อนุโมทนาธรรม ...............................................
มรรค ผล นิพพาน จะไม่หมดสิ้นไป
ตราบเท่าที่ยังมีผู้ปฏิบัติตรงตามแนวค�ำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ...................................................
อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๑
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ผู้เรียบเรียง ดร.ปฐม นิคมานนท์
อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ชาติภูมิและค�ำสอน เล่ม ๑
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ผู้เรียบเรียง ดร.ปฐม นิคมานนท์ บรรณาธิการบริหาร ดนัย จันทร์เจ้าฉาย บรรณาธิการเล่ม สุทธิชัย ปทุมล่องทอง ศิลปกรรม นันท์พสิษฐ์ โชติน้อย, สุรศักดิ์ ละสามา พิมพ์ที่ บริษัท ฐานการพิมพ์ จ�ำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ ปฐม นิคมานนท์. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม .-- กรุงเทพฯ : ดีเอ็มจี, ๒๕๕๙. ๑๖๐ หน้า. -- (อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน). ๑. หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม. ๒. สงฆ์--ชีวประวัติ. I. ชื่อเรื่อง. ๒๙๔.๓๐๙๒๒ ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๓๗๖-๐๒๘-๙
จัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ๔๙๖-๕๐๒ อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น ๒๒ ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ (สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสชิดลม) โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๙๘-๙ Website: www.dmgbooks.com จัดจ�ำหน่ายโดย บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๔๒๓ ๙๙๙๙ โทรสาร ๐ ๒๔๔๙ ๙๕๖๑-๓
ราคา ๑๕๙ บาท
ในกรณีทที่ า่ นต้องการซือ้ หนังสือเป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ใช้ในการสอน การศึกษา หรือเป็นของขวัญพิเศษ กรุณาสอบถามรายละเอียดและราคาพิเศษเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ ๐ ๒๖๘๕ ๒๒๕๔
ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ พระป่าหรือพระธุดงคกรรมฐาน ที่ได้รับการยกย่องนับถือ ว่าเป็นพระบูรพาจารย์ใหญ่แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ได้แก่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่บ�ำเพ็ญความเพียรจนบรรลุธรรม ชั้นสูงสุด และได้อบรมสั่งสมบารมีธรรม แก่พระภิกษุสามเณร จนมีศิษย์เป็นพระธุดงคกรรมฐาน ผู้ทรงคุณธรรม สัมมาปฏิบัติ ออกจาริกธุดงค์ เผยแพร่ธรรม เป็นสุปฏิปันโน ที่มีปฏิปทา คือ ข้อวัตรข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หนังสือชุด “พระอริยสงฆ์ แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” จัดพิมพ์ เพื่อเผยแพร่หลักค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ที่ปฏิบตั ิดี ปฏิบัติชอบ น้อมน�ำระลึกถึงหลักค�ำสอนทีโ่ ดดเด่น เพือ่ น�ำมาขัดเกลาให้ชวี ติ ไม่ หลงยึดติดกับโลกของวัตถุ จนลืมค�ำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญ วาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี ใจเราก็ ไม่มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตุให้ต่อภพต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อ ไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้า ไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากัน ไปสู่ภพที่ตำ�่ ลงได้
พระอริยสงฆ์ทมี่ ปี ฏิปทา ปฏิบตั ดิ ปี ฏิบตั ชิ อบ อยูใ่ นศีลาจาร วัตร มุง่ มัน่ เผยแพร่ค�ำสอนเดินตามรอยพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่หลงโลก มุ่งแต่ธรรม ล้วนแต่มีช่ือเสียงเป็นที่ยอมรับ ทุกท่าน ศรัทธาในบารมีและยึดเป็นแบบอย่างในการด�ำเนินชีวิต หนังสือชุดอริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑ ได้น�ำชาติภูมิ และค�ำสอนพระเถระ ๑๔ รูป น้อมน�ำไปปฏิบตั เิ พือ่ ความเป็นมงคล อาทิ พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคณ ุ ปู มาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศษิ ฏ์ สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน) หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียง โดย ดร.ปฐม นิคมานนท์ ได้น�ำหลักค�ำสอนปฏิปทา คุณงาม ความดี และแก่นธรรมมรดกความคิด ซึ่งเป็นแบบอย่าง “การ ไม่ยึดติด ไม่หลงโลก หลงกิเลส” น้อมคารวะทุกดวงจิตที่ดีงาม ส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี
ค�ำน�ำผู้เรียบเรียง หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” เรียบเรียงขึน้ เพือ่ เผยแพร่พระธรรมค�ำสอนของพระอริยสงฆ์ ผู้เจริญรอยตาม พระอาจารย์มนั่ ภูรทิ ตั โต พระอาจารย์ใหญ่ฝา่ ยกรรมฐาน ทีม่ นั่ คง ในปฏิปทา และศีลาจารวัตรที่งดงามควรค่าแก่การยึดเหนี่ยว ปฏิบัติ ช�ำระล้างกิเลสอันเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ ค�ำสอนของอริยสงฆ์ เปรียบเสมือนความสว่างที่คอยขจัด ความมืดให้หลุดพ้นไปจากจิตใจ ท�ำให้เกิดสติ มีปญ ั ญา รูจ้ กั แก้ปญ ั หา ซึ่งคนเราละเลยการปฏิบัติดี ขาดธรรมมะ เป็นความบกพร่องต่อ ศีลธรรม หนังสือชุดนีจ้ ดุ ประกายแสงแห่งธรรมให้คดิ พูด ท�ำ อย่างมีสติ หนังสือชุด “อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน ชุดที่ ๑” ได้รวบรวม เรียบเรียงพระอริยสงฆ์สายพระป่ากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และเป็นทีร่ จู้ กั กันเป็นอย่างดี ไม่วา่ จะเป็น พระครูวเิ วกพุทธกิจ (เสาร์ กนฺตสีโล) พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปูต่ อื้ อจลธมฺโม หลวงปูข่ าว อนาลโย หลวงปูห่ ลุย จันทสาโร หลวงปูช่ อบ ฐานสโม หลวงปูฝ่ น้ั อาจาโร หลวงปูเ่ ทสก์ เทสรังสี พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทฺธาจาโร) หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสัมปันโน)
การจัดท�ำหนังสือชุดนี้ เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมได้รู้อีกแง่มุมหนึ่ง ของการธุดงควัตร ฝึกกรรมฐาน หลักค�ำสอน หลักปฏิบัติ ผ่านการ ขัดเกลา ทดสอบจิต อย่างเคร่งครัด เป็นแนวทางธรรมที่ช่วยผ่อน คลายความทุกข์ทางโลก ให้สงบสุขในทางธรรม ซึ่งเป็นขั้นแรกของ การฝึกกรรมฐาน ด้วยการส�ำรวจความพร้อมของจิตใจ ความสุขที่เกิดจากใจสงบ ย่อมน�ำมาซึ่งสติ ปัญญา สมาธิ คิดท�ำสิ่งใด พึงระลึกไว้ในค�ำสอน เพราะมนุษย์ล้วนแต่มีความ โกรธ ความโลภ ความหลง ซ่อนเร้นอยู่ในใจ หากท�ำอะไรโดยไม่คิด ไตร่ตรองอย่างมีสติ ความทุกข์ที่ขังอยู่ก็เป็นเพียงแค่ความว่างเปล่า เท่านั้นเอง ต้องขอขอบพระคุณ คุณดนัย จันทร์เจ้าฉายและทีมงาน กองบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ที่เล็งเห็นคุณค่าของธรรมมะ ค�ำสั่งสอนพระอริยสงฆ์ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใฝ่ธรรมได้ศึกษา ปฏิบัติ สืบทอดแนวทางของพระป่า ฝ่ายกรรมฐาน ตามพ่อแม่ครูบา อาจารย์ทุก ๆ องค์
ดร.ปฐม นิคมานนท์
สารบัญ ธรรมประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอรหันต์ในยุคกึ่งพุทธกาล ชาติก�ำเนิด บวชเป็นพระภิกษุ สุบินนิมิต ได้ธรรมที่ถำ�้ ไผ่ขวางนครนายก พิจารณาอุบายในการสอนธรรม หลวงปู่มั่นเริ่มเป็นที่รู้จัก ไปเชียงใหม่เป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง ห้าพรรษาสุดท้ายที่วัดบ้านหนองผือ หลวงปู่ละสังขาร
๑๒ ๑๕ ๑๖ ๑๘ ๒๔ ๓๔ ๓๗ ๓๙ ๔๓ ๔๖
ปกิณกธรรมค�ำสอน กิจวัตรประจ�ำนิสัยของพระธุดงคกรรมฐาน เล่าเรื่องพระธุดงค์กลัวผี
๕๐ ๕๒
ผีมีจริงหรือไม่ มนุษย์เกิดมาจากไหน ปฏิปทาอดอยาก เหล่าเทพมาฟังธรรม ข้อวัตรประจ�ำวันและการโปรดชาวเทพ เปรียบเทียบการแสดงธรรมกับเทวดาและมนุษย์ แสดงธรรมโปรดพวกนาค ไตรวิธญาณ : วิธีหยั่งรู้เห็นของผู้เป็นครูอาจารย์ เทศน์สอนพระธุดงค์หัวดื้อ ไม่อยากเป็นอาหารเสือต้องขยันภาวนา ท�ำไมเทวดาไม่ช่วยอบรมสั่งสอนมนุษย์ หลวงปู่เล่าเรื่องภูตผีต่าง ๆ ท่านเจ้าคุณอุบาลีกล่าวยกย่องหลวงปู่มั่น จิตเต็มภูมิพระอนาคามี วันบรรลุธรรมขั้นสูงสุด พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนา
๕๕ ๕๗ ๕๙ ๖๑ ๖๔ ๖๗ ๗๒ ๗๔ ๗๖ ๘๒ ๘๕ ๙๐ ๙๓ ๙๘ ๑๐๒ ๑๐๗
ชาวบ้านช่วยกันตามหาพุทโธ ความหมายของนิพพาน ตัวอย่างเรื่องหูทิพย์ตาทิพย์และการเทศน์ที่เผ็ดร้อน เขาว่า หลวงปู่มั่นรักษาศีลข้อเดียว? พระมหาเถระถามปัญหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นหวังมรรคผลใด ตอบปัญหาเรื่องบุพเพสันนิวาส ความปรารถนาแบบปุถุชน อะไรท�ำให้ชายหญิงรักชอบกัน การอบรมพระเณร อนุญาตให้ถ่ายรูปเพียงสามครั้ง
๑๑๓ ๑๑๗ ๑๒๐ ๑๒๓ ๑๒๙ ๑๓๕ ๑๔๐ ๑๔๓ ๑๔๙ ๑๕๒ ๑๕๖
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอรหันต์ในยุคกึ่งพุทธกาล
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 15
ธรรมประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา ธุระ หรือสายวัดป่าในปัจจุบัน ท่านได้รับการเทิดทูนบูชา จาก บรรดาศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่สนใจปฏิบัติธรรมว่า เป็นพระอาจารย์วปิ ัสสนาชัน้ เยีย่ มในยุคสมัยกึง่ พุทธกาล คือ ยุค สมัยปัจจุบัน จากจริยาวัตรข้อปฏิบัติของท่าน รวมทั้งของลูกศิษย์ ลูกหาที่ได้รับการสั่งสอนอบรมตามแนวทางของท่าน ล้วนแต่มี ความงดงามและเคร่งครัดในพระวินัยอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และจากเนือ้ ธรรมทีห่ ลวงปู่ได้แสดงในโอกาสต่าง ๆ เป็นธรรมชัน้ สูง ถึงแก่นธรรม ถึงใจของผู้ได้ฟังได้รู้ตลอดมา ถ้าเราได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ และค�ำสอนของท่านอย่าง ใคร่ครวญ จะไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ ในค�ำสอนของ องค์ท่านว่าสมควรจะตัง้ อยู่ในภูมธิ รรมขัน้ ใด รวมทัง้ ไม่สงสัยกับ ค�ำกล่าวที่ว่า
16 อริยสงฆ์แห่งแผ่นดิน
“หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นพระอรหันต์ในยุคกึ่งพุทธกาล” ทัง้ การปฏิบตั ิ และค�ำสอนของท่านเป็นหลักฐานยืนยันให้ ผู้ปฏิบัติธรรมมั่นใจได้ว่า
มรรค ผล นิพพาน จะไม่หมดสิ้นไป ตราบเท่าที่ยังมีผู้ปฏิบัติตรงตามแนวค�ำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 17
ชาติก�ำเนิด หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เกิดที่บ้านค�ำบง ต�ำบลโขงเจียม อ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปี มะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ เป็นปีที่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงครองราชย์ เป็นปีที่ ๓
บิดาของท่านชื่อ นายค�ำด้วง แก่นแก้ว มารดาชื่อ นางจันทร์ แก่นแก้ว มีพี่น้อง ๙ คน หลวงปู่เป็นบุตรคนหัวปี พี่น้อง ๖ คน เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก มีเพียงหลวงปู่กับน้องสาวอีก ๒ คนเท่านั้น ที่เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่