หลวงปู่สิม พุทธาจาโร เป็นผู้มีศีลงดงาม

Page 1



อนุโมทนาธรรม ..............................................................

ความเป็นผู้สงบงดงาม เป็นปกติด้วยกิริยาวาจานั้น เกิดจากความมีศีลที่ใจ

..............................................................



อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม  ๑๓

หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

ดร.ปฐม นิคมานนท์ เรียบเรียง


อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๑๓

หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

เรียบเรียง ดร.ปฐม นิคมานนท์ บรรณาธิการบริหาร ดนัย จันทร์เจ้าฉาย บรรณาธิการเล่ม สุทธิชัย ปทุมล่องทอง ศิลปกรรม นันท์พสิษฐ์ โชติน้อย, สุรศักดิ์ ละสามา พิมพ์ที่ บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จ�ำกัด (มหาชน) พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ปฐม นิคมานนท์. หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร.-- กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๙. ๑๖๐ หน้า. -- (อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน). ๑. พระสิม พุทฺธาจาโร. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๐๙๒๒ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๓๗๖-๐๔๐-๑

จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ๔๙๖-๕๐๒ อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น ๒๒ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ (สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม) โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๙๘-๙ Website: www.dmgbooks.com จัดจ�ำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๓ ๙๙๙๙ โทรสาร ๐ ๒๔๔๙ ๙๕๖๑-๓

ราคา ๑๕๙ บาท ในกรณีทที่ า่ นต้องการซือ้ หนังสือเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ใช้ในการสอน การศึกษา หรือเป็นของขวัญพิเศษ กรุณาสอบถามรายละเอียดและราคาพิเศษเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องนับถือ ว่าเป็นพระบูรพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ที่บ�ำเพ็ญความเพียรจนบรรลุธรรม ชั้นสูงสุด และได้อบรมสั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแพร่ธรรม เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือ ข้อวัตรข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หนังสือชุด “พระอริยสงฆ์ แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” จัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่หลักค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ น้อมน�ำระลึกถึงหลักค�ำสอนทีโ่ ดดเด่น เพือ่ น�ำมาขัดเกลาให้ชวี ติ ไม่ หลงยึดติดกับโลกของวัตถุ จนลืมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญ วาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี ใจเราก็ ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตุให้ต่อภพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อ ไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า ไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากัน ไปสู่ภพที่ตำ�่ ลงได้


พระอริยสงฆ์ผมู้ ปี ฏิปทา ปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ อยูใ่ นศีลาจาร วัตร มุง่ มัน่ เผยแพร่คำ� สอนเดินตามรอยพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่หลงโลก มุ่งแต่ธรรม ล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกท่าน ศรัทธาในบารมีและยึดเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต หนังสือชุดอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ได้นำ� ชาติภมู ิ และค�ำสอนพระเถระ ๑๔ รูป น้อมน�ำไปปฏิบตั เิ พือ่ ความเป็นมงคล อาทิ พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์ สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงโดย ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้น�ำหลักค�ำสอน ปฏิปทา คุณงามความดี และแก่นธรรมมรดกความคิด ซึ่งเป็นแบบอย่าง “การไม่ยึดติด ไม่หลงโลก หลงกิเลส” น้อมคารวะทุกดวงจิตที่ดีงาม ส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี


ค�ำน�ำผู้เรียบเรียง หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงขึน้ เพือ่ เผยแพร่พระธรรมค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้เจริญรอยตาม พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โฺ ต พระอาจารย์ใหญ่ฝา่ ยกรรมฐาน ทีม่ นั่ คง ในปฏิปทา และศีลาจารวัตรที่งดงามควรค่าแก่การยึดเหนี่ยว ปฏิบัติ ช�ำระล้างกิเลสอันเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ ค�ำสอนของอริยสงฆ์ เปรียบเสมือนความสว่างที่คอยขจัด ความมืดให้หลุดพ้นไปจากจิตใจ ท�ำให้เกิดสติ มีปญ ั ญา รูจ้ กั แก้ปญ ั หา ซึ่งคนเราละเลยการปฏิบัติดี ขาดธรรมมะ เป็นความบกพร่องต่อ ศีลธรรม หนังสือชุดนีจ้ ดุ ประกายแสงแห่งธรรมให้คดิ พูด ท�ำ อย่างมีสติ หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” ได้รวบรวม เรียบเรียงพระอริยสงฆ์สายพระป่ากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นทีร่ จู้ กั กันเป็นอย่างดี ไม่วา่ จะเป็น พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปูต่ อื้ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน)


การจัดท�ำหนังสือชุดนี้ เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมได้รู้อีกแง่มุมหนึ่ง ของการธุดงควัตร ฝึกกรรมฐาน หลักค�ำสอน หลักปฏิบัติ ผ่านการ ขัดเกลา ทดสอบจิต อย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางธรรมที่ช่วยผ่อน คลายความทุกข์ทางโลก ให้สงบสุขในทางธรรม ซึ่งเป็นขั้นแรกของ การฝึกกรรมฐาน ด้วยการส�ำรวจความพร้อมของจิตใจ ความสุขที่เกิดจากใจสงบ ย่อมน�ำมาซึ่งสติ ปัญญา สมาธิ คิดท�ำสิ่งใด พึงระลึกไว้ในค�ำสอน เพราะมนุษย์ล้วนแต่มีความ โกรธ ความโลภ ความหลง ซ่อนเร้นอยู่ในใจ หากท�ำอะไรโดยไม่คิด ไตร่ตรองอย่างมีสติ ความทุกข์ที่ขังอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่า เท่านั้นเอง ต้องขอขอบพระคุณ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉายและทีมงาน กองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ที่เล็งเห็นคุณค่าของธรรมะ ค�ำสั่งสอนพระอริยสงฆ์ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใฝ่ธรรมได้ศึกษา ปฏิบัติ สืบทอดแนวทางของพระป่า ฝ่ายกรรมฐาน ตามพ่อแม่ครูบา อาจารย์ทุก ๆ องค์

ดร.ปฐม นิคมานนท์


สารบัญ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

เป็นผู้มีศีลงดงาม ค�ำพยากรณ์ของหลวงปู่มั่น ชาติก�ำเนิด นิมิตดีในวันเกิด ฉายแววแต่เยาว์วัย ผู้เห็นภัยในความตาย บรรพชาเป็นสามเณร เข้าญัตติกรรมเป็นธรรมยุต หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ติดตามคณะหลวงปู่มั่นไปเมืองอุบลราชธานี ติดตามพระอาจารย์ไปจังหวัดขอนแก่น อุปสมบท ป่าช้าบ้านเหล่างา อสุภํ มรณํ

๑๒ ๒๔ ๒๘ ๓๐ ๓๓ ๓๗ ๓๙ ๔๑ ๔๔ ๔๗ ๕๑ ๕๗ ๕๙ ๖๓


โสสานิกังคะ จ�ำพรรษาที่นครราชสีมา เหตุการณ์ชวนให้สลดใจ อานิสงส์การให้ทาน ทานละเอียดบริสุทธิ์ เมตตาไม่มีประมาณ ถูกขอตัวเข้ากรุงเทพฯ จ�ำพรรษาที่วัดบรมนิวาส “ฌาน” เป็นอย่างไร? ฌานของหลวงปู่ตื้อ เข้าฌานตามแบบพระพุทธเจ้า กลับบ้านเกิดที่สกลนคร สร้างวัดป่าธรรมยุติกนิกาย ที่นามรดกของพระพุทธเจ้า จ�ำพรรษาที่อ�ำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ธุดงค์เจอเลียงผา ธุดงค์เจอเสือ คาถาป้องกันสัตว์ร้าย

๖๕ ๖๖ ๖๙ ๗๐ ๗๒ ๗๔ ๗๗ ๘๐ ๘๒ ๘๓ ๘๕ ๘๗ ๘๙ ๙๑ ๙๓ ๙๖ ๙๘ ๑๐๐


ธุดงค์ขึ้นเหนือ จ�ำพรรษาที่ถ�้ำผาผัวะ อ�ำเภอจอมทอง อยู่ที่ไหนก็ไม่ปลอดโปร่งใจเหมือนเชียงใหม่ หลวงปู่เรียนภาษาอังกฤษ! ย้อนกลับไปสร้างวัดที่เพชรบูรณ์ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ปลูกศรัทธาให้กับชาวเชียงใหม่ จ�ำพรรษาในเมืองเชียงใหม่ ด�ำริการสร้างวัด การสร้างวัดสันติธรรม เริ่มต้นสร้างวัดสันติธรรม ป้ออุ้ย แม่อุ้ย เล่าให้ฟัง เกร็ดที่ผู้เฒ่าเล่าบอก โบสถ์ ๑๘ ปี วัดสันติธรรม

๑๐๒ ๑๐๔ ๑๐๖ ๑๐๘ ๑๑๑ ๑๑๓ ๑๑๘ ๑๒๐ ๑๒๒ ๑๒๖ ๑๒๙ ๑๓๕ ๑๔๒ ๑๕๑


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร เป็นผู้มีศีลงดงาม


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร 15

ท่านเจ้าคุณพระญาณสิทธาจารย์ หรือหลวงปูส่ มิ พุทธฺ าจาโร แห่งส�ำนักสงฆ์ถำ�้ ผาปล่อง อ�ำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็น พระมหาเถราจารย์ ทีม่ ศี ลี าจารวัตรงดงามอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ตลอดสายในชีวิตการเป็นนักบวชของท่าน หลวงปู่เป็นศิษย์รุ่นอาวุโสของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่มั่นได้เคยพูดถึงหลวงปู่สิม สมัยยังเป็นพระน้อย พระหนุ่มต่อหน้าพระเถระบางรูป ในเชิงพยากรณ์และด้วยความ ชื่นชมว่า “ท่านสิม เป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ เบ่งบานเมื่อใดก็จะ หอมกว่าหมู่” สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปรินายก ทรงยกย่องหลวงปู่สิม ว่า “เป็นผู้มีศีลงดงาม” โดยมีพระลิขิต ดังนี้


16 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

“ท่านเจ้าคุณพระญาณสิทธาจารย์ สิม พุทฺธาจาโร เป็นผู้มีศีลงดงาม บรรดาผู้รู้จักท่านย่อมเห็นชัด ว่าชีวิตของท่านรับรองพุทธศาสนสุภาษิต ที่อัญเชิญไว้เบื้องต้น อย่างชัดเจน” ส� ำ หรั บ พุ ท ธภาษิ ต ที่ ท ่ า นเจ้ า ประคุ ณ สมเด็ จ ฯ ทรง อัญเชิญมาอ้างอิงนี้ ความว่า สีลํ เสตุ มเหสกฺโข สีลํ คนฺโธ อนุตฺตโร สีลํ วิเลปนํ เสฎฺฐํ เยน วาติ ทิโส ทิสํ ศีลคือสะพานอันมีศักดิ์ใหญ่ ศีลเป็นกลิ่นที่ไม่มีกลิ่นอื่นยิ่งกว่า ศีลเป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ ซึ่งขจรไปทั่วทุกทิศ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงอธิบายขยายความพุทธ ภาษิตข้างต้นต่อไปว่า


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร 17

ศีลเป็นสะพานทอดน�ำไปสู่ฐานะที่สูง คนทั้งหลายไม่ว่าตนเองจะมีศีลหรือไม่

ใจก็ย่อมยกย่องนับถือผู้มีศีล ท่านเจ้าคุณพระญาณสิทธาจารย์ เป็นผูม้ ีศลี ศีลทีน่ ำ� ท่าน สู่ฐานะที่สูงขึ้นตามล�ำดับ ไม่เพียงสูงขึ้นตามสมณศักดิ์ที่ได้รับ พระราชทานเลื่อน แต่สูงขึ้นด้วยฐานะในความรู้สึกนึกคิดจิตใจ ของผู้ที่รู้จักท่าน ศี ล มี ก ลิ่ น หอมไกลยิ่ ง กว่ า กลิ่ น ใดอื่ น กลิ่ น เครื่ อ งร�่ำ น�้ำหอมหรือกลิ่นบุปผามาลัยใด ๆ ก็ตาม ก็มีอยู่ในขอบเขตและ กาลสมัยใกล้เคียง แต่กลิน่ ศีลหามีเวลา มีขอบเขตไม่ ข้ามน�ำ้ ข้าม ทวีปข้ามกาลเวลา ข้ามยุคสมัย ไกลเท่าไกลได้ทั้งสิ้น ท่านเจ้าคุณพระญาณสิทธาจารย์ เป็นผู้มีศีล ชื่อเสียง ของท่านเป็นที่รู้จักอย่างดียิ่ง ในนามหลวงปู่สิม ผู้งดงามด้วย ความปฏิบัติเคร่งครัดในศีล ขจรไกลไปทั้งในหมู่ผู้ที่ไม่เคยพบ เคยเห็นท่านเลย


18 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

ศีล เป็นเครื่องลูบไล้อันดีเลิศ เครื่องประทิ่นทั้งหลายไม่ ท�ำให้เกิดคุณค่าเสมอศีล เพราะเครือ่ งประทิน่ ทัง้ หลายย่อมคลาย คุณสมบัติได้ในเวลาไม่นาน แต่ตลอดกาล ศีลทีม่ ปี ระจ�ำใจจะส่งประกายใสสว่างอย่าง งดงามครอบคลุมอยู่

ความเป็นผู้สงบงดงาม เป็นปกติด้วยกิริยาวาจานั้น เกิดจากความมีศีลที่ใจ

ท่านเจ้าคุณพระญาณสิทธาจารย์ นัน้ เป็นทีร่ ไู้ กล ว่ามีศลี เครื่องลูบไล้อันประเสริฐ กิริยาท่านสงบเป็นปกติ วาจาท่านสงบ เป็นปกติ ผู้ได้พบได้เห็นได้สนทนาวิสาสะ ย่อมประจักษ์แจ้งใจ ในคุณ อันควรอนุโมทนาสาธุการของท่าน”


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร 19

หลวงพ่อ พระพุทธพจนวราภรณ์ แห่งวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร เชียงใหม่ สมัยด�ำรงสมณศักดิท์ ี่พระธรรมดิลก ได้เขียน ถึงคุณธรรมของหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ไว้อย่างครอบคลุม ด้วย ข้อเขียนเพียงสัน้  ๆ สองหน้ากระดาษ ภายใต้ชอื่ เรือ่ งว่า “หลวงปู่ ผู้ทรงคุณ” “บรรดาพระเถระกั ม มั ฏ ฐานที่ มี ป ฏิ ป ทาตามสาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มีอยู่หลายรูป อาทิ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ�ำเภอพร้าว เชียงใหม่ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ�ำเภอพรรณานิคม สกลนคร หลวงปู่ขาว อนาลโย วั ด ถ�้ ำ กลองเพล อ� ำ เภอหนองบั ว ล� ำ ภู อุ ด รธานี (ปั จ จุ บั น อยู ่ ใ นจั ง หวั ด หนองบั ว ล� ำ ภู ) พระโพธิ ญ าณเถร (หลวงปู ่ ช า สุ ภ ทฺ โ ท) วั ด หนองป่ า พง อ� ำ เภอวาริ น ช� ำ ราบ อุบลราชธานี พระราชนิโรธรังสี (หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี) อ�ำเภอ ศรีเชียงใหม่ หนองคาย พระอาจารย์มหาบัว าณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด อ�ำเภอเมือง อุดรธานี หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต วัดภูจอ้ ก้อ อ�ำเภอค�ำชะอี (ปัจจุบนั อ�ำเภอหนองสูง) มุกดาหาร พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปูส่ มิ พุทธฺ าจาโร) ส�ำนักสงฆ์ถำ�้ ผาปล่อง อ�ำเภอเชียงดาว เชียงใหม่


20 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

พระเดชพระคุณท่านเจ้าพระญาณสิทธาจารย์ (หลวง ปู่สิม พุทฺธาจาโร) เป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ที่มีอายุพรรษามาก ปฏิปทาหลักของหลวงปู่สิม คือ พระกัมมัฏฐาน หรือ พระธุดงค์ ท่ า นจะจาริ ก แสวงหาความสงบวิ เ วกไปในถิ่ น ต่ า ง ๆ ตามชนบท ป่าเขา ณ ทีใ่ ดให้ความสงบสงัด ก็จะพักอยูเ่ พือ่ ปฏิบตั ิ ธรรม และโปรดญาติโยมด้วยการจาริกออกบิณฑบาต พร้อมกับ เทศนาสั่งสอนเผยแผ่หลักธรรมวินัย เป็นการให้แสงสว่างทางใจ ให้ชาวชนบทรู้จักบุญ รู้จักบาป รู้จักคุณ รู้จกั โทษ หลวงปู่ มีความขยันในการเทศนาสั่งสอน ทุ่มเทเสียสละ ในการเผยแพร่พระธรรม โดยสม�ำ่ เสมอตลอดมา ค�ำสอนของหลวงปู่จะตักเตือนให้เกิดความส�ำนึกในเรือ่ ง ความไม่ประมาท เช่นสอนว่า

ชีวติ ของคนเราแค่ลมหายใจเข้า-ออก สูดเข้าไปแล้วออกมาไม่ได้ก็ตาย ออกมาแล้วสูดเข้าไปไม่ได้ก็ตาย ผู้ใดไม่นึกถึงความตายที่จะมาถึงตน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนประมาท


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร 21

ค�ำสอนของหลวงปู่บางประโยค ก็เป็นปรัชญา ที่ชวน ให้คิด เช่นสอนว่า ใจเราไปติดกิเลส ไม่ใช่กิเลสมาติดอยู่ในใจ ของเรา และสอนว่า จงหลงศีล หลงธรรม หลงค�ำสอนของ พระพุทธเจ้า ว่าอยู่ที่อื่น ความจริงอยู่ที่กาย วาจา จิต ของคน เราทุกคน หลวงปูส่ มิ นอกจากจะมีปฏิปทาหนักไปในทาง ธุดงควัตร แสวงหาความสงบสงัดตามป่าเขาแล้ว ท่านยังมีผลงานในทาง สร้างสรรค์ศาสนาวัตถุ ศาสนสถานด้วย ผลงานในด้านนี้ คือ วัดสันติธรรม ณ หมู่บ้านสันติธรรม อ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ หลวงปู่สิม ได้เป็นประธานสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้นก่อน ขณะที่เริ่มสร้างวัด ที่ดินบริเวณนั้นยังเป็นไร่เป็นนา มีบ้านอยู่ไม่ กี่หลัง เมื่อหลวงปู่สิมสร้างวัดแล้ว ได้ตั้งชื่อว่า วัดสันติธรรม หมู่บ้านจึงได้ตั้งชื่อตามวัดว่า หมู่บ้านสันติธรรม เมือ่ มีวดั มีพระสงฆ์สามเณรอยูเ่ ป็นหลักฐาน หลวงปูก่ จ็ ดั ให้มกี ารศึกษาพระปริยตั ธิ รรม มีการเปิดสอนนักธรรมตรี โท เอก และสอนแผนกบาลีไวยากรณ์ ขึ้นโดยล�ำดับ


22 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

วัดสันติธรรม นอกจากจะเป็นวัดทีเ่ น้นหนักในการให้การ ศึกษาอบรมธรรมปฏิบัติ แก่พระสงฆ์ สามเณรและพุทธบริษัท ที่ใฝ่ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานแล้ว ยังเป็นส�ำนักเรียนที่มีผลงานใน ด้านการศึกษาปริยัติธรรม อีกส�ำนักหนึ่ง ในปัจจุบัน แสดงว่าหลวงปู่สิม ท่านส่งเสริมการศึกษาธรรมวินัย คู่กันไปกับการปฎิบัติธรรม บ�ำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เมื่อวัดสันติธรรม ได้ท�ำการพัฒนาเจริญขึ้นโดยล�ำดับ หลวงปู ่ จึ ง มอบการบริ ห ารวั ด ให้ แ ก่ พระครู สั น ตยาธิ คุ ณ (สมณศักดิ์สุดท้าย คือ พระนพีสีพิศาลคุณ - หลวงพ่อพระมหา ทองอินทร์ กุสลจิตฺโต) ซึ่งเป็นศิษย์ผู้ใหญ่ รับผิดชอบบริหาร สืบต่อมา ส่วนหลวงปู่ได้ออกจาริกเดินธุดงค์ไปตามสถานวิเวก ในป่ า เขา จนกระทั่ ง ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ หลวงปู ่ ไ ด้ ไ ปปฏิ บั ติ เจริญสมณธรรมที่ ถ�้ำผาปล่อง อ�ำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ถ�ำ้ ผาปล่อง ดอยหลวงเชียงดาว สมัยนัน้ เป็นป่าพงรกทึบ เป็นที่อาศัยของสิงสาราสัตว์ ผู้มีจิตหวั่นไหวไม่รักสงบไม่ทุ่มเท เพื่อคุณธรรมเบื้องสูงแล้ว ก็ยากที่จะอยู่ในที่สงบสงัดและเสี่ยง ต่ออันตรายเช่นนั้นได้


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร 23

ด้วยปฏิปทาที่สงบแน่วแน่มุ่งสู่กระแสธรรม ด้วยพลังใจ ที่ยิ่งใหญ่ ด้วยการเสียสละที่สูงส่งของหลวงปู่ กาลเวลาผ่ า นไปไม่ กี่ ท ศวรรษ ก็ ท� ำ ให้ ถ�้ ำ ผาปล่ อ ง กลายเป็นส�ำนักปฎิบตั ธิ รรมทีส่ ำ� คัญยิง่ เป็นศาสนสถานทีส่ วยงาม ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะแก่ผ้ทู ไี่ ด้เห็นได้สมั ผัส นับเป็นบุญสถาน บุญเขต ที่อ�ำนวยประโยชน์แก่สาธุชนทุกถ้วนหน้า ทั้งนี้ เนื่องด้วยบุญญาบารมีของหลวงปู่ ที่ได้ทุ่มเทเสีย สละร่างกายและชีวิต อุทิศแด่พระศาสนาอย่างแท้จริง นั่นเอง สมกับที่หลวงปู่สอนไว้ว่า มรรค ผล นิพพาน ก็ไม่ ต้องไปหาที่อื่น มันอยู่ที่ความเพียร ความขยัน ความอดทน ความมั่น ในการภาวนาไม่ขาด ส�ำหรับท่านเจ้าคุณพระสุธรรมคณาจารย์ หรือหลวงปู่ เหรียญ วรลาโภ แห่งวัดอรัญบรรพต อ�ำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัด หนองคาย สหธรรมิกผู้เคยร่วมธุดงค์กับหลวงปู่ ได้เขียนค�ำ ไว้อาลัยในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ มี ใจความดังนี้


24 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๘๒ ข้าพเจ้าได้พบกับหลวงปู่สิม ที่ วัดโรงธรรม (วัดโรงธรรมสามัคคี) อ�ำเภอสันก�ำแพง จังหวัด เชียงใหม่ ท่านมีพรรษาแก่กว่าข้าพเจ้า สามพรรษา ท่านมีนสิ ยั ใจคอ เยือกเย็น ถูกนิสัยกันกับข้าพเจ้า เคยได้เที่ยวธุดงค์ด้วยกันตามถ�้ำ ภูเขา ในจังหวัด เชียงใหม่ ได้จ�ำพรรษาร่วมกับท่านสามพรรษา นับว่าท่านเป็นบัณฑิตผูห้ นึง่ ในพุทธศาสนานี้ และก็นบั ว่า ท่านมีอายุยืนรูปหนึ่ง ท่านมรณภาพอายุได้ ๘๓ ปี ควรที่กุลบุตรผู้บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาจะถือเอา เป็นเยี่ยงอย่างในทางประพฤติพรหมจรรย์ การจากไปของท่านหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ในครั้งนี้ (วันศุกร์ที่ ๑๔ สิงหาพ.ศ. ๒๕๓๕) ย่อมเป็นที่อะไรของสานุศิษย์ ทั้งหลายโดยแท้ แม้ข้าพเจ้าก็อาลัยถึงท่านเหมือนกัน แต่ เ มื่ อ มาพิ จ ารณาถึ ง สั ง ขารธรรมทั้ ง ปวงไม่ เ ที่ ย ง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็ปลงลงได้ว่า ทุกคนต้องตายด้วย กันทั้งหมด ต่างแต่ก่อนและหลังกันเท่านั้น


หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร 25

แต่ข้อส�ำคัญก็คือ

การละชั่วแล้วท�ำดีให้สูงขึ้น

ไปโดยล�ำดับนั้นแหล่ะ เราจะได้ความอุ่นใจ ในเวลาจวนจะสิ้นชีพท�ำลายขันธ์ ฉะนี้แลฯ พระมหาเถระอีกองค์ที่เขียนค�ำไว้อาลัย ไว้ในหนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ ก็คอื หลวงปูบ่ ดุ ดา ถาวโร แห่งวัดกลางชูศรีเจริญสุข อ�ำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บรุ ี หลวงปู่บุดดา ได้กล่าวถึงความตายโดยกลาง ๆ ทั่วไปว่า

“เป็นคน เป็นสัตว์ มันก็มีเกิดมีตาย ธรรมะ ไม่เกิด ไม่ตาย มีแต่เกิด-ดับ กิเลส ตายไปแล้ว ไม่มาอีก เหลือแต่ นิโรโธ นิพพานัง”



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.