อริยสงฆแหงแผนดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและคําสอน เลมที่ ๖
หลวงปูใ หญจน ั ทร สิรจิ นฺโท พระอริยเจาผูเปนปราชญแหงยุค ดร.ปฐม นิคมานนท : เรียบเรียง
ตนตํารับผูเรียบเรียงหนังสือสายพระปากรรมฐาน
อนุโมทนาธรรม ..............................................................
การที่ศีลไม่บริสุทธิ์นั้น เพราะกิเลสเครื่องเศร้าหมองขุ่นมัว มีราคะ โทสะ โมสะ นั่นเอง ..............................................................
อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๖
หลวงปูใ่ หญ่จน ั ทร์ สิริจนฺโท
ดร.ปฐม นิคมานนท์ เรียบเรียง
อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๖
หลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท
ผู้เรียบเรียง ดร.ปฐม นิคมานนท์ บรรณาธิการบริหาร ดนัย จันทร์เจ้าฉาย บรรณาธิการเล่ม สุทธิชัย ปทุมล่องทอง ศิลปกรรม นันท์พสิษฐ์ โชติน้อย, สุรศักดิ์ ละสามา พิมพ์ที่ บริษัท พริ้นท์ซิตี้ จ�ำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ปฐม นิคมานนท์. หลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท.-- กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๙. ๑๖๐ หน้า. -- (อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน). ๑. หลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท. ๒. ธรรมเทศนา I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๐๙๒๒ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๓๗๖-๐๓๗-๑
จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ๔๙๖-๕๐๒ อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น ๒๒ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ (สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม) โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๙๘-๙ Website: www.dmgbooks.com จัดจ�ำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๓ ๙๙๙๙ โทรสาร ๐ ๒๔๔๙ ๙๕๖๑-๓
ราคา ๑๕๙ บาท
ในกรณีทที่ า่ นต้องการซือ้ หนังสือเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ใช้ในการสอน การศึกษา หรือเป็นของขวัญพิเศษ กรุณาสอบถามรายละเอียดและราคาพิเศษเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องนับถือ ว่าเป็นพระบูรพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ที่บ�ำเพ็ญความเพียรจนบรรลุธรรม ชั้นสูงสุด และได้อบรมสั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแพร่ธรรม เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือ ข้อวัตรข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หนังสือชุด “พระอริยสงฆ์ แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” จัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่หลักค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ น้อมน�ำระลึกถึงหลักค�ำสอนทีโ่ ดดเด่น เพือ่ น�ำมาขัดเกลาให้ชวี ติ ไม่ หลงยึดติดกับโลกของวัตถุ จนลืมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญ วาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี ใจเราก็ ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตุให้ต่อภพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อ ไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า ไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากัน ไปสู่ภพที่ตำ�่ ลงได้
พระอริยสงฆ์ผมู้ ปี ฏิปทา ปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ อยูใ่ นศีลาจาร วัตร มุง่ มัน่ เผยแพร่ค�ำสอนเดินตามรอยพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่หลงโลก มุ่งแต่ธรรม ล้วนแต่มีช่ือเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกท่าน ศรัทธาในบารมีและยึดเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต หนังสือชุดอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ได้น�ำชาติภูมิ และค�ำสอนพระเถระ ๑๔ รูป น้อมน�ำไปปฏิบตั เิ พือ่ ความเป็นมงคล อาทิ พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศษิ ฏ์ สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงโดย ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้นำ� หลักค�ำสอน ปฏิปทา คุณงามความดี และแก่นธรรมมรดกความคิด ซึ่งเป็นแบบอย่าง “การไม่ยึดติด ไม่หลงโลก หลงกิเลส” น้อมคารวะทุกดวงจิตที่ดีงาม ส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี
ค�ำน�ำผู้เรียบเรียง หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงขึน้ เพือ่ เผยแพร่พระธรรมค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้เจริญรอยตาม พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โฺ ต พระอาจารย์ใหญ่ฝา่ ยกรรมฐาน ทีม่ นั่ คง ในปฏิปทา และศีลาจารวัตรที่งดงามควรค่าแก่การยึดเหนี่ยว ปฏิบัติ ช�ำระล้างกิเลสอันเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ ค�ำสอนของอริยสงฆ์ เปรียบเสมือนความสว่างที่คอยขจัด ความมืดให้หลุดพ้นไปจากจิตใจ ท�ำให้เกิดสติ มีปญ ั ญา รูจ้ กั แก้ปญ ั หา ซึ่งคนเราละเลยการปฏิบัติดี ขาดธรรมมะ เป็นความบกพร่องต่อ ศีลธรรม หนังสือชุดนีจ้ ดุ ประกายแสงแห่งธรรมให้คดิ พูด ท�ำ อย่างมีสติ หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” ได้รวบรวม เรียบเรียงพระอริยสงฆ์สายพระป่ากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นทีร่ จู้ กั กันเป็นอย่างดี ไม่วา่ จะเป็น พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปูต่ อื้ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน)
การจัดท�ำหนังสือชุดนี้ เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมได้รู้อีกแง่มุมหนึ่ง ของการธุดงควัตร ฝึกกรรมฐาน หลักค�ำสอน หลักปฏิบัติ ผ่านการ ขัดเกลา ทดสอบจิต อย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางธรรมที่ช่วยผ่อน คลายความทุกข์ทางโลก ให้สงบสุขในทางธรรม ซึ่งเป็นขั้นแรกของ การฝึกกรรมฐาน ด้วยการส�ำรวจความพร้อมของจิตใจ ความสุขที่เกิดจากใจสงบ ย่อมน�ำมาซึ่งสติ ปัญญา สมาธิ คิดท�ำสิ่งใด พึงระลึกไว้ในค�ำสอน เพราะมนุษย์ล้วนแต่มีความ โกรธ ความโลภ ความหลง ซ่อนเร้นอยู่ในใจ หากท�ำอะไรโดยไม่คิด ไตร่ตรองอย่างมีสติ ความทุกข์ที่ขังอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่า เท่านั้นเอง ต้องขอขอบพระคุณ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉายและทีมงาน กองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ที่เล็งเห็นคุณค่าของธรรมะ ค�ำสั่งสอนพระอริยสงฆ์ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใฝ่ธรรมได้ศึกษา ปฏิบัติ สืบทอดแนวทางของพระป่า ฝ่ายกรรมฐาน ตามพ่อแม่ครูบา อาจารย์ทุก ๆ องค์
ดร.ปฐม นิคมานนท์
สารบัญ ชาติก�ำเนิด ๑๓ บรรพชาเป็นสามเณร ๑๕ ไปอยู่เรียนที่วัดศรีทอง ในเมืองอุบลราชธานี ๑๘ อุปสมบท ๒๐ เริ่มต้นการศึกษา ๒๖ ไปเรียนที่วัดพระแก้ว ๒๘ ย้ายไปวัดบุปผาราม ได้เปรียญ ๓ ประโยค ๓๐ อยากหันไปเรียนด้านวิปัสสนาธุระ ๓๒ อารักขากรรมฐาน ๔ คือหลักปฏิบัติของพระกรรมฐาน ๓๔ อารักขกรรมฐานประการที่ ๑ พุทธานุสสติ ๓๕ อารักขกรรมฐานประการที่ ๒ พิจารณาอสุภกรรมฐาน ๔๖ อารักขกรรมฐานประการที่ ๓ การเจริญเมตตา ๕๗ อารักขกรรมฐานประการที่ ๔ มรณสติ ๕๙
ความเป็นอิสระของจิตคือ ที่สุดของการภาวนา ทูลลากลับฝั่งไทย เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งที่ ๓ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดเทพศิรินทร์ มหาเปรียญ ๔ ประโยค ทูลลาสึก! เรียนวิปัสสนาที่วัดปทุมวนาราม ไปไตร่ตรองที่เขาคอก จังหวัดสระบุร ี ธุดงค์ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เตรียมการตั้งโรงเรียน มรดกธรรมของหลวงปู่ใหญ่ อิติปิโส ภควา อรหํ สัมมาสัมพุทโธ ๑ สัมมาสัมพุทโธ ๒
๖๑ ๖๒ ๖๓ ๖๕ ๖๗ ๖๘ ๗๐ ๗๒ ๗๕ ๘๐ ๘๒ ๘๓ ๘๗ ๙๑
วิชชาจรณสัมปันโน ๑ วิชชาจรณสัมปันโน ๒ วิชชาจรณสัมปันโน ๓ วิชชาจรณสัมปันโน ๔ วิชชาจรณสัมปันโน ๕ วิชชาจรณสัมปันโน ๖ สุคโต โลกวิทู อนุตตโร ปุริสสธัมมสารถิ
๙๖ ๑๐๑ ๑๐๗ ๑๑๓ ๑๒๐ ๑๒๖ ๑๓๑ ๑๓๙ ๑๕๐
หลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท (พระอริยเจ้าผู้เป็นปราชญ์แห่งยุค)
ชาติก�ำเนิด ท่ า นหลวงปู ่ ใ หญ่ - พระอุ บ าลี คุ ณู ป มาจารย์ (จั น ทร์ สิริจนฺโท) มีนามเดิมว่า จันทร์ ศุภสร เป็นชาวอุบลราชธานี โดยก�ำเนิด ท่านเป็นลูกหลานของท่านพันธุโล (ดี) พระเถระ ต้นวงศ์ธรรมยุตสายอิสาน และปฐมเจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม กล่าวคือ โยมแม่ของท่านพันธุโล เป็นพี่สาวของโยมพ่อของ หลวงปู่ใหญ่ ดังนั้น ท่านพันธุโล เป็นพี่สาวของโยมพ่อของ หลวงปู ่ ใ หญ่ และ ท่ า นพัน ธุโ ล (ดี) จึง มีศัก ดิ์เ ป็ น ลุง ของ หลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท หลวงปู ่ ใ หญ่ จั น ทร์ เกิ ด ในแผ่ น ดิ น พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๔ ตรงกับวันศุกร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค�ำ่ เวลา ๑๑ ทุ่มเศษ (ประมาณตี ๕ ตอนย�ำ่ รุ่ง) ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๒๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๙๙ ท่านเป็นบุตรคนหัวปีของครอบครัว ‘ศุภสร’ บิดาชือ่ สอน มารดาชื่อ แก้ว อาชีพหลักของครอบครัวคือ ท�ำนาท�ำสวน เช่น เดียวกับครอบครัวชนบททัว่ ไป ต่อมาภายหลัง บิดาของท่านได้รบั
16 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
แต่งตัง้ เป็นกรมการเมือง มีบรรดาศักดิเ์ ป็น หลวงสุโภรสุประการ ต�ำแหน่งสังฆการี มีหน้าที่เกี่ยวกับงานพิธีทางศาสนา บ้านเกิดของท่านคือ บ้านหนองไหล ต�ำบลหนองไหล อยู่ ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานี ประมาณ ๔๐๐ เส้น (๑๖ กิโลเมตร) อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวเมือง ไปทางอ�ำเภอเขือ่ งใน (เส้นทางสายอุบลราชธานี-ยโสธร) เมื่อตอนเด็ก หลวงปู่ใหญ่จันทร์ท่านเป็นเด็กที่ว่องไว มีเหตุผล และส่อแววการเป็นผูน้ ำ� มาตัง้ แต่ยงั เด็ก บิดามารดาของ ท่านมีจติ ใจน้อมไปทางบุญกุศล รูห้ ลักและธรรมเนียมชาวพุทธดี เพราะบิดาเป็นถึง สังฆการีของเมือง หลวงปู่ใหญ่จันทร์ จึงได้ รับการปลูกฝังคุณธรรมทางศาสนา และมีใจโน้มเอียงไปทางบุญ ทางกุศลมาตั้งแต่เล็ก อันเป็นรากฐานส�ำคัญให้ท่านมีความเจริญ รุ่งเรืองในทางพระพุทธศาสนาตลอดมา น้องชายคนสุดท้องของหลวงปู่ใหญ่ ก็บวชเป็นพระ ภิกษุจนตลอดชีวิตด้วยเช่นกัน คือ พระเทพวรคุณ (หลวงปู่อำ�่ ภทฺราวุโธ) เจ้าอาวาสองค์แรกวัดสิริจันทรนิมิต (วัดเขาพระงาม) อดีตเจ้าอาวาสวัดมณีชลขันฑ์ และอดีตเจ้าคณะจังหวัด (ธ.) ลพบุรี-อ่างทอง-สระบุรี มรณภาพเมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๑๑ อายุ ๙๒ ปี พรรษา ๗๑
หลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท 17
บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อหลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท อายุ ๑๓ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๑๑ เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จสวรรคต ประชาชนทั่วพระราชอาณาจักรได้มี การโกนศีรษะไว้ทุกข์ถวายพระองค์ท่าน เด็กชายจันทร์ ศุภสร รู้สึกยินดีนักที่ศีรษะโล้น และการโกนศีรษะของท่านในคราวนั้น น�ำไปสู่การบรรพชาเป็นสามเณรต่อมา เด็กชายจันทร์ ได้อยู่ในความปกครองของบิดามารดา จนถึงอายุ ๑๒ ปี ด้วยความสุขสบาย ไม่อัตคัดขัดสนอะไร จวบจนย่างเข้า ๑๓ ปี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จสวรรคต มีธรรมเนียมว่า เมื่อพระเจ้าอยู่หัว สวรรคต ราษฎรต้องโกนผมไว้ทุกข์ทั่วพระราชอาณาจักร รวม ทั้งประเทศลาวทั้งสิ้นด้วย ท่านเล่าว่าประเพณีการไว้ทุกข์ด้วยการโกนผมหมดนี้ พวกผูห้ ญิงหาได้พงึ พอใจไม่ เพราะพากันอาย ส่วนเด็กชายจันทร์ หาได้รสู้ กึ อายหรือรูส้ กึ ขัดขวางประเพณีเช่นนีไ้ ม่ กลับชอบใจเสีย อีกเพราะเห็นว่าศีรษะโล้นงามดี
18 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
ทั้งนี้ เพราะเด็กชายจันทร์ ได้ติดตามบิดามารดาไปวัด เสมอ ๆ ได้เห็นพระสงฆ์องค์เณรต่างโกนผม ห่มจีวรสีเหลือง มอง ดูแล้วเย็นตาเย็นใจ อยากจะได้เป็นอย่างนั้นบ้าง หรืออาจเป็นด้วยบารมีเก่า ชักน�ำให้ท่านได้เข้าสู่เพศ บรรพชิตแต่อายุยังน้อยก็เป็นได้ ในบันทึกมีต่อไปว่า “บิดาถามว่า จะให้บวชเป็นสามเณรจะอดข้าวเย็นได้ ไหม? เป็นที่พอใจรับว่า อดได้ เพราะเห็นสามเณรเป็นที่พอใจ อยู่ก่อนแล้ว บิ ด ามารดาจั ด การน� ำ ไปบวชที่ วั ด บ้ า นหนองไหล เจ้าอธิการโสดา เป็นอุปัชฌาย์ เรียนหนังสืออยู่กับพระเคน เป็น ญาติกัน จ�ำได้แต่เพียงว่า บวชเดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ จะ เป็นขึ้นแรมเท่าไรจ�ำไม่ได้” ค�ำถามของนายสอน ผู้บิดา “สิให้บวชเป็นจัวน้อย เจ้า สิอดข้าวแลงได้บ่?” เป็นเสมือนประทีปโคมทองส่องเข้าไปในใจ ของเด็กชายจันทร์ รู้สึกยินดีต่อค�ำถามของบิดา แล้วตอบออก ไปทันทีโดยไม่ต้องไตร่ตรองว่า “อดได้แน่นอน”
หลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท 19
เพราะในใจของท่านชอบใจในการบวชอยู่แล้ว เมื่อบิดาแง้มประตูให้ บารมีธรรมอันสว่างไสว ก็เข้าสู่จิตใจของเด็กชายทันที บิดามารดาซึ่งสนับสนุนการบวชเรียนในทางธรรมอยู่ แล้ว เมื่อได้รับค�ำตอบจากบุตรชายคนโตเช่นนั้น ท่านทั้งสองก็ น�ำไปฝากกับพระอธิการโสดา เจ้าอาวาสวัดหนองไหล วัดประจ�ำ หมู่บ้าน เพื่อเป็นอุปัชฌาย์บวชเณรให้ในทันที เด็กชายจันทร์ บรรพชาเป็นสามเณร ในเดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่ออายุ ๑๓ ปี หลังการบรรพชาแล้ว สามเณรจันทร์ ศุภสร ก็พำ� นักที่ วัดบ้านหนองไหล ได้เล่าเรียนหนังสือครั้งแรกกับพระภิกษุเคน ซึ่งเป็นญาติของท่าน การศึกษาเล่าเรียนเป็นไปแบบโรงเรียนวัดในท้องถิ่น ธรรมดาในสมัย นั้น เป็ น การสอนอ่ า นสอนเขีย นในเบื้อ งต้ น อันเป็นช่องทางศึกษาหาความรู้ของกุลบุตรตามยุคสมัย
20 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
ไปอยูเ่ รียนทีว่ ดั ศรีทอง ในเมืองอุบลราชธานี หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่ วัดหนองไหล วัด บ้านเกิดไม่นาน สามเณรจันทร์ ศุภสร ก็ได้ย้ายเข้าไปอยู่เรียนที่ วัดศรีทอง ในเมืองอุบลราชธานี (ในหนังสือ อตฺตปวตฺติ ท่านเขียนเป็นวัดสีทอง แต่ ทางการเขียนว่า วัดศรีทอง ปัจจุบันคือ วัดศรีอุบลรัจนาราม) หลั ง จากบวชสามเณรได้ ๒ เดื อ น ถึ ง เดื อ น ๔ ปีพ.ศ. ๒๔๑๑ สามเณรจันทร์ มีเหตุต้องเดินทางไปอยู่ตัวเมือง อุบลราชธานี เพราะพระภิกษุรูปหนึ่งที่เป็นญาติ ซึ่งจ�ำพรรษา อยู่ที่วัดศรีทอง ในเมืองอุบลราชธานี ได้กลับไปเยี่ยมบ้าน ได้ เห็นสามเณรจันทร์ มีบุคลิกดี มารยาทเรียบร้อย สติปัญญา เฉลียวฉลาด ว่องไว มีแววแห่งความก้าวหน้า จึงได้ออกปากชวน ให้เข้าไปเรียนหนังสือในเมืองด้วยกัน โดยให้ไปพักจ�ำพรรษาอยู่ กับท่านทีว่ ัดศรีทอง
หลวงปู่ใหญ่จันทร์ สิริจนฺโท 21
สามเณรจั น ทร์ ผู ้ มี ค วามกระตื อ รื อ ร้ น ในการศึ ก ษา เล่าเรียนและมีความรักในการบวชเรียนทางธรรมอยูแ่ ล้ว จึงตอบ รับด้วยความเต็มใจ พระอธิการโสดา เจ้าอาวาสวัดหนองไหล ก็สนับสนุน โยมพ่อโยมแม่ก็ยินดีด้วย เพราะเป็นทางเจริญ ก้าวหน้าของบุตรชาย ยิ่งกว่านั้น ท่านเทวธัมมี (ม้าว) เจ้าอธิการวัดศรีทอง ก็ เป็นลัทธิวิหาริก (ศิษย์) ในรัชกาลที่ ๔ เป็นพระเถระที่ประชาชน นับถือศรัทธามากในสมัยนั้น อีกทั้งเป็นลุงของสามเณรจันทร์อีก ด้วย (มารดาของท่านอธิการม้าว เป็นพี่สาวของมารดานายสอน เท่ากับเป็นลุงของสามเณร)
ความเหมาะสมหลายประการนี้ เป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่สนับสนุนให้
สามเณรจันทร์ ศุภสร เจริญก้าวหน้าถึงระดับสูงสุดในสมณเพศ
ในกาลต่อมา
เมื่อจิตมันเกิดมีความสงบกันจริง ๆ แลว ปติและความสุข ยอมเกิดขึ้น
ISBN 978-616-376-037-1
9 786163 760371
ราคา ๑๕๙ บาท หนั ง สื อ คุ ณ ภาพ หมวดธรรมะ