หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

Page 1



อนุโมทนาธรรม ..............................................................

เขาเชื่อความดีที่เราท�ำ มากกว่าในค�ำพูดที่เราสอน

..............................................................



อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม  ๑๑

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

ดร.ปฐม นิคมานนท์ เรียบเรียง


อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๑๑

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

เรียบเรียง ดร.ปฐม นิคมานนท์ บรรณาธิการบริหาร ดนัย จันทร์เจ้าฉาย บรรณาธิการเล่ม สุทธิชัย ปทุมล่องทอง ศิลปกรรม นันท์พสิษฐ์ โชติน้อย, สุรศักดิ์ ละสามา พิมพ์ที่ บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จ�ำกัด (มหาชน) พิมพ์ครั้งที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ปฐม นิคมานนท์. หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล.-- กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๙. ๑๖๐ หน้า. -- (อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน). ๑.พระเสาร์ กนฺตสีโล. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๐๙๒๒ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๓๗๖-๐๓๙-๕

จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ๔๙๖-๕๐๒ อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น ๒๒ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ (สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม) โทรศัพท์ 0 ๒๖๘๕ ๒๒๕๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๙๘-๙ Website: www.dmgbooks.com จัดจ�ำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๓ ๙๙๙๙ โทรสาร ๐ ๒๔๔๙ ๙๕๖๑-๓

ราคา ๑๕๙ บาท ในกรณีทที่ า่ นต้องการซือ้ หนังสือเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ใช้ในการสอน การศึกษา หรือเป็นของขวัญพิเศษ กรุณาสอบถามรายละเอียดและราคาพิเศษเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องนับถือ ว่าเป็นพระบูรพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต ที่บ�ำเพ็ญความเพียรจนบรรลุธรรม ชั้นสูงสุด และได้อบรมสั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแพร่ธรรม เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือ ข้อวัตรข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หนังสือชุด “พระอริยสงฆ์ แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” จัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่หลักค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ น้อมน�ำระลึกถึงหลักค�ำสอนทีโ่ ดดเด่น เพือ่ น�ำมาขัดเกลาให้ชวี ติ ไม่ หลงยึดติดกับโลกของวัตถุ จนลืมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญ วาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี ใจเราก็ ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตุให้ต่อภพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อ ไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า ไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากัน ไปสู่ภพที่ตำ�่ ลงได้


พระอริยสงฆ์ผมู้ ปี ฏิปทา ปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ อยูใ่ นศีลาจาร วัตร มุง่ มัน่ เผยแพร่คำ� สอนเดินตามรอยพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่หลงโลก มุ่งแต่ธรรม ล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกท่าน ศรัทธาในบารมีและยึดเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต หนังสือชุดอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ได้นำ� ชาติภมู ิ และค�ำสอนพระเถระ ๑๔ รูป น้อมน�ำไปปฏิบตั เิ พือ่ ความเป็นมงคล อาทิ พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์ สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงโดย ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้น�ำหลักค�ำสอน ปฏิปทา คุณงามความดี และแก่นธรรมมรดกความคิด ซึ่งเป็นแบบอย่าง “การไม่ยึดติด ไม่หลงโลก หลงกิเลส” น้อมคารวะทุกดวงจิตที่ดีงาม ส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี


ค�ำน�ำผู้เรียบเรียง หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงขึน้ เพือ่ เผยแพร่พระธรรมค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้เจริญรอยตาม พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โฺ ต พระอาจารย์ใหญ่ฝา่ ยกรรมฐาน ทีม่ นั่ คง ในปฏิปทา และศีลาจารวัตรที่งดงามควรค่าแก่การยึดเหนี่ยว ปฏิบัติ ช�ำระล้างกิเลสอันเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ ค�ำสอนของอริยสงฆ์ เปรียบเสมือนความสว่างที่คอยขจัด ความมืดให้หลุดพ้นไปจากจิตใจ ท�ำให้เกิดสติ มีปญ ั ญา รูจ้ กั แก้ปญ ั หา ซึ่งคนเราละเลยการปฏิบัติดี ขาดธรรมมะ เป็นความบกพร่องต่อ ศีลธรรม หนังสือชุดนีจ้ ดุ ประกายแสงแห่งธรรมให้คดิ พูด ท�ำ อย่างมีสติ หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” ได้รวบรวม เรียบเรียงพระอริยสงฆ์สายพระป่ากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นทีร่ จู้ กั กันเป็นอย่างดี ไม่วา่ จะเป็น พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต หลวงปูต่ อื้ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน)


การจัดท�ำหนังสือชุดนี้ เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมได้รู้อีกแง่มุมหนึ่ง ของการธุดงควัตร ฝึกกรรมฐาน หลักค�ำสอน หลักปฏิบัติ ผ่านการ ขัดเกลา ทดสอบจิต อย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางธรรมที่ช่วยผ่อน คลายความทุกข์ทางโลก ให้สงบสุขในทางธรรม ซึ่งเป็นขั้นแรกของ การฝึกกรรมฐาน ด้วยการส�ำรวจความพร้อมของจิตใจ ความสุขที่เกิดจากใจสงบ ย่อมน�ำมาซึ่งสติ ปัญญา สมาธิ คิดท�ำสิ่งใด พึงระลึกไว้ในค�ำสอน เพราะมนุษย์ล้วนแต่มีความ โกรธ ความโลภ ความหลง ซ่อนเร้นอยู่ในใจ หากท�ำอะไรโดยไม่คิด ไตร่ตรองอย่างมีสติ ความทุกข์ที่ขังอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่า เท่านั้นเอง ต้องขอขอบพระคุณ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉายและทีมงาน กองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ที่เล็งเห็นคุณค่าของธรรมะ ค�ำสั่งสอนพระอริยสงฆ์ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใฝ่ธรรมได้ศึกษา ปฏิบัติ สืบทอดแนวทางของพระป่า ฝ่ายกรรมฐาน ตามพ่อแม่ครูบา อาจารย์ทุก ๆ องค์

ดร.ปฐม นิคมานนท์


สารบัญ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล

พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ พูดถึงหลวงปู่ใหญ่ อุปนิสัยและข้อวัตรของหลวงปู่ใหญ่ รากแก้วของพระฝ่ายกรรมฐาน หลวงปู่มั่นเล่าถึงหลวงปู่ใหญ่ ชาติภูมิ ชีวิตในวัยเด็ก อุบลเมืองนักปราชญ์ บรรพชาเป็นสามเณร วัดใต้ เตรียมตัวลาสิกขา จุดเปลี่ยนเมื่อโยมแม่ถึงแก่กรรม

๑๒ ๑๘ ๒๓ ๒๖ ๓๓ ๔๒ ๔๓ ๔๖ ๕๐ ๕๔ ๕๖ ๕๙


ตัดสินใจขอบวชตลอดชีวิต ๖๒ สละสิ่งที่ชาวโลกเขามีกัน ๖๔ ก�ำเนิดธรรมยุติกนิกาย ๖๖ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้ก่อเกิดธรรมยุติกนิกาย ๖๙ นาทีแห่งสวรรคต ๗๗ ก�ำเนิดวงศ์ธรรมยุต ๘๖ ก�ำเนิดวงศ์ธรรมยุต ในภาคอิสาน ๙๔ ท่านพนฺธุโล (ดี) ๙๗ วัดสุปัฏน์ วัดธรรมยุต วัดแรกของอิสาน ๑๐๐ ท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ๑๐๒ วัดศรีทอง ๑๐๗ พระแก้วบุษราคัม ๑๐๙ การสอนของท่านเทวธมฺมี (ม้าว) ๑๑๔ เข้าเป็นศิษย์ท่านเทวธมฺมี ๑๒๐ พาหมู่คณะเข้ารับการอบรมธรรม ๑๒๔ ญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ๑๒๗


เร่งความเพียรอย่างเต็มที่ พระครูวิเวกพุทธกิจ ไม่เอาเรื่องพิธีกรรม ตลอดจนไสยศาสตร์ต่าง ๆ สลดสังเวช ในกามกิเลส เกิดวัดใหม่ชื่อวัดเลียบ ได้ศิษย์เอกชื่อว่ามั่น วัดบูรพาราม เมืองอุบลราชธานี หลวงปู่มั่นต้องการลาสิกขา หลวงปู่มั่นเปลี่ยนใจไม่สึก

๑๒๙ ๑๓๑ ๑๓๔ ๑๓๖ ๑๓๙ ๑๔๒ ๑๔๘ ๑๕๒ ๑๕๕


หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน


หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล 15

พระครูวิเวกพุทธกิจ หรือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระบูรพาจารย์ผู้ริเริ่มการถือธุดงควัตร และใช้ชีวิตแบบ พระธุดงคกรรมฐาน ออกบ�ำเพ็ญภาวนาตามป่าห่างไกลในถิ่น ทุรกันดาร มุ่งความรู้แจ้งแห่งธรรมตามรอยพระบาทองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความวิมุตติหลุดพ้นอย่างแท้จริง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระกรรมฐานแห่งยุค ในวัดป่า หรือ วัดในสายกรรมฐาน ทุกแห่ง เรามักได้ยิน ชื่อเห็นรูปถ่าย รูปปั้น ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ อยู่คู่กับ หลวงปู่มั่น เสมอ แต่น่าเสียดาย ที่เรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เป็นที่รู้จัก กันน้อยมาก หาอ่านศึกษาได้ยากยิ่ง ทั้งนี้ เพราะขาดการบันทึก และขาดการรวบรวมค้นคว้า อย่างเป็นระบบ ท�ำให้พวกเรา หลาน - เหลนรุน่ หลัง ไม่คอ่ ยทราบ ประวัติและเรื่องราวของท่านเท่าที่ควร นับเป็นเรื่องน่าเสียดายยิ่ง! ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้มีโอกาสกราบ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา


16 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

หลวงพ่อ ได้เล่าเรือ่ ง หลวงปูใ่ หญ่เสาร์ ให้ฟงั อย่างย่นย่อ ในฐานะทีห่ ลวงพ่อ เคยเป็นสามเณรถวายการอุปฏั ฐากรับใช้หลวง ปู่ใหญ่เมื่อครั้งอยู่เมืองอุบลราชธานี ได้รับการอบรมด้านข้อวัตร ปฏิบตั ิ และการภาวนาอันเป็นพืน้ ฐานการปฏิบตั ธิ รรมขัน้ สูงต่อไป นอกจากนี้ หลวงปูใ่ หญ่ ยังได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ เพือ่ น�ำสามเณรพุธ มาฝากให้เป็นลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระปัญญา พิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) พระสหธรรมมิกคูธ่ ดุ งคกรรมฐานของ ท่าน ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดปทุมวนาราม ในสมัยนั้น หลวงพ่อพุธ ท่านเริ่มต้นเล่าถึงครูอาจารย์ของท่านว่า “หลวงปู ่ มั่ น ภู ริ ท ตฺ โ ต เป็ น ลู ก ศิ ษ ย์ ข องพระอาจารย์ เ สาร์ กนฺตสีโล ถ้าจะถามท่านว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นลูกศิษย์ ของใคร ก็ต้องตอบว่า พระอาจารย์เสาร์เป็นลูกศิษย์ของพระครู สีทา ชยเสโน ถ้าจะถามต่อจากนั้นขึ้นไป หลวงพ่อก็ไม่รู้ แต่ถ้า จะให้ตอบ ก็ต้องตอบว่า ท่านพระครูสีทา ชยเสโน เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า ก็ไปจบลงที่นั้น”


หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล 17

หลวงพ่อพุธ เล่าว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านชอบอ่านพุทธ ประวัติ ศึกษาเรื่องราวของพระพุทธเจ้าจากคัมภีร์ใบลาน ท่านจึง ด�ำเนินรอยตามพระพุทธเจ้า คือท่านไม่ตดิ สถานที่ ไม่ตดิ ญาติโยม ไม่ติดลาภยศ มุ่งบ�ำเพ็ญเพียรตามป่าเขา ห่างไกลจากผู้คน เพื่อ บ�ำเพ็ญไปสู่มรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง ในการภาวนา หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านให้ใช้ค�ำบริกรรมว่า “พุทโธ” เป็นอุบายธรรมน้อมน� ำเอาพระพุทธคุณเข้ามาเป็น อารมณ์จิต เพื่อให้เกิดความสงบ เป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้น จึงค่อยพิจารณาธรรมอย่างอื่น เช่น การ พิ จ ารณากาย พิ จ ารณาอสุ ภ กรรมฐาน พิ จ ารณาความตาย พิจารณากฎไตรลักษณ์จนถึงพิจารณาอริยสัจสี่ ต่อไป ดังนีเ้ ป็นต้น

เป็นการด�ำเนินจิตไปตามล�ำดับ จากสมถกรรมฐาน อุบายให้เกิดความสงบ แล้วจึงเดินจิตเข้าสู่วิปัสสนากรรมฐาน อุบายให้เกิดปัญญาธรรม ต่อไป


18 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

หลวงปู่ใหญ่เสาร์ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในธรรมวินัยอย่าง ยอดเยี่ยม มีบุคลิกลักษณะสมบูรณ์ สง่าผ่าเผยน่าเกรงขาม พูดน้อย แต่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดจาอะไรมักเป็นอย่างนั้น ดังตัวอย่าง สมัยหนึง่ เมือ่ ท่านหลวงปู่ใหญ่ออกเผยแพร่ ธรรมแก่ประชาชน ได้มผี ้เู ลือ่ มใสไปท�ำบุญถวายทานกับท่านเป็น จ�ำนวนมาก หลังจากญาติโยมได้ขอให้ท่านแสดงธรรม ท่านจึง กล่าวเป็นธรรมคติแต่โดยย่อว่า “การให้ทาน ใคร ๆ ก็ให้ทานมามากแล้ว มีพลานิสงส์มาก เหมือนกัน แต่สู้เป็นขาวเป็นชีรักษาศีลอุโบสถไม่ได้ มีอานิสงส์ มากกว่าให้ทานนั้นเสียอีก ถ้าใครอยากได้บุญมาก ขึ้นสวรรค์ไป นิพพานพ้นทุกข์ ก็ควรบวชเป็นขาวเป็นชีรกั ษาศีลอุโบสถเสียวันนี”้ ปรากฏว่าในค�ำ่ วันนัน้ เอง ได้มญ ี าติโยมชายหญิงพากันมา บวชผ้าขาว บวชชี ถือศีลอุโบสถ ฟังเทศน์ฟังธรรม และปฏิบตั ิ ภาวนากันเป็นจ�ำนวนมาก และถือปฏิบัติในวงพระป่าสายกรรมฐานตั้งแต่นั้นมา


หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล 19

หลวงพ่อเล่าเรื่องหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น รวมทั้งครูบา อาจารย์องค์อนื่  ๆ และประสบการณ์ของท่านเอง ให้เราฟังบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาไม่สบาย ๆ ไม่มีญาติโยมคนอื่น ท่าน เคีย้ วหมากและพูดไปเรือ่ ย ๆ เราก็ถวายนวดทีเ่ ท้าท่านไปเรือ่ ย ๆ แต่ น ่ า เสี ย ดายที่ ไ ม่ ไ ด้ จ ดบั น ทึ ก ให้ เ ป็ น เรื่ อ งราว มั ว ประมาทรอสอบถามหรือสัมภาษณ์ทา่ นอย่างเป็นทางการ ในทีส่ ดุ หลวงพ่อท่านก็มรณภาพลาขันธ์ไป เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ การมัวแต่ตงั้ ท่า รีรอ จึงท�ำให้เสียประโยชน์ ดังทีเ่ ป็นอยูน่ ี้ จะหวังพึ่งครูบาอาจารย์องค์อื่น ต่างองค์ต่างมรณภาพ ลาขันธ์ไปตามกาล ยังเหลือไว้แต่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ หลวงปู่ใหญ่ ให้พวกเราได้ระลึกถึงเป็นสังฆานุสติเท่านั้น


20 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

ครูบาอาจารย์ พูดถึงหลวงปู่ใหญ่ หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากแป้ง อ�ำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เขียนถึง หลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ “ท่านอาจารย์เสาร์ แท้ที่จริงควรที่จะมีประวัติไว้อ่านกัน สนุกบ้างก็นา่ จะดี แต่นไี่ ม่คอ่ ยเห็นประวัตขิ องท่าน หรือมีขา้ พเจ้า ก็ไม่ทราบ เพียงได้ยินแต่ท่านเล่าให้ฟังว่า อยู่วัดเลียบ ได้ ๑๐ กว่าพรรษา คิดเลื่อมใสในพระคณะธรรมยุต จึงยอมสละญัตติ เป็นธรรมยุต ฆ้อง กลอง ส�ำหรับตีในงานประเพณีท�ำบุญอึกทึก ครึมโครมในสมัยนั้น ซึ่งมีอยู่ประจ�ำวัดของท่าน ท่านก็สละทิ้ง หมด ญัตติเป็นธรรมยุตแล้วก็อยู่วัดนั้นต่อมา พวกที่เขาไม่ชอบเขาก็โกรธ พวกที่ชอบเขาบอกว่าของ เหล่านั้นไม่จำ� เป็น สิ่งที่จำ� เป็นขอให้สงฆ์ปฏิบตั ิถูกต้องตามธรรม วินัยก็แล้วกัน ข้าพเจ้าก็ลืมถามไปว่า ภูมิล�ำเนาของท่านเกิดบ้านใด อ�ำเภอใด มารดา บิดาพี่น้องของท่านมีกี่คนแต่เชื่อว่าท่านอยู่ใกล้ เมืองอุบลราชธานีนแี้ หละ เพราะท่านเคยพูดถึงเรือ่ งญาติของท่าน


หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล 21

บวชแล้วไปอยูห่ ลวงพระบาง เพราะคนหลวงพระบางชอบใจได้มา นิมนต์ญาติของท่านไป ท่านนัน้ ก็ลมื ชือ่ ไปอีกเหมือนกัน ไม่ทราบ ว่าชื่ออะไร จึงน่าเสียดายประวัติของท่านมากไม่มีใครบันทึกไว้ ส่วนข้าพเจ้าเองก็ไม่คิดจะบันทึกเสียด้วย ทั้ง ๆ ที่ท่านเล่าให้ฟัง สอด ๆ (ฉอด ๆ) อยู่นั่นเอง มันจะเป็นเพราะพรกัมมัฏฐาน ใน ขณะนั้นไม่คิดจะบันทึกอะไรทั้งหมด คิดแต่จะท�ำความเพียร ภาวนาอย่างเดียว การบันทึกนัน้ บันทึกนี้ เรือ่ งราวต่าง ๆ เป็นเหตุ ให้ยุ่งสมอง ท�ำอารมณ์ให้ฟุ้งมาก” หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้บันทึกเรื่องนิสัยของหลวงปู่ ใหญ่ไว้ดังนี้ “นิสยั ท่านพระอาจารย์เสาร์ ชอบก่อสร้าง ชอบปลูกพริก หมากไม้ (ไม้ผล) ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหาร ท�ำจิตดุจ แผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนพูดน้อย ยกจิตขึ้นสู่องค์ เมตตา สุกใสรุ่งเรือง เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ท�ำความพียร เป็นกลาง ไม่ยิ่งไม่หย่อน พิจารณาถึงชั้นภูมิธรรมละเอียดมาก ท่านบอกให้เราภาวนาเปลี่ยนอารมณ์แก้อาพาธได้ อยู่ ข้างนอกวุ่นวายเข้าไปหาท่านจิตสงบดี เป็นอัศจรรย์ปาฏิหาริย์ หลายอย่าง


22 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กิน บุหรีไ่ ม่สบู ท่านแดดังเป็นอุปชั ฌายะฯ เดินจงกรมเสมอไม่ละกาล น�ำ้ ใจดีไม่เคยโกรธขึ้งให้พระเณร อุนาสก อุบาสิกา มักจะวางสังฆทานอุทิศให้สงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนูแก่ สานุศษิ ย์ได้อำ� นาจวางจริตเฉย ๆ เรือ่ ย ๆ ชอบดูตำ� ราเรือ่ งพุทธเจ้า รูปร่าง ใหญ่ สันทัด เป็นมหานิกาย ๑๐ พรรษา จึง มาญัตติเป็นธรรมยุต ชอบรักเด็ก เป็นคนภูมใิ หญ่กว้างขวาง ยินดี ทัง้ ปริยตั ิ - ปฏิบตั ิ ลักษณะเป็นคนโบราณพร้อม ทัง้ กาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิน ไม่เห่อตามลาภ ยศ สรรเสริญ อาหารชอบเห็ด ผลไม้ต่าง ๆ ชอบน�้ำผึ้ง” หลวงปูอ่ อ่ น ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ�ำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พูดถึง หลวงปู่ใหญ่ ดังนี้ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านไม่พดู ไม่เทศน์ ถ้าท่านเทศน์ ท่านเทศน์นิดเดียว เอา! ฟังเทศน์ พากันตั้งใจฟังเทศน์


หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล 23

กายสุจริต วาจาสุจริต มโนสุจริต

พากันตั้งใจรักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ เอวังฯ

“ท่านพระอาจารย์เสาร์ มีลูกศิษย์ของท่านมากมาย ท่าน น�ำหมู่คณะเดินธุดงค์เพื่อทรมานกิเลส ฝึกความเพียร ลูกศิษย์ พระกรรมฐานจึงมาก สามเณรที่อยู่กบั ท่าน จะบวชเป็นพระภิกษุ ต้องท่องปาฏิโมกข์ให้ได้เสียก่อน ถ้าท่องไม่ได้จะไม่อนุญาตให้บวช ท่านพูดค�ำไหนค�ำนั้น มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดค�ำสัตย์จริง ท่านพูดน้อยกับลูกศิษย์ลูกหา ท่านไม่พูดมาก ท่านจะมาตรวจดู ข้อวัตรว่า น�้ำในโอ่งมีไหม? ฟืนมีไหม? แล้วท่านก็เข้าทางจงกรม ท�ำความพียรปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดู ค�ำสอนของท่านนั้นคือความเพียร ธรรมของท่านพระ อาจารย์เสาร์ สอน “พุธโธ” ค�ำเดียว แต่ความเพียรของท่าน เป็นการพ้นทุกข์ความเพียรของท่านเป็นธรรมเทศนา


24 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน

ความเพียรของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นยอด เมื่อท่าน ฉันเสร็จท่านเดินไปที่กุฏิ เอากาน�้ำ สะพายย่ามไปทางจงกรม จนถึงเวลาท�ำข้อวัตร ท่านอาจารย์เสาร์นั้นท่านจะไม่นั่งในที่นอน ท่านจะไม่ นอนในที่นั่งสมาธิ หลวงปูเ่ สาร์ กนฺตสีโล ท่านเป็นผูร้ เิ ริม่ การถือ ธุดงควัตร ๑๓ ขันธวัตร ๑๔ และออกธุดงด์เพื่อคิดค้นธรรมมะจากการปฏิบัติ ภาวนาอย่างจริงจัง จนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง การประพฤติตามจรรยาแห่งพระวินัยแล้วนับว่าท่าน ปฏิบัติอย่าง เคร่งครัดยิ่ง ไม่ยอมให้ตัวท่านเองและศิษย์ล่วง ละเมิดวินัยแม้แต่เรื่องเล็กน้อย ท่านจึงมีความบริสทุ ธิ์ งดงาม ตลอดประวัตชิ วี ติ ของท่าน


หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล 25

อุปนิสยั และข้อวัตรของหลวงปูใ่ หญ่ ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน วัดป่าบ้านตาด อ�ำเภอเมืองอุดรธานี ได้พดู ถึงปฏิปทาและอุปนิสยั ของหลวงปูใ่ หญ่ เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้ “ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร พระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีศิษยานุศิษย์เข้ามาศึกษาอบรมธรรม ปฏิบัติกับท่านเป็นจ�ำนวนมาก แต่ด้วยปกติของท่าน เป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒ – ๓ ประโยค เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นหลาย ๆ ชั่วโมง (หมายถึง นั่งสมาธิ) เดินท�ำนองเดียวกัน (หมายถึงเดินจงกรม) ลักษณะของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใส มองเห็นท่านแล้วเย็นตาสบายใจไปหลายวัน ประชาชนและพระ เณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่าน อาจารย์มั่น



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.