หลวงปู่หลุย จันฺทสาโร หลวงปู่ผู้อ่อนน้อมถ่อมองค์

Page 1



อนุโมทนาธรรม ..............................................................

ต้นไม้แก่ชราเต็มที่ ย่อมไม่ดูดดื่มปุ๋ยเลี้ยงล�ำต้นได้เลย มีแต่ทรุดโทรมหาความตายเสมอ ..............................................................



อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๔

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

ดร.ปฐม นิคมานนท์ เรียบเรียง


อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๔

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

เรียบเรียง ดร.ปฐม นิคมานนท์ บรรณาธิการบริหาร ดนัย จันทร์เจ้าฉาย บรรณาธิการเล่ม สุทธิชัย ปทุมล่องทอง ศิลปกรรม นันท์พสิษฐ์ โชติน้อย, สุรศักดิ์ ละสามา พิมพ์ที่ บริษัท ฐานการพิมพ์ จ�ำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ปฐม นิคมานนท์. หลวงปู่หลุย จันทสาโร.-- กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๙. ๑๖๐ หน้า. -- (อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน). ๑. หลวงปู่หลุย จันทสาโร. ๒. สงฆ์--ชีวประวัติ. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๐๙๒๒ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๓๗๖-๐๒๙-๖ จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ๔๙๖-๕๐๒ อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น ๒๒ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ (สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม) โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๙๘-๙ Website: www.dmgbooks.com จัดจ�ำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๓ ๙๙๙๙ โทรสาร ๐ ๒๔๔๙ ๙๕๖๑-๓

ราคา ๑๕๙ บาท

ในกรณีทที่ า่ นต้องการซือ้ หนังสือเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ใช้ในการสอน การศึกษา หรือเป็นของขวัญพิเศษ กรุณาสอบถามรายละเอียดและราคาพิเศษเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องนับถือ ว่าเป็นพระบูรพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ที่บ�ำเพ็ญความเพียรจนบรรลุธรรม ชั้นสูงสุด และได้อบรมสั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแพร่ธรรม เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือ ข้อวัตรข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หนังสือชุด “พระอริยสงฆ์ แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” จัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่หลักค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ น้อมน�ำระลึกถึงหลักค�ำสอนทีโ่ ดดเด่น เพือ่ น�ำมาขัดเกลาให้ชวี ติ ไม่ หลงยึดติดกับโลกของวัตถุ จนลืมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญ วาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี ใจเราก็ ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตุให้ต่อภพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อ ไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า ไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากัน ไปสู่ภพที่ตำ�่ ลงได้


พระอริยสงฆ์ผมู้ ปี ฏิปทา ปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ อยูใ่ นศีลาจาร วัตร มุง่ มัน่ เผยแพร่ค�ำสอนเดินตามรอยพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่หลงโลก มุ่งแต่ธรรม ล้วนแต่มีช่ือเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกท่าน ศรัทธาในบารมีและยึดเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต หนังสือชุดอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ได้น�ำชาติภูมิ และค�ำสอนพระเถระ ๑๔ รูป น้อมน�ำไปปฏิบตั เิ พือ่ ความเป็นมงคล อาทิ พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศษิ ฏ์ สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงโดย ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้นำ� หลักค�ำสอน ปฏิปทา คุณงามความดี และแก่นธรรมมรดกความคิด ซึ่งเป็นแบบอย่าง “การไม่ยึดติด ไม่หลงโลก หลงกิเลส” น้อมคารวะทุกดวงจิตที่ดีงาม ส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี


ค�ำน�ำผู้เรียบเรียง หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงขึน้ เพือ่ เผยแพร่พระธรรมค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้เจริญรอยตาม พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โฺ ต พระอาจารย์ใหญ่ฝา่ ยกรรมฐาน ทีม่ นั่ คง ในปฏิปทา และศีลาจารวัตรที่งดงามควรค่าแก่การยึดเหนี่ยว ปฏิบัติ ช�ำระล้างกิเลสอันเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ ค�ำสอนของอริยสงฆ์ เปรียบเสมือนความสว่างที่คอยขจัด ความมืดให้หลุดพ้นไปจากจิตใจ ท�ำให้เกิดสติ มีปญ ั ญา รูจ้ กั แก้ปญ ั หา ซึ่งคนเราละเลยการปฏิบัติดี ขาดธรรมมะ เป็นความบกพร่องต่อ ศีลธรรม หนังสือชุดนีจ้ ดุ ประกายแสงแห่งธรรมให้คดิ พูด ท�ำ อย่างมีสติ หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” ได้รวบรวม เรียบเรียงพระอริยสงฆ์สายพระป่ากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นทีร่ จู้ กั กันเป็นอย่างดี ไม่วา่ จะเป็น พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปูต่ อื้ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน)


การจัดท�ำหนังสือชุดนี้ เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมได้รู้อีกแง่มุมหนึ่ง ของการธุดงควัตร ฝึกกรรมฐาน หลักค�ำสอน หลักปฏิบัติ ผ่านการ ขัดเกลา ทดสอบจิต อย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางธรรมที่ช่วยผ่อน คลายความทุกข์ทางโลก ให้สงบสุขในทางธรรม ซึ่งเป็นขั้นแรกของ การฝึกกรรมฐาน ด้วยการส�ำรวจความพร้อมของจิตใจ ความสุขที่เกิดจากใจสงบ ย่อมน�ำมาซึ่งสติ ปัญญา สมาธิ คิดท�ำสิ่งใด พึงระลึกไว้ในค�ำสอน เพราะมนุษย์ล้วนแต่มีความ โกรธ ความโลภ ความหลง ซ่อนเร้นอยู่ในใจ หากท�ำอะไรโดยไม่คิด ไตร่ตรองอย่างมีสติ ความทุกข์ที่ขังอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่า เท่านั้นเอง ต้องขอขอบพระคุณ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉายและทีมงาน กองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ที่เล็งเห็นคุณค่าของธรรมะ ค�ำสั่งสอนพระอริยสงฆ์ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใฝ่ธรรมได้ศึกษา ปฏิบัติ สืบทอดแนวทางของพระป่า ฝ่ายกรรมฐาน ตามพ่อแม่ครูบา อาจารย์ทุก ๆ องค์

ดร.ปฐม นิคมานนท์


สารบัญ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงปู่ผู้อ่อนน้อมถ่อมองค์ ว่าด้วยชาติตระกูล ก�ำเนิดเด็กชายวอ เซนต์หลุย – นักบุญหลุย สลดสังเวชเพราะเห็นสัตว์ถูกฆ่า อุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไปนมัสการพระธาตุพนม ประเดิมนอนกลดธุดงค์ ครั้งแรก พระอาจารย์บุญ อาจารย์กรรมฐานองค์แรก พบหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น เปรียบนิสัยหลวงปู่มั่นกับพระอาจารย์บุญ เข้าร่วมในกองทัพธรรม เดินทางเข้าโคราช

๑๒ ๑๘ ๒๕ ๒๗ ๒๙ ๓๔ ๓๖ ๓๘ ๔๑ ๔๔ ๔๖ ๔๙ ๕๑


ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ สอบไล่ครั้งแรก ที่ภาวนาทรมานกาย พบแม่ชีอภิญญาสูง ม้างกาย เห็นพญานาคเป็นครั้งแรก ยาน�้ำมูตรเน่า – ยาปรมัตถ์ของพระพุทธเจ้า ต�ำรับยาหม้อใหญ่ของหลวงปู่ เคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ภาวนาที่ถำ�้ ผาบิ้ง น�ำ้ ซ�ำ บ่อน�้ำศักดิ์สิทธิ์ของเหล่าเทพ ย้อนกลับไปถ�ำ้ ผาปู่ ไปดักรอพบหลวงปู่มั่น เกิดมหัศจรรย์ในทางจิต โวหารธรรมของหลวงปู่ บันทึกลักษณะ – อุปนิสัยหลวงปู่มั่น

๕๕ ๕๘ ๖๐ ๖๒ ๖๕ ๖๘ ๗๐ ๗๒ ๗๔ ๗๗ ๘๑ ๘๓ ๘๙ ๙๓ ๙๙ ๑๐๔


หวนระลึกถึงค�ำสอนของหลวงปู่มั่น บันทึกที่บ้านห้วยหีบ เตรียมการรับหลวงปู่มั่น มาบ้านหนองผือ นี่แหละปราชญ์แท้! เรื่องของ “เทพอุ้ม” เรื่องของภูบักเบิก การบ�ำเพ็ญเพียรที่ภูบักบิด ผจญพญานาคภูบักบิด คนถูกเสือคาบไปต่อหน้าต่อตา เจ้าตัวยาวที่ถำ�้ แก้งยาว

๑๑๒ ๑๑๘ ๑๒๑ ๑๒๕ ๑๓๐ ๑๓๕ ๑๔๑ ๑๔๕ ๑๔๘ ๑๕๒


หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร หลวงปู่ผู้อ่อนน้อมถ่อมองค์


พระคุณเจ้า หลวงปูห่ ลุย จนฺทสาโร เป็นศิษย์ตน้ และศิษย์ ส�ำคัญองค์หนึ่งของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ผู้ที่ได้รับการถวายสมัญญาว่า สองพระปรมาจารย์แห่งวงศ์พระกรรมฐานในยุคปัจจุบนั หากนับล�ำดับรุ่น ศิษย์ที่อาวุโสของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่มั่น แล้ว ศิษย์รุ่นแรกก็คือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม กับ หลวงปูด่ ลู ย์ อตุโล รุน่ รองถัดมาก็จะเป็น หลวงปูแ่ หวน สุจณ ิ โฺ ณ กับ หลวงปู่ตอื้ อจลธมฺโม และหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ก็เป็นศิษย์ อาวุโสในล�ำดับถัดมาอีก ศิษย์ของพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ที่อยู่ในรุ่นใกล้เคียง กับ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้แก่ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี, หลวงปู่ อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น


16 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

ถ้านับอายุตามปีปฏิทิน หลวงปู่ขาว มีอายุมากที่สุด คือ ท่านเกิดเดือนอ้าย ปีชวด ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ เกิดก่อนหลวงปู่ที่เอ่ยนามมา ๑๓-๑๔ ปี หลวงปู่ฝั้น เกิดวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ตรงกับ วันขึ้น ๑๔ ค�ำ่ เดือน ๙ ปีกุน หลวงปู่หลุย เกิดปีเดียวกับ หลวงปู่ชอบ คือ ปีฉลู พ.ศ. ๒๔๔๔ เกิดห่างกันแค่ ๑ วัน คือ หลวงปู่หลุย เกิดวันที่ ๑๑ และ หลวงปู่ชอบ เกิดวันที่ ๑๒ เดือนกุมภาพันธ์ ส่วนหลวงปู่เทสก์ กับ หลวงปู่อ่อน เกิดหลังหลวงปู่หลุย ๑ ปี คือเกิดปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ โดยหลวงปู่เทสก์ เกิดวันที่ ๒๖ เมษายน และหลวงปู่อ่อน เกิดวันที่ ๓ มิถุนายน


หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร 17

ถ้านับอาวุโสโดยถือวันอุปสมบท หรือ ญัตติเป็นพระ ธรรมยุต เรียงล�ำดับได้ดังนี้ หลวงปู่เทสก์ อุปสมบท ๑๖ พฤษภาคม หลวงปู่อ่อน ญัตติกรรม ๒๕ มกราคม หลวงปู่ชอบ อุปสมบท ๒๑ มีนาคม หลวงปู่หลุย ญัตติกรรม ๑๔ พฤษภาคม หลวงปู่ขาว ญัตติกรรม ๑๔ พฤษภาคม หลวงปู่ฝั้น ญัตติกรรม ๒๑ พฤษภาคม

๒๔๖๖ ๒๔๖๗ ๒๔๖๗ ๒๔๖๘ ๒๔๖๘ ๒๔๖๘

ตามอาวุโสพรรษา หลวงปู่เทสก์ มีอาวุโสพรรษามากกว่า หลวงปูห่ ลุย ๒ พรรษา ส่วนหลวงปูอ่ อ่ น หลวงปูช่ อบ หลวงปูข่ าว และหลวงปู่ฝั้น มีอายุพรรษาเท่ากันกับหลวงปู่หลุย แม้จะบวช คนละปี พ.ศ. แต่เริ่มนับพรรษา ๑ พร้อมกัน ต่างกันที่บวช ก่อน-บวชหลังเท่านั้น ส�ำหรับหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต วั น เดี ย วกั น กั บ หลวงปู ่ ห ลุ ย โดยเป็ น คู ่ น าคซ้ า ย-ขวา ซึ่ ง หลวงปู่หลุย เริ่มท�ำพิธีเวลา ๑๓.๐๘ น. และหลวงปู่ขาว ท�ำพิธี หลังจากนั้นประมาณ ๑๐ - ๑๕ นาที


18 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

หลวงปู่หลุย ท่านอุปสมบทครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อมาได้ถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์บุญ ปฺ สาวุโธ ได้ขอญัตติกรรมเป็นธรรมยุต ทีว่ ดั ศรีสะอาด อ�ำเภอ เมือง จังหวัดเลย ต่อมาได้พบกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และจ�ำพรรษาอยู่กบั ท่านที่วดั พระพุทธบาทบัวบก อ�ำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ปรากฏว่าเวลาภาวนาเมื่อจิตรวมแล้วเกิดอาการ สะดุ้ง พระอาจารย์บุญ จึงให้หลวงปู่หลุยญัตติกรรมใหม่ เพราะ สงสัยว่า การญัตติครั้งที่แล้วคงจะไม่ถูกต้องดีนัก ญัตติกรรม ครั้งหลังเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๖๘ พร้อมกับหลวงปู่ขาว ดังที่ได้กล่าวมา ปกติพระกรรมฐานสายหลวงปูใ่ หญ่เสาร์ และหลวงปูม่ นั่ จะเคร่งครัดพระธรรมวินยั มาก ส�ำหรับเรือ่ งการบวชก่อนบวชหลัง นั้น ถือเป็นประเพณีว่า แม้บวชหลังเพียงนาทีเดียวก็ต้องเคารพผู้บวชก่อน ดังนัน้ จึงเป็นภาพธรรมดาทีเ่ ห็นหลวงปู่ (หลุย) ผูม้ คี วาม มักน้อย ถ่อมองค์เป็นนิสยั เมือ่ พบเพือ่ นสหธรรมิกของท่านผูบ้ วช ก่อน แม้จะมีอายุนอ้ ยกว่า แต่หลวงปู่ ก็จะคุกเข่าก้มลงกราบแบบ เบญจางคประดิษฐ์อย่างนอบน้อม อ่อนโยน ถึงเวลาจะพูดด้วย ก็ใช้ค�ำแทนชื่อองค์ท่านเองว่า กระผม หรือ เกล้ากระผม เสมอ


หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร 19

เช่น เมื่อท่านพบหลวงปู่เทสก์ ซึ่งเป็นที่ทราบและเป็นที่ ยกย่องกันในหมู่วงศ์ศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ว่า ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านถือหลวงปูเ่ ทสก์เป็นธรรมทายาทของท่าน เป็นคล้าย “พี่ชายใหญ่ของวงศ์ตระกูล” ที่จะต้องดูแล พวกน้อง ๆ หลวงปู่หลุย ท่านก็จะปฏิบัติต่อหลวงปู่เทสก์ ด้วยความ นอบน้อมถ่อมองค์ดังที่กล่าวมา “แต่อย่างไรก็ดี เมื่อพบเพื่อนผู้บวชทีหลังอย่างหลวงปู่ ขาว และหลวงปู่ฝั้น ท่านจะยกมือขึ้นเตรียมไหว้ก่อนเป็นประจ�ำ และในเวลาที่ได้รับนิมนต์ไปฉันจังหัน ท่านจะถอยไปนั่งที่ลำ� ดับ ถัดไปจากหมู่พวกเสมอ ดังนี้” และ... “ความเรื่องที่ท่านมีอาวุโสทางบวชก่อนนี้ หากมิได้ แพร่งพราย มาจากหลวงปู่ขาว ซึ่งกล่าวยกย่องท่านแล้ว ก็แทบ จะไม่มีศิษย์รุ่นหลัง ผู้ใดทราบเลย”



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.