หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน หลวงปู่ผู้ระลึกชาติได้

Page 1

อริยสงฆแหงแผนดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและคําสอน เลมที่ ๑๐

หลวงปูโชติ คุณสมฺปนฺโน หลวงปูผูระลึกชาติได

ดร.ปฐม นิคมานนท : เรียบเรียง

ตนตํารับผูเรียบเรียงหนังสือสายพระปากรรมฐาน



อนุโมทนาธรรม ....................................................................

คนจะกลายเป็นเทวดา เมื่อยามรัก คนจะกลายเป็นยักษ์ เมื่อยามโกรธ ............................................................



อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม  ๑๐

หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน

ดร.ปฐม นิคมานนท์ เรียบเรียง


อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๑๐

หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน

เรียบเรียง บรรณาธิการบริหาร บรรณาธิการเล่ม ศิลปกรรม พิมพ์ที่ พิมพ์ครั้งที่ ๑

ดร.ปฐม นิคมานนท์ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย สุทธิชัย ปทุมล่องทอง นันท์พสิษฐ์ โชติน้อย, สุรศักดิ์ ละสามา บริษัท พริ้นท์ซิตี้ จ�ำกัด กรกฎาคม ๒๕๕๙

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ปฐม นิคมานนท์. หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน.-- กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๙. ๑๖๐ หน้า. -- (อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน). ๑. หลวงปู่โชติ คุณสัมปันโน. ๒. ธรรมเทศนา I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๐๙๒๒ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๓๗๖-๐๓๖-๔

จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ๔๙๖-๕๐๒ อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น ๒๒ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ (สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม) โทรศัพท์ 0 ๒๖๘๕ ๒๒๕๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๙๘-๙ Website: www.dmgbooks.com จัดจ�ำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๓ ๙๙๙๙ โทรสาร ๐ ๒๔๔๙ ๙๕๖๑-๓

ราคา ๑๕๙ บาท

ในกรณีทที่ า่ นต้องการซือ้ หนังสือเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ใช้ในการสอน การศึกษา หรือเป็นของขวัญพิเศษ กรุณาสอบถามรายละเอียดและราคาพิเศษเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0 ๒๖๘๕ ๒๒๕๔


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องนับถือ ว่าเป็นพระบูรพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ที่บ�ำเพ็ญความเพียรจนบรรลุธรรม ชั้นสูงสุด และได้อบรมสั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแพร่ธรรม เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือ ข้อวัตรข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หนังสือชุด “พระอริยสงฆ์ แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” จัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่หลักค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ น้อมน�ำระลึกถึงหลักค�ำสอนทีโ่ ดดเด่น เพือ่ น�ำมาขัดเกลาให้ชวี ติ ไม่ หลงยึดติดกับโลกของวัตถุ จนลืมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญ วาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี ใจเราก็ ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตุให้ต่อภพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อ ไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า ไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากัน ไปสู่ภพที่ตำ�่ ลงได้


พระอริยสงฆ์ผมู้ ปี ฏิปทา ปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ อยูใ่ นศีลาจาร วัตร มุง่ มัน่ เผยแพร่คำ� สอนเดินตามรอยพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่หลงโลก มุ่งแต่ธรรม ล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกท่าน ศรัทธาในบารมีและยึดเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต หนังสือชุดอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ได้นำ� ชาติภมู ิ และค�ำสอนพระเถระ ๑๔ รูป น้อมน�ำไปปฏิบตั เิ พือ่ ความเป็นมงคล อาทิ พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศษิ ฏ์ สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงโดย ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้น�ำหลักค�ำสอน ปฏิปทา คุณงามความดี และแก่นธรรมมรดกความคิด ซึ่งเป็นแบบอย่าง “การไม่ยึดติด ไม่หลงโลก หลงกิเลส” น้อมคารวะทุกดวงจิตที่ดีงาม ส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี


ค�ำน�ำผู้เรียบเรียง หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงขึน้ เพือ่ เผยแพร่พระธรรมค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้เจริญรอยตาม พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โฺ ต พระอาจารย์ใหญ่ฝา่ ยกรรมฐาน ทีม่ นั่ คง ในปฏิปทา และศีลาจารวัตรที่งดงามควรค่าแก่การยึดเหนี่ยว ปฏิบัติ ช�ำระล้างกิเลสอันเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ ค�ำสอนของอริยสงฆ์ เปรียบเสมือนความสว่างที่คอยขจัด ความมืดให้หลุดพ้นไปจากจิตใจ ท�ำให้เกิดสติ มีปญ ั ญา รูจ้ กั แก้ปญ ั หา ซึ่งคนเราละเลยการปฏิบัติดี ขาดธรรมมะ เป็นความบกพร่องต่อ ศีลธรรม หนังสือชุดนีจ้ ดุ ประกายแสงแห่งธรรมให้คดิ พูด ท�ำ อย่างมีสติ หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” ได้รวบรวม เรียบเรียงพระอริยสงฆ์สายพระป่ากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นทีร่ จู้ กั กันเป็นอย่างดี ไม่วา่ จะเป็น พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปูต่ อื้ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน)


การจัดท�ำหนังสือชุดนี้ เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมได้รู้อีกแง่มุมหนึ่ง ของการธุดงควัตร ฝึกกรรมฐาน หลักค�ำสอน หลักปฏิบัติ ผ่านการ ขัดเกลา ทดสอบจิต อย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางธรรมที่ช่วยผ่อน คลายความทุกข์ทางโลก ให้สงบสุขในทางธรรม ซึ่งเป็นขั้นแรกของ การฝึกกรรมฐาน ด้วยการส�ำรวจความพร้อมของจิตใจ ความสุขที่เกิดจากใจสงบ ย่อมน�ำมาซึ่งสติ ปัญญา สมาธิ คิดท�ำสิ่งใด พึงระลึกไว้ในค�ำสอน เพราะมนุษย์ล้วนแต่มีความ โกรธ ความโลภ ความหลง ซ่อนเร้นอยู่ในใจ หากท�ำอะไรโดยไม่คิด ไตร่ตรองอย่างมีสติ ความทุกข์ที่ขังอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่า เท่านั้นเอง ต้องขอขอบพระคุณ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉายและทีมงาน กองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ที่เล็งเห็นคุณค่าของธรรมะ ค�ำสั่งสอนพระอริยสงฆ์ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใฝ่ธรรมได้ศึกษา ปฏิบัติ สืบทอดแนวทางของพระป่า ฝ่ายกรรมฐาน ตามพ่อแม่ครูบา อาจารย์ทุก ๆ องค์

ดร.ปฐม นิคมานนท์


สารบัญ หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน

๑๓

หลวงปู่ผู้ระลึกชาติได้

๒๐

ปฏิปทามหัศจรรย์ของหลวงปู่

๒๗

ของดีที่หลวงปู่มอบให้

๓๙

หลวงปู่ใช้สุนัขส่งจดหมาย

๔๙

หลวงปู่ยอดกตัญญู

๕๘

หลวงปู่ผู้ยอดประหยัด

๖๘

ความสงบเป็นวัตรที่งดงาม

๗๔

หลวงปู่ไม่บอกหวย

๘๕

ประวัติหลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน

๘๘

หลวงปู่เล่าเรื่องระลึกชาติ

๙๖

เมื่อครั้งเกิดเป็นนายเล็ง

๑๐๑


ตัวเองป่วย น้องสาวตั้งครรภ์

๑๐๕

ตัวเองตาย - น้องสาวคลอดบุตร

๑๑๑

จัดงานศพของตัวเอง

๑๑๗

ไปเยี่ยมน้องสาวคลอดบุตร

๑๒๓

รู้ว่ากลับชาติมาเกิด

๑๒๗

ถูกทรมานให้ลืมอดีต

๑๓๐

ปิดปากสนิทตลอด ๓๕ ปี

๑๓๕

เครื่องพิสูจน์การระลึกชาติ

๑๓๘

คลายความสงสัยเรื่อง “ปรโลก”

๑๔๐

“ปรโลก” มีจริง

๑๔๒

กรรมเป็นตัวจ�ำแนก

๑๔๗

เกิด ตายมาหลายภพชาติ

๑๕๒


เมื่อใดจิตของเราสงบ

เมื่อนั้นความวุ่นวายทั้งหลายย่อมสงบลง หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน


หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน หลวงปู่ผู้ระลึกชาติได้


หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน 15

หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน พระเดชพระคุณ พระเทพสุทธาจารย์ หรือทีพ่ วกเราเรียก ด้วยความเคารพศรัทธา และด้วยความผูกพันเสมือนญาติผใู้ หญ่ ใกล้ชดิ ว่า หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน นัน้ ท่านเป็นพระคณาจารย์ สายวิปัสสนากรรมฐาน ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นที่รู้จักใน หมู่ชาวพุทธที่สนใจด้านธรรมปฏิบัติ อย่างกว้างขวางท่านหนึ่ง หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน เป็นพระเถระที่มีปฏิปทา งดงามมาก การพูดการจาและการแสดงออกทุกอิริยาบถเป็นไป ด้วยอาการส�ำรวมเป็นกิริยามารยาทที่สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน ที่ดูสงบและละมุนละไมงดงามจับตา จนเป็นที่กล่าวขานกันใน บรรดาลูกศิษย์ลูกหาว่า “รู ้ สึ ก ขนลุ ก เมื่ อ ได้ พ บเห็ น ความสุ ภ าพเรี ย บร้ อ ย สงบเย็น และปฏิปทาที่งดงามของท่าน”


16 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

หลวงปูท่ า่ นถือพระธรรมวินยั เป็นแนวปฏิบตั ิ ผูท้ มี่ โี อกาส ใกล้ชิดจะรู้ได้ว่า หลวงปู่ท่านเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก แม้ความผิดหรืออาบัติเล็กน้อย ท่านก็ไม่ปล่อยให้ผ่านไป ไม่ว่า จะเป็นองค์ท่านเอง หรือกับบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ทั้งที่เป็นเณร และศิษย์ที่เป็นฆราวาส เมื่อ ครั้ง ถนนมิต รภาพเริ่ม บุ ก เบิก ตัด ป่ า วางแนวเส้ น ทางผ่านเข้าสู่ดงพญาเย็นใหม่ ๆ แนวริมถนนมิตรภาพช่วงตอน หมู่บ้านหนองงูเหลือม ซึ่งอยู่ห่างจาก กิ่งอ�ำเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร คหบดีเจ้าของบริษทั ยาสีฟนั “วิเศษนิยม” ได้ทลู เกล้าถวายทีด่ นิ เพือ่ สร้างวัดเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ มกุฎราชกุมาร ที่ยังทรงพระเยาว์ ชันษาขณะนั้น คุ ณ ท้ า วอิ น ทรสุ ริ ย า พระพี่ เ ลี้ ย งพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเกล้าถวายรายชื่อพระเถระสายวิปัสสนา หลายองค์ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงเลือก เจ้าอาวาสองค์แรกของวัด ที่โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดว่า วัดวชิราลงกรณ ล้นเกล้าล้นกระหม่อมทรงเลือกหลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน เป็นเจ้าอาวาส และหลวงปู่ก็ได้ท�ำการบุกเบิก ริเริ่มก่อตั้งวัดมาจนเป็นปึกแผ่นมั่นคงสืบมาจนปัจจุบัน


หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน 17

ตามประวัติ หลวงปูโ่ ชติ คุณสมฺปนฺโน เป็นสามเณรของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม ในตัวเมืองจังหวัดสุรินทร์ ท่านได้รับการอบรบด้านธรรมปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมพระป่า การถือธุดงควัตร ตลอดจนพืน้ ฐานการปฏิบตั วิ ปิ ัสสนากรรมฐาน มาเป็นอย่างดี หลวงปูด่ ลู ย์ อตุโล เป็นศิษย์ตน้ ของหลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตฺโต ได้ใช้แนวทางการอบรมที่หลวงปู่มั่น ท่านวางเป็นแนวทางไว้ ในการอบรมสั่งสอนศิษย์ซ่ึง หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้ เ มตตาเล่ า ถึ ง การอบรมสั่ ง สอนศิ ษ ย์ ตามแนวทางของ หลวงปู่มั่น ดังนี้ “ท่ า นเริ่ม มาศึก ษาและปฏิบัติก รรมฐานในส� ำ นัก ท่ า น อาจารย์มั่นตามปกติ ท่านสอนให้เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ในทุกกรณีที่เป็นหน้าที่ของพระจะพึงท�ำ สอนให้เป็นคนหูไว ตาไว ก้นเบาลุกง่าย ไปเร็ว ไม่อืดอาดเนือยนาย สอนให้เป็น คนฉลาดช่างคิดในกิจเพื่ออรรถธรรมในแง่ต่าง ๆ ไม่อยู่เฉย ๆ เหมือนคนสิ้นท่า ความเคลื่อนไหวไปมามีสติอยู่กับตัว สอนให้ เป็นคนละเอียดละออในทุกกรณี


18 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

การภาวนาท่านเริ่มสอนตั้งแต่กรรมฐานห้า เป็นต้นไป ตลอดถึงกรรมฐานอื่น ๆ ตามแต่อาการใดจะเหมาะกับจริตนิสัย ของผู้มาอบรมศึกษาเป็นราย ๆ ไป ขณะฟังการอบรมก็ทำ� สมาธิ ไปในตัว บางรายขณะนัง่ ฟังการอบรม จิตเกิดความสงบเป็นสมาธิ ขึ้นมา ทั้งที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนนับแต่เริ่มฝึกหัด เพิ่งมาเป็น ในขณะนั้นก็มี พระเณรมีจ�ำนวนมากที่เข้าไปรับการอบรม ต่างเกิดผล จากสมาธิภาวนา ขณะที่ฟังการอบรมในแง่ต่าง ๆ กันขึ้นมาตาม จริตนิสัยไม่ค่อยตรงกันไปทีเดียว สิ่งที่ได้รับการอบรมจากท่านเป็นอุบายกล่อมเกลาจิตใจ ของผูฟ้ งั ได้ดี ทัง้ ด้านสมาธิและด้านปัญญาเป็นขัน้  ๆ ผูท้ ยี่ งั ไม่เคย มีความสงบ ผูเ้ คยมีความสงบบ้างแล้วก็เพิม่ ความสงบไปทุกระยะ ทีฟ่ ัง ผู้มสี มาธิเป็นพืน้ ฐานแล้วก็ทำ� ให้ฐานนัน้ มัน่ คงขึน้ โดยล�ำดับ ผู้เริ่มใช้ปัญญาการอบรมก็เป็นอุบายปัญญาช่วยไปด้วย เป็นระยะ ผู้มีภูมิปัญญาพื้นฐานอยู่แล้ว ขณะฟังการอบรม ก็เท่ากับท่านช่วยบุกเบิกอุบายสติปัญญา ให้กว้างขวางลึกซึ้ง ลงไปทุกระยะเวลา


หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน 19

ออกจากทีอ่ บรมแล้วต่างองค์ต่างปลีกตัวออกบ�ำเพ็ญอยู่ ในสถานที่และอิริยาบถต่าง ๆ กัน” หลวงปูโ่ ชติ ท่านได้รบั การอบรมสัง่ สอน และการปลูกฝัง คุณธรรมขั้นต้นตามแนวทางดังกล่าวมาจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล และท่านก็ด�ำเนินแนวทางนี้ ในการอบรมสั่งสอนศิษย์ของท่าน ต่อไป ซึ่งปรากฎผลดีต่อเนื่องสืบต่อมา หลวงปู ่ ดู ล ย์ ได้ ส ่ ง สามเณรโชติ ไปรั บ การศึ ก ษาที่ วัดสุทธจินดา ในจังหวัดนครราชสีมา รับการศึกษาด้านปริยัติ และเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี และการบริหารกิจสงฆ์ตาม วิธีการสมัยใหม่ จากสมเด็จมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าอาวาส วัดสุทธจินดา และเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา ในขณะนั้น ต่ อ จากนั้ น ท่ า นไปศึ ก ษาเปรี ย ญธรรมที่ ส� ำ นั ก เรี ย น วัดบวรนิเวศวิหาร ในกรุงเทพฯ สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค เป็นมหาโชติแล้วจึงเดินทางกลับจังหวัดสุรนิ ทร์ไปช่วย หลวงปูด่ ลู ย์ อตุโล เปิดสอนเล่าเรียนต่อจนได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ในระหว่างทีศ่ กึ ษาด้านปริยตั ธิ รรมอยูน่ ี้ ท่านยังหาโอกาส ออกธุดงค์แสวงวิเวกไปตามป่าเขาและในที่ห่างไกล เพื่อศึกษา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานบ่อยครั้ง


20 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

ท่านยังได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์เรียนกรรมฐานกับหลวงปู่ ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่วัดเลียบ ในเมืองอุบลราชธานี และท่าน ได้ยดึ ถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบตั วิ ปิ ัสสนากรรมฐานตลอดมา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน ท่าน ได้รับการถ่ายทอดมรดกธรรมมาจาก ๓ พระอาจารย์ที่ย่ิงใหญ่ แห่งยุคคือ ศึกษาด้านปริยัติธรรม ขนบธรรมเนียมการบริหาร และการพัฒนาคณะสงฆ์สมัยใหม่ จากสมเด็จมหาวีรวงศ์ (ติสโฺ ส อ้วน) ได้แนวทางปฏิบตั วิ ปิ สั สนากรรมฐานจาก หลวงปูใ่ หญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์ของหลวงปูม่ นั่ ภูรทิ ตฺโต และได้รบั การปลูก ฝังด้านธรรมเนียมประเพณีพระสายป่า การถือธุดงควัตร และ การปฏิบตั ติ ามพระธรรมวินยั อย่างเข้มงวดจากหลวงปูด่ ลู ย์ อตุโล หลวงปู่โชติ จึงได้รับการถ่ายทอดความรู้ทั้งด้านปริยัติ ด้านปฏิบัติ ตลอดถึงด้านการปกครองและพัฒนา มาเป็นอย่างดี จากสุดยอดคณาจารย์แห่งยุคเลยทีเดียว หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน เป็นพระคณาจารย์ที่มีจริยา วัตรงดงามมาก ท่านมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เคร่งครัดใน พระธรรมวินัย มีความกตัญญูรู้คุณเป็นเลิศ เป็นครูสอนธรรม ชั้นเยี่ยม ที่ทุ่มเทเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอนศิษย์ ทั้งที่เป็นเณร และฆราวาสอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย


หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน 21

นอกจากนี้ หลวงปูโ่ ชติ ยังได้รบั การกล่าวขานถึง “ความเป็นพระศักดิส ์ ทิ ธิ”์ ของท่าน ทัง้ ความสามารถในการเห็นเหตุการณ์ลว่ งหน้า การรู้ใจและดักใจคน ปาฏิหาริยห ์ ้ามลม ห้ามฝน รู้ภาษาสัตว์ทุกชนิด ตลอดจนความสามารถในการย่นระยะทาง การแบ่งภาคปรากฏในทีต่ า่ งกันในเวลาเดียวกัน


เมือ่ เราสงบแลว เมือ่ เราสบายแลว เมือ่ เราสุขแลว คนจะกลายเปนเทวดา คนจะกลายเปนยักษ

ISBN 978-616-376-036-4

9 786163 760364

ราคา ๑๕๙ บาท หนั ง สื อ คุณภาพ หมวดธรรมะ

อะไรมันจะวุน วาย อะไรมันจะเปนทุกข อะไรมันจะไมสบาย เมือ่ ยามรัก เมือ่ ยามโกรธ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.