รายงานประจำปี 2558

Page 1



สารบัญ 2

วิสัยทัศน์ พันธกิจ กฟผ.

3

วัฒนธรรมองค์การ ค่านิยมองค์การ วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์หลักของ องค์การ

4

เกี่ยวกับ กฟผ.

5

ภาพรวมทางการเงิน

8

สารประธานกรรมการ

10

รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

12

สถานการณ์ไฟฟ้ากับสภาวะเศรษฐกิจไทย

14

ผลการดำ�เนินงาน

24

ลักษณะการประกอบธุรกิจและบริษัทในเครือ

30

วิเคราะห์ผลการดำ�เนินงานและฐานะการเงิน

38

การบริหารความเสี่ยง

42

โครงสร้างองค์การ กฟผ.

43

โครงสร้างการจัดการองค์การ

58

คณะกรรมการ กฟผ.

66

คณะผู้บริหาร กฟผ.

72

การกำ�กับดูแลกิจการที่ดี

82

สรุปผลการดำ�เนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในปี 2558

86

การพัฒนาระบบไฟฟ้า และแผนงานในอนาคต

100

การพัฒนาองค์การ และทรัพยากรบุคคล

102

ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

112

เหตุการณ์สำ�คัญในรอบปี

118

ข้อมูลและสถิติ

128

รายงานของผู้สอบบัญชี

130

งบการเงิน

208

ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี


2

วิสัยทัศน์ กฟผ. “เป็นองค์การชั้นนำ�ในกิจการไฟฟ้าในระดับสากล” โดยก�ำหนดให้ กฟผ. เป็นเลิศในการด�ำเนินงาน ทุกด้าน ตั้งเป้าให้ กฟผ. มีความสามารถอยู่ในกลุ่มระดับยอดเยี่ยม (Top Quartile) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า อื่น ๆ ในโลก โดยมีเป้าหมายของการเป็นองค์การชั้นน�ำรวม 5 ด้าน ประกอบด้วย

1. Good Corporate Governance • เป็นองค์การที่มีธรรมาภิบาล 2. High Performance Organization • เป็นองค์การที่มีการบริหารงานที่ดีมีประสิทธิภาพสูง 3. Operational Excellence • เป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพการท�ำงานเป็นเลิศ 4. National Pride • เป็นองค์การที่สังคมไว้วางใจและเป็นความภูมิใจของชาติ 5. Financial Viability • เป็นองค์การที่มีฐานะการเงินมั่นคงเพียงพอต่อการขยายงาน

ผลิต จัดหาให้ได้มา จัดส่ง หรือจำ�หน่ายซึ่งพลังงานไฟฟ้า ดำ�เนิน ธุรกิจกับพลังงานไฟฟ้า และธุรกิจเกีย ่ วกับหรือต่อเนือ ่ งกับกิจการ ของ กฟผ. รวมถึงผลิต และขายลิกไนต์ ซึง่ เป็นไปตามขอบเขตของ พ.ร.บ. กฟผ. ปี 2511 (ฉบับปรับปรุงปี 2535)

พันธกิจ


3

วัฒนธรรมองค์การ รักองค์การ มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม

ค่านิยมองค์การ F : Fairness ตั้งมั่นในความเป็นธรรม I : Integrity ยึดมั่นในคุณธรรม R : Responsibility & Accountability ส�ำนึกในความรับผิดชอบและหน้าที่ M : Mutual Respect เคารพในคุณค่าของคน C : Commitment to Continuous Improvement and Teamwork มุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และท�ำงานเป็นทีม

วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์หลักขององค์การ กฟผ. จะมุ่งด�ำเนินการให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ ด้วยการด�ำเนินงานตามวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์หลักขององค์การ ที่ตั้งไว้ 4 ด้านที่ส�ำคัญ ได้แก่ 1. ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านธุรกิจหลักให้อยู่ในระดับ Global Top Quartile 2. ด�ำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องร่วมกับบริษัทในเครือของ กฟผ. 3. ส่งเสริมให้เป็นองค์กรที่ภาคภูมิใจของประเทศ 4. พัฒนางานสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หลัก


4

เกี่ยวกับ กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ กฟผ. พ.ศ. 2511 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2512 และครบรอบ 46 ปี ในปี 2558 ซึ่ง กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน สังกัดกระทรวงพลังงาน โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น รายใหญ่ ด�ำเนินกิจการหลักในด้านการผลิต จัดให้ได้มา และจัดส่งพลังงานไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตามที่กฎหมายก�ำหนด รวมทั้งประเทศใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย เป็นต้น รวมถึงด�ำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยว เนื่องกับพลังงานและบริการไฟฟ้า ผลิตและขายลิกไนต์หรือวัตถุเคมีจากลิกไนต์ ภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ. พ.ศ. 2511 และ ปรับปรุงล่าสุด พ.ศ. 2535 ปัจจุบันการด�ำเนินงานของ กฟผ. เป็นไปตามโครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่มี กฟผ. เป็นผู้ผลิต ส่งไฟฟ้า รวมทั้งควบคุมการผลิต และส่งไฟฟ้าทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้ พร้อมให้ความส�ำคัญต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชนและสังคม โดยมีคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรคกูเรเตอร์ ท�ำหน้าที่ก�ำกับดูแล กฟผ. มีส�ำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 53 หมู่ 2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ อ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 และมีส�ำนักงานของ ฝ่ายปฏิบัติการระบบส่งอีก 5 แห่ง โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี 2 แห่ง จังหวัดพิษณุโลก 1 แห่ง จังหวัดขอนแก่น 1 แห่ง และจังหวัด กระบี่ 1 แห่ง


5

ภาพรวมทางการเงิ น

หน่วย : ล้านบาท

ปี 2558

ปี 2557

ปี 2556

ผลประกอบการ รายได้จากการขายสินค้าและบริการ 546,480.33 557,080.18 536,294.27 ก�ำไรจากการขายและบริการ 72,175.49 60,848.68 63,221.15 ก�ำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (12,016.53) 774.21 (4,975.79) ต้นทุนทางการเงิน 31,697.89 25,679.05 25,675.02 ก�ำไรสุทธิ - ส่วนที่เป็นของ กฟผ. และบริษัทย่อย 31,178.88 39,162.18 34,778.95 ก�ำไรสุทธิ - ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอ�ำนาจควบคุม 1,579.00 3,321.54 3,570.15 ฐานะการเงิน สินทรัพย์รวม 876,625.40 734,965.04 708,599.67 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 273,251.44 259,020.27 236,190.88 หนี้สินรวม 496,060.97 362,101.69 357,049.81 เงินกู้ยืมระยะยาว 75,816.28 81,874.41 83,701.58 ส่วนของเจ้าของและส่วนได้เสียที่ไม่มีอ�ำนาจควบคุม 380,564.43 372,863.35 351,549.87 อัตราส่วนทางการเงิน อัตราก�ำไรขั้นต้น (ร้อยละ) 16.29 13.99 14.79 อัตราก�ำไรสุทธิ (ร้อยละ) 5.99 7.63 7.15 อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ร้อยละ) 4.07 5.89 5.55 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (เท่า) 1.30 0.97 1.02 อัตราส่วนความสามารถในการช�ำระดอกเบี้ย (เท่า) 2.08 2.70 2.55 หมายเหตุ: อัตราส่วนทางการเงินส�ำหรับปี 2558 ปี 2557 และปี 2556 ค�ำนวณจากงบการเงินที่ได้จัดท�ำตามการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17


กฟผ. เชื่อมั่น ในการแบ่งปัน และเกื้อกูล

จะช่วยให้ สังคมไทยเข้มแข็ง และองค์การเติบโต ได้อย่างยั่งยืน



สารประธานกรรมการ กฟผ. เป็นองค์การหลักด้านความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย เรามุ่งมั่นพัฒนาเพื่อสร้างสมดุลทางพลังงาน อย่างยั่งยืน ภายใต้แผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2558 - 2579 (PDP 2015) กฟผ. มีเป้าหมายในการกระจายแหล่ง เชื้อเพลิง ด้วยการลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าจากร้อยละ 70 ลงเหลือไม่เกินร้อยละ 40 พร้อมทั้งเพิ่มสัดส่วนการใช้ พลังงานทดแทนจากร้อยละ 8 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 15 - 20 เมื่อสิ้นสุดแผนฯ ขณะเดียวกัน ก็มีเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ในการผลิตไฟฟ้าจาก 0.506 กิโลกรัมต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงในปี 2556 ให้เหลือ 0.319 กิโลกรัมต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ภายใน ปี 2579 (หรือลดลงร้อยละ 37) โดยที่จะรักษาระดับราคาค่าไฟฟ้าให้เหมาะสมเป็นธรรมและมีเสถียรภาพ เพื่อเสริมสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว จากการทีป่ ระเทศไทยได้แสดงเจตจ�ำนงในการลดก๊าซเรือนกระจก (Intended Nationally Determined Contributions INDCs) ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 (COP21) ที่กรุงปารีส เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2558 เพื่อมีส่วนร่วมในการแสดงเจตจ�ำนงดังกล่าวของไทย กฟผ. จึงมีเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 12.47 ล้าน ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2573 โดยก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้เคยแสดงเจตจํานงการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะ สมของประเทศ (Nationally Appropriation Mitigation Actions: NAMAs) ร้อยละ 7 - 20 ภายในปี 2563 (จากปีฐาน 2548) ซึ่งเดิม กฟผ. มีส่วนร่วมรับผิดชอบในเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นจ�ำนวน 3 - 4 ล้านตันฯ แต่จากการประเมินศักยภาพการ ลดก๊าซเรือนกระจกล่าสุดในโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าใหม่ การ ปรับปรุงอุปกรณ์โรงไฟฟ้าปัจจุบัน และการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า กฟผ. เชื่อว่าจะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 5.4 ล้านตันฯ ภายในปี 2563 กอปรกับการริเริ่มโครงการอื่น ๆ เช่น การจัดท�ำคาร์บอนฟุตปริ้นท์ของโรงไฟฟ้า จะส่งผลให้ กฟผ. ก้าวไปสู่การเป็น องค์การทีช่ ว่ ยสร้างสังคมคาร์บอนต�ำ่ และมีสว่ นร่วมกับประชาคมโลกในการช่วยบรรเทาปัญหาการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศด้วย ผลจากระดับราคาน�้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลง ประกอบกับการบริหารจัดการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ได้ส่งผลดีต่อ ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในปี 2558 ซึ่งคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ตลอดปี 2558 ลงจ�ำนวน 3 ครั้ง รวม Ft ลดลงทั้งสิ้น 22.62 สตางค์ต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานในปี 2558 ยังสามารถปรับค่าไฟฟ้าลดลงได้อีก 1.05 สตางค์ต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมงด้วย แม้วา่ เศรษฐกิจของไทยจะปรับตัวดีขนึ้ จากการลงทุนภาครัฐทีเ่ พิม่ สูงขึน้ การใช้จา่ ยภาคครัวเรือนทีเ่ ริม่ ฟืน้ ตัว แต่การลงทุน ของภาคเอกชน และการส่งออกสินค้า ยังคงได้รบั ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และสาขาเกษตรกรรมได้รบั ผลกระทบจากภัยแล้ง ส่ง ผลให้ปริมาณความต้องการไฟฟ้าเพิม่ ขึน้ ต�ำ่ กว่าทีป่ ระมาณการไว้ ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในปี 2558 เท่ากับ 27,345.80 เมกะวัตต์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50) โดยความต้องการพลังงานไฟฟ้าสุทธิของระบบ กฟผ. มีค่าเท่ากับ 183,466.84 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.31) ณ สิ้นปี 2558 ระบบผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. มีก�ำลังผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 38,838.45 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.03 แบ่ง เป็นก�ำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. 15,548.13 เมกะวัตต์ (คิดเป็นร้อยละ 40.03 ของระบบ) ก�ำลังผลิตจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ภายในประเทศและการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านรวม 23,290.32 เมกะวัตต์ (หรือคิดเป็นร้อยละ 59.97 ของระบบ) ในด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้า มีการผลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. รวม 69,839.52 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง (คิดเป็นร้อยละ 38.07) ซื้อจากเอกชนและต่างประเทศ จ�ำนวน 113,627.32 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง (คิดเป็นร้อยละ 61.93) โดยเป็นการผลิตจากเชื้อ เพลิงก๊าซธรรมชาติร้อยละ 69.22 ถ่านหินร้อยละ 17.87 พลังน�้ำ ร้อยละ 2.05 น�้ำมันเตา น�้ำมันปาล์ม และน�้ำมันดีเซลร้อยละ 0.72 ซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศร้อยละ 7.86 และพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 2.31 จ�ำหน่ายพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 179,537.39 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3.42


นอกจากภารกิจหลักในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า กฟผ. ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์การให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ที่ไม่เพียงมุ่งมั่นใน ความเป็นเลิศ แต่ยังต้องมีความเอื้ออาทรต่อสังคมและชุมชน อาทิ การเข้า ร่วมโครงการจิตอาสาต่าง ๆ เช่น โครงการปลูกป่า โครงการแว่นแก้ว โครงการชีววิถเี พือ่ การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน เพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ในการสร้างสรรค์ สังคมไทยให้เข้มแข็ง และเกื้อกูลกัน รวมทั้งการแบ่งปันความรู้ด้านกิจการ ไฟฟ้าผ่านการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center) 7 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จจ�ำนวน 2 แห่ง และคาดว่าจะแล้วเสร็จครบทั้งหมด ภายในปี 2561 นอกจากนี้ ยังมีนโยบายก่อสร้างเพิม่ เติมอีก 2 แห่ง ในพืน้ ที่ โครงการโรงไฟฟ้าใหม่ภาคใต้ ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานเหล่านี้ จะเป็น แหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า สูเ่ ยาวชนและ สังคมไทยทั่วทุกภูมิภาค ในปี 2558 กฟผ. ยังได้สนองนโยบายรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือชาว เกษตรกรสวนปาล์ม จังหวัดกระบี่ ด้วยการปรับปรุงอุปกรณ์โรงไฟฟ้า และ รับซื้อปาล์มน�้ำมันดิบเพิ่มเติม คิดเป็นปริมาณรวมรับซื้อน�้ำมันปาล์มทั้งสิ้นในปี 2558 จ�ำนวน 25,730 ตัน เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน รวมถึงเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนเพือ่ ให้โรงไฟฟ้าสามารถอยูร่ ว่ มกับชุมชนได้อย่างเกือ้ กูล และยั่งยืน ในปี 2558 กฟผ. ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติที่ส�ำคัญ ๆ อาทิ รางวัล ASEAN Coal Awards 2015 โดยโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้รับ รางวัลชนะเลิศ ด้าน Best Practice of Clean Coal Use and Technology in Power Generation และด้านความรับผิดชอบต่อ สังคม เหมืองแม่เมาะได้รับรางวัลด้านพลังงานสร้างสรรค์ จากระบบสูบน�้ำแบบอนุกรมต่างระดับอัตโนมัติ และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ด้าน Best Practice of Surface Coal Mining ในหัวข้อกิจการท�ำเหมือง การเปิดหน้าเหมือง และการขนส่งถ่านหิน โดย ค�ำนึงถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ กฟผ. จะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการด�ำเนินงานให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ ด้วยการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ดูแลสังคมและสิง่ แวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมการอนุรกั ษ์และการใช้พลังงานอย่างมีคณ ุ ค่า พร้อมทัง้ แสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ในการขยาย ธุรกิจทัง้ ในและต่างประเทศผ่านบริษทั ในเครือ และเดินหน้าการพัฒนาระบบส่งเชือ่ มโยงระหว่างประเทศตามโครงการ ASEAN Power Grid ในการถ่ายเทพลังงาน เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานร่วมกันของภูมิภาค ในนามของคณะกรรมการ กฟผ. ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ผมขอขอบคุณผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ที่ได้สนับสนุน การด�ำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยด้วยดีเสมอมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความสนับสนุนเพื่อสร้างความ เจริญมั่นคงให้แก่กิจการไฟฟ้าของประเทศตลอดไป

(นายคุรุจิต นาครทรรพ)

ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


10

รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการ กฟผ. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ รวม 3 คน โดยคัดเลือกจากกรรมการ กฟผ. ที่เป็นกรรมการอิสระ ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 คน เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านการบัญชีและการเงิน โดยผู้ช่วย ผู้ว่าการส�ำนักตรวจสอบภายในท�ำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระตามแนวทางที่ก�ำหนดในข้อบังคับ กฟผ. ว่าด้วยคณะกรรมการ ตรวจสอบ เพื่อมุ่งเน้นการสร้างกระบวนการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ในปี 2558 คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมร่วมกับฝ่ายบริหาร และผู้สอบบัญชี (ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน) ตามวาระที่เกี่ยวข้อง รวม 10 ครั้ง สรุปสาระส�ำคัญ ดังนี้

• สอบทานรายงานทางการเงินประจ�ำเดือน ประจ�ำไตรมาส และงบการเงินประจ�ำปี ของ กฟผ. และบริษัทย่อย รวมทั้งผลการด�ำเนินงานร่วมกับผู้ว่าการ รองผู้ว่าการบัญชีและการเงิน และผู้สอบบัญชี ส�ำนักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน โดยพิจารณาในประเด็นทีส่ ำ� คัญและให้ขอ้ คิดเห็นทีเ่ ป็นประโยชน์ เพือ่ ให้มนั่ ใจว่ารายงานทางการเงินของ กฟผ. ได้จัดท�ำขึ้นอย่างถูกต้องตามที่ควร เชื่อถือได้ มีการเปิดเผยข้อมูลที่ส�ำคัญอย่างเพียงพอ และเป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป

• สอบทานกระบวนการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของ กฟผ. เพื่อพิจารณาความเพียงพอ และความ เหมาะสม รวมทั้งความครอบคลุมประเด็นที่มีนัยส�ำคัญ

• สอบทานรายงานผลการตรวจสอบภายใน กฟผ. เป็นประจ�ำทุกไตรมาส รวมทั้งบริษัทในเครือ และติดตามการ ด�ำเนินการแก้ไข ปรับปรุง ตามข้อเสนอแนะอย่างต่อเนื่อง

• สอบทานรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ว่าการ

• หารือร่วมกับผู้ว่าการ และผู้สอบบัญชีในการพัฒนาระบบการควบคุมภายใน

• หารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงและฝ่ายบริหารสายงาน เพื่อพิจารณาการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการก�ำกับดูแลกิจกรรมส�ำคัญทีอ่ ยูใ่ นความรับผิดชอบของสายงาน เพือ่ ให้เกิดผลประโยชน์สงู สุดต่อการด�ำเนิน งานของ กฟผ.

• หารือกับผูส้ อบบัญชีเกีย่ วกับขอบเขตและแนวทางการปฏิบตั งิ าน รวมทัง้ ผลการปฏิบตั งิ านของผูส้ อบบัญชี เพือ่ ให้ เกิดการประสานงานที่ดี และลดความซ�้ำซ้อนในการปฏิบัติงาน


11

• อนุมตั แิ ผนการตรวจสอบประจ�ำปี 2559 และแผนการตรวจสอบเชิงกลยุทธ์ 5 ปี (ปี 2559 - 2563) ความเพียงพอ ของทรัพยากร และการประเมินผลการปฏิบัติงานของส�ำนักตรวจสอบภายใน

• ทบทวนความเหมาะสมของข้อบังคับ กฟผ. ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อบังคับ กฟผ. ว่าด้วยการตรวจสอบ ภายใน และคู่มือการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน

• จัดท�ำรายงานผลการด�ำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เสนอคณะกรรมการ กฟผ. กระทรวงพลังงาน และ กระทรวงการคลัง

• คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ประเมินผลการปฏิบัติงาน แบบประเมินตนเองทั้งคณะและรายบุคคล ตามแนวทาง ปฏิบตั สิ ำ� หรับคณะกรรมการตรวจสอบในรัฐวิสาหกิจ ทีก่ ำ� หนดโดยกระทรวงการคลัง และรายงานผลการประเมิน ต่อคณะกรรมการ กฟผ. เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ มีประสิทธิผล โปร่งใส และเป็นที่น่า เชื่อถือ

คณะกรรมการตรวจสอบ เห็นว่าในปี 2558 กฟผ. มีการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน และการก�ำกับดูแล กิจการที่ดีและมีประสิทธิผล ท�ำให้การด�ำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ รายงานทางการเงิน เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรอง ทั่วไป มีการเปิดเผยข้อมูลที่เพียงพอ มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และนโยบายที่ส�ำคัญ ไม่พบข้อบกพร่องที่มีสาระ ส�ำคัญ ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการตรวจสอบได้แสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระและให้ค�ำแนะน�ำแก่ฝ่ายบริหาร และผู้เข้าร่วม ประชุมอย่างตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

(นายปรเมธี วิมลศิริ) ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่ 25 มกราคม 2559


12

สถานการณ์ไฟฟ้ากับสภาวะเศรษฐกิจไทย ในปี 2558 ระบบไฟฟ้าของ กฟผ. มีความต้องการพลังไฟฟ้าสุทธิสูงสุดเท่ากับ 27,345.80 เมกะวัตต์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 11 มิถุนายน 2558 เวลา 14.02 น. มีค่าเพิ่มขึ้นจากความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดของปี 2557 เป็นจ�ำนวน 403.70 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 ส�ำหรับความต้องการพลังงานไฟฟ้าของระบบ กฟผ. ในปี 2558 มีค่าเท่ากับ 183,466.84 ล้าน กิโลวัตต์-ชั่วโมง มีค่าเพิ่มขึ้นจากความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุดสุทธิของปี 2557 ที่มีค่าเท่ากับ 177,580.47 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เป็นจ�ำนวน 5,886.37 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 3.31 ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสุทธิของระบบ กฟผ. ในปี 2558 โดยรวมเติบโตขึ้นสูงกว่าปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจไทยปรับ ตัวดีขึ้นด้วยอานิสงส์จากการส่งออกบริการและการลงทุนภาครัฐขยายตัวสูง การใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาครัฐขยายตัวต่อเนื่อง ขณะทีก่ ารลงทุนภาคเอกชนลดลง การส่งออกสินค้ายังได้รบั ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และสาขาเกษตรกรรมได้รบั ผลกระทบจาก ภัยแล้ง ส�ำหรับปี 2559 คาดว่า ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดสุทธิของระบบ กฟผ. จะมีค่าประมาณ 28,470 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้น จากปี 2558 ประมาณร้อยละ 4.11 และความต้องการพลังงานไฟฟ้าสุทธิของระบบ กฟผ. จะมีค่าประมาณ 187,750 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ประมาณร้อยละ 2.38 (อ้างอิงค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าจากแผนการผลิตไฟฟ้าปี 2559 ของฝ่าย ควบคุมระบบก�ำลังไฟฟ้า กฟผ.)


13

ส�ำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2559 ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ถึง 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนประกอบด้วย การเร่งขึ้นของการใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐ แรงส่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของเศรษฐกิจโลกและราคาส่งออก แนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท การปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของราคาสินค้าเกษตร กอปรกับราคาน�้ำมันที่คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต�่ำ และการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ของภาคการท่องเที่ยว โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 3 การบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนรวมขยายตัว ร้อยละ 2.6 และร้อยละ 9.5 ตามล�ำดับ อัตราเงินเฟ้อทัว่ ไปอยูใ่ นช่วงร้อยละ 1-2 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 5.7 ของผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ


14

ผลการดำ�เนินงาน ก�ำลังผลิตติดตั้ง ในปี 2558 โรงไฟฟ้าของ กฟผ. มีก�ำลังผลิตติดตั้ง 15,548.13 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 40.03 ของก�ำลังผลิตรวม ทั้งประเทศ มีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ก�ำลังผลิตรวม 14,766.70 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 38.02 รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 5,137.02 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 13.23 และรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศอีก 3,386.60 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 8.72

การผลิตและซื้อพลังงานไฟฟ้า ความต้องการพลังไฟฟ้าสุทธิสูงสุดของระบบ กฟผ. (Peak) ครัง้ ล่าสุดทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถนุ ายน 2558 เวลา 14.02 น. มีค่าเท่ากับ 27,345.80 เมกะวัตต์ สูงกว่าปีที่ ผ่านมา เท่ากับ 403.70 เมกะวัตต์ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 (26,942.10 เมกะวัตต์ วันพุธที่ 23 เมษายน 2557 เวลา 14.26 น.) พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตและซื้อสุทธิต่อวัน (Net Energy/ Day) สูงสุดของปีนี้มีค่า 585.20 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง มากกว่า ค่าสูงสุดของปีที่ผ่านมา (574.38 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) เท่ากับ 10.82 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือร้อยละ 1.88 ส�ำหรับพลังงานไฟฟ้าทีผ่ ลิตและซือ้ สุทธิ (Net Energy) ในปี 2558 มีค่าเท่ากับ 183,466.84 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง มากกว่าปีที่ผ่านมา (177,580.47 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) เท่ากับ 5,886.37 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือร้อยละ 3.31 การผลิตและซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. ในปีนี้ ยังคงใช้ก๊าซ ธรรมชาติ เ ป็ น เชื้ อ เพลิ ง หลั ก ผลิ ต พลั ง งานไฟฟ้ า สุ ท ธิ ไ ด้ 126,985.17 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือร้อยละ 69.22 รองลงไป เป็นถ่านหิน 32,780.11 ล้านกิโลวัตต์-ชัว่ โมง หรือร้อยละ 17.87 โรงไฟฟ้าพลังน�้ำ 3,751.79 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือร้อยละ 2.05 ซื้อจากต่างประเทศ 14,426.72 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือ


15

ร้อยละ 7.86 น�้ำมันเตา น�้ำมันปาล์ม และดีเซล 1,319.75 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือร้อยละ 0.72 และพลังงานหมุนเวียน จ�ำนวน 4,230.93 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือร้อยละ 2.31 ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตและซื้อทั้งหมด ปี 2558 มีการน�ำโรงไฟฟ้าเข้าระบบใหม่ดังนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP)

1. บริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จ�ำกัด ชุดที่ 1

800 เมกะวัตต์

วันที่ 1 มิถุนายน

2. บริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จ�ำกัด ชุดที่ 2

800 เมกะวัตต์

วันที่ 1 ธันวาคม

ผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ

1. บริษัทไฟฟ้าหงสา จ�ำกัด (โรงไฟฟ้าหงสา) เครื่องที่ 1

491 เมกะวัตต์

วันที่ 2 มิถุนายน

2. บริษัทไฟฟ้าหงสา จ�ำกัด (โรงไฟฟ้าหงสา) เครื่องที่ 2

491 เมกะวัตต์

วันที่ 2 พฤศจิกายน

30 เมกะวัตต์

วันที่ 1 พฤศจิกายน

10 เมกะวัตต์

วันที่ 1 เมษายน

โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนขนาดใหญ่

1. เขื่อนแควน้อยบ�ำรุงแดน เครื่องที่ 1 - 2

โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนขนาดเล็ก

1. เขื่อนขุนด่านปราการชล

ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประเภทสัญญา Firm

1. บริษัท ผลิตไฟฟ้าครบุรี จ�ำกัด

22 เมกะวัตต์

วันที่ 2 มกราคม

2. บริษัท ราชบุรีเวอลด์ โคเจนเนอเรชั่น จ�ำกัด โครงการ 2 90 เมกะวัตต์

วันที่ 1 มีนาคม

3. บริษัท บี.กริม บีไอพี เพาเวอร์ 1 จ�ำกัด

90 เมกะวัตต์

วันที่ 29 เมษายน

4. บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 4 จ�ำกัด

90 เมกะวัตต์

วันที่ 15 พฤศจิกายน

ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประเภทสัญญา Non-Firm

1. บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จ�ำกัด

18 เมกะวัตต์

วันที่ 5 สิงหาคม

2. บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จ�ำกัด (โครงการ 1)

55 เมกะวัตต์

วันที่ 6 สิงหาคม

3. บริษัท เอสพีพี ซิค จ�ำกัด

41 เมกะวัตต์

วันที่ 30 ธันวาคม

การใช้เชื้อเพลิง ในปี 2558 มีปริมาณการใช้กา๊ ซธรรมชาติ จากแหล่งอ่าวไทย แหล่งบนบก (แหล่งน�ำ้ พอง แหล่งสินภูฮอ่ ม และแหล่งสิรกิ ติ )ิ์ และก๊าซธรรมชาตินำ� เข้า (แหล่งสหภาพพม่า และ LNG) ส�ำหรับโรงไฟฟ้า กฟผ. เท่ากับ 387,992 พันล้านบีทยี ู คิดเป็นมูลค่า 105,136 ล้านบาท ส่วนปริมาณการใช้กา๊ ซธรรมชาติโรงไฟฟ้า IPP เท่ากับ 400,450 พันล้านบีทยี ู คิดเป็นมูลค่า 116,125 ล้านบาท รวมปริมาณ การใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 788,442 พันล้านบีทียู ราคาก๊าซธรรมชาติหน้าโรงไฟฟ้า (รวมค่าการตลาดและค่าผ่านท่อ) เฉลี่ย 285.41 บาท/ล้านบีทียู คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 221,262 ล้านบาท


16

ตารางเปรียบเทียบปริมาณ ราคา และมูลค่าของการใช้ก๊าซฯ เพื่อผลิตไฟฟ้าในปี 2556-2558

ปี

โรงไฟฟ้า

2556 2557 2558

EGAT IPP EGAT IPP EGAT IPP

ปริมาณการใช้ ราคา1 มูลค่า2 (พันล้านบีทียู) (%) (บาท/ล้านบีทียู) (ล้านบาท)

772,152 385,831 386,321 757,140 388,530 368,611 788,442 387,992 400,450

100 50 50 100 51 49 100 49 51

303.83 312.00 285.41

234,606 115,336 119,270 236,230 119,955 116,276 221,262 105,136 116,125

หมายเหตุ : 1. ราคาก๊าซธรรมชาติ คือ ราคาก๊าซธรรมชาติหน้าโรงไฟฟ้าเฉลี่ยทุกแห่ง ซึ่งรวมค่าการตลาด และค่าผ่านท่อก๊าซฯ ของแต่ละแหล่ง 2. มูลค่าก๊าซธรรมชาติ รวมค่าการตลาด ค่าผ่านท่อก๊าซฯ แต่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

ปริมาณการใช้และราคาก๊าซฯ หน้าโรงไฟฟ้า ปี 2556-2558

จากตารางและแผนภูมิจะเห็นได้ว่าปริมาณการใช้ก๊าซฯ เพื่อผลิตไฟฟ้าในปี 2558 มีปริมาณสูงขึ้นกว่าปี 2557 เนื่องจากใน เดือนมิถุนายน 2558 โรงไฟฟ้าอุทัย (บริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จ�ำกัด) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP แห่งใหม่ ได้เริ่มผลิตก�ำลังไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ จึงท�ำให้ปริมาณก๊าซฯ ที่ใช้ในส่วนของ IPP สูงขึ้น แต่สัดส่วนการใช้ก๊าซฯ ของ กฟผ. ต่อ IPP เท่ากับ 50:50 ค่อนข้างคงที่ใน 3 ปีที่ ผ่านมา


17

การดำ�เนินงาน ของเหมืองแม่เมาะ เป็นที่ยอมรับในระดับ ประเทศและระดับสากล เห็นได้จากรางวัลต่าง ๆ ที่เหมืองแม่เมาะได้รับ ในปี 2558 อาทิ ASEAN Coal Awards 2015

การจ�ำหน่ายไฟฟ้า กฟผ. จ�ำหน่ายพลังงานไฟฟ้ารวม ทั้งสิ้น 179,537.39 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง โดยจ�ำหน่ายให้กับลูกค้าต่าง ๆ ดังนี้ การ ไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จ�ำนวน 51,577.37 ล้านกิโลวัตต์-ชัว่ โมง การไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค (กฟภ.) จ�ำนวน 124,376.08 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ลูกค้าตรง จ�ำนวน 1,621.66 ล้าน กิโลวัตต์-ชัว่ โมง ขายไฟฟ้าให้ประเทศเพือ่ น บ้าน (สปป. ลาว มาเลเซีย และกัมพูชา) จ�ำนวน 1,768.89 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลูกค้าประเภทไฟฟ้าส�ำรอง ไฟฟ้าชั่วคราว และอื่น ๆ จ�ำนวน 193.39 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ส่วนราคาก๊าซฯ เฉลี่ยในปี 2558 มีการปรับตัวลดลง อย่างมีนยั ส�ำคัญ เนือ่ งจากแนวโน้มราคาน�ำ้ มันโลกทีล่ ดลงตัง้ แต่ ช่วงปลายปี 2557 เป็นต้นมา จึงส่งผลให้ราคาก๊าซฯ ในปี 2558 ค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี โดยปี 2558 มูลค่า ซื้อก๊าซฯ ส�ำหรับการผลิตไฟฟ้าลดลง 14,969 ล้านบาท หรือ ลดลงร้อยละ 6.34 จากปี 2557 ในปี 2558 เหมืองแม่เมาะด�ำเนินการผลิตถ่านลิกไนต์ ส่งโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 14.48 ล้านตัน ท�ำให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถงึ 16.96 ล้านกิโลวัตต์-ชัว่ โมง โดย มีต้นทุนถ่านส่งโรงไฟฟ้า 648.61 บาท/ตัน ส่งผลให้ต้นทุนค่า ไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านลิกไนต์ของ กฟผ. เป็นต้นทุนที่ต�่ำที่สุดคือ 1.25 บาทต่อหน่วย (ค่าเอฟที เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558) นอกจากนี้ การด�ำเนินงานของเหมืองแม่เมาะเป็น ที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล เห็นได้จากรางวัล ต่าง ๆ ที่เหมืองแม่เมาะได้รับในปี 2558 อาทิ ASEAN Coal Awards 2015 รางวัลด้านพลังงานสร้างสรรค์ จากระบบสูบ น�้ำแบบอนุกรมต่างระดับอัตโนมัติ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ด้าน Best Practice of Surface Coal Mining รางวัลจาก ผลงานเครื่องปรับแนวสายพานส่งถ่านหินลิกไนต์ ที่ส่งผลให้ กฟผ. ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประเภทนวัตกรรมดีเด่น เป็นต้น


18

การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ส�ำหรับในปี 2558 สถานการณ์ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงจากปี 2557 ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน�้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยลดลง 45.91 USD/BBL (ลดลงจากค่าเฉลี่ยปี 2557 96.62 USD/BBL เป็นค่าเฉลี่ยปี 2558 50.71 USD/BBL) ถึงแม้ว่าอัตรา แลกเปลีย่ นอ่อนค่าลง 1.82 บาท/USD (อ่อนค่าจาก 32.62 บาท/USD มาอยูท่ ี่ 34.44 บาท/USD) ก็ตาม ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ปรับลดลง 26 บาทต่อล้านบีทียู (ลดลงจากเฉลี่ย 320 บาทต่อล้านบีทียู เป็นเฉลี่ย 294 บาท ต่อล้านบีทียู) ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดลง ประกอบกับ กฟผ. ได้มีการบริหารจัดการผลิตไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อ ควบคุมต้นทุนการผลิตไฟฟ้า กกพ. จึงอนุมัติให้ค่าเอฟทีที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในปี 2558 มีการปรับเปลี่ยนจ�ำนวน 4 ครั้ง คือ ใน ครั้งแรก (มกราคม - เมษายน 2558) ค่าเอฟที อยู่ที่ 58.96 สตางค์ต่อหน่วย ส�ำหรับครั้งที่สอง (พฤษภาคม - สิงหาคม 2558) ปรับ ลดลงเป็น 49.61 สตางค์ตอ่ หน่วย ครัง้ ทีส่ าม (กันยายน - ตุลาคม 2558) ปรับลดลงเป็น 46.38 สตางค์ตอ่ หน่วย และครัง้ ทีส่ เี่ นือ่ งจาก การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปี 2558 (พฤศจิกายน - ธันวาคม 2558) ค่าเอฟทีมีค่าเท่ากับ -3.23 สตางค์ต่อหน่วย รวมทั้งปี ค่า เอฟทีลดลงทัง้ สิน้ 22.62 สตางค์ตอ่ หน่วย นอกจากนี้ ในการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า 2558 ค่าไฟฟ้าได้ปรับลดลงอีก 1.05 สตางค์ ต่อหน่วย

สรุปค่าไฟฟ้าในปี 2558 เป็นดังนี้

งวดที่

1 2 3

เดือน

มกราคม - เมษายน พฤษภาคม - สิงหาคม กันยายน - ตุลาคม

ปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปี 2558

4

พฤศจิกายน - ธันวาคม

ค่าเอฟที ค่าไฟฟ้าขายปลีกเฉลี่ย รวมค่าเอฟที (บาทต่อหน่วย) (บาทต่อหน่วย)

0.5896 0.4961 0.4638

3.86 3.78 3.75

-0.0323

3.72

โรงไฟฟ้าของ กฟผ. ก�ำลังผลิตแยกตามประเภทโรงไฟฟ้า

รายละเอียด

โรงไฟฟ้าพลังน�้ำ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ก�ำลังผลิตรวมของ กฟผ.

ก�ำลังผลิต (เมกะวัตต์) คิดเป็นร้อยละ

3,448.40 3,647.00 8,382.00 30.40 40.33 15,548.13

22.18 23.45 53.91 0.20 0.26 100.00


19

คุณภาพการผลิตไฟฟ้า ล�ำดับที่

1 2 3 4 5

รายละเอียด

Heat Rate (kJ/kWh) GWEAF (%) POF (%) UOF (%) UDF (%)

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

8,662.00 90.54 5.00 2.84 1.62

8,620.00 92.10 4.10 2.30 1.50

8,503.00 92.80 3.90 2.30 1.00

8,286.00 92.93 3.98 2.38 0.71

ในปี 2558 โรงไฟฟ้า กฟผ. มีค่าประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ค่าความร้อนจากเชื้อเพลิงในการ ผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยต�่ำกว่าปีที่ผ่านมา ส�ำหรับค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (GWEAF) ของ กฟผ. มีค่าสูงกว่าปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 0.13 จากมาตรการควบคุมการลดภาระก�ำลังการผลิต เมือ่ พิจารณาการหยุดเครือ่ งเพือ่ บ�ำรุงรักษาตามแผน (POF) และการหยุดเดิน เครื่องนอกแผน (UOF) เปรียบเทียบปี 2557 พบว่าค่าสูงขึ้นในอัตราที่เท่ากัน คือประมาณร้อยละ 0.08 ส�ำหรับการลดภาระก�ำลัง การผลิต (UDF) เปรียบเทียบกับปี 2557 พบว่า ค่าลดลงประมาณร้อยละ 0.29 ทั้งนี้ กฟผ. สามารถควบคุมอัตราส่วนจ�ำนวนชั่วโมง หยุดเดินเครื่องนอกแผนให้มีค่าน้อยกว่าร้อยละ 3 มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553


20

ระบบส่งไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. มีความยาวสายส่งไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 32,993.684 วงจร-กิโลเมตร มีสถานีไฟฟ้าแรงสูงรวม 215 สถานี จุดจ่ายไฟขนาดแรงดันต่าง ๆ รวม 575 จุดจ่ายไฟ และพิกัดหม้อแปลงไฟฟ้า รวม 94,361.44 เมกะโวลต์แอมแปร์ ในปี 2558 เกิดข้อขัดข้องในระบบส่งไฟฟ้า ท�ำให้เกิดไฟฟ้าดับด้วยสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งเป็น Planned Outage 1 ครั้ง และเป็น Forced Outage 59 ครัง้ แบ่งออกเป็นเหตุขดั ข้องจากสายส่ง 14 ครัง้ และเหตุขัดข้องจากอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง 45 ครัง้ สาเหตุ เบื้องต้นของการเกิดข้อขัดข้องส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้าแรงสูง และอุปกรณ์ระบบควบคุม และอุปกรณ์ระบบป้องกัน รวม 19 ครั้ง เกิดจากสัตว์ 19 ครั้ง เกิดจากการกระท�ำของคน (ทั้งจากบุคคล กฟผ. และบุคคลภายนอก กฟผ.) รวม 6 ครั้ง เกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม 6 ครั้ง จ�ำแนกสาเหตุไม่ได้ 5 ครั้ง เกิดจากสภาพอากาศ 2 ครั้ง และเกิดการขัดข้องใน ระบบ 2 ครั้ง เหตุการณ์ส�ำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า กฟผ. ได้แก่ เหตุการณ์วันที่ 18 สิงหาคม 2558 เวลา 12.50 น. เกิด Partial Blackout จาก Latching Relay (8046) arc ที่ขั้วต่อสาย contact ที่น�ำกระแสเข้า Bus Diff. No. 1 ท�ำงานผิดพลาด และเกิดการ Remote Trip จากสายส่งที่จ่ายไฟให้ สฟ. หาดใหญ่ 2 ส่งผลให้เกิดการแยกระบบ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ สงขลา สตูล ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ออกจากระบบหลัก ท�ำให้มีไฟฟ้าดับรวม 773.8 เมกะวัตต์ นานที่สุด 38 นาที และท�ำให้จุดจ่ายไฟขัดข้อง 36 จุด จ่ายไฟ มีพลังงานไฟฟ้าหยุดจ่ายรวม 11,637 เมกะวัตต์-นาที ค่าดัชนีมาตรฐานคุณภาพบริการส�ำหรับ กฟผ. ปี 2558 ที่ส�ำคัญมีดังนี้

• ค่าเฉลี่ยของจ�ำนวนครั้งที่ไฟฟ้าดับ (SAIFI) เท่ากับ 0.19206 ครั้ง/จุดจ่ายไฟ • ค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ไฟฟ้าดับ (SAIDI) เท่ากับ 3.20573 นาที/จุดจ่ายไฟ • ปริมาณไฟฟ้าที่ไม่สามารถจ่ายให้ลูกค้าได้ (UER) เท่ากับ 0.00033 % • การเบี่ยงเบนแรงดันไฟฟ้าจากช่วงการยอมรับ (VD) เท่ากับ 0.14063 PPM จึงส่งผลให้ปี 2558 มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังนี้

• ความพร้อมในการจ่ายไฟของระบบโดยรวม (Service Availability : SA) มีค่าร้อยละ 99.99939 • ความพร้อมใช้งานของสายส่งไฟฟ้ามีค่าร้อยละ 99.98722 • ความพร้อมใช้งานของหม้อแปลงมีค่าร้อยละ 99.87530

ทางด้านคุณภาพไฟฟ้า สามารถควบคุมความถี่ไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ 49.50-50.50 Hz และแรงดันเบี่ยงเบนให้ อยู่ที่ร้อยละ 95-105 ของแรงดันปกติ กฟผ. ยังให้ความส�ำคัญในด้านการปรับปรุง บ�ำรุงรักษาอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ในระบบส่งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความพร้อมใช้งาน ตลอดเวลา เช่น งานล้างลูกถ้วย 500 kV ของสายส่งที่พาดผ่านบริเวณพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรจากสิ่งสกปรก มลภาวะ ควันไฟ และมูลนก มีการซักซ้อมแผนการน�ำระบบกลับคืนสู่สภาวะปกติพร้อมรับมือเมื่อเกิดไฟฟ้าดับ ตลอดจนงานศึกษา วิเคราะห์ระบบไฟฟ้าเพื่อจัดเตรียมแผนรองรับงานก่อสร้างงานปรับปรุงต่าง ๆ ให้ทันต่อความต้องการของระบบ รวมทั้งจัดแผนการ ผลิตให้สอดคล้องกับสภาพระบบส่งและความต้องการของระบบ ดูแลป้องกันการเกิด Human Error ลดข้อขัดข้องของอุปกรณ์ใน สถานีไฟฟ้าจากสัตว์ต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์เพื่อลดการเกิดข้อขัดข้องและความเสียหายของสายส่งที่เกิดจากชุมชน เปิดให้มี การรับข้อร้องเรียนและตอบสนองอย่างเป็นรูปธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจ่ายไฟฟ้า เป็นต้น เป็นผลให้ระบบไฟฟ้าสามารถส่ง จ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องมีความมั่นคงและเชื่อถือได้ รวมทั้งคุณภาพไฟฟ้าที่ดีทั้งด้านแรงดันและความถี่ไฟฟ้า


21

นอกจากนัน้ กฟผ. ยังเข้าร่วมการ Benchmark ดัชนีชวี้ ดั สมรรถนะระบบไฟฟ้ากับ ITOMS (International Transmission Operation and Maintenance Study) เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน และเพิ่มดัชนีชี้วัดสมรรถนะระบบ ไฟฟ้าของ ITOMS ที่เหมาะสมกับลักษณะองค์กรธุรกิจระบบส่งต่อไป


สายส่งไฟฟ้า ไม่ใช่เป็นเพียงการส่งพลังงาน จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งเท่านั้น แต่ยังหมายถึง...

ส่งความสุข และ ความหวัง ไปยังทุกพื้นที่ ที่พาดผ่านไป



24

ลักษณะการประกอบธุรกิจและบริษัทในเครือ การประกอบธุรกิจของ กฟผ. กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การก�ำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง ด�ำเนินธุรกิจหลัก ในการผลิต จัดให้ได้มาและจ�ำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ผู้ใช้ไฟฟ้าตาม กฎหมายก�ำหนดและประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการไฟฟ้าภายใต้กรอบพระราชบัญญัติ กฟผ.

1. ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าในธุรกิจหลัก 1.1 การผลิตไฟฟ้า

กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ รวม 45 แห่ง มีก�ำลังผลิตรวมทั้งสิ้น 15,548.13 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าหลายประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 3 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 6 แห่ง โรงไฟฟ้า พลังน�้ำ 24 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 8 แห่ง และโรงไฟฟ้าดีเซล 4 แห่ง 1.2 การรับซื้อไฟฟ้า

นอกจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. แล้ว กฟผ. ยังรับซือ้ ไฟฟ้าจากผูผ้ ลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 12 ราย รวมก�ำลัง ผลิต 14,766.70 เมกะวัตต์ และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก รวมก�ำลังผลิต 5,137.02 เมกะวัตต์ รวมทั้งรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้า ในประเทศเพือ่ นบ้าน ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศมาเลเซีย รวมก�ำลังผลิต 3,386.60 เมกะวัตต์ 1.3 การส่งไฟฟ้า

กฟผ. ด�ำเนินการจัดส่งไฟฟ้าทีผ่ ลิตจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และทีร่ บั ซือ้ จากผูผ้ ลิตไฟฟ้ารายอืน่ ผ่านระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งมีโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ที่ระดับแรงดัน 500 กิโลโวลต์ 230 กิโลโวลต์ 132 กิโลโวลต์ 115 กิโลโวลต์ และ 69 กิโลโวลต์ เพื่อจ�ำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่รับซื้อโดยตรงจาก กฟผ. การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งน�ำไปจ�ำหน่ายไฟฟ้า ให้แก่ผใู้ ช้ไฟฟ้าในประเทศต่อไป นอกจากนี้ กฟผ. ยังจ�ำหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าของประเทศเพือ่ นบ้านด้วย ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้วยระบบส่งไฟฟ้าแรงดัน 115 กิโลโวลต์ และ 22 กิโลโวลต์ และประเทศมาเลเซีย ด้วยระบบไฟฟ้า แรงสูงกระแสตรง (HVDC) 300 กิโลโวลต์

2. ธุรกิจอื่นๆ 2.1 ธุรกิจเกี่ยวเนื่องของ กฟผ.

ในปี 2558 กฟผ. ได้มีการด�ำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเจริญเติบโตจากธุรกิจเกี่ยวเนื่อง โดยให้บริการด้านธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าอย่างมีคุณภาพแก่หน่วยงานภายนอก ได้แก่ บริการงานวิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้า บริการงานเดินเครือ่ งและบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์วตั ถุพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้า อีกทัง้ ได้ขยายขอบเขตการด�ำเนินธุรกิจ เข้าสูป่ ระเทศในกลุม่ ภูมภิ าคอาเซียน เพือ่ เป็นการเตรียมความพร้อมในการแสวงหาประโยชน์จากการเกิดขึน้ ของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (AEC) ในปี 2558


25

การด�ำเนินธุรกิจเกีย่ วเนือ่ งของ กฟผ. ไปยังกลุม่ ประเทศภูมภิ าคอาเซียนนัน้ นอกจากจะเป็นการเสริมสร้างรายได้จากธุรกิจ เกี่ยวเนื่องให้แก่ กฟผ. แล้ว ยังถือเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้าของประเทศไทย เนื่องจากโรงไฟฟ้าดังกล่าว ได้ส่ง กระแสไฟฟ้ากลับมายังประเทศไทย และนอกเหนือจากนัน้ การด�ำเนินธุรกิจเกีย่ วเนือ่ งของ กฟผ. ยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ อันดีระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยในปี 2558 กฟผ. ได้มีการด�ำเนินธุรกิจในต่างประเทศที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้

• ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างกระทรวงพลังงานประเทศไทยและกระทรวงไฟฟ้าสาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมาว่าด้วยเรื่อง ความร่วมมือทางด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้านหลัก อันได้แก่ 1) ด้าน การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 2) ด้านการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้า 3) ด้านการพัฒนาระบบส่ง และ 4) ด้านการพัฒนา ระบบจ�ำหน่าย โดยได้ก�ำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมความร่วมมือฯ : Joint Working Committee (JWC) และคณะท�ำงานร่วมความร่วมมือฯ : Joint Working Group (JWG) เพื่อขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือ ดังกล่าวให้เห็นผลเชิงรูปธรรม ทั้งนี้ในส่วนของ กฟผ. และบริษัทในเครือมีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันโครงการ เป้าหมายให้ส�ำเร็จ (โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า และโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน�้ำขนาดใหญ่) อันจะท�ำให้เกิดโอกาสการขยายธุรกิจของ กฟผ. ในประเทศเมียนมาเพิ่มขึ้นในอนาคต

• ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบริษทั Bhutan Power Corporation Limited (BPC) กับ กฟผ. ภายใต้ ความร่วมมือด้านเทคนิคและการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในด้าน Business Development เพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้มีการเสนองานบริการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า Mini/Micro Hydro Power Plants ให้กับโรงไฟฟ้าในประเทศภูฏาน

• ให้บริการงานเดินเครื่องและบ�ำรุงรักษาแก่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนลิกไนต์หงสา สปป.ลาว ซึ่งเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนแห่งแรก และมีขนาดใหญ่ที่สุด ในปี 2558 กฟผ. สามารถเดินเครื่องและพร้อมจ่าย ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) เข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้าแรงสูง เพื่อจัดกระแสไฟฟ้าส่งให้แก่ กฟผ. และรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว หน่วยที่ 1 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 และหน่วยที่ 2 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 (ส�ำหรับหน่วยที่ 3 จะเริ่ม ในเดือนมีนาคม 2559)

• ให้บริการวิศวกรรมและก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนลิกไนต์หงสาได้ตามก�ำหนด COD และโครงการ โรงไฟฟ้าน�้ำเงี้ยบ 1 สปป.ลาว โดยท�ำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2557


26

ในส่วนของการขยายธุรกิจเกี่ยวเนื่องภายในประเทศ ส�ำหรับลูกค้ากลุ่มโรงไฟฟ้า IPP กฟผ. ได้ให้บริการวิศวกรรมและ ก่อสร้างแก่ โครงการโรงไฟฟ้าขนอม หน่วยที่ 4 ต่อเนือ่ งตัง้ แต่ปี 2557 และในปี 2558 ได้ให้บริการเพิม่ เติมงาน Technical Consultant Service และงาน Review and Inspection Service for Performance Test ซึ่งมีก�ำหนด COD ในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 ให้ บริการงานบ�ำรุงรักษากับ บริษัท กัลฟ์ เจพี เอ็นเอส จ�ำกัด นอกจากนี้มีการขยายการให้บริการไปยังลูกค้าในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP โดย ให้บริการงานวิศวกรรมและก่อสร้าง รวมถึงท�ำสัญญาระยะยาวงานบริการเดินเครื่องและบ�ำรุงรักษากับบริษัท ผลิตไฟฟ้านวนคร จ�ำกัด มีก�ำหนด COD ในวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ในปี 2558 ได้มีการจัดงานและเข้าร่วมสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีธุรกิจอุตสาหกรรมไฟฟ้าหลายงานด้วยกัน เช่น เข้าร่วม นิทรรศการ งาน Power-Gen Asia 2015 งาน Asia-Pacific V94.3A/V84.3A Users Group Conference 2015 ครั้งที่ 11 และ งานสัมมนาวิชาการ “EGAT Energy Forum 2015” นอกจากนัน้ กฟผ. ยังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชัน้ น�ำในประเทศ เพือ่ วิจยั และพัฒนาวัตถุดบิ ผลพลอยได้จากกระบวนการ ผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชือ้ เพลิงถ่านหินลิกไนต์ ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง เพือ่ สร้างเป็นผลิตภัณฑ์เถ้าลอยและยิปซัม่ สังเคราะห์ ซึ่งน�ำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพของปูนซีเมนต์ และการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดิน ในส่วนของการด�ำเนินธุรกิจระบบส่ง กฟผ. มีการให้บริการงานด้านบ�ำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบส่งพลังงานไฟฟ้า ทั้งในส่วน ของสถานีไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง การให้บริการฝึกอบรม รวมถึงการขายและให้บริการอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าแรงสูง ให้กับผู้ผลิต ไฟฟ้าเอกชน (IPPs, SPPs) ทัง้ ในประเทศและประเทศเพือ่ นบ้าน เป็นการเสริมสร้างความมัน่ คงเชือ่ ถือได้ของระบบไฟฟ้าของประเทศ อย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรในภาคเอกชน เพื่อพัฒนาการบริการทดสอบด้านไฟฟ้าแรงสูง จนเป็นที่ยอมรับตาม มาตรฐานสากล นับเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมไฟฟ้าไทย ท�ำให้ไม่ต้องส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าไปท�ำการทดสอบยังต่างประเทศ เป็นการ ลดการสูญเสียเงินตราไปต่างประเทศในภาพรวม 2.2 การด�ำเนินงานของบริษัทในเครือ

กฟผ. ได้ลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีบริษัทในเครือจ�ำนวน 5 บริษัท มี รายละเอียด ดังนี้

บริษัทย่อย • บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำ�กัด (มหาชน)

ลักษณะการประกอบธุรกิจ กฟผ. ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 ด�ำเนินธุรกิจใน รูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง โดยรายได้หลักมาจากเงินปันผลรับในบริษัทที่ลงทุน บริษัทได้มุ่งลงทุน พัฒนา และด�ำเนินงานด้านผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก โดยการจัดให้มีความหลากหลายในการใช้เชื้อเพลิงทั้ง ก๊าซธรรมชาติ น�้ำมัน ถ่านหิน พลังน�้ำ และพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังให้ความ ส�ำคัญกับการขยายธุรกิจไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การให้บริการงานเดินเครื่องและบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้า การท�ำเหมืองถ่านหิน เป็นต้น รวมทั้งการเข้าร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจในโครงการต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัจจุบัน บริษัทมีก�ำลังผลิตรวม 6,578.12 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นก�ำลังผลิตภายในประเทศ 4,951.99 เมกะวัตต์ และก�ำลังผลิต จากต่างประเทศ 1,626.13 เมกะวัตต์


27

กฟผ. ได้ลงทุน เพื่อประกอบธุรกิจ ด้านการผลิตไฟฟ้าและ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีบริษัทในเครือ จำ�นวน 5 บริษัท บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำ�กัด (มหาชน) บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำ�กัด บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน�้ำเย็น จำ�กัด

สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีทุนจดทะเบียน ทัง้ สิน้ 1,450 ล้านหุน้ หรือเท่ากับ 14,500 ล้านบาท ถือหุน้ โดย กฟผ. ในสัดส่วนร้อยละ 45 และผู้ลงทุนทั่วไปถือหุ้นในสัดส่วน ร้อยละ 55 • บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด

ลักษณะการประกอบธุรกิจ กฟผ. ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท กฟผ. อินเตอร์ เนชัน่ แนล จ�ำกัด เมือ่ วันที่ 18 ธันวาคม 2550 โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่อเป็นตัวแทน กฟผ. ในการลงทุนโครงการในต่างประเทศ เพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าส่งกลับเข้าประเทศไทย และเป็นการ ขยายโอกาสการลงทุนในธุรกิจทางด้านพลังงานไฟฟ้า และ ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือต่อเนื่องกับกิจการของ กฟผ. เพื่อสร้าง มูล ค่าเพิ่มและเป็นประโยชน์แ ก่ธุรกิจอื่นของ กฟผ. และ ประเทศไทย ปัจจุบนั บริษทั มีโครงการระหว่างก่อสร้าง 1 โครงการ คือ บริษทั Nam Ngiep 1 Power จ�ำกัด (NNP1PC) สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และโครงการระหว่างพัฒนา 2 โครงการ คือ โครงการไฟฟ้าพลังน�้ำสาละวินตอนบน (มายตง) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนกวางจิ 1 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 610.8 ล้านหุ้น หรือเท่ากับ 6,108 ล้านบาท ถือหุ้นโดย กฟผ. ร้อยละ 99.99 • บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำ�กัด

ลักษณะการประกอบธุรกิจ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จ�ำกัด จัดตั้งขึ้นโดยการร่วมทุนระหว่าง กฟผ. บริษัท Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. (MHI) บริษัท Mitsubishi Corporation (MC) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) (RATCH) ซึ่งได้จดทะเบียนเป็น บริษัทจ�ำกัดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อด�ำเนินธุรกิจให้บริการซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path Parts ของเครื่อง กังหันก๊าซ ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการใน 18 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม กัมพูชา บรูไน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา ภูฏาน เนปาล อัฟกานิสถาน และมัลดีฟส์


28

ในเดือนพฤษภาคม 2558 MHI ได้ดำ� เนินการโอนหุน้ ทัง้ หมดทีถ่ อื ในบริษทั อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วสิ จ�ำกัด ให้กบั Mitsubishi Hitachi Power System, Ltd. (MHPS) เนื่องจากการปรับโครงสร้างของบริษัท (Business Restructure) ของ MHI 2554

โรงงานซ่อมชิ้นส่วนของบริษัทตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้เปิดด�ำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม สัดส่วนการถือหุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 6.23 ล้านหุ้น หรือเท่ากับ 623 ล้านบาท ถือหุ้นโดย กฟผ. MHPS MC และ RATCH ในสัดส่วนร้อยละ 45 30 15 และ 10 ตามล�ำดับ

บริษัทร่วม • บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำ�กัด (มหาชน)

ลักษณะการประกอบธุรกิจ กฟผ. ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 ด�ำเนินธุรกิจใน รูปแบบบริษัทโฮลดิ้ง รายได้หลักมาจากเงินปันผลรับในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัทมุ่งเน้นประกอบธุรกิจหลักในการผลิตและจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้ กฟผ. และลูกค้าทั้งในประเทศและในภูมิภาค อาเซียน ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว รวมทั้งยังครอบคลุมธุรกิจการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องด้านพลังงาน โดยบริษัทได้แบ่ง ประเภทการลงทุนออกเป็น 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่

1) ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) 2) ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) 3) ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (VSPP) 4) ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ 5) ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจเดินเครื่องและบ�ำรุงรักษา ธุรกิจน�้ำ ธุรกิจการให้บริการด้านการจัดการโรงไฟฟ้า และ ธุรกิจเหมือง ปัจจุบัน บริษัทมีก�ำลังผลิตรวม 5,715.93 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นก�ำลังผลิตในประเทศ 4,010.46 เมกะวัตต์ และก�ำลังผลิตจาก ต่างประเทศ 1,705.47 เมกะวัตต์ สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 530 ล้านหุ้น หรือเท่ากับ 5,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นทุนที่ออกและ เรียกช�ำระแล้วจ�ำนวน 526.47 ล้านหุน้ หรือเท่ากับ 5,264.65 ล้านบาท ถือหุน้ โดย กฟผ. ร้อยละ 25.41 บริษทั TEPDIA Generating B.V. ร้อยละ 23.94 และผู้ลงทุนทั่วไป ร้อยละ 50.65


29

กิจการร่วมค้า • บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน�้ำเย็น จำ�กัด

ลักษณะการประกอบธุรกิจ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน�้ำเย็น จ�ำกัด จัดตั้งขึ้นโดยการร่วมทุนระหว่าง กฟผ. บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้า นครหลวง (กฟน.) ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจ�ำกัดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและจ�ำหน่ายไฟฟ้าและ น�้ำเย็นส�ำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการลงทุนก่อสร้าง Cogeneration Plant แห่งใหม่ เพื่อรองรับการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 167 ล้านหุ้น หรือเท่ากับ 1,670 ล้านบาท ถือหุ้นโดย กฟผ. ปตท. และ กฟน. ในสัดส่วนร้อยละ 35 35 และ 30 ตามล�ำดับ

สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทในเครือ

ชื่อบริษัท

ชื่อย่อ

1. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) RATCH

ทุนจดทะเบียน สัดส่วนการถือหุ้น (ล้านบาท) (ร้อยละ)

14,500

8/8 หมู่ที่ 2 ต�ำบลบางเขน อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : 0 2794 9999 โทรสาร : 02 794 9998 Website : www.ratch.co.th

สถานะ

45

บริษัทย่อย

2. บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด

EGATi

6,108

99.99

บริษัทย่อย

3. บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน)

EGCO

5,300

25.41

บริษัทร่วม

4. บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน�้ำเย็น จ�ำกัด

DCAP

1,670

35

กิจการร่วมค้า

5. บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จ�ำกัด

EDS

623

45

บริษัทย่อย

53 หมู่ที่ 2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ต�ำบลบางกรวย อ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 โทรศัพท์ : 0 2436 6900 โทรสาร : 0 2436 6957 Website : www.egati.co.th อาคารเอ็กโก 222 หมู่ที่ 5 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 0 2998 5000 โทรสาร : 0 2998 0956-9 Website : www.egco.com เลขที่ 222 หมู่ที่ 1 ต�ำบลหนองปรือ อ�ำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ : 0 2327 4242 โทรสาร : 0 2327 4244 Website : www.dcap.co.th

56/25 หมู่ที่ 20 ต�ำบลคลองหนึ่ง อ�ำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ : 0 2529 0800 โทรสาร : 0 2529 0900 Website : www.egatdiamond.co.th


30

วิเคราะห์ผลการดำ�เนินงานและฐานะการเงิน 1) รายงานวิเคราะห์ผลการด�ำเนินงานตามงบการเงินรวม สรุปภาพรวมผลการด�ำเนินงานของ กฟผ. บริษทั ย่อย บริษทั ร่วมและกิจการร่วมค้า ส�ำหรับปีสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 มีดังนี้ (ปรับปรุงใหม่) เพิ่มขึ้น (ลดลง) (ปรับปรุงใหม่)

ผลการด�ำเนินงาน

2558 ล้านบาท

รายได้จากการขายสินค้าและบริการ 546,480.32 รายได้จากการขายไฟฟ้า 531,713.22 รายได้จากการขายสินค้าและบริการอื่น 14,767.10 ต้นทุนจากการขายสินค้าและบริการ 457,438.58 ต้นทุนขายไฟฟ้า 444,390.69 ต้นทุนขายสินค้าและบริการอื่น 13,047.89 ก�ำไรขั้นต้น 89,041.74 รายได้อื่น 3,399.95 ก�ำไรก่อนค่าใช้จ่าย 92,441.69 ค่าใช้จ่ายในการขาย 190.52 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 16,675.74 ค่าใช้จ่ายอื่น 12,030.60 ก�ำไรจากการด�ำเนินงาน 63,544.83 ส่วนแบ่งก�ำไรในบริษัทร่วมและในการร่วมค้า 2,318.65 ของบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสีย ก�ำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและภาษีเงินได้ 65,863.48 ต้นทุนทางการเงิน 31,697.88 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (ส่วนของบริษัทย่อย) 1,407.72 ก�ำไรสุทธิส�ำหรับปี 32,757.88 ก�ำไรสุทธิ - ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสีย 1,579.00 ที่ไม่มีอ�ำนาจควบคุม ก�ำไรสุทธิ - ส่วนที่เป็นของ กฟผ. 31,178.88 และบริษัทย่อย

2557 ล้านบาท

557,080.18 535,911.51 21,168.67 479,145.20 459,664.47 19,480.73 77,934.98 6,572.58 84,507.56 148.59 16,937.71 455.63 66,965.63 2,466.51

ปี 2558 - ปี 2557 ล้านบาท ร้อยละ

2556 ล้านบาท

(10,599.86) (1.90) 536,294.26 (4,198.29) (0.78) 512,432.63 (6,401.57) (30.24) 23,861.63 (21,706.62) (4.53) 456,964.00 (15,273.78) (3.32) 434,752.34 (6,432.84) (33.02) 22,211.66 11,106.76 14.25 79,330.26 (3,172.63) (48.27) 4,768.13 7,934.13 9.39 84,098.39 41.93 28.22 143.55 (261.97) (1.55) 15,965.57 11,574.97 2,540.43 5,238.94 (3,420.80) (5.11) 62,750.33 (147.86) (5.99) 2,707.02

69,432.14 25,679.05 1,269.38 42,483.71 3,321.54

(3,568.66) 6,018.83 138.34 (9,725.83) (1,742.54)

(5.14) 23.44 10.90 (22.89) (52.46)

65,457.35 25,675.02 1,433.24 38,349.09 3,570.15

39,162.17

(7,983.29) (20.39)

34,778.94

หมายเหตุ : * งบการเงินส�ำหรับปี 2558 ปี 2557 และปี 2556 จัดท�ำตามการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17


31

ผลการด�ำเนินงานส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 กฟผ. และบริษัทย่อย มีก�ำไรสุทธิจ�ำนวน 31,178.88 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2557 จ�ำนวน 7,983.29 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.39 โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.1 วิเคราะห์รายได้จากการขายไฟฟ้า รายได้จากการขายไฟฟ้าซึ่งถือเป็นรายได้หลักของ กฟผ. และบริษัทย่อย ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีจ�ำนวน 531,713.22 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2557 (535,911.51 ล้านบาท) จ�ำนวน 4,198.29 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.78 เนื่องจากราคาขายพลังงานไฟฟ้าในปี 2558 เท่ากับ 2.962 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงจากปีก่อน 0.125 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง (ปี 2557: 3.087 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง) ถึงแม้ว่าปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่จ�ำหน่ายส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ของ กฟผ. และบริษัทย่อยมีจ�ำนวนรวม 179,533.57 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากปี 2557 จ�ำนวน 5,932.95 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือร้อยละ 3.42 (ปี 2557: 173,600.62 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) แต่ผลกระทบจากราคาขายต่อหน่วยที่ลดลงส่งผลให้รายได้จากการ ขายไฟฟ้า ปี 2558 ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2557

1.2 วิเคราะห์ต้นทุนขายไฟฟ้า ต้นทุนขายไฟฟ้าของ กฟผ. และบริษัทย่อย ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2557 จ�ำนวน 15,273.78 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

2558 ล้านบาท

2557 ล้านบาท

ค่าซื้อไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายในการส่งไฟฟ้า

116,628.28 264,756.80 52,182.30 10,823.31

112,963.64 283,803.25 52,127.51 10,770.07

3,664.64 (19,046.45) 54.79 53.24

3.24 (6.71) 0.11 0.49

รวมต้นทุนขายไฟฟ้า

444,390.69

459,664.47

(15,273.78)

(3.32)

ต้นทุนขายไฟฟ้า

เพิ่ม(ลด) ล้านบาท ร้อยละ

1.2.1 ค่าซื้อไฟฟ้า

ค่าซือ้ ไฟฟ้าทีแ่ สดงในงบก�ำไรขาดทุน เป็นส่วนของค่าซือ้ ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าทีไ่ ม่เข้าเงือ่ นไขสัญญาเช่าการเงินตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่องสัญญาเช่า ซึ่งในปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ค่าซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 3,664.64 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3.24 ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการซื้อไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากต่างประเทศ และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP)


32

1.2.2 ค่าเชื้อเพลิง

ค่าเชื้อเพลิงที่แสดงในงบก�ำไรขาดทุนส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 เป็นค่าเชื้อเพลิงที่ปรับปรุงตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่องสัญญาเช่าแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้

2558 ล้านบาท

2557 ล้านบาท

(1) ค่าเชื้อเพลิงของ กฟผ. และบริษัทย่อย (2) ค่าเชื้อเพลิงตามสัญญาเช่าการเงิน

163,112.45 101,644.35

181,464.10 102,339.15

(18,351.65) (694.80)

(10.11) (0.68)

รวมค่าเชื้อเพลิง

264,756.80

283,803.25

(19,046.45)

(6.71)

ต้นทุนขายไฟฟ้า

เพิ่ม (ลด) ล้านบาท ร้อยละ

(1) ค่าเชื้อเพลิงของ กฟผ. และบริษัทย่อย ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจาก กฟผ. และบริษัทย่อย 89,109.66 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2557 จ�ำนวน 562.15 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง (ปี 2557: 89,671.81 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) โดยปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในระหว่างปี 2558 มีรายละเอียด ดังนี้

ประเภทเชื้อเพลิง

2558 ล้านหน่วย

2557 ล้านหน่วย

เพิ่ม (ลด) ล้านหน่วย ร้อยละ

ก๊าซธรรมชาติ (MBTU) น�้ำมันเตา (ลิตร) น�้ำมันดีเซล (ลิตร) น�้ำมันปาล์ม (กิโลกรัม) ลิกไนต์ (ตัน)

520.88 269.29 41.06 15.73 14.48

505.57 457.91 32.41 1.44 17.02

15.31 (188.62) 8.65 14.29 (2.54)

3.03 (41.19) 26.69 992.36 (14.92)

ค่าเชื้อเพลิงส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีจ�ำนวน 163,112.45 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนจ�ำนวน 18,351.65 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.11 โดยมีรายละเอียดค่าเชื้อเพลิงดังนี้

2558 ล้านบาท

2557 ล้านบาท

ก๊าซธรรมชาติ น�้ำมันเตา น�้ำมันดีเซล น�้ำมันปาล์ม ลิกไนต์

148,188.09 4,225.20 928.43 376.56 9,394.17

158,529.49 11,943.70 832.61 35.88 10,122.42

(10,341.40) (7,718.50) 95.82 340.68 (728.25)

(6.52) (64.62) 10.32 949.50 (7.19)

รวม

163,112.45

181,464.10

(18,351.65)

(10.11)

ประเภทเชื้อเพลิง

เพิ่ม (ลด) ล้านบาท ร้อยละ


33

ค่าเชื้อเพลิงที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก ในปี 2558 สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ลดลงเมื่อเทียบกับสัดส่วนการผลิต ของระบบทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.07 (ปี 2557 ร้อยละ 41.30) ในขณะที่ กฟผ. รับซื้อจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนภายใน ประเทศและต่างประเทศเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 61.93 (ปี 2557 ร้อยละ 58.70) ประกอบกับราคาค่าเชื้อ เพลิงที่ลดต�่ำลง โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. (2) ค่าเชื้อเพลิงตามสัญญาเช่าการเงิน เป็นค่าเชื้อเพลิงที่ปรับปรุงตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่เข้าเงื่อนไขเป็นสัญญาเช่าการเงิน ซึ่งเป็นการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่องสัญญาเช่า

1.3 รายได้และต้นทุนขายสินค้าและบริการอื่น รายได้และต้นทุนจากการขายสินค้าและบริการอื่น ประกอบด้วย การให้บริการงานเดินเครื่องและบ�ำรุงรักษาโรงไฟฟ้า งานรับจ้างที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและก่อสร้าง และการให้บริการโทรคมนาคม ในปี 2558 กฟผ. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการอื่นจ�ำนวน 14,767.10 ล้านบาท ลดลงจากงวด เดียวกันของปี 2557 จ�ำนวน 6,401.57 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.24 และต้นทุนจากการขายสินค้าและบริการอื่นส�ำหรับปี 2558 จ�ำนวน 13,047.89 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2557 จ�ำนวน 6,432.84 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.02

1.4 รายได้อื่น รายได้อื่นส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จ�ำนวน 3,399.95 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปี 2557 จ�ำนวน 3,172.63 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.27 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก

• การลดลงของก�ำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จ�ำนวน 1,045.56 ล้านบาท

• การลดลงของรายได้อื่นเบ็ดเตล็ด จ�ำนวน 562.22 ล้านบาท จากการปรับปรุงรายการส่วนลดค่าก๊าซของแหล่ง สิริกิติ์ที่ลานกระบือ ไปไว้ที่บัญชีเงินชดเชยค่าไฟฟ้ารอการรับรู้

• ในปี 2557 บริษัทย่อยมีรายได้จากการกลับรายการประมาณการหนี้สินและเรียกคืนค่าพัฒนาโครงการ จ�ำนวน 440.24 ล้านบาท และรายได้ชดเชยจากการประกันภัย จ�ำนวน 188.88 ล้านบาท ซึ่งในปี 2558 ไม่มีรายการนี้

• ในปี 2557 กฟผ. รับรู้รายได้ค่าปรับจากกรณีพิพาทกับ บริษัท อิดรีโก เอส.พี.เอ. จ�ำกัด จ�ำนวน 235.92 ล้านบาท ซึ่งในปี 2558 ไม่มีรายการนี้

1.5 ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าใช้จ่ายอื่นส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จ�ำนวน 12,030.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2557 จ�ำนวน 11,574.97 ล้านบาท หรือร้อยละ 2,540.43 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศตามสัญญาเช่าการเงิน จ�ำนวน 10,157.77 ล้านบาท และผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจ�ำนวน 1,587.42 ล้านบาท

1.6 ส่วนแบ่งก�ำไรในบริษัทร่วมของ กฟผ. และส่วนแบ่งก�ำไรในการร่วมค้าของบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสีย ส่วนแบ่งก�ำไรตามวิธีส่วนได้เสียส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จ�ำนวน 2,318.65 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกัน ของปี 2557 จ�ำนวน 147.86 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.99 ประกอบด้วยส่วนแบ่งก�ำไรในการร่วมค้าของบริษทั ย่อยลดลง 170.16 ล้าน บาท และส่วนแบ่งก�ำไรในบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 22.30 ล้านบาท


34

1.7 ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้เป็นของบริษัทย่อย ได้แก่ ภาษีเงินได้ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จ�ำนวน 1,407.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 2557 จ�ำนวน 138.34 ล้านบาท

2) วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของ กฟผ. และบริษัทย่อย

สถานะทางการเงิน

สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของเจ้าของของ กฟผ. และบริษัทย่อย ส่วนได้เสียที่ไม่มีอ�ำนาจควบคุม

31 ธ.ค. 58* ล้านบาท

(ปรับปรุงใหม่) 31 ธ.ค. 57* ล้านบาท

เพิ่ม/(ลด) ล้านบาท ร้อยละ

(ปรับปรุงใหม่) 31 ธ.ค. 56* ล้านบาท

876,625.40 496,060.97 346,993.49 33,570.94

734,965.04 141,660.36 19.27 362,101.69 133,959.28 36.99 338,778.82 8,214.67 2.42 34,084.53 (513.59) (1.51)

708,599.67 357,049.81 318,423.31 33,126.55

หมายเหตุ : * งบการเงินส�ำหรับปี 2558 ปี 2557 และปี 2556 จัดท�ำตามการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17

สินทรัพย์รวมของ กฟผ. และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เพิ่มขึ้นจ�ำนวน 141,660.36 ล้านบาท โดยมีปัจจัย หลัก ดังนี้

• เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิม่ ขึน้ จ�ำนวน 10,001.48 ล้านบาท เป็นการเพิม่ ขึน้ ในเงินฝากธนาคารไม่เกิน 3 เดือนของ กฟผ. และบริษัทย่อย จ�ำนวน 22,121.83 ล้านบาท และการลดลงในเงินฝากธนาคาร - กระแสราย วันและออมทรัพย์ จ�ำนวน 8,365.90 ล้านบาท

• เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียในบริษัทร่วมและกิจการที่ควบคุมร่วมกันของบริษัทย่อยเพิ่มขึ้น 7,178.04 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

เพิ่มขึ้น/(ลดลง)

บริษัทร่วม บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) 1,010.67 บริษัท น�้ำเงี้ยบ 1 เพาเวอร์ จ�ำกัด 37.88 บริษัท เฟิร์ส โคราช วินด์ จ�ำกัด (12.38) บริษัท เค อาร์ ทู จ�ำกัด (8.86) บริษัท Perth Power Partnership (Kwinana) (68.91) 958.40 การร่วมค้า บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน�้ำเย็น จ�ำกัด 63.18 บริษัท ชูบุราชบุรี อีเลคทริคเซอร์วิส จ�ำกัด 9.27 บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี จ�ำกัด และบริษัทย่อย 63.57


35

บริษัท ไฟฟ้าน�้ำงึม 3 จ�ำกัด บริษัท ไฟฟ้าเซเปียน-เซน�้ำน้อย จ�ำกัด บริษัท เคเค เพาเวอร์ จ�ำกัด บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จ�ำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้า นวนคร จ�ำกัด บริษัท ราชบุรีเวอลด์ โคเจนเนอเรชั่น จ�ำกัด บริษัท โซลาร์ต้า จ�ำกัด บริษัท โซล่า เพาเวอร์ (โคราช 3) จ�ำกัด บริษัท โซล่า เพาเวอร์ (โคราช 4) จ�ำกัด บริษัท โซล่า เพาเวอร์ (โคราช 7) จ�ำกัด บริษัท สงขลา ไบโอแมส จ�ำกัด บริษัท สงขลา ไบโอฟูเอล จ�ำกัด บริษัท อยุธยา เพาเวอร์ จ�ำกัด บริษัท โอเวอร์ซี กรีน เอนเนอร์ยี่ จ�ำกัด บริษัท เบิกไพร โคเจนเนอเรชั่น จ�ำกัด บริษัท ไฟฟ้า หงสา จ�ำกัด บริษัท พูไฟ มายนิ่ง จ�ำกัด บริษัท อาร์ไอซีไอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวสต์เมนต์ จ�ำกัด รวม

- 453.85 - 13.50 (14.74) 635.64 120.55 (9.79) (8.48) (8.28) 4.41 - (13.93) 7.78 0.04 4,561.57 26.17 315.33

6,219.64

7,178.04

• เงินลงทุนระยะยาวเพิม่ ขึน้ จ�ำนวน 6,035.30 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเพิม่ ขึน้ ของเงินลงทุนของ กฟผ. ในตราสารทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย จ�ำนวน 5,370.16 ล้านบาท และเงินลงทุนของ บมจ. ราชบุรี ในตราสาร ทุนที่เป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย จ�ำนวน 694.77 ล้านบาท

• สินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงินเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 107,164.31 ล้านบาท สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากทรัพย์สินตาม สัญญาเช่าการเงินของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับ บริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จ�ำกัด และบริษัท ไฟฟ้า หงสา จ�ำกัด ที่มีผลทางกฎหมายแล้ว

• ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 14,231.17 ล้านบาท สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจาก กฟผ. และบริษัท ย่อยมีสนิ ทรัพย์เพิม่ ขึน้ ระหว่างปี 35,557.89 ล้านบาท ในขณะทีม่ คี า่ เสือ่ มราคาประจ�ำปีเพิม่ ขึน้ จ�ำนวน 21,326.72 ล้านบาท

• งานระหว่างก่อสร้างลดลงจ�ำนวน 9,926.74 ล้านบาท เป็นการลดลงเนือ่ งจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความ ร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 2 ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และได้โอนขึ้นบัญชีทรัพย์สินตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558


36

หนี้สินรวมของ กฟผ. และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เพิ่มขึ้นจ�ำนวน 133,959.28 ล้านบาท โดยมีปัจจัยที่ ส�ำคัญ ดังนี้

• หนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน-โรงไฟฟ้า และที่ครบก�ำหนดช�ำระในหนึ่งปีเพิ่มขึ้น จ�ำนวน 118,560.51 ล้าน บาท เนื่องจากสัญญาเช่าการเงินของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับบริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จ�ำกัด และบริษัท ไฟฟ้าหงสา จ�ำกัด • เงินกู้ยืมจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 20,855.00 ล้านบาท เนื่องจาก กฟผ. ได้ระดมเงินทุน โดยผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 กฟผ. หรือ EGATIF ซึ่งกองทุนดังกล่าวได้ เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2558 • เงินชดเชยค่าไฟฟ้ารอการรับรู้เพิ่มขึ้น จ�ำนวน 4,165.90 ล้านบาท เนื่องจาก กฟผ. ได้รับเงินชดเชยค่าเชื้อเพลิง หรือเงินชดเชยค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ขายเชื้อเพลิงหรือผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่น เพื่อส่งผ่านไปชดเชยค่าไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น • เงินกู้ยืมระยะยาวและที่ครบก�ำหนดช�ำระภายในหนึ่งปีลดลง จ�ำนวน 6,034.26 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักจาก การลดลงของพันธบัตร กฟผ. จ�ำนวน 7,800.00 ล้านบาท ส่วนของเจ้าของของ กฟผ. และบริษัทย่อย จ�ำนวน 380,564.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจ�ำนวน 7,701.08 ล้านบาท โดยมีปัจจัย ที่ส�ำคัญดังนี้ • ผลการด�ำเนินงานของ กฟผ. และบริษัทย่อย ส�ำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 มีก�ำไรสุทธิจ�ำนวน 31,178.88 ล้านบาท • การเพิ่มขึ้นของก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น จ�ำนวน 205.40 ล้านบาท • ประมาณการเงินรายได้แผ่นดินน�ำส่งคลัง จ�ำนวน 23,107.28 ล้านบาท

3) วิเคราะห์กระแสเงินสด กฟผ. และบริษัทย่อย มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จ�ำนวน 72,647.55 ล้านบาท เพิ่ม ขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จ�ำนวน 10,001.48 ล้านบาท เนื่องจากสาเหตุที่ส�ำคัญ ดังนี้

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ 31 ธ.ค. 57 (ปรับปรุงใหม่) เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมด�ำเนินงาน เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน ผลกระทบอื่นในเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ 31 ธ.ค. 58

ล้านบาท

62,646.07 115,258.46 (44,924.40) (60,076.82) (255.76) 72,647.55

เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมด�ำเนินงาน จ�ำนวน 115,258.46 ล้านบาท ประกอบด้วยก�ำไรสุทธิของปี 2558 จ�ำนวน 31,178.88 ล้านบาท ปรับปรุงด้วยรายการต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นตัวเงินในงบก�ำไรขาดทุน ได้แก่ ค่าเสื่อมราคา ก�ำไร (ขาดทุน) จากอัตรา แลกเปลี่ยนฯ เป็นต้น รวมเป็นเงินเพิ่มขึ้นจ�ำนวน 88,103.49 ล้านบาท รายการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียนท�ำให้เงินสดลดลง จ�ำนวน 3,083.56 ล้านบาท เงินสดรับจากดอกเบี้ย 807.60 ล้านบาท และเงินสดจ่ายภาษีเงินได้ จ�ำนวน 1,747.94 ล้านบาท


37

เงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจ�ำนวน 44,924.40 ล้านบาท ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การลงทุนในโครงการก่อสร้าง โรงไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า สิ่งปลูกสร้างและครุภัณฑ์อื่น ๆ และดอกเบี้ยจ่ายเพื่องานก่อสร้าง รวมทั้งสิ้น 34,794.40 ล้านบาท การ ลงทุนเพิ่มในเงินลงทุนชั่วคราว จ�ำนวน 1,470.43 ล้านบาท การลงทุนเพิ่มในหลักทรัพย์เผื่อขาย (EGATIF) จ�ำนวน 5,213.75 ล้าน บาท การลงทุนเพิ่มในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และการร่วมค้าของบริษัทย่อย จ�ำนวน 6,173.22 ล้านบาท เงินสดรับจากเงินปันผล จ�ำนวน 2,177.85 ล้านบาท และเงินสดรับจากดอกเบี้ย จ�ำนวน 901.96 ล้านบาท เงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน จ�ำนวน 60,076.82 ล้านบาท ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะ ยาวและระยะสั้น จ�ำนวน 50,561.31 ล้านบาท เงินสดจ่ายช�ำระคืนเงินกู้ จ�ำนวน 39,942.85 ล้านบาท หนี้สินตามสัญญาเช่าการ เงิน-โรงไฟฟ้าลดลงและเงินสดจ่ายดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าการเงิน จ�ำนวน 39,488.57 ล้านบาท เงินรายได้แผ่นดินน�ำส่งคลัง จ�ำนวน 25,274.00 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผล จ�ำนวน 1,809.37 ล้านบาท

4) อัตราส่วนทางการเงิน จากผลประกอบการและฐานะทางการเงินของปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 กฟผ. และบริษัทย่อยมีอัตราส่วน ทางการเงิน ดังนี้ อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)

2558*

2557*

อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) อัตราส่วนสภาพคล่องกระแสเงินสด (เท่า) อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหาก�ำไร (Profitability Ratio)

1.66 1.55 0.74

1.53 1.42 0.68

อัตราก�ำไรขั้นต้น (ร้อยละ) อัตราก�ำไรสุทธิ (ร้อยละ) EBITDA ** (ล้านบาท) อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการด�ำเนินงาน (Efficiency Ratio) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ร้อยละ) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ร้อยละ) อัตราการหมุนของสินทรัพย์ (เท่า) อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Financial Policy Ratio) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของทุน (เท่า) อัตราส่วนความสามารถในการช�ำระดอกเบี้ย (เท่า) อัตราส่วนความสามารถในการช�ำระภาระผูกพัน (เท่า) (Cash Basis)

16.29 14.00 5.99 7.56 117,039.50 104,322.68 4.07 26.22 0.69

5.83 31.83 0.78

1.30 2.08 1.30

0.97 2.69 1.30

หมายเหตุ : * อัตราส่วนทางการเงินส�ำหรับปี 2558 และปี 2557 ค�ำนวณจากงบการเงินที่ได้จัดท�ำตามการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 และมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 ** EBITDA ค�ำนวณจากก�ำไรขั้นต้นหักค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหารโดยที่ไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ�ำหน่ายต่าง ๆ


38

การบริหารความเสี่ยง กฟผ. ให้ความส�ำคัญในการบริหารความเสี่ยงโดยพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน โดยใช้ระบบการบริหาร จัดการความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล ตามหลักการของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission - Enterprise Risk Management (COSO - ERM) และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแนวทางที่ส�ำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ก�ำหนด มีการปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์การ โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้อง ยึดถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบ และตระหนักถึงความส�ำคัญของการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่า กฟผ. จะสามารถด�ำเนินงาน ได้บรรลุวตั ถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ทกี่ ำ� หนดในแผนวิสาหกิจ โดยค�ำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม และอยูภ่ ายในกรอบ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) กฟผ. ด�ำเนินการบริหารความเสี่ยงโดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร ในทุกระดับ กล่าวคือ คณะกรรมการ กฟผ. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อก�ำกับดูแลการบริหารความเสี่ยง โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ ก�ำกับดูแลความ ถูกต้อง นอกจากนี้ ผูว้ า่ การ กฟผ. ได้แต่งตัง้ คณะกรรมการบริหารด้านยุทธศาสตร์ การบริหารความเสีย่ งและการควบคุมภายใน กฟผ. (คยส.) เพือ่ ก�ำกับดูแลความเพียงพอของแผนงาน/มาตรการ และความมีประสิทธิผลของระบบการบริหารความเสีย่ ง กฟผ. นอกจาก นี้ คยส. ได้แต่งตั้งคณะท�ำงาน 2 คณะ ได้แก่ คณะท�ำงานบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน กฟผ. (คท-สค.) เพื่อน�ำเสนอวิธีการ และแนวทางการบริหารความเสีย่ ง และแต่งตัง้ คณะท�ำงานจัดท�ำแผนด�ำเนินธุรกิจต่อเนือ่ งของ กฟผ. เพือ่ น�ำเสนอวิธกี าร หรือแนวทาง การบริหารจัดการ เพื่อให้ธุรกิจด�ำเนินอย่างต่อเนื่อง (EGAT Business Continuity Management)


39

กฟผ. ติดตามและทบทวนความเพียงพอของแผนงาน/มาตรการบริหารความเสีย่ งรายไตรมาส นอกจากนี้ หากเกิดเหตุการณ์ ไม่ปกติ กฟผ. จะด�ำเนินการติดตามสถานการณ์อย่างทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้เพื่อให้ กฟผ. ด�ำเนินงานตามพันธกิจที่ได้รับมอบหมาย ได้

การบริหารความเสี่ยง ปี 2558 กฟผ. บริหารความเสี่ยงโดยวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงครอบคลุมปัจจัยภายในและภายนอกทุกปัจจัย ที่อาจส่ง ผลกระทบต่อการบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจ โดยก�ำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้เพื่อเป็นกรอบในการก�ำหนดยุทธศาสตร์ของ องค์การ และเชื่อมโยงกระบวนการบริหารความเสี่ยงกับการจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ กฟผ. ท�ำให้การบริหารความเสี่ยง กฟผ. ส่งผล ต่อความส�ำเร็จของยุทธศาสตร์ที่ก�ำหนดไว้ได้อย่างครบถ้วน โดยในปี 2558 กฟผ. ด�ำเนินการบริหารความเสี่ยงครอบคลุมความเสี่ยง ที่ส�ำคัญทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์และการแข่งขัน ด้านการเงิน ด้านการด�ำเนินงาน และด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ สรุปได้ ดังนี้

1. ด้านกลยุทธ์และการแข่งขัน (Strategic & Corporate Risk) กฟผ. มุง่ มัน่ พัฒนาองค์การไปสูก่ ารเป็นองค์การชัน้ น�ำของโลก โดยมุง่ เน้นทีก่ ารเสริมสร้างศักยภาพของการด�ำเนินงานด้าน การผลิตและส่งไฟฟ้า และการสร้างการเติบโตจากธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ ในปี 2558 กฟผ. ได้ด�ำเนินการบริหารความเสี่ยงควบคู่ไป กับการพัฒนาปรับปรุงการด�ำเนินงาน ส่งผลให้ระบบผลิตและส่งไฟฟ้า กฟผ. มีประสิทธิภาพการด�ำเนินงานทีด่ ขี นึ้ เพือ่ มุง่ สูร่ ะดับสากล

2. ด้านการเงิน (Financial Risk) กฟผ. ด�ำเนินงานบริหารความเสี่ยงด้านการเงินเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงิน ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า กฟผ. จะมีเงินลงทุน เพียงพอส�ำหรับโครงการระบบผลิตและส่งไฟฟ้าในอนาคต

3. ด้านการด�ำเนินงาน (Operational Risk) กฟผ. ได้เตรียมความพร้อมรองรับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ครอบคลุมทั้งในด้านการผลิตและระบบส่งไฟฟ้า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าและระบบส่งตามแผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้า (Power Development Plan : PDP) ด้านบุคลากร ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม การสร้างความรู้และความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการด�ำเนินงานของ กฟผ. ในปี 2558 กฟผ. ได้พิจารณาครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่มีต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการด�ำเนินงานด้านการผลิตและ ส่งไฟฟ้า โดย กฟผ. ได้มีแผนงานและมาตรการบริหารความเสี่ยง จนส่งผลให้โรงไฟฟ้ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงระดับสากล (Model Plant) และสามารถลดเวลาโครงการพัฒนาระบบส่งลงได้ เป็นต้น

4. ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Compliance Risk) ทีผ่ า่ นมา กฟผ. ให้ความส�ำคัญต่อการปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำเนินงานอย่างครบถ้วน โดยจากการด�ำเนิน งานบริหารความเสี่ยง กฟผ. ได้มีแผนงาน/มาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ทั้งนี้ กฟผ. ได้ พิจารณาเพิ่มเติมปัจจัยเสี่ยงการป้องปรามการทุจริตคอรัปชั่น ตามนโยบายของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้มีการบริหารจัดการอย่าง เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น


40

ระบบการควบคุมภายใน หลักเกณฑ์ / แนวทางปฏิบัติ กฟผ. ได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ว่าด้วยการก�ำหนดมาตรฐาน การควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบการควบคุม ภายในมีความเพียงพอ เหมาะสม สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ด้าน คือ

• การด�ำเนินงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล • ความเชือ่ ถือได้ของรายงานทางการเงิน • การปฏิบตั ิตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ

กฟผ. จัดท�ำรายงานการควบคุมภายใน กฟผ. ประจ�ำปีเสนอคณะกรรมการตรวจสอบเพือ่ สอบทานความเพียงพอเหมาะสม และเสนอต่อคณะกรรมการ กฟผ. ก่อนน�ำส่ง คตง. ภายในเดือนมีนาคมเป็นประจ�ำทุกปี

รายงานการควบคุมภายใน กฟผ. ประจ�ำปี 2558 กฟผ. ได้ประเมินผลระบบการควบคุมภายในตามระเบียบ คตง. เพือ่ สร้างความมัน่ ใจว่าการด�ำเนินงานจะบรรลุวตั ถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากร การดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันการผิดพลาด ความเสียหาย หรือการ ทุจริต ความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินและมิใช่การเงิน และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ โดยมีผลการประเมิน องค์ประกอบการควบคุมภายในทั้ง 5 ด้านสรุปได้ ดังนี้ 1. ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม

กฟผ. จัดให้มีกระบวนการควบคุมภายใน มีคณะกรรรมการตรวจสอบสอบทานความเพียงพอและประสิทธิภาพของการ ควบคุม และติดตามทบทวนรายงานการเงิน / มิใช่การเงินอย่างสม�่ำเสมอเป็นประจ�ำทุกเดือน การมอบอ�ำนาจหน้าที่และความรับ ผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ยึดหลักการก�ำกับดูแลที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้การด�ำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ 2. ด้านการประเมินความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงด�ำเนินงานตามแนวทาง COSO-ERM เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์การ มีคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยงท�ำหน้าที่ก�ำกับดูแล ก�ำหนดนโยบาย ก�ำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และระดับความเบี่ยงเบนที่ยอมรับ ได้ (Risk Tolerance) การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน/ภายนอก เชื่อมโยงกับแผนวิสาหกิจ โดยมีการติดตามประเมินผลเป็นประจ�ำทุก ไตรมาส 3. ด้านกิจกรรมการควบคุม

ก�ำหนดนโยบายและระเบียบวิธปี ฏิบตั งิ านครบทุกด้าน มีคมู่ อื ทีส่ ำ� คัญ ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบนั อยูเ่ สมอ การแบ่งแยกหน้าที/่ อนุมตั /ิ ดูแลป้องกันทรัพย์สนิ ก�ำหนดหน้าทีค่ วามรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อกั ษร มีสำ� นักตรวจสอบภายในสอบทานรายงานการเงิน/ มิใช่การเงิน รายงานเสนอคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการ กฟผ. เป็นประจ�ำทุกเดือน


41

กฟผ. ดำ�เนินการ บริหารความเสี่ยง โดยมีคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง ทั้งองค์กรในทุกระดับ

4. ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร

มีระบบสารสนเทศทั้งการเงิน/มิใช่การเงิน และมี ระบบการจัดการฐานข้อมูลเพือ่ น�ำมาใช้ประโยชน์อย่างสมบูรณ์ เป็ น ปั จ จุ บั น และสะดวกในการเข้ า ถึ ง มี ค ณะกรรมการ เทคโนโลยีสารสนเทศ กฟผ. บริหารจัดการระบบ จัดท�ำแผน แม่บท มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย มีระบบสารสนเทศ ส� ำ หรั บ ผู ้ บ ริ ห ารเพื่ อ สนั บ สนุ น ข้ อ มู ล ส� ำ หรั บ การตั ด สิ น ใจ มีระบบสารสนเทศและสือ่ สารทัง้ ในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ หลายช่องทางเพื่อเข้าถึงผู้เกี่ยวข้องอย่างทันกาล 5. ด้านการติดตามประเมินผล

มีการติดตามประเมินผลแบบระหว่างปฏิบัติการทุก กิจกรรมทีส่ ำ� คัญ อย่างต่อเนือ่ ง สม�ำ่ เสมอ มีการติดตามประเมิน ผลแบบเป็นรายครัง้ การประเมินการควบคุมภายในด้วยตนเอง (Control Self Assessment : CSA) ครบทุกสายงาน โดยบูรณา การร่วมกับการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีการติดตามรายงานผล เป็นประจ�ำทุกไตรมาส รวมทัง้ มีการติดตามประเมินผลแบบเป็น อิสระ (Independent Assessment : IA) โดยส�ำนักตรวจสอบ ภายใน และส�ำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สรุปผลการประเมินระบบการควบคุมภายใน กฟผ. มีการด�ำเนินงานอย่างเป็นระบบครบทั้ง 5 องค์ ป ระกอบ ตามระเบี ย บ คตง. เป็ น มาตรฐานเดี ย วกั น ทั่ ว ทั้ ง องค์ ก าร มีประสิทธิผล เพียงพอ เหมาะสม ท�ำให้บรรลุผลส�ำเร็จตาม วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน


42

โครงสร้างองค์การ กฟผ.


43

โครงสร้างการจัดการองค์การ คณะกรรมการ กฟผ. มีบทบาทส�ำคัญในการก�ำกับควบคุมดูแลการบริหารกิจการ การตัดสินใจ การก�ำหนดนโยบายและ กลยุทธ์ของ กฟผ. โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบ และการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการ กฟผ. กับฝ่ายบริหารอย่าง ชัดเจน เพือ่ ให้เป็นไปตามบทบัญญัตขิ องพระราชบัญญัตกิ ารไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัตคิ ณ ุ สมบัติ มาตรฐานส�ำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีความเชื่อมโยงระหว่างการก�ำกับดูแลกับ การบริหารงานคณะกรรมการ กฟผ. ได้แต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด คือ ผู้ว่าการ กฟผ. ซึ่งเป็นกรรมการโดยต�ำแหน่ง ท�ำหน้าที่เลขานุการ คณะกรรมการ กฟผ. ด้วย พระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 ก�ำหนดองค์ประกอบ คุณสมบัติ และหลักเกณฑ์การแต่งตั้ง คณะกรรมการ กฟผ. ไว้ดังนี้

1. คณะกรรมการ กฟผ. 1.1 องค์ประกอบ คุณสมบัติ และการแต่งตั้ง

• คณะกรรมการ กฟผ. ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบคน รวมทั้งผู้ว่าการ กฟผ. ซึ่งเป็นกรรมการโดยต�ำแหน่ง

• ประธานกรรมการ และกรรมการต้องเป็นผูม้ สี ญ ั ชาติไทย และมีความรูค้ วามจัดเจนเพียงพอเกีย่ วกับการบริหารธุรกิจ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การคลัง หรือกฎหมาย และต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญากับ กฟผ. หรือในกิจการที่กระท�ำให้แก่ กฟผ. ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์ ในการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจ�ำกัด หรือบริษัทมหาชนจ�ำกัด ไม่เป็นผู้มีต�ำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งไม่มี คุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามที่ก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานส�ำหรับกรรมการและ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และมติคณะรัฐมนตรีและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการ แต่งตั้งกรรมการ

• คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการอื่นซึ่งมิใช่กรรมการโดยต�ำแหน่ง

1.2 อ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กฟผ. คณะกรรมการ กฟผ. มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

• ออกระเบียบ/ข้อบังคับต่าง ๆ

• ก�ำหนดวิสัยทัศน์และนโยบายของ กฟผ. และรับผิดชอบต่อผลการด�ำเนินงานของฝ่ายบริหาร

• ทบทวนและให้ความเห็นชอบนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ส�ำคัญ โดยรวมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายทางการเงิน ความรับผิดชอบต่อสังคมและการดูแลสิ่งแวดล้อม และแผนงานต่าง ๆ ของ กฟผ. พร้อมทั้งดูแลติดตามให้ฝ่าย บริหารปฏิบัติตามแผนงานที่ก�ำหนดไว้อย่างสม�่ำเสมอ


44

• ให้ความมั่นใจว่า ระบบบัญชี การรายงานทางการเงิน และการสอบบัญชี มีความเชื่อถือได้ รวมทั้งดูแลให้มี กระบวนการในการประเมินความเหมาะสมของการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การบริหารจัดการความเสี่ยง การรายงานทางการเงิน และการติดตาม ให้มีการปฏิบัติที่มี ประสิทธิผล

• สอดส่องดูแล และจัดการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายบริหาร กรรมการ และผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งตรวจสอบการใช้สินทรัพย์ของ กฟผ. ในทางมิชอบ และการกระท�ำที่ไม่ถูกต้องของ ฝ่ายบริหาร กรรมการ และผู้ปฏิบัติงาน

• ให้ความมั่นใจว่าโครงสร้างและวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ของคณะกรรมการ กฟผ. ที่เป็นอยู่ สอดคล้องกับการก�ำกับดูแล กิจการที่ดี และเป็นการปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรม

• ดูแลด้านการบริหารงานบุคคล ในเรื่องต�ำแหน่งหน้าที่ และจ�ำนวนของผู้ปฏิบัติงานให้มีความเหมาะสมกับ สภาวการณ์

• ประเมินผลงานของผู้ว่าการ และทบทวนการวางแผนงานของ กฟผ. อย่างสม�่ำเสมอ

1.3 ความเป็นอิสระของคณะกรรมการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและแนวทางการก�ำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ปี 2552 ของส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบาย รัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ที่ก�ำหนดว่า รัฐวิสาหกิจควรมีกรรมการที่เป็นอิสระจากภายนอกอย่างน้อยหนึ่งในสามของ กรรมการทั้งคณะ เพื่อให้มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจได้อย่างแท้จริง และมีจ�ำนวนเพียงพอที่จะส่งผลต่อการรับฟังความคิดเห็น ของที่ประชุม โดยควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์แก่รัฐวิสาหกิจ และกรรมการอิสระอย่างน้อย หนึ่งคน ควรแต่งตั้งจากบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังจัดท�ำขึ้น คณะกรรมการ กฟผ. ในปี 2558 มีกรรมการที่เป็นอิสระจากภายนอก ซึ่งหมายถึง กรรมการที่มิได้สังกัดหน่วยงานที่ก�ำกับ ดูแล กฟผ. และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ และสามารถแสดงความเห็นของตนเองได้อย่างเป็นอิสระ จ�ำนวน 7 คน ได้แก่

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

นายปรเมธี นายชวน พลเอกกัมปนาท พลเอกวลิต นายเข็มชัย นายสุทัศน์ นายศรัณย์

วิมลศิริ ศิรินันท์พร รุดดิษฐ์ โรจนภักดี ชุติวงศ์ ปัทมสิริวัฒน์ เจริญสุวรรณ


45

1.4 รายนามคณะกรรมการ กฟผ. ล�ำดับที่

รายนาม

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11

ต�ำแหน่ง

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

นายคุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมการ นายปรเมธี วิมลศิริ กรรมการ นายชวน ศิรินันท์พร กรรมการ พลโทกัมปนาท รุดดิษฐ์ กรรมการ พลเอกวลิต โรจนภักดี กรรมการ นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ กรรมการ นายเข็มชัย ชุติวงศ์ กรรมการ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ กรรมการ นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ กรรมการ นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์ กรรมการโดยต�ำแหน่ง ผู้ว่าการ กฟผ. ท�ำหน้าที่เลขานุการ

13 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม -

19 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 22 พฤศจิกายน 2558

13 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 13 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558

หมายเหตุ ล�ำดับที่ 1

แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการโดยมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 มกราคม 2558 และลาออกจากต�ำแหน่งประธานกรรมการ กฟผ. ตั้งแต่ วันที่ 20 ธันวาคม 2558 ล�ำดับที่ 8 ลาออกจากต�ำแหน่งกรรมการ กฟผ. ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 ล�ำดับที่ 9,10 แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 มกราคม 2558

1.5 กรรมการ กฟผ. ที่ด�ำรงต�ำแหน่งในบริษัทในเครือของ กฟผ.

ชื่อ - สกุล

ต�ำแหน่งในบริษัทในเครือ

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

บริษัท อีแกทอินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด (EGATi) 1. นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์ ประธานกรรมการ

1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558

บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) (RATCH) 1. นายคุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมการ 2. นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ประธานกรรมการ กรรมการ 3. นายชวน ศิรินันท์พร กรรมการ 4. นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ กรรมการ

1 มกราคม - 20 ธันวาคม 2558 21 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 20 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558


46

2. คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการ กฟผ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย 11 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการชุดย่อยเพื่อกลั่นกรองงาน 8 คณะ และคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อภารกิจเฉพาะอีก 3 คณะ คณะกรรมการชุดย่อยเพือ่ กลัน่ กรองงานทีม่ คี วามส�ำคัญในด้านต่าง ๆ จ�ำนวน 8 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารของคณะ กรรมการ กฟผ. คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหารความเสีย่ ง คณะกรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. คณะกรรมการทรัพยากร บุคคล กฟผ. คณะกรรมการสรรหารองผูว้ า่ การ คณะกรรมการสรรหาผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การและผูอ้ ำ� นวยการฝ่าย และคณะกรรมการกิจการ สัมพันธ์ กฟผ. คณะกรรมการชุดย่อยเพื่อภารกิจเฉพาะจ�ำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ. คณะกรรมการสรรหา ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ และคณะอนุกรรมการพิจารณาผลตอบแทนผู้ว่าการ กฟผ.

2.1 คณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการ กฟผ. มีอ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ และอนุมัติร่างขอบเขตของงานที่มีวงเงินไม่เกิน 700 ล้านบาท ทีน่ อกเหนือวงเงินอนุมตั ขิ องผูว้ า่ การ และพิจารณากลัน่ กรองร่างขอบเขตของงานทีม่ วี งเงินเกิน 700 ล้านบาท ก่อนน�ำเสนอ คณะกรรมการ กฟผ. เพือ่ พิจารณาก�ำหนดแนวทางและข้อเสนอแนะทีเ่ กีย่ วกับการจัดหาพัสดุ เพือ่ ให้มคี วามโปร่งใสและเกิดประโยชน์ สูงสุด พิจารณากลั่นกรองเรื่องเกี่ยวกับการเงิน นโยบายและแผนการลงทุน และงบประมาณประจ�ำปีของ กฟผ. รวมทั้งก�ำหนด แนวทางด้านการเงินและการลงทุนทีม่ ปี ระโยชน์ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร พิจารณา กลั่นกรองข้อบังคับ กฟผ. และอนุมัติการจ่ายเงินช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่มีวงเงิน เกิน 4 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้งต่อราย พิจารณาวินิจฉัยหรือกลั่นกรองการอุทธรณ์เรื่องการยึดหลักประกันซองการ จัดหาพัสดุโดยวิธีประกวดราคา ด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีหลักประกันวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท รวมถึงปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ กฟผ. ตามข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 357 ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการ กฟผ. รายนามคณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการ กฟผ. ล�ำดับที่

1 2 3 4 5

รายนาม

นายคุรุจิต นาครทรรพ นายชวน ศิรินันท์พร นายเข็มชัย ชุติวงศ์ นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์

ต�ำแหน่ง

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการโดยต�ำแหน่ง และท�ำหน้าที่เลขานุการ

หมายเหตุ *ล�ำดับที่ 1 ลาออกจากต�ำแหน่งประธานกรรมการ กฟผ. ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2558

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

1 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม -

19 ธันวาคม 2558* 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558


47

2.2 คณะกรรมการตรวจสอบ มีอ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการสอบทานประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการก�ำกับดูแลทีด่ ี และกระบวนการบริหารความเสีย่ ง สอบทานให้ กฟผ. มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชือ่ ถือ ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อก�ำหนดค�ำสั่ง นโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณ กฟผ. รวมทั้งก�ำกับดูแล กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนของฝ่ายบริหาร พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือ มีโอกาสเกิดการทุจริต ตรวจสอบการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อให้คุ้มค่า และเพิ่มมูลค่าให้องค์การ ตรวจสอบการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยว กับการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงตามที่ผู้สอบบัญชีและส�ำนักตรวจสอบภายในเสนอแนะ ตรวจสอบการปฏิบัติงาน ของส�ำนักตรวจสอบภายใน การแต่งตั้ง โยกย้าย และพิจารณาความดีความชอบของผู้ช่วยผู้ว่าการส�ำนักตรวจสอบภายใน รวมทั้ง ประสานงานกับผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับผลการตรวจสอบประจ�ำปี และทบทวนข้อบังคับว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ และการตรวจ สอบภายในให้เหมาะสมอย่างน้อยปีละครั้ง ตามข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 365 ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ ล�ำดับที่

รายนาม

1

นายปรเมธี

2 3

วิมลศิริ

ต�ำแหน่ง

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

ประธานกรรมการ

1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558

พลเอกกัมปนาท รุดดิษฐ์

กรรมการ

1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558

นายกฤษฎา

กรรมการ

1 มกราคม - 22 พฤศจิกายน 2558*

จีนะวิจารณะ

4 ผู้ช่วยผู้ว่าการส�ำนักตรวจสอบภายใน เลขานุการโดยต�ำแหน่ง

1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558

หมายเหตุ *ล�ำดับที่ 3 ลาออกจากต�ำแหน่งกรรมการ กฟผ. ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558

2.3 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง มีอ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการด�ำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า กฟผ. มีกรอบการบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอและมี ประสิทธิภาพ ซึง่ รวมถึงนโยบายและการด�ำเนินการเพือ่ ให้ครอบคลุมความเสีย่ งทัง้ หมดทีอ่ าจเกิดขึน้ กับ กฟผ. สอบทานนโยบายและ ระบบควบคุมเพือ่ ประเมินการบริหาร และการควบคุมความเสีย่ ง รวมถึงกระบวนการตรวจสอบและรายงานผล รวมทัง้ ก�ำกับดูแลให้ มีการปฏิบตั ติ ามกรอบการบริหารความเสีย่ ง และสอบทานการเปิดเผยข้อมูลความเสีย่ งต่อหน่วยงานก�ำกับดูแลและสาธารณะ ตลอด จนปฏิบัติหน้าที่อื่นใดเกี่ยวกับการควบคุมและบริหารความเสี่ยงของ กฟผ. ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ กฟผ. ตามข้อ บังคับ กฟผ. ฉบับที่ 359 ว่าด้วยคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง


48

รายนามคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ล�ำดับที่

1 2 3 4

รายนาม

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ พลเอกวลิต โรจนภักดี ผู้ว่าการ กฟผ. รองผู้ว่าการนโยบายและแผน

ต�ำแหน่ง

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ โดยต�ำแหน่ง

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

28 มกราคม - 28 มกราคม - 28 มกราคม - 28 มกราคม -

31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558

2.4 คณะกรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. มีอ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กลยุทธ์ เป้าหมาย และพิจารณาให้ความเห็นชอบ แผนแม่บทด้านการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน กฟผ. รวมทั้งก�ำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามในกิจกรรมการก�ำกับดูแลที่ดี และแผนงานด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการด�ำเนินงานต่อคณะกรรมการ กฟผ. ทุก 6 เดือน ตามข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 360 ว่าด้วยคณะกรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. รายนามคณะกรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. ล�ำดับที่

1 2 3 4 5 6

รายนาม

นายชวน ศิรินันท์พร นายเข็มชัย ชุติวงศ์ รองผู้ว่าการบริหาร รองผู้ว่าการกิจการสังคม ผู้ช่วยผู้ว่าการทรัพยากรบุคคล ผู้อ�ำนวยการส�ำนักผู้ว่าการ

ต�ำแหน่ง

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ เลขานุการโดยต�ำแหน่ง

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

28 มกราคม - 28 มกราคม - 28 มกราคม - 28 มกราคม - 28 มกราคม - 28 มกราคม -

31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558

2.5 คณะกรรมการทรัพยากรบุคคล กฟผ. มีอ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านทรัพยากรบุคคลของ กฟผ. พิจารณาให้ความ เห็นชอบแผนแม่บทด้านทรัพยากรบุคคลแล้วรายงานคณะกรรมการ กฟผ. เพือ่ ทราบ ตลอดจนปฏิบตั หิ น้าทีอ่ นื่ ใดเกีย่ วกับการก�ำกับ ดูแลด้านทรัพยากรบุคคลตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ กฟผ. ตามข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 361 ว่าด้วย คณะกรรมการ ทรัพยากรบุคคล กฟผ.


49

รายนามคณะกรรมการทรัพยากรบุคคล กฟผ. ล�ำดับที่

1

2 3 4 5 6

รายนาม

ต�ำแหน่ง

นายชวน ศิรินันท์พร ประธานกรรมการ นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ กรรมการ ผู้ว่าการ กฟผ. ในฐานะกรรมการ กฟผ. กรรมการ รองผู้ว่าการบริหาร กรรมการ ที่ปรึกษาระดับ 14 กรรมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการทรัพยากรบุคคล เลขานุการโดยต�ำแหน่ง

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

1 มกราคม - 27 สิงหาคม - 1 มกราคม - 1 มกราคม - 27 สิงหาคม - 1 มกราคม -

31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558

2.6 คณะกรรมการสรรหารองผู้ว่าการ มีอ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเพื่อเสนอแต่งตั้ง สับเปลี่ยนหมุนเวียน ผู้ด�ำรงต�ำแหน่ง รองผู้ว่าการ กฟผ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก�ำหนดไว้ในข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 362 ว่าด้วยคณะกรรมการสรรหารองผู้ว่าการ ผู้ช่วยผู้ว่าการและผู้อ�ำนวยการฝ่าย รายนามคณะกรรมการสรรหารองผู้ว่าการ ล�ำดับที่

1

2 3 4 5 6

รายนาม

นายคุรุจิต นาครทรรพ นายปรเมธี วิมลศิริ นายชวน ศิรินันท์พร นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ นายพิษณุ ทองวีระกุล ผู้ว่าการ กฟผ.

ต�ำแหน่ง

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

ประธานกรรมการ โดยต�ำแหน่ง กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ โดยต�ำแหน่ง

22 พฤษภาคม - 19 ธันวาคม 2558* 22 พฤษภาคม - 22 พฤษภาคม - 22 พฤษภาคม - 22 พฤษภาคม - 22 พฤษภาคม -

หมายเหตุ *ล�ำดับที่ 1 ลาออกจากต�ำแหน่งประธานกรรมการ กฟผ. มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2558

31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558 31 ธันวาคม 2558


50

2.7 คณะกรรมการสรรหาผู้ช่วยผู้ว่าการและผู้อ�ำนวยการฝ่าย มีอ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการเสนอแต่งตั้ง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการ และ ผู้อ�ำนวยการฝ่าย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก�ำหนดไว้ในข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 362 ว่าด้วยคณะกรรมการสรรหารองผู้ว่าการ ผู้ช่วยผู้ว่าการและผู้อ�ำนวยการฝ่าย รายนามคณะกรรมการสรรหาผู้ช่วยผู้ว่าการและผู้อ�ำนวยการฝ่าย ล�ำดับที่

1 2 3 4

รายนาม

ผู้ว่าการ กฟผ. นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ รองผู้ว่าการ รองผู้ว่าการบริหาร

ต�ำแหน่ง

ประธานกรรมการ โดยต�ำแหน่ง กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ โดยต�ำแหน่ง

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558

2.8 คณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีอ�ำนาจหน้าที่สรรหาบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เหมาะสมที่จะเป็นผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย ซึ่งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายก�ำหนด และเสนอให้คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทยพิจารณา

2.9 คณะกรรมการสรรหาที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ มีอำ� นาจหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเพือ่ เสนอแต่งตัง้ ผูด้ ำ� รงต�ำแหน่งทีป่ รึกษาและผูเ้ ชีย่ วชาญ

2.10 คณะอนุกรรมการพิจารณาผลตอบแทนผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีอ�ำนาจหน้าที่ในการก�ำหนดค่าจ้างและผลตอบแทนอื่น ๆ ก�ำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน จัดท�ำ ร่างสัญญาของผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เจรจาต่อรองค่าจ้างและผลตอบแทนอื่น ๆ กับผู้สมัครที่คณะกรรมการ สรรหาผูว้ า่ การการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยคัดเลือก และเสนอผลการด�ำเนินงานดังกล่าวต่อคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย รวมถึงมอบหมายหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้หน่วยงานและหรือผู้ปฏิบัติงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ช่วยด�ำเนินการได้ตามความเหมาะสม

2.11 คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ กฟผ. มีอ�ำนาจหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการด�ำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนส่งเสริมและ พัฒนาการแรงงานสัมพันธ์ หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในรัฐวิสาหกิจนั้น พิจารณาปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการท�ำงาน อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐวิสาหกิจนัน้ ปรึกษาหารือเพือ่ แก้ปญ ั หาตามค�ำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงาน รวมถึงการร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย และปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง


51

รายนามคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ กฟผ.

ล�ำดับที่

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24

รายนาม

นายชวน ศิรินันท์พร นายสุธน บุญประสงค์ นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์ นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี นายถาวร งามกนกวรรณ นายสุชา เหมือนแก้ว นายวิวัฒน์ ชาญเชิงพานิช นายพล คงเสือ นางสาวปราณี ตั้งเสรี นายวันชัย หงส์เชิดชัย นายวีรชัย ไชยสระแก้ว นายสุรพงษ์ รังษีสมบัติศิริ นายพีรพล สุขวิบูลย์ นายสมบัติ ทรัพย์ทวีกุล นายเทวัญ ตันทนะเทวินทร์ นายศิริชัย ไม้งาม นายสมยศ เจียวก๊ก นายศิรพงษ์ บุญปลีก นายชาญชัย สมพรพันธ์ นายสมบูรณ์ ศรีมหาโพธิ์ นายธีรชัย ฉัตรมณีพงศ์ นายศิริพงศ์ พูลสวัสดิ์ นายอดุลย์ สุขอ�่ำ นายสมควร ยาวิชัย

ต�ำแหน่ง

ช่วงการด�ำรงต�ำแหน่ง

ประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง กรรมการผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง

1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 6 สิงหาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 7 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 6 สิงหาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 6 สิงหาคม 2558 7 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2558 7 สิงหาคม - 16 ตุลาคม 2558 1 มกราคม - 6 สิงหาคม 2558 1 มกราคม - 6 สิงหาคม 2558 7 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2558 7 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558


52

3. การประชุมคณะกรรมการ กฟผ. และคณะกรรมการชุดย่อย การประชุมคณะกรรมการ กฟผ. ด�ำเนินการตามข้อบังคับ กฟผ. ว่าด้วยการประชุมและการด�ำเนินกิจการของคณะกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยฝ่ายเลขานุการจะแจ้งก�ำหนดประชุมของปีตอ่ ไปล่วงหน้าทัง้ ปีให้คณะกรรมการ กฟผ. ทราบ ในเดือนธันวาคม เพื่อให้กรรมการสามารถจัดสรรเวลาเข้าประชุมได้อย่างสม�่ำเสมอ ในปี 2558 คณะกรรมการ กฟผ. มีการประชุมทุกวันพุธที่สี่ของเดือน โดยฝ่ายเลขานุการจัดส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อม ระเบียบวาระการประชุม และเสนอเอกสารประกอบการประชุมให้กับคณะกรรมการ กฟผ. ล่วงหน้า 5 วันท�ำการก่อนวันประชุม เพื่อให้คณะกรรมการมีเวลาเตรียมตัวและศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ และสามารถขอเอกสารหรือข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้มีข้อมูลครบ ถ้วนเพียงพอต่อการพิจารณาวาระต่าง ๆ อย่างรอบด้านและมีประสิทธิภาพ ในการประชุมคณะกรรมการ กฟผ. มีฝ่ายบริหาร กฟผ. ระดับรองผู้ว่าการทั้งหมด 10 สายงานเข้าร่วมประชุม เพื่อให้ข้อมูล เพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และรับนโยบายความเห็น ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ กฟผ. ไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติได้โดยตรง อย่างถูกต้องรวดเร็ว เหมาะสม รวมทั้งมีที่ปรึกษาระดับ 14 ที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติเข้าร่วมประชุม เพื่อให้ค�ำ ปรึกษาในประเด็นข้อกฎหมายต่าง ๆ ให้เกิดความรอบคอบถูกต้อง นอกจากนี้ เพือ่ เป็นการแสดงออกถึงความโปร่งใสในการบริหารงาน คณะกรรมการ กฟผ. ได้อนุญาตให้ผแู้ ทนสหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจ กฟผ. (สร.กฟผ.) จ�ำนวน 2 คน ได้แก่ ประธานและรองประธานหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากประธาน สร. กฟผ. เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมคณะกรรมการ กฟผ. ด้วย ในปี 2558 มีการประชุมคณะกรรมการ กฟผ. รวม 13 ครั้ง ส�ำหรับคณะกรรมการชุดย่อยบางคณะมีการประชุมทุกเดือน บางคณะมีการประชุมตามความจ�ำเป็นของงาน ยกเว้นคณะกรรมการสรรหาผูว้ า่ การ คณะกรรมการสรรหาทีป่ รึกษาและผูเ้ ชีย่ วชาญ และคณะอนุกรรมการพิจารณาผลตอบแทนผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่มีการประชุมในปี 2558 เนื่องจากไม่มี ภารกิจที่จะต้องพิจารณา สรุปได้ตามตารางต่อไปนี้


53

ตารางแสดงการเข้าประชุมของคณะกรรมการ กฟผ. และคณะกรรมการชุดย่อยปี 2558 ล�ำดับที่

รายนาม

1

นายคุรุจิต

2

นาครทรรพ

คณะกรรมการ กฟผ.

คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ บริหารของ ตรวจสอบ บริหารความเสี่ยง คณะกรรมการ กฟผ.

คณะกรรมการ ธรรมาภิบาล กฟผ.

คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ คณะกรรมการ ทรัพยากรบุคคล สรรหา สรรหา กิจการสัมพันธ์ กฟผ. รองผู้ว่าการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟผ. และผู้อ�ำนวยการฝ่าย

12/12

11/11

1/1

นายปรเมธี วิมลศิริ

10/13

7/10

1/1

3

นายชวน

ศิรินันท์พร

10/13

10/11

4/4

3/3

1/1

4

พลเอกวลิต โรจนภักดี

9/13

2/2

5

พลเอกกัมปนาท รุดดิษฐ์

5/13

6/10

6

นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์

12/13

10/11

7

นายเข็มชัย ชุติวงศ์

12/13

7/11

4/4

8

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ

8/12

8/9

9

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

13/13

2/2

1/1

10 นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ

8/13

5/5

5/5

11 นายวิรัช

กาญจนพิบูลย์

1/1

12 นายพิษณุ

ทองวีระกุล

1/1

13 นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์

13/13

11/11

2/2

3/3

1/1

5/5

จ�ำนวนครั้งในการประชุมทั้งปี

13

11

10

2

4

3

1

5

หมายเหตุ : จ�ำนวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม / จ�ำนวนครั้งที่มีการจัดประชุมในช่วงเวลาที่กรรมการแต่ละท่านด�ำรงต�ำแหน่ง

4. การประเมินตนเองของคณะกรรมการ กฟผ.

การประเมินตนเองจะช่วยให้คณะกรรมการ กฟผ. สามารถระบุจุดอ่อนที่ควรปรับปรุง และเป็นโอกาสที่คณะกรรมการได้ ร่วมกันพิจารณาอย่างเปิดเผยถึงปัญหาและผลงานทีผ่ า่ นมา ว่าการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องตนเป็นประโยชน์ตอ่ กฟผ. เพียงใด เพือ่ ปรับปรุง ความสามารถในการท�ำหน้าทีก่ ำ� หนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ของ กฟผ. ควบคูไ่ ปกับการก�ำกับดูแลการบริหารงานของฝ่ายบริหารได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักการและแนวทางการก�ำกับดูแลทีด่ ใี นรัฐวิสาหกิจของส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง ที่ก�ำหนดว่า คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยตัวเองเป็นระยะ ๆ อย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อน�ำผลประเมินฯ มาพิจารณาก�ำหนดแนวทางปรับปรุงการท�ำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น คณะ กรรมการ กฟผ. จึงมีการประเมินตนเองทุกปี โดยในปี 2558 คณะกรรมการ กฟผ. ได้เห็นชอบให้ใช้แบบประเมินทั้ง 2 แบบ คือ แบบทั้งคณะและแบบรายบุคคล ส�ำหรับผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการ กฟผ. ในปี 2558 ทั้ง 2 แบบ อยู่ในเกณฑ์ “มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม”


54

5. ค่าตอบแทนของคณะกรรมการ กฟผ.

ค่าตอบแทนของกรรมการ กฟผ. อยู่ในอัตราที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ กรรมการที่ได้รับมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบ เพิ่มขึ้น เช่น เป็นกรรมการตรวจสอบ กรรมการบริหารของคณะกรรมการ กฟผ. กรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. กรรมการบริหารความ เสี่ยง จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติเช่นเดียวกัน ค่าตอบแทนส�ำหรับกรรมการ กฟผ. ปี 2558 รวม เป็นเงิน 8,832,130.81 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ ล�ำดับที่

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11

รายนาม

นายคุรุจิต นาครทรรพ นายปรเมธี วิมลศิริ นายชวน ศิรินันท์พร พลเอก วลิต โรจนภักดี นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิวัฒน์ นายเข็มชัย ชุติวงศ์ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์ รวม

ค่าตอบแทนรายเดือน (บาท)

ค่าเบี้ยประชุม (บาท)

โบนัส ปี 2557 จ่ายปี 2558 (บาท)

รวมเป็นเงิน (บาท)

224,924.73 120,000.00 120,000.00 120,000.00 120,000.00 120,000.00 107,333.33 120,000.00 116,129.03 116,129.03 120,000.00

287,500.00 260,000.00 322,500.00 110,000.00 260,000.00 230,000.00 197,010.75 170,000.00 155,000.00 80,000.00 150,000.00

593,447.58 1,105,872.31 507,500.00 887,500.00 507,500.00 950,000.00 507,500.00 737,500.00 507,500.00 887,500.00 507,500.00 857,500.00 453,930.56 758,274.64 253,750.00 543,750.00 491,129.03 762,258.06 368,346.77 564,475.80 507,500.00 777,500.00

1,404,516.12

2,222,010.75

5,205,603.94 8,832,130.81


55


เป้าหมายสูงสุด ของการพัฒนาเทคโนโลยี คือการยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ ให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

ได้อย่างมีความสุข และกลมกลืน



58

คณะกรรมการ กฟผ.

นายคุรุจิต นาครทรรพ ประธานกรรมการ

นายปรเมธี วิมลศิริ กรรมการ

นายชวน ศิรินันท์พร กรรมการ

พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ กรรมการ

พลเอก วลิต โรจนภักดี กรรมการ

นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ กรรมการ

นายเข็มชัย ชุติวงศ์ กรรมการ

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ กรรมการ

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ กรรมการ

นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ กรรมการ

นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ กรรมการ (โดยตำ�แหน่ง)


59

นายคุรุจิต นาครทรรพ

อายุ 60 ปี

ประธานกรรมการ (13 มกราคม - 19 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาเอก Ph.D. in Petroleum Engineering, University of Oklahoma, U.S.A. • ปริญญาโท M.Sc. in Petroleum Engineering, University of Oklahoma, U.S.A. • ปริญญาตรี Bachelor of Science (with Special Distinction) in Petroleum Engineering, University of Oklahoma, U.S.A. ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง : ผูน้ ำ� ทีม่ วี สิ ยั ทัศน์และคุณธรรม (นบส.) รุ่นที่ 46/2548 ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน • Senior Executive Programme, London Business School, U.K. (2549) • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) - หลักสูตร Director Accreditation Program รุ่นที่ 64/2550 - หลักสูตร Audit Committee Program รุ่นที่ 32/2553 - หลักสูตร Role of Compensation Committee Program รุ่นที่ 12/2554 • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุน่ ที่ 51/2551 วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร (วปอ.) • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) รุ่นที่ 3/2553 • หลักสูตรผู้น�ำ - น�ำการเปลี่ยนแปลง มูลนิธิสัมมาชีพ/เครือมติชน (LFC) รุ่นที่ 2/2554 • หลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง (บยป.) รุ่นที่ 2/2554 วิทยาลัยการยุติธรรมทางการปกครอง • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 13/2554 • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 1/2555 สถาบันวิทยาการพลังงาน

• หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์เพือ่ ตัดสินใจแก้ปญ ั หา อย่างเป็นระบบ (SPSDM) ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน/บริษัท ACI, (20 - 22 ก.ค. 2555) • หลักสูตร ‘ภูมิพลังแผ่นดิน’ ส�ำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มิ.ย. - พ.ย. 2556) ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2558 ปลัดกระทรวงพลังงาน ปี 2553 - ปี 2558 รองปลัดกระทรวงพลังงาน ปี 2551 - ปี 2553 อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ปี 2549 - ปี 2551 รองปลัดกระทรวงพลังงาน ปี 2549 รองอธิบดีกรมเชือ้ เพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น • ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด


60

นายปรเมธี วิมลศิร ิ

อายุ 55 ปี

กรรมการ (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาเอก Ph.D. (Economics), Carleton University, Canada • ปริญญาโท M.A. (International Affairs), Columbia University, U.S.A. • ปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • หลักสูตรผู้บริหารด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2 ส�ำนักงานและ พั ฒ นาองค์ ค วามรู ้ (องค์ ก ารมหาชน) ร่ ว มกั บ มหาวิ ท ยาลั ย หอการค้าไทย • หลั ก สู ต รผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ด้ า นการค้ า และการพาณิ ช ย์ แ ละ อุตสาหกรรมการคลัง (TEPCoT) รุน่ ที่ 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย • หลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง รุ่นที่ 23 (CIO) ส�ำนักงาน ก.พ. และสถาบันวิทยาการส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ปี 2551 - 2552 • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) - หลักสูตร Director Certification Program รุ่นที่ 86/2550 - หลักสูตร Audit Committee Program รุ่นที่ 42/2555 - หลักสูตร Successful Formulation & Execution the Strategy (SFE) รุ่นที่ 16/2556 • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงอาเซียน รุ่นที่ 1/2556 • หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและ การลงทุน (วธอ.) รุ่นที่ 2/2558 สถาบันวิทยาการธุรกิจและ อุตสาหกรรม ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2558 - ปัจจุบัน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2554 - ปี 2558 รองเลขาธิการ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ปี 2548 ที่ปรึกษาด้านนโยบายและวางแผน (ระดับ 10) ปี 2545 ผู้อ�ำนวยการส�ำนักวางแผนเศรษฐกิจมหภาค

ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น • กรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย • กรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย • กรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) • กรรมการกองทุนบ�ำเหน็จบ�ำนาญข้าราชการ (กบข.) • กรรมการบริหารส�ำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศ เพื่อนบ้าน (สพพ.) • กรรมการบริหารศูนย์พนั ธุวศิ วกรรมและเทคโนโลยีชวี ภาพแห่งชาติ • กรรมการบริหารศูนย์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • กรรมการบริหารส�ำนักงานศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ TCDC • กรรมการสมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทย • อาจารย์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด


61

นายชวน ศิรินันท์พร

อายุ 62 ปี

กรรมการ (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี • ปริ ญ ญาเอก ปรั ช ญาดุ ษ ฎี บั ณ ฑิ ต กิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ มหาวิ ท ยาลั ย อุบลราชธานี • ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (เกียรตินิยม) สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) - หลักสูตร Director Accrediction Program (DAP) รุ่นที่ 112/2557 • หลักสูตร Thai Senior Executive Development Program, National Graduate Policy Studies (GRIP) Japan • หลักสูตรผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงระดับสูง สถาบันด�ำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร • ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • หลักสูตรนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง • หลักสูตรผูบ้ ริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน กระทรวงพลังงาน

พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์

อายุ 59 ปี

กรรมการ (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต โรงเรียนเสนาธิการทหารบก • ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (วปรอ.) รุน่ ที่ 22 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร • หลักสูตรหลักประจ�ำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2558 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ปี 2557 - ปี 2558 แม่ทัพภาคที่ 1 ปี 2556 - ปี 2557 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ ปี 2554 - ปี 2556 รองแม่ทัพภาคที่ 1 ปี 2552 - ปี 2554 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2556 - ปัจจุบัน ข้าราชการบ�ำนาญ ปี 2555 - ปี 2556 อธิบดีกรมการปกครอง ปี 2554 - ปี 2555 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ปี 2553 - ปี 2554 ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ปี 2550 - ปี 2553 ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2548 - ปี 2550 ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น • กรรมการบริหาร บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการบริหารความเสีย่ ง บริษทั ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) • ประธานกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัท ท่าอากาศยานไทย จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด


62

พลเอก วลิต โรจนภักดี

อายุ 59 ปี

กรรมการ (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะ) มหาวิทยาลัยบูรพา • ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 22/2552 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2558 - ปัจจุบัน รองผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก กองบัญชาการกองทัพบก ปี 2557 - ปี 2558 รองเสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ปี 2557 แม่ทัพภาคที่ 4 ปี 2556 แม่ทัพน้อยที่ 1 ปี 2555 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายส่งก�ำลังบ�ำรุง

นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์

อายุ 57 ปี กรรมการ (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมความ ปลอดภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริ ญ ญาตรี วิ ศ วกรรมศาสตรบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ศ วกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 52 วิทยาลัยป้องกันราช อาณาจักร • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง หลักสูตรที่ 1 รุ่นที่ 43 วิทยาลัยนัก บริหาร สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2557 - ปัจจุบัน อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ปี 2556 - ปี 2557 รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ปี 2551 - ปี 2556 ผู  อํานวยการสํานั ก ความปลอดภั ย ธุ ร กิ จ กาซ ธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน ปี 2550 - ปี 2551 ผูอํานวยการสํานักความปลอดภัยธุรกิจกาซปโตร เลียมเหลว กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น • กรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด


63

นายเข็มชัย ชุติวงศ์

อายุ 61 ปี

กรรมการ (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาโท Master of Laws, Harvard University , U.S.A. • เนติบัณฑิตไทย เกียรตินิยม ส�ำนักกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา • ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) - หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 29/2546 - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 18/2547 • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน • หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยส�ำหรับ นักบริหารระดับสูง (ปปร.) สถาบันพระปกเกล้า • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) วิทยาลัยป้องกันราช อาณาจักร

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ

อายุ 52 ปี

กรรมการ (1 มกราคม - 22 พฤศจิกายน 2558) (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาโท M.B.A. (Master of Business Administration) University of New Haven, USA • ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 18 • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 54 • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) - หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 186/2557 - หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 179/2556 • โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้บริหารส่วนราชการ (นบส.2) ปี 2553 ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน • หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (หลักสูตรที่ 1) รุน่ ที่ 56/2550 ส�ำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน • Financial Instrument and Market 2004, Harvard Business School

ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2558 - ปัจจุบัน รองอัยการสูงสุด ส�ำนักงานอัยการสูงสุด ปี 2557 - ปี 2558 ผู้ตรวจอัยการ ส�ำนักงานอัยการสูงสุด ปี 2554 - ปี 2556 อธิบดีอัยการ ส�ำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ปี 2550 - ปี 2554 อธิบดีอัยการ ส�ำนักงานคณะกรรมการอัยการ ปี 2537 - ปี 2538 อัยการจังหวัดปทุมธานี ส�ำนักงานอัยการสูงสุด ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น • กรรมการบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จ�ำกัด จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

• หลักสูตรการบริหารงานยุตธิ รรมเชิงรุกแบบบูรณาการ รุน่ ที่ 4/2549 ส�ำนักงานกิจการยุติธรรม ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2557 ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวง การคลัง ปี 2555 - ปี 2557 ทีป่ รึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ส�ำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง กระทรวงการคลัง ปี 2552 - ปี 2555 รองผู ้ อ� ำ นวยการส� ำ นั ก งานเศรษฐกิ จ การคลั ง กระทรวงการคลัง ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น • กรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย • กรรมการบริษัท บางจากปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด


64

นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ อายุ 62 ปี กรรมการ (1 มกราคม - 22 พฤศจิกายน 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. (2552) • Senior Executive Development Program-2 มูลนิธิพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ปี 2549 • Masterful Coaching Workshop, Hay Group ปี 2549 • Creating Value Through Product Management and Customer Profitability สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ปี 2547 • ASEAN Executive Development Programme, Thammasat Business School ปี 2546 • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) - หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 83/2550 - หลักสูตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่นที่ 24/2553 - หลักสูตร Financial Statement for Directors (FSD) รุ่นที่ 14/2554 - หลักสูตร Chartered Director Class (CDC) รุ่นที่ 9/2558 • การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยส�ำหรับนักบริหาร ระดับสูง ( ปปร. รุ่นที่ 7 ) สถาบันพระปกเกล้า • นักบริหารระดับสูง : ผูน้ ำ� ทีม่ วี สิ ยั ทัศน์และคุณธรรม (นบส. รุน่ ที่ 56) สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ส�ำนักงาน ก.พ.

ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2558 ประธานกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) ปี 2553 - ปี 2557 ประธานกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จ�ำกัด ปี 2553 - ปี 2557 ประธานกรรมการบริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จ�ำกัด ปี 2552 - ปี 2556 ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2554 - ปี 2556 ประธานกรรมการ บริษทั กฟผ. อินเตอร์เนชัน่ แนล จ�ำกัด ปี 2553 - ปี 2556 กรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น • กรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด


65

นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ

อายุ 50 ปี

กรรมการ (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการทูต Georgetown University สหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยส�ำหรับนักบริหาร ระดับสูง (ปปร.) รุ่นที่ 17/2555 สถาบันพระปกเกล้า • นักบริหารระดับสูง : ผู้น�ำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม (นบส.) รุ่นที่ 56/2550 สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ส�ำนักงาน ก.พ. ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2558 - ปัจจุบัน เอกอั ค รราชทู ต วิ ส ามั ญ ผู ้ มี อ� ำ นาจเต็ ม ประจ� ำ สาธารณรัฐเกาหลี ปี 2558 อธิ บ ดี ก รมเอเชี ย ตะวั น ออก กระทรวงการต่ า ง ประเทศ

นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์

อายุ 59 ปี

ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรรมการ (โดยต�ำแหน่ง) (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2558) คุณวุฒิการศึกษา • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตร / ประวัติการอบรมที่ส�ำคัญ • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 18 • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 2 สถาบันวิทยาการพลังงาน • สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) - หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 100/2556 • หลักสูตรประกาศนียบัตรชัน้ สูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมาย มหาชน รุ่นที่ 11/2554 สถาบันพระปกเกล้า • หลักสูตร Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. (2554) • หลั ก สู ต รการปฏิบัติการจิต วิทยาฝ่ายอ�ำนวยการ (สจว.) รุ่น ที่ 101/2550 สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง • หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ 3 (มกราคม - กันยายน 2558) ส�ำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

ปี 2555 - ปี 2558 อธิบดีกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ ปี 2551 - ปี 2555 อัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ กระทรวงการต่าง ประเทศ ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด

ประสบการณ์การท�ำงาน ปี 2556 - ปัจจุบัน ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2554 - 2556 รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า กฟผ. ปี 2553 - 2554 ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารเชื้อเพลิง กฟผ. ต�ำแหน่งกรรมการ/ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร/บริษัทอื่น • ประธานกรรมการบริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด • กรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) จ�ำนวนมูลค่า / หลักทรัพย์ (หุน้ ) และรายชือ่ บริษทั ทีถ่ อื ครองหลักทรัพย์ (หุ้น) * ไม่มี รายการที่เกี่ยวโยงกัน (ระหว่างปีบัญชี 2558) ไม่มี *จ�ำนวน / มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่ กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุน้ ) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผูท้ บี่ ริษทั มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด


66

คณะผู้บริหาร กฟผ.

นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์

ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.)

นายบุญมาก สมิทธิลีลา

รองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่ง

นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี

รองผู้ว่าการกิจการสังคม ทำ�หน้าที่โฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย

นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง

วิศวกรระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิ้ง จำ�กัด (มหาชน) ใน ตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่

รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า

นางจุรีย์ สมประสงค์

นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์

นายอรรถพร วัฒนวิสุทธิ์

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ

ที่ปรึกษาระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ

รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ

รองผู้ว่าการบริหาร

นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า

นายชาติชาย โรจนรัตนางกูร รองผู้ว่าการบัญชีและการเงิน ทำ�หน้าที่ผู้บริหารใหญ่ด้านการเงิน (Chief Financial Officer : CFO)

รองผู้ว่าการนโยบายและแผน

นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง

นายชนินทร์ เชาวน์นิรัติศัย นายรัมย์ เหราบัตย์

นายรัตนชัย นามวงศ์

วิศวกรระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำ�กัด (มหาชน) ในตำ�แหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่


67

นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์

อายุ 59 ปี

ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริ ญ ญาตรี วิ ศ วกรรมศาสตร์ (วิ ศ วกรรมไฟฟ้ า ) จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • หลักนิตธิ รรมเพือ่ ประชาธิปไตย สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา ส�ำนักงาน ศาลรัฐธรรมนูญ • ผูบ้ ริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน สถาบันวิทยาการตลาด ทุน • Director Accreditation Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • ผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยาการพลังงาน • การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า • Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. • การปฏิบตั กิ ารจิตวิทยาฝ่ายอ�ำนวยการ สถาบันจิตวิทยาความมัน่ คง ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 31 ก.ค. 2556 ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 1 ต.ค. 2554 รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า 6 ม.ค. 2553 ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารเชื้อเพลิง

นายสุธน บุญประสงค์

อายุ 58 ปี

รองผู้ว่าการระบบส่ง คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช • ปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง • ปริ ญ ญาตรี วิ ศ วกรรมศาสตร์ (วิ ศ วกรรมไฟฟ้ า ) จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยส�ำหรับนักบริหาร ระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. • การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะส�ำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบัน พระปกเกล้า • การบริหารงานต�ำรวจชั้นสูง สถาบันพัฒนาข้าราชการต�ำรวจ • Senior Executive Development Program-2 มูลนิธิพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ • Masterful Coaching Workshop, Hay Group • ความรูด้ า้ นตลาดการเงินเพือ่ การตัดสินใจส�ำหรับนักบริหารระดับสูง ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2556 รองผู้ว่าการระบบส่ง 1 ต.ค. 2553 ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการระบบส่ง 6 ม.ค. 2553 ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม


68

นายรัตนชัย นามวงศ์

อายุ 59 ปี

รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ (นิวเคลียร์เทคโนโลยี) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมโลหการ) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • ผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยาการพลังงาน • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า • การเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า • Senior Executive Development Program-2 มูลนิธิพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ • Masterful Coaching Workshop, Hay Group ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2556 รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า 1 ต.ค. 2553 ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมโรงไฟฟ้า

นายกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์

อายุ 57 ปี

รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • Financial Statements for Directors สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย • Role of the Chairman Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • Chartered Director Class สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • ผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยาการพลังงาน • Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. • Senior Executive Program สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์

• การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะส�ำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบัน พระปกเกล้า • การเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2558 รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 1 ต.ค. 2556 รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ 1 ต.ค. 2554 ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 3

นายบุญมาก สมิทธิลีลา

อายุ 60 ปี

รองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่ง คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริ ญ ญาตรี วิ ศ วกรรมศาสตร์ (วิ ศ วกรรมไฟฟ้ า ) จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • นักบริหารการยุตธิ รรมทางปกครองระดับสูง ส�ำนักงานศาลปกครอง • การเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2556 รองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่ง 1 ต.ค. 2554 ผู้ช่วยผู้ว่าการบ�ำรุงรักษาระบบส่ง

นางจุรีย์ สมประสงค์

อายุ 58 ปี

ที่ปรึกษาระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาโท นิติศาสตร์ University of California, U.S.A. • ปริญญาตรี นิตศิ าสตร์ เกียรตินยิ มอันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • ผูบ้ ริหารงานด้านกฎหมายภาครัฐระดับสูง ส�ำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา • พัฒนานักบริหาร มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง • นักบริหารงานยุติธรรมระดับสูง ส�ำนักงานอัยการสูงสุด • Masterful Coaching Workshop, Hay Group


69

ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 22 ม.ค. 2557 ที่ปรึกษาระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ 15 มี.ค. 2553 ผู้ช่วยผู้ว่าการส�ำนักกฎหมาย 1 ต.ค. 2552 ผู ้ ช ่ ว ยผู ้ ว ่ า การส� ำ นั ก กฎหมาย ท� ำ หน้ า ที่ ผู ้ ช ่ ว ย เลขานุ ก ารคณะกรรมการ กฟผ. และผู ้ ช ่ ว ย เลขานุ ก ารคณะกรรมการบริ ห ารของคณะ กรรมการ กฟผ. 1 ม.ค. 2552 ผู้ช่วยผู้ว่าการส�ำนักกฎหมาย

นายสืบพงษ์ บูรณศิรินทร์

อายุ 56 ปี

รองผู้ว่าการบริหาร คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ (เศรษฐศาสตร์การพัฒนา) มหาวิทยาลัย รามค�ำแหง • ปริญญาตรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ภูมิพลังแผ่นดิน ส�ำหรับผู้บริหารระดับสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • Anti-Corruption : The Practical Guide สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย • นักบริหารการยุตธิ รรมทางปกครองระดับสูง ส�ำนักงานศาลปกครอง • การป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน วิทยาลัยป้องกันราช อาณาจักร • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับ สูง ส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2557 รองผู้ว่าการบริหาร 1 พ.ค. 2557 ผู้ช่วยผู้ว่าการทรัพยากรบุคคล 1 ต.ค. 2555 ผู้ช่วยผู้ว่าการทรัพยากรบุคคล ท�ำหน้าที่ผู้ช่วย เลขานุ ก ารคณะกรรมการ กฟผ. และผู ้ ช ่ ว ย เลขานุ ก ารคณะกรรมการบริ ห ารของคณะ กรรมการ กฟผ. 1 ต.ค. 2554 ผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การประจ�ำส�ำนักผูว้ า่ การ ท�ำหน้าทีผ่ ชู้ ว่ ย เลขานุ ก ารคณะกรรมการ กฟผ. และผู ้ ช ่ ว ย เลขานุ ก ารคณะกรรมการบริ ห ารของคณะ กรรมการ กฟผ.

นายชาติชาย โรจนรัตนางกูร

อายุ 59 ปี

รองผู้ว่าการบัญชีและการเงิน ท�ำหน้าที่ผู้บริหารใหญ่ด้านการเงิน (Chief Financial Officer : CFO) คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาตรี บัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • วิทยาการประกันภัยระดับสูง ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย • นักบริหารการคลัง มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2557 รองผู้ว่าการบัญชีและการเงิน ท�ำหน้าที่ผู้บริหาร ใหญ่ดา้ นการเงิน (Chief Financial Officer : CFO) 1 ต.ค. 2556 ผู้ช่วยผู้ว่าการส�ำนักตรวจสอบภายใน

นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี

อายุ 57 ปี

รองผู้ว่าการกิจการสังคม ท�ำหน้าที่โฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริ ญ ญาตรี วิ ศ วกรรมศาสตร์ (วิ ศ วกรรมไฟฟ้ า ) จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. • Senior Executive Program สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • แนวคิ ด พื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ การจั ด การความขั ด แย้ ง ด้ า นนโยบาย สาธารณะโดยสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2557 รองผูว้ า่ การกิจการสังคม ท�ำหน้าทีโ่ ฆษกการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 1 ต.ค. 2556 วิศวกรระดับ 13 รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ ปฏิบัติ งานที่บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด ใน ต�ำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร


70

นายอรรถพร วัฒนวิสุทธิ์

อายุ 59 ปี

นายถาวร งามกนกวรรณ

อายุ 57 ปี

รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ

รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง

คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมอุตสาหการ) เกียรตินิยม อันดับ 2 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • ไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สถาบันพระปกเกล้า

คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเหมืองแร่) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • การเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า • Director Accreditation Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • หลักสูตรหลักประจ�ำวิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบก ชั้นสูง

ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2558 รองผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ 1 ต.ค. 2555 ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารธุรกิจ 23 มี.ค. 2555 ผู้ช่วยผู้ว่าการโครงการธุรกิจเดินเครื่องและบ�ำรุง รักษา

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ

ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2558 รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง 1 ต.ค. 2557 ผู้ช่วยผู้ว่าการเหมืองแม่เมาะ 1 ต.ค. 2556 ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารเชื้อเพลิง

อายุ 55 ปี

รองผู้ว่าการนโยบายและแผน คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ • การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะส�ำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบัน พระปกเกล้า • Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. • Senior Executive Program สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ • ไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สถาบันพระปกเกล้า ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2558 รองผู้ว่าการนโยบายและแผน 1 ต.ค. 2556 ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงาน

นายรัมย์ เหราบัตย์

อายุ 59 ปี

วิศวกรระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) ในต�ำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมเครื่องกล) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย • ผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยาการพลังงาน • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • Advanced Management Program, Harvard Business School, U.S.A. • หลักสูตรหลักประจ�ำวิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบก ชั้นสูง • Leading into the Future Under Strategic Inflection of Change • EGAT Senior Executive Program (ESEP) • EGAT Director Development Program (EDDP) • EGAT Newly-Promoted Executive Orientation Program (ENOP) • EGAT Assistant Director Development Program (EADP) • EGAT’s Executive Development Program (EEDP)


71

ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2558 วิศวกรระดับ 14 สังกัดผูว้ า่ การ ปฏิบตั งิ านทีบ่ ริษทั ผลิ ต ไฟฟ้ า ราชบุ รี โ ฮลดิ้ ง จ� ำ กั ด (มหาชน) ใน ต�ำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 ต.ค. 2557 รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 1 ต.ค. 2556 รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง 1 ต.ค. 2554 ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจบ�ำรุงรักษา

นายชนินทร์ เชาวน์นิรัติศัย อายุ 59 ปี วิศวกรระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) ในต�ำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณวุฒิการศึกษาสูงสุด / ประวัติการอบรม • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) University of Missouri-Rolla, U.S.A. • ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) University of Missouri-Rolla, U.S.A. • Financial Statements for Directors สมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย • Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย • การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยส�ำหรับนักบริหาร ระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า • แนวคิ ด พื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ การจั ด การความขั ด แย้ ง ด้ า นนโยบาย สาธารณะโดยสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า ประวัติการท�ำงานใน กฟผ. ที่ส�ำคัญ 1 ต.ค. 2558 วิศวกรระดับ 14 สังกัดผูว้ า่ การ ปฏิบตั งิ านทีบ่ ริษทั ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) ในต�ำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 ต.ค. 2557 รองผู้ว่าการนโยบายและแผน 1 ต.ค. 2555 ผู้ช่วยผู้ว่าการควบคุมระบบก�ำลังไฟฟ้า

ผู้บริหารที่เกษียณอายุในปี 2558 นายสหัส ประทักษ์นุกูล ด�ำรงต�ำแหน่ง วิศวกรระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า จ�ำกัด (มหาชน) ในต�ำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 - 30 กันยายน 2558 เกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558

นายธนา พุฒรังษี ด�ำรงต�ำแหน่ง รองผู้ว่าการอาวุโส สังกัดผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด ในต�ำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 - 30 กันยายน 2558 เกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558

นายพงษ์ดิษฐ พจนา ด�ำรงต�ำแหน่ง วิศวกรระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จ�ำกัด (มหาชน) ในต�ำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 - 30 กันยายน 2558 เกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558

นายประภาส วิชากูล ด�ำรงต�ำแหน่ง รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2558 เกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558

นายไพศาล คัจฉสุวรรณมณี ด�ำรงต�ำแหน่ง วิศวกรระดับ 14 สังกัดผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จ�ำกัด ในต�ำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 - 30 กันยายน 2558 เกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558


72

การกำ�กับดูแลกิจการที่ดี กฟผ. มีระบบการก�ำกับดูแลและการบริหารองค์การ ให้เป็นไปตามหลักการและแนวทางการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีส�ำหรับ รัฐวิสาหกิจปี 2552 ของส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยคณะกรรมการ กฟผ. ก�ำหนดนโยบายการก�ำกับ ดูแลกิจการที่ดีของ กฟผ. ตามประกาศ กฟผ. ที่ 11/2553 เรื่อง นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีของ กฟผ. ซึ่งลงนามโดยประธาน กรรมการ กฟผ. เมือ่ วันที่ 28 เมษายน 2553 และในปี 2558 ได้มกี ารทบทวนนโยบายดังกล่าว ซึง่ เห็นว่ายังมีความเหมาะสมในการน�ำ ไปปฏิบัติต่อไป

นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีของ กฟผ.

1. น�ำหลักส�ำคัญในการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี 6 หลักการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลัก การมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มาใช้ในการบริหารงานภายในองค์การอย่างเป็นธรรม

2. พึงก�ำหนดจรรยาบรรณของ กฟผ. เพื่อให้คณะกรรมการฯ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงลูกจ้างทุกคน ใช้เป็น แนวทางในการประพฤติปฏิบัติควบคู่ไปกับข้อบังคับและระเบียบของ กฟผ.

3. การก�ำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนงานที่ส�ำคัญของ กฟผ. พิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงและวางแนวทาง การบริหารจัดการที่มีความเหมาะสม รวมทั้งด�ำเนินการตามระบบการควบคุมภายในเพื่อให้มั่นใจว่าระบบบัญชี รายงานทางการเงิน และการสอบบัญชีมีความน่าเชื่อถือ

4. ส่งเสริมให้ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเทและรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่

5. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการที่ดีโดยค�ำนึงถึง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านรัฐ สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ด้านผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านองค์การ และด้านผู้ปฏิบัติงาน

6. ส่งเสริมให้มกี ารแต่งตัง้ คณะกรรมการเฉพาะเรือ่ งขึน้ ตามความเหมาะสม เพือ่ ช่วยพิจารณากลัน่ กรองงานทีม่ คี วาม ส�ำคัญอย่างรอบคอบ

7. ส่งเสริมให้มีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศของ กฟผ. ทั้งข้อมูลทางการเงินและที่ไม่ใช่ทางการเงินอย่างถูกต้อง เชื่อถือได้ ครบถ้วน เพียงพอ สม�่ำเสมอ และทันเวลา เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กฟผ. ได้รับ ข้อมูลสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน

8. คณะกรรมการ กฟผ. และผู้บริหาร ต้องเป็นผู้น�ำต้นแบบที่ดีด้านจริยธรรมและคุณธรรม

9. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเท รับผิดชอบ และมีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการ และผู้ว่าการ ออกจากกันอย่างชัดเจน

10. มีระบบและกระบวนการสรรหา และหรือการคัดสรรบุคลากรที่จะเข้ามารับผิดชอบในต�ำแหน่งบริหารที่ส�ำคัญ ทุกระดับอย่างเหมาะสม โปร่งใส และเป็นธรรม

11. จัดให้มีการประเมินผลตนเอง เพื่อใช้เป็นกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ กฟผ.


73

กฟผ. ได้ใช้นโยบายดังกล่าวก�ำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขององค์การ ให้สามารถด�ำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องและ เหมาะสมกับสถานการณ์ จากการที่ กฟผ. ได้ให้ความส�ำคัญในการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้ในปี 2558 กฟผ. ได้รับ รางวัลซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี อาทิ

• รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจ�ำปี 2558 ประเภทนวัตกรรมดีเด่น จากผลงาน “เครื่องปรับแนวสายพานส่งถ่านหิน ลิกไนต์เหมืองแม่เมาะ” จากส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558

• รางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากผลงาน “เครื่องส่งข้อมูลการบริหารจัดการน�้ำ และ ระบบโทรมาตรลุ่มน�้ำ” จากส�ำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2558

• รางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัย ประจ�ำปี 2558 จ�ำนวน 29 หน่วยงานของ กฟผ. จากกระทรวง แรงงาน เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558

• รางวัลองค์กรที่ท�ำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจ�ำปี 2558 จากการด�ำเนินงานโครงการ Move World Together จากพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2558

• รางวัล CSR-DIW Awards 2015 โดย 23 หน่วยงาน รับรางวัล CSR-DIW Continuous Awards และโรงไฟฟ้า ล�ำตะคองชลภาวัฒนา รับรางวัล CSR-DIW Continuous Project Awards เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558

• รางวัล 3Rs Awards มุ่งสู่โรงงานคุณภาพด้านการบริหารจัดการกากของเสียของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จากอธิบดี กรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558

• โล่พร้อมใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 ของโรงไฟฟ้าพลังน�้ำ 5 แห่ง จากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2558

การด�ำเนินการของภาครัฐในฐานะเจ้าของ ภาครัฐได้ก�ำหนดแนวนโยบายของผู้ถือหุ้นภาครัฐของรัฐวิสาหกิจ (Statement of Directions) เพื่อให้ กฟผ. ยึดถือเป็น แนวทางในการก�ำหนดยุทธศาสตร์ โดยส�ำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงพลังงาน ได้ประชุมหารือการปรับปรุงแนวนโยบายผู้ถือหุ้นภาครัฐ (Statement of Directions : SOD) ของ กฟผ. ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการก�ำหนดทิศทางการพัฒนาและการด�ำเนิน งานของ กฟผ. ไว้ดังนี้ “สร้างความเชื่อมั่นในด้านความเพียงพอ ความมั่นคง และคุณภาพของระบบไฟฟ้าของประเทศ พัฒนาการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานทดแทน โดยค�ำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงบริหารต้นทุน และทรัพยากรขององค์การอย่างมี ประสิทธิภาพ”


74

บทบาทต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กฟผ. ได้กำ� หนดนโยบายในการดูแลสิง่ แวดล้อมและสังคมอย่างชัดเจน โดยก�ำหนดให้มกี ารรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ในกรณีที่ กฟผ. มีการด�ำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับชุมชนหรือท้องถิ่น โดยแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มลูกค้า กลุ่มผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือ มีการส�ำรวจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมก�ำหนด ช่องทางการสื่อสารในแต่ละกลุ่มไว้ ดังนี้ ตารางที่ 1 ความต้องการ ความคาดหวัง และช่องทางการสื่อสารของกลุ่มลูกค้า

กลุ่มลูกค้า

ความต้องการและความคาดหวัง

ตลาดพลังงานไฟฟ้าแรงสูง ได้แก่ กฟภ. กฟน. ลูกค้าตรง

• คุณภาพพลังงานไฟฟ้าที่ส่ง • ระบบไฟฟ้ามั่นคง เชื่อถือได้

ตลาดบริ ก ารเดิ น เครื่ อ งและบ� ำ รุ ง รั ก ษา (O&M) ได้ แ ก่ โรงไฟฟ้ า ของเอกชนใน ประเทศ และต่างประเทศ

• โรงไฟฟ้ามีความพร้อมในการเดินเครื่อง • คุณภาพการให้บริการตามสัญญา MMA/OMA

ช่องทางการสื่อสาร • ประชุมและสัมมนา • กิจกรรมสัมพันธ์/สันทนาการ • พบปะเยี่ยมเยียน • ระบบรับฟังเสียงลูกค้า • การส�ำรวจความพึงพอใจ ไม่พึงพอใจ และ ความภักดี • ติดต่อโดยตรง จากประสานงานรายวัน • Email บันทึก • การส�ำรวจและวิจัยตลาด • ตัวแทนฝ่ายขาย/ทีม Service

ตารางที่ 2 ความต้องการ ความคาดหวัง และช่องทางการสื่อสารของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ก.) กลุ่มสังคมในภาพรวม (ประชาชน)

ความต้องการและความคาดหวัง ก.1 : การสือ่ สารข้อมูล (ช่องทางหลากหลาย และ สื่อสารอย่างต่อเนื่อง) ก.2 : ใช้มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) เป็นแนวทางในการด�ำเนินงาน ก.3 : ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ในกระบวนการท�ำงานหลัก

ช่องทางการสื่อสาร • www.egat.co.th • Call Center กฟผ. 1416 • ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กฟผ. (prinfo.egat. co.th) • ประชาสัมพันธ์ของเขตปฏิบัติการ และ โรงไฟฟ้า • ข่าวสาร กฟผ. หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ • การส�ำรวจฯ สัมมนา ประชุม จดหมาย web email เยี่ยมเยียน


75

ข.) ชุมชน - ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า - ชุมชนตามแนวสายส่งไฟฟ้า

ข1 : การจ้างแรงงานท้องถิ่น ข2 : การสื่อสารข้อมูล (ช่องทางหลากหลาย และสื่อสารอย่างต่อเนื่อง) ข3 : ความปลอดภัยด้านชีวติ และทรัพย์สนิ ของ ชุมชน

• บอร์ดแสดงคุณภาพอากาศของโรงไฟฟ้า • การร่วมซ้อมเหตุฉุกเฉินประจ�ำปี • ประชุมคณะกรรมการประสานงานสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม • หน่วยงานมวลชนสัมพันธ์ กฟผ. • ผู้บริหารจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน • เชิ ญ ผู ้ แ ทนชุ ม ชนเข้ า ชมโรงไฟฟ้ า และ โครงการ กฟผ. • Website กฟผ. โปสเตอร์ • จั ด กิ จ กรรมโครงการด้ า นสั ง คมและ สิ่งแวดล้อม เช่น ชีววิถี แว่นแก้ว แพทย์ เคลื่อนที่ เป็นต้น

ค.) พนักงาน กฟผ.

ค1 : ลั ก ษณะงานและความร่ ว มมื อ ในการ ท�ำงาน ค.2 : การบริหารผลงานและค่าตอบแทนการ บริหารงานภายในองค์กร ค.3 : บทบาทของผู้บริหารและผู้บังคับบัญชา

• Intranet • ข้อมูลข่าวสาร หน่วยงานประชาสัมพันธ์ ทั่ว กฟผ. • การส�ำรวจฯ สัมมนา ประชุม จดหมาย web email เยี่ยมเยียน

ง.) ผู้น�ำความคิด NGO นักวิชาการ สื่อมวลชน ผู้น�ำชุมชน

ง.1 : การสื่อสารข้อมูล (ช่องทางหลากหลาย และสื่อสารอย่างต่อเนื่อง) ง.2 : การเป็นองค์การที่ดีในสังคม ง.3 : ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่อยู่ในกระบวนการท�ำงานหลัก

จ.) หน่วยงานก�ำกับนโยบายด้านพลังงาน ของประเทศ - กระทรวงพลังงาน - คณะกรรมการก� ำ กั บ กิ จ การพลั ง งาน - กระทรวงการคลัง

จ.1 : สนับสนุนนโยบายพลังงานของประเทศ จ.2 : ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จ.3 : ความมัน่ คงและจัดหาพลังงานไฟฟ้าอย่าง เพียงพอ

• Website กฟผ. ข่าวสาร • จัดประชุม สัมมนา • แถลงข่าว • รายงานประจ�ำปี • รายงานศึกษาความเหมาะสม • ประชุม สัมมนา • นโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานราชการ • พบปะอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ • รายงานประจ�ำปี • Website


76

ตารางที่ 3 บทบาทที่ส�ำคัญของผู้ส่งมอบและคู่ความร่วมมือ

กลุ่ม

บทบาทในระบบงาน

ความคาดหวังของ กฟผ.

กลไกการสื่อสาร

• ส่งมอบอุปกรณ์ได้ตามคุณภาพ และระยะเวลาที่ก�ำหนด

• สัญญาการจัดซื้อ • จดหมาย/ โทรศัพท์/Fax/Email

ผู้ส่งมอบ - บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์

• ส่งมอบอุปกรณ์หลักและบริการ

- ปตท.

• จัดส่งเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ น�้ำมันเตา และน�้ำมันดีเซลให้ เพียงพอต่อแผนการผลิตไฟฟ้า ประจ�ำปี

• จัดส่งเชือ้ เพลิงทีม่ คี ณ ุ สมบัตแิ ละ ปริมาณตามที่ก�ำหนด • แจ้ ง ล่ ว งหน้ า ในระยะเวลาที่ เหมาะสมกรณีที่ไม่สามารถส่ง เชื้อเพลิงได้ตามแผนการผลิต ไฟฟ้าประจ�ำปี • ร่วมมือในการจัดหาเชื้อเพลิงใน กรณีฉุกเฉิน

• การประชุม • จดหมาย/โทรศัพท์/Fax/Email

- โรงไฟฟ้าเอกชน (IPP, SPP)

• ผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบส่งของ กฟผ. ตามข้อตกลง PPA และ สอดคล้ อ งกั บ แผนการผลิ ต ไฟฟ้าประจ�ำปี

• โรงไฟฟ้ า มี ค วามพร้ อ มในการ ผลิ ต ไฟฟ้ า ตามแผนการผลิ ต ไฟฟ้าประจ�ำปี • เพิ่ ม หรื อ ลดปริ ม าณการผลิ ต ไฟฟ้าตามค�ำสัง่ ของศูนย์ควบคุม ระบบก�ำลังไฟฟ้าของ กฟผ.

• การประสานงานผ่ า นศู น ย์ ควบคุมระบบก�ำลังไฟฟ้า. • การประชุม/จดหมาย/โทรศัพท์/ Fax/Email

• แลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ ในกิจการไฟฟ้า • ปฏิบตั ติ ามข้อก�ำหนดในการซือ้ / ขายไฟฟ้า

• การประชุม • จดหมาย/โทรศัพท์/Fax/Email • การประสานงานระหว่างศูนย์ ควบคุมระบบก�ำลังไฟฟ้า

คู่ความร่วมมือ บริ ษั ท Tenaga Nasional Berhad Corporation (TNB)

องค์การทางด้านกิจการไฟฟ้า ของอาเซียน (Heads of ASEAN POWER UTILITIES/ AUTHORITIES - HAPUA)

• ความร่ ว มมื อ ด้ า นวิ ช าการใน กิจการไฟฟ้า (วางแผน/ปฏิบัติ การ/บ�ำรุงรักษา) • การซื้อ/ขายไฟฟ้าระหว่างไทย และมาเลเซีย • ศึ ก ษาและพั ฒ นาเพื่ อ ความ มั่นคงในระบบไฟฟ้าของกลุ่ม ประเทศอาเซียน

• แลกเปลีย่ นประสบการณ์รองรับ การเชื่ อ มโยงระบบไฟฟ้ า ใน อนาคตของอาเซียน • ให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าถูกลง • มั่นคงมากขึ้น การส�ำรองการ ผลิตลดลง

• การจัดประชุมใหญ่ร่วมทุกปี


77

ในปี 2558 กฟผ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาภายนอกด�ำเนินการส�ำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการด�ำเนินงาน ของ กฟผ. โดยมุง่ หวังทีจ่ ะค้นหาปัจจัยทีส่ ง่ ผลกระทบต่อผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย และน�ำมาจัดท�ำกิจกรรม/แผนงาน/โครงการ เพือ่ ปรับปรุง ให้เกิดผลที่ดีขึ้น ดังนี้ 1. สถาบันวิจัยและให้ค�ำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด�ำเนินการส�ำรวจการยอมรับและความพึงพอใจของผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียต่อการด�ำเนินงานของ กฟผ. ประจ�ำปี 2558 โดยจัดกลุ่มตัวอย่างของการส�ำรวจในประเด็นต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่ม ดังต่อไปนี้

• ความพึงพอใจโดยรวมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาพรวมต่อการด�ำเนินงานของ กฟผ. • ความพึงพอใจของกลุ่มสังคมในภาพรวมต่อการด�ำเนินงานของ กฟผ. • ความพึงพอใจของกลุ่มชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าต่อการด�ำเนินงานของ กฟผ. • ความพึงพอใจของกลุ่มผู้น�ำความคิดต่อการด�ำเนินงานของ กฟผ. • ความพึงพอใจของกลุ่มผู้ก�ำกับดูแลต่อการด�ำเนินงานของ กฟผ. • ความพึงพอใจของกลุ่มพนักงานต่อการด�ำเนินงานของ กฟผ.

2. บริษัท เอออน ฮิววิท (ประเทศไทย) จ�ำกัด ด�ำเนินการส�ำรวจค่านิยมองค์การ ปี 2558 เพื่อวัดระดับตัวชี้วัดประสิทธิผล ของค่านิยมที่ปลูกฝังภายในองค์การ (Value Quotient-VQ) โดยมุ่งหวังให้ผู้ปฏิบัติงานมีความผูกพันกับองค์การ (Employee Engagement) ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการท�ำงานและประสิทธิผลต่อองค์การ


78

การเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศและความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลเป็นดัชนีชวี้ ดั ความโปร่งใสในการด�ำเนินการทีส่ ำ� คัญ และเป็นปัจจัยในการสร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั ผูม้ สี ว่ น ได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม กฟผ. จึงให้ความส�ำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นย�ำ และสร้างช่องทางการเปิดเผยข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย รวมทั้งรณรงค์ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ตระหนักถึงความส�ำคัญ ของการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสในการด�ำเนินงาน ตลอดจนสร้างกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งผู้ร้องเรียนและผู้ถูกร้องเรียน จัดท�ำรายงานเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่การเงินไว้ในรายงานประจ�ำปี รวมถึงการให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ความส�ำคัญกับการจัดท�ำรายงานการบริหารความเสี่ยง การจัดท�ำรายงานทางการเงินและการบริหาร ซึ่งเป็นเครื่องมือในการก�ำกับดูแลการด�ำเนินงาน เพื่อให้รายงานมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจุบัน โดยผู้เกี่ยวข้องสามารถ ตรวจสอบได้ และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อการด�ำเนินงาน มุ่งเน้นให้ กฟผ. มีการด�ำเนินงานด้วยความโปร่งใส โดยอยู่ บนหลักการให้พนักงานทุกระดับปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของ กฟผ. โดยปราศจากผลประโยชน์ส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้ส่งเสริมสนับสนุนการก�ำกับดูแลองค์การให้ด�ำเนินงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกกลุ่มด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสารของ กฟผ. เพื่อร่วมกันพิจารณาการให้บริการข้อมูล ข่าวสาร การจัดให้มีช่องทางการสื่อสารร้องเรียนหรือร้องทุกข์ส�ำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการรับเรื่องร้องทุกข์จากหนังสือร้อง เรียนจากศูนย์ EGAT VOC (Voice of Customer) ของสายงานระบบส่ง จากเว็บไซต์ www.egat.co.th และระบบจัดการเรื่องราว ร้องทุกข์ (1111) ของส�ำนักนายกรัฐมนตรี และจาก Call Center 1416 ซึ่งในปี 2558 ได้เพิ่มความสะดวกรวดเร็วด้วยการให้บริการ Application 1416 ทีส่ ามารถเรียกดูขอ้ มูลข่าวสารต่าง ๆ ของ กฟผ. รวมทัง้ แจ้งเหตุและเรือ่ งร้องเรียนต่อ กฟผ. ผ่าน Smart Phone ได้ โดยข้อสอบถามหรือข้อร้องเรียนจากทุกช่องทางดังกล่าว จะถูกส่งต่อมาที่ศูนย์จัดการข้อคิดเห็น กฟผ. (Voice of Stakeholder : VOS) เพื่อบริหารจัดการตอบข้อค�ำถาม/ข้อร้องเรียนไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไปภายในเวลาที่ก�ำหนด

จริยธรรม จรรยาบรรณ และ ค่านิยม คณะกรรมการ กฟผ. ได้ออกข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 346 ว่าด้วย การก�ำกับดูแลกิจการ โดยได้ระบุเรือ่ งจริยธรรมและจรรยา บรรณไว้ในข้อบังคับดังกล่าวด้วย เพื่อให้การปฏิบัติงานของ กฟผ. มีความโปร่งใส มีคุณธรรม และค�ำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม และก�ำหนดให้คณะกรรมการ กฟผ. ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานทุกคน ต้องปฏิบัติตามจริยธรรมจรรยาบรรณตามที่ คณะกรรมการ กฟผ. ได้ก�ำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ในข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 347 ว่าด้วย ประมวลจริยธรรมของคณะกรรมการ กฟผ. ฝ่ายบริหาร และผู้ปฏิบัติงาน โดยมีการก�ำหนด “ค่านิยมหลักของมาตรฐานทางจริยธรรม” “มาตรฐานทางจริยธรรมของ กฟผ.” “ข้อพึงปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.” และ “การปฏิบัติ กลไกและระบบการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม” ไว้ในข้อบังคับดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นอกจากนี้ ข้อก�ำหนด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ 1/2552 ว่าด้วยการบังคับใช้จรรยาบรรณ กฟผ. ในส่วนที่เกี่ยวกับจริยธรรมในการด�ำเนินงาน ของ กฟผ. และข้อแนะน�ำเมื่อมีปัญหาในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของ กฟผ. ยังมีผลบังคับใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของค่านิยมองค์การซึ่งเป็นรากฐานที่จะน�ำไปสู่วัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็ง คณะกรรมการ กฟผ. และผู้บริหารของ กฟผ. ได้ให้ความส�ำคัญและด�ำเนินการตามทีข่ อ้ บังคับก�ำหนด เพือ่ ส่งเสริมการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรม ได้มกี ารทบทวนและได้ ข้อสรุปว่า ค่านิยมองค์การยังคงสอดคล้อง รองรับ และเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ กรอบยุทธศาสตร์ และวัฒนธรรมองค์การ กฟผ. ซึ่ง ค่านิยมองค์การของ กฟผ. คือ ค่านิยม FIRM-C ประกอบด้วย ตั้งมั่นในความเป็นธรรม (Fairness) ยึดมั่นในคุณธรรม (Integrity) ส�ำนึกในความรับผิดชอบและหน้าที่ (Responsibility & Accountability) เคารพในคุณค่าของคน (Mutual Respect) มุ่งมั่นในการ


กฟผ. ตระหนักถึงความสำ�คัญ ของความโปร่งใส ในการดำ�เนินงาน และได้จัดทำ� รายงานเปิดเผยข้อมูล ทางการเงินและข้อมูล ที่มิใช่การเงินไว้ในรายงาน ประจำ�ปี รวมถึงการให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้รับทราบข้อมูล ข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน ตามพระราชบัญญัติข้อมูล ข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540

79

พัฒนาอย่างต่อเนื่องและการท�ำงานเป็นทีม (Commitment to Continuous Improvement and Teamwork) ซึ่งก่อให้ เกิดความเชื่อมั่นร่วมกันว่า จะช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงานเกิดวิถกี ารท�ำงานร่วมกัน มีทิศทางที่สอดคล้องกัน ช่วยสร้างความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน สร้างความไว้ วางใจซึ่งกันและกัน สร้างความรู้สึกในการเป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญต่อการเกิดวัฒนธรรมองค์การที่เข้ม แข็ง ค่านิยม “FIRM-C” จึงเป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญต่อวิธกี ารคิดและ การปฏิบตั ใิ ห้เกิดคนเก่งและคนดี โดยคณะกรรมการเสริมสร้าง ธรรมาภิบาล การปฏิบัติตามจริยธรรม ค่านิยม และวัฒนธรรม กฟผ. (คธจค.) ได้มีมติเห็นชอบแผนการเสริมสร้างค่านิยม องค์การ กฟผ. FIRM-C ปี 2558 และได้จัดส่งแผนดังกล่าวให้ สายงานน� ำ ไปถ่ า ยทอดและปฏิ บั ติ รวมทั้ ง มอบหมายให้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลชีแ้ จงให้ความรูแ้ ก่สายงาน ทีม่ รี ะดับความ เข้าใจเรื่องค่านิยมปี 2557 ต�่ำกว่าภาพรวม กฟผ. รวมทั้งจัดท�ำ คู่มือส่งเสริมค่านิยมองค์การ กฟผ. ส�ำหรับผู้บริหาร โดยมี วัตถุประสงค์ให้ผบู้ ริหารยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบตั ติ นเป็น แบบอย่างที่ดี (Role Model) และเป็นเครื่องมือที่ช่วยบริหาร งานเพื่อส่งเสริมค่านิยมองค์การ กฟผ. FIRM-C ในหน่วยงาน มีการประเมินผลโดยวิธกี ารส�ำรวจโดยใช้แบบสอบถามในเดือน กันยายน-ตุลาคมของทุกปี โดยน�ำค่าเฉลีย่ ผลส�ำรวจความเข้าใจ ค่านิยมของคู่เทียบที่เป็นบริษัทชั้นน�ำในประเทศไทย จ�ำนวน

200 บริษัท และค่าเฉลี่ยผลส�ำรวจการปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์การของคู่เทียบฯ มาก�ำหนดเป็นค่าเป้าหมายปี 2558 โดยมีการ ปรับปรุงข้อค�ำถามในการส�ำรวจความเข้าใจค่านิยมองค์การของ กฟผ. และการปฏิบัติตนตามค่านิยม กฟผ. ของผู้ปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมสอดคล้องกับการเทียบวัด (Benchmarking) ด้วย

การบริหารจัดการในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) และการป้องกันการทุจริต ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) คณะกรรมการ กฟผ. มีนโยบายที่สนับสนุนการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยออกข้อบังคับ กฟผ. ฉบับที่ 346 ว่าด้วยการก�ำกับดูแลกิจการ ซึ่งมีข้อที่ก�ำหนดให้คณะกรรมการ กฟผ. มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสอดส่องดูแล และจัดการแก้ ปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทอี่ าจจะเกิดขึน้ ระหว่างฝ่ายบริหาร กรรมการ และผูป้ ฏิบตั งิ าน รวมทัง้ ตรวจสอบการใช้สนิ ทรัพย์ ของ กฟผ. ในทางมิชอบ และก�ำหนดมาตรการป้องกัน กรณีทกี่ รรมการและผูบ้ ริหารใช้ขอ้ มูลภายในเพือ่ หาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง หรือผูอ้ นื่ ในทางมิชอบ (Abusive Self-Dealing) กรรมการ กฟผ. ทุกคนจะต้องรายงานให้ทราบถึงต�ำแหน่งอืน่ ๆ ได้แก่ เป็นกรรมการ/ ผู้บริหารระดับสูง ของรัฐวิสาหกิจ/บริษัทอื่น รายการที่เกี่ยวโยงกัน จ�ำนวน/มูลค่าหลักทรัพย์ (หุ้น) และรายชื่อบริษัทที่ถือครองหลัก


80

ทรัพย์เฉพาะที่อยู่ในอุตสาหกรรมหลัก หรือธุรกิจหลักที่ กฟผ. ด�ำเนินการ และที่กรรมการถือครองหลักทรัพย์ (หุ้น) ในสัดส่วน ≥ ร้อยละ 10 ของจ�ำนวนผู้ที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด นอกจากนี้ การตรวจสอบคุณสมบัติของกรรมการ กฟผ. ได้ตรวจสอบให้เป็นไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัตคิ ณ ุ สมบัตมิ าตรฐานส�ำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และทีแ่ ก้ไขเพิม่ เติม รวมทัง้ กฎหมายอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ส่วนกรรมการชุดย่อยมีคณ ุ สมบัตติ ามข้อบังคับ กฟผ. ว่าด้วยกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ นอกจากการรายงานของกรรมการดังกล่าวแล้ว กฟผ. ได้จดั ท�ำแบบเปิดเผยรายการขัดกันระหว่างผลประโยชน์สว่ นตนและ ผลประโยชน์ส่วนรวม บรรจุไว้ในคู่มือการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีของ กฟผ. เพื่อให้ผู้บริหาร กฟผ. ระดับรองผู้ว่าการหรือเทียบเท่าขึ้น ไปถือปฏิบัติ โดยจะต้องเปิดเผยเมื่อรับต�ำแหน่งใหม่ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องในฐานะเป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องรายงานเมื่อพบ รายการที่ขัดกันในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งได้ก�ำหนดแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผล ประโยชน์ส่วนรวมไว้ในคู่มือดังกล่าวด้วย เช่น เมื่อต้องตัดสินใจหรืออนุมัติรายการที่มีหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้ รายงานผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอ�ำนาจอนุมัติ และถอนตัวจากการมีส่วนร่วมในรายการนั้น และจัดให้มีการประเมินตนเองด้านความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์

นโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบภายใน กฟผ. โดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานและส่งเสริมการมี ส่วนร่วมในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง และเพือ่ กระตุน้ จิตส�ำนึก รวมถึงการสร้างความเข้าใจเกีย่ วกับการต่อต้านการทุจริตไปในแนวทาง เดียวกัน อันจะน�ำไปสู่การรวมพลังในการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตทั่วทั้งองค์การ ประธานกรรมการ กฟผ. จึงได้ก�ำหนด นโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ดังนี้

1. สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ตระหนักถึงความส�ำคัญและความจ�ำเป็นในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

2. สนับสนุนให้มีระบบ มาตรการ หรือแนวทางในการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และแจ้งเบาะแสการกระท�ำผิด เพื่อสกัด กั้นมิให้เกิดการทุจริตในทุกกระบวนการท�ำงาน

3. สนับสนุนการด�ำเนินงานด้านการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยง เพื่อป้องกัน การทุจริตให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

4. สนับสนุนให้มกี ารเผยแพร่ขอ้ มูล สาระความรู้ เกีย่ วกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ผปู้ ฏิบตั งิ านทราบ อย่างสม�่ำเสมอและต่อเนื่อง

5. เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้มีความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ให้ผบู้ ริหาร กฟผ. น�ำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไปถ่ายทอดเพือ่ น�ำไปสูก่ ารปฏิบตั อิ ย่างเป็นรูปธรรม โดย เน้นนโยบายในเชิงป้องกันเป็นหลัก หากพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจะต้องมีการสอบสวนด�ำเนินคดีและลงโทษอย่างเฉียบขาดและ รวดเร็ว เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป


81

การสนองนโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ กฟผ. กฟผ. ได้จัดท�ำและด�ำเนินงานตามแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ของ กฟผ. ปี 2558 ที่สอดคล้องกับแผน วิสาหกิจ เพื่อเป็นการสร้างจิตส�ำนึกให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับให้ตระหนักถึงการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง เป็นธรรม โปร่งใส สุจริต เน้นการปรับเปลีย่ นฐานความคิดของผูป้ ฏิบตั งิ านในการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ โดยน�ำยุทธศาสตร์ชาติวา่ ด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 2 (2556-2560) นโยบายป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ กฟผ. เป็นแนวทางในการจัดท�ำแผนการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ กฟผ. ปี 2558 ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ การจัดงาน กฟผ. องค์การใสสะอาด การเผย แพร่ข้อมูลด้านคุณธรรม จริยธรรมปลูกจิตส�ำนึกในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น การจัดกิจกรรมของภาคีเครือข่าย กฟผ. การจัด อบรมบรรยายเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม การเผยแพร่ข่าวสารกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม การทบทวนปรับปรุงระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น การประเมินผลและการจัดท�ำรายงานสรุป ซึ่งผลการด�ำเนินงาน กฟผ. สามารถด�ำเนินงานได้ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้ทำ� บันทึกข้อตกลง (MOU) 3 ฝ่าย ระหว่างส�ำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สคร. และ กฟผ. การให้การสนับสนุนและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความ โปร่งใสในการด�ำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจ�ำปี 2558 (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ที่ ป.ป.ช. จัดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เกิดการบริหารงานที่โปร่งใสและเป็นธรรมในหน่วยงาน

การส่งเสริมและเผยแพร่นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีและหลักธรรมาภิบาลของ กฟผ. กฟผ. ได้จดั กิจกรรมเพือ่ สนับสนุนและส่งเสริมการมีสว่ นร่วมในการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี เป็นส่วนหนึง่ ของวัฒนธรรมองค์การ ตั้งแต่ปี 2555 กฟผ. ได้น�ำแผนแม่บทการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีปี 2555-2559 มาใช้เพื่อพัฒนา กฟผ. ให้เป็นองค์การที่มีธรรมาภิบาล รองรับเป้าประสงค์ของวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 15 เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 17 แผนงาน และ 34 กิจกรรม โดยน�ำไปเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของ กฟผ. และเพื่อให้การด�ำเนินงานครอบคลุมทุกสายงานภายใน กฟผ. จึงได้ก�ำหนดให้สาย งานต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแผนปฏิบัติการรองรับแผนแม่บทฯ พร้อมก�ำหนดตัวชี้วัด และจัดตั้งคณะกรรมการเสริมสร้าง ธรรมาภิบาล การปฏิบัติตามจริยธรรม ค่านิยม และวัฒนธรรม กฟผ. (คธจค.) มีผู้ช่วยผู้ว่าการทรัพยากรบุคคลเป็นประธาน ผู้แทน ธรรมาภิบาลประจ�ำสายงาน (CG Agent หรือ Corporate Governance Agent) เป็นกรรมการ เพื่อสื่อสาร ประสานการปฏิบัติงาน ติดตาม และรายงานความก้าวหน้าการด�ำเนินงานไปทีค่ ณะกรรมการบริหาร กฟผ. และคณะกรรมการธรรมาภิบาล กฟผ. ทุกไตรมาส และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ภาพลักษณ์ด้านธรรมาภิบาลของ กฟผ. จะได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ในปี 2558 ได้มีการจัดท�ำแผนปฏิบัติการประจ�ำปี รองรับแผนแม่บทการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีของ กฟผ. โดยน�ำผลจากการ ส�ำรวจการมีหรือการน�ำหลักธรรมาภิบาลมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแผนปฏิบัติการ ส่งผลให้แผนปฏิบัติการมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น โดยมอบหมายให้ฝ่ายสื่อสารองค์การสอดแทรกเนื้อหาตามหลักธรรมาภิบาลที่เน้นเรื่องความโปร่งใส หรือรางวัลที่ กฟผ. ได้รับ และช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนของ กฟผ. ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ไปสู่กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม รวมทั้งเพิ่มกิจกรรม เชิญบุคคลที่มีมุมมองที่แตกต่างมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Opinion Panel) มอบหมายให้ฝ่ายปฏิบัติการระบบส่ง เผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนกับกลุ่มลูกค้าโดยใช้สื่อและวิธีการที่เหมาะสม และมอบหมายให้ฝ่ายพัฒนาบุคลากรจัดอบรม หลักสูตรธรรมาภิบาล คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และวัฒนธรรม ให้แก่ผู้ปฏิบัติที่ได้รับแต่งตั้งต�ำแหน่งบังคับบัญชาไม่น้อยกว่าร้อย ละ 90 โดยผูเ้ ข้ารับการอบรมต้องมีผลคะแนนการสอบไม่ตำ�่ กว่าร้อยละ 75 จัดกิจกรรมให้ผมู้ สี ว่ นได้สว่ นเสียแลกเปลีย่ นความคิดเห็น กับผู้บริหารระดับสูง (ผูอ้ �ำนวยการฝ่ายขึน้ ไป) ในทุกพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า เขต เขื่อน สายส่ง สถานีไฟฟ้าแรงสูง ส�ำนักงาน และโครงการ ของ กฟผ. รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าและการด�ำเนินงานของ กฟผ. ที่อยู่ในเกณฑ์กฎหมายก�ำหนดหรือดีกว่าที่ กฎหมายก�ำหนด เป็นต้น


82

สรุปผลการดำ�เนินงานตามพระราชบัญญัติข้อมูล ข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในปี 2558 ภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กฟผ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสาร ของ กฟผ. มีหน้าที่ก�ำหนดนโยบาย มาตรการ หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการระบบ การอนุญาตและการบริการข้อมูลข่าวสาร โดยความเห็นชอบของรองผู้ว่าการกิจการสังคม และมีศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กฟผ. ท�ำหน้าที่ให้บริการข้อมูลของ กฟผ. ตามนโยบาย การบริหารข้อมูลข่าวสารของ กฟผ. ที่ได้ประกาศไว้ว่า กฟผ. มุ่งมั่นในการให้บริการข่าวสารของ กฟผ. แก่ผู้ขอรับบริการด้วยความ เสมอภาคโปร่งใส และเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง การเปิด เผยและให้บริการข้อมูลข่าวสารของ กฟผ. ได้กำ� หนดขอบเขตและวิธดี ำ� เนินงานไว้เป็นแนวทางปฏิบตั ภิ ายใต้การสัง่ การทีช่ ดั เจน และ สอดคล้องตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 โดยมีการให้บริการข้อมูลในหลายลักษณะ อาทิ เอกสารข้อมูล ข้อมูล ทางอินเทอร์เน็ต ระบบบริการข้อมูลทางโทรศัพท์ โทรสาร เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กฟผ. นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถเข้า ถึงข้อมูลข่าวสารได้ดว้ ยตนเอง ณ ศูนย์ขอ้ มูลข่าวสาร กฟผ. อาคารฝ่ายสือ่ สารองค์การ ส�ำนักงานใหญ่ กฟผ. อ�ำเภอบางกรวย จังหวัด นนทบุรี ส�ำหรับข้อมูลและเอกสารส�ำคัญที่มีเนื้อหารายละเอียดมาก จะจัดเก็บไว้ที่หน่วยงานระดับฝ่ายที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่อง โดยตรง โดยก�ำหนดเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานประจ�ำฝ่ายไว้อ�ำนวยความสะดวก ซึ่งสามารถติดต่อขอรับบริการได้ทางโทรศัพท์ หรือ ติดต่อได้ด้วยตนเอง

การให้บริการข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต กฟผ. ได้น�ำข้อมูลการด�ำเนินงานด้านต่าง ๆ ของ กฟผ. จัดแสดงไว้บนเว็บไซต์ กฟผ. (www.egat.co.th) ซึ่งประชาชน สามารถเข้าท�ำการสืบค้นได้ตลอด 24 ชัว่ โมง อาทิ ข้อมูลการด�ำเนินภารกิจของ กฟผ. ข้อมูลโรงไฟฟ้าต่าง ๆ และระบบส่งไฟฟ้า ข้อมูล การผลิต การจ�ำหน่ายไฟฟ้า แผนพัฒนาและโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ เป็นต้น ในปี 2558 กฟผ. ได้พฒ ั นาเพิม่ ช่องทางการให้บริการ การสือ่ สารประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบสือ่ สังคมออนไลน์ (Facebook : EGAT 1416 และ Twitter : EGAT 1416) รวมทั้งการจัดท�ำ Mobile Application EGAT 1416 ทั้งในระบบ IOS และ Android เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสอบถามและรับข้อร้องเรียน รวมทั้งการแจ้งเหตุ ซึ่งประชาชนจะเข้าถึงข้อมูลติดต่อกับ กฟผ. ได้สะดวกยิ่งขึ้น

ระบบบริการข้อมูลทางโทรศัพท์ EGAT Call Center ระบบ EGAT Call Center ของ กฟผ. ได้จัดไว้เพื่อให้บริการและอ�ำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการติดต่อสอบถาม ขอรับบริการข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนประโยชน์สาธารณะที่เกี่ยวข้อง และการให้ค�ำแนะน�ำทางโทรศัพท์ รวมทั้งเพื่อเป็นช่องทาง ส�ำหรับการรับแจ้งเหตุดว่ นเหตุรา้ ย เหตุขดั ข้องทีเ่ กิดขึน้ กับระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. ซึง่ ท�ำให้ประชาชนทัว่ ประเทศได้รบั ความ สะดวกรวดเร็ว ในการติดต่อกับ กฟผ. หรือเพื่อแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเพียงจุดเดียวได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยหมายเลขโทรคมนาคม พิเศษ 4 หลัก EGAT Call Center 1416 ซึ่งได้น�ำมาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่ปี 2555


83

การด�ำเนินงานของศูนย์ข้อมูลข่าวสารในรอบปี 2558 ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กฟผ. ด�ำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ ตอบค�ำถามทางเว็บไซต์ กฟผ. การให้บริการแก่ผู้ขอ เข้าสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ณ ที่ท�ำการศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กฟผ. ในเวลาราชการ และจัดท�ำสรุปผลด�ำเนินการรายงานส่งส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงพลังงาน หน่วยงานที่ก�ำกับดูแล นอกจากนี้ ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร กฟผ. ยังให้บริการผ่านระบบหมายเลข EGAT Call Center 1416 ซึ่งในปี 2558 (ระหว่าง เดือนมกราคม-ธันวาคม 2558) มีผู้ใช้บริการเรียกเข้า จ�ำนวน 10,676 สาย โดยมีประเด็นการติดต่อในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

• • • • • •

การด�ำเนินงานขององค์การ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานด้าน CSR ของ กฟผ. การรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน การรับสมัครงาน และการขอเข้าชมกิจการ ติดต่อพนักงานและหน่วยงานใน กฟผ. สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับระบบส่งไฟฟ้า แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย และข้อร้องเรียน

คณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสารของ กฟผ. คณะกรรมการบริหารข้อมูลข่าวสารของ กฟผ. มีอ�ำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการก�ำหนดนโยบาย มาตรการ หรือ หลักเกณฑ์เกีย่ วกับการบริหารจัดการระบบ และการให้บริการข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนพิจารณาข้อร้องเรียนหรือค�ำคัดค้านตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 สรุปเป็นมติในที่ประชุม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปด�ำเนินการในแต่ละประเด็นต่อไป


84

ระบบการด�ำเนินการเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชน ในปี 2558 ศูนย์จัดการข้อคิดเห็น กฟผ. (Voice of Stakeholders : VOS) ได้รับข้อคิดเห็น/ข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้ส่วน เสียทุกกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 593 เรื่อง ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ระบบจัดการข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียน (อินทราเน็ต และอินเทอร์เน็ต กฟผ.) ระบบรับฟังเสียงจากลูกค้า (EGAT-VOC) ระบบ EGAT Call Center 1416 ระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล (1111) รวมถึงหนังสือร้องเรียน ดังรายละเอียดตามแผนภูมิด้านล่าง

แผนภูมิจ�ำนวนข้อคิดเห็นปี 2558 จ�ำแนกตามช่องทาง

โดย กฟผ. ได้บริหารจัดการข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียนซึ่งได้รับผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

(1) ระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล (1111) จ�ำนวน 17 เรื่อง

กฟผ. ด�ำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรายงานผลการพิจารณาเรื่องให้ส�ำนักงานปลัดส�ำนักนายกรัฐมนตรีรับทราบ ภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด

(2) ระบบรับฟังเสียงจากลูกค้า (EGAT-VOC) จ�ำนวน 56 เรื่อง

กฟผ. สามารถด�ำเนินการแก้ไขข้อขัดข้องต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในระบบจ่ายไฟฟ้า ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อการด�ำเนินงานของลูกค้าตรง ได้อย่างรวดเร็วและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที


85

ในปี 2558 กฟผ. ได้พัฒนาเพิ่มช่องทาง การให้บริการ การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบสื่อ สังคมออนไลน์ เพื่อให้ ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้มากยิ่งขึ้น

(3) ระบบจัดการข้อคิดเห็นและข้อร้องเรียน จ�ำนวน 520 เรื่อง (ผ่านหนังสือร้องเรียน ระบบอินทราเน็ต และระบบ อินเทอร์เน็ต) ภารกิจของ กฟผ. ที่ได้รับการร้องเรียนส่วนใหญ่ คือ การใช้สทิ ธิอ์ ทุ ธรณ์เรือ่ งทีด่ นิ ทีอ่ ยูน่ อกเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า และผลกระทบจากการสร้างเขื่อน โรงไฟฟ้า ศู น ย์ จั ด การข้ อ คิ ด เห็ น กฟผ. ได้ เ สนอข้ อ คิ ด เห็ น ข้อร้องเรียนทีไ่ ด้รบั จากทุกช่องทางดังกล่าวข้างต้น จ�ำนวน 593 เรือ่ ง ไปยังหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบเพือ่ พิจารณาด�ำเนินการชีแ้ จง แก้ไขตอบผูร้ อ้ ง เป็นทีย่ ตุ เิ รือ่ งได้จำ� นวน 445 เรือ่ ง รวมทัง้ มีการ ทบทวนและก� ำ หนดแนวทางป้ อ งกั น เพื่ อ มิ ใ ห้ เรื่ อ งลั ก ษณะ เดียวกันเกิดขึ้นอีก ส�ำหรับเรือ่ งทีอ่ ยูร่ ะหว่างด�ำเนินการตอบชีแ้ จงอีก 148 เรื่อง เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการด�ำเนินการและจัดท�ำหนังสือ เพื่อชี้แจงผู้ร้องต่อไป


86

การพัฒนาระบบไฟฟ้าและแผนงานในอนาคต แผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 (PDP 2015) เป็นหนึง่ ในแผนหลักตามแผนบูรณาการพลังงาน แห่งชาติ 5 แผนหลัก ได้แก่ (1) แผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Thailand Power Development Plan: PDP) (2) แผนอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP) (3) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP) (4) แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติของไทย และ (5) แผนบริหารจัดการน�้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ การจัดท�ำแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติและแผน PDP 2015 ได้ให้ความส�ำคัญด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Security) ด้านเศรษฐกิจ (Economy) และด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) ซึ่งแผนฉบับนี้ได้ผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นจากคณะกรรมการ ก�ำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2558 และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2558 และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบมติ กพช. เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558

โครงการโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. 1. โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ 1.1 โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 2

โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 2 ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีขนาดก�ำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิ 848.3 เมกะวัตต์ ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ เริ่มงานก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มีก�ำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2559


87

1.2 โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7

โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนแม่เมาะ เครือ่ งที่ 4-7 ตัง้ อยูภ่ ายในพืน้ ทีข่ องโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อ�ำเภอแม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง ขนาด ก�ำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิ 600 เมกะวัตต์ ใช้ลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะเป็นเชื้อเพลิงหลัก ก่อสร้างเมื่อเดือนมกราคม 2558 มีก�ำหนดจ่าย ไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนพฤศจิกายน 2561

2. โครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน กฟผ. ได้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้า โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของ กฟผ. ที่ได้รับ การอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในช่วงปี 2559-2563 มีดังนี้

โครงการ

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแควน้อยบ�ำรุงแดน โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก โรงไฟฟ้ากังหันลมล�ำตะคอง ระยะที่ 2 โรงไฟฟ้าล�ำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 3-4 เขื่อนกิ่วคอหมา เขื่อนคลองตรอน โรงไฟฟ้าพลังน�้ำท้ายเขื่อนจุฬาภรณ์ โครงการปรับปรุงโรงไฟฟ้าเขื่อนศรีนครินทร์ โรงไฟฟ้าพลังน�้ำบ้านจันเดย์

รวม

สถานที่ตั้ง (จังหวัด)

ประเภท

ประมาณการแล้วเสร็จ ก�ำลังผลิต (เมกะวัตต์)

ลพบุรี พิษณุโลก ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา นครราชสีมา ล�ำปาง อุตรดิตถ์ ชัยภูมิ กาญจนบุรี กาญจนบุรี

น�้ำ น�้ำ แสงอาทิตย์ ลม น�้ำ น�้ำ น�้ำ น�้ำ น�้ำ น�้ำ

กันยายน 2558 พฤศจิกายน 2558 มีนาคม 2559 ธันวาคม 2560 กุมภาพันธ์ 2561 กันยายน 2561 กันยายน 2561 พฤศจิกายน 2562 มกราคม 2563 กันยายน 2563

6.7 30 5 24 500 5.5 2.5 1.25 360 18

952.95


88

โครงการโรงไฟฟ้าล�ำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 3-4

โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนแควน้อยบ�ำรุงแดน

โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์


89

3. โครงการที่อยู่ระหว่างการขออนุมัติ และโครงการที่อยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นของการพัฒนา 3.1 โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง ทดแทนเครื่องที่ 1-2

โรงไฟฟ้าบางปะกง ทดแทนเครื่องที่ 1-2 ขนาดก�ำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิ 1,300 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักและน�้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงส�ำรอง เป็นโรงไฟฟ้าที่จะช่วยเสริมให้ระบบไฟฟ้าในบริเวณเขต นครหลวง โซนตะวันออก มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น มีก�ำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2562 3.2 โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนพระนครใต้ ระยะที่ 1-2

โรงไฟฟ้าทดแทนพระนครใต้ ระยะที่ 1-2 ขนาดก�ำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิ 2x1,300 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักและน�้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงส�ำรอง เป็นโรงไฟฟ้าที่จะช่วยเสริมให้ระบบไฟฟ้าในบริเวณเขต นครหลวง โซนตะวันออกและโซนตะวันตก มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น มีก�ำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2562 และมกราคม 2565 ตามล�ำดับ 3.3 โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่

โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นโครงการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าภาคใต้ และเป็นการเพิ่มสัดส่วน การใช้เชื้อเพลิงถ่านหินผลิตไฟฟ้า ตามนโยบายภาครัฐด้านความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งจะช่วยกระจายประเภทเชื้อเพลิงในการผลิต ไฟฟ้า ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติและสร้างสมดุลพลังงานของประเทศ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนาดก�ำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิ 800 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินน�ำเข้าประเภท Sub-bituminous/bituminous เป็นเชื้อเพลิงหลัก มีก�ำหนด จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2562 ทั้งนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการศึกษา การด�ำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558


90

3.4 โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เป็นโครงการเสริมสร้างความมั่นคงของระบบผลิตไฟฟ้าภาคใต้ และเพิ่มความมั่นคงด้าน พลังงานในระยะยาว ซึ่งในภาพรวมจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน มีขนาดก�ำลังผลิตไฟฟ้า สุทธิประมาณ 2x1,000 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินน�ำเข้าประเภท Sub-bituminous/bituminous เป็นเชื้อเพลิงหลัก ก�ำหนดจ่ายไฟฟ้า เข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2564 และมกราคม 2567 ตามล�ำดับ 3.5 โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

แนวทางการจัดสรรก�ำลังผลิตไฟฟ้าตามแผน PDP 2015 ได้ก�ำหนดสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ไม่เกินร้อยละ 5 โดยบรรจุโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ปลายแผนในปี 2579 เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่ต้นทุนถูก สะอาด และ ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน มีขนาดก�ำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิประมาณ 2x1,000 เมกะวัตต์ ก�ำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในเดือนมกราคม 2578 และมกราคม 2579 ตามล�ำดับ ทั้งนี้โครงการอยู่ระหว่าง การศึกษาด้านเทคนิค ความปลอดภัย สถานที่ต้ังของโครงการ และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชนเข้าใจต่อประเด็น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง

โครงการรับซื้อไฟฟ้า การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ระหว่างปี 2559-2567 มีโครงการที่ได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟผ. และโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จ�ำนวน 6 โครงการ ก�ำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 5,540 เมกะวัตต์

โครงการ

สถานที่ตั้ง (จังหวัด)

เชื้อเพลิง

ก�ำลังผลิต (เมกะวัตต์)

1. บริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ซัพพลาย จ�ำกัด เครื่องที่ 1-2

ฉะเชิงเทรา

ถ่านหิน

270

พฤศจิกายน 2559

2. บริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ซัพพลาย จ�ำกัด เครื่องที่ 3-4

ฉะเชิงเทรา

ถ่านหิน

270

มีนาคม 2560

3. บริษัท Gulf SRC จ�ำกัด

ชลบุรี

ก๊าซธรรมชาติ

1,250 (2x625)

มีนาคม/ตุลาคม 2564

4. บริษัท Gulf SRC จ�ำกัด

ชลบุรี

ก๊าซธรรมชาติ

1,250 (2x625)

มีนาคม/ตุลาคม 2565

5. บริษัท Gulf PD จ�ำกัด

ระยอง

ก๊าซธรรมชาติ

1,250 (2x625)

มีนาคม/ตุลาคม 2566

6. บริษัท Gulf PD จ�ำกัด

ระยอง

ก๊าซธรรมชาติ

1,250 (2x625)

มีนาคม/ตุลาคม 2567

รวม

5,540

ก�ำหนดแล้วเสร็จ


91

การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) โครงการรับซือ้ ไฟฟ้าจากผูผ้ ลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กทีค่ าดว่าจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบระหว่างปี 2559-2568 รวมทัง้ สิน้ 4,934 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นปริมาณรับซื้อไฟฟ้าระบบ Cogeneration แบบสัญญา Firm จ�ำนวน 3,664 เมกะวัตต์ และปริมาณรับซื้อ ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจ�ำนวน 1,270 เมกะวัตต์

การรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบนั กฟผ. มีการรับซือ้ ไฟฟ้าจากประเทศเพือ่ นบ้านแล้วจ�ำนวน 7 โครงการ รวมก�ำลังผลิตตามสัญญา 3,386.6 เมกะวัตต์ ระหว่างปี 2559-2562 คาดว่าจะมีการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นอีกจ�ำนวน 4 โครงการ รวมก�ำลังผลิตตามสัญญา 2,334 เมกะวัตต์

โครงการ

เชื้อเพลิง

ก�ำลังผลิต (เมกะวัตต์)

ก�ำหนดแล้วเสร็จ

1. โครงการหงสาลิกไนต์ เครื่องที่ 3

ลิกไนต์

491

มีนาคม 2559

2. โครงการเซเปียน-เซน�้ำน้อย

พลังน�้ำ

354

กุมภาพันธ์ 2562

3. โครงการน�้ำเงี๊ยบ 1

พลังน�้ำ

269

กรกฎาคม 2562

4. โครงการไซยะบุรี

พลังน�้ำ

1,220

ตุลาคม 2562

2,334

รวม

โครงการก่อสร้างและปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า โครงการที่ได้รับอนุมัติ 1.1 โครงการที่อยู่ระหว่างด�ำเนินการ

1) โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 2 (GBAS2) วงเงินลงทุนโครงการ 9,170 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 89.025 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้าง สถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 6 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 10,600 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 384 เอ็มวีเออาร์ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 23 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 86.88 คาดว่า จะแล้วเสร็จในปี 2561 2) โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 11 (TS11) วงเงินลงทุนโครงการ 23,000 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 1,902.273 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้าง สถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 6 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 23 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 11,975 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 1,705.20 เอ็มวีเออาร์ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 115 งาน งานก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2558


92

3) โครงการระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนน�้ำงึม 3 และน�้ำเทิน 1 (NNG3-NTN1) เป็นโครงการเพือ่ รับซือ้ ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขือ่ นน�ำ้ งึม 3 และน�ำ้ เทิน 1 และหรือโครงการโรงไฟฟ้าอืน่ ๆ ทีม่ ศี กั ยภาพ ใน สปป.ลาว วงเงินลงทุนโครงการ 16,337.6 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 1,492.340 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 3 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 4,000 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 770 เอ็มวีเออาร์ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 2 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 32.37 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 4) โครงการระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) เป็นโครงการก่อสร้างระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ จ�ำนวน 4 โครงการย่อย รวมก�ำลัง การผลิตประมาณ 4,400 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุนโครงการ 7,985 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 169.400 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 2 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 6 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 1,000 เอ็ม วีเอ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 4 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 76.84 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 ความก้าวหน้าของงานก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าแต่ละโครงการย่อยเป็นดังนี้

1) งานก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของบริษัท Gheco-One จ�ำกัด แล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556

2) งานก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพือ่ รับซือ้ ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของบริษทั National Power Supply จ�ำกัด ก�ำหนดเริ่มงานในปี 2561 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563

3) งานก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของบริษัท Gulf JP UT จ�ำกัด แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2557

4) งานก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของบริษัท Gulf JP NS จ�ำกัด แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 5) โครงการระบบส่งเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ (HSA)

เป็นโครงการเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ ขนาดก�ำลังผลิต 626 เมกะวัตต์ จ�ำนวน 3 เครื่อง จ่ายไฟฟ้าให้ประเทศไทยประมาณ 1,473 เมกะวัตต์ ผ่านสายส่ง 500 กิโลโวลต์ จากโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์ ผ่านชายแดนไทย/สปป. ลาว (จังหวัดน่าน) มายังสถานีไฟฟ้าแรงสูง 500/230/115 กิโลโวลต์ น่าน แล้วเชื่อมต่อสายส่ง 500 กิโลโวลต์ เข้าระบบหลักไปยัง สถานีไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์ แม่เมาะ 3 พร้อมปรับปรุงสายส่งที่เกี่ยวข้อง วงเงินลงทุนโครงการ 21,160 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างสายส่งความยาว 1,192.065 วงจร-กิโลเมตร งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 3 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 1,150 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 880 เอ็มวีเออาร์ งานก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2558 (RSP1)

6) โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ระยะที่ 1 : ส่วนสถานีไฟฟ้าแรงสูง

วงเงินลงทุนโครงการ 3,815 ล้านบาท ประกอบด้วยงานปรับปรุงสถานีไฟฟ้าแรงสูง 15 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 1,150 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 145.95 เอ็มวีเออาร์ ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 37.09 คาดว่า จะแล้วเสร็จในปี 2560


93

7) ระบบส่งไฟฟ้าส�ำหรับโครงการโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 2 (CNC2) วงเงินลงทุนส�ำหรับระบบส่งไฟฟ้า 1,290.5 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่ง 230 กิโลโวลต์ โรงไฟฟ้าจะนะ - จุด เชื่อมจะนะ - คลองแงะ ความยาว 90 วงจร-กิโลเมตร งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 2 แห่ง งานก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนมกราคม 2558 8) โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าหลักเพือ่ รองรับโรงไฟฟ้าผูผ้ ลิตเอกชนรายเล็กระบบ Cogeneration ตามระเบียบการ รับซื้อไฟฟ้าปี 2553 (SPPC) วงเงินลงทุนโครงการ 10,610 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่ง และปรับปรุงสายส่งทีเ่ กีย่ วข้อง ความยาว 507.850 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 3 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 2,900 เอ็ม วีเอ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 73 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 41.27 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 (RLP1)

9) โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ระยะที่ 1 : ส่วนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

วงเงินลงทุนโครงการ 9,850 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 1,648.722 วงจร-กิโลเมตร งานขยาย สถานีไฟฟ้าแรงสูง 13 แห่ง งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 8 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 25.13 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 10) ระบบส่งไฟฟ้าส�ำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 2 (NBC2) เป็นโครงการในระยะเร่งด่วน เพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าและเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ขนาดก�ำลังผลิตสุทธิ ประมาณ 800 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุนส�ำหรับระบบส่งไฟฟ้า 179.1 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าใต้ดิน 230 กิโล โวลต์ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 2 - พระนครเหนือ ระยะทาง 500 เมตร และงานก่อสร้างขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูงพระนครเหนือ งานก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 11) โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ระยะที่ 2 (RTS2) เป็นโครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้า เพือ่ ลดปัญหาความสูญเสียทีเ่ กิดจากไฟฟ้าดับ เนือ่ งจากอุปกรณ์ระบบไฟฟ้า ภายในสถานีไฟฟ้าแรงสูงหรือสายส่งเกิดช�ำรุด หรือเสียหายจากสภาพอายุการใช้งานมานาน เพิ่มความสามารถของสถานีไฟฟ้าแรง สูงและสายส่งที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ให้จ่ายไฟได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และเพิ่มระดับความมั่นคงเชื่อถือได้ของ ระบบไฟฟ้า วงเงินลงทุนโครงการ 21,900 ล้านบาท ประกอบด้วยงานปรับปรุงและขยายระบบส่ง ความยาว 1,333.650 วงจรกิโลเมตร และงานปรับปรุงและขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง จ�ำนวน 31 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยงานติดตั้งหม้อแปลง 1,746.50 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 550.80 เอ็มวีเออาร์ และงานติดตั้ง Static Var Compensator (SVC) Inductive 100 เอ็มวีเออาร์ / Capacitive 300 เอ็มวีเออาร์ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 34 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 3.01 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563


94

12) โครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร และอ�ำนาจเจริญ เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการ ใน สปป.ลาว (UYAP) เป็นโครงการเพือ่ รับซือ้ ไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ เขือ่ นเซเปียน-เซน�ำ้ น้อย ก�ำลังผลิต 130 เมกะวัตต์ จ�ำนวน 3 เครือ่ ง เพือ่ รองรับก�ำลังผลิตเพิม่ เติมจากโครงการโรงไฟฟ้าอืน่ ๆ ทีม่ ศี กั ยภาพบริเวณภาคใต้ของ สปป.ลาว วงเงินลงทุนโครงการ 7,300 ล้าน บาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ จากชายแดนไทย/สปป.ลาว (จังหวัดอุบลราชธานี) มาที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง อุบลราชธานี 3 (สฟ.แห่งใหม่) ระยะทาง 90 กิโลเมตร และงานปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง รวมการก่อสร้างสายส่ง (เฉพาะ ในฝั่งไทย) ความยาว 505.100 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 4 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 400 เอ็มวีเอ ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 1.06 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 13) โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIPE) เป็นโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออก ช่วยเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าให้การส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า มีความต่อเนือ่ งและเพียงพอต่อความต้องการไฟฟ้าทีเ่ พิม่ ขึน้ อีกทัง้ ยังรองรับโรงไฟฟ้าทีเ่ พิม่ ขึน้ ส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรม และธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกของไทย ซึ่งมีความส�ำคัญด้านเศรษฐกิจของประเทศ วงเงินลงทุนโครงการ 12,000 ล้าน บาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 469.664 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 3 แห่ง งานขยาย สถานีไฟฟ้าแรงสูง 2 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 5,000 เอ็มวีเอ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 8 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 0.45 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2562 14) โครงการขยายระบบไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะที่ 3 (GBA3) เป็นโครงการขยายระบบไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นเขตที่มีความ ต้องการไฟฟ้าสูง และเป็นเขตเศรษฐกิจส�ำคัญที่สุดของประเทศ อีกทั้งเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศไทย วงเงินลงทุน โครงการ 12,100 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างและปรับปรุงสายส่งความยาว 172.400 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานี ไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 2 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 13 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 10,200 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 96 เอ็มวีเออาร์ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 10 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 8.05 คาดว่าจะแล้วเสร็จ ในปี 2561 15) โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 (TS12) วงเงินลงทุนโครงการ 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 3,208.924 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้าง สถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 7 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 72 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 24,000 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 1,671.60 เอ็มวีเออาร์ งานติดตั้ง Static Var Compensator (SVC) Inductive 50 เอ็มวีเออาร์ / Capacitive 100 เอ็มวีเอ อาร์ งานขยายระบบเบ็ดเตล็ด 133 งาน ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง (ธันวาคม 2558) ร้อยละ 0.65 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 1.2 โครงการที่ยังไม่เริ่มด�ำเนินการ

1) ระบบส่งไฟฟ้าส�ำหรับโครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าล�ำตะคอง ระยะที่ 2 (LKW2) วงเงินลงทุนส�ำหรับระบบส่งไฟฟ้า 265 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง และงาน ก่อสร้างเชือ่ มโยงสายส่งทีเ่ กีย่ วข้อง แผนการด�ำเนินงานโครงการก�ำหนดแล้วเสร็จในปี 2560 (ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม แก้ไขกฎหมายเรื่อง การตั้งโรงงานประเภทที่ 3 ในพื้นที่ 1B)


95

2) โครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมายกก (MKTP) เป็นโครงการรองรับการซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมายกก ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า วงเงินลงทุนโครงการ 2,740 ล้านบาท ก�ำลังผลิต 405 เมกะวัตต์ ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ขายให้ กฟผ. (บริเวณชายแดน) ประมาณ 369 เมกะวัตต์ ผ่าน สายส่ง 230 กิโลโวลต์ จากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนมายกก ผ่านชายแดนไทย/พม่า (จังหวัดเชียงราย) มายังสถานีไฟฟ้าแรงสูงแม่จัน และก่อสร้างสายส่ง 230 กิโลโวลต์ จากสถานีไฟฟ้าแรงสูงแม่จัน ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงเชียงราย ความยาว 220 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 2 แห่ง งานติดตัง้ หม้อแปลง 400 เอ็มวีเอ ขณะนีก้ ารเจรจาสัญญาซือ้ ขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงที่จะลงนาม PPA ได้ และ Tariff MOU ได้หมดอายุเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2554 จึงอยู่ ระหว่างชะลอการด�ำเนินงานก่อสร้าง จนกว่าจะมีความชัดเจนในการตกลง Tariff MOU 3) โครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวล�ำภู และขอนแก่น เพือ่ รับซือ้ ไฟฟ้าจากโครงการใน สปป. ลาว (LNKP) เป็นโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อนไซยะบุรี ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าที่ชายแดนไทย/สปป.ลาว ประมาณ 1,220 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุนโครงการ 12,060 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ จ�ำนวน 2 วงจร จากชายแดนไทย/สปป.ลาว (จังหวัดเลย) มาที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงเลย 2 (สฟ.แห่งใหม่) ระยะทาง 52 กิโลเมตร แล้วก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ วงจรคู่ จากสถานีไฟฟ้าแรงสูงเลย 2 ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงขอนแก่น 4 (สฟ.แห่งใหม่) ระยะทาง 173 กิโลเมตร รวม การก่อสร้างสายส่ง (เฉพาะในฝั่งไทย) ความยาว 459 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 2 แห่ง งานขยายสถานี ไฟฟ้าแรงสูง 5 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 1,000 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 660 เอ็มวีเออาร์ ก�ำหนดเริ่มงานในปี 2559 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 4) โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIWS) เป็นโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าเพือ่ เสริมความมัน่ คงระบบไฟฟ้าโดยการก่อสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ พร้อมทัง้ ปรับปรุง ระบบส่ง 230 กิโลโวลต์ เพิ่มเติมครอบคลุมการจ่ายไฟฟ้าให้พื้นที่ภาคใต้ในระยะยาว เพื่อส่งก�ำลังไฟฟ้าจากภาคตะวันตก ภาคกลาง ไปยังภาคใต้ได้เพิม่ มากขึน้ ส่งเสริมการขยายตัวของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและการท่องเทีย่ วในภาคใต้ รวมทัง้ แก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับ ในพืน้ ทีภ่ าคใต้ วงเงินลงทุนโครงการ 63,200 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 2,196 วงจร-กิโลเมตร งานก่อสร้าง สถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งใหม่ 1 แห่ง งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 8 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 5,999 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 974 เอ็มวีเออาร์ ก�ำหนดเริ่มงานในปี 2559 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 5) ระบบส่งส�ำหรับโครงการโรงไฟฟ้าเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 (MMR1) เป็นโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใหม่ ทดแทนโรงไฟฟ้าเดิมซึ่งมีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี เพื่อรองรับความ ต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศและรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า อีกทั้งเป็นการสนองนโยบายรัฐบาลด้านการใช้เชื้อเพลิงที่มีอยู่ ภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สงู สุด ก�ำลังผลิตประมาณ 600 เมกะวัตต์ วงเงินลงทุนส�ำหรับระบบส่งไฟฟ้า 360 ล้านบาท ประกอบ ด้วยงานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าใต้ดิน 230 กิโลโวลต์ จากลานไกไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า - สถานีไฟฟ้าแรงสูง 230 กิโลโวลต์ แม่เมาะ 3 ระยะทาง 800 เมตร และงานก่อสร้างขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูงแม่เมาะ 3 ก�ำหนดเริ่มงานในปี 2559 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560


96

6) โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIEC) เป็นโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า รองรับโครงการพลังงานทดแทนและทางเลือกตาม แผนการพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ของรัฐบาล และรองรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid : APG) วงเงินลงทุน โครงการ 94,040 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 2,622 วงจร-กิโลเมตร งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 10 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 12,000 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Line Shunt Reactor 605 เอ็มวีเออาร์ งานติดตั้ง Static Var Compensator (SVC) 1,200 เอ็มวีเออาร์ ก�ำหนดเริ่มงานในปี 2560 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 7) โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคเหนือตอนบน เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TIPN) เป็นโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าเพือ่ เสริมความมัน่ คงระบบไฟฟ้าบริเวณภาคเหนือตอนบน วงเงินลงทุนโครงการ 12,240 ล้านบาท ประกอบด้วยงานก่อสร้างสายส่งความยาว 420 วงจร-กิโลเมตร งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 3 แห่ง งานติดตั้งหม้อแปลง 2,600 เอ็มวีเอ งานติดตั้ง Capacitor Bank 55 เอ็มวีเออาร์ ก�ำหนดเริ่มงานในปี 2560 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 8) แผนระบบส่งเชื่อมต่อจุดใหม่ระหว่างสถานีไฟฟ้าแรงสูงสุไหงโก-ลก ของ กฟผ. กับสถานีไฟฟ้าแรงสูง Rantau Panjang ของบริษัท Tenaga Nasional Berhad จ�ำกัด (SUKP) เป็นโครงการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าให้แก่จังหวัดนราธิวาส โดยเพิ่มการรับไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซีย และส่งเสริม ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย วงเงินลงทุนส�ำหรับระบบส่งไฟฟ้า 535 ล้านบาท ทั้งนี้ จะเริ่มด�ำเนินการ ก่อสร้างโครงการฯ เมือ่ บรรลุขอ้ ตกลง Interconnection Agreement ระหว่าง กฟผ. และบริษทั Tenaga Nasional Berhad จ�ำกัด

โครงการที่อยู่ระหว่างขออนุมัติด�ำเนินการ โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคใต้ตอนล่าง เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า (TILS) เป็นโครงการเสริมความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าหลัก ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงไปทางจังหวัดสงขลา และบริเวณภาค ใต้ตอนล่าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างระยะยาว ให้รองรับความต้องการไฟฟ้าของภาคที่อยู่ อาศัย ธุรกิจ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวในภาคใต้ รวมทั้งรองรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน (APG) และการรับซื้อไฟฟ้าจาก ประเทศเพื่อนบ้าน วงเงินลงทุนโครงการ 35,400 ล้านบาท มีก�ำหนดแล้วเสร็จปี 2566

โครงการพัฒนาพื้นที่ส�ำนักงานกลาง เพื่อให้การด�ำเนินการของหน่วยงานสนับสนุนที่อยู่ในส�ำนักงานกลางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจ�ำเป็นที่ กฟผ. จะต้องมีอาคารส�ำนักงานที่มีพื้นที่เพียงพอส�ำหรับการปฏิบัติงานและอยู่ในมาตรฐานที่ดี กฟผ. จึงมีนโยบายในการบริหารจัดการให้ส�ำนักงานทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ส�ำนักงาน (Office Zone) อันจะท�ำให้การติดต่อ ประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้สูงสุด และก่อสร้างอาคารจอดรถเพื่อความปลอดภัยด้านการ จราจร มีก�ำหนดแล้วเสร็จในปี 2561 วงเงินงบประมาณ 2,080 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ส�ำนักงานกลาง กฟผ. (Master Plan) ในแนวคิดสวนป่านิเวศ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานให้อยู่ในมาตรฐานที่ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อตอบ สนองแผนการจัดการด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ ชุดที่ 2


97

อาคารส�ำนักงาน EGAT Headquarters

อาคารจอดรถ

งานวิจัยและพัฒนา ในปี 2558 กฟผ. ได้อนุมัติทุนสนับสนุนงานวิจัยให้กับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยและหน่วยงานต่าง ๆ ใน กฟผ. จ�ำนวน 20 โครงการ ท�ำให้มีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก กฟผ. ตั้งแต่ปี 2549 จ�ำนวนทั้งสิ้น 231 โครงการ รวมเป็นเงิน 2,476,659,656 บาท ส�ำหรับโครงการวิจัยที่ กฟผ. ให้การสนับสนุนทุนวิจัยและได้ด�ำเนินการแล้วเสร็จในปี 2558 มีจ�ำนวน 18 โครงการ อาทิ การศึกษาและประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบโรงไฟฟ้าจะนะ (A Study on the Approach of Green Area Development around Chana Power Plant) โดย มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

กฟผ. ริเริ่มโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบโรงไฟฟ้าจะนะ อ�ำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2552 - 2555 เพื่อพัฒนาพื้นที่ และคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบโรงไฟฟ้า รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน แต่ด้วยพื้นที่โดยรอบโรงไฟฟ้าจะนะ เป็นพื้นที่ที่มี การทับถมของตะกอนดินน�้ำกร่อย มีสภาพเป็นดินเปรี้ยว ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ถูกทิ้งไว้เป็นพื้นที่ว่างเปล่า กฟผ. จึงได้ประเมินแนวทางการคัดเลือกชนิดพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ รูปแบบ และแนวทาง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนใน การปลูกและดูแลไม้เศรษฐกิจในพื้นที่รกร้าง ดังนั้น เพื่อเป็นการติดตามผลการด�ำเนินโครงการดังกล่าว กฟผ. จึงได้สนับสนุนทุนวิจัย เรื่อง “โครงการศึกษาและประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบโรงไฟฟ้าจะนะ” แก่มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในปี 2557 เพื่อ ประเมินผลส�ำเร็จในระดับผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบโรงไฟฟ้าจะนะ จากผลการวิจยั พบว่าโครงการได้ทำ� ให้เกิดการเพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียวได้อย่างชัดเจน ช่วยเพิม่ ความเชือ่ มัน่ ให้เกษตรกรในการปลูก ไม้ยนื ต้นรอบโรงไฟฟ้าจะนะ ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนจากเกษตรกรในชุมชนในการด�ำเนินการโครงการได้อย่างต่อเนือ่ งและเกิดการ พัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงได้แนวทางการขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป


98

การศึกษาทัศนคติด้านผลลัพธ์ทางสังคมที่มีต่อโครงการห้องเรียนสีเขียวของ กฟผ. (A Study of Social Attitudes from Proceeding “Green Room” Project, EGAT) โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กฟผ. ได้เริ่มด�ำเนินการโครงการห้องเรียนสีเขียวมาตั้งแต่ปี 2541 โดยการจัดตั้งห้องเรียนสีเขียวให้กับโรงเรียนตัวอย่างใน ทุก ๆ จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อปลูกฝังทัศนคติการใช้ไฟฟ้าและพลังงานอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ให้รู้ถึงคุณค่าและการรักษา สิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนของชาติ โดยสอนให้มีการปฏิบัติจนเป็นปกติวิสัย พร้อมทั้งมีการประเมินผลการด�ำเนินงานของโรงเรียนที่ เข้าร่วมโครงการฯ มาเป็นล�ำดับ แต่ยงั มิได้มกี ารประเมินผลสัมฤทธิใ์ นด้านทัศนคติของเยาวชนและการปลูกจิตส�ำนึกเพือ่ ให้เกิดอุปนิสยั ที่ถาวรในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ดังนั้น กฟผ. จึงประสงค์จะด�ำเนินการส�ำรวจความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม โครงการฯ และผู้เกี่ยวข้องในเชิงสัมพัทธ์ โดยเฉพาะนักเรียน ครู และผู้บริหารโรงเรียน ระหว่างโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และ โรงเรียนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสีเขียว จากการวิจัย พบว่า โครงการห้องเรียนสีเขียวเป็นโครงการที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และมีโรงเรียนที่ประสงค์จะเข้าร่วม โครงการอีกเป็นจ�ำนวนมาก ทั้งนี้ผลจากการด�ำเนินโครงการห้องเรียนสีเขียว จะช่วยสนับสนุนการด�ำเนินงานเสริมสร้างทัศนคติให้ บรรลุจุดประสงค์ พร้อมทั้งสามารถสนองตอบยุทธศาสตร์ในการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า รวมทั้งด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. และถ่ายทอดสู่แผนปฏิบัติการในอนาคตอีกประการหนึ่งด้วย การพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อใช้ตรวจสอบท่อและผนังภายในหม้อไอน�้ำ (Development of a Prototype of Inspection Robot for Tubes in Boiler) โดย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน มีการบ�ำรุงรักษาหม้อไอน�ำ้ (Boiler) อย่างสม�ำ่ เสมอ เพือ่ ป้องกันไม่ให้เกิดการหยุดจ่ายกระแส ไฟฟ้า (Shut Down) จากความเสียหายของหม้อไอน�ำ้ โดยในอดีตการตรวจสอบสภาวะของท่อและผนังภายในหม้อไอน�ำ้ กระท�ำโดย ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. มีการจัดตั้งนั่งร้านหรือการใช้กระเช้า เพื่อด�ำเนินการตรวจสอบหม้อไอน�้ำในที่สูง อีกทั้งยังมีสภาพแวดล้อมที่มี อุณหภูมิสูง และเต็มไปด้วยฝุ่นละออง ส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบ ทั้งในด้านประสิทธิภาพ ด้านความปลอดภัย และด้านสุขภาพ ของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. จึงได้สนับสนุนทุนวิจัย เรื่อง “การพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อใช้ตรวจสอบท่อและผนังภายในหม้อไอน�้ำ” แก่ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบในการตรวจ สอบท่อและผนังภายในหม้อไอน�้ำ แทนการตรวจสอบโดยผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. จากการวิจยั ได้สร้างหุน่ ยนต์ตน้ แบบเพือ่ ใช้ตรวจสอบท่อและผนังภายในหม้อไอน�ำ้ ได้ผลการตรวจวัดความหนาท่อและผนัง ภายในหม้อไอน�ำ้ มีคา่ แม่นย�ำในระดับทีย่ อมรับได้เมือ่ เทียบกับการตรวจสอบแบบเดิมด้วย Ultrasonic Transducer หุน่ ยนต์สามารถ เคลื่อนที่เข้าถึงต�ำแหน่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังด�ำเนินการตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว ประหยัด และลดความเสี่ยงต่อ ผู้ปฏิบัติงานได้อีกด้วย


99

การพัฒนาต้นแบบระบบ Static Excitation Control แบบ Redundant ใช้งานที่โรงไฟฟ้าเขื่อนท่าทุ่งนา (Development of Static Excitation Control System with Redundant for Tha Thung Na Hydro Power Plant) โดย ฝ่ายบ�ำรุงรักษาไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ในเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ในโรงไฟฟ้า ใช้ระบบ Excitation Control ท�ำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวด (Field Coil) เพื่อท�ำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เหนี่ยวน�ำให้สร้างพลังงานไฟฟ้าได้ ในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าของ กฟผ. จ�ำนวนมาก พบปัญหา การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์นี้ เนื่องจากใช้งานมานาน ผู้ผลิตได้ยกเลิกการผลิตอุปกรณ์รุ่นเดิมที่ใช้งานอยู่ ท�ำให้ไม่มีอะไหล่ในการ บ�ำรุงรักษา ส่งผลกระทบให้โรงไฟฟ้าหยุดการผลิตไฟฟ้าได้ งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาต้นแบบระบบ Static Excitation Control แบบ Redundant คือ มีระบบส�ำรอง หากระบบที่ใช้งานอยู่เกิดปัญหาไม่สามารถท�ำงานได้ ระบบส�ำรองจะเข้ามาท�ำงาน แทนทันที ท�ำให้มีความน่าเชื่อถือสูง และออกแบบให้ใช้งานง่าย เหมาะสมกับเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ ในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. อีกทั้งยังทดแทนการจัดซื้อจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูง จากการทดลองน�ำต้นแบบระบบ Excitation Control ต้นแบบที่ กฟผ. พัฒนาขึ้น ไปติดตั้งใช้งานที่โรงไฟฟ้าเขื่อนท่าทุ่งนา พบว่าระบบ Excitation Control แบบ Redundant ที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมา สามารถท�ำงานได้เป็นอย่างดี โดยมีฟังก์ชัน การท�ำงานเหนือกว่าระบบเดิม มีจุดเด่นในด้านการใช้งานและการบ�ำรุงรักษาที่ท�ำได้งา่ ยขึ้น และมีต้นทุนในการผลิตต้นแบบระบบ ดังกล่าวต�ำ่ กว่าการจัดซือ้ จากต่างประเทศ ทัง้ นี้ งานวิจยั นีไ้ ด้จดทะเบียนทรัพย์สนิ ทางปัญญา ช่วยสร้างองค์ความรูใ้ ห้กบั กฟผ. สามารถ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และยังสามารถขยายผลโดยน�ำไปติดตั้งใช้งานให้กับโรงไฟฟ้าขนาดต่าง ๆ ของ กฟผ. และโรงไฟฟ้าเอกชนได้อีกด้วย


100

การพัฒนาองค์การ และทรัพยากรบุคคล การบริหารทรัพยากรบุคคล กฟผ. ให้ความส�ำคัญกับบุคลากร โดยถือเป็นทรัพยากรส�ำคัญทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อการเจริญเติบโตขององค์การ การบริหารทรัพยากร บุคคลจึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการคนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขและผูกพันกับองค์การ ซึ่งในปี 2558 กฟผ. ได้ด�ำเนินการปลูกฝัง ให้บคุ ลากรมีพฤติกรรมการท�ำงานตามค่านิยมองค์การ กฟผ. FIRM-C เพือ่ ธ�ำรงรักษาไว้ซงึ่ วัฒนธรรมองค์การ กฟผ. ทีว่ า ่ “รักองค์การ มุ่งงานเลิศ เทิดคุณธรรม” อันจะน�ำไปสู่การเป็นองค์การที่เป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งชาติ นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนการสรรหา บุคลากรและส่งเสริมการศึกษา กฟผ. ได้ให้ทุนการศึกษาบุคคลภายนอกในระดับปริญญาตรี และเมื่อเข้าท�ำงานกับ กฟผ. ก็จะให้ทุน การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไปอีกด้วย

การพัฒนาบุคลากร กฟผ. ถือว่าบุคลากรเป็นทรัพยากรส�ำคัญและมีคณ ุ ค่ายิง่ ต่อการเจริญเติบโตอย่างยัง่ ยืนของ กฟผ. จึงมุง่ เน้นในการเพิม่ คุณค่า ของบุคลากรให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์ มีน�้ำใจไมตรี มีคุณธรรม และค�ำนึงถึงสังคม ชุมชน ประเทศชาติ และประชาชน เป็นคนเก่ง มีความ สามารถ มองการณ์ไกล และเป็นมืออาชีพในระดับสากล และเป็นคนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีขวัญก�ำลังใจ และมีความผูกพัน กับองค์การ เพือ่ ให้ กฟผ. บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ เป็นองค์การชัน้ น�ำในกิจการไฟฟ้าในระดับสากล (Global Top Quartile Utility) ในปี 2558 กฟผ. มีระบบในการพัฒนาบุคลากรเพือ่ เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรให้พร้อมส�ำหรับการเติบโตทาง ธุรกิจ โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็นระดับองค์การ ระดับสายงาน และระดับบุคคล สอดคล้องกับปัจจัยน�ำเข้าต่าง ๆ อาทิ ยุทธศาสตร์ ของ กฟผ. ความสามารถพิเศษขององค์การ กระบวนการและข้อก�ำหนดระบบงาน ความต้องการของลูกค้า กระแสการเปลี่ยนแปลง ทางด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการด�ำเนินธุรกิจของ กฟผ. โดยพัฒนาบุคลากรในด้านสมรรถนะความสามารถหลัก คุณภาพชีวิต การ ประพฤติปฏิบตั ติ ามหลักคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ และด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ด้วยวิธีการทีห่ ลากหลายทั้งการฝึกอบรม On-the-job Training, Coaching, Mentoring, Job Assignment การส่งอบรมทั้งภายใน และต่างประเทศ การให้ทุนการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมให้บุคลากรรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง และให้ หน่วยงานต้นสังกัดมีบทบาทส�ำคัญในการดูแลและสอนงานผู้ปฏิบัติงานผ่านการจัดท�ำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP : Individual Development Plan) นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมการพัฒนาผู้บริหารในระดับต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นผู้น�ำในอนาคต รวมทั้งการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานรุ่นใหม่ท่ีมีศักยภาพเพื่อสร้างผู้น�ำรุ่นใหม่ที่จะสืบทอดงาน และขับเคลื่อนภารกิจขององค์การให้บรรลุ เป้าหมายตามยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ กฟผ. มีระบบการบริหารจัดเก็บองค์ความรู้หลัก การถ่ายโอน และพัฒนาต่อยอดองค์ความ รู้ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์การ


101

การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ กฟผ. ด�ำเนินการบริหารจัดการสารสนเทศโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ กฟผ. (คทส.) ท�ำหน้าที่ 1) ก�ำหนด นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ ว่าด้วยการบริหารจัดการสารสนเทศและการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของ กฟผ. 2) จัดท�ำแผนแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สารองค์การ 3) พิจารณากลัน่ กรองการตัง้ งบประมาณด้านสารสนเทศ และให้ความเห็นชอบโครงการ หรือแผนงานการจ้างที่ปรึกษาด้านสารสนเทศ 4) พิจารณาหลักเกณฑ์และประเมินผลการด�ำเนินงานการบริหารจัดการสารสนเทศ ของสายงานต่าง ๆ และ 5) รวบรวมและจัดท�ำรายงานการประเมินผลการด�ำเนินงานการบริหารจัดการสารสนเทศขององค์การ กฟผ. ได้ด�ำเนินการตามยุทธศาสตร์ของประเทศและขององค์การ ในการมุ่งสู่องค์การชั้นน�ำในกิจการไฟฟ้าในระดับสากล เพื่อรองรับแผนวิสาหกิจ กฟผ. พ.ศ. 2558-2568 โดยจัดท�ำยุทธศาสตร์ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ กฟผ. ปี 2556-2560 ที่ปรับปรุงแผนงานให้มีความทันสมัย สามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริง สนับสนุนการด�ำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมียุทธศาสตร์ 5 ด้าน ประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาก�ำลังคนด้านไอซีทีและพนักงานให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้ สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการด้านไอซีทีขององค์การอย่างมีธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไอซีที ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้ไอซีทีเพื่อสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการขององค์กร ยุทธศาสตร์ที่ 5 การใช้ไอซีทีเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

กฟผ. ใช้แนวทางการก�ำกับดูแลสารสนเทศที่ดี (IT Governance) ในการควบคุมและก�ำกับทิศทางการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศขององค์การ การปฏิบัติงานด้านสารสนเทศมีกระบวนการตามมาตรฐานสากล เป็นผลให้ได้รับประกาศนียบัตรรับรอง มาตรฐานการพัฒนาระบบสารสนเทศตามมาตรฐานวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ISO/IEC 29110 ประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานความ มัน่ คงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ISO/IEC 27001:2013 ครอบคลุมงานบริการของศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก และศูนย์คอมพิวเตอร์สำ� รอง นอกส�ำนักงานใหญ่ และในปี 2558 ได้รับประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน ด้านการบริหารจัดการและการบ�ำรุงรักษาระบบงาน องค์กร Customer Center of Expertise (CCoE)


102

ความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาแหล่งผลิตและส่งไฟฟ้านั้น กฟผ. ถือเป็นส่วนหนึง่ ของการด�ำเนินธุรกิจ เพือ่ ให้องค์การสามารถเจริญเติบโตอย่างยัง่ ยืน โดยได้ดำ� เนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน สากล ทั้งในกระบวนการหลัก (CSR in Process) และนอกกระบวนการผลิต (CSR after Process) รวมทั้งด�ำเนินงานเพื่อสร้าง การยอมรับจากทุกภาคส่วน ภายใต้การมีส่วนร่วมควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การด�ำเนินงานชุมชนสัมพันธ์ในพื้นที่พัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้า กฟผ. น�ำกระบวนการการมีส่วนร่วมมาใช้กับทุกภาคส่วน ดังนี้

1. การสร้างการรับรูแ้ ละความเข้าใจในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า มุง่ สร้างความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงความต้องการใช้

พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น อันมีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตและขยายตัวของสังคม ส่งผลให้ต้องมีการพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย โครงการโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 2 โครงการโรงไฟฟ้า จะนะ ชุดที่ 2 โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 โครงการเพิ่มก�ำลังผลิตโรงไฟฟ้าภาคใต้ (กระบี่) โครงการ โรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทน) เครื่องที่ 1-2 โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ทดแทน) เครื่องที่ 1-5 โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทีอ่ ำ� เภอเทพา จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดชุมพร เป็นต้น พืน้ ทีพ่ ฒ ั นาแหล่งผลิตพลังงานทดแทน อ�ำเภอสีควิ้ จังหวัดนครราชสีมา และอ�ำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่สร้างความรู้ความเข้าใจ พัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ด้วยการสื่อสารสาธารณชนทุก ภาคส่วนในจังหวัดอุบลราชธานี

2. พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ด�ำเนินกิจกรรมกับทุกภาคส่วน มุ่งร่วมพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน เพื่อ

พัฒนาคุณภาพชีวติ ให้ชมุ ชนรอบพืน้ ทีพ่ ฒ ั นาแหล่งผลิตใหม่ ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวติ แบบมีสว่ นร่วมอย่างต่อเนือ่ งสูค่ วามยัง่ ยืน ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ด้านการพัฒนาการศึกษา กีฬา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการพัฒนาและ ส่งเสริมอาชีพทัง้ อาชีพพืน้ ฐานและอาชีพเสริม ด้านสาธารณูปโภค รวมถึงการจัดการระบบน�ำ้ ประปาให้กบั ชุมชนรอบแหล่งผลิตไฟฟ้า ใหม่ และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ด้อยโอกาส

3. การอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม กฟผ. ส่งเสริมและมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการสร้างความตระหนัก รับรู้ ส่งเสริม

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ

• ส่งเสริมการอนุรกั ษ์ทรัพยากรป่าไม้ ด้วยการปลูกเสริมบ�ำรุงรักษาต้นไม้ในโครงการ “น้อมใจถวาย 6 ล้านกล้า ฟืน้ ฟูปา่ อนุรกั ษ์เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพือ่ ลดภาวะ โลกร้อน” บริเวณพืน้ ทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติผาแต้ม ต�ำบลนาโพธิก์ ลาง อ�ำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี จ�ำนวน 500 ไร่ รวมถึงจัดระบบป้องกันไฟป่าด้วย

• ส่งเสริมการอนุรกั ษ์ทรัพยากรป่าไม้ในโครงการ “ชาวเทพา รักษ์ปา่ ชายเลน เทิดไท้องค์ราชิน”ี ปลูกต้นโกงกาง ใบเล็ก ต้นโกงกางใบใหญ่ ต้นตีนเป็ดทะเล ต้นหยี และต้นจาก จ�ำนวนกว่า 5,000 ต้น ณ เกาะแลหนัง อ�ำเภอ เทพา จังหวัดสงขลา


103

• โครงการฟืน้ ฟูและอนุรกั ษ์ทรัพยากรชายฝัง่ กฟผ. ร่วมกับชุมชนในพืน้ ทีอ่ ำ� เภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ด�ำเนิน กิจกรรมฟื้นฟูป่าชายเลนและเพิ่มปริมาณสัตว์วัยอ่อน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความตระหนักการฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ประกอบด้วยการส่งเสริมท�ำปะการังเทียม การจัดท�ำธนาคารปู และการปล่อย หอยชักตีน เป็นต้น

• การปรับแต่งภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ และการปล่อยปลา ณ วัดโตนด ต�ำบลวัดชลอ อ�ำเภอบางกรวย จังหวัด นนทบุรี ในกิจกรรมขอท�ำดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาส เฉลิมพระชนมายุ 60 พรรษา รวมถึงกิจกรรมเพิ่มพันธุ์สัตว์น�้ำเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช โดยปล่อยพันธุ์ปลาเทโพและปลาเทพา จ�ำนวน 3,989 ตัว บริเวณโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ

• ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน ด�ำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชน น�ำจุลินทรีย์มีประสิทธิภาพมาเป็นเครื่อง มือรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการน�ำจุลินทรีย์ประสิทธิภาพมารักษาสิ่งแวดล้อมและ ส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับชุมชนในพื้นที่พัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้า ที่จังหวัดกระบี่ ชุมพร นครสวรรค์ อุบลราชธานี นครราชสีมา และประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งร่วมกับชุมชนพื้นที่ต่าง ๆ รอบ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ภายใต้โครงการคลองสวยน�้ำใส อบรมให้ความรู้และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ชุมชน

การดูแลสิ่งแวดล้อม ในปี 2558 กฟผ. ได้ให้ความส�ำคัญกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และความมุ่งมั่นในการ ก้าวไปสู่องค์การที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยด�ำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมตามกรอบนโยบายความรับผิดชอบต่อ สังคม และนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์การ ส�ำหรับภาพรวมของการด�ำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ส�ำคัญของ กฟผ. ในปี 2558 มีดังนี้

การตรวจวัดระดับเสียงภายในโรงไฟฟ้า

การตรวจวัดคุณภาพน�้ำบริเวณพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า


104

การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ การศึกษาและจัดการท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพส�ำหรับโครงการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าแห่ง ใหม่ของ กฟผ. นั้น ในปี 2558 มีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ จากส�ำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จ�ำนวน 8 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทน เครื่องที่ 1-2) โครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 1 โครงการโรงไฟฟ้าพลังน�ำ้ ท้ายเขือ่ นจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โครงการเหมืองแร่หนิ ปูน เพื่ออุตสาหกรรมเคมี (ส�ำหรับโรงไฟฟ้าแม่เมาะ) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ เลย 2 (ท่าลี่) - ขอนแก่น 4 (ส่วนที่ พาดผ่านพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มเติม) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ อยุธยา 4 - สีคิ้ว 2 (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่ม เติม) โครงการปรับปรุงระบบโครงข่ายไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ กระบี่ - ล�ำภูรา (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มเติม) รายงานชี้แจงการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ กรณีน�ำน�้ำมันปาล์มดิบมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าร่วมกับน�้ำมันเตา นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการจ�ำนวน 10 โครงการ

การติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฟผ. มุง่ เน้นการด�ำเนินงานในกระบวนการผลิตทีไ่ ม่สง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและชุมชนรอบข้าง โดยด�ำเนินการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม จากการด�ำเนินกิจกรรมผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านคุณภาพน�้ำ นิเวศวิทยาทางน�้ำ คุณภาพ อากาศในบรรยากาศทั่วไป คุณภาพอากาศที่ระบายออกจากปล่องโรงไฟฟ้าฯ ระดับเสียงและสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และขยะและวัสดุ ที่ใช้แล้ว เพื่อป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังผลกระทบสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการด�ำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ กฎหมายก�ำหนดอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอนของการด�ำเนินงาน รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม กฟผ. ได้จัดกิจกรรมเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าและโครงการพัฒนาต่าง ๆ เช่น โรงไฟฟ้าวังน้อย อ�ำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงไฟฟ้าจะนะ อ�ำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ อ�ำเภอบางกรวย จังหวัด นนทบุรี และโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ทบั สะแก อ�ำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ ผ่านกิจกรรมการเรียนรูใ้ นภาคทฤษฎี และลงมือ ปฏิบัติด้วยตนเอง พร้อมการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันระหว่างชุมชนและ กฟผ. เพื่อให้ชุมชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึง ความส�ำคัญของสิง่ แวดล้อม และสามารถมีสว่ นร่วมในการติดตามคุณภาพสิง่ แวดล้อม พร้อมเป็นอีกหนึง่ ก�ำลังส�ำคัญทีจ่ ะร่วมเฝ้าระวัง และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองต่อไป

การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในปี 2558 ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนโดยรอบพื้นที่ส�ำหรับการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าโครงการต่าง ๆ จ�ำนวน 12 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ ภูเก็ต 1 - ภูเก็ต 3 - ภูเก็ต 2 (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพิ่มเติม) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ พังงา 2 - ภูเก็ต 3 (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมและป่าชายเลน) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ พังงา 2 - ภูเก็ต 3 (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม) โครงการระบบโครงข่าย ไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ คลองแงะ - สตูล (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ เลย 2 (ท่าลี่) - ขอนแก่น 4 (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ชายแดน (บริเวณ จังหวัดน่าน) - ท่าวังผา (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน�้ำชั้นที่ 1 บี) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ สุราษฎร์ธานี


105

2 - ภูเก็ต 3 (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม พื้นที่ป่าชายเลน และพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน�้ำชั้นที่ 1 บี) โรงไฟฟ้าพลังน�้ำเขื่อน ศรีนครินทร์ (Post-EIA) จังหวัดกาญจนบุรี โครงการเหมืองหินปูนเพือ่ อุตสาหกรรมเคมี ค�ำขอประทานบัตรที่ 11/2556 จังหวัดล�ำปาง โครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 1 จังหวัดสมุทรปราการ โครงการโรงไฟฟ้าพระนครใต้ (ทดแทนเครื่องที่ 1-5) จังหวัด สมุทรปราการ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และโครงการท่าเทียบเรือ ส�ำหรับโรงไฟฟ้าเทพา จังหวัดสงขลา

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กฟผ. ได้จดั ท�ำแผนแม่บทการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของ กฟผ. ระยะแรก 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563) และเตรียมความ พร้อมสู่การด�ำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว 10 ปี (พ.ศ. 2564-2573) ส�ำหรับตอบสนองเป้าหมายสู่องค์การชั้นน�ำใน กิจการไฟฟ้าระดับสากล (Global Top Quartile Utility) อันจะส่งผลให้ กฟผ. และโรงไฟฟ้าเป็นที่ยอมรับของชุมชนและภาคสังคม เป็นอย่างดี ตลอดจนเป็นองค์การชั้นน�ำในกิจการไฟฟ้าระดับสากล ในปี 2558 กฟผ. ได้น�ำโรงไฟฟ้าทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ โรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 1 โรงไฟฟ้ากระบี่ โรงไฟฟ้าวังน้อย โรงไฟฟ้า น�้ำพอง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนบางปะกงหน่วยที่ 1-2 โรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 4-7 และโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จัดท�ำคาร์บอน ฟุตพริน้ ท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม (Carbon Footprint for Organization: CFO) ตามมาตรฐาน ISO 14064-1 ท�ำให้สามารถ ประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์การได้อย่างเป็นมาตรฐาน และสามารถจ�ำแนกสาเหตุของการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยส�ำคัญ รวมถึงได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกันระหว่าง กฟผ. กับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพื่อมุ่งสู่การด�ำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของภาคผลิตไฟฟ้าตามแผนการลดก๊าซ เรือนกระจกที่เหมาะสมในระดับประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs) โดยลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจกจากภาคพลังงานและภาคขนส่งลงร้อยละ 7-20 ในปี 2563 ซึ่งในปี 2558 กฟผ. ได้ทวนสอบและรายงานผลการด�ำเนินงาน ลดก๊าซเรือนกระจกของ กฟผ. ตามแผนการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมในระดับประเทศ (NAMAs) ต่อกระทรวงพลังงาน ซึ่ง ประเมินจากผลการด�ำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของ กฟผ. ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าและมาตรการผลิตพลังงาน ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (น�้ำ ลม แสงอาทิตย์) สามารถสรุปผลการด�ำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของ กฟผ. ประจ�ำปี 2556-2557 ได้จ�ำนวน 422,551 tCO2e และ 3,229,064 tCO2e ตามล�ำดับ


106

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001 กฟผ. ได้น�ำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001 มาใช้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต กระแสไฟฟ้า เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชนและสังคมในเรื่องการจัดการและรักษาสิ่งแวดล้อม ปี 2558 มีโรงไฟฟ้า เขื่อน และเหมืองถ่านหินของ กฟผ. รวม 27 แห่ง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 จากหน่วยงานให้การรับรอง (Certification Body : CB) นอกจากนี้ สถานีไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. ก็ได้มีการน�ำมาตรฐาน ISO 14001 มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน เพื่อให้มีการ จัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลครอบคลุมตั้งแต่การผลิตจนถึงระบบส่งไฟฟ้าอีกด้วย

โรงไฟฟ้าวังน้อย ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO 14001

การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของโรงไฟฟ้า ในปี 2558 กฟผ. ได้ปฏิบัติตามกฎหมายของภาครัฐและกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยได้เน้นการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment-EIA) การประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment-SIA) และการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment-HIA) รวมถึงการน�ำระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล (ISO 14001) และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. 18001) มาใช้ในทุกขัน้ ตอนของการด�ำเนินงาน ตัง้ แต่ระยะก่อนก่อสร้าง ระยะก่อสร้าง และระยะด�ำเนินการผลิตพลังงานไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง


107

กิจกรรมทางสังคม โครงการปลูกป่า กฟผ. เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปีมหามงคล เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ใน วันที่ 2 เมษายน 2558 กฟผ. ได้ด�ำเนิน “โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี” โดยในปี 2557-2558 ได้ปลูกป่าบกและป่าชายเลน เนื้อที่รวม 26,500 ไร่ บริเวณป่าต้นน�้ำที่มีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรมใน เขตอุทยานแห่งชาติ เขตป่าสงวนแห่งชาติ และป่าชุมชน ในพื้นที่จังหวัดน่าน ป่าชายเลนที่มีสภาพเสื่อมโทรมในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา รวมทั้งได้ด�ำเนินโครงการ “ปลูกป่าในป่าปลูก” เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.-กฟผ.) พื้นที่ปลูก 3,500 ไร่ รอบเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ กฟผ. ยังได้ร่วม กับองค์การสวนสัตว์ ด�ำเนินการปลูกป่าในโครงการปลูกป่าเพื่อช้างและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่โครงการคชอาณาจักร อ�ำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เนื้อที่ 300 ไร่ อีกด้วย

โครงการแว่นแก้ว กฟผ. เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทีส่ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา กฟผ. ยังคงด�ำเนินกิจกรรม “โครงการแว่นแก้ว” เพือ่ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีปณิธานว่า “ให้แสงสว่างแก่ดวงตา ให้แสงสว่างแก่ชีวิต” จากการออกหน่วยให้บริการประชาชนตลอดปี 2557-2558 โครงการแว่นแก้ว กฟผ. เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สามารถให้บริการทางด้านสายตาแก่ประชาชนกลุม่ เป้าหมายเป็นจ�ำนวน ทั้งสิ้น 68,442 คน จากการออกหน่วยให้บริการทั้งหมด 116 ครั้ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง พันธมิตรโครงการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นต้น


108

โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่ กฟผ. ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 โดยส่งเสริมการน�ำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EM) มาใช้ ทดแทนสารเคมีในชีวิตประจ�ำวันของประชาชนใน 4 ด้าน ได้แก่ การเกษตร การประมง ปศุสัตว์ และการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการ ขยายเครือข่ายทั้งในชุมชนใกล้หน่วยงาน กฟผ. และแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยการบรรยายสาธิต และการจัดนิทรรศการ จนน�ำไป สู่การเกิดชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง กฟผ. จ�ำนวน 28 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ อีกทั้ง กฟผ. ยังได้ลงนามความ ร่วมมือกับ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในการขยายผลสูว่ ทิ ยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยประมง วิทยาลัย การอาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ จ�ำนวน 92 แห่ง ทัว่ ประเทศ ซึง่ ในปี 2558 สามารถขยายผลสูช่ มุ ชนจ�ำนวน 126 ชุมชน

โครงการ “กฟผ. เพาะเมล็ดพันธุ์จิตอาสาพัฒนาสังคม” โครงการ “กฟผ. เพาะเมล็ดพันธุ์จิตอาสาพัฒนาสังคม” เป็นโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชน คิดดีท�ำดี เพื่อ ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและชุมชน และฝึกทักษะการคิด การท�ำงานอย่างเป็นระบบ มีความสามัคคี ฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าท�ำให้ท�ำงานเป็นทีมได้ และบรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงการนี้ได้ด�ำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 7 ปี ได้ ผลิตนักศึกษาจิตอาสาที่ท�ำคุณความดีมาแล้วทั่วประเทศกว่า 2,500 คน ในปี 2558 มีนิสิตนักศึกษาที่ได้ผ่านการคัดเลือกจาก กฟผ. จ�ำนวน 20 ค่าย จากการเข้าร่วมประกวด 36 ค่าย โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับ กฟผ. ทั้งสิ้น 283 คน ศึกษาอยู่ใน 23 สถาบัน ทั่วประเทศ

โครงการสนับสนุนกีฬายกน�้ำหนักไทยสู่เวทีโลก ในปี 2558 กฟผ. ได้ให้การสนับสนุนการจัดการแข่งขัน EGAT ยกน�้ำหนัก ชิงถ้วยพระราชทานประจ�ำปี 2558 จ�ำนวน 3 รายการ ส่วนในการสนับสนุนสมาคมยกน�้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นักกีฬายกน�้ำหนักทีมชาติไทยสามารถพัฒนาศักยภาพ สู่ความเป็นเลิศในระดับโลก ได้ประสบผลส�ำเร็จจนคว้าเหรียญรางวัล เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ได้จากการลง แข่งขันระดับนานาชาติและระดับโลกได้ถึง 9 รายการ และนักกีฬายกน�้ำหนักทีมชาติไทย สามารถผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมแข่งขัน กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 31 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล จ�ำนวน 8 คน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเพื่อเยาวชนอีกหลายกิจกรรม อาทิ กิจกรรมจิตอาสา ผ่านกิจกรรมโครงการค่ายศิลปะเพื่อมวล มนุษย์ (Art for All) โครงการพ่อ-แม่อุปถัมภ์ ธารน�้ำใจเพื่อเยาวชนคนชายขอบ กฟผ. ซึ่งในปี 2558 ครบรอบ 12 ปี มีเยาวชนใน โครงการที่ได้รับทุนศึกษาอย่างต่อเนื่อง และได้ศึกษาต่อจนส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วกลับมาท�ำงานที่บ้านเกิดและพื้นที่ ใกล้เคียงเพิ่มขึ้นอีก 15 คน รวมมีเยาวชนที่ส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว 47 คน โครงการ “ค่ายเยาวชน EGAT ENVI CAMP ดิน น�้ำ ลม ไฟ...พลังงานที่มั่นคง” กิจกรรมสร้างรากแก้วด้านสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน โครงการบ้านปลา หญ้าทะเล และเครือข่าย ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าจะนะโดยชุมชนท้องถิ่น

โครงการห้องเรียนสีเขียว เป็นโครงการที่ด�ำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังทัศนคติและสร้างอุปนิสัยในการใช้ไฟฟ้าและ พลังงานอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รู้คุณค่าและรักษาสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชนในสถานศึกษาจ�ำนวน 414 โรงเรียนทั่วประเทศ และ ได้มีการพัฒนาด�ำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น “โครงการยกระดับห้องเรียนสีเขียวมุ่งสู่โรงเรียนสีเขียว เพื่อสร้างเครือข่ายรักษ์ พลังงาน” ที่มุ่งขยายผลสู่การบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อให้โรงเรียนเป็นต้นแบบและแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน


109

และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม โดยปัจจุบันมีโรงเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินเป็นโรงเรียนสีเขียวแล้วจ�ำนวน 122 แห่ง “โครงการ โรงเรียนคาร์บอนต�ำ่ ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า” มีโรงเรียนทีม่ ผี ลงานลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจ�ำนวนทัง้ สิน้ 58 โรงเรียน จากการลดการ ใช้พลังงานดังกล่าวสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศได้กว่า 237 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และลดการ ใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ 408,448.69 กิโลวัตต์-ชัว่ โมง และ “โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme หรือ LESS)” ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดย กฟผ. ได้ส่งผลการด�ำเนินกิจกรรม ลดการใช้พลังงานของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคาร์บอนต�่ำและโครงการรณรงค์เปลี่ยนหลอดประหยัดไฟเบอร์ 5 เพื่อขอ การรับรองกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีโรงเรียนได้รับใบประกาศเกียรติคุณ จ�ำนวนทั้งสิ้น 92 ฉบับ

การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ในปี 2558 งานการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้าด�ำเนินงานได้เกินกว่าค่าเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ สามารถลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1,208.5 พันตัน ลดพลังงานไฟฟ้าได้ 352.3 เมกะวัตต์ (ม.ค.-ธ.ค. 58) ถือเป็นการช่วยรักษาสมดุลด้าน พลังงานของประเทศ สอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงานและพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2535 ได้อีกด้วย การด�ำเนินงานที่ส�ำคัญสะท้อนผลลัพธ์เรื่องการอนุรักษ์พลังงานรักษาสิ่งแวดล้อมของ กฟผ. ยังคงด�ำเนินงานด้วยแนวทาง การรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพภายใต้กลยุทธ์ 3 อ. ดังนี้

อ. อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

• รณรงค์ส่งเสริมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 โดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่อง ทางการสื่อสารต่าง ๆ

• ด�ำเนินการมอบฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบรวม 28 อุปกรณ์ มียอด การติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 สะสมในปี 2558 รวม 23,027,451 ดวง

• ประสานความร่วมมือผูป้ ระกอบการด้านการทดสอบอุปกรณ์เครือ่ งใช้ไฟฟ้าจ�ำนวน 34 อุปกรณ์ จาก 99 บริษทั รวม 517 รุ่น

• จัดพิธีลงนามความร่วมมือบริษัทผู้ผลิตกระทะไฟฟ้า 9 บริษัท และเครื่องสูบน�้ำไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ 6 บริษัท และมอบฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 แก่บริษัทผู้ผลิตกาต้มน�้ำไฟฟ้า จ�ำนวน 7 บริษัท และผู้ผลิตเครื่องรับ โทรทัศน์ จ�ำนวน 19 บริษัท เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2558 ณ ห้องวิภาวดี บอลลูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพ

• ส่งเสริมตลาดเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงานตามมาตรฐานการทดสอบตามฤดูกาล Seasonal Energy Efficiency Ratio (SEER) ติดฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ชนิดปรับความเร็วรอบ Compressor ตามภาระ ท�ำความเย็น (Inverter)

• จัดนิทรรศการแสดงสินค้านานาชาติเรื่องอุปกรณ์แสงสว่าง ในงาน LED Expo Thailand 2015 ณ ศูนย์แสดง สินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม 2558 เพื่อขยายตลาดอุปกรณ์ ประหยัดพลังงานของหลอด LED ได้ถึง 6.9 ล้านหลอด ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 450 ล้านหน่วย/ปี


110

อ. อาคารประหยัดไฟฟ้า กฟผ. รณรงค์ให้ผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าปริมาณมาก ทั้งอาคารเก่าและอาคารใหม่ ตระหนักถึงความส�ำคัญของการประหยัดไฟฟ้าในอาคารต่าง ๆ ทัง้ อาคารภาครัฐบาล อาคารธุรกิจ และอุตสาหกรรม ด้วยการให้ความ รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

• ลงนามความร่วมมือ กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (German International Cooperation : GIZ) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2558 เพื่อศึกษาแนวทางการก�ำกับดูแลบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO Facilitation) และการส่งเสริมฉลากแสดงประสิทธิภาพพลังงานส�ำหรับอาคารอนุรักษ์พลังงานภาค ธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อเป็นแนวทาง ในการประหยัดพลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ท�ำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

• ปี 2558 - 2559 ได้ด�ำเนินโครงการเปลี่ยนอุปกรณ์แสงสว่าง LED เฉลิมพระเกียรติฯ 60 พรรษา สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับส�ำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (ส�ำนักงาน กปร.) เพื่อติดตั้งหลอด LED ทดแทนหลอดเดิมในศูนย์ศึกษา การพัฒนาฯ และศูนย์สาขา รวม 10 แห่ง เพื่อเป็นต้นแบบเผยแพร่สู่ประชาชนในการเข้าเยี่ยมชมศูนย์ศึกษา การพัฒนาฯ ทัว่ ประเทศ มีศกั ยภาพในการประหยัดไฟฟ้าประมาณ 816,000 หน่วย/ปี และลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ได้ 417 ตัน

• ด�ำเนินโครงการน�ำร่องเพื่อลดความต้องการไฟฟ้าในช่วงวิกฤต ด้วยมาตรการ Demand Response จ�ำนวน 2 ครั้ง โดยความร่วมมือกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ที่เป็นลูกค้าตรงกับ กฟผ. ให้ช่วยลดการ ใช้ไฟฟ้าในช่วงสูงสุด หรือช่วงภาวะวิกฤติ ขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ และได้รับค่าชดเชยตอบแทนในการเข้า ร่วมโครงการ สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้ 50.46 เมกะวัตต์ โดย กฟผ. ร่วมกับคณะกรรมการ ก�ำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้จัดพิธีมอบโล่ขอบคุณให้กับผู้ประกอบการในการเข้าร่วมโครงการลดความ ต้องการไฟฟ้าในช่วงวิกฤต ด้วยมาตรการ Demand Response กับ กฟผ. เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558

อ. อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า ด�ำเนินการผลิตและเผยแพร่สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคเพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม และจิตส�ำนึกด้านการประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ กฟผ. ได้สร้างความเชือ่ มัน่ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แก่ผบู้ ริโภคมากยิง่ ขึน้ ด้วยการพัฒนารูปแบบฉลากเบอร์ 5 โดยการเพิ่มคิวอาร์โค้ดบนฉลากเบอร์ 5 กับ 3 ผลิตภัณฑ์ใหญ่ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และตู้แช่ เพื่อให้ผู้ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบสินค้า ณ จุดขาย ก่อนตัดสินใจซื้อได้ทันที จากผลการส�ำรวจการยอมรับและความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการด�ำเนินของ กฟผ. ปี 2558 โดย สถาบันวิจัย และให้ค�ำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน และโครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ของ กฟผ. ได้รับการยอมรับสูงสุด จึงถือเป็นสิ่งที่ตอกย�้ำทิศทางงานการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ที่ กฟผ. ด�ำเนินการด้วยความมุ่งมั่น ที่จะช่วยรักษาสมดุลเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวทางการอนุรักษ์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืนต่อไป


111

ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ กฟผ. (EGAT Learning Center) กฟผ. มีแนวคิดในการก่อสร้างศูนย์การเรียนรูด้ า้ นพลังงานไฟฟ้าทัว่ ประเทศ ซึง่ ไม่เพียงแต่จะท�ำให้ประชาชนมีความรูค้ วาม เข้าใจในเรื่องพลังงานไฟฟ้า ความจ�ำเป็นในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงภารกิจ กฟผ. เท่านั้น แต่ยังเป็นอีกช่องทางที่จะกระตุ้นให้เกิด จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์แก่เยาวชนที่จะเป็นก�ำลังของชาติต่อไป ซึ่ง กฟผ. มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนและเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะมากที่สุด

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.

แผนก่อสร้าง

วงเงินงบประมาณ (ล้านบาท)

ราคางาน (ล้านบาท)

สถานะงาน ปี 2558

ปี 2557-2558

125.000

96.626

ก่อสร้าง

2. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. เขื่อนศรีนครินทร์ ปี 2555 - 2556

40.000

39.698

แล้วเสร็จ

ปี 2551 - 2556 700.000 (ขยายเวลาเป็นปี 2559)

124.502

แล้วเสร็จ

447.048

ก่อสร้าง

1. พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ) เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

3. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จะนะ

4. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ส�ำนักงานกลาง ปี 2551 - 2556 (ขยายเวลาเป็นปี 2559) 5. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก

ปี 2557-2558

137.000

86.877

ก่อสร้าง

6. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ล�ำตะคอง

ปี 2559-2560

245.000

-

ออกแบบ

7. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สันก�ำแพง

ปี 2559 - 2560

-

ออกแบบ

หมายเหตุ: ข้อ 3 และ 4 ใช้วงเงินงบประมาณเดียวกัน คือ 700 ล้านบาท ข้อ 6 และ 7 ใช้วงเงินงบประมาณเดียวกัน คือ 245 ล้านบาท

ในอนาคต การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ เช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน จังหวัดกระบี่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เทพา กฟผ. มีนโยบายที่จะด�ำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย


112

เหตุการณ์สำ�คัญในรอบปี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา พร้อมพระราชทานของที่ระลึกให้แก่ นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ. เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558


113

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินไปทรงเป็นประธานเปิดโรงไฟฟ้าจะนะ อ�ำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2558


114

กฟผ. รับมอบใบประกาศนียบัตรความส�ำเร็จของ การพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตาม มาตรฐานของประเทศไทย จากองค์การบริหารจัดการก๊าซ เรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมี นายสุนนั ต์ อรุณนพรัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เป็นประธาน ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558

กฟผ. เปิ ด โครงการปลู ก ป่ า ในป่ า ปลู ก เฉลิ ม พระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี โดยมี นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการ จังหวัดอุบลราชธานี และ นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ. ร่วมเปิดงาน ณ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ วันที่ 2 เมษายน 2558

กฟผ. ร่วมกิจกรรม “รวมพลังหาร 2 เดินหน้า ประเทศไทย ลดใช้พลังงาน” โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์ โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อรณรงค์ขอความร่วม มือทุกภาคส่วนร่วมกันประหยัดพลังงานในฤดูรอ้ น ณ บริเวณ หน้าตึกบัญชาการ 1 ท�ำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558

นายอารี พ งศ์ ภู ่ ช อุ ่ ม ปลั ด กระทรวงพลั ง งาน เป็นประธานในพิธีลงเสาเข็มต้นแรก โรงไฟฟ้าทดแทนโรง ไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ณ กฟผ. แม่เมาะ จังหวัดล�ำปาง เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2558


115

กฟผ. ร่วมกับหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพ เรือ จัดโครงการวางปะการังเทียมจากลูกถ้วยสายส่งไฟฟ้าแรง สูง เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อ่าวนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร อ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2558

กฟผ. และบริษัทในเครือ มอบเงินจ�ำนวน 4.5 ล้าน บาท แก่ ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจ�ำส�ำนักนายก รั ฐ มนตรี และปลั ด ส� ำ นั ก นายกรั ฐ มนตรี เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล ผ่านโครงการ “หัวใจไทย ส่งไปเนปาล” ของรัฐบาล ณ ตึกนารีสโมสร ท�ำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2558

กฟผ. จัดงาน LED Expo Thailand 2015 งานแสดง สินค้าผลิตภัณฑ์ LED ระดับนานาชาติ ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค อาเซียน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทอง ธานี ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม 2558

กฟผ. ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ การด� ำ เนิ น งานด้ า นแผ่ น ดิ น ไหว กั บ กรมอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยา กรมทรัพยากรธรณี และกรมชลประทาน โดยมี นายพรชัย รุจปิ ระภา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เป็นประธาน ณ หอประชุมกรมอุตุนิยมวิทยา บางนา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558


116

กฟผ. รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดและคัดเลือก องค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ ของกิจการถ่านหิน ของไทย หรื อ Thailand Coal Awards 2015 จาก นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558

ก อ ง ทุ น ร ว ม โ ค ร ง ส ร ้ า ง พื้ น ฐ า น โร ง ไ ฟ ฟ ้ า พระนครเหนือ ชุดที่ 1 กฟผ. หรือ EGATIF เปิดการซื้อขาย หลั ก ทรั พ ย์ วั น แรกในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

นายสุนชัย ค�ำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ. รับรางวัล รัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจ�ำปี 2558 จาก นายสมคิด จาตุศรี พิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี โดย กฟผ. ได้รับรางวัลนวัตกรรม ดีเด่น จากผลงาน “เครื่องปรับแนวสายพานส่งถ่านลิกไนต์ เหมืองแม่เมาะ” ณ ท�ำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558


117

กฟผ. รับรางวัล ASEAN Coal Awards 2015 โดย ได้รับรางวัลประเภทการด�ำเนินงานของเหมืองและโรงไฟฟ้า รวม 4 รางวัล จากเหมืองและโรงไฟฟ้าแม่มาะ ในการประชุม รั ฐ มนตรี พ ลั ง งานอาเซี ย นครั้ ง ที่ 33 (ASEAN Energy Business Forum - AEBF 2015) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558

กฟผ. รับรางวัลดีเด่น ในโครงการประกวดรายงาน ความยัง่ ยืน ประจ�ำปี 2558 (Sustainability Report Award 2015) ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558


118

ข้อมูลและสถิติ ก�ำลังผลิตตามสัญญาของระบบ

ประเภทโรงไฟฟ้า

ประจ�ำปี 2558 เมกะวัตต์ ร้อยละ

ประจ�ำปี 2557 เพิ่มขึ้น/ (ลดลง) เมกะวัตต์ ร้อยละ ร้อยละ

ก�ำลังผลิตตามสัญญาของระบบ พลังความร้อน 3,647.00 9.39 3,647.00 10.52 - พลังความร้อนร่วม 8,382.00 21.58 8,382.00 24.18 - พลังน�้ำ 3,448.40 8.88 3,444.18 9.94 0.12 ดีเซล 30.40 0.08 4.40 0.01 590.91 พลังงานหมุนเวียน 40.33 0.10 4.55 0.01 786.37 รวมก�ำลังผลิตตามสัญญาของ กฟผ. 15,548.13 40.03 15,482.13 44.66 0.43 ก�ำลังผลิตจากแหล่งอื่น ภายในประเทศ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 14,766.70 38.02 13,166.70 37.98 12.15 ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก 5,137.02 13.23 3,614.60 10.43 42.12 ภายนอกประเทศ สปป. ลาว 3,086.60 7.95 2,104.60 6.06 46.66 สายส่งเชื่อมโยงไทย-มาเลเซีย 300.00 0.77 300.00 0.87 - รวมก�ำลังผลิตตามสัญญาจากแหล่งอื่น 23,290.32 59.97 19,185.90 55.34 21.39

รวมก�ำลังผลิตตามสัญญาของระบบ

38,838.45 100.00

34,668.03 100.00

12.03


119

พลังไฟฟ้าสุทธิสูงสุดของระบบ

เดือน

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย.* ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

พลังไฟฟ้าสุทธิสูงสุดในรอบปี

พลังไฟฟ้าสุทธิสูงสุด (เมกะวัตต์) ปี 2558 ปี 2557 23,713.40 24,629.50 26,072.10 27,139.00 27,198.40 27,345.80 26,049.50 26,027.80 25,676.60 25,044.80 25,956.70 25,722.30

เพิ่มขึ้น/(ลดลง) เมกะวัตต์ ร้อยละ

22,556.93 23,658.59 26,105.94 26,942.10 26,473.30 26,253.29 25,017.19 24,623.74 24,785.24 24,181.13 24,961.80 24,493.26

1,156.47 970.91 (33.84 ) 196.90 725.10 1,092.51 1,032.31 1,404.06 891.36 863.67 994.90 1,229.04

5.13 4.10 (0.13 ) 0.73 2.74 4.16 4.13 5.70 3.60 3.57 3.99 5.02

27,345.80 26,942.10

403.70

1.50

หมายเหตุ * ปี 2558 เกิดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2558 เวลา 14:02 น. ปี 2557 เกิดขึ้นในวันพุธที่ 23 เมษายน 2557 เวลา 14:26 น.

พลังงานไฟฟ้าสุทธิของระบบ

เดือน

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.

รวม

พลังงานไฟฟ้าสุทธิ (ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) เพิ่มขึ้น/ (ลดลง) ปี 2558 ปี 2557 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ร้อยละ 13,309.26 13,329.24 16,102.09 15,138.58 16,890.77 16,084.28 15,999.13 15,662.98 15,340.13 15,505.89 15,359.00 14,745.49

12,709.93 13,010.96 15,819.48 15,085.20 16,424.23 15,462.91 15,457.62 15,210.71 15,005.86 15,046.24 14,709.83 13,637.50

599.33 318.28 282.61 53.38 466.54 621.37 541.51 452.27 334.27 459.65 649.17 1,107.99

4.72 2.45 1.79 0.35 2.84 4.02 3.50 2.97 2.23 3.05 4.41 8.12

183,466.84 177,580.47 5,886.37

3.31


120

พลังงานไฟฟ้าสุทธิของระบบ จ�ำแนกตามประเภทเชื้อเพลิง

ผลิตจาก

ประจ�ำปี 2558 ประจ�ำปี 2557 เพิ่มขึ้น/(ลดลง) ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ร้อยละ ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ร้อยละ ร้อยละ

ระบบผลิตของ กฟผ. ก๊าซธรรมชาติ 50,151.33 27.34 49,356.37 27.80 1.61 ถ่านหิน (ลิกไนต์) 15,133.93 8.25 17,347.47 9.77 (12.76 ) พลังน�้ำ 3,724.16 2.03 5,141.09 2.90 (27.56 ) น�้ำมันเตา และน�้ำมันปาล์ม 689.74 0.38 1,428.03 0.80 (51.70 ) น�้ำมันดีเซล 118.91 0.06 56.70 0.03 109.72 พลังงานหมุนเวียน 21.45 0.01 6.13 0.00 250.16 รวม กฟผ. ผลิต 69,839.52 38.07 73,335.79 41.30 (4.77 ) ซื้อ ภายในประเทศ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ก๊าซธรรมชาติ 54,594.33 29.76 49,057.52 27.62 11.29 ถ่านหิน (บิทูมินัส) 15,771.94 8.60 16,334.20 9.20 (3.44 ) น�้ำมันเตา 412.90 0.22 320.48 0.18 28.84 น�้ำมันดีเซล 72.79 0.04 64.78 0.04 12.37 รวม 70,851.96 38.62 65,776.98 37.04 7.72 ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ก๊าซธรรมชาติ 22,239.51 12.12 20,145.50 11.34 10.39 ถ่านหิน 1,874.24 1.02 2,030.24 1.14 (7.68 ) น�้ำมันเตา 25.41 0.01 25.91 0.02 (1.94 ) พลังงานหมุนเวียน 4,209.48 2.30 3,998.11 2.25 5.29 รวม 28,348.64 15.45 26,199.76 14.75 8.20 ต่างประเทศ - สปป.ลาว 14,288.44 7.79 12,122.90 6.83 17.86 - มาเลเซีย 138.28 0.07 145.04 0.08 (4.66 ) รวม 14,426.72 7.86 12,267.94 6.91 17.60 รวมซื้อ 113,627.32 61.93 104,244.68 58.70 9.00

รวมพลังงานไฟฟ้าสุทธิของระบบ 183,466.84

100.00 177,580.47 100.00

3.31


121

การจ�ำหน่ายพลังงานไฟฟ้า

ลูกค้า

การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลูกค้าตรง ไฟฟ้าส�ำรองและไฟฟ้าชั่วคราว สปป. ลาว การไฟฟ้ามาเลเซีย การไฟฟ้ากัมพูชา อื่น ๆ

รวมทั้งสิ้น

ประจ�ำปี 2558 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ร้อยละ

ประจ�ำปี 2557 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง ร้อยละ

51,577.37 28.73 124,376.08 69.28 1,621.66 0.90 184.67 0.10 1,507.66 0.84 122.59 0.07 138.64 0.08 8.72 0.00

50,043.56 120,200.48 1,593.17 169.44 1,221.35 22.36 350.07 3.38

179,537.39 100.00

28.83 69.24 0.92 0.10 0.70 0.01 0.20 0.00

3.06 3.47 1.79 8.99 23.44 448.26 (60.40 ) 157.99

173,603.81 100.00

3.42

ราคาขายไฟฟ้าเฉลี่ย

ลูกค้า

เพิ่มขึ้น/(ลดลง) ร้อยละ

ประจ�ำปี 2558 ประจ�ำปี 2557 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง

เพิ่มขึ้น/(ลดลง) ร้อยละ

การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ลูกค้าตรง ไฟฟ้าส�ำรองและไฟฟ้าชั่วคราว สปป. ลาว การไฟฟ้ามาเลเซีย การไฟฟ้ากัมพูชา ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนต่างประเทศ อื่น ๆ

3.00 2.94 3.15 5.19 1.59 4.58 3.69 4.15 4.65

3.17 3.10 3.30 5.46 1.60 8.40 3.78 3.63 3.97

(5.41 ) (4.92 ) (4.57 ) (4.91 ) (0.75 ) (45.45 ) (2.36 ) 14.15 16.92

ราคาขายเฉลี่ย

2.96

3.11

(5.11 )


122

ระบบส่งไฟฟ้า ระดับแรงดัน (กิโลโวลต์)

ประจ�ำปี 2558

ความยาวสายส่ง จ�ำนวนสถานี พิกัดหม้อแปลง วงจร-กิโลเมตร ไฟฟ้าแรงสูง เมกะโวลต์แอมแปร์

ประจ�ำปี 2557

ความยาวสายส่ง จ�ำนวนสถานี พิกัดหม้อแปลง วงจร-กิโลเมตร ไฟฟ้าแรงสูง เมกะโวลต์แอมแปร์

500 230 132 115 69 300 (HVDC)

4,987.72 14,142.75 8.70 13,812.64 18.80 23.07

13 76 - 126 - -

23,199.99 56,060.04 133.40 14,579.99 - 388.02

4,167.17 14,605.12 8.70 13,703.93 19.00 23.07

11 71 - 131 - -

20,849.99 52,460.04 133.40 14,629.99 - 388.02

รวมทั้งระบบ

32,993.68

215

94,361.44

32,526.99

213

88,461.44

การใช้เชื้อเพลิงของ กฟผ. และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่

ประเภทเชื้อเพลิง

ปริมาณการใช้ ปี 2558 ปี 2557

เพิ่มขึ้น/(ลดลง) ร้อยละ

ก๊าซธรรมชาติ (ล้านลูกบาศก์ฟุต) - กฟผ. 409,151.60 416,297.35 (1.72 ) - ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 458,084.22 414,386.84 10.55 รวม

867,235.82

830,684.19

4.40

น�้ำมันเตา (ล้านลิตร) - กฟผ. 177.61 377.38 (52.93 ) - ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 91.41 80.53 13.50 รวม

269.02

457.91

(41.25 )

ถ่านหิน (ล้านตัน) - กฟผ. 14.36 17.02 (15.64 ) - ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 6.20 6.31 (1.79 ) รวม

20.56

23.33

(11.89 )

น�้ำมันดีเซล (ล้านลิตร) - กฟผ. 12.80 20.83 (38.54 ) - ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 12.66 16.82 (24.72 ) รวม

25.46

37.65

(32.37 )


123

การด�ำเนินงานอ่างเก็บน�้ำ การด�ำเนินงาน

ปี 2558

ปี 2557

เพิ่มขึ้น/(ลดลง) ร้อยละ

ความจุอ่างเก็บน�้ำ (ล้าน ลบ.เมตร) * ปริมาณน�้ำในอ่าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. (ล้าน ลบ.เมตร) * ปริมาณน�้ำเข้าอ่าง (ล้าน ลบ.เมตร) * ปริมาณน�้ำที่ปล่อย (ล้าน ลบ.เมตร) * - ปล่อยผ่านเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า - ปล่อยโดยไม่ผ่านเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า - ปล่อยเพื่อการชลประทานโดยเฉพาะ - ปล่อยใช้ประโยชน์อื่น - ระเหยและสูญหาย

62,427 36,174 22,679 19,681 40 518 - 2,903

62,427 39,980 27,241 29,865 485 775 - 3,121

- (9.52) (16.75)

รวม ปริมาณน�้ำที่สูบขึ้นจากอ่างเก็บน�้ำ (ล้าน ลบ.เมตร) ** พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตสุทธิ (ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง) *** อัตราการใช้น�้ำผลิตไฟฟ้า (ลูกบาศก์เมตร/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) * ไม่รวมเขื่อนปากมูล ล�ำตะคองและโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ** ปริมาณน�้ำที่สูบจากเขื่อนภูมิพล ศรีนครินทร์และล�ำตะคอง *** พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตสุทธิจากโรงไฟฟ้าพลังน�้ำของ กฟผ.

(34.10) (91.84) (33.22) - (6.99)

23,141

34,246

(32.43)

487 3,740 5.28

466 5,139 5.87

4.48 (27.22) (9.97)


124

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ผลการด�ำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 8-12 ประจ�ำปี 2556-2557

หน่วยการผลิต

ปีฐาน

8 9 10 11 12

2550 2549 2551 2551 2555

พลังงานความร้อนต่อหน่วยไฟฟ้า (MJ/MWh) ปีก่อนการปรับปรุง ปีที่ท�ำการประเมิน ปีที่ท�ำการประเมิน (ปีฐาน) (ปี 2557) (ปี 2556)

9,816.75 9,952.45 10,031.48 10,023.25 10,077.30

9,791.42 9,608.10 9,847.26 9,705.43 9,664.68

พลังงานไฟฟ้าสุทธิที่ผลิตได้ (MWh) ปี 2557 ปี 2556

9,414.78 9,263.69 9,624.82 9,620.63 -

2,809,849 2,071,003 2,316,291 2,144,041 2,329,682

0.1010 0.1010 0.1010 0.1010 0.1010

7,188 91,622 72,026 158,279 43,096 88,429 68,823 84,221 97,090 -

2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories, Volume 2: Energy, Table 1.4

ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ลดได้ (tCO2e) ปี 2557 ปี 2556

2,256,779 2,275,286 2,152,992 2,071,155 -

GHG Emission Reduction Unit 8-12 (tCO2e)

1

สัมประสิทธิ์การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก (kgCO2e/MJ)

1

288,223 422,551

ผลการประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากพลังงานทดแทน ปี 2557

ประเภท

ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ 1 (MWh)

พลังน�้ำ

5,141,087.18 2,702.86 2,037.87

รวม

5,145,827.92

พลังลม พลังแสงอาทิตย์

สัมประสิทธิ์การปล่อย 2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจก ที่ลดได้ (tCO2e) (tCO2/MWh)

0.5715 0.5715 0.5715

2,938,131 1,545 1,165

2,940,841

รายงานการผลิตและซื้อไฟฟ้าประจ�ำปี 2557 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รายงานสรุปผลการค�ำนวณค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของระบบสายส่ง ส�ำหรับ NAMAs ภาคพลังงาน ปี 2557

1 2

ผลการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของ กฟผ.

มาตรการ

มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

รวม

ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (tCO2e) ปี 2557 ปี 2556

288,223 2,940,841

422,551 -

3,229,064

422,551


125

ข้อมูลผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ระดับการศึกษา

31 ธันวาคม 2558 คน ร้อยละ

31 ธันวาคม 2557 คน ร้อยละ

ปริญญาตรีขึ้นไป อนุปริญญา/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ต�่ำกว่า ปวช.

8,380 8,615 2,678 3,103

8,084 8,453 2,882 3,501

รวม

36.79 37.82 11.76 13.62

22,776 100.00

35.27 36.88 12.57 15.27

22,920 100.00

เพิ่มขึ้น/(ลดลง) ร้อยละ 3.66 1.92 (7.08 ) (11.37 )

(0.63 )


สมดุลพลังงาน คือ 2 ด้านของการพัฒนาพลังงาน ที่มั่นคงและเชื่อถือได้

ควบคู่กับการพัฒนา พลังงานที่เป็นมิตร ต่อโลกในระยะยาว



128

รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ คณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบงบการเงินรวมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและบริษัทย่อยและงบ การเงินเฉพาะกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงิน เฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และงบก�ำไรขาดทุนรวม และงบก�ำไรขาดทุนเฉพาะกิจการ งบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม และงบก�ำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของ เจ้าของเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุป นโยบายการบัญชีที่ส�ำคัญและหมายเหตุเรื่องอื่น ๆ ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ผูบ้ ริหารเป็นผู้รบั ผิดชอบในการจัดท�ำและการน�ำเสนองบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการเหล่านี้โดยถูกต้องตามที่ ควรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และรับผิดชอบเกีย่ วกับการควบคุมภายในทีผ่ บู้ ริหารพิจารณาว่าจ�ำเป็นเพือ่ ให้สามารถจัด ท�ำงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการทีป่ ราศจากการแสดงข้อมูลทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระส�ำคัญไม่วา่ จะเกิดจากการ ทุจริตหรือข้อผิดพลาด ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผูร้ บั ผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการดังกล่าว จากผลการตรวจสอบของส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการ สอบบัญชี ซึ่งก�ำหนดให้ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติตามข้อก�ำหนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงวางแผนและปฏิบัติงานตรวจ สอบเพือ่ ให้ได้ความเชือ่ มัน่ อย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการปราศจากการแสดงข้อมูลทีข่ ดั ต่อข้อเท็จ จริงอันเป็นสาระส�ำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วธิ กี ารตรวจสอบเพือ่ ให้ได้มาซึง่ หลักฐานการสอบบัญชีเกีย่ วกับจ�ำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูล ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ วิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอบบัญชี ซึ่งรวมถึงการประเมิน ความเสีย่ งจากการแสดงข้อมูลทีข่ ดั ต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระส�ำคัญของงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ไม่วา่ จะเกิดจาก การทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ผู้สอบบัญชีพิจารณาการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดท�ำและ การน�ำเสนองบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการโดยถูกต้องตามที่ควรของกิจการ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสม

ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน


129

กับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกิจการ การตรวจสอบรวม ถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีทผี่ บู้ ริหารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีทจี่ ดั ท�ำขึน้ โดยผู้ บริหาร รวมทั้งการประเมินการน�ำเสนองบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการโดยรวม ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับเพียงพอและเหมาะสม เพื่อเป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ความเห็น ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินรวมของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและบริษัทย่อย และฐานะการเงินเฉพาะกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามล�ำดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และผลการด�ำเนินงานรวมและผลการด�ำเนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสด เฉพาะกิจการ ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระส�ำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

(นางสิรินทร์ พันธ์เกษม)

รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

(นายอดิศร พัววรานุเคราะห์)

ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน วันที่ 21 มีนาคม 2559

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักตรวจสอบการเงินที่ 8


130

งบการเงิน -3ก ารไฟ ฟ าฝายผลิต แหงประเทศไทยและบริษ ัท ยอย งบแสดงฐานะก ารเงิน ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558 งบก ารเงิน รวม

หมายเหตุ

สิน ทรัพ ย สิน ทรัพ ยห มุน เวียน เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การคา - กิจ การอื่น ลูกหนี้การคา - กิจ การที่เกี่ยวของกัน ลูกหนี้อื่น วัสดุสํารองคลัง สินทรัพยหมุนเวียนอื่น สินทรัพยหมุนเวียนอื่นๆ รวมสินทรัพยหมุนเวียน สิน ทรัพ ยไ มห มุน เวียน เงินลงทุนในบริษัทยอย เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินลงทุนในการรวมคา เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินใหกูยืมระยะยาวแกกิจ การที่เกี่ยวของกัน สินทรัพยตามสัญญาเชาการเงิน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ งานระหวางกอสราง คาความนิยม สินทรัพยไมมีตัวตนอื่น ที่ดินที่รอการพัฒนา คาพัฒนาโครงการรอเรียกเก็บ สินทรัพยภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี เงินฝากเพื่อชดเชยคาไฟฟารอการรับรู สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพยไมหมุนเวียน รวมสิน ทรัพ ย

6.1 6.2 6.3 6.4.1 6.6 6.7

6.8.4 6.8.3, 6.8.4 6.8.3, 6.8.4 6.4.2 6.9 6.10 6.11 6.12 6.13 6.14.2 6.15

หมายเหตุป ระก อบงบก ารเงิน เปน สวนหนึ่งของงบก ารเงิน นี้

หนวย : บาท งบก ารเงิน เฉพ าะ ก ฟ ผ.

31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57 (ปรับ ปรุงใหม)

31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57

72,647,548,544 30,403,119,804 63,056,150,509 1,807,499,712 10,190,145,618 12,092,490,602

62,646,069,258 28,913,145,753 63,158,336,273 2,541,045,879 7,456,742,881 13,382,524,484

64,932,129,035 23,869,298,227 62,517,522,610 2,303,805,798 9,419,911,207 10,141,786,762

51,832,088,359 24,014,555,179 62,731,676,854 2,898,377,884 7,054,532,164 10,725,339,295

1,789,129,656 191,986,084,445

1,807,343,030 179,905,207,558

173,184,453,639

159,256,569,735

20,862,950,612 16,755,326,356 10,099,986,459 47,294,940 285,272,614,493 273,251,440,038 35,674,128,851 299,469,555 28,858,624,653 2,125,289,755 473,754,681 107,382,133 7,383,135,509 3,427,918,257 684,639,316,292 876,625,400,737

19,904,547,926 10,535,687,888 4,064,689,625 43,195,812 178,108,306,597 259,020,269,678 45,600,873,587 273,532,776 28,636,411,334 2,134,160,622 344,983,683 51,617,195 3,288,003,586 3,053,554,414 555,059,834,723 734,965,042,281

12,913,350,000 1,587,550,233 584,500,000 5,370,162,500 285,272,614,493 259,366,264,470 35,671,208,851 24,770,216,511 1,816,082,185 7,383,135,509 2,418,864,547 637,153,949,299 810,338,402,938

11,167,350,000 1,587,550,233 584,500,000 178,108,306,597 244,109,227,418 45,590,905,814 24,251,627,818 1,816,082,185 3,288,003,586 1,523,686,059 512,027,239,710 671,283,809,445


131 -4ก ารไฟ ฟ าฝายผลิต แหงประเทศไทยและบริษ ัท ยอย งบแสดงฐานะก ารเงิน ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558

หนี้สิน และสวนของเจาของ หนี้สิน หมุน เวียน เจาหนี้การคา - กิจ การอื่น เจาหนี้การคา - กิจ การที่เกี่ยวของกัน รายไดคาไฟฟาตามสูตรการปรับอัตราคาไฟฟา โดยอัตโนมัติ (Ft) สวนเกิน เจาหนี้อื่น เงินกูยืมระยะสั้น ดอกเบี้ยเงินกูคางจาย เงินรายไดแผนดินคางนําสงคลัง คาใชจ ายคางจาย เงินกูยืมระยะยาวที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป เงินกูยืมจากกองทุนรวมโครงสรางพื้นฐาน ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - โรงไฟฟา ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - อื่น ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป หนี้สินหมุนเวียนอื่น หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สิน ไมห มุน เวียน เงินกูยืมระยะยาวจากกิจ การที่เกี่ยวของกัน เงินกูยืมระยะยาว เงินกูยืมจากกองทุนรวมโครงสรางพื้นฐาน รายไดรับลวงหนาจากกิจ การที่เกี่ยวของกัน หนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - โรงไฟฟา หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - อื่น ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน ประมาณการหนี้สินเพื่อการฟนฟูสภาพ บริเวณเหมือง เงินชดเชยคาไฟฟารอการรับรู หนี้สินไมหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินไมหมุนเวียน รวมหนี้สิน

หนวย : บาท งบก ารเงิน เฉพ าะ ก ฟ ผ.

งบก ารเงิน รวม

หมายเหตุ 31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57 (ปรับ ปรุงใหม)

31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57

6.16 6.4.3

52,698,139,594 8,285,578,968

54,503,087,480 7,610,728,910

45,716,636,792 16,559,695,125

45,693,812,700 17,968,105,954

6.5

6.18

7,022,818,454 10,717,727,170 1,900,000,000 1,514,231,946 6,213,985,440 5,725,683,555 6,814,543,369

4,872,377,719 10,840,089,778 4,800,000,000 1,189,752,792 8,380,707,819 5,203,300,540 8,827,995,292

7,022,818,454 9,666,654,151 1,128,913,791 6,213,985,440 5,710,022,905 5,584,598,046

4,872,377,719 9,236,264,176 878,695,528 8,380,707,819 5,187,061,774 8,076,716,135

12

414,476,205

-

414,476,205

-

6.19

14,576,950,225

10,221,931,977

17,772,499,641

13,649,524,047

10,608,887

3,667,464

9,831,130

2,051,705

42,419,509 115,937,163,322

68,050,678 116,521,690,449

115,800,131,680

113,945,317,557

1,071,599,090 67,930,136,853 20,440,523,795 1,958,311,454 250,600,764,035 42,765,175 15,396,261,912

1,095,464,557 71,950,949,302 7,903,089 1,765,326,301 136,395,267,311 2,451,454 14,579,788,228

50,607,867,530 20,440,523,795 275,596,009,579 41,430,378 15,269,984,842

56,203,902,463 164,586,062,271 422,900 14,469,212,516

2,169,269,052 7,552,733,132 12,961,444,366 380,123,808,864 496,060,972,186

2,141,000,116 3,386,830,541 14,255,018,674 245,579,999,573 362,101,690,022

2,169,269,052 7,552,733,132 12,918,151,932 384,595,970,240 500,396,101,920

2,141,000,116 3,386,830,541 13,923,916,258 254,711,347,065 368,656,664,622

6.17

6.4.4 6.18 12 6.14.2 6.19 6.20 6.21 6.5 6.22

หมายเหตุป ระก อบงบก ารเงิน เปน สวนหนึ่งของงบก ารเงิน นี้


132 -5ก ารไฟ ฟ าฝายผลิต แหงประเทศไทยและบริษ ัท ยอย งบแสดงฐานะก ารเงิน ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558 งบก ารเงิน รวม

หมายเหตุ 31 ธ.ค. 58 หนี้สิน และสวนของเจาของ สวนของเจาของ เงินงบประมาณ สวนเกินทุนจากสิทธิการใชประโยชนในที่ราชพัสดุ กําไรสะสม จัดสรรแลว เงินจัดสรรในการขยายกิจ การ ยังไมไดจ ัดสรร องคประกอบอื่นของสวนของเจาของ รวมสวนของ ก ฟ ผ. สวนไดเสียที่ไ มมีอํานาจควบคุม รวมสวนของเจาของ รวมหนี้สิน และสวนของเจาของ

6.23

หนวย : บาท งบก ารเงิน เฉพ าะ ก ฟ ผ.

31 ธ.ค. 57 (ปรับ ปรุงใหม)

31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57

8,877,312,290 207,548,321

8,939,645,054 213,885,677

8,877,312,290 207,548,321

8,939,645,054 213,885,677

80,186,366,913 256,438,981,712 1,283,282,466 346,993,491,702 33,570,936,849 380,564,428,551 876,625,400,737

80,186,366,913 248,361,039,089 1,077,881,054 338,778,817,787 34,084,534,472 372,863,352,259 734,965,042,281

80,186,366,913 222,404,360,917 (1,733,287,423) 309,942,301,018 309,942,301,018 810,338,402,938

80,186,366,913 214,725,053,427 (1,437,806,248) 302,627,144,823 302,627,144,823 671,283,809,445

หมายเหตุป ระก อบงบก ารเงิน เปน สวนหนึ่งของงบก ารเงิน นี้

(นายสุนชัย คํานูณเศรษฐ) ก รรมก ารและผูวาก าร

(นายชาติชาย โรจนรัตนางกูร) รองผูวาก ารบัญ ชีและก ารเงิน


133

-6 การไฟฟาฝายผลิต แห ง ป ระเท ศไท ยและบ ริษ ัท ยอย งบ กําไรขาดท ุน สําห รับ ป สิ้น สุด วัน ท ี่ 31 ธัน วาคม 2558 งบ การเงิน รวม

ห มายเห ตุ

รายได รายไดจากการขายไฟฟา รายไดจากการขายสิน คาและบริการอื่น รวมรายไดจากการขายสิน คาและบ ริก าร ตน ท ุน ขาย ตน ทุน ขายไฟฟา ตน ทุน ขายสิน คาและบริการอื่น รวมตน ท ุน ขายสิน คาและบ ริก าร กําไรขั้น ตน รายไดอื่น กําไรกอน คาใชจาย คาใชจายใน การขาย คาใชจายใน การบ ริห าร คาใชจายอื่น รวมคาใชจาย ตน ท ุน ท างการเงิน กําไรกอน สวน แบ ง กําไรจากเงิน ลงท ุน สวน แบ ง กําไรจากเงิน ลงท ุน ใน บ ริษ ัท รวม สวน แบ ง กําไรจากเงิน ลงท ุน ใน การรวมคา กําไรกอน คาใชจายภาษีเงิน ได คาใชจายภาษีเงิน ได กําไรสําห รับ ป  การแบ ง ป น กําไร(ขาดท ุน ) สวน ท ี่เป น ของ กฟผ. สวน ท ี่เป น ของสวน ไดเสียท ี่ไมม ีอําน าจควบ คุม

6.24

6.25 6.26

6.27

6.28 6.29 6.30

6.14.1

ห น วย : บ าท งบ การเงิน เฉพาะ กฟผ. ป  2558 ป  2557

ป  2558

ป  2557 (ป รับ ป รุง ให ม)

531,713,218,510 14,767,114,889 546,480,333,399

535,911,514,659 21,168,666,895 557,080,181,554

529,615,089,755 16,684,299,779 546,299,389,534

533,786,404,632 23,385,655,408 557,172,060,040

444,390,686,106 13,047,887,756 457,438,573,862 89,041,759,537 3,399,952,590 92,441,712,127 190,528,879 16,675,736,758 12,030,597,918 28,896,863,555 31,697,894,960 31,846,953,612 1,409,724,057 908,930,197 34,165,607,866 1,407,724,577 32,757,883,289

459,664,473,180 19,480,726,843 479,145,200,023 77,934,981,531 6,572,582,114 84,507,563,645 148,585,269 16,937,713,690 455,628,286 17,541,927,245 25,679,054,425 41,286,581,975 1,387,428,327 1,079,086,396 43,753,096,698 1,269,377,123 42,483,719,575

443,972,498,169 14,968,419,751 458,940,917,920 87,358,471,614 4,875,792,910 92,234,264,524 186,704,345 14,915,556,003 11,016,177,150 26,118,437,498 35,335,579,946 30,780,247,080 30,780,247,080 30,780,247,080

459,204,806,181 21,870,922,876 481,075,729,057 76,096,330,983 6,323,389,785 82,419,720,768 146,353,489 14,664,043,570 332,096,719 15,142,493,778 29,700,173,346 37,577,053,644 37,577,053,644 37,577,053,644

31,178,882,213 1,579,001,076 32,757,883,289

39,162,180,875 3,321,538,700 42,483,719,575

30,780,247,080 30,780,247,080

37,577,053,644 37,577,053,644

ห มายเห ตุป ระกอบ งบ การเงิน เป น สวน ห น ึ่ง ของงบ การเงิน น ี้

(นายสุน ชัย คํานูณเศรษฐ) กรรมการและผูวาการ

(นายชาติชาย โรจนรัตนางกูร ) รองผูวาการบ ัญ ชีแ ละการเงิน


134

-7ก ารไฟ ฟ าฝายผลิต แหงประเทศไทยและบริษ ัท ยอย งบก ําไรขาดทุน เบ็ด เสร็จ สําหรับ ปสิ้น สุด วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558 งบก ารเงิน รวม ป 2558 ก ําไรสําหรับ ป ก ําไร(ขาดทุน )เบ็ด เสร็จอื่น รายก ารที่อาจถูก จัด ประเภทใหมเขาไปไวใ นก ําไรขาดทุน ในภายหลัง ผลตางของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงคางบการเงิน ขาดทุนจากการปองกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด กําไร(ขาดทุน)จากการวัดมูลคาเงินลงทุนเผื่อขาย สวนแบงกําไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จ อื่นในบริษัทรวม สวนแบงกําไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จ อื่นในการรวมคา รายก ารที่จะไมถูก จัด ประเภทใหมเขาไปไวใ นก ําไรขาดทุน ในภายหลัง ขาดทุนจากประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย สวนแบงขาดทุนเบ็ดเสร็จ อื่นในบริษัทรวม สวนแบงกําไรเบ็ดเสร็จ อื่นในการรวมคา ก ําไร(ขาดทุน )เบ็ด เสร็จอื่น สําหรับ ป - สุท ธิจาก ภาษี ก ําไรเบ็ด เสร็จรวมสําหรับ ป ก ารแบงปน ก ําไร(ขาดทุน )เบ็ด เสร็จรวม สวนที่เปน ของ ก ฟ ผ. สวนที่เปน ของสวนไดเสียที่ไ มมีอํานาจควบคุม

32,757,883,289

ป 2557 (ปรับ ปรุงใหม) 42,483,719,575

หนวย : บาท งบก ารเงิน เฉพ าะ ก ฟ ผ. ป 2558 ป 2557 30,780,247,080

37,577,053,644

101,667,509 (117,768,649) (372,198,253) 780,630,511 (94,970)

(1,194,128,786) (105,465,824) 567,381,248 (104,925,206) 78,056

156,412,500 -

-

(450,316,233) (19,727,168) 934,966 (76,872,287) 32,681,011,002

(359,822) (837,420,334) 41,646,299,241

(451,893,675) (295,481,175) 30,484,765,905

37,577,053,644

31,384,283,625 1,296,727,377 32,681,011,002

38,781,663,563 2,864,635,678 41,646,299,241

30,484,765,905 30,484,765,905

37,577,053,644 37,577,053,644

หมายเหตุป ระก อบงบก ารเงิน เปน สวนหนึ่งของงบก ารเงิน นี้

(นายสุนชัย คํานูณเศรษฐ)

(นายชาติชาย โรจนรัตนางกูร)

ก รรมก ารและผูวาก าร

รองผูวาก ารบัญ ชีและก ารเงิน


ค่าเสื่อมราคาสิน ทรัพ ย์ส่วนที่ใช้เพื่อการชลประทาน

-

ปี 2557 เพิ่มเติม

-

กําไร(ขาดทุน )เบ็ดเสร็จรวมสําหรับ งวด

หมายเหตุป ระกอบงบการเงิน เป็น ส่วนหนึ่งของงบการเงิน นี้

8,877,312,290

-

-

207,548,321

-

(6,337,356)

-

-

-

-

-

-

213,885,677

-

-

213,885,677

213,885,677

-

-

(6,337,356)

-

จ่ายปัน ผล

ยอดคงเหลือ ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558

-

-

-

-

ตัดจําหน่ายส่วนเกิน ทุน จากสิท ธิการใช้ป ระโยชน์ในที่ราชพัสดุ

การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของสําหรับ งวด

ปี 2558 (1 ก.ค.-31 ธ.ค. 58)

สํารองเงิน รายได้แผ่น ดิน นําส่ง คลัง

ปี 2558 (1 ม.ค.-30 มิ.ย.58)

-

(62,332,764)

6.23

ค่าเสื่อมราคาสิน ทรัพ ย์ส่วนที่ใช้เพื่อการชลประทาน

เงิน รายได้แผ่น ดิน นําส่ง คลัง

8,939,645,054

-

ยอดคงเหลือ ณ วัน ที่ 1 มกราคม 2558 (ที่ป รับ ปรุง แล้ว)

5

ผลกระทบจากการจัดประเภทรายการใหม่

-

8,939,645,054

5

ยอดคงเหลือ ณ วัน ที่ 1 มกราคม 2558 (ก่อนปรับ ปรุง )

-

กําไร(ขาดทุน )เบ็ดเสร็จรวมสําหรับ ปี

8,939,645,054

ปรับ ปรุง คดีความกรณีพ ิพ าทที่สิ้น สุด

ยอดคงเหลือ ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2557

-

-

ตัดจําหน่ายส่วนเกิน ทุน จากสิท ธิการใช้ป ระโยชน์ในที่ราชพัสดุ

-

-

-

-

-

-

220,223,033

-

-

80,186,366,913

-

-

-

-

-

-

-

-

80,186,366,913

-

-

80,186,366,913

80,186,366,913

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

80,186,366,913

-

-

80,186,366,913

256,438,981,712

31,178,882,213

6,337,356

-

(23,107,276,946)

(6,213,985,440)

(9,833,094,355)

(7,060,197,151)

-

248,361,039,089

-

450,022,954

247,911,016,135

248,361,039,089

39,162,180,875

604,800,000

6,337,356

-

-

(18,968,630,913)

(8,380,707,819)

(10,559,095,029)

(28,828,065)

-

227,556,351,771

-

106,383,130

227,449,968,641

(1,034,848,165)

94,225,286

-

-

-

-

-

-

-

(1,129,073,451)

-

-

(1,129,073,451)

(1,129,073,451)

(425,363,980)

-

-

-

-

-

-

-

-

-

(703,709,471)

-

-

(703,709,471)

(223,234,473)

(117,768,649)

-

-

-

-

-

-

-

(105,465,824)

-

-

(105,465,824)

(105,465,824)

(105,465,824)

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

งบการเงิน

220,223,033

ความเสี่ยง ในกระแสเงิน สด

จากการแปลงค่า

ขาดทุน จาก การป้องกัน

ผลต่างของ

ยังไม่ไ ด้จัดสรร อัตราแลกเปลี่ยน

กําไรสะสม

ราชพัสดุ

จัดสรรแล้ว จากการวัดมูลค่า

กําไร(ขาดทุน )

ส่วนของ กฟผ.

528,484,241

(81,462,339)

-

-

-

-

-

-

-

609,946,580

(56,143)

-

610,002,723

609,946,580

255,321,562

-

-

-

-

-

-

-

-

-

354,625,018

21,913

-

354,603,105

เงิน ลงทุน เผื่อขาย

งบการเงิน รวม

สําหรับ ปีสิ้น สุดวัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ

ประโยชน์ใ นที่

-

-

ผลกระทบจากการปรับ ปรุง รายการใหม่

ส่วนเกิน ทุน

จากสิท ธิการใช้

-

-

ส่วนของส่วนได้เสียที่ไม่มีอํานาจควบคุมของบริษ ัท ย่อยลดลง

#

#

(62,332,763)

9,001,977,817

-

-

9,001,977,817

เงิน งบประมาณ

จ่ายปัน ผล

การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของสําหรับ ปี

ปี 2557 (1 ก.ค.-31 ธ.ค. 57)

สํารองเงิน รายได้แผ่น ดิน นําส่ง คลัง

ปี 2557 (1 ม.ค.-30 มิ.ย.57)

ปี 2556 เพิ่มเติม

เงิน รายได้แผ่น ดิน นําส่ง คลัง

6.23

5

ผลกระทบจากการจัดประเภทรายการใหม่

ยอดคงเหลือ ณ วัน ที่ 1 มกราคม 2557 (ที่ป รับ ปรุง แล้ว)

5

ผลกระทบจากการปรับ ปรุง รายการใหม่

ยอดคงเหลือ ณ วัน ที่ 1 มกราคม 2557 (ก่อนปรับ ปรุง )

หมายเหตุ

-8การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและบริษ ัท ย่อย

ขาดทุน

(1,886,535,972)

(451,183,826)

-

-

-

-

-

-

-

(1,435,352,146)

-

-

(1,435,352,146)

(1,435,352,146)

(161,920)

-

-

-

-

-

-

-

-

-

(1,435,190,226)

-

-

(1,435,190,226)

ประกัน ภัย

ตามหลักคณิตศาสตร์

จากการประมาณการ

2,886,909,938

-

-

-

-

-

-

-

-

2,886,909,938

-

-

2,886,909,938

2,886,909,938

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

2,886,909,938

-

-

2,886,909,938

โดยวิธีส่วนได้เสีย

บริษ ัท ร่วมที่บ ัน ทึก

บริษ ัท ย่อยและ

ส่วนเกิน ทุน ใน

องค์ป ระกอบอื่น ของส่วนของเจ้าของ กําไร(ขาดทุน )เบ็ดเสร็จอื่น ส่วนแบ่ง

1,011,763,157

760,903,343

-

-

-

-

-

-

-

250,859,814

-

(88,840,293)

339,700,107

250,859,814

(104,925,206)

-

-

-

-

-

-

-

-

-

355,785,020

-

(99,595,697)

455,380,717

บริษ ัท ร่วม

เบ็ดเสร็จอื่น ใน

กําไร(ขาดทุน )

ส่วนแบ่ง

-

743,740

687,597

-

-

-

-

-

-

-

56,143

56,143

-

-

56,143

78,056

-

-

-

-

-

-

-

-

-

(21,913)

(21,913)

การร่วมค้า

เบ็ดเสร็จอื่น ใน

กําไร(ขาดทุน )

1,283,282,466

205,401,412

-

-

-

-

-

-

-

1,077,881,054

-

(88,840,293)

1,166,721,347

1,077,881,054

(380,517,312)

-

-

-

-

-

-

-

-

-

1,458,398,366

-

(99,595,697)

1,557,994,063

ของส่วนของเจ้าของ

รวมองค์ป ระกอบอื่น

346,993,491,702

31,384,283,625

-

-

(23,107,276,946)

(6,213,985,440)

(9,833,094,355)

(7,060,197,151)

(62,332,764)

338,778,817,787

-

361,182,661

338,417,635,126

338,778,817,787

38,781,663,563

604,800,000

-

-

-

(18,968,630,913)

(8,380,707,819)

(10,559,095,029)

(28,828,065)

(62,332,763)

318,423,317,900

-

6,787,433

318,416,530,467

ที่เป็น ของ กฟผ.

รวมส่วนของเจ้าของ

33,570,936,849

1,296,727,377

-

(1,810,325,000)

-

-

-

-

-

34,084,534,472

-

-

34,084,534,472

34,084,534,472

2,864,635,678

-

-

(1,810,325,000)

(96,325,672)

-

-

-

-

-

33,126,549,466

-

-

33,126,549,466

อํานาจควบคุม

ส่วนได้เสียที่ไ ม่ม ี

หน่วย : บาท

380,564,428,551

32,681,011,002

-

(1,810,325,000)

(23,107,276,946)

(6,213,985,440)

(9,833,094,355)

(7,060,197,151)

(62,332,764)

372,863,352,259

-

361,182,661

372,502,169,598

372,863,352,259

41,646,299,241

604,800,000

-

(1,810,325,000)

(96,325,672)

(18,968,630,913)

(8,380,707,819)

(10,559,095,029)

(28,828,065)

(62,332,763)

351,549,867,366

-

6,787,433

351,543,079,933

รวมส่วนของเจ้าของ

135


ห มายเห ต ุป ระก อบ งบ ก ารเงิน เป ็น ส่วน ห น ึ่งของงบ ก ารเงิน น ี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

8,877,312,290

-

ตัด จําหน่ายส่วนเกินทุนจากสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ 207,548,321

-

(6,337,356)

-

-

-

-

-

-

-

213,885,677

213,885,677

-

-

(6,337,356)

-

กําไร(ขาดทุน)เบ็ด เสร็จรวมสําหรับปี

การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของสําหรับงวด

ปี 2558 (1 ก.ค.-31 ธ.ค.58)

สํารองเงินรายได้แผ่นดินนําส่ง คลัง

ปี 2558 (1 ม.ค.-30 มิ.ย.58)

ปี 2557 เพิ่ม

เงินรายได้แผ่นดินนําส่ง คลัง

(62,332,764)

8,939,645,054

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558

ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ส่วนที่ใช้เพื่อการชลประทาน

8,939,645,054

-

กําไรเบ็ด เสร็จรวมสําหรับงวด

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

-

ตัด จําหน่ายส่วนเกินทุนจากสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ

-

-

-

-

-

80,186,366,913

-

-

-

-

-

-

-

80,186,366,913

80,186,366,913

-

-

-

-

-

-

-

-

222,404,360,917

30,780,247,080

6,337,356

(23,107,276,946)

(6,213,985,440)

(9,833,094,355)

(7,060,197,151)

-

214,725,053,427

214,725,053,427

37,577,053,644

604,800,000

6,337,356

(18,968,630,913)

(8,380,707,819)

(10,559,095,029)

(28,828,065)

-

195,505,493,340

156,412,500

156,412,500

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

(1,889,699,923)

(451,893,675)

-

-

-

-

-

-

(1,437,806,248)

(1,437,806,248)

-

-

-

-

-

-

-

-

(1,437,806,248)

ค ณิต ศ าสต ร์ป ระก ัน ภ ัย

80,186,366,913

เงิน ลงท ุน เผ ื่อ ขาย 220,223,033

ป ระมาณก ารต ามห ลัก

จาก ก ารวัด มูล ค ่า

ขาด ท ุน จาก ก าร

ก ําไร(ขาด ท ุน )เบ ็ด เสร็จ อื่น

ราชพัส ด ุ

ยังไม่ได ้จ ัด สรร

(1,733,287,423)

(295,481,175)

-

-

-

-

-

-

(1,437,806,248)

(1,437,806,248)

-

-

-

-

-

-

-

-

(1,437,806,248)

ของส่วน ของเจ้าของ

รวมองค ์ป ระก อบ อื่น

องค ์ป ระก อบ อื่น ของส่วน ของเจ้าของ ก ําไร

จัด สรรแล้ว

ก ําไรสะสม

ป ระโยชน ์ใน ท ี่

จาก สิท ธิก ารใช้

ส่วน เก ิน ท ุน

-

ปรับปรุง คดีค วามกรณีพิพาทที่สิ้นสุด

การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของสําหรับงวด

ปี 2557 (1 ก.ค.-31 ธ.ค.57)

สํารองเงินรายได้แผ่นดินนําส่ง คลัง

-

(62,332,763)

ปี 2556 เพิ่ม

6.23

6.23

9,001,977,817

เงิน งบ ป ระมาณ

ปี 2557 (1 ม.ค.-30 มิ.ย.57)

เงินรายได้แผ่นดินนําส่ง คลัง

ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ส่วนที่ใช้เพื่อการชลประทาน

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2557

ห มายเห ต ุ

งบ ก ารเงิน เฉพาะ ก ฟผ .

สําห รับ ป ีส ิ้น สุด วัน ท ี่ 31 ธัน วาค ม 2558

งบ แสด งก ารเป ลี่ยน แป ลงส่วน ของเจ้าของ

ก ารไฟฟ้าฝ ่ายผ ลิต แห ่งป ระเท ศ ไท ยและบ ริษ ัท ย่อ ย

-9-

ห น ่วย : บ าท

309,942,301,018

30,484,765,905

-

(23,107,276,946)

(6,213,985,440)

(9,833,094,355)

(7,060,197,151)

(62,332,764)

302,627,144,823

302,627,144,823

37,577,053,644

604,800,000

-

(18,968,630,913)

(8,380,707,819)

(10,559,095,029)

(28,828,065)

(62,332,763)

283,476,254,855

รวมส่วน ของเจ้าของ

136


137 -10 ก ารไฟ ฟ าฝายผลิต แหงประเทศไทยและบริษ ัท ยอย งบก ระแสเงิน สด สําหรับ ปสิ้น สุด วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558 หมายเหตุ

ก ระแสเงิน สดจาก ก ิจก รรมดําเนิน งาน กําไรสําหรับปสวนที่เปนของ กฟผ. รายการปรับปรุงกระทบยอดกําไรสําหรับปเปนเงินสดรับ(จาย)จากกิจ กรรมดําเนินงาน คาเสื่อมราคา คาเสื่อมราคาตามสัญญาเชาการเงิน-โรงไฟฟา 6.32 สินทรัพยรับบริจ าค ขาดทุนจากการจําหนายสินทรัพยบริจ าคให คาตัดจําหนายสิทธิการใชที่ดินและสิทธิในการพัฒนาโครงการ คาตัดจําหนายโปรแกรมคอมพิวเตอร คาตัดจําหนายสิทธิการใชประโยชนในที่ราชพัสดุ คาตัดจําหนายสิทธิในการเชื่อมโยงระบบจําหนายไฟฟา คาเผื่อการดอยคาของมูลคาสินคาคงเหลือและวัสดุสํารองคลัง ขาดทุนจากการดอยคาที่ดิน อาคารและอุปกรณ ขาดทุนจากการดอยคาของคาความนิยม รายจายตัดบัญชีจ ากรายจายรอการตัดบัญชีดานเหมืองลิกไนต หนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญ (กําไร)ขาดทุนจากการปรับมูลคาเงินลงทุนในหลักทรัพยเพื่อคา กําไรจากการจําหนายเงินลงทุนในการรวมคา (กําไร)ขาดทุนจากการจําหนายสินทรัพย 6.27,6.28 รับรูรายไดจ ากรายไดรอการรับรู 6.22 คาใชจ ายผลประโยชนพนักงานตามประมาณการ กําไรจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย 6.20 (กําไร)ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ 6.27,6.28 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ ตามสัญญาเชาการเงิน-โรงไฟฟา 6.28 กําไรจากการเปลี่ยนแปลงในมูลคายุติธรรมของตราสารอนุพันธ 6.27 ขาดทุนจากการตอรองราคาซื้อในบริษัทยอย ขาดทุนจากการจําหนายเงินลงทุนในบริษัทยอย เงินปนผลรับจากบริษัทรวม 6.8.4 เงินปนผลรับจากบริษัทยอย 6.8.4 เงินปนผลรับจากการรวมคา 6.8.4 เงินปนผลรับจากกิจ การอื่น สวนแบงกําไรจากเงินลงทุนในบริษัทรวม สวนแบงกําไรจากเงินลงทุนในการรวมคา สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมในกําไรสุทธิ ดอกเบี้ยรับ ตนทุนทางการเงิน ดอกเบี้ยจายตามสัญญาเชาการเงิน-โรงไฟฟา ภาษีเงินได กลับรายการประมาณการหนี้สินและอื่นๆ กําไรจากการดําเนินงานกอนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพยและหนี้สินดําเนินงาน หมาย เหตุป ระกอบงบการเงิน เปน สวนหนึ่ง ของงบการเงิน นี้

งบก ารเงิน รวม

หนวย : บาท งบก ารเงิน เฉพ าะ ก ฟ ผ. ป 2558 ป 2557

ป 2558

ป 2557 (ปรับ ปรุงใหม)

31,178,882,213

39,162,180,875

30,780,247,080

37,577,053,644

25,261,125,822 13,164,672,950 (14,590) 851,923 265,979,681 236,429,935 6,337,356 3,014,155 356,380,953 5,926,443,274 (591,836) 605,512 723,799 (119,917,379) (347,191,727) 1,137,037,387 (1,892,276) 1,587,414,414

25,572,382,972 11,336,178,674 9,228,715 296,121,074 235,643,669 6,337,356 3,712,103 348,710,244 134,176,015 375,367,356 6,108,101,571 (7,802,704) 6,983,411 (2,113,492) (10,942,000) (277,412,441) (311,013,901) 1,009,046,154 (94,395) (1,045,563,838)

24,212,338,221 13,164,672,950 (14,590) 851,923 896,061 219,763,750 6,337,356 148,428,385 5,926,443,274 (591,836) 605,512 2,530,120 (347,191,727) 1,117,306,186 (1,892,276) 419,755,696

24,459,091,934 11,336,178,674 9,228,715 853,727 218,758,129 6,337,356 145,712,215 6,108,101,571 (7,802,704) 6,983,411 (277,609,858) (311,013,901) 989,773,618 (675,369,678)

10,429,118,648 (140,626,844) (269,418,991) (1,409,724,057) (908,930,197) 1,579,001,076 (1,791,064,573) 4,406,911,230 27,290,983,730 1,407,724,577 32,103,584 119,282,369,749

271,350,916 (107,615,802) 825,375,928 142,113,794 (235,951,209) (1,387,428,327) (1,079,086,396) 3,321,538,700 (1,954,574,066) 4,408,861,404 21,229,109,420 1,269,377,123 109,652,298,903

10,579,826,478 (140,626,844) (836,085,388) (1,481,175,000) (15,360,660) (57,351,250) (1,372,795,126) 3,016,661,249 32,318,918,696 117,662,498,240

276,781,686 (107,615,802) (836,085,388) (1,481,175,000) (1,647,741,080) 2,924,282,826 26,774,341,382 105,489,065,477


138 -11 ก ารไฟ ฟ าฝายผลิต แหงประเทศไทยและบริษ ัท ยอย งบก ระแสเงิน สด สําหรับ ปสิ้น สุด วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558 หมายเหตุ

งบก ารเงิน รวม ป 2558

ก ระแสเงิน สดจาก ก ิจก รรมดําเนิน งาน (ตอ) การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพยดําเนินงาน(เพิ่มขึ้น)ลดลง ลูกหนี้การคา ลูกหนี้อื่น วัสดุสํารองคลัง สินทรัพยหมุนเวียนอื่น เงินฝากเพื่อชดเชยคาไฟฟารอการรับรู สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น รายจายรอการตัดบัญชีดานเหมืองลิกไนต การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินดําเนินงานเพิ่มขึ้น(ลดลง) เจาหนี้การคา เจาหนี้อื่น รายไดรับลวงหนาระยะยาวจากกิจ การที่เกี่ยวของ หนี้สินหมุนเวียนอื่น คาใชจ ายคางจาย หนี้สินไมหมุนเวียนอื่น จายผลประโยชนพนักงาน เงินชดเชยคาไฟฟารอการรับรู ประมาณการหนี้สินเพื่อการฟนฟูสภาพบริเวณเหมือง เงินสดรับจากการดําเนินงาน เงินสดรับจากดอกเบี้ย เงินสดจายภาษีเงินได เงินสดสุทธิไดมาจากกิจ กรรมดําเนินงาน ก ระแสเงิน สดจาก ก ิจก รรมลงทุน เงินสดรับ(จาย)สุทธิในเงินลงทุนชั่วคราว เงินสดรับ(จาย)สุทธิในเงินลงทุนระยะยาว เงินสดรับจากการจําหนายสินทรัพย เงินสดจายสําหรับที่ดิน อาคาร อุปกรณ งานระหวางกอสราง และสินทรัพยไมมีตัวตน เงินสดจายตนทุนทางการเงินสําหรับงานระหวางกอสราง เงินสดจายคาพัฒนาโครงการรอเรียกเก็บ เงินสดจายเงินใหกูยืมระยะสั้นแกกิจ การที่เกี่ยวของกัน เงินสดจายคืนเงินชวยเหลือ เงินสดรับจากรายไดรอการรับรู เงินสดจายเพื่อการลงทุนในบริษัทยอย เงินสดจายเพื่อการลงทุนในบริษัทรวม เงินสดจายเพื่อการลงทุนในการรวมคา เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนในการรวมคา เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนในบริษัทยอย เงินสดรับจากดอกเบี้ย เงินปนผลรับในบริษัทรวม เงินปนผลรับจากบริษัทยอย หมาย เหตุป ระกอบงบการเงิน เปน สวนหนึ่ง ของงบการเงิน นี้

6.22

6.8.3,6.8.4 6.8.4

ป 2557 (ปรับ ปรุงใหม)

หนวย : บาท งบก ารเงิน เฉพ าะ ก ฟ ผ. ป 2558 ป 2557

836,841,874 677,877,862 1,028,514,949 179,967,438 (4,095,131,924) (440,994,270) (5,857,883,614)

(5,778,564,214) (257,612,684) (304,728,602) (1,655,188,380) (1,155,137,591) (153,220,924) (6,031,066,636)

809,836,272 1,165,007,804 500,574,241 (4,095,131,924) (963,738,147) (5,857,883,614)

(6,162,156,263) (476,205,357) (286,500,722) (1,155,137,591) (19,289,061) (6,031,066,636)

1,032,079,267 (745,209,296) (7,903,089) (25,631,168) 517,188,500 426,915,534 (813,143,105) 4,165,902,592 37,044,373 (3,083,564,077) 116,198,805,672 807,600,816 (1,747,939,563) 115,258,466,925

(6,818,757,430) 1,934,528,038 7,903,089 (1,078,856,211) 17,854,237 129,566,668 (526,996,110) 1,155,486,630 67,749,836 (20,447,040,284) 89,205,258,619 1,250,671,777 (1,330,557,462) 89,125,372,934

771,167,576 300,673,106 522,961,131 (833,670,500) (810,762,545) 4,165,902,592 37,044,373 (4,288,019,635) 113,374,478,605 795,543,140 114,170,021,745

(6,494,948,832) 1,397,046,224 (13,070,421) 789,985,016 (516,663,638) 1,155,486,630 67,749,836 (17,744,770,815) 87,744,294,662 1,215,734,012 88,960,028,674

(1,470,433,918) (6,336,898,491) 465,235,726

8,108,982,273 (291,299,037) 447,752,979

157,004,294 (5,213,750,000) 436,506,247

9,041,325,385 442,618,142

(34,365,304,265) (429,095,119) (121,565,136) (7,600,000) (3,900,000) 424,596,864 (40,604,840) (6,132,612,794) 13,972,105 901,955,536 1,180,184,864 -

(34,767,591,001) (325,873,449) (344,983,683) (54,738,519) 385,935,059 (703,435,335) (623,844,703) (417,275,485) 10,942,000 118,428,750 806,326,085 1,144,640,436 -

(34,194,421,946) (429,095,119) (3,900,000) 424,596,864 (1,746,000,000) 490,282,658 836,085,388 1,481,175,000

(34,914,317,077) (325,873,449) (54,738,519) 385,935,059 (1,254,000,000) 513,780,822 836,085,388 1,481,175,000


139 -12 ก ารไฟ ฟ าฝายผลิต แหงประเทศไทยและบริษ ัท ยอย งบก ระแสเงิน สด สําหรับ ปสิ้น สุด วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558 หมายเหตุ

ก ระแสเงิน สดจาก ก ิจก รรมลงทุน (ตอ) เงินปนผลรับจากการรวมคา 6.8.3,6.8.4 เงินปนผลรับจากกิจ การอื่น เงินสดสุทธิใชไปในกิจ กรรมลงทุน ก ระแสเงิน สดจาก ก ิจก รรมจัด หาเงิน เงินรายไดแผนดินนําสงคลัง เงินสดรับจากเงินกูยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินสดจายชําระคืนเงินกูยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินสดรับจากเจาหนี้ตั๋วเงิน เงินสดจายเจาหนี้ตั๋วเงิน เงินสดรับจากการเบิกเงินกูยืมระยะยาว เงินสดรับจากการเบิกเงินกูยืมระยะยาวจากกองทุนรวมโครงสรางพื้นฐาน หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน-อื่นลดลง หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน-โรงไฟฟาลดลง เงินสดจายชําระคืนเงินกูยืมระยะยาว เงินสดจายตนทุนทางการเงิน เงินสดจายดอกเบี้ยตามสัญญาเชาการเงิน-โรงไฟฟา 6.29 เงินปนผลจายใหแกสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมของบริษัทยอย เงินสดสุทธิใชไปในกิจ กรรมจัดหาเงิน ผลก ระทบจาก อัต ราแลก เปลี่ยนในเงิน สดและรายก ารเทียบเทาเงิน สด เงิน สดและรายก ารเทียบเทาเงิน สดเพ ิ่มขึ้น (ลดลง)สุท ธิ เงิน สดและรายก ารเทียบเทาเงิน สด ณ วัน ตน ป เงิน สดและรายก ารเทียบเทาเงิน สด ณ วัน สิ้น ป 6.1

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

หมาย เหตุป ระกอบงบการเงิน เปน สวนหนึ่ง ของงบการเงิน นี้

งบก ารเงิน รวม

หนวย : บาท งบก ารเงิน เฉพ าะ ก ฟ ผ. ป 2558 ป 2557

ป 2558

ป 2557 (ปรับ ปรุงใหม)

728,250,136 269,418,991 (44,924,400,341)

634,473,550 235,951,209 (25,635,608,871)

15,360,660 57,351,250 (37,688,804,704)

(23,848,009,249)

(25,273,999,326) 24,880,000,000 (25,280,000,000) 2,700,000,000 (5,200,000,000) 2,126,309,581 20,855,000,000 (5,729,032) (12,197,584,521) (9,462,854,794) (4,117,606,983) (27,290,983,730) (1,809,375,459) (60,076,824,264) (255,763,034) 10,001,479,286 62,646,069,258 72,647,548,544

(20,054,216,778) 17,535,000,000 (23,433,996,684) 4,700,000,000 (3,750,000,000) 10,274,205,641 (3,449,902) (11,837,849,773) (11,439,292,767) (4,421,961,911) (21,229,109,420) (1,810,325,000) (65,470,996,594) (175,670,808) (2,156,903,339) 64,802,972,597 62,646,069,258

(25,273,999,326) 20,855,000,000 (4,201,198) (15,775,884,421) (8,065,858,653) (2,820,351,600) (32,318,918,696) (63,404,213,894) 23,037,529 13,100,040,676 51,832,088,359 64,932,129,035

(20,054,216,778) (1,955,220) (13,919,771,521) (6,457,892,766) (3,035,339,589) (26,774,341,382) (70,243,517,256) (74,682,048) (5,206,179,879) 57,038,268,238 51,832,088,359


140

- 13 การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทยและบริษัทยอย งบกระแสเงินสด สําหรับปสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 หมายเหตุประกอบงบกระแสเงินสด ก. ที่ดิน อาคาร อุปกรณ งานระหวางกอสราง และสินทรัพยไมมีตัวตน งบการเงินรวม ในระหวางป 2558 กฟผ. ซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ งานระหวางกอสราง และสินทรัพยไมมีตัวตน ราคาตนทุนรวม 34,678.82 ลานบาท โดยจายชําระเปนเงินสดจํานวน 34,365.30 ลานบาท ซึ่งในจํานวนนี้ไดรวมเจาหนี้สุทธิระหวางปจํานวน 10.90 ลานบาท (เจาหนี้ตนปจํานวน 2,915.24 ลานบาท เจาหนี้สิ้นปจํานวน 2,926.14 ลานบาท) และสวนที่เหลือจํานวน 302.62 ลานบาท เปนรายการ รายไดสุทธิจากการทดสอบการเดินเครื่องโครงการโรงไฟฟา ซึ่งนํามาปรับลดรายการที่ดิน อาคาร อุปกรณ งานระหวางกอสราง และ สินทรัพยไมมีตัวตน ในระหวางป 2557 กฟผ. ซื้อ ที่ดิน อาคาร อุป กรณ งานระหวา งกอ สรา ง และสิน ทรัพ ยไ มมีตัว ตน ราคาตน ทุน รวม 34,564.05 ลา นบาท โดยจา ยชํา ระเปนเงินสดจํานวน 34,767.59 ลานบาท ซึ่งในจํานวนนี้ไดหักเจาหนี้สุทธิระหวางปจํานวน 826.37 ลานบาท (เจาหนี้ตนปจํานวน 3,741.61 ลานบาท เจาหนี้สิ้นปจํานวน 2,915.24 ลานบาท) และสวนที่เหลือจํานวน 622.83 ลานบาท เปนรายการรายไดสุทธิจากการทดสอบการเดินเครื่องโครงการโรงไฟฟา ซึ่งนํามาปรับลดรายการที่ดิน อาคาร อุปกรณ งานระหวางกอสราง และสินทรัพยไมมีตัวตน งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ในระหวางป 2558 กฟผ. ซื้อ ที่ดิน อาคาร อุป กรณ งานระหวา งกอ สรา ง และสิน ทรัพ ยไ มมีตัว ตน ราคาตน ทุน รวม 34,507.94 ลา นบาท โดยจา ยชํา ระเปน เงิน สดจํานวน 34,194.42 ลานบาท ซึ่งในจํานวนนี้ไดรวมเจาหนี้สุทธิระหวางปจํานวน 10.90 ลานบาท (เจาหนี้ตนปจํานวน 2,915.24 ลานบาท เจาหนี้สิ้นปจํานวน 2,926.14 ลานบาท) และสวนที่เหลือจํานวน 302.62 ลานบาท เปนรายการรายไดสุทธิจากการทดสอบการเดินเครื่องโครงการโรงไฟฟา ซึ่งนํามาปรับลดรายการที่ดิน อาคาร อุปกรณ งานระหวางกอสราง และสินทรัพยไมมีตัวตน ในระหวางป 2557 กฟผ. ซื้อ ที่ดิน อาคาร อุป กรณ งานระหวา งกอ สรา ง และสิน ทรัพ ยไ มมีตัว ตน ราคาตน ทุน รวม 34,710.78 ลา นบาท โดยจา ยชําระเปน เงินสดจํานวน 34,914.32 ลานบาท ซึ่งในจํานวนนี้ไดหักเจาหนี้สุทธิระหวางปจํานวน 826.37 ลานบาท (เจาหนี้ตนปจํานวน 3,741.61 ลานบาท เจาหนี้สิ้นปจํานวน 2,915.24 ลานบาท) และสวนที่เหลือจํานวน 622.83 ลานบาท เปนรายการรายไดสุทธิจากการทดสอบการเดินเครื่องโครงการโรงไฟฟา ซึ่งนํามาปรับลดรายการที่ดิน อาคาร อุปกรณ งานระหวางกอสราง และสินทรัพยไมมีตัวตน

หมายเหตุประกอบงบการเงินเปนสวนหนึ่งของงบการเงินนี้


141

- 14 การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทยและบริษัทยอย หมายเหตุประกอบงบการเงิน สําหรับปสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 1. ขอมูลทั่วไป การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย (กฟผ.) เปนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย พ.ศ. 2511 และที่แกไขเพิ่มเติม วัตถุประสงคในการจัดตั้งเพื่อผลิต จัดใหไดมา จัดสงหรือจําหนายซึ่งพลังงานไฟฟา ดําเนินงานตางๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟา แหลงพลังงานอันไดมาจากธรรมชาติ และดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟาและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือ ตอเนื่องกับกิจการของ กฟผ. หรือรวมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดําเนินการดังกลาว รวมทั้งผลิตและขายลิกไนตหรือวัตถุเคมีจากลิกไนต โดยมีสํานักงานใหญตั้งอยูเลขที่ 53 หมู 2 ถนนจรัญสนิทวงศ อําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 2. เกณฑการนําเสนองบการเงิน 2.1 หลักเกณฑในการจัดทํางบการเงิน งบการเงิน รวมและงบการเงิน เฉพาะ กฟผ. ไดจ ัด ทํ า ขึ ้น ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที ่อ อกภายใต พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 รวมถึงการตีความและแนวปฏิบัติทางการบัญชีที่ประกาศใชโดยสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งสอดคลองกับการจัดรายการในงบการเงินตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการคา เรื่อง กําหนดรายการยอที่ตองมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 28 กันยายน 2554 ออกตามความในมาตรา 11 วรรคสาม แหงพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 งบการเงินนี้ไดจัดทําขึ้นตามขอสมมติฐานที่วาผูใชงบการเงินมีความเขาใจหลักการและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในประเทศไทย ทั้งนี้หลักการบัญชีที่ใชอาจแตกตางไปจากหลักบัญชีที่รับรองทั่วไปของประเทศอื่น งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ กฟผ. จัดทําขึ้นโดยใชเกณฑราคาทุนเดิมในการวัดคาองคประกอบของงบการเงิน ยกเวนรายการบัญชีบางประเภทที่เปดเผยไวในหมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 3 นโยบายการบัญชีที่สําคัญ ในการจัดทํางบการเงินรวมไดมีการตัดรายการที่มีสาระสําคัญที่เกิดขึ้นระหวาง กฟผ. และบริษัทยอยไปแลว สําหรับ เงินลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวม และการรวมคาในงบการเงินเฉพาะ กฟผ. บันทึกบัญชีตามวิธีราคาทุน สําหรับสวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจควบคุมไดเปดเผยแยกตางหากไวในสวนของเจาของ ในกรณีที่มีนัยสําคัญจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญ ชี ของบริษัทยอย บริษัทรวม และการรวมคา ใหสอดคลองกับนโยบายการบัญชีของ กฟผ. งบการเงิ น ฉบั บ ภาษาอั ง กฤษจั ด ทํ า ขึ้ น โดยแปลจากงบการเงิ น ฉบั บ ภาษาไทย ในกรณี ที่ มี เ นื้ อ ความขั ด แย ง กั น หรือมีการตีความในสองภาษาแตกตางกัน ใหใชงบการเงินฉบับภาษาไทยเปนหลัก 2.2 การใชประมาณการ ในการจัดทํางบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ กฟผ. ใหสอดคลองกับหลักการบัญชีซึ่งกําหนดไวตามมาตรฐานการ รายงานทางการเงิน ที่กํ าหนดให ฝา ยบริห ารตอ งประมาณการและใหข อสมมติฐ าน โดยผลที่เ กิด ขึ้น จริ งอาจแตกต างไปจาก ที่ประมาณการและขอสมมติฐานที่ตั้งไว


142

- 15 3. นโยบายการบัญชีที่สําคัญ 3.1 เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด หมายความรวมถึง เงินสด เงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน ออมทรัพย และประจําไมเกิน 3 เดือน รวมทั้งตั๋วสัญญาใชเงินหรือตั๋วแลกเงินที่มีอายุไมเกิน 3 เดือน โดยไมมีภาระผูกพัน 3.2 เงินลงทุนชั่วคราว เงินลงทุนชั่วคราวของ กฟผ. ไดดําเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังวาดวยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 หมวด 2 การเงิน ซึ่งกําหนดใหรัฐวิสาหกิจฝากเงินกับธนาคารที่เปนรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายวาดวยวิธีการงบประมาณ หากมีสภาพคลองคงเหลือ และประสงคจะบริหารสภาพคลอ งคงเหลือ ใหไ ดรับ ผลตอบแทนสูง กวา การฝากเงิน กับ ธนาคาร ที ่เ ปน รัฐ วิส าหกิจ ตามกฎหมายวา ดว ยวิธ ีก ารงบประมาณ รัฐ วิส าหกิจ อาจเลือ กลงทุน ในตราสารทางการเงิน ระยะสั ้น ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง หรือสถาบันการเงินของรัฐได 3.3 ลูกหนี้การคาและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้แสดงดวยมูลคาสุทธิที่คาดวาจะไดรับ คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประมาณจากอัตรารอยละของลูกหนี้ที่เกินระยะเวลา การชําระหนี้ โดยประมาณขึ้นจากประสบการณในการเก็บเงินในอดีตและตามสถานะปจจุบันของลูกหนี้ที่ไมใชสวนราชการและ รัฐวิสาหกิจคงคาง ณ วัน ที่ในงบแสดงฐานะการเงิน และเปน ไปตามระเบี ยบกระทรวงการคลังวา ดวยการบัญชี และการเงิ น ของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 ซึ่งแกไขระเบียบกระทรวงการคลังวาดวยการบัญชีและการเงินของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2520 โดยกําหนด คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ดังนี้ 3.3.1 ลูกหนี้การคาที่ไมใชสวนราชการและรัฐวิสาหกิจ ระยะเวลาที่คางชําระ

คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอัตรารอยละ

เกินกวา 6 เดือน - 1 ป

50

เกินกวา 1 ป

100

3.3.2 ลู ก หนี้ อื่ น (ไม ร วมรายได ค า งรั บ และค า ใช จ า ยจ า ยล ว งหน า ) ซึ่ ง มี ร ะยะเวลาที่ ค า งชํา ระเกิ น กว า 1 ป คิดคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอัตรารอยละ 100 3.4 วัสดุสํารองคลัง 3.4.1 น้ํา มัน เชื้อ เพลิง โรงไฟฟา แสดงในราคาทุน ตามวิธีถัว เฉลี ่ย เคลื่อ นที่ห รือ มูล คา สุท ธิที่จ ะไดรับ แลว แต ราคาใดจะต่ํากวา 3.4.2 ถานลิกไนต แสดงในราคาทุนตามวิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่หรือมูลคาสุทธิที่จะไดรับแลวแตราคาใดจะต่ํากวา 3.4.3 อะไหล โ รงไฟฟ า และอะไหล เ ครื่ อ งจั ก รกลเหมื อ ง แสดงในราคาทุ น ตามวิ ธี ถั ว เฉลี่ ย เคลื่ อ นที่ หั ก ค า เผื่ อ การเสื่อมสภาพ ซึ่งคํานวณโดยวิธีเสนตรงตามอายุการใหประโยชนของสินทรัพยหลัก


143

- 16 อะไหลโรงไฟฟา ที่แสดงภายใตหัวขอ วัสดุสํารองคลัง-สุทธิ หมายถึง ชิ้นสวนอะไหลและอุปกรณที่ใชในการ ซอมบํารุงโรงไฟฟา สําหรับอะไหลที่สําคัญและอุปกรณโรงไฟฟาที่สํารองไวใชงาน ซึ่งคาดวาจะใชประโยชนไดมากกวาหนึ่งป จะแสดงไวภายใตหัวขอ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ อะไหลเ ครื ่อ งจัก รกลเหมือ ง หมายถึง ชิ ้น สว นอะไหลแ ละวัส ดุอ ุป กรณที ่ใ ชใ นการซอ มบํ า รุง รัก ษา เครื่อ งจัก รกลเหมือ ง เชน อะไหลร ถบรรทุก ทา ย 85 ตัน อะไหลรถขุด และอะไหลร ะบบสายพาน เปน ตน สํา หรับ อะไหล เครื่องจักรกลเหมืองที่สําคัญซึ่ง สํา รองไวใชงาน และคาดวา จะใชป ระโยชนไ ดม ากกวา หนึ่งป จะแสดงไวภ ายใตหัวขอ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ 3.4.4 วัส ดุใ ชง านทั ่ว ไปทุก ประเภท แสดงในราคาทุน ตามวิธ ีถ ัว เฉลี ่ย เคลื ่อ นที ่ หัก คา เผื ่อ การเสื ่อ มสภาพ ซึ่งคํานวณจากวัสดุที่ไมเคลื่อนไหวตั้งแต 6 เดือนขึ้นไป ตามอัตรา ดังนี้ รายการที่ไมเคลื่อนไหว

คาเผื่อการเสื่อมสภาพ รอยละ

6 เดือน - 18 เดือน

10

เกินกวา 18 เดือน - 30 เดือน

30

เกินกวา 30 เดือน - 48 เดือน

50

เกินกวา 48 เดือน - 60 เดือน

75

เกินกวา 60 เดือนขึ้นไป

100

วัส ดุใ ชง านทั ่ว ไป ประกอบดว ย น้ํ า มัน ยานพาหนะและเครื ่อ งจัก รกล อะไหลทั ่ว ไป วัส ดุสํ า นัก งาน ของใชสิ้นเปลืองตางๆ ที่ใชในการดําเนินงาน 3.5 สินทรัพยและหนี้สินตราสารอนุพันธ ตราสารอนุพันธรับรูเริ่มแรกในราคามูลคายุติธรรม ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน และกําไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลงในมูลคายุติธรรมรับรูในงบกําไรขาดทุนในงวดบัญชีนั้น มูลคายุติธรรม ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินของสัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและ อัตราดอกเบี้ย สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงิน และสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย คํานวณโดยธนาคารซึ่งเปนคูสัญญากับ กฟผ. 3.6 เงินลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวม และการรวมคา 3.6.1 เงินลงทุนในบริษัทยอย เงิ น ลงทุ น ในบริ ษั ท ย อ ยของ กฟผ. แสดงในงบการเงิ น เฉพาะ กฟผ. โดยใช วิ ธี ร าคาทุ น เงิ น ลงทุ น ใน บริษัทยอยของ กฟผ. และบริษัทยอย ไดถูกตัดรายการพรอมกับสวนไดเสียในสวนของเจาของ ในการจัดทํางบการเงินรวม รายชื่อบริษัทยอยของ กฟผ. และบริษัทยอย ไดเปดเผยไวในหมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 6.8.1 และ 6.8.2 ตามลําดับ


144

- 17 แมวา กฟผ. ลงทุนในบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) และบริษัท อีแกท ไดมอนด เซอรวิส จํากัด เพียงรอยละ 45 แต กฟผ. มีอํานาจควบคุมนโยบาย จึงเปนบริษัทยอยตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ซึ่งตองจัดทํางบการเงินรวม 3.6.2 เงินลงทุนในบริษัทรวม เงินลงทุนในบริษัทรวมของ กฟผ. แสดงในงบการเงินเฉพาะ กฟผ. โดยใชวิธีราคาทุน เงินลงทุนในบริษัทรวม ของ กฟผ. และบริษัทยอย แสดงในงบการเงินรวมโดยใชวิธีสวนไดเสีย รายชื่อบริษัทรวมของ กฟผ. และบริษัทยอย ไดเปดเผยไวในหมายเหตุประกอบงบการเงินขอ 6.8.1 และ 6.8.2 ตามลําดับ 3.6.3 เงินลงทุนในการรวมคา เงินลงทุนในการรวมคาของ กฟผ. แสดงในงบการเงินเฉพาะ กฟผ. โดยใชวิธีราคาทุน เงินลงทุนในการรวมคาของ กฟผ. และบริษัทยอย แสดงในงบการเงินรวมโดยใชวิธีสวนไดเสีย รายชื่ อ การร ว มค า ของ กฟผ. และบริ ษั ท ย อ ย ได เ ป ด เผยไว ใ นหมายเหตุ ป ระกอบงบการเงิ น ข อ 6.8.1 และ 6.8.2 ตามลําดับ 3.7 เงินลงทุนในตราสารทางการเงิน เงิน ลงทุน ในตราสารทางการเงิน ประกอบดว ย เงิน ลงทุน ในตราสารหนี้ที่จ ะถือ จนครบกํา หนดและเงิน ลงทุน ในหลักทรัพยเผื่อขาย 3.7.1 เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนด คือ เงิน ลงทุน ที่มีกํา หนดเวลา และผูถือ มีค วามตั้ง ใจและ สามารถถือ ไวจ นครบกํ า หนด ไดแ สดงไวใ นสิน ทรัพ ยห มุน เวีย น ในหัว ขอ เงิน สดและรายการเทีย บเทา เงิน สด และเงิ น ลงทุ น ชั่ ว คราวกรณี วั น ครบกํา หนดของเงิ น ลงทุ น เกิ น 3 เดื อ น แต ไ ม เ กิ น 1 ป เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกําหนดแสดงในราคาทุนตัดจําหนาย หักดวยขาดทุนจากการดอยคา ของเงินลงทุน ผลตางระหวางราคาที่ซื้อมากับมูลคาไถถอนของเงินลงทุนจะถูกตัดจาย โดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริงตลอดอายุ ของเงินลงทุนที่เหลือ 3.7.2 เงินลงทุนในหลักทรัพยเผื่อขาย คือเงินลงทุนที่จะถือไวโดยไมระบุชวงเวลาและอาจขายเผื่อเสริมสภาพคลอ ง หรือเมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง เงิ น ลงทุ น ในหลั ก ทรั พ ย เ ผื่ อ ขายแสดงในมู ล ค า ยุ ติ ธ รรม และรั บ รู ผ ลต า งที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปเป น รายการ กํา ไร(ขาดทุ น )ที่ ยั งไม เกิ ด ขึ้ น จากการเปลี่ ย นแปลงมู ลค า เงิ น ลงทุ น ซึ่ง แสดงแยกต า งหากภายใต ส วนของทุ น เมื่ อ มีก ารขาย เงินลงทุนในหลักทรัพยเผื่อขาย ผลสะสมของมูลคายุติธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะถูกนําไปรับรูในงบกําไรขาดทุน โดยแสดงเปน กําไร(ขาดทุน)จากการจําหนายเงินลงทุน การลงทุ นในตราสารทางการเงิน กฟผ. เปนไปตามระเบียบกระทรวงการคลังวา ดวยการบัญชีและการเงิ น ของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2548 หมวด 2 ที่กําหนดใหรัฐวิสาหกิจที่ประสงคจะบริหารสภาพคลอง อาจเลือกลงทุนในตราสารทาง การเงินระยะสั้นที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือสถาบันการเงินของรัฐได


145

- 18 3.8 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ แสดงตามราคาทุน ณ วันที่ซื้อหรือไดมา หรือกอสรางแลวเสร็จ หักคาเสื่อมราคาสะสม และคาเผื่อการดอยคาสะสม ค า เสื่ อ มราคา คํ า นวณโดยวิ ธี เ ส น ตรง เพื่ อ ลดราคาตามบั ญ ชี ข องสิ น ทรั พ ย แ ต ล ะชนิ ด ตลอดอายุ ก ารให ป ระโยชน ที่ประมาณการไว โดยมีการประมาณมูลคาซากที่ราคาหนึ่งบาท ยกเวนที่ดินที่มีอายุการใหประโยชนไมจํากัด ประมาณการอายุการใหประโยชนของสินทรัพยของ กฟผ. มีดังนี้

สิ่งกอสราง เขื่อนและอางเก็บน้ํา โรงไฟฟา อุปกรณโรงไฟฟา ระบบควบคุมไฟฟา ระบบสงพลังงานไฟฟา ระบบสื่อสาร ระบบสายพานลําเลียงถานลิกไนต เครื่องจักรกล อะไหลชิ้นใหญเครื่องจักรกลเหมือง ยานพาหนะ ครุภัณฑอื่น

จํานวนป 3 ป - 40 6 ป 8 เดือน - 75 5 ป - 30 3 ป - 25 3 ป - 25 3 ป - 40 5 ป - 25 10 ป - 25 5 ป - 10 8 ป 5 ป - 12 3 ป - 10

ป ป ป ป ป ป ป ป ป ป ป

ประมาณการอายุการใหประโยชนของโรงไฟฟาของบริษัทยอยกําหนดโดยใชสัญญาซื้อขายไฟฟาเปนเกณฑ คาเสื่อมราคาของเขื่อ นศรีน คริน ทร เขื่อ นบางลาง เขื่อ นวชิร าลงกรณ เขื่อ นรัช ชประภา และเขื่อ นปากมูล สวนที่ ใช ป ระโยชน ใ นการผลิ ต กระแสไฟฟ า รั บ รู เ ป น ค า ใช จ า ย สํ า หรั บ ส ว นที่ ใ ช ป ระโยชน ด า นการชลประทานจะนํ า ไปหั ก จาก เงินงบประมาณสมทบกอสรางเขื่อน เมื ่อ จํ า หนา ยสิน ทรัพ ยอ อกจากบัญ ชี กฟผ. จะบัน ทึก ตัด สิน ทรัพ ยแ ละคา เสื ่อ มราคาสะสมของสิน ทรัพ ยนั ้น ออกจากบัญชี พรอมกับบันทึกกําไร(ขาดทุน)จากการจําหนายในงบกําไรขาดทุน ตน ทุน ที่เ กิด ขึ้น จากการตรวจสอบสภาพครั้งใหญรับ รูเ ปน สว นหนึ่ง ของมูล คา ตามบัญ ชีข องรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ และตัดจายตามอายุการใหประโยชน โดยประมาณการอายุก ารใหป ระโยชนข องคา ตรวจสอบสภาพครั้งใหญ ตามประเภทของคาตรวจสอบสภาพครั้งใหญและประเภทของโรงไฟฟา ดังนี้


146

- 19 -

ประเภทของโรงไฟฟา - โรงไฟฟาพลังน้ํา

ประเภทของคาตรวจสอบสภาพครั้งใหญ งานบํารุงรักษายอย งานบํารุงรักษาครั้งใหญ Major Overhaul : MO Minor Inspection : MI อายุการใหประโยชน (ป) อายุการใหประโยชน (ป) 6 – 12 2–4

- โรงไฟฟาพลังความรอน

4–6

2

- โรงไฟฟาพลังความรอนรวม

2–6

2–3

- โรงไฟฟาแกสเทอรไบน

4–8

1–4

8

2

- โรงไฟฟาลิกไนต

นอกจากนี้ตนทุนในการทดสอบการเดินเครื่องของโรงไฟฟาหลังหักรายไดจากการขายไฟฟาในชวงการเตรียมความพรอม กอนการเดินเครื่องเชิงพาณิชยของโรงไฟฟาบันทึกเปนสวนประกอบของราคาทุนของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ ซึ่ง กฟผ. จัดประเภทเปนงานระหวางกอสราง 3.9 สินทรัพยและหนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน แสดงดวยมูลคายุติธรรมของสินทรัพยที่เชา ณ วันเริ่มตนของสัญญา หรือมูลคาปจจุบันของจํานวนเงินขั้นต่ําที่ตองจาย ตามสัญญาเชาแลวแตจํานวนใดจะต่ํากวา หักคาเสื่อมราคาสะสม คาเชาสวนหนึ่งรับรูเปนคาใชจายทางการเงิน และอีกสวนไปลด เงินตนตลอดอายุสัญญาเชา คาเสื่อมราคาของสินทรัพยตามสัญญาเชาการเงิน คํานวณโดยใชวิธีเสนตรงตามอายุการใหประโยชน โดยประมาณของสินทรัพยแตละประเภท กรณีไมไดเปนเจาของสินทรัพย เมื่อครบกําหนดตามสัญญาเชา ตองคิดคาเสื่อมราคาของ สินทรัพยใหหมดภายในระยะเวลาของสัญญาเชา หรือภายในอายุการใหประโยชนของสินทรัพย แลวแตระยะเวลาใดจะสั้นกวา การพิจารณาวาขอตกลงเปนสัญญาเชาหรือมีสัญญาเชาเปนสวนประกอบหรือไม โดยพิจารณาจากเนื้อหาของขอตกลง และประเมินวาขอตกลงเขาเงื่อนไขตอไปนี้กอนการจําแนกประเภทของสัญญาเชา 1. การปฏิบัติตามขอตกลงดังกลาวขึ้นอยูกับการใชสินทรัพยที่เฉพาะเจาะจง และ 2. ขอตกลงดังกลาวเปนการใหสิทธิในการใชสินทรัพยนั้น การพิจารณาวาสัญญาเชาจะจัดเปนสัญญาเชาการเงินหรือไมโดยใหพิจารณาถึงเนื้อหาของรายการมากกวารูปแบบตาม สัญญา ซึ่งจัดประเภทสัญญาเชาเปนสัญญาเชาการเงิน หากสัญญานั้นทําใหเกิดสถานการณตอไปนี้อยางนอยหนึ่งสถานการณ 1. สัญญาเชาโอนความเปนเจาของในสินทรัพยแกผูเชาเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเชา 2. ผูเชามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพยดวยราคาที่ต่ํากวามูลคายุติธรรม ณ วันที่สิทธิเลือกซื้อเกิดขึ้น โดยราคาตามสิทธิเลือกซื้อนั้น มีจํานวนต่ํากวามูลคายุติธรรมของสินทรัพยมากเพียงพอที่จะทําใหเกิดความแนใจอยางสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มตนของสัญญาเชา วาผูเชาจะใชสิทธิเลือกซื้อสินทรัพยนั้น 3. ระยะเวลาของสัญญาเชาครอบคลุมอายุการใหประโยชนเชิงเศรษฐกิจสวนใหญของสินทรัพยแมวาจะไมมีการโอน กรรมสิทธิ์เกิดขึ้น 4. ณ วันเริ่มตนของสัญญาเชา มูลคาปจจุบันของจํานวนเงินขั้นต่ําที่ตองจายมีจํานวนเทากับหรือเกือบเทากับมูลคา ยุติธรรมของสินทรัพยที่เชา และ


147

- 20 5. สินทรัพยที่เชามีลักษณะเฉพาะจนกระทั่งมีผูเชาเพียงผูเดียวที่สามารถใชสินทรัพยนั้น โดยไมจําเปนตองนําสินทรัพย ดังกลาวมาทําการดัดแปลงที่สําคัญ 3.10 สินทรัพยไมมีตัวตน 3.10.1 สิทธิการใชที่ดิน สิทธิการใชที่ดินใตแนวสายสงไฟฟามีอายุการใหประโยชนไมทราบแนนอน เนื่องจากคาดวาจะไดรับประโยชน เชิงเศรษฐกิจในอนาคต โดยไมมีระยะเวลาจํากัด สวนสิทธิการใชที่ดินอื่นๆ หากทราบอายุการใหประโยชนแนนอน จะตัดจําหนาย ตามอายุการใหประโยชนที่ทราบแนนอน 3.10.2 โปรแกรมคอมพิวเตอร และคาลิขสิทธิ์ซอฟตแวร โปรแกรมคอมพิวเตอรของ กฟผ. ตัดจําหนายเปนคาใชจายตามอายุการใหประโยชนไ มเกิน 5 ป โดยมีการ ทบทวนวิธีการตัดจําหนายและระยะเวลาการตัดจําหนายทุกงวดปบัญชี คาลิขสิทธิ์ซอฟตแวร ตัดจําหนายตามอายุการใหประโยชน 5 - 10 ป 3.10.3 สิทธิการใชประโยชนในที่ราชพัสดุ เมื่ อ งวดบั ญ ชี ป 2533 กฟผ. ได รั บ สิ ท ธิ ก ารใช ป ระโยชน ใ นที่ ดิ น และอาคารบริ เ วณเขื่ อ นสิ ริ กิ ติ์ ซึ่ ง เป น ที่ราชพัสดุ โดยไมเสียคาใชจาย โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง และ กฟผ. ไดรับรูมูลคาราคาทุนของเขื่อนสิริกิติ์เปนสิทธิ การใช ป ระโยชน ใ นที่ ร าชพั ส ดุ เฉพาะส ว นที่ ใ ช ป ระโยชน ใ นการผลิ ต กระแสไฟฟ า คู กั บ ส ว นเกิ น ทุ น จากสิ ท ธิ การใช ป ระโยชน ในที่ ราชพั สดุ โดยจะรั บรู เป นค าใช จ ายตั ดจ ายจากสิ ทธิ การใช ประโยชน ในที่ ราชพั สดุ ภายใน 59 ป ตามอายุ การใชงานคงเหลือของเขื่อนสิริกิติ์ 3.10.4 สิทธิในการเชื่อมโยงระบบจําหนายไฟฟา สิทธิในการเชื่อมโยงระบบจําหนายไฟฟา ตัดจําหนายโดยใชวิธีเสนตรง ตามอายุการใหประโยชน 8 ป 3.10.5 สิทธิในการพัฒนาโครงการ ตนทุนที่เกิดขึ้นของการพัฒนาโครงการรับรูเปนสินทรัพยไมมีตัวตน เมื่อมีความเปนไปไดคอนขางแนวา โครงการ นั้นจะประสบความสําเร็จ การทยอยตัดจําหนายตนทุนการพัฒนาโครงการที่บันทึกเปนสินทรัพย จะเริ่มตนเมื่อเริ่มดําเนินการ ในเชิงพาณิชย และจะตัดจําหนายโดยวิธีเสนตรงตลอดระยะเวลาที่คาดวาจะไดรับประโยชนของการพัฒนา 3.10.6 รายจายในการวิจัยและพัฒนา รายจายในการวิจัยและพัฒนา แบงเปน 2 ขั้นตอนตามลักษณะของขั้นตอนการดําเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. รายจายในขั้นตอนการวิจัย ไดแก การสํารวจตรวจสอบเพื่อใหไ ดมาซึ่งความรูความเขาใจใหมทางดาน วิทยาศาสตรหรือทางดานเทคนิค รับรูในกําไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดรายการทันที 2. รายจายในขั้นตอนการพัฒนา เปนรายจายซึ่งเกี่ยวของกับแผนงานหรือการออกแบบสําหรับผลิตภัณฑและ กระบวนการใหมหรือปรับปรุงใหดีขึ้นกวาเดิม โดยจะรับรูเปนสินทรัพยก็ตอเมื่อสามารถวัดมูลคาของรายการตนทุนการพัฒนาได อย างนา เชื่อ ถือ หรือ ผลิต ภัณ ฑ หรือ กระบวนการนั้ นมี ความเปน ไปไดท างเทคนิค และทางการค า และกอ ใหเ กิด ประโยชน


148

- 21 เชิงเศรษฐกิจ ทั้งนี้ กฟผ. ตองมีความตั้งใจและมีทรัพยากรเพียงพอที่จะนําองคความรูที่ไดรับไปทําการพัฒนารายการดังกลาวให เสร็จสิ้นสมบูรณ และนําสินทรัพยไปใชประโยชนหรือนําไปขายได รายจายในการพัฒนาที่รับรูเปนสินทรัพย จะประกอบดวยตนทุนสําหรับวัตถุดิบ ตนทุนแรงงาน ตนทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวของโดยตรงในการจัดเตรียมสินทรัพยเพื่อใหสามารถนํามาใชประโยชนตามวัตถุประสงค และตนทุนการกูยืม รายจายในการพัฒนาซึ่งรับรูเปนสินทรัพย จะแสดงดวยราคาทุนหักดวยคาตัดจําหนายสะสม และในกรณีที่ สินทรัพยตนแบบสามารถนําไปใชงานในการดําเนินการได กฟผ. จะแยกตนทุนของทรัพยสินที่มีตัวตนออกจากสินทรัพยไมมีตัวตน เพื่อจัดประเภทรายการดังกลาวเปนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ ตามประเภทของสินทรัพยรายการนั้นๆ 3.11 คาความนิยม คา ความนิย มเกิด จากสว นของตน ทุน การซื้อ ธุร กิจ ของกลุม บริษัท ยอ ยที่สูง กวา มูล คา ยุต ิธ รรมที่ก ลุ ม บริษัท ยอ ย มีสวนไดเสียในสินทรัพยและหนี้สินที่ระบุไดของบริษัทยอย การรวมคา หรือบริษัทรวม ณ วันที่ซื้อธุรกิจ คาความนิยมวัดมูลคาดวยราคาทุน หักคาเผื่อการดอยคาสะสม คาความนิยมไดถูกทดสอบการดอยคา โดยยอดสินทรัพย ตามบัญชีของกลุมบริษัทยอยไดรับการทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานวา มีขอบงชี้เรื่องการดอยคาหรือไม ในกรณีที่มีขอบงชี้จะทําการ ประมาณมูลคาสินทรัพยที่คาดวาจะไดรับคืน มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของคาความนิยมจะถูกประมาณ ณ ทุกวันที่รายงาน ก็ตอเมื่อมีขอบงชี้เรื่องการดอยคา 3.12 คาพัฒนาโครงการรอเรียกเก็บ คาพัฒนาโครงการรอเรียกเก็บของบริษัทยอย จะบัน ทึกเปนสิน ทรัพยเมื่อ ไดรับอนุมัติหลักการในการลงทุนโครงการ จากกระทรวงพลัง งาน ทั้ง นี้ห ากคณะกรรมการบริษัท พิจ ารณาแลว มีม ติอ นุมัติใ หยุติก ารพัฒ นาโครงการนั้น บริษัท จะตัด รายการมูลคาของคาใชจายในการพัฒนาโครงการที่ไดบันทึกเปนสินทรัพยไว โดยรับรูเปนคาใชจายในงบกําไรขาดทุนในงวดนั้นทันที 3.13 รายจายรอการตัดบัญชีดานเหมืองลิกไนต 3.13.1 คาใชจายในการเปดหนาดิน คาใชจายในการเปดหนาดินที่ตัดจายเปนคาใชจาย คํานวณจากปริมาณถานลิกไนตที่ขุดไดในงวดนั้นๆ คูณดวย 6.09 (อัตราสวนระหวางปริมาณดินตอปริมาณถานลิกไนตที่สามารถนํามาใชประโยชนไดทั้งหมด (Stripping Ratio) ซึ่งเทากับ 6.09 : 1) คูณดวยราคาถัวเฉลี่ยของคาใชจายในการเปดหนาดินที่เกิดขึ้นตอลูกบาศกเมตรของปริมาณงานเปดหนาดินที่เกิดขึ้น หาก Stripping Ratio ที่เกิดขึ้นจริงในแตละงวดสูงกวา 6.09 สวนเกินจะบันทึกบัญชีเปนรายจายรอการตัดบัญชีงานเปดหนาดิน อยางไรก็ตาม คาตัดจายงานเปดหนาดินสะสมจะตองไมมากกวารายจายรอการตัดบัญชีที่มีอยู 3.13.2 คาใชจายในการสํารวจแหลงแร และคาใชจายในการสํารวจเพื่อการพัฒนาขั้นตน คาใชจายในการสํารวจแหลงแร และคาใชจายในการสํารวจเพื่อการพัฒนาขั้นตน จะรับรูเปนคาใชจายที่เกิดขึ้นใน ปนั้นๆ เวนแตแหลงสํารวจนั้นมีแผนจะสรางโรงไฟฟาตามแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟาหรือเปนบริเวณที่ทําการขยายเหมือง จะรับรู เปนรายจายรอการตัดบัญชี และตัดจายเปนคาใชจาย โดยคํานวณจากอัตราสวนของรายจายรอการตัดบัญชีตอปริมาณถานลิกไนต ที่สามารถนํามาใชประโยชนไดทั้งหมด คูณดวยปริมาณถานลิกไนตที่ขุดไดในงวดนั้นๆ


149

- 22 3.13.3 คาใชจายงานหมูบานอพยพ ค า ใช จ า ยงานหมู บ า นอพยพตั ด จ า ยเป น ค า ใช จ า ย โดยคํ า นวณจากค า ใช จ า ยจริ ง ของงานหมู บ า นอพยพ ทั้งโครงการ หารดวยปริมาณถานลิกไนตที่คาดวาจะสามารถขุดขึ้นมาใชตลอดอายุของโรงไฟฟา คูณดวยปริมาณถานลิกไนตที่ขุดได ในแตละงวด เวนแตคาใชจายงานหมูบานอพยพสําหรับพื้นที่ที่ไมไดใชขุดถานจะรับรูเปนคาใชจายในงวดบัญชีที่เกิดคาใชจายจริง 3.13.4 คาประทานบัตรแร คาประทานบัตรแร เปนผลประโยชนพิเศษที่ตองจายใหแกรัฐในอัตรารอยละ 0.1 ของมูลคาแหลงแรทั้งหมด ในแปลงประทานบัตรเฉพาะสวนที่ทําเหมืองแรเกินกวา 50 ลานบาท (ยกเวนแหลงแรที่มีมูลคาต่ํากวาหรือเทากับ 50 ลานบาท ไมตองจายผลประโยชนพิเศษ) ประทานบั ต รแต ล ะฉบั บ มี อ ายุ 25 ป จะรั บ รู เ ป น รายจ า ยรอการตั ด บั ญ ชี และตั ด จ า ยเป น ค า ใช จ า ยตาม อายุประทานบัตร 3.14 เงินตราตางประเทศ รายการที่เปนเงินตราตางประเทศ แปลงคาเปนเงินบาทโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ รายการสินทรัพย และหนี ้ส ิน ที ่เ ปน เงิน ตราตา งประเทศคงเหลือ ณ วัน สิ ้น งวดบัญ ชีจ ะปรับ มูล คา เปน เงิน บาท โดยใชอ ัต ราแลกเปลี ่ย นที่ ธนาคารแหงประเทศไทยประกาศใชเปนอัตราอางอิง ณ วันสิ้นงวด กําไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นรับรูเปน รายไดหรือคาใชจายทั้งจํานวนในงวดบัญชีนั้น 3.15 ภาระผูกพันผลประโยชนของพนักงาน ภาระผูก พัน ผลประโยชนพ นัก งานของ กฟผ. และบริษ ัท ยอ ย รับ รู แ ละวัด มูล คา ผลประโยชนข องพนัก งาน แตละประเภท ดังนี้ 1. ผลประโยชนของพนักงานระยะสั้น รับรูคา ใชจา ยในงบกํา ไรขาดทุน ในงวดที่เ กิด รายการ สํา หรับ ผลประโยชน ระยะสั้น ของพนัก งานในรูป แบบของการลางานที่ไ ดรับ คา ตอบแทนที่ส ะสมได รับ รูตน ทุน ที่ค าดวา จะเกิด ขึ้น เมื่อพนัก งาน ใหบริการ 2. ผลประโยชนหลังออกจากงาน - โครงการสมทบเงิน กฟผ. และบริษัท ยอ ย มีก ารจัด ตั้ง กองทุน สํา รองเลี้ย งชีพ เปน นิติบุค คลแยกตา งหากออกไปจาก กฟผ. และบริษัท ยอ ย ซึ่ง เงิน ที่นํา สง กองทุน จะประกอบดว ย เงิน ที่พ นัก งานจา ย สะสมและเงินที่ กฟผ. และบริษัทยอย จายสมทบใหเ ปน รายเดือ น เงิน จา ยสมทบกองทุน สํา รองเลี้ย งชีพ จะไมตั้ง ประมาณ การหนี้สิน แตจะบันทึกเปนคาใชจายในงบกําไรขาดทุนในงวดที่เกิดรายการ 3. ผลประโยชนห ลัง ออกจากงาน - โครงการผลประโยชนใ ชเ ทคนิค การประมาณการตามหลัก คณิต ศาสตร ประกันภัยและใชอัตราคิดลดผลประโยชนต ามหนว ยที่ป ระมาณการไว (Projected unit credit method) เพื่อ หามูล คา ปจ จุบัน ของภาระผูก พัน ตน ทุน บริก ารปจ จุบัน ตน ทุน บริก ารในอดีต และดอกเบี้ย สุท ธิ โดยรับ รูเ ปน หนี้สิน ในงบแสดง ฐานะการเงิน และรับรูเปนคาใชจายในงบกําไรขาดทุน


150

- 23 กรณีที่เ กิด ผลตา งจากการจา ยเงิน ผลประโยชนพ นัก งานกับ ยอดประมาณการตามหลัก คณิต ศาสตรป ระกัน ภัย กฟผ. ยัง ไมรับ รูร ายการดัง กลา วจนกวา จะมีก ารทบทวนขอ สมมติใ นการประมาณการตามหลัก คณิต ศาสตรป ระกัน ภัย ซึ่ง จะทบทวนทุก 3 ป หรือ เมื่อ มีขอ บง ชี้ โดยจะรับ รู ผ ลกํา ไรและขาดทุน จากการประมาณการตามหลัก คณิต ศาสตร ประกันภัยในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น 4. ผลประโยชนร ะยะยาวอื่น ของพนัก งาน ใชเ ทคนิค การประมาณการตามหลัก คณิต ศาสตรป ระกัน ภัย และใช อัต ราคิด ลดผลประโยชนต ามหนว ยที่ป ระมาณการไว (Projected unit credit method) เพื่อ กํา หนดมูล คา ปจ จุบัน ของ ภาระผูก พัน ตน ทุน บริก ารปจ จุบัน ตน ทุน บริก ารในอดีต และดอกเบี้ย สุท ธิ โดยรับ รูเ ปน หนี้สิน ในงบแสดงฐานะการเงิน และรับรูเปนคาใชจายในงบกําไรขาดทุน กรณีที่เกิดผลตางจากการจายเงินผลประโยชนพนักงานกับ ยอดประมาณการตามหลัก คณิต ศาสตรป ระกัน ภัย กฟผ. ยัง ไมรับ รูร ายการดัง กลา วจนกวา จะมีก ารทบทวนขอ สมมติใ นการประมาณการตามหลัก คณิต ศาสตรป ระกัน ภัย ซึ่ง จะทบทวนทุก 3 ป หรือ เมื่อ มีขอ บง ชี้ โดยจะรับ รู ผ ลกํา ไรและขาดทุน จากการประมาณการตามหลัก คณิต ศาสตร ประกันภัยในงบกําไรขาดทุนทันที เนื่องจากคาใชจายเกี่ยวกับผลประโยชนพนักงานถือเปน สวัส ดิก าร กฟผ. จะปน สว นคา ใชจา ยดัง กลา วไปเปน ตน ทุน ของสิน ทรัพ ย หนี ้สิน ตน ทุน ขายไฟฟา คา ใชจ า ยในการขายและบริห าร และตน ทุน ขายสิน คา และบริก ารอื ่น ตามการปฏิบัติงานของพนักงานนั้นๆ โดยถือปฏิบัติเชนเดียวกับเงินเดือน คาแรง และสวัสดิการอื่น 3.16 ประมาณการหนี้สินเพื่อการฟนฟูสภาพบริเวณเหมือง กฟผ. ไดตั้งประมาณการหนี้สินไวสําหรับดําเนินการดานฟนฟูสภาพบริเวณเหมืองลิกไนตที่อําเภอแมเมาะ จังหวัดลําปาง ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดย กฟผ. ไดตั้งประมาณการหนี้สินที่ตองฟนฟูสภาพบริเวณเหมืองตามกฎหมายภายหลังที่ กฟผ. ไดเลิกทําเหมือง คาใชจายในการฟนฟูสภาพบริเวณเหมืองที่ถือเปนคาใชจายในงวดบัญชีจะคํานวณโดยการประมาณคาใชจายในการฟนฟูสภาพ บริเวณเหมืองทั้งโครงการหารดวยปริมาณถานลิกไนตที่คาดวาจะขุดไดตลอดอายุการทําเหมือง คูณดวยปริมาณถานลิกไนตที่ขุดได ในแตละงวด 3.17 กองทุนสงเคราะหและกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กฟผ. มีกองทุนสงเคราะหเพื่อใหการสงเคราะหแกพนักงานในกรณีที่พนจากตําแหนง โดยจายเงินสมทบเขากองทุน เปนรายเดือน ในอัตรารอยละ 10 ของเงินเดือนพนักงานที่เปนสมาชิกและรับรูเปนคาใชจายในงบกําไรขาดทุนของ กฟผ. ทั้งจํานวน และไดรวมรายการบัญชีของกองทุนไวในงบการเงินของ กฟผ. เมื่ อวั นที่ 1 มกราคม 2538 กฟผ. ได จดทะเบี ย นจั ดตั้ งกองทุ นสํ ารองเลี้ย งชี พ ตาม พ.ร.บ. กองทุน สํา รองเลี้ ยงชี พ พ.ศ. 2530 โดยกระทรวงการคลังกําหนดเปนนโยบายใหรัฐวิสาหกิจจายเงินสมทบเขากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งอัตราเงินสมทบ ที่ กฟผ. จะจายเขากองทุนตองไดรับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังกอน สวนพนักงานมีสิทธิเลือกจายเงินสะสมเขากองทุน ในอัตราขั้นต่ํารอยละ 3 ของเงินเดือน แตไมเกินกวาอัตราเงินสมทบที่ กฟผ. จายเขากองทุนนั้น โดย กฟผ. จะรับรูคาใชจาย ในสวนของเงินสมทบในงวดบัญชี อนึ่ง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพถือเปนนิติบุคคลที่แยกตางหากไปจาก กฟผ.


151

- 24 3.18 รายไดรอการรับรู 3.18.1 เงินชวยเหลือเพื่อการกอสราง กรณี ไ ด รั บเงิ นช ว ยเหลือ เพื่อ การก อสร างจากผู ใช ไ ฟฟ า ซื้อ ตรงจาก กฟผ. เมื่อ ก อสร างแลว เสร็ จ สิ น ทรั พ ย เปนกรรมสิทธิ์ของ กฟผ. จะโอนเงินชวยเหลือรอการรับรูเปนรายไดตามอายุการใหประโยชนของสินทรัพยนั้น กรณีไดรับเงินชวยเหลือเพื่อการกอสรางจากผูผลิตไฟฟาเอกชน เมื่อกอสรางแลวเสร็จ สินทรัพยเปนกรรมสิทธิ์ ของ กฟผ. จะโอนเงินชวยเหลือรอการรับรูเปนรายไดตามอายุสัญญาซื้อขายไฟฟา กรณีผูผลิตไฟฟาเอกชนกอสรางสินทรัพยเองแลวยกใหเปนกรรมสิทธิ์ของ กฟผ. จะบันทึกบัญชีสินทรัพยคูกับ เงินชวยเหลือรอการรับรู และจะโอนเงินชวยเหลือรอการรับรูเปนรายไดตามอายุสัญญาซื้อขายไฟฟา 3.18.2 รายไดจากการรับบริจาค การรับบริจาคเป นสิน ทรัพ ยแ ละเงินบริจาคของรัฐ บาลและสถาบัน การเงิน ตางประเทศ ซึ่ งให อยูใ นรูป ของ สวนลดดอกเบี้ยหรือเงินใหเปลา เพื่อนําไปใชจายในการพัฒนาโครงการตางๆ ของ กฟผ. ตามวัตถุประสงคของผูบริจาคไดบันทึก เปนรายไดรอการรับรูแสดงภายใตหนี้สิน และจะรับรูเปนรายไดตามอายุการใหประโยชนของสินทรัพย และสําหรับเงินที่ไดรับ บริจาคจะรับรูเปนรายไดตามจํานวนคาใชจายที่เกิดขึ้น 3.19 รายไดจากการขายไฟฟา รับรูเมื่อสงมอบไฟฟาใหกับลูกคาตามจํานวนหนวยขายจากเครื่องวัดหนวยไฟฟา ณ จุดสงมอบตามสัญญาซื้อขายไฟฟา สําหรับรายไดตามสูตรการปรับอัตราคา ไฟฟาโดยอัตโนมัติ (Ft) รับรูเปนรายไดตามเกณฑที่เกิดขึ้นในงวด ซึ่งประกอบดว ย รายไดคา Ft ที่เรียกเก็บไดจริงในแตละงวดตามมติของคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) และรับรูรายไดคา Ft คางรับ หรือรายไดคา Ft รับลวงหนาจากสวนตางของคา Ft ที่คํานวณไดตามสูตรการปรับอัตราคาไฟฟาโดยอัตโนมัติกับ คา Ft ที่เรียกเก็บ ในงวดนั้น เงินชดเชยคาไฟฟารอการรับรู เกิดขึ้นจากการที่ กฟผ. ไดรับเงินชดเชยคาเชื้อเพลิงหรือเงินชดเชยคากระแสไฟฟา จากผูขายเชื้อเพลิงหรือผูผลิตไฟฟารายอื่น แตเงินชดเชยดังกลาว กกพ. ยังไมมีมติอนุมัติใหนําไปรวมในโครงสรางคาไฟฟา และ กฟผ. จะรับรูเปนรายไดคาขายไฟฟาก็ตอเมื่อมีมติอนุมัติจาก กกพ. 3.20 รายไดจากการขายสินคาและบริการอื่น 3.20.1 รายได จ ากการขายสิ นค า อื่ น ๆ เช น รายได จ ากการจั ดหาเชื้อ เพลิ งให บ ริษั ท ในเครื อ รายไดจ ากการขาย กาซไฮโดรเจน น้ํากลั่น เคมีภัณฑ และผลผลิตพลอยไดจากการผลิตไฟฟา รับรูเปนรายไดเมื่อมีการสงมอบสินคาและโอนกรรมสิทธิ์ ใหลูกคา 3.20.2 รายไดจากการใหบริการ เชน รายไดจากการใหบริการเดินเครื่องและบํารุงรักษาโรงไฟฟา การใหบริการ ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม รับรูเปนรายไดตามขั้นความสําเร็จของงาน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 3.21 รายไดดอกเบี้ย รับรูตามเกณฑสัดสวนของเวลา โดยคํานึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แทจริงของสินทรัพย


กาซไฮโดรเจน น้ํากลั่น เคมีภัณฑ และผลผลิตพลอยไดจากการผลิตไฟฟา รับรูเปนรายไดเมื่อมีการสงมอบสินคาและโอนกรรมสิทธิ์ 152 ใหลูกคา 3.20.2 รายไดจากการใหบริการ เชน รายไดจากการใหบริการเดินเครื่องและบํารุงรักษาโรงไฟฟา การใหบริการ ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม รับรูเปนรายไดตามขั้นความสําเร็จของงาน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 3.21 รายไดดอกเบี้ย รับรูตามเกณฑสัดสวนของเวลา โดยคํานึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แทจริงของสินทรัพย - 25 3.22 ตนทุนทางการเงิน ตนทุนทางการเงินไดรวมดอกเบี้ยจาย คาธรรมเนียมผูกพัน และคาใชจายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเงินกูระยะยาว สําหรับดอกเบี้ยจาย ที่เกิดจากเงินกูระยะยาวที่กูมาเพื่อวัตถุประสงคใหไดมาซึ่งสินทรัพยถาวรและสินทรัพยถาวรนั้นอยูระหวางกอสรางรับรูเปนตนทุน งานระหวางกอสราง และดอกเบี้ยจายที่เกิดขึ้นหลังจากงานกอสรางแลวเสร็จรับรูเปนคาใชจาย สวนดอกเบี้ยจายที่เกิดจากเงินกู ที่กูมาเพื่อวัตถุประสงคใชหมุนเวียนในกิจการ รับรูเปนคาใชจายในงวดบัญชีที่คาใชจายนั้นเกิดขึ้นทั้งจํานวน 3.23 บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน บุ ค คลหรื อ กิ จ การที่ เ กี่ ย วข อ งกั น กั บ กฟผ. หมายถึ ง บุ ค คลหรื อ กิ จ การที่ มี อํ า นาจบริ ห ารหรื อ ควบคุ ม กฟผ. หรื อ ถูกควบคุมโดย กฟผ. ไมวาจะเปนโดยทางตรงหรือทางออม หรืออยูภายใตการควบคุมเดียวกันกับ กฟผ.รวมถึงบริษัทยอย และ กิจการที่เปนบริษัทยอยในเครือเดียวกัน นอกจากนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกันยังหมายรวมถึงบริษัทรวม และบุคคลซึ่งถือหุน ที่มีสิทธิออกเสียงไมวาทางตรงหรือทางออมและมีอิทธิพลอยางเปนสาระสําคัญกับ กฟผ. กรรมการ ผูบริหาร หรือพนักงานของ กฟผ. ในการพิจารณาความสัมพันธระหวางบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. แตละรายการ กฟผ. คํานึงถึงเนื้อหาของ ความสัมพันธมากกวารูปแบบทางกฎหมาย 3.24 เครื่องมือทางการเงิน สิ น ทรั พ ย ท างการเงิ น ที่ แ สดงในงบการเงิ น ประกอบด ว ย เงิ น สดและรายการเที ย บเท า เงิ น สด เงิ น ลงทุ น ชั่ ว คราว ลูก หนี้ ก ารค า -กิ จ การอื่ น และลู ก หนี้ ก ารคา -กิ จ การที่ เ กี่ ย วข อ งกั น หนี้ สิ น ทางการเงิ น ที่ แ สดงอยู ใ นงบการเงิ น ประกอบด ว ย เจาหนี้การคา-กิจการอื่น เจาหนี้การคา-กิจการที่เกี่ยวของกัน เจาหนี้อื่น เงินกูยืม สําหรับนโยบายบัญชีของแตละรายการไดเปดเผย ไวในแตละหัวขอที่เกี่ยวของ กฟผ. ได ใช เครื่อ งมื อทางการเงิ นเพื่อ ลดความเสี่ย งจากการผั นผวนของอัต ราแลกเปลี่ ยนเงิน ตราต างประเทศและ อัตราดอกเบี้ย เครื่องมือที่ ใชสวนใหญประกอบดวย สั ญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญ ญาแลกเปลี่ย นสกุลเงินและ อัตราดอกเบี้ย และการปองกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด สัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนาเปนเครื่องมือทางการเงินที่ใชในการปองกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวน ของอั ต ราแลกเปลี่ ย น ซึ่ ง เป น การซื้ อ เงิ น ตราต า งประเทศตามอั ต ราแลกเปลี่ ย นที่ ต กลงกั น ณ วั น ที่ ใ นอนาคตที่ ร ะบุ ไ ว โดยสัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา จะไมรับรูในงบการเงิน ณ วันทําสัญญา แตจะรับรูผลตางที่เกิดขึ้นในงบกําไรขาดทุน เมื่อครบกําหนดการชําระตามสัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ย สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ยเปนเครื่องมือทางการเงินที่ใชปองกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเกิดจากภาระหนี้เงินกูที่เปนสกุลเงินตราตางประเทศ สัญญาแลกเปลี่ยนนี้จะไมรับรู ในงบการเงิน ณ วันทําสัญญา แตจะรับรูผลตางที่เกิดขึ้นในงบกําไรขาดทุนเมื่อถึงกําหนดชําระตามเงื่อนไขที่กําหนดไวในสัญญา


สัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนาเปนเครื่องมือทางการเงินที่ใชในการปองกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวน ของอั ต ราแลกเปลี่ ย น ซึ่ ง เป น การซื้ อ เงิ น ตราต า งประเทศตามอั ต ราแลกเปลี่ ย นที่ ต กลงกั น ณ วั น ที่ ใ นอนาคตที่ ร ะบุ ไ ว โดยสัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา จะไมรับรูในงบการเงิน ณ วันทําสัญญา แตจะรับรูผลตางที่เกิดขึ้นในงบกําไรขาดทุน เมื่อครบกําหนดการชําระตามสัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ย สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ยเปนเครื่องมือทางการเงินที่ใชปองกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเกิดจากภาระหนี้เงินกูที่เปนสกุลเงินตราตางประเทศ สัญญาแลกเปลี่ยนนี้จะไมรับรู ในงบการเงิน ณ วันทําสัญญา แตจะรับรูผลตางที่เกิดขึ้นในงบกํา- ไรขาดทุ 26 - นเมื่อถึงกําหนดชําระตามเงื่อนไขที่กําหนดไวในสัญญา การปองกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด การปองกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสดเปนเครื่องมือปองกันความเสี่ยงจากการผันผวนของกระแสเงินสด ซึ่งเกิดจาก ความเสี่ ย งเฉพาะเจาะจงที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ สิ น ทรั พ ย ห รื อ หนี้ สิ น ผลกํ า ไรหรื อ ขาดทุ น ส ว นที่ มี ป ระสิ ท ธิ ผ ลในมู ล ค า ยุ ติ ธ รรม ของตราสารปอ งกั นความเสี่ย ง จะรั บรู ในกํ าไรขาดทุ นเบ็ ดเสร็จ อื่น และผลกํา ไรหรือ ขาดทุน สวนที่ไ มมีป ระสิทธิ ผล จะรับ รู ในงบกําไรขาดทุนทันทีภายใตรายไดคาใชจายอื่น 3.25 การจัดการความเสี่ยงในสวนของทุน วัตถุประสงคของบริษัทยอยในการบริหารทุนของบริษัทนั้นเพื่อดํารงไวซึ่งความสามารถในการดําเนินงานอยางตอเนื่อง ของบริษัทยอย เพื่อสรางผลตอบแทนตอผูถือหุนและเปนประโยชนตอผูที่มีสวนไดเสียอื่น และเพื่อดํารงไวซึ่งโครงสรางของทุน ที่เหมาะสมเพื่อลดตนทุนทางการเงินของทุน 3.26 การเปดเผยขอมูลสวนงานดําเนินงาน กฟผ. และบริษัทยอย ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 8 เรื่อง สวนงานดําเนินงาน ขอมูลสวนงาน ดําเนินงานที่นําเสนอนี้สอดคลองกับรายงานภายในของ กฟผ. และบริษัทยอยที่ผูมีอํานาจตัดสินใจสูงสุดดานการดําเนินงานไดรับ และสอบทานอยา งสม่ํ า เสมอ เพื่ อใช ใ นการตั ด สิ นใจในการจั ด สรรทรั พ ยากรให กั บส ว นงานและประเมิน ผลการดํา เนิน งาน ของสวนงาน ทั้งนี้ผูมีอํานาจตัดสินใจสูงสุดดานการดําเนินงานของ กฟผ. คือคณะกรรมการของ กฟผ. กฟผ. และบริษัทยอยดําเนินธุรกิจหลักในสวนงานดําเนินงานที่รายงานเพียงสวนงานเดียว คือการผลิต จัดใหไดมา จัดสงหรือ จําหนายพลังงานไฟฟา และดําเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของ กฟผ. หรือรวมทุนกับบุคคลอื่นเพื่อดําเนินการดังกลาว ดังนั้น รายได กําไรจากการดําเนินงาน และสินทรัพยทั้งหมดที่แสดงอยูในงบการเงินจึงถือเปนการรายงานตามสวนงานดําเนินงานแลว 4. มาตรฐานการบั ญ ชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิ น การตี ค วามมาตรฐานการบั ญ ชี และการตี ค วามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ มีผลบังคับใชสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 - มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การนําเสนองบการเงิน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สินคาคงเหลือ

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง งบกระแสเงินสด

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และขอผิดพลาด

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง เหตุการณภายหลังรอบระยะเวลารายงาน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สัญญากอสราง

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ภาษีเงินได

153


มีผลบังคับใชสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 154

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การนําเสนองบการเงิน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สินคาคงเหลือ

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง งบกระแสเงินสด

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และขอผิดพลาด

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง เหตุการณภายหลังรอบระยะเวลารายงาน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สัญญากอสราง

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ภาษีเงินได

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2558) - มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สัญญาเชา - 27 เรื่อง รายได

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ผลประโยชนของพนักงาน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 20 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การบัญชีสําหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปดเผย ขอมูลเกี่ยวกับความชวยเหลือจากรัฐบาล

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ตางประเทศ

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ตนทุนการกูยืม

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การเปดเผยขอมูลเกีย่ วกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชนเมื่อ ออกจากงาน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจที่เงินเฟอรุนแรง

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง กําไรตอหุน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง งบการเงินระหวางกาล

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การดอยคาของสินทรัพย

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ประมาณการหนี้สิน หนีส้ ินทีอ่ าจเกิดขึ้น และสินทรัพย ที่อาจเกิดขึ้น

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สินทรัพยไมมตี ัวตน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง อสังหาริมทรัพยเพื่อการลงทุน

- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41

เรื่อง เกษตรกรรม

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การรวมธุรกิจ

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สัญญาประกันภัย

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขายและ การดําเนินงานที่ยกเลิก

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การสํารวจและการประเมินคาแหลงทรัพยากรแร

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สวนงานดําเนินงาน


- มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 41

เรื่อง เกษตรกรรม

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 3 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การรวมธุรกิจ

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สัญญาประกันภัย

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สินทรัพยไมหมุนเวียนที่ถือไวเพื่อขายและ การดําเนินงานที่ยกเลิก

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 6 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การสํารวจและการประเมินคาแหลงทรัพยากรแร

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สวนงานดําเนินงาน

- มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง งบการเงินรวม - มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง การรวมการงาน - มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง การเปดเผยขอมูลเกีย่ วกับสวนไดเสียในกิจการอื่น - มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง การวัดมูลคายุติธรรม - การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง ความชวยเหลือจากรัฐบาล – กรณีที่ไมมีความเกี่ยวของ อยางเฉพาะเจาะจงกับกิจกรรมดําเนินงาน - การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 15 (ปรับปรุง 2558) - 28 เรื่อ-ง สัญญาเชาดําเนินงาน – สิ่งจูงใจที่ใหแกผูเชา - การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง ภาษีเงินได – การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางภาษีของ กิจการหรือของผูถือหุน - การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง การประเมินเนื้อหาสัญญาเชาที่ทําขึ้นตามรูปแบบกฎหมาย - การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง การเปดเผยขอมูลของขอตกลงสัมปทานบริการ - การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง รายได - รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา - การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง สินทรัพยไมมตี ัวตน - ตนทุนเว็บไซต - การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การเปลี่ยนแปลงในหนีส้ ินที่เกิดขึ้นจากการรื้อถอน การบูรณะ และหนี้สินทีม่ ีลักษณะคลายคลึงกัน

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 4 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การประเมินวาขอตกลงประกอบดวยสัญญาเชาหรือไม

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สิทธิในสวนไดเสียจากกองทุนการรื้อถอน การบูรณะ และการปรับปรุงสภาพแวดลอม

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การปรับปรุงยอนหลังภายใตมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง การรายงานทางการเงินในสภาพ เศรษฐกิจที่เงินเฟอรุนแรง

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง งบการเงินระหวางกาลและการดอยคา

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ขอตกลงสัมปทานบริการ

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 14 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ขอจํากัดสินทรัพยตามโครงการผลประโยชน ขอกําหนด เงินทุนขั้นต่ําและปฏิสมั พันธของรายการเหลานี้ สําหรับ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง ผลประโยชนของพนักงาน

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สัญญาสําหรับการกอสรางอสังหาริมทรัพย

155


(ปรับปรุง 2558) 156

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ขอตกลงสัมปทานบริการ

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง โปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 14 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ขอจํากัดสินทรัพยตามโครงการผลประโยชน ขอกําหนด เงินทุนขั้นต่ําและปฏิสมั พันธของรายการเหลานี้ สําหรับ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2558) เรื่อง ผลประโยชนของพนักงาน

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง สัญญาสําหรับการกอสรางอสังหาริมทรัพย

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การจายสินทรัพยที่ไมใชเงินสดใหเจาของ

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง การโอนสินทรัพยจากลูกคา

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 20 (ปรับปรุง 2558)

เรื่อง ตนทุนการเปดหนาดินในชวงการผลิตสําหรับเหมืองผิวดิน

- การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 21

เรื่อง เงินที่นําสงรัฐ

ผูบริหารของ กฟผ. ไดประเมินและเห็นวาหากมีการนํามาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ มาตรฐานการบัญชี และการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกลาวขางตนมาใชปฏิบัติ จะไม มีผลกระทบอยางเป น สาระสําคัญตองบการเงินที่นําเสนอ - 29 5. ผลกระทบตองบการเงินจากการปรับปรุงงบการเงินของ กฟผ. บริษัทยอย และบริษัทรวม และการรวมคา ผลกระทบจากการถือปฏิบัตติ ามมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม การนําเสนองบการเงิน ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง การนําเสนอ งบการเงิน ซึ่งกําหนดใหมีการจัดกลุมการนําเสนอรายการที่รับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น แยกเปนรายการที่สามารถรับรูในกําไร หรือขาดทุนในภายหลัง และรายการที่ไมสามารถรับรูเปนกําไรหรือขาดทุนในภายหลัง มาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงนี้จึงมีผลตอ การแสดงรายการเทานั้น ไมมีผลกระทบตอฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานของ กฟผ. งบการเงินรวม ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม ซึ่งกําหนดหลักการพิจารณาเรื่องการควบคุมไว กลาวคือ กิจการผูลงทุนจะถือวาควบคุมผูไดรับการลงทุน เมื่อกิจการนั้นมีสิทธิไดรับ หรือมีสวนไดเสียในผลตอบแทนจากการเขาไปเกี่ยวของกับผูที่ไดรับการลงทุน ซึ่งสิทธิไดรับหรือสวนไดเสียในผลตอบแทนดังกลาว ผันแปรไปตามผลตอบแทนของผูไดรับการลงทุน และกิจการผูลงทุนสามารถใชอํานาจในการสั่งการกิจกรรมที่สงผลกระทบตอจํานวน เงินผลตอบแทนของผูไดรับการลงทุนนั้นได การเปลี่ยนแปลงนี้สงผลใหฝายบริหารตองใชดุลยพินิจที่สําคัญในการทบทวนกิจการ ภายในกลุม เพื่อระบุวา กฟผ. และบริษัทยอยมีอํานาจควบคุมบริษัทใดในกลุมบาง ซึ่งผลกระทบตอการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้แสดงไวในหัวขอการปรับปรุงงบการเงินและการจัดประเภทรายการใหม การรวมการงาน ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 เรื่อง การรวมการงาน ซึ่งกําหนดใหยกเลิกทางเลือกในการใชวิธีรวมตามสัดสวนสําหรับการรวมคา ทั้งนี้ หากการรวมการงานเขานิยามของการรวมคา


ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง การนําเสนอ งบการเงิน ซึ่งกําหนดใหมีการจัดกลุมการนําเสนอรายการที่รับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น แยกเปนรายการที่สามารถรับรูในกําไร หรือขาดทุนในภายหลัง และรายการที่ไมสามารถรับรูเปนกําไรหรือขาดทุนในภายหลัง มาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงนี้จึงมีผลตอ การแสดงรายการเทานั้น ไมมีผลกระทบตอฐานะการเงินหรือผลการดําเนินงานของ กฟผ. งบการเงินรวม ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม ซึ่งกําหนดหลักการพิจารณาเรื่องการควบคุมไว กลาวคือ กิจการผูลงทุนจะถือวาควบคุมผูไดรับการลงทุน เมื่อกิจการนั้นมีสิทธิไดรับ หรือมีสวนไดเสียในผลตอบแทนจากการเขาไปเกี่ยวของกับผูที่ไดรับการลงทุน ซึ่งสิทธิไดรับหรือสวนไดเสียในผลตอบแทนดังกลาว ผันแปรไปตามผลตอบแทนของผูไดรับการลงทุน และกิจการผูลงทุนสามารถใชอํานาจในการสั่งการกิจกรรมที่สงผลกระทบตอจํานวน เงินผลตอบแทนของผูไดรับการลงทุนนั้นได การเปลี่ยนแปลงนี้สงผลใหฝายบริหารตองใชดุลยพินิจที่สําคัญในการทบทวนกิจการ ภายในกลุม เพื่อระบุวา กฟผ. และบริษัทยอยมีอํานาจควบคุมบริษัทใดในกลุมบาง ซึ่งผลกระทบตอการถือปฏิบัติตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงินฉบับนี้แสดงไวในหัวขอการปรับปรุงงบการเงินและการจัดประเภทรายการใหม การรวมการงาน ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 11 เรื่อง การรวมการงาน ซึ่งกําหนดใหยกเลิกทางเลือกในการใชวิธีรวมตามสัดสวนสําหรับการรวมคา ทั้งนี้ หากการรวมการงานเขานิยามของการรวมคา ตองรับรูและบันทึกเปนเงินลงทุนโดยวิธีสวนไดเสีย ซึ่งผลกระทบตอการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้แสดง ไวในหัวขอการปรับปรุงงบการเงินและการจัดประเภทรายการใหม การเปดเผยขอมูลที่เกี่ยวกับสวนไดเสียในกิจการอื่น ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่อง การเปดเผยขอมูล เกี่ยวกับสวนไดเสียในกิจการอื่น ซึ่ง กฟผ. ไดเปดเผยขอมูลที่เปนสาระสําคัญของบริษัทยอย บริษัทรวมและการรวมคา โดยแสดง รายละเอียดของรายการที่มีนัยสําคัญของแตละบริษัทที่ไมไดแยกแสดงรายการไวในงบการเงินรวม การปรับปรุงงบการเงินและการจัดประเภทรายการใหม กฟผ. ไดปรับปรุงงบการเงินรวมจากการที่ กฟผ. และบริษัทยอยไดมีการปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม และ ฉบับที่ 11 เรื่อง การรวมการงาน โดยใชวิธีปรับยอนหลัง นอกจากนี้ บริษัทยอยไดปรับปรุง มูลคายุติธรรมบางรายการใหมที่เกี่ยวของกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเชา และเปลี่ยนแปลงการรับรูรายการ ค า ใช จ า ยในการพั ฒ นาโครงการเป น สิ น ทรั พ ย จากเดิ ม บั น ทึ ก รายการค า ใช จ า ยในการพั ฒ นาโครงการเป น สิ น ทรั พ ย เมื่อโครงการของบริษัทไดรับอนุมัติการลงทุนจากกระทรวงพลังงานหรือคณะรัฐมนตรี เปลี่ยนเปนเมื่อไดรับการอนุมัติหลักการ ในการลงทุนโครงการ นอกจากนี้ บริษัทยอยไดจัดประเภทบัญชีบางรายการใหมเพื่อใหสอดคลองกับรายการในงบการเงินสําหรับป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

157


การเปดเผยขอมูลที่เกี่ยวกับสวนไดเสียในกิจการอื่น 158

ตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 12 เรื่อง การเปดเผยขอมูล เกี่ยวกับสวนไดเสียในกิจการอื่น ซึ่ง กฟผ. ไดเปดเผยขอมูลที่เปนสาระสําคัญของบริษัทยอย บริษัทรวมและการรวมคา โดยแสดง รายละเอียดของรายการที่มีนัยสําคัญของแตละบริษัทที่ไมไดแยกแสดงรายการไวในงบการเงินรวม การปรับปรุงงบการเงินและการจัดประเภทรายการใหม กฟผ. ไดปรับปรุงงบการเงินรวมจากการที่ กฟผ. และบริษัทยอยไดมีการปฏิบัติตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม และ ฉบับที่ 11 เรื่อง การรวมการงาน โดยใชวิธีปรับยอนหลัง นอกจากนี้ บริษัทยอยไดปรับปรุง มูลคายุติธรรมบางรายการใหมที่เกี่ยวของกับมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเชา และเปลี่ยนแปลงการรับรูรายการ ค า ใช จ า ยในการพั ฒ นาโครงการเป น สิ น ทรั พ ย จากเดิ ม บั น ทึ ก รายการค า ใช จ า ยในการพั ฒ นาโครงการเป น สิ น ทรั พ ย เมื่อโครงการของบริษัทไดรับอนุมัติการลงทุนจากกระทรวงพลังงานหรือคณะรัฐมนตรี เปลี่ยนเปนเมื่อไดรับการอนุมัติหลักการ ในการลงทุนโครงการ นอกจากนี้ บริษัทยอยไดจัดประเภทบัญชีบางรายการใหมเพื่อใหสอดคลองกับรายการในงบการเงินสําหรับป สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 - 30 ในป 2558 กฟผ. ไดจัดประเภทรายการใหม ดังนี้ 1. เงินฝากเพื่อชดเชยคาไฟฟา ซึ่งเดิม กฟผ. ไดรวมไวในรายการเงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ไปแสดงเปนเงินฝาก เพื่อชดเชยคาไฟฟารอการรับรู เนื่องจากเปนเงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน โดยแสดงเปนสินทรัพยไมหมุนเวียน 2. เงินชดเชยคาไฟฟารอการรับรู ซึ่งเปนภาระหนี้สิน เดิมแสดงเปนหนี้สินหมุนเวียน มาแสดงเปนหนี้สินไมหมุนเวียน ผลกระทบตองบแสดงฐานะการเงินรวมและเฉพาะ กฟผ. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 งบกําไรขาดทุนรวมสําหรับปสิ้นสุด วั นที่ 31 ธั นวาคม 2557 งบกํ าไรขาดทุ นเบ็ ด เสร็ จรวมสํ าหรั บป สิ้ นสุ ดวั นที่ 31 ธั นวาคม 2557 ยอดยกมาของงบแสดงการ เปลี่ยนแปลงสวนของเจาของรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และยอดคงเหลือของ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสวนของเจาของรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 สรุปไดดังนี้ หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม กอนรายการ หลังรายการ ปรับปรุงและ รายการ รายการ ปรับปรุงและ จัดประเภทใหม ปรับปรุงใหม จัดประเภทใหม จัดประเภทใหม งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด 66,103.36 (169.29) (3,288.00) 62,646.07 เงินลงทุนชั่วคราว 28,946.39 (33.25) 28,913.14 ลูกหนี้การคา - กิจการอื่น 63,221.06 (62.73) 63,158.33 ลูกหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน 2,538.51 2.53 2,541.04 ลูกหนี้อื่น 7,471.08 (8.50) (5.84) 7,456.74 วัสดุสํารองคลัง 13,384.01 (1.49) 13,382.52 สินทรัพยหมุนเวียนอื่นๆ 1,807.35 (0.01) 1,807.34 เงินลงทุนในบริษัทรวม 19,261.67 642.88 19,904.55 เงินลงทุนในการรวมคา 10,535.02 643.55 (642.88) 10,535.69 เงินลงทุนระยะยาวอื่น 4,065.09 (0.40) 4,064.69 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ 260,073.85 (1,053.58) 259,020.27 งานระหวางกอสราง 45,605.00 (4.13) 45,600.87 สินทรัพยไมมีตัวตนอื่น 28,641.73 (5.32) 28,636.41 คาพัฒนาโครงการรอเรียกเก็บ 344.98 344.98 เงินฝากเพื่อชดเชยคาไฟฟารอการรับรู 3,288.00 3,288.00


ผลกระทบตองบแสดงฐานะการเงินรวมและเฉพาะ กฟผ. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 งบกําไรขาดทุนรวมสําหรับปสิ้นสุด วั นที่ 31 ธั นวาคม 2557 งบกํ าไรขาดทุ นเบ็ ด เสร็ จรวมสํ าหรั บป สิ้ นสุ ดวั นที่ 31 ธั นวาคม 2557 ยอดยกมาของงบแสดงการ เปลี่ยนแปลงสวนของเจาของรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และวันที่ 31 ธันวาคม 2557 และยอดคงเหลือของ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสวนของเจาของรวม สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 สรุปไดดังนี้ หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม กอนรายการ หลังรายการ ปรับปรุงและ รายการ รายการ ปรับปรุงและ จัดประเภทใหม ปรับปรุงใหม จัดประเภทใหม จัดประเภทใหม งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด 66,103.36 (169.29) (3,288.00) 62,646.07 เงินลงทุนชั่วคราว 28,946.39 (33.25) 28,913.14 ลูกหนี้การคา - กิจการอื่น 63,221.06 (62.73) 63,158.33 ลูกหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน 2,538.51 2.53 2,541.04 ลูกหนี้อื่น 7,471.08 (8.50) (5.84) 7,456.74 วัสดุสํารองคลัง 13,384.01 (1.49) 13,382.52 สินทรัพยหมุนเวียนอื่นๆ 1,807.35 (0.01) 1,807.34 เงินลงทุนในบริษัทรวม 19,261.67 642.88 19,904.55 เงินลงทุนในการรวมคา 10,535.02 643.55 (642.88) 10,535.69 เงินลงทุนระยะยาวอื่น 4,065.09 (0.40) 4,064.69 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ 260,073.85 (1,053.58) 259,020.27 งานระหวางกอสราง 45,605.00 (4.13) 45,600.87 สินทรัพยไมมีตัวตนอื่น 28,641.73 (5.32) 28,636.41 คาพัฒนาโครงการรอเรียกเก็บ 344.98 344.98 เงินฝากเพื่อชดเชยคาไฟฟารอการรับรู 3,288.00 3,288.00 สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น 3,055.01 (1.46) 3,053.55 เจาหนี้การคา - กิจการอื่น 54,555.58 (52.49) 54,503.09 เจาหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน 7,563.88 46.85 7,610.73 เจาหนี้อื่น 10,866.80 (20.87) (5.84) 10,840.09 ดอกเบี้ยเงินกูคางจาย 1,189.89 (0.14) 1,189.75 คาใชจายคางจาย 5,205.08 (1.78) 5,203.30 เงินกูยืมระยะยาวที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป 8,958.81 (130.82) 8,827.99 หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - อื่นที่ถึงกําหนด 4.17 (0.51) 3.66 ชําระในหนึ่งป (548.75) 71,950.95 เงินกูยืมระยะยาว 72,499.70

159


160

- 31 -

กอนรายการ ปรับปรุงและ จัดประเภทใหม 3.54 14,580.47 247,911.02 1,166.72

หนวย : ลานบาท

งบการเงินรวม

หลังรายการ ปรับปรุงและ จัดประเภทใหม 2.45 14,579.79 248,361.04 1,077.88

รายการ ปรับปรุงใหม (1.09) (0.68) 450.02 (88.84)

รายการ จัดประเภทใหม -

536,318.41 21,410.08 6,574.80 1,331.03 1,047.97

(406.90) (241.41) (2.22) (10.75) 98.26

67.15 (67.15)

535,911.51 21,168.67 6,572.58 1,387.43 1,079.08

460,197.88 19,445.92 17,302.59 25,709.67 1,281.94

(533.41) 34.81 (364.88) (30.62) (12.56)

-

459,664.47 19,480.73 16,937.71 25,679.05 1,269.38

42,140.08

343.64

-

42,483.72

567.46 (115.68) (848.17)

10.75 10.75

(0.08) 0.08 -

567.38 (104.93) 0.08 (837.42)

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสวนของเจาของ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 กําไรสะสมยังไมไดจัดสรร 247,911.02 610.00 กําไร(ขาดทุน)จากการวัดมูลคาเงินลงทุนเผื่อขาย สวนแบงกําไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทรวม 339.70 สวนแบงกําไรเบ็ดเสร็จอื่นในการรวมคา รวมสวนของเจาของ 372,502.17

450.02 (88.84) 361.18

(0.06) 0.06 -

248,361.04 609.94 250.86 0.06 372,863.35

หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - อื่น ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน กําไรสะสมยังไมไดจัดสรร องคประกอบอื่นของสวนของเจาของ งบกําไรขาดทุน สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 รายได รายไดจากการขายไฟฟา รายไดจากการขายสินคาและบริการอื่น รายไดอื่น สวนแบงกําไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในบริษัทรวม สวนแบงกําไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในการรวมคา คาใชจาย ตนทุนขายไฟฟา ตนทุนขายสินคาและบริการอื่น คาใชจายในการบริหาร ตนทุนทางการเงิน คาใชจายภาษีเงินได กําไรสําหรับป กําไรสําหรับป งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 กําไร(ขาดทุน)จากการวัดมูลคาเงินลงทุนเผื่อขาย สวนแบงกําไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่นในบริษัทรวม สวนแบงกําไรเบ็ดเสร็จอื่นในการรวมคา กําไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่นสําหรับป - สุทธิจากภาษี


161

- 32 -

กอนรายการ ปรับปรุงและ จัดประเภทใหม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสวนของเจาของ ณ วันที่ 1 มกราคม 2557 กําไรสะสมยังไมไดจัดสรร 227,449.97 กําไรจากการวัดมูลคาเงินลงทุนเผือ่ ขาย 354.60 สวนแบงกําไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทรวม 455.38 สวนแบงขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นในการรวมคา รวมสวนของเจาของ 351,543.08

กอนรายการ ปรับปรุงและ จัดประเภทใหม งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด 55,120.09 เงินฝากเพื่อชดเชยคาไฟฟารอการรับรู -

หนวย : ลานบาท

งบการเงินรวม รายการ ปรับปรุงใหม

รายการ จัดประเภทใหม

หลังรายการ ปรับปรุงและ จัดประเภทใหม

106.38 (99.59) 6.79

0.02 (0.02) -

227,556.35 354.62 355.79 (0.02) 351,549.87

งบการเงินเฉพาะ กฟผ. รายการ ปรับปรุงใหม -

รายการ จัดประเภทใหม (3,288.00) 3,288.00

หนวย : ลานบาท หลังรายการ ปรับปรุงและ จัดประเภทใหม 51,832.09 3,288.00

6. ขอมูลเพิ่มเติม 6.1 เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ประกอบดวย

เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกระแสรายวันและออมทรัพย เงินฝากธนาคารไมเกิน 3 เดือน ตั๋วเงินคลังไมเกิน 3 เดือน ใบรับฝากประจํา รวม

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 7.92 7.14 35,984.14 44,350.04 32,347.17 10,225.34 2,979.86 8,063.55 1,328.46 62,646.07 72,647.55

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 7.21 6.65 33,795.94 41,825.44 28,149.12 10,000.00 2,979.86 64,932.13 51,832.09


162

- 33 6.2 เงินลงทุนชั่วคราว ประกอบดวย หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 23,869.30 17,017.27 6,997.28 23,869.30 24,014.55

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 เงินฝากธนาคารเกิน 3 เดือนแตไมเกิน 12 เดือน 25,886.43 18,135.01 ใบรับฝากประจํา 4,038.39 3,304.00 หุนกู 60.00 พันธบัตรรัฐบาลเกิน 3 เดือน 7,038.28 เงินลงทุนในหลักทรัพยเพื่อคา 418.30 435.85 28,913.14 รวม 30,403.12 6.3 ลูกหนีก้ ารคา – กิจการอื่น ประกอบดวย

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 ลูกหนี้คาขายไฟฟา การไฟฟานครหลวง การไฟฟาสวนภูมิภาค อื่น ๆ ลูกหนี้คาขายบริการและอื่น ๆ รวม หัก คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คงเหลือ

25,992.83 31,115.25 5,186.34 62,294.42 809.56 63,103.98 (47.83) 63,056.15

25,992.83 31,115.25 5,186.34 62,294.42 270.93 62,565.35 (47.83) 62,517.52

27,234.60 30,569.51 4,746.55 62,550.66 655.45 63,206.11 (47.78) 63,158.33

27,234.60 30,569.51 4,746.55 62,550.66 228.79 62,779.45 (47.78) 62,731.67

ลูกหนี้การคา - กิจการอื่น จําแนกตามประเภทและอายุหนี้ที่คางชําระ ดังนี้ หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม คาขายบริการ ระยะเวลาที่คา งชําระ

คาขายไฟฟา

และอื่นๆ

รวม

31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57

หนี้ทยี่ ังไมถงึ กําหนดชําระ

59,546.53

744.93

60,291.46

61,619.52

คางชําระไมเกิน 6 เดือน

1,767.42

13.83

1,781.25

1,262.44

-

0.54

0.54

0.08

980.47

50.26

1,030.73

324.07

62,294.42

809.56

63,103.98

63,206.11

(47.83)

(47.83)

(47.78)

761.73

63,056.15

63,158.33

คางชําระเกินกวา 6 เดือน - 1 ป คางชําระเกินกวา 1 ป รวม หัก คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คงเหลือ

62,294.42


163

- 34 -

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. คาขายบริการ ระยะเวลาทีค่ า งชําระ

คาขายไฟฟา

และอืน่ ๆ

รวม

31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57

หนีท้ ยี่ งั ไมถงึ กําหนดชําระ

59,546.53

213.87

59,760.40

61,202.65

คางชําระไมเกิน 6 เดือน

1,767.42

6.26

1,773.68

1,252.65

-

0.54

0.54

0.08

980.47

50.26

1,030.73

324.07

62,294.42 -

270.93 (47.83)

62,565.35 (47.83)

62,779.45 (47.78)

62,294.42

223.10

62,517.52

62,731.67

คางชําระเกินกวา 6 เดือน - 1 ป คางชําระเกินกวา 1 ป รวม หัก คาเผื่อหนีส้ งสัยจะสูญ คงเหลือ

6.4 รายการระหวางบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน กิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังนี้ ชื่อกิจการ ประเทศที่จัดตั้ง/ ลักษณะความสัมพันธ สัญชาติ บริษัท กฟผ. อินเตอรเนชั่นแนล จํากัด ไทย เปนบริษัทยอย กฟผ. ถือหุนรอยละ 100 บริษัท อีแกท ไดมอนด เซอรวิส จํากัด ไทย เปนบริษัทยอย กฟผ. ถือหุนรอยละ 45 บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) ไทย เปนบริษัทยอย กฟผ. ถือหุนรอยละ 45 บริษัท ผลิตไฟฟาและน้ําเย็น จํากัด ไทย เปนการรวมคาของ กฟผ. กฟผ. ถือหุนรอยละ 35 บริษัท ผลิตไฟฟา จํากัด (มหาชน) ไทย เปนบริษัทรวม กฟผ. ถือหุนรอยละ 25.41 บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรี จํากัด ไทย เปนบริษัทยอยของบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท ราชบุรีพลังงาน จํากัด ไทย เปนบริษัทยอยของบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท ราช-ลาว เซอรวสิ จํากัด สปป. ลาว เปนบริษัทยอยของบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท อารเอช อินเตอรเนชั่นแนล ไทย เปนบริษัทยอยของบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) คอรปอเรชั่น จํากัด บริษัท ราช โอแอนดเอ็ม จํากัด ไทย เปนบริษัทยอยของบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท ไตรเอนเนอจี้ จํากัด ไทย เปนบริษัทยอยของบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) (อยูระหวางการชําระบัญชี) บริษัท ราชบุรี อัลลายแอนซ จํากัด ไทย เปนบริษัทยอยของบริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟาขนอม จํากัด ไทย เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. บริษัท เอ็กโกเอ็นจิเนียริ่ง แอนด เซอรวิส จํากัด ไทย เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. บริษัท กัลฟอิเล็คตริก จํากัด (มหาชน) ไทย เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร จํากัด ไทย เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ.


164

- 35 ชื่อกิจการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ํา ภาคตะวันออก จํากัด (มหาชน) บริษัท ไฟฟา หงสา จํากัด บริษัท พูไฟ มายนิ่ง จํากัด บริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอรปอเรชั่น จํากัด บริษัท ไฟฟาน้ําเงี้ยบ 1 จํากัด

ประเทศที่จัดตั้ง/ ลักษณะความสัมพันธ สัญชาติ ไทย เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. สปป. ลาว สปป. ลาว ออสเตรเลีย สปป. ลาว

เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ. เปนกิจการที่เกี่ยวของกันกับ กฟผ.

รายการระหวางบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน มีรายละเอียดสรุปไดดังนี้ 6.4.1 ลูกหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน ประกอบดวย

บริษัทยอย บริษัทรวม การรวมคา บริษัทอื่นที่เกี่ยวของกัน รวมลูกหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 6.21 7.05 7.24 1,800.45 2,527.59 1,807.50 2,541.04

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 496.30 357.33 6.21 7.05 7.24 1,800.45 2,527.59 2,303.80 2,898.37

ลูกหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน จําแนกตามประเภทและอายุหนี้ที่คางชําระ ดังนี้

หนี้ที่ยังไมถึงกําหนดชําระ คางชําระไมเกิน 6 เดือน รวมลูกหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 1,807.44 2,541.04 0.06 1,807.50 2,541.04

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 2,291.84 2,888.34 11.96 10.03 2,303.80 2,898.37

6.4.2 เงินใหกูยืมระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกัน เงินใหกูยืมระยะยาวแกกิจการที่เกี่ยวของกันในงบการเงินรวม เปนรายการของกลุมบริษัทของบริษัทยอยของ กฟผ. ประกอบดวย

เงินใหกูยืมระยะยาวแกกิจการที่เกีย่ วของกัน รวม

หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 47.29 43.20 47.29 43.20


165

- 36 6.4.3 เจาหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน ประกอบดวย

บริษัทยอย บริษัทรวม การรวมคา บริษัทอื่นที่เกี่ยวของกัน รวมเจาหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 226.51 134.66 133.88 8,150.92 7,250.34 8,285.58 7,610.73

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 8,274.11 10,357.38 226.51 134.66 133.88 8,150.92 7,250.34 16,559.69 17,968.11

6.4.4 เงินกูยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวของกัน เงินกูยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวของกันในงบการเงินรวม เปนรายการของกลุมบริษัทของบริษัทยอยของ กฟผ. ประกอบดวย หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 1,071.60 1,095.46 1,071.60 1,095.46

เงินกูยืมระยะยาวจากกิจการที่เกีย่ วของกัน รวม 6.4.5 รายไดและคาใชจาย - กิจการที่เกี่ยวของกัน ประกอบดวย งบการเงินรวม ป 2557 ป 2558 รายได รายไดจากการขายไฟฟา บริษัทยอย บริษัทรวม บริษัทอื่นที่เกี่ยวของกัน รายไดจากการขายสินคาและบริการอื่น บริษัทยอย บริษัทรวม การรวมคา บริษัทอื่นที่เกี่ยวของกัน คาใชจาย คาซื้อไฟฟา บริษัทยอย การรวมคา บริษัทอื่นที่เกี่ยวของกัน

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557

0.05 377.45

36.70 71.06

203.39 0.05 377.45

205.03 36.70 71.06

0.28 96.84 12,768.41

3,355.89 88.13 15,371.15

2,594.24 0.28 96.84 12,768.41

2,939.31 3,355.89 88.13 15,371.15

1,011.43 388.83

1,098.98 -

18.56 1,011.43 388.83

17.23 1,098.98 -


166

- 37 -

ตนทุนขายสินคาและบริการอื่น บริษัทยอย บริษัทรวม การรวมคา บริษัทอื่นที่เกี่ยวของกัน

งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557

0.12 101.51 12,238.44

2,050.38 0.12 101.51 12,238.44

3,332.26 99.45 15,123.27

2,545.40 3,332.26 99.45 15,123.27

6.4.6 คาตอบแทนกรรมการและผูบริหาร คาตอบแทนกรรมการและผูบริหารสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีรายละเอียดดังนี้ งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 คาตอบแทนกรรมการ คาเบี้ยประชุม คาตอบแทน และโบนัส คาตอบแทนผูบริหาร เงินเดือน โบนัส และ ผลประโยชนระยะสั้นอื่น ๆ ผลประโยชนหลังออกจากงานและระยะยาวอื่นๆ รวม

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557

36.34 36.34

44.75 44.75

3.78 3.78

2.13 2.13

204.30 17.16 221.46 257.80

204.64 16.20 220.84 265.59

54.63 1.52 56.15 59.93

54.12 1.35 55.47 57.60

6.5 รายไดคาไฟฟาตามสูตรการปรับอัตราคาไฟฟาโดยอัตโนมัติ (Ft) คางรับ/สวนเกิน และเงินชดเชยคาไฟฟารอการรับรู กฟผ. มีรายไดคา Ft สวนเกินยกมา ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 จํานวน 4,872.38 ลานบาท โดยคณะกรรมการกํากับกิจการ พลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบคาไฟฟาตามสูตรการปรับอัตราคาไฟฟาโดยอัตโนมัติ (Ft) ขายสง ณ วันที่ 9 มกราคม 2558 ประจําเดือนมกราคม - เมษายน 2558 เทากับ กฟน. 55.92 สตางคตอหนวย และ กฟภ. 40.31 สตางคตอหนวย ณ วันที่ 30 เมษายน 2558 ประจําเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558 เทากับ กฟน. 46.25 สตางคตอหนวย และ กฟภ. 31.38 สตางคตอหนวย ณ วันที่ 3 กันยายน 2558 ประจําเดือนกันยายน - ธันวาคม 2558 เทากับ กฟน. 42.84 สตางคตอหนวย และ กฟภ. 28.42 สตางค ตอหนวย และ ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 ไดปรับลดคา Ft ประจําเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2558 เทากับ กฟน. -3.39 สตางคตอหนวย และ กฟภ. -3.03 สตางคตอหนวย แตตนทุนคาเชื้อเพลิงและคาซื้อไฟฟาที่เกิดขึ้นจริงต่ํากวาที่เรียกเก็บไดในสูตรการ คํานวณคา Ft จึงสงผลให ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กฟผ. มีรายไดคา Ft สวนเกิน จํานวน 7,022.82 ลานบาท


167

- 38 สําหรับเงินชดเชยคาไฟฟารอการรับรู ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 จํานวน 3,386.83 ลานบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 7,552.73 ลานบาท เพิ่มขึ้นจํานวน 4,165.90 ลานบาท เนื่องจาก กฟผ. ไดรับเงินชดเชยคาเชื้อเพลิงหรือเงินชดเชย คากระแสไฟฟา จากผูขายเชื้อเพลิงหรือผูผลิตไฟฟารายอื่นเพิ่มขึ้น โดยในป 2558 แสดงในสวนของหนี้สินไมหมุนเวียนตามมติ ที่คณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในการประชุมครั้งที่ 67/2558 (ครั้งที่ 377) ซึ่งไดพิจารณาใหแยกบัญชีเงินฝากของ เงินบริหารคา Ft สวนที่เหลือไวตางหากจากรายการเงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด โดยเงินฝากดังกลาวถือเปนเงินฝากที่มีภาระ ผูกพัน กฟผ. จะนําไปใชเพื่อการอื่นไมได 6.6 ลูกหนี้อื่น ประกอบดวย

ลูกหนี้ผูปฏิบัติงาน ลูกหนี้อื่น ๆ หัก คาเผื่อหนีส้ งสัยจะสูญ รวม เงินยืมทดรองและเงินจายลวงหนา รายไดคางรับ ภาษีซื้อ คงเหลือ

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 121.40 217.90 726.33 651.61 (11.73) (12.37) 836.00 857.14 5,121.33 1,753.98 418.11 242.55 3,814.71 4,603.07 10,190.15 7,456.74

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 114.83 214.06 312.43 498.64 (11.73) (12.37) 415.53 700.33 4,993.32 1,582.09 196.35 173.03 3,814.71 4,599.08 9,419.91 7,054.53

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 4,838.48 5,889.02 1,946.72 1,550.94 11,893.96 12,175.61 (6,586.67) (6,233.05) 12,092.49 13,382.52

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 3,761.77 4,769.06 1,946.72 1,550.94 9,874.42 9,698.04 (5,441.12) (5,292.70) 10,141.79 10,725.34

6.7 วัสดุสํารองคลัง ประกอบดวย

น้ํามันเชื้อเพลิงโรงไฟฟา ถานลิกไนต อะไหล วัสดุ และบริภณ ั ฑอื่น ๆ หัก คาเผื่อการเสื่อมสภาพ คงเหลือ


168

- 39 6.8 เงินลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวม และการรวมคา 6.8.1 ขอมูลบริษัทยอย บริษัทรวม และการรวมคา ของ กฟผ. ชื่อกิจการ

ประเทศที่จัดตั้ง/ สัญชาติ

บริษัทยอย บริษัท กฟผ. อินเตอรเนชั่นแนล จํากัด

ไทย

บริษัท อีแกท ไดมอนด เซอรวิส จํากัด

ไทย

บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน)

ไทย

บริษัทรวม บริษัท ผลิตไฟฟา จํากัด (มหาชน) การรวมคา บริษัท ผลิตไฟฟาและน้ําเย็น จํากัด

ประเภทธุรกิจ

สัดสวนเงินลงทุน (รอยละ) 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58

ลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟา และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในตางประเทศ บริการซอมแซมสําหรับเครื่องกังหัน กาซ รวมถึง สวนประกอบอุปกรณ ชิ้นสวน และ อะไหล ลงทุนในบริษัทที่มีวัตถุประสงค ในการผลิตและจําหนายไฟฟา

100

100

45

45

45

45

ไทย

ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา

25.41

25.41

ไทย

ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟาและ น้ําเย็น

35

35

6.8.2 ขอมูลบริษัทยอย บริษัทรวม และการรวมคา ของบริษัทยอย ชื่อกิจการ

ประเทศที่ จัดตั้ง/สัญชาติ

ประเภทธุรกิจ

บริษัทยอยทางตรงของบริษัทยอย : บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรี จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา และ ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟา บริษัท ราชบุรีพลังงาน จํากัด ไทย พัฒนาและดําเนินการโรงไฟฟาและ ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟา บริษัท ราช-ลาว เซอรวิส จํากัด สปป.ลาว บริการเดินเครื่องและบํารุงรักษา โรงไฟฟา บริษัท อารเอช อินเตอรเนชั่นแนล ไทย ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟา คอรปอเรชั่น จํากัด บริษัท ราช โอแอนดเอ็ม จํากัด ไทย บริการเดินเครื่องและบํารุงรักษา โรงไฟฟา ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท ไตรเอนเนอจี้ จํากัด ไทย (อยูระหวางการชําระบัญชี) บริษัท ราชบุรี อัลลายแอนซ จํากัด ไทย ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟา บริษัทยอยทางออมของบริษัทยอย : บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท อารเอช อินเตอรเนชั่นแนล (มอริเชียส) มอริเชียส ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟาใน คอรปอเรชั่น จํากัด ตางประเทศ บริษัท อารเอช อินเตอรเนชั่นแนล (สิงคโปร) สิงคโปร ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟาใน คอรปอเรชั่น จํากัด ตางประเทศ บริษัท ราช-ออสเตรเลีย คอรปอเรชั่น จํากัด ออสเตรเลีย พัฒนาและดําเนินการโรงไฟฟา และ และบริษัทยอย ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟา

สัดสวนเงินลงทุน (รอยละ) 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

100

80

80


169

- 40 ชื่อกิจการ บริษัท ราช ไชนา เพาเวอร จํากัด บริษัท อารอี โซลาร 1 จํากัด

ประเทศที่ จัดตั้ง/สัญชาติ ฮองกง ไทย

ประเภทธุรกิจ ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟาใน ตางประเทศ ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา

บริษัทรวมของบริษัทยอย : บริษัท กฟผ. อินเตอรเนชั่นแนล จํากัด บริษัท ไฟฟาน้ําเงี้ยบ 1 จํากัด สปป.ลาว ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัทรวมของบริษัทยอย : บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท เฟรส โคราช วินด จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท เค อาร ทู จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท Perth Power Partnership ออสเตรเลีย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา (Kwinana) การรวมคาของบริษัทยอย : บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) บริษัท ชูบุราชบุรี อีเลคทริคเซอรวิส จํากัด ไทย บริการเดินเครื่องและบํารุงรักษา โรงไฟฟา บริษัท เซาทอีสท เอเชีย เอนเนอรจี จํากัด ไทย ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟา และบริษัทยอย บริษัท ไฟฟาน้ํางึม 3 จํากัด สปป.ลาว ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท ไฟฟา เซเปยน-เซน้ํานอย จํากัด สปป.ลาว ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท เค เค เพาเวอร จํากัด กัมพูชา ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท ราชบุรีเพาเวอร จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท ผลิตไฟฟา นวนคร จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟาและไอน้ํา บริษัท ราชบุรีเวอลด โคเจนเนอเรชั่น จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟาและไอน้ํา บริษัท โซลารตา จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท โซลา เพาเวอร (โคราช 3) จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท โซลา เพาเวอร (โคราช 4) จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท โซลา เพาเวอร (โคราช 7) จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท สงขลา ไบโอแมส จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท สงขลา ไบโอฟูเอล จํากัด ไทย จัดหาเชื้อเพลิงชีวมวล บริษัท อยุธยา เพาเวอร จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท โอเวอรซี กรีน เอนเนอรยี่ จํากัด ไทย บริการดานการบริหารจัดการโรงไฟฟา บริษัท เบิกไพร โคเจนเนอเรชั่น จํากัด ไทย ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟาและไอน้ํา บริษัท ไฟฟา หงสา จํากัด สปป.ลาว ผลิตและจําหนายพลังงานไฟฟา บริษัท พูไฟมายนิ่ง จํากัด สปป.ลาว ผลิตและจําหนายถานหิน บริษัท อารไอซีไอ อินเตอรเนชั่นแนล สิงคโปร ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟาใน อินเวสตเมนต จํากัด ตางประเทศ

สัดสวนเงินลงทุน (รอยละ) 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 100

-

100

-

30

30

20 20 24

20 20 24

50

50

33.33

33.33

25 25 50 25 40 40 49 40 40 40 40 40 60 35 40 37.50 60

25 25 50 25 40 40 49 40 40 40 40 40 45 60 35 40 37.50 60


170

- 41 6.8.3 เงินลงทุนในบริษัทรวม และการรวมคา ตามงบการเงินรวม หนวย : ลานบาท ชื่อกิจการ

สัดสวนเงินลงทุน (รอยละ) วิธีราคาทุน 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

วิธีสวนไดเสีย เงินปนผล 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

บริษัทรวม บริษัท ผลิตไฟฟา จํากัด (มหาชนฺ)

25.41

25.41

1,587.55

1,587.55

18,670.03

17,659.36

บริษัท ไฟฟาน้ําเงี้ยบ 1 จํากัด

30

30

966.76

926.16

681.81

643.93

บริษัท เฟรส โคราช วินด จํากัด

20

20

399.20

399.20

518.31

530.69

122.00

112.00

บริษทั เค อาร ทู จํากัด

20

20

365.40

365.40

418.83

427.69

104.00

124.10

บริษทั Perth Power Partnership (Kwinana)

24

24

618.53

618.53

573.97

642.88

118.10

72.46

3,937.44

3,896.84

20,862.95

19,904.55

1,180.18

1,144.64

รวมบริษัทรวม

836.08 -

836.08 -

การรวมคา บริษัท ผลิตไฟฟาและน้ําเย็น จํากัด

35

35

584.50

584.50

706.73

643.55

15.36

-

บริษัท ชูบุราชบุรี อีเลคทริคเซอรวิส

50

50

10.00

10.00

88.54

79.27

-

20.00

33.33

33.33

2,202.25

2,202.25

3,057.12

2,993.55

79.28

72.67

บริษทั ไฟฟาน้ํางึม 3 จํากัด

25

25

0.45

0.45

-

-

-

บริษัท ไฟฟา เซเปยน-เซน้ํานอย จํากัด

25

25

934.22

675.32

647.72

-

-

บริษทั เค เค เพาเวอร จํากัด

50

50

15.44

15.44

-

-

-

บริษัท ราชบุรีเพาเวอร จํากัด

25

25

1,831.25

1,831.25

4,068.13

4,054.63

บริษทั ผลิตไฟฟา นวนคร จํากัด

40

40

400.80

400.80

353.84

368.58

-

-

บริษัท ราชบุรีเวอลด โคเจนเนอเรชั่น

40

40

1,000.00

500.00

1,162.01

526.37

-

-

บริษทั โซลารตา จํากัด

49

49

545.96

545.96

929.35

808.80

51.74

105.43

บริษัท โซลา เพาเวอร (โคราช 3) จํากัด

40

40

75.50

75.50

99.62

109.41

33.83

7.93

บริษัท โซลา เพาเวอร (โคราช 4) จํากัด

40

40

79.70

77.96

97.90

106.38

33.55

12.51

บริษัท โซลา เพาเวอร (โคราช 7) จํากัด

40

40

75.50

74.20

93.65

101.93

34.49

15.93

บริษทั สงขลา ไบโอแมส จํากัด

40

40

98.40

80.00

76.24

71.83

-

-

บริษทั สงขลา ไบโอฟูเอล จํากัด

40

40

0.40

0.40

0.37

0.37

-

-

บริษทั อยุธยา เพาเวอร จํากัด

-

45

-

18.10

-

13.93

-

-

บริษัท โอเวอรซี กรีน เอนเนอรยี่ จํากัด

60

60

9.60

0.60

8.37

0.59

-

-

บริษทั เบิกไพร โคเจนเนอเรชัน่ จํากัด

35

35

8.75

8.75

8.55

8.51

-

-

จํากัด บริษัท เซาทอีสท เอเชีย เอนเนอรจี จํากัด และบริษัทยอย

1,101.57 -

480.00

400.00

จํากัด


171

- 42 หนวย : ลานบาท สัดสวนเงินลงทุน (รอยละ) วิธีราคาทุน 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

ชื่อกิจการ บริษทั ไฟฟา หงสา จํากัด

40

40

บริษทั พูไฟมายนิง่ จํากัด

37.50

37.50

60

-

วิธีสวนไดเสีย เงินปนผล 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

6,019.82

983.12

4,561.57

0.63

0.63

306.57

-

รวมการรวมคา

14,199.74

8,085.23

16,755.33

10,535.69

728.25

634.47

รวมทัง้ สิ้น

18,137.18

11,982.07

37,618.28

30,440.24

1,908.43

1,779.11

บริษทั อารไอซีไอ อินเตอรเนชัน่ แนล

-

-

-

26.44

0.27

-

-

315.33

-

-

-

อินเวสตเมนต จํากัด

ในระหวางป 2558 บริษัทยอยของ กฟผ. ไดจายชําระคาหุนเพิ่มทุนในบริษัท ไฟฟา หงสา จํากัด บริษัท ราชบุรีเวอลด โคเจนเนอเรชั่น จํากัด บริษัท สงขลา ไบโอแมส จํากัด บริษัท ไฟฟา เซเปยน-เซน้ํานอย จํากัด บริษัท โอเวอรซี กรีน เอนเนอรยี่ จํากัด บริษัท โซลา เพาเวอร (โคราช 4) จํากัด บริษัท โซลา เพาเวอร (โคราช 7) จํากัด และลงทุนเพิ่มใน บริษัท อารไอซีไ อ อินเตอรเนชั่นแนล อินเวสตเมนต จํากัด ซึ่งเปนการรวมคา และเพิ่มทุนใน บริษัท ไฟฟาน้ําเงี้ยบ 1 จํากัด ซึ่งเปนบริษัทรวมของ บริษัทยอยของ กฟผ. 6.8.4 เงินลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวม และการรวมคา ตามงบการเงินเฉพาะ กฟผ. หนวย : ลานบาท

ชื่อกิจการ

สัดสวนเงินลงทุน (รอยละ) วิธีราคาทุน เงินปนผล 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

บริษัทยอย บริษัท กฟผ. อินเตอรเนชั่นแนล จํากัด

100

100

6,108.00

4,362.00

-

-

บริษัท อีแกท ไดมอนด เซอรวิส จํากัด

45

45

280.35

280.35

-

-

บริษัท ผลิตไฟฟาราชบุรโี ฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) รวมบริษัทยอย

45

45

6,525.00 12,913.35

6,525.00 11,167.35

1,481.18 1,481.18

1,481.18 1,481.18

25.41

25.41

1,587.55

1,587.55

836.08

836.08

1,587.55

1,587.55

836.08

836.08

584.50

584.50

15.36

-

584.50

584.50

15.36

-

15,085.40

13,339.40

2,332.62

บริษัทรวม บริษัท ผลิตไฟฟา จํากัด (มหาชน) รวมบริษัทรวม การรวมคา บริษัท ผลิตไฟฟาและน้ําเย็น จํากัด รวมการรวมคา รวมทั้งสิ้น

35

35

2,317.26


172

- 43 6.8.5 การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะ กฟผ. 6.8.5.1 การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทรวมและการรวมคา ซึ่งบันทึกโดยวิธีสวนไดเสียในงบการเงินรวม หนวย : ลานบาท 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 ยอดยกมา (กอนปรับปรุง) 29,796.69 30,204.08 ปรับปรุงนโยบายบัญชี 643.55 545.20 ยอดยกมา (ที่ปรับปรุงแลว) 30,440.24 30,749.28 สวนแบงกําไรจากเงินลงทุนตามวิธีสวนไดเสีย 2,314.28 2,466.51 กําไรสะสม – สํารองตามกฎหมาย 4.37 ชําระคาหุนเพิม่ ในการรวมคา 6,132.61 417.28 ชําระคาหุนเพิม่ ในบริษัทรวม 40.60 623.84 ขายเงินลงทุนในการรวมคา (13.97) (10.94) กําไรจากการขายเงินลงทุนในการรวมคา / บริษัทรวม 10.94 โอนคาพัฒนาเปนเงินลงทุน 138.87 เงินลงทุนในการรวมคากอนเปลี่ยนสถานะ (2,163.16) เงินลงทุนเผื่อขาย 51.37 (88.33) ผลตางแปลงคางบการเงินของบริษัทที่อยูในตางประเทศ 849.54 25.03 ขาดทุนจากการปองกันความเสี่ยงในกระแสเงินสด (106.27) (94.71) ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัย (18.78) สวนเกินทุนในบริษัทรวมที่บันทึกโดยวิธีสวนไดเสีย (55.57) เงินปนผลรับ (1,908.43) (1,779.11) ปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยน 92.45 (59.42) อื่นๆ (204.16) 204.16 ยอดคงเหลือ (ที่ปรับปรุงแลว) 37,618.28 30,440.24 6.8.5.2 การเปลี่ ยนแปลงของเงิ นลงทุ นในบริ ษัท ยอ ย บริ ษัท ร วม และการร ว มค า ซึ่ง บัน ทึก โดยวิธี ราคาทุ น ในงบการเงินเฉพาะ กฟผ.

ยอดยกมา เงินลงทุนเพิ่ม ยอดคงเหลือ

หนวย : ลานบาท 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 13,339.40 12,085.40 1,746.00 1,254.00 15,085.40 13,339.40


173

- 44 6.8.6 ขอมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทยอยซึ่งมีสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมที่มีสาระสําคัญ บริษัทรวมและการรวมคา 6.8.6.1 ขอมูลทางการเงินของบริษทั ยอยซึ่งมีสว นไดเสียทีไ่ มมีอาํ นาจควบคุมทีม่ ีสาระสําคัญมีดังนี้

ประเทศ ทีจ่ ัดตัง้ / สัญชาติ ไทย ไทย

ชื่อกิจการ บริษทั อีแกท ไดมอนด เซอรวิส จํากัด (EDS) บริษทั ผลิตไฟฟาราชบุรีโฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) (RATCH)

หนวย : ลานบาท สัดสวนของสวนไดเสียในความเปนเจาของ ทีถ่ ือโดยสวนไดเสียทีไ่ มมีอํานาจควบคุม (รอยละ) 2558 2557 55 55 55 55

ขอมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทยอยที่มีสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมที่มีสาระสําคัญ ซึ่งเปนขอมูลหลังปรับนโยบาย การบัญชี กอนการตัดรายการระหวางกัน สรุปรายการแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557

2558 สินทรัพยหมุนเวียน สินทรัพยไมหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไมหมุนเวียน สินทรัพยสุทธิ สวนของบริษัทใหญ สวนไดเสียทีไ่ มมีอํานาจควบคุม

EDS 112.63 409.23 (50.34) (41.74) 429.78 193.40 236.38

RATCH 25,983.50 66,621.56 (11,658.07) (20,527.15) 60,419.84 27,188.93 33,230.91

หนวย : ลานบาท 2557 EDS RATCH 150.06 31,407.67 439.62 64,827.36 (86.37) (16,049.97) (72.60) (18,985.67) 430.71 61,199.39 193.82 27,539.73 236.89 33,659.66


174

- 45 สรุปรายการกําไรหรือขาดทุนเบ็ดเสร็จ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557

2558 รายได คาใชจาย กําไร(ขาดทุน)กอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไร(ขาดทุน)สุทธิ กําไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอืน่ กําไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จรวม สวนของบริษทั ใหญ สวนไดเสียทีไ่ มมีอํานาจควบคุม เงินปนผลจายใหกบั สวนไดเสีย ทีไ่ มมีอํานาจควบคุม

EDS 172.69 (175.20) (2.51) (2.51) 1.58 (0.93) (0.42) (0.51)

RATCH 59,326.28 (54,903.64) 4,422.64 (1,407.72) 3,014.92 (502.98) 2,511.94 1,130.37 1,381.57

-

หนวย : ลานบาท 2557 EDS RATCH 207.85 59,048.31 (195.22) (51,638.78) 12.63 7,409.53 (1,269.38) 12.63 6,140.15 (679.40) 12.63 5,460.75 5.68 2,457.34 6.95 3,003.41 -

1,810.60

1,810.60

สรุปรายการกระแสเงินสด สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 2558 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน อืน่ ๆ เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด เพิ่มขึน้ (ลดลง)สุทธิ

EDS 42.55 (6.91) (34.17) -

RATCH 9,256.17 (6,248.03) (6,740.69) 574.02

1.47

(3,158.53)

หนวย : ลานบาท 2557 EDS RATCH 26.48 9,841.55 (14.26) (2,419.72) (25.69) (4,366.29) 129.73 (13.47)

3,185.27

6.8.6.2 ขอมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทรวม ของ กฟผ. ซึ่งเปนขอมูลหลังปรับนโยบายการบัญชี มีรายละเอียดดังนี้ สรุปรายการแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 - บริษทั ผลิตไฟฟา จํากัด (มหาชน)

สินทรัพยหมุนเวียน สินทรัพยไมหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไมหมุนเวียน สินทรัพยสุทธิ

2558 19,403.18 158,675.84 (15,918.94) (88,176.74) 73,983.34

หนวย : ลานบาท 2557 17,136.89 142,875.54 (18,733.88) (70,825.62) 70,452.93


175

- 46 สรุปรายการกําไรขาดทุน สําหรับปสนิ้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 - บริษัท ผลิตไฟฟา จํากัด (มหาชน) รายได* คาใชจาย กําไร(ขาดทุน)กอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไร(ขาดทุน)สุทธิ

2558 24,902.61 (19,791.94) 5,110.67 (750.40) 4,360.27

หนวย : ลานบาท 2557 24,687.33 (18,583.11) 6,104.22 (751.22) 5,353.00

*รวมกําไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ

6.8.6.3 ขอมูลทางการเงินโดยสรุปของการรวมคาของ กฟผ. ซึ่งเปนขอมูลหลังปรับนโยบายการบัญชี มีรายละเอียดดังนี้ สรุปรายการแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 - บริษัท ผลิตไฟฟาและน้ําเย็น จํากัด

สินทรัพยหมุนเวียน สินทรัพยไมหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไมหมุนเวียน สินทรัพยสุทธิ

2558 1,010.73 2,924.31 (699.94) (1,195.88) 2,039.22

หนวย : ลานบาท 2557 929.78 3,085.85 (580.01) (1,572.92) 1,862.70

สรุปรายการกําไรขาดทุน สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 - บริษัท ผลิตไฟฟาและน้ําเย็น จํากัด รายได* คาใชจาย กําไร(ขาดทุน)กอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไร(ขาดทุน)สุทธิ *รวมกําไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ

2558 2,918.15 (2,639.05) 279.10 (60.30) 218.80

หนวย : ลานบาท 2557 3,045.76 (2,760.06) 285.70 (8.93) 276.77


คาเสื่อมราคาสะสม คาตัดจายสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ปรับปรุงผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี คาเสื่อมราคาสะสม คาตัดจายสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 (ปรับปรุงใหม) คาเสื่อมราคา คาตัดจาย สําหรับป ผลตางของอัตราแลกเปลี่ยนจากการ แปลงคางบการเงิน โอนเปลี่ยนประเภท ขายและจําหนาย คาเสื่อมราคาสะสม คาตัดจายสะสม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ราคาทุน ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ปรับปรุงผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี ปรับปรุงรายการเนื่องจากการซื้อธุรกิจ และผลกระทบจาก TFRIC4 ราคาทุน ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 (ปรับปรุงใหม) เพิ่มระหวางป รับโอนจากงานระหวางกอสราง ผลตางของอัตราแลกเปลี่ยนจากการ แปลงคางบการเงิน โอนเปลี่ยนประเภท ขายและจําหนาย ราคาทุน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

(18,790.38)

22.88

(18,767.50) (1,138.06)

0.60 0.36 38.00

(19,866.60)

-

-

-

-

9.65 (0.70) (41.41) 31,182.33

(11.57) (21.46) 9,777.99

-

29,321.44 12.76 1,880.59

-

(30.92)

8,917.86 893.16 -

(55.87)

29,377.31

สิ่งกอสราง

-

8,948.78

ที่ดนิ

(11,021.96)

(0.42) -

(10,563.48) (458.06)

-

(10,563.48)

1.98 29,367.14

29,094.25 270.91

-

-

29,094.25

เขื่อนและ อางเก็บน้ํา

6.9 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ ประกอบดวย

(197,041.47)

191.32 (129.55) 136.09

(186,345.93) (10,893.40)

668.44

(187,014.37)

(464.67) 202.73 (420.66) 322,906.56

302,876.20 349.68 20,363.28

46.75

(1,696.71)

304,526.16

โรงไฟฟา

(24,678.89)

130.49 161.47

(21,442.91) (3,527.94)

-

(21,442.91)

(206.54) (161.47) 36,722.49

35,455.22 428.58 1,206.70

(15.83)

-

35,471.05

อุปกรณ โรงไฟฟา

(747.55)

11.84

(729.16) (30.23)

-

(729.16)

(15.13) 856.43

867.82 3.74

-

-

867.82

ระบบ ควบคุม ไฟฟา

(86,767.03)

0.37 692.70

(81,760.19) (5,699.91)

-

(81,760.19)

(0.37) (904.73) 171,949.32

162,820.12 154.71 9,879.59

-

-

162,820.12

ระบบสง พลังงาน ไฟฟา

- 47 -

(6,008.55)

(0.21) 91.34

(5,852.23) (247.45)

-

(5,852.23)

0.48 (93.09) 7,006.05

6,939.31 6.78 152.57

-

-

6,939.31

(4,802.87)

-

(4,669.14) (133.73)

-

(4,669.14)

6,484.01

6,174.20 309.81

-

-

6,174.20

(5,398.52)

(0.79) 153.67

(5,294.42) (256.98)

-

(5,294.42)

2.59 (153.67) 6,823.11

6,549.87 417.00 7.32

-

-

6,549.87

(42.85)

-

(42.85) -

-

(42.85)

42.85

42.85 -

-

-

42.85

(2,470.87)

0.79 137.78

(2,455.13) (154.31)

-

(2,455.13)

(2.53) (139.81) 3,014.07

2,989.70 166.71 -

-

-

2,989.70

งบการเงินรวม ระบบสื่อสาร ระบบสายพาน เครื่องจักรกล อะไหลชิ้นใหญ ยานพาหนะ ลําเลียง เครื่องจักรกล ถานลิกไนต เหมือง

(8,062.11)

0.02 (0.15) 476.38

(7,820.29) (718.07)

0.80

(7,821.09)

(0.08) (1.81) (481.36) 11,294.41

10,562.59 1,198.69 16.38

-

(1.51)

(2,965.69)

1,982.89

(2,805.01) (2,143.57)

-

(2,805.01)

(1,982.89) 6,734.84

5,992.28 2,725.45

-

-

-

-

-

(12.59)

12.59

-

-

-

20.98

คาตรวจสอบ รายการปรับปรุง สภาพโรงไฟฟา ในการรวมงบ รอการตัดบัญชี จากกําไรในการ ขายโรงไฟฟา 10,564.10 5,992.28 (20.98)

ครุภัณฑอื่น

(369,874.96)

191.94 0.89 3,882.16

(348,548.24) (25,401.71)

679.53

(349,227.77)

(466.67) (4.17) (4,415.68) 644,161.60

608,603.71 3,628.07 36,816.34

-

(1,733.11)

610,336.82

รวม

หนวย : ลานบาท

176


-

8,917.86 9,777.99

คาเผือ่ การดอยคาสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ราคาตามบัญชี - สุทธิ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ที่ดนิ

10,552.76 11,314.55

(1.18) (1.18)

สิ่งกอสราง

18,530.77 18,345.18

-

เขื่อนและ อางเก็บน้ํา

115,496.25 124,831.07

(1,034.02) (1,034.02)

โรงไฟฟา

14,012.31 12,043.60

-

อุปกรณ โรงไฟฟา

138.66 108.88

-

ระบบ ควบคุม ไฟฟา

81,059.93 85,182.29

-

ระบบสง พลังงาน ไฟฟา

- 48 -

1,087.08 997.50

-

1,505.06 1,681.14

-

1,255.45 1,424.59

-

-

-

534.57 543.20

-

งบการเงินรวม ระบบสื่อสาร ระบบสายพาน เครื่องจักรกล อะไหลชิ้นใหญ ยานพาหนะ ลําเลียง เครื่องจักรกล ถานลิกไนต เหมือง

2,742.30 3,232.30

-

ครุภัณฑอื่น

3,187.27 3,769.15

-

-

-

คาตรวจสอบ รายการปรับปรุง สภาพโรงไฟฟา ในการรวมงบ รอการตัดบัญชี จากกําไรในการ ขายโรงไฟฟา

259,020.27 273,251.44

(1,035.20) (1,035.20)

รวม

หนวย : ลานบาท

177


(19,701.59)

-

-

7,480.41 8,373.57

คาเผือ่ การดอยคาสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ราคาตามบัญชี - สุทธิ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

18,530.77 18,345.18

-

(11,021.96)

(10,563.48) (458.06) (0.42) -

29,094.25 270.91 1.98 29,367.14

เขื่อนและ อางเก็บน้ํา

103,031.58 113,247.29

(15.33) (15.33)

(186,441.28)

(176,337.06) (9,991.63) (129.55) 16.96

279,383.97 1.43 20,347.87 202.73 (232.10) 299,703.90

โรงไฟฟา

14,012.31 12,043.60

-

(24,678.89)

(21,442.91) (3,527.94) 130.49 161.47

35,455.22 428.58 1,206.70 (206.54) (161.47) 36,722.49

อุปกรณ โรงไฟฟา

138.66 108.88

-

(747.55)

(729.16) (30.23) 11.84

ระบบ ควบคุม ไฟฟา 867.82 3.74 (15.13) 856.43

81,059.93 85,182.29

-

(86,767.03)

(81,760.19) (5,699.91) 0.37 692.70

1,087.08 997.50

-

(6,008.55)

(5,852.23) (247.45) (0.21) 91.34

1,505.06 1,681.14

-

(4,802.87)

(4,669.14) (133.73) -

1,095.91 1,280.65

-

(5,347.44)

(5,262.80) (237.52) (0.79) 153.67

-

-

(42.85)

(42.85) -

528.91 542.08

-

(2,447.71)

(2,415.85) (151.80) 0.79 119.15

2,463.08 3,019.54

-

(7,651.82)

(7,488.15) (629.00) (0.15) 465.48

9,951.23 1,181.97 9.69 (1.81) (469.72) 10,671.36

ครุภัณฑอื่น

3,187.27 3,769.15

-

(2,965.69)

(2,805.01) (2,143.57) 1,982.89

คาตรวจสอบ สภาพโรงไฟฟา รอการตัดบัญชี 5,992.28 2,725.45 (1,982.89) 6,734.84

244,109.23 259,366.26

(15.33) (15.33)

(358,625.23)

(338,006.69) (24,352.93) 0.89 3,733.50

582,131.25 3,262.75 36,790.35 (4.17) (4,173.36) 618,006.82

รวม

หนวย : ลานบาท

กฟผ. ไดรวมสัญญาเชาทรัพยสินอืน่ (นอกเหนือจากโรงไฟฟา) ซึ่งถือเปนสัญญาเชาการงิน โดย กฟผ. ไมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพยสินดังกลาวเมื่อสิ้นสุดสัญญาเชา อยูในรายการ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ ซึ่ง ณ 31 ธ.ค. 58 มีราคาทุน 52.99 ลานบาท คาเสื่อมราคาสะสม 2.54 ลานบาท และราคาตามบัญชีสุทธิ 50.45 ลานบาท

9,988.26 10,775.39

-

(18,637.86) (1,102.09) 0.36 38.00

28,626.12 12.45 1,880.52 (0.70) (41.41) 30,476.98

-

7,480.41 893.16 8,373.57

สิ่งกอสราง

คาเสื่อมราคาสะสม คาตัดจายสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 คาเสื่อมราคา คาตัดจาย สําหรับป โอนเปลี่ยนประเภท ขายและจําหนาย คาเสื่อมราคาสะสม คาตัดจายสะสม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ราคาทุน ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 เพิ่มระหวางป รับโอนจากงานระหวางกอสราง โอนเปลี่ยนประเภท ขายและจําหนาย ราคาทุน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ที่ดนิ

งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ระบบสง ระบบสื่อสาร ระบบสายพาน เครื่องจักรกล อะไหลชิ้นใหญ ยานพาหนะ พลังงาน ลําเลียง เครื่องจักรกล ไฟฟา ถานลิกไนต เหมือง 162,820.12 6,939.31 6,174.20 6,358.71 42.85 2,944.76 154.71 6.78 416.96 166.71 9,879.59 152.57 309.81 3.50 (0.37) 0.48 2.59 (2.53) (904.73) (93.09) (153.67) (119.15) 171,949.32 7,006.05 6,484.01 6,628.09 42.85 2,989.79

- 49 -

178


179

- 50 ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 และ 2557 กฟผ. มี อ าคารและอุ ป กรณ ที่ หั ก ค า เสื่ อ มราคาสะสมเต็ ม มู ล ค า แล ว แตยังคงใชงานอยู โดยมีราคาทุนกอนหักคาเสื่อมราคาสะสม จํานวน 120,925.48 ลานบาท และ 106,615.07 ลานบาท ตามลําดับ ประกอบดวย

สิ่งกอสราง เขื่อนและอางเก็บน้ํา โรงไฟฟา อุปกรณโรงไฟฟา ระบบควบคุมไฟฟา ระบบสงพลังงานไฟฟา ระบบสื่อสาร ระบบสายพานลําเลียงถานลิกไนต เครื่องจักรกล อะไหลชิ้นใหญเครื่องจักรกลเหมือง ยานพาหนะ ครุภณ ั ฑอื่น รวม

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 10,009.78 9,503.82 15.50 15.50 63,830.53 53,674.54 10,743.48 9,634.43 459.85 457.59 17,357.33 15,131.13 4,778.90 4,403.08 3,260.52 3,260.52 3,685.42 3,734.90 42.85 42.85 1,886.62 1,925.01 4,854.70 4,831.70 120,925.48 106,615.07

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 โรงไฟฟาหนองจอกหนวยที่ 2 และ 3 พรอมอุปกรณบางสวนของโรงไฟฟาลานกระบือ หนวยที่ 11 ซึ่งสงไปชวยเหลือประเทศญี่ปุนที่ขาดแคลนไฟฟาในชวงหนารอนป 2554 เนื่องจากภัยธรรมชาติ Tsunami ซึ่งมีราคาทุน 1,924.34 ลานบาท และ 61.06 ลานบาท ตามลําดับ โดยโรงไฟฟาและอุปกรณโรงไฟฟาดังกลาวคิดคาเสื่อมราคาสะสมเต็มมูลคาแลว คงเหลือ มูลคาตามบัญชีสุทธิ จํานวน 47 บาท และ 2 บาท ตามลําดับ


463.61 90.49 554.10 (270.91)

-

283.19

1,981.20 2,438.26 4,419.46 (1,880.52)

-

2,538.94

เขื่อนและ อางเก็บน้ํา

-

-

สิ่งกอสราง

463.61 90.49 554.10 (270.91)

1,981.20 2,438.27 4,419.47 (1,880.53)

283.19

-

-

2,538.94

463.61

1,981.20

เขื่อนและ อางเก็บน้ํา

6,373.39

-

12,487.25 14,865.84 27,353.09 (20,979.70)

27.73

-

25.84 5.16 31.00 (3.27)

-

25.84

-

-

574.87 574.87 (574.87)

27.73

-

25.84 5.16 31.00 (3.27)

19,289.03

-

19,619.56 9,543.40 29,162.96 (9,873.93)

740.18

-

749.39 300.60 1,049.99 (309.81)

-

749.39

ระบบสายพาน ลําเลียง ถานลิกไนต

งบการเงินรวม

438.90

-

403.69 187.78 591.47 (152.57)

740.18

-

749.39 300.60 1,049.99 (309.81)

ลําเลียง ถานลิกไนต

-

-

-

-

7.74 5.45 13.19 (13.19)

452.96

-

452.96

-

599.96 2,578.45 3,178.41 (2,725.45)

15.90

-

1.30 20.72 22.02 (6.12)

-

1.30

15.90

-

1.30 20.72 22.02 (6.12)

โปรแกรม คอมพิวเตอร

599.96 2,578.45 3,178.41 (2,725.45)

-

599.96

คาตรวจสอบ โปรแกรม สภาพโรงไฟฟา คอมพิวเตอร

คาตรวจสอบ สภาพโรงไฟฟา

2.92

-

13.93 14.53 (5.60) 22.86 (19.94)

-

13.93

ครุภัณฑอื่น

ครุภัณฑอื่น

3.77 0.05 3.82 (3.82)

-

3.77

เครื่องจักรกล

งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ระบบสื่อสาร ระบบสายพาน

438.90

-

403.69 187.78 591.47 (152.57)

-

403.69

ระบบสื่อสาร

ระบบสง พลังงานไฟฟา และงานสํารวจ

19,289.03

-

19,619.56 9,543.40 29,162.96 (9,873.93)

-

19,619.56

ระบบสง พลังงานไฟฟา และงานสํารวจ

อุปกรณโรงไฟฟา ระบบควบคุม ไฟฟา

-

-

574.87 574.87 (574.87)

-

-

อุปกรณโรงไฟฟา ระบบควบคุม ไฟฟา

โรงไฟฟา

6,373.39

-

12,487.25 14,875.65 5.60 27,368.50 (20,995.11)

(4.13)

12,491.38

โรงไฟฟา

- 51 -

1,911.17

(3,134.63)

2,238.48 2,813.45 5,051.93 (6.13)

-

2,238.48

วัส ดุใชส ําหรับ งานระหวาง กอสรางระบบสงฯ

3.22

-

1,911.17

(3,134.63)

(1,533.75) 35,674.13

(1,533.75) 3,596.60

(8,857.11)

(1,533.75) 35,671.21

(11,991.74)

45,590.91 40,402.26 85,993.17 (36,796.47)

รวม

หนวย : ลานบาท

(1,533.75) 3,596.60

(11,991.74)

45,600.87 40,421.21 86,022.08 (36,822.46)

(4.13)

45,605.00

รวม

หนวย : ลานบาท

(8,857.11)

7,012.89 6,974.57 13,987.46 -

-

7,012.89

วัสดุ ระหวางทาง

วัสดุใชสําหรับ วัสดุ งานระหวาง ระหวางทาง กอสรางระบบสงฯ 2,238.48 7,012.89 3.22 2,813.45 6,974.57 3.22 5,051.93 13,987.46 (6.13) -

งานวิจัย และพัฒนา

3.22

-

3.22 3.22 -

-

-

งานวิจัย และพัฒนา

ตนทุนการกูยืมจํานวน 376.45 ลานบาท เกิดจากเงินกูยืมมาเพื่อสรางโรงไฟฟาและขยายระบบสงโรงไฟฟา ซึ่งไดบันทึกเปนตนทุนของสินทรัพยโดยรวมอยูในรายการเพิม่ ระหวางป โดยแสดงรวมอยูในกิจกรรมลงทุนในงบกระแสเงินสด

โอนไปที่ดิน อาคาร อุปกรณ และอื่นๆ โอนไปงานระหวางกอสรางโรงไฟฟา และระบบสงฯ โอนไปวัสดุใชสําหรับงานระหวาง กอสรางระบบสงฯ ยอดยกไป ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ยอดยกมา ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 เพิ่มระหวางป

โอนไปที่ดิน อาคาร อุปกรณ และอื่นๆ โอนไปงานระหวางกอสรางโรงไฟฟา และระบบสงฯ โอนไปวัสดุใชสําหรับงานระหวาง กอสรางระบบสงฯ ยอดยกไป ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ยอดยกมา ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ปรับปรุงผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี ยอดยกมา ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 (ปรับปรุงใหม) เพิ่มระหวางป โอนเปลี่ยนประเภท

สิ่งกอสราง

6.10 งานระหวางกอสราง ประกอบดวย

180


181

- 52 กฟผ. มีงานระหวางกอสรางที่เปนโครงการตาง ๆ ดังนี้

โครงการ โครงการขยายระบบสงไฟฟา โครงการโรงไฟฟาพลังความรอนรวมจะนะ ชุดที่ 2 โครงการโรงไฟฟาพลังความรอนรวมพระนครเหนือ ชุดที่ 2 โครงการโรงไฟฟาพลังความรอนรวมวังนอย ชุดที่ 4 โครงการโรงไฟฟาพลังความรอนแมเมาะ (ทดแทน) เครื่องที่ 4-7 โครงการอื่น ๆ รวม

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 21,284.20 21,470.21 112.09 104.53 56.98 12,055.40 211.96 200.17 1,567.95 12,440.95 11,770.56 35,674.13 45,600.87

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 21,284.20 21,470.21 112.09 104.53 56.98 12,055.40 211.96 200.17 1,567.95 12,438.03 11,760.60 35,671.21 45,590.91

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 โครงการโรงไฟฟาพลังความรอนแมเมาะ (ทดแทน) เครื่องที่ 4-7 มีสัดสวนของงานที่แลวเสร็จ จํานวนรอยละ 18.10 โรงไฟฟาไดกอสรางแลวเสร็จโดยไดโอนขึ้นบัญชีทรัพยสินแลวสามโครงการ ไดแก โครงการโรงไฟฟาพลังความรอนรวม พระนครเหนือ ชุดที่ 2 ตั้งแตวันที่ 1 ธันวาคม 2558 โครงการโรงไฟฟาพลังความรอนรวมจะนะ ชุดที่ 2 ตั้งแตวันที่ 8 เมษายน 2557 (Train 1) และ วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 (Train 2) โครงการโรงไฟฟาพลังความรอนรวมวังนอย ชุดที่ 4 ตั้งแตวันที่ 9 มีนาคม 2557 แตทั้งสามโครงการยังมีงานระหวางกอสรางคงเหลือในสวนของงานปรับปรุงเพิ่มเติมบริเวณรอบโรงไฟฟา (Facilities) ซึ่งจะดําเนินการ ขึ้นบัญชีทรัพยสินเมื่อดําเนินการแลวเสร็จในภายหลัง 6.11 คาความนิยม ประกอบดวย

ยอดยกมา ลดลงจากการขายเงินลงทุน ผลตางจากการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ หัก คาเผื่อการดอยคาสะสม ยอดคงเหลือ

หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 648.90 763.74 (117.08) 25.94 2.24 674.84 648.90 (375.37) (375.37) 299.47 273.53


(3,839.82) (3,839.82) (0.89) (3,840.71)

23,479.08 24,181.68

ราคาตามบัญชี - สุทธิ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

สิทธิการใช ที่ดนิ 27,318.90 27,318.90 703.49 28,022.39

คาตัดจําหนายสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ปรับปรุงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี คาตัดจําหนายสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 (ปรับปรุงใหม) คาตัดจําหนายสําหรับป ผลตางของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงคางบการเงิน โอนเปลี่ยนประเภท ขายและจําหนาย คาตัดจําหนายสะสม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

ราคาทุน ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 ปรับปรุงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี ราคาทุน ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 (ปรับปรุงใหม) เพิ่มระหวางป รับโอนจากงานระหวางกอสราง ผลตางของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงคางบการเงิน โอนเปลี่ยนประเภท ขายและจําหนาย ราคาทุน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

6.12 สินทรัพยไมมีตัวตนอื่น ประกอบดวย

605.06 440.20

(1,167.92) 0.56 (1,167.36) (241.58) 0.15 0.24 20.87 (1,387.68)

โปรแกรมคอมพิวเตอร และคาลิขสิทธิ์ซอฟตแวร 1,774.71 (2.29) 1,772.42 72.86 6.12 (2.24) (0.38) (20.90) 1,827.88

213.89 207.55

(260.88) (260.88) (6.34) (267.22)

สิทธิการใชประโยชน ในที่ราชพัสดุ 474.77 474.77 474.77

- 53 -

-

(2.66) 2.66 -

งบการเงินรวม สิทธิการใช ระบบทอยอยสงกาซ 6.25 (6.25) -

12.49 -

(17.20) (17.20) (3.02) 20.22 -

4,325.89 4,029.19

(1,925.94) (1,925.94) (265.09) 33.83 (2,157.20)

สิทธิในการเชื่อมโยง สิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟา ระบบจําหนายไฟฟา และพัฒนาโครงการ 29.69 6,251.83 29.69 6,251.83 (65.44) (29.69) 6,186.39

28,636.41 28,858.62

(7,214.42) 3.22 (7,211.20) (516.92) 33.98 20.46 20.87 (7,652.81)

35,856.15 (8.54) 35,847.61 776.35 6.12 (67.68) (30.07) (20.90) 36,511.43

รวม

หนวย : ลานบาท

182


183

- 54 -

หนวย : ลานบาท สิทธิการใช ที่ดนิ

งบการเงินเฉพาะ กฟผ. โปรแกรม สิทธิการใช คอมพิวเตอร ประโยชน และคาลิขสิทธิ์ ในที่ราชพัสดุ ซอฟตแวร 1,673.90 474.77 41.29 6.12 (0.38) (20.90) 1,700.03 474.77

รวม

ราคาทุน ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 เพิ่มระหวางป รับโอนจากงานระหวางกอสราง โอนเปลี่ยนประเภท ขายและจําหนาย ราคาทุน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

27,318.90 703.49 28,022.39

29,467.57 744.78 6.12 (0.38) (20.90) 30,197.19

คาตัดจําหนายสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 คาตัดจําหนายสําหรับป โอนเปลี่ยนประเภท ขายและจําหนาย คาตัดจําหนายสะสม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

(3,839.82) (0.89) (3,840.71)

(1,115.24) (224.92) 0.24 20.87 (1,319.05)

(260.88) (6.34) (267.22)

(5,215.94) (232.15) 0.24 20.87 (5,426.98)

ราคาตามบัญชี - สุทธิ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

23,479.08 24,181.68

558.66 380.98

213.89 207.55

24,251.63 24,770.21

6.13 ที่ดินที่รอการพัฒนา ประกอบดวย

ยอดยกมา เพิ่ม(ลด)ระหวางป หัก คาเผื่อการดอยคาสะสม ยอดคงเหลือ

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 2,557.59 2,548.72 (8.87) 8.87 2,548.72 2,557.59 (423.43) (423.43) 2,125.29 2,134.16

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 2,239.51 2,239.51 2,239.51 2,239.51 (423.43) (423.43) 1,816.08 1,816.08


184

- 55 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กฟผ. มีที่ดินที่รอการพัฒนา รวมทั้งสิ้นจํานวน 1,816.08 ลานบาท ประกอบดวยที่ดิน ที่จัดหามาเพื่ อใชเปนสถานที่ กอสร างโรงไฟฟาเพื่ อรองรับความต องการพลังงานไฟฟาที่เพิ่มขึ้น แตเนื่องจากมี การปรับเปลี่ยน แผนพัฒนากําลังการผลิตไฟฟาของ กฟผ. จึงตองชะลอการกอสรางโรงไฟฟาใหม ที่ดินที่รอการพัฒนาดังกลาว ประกอบดวย - ที่ดินที่อาวไผ จังหวัดชลบุรี เนื้อที่ 122 ไร ราคาทุน 9.05 ลานบาท - ที่ดินที่ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ เนื้อที่ 4,029 ไร ราคาทุน 2,223.43 ลานบาท มีคาเผื่อการดอยคาสะสม 423.43 ลานบาท คงเหลือราคาตามบัญชี - สุทธิ 1,800 ลานบาท - ที่ดินบริเวณสถานีขนถายน้ํามัน ถนนเพชรเกษม จังหวัดราชบุรี เนื้อที่ 37 ไร ราคาทุน 3.75 ลานบาท - ที่ดินบริเวณสถานีไฟฟาแรงสูงบานนาสาร ตําบลน้ําพุ (ทาชี) อําเภอบานนาสาร จังหวัดสุราษฎรธานี ราคาทุน 3.28 ลานบาท 6.14 ภาษีเงินไดและภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี 6.14.1 ภาษีเงินได หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 ภาษีเงินได : ภาษีเงินไดงวดปจจุบัน ภาษีงวดกอน ๆ ที่บันทึกสูงไป รวม ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี : การเปลีย่ นแปลงของผลตางชั่วคราว รวม รวมทั้งสิ้น

1,223.18 7.90 1,231.08

1,460.46 (14.51) 1,445.95

176.64 176.64 1,407.72

(176.57) (176.57) 1,269.38

6.14.2 สินทรัพยและหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม สินทรัพย 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 สินทรัพย (หนี้สิน) ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี 6,321.73 7,455.99 การหักกลบรายการของภาษี (6,214.35) (7,404.37) สินทรัพย (หนี้สิน) ภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีสุทธิ 107.38 51.62

หนี้สิน 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 (8,172.66) (9,169.70) 6,214.35 7,404.37 (1,958.31) (1,765.33)


185

- 56 6.14.3 การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพยและหนี้สินภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี

ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 สินทรัพยภาษีเงินไดรอตัดบัญชี : คาเผื่อวัสดุสํารองคลังลาสมัย และการลดมูลคาวัสดุสํารองคลัง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ ผลประโยชนพนักงาน หนี้สินตามสัญญาเชาทางการเงิน ขาดทุนยกไป รวม หนี้สินภาษีเงินไดรอตัดบัญชี : คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย ลูกหนี้ตามสัญญาเชาการเงิน กิจการทีเ่ กีย่ วของกัน อืน่ ๆ รวม

ผลตางจาก อัตรา แลกเปลี่ยน

ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

222.76 6,129.64 22.02 0.07 1,081.50 7,455.99

-

41.36 (705.20) 3.40 0.02 (449.25) (1,109.67)

(24.59) (24.59)

264.12 5,424.44 25.42 0.09 607.66 6,321.73

(2,609.37)

-

162.82

59.10

(2,387.45)

(6,323.68) (236.65) (9,169.70)

-

685.52 84.69 933.03

4.91 64.01

(5,638.16) (147.05) (8,172.66)

ณ วันที่ 1 ม.ค. 57 สินทรัพยภาษีเงินไดรอตัดบัญชี : คาเผื่อวัสดุสํารองคลังลาสมัย และการลดมูลคาวัสดุสํารองคลัง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ ผลประโยชนพนักงาน หนี้สินตามสัญญาเชาทางการเงิน ขาดทุนยกไป รวม หนี้สินภาษีเงินไดรอตัดบัญชี : คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย ลูกหนี้ตามสัญญาเชาการเงิน กิจการทีเ่ กีย่ วของกัน อืน่ ๆ รวม

การรวมธุรกิจ

งบการเงินรวม กําไรหรือ ขาดทุน

หนวย : ลานบาท

122.07 5,230.15 18.92 0.03 1,039.49 6,410.66

หนวย : ลานบาท

การรวมธุรกิจ

งบการเงินรวม กําไรหรือ ขาดทุน

60.06 1,556.84 1,616.90

40.63 (657.35) 3.10 0.04 155.70 (457.88)

(113.69) (113.69)

222.76 6,129.64 22.02 0.07 1,081.50 7,455.99

ผลตางจาก อัตรา แลกเปลี่ยน

ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57

(2,814.93)

-

(17.27)

222.83

(2,609.37)

(6,738.98) (167.51) (9,721.42)

(324.53) (324.53)

739.83 (88.11) 634.45

18.97 241.80

(6,323.68) (236.65) (9,169.70)


186

- 57 6.15 สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น ประกอบดวย งบการเงินรวม คาใชจายในการ คาใชจายในการ คาทดแทนที่ดนิ เปดหนาดิน สํารวจแหลงแร และงานหมูบ า น และสํารวจเพือ่ อพยพ การพัฒนาขัน้ ตน - รายจายรอการตัดบัญชีดา นเหมืองลิกไนต รายจายรอการตัดบัญชีฯ ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 เพิม่ ระหวางป รายจายรอการตัดบัญชีฯ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58 รายจายตัดบัญชีสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 เพิม่ ระหวางป รายจายตัดบัญชีสะสม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58 ราคาตามบัญชี - สุทธิ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58 - อืน่ ๆ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58 รวมสินทรัพยไมหมุนเวียนอืน่ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

100,734.45 5,857.88 106,592.33 (100,734.45) (5,857.88) (106,592.33) -

หนวย : ลานบาท คาประทาน บัตรแร

รวม

645.67 645.67 (325.13) (9.40) (334.53)

1,988.44 1,988.44 (1,740.78) (47.91) (1,788.69)

281.14 281.14 (68.98) (11.25) (80.23)

103,649.70 5,857.88 109,507.58 (102,869.34) (5,926.44) (108,795.78)

320.54 311.14

247.66 199.75

212.16 200.91

780.36 711.80 2,273.19 2,716.12 3,053.55 3,427.92


187

- 58 -

งบการเงินเฉพาะ กฟผ. คาใชจายในการ คาใชจายในการ คาทดแทนที่ดิน คาประทาน เปดหนาดิน สํารวจแหลงแร และงานหมูบ าน บัตรแร และสํารวจเพื่อ อพยพ การพัฒนาขั้นตน - รายจายรอการตัดบัญชีดานเหมืองลิกไนต รายจายรอการตัดบัญชีฯ ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 เพิม่ ระหวางป รายจายรอการตัดบัญชีฯ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58 รายจายตัดบัญชีสะสม ณ วันที่ 1 ม.ค. 58 เพิม่ ระหวางป รายจายตัดบัญชีสะสม ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58 ราคาตามบัญชี - สุทธิ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58 - อื่น ๆ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58 รวมสินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น ณ วันที่ 31 ธ.ค. 57 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 58

100,734.45 5,857.88 106,592.33 (100,734.45) (5,857.88) (106,592.33) -

หนวย : ลานบาท รวม

645.67 645.67 (325.13) (9.40) (334.53)

1,988.44 1,988.44 (1,740.78) (47.91) (1,788.69)

281.14 281.14 (68.98) (11.25) (80.23)

103,649.70 5,857.88 109,507.58 (102,869.34) (5,926.44) (108,795.78)

320.54 311.14

247.66 199.75

212.16 200.91

780.36 711.80 743.33 1,707.06 1,523.69 2,418.86

6.16 เจาหนี้การคา - กิจการอื่น มีรายละเอียดดังนี้

เจาหนี้คาไฟฟา เจาหนี้คาเชื้อเพลิงที่ใชในการผลิตไฟฟา เจาหนี้จากการจัดหาเชื้อเพลิง อื่น ๆ รวม

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 33,904.05 30,818.94 8,674.84 10,718.60 896.90 1,322.00 9,222.35 11,643.55 52,698.14 54,503.09

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 33,904.05 30,818.94 8,674.84 10,718.60 896.90 1,322.00 2,240.85 2,834.27 45,716.64 45,693.81


188

- 59 6.17 เงินรายไดแผนดินคางนําสงคลัง ในป 2558 กระทรวงการคลังไดกําหนดให กฟผ. นําสงเงินรายไดแผนดินในอัตรารอยละ 45 ของกําไรสุทธิกอนคาใชจาย สํา รองโบนั ส ซึ่ ง อาจมี ก ารเปลี่ ยนแปลงได ขึ้ นอยู กั บ ความเห็ น ชอบของกระทรวงการคลั ง ณ วั น ที่ 1 มกราคม 2558 กฟผ. มีเงินรายไดแผนดินคางนําสงยกมา จํานวน 8,380.71 ลานบาท สํารองเพิ่มจํานวน 60.19 ลานบาท โดยนําสงคลังตามหนังสือ การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย ที่ กฟผ. 921101/33323 ในวัน ที่ 29 เมษายน 2558 จํา นวน 8,440.90 ลา นบาท และ กระทรวงการคลังมีหนังสือขอเพิ่มจํานวน 7,000.00 ลานบาท โดยนําสงคลังตามหนังสือการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย ที่ กฟผ. 921101/66376 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2558 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ไดตั้งสํารองเงินรายไดแผนดินจากผลการดําเนินงานสําหรับป 2558 จํานวน 16,047.08 ลานบาท แตเนื่องจาก กฟผ. ไดนําสงเงินรายไดแผนดินจากผลการดําเนินงานสําหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ไปแลวเมื่อเดือนกันยายน 2558 และ ตุลาคม 2558 จํานวน 7,000.00 ลานบาท และจํานวน 2,833.09 ลานบาท รวมจํานวน 9,833.09 ลานบาท ดังนั้น กฟผ. จึงมีเงินรายไดแผนดินคางนําสงคลัง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 6,213.99 ลานบาท 6.18 เงินกูยมื ระยะยาว ประกอบดวย

ยอดยกมา เพิ่มระหวางป ชําระคืน กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการชําระคืน กําไรจากตราสารอนุพันธที่เกิดจาก การชําระคืน ปรับปรุง(กําไร)ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน/ผลตาง ของอัตราแลกเปลี่ยนจากการแปลงคางบการเงิน จัดประเภทคาธรรมเนียมจัดหาเงินกูรอตัดบัญชี ไวที่หนี้สินไมหมุนเวียนอื่น หัก เงินกูยืมระยะยาวทีถ่ ึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป ยอดคงเหลือ

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 80,778.94 82,515.28 2,126.31 10,274.21 (9,464.21) (11,473.96) (10.21) (20.60)

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 64,280.62 70,896.37 (8,065.86) (6,457.89) (10.21) (20.60)

(0.64)

(1.61)

(0.64)

(1.61)

1,291.99

(514.38)

(11.44)

(135.65)

22.50 74,744.68 (6,814.54) 67,930.14

80,778.94 (8,827.99) 71,950.95

56,192.47 (5,584.60) 50,607.87

64,280.62 (8,076.72) 56,203.90


189

- 60 เงินกูยืมระยะยาว ประกอบดวย งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 สกุลเงิน ตางประเทศ หนวย : ลาน

31 ธ.ค. 57

ลานบาท

สกุลเงิน ตางประเทศ หนวย : ลาน

ลานบาท

เงินกูในประเทศค้ําประกันโดยกระทรวงการคลัง พันธบัตร กฟผ. อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2563

-

2,000.00

-

2,000.00

5,000.00 5,000.00

เงินกูในประเทศ กระทรวงการคลังไมคา้ํ ประกัน เงินกูกระทรวงการคลัง อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2570

-

73.35

-

78.50

อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2576

-

53,300.00

-

58,100.00

อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2565

-

1,998.06

-

721.33

อัตราดอกเบี้ยลอยตัวครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2561

-

69.86

-

99.81

อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2559

-

1,200.00

-

1,200.00

พันธบัตร กฟผ. หุนกู สถาบันการเงินอื่นๆ

56,641.27

60,199.64

เงินกูยืมจากตางประเทศค้ําประกันโดยกระทรวงการคลัง เงินกู ยูโร : อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2580

20.58

819.12

27.31

819.12

1,102.12 1,102.12

เงินกูยืมจากตางประเทศ กระทรวงการคลังไมค้ําประกัน เงินกู ดอลลารออสเตรเลีย : อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558

-

-

20.00

505.09

หุนกู เยนญี่ปุน : อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2569

15,000.00

4,481.78

15,000.00

4,112.27

300.00

10,802.51

300.00

9,859.82

ดอลลารสหรัฐ : อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2562

15,284.29

14,477.18

รวม

74,744.68

80,778.94

หัก เงินกูยืมระยะยาวทีถ่ ึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป

(6,814.54)

(8,827.99)

67,930.14

71,950.95

คงเหลือ


190

- 61 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 บริษัทยอยมีคาธรรมเนียมในการจัดหาเงินกูลวงหนาจํานวน 22.50 และ 32.61 ลานบาท ตามลําดับ จากวงเงินกูยืมจํานวน 100 ลานดอลลารออสเตรเลีย โดยมีระยะเวลาตั้งแตป 2556 ถึง 2561 ซึ่งกิจการยังมี ความตั้งใจที่จะใชสิทธิในการกูยืมดังกลาวอยู ในป 2557 จึงยังคงแสดงรายการดังกลาวหักกลบกับเจาหนี้เงินกูยืมระยะยาวใน ภาพรวม สวนในป 2558 ไมมีการเบิกใชวงเงินกูยืมดังกลาว งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 สกุลเงิน ตางประเทศ หนวย : ลาน

31 ธ.ค. 57

ลานบาท

สกุลเงิน ตางประเทศ หนวย : ลาน

ลานบาท

เงินกูในประเทศค้ําประกันโดยกระทรวงการคลัง พันธบัตร กฟผ. อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2563

-

2,000.00

-

2,000.00

5,000.00 5,000.00

เงินกูในประเทศ กระทรวงการคลังไมคา้ํ ประกัน เงินกูกระทรวงการคลัง อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2570

-

73.35

-

78.50

-

53,300.00

-

58,100.00

พันธบัตร กฟผ. อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2576

53,373.35

58,178.50

เงินกูยืมจากตางประเทศค้ําประกันโดยกระทรวงการคลัง เงินกู ยูโร : อัตราดอกเบี้ยคงที่ครบกําหนดชําระคืนระหวางป 2558 - 2580

20.58

819.12

27.31

1,102.12

819.12

1,102.12

รวม

56,192.47

64,280.62

หัก เงินกูยืมระยะยาวทีถ่ ึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป

(5,584.60)

(8,076.72)

50,607.87

56,203.90

คงเหลือ

จํานวนเงินกูยืมระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 จําแนกตามประเภทของอัตราดอกเบีย้ ไดดังนี้

อัตราดอกเบีย้ ลอยตัว อัตราดอกเบีย้ คงที่ รวม

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 69.86 99.81 74,674.82 80,679.13 74,744.68 80,778.94

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 56,192.47 64,280.62 56,192.47 64,280.62


191

- 62 อัตราดอกเบีย้ ของเงินกูยืมระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีรายละเอียด ดังนี้ งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะ กฟผ.

พันธบัตร กฟผ. ในประเทศ - ค้ําประกันโดยกระทรวงการคลัง

รอยละ 6.970 ถึง รอยละ 7.380

รอยละ 6.970 ถึง รอยละ 7.380

- กระทรวงการคลังไมค้ําประกัน

รอยละ 3.240 ถึง รอยละ 6.235

รอยละ 3.240 ถึง รอยละ 6.235

รอยละ 3.000 ถึง รอยละ 4.600

รอยละ 3.000 ถึง รอยละ 3.000

รอยละ 0.750 ถึง รอยละ 8.000

รอยละ 0.750 ถึง รอยละ 8.000

เงินกูในประเทศ - กระทรวงการคลังไมค้ําประกัน เงินกูตางประเทศ - ค้ําประกันโดยกระทรวงการคลัง หุนกู - กระทรวงการคลังไมค้ําประกัน

รอยละ 2.720 ถึง รอยละ 3.500

6.19 หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - โรงไฟฟา หนวย : ลานบาท

หนี้สินตามสัญญาเชา การเงิน หัก ดอกเบี้ยจาย รอการรับรู สุทธิ

สวนที่ครบกําหนดชําระ ภายในหนึ่งป 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

งบการเงินรวม สวนที่ครบกําหนดชําระเกิน กวาหนึ่งป 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57

48,090.08

32,611.70

583,422.82

335,119.91

631,512.90

367,731.61

(33,513.13) 14,576.95

(22,389.77) 10,221.93

(332,822.06) 250,600.76

(198,724.64) 136,395.27

(366,335.19) 265,177.71

(221,114.41) 146,617.20

รวม

หนวย : ลานบาท

หนี้สินตามสัญญาเชา การเงิน หัก ดอกเบี้ยจาย รอการรับรู สุทธิ

สวนที่ครบกําหนดชําระ ภายในหนึ่งป 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

งบการเงินเฉพาะ กฟผ. สวนที่ครบกําหนดชําระเกิน กวาหนึ่งป 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

31 ธ.ค. 58

31 ธ.ค. 57

55,786.43

41,052.99

626,956.18

386,277.87

682,742.61

427,330.86

(38,013.93) 17,772.50

(27,403.46) 13,649.53

(351,360.17) 275,596.01

(221,691.81) 164,586.06

(389,374.10) 293,368.51

(249,095.27) 178,235.59

รวม


192

- 63 6.20 ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน พนักงาน กฟผ. จะไดรับเงินตอบแทนเมื่อเกษียณอายุภายใตกฎหมายแรงงานในประเทศไทย เมื่อมีการดําเนินงานหรือ เมื่ ออยู ครบวาระการทํ างานตามข อตกลงระหว าง กฟผ. และพนั กงาน หนี้ สิ นผลประโยชน ของพนั กงานเป น หนี้ สิ นประเภท Defined benefit obligation ซึ่งคํานวณโดยใชวิธี Projected unit credit ตามเกณฑคณิตศาสตรประกันภัย (Actuarial basis) อันเปนประมาณการจากมูลคาปจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดวาจะตองจายในอนาคต คํานวณคิดลดโดยใชอัตราดอกเบี้ยของ หลักทรัพยรัฐบาลที่มีกําหนดเวลาใกลเคียงกับระยะเวลาของหนี้สินดังกลาว คาใชจายที่เกี่ยวของกับผลประโยชนจะถูกบันทึก ในงบกําไรขาดทุนเพื่อกระจายตนทุนตลอดระยะเวลาของการจางงาน รายการกระทบยอดมูลคาปจจุบันของภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน มีรายละเอียดดังนี้

ยอดยกมา (กอนปรับปรุง) การปรับปรุงยอนหลัง ยอดยกมา (ที่ปรับปรุงแลว) ตนทุนบริการปจจุบัน ตนทุนดอกเบี้ย ตนทุนบริการในอดีต ไดมาจากการรวมกิจการ ลดลงจากการขายกิจการ (กําไร)ขาดทุนจากการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยของภาระผูกพัน ตามโครงการผลประโยชนหลังออกจากงาน กําไรจากการประมาณการ ตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยของภาระผูกพัน ตามโครงการผลประโยชนระยะยาวอื่น รายจายทีเ่ กิดขึ้นจริง ปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยน ยอดคงเหลือ

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 14,580.47 14,051.25 (0.68) (0.59) 14,579.79 14,050.66 603.53 587.95 545.54 533.01 115.23 7.47 (0.31)

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 14,469.21 13,955.72 14,469.21 13,955.72 588.17 572.69 541.17 529.00 115.23 -

450.32

(0.10)

451.89

(1.89) (896.19) (0.07) 15,396.26

(598.53) (0.36) 14,579.79

(1.89) (893.80) 15,269.98

(588.20) 14,469.21


193

- 64 คาใชจายที่รับรูในงบกําไรขาดทุน และเปนสวนหนึ่งของตนทุนสินทรัพย/หนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน สําหรับปสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีรายละเอียดดังนี้ งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57

คาใชจายที่รับรูในงบกําไรขาดทุน ตนทุนขาย คาใชจายในการขาย คาใชจายในการบริหาร รวม

699.44 7.77 427.93 1,135.14

624.73 6.57 377.75 1,009.05

699.44 7.77 408.20 1,115.41

624.73 6.57 358.48 989.78

ตนทุนสินทรัพย/หนี้สินทีร่ ับรูในงบแสดงฐานะการเงิน วัสดุสํารองคลัง งานระหวางกอสราง ประมาณการหนี้สินเพื่อการฟนฟูสภาพบริเวณเหมือง รวม รวมทั้งสิ้น

42.63 83.04 1.60 127.27 1,262.41

39.00 71.53 1.38 111.91 1,120.96

42.63 83.04 1.60 127.27 1,242.68

39.00 71.53 1.38 111.91 1,101.69

ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชนหลังออกจากงาน ที่รับรูในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ มีดังนี้ หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 กําไรจากการปรับปรุงจากประสบการณ (523.46) (522.95) ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงสมมติฐาน ทางการเงิน 976.76 978.51 กําไรจากการเปลี่ยนแปลงสมมติฐาน (3.16) ทางประชากรศาสตร (3.49) รวม 450.32 451.89 -


194

- 65 ขอสมมติฐานหลักในการประมาณตามหลักการคณิตศาสตรประกันภัยของ กฟผ. รอยละตอป ป 2558 ป 2557 อัตราคิดลด 3.3 3.9 อัตราเงินเฟอ - ดัชนีราคาผูบริโภค 3.0 3.5 - คารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน 10 10 อัตราการลาออกของพนักงาน 0.0 – 0.7 0.0 – 0.8 อัตราการขึ้นเงินเดือนของพนักงาน 6 – 11 6 – 11 อัตรามรณะ ใชตาราง TMO08 TMO08 (ตารางมรณะไทยป 2551) (ตารางมรณะไทยป 2551) การวิเคราะหความออนไหวของขอสมมติฐานหลักในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยที่ใชในการกําหนด มูลคาปจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ของ กฟผ. มีดังนี้ หนวย : ลานบาท การเปลี่ยนแปลงในมูลคาปจจุบนั ของภาระผูกพัน เพิ่มขึน้ (ลดลง) อัตราเพิ่มขึ้น 1% อัตราลดลง 1% อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือน อัตราเงินเฟอทางการแพทย

(1,559.34) 898.45 871.46

1,953.89 (796.42) (664.20)

ระยะเวลาถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชนของ กฟผ. คือ 18 ป เนื่องจาก กลุมบริษัทของ กฟผ. มีสภาพแวดลอมในการดําเนินงานที่แตกตางกัน รวมถึงมีขอจํากัดในการประมาณขอ สมมติฐานและการวิเคราะหความออนไหวตามหลักการคณิตศาสตรประกันภัย ซึ่งสงผลใหขอสมมติฐานหลักและการวิเคราะห ความออนไหวของขอสมมติฐานหลัก ในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยไมสมเหตุสมผล ดังนั้นจึงแสดงรายการ เฉพาะของ กฟผ. เทานั้น 6.21 ประมาณการหนี้สินเพื่อการฟนฟูสภาพบริเวณเหมือง มีรายละเอียดดังนี้

ยอดยกมา เพิ่มระหวางป หัก คาใชจายในการฟนฟูสภาพบริเวณเหมือง คาเสือ่ มราคา ยอดคงเหลือ

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 2,141.00 2,080.31 113.58 130.38 2,254.58 2,210.69 (78.13) (64.01) (7.18) (5.68) 2,169.27 2,141.00

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 2,141.00 2,080.31 113.58 130.38 2,254.58 2,210.69 (78.13) (64.01) (7.18) (5.68) 2,169.27 2,141.00


195

- 66 6.22 หนี้สนิ ไมหมุนเวียนอืน่ ประกอบดวย งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 รายไดรอการรับรู ยอดยกมา บวก รับเงินชวยเหลือ รับโอนทรัพยสิน หัก รับรูเปนรายได คืนเงินชวยเหลือ ลดคาเสื่อมราคา ยอดคงเหลือ เงินประกันผลงาน เงินรับจากการผิดสัญญากรณีพิพาท อื่น ๆ รวม

6,576.82 424.60 174.45 7,175.87 (347.19) (3.90) (1.34) 6,823.44 5,035.94 1,102.06 12,961.44

6,359.11 406.15 178.65 6,943.91 (311.01) (54.74) (1.34) 6,576.82 5,433.33 574.12 1,670.75 14,255.02

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 6,576.82 424.60 174.45 7,175.87 (347.19) (3.90) (1.34) 6,823.44 5,035.94 1,058.77 12,918.15

6,379.11 386.15 178.65 6,943.91 (311.01) (54.74) (1.34) 6,576.82 5,433.33 574.12 1,339.65 13,923.92

6.23 สวนของเจาของ เงินงบประมาณ ประกอบดวย

เงินงบประมาณสมทบเปนทุน เงินงบประมาณสมทบกอสราง เขือ่ นศรีนครินทร เขื่อนบางลาง เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนรัชชประภา และเขื่อนปากมูล หัก คาเสื่อมราคาสะสมยกมา คาเสื่อมราคา ยอดคงเหลือ

งบการเงินรวม 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 6,507.64 6,507.64

4,364.75 (1,932.75) (62.33) 2,369.67 8,877.31

4,364.75 (1,870.41) (62.33) 2,432.01 8,939.65

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. 31 ธ.ค. 58 31 ธ.ค. 57 6,507.64 6,507.64

4,364.75 (1,932.75) (62.33) 2,369.67 8,877.31

4,364.75 (1,870.41) (62.33) 2,432.01 8,939.65


196

- 67 6.24 รายไดจากการขายสินคาและบริการอื่น ประกอบดวย งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 340.03 573.19 11,871.98 18,098.06 1,404.32 1,245.62 1,150.78 1,251.79 14,767.11 21,168.66

รายไดคาบริการโทรคมนาคม รายไดจากการจัดหาเชื้อเพลิง รายไดจากการใหบริการเดินเครื่องและบํารุงรักษา อื่น ๆ รวม

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557 340.03 573.19 12,864.67 19,810.63 2,982.64 2,450.18 496.96 551.66 16,684.30 23,385.66

กฟผ. มีรายไดจากการประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่ง กฟผ. ไดรับอนุมัติใหใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก สํานักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแหงชาติ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 6.25 ตนทุนขายไฟฟา ประกอบดวย

คาซื้อไฟฟา คาเชื้อเพลิง คาใชจายในการผลิตไฟฟา คาใชจายในการสงไฟฟา รายการสัญญาเชาการเงิน - โรงไฟฟา คาซื้อไฟฟา คาเชื้อเพลิง คาใชจายในการผลิตไฟฟา รวม

งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 320,327.55 308,992.22 163,112.45 181,464.10 34,496.68 34,652.75 10,823.31 10,770.07 528,759.99 535,879.14

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557 320,346.11 309,009.45 118,481.20 139,150.67 29,252.01 29,632.55 10,823.31 10,770.07 478,902.63 488,562.74

(203,699.27) 101,644.34 17,685.62 (84,369.31) 444,390.68

(203,699.27) 147,015.45 21,753.69 (34,930.13) 443,972.50

(196,028.58) 102,339.15 17,474.76 (76,214.67) 459,664.47

(196,028.58) 145,313.44 21,357.21 (29,357.93) 459,204.81

6.26 ตนทุนขายสินคาและบริการอื่น ประกอบดวย

ตนทุนคาบริการโทรคมนาคม ตนทุนจากการจัดหาเชื้อเพลิง ตนทุนจากการใหบริการเดินเครื่องและบํารุงรักษา อื่น ๆ รวม

งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 19.31 29.83 11,871.98 18,098.06 904.08 769.28 387.32 448.75 19,480.72 13,047.89

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557 19.31 29.83 12,864.67 19,810.63 1,808.65 1,721.58 275.79 308.88 14,968.42 21,870.92


197

- 68 กฟผ. บันทึกตนทุนคาบริการโทรคมนาคม ควบคูกับรายไดคาบริการโทรคมนาคม ตั้งแตวันที่ 15 มีนาคม 2550 ซึ่งเปน วันที่ กฟผ. ไดรับอนุมัติใหใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจากสํานักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแหงชาติทั้งนี้ ตนทุนคาบริการโทรคมนาคมขางตน ไมรวมคาใชจายในการขาย คาใชจายในการบริหาร และตนทุนทางการเงิน ซึ่งคาใชจายดังกลาว แตละรายการไดแสดงไวในแตละประเภทคาใชจายในงบกําไรขาดทุนแลว 6.27 รายไดอื่น ประกอบดวย

ดอกเบี้ยรับ เงินปนผลรับ กําไรจากการจําหนายสินทรัพย กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราตางประเทศ กําไรจากการเปลี่ยนแปลงใน มูลคายุติธรรมของตราสารอนุพันธ รายไดเงินชวยเหลือ กําไรจากการขายเงินลงทุน รายไดคาปรับ รายไดจากการขายเถาลอยและเศษซากวัสดุ รายไดอื่นเบ็ดเตล็ด อื่น ๆ รวม

งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 1,810.72 1,973.40 269.42 235.95 119.92 277.41

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557 1,392.46 1,666.56 2,389.97 2,317.26 277.61

-

1,045.56

-

675.37

140.63 347.19 1.73 383.76 383.59 (521.21) 464.20 3,399.95

107.62 303.14 372.50 392.80 41.01 1,823.19 6,572.58

140.63 347.19 383.76 383.59 (521.21) 359.40 4,875.79

107.62 303.14 372.49 392.80 41.01 169.53 6,323.39

ในป 2557 กฟผ. รับรูรายไดคาปรับจากกรณีพิพาทกับ บริษัท อิดรีโก เอส.พี.เอ. จํากัด เปนจํานวนเงิน 235.92 ลานบาท ซึ่งคดีไดถึงที่สุดแลว 6.28 คาใชจายอื่น ประกอบดวย

ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราตางประเทศ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราตางประเทศตามสัญญาเชาการเงิน ขาดทุนจากการจําหนายสินทรัพย อื่น ๆ รวม

งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 1,587.42

-

10,429.12 14.06 12,030.60

271.35 184.28 455.63

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557 419.76 10,579.83 2.53 14.06 11,016.18

276.78 55.32 332.10


198

- 69 6.29 ตนทุนทางการเงิน ประกอบดวย หนวย : ลานบาท

ตนทุนงานระหวางกอสราง ตนทุนทางการเงินในงบกําไรขาดทุน ตนทุนทางการเงินตามสัญญาเชาการเงิน รวม

ดอกเบี้ยจาย 331.55 4,302.58 27,290.98 31,593.56 31,925.11

งบการเงินรวม คาใชจาย รวม เกี่ยวกับเงินกู ป 2558 44.90 376.45 104.33 4,406.91 27,290.98 104.33 31,697.89 149.23 32,074.34

ป 2557 326.08 4,449.94 21,229.11 25,679.05 26,005.13

หนวย : ลานบาท

ตนทุนงานระหวางกอสราง ตนทุนทางการเงินในงบกําไรขาดทุน ตนทุนทางการเงินตามสัญญาเชาการเงิน รวม

ดอกเบี้ยจาย 331.55 2,958.48 32,318.92 35,277.40 35,608.95

งบการเงินเฉพาะ กฟผ. คาใชจาย รวม เกี่ยวกับเงินกู ป 2558 44.90 376.45 58.18 3,016.66 32,318.92 58.18 35,335.58 103.08 35,712.03

ป 2557 326.08 2,925.83 26,774.34 29,700.17 30,026.25

6.30 สวนแบงกําไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนในบริษัทรวม ประกอบดวย

บริษัท ผลิตไฟฟา จํากัด (มหาชน) บริษัท เฟรส โคราช วินด จํากัด บริษัท เค อาร ทู จํากัด บริษัท Perth Power Partnership (Kwinana) จํากัด บริษัท ไฟฟาน้ําเงี้ยบ 1 จํากัด รวม

หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 1,085.85 1,324.65 109.62 127.77 95.14 109.08 80.37 67.15 38.74 (241.23) 1,409.72 1,387.42


199

- 70 6.31 ผลการดําเนินงานของ กฟผ. ผลการดําเนินงานของ กฟผ. ประจําป 2558 มีกําไรสุทธิจํานวน 30,780.25 ลานบาท กฟผ. ไดบันทึกประมาณการ คาใชจายและหนี้สินโบนัสพนักงานและกรรมการ ในงบการเงินประจําป 2558 จํานวน 4,960.08 ลานบาท ในเดื อ น เมษายน 2558 กระทรวงการคลั ง ได อ นุ มั ติ ก ารจั ด สรรกํ า ไรสุ ท ธิ ข อง กฟผ. ประจํ า ป 2557 เพื่ อ จ า ย เป น โบนั ส พนั ก งานและกรรมการ จํ า นวน 4,457.40 ล า นบาท ซึ่ ง กฟผ. ได บั น ทึ ก ประมาณการโบนั ส ในงบการเงิ น ป 2557 จํานวน 4,537.55 ลานบาท ดังนั้น กฟผ. จึงไดนําผลตางจากการประมาณการที่บันทึกสูงไป จํานวน 80.15 ลานบาท ไปลดคาใชจายของป 2558 6.32 คาใชจายตามลักษณะ ประกอบดวย

คาซื้อไฟฟา งานที่กิจการทําและถือเปนรายจายฝายทุน วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใชไป คาเชื้อเพลิงตามสัญญาเชาการเงิน คาตอบแทนผูบริหาร คาใชจายพนักงาน คาเสื่อมราคาที่ดิน อาคาร และอุปกรณ คาเสื่อมราคาสินทรัพยตามสัญญาเชาการเงิน คาตัดจําหนายสินทรัพยไมมีตัวตน คาจางเหมาและคาซอม คาใชจายอื่น รวม

งบการเงินรวม ป 2558 ป 2557 116,628.28 112,963.64 (30,508.00) (23,064.59) 169,463.14 183,837.61 101,644.34 102,339.15 347.51 349.98 29,174.69 28,493.33 25,311.72 25,614.53 13,164.67 11,336.18 516.67 547.24 10,543.91 8,334.11 50,048.51 45,935.95 486,335.44 496,687.13

หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. ป 2558 ป 2557 116,646.84 112,980.87 (30,508.00) (23,064.59) 125,151.63 142,830.78 147,015.45 145,313.44 148.40 140.65 28,622.21 27,957.42 24,262.93 24,501.24 13,164.67 11,336.18 231.91 231.38 9,168.77 6,766.02 51,154.55 47,224.83 485,059.36 496,218.22

7. กองทุนพัฒนาไฟฟา พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 กําหนดใหจัดตั้งกองทุน พัฒนาไฟฟา เพื่ อเป นทุนสนับสนุนใหมี ไ ฟฟ าบริ การไปยั งทองที่ต างๆ อย างทั่ วถึง รวมทั้งพั ฒนาชุมชนที่ ไ ดรั บผลกระทบจาก การดําเนินงานของโรงไฟฟา เปนตน ทั้งนี้ใหคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีอํานาจหนาที่บริหารและกํากับดูแล กองทุน ซึ่ง กกพ. ไดมีประกาศ เรื่อง การนําสงเงินเขากองทุนพัฒนาไฟฟาสําหรับผูรับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟา ประเภท ใบอนุญาตผลิตไฟฟา พ.ศ. 2553 กําหนดใหผูรับใบอนุญาตผลิตไฟฟานําสงเงินเขากองทุนเปน 2 ชวง ดังนี้ 1. ระหวางการกอสรางโรงไฟฟ า นับจากวันที่เริ่ มกอสรางโรงไฟฟาตามสัญญาวาจ างผูรับเหมาและตามที่กําหนดไวใน ใบอนุญาตผลิตไฟฟา จนถึงวันที่เริ่มจายไฟฟาเขาระบบเชิงพาณิชย (Commercial Operation Date “COD”) ใหนําสงเปนรายป โดยคํานวณจากประมาณการกําลังผลิตติดตั้งของโรงไฟฟาในอัตราหาหมื่นบาทตอเมกะวัตตตอป หากปใดมีการกอสรางไมครบป ใหนําสงตามสัดสวนของเดือนที่ทําการกอสรางในปนั้น ทั้งนี้ตองไมนอยกวาปละหาหมื่นบาท


200

- 71 2. ระหวางการผลิตไฟฟา นับจากวันที่เริ่มจายไฟฟาเขาระบบเชิงพาณิชยเปนตนไป ใหนําสงเปนรายเดือน ตามปริมาณ พลังงานไฟฟาที่ผลิตเพื่อจําหนายและใชเอง โดยไมรวมถึงพลังงานไฟฟาที่ใชในกระบวนการผลิตภายในโรงไฟฟา (Station Service) โดยจําแนกตามชนิดของเชื้อเพลิงที่ใชในการผลิตไฟฟา เชน กาซธรรมชาติ น้ํามันเตา ดีเซล ถานหิน ลิกไนต เปนตน ในป 2557 กกพ. มีประกาศ เรื่อง การนําสงเงินเขากองทุนพัฒนาไฟฟา สําหรับผูรับใบอนุญาตจําหนายไฟฟา ดังนี้ 1. ประกาศเรื่อง การนําสงเงินเขากองทุนพัฒนาไฟฟา สําหรับผูรับใบอนุญาตจําหนายไฟฟาเพื่อสงเสริมการใชพลังงาน หมุนเวียน และเทคโนโลยีที่ใชในการประกอบกิจการไฟฟา ที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอมนอย พ.ศ. 2557 กําหนดใหผูรับใบอนุญาต นําสงเงินเขากองทุน จากอัตราคาไฟฟาที่เรียกเก็บจากผูใชไฟฟาในอัตรา 0.005 บาทตอหนวยจําหนายสุทธิ ในรอบเดือนที่เรียกเก็บ คาไฟฟา 2. ประกาศเรื่อง การนําสงเงินเขากองทุนพัฒนาไฟฟา สําหรับผูรับใบอนุญาตจําหนายไฟฟา เพื่อสงเสริมสังคมและประชาชน ใหมีความรู ความตระหนัก และมีสวนรวมทางดานไฟฟา พ.ศ. 2557 กําหนดใหผูรับใบอนุญาตนําสงเงินเขากองทุน จากอัตราคา ไฟฟาที่เรียกเก็บจากผูใชไฟฟาในอัตรา 0.002 บาทตอหนวยจําหนายสุทธิ ในรอบเดือนที่เรียกเก็บคาไฟฟา กฟผ. ไดประมาณการคาใชจายสําหรับเงินสมทบกองทุนพัฒนาไฟฟา โดยจําแนกตามประเภทได ดังนี้ 1. สวนของโรงไฟฟาของ กฟผ. ทั้งสวนของโรงไฟฟาที่อยูระหวางการกอสราง และโรงไฟฟาที่เดินเครื่องเชิงพาณิชยแลว สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 จํานวน 878.31 และ 947.71 ลานบาท ตามลําดับ 2. สวนเพื่อสงเสริมการใชพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีที่ใชในการประกอบกิจการไฟฟา ที่มีผลกระทบตอสิ่งแวดลอม นอย สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 10.43 ลานบาท 3. สวนเพื่อสงเสริมสังคมและประชาชนใหมีความรู ความตระหนัก และมีสวนรวมทางดานไฟฟา สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จํานวน 4.17 ลานบาท 8. สินทรัพยที่อาจเกิดขึ้น สัญญาซื้อขายไฟฟาโครงการโรงไฟฟาน้ําเทิน 2 และโครงการโรงไฟฟาน้ํางึม 2 ตั้ ง แต ป 2553 กฟผ. ได ทํ า สั ญ ญาซื้ อ ขายไฟฟ า โครงการโรงไฟฟ า น้ํ า เทิ น 2 และโครงการโรงไฟฟ า น้ํ า งึ ม 2 ใน สาธารณรัฐประชาชนลาว (สปป. ลาว) โดยมีการระบุในสัญญาเรื่อง การรับประกันการซื้อไฟฟาตามจํานวนหนวยเปาหมายรายป เฉลี่ยตลอดอายุสัญญา (Annual Supply Target) ที่ตกลงกัน หากโรงไฟฟาสงพลังงานไฟฟาสูงกวาเปาหมาย (Supply Excess) ทางโรงไฟฟาจะไมทํา Invoice เรียกเก็บเงินจาก กฟผ. ในสวนของพลังงานไฟฟาที่เกินกวาเปาหมาย แตจะเก็บจํานวนหนวยสะสมไว รอการ Set Off ในปตอ ๆ ไป เมื่อโรงไฟฟาสงพลังงานไฟฟาต่ํากวา Annual Supply Target (เมื่อเกิด Supply Shortfall) ในทางตรงกันขาม หาก กฟผ. สั่งเดินเครื่องต่ํากวาปริมาณที่ กฟผ. รับประกันการซื้อ (Dispatch Shortfall) ทางโรงไฟฟาจะมี Invoice เรียกเก็บเงินเปนจํานวนเงินเทากับที่ กฟผ. รับประกันซื้อ โดย กฟผ. จะชําระเงินกอนและมีสิทธิที่จะนําหนวยไฟฟาไป Make Up ไดในเดือนตอไป กรณีที่ กฟผ. รับพลังงานไฟฟาที่สูงกวาเปาหมาย (Supply Excess) กฟผ. จะไดประโยชนจากหนวยที่เก็บสะสมไวรอการ Set Off กลาวคือ ระหวาง Period ของสัญญา หากไมเกิด Supply Shortfall กฟผ. จะชําระคาไฟฟาคงคางสําหรับพลังงานไฟฟาที่ สูงกวาเปาหมายดวยอัตราคาไฟฟาสวนเกินซึ่งต่ํากวาอัตราคาไฟฟาปกติ (โครงการโรงไฟฟาน้ําเทิน 2 ราคา 0.57 บาท โครงการ


201

- 72 โรงไฟฟาน้ํ างึม 2 ราคา 1.145 บาท) เมื่อสิ้น Period ซึ่งตามสัญญาของโรงไฟฟาน้ํ าเทิน 2 คือ วันครบปที่ 13 นับจากวันที่ 8 มีนาคม 2553 และโรงไฟฟาน้ํางึม 2 คือ ปที่ 10 นับจากเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย ทั้งนี้ทั้ง 2 โครงการตองรวมถึงระยะเวลาที่ ขยายไปเนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่เกิดขึ้นในชวงเวลาดังกลาวดวย นอกจากนี้จํานวนเงินคาซื้อไฟฟาคงคางที่จะจายชําระเมื่อสิ้น Period ดังกลาวขางตน กฟผ. จะไดรับเงินคืนอีกรอยละ 25 ของจํานวนดังกลาว ซึ่งคํานวณจากยอด Accumulated Supply Excess บวกคา Excess Energy หรือ Excess Revenue หักดวย Accumulated Dispatch Shortfall ซึ่งขณะนี้ กฟผ. ยังไมอาจประมาณมูลคาไดเนื่องจาก กฟผ. ยังไมมีความแนนอนในเรื่อง จํานวนเงินของสินทรัพยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 9. หนี้สินที่อาจเกิดขึน้ หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นซึ่งไมไดรวมอยูในงบการเงินเฉพาะ กฟผ. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีคดีที่ กฟผ. ถูกฟองเปนจําเลย โดยคดีดังกลาวอยูระหวางการอุทธรณของ กฟผ. ไดแก คดีที่ราษฎรและผูเสียหายเรียกรองคาทดแทนจากการรอนสิทธิในที่ดิน คดีละเมิด คดีผิดสัญญา และคดีเกี่ยวกับการจางแรงงาน ซึ่งศาลชั้นตนไดตัดสินให กฟผ. ชดใชจํานวน 53 คดี เปนจํานวนเงิน 77.04 ลานบาท 10. ภาระผูกพัน 10.1 ภาระผูกพันสัญญาซื้อไฟฟาระยะยาว เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายลดภาระการลงทุนภาครัฐ และจะสงเสริมใหเอกชนเข ามาลงทุนดําเนิ นธุรกิจผลิตไฟฟ า จึงกําหนดใหมีการลงทุนโดยเอกชนในการผลิตไฟฟาในรูปแบบของผูผลิตไฟฟาอิสระ (Independent Power Producer หรือ เรียกยอวา IPP) ในโครงการใหม โดยจะขายไฟฟาใหแก กฟผ. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กฟผ. มีสัญญาซื้อขายไฟฟาจากเอกชน จํานวน 83 ราย โดยสามารถแบงภาระผูกพันสัญญา ซื้อไฟฟาระยะยาวได 2 ลักษณะ ดังนี้ (1) ภาระผูกพันสัญญาซื้อไฟฟาระยะยาวจากโรงไฟฟาพลังน้ํา ซึ่งพลังงานที่โรงไฟฟาสามารถผลิตไดขึ้นอยูกับปริมาณน้ํา ในเขื่อน และการแจงแผนการผลิตของแตละโรงไฟฟา จึงไมสามารถประมาณการจากภาระผูกพันจากพลังงานที่ผลิตจากโรงไฟฟา พลังน้ําไดอยางนาเชื่อถือ ปจจุบัน กฟผ. มีสัญญาซื้อขายไฟฟากับโรงไฟฟาพลังน้ํา จํานวน 7 สัญญา ประกอบดวย โรงไฟฟา เทิน-หินบุน, โรงไฟฟาหวยเฮาะ, โรงไฟฟาน้ําเทิน 2, โรงไฟฟาน้ํางึม 2, โรงไฟฟาไซยะบุรี, โรงไฟฟาเซเปยน-เซน้ํานอย และ โรงไฟฟาน้ําเงี้ยบ 1 (2) ภาระผูกพันสัญญาซื้อขายไฟฟาระยะยาวจากโรงไฟฟาพลังความรอนและโรงไฟฟาพลังความรอนรวม ปจจุบัน กฟผ. มีสัญญาซื้อไฟฟาจากโรงไฟฟาพลังความรอนและโรงไฟฟาพลังความรอนรวม 76 สัญญา รวมกําลังการผลิตตามสัญญา 13,048 เมกะวัตต มีภาระผูกพันจนสิ้นสุดทุกสัญญาเปนเงินรวมประมาณ 5,551,649 ลานบาท


202

- 73 จํานวนเงิน กําลังผลิต ผูผลิตไฟฟา

จํานวนราย

(เมกะวัตต)

อายุสัญญาคงเหลือ

(ลานบาท)

คาความพรอม

คาพลังงาน

จายพลังงาน(AP)

ไฟฟา(EP)

(ลานบาท)

(ลานบาท)

ผูผลิตไฟฟาอิสระ (Independent Power Producer : IPP) บริษัท ผลิตไฟฟาขนอม จํากัด หนวยที่ 4

1

930

26 ป (ป 2559 - 2584)

414,161

83,070

331,091

บริษัท กัลฟ เอสอารซี จํากัด (GSRC)

1

2,500

27 ป (ป 2564 - 2590)

1,029,919

217,008

812,911

บริษัท กัลฟ พีดี จํากัด (GPD)

1

2,500

27 ป (ป 2566 - 2592)

1,031,940

218,261

813,679

ผูผลิตไฟฟารายยอย (Small Power Producer : SPP)

73

7,118

3,075,629

637,413

2,438,216

รวม

76

13,048

5,551,649

1,155,752

4,395,897

2 - 26 ป

10.2 สัญญาซื้อขายเชื้อเพลิง กฟผ. มีภาระผูกพันตามสัญญาซื้อขายกาซธรรมชาติสําหรับโรงไฟฟา กับบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) จํานวน 4 สัญญา วงเงินคงเหลือรวมทั้งสิ้น 263,862 ลานบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. สัญญาซื้อขายกาซธรรมชาติสําหรับโรงไฟฟา กฟผ. ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 เริ่มตนสัญญาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 – 31 ธันวาคม 2558 วงเงินสัญญา 1,316,452 ลานบาท สัญญาฉบับนี้จะครอบคลุมการซื้อขายกาซธรรมชาติทุกโรงไฟฟา ของ กฟผ. ซึ่งไมรวมโรงไฟฟาตามสัญญาในขอ 2 ทั้งนี้สัญญาหลักดังกลาวไดสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ปจจุบันอยูระหวางการ พิจารณารายละเอียดของสัญญาใหม ดังนั้น จึงมีการขยายระยะเวลาสัญญาเดิมเพื่อใชเปนการชั่วคราวกอน 1 ป ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2559 โดยมีวงเงินที่ขยายเพิ่มเทากับ 41,709 ลานบาท 2. สัญญาซื้อขายกาซธรรมชาติสําหรับโรงไฟฟาลานกระบือ โรงไฟฟาน้ําพอง และโรงไฟฟาจะนะ ซึ่งทําสัญญาแยก แตละโรงไฟฟาเปน 3 สัญญา มีอายุสัญญาคงเหลือตั้งแต 8.5 เดือน ถึง 16 ป 8 เดือน จํานวนเงินคงเหลือ 222,153 ลานบาท 10.3 สัญญาซื้อจาง กฟผ. มีภาระผูกพันตามสัญญาซื้อจางในประเทศ และสัญญาซื้อจางตางประเทศ โดยมีจํานวนสัญญา วงเงินตามสัญญา อายุสัญญาคงเหลือ และจํานวนเงินคงเหลือตามสัญญา โดยสรุปดังนี้ 10.3.1 สัญญาซื้อจางในประเทศ จํานวน 347 สัญญา วงเงินตามสัญญาประมาณ 49,537.96 ลานบาท อายุสัญญา คงเหลือ 0.5 เดือน ถึง 9 ป 11.5 เดือน จํานวนเงินคงเหลือตามสัญญาประมาณ 20,619.89 ลานบาท 10.3.2 สัญญาซื้อจางตางประเทศ จํานวน 211 สัญญา วงเงินตามสัญญาประมาณ 127,953.37 ลานบาท โดยบางสัญญา อายุสัญญาคงเหลือ 0.5 เดือน ถึง 10 ป 6 เดือน แตบางสัญญาไมไดกําหนดอายุของสัญญาไว จํานวนเงินคงเหลือตามสัญญา ประมาณ 59,834.77 ลานบาท จากการแปลงคาสกุลเงินตราตางประเทศโดยใชอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชยซื้อขาย กับลูกคา ประจําวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ตามประกาศของธนาคารแหงประเทศไทย


203

- 74 10.4 Letter of Credit ณ วัน ที่ 31 ธัน วาคม 2558 กฟผ. มีย อดเงิน คงเหลือ ของ Letter of Credit ที่ยังไมห มดอายุทั้ง หมดประมาณ 13,144.64 ลานบาท 10.5 สัญญาจํานําหุน บริษัทยอยไดจํานําหุนของบริษัทรวม เพื่อเปนหลักประกันใหกับสถาบันการเงินผูใหกูของบริษัทรวม ตามเงื่อนไขการรับ สินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อนํามาใชเปนเงินทุนสนันสนุนการดําเนินงาน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557 กับ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) (ในฐานะตัวแทนตามหลักประกันของกฎหมายลาวซึ่งมีอํานาจกระทําการแทนเจาหนี้มีประกัน) การจํานําหุนนี้จะไถถอนไดก็ตอเมื่อ ไดมีการชําระหนี้มีประกันแกเจาหนี้มีประกันครบถวนทั้งหมดแลว 11. การเปดเผยขอมูลสําหรับเครื่องมือทางการเงิน กฟผ. ไดใชเครื่องมือทางการเงิน เพื่อลดความไมแนนอนจากปจจัยภายนอกที่ไมสามารถควบคุมได เครื่องมือหลักที่ใชในการลด ความเสี่ยง คือ สัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา 11.1 สัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา กฟผ. ใชสัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนาเพื่อการลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในการชําระคืน เงิ นกูต างประเทศ คาซื้ อกระแสไฟฟาจากต างประเทศ คาสิ นค าและบริ การ สัญญาดังกล าวเปนข อตกลงในการซื้ อเงินตรา ตางประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกัน ณ วันที่ในอนาคตที่ระบุไ ว สัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา จะไมรับรูใน งบการเงิน ณ วันทําสัญญา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กฟผ. ไมมีสัญญาซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนาคงเหลือ


204

- 75 11.2 มูลคายุติธรรมของสินทรัพยและหนี้สนิ ทางการเงิน มูลคายุติธรรมของสินทรัพยและหนี้สินทางการเงินรวมถึงมูลคาตามบัญชีในงบแสดงฐานะการเงินรวมและ งบแสดงฐานะ การเงินเฉพาะ กฟผ. ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 มีดังนี้ หนวย : ลานบาท มูลคาตามบัญชี ระดับ 1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 หมุนเวียน หลักทรัพยทเี่ ปนตราสารหนีถ้ อื ไวเพือ่ คา เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ ทีถ่ งึ กําหนดชําระภายในหนึง่ ป เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ (EGATIF) ทีถ่ งึ กําหนดชําระภายในหนึง่ ป เงินกูย มื ระยะยาว-ตางประเทศ ทีถ่ งึ กําหนดชําระภายในหนึง่ ป ไมหมุนเวียน กองทุนรวมโครงสรางพืน้ ฐาน (EGATIF) หลักทรัพยทเี่ ปนตราสารทุนถือไวเผื่อขาย เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ (EGATIF) เงินกูย มื ระยะยาว-ตางประเทศ หุน กู สัญญา สัญญาซือ้ ขายเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบีย้ และอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

418.30

418.30

งบการเงินรวม มูลคายุตธิ รรม ระดับ 2 ระดับ 3

-

-

418.30

-

(6,762.06)

(6,635.24)

-

(414.48)

(414.48)

-

-

(414.48)

(179.30)

-

(242.23)

-

(242.23)

(55,065.51) (570.23) (17,978.78)

-

5,370.16 4,270.19 (55,065.51) (20,440.52) (570.23) (17,978.78)

5,370.16 4,270.19 (50,007.97) (20,440.52) (639.82) (17,282.35)

5,370.16 4,270.19 (20,440.52) -

(6,762.06)

รวม

-

-

1.08

-

1.08

-

-

(3,927.01)

-

(3,927.01)


205

- 76 หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. มูลคายุติธรรม ระดับ 2 ระดับ 3 รวม

มูลคาตามบัญชี ระดับ 1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 หมุนเวียน เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ ทีถ่ งึ กําหนดชําระภายในหนึง่ ป เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ (EGATIF) ทีถ่ งึ กําหนดชําระภายในหนึง่ ป เงินกูย มื ระยะยาว-ตางประเทศ ทีถ่ งึ กําหนดชําระภายในหนึง่ ป ไมหมุนเวียน กองทุนรวมโครงสรางพืน้ ฐาน (EGATIF) เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ (EGATIF) เงินกูย มื ระยะยาว-ตางประเทศ

(5,405.30)

-

(414.48)

(414.48)

(179.30)

-

5,370.16 (49,968.05) (20,440.52) (639.82)

(5,507.00)

5,370.16 (20,440.52) -

ไมหมุนเวียน หลักทรัพยทเี่ ปนตราสารทุนถือไวเผื่อขาย เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ เงินกูย มื ระยะยาว-ตางประเทศ หุน กู สัญญา สัญญาซือ้ ขายเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบีย้ และอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

(5,507.00)

-

-

(414.48)

(242.23)

-

(242.23)

(55,025.59) (570.23)

งบการเงินรวม มูลคายุติธรรม มูลคาตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 หมุนเวียน หลักทรัพยทเี่ ปนตราสารหนีถ้ อื ไวเพือ่ คา เงินกูย มื ระยะยาว-ในประเทศ ทีถ่ งึ กําหนดชําระภายในหนึง่ ป เงินกูย มื ระยะยาว-ตางประเทศ ทีถ่ งึ กําหนดชําระภายในหนึง่ ป หุน กู

-

5,370.16 (55,025.59) (20,440.52) (570.23) หนวย : ลานบาท งบการเงินเฉพาะ กฟผ. มูลคายุติธรรม มูลคาตามบัญชี

435.85

435.85

-

-

(7,955.70)

(7,835.09)

(7,925.76)

(7,805.15)

(306.31) (729.84)

(271.57) (721.33)

(306.31) -

(271.57) -

3,575.43 (61,554.91) (795.69) (14,473.29)

3,575.43 (56,643.22) (830.55) (13,972.09)

(60,256.57) (795.69) -

(55,373.35) (830.55) -

0.59

-

-

-

4,638.94

-

-

-


206

- 77 เครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลคาดวยมูลคายุติธรรม ลําดับชัน้ ของมูลคายุติธรรม ตารางขางตนวิเคราะหการวัดมูลคายุติธรรมที่เกิดขึ้นประจําสําหรับสินทรัพยและหนี้สินทางการเงิน การวัดมูลคายุตธิ รรมเหลานี้ ถูกจัดประเภทอยูในระดับที่ตางกันของลําดับชั้นมูลคายุติธรรมตามขอมูลที่ใชในการประเมินมูลคา นิยามของระดับตางๆ มีดังนี้ • ขอมูลระดับ 1 เปนราคาเสนอซื้อขาย (ไมตองปรับปรุง) ในตลาดที่มีสภาพคลองสําหรับสินทรัพยหรือหนี้สิน อยางเดียวกัน ซึ่งกิจการสามารถเขาถึงตลาดนั้น ณ วันที่วัดมูลคา • ขอมูลระดับ 2 เปนขอมูลอื่นที่สังเกตไดไมวาโดยทางตรงหรือโดยทางออมสําหรับสินทรัพยนั้นหรือหนี้สินนั้น นอกเหนือจากราคาเสนอซื้อขายซี่งรวมอยูในขอมูลระดับ 1 • ขอมูลระดับ 3 เปนขอมูลที่ไมสามารถสังเกตไดสําหรับสินทรัพยนั้นหรือหนี้สินนั้น กฟผ. พิจารณามูลคายุติธรรมระดับ 2 สําหรับเงินกูยืมระยะสั้นและเงินกูยืมระยะยาว ตราสารอนุพันธ รวมทั้งพันธบัตร ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่โดยใชมูลคาปจจุบันของประมาณการกระแสเงินสดที่ใชอัตราคิดลดที่มีเงื่อนไขที่ใกลเคียงกัน สําหรับสัญญา ซื้อเงินตราตางประเทศลวงหนา สัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ย คํานวณโดยธนาคารซึ่งเปนคูสัญญากับ กฟผ. 12. กองทุนรวมโครงสรางพื้นฐาน เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2557 คณะกรรมการการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย ไดมีมติเห็นชอบรูปแบบโครงสรางกองทุน รวมโครงสรางพื้นฐานโรงไฟฟาพระนครเหนือ ชุดที่ 1 (กองทุนรวมฯ) ที่ กฟผ. ตองนําสงรายไดสุทธิ (คาความพรอมจาย (AP1) หัก เบี้ยประกันภัย) ของโรงไฟฟาพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตามสัญญาระหวาง กฟผ. กับกองทุนรวมฯ ของ กฟผ. เปนรายไตรมาสตลอด อายุสัญญาการเขาลงทุนในรายไดคาพรอมจายโดยขนาดของกองทุนรวมฯ ไมต่ํากวา 19,000 ลานบาท อายุของสัญญาการเขา ลงทุนประมาณ 20 ป กฟผ. จะบันทึกเงินที่ไดจากการขายหนวยลงทุนจํานวนเงิน 20,855 ลานบาท (จํานวนหนวยลงทุน 2,085.50 ลานหนวย มูลคาที่ตราไวหนวยละ 10 บาท) เปนหนี้สินของ กฟผ. สําหรับรายไดที่ กฟผ. นําสงใหกองทุนรวมฯ ของ กฟผ. จะเปนการจายใน สวนของผลตอบแทนและการทยอยคืนมูลคาเงินลงทุนจนครบอายุของสัญญา ทั้งนี้ กฟผ. ไดแตงตั้งตัวแทนดานตางๆ ดังนี้ 1. บริษัทหลักทรัพยจัดการกองทุน กรุงไทย จํากัด (มหาชน) เปนผูจัดการกองทุน 2. ธนาคารไทยพาณิชย จํากัด (มหาชน) เปนที่ปรึกษาทางการเงิน และผูจัดการการจัดจําหนายและรับประกันการจําหนาย กฟผ.เขาถือหนวยลงทุนจํานวนเงิน 5,213.75 ลานบาท (จํานวนหนวยลงทุน 521.38 ลานหนวย) คิดเปนรอยละ 25 ของ หนวยลงทุนที่จําหนายแลวทั้งหมด และมีกําหนดหามขายหนวยลงทุนเปนระยะเวลา 5 ป โดยในป 2558 กฟผ. ไดรับเงินปนผล จํานวน 57.35 ลานบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กฟผ. มีภาระเงินกูยืมจากกองทุนรวมฯ ที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป จํานวน 414.48 ลานบาท และมีเงินกูยืมจากกองทุนรวมฯ ระยะยาว จํานวน 20,440.52 ลานบาท โดยมีดอกเบี้ยคางจาย จํานวน 353.77 ลานบาท


207

- 78 13. คดีเหมืองแมเมาะ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุดไดมีคําพิพากษาคดีเหมืองแมเมาะให กฟผ. ปฏิบัติตามมาตรการปองกันและแกไขผลกระทบ สิ่งแวดลอมบริเวณพื้นที่ทําเหมืองแมเมาะ ภายหลังไดรับคําพิพากษา กฟผ. รวมกับหนวยราชการและตัวแทนชุมชนไดเขาทําการ ตรวจสอบพื้นที่ตามคําขอประทานบัตรที่ 3-6/2530 และ 30-46/2535 ของ กฟผ. และไดมีขอสรุปในเบื้องตนวาการจัดสราง สนามกอล ฟ และสวนพฤกษชาติ ไ ม ไ ด ทั บ ซ อนพื้ นที่ ขุ มเหมื อ ง ซึ่ ง พื้ นที่ ขุ มเหมื อ งได มี การฟ น ฟู โดยการปลู กต น ไม โ ตเร็ วแล ว ซึ่ง กฟผ. ไดดําเนินการเพิ่มเติมในประเด็นที่คงเหลือ ดังนี้ 1. แตงตั้งคณะทํางานรวม โดยมีคําสั่งจังหวัดลําปางที่ 1244/2558 ลงวันที่ 17 เมษายน 2558 เรื่อง แตงตั้งคณะทํางาน พิจารณาการอพยพราษฎรที่ไดรับผลกระทบที่อาจนําไปสูอันตรายตอชีวิตและทรัพยสินและมีความประสงคจะอพยพหมูบาน ออกนอกรัศมีผลกระทบ 5 กิโลเมตร 2. กฟผ. มีหนั งสื อขอเปลี่ ยนแปลงมาตรฐานป องกันและแก ไขผลกระทบสิ่ งแวดล อม ทั้ งส วนของการลดฝุ นละออง การปลูกพืชในพื้นที่ Wetland และการขนสงเปลือกดินไปทิ้ง โดยขอดําเนินการในเรื่องดังกลาวตามแนวทางที่ กฟผ. ไดรับอนุมัติจาก สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม (สผ.) ที่ ทส1009.2/7595 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2553 โดยขออนุมัติ จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร (อพร.) ตามที่กฎหมายกําหนดกอน ซึ่ง อพร. ไดอนุมัติให กฟผ. สามารถใชแนวทาง ดังกลาวไดตามหนังสือ ที่ อก 0511/1856 ลงวันที่ 27 เมษายน 2558 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558 สํานักงานศาลปกครองเชียงใหม รวมกับผูฟองรองคดีไดเขาตรวจสอบสภาพจริงภายในบริเวณพื้นที่ ที่ฟองรอง ซึ่งสํานักงานศาลปกครองเชียงใหมไดจัดทําบันทึกเจาหนาที่ประกอบการตรวจสอบรายงานการตรวจสอบพื้นที่จริงเพิ่มเติม และสํานักงานศาลปกครองเชียงใหมไดแจงตอ กฟผ. ถึงผลคําสั่งของศาลปกครองเชียงใหมในขอโตแยงของคูกรณีพรอมแจงคําสั่งยุติ การบังคับคดี ตามหนังสือเลขที่ ศป 0006.4/ธ1816 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2558 14. เหตุการณภายหลังรอบระยะเวลารายงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ 2559 กองทุนรวมโครงสรางพื้นฐานโรงไฟฟาพระนครเหนือชุดที่ 1 การไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย ไดประกาศจายเงินปนผลและปดสมุดทะเบียนผูถือหุนโดยมีผลในวันที่ 29 กุมภาพันธ 2559 จํานวนเงิน 0.115 บาทตอหนวยลงทุน ทั้งนี้ กฟผ. ลงทุนในกองทุนรวมฯ ดังกลาวจํานวน 521.38 ลานหนวย จึงไดรับเงินปนผล จํานวน 59.96 ลานบาท 15. การจัดประเภทรายการใหม กฟผ. ได จั ดประเภทบั ญชี บางรายการในงบการเงิ น สํ าหรั บป สิ้ นสุ ดวั นที่ 31 ธั นวาคม 2557 ใหม เพื่ อให สอดคล องกั บ การแสดงรายการในงบการเงิน สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 16. วันที่ไดรับอนุมัติใหออกงบการเงิน ผูวาการการไฟฟาฝายผลิตแหงประเทศไทย อนุมัติใหออกงบการเงินในวันที่ 21 มีนาคม 2559


208

ค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี กฟผ. ได้ให้ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีส�ำหรับปีบัญชี 2558 โดยมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ดังนี้ ค่าธรรมเนียมสอบทานงบการเงินรายไตรมาส ไตรมาสละ 500,000 บาท รวม 3 ไตรมาส เป็นเงิน 1,500,000 บาท ค่าธรรมเนียม ตรวจสอบงบการเงินส�ำหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจ�ำปี 2558 เป็นเงิน 2,200,000 บาท และค่าธรรมเนียมตรวจสอบงบการเงินใน แต่ละธุรกิจ (Account Unbundling) ประจ�ำปี 2558 เป็นเงิน 320,000 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 4,020,000 บาท




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.