RAID 303 คู่มือนักศึกษา

Page 1

คู่มือนักศึกษา Introduction to Clinical Medicine (RAID 303)

นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล



สารบัญ

หน้า ค�ำแนะน�ำในการปฏิบัติตนในการเรียนวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก...........................................................1 คู่มือการเรียนวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก (รหัสวิชา RAID 303).............................................................2 ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนของวิชา.................................................................................................6 ข้อปฏิบัติในการลาป่วย - ลากิจ...............................................................................................................7 ประมวลรายวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก..................................................................................................9 การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน..................................................................................................................13



ค�ำแนะน�ำในการปฏิบัติตนในการเรียนวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก 1. รับเอกสารการเรียนในวันแรกที่เปิดเรียน และตรวจสอบเอกสารให้ครบ 2. หาแรงจูงใจในการเรียนวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก ถามตัวเองให้แน่ใจว่า “เรายังอยากเป็นหมออยู่ใช่ไหม” หรือ “เรายังอยากจบ พ.บ. ใช่ไหม” หรือ “วิชานี้เราก็ต้องผ่านปีนี้ให้ได้ ใช่หรือไม่” ถ้าค�ำตอบคือ “ไม่ใช่” ก็ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรแล้ว แต่ถ้าค�ำตอบคือ “ใช่” ขอแนะน�ำให้ท�ำข้อต่อไป 3. ถามตัวเองว่า “เราจะเรียนอะไรจากวิชานี้” ซึ่งจะหาค�ำตอบได้จากเอกสารหลักสูตรรายวิชาบทน�ำ เวชศาสตร์คลินิก 4. ถามตัวเองต่อไปว่า “เราจะเรียนได้อย่างไร” โดยตระหนักว่า ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมจาประสบการณ์ และผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน เพื่อให้เป็นความรู้ที่มีความหมาย และน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ใน อนาคต/วิชาชีพ ศึกษาว่ารายวิชาจัดประสบการณ์การเรยนรู้อะไรเพื่อให้เราได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ซึ่ง อ่านได้จากประมวลรายวิชา (course outline) และต้องอ่านคู่มือการเรียนรายวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก เพื่อให้ทราบว่ารายวิชาต้องการให้นักศึกษาปฏิบัติอย่างไรจึงจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น และ จดจ�ำระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ให้ได้ 5. เตรียมตัวเรียนตามตารางเรียน โดยศึกษาแผนการศึกษาของแต่ละกิจกรรม แต่ละหัวข้อ หรือแต่ละคาบ และ ปฏิบัติตามแผนการศึกษา 6. หาความรู้ในแต่ละหัวข้อตามเวลาที่มี เช่น อ่านเอกสารประกอบการสอน หรืออ่านต�ำรา หรือค้นคว้าจาก สื่อสารสนเทศ โดยมุ่งสรุปความรู้ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ และคิดหาค�ำถามที่ยังไม่กระจ่างแจ้ง หรือ ค�ำถาม เกี่ยวกับการน�ำไปใช้รักษาผู้ป่วยจริง เพื่อจะได้น�ำไปถามอาจารย์ในชั่วโมงสอนต่อไป 7. วางแผนการใช้เวลาตลอดระยะเวลาเรียน เช่น 12 สัปดาห์ส�ำหรับรหัสวิชา RAID 303 รักษาสุขภาพของ ตัวเองให้ดี เตรียมพร้อมเพื่อการเรียนที่มีเนื้อหาส�ำคัญ จ�ำเป็นต้องรู้ต้องท�ำได้ แต่มีเวลาเรียนน้อย พยายาม หาความสุขในการเรียนด้วยตนเอง ขณะที่คณะฯ พยายามสนับสนุนส่งเสริมทุกวิถีทางที่ท�ำได้ 8. แต่งกายให้สุภาพและเรียบร้อยตามกฎของมหาวิทยาลัยมหิดลและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 9. ตรงต่อเวลา รู้กาลเทศะ และให้เกียรติผู้อื่น


คู่มือการเรียนวิชา Introduction to Clinical Medicine (RAID 303)

พันธกิจด้านการศึกษาของคณะฯ คือ จัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณลักษณะตาม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัย มหิดล คือ “บัณฑิตแพทย์มีความรู้ ทักษะ และ เจตคติทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ถูก ต้องเหมาะสมและหล่อหลอมให้บัณฑิตแพทย์มีคุณลักษณะที่มีความรู้ความสามารถในการท�ำงาน และ ด�ำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และเป็นประโยชน์ต่อสังคม”

นโยบายด้านการเรียนการสอนของวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก 1. จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered learning) พยายาม ช่วยให้นักศึกษาทุกคนบรรลุวัตถุประสงค์การศึกษาของรายวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก 2. ส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง (self-directed learning) ซึ่งหมาย ถึงก�ำหนดวัตถุประสงค์ เลือกวิธีการเรียนรู้ และประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง 3. ส่งเสริมการเรียนในลักษณะใช้ปัญหาเป็นฐาน (problem-based learning) เท่าที่เป็นไปได้โดย คงการเรียนในลักษณะใช้ความรู้เป็นฐาน (information-based learning) ไว้เท่าที่จ�ำเป็น 4. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self study) โดยเน้นเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้โดย ใช้เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine) จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการหาข้อมูล 5. จัดให้มีระบบแก้ปัญหาอุปสรรคในการเรียนการสอน เพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหาให้แก่นักศึกษา 6. ให้ความส�ำคัญกับการปลูกฝังพฤตินิสัย เจตคติ คุณธรรม และจริยธรรม 7. ให้ความส�ำคัญกับการประเมินผลเพื่อพัฒนาระหว่างเรียน (formative evaluation) 8. ตัดสินผลตามกฎเกณฑ์ 9. ยึดหลักประกันคุณภาพทุกขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ การจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการเรียน รวมทั้งประเมินและปรับปรุงหลักสูตร และการ จัดการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ เป็นหน้าที่ของคณะอนุกรรมการรายวิชา นักศึกษาแพทย์สามารถสอบถามข้อมูลการจัดการเรียนการสอนเพิ่มเติม ร้องเรียน หรือปรึกษา ปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะผ่านเจ้าหน้าที่ประสานงานรายวิชา RAID 303 ของงานแพทย ศาสตรศึกษา ชั้น 4 อาคารเรียนรวม โดยประสานงานโดยตรงได้ที่ คุณสุภิญ เลี้ยววานิชย์ (พี่ภิญ) โทรศัพท์ 08-9532-1099,0-2201-1735 รศ. พญ.ฉัตรประอร งามอุโฆษ (ประธานรายวิชา) 09-1774-5067 (48840), 0-2201-1647 2


การเตรียมตัวในการเรียน นักศึกษาแพทย์รับเอกสาร และเตรียมศึกษา ดังนี้ 1. คู่มือนักศึกษาวิชา Introduction to Clinical Medicine (RAID 303) ประกอบด้วย ค�ำแนะน�ำ ในการปฏิบัติตนในการเรียน คู่มือการเรียน และแผนการศึกษา ซึ่งเป็นข้อมูลที่นักศึกษาต้องทราบ เป็น ค�ำแนะน�ำในการเรียนและการปฏิบัติตัว รวมทั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ที่นักศึกษาแพทย์ต้องปฏิบัติ มุ่งให้เป็น คู่มือส�ำหรับตลอดช่วงเวลาที่เรียนวิชานี้ ถ้าจ�ำไม่ได้หรือสงสัยว่าจะปฏิบัติอย่างไร ก็สามารถเปิดดูได้ตลอด เวลา นักศึกษาที่ท�ำผิดระเบียบจะถูกพิจารณาโทษตามที่ระบุไว้ จะอ้างว่าไม่ทราบกฎระเบียบไม่ได้ หาก นักศึกษาไม่เห็นด้วย ต้องการเสนอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ สามารถเสนอในช่วงเวลาที่เรียนหรือ เมื่อลงจากวิชาไปแล้ว 2. ตารางเรียนและรายชื่อกลุ่มย่อย 3. อาการวิทยา (Symptomatology) - Case Study: Part 1 4. คู่มือการซักประวัติและตรวจร่างกาย

การรายงานตัว ให้นักศึกษาแพทย์รายงานตัวเพื่อลงทะเบียนและเซ็นชื่อก่อนเข้าเรียน นักศึกษาที่มาลงทะเบียน สายจะถูกบันทึกการมาสาย

การปฐมนิเทศ การปฐมนิเทศมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. นักศึกษาแพทย์เซ็นชื่อรับเอกสาร และให้ข้อมูลเพื่อการติดต่อสื่อสารกับงานแพทยศาสตรศึกษา 2. รองคณบดีฝ่ายการศึกษากล่าวต้อนรับ และประธานรายวิชาแนะน�ำการเรียน กิจกรรม และ ระเบียบปฏิบัติของรายวิชา 3. แนะน�ำสถานที่เรียน ท�ำความรู้จักกับสถานที่ต่าง ๆ และแนะน�ำบุคคลที่ควรรู้จัก 4. แจ้งกฎระเบียบของรายวิชา หากนักศึกษาไม่เห็นด้วยกับกฎระเบียบใด สามารถเสนอความคิด เห็น โดยเขียนข้อเสนอพร้อมเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งที่เจ้าหน้าที่ประสานงานรายวิชา งานแพทย ศาสตรศึกษา หรือแจ้งโดยตรงที่ รศ. พญ.ฉัตรประอร งามอุโฆษ (ประธานรายวิชา) แต่ถ้าต้องการเสนอ แนะเพื่อให้ปรับเปลี่ยนส�ำหรับรุ่นต่อไปหรือปีต่อไป ให้เขียนเสนอแนะลงในแบบประเมินการจัดการเรียน การสอน ซึ่งจะให้นักศึกษาตอบเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนรายวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก 5. แนะน�ำกิจกรรมการเรียนการสอน และตารางเรียน 6. แนะน�ำระเบียบปฏิบัติในการเรียน 7. แจ้งระบบแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอน ยกตัวอย่างปัญหาที่เคยเกิดขึ้น

3


8. แจ้งผลการเรียนที่คณะฯ คาดหวัง ซึ่งคณะฯ ก�ำหนดให้นักศึกษาต้องผ่านการประเมินด้าน เจตคติ และต้องได้แต้มรวม > 2.00 โดยผ่านการประเมินในทุกมิติ ซึ่งสามารถแยกเป็นกรณีต่าง ๆ ได้ ดังนี้ 8.1 กรณีที่ไม่ผ่านการประเมินผลด้านเจตคติ จะได้สัญลักษณ์เป็น U และได้รับผลการ ศึกษาเป็น F ซึ่งนักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนซ�้ำในปีการศึกษาถัดไป โดยยังไม่สามารถขึ้นเรียนในชั้น ปีที่ 4 ได้ 8.2 กรณีที่ผ่านการประเมินด้านเจตคติและได้แต้มรวม > 2.00 (เกรด C) แต่ไม่ผ่านการ ประเมินในบางมิติ จะอนุญาตให้นักศึกษาสอบแก้ตัวได้ 1 ครั้ง ถ้าสอบแก้ตัวผ่านจะได้เกรดตามแต้มรวม เดิมที่ท�ำได้ ถ้าสอบแก้ตัวไม่ผ่านจะได้เกรด D+ และต้องลงทะเบียนเรียนซ�้ำในปีการศึกษาถัดไป 8.3 กรณีที่ผ่านการประเมินด้านเจตคติและได้แต้มรวม < 2.00 จะได้รับเกรดเป็น D+, D, F ตามแต้มรวมจริงที่ท�ำได้ นักศึกษาจะไม่ได้รับอนุญาตให้สอบแก้ตัว และต้องลงทะเบียนเรียนซ�้ำใน ปีการศึกษาถัดไป โดยยังไม่สามารถขึ้นเรียนในชั้นปีที่ 4 ได้ กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก กิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การเรียนการสอนในห้องเรียน หมายถึง การเรียนการสอนพร้อมกันทั้งกลุ่ม ซึ่งจัดขึ้นใน ห้องเรียนอาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี หรือห้องปฏิบัติ การ ตามเวลาที่จัดไว้ในตารางเรียน รูปแบบการเรียนการสอนอาจจะเป็นการบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การน�ำเสนอผลการค้นคว้าด้วยตนเอง การดู VDO การสาธิต การสอนแสดง หรือการฝึกหัตถการกับหุ่นก็ได้ 2. การเรียนภาคปฏิบัติทางคลินิก เป็นการฝึกปฏิบัติระหว่างนักศึกษา ฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงใน โรงพยาบาลรามาธิบดี และฝึกหัตถการที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การดูแลของอาจารย์ แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ หรือ แพทย์ประจ�ำบ้านที่ได้รับมอบหมาย

4


ค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน มีดังต่อไปนี้ 1. นักศึกษาควรรับประทานอาหารเช้าให้เรียบร้อยก่อนเข้าเรียนช่วงเช้า การเข้าห้องเรียน สายกว่าก�ำหนด 1 นาทีก็ถือว่าสาย จะถูกบันทึกการเข้าเรียนสาย และจะถูกพิจารณาตามกฎ 2. เข้าห้องเรียนตามตารางเรียน นักศึกษาจะต้องเข้าเรียนไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียน ทั้งหมด มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์สอบ ได้เกรด F และต้องลงทะเบียนเรียนซ�้ำอีกครั้ง หากมีเหตุจ�ำเป็นต้องขาด เรียน ให้ส่งใบลา ที่เจ้าหน้าที่ประสานงานรายวิชา งานแพทยศาสตรศึกษา (พี่ภิญ) อาคารเรียนรวม ส�ำหรับกรณีที่เจ็บป่วย หรือมีกิจธุระกะทันหันก็ให้โทรศัพท์ฝากเพื่อนแจ้งอาจารย์ผู้สอน หรือโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงาน รายวิชา งานแพทยศาสตร-ศึกษา (พี่ภิญ) ทราบเพื่อประสานงานแจ้งอาจารย์ผู้สอนก่อนถึงเวลาเรียน และ นักศึกษาต้องเขียนใบลาย้อนหลังชี้แจงเหตุผลความจ�ำเป็นนั้น ๆ ด้วย 3. ในการเรียนกลุ่มย่อย หัตถการ และการซักประวัติตรวจร่างกาย นักศึกษาควรเตรียม และทบทวนความรู้ก่อน และมีส่วนร่วมในการเรียนด้วยความกระตือรือร้น ส�ำหรับกิจกรรมกลุ่มย่อย นักศึกษาจะได้รับการประเมินโดยอาจารย์ผู้คุมกลุ่มในแต่ละครั้ง และการประเมินจากเพื่อนในกลุ่ม (peer group) เมื่อจบรายวิชา 4. ขอแจ้งให้นักศึกษาทราบว่าในบางครั้ง คณะฯ อาจจัดให้มีการบันทึกเทปการเรียนการ สอนในห้องเรียน เพื่อประโยชน์ในการประเมินและปรับปรุงการเรียนการสอน สื่อการศึกษา 1. หนังสือประกอบการเรียนและวีดิทัศน์ประกอบการศึกษารายวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก นักศึกษาสามารถติดต่อยืมและคืนที่งานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ (ห้องสมุด) 2. E-learning ที่ website http://elearning.ra.mahidol.ac.th/medstudent/

E-learning 5


ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียนของวิชา มีดังต่อไปนี้ 1. แต่งกายให้สุภาพ ถูกต้องตามระเบียบ ติดป้ายชื่อทุกครั้ง และในกรณีที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ ป่วยให้สวมเสื้อกาวน์ 2. เซ็นชื่อและลงเวลาเข้าเรียนตามที่เป็นจริงก่อนเข้าห้องเรียนทุกครั้ง ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย หรือ คาบเรียนพิเศษอื่นใดที่นักศึกษาขอให้อาจารย์มาสอนก็ตาม โดยยึดตามเวลามาตรฐานกรม อุทกศาสตร์ (โทร. 1811) ผู้ที่มาเซ็นชื่อลงเวลาไว้ก่อน แล้วไปรับประทานอาหาร หรือไปซื้อเครื่องดื่ม ถ้า กลับมาไม่ทันเวลาเริ่มเรียนต้องลงเวลาเข้าเรียนใหม่ตามที่เป็นจริง 3. ถ้าเข้าชั้นเรียนสายกว่าก�ำหนดเกิน 1 วินาทีก็ถือว่าสาย ผู้ที่ลงลายมือชื่อเข้าเรียนสายตั้งแต่ 1 วินาที แต่ไม่เกิน 15 นาที เป็นประจ�ำ (6 ครั้งขึ้นไป) หรือ สายเกิน 15 นาที 3 ครั้ง จะได้รับใบเตือน (สีชมพู) และจะนับเป็นการขาดเรียน 1 ครั้ง ซึ่งจะมีผลต่อการประเมินเจตคติ และการมีสิทธิ์เข้าสอบ 4. การเซ็นชื่อแทนกัน หรือ เซ็นชื่อแล้วไม่เข้าร่วมกิจกรรมถือว่าขาดความซื่อสัตย์ และเป็นความผิด 5. ก่อนเข้าห้องเรียน กรุณาปิดเสียงโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด ถ้าปิดเสียงไม่ได้ ให้ ปิดเครื่อง หากมีกิจธุระจ�ำเป็นให้ขออนุญาตออกไปคุยนอกห้องเรียน เพราะการคุยโทรศัพท์ในห้องเรียนนั้น เป็นการรบกวนผู้อื่น 6. การปฏิบัติตัวขณะเรียน ควรมีมารยาทที่ดีในการเรียน ไม่รบกวนการเรียนของผู้อื่น ควรมี ปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ ถ้าสงสัยอะไรให้ถามอาจารย์ได้ทันที กรณีที่อาจารย์ถามก็ควรตอบ รู้หรือไม่รู้ ตอบ ถูก หรือตอบผิด ไม่ใช่ปัญหา ไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย หรือท�ำให้คุณค่าของตนเองลดลง แต่การที่อาจารย์ถาม แล้วไม่ตอบ ขอให้ยกมือก็ไม่ยก เหล่านี้ต่างหากที่ลดคุณค่าของตนเอง และท�ำให้อาจารย์ไม่อยากสอน เพราะไม่มีใครอยากพูด โดยที่ไม่มีใครฟัง 7. คณะฯ ถือว่า นักศึกษาแพทย์ต้องมีส่วนรับผิดชอบในการประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น 8. การเตรียมห้องเรียนและดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียนหลังใช้งาน แม้จะไม่ใช่หน้าที่ของ นักศึกษาโดยตรง แต่ถือเป็นความรับผิดชอบต่อองค์กรหรือสังคม การปิดเครื่องปรับอากาศ ปิดไฟ เก็บขยะ จัดโต๊ะเรียนให้เรียบร้อยอยู่เสมอ จึงถือเป็นภารกิจที่ควรปฏิบัติ 9. การเรียนโดยฝึกภาคปฏิบัติในโรงพยาบาลรามาธิบดี ภายใต้การดูแลของอาจารย์แพทย์ผู้ช่วย อาจารย์ หรือแพทย์ประจ�ำบ้านที่ได้รับมอบหมาย แนวทางการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการเรียนในห้องเรียน แต่นักศึกษาควรให้เกียรติและขอบคุณผู้ป่วยทุกท่านที่อนุญาตให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ และกรณีที่นักศึกษา มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นแพทย์จะถูกพิจารณาต่อไป

6


ค�ำแนะน�ำทั่วไป กรณีนักศึกษารอนานเกิน 10 นาที แล้วอาจารย์ยังไม่เข้าสอน ขอให้รีบโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ ประสานงานรายวิชา (พี่ภิญ โทรศัพท์ 08-9532-1099, 0-2201-1735) เพื่อประสานงานอาจารย์ผู้สอนต่อ ไป และในกรณีที่นักศึกษาพบปัญหา/อุปสรรคใด ๆ ในการเรียนการสอน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงาน รายวิชา (พี่ภิญ) หรืออาจแจ้งโดยตรงที่ รศ. พญ.ฉัตรประอร งามอุโฆษ (ประธานรายวิชา) โทรศัพท์ : 09-1774-5067 (48840), 0-2201-1647 ข้อปฏิบัติในการลาป่วย - ลากิจ การลาป่วย - ถ้านักศึกษาแพทย์ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน/การสอบ เนื่องจากป่วย ขอให้ รีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ประสานงานรายวิชา งานแพทยศาสตรศึกษา (พี่ภิญ) ทราบ และจะต้องส่งใบลาพร้อม ระบุเหตุผล (ภายในวันรุ่งขึ้น) หากนักศึกษาแพทย์ลาป่วย (ขอให้แนบใบรับรองแพทย์ประกอบทุกครั้ง) โดย นักศึกษาสามารถ ส่งใบลาที่เจ้าหน้าที่ประสานงานรายวิชา (พี่ภิญ) งานแพทยศาสตรศึกษา ชั้น 4 อาคาร เรียนรวม เพื่อเสนอให้ ประธานรายวิชาพิจารณาต่อไป การลากิจ - นักศึกษาแพทย์ที่ลากิจจะต้องส่งใบลา พร้อมระบุเหตุผล (ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน) โดยส่ง ใบลาล่วงหน้าที่เจ้าหน้าที่ประสานงานรายวิชา (พี่ภิญ) งานแพทยศาสตรศึกษา ชั้น 4 อาคารเรียนรวม เพื่อ เสนอให้ ประธานรายวิชาพิจารณาต่อไป ** การลาป่วยหรือกรณีมีกิจธุระกะทันหัน ให้นักศึกษาโทรศัพท์ฝากเพื่อนแจ้งอาจารย์ผู้สอน หรือโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงานรายวิชา (พี่ภิญ) งานแพทยศาสตรศึกษา ทราบก่อนถึงเวลาเรียน โดยต้องเขียนใบลาย้อนหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลความจ�ำเป็นนั้น ๆ ด้วย และหากเหตุผลนั้นไม่ใช่เหตุ จ�ำเป็นกะทันหันจริง นักศึกษาอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลา และนับเป็นการขาดเรียน

7



ประมวลรายวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก 1. ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

2. รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา

RAID 303 รมคร 303 Introduction to Clinical Medicine บทน�ำเวชศาสตร์คลินิก

3. จ�ำนวน

4 (3-2-7) หน่วยกิต

4. เงื่อนไขของรายวิชา วิชาบังคับก่อน : RAID 201 SCID 244 SCID 251 5. ประเภทวิชา

SCID 241 SCID 245 SCID 252

SCID 242 SCID 246 SCID 261

SCID 243 SCID 247 SCID 262

เป็นวิชาเฉพาะ และวิชาบังคับในหลักสูตร พ.บ. ส�ำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3

6. ภาคการศึกษา และปีการศึกษาที่จะเริ่มเปิดสอน

ภาคการศึกษาที่ 2 ของทุกปีการศึกษา

7. ค�ำอธิบายรายวิชา (Course Description) พยาธิสรีรวิทยาของอาการ อาการแสดงที่พบบ่อยและส�ำคัญตามระบบต่าง ๆ ทักษะการซักประวัติ ตรวจ ร่างกาย การท�ำหัตถการพื้นฐาน การสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ การวินิจฉัยแยกกลุ่มโรค การตรวจเพิ่มเติมทางห้อง ปฏิบัติการ และการถ่ายภาพรังสี หลักการแก้ปัญหาทางคลินิก การแปลผลการตรวจร่างกาย และ การตรวจอื่นๆ ความไว ความจ�ำเพาะ และการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล 8. วัตถุประสงค์ของรายวิชา เมื่อนักศึกษาแพทย์ผ่านการเรียนรู้ในรายวิชานี้แล้วจะมีความสามารถ ดังต่อไปนี้ 1. มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถระบุหน้าที่ ความรับผิดชอบ บทบาทของแพทย์ต่อผู้ป่วยและ ครอบครัว มารยาท และจรรยาบรรณวิชาชีพ 2. อธิบายพยาธิสรีรวิทยาของอาการ และอาการแสดงที่ส�ำคัญของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย 3. อธิบายการเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกายและจิตใจมนุษย์ 4. อธิบายกระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคลินิกอย่างเป็นระบบ 5. สร้างสัมพันธภาพและติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยได้ 6. ปฏิบัติงานทางคลินิก : ซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างเป็นระบบ ท�ำหัตถการพื้นฐานเบื้องต้น และบันทึกรายงานผู้ป่วยได้ 7. อธิบายหลักการป้องกันการติดเชื้อ และการแพร่เชื้อในโรงพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และผู้ป่วยได้

9


9. เค้าโครงรายวิชา หัวข้อเรื่อง

จ�ำนวนชั่วโมง

กิจกรรม การเรียนการสอน

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

1. กระบวนการคิดแก้ปัญหาทางคลินิกอย่างเป็นระบบ

2

-

บรรยาย และอภิปราย

2. หลักการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล

1.5

-

บรรยาย

3. Pharmacokinetics

1

-

บรรยาย

4. จากปัญหาผู้ป่วยสู่การเคลื่อนไหวนโยบายระดับชาติ

1

-

บรรยาย

5. Patient - centered care

1

-

บรรยาย

6. จรรยาบรรณ มารยาททางการแพทย์ และสิทธิผู้ป่วย

1

-

บรรยาย

7. Physician and research

1

-

บรรยาย

8. การซักประวัติและตรวจร่างกายทุกระบบ

1.5

-

บรรยาย

9. ความส�ำคัญของการบันทึกรายงานผู้ป่วย: วิธีการและรูปแบบ

1

-

บรรยาย

10. การตรวจหู คอ จมูก

1

-

บรรยาย

11. การตรวจตา

1

-

บรรยาย

- ระบบหู คอ จมูก

-

1.5

- ระบบตา

-

1.5

-

3

ปฏิบัติกลุ่มย่อย

- ครั้งที่

-

3

ปฏิบัติกลุ่มย่อย

- ครั้งที่ 2

-

3

- ครั้งที่ 3

-

3

- ครั้งที่ 4

-

3

2

-

อภิปราย

- Chest pain / Syncope

3

-

บรรยาย และ

- Dyspnea / Cough

3

-

อภิปรายกลุ่มย่อย

- Dysuria / Hematuria, Edema

3

-

- Diarrhea / Vomiting

3

-

- Abdominal pain / Abdominal swelling

3

-

- Jaundice / GI bleeding

3

-

- Delirium / Insomnia

3

-

- Headache / Coma

3

-

12. ฝึกปฏิบัติตรวจร่างกายระหว่าง นศพ.

13. ฝึกปฏิบัติตรวจร่างกายระบบทั่วไป ระหว่าง นศพ.

ปฏิบัติกลุ่มย่อย

14. ฝึกปฏิบัติซักประวัติ ตรวจร่างกายและบันทึกรายงานผู้ป่วย

15. วิจารณ์การเขียนรายงานผู้ป่วย 16. Symptomatology (9 ครั้ง) :

- Fever / Weight change

10


9. เค้าโครงรายวิชา (ต่อ) หัวข้อเรื่อง

จ�ำนวนชั่วโมง

กิจกรรม การเรียนการสอน

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

17. Clinical Reasoning (EBM)

3.5

-

บรรยาย และ อภิปรายกลุ่มย่อย

18. การเรียนรู้ปัญหาอาการผู้ป่วย เรื่อง ด.ญ.ของขวัญ

2

-

อภิปรายกลุ่มย่อย

19. Medicine and society

1

-

บรรยาย

20. อาการและอาการแสดงทางระบบต่อมไร้ท่อ

1

-

บรรยาย

21. อาการและอาการแสดงทางระบบโภชนาการ

1

-

บรรยาย

22. อาการและอาการแสดงทางระบบผิวหนัง

1

-

บรรยาย

23. อาการและอาการแสดงทางระบบกระดูกและข้อ

1

-

บรรยาย

24. ความพิการทางกายภาพ การป้องกัน และการฟื้นฟูสภาพ

1

-

บรรยาย

25. แนะน�ำการเรียนหัตถการพื้นฐาน

1

-

บรรยาย

26. Principles of Cardiopulmonary Resuscitation (CPR)

2

-

บรรยาย

27. การฝึกเวชปฏิบัติหัตถการพื้นฐาน (5 ครั้ง) :

ปฏิบัติกลุ่มย่อย

ครั้งที่ 1 - การเจาะเลือด

-

1

- การให้สารน�้ำและยาทางหลอดเลือดด�ำ

-

1

- การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ใต้ผิวหนัง และกระแสโลหิต

-

1

- การเตรียมตัวเข้าห้องผ่าตัด

-

1.5

- การพันแผล

-

1.5

- การสวนปัสสาวะ (ชาย)

-

1

- การสวนปัสสาวะ (หญิง)

-

1

- การใส่สายสวนเข้ากระเพาะอาหารผ่านทางรูจมูก (NG Tube)

-

1

- การเย็บแผล

-

1.5

- การผูกปม

-

1.5

-

3

56.5

33

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 4

ครั้งที่ 5 - การช่วยฟื้นชีวิตพื้นฐาน (CPR) รวม

11


10. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 1. บรรยายส�ำหรับนักศึกษาแพทย์ทั้งชั้นปี 2. การเรียนรู้กลุ่มย่อย เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ทุกคนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้ โดยมีอาจารย์เป็นผู้ชี้แนะในแต่ละกลุ่ม 2.1 กลุ่มย่อย : กลุ่มในการฝึกทักษะ - การตรวจร่างกายระหว่างนักศึกษา (ENT-EYE) - การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และบันทึกรายงานผู้ป่วยผู้ใหญ่ 3 ครั้ง และผู้ป่วยเด็ก 1 ครั้ง * รายงานผู้ป่วยให้ส่งภายในเวลา 17.00 น. ของวันท�ำการถัดไป ที่งานแพทยศาสตรศึกษา ชั้น 3 อาคารบริหาร 2.2 กลุ่มย่อย 6 - 7 คน : กลุ่มในการอภิปราย (EBM) 2.3 กลุ่มย่อย 12 - 13 คน : กลุ่มในการอภิปรายปัญหาอาการผู้ป่วย (POL) 2.4 กลุ่มย่อย 3 - 21 คน : กลุ่มในการฝึกหัตถการพื้นฐาน 2.5 กลุ่มย่อย 45 - 46 คน : กลุ่มในการอภิปราย อาการวิทยา นักศึกษาจะศึกษาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 - 7 คน ด้วยตนเองก่อน แล้วจึงมาน�ำเสนอ อภิปราย ในกลุ่ม 45 - 46 คน ระเบียบการเข้าเรียน - แต่งกายให้สุภาพ ถูกต้องตามระเบียบ ติดป้ายชื่อทุกครั้ง ในกรณีที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย ให้สวมเสื้อกาวน์ - นักศึกษาจะต้องมีเวลาเรียนอย่างน้อย 80% จึงจะมีสิทธิเข้าสอบ - การเข้าเรียนสาย 1 วินาทีก็ถือว่าสาย แต่ถ้าเข้าชั้นเรียนสายตั้งแต่ 1 วินาที แต่ไม่เกิน 15 นาที เป็นประจ�ำ (6 ครั้งขึ้นไป) หรือ สายเกิน 15 นาที 3 ครั้ง จะได้รับใบเตือน (สีชมพู) และนับเป็น การขาดเรียน 1 ครั้ง ซึ่งจะมีผลต่อการประเมินเจตคติ และการมีสิทธิ์เข้าสอบ - ในกรณีที่จ�ำเป็นต้องขาดเรียน นักศึกษาจะต้องส่งใบลาถึงประธานรายวิชาพิจารณา 11. อุปกรณ์สื่อการสอน สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://elearning.ra.mahidol.ac.th/mdstudent/

12


12. การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน ประกอบด้วย 1. ด้านความรู้พื้นฐาน (Knowledge base) - MCQ, Extended Matching Item (EMI) 40% 2. ด้านทักษะทางคลินิก (Clinical skills) - OSCE 30% - การซักประวัติ ตรวจร่างกาย 10% - การเขียนบันทึกรายงานผู้ป่วย 5% - การน�ำเสนอรายงาน / อภิปรายกลุ่ม 15% 3. ด้านพฤตินิสัย เจตคติ คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (Professional habits, attitudes, moral and ethics) ไม่มีแต้มประจ�ำ แต่การประเมินก�ำหนดเป็นสัญลักษณ์ O/S/M/U ดังนี้ สัญลักษณ์

ความหมาย

O

ดีเด่น (Outstanding)

S

น่าพอใจ (Satisfactory)

M

ควรปรับปรุง (Marginal) ตัวอย่าง เช่น 1. การมาสายเป็นประจ�ำ 2. มีกิริยามารยาทหรือความประพฤติไม่เหมาะสม เช่น การแต่งกายไม่เรียบร้อย / หลับ / คุย / คุยโทรศัพท์ในห้องเรียน เป็นประจ�ำ

U

ไม่น่าพอใจ (Unsatisfactory) / ไม่ผ่านการประเมิน ตัวอย่าง เช่น 1. มีปัญหาด้านเจตคติ ความประพฤติที่ได้รับการตักเตือนแล้วไม่มีการปรับปรุงแก้ไข 2. ชั่วโมงเรียนไม่ครบ 80% ของเวลาเรียนทั้งหมด 3. ฝ่าฝืนระเบียบของภาควิชาต่าง ๆ / คณะฯ / มหาวิทยาลัย และไม่ปรับปรุง แม้จะได้รับการตักเตือน 4. ไม่รับผิดชอบต่อผู้ป่วยหรืองานที่ได้รับมอบหมาย 5. บิดเบือนข้อมูล 6. ปลอมลายเซ็น หรือปลอมแปลงเอกสารไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งรวมถึง การเซ็นชื่อเข้าเรียนแทนเพื่อน 7. ขาดเรียนโดยไม่แจ้งล่วงหน้า และไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นประจ�ำ 8. ทุจริตการสอบ 9. ลักทรัพย์ 10. จงใจละเมิดสิทธิผู้ป่วย หรือเจตนาท�ำเวชปฏิบัติโดยที่ผู้ป่วยเดือนร้อนหรือไม่ยินยอม 11. มีความประพฤติที่ก่อเกิดผลเสียหายต่อผู้อื่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

13


13. การประเมินผลและการตัดเกรด 1. การมีชั่วโมงเรียนไม่ครบ 80% ของเวลาเรียนทั้งหมดจะไม่มีสิทธิเข้าสอบ ซึ่งจะได้รับ สัญลักษณ์เป็น U ในการประเมินด้านพฤตินิสัย เจตคติ คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (Professional habits, attitudes, moral and ethics) และได้เกรด F ต้องลงทะเบียนเรียน ซ�้ำในปีการศึกษาถัดไป 2. การประเมินด้านพฤตินิสัย เจตคติ คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ (Professional habits, attitudes, moral and ethics) ก�ำหนดสัญลักษณ์เป็น O/S/M/U กรณีนักศึกษาไม่ผ่านการ ประเมินจะได้รับสัญลักษณ์เป็น U และจะไม่พิจารณาคะแนนในด้านความรู้พื้นฐานและด้าน ทักษะทางคลินิกโดยถือว่าไม่ผ่านการประเมินรายวิชานี้ และได้เกรด F ต้องลงทะเบียนเรียน ซ�้ำในปีการศึกษาถัดไป 3. กรณีการประเมินในข้อ 2 ผ่านแล้ว และเมื่อน�ำคะแนนการประเมินด้านความรู้พื้นฐาน และ ด้านทักษะทางคลินิกมารวมกัน ได้แต้มรวม ≥ 2.00 (ตั้งแต่เกรด C ขึ้นไป) แต่ไม่ผ่านการ ประเมินด้านความรู้พื้นฐานหรือด้านทักษะทาง คลินิกอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สอบแก้ตัวได้ 1 ครั้ง กรณีสอบแก้ตัวผ่านจะได้เกรดตามจริง แต่ถ้าสอบแก้ตัวไม่ผ่านจะได้เกรด D+ และต้องลง ทะเบียนเรียนซ�้ำในปีการศึกษาถัดไป 4. กรณีการประเมินในข้อ 2 ผ่านแล้ว และเมื่อน�ำคะแนนการประเมินด้านความรู้พื้นฐาน และ ด้านทักษะทางคลินิกมารวมกัน ได้แต้มรวม < 2.00 (เกรดต�่ำกว่า C) จะไม่มีสิทธิ์สอบแก้ตัว และได้เกรด D+, D, F ตามแต้มรวมที่ได้จริง และต้องลงทะเบียนเรียนซ�้ำในปีการศึกษาถัดไป

14


14. เอกสารอ้างอิงที่แนะน�ำเพิ่มเติม หนังสืออ่านประกอบ 1. A guide to physical examination and history taking. Barbara Bates, et al. 6th ed. Philadelphia : J.B. Lippincott , 1995. 2. An Introduction to the Symptoms and Signs of Clinical Medicine. Gray, David and Toghill, Peter, Oxford : Oxford University Press, 2001. 3. Bates’ Guide to Physical Examination and History-Taking. Lynn S. and Szilagyi, Peter G., Philadelphia : Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, 2013. 4. Bates’ Pocket Guide to Physical Examination and History Taking, Lynn S. and Szilagyi, Peter G., Philadelphia : Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, 2013. 5. Clinical methods : the history , physical, and laboratory examinations. H. Kenneth Walker, et al. 3rd ed. Boston : Butterworths, 1990. 6. Family Medicine Ambulatory Care and Prevention Interational Edition Mark B. Mengle Perter Sohwiebert Mc Graw Hill Lange (สามารถยืมได้ที่ห้องสมุด 2 คน / 1 เล่ม) 7. Hutchison’s clinical methods : an integrated approach to clinical practice. Edited by Glynn, Michael. and Drake, William M., Edinburgh : Saunders/Elsevier, 2012. 8. Lecture Notes on Clinical Skills. Chris Hatton, Roger Blackwood. Fourth edition. Blackwell Publishing : 2003. 9. คู่มือหัตถการทางคลินิกพื้นฐานเบื้องต้น วราวุธ สุมาวงศ์, สมศักดิ์ โล่ห์เลขา (บรรณาธิการ) พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2540 10. คู่มือหัตถการพื้นฐานทางศัลยศาสตร์ รณรัฐ สุวิกะปกรณ์กุล (บรรณาธิการ) พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555 11. บทน�ำคลินิก สมศักดิ์ โล่ห์เลขา (บรรณาธิการ) พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2540.

15


Electronic Books 1. Churchill’s Pocketbook of Differential Diagnosis, Fourth Edition website : https://www.clinicalkey.com/#!/browse/book/3-s2.0-C20120035399 2. Clinical Examination, Fourth Edition website : https://www.clinicalkey.com/#!/browse/book/3-s2.0-C20090442818 3. DeGowin;s Diagnostic Examination, 10e website : http://accessmedicine.mhmedical.com/Index.aspx 4. Macleod’s Clinical Examination, Thirteenth Edition website : https://www.clinicalkey.com/#!/browse/book/3-s2.0-C20110697327 5. Smith’s Patient-Centered Interviewing: An Evidence-Based Method, 3e website : http://accessmedicine.mhmedical.com/Index.aspx 6. Symptom to Diagnosis: An Evidence-Based Guide, 3e website : http://accessmedicine.mhmedical.com/Index.aspx 7. Textbook of Physical Diagnosis, Seventh Edition website : https://www.clinicalkey.com/#!/browse/book/3-s2.0-C2010066189X 8. The Patient History: An Evidence-Based Approach to Differential Diagnosis, 2e website : http://accessmedicine.mhmedical.com/Index.aspx

16


Electronic Books


คณะอนุกรรมการรายวิชาบทน�ำเวชศาสตร์คลินิก ล�ำดับ

18

ชื่อ-นามสกุล

โทรศัพท์

1.

รศ. พญ.ฉัตรประอร งามอุโฆษ

ประธานอนุกรรมการ

09-1774-5067, 0-2201-1647

2.

รศ. ดร. พญ.อติพร อิงค์สาธิต

อนุกรรมการ

0-2201-0832

3.

รศ. นพ.วาสนภ วชิรมน

อนุกรรมการ

0-2201-1141

4.

รศ. นพ.พงศธร ฉันท์พลากร

อนุกรรมการ

0-2201-1589

5.

ผศ. ร.อ. นพ.วรสรวง ทองสุข

อนุกรรมการ

0-2201-1523

6.

ผศ. นพ.กิติกุล ลีละวงศ์

อนุกรรมการ

0-2201-1533

7.

ผศ. นพ.รณรัฐ สุวิกะปกรณ์กุล

อนุกรรมการ

0-2201-1527

8.

ผศ. พญ.ลัลลิยา ธรรมประทานกุล

อนุกรรมการ

0-2201-1879

9.

ผศ. พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล

อนุกรรมการ

0-2201-1478

10.

อ. นพ.คมกฤช เอี่ยมจิรกุล

อนุกรรมการ

0-2201-2167

11.

อ. นพ.ประวัฒน์ จันทฤทธิ์

อนุกรรมการ

0-2201-1391

12.

อ. พญ.ศิวะพร เกียรติธนะบ�ำรุง

อนุกรรมการ

0-2201-1515

13.

หัวหน้างานแพทยศาสตรศึกษา

เลขานุการ

0-2201-1060

14.

น.ส.สุภิญ เลี้ยววานิชย์

ผู้ช่วยเลขานุการ

0-2201-1735, 08-9532-1099


ปรับปรุงครั้งล่าสุด: มกราคม 2562 จัดพิมพ์โดย : หน่วยประเมินผลการศึกษา งานแพทยศาสตรศึกษา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.