NOMAD

Page 1

บทกวีในที่อื่น เปสโลภิกขุ

บันทึกธรรมสามบรรทัด จากแซนแฟรนซิสโก เบย์ ถึงซิดนีย์ โอเปร่าเฮ้าส์




บทกวีในที่อื่น : Nomad ขีดเขียนและกดชัตเตอร์ เปสโลภิกขุ แขกรับเชิญ เพลงดาบแม่น�้ำร้อยสาย ภาพถ่ายปก Andrew Binkley ภาพวาดลายเส้น เพลงดาบแม่น�้ำร้อยสาย ออกแบบปกและรูปเล่ม Dhamma Design Club พิสูจน์อักษร มานี มีตา คอมพิวเตอร์กราฟิก ibeepdesign@gmail.com จัดพิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2556 จ�ำนวน หนึ่งพันห้าร้อยเล่มเร่ร่อน สงวนลิขสิทธิ์ 2013 © Dhamma Design Club ถามถึงเปสโลภิกขุ peslo123 @ yahoo.co.th ถามทางแท็บเล็ต www.issuu.com/dhammavalley ถามไถ่ย้อนหลัง http://fearlessdiary.exteen.com พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 02-433-0026-7


สารบัญ Japanese Tea Garden Downtown San Francisco Abhayagiri Buddhist Monastery Frey Organic Farm Maui Portland เด็ดธรรมะริมทาง Yosemite National Park & Surrounds Pullman Fort Bragg & Mendocino Point Reyes National Seashore Downtown Sydney Culburra Beach Wyuna Homestead Wat Buddha Dhamma

8 26 48 74 92 112 128 190 208 224 238 250 266 280 298


วิธีท�ำ 1.เลือกภาพที่ถ่ายเก็บไว้ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2552 ถึงกลางปี พ.ศ. 2555 2.น�ำมาเรียงล�ำดับโดยจัดเป็นหมวดหมู่จ�ำแนกตาม สถานที่ 3.เว้นหน้ากระดาษส�ำหรับส่วนที่ต้องการเขียนบทกวี 4.ส่งโรงพิมพ์ 5.พกต้นฉบับจากโรงพิมพ์ติดตัวไปตามสถานที่ต่างๆ นึกอะไรขึ้นมาได้ก็บันทึกลงไป 6.เมื่อหน้ากระดาษที่เว้นไว้ถูกเติมด้วยบทกวีจำ� นวน เก้าสิบหกบท จึงส่งเข้าสู่กระบวนการพิมพ์


ค�ำน�ำ ปัจจุบันมีส�ำนักพิมพ์หลายแห่งตีพิมพ์หนังสือ เกี่ยวกับประสบการณ์เดินทางท่องเที่ยวในต่างแดน ของหนุ่มสาวชาวสยามประเทศ ไม่กี่นานมานี้ ฉันได้ส่งหนังสือของตัวเองซึ่งมีเนื้อหาคาบเกี่ยวกับ ประสบการณ์ของคนหนุ่มสาวเหล่านั้นไปให้ บรรณาธิการของส�ำนักพิมพ์อินดี้แห่งหนึ่งพิจารณา โดยเขียนแนะน�ำหนังสือของตัวเองพอหอมปาก หอมคอว่า “หนุ่มสาวเหล่านั้นออกเดินทาง เพราะอยากรู้ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ในโลกอย่างมีความสุข ได้อย่างไร ส่วนอาตมารู้แล้วว่าจะใช้ชีวิตอยู่ในโลก อย่างมีความสุขได้อย่างไร จากนั้นจึงออกเดินทาง” เปสโลภิกขุ



NOMAD (โนแมด) a member of a community that moves with its animals from place to place. คนในชนเผ่าเร่ร่อนหาทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ไปเรื่อยๆ คนร่อนเร่พเนจร พจนานุกรมฉบับออกซ์ฟอร์ด


Japanese Tea Garden San Francisco, California, USA

8









ประตูโบราณ ไม่ยินดียินร้าย กับผู้มาเยือน เขียวกับแดง ขัดแย้ง อย่างกลมกลืน พระพุทธโลหะ ตรัสเพียงหนึ่งค�ำว่า “วาง”



เยี่ยมสวนชา แต่คิดถึง คาปูชิโน ก้าวช้าๆ เพื่อสัมผัส ความร่มรื่นและรื่นรมย์ ใครจะรู้สึกหนัก เมื่อไม่ยก หินก้อนนั้น




ภาวนาต่อเนื่อง จึงรู้ว่า ยังอีกไกล ปล่อยกระวนกระวาย ในเรื่องราว ที่ก�ำลังค่อยเป็นค่อยไป น�้ำในบึงน้อย กระซิบว่า ฉันอยู่ที่นี่ไม่นาน




ภาพขยาย หลายปีดีดักที่ฉันได้เห็นภาพสวนสวยในหนังสือ Invitation to Tea Garden ยังนึกอยู่ว่าถ้าจัดได้อย่างนี้ ที่วัดคงพาเพลิน แต่สำ� หรับวัดป่าคงจะล�ำบากเพราะ ต้องใช้ไพร่พลมหาศาลในการดูแลรักษา สวนทีส่ วยงาม ละเมียดละเอียดไปทุกกระเบียดอย่างนี้เหมาะส�ำหรับ เอาไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่าอย่างอื่น สิ่งที่ฉัน ชอบเป็นพิเศษส�ำหรับสวนแห่งนีก้ ค็ อื ก้อนหินขนาดยาว ที่ถูกกัดขัดแต่งเป็นรูปทรงเรือแล้วปล่อยให้น�้ำไหลล้น ทั้งๆที่อากาศหนาวแต่เห็นแล้วรู้สึกชื่นใจอย่างบอก ไม่ถูก ที่นี่เป็นสถานที่แห่งแรกในอเมริกาที่มีฝรั่งเข้ามา ทักทายถามไถ่ฉันด้วยความสนใจในพระพุทธศาสนา แม้จะจ�ำบทสนทนาในวันนั้นไม่ได้ แต่จ�ำได้ว่าก่อน จากกันฉันได้มอบนามบัตรของวัดป่าอภัยคีรีให้ฝรั่ง คนนั้นด้วย 24



Downtown San Francisco California, USA

26






ภิกขาจาร กิจวัตรของทุกเช้า ความเป็นไปได้ในเมืองแปลกหน้า เพราะไม่รู้ความหมาย ของชีวิต เขาจึงเป็นฮิปปี้ เดินดุ่มในเมืองใหญ่ บางคราว สัมผัสเงาวิเวก








คืนหนึ่งในแซนแฟรนซิสโก ยินเสียงพูดคุยในหัว และไซเรนค�ำราม ย�่ำค�่ำ เป็นเวลาของความรัก เพราะไม่เห็นสิวฝ้า สะพานอาร์ตเดโคในม่านหมอก บางใครมาที่นี่ เพื่อลาโลก



ภาพขยาย หน้า 27-28  สะพาน Golden Gate เป็นสถาปัตยกรรม แนวอาร์ตเดโค ซึ่งเป็นการหลอมรวมระหว่างศิลปะ แบบอดีตกับอนาคต ใครที่ได้ไปแซนแฟรนซิสโกมักจะ ไม่พลาดแลนด์มาร์คแห่งนี้ ทุกครั้งที่เดินทางสู่ แซนแฟรนซิสโกฉันจะได้เห็นสะพานสีแดงเข้มตัดกับ น�้ำทะเลสีครามเสมอ มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่ฉันเห็น สะพานแห่งนี้ถูกปกคลุมด้วยไอหมอก นั่นคือวันที่ฉัน เดินทางเข้ามาพักในแซนแฟรนซิสโกเพือ่ รอขึน้ เครือ่ งบิน กลับเมืองไทย หน้า 29  Ocean Beach ฉันมีโอกาสไปพักที่วัด แซนแฟรนซิสโกธรรมาราม ซึ่งเป็นส�ำนักสาขาใน ต่างประเทศของหลวงพ่อทูล ขิปฺปปัญโญ แห่ง วัดป่าบ้านค้อ จังหวัดอุดรธานี วัดแซนแฟรนฯเป็น 40


บ้านหลังใหญ่สามชั้นรวมทั้งชั้นใต้ดิน ฉันจ�ำไม่ได้แล้ว ว่ามีกี่ห้องนอน แต่ที่แน่ๆก็คือมี 9 ห้องน�ำ้ ! เมื่อมาพักที่ วัดแห่งนี้ฉันรู้สึกเหมือนได้กลับเมืองไทย พระประธาน ในห้องโถง พระภิกษุ แม่ชี ญาติโยม ตลอดจนอาหาร ล้วนเป็นแบบไทยแท้ แม่ชีใจดีรู้ว่าฉันคิดถึงอาหาร รสเผ็ดจึงท�ำน�้ำพริกรสเด็ดมาถวาย วัดแซนแฟรนฯ อยู่ตรงข้ามกับ Golden Gate Park สวนสาธารณะ ขนาดใหญ่ทเี่ ดินเล่นได้ทงั้ วัน และยังมีสถานทีน่ า่ สนใจ หลายแห่งซึ่งสามารถเดินถึงกันได้เช่น Japanese Tea Garden, De Young Museum, California Academy of Sciences พระเจ้าถิ่นเล่าว่าถ้ามีพระมา พักกันเยอะเช่นช่วงงานกฐิน พระส่วนหนึง่ จะเดินข้ามถนน ไปกางเต็นท์ใน Golden Gate Park จากวัดแซนแฟรนฯ ใช้เวลา 30 กว่านาทีกส็ ามารถเดินไปถึง Ocean Beach ได้ หลังอาหารเช้าฉันจึงเดินไปที่นนั่ ตามล�ำพัง ยามเช้า มีผู้คนออกมาเดินเล่นบนชายหาดเยอะพอสมควร 41


บ้างก็มาเดินออกก�ำลังกายพร้อมสุนัข บ้างก็มาเซิร์ฟ มีเด็กๆหลายคนก�ำลังเล่นก่อกองทรายด้วย หน้า 30, 32 บิณฑบาตในแซนแฟรนซิสโกครัง้ แรกกับ พระจากวัดแซนแฟรนฯ ที่นี่สามารถออกรับบิณฑบาต ได้ทุกวัน เพราะมีร้านอาหารไทยตั้งอยู่โดยรอบ ซึ่งใน แต่ละวันพระจะไปรับบิณฑบาตไม่ซ�้ำร้านกัน เราออก บิณฑบาตในเวลาประมาณแปดนาฬิกาเศษๆ บางวัน เมื่อกลับมาถึงวัดก็เกือบจะได้เวลาอาหารกลางวัน ปรกติร้านอาหารในแซนแฟรนฯจะเปิดเวลา 11:00 น. แต่มีร้านอาหารไทยรุ่นบุกเบิกแห่งหนึ่งซึ่งเปิดแต่ เช้าตรู่ พระสามารถเดินไปบิณฑบาตที่ร้านแห่งนี้โดย กะให้มาถึงร้านในเวลาแปดนาฬิกาเศษๆ เพื่อฉัน อาหารเช้าที่ร้าน จากนั้นก็รับบิณฑบาต ให้พรแล้วเดิน กลับวัด เมือ่ เจ้าของร้านทราบว่าฉันมาจากวัดป่าอภัยคีรี จึงบอกว่า ถ้าจะกลับวัดให้แวะมาเอาผักผลไม้ด้วย 42


เป็นทีน่ า่ เสียดายว่าเมือ่ ฉันแวะไปพักทีว่ ดั แซนแฟรนฯ เป็นครั้งที่ 2 ร้านนี้ได้ปิดกิจการไปแล้ว ทราบเพียง คร่าวๆว่า ในแซนแฟรนฯจะมีแก็งที่เกิดจากรวมตัว กันระหว่างสถาปนิก คนพิการ และทนายความ โดย สถาปนิกจะไปส�ำรวจว่าอาคารเก่าหลังใดสร้างผิดแบบ เช่นไม่มหี อ้ งน�ำ้ ส�ำหรับคนพิการ เมือ่ พบอาคารดังกล่าว ก็จะส่งคนพิการเข้าไปในร้านอาหารหรือคาเฟ่ที่ ประกอบกิจการอยู่ในอาคารหลังนั้น แล้วคนพิการก็ จะเอะอะโวยวายขูว่ า่ จะไปแจ้งทนายความให้มาด�ำเนิน คดี เมือ่ เป็นเช่นนีบ้ างร้านก็ยอมจ่ายค่าปิดปาก แต่ทา้ ย ที่สุดทนายความของแก็งก็จะเข้ามาด�ำเนินการตาม แผน เมือ่ เหตุการณ์เป็นดังนีท้ นายความของทางร้านจึง ให้ค�ำแนะน�ำว่า ถ้าจะเสียควรจะเสียให้น้อยที่สุด ซึ่งทางออกก็คือปิดกิจการ เมื่อนั่งรถผ่านวัดแซนแฟรนฯเป็นครั้งแรก ฉันเห็น 43


ป้ายชือ่ วัดขนาดใหญ่ตดิ อยูเ่ หนือประตูทางเข้า แต่หลัง จากนั้นป้ายก็ถูกปลดออก ถามพระเจ้าถิ่นได้ความว่า เพื่อนบ้านมาแจ้งว่าถ้าติดป้ายอย่างนี้แสดงว่าที่นี่เป็น สาธารณะสถาน เพราะฉะนั้นจึงต้องมีลิฟท์สำ� หรับคน พิการด้วย คณะกรรมการของวัดประเมินค่าใช้จ่ายใน การติดตั้งลิฟท์แล้วพบว่าต้องใช้งบประมาณ 2-3 ล้าน ยูเอสดอลล่าร์ ซึ่งมันไม่คุ้มค่าที่จะท�ำ วิธีแก้ปัญหา เฉพาะหน้าก็คือปลอดป้ายวัดออก เพื่อแสดงให้ผู้คน ละแวกนั้นเห็นว่า ที่นี่เป็นเพียงบ้านส�ำหรับพระ หน้า 33 (ภาพบน) ฝูงตึกตระหง่านอยู่ทางฝั่งซ้าย ของถนน Embarcadero ฝั่งขวามีสวนหย่อมเล็กๆ ริมอ่าว ซึ่งปรากฏท่าเรือกระจายอยู่ตลอดแนว ท่าเรือ ที่เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวมากที่สุดมีชื่อว่า Pier 39 ส่วนหอนาฬิกาที่เห็นในรูปคือ Ferry Building Market Place ในวันเสาร์จะมี Farmer Market หรือ 44


ตลาดนัดฝรั่งด้วย (ภาพล่าง) รถรางซึ่งเป็นสัญลักษณ์ เคลื่อนที่อันโดดเด้งของแซนแฟรนซิสโก หลังจากที่ฉัน แวะพักในแซนแฟรนฯ 2-3 ครั้ง ก็มีโยมถามว่าเคยนั่ง รถรางหรือยัง? ฉันตอบว่าเคยนัง่ รถบัสสองชัน้ เปิดหลังคา รอบแซนแฟรนฯมาแล้ว คงไม่ต่างกันมาก โยมบอกว่า “คนละอารมณ์” ก่อนกลับเมืองไทยฉันจึงหาโอกาสไป นัง่ รถรางสักหนึง่ เทีย่ ว เผือ่ ญาติโยมทีบ่ า้ นเกิดเมืองนอน จะถามบ้างว่าเคยนั่งรถรางหรือยัง? ไม่น่าเชื่อ...มีคน ถามจริงๆด้วย! หน้า 34 (ภาพบน) Palace of Fine Arts คู่บ่าวสาว นิยมมาถ่ายรูปกันที่นี่ (ภาพล่าง) รถรางแล่นไปตาม พื้นที่ลาดชัน ซึ่งเป็นภูมิประเทศปรกติของแซนแฟรน ซิสโก หน้า 35 กังหันลมซึ่งในอดีตใช้สูบน�้ำส�ำหรับรด 45


ต้นไม้ใน Golden Gate Park แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว หน้า 36 เดินเล่นหลังอาหารพบ...แซนแฟรนซิสโก อารมณ์เหงา หน้า 37 ตึกที่สูงและแหลมเสียวสยิวล�ำไส้ที่สุดใน แซนแฟรนซิสโกมีชื่อว่า Transameirca หน้า 39 บ้านของโยมคนหนึ่งอยู่ชานเมือง แซนแฟรนซิสโก หลังบ้านมีภูเขาให้เดินเล่น เมื่อขึ้นไป บนภูเขาสามารถมองเห็นแซนแฟรนซิสโกในมุมเวิง้ ว้าง หน้า 47 จุดชมวิวลมแรงจนน�้ำตาเล็ดที่ Lands End มองเห็นสะพาน Golden Gate อยู่ลิบๆ

46



Abhayagiri Buddhist Monastery Redwood Valley, California, USA

48










เมื่อก้าวเดิน เราจะพบอุปสรรค และวิธีข้ามพ้น ผ่านไปนับพันปี มนุษย์ยังมีอ�ำนาจ ในการเข้าถึงความสงบ ริมหน้าต่าง บางวัน ฉันเห็นภูเขาเศร้าสร้อย


ผู้สัมผัสความสงบสุข ของยามเช้า น่าอิจฉาที่สุดในโลก นกตื่นเช้า จะได้กินหนอน ตื่นเช้า แดฟโฟดิลบานสะพรั่ง เดินกลับกุฏพิ ร้อมสัมภาระบนหลัง ท่ามกลางแดดอุ่น









แง่ร้ายก็จริง แง่ดีก็จริง แต่สิ่งแรกท�ำลายมิตรภาพ ถ้าวันนี้ เป็นวันสุดท้ายของชีวิต ฉันจะนั่งสมาธิ ถ้าพรุ่งนี้ เป็นกาลอวสานของโลก ฉันขอนั่งต่อจนถึงเวลานั้น



ภาพขยาย หน้า 49 ด้านหน้าของอาคารหลังนี้เป็นห้องเก็บ หนังสือ ส่วนด้านหลังเป็นห้องพักส�ำหรับแม่ชีหรือ อาคันตุกะ ในฤดูหนาวถ้ามีหอ้ งว่างอยูแ่ ห่งหนต�ำบลใด พระภิกษุสามเณรก็จะเข้าไปจับจองนัง่ สมาธิ อ่านหนังสือ ฉันน�้ำปานะฯ เพราะอากาศข้างนอกกัดกร่อนถึง เนื้อหนังเอ็นกระดูก หน้า 50 ท้องถิ่นนี้มีหิมะตกเฉลี่ยปีละ 1-2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1-2 วัน และไม่หนาพอที่จะเล่นสกี ถ้าหิมะตกอย่างนี้อย่าว่าแต่ชาวเอเชียเลย แม้ฝรั่งก็ ตื่นเต้นตาโต อุณหภูมิโดยเฉลี่ยขณะนั้นประมาณ 0-3 องศาเซลเซียส หน้า 51-54 ทางเดินขึ้นภูเขากลับกุฏิ จากจุดนี้ไป 68


ถึงกุฏิของฉันซึ่งมีชื่อใสฉ�่ำเย็นว่า First Creek Kuti ถ้าเดินแบบเรื่อยๆจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ฉันเคย ลองเร่งฝีเท้าชนิดที่ไม่หยุดพักเลยจะใช้เวลาราวๆ 24 นาที แต่อากาศที่นเี่ ย็นสบายเดินแล้วไม่เหนื่อยง่าย ฉันอาหารกลางวันเสร็จแล้วเก็บสัมภาระใส่ Backpack (เป้ขนาดย่อมเพื่อความคล่องตัว) สวม Hiking Boot (รองเท้าทีอ่ อกแบบส�ำหรับการเดินระยะไกล) เหน็บหูฟงั iPod (นิทานชาดกหรือพระสูตร) ก็ทำ� ให้เดินสนุกทุก ฝีก้าว แต่ในฤดูร้อนอุณหภูมิหลังเที่ยงวันดีดขึ้นไปถึง 40 องศาเซลเซียส และอาจได้ทักทายงูหางกระดิ่ง น่ารักระหว่างทางบางตัว หน้า 54-56 อาคารหลังนี้มีชื่อเล่นว่า MUB หรือ Monk Utility Building และมีชื่อจริงว่า BC หรือ Bhikkhu Commons เป็นอาคารเอนกประสงค์ราคา หนึ่งล้านกว่าเหรียญยูเอสดอลล่าร์ท่ามกลางหุบเขา 69


เมนโดชิโน สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ชัน้ บน บรรจุหอ้ งสรงน�ำ้ ห้องน�ำ้ ห้องซักผ้า ห้องตัดเย็บจีวร ห้อง พยาบาล ห้องประชุม ห้องฉันน�ำ้ ปานะ ส่วนชั้นล่าง เป็นห้องเก็บเครื่องมือและห้องท�ำงานขนาดย่อม หน้า 59 Hiking Boot ของบางใคร หน้า 60 หันหน้ากุฏิไปทางนี้พบ...วิวภูเขา หน้า 61 Elder Kuti หรือกุฏิสำ� หรับพระผู้ใหญ่ ที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียน กุฏิทั่วไปไม่มีห้องน�้ำ แต่จะมี ส้วมหลุมอยู่ด้านนอก ถ้าท�ำห้องน�ำ้ ในกุฏิให้ถูกต้อง ตามกฏหมายของมลรัฐแคลิฟอร์เนียจะมีค่าใช้จ่าย ที่สูงมาก เพราะต้องท�ำให้คนพิการเข้าไปใช้ได้ด้วย กุฏิที่มีห้องน�้ำอยู่ด้านในจะมีเพียง 3 หลังคือ กุฏิเจ้าอาวาส กุฏิรองเจ้าอาวาส และ Elder Kuti 70


หน้า 62-63 (ภาพบน) Ordination Flat Form พระอุโบสถกลางป่าที่สามารถประกอบสังฆกรรมเช่น การอุปสมบทได้ถูกต้องตามพระวินัย ช่วงฤดูร้อนของ ถิ่นนี้ซึ่งตรงกับฤดูฝนของเมืองไทย คณะสงฆ์จะมา ร่วมกันสวดมนต์ทำ� วัตร นั่งสมาธิ ฟังธรรมทั้งเช้าและ เย็นกันที่นี่ (ภาพล่าง) กุฏิเรียบง่ายหลังนี้ออกแบบและ ก่อสร้างได้ถกู ต้องตามกฏหมายของมลรัฐแคลิฟอร์เนียร์ ซึ่ง (คาดว่า) จะปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและไฟป่า เป็นเหตุให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงถึง 25,000 $ หรือประมาณ 750,000 ฿ หน้า 64 วัยรุ่นจากโปรแกรม Teen Weekend ของ Spirit Rock Meditation Center มาศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของพระป่าและช่วยงานภายในวัด หน้า 65 กุฏิรูปทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งบางใครบอกว่า 71


สื่อถึงมรรคมีองค์แปด หน้า 67 ฟืนเป็นอนาคตของต้นไม้ที่ตายแล้ว ภายในอาณาบริเวณ 250 เอเคอร์หรือ 700 กว่าไร่ของ วัดป่าอภัยคีรี สามารถบริหารต้นไม้น้อยใหญ่ได้โดย ไม่ต้องเกรงใจอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ เพราะเป็นพื้นที่ ส่วนบุคคล หน้า 73 Pit Toilet หรือส้วมหลุม หันหน้าสู่ First Creek Kuti ด้านหลังของกุฏิเป็นทางเดินไปสู่กุฏิ หลังอืน่ ๆ ถ้ามีพระเดินมาระหว่างทีพ่ ระอีกรูปหนึง่ ก�ำลัง นั่งท�ำธุระอยู่ ก็สามารถโบกมือทักทายถามไถ่ทุกข์สุข กันได้

72



Frey Organic Farm Redwood Valley, California, USA

74






ความพอเพียง ท�ำให้มนุษย์ หยุดห�้ำหั่น ขยันอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีปัญญา และกล้าทวนกระแส โอไซริส เทพเจ้าเกษตรกรรมของอียิปต์ คือชื่อเด็กชายคนนี้






ธรรมชาติ กลายเป็นเรื่องยาก ส�ำหรับคนเมือง ผักและดอกไม้ มีวิธีอร่อย ต่างกัน เยือนสวนออร์แกนิก นับไม่ถ้วนครั้ง แพะยิ้มสวย





ภาพขยาย หน้า 75 ทุกเช้าวันพระจะมีพระ 2-3 รูปเดินจาก วัดป่าอภัยคีรีไปยังสวนออร์แกนิกเพื่อรับบิณฑบาต โดยขาไปใช้เวลาเดินประมาณ 45 นาที ส่วนขากลับ มีโยมขับรถมาส่ง ซึ่งเป็นเรื่องดีเพราะบางครั้งชาวสวน ใจดีถวายแตงโมมาหลายลูก หน้า 76-78 บ้านที่ออกแบบและปลูกขึ้นเอง โดยฝีมือของครอบครัว Frey ดูอบอุ่นมีชีวิตชีวา แบบอเมริกันชนบท หน้า 80-81 กรรมวิธีการผลิตแอบเปิลตากแห้ง ชาวสวนบอกว่ารสชาติเหมือนลูกเกดและชักชวนให้ชมิ ส่วนที่พร้อมเสิร์ฟ แต่วันนั้นฉันไปที่สวนในตอนบ่าย จึงไม่ได้ชิม เมื่อกลับถึงวัดแล้วเล่าเรื่องนี้ให้พระฝรั่ง 88


ฟัง ท่านก็ถามฉันว่า “ท่านได้บอกเขาหรือเปล่าว่า โดยวินัยของเถรวาท พระจะไม่ฉันอาหารหลังเที่ยงวัน” ฉันตอบว่านึกถึงเรื่องนี้อยู่เหมือนกันแต่ไม่ได้พูด พระฝรั่งจึงบอกว่าโอกาสหน้าควรจะบอกเขาด้วย (เพื่อเป็นการรักษาน�ำ้ ใจและพระวินัยไปพร้อมๆกัน) หน้า 82 (ภาพบน) เลีย้ งแพะไว้รดี นม แล้วเอานมไป ท�ำเนยแข็ง (ภาพล่าง) ผลผลิตจากสวนออร์แกนิก ประกอบด้วย 3 ส. คือ สด สะอาด และสบายใจ หน้า 83 โรงเก็บไวน์เก่าทีไ่ ม่ใช้แล้ว ธุรกิจขนาดใหญ่ ของครอบครัว Frey คือการผลิตไวน์ แต่ลูกชายของ ครอบครัวนี้ซึ่งมีอายุห่างจากฉัน 12 ปีบอกว่า อยาก เป็นชาวพุทธและอยากปฏิบัติศีลห้า จึงหันมาท�ำสวน ออร์แกนิกแทนการท�ำธุรกิจไวน์

89


หน้า 85 หัตถกรรมห่ามๆ หน้า 86 หลังจากที่พาฉันเดินส�ำรวจบริเวณ สวนออร์แกนิกร่วมชั่วโมง ลูกชายของครอบครัว Frey ก็ชงชาเปปเปอร์มินท์และเล่นเปียโนเพลง Thank you Buddha ด้วยลีลาเฉพาะตัวถวายเป็นเวลา 49 วินาที ติดตามรับชมรับฟังได้ทาง Youtube หน้า 87 บ้านอารมณ์ดิบอุ่น หน้า 91 หมาน้อยกระโจนมาทักทาย

90



Maui Hawaii, USA

92









ทะเลฮาวาย ต้อนรับฉัน เสมือนเพื่อนที่จากกันไปนาน ต้นมะพร้าว เร้าใจ หวนค�ำนึงถึงบ้านเกิด รุ้งกินน�้ำ ท�ำให้อนิจจังปรากฏ บนฟากฟ้า




แม้ในมุมสงบ มหาสมุทร ยังพริ้วไหว ปลาโง่ ย่อมเป็นเหยื่อ ของนักตกปลาฉลาด ฉันถามคลื่นลูกนั้นว่า กังวล ถึงพรุ่งนี้บ้างไหม


ภูเขาไฟภายนอก ดับแล้ว เหลือภายใน ขุ่นขาวของเมฆ เจือละอองแดด ภาพปรกติของที่นี่ ร้านกาแฟท้องถิ่น มักอวลด้วยกลิ่น มิตรภาพ





ภาพขยาย หน้า 93 ทางเดินเข้าบ้านพักบนเกาะเมาอิ ฉันรู้จัก พ่อหนุ่มชาวอเมริกันเจ้าของบ้าน เมื่อครั้งที่เขาบวช เป็นสามเณรอยูท่ วี่ ดั ป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี แต่บวชได้เพียง 2 พรรษาเขาก็ลาสิกขา จากนั้นก็ กลับมาท�ำงานศิลปะควบกับการเป็น Wedding Photographer บนเกาะเมาอิ ซึ่งเป็นเกาะที่สังกัดอยู่ ในหมูเ่ กาะฮาวาย ภายหลังเขาแต่งงานกับหญิงชาวจีน เมื่อเขาทราบว่าฉันมาอยู่บนแผ่นดินใหญ่ของอเมริกา จึงนิมนต์ให้ไปเยี่ยมที่แผ่นดินเล็ก 9 วันที่ฮาวายเรา ได้เห็นรุ้งกินน�ำ้ แทบทุกวัน เพลงดังถึงดังมากของที่นี่ ก็คือ Somewhere Over the Rainbow และ What’s a Wonderful World บรรเลงแบบเมดเล่ย์ในเวอร์ชั่น ฮาวายเอี้ยนโดยมีเสียง Ukulele กรุ๋งกริ๋งเป็นฉากหลัง

108


หน้า 94 (ภาพบน) บ้านซึง่ ออกแบบและปลูกสร้าง ด้วยตัวของเขากับคุณลุง บ้านหลังนีผ้ ดุ ขึน้ บนทีด่ นิ ของ คุณป้า ซึ่งมีบ้านของพ่อแม่และบ้านเช่าอีกหลายหลัง อยูใ่ นทีด่ นิ ผืนเดียวกัน (ภาพล่าง) ในวันทีอ่ ากาศปลอด โปร่ง สามารถมองเห็นทะเลระยะไกลได้จากระเบียงบ้าน หน้า 95-96 ออกแบบตกแต่งภายในด้วยศิลปะจีน รสนิยมเฉพาะตัวของหนุ่มอเมริกันคนนี้ หน้า 96 (ภาพบน) หนุ่มชาวอเมริกันกับศรีภรรยา ชาวจีนก�ำลังเตรียมอาหารเช้าถวายพระชาวอีสาน หน้า 99-102 ทะเลหลากอารมณ์ แผ่นหินสีดำ� ทีเ่ ห็น ในหน้า 98 คืออดีตลาวาร้อนคลัง่ ทีไ่ หลออกมาจากปล่อง ภูเขาไฟ ฉันจ�ำชื่อชายหาดของที่นี่สลับกันแต่ก็สนุกดี ทีไ่ ด้ออกเสียง เช่น Paia (พะ-เอีย) Lahaina (ลา-ไฮ-น่า) 109


Kihe (คิ-เฮ) ฉันเคยถามพระฝรั่งว่าท�ำไมฝรั่งจึงตื่นเต้น กับการไปเยือนฮาวาย ซึ่งชาวเอเชียอย่างฉันกลับรู้สึก เฉยๆ? ท่านตอบว่าแม้ฮาวายจะเป็นรัฐหนึ่งของ ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็แตกต่างจากอเมริกาอย่าง สิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นผู้คน ดนตรี ภาษา อาหาร หรือ วัฒนธรรม หน้า 105 Haleakala (ฮา-เล-อะ-คา-ลา) แปลว่า House of the sun หรือ บ้านของดวงอาทิตย์ เป็นภูเขาไฟ ที่ดับและหลับสนิทในระดับความสูง 2,969 เมตร ที่นี่ มีบริการไกด์พา Hiking ไปตามหุบเขาเป็นเวลา 3 วัน หรือ 7 วัน โดยจะตั้งแค้มป์พักแรมเป็นระยะๆ แต่คง จะเกรียมเอาเรื่องเพราะเห็นแต่เมฆกับก้อนหิน หน้า 106 (ภาพล่าง) ชายหาดแห่งนี้ชื่อ Baby Beach ฉันจ�ำได้ถนัดเพราะชื่อน่าเอ็นดู เหตุที่ได้ชื่อนี้ 110


เพราะมีแนวก้อนหินระยะยาวคอยกั้นคลื่นทะเลเอาไว้ ท�ำให้เด็กๆหรือคนที่ว่ายน�้ำไม่เก่งลงไปเล่นส่วนที่อยู่ ระหว่างชายหาดกับแนวก้อนหินได้อย่างปลอดภัยไร้กงั วล หน้า 106-107 ร้านกาแฟประจ�ำท้องถิ่น ช่วงเวลา 9 วันที่บนเกาะเมาอิ เราให้ความส�ำคัญกับค�ำว่า “Local” กันมาก ไม่ว่าจะเป็นร้านหนังสือ ร้านอาหาร หรือซุปเปอร์มาเก็ต ถ้าจะแวะก็ต้องอมยิ้มถามกันว่า Local หรือเปล่า?

111


Portland Oregon, USA

112






ท้องน�้ำ สะท้อนเงาภูเขา เห็นแจ่มชัด หกร้อยไมล์ ไปส่งเพื่อน ความปราโมทย์ตลอดการเดินทาง ขุนเขา สวมหมวกหิมะ พุ่มดอกไม้หวามไหว


รัวชัตเตอร์ นับครั้งไม่ถ้วน เพียงหนึ่งภาพที่รับไหว ยืนมุมสูง ผิวเกรียมแดด ถนนยอกย้อน ละอองน�้ำ ปลิวสู่ทุกทิศทาง ผู้สัมผัสจึงเย็น







ภาพขยาย หน้า 113 คณะสงฆ์วัดป่าอภัยคีรีเดินทางไปเปิด ส�ำนักสาขาแห่งใหม่ที่เมือง Portland รัฐ Oregon ระหว่างทางเราแวะสัง่ เครือ่ งดืม่ ร้อนๆรับอรุณทีซ่ ปุ เปอร์ มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง ถ้าเป็นที่เมืองไทย นิมนต์พระนั่งรอ อยูใ่ นรถแล้วให้โยมไปสัง่ เครือ่ งดืม่ มาถวายจะดูงามกว่า แต่ทนี่ อี่ เมริกา พระต้องบริการตัวเอง ด้วยความเก้อเขิน เพราะไม่คนุ้ เคยกับการต้องไปยืนต่อคิวหน้าเคาน์เตอร์ เพื่อสั่งเครื่องดื่ม ฉันจึงหันหลังให้โกโก้ร้อนๆเช้านั้น แต่หลังจากผ่านไปครึ่งค่อนปี เมื่อก้าวเท้าเข้าสู่กาแฟ สถานบนแผ่นดินอเมริกาคราใด ฉันจะดิ่งไปที่ เคาน์เตอร์แล้วบอกบริกรอย่างชัดถ้อยชัดค�ำว่า “ChaiLatte-Soy-Medium-Please” (ชาผสมเครื่องเทศ ใส่นมถัว่ เหลืองบรรจุในแก้วขนาดกลาง--กรุณา!) ติดกับ ซุปเปอร์มาเก็ตเป็นร้านอาหารทีต่ กแต่งแนวชีวติ กลางแจัง 124


แทบทุกซอกมุมของร้านประดับด้วยสารพัดซาก สิงสาราสัตว์สะบัดอารมณ์คันทรีดีแท้ หน้า 114-116 (ภาพบน) ท้องน�้ำสีครามหวามใจ ของ Crater Lake หน้า 119 ถนนทรงแปลก หน้า 120-121 ภูเขาปกคลุมด้วยหิมะลูกนี้มีชื่อว่า Mont Hood ฉันเคยเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของส�ำนัก สาขาแห่งใหม่ทชี่ อื่ Pacific Hermitage พบว่าพระทีอ่ ยู่ ประจ�ำเคยไปเดินลุยหิมะและสวดมนต์บนยอดเขา แห่งนี้ด้วย หน้า 122 ภายในพิพิธภัณฑ์ Columbia Gorge Discovery Center เย็นสบายด้วยอุณหภูมทิ คี่ วบคุมโดย 125


เครือ่ งปรับอากาศ ส่วนอุณหภูมภิ ายนอกทีไ่ ร้การควบคุม สามารถเปล่งอุทานอธิบายด้วยสองพยางค์วา่ ...ตับแตก!! ที่เห็นเป็นแนวยาวในภาพบนคือหินแกรนิตชนิดเรียบ ทีถ่ กู ออกแบบและตัดให้โค้งเว้าเหมือนล�ำธารธรรมชาติ หน้า 123 น�ำ้ ตกระหว่างเดินทางกลับวัดป่าอภัยคีรี ฉันอนุมานว่าด้านบนสุดน่าจะมีบงึ ขนาดใหญ่ เป็นทีๆ่ น�ำ้ จากทุกทิศทางไหลมารวมกัน ก่อนจะเล็ดลอดออกมา ทางช่องหินให้เห็นเป็นน�ำ้ ตก แต่ด้วยความไม่แน่ใจ ฉันจึงถามพระฝรั่งรูปหนึ่งว่าน�้ำมาจากไหน? ท่านยิ้ม แล้วตอบว่า “มาจากข้างบน” หน้า 127 กดชัตเตอร์ขณะรถก�ำลังวิ่ง 35 ครั้ง จึงได้รูปนี้มาประดับ

126



เด็ดธรรมะริมทาง เปสโลภิกขุ เพลงดาบแม่น�้ำร้อยสาย 128






เปสโลภิกขุ 2516 เกิดที่อ�ำเภอวารินช�ำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2536 เรียนที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2539 บวชที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี 2553-2554 จ�ำพรรษาที่วัดป่าอภัยคีรี สหรัฐอเมริกา ผลงานหนังสือระหว่างปี พ.ศ. 2550-2555 บทกวีในที่ว่าง / แดนสนทนา / เรื่องเป็นเรื่อง หนึ่งร้อย / เรื่องของเรา / เสียงฝนบนภูเขา จุดชมวิว + 38 วัน ฉัน ซิดนีย์ Dhamma Design Issue 1 & 2 / Pesalocation Dhammascapes / Poems on the Road Fearless Diary + Spring Talk To be Awake + Enchanted Hiking The Organic Experience 133


เพลงดาบแมน�้ำรอยสาย ดีกรีปริญญาตรีบญ ั ชีบณ ั ฑิตจากคณะบัญชี มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ แตฝกใฝในงานอักษรตั้งแตครั้งยังเปนนักศึกษาปี 1 โดยเริม่ มีงานเขียนประเภทเรือ่ งสัน้ และบทกลอนตีพมิ พป ระปราย ในนิตยสารไปยาลใหญตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ออกจากรั้วมหาวิทยาลัยก็เขาสังกัดกองบรรณาธิการ นิตยสารไปยาลใหญโดยไมรีรอ หลังจากนั้นอีกราวสามปจึง ขยับขยาย เขาสูง านผลิตรายการโทรทัศนส งั กัดบริษทั เจเอสแอล จํากัด กอนไปศึกษาตอดาน Broadcasting (วิทยุ-โทรทัศน์) ที่แคลิฟอรเนีย กลับมาเป็นคอลัมน์นิสต์ที่นิตยสารแพรว สุดสัปดาห์ ควบคูไปกับการทํางานผลิตรายการเจาะใจใหกับ ตนสังกัดเดิม

134


ราวสองปถัดจากนั้นยอมตัดใจจากกระบวนการผลิต รายการ ออกมารวมหัวกับมิตรสหายทํางานเขียนบทละครทีวี และตั้งตนเปนนักเขียนอิสระเต็มตัว มีพ็อกเก็ตบุ๊คออกสู่ สายตานักอานอยางตอเนื่องกว่ายี่สิบเล่มเช่น ฉากรัก ใต้หมวกหิมะ เซียนโปสการ์ด ยุโรปของเพลงดาบฯ ทุกวันนี้เพลงดาบแมนำ�้ รอยสายยังคงเขียนความเรียง เรื่องเที่ยวแนวถนัด เขียนบทภาพยนตร์ บทละครโทรทัศน์ แปลหนังสือ และที่ขาดเสียไมไดคือเดินทางทองเที่ยวอยาง สม�่ำเสมอ

135



เปสโลภิกขุ : เดินทางไปตางแดนครั้งแรกนาน หรือยัง? ตอนนั้นคิดยังไง? เพลงดาบฯ : โอโห...น่าจะสัก 20 ปีแลวคะ ครั้งแรกน่าจะเป็นเนปาล ก็ชวนเพื่อนไปเที่ยวเลนตาม ประสา จําไมไดแลววาทําไมจึงเปนเนปาล อาจจะเปน เพราะวามันใกลกไ็ ดคะ มันก็ใหบรรยากาศทีต่ า งไปจาก เมืองไทยที่เราเที่ยวๆกันอยู่ ไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ ไม่คุ้นเคย ภาษาไมคนุ เคย อาหารไมคุนเคย อากาศ ไมคุนเคย มันก็ใหรสชาติอีกแบบหนึ่ง ตอนนั้นเริ่ม ทํางานเป็นครีเอทีฟรายการทีวีที่บริษัทเจเอสแอล ตอนลางานตองกรอกใบลาวาเราจะลาไปทําอะไร เราก็เขียนวาไปแสวงบุญ (หัวเราะ) เพราะวาเราลา หลายวัน เปสโลภิกขุ : ไมไดไปอินเดียใชไหม? บินตรงไป เนปาลเลย เพลงดาบฯ : ไมคะ ไปเนปาลกอนเพราะคิดวาเนปาล 137


นีส่ าํ หรับ Beginner ถัดจากเนปาลก็ไปศรีลงั กาซึง่ เปนขัน้ Intermediate (หัวเราะ) แตอนิ เดียนีเ่ ปน Advance ก็จะ เก็บไวทีหลัง คืออยากไปอินเดียแตไมกลา ก็เลยเลาะๆ กอน พอเนปาลแลวก็ลงมาศรีลังกา พอรูสึกคุนกับแขก คิดวาเอาอยูก็คอยไปอินเดีย เปสโลภิกขุ : ทําไมไมกลาไปอินเดีย? เพลงดาบฯ : เมือ่ กอ นเราไมร จู กั ก็กริง่ เกรงไปตาม ค�ำล�่ำลือ เปสโลภิกขุ : ความล�ำบาก ความสกปรก เพลงดาบฯ : นาจะเดินทางยาก หมายถึงระบบ ขนสงไมสะดวก ผู้คนก็ไม่รู้ประมาณไหน ก็เลยลองดู เนปาลกับศรีลังกากอน พอมั่นใจแลวคอยไปอินเดีย เปสโลภิกขุ : กรอกลงในจดหมายลางานวาไป แสวงบุญ แตจริงๆไมไดแสวงบุญใชไหม? (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : จริงๆไปเที่ยว ไมไดคิดวาจะไป แสวงบุญ แตมันก็ไดแสวงนะคะ คือเราไมไดโกหก 138


ตอนแรกก็ตอบเอามัน แต่เวลาไปเดินขึ้นภูเขาถึงภาวะ ที่เหนื่อยจนคิดอะไรไม่ออก ความสนใจอยู่แค่การ ก้าวเท้าทีละก้าว ภาวะนั้นเราก็จะ...ออ! นี่ไงอยู่กับ ปัจจุบันขณะ แค่หายใจแล้วก้าวขา ความคิดหาย ไปไหนไม่รู้ เปสโลภิกขุ : ครั้งแรกของอาตมาไปอินเดีย ก็พก ‘คูมือเที่ยวสี่ตําบลดวยตนเอง’ ของเพลงดาบฯไปดวย เหมือนกัน แตมนั ไมค อ ยไดใ ชเ พราะไปกับทัวร์ (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : เขาจัดการให้ เปสโลภิกขุ : ใช่ แตก็ไดอาศัยดูรูป ดูมุมกลอง (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : สังเวชนียสถานสี่นี่ก็เพิ่งจะได้ไป ตอนไปอินเดียครั้งที่ 3-4 แล้ว ครั้งแรกที่ไปอินเดีย ก็ไปแคพุทธคยากับสารนาถคะ ยังไมไดไปกุสินารา กับลุมพินี ตอนนั้นตั้งใจไปเที่ยวเดือนครึ่ง แต่ในแผนนี่ มีพุทธคยากับพาราณสีแน่นอน 139


เปสโลภิกข : ไปแลวเปนไง? ไปหลังจากรูเ รือ่ งการ ปฏิบัติธรรมแลว? เพลงดาบฯ : ตอนนัน้ ยังไมไดป ฏิบตั เิ ปน ระบบเปน เรื่องราว แตโดยสวนตัวเหมือนกับวาเราใชธรรมะใน การดําเนินชีวติ ของเรามาเรือ่ ยๆอยูแ ลว แตเ ราไมท ราบ เวลาเราอานเจอคําสอนมันก็ไดรบั การพิสจู นวา มันจริง มาเรือ่ ยๆ เออ...คําสอนเจงแฮะ แตว า ตอนนัน้ ศรัทธาใน พระพุทธเจายังธรรมดา เพียงแตว า เราไดพ สิ จู นค าํ สอน แลวรูสึกวาคําสอนมันเจง เพราะฉะนั้นคนสอนก็ตอง เจง ลักษณะจะเป็นว่าศรัทธาค�ำสอนก่อนน่ะคะ ตอนไปพุทธคยาก็ชอบมาก ไมทราบวาทําไมจึงชอบ พุทธคยามาก ชอบเหมือนรูสึกผูกพันกับพุทธคยา เปสโลภิกขุ : หมายถึงในบริเวณเจดีย์ บริเวณ ตนโพธิ์ เพลงดาบฯ : ใช่ รูสึกวาตรงนี้แหละที่ปัญญาที่แท้ จริงเกิดขึน้ อะไรอยางนีค้ ะ แล้วก็มาเริม่ ฝกปฏิบตั อิ ยา ง 140



เปนระบบเมื่อปี 2545 เขาคอรสอาจารยโกเอ็นกา ครัง้ แรกก็เจอทางทีถ่ กู จริตเลย จากนัน้ ก็จริงจังสม�ำ่ เสมอ ขึ้นเรื่อยๆ เปสโลภิกขุ : ชวงหลังๆนีไ่ ปปฏิบตั ธิ รรมทีไ่ หนบา ง? เพลงดาบฯ : ตามศูนยของอาจารย์โกเอ็นกา ที่ พิษณุโลก ปราจีนฯ เมืองกาญจน์ ล�ำพูนค่ะ ปีนึงก็จะ ไปติวเข้มสัก1-2 ครั้ง บางทีก็ไปเป็นธรรมบริกรบ้างค่ะ ที่ไปเขาอบรมครั้งแรกก็ไปแบบโล่งๆโปร่งๆไมคาดหวัง ไมคิดวาจะเปนยังไง แล้วก็ไม่ได้ถูกผลักดันด้วยความ ทุกข์ใดๆ คืออยู่สบายเปนปรกตินี่แหละค่ะ แตพอดี ชวงนั้นตรงกับปใหม เวลาลงตัว เราเองก็อยากลอง อยู่แล้ว ก็เลยไป ก็ไดรูจักการปฏิบัติตั้งแต่ตอนนั้น เปสโลภิกขุ : อบรมกี่วัน? เพลงดาบฯ : สิบวันคะ ตัวคอรสจริงๆนี่สิบวันคะ แตร วมวันทีเ่ ราเช็คอินกับเช็คเอาทดว ยก็จะเปนสิบสอง เปสโลภิกขุ : อาตมาเคยไดยินแตชื่อ ไมรวู าเขา 142


ทําอะไรยังไง แตในตางประเทศเขาก็มีชื่อเสียง เพลงดาบฯ : คะ สามวันแรกฝึกอานาปานสติ แล้วจากนั้นก็ค่อยวิปัสสนา ที่นี่ก็จะค่อนข้างเน้นไป ทางว่าคนศาสนาใดก็ปฏิบัติธรรมได้ เพราะธรรมะ เป็นสากล ความทุกข์เป็นสากล เปสโลภิกขุ : มันเปนสากลโดยธรรมชาติอยูแลว (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : ใช่ คือถาประกาศตัววาเปนพุทธ คนศาสนาอื่นก็จะไมไดปฏิบัติธรรม แตสิ่งที่สอนก็คือ พุทธนั่นแหละคะ เปสโลภิกขุ : ก็มีเหมือนกัน ตอนนั้นหลวงพอชา ไปเผยแผธรรมะในตางประเทศ เคยอานหนังสือของ หลวงพอชาไหม? เพลงดาบฯ : หนังสือของท่านเองยังไมเคยคะ แตเคยอ่านจากที่คนนั้นคนนี้เขียนอ้างอิงถึงค�ำสอน ของท่าน 143



เปสโลภิกขุ : หลวงพอชาเดินทางไปเผยแผ ธรรมะในตางประเทศ มีลูกศิษยนิมนตไป มีบาทหลวง มารวมปฏิบัติธรรมดวย ชวงทายๆของการอบรม บาทหลวงถามวา ถายังแตงตัวและมีวิถีชีวิตแบบ ชาวคริสต์ เขายังสามารถปฏิบัติแบบพุทธไดไหม? หลวงพอชาตอบวา ‘มันเหมือนไกมหี วั เปนเปดหรือเปด มีหัวเปนไก่ ไมรวู ามันเปนตัวอะไร’ (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : ชวงแรกๆมันคงจะเปนอยางนั้น แตถาปฏิบัติไปเรื่อยๆคงจะเปลี่ยนเอง เปสโลภิกขุ : ใช่ น�้ำหนักฝงนี้มันมากขึ้น เพลงดาบฯ : ทนไมไหวหรอกคะ ตองเปลี่ยน (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : เกี่ยวกับอินเดีย ไมรูวาเราคาด เกินหวังไปหรือเปลา เพราะเคยฟงครูบาอาจารยที่เคย ไปมาแลว แตละองคก็จะเกิดปติน�้ำตาไหลขนลุก ขนพองในแตละสถานที่แตกตางกัน บางองคก็จะเกิด 145


ที่พุทธคยา บางองคก็สถูปปรินิพพาน อาตมาไปครบ ทั้งสี่แหงแต่กลับรู้สึกเฉยๆ (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : เราก็ไมถ งึ ขนาดขนลุกน�ำ้ ตาไหลนะคะ อาจจะเปนเพราะศรัทธายังไมมากหรือไมอินขนาดนั้น เปสโลภิกขุ : ทั้งที่เราก็ปฏิบัติธรรมมากอนนะ ตอนนั้นก็สิบกวาพรรษาแลว มีครั้งหนึ่งที่วัดปาทาง ภาคอีสาน อาตมากําลังนั่งรอสัญญาณระฆังเพื่อไป รับอาหาร มีหนังสือมนตพิธีแปลวางอยูใกลๆก็เลย หยิบมาพลิกดู อานคําแปลบทสวดมนตบทหนึ่งแลว เกิดปติซาบซึ้งน�้ำตาไหลพรากเลย ตองรีบลุกไปเขา หองน�้ำลางหนา เพราะมันไดเวลาไปรับอาหารแลว แตพอไปอินเดียมันไมเกิดอยางนี้เลยแมแตนอย (หัวเราะ) มันเหมือนไปอุทยานประวัติศาสตร์ ก็ยังนึก อยูวา เอะ! เราผิดปรกติหรือเปลา (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : อาจจะสงสัยวาสถานทีน่ จี้ ริงหรือเปลา (หัวเราะ) 146


เปสโลภิกขุ : อาตมาไมคอยสงสัยนะ ฝรั่งที่สำ� รวจ พบสังเวชนียสถาน เขาไม่ใช่ชาวพุทธ เขาเป็น นักโบราณคดี เป็นนักประวัติศาสตร์ ขุดเจออะไรเขา ก็ว่ากันไปตรงๆ มีโยมถามอาตมาวาที่พระพุทธเจา ตรัสวา ‘ถ้าใครไดไปนมัสการสังเวชนียสถานแลว จะเปนสิ่งที่รับประกันวา บุคคลนั้นจะไดเกิดมา เปนมนุษยอีก’ จริงไหม? เหตุที่จะทําใหบุคคลเกิด เปนมนุษยก็คือการปฏิบัติศีลหา และไปนมัสการ สังเวชนียสถาน อันนี้พระพุทธองคเคยแสดงไว้

147


อานิสงส์ ๕ ประการของศีลสัมปทา คหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วย ศีลของผู้มีศีลห้าประการ ห้าประการคืออะไรบ้าง? คือ (๑) คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วย ศีลในโลกนี้ได้ประสบโภคะกองใหญ่ เพราะมีความ ไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ของความ ถึงพร้อมด้วยศีลของบุคคลผู้มีศีล (๒) คหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก กิตติศัพท์ อันดีงามของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อม กระฉ่อนไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ของความถึงพร้อม ด้วยศีลของบุคคลผู้มีศีล (๓) คหบดีทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเข้าสู่บริษัทใดๆคือ ขัตติยบริษัทก็ดี


พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมเป็นผู้องอาจไม่ขวยเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ที่ ๓ ของความถึงพร้อมด้วยศีลของบุคคลผู้มีศีล (๔) คหบดีทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงท�ำกาละ (ตาย) นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของความถึงพร้อมด้วยศีลของ บุคคลผู้มีศีล (๕) คหบดีทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผูถ้ งึ พร้อมด้วยศีล ครัน้ ร่างกายแตกภายหลังมรณะย่อม เข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์ นีเ้ ป็นอานิสงส์ขอ้ ที่ ๕ ของความ ถึงพร้อมด้วยศีลของบุคคลผู้มีศีล คหบดีทั้งหลาย เหล่านี้คืออานิสงส์ ๕ ประการของ ความถึงพร้อมด้วยศีลของบุคคลผู้มีศีล


สังเวชนียสถาน ๔ ต�ำบล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อนพวกภิกษุอยู่ จ�ำพรรษาแล้วในทิศทั้งหลาย พากันมาเพื่อเฝ้า พระตถาคต พวกข้าพระองค์ได้เห็น ได้เข้าไปนั่งใกล้ ภิกษุผู้ให้เจริญใจเหล่านั้น พวกข้าพระองค์โดยล่วงไป แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าไปนั่ง ใกล้ภิกษุผู้ให้เจริญใจ อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควร เห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ เป็นไฉน? สังเวชนียสถานเป็นทีค่ วรเห็นของกุลบุตรผูม้ ศี รัทธา ด้วยระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ๑


สังเวชนียสถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มี ศรัทธาด้วยระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณในที่นี้ ๑ สังเวชนียสถานเป็นทีค่ วรเห็นของกุลบุตรผูม้ ศี รัทธา ด้วยระลึกว่า พระตถาคตยังธรรมจักรอันยวดยิ่งให้เป็น ไปแล้วในที่นี้ ๑ สังเวชนียสถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มี ศรัทธาด้วยระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ๑ อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านั้นแล เป็น ที่ควรเห็น ควรให้เกิดสังเวชของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มาด้วยระลึกถึงว่า พระตถาคตประสูติแล้วในที่นี้ พระตถาคตตรัสรู้


อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วในที่นี้ พระตถาคตยัง ธรรมจักรอันยวดยิ่งให้เป็นไปแล้วในที่นี้ พระตถาคต เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้วใน ที่นี้ อานนท์ ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิต เลื่อมใส จักท�ำกาละ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ภาค ๒ เล่ม ๑ มหาปรินิพพานสูตรที่ ๓


เพลงดาบฯ : ทราบแตขอแรก ขอที่สองไมทราบ เปสโลภิกขุ : มีโยมถามอาตมาวาขอที่สองนี่ จริงไหม? ครูบาอาจารยอธิบายวา คนที่ไดไปนมัสการ สังเวชนียสถานแลวเกิดปติ เมื่อใกลจะตาย ถ้าจิตมัน นอมไปถึงปตินั้น ก็จะเปนเหตุใหไปสูสุคติ อยางนอยๆ ก็จะไดมาเกิดในภพภูมิมนุษย์ การไปสังเวชนียสถาน สําหรับคนอื่นอาจจะพอ (หัวเราะ) แตสําหรับอาตมา มันไมพอ ตองปฏิบัติอยางอื่นเพิ่มอีก จึงจะมีเครื่อง รับประกันไดถึงขนาดนั้น (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : ตอนไปกุสินาราเห็นพระพุทธรูป ปางปรินิพพาน ในความรูสึกคือสวย เราก็ดูวา เอะ! ท�ำไมดูสวยดูสงบกวาปางไสยาสนที่เราเคยเห็น เรา ก็เดินเล็ง ออ ...พระพักตรข องพระพุทธรูปจะกม ลงนิดนึง เหมือนหลับจริงๆ เปสโลภิกขุ : แตคนที่ไปเขารูสึกตางจากที่ เพลงดาบฯวามา เขาสัมผัสถึงพลังบางอยาง แต 153



อาตมาไมมีตรงนั้น เพลงดาบฯ : แตก็รูสึกดีใชไหมคะ? ไมไดรสู ึกลบ เปสโลภิกขุ : ไมลบไมบวกนะ มันรูสึกเฉยๆ หรือ เราอาจจะไดข อ มูลมาเยอะเกินไป (หัวเราะ) แตอาตมา ประทับใจในแงที่ไดเห็นครูบาอาจารยใชธรรมะในการ แกปญ  หาระหวา งการเดินทาง การรักษาพระวินยั เมือ่ เรา ไปอยูในสิ่งแวดลอมที่มันตางจากเมืองไทย อีกอยางที่ ประทับใจมากก็คอื ญาติโยมดูแลเอาในใสพ ระเปน อยา งดี เพลงดาบฯ : คนที่เกิดปติมากๆอาจจะอยูที่การ Built หรือเปลาคะ (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : อาจจะเปนที่จริตของแตละคนมั้ง กลุ่มศรัทธาจริตเขาจะเชื่อเลย สวนกลุ่มปญญาจริต จะชอบตั้งขอสังเกต พอกลับมาแลวอาตมาก็ลังเล อยูวาจะเลาเรื่องนี้ลงในหนังสือดีหรือเปลา เดี๋ยวคน จะหาวาเราผิดปรกติ (หัวเราะ) พอตีพิมพเรื่อง ‘อินเดีย เพลียไหม?’ ไปแลว ก็มีนักปฏิบัติธรรมมาเลาใหฟงวา 155


เขาก็รูสึกอยางนั้นเหมือนกัน เราก็เออ...แสดงว่าเรา ไมไดผิดปรกติ (หัวเราะ) หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้ผิด ปรกติเพียงล�ำพัง (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : เคยฟงเอ็มพีสามของหลวงพอ ปญญานันทะ ทานบอกวาทานเกิดปติที่พุทธคยา เปสโลภิกขุ : การเดินทางของคนหนุมสาวยุคนี้ อาจจะคลายๆกับการที่พระไปธุดงคก็ได้ มีพระใหม ถามวา การไปธุดงคจําเปนไหมสําหรับพระยุคนี้? อาตมาก็ตอบวามันจําเปนสําหรับบางรูป แตไมใชทกุ รูป รูจักทานเจาคุณนรรัตนราชมานิตไหม? เพลงดาบฯ : รูจักคะ เคยอาน เปสโลภิกขุ : ทานเคยมีความคิดที่จะออกธุดงค์ เตรียมกลดเตรียมบริขารไวแลวแตก็เปลี่ยนใจ กิจวัตร ประจําวันของทานก็คือ เดินจากกุฏิไปสวดมนต ทําวัตรเชาที่โบสถแลวก็เดินกลับมาที่กุฏิ ไมไดออก บิณฑบาต แตมีญาติโยมนําอาหารมังสวิรัติมาถวาย 156


ที่กุฏิ ตอนเย็นทานก็เดินจากกุฏิไปสวดมนตทําวัตรที่ โบสถ์ เสร็จแลวก็กลับกุฏิ ถาจะสนทนากับทานตองมา ดักรอระหวางที่ทานเดินจากกุฏิมาที่โบสถ์ หรือจาก โบสถไปที่กุฏิ และทานก็ไมใหใครเขาไปในกุฏิ ในนั้น มีโลงศพกับโครงกระดูกอยู ท่านเอาไว้พจิ ารณากรรมฐาน ทานปฏบัติอยางนี้ ไมไดไปธุดงคที่ไหน ถามีพระมาขอ ไปธุดงค์ หลวงพอชาก็จะยกตัวอยางเรื่องนี้ การไป ธุดงคสําหรับพระบางรูปมันก็เหมือนไปเที่ยวดูนั่นดูนี่ เพลงดาบฯ : (หัวเราะ) แตก็ตองเขาปาใชไหมคะ เปสโลภิกขุ : ใช่ แตทุกวันนี้ปามันก็หายากแลว เพลงดาบฯ : นั่นน่ะสิคะ เปสโลภิกขุ : อีกอยา งวัดทีเ่ ราอยูก เ็ ปน วัดปา อยูแ ลว สมัยกอ นจะไปทีไ่ หนมันก็มปี า แตเ ขา ปา ภาระทีจ่ ะตอง เกี่ยวของกับคนมันก็นอย แลวก็มีสัตวปา มันก็ให ความวิเวกความตื่นตัวระดับหนึ่ง บางรูปมันก็จําเปน ถามีพระจะลาสิกขา บางทีครูบาอาจารยก็พาไปเดิน 157


ธุดงคเหมือนกัน พอไดไปเห็นผัวเมียทะเลาะกัน มันก็ เกิดความสังเวชขึ้นมา มันก็เปนประโยชนเหมือนกัน เพราะบางทีอยูวัด ตอนเชาก็มีคนเอาอาหารมาถวาย พออยูสบายมันก็คิดออกไปขางนอก เพลงดาบฯ : ก็ชวยได้ เปสโลภิกขุ : เรื่องความตื่นตัวนี่มันก็เปนของ ไมแนนอนเหมือนกัน อาตมาเคยพบพระรูปหนึ่งที่ อเมริกา สังเกตเห็นจีวรของทานสีมันไมสม�ำ่ เสมอกัน เหมือนเอาผาชิ้นใหญๆมาเย็บติด มารูทีหลังวาเปน ผา หอ ศพทีท่ า นไปชักบังสุกลุ มาจากศพจริงๆ แลวก็เอา มาซัก เอามายอม จากนั้นก็เอามาเย็บติดกับจีวร แตมันเปนผาคนละชนิดกัน สีมันก็เลยไม่เขากัน ที่ทานทําอยางนี้ก็เพื่อพิจารณาอสุภกรรมฐาน หรือ มรณสติ มันช่วยลดความสําคัญตัวสําคัญตน อาตมา ถามทานวาใชแลวรูสึกยังไง? ทานตอบวาใหมๆ ก็ตื่นเตนดี แตพอคุนแลวก็เฉยๆ พอกลับมาเมืองไทย 158



บังเอิญอาตมามีโอกาสแวะไปวัดที่ทานสังกัดอยู่ ก็เลยถามถึงพระรูปนี้ ปรากฏวาทานลาสิกขาไปแลว นาจะบวชไดประมาณ 5-6 พรรษา เพลงดาบฯ : คะ เปสโลภิกขุ : ลาสุดไปไหนมา? เพลงดาบฯ : เยอรมันคะ ไปมิวนิค เดรสเดน เบอร์ลิน เปสโลภิกขุ : กําลังทําหนังสือ เพลงดาบฯ : ยังเลยคะ แตถาจะเขียนก็มีอะไร ใหเขียนเยอะ ชอบเบอรลินนะค่ะ มี Street Art ของ เบอรลินที่นาเขียนถึง มันมันสมาก เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) เขาท�ำอะไร? Performance Art หรือ Installation Art? เพลงดาบฯ : เปน พวกเขียนกาํ แพงนะ คะ แตเ ขียน กันแบบจริงๆจังๆ ทางรัฐเขาจางศิลปนมาทํา เขียน ขางกําแพงตึกสูง 4-5 ชั้น 160


เปสโลภิกขุ : Graffiti เพลงดาบฯ : Graffiti ดวย บางตึกที่เขาไมอยาก ใหทุบทิ้ง เปนตึกเกาตั้งแตสมัยที่ยังเปนคอมมิวนิสต์ มีคนไปทํางานศิลปะไวเยอะ แลวก็มีคนเขาไปเที่ยว ไปดู แตม นั เปน แบบรกๆซกมก (หัวเราะ) แบบนัน้ นะค่ะ แตวามันมันส์มาก มันมันส์ดี เขาเปดโอกาสใหศิลปน ปลอยของ เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) เคยไปธิเบตกับพระอาจารย์ ไพศาล (วิสาโล) ดวย ทานจัดไปเหรอ? เพลงดาบฯ : ไมหรอกคะ เรานี่แหละจัด มีพี่คนนึง อยากไป เราก็เลยชวนเพื่อนๆพี่ๆอีก 4-5 คน พี่ที่บริษัท ก็เลยนิมนตทานไปดวย ตอนนั้นเราก็ยังไมรูจักทาน ไมรูวาจะมีพระไปดวย พอรูวามีพระอาจารย์ไพศาล ไปดวย เราก็ถามกันวา เฮ้ย! แลวเราตองทําตัวยังไง? เราตองพูดยังไง? เราจะทําอะไรผิดไหม? คือไมคนุ เคย กับพระ แตพอดีมพี ผี่ ชู ายไปดวย เขาก็เลยคอยเทคแคร 161



ทาน พอดีวาทานมีความรูเรื่องวัชรยานดวย เราก็เลย ไดประโยชนจากตรงนั้นเยอะ เปสโลภิกขุ : ไปกี่คน เพลงดาบฯ : หกคน รวมพระหนึ่งรูปเป็นเจ็ด เปสโลภิกขุ : กลุมเล็กๆคลองตัวดี เพลงดาบฯ : คะ แตทานก็ยอมรับวาสมบุกสมบัน มาก (หัวเราะ) คือถาไปตอนนี้ไมไดแลว (หัวเราะ) ตอนนั้นยังแรงดีอยู่ เปสโลภิกขุ : ทริปนี้ใชไหมที่เขียน ‘เดินเลนบน หลังคาโลก’’ เพลงดาบฯ : ใชคะ เปสโลภิกขุ : เกงนะ ไปแคเจ็ดวันเขียนหนังสือได เปนเลม (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : เป็นเล่มทดลองค่ะว่าจะได้เต็มเล่มไหม แต่มีเรื่องค่อนข้างเยอะก็เลยพอ เปสโลภิกขุ : ทําอะไรบางชวงนี้ นอกจากเดินทาง 163


เพลงดาบฯ : ไปชวยเขาทํารายการโทรทัศนคะ เปนที่ปรึกษากึ่งๆครีเอทีฟ แตก็ไมยงุ มาก หลักๆก็คือ ปฏิบัติธรรมกับออกกําลังกาย เปสโลภิกขุ : แฟนคลับเยอะไหม? เพลงดาบฯ : ไมคอยเยอะคะ พอมีบาง ดูจาก ยอดหนังสือที่ไมคอยไดพิมพซ�้ำ เปสโลภิกขุ : ตอนนี้เยอะนะ หนังสือเกี่ยวกับ ประสบการณเดินทางทองเที่ยวของหนุมๆสาวๆ เพลงดาบฯ : เยอะ...เยอะมาก คนก็จะคิดวาเขียน เรื่องทองเที่ยวมันงาย ไปเจออะไรก็เอามาเลา เปสโลภิกขุ : เคยไปปฏิบัติธรรมที่วัดปาไหม? เพลงดาบฯ : เคยไปที่สกลนคร ชื่อวัดปาหนองไผ่ ตอนนั้นหนีนำ�้ ทวม ไปอยู่ 10 วันคะ เปสโลภิกขุ : เปนที่ราบมีตนไมใหญๆ เพลงดาบฯ : คะ แตที่นี่มีเนินเขาดวย กุฏิของพระ จะอยูบนเนินเขา สวนของผูหญิงจะอยูที่ราบ 164


เปสโลภิกขุ : ทีส่ นทนาวันนีเ้ พราะอยากแลกเปลีย่ น กันวา เราไดอะไรจากการเดินทาง? หลวงพอเจาคุณ ประยุทธ์ (พระพรหมคุณาภรณ์) เคยอบรมพระธรรมฑูต ทีก่ าํ ลังจะเดินทางไปตางประเทศวา ‘ถาเราไดขอ คิดทีด่ ี จากการไปอยูท นี่ นั่ ก็เปนหนาทีข่ องเราทีจ่ ะเอากลับมา ฝากคนที่อยูเมืองไทย’ เพลงดาบฯ : ตอนที่เรายังไมไดรธู รรมะ ที่จริง ตอนนี้ก็ยังไมไดรูเยอะแตวารูมากขึ้นกวาเมื่อกอน เรา ก็คิดเอาเองตามประสาจากสมองที่พอจะประมวลได้ แลวมันก็มาพองกับธรรมะเอง ตอนหลังที่เราย้อนมา อาน อาว! นี่เราคิดเปนธรรมะนี่หวา เชนมีคนถามวา เดินทางคนเดียวไมเหงาเหรอ? บางคนไมกลาเดินทาง คนเดียว กลัวเหงา ตอนที่เราเดินทางคนเดียวมันก็มี เหงาบ้าง แตมันก็ไมไดเหงาตลอดเวลาหรือ 24 ชั่วโมง แลวเราก็เคยเขียนไววา ‘ความเหงามันไมไดนากลัว แตมันนาสงสาร คิดดูสิขนาดความเหงามันยังตองการ 165


เพื่อนเลย เราก็อยูกับมัน พอความเหงามันหายเหงา มันก็จะจากเราไปเอง’ นี่คือที่เคยเขียนไว้ เปสโลภิกขุ : ตอนนั้นไปธุดงคกับพระประมาณ 7-8 รูป มีครูบาอาจารยพาไป พอไปถึงจุดหนึ่งแลว เราก็แยกยายกัน กลุ่มใหญก็แยกไปทางหนึ่ง สวน พระอาจารยทานหนึ่งกับอาตมาก็แยกไปอีกทางหนึ่ง แคนมี้ นั ก็เหงาเลยนะ ตอนอยูด ว ยกันเยอะๆมันก็สนุกดี พอแยกกันบรรยากาศมันเปลี่ยนเลย แตมันก็เปนแค่ 2-3 วัน พอปรับไดก็สบาย ตอนนั้นเปนพรรษาที่ 3 ของอาตมา พอพรรษาที่ 6 ไปรูปเดียวเลย (หัวเราะ) แตกลับไมเหงา มันก็สนุกดี แกปญหาเอง ตัดสินใจเอง เพลงดาบฯ : มันก็สนุกไปอีกแบบ (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : ความเหงามันก็เปนของไมแนนอน บางทีอยูกับคนเยอะๆยังเหงาเลย มันไมไดอยูที่วา อยูคนเดียวหรือหลายคน มันขึ้นอยูกับวาเราคิดยังไง ในตอนนั้น 166



เพลงดาบฯ : เคยมีคนถามวา อยากไปเทีย่ วคนเดียว แตยังไมเคยไปไหนคนเดียวเลย ควรจะทํายังไง? ก็บอกเขาวาออกไปกินขาวหนาปากซอยคนเดียว ใหไดกอน บางคนกินขาวคนเดียวไมไดนะ เออ... ถาไปกินขาวคนเดียวไดแลวคอยคิดถึงเรื่องไปเที่ยว คนเดียว เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) ผูหญิงเดินทางคนเดียว รูสึกวามันอันตรายไหม? เพลงดาบฯ : ตรงไหนที่อันตรายเราก็ไมไป เปสโลภิกขุ : อโคจร เพลงดาบฯ : ใช่ ตอนไหนที่เห็นทาไมดีเราก็เริ่ม แผลงฤทธิ์แลว เปสโลภิกขุ : สวนใหญก็ไปคนเดียวใชไหม? เพลงดาบฯ : คะ มันตองมีสัญชาตญาณในการ เอาตัวรอด สมมติเรารูวาซอยนี้มันทะลุไปได้ ไมตอง เดินออม แตมันมืด ก็วิ่งเลยคะ คือทําตัวใหมันไมปรกติ 168


เขาไว้ ใหเปนที่สังเกต หรือถาเราตองเดินผานอะไรที่ มันไมนาไวใจเราก็จะวิ่ง ทุกคนก็จะมองเรา เอะ! เราวิ่ง ทําไม พอมีคนมองเราก็ปลอดภัยแลว (หัวเราะ) บางที ขามสะพานลอยในกรุงเทพฯก็ใชวิธีนี้เหมือนกัน ถามี ใครเขา มาใกลเ รา เราก็จะรูว า มันผิดปรกติแนเพราะเรา วิ่งอยู่ ถามันวิ่งตามเรานี่...แนนอนเลย (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : ตองหมั่นออกกําลังกาย เที่ยว เมืองฝรั่งกับเที่ยวเอเชียเพลงดาบฯชอบอันไหน? เพลงดาบฯ : ฝรั่งเราก็เคยไปแคยุโรปกับอเมริกา ยังไมเคยไปทางอเมริกาใต้ ซึ่งมันนาจะตางไปอีก ก็เลยไมมีตัวเปรียบเทียบ แตรสู ึกวาถาในเอเชียแลวก็ เดินทางยากหนอยเชนอินเดีย หรือประเทศที่ลําบาก มันก็จะเหมาะกับคนที่อายุยังนอย แรงดีๆแรงเยอะๆ อยางสวิซเซอรแลนดเอาไวเที่ยวตอนแกๆก็ได้ เพราะ มันไมตองออกแรงมาก ถาเปนหนุมสาวแรงดีนาจะไป ที่ๆมันไปยากๆ ใชแรงเยอะๆกอน ปี ค.ศ.1998 ตอนที่ 169



มีฟุตบอลโลกที่ฝรั่งเศส เราก็ไปฝรั่งเศสกอนแลวก็ไป ซูลิคที่สวิสฯ แลวก็รูสึกวามันสบายไปหมด คนแกเดิน ขา มถนน รถก็หยุดให้ คนแกก ค็ อ ยๆเดินขา ม หรือรถเมล จอดรอที่ปาย คนแกก็คอยๆเดินขึ้นรถเมลอยางนี้คะ มันสบายเกิน ก็เลยคิดวาเราเก็บไวมาเที่ยวตอนแกๆ ก็ไดป ระเทศแบบนี้ กับจริตของคนหนุม สาวมันไมเขา กัน เปสโลภิกขุ : ตองแบกเป้ ตอง Hiking ตอง Outdoor หนอย (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : ใช่ ยังมีแรงอยู่ พอไปประเทศที่ สบายมากๆมันจะรูสึกนาเบื่อ แตพอแกแลวก็อยาก สบายๆ อยากลากกระเปา ไมอยากแบกเปแลว ในหนังสือของทาน (The Organic Experience) มีเรือ่ ง พระฝรั่งเดินธุดงคในแคลิฟอรเนีย ชอบเรื่องนี้มาก เปสโลภิกขุ : Spiritual Journey in California เพลงดาบฯ : คะ เป็นการเดินทางทีใ่ ช้สติกบั ปัญญา อย่างแท้จริงเลย 171


เปสโลภิกขุ : ที่ชวนมาแลกเปลี่ยนกันก็คลายๆ เรื่องนี้แหละ จะได้รูวาคนที่เคยปฏิบัติธรรมแลว เดินทางบอยๆ นอกจากจะไปดู Street Art แลว (หัวเราะ) เขามีความคิดเรื่องธรรมะไหม? เมื่อไดไป เห็นสิ่งตางๆแลว เขานอมไปในทางธรรมะไหม? เพลงดาบฯ : บางทีเรารูเห็นแตก็ไมไดเขียนเพราะ ไมอยากใหมัน...ธรรมะ ธรรมะ เพราะเราไมใชพระ จะไปเทศนมันก็ไมใชเรื่อง เปสโลภิกขุ : แตตอนนี้มันเปนโอกาสไง เพราะ เปนการสนทนากัน เพลงดาบฯ : คะ อยางตอนที่ไปมิวนิค (เยอรมัน) ก็ไปอดีตคายกักกันชาวยิวที่ดัคฮาว (Dachau) คือ ชอบเที่ยวคายกักกัน (หัวเราะ) ถามีที่ไหนก็จะไป รูสึกวาเนื้อหาสาระมันเขมขนดีค่ะ ที่นี่ก็จะมีหองรม แกสพิษดวย เรายังไมเคยไปคายกักกันที่มีหองรมแกส ในแงของความรู้ มันก็เพิ่มเติมจากที่เราเคยมี แตถา 172


จะพูดเรื่องอนิจจังมันก็... เปสโลภิกขุ : เหมือนพระ (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : เหมือนพระ (หัวเราะ) ยังไงอนิจจัง มันมีในทุกสิ่งอยู่แล้วล่ะ แต่ถ้าจะเอามาเขียนก็ต้อง ใช้กลวิธีหรือส�ำนวนภาษาที่สะท้อนความหมายนี้ ออกมาอีกที ให้มีชั้นเชิงขึ้นมาหน่อยน่ะค่ะ หรืออยาง ดูขาวแยงเกาะ เปสโลภิกขุ : ที่ไหน? เพลงดาบฯ : ญี่ปนุ กับจีนแยงเกาะกัน ญี่ปุ่นเรียก เกาะเซนคากุ จีนเรียกเกาะเตี้ยวหวี คือถ้าจะพูดเชิง ธรรมะ แค่ชอื่ นีก่ ็ ‘สมมติ’ แล้วใช่ไหมค่ะ เราก็จะนึกไปวา เฮย! ถาเกิดแผนดินไหวแลวเกาะมันจมหายไปเลย มันจะจบไหม? คือทะเลาะกันแทบตาย แผนดินไหว ทีเดียวก็จบ (หัวเราะ) หรือวันก่อนมีม็อบเสื้อแดง ปะทะเสื้อเหลืองแถวหน้าโรงเรียนหอวัง เราออกไป ธุระแถวๆนัน้ พอดี ฝนก็ทำ� ท่าจะตก สักพักฝนก็เทลงมา 173


อย่างหนัก ฟ้าผ่าเปรี้ยงๆ เราก็เออ...ธรรมชาติแบบ... เจง ธรรมชาติไมสนใครเลย ใครจะทําอะไรอยูก็ไมสน ฝนจะตกมันก็ตก เป็นฝนสลายม็อบ คนตีกนั เทวดาเลย เอาน�้ำสาด เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) เพลงดาบฯ : จะมีอีกไหมคะหนังสือเกี่ยวกับการ เดินทางทองเที่ยว เปสโลภิกขุ : ก็ไมไดไปไหน (หัวเราะ) ถาไปไหน ก็คอยวากัน ถาไปก็ตองไปวัดที่เปนส�ำนักสาขาของ วัดหนองปาพงที่อยู่ต่างแดน ตอนนี้ก็มีอยูประมาณ 15-16 แหง แตไปอยูอเมริกามาสองปก็รจู ักนิสัยฝรั่ง แลว (หัวเราะ) คือเราไมใชโยมที่จะไปเที่ยวนั่นเที่ยวนี่ กินนั่นกินนี่ มันก็ตองอยูวัด มีขอวัตรปฏิบัติของพระ เพลงดาบฯ : นิสัยฝรั่งนี่หมายถึงโยมหรือพระ? เปสโลภิกขุ : อาตมาไมคอยไดเกี่ยวของกับโยม มากนัก ไมรูสิ รูสึกวาอยูเมืองไทยมันผอนคลายกวา 174



สบายกวา แตตางประเทศก็มันใหความรูสึกเหมือน เปนพี่นองกัน เหมือนครอบครัวเดียวกัน เพราะเรา อยูดวยกันเปนปๆ ไมคอยมีใครไปไหน ที่เมืองไทย มีวัดเยอะ มีพระมาผลัดเปลี่ยนอยูตลอด แลวเราก็มี ประเพณีบวชชั่วคราว แตที่ตางประเทศเขาจะบวชกัน ระยะยาว อีกอย่างมันใหความรูสึกแบบคณะสงฆ มากกวา มีอะไรก็ปรึกษากัน ชวยกันแบงเบาภาระ แตท เี่ มืองไทยจะมีอาจารยเ ปน ผูต ดั สินใจเพียงรูปเดียว ซึ่งมันก็คงจะสอดคลองกับนิสัยใจคอ หรือวัฒนธรรม ของแตละท้องถิ่น เพลงดาบฯ : พระฝรั่งสามารถเขาใจธรรมะได อยางถ่องแทละเอียดละออเหมือนเราไหมคะ? มันมี อุปสรรคดานภาษาไหมคะ? เปสโลภิกขุ : เรื่องภาษาไมมีปญหาเลยตอนนี้ พระไตรปฎกภาษาอังกฤษก็มีแลว หนังสือเรียน พระวินัยก็มีแลว หนังสือธรรมะยิ่งเยอะ หลวงพอชา 176


เคยอุปมาเกี่ยวกับน�ำ้ รอน ถาเอานิ้วจุมลงไปในแกว ที่ใสน�้ำร้อน คนไทยจะพูดวา “รอน” คนอีสานจะ พูดวา “ฮอน” ส่วนฝรั่งจะพูดวา “Hot” แตความรูสึก มันอันเดียวกัน ความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ ความทุกขที่อยูในใจมันก็อันเดียวกัน การละความ โลภ ความโกรธ ความหลง หรือความดับทุกขมันก็ อันเดียวกัน เพียงแตภาษามันตางกัน เพลงดาบฯ : คะ เปสโลภิกขุ : อาตมาว่าสิ่งแวดลอมที่เมืองไทยมัน เอือ้ กวานะ พระฝรัง่ ผูใ้ หญ่ทา่ นหนึง่ บอกว่า ‘สิง่ แวดล้อม ที่เมืองไทยไม่ส่งเสริมอัตตา’ อีกอย่างกัลยาณมิตรก็ เยอะกวา อยางอาตมารอขึ้นเครื่องบินที่ซิดนียจะกลับ เมืองไทย ก็ตอ งไปเขา คิว แตถ า เมืองไทยเขาก็จะนิมนต เราขึน้ ไปกอน หรือถาลงเครือ่ งทีส่ วุ รรณภูมแิ ลวออกมา รอรับกระเปา โยมก็จะจองแลววาใบไหนของพระ พอ เห็นอาตมาจับหูกระเปา โยมก็วิ่งมาควาไปใสรถเข็น 177


ใหแลว (หัวเราะ) มันก็ใหแรงบันดาลใจเหมือนกัน ถาเราเปนคนธรรมดาที่ไมใชผูสูงอายุหรือสตรีมีครรภ์ เขาจะมาชวยเรายกกระเปาทําไม ที่เขามาชวยเพราะ เขาเห็นวาเราเปนพระ แลวเราเปนพระเต็มตัวหรือยัง? เพลงดาบฯ : คะ เคยไปวัดนึงที่อินเดีย พระท่าน มาทําอาหารใหกิน เปสโลภิกขุ : พระท�ำเองเหรอ? เพลงดาบฯ : คะ (หัวเราะ) ทานบอกวาเดี๋ยว ใหชิม ‘รสพระท�ำ’ แลวทานก็เขาครัวไปทําอาหารให้ เปสโลภิกขุ : (หัวเราะ) ในตา งประเทศมันก็จะเปน อยางนี้แหละ การรักษาวินัยจะหยอนกวา เพราะ ไมมีใครควบคุมดูแล เรื่องแบบนี้อาตมาก็ไดยินอยู ประจํา บางครั้งออกไปทํานอกวัดดวย ครั้งหนึ่ง คนไทยรวมตัวกันจัดงานสงกรานต์ ก็ไปเชาอาคาร เอนกประสงคของเมืองนั้น แลวก็มีการประกวดเทพี สงกรานต์ มีการออกรานอาหาร พระก็โพกหัวยางไก 178


ขายเลย โยมบอกวาเห็นแลวไมกลาไปซื้อ เพลงดาบฯ : (หัวเราะ) เปสโลภิกขุ : แตอ ยูต า งประเทศมันก็ดอี กี แบบหนึง่ สําหรับนักปฏิบัติ มันตองสรางที่พึ่งใหตัวเอง เพราะ มันอยูไกลครูบาอาจารย์ มันก็ดีคนละอยาง อีกอยาง ที่อาตมาชอบเกี่ยวกับตางประเทศก็คือ เวลาไปนั่งราน กาแฟหรือไปเดินตามชายหาดมันไมมีคนสนใจ คือถา สนใจเขาก็จะเขา มาถาม ทา นแตง ตัวอยา งนีเ้ ปน อะไร? ชีวิตของพระเปนยังไง? อยูที่วัดทําอะไรบาง? หรือ บางคนก็จะเขามาขอคําแนะนําเรื่องการทําสมาธิ เขาไมไ ดถ ามแบบอันธพาลจองจับผิด แต่เขาถามแบบ บัณฑิตใฝรู้ ที่เมืองไทยมันไมใชอยางนี้ เอะ! ทําไมพระ มานั่งรานกาแฟ ทําไมพระมาเดินชายหาด มาดูสาวๆ หรือเปลา คือที่โนนมันใหความรูสึกเปนอิสระ ไมมีใคร มาจับผิดเรา แตสรุปแลวก็ไดประสบการณที่ดีมาก คือ มันคุมคากับการเดินทาง 179



ภาพขยาย หน้า 129 Jenner (California) เป็นบริเวณที่ Russian River ไหลลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก จุดเล็กๆบนชายหาด ด้านซ้ายมือคือฝูงแมวน�้ำก�ำลังนอนอาบแดด หน้า 130 ล็อบบีส้ ีหวานของโรงแรมริมทะเล Long Beach ในระหว่างจ�ำพรรษาที่วัดป่าอภัยคีรี ญาติโยม ทราบว่าฉันก�ำลังจะกลับเมืองไทย จึงนิมนต์ฉันกับ พระอีกรูปหนึ่งนั่งรถมาตามเส้นทางเรียบมหาสมุทร แปซิฟิกชื่อ Highway 1 เพื่อไปกราบครูบาอาจารย์ นีเ่ ป็นครัง้ ที่ 2 ในชีวติ พระทีฉ่ นั ต้องอาศัยจ�ำวัดในโรงแรม (ครั้งแรกที่อินเดีย) เพราะละแวกนี้ไม่มีวัดที่สามารถ เข้าพักได้ แต่เมือ่ ได้คา้ งทีว่ ดั ใน 2 คืนถัดมาจึงท�ำให้รวู้ า่ พักตามโรงแรมสะดวกใจกว่า เพราะพระทีถ่ กู ฝึกมาจาก เมืองไทยและญาติโยมส่วนใหญ่ยงั เข้าใจคลาดเคลือ่ น 181


เกี่ยวกับการจ�ำพรรษาว่า ในช่วงจ�ำพรรษาพระจะ เดินทางไปค้างแรมที่ไหนไม่ได้เลย แต่เมื่อสืบค้น หลักฐานจากหนังสือวินัยมุข เล่ม 2 ของสมเด็จพระ มหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็น หนังสือที่ใช้ในการศึกษาพระวินัยของหลักสูตร นักธรรมชั้นโท ในกัณฑ์ที่ 16 หัวข้อจ�ำพรรษา หน้า 81 และ 86-87 ตามล�ำดับก็จะพบข้อมูลดังต่อไปนี้ เป็นธรรมเนียมของบ้านเมืองในครั้งโบราณ เมื่อถึงฤดูฝนต้องงดการไปมาหาสู่ต่างเมืองชั่วคราว มีตัวอย่างเช่นพ่อค้าสัตว์พาหนะ ถึงฤดูฝน ณ ที่ใด ต้องหยุดพัก ณ ที่นั้น เป็นอย่างนี้เพราะทางเดินเป็น หล่มไปไม่สะดวก นอกจากนี้ยังจะถูกน�ำ้ ป่าหลากมา ท่วมด้วย เมื่อครั้งปฐมโพธิกาลภิกษุยังมีน้อย ถึง ฤดูฝนท่านก็หยุดเที่ยวจาริกตามล�ำพังของท่านเอง ไม่ต้องทรงตั้งเป็นธรรมเนียม เมื่อถึงฤดูฝนให้หยุดอยู่ 182


ที่เดียวไม่ไปแรมคืนข้างไหนตลอด 3 เดือน เราเรียก กันว่าจ�ำพรรษา ถ้ามีธรุ ะจริงๆทรงอนุญาตให้ไปได้แต่ให้กลับมาใน 7 วัน เรียกว่าไปด้วยสัตตาหกรณียะ หรือเรียกสั้นๆว่า สัตตาหะ ไปแรมคืนที่อื่นไม่เกินก�ำหนดนั้นพรรษา ไม่ขาด ธุระเป็นเหตุไปด้วยสัตตาหกรณียะอันกล่าวใน บาลีนั้นคือ ก. สหธรรมิกหรือมารดาบิดาเจ็บไข้ รู้เข้า ไปเพื่อ รักษาพยาบาลก็ได้ ข. สหธรรมิกกระสันจะสึก รู้เข้า ไปเพื่อระงับก็ได้ ค. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้นเป็นต้นว่าวิหารช�ำรุดลงใน เวลานัน้ ไปเพือ่ หาเครือ่ งทัพพสัมภาระมาปฏิสงั ขรณ์ได้อยู่ ง. ทายกต้องการจะบ�ำเพ็ญกุศล ส่งคนมานิมนต์ ไปเพื่อบ�ำรุงศรัทธาของเขาได้อยู่ 183


แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะ อนุโลม ตามนี้ เกิดขึ้นไปได้เหมือนกัน ฤดูฝนของเมืองไทยตรงกับฤดูร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การเดินทางและท�ำกิจกรรม กลางแจ้ง ร้านจ�ำหน่ายอุปกรณ์ Outdoor จึงพร้อมใจ กันลดกระหน�ำ่ ราคาสินค้า เพราะอเมริกันชนต่างพา กันหอบลูกจูงหลานและสุนัขไปตั้งแคมป์กางเต้นท์ หรือเล่นน�ำ้ ทะเลกันอย่างครึกครื้นโครมคราม พระที่ วัดป่าอภัยคีรีก็ใช้ช่วงเวลาอันเหมาะเหม็งนี้ไป Camping Retreat ละแวกอุทยานแห่งชาติโยเซมิตี ถ้าคลางแคลงก็พลิกข้ามไปดูภาพถ่ายหลักฐานประกอบ ค�ำสารภาพในหน้า 190-207 ของหนังสือเล่มนี้ ฉันเคยได้ยินความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ การจ�ำพรรษาจากปากญาติโยมผู้หนึ่งโดยตรงว่า 184


ช่วงเข้าพรรษาพระต้องอยูใ่ นวัดตลอด ห้ามออกไปไหน เด็ดขาดแม้แต่บณ ิ ฑบาต ต้องให้ญาติโยมเอาอาหารมา ส่งที่วัด คิดไปไกลสุดขอบฟ้าได้ขนาดนี้ คงเป็นเพราะ เขาไม่ได้เฉลียวใจว่า วัดไม่ใช่คกุ และพระก็ไม่ใช่นกั โทษ หลังจากฤดูร้อนก็เข้าสู่ฤดูฝนซึ่งตรงกับฤดูหนาว ของเมืองไทย งานทอดกฐินของวัดป่าอภัยคีรถี กู ก�ำหนด ไว้ชัดเจนคือเสาร์-อาทิตย์แรกหลังจากวันปวารณา ออกพรรษา เนื่องจากหากเลื่อนให้ล่าช้ากว่านี้อาจถูก กระแสฝนกระหน�ำ่ ซึง่ มันเคยเกิดมาแล้วในพรรษาแรก ที่ฉันมาอยู่ที่นี่ ช่วงเข้าพรรษาที่เมืองไทยเป็นระยะเวลาที่มีการ ปฏิบตั ธิ รรมและศึกษาพระวินยั อย่างเข้มข้น เพราะพระ มีธุระในการเดินทางน้อย แต่การเข้าหรือออกพรรษา ก็เป็นเพียงสิ่งที่พูดคุยตกลงกันหรือเรียกย่นๆว่าสมมติ 185


เนื่องจากชาววัดป่ามีการปฏิบัติธรรมกันตลอดทั้งปี อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ท�ำวัตรทั้งเช้าหรือ เย็น การเดินจงกรม นั่งสมาธิ การถือธุดงค์เช่นการฉัน หนเดียว การฉันในภาชนะเดียวฯ ส่วนบรรยากาศ ที่ใกล้เคียงกับการจ�ำพรรษาที่เมืองไทยจะพบเห็นที่ วัดป่าอภัยคีรีได้ในช่วงเข้ากรรมฐานฤดูหนาวหรือ Winter Retreat เป็นเวลา 3 เดือน โดยเริ่มจากวันที่ 1 มกราคมถึงวันที่ 31มีนาคมของทุกปี เหตุทเี่ ลือกช่วงนี้ ก็เพราะอุณหภูมินอกตัวอาคาร ไม่เหมาะแก่การท�ำ กิจกรรมใดๆเลย แม้แต่กิจกรรมส่วนตัวเช่นการใช้ ส้วมหลุม หน้า 131 บ้านของคณาอาจารย์ทสี่ อนในมหาวิทยาลัย เบิร์กเล่ย์จะรวมกลุ่มกันอยู่ในละแวกนี้ หน้า 132 ภาพถ่ายจากบั้นท้ายของรถรางที่ก�ำลัง 186


ไต่ระดับขึ้นเนินขนาดย่อม ผู้โดยสารสามารถ Hop off ลงจุดท่องเที่ยวส�ำคัญเช่น Lombard Street ได้ หน้า 136 เด็กน้อยก�ำลังเอร็ดอร่อยกับไอศกรีมที่ Farmer Market แซนแฟรนซิสโก หน้า 141 ป่าสนด้านหลังวัดป่าอภัยคีรีชอุ่มอยู่ ท่ามกลางหมอกฝน หน้า 144 Mont Tabor วัดป่าของชาวคริสต์ เพื่อนบ้านของวัดป่าอภัยคีรี หน้า 154 ปฏิมากรรม Ocenic ที่ De Young Museum แซนแฟรนซิสโก หน้า 159 ทางเดินลาดชันเล็กน้อยใน Sacramento 187


เมืองหลวงของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย หน้า 162 ทีเ่ ปิดและเคาะประตูกบิ๊ เก๋ทสี่ ำ� นักภิกษุณี ในแซนแฟรนซิสโก หน้า 167 บางใครนอนอาบแดดบนผืนทรายอย่าง สบายอารมณ์ที่ Ocean Beach แซนแฟรนซิสโก หน้า 170 Armstrong Red Wood แคลิฟอร์เนีย มีป่าเรดวู้ดหลายแห่ง เป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นไม้โบราณ ขนาดมหึมา หน้า 175 ชั้นใต้ดินของร้านเฟอร์นิเจอร์แห่งหนึ่ง ในแซนแฟรนซิสโก โยมที่เป็นเจ้าของร้านอาหารก�ำลัง จัดหาของแต่งร้าน จึงนิมนต์ฉันมาทัศนศึกษาที่นี่ด้วย ซึ่งก็ท�ำให้เกิดไอเดียหลายอย่างในการท�ำหนังสือ 188


เช่นลวดลายบนปกด้านในของหนังสือเล่มนี้ดัดแปลง มาจากลายหมอนอิงที่วางโชว์อยู่ในร้าน หน้า 180 Bixby Bridge สะพานทรงเสน่ห์ละแวก Big Sur บนเส้นทาง Highway 1

189


Yosemite National Park & Surrounds California, USA

190










ทะเลสาบโบราณ ภูเขาโบราณ การมาเยือนของพระโบราณ เยียบเย็นถึงเพียงนี้ กบตัวน้อยกระโจนลงไป คงกลายเป็นศพ ว่ายอยู่ได้ ไม่หนาวหรือไร เจ้าเป็ดป่า


สระน�้ำใสตัดขอบฟ้า ประหนึ่งรีสอร์ทหรูหรา ทว่าสงัด ไฮกิ้งบู้ทคู่ใจ สักวันคงได้พบกันอีก ภูเขาหินครึ่งวงกลม ฉันลืมฟังเสียงนก เพราะมัวแต่ คุยกับตัวเอง







ภาพขยาย หน้า 191, 192-193 (ภาพบน) Gardisky Lake (ภาพล่าง) Saddlebag Lake หน้า 194 (ภาพบน) รีสอร์ทที่ Saddlebag Lake (ภาพล่าง) ทางเดินขึ้น-ลง Gardisky Lake หน้า 195 (ภาพบน) เป็ดป่าอายกล้องที่ Gardisky Lake หน้า 196 (ภาพบน) เป็ดป่าตัวเดิม (ภาพล่าง) ยังวนเวียนอยู่ที่ Gardisky Lake หน้า 197 เด็กมาตกปลากับคุณปูท่ อี่ ทุ ยานแห่งชาติ Yosemite หน้า 198 พักฉันอาหารกลางวันกลัว้ น�ำ้ ใสไหลเย็น ที่อุทยานแห่งชาติ Yosemite หน้า 201 ถ่ายรูป Hiking Boot คู่ใจไว้ดูต่างหน้า ภูเขาหินด้านหลังเรียกกันว่า Lembert Dome 206


หน้า 202 อุทยานแห่งชาติ Yosemite อีก อารมณ์หนึ่ง หน้า 203 (ภาพบน) ต้นสนบริเวณจุดกางเต้นท์ที่ Sawmill Campground (ภาพล่าง) สะพานทอดข้าม ล�ำธารไปสูศ่ นู ย์ขอ้ มูลนักท่องเทีย่ วของอุทยานแห่งชาติ Yosemite หน้า 204 พืชน�้ำพริ้วไหวในบึงนิ่งสงัด หน้า 205 จ�ำวัดในเต้นท์คืนนี้ (อุณหภูมิเช้ามืด ติดลบ)

207


Pullman & Surrounds Washing State, USA

208







จิตของฉัน ถูกท�ำให้หายเศร้า ด้วยแซนวิชกับซุปมะเขือเทศ ดอกทานตะวันโดดเดี่ยว ดีแล้ว กายวิเวกหายาก ล้อเหล็กหยุดหมุน แต่สังสารวัฏ ยังด�ำเนินต่อไป






ยุ้งฉางโบราณ ไม่หวั่นไหว กับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง หลังฤดูเก็บเกี่ยว เนินข้าวสาลี จึงมีเวลาพักผ่อน สะพานทอดข้ามแม่น�้ำ แห่งความทุกข์ยาก เพลงเก่าแก่* *Bridge Over Troubled Water. Studio album by Simon & Garfunkel. Released in January 26, 1970




ภาพขยาย หน้า 209 ดอกทานตะวันท่ามกลางทุ่งหญ้า เกรียมแดดบริเวณ Nez Perce National Historical Park พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตของชาวอินเดียนแดง หน้า 210-211 อาคารยุคบุกเบิกของ Union Town ถูกปรับปรุงเป็นร้านอาหารกลางวันชั้นเลิศ ที่นี่ผลิต ขนมปังคุณภาพดีส่งโรงแรมห้าดาวในเมือง Pullman และจ�ำกัดปริมาณการผลิตในแต่ละวัน ซึ่งหมายถึง หมดแล้วหมดเลย! หน้า 212 Barn หรือโรงนาขนาดใหญ่ที่ถูกปรับ เปลีย่ นเป็นหอศิลป์ ภายในแบ่งเป็นห้องเล็กๆให้ศลิ ปิน ได้มาท�ำงานและแสดงผลงานของตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีร้านจ�ำหน่ายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์พื้นเมือง 222


หน้า 213, 215 รัว้ ล้อเกวียนโบราณรายรอบหอศิลป์ หน้า 216-217 Washing State University นักศึกษาไทยใจดีพาฉันเดินทัศนศึกษาจนเกือบทั่ว หน้า 218, 220 Riverside State Park ชานเมือง Spokane หน้า 221 (ภาพบน) ระหว่างเดินทางจากเมือง Spokane สู่เมือง Pullman รถวิ่งผ่านโรงนาเก่าแก่ซึ่ง ก�ำลังอาบแสงสุดท้ายของวัน ฉันจึงขอให้สารถีช่วย กลับรถเพื่อจะได้เก็บภาพนี้เอาไว้ สารถีบอกว่าดีมาก ถ้ามีโอกาสมาคราวหน้าอาจจะไม่ได้เห็น เพราะคง ถูกรื้อไปแล้ว (ภาพล่าง) ดอกไม้ริมล�ำธารที่ Riverside State Park

223


Fort Bragg & Mendocino California, USA

224








สะพานไม้ รับใช้ผู้คน ไม่เคยตัดพ้อ มุ่งไปข้างหน้า เพราะรู้ว่า มิอาจย้อนกลับ ต้นไม้ใหญ่ ลู่ลม ทุง่ หญ้าชืน่ ชมอยูเ่ งียบๆ


ความเรียบง่ายดีงาม เบ่งบาน อยู่ตามชุมชนเล็กๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ พุทธศาสนา จึงผลิดอกออกผล แดดโอบไหล่อุ่น ผืนทรายยะเยือก ไม่ปราณีเท้าเปลือยเปล่า





ภาพขยาย หลังจากคณะสงฆ์วัดป่าอภัยคีรีคร�่ำเคร่งกับการ ปฏิบตั ธิ รรมในช่วงเข้ากรรมฐานฤดูหนาว หรือทีพ่ วกเรา เรียกกันอย่างคุ้นปากว่า Winter Retreat เป็นเวลา 3 เดือนเต็ม คือตั้งแต่ต้นมกราคมถึงปลายมีนาคม ในวันสุดท้ายของ Winter Retreat คณะสงฆ์จะท�ำ การปิดวัดโดยแปะกระดาษไว้ที่ประตูด้านหน้า ศาลาและโรงครัวว่า “Nobody Home” จากนั้นทั้ง พระภิกษุ สามเณร อนาคาริก และญาติโยมกว่า 30 ชีวิตก็จะยกโขยงกันไปยังเมืองชายทะเลชื่อ Fortbragg เพื่อมาฉันอาหารกลางวันกันที่ Three Jewels หรือบ้านรัตนตรัย ซึ่งเป็นบ้านของคุณยาย อุบาสิกาผูห้ นึง่ ทีอ่ าศัยอยูต่ ามล�ำพัง คุณยายได้ตอ่ เติม ห้องโถงออกมาจากตัวบ้านแล้วเปิดให้กลุ่มชาวพุทธ ทั้งเถรวาท ธิเบต เซนและอื่นๆ มาเช่าสถานที่เพื่อ 236


ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ในช่วงที่มีการก่อสร้างท่าน พระอาจารย์ได้เป็นทีป่ รึกษาและแวะเวียนมาดูแลอย่าง สม�่ำเสมอ พระเถระจากวัดป่าอภัยคีรีจะมาแสดง ธรรมและพักค้างที่นี่เดือนละครั้ง ล่าสุดฉันได้ยินข่าว ว่าคุณยายเปลี่ยนนโยบายเปิดให้เช่าเฉพาะกลุ่ม ชาวพุทธเถรวาท และยังบอกอีกว่าในอนาคตจะถวาย เป็นส�ำนักสาขาอีกแห่งหนึ่งของวัดป่าอภัยคีรี ฉันมา ที่ Fortbragg 2 ครั้ง โดยในครั้งที่ 2 มาเป็นกลุ่มเล็กๆ กับพระฝรั่ง 2 รูป และอุบาสกหนึ่งคนซึ่งเป็นเพื่อน ของพระฝรั่ง ในครั้งนี้เราได้แวะที่ Mendocino ซึ่งเป็น เมืองชายทะเลที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมอเมริกัน

237


Point Reyes National Seashore Petaluma, California, USA

238








อารมณ์ออร์แกนิก ระบาด ทั่วแคลิฟอร์เนีย ร้านเบเกอรี่ ก่อนเที่ยงวัน กรุน่ ชาผสมเครือ่ งเทศ มหาสมุทรแปซิฟิก* สงบสันติ สมชื่อ *Pacific : Peaceful or loving peace – Oxford Dictionary


ประภาคาร ส่องสว่าง คงไม่ลืมตัวเอง ไร้ซึ่งบันได ขึ้นหรือลง คงทุลักทุเล ต้นไม้ตระหง่าน โตรกผาสูงชัน ยินเสียงครวญของลม



ภาพขยาย หน้า 239-241 Point Reyes National Seashore อยู่ไม่ไกลจากเมือง Petaluma ถ้าเดินทางจากวัดป่า อภัยคีรีสู่แซนแฟรนซิสโกตามทางหลวงหมายเลข 101 จะต้องผ่านเมืองนี้ ใครที่ต้องการส�ำรวจ Point Reyes National Seashore อย่างทั่วถึงควรจะมีสุขภาพดี เพราะจากจุดจอดรถเข้าไปถึงตัวประภาคารต้องเดิน ไกลพอสมควร หน้า 242 ร้านเบเกอรี่น่าชิมน่าชังก่อนถึง Point Reyes National Seashore หน้า 243 (ภาพบน) มีขนมให้เลือกหลากหลาย ช่วงที่ฉันแวะร้านนี้เป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน เจ้าของร้าน ก�ำลังง่วนอยูก่ บั การประดิษฐ์ขนมในห้องโถงท�ำเบเกอรี่ 248


ขนาดใหญ่ที่อยู่หลังร้าน ถ้าต้องการสั่งขนมหรือน�้ำชา กาแฟต้องกดกริ่งเรียก (ภาพล่าง) ร้านจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกและของที่ระลึกในเมือง Point Reyes Station หน้า 244 มุมสดๆหน้าร้าน หน้า 247 หมาน้อยคอยเจ้าของ

249


Downtown Sydney New South Wales, Australia

250








ผู้คนคลั่งไคล้ อาคารทรงใบปาล์ม แสงสุดท้ายของวัน ความบันเทิง สมบูรณ์แบบ ไม่มีในโลก ตลาดอากาศเย็น ชุ่มชื่นหัวใจ ท่ามกลางใบไม้กรอบ





สวนมหึมากลางเมือง หญ้าเขียวสดใส ฝูงหงส์ในบึงใหญ่ ตึกโบราณ รายล้อมด้วยอึกทึก กลิ่นลมฤดูใบไม้ร่วง แดดทาบทา ตุ๊กตาขาหัก ตลาดขายอดีต




ภาพขยาย หน้า 251 ไม่บอกก็รู้ว่าอาคารรูปทรงใบปาล์ม หลังนี้คือ Sydney Opera House ขอแสดงความยินดี ที่ท่านผู้โดยสารเดินทางมาถึงซิดนีย์แล้ว หน้า 252-253 (ภาพบน) Harbour Bridge มี บริการไกด์นำ� ไต่ขึ้นไปชมวิวบนยอดสะพานด้วย (ภาพล่าง) Darling Harbour ที่ใครๆก็ต้องมา เพราะ เป็นแหล่งรวมห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ตลาด ขายของจากเมืองจีน ตลาดปลา สวนสัตว์ อะควาเรียม และอื่นๆ หน้า 254-256 Paddington Markets ตลาดนัด มีสไตล์เฉพาะทางของชาวซิดนีย์ที่เปิดเฉพาะวันเสาร์

264


หน้า 258 Queen Victoria Building ตึกโบราณ อายุร้อยกว่าปีที่เปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยจากสถานที่ แสดงคอนเสิรต์ ห้องสมุดประชาชนฯ สูห่ า้ งสรรพสินค้า หน้า 259 (ภาพบน) รถไฟรางเดี่ยวแล่นผ่าน Darling Harbour ได้ข่าวว่าก�ำลังจะถูกยกเลิกเพราะ ค่าโดยสารแพงและมีคนใช้บริการน้อย (ภาพล่าง) หมากรุกยามสายที่ Hyde Park หน้า 260 ฝูงหงส์ใน Centennial Park สวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง หน้า 262-263 Roselle Markets ตลาดนัด ขายของเก่าที่มีตั้งแต่ของกลางเก่ากลางใหม่ไปจนถึง เก่าคร�่ำคร่า

265


Culburra Beach South Coast, New South Wales Australia 266






ทุกครั้งที่มาทะเล ฉันเห็น ทะเล เพราะอิสระของนก มีขอบเขตจ�ำกัด ฉันจึงไม่อยาก “เป็น” หมาสองตัวนั้น กัดกัน เพราะความหลง



เดินเปลือยตีนบนผืนทราย ท�ำให้แต่ละก้าว ชัดเจน ไม่ว่าความฉลาดของเราจะเพิ่มขึ้น หรือลดลง คลื่นยังคงกระทบฝั่ง ความหมายของชีวิต ถูกซ่อนไว้ ในกอหญ้า


กาลเวลา ช่างโหดร้าย และแสนดี ได้ที่พึ่ง เมื่อเวลานั้นมาถึง เราจะไม่เสียใจ ถ้ามีเวลาว่าง ฉันจะกลับมาที่นี่ เพื่ออยู่ว่างๆ



ภาพขยาย ชายหาดแห่งแรกที่ฉันได้ถอดรองเท้าเดินบน ผืนทรายเป็นระยะไกลและนานร่วมชั่วโมง อาจจะเป็น เพราะตรงกับช่วงฤดูหนาว ผู้คนจึงไม่พลุกพล่าน แต่ที่ เมืองไทยพระแทบจะท�ำอย่างนี้ไม่ได้เลย เคยมีทิด นิมนต์ฉันไปพักยังรีสอร์ทของเขาที่จังหวัดระยอง ตกเย็นฉันกับพระอีกรูปหนึ่งออกไปเดินบนชายหาด ซึ่งเราก็ได้แต่ก้มหน้าก้มตาเดินกันไปเพราะมีสายตา จากผู้คนละแวกนั้นเมียงมองมาเป็นระยะๆ ฉันรู้สึก ขวยเขินอย่างบอกไม่ถูกทั้งๆที่บริเวณนั้นก็ไม่ได้มี ประชาชีพลุกพล่าน ตรงกันข้ามกับ Culburra Beach ฉันได้ทักทายชาวบ้านที่จูงสุนัขออกมาเดินเล่นด้วย การยิ้ม พยักหน้า และโบกมือเป็นระยะๆ

276


อโคจร บุคคลก็ดี สถานก็ดี อันภิกษุไม่ควรไปสูเ่ รียกอโคจร ท่านแสดงไว้ 6 ประเภทคือ 1. หญิงแพศยา หมายเอาหญิงหากินในทางกาม ทุกชนิดทั่วไป แสดงอาการเปิดเผยก็ดี แสดงอาการ ซ่อนเร้นก็ดี อยู่เป็นโสดก็ตาม ล�ำพังตนก็ตาม นับเข้า ในหญิงแพศยาทั้งนั้น 2. หญิงหม้าย หมายเอาหญิงมีสามีตาย ทั้งหญิง มีสามีร้างคือหย่าจากกัน 3. หญิงเทื้อ หมายเอาหญิงโสดหาสามีมิได้ อยู่ล�ำพังตน 4. ภิกษุณี เป็นพรหมจารินี จัดว่าเป็นโสด 5. บัณเฑาะก์ หมายเอาบุรุษที่เขาตอนเสียแล้ว 6. ร้านสุรา คือที่ขายสุรา แม้โรงที่กลั่นสุราก็นับ เข้าในชื่อนี้ 277


ภิกษุผู้ไปสู่บุคคลก็ดี สถานก็ดี ดังกล่าวแล้ว ด้วยอาการไม่ดีไม่งามเป็นที่น่ารังเกียจได้ชื่อว่า “โคจารวิปนฺโน” แปลว่ามีโคจรวิบัติ ภิกษุผู้เว้น อโคจร 6 นี้ จะไปหาใครหรือจะไปที่ไหน เลือกบุคคล เลือกสถานอันสมควร ไปเป็นกิจลักษณะในเวลา อันควร ไม่ไปพร�ำ่ เพรื่อ กลับในเวลา ประพฤติตนไม่ให้ เป็นทีร่ งั เกียจของสหธรรมิกเพราะการเทีย่ วไป ได้ชอื่ ว่า “โคจรสมฺปนฺโน” แปลว่าผู้ถึงพร้อมด้วยโคจร ข้อมูลจาก หนังสือวินัยมุข เล่ม 2 ของสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กัณฑ์ที่ 22 ปกิณณกะ หน้า 176-179



Wyuna Homestead Bathrust, New South Wales, Australia

280










ห้องนอนแสนหวาน คืนนี้ ฉันหลับที่ห้องนั่งเล่น บาบีคิวโชยกลิ่น จับลมหายใจ อุ่นอิ่ม ไร้เสียงลม กิ่งไม้หล่น ล�ำธารไหว


ฝูงวัวสงบนิ่ง เพราะไม่รู้ว่า อะไรจะดีไปกว่านี้ จิงโจ้บนเนินเขา หยุดมอง แล้วหล่นค�ำถาม เด็กน้อยแก้มแดง น�้ำมูกไหล น�้ำค้างบนใบไม้ผลัดสี





ใสของล�ำธาร สะท้อนความเริงร่า ของจักรวาล ธรรมชาติประหลาดล�้ำ เมื่อมองด้วยดวงตา ของคนแปลกหน้า เก้าอี้ว่าง เชิญนั่ง หากยังไม่รู้จุดหมาย



ภาพขยาย หน้า 281 ประตูสู่บ้านหลังใหญ่ หน้า 282 ห้องนอนสีหวานและห้องนั่งเล่นโชย กลิ่นลาเวนเดอร์ในบ้านหลังเล็ก เครื่องท�ำความร้อน ชนิดฟืนจ�ำเป็นทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน หลังอาหารเช้าวันหนึง่ ทัง้ ๆทีน่ อกบ้านปรากฏแสงแดด ทอประกายอ่อนโยน แต่ก็ถือว่ายังหนาวส�ำหรับ พวกเราที่เพิ่งเดินทางมาจากอุณหภูมิปลายเมษายน ของเมืองไทยได้ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ฉันกับน้องๆจึง นั่งสนทนากันอยู่บนโซฟาในห้องนั่งเล่น เพราะอุ่นกว่า ออกไปข้างนอก ลูกสาวเจ้าของฟาร์มคงสงสัยว่า ท�ำไมพวกเราไม่ออกไปนอกบ้านสักที จึงเดินมาตาม ถึงหน้าประตู Come on! Let’s go outside, it’s a beautiful day. 296


หน้า 283 ลานย่างบาร์บีคิว หน้า 284-295 ทัศนียภาพอันเงียบสงบ ระทึกใจ น่ารักน่าชังและอื่นๆ ภายในบริเวณฟาร์ม

297


Wat Buddha Dhamma Wisemans Ferry, New South Wales Australia 298






ก้าวสู่วัดคราใด ฉันมักถูกถาม ถึงบ้านที่แท้จริง กลางหุบเขาสงัด ยังมีความเอื้ออารีย์ จากเมืองเบื้องล่าง เมนูเด็ด ของที่นี่ คือความเหน็บหนาว




เครื่องท�ำความร้อนด้วยฟืน สอนฉัน ถึงการปรับตัว ขนมพายเช้านี้ คลายความสงสัย ในความกรุณา วัลลาบี*กระโดดโหยง เพียงล�ำพัง บนทางเปลี่ยว *Wallaby สัตว์ชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายจิงโจ้แต่มีสีเทาและ ตัวเล็กกว่า



ภาพขยาย หน้า 299 Rock Kuti ยอดหินก้อนนี้ผุดขึ้นที่ พื้นกุฏิ แล้วถูกปรับแต่งให้เป็นที่นั่งสมาธิสูง ตระหง่านประหนึ่งภูเขาหิมาลัย ผู้ใดสามารถปีนป่าย ขึ้นไปนั่งบนนั้นได้จะรู้สึกราวกับว่าตนเป็นมหาฤๅษี หน้า 300-301 บ้านพักอุบาสิกา หน้า 302 ศาลาอันกว้างใหญ่ไพศาล หน้า 304 (ภาพบน) โรงครัวมาตรฐานที่มีอุปกรณ์ พร้อมสรรพส�ำหรับพ่อครัวและแม่ครัวทั้งมืออาชีพ และมือสมัครเล่น ผนังด้านหนึง่ ของโรงครัวเป็นห้องเย็น ขนาดเขื่องส�ำหรับเก็บรักษาอาหาร วันที่เห็นในภาพ ไม่ได้ใช้บริการห้องเย็นเพราะมีครอบครัวชาวศรีลังกา 308


มาท�ำบุญ (ภาพล่าง) สวนเล็กๆด้านหน้าห้องฉัน ภัตตาหาร ซึง่ แบ่งส่วนหนึง่ เป็นห้องสมุดและส�ำนักงาน หน้า 305 เตาอบขนมปังทีไ่ ม่ได้ใช้งานมานานแล้ว พิถพี ถิ นั ถึงขนาดสร้างเตาอบขนมปังขึน้ ใช้เอง แสดงว่า เสน่ห์ปลายจวักของเจ้าถิ่นไม่ธรรมดา หน้า 307 ความวิเวกอยู่ที่ไหน?

309


อนุโมทนาน่าเอ็นดู ที่พักสงฆ์ธรรมาราม  กรุงเทพฯ คุณสนธิ-คุณสุกัญญา  สุวรรณกูล คุณรัฐพล-คุณอรอุสา  สุวรรณกูล ด.ช.พุทธมนตร์-ด.ญ.พุทธิฌา  สุวรรณกูล คุณเวียง-คุณปิยพร  วงศ์พระจันทร์ ด.ญ.อลีนตา-ด.ญ.ฤๅชุตา  วงศ์พระจันทร์ คุณพุทธพร  สุวรรณกูล คุณนาธาน-ด.ช.เบลิน  นอร์ตัน คุณเซี่ยมอี ่ แซ่ตั้ง คุณเบญจพร  อ้วนเจริญกุล คุณกิตติพงค์-คุณศศิวรรณ  ทุมนัส ด.ญ.สุมานัส-ด.ญ.ภูริชญา-ด.ญ.ณฏฐ  ทุมนัส ครอบครัวสุวรรณเบญจางค์ คุณลดาวัลย์-คุณดาริน  ตั้งทรงจิตรากุล คุณอโณทัย  คลังแก้ว  และครอบครัว คุณชลลดา  เตียวสุวรรณ คุณยายบังอร  แสงจันทร์  และครอบครัว คุณปารมี  ทองเจริญ  และครอบครัว คุณวราพิทย์  ทองนพเนื้อ คุณแม่ลี่จิง-คุณนภาพร  โสวัฒนากูร


หจก.บ�ำรุงยาง  จังหวัดชลบุรี คุณปวเรศ  อยู่ส�ำราญ  และครอบครัว คุณฉัตมณีศ์  อินทรัตน์  และครอบครัว คุณสุรีย์  กิจเสถียร คุณมนสิณีย์  เมธาวัฒนานันท์ คุณวิลาวัน  ลิขิตวศินพงศ์ คุณพรทิพย์  วิราภรรณ




หนุ่มสาวเหล่านั้นออกเดินทาง เพราะอยากรู้ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ในโลก อย่างมีความสุขได้อย่างไร ส่วนฉันรู้แล้วว่า จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกอย่างมีความสุขได้อย่างไร จากนั้นจึงออกเดินทาง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.