หนังสือ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม โดยพระไพศาล วิสาโล

Page 1

ขอมอบแด่ ........................................................................ ด้วยความปรารถนาดีจาก

............................................................


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม

(คัดเลือกค�ำถามจากคอลัมน์ปุจฉา-วิสัชนา ใน FB: Phra Paisal Visalo) ผู้เขียน

พระไพศาล วิสาโล

ผู้เรียบเรียง ณัฐนิช สถิตจินดาวงศ์ ณัฐนิชา สถิตจินดาวงศ์ ผู้พิสูจน์อักษร ณิชา สถิตจินดาวงศ์ ศิลปกรรมและออกแบบ กรวีร์ แม่นศรแผลง พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗

จ�ำนวน ๑๒,๐๐๐ เล่ม

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data พระไพศาล วิสาโล. จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม.-- : กลุ่มธรรมสถิต, ๒๕๕๗. ๑๒๘. -- (ธรรมกับพระไพศาล วิสาโล). ๑. . I. กลุ่มธรรมสถิต. ผู้วาดภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๗๗๕๕-๒๑-๒

จัดท�ำโดย

กลุ่มธรรมสถิต

ผู้พิมพ์

โรงพิมพ์โนเบิ้ลพริ้นต์ ๒๙๐/๒-๓ ถ.พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. ๑๐๔๐๐ โทร. ๐ ๒๒๑๕ ๖๐๔๗, ๐ ๒๒๑๕ ๖๗๐๙ แฟกซ์ ๐ ๒๖๑๒ ๑๙๗๙ E-mail : nobleprint_dd@hotmail.com


จิตวุนวาย คลายดวย ธรรม


คำ�ปรารภ ความทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา ปัญหาเป็นสิ่งที่ไม่มีใครชอบ แต่ความทุกข์นั้น หากมองให้ดีก็มีประโยชน์ สามารถผลักดันให้ผู้คนเข้าหา ธรรมเพือ่ ออกจากทุกข์ได้ ปัญหาก็เช่นกันช่วยกระตุ้นให้เราใช้ปัญญาเพื่อหา คำ�ตอบ ยิ่งปัญหานั้นเป็นสิ่งที่เรากำ�ลังประสบ หรือกำ�ลังสร้างความทุกข์ แก่เรา ก็อาจช่วยให้เราใคร่ครวญกับชีวติ ทีผ่ า่ นมา อันนำ�ไปสู่การปรับเปลี่ยน ชีวิตหรือวางจิตวางใจเสียใหม่ ทำ�ให้เกิดความเจริญงอกงามตามมา คนเรานั้นหากไม่เจอความทุกข์หรือปัญหา ก็มักพอใจอยู่กับร่อง ความคิดหรือชีวิตเดิมๆ โดยไม่เฉลียวใจว่ามันอาจก่อโทษได้ในภายหลัง การ เจอทุกข์หรือประสบปัญหาแต่เนิ่นๆ อาจช่วยให้เราปรับเปลี่ยนตนเองก่อนที่ เหตุร้ายที่หนักหนาสาหัสกว่าจะบังเกิดขึ้น ใช่แต่เท่านั้นความทุกข์หรือปัญหา ยังช่วยเตือนใจให้เราตระหนักว่า ถึงที่สุดแล้วเงินทอง ชื่อเสียง อำ�นาจ หรือ เทคโนโลยีทั้งปวงมิใช่สรณะอันประเสริฐ ในยามที่ชีวิตมีปัญหา ประสบความ ขัดแย้ง พลัดพรากจากของรัก คนรัก มีเงินมากมายเพียงใดก็บรรเทาความ เศร้าโศกหรือว้าวุ่นใจไม่ได้เลย มีแต่ธรรมะเท่านั้นที่เป็นสรณะอันพึ่งพาได้ อย่างแท้จริง ผู้คนเป็นอันมาก “ตาสว่าง” ได้ก็เพราะประสบความทุกข์หรือ เมื่อชีวิตมีปัญหา


หนังสือเล่มนี้รวมรวมปัญหาและคำ�ถามจากผู้คนที่มีความทุกข์ใน ลักษณะต่างๆ กัน โดยคัดเลือกจากคอลัมน์ปจุ ฉา-วิสชั นา ในเฟซบุค๊ “พระ ไพศาล วิสาโล Phra Paisal Visalo” (www.facebook.com/visalo) ซึง่ มีผู้ จัดทำ�ให้แก่ขา้ พเจ้า ส่วนวิสชั นาหรือคำ�ตอบของข้าพเจ้าเป็นเพียงความเห็น ซึ่ง ได้อาศัยคำ�สอนของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทาง ขอให้ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจผิดพลาดได้ แต่หากจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้อ่านได้ขบคิดใคร่ครวญจนค้น พบคำ�ตอบด้วยตัวเอง ก็ถือว่าบรรลุจุดมุ่งหมายของการวิสัชนาแล้ว ขออนุโมทนากลุ่มธรรมสถิต ที่คัดเลือกปุจฉา-วิสัชนาเหล่านี้มาตีพิมพ์ เป็นหนังสือ โดยมุง่ หมายให้เป็นธรรมทาน ดังทีไ่ ด้นำ�คำ�สอนของครูบาอาจารย์ ท่านต่างๆ มาพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี ขอให้กุศลกริยา ดังกล่าวส่งผลให้เกิดความเจริญงอกงามในธรรม ทัง้ สัมมาทัศนะและสัมมาปฏิบตั ิ แก่ผู้จัดพิมพ์และผู้อ่านโดยทั่วกัน พระไพศาล วิสาโล ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๗


ค�ำน�ำ

มนุษย์เกิดมาพร้อมกับปัญหา ไม่มใี ครทีจ่ ะไม่เผชิญกับปัญหา ปัญหาของคนบางคน อาจดูหนักหนาจนโลกแทบถล่มทลาย ในขณะทีป่ ญ ั หาเดียวกันอาจดูเล็กน้อยส�ำหรับบางคน ทัง้ นีส้ ดุ แท้แต่มมุ มอง ทัศนคติ ประสบการณ์ทผี่ า่ นร้อนผ่านหนาวมาตามวัย ความเข้มแข็ง ของจิตใจ จนมองเห็นว่าปัญหาต่างๆ เป็นเรือ่ งธรรมดาของโลก อันเป็นเสมือนละครแห่งชีวติ ทีด่ ำ� เนินไปตามบทบาทด้วยรายละเอียดชีวติ ทีแ่ ตกต่างกันตามกรรมวิบากของแต่ละคน คนบางคนจัดการกับปัญหาด้วยหนึง่ สมอง สองมือ หลบเข้าถ�ำ้ ตัง้ สติ พิจารณาใคร่ครวญ ไตร่ตรองด้วยตนเอง คนบางคนคร�ำ่ ครวญ หวนไห้ ฟูมฟายขอความเห็นใจไม่มที สี่ นิ้ สุด ปัญหาธรรมดาสามัญซ�ำ้ ๆ คล้ายคลึงกัน อยูค่ โู่ ลก ตราบใดทีโ่ ลกยังคงหมุนไป มนุษย์ ทีย่ งั เปีย่ มไปด้วยกิเลสตัณหาก็คงหนีไม่พน้ ปัญหาเรือ่ งคูค่ รอง ครอบครัว การงาน ความสงสัย ใคร่รใู้ นบุญบาป สารพัด สารพัน หลายๆ คนคลายปมความคับข้องใจด้วยการถามหมอดู ถามนักจิตวิทยา ถามเพือ่ นหรือถามพระ ด้วยความเชือ่ ในศีลและคุณธรรมของท่าน ซึง่ พระ อาจให้คำ� ตอบได้ในมุมมองทางธรรมเพือ่ เป็นแนวคิด แนวทางในการตัดสินใจ แม้จะไม่ใช่คำ� ตอบสุดท้าย หากเป็นอีกหนึง่ ทางออกซึง่ คณะผูจ้ ดั พิมพ์หวังว่า ค�ำถามค�ำตอบในจิตวุน่ วาย คลายด้วยธรรมนีค้ งพอเป็นแนวทางให้ทา่ นผูอ้ า่ นได้ใคร่ครวญขบคิด พิจารณาเพือ่ แก้ไขปัญหา ของตนเองและญาติมติ รได้ตามสมควร คณะผูจ้ ดั พิมพ์ขอกราบขอบพระคุณ พระอาจารย์ไ์ พศาล วิสาโล ทีเ่ มตตาอนุญาตให้ จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ บุญกุศลใดทีเ่ กิดจากการจัดพิมพ์และแจกจ่ายหนังสือนี้ ขอมอบแด่ บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ กัลยาณมิตร สรรพสัตว์ผรู้ ว่ มทุกข์เกิดแก่เจ็บตายทุกรูปทุกนาม ด้วยเทอญ

กลุ่มธรรมสถิต


สารบัญ


คำ�ปรารภ คำ�นำ� ปุจฉา-วิสัชนา เรื่องการงาน

เมื่อเจอเจ้านายดุ งานหนัก เมื่อทำ�งานไม่บรรลุผล เมื่อต้องร่วมงานกับคนขี้ประจบสอพลอ ถูกคนอื่นใส่ร้าย ใช้หลักธรรมใดช่วยบรรเทา เหนื่อยกับการใช้ชีวิต ควรทำ�อย่างไร ธรรมะสำ�หรับคนตกงาน ปัญหารุมเร้า สวดมนต์ ภาวนา รักษาศีลจะช่วยได้ไหม

๑๒ ๑๔ ๑๖ ๒๐ ๒๓ ๒๖ ๒๘

พระอาจารย์ตอบปัญหาเรื่องคู่ครอง ทำ�ไมไม่มีคู่ เพราะกรรมเก่าทำ�ให้อาภัพเรื่องคู่ครอง ความรักของฆราวาสจะพัฒนาไปสู่ความพ้นทุกข์ได้หรือไม่ ควรทำ�อย่างไรไม่ให้เป็นทุกข์ เมื่อสามีมีภรรยาน้อย ควรวางตัวอย่างไร เมื่อมีคู่ครองเจ้าชู้ ควรทำ�อย่างไรกับคู่ครองที่ทำ�ผิดซ้ ำ� ให้อภัยหมดแล้วหรือยัง ระแวงเพราะแฟนเคยมีกิ๊ก เมื่อแยกทางต้องทำ�ใจอย่างไร เป็นตุ๊ด เป็นเกย์ บาปหรือไม่ แนะนำ�ให้ทำ�แท้ง เพราะเด็กไม่สมบูรณ์ บาปหรือไม่ แก้ไขอย่างไร

๓๔ ๓๗ ๔๒ ๔๔ ๔๘ ๕๒ ๕๔ ๕๖ ๕๘ ๖๒ ๖๖ ๖๘

ปุจฉา-วิสัชนา เรื่องคู่ครอง


ปุจฉา-วิสัชนา เรื่องทั่วไป

ติดอาหาร ติดเน็ต ติด Facebook ติดละคร ติดเกม แก้อย่างไร ๗๕

โกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจจะเป็นบาปไหม อำ�เพื่อนเล่นๆ จะผิดศีลข้อสี่ไหม ชาวนากับงูเห่า ถวายทานด้วยปัจจัยมากๆ ถูกต้องหรือไม่ ทะเลาะกับเพื่อนบ้านเรื่องหมา อยากปฏิบัติธรรมแต่ภาระมาก ติดดี รู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ฝึกเจริญสติด้วยตนเองได้อย่างไร

ปุจฉา-วิสัชนา เรื่องมรณานุสติ

ช่วยพ่อแม่ที่ป่วยด้วยการทำ�บุญ การถอดเครื่องช่วยชีวิตออกจะเป็นบาปไหม แม่ป่วยหนักแต่ไม่สนใจเตรียมตัวตาย ควรทำ�อย่างไร หวั่นไหวเรื่องความตาย ฝึกใจอย่างไรไม่ให้กลัวความพลัดพราก กลัวตาย ควรทำ�อย่างไร ความเข้าใจเรื่องการตายอย่างสงบ

๗๗ ๗๘ ๘๐ ๘๘ ๙๐ ๙๔ ๙๖ ๙๘

๑๐๒ ๑๐๔ ๑๐๘ ๑๑๒ ๑๑๖ ๑๒๐ ๑๒๔



ปุจฉา - วิสัชนา เรื่อง

การงาน


เมื่อเจอเจ้านายดุ

งานหนัก

ปุจฉา

คือลูกสาวเพิ่งเรียนจบ ได้งานที่บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งเกี่ยวกับเสื้อผ้า งานหนักมาก บางวันต้องทำ�งานถึงสิบสองชั่วโมง บางวันเลิกห้าทุ่มเข้าอีกที เจ็ดโมงครึ่ง แล้วนายก็ดุ ซีเรียสมากๆ แต่ก็เข้าใจดีว่า นายอยากสอนงานให้ เป็นเร็วๆ หน้าก็แพ้ฝุ่นผ้าผื่นและสิวขึ้น เลยยิ่งไปกันใหญ่ บ่นอยากลาออก แต่นายก็ไม่ให้ออก ที่บ้านพยายามพูดให้สติ แต่ก็ยัง บ่นว่าจิตตก ไม่รู้จะสู้ต่อหรือถอยดี ถ้าถอยก็กลัวหนี เสือปะจระเข้ อยากเรียนถามพระอาจารย์ว่า ทำ�ยังไง ที่จะให้เค้าไม่เป็นคนจิตตก และมีทัศนคติที่ดีในงาน ที่ทำ�อยู่ค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๒


วิสัชนา

เท่าที่คุณเล่ามา แม้งานของลูกสาวจะหนัก แต่เธอก็ยังทนไหว หาไม่ ก็คงล้มป่วยไปแล้ว สิ่งที่ไม่ไหวก็คือใจของเธอ หากใจเธอสู้งาน อาตมาเชื่อว่า เธอจะสามารถรับมือกับงานนี้ได้ แต่ใจเธอจะสู้ได้ก็ต่อเมื่อมองเห็นคุณค่าของ งานที่ทำ�อยู่ หรือเห็นประโยชน์ของความยากลำ�บากที่กำ�ลังเผชิญอยู่ (เช่น เห็นว่าจะช่วยให้เธอรู้งาน มีประสบการณ์มากขึ้น) ถ้าเธอ ตระหนักว่าควรยอมลำ�บากวันนี้เพื่อสุขสบายวันหน้า เธอ จะอดทนได้มากขึ้น อาตมาเห็นว่า หากปัญหา ที่เกิดกับเธอเป็นเพราะเจ้านายเอารัดเอาเปรียบ ก็สมควรที่เธอจะมองหางานใหม่ได้แล้ว แต่ ฟังดูก็ไม่เป็นเช่นนั้น ยิ่งถ้าเป็นอย่างที่คุณ ว่า คือเจ้านายอยากสอนเธอให้เป็นงาน เร็วๆ อาตมาคิดว่าเธอน่าจะทนและถือว่า เป็นเรื่องดี ทำ�นองเดียวกับนักเรียนที่ควร อดทนต่อครูที่ชอบเคี่ยวเข็ญศิษย์ หรือ นักกีฬาที่ไม่ควรท้อถอยเมื่อเจอโค้ชที่ เคี่ยวกรำ�อย่างหนัก จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๓


เมื่อทำ�งาน ปุจฉา

ไม่บรรลุผล

เมื่อเริ่มต้นเรามีความตั้งใจที่เราจะทำ�สิ่งที่เราตั้งเป้าหมาย ไว้ให้สำ�เร็จให้ได้ แต่เมื่อเราเริ่มทำ�ไปได้แล้วสักพักอาจจะเป็นเวลา หลายวัน หลายเดือน แต่ก็ยังไม่สำ�เร็จสักที ไม่ได้อย่างที่ใจเรา ตั้งเป้าไว้หรือเราหวังไว้ เราก็เริ่มมองหาเป้าหมายอื่น ต่อไปโดยที่ยังค้างเป้าหมายเก่าไว้ก่อนอย่างนั้น ลักษณะแบบนี้จะอธิบายได้ว่าเป็นอย่างไรค่ะ แล้วจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรหรือวิธีคิด อย่างไรเพื่อให้เป้าหมายบรรลุคะ กราบขอบพระคุณค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๔


วิสัชนา

หากเป้าหมายเดิมนั้นยังมีความสำ�คัญอยู่ ก็ไม่ควรทิ้ง ควรทำ�ให้ สำ�เร็จ แม้จะต้องชะลอหรือถึงกับพักไว้ก่อนเพราะความจำ�เป็นหรือเพราะมี งานอื่นเข้ามาแทรก แต่หากเสร็จงานนั้น ก็ควรกลับมาใส่ใจกับเป้าหมายเดิม นั้นอีกครั้ง แต่อันที่จริงแม้มีงานอื่นแทรก แต่หากจัดเวลาดีๆ ก็ยังสามารถให้ เวลากับเป้าหมายเดิมนั้นได้ การทิ้งเป้าหมายเดิมไปเลยนั้น อาจเกิดจากความท้อแท้ ขาดความ มุ่งมั่นหรือรู้สึกเบื่อไม่น่าตื่นเต้น หากทำ�เช่นนี้บ่อยๆ ก็อาจกลายเป็นคนจับจด ขาดความเพียรไปได้ จึงควรที่จะทำ�ความเพียรต่อไปเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น โดยมีการจัดเวลาและสร้างวินัยให้แก่ตนเอง หากทำ�เช่นนี้จนเป็นนิสัย ก็มั่นใจ ได้ว่าไม่ว่าจะทำ�อะไร ก็จะทำ�อย่างเต็มที่ ส่วนจะสำ�เร็จหรือไม่ เป็นเรื่องของเหตุปัจจัย ที่ต้องอาศัยการวางใจอย่างถูกต้อง (เช่น แม้ล้มเหลวก็ไม่ท้อแท้เสียศูนย์ แต่รู้จักหาบทเรียนจาก มัน แม้สำ�เร็จก็ไม่หลงระเริงหรือคิดว่า “กูแน่” เป็นต้น)

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๕


เมื่อต้อง กับ

ร่วมงาน คนขี้ประจบสอพลอ ปุจฉา

ขอกราบนมัสการถามพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโลครับ เราจะสามารถทำ�งานร่วมกับ คนที่ขี้ประจบสอพลอและขี้ฟ้องเจ้านายได้อย่างไร โดยที่เราไม่ต้องทุกข์ และมีวิธีใดบ้างครับ ที่จะทำ� ให้คนแบบนี้สามารถสำ�นึกผิดในพฤติกรรมของ เขาได้เองครับ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๖


วิสัชนา

คนขี้ประจบสอพลอนั้นไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไหร่ หากว่า เจ้านายนั้นเป็นคนที่หนักแน่น มั่นคง และเที่ยงธรรม แต่หากเจ้านาย เป็นคนที่หูเบา คนขี้ประจบสอพลอจะสร้างปัญหาได้มากมายเพราะ เจ้านายจะเชื่อเขาได้ง่ายมาก เมื่อเจอคนแบบนี้ อย่างแรกที่คุณควร ทำ�ให้ได้ถ้าไม่อยากทุกข์ก็คือ อย่าโกรธเกลียดเขา หรือมีสติรู้ทันให้ ได้เวลาเกิดอารมณ์ดังกล่าว หาไม่แล้วคุณจะทำ�งานอย่างไม่เป็นสุข เลย เพราะมัวแต่นึกถึงเขาด้วยความขุ่นมัว คอยหวาดระแวงเขา ตลอดเวลา ผลก็คือใจก็เป็นทุกข์ งานก็ออกมาไม่ดี คุณควรตั้งหน้า ตัง้ ตาทำ�งานของตนให้ดที สี่ ดุ เพือ่ ให้ผลงานเป็นเครือ่ งพิสจู น์ หากเจ้านายของคุณเป็นคนที่มีสติปัญญาก็ย่อมเห็นได้เอง ว่าใครคือคนทีเ่ ขาควรให้ความสำ�คัญหรือใส่ใจมากกว่ากัน

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๗


คนประจบสอพลอนั้นมักเป็นคนที่ไม่มีความสามารถ ขาดความรู้ จึง ต้องอาศัยปากเป็นเครื่องมือสำ�คัญในการไต่เต้า มองในแง่นี้เขาก็เป็นคนที่น่า เห็นใจ ความพร่องในตัวเขาทำ�ให้เขาก่อปัญหาหรือทำ�ร้ายคนอื่นโดยไม่รู้ตัว เราจึงไม่ควรเกลียดเขา หากเป็นไปได้ควรช่วยให้เขาพัฒนาทักษะหรือความ สามารถจะได้พึ่งพาปากให้น้อยลง การทำ�ดีต่อเขานั้นอาจช่วยให้เขาหันมา ตระหนักถึงความผิดพลาดที่เคยทำ�

ความดี

การเอาชนะใจผู้อื่นด้วย นั้น เป็นวิธีที่ให้ผลดีอย่างยั่งยืน แต่หากพยายามทำ�แล้ว เขายังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมก่อปัญหาแก่ผู้คน ไม่หยุด ก็อาจต้องใช้วิธีตักเตือนที่เข้มข้น (แต่เป็นสันติวิธี) คือ การคว่ ำ�บาตร ไม่คบค้าสมาคมกับเขา เชื่อแน่ว่าในที่ทำ�งานของคุณคงมีผู้คนอีกมากมายที่ เดือดร้อนเพราะการกระทำ�ของเขา หากร่วมกันคว่ ำ� บาตรอย่างพร้อมเพรียง ก็คงให้บทเรียนแก่เขาได้ไม่มากก็น้อย เป็นต้น

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๘


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๙


ถูกคนอื่นใส่ร้าย ใช้

หลักธรรมใด ช่วยบรรเทา

ปุจฉา

กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ คือหนูอยากทราบว่าจะใช้หลักธรรม อะไร มาช่วยบรรเทาจิตใจที่รู้สึกร้อนรน เพราะ “ถูกเข้าใจผิด ถูกใส่ร้าย โดยที่ไม่สามารถแก้ต่างให้ตัวเองได้เลย” ทั้งที่เรื่องราวที่เกิดขึ้น เราไม่ได้เป็น อย่างที่เขาพูด อย่างที่เขาคิดเลย แล้วหนูต้องทำ�อย่างไรกับคนที่เขาใส่ร้ายกับ หนูดีคะ พระอาจารย์ช่วยชี้แนะทางสว่างให้หนูด้วยนะคะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๐


วิสัชนา

“ขันติ”

อย่างแรกที่ควรมี คือ ได้แก่ความอดกลั้น ไม่ลุแก่โทสะ หาไม่คนที่เป็นทุกข์คนแรกก็คือคุณ ประการต่อมา ซึ่งช่วยให้คุณ ไม่มัวคิดวนเวียนอยู่กับเรื่องนี้ หาไม่คุณจะไม่เป็นอันทำ�อะไรเลย “สติ” ช่วย ให้คุณอยู่กับปัจจุบัน และไม่เก็บเอาอะไรต่ออะไรมาคิดให้รกหัวหรือหนักใจ นอกจาก “ขันติ” และ “สติ” แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรมีคือ หรือ ความเข้าใจในโลกธรรมว่า ชอบหรือชัง สรรเสริญหรือนินทา เป็น สิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น ในเมื่อมีคนที่รักคุณ เข้าใจคุณ ก็ต้องมีคนที่เกลียด คุณ เข้าใจผิดในตัวคุณ จึงควรมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าคุณอยากให้ทุกคน เข้าใจถูกในตัวคุณ พูดถึงคุณในทางที่ดี คุณจะมีแต่ความทุกข์และความผิดหวัง เพราะไม่มีทางที่จะเป็นเช่นนั้นได้

“สติ”

“ปัญญา”

มองในอีกแง่หนึ่ง คนที่เกลียดคุณ ใส่ร้ายคุณ เข้าใจผิดในตัวคุณนั้น เขาคือ “ครู” ที่กำ�ลังสอนคุณให้เข้าใจในสัจธรรมดังกล่าว จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๑


เพื่อฝึกใจให้ปล่อยวาง ไม่ทุกข์เพราะมัน พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า ให้ คุณ ‘ทำ�ใจ’ อย่างเดียวเท่านั้น หากการใส่ร้ายคุณนั้น ก่อให้เกิดผลเสียต่างๆ ตามมาทั้งต่องานการและคนอื่น คุณก็ไม่ควรนิ่งเฉย ควรหาทางแก้ไข เช่น พยายามชี้แจง ให้เขามีความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือให้ผู้อื่นรู้ว่าความจริงคืออะไร อาตมาชอบคำ�พูดของท่านทะไลลามะเมื่อท่านต้องเจอปัญหาคล้ายๆ กับของคุณท่านกล่าวว่า “รัฐบาลจีนกำ�ลังสร้างภาพให้ข้าพเจ้าเป็นคนชั่วร้าย โดยส่วนตัวในฐานะที่เป็นชาวพุทธ มันคือโอกาสดีที่ข้าพเจ้าจะได้ฝึกฝนขันติ อดกลั้นต่อความคิดเห็นของผู้อื่น แต่ในฐานะของผู้นำ�ประชาชนชาวทิเบต ข้าพเจ้ามีหน้าที่ที่จะต้องบอกว่าจีนกำ�ลังกล่าวหาโดยไม่มีมูลความจริง”

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๒


เหนื่อยกับการใช้ชีวิต ปุจฉา

ควรทำ�อย่างไร

กราบนมัสการค่ะพระอาจารย์ เหนื่อยจากงานนั่งพักนิ่งๆ สักพักก็ ดีขึ้น แต่ใจที่เหนื่อยนี่ทรมานจังค่ะทำ�ยังไงก็ไม่สงบ ไม่มีปัญหาหนี้สิน ไม่มี ปัญหาความรัก ไม่มีปัญหาครอบครัว แต่เหนื่อยกับการใช้ชีวิต อยากอยู่กับ ตัวเองเงียบๆ ในที่สงบ แต่เพราะทำ�ไม่ได้ก็เลยท้อ อ่านหนังสือก็ช่วยให้ดีขึ้น แค่ ณ เวลานั้น เดี๋ยวก็กลับมาเป็นอีก ขอคำ�แนะนำ�เพื่อเตือนสติด้วยค่ะ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๓


วิสัชนา

คุณคงเหนื่อยเพราะอารมณ์ที่ตกค้างจาก การงานและชีวิตส่วนตัว พอสะสมนานเข้าก็ทำ�ให้ เหนื่อยล้าทั้งทางใจและกาย สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือ เวลาพักผ่อนก็พยายามปล่อยวางปัญหาต่างๆ จากที่ทำ�งาน อย่าเก็บเอามาครุ่นคิด จากนั้นก็ พักผ่อนให้พอ อย่านอนดึก พยายามนอนและตื่น เป็นเวลา ขณะเดียวกันควรหาเวลานั่งสมาธิเพื่อสงบ ใจบ้าง เริ่มจากวันละ ๕ นาทีก็ยังดี ก่อนนอนและ เมื่อตื่นนอน ใหม่ๆ อาจจะฟุ้ง ขอให้อดทน เพราะ เป็นเรื่องธรรมดา หากทำ�ทุกวัน จิตใจจะสดชื่นขึ้น และช่วยให้คุณทำ�งานได้ด้วยใจที่วุ่นวายน้อยลง เวลาทำ�งานก็ขอให้มีสติอยู่กับงาน อย่า เพิ่งสนใจงานชิ้นต่อไป ทำ�งานชิ้นที่อยู่ข้างหน้า ให้ดี ไม่ว่างานอาชีพหรืองานบ้านก็ตาม การมีสติ กับงานจะช่วยทำ�ให้ใจมีสมาธิ ไม่เครียด ปล่อยวาง อารมณ์ต่างๆ ได้รวดเร็ว ไม่สะสมหรือหมักหมม จนเป็นพิษแก่ใจของคุณ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๔


ของเสียในร่างกาย หากไม่ระบาย ก็เกิดโทษฉันใด ของเสีย เช่น ความเครียด หรืออารมณ์อกุศล หากไม่ระบาย ก็บั่นทอนชีวิตฉันนั้น

นอกจากนั้นคุณควรมีเวลาพักผ่อนยาวๆ ด้วยไม่ใช่แค่พักกายแต่ พักใจด้วย การหลีกเร้นไปปฏิบัติธรรมในที่เงียบๆ สักพัก น่าจะดีสำ�หรับคุณ เป็นโอกาสที่คุณจะได้ฝึกสติ สมาธิ และปล่อยวางสิ่งต่างๆ ที่หมักหมมใน จิตใจ (ทำ�นองเดียวกับคนที่อดอาหารล้างพิษ ๓-๑๐ วัน) ทำ�ทีแรกไม่ใช่เรื่อง ง่าย ใจจะกระสับกระส่ายหรือต่อต้าน แต่ทำ�ไปบ่อยๆ จะคุ้นชิน และชอบใน ที่สุด อีกทั้งยังจะช่วยเพิ่มความสดใสให้ชีวิตด้วย จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๕


ธรรมะสำ�หรับ คน

ตกงาน ปุจฉา

กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ หนูกำ�ลังตกงานและรอการเรียกสัมภาษณ์ งานอยู่ค่ะ อยากได้ข้อคิดจากท่านค่ะ ขอบคุณค่ะ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๖


วิสัชนา

ระหว่างที่ยังรองานอยู่ ก็อย่าเผลอจมอยู่ในความกังวลขึ้งเครียด นอกจากจะทำ�ให้คุณทุกข์โดยไม่จำ�เป็นแล้ว ยังทำ�ให้คุณเสียโอกาสที่จะทำ�สิ่ง

ควรถือว่าขณะที่รองานนี้ เป็นโอกาสดี ที่คุณจะได้ทำ�สิ่งดีๆ ที่มีประโยชน์ ซึ่งอาจไม่ได้ทำ�มากนักตอน ที่คุณยังเรียนอยู่ เช่น การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การฝึกจิตพัฒนาตน ดีๆ ในขณะที่ยังไม่ได้ทำ�งาน

การให้เวลาแก่พ่อแม่และผู้มีพระคุณ สิ่งเหล่านี้คุณคงจะมีเวลาทำ�น้อยลงเมื่อ ได้งานทำ�แล้ว หลายคนอยากทำ�แต่ไม่มีเวลาเพราะวุ่นกับงานการ ผัดผ่อนไป เรื่อยจนสายไปก็มี (เช่น ไม่มีเวลาดูแลพ่อแม่จนท่านจากไป) ดังนั้นในขณะที่ คุณยังมีเวลาอยู่ ควรใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ อย่าทำ�อะไรเพียงเพื่อ “ฆ่าเวลา” ทิ้งไปเปล่าๆ เท่านั้น

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๗


ปัญหารุมเร้า สวดมนต์ ภาวนา รักษาศีล

จะช่วยได้ไหม ปุจฉา

พระคุณเจ้าครับ ผมมีปญ ั หาชีวติ รอบด้าน ทัง้ การเงิน หนีส้ นิ ความรัก ครอบครัว การเรียนก็มีอุปสรรคเพราะการเงิน อาจจะเรียนไม่จบ ใช้ชีวิตทุกข์ ทุกวันเลยครับ เครียดมาก แต่ผมก็สู้ชีวิตต่อไป แต่ไม่มีความแน่นอนเลยครับ การสวดมนต์ภาวนา รักษาศีล วิปัสสนากรรมฐาน แผ่เมตตา จะช่วยทําให้ ชีวติ ดีขน้ึ ไหมครับ หรือควรทีจ่ ะทําอะไรอีกครับ และการอธิษฐานมีผลไหมครับ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๘


วิสัชนา

การสวดมนต์ ภาวนา และวิปัสสนากรรมฐานนั้น มีประโยชน์อย่าง แน่นอน อย่างน้อยก็ช่วยให้จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง หายเครียด และวิตกกังวล น้อยลง ทำ�ให้คุณสามารถใช้ความคิดได้ดีขึ้นว่าจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างไร ถ้าคุณมัวแต่กลุ้มใจหรือวิตกกังวล นอกจากจะทำ�ให้คุณทุกข์แล้ว ยังทำ�ให้สติ ปัญญายากที่จะเกิดขึ้นได้ ทำ�ให้หลงจมอยู่ในปัญหาไม่จบสิ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับคุณนั้นเป็นธรรมดาของชีวิต ถ้าคุณไม่ท้อแท้หรือ ยอมแพ้ ก็มีทางที่คุณจะลุล่วงจากปัญหานี้ได้ แต่จะต้องเริ่มต้นจากการไม่มัว กลุ้มอกกลุ้มใจ จากนั้นก็ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาทีละเปลาะๆ ทีละเรื่องๆ ระหว่าง ที่กำ�ลังทำ�งานเพี่อแก้ปัญหาหนี้สิน ก็อย่าเพิ่งเอาปัญหาอื่นมารบกวนจิตใจให้ รกสมอง ในทำ�นองเดียวกันเวลาแก้ปัญหาการเรียน ก็อย่าเอาเรื่องหนี้สินมา รบกวนจิตใจ ถ้าคุณเอาปัญหาทุกอย่างมาสุมรุมในสมอง คุณจะหมดแรง เพราะท้อใจเสียก่อน พยายามอยู่กับปัจจุบัน อย่าเสียเวลาวิตกกังวลกับเรื่องที่ยังมาไม่ถึง การสวดมนต์ หรือสมาธิภาวนา จะช่วยให้คุณดูแลรักษาจิตใจให้เป็นปกติ และ อยู่กับปัจจุบัน ทำ�ให้มีพลังในการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงการมีความ เพียรพยายามและใช้ปัญญาใคร่ครวญหาทางออกจากปัญหา จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๒๙


สติ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๐

การอธิษฐานนั้นมีผลดี แต่ก็ไม่ดีเท่ากับ การลงมือแก้ไขปัญหาด้วย ปัญญา และ ความเพียร


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๑


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๒


ปุจฉา - วิสัชนา เรื่อง

คู่ครอง จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๓


พระอาจารย์

ตอบปัญหา

เรื่อง

คู่ครอง

ปุจฉา

เรียนปรึกษาเรื่องคำ�ถามที่ส่งๆ กันมาครับ มีคนให้ความเห็นว่า มี คำ�ถามจำ�นวนหนึ่งมันเป็นคำ�ถามเรื่องโลกๆ รักๆ ใคร่ๆ มากเกินไป จนพระ จะกลายเป็นศิราณีไปแล้ว บางท่านก็ว่าให้ไปถามที่อื่นเถอะ อันนี้พระอาจารย์ เห็นว่าอย่างไรครับ ผมก็ไม่ค่อยสบายใจเหมือนกัน แต่อีกใจหนึ่งก็เห็นว่าคน ที่เขียนมาก็ทุกข์จริงๆ และเป็นโอกาสที่จะทำ�ให้คนทั่วไปได้เห็นประโยชน์ของ พระศาสนาในการแก้ทุกข์ แม้จะแบบโลกๆ ก็ตาม ปกติผม (Admin ของหน้า เฟซบุ๊คของพระอาจารย์ไพศาล) แทบไม่คัดคำ�ถามทิ้งเลยครับ ยกเว้นซ้ ำ� และ เนื้อหาบางอย่าง เช่น การเมืองรุนแรง พระอาจารย์จะให้ผมกรองคำ�ถาม พวกนี้ออกไปไหมขอรับ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๔


วิสัชนา

คำ�ถามเรื่องรักๆ อาตมาก็สังเกตว่ามีเยอะขึ้น แต่ที่ ตอบเพราะเห็นว่าสามารถสอดแทรกเรื่องทางธรรม ทั้งเรื่อง ทำ�ใจปล่อยวาง เมตตา หรือการใช้ความดี ถือว่าเป็นประเด็น ทีส่ ามารถชักนำ�ให้คนมาสนใจธรรมะได้ จึงเห็นว่าไม่ควรตัดทิง้ ที่จริงสมัยก่อนคนก็มาปรึกษาเรื่องแบบนี้กับหลวงพ่อหลวงตา ที่วัดเป็นประจำ� แต่เป็นเพราะคนสมัยนี้โดยเฉพาะชนชั้นกลาง ที่มีการศึกษาเริ่มจะยกพระขึ้นที่สูง หลายคนจึงเห็นว่าเรื่องแบบ นี้ไม่ควรมาถามพระ อีกเหตุผลหนึ่งที่อาตมา ตอบทุกคำ�ถาม แม้กระทั่งเรื่องโลกๆ ก็เพราะเป็นโอกาสที่คนอื่นจะได้แสดงความ เห็น หนึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของคำ�ถาม หากอาตมาไม่ ตอบปัญหาเหล่านั้นก็จะไม่ปรากฏในเพจ และไม่มีใครที่จะได้ อ่าน หรือให้ความเห็นที่มีประโยชน์ได้ หลายเรื่องอาตมาก็ไม่ แน่ใจในคำ�ตอบที่ให้ไป แต่อุ่นใจว่าคนอื่นที่มีประสบการณ์จะ สามารถให้ความเห็นที่ดีกว่าอาตมาได้ อาตมาเองก็ได้ประโยชน์ จากความเห็นเหล่านั้นด้วยเช่นกัน

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๕


หมายเหตุ:

ท่านที่จะฝากคำ�ถามสามารถส่งเป็นข้อความมาทาง inbox ของเพจ แต่ก่อนจะส่งมากรุณาตรวจดูคำ�ถาม ที่ถามไปแล้ว ซึ่งมีมากกว่า ๖๐๐ คำ�ถาม ได้ใน album ของเพจเอง หรือที่ www.visalo.org

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๖


ทำ�ไมไม่มีคู่ ปุจฉา

กราบนมัสการพระอาจารย์ หนูเคยมีครอบครัวมาแล้วครั้ง หนึ่งและมีลูกหนึ่งคนค่ะ แต่ก็เลิกกับแฟนไปเพราะเขาไม่มีความรับ ผิดชอบต่อครอบครัว หลังจากนัน้ หนูตอ้ งรับภาระเลีย้ งดูบุตรและพ่อ แม่ของหนูมาตลอด หนูเป็นคนเรียบง่าย ไม่กินหรือเที่ยว ทำ�งาน อย่างเดียว ก็พอมีผู้ชายเข้ามาบ้าง ส่วนมากเป็นคนมีครอบครัวกัน ทั้งนั้น หนูก็ไม่ได้สนใจค่ะ เพราะรู้ตัวดีว่าเรามีภาระมากมาย คง ไม่มีใครมาสนใจหรอกตอนเจ็บไข้ได้ป่วยนั่นแหละ หนูถึงคิดน้อยใจ ว่า ทำ�ไมเราถึงไม่มีคนดูแลเหมือนคนอื่นบ้าง มันคงเป็นกรรมเก่า ของหนูหรือเปล่าค่ะ เพราะที่หนูมีครอบครัวหนูก็ไม่มีความสุขค่ะ เพราะแฟนไม่คอ่ ยจะสนใจดูแลหนูและลูกเลย หนูกเ็ ลยตัง้ จิตอธิษฐาน ในใจมาตลอดว่า ถ้าชาติหน้ามีจริง จะไม่ขอเกิดมาเป็นคน ถึงเกิด มาก็ขอจะไม่มีคู่ดั่งเช่นที่เจอตอนนี้ อาจเป็นเพราะกรรม หรือ คำ�อธิษฐานของหนู หรือเปล่าคะ พระอาจารย์ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๗


วิสัชนา

“คู่”

นั้นหาไม่ยากหรอก คู่ที่ดีต่างหากที่หายาก หากหาคู่ที่ดีไม่ได้ อยู่ลำ�พังดีกว่า เช่นเดียวกับเพื่อนที่ดีหรือ กัลยาณมิตร

พระพุทธเจ้าตรัสว่า หากหากัลยาณมิตรไม่ได้

อยู่คนเดียวย่อมดีกว่า

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๘


การที่คุณยังไม่เจอคู่ที่ดีนั้น คงไม่ใช่ เพราะกรรมเก่าหรือเพราะคำ�อธิษฐานของ คุณหรอก (ถ้าคำ�อธิษฐานของคุณศักดิ์สิทธิ์ ขนาดนั้น คุณก็อย่ารอช้า ควรอธิษฐาน ให้พบสิ่งดีๆ มากมายเสียแต่วันนี้) แต่นั่น เป็นเพราะเหตุปัจจัยยังไม่ถึงพร้อม เช่น นอกจากคนที่คุณพบจะเป็นคนดีแล้ว ยังเป็นคนที่คุณเลือกจะใช้ชีวิตคู่กับเขา และเขาก็ยินดีที่จะอยู่กับคุณ คนที่จะมีคุณสมบัติพร้อมทั้ง ๓ ประการนั้น ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ บางคนเป็นคนดีและเขาก็อยากมีชีวิตคู่กับคุณ แต่คุณไม่ชอบเขา ในกรณีหลังนั้นเห็นได้ชัดว่าไม่ใช่เรื่องกรรมเก่า แต่เป็นเพราะคุณ ตัดสินใจไม่เลือกเขาเอง อันนี้คือกรรมในปัจจุบัน อาตมาคิดว่าคุณอย่ามัวแสวงหาคนดีมาเป็นคู่รักเลย ยิ่ง แสวงหา กลับยิ่งไม่ได้ (ทำ�นองเดียวกับคนที่ยิ่งแสวงหาความสุข หรือความรักจากคนอื่น ความสุขหรือความรักกลับหลุดลอยไป) คุณควรพอใจในชีวิตที่เป็นอยู่และพยายามใช้ชีวิตให้มีคุณค่า ถ้าคุณ มั่นใจในคุณค่าของตัวเอง คนอื่นก็จะเห็นคุณค่าของตัวคุณเช่นกัน ไม่ช้าไม่นานก็จะมีคนดีที่ “ใช่” มาหาคุณเอง จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๓๙


อย่า

เลือกใครเพียงเพราะว่า เขาทำ�ให้คุณรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีคนมากมายที่ผิดหวังช้ ำ� ใจ เพราะการตัดสินใจแบบนี้มาแล้ว เพราะไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีว่า เขาเป็นคนดีจริงไหม

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๐


เพียงแค่เขาพูดเพราะ เอาอกเอาใจ ก็ใจอ่อน รู้สึกอัตตาพองโต ก็เลย เลือกเขาทันที แล้วในที่สุดก็พบว่าเขาหาใช่คนดีไม่ พอเขาได้รับความสุขจาก เธอจนเบื่อแล้วเขาก็ทิ้งเธอไป ควรคิดถึงการพึ่งตนเองเป็นหลัก

ถ้าคุณสามารถพึ่งตนเองได้ การมีชีวิตคู่ที่ผาสุกก็ไม่ใช่เรื่อง ยาก แต่หากพึ่งตัวเองไม่ได้ คิดแต่จะพึ่งพาคนอื่น การมีชีวิตคู่จะ กลายเป็นเรื่องเสี่ยงทันที เพราะหากได้คู่ที่ดี

ก็โชคดีไป แต่ถ้าได้คู่ที่ไม่ดี ก็เคราะห์ร้าย และ โอกาสที่จะเจออย่างแรกนั้นมีน้อยมาก บางคน ว่าน้อยกว่าการถูกล็อตเตอรี่ด้วยซ้ ำ�

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๑


เพราะ

กรรมเก่า ทำ�ให้อ าภั พ เรื่องคู่ครอง

ปุจฉา

กราบนมัสการค่ะพระอาจารย์ หนูมีเรื่องเรียน ถามว่า เราควรทำ�เช่นไรถึงจะเจอคู่ที่ดี ไม่อาภัพคู่ครอง เพราะที่เจอมาก็เข้ามาทำ�ให้เสียใจอยู่ร่ ำ� ไป ทั้งที่ในชีวิต ทำ�ความดีในทุกเรื่อง ไม่ขาดตกบกพร่อง แต่ทำ�ไมโชค ชะตาต้องพานพบเช่นนี้ หรือเป็นเพราะกรรมเก่าที่หนูต้อง รับคะ ตอนนี้ไม่ว่าใครเข้ามาก็กลัว การเจ็บช้ ำ� เสียใจ ขอพระอาจารย์ชี้ทางสว่างให้ด้วยนะคะ กราบนมัสการค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๒


วิสัชนา เรื่องแบบนี้ สิ่งสำ�คัญไม่ใช่กรรมเก่า แต่เป็นกรรมปัจจุบัน มากกว่า หมายความว่า เมื่อจะเลือกใครเป็นคู่ชีวิต ก็ควรใช้ปัญญาไตร่ตรอง ให้รอบคอบว่า คนที่เข้ามาหาคุณหรือคนที่คุณมีใจให้นั้น เขาเป็นคนดี จริงใจ ต่อคุณ ไม่ใช่คนฉาบฉวย หรือหวังประโยชน์ชั่วคราวจากคุณ ขณะเดียวกัน คุณเองก็ควรมีใจคอหนักแน่น อย่าโอนอ่อนหรือมีใจให้เขาโดยง่ายเพียงเพราะ ว่าเขาพูดจาอ่อนหวาน หรือเอาใจคุณ ควรมีสติให้มาก โดยเอาประสบการณ์ ที่ผ่านมาเป็นเครื่องเตือนใจ นอกจากนั้นก็ควรฟังความเห็นของเพื่อนด้วย ถ้า คุณมีเพื่อนดีที่ไม่คิดแต่จะตามใจคุณ กล้าทักท้วงตักเตือนคุณ ความเห็นของ เพื่อนก็จะมีน้ ำ� หนักน่ารับฟังมากถึงที่สุดแล้วคุณต้องตระหนักว่า หากไม่ สามารถเจอคู่ชีวิตที่ดี หรือ ‘ใช่’ ก็ควรอยู่คนเดียวดีกว่า หลายคนต้องยอมอยู่ กับคนที่ ‘ไม่ใช่’ ก็เพราะทนอยู่ลำ�พังไม่ได้ หรือเพราะต้องการคนเอาอกเอาใจ

การเอาใจไปฝากไว้กับคนอื่นนั้น เป็นที่มาแห่งความทุกข์ของผู้คนจำ�นวนมาก และทำ�ให้น้ำ�ตาตกมามากต่อมากแล้ว จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๓


ความรักของฆราวาส

จะพัฒนาไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ หรือไม่ ปุจฉา

ความรักของฆราวาสจะสามารถ พัฒนาไปสู่ความพ้นทุกข์ได้หรือไม่ อย่างไร

วิสัชนา

การรักคนอื่นในทางพุทธศาสนานั้น เกิดขึ้นจากสาเหตุหลัก คือ การคลายความยึด ติดถือมัน่ ในตัวตน ส่งผลให้ความเห็นแก่ตวั ลดลง จิตใจจึงเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา ใจที่มี เมตตากรุณานั้นทำ�ให้สามารถรักคนอื่นได้โดย บริสุทธิ์ใจ ปราศจากความอยากครอบครอง หรือเอามาสนองตัวตน เรียกว่าเป็น

จิตที่ไร้เขตแดน จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๔


อาตมาคิดว่า ความรักแบบนี้ต่างจากความรักของฆราวาสหรือของ ปุถุชนทั่วไป เพราะรักของฆราวาสนั้นเป็นความรักที่ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเป็น ของเรา เช่น ถ้าแต่งงานกับใคร คนนั้นก็ต้องเป็นของฉัน ทั้งที่เขาไม่มีทางเป็น ของเราได้เลย แม้แต่ร่างกายที่อยู่กับเรามาตั้งแต่เกิดยังไม่ยอมเป็นของเราเลย

ความรักแบบที่มี

“ตัวกูของกูเป็นศูนย์กลาง”

เป็นความรู้สึกที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า “สิเนหะ” หรือ เสน่หา

ไม่ใช่เมตตาหรือกรุณา

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๕


การได้มาศึกษาและบวชในพุทธศาสนา ทำ�ให้อาตมาเรียนรู้เรื่อง นี้ ได้เห็นความแตกต่างระหว่างความรักทั้งสองอย่างนี้ แต่การที่ปุถุชนจะมี ความรู้สึกผูกพัน หรือมีความยึดมั่นในตัวกูของกู ถือเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ ว่าจะเป็นสิเนหะที่มีเฉพาะกับเพศตรงข้าม หรือสิเนหะของแม่ที่มีต่อลูก ล้วน เป็นความรักที่มาพร้อมกับความคาดหวังที่ยึดโยงกับตัวตนทั้งสิ้น เช่นคาด หวังว่าลูกจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ หรือว่าลูกจะต้องเรียนเก่ง เรียนในคณะที่แม่ ชอบ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าคนรักจะต้องเป็นของฉัน ตามใจฉัน หรือรักฉันคน เดียว ปุถุชนมักมีความรู้สึกแบบนี้ แต่ก็ควรพัฒนาความรักของตนให้เป็น ความรักที่บริสุทธิ์และขยายวงกว้าง หมายถึง

ไม่ว่าเราจะรักเพื่อน รักคู่ครอง หรือว่ารักพ่อแม่ก็ตาม ก็ขอให้เป็นความรักที่ไม่ใช่เพื่อปรนเปรอตัวเอง แต่เป็นรักด้วยเมตตากรุณา มีความปรารถนาดีต่อเขา โดยไม่ได้มุ่งประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๖


วันแห่งความรัก

จึงควรเป็นวันที่เรารำ�ลึกหรือบ่มเพาะความรักที่เป็นเมตตากรุณามากกว่า ความรักที่เป็นสิเนหะ ซึ่งมีแต่จะนำ�ไปสู่ความทุกข์ และการเบียดเบียนกัน (ทั้งเพราะเหตุที่เขาไม่เป็นดั่งใจเรา หรือเพราะเขาขัดขวางไม่ให้เราสมหวัง) ถ้าหากผู้คนพากันเชิดชูความรักที่เป็นเมตตากรุณาอย่างแท้จริง ชีวิตจะ ผาสุก และโลกจะสงบสันติเป็นอย่างยิ่ง

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๗


ทุกข์ สามีมีภรรยาน้อย

ควรทำ�อย่างไรไม่ ให้ เ ป็ น เมื่อ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๘


ปุจฉา

กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ ดิฉันมีเรื่องมาขอคำ�ชี้แนะจากหลวงพ่อ ในเรื่องการวางใจอย่างไรไม่ให้ทุกข์ เมื่อสามีมีผู้หญิงคนอื่น และมาขอไปอยู่ ดูแลเขาบ้างในบางวัน สักระยะเวลาหนึ่งมาแล้วที่ดิฉันพยายามปฏิบัติเพื่อนำ� ความเย็นมาสู่เขา แต่คงยังเข้าไม่ถึงจิตใจที่ลุ่มหลงของเขา ดิฉันก็เชื่อเช่นเดียว กับหลวงพ่อว่าทุกคนมีคุณงามความดีในตัวเอง แต่ในกรณีนี้ ควรทำ�อย่างไร เพื่อดึงความดีเหล่านั้นให้กลับมา ให้สามีมีสติและคิดระลึกได้

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๔๙


วิสัชนา

อาตมาคิดว่า คุณควรหาโอกาสพูดคุยกับเขาในเรื่องนี้ โดยพูดถึง ความรู้สึกของคุณว่าเป็นทุกข์เพียงใดจากการกระทำ�ของเขา และอยากให้ เขาปฏิบัติกับคุณอย่างไร ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ในการพูดคุย หรือตำ�หนิว่ากล่าวเขา เพราะหากทำ�เช่นนั้นก็จะไปกระตุ้น ความรู้สึกลบในตัวเขา เขาไม่เพียงแต่จะปกป้องตัวเองหรือแก้ตัวเท่านั้น แต่จะต่อว่าหรือตำ�หนิคุณเป็นการตอบโต้ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลดีใดๆ ขึ้นมา

หากเขายังมีความรักหรือห่วงใยในตัวคุณ เขาย่อมรับรู้ถึงความทุกข์ ของคุณ และพยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำ�ร้ายน้ ำ� ใจของคุณ อย่างไรก็ตาม แม้ เขาจะรู้ดีว่าอะไรควรทำ�หรือไม่ควรทำ� ก็คงต้องต่อสู้กับกิเลสตัณหาของตนอยู่ ไม่น้อย ซึ่งอาจลงเอยด้วยการทำ�อย่างเดิมเพราะพ่ายแพ้ต่อกิเลสของตน โดย เฉพาะเมื่ออีกฝ่ายมีแรงดึงดูดมากกว่า ในกรณีเช่นนั้น คุณเองก็ควรทำ�ใจไว้ ด้วยว่า ในเมื่อเขาเลือกเช่นนั้น คุณก็ไม่สามารถบังคับหรือบงการให้เขาเป็นอื่น ไปได้ นั่นคือความจริงที่คุณต้องยอมรับ หากไม่ยอมรับ คุณเองก็จะเป็นทุกข์ ยิ่งยึดติดถือมั่นในตัวเขา หรือยึดมั่นว่าเขาเป็นของคุณ คุณก็จะยิ่งทุกข์มากขึ้น

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๐


อยากให้ตระหนักว่า ในความเป็นจริงแล้วไม่มีใครที่จะเป็นของ เราได้อย่างแท้จริง ทุกคนในโลกนี้เข้ามาในชีวิตของเรา เพียงเพื่อจะจาก เราไป ไม่ช้าก็เร็ว หากไม่จากตายก็จากเป็น แม้แต่ตัวเราเอง ก็มาโลกนี้ เพียงชัว่ คราว สักวันหนึง่ ก็ตอ้ งจากไปเช่นเดียวกัน ไม่วา่ เขาจะเลือกอย่างไร อีกข้อหนึ่งที่พึงตระหนักก็คือ คุณค่าของคุณนั้นอยู่ที่ตัวคุณเอง ไม่ได้ อยู่ที่สายตาหรือความรู้สึกของคนอื่น แม้เขาจะเลือกผู้หญิงอื่น ก็ไม่ควรมองว่า คุณค่าของคุณลดน้อยถอยลง

อย่าโทษตัวเอง

ในเมื่อคุณพยายามทำ�ดีต่อเขา และเป็นกัลยาณมิตรให้แก่เขาแล้ว ขณะเดียวกันก็ไม่ควรโกรธเกลียดเขา เพราะนั่น จะกลายเป็นการสุมไฟเผาลนจิตใจของคุณ

เมือ่ คุณพยายามทำ�ดีทส่ี ดุ ต่อเขาแล้ว เขายังไม่เห็นคุณค่า แห่งความดีของคุณ ก็ตอ้ งปล่อยเขาไปตามวิถที างของเขา เพราะนัน่ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำ�ได้ในสถานการณ์เช่นนั้น จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๑


ควรวางตัวอย่างไร เมื่อมีคู่ครอง

เจ้าชู้

ปุจฉา

กราบมนัสการพระอาจารย์ ดิฉันมีความทุกข์ ในชีวิตคู่ซึ่งคิดไม่ตก วกไปวนมา ทุกข์ที่เขาไปมีคนอื่น คิดว่าเขาไม่รักเราเหมือนเมื่อก่อน เหตุเพราะด้วยวัยของ เราที่มากขึ้น แต่เมื่อถามเขาก็บอกว่ายังไงผมก็ไม่ทิ้งคุณ แต่การปฏิบัติตัวของเขาต่อเราไม่เหมือนเดิม ทำ�ให้มี การทะเลาะเบาะแว้งกัน เขาเจ้าชู้มาก พระอาจารย์ได้ โปรดชี้ทางสว่างสำ�หรับการวางตัว การควบคุมจิตใจ เพื่อให้ประคองชีวิตคู่ที่มีต่อกันไปตามวันเวลา และ ความเหมาะสมด้วยเถิดค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๒


วิสัชนา

การมีชีวิตคู่นั้น สิ่งสำ�คัญประการหนึ่งคือ

ความซื่อสัตย์หรือจริงใจต่อกัน หากคนใดคนหนึ่งไม่ซื่อสัตย์ ก็อยู่กันได้ ลำ�บาก เว้นแต่ว่าอีกฝ่ายนั้นทำ�ใจได้ หรือ ยอมรับข้อบกพร่องของเขา ก็อาจช่วยให้ ครองชีวิตคู่อยู่ด้วยกันได้ แต่คงจะไม่ง่ายนัก อย่างไรก็ตามถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีความรัก ต่อกัน ความรักนัน้ ก็อาจช่วยประคับประคอง ชีวิตคู่ให้ดำ�เนินต่อไปได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความ คาดหวังของทั้งสองฝ่ายต้องใกล้เคียงกันด้วย ถ้าห่างไกลกันมากก็จะอยู่อย่างมีความทุกข์

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๓


ควรทำ�อย่างไรกับ

คู่ครองที่ท ำ�ผิ ด ซ้ ำ�

ปุจฉา

สามีรู้ว่าทำ�ผิด แต่ก็ยังผิดซ้ำ�หลายครั้ง พยายามพูดคุยแล้วก็เฉย ไม่ตอบโต้ แล้วก็ทำ�ผิดซ้ ำ� อยู่อย่างนั้น จนบางครั้งรุนแรง ก็ขอโทษ และ ขอโอกาส แล้วก็ทำ�ผิดซ้ ำ� ๆ อีก แล้วไม่ตอบโต้ ทำ�เป็นไม่รู้ไม่ชี้ พูดก็พูดไป ทำ�หูทวนลม มันทำ�ให้ตัวเราเองเบื่อมากแต่ก็ต้องเห็นหน้ากันอยู่ทุกวัน ทำ�ใจก็แล้ว บางครั้งที่ทนไม่ไหวก็จะเกิดอารมณ์โกรธ แต่อีกใจหนึ่งก็ สงสารลูก รู้อยู่นะคะว่าต้องทำ�ใจ ทำ�ใจ ทำ�ใจ แต่เขาก็ทำ�ผิดซ้ ำ�แล้ว ซ้ำ� อีก ดิฉันรู้สึกอึดอัดมากค่ะ

วิสัชนา

การที่เขาเป็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะเขาไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ทำ�ให้ขาดเรี่ยวแรงหรือความขวนขวายในการปรับปรุงตนเอง จึงทำ�ผิดซ้ ำ�

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๔


แล้วซ้ำ� เล่า ที่เขาไม่ตอบโต้เวลาถูกว่ากล่าวก็เพราะเขารู้ตัวว่าผิด แต่ในขณะ เดียวกันเขาก็ทำ�หูทวนลมเพราะได้ยินคำ�ต่อว่าจนชินแล้ว ดังนั้นอาตมาจึงไม่ แน่ใจว่าคำ�ต่อว่าของคุณจะช่วยเขาได้หรือไม่ จะดีกว่าไหม หากคุณให้กำ�ลังใจเขาแทนที่จะต่อว่า เพราะหากเขา ไม่มีความเชื่อมั่นในตนเอง กำ�ลังใจจากคนใกล้ชิดจะช่วยเขาได้ ทำ�ให้เขาเกิด ความพากเพียรพยายามที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเอง แทนที่จะหมดอาลัยตาย อยากหรือท้อแท้ในตนเอง คุณน่าจะลองถามเขาว่า เขามีปัญหาอะไร ทำ�ไม ถึงยังทำ�ผิดซ้ ำ� ซาก มีอะไรที่คุณจะช่วยเขาได้บ้าง อาตมาคิดว่าเขาเองก็มี ความใฝ่ดี อยากจะทำ�ตัวให้ดีกว่านี้ แต่ความใฝ่ดีนั้นไม่มีกำ�ลังพอที่จะเอาชนะ ความขี้เกียจหรือท้อแท้ หากคุณช่วยหนุนเสริมความใฝ่ดีในใจเขา เขาก็น่าจะ มีกำ�ลังเพิ่มขึ้นจนชนะความเฉื่อยชาได้ในที่สุด หากว่านี้คือสิ่งที่กำ�ลังเกิดขึ้นกับ คุณ อย่างน้อยมีสิ่งหนึ่งที่คุณทำ�ได้คือ บอกให้เขารู้ว่าคุณยอมรับพฤติกรรม ของเขาได้แค่ไหน หากเขาไม่อาจทำ�อย่างที่คุณคาดหวังได้ ถ้าคุณยังอยากจะ มีชีวิตคู่ ก็ต้องทำ�ใจ ไม่เอาความสุขของคุณไปฝากไว้กับเขามากนัก และไม่เอา เขามาเป็นตัววัดคุณค่าของคุณ คุณค่าของคุณอยู่ที่ตัวคุณเอง ไม่ได้อยู่ที่สายตา หรือพฤติกรรมของเขา ถ้าคุณทำ�เช่นนั้น เขาก็คงไม่สามารถทำ�ให้คุณเป็นทุกข์ ได้มากนัก

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๕


ให้

อภัยหมดแล้วหรือยัง

ปุจฉา

กราบนมัสการครับ กระผมมีเรื่องอยากถาม ว่า การที่เราให้อภัยเขาเเล้ว เเต่ไม่อยากคบค้าสมาคม ด้วย ไม่อยากแม้เเต่จะมองเขา นี่แสดงว่าเรายังให้อภัย ไม่หมดหรือเปล่าครับ กระผมควรทำ�อย่างไรดีครับ

วิสัชนา

คุณยังมีความรู้สึกเกลียดชังหรือขุ่นเคืองใจ จึงไม่อยาก มองหน้าเขา หรือคบค้าสมาคมกับเขา หากคุณอยากให้อภัยเขา อย่างแท้จริง ก็ต้องตระหนักว่าความรู้สึกดังกล่าว มีประโยชน์ ต่อคุณหรือไม่ ทำ�ให้คุณสุขหรือทุกข์ ความโกรธเกลียดนั้น ไม่ ว่าเกิดกับใครก็เท่ากับทำ�ให้คนนั้นมีอำ�นาจเหนือคุณ เช่น เวลา เห็นหน้าเขาก็กระอักกระอ่วนใจ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๖


อยากเดินหนีไปอีกทางหนึ่ง ความสุขและอิสรภาพทางใจที่ควรมีก็หดหายไป เพราะความรู้สึกดังกล่าว ยิ่งเห็นโทษของความรู้สึกดังกล่าวมากเท่าไร คุณยิ่งเห็นความจำ�เป็น ของการให้อภัยเขา เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะลบล้างความรู้สึกดังกล่าวออกไป จากใจได้ (ไม่ใช่การพยายามลืมหรือการกดข่มความรู้สึกนั้น)

การให้อภัยเกิดขึ้นได้หลายวิธี

นอกจากการแผ่เมตตาหรือความปรารถนาดีให้แก่เขาแล้ว การเห็นชัดถึงความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเขา ไม่ว่าอดีต ปัจจุบันและอนาคต ก็จะทำ�ให้คุณมีความเห็นใจเขามากขึ้นและเกลียดชังน้อยลง

การใคร่ครวญจนเข้าใจว่าเหตุใดเขาจึงทำ�กับคุณเช่นนั้น ช่วยให้คุณถือโทษโกรธเคืองเขาน้อยลง (ถ้ามีคนมาเดินชนคุณ แล้วคุณรู้ว่าเขากำ�ลังเมาเหล้า หรือคลุ้มคลั่งเพราะเพิ่งเสียลูกน้อย คุณคงโกรธเขาไม่ลง) การเห็นความดีของเขาที่เคยทำ�กับคุณ หรือทำ�กับคนที่คุณรัก ก็ช่วยให้คุณรู้สึกดีกับเขามากขึ้น

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๗


ระแวงเพราะแฟนเคยมีกิ๊ก ปุจฉา

กราบนมัสการค่ะพระอาจารย์ อยากสอบถามพระอาจารย์เรื่องที่ใน สังคมปัจจุบันมีคนประสบกันเยอะมาก มีเพื่อนหลายท่านสอบถามมาเรื่อง แฟนของเขาแอบไปมีกิ๊ก แล้วเขาจับได้แต่แฟนขอให้เพื่อนให้อภัย แล้วลืมเรื่อง เก่าๆ เสีย แต่เพื่อนของดิฉันทำ�ใจไม่ได้ จึงคอยค้น คอยสืบตลอดเวลาว่าแฟน ยังแอบคบอยู่กับกิ๊กหรือไม่ ทั้งที่อีกฝ่ายบอกว่าเลิกติดต่อกันแล้ว ทำ�ให้ชีวิตคู่ เขาไม่มีความสุขเลยค่ะ จึงอยากรบกวนถามพระอาจารย์ว่า เราจะมีวิธีอย่างไร ในการรับมือกับปัญหาในเรื่องนี้ดีเจ้าคะ ขอบพระคุณมาก สาธุค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๘


วิสัชนา

อาตมาไม่ชัดเจนว่า “เรา” ในคำ�ถามข้างบนนั้นหมายถึงใคร หมาย ถึงเพื่อนของคุณที่กำ�ลังมีปัญหาตอนนี้หรือหมายถึงตัวคุณเอง หากหมายถึง เพื่อนของคุณ อาตมาคิดว่าหากยังคิดที่จะมีชีวิตคู่ด้วยกัน หรือเป็นแฟนกันก็ ต้องให้โอกาสแก่คู่รักของตนในการแก้ตัว เพราะคนเรานั้นย่อมผิดพลาดกัน ได้ หากเขาสำ�นึกผิดและอยากแก้ตัว ก็ควรให้โอกาสเขา ระหว่างนั้นก็ควรลด ความระแวงลงบ้าง เพราะตราบใดที่ยังมีความระแวงอยู่ ย่อมมีการจ้องจับผิด ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ทั้งแก่เขาและแก่ตนเอง เพราะเป็นธรรมดาว่าเมื่อจ้อง จับผิดแล้วก็ย่อมเห็นแต่เรื่องที่ไม่สบายใจหรือเพิ่มความระแวงสงสัยให้หนัก เมื่อเกิดขึ้น (ส่วนเขาจะทำ�จริงหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) เพราะ

อคติ

แล้วย่อมยากที่จะเห็นสิ่งต่างๆ เป็นตามความจริงได้ แม้แต่สิ่งที่ อยู่ข้างหน้าก็ตาม จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๕๙


คนเรานั้นหากไม่มีความไว้วางใจกันแล้ว ย่อมอยู่ร้อนนอน ทุกข์ ถ้าเป็นอย่างนัน้ ต่างคนต่างอยู่ หรือเป็นแค่เพื่อนกันไม่ดีกว่าหรือ

ความทุกข์จะได้ลดลง ถ้าอยู่แล้วทุกข์ทั้งสองฝ่าย จะมีประโยชน์อะไร ดังนั้น

ถ้ารักจะเป็นแฟนกัน ก็ควรมีความไว้วางใจกันตามสมควร แม้อดีตจะมีเรื่องที่เจ็บปวด ก็ไม่ควรฝังใจอยู่กับอดีต หรือปล่อยให้อดีตครอบงำ�จิตใจ จนไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้ หากคุณให้โอกาสเขาแก้ตัวแล้ว เขายังนอกใจอยู่ ถึงตอนนั้นจึงค่อย ตำ�หนิหรือว่ากล่าวเขา หรือจะตัดความสัมพันธ์ไปเลย ก็เป็นเรื่องที่สมควรอยู่ แต่ถ้า “เรา” นั้นหมายถึงคุณ ซึ่งเป็นเพื่อนเขา อาตมาคิดว่าคุณควรแนะนำ� เขาให้ลดความระแวงลง และให้โอกาสแก่คู่รักของเขาในการพิสูจน์ตนเอง อย่างน้อยก็สักระยะหนึ่ง จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๐


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๑


เมื่อ

แยกทางต้องทำ�ใจอย่างไร

ปุจฉา

ขณะนี้หนูพบปัญหาชีวิตในเรื่องความรัก ซึ่ง พยายามตั้งสติ ตัดใจ ทำ�ใจสวดมนต์ แต่ใจมันก็หาทาง ออกไม่พบ สามีต้องการใช้ชีวิตคนเดียว ต้องการอยู่คน เดียว และรู้สึกเบื่อ นี่คือสิ่งที่เค้าบอก เราเพิ่งแต่งงานกัน ได้เพียงหนึ่งปีกว่าจึงมีแต่คำ�ถามว่าเกิดอะไรขึ้น เราทำ�ผิด อะไร ทุกครั้งที่คุยกันก็จะร้องไห้ คร่ ำ� ครวญ เสียใจมาก แต่ก็ให้อภัยกับสิ่งที่เค้าทำ�ได้ แต่ในบางช่วงขณะก็รู้สึกซึม เศร้า ซ้ำ� เติมตัวเองว่าฉันโง่รึเปล่าที่ถูกทำ�ร้ายทั้งร่างกาย และจิตใจแต่ก็ยังทนอยู่ ขอความกรุณาพระอาจารย์แนะ ทางออกในเรื่องนี้เพื่อให้หนูมีสติในการดำ�เนินชีวิตต่อไป และมีความสุขในการใช้ชีวิตด้วยค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๒


วิสัชนา

การที่ใครคนหนึ่งตัดสินใจเดินออกจากชีวิตของอีกคนหนึ่งนั้น ใช่ว่าจะเป็นเพราะความผิดของฝ่ายหลังเสมอไป แต่อาจเป็นเพราะใจ ที่ไม่เสมอสมานกันก็ได้ หรือเพราะมีความแตกต่างกันจนไม่สามารถ ผสานชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรโทษตัวเอง จะว่าไปแล้ว

ไม่มีใคร สามารถทำ�ร้ายจิตใจเราได้ หากใจเราไม่ยินยอม

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๓


ความคาดหวังที่เกินเลยจากความเป็นจริง หรือหวังจากเขาในสิ่งที่เขาไม่มีให้ หรือไม่ได้เป็น นับเป็นเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้คุณเป็นทุกข์อยู่ในขณะนี้ ดังนั้นคุณจึงควรยอมรับเขาอย่างที่เขาเป็น และพยายามคลายความ ยึดติดในตัวเขา ขอให้มั่นใจว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับคุณในขณะนี้จะผ่านไปใน ที่สุด แล้วคุณจะสามารถยิ้มแย้มได้ใหม่ ถึงตอนนั้นคุณจะเข้มแข็งกว่าเดิม และ อาจพบคนที่เป็นคู่ชีวิตของคุณอย่างแท้จริง พร้อมกันนั้นก็พึงตระหนักว่า

สุขหรือทุกข์อยู่ที่ตัวคุณเอง โดยเฉพาะการวางใจของคุณ ไม่มีใครหรือสิ่งใด สามารถบังคับให้คุณเป็นทุกข์ได้ และก็ไม่ควรคาดหวังว่า คนอื่นจะทำ�ให้คุณเป็นสุขด้วย จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๔


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๕


เป็นตุ๊ด เป็นเกย์ บาปหรือไม่

ปุจฉา

อยากเรียนถามพระคุณเจ้านะครับว่า การเกิดมามีลักษณะเป็น ผู้ชายชอบผู้ชายด้วยกัน เป็นตุ๊ด เป็นเกย์ เป็นทอม หรือเป็นดี้ นั้น ผิดหลักศีลธรรมที่บัญญัติไว้ในพระพุทธศาสนาหรือไม่ครับ แล้วถ้าผิด คือมันมีจิตใจเป็นไปแล้วมันจะเป็นบาปมากไหม และพ่อแม่และ ผู้ปกครองควรวางตัวและวางใจ อย่างไรครับ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๖


วิสัชนา

อาตมาไม่พบว่าในพระไตรปิฎกมีตรงไหนที่ระบุว่าการชอบคนเพศ เดียวกันนั้นเป็นบาป สิ่งที่เป็นบาปหรือผิดศีลก็คือ การละเมิดศีลข้อ ๓ ซึ่ง หมายถึงการล่วงละเมิดคนที่มีเจ้าของแล้ว ที่จริงนอกจากศีลข้อ ๓ แล้วยังมี ธรรมบางข้อที่ควรใส่ใจ เวลามีความสัมพันธ์ทางเพศ ไม่ว่ากับผู้ที่เป็นสามี หรือภรรยาของเรา หรือคนรักของเราโดยชอบธรรม นั่นก็คือ “กามสังวร” คือความรู้จักประมาณในกาม ไม่หมกมุ่นในกาม และ “สทารสันโดษ” คือความพอใจในคู่ครองของตน ในมุมมองของพุทธศาสนา กามสังวรและ สทารสันโดษนั้นเป็นสิ่งที่สำ�คัญกว่าประเด็นที่ว่าชอบคนเพศเดียวกันหรือไม่ สำ�หรับผู้ที่เป็นพ่อแม่หรือผู้ปกครอง เป็นธรรมดาที่ย่อมไม่สบายใจ เมื่อพบว่าลูกของตัวชอบคนเพศเดียวกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเกรงว่าคนอื่นจะ ไม่เข้าใจหรือไม่ยอมรับ หาไม่ก็เกรงว่าลูกของตนจะมีชีวิตคู่ที่ไม่ราบรื่น แต่ก็ ไม่ควรมองว่าลูกของตนทำ�บาปหรือมีความวิปริตผิดเพี้ยน หรือถึงกับปฏิเสธ ลูกของตัว ทางที่ถูกคือยอมรับสิ่งที่เขาเป็นและช่วยเหลือให้เขาไม่เป็นทุกข์ในสิ่ง ที่เขาเป็น ตราบใดที่เขาไม่ได้ทำ�สิ่งที่ผิดศีลผิดธรรมหรือเบียดเบียนผู้อื่น ขณะ เดียวกันก็ช่วยให้เขาสามารถพัฒนาตนให้มีความเจริญงอกงามเท่าที่จะทำ�ได้

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๗


แนะนำ�ให้ทำ�แท้ง เพราะเด็กไม่สมบูรณ์ หรือไม่ อย่างไร

บาป

แก้ไข

ปุจฉา

รบกวนสอบถามพระอาจารย์ค่ะ คือเมื่อหลายปีก่อนเพื่อนตั้งครรภ์ และหมอตรวจพบว่าเด็กไม่สมบูรณ์ คือลิ้นหัวใจไม่ปิด หมอแนะนำ�ให้เอาเด็ก ออกเพราะหากให้เด็กคลอดมีโอกาสเสียชีวิตพิการ หรืออาจจะต้องมีการรักษา ต่อเนื่องที่ยาวนาน และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง แม่เด็กลังเล เราก็ เข้าใจความรู้สึกคนเป็นแม่ แต่คิดตามหมอก็สงสารทั้งแม่และลูกหากเด็กรอด ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายมากมายในการผ่าตัดรักษาเด็ก จึงแนะนำ�ให้เขาตัดสินใจเอา เด็กออกค่ะ อย่างนี้บาปกรรมจะมากเหมือนเป็นการแนะนำ�ให้คนทำ�แท้งโดย ตั้งใจหรือไม่คะ และมีวิธีอย่างไรบ้างที่จะให้เด็กอโหสิกรรมให้คะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๘


วิสัชนา

กรณีนี้เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ ตัดสินใจยากว่าควรทำ�อย่างไร อย่างไร ก็ตาม ก็ต้องยอมรับความจริงว่า การตัดสินใจให้เอาเด็กออกนั้น ไม่ว่าด้วย เหตุผลใดก็ตาม ถือว่าเป็นการทำ�ชีวติ ให้ตกล่วงไป ดังนัน้ การแนะนำ�ให้เพือ่ น ตัดสินใจเอาเด็กออก จึงไม่ต่างจากการแนะนำ�ให้เขาทำ�แท้ง บาปย่อมเกิดขึ้น แต่ก็ยังเบากว่าการทำ�ไปด้วยความเกลียดชังหรือความเห็นแก่ตัว สิ่งที่จะช่วย ได้ คือทำ�บุญหรือถวายสังฆทานเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่เด็ก รวมทั้งขอขมา ต่อเด็ก หากวิญญาณของเด็กนั้นสามารถรับรู้ได้ด้วยญาณวิถีใดๆ ก็คงจะให้ อโหสิ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๖๙


พูดถึงเรื่องนี้แล้ว ก็อยากพูดต่อไปว่า สำ�หรับคนที่มีปัญหาลูกใน ครรภ์ไม่สมบูรณ์ และกำ�ลังตัดสินใจว่าจะทำ�อย่างไรดี อาตมาอยากให้ข้อมูล และข้อคิดเพิ่มเติมว่า มีแม่บางคนที่ตัดสินใจให้ลูกคลอดออกมา แม้จะพบ ปัญหาอย่างที่หมอคาดการณ์เอาไว้ ลูกต้องเข้ารับการผ่าตัดหลายครั้ง สิ้น เงินทองจำ�นวนมาก แต่เธอก็ไม่ย่อท้อ พยายามทำ�ทุกอย่างเพื่อให้ลูกมีชีวิต รอด ขณะเดียวกันก็ดูแลแกอย่างเต็มที่ด้วยความรัก โดยไม่รู้สึกเสียใจที่ตัดสิน ใจให้ลูกเกิดมา มาถึงวันนี้ลูกเป็นเด็กที่มีความสุข มีความสามารถหลาย อย่างแม้ร่างกายจะไม่สมบูรณ์

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๐


เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ร่างกายที่ไม่สมประกอบ หาได้เป็นอุปสรรคขัดขวางการมีชีวิตที่ผาสุกและดีงามไม่

เพราะสิ่งสำ�คัญนั้นอยู่ที่จิตใจ ยิ่งจิตใจได้รับการฟูมฟักด้วยความรักของแม่และคนรอบข้าง เด็กก็มีโอกาสที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข และใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าได้

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๑


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๒


ปุจฉา - วิสัชนา

เรื่องทั่วไป

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๓


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๔


ติดอาหาร ติดเน็ต

ติด Facebook ติดละคร ติดเกม แก้อย่างไร ปุจฉา

มีการกระทำ�อื่นๆที่ไม่ถึงกับรุนแรงหรือมีข้อห้ามไว้เหมือนกับผิดศีล แต่ก็อาจเป็นโทษ ที่เรียกว่า “soft addictions” ทั้งหลาย เช่น ติดอาหาร ติดเน็ต ติด FB ติดละคร ติดเกม ฯลฯ ซึ่งถ้าติดมากๆ ก็ทำ�ให้เสียเวลา เงิน ทอง สัมพันธภาพ มีผลต่อการงาน สุขภาพ และ อื่นๆ แต่น่าสงสัยว่า ทำ�ไม ทั้งๆ ที่ทุกคนรู้ว่าไม่ดีแต่ก็ยังทำ� รู้ว่ามีโทษก็ยังทำ� ผมคิดว่าแค่พิจารณาโทษ ดูเหมือนจะไม่พอที่จะทำ�ให้เราหลุดได้ จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรครับ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๕


วิสัชนา การรู้ว่ามีโทษนั้น เป็นการรู้ในระดับ สมอง ส่วนใจยังโหยหารสอร่อยหรือความสุข จากสิ่งนั้น คนเราย่อมปรารถนาความสุข จะละ

ความสุขที่หยาบได้ก็ต้องมีความสุขที่ประณีตมา แทนที่ หากได้สัมผัสกับสุขที่ประณีตกว่า ก็จะ ค่อยๆ หันหลังให้กับความสุขที่หยาบไปเอง ดังนั้น นอกจากเห็นโทษของความสุข ที่หยาบแล้ว ควรได้สัมผัสกับสุขที่ประณีต เช่น ทำ�สมาธิ ทำ�งานที่สร้างสรรค์ มีงานอดิเรกที่เป็น ประโยชน์ หรืออ่านหนังสือ วาดภาพ ใหม่ๆอาจ จะยังไม่สุขเท่าไหร่ แต่ทำ�ไปนานๆ ก็จะมีความสุข บางคนเพียงแค่ได้วิ่งจ๊อกกิ้งหรือเต้นแอโรบิคก็มี ความสุขแล้วเพราะทำ�จนเป็นนิสัย

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๖


ปุจฉา

โกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจ จะเป็นบาปไหม

ขอเรียนถามครับว่า ถ้าเกิดเราโกหกคนอื่นโดยมีเจตนาให้คนอื่น สบายใจ ไม่คิดมาก ไม่เป็นทุกข์ ถือว่าผิดศีลหรือไม่ เช่น หากพ่อแม่ถามว่า เรามีเงินใช้หรือป่าว แต่เพื่อความสบายใจของท่านไม่อยากให้ท่านเป็นกังวล เราจึงต้องโกหกว่ามี ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มี

วิสัชนา

การไม่พูดความจริง หากเป็นเจตนาก็ผิดศีลทั้งนั้น จะมากหรือน้อย ก็อยู่ที่ว่าเป็นเจตนาร้ายหรือเจตนาดี การไม่พูดความจริง ไม่ทำ�เสียเลย ย่อมดีที่สุด แต่หากจะทำ� ก็ขอให้ทำ�ในยามจำ�เป็นจริงๆ และทำ�ให้น้อยที่สุด หาไม่แล้วจะติดเป็นนิสัยและก่อผลเสียมากมายตามมา

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๗


อำ�เพื่อนเล่นๆ

จะผิดศีลข้อสี่ไหม

ปุจฉา

ขอเรียนถามพระอาจารย์ด้วยนะครับ คือผมสงสัยว่า การพูดโกหกเป็นการผิดศีลข้อมุสา แล้วถ้าเราพูดเล่นในหมู่เพื่อนหรือขำ�ๆ ไม่ได้มีเจตนาร้ายอะไร (แต่ก็ไม่ได้โกหกมากมายยกเว้นแค่อำ�ๆ กันแล้วก็เฉลย) จะถือว่าผิดศีลมากมั้ยครับ ปัจจุบันผมพยายามถือในศีลห้าอยู่ ไม่ถึงกับศีล แปด แต่ก็สงสัยในข้อนี้อยู่ถ้าจะยังมีศีลที่คลางแคลงใจอยู่ว่าตัวเองรักษาได้มั้ย ก็แค่ข้อนี้ล่ะครับ รบกวนพระอาจารย์ช่วยไขข้อข้องใจนี้ให้หน่อยนะครับเพื่อจะ ได้เป็นแนวทางและปฏิบัติตามครับ ขอบคุณครับ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๘


วิสัชนา การพูดเล่นนั้น หากไม่ระวังก็จะกลายเป็น การพูดเพ้อเจ้อ ซึ่งอยู่ในขอบข่ายของศีลข้อ ๔ ด้วยเช่นกัน การพูดจาเพ้อเจ้อนั้นทำ�ให้ขาดสติได้ง่าย หรือแม้แต่การพูดอำ�กัน อาจจะเผลอไผลกลายเป็นการโกหก หรือทำ�ร้ายความรู้สึกของอีกฝ่ายด้วย (เช่น หยอกหรืออำ�กันแรงๆ จนอีกฝ่ายโกรธ) ดังนั้นจึงควรระมัดระวังด้วย หลายคนผิดใจกันก็เพราะหยอกล้อหรือแซวกันแรงๆ ซึ่งก็มักจะเริ่มจากการ พูดเล่นจนลืมตัว

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๗๙


ชาวนากับงูเห่า ปุจฉา

กราบนมัสการพระอาจารย์คะ่ การทีเ่ ราช่วยเหลือเพือ่ นทีก่ ำ�ลังตกทุกข์ ได้ยาก เห็นใจเขา แล้วต่อมาเขากลับดีขึ้นๆ อย่างมาก เขากลับมาทำ�ร้ายเรา ช่วยเหลือเขาคำ�ขอบใจสักคำ�ก็ไม่มีค่ะ ช่วยเพราะอยากช่วย แต่เขากลับทำ�ร้าย เราอย่างไม่นึกเลยว่าเขาทำ�กับเราได้ถึงขนาดนี้ เคยคิดว่าขอให้เขากลับไปตก นรกเหมือนเดิม เขาจะมีวนั นัน้ ไหมคะ และตัวดิฉนั เองจะบาปไหมคะ

วิสัชนา “วันนั้น” จะเกิดแก่เขาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรรมหรือการกระทำ�ของ

เขา ไม่ได้อยู่ที่ความปรารถนาของคุณ อย่างไรก็ตามอยากให้คุณตระหนักว่า

เมื่อใดก็ตามที่คุณมีจิตพยาบาทต่อเขา ไฟโทสะที่เกิดขึ้นก็เผาลนจิตใจ ของคุณทันที จนสามารถทำ�ให้คุณร้อนรุ่มราวตกนรกได้ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๐


ถ้าคุณไม่อยากทำ�ร้ายตัวเอง ก็อย่ามีจิตคิดพยาบาทต่อเขา หรือถ้า ยังมีความโกรธแค้นเขา ก็ขอให้รู้ทันอารมณ์ดังกล่าว อย่าปล่อยใจให้ตกไปใน เพลิงอารมณ์นั้น

ในความเห็นของอาตมา หน้าที่ของเราคือ

การทำ�ความดี ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ส่วนคนอื่นจะทำ�ความดีต่อเราหรือไม่ (ทั้ง ๆ ที่เราทำ�ดีกับเขา) เป็นเรื่องของเขา ถ้าเขาทำ�เขาก็ได้บุญ แต่ถ้าเขาไม่ทำ� หรือถึงกับทำ�ร้ายเรา เขาก็ย่อม ได้รับโทษจากการกระทำ�นั้น บาปย่อมเกิดแก่เขาอย่างหนีไม่พ้น จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๑


กำ�จัดปลวกอย่างไร จึง

ไม่บาป

ปุจฉา กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ สงสัยเรื่องปัญหากำ�จัดปลวกในบ้าน จะทำ�อย่างไรถึงไม่เป็นบาป

วิสัชนา

ทำ�อะไรก็ได้ที่ไม่ทำ�ให้เขาตาย(หรือพิการ) ก็ถือว่าไม่บาป

ส่วนวิธีการจะทำ�อย่างไรนั้น ต้องถามผู้รู้ ชาวบ้านสมัยก่อนพบว่าปัสสาวะ วัวหรือควายสามารถป้องกันและไล่ปลวกได้ จึงเลี้ยงวัวหรือควายใต้ถุน ใกล้ เสาเรือน แต่วิธีนี้เป็นไปไม่ได้แล้วสำ�หรับคนเมือง ในฐานะที่เป็นพระ อาตมา ไม่สามารถแนะนำ�ให้กำ�จัดปลวก อันนั้นเป็นเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจเอง จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๒


ทำ�บุญเพื่อล้างบาป

ได้หรือไม่

ปุจฉา กราบนมัสการพระอาจารย์ ทุกข์ สุข บาป บุญ เกิดจากใจ การที่คนไม่กลัวบาป เพราะถ้าทำ�บาป แล้วค่อยไปทำ�บุญแก้ (แก้กรรมก็มี) ใจก็คลายทุกข์ การเอาบุญมาเจือจางบาป ทำ�บุญใหญ่ๆ ให้ได้บุญมากๆ มาหักกลบลบหนี้ แล้วจิตมีความสบายไม่ทุกข์ เลยไม่ รู้สึกบาป พระอาจารย์มีความเห็น อย่างไรครับ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๓


วิสัชนา บาปเมื่อทำ�แล้ว ลบล้างไม่ได้ การ ทำ�บุญเพียงแต่ช่วยให้ผลแห่งบาปนั้นทุเลาลง เหมือนน้ ำ� หมึกที่หยดลงในแก้ว ย่อมทำ�ให้ น้ำ� ดำ�คล้ำ� การเติมน้ ำ�สะอาดลงไปในแก้ว ไม่ได้ทำ�ให้หมึกนั้นหายไป เพียงแต่ช่วยให้ น้ำ� ดำ�คล้ำ� น้อยลงเท่านั้น การทำ�บาปแล้วไม่รู้สึกว่าเป็นบาปนั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่ส่งผลให้ทำ�บาปหนักขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าทำ�แล้ว สำ�นึกผิด ไม่คิด ทำ�บาปต่อไป พยายามทำ�ความดี ถือเป็นเรื่องน่าอนุโมทนา แต่ ถ้าทำ�บุญด้วยความหวังว่าจะล้างบาป เพื่อจะได้ทำ�บาปต่อไปได้ สะดวก ความคิดอย่างนี้เป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ยัง จะดีกว่าหากว่าทำ�บุญแล้วรู้สึกสบายใจไม่รู้สึกผิดต่อไป ความ รู้สึกนี้ยังอาจส่งเสริมให้ทำ�ความดีก็ได้ (ถึงแม้ว่าจะสบายใจ เพราะเข้าใจผิดว่าบาปที่เคยทำ�นั้นถูกลบล้างไปแล้วด้วยบุญ ก็ตาม)

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๔


ทำ�บุญ

กับวัดหรือส่วนรวมดี ปุจฉา

กราบนมัสการพระคุณเจ้า หน้าบ้าน ฝั่งตรงข้ามมีศาลาของกรมทางหลวง ปีที่แล้ว เกิดฟ้าผ่าต้นไม้ล้มทับศาลาและเจ้าหน้าที่ได้มา รื้อออกแต่ไม่มีการสร้างขึ้นทดแทน แม่มีเงินก้อน หนึ่งตั้งใจว่าจะทำ�บุญกฐิน (สี่ปีที่แล้วก็ทำ�แล้ว ครั้งหนึ่ง) คิดว่าในวัดมีทุกอย่างครบหมดแล้ว เพราะเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีคนจองกฐินทุกปี ลูกๆ อยากให้สร้างศาลาริมทางให้คนได้พัก มากกว่า แต่แม่คิดว่าทำ�บุญกฐินได้บุญมากกว่า ขอความกรุณาอาจารย์ชี้แนะด้วยค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๕


วิสัชนา

พุทธศาสนามองว่า การทำ�บุญกับคนดี มีความประพฤติดีงาม หรือ ผู้ที่ทำ�ประโยชน์แก่ส่วนรวม ย่อมเกิดอานิสงส์มากกว่า ดังนั้นจึง “ได้บุญ” มากกว่าทำ�กับคนทั่วไป ดังนั้นจึงมีความเชื่อว่าทำ�บุญกับพระหรือกับวัดนั้น ได้บุญมากกว่า เพราะพระเป็นผู้มีศีล เป็นบุคคลของส่วนรวม ทำ�ประโยชน์แก่ สังคม (ทั้งทางธรรมและทางโลก) เช่นเดียวกับวัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน อะไรที่เป็นของวัด ก็เป็นของชุมชนด้วย โดยเฉพาะในสมัยก่อนหรือแม้แต่ใน ชนบทปัจจุบัน แต่ทุกวันนี้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายอย่าง วัดสูญเสียความ เป็นศูนย์กลางของชุมชนไป ส่วนพระก็มีบทบาทต่อส่วนรวมน้อยลง (แม้แต่ ทางธรรม) ดังนั้นการทำ�บุญกับพระหรือกับวัด จึงไม่ได้หมายความว่าจะเกิด ประโยชน์กว้างขวางอย่างแต่ก่อน แม้กระนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่สมควรทำ�อยู่ แต่

ควรทำ�อย่างมีวิจารณญาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ขณะเดียวกันก็ควรวางใจให้ถูกเพื่อเกิดความสงบในจิตใจและลดละ กิเลส (เช่น ไม่ทำ�บุญโดยหวังรวยหรือได้โชคลาภอย่างเดียว)

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๖


อย่างไรก็ตาม

ไม่ควรคิดว่า ทำ�บุญกับพระหรือวัดเท่านั้นที่ได้บุญ

ทำ�บุญกับส่วนรวม

เช่น การให้ทานเพื่อสาธารณประโยชน์ ก็เป็นบุญเหมือนกัน บุญอย่างนี้ควรทำ�มากๆ เพราะทุกวันนี้ผู้คนละเลยส่วนรวมมาก คิดถึงแต่ตัวเองเป็นหลัก ดังนั้นอาตมาจึงเห็นด้วยกับความคิดของคุณที่อยาก สร้างศาลาริมทางหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ก็ไม่ควรคิดว่า ต้อง เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างทอดกฐิน กับสร้างที่พักคนเดินทาง โดยเฉพาะ สำ�หรับคนแก่คนชรา จะนึกถึงวัดมากเป็นพิเศษ หากท่านอยากทอดกฐิน ลูกๆ ก็ควรอนุโมทนาด้วย แต่ควรแนะนำ�ท่านว่าทอดกฐินอย่างไรจึงจะเป็น ประโยชน์สูงสุด เช่น ทอดแก่วัดที่ขาดแคลน หรือทอดเพื่อสนับสนุนการศึกษา ของพระสงฆ์สามเณร เป็นต้น คนแก่เมื่อได้ทอดกฐินแล้วจะมีความสุขใจ ความสุขนี้สามารถเป็นประโยชน์แก่ท่านแม้ในวาระสุดท้ายของชีวิต คือเมื่อ ระลึกนึกถึงแล้วก็เกิดปีติ ทำ�ให้สิ้นลมอย่างสงบได้ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๗


ถวายทานด้วยปัจจัยมากๆ

ถูกต้องหรือไม่

ปุจฉา

การสร้างบุญ ด้วยการให้ทานด้วยปัจจัย คือเงินก้อนใหญ่ เป็นสิ่งที่ ผิด งมงายหรือถูกต้อง อย่างไร ถ้าผู้ถวายคิดแต่เพียงว่า ปัจจัยที่ถวายนั้นจะ สร้างประโยชน์แก่สงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป การที่พระแต่ละรูป หรือวัด แต่ละแห่งก็มีจุดขายที่แตกต่างกันไป ควรใช้หลักอะไรในการพิจารณา ในการ สร้างบุญบารมี ดูเหมือนเดินบนเส้นด้าย ด้านซ้ายถูก ด้านขวาผิด

วิสัชนา

การถวายทาน จะมากหรือน้อยไม่สำ�คัญเท่ากับเจตนาหรือการวางใจ (ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากให้ทาน) การทำ�บุญที่ถูกต้องคือทำ�ด้วยจิตที่ เป็นกุศล มีความแช่มชื่นเบิกบาน ปีติทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากให้ทาน

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๘


การถวายทานโดยมุ่งประโยชน์แก่สงฆ์และพระศาสนาหรือส่วนรวม นั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะเกิดทั้งประโยชน์ท่านและประโยชน์ตน (ลดละ กิเลสในใจตน)

หลักประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน เป็นหลักที่ควรนำ�มาใช้เวลาทำ�บุญ เช่น จะทำ�บุญที่ใดก็ดูว่าที่นั่นนำ�เงินไปใช้เป็นประโยชน์อย่างไร เป็นไปเพื่อเกื้อกูลพระศาสนาหรือสังคมส่วนรวมหรือไม่ หรือว่าเป็นไปเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัว มุ่งที่ความอวดมีอวดรวย ความเจริญทางวัตถุ หรือเพื่อ ส่งเสริมธรรม เป็นต้น

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๘๙


ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน เรื่องหมา ปุจฉา

กราบนมัสการท่านพระอาจารย์ค่ะ ดิฉันมีปัญหาอยากจะเรียนถาม ค่ะ ดิฉันมีปัญหากับเพื่อนบ้านที่เลี้ยงหมาแล้วเสียงดังมาก พอบอกเขาแล้วเขา โกรธ แล้วเมื่อเขาเห็นดิฉัน เค้าก็จะเสียงดังแล้วด่าหมากระแทก ดิฉันพยายาม ที่จะไม่โมโหตอบ จนทุกวันนี้ต้องปิดบ้านอยู่ค่ะ เพราะไม่อยากมีเรื่องกัน ดิฉัน ต้องทำ�อย่างไรคะถึงจะหมดทุกข์ ทุกวันนี้ต้องคอยหลบค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๐


วิสัชนา

ถ้าอยากหมดทุกข์ มีทางออก ๒ ทาง คือ

๑. มี ส ติ ร ั ก ษาใจ ทำ�ใจปล่ อ ยวาง อย่าไปจดจ่อกับเสียง หมา (หลวงพ่อท่านหนึ่ง เตือนเด็กวัดที่รำ�คาญเสียงหมาเห่าว่า “หูมันอยู่ใกล้ กับปาก มันยังไม่รำ�คาญเสียงเห่าเลย แกอยู่ห่างมันเป็นโยชน์ จะโมโหมัน ทำ�ไม”) ๒. พยายามเป็ น มิ ต รกั บ เพื ่ อ นบ้ า น คนไทยเราพอเป็น เพื่อนกันแล้ว จะขอร้องอะไร เขาก็รับฟังและพร้อมจะช่วยเหลือ มีกรณีหนึ่ง ที่มีปัญหากับเพื่อนบ้านที่ไม่น่ารัก วิธีการที่เขาใช้คือ ยื่นไมตรีหรือมีน้ ำ� ใจให้ ปรากฏว่าเพื่อนบ้านคนนั้นเปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างข้ามคืน เขาเล่ามาดังนี้ “เมื่อครั้งที่ผมค้าขายที่สวนจตุจักร ก็ได้มีผู้ค้าข้างเคียง เขาได้นำ�เอา รูปภาพขนาดใหญ่มาตั้งไว้หน้าร้าน และยื่นออกมาบังร้านผมจนมิด หากเป็น คนอื่นก็คงต้องต่อยตีกันแน่ๆ เหตุคือเขาจงใจที่จะแกล้งผมจริงๆ ต่อมาผมจึง ได้ไปซื้อส้มและองุ่นมาสองกิโล แล้วผมก็เดินไปสวัสดีกับเขาด้วยใบหน้าที่ยิ้ม แย้ม พร้อมทั้งหิ้วผลไม้นั้นส่งให้เขา และบอกเขาว่าผมเดินไปเข้าห้องน้ ำ� มา จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๑


และบังเอิญเห็นรถมาขายผลไม้ ก็เลยนึกถึงคุณเพราะเห็นว่าคุณเป็นคนที่ชอบ ทานผลไม้ และมันก็น่าทานก็เลยตั้งใจซื้อมาฝาก เขาก็มองหน้าผมแบบงงๆ และแปลกใจ แล้วพูดว่าเกรงใจ ผมก็ตอบว่าไม่ต้องเกรงใจหรอกครับ เรา ค้าขายอยู่ด้วยกันมันก็เหมือนเพื่อนเหมือนพี่เหมือนน้องกัน จากนั้นเราก็คุย กันเหมือนคนที่สนิทกันมานับสิบปี ทั้งๆ ที่เขาก็เพิ่งจะมาค้าขายเพียงไม่กี่วัน จากนั้นรุ่งขึ้นอีกวัน เมื่อผมไปเปิดร้านก็ปรากฎว่าภาพถ่ายขนาดใหญ่ ที่เขาตั้งบังร้านผมได้หายไป ผมก็เลยถามเขาว่า เอ้า! แล้วรูปภาพที่ตั้งตรงนี้ ขายไปแล้วหรือครับ เขาตอบว่าเปล่า ยังไม่ได้ขายแต่เอาไปตั้งไว้ด้านในโน้น ผมก็บอกว่า เอ้าแล้วทำ�ไมไม่เอามาตั้งที่เดิมล่ะ เขาตอบว่า “ตั้งตรงนั้นดีกว่า ครับเฮีย ผมเกรงใจเฮีย ตั้งตรงนี้แล้วมันน่าเกลียด มันไปบังร้านของเฮีย เดี๋ยวลูกค้ามาซื้อของเขาจะมองไม่เห็นสินค้าของเฮีย” ผมก็บอกว่าไม่เป็นไร แต่เขาก็ไม่กล้าที่จะตั้งตรงนั้นอีกต่อไป และหลังจากนั้นเราก็ดีต่อกันและช่วยกัน ดูแลร้านทั้งร้านเขาและผม จนหลายคน ถามผมว่า “เฮียไปคบค้ากับไอ้คนเลวนี้ ได้ยังไง” เขาดีกับผมมากจนมีอะไร เขาก็จะมาขอคำ�แนะนำ�จากผม ตลอดมาเลยครับท่าน” จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๒


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๓


อยากปฏิ บ ั ต ิ ธ รรม แต่ภาระมาก ปุจฉา

นมัสการเจ้าค่ะ ขอกราบเรียนถามพระอาจารย์ หากเรายังมีห่วงคือ ลูกยังเล็กค่ะ ๔ ขวบ แล้วเรายังต้องการปฏิบัติธรรม ทั้งที่เวลาที่ทำ�อะไรให้ ลูกในแต่ละวันหมดไปเยอะมากงานประจำ�ก็ทำ� นอกเวลาก็ทำ�งาน ควรเริ่ม จากตรงไหนก่อนและทำ�ยังไงเจ้าคะ ถึงจะไม่ตึงเกินไป

วิสัชนา

ที่จริงขณะเลี้ยงลูกก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ เช่น มีสติกับการเลี้ยงลูก หมั่นดูใจของตน รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งฝึกความอดกลั้นต่ออารมณ์ แต่สำ�หรับผู้ฝึกใหม่ ควรหาเวลาว่างสำ�หรับการทำ�จิตให้นิ่งบ้าง เช่น ทำ� สมาธิก่อนนอน หรือเมื่อตื่นขึ้นมา ก็ให้เวลากับตัวเองอย่างน้อย ๕-๑๐ นาที

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๔


ในการตามลมหายใจ ขณะเดียวกันเวลาที่ไม่ได้อยู่กับลูก แต่ทำ�งานอื่น เช่น ทำ�ครัว ซักผ้า ล้างจาน ก็ใช้โอกาสนั้นฝึกสติไปด้วย คือ น้อมใจให้อยู่กับ งานนั้น ไม่ต้องไปคิดเรื่องอื่น ใจเผลอหรือวอกแวก ก็ให้มีสติรู้ทันแล้วพาใจ กลับมาอยู่กับงานนั้น ถ้ามีสติกับงานเหล่านี้ได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยให้มีสติ ไวขึ้นเวลาอยู่กับลูก รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ไม่หวั่นไหวง่าย นอกจากนั้นเวลาทำ�งานประจำ� หรือไม่ประจำ� ก็พยายามมีสติ หมั่น ดูใจตน รู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดอยู่เสมอ สำ�หรับคนที่มีงานเยอะ อย่าคิดว่า ตนไม่มีโอกาสปฏิบัติธรรม โอกาสนั้นมีเสมอหากเรารู้จักฉวยโอกาสด้วยการ ฝึกสติจากงานที่ทำ�อยู่ หรือไม่ก็หาโอกาสฝึกสติทำ�สมาธิเวลาว่างจากงานการ

“ถ้ามีเวลาหายใจ ก็มีเวลาปฏิบัติธรรม” เป็นคำ�แนะนำ�หลวงพ่อชาทีใ่ ห้แก่คนทีอ่ า้ งว่าตนไม่มเี วลาปฏิบตั ธิ รรม ต่อเมื่อมีเวลาว่างมากๆ จึงค่อยหลีกเร้นไปปฏิบัติธรรมในรูปแบบ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๕


ติดดี

รู้สึกว่าตัวเอง

ดีกว่าคนอื่น

ปุจฉา

กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ มีปัญหาหนึ่งที่แปลกประหลาดและ พบกันบ่อยในหมู่ชาวพุทธ คือ การเพ่งโทษผู้อื่น หรือรู้สึกว่าตัวเองดีกว่าหรือ เหนือกว่าคนอื่นๆ เช่น คนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ก็จะรู้สึกว่าตัวเองดีกว่าคนอื่นที่ยัง กินอยู่ คนที่ปฏิบัติธรรม ไปวัด ทำ�สมาธิบ่อยๆ ก็รู้สึกว่าจิตใจของตัวเองดีกว่า คนอื่นหรือบริสุทธิ์กว่า คนที่ไม่ยึดติดกับวัตถุนิยมก็รู้สึกว่าตัวเองมีกิเลสน้อย กว่าคนอื่น คนที่หมั่นทำ�ทาน ก็รู้สึกว่าตัวเองมีความเมตตา กรุณามากกว่าคน ที่ไม่ทำ�หรือทำ�น้อยกว่า คนที่อ่าน ฟังธรรมะ หรือศึกษาพระไตรปิฎกก็คิดว่า ตัวเองรู้มากกว่า มีปัญญามากกว่าคนอื่น เข้าใจชีวิตมากกว่า คนที่ถือศีลแปด ก็รู้สึกว่าตัวเองศีลบริสุทธิ์กว่าคนถือศีลห้า ฯลฯ พระอาจารย์คิดว่าเราจะใช้ ธรรมข้อไหนหรือทำ�อย่างไรเพื่อขจัดการเพ่งโทษคนอื่นได้ครับ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๖


วิสัชนา

ความดีนั้นหากเราไม่ระวัง จะไปเพิ่มพูน “มานะ” (ความหลงตัว หรือถือตนว่าดีกว่าสูงกว่า) นักปฏิบัติธรรมมักจะตกหลุมกิเลสตัวนี้ แม้ความ โลภจะน้อยลง แต่มานะกลับเพิ่มมากขึ้น เรียกอีกอย่างว่าติดดี ซึ่งทำ�ให้ตนเอง ทุกข์ง่าย แถมยังทำ�ให้คนอื่นเป็นทุกข์อีกด้วย

ท่านอาจารย์พุทธทาสจึง

เตือนว่า ให้ระวังความดีกัดเจ้าของ ด้วยเหตุนี้ การมีสติรู้เท่าทันกิเลสตัวเองจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ ขณะเดียวกันควรรู้จักหัวเราะเยาะตัวเองด้วย อย่าให้มันเผยอจน ครองใจเราได้ อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือทรมานกิเลสหรือมานะ ด้วยการทำ�ตัว ต่ ำ� กว่าผู้อื่น เช่น ไปรับใช้ผู้อื่น จะได้ฝึกความอ่อนน้อมถ่อมตัว เพื่อนอาตมา บางคนทุกปีจะไปเป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารของเพื่อน เป็นการฝึกลดละ ตัวตนอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นเราควรมองคนอื่นในแง่บวกหรือชื่นชมเขา คือมองว่าเขา มีอะไรดีบ้าง แม้เขาจะไม่กินผักหรือมีศีลน้อยกว่าเรา แต่เขาอาจมีความดีบาง อย่างที่ดีกว่าเรา เช่น เสียสละ ถ่อมตัว อดทน มีขันติ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๗


ฝึกเจริ ญ สติ ด้วยตนเอง

ได้อย่างไร

ปุจฉา

กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ เราสามารถฝึกสติด้วยตัวเองได้ อย่างไรคะ จำ�เป็นต้องไปฝึกปฏิบัติอย่างที่หลายๆ คนไปฝึกได้ไหมคะ นั่งสมาธิแล้วง่วง จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ

วิสัชนา

ฝึกสติก็ต้องฝึกด้วยตัวเองอยู่แล้ว หลักการง่ายๆ ก็คือ

“ตัวอยู่ไหน ใจอยู่นั่น” ทำ�อะไรก็ตาม ก็อย่าทำ�แต่ตวั ส่วนใจไม่อยูก่ บั การกระทำ�นัน้ เช่น อาบน้ ำ� ถูฟนั ซักผ้า กินอาหาร ใจก็รบั รูอ้ ยูก่ บั การกระทำ�นัน้ ๆ ไม่ปล่อยใจลอย หรือคิดอะไร จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๘


ต่ออะไร (รวมทั้งความคิดเรื่องงานการ) พูดอีกอย่างคือ ทำ�อะไรเป็นอย่างๆ อย่าทำ�หลายอย่างพร้อมกัน (เช่น กินอาหารก็อา่ นหนังสือ หรือพูดคุยไปด้วย)

หลักการข้อที่สองคือ

“รู้กายเคลื่อนไหว รู้ใจนึกคิด”

หมายถึง รู้ตัวเวลาทำ�อะไร เดินก็รู้ว่าเดิน ฟุ้งก็รู้ว่าฟุ้ง เวลาเผลอคิดใจลอย ก็รู้ แล้วพาใจกลับมาอยู่กับตัวหรืออยู่กับสิ่งที่กำ�ลังทำ�อยู่ ถ้าทำ�บ่อยๆ ก็จะ รู้เท่าทันอารมณ์หรือความรู้สึกนึกคิดของตนไวขึ้น ฟุ้งซ่านน้อยลง ฝึกสติแบบนี้ทำ�คนเดียวก็ได้ และสามารถทำ�ได้ในชีวิตประจำ�วัน แม้แต่ตอนรถติดหรือคอยเพื่อน ก็คลึงนิ้วหรือตามลมหายใจ ก็ได้สติเป็นของ แถม ดังนั้น แม้ไม่เข้าวัดหรือเข้าคอร์สก็เจริญสติได้ และควร ทำ�ให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตประจำ�วัน จะได้นิสัยใหม่คือรู้ใจตัวเอง ส่วนคำ�ถามว่า ทำ�สมาธิแล้วง่วงนั้น ลองใช้อิริยาบถอื่น ส่วนใหญ่ ง่วงเพราะนั่งหลับตา ก็เปลี่ยนมาเป็นเดินจงกรม หรือเปิดตาสักเล็กน้อย ระหว่างนั่งทำ�สมาธิก็ได้   จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๙๙


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๐

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม


ปุจฉา - วิสัชนา เรื่อง

มรณานุสติ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๑


ช่วยพ่อแม่ที่ป่วย ด้วยการ

ทำ�บุญ

ปุจฉา

กราบนมัสการเจ้าค่ะพระอาจารย์ ขอเรียนถามพระอาจารย์นะเจ้าคะ ในกรณีที่พ่อแม่ของเรา “มีกรรม” ที่ทำ�ให้ต้องป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรค มะเร็ง ถ้าคนที่เป็นลูกตั้งจิตอธิษฐานว่า...ขออย่าให้พ่อแม่ต้องเจ็บป่วย ถ้าเป็น กรรมของท่านที่จะต้องเป็นโรค เราจะขอเป็นผู้ชดใช้กรรมนั้นแทนท่าน เป็น โรคแทนท่านในบั้นปลายชีวิตของเรา หรือยอมอายุสั้นลงเพื่อเอาอายุของเรา ต่ออายุให้พ่อแม่ คำ�อธิษฐานแบบนี้ ถ้าทำ�ควบคู่ไปกับการสวดมนต์โดยเฉพาะ โพชฌงคปริตร คิริมานนทสูตร และอุณหิสวิชยคาถา การปฏิบัติธรรม การ รักษาศีลห้า และการอธิษฐานจิตอื่นๆ จะเป็นผลสำ�เร็จให้ท่านหายป่วย มี สุขภาพแข็งแรงในชีวิตบั้นปลายได้ไหมเจ้าคะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๒


วิสัชนา

ความเจ็บป่วยนั้นไม่จำ�เป็นต้องเกิดเพราะกรรมอย่างเดียว พระพุทธองค์เคยตรัสว่า

“เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี...มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี.... มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี...มีร่วมกันเป็นสมุฏฐานก็มี... เกิดแต่เปลี่ยนฤดูก็มี...เกิดแต่รักษาตัวไม่สม่ ำ �เสมอก็มี... เกิดจากถูกทำ�ร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี” ดังนั้น คุณจึงไม่ควรด่วนสรุปว่าความเจ็บป่วยของพ่อแม่เป็นเพราะ “กรรม” อย่างเดียว อาจเป็นเพราะเหตุอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตามการที่คุณตั้งจิต อธิษฐานเพื่อช่วยพ่อแม่ เป็นสิ่งที่ดีน่าอนุโมทนา ยิ่งทำ�ควบคู่ไปกับการสวด มนต์และอุทิศบุญกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ก็ย่อมเกิดผลดี อย่างน้อยก็ต่อ จิตใจของคุณและพ่อแม่ ที่จริงหากคุณชวนท่านสวดมนต์และนั่งสมาธิด้วยก็ จะดี โดยอาจทำ�ร่วมกับคุณ การทำ�บุญกุศลอย่างอื่น เช่น การถวายสังฆทาน ไถ่ชีวิตโค กระบือ ช่วยเหลือเด็กยากจน ก็มีประโยชน์ด้วยเช่นกัน เมื่อทำ�เสร็จ แล้วก็อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์หรือคุณจะทำ�ให้ ท่านก็ได้แล้วแจ้งให้ท่านทราบเพื่ออนุโมทนาด้วย จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๓


การถอดเครื่องช่วยชีวิตออก จะเป็นบาปไหม? ปุจฉา

รบกวนถามหลวงพ่อค่ะว่า สำ�หรับคนที่ป่วยอยู่ตามโรงพยาบาล คุณหมอถามคนไข้ว่าถอดเครื่องมือออกหรือไม่ (เมื่อถอดเครื่องมือคนไข้ จะเสียชีวิต ถ้าไม่ถอดเครื่องมือตามโรงพยาบาลจะทำ�ให้ร่างกายดำ�รงอยู่ค่ะ) ไม่ทราบว่าถ้าเราบอกให้ทางโรงพยาบาลดึงเครื่องมือออกเท่ากับเราผิดศีล ข้อ ๑ หรือไม่คะ

วิสัชนา

เท่าที่ทราบ ตามปกติหมอจะไม่ถามเช่นนั้นกับคนไข้หรือญาติ เพราะ หมอถือว่าตนมีหน้าที่ที่จะช่วยชีวิตของคนไข้ สิ่งที่เกิดขึ้นมากกว่าก็คือ ญาติ เป็นฝ่ายถามหมอหรือขอร้องให้หมอถอดท่อหรือปิดเครื่องช่วยชีวิต ซึ่งหมอ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๔


ส่วนใหญ่มักจะไม่ทำ� เพราะสาเหตุทางด้านกฎหมายและจริยธรรม แต่ยินยอม ให้ญาติทำ�หากเป็นความต้องการของญาติ เรื่องการดึงเครื่องมือออกนั้น หากทำ�ให้คนไข้ถึงแก่ความตาย ก็ถือ ว่าผิดศีล แม้มิใช่คนลงมือเองก็ตาม แต่ที่จริงเรื่องแบบนี้มีรายละเอียดต้อง พิจารณามาก เช่น เห็นว่าคนไข้ทกุ ข์ทรมานมากอันเป็นผลจากอุปกรณ์ดงั กล่าว อีกทั้งเมื่อถอดแล้ว คนไข้ก็ไม่ได้ตายทันที ยังหายใจอยู่ แต่ค่อยๆ ลดลงไป และยังสามารถมีชีวิตได้นานนับชั่วโมงก่อนจะตาย ในกรณีอย่างนี้อาตมามอง ว่าการถอดเครื่องมือดังกล่าวไม่ผิดศีลข้อที่ ๑ เพราะเป็นการยุติการแทรกแซง ด้วยเครื่องจักร ช่วยให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพธรรมชาติ และจากไปตามวิถีทาง ธรรมชาติ อันที่จริงผู้ป่วยโคม่านั้น เขายังสามารถรับรู้ได้ รวมทั้งคนไข้ที่ หมอวินิจฉัยว่าเป็นผัก มีหลักฐานมากมายว่าเขายังสามารถได้ยินและรับรู้ สิ่งที่อยู่รอบตัว จึงควรใช้โอกาสนี้น้อมนำ�จิตของเขาให้ เป็นกุศล เช่น พูดถึงความดีที่เขาได้ทำ� หรือการกระทำ� ของเขาที่เราชื่นชมและสำ�นึกในบุญคุณ ชวนเขาสวดมนต์ หรือทำ�สมาธิ น้อมใจเขาให้นึกถึงพระรัตนตรัยหรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่เขานับถือ ขณะที่เขายังอยู่ด้วยเครื่อง ก็อย่า ปล่อยให้เขาอยู่เฉยๆ แบบรอวันตาย แต่ควรใช้เวลาที่ เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ต่อจิตใจของเขา จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๕


ที่จริงหากกลัวว่าจะมีปัญหาเวลาถอดเครื่อง ก็ควรคิดให้รอบคอบ ก่อนใส่เครื่อง เพราะหากใส่แล้ว การถอดจะเป็นปัญหามาก หลายคนจะ เตรียมล่วงหน้าด้วยการแสดงเจตนารมณ์ ที่เรียกว่า Living Will คือระบุ เป็นลายลักษณ์อักษรเลยว่าหากตัวเองอยู่ในระยะสุดท้าย ช่วยตัวเองไม่ได้ ไม่รู้สึกตัว จะไม่ขอรับการรักษาชนิดใดบ้าง เช่น ใส่ท่อ เจาะคอ หรือปั๊ม หัวใจ การแสดงเจตนารมณ์เช่นนี้ ช่วยให้หมอและญาติคนไข้ตัดสินใจได้ง่าย และรู้สึกสบายใจที่จะไม่มีการยื้อชีวิตของเขาด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ตอนนี้ พรบ.สุขภาพ มาตรา ๑๒ ให้สิทธิคนไข้ในการปฏิเสธการรักษา โดยหมอที่ ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของคนไข้ ไม่ต้องรับผิดทางกฎหมาย การใช้สิทธิที่จะตายไม่จำ�เป็นต้องหมายความถึงการเลือกตาย ด้วยการุณยฆาตเสมอไป คนที่รู้ตัวว่ารักษาไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเป็น โรคที่หายยาก และอายุก็มากแล้ว ถึงรอดตายไปวันนี้อีกไม่นานก็ต้องเจออีก มิหนำ�ซ้ ำ� ไม่แน่ใจว่ารักษาไปแล้วตัวเองจะพิกลพิการหรือกลายเป็นผักไปหรือ ไม่ ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะไม่รักษา และตัดสินใจไม่กินข้าว กินยา เพื่อให้ร่าง กายค่อยๆ ดับไปเอง เหมือนผลไม้สุกงอมที่ร่วงหล่นจากต้นเอง แบบนี้เรา ไม่เรียกว่าเป็นการฆ่าตัวตาย คนเฒ่าคนแก่สมัยก่อนก็เลือกตายแบบนี้กันเยอะ ท่านอาจารย์พุทธทาสก็ตั้งใจจะใช้วิธีนี้ แต่ไม่ค่อยมีคนเข้าใจท่าน จึงพยายาม ยืดลมหายใจของท่านทุกวิถีทางแต่ไม่สำ�เร็จ การเลือกที่จะตายอย่างนี้ถือว่า เป็นการเตรียมตัวตายอย่างหนึ่ง โดยมุ่งเตรียมใจให้ดีที่สุด ขณะที่ร่างกาย

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๖


ค่อยๆ แตกดับไปตามธรรมชาติ คนที่เลือก ตายแบบนี้อาจจะใช้กระบวนการตายเป็น เครื่องฝึกจิตให้ปล่อยวาง ด้วยการพิจารณา ความแตกดับของธาตุต่างๆ เรียงลำ�ดับไป เริ่มจากธาตุดิน ธาตน้ ำ� ธาตุไฟ สุดท้ายก็ ธาตุลม การพิจารณาดังกล่าวอาจทำ�ได้ยาก หากไปใช้วิธีรักษาสมัยใหม่ ซึ่งทำ�อะไรต่ออะไร กับร่างกายของผู้ป่วยด้วยวิธีที่ก้าวร้าวรุนแรง จนร่างกายไม่สามารถแตกดับไปตามธรรมชาติ อย่างที่ว่ามาได้

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๗


แม่ป่วยหนัก แต่ไม่สนใจเตรียมตัวตาย ควรทำ�อย่างไร ปุจฉา

ห่วงคุณแม่อายุ ๘๒ ปี เป็น มะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว อยากทราบว่า จิตในช่วงภาวะสุดท้ายหรือก่อนจะตาย เป็นอย่างไร อยากให้คุณแม่ได้เตรียม ตัว จะทำ�อย่างไรดี มีวิธีแนะนำ�หรือทำ� อย่างไรให้คุณแม่เข้าใจและเตรียมตัวคะ ตนเองก็มีการปฏิบัติ เจริญสติอยู่บ้าง แต่คุณแม่ไม่ค่อยสนใจเท่าไรเลย ดูทีวี ก็ดูแต่เพื่อความบันเทิงค่ะ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๘


วิสัชนา

จิตในระยะสุดท้ายของชีวิตหรือก่อนตายนั้น แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึน้ อยูก่ บั อุปนิสยั พืน้ เพประสบการณ์ และการวางใจของแต่ละคนในแต่ละขณะๆ แต่โดยทั่วไปแล้ว จะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ‘กรรมอารมณ์’ เกิดขึ้น คือ การที่ความทรงจำ�หรือประสบการณ์เก่าๆ ตั้งแต่เด็กได้ฟื้น กลับมา เหมือนย้อนกลับไปยังเหตุการณ์เหล่านัน้ แต่จะเกิดขึน้ อย่างรวดเร็วมาก จากนั้นก็เกิด ‘กรรมนิมิต’ คือ นิมิต โดยเฉพาะภาพเกี่ยวกับ ประสบการณ์ในอดีตที่ประทับใจหรือฝังใจ มีทั้งภาพที่ทำ�ให้จิตเป็นกุศล เช่น เกิดปีติ หรือเป็นอกุศล เช่น หวาดกลัว ตื่นตระหนก (เช่น เห็นสัตว์ที่ตนเองเคยฆ่าเป็นอาจิณมาหลอกหลอน) สุดท้ายคือ ‘คตินิมิต’ หรือนิมิตเกี่ยวกับภพภูมิที่จะไปเกิด ไม่ว่า สุคติหรือทุคติก็ตาม คนที่ทำ�บุญสร้างกุศลมา ย่อมมีโอกาสมากที่จะเกิดกรรม นิมิตฝ่ายกุศล แต่หากมีอะไรฝังใจ ก็อาจเกิดกรรมนิมิตที่เป็นอกุศลได้ หรือ แม้ไม่เกิดนิมิต แต่ใจก็อาจปรุงแต่งไปตามอำ�นาจของความห่วงใยหรือรู้สึกผิด จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๐๙


ในกรณีเช่นนั้นก็จะมีความทุกข์ ทำ�ให้เกิดความทุรนทุราย สิ่งที่คนรอบข้างจะ ช่วยได้ก็คือ น้อมใจผู้ใกล้ตายให้นึกถึงพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือ หรือนึกถึงบุญกุศลและความดีงามที่เคยทำ� อาจชวนเขาสวดมนต์ รับศีล หรือ รับไตรสรณคมน์ แต่ถ้าไกลวัด ก็ต้องอาศัยสิ่งอื่นแทน เช่น ประสบการณ์ใน อดีตที่ประทับใจหรือการกระทำ�ที่ตนเองภาคภูมิใจ สำ�หรับกรณีของคุณนั้น สิ่งที่จะช่วยคุณแม่ได้เป็น ประการแรก คือ ช่วยให้ท่านคลายความห่วงใยในเรื่องต่างๆ ไม่ว่า ลูกหลาน ทรัพย์ สมบัติ การงาน ลูกหลานอาจมาพูดให้ท่านมั่นใจว่า จะรักกัน จะดูแลกัน และทำ�ตามที่ท่านได้เคยแนะนำ�สั่งสอน จากนั้น ควรมีการขอขมา ขออโหสิกรรมจากท่าน ถ้าท่าน มีพื้นทางธรรมหรือคุ้นเคยพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอยู่บ้าง ก็ชวนท่านรับศีล รับไตรสรณคมน์ ถ้ามีพระที่ท่านคุ้นเคย มานำ�ท่านทำ�ก็ยิ่งดี แต่ถึงจะไม่มี ก็ไม่เป็นไร ลูกหลานก็สามารถชวนท่านทำ�ได้ ระหว่างนี้นอกจากชวนท่านทำ�บุญเพื่อเป็นเครื่องระลึกนึกถึงในยาม ใกล้ตายแล้ว ลูกหลานควรเอาหนังสือธรรมะง่ายๆ มาอ่านให้ท่านฟังวันละนิด ละหน่อย ๕ นาทีก็ยังดี หรือชวนท่านสวดมนต์ ทั้งนี้เพื่อช่วยน้อมนำ�ใจท่านไป ในทางธรรมบ้าง พร้อมกันนั้นก็ลองชวนท่านทำ�สมาธิหรือเจริญสติ วิธีง่ายๆ ก็คือ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๐


ให้มีความรู้สึกตัวเวลายืดแขน หดแขน กำ�มือ แบมือ เอามือวางบนท้องเพื่อรู้สึกถึงท้องที่พองยุบ ระหว่างที่ทำ�ก็น้อมใจจดจ่อหรือรับรู้ถึงความรู้สึกทางกาย ดังกล่าว โดยไม่ต้องปิดตา ทำ�อย่างน้อย ๕ นาที ถ้าลูกหลานทำ�พร้อมกับท่านหรือทำ�เป็นเพื่อนท่านก็ยิ่งดี ถ้าทำ�สม่ำ� เสมอ สติที่เกิดขึ้นจะช่วยท่านได้มากเวลาเกิดทุกขเวทนา หรือเกิดความว้าวุ่นตื่นกลัวเมื่อใกล้ตาย

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๑


หวั่นไหว เรื่องความตาย ปุจฉา

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๒

กราบเรียนถามค่ะ ดิฉันไม่เข้าใจตัว เองว่าทำ�ไมเวลาเจอกับเรื่องของความตายทีไร ต้องร้องไห้ทุกที ทั้งที่จิตใจรู้ดีว่าเรื่องนี้เป็น เรื่องธรรมดาได้ดูวีซีดีที่พระอาจารย์โปรด นำ�ทางคนใกล้ตาย ท่านสงบมาก แต่ดิฉันดูไปร้องไห้ไปทั้งที่ไม่รู้จัก คนตายด้วยซ้ ำ� ไป ทำ�อย่างไร จึงจะไม่ร้องไห้เวลาได้ประสบกับ เรื่องของความตาย กราบขอบพระคุณค่ะ


วิสัชนา

ที่คุณร้องไห้คงเป็นเพราะเวลาได้ยินได้รับรู้เรื่องนี้แล้วทำ�ให้ระลึกถึง ความตายของตนเอง ในใจคุณนั้นยังมีความอาลัยในชีวิต ความหวงแหนใน ตัวตน รวมทั้งความกลัวตายจึงรู้สึกหวั่นไหว ไม่สามารถครองใจเป็นปกติได้ เมื่อตระหนักชัดว่า สักวันหนึ่งคุณเองก็ต้องตายเหมือนคนอื่นๆ อันนี้เป็นเรื่อง ธรรมดาอย่าปฏิเสธปฏิกิริยาดังกล่าวของใจ เมื่อร้องไห้ก็รับรู้ว่าร้องไห้ ยอมรับ มัน อย่าไปกดข่มมัน ที่คุณพูดว่า “จิตใจรู้ดีว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดา” อัน นี้เป็นการรู้ในระดับเหตุผล หรือระดับสมองแต่ยังไม่ลงลึกไปถึงระดับอารมณ์ หรือหัวใจ พูดอีกอย่างคือสมองกับหัวใจยังไม่ไปด้วยกัน สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือ ระลึกถึงความตายบ่อยๆ ที่เรียกว่า

มรณานุสติ การระลึกนึกถึงบ่อยๆ จะช่วยให้ใจยอมรับความตายได้ดีขึ้น

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๓


มรณานุสติ คือ ระลึกว่าสักวันหนึ่ง

ฉันจะต้องตาย แต่จะตายเมื่อไหร่ไม่รู้ อาจเป็นวันนี้ พรุ่งนี้ก็ได้ จากนั้นให้ถามตัวเองว่า หากต้องตายวันนี้ พรุ่งนี้ ฉันพร้อมหรือ ยัง ทำ�ความดีมามากพอหรือเปล่า ทำ�หน้าที่ต่างๆ สมบูรณ์ครบถ้วนหรือ ยัง และพร้อมจะปล่อยวางทุกสิ่ง รวมทั้งลูก หลาน พ่อ แม่หรือไม่ หากไม่ พร้อมก็ควรขวนขวายทำ�สิ่งเหล่านี้เพื่อเป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมรับ ความตายเสมอ หากทำ�ถูก จิตใจจะกระตือรือร้น ไม่หดหู่ซึมเศร้า คุณควรทำ� ทุกวัน เช่น ก่อนนอน หรือตื่นเช้าใหม่ๆ จิตใจจะยังหวั่นไหว ต่อต้านอยู่ แต่ หากทำ�ไปเรื่อยๆ ทำ�บ่อยๆ จิตใจก็จะยอมรับและปรับตัวได้ อีกทั้งยังช่วยให้ ขวนขวายในการเตรียมตัวเตรียมใจในเรื่องนี้ การเตรียมตัวเตรียมใจเสมอจะ ทำ�ให้คุณกลัวตายน้อยลงและไม่หวั่นไหวเมื่อรับรู้ถึงความตายของคนอื่นหรือ แม้กระทั่งคนที่คุณรักหรือใกล้ชิด จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๔


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๕


ฝึกใจอย่างไร

ไม่ให้กลัว

ความพลัดพราก ปุจฉา

กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ ดิฉันรู้สึกกลัวกับการ พลัดพรากมาก ดิฉันควรเริ่มทำ�อย่างไรเพื่อฝึกให้สิ่งเหล่านี้เป็น เรื่องธรรมดา ไม่ทราบว่าจะเริ่มที่ตรงไหนดีคะ จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๖


วิสัชนา

หากคุณต้องการฝึกให้มองเห็นความพลัดพรากนี้เป็นธรรมดา ก็อาจ เริ่มต้นจากการพิจารณาความจริงที่เรียกว่า อภิณหปัจจเวกขณ์ ซึ่งมีสาระ ดังนี้ “เรามี ความแก่ เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ เรามี ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้ เรามี ความตาย เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ เราจะต้อง พลัดพราก จากของรักของชอบใจทั้งนั้น เรามีกรรมดีเป็นของตัว เราทำ�กรรมอันใดไว้ เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น”

คุณลองพิจารณาบทนี้ทุกวันทั้งเวลาตื่นนอนและก่อนนอน เมื่อทำ�เป็น กิจวัตรแล้ว จากนั้นก็ลองพิจารณาให้เป็นรูปธรรมขึ้นอีกหน่อย กล่าวคือ

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๗


ขอให้นึกถึงคนรัก แต่ละคน ว่าเขาไม่สามารถอยู่ในโลกนี้กับเราไปได้ตลอด สักวันหนึ่งก็จะต้องจากไป ไม่ช้าก็เร็ว ดังนั้นจึงควรทำ�ดีต่อเขา

หากคุณกลัวการพลัดพรากจากคนรัก ก็

ทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อที่จะได้ไม่เสียใจหากถึงวันที่ต้องพรากจากกัน

ประการต่อมา ก็คือ เจริญมรณานุสติ​ิ

โดย ทำ�ก่อนนอนทุกคืน กล่าวคือให้ระลึกว่า สักวันหนึ่งคุณก็ต้องตาย จากโลกนี้ไป เมื่อไรไม่รู้ อาจจะไกลหรือใกล้ก็ได้ พิจารณาต่อไป ว่า หากคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของคุณ คุณพร้อมที่จะจากโลกนี้ไป หรือยัง พร้อมที่จะจากคนที่คุณรักไปหรือไม่ หากไม่พร้อม ก็ฝึก ใจให้ลองปล่อยวางเขาอยู่เรื่อยๆ การทำ�อย่างนี้ทุกคืนหรือบ่อยๆ จะช่วยให้คุณพร้อมปล่อยวางเขาได้เมื่อถึงวันที่คุณต้องจากเขา ถ้า ทำ�ได้ก็จะช่วยให้คุณมีความพร้อมมากขึ้นในยามที่เขาเป็นฝ่าย จากคุณไป

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๘


ประการสุดท้าย เวลาไปงานศพหรือได้ข่าวคนตาย

ขอให้น้อมใจนึกต่อไปว่า สักวันหนึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็ต้องเกิดขึ้น กับเราและคนที่เรารัก ใหม่ๆ ใจจะต่อต้านหรือรู้สึกหดหู่เศร้าหมอง แต่ต่อมาก็จะคุ้นเคยและยอมรับความจริงดังกล่าวได้มากขึ้น

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๑๙


กลัวตาย

ควรทำ�อย่างไร ปุจฉา

กราบมนัสการพระอาจารย์ด้วยความเคารพ เมื่ออายุมากขึ้น ก็ยิ่ง เดินทางเข้าใกล้ความตายมากขึ้น ทุกครั้งที่ผมนึกถึงว่าวันหนึ่งเราต้องจาก โลกนี้ไป จะรู้สึกเศร้า วิตก ทุกข์ กลัว แม้จะพยายามยอมรับความจริงว่า ทุกคนต้องไปเหมือนกันหมด ตามกฏของธรรมชาติกลับยิ่งเศร้าและทุกข์มาก ขึ้น เพราะเท่ากับว่าอนาคตจะไม่มีอะไรเหลืออีกเลย ผมกราบขอข้อคิดในทาง ธรรมที่จะช่วยให้การยอมรับและเข้าในสัจธรรม ด้วยความสงบ และลดความ กลัว ความเศร้าหมอง ความทุกข์ ลงไปได้บ้าง

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๒๐


วิสัชนา

ในเมื่อพรุ่งนี้เป็นสิ่งไม่แน่นอน จึงควรมองว่าวันนี้เป็นสิ่งที่มีค่ามาก คุณจึงควรใช้เวลาทุกนาทีของวันนี้ให้มีประโยชน์เต็มที่ ไม่ปล่อยให้ล่วงเลย ไปโดยเปล่าประโยชน์ นอกจากหมั่นทำ�ความดี สร้างกุศลแล้ว ก็ควรเร่งทำ� หน้าที่ที่รับผิดชอบให้ครบถ้วน ไม่ปล่อยให้คั่งค้าง และที่สำ�คัญไม่น้อยกว่า กันก็คือ

เปิดใจรับความสุขในปัจจุบันขณะ เป็นสุขที่ไม่ต้องไล่ล่าหาจากอนาคต หรือจากสิ่งที่ตัวเองยังไม่มี แต่เป็นสุขที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน นั่นคือชื่นชมสิ่งดีๆ ที่มีอยู่กับตัว

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๒๑


ถ้าทำ�ใจอย่างนี้ได้ คุณจะมีความสุขและปีติอิ่มเอิบทุกวัน โดยไม่ต้องรอหาความสุขจากวันพรุ่งนี้ ขณะเดียวหากวันพรุ่งนี้ยังมีอยู่ ก็เป็นของแถมสำ�หรับ ชีวิตเพื่อทำ�ความดีให้เพิ่มพูนมากขึ้น การคิดถึงความตายหรือความไม่แน่นอนของชีวิตนั้น แม้เป็นสิ่งที่ดี แต่หากทำ�ใจไม่เป็น ก็จะเศร้าสร้อยหดหู่ แต่ถ้าวางใจเป็นก็จะเกิดความ กระตือรือร้น ไม่ประมาท และหากคุณยิ่งขวนขวายทำ�สิ่งที่ควรทำ�ในขณะ ที่ยังมีเวลา ความหดหู่กังวลหรือเศร้าสร้อยจะมาครองใจคุณไม่ได้เลย เพราะคุณจะไม่มีเวลาสำ�หรับอารมณ์อย่างนั้นอีกต่อไป

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๒๒


จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๒๓


ความเข้าใจ เรื่อง

การตายอย่างสงบ

ปุจฉา

ถ้าหากมีคนเข้าใจเรื่องการ ตายอย่างสงบ จะทำ�ให้การขัดแย้งใน การเตรียมตัวตายให้ญาติหรือตัวเอง จะหมดไป เพราะว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจ ตรงกัน เป็นไปได้ไหมคะ

วิสัชนา ถ้าลูกหลานญาติมิตรเข้าใจเรื่องการตายอย่างสงบ ความขัดแย้งใน การช่วยเหลือผู้ใกล้ตายจะลดลงไปได้มาก เพราะที่ผ่านมามักมีความขัดแย้ง จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๒๔


ระหว่างผู้ที่อยากยื้อให้มีลมหายใจได้นานที่สุด (จึงต้องแทรกแซงร่างกายผู้ ป่วยอย่างเต็มที่) กับผู้ที่อยากให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ (ไม่อยากให้ทำ�อะไร กับร่างกายผู้ป่วยอีกแล้ว แต่ให้เน้นเรื่องการดูแลจิตใจเขาแทน)

หากเข้าใจตรงกันในเรื่องการตายอย่างสงบ การช่วยเหลือผู้ป่วยก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ใกล้ตาย จนถึงวาระที่เขาจากไป ในทางตรงกันข้าม หากญาติมีความเห็นขัดแย้งกัน จนมีปากเสียง หรือทะเลาะกันข้างเตียงผู้ป่วย เขาจะทุกข์ทรมานมาก และอาจตายไม่สงบ อย่าคิดว่าเขาอยู่ในภาวะโคม่าแล้วจะไม่รับรู้อะไร ที่จริงแล้ว เขายังสามารถ รับรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นรอบตัวเขา สำ�หรับผู้สนใจโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ www.budnet.org/peacefuldeath | facebook: Peaceful Death

จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม ๑๒๕


เครือข่ายพุทธิกา การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้น มิใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลใดเพียง กลุ่มเดียว ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จ�ำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือรัฐบาลเท่านั้น หากเป็น หน้าที่ของชาวพุทธทุกคน และเป็นความรับผิดชอบที่พระพุทธองค์ทรงมอบหมายแก่ พุทธบริษัททั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา”จึงเกิดขึน้ เพือ่ เป็นองค์กรประสานงานในภาคประชาชน ส�ำหรับการเคลือ่ นไหวผลักดันให้มกี ารฟืน้ ฟูพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและต่อเนือ่ ง ทัง้ นี้ ด้วยการท�ำให้พุทธธรรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและมีความหมายต่อสังคม กิจกรรมของเครือข่ายพุทธิกา ๑) โครงการฉลาดท�ำบุญด้วยจิตอาสา เพื่อให้การท�ำบุญนั้นเกิดประโยชน์ครอบคลุม ทั้งประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามในสังคม ๒) โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนมีท่าทีที่ถูกต้องต่อความตาย พร้อมรับความตาย ด้วยการหมั่นท�ำความดี และฝึกฝนจิตใจอยู่เสมอ รวมทั้งส่งเสริม การดูแลจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพื่อการตายอย่างสงบ ๓) โครงการศิลปะเพือ่ ชีวติ และอิสรภาพของคนรุน่ ใหม่ (ป่วน) เพือ่ น�ำหลักธรรมมาสูค่ น รุ่นใหม่อย่างสมสมัยไม่น่าเบื่อ และสามารถตอบโจทย์ชีวิตของเขาได้ นอกจากนั้นยังมีงานสื่อสารและเผยแพร่ ในรูปหนังสือ ซีดี ดีวีดี อีกมากมาย ประธานคณะท�ำงาน พระไพศาล วิสาโล สถานที่ติดต่อ ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ ถ.อรุณอมรินทร์ บางกอกน้อย กทม.๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐๒-๘๘๒-๔๓๘๗,๐๒-๘๘๒-๔๙๕๒, ๐๘๖-๓๐๐-๕๔๕๘ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com เว็บไซต์ www.budnet.org


รายนามผู้ร่วมจัดพิมพ์หนังสือ “จิตวุ่นวาย คลายด้วยธรรม” กลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม ครอบครัววิทยาคุณสกุลชัย ครอบครัวสถิตจินดาวงศ์ ครอบครัวเอี่ยมฐิติวัฒน์ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บลจ กสิกรไทย ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อต่างประเทศเอ็ดดูเวิลด์ ดร.ดรุณี ทันตสุวรรณ ดร.เทวรักษ์-เสาฐ์วลักษณ์ โรจนพฤกษ์ คุณกมลาภรณ์ ศิริศรชัย คุณกรวีร์ แม่นศรแผลง คุณกฤษดา บัญฑิตนพรัตน์ คุณกัลยาณี เตชะนิรัติศัย คุณกิจจา ประชาผดุง คุณกิตติพงษ์ แพรักขกิจ คุณจักรชัย คงแสงไชย คุณเจริญลักษณ์ ขัมพานนท์ คุณชมกร จิวะพงศ์ คุณชรินทร์ งามไตรเลิศ คุณชัชวาล อัศวกนกศิลป์ คุณชัยรัตน์ พันเลิศศฤงคาร คุณณัฐ กรศรีทิพา คุณณัฐ-วรรณวิภา มาลัยนวลและครอบครัว คุณดนัย กนกวัฒน์ คุณทิพวรรณ ทิพยทัศน์ คุณธมล ห้วงด�ำรงเวศ คุณธิติสรรค์ ตรีทิเพนทร์ คุณนภสร ศรีเศรษฐ์ คุณนันทยา กิตติคุณ คุณนันทวัน วิมานรัตน์ คุณน�้ำผึ้ง-กีวี พนายางกูร คุณนุชจรินทร์ นิรนาทกุล คุณบุญจิรา-ชาตรี ศิริวัฒน์ คุณปฐมพงศ์ วิริยพัตร คุณป้าอ้อ (Narissa Q Function) คุณปิยพัชร์ สุวรรณกิตติภูมิ พญ.พรทิพย์ เชาวรัยวงษ์ คุณพรรณี แม่นศรแผลง คุณพวงจันทร์ รัตนเสรีวงษ์ คุณพิกุล-มานิจ วราภาคย์ คุณพิเชฐ พงศาพิชญ์

คุณเพชรา ลีพิบูลสวัสดิ์ คุณเพ็ญจันทร์ พิทักษ์สิทธิ์ คุณเพียรเลิศ วงศ์ภิรมย์ศานต์ คุณภาวนา เนียมลอย คุณภัทรชาติ หงส์แสงไทย คุณภาษิต อัสสมงคลและครอบครัว คุณมัลลี กรรณสูตร คุณมานิดา ศรีแก้วนิลและครอบครัว คุณมาริสา นุชเจริญ อุทิศให้คุณพ่อโฮมิ้ม แซ่หน่า คุณยิ่งวรรณ์ ธรรมธรานนท์ คุณยุทธนา-ยุพิน หวังวิทยากุล คุณราเชน มีศรี คุณวิจิตรา เกาศล คุณวิทยา-คนึงนิตย์ นคเรศไอศูรย์และครอบครัว คุณวิภา เลิศฤทธิ์ภูวดล คุณวิรัช-นัชชา ต่อเทียนชัย คุณศรีกานต์ พลมณี คุณศุภนุช ชวิทย์ฤทัยกุล คุณศุภสิทธ์-ปิยะพร คลองน้อย คุณสนิท ศิริสวัสดิ์วัฒนาและครอบครัว คุณสมชัย-อรนุช-พิรตนย์ เหลืองอร่ามกุล คุณสมฤทธิ์ ตรีทิเพนทร์ คุณสวุรรณา บัวทองศรี คุณสุชลา สินอมรเวช คุณสุชาดา-ศิริวัฒน์ ขาววิสุทธิ์ คุณสุธีรา ตรีทิเพนทร์ คุณสุมนา โลหะวิศวพานิช คุณสุรพล-อัมพร เพชรวรา คุณสุรีรัตน์-แก้วร�ำไพ เลี่ยมตระกูล คุณสุวลี เจริญธนากิต คุณสุวิมล วิสารทเวคิน คุณเสาฐ์วลักษณ์ โรจนพฤกษ์ คุณวันทนีย์ อุ่นจันทร์ คุณอภิชาติ เลิศวิริยจิตต์ คุณอภิรดี วานิชกุล คุณอภิสรา อนงคณะตระกูล คุณอรุณเนตร จงประสิทธิผล คุณอารีย์-วุฒิศักดิ์ ชีวไมตรีวงศ์ คุณอุบล ติวยานนท คุณ Darg Sasivimol



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.