิ่มหน�ำ (สุกี้ยากี้) กัน ดีแล้วเราก็โฉบไปที่ Aquarium of the Pacific ที่นี่เน้นการจัด นิทรรศการเพื่อให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่จะโชว์ตู้ปลา ตระการตา ข้าฯมีโอกาสเข้าโรงหนังเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี และ หนังที่ได้ร่วมฉลองโอกาสพิเศษนี้ก็คือ แอนิเมชั่น 4 มิติปลูกฝังจิต ส�ำนึกรักสิ่งแวดล้อมให้แก่เด็กๆเรื่อง Turtle Vision ก่อนจะเข้าไป จับจองที่นั่งต่างคนก็ต่างสงสัยว่ามัน 4 มิติยังไงหว่า? แต่หลังจาก สวมแว่นตากระดาษเป็นเวลา 15 นาทีเราก็ถงึ บางเออ…คนเราช่าง สรรหาอุปกรณ์มากระตุ้นประสาทสัมผัสได้พิสดารอย่างเหลือเชื่อ ถ้ามีฉากเรือเดินสมุทรลอยล�ำอยู่กลางหมอก ควันก็จะพวยพุ่ง ออกมาจากทางด้านล่างของจอหนัง ถ้ามีฉากฟ้าร้องฟ้าแลบ แสงไฟก็จะวูบวาบอยู่ตามผนัง ถ้ามีฉากนกอินทรีบินโฉบเหนือ ผิวน�้ำ ละอองน�้ำก็จะถูกปล่อยลงมาจากเพดาน หลังจากเก็บ แว่นตาใส่กระเป๋า เราก็เดินทางมาพักกันที่โรงแรมสุดฮิบริมทะเล Long Beach เมื่อเห็นสระว่ายน�้ำประดับไฟกลางคืนของโรงแรม 91


ก็ท�ำให้ข้าฯนึกเสียดายที่ไม่ได้เตรียมชุดว่ายน�้ำมาด้วย หลังอาหารเช้าแบบบุปเฟ่แกล้มเรือ Queen Mary ซึ่งทอดสมอ อยู่ไม่ไกลจากห้องอาหารของโรงแรม เราก็ขับรถอีก 2 ชั่วโมงมาที่ เมือง San Diego แล้วแวะที่ร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง เจ้าของร้าน เป็นชาวอีสานใจดี มื้อนี้จึงขอท�ำบุญเลี้ยงพระ(ก๋วยเตี๋ยวเรือ) เมื่อ ให้พรแก่ญาติโยมภายในร้านเป็นที่เรียบร้อยเราก็มุ่งหน้าไปที่ Sea World ที่นี่จะเน้นโชว์มากกว่าอะไรอื่น มีทั้งโชว์ปลาวาฬ เพชรฆาต โชว์แมวน�้ำ และโชว์ปลาโลมา อากาศร้อนเอาเรื่องแต่ ฝรั่งทั้งเด็กและผู้ใหญ่สนุกสนานกันดี โดยเฉพาะตอนที่ปลาตัวโต ตบหางฉาดสาดน�้ำใส่ผู้ชมที่นั่งอยู่แถวหน้า ซึ่งทุกคนก็คงจะ เต็มใจเปียกเพราะมีป้ายประกาศว่าบริเวณนี้คือ Soak Zone (พระฝรั่งที่วัดป่าอภัยคีรีเล่าว่าเมื่อสองปีที่แล้วมีข่าว Killer Whale ตัวหนึ่งกัดคนฝึกดับอนาถ!!) เมื่อเราเอามือลูบแขนแล้วพบว่า เนื้อเกรียมก�ำลังเหมาะจึงเดาะก้นลงมาจากอัฒจรรย์ แล้วนั่งอบ แอร์อยู่ในรถจนถึงวัดเมตตาวนาราม ซึ่งเป็นวัดป่าสายธรรมยุต ซุกซ่อนตัวอยูใ่ นหุบเขาอโวคาโด ฤดูนมี้ พี ระจ�ำพรรษาทัง้ หมด 8 รูป เป็นพระฝรั่ง 7 รูปและพระไทย 1 รูป ท่านเจ้าอาวาสเป็นพระชาว อเมริกันมีนามว่า หลวงพ่อเจฟฟรีย์หรือฐานิสโรภิกขุ ท่านเป็น ผู้เรียบเรียง The Buddhist Monastic Code หนังสือพระวินัยภาค ภาษาอังกฤษซึ่งพระภิกษุทั่วโลกได้ศึกษาอาศัย

92


ยามสายของวันถัดมาเราออกเดินทางไปที่วัดป่าภูริทัตตวนาราม ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณหนึ่งชั่วโมง เพียงรถเลี้ยวผ่านประตูวัด ข้าฯก็รู้สึกเหมือนได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน เพราะสิ่งปลูกสร้าง ต่างๆมีความเป็นไทยแท้แทบทุกกระเบียด ไม่ว่าจะเป็นช่อฟ้า ใบระกา หรือหางหงส์ แต่สิ่งที่ท�ำให้รู้สึกไทยแท้อย่างยิ่งยวดก็คือ ฝูงแมวหลากขนาดที่ทางวัดเลี้ยงเอาไว้ คืนนี้เราจะพักกับแมว เหมียวคิตตี้ที่นี่และวางแผนกันว่า หลังจากสวดมนต์ท�ำวัตรเช้าใน วันพรุง่ นีจ้ ะขอโอกาสกราบลาหลวงพ่อ แล้วขับรถอีกประมาณหนึง่ ชั่วโมงไปพิจารณาอาหารกันที่ Los Angeles เมื่อเข้ามาในตัวเมือง Los Angeles ญาติโยมก็ขับรถวนหาไทย ทาวน์ ขณะที่รถก�ำลังเลี้ยวเข้าไปในบริเวณร้านขายอาหารและ ของที่ระลึก ก็มีรถอีกคันหนึ่งก�ำลังจะเคลื่อนตัวออกจากลานจอด เมื่อโยมสองท่านที่มาด้วยเห็นชายหนุ่มที่นั่งอยู่หลังพวงมาลัย ของรถคันนั้นก็อุทานขึ้นพร้อมกันฉับพลันว่า พระขับรถ!! หลัง อาหารตาม (พระ) สั่ง (ก๋วยเตี๋ยวหมูแดง) ญาติโยมก็ขอตัวไป ซื้อของฝาก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาตอนขากลับเราจึงเปลี่ยน จากคดเคี้ยวของ Highway 1 เป็นตรงดิ่งของ i5 ใช้เวลาเพียง 7 ชั่วโมงก็น่าจะถึงเมือง Fremont ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่เราจะแวะ พักค้างคืนก่อนเดินทางกลับวัดป่าอภัยคีรี ระหว่างที่ข้าฯนั่งชม ทัศนียภาพของแหล่งเกษตรกรรมขนาดมหึมาและเนินเขาประดับ กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าละลานตา โอวาทของพระอาจารย์ ท่านหนึ่งก็สะท้อนประกายระยับอยู่กลางเปลวแดด “จิตของเรา 93


เหมือนนกฮัมมิ่งเบิร์ด บินไปกินน�้ำหวานของดอกไม้ดอกนั้นดอกนี้ สิ่งที่ได้เป็นเพียงความสุขเล็กๆน้อยๆ ซึ่งต้องแลกมาด้วยความ เหน็ดเหนื่อย แต่ถ้าจิตของเรามีที่อยู่จะท�ำให้เกิดก�ำลังต่อสู้กับ ความเหนื่อยยากล�ำบากที่จะมาถึงในกาลข้างหน้า” ป.ล. Lonely Planet คู่มือนักผจญภัยบนดาวเคราะห์แสนเหงา ฉบับ California แนะน�ำว่าควรเปิดเพลง Californication ของ Red Hot Chili Paper เพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศระหว่างการ เดินทาง เดิมทีข้าฯเองก็ตั้งใจว่าจะแปลเพลงนี้เป็นภาษาไทย ประกอบภาพถ่าย แต่เมือ่ ทราบความหมายของค�ำว่า Fornication ก็เปลี่ยนใจทันควัน ... บุคลิกของเบิร์กเล่ย์ สาเหตุหนึ่งที่ต้องบันทึกเรื่องนี้ไว้ เพราะเป็นครั้งแรกที่ข้าฯมี โอกาสน�ำหมู่คณะอันประกอบด้วยพระ 4 รูป และอนาคาริก 1 ตน มาเจริญพระพุทธมนต์ในงานท�ำบุญวันคล้ายวันเกิดครบ รอบ 58 ปีของโยมคนหนึ่งที่ San Rafael การประกอบศาสนพิธี เป็นไปตามล�ำดับเหมือนครั้งที่ข้าฯยังเป็นพระหนุ่มเณรน้อย ติดตามครูบาอาจารย์ไปเจริญพระพุทธมนต์ในหลากหลายสถานที่ เริ่มต้นด้วยอาราธนาศีล สมาทานศีล อาราธนาพระปริตร เจริญ 94


พระพุทธมนต์ ถวายสังฆทาน กล่าวสัมโมทนียกถา แล้วปิดท้าย ด้วยการให้พร จากนั้นก็ลุกไปรับภัตตาหารซึ่งวางเรียงราย หลากหลายอยู่บนโต๊ะ การตักอาหารเป็นความล�ำบากตรากตร�ำ ประการหนึง่ ส�ำหรับผูท้ คี่ รองต�ำแหน่งหัวแถว เพราะญาติโยมมักจะ จ้องดูวา่ พระทีอ่ ยูใ่ นพิกดั นีจ้ ะพิจารณาอาหารทีต่ นน�ำมาหรือเปล่า เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จแล้วก็ปิดท้ายด้วยไอศกรีม ขนมเค้กและ กาแฟ นับว่าเป็นงานพิธีอันราบรื่นและชื่นใจ สาเหตุหนึ่งน่าจะมา จากสุภาษิตของพระกรรมฐานทีว่ า่ “ไก่ปา่ ขันตัวเดียว” เพราะถ้าขัน กันหลายตัวความสับสนอลหม่านต้องบังเกิดขึ้นเป็นแน่ เพราะไก่ ในฝูงไม่รู้ว่าจะท�ำตามใคร เมื่อล้างบาตรแล้วร�่ำลาเจ้าของบ้าน เราก็นั่งรถข้ามสะพาน The Richmond-San Rafael ไปยังย่าน Berkeley ข้าฯเคยมาทีย่ า่ นนีส้ องครัง้ แล้ว แต่ไปขลุกอยูใ่ นถิน่ ของผูม้ อี นั จะกิน ซึ่งบ้านแต่ละหลังใหญ่โตหรูหราพรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องอ�ำนวย ความสะดวกและรายล้อมด้วยดอกไม้นานาพันธ์ุ แต่วันนี้เราพลัด เข้ามาในย่านติดดินละแวกถนน Telegraph ซึ่งตรงดิ่งสู่ประตู ด้านหน้าของมหาวิทยาลัยเบิร์กเล่ย์ เมื่อจอดรถแล้วเดินผ่าน ร้านขายเสื้อผ้าและเครื่องประดับแห่งหนึ่ง เราก็ปะทะกับกลิ่น ฉุนแปลกเต็มสองรูจมูก--Marijuana! เราอุทานแทบจะพร้อมกัน ในทันที แม้กลิ่นจะแปลกแต่ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะถนนสายนี้ คับคั่งไปด้วยหนุ่มสาวนักพเนจร ผู้รักอิสระแต่ไม่รักการท�ำงาน ข้าฯถามอนาคาริกว่าท�ำไมพวกเขามาสังสรรค์กันอยู่แถบนี้? 95


อนาคาริกตอบแบบคาดเดาว่า ถ้าไปอยู่ในถิ่นเศรษฐีอาจจะโดน ต�ำรวจซ้อม แต่เขตนี้ต�ำรวจอนุญาตให้เป็นพิเศษ พระฝรั่งที่มา ด้วยกันบอกว่าน่าสลดสังเวช ซึ่งมันก็จริงอย่างนั้น คนหนุ่มสาวที่ กองระเกะระกะอยู่บนถนนสายนี้ไม่ใช่นักศึกษา และไม่รู้ว่าเป็น ใครมาจากไหน พวกเขาอาจจะเบื่อที่ต้องใช้ชีวิตส�ำเร็จรูป ตื่นเช้า ไปท�ำงาน พักกินข้าวช่วงกลางวัน กลับบ้านดูทีวีแล้วก็เข้านอนรอ สัญญาณนาฬิกาปลุก เพื่อลุกขึ้นมาแปรงฟันล้างหน้าแล้วออกไป ท�ำงานในวันถัดไป พวกเขาคงไม่รู้จักทางเลือกอื่นนอกจากวิถีชีวิต แบบฮิปปี้ ถ้ามองในแง่นี้ก็นับว่าหนุ่มสาวชาวไทยเป็นผู้มีบุญมาก เพราะเรามีวิถีชีวิตของนักบวชไว้รองรับผู้ที่ต้องการเป็นอิสระจาก ความวุ่นวายของโลก ขณะที่เราก�ำลังยืนเลือกหนังสืออยู่ในร้านจ�ำหน่ายหนังสือมือหนึ่ง และมือสองคุณภาพดี ฮิปปี้คนหนึ่งก็เดินเข้ามากอดพระฝรั่งด้วย ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ท่านไม่รู้สึกตกใจหรือขัดเคือง เพราะ รู้มาก่อนแล้วว่า บุคลิกของ Berkeley เป็นอย่างนี้เอง ... Give the Blessing เช้าวันพระข้าฯไปบิณฑบาตที่ไร่ออร์แกนิกกับสามเณรรูปหนึ่ง เส้นทางบิณฑบาตสายนี้มีญาติโยมออกมาใส่บาตรสองคน โยม 96


คนแรกอยู่ที่ไร่ออร์แกนิก ส่วนโยมคนที่สองอยู่บ้านหลังใหญ่ ไม่ไกลจากบ้านของโยมคนแรก บ้านหลังนี้มีผู้เช่าหลายคน โดย แบ่งกันเช่าคนละห้อง ผู้เช่าบ้านคนหนึ่งมาปฏิบัติธรรมที่วัดเป็น ประจ�ำจึงนิมนต์พระไปรับบิณฑบาต เพราะอยู่ไม่ไกล สามารถ เดินไปได้ อากาศยามเช้าในชนบทของ Redwood Valley เงียบ สงบเย็นสบายน่าเดินออกก�ำลังเป็นอย่างมาก วันนี้ไม่พบโยมในบ้านหลังที่สองซึ่งปรกติจะมารอใส่บาตรอยู่ หน้าบ้าน เราลังเลอยู่ครู่หนึ่งจึงตัดสินใจเคาะประตูเรียก คุณยาย คนหนึ่งมาเปิดประตูแล้วทักว่า Good morning จากนั้นก็เชื้อเชิญ เข้าไปในบ้าน ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นเป็นห้องครัว คุณยายบอกโยม ผู้หญิงคนหนึ่งไปตามโยมที่ห้องบนชั้นสองของบ้าน ระหว่างนั้น คุณยายก็เล่าว่าเมื่อคืนมีปาร์ตี้ ข้าวของมากมายจึงเกลื่อนกลาด เต็มห้องครัว ไม่ถึงหนึ่งนาทีโยมผู้หญิงคนนั้นก็ลงมาจากชั้นสอง แล้วบอกว่า ไม่มีใครอยู่เพราะห้องล็อคจากด้านนอก เมื่อทราบ ดังนั้นคุณยายก็ถามว่ามีอะไรให้ช่วยไหม? เราลังเลอีกครั้ง ก่อนจะบอกว่า เรามารับอาหารบิณฑบาต คุณยายหยิบขนมปัง ห่อกระดาษฟอยด์ก้อนเบิ้มมาใส่บาตรจ�ำนวนสองก้อน ข้าฯ ประมาณคร่าวๆว่า ถ้าทาแยมหรือเนยถั่วคงเติมลงในกระเพาะ ขนาดปรกติของคนไทยได้ 3-4 กระเพาะเต็มๆ จากนั้นเราก็ให้พร เป็นภาษาบาลีตามปรกติแล้วข้าฯก็บอกคุณยายว่า ความหมาย ของพรนี้ก็คือ Good health, long life and happiness คุณยาย อายุ 79 ปีแต่ยังแข็งแรงสดใส ยิ้มสดชื่นดีใจแล้วบอกอย่างใจดีว่า 97


“โอกาสหน้ามาอวยพรยายอีกนะ” ... A Brief Biography พระอาจารย์ชาวศรีสะเกษท่านหนึ่ง ปัจจุบันมีอายุ ๖๒ ปี อยู่ ในเพศพระภิกษุมาเป็นเวลา ๓๘ พรรษา ท่านเป็นลูกศิษย์ของ พระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) แห่ง วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเมตตาเล่าประวัติของ ตัวเองก่อนที่จะมาบวชได้อย่างน่ารักน่าชัง ข้าฯจึงขออนุญาตน�ำ บางแง่มุมมาเปิดเผย เพื่อให้หนังสือเล่มนี้มีส่วนแห่งความน่ารัก น่าชังนั้นด้วย โยมพ่อโยมแม่ของผมมีลูกทั้งหมด 11 คน เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก 3 คน ตัวผมเองเป็นคนที่ 6 ผมมีศรัทธาในพระพุทธศาสนามา ตั้งแต่เป็นเด็ก เมื่อมองเห็นพระแล้วจิตใจมันดูดดื่ม หลังจาก เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผมก็ขอโยมแม่ไปบวช โยมแม่ บอกว่ารอให้โตกว่านี้อีกสักหน่อย จากนั้นมาอีก 2 ปี โยมพ่อก็ เสียชีวติ พระอาจารย์ทไี่ ปร่วมประกอบพิธศี พของโยมพ่อถามผมว่า จะบวชไหม? ผมตอบว่าอยากจะบวชครับ แต่โยมแม่ยังไม่ให้ บวชเพราะไม่มีใครช่วยดูแลบ้าน ดูแลน้อง ท�ำนา เลี้ยงควาย ต่อมาผมอยากบวชมากที่สุดจึงหนีไปอยู่ที่วัดโดยตั้งใจว่าจะบวช 98


เป็นสามเณร ในสมัยนั้นหมู่บ้านของผมยังไม่มีวัด ผมจึงเดินไป อีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 5 กิโลเมตร อีกหนึ่ง สัปดาห์ต่อมา เมื่อโยมแม่ทราบข่าวว่าผมมาอยู่ที่วัด จึงตามมา มอบตัวผมกับพระอาจารย์อย่างเป็นทางการ หลังจากบวชเป็น สามเณรได้ 3 พรรษา พี่สาวสองคนก็แต่งงาน เป็นเหตุให้ไม่มีใคร ช่วยเหลือกิจการงานภายในบ้าน ญาติๆมาบอกผมว่าไม่มใี ครช่วย ท�ำงานภายในบ้าน น้องๆอีกี 4 คนก็ยงั เรียนอยู่ โยมแม่ล�ำบากมาก สามเณรน่าจะสึกออกมาช่วยโยมแม่ก่อน อายุครบ 20 ปีจึงบวช เป็นพระ เมื่อได้ยินอย่างนี้ ผมจึงสึกออกมาช่วยกิจการงานภายใน บ้านและตั้งใจไว้ว่าจะบวชอีกครั้ง เมื่ออายุครบ 20 ปีผมตั้งใจจะบวชเป็นพระ แต่โยมแม่อยากให้ แต่งงานจึงไปหมั้นผู้หญิงในหมู่บ้านให้ผม แต่จนแล้วจนรอดผม ก็ไม่ได้แต่งงานกับเขา ต่อมาภายหลังโยมแม่ก็บังคับให้ผม แต่งงานกับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ผมรู้สึกไม่สบายใจแต่ขัดโยมแม่ ไม่ได้ จึงอยู่ร่วมกับผู้หญิงคนนั้นฉันสามีภรรยา เวลาผ่านไป เพียงสามเดือนเศษๆผมก็รู้สึกเร่าร้อนเป็นทุกข์ใจไม่เป็นอันกิน อันนอน ทั้งๆที่ผู้หญิงก็รัก ในที่สุดผมจึงบอกเขาว่า “ชาตินี้เรา พบกันสามเดือนเท่านี้นะ” แล้วผมก็ลาเขาไปบวช

99



... Boon หลังอาหารเช้าในวันพระ จู่ๆข้าฯก็นึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาดุ่ยๆอย่าง ไม่มีขลุ่ยไม่มีปี่ เมื่อปีที่แล้วข้าฯกับญาติโยมจ�ำนวนสี่ท่านได้ เดินทางไปทัศนศึกษาที่ Armstrong Redwood เราแวะที่ เมืองเล็กๆแห่งหนึ่งชื่อ Russian River เพื่อรับประทานอาหาร กลางวัน ญาติโยมเจ้าถิ่นเสนอว่าควรไปเฉี่ยวเอาข้อมูลที่ Tourist Center ประจ�ำเมืองเป็นการเรียกน�้ำย่อย หลังจากเราพลิกดู เอกสารแนะน�ำสถานที่ท่องเที่ยวพอเป็นพิธี เจ้าหน้าที่ตัวกลม ผมทองก็แนะน�ำด้วยใบหน้ายิ้มยุ้ยว่า แฮมเบอร์เกอร์และสลัดที่ ร้าน Boon อร่อยมาก ด้วยความสะดุดใจในชื่อของร้าน เราจึงตรง ไปหา Boon ทันที เมื่อสั่งอาหารตามค�ำแนะน�ำแล้ว พนักงานที่ ก�ำลังยืนจดรายการอาหารก็บอกเราด้วยความภาคภูมิว่า วัตถุดิบ ที่น�ำมาปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัวหรือผัก เป็นผลิตภัณฑ์จาก ฟาร์มออร์แกนิกของเกษตรกรรายย่อยในท้องถิ่น ข้าฯได้ยิน ประโยคท�ำนองนี้บ่อยจนไม่ต้องเปิดพจนานุกรมงมหาค�ำศัพท์ เพราะความเป็นออร์แกนิกคืออารมณ์ภมู ใิ จระดับ Hard Core ของ ชาวแคลิฟอร์เนีย

101


... ข้อมูลที่ข้าฯได้มาจากการสอบถามและสังเกตพฤติกรรมความ เป็นอยู่ของชาวอเมริกันมีอยู่ว่า ผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ออแกนิค ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ดูแลเอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพ ส่วนผู้ที่ดูแล เอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพส่วนใหญ่ก็มักจะฝึกโยคะ และผู้ที่ฝึก โยคะส่วนใหญ่ก็มักจะฝึกสมาธิควบคู่ไปด้วย คณะสงฆ์วัดป่า อภัยคีรีเคยเดินทางไปสอนกรรมฐานในสตูดิโอโยคะแห่งหนึ่งที่ เมือง White Salmon มลรัฐวอชิงตัน ซึ่งเจ้าของสถานที่ได้ตั้งชื่อ สตูดิโอไว้อย่างชัดถ้อยชัดค�ำทีเดียวว่า Yoga Samadhi ... ขณะที่พนักงานร้าน Boon ผละจากโต๊ะ ข้าฯพลันสังเกตเห็น ด้านหลังของเสื้อยืดสกรีนตัวอักษรอธิบายค�ำศัพท์น่ารัก ซึ่งแปล เป็นไทยได้ดังนี้ Boon (บูน) n. ผลประโยชน์ที่ได้รับ บุญคุณ คุณานุปการ สิ่งที่เรียกร้อง หรือต้องการ เพื่อนร่วมสนุก / adj. สนุกสนาน เฮฮา กรุณา โอบอ้อมอารี เมื่อรู้ความหมายแล้วข้าฯ พลันอุทานหรรษาว่า Sweet man!! มันช่างสอดคล้องกับค�ำว่า “บุญ” ในภาษาไทยอย่างน่าชื่นใจ ญาติโยมที่มาด้วยกันบอกว่า ถ้าเราจะขอให้ฝรั่งช่วยท�ำอะไรสักอย่าง นอกจากจะสามารถใช้ ประโยคว่า Would you do me a favour? ยังสามารถพูดได้อีก อย่างหนึ่งว่า Would you do me a boon? 102


... The Door to the Deathless is Open ค�่ำวันหนึ่งข้าฯมีโอกาสร่วมสวดมนต์ท�ำวัตรเย็นกับพระภิกษุ สามเณรและญาติโยมที่วัดพุทธานุสรณ์ เมืองฟรีมอนท์ มลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ในวันนั้นมีญาติโยมมาร่วมสวดมนต์ประมาณ 10 ท่าน เมื่อเสร็จจากการสวดมนต์และนั่งสมาธิ หลวงพ่อก็โน้มน�ำ ญาติโยมเข้าร่วมวงสนทนาธรรม โดยให้แต่ละท่านแสดงความ คิดเห็นต่อค�ำถามที่ว่าท�ำไมจึงมาวัด? ข้าฯสะดุดใจในค�ำเฉลย ของพ่อหนุ่มไทยแท้ผู้หนึ่งซึ่งตอบด้วยสีหน้ามั่นใจจนจับได้ เขา แง้มว่าสาเหตุที่มาวัดก็เพราะเมื่อเขาต้องการสิ่งใด แล้วตั้งจิต อธิษฐานขอสิ่งนั้นกับองค์พระประธาน ภายในเวลาไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ความปรารถนาของเขาก็จะเป็นจริง! เมื่อสิ้นเสียงตอบ พวกเราต่างก็หัวเราะจนพระอุโบสถสะท้านสะเทือน สงสารก็แต่ ผู้หญิงฝรั่งที่ก�ำลังยิ้มเจื่อนๆเปื้อนอุทานท�ำนองว่า อะไรของมัน วะ? พ่อหนุ่มผู้นั้นเห็นไม่ได้การจึงยืนยันมั่นแม่นว่า จริงๆนะครับ ไม่เชื่อก็ลองดู ผมท�ำส�ำเร็จมาหลายครั้งแล้ว เมื่อความสังเวชใจคลายคลี่ สิ่งแรกที่ข้าฯร�ำลึกได้เป็นอันดับต้นๆ ก็คือสามลัทธินอกพระพุทธศาสนาอันได้แก่ ลัทธิกรรมเก่า (สิ่ง ทั้งหลายที่เราได้ประสบล้วนเป็นเพราะกรรมที่ท�ำไว้ในปางก่อน) ลัทธิพระเจ้าบันดาล (สิ่งทั้งหลายที่เราได้ประสบล้วนเป็นเพราะ 103


การบันดาลของเทพผู้ยิ่งใหญ่) และลัทธิเสี่ยงโชค (สิ่งทั้งหลายที่ เราได้ประสบล้วนหาเหตุปัจจัยมิได้ คือถึงคราวก็เป็นไปเอง) สาม ลัทธินี้เป็นอันตรายอย่างไม่น่าให้อภัย เพราะส่งผลให้บุคคลงอมือ งอเท้าตั้งความหวังแล้งๆลมๆ ไม่พากเพียรขวนขวายในกิจการ งานดีงามสมกับที่เกิดมาเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ตาม การมาวัดไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ยังดีกว่าไม่มา บรรณาธิการหนุ่มผู้หนึ่งเคยถามพระว่า “ท�ำไมเราจึงได้ยินว่า พระพุทธศาสนาสอนเรื่องความดี แต่ไม่เคยได้ยินว่าพุทธศาสนา สอนเรื่องความจริงเลยล่ะครับ?” ข้าฯขว้างค�ำตอบไปถึงเขาว่า “นี่เป็นโทษของการไม่ได้เข้าใกล้นักปราชญ์บัณฑิต เมื่อไม่ได้เข้า ใกล้ก็ไม่ได้สดับสิ่งที่เป็นความจริง สิ่งที่เป็นประโยชน์” แม้บางใคร จะมาวัดด้วยแรงจูงใจของลัทธิทั้งสาม แต่ก็ยังเป็นการเปิดโอกาส ให้ตนได้พบกับพระภิกษุครูบาอาจารย์ หากพระภิกษุรูปนั้นเป็น ผู้มีปัญญารอบรู้ท่านย่อมมองหากาลเทศะอันเหมาะสม แสดง เนื้อหนังของพุทธศาสนา ให้บุคคลผู้มืดมนได้พบแสงสว่าง กระจ่างตา แม้เขาจะยังไม่พลิกทัศนคติในขณะนั้นทันที ก็ยัง ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้จนเกินก�ำลังจะเยียวยา

104


... Visit of Pesalo Bhikkhu to Pullman, Washington, USA Wednesday, September 7 5:30 PM Arrive in Pullman 6:30-7:30 PM Tea / coffee, casual visit with any interested members. Thursday, September 8 6:30-7:30 AM Breakfast 7:30-10:00 AM WSU campus tour 10:30-11:30 AM Meal offering at Thai restaurant 12:00-3:45 PM Free time / rest 3:45-7:00 PM Meet UI students, Moscow & UI campus tour / Arboretum. Evening Free time Friday, September 9 8:00-1:00 AM-PM Tour of Lewiston 1:00-3:00 PM Rest 3:00-5:00 PM Walking tour of neighborhood 5:30-6:30 PM Teatime 105


7:00-9:00 PM Basic meditation (guided in Thai and English) at Pioneer Center. Bring a mat and a small pillow; chairs will be available. Saturday, September 10 8:00 AM Breakfast 10:30 AM Meal offering and potluck by THAISA members; blessings & Dhamma talk in Thai 1:00-4:00 PM Kamiak Butte hiking on very nice & easy trails. 5:00-7:00 PM Tea / coffee with some Thai students and friends; informal Dhamma conversation. Sunday, September 11 8:00 AM Breakfast 9:30-10:30 AM Visit Palouse Meditation group, Pioneer Center - Dhamma discussion & brief guided meditation in English and Thai. 10:45-11:30 PM Meal offering 12:00-6:00 PM Visit Spokane or Coeur D’Alene area Evening Rest 106


Monday, September 12 6:00 AM Picked up for Pullman airport; light breakfast and meal will be offered to Pesalo Bhikkhu to take because he does not keep any money. ... Questions from Washington ก่อนเดินทางไปพบนักศึกษาไทยและชาวพุทธอเมริกันที่มลรัฐ วอชิงตัน ข้าฯพิจารณาหมายก�ำหนดการต่างๆ แล้วเห็นว่าเรา มีเวลาค่อนข้างจ�ำกัด จึงเสนอแก่ญาติโยมที่รับเป็นธุระในการ จัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า หากส่งค�ำถามที่อยู่ในความสนใจของนัก ปฏิบัติธรรมประจ�ำท้องถิ่นมาให้ก่อนก็จะเป็นการดี เพราะข้าฯ จะได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ต่างๆได้อย่างตรงประเด็น ไม่นานเกินรอ ค�ำถามน่าตอบจ�ำนวนห้าข้อก็ถูกส่งมาทางอีเมล์ ข้าฯอยากตอบค�ำถามเหล่านี้จนน�้ำลายสอ เพราะล้วนแต่เป็น ข้อสงสัยที่มาจากการปฏิบัติธรรมทั้งนั้น ต่างจากค�ำถามของ ญาติโยมชาวไทยที่ข้าฯเคยประสบ ซึ่งมักจะมีความฉงนสนเท่ห์ใน เรื่องพิธีกรรม การเหาะเหินเดินอากาศ พระธาตุ และพระพุทธเจ้า มีจริงไหม? เพื่อความเป็นศิริมงคลและความร่มเย็นของโลก เรา มาช่วยกันตอบค�ำถามเหล่านี้กันเถอะ 107


1. Of all the Buddha’s teachings, which should be remembered and followed the most frequently (most essential teaching)? 2. I am just beginning the journey into Buddhism and meditation. Sometimes I don’t feel like I am proceeding in a helpful way. Are there suggestions that you have for beginners? 3. How does one balance concentration and insight meditation? Is cultivating jhana compatible with vipassana? 4. How can a meditator who practises alone, without a teacher, avoid going astray? 5. In addition to the breath, I would like to begin using my body as a meditation object. Do you advise this and how can we actually begin doing this for an hour of sitting? 6. What is ‘deathless’ and why is it emphasized in Buddhist teachings?

108



... วอชิงตันหวานเสมอ เบื้องต้น : อรุณแรกของเมือง Pullman รัฐวอชิงตันต้อนรับข้าฯ ด้วยชาผสมเครื่องเทศกับเบเกอรี่สดใหม่ ในร้านกาแฟที่ได้รับ การบอกเล่าจากหัวหน้ากลุ่ม Palouse Meditation ว่า Local & Popular ที่สุดในย่านนี้ หลังอาหารเช้าข้าฯมีนัดกับอาจารย์ศิลปะ ท่านหนึง่ ซึง่ สอนจิตรกรรมอยูท่ ี่ WSU-Washington State University เธอรับอาสาจะพาท่องสตูดิโอและหอศิลป์ของมหาวิทยาลัย หลัง จากการเดินเข้าห้องนั้นทะลุห้องนี้ ข้าฯก็หวนระลึกถึงเมื่อครั้งที่ ตัวเองเป็นนักศึกษาศิลปะ กว่าจะรูว้ า่ มันเป็นเพียงความรูแ้ ขนงหนึง่ ซึ่งใช้ในการยังชีพก็ผ่านการบวชไปแล้วหลายพรรษา เมื่อเข็ม นาฬิกาเคลื่อนมาที่เวลา 10:30 น. ความเลื่องชื่อของไอศกรีม และเนยแข็ง ซึ่งเป็นผลงานของมหาวิทยาลัยก็น�ำผองเรามาที่ร้าน Ferdinand’s หลังจากสั่งไอศกรีมรส Huckleberry ซึ่งเป็นเบอร์รี่ พันธุ์หายาก ข้าฯกับโยมอีกสองท่านก็ประคองถ้วยมายังห้อง กระจกขนาดกะทัดรัด จากจุดนี้เราสามารถชมขั้นตอนการผลิต ชีสและไอศกรีมได้อย่างถนัดตา ข้าเพิ่งรู้จากจอทีวีที่บอกเล่า ความเป็นมาของไอศกรีมว่า ก้อนกลมเย็นหลากรสที่เราก�ำลัง บริโภคอย่างหวานชื่น มีอากาศเป็นส่วนประกอบในอัตราส่วนที่ สูงถึงห้าสิบเปอร์เซ็นต์! 110


ท่ามกลาง : กิจกรรมอันเนื่องด้วยบุญกิริยาวัตถุในระยะเวลา 4 วัน 5 คืนที่เมือง Pullman และละแวกใกล้เคียงด�ำเนินไปดังนี้ ข้าฯได้แนะน�ำวิธีเดินจงกรมและนั่งสมาธิโดยสังเขป จากนั้นก็ แสดงพระธรรมเทศนาพอประมาณแก่ผู้คนที่สนใจ ซึ่งหัวข้อ ธรรมกถาจะแตกต่างกันไปตามสติก�ำลังของแต่ละกลุ่ม กลุ่มแรก เป็นนักศึกษาจาก WSU และ UI-University of Idaho สิ่งที่ควร ท�ำและได้ท�ำไปแล้วก็คือการปูพื้นฐานในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา หลังจากผ่านการสนทนากันหลายรอบก็ท�ำให้ทราบว่า ชีวิตของ นักศึกษาซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับงานปาร์ตี้อยู่เป็นประจ�ำ ค�ำแนะน�ำ ที่ดีที่สุดส�ำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงการดื่มไม่ได้ก็คือ “ท�ำแต่น้อยและ อย่าท�ำบ่อย” ส่วนกลุ่มที่สองคือ Palouse Meditation ซึ่งมีสมาชิก ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่และส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกัน ประชากร ของกลุ่มนี้จะให้ความสนใจการปฏิบัติธรรมในระดับเข้มข้น แม้ ข้าฯจะแจ้งให้กลุ่ม Palouse Meditation ส่งค�ำถามมาล่วงหน้า หลายสัปดาห์ แต่ตัวข้าฯเองก็ยังมีประสบการณ์ทางพุทธศาสนา ไม่เพียงพอในหลายแง่มมุ จึงจ�ำเป็นต้องอ้างอิงความรู้ที่เคยศึกษา มาจากครูบาอาจารย์ในการตอบบางค�ำถาม 1.ในบรรดาค�ำสอนทัง้ หลายของพระพุทธเจ้า สิง่ ใดควรจดจ�ำ และปฏิบัติตามมากที่สุด? ตอบ การปล่อยวาง แต่ผู้ที่จะปล่อยวางได้ต้องมีปัญญา ซึ่ง ปัญญาสามารถเกิดขึ้นได้สามทางคือ การอ่านหรือฟัง (สุตตมย ปัญญา) การขบคิดพิจารณา(จินตมยปัญญา) และการลงมือปฏิบตั ิ 111


(ภาวนามยปัญญา) ปัญญาที่เกิดจาการลงมือปฏิบัติไม่จ�ำเป็น ต้องจ�ำเพราะจะถูกบันทึกไว้ในใจ ผู้ที่ผ่านการแก้ปัญหาด้วย ภาวนามยปัญญามาแล้ว จะสามารถน�ำปัญญาชนิดนี้มาใช้ได้ ทันทีเมื่อประสบกับปัญหาเดิม 2.ดิฉันเพิ่งศึกษาพุทธศาสนาและฝึกสมาธิ บางครั้งรู้สึกว่า ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ มีค�ำแนะน�ำอะไรบ้างคะ ส�ำหรับผู้ที่ เพิ่งเริ่มต้น? ตอบ ถ้ามีใครสักคนเพิ่งกินพิซซ่าไปได้เพียงหนึ่งค�ำแล้วถามว่า ดิฉันรู้สึกไม่ก้าวหน้าในการกินพิซซ่า มีค�ำแนะน�ำอะไรบ้างคะ ส�ำหรับผูท้ เี่ พิง่ เริม่ ต้นกินพิซซ่า? เราจะแนะน�ำเขาว่าอย่างไร? ก็ตอ้ ง แนะน�ำว่า กินไปเรื่อยๆใจเย็นๆ 3.ผู้ที่ฝึกสมาธิตามล�ำพังโดยไม่มีครูบาอาจารย์ ต้องปฏิบัติ อย่างไรจึงจะไม่หลงทาง? ตอบ ปลูกอนิจจังไว้ในใจ 4.เราจะปรับสมถะและวิปัสสนาให้สมดุลกันได้อย่างไร? ใน การท�ำวิปัสสนาควรจะพัฒนาเรื่องฌานไหม? ตอบ สมถะมาก วิปัสสนาน้อย ความง่วงเหงาหาวนอนก็ครอบง�ำ แต่ถ้าสมถะน้อย วิปัสสนามาก ก็เกิดความฟุ้งซ่านร�ำคาญ ผูป้ ฏิบตั ธิ รรมมีพนื้ นิสยั แตกต่างกันต้องทดลองปรับหาความสมดุล เอาเอง เหมือนจุดพอดีในการกินอาหารของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน 112


ถ้ามากเกินไปก็ง่วง ถ้าน้อยเกินไปก็หิว ต้องค่อยๆปรับเข้าหา ความพอดี ในการท�ำวิปัสสนาไม่จ�ำเป็นต้องพัฒนาเรื่องฌานหรือ Deep Meditation เพราะสมาธิในการท�ำวิปัสสนาไม่ใช่สมาธิ ระดับลึก เคยมีลูกศิษย์ผู้หนึ่งถามหลวงปู่ชาว่าควรจะใช้สมาธิ ในปริ ม าณมากหรื อ น้ อ ยเพี ย งใดส� ำ หรั บ การท� ำ วิ ป ั ส สนา? ท่านตอบว่า “เอาแค่พอพิจารณาได้” 5.ผมอยากจะเริม่ ต้นฝึกพิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์กรรมฐาน พระอาจารย์แนะน�ำให้ปฏิบัติสิ่งนี้ไหม? เราควรจะพิจารณา อย่างไรภายในเวลาหนึ่งชั่วโมงของการนั่งสมาธิ? ตอบ แนะน�ำให้พิจารณาร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่สวยงามโดยท�ำ “อสุภสัญญา” อย่างสม�่ำเสมอ จากนั้นก็ให้นั่งสมาธิตามปรกติ เมื่อจิตเป็นสมาธิก็จะน้อมไปในการพิจารณาอสุภโดยอัตโนมัติ 6.“ความไม่ตาย” คืออะไร? เหตุใดชาวพุทธจึงให้ความส�ำคัญ กับเรื่องนี้? ตอบ ธรรมชาติของสรรพสิง่ มีความเกิดขึน้ ตัง้ อยู่ ดับไปเป็นธรรมดา ชีวิตของมนุษย์ก็เช่นกัน เมื่อบุคคลฝึกจิตให้ยอมรับในธรรมชาติ อันนี้เขาก็จะเห็นว่าไม่มีใครตาย เป็นแต่เพียงธรรมชาติอันหนึ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเท่านั้นเอง ในทางพุทธศาสนาจะใช้ ส�ำนวนว่า “เป็นผู้ที่มัจจุราชตามไม่ทัน” ที่สุด : อาจจะเป็นเพราะบล็อก Fearless Diary หรือหนังสือ 113


เล่มหนึ่งเล่มใดของข้าฯดลใจให้ผู้จัดกิจกรรมครั้งนี้เห็นว่าข้าฯชอบ ถ่ายรูป แต่อันที่จริงแล้วข้าฯพกกล้องติดตัวไปยังสถานที่ต่างๆ ก็ เพียงเพื่อจะบันทึกภาพไว้ประกอบการเขียนความเรียงเท่านั้นเอง หาได้มีความหลงใหลในการถ่ายภาพแต่ประการใด และเมื่อเสร็จ สิ้นกิจกรรมท�ำหนังสือ ข้าฯสามารถวางมือจากการเป็นช่างภาพ ได้ทนั ทีโดยปราศจากความอาลัยอาวรณ์ ต่อไปนีค้ อื รายชือ่ สถานที่ ซึ่งข้าฯได้บันทึกภาพเอาไว้ในช่วงที่อยู่มลรัฐวอชิงตัน Arboretum & Botanical Garden สวนพฤษศาสตร์ซึ่งอยู่ในความ ดูแลของ University of Idaho Nez Perce National Historical Park พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตของชาว อินเดียนแดง Union Town เมืองเล็กๆที่มีร้านเบเกอรี่ผลิตขนมปังคุณภาพดีและ ร้านขายของเก่าน่าค้นหา Kamiak Butte ภูเขาสูงระดับปานกลางเหมาะแก่การเดินออก ก�ำลังกาย Riverside State Park อันประกอบด้วยล�ำธารขนาดใหญ่และป่า ธรรมชาติชานเมือง Spokane ภาพสุดท้ายที่ข้าฯบันทึกไว้ก่อนเดินทางออกจากเมือง Pullman ก็ คือภาพใบพัดเครื่องบินหมุนกระทบแสงแดดยามเช้า ซึ่งมีทุ่งข้าว หลังการเก็บเกี่ยวเป็นฉากหลัง ในเวลาใกล้ๆนั้นหนึ่งค�ำถาม ไม่คาดฝันจากสมาชิกกลุ่ม Palouse Meditation ก็ล่องลอยอยู่ 114


กลางเวหา--เราสามารถปฏิบัติธรรมไปได้ไกลเพียงใด ในหนึ่งชีวิต อันน้อยนิดนี?้ และค�ำตอบของข้าฯก็คอื Depend on people อุปมา ว่าพระรูปหนึ่งเคยเรียนวิชาช่างไม้ ส่วนพระอีกรูปหนึ่งเคยเรียน วิชาศิลปะ ถ้าพระทั้งสองรูปมาถึงวัดป่าอภัยคีรีพร้อมๆกัน รูปที่มี ทักษะด้านช่างไม้ย่อมสามารถซ่อมกุฏิหรือท�ำโต๊ะเก้าอี้ได้ทันที ส่วนรูปที่มีทักษะด้านศิลปะต้องฝึกฝนการใช้เครื่องมือของ ช่างไม้กอ่ น จึงจะสามารถท�ำงานเกีย่ วกับการก่อสร้างได้ Is it make sense? ... Goats Walking ตามที่ข้าฯได้นัดกับเจ้าของไร่ออร์แกนิกซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัด ว่าจะไปเดินแพะด้วยกัน (แปลตรงตัวจาก Goats Walking-ฮา) เหตุที่โยมเจ้าของไร่ต้องพาแพะทั้งฝูงไปเดินออกก�ำลังก็เพื่อให้ กระเพาะของแพะ (และเจ้าของ) ท�ำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เมื่อ ข้าฯเดินมาถึงตัวบ้านก็พบชาวสวนคนหนึง่ ก�ำลังตากลูกแอ๊ปเปิล้ ที่ ถูกหัน่ เป็นแว่น ข้าฯถามว่าเอาไว้ทำ� ขนมเหรอ? เขาตอบว่ากินแบบ นี้เลย เหมือนลูกเกด แล้วก็คะยั้นคะยอให้ข้าฯชิม ข้าฯปฏิเสธทั้งๆ ที่เสียดายเพราะมันเกือบบ่ายสองโมงแล้ว เมื่อเริ่มออกเดินข้าฯก็ถามเจ้าของไร่ว่าเราจะเข้าไปในป่าไหม? 115


เพราะถ้าเข้าป่าพระก็เปลื้องจีวรได้ แม้อากาศวันนี้จะอยู่ที่ระดับ 30 องศาเซลเซียสไม่โหดถึง 41 อย่างสัปดาห์ที่แล้ว แต่ก็ยังถือว่า ร้อน เมื่อเก็บจีวรใส่ย่ามข้าฯก็ควักกล้องถ่ายรูปออกมากดชัตเตอร์ ระยะทางในการเดินแพะไม่ไกลอย่างที่ข้าฯจินตนาการถึงทุ่งหญ้า เขียวขจีในสก็อตแลนด์ และเราเดินก็วนเวียนกันอยู่ในพื้นที่ 1,000 เอเคอร์ของครอบครัวเจ้าของไร่ (1 เอเคอร์ = 2.5 ไร่) ภายในที่ดิน แปลงน้อยนี้มีบ้านของพ่อแม่ปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอาปลูกกระจาย อยู่เป็นหย่อมๆ วันนี้ญาติผู้น้องของเจ้าของไร่พาสุนัขมาเดินออก ก�ำลังด้วย เขาเล่าว่าเคยไปอยู่ที่วัดฮินดู 3 เดือนและสนใจที่จะ บวชเป็นพระในพุทธศาสนาแต่ยงั ไม่พร้อม ระหว่างทางเจ้าของไร่ก็ เก็บลูก Blackberry ทีข่ นึ้ เป็นพุม่ อยูต่ ามป่าใส่ในขวดน�้ำดืม่ จนเต็ม ด้วยหมายจะเอาไปท�ำเป็นอาหารเช้า ช่วงทีป่ ล่อยให้แพะเล็มหญ้า เจ้าของไร่ยงิ ค�ำถามมาถึงข้าฯสองข้อได้แก่ อะไรคืออริยสัจสี?่ และ ท�ำไมพระไม่ฉันอาหารหลังเที่ยงวัน? ข้าฯบอกเขาว่า ค�ำถามแรก จะฝากหนังสือมาให้อ่านเพราะต้องใช้ค�ำศัพท์ในการอธิบายเยอะ ส่วนค�ำถามที่สองพอตอบได้ เพราะใช้ค�ำศัพท์พื้นๆ เมื่อเวลาผ่าน ไปหนึง่ ชัว่ โมงเราก็เดินวกกลับมาทีบ่ า้ น ระหว่างทีข่ า้ ฯนัง่ พักเหนือ่ ย เจ้าของไร่กต็ ม้ น�้ำร้อนแล้วชงชา Peppermint สดๆมาถวาย จากนัน้ ก็เล่นเปียโนเพลงสรรเสริญพระพุทธเจ้าที่เขาแต่งเอง เนื้อหาของ เพลงและลีลาการบรรเลงของเขาท�ำให้อากาศบ่ายนีส้ ดชืน่ ขึน้ ถนัดตัว

116


Reverence (Thank you Buddha) Will noble thoughts always fill our mind? With peace and faith we sure can try! Images have so much power, painting with colors divine. Chorus: Thank you Buddha for the Dhamma, for wellness. Light and blessing comes down from above, just listen to a snow-white dove. Cultivate reverence and adoration every day. Chorus : Thank you Buddha for the Dhamma. A song by Daniel Frey Meditator, Farmer & Musician *ติดตามรับชมการบรรเลงได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=fuKqCFS-18

117


118


... พูลิตเซอร์สะท้อน หลังอาหารมื้อหนักก่อนเที่ยงวัน ข้าฯคว้าหนังสือรวมภาพถ่าย รางวัลพูลิตเซอร์เล่มหนาที่ชื่อว่า Capture the Moment: The Pulitzer Prize Photographs มาพิจารณาเพื่อช่วยในการจัดวาง เมล็ดข้าว ขนมและผลไม้ในกระเพาะ เมื่อพลิกผ่านไปได้ครึ่งเล่ม ข้าฯจึงส�ำนึกว่าคว้ามาผิดกาลเทศะ เพราะกว่า 90% ของภาพถ่าย ให้อารมณ์โศกนาฏกรรมจนท�ำให้ท้องไส้ปั่นป่วน หากผู้ใดเห็นว่า ข้าฯดัดจริตบิดเบี้ยวเกินสมณสารูป ก็จงพิจารณาเนื้อความต่อไป นี้ “นกแร้งในเอธิโอเปียรอกินเด็กผอมโซคนหนึ่งซึ่งก�ำลังจะตายใน ไม่ชา้ ” “แม่ชาวเขมรอุม้ ลูกน้อยว่ายน�ำ้ หนีกองก�ำลังติดอาวุธ” “เด็ก ผู้หญิงเปลือยวิ่งหนีระเบิดนาปาร์มในสงครามเวียดนาม” “ขบวน คาราวานยาวเหยียดของผูอ้ พยพหนีตายจากสงครามในแอฟริกา” “เด็กชายในอ้อมกอดของพ่อตกใจสุดขีดเมื่อทหารบุกจู่โจมเข้าไป ในบ้าน” “เหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดี” “ประชาชนจับอาวุธ เข้าห�้ำหั่นกันในระหว่างการชุมนุมประท้วง” Bang!! ภาพถ่ายเก่าแก่ทสี่ ดุ ในเล่มถูกบันทึกด้วยฟิลม์ ขาวด�ำตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1942 ส่วนภาพถ่ายใหม่เอีย่ มทีส่ ดุ บันทึกด้วยฟิลม์ สีในปี ค.ศ.2001 แต่ภาพเหตุการณ์ในหนังสือเล่มนี้ยังคงเกิดขึ้นซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า ณ มุมใดมุมหนึง่ ของโลกอย่างไม่รเู้ ข็ดหลาบ ข้าฯรูส้ กึ อบอุน่ ปลอดภัย 119


อยู่ลึกๆที่ตัวเองและผู้คนใกล้ตัว ไม่ต้องตกอยู่ในสภาพการณ์ ราวกับนรก ผู้ใดเล่าจะสามารถมนสิการค�ำสอนของพระพุทธองค์ ได้ในอุณหภูมิระดับนั้น เป็นบุญอนันต์ที่ยังคงมีสถานที่บางแห่ง ในโลกหลงเหลือให้เราได้อาศัยอยู่อย่างร่มเย็น เพื่อบ�ำเพ็ญสวรรค์ ให้บังเกิดขึ้นบนผืนปฐพีแห่งนี้ Be well. ... ขอสตีฟ จ็อบส์ด้วยคน ในปี ค.ศ. 1974 เมื่อจ็อบส์อายุได้ 21 ปี เขาเดินทางไปประเทศ อินเดียเพื่อการแสวงหาทางจิตวิญญาณ เช่นเดียวกับวงดนตรี เดอะบีทเทิ้ล เมื่อกลับจากอินเดียจ็อบส์ไปมาหาสู่กับศูนย์เซนที่ ลอสออัลโตส มลรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นประจ�ำ ในช่วงนี้เองที่เขารับ ประทานผลไม้เป็นอาหาร (Fruitarian) และผลไม้โปรดปรานของ เขาก็คือแอ็ปเปิ้ล จ็อบมักจะเดินเท้าเปล่าในละแวกบ้านและที่ท�ำงานอยู่เสมอ ประสบการณ์จากอินเดียจุดประกายให้จ็อบส์ เปลี่ยนมานับถือ ศาสนาพุทธ และผู้เป็นประธานในพิธีแต่งงานของเขาก็คือ พระโซโตเซนชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ โกบุน ชิโน แทบจะพูดได้เลยว่าบริษัท แอ็ปเปิ้ลของจ็อบส์ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเซน ดัง จะเห็นได้จากความเป็นมินิมัล (เรียบง่ายหรือ “น้อยๆแต่อยู่” 120


ผู้เรียบเรียง) ซึ่งผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของแอ็ปเปิ้ลต่างก็ได้สัมผัส ความรู้สึกนี้ สิ่งนี้ไม่ใช่อุบัติเหตุ แต่จ็อบส์คือผู้ที่ก้าวตามรอยบาท ของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง แหล่งข้อมูลในการแปลและเรียบเรียง

http://edition.cnn.com/2011/10/05/tech/innovation/steve-jobsphilosophy/?hpt=ibu_c1 http://www.japanese-buddhism.com/steve-jobs-buddhist-celebrities.html

ป.ล.ข้าฯอ่านเนื้อความภาคภาษาอังกฤษย่อหน้าสุดท้ายให้ พระชาวอเมริกันฟัง ท่านคอมเม้นท์ว่า “ทุกวันนี้มันเท่ ถ้าได้บอก ใครๆว่าตัวเองเป็นชาวพุทธ” ... To be Awake ในมติชนสุดสัปดาห์ คนไทยส่วนใหญ่เวลานีค้ งอดคิดไม่ได้วา่ บ้านเมืองของเรายุง่ จริงหนอ มีความคิดต่างๆสวนทางกันไปมา ก่อให้เกิดความเครียด และ ดูเหมือนธรรมะจะกลายเป็นทีพ่ งึ่ ทีด่ ที สี่ ดุ โดยอัตโนมัติ อะไรจะเกิดมัน ก็ตอ้ งเกิด ต้องปล่อยวางมันเสีย ความเปลีย่ นแปลงเป็นของธรรมดา คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจธรรมะเพราะเห็นว่าน่าเบื่อ ที่จริงธรรมะ ในแง่ข�ำขันเบาสมองไม่ใช่ว่าไม่มี ซึ่งพอดีกับได้รับหนังสือก�ำนัล 121


1 เล่มจากเพือ่ นรุน่ น้องทีไ่ ปรับประทานอาหารทีภ่ ตั ตาคารแห่งหนึง่ อ่านดูเห็นว่าเป็นธรรมะที่ข�ำขันดีเลยหยิบติดมือมาฝากกัน เปิดดูที่หน้าปกเขียนไว้ว่า To be Awake เก็บเล็กร้อยเรื่องระเริง เชิงธรรมะ โดยเปสโลภิกขุ หนังสือตีลังกากลับหัว มีสองปกเหมือน นิตยสารบางฉบับชอบท�ำให้เก๋ (ท่านผู้นี้เกิดที่อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เรียนทีค่ ณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บวชทีว่ ดั หนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี จ�ำพรรษาทีว่ ดั ป่าอภัยคีรี ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผลงานทีเ่ รียกว่า “ทรมานใจวัยหวาน” ได้แก่ Dhamma Design Issue 1 / บทกวีในที่ว่าง / Dhamma Design Issue 2 / แดนสนทนา / Pesalocation / Dhammascapes เป็นต้น) ก็เลยอยากให้ผอู้ า่ นคลายเครียดด้วยการติดตามข้อความบางตอน จากหนังสือเล่มนี้ดังต่อไปนี้ เชิญอภิรมย์ได้เลยค่ะ (ยกตัวอย่างจากหนังสือ To be Awake จ�ำนวน 17 ตอน) ตั้งแต่มีพระฝรั่งมาบวชในพุทธศาสนา และตั้งแต่วัดไทยได้เข้าไป เผยแผ่ธรรมะในแดนตะวันตก การปะทะสังสรรค์กนั ระหว่างวัฒนธรรม ตะวันออกและตะวันตกก็เกิดเป็นประจ�ำในแวดวงพระศาสนา รวม ทัง้ อารมณ์ขนั ลึกๆต่างๆตามแบบตะวันตก ก็มแี ทรกซึมอยูใ่ นค�ำสัง่ สอนของพระสงฆ์ผเู้ ผยแผ่ธรรม เป็นอีกแรงดึงดูดหนึง่ ให้คนเดินเข้า มาหาศาสนามากขึ้น 122


บทความเรื่องธรรมะข�ำข�ำ คอลัมน์โลกหมุนเร็ว โดยเพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1625

... A Poem for a Patient โยมชาวไทยผู้หนึ่งแจ้งข่าวมาว่าโยมฝรั่งที่ข้าฯเพิ่งรู้จักก�ำลังป่วย หนัก จึงขอให้ข้าฯส่งข้อความไปเยี่ยมไข้ อันตัวข้าฯเองไม่สู้ถนัด ในการปลอบประโลมคนป่วย จึงเขียนบทกวีสั้นๆหนึ่งบทแล้ววาน ให้โยมกับพระที่วัดป่าอภัยคีรีช่วยแปล เพียงสามบรรทัดแต่สุมหัว กันข้ามวันกว่าจะลงตัว เมื่อธรรมะของพระพุทธองค์อบอุ่นอยู่ภายใน แม้อุณหภูมิต�่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เราก็มีที่พึ่ง When the Buddha’s Dhamma is kept warm in the heart, Even when the temperature outside is below freezing, We still have that refuge inside.

123


... ขณะนี้มีชาวพุทธอเมริกันจ�ำนวนเท่าไหร่? ชาวอเมริกันที่บอกว่าตนเป็นชาวพุทธ: 1,600,000 ผู้ที่บอกว่าตนมีโอกาสสนทนากับอาจารย์สอนพุทธศาสนา อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อปี: 5,000,000 ผู้ที่บอกว่าตนฝึกสมาธิแนวพุทธ: 6,000,000 ผู้ที่บอกว่าตนอ่านหนังสือพุทธศาสนา: 7,000,000 ผูท้ บี่ อกว่าพุทธศาสนามีอทิ ธิพลส�ำคัญต่อแนวความคิดทางศาสนา และจิตวิญญาณของตน: 28,300,000 แหล่งข้อมูล - The first figure is from the Pew Religious Landscape Survey 2007. - The next three are from the Purdue Social Research Institute Survey 2009. - The final figure is from the Religion and Diversity Survey 2003, “Buddhists and Buddhism in the United States: The Scope of Influence” by Robert Wuthnow and Wendy Cadge, Journal for the Scientific Study of Religion, 2004, 43:363-380. - Buddhadharma Volume 10, Number 1, Fall 2011 124


... Fort Bragg & Mendocino เอนหลังอยู่ในรถเพียง 1 ชั่วโมง 15 นาที พุ่งขึ้นมาทางทิศตะวันตก เฉียงเหนือของหมู่บ้าน Redwood Valley ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดป่า อภัยคีรี พระหนุ่ม 3 รูปกับ 1 อุบาสกตุ้ยนุ้ยก็เดินทางมาถึงเมือง ชายทะเลที่มีชื่อว่า Fort Bragg เมื่อรถจอดนิ่งสนิทเราก็ลงเดิน เปลือยเท้าบนผืนทรายเนียนละเอียดทันที ตั้งแต่มาอยู่อเมริกา เป็นเวลา 1 ปี 9 เดือน ข้าฯแทบไม่ได้ถอดรองเท้าสัมผัสพื้นดินเลย ในวันที่ใช้สองมือน้อยๆนวดฝ่าเท้า ข้าฯรู้สึกได้เลยว่า มันนุ่มกว่า ผิวหน้าเสียอีก เมื่อย่างเหยาะย�่ำอยู่บนหาดทรายได้เพียง 5 นาที ข้าฯก็ต้องกลับใจใส่ Teva (ยี่ห้อรองเท้า) เพราะอุณหภูมิในเมล็ด ขุ่นละเอียดช่างเยียบเย็นกัดเส้นประสาท ขณะนัน้ เป็นเวลาประมาณ 10 นาฬิกาของวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม ปีพุทธศักราช 2554 นอกจากกลุ่มของพวกเราแล้วก็มีเพียงผู้ชาย วัยกลางคนกับสุนัขอีกหนึ่งตัวบนชายหาด วัตถุประสงค์ของการ เดินทางมาทัศนศึกษาของพวกเราครั้งนี้มิใช่เรื่องซับซ้อนซ่อนปม เหตุเพียงเพราะอุบาสกซึง่ เป็นกัลยาณมิตรของพระชาวอเมริกนั นัง่ เครือ่ งบินจากมลรัฐมิชแิ กนมาเยีย่ มวัดป่าอภัยคีรี ด้วยความเมตตา และปรารถนาดี พระชาวอเมริกนั จึงน�ำกัลยาณมิตรไปสัมผัสวัฒนธรรม ของชาวแคลิฟอร์เนีย ข้าฯได้ยนิ อุบาสกตุย้ นุย้ ร�ำพึงว่า ประทับใจใน 125


บรรยากาศและผูค้ นชาวมลรัฐแคลิฟอร์เนียเหลือหลาย เพราะรูส้ กึ ผ่อนคลายเหลือประมาณ ข้าฯเองก็เห็นว่าน่าจะจริงดังนั้น เพราะ ขณะที่ 4 หนุ่มจาก Redwood Valley ก�ำลัง Hang out อยู่ในร้าน กาแฟท้องถิ่นของเมือง Mendocino เราก็ได้รับการโบกมือทักทาย และรอยยิม้ ร่าเริงราวสายลมต้องแดดในฤดูใบไม้ผลิ จากหนุม่ สาว ฮิปปี้คู่หนึ่ง ซึ่งถือถ้วยกาแฟกลับไปที่รถอันรุงรังด้วยสัมภาระเช่น ถุงขนมปังและดอกไม้แห้ง เพลงที่ก�ำลังบรรเลงอยู่ในร้านกาแฟ ขณะนั้น เร้าใจให้สองหนุ่มสาวขยับตัวเต้นตามประหนึ่งว่าถูก วิญญาณของ Janis Joplin เข้าสิง แม้ข้าฯจะใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกาเฉียด 2 ขวบปี แต่ครั้งนี้เป็นทริป แรกที่ได้เดินทางมาทัศนศึกษากับชาวอเมริกันล้วนๆ ซึ่งไม่มีใคร พูดภาษาไทยได้เลย เพื่อไม่ให้เสียอรรถรสในการสื่อสาร ข้าฯจึง วางพจนานุกรมแล้วขุดคุ้ยทักษะภาษาอังกฤษทั้งการพูด ฟัง อ่าน มาด้นกันสดๆ ครั้นถึงเวลาสั่งอาหารก็ยังงงงันอยู่ว่าจะสั่งอะไรดี แม้เมนูของร้านอาหารพันธุอ์ เมริกนั จะมีภาพถ่ายทีผ่ า่ นการตกแต่ง ให้นา่ บริโภคประดับคูก่ บั ชือ่ อาหารและส่วนประกอบ แต่เพือ่ ความ สะดวกลิ้นและกระเพาะน้อยๆของพระป่าชาวอีสาน ข้าฯจึงทิ่ม ความสนใจไปที่ซุปมันฝรั่งรสเข้มกับชีสเบอร์เกอร์ไก่งวง ซึ่งเป็น สัตว์ปีกน่าเอ็นดูประจ�ำวัดป่าอภัยคีรีทขี่ ้าฯหมายมั่นปัน้ ใจไว้วา่ จะ ต้องสวัสดีให้ได้ก่อนเทศกาล Thank giving ในเดือนพฤศจิกายน

126


หลังอาหารเที่ยงที่ Mendocino เราเดินชมบรรยากาศภายใน เมืองอันเต็มไปด้วยร้านขายของที่ระลึกกิ๊บเก๋ เมื่อแวะเข้าไปใน ร้านแห่งหนึ่ง ข้าฯพลันสะดุดใจกับแผ่นแม่เหล็กติดตู้เย็นที่มีรูป พระพุทธเจ้าแบบแขกๆห่มจีวรสีเหลืองสด มุ่นมวยผมทรงชฎา ยกพระหัตถ์แสดงธัมมจักรกัปวัตนสูตร ด้านข้างของภาพปรากฏ ตัวอักษรโรมันอ่านได้ความว่า What the Buddha do? ร้าน Village Toy Store ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เราแวะเข้าไปชม ช่วงใกล้ เทศกาลฮาโลวีนเช่นนี้ ชุดภูตผีปศี าจแม่มดโจรสลัดสัตว์ประหลาด จึงถูกน�ำออกมาจัดวางในต�ำแหน่งที่โดดเด่นเป็นพิเศษ ระหว่างนั่ง รถมาทัศนศึกษาข้าฯบอกพระฝรั่งว่าระยะทางที่ผ่านมา ข้าฯเห็นผี หลายตัว พระฝรัง่ ท�ำหน้าเลิก่ ลัก่ เชือ่ ครึง่ ไม่เชือ่ ครึง่ แต่เมือ่ นึกได้วา่ ชาวประชาอเมริกนั จะประดับบ้านให้ดนู า่ สยดสยองในช่วงเทศกาล ฮาโลวีนท่านก็ยมิ้ โล่งอก แถมยังเล่าให้ฟงั อีกว่าวันฮาโลวีนปีทแี่ ล้ว ตรงกับวันพระ ซึง่ เป็นเพียงวันเดียวของสัปดาห์ทพี่ ระภิกษุสามเณร ชาววัดป่าอภัยคีรี จะเข้าไปบิณฑบาตในเมือง Ukiah และบังเอิญ ว่าวันนั้นตรงกับวันที่ชาวเมืองจัดเทศกาลฟักทองพอดี เมื่อเด็กๆที่ อยู่ในขบวนพาเหรดเห็นพระสามรูปก�ำลังเดินบิณฑบาตจึงตะโกน บอกว่า “เฮ้! กลับมาเข้าขบวนเดี๋ยวนี้นะ พวกเราจะไปกันทางนี้” บ่ายแก่ๆพวกเราก็เดินทางออกจากเมือง Mendocino แล้วตรง ไปที่ Montgomery Woods ซึ่งอุดมไปด้วยไม้เรดวู้ดล�ำต้นมหึมา ข้าฯได้บทเรียนจากปีที่แล้วว่า ถ้าจะเข้าไปนวยนาดในป่าแถบนี้ ต้องอบร่างกายให้อุ่นด้วยเสื้อกันหนาวหลายๆชั้น เพราะอุณหภูมิ 127


กลางป่าช่างเย็นสะท้านปานโรงน�้ำแข็ง ปีทผี่ า่ นมาข้าฯท�ำผิดพลาด ด้วยการเตรียมเสื้อกันหนาวไปน้อยตัว หลังออกจากป่าเร้ดวู้ดจึง ถูกสั่งสอนด้วยการจับไข้และทรมานจากอาการไอจนอกระบมอยู่ นานนับเดือน แต่ความพลั้งพลาดก็เป็นประสบการณ์ที่น่าจดไว้ ในใจ วันนีข้ า้ ฯจึงเอาตัวรอดปลอดภัยกลับมาถึงวัดป่าอภัยคีรพี ร้อม ภาพถ่ายของอาหารอเมริกันมื้อใหญ่ น�้ำทะเลสีครามใส ดอกไม้ และกัลยาณมิตร

128



... รู้ในไม่รู้ อีเมล์ลึกลับฉบับหนึ่งส่งมาถึง guestmonk@abhayagiri.org Hello I don’t know much about Buddhism, I don’t know about anything. My life has been a mess. There’s just so much that I don’t know and I’ve slipped through the cracks, and now I’ve got a living situation with out the skills to handle the situation. I am so lost. The only thing I’ve got is my looks, but how far can that go? สวัสดี ผมมีความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาไม่มากนัก แต่อันที่จริงแล้วผม ไม่รู้อะไรเลย ชีวิตของผมค่อนข้างยุ่งเหยิง มีมากมายหลายสิ่งที่ ผมไม่รแู้ ละผมก็ไถลไปสูค่ วามเสือ่ ม ขณะนีผ้ มตกอยูใ่ นสถานการณ์ ที่ไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์นี้ได้ ผมรู้สึกสิ้นหวัง สิ่งเดียว ที่ผมมีอยู่ตอนนี้ก็คือรูปร่างหน้าตา แต่มันจะคงอยู่ไปได้นาน แค่ไหนกันเชียว?

130


... ขนาดของหัวใจ ญาติโยมส่งเนื้อความจากหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่งมาให้ ข้าฯพิจารณา ตอนท้ายของอีเมล์มีข้อความเล็กๆประดับไว้ว่า… จดมาได้นิดเดียว พนักงานเค้าเหล่แล้วค่ะ “ การสร้างคุณค่าใหม่ทเี่ งินซือ้ ไม่ได้ (แต่ตอ้ งใช้เงินมากอยู)่ กระแส ใหญ่ๆกระแสหนึง่ คือการมุง่ ไปหาธรรมะ เศรษฐี มหาเศรษฐี เจ้าของ ธุรกิจบิก๊ เบิม้ ในเมืองไทยจ�ำนวนมากทุม่ ทุนไปกับการอุปถัมภ์วดั ป่า วัดที่อยู่ใกล้ธรรมชาติ เทรนด์การสร้างวัดของไฮโซจริง ถ้าเป็นสมัย ก่อนก็ตอ้ งเป็นสวนโมกข์ สมัยนีข้ ยับมาเป็นวัดหนองป่าพง ขยายมา ที่วัดป่าสุขะโต ตอนนี้ถ้าจะอินเทรนด์จริงต้องหมู่บ้านพลัม สวยยัง กะสวรรค์ ถ้าได้อยู่อย่างนั้นมันต้องบรรลุธรรมเข้าสักวัน” เมื่อบัณฑิตได้ยินว่าบุคคลอื่นประกอบคุณงามความดี ย่อมเป็น โอกาสที่จะยกจิตขึ้นสู่มุทิตาคือ ความพลอยรื่นเริงบันเทิงใจใน คุณงามความดีของผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของคนพาล ทีจ่ ะปล่อยใจให้ไหลไปตามอ�ำนาจของความอิจฉาริษยา เมือ่ ใจถูก ห่อหุ้มรุมเร้าด้วยแรงอิจฉาริษยาจนมีระดับเข้มข้น ก็จะล้นทะลัก ออกมาทางการกระท�ำและค�ำพูด 131


การบ�ำเพ็ญทานไม่ว่าจะท�ำเพราะเทรนด์หรือมุ่งหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใด ย่อมเป็นโอกาสให้ได้เข้าใกล้นักปราชญ์บัณฑิต เมื่อเข้าใกล้ก็ได้ สดับสิ่งที่เป็นประโยชน์ เมื่อได้สดับสิ่งที่เป็นประโยชน์จนอินทรีย์ แก่กล้า ก็สามารถขยับขึ้นไปปฏิบัติในระดับศีล สมาธิ ปัญญา และพัฒนาไปตามก�ำลังของตน  นีค่ อื แนวทางของพระพุทธศาสนา เคยมีญาติโยมถามว่า เหตุใดบุคคลบางจ�ำพวกจึงถูกมิจฉาทิฐิ ครอบง�ำอย่างไม่อาจลืมหูลืมตา? เท่าที่ข้าพเจ้าพอจะพิจารณาได้ ในตอนนี้มีอยู่สองสาเหตุคือ 1.บุคคลนั้นมีความทรงจ�ำที่ไม่น่าประทับใจเกี่ยวกับวัดในวัยเด็ก ซึ่งเกิดจากการได้พบเห็นพระภิกษุหรือสามเณรประพฤติล่วง ละเมิดพระธรรมวินัย 2.ความเห็นของบุคคลนั้นเกิดจากการรับรู้ข้อมูลทางพุทธศาสนา แล้วคาดเดาไปต่างๆนานาตามพื้นนิสัย ความเชื่อ หรือภูมิหลัง ของตน เขาหรือหล่อนไม่ได้นำ� ข้อมูลทีไ่ ด้รบั รูม้ าลงมือปฏิบตั ใิ ห้เห็น จริงกับตัวเอง หรือสอบถามเทียบเคียงกับพระสงฆ์ผมู้ ปี ระสบการณ์ ตรง ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธผลของการปฏิบัติ จึงเป็นเหตุให้เกิด อาการ “ใจแคบ” เมื่อตนไม่ได้รับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาก็ ไม่ได้คดิ เผือ่ แผ่ไปถึงผูอ้ นื่ ด้วยว่า ผูท้ ไี่ ด้รบั ประโยชน์จากการปฏิบตั ิ ตามหลักธรรมค�ำสอนของพระพุทธองค์นั้นมีอยู่มากมายทั่วโลก ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นอีกนับไม่ถ้วนในอนาคต

132


... The Last 2 Weeks 28 พฤศจิกายน 2554 ก่อนฉันอาหารมื้อกลางวันข้าฯท�ำพิธีขอขมาท่านพระอาจารย์ ภาษาอังกฤษจะใช้ค�ำว่า “Ask Forgiveness” เมื่อฉันเสร็จก็เดิน ทางออกจากวัดป่าอภัยคีรีในเวลาประมาณบ่ายโมงเศษๆ มาพัก ที่บ้านโยมในเมือง Petaluma ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา หลังจาก โยมผู้หนึ่งทราบว่าข้าฯจะพ�ำนักอยู่ที่แซนแฟรนซิสโกและละแวก ใกล้เคียง เป็นเวลาสองสัปดาห์ก่อนจะโบกมือลาสหรัฐอเมริกา เขาก็ถามว่าจะไปท�ำอะไรที่นั่น? และค�ำตอบของข้าฯก็คือ I just wanna say good bye to the city I fall in love with. 29 พฤศจิกายน เดินเลือกโปสการ์ดย่านไชน่าทาวน์โดยเริ่มจากซุ้มประตูด้านหน้า ร้านที่อยู่ต้นทางจะขายในราคา 3 แผ่นต่อหนึ่งดอลล่าร์ ร้าน ถัดๆมาจะราคาถูกลงเรื่อยๆ ร้านที่จ�ำหน่ายในราคาถูกที่สุดก็คือ 9 แผ่นต่อหนึ่งดอลล่าร์ อนิจจา…ข้าฯต้องการเพียงหก 30 พฤศจิกายน อากาศปลอดโปร่งและแสงแดดจัดจ้าน โยมจึงนิมนต์มาถ่ายภาพ ที่ Golden Gate สะพานสไตล์อาร์ตเดโค่สีแดงเข้มตัดกับน�้ำทะเล 133


สีคราม สถาปนิกเลือกสีได้อย่าง Kick ass! 1 ธันวาคม นั่งรถเพียง 45 นาทีจากบ้านพักที่ Petaluma ก็มาถึง Point Reyes National Seashore ก่อนจะเดินชมทะเล เราแวะฉันขนมกับชาผสม เครื่องเทศ (Chai) เป็นอาหารกลางวันที่ร้านเบเกอรี่เล็กๆแห่งหนึ่ง ขากลับผ่านเข้าไปชมเมือง Point Reyes Station ซึ่งมีบรรยากาศ อบอวนไปด้วยอารมณ์ออร์แกนิก คล้ายหลายเมืองที่เคยสัมผัสใน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย 2 ธันวาคม เดินทางเข้ามาพักที่ The Infinity Building ในแซนแฟรนซิสโก เกือบไม่หลับเพราะเสียงการจราจรพลุกพล่านตลอดทั้งคืน คงจะ เป็นเพราะตรงกับวันศุกร์ 3 ธันวาคม ตั้งใจว่าจะไปนั่งรถรางชมเมืองแซนแฟรนซิสโก สถานีรถรางอยู่ ใกล้กับ Union Square ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเมือง แต่เมื่อเห็น นักท่องเที่ยวเข้าแถวยาวเหยียดข้าฯจึงเปลี่ยนใจ บังเอิญว่าโยม ที่อาสาพามานั่งรถราง มีธุระต้องไปสั่งของที่ร้านเฟอร์นิเจอร์จึง นิมนต์ขา้ ฯไปด้วย พืน้ ที่ 3 ชัน้ ของร้านบรรจุสงิ่ ของเก๋ไก๋แทบทุกซอก มุม แต่เมื่อเปิดประตูเข้าไปในห้องน�้ำก็เก๋ไม่ไหว เพราะทางร้าน ตั้งเศียรพระพุทธรูปสีขาวไว้บนตู้เย็นขนาดเล็ก เคียงคู่กับชักโครก 134


สีเดียวกัน เมื่อข้าฯอัพโหลดภาพนี้ลงในบล็อกก็มีคนคอมเม้นท์ว่า “ถ้ามองตามหลักธรรม ทุกสิ่งล้วนสมมติ มันก็แค่นั้นเอง” -- It’s right but not true man!! 4 ธันวาคม อีเมล์จากวัดป่าอภัยคีรีเมื่อ 2-3 วันที่แล้ว Hello Ajahn I hope you are well and enjoying your last “T.O.” in the Bay Area. Life is the same since you left, Dukkha, Anicca, Anatta. I hope for you that your return home goes well. I miss your quiet presence already. TC. ------------------Hey bro! This morning I was eating pancake alone. It was yummy but something different. Pesalo Bhikkhu 135


5 ธันวาคม วันนีข้ า้ ฯได้นงั่ รถรางสมอุรา แต่ถา้ จะให้สดุ เหวีย่ งก็ตอ้ งห้อยโหน เมือ่ มาถึงปลายทางก็พบสวนสาธารณะริมทะเลทีช่ อื่ ว่า Victorian Park จากจุดนีโ้ ยมทีม่ าด้วยกันบอกว่า ถ้าเดินเลียบถนน Embarcadero ไปเรือ่ ยๆประมาณหนึง่ ชัว่ โมงก็จะถึงทีพ่ กั ข้าฯเองก็อยากเดินไกลๆ มาหลายวันแล้ว จึงให้โยมนั่งรถรางกลับไปก่อน อุณหภูมิบ่ายสอง โมงครึง่ ของทีน่ ยี่ งั เย็นสบาย ถนนสายนีเ้ ป็นทีน่ ยิ มของนักท่องเทีย่ ว โดยเฉพาะบริเวณทีเ่ รียกว่า Pier 39 ในระหว่างทีก่ ำ� ลังก้าวเท้าด้วย จังหวะทีค่ อ่ นข้างเร็วข้าฯก็เกิดความรูส้ กึ นึกคิดขึน้ มาว่า มนุษย์ตอ้ ง เผชิญกับความทุกข์กันอยู่เรื่อยๆ ก่อนจะมาอเมริกาต้องติดต่อ เอกสารเกี่ยวกับการเดินทาง เผชิญอุปสรรคสารพัดสารพันชนิด เมื่อมาแล้วก็ปะทะกับ Culture Shock ต้องปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อม ผู้คน อาหาร อากาศ และวัฒนธรรมใหม่ ครั้นจะกลับ ก็ยังมี Reverse Culture Shock อีก ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อ จ�ำเป็นต้องเปลี่ยนจากวัฒนธรรมใหม่ที่คุ้นชินและรู้สึกว่ามันไม่ใช่ วัฒนธรรมใหม่สำ� หรับตัวเอง ไปยังวัฒนธรรมและสิง่ แวดล้อมอันเดิม ทีต่ นจากมา โดยจะมีอาการ 2-3 อย่างเกิดขึน้ พร้อมๆกันคือ ใจหาย เพราะต้องจากวัฒนธรรมทีต่ นคุน้ ชิน ดีใจเพราะจะได้กลับบ้านเกิด และอึดอัดใจเพราะกังวลกับการปรับตัวทีจ่ ะเกิดขึน้ ในช่วงแรกๆหลัง กลับไป แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม…ช่างมันเถอะ 6 ธันวาคม เดินทางมากราบลาหลวงพ่อและฉันเพลที่วัดพุทธานุสรณ์ เมือง 136


Fremont ก่อนจะให้พรแก่ญาติโยมที่น�ำอาหารมาถวาย หลวงพ่อ นิมนต์ให้ขา้ ฯกล่าวสัมโมทนียกถาเพือ่ ให้ญาติโยมชุม่ ชืน่ หัวใจเป็น เวลา 3 - 5 นาที ข้าฯไม่ทันตั้งตัวจึงยกเรื่องที่ได้พิจารณาระหว่าง เดินอยูล่ ะแวกถนน Embarcadero เมือ่ วานนีม้ าเล่าให้ญาติโยมฟัง คืนนี้เพื่อนรุ่นน้องสมัยเรียนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นิมนต์มาพักที่ บ้านของเขาที่เมือง Foster ข้าฯค้นพบเครื่องดื่มเอนไซม์ซาบซ่าน ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Kombucha 7 ธันวาคม ฉันก๋วยจั๊บ ผลไม้สด และมะม่วงดองเป็นมื้อกลางวันที่ร้านอาหาร ของเพื่อนรุ่นน้องในเมือง San Carlos 8 ธันวาคม ญาติโยมพาไปทัศนศึกษาที่ Sacramento ซึ่งเป็นเมืองหลวงของ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่นี่รักษาบรรยากาศของบ้านเมืองสมัยโบราณ ได้เป็นอย่างดี อีกประมาณสองสัปดาห์ก็จะถึงเทศกาลคริสต์มาส ชาวเมืองจึงประดับบ้านเรือน ต้นไม้ และสนามหญ้าด้วยหลอดไฟ ชนิดอลังการบ้านเชียง (ส�ำนวนของโยมทีม่ าด้วยกัน) บ้านหลังหนึง่ โดดเด่นจนเป็นข่าวเพราะใช้หลอดไฟจ�ำนวนถึง 343,200 ดวง และ เจ้าของบ้านก็ท�ำเยี่ยงนี้ติดต่อกันมา 50 ปีแล้ว 9 ธันวาคม Chill Chill อยู่กับบ้าน เพราะเมื่อวานเดินจนเมื่อย วันนี้เป็นวันโกน 137


ช่วงเย็นข้าฯจึงปลงผมให้ตัวเอง พ่อของเพื่อนรุ่นน้องเห็นถังใส่ เศษผมอยูใ่ นห้องน�ำ้ จึงถามว่ามันคืออะไร? เมือ่ ข้าเฉลยเขาก็อทุ าน ว่าเก่งมาก! เขาคงนึกไม่ถึงว่าพระต้องฝึกปลงผมให้ตัวเอง 10 ธันวาคม แวะพิจารณาของฝากที่ร้านขายของ Out Door จากนั้นก็ไปฉัน เบอร์เกอร์เป็นมือ้ เทีย่ ง ข้าฯสะดุดใจกับชือ่ เบอร์เกอร์ชนิดหนึง่ ทีท่ าง ร้านตั้งว่า The Untouchable จึงสั่งมาพิจารณา ปรากฏว่าเป็น เบอร์เกอร์ที่ประดับด้วยพริกทั้งสดและดอง โชคดีที่พริกแถบนี้ ไม่เผ็ด แต่ทเี่ ก๋กค็ อื พ่อครัวจัดวางเบคอนทอดกรอบจ�ำนวนสองเส้น บนเบอร์เกอร์เป็นรูปกากบาท เพื่อให้เข้ากับชื่อ The Untouchable 11 ธันวาคม ฉันอาหารแม็กซิกัน พิจารณาของฝากเพิ่มเติมที่ร้านเดิม ซักผ้า และจัดกระเป๋า 12 ธันวาคม แปลกดีทอี่ าหารมือ้ แรกและมือ้ สุดท้ายในอเมริกาเป็นร้านเดียวกัน และในเวลาไล่เลี่ยกัน สิบเอ็ดนาฬิกาสามสิบนาทีตามเวลา แปซิฟิก เดินทางออกจาก SFO – San Francisco Airport

138



Spiritual Journey


141 ยติโกภิกขุ

in California


เราก็เหมือนใครหลายคนทีไ่ ด้อา่ นประวัตขิ องครูบาอาจารย์แล้วรูส้ กึ ฮึกเหิม เพราะได้สัมผัสข้อมูลที่ว่า พระป่าสมัยก่อนยอมตายถวาย ชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรม ท่านเข้าไปเดินธุดงค์ในป่าดงดิบ ดงช้าง ดงเสือ และดงผี! อย่างไม่อาลัยไยดีต่อชีวิต เมื่อเราได้ยินว่าพระ ชาวแคนาดารูปหนึ่ง จากวัดป่าอภัยคีรี จะออกเดินธุดงค์ในมลรัฐ แคลิฟอร์เนีย ก็เกิดความประทับใจในแรงมุ่งมั่น ด้านการภาวนา ของพระป่ายุคนี้ อันที่จริงพระที่วัดป่าอภัยคีรี ไม่ว่าจะเชื้อชาติใด ต่างก็ตั้งใจภาวนาเพื่อการท�ำที่สุดแห่งกองทุกข์กันทั้งนั้น แม้ บางท่านจะไม่เคยออกเดินธุดงค์แต่ก็ปฏิบัติธุดงควัตรตามความ เหมาะสม และปฏิปทาของท่านเหล่านั้นก็เป็นแรงบันดาลใจให้ แก่เราด้วย ในช่วงที่เราอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดป่าอภัยคีรี พระอาจารย์ยติโก มอบงานให้เราท�ำชิ้นหนึ่ง นั่นก็คือการหาข้อมูลเกี่ยวกับวัดหรือ ศูนย์ฝึกสมาธิที่พระสามารถเข้าพักได้ ตามเส้นทางของทางหลวง หมายเลข 1 จากซานตาครูสถึงซานดิเอโก ตอนนั้นเราคิดว่าคนมัก จะไม่อยากอยูใ่ นสถานทีท่ ตี่ วั เองก�ำลังอยู่ เราถามพระอาจารย์ยติโก ว่าโยมแม่ของท่านรู้เรื่องการไปธุดงค์หรือยัง? ถ้าโยมแม่ของท่านรู้ จะต้องเป็นห่วงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เรามีศรัทธาในศีลของท่าน และครูบาอาจารย์ก็สอนเอาไว้ว่า “ศีลจะคุ้มครองผู้เดินธุดงค์” นอกจากนีเ้ รายังศรัทธาต่อความเมตตากรุณาทีม่ อี ยูใ่ นใจของผูค้ น ระหว่างทีโ่ ทรศัพท์ตดิ ต่อกับสถานทีต่ า่ งๆ  เรารูส้ กึ ประหม่าทีต่ อ้ งพูด คุยกับคนแปลกหน้าในลักษณะนี ้ มีเจ้าอาวาสวัดศรีลงั กาท่านหนึง่ 142


ถามด้วยน�้ำเสียงจริงจังว่า ท�ำไมท่านจึงออกธุดงค์? เราตอบท่าน ไม่ได้ เราเพียงแต่ต้องการจะสนับสนุนการภาวนาของท่านผู้ ประพฤติดีปฏิบัติชอบ และร่วมรักษาพุทธศาสนาไว้เท่านั้นเอง ประมาณสามสัปดาห์ผ่านไป เราก็ได้ข่าวว่าพระอาจารย์ยติโก เดินถึงมอร์โร เบย์แล้ว ท่านเจ็บเท้าและไหล่มาก แต่ยังมีชีวิตอยู… ่ ขออนุโมทนากับความเอาจริงเอาจังในการปฏิบตั ธิ รรมของพระสงฆ์ และฆราวาสทัง้ หลาย บุญกุศลอันใดทีเ่ กิดจากการแปลบทความนี้ เราขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และอาจริยบูชา ขอให้บุญกุศลครั้งนี้ เป็นปัจจัยในการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าสู่กระแส พระนิพพาน ของท่านผู้ทุ่มเทกายใจให้แก่การภาวนาด้วยเทอญ ผศ.ดร.เจนจิรา  สุตานนท์ไพบูลย์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโซโนม่า เมืองโรห์เนิร์ท พาร์ค มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

143


ยติโกภิกขุ • ชื่อเดิม Bradley นามสกุล Assheton-Smith • เกิดเมื่อปี พ.ศ.2511 ที่เมืองเอ็ดมอนตัน ประเทศแคนาดา • ส�ำเร็จการศึกษาจาก Bonnie Doon High School, Edmonton, Canada • ไม่ส�ำเร็จการศึกษาจาก Trent University, Peterborough, Ontario, Canada • ถือเพศอนาคาริก (ปะขาวหรือผู้ชายเตรียมบวช) ที่วัดป่านานาชาติ อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2534 • อุปสมบทที่วัดป่าวิเวกธรรมชาน์ อ�ำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ส�ำนักสาขาที่ 7 ของวัดหนองป่าพง อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.2536 โดยมีพระมงคลกิตติธาดา (อมร เขมจิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ยติโก” แปลว่า ผู้มีความส�ำรวม • ปัจจุบันพ�ำนัก ณ วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา และก�ำลังวางแผนออกเดินธุดงค์ครั้งต่อไป

144


Why are you dressed so funny? Well, I’m a Buddhist monk.


.... เดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ.2554 ข้าพเจ้ามีโอกาสเดินธุดงค์ในอินเดีย ค�ำว่า “ธุดงค์” ตามความเข้าใจในภาษาไทยหมายถึงการจาริก แสวงบุญ การเดินธุดงค์ในอินเดียครั้งนี้ให้ความรู้พิเศษและ แรงบันดาลใจนานัปประการแก่ข้าพเจ้า จนข้าพเจ้าถึงกับบอก ตัวเองว่าจะต้องหาโอกาสเดินธุดงค์ในอเมริกาสักครั้ง ข้าพเจ้า มีความมั่นใจว่าต้องเป็นไปได้ ยิ่งเมื่อได้พบผู้คนใจดีมากมาย ในรัฐพิหาร แม้พวกเขาจะอาศัยอยู่ในถิ่นที่ยากจนข้นแค้นที่สุด ของอินเดีย แต่พวกเขาก็ยินดีที่จะให้ที่พักแก่นักบวช ตลอดจนน�ำ น�้ำชา อาหาร และสิ่งของอื่นๆมาถวาย ข้าพเจ้าจึงคิดว่าถ้าผู้คน ยังมีจิตใจดีเช่นนี้ เราคงจะเดินธุดงค์ที่ใดก็ได้ในโลก

.... เมื่อกลับจากอินเดียข้าพเจ้าเล่าถึงแนวความคิดที่จะเดินธุดงค์ใน อเมริกาให้พระที่วัดฟัง ซึ่งก็ได้ข้อคิดเห็นกลับมาว่า “แคลิฟอร์เนีย ตอนใต้ต่างจากตอนเหนือ ผู้คนแถบนั้นไม่คุ้นเคยกับวัฒนธรรม ของชาวพุทธ เขาคงไม่เปิดใจยอมรับเรามากนัก มันอาจจะเกิด อันตรายขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้” นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้กราบเรียนถาม ความเห็นของครูบาอาจารย์ฝ่ายมหายานท่านหนึ่ง ซึ่งเคยเดิน ธุดงค์ในแคลิฟอร์เนียเป็นเวลาถึงสองหรือสามปี คือในช่วงปี พ.ศ. 2513 - 2523 ท่านได้เขียนบันทึกประสบการณ์ในการธุดงค์ครัง้ นัน้ 146


เอาไว้ด้วย ซึ่งต่อมาได้รับการตีพิมพ์และเป็นหนังสือที่นักอ่าน ชอบกันมาก ทันทีที่ท่านทราบว่าข้าพเจ้าก�ำลังวางแผนจะออก เดินธุดงค์ในแคลิฟอร์เนีย ค�ำพูดแรกของท่านก็คือ “ถ้าเป็นผมนะ ผมไม่ไปหรอก เรื่องน่ากลัวเป็นอับดับต้นๆก็คือ อาจจะมีคนขับรถ ผ่านมาแล้วชักปืนออกมายิงท่านเล่น แม้ในปัจจุบันพุทธศาสนา จะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เมื่อผู้คนเห็นพระสงฆ์พวกเขาก็รู้ว่า เราเป็นใครและก�ำลังท�ำอะไร แต่ผู้คนในยุคนี้โหดร้ายกว่าแต่ก่อน มีแก๊งค์อาชญากรเพ่นพ่านอยู่ทั่วแคลิฟอร์เนีย การเดินเท้าผ่าน ลอสแซนเจลิสอาจจะไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่อเราไม่มีเงินหรือ ไม่รจู้ กั ใครเลย  แต่ถา้ ท่านตัง้ ใจจะไปจริงๆก็คงต้องท�ำการบ้านหนัก เอาการ” ดูเหมือนว่าแผนการเดินธุดงค์ของข้าพเจ้าจะไม่ได้รบั การ สนับสนุนเท่าทีค่ วร แต่ขา้ พเจ้าก็รสู้ กึ ขอบคุณข้อคิดเห็นต่างๆเหล่านี้

.... ในเวลาใกล้ๆกันนั้นมีผู้หญิงชาวอินเดียคนหนึ่งทราบว่าข้าพเจ้า จะออกเดินธุดงค์ในแคลิฟอร์เนีย เธอก็แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยและ ยังบอกอีกว่า “เอ๊ะ! พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสัพพสวสูตรไม่ใช่หรือคะ ว่าพระสงฆ์ควรหลีกเลีย่ งสิง่ ทีเ่ ป็นอันตรายบางอย่างเช่นช้างป่าหรือ หลุมบนทางเดิน” ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจที่ญาติโยมบางท่านรู้จัก พระสูตรเป็นอย่างดี จนถึงกับสามารถอ้างอิงค�ำสอนในพระสูตร มาแนะน�ำแก่พระได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ เป็นเรื่องจริงทีเดียวว่า เราไม่สามารถท�ำทุกอย่างที่อยากท�ำให้ส�ำเร็จได้โดยอาศัยเพียง 147


ศรัทธา และหวังให้พระธรรมคุม้ ครองเรา ถ้าเราต้องการจะท�ำอะไร สักอย่างในชีวิต เราก็ต้องคิดให้ดีด้วยว่ามันปลอดภัยหรือไม่ มันเป็นความคิดที่ดีหรือเปล่า ค�ำถามเหล่านี้ท�ำให้ข้าพเจ้าต้อง พิจารณาอย่างหนัก แต่ในที่สุดข้าพเจ้าก็ตัดสินใจว่าจะท�ำอย่างที่ ตั้งใจเอาไว้ ภายใน 2-3 วันแรกของการเดินธุดงค์ก็คงรู้ว่าผลจะ ออกมาเป็นเช่นไร ถ้าการเดินธุดงค์ครั้งนี้ไม่ปลอดภัยหรือไม่มีใคร ถวายอาหารแก่ข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้าก็คงต้องเลิกล้มแผนการนี้ แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ก่อนจะออกเดินธุดงค์เพียง 2-3 วันข้าพเจ้าประสบอุบัติเหตุตกบันไดจนเท้าแพลง ท�ำให้ ข้าพเจ้าเกือบต้องระงับแผนการทั้งหมด อย่างไรก็ตามข้าพเจ้า ตั้งใจแน่วแน่ว่าถ้าเท้าหายดีก็จะออกเดินธุดงค์

.... ค�ำถามหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าได้ยินบ่อยๆก็คือ ท่านมีจุดประสงค์อะไร ในการเดินธุดงค์? และค�ำตอบของข้าพเจ้าก็คือ เพื่อยกระดับจิต ให้เป็นอิสระจากกิเลสทั้งมวล การด�ำเนินชีวิตภายในวัดเราต่าง ก็มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ มีตารางเวลาท�ำงาน มีพระวินัยและ ข้อวัตรส�ำหรับการด�ำรงชีพ ถึงแม้ว่าเราจะพยายามไม่ให้ชีวิตต้อง กลายเป็นแบบแผนตายตัวเช่นนั้น แต่มันก็ง่ายมากที่จะตกอยู่ใน สภาพดังกล่าว เราแทบจะท�ำนายได้เลยว่า ชีวิตจะเป็นอย่างไร ต่อไป  แม้การด�ำเนินชีวติ ในลักษณะนีจ้ ะมีประโยชน์หลายประการ และเราก็พยายามที่จะประกอบกิจกรรมต่างๆอย่างมีสติ แต่เรา 148


อาจจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัยกับชีวิตมากเกินไป ซึ่งมันจะน�ำไปสู่ การนิ่งนอนใจ ข้าพเจ้าแน่ใจว่าบางครั้งชีวิตฆราวาสก็คงเป็น อย่างนี้เหมือนกัน คือรู้ว่าฉากต่อไปจะเป็นอย่างไร ท�ำงาน เลิกงาน กลับบ้าน ดูทีวีรายการเดิมทุกวัน ในบางครั้งหากเราได้ เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเสียบ้าง หรือเข้าไปอยู่ใน เหตุการณ์ที่ท้าทาย ได้เผชิญกับสิ่งต่างๆซึ่งเราไม่อาจคาดเดา มันอาจจะเป็นการดีก็ได้ เพราะเราอาจจะได้เห็นความเข้มแข็ง หนักแน่นซึ่งตัวเราเองก็ยังไม่รู้ด้วยซ�้ำว่า มันได้รับการพัฒนาใน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความรู้สึกที่ว่านี้ อาจจะเด่นชัดขึ้นในช่วงที่ เราตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งเราเองก็ไม่รู้ว่าอะไรจะ เกิดขึน้ บ้าง นีค่ อื แรงกระตุน้ หลักๆของข้าพเจ้าในการออกเดินธุดงค์ ครั้งนี้

.... อีกจุดประสงค์หนึ่งที่เด่นชัดขึ้นเรื่อยๆระหว่างที่ข้าพเจ้าก�ำลัง เดินธุดงค์ในแคลิฟอร์เนีย นั่นก็คือเพื่อยังกุศลให้เกิดขึ้นภายใน จิตของข้าพเจ้าและคนอื่นๆ ตลอดจนวางใจเป็นกลางกับความ รู้สึกที่ว่า ข้าพเจ้าเพิ่งจะออกมาจากวัด ข้าพเจ้ามีเพียงบาตรและ ไตรจีวร ข้าพเจ้าไม่จำ� เป็นจะต้องไปทีแ่ ห่งใดเป็นพิเศษ ไม่มกี ำ� หนด เวลา ไม่มีตารางการท�ำงานและไม่มีความคาดหมายใดๆ ขอเพียง จิตใจของข้าพเจ้ามีความสงบกับสิ่งใดก็ตามที่จะเกิดขึ้น ผู้คนจะ ถวายอาหารแก่ขา้ พเจ้าหรือไม่ สิง่ นีไ้ ม่ใช่เรือ่ งใหญ่  เพราะข้าพเจ้า 149


เคยฝึกงดเว้นการฉันอาหารมาแล้ว เมื่อประสบสถานการณ์เช่นนี้ ข้าพเจ้ารูส้ กึ ว่าจิตใจเป็นอิสระได้งา่ ย มีความคิดทีเ่ ป็นกุศลเกีย่ วกับ ทาน เมตตา และรู้สึกขอบคุณต่อสิ่งที่ก�ำลังเป็นอยู่ ในการมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้คน หลายครั้งที่ข้าพเจ้าและเขาได้ให้ก�ำลังใจซึ่ง กันและกัน ผู้คนจะหยุดทักทายและถามค�ำถามขณะที่ข้าพเจ้า เดินไปตามถนน สิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อยมากจนข้าพเจ้าจ�ำไม่ได้ว่าวันละ กี่ครั้ง บางคนก็หยุดรถเพียงเพื่อจะได้ถวายน�้ำสักหนึ่งขวด แล้วก็ ขับรถต่อไป แม้จะเป็นเป็นเรื่องน่าประหลาดใจแต่มันก็เกิดขึ้น นับสิบครั้ง และพวกเขาก็มักจะถามข้าพเจ้าว่าท�ำไมท่านจึง แต่งตัวอย่างนี้ล่ะครับ? นี่เป็นค�ำถามที่ข้าพเจ้าได้ยินบ่อยมาก และมันก็ทำ� ให้ขา้ พเจ้ารูซ้ งึ้ ถึงข้อดีอกี ประการหนึง่ ของการใช้เครือ่ ง นุ่งห่มแบบนี้ มันท�ำให้ผู้คนสนใจและหยุดเพื่อสอบถาม ถ้า ข้าพเจ้าเป็นเพียงฆราวาสนักปฏิบตั ธิ รรมแต่งตัวด้วยเสือ้ ผ้าธรรมดา คงจะล�ำบากกว่านี้หลายเท่า อาจถึงกับเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเดิน ธุดงค์โดยไม่ตอ้ งขอความช่วยเหลือจากใคร  ด้วยการใช้เครือ่ งนุง่ ห่ม แบบนี้ ผู้คนจึงรู้ว่าข้าพเจ้าเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ยกเว้นที่ เมือง Laguna Beach ผู้คนที่นี่นึกว่าข้าพเจ้าเป็นพวก *หริกฤษณะ แต่นอกจากที่เมือง Laguna Beach และเขต 30 ไมล์รอบเมือง แล้ว ดูเหมือนผู้คนจะรู้ว่าข้าพเจ้าเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ซึ่ง *Hare Krishna เป็นนักบวชในศาสนาฮินดู แต่งกายด้วยผ้าโธตีสสี ้ม โกนผม แต่ไว้จุกกลางศีรษะ กิจวัตรที่ท�ำเป็นประจ�ำคือการเล่นเครื่องดนตรีเดินไป ตามถนนพลางพร�ำ่ บ่นค�ำว่า “หเร รามา หเร รามา” นักบวชกลุม่ นีไ้ ด้รบั ความ นิยมจากหนุม่ สาวชาวอเมริกนั ทีแ่ ปลกแยกจากสังคมในช่วงทศวรรษ 1980s 150


พวกเขาต่างก็มีความรู้สึกต่อข้าพเจ้าในแง่บวก เป็นเหตุการณ์ ปรกติประจ�ำวันที่ผู้คนจะบีบแตรทักทาย โบกมือ หรืออาสาขับรถ ไปส่ง ซึ่งข้าพเจ้าก็ปฏิเสธเกือบทุกครั้ง แต่เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ น่าประทับใจ  เพราะผูค้ นยังมีใจเอือ้ เฟือ้ แก่พระสงฆ์ในพุทธศาสนา ซึ่งก็คือบุคคลหนึ่งที่ทุ่มเทชีวิตให้กับการพัฒนาทางจิตวิญญาณ และบุคคลนั้นก็เต็มใจที่จะท�ำสิ่งนั้นอย่างเปิดเผย เพื่อให้ผู้อื่นได้ รับรู้ ผู้คนที่ข้าพเจ้าได้พบมักจะพอใจกับสิ่งเหล่านี้ อย่างน้อย ก็บางคนและแน่นอนว่าต้องมีบางคนที่ไม่พอใจ ครั้งหนึ่งเมื่อ ข้าพเจ้าเดินผ่านเมืองซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพนักบวชคริสต์ ขนาดใหญ่ในย่านชุมชน ผ้าคลุมของนักบวชคริสต์ในภาพนั้น ดูคล้ายจีวรของข้าพเจ้า ขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลังเดินอยู่บนฟุตปาธ วัยรุ่นกลุ่มหนึ่งก็ขับรถผ่านมา วัยรุ่นคนหนึ่งที่นั่งอยู่ในรถเปิด กระจกแล้วชูนิ้วกลางออกมาทางหน้าต่างพลางตะโกนว่า ขอให้ ซาตานจงเจริญ! นี่คงจะเป็นวิธีที่คนเหล่านี้ใช้แสดงเจตนารมณ์ ในการต่อต้านนักบวชคริสต์

.... นอกจากค�ำถามที่ว่าท�ำไมท่านจึงแต่งตัวอย่างนี้? อีกค�ำถามหนึ่ง ที่ผู้คนถามกันมากในระหว่างการเดินธุดงค์ครั้งนี้ นั่นก็คือคืนนี้ ท่านจะพักที่ไหน? ช่วงที่ข้าพเจ้าเดินธุดงค์อยู่ทางตอนเหนือของ แคลิฟอร์เนีย ส่วนใหญ่ข้าพเจ้าจะพักตามชายหาด การค้างแรม ตามชายหาดท�ำได้อย่างสะดวกเพราะไม่มผี คู้ นอยูท่ นี่ ั่นในตอนดึก 151


และเมื่อมองออกไปสุดสายตาข้าพเจ้าก็พบว่า บนหาดทรายอัน เวิ้งว้างมีข้าพเจ้าอยู่ตามล�ำพังเพียงผู้เดียว เมื่อพบสถานที่เช่นนี้ ในบางครั้งข้าพเจ้าก็จะงดอาหาร เพราะมันช่างเงียบสงัดและ สงบสุขจริงๆ แต่ชายหาดทางตอนใต้ของแคลิฟอร์เนีย จะมีผู้คน พลุกพล่านและยังมีก�ำหนดเวลาเปิด-ปิดชายหาดอีกด้วย ซึ่งใน ความเห็นของข้าพเจ้าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลก

.... เมื่อข้าพเจ้าเดินธุดงค์ผ่านเมือง Big Sur มีโยมสองคนที่คุ้นเคยกับ ทางวัดป่าอภัยคีรีอาสาขับรถไปส่ง พวกเขาถวายอาหารเพลแก่ ข้าพเจ้าทีเ่ มือง Monterey จากนัน้ โยมคนหนึง่ ก็ขบั รถไปส่งข้าพเจ้า เป็นระยะทางประมาณ 30-35 ไมล์ เขาพาข้าพเจ้าไปส่งยังวัดของ ชาวคริสต์ แต่ที่วัดไม่มีห้องว่าง คืนนั้นข้าพเจ้าจึงพักแรมอยู่นอก วัด ในวันถัดมาขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลังเดินอยู่ในเมือง Big Sur ชาย ผูห้ นึ่งก็หยุดรถและถามข้าพเจ้าว่าท่านก�ำลังท�ำอะไรอยู่? ต้องการ ให้ผมไปส่งไหม? ข้าพเจ้าตอบปฏิเสธแต่ก็บอกชื่อสถานที่อันเป็น จุดหมาย ชายผู้นั้นถามว่าคืนนี้ท่านมาพักที่บ้านของผมไหมครับ? ข้าพเจ้าพิจารณาลักษณะของเขาแล้วเห็นว่าเป็นคนเรียบง่ายและ ดูเหมือนจะเคยเป็นฮิปปีม้ าก่อน  ข้าพเจ้าจึงตอบตกลง  สักครูใ่ หญ่ๆ รถปุโรทั่งของเขาก็แล่นมาหยุดอยู่บริเวณหน้าประตูเลื่อนไฟฟ้า ของบ้านพักตากอากาศริมชายหาดแห่งหนึ่ง เมื่อประตูรั้วเปิด ออกอย่างนิ่มนวลรถก็เคลื่อนตัวเข้าไปในอาณาเขตของบ้าน 152


ข้าพเจ้าถึงกับอุทานอยู่ใจว่า “โอ้โห! ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า จะได้เห็นบ้านใหญ่โตสวยงามขนาดนี้” อันที่จริงแล้วบ้านหลังนี้ ไม่ใช่ของเขา เจ้าของบ้านตัวจริงเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด เขาเป็นเพียงผู้ดูแลขณะที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ ในช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ ชายผู้นี้นิมนต์ให้ข้าพเจ้าพักอยู่ที่บ้านได้นานตามที่ ต้องการ และเขาก็ถวายภัตตาหารแก่ข้าพเจ้าตลอดเวลาที่อยู่ ที่นั่น ข้าพเจ้าได้รับความสะดวกสบายทุกอย่าง หลังจากคืนที่ 3 ข้าพเจ้าก็ขอบคุณและร�่ำลาเขา

153


What the hell? Why are you dressed that way? Well, yeah, I’m a Buddhist monk.


.... เช้าตรู่วันหนึ่งข้าพเจ้าเดินไปยังสถานที่มีชื่อว่า Ragged Point บริเวณนั้นมีร้านกาแฟเล็กๆแต่ยังไม่เปิดขาย เพราะเพิ่งจะเป็น เวลาแปดนาฬิกา  หน้าร้านกาแฟมีโต๊ะและเก้าอีอ้ ยูช่ ดุ หนึง่   ข้าพเจ้า นั่งลงที่นั่นแล้วรอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น สักครู่ผู้ชายล�่ำบึ้กคนหนึ่งก็ ควบรถจักรยานยนต์เข้ามาจอดใกล้ๆ  เขาถอดหมวกนิรภัยแล้ว มองมายังข้าพเจ้าอย่างไม่สบอารมรมณ์พร้อมบ้วนค�ำถามว่า “ท�ำไม นายแต่งตัวตลกอย่างนี้วะ?” ข้าพเจ้าตอบว่า “เอ่อ…อาตมาเป็น พระสงฆ์ในพุทธศาสนา” ข้าพเจ้าเห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจเพราะเป็น การรับมือกับอารมณ์ในด้านลบที่ส่งตรงมาถึงเรา ข้าพเจ้าไม่รู้สึก กลัวเพียงแต่ลังเลใจ ข้าพเจ้าเตือนตัวเองว่า “เอาล่ะยติโก ที่พึ่ง ของเราในขณะนี้คือความจริงใจ เปิดใจยอมรับสิ่งที่ก�ำลังมาถึง เราไม่ควรรูส้ กึ ว่าต้องป้องกันตัวเองจากอันตราย อย่าโกรธและโต้ตอบ ด้วยท่าทีรุนแรง ขอให้มีสติอยู่กับปัจจุบันเท่านั้น” ชายผู้นั้นถาม ต่อไปว่า “ท�ำไมนายไม่ไปหางานท�ำ?” ข้าพเจ้าตอบว่า “อาตมามี งานท�ำอยูแ่ ล้ว” เขาย้อนว่า “งัน้ เหรอ งานอะไรล่ะ?” ข้าพเจ้าตอบว่า “อาตมาท�ำสมาธิภาวนา” นี่เป็นสิ่งแรกที่ข้าพเจ้านึกได้ในขณะนั้น แต่อันที่จริงแล้ว ข้าพเจ้าไม่แน่ใจนักว่าจะตอบเขาอย่างไรดี เมื่อ ชายผู้นั้นได้ยินว่าข้าพเจ้าท�ำสมาธิภาวนาเขาจึงถามอีกว่า “อ๋อ เหรอ ถ้าอย่างนัน้ ก็ถอื ว่าท�ำงานให้กบั พระเจ้าน่ะสิ” ข้าพเจ้าตอบว่า “อืม...อาตมาคงไม่เรียกมันว่าอย่างนั้น” นี่เป็นสิ่งที่น่าสนใจจริงๆ เพราะเมื่อพูดคุยกันมาถึงตรงนี้ บทสนทนาของเราก็เริ่มเปลี่ยนไป 155


คล้ายๆกับว่า ความโกรธและก้าวร้าวของเขากลายเป็นความสนใจ ชายผู้นั้นพูดต่อไปว่า “ที่นายว่ามามันหมายความว่ายังไงกัน เพราะตัวฉันเองท�ำงานให้กับปีศาจ” พูดเพียงเท่านี้เขาก็นิ่งเงียบ เหมือนก�ำลังครุ่นคิดอะไรบางอย่าง แล้วเขาก็พูดขึ้นว่า “ฉันได้เงิน มหาศาลจากงานพวกนัน้  แต่มนั ก็เต็มไปด้วยความทุกข์” เมือ่ สังเกต เห็นร่องรอยของความทุกข์ในแววตาของเขา ข้าพเจ้าก็พูดขึ้นว่า “อาตมาก็เชือ่ อย่างนัน้ ” เขาพึมพัมว่า “เชือ่ เถอะ” บทสนทนาระหว่าง เราสิ้นสุดเพียงเท่านี้ ในวันเดียวกันมีโยมผู้หนึ่งถวายภัตตาหารแก่ ข้าพเจ้าที่ศูนย์อาหารแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากจุดที่ข้าพเจ้าสนทนา กับชายผูน้ นั้ ประมาณ 5-10 ไมล์ ขณะทีข่ า้ พเจ้าก�ำลังฉันภัตตาหาร ชายล�่ำบึ้กคนนั้นก็เดินเข้ามาในศูนย์อาหารแล้วร้องทักว่า “เฮ้! นั่น เพื่อนพระของผมนี่นา” เขาชูสองนิ้วให้ข้าพเจ้าก่อนเดินจากไป ตอนนัน้ ข้าพเจ้าคิดว่า “ดีแล้วล่ะ ขณะนีเ้ ขามีความรูส้ กึ ในด้านบวก ให้เราแล้ว” เรือ่ งนีน้ บั ว่าเป็นประสบการณ์ทดี่ สี ำ� หรับข้าพเจ้าในการ จัดการกับอารมณ์ด้านลบ

.... มีอกี ครัง้ หนึง่ ทีข่ า้ พเจ้าต้องเผชิญกับอารมณ์ดา้ นลบของผูค้ น ขณะ ที่ข้าพเจ้าก�ำลังเดินอยู่บนถนนสายหนึ่งในเมือง San Luis Obispo ก็ได้พบกับอันธพาล 2-3 คนซึ่งก�ำลังเดินมุ่งหน้าไปในทิศเดียวกัน พวกเขาท่าทางดุรา้ ย พูดคุยกันอย่างหยาบคาย คล้องคอด้วยสายโซ่ มีรอยสักทั่วตัว และท�ำทรงผมพิลึกพิลั่น ขณะที่พวกเขาก�ำลังเดิน 156


แซงข้าพเจ้าไป ใครคนหนึ่งในกลุ่มก็พูดขึ้นมาว่า “ท�ำไมแต่งตัว ทุเรศอย่างนี้วะ?” ข้าพเจ้าตอบพวกเขาว่า “อาตมาเป็นพระสงฆ์ ในพุทธศาสนา” ครัง้ นีข้ า้ พเจ้ายังคงใช้หลักเดิมคือมีสติและยอมรับ อารมณ์ด้านลบของคนกลุ่มนี้ การมีปฏิสัมพันธ์กับคนประเภทนี้ ในครั้งนี้ถือว่าดีมาก ข้าพเจ้าไม่รู้สึกกลัวแม้แต่น้อยและไม่มีความ รู้สึกก้าวร้าวโต้ตอบ พวกเขาพูดอะไรบางอย่างขึ้นมาอีก ซึ่งหยาบ คายและก้าวร้าวพอๆกับประโยคแรก และดูเหมือนว่าพวกเขาอยาก จะเข้ามาท�ำร้ายข้าพเจ้าด้วยซ�ำ้ แต่ในขณะเดียวกันก็คงเกรงว่าการ ท�ำร้ายนักบวชจะเป็นบาปมหันต์ ข้าพเจ้ารู้สึกปลอดภัยพอสมควร เมื่อพวกเขาเดินผ่านไปข้าพเจ้าก็ได้แง่คิดว่า เหตุการณ์นี้เป็นการ ย�้ำเตือนถึงพลังแห่งความจริงใจ และการเปิดใจยอมรับทุกสิ่ง แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราควรจะไว้วางใจในความจริงใจของตัวเอง จนเกินไป ข้าพเจ้าคงไม่เดินเข้าไปใจกลางเมืองลอสแซนเจลิสแล้ว ประกาศลั่นว่า “เจริญพรทุกท่าน อาตมาเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธ ศาสนา” ข้าพเจ้าเพียงแต่มคี วามจริงใจและเปิดใจยอมรับสถานการณ์ ทีม่ าถึง การเปิดใจจึงเป็นเสมือนเกราะป้องกันให้แก่ขา้ พเจ้า แต่เรา ก็ควรจะใช้ข้อคิดนี้ด้วยความระมัดระวัง

.... เรื่องท�ำนองนี้เกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าอีกครั้งขณะก�ำลังเดินอยู่ริม Highway 1 ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณสิบแปดนาฬิกา มีค่าย ทหารแห่งหนึ่งอยู่ทางขวามือของข้าพเจ้า บนเส้นทางที่แยกออก 157


จากถนนสายหลักมีเพิงเล็กๆอยู่หลังหนึ่ง ซึ่งดูคล้ายกับด่านชั่ง น�้ำหนักรถบรรทุก ข้าพเจ้ารู้สึกเหนื่อยมากจึงเข้าไปนั่งพักที่เพิง แห่งนัน้  ข้าพเจ้าเห็นแผ่นป้ายอันหนึง่ เขียนไว้วา่ “จุดปล่อยตัวทหาร” ข้าพเจ้าไม่รวู้ า่ มันหมายถึงอะไร เพียงแต่คดิ ว่าทีน่ คี่ งไม่มอี นั ตราย เพราะเพิงหลังนี้ตั้งอยู่ข้างถนนและไม่มีป้ายห้ามเข้า ข้าพเจ้านั่ง พิงผนังแล้วงีบหลับประมาณ 20-30 นาที ขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลัง เตรียมตัวจะเดินออกจากเพิงแห่งนั้น ก็สังเกตเห็นรถต�ำรวจ คันหนึ่งแล่นมาอย่างช้าๆจากด้านหลังของรั้วค่ายทหาร ข้าพเจ้า คิดว่าควรจะรีบออกไปจากที่นี่ก่อนจะมีอะไรเกิดขึ้น ข้าพเจ้าสลัด ความงัวเงียแล้วรวบรวมก�ำลังลุกขึ้นยืน จู่ๆต�ำรวจนายหนึ่งก็โผล่ มายืนประจัญหน้า เขาจับปืนในซองข้างเอวเพ่งมองมายังข้าพเจ้า ด้วยสีหน้าหวาดกลัว

.... ต�ำรวจ: ท�ำไมแต่งตัวแบบนี้? ข้าพเจ้า: อาตมาเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ต�ำรวจ: คุณพกอาวุธหรือเปล่า? ข้าพเจ้า: เปล่า อาตมาไม่ได้พกอาวุธ ต�ำรวจ: กรุณาแสดงบัตรประจ�ำตัวด้วย ข้าพเจ้า: ได้ ไม่มีปัญหา เจ้าหน้าที่ต�ำรวจรับพาสปอร์ตจากข้าพเจ้าไปตรวจดู 158


ต�ำรวจ: คุณอยู่ในประเทศนี้มานานเท่าไหร่แล้ว? ข้าพเจ้า: ประมาณ 3 ปี ต�ำรวจ: ในช่วงทีผ่ า่ นมาคุณได้เดินทางออกจากอเมริกาบ้างไหม? ข้าพเจ้า: อาตมาเดินทางไปแคนาดาเมื่อประมาณสองปีที่แล้ว หรือราวๆนั้น ต�ำรวจ: หลังจากนั้นก็ไม่ได้ออกจากประเทศนี้อีกเลยเหรอ? ข้าพเจ้า: ไม่ได้ออกไปเลย ต�ำรวจ: ไม่มีแม้แต่ครั้งเดียวเลยเหรอ? ข้าพเจ้า: ไม่เลย ไม่มีเลย ต�ำรวจ: แล้วอินเดียล่ะ? ข้าพเจ้า: เออใช่! อาตมาเพิ่งกลับจากอินเดีย เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว อาตมาไปเดินธุดงค์ที่อินเดียเป็นเวลาหนึ่งเดือน ต�ำรวจ: ไปเดินธุดงค์เหรอ? ข้าพเจ้า: ใช่ อินเดียเป็นสถานที่ประสูติและด�ำรงพระชนม์ชีพของ พระพุทธเจ้า อาตมาจึงไปที่นั่น ต�ำรวจ: คุณมีเงินติดตัวเท่าไหร่? ข้าพเจ้า: อาตมาไม่จับเงินหรอกโยม ต�ำรวจ: ตอนนี้คุณพักอยู่ที่ไหน? ข้าพเจ้า: ช่วงที่ผ่านมาอาตมาพักแรมตามชายหาดและริมถนน หรือตามสถานทีเ่ งียบสงบและสะอาด ซึง่ สามารถเข้าพักได้โดย ไม่ผดิ กฎหมาย และก่อนจากมาอาตมาก็ท�ำความสะอาด สถานทีเ่ หล่านัน้ เป็นอย่างดี ไม่ได้ทำ� ให้สกปรกเลอะเทอะ ต�ำรวจ: ท่านเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจริงๆหรือครับ? 159


ข้าพเจ้า: ใช่ อาตมาเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจริงๆ ต�ำรวจ: ท่านฉันอะไรล่ะ? ข้าพเจ้า: อาตมาอาศัยความเมตตาปรานีของผู้คนในการถวาย อาหารแก่อาตมา ต�ำรวจ: ท่านต้องล้อผมเล่นแน่ๆเลย ข้าพเจ้า: อาตมาไม่ได้ล้อเล่นนะ ต�ำรวจ: ถ้าอย่างนัน้ ผมขอถวายอาหารแก่ทา่ นสักมือ้ ได้ไหมครับ? ข้าพเจ้า: อาตมาขออนุโมทนาด้วย แต่อาตมาไม่สามารถฉัน อาหารหลังเที่ยงวันได้ ต�ำรวจ: ท่านครับ! วันนี้ท่านท�ำให้ผมมีความสุขมาก

.... ในช่วงท้ายของเหตุการณ์ตำ� รวจนายนัน้ บอกข้าพเจ้าว่า “ท่านรูไ้ หม ครับว่า ท่านแต่งตัวแบบนี้และมานั่งอยู่ที่นี่มันน่าสงสัยมาก หลัง จากโอซามา บิน ลาเดนถูกสังหาร ต�ำรวจก็ต้องระวังภัยในระดับ *บราโว่” ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจที่เขาสามารถเปลี่ยนมุมมองของ ตัวเองได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็เต็มไปด้วยความระมัดระวัง

*Bravo หมายถึงสถานการณ์อันตรายระดับกลาง 160


What’s with the clothing? Well, I’m a Buddhist monk.


.... ข้าพเจ้าพบต�ำรวจทั้งหมด 4 ครั้งและทุกครั้งเหตุการณ์ก็จบลง ด้วยดีและเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งมันท�ำให้ข้าพเจ้าประทับใจต�ำรวจใน มลรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นอย่างมาก มีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวกับ ต�ำรวจ เช้าตรู่วันหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลังเดินอยู่บนถนนในเมือง Redondo Beach ต�ำรวจนายหนึ่งก็ขับรถมาหยุดอยู่ด้านข้าง ของข้าพเจ้า เขาเลื่อนกระจกลงแล้วมองดูข้าพเจ้าโดยไม่พูดจา ข้าพเจ้าหยุดเดินและมองดูเขาโดยไม่พูดเช่นกัน เขายิ้มแล้ว ถามว่า “ท่านเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนาจริงๆหรือครับ?” ข้าพเจ้า ตอบว่า “ใช่ อาตมาเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนาจริงๆ” เขาเล่าว่า “แม่ของผมเป็นชาวคริสต์นิกายแคธอลิค ผมเองก็เป็นแคธอลิค แม่พาผมไปโบสถ์มานานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ผมเห็นว่าค�ำสอนของ เขาไม่ค่อยสมเหตุสมผล และผมก็ไม่เข้าใจเอาซะเลย” ข้าพเจ้า ตอบว่า “อาตมาก็เหมือนกัน มีหลายอย่างเกี่ยวกับนิกายแคธอลิค ที่อาตมาเห็นว่าไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย” เขาถามข้าพเจ้าว่า “ศาสนาพุทธสอนอะไรบ้างล่ะครับ?” ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้น อธิบายอย่างไรจึงพูดถึงเรื่องกรรม เขาพูดต่อไปว่า “ผมนึกว่าจะ มีเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ 4 อย่างและขั้นตอน 8 ขั้น หรืออะไร ท�ำนองนั้นซะอีก” ข้าพเจ้าชมเขาว่า “เก่งมาก ศาสนาพุทธสอน เรื่องอริยสัจ 4 และมรรคมีองค์ 8 ด้วย” บทสนทนาระหว่าง ข้าพเจ้ากับต�ำรวจนายนีด้ ำ� เนินไปเป็นเวลาประมาณ 20 นาที ตลอด ช่วงเวลาของการสนทนา เขาจอดรถอยู่ริมถนนโดยเปิดไฟหน้ารถ 162


เอาไว้ ส่วนรถคันอืน่ ๆก็แล่นผ่านเราไปเป็นระยะๆ ข้าพเจ้าประทับใจ ในความใจกว้างของเขา

.... ในช่วงหนึ่งค�ำพูดของต�ำรวจนายนี้กระตุ้นให้ข้าพเจ้าต้องขบคิด อย่างจริงจังว่า แท้จริงแล้วชีวติ ของต�ำรวจนัน้ เป็นอย่างไร? ข้าพเจ้า เกิดความกรุณาต่อเขาเป็นอย่างมากเมื่อได้ฟังสิ่งที่เขาบอกเล่า “ต�ำรวจอย่างพวกเราได้รับการฝึกให้ประเมินถึงสิ่งเลวร้ายที่สุด ที่บุคคลอื่นอาจจะกระท�ำ เราจ�ำเป็นต้องมองในแง่ร้ายเอาไว้ก่อน เมื่อพบใครที่ไม่มีสิ่งผิดสังเกต เราก็จะมองผ่านไป แต่ถ้าพบสิ่งที่ น่าสงสัย เราถูกเสี้ยมสอนให้พยายามมองในแง่ร้าย เพื่อประเมิน ความเป็นไปได้ต่างๆที่เรื่องเลวร้ายอาจจะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่แค่นั้น นะครับ เมื่อเราเรียกให้ใครหยุดหรือพูดคุยกับใคร ก็มักจะเป็น เพราะว่ามีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นแล้ว และเราก็จะอนุมานว่ามนุษย์ ทั้งหลายเลวร้ายไปทั้งหมด เราเรียกให้คนหยุดและตรวจค้นเขา ก็เพราะเราเห็นว่าเขามีพิรุธหรืออาจได้กระท�ำความผิด การที่เรา ต้องใช้ชีวิตแบบนี้ท�ำให้เราเปิดใจกว้างได้ยากมากๆเลยครับ” ข้าพเจ้าฟังเขาพูดไปเรื่อยๆ “ผมเป็นต�ำรวจมา 20 ปีและพยายาม อย่างยิ่งที่จะเป็นต�ำรวจที่ดีเพื่อบริการสังคม แต่มันก็ยากที่จะ ท�ำใจให้เปิดกว้าง ในบางครั้งมันท�ำให้เราคิดแบ่งแยกเอาได้ง่ายๆ ว่ามีกลุ่มพวกเราซึ่งเป็นต�ำรวจ กับกลุ่มพวกเขาซึ่งก็คือคนที่เหลือ ทั้งหมด และเราก็มองพวกเขาเพื่อที่จะจับผิด” ข้าพเจ้าคิดว่าการ 163


ใช้ชีวิตแบบนี้คงจะยากล�ำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราให้ ความส�ำคัญกับการฝึกจิตและพยายามจะรักษาจิตให้เป็นกุศล ต�ำรวจนายนีไ้ ด้ถามเกีย่ วกับเรือ่ งกรรมและผลของกรรมอันเกิดจาก การฆ่าคนในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ด้วย การตอบค�ำถามนี้ยาก ไม่ใช่เล่น อันทีจ่ ริงเจตนาของเขาก็คอื ท�ำเพือ่ บริการสังคมและเพือ่ ปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเจตนาดี แต่การฆ่าบุคคลอื่น ด้วยเจตนาก็จัดเป็นอกุศลกรรม การกระท�ำของเขาจึงมีทั้งส่วนที่ เป็นกุศลและอกุศลปะปนกัน เรื่องนี้ท�ำให้ข้าพเจ้าได้ข้อคิดว่าการ ได้มาบวชเป็นพระช่างเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล เพราะเราฝึกที่ จะมองสิ่งดีๆในตัวเองและผู้อื่นซึ่งตรงข้ามกับต�ำรวจ

.... ส�ำหรับข้าพเจ้าการเดินธุดงค์คือการฝึกฝืนอารมณ์ของตัวเอง ใน บางครั้งเราต้องพยายามก้าวต่อไป แม้ว่าจะเหนื่อยล้าแสนสาหัส มีวันหนึ่งข้าพเจ้าต้องบังคับตัวเองให้เดินไปจนถึงเมือง Ventura ทั้งๆที่วันนั้นข้าพเจ้าเดินมาเป็นระยะทาง 25 ไมล์แล้ว (1 ไมล์ = 1.6 กิโลเมตร) ซึ่งนับว่ามากกว่าการเดินตามปกติ แต่ข้าพเจ้าต้อง กัดฟันเดินต่อไปเพราะมีวัดแห่งหนึ่งในเมือง Ventura รอข้าพเจ้า อยู่ เวลาประมาณ 19 นาฬิกาข้าพเจ้าจึงเดินไปถึงเมือง Ventura ข้าพเจ้านั่งพักฉันน�้ำด้วยความรู้สึกโล่งใจว่าได้มาถึงเมืองนี้แล้ว แต่ยังไม่ทันหายเหนื่อยข้าพเจ้าก็พบความจริงว่า Ventura เป็น เมืองใหญ่ วัดที่ข้าพเจ้าตั้งใจจะไปให้ถึงอยู่ห่างออกไปอีก 164


ประมาณ 12 ไมล์  ส่วนบริเวณทีข่ า้ พเจ้านัง่ อยูก่ ไ็ ม่สามารถค้างแรม ได้ ข้าพเจ้าถามตัวเองว่าเราจะไปถึงวัดแห่งนั้นได้อย่างไรภายใน คืนนี้? อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าจ�ำใจต้องเดินต่อไปอีก เดิน เดิน เดิน พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปนานแล้วแต่ข้าพเจ้าก็ยังต้องเดิน ระหว่างที่เดินอยู่นั้นมีเด็กหนุ่มขี้ยาคนหนึ่งเข้ามาคุยกับข้าพเจ้า เรื่องการฝึกสมาธิของเขา ซึ่งมันท�ำให้ข้าพเจ้ารู้สึกผ่อนคลาย ข้าพเจ้าเดินอยู่จนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 22 นาฬิกา ก็พบกลุ่ม วัยรุ่นอายุประมาณ 19 ปี ดูจากกิริยาท่าทางแล้วพวกเขาไม่ใช่ แก๊งค์กวนเมือง พวกเขาเดินออกมาจากร้านสะดวกซื้อแล้วมอง เห็นข้าพเจ้า วัยรุ่นคนหนึ่งในกลุ่มนั้นแสดงอาการกระตือรือร้น และสนใจข้าพเจ้ามาก เขามีท่าทีประทับใจในวินัยของนักบวช และดีใจที่ได้พบพระสงฆ์ ข้าพเจ้าเดินต่อไปอีกประมาณ 3 ชั่วโมง จึงตัดสินใจโทรศัพท์ไปที่วัดจีนซึ่งข้าพเจ้าได้ติดต่อขอเข้าพักไว้ ล่วงหน้า พระที่รับสายบอกให้ข้าพเจ้ารออยู่บริเวณนั้น จากนั้น ท่านก็มารับข้าพเจ้าไปที่วัดซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดที่ข้าพเจ้านั่งรอ ข้าพเจ้าพักอยู่ที่วัดจีนเป็นเวลาสองวัน พระที่วัดนิมนต์ให้ข้าพเจ้า แสดงธรรมโปรดญาติโยม ซึ่งมีผู้สนใจเข้าฟังประมาณ 50 คน

.... เมื่อข้าพเจ้าเดินผ่านเมืองต่างๆไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ บางครั้ง ข้าพเจ้ารูส้ กึ เหมือนตัวเองเป็นคนจรจัด ขณะทีข่ า้ พเจ้าก�ำลังเดินไป ถึงเมือง Morrow Bay ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 19 นาฬิกา ข้าพเจ้า 165


หิวมากเพราะยังไม่ได้ฉันอะไรเลยตลอดทั้งวัน และอากาศก็ หนาวเข้ากระดูก ข้าพเจ้าไม่รู้จักใครในเมืองนี้ ขณะที่ก�ำลังก้าว ไปอย่างไร้ความหวัง ความรู้สึกหนึ่งก็เกิดขึ้น พูดอย่างตรงไป ตรงมาก็คือข้าพเจ้ารู้สึกเหงา แต่ข้าพเจ้าก็ยังก้าวไปเรื่อยๆเพื่อ มองหา*ที่พักส�ำหรับคนจรจัด แต่ข้าพเจ้าก็ไม่พบคนเหล่านี้อยู่ ตามถนนแม้แต่คนเดียว Morrow Bay เป็นเมืองท่องเที่ยวคง ไม่มีที่พักประเภทนี้ ในที่สุดข้าพเจ้าจึงตัดสินใจเดินเข้าไปหา ต�ำรวจนายหนึ่งซึ่งท่าทางเป็นมิตร เขามองตาข้าพเจ้าแล้วถามว่า “จะให้ผมช่วยอะไรท่านได้บา้ งครับ?” เพียงประโยคนีก้ ท็ ำ� ให้ขา้ พเจ้า รู้สึกว่า ตัวเองไม่ได้เป็นอากาศธาตุที่ไม่มีใครสังเกตเห็น ข้าพเจ้า รู้สึกดีขึ้นในทันทีและท�ำให้ได้ข้อคิดว่า หลายครั้งที่เราเพิกเฉยต่อ คนจรจัดราวกับว่าเขาไม่มีตัวตน ขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลังเดินอยู่ใน เมือง Morrow Bay ก็รู้สึกว่าไม่มีใครมองเห็น จนอยากจะให้ผู้คน สังเกตเห็นเราบ้าง ข้าพเจ้าพูดกับตัวเองว่าเราเป็นพระสงฆ์ใน พุทธศาสนาจะต้องมีผู้คนสังเกตเห็นเราบ้าง แต่ดูเหมือนว่ายิ่ง ข้าพเจ้าอยากให้ผู้คนสังเกตเห็นมากเพียงใด ก็ยิ่งถูกเมินเฉยมาก เพียงนั้น ความรู้สึกนี้เป็นประสบการณ์ที่มีค่ามากส�ำหรับข้าพเจ้า ขณะนั้นข้าพเจ้าคิดว่า “ขอให้ใครสักคนนิมนต์ข้าพเจ้าไปพักด้วย จะได้ไหม? แค่มีที่นอนก็พอแล้ว” ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้ที่พักอัน เหมาะสมส�ำหรับคืนนัน้  แต่อนั ทีจ่ ริงข้าพเจ้าก็ได้พกั ในทีอ่ นั เหมาะสม *องค์กรการกุศลในอเมริกาจะจัดสถานที่ไว้ให้คนจรจัดได้พักค้างแรม และ บางแห่งก็มีอาหารแจกด้วย 166


ทุกคืนตลอดการธุดงค์ครั้งนี้  ข้าพเจ้าเดินมาพบสถานีไฟฟ้าที่ถูก ทิ้งร้างแห่งหนึ่ง ตรงข้ามสถานีมีสวนอันรกร้างและชายหาดด้วย ที่นี่เงียบสงบและปลอดภัย ขณะนั้นข้าพเจ้าพิจารณาว่า การที่เรา เพียงแต่แสดงอาการรับรู้ถึงการมีอยู่ของคนจรจัด ก็นับว่าเป็นสิ่ง ที่มีความหมายมากส�ำหรับเขา แม้ไม่ถึงกับมอบอาหารให้แก่เขา เพียงแต่มองตาและให้เกียรติเขาเท่านี้ก็มีค่ามากพอแล้ว

.... คืนที่น่าจดจ�ำที่สุดส�ำหรับข้าพเจ้าในการธุดงค์ครั้งนี้ ตรงกับ คืนวันชาติของอเมริกาคือวันที่ 4 กรกฎาคมอย่างบังเอิญ ขณะ ที่ข้าพเจ้าก�ำลังเดินอยู่ในเมืองซึ่งมีวัดของชาวหริกฤษณะตั้งอยู่ เด็กหนุ่มชาวอินเดีย 2-3 คนก็เดินเข้ามาหาข้าพเจ้าด้วยท่าทาง เป็นมิตรแล้วบอกว่า “พวกผมขอนิมนต์ท่านไปพักที่วัดหริกฤษณะ นะครับ ทางวัดคงจะดีใจมาก ถ้าท่านไปเยี่ยมและคงยินดีที่จะ ถวายภัตตาหารแก่ท่านด้วย” ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ข้าพเจ้าคิดว่า การได้ไปเห็นวัดของชาวหริกฤษณะเป็น สิ่งที่น่าสนใจ และข้าพเจ้าก็ยังไม่เคยไปที่วัดของพวกเขา เมื่อ ข้าพเจ้าตอบตกลง เด็กหนุ่มกลุ่มนั้นก็น�ำข้าพเจ้าไปที่วัด แต่เมื่อ ไปถึงหน้าวัดพวกเขากลับไม่ยอมเข้าไป ข้าพเจ้าจึงถามถึงสาเหตุ พวกเขาตอบด้วยท่าทางเขินอายว่า “เอ่อ…พวกเราเพิ่งดื่มกันมา น่ะครับ พวกเราไม่ควรเข้าไปในวัดด้วยสภาพแบบนี”้ ข้าพเจ้าบอก พวกเขาว่า “อาตมาเข้าใจ” จากนั้นพวกเขาก็นิมนต์ให้ข้าพเจ้า 167


เข้าไปในวัดตามล�ำพัง ภายในวัดของชาวหริกฤษณะช่างสวยงาม ห้องโถงโล่งกว้างเหมือนโรงยิม มีผู้คนอยู่ในที่นั้นประมาณ 100 คน พวกเขาก�ำลังรับประทานอาหารกันอยู่  สมาชิกในวัดส่วนใหญ่ เป็นชาวอินเดีย มีประมาณ 25% เป็นชาวตะวันตกที่สนใจในลัทธิ หริกฤษณะ พวกเขาทุกคนเป็นมิตรกับข้าพเจ้าอย่างมาก ข้าพเจ้า ได้พบกับเจ้าอาวาส ซึ่งท่านก็ได้นิมนต์ให้ข้าพเจ้าพักภายในวัด พร้อมกับถวายภัตตาหาร แต่คืนนี้อากาศอุ่นสบายดี ข้าพเจ้าจึง คิดว่าจะออกไปหาที่พักข้างนอก

.... ข้าพเจ้าพบที่พักบริเวณถนนสายเล็กๆนอกตัวเมือง ด้านซ้ายของ ถนนมีล�ำธารแห้งผาก ใต้สะพานข้ามล�ำธารมีลานซีเมนต์เล็กๆอยู่ ใกล้ท่อระบายน�้ำ ลานแห่งนั้นสะอาดพอที่ข้าพเจ้าจะปูผ้าสังฆาฏิ เอนกายได้ อากาศคืนนี้อุ่นสบาย มีดาวระยิบระยับเต็มท้องฟ้า ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นอิสระ นี่เป็นการเพิ่มความรู้สึกดื่มด�่ำในการเป็น นักบวชของข้าพเจ้า นักบวชผูส้ ละเหย้าเรือนออกแสวงหาโมกขธรรม เหมือนในครั้งพุทธกาลที่ผู้คนมากมายทั้งผู้ชายและผู้หญิงต่างก็ รู้สึกว่า ในการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์มีบางอย่างที่ไม่ถูกต้อง บางอย่างที่พวกเขาไม่อยากท�ำตามๆกันไป บางอย่างที่พวกเขา ไม่เชื่อถือ แต่พวกเขาไม่รู้ว่าควรท�ำอย่างไร จึงละทิ้งชีวิตฆราวาส แล้วออกบวช ในคืนนี้ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกแยกจากวัฒนธรรมและ วิถีชีวิตของคนอื่นๆ แต่เป็นความรู้สึกแปลกแยกในแง่ดี ข้าพเจ้า 168


รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมนั้น ในคืนวันชาติ อเมริกาที่ผู้คนเฉลิมฉลองด้วยการดื่มกิน และจุดพลุสวยงามเต็ม ท้องฟ้า ขณะที่ชีวิตของข้าพเจ้าด�ำเนินไปเพียงวันหนึ่งๆเท่านั้น เพียงแสวงหาอาหารและทีพ่ กั ส�ำหรับวันนีก้ พ็ อแล้ว ไม่ตอ้ งกังวลถึง พรุง่ นี ้ เพราะพรุง่ นีข้ า้ พเจ้าก็จะไปแสวงหาเอาข้างหน้า เมือ่ พิจารณา ดังนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นอิสระอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าคิดว่าเมื่อกลับไป วัดป่าอภัยคีรีจะต้องพิจารณาเรื่องนี้เป็นพิเศษ มันก็จริงที่ข้าพเจ้า เป็นเพียงส่วนหนึง่ ของสิง่ สมมุติ เมือ่ มาบวชตามรูปแบบอย่างนีก้ ต็ อ้ ง ท�ำตามบทบาทหน้าที ่ มีสงิ่ ต่างๆมากมายในโลกซึง่ ล้วนเป็นสิง่ สมมุติ ที่เราใช้ในการฝึกตน พระพุทธเจ้ามิได้ทรงออกผนวชเพื่อก�ำจัด สิ่งสมมุติให้หมดไป แต่พระพุทธองค์ทรงปล่อยวางความยึดมั่น ถือมั่นในสิ่งสมมุติเหล่านั้นต่างหาก

.... การไปธุดงค์ใช่วา่ จะเหมาะกับพระทุกรูป มีอนั ตรายหลายอย่างใน ระหว่างการเดินทาง บางครัง้ เราก็พลัดเข้าไปในสถานการณ์แปลกๆ เช่น วันหนึ่งข้าพเจ้าเดินอยู่บนฟุตปาธซึ่งอยู่ระหว่าง Highway 1 กับมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมือง San Diego ใน บางช่วงข้าพเจ้าต้องเดินผ่านชายหาดและวันนั​ั้นอากาศร้อนจัด ข้าพเจ้าห่มจีวรมิดชิดแต่ผู้คนรอบตัวแทบจะไม่สวมอะไรเลย และไม่มีผู้ใดรู้ข้อวัตรปฏิบัติของพระด้วย ในสถานการณ์เช่นนี้ ถ้าเราไม่หนักแน่นในพระธรรมวินัย สิ่งที่จะตามมาก็คือหายนะ 169


.... ข้าพเจ้าขออนุโมทนากับผูค้ นมากมายทีใ่ ห้ความช่วยเหลือในหลายๆ ด้าน จนท�ำให้การเดินธุดงค์ครั้งนี้ส�ำเร็จลงด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ ช่วยในการเตรียมตัวก่อนออกเดินทางหรือในขณะที่ข้าพเจ้าก�ำลัง เดินธุดงค์  ตลอดจนผูท้ ตี่ ดิ ต่อข้าพเจ้าเป็นระยะๆเพือ่ ให้กำ� ลังใจหรือ ผู้ที่บีบแตรทักทายอีกนับไม่ถ้วนในเมือง Santa Barbara การปลูก ความเมตตา และดูแลรักษาความเมตตาเอาไว้เป็นสิง่ ทีค่ วรกระท�ำ เพราะความเมตตานั้นงดงามและเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญอย่างยิ่งใน การภาวนาของเรา เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาภาษาอังกฤษของยติโกภิกขุ แสดงเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ ธรรมศาลา วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียบเรียงต้นฉบับภาษาอังกฤษ : สัญโมภิกขุ แปล (อังกฤษ / ไทย) : ผศ.ดร.เจนจิรา  สุตานนท์ไพบูลย์ เรียบเรียงต้นฉบับภาษาไทย : เปสโลภิกขุ

170


171


Take a Seed


173 เปสโลภิกขุ


คงไม่จ�ำเป็นต้องอธิบายให้มากความส�ำหรับผู้อ่านที่คุ้นเคยกับ งานเขียนขบวน “เก็บเล็ก” ก่อนหน้านี้ ของข้าพเจ้าอันได้แก่ “100 Collected (No) Secret Stories: เก็บเล็กร้อยเรื่อง (ไม่) ลับ” และ “To be Awake: เก็บเล็กร้อยเรื่องระเริงเชิงธรรมะ” แต่ส�ำหรับ ผู้อ่านหน้าใหม่ข้าพเจ้าคงต้องเกริ่นน�ำเอาไว้บ้าง เพื่อความไม่มึน งงงงวย (แม้แต่ค�ำว่างงงวยในหนังสือเล่มนี้ก็น่างวยงงว่ามันมีงองู กี่ตัวกันแน่) “Take a Seed: หนึ่งร้อยเมล็ดพันธุ์บันดาลใจ” เป็นการสะสมเรื่อง เล็กๆซึง่ เกิดขึน้ จากการทีข่ า้ พเจ้า ได้ยนิ ได้ฟงั หรือได้รว่ มสนทนากับ พระภิกษุ สามเณร อนาคาริก ญาติโยม ทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศ ในหลากหลายสถานใต้แผ่นฟ้าอเมริกา ซึ่งเรื่องราวที่เก็บ หอมรอมริบมานีข้ ้าพเจ้าเห็นว่าแปลก ให้แรงบันดาลใจทางธรรมะ ที่ดี และมีอารมณ์ขันเจือปนอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน บางเรื่อง ข้าพเจ้าได้ท�ำการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น บางเรือ่ งข้าพเจ้าก็ทงิ้ ไว้ให้เป็นปริศนา แต่ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งประเภทใด ล้วนผ่านการให้ “อะไร” แก่ข้าพเจ้ามาแล้วทั้งสิ้น ส่วนผู้อ่าน จะได้ “อะไร” จากเรื่องราวเหล่านี้หรือไม่ ข้าพเจ้าเองก็ไม่อาจ คาดเดา ผูอ้ า่ นท่านหนึง่ เล่าให้ขา้ พเจ้าฟังว่า เพือ่ นของเธอน�ำหนังสือขบวนนี้ มาคืน เพราะไม่เข้าใจว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไร  เมื่อข้าพเจ้า ยังเป็นวัยรุ่นก็เคยมีความรู้สึกอย่างเดียวกันนี้กับหนังสือเล่มหนึ่ง


ข้อความในหนังสือเล่มนั้นเท่าที่ข้าพเจ้าพอจะจ�ำได้ก็คือ “ชื่อเสียง ท�ำให้คนตัวสูงขึ้นสองนิ้ว” และทั้งหน้ากระดาษขนาดเดียวกับ หนังสือที่ผู้อ่านก�ำลังถืออยู่ก็มีเนื้อหาหยดแหมะอยู่เพียงเท่านี้! ประมาณสิบปีให้หลังมีพระรูปหนึง่ เล่าให้ฟงั ว่า  ท่านเคยอ่านข้อมูล เกีย่ วกับการท�ำวิจยั ในนิตยสารวิทยาศาตร์ของต่างประเทศฉบับหนึง่ เรือ่ งมีอยูว่ า่ มีการท�ำวิจยั โดยให้บคุ คลผูห้ นึง่ เข้าไปในห้องประชุมของ มหาวิทยาลัย จากนั้นอาจารย์ผู้สอนประจ�ำชั่วโมงเรียนก็บรรยาย สรรพคุณของบุคคลผู้นั้นอย่างเลิศเลอเช่น ท่านเป็นศาสตราจารย์ ผู้เชี่ยวชาญได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติแขนงต่างๆมากมาย แต่ใน ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ จากนั้นอาจารย์ผู้สอนก็ให้บุคคล ผู้นั้นออกไปจากห้องประชุม แล้วส่งแบบสอบถามให้แก่นักศึกษา หัวข้อหนึง่ ในแบบสอบถามนัน้ ก็คอื บุคคลทีย่ นื อยูใ่ นห้องประชุมเมือ่ สักครูน่ มี้ คี วามสูงเท่าไหร่? เมือ่ น�ำค�ำตอบในแบบสอบถามเหล่านัน้ มาหาค่าเฉลี่ยก็ปรากฏว่า นักศึกษาในห้องประชุมต่างเห็นบุคคล ผู้นั้นสูงกว่าความเป็นจริงประมาณสองนิ้ว! ข้าพเจ้ามักจะเหงื่อชุ่มกับกลุ่มค�ำคันๆคมๆคายๆอยู่เสมอเช่น “คนทีค่ ณ ุ รักประกอบด้วยน�ำ้ 72.8%” ส�ำหรับข้าพเจ้าแล้วข้อความ แบบนี้มันเท่มาก มันโรแมนติก มันเป็นความจริงตามธรรมชาติ มันเป็นการน�ำเอาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้คนคลั่งไคล้กันหนัก และหนามาสนับสนุนการปฏิบัติธรรม ที่ส�ำคัญก็คือมันโดนใจ ส่วนจะโดนใจผู้อ่านหรือไม่ ข้าพเจ้าไม่อาจคาดเดาเป็นครั้งที่สอง


ในการด�ำเนินชีวิตที่วัดป่าอภัยคีรี ข้าพเจ้าเองก็มีกิจวัตรประจ�ำวัน เหมือนกับพระรูปอื่นๆ ข้าพเจ้าไม่ได้จดจ้องจับเอาค�ำพูดเก๋ๆ ของผู้ใด แต่จะปล่อยให้มันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หากมีบาง เรื่องราวกระเด็นมาสะดุดหูสะดุดใจ ไม่ว่าจะเป็นขณะปิ้งขนมปัง เป็นอาหารเช้า นั่งรออาหารมื้อกลางวันในศาลา เหยียดขาอยู่ใน ห้องซาวน่า หรือก�ำลังผ่าฟืน นั่นก็แสดงว่าเรื่องราวเหล่านั้นมัน วิเศษจริงๆ วิเศษจนเก็บเอาไว้คนเดียวไม่อยู่ ต้องน�ำมารวมเล่ม ตีพิมพ์เผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้รับความวิเศษนั้นด้วย ส่วนผู้อื่นจะเห็นว่า มันวิเศษเช่นข้าพเจ้าหรือไม่ ข้าพเจ้าไม่อาจคาดเดาเป็นครั้งที่สาม เปสโลภิกขุ ภาษาไทยวันละค�ำ : รอยยิม้ = เส้นโค้งน้อยๆทีพ่ ลิกผันสถานการณ์


groovy


178

. โยม : น้องที่มาปฏิบัติธรรมที่วัดบอกว่านั่งสมาธิไม่ได้เลย คนที่มา ปฏิบัติธรรมคุยกันเยอะ พระ : คนปฏิบัติไม่คุย คนคุยไม่ปฏิบัติ . ขณะที่กลุ่มพระภิกษุสามเณรก�ำลังเดินชมทะเล ฝรั่งคนหนึ่งก็เดิน เข้ามาถามด้วยความสงสัยว่า เสื้อผ้าสีส้มนี่เป็นชุดส�ำหรับดูนก ใช่ไหม? . โยม : ผมโดนภรรยานอกใจแต่ไม่นอกกาย มีลูกด้วยกันหนึ่งคน ผมควรมีชีวิตอยู่ต่อไปไหมครับ? พระ : ถ้าเพื่อบ�ำเพ็ญคุณงามความดีก็สมควรอยู่ต่อไป


179

. เมื่อครั้งที่พระเดชพระคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) เดินทางมาเผยแผ่ธรรมะยังประเทศสหรัฐอเมริกา พระผู้ท�ำหน้าที่ เป็นล่ามแปลให้ข้อสังเกตว่า มีน้อยครั้งที่หลวงพ่อจะปรารภถึง เรือ่ งศีล ส่วนเรือ่ งอิทธิฤทธิป์ าฏิหาริยห์ รือเรือ่ งนรกสวรรค์ หลวงพ่อ ไม่พูดถึงเลย . พระอาจารย์ฝรั่งท่านหนึ่งซึ่งบวชมานานกว่าสามสิบพรรษา และเดินทางไปหลายประเทศทั่วโลกให้ความเห็นว่า “95% ของ พระอริยะในโลกนี้อยู่ในสายเถรวาท”


180

. ลูกสาว : แม่ดุลูกแสดงว่าไม่ปฏิบัติตามค�ำสอนของพระพุทธเจ้า แม่ : ถ้าลูกปฏิบัติตามค�ำสอนของพระพุทธเจ้าแม่ก็ไม่ดุหรอกจ้า . พระนิด : ท�ำไมพระหนุ่มรูปนั้นลาสิกขา? พระน้อย : เขาอยากออกไปส�ำรวจโลก เขายังทุกข์ไม่พอ . ยอดจ�ำหน่ายสุรา Johnny Walker ในประเทศไทยสูงเป็นอับดับ ที่สองรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา


181

. ขณะที่พระฝรั่งรูปหนึ่งก�ำลังเดินธุดงค์ในประเทศอินเดีย หนังสือ พิมพ์ท้องถิ่นได้ท�ำการสัมภาษณ์แล้วน�ำไปตีพิมพ์ โดยลงพาด หัวข่าวว่า “Buddhist Monk Walking for World Peace” . นักข่าวชาวอินเดีย : ท่านเดินธุดงค์เพื่อสันติภาพของโลกใช่ไหม ครับ? พระฝรั่ง : ถ้าโลกจะเกิดสันติภาพเพราะการเดินของอาตมาก็ จะเป็นการดี


182

. เหตุเกิดที่วัดแห่งหนึ่งในต่างประเทศ หลังจากเดินเวียนเทียนด้วยเท้าเปล่าบนหิมะในวันมาฆบูชา ครบสามรอบ เจ้าอาวาสก็บอกแก่ลูกศิษย์ที่เดินตามมาข้างหลังว่า “เวียนเทียนคราวหน้าเตือนผมด้วยนะว่าอย่าท�ำแบบนี้อีก” . บาทหลวงผูห้ นึง่ ให้ขอ้ มูลในการเผยแผ่ศาสนาคริสต์วา่ “ถ้าปลูกฝัง ให้เด็กเชื่อในพระเจ้าได้ก่อนอายุเจ็ดขวบ เขาจะเชื่อตลอดไป”


183

. โยม : เมื่อเห็นภาพพระภิกษุชาวเวียดนามเอาน�้ำมันราดตัวเอง แล้วให้คนจุดไฟเผา ดิฉันรู้สึกสลดหดหู่ ดิฉันไม่เข้าใจว่าท�ำไมจึง มีเรื่องโหดร้ายบีบคั้นผู้คนบนโลก ให้กระท�ำรุนแรงต่อตัวเองได้ถึง ขนาดนี้ ดิฉันควรจะวางตัวอย่างไรกับเรื่องนี้ดีค่ะ? พระอาจารย์ : อาตมาขอแนะน�ำให้โยมอยู่ห่างจากถังน�้ำมัน . โยม: ยังวนเวียนอยู่กับค�ำถามค�ำตอบไม่สิ้นสุด พระ: ค�ำถามก็มีอยู่เรื่อยๆ ถ้าไม่โดนคนอื่นถามก็โดนตัวเองถาม


184

. พระผู้ใหญ่จากเมืองไทยเดินทางมาเยี่ยมวัดป่าในประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อออกบิณฑบาตในยามเช้า ท่านไม่สวมรองเท้า ซึ่ง ตามปรกติพระที่วัดป่าแห่งนั้นจะสวมรองเท้าเดินบิณฑบาตอยู่ เสมอ ครั้นเห็นพระผู้ใหญ่ไม่สวมรองเท้า พระหนุ่มเณรน้อยจึง ต้องปฏิบตั ติ าม หลังจากรับบิณฑบาตทีบ่ า้ นหลังสุดท้าย ขณะก�ำลัง จะขึน้ รถกลับวัด ญาติโยมฝรัง่ ต่างซือ้ รองเท้ามาถวายเป็นการใหญ่ เพราะเข้าใจว่าที่วัดขาดแคลนรองเท้า . พระฝรั่ง : ผมขอโอกาสถวายหนวด (นวด) อาจารย์ได้ไหมครับ? พระไทย : หนวดผมก็มี


185

. หนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The Ghost Detectives’ Guide to Haunted San Francisco เป็นคู่มือส�ำหรับเดินทางเข้าไปส�ำรวจบางพื้นที่ ของแซนแฟรนซิสโกซึ่งได้รับค�ำร�่ำลือว่ามีผีสิง! . พระฝรัง่ : ผมรูส้ กึ น้อยใจทีเ่ กิดอยูไ่ กลจากประเทศทีน่ บั ถือพุทธศาสนา พระไทย : ไม่ต้องน้อยใจหรอก มีคนเป็นจ�ำนวนมากในประเทศ เหล่านั้นที่มีอคติต่อพุทธศาสนา . พระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งแบ่งคนออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ 1.ไม่รู้ไม่ชี้ คนประเภทนี้พอใช้ได้เพราะไม่ท�ำเรื่องให้ยุ่ง 2.ไม่รู้แล้วชี้ คนประเภทนี้เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวาย 3.รู้แล้วไม่ชี้ คนประเภทนี้ไม่ได้ท�ำประโยชน์เท่าที่ควร 4.รู้แล้วชี้ คนประเภทนี้เรียกว่านักปราชญ์


186

. โยมนิด : โอ้โห! เราต้องกวาดถนนยาวขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย! โยมน้อย : เปล่านี่ เรากวาดเฉพาะสิ่งที่อยู่ตรงหน้า . แอพพลิเคชั่นอันหนึ่งเชื้อเชิญให้ผู้ใช้โทรศัพท์อยู่นิ่งๆเป็นเวลา 2 นาทีโดยไม่ต้องท�ำอะไร ถ้าผู้ใช้โทรศัพท์กดปุ่มหรือสัมผัส หน้าจอก่อนเวลาที่ก�ำหนด โทรศัพท์จะส่งสัญญาณเตือนทันที . พระไทย : ท่านมีความตลกอยู่ในตัว น่าจะเทศน์สอนวัยรุ่นได้ พระฝรั่ง : ครับ แต่ผมคิดว่าการพูดตลกมันเสี่ยงต่อการพูดโกหก


187

. เหตุเกิดที่นิวยอร์ค อุบาสิกาผู้หนึ่งถูกโจรท�ำร้ายบาดเจ็บแล้วชิงเอาทรัพย์ไป เมื่อ ตั้งสติได้เธอจึงเจริญอานาปานสติในอิริยาบถนอน ขณะรอรถ พยาบาล . พระนิด : ที่นี่อากาศดี ห้องน�้ำสวย กุฏิมีเครื่องอ�ำนวยความสะดวก สารพัดอย่าง พระน้อย : ถ้าใจไม่สบายอยู่ที่ไหนก็ไม่สบาย


188

. ค�ำว่า “นิโรธ” ในอริยสัจสี่ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) เป็นภาษา ทีใ่ ช้ในชีวติ ประจ�ำวันของชาวอินเดีย ซึง่ มีความหมายว่า “ปราศจาก สิ่งเสียดแทง” ตัวอย่างเช่นชายผู้หนึ่งเอาหนามที่ต�ำเท้าออกได้ ส�ำเร็จ เขาจึงอุทานว่า เรานิโรธแล้ว! . โยมฝรั่งผู้หนึ่งถามพระฝรั่งว่า พุทธศาสนาสอนเรื่องความทุกข์ การรักษาศีลจัดเป็นเรื่องหนึ่งในความทุกข์ของท่านหรือเปล่า? . พระหนุ่ม : ผมรู้สึกประหม่าเวลาเทศน์ครับ พระอาจารย์ : ถ้าอย่างนั้นต้องเทศน์ให้ตัวเองฟังบ่อยๆ


189

. ระหว่างที่พระเดินบิณฑบาตในต่างประเทศ บางครั้งจะได้ยิน ฝรั่งซึ่งก�ำลังขับรถตะโกนทักทายว่า Get a job! หรือ Get a hair cut!! หรือ Go back to your country!!! . เด็กลูกครึง่ คนหนึง่ เล่าให้พระฝรัง่ ฟังว่าเธอเคยเห็นผี ท่านจึงแนะน�ำ ว่า ถ้าเห็นผีครั้งต่อไปให้บอกเขาว่า “ขอให้คุณมีความสุข” . ก่อนจบการแสดงพระธรรมเทศนาโยมผู้หนึ่งก็กรนเสียงลั่นศาลา เมื่อเทศน์จบพระอาจารย์จึงพูดขึ้นว่า “ขอบคุณที่โยมอดทน”


190

. โยมฝรัง่ : วัดป่าทีเ่ มืองไทยกับทีอ่ เมริกาแตกต่างกันหรือเปล่าครับ? พระฝรั่ง : โดยวิถีชีวิตความเป็นอยู่แล้วไม่ต่างกันมากนัก  แต่ วัดป่าที่เมืองไทยบางแห่งอยู่ในป่าดงดิบ ซึ่งมีทั้งช้างทั้งเสือ และ เสือก็กินทุกอย่างที่มันอยากกิน . ฝรั่งคนหนึ่งบ่นว่า “ท�ำไมผมต้องเกิดมาในโลกนี้พร้อมกิเลส ผม ไม่อยากได้มัน มันไม่ยุติธรรมเอาซะเลย” . พระฝรั่ง : อาจารย์ฟังเทศน์ของหลวงพ่อชาเยอะไหม? พระไทย : ฟังเยอะ ทั้งภาษาไทยและภาษาอีสาน พระฝรัง่ : คนไทยโชคดีทไี่ ด้ฟงั เทศน์ของหลวงพ่อชา ผมฟังไม่เข้าใจ


191

. เหตุเกิดที่ประเทศเยอรมัน บุรุษไปรษณีย์พยายามหย่อนจดหมายเข้าไปทางช่องประตูของ ห้องในอพาร์ตเม้นท์แห่งหนึง่ แต่ไม่สามารถท�ำได้เพราะมีจดหมาย จ�ำนวนมากอัดแน่นอยู่ด้านใน  บุรุษไปรษณีย์จึงบอกเจ้าของ อพาร์ทเม้นท์ให้โทรศัพท์ไปแจ้งต�ำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ต�ำรวจเข้า ไปในห้องก็พบศพชายชราผู้เป็นเจ้าของ หลังจากการชันสูตรศพ จึงท�ำให้ทราบว่า ชายชราผู้นี้เสียชีวิตตั้งแต่สองปีที่แล้ว . พระอีสานรูปที่หนึ่ง : ท่านเคยฟังเทศน์ของพระอาจารย์รูปนี้ไหม? ท่านเป็นพระอยู่ทางภาคกลาง พระอีสานรูปทีส่ อง : เคยฟังครับ ท่านเทศน์ได้ถกู ต้องตามหลักธรรม แต่ก็อย่างว่า ข้าวเหนียวกับข้าวสวย ฉันแล้วอิ่มเหมือนกันก็จริง แต่ผมชอบข้าวเหนียวมากกว่า


192

. วัดป่าแห่งหนึ่งในภาคอีสานมีข้อวัตรพิเศษต่างจากวัดป่าทัว่ ไปคือ พระภิกษุสามเณรต้องฉันอาหารโดยไม่ใช้ช้อน . หลวงพี่ : สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดส�ำหรับพระใหม่คืออะไรครับ? หลวงพ่อ : ความขี้เกียจ หลวงพี่ : สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดส�ำหรับพระเก่าคืออะไรครับ? หลวงพ่อ : น�้ำตาผู้หญิง


193

. เหตุเกิดที่ประเทศอินเดีย นักท่องเที่ยวชาวไทยถวายปัจจัยแก่พระป่ารูปหนึ่งแต่ท่านปฏิเสธ เพราะตามวินัยพระจะไม่รับปัจจัยเงินทองเป็นของส่วนตัว ก่อนที่ นักท่องเที่ยวชาวไทยจะเดินหลีกไป ท่านได้ยินเขาบ่นกับเพื่อนๆ ในกลุ่มว่า “พระรูปนี้ไม่มีความกรุณา” . โยม : ที่วัดมีกฏระเบียบเยอะ เพราะนักปฏิบัติธรรมอ่อนแอ พระ : คนอ่อนแอจะอดอาหารมื้อเย็นได้ไหม?


194

. ในการพิจารณาให้พระภิกษุเป็นพระธรรมฑูตเดินทางไปปฏิบัติ ศาสนกิจในต่างประเทศ ถ้าพระภิกษุรูปที่หนึ่งมีรอยสักแต่รูป ที่สองไม่มี พระภิกษุรูปที่สองจะมีโอกาสได้รับการอนุมัติมากกว่า รูปที่หนึ่ง . โยมนิด : เลี้ยงเหล้าเพื่อนได้บุญไหมครับ? พระ : มันไม่เป็นประโยชน์ เลี้ยงข้าวดีกว่า โยมน้อย : เรากินข้าวกันบ่อยแล้ว พระ : ยาพิษแม้กินเพียงครั้งเดียวก็เกิดโทษ


195

. เหตุเกิดที่เกาะ Feroe ประเทศเดนมาร์ก ในแต่ละปีจะมีการต้อนฝูงปลาโลมาร่วมร้อยตัวจากมหาสมุทร มาที่ชายหาดเพื่อให้เด็กหนุ่มฆ่า เทศกาลนี้เป็นประเพณีซึ่งท�ำ สืบต่อกันมาแต่โบราณ  เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองและแสดงให้เห็น ว่าเด็กหนุ่มเหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว . พระนิด : วันนี้เราจะฉันภัตตาหารกันสายสักหน่อย เพราะต้องรอ พระกลับจากในเมือง พระน้อย : ไม่เป็นไรครับ แต่ความหิวไม่เคยมาสาย


196

. เมื่อออกเดินธุดงค์ในประเทศอินเดีย พระรูปหนึ่งต้องการให้มี สัมภาระน้อยที่สุดและเบาที่สุด ท่านจึงใช้ขันน�้ำพลาสติกแทน บาตร . พระหนุ่ม : ผมรู้สึกว่าพระในวัดหลายรูปไม่ชอบผม พระอาจารย์ : อาจจะจริง แต่มันก็เป็นกิเลสของเขา เรามีหน้าที่ ในการปฏิบัติธรรม เราก็ท�ำของเราไป . ขณะที่พระรูปหนึ่งก�ำลังดมอาหารก่อนจะพิจารณาตักใส่ในบาตร โยมผู้หนึ่งสังเกตเห็นจึงตะโกนลั่นศาลาว่า “It’s good! I made that one.”


197

. พระ : ธรรมะข้อใดที่โยมใช้บ่อยที่สุดในชีวิตครอบครัว? โยม : เมื่อผมพูดกับภรรยา ผมจะไม่คิดว่าตัวเองต้องการอะไร แต่ผมจะคิดว่าภรรยารู้สึกอย่างไร . คณะสงฆ์ของวัดป่าแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาต ให้อุบาสิกาน�ำบาตรของพระอาจารย์ไปล้างได้ . พระไทย : อะไรคือความแตกต่างระหว่างวัดป่ากับศูนย์วิปัสสนา ในอเมริกา? นักปฏิบัติธรรมฝรั่ง: ศูนย์วิปัสสนาสบายกว่า เพราะผู้เข้าอบรม ไม่มีหน้าที่อย่างอื่นนอกจากเดินจงกรม นั่งสมาธิ ฟังเทศน์ และ ตอนเย็นเราก็รับประทานอาหารได้


198

. สามเณร: หนูอายุกี่ขวบ? เด็ก: อายุ 4 ขวบแต่หนูแข็งแรงเหมือนเด็กอายุ 7 ขวบ . เรื่องจากพระสูตร : ขณะที่พราหมณ์ผู้หนึ่งก�ำลังเดินอยู่ริมถนน ได้เห็นแพะตัวหนึ่งก�ำลังก้มหัว เขาคิดว่าแพะแสดงความเคารพ ตนจึงโค้งค�ำนับตอบ ทันใดนั้นแพะก็พุ่งเข้าชนอย่างแรงจน พราหมณ์ผู้นั้นถึงแก่ความตาย พระสูตรนี้ชี้ให้เห็นโทษของการ บูชาบุคคลที่ไม่ควรบูชา


199

. โยม: จ�ำเป็นไหมคะที่เราต้องปฏิบัติธรรมอยู่ในป่า? เราไปปฏิบัติ ธรรมในทะเลทรายได้ไหม? พระ: อาตมาเป็นพระป่าจึงแนะน�ำให้ไปปฏิบัติธรรมในป่า เพราะ เห็นอานิสงส์มาแล้ว แต่โยมจะไปปฏิบัติธรรมในทะเลทรายก็ได้ ถ้าต้องการจะพิจารณาเกี่ยวกับความว่าง . เหตุเกิดที่ประเทศอังกฤษ ขณะที่พระก�ำลังเดินบิณฑบาต โยมใจดีผู้หนึ่งโยนกล้วยหอม ออกมาทางหน้าต่างรถยนต์ ด้วยหมายจะให้ตกลงในบาตร


200

. พระอาจารย์ฝ่ายมหายานท่านหนึ่งปรารภกับลูกศิษย์ว่า “ท่าน กับผมไม่มีอะไรแตกต่างกัน นอกจากสิ่งเล็กๆเพียงสิ่งเดียวคือ ความคิดเห็นที่มีต่อตัวเอง” . บริษัท Life is good ในประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งชื่อเสื้อยืดผ้าฝ้าย ออร์แกนิก 100% รุ่นหนึ่งว่า Good Karma . ค�ำว่า “กรรม” ในภาษาอังกฤษนิยมแปลว่า Act, Action, Deed แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมความหมายของศัพท์ค�ำนี้ได้ทั้งหมด เมือ่ พระพุทธศาสนาเป็นทีร่ จู้ กั อย่างกว้างขวาง ชาวต่างประเทศจึง นิยมพูดทับศัพท์ว่า “Kamma” (สะกดแบบบาลี) หรือ “Karma” (สะกดแบบสันสกฤต)


201

. แม้แต่ฝรั่งที่ไม่นับถือศาสนาใดๆก็สามาถอธิบายค�ำว่า “กรรม” ได้อย่างน่าฟังดังนี้ “If you do good things, the good things will come to you. If you do bad things, the bad things will come to you”. . เหตุเกิดในภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่ง โยม: ท�ำไมพระต้องท�ำหน้าเคร่งขรึมตลอดเวลา ยิ้มไม่ได้เหรอ เจ้าค่ะ? พระ: ยิ้มได้ถ้าไม่เสียกิริยา โยม: ถ้าอย่างนั้นขอนิมนต์หลวงพี่ยิ้มแบบไม่เสียกิริยา


202

. พระหนุ่มรูปหนึ่งนั่งเท้าแขนขณะฟังเทศน์ เมื่อหลวงพ่อสังเกต เห็นจึงหยุดแสดงธรรมแล้วตวาดว่า ท่านจะเป็นผู้ท�ำลายพุทธ ศาสนา! . อีกแง่มุมหนึ่งของค�ำอธิบายเกี่ยวกับดอกบัวที่ผุดขึ้นรองรับ พระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะในวันประสูติก็คือ “สิ่งนี้เป็น สัญลักษณ์ของความรู้ ตื่น เบิกบาน” . ค�ำว่า “สังคม” กับ “สงคราม” มีที่มาจากรากศัพท์เดียวกัน


203

. ฆราวาสผูห้ นึง่ ซึง่ เป็นอาจารย์สอนประจ�ำศูนย์ปฏิบตั ธิ รรมแห่งหนึง่ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบอุบตั เิ หตุจกั รยานพุง่ ชนต้นไม้หลัง จากแสดงธรรมในหัวข้อ “ไม่รู้” . เหตุเกิด ณ สนามบินแห่งหนึ่งในต่างประเทศ พระรูปหนึ่งบอกกับพนักงานของสายการบินว่าไม่ต้องการนั่งใกล้ ผู้หญิง ช่วยพิจารณาที่นั่งใกล้ๆผู้ชายให้ด้วย พนักงานหนุ่มยิ้ม หยาดเยิ้มกระดี๊กระด๊าเพราะคิดว่าพระรูปนั้นเป็นเกย์เหมือนกัน . พระภิกษุเถรวาทชาวเวียดนามเล่าว่า โยมแม่ของท่านซึ่งนับถือ พุทธศาสนามหายานบอกกับท่านว่า “พระสายเถรวาทถือวินัย เคร่งครัดเกินไปจนท�ำให้ตัวเองล�ำบาก”


204

. หนึ่งในค�ำถามอันลือลั่นที่อาจารย์เซนมักจะใช้ทดสอบลูกศิษย์ ก็คือ “เสียงปรบมือข้างเดียวเป็นอย่างไร?” . อีกค�ำถามหนึ่งที่ลือลั่นไม่แพ้กันก็คือ “ใบหน้าก่อนเกิดของคุณ เป็นอย่างไร?” . ค�ำว่า “ทุกข์” ในภาษาอังกฤษนิยมแปลว่า Suffering, ill, Stress, Conflict แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมความหมายของศัพท์ ค�ำนี้ได้ทั้งหมด เมื่อพระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ชาวต่างประเทศจึงนิยมพูดทับศัพท์ว่า “Dukkha”


205

. เหตุเกิดที่ประเทศไทย ในช่วงเข้าพรรษาพระภิกษุสามเณรจะสมาทานปฏิบัติข้อวัตร บางอย่างเป็นพิเศษเพื่อขัดเกากิเลสเช่น การฉันอาหารเฉพาะ ที่ได้จากการบิณฑบาต ไม่รับเพิ่มจากโรงครัว พระภิกษุสามเณร ที่อยู่จ�ำพรรษาในวัดป่าแห่งหนึ่ง พร้อมใจกันสมาทานไม่สรงน�้ำ เป็นเวลาสามเดือน! . พระอาจารย์ท่านหนึ่งจ�ำแนกคนออกเป็นสองจ�ำพวกคือ คนที่ เอาใจใส่ผู้อื่นกับคนที่เอาใจใส่ผู้อื่นไม่เพียงพอ


206

. ลูกศิษย์ถามปัญหาอาจารย์เซนท่านหนึ่ง อาจารย์ตอบด้วยการ ยกนิ้วชี้ขึ้นหนึ่งนิ้ว ในกาลต่อมาอาจารย์เซนก็ถามปัญหาลูกศิษย์ บ้าง ลูกศิษย์ก็ท�ำอย่างเดียวกันคือยกนิ้วชี้ขึ้นหนึ่งนิ้ว อาจารย์ เซนเห็นดังนั้นจึงตวัดดาบตัดนิ้วลูกศิษย์ขาดทันที! แล้วลูกศิษย์ก็ บรรลุธรรม!! . ในประเทศไทยมีค�ำกล่าวว่า “ถ้ายังไม่เคยเป็นไข้มาเลเรีย ถือว่ายังไม่ใช่พระป่าตัวจริง” ในประเทศแคนาดามีค�ำกล่าวว่า “ถ้ายังไม่เคยถูกน�้ำค้างแข็งกัดจนสูญเสียอวัยวะ ถือว่ายังไม่ใช่ นักผจญภัยตัวจริง”


207

. หลวงพ่อไล่พระรูปหนึ่งออกจากวัด พระรูปนั้นเดินออกไปทาง ประตูหน้าวัดเพียง 2-3 ก้าวแล้วก็กลับเข้ามา หลวงพ่อจึง ตวาดว่า กลับมาอีกท�ำไม? พระรูปนั้นตอบว่า “พระที่เคยท�ำผิด พลาดได้ออกจากวัดไปแล้วครับ ส่วนพระที่นั่งอยู่ต่อหน้าหลวงพ่อ ตอนนี้เป็นพระรูปใหม่” หลวงพ่อพิจารณาแล้วจึงอนุญาตให้พระ รูปนั้นอยู่ที่วัดต่อไป . พระฝรั่ง : ถ้าคุณท�ำงาน คุณจะได้เงินเดือนไหม? โยมฝรั่ง : ได้ พระฝรั่ง : นั่นแหละกรรมของคุณ


208

. เจ้าหน้าที่ประจ�ำสนามบินแห่งหนึ่งในประเทศออสเตรเลีย สงสัย ในการแต่งตัวของพระจึงขอตรวจค้นอย่างละเอียด โดยบอกให้ พระเปิดข้อมูลในคอมพิวเตอร์พกพาให้ดูด้วย เมื่อเจ้าหน้าที่ฯ เห็นข้อมูลในคอมพิวเตอร์แล้วถึงกับผงะ เพราะมีภาพศพเป็น จ�ำนวนมากอยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น พระต้องใช้เวลาอธิบาย อยู่นาน กว่าเจ้าหน้าที่ฯจะเข้าใจว่า ภาพเหล่านี้มีไว้ส�ำหรับการ พิจารณาอสุภกรรมฐาน . สตีฟ จ็อบส์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตนวัตกรรมสะท้านโลกเช่น iPhone, iPod, iPad เมื่อครั้งยังหนุ่มเคยเดินทางไปแสวงหาทาง จิตวิญาณที่ประเทศอินเดีย


209

. สตีฟ จ็อบส์ลาออกจากบริษัทที่ตัวเองก่อตั้งเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ในตับอ่อน ก่อนจะเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ด้วยอายุเพียง 56 ปี . แม้ iPad 2 จะบางเบาและมีแบตเตอร์รี่ที่ใช้ได้นานกว่ารุ่นก่อน แต่ สตีฟ จ็อบส์ก็เอาติดตัวไปด้วยไม่ได้ . เหตุเกิดที่มลรัฐมินนิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีนายพรานมืออาชีพและมือสมัครเล่นสามารถยื่น เอกสารกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อล่ากวางเป็นเกมกีฬาได้หนึ่งคน ต่อหนึ่งตัว


210

. หนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับประจ�ำวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2554 เสนอข่าวเด็กนักเรียนผู้หญิงในโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ จังหวัดเชียงใหม่ เดินขบวนพาเหรดในงานแข่งขันกีฬาประจ�ำปี โดยแต่งตัวเป็นอด็อฟ ฮิตเลอร์ และทหารนาซี พระฝรั่งรูปหนึ่ง ให้ความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ว่า “คนไทยเอาแต่เล่นสนุก” . พระไทย : ผมเคยเห็นเสื้อยืดที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ชาวไทย สกรีนตัวอักษรบนหน้าอกว่า Free China from Tibet พระฝรั่ง : คนไทยเอาแต่เล่นสนุก . พระอาจารย์ที่ปฏิบัติธรรมมานานกว่า 40 พรรษาให้ความเห็นว่า “ถ้าผมคิดหมกมุน่ ในเรือ่ งของตัวเองเมือ่ ไหร่ ผมจะเป็นทุกข์เมือ่ นัน้ ”


211

. พระชาวอเมริกันรูปหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งยังเด็กเคยออกล่าห่านป่า กับโยมพ่อ ห่านถูกยิงด้วยปืนขณะบินอยู่กลางอากาศแล้วตกลง ไปในหนองน�้ำ ในขณะที่ห่านก�ำลังดิ้นพล่านด้วยความเจ็บปวด โยมพ่อก็วิ่งตามไปยิงซ�้ำ แต่ห่านป่าแข็งแรงมาก โยมพ่อของท่าน จึงใช้ด้ามปืนกระหน�่ำตีนับครั้งไม่ถ้วน จนกระทั่งเลือดนองเต็ม ท้องน�้ำ ห่านจึงแน่นิ่ง แม้ในช่วงเวลานั้นทั้งโยมพ่อและตัวท่าน เองจะไม่เคยได้ยินค�ำว่า “หิริโอตตัปปะ” แต่ “ความละอายและ เกรงกลัวต่อบาป” ก็บังเกิดขึ้นภายในจิตใจ . วัดป่าในต่างประเทศบางแห่งไม่อนุญาตให้พระใช้จีวรที่ท�ำจาก ผ้าไหม เพราะญาติโยมฝรั่งติเตียนว่า ผ้าชนิดนี้ได้มาจากการ เบียดเบียนสัตว์


212

. ธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งของวัดหนองป่าพงและส�ำนักสาขา ก็คือ ในวันออกพรรษาพระอาจารย์จะเปิดโอกาส ให้พระภิกษุ สามเณรทุกรูปที่อยู่จ�ำพรรษาในวัดนั้นๆได้แสดงข้อธรรมะเล็กๆ น้อยๆ พระหนุ่มรูปหนึ่งไม่อยากขึ้นธรรมมาสน์เพื่อแสดงธรรม พระอาจารย์จึงให้ข้อคิดแก่ท่านว่า “ค�ำพูดเล็กๆน้อยๆของคน มันก็ให้รสชาติ” . พระอาจารย์ชาวต่างประเทศท่านหนึ่งได้รับนิมนต์ให้ไปสอน นักโทษในเรือนจ�ำอยู่เสมอ เมื่อท่านเดินทางไปกราบพระผู้ใหญ่ที่ เมืองไทยก็ได้รับข้อธรรมะว่า “คนที่อยู่นอกเรือนจ�ำก็เป็นนักโทษ เพราะถูกขังอยู่ในวัฏฏะสงสาร”


213

. สามเณรรูปหนึ่งเล่าว่า โยมเพื่อนของท่านส่งไฟฉายขนาดเล็ก อันหนึ่งมาให้ ท่านรักมันมากจึงเหน็บไว้กับประคดเอวติดตัว ไปในที่ต่างๆด้วยเสมอ ท่านพยายามจะเก็บมันไว้ใกล้หัวใจแต่ เครื่องนุ่งห่มของสามเณรไม่มีกระเป๋าอยู่บริเวณนั้น หลายเดือน ต่อมาท่านเป็นทุกข์มากเพราะท�ำมันหาย . เหตุเกิดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา นักอนุรักษ์ธรรมชาติสาดสีจากกระป๋องใส่ผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งสวม เสื้อผ้าที่ท�ำจากขนสัตว์ พระฝรั่งให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “พวกเขา รักสัตว์มากกว่าเพื่อนมนุษย์”


214

. พระอาจารย์ชาวไทยบอกพระฝรั่งรูปหนึ่งให้แสดงธรรมโปรดญาติ โยม ท่านอิดออดไม่อยากเทศน์แต่ก็ท�ำ เพราะไม่ต้องการฝ่าฝืน ค�ำสั่งของครูบาอาจารย์ เมื่อลงจากธรรมาสน์พระอาจารย์ชาว ไทยพูดกับพระฝรั่งรูปนั้นว่า “ท่านมีความเป็นไทยอยู่ 50% ถ้า ท่านไม่ท�ำตามที่ครูบาอาจารย์บอก ท่านก็เป็นฝรั่ง 100%” . มีขอ้ ความปรากฏเป็นหลักฐานในศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริยผ์ ยู้ งิ่ ใหญ่ของประเทศอินเดียว่า พระองค์ทรงสัง่ สอนธรรมะ ระดับศีลธรรมแก่ประชาชน ส่วนธรรมะระดับวิมตุ หิ ลุดพ้นพระองค์ ทรงถวายให้เป็นกิจของพระภิกษุ


215

. นักเขียนสตรีผู้หนึ่งให้สัมภาษณ์ว่ามนุษย์ไม่จ�ำเป็นต้องมีศีลห้า ใครอยากจะท�ำอะไรก็สามารถท�ำได้ แต่ต้องรับผิดชอบในการ กระท�ำของตัวเอง เช่นถ้าอยากขโมยของก็ท�ำได้ แต่ต้องยอมรับว่า ถ้าถูกต�ำรวจจับจะต้องติดคุก สามเดือนหลังจากการให้สัมภาษณ์ คนร้ายได้งัดเข้าไปในบ้านของนักเขียนผู้นั้น ทรัพย์สินที่ถูกขโมย ไปก็คือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 เครื่อง คอมพิวเตอร์พกพา 1 เครื่อง (ซึ่งเก็บต้นฉบับงานเขียนต่างๆไว้เป็นจ�ำนวนมาก) แหวนเพชร 1 วง สร้อยคอทองค�ำน�้ำหนักหนึ่งสลึงพร้อมพระสมเด็จฯเลี่ยมทอง 1 เส้น และเข็มขัดเงินโบราณ นักเขียนผู้นั้นปรับทุกข์กับนักข่าวว่า “อยากให้ต�ำรวจช่วยติดตามหาคนร้ายมาด�ำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว และช่วยกวดขันดูแลพื้นที่ เนื่องจากเป็นห่วงความปลอดภัยของ บ้านและตัวเอง”


216

. โยม : พระที่วัดนี้ได้เรียนอภิธรรมหรือเปล่าค่ะ? หลวงพ่อ : เรียน โยม : ดิฉันก็เรียนเหมือนกัน ไม่ทราบว่าใช้หนังสืออะไรค่ะ? หลวงพ่อ : (ไม่ตอบแต่เอานิ้วชี้ไปที่หัวใจ) . หนุ่มผิวหมึกร่างยักษ์อายุ 23 ปีผู้หนึ่งแต่งตัวเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ (ดูคล้ายกัปตันอเมริกา) แล้วเรียกตัวเองว่า “ฟีนิกส์ โจนส์” เขา ออกปราบปรามเหล่าร้ายในเมืองซีแอตเติล้ มลรัฐวอชิงตัน ภายหลัง ถูกต�ำรวจจับกุม เนือ่ งจากถูกฟ้องด�ำเนินคดีในข้อหาท�ำร้ายร่างกาย ผู้อื่นด้วยสเปรย์พริกไทย


217

. ชาวอเมริกันมักจะใช้ค�ำว่า “ท้าทาย” แทนค�ำว่า “ยากล�ำบาก” . นักปฏิบัติธรรมผู้หนึ่งปรับทุกข์กับหลวงปู่อายุ 80 สิบปี ซึ่งบวช มานานกว่า 50 พรรษาว่า “โยมแทบจะไม่เคยได้สัมผัสความ สงบจากการท�ำสมาธิเลย” หลวงปู่ปลอบใจนักปฏิบัติธรรมผู้นั้นว่า “อาตมาก็เพิ่งได้รับความสงบ เมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง” . สามเณรฝรั่งเล่าให้พระฝรั่งฟังว่า “ผมยินดีพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่ ขณะนี้ อย่างน้อยผมก็ไม่ต้องวุ่นวายกับการจราจรบนท้องถนน สัปดาห์ละ 5 วันหรือมากกว่านั้น”


218

. สาวโสดอนงค์หนึ่งอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่าจะแต่งงานดีหรือ ไม่ หล่อนอุปมาให้สาวโสดรุ่นน้องฟังว่า “ตอนนี้พี่เหมือนยืนอยู่ ปากเหว” . เนยถั่วทาขนมปังเป็นของโปรดส�ำหรับเด็กอเมริกัน แต่เป็นของ หายากส�ำหรับเมืองไทยเพราะไม่เป็นที่นิยม โดยเฉพาะวัดป่าทาง ภาคอีสาน พระฝรั่งเล่าว่าครั้งหนึ่งนานมาแล้วท่านเคยฉันข้าว เหนียวจิ้มกับเนยถั่ว


219

. เหตุเกิดที่วัดป่าแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี โยม : ผมจะมาขอฝึกวิปัสสนาที่นี่ครับ หลวงพ่อ : ที่นี่ไม่มีการฝึกวิปัสสนา ที่นี่มีแต่การทรมานคน . หลังจากผลิตหนังสือเพือ่ สร้างแรงบันดาลใจด้านธรรมะแก่เยาวชน คนหนุ่มสาวออกมาจ�ำนวน 13 เล่ม เปสโลภิกขุก็ค้นพบว่า สิ่งที่ เป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์หันมาเห็นความส�ำคัญของธรรมะได้ อย่างยอดเยี่ยมที่สุดก็คือ “ความทุกข์”


A Cup of

220 เปสโลภิกขุ


Wisdom


เดือนเมษายนปี พ.ศ. 2554 ข้าพเจ้าและคุณแม่มีโอกาสเดินทาง ไปท�ำบุญที่วัดป่าอภัยคีรี เป็นเหตุให้ได้กราบเรียนถามสารทุกข์ สุกดิบของท่านเปสโลภิกขุ ซึ่งเป็นพระไทยเพียงรูปเดียวภายในวัด พร้อมกันนั้น ข้าพเจ้าก็ได้กราบเรียนถามถึงความเป็นไปได้ในการ เดินทางไปเยือนมลรัฐวอชิงตันด้านตะวันออกของท่าน ซึ่งท่านก็ มีท่าทีสนใจอยู่บ้าง ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านได้มาเห็นภูมิประเทศ แถบนี้และบันทึกภาพเก็บไว้ จึงโฆษณาอย่างหยาดเยิ้มด้วยการ หยอดชื่อ Yellow Stone National Park อันโด่งดัง ซึ่งข้าพเจ้าคิด ว่าคงจะมีนกั ศึกษาพาท่านไปได้ เพราะอยูไ่ ม่ไกลจากท�ำเลทีต่ งั้ ของ มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งที่พวกเราใช้ชีวิตกันอยู่คือ Washington State University เมือง Pullman และ University of Idaho เมือง Moscow ซึง่ เมืองทัง้ สองนีจ้ ดั ว่าเป็นฝาแฝด เนือ่ งจากห่างกันเพียง 10 กิโลเมตร หลังจากได้รับอนุญาตจากคณะสงฆ์วัดป่าอภัยคีรี ก็ได้มีการปรึกษาหารือถึงแผนการเดินทางของท่านเปสโลภิกขุ โดยมีสมาคมนักเรียนไทยแห่ง WSU และ UI เป็นเจ้าภาพ เมื่อวันหยุดภาคฤดูร้อนผ่านไปและมหาวิทยาลัยเพิ่งเปิดเรียนได้ เพียงสองสัปดาห์ ก็ได้ฤกษ์การมาถึงของท่านเปสโลภิกขุใน สัปดาห์แรกของเดือนกันยายน ท่านนั่งเครื่องบินล�ำใหญ่มาต่อ ล�ำจิ๋วที่ Seatle จากนั้นก็เหินฟ้าสู่ท่าอากาศยานอันเวิ้งว้างที่ชื่อ Pullman-Moscow Regional Airport ซึ่งคงท�ำให้ท่านเกิดความ สงสัยขึ้นมาว่า ข้าต่อเครื่องบินมาผิดหรือเปล่าหว่า? เพราะเหมือน ถูกน�ำมาปล่อยทิ้ง No man’s land!! 222


เนื่องจากภูมิภาคแถบนี้แล้งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ดัง เพื่อนของข้าพเจ้าคนหนึ่งเคยให้ความเห็นว่าเป็น Cultural Wasteland เนื่องจากผู้คนที่นี่แทบจะไม่มีโอกาสรู้จักพุทธศาสนา หรือพบพระสงฆ์ ข้าพเจ้าจึงพยายามจัดตารางการมาเยือนของ ท่านเปสโลภิกขุ ให้มีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ ผู้ที่สนใจพุทธศาสนาได้มาสนทนาธรรมต่างกรรมต่างวาระ ส่วน อีกเป้าหมายหนึ่งที่ตั้งใจไว้แต่แรก ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เพิกเฉย นั่นก็ คือการให้ท่านได้มีโอกาสบันทึกภาพธรรมชาติของดินแดนแห่งนี้ อันที่จริงแล้วในขั้นต้นท่านเปสโลภิกขุไม่สู้จะตื่นเต้นนัก แต่ถึงกับ อยากปฏิเสธเสียด้วยซ�้ำเพราะท่านเกรงว่าจะเกิดความผิดพลาด ในการสื่อสารกับกลุ่มชาวพุทธอเมริกัน ข้าพเจ้าเห็นท่าไม่ดีจึง หลุดปากออกไปว่ายินดีจะช่วยเป็นล่ามให้อย่างเต็มใจ (พอเอา เข้าจริงก็เต็มกลืน เพราะการแปลภาษาธรรมไม่ใช่เรื่องง่ายเลย) ในที่สุดท่านเปสโลภิกขุก็พร้อมลุย! ท่านเมตตาน�ำกลุ่มชาวพุทธ ท้องถิ่นที่ชื่อ Palouse Meditation Group จ�ำนวน 25-30 คน นั่งสมาธิ เดินจงกรม ไขปัญหาธรรม และปิดท้ายด้วยการรับ ภัตตาหาร นับเป็นความประทับใจและการปลูกศรัทธาให้แก่ พวกเรา ท่ามกลางเนินข้าวสาลีอันกว้างใหญ่ไพศาล นอกจากนี้ชาวไทยกลุ่มน้อยๆประมาณสิบกว่าคนก็ได้รับความ เมตตาจากท่านเปสโลภิกขุ ในท่วงท�ำนองเดียวกับชาวอเมริกัน ซึ่งน�ำความอิ่มบุญอิ่มใจมาสู่พวกเราอย่างล้นเหลือ ระหว่างที่ท่าน 223


เปสโลภิกขุพ�ำนักอยู่กับพวกเรา คณาจารย์และตัวแทนนักศึกษา จาก WSU และ UI ก็ได้น�ำท่านทัศนศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ทั้งสองแห่งและอีกหลากหลายทิวทัศน์ในบริเวณใกล้เคียง มีเพียง สถานที่แห่งเดียวเท่านั้นที่ท่านไม่ได้ไปเยือนตามค�ำโฆษณา ของข้าพเจ้า นั่นก็คืออุทยานแห่งชาติ Yellowstone ต้องกราบ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ เมือ่ ถึงก�ำหนดเวลาทีท่ า่ นเปสโลภิกขุตอ้ งเดินทางกลับแคลิฟอร์เนีย คุณแม่และน้องๆชาวไทยที่ได้อุปัฏฐากท่านก็รู้สึกใจหาย กราบ ขอบพระคุณคณะสงฆ์วัดป่าอภัยคีรีที่เมตตาอนุญาตให้ท่าน เปสโลภิกขุเป็นตัวแทนมาเยี่ยมเยียนพวกเรา นับเป็นสิ่งล�้ำค่าและ ความทรงจ�ำอันงดงามที่ไม่อาจลืมเลือน ศ.ดร.ภัทริยา ศิลปกิจ  ตันสุหัช ภาคการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวอชิงตันสเตท เมืองพูลแมน มลรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

224


There is no trouble so great or grave that cannot be much diminished by a nice cup of tea. Bernard-Paul Heroux 1900’s Basque philosopher

There is no trouble so great or grave that cannot be much diminished by a nice cup of wisdom. Pesalo Bhikkhu 2555 Thai Forest Monk

225


ธรรมชาติของกรรม แสดงเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2553 ณ ธรรมศาลา วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย



.. ช่วงนี้ท่านพระอาจารย์เจ้าอาวาสเดินทางไปเมืองไทย จู่ๆพระ เถระที่อยู่รักษาการก็บอกให้ข้าฯแสดงพระธรรมเทศนา โปรด ญาติโยมในช่วงเย็นของวันพระ ด้วยเหตุที่เป็นการแสดงธรรม ชนิดยาวกว่าครึ่งชั่วโมง และข้าฯก็ไม่สันทัดที่จะใช้ภาษาอเมริกัน จึงจ�ำเป็นอยู่เองที่จะต้องใช้ภาษาถนัด แล้วให้พระฝรั่งที่เคย อยู่เมืองไทยหลายปีช่วยแปลอีกที .. ก่อนอื่นต้องขออภัยไว้ก่อน เพราะอาตมาและญาติโยมที่อยู่ใน ที่นี้มาจากต่างวัฒนธรรม ค�ำพูดบางอย่างหรือเรื่องบางเรื่องที่เป็น สิ่งปรกติธรรมดาในวัฒนธรรมไทย อาจจะเป็นสิ่งผิดปรกติหรือ แปลกประหลาดส�ำหรับวัฒนธรรมอเมริกัน วันนี้อาตมาจะแสดง ธรรมเกี่ยวกับเรื่องกรรม อาตมาไม่รู้ว่าชาวอเมริกันคิดอย่างไรกับ เรื่องนี้ แต่ส�ำหรับคนไทยหรือเด็กไทยแล้ว กรรมเป็นเรื่องน่ากลัว ทั้งๆที่ความหมายก็ไม่ได้น่ากลัวเพราะเป็นค�ำกลางๆที่แปลว่า การกระท�ำประกอบด้วยเจตนา เด็กๆตามบ้านนอกรุ่นเดียวกับ อาตมาแทบจะไม่มีใครสงสัยเรื่องนรกสวรรค์ เพราะทุกคนเชื่อว่า มันมีอยู่จริงๆ แต่ส�ำหรับเด็กอเมริกันคงจะแตกต่าง พระฝรั่งเล่า ให้ฟงั ว่าท่านไปร่วมงาน Family Retreat ที่ Spirit Rock Meditation Center มีเด็กอายุประมาณแปดขวบคนหนึ่งมาถามว่า คุณเชื่อ 228


เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดหรือเปล่า? .. คุณตาของอาตมาเคยบวชเป็นพระเจ็ดพรรษา หลังจากลาสิกขา แล้วก็ยงั มีนสิ ยั ของพระติดมาทีบ่ า้ นด้วย ปรกติผชู้ ายจะยืนปัสสาวะ แต่คุณตาของอาตมาจะนั่งปัสสาวะ ซึ่งอาตมาเห็นว่าแปลกกว่า ผู้ชายทั่วไป แต่ก็ไม่เคยถามคุณตาว่าท�ำไมจึงท�ำอย่างนั้น จน กระทัง่ ได้มาบวชจึงรูว้ า่ การนัง่ ปัสสาวะมีอยูใ่ นวินยั ของพระ เรียกว่า เสขิยวัตรซึ่งหมายถึงข้อปฏิบัติที่ท�ำให้งาม ช่วงกลางคืนคุณตา ของอาตมาจะชอบฟังรายการวิทยุรายการหนึ่งชื่อว่า รายการกฏ แห่งกรรม เรื่องที่น�ำมาเล่าในรายการค่อนข้างน่ากลัวส�ำหรับเด็ก แต่อาตมาก็ฟงั เกือบทุกวัน เพราะคุณตาเปิดวิทยุเสียงดังท�ำให้ได้ยนิ กันทั้งบ้าน เรื่องในรายการก็อย่างเช่น มีผู้ชายคนหนึ่งเป็นเจ้าของ โรงงานผลิตสุรา หลังจากโรงงานปิดกิจการ ผู้ชายคนนี้จะกินข้าว หรืออาหารอย่างอื่นไม่ได้เลย ถ้าฝืนกินเข้าไปจะอาเจียน สิ่งเดียว ที่ท�ำให้เขามีชีวิตอยู่รอดมาได้ก็คือเหล้า เขาต้องดื่มเหล้าเพียง อย่างเดียวอยู่เป็นเวลานานกว่ายี่สิบปีจึงสิ้นชีวิต นี่เป็นผลกรรมที่ เกิดจากการท�ำให้ผู้คนเป็นจ�ำนวนมากมึนเมา ยกตัวอย่างอีกสัก เรื่องหนึ่ง มีผู้ชายคนหนึ่งท�ำหน้าที่ดูแลเงินของวัด ภายหลังเกิด ความโลภโกงเงินของวัด ต่อมาภรรยาของเขาก็คลุ้มคลั่ง ลูกชาย ถูกฟ้าผ่าตาย ลูกสาวหนีตามผู้ชาย ตัวเขาเองก็กลายเป็นคนป�้ำๆ เป๋อๆ ตกกลางคืนจะร้องโหยหวนน่ากลัวแล้วก็กนิ อุจจาระของตัวเอง 229


.. ตอนที่อาตมายังเป็นเด็ก มีบ้านของเพื่อนคนหนึ่งอยู่ใกล้กัน ครอบครัวนี้จะเขากินอาหารมังสวิรัติ ซึ่งเมื่อ 25 ปีที่แล้วเป็นเรื่อง แปลกส�ำหรับคนไทย คืนหนึ่งที่บ้านนี้เขาฉายสไลด์ เป็นเรื่องเกี่ยว กับผู้ชายคนหนึ่งที่ท�ำงานอยู่ในโรงงานฆ่าสัตว์ ผู้ชายคนนี้ฆ่าหมู มาเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่งวันหนึ่งเขาป่วยเป็นมะเร็ง บริเวณใบหน้า ก้อนมะเร็งท�ำให้ใบหน้าของเขาปูดบวมและเริ่ม เน่า เลือดและน�้ำเหลืองไหลเยิ้มน่าสะอิดสะเอียน แล้วใบหน้า ของเขาก็ค่อยๆเปลี่ยนเป็นใบหน้าของหมู ไม่ใช่หมูสีชมพูน่ารัก แบบ Piglet ในการ์ตูน Winnie The Pooh แต่เป็นหมูที่น่าเกลียด น่ากลัว และในสมัยนั้นก็ยังไม่มีโฟโต้ชอป เรื่องราวเหล่านี้จะฝัง อยู่ในใจของเด็ก ซึ่งมันท�ำให้เด็กที่เติบโตมาในบรรยากาศแบบนี้ กลัวบาปกรรม และถ้าพวกเราไปเล่นที่วัดก็จะเห็นภาพวาด หรือ โปสเตอร์น่ากลัวเกี่ยวกับเปรตหรือนรก .. ประมาณหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ที่เมืองไทยมีข่าวใหญ่เกี่ยวกับการ ท�ำแท้ง ตามข่าวบอกว่าพบศพเด็กทีเ่ สียชีวติ จากการท�ำแท้งหลาย พันศพ จากนั้นก็มีพระออกมาให้ความเห็นผ่านสื่อว่า การท�ำแท้ง เป็นการฆ่าคน เป็นบาปมหันต์ ตายไปจะต้องตกนรก คนรุ่นใหม่ เขาก็ถามว่า นรกมีจริงเหรอ? ชาติหน้ามีจริงเหรอ? ท่านรู้ได้ยังไง? 230


ท่านเคยไปเห็นมาเหรอ? เราก็ต้องหาวิธีอธิบายให้เขาฟัง ถ้าจะ อธิบายนรกให้คนรุ่นใหม่ฟัง วิธีที่ดีก็คือการพูดถึงสภาวะของ ความทุกข์ทบี่ บี คัน้ ให้จติ ใจเร่าร้อนกระวนกระวาย เพือ่ ให้เขาตรวจ สอบกับประสบการณ์ตรงของเขาเอง ตัวอย่างเช่นคนที่ต้องการ ท�ำแท้ง ก่อนจะท�ำก็ตกนรกเพราะมันร้อนใจ กลัวพ่อแม่จะรู้ กลัว เพื่อนจะรู้ กลัวคนอื่นจะรู้ หรือกลัวความเจ็บปวดขณะท�ำแท้ง ระหว่างท�ำแท้งก็ตกนรก เพราะได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ทางร่างกาย หลังจากท�ำแท้งก็ตกนรก เพราะเกิดความเศร้าหมอง ในจิตใจ เมื่อระลึกถึงสิ่งที่ตนได้กระท�ำลงไป นี่เป็นวิธีที่ใช้อธิบาย นรกให้คนรุ่นใหม่เข้าใจ .. แต่มันก็แปลกเหมือนกัน มีพระฝรั่งรูปหนึ่งที่วัดป่านานาชาติ ตอน เป็นสามเณรเขาก็เชื่ออย่างที่อาตมาอธิบายไปเมื่อสักครู่ ถ้าเป็น ส�ำนวนไทยก็จะพูดว่า “สวรรค์อยูใ่ นอก นรกอยูใ่ นใจ” คือทัง้ สวรรค์ และนรกเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ พระอาจารย์เห็นว่าแม้ สามเณรจะไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ในพระสูตร แต่สามเณรก็มีข้อวัตรปฏิบัติดี มีความตั้งใจดี พระ อาจารย์จึงอนุญาตให้สามเณรฝรั่งรูปนี้บวชเป็นพระได้ แต่หลัง จากบวชปฏิบัติธรรมผ่านไปหลายพรรษา พระฝรั่งรูปนี้กลับเชื่อว่า นรกและสวรรค์เป็นดินแดนที่มีอยู่จริง 231


.. เรือ่ งนีแ้ สดงให้เห็นว่าความเชือ่ ของคนมีววิ ฒ ั นาการ ขอยกตัวอย่าง จากพุทธประวัติมาเพื่อการพิจารณาร่วมกันสักเรื่องหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ มีคนสงสัยกันมาก นัน่ ก็คอื เรือ่ งทีพ่ ระโพธิสตั ว์คอื เจ้าชายสิทธิธตั ถะ เมื่อแรกประสูติ ท่านสามารถเดินได้เจ็ดก้าว มีคนสงสัยกันมากว่า มันเป็นไปได้จริงๆเหรอ? จากการสังเกตแบบคร่าวๆของอาตมา ก็พอจะสรุปได้ว่า ความเชื่อของคนมีอยู่สามระดับ ระดับที่หนึ่ง เรียกว่าความเชื่อระดับชาวบ้าน เขาจะมองว่าเรื่องนี้เป็นอภินิหาร เป็นเรื่องของผู้วิเศษหรือผู้มีความศักดิ์สิทธิ์ ระดับที่สองเรียกว่า ความเชือ่ ระดับนักศึกษา เขาจะมองเป็นเรือ่ งอุปมาอุปไมยว่า ทารก ผู้นี้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า และจะสามารถเผยแผ่ พระพุทธศาสนาไปได้เจ็ดแคว้นใหญ่ในชมพูทวีป ระดับที่สาม เรียกว่าความเชื่อระดับนักปฏิบัติธรรม ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติ ธรรมมาเป็นเวลานานไม่ตำ�่ กว่าสามสิบหรือสีส่ บิ พรรษา ท่านเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วตรวจดูประสบการณ์ของตัวเอง เท่าทีอ่ าตมา เคยได้ยินได้ฟังจากค�ำบอกเล่าของท่านโดยตรง ครูบาอาจารย์ใน ระดับนี้ล้วนมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง เป็นความพิเศษ เป็นบารมีเฉพาะตัวของผู้ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระ สัมมาพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นของสาธารณะหรือเกิดขึน้ กับคนทัว่ ไป แต่ต้องเป็นผู้ที่สั่งสมบารมีมายาวนาน ความเชื่อในระดับที่สามนี้ ไม่ใช่ความเชือ่ แบบขลังศักดิส์ ทิ ธิข์ องชาวบ้าน ไม่ใช่ความเชือ่ แบบ อุปมาอุปไมยของนักศึกษา แต่เป็นความเชื่อที่มีวิวัฒนาการ มี 232


เหตุผลรองรับ มีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติสนับสนุน มีเรื่อง แปลกอยู่เรื่องหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ลูกศิษย์ของ วัดป่าอภัยคีรีคนหนึ่งซึ่งมีอาชีพพยาบาล ประสบเหตุการณ์นี้ด้วย ตนเองแล้วน�ำมาเล่าให้พระฟัง เรื่องมีอยู่ว่าตัวเธอเองและทีม แพทย์ได้ท�ำคลอดให้กับผู้หญิงคนหนึ่ง ทันทีที่ทารกคลอดออกมา จากมดลูกก็อุทานว่า Oh, no! Not again! (โธ่เอ้ย! เอาอีกแล้ว!) ที่ทารกอุทานแบบนี้อาจจะเป็นเพราะเขาเห็นว่า ชีวิตของมนุษย์ เต็มไปด้วยความทุกข์ นี่เราต้องเกิดมาผจญกับความทุกข์อีกแล้ว หรือนี่! .. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องกรรมไว้อย่างพิสดารในมหา กัมมวิภังคสูตร เรื่องหนึ่งที่สะดุดใจอาตมาก็คือ มีคนเป็นจ�ำนวน มากสงสัยกันว่า ท�ำไมผู้ที่ก่อกรรมท�ำชั่วไว้มากจึงได้รับผลดีใน ชาติปจั จุบนั ? ในมหากัมมวิภังคสูตรอธิบายเรื่องนีไ้ ว้วา่ เป็นเพราะ บุญที่เขาเคยท�ำไว้ในอดีตตามมาให้ผล อีกค�ำถามหนึ่งก็คือ ท�ำไม ผู้ที่บ�ำเพ็ญคุณงามความดีไว้มากมายจึงได้รับผลตรงกันข้าม? ค�ำอธิบายก็เป็นไปในแนวเดียวกันว่า เป็นเพราะบาปในอดีตที่เขา เคยท�ำไว้ตามมาให้ผล อุปมาเหมือนสุนัขไล่ตามกวาง ถ้าสุนัขไล่ ทันก็จะกระโดดเข้าขย�้ำกวางตัวนั้น แต่ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วที่ บุคคลกระท�ำในปัจจุบัน ก็ยังรอที่จะให้ผลในโอกาสต่อๆไป 233


.. ที่อาตมาแสดงมาทั้งหมดในคืนนี้ ทั้งเรื่องชาตินี้ชาติหน้าหรือเรื่อง นรกสวรรค์ไม่ว่าในแง่มุมใด ใครจะเชื่อก็ได้หรือจะไม่เชื่อก็ได้ เรื่อง เชื่อหรือไม่เชื่อนี่เอาไว้ก่อน แต่ขอให้เราปฏิบัติธรรมกันไปเรื่อยๆ เจริญศีล สมาธิ ปัญญา กันไปเรื่อยๆ ถ้าอุปมาก็คงจะประมาณว่า อาตมายืน่ ขนมคุก้ กีโ้ ฮมเมดให้แก่ทกุ คนแล้วบอกว่า ขนมนีอ้ าตมา ชิมแล้วอร่อยมาก ในห้องนี้จะมีคนอยู่สี่ประเภทคือ ประเภทที่หนึ่ง คือคนที่เชื่อว่าขนมอร่อยแต่ไม่กิน ประเภทที่สองคือคนที่เชื่อว่า ขนมอร่อยแล้วก็รับไปกิน ประเภทที่สามคือคนที่ทั้งไม่เชื่อว่าขนม อร่อย แล้วก็ไม่กินด้วย ประเภทที่สี่คือคนที่ไม่เชื่อว่าขนมอร่อยแต่ ก็ยังรับไปกิน ที่อุปมาแบบนี้ก็เพื่อให้เห็นว่า คนที่กินขนมเท่านั้นจึง มีสทิ ธิทจี่ ะรูไ้ ด้วา่ มันอร่อยหรือไม่อร่อย ส�ำหรับคืนนีอ้ าตมาขอฝาก ข้อคิดทางธรรมะไว้แต่เพียงเท่านี้ .. เช้าวันถัดมาพระฝรั่งรูปหนึ่งบอกข้าฯว่า การท�ำแท้งเป็นเรื่อง อ่อนไหวส�ำหรับชาวอเมริกัน ซึ่งส่วนใหญ่เขาจะมองว่า “ชาวพุทธ ควรมีเมตตาด้วยการให้คนที่ต้องการท�ำแท้ง พิจารณาเอาเองว่า จะตัดสินใจอย่างไร การไปบอกคนทีต่ อ้ งการท�ำแท้งว่าการท�ำแท้ง เป็นบาป เป็นสิ่งที่ไม่สมควรส�ำหรับชาวพุทธ” แม้ข้าฯเพิ่งจะได้ รับรู้มุมมองแบบนี้เป็นครั้งแรกแต่ก็ไม่ถึงกับอึ้ง ข้าฯพิจารณา 234


สืบไปว่า ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ได้ขึ้นต่อวัฒนธรรม การท�ำลายชีวิตไม่ว่าในพื้นที่ส่วนใดของโลกย่อมได้ชื่อว่า เป็น ผู้เบียดเบียนทั้งตัวเองและผู้อื่น ส่วนเรื่องนรกสวรรค์อนาคาริก ฝรั่งบอกว่ามันเป็น Superstition หรือเรื่องเหลวไหลงมงายเหมือน แซนตาคลอส หรือเทพนิยายที่เอาไว้หลอกเด็กให้กลัวบาปหรือ ท�ำความดี ข้าฯเสนอแก่อนาคาริกผู้นั้นว่า เราไม่สามารถอธิบาย นรกหรือสวรรค์ ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็จริง แต่เราก็ สามารถอธิบายได้ด้วยวิธีอื่น ก่อนฉันเพลคุณยายฝรั่งคนหนึ่งเดิน มาบอกข้าฯว่า Thank you for your Dhamma talk last night, it was lovely.

235


พุทธศาสนาต่างวัฒนธรรม แสดงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ณ ธรรมศาลา วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย



.. Good evening all good friends in Dhamma. Today I will give a talk in Thai. I can speak English but with only basic vocabulary. To give a talk in English is still difficult for me. Today a woman from Bangkok will help to translate from Thai to English. .. วันนี้อาตมาจะพูดธรรมะในหัวข้อพุทธศาสนากับวัฒนธรรม อาตมามาอยู่ที่อเมริกาประมาณหนึ่งปีครึ่ง แต่บอกตามตรงว่า ยังไม่ค่อยรู้นิสัยของชาวอเมริกันดีนัก การจะสอนธรรมะให้ได้ผล จะต้องรู้นิสัยของกันและกัน ซึ่งต้องอาศัยการอยู่ร่วมกันนานๆ แต่วันนี้ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนรสชาติของอาหารก็แล้วกัน เรา กินพิซซ่ากันมาหลายวันแล้ว ลองเปลี่ยนมากินอาหารไทยดูบ้าง แต่อาหารไทยรสเผ็ดนะ .. ประมาณ 2-3 วันที่แล้วพระสองรูปจากวัดป่าอภัยคีรีเพิ่งเดินทาง ไปถึงประเทศไทย ทางวัดป่าอภัยคีรีจะส่งพระไปศึกษาไปสัมผัส พุทธศาสนาในประเทศทีเ่ ป็นเมืองพุทธเช่นประเทศไทยเป็นประจ�ำ 238


เพือ่ ให้ทดลองดูวา่ จะเกิดความรูส้ กึ นึกคิดอย่างไรบ้าง  ก็คงคล้ายๆ กับอาตมาทีม่ าอยูท่ นี่  ี่ มันก็จะมีความรูส้ กึ ความคิดเห็นหลายอย่าง ที่แปลกออกไป พระป่าในประเทศไทยจะมีนิสัยอย่างหนึ่งคล้ายๆ กันคือเราจะกลัวญาติโยม ถ้าเห็นโยมเราจะพยายามหลบ เรา จะไม่ได้พูดคุยกับโยมมากนัก เมื่ออาตมามาถึงอเมริกาใหม่ๆ มี ผู้หญิงวัยรุ่นมาที่วัดแล้วโบกมือทักทายพร้อม Say hi! อาตมา เขินมาก ต้องรีบก้มหน้าเดินหลีกไป อันนี้เป็นนิสัยทั่วๆไปของ พระป่าที่เมืองไทย ซึ่งพระกับโยมผู้หญิงจะไม่ค่อยมีโอกาสได้ พบปะพูดคุยกัน เพราะเราถูกสอนมาอย่างนั้น พระอาจารย์จะ สอนมาตั้งแต่เป็นสามเณรว่า ถ้าเห็นญาติโยมมาที่วัดให้พยายาม หลบ อย่าไปคุยกับเขามาก แม้แต่ครูบาอาจารย์ที่อยู่ร่วมยุคกับ หลวงปู่ชาก็เล่าให้ฟังว่า ถ้ามีญาติโยมมาที่วัดเป็นจ�ำนวนมาก หลวงปู่ชาจะไล่พระเณรให้กลับไปเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิที่กุฏิ ท่านบอกว่าหน้าที่รับแขกเป็นเรื่องของผม ไม่ใช่เรื่องของพวกท่าน เรื่องของพวกท่านคือการภาวนา .. พุทธศาสนาเถรวาทตั้งมั่นอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลานานกว่า 800 ปี แต่พุทธศาสนาเถรวาทเพิ่งเข้ามาสู่อเมริกา เมื่อประมาณ 30 กว่าปีมานี้เอง ถือว่ายังเป็นของใหม่ส�ำหรับชาวอเมริกัน ส่วน พุทธศาสนาฝ่ายธิเบตเข้ามาสู่อเมริกาเมื่อประมาณ 50 ปี ฝ่ายเซน เข้ามาก่อนคือประมาณ 100 ปี พุทธศาสนามีจุดเริ่มต้นที่อินเดีย 239


วัฒนธรรมของอินเดียกับวัฒนธรรมของไทยค่อนข้างใกล้เคียงกัน ฤดูกาลก็ใกล้เคียงกัน การน�ำหลักการทางพุทธศาสนามาปฏิบัติ จึงเข้ากันได้ง่าย เพราะวิถีชีวิตความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน แต่เมื่อ พุทธศาสนามาสู่อเมริกา วัฒนธรรมและฤดูกาลซึ่งเป็นตัวก�ำหนด วิถชี วี ติ และทัศนคติของผูค้ นมีความแตกต่างจากอินเดียอย่างมาก การประพฤติปฏิบัติทางพุทธศาสนาจึงล�ำบากกว่า .. ก่อนอืน่ เราควรท�ำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่าพุทธศาสนาเถรวาท คืออะไร เพราะการปฏิบตั พิ ระธรรมวินยั ของคณะสงฆ์วดั ป่าอภัยคีรี เป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีของเถรวาท ถ้าถามพระป่าที่ เมืองไทยถึงความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาเถรวาท เซน ธิเบต ศรีลังกา พม่า หรือมหายาน คงจะมีน้อยท่านที่สามารถอธิบายได้ แต่ถ้าถามถึงการปฏิบัติธรรมท่านจะสามารถอธิบายได้ ท่านจะ รู้วิธีปฏิบัติเพื่อให้จิตใจของตัวเองพ้นจากความทุกข์ คือท่านรู้ พุทธศาสนาในแนวลึก แต่ทา่ นไม่ได้ศกึ ษาพุทธศาสนาในแนวกว้าง หรือพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก ซึง่ ถ้าจะว่าไปแล้วส�ำหรับพระป่า ในเมืองไทย มันก็ไม่มีความจ�ำเป็นมากนักที่จะต้องศึกษาเรื่อง เหล่านี้ เพราะมันเป็นเพียงความสนใจเฉพาะบุคคล เมื่อเราอยู่ กับครูบาอาจารย์ท่านพาท�ำอะไรเราก็ท�ำตามท่าน ในส่วนของ พระวินัยเราก็อาศัยหนังสือบุพพสิกขาวรรณนา ซึ่งแม้จะเรียบ เรียงขึ้นตั้งแต่ 100 ปีที่แล้ว แต่หลักการใหญ่ๆก็ยังคงอยู่ให้เราได้ 240


ศึกษา และเมื่อมีข้อสงสัยที่เกิดจากประสบการณ์ตรง เราก็สอบ ถามเพิ่มเติมจากครูบาอาจารย์ ซึ่งครูบาอาจารย์ที่ท่านมั่นคงใน พระศาสนาให้เราได้พึ่งพาอาศัยเป็นหลักใจอยู่ทุกวันนี้ ท่านก็ เติบโตมาด้วยวิธีนี้เหมือนกัน ข้อดีก็คือความลังเลสงสัยความ ฟุ้งซ่านร�ำคาญมันน้อย ส่งผลให้การปฏิบัติได้ผลเร็ว แต่ในการ ท�ำงานเผยแพร่อาจจะไม่ร่วมสมัยหรือถูกใจคนรุ่นใหม่ ซึ่งถ้า พระรูปใดต้องการจะท�ำจุดนี้ให้ได้ผล ก็ต้องรู้จักพุทธศาสนาใน แนวกว้าง ต้องติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของพุทธศาสนา ในโลกปัจจุบัน สรุปได้ว่าความรู้ในทางพุทธศาสนามีทั้งแนวกว้าง และแนวลึก .. เมื่ออาตมามาอยู่อเมริกาจะมีแรกผลักดันหลายอย่างที่ท�ำให้ ต้องศึกษาพุทธศาสนาในแนวกว้าง บรรยากาศในการอยู่ร่วมกับ คณะสงฆ์ที่นี่ก็ต่างจากที่เมืองไทย บางท่านก็เคยศึกษามาจากวัด จีน พม่า เวียดนาม ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งอินเดียนแดง เมื่อมาอยู่ ร่วมกันจึงเกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเท ซึ่งบางอย่างมันท�ำให้ อาตมาเกิดค�ำถามว่า เรื่องนี้มันจริงหรือเปล่า? เช่นพระชาว อเมริกันท่านหนึ่งบอกว่า “พระมหายานที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็เป็นพระเหมือนกัน พระเถรวาทที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็เป็นพระ เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหมือนกัน ย่อม สามารถท�ำสังฆกรรมเช่นการอุปสมบทร่วมกันได้ เราไม่ได้คดิ แคบๆ 241


เหมือนพระที่เมืองไทย” เมื่อได้ยินแบบนี้มันก็ท�ำให้อาตมาเกิด ความสงสัย เพราะพระหรือแม้กระทั่งญาติโยมที่เมืองไทย แทบ จะไม่มีใครคิดแบบนี้ สิ่งนี้มันเป็นแรงกระตุ้นให้อาตมาต้องศึกษา ค้นคว้า .. ในครั้งพุทธกาลไม่มีการแบ่งนิกายเป็นเถรวาทหรือมหายาน แต่ จะเรียกค�ำสั่งสอนของพระพุทธองค์ว่า “ธรรมวินัย” แต่หลังจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน มีพระที่บวชเมื่อแก่รูปหนึ่ง ชื่อสุภัททะพูดขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ว่า ดีแล้ว ตอนที่พระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ท่านห้ามนั่นห้ามนี่ ตั้งแต่นี้ต่อไปเราจะ ท�ำอะไรตามใจก็ได้ ในที่ประชุมนั้นมีพระเถระคือพระมหากัสสปะ ท่านเห็นว่ามันจะเป็นอันตรายต่อพระธรรมวินยั หลังจากพระพุทธเจ้า ปรินิพพาน 3 เดือน ท่านจึงเรียกประชุมพระผู้ใหญ่ที่เคยอยู่ร่วม ปฏิบัติกับพระพุทธเจ้าซึ่งล้วนเป็นพระที่มีคุณธรรมสูง เพื่อจะท�ำ การรวบรวมค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ธรรมวินัยได้ตั้งมั่น อยู่ได้นาน เพื่อเป็นประโยชน์แก่กุลบุตรลูกหลานรุ่นต่อๆไป .. ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพานทรงตรัสไว้ว่า ในกาลข้างหน้า ถ้าสิกขาบทเล็กๆน้อยๆข้อใดที่สงฆ์เห็นว่า ไม่เข้ากับยุคสมัยจะ 242


ยกเลิกก็ได้ แต่หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 3 เดือน แล้วมี การประชุมคณะสงฆ์ ในที่ประชุมนั้นถามกันว่าอะไรคือสิกขาบท เล็กๆน้อยๆที่สามารถยกเลิกได้? มีใครได้กราบทูลถามพระพุทธ องค์บา้ ง แต่ในทีป่ ระชุมนัน้ ไม่มผี ใู้ ดเคยทูลถาม แม้แต่พระอานนท์ ซึ่งเป็นพุทธอุปัฏฐาก ถวายงานใกล้ชิดพระพุทธองค์มาตลอดก็ ไม่ได้ทูลถาม พระเถระที่อยู่ในที่นั้นจึงสรุปว่าปัญญาของพวกเรา สู้พระพุทธองค์ไม่ได้ เราไม่สามารถระบุได้ว่าอะไรคือสิกขาบท เล็กๆน้อยๆ  ถ้าเราถอนสิกขาบททีเ่ ห็นว่าเล็กน้อย แต่พระพุทธองค์ ทรงเห็นว่าอันนี้มันไม่เล็กน้อย ถ้าเราท�ำอย่างนั้นก็แสดงว่าเรา ไม่ซื่อตรงต่อพระศาสดาของตัวเอง ชาวบ้านก็จะต�ำหนิได้ว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ไม่นานสาวกก็เพิกถอนพระวินัยเสีย แล้ว ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถรักษาพระวินัยไว้ได้เหมือนครั้งที่ พระศาสดายังทรงพระชนชีพอยู่ พระเถระในที่ประชุมนั้นจึงตกลง กันว่า เราจะไม่ยกเลิกสิกขาบทแม้แต่ข้อเดียว แต่จะสมาทาน ศึกษาในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว การประชุมของพระ เถระในครั้งนี้เรียกว่าการท�ำสังคายนาครั้งที่ 1 อันเป็นที่มาของ พุทธศาสนาเถรวาทซึ่งสืบทอดมาถึงประเทศไทย .. เราพยายามจะรักษาธรรมวินยั นีใ้ ห้ได้มากทีส่ ดุ ดีทสี่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ ซึ่งมันก็คงจะไม่ได้ 100% เหมือนครั้งพุทธกาล  อีกหนึ่งร้อยปี ต่อมาหลังจากการสังคายนาครั้งที่ 1 มีพระกลุ่มหนึ่งเรียกว่า 243


ภิกษุพวกวัชชีบุตรเห็นว่าสิกขาบทบางอย่างปฏิบัติยาก ไม่เข้า กับยุคสมัย จึงเสนอวัตถุสิบประการซึ่งภิกษุสามารถปฏิบัติได้ ซึ่งวัตถุสิบประการที่ว่านี้ไม่ใช่สิ่งที่พระพุ​ุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ตัวอย่างของวัตถุสิบประการเช่น เหล้าที่มีรสอ่อนๆแต่ไม่ถึงกับท�ำ ให้เมาสามารถดื่มได้ พระสามารถรับเงินและทองเป็นของส่วน ตัวได้ แต่พระที่ยังปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอันเดิมที่ได้ประชุมกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินพิ พาน 3 เดือน ท่านไม่เห็นด้วย จึงเป็นเหตุ ให้เกิดพระสงฆ์สองกลุม่ กลุม่ ทีต่ อ้ งการปรับเปลีย่ นสิกขาบทต่างๆ เป็นกลุม่ ใหญ่ จึงเรียกว่ามหาสังฆิกะ ซึง่ ต่อมาพัฒนาเป็นมหายาน แล้วก็เรียกกลุ่มเล็กที่ปฏิบัติตามแบบดั้งเดิมว่าหินยาน โดยให้ค�ำ จ�ำกัดความว่ามหายานหมายถึงยานขนาดใหญ่  สามารถรื้อขน สัตว์ออกจากสังสารวัฏฏ์ได้เป็นจ�ำนวนมาก ส่วนหินยานหมายถึง ยานทีม่ คี ณ ุ ภาพต�ำ่ สามารถรือ้ ขนสัตว์ออกจากห้วงทุกข์ได้จำ� นวน น้อย อันนี้เป็นก�ำเนิดของมหายานกับหินยาน ต่อมาทางฝ่าย หินยานเห็นว่าการเรียกว่าหินยานไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และเป็น การเรียกแบบดูถูกเหยียดหยาม จึงมีการประชุมให้เรียกชื่อใหม่ว่า เถรวาท ซึ่งหมายถึงธรรมวินัยที่ถือเอาตามโอวาทของพระเถระ ที่ได้ประชุมท�ำสังคายนาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพาน 3 เดือน .. เหตุที่อาตมาเล่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพราะอยากจะแบ่งแยกหรือตอกย�้ำ ความแตกต่างระหว่างเถรวาทกับมหายาน แต่ตอ้ งการให้พระภิกษุ 244


สามเณรหรือนักปฏิบัติในสายเถรวาทรู้จุดยืนของตัวเอง รู้ว่าเรา เป็นอะไร เพื่อจะได้เห็นคุณค่าและช่วยกันรักษา ในระยะแรก ที่อาตมามาอยู่ที่นี่ก็ได้ยินค�ำว่า American Buddhism ท�ำให้ เกิดความสงสัยว่ามันคืออะไร อาตมาจึงขอให้พระชาวอเมริกัน ช่วยอธิบาย ซึ่งท่านก็ยกตัวอย่างมาให้ฟังสองเรื่อง ตัวอย่างนี้ ไม่ได้หมายถึงชาวพุทธอเมริกันทั้งหมดแต่เป็นบรรยากาศโดยรวม ตัวอย่างแรกก็คือ เราสามารถปฏิบัติธรรมคนเดียวที่บ้านได้โดย ไม่ต้องอาศัยกลุ่มปฏิบัติธรรม วัด หรือคณะสงฆ์ ตัวอย่างที่สอง ก็คือวัฒธรรมในพุทธศาสนาบางอย่างเป็นของชาวเอเชีย เช่น การเคารพตามล�ำดับอาวุโส เราเป็นชาวอเมริกันไม่ต้องท�ำก็ได้ .. อาตมาจะอธิบายอันแรกก่อน ทีช่ าวพุทธอเมริกนั บอกว่าเราสามารถ ปฏิบัติคนเดียวที่บ้านได้ โดยไม่ต้องอาศัยกลุ่มปฏิบัติธรรม วัด หรือคณะสงฆ์ ข้อนี้ในพระวินัยระบุไว้ชัดเจนว่าพระที่บวชใหม่ จะต้องอยู่กับอุปัชฌาย์หรือครูบาอาจารย์อย่างน้อย 5 ปี ซึ่งไม่ใช่ ระยะเวลาน้อยๆ จะต้องอยู่เพื่อศึกษาว่า การปฏิบัติธรรมเขาท�ำ กันอย่างไร การแก้ไขกิเลส แก้ไขนิวรณ์ กามฉันทะ พยาบาท ความลังเลสงสัย ความฟุ้งซ่านร�ำคาญ ความง่วงเหงาหาวนอน มันมีอบุ ายแก้ไขอย่างไรบ้าง สิง่ เหล่านีต้ อ้ งศึกษาจากครูบาอาจารย์ ที่มีประสบการณ์ตรง ซึ่งท่านจะให้อุบายต่างๆเพื่อน�ำไปฝึกฝน กว่าจะพึ่งตัวเองได้ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปี พระบางรูป 5 ปี 245


ก็ยังไม่โต อาตมาเคยจ�ำพรรษากับพระรูปหนึ่งซึ่งมีพรรษาไล่เลี่ย กันคือประมาณสิบพรรษา เราคุยกันว่าตามพระวินัยเรียกพระที่ บวชสิบพรรษาว่าพระเถระ ซึ่งแปลว่าพระผู้ใหญ่ แต่ท�ำไมเรายัง รู้สึกว่าชีวิตด้านในของเรายังเป็นเด็ก ยังคิดถึงครูบาอาจารย์ ยัง อยากปฏิบัติร่วมกับครูบาอาจารย์ เพื่อให้ท่านอบรมสั่งสอน มีพระ สูตรหนึ่งที่สอดคล้องกับเรื่องนี้ ภิกษุรูปหนึ่งติดตามพระพุทธเจ้า ไปในที่นิมนต์ เส้นทางขากลับผ่านป่าอันรื่นรมย์ ภิกษุรูปนั้นจึงส่ง บาตรให้พระพุทธเจ้าแล้วทูลขออนุญาตไปปฏิบัติธรรมในป่าแห่ง นั้น แต่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าภิกษุรูปนี้ยังไม่พร้อม พระพุทธองค์จึงตรัสว่าอย่าไปเลย เราแก่แล้ว ช่วยถือบาตรไปส่ง เราที่วัดก่อนเถิด แต่ภิกษุรูปนั้นไม่เชื่อฟังจึงเข้าไปปฏิบัติธรรมใน ป่าแล้วก็ถูกนิวรณ์รุมเล่นงาน ทั้งๆที่สถานที่มันเงียบสงบสวยงาม พร้อมทุกอย่าง แต่การปฏิบัติธรรมกลับไม่ได้ผล ในที่สุดก็ต้อง พ่ายแพ้กลับวัด .. ส่วนในข้อสองที่บอกว่าการเคารพผู้ใหญ่เป็นวัฒนธรรมของชาว เอเชีย เราเป็นชาวอเมริกันไม่ต้องท�ำก็ได้ ค�่ำวันนี้เราได้สวดมงคล สูตรไปแล้ว ซึ่งพระสูตรนี้มีที่มาอันน่าสนใจอยู่ว่า ในครั้งพุทธกาล ประชาชนชาวอินเดียสนใจศึกษาหาความรู้ว่า อะไรเป็นความจริง ของชีวติ อะไรเป็นความจริงของโลก อะไรเป็นความจริงของธรรมชาติ ประชาชนจะเชิญนักปราชญ์มาบรรยายเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อยู่ 246


เนืองๆ วันหนึง่ หัวข้อทีถ่ กู หยิบยกขึน้ มาวิพากษ์วจิ ารณ์ในทีป่ ระชุม นั้นก็คือ สิ่งใดจัดว่าเป็นมงคลหรือความเจริญสูงสุดในชีวิตมนุษย์ ความเห็นของบรรดานักปราชญ์และประชาชนที่มาชุมนุมอยู่ใน ที่นั้นแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆได้แก่ กลุ่มแรกบอกว่าสิ่งใดที่ ตาได้เห็นแล้วผู้คนนิยมกันว่าดี สิ่งนี้ถือว่าเป็นมงคล เช่นตื่นเช้า ได้เห็นนกบินอยูใ่ นอากาศ ได้เห็นเด็กแต่งตัวสวยงาม ได้เห็นดอกไม้ บาน ได้เห็นน�้ำเต็มตุ่ม กลุ่มที่สองบอกว่าสิ่งใดที่หูได้ยินแล้วผู้คน นิยมกันว่าดี สิ่งนั้นถือว่าเป็นมงคล เช่นตื่นเช้าได้ยินเสียงนกร้อง ได้ยนิ เสียงเด็กหัวเราะ ได้ยนิ เสียงเพลงทีไ่ พเราะ กลุม่ ทีส่ ามบอกว่า สิ่งใดที่จมูก ลิ้น กายได้สัมผัส แล้วผู้คนนิยมกันว่าดี สิ่งนั้นถือว่า เป็นมงคล เช่นจมูกได้กลิ่นหอมของดอกไม้หรือข้าวที่เพิ่งสุกใหม่ๆ ลิ้นได้ลิ้มรสอาหารอร่อย มือได้สัมผัสพื้นดินอ่อนนุ่ม ประชาชนทั้ง หลายได้ถกเถียงกันในหัวข้อนี้อยู่นานถึง 12 ปี ในพระสูตรแสดง ไว้ว่าเทวดาได้น�ำเรื่องนี้ไปถกเถียงกันด้วย แต่ก็สรุปไม่ได้ว่าสิ่งใด เป็นมงคลอันแท้จริง เป็นเหตุให้เกิดความเดือนร้อนวุ่นวายไปทุก หย่อมหญ้า จนกระทั่งหัวหน้าของเทวดาทนไม่ไหว จึงส่งเทวดา ตนหนึ่งมากราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า สิ่งใดคือมงคล? สิ่งใดคือ ความเจริญสูงสุดของชีวิต? .. พระพุทธองค์จึงทรงแสดงมงคลสูตรทั้ง 38 ประการ หลังจากนั้น ความผาสุกจึงบังเกิดแก่หมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในมงคล 247


38 ประการนี้มีอยู่ข้อหนึ่งคือ “คารโว จ นิวาโต จ” แปลเป็น ภาษาไทยได้ว่าการมีความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตัวไม่เย่อหยิ่ง ใน ภาษาอังกฤษแปลไว้วา่ “Respectfulness and of humble ways”. อาตมาขอถามว่าการเป็นผู้มีความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตัวไม่เย่อ หยิ่ง ถ้าชาวเอเชียท�ำสิ่งนี้แล้วจะเป็นมงคลไหม? ค�ำตอบก็คือเป็น มงคล เป็นความเจริญในชีวติ ถ้าชาวอเมริกนั ท�ำสิง่ นีแ้ ล้วจะเป็นมงคล ไหม? ค�ำถามนี้อาตมาฝากให้ชาวอเมริกันตอบเอาเอง มีตัวอย่าง ประกอบอันหนึ่ง เมื่อวานนี้โยมจากไร่ออร์แกนิกน�ำผักมาถวายที่ โรงครัว เขาพาลูกชายอายุ 4 ขวบมาด้วย ลูกชายของเขาอยาก เดินขึน้ ไปทีศ่ าลาเอนกประสงค์ดา้ นบน ช่วงนัน้ อาตมาก�ำลังจะกลับ กุฏจิ งึ เดินไปพร้อมกับเขา เมือ่ เราเดินไปถึงศาลาอเนกประสงค์เด็ก ก็บอกพ่อว่ากระหายน�้ำ อาตมาจึงหยิบน�้ำดื่มส่งให้เขาหนึ่งขวด ขณะที่อาตมายื่นขวดน�้ำให้เด็กก็นึกถึงตอนที่ตัวเองเป็นเด็ก เมื่อ ผู้ใหญ่ส่งของให้ เราจะยกมือไหว้เพื่อแสดงความเคารพก่อนจึง รับของนั้นมา พ่อแม่ปู่ย่าตายายจะสอนแบบนี้อยู่ตลอด การแสดง ความเคารพในที่นี้หมายถึงเคารพต่อคุณธรรม คือความเมตตา ที่มีอยู่ในผู้ใหญ่ท่านนั้น ท่านเมตตาต่อเด็ก เมตตาต่อเรา เราจึง เคารพในคุณธรรมของท่าน ซึง่ สิง่ นีถ้ อื ว่าเป็นมงคล ถ้าเด็กคนใดลืม ยกมือไหว้ซงึ่ อาจจะเป็นเพราะความดีใจทีจ่ ะได้รบั ของเล่นหรือขนม ผู้ใหญ่ที่ก�ำลังยื่นของให้ก็จะชักมือกลับ แล้วถามว่าต้องท�ำยังไง ก่อน? เมือ่ เด็กยกมือไหว้ผใู้ หญ่จงึ จะส่งของชิน้ นัน้ ให้ ขณะทีอ่ าตมา ก�ำลังส่งขวดน�้ำให้เด็กก็นึกถึงเรื่องนี้ แต่ความคิดหนึ่งก็แทรกขึ้น มาว่าฝรั่งคงไม่ได้สอนลูกแบบนี้ แต่ว่าพ่อของเด็กฝรั่งกลับจับมือ 248


ของเด็กพนมไว้ที่หน้าอกก่อนจะให้เด็กยื่นมือมารับขวดน�้ำ เรื่องนี้ มันชัดเจนทีเดียวว่า พ่อของเด็กฝรัง่ ก็เห็นว่า การแสดงความขอบคุณ หรือการแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ เป็นเรื่องส�ำคัญที่ควรปลูก ฝังในเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ชาวเอเชียหรือชาวอเมริกัน ถ้าเข้าใจ เรื่องธรรมะหรือคุณธรรมเขาจะปฏิบัติเหมือนกัน .. เรื่องนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับความเคารพ ซึ่งมีอยู่ในวัฒนธรรม ไทยมาตลอด พุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทย แทบจะแยกกันไม่ออก เพราะว่าอยู่คู่กันมานานกว่า 800 ปีแล้ว นานจนกลมกลืนกลาย เป็นเรื่องปรกติในชีวิตประจ�ำวัน บ้านในเมืองไทยสมัยก่อนส่วน ใหญ่เป็นพืน้ ไม้ ถ้าเราอยากรูว้ า่ ใครมีนสิ ยั อย่างไรก็สามารถสังเกต ได้จากการเดิน ผู้ที่มีนิสัยอ่อนโยนละเอียดเขาจะเดินเบาๆ ผู้ที่มี นิสัยหยาบกระด้างเขาจะเดินกระแทกส้นเท้า เสียงดังลั่นบ้าน เรา จะถูกสอนว่าให้เดินเบาๆเพราะมันส่อถึงนิสัยและก็รบกวนคนอื่น ด้วย เมื่อมาบวชเป็นพระ มันจึงเป็นเรื่องง่าย เพราะครูบาอาจารย์ จะพร�ำ่ บอกอยูเ่ สมอว่า เมือ่ เราจะเดินเข้าหรือเดินออกจากศาลาให้ ท�ำเหมือนผี ไม่ให้ใครรู้ว่าเราเข้ามาหรือออกไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ซึ่ง เรื่องนี้มันก็ตรงเข้าสู่จิตใจ มันเป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเรา มันท�ำ ให้เราเกิดความระมัดระวังว่าการกระท�ำของเราจะไปกระทบกระทัง่ ผู้อื่น เมื่ออาตมาเป็นวัยรุ่น ถ้ามีเรื่องทะเลาะกับน้องชาย โยมแม่ ก็จะสอนว่าใครหยุดก่อนชนะ ตอนนั้นเราก็คิดว่า หยุดก่อนมันจะ 249


ชนะได้อย่างไร หยุดก่อนมันก็ตอ้ งเป็นฝ่ายแพ้ เราต้องเอาชนะให้ได้ เมือ่ ได้มาบวชจึงเข้าใจทีโ่ ยมแม่บอกว่า ใครหยุดก่อนชนะนัน้ หมายถึง ชนะใจตัวเอง มีส�ำนวนไทยอันหนึ่งคือแพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ถ้าเรายอมแพ้ ใจของเราจะเป็นพระ เป็นผู้ประเสริฐ แต่ถ้าเรา มุ่งมั่นที่จะเอาชนะคนอื่น ใจของเราก็เป็นมาร เป็นผู้ท�ำลาย ท�ำลายตัวเองจากคุณงามความดี แล้วก็ท�ำลายคนอื่นด้วย ในชีวิต ประจ�ำวันของคนไทยจะมีค�ำสอนเหล่านี้อยู่ตลอด ซึ่งก็มีที่มาจาก ธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า .. ช่วงที่อาตมาอยู่ที่นี่มีโอกาสได้ติดตามครูบาอาจารย์ ไปเยี่ยมโยม ที่ป่วยหนัก หรือแวะไปฉันอาหารที่บ้านโยมหลายครั้ง ในบาง บ้านคุณตาป่วยนอนซมอยู่บนเตียง โดยมีคุณยายเพียงคนเดียว ช่วยดูแล หรือบางทีแวะไปบ้านหลังใหญ่ๆก็มีคุณยายอยู่คนเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ บางครัง้ เราไปฉันทีบ่ า้ นของคุณตาคุณยาย ซึ่งอยู่กันเพียงสองคน เขาก็ต้องมาเก็บจานไปล้างในครัว ที่เมือง ไทยเราไม่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน มันก็แปลกดี บางทีบิณฑบาต ผ่านห้างสรรพสินค้า หรือซุปเปอร์มาเก็ตก็จะเห็นคุณตาคุณยาย หิ้วของหนักๆหรือเข็นรถคันใหญ่ๆ เห็นแล้วน่าสงสาร อาตมาก็ เกิดค�ำถามขึ้นมาว่าลูกหลานไปไหน? ท�ำไมไม่มาดูแล? เรื่องการ ดูแลพ่อแม่หรือการดูแลผู้ใหญ่เป็นสิ่งส�ำคัญที่เมืองไทย ถ้าจะ ถามว่ามันเป็นวัฒนธรรมของชาวเอเชียใช่หรือไม่? ค�ำตอบอยู่ใน 250


มงคลสูตรข้อที่ว่า “มาตาปิตุ อุปัฏฐานํ” ภาษาอังกฤษแปลว่า “Providing for mother and father’s support”. อันนี้เป็นค�ำสอน ของพระพุทธเจ้าที่ว่า การดูแลบิดามารดา การดูแลผู้ใหญ่เป็น มงคล เป็นความเจริญแห่งชีวิต ประการหนึ่งก็คือมันแสดงถึงนิสัย ด้วย ผู้ที่ดูแลพ่อแม่ดูแลผู้ใหญ่ เป็นผู้ที่มีความกตัญญู มีความ เมตตากรุณาต่อผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีพระคุณต่อเรา มันแสดงถึง คุณธรรมที่มีอยู่ภายในจิตใจของบุคคลนั้น ซึ่งเรื่องนี้มันก็เข้ามาสู่ ชีวติ ของพระด้วย ทีเ่ มืองไทยการดูแลพระผูใ้ หญ่หรือทีเ่ รียกว่า การ อุปัฏฐากจะซับซ้อนกว่าที่อเมริกา เวลาในแต่ละวันของพระใหม่ ประมาณ 30% จะถวายให้กับการอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ เรา ต้องซักผ้า ล้างเท้า ล้างบาตรให้ครูบาอาจารย์ ช่วงเย็นก็ต้องไป สรงน�้ำให้ท่าน ต้องบีบนวดให้ท่าน มีเรื่องให้ต้องท�ำหลายอย่าง แต่การอุปฏั ฐากครูบาอาจารย์มอี านิสงส์ใหญ่หลวงคือ พระอาจารย์ จะรู้นิสัยของลูกศิษย์ เมื่อรู้นิสัยท่านก็สามารถแนะน�ำได้ตรงจุด เพราะแต่ละคนมีจดุ อ่อนจุดแข็งต่างกัน บางคนต้องพูดแรงๆจึงจะ ได้ผล บางคนชอบอ่อนโยนชอบนุ่มนวล บางคนชอบจู้จี้ต้องบอก สามเวลา เช้า-กลางวัน-เย็น บางคนบอกเพียงเดือนละครั้งก็พอ เมื่อครูบาอาจารย์ให้อุบายตรงกับจริตนิสัย การปฏิบัติมันก็ได้ ผลเร็ว .. มีเหตุการณ์หนึ่งที่ฝังใจของอาตมา ครั้งนั้นอาตมาเพิ่งบวชได้ 251


เพียงสองพรรษา พระอาจารย์ อาตมา และสามเณร ก�ำลังจะออก เดินทางแต่เช้าตรู่ โยมแม่ของอาตมาจึงจัดอาหารถวายโดยฝาก ไปกับคนขับรถ เพราะเราจะแวะฉันภัตตาหารระหว่างทาง วันนั้น โยมแม่ของอาตมาเตรียมข้าวโพดคลุกมะพร้าวไว้หลายถุง เมื่อ เราเดินทางไปถึงสวนสาธารณะแห่งหนึ่งจึงจัดเตรียมบาตรเพื่อ ท�ำภัตกิจ อาตมาเกรงว่าโยมจะลืมข้าวโพดคลุกมะพร้าว คงจะเป็น ธรรมชาติของพระใหม่ที่มักจะคิดถึงแต่เรื่องของกิน เมื่อนึกขึ้นได้ อาตมาจึงบอกโยมที่มาด้วยกันว่า อย่าลืมข้าวโพดคลุกมะพร้าวที่ โยมแม่ของอาตมาเตรียมให้นะ ความตะกละครั้งใหญ่ของอาตมา ไม่อาจรอดพ้นสายตาจากของพระอาจารย์ ขณะที่เราก�ำลังนั่ง เรียงแถวฉันภัตตาหารกันอยู่ในศาลากลางน�้ำ และอาตมาก็ก�ำลัง เอร็ดอร่อย มีสุนัขตัวหนึ่งเดินเข้ามาในศาลา พระอาจารย์ก็ตัก ข้าวโพดคลุกมะพร้าวใส่ลงในบาตรของท่าน และเหลือติดก้นถุงไว้ เพียงเล็กน้อย จากนัน้ ท่านก็วางถุงข้าวโพดคลุกมะพร้าวไว้ดา้ นหน้า สุนขั ตัวนัน้ เดินเข้ามาดมท�ำจมูกฟุดฟิดแล้วเดินจากไป พระอาจารย์ หันมาทางอาตมาแล้วพูดขึ้นว่า “หมามันไม่กินข้าวโพด” อาตมา รู้ทันทีว่าพระอาจารย์สอนเรา ท่านสอนว่าพระต้องเป็นผู้เลี้ยงง่าย อย่าไปจูจ้ เี้ รือ่ งอาหารการกินเพราะเราฉันแค่พอประทังชีวติ  ตัวอย่าง นี้เป็นอานิสงส์ของการได้อยู่ใกล้ชิดครูบาอาจารย์ เหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นเมื่อ 13 ปีที่แล้ว แต่อาตมายังจ�ำได้ชัดเจน ในบางวันที่รู้สึก เบื่ออาหารแล้วเกิดอารมณ์อยากสั่งอันนั้นอันนี้ มันก็จะนึกถึง เรื่องนี้  ซึ่งมันช่วยในการปรับเปลี่ยนนิสัยแย่ๆของเรา 252


.. อาตมาขอถามว่าเรื่องจากมงคลสูตรที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วคือ การอ่อนน้อมถ่อมตัว การเคารพผู้ใหญ่ และการอุปัฏฐากพ่อแม่ หรือครูบาอาจารย์ ถ้าชาวเอเชียปฏิบัติสิ่งนี้จะมีความสุขความ เจริญไหม? ถ้าชาวอเมริกันปฏิบัติสิ่งนี้จะมีความสุขความเจริญ ไหม? ขอฝากให้ตอบกันเอาเอง แต่อาตมาเสนอว่า ในฐานะที่เรา เป็นชาวพุทธ สิ่งใดที่เป็นค�ำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราท�ำไปเลย เราท�ำไปก่อน เมื่อท�ำแล้วก็ตรวจสอบกับตัวเองดูว่า ความสุขมัน เพิม่ ขึน้ ไหม? ความทุกข์มนั ลดลงไหม? อัตตาตัวตนมันลดลงไหม? กิเลสมันลดลงไหม? เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของ พระพุทธศาสนา

253


ความหิว ความอิ่ม แสดงเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554 ณ ไพโอเนียร์เซนเตอร์ เมืองพูลแมน มลรัฐวอชิงตัน



.. ครั้งหนึ่งมีชาวต่างประเทศกราบเรียนถามหลวงพ่อชาด้วยค�ำถาม สามข้อว่า ปฏิบัติท�ำไม? ปฏิบัติอย่างไร? ปฏิบัติแล้วได้อะไร? ท่านตอบด้วยการย้อนถามว่ากินข้าวท�ำไม? กินข้าวอย่างไร? กิน ข้าวแล้วได้อะไร? ชาวต่างประเทศผู้นั้นดูจะไม่พอใจในค�ำตอบ หลวงพ่อจึงอธิบายเพิ่มเติมว่า ร่างกายของเราหิวเราจึงกินข้าว จิตใจของเราหิวเราจึงปฏิบัติธรรมะ เรากินข้าวด้วยการตักข้าว ใส่ปากเคี้ยวแล้วก็กลืน เราน�ำธรรมะใส่เข้าไปในจิตใจด้วยการ บ�ำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อกินข้าวแล้วร่างกายของเราก็อิ่ม เราปฏิบัติธรรมแล้วจิตใจของเราก็เบิกบาน .. ค�ำถามแรก เราจะรูไ้ ด้อย่างไรว่าจิตใจของเราหิว? ช่วงบ่ายอาตมาได้ สนทนากับนักศึกษาฝรัง่ คนหนึง่ ซึง่ มีประสบการณ์คล้ายกับอาตมา คือ เมื่อเป็นนักศึกษาเราไปเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนๆที่สนิทสนมกัน ผูค้ นมากมายในคลับแห่งนัน้ ล้วนแต่งตัวทันสมัย เสียงเพลงเทคโน สนุกสนานเร้าใจ เครื่องดื่มซู่ซ่ารสชาติประหลาดล�้ำ ที่นี่มีทุกอย่าง ที่เป็นความสุขของคนในวัยนั้น แต่แปลกที่เรากลับรู้สึกว้าเหว่ โหวงเหวง เหมือนกับว่าข้างในมันไม่เคยอิ่มสักที นี่เป็นสัญญาณ ว่าจิตใจของเราก�ำลังหิว 256


.. ค�ำถามที่สอง จิตใจของเราจะอิ่มได้อย่างไร? วิธีที่จะท�ำให้จิตใจ ของเราอิ่มตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็คือการบ�ำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา การปฏิบตั เิ กีย่ วกับศีลนัน้ หากปฏิบตั อิ ย่างผูม้ ปี ญ ั ญา จึงจะได้ผลที่ยั่งยืน เช่นศีลข้อแรกคืองดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ผู้มี ปัญญาจะพิจารณาว่าตัวเราเองไม่ต้องการให้ผู้อื่นมาเบียดเบียน สัตว์หรือมนุษย์ทงั้ หลายก็เช่นเดียวกัน เขาก็ไม่อยากถูกเบียดเบียน เมือ่ ผูใ้ ดพิจารณาได้เช่นนีก้ ารปฏิบตั ศิ ลี ของผูน้ นั้ จะไม่ใช่เรือ่ งอึดอัด เพราะไม่ได้เกิดจากการถูกควบคุมบังคับ แต่เกิดจากการพิจารณา เห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง หากผู้ใดมีศีลผู้นั้นก็จะท�ำสมาธิ ได้ง่ายเพราะเขาไม่มีความผิดหรือความหวาดระแวง อันเกิดจาก ความประพฤติบกพร่องของตน สมาธิส่งผลให้จิตเกิดคุณสมบัติ สามประการคือมีพลัง ใส และนิ่ง จิตที่ประกอบด้วยสมาธิเป็น จิตที่สดชื่นฉ�่ำเย็นและควรแก่การงาน สามารถน้อมน�ำให้เกิด ปัญญาและพาไปสู่ความพ้นทุกข์ ซึ่งปัญญาในทางพุทธศาสนา หมายถึงการเห็นความไม่แน่นอนของสิง่ ทัง้ หลาย ในชีวติ ประจ�ำวัน ของเรามีเรื่องราวต่างๆผ่านเข้ามามากมาย ทั้งเรื่องที่ชอบใจและ ไม่ชอบใจ แต่ทั้งสองอย่างนี้ก็ตกอยู่ในกฏของอนิจจังคือความ ไม่แน่นอน มันมีการเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา การทีเ่ ราได้มาเห็น เช่นนี้อย่างชัดเจน จิตก็จะเกิดการปล่อยวาง การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน 257


.. ค�ำถามที่สาม เราจะรู้ได้อย่างไรว่าจิตใจของเราอิ่ม? ในพรรษาที่ สิบของการเป็นพระ อาตมาขออนุญาตจากครูบาอาจารย์ไปจ�ำ พรรษารูปเดียวที่สถานพ�ำนักสงฆ์เล็กๆแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี คืนหนึ่งอาตมานั่งอยู่เพียงล�ำพังในกุฏิมุงจากหลังเล็กๆบนภูเขา ฝนเทลงมาอย่างหนัก อาตมามองจากหน้าต่างกุฏิเห็นแสงไฟ ระยิบระยับในตัวอ�ำเภอโป่งน�ำ้ ร้อน จึงท�ำให้นกึ ถึงเมือ่ ครัง้ ทีต่ วั เอง ยังเป็นนักศึกษา ช่วงเวลานั้นเราอยู่กับผู้คนมากมาย แต่ท�ำไม จึงรู้สึกเหงา วันนี้เราอยู่รูปเดียวในกุฏิแต่กลับมี​ีความสุข และ ไม่รู้สึกว่าต้องการใคร อาการแบบนี้เรียกว่าจิตใจมันอิ่ม ซึ่งเป็น ผลมาจากการปฏิบัติธรรม ภายหลังอาตมาเขียนบทกวีเลียน ฉันทลักษณ์ไฮกุขึ้นมาบทหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวรรคทองที่ พระฝรั่งน�ำมาพูดถึงกันอยู่บ่อยๆ ฉันชอบเมฆฝน ชอบแดดสวย และทุกวันที่มีตัวเองอยู่เป็นเพื่อน I like rain cloud beautiful sunshine and everyday I am a friend to myself 258


sweet


ภาวนาสู่ความใจดี แสดงเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 ณ บ้าน ศ.ดร.ภัทริยา ศิลปกิจ ตันสุหัช เมืองพูลแมน มลรัฐวอชิงตัน



.. ในคืนที่ผ่านมาอาตมาได้พูดถึงเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา แล้วก็มี ปัญหาตามมาว่าอยู่ในเพศฆราวาสจะปฏิบัติได้อย่างไร เพราะ มันช่างยากเย็นเข็ญใจเหลือก�ำลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านทรง เป็นผู้มีพระปัญญาธิคุณ ท่านจึงแบ่งไว้ว่า พระหรือผู้ที่สละเหย้า เรือนออกบวชสามารถปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้เต็มที่ ท่านจึง ให้ปฏิบตั ติ ามแนวทางของศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนคฤหัสถ์ญาติโยม เป็นผู้มีกิจมากมีธุระมาก ท่านจึงให้ปฏิบัติตามแนวทางของทาน ศีล ภาวนา ในเช้าวันนี้อาตมาจะพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ .. อาตมาได้ยินตั้งแต่ก่อนจะเดินทางมาอเมริกาแล้วว่า คนไทยชอบ ท�ำบุญแต่ฝรั่งชอบท�ำสมาธิภาวนา พอได้มาอยู่ที่นี่มันก็เป็นอย่าง นั้นจริงๆ ญาติโยมที่มาท�ำบุญถวายอาหารหรือข้าวของเครื่องใช้ ต่างๆในตอนเช้าส่วนใหญ่จะเป็นคนไทย เมื่อมีการสวดมนต์ เดิน จงกรม นั่งสมาธิ ฟังเทศน์หรือสนทนาธรรมในตอนเย็น ส่วนใหญ่ จะเป็นฝรั่ง แต่ทุกวันนี้ก็ดีขึ้น อาจจะเป็นเพราะต่างฝ่ายต่างก็เป็น ตัวอย่างให้แก่กันและกัน ฝรั่งเห็นคนไทยมาท�ำบุญถวายทานแล้ว หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุขเขาก็อยากท�ำบ้าง คนไทยเห็น ฝรั่งมานัง่ สมาธิกเ็ กิดความอยากรูอ้ ยากเห็นว่าการนัง่ หลับตามันดี อย่างไรก็อยากท�ำบ้าง เรียกว่ามีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน 262


.. หลังจากอาหารเช้าที่วัดป่าอภัยคีรีจะมีการประชุมแบ่งงานกันใน เวลาประมาณ 07:30-08:00 น.จากนั้น เราก็จะแยกย้ายกันไป ท�ำงานตามที่ได้รับมอบหมายจนถึงเวลา 11:00 น. จึงจะเป็นเวลา ส�ำหรับอาหารมื้อหนัก ในบางวันผู้ที่มีหน้าที่ดูแลโรงครัวหรือที่ เรียกว่า Kitchen Manager ก็จะแจ้งว่า วันนี้มี Full Dana ซึ่ง หมายถึงจะมีญาติโยมน�ำอาหารชุดใหญ่มาถวาย เพือ่ ทีท่ างโรงครัว จะได้ไม่ต้องเตรียมอาหารมาก อาจจะหุงข้าว หั่นผักท�ำสลัด จัด ขนมหรือผลไม้นิดหน่อยก็พอ Full Dana นี่ไม่ใช่เฉพาะคนไทย แต่ฝรั่งก็ท�ำเหมือนกัน เหตุที่อาตมารู้ว่าวันนี้เป็น Full Dana ของ ฝรั่ง เพราะอาหารจะเป็นจ�ำพวกพิซซ่ากับสปาเก็ตตี้ เออ! ฉัน ข้าวกับพิซซ่าก็แปลกดีเหมือนกัน (ฮา) เรื่องการท�ำบุญให้ทานนี้ แม้แต่พระฝรัง่ เจ้าถิน่ ก็บอกว่า ถ้าเห็นฝรัง่ มาท�ำบุญแล้วเขาจะดีใจ เพราะฝรัง่ ส่วนใหญ่คดิ ว่าการท�ำสมาธิภาวนา ได้บญ ุ เยอะกว่าการ ให้ทาน เขาจึงเน้นการท�ำสมาธิภาวนามากกว่า แต่อันที่จริงแล้ว การให้ทานมันก็ทำ� ยากเหมือนกัน กว่าจะเสียสละอะไรได้สกั อย่าง .. ต่อมาก็เป็นเรื่องศีล เรามักจะคิดกันว่าศีลเป็นข้อห้าม แต่ถ้าฟัง จากค�ำบาลีที่เราเพิ่งสมาทานไปเมื่อสักครู่นี้ ก็จะเห็นว่าเป็น ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเช่น ปาณาติปาตา เวระมณีสิกขา… 263


สิกขาเป็นภาษาบาลี แต่ถ้าแปลเป็นไทยก็จะได้ค�ำว่าศึกษา มัน หมายความว่าเราจะมาศึกษากันว่าการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผดิ ในกาม พูดโกหก ดืม่ ของมึนเมา มันดีอย่างไร งดเว้นแล้วมันมีคุณอย่างไร ถ้าไม่งดเว้นมันจะให้โทษอย่างไร เราจะมาศึกษากันดู พุทธศาสนาไม่ได้หา้ มแต่เปิดโอกาสให้ทดลอง ศึกษาหรือตรวจสอบด้วยตัวเอง ซึ่งสิ่งนี้มันตรงกับนิสัยของฝรั่งคือ เขาชอบทดลอง อย่างเช่นมีพระอาจารย์ฝรั่งท่านหนึ่ง ก่อนบวช ท่านสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้วแต่ยังไม่ลงทะเบียนเรียน ท่าน อยากเดินทางส�ำรวจโลก จึงไปท�ำงานในโรงงาน เมือ่ เก็บเงินได้เพียง พอแก่คา่ ใช้จา่ ยในการเดินทาง ท่านก็ไปหาประสบการณ์ทอี่ นิ เดีย ไปท่องเที่ยว ไปฝึกสมาธิ จากนั้นก็เดินทางมาบวชที่ประเทศไทย พระฝรัง่ บางรูปบวชเพียงเพราะว่า ท่านอยากทดลองดูวา่ การปฏิบตั ิ ธรรมในเพศคฤหัสถ์กบั เพศนักบวชมันจะให้ผลแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นท่านก็จะเทียบเคียงกับประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวเอง เออ…ท�ำแล้วความสุขมันเพิ่มขึ้น ความทุกข์มันลดลง ซึ่งสิ่งนี้เป็น วัตถุประสงค์ของพุทธศาสนา อันที่จริงมันควรจะเป็นวัตถุประสงค์ ของการเป็นมนุษย์ด้วยซ�้ำ เพราะเกิดมาแล้วมันก็ประสบกับความ ทุกข์ มันก็ต้องหาวิธีที่จะท�ำให้ความทุกข์ลดลง .. การให้ทานสามารถก�ำจัดต้นเหตุของความทุกข์ได้ในระดับหยาบๆ ศีลสามารถก�ำจัดต้นเหตุของความทุกข์ได้ในระดับปานกลาง แต่ 264


ถ้าเป็นความทุกข์ที่ละเอียดมันต้องอาศัยการภาวนา ซึ่งหมายถึง สมาธิกับปัญญารวมกัน วันนี้เราได้ทดลองท�ำสมาธิกันพอสังเขป บางคนอาจจะเข้าใจว่าการปฏิบัติในพุทธศาสนาต้องนั่งหลับตา เพียงอย่างเดียว แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น อาตมาจะยกตัวอย่าง เพื่อการพิจารณา เมื่อสักครู่อาตมาเล่าถึงวัดป่าอภัยคีรีว่าในช่วง 07:30-08:00 น. จะมีการแบ่งงานกันท�ำ พระผู้มีหน้าที่มอบหมาย งานให้สมาชิกที่อยู่ในวัดจะเรียกว่า Work Monk นอกจากนี้ก็จะ มี IT Monk (ฮา) หมายถึงพระที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ภายในวัด แล้วก็มี Water Monk หมายถึงพระที่ดูแลระบบน�้ำหรือ Guest Monk คือพระทีด่ แู ลเกีย่ วกับญาติโยมทีต่ ดิ ต่อขอมาอยูป่ ฏิบตั ธิ รรม ช่วยจัดกุฏิและแจ้งระเบียบต่างๆให้ทราบ Trash Monk (ฮา) คือ พระที่รับผิดชอบเกี่ยวกับขยะ .. โดยนิสยั ส่วนตัวแล้วอาตมาไม่ชอบท�ำงานแบกหามหรืองานทีต่ อ้ ง ออกแรง อาตมาชอบท�ำงานในออฟฟิศหรืองานเกี่ยวกับเอกสาร แต่เมื่อมาอยู่ที่นี่มันเลือกงานไม่ได้ ก็แล้วแต่ว่า Work Monk จะ จัดให้ท�ำอะไร มีอยูว่ นั หนึง่ อาตมาได้งานตัดเหล็ก ซึง่ เราเองไม่ชอบ ท�ำ ก่อนหน้านีห้ ลายปีอาตมาเคยเห็นภาพข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ มีร้านตัดเหล็กกับร้านขายของอยู่คนละฝั่งถนน ใบมีดที่ใช้ตัด เหล็กซึง่ ท�ำจากไฟเบอร์มนั แตก แล้วชิน้ ส่วนก็ปลิวมาเสียบหัวคนที่ ก�ำลังซือ้ ของอยูอ่ กี ฟากหนึง่ ของถนน อาตมาก็คดิ ว่าเราก�ำลังจะตัด 265


เหล็ก มันต้องใช้เครื่องมือตัดเหล็กแบบมือถือ ถ้าใบมีดมันแตก จะท�ำยังไง แต่กม็ าคิดอีกทีวา่ ไม่เป็นไรลองท�ำดู  ก่อนจะตัดเหล็กมัน ก็ต้องใส่เครื่องป้องกันสารพัด ทั้งถุงมือ หน้ากาก ที่อุดหูอุดจมูก ตอนที่ท�ำเราก็ไม่ได้นึกถึงตัวเอง แต่คิดว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ กับคณะสงฆ์ ขอให้คนที่จะน�ำเหล็กเหล่านี้ไปใช้ได้ท�ำงานอย่างมี ความสุข ขอให้คนที่จะได้มาใช้สิ่งก่อสร้างซึ่งประกอบขึ้นจาก เหล็กเหล่านี้มีความสุข เมื่อพิจารณาแบบนี้มันก็มีความสุขในการ ท�ำงาน ทั้งๆที่งานนั้นเราไม่ชอบเลย อาตมาเห็นประกายไฟสีส้มที่ เกิดจากการกระทบกันของเหล็กกับเครื่องตัดเหล็ก ก็ท�ำให้นึกถึง เมื่อครั้งที่เราเคยเล่นดอกไม้ไฟตอนเป็นเด็ก (ฮา) เออ! มันก็สนุกดี เหมือนกัน แล้วก็ท�ำให้อาตมาระลึกถึงค�ำของครูบาอาจารย์ที่ว่า “คนใจดีมักมีแต่เรื่องดีใจ” ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เมื่อจิตใจ เราดีแล้วมันก็มีความสุข ทั้งๆที่ต้องประสบกับสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ และอีกประโยคหนึ่งก็คือ “เคล็ดลับของความสุขไม่ได้อยู่ที่การได้ ท�ำในสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่อยู่ที่ชอบในสิ่งที่ตัวเองท�ำ” .. เหตุที่อาตมาน�ำเรื่องนี้มาเล่าก็เพื่อให้เห็นว่า การภาวนาไม่ใช่การ นั่งหลับตาเพียงอย่างเดียว แต่การภาวนาจะอยู่ในชีวิตประจ�ำวัน ของเรา ถ้าแปลค�ำว่าภาวนาโดยอรรถก็จะได้ความว่า การท�ำให้ จิตใจของเราเจริญขึ้น ด้วยการแก้ไขความทุกข์ของตัวเองที่มีอยู่ ในปัจจุบัน แต่การที่เราจะสามารถแก้ไขความทุกข์ได้ มันก็ต้อง 266


อาศัยการสั่งสม การได้ยินได้ฟัง การศึกษา การทดลองปฏิบัติ ถ้ามองกันในแง่นี้แล้วก็จะเห็นว่า เราทุกคนท�ำได้ ไม่ว่าจะเป็น นักศึกษาหรือพ่อบ้านแม่เรือน เราสามารถท�ำได้ในระดับทาน ศีล ภาวนา ขอฝากให้น�ำไปพิจารณากันดู .. ต่อไปจะเป็นการกรวดน�้ำรับพรและรดน�้ำมนต์ เมื่อวานนี้อาตมา เล่าให้คณ ุ ยายฟังว่า อาตมาพรมน�ำ้ มนต์ครัง้ แรกตอนเป็นพระใหม่ วันนั้นมีงานท�ำบุญประจ�ำปีที่ตลาด ที่บ้านเราจะน�ำหญ้าคาแห้งๆ มามัดรวมกัน ส�ำหรับท�ำเป็นอุปกรณ์ในการพรมน�้ำมนต์ หญ้าคา มันอุ้มน�้ำได้เยอะ แต่อาตมาไม่รู้จึงจุ่มลงไปเต็มที่เลย (ฮา) มีโยม ผู้ชายคนหนึ่งนั่งอยู่ข้างหน้า อาตมาก็ซัดเข้าไปเต็มหน้าเลย (ฮา) แต่ว่าเขาดีใจนะ หน้าตาเขามีความสุขมาก (ฮา) (หนุ่มๆที่นั่งอยู่ แถวหน้าขยับตัวเตรียมหลบ) เมื่อกลับมาถึงวัด พระรุ่นพี่ก็แนะน�ำ ว่าจุ่มนิดหน่อยก็พอ แล้วก็เคาะกับขันน�้ำมนต์ก่อนค่อยพรม ไม่ใช่ สะบัดไปเต็มที่แบบนั้น (ฮา) ตอนนั้นอาตมาเพิ่งบวชได้สักสอง หรือสามพรรษา แต่ตอนนี้โปรแล้ว(ฮาครืน) ภาษาปะกิตค�ำละวัน: Blessing water = น�้ำมนต์

267



My First Dhamma Talk in English แสดงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2553 ณ ธรรมศาลาวัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เรียบเรียงโดย เปสโลภิกขุ กัจจานะภิกขุ และโกวิโลภิกขุ


.. Good evening to all my good friends in Dhamma. This is my first time giving a talk in English. I asked permission from Tan Ajahn to give a talk in Thai and have someone translate it into English, but Tan Ajahn said “You should give a talk in English. You can do that.” So if I say something wrong tonight, it’s not my fault. .. I arrived here at Wat Pah Abhayagiri at the end of January. The atmosphere was like tonight’s. Some monk said: “Ajahn Dto came with wetness, cold weather, and darkness. After arriving from Thailand in San Francisco, we went to a bookshop. While Tan Ajahn Pasanno and I were looking at books, a woman came up to talk to us. “What are you looking for?” she asked. Before we could answer this question she said, “I’m looking for the meaning of life”. Tan Ajahn answered “I’m looking for something fun”. I thought, “This Westerner is looking for the meaning of life from a book. In Thailand, bhikkhus who follow the Buddha’s Teaching correctly will understand life’s meaning and then teach it to us”. 270


.. My parents came to visit me in the beginning of May. It was good a opportunity for me to take care of them. We traveled together around San Francisco. One day we went to the California Academy of Science. A boy came to talk to me and asked, “Where do you come from?” I answered, “I come from Thailand.” He continued, “You wear a robe and sandals, cool!” I thought, “It’s not too bad to be a monk in the United States.” .. In the middle of May my parents and I went to visit an old friend in Hawaii. My old friend is American. He was ordained as a novice for 2 years at Wat Pah Nanachat. We spent some time together in Thailand before he disrobed and left Thailand. He married a Chinese woman. Later he invited me to visit him in Hawaii. The atmosphere in Hawaii is like Thailand. If there is a Wat Pah Abhayagiri branch in Hawaii, I would be happy to stay there. We traveled to many beaches on the island of Maui. On a beach named Lahaina, a muscly surfer came to talk to me. It was quite a long talk. He was 271


Philipino. After he introduced himself, he said, “The Buddha teaches how to live in the world with happiness and how to practice positive thinking, I can’t do that but you can. You can follow the Buddha’s teaching. You have a good life! You are an awesome guy!” Before we said goodbye, he gave me a “whale tale” hand sign. .. Is that enough Tan Ajahn? Today we don’t want to go on too late. I will give an opportunity for the next monk to speak.

272


awesome



Refreshing Reflections แสดงเมื่อวันที่ 19, 23, 25, 27 ตุลาคม พ.ศ.2553 ตามล�ำดับ ณ ธรรมศาลาวัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เรียบเรียงโดย เปสโลภิกขุ กัจจานะภิกขุ และโกวิโลภิกขุ


.. ไม่อยากจะเชื่อเลยว่า ชั่วระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนข้าฯก็ถูกจับ ให้เทศน์เป็นภาษาอังกฤษถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือวันปวารณา ออกพรรษา เพราะเป็นธรรมเนียมตามปรกติของวัดหนองป่าพง ที่จะเปิดโอกาสให้พระภิกษุสามเณรได้แสดงความคิดเห็น หรือ บอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ส่วนครั้งที่สอง ก็คือเมื่อเช้านี้เอง ด้วยเหตุเพราะท่านพระอาจารย์ และพระอีก สามรูปเดินทางไปสอนวิปัสสนากรรมฐานประจ�ำปีที่ Angela Center เมือง Santa Rosa เป็นเวลาสิบวัน สมาชิกที่เหลืออยู่จึง ต้องสืบสานภาระต่างๆเพื่อให้กิจการของคณะสงฆ์ด�ำเนินไปได้ ด้วยดี หลังอาหารเช้าในแต่ละวัน จะเป็นเวลาของการแจกจ่าย งาน ก่อนที่พระภิกษุสามเณรและญาติโยมจะแยกย้ายกันไป ท�ำงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย ท่านพระอาจารย์หรือพระเถระจะ ให้โอวาทสั้นๆในแบบที่เรียกว่า Reflections เพื่อเป็นการเตือนจิต สะกิดใจ ในช่วงเวลานี้เองที่ข้าฯต้องเข้ามาสวมบทบาทแบบ ไม่คาดฝัน สิริรวมทั้งสิ้นสี่ครั้งในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน .. Be Happy I joined Tan Ajahn Pasanno’s retreat in Bangkok a few 276


times. The laypeople who attended the retreat mostly lived in Bangkok. At the end of the retreat, Tan Ajahn Pasanno told everybody “Don’t leave the teaching here, take it back for practice in daily life in your home or your office. We can practice Dhamma everywhere. We can practice Dhamma even when we work with a computer”. .. Six years ago I began a Dhamma book project for teenagers. I had to work with many people. There were about twenty people in my team. I was a chief. I had to be responsible for many things. One day when I was working with a computer I thought, “Why do I have to do this thing; it’s very busy. Why don’t I go back to sitting and walking meditation in the forest. I miss my simple life before I began this Dhamma book project. In Thailand we have morning chanting about 3 or 4 o’clock. After morning chanting we clean up the sala and go alms round. After the meal we go back to our kutis and have individual time until 3 o’clock in the afternoon. Life is simple—why do I do this project? It’s very busy.” I felt sad and upset at the same time. Before everything went badly I changed my view by mentally repeating one sentence: 277


“May my reader be happy” After I thought like this, the bad mood disappeared. It was very nice. It inspired me. Suddenly I understood Tan Ajahn Pasanno’s teaching “We can practice Dhamma everywhere. We can practice Dhamma even when we work with a computer”. .. Ageing & Death There was a grand opening ceremony for the new hermitage in June. The Pacific Hermitage is in a small cute town named White Salmon in Washington state. I went to this ceremony with the Abhayagiri Sangha. After we spent the first night at the hermitage, I went for a walk alone on the road in front of the hermitage the next morning. I saw a woman who was about 70 years old walking for exercise on the same road. She came to talk to me. After she introduced herself she said that her daughter had joined a retreat in Alaska. After the retreat, her daughter came to see her and said that the Buddha taught, “Nature is protecting us.” I told her this is not the Buddha’s teaching. She asked me “What is the Buddha’s Teaching?” The answer that came to my mind 278


was aging and death. Before I gave this answer to her, I remembered an Ajahn Chah talk: “If we talk about aging and death, it will scare Westerners.” I decided to say something else: “I am an English student; my English is not enough to explain the Buddha’s teaching. If you are interested in the Buddha’s teaching, please go visit our new hermitage, its not so far from here. There are English-speaking teachers waiting for you over there.” .. On the way back to Abhayagiri, I though about the conversation again. Aging and death are nature. They will come to everybody: to the Westerner, to the Easterner, to people of every nationality, but our mind still won’t accept nature. Our minds won’t accept the truth. This is the reason why we come here. We come here to practice Dhamma. We come here to practice the most difficult thing in the world.

279


.. Brand New World There was a Bulgarian woman. She was a fortuneteller. She passed away about 90 years ago. The Bulgarians call her the Nostradamus of Bulgaria. A Bulgarian scientist researched her fortunes—more than 7,000 cases—and they were correct more than 80% of the time. .. Before she passed away, she knew the day she would pass away. Some of her fortunes interest me. She foretold that World War III will happen between 2010 and 2014. In 3797 A.D. (about 1,787 years later), all creatures in the world will disappear but before this happens, humans will find another world to live on. .. The interesting point for me is not whether this is true or not, or whether this prediction will happen or not. The point is that 280


if humans don’t learn to control their minds using Dhamma, a brand new world will still have as much trouble as this one. .. A layperson asked an Ajahn, “There is so much trouble in the world. How can bhikkhus help?” The Ajahn answered, “The world is in trouble because humans are selfish. A bhikkhu can be an example of one who is unselfish.” And Ajahn Chah also said, “If you can learn to make the mind still, it will be the greatest help to the world.” .. Right Way, Right Views. A layperson invited me to join a tea ceremony at a Japanese club in Hawaii. The tea ceremony was in a Japanese woman’s house. She explained about the tea ceremony to her guests. There were about 10 people that day. I was the only bhikkhu in the ceremony. They were very excited to see a bhikkhu. There are two things involved in a tea ceremony: the first is candy, and the second is tea. After we had finished 281


the tea ceremony, I remembered a story I read from a Haiku book. The story goes that there are a few candies in a tray. The Zen student tells his Zen teacher “I’m confused. Which candy should I choose?” The Zen teacher answers, “The one that is closest to you.” After I read this story, I though “Is this the right way? Can I practice like this? When I take a piece of pie in the kitchen, do I take the one closest to me?” (The closest one may not necessarily be the smallest pancake.) I will try to find the answer. .. I remember an Ajahn Chah teaching: “If there are two apples, a big one and a small one, the mind want to take the big one, but don’t follow it. Take the small one and give the big one to a friend”. If we are in doubt about our practice, look into the mind. If defilements in our mind are growing, we are practicing in the wrong way. If the defilements in our mind are decreasing, we are practicing in the right way.

282


cool



Sloppy Joes & Peanut Butter แสดงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ณ ธรรมศาลา วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เรียบเรียงโดย เปสโลภิกขุและโกวิโลภิกขุ


.. เมื่อวันออกพรรษาประจ�ำปี พ.ศ.2554 มาถึง เป็นธรรมเนียมที่รู้ กันดีในหมู่นักปฏิบัติธรรมสายวัดหนองป่าพงว่า วันนี้เป็นวันที่มี สีสันที่สุดวันหนึ่งในรอบปี เพราะคณะสงฆ์ของแต่ละวัดจะเปิด โอกาสให้พระภิกษุสามและเณรทุกรูปที่อยู่จ�ำพรรษาในวัดนั้นๆ ได้แสดงข้อธรรมะเล็กๆน้อยๆ แต่ส�ำหรับข้าฯแม้เพียงห้านาทีก็ ไม่เล็กน้อย เพราะต้องปรารภป็นภาษาอังกฤษ .. Tonight I want to express gratitude to Peter Rabbit because he has helped me to practice English. I have listened to his story often… Once upon a time there were four little rabbits and their names were Flopsy, Mopsy, Cotton-tail and Peter… Practicing English is like practicing Dhamma. We are learning a little bit everyday. .. Yesterday, I learned some new vocabulary and how to eat American food at the same time. It was “Sloppy Joes”. I don’t know who made it. The same day a monk asked me: 286


“When you go back to Thailand, will you miss Sloppy Joes?” Yes I will. And I will also miss peanut butter. .. Sometimes life is not smooth but is actually like Sloppy Joes. There are many ingredients coming together and mixing at the same time. In the morning, we don’t like a certain person. After lunch we love him. In the evening, we hate him again. Somedays life is smooth and creamy like peanut butter: Everything is beautiful. Birds singing, a clear blue sky, red apples on the tree. Whatever happens, this is our life and we have to take care of it. We take care of it by making happiness increase and suffering decrease. ภาษาอาหารค�ำละวัน: Sloppy Joes เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ส�ำหรับรับประทานกับขนมปัง รสชาติและหน้าตาประมาณน้องๆ น�ำ้ พริกอ่อง เฉพาะค�ำศัพท์ Sloppy แปลว่าเละๆ เป็นโคลน ยุง่ เหยิง รุงรัง ไม่เป็นระเบียบ

287


เปสโลภิกขุ 2516 เกิดที่อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2536 เรียนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2539 บวชและจ�ำพรรษาที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี 2540 – 2545 จ�ำพรรษาที่วัดป่าอัมพวัน จังหวัดชลบุรี 2546 จ�ำพรรษาที่วัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี 2547 จ�ำพรรษาที่วัดป่าขันติธรรม จังหวัดล�ำพูน 2548 จ�ำพรรษาที่วัดป่าอัมพวัน จังหวัดชลบุรี 2549 – 2551 จ�ำพรรษาที่สถานพ�ำนักสงฆ์คีรีธรรม จังหวัดจันทบุรี 2552 จ�ำพรรษาที่วัดป่าอัมพวัน จังหวัดชลบุรี 2553 – 2554 จ�ำพรรษาทีว่ ดั ป่าอภัยคีรี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา


ผลงานสะท้านใจวัยหวาน 2550 Dhamma Design Issue 1: Experimental บทกวีในที่ว่าง 2551 Dhamma Design Issue 2: Evolution แดนสนทนา (ส�ำนักพิมพ์หนึ่ง) 2552 เรื่องเป็นเรื่อง หนึ่งร้อย เรื่องของเรา (ส�ำนักพิมพ์หนึ่ง) เสียงฝนบนภูเขา ( ร่วมมือกับนักเขียนชื่อ เจหวาน) Poems on The Road (ร่วมแรงกับช่างภาพชื่อ Andrew Binkley) 2553 Pesalocation Dhammascapes (ส�ำนักพิมพ์พาบุญมา) 2554 Fearless Diary + Spring Talk To be Awake + Enchanted Hiking


อนุโมทนา = Delighting in goodness of other people. คณะสงฆ์วัดป่าอภัยคีรี ที่พักสงฆ์ธรรมาราม กรุงเทพฯ คุณสนธิ-คุณสุกัญญา สุวรรณกูล คุณรัฐพล-คุณอรอุสา สุวรรณกูล ด.ช.พุทธมนตร์-ด.ญ.พุทธิฌา สุวรรณกูล คุณเวียง-คุณปิยพร วงศ์พระจันทร์ ด.ญ.อลีนตา-ด.ญ.ฤๅชุตา วงศ์พระจันทร์ คุณพุทธพร สุวรรณกูล คุณเซี่ยมอี่ แซ่ตั้ง คุณเบญจพร อ้วนเจริญกุล คุณกิตติพงค์-คุณศศิวรรณ ทุมนัส ด.ญ.สุมานัส-ด.ญ.ภูริชญา-ด.ญ.ณฏฐ ทุมนัส ครอบครัวสุวรรณเบญจางค์ คุณลดาวัลย์-คุณดาริน ตั้งทรงจิตรากุล คุณอโณทัย คลังแก้ว และครอบครัว คุณเจนจิรา สุตานนท์ไพบูลย์ คุณเพ็ญแข นาวีรัตนวิทยา คุณนิวัติ-คุณบุญถนอม ภูริภาคย์วงศ์ คุณวราพิทย์-คุณสมพิศ ทองนพเนื้อ คุณทุตินัน ตันหยง คุณโอลิเวอร์-คุณสุมนา-คุณสิดารา ไมซเนอร์


คุณกิรณา ฉ�่ำเวชะ คุณชุตินธร ดาวเรือง คุณพิมคเณช ธนะสุนทร คุณแม่ชลอจิต ศิลปกิจ ศ.ดร.ภัทริยา ศิลปกิจ ตันสุหัส คุณศักดิพล เจือศรีกุล คุณวรรณฤดี สกุลภักดี คุณจิราวรรณ ธนา คุณสุภาภรณ์ ใบยา คุณนวพร พวงมณี คุณสุรเชษฎ์-คุณอัษฏะวรรณ อร่ามรักษ์ คุณใจรัก ศิริค�ำ คุณสุรางค์ สุเทพากุล คุณวิไล-คุณสายทอง-คุณอดัม ปัญญาสิทธิ์ คุณพงษ์ศักดิ์ มหัทธนสกุล และครอบครัว คุณลลิดา สิละยูวะ และครอบครัว คุณสุธสินี โกมลารชุน คุณพ่ออวิรุทธ์-คุณเกษร-คุณเศรษฐา มาลาหอม คุณสาธิต-คุณสุรินทร มาลาหอม คุณธนิต-คุณเพชรสมร-ด.ช.แพทริก-ด.ช.แดน มาลาหอม คุณรัฐชญา ฐิตินวคุณ คุณณัฐหทัย-คุณพูนเกียรติ-คุณกิตติพงษ์ วะระทรัพย์ ครอบครัวมาสินทพันธุ์


ครอบครัว Nonphia & Siegwort Tong & Devon Arther - Sharon - Sienna - Aero Ericsson Nuttawat – Angie – Andrew Wongpisethkul Lalita Souksamlane Derek Shotiveyaratana Wassana – Dominic Korkhieola Osha Thai Restaurant, San Francisco, California After Osha, San Francisco, California Siamese Kitchen, San Carlos, California Thai Smile Cuisine, San Rafael, California Chao Praya Thai Restaurant, Navato, California Pikhun’s Restaurant, Pullman, Washington State Palouse Meditation Group Thai Student Association of Washington State University & University of Idaho


anumodana


Designed by

Dhamma Design Club in the Republic of California




296


ผู้อ่านสูงวัยควรได้รับคำ�แนะนำ�จากบุตรหลาน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.