หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พระอรหันต์แห่งบ้านดงเย็น

Page 1



อนุโมทนาธรรม ..............................................................

ถ้าใจเศร้าหมองขุ่นข้องแล้ว ก็ไม่มีความสุขอยู่ในโลก จะอยู่ที่ไหนๆ ก็ไม่มีความสุข

..............................................................



อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม  ๑๔

หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ

ดร.ปฐม นิคมานนท์ เรียบเรียง


อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๑๔

หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ

เรียบเรียง ดร.ปฐม นิคมานนท์ บรรณาธิการบริหาร ดนัย จันทร์เจ้าฉาย บรรณาธิการเล่ม สุทธิชัย ปทุมล่องทอง ศิลปกรรม นันท์พสิษฐ์ โชติน้อย, สุรศักดิ์ ละสามา พิมพ์ที่ บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จ�ำกัด (มหาชน) พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ปฐม นิคมานนท์. หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ.-- กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๙. ๑๖๐ หน้า. -- (อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน). ๑. พระพรหม จิรปุญฺโญ. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๐๙๒๒ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๓๗๖-๐๔๒-๕

จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ๔๙๖-๕๐๒ อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น ๒๒ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ (สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม) โทรศัพท์ 0 ๒๖๘๕ ๒๒๕๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๙๘-๙ Website: www.dmgbooks.com จัดจ�ำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๓ ๙๙๙๙ โทรสาร ๐ ๒๔๔๙ ๙๕๖๑-๓

ราคา ๑๕๙ บาท ในกรณีทที่ า่ นต้องการซือ้ หนังสือเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ใช้ในการสอน การศึกษา หรือเป็นของขวัญพิเศษ กรุณาสอบถามรายละเอียดและราคาพิเศษเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องนับถือ ว่าเป็นพระบูรพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ที่บ�ำเพ็ญความเพียรจนบรรลุธรรม ชั้นสูงสุด และได้อบรมสั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแพร่ธรรม เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือ ข้อวัตรข้อปฏิบัติต่าง  ๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หนังสือชุด “พระอริยสงฆ์ แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” จัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่หลักค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ น้อมน�ำระลึกถึงหลักค�ำสอนทีโ่ ดดเด่น เพือ่ น�ำมาขัดเกลาให้ชวี ติ ไม่ หลงยึดติดกับโลกของวัตถุ จนลืมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญ วาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี ใจเราก็ ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตุให้ต่อภพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อ ไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า ไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากัน ไปสู่ภพที่ตำ�่ ลงได้


พระอริยสงฆ์ผมู้ ปี ฏิปทา ปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ อยูใ่ นศีลาจาร วัตร มุง่ มัน่ เผยแพร่คำ� สอนเดินตามรอยพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่หลงโลก มุ่งแต่ธรรม ล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกท่าน ศรัทธาในบารมีและยึดเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต หนังสือชุดอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ได้นำ� ชาติภมู ิ และค�ำสอนพระเถระ ๑๔ รูป น้อมน�ำไปปฏิบตั เิ พือ่ ความเป็นมงคล อาทิ พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์ สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงโดย ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้น�ำหลักค�ำสอน ปฏิปทา คุณงามความดี และแก่นธรรมมรดกความคิด ซึ่งเป็นแบบอย่าง “การไม่ยึดติด ไม่หลงโลก หลงกิเลส” น้อมคารวะทุกดวงจิตที่ดีงาม ส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี


ค�ำน�ำผู้เรียบเรียง หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงขึน้ เพือ่ เผยแพร่พระธรรมค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้เจริญรอยตาม พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โฺ ต พระอาจารย์ใหญ่ฝา่ ยกรรมฐาน ทีม่ นั่ คง ในปฏิปทา และศีลาจารวัตรที่งดงามควรค่าแก่การยึดเหนี่ยว ปฏิบัติ ช�ำระล้างกิเลสอันเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ ค�ำสอนของอริยสงฆ์ เปรียบเสมือนความสว่างที่คอยขจัด ความมืดให้หลุดพ้นไปจากจิตใจ ท�ำให้เกิดสติ มีปญ ั ญา รูจ้ กั แก้ปญ ั หา ซึ่งคนเราละเลยการปฏิบัติดี ขาดธรรมมะ เป็นความบกพร่องต่อ ศีลธรรม หนังสือชุดนีจ้ ดุ ประกายแสงแห่งธรรมให้คดิ พูด ท�ำ อย่างมีสติ หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” ได้รวบรวม เรียบเรียงพระอริยสงฆ์สายพระป่ากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นทีร่ จู้ กั กันเป็นอย่างดี ไม่วา่ จะเป็น พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปูต่ อื้ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน)


การจัดท�ำหนังสือชุดนี้ เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมได้รู้อีกแง่มุมหนึ่ง ของการธุดงควัตร ฝึกกรรมฐาน หลักค�ำสอน หลักปฏิบัติ ผ่านการ ขัดเกลา ทดสอบจิต อย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางธรรมที่ช่วยผ่อน คลายความทุกข์ทางโลก ให้สงบสุขในทางธรรม ซึ่งเป็นขั้นแรกของ การฝึกกรรมฐาน ด้วยการส�ำรวจความพร้อมของจิตใจ ความสุขที่เกิดจากใจสงบ ย่อมน�ำมาซึ่งสติ ปัญญา สมาธิ คิดท�ำสิ่งใด พึงระลึกไว้ในค�ำสอน เพราะมนุษย์ล้วนแต่มีความ โกรธ ความโลภ ความหลง ซ่อนเร้นอยู่ในใจ หากท�ำอะไรโดยไม่คิด ไตร่ตรองอย่างมีสติ ความทุกข์ที่ขังอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่า เท่านั้นเอง ต้องขอขอบพระคุณ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉายและทีมงาน กองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ที่เล็งเห็นคุณค่าของธรรมะ ค�ำสั่งสอนพระอริยสงฆ์ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใฝ่ธรรมได้ศึกษา ปฏิบัติ สืบทอดแนวทางของพระป่า ฝ่ายกรรมฐาน ตามพ่อแม่ครูบา อาจารย์ทุก  ๆ องค์

ดร.ปฐม นิคมานนท์


สารบัญ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พระอรหันต์แห่งบ้านดงเย็น ล�ำดับพระอรหันต์ ในสายหลวงปู่มั่น ภูริทตั โต ท่านหลวงตาฯ เล่าถึงพระอรหันต์ในยุคปัจจุบัน ท่านหลวงตาฯ เล่าถึงหลวงปู่พรหม อัฐิกลายเป็นพระธาตุ คล้ายประวัติพระมหากัสสปะ เอตทัคคะ และอดีตชาติของพระมหากัสสปะ วาจาอนุสรณ์ ของพระมหากัสสปะ ความเห็นเพิ่ม พาไปดูที่เก็บศพ ของพระมหากัสสปะ สมัยนี้ยังมีพระอรหันต์ อยู่อีกเหรอ?

๑๒ ๒๐ ๒๔ ๓๖ ๔๓ ๕๐ ๖๐ ๖๖ ๗๐ ๗๕ ๘๑


เรื่องพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ ชาติภูมิ เฝ้าถามหาความสุข อยากรู้ ความสุขอยู่ที่ไหน? หรือว่ามีเมียคือความสุข? แต่งงานครั้งที่สอง ยังหาความสุขไม่เจอ นายฮ้อย ฮ้อยบุญฮ้อยบาป พบกับศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เรื่องเล่าจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิร ิ มหาปริจาค ๕ อย่าง พบทางแห่งความสุข ตัดสินใจออกบวช จัดการบวชชีให้ศรีภรรยา

๘๘ ๙๕ ๙๘ ๑๐๒ ๑๐๔ ๑๐๗ ๑๑๐ ๑๑๓ ๑๑๕ ๑๑๙ ๑๒๔ ๑๓๐ ๑๓๒ ๑๓๕


สร้างทานบารมีก่อนที่จะบวช ตั้งกองบุญบวชนาค เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ออกธุดงค์ไปทางจังหวัดอุบลราชธานี เที่ยววิเวกแถวอ�ำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ภายนอกล�ำบาก ภายในอิ่มเอิบ

๑๓๙ ๑๔๒ ๑๔๗ ๑๔๙ ๑๕๒ ๑๕๖


หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พระอรหันต์แห่งบ้านดงเย็น


หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ 15

พระคุณเจ้า หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ เป็นที่รู้จักใน บรรดาลูกศิษย์ลูกหา ผู้มีความเคารพศรัทธาว่า “พระอรหันต์ แห่งบ้านดงเย็น” หลวงปู่ ท่านพ�ำนักประจ�ำเป็นวัดสุดท้ายที่ วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น ต�ำบลดงเย็น อ�ำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี วัดของท่านตั้งอยู่ในพื้นที่รอบนอกของจังหวัดอุดรธานี ต่ อ แดนกั บ เขตจั ง หวั ด สกลนคร และจั ง หวั ด หนองคายนั บ เป็นชนบทห่างไกล ซึ่งแต่เดิมการเดินทางไปวัดของท่านแสน จะล�ำบาก เพราะอยู่ห่างไกลและหนทางทุรกันดาร แต่บรรดา ผู้ศรัทธาเลื่อมใส ทั้งใกล้และไกลจากทั่วสารทิศ ก็ไม่ได้ย่อท้อ ต่ อ ความยากล�ำ บากในการเดิ น ทางไปกราบไหว้ อ งค์ ห ลวงปู ่ เพื่อเป็นสิริมงคลของชีวิต แม้ อ งค์ ห ลวงปู ่ พ รหมมรณภาพแล้ ว ก็ ต าม บรรดา ลูกศิษย์ลูกหา และผู้เคารพศรัทธา ก็ยังเดินทางไปกราบไหว้ พระเจดีย์พระธาตุ รูปเหมือน และบารมีธรรมของท่านโดยไม่มี ว่างเว้นในแต่ละวัน และต่างก็ได้รับความชื่นอกชื่นใจเป็นสุขใจ ด้วยกันทุกถ้วนหน้า


16 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

เมื่อคราวที่หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ได้ละสังขารในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ และท�ำการถวายเพลิงศพระหว่างวันที่ ๕-๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ บรรดาผู้ทศี่ รัทธาจากทัว่ ประเทศได้หลัง่ ไหลไปร่วม งานอย่างคับคั่ง ในคราครัง้ นัน้ ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้กระซิบบอกศิษย์ใกล้ชิดผู้จะไปร่วมงานว่า “ให้พยายามเอาอัฐิ ของพระอาจารย์องค์นี้ให้ได้นะ อัฐิของพระอาจารย์องค์นจี้ ะเป็น พระธาตุแน่นอน” ความจริงก็ปรากฏว่า ภายหลังการถวายเพลิงศพของท่าน ในเวลาไม่นาน ‘อัฐขิ องหลวงปูพ่ รหม จิรปุญโญ กลายเป็นพระธาตุ มีหลากสี งดงามยิ่ง’ ‘พระธาตุ’ หรือ ‘พระอรหันตธาตุ’ ถือเป็นวัตถุพยานที่ บ่งบอกถึง ความเป็น พระอรหันต์ กล่าวคือ หลังจากท่านเหล่านัน้ มรณภาพและถวายการฌาปนกิจแล้ว อัฐิของท่านก็แปรเปลี่ยน เป็น พระธาตุ หรือ พระอรหันธาตุ ที่มีสัณฐานและสีสันงดงาม แตกต่างจากกระดูกของคนธรรมดาสามัญทั่วไป


หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ 17

หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ประวัติชีวิตที่งดงามมาตลอด ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นฆราวาส และในชีวิตพระภิกษุของท่านก็มี จริยวัตรที่ดีงาม เคร่งครัดในพระวินัย และมีความเพียรอย่าง ยิ่งยวด จนสามารถบรรลุธรรมได้ในเวลาไม่นาน ด้วยท่านเป็น พระอริยสงฆ์ประเภท ขิปปาภิญญา คือ บรรลุธรรมได้เร็ว เมือ่ ยังเป็นเด็ก หลวงปูพ ่ รหม ท่านมีลกั ษณะทีแ่ ปลกกว่า เด็กชนบททั่วไป คือท่านครุ่นคิดถามหา ‘ความสุขที่แท้จริง’ ของ คนเรามันคืออะไร และอยู่ที่ไหน ครั้นถึงวัยหนุ่ม ท่านคิดว่า ความสุขคือการได้แต่งงาน มีครอบครัว จึงขอให้ผใู้ หญ่สขู่ อหญิงสาวมาตกแต่งตามประเพณี แต่ก็ไม่สามารถพบกับ ความสุขที่แท้จริง ตามที่ค้นหาไม่ ท่านมีความคิดต่อไปว่า การมีทรัพย์สินที่มั่งคั่งบริบูรณ์ น่าจะท�ำให้ชีวิตมีความสุข ท่านจึงได้มีความพากเพียรหาทรัพย์ จนมีฐานะที่มั่งคั่งในท้องถิ่น มีทรัพย์สินเหลือกินเหลือใช้ แต่ก็ ไม่พบกับความสุขอย่างแท้จริง ตรงกันข้าม กลับกลายเป็นความ กังวลใจเสียมากกว่า คือ กังกลใจที่จะต้องหาทรัพย์เพิ่มขึ้นอยู่ เรื่อย ๆ กังวลใจกลัวทรัพย์จะลดน้อยลง หรือมีอันต้องพินาศ สูญหายไป เป็นต้น


18 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

ภายหลัง ท่านได้พบกับพระธุดงค์ศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มาพักปักกลดอยู่ใกล้หมู่บ้าน ท่านจึงได้ไปท�ำบุญ สนทนาธรรม และฝึกนัง่ สมาธิภาวนา ได้พบกับความสุขสงบชนิด ทีไ่ ม่เคยพบมาก่อน ท่านจึงตัดสินใจแสวงหาความสุขในทางธรรม หลวงปู ่ ไ ด้ ชั ก ชวนภรรยาออกบวช โดยเริ่ ม บริ จ าค ทรัพย์สินที่มีทั้งหมดให้กบั คนทั้งใกล้และไกลที่ต้องการ ยกบ้าน และที่ดินถวายวัด รวมทั้งสร้างโรงเรียนประชาบาลในท้องถิ่น และพากันออกบวช โดยภรรยาท่านได้บวชเป็นแม่ชีตลอดชีวิต และตัวท่านเองก็บวชเป็นพระภิกษุ เร่งบ�ำเพ็ญเพียรตามแนวทาง พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เมื่อบวชเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงปู่พหรม ก็ได้ธุดงค์ ติดตามปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นเวลาหลายปี ท่านมีความพากเพียรสูงมาก จนได้รับค�ำชมเชยจากหลวงปู่มั่น ต่อหน้าพระเถระผู้ใหญ่หลายองค์ว่า “ท่านพรหม เป็นผู้มีความพากเพียรสูงยิ่ง เป็นผู้มีสติ มีความตัง้ ใจแน่วแน่ ได้ประพฤติปฏิบตั ธิ รรมอย่างเคร่งครัดทีส่ ดุ เป็นตัวอย่างที่ดี ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง”


หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ 19

ภายหลังจากหลวงปู่ม่ัน ภูริทตฺโต เดินทางกลับจาก เชี ย งใหม่ เ มื่ อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ มาพ� ำ นั ก ในภาคอิ ส านแล้ ว หลวงปูพรหมท่องเที่ยวอยู่ทางภาคเหนือต่อไปอีกระยะหนึ่ง เมื่อ ท่านส�ำเร็จกิจและเดินทางกลับจากเชียงใหม่ และได้เข้ากราบ หลวงปู่มั่น ที่จังหวัดสกลนคร หลวงปู่มั่นได้ถามท่านต่อหน้า พระเถระทั้งหลายว่า “ท่านพรหมท่านเดินทางมาแต่ไกลเป็นอย่างไรบ้าง การ พิจารณากาย การภาวนา เป็นอย่างไร ?” หลวงปู่พรหมตอบอย่างอาจหาญ (ด้วยภาษาถิ่นอิสาน) ว่า “เกล้าฯ ไม่มีอกถังกถีแล้ว”


20 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

หมายความว่า แจ้งหมดความลังเล และสิ้นความสงสัย ในพระธรรม โดยสิ้นเชิงแล้ว หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ท่านมีความหมายเกี่ยวข้อง กับ วัดป่าอาจารย์ม่ัน (ภูริทตฺโต) บ้านแม่กลอย ต�ำบลเวียง อ�ำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไร ? แต่เดิมวัดแห่งนีเ้ รียกว่า ‘วัดร้างป่าแดง’ หรือ ‘ทีพ ่ กั สงฆ์ บ้านแม่กอย’ มีองค์หลวงปู่ม่นั ผู้เป็นพระอาจารย์ เป็นประธาน สงฆ์ และหลวงปู่พรหม เป็นเจ้าส�ำนัก ในสมัยนั้น (พ.ศ.๒๔๘๑) ที่ตั้งกุฏิของหลวงปู่พรหม และกุฏิสงฆ์ทั้งหลายปัจจุบัน อยู่ในบริเวณที่เป็น วัดแม่กอย ซึ่งสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ส่วนกุฏทิ พี่ กั ขององค์หลวงปูม่ นั่ อยูอ่ กี ฝัง่ หนึง่ ของ ล�ำห้วยแม่กอย ปัจจุบนั กลายเป็นส่วนหนึง่ ของวัดป่าอาจารย์มนั่ (ภูรทิ ตฺโต) สังกัด คณะสงฆ์ธรรมยุติก ยังเหลือวัตถุอนุสรณ์คือทางเดินจงกลม ของท่าน รวมทัง้ ได้กอ่ สร้าง พระมหาธาตุมณฑปอนุสรณ์บรู พาจารย์ฯ ในบริเวณนี้ด้วย


หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ 21

ส�ำหรับที่ตั้งของศาลาใหญ่ และเขตสังฆาวาส ของวัดป่า อาจารย์มั่น ในปัจจุบนั เป็นที่ดินทีห่ ลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ได้นำ� ศรัทธาญาติโยมท�ำการซือ้ สวนล�ำไยเดิม และจะตัง้ เป็นวัดขึน้ ใหม่ โดยองค์หลวงปู่สิม เป็นผู้ให้ชื่อวัดที่ตั้งใหม่นี้ว่า วัดป่าอาจารย์ มั่น (ภูริทตฺโต) ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ บูรพาจารย์ องค์ส�ำคัญ ของวัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) องค์หนึ่งด้วย ส�ำนักที่ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พักจ�ำพรรษาประจ�ำ เป็นเวลานานจะตราบจนช่วงสุดท้ายของชีวติ คือ วัดประสิทธิธรรม บ้านดงเย็น ต�ำบลดงเย็น อ�ำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ท่านละสังขารเข้าสู่แดนอนุปาทิเสสนิพพาน เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เวลา ๑๗.๓๐ น. ด้วยโรคชรา สิริอายุ ๘๑ ปี ๔๓ พรรษา สังฆัง นะมามิ ขอน้อมแด่พระอริยสงฆ์พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้าฯ.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.