EGAT Magazine | ม.ค. - ก.พ. 2558

Page 1


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

๒ เปิดบ้าน กฟผ. ๖ บทความพิเศษ

อนาคต กฟผ. ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน แม้มีอุปสรรคก็จะสำ�เร็จได้ ด้วยความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน ๑๐ พลังงานวันนี้ โรงไฟฟ้าถ่านหินเยอรมัน ต้นแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม-อยู่ร่วมชุมชน ๑๒ โรงไฟฟ้าในอนาคต โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเทพา มิติใหม่แห่งโครงการพัฒนาที่ริเริ่มจากชุมชนอย่างแท้จริง ๑๖ เส้นทางสู่ธุรกิจ เอ็กโกบุกตลาดใหม่ในอินโดนีเซีย ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ ๑๘ จับเข่าเล่าประสบการณ์ CSR...ประสบการณ์จริงไม่ผ่านจอ กับคุณหญิงหมอพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ๒๒ อนุรักษ์พลังงาน กฟผ. ยกระดับโรงเรียนสีเขียว สู่โรงเรียนคาร์บอนตํ่า ๒๔ Infographic เราขอทำ�ความเข้าใจกับตัวเองนิดหนึ่ง ๒๖ อ้อมกอดสีเขียว ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ทางออกความมั่นคงพลังงานไทย ๓๐ คนต้นแบบ บรรจง ศรีสอาด นักวิจัยลดผลกระทบจากการระบายนํ้าเขื่อนสิริกิติ์ ๓๒ นวัตกรรม EGAT RTU นวัตกรรมชิ้นเอกของ กฟผ. ๓๖ นานาทัศนะ หนึ่งคำ�พูด หนึ่งการกระทำ� บอกต่อการเป็นองค์การที่สังคมไว้วางใจ และเป็นความภูมิใจของชาติ ๓๘ ใจเขาใจเรา โครงการคนรักษ์ต้นนํ้า กลางนํ้า ปลายนํ้า โครงการต้นแบบที่โดดเด่นในการปฏิบัติ ตามหลักธรรมาภิบาล ประจำ�ปี ๒๕๕๖ การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดความร่วมมือและความสามัคคี ๔๒ ของดีรอบบ้านเรา โรงไฟฟ้ากระบี่ สืบสานศิลปะพื้นบ้าน รำ�มโนราห์และหนังตะลุง ๔๔ กฟผ. ไม่ไปไม่รู้ เที่ยวเชิงนิเวศ พักโฮมสเตย์อบอุ๊น...อบอุ่น ที่บ้านดง ๔๘ ท้ายเล่ม โลหะหนักจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ทักทาย

EDITOR’S NOTE

ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีทองแห่งความสำ�เร็จอีกปีหนึ่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก็ว่าได้ โดยความสำ�เร็จเหล่านี้ล้วนเกิดจาก ความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการทำ�งานของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ทุกคน จนทำ�ให้ กฟผ. ได้ รั บ รางวั ล อั น ทรงคุ ณ ค่ า หลายรางวั ล ทำ � เอาคนในองค์ ก าร หายเหนื่อย มีรอยยิ้มอย่างภูมิใจ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปลายปีที่ผ่านมา นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผูว้ า่ การ กฟผ. ได้เป็นตัวแทน กฟผ. ขึน้ รับรางวัล อันทรงคุณค่าคือ รางวัลรัฐวิสาหกิจแห่งความภาคภูมิใจ และ รางวัล นวั ต กรรมดี เ ด่ น ประเภทชมเชยระดั บ องค์ ก ร ซึ่งจัดโดยสำ�นักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ตามมาด้วย รางวัลองค์กรโปร่งใส ครัง้ ที่ ๔ ประจำ�ปี ๒๕๕๖ (NACC Integrity Awards 2013) จากสำ�นักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รางวัลดีเด่น ในโครงการประกวดรายงานความยั่งยืน ประจำ�ปี ๒๕๕๗ (Sustainability Report Award 2014) โดยสมาคมบริษัทจดทะเบียน ไทย (CSR Club) สำ � นั ก งานคณะกรรมการกำ � กั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสถาบันไทยพัฒน์ รางวัลสถานประกอบการทีป่ ฏิบตั ติ ามมาตรการ ในรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการสภาพแวดล้อมดีเด่น ประจ�ำปี ๒๕๕๗ (EIA Monitoring Awards 2014) ประเภทคมนาคม จากโครงการท่ า เที ย บเรื อ ขนถ่ า ยน�้ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ส�ำหรั บ โรงไฟฟ้ า พลังความร้อนกระบี่ เป็นต้น รางวั ล อั น ทรงคุ ณ ค่ า เหล่ า นี้ คื อ สิ่ ง ที่ พิ สู จ น์ ว่ า ชาว กฟผ. ได้ ร่ ว มแรง ร่วมใจกันทำ�งานอย่างดีเยี่ยม ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงการมีวัฒนธรรม ค่านิยมองค์ก ารที่ดี และมีการบริหารแบบมีธรรมาภิบาลของ กฟผ. ในกระบวนการทำ�งาน ก้าวต่อไปของ กฟผ. นับจากนีก้ ส็ �ำ คัญไม่แพ้กนั คือ การที่ กฟผ. จะเดินหน้าสู่ การเป็นองค์การชั้นนำ�ในกิจการไฟฟ้าในระดับสากลที่มีความสามารถ ในการดำ�เนินงานทุกด้านในระดับโลก (Global Top Quartile Utility) โดยจะมีการเปรียบเทียบกับองค์การที่ดำ�เนินกิจการที่คล้ายคลึงกับ กฟผ. กว่า ๔๐๐ องค์การทั่วโลก ซึ่งหาก กฟผ. สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ องค์การจนได้รับการจัดอันดับอยู่ ๑ ในร้อยละ ๒๕ นอกจากจะเป็น ความสำ�เร็จของ กฟผ. แล้ว ยังถือเป็นความสำ�เร็จของคนไทยทุกคนด้วย กองบรรณาธิการ


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

เปิดบ้าน กฟผ.

EGAT Event

กฟผ. รับ ๒ รางวัลดีเด่น ด้านส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน พร้อมรางวัลดีเด่นประเภทสื่อมวลชน

Thailand Energy Awards 2014

เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธมี อบรางวัล Thailand Energy Awards 2014 ให้กบั หน่วยงาน ที่ มี ผ ลงานดี เ ด่ น ด้ า นการอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานและการพั ฒ นาพลั ง งานทดแทน โดยการไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย (กฟผ.) ได้ รั บ ๒ รางวั ล ได้ แ ก่ รางวัลดีเด่นด้านส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ในประเภท องค์การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และรางวัลดีเด่นประเภทสื่อมวลชน จากเว็บไซต์ www.egat.co.th โดยมีนายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ กิจการสังคม และนายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการกิจการสังคม เป็นผู้แทน กฟผ. ขึ้นรับรางวัล ณ ตึกสันติไมตรี ทำ�เนียบรัฐบาล

อาคาร ท.๑๐๒ กฟผ. สร้างชื่อบนเวทีระดับประเทศ คว้ารางวัล Green O ffi f ice จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๗ นายสมภพ พวงจิตต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการบริการ เป็นผู้แทน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้ารับรางวัลและใบประกาศเกียรติคณ ุ สำ�นักงาน สีเขียว ระดับดีเยี่ยม (ระดับทอง) ในประเภทสำ�นักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Off ice) จากพลเอก ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรั ฐ มนตรี ในงานสิ่ ง แวดล้ อ มไทย และวันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ (ทสม.) ประจำ � ปี ๒๕๕๗ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เนื่ อ งในโอกาส ทรงเจริ ญ พระชนมพรรษา ๘๗ พรรษา ซึ่ ง จั ด ขึ้ น โดยความร่ ว มมื อ ระหว่ า งกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับกระทรวงมหาดไทย ณ อาคารอิมแพ็คฟอรั่ม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

กฟผ. คว้า รางวัลองค์กรโปร่งใส จาก ป.ป.ช. เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๗ นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้แทนองค์การ เข้ารับรางวัลองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ ๔ ประจำ�ปี ๒๕๕๖ (NACC Integrity Awards 2013) จากนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ณ ห้องนนทบุรี ๑ สำ�นักงาน ป.ป.ช. จังหวัดนนทบุรี นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ กล่าวว่า รางวัลองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ ๔ ประจำ�ปี ๒๕๕๖ นี้ ชาว กฟผ. ทุกคนถือว่ามีสว่ นสำ�คัญอย่างยิง่ ทีท่ �ำ ให้ได้รบั รางวัลครัง้ นี้ ถือเป็นรางวัลเกียรติยศและความภาคภูมใิ จ ของ กฟผ. และพนักงานทุกคน ที่ได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ทำ�งานอย่างหนักด้วยความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ จนทำ�ให้ กฟผ. เป็นองค์การที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทั่วไป ทั้งนี้ ภายในงาน กฟผ. ได้ร่วมจัดนิทรรศการ “กฟผ. โปร่งใสทั่วทั้งองค์การ สง่างามเกียรติภูมิ” โดยได้รับเกียรติจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการ กฟผ. ด้วย

กฟผ. ได้รับรางวัลดีเด่น ในการประกวด

รางวัลรายงานความยั่งยืน ปี ๒๕๕๗

ผลงานจากนักประดิษฐ์ กฟผ.

กวาดรางวัลเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ ห้องประชุม ๒๐๑ อาคาร ท.๑๐๐ สำ�นักงานกลาง กฟผ. จังหวัดนนทบุรี นายภัทรพงศ์ เทพา ผู้อำ�นวยการ ฝ่ ายบริ ห ารงานวิ จั ย และพั ฒ นา นำ�คณะนักประดิษ ฐ์ที่ไ ด้รับ รางวัล จาก งานประกวดสิง่ ประดิษฐ์ในเวทีระดับนานาชาติ ๒ งาน ทีจ่ ดั ขึน้ ณ สาธารณรัฐ ประชาชนจี น และสาธารณรั ฐ เกาหลี เข้ า พบนายสุ น ชั ย คำ � นู ณ เศรษฐ์ ผู้ ว่ า การการไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย (กฟผ.) เพื่ อ รายงานผล การประกวดและจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ โดยการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน กฟผ. ได้ส่งผลงานเข้าประกวด จำ�นวน ๔ ผลงาน ส่วนที่สาธารณรัฐเกาหลี กฟผ. ได้ส่งผลงานเข้าประกวดจำ�นวน ๗ ผลงาน ซึ่งทุกผลงานของ กฟผ. ได้รับรางวัลจากทั้ง ๒ ประเทศ และเป็นที่ยอมรับ ในระดับนานาชาติ

เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการ กิ จ การสั ง คม เป็ น ผู้ แ ทนการไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย (กฟผ.) เข้ารับรางวัลดีเด่น ในโครงการประกวดรายงานความยัง่ ยืน ประจำ�ปี ๒๕๕๗ (Sustainability Report Award 2014) จากนายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทั้ ง นี้ ร างวั ล ดั ง กล่ า วเป็ น ความร่ ว มมื อ ของสมาคมบริ ษั ท จดทะเบียนไทย (CSR Club) สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสถาบันไทยพัฒน์ โครงการประกวดรางวัลรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report Award) เป็นกิจกรรมหนึ่งในงานสัมมนา CSR Thailand Conference ซึง่ เริม่ ครัง้ แรกในปี ๒๕๕๖ โครงการฯ นีม้ สี ว่ นช่วยในการยกระดับการเปิดเผย ข้อมูลด้าน ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพของตลาดทุนไทยให้เทียบเท่ากับตลาดทุน ชั้นนำ� อันจะนำ�ไปสู่การยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในภูมิภาคและในระดับ สากลต่อไป


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

กฟผ. รับรางวัล

EIA Monitoring Awards 2014

โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายนํ้ามันเชื้อเพลิง สำ�หรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ นายวิวัฒน์ สิริเกียรติกุล ผู้อำ�นวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ เป็นผู้แทนการไฟฟ้า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย (กฟผ.) รั บ รางวั ล สถานประกอบการที่ ป ฏิ บั ติ ตามมาตรการในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากโครงการ ท่ า เที ย บเรื อ ขนถ่ า ยนํ้ า มั น เชื้ อ เพลิ ง สำ � หรั บ โรงไฟฟ้ า พลั ง ความร้ อ นกระบี่ โดยมีพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ โครงการท่ า เที ย บเรื อ ฯ ดั ง กล่ า ว เริ่ ม ดำ � เนิ น การอย่ า งเป็ น ทางการตั้ ง แต่ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๗ และต่อเนื่องเป็นปีที่ ๑๐ จนถึงปัจจุบัน โดย กฟผ. ได้ตดิ ตามตรวจสอบคุณภาพสิง่ แวดล้อมโดยรอบท่าเทียบเรือร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญ และสถาบั น ทางวิ ช าการเพื่ อ ติ ด ตามระบบนิ เวศทางทะเลในจั ง หวั ด กระบี่ พร้อมยืนยันดำ�เนินการตามมาตรการในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อม อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ สร้างความมัน่ ใจให้กบั ประชาชนในการดำ�เนินงานของ กฟผ.

กฟผ. รับรางวัล เหมืองแร่สีเขียว ดำ�เนินงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ นายถาวร งามกนกวรรณ ผู้ช่วย ผู้ ว่ า การเหมื อ งแม่ เ มาะ เป็ น ผู้ แ ทนการไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับรางวัลเหมืองแร่สีเขียว ประจำ�ปี ๒๕๕๗ จากนายปราโมทย์ วิท ยาสุข ผู้ช่วยรัฐ มนตรีประจำ� กระทรวงอุตสาหกรรม ณ ศูนย์นทิ รรศการและการประชุมไบเทค ซึ่ ง รางวั ล เหมื อ งแร่ สี เขี ย วนี้ กรมอุ ต สาหกรรมพื้ น ฐานและ การเหมื อ งแร่ กระทรวงอุ ต สาหกรรม ได้ พิ จ ารณาคั ด เลื อ ก หน่วยงานที่มีการดำ�เนินกิจการตามนโยบายเหมืองแร่สีเขียว ๖ ด้าน ได้แก่ ๑) การดำ�เนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม ๒) การลดการป้องกัน และ การแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ๓) การดูแลความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานและชุมชน ๔) สร้างพื้นที่ สีเขียวและทัศนียภาพเรียบร้อย สะอาดตา ๕) ดำ�เนินการอย่าง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และ ๖) มีการใช้ทรัพยากรแร่อย่างคุ้มค่า ทั้งนี้ กฟผ. มีการดำ�เนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเปิด โอกาสให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมมากที่สุด


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

กฟผ. จับมืออำ�เภอเหนือคลองและกองทัพเรือ

ร่วมปล่อยเต่าทะเลคืนสู่หาดยาว จังหวัดกระบี่ เมื่ อ วั น ที่ ๑๕ - ๑๖ ธั น วาคม ๒๕๕๗ นายสาธรวิ ศิ ษ ฏ์ นราวิ สุ ท ธิ์ รองผู้ ว่ า ราชการ จั ง หวั ด กระบี่ เป็ น ประธานกิ จ กรรมร่ ว มคื น ความสุ ข ให้ กั บ ประชาชน ภายใต้ กิ จ กรรม “ปล่อยเต่าทะเลคืนสู่หาดยาว” จำ�นวน ๒๑๓ ตัว ณ บริเวณหาดยาว ตำ�บลตลิ่งชัน อำ�เภอ เหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โดยมีพลเรือโท วินัย กล่อมอินทร์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ สงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ว่าที่ร้อยตรี วิกรม จากที่ นายอำ�เภอ เหนือคลอง นายวิวัฒน์ สิริเกียรติกุล ผู้อำ�นวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายอดุลย์ เป็งถา หัวหน้าโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาขยายกำ�ลังผลิต โรงไฟฟ้ากระบี่โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมออกร้านแสดงนิทรรศการ โดยมีประชาชนร่วมงานเป็นจำ�นวนมาก

กิจกรรมวันเด็ก กฟผ. ปี ๒๕๕๘ ครึกครื้น ประชาชนพาบุตรหลานร่วมงานจำ�นวนมาก

เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๘ นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานวันเด็ก กฟผ. ประจำ�ปี ๒๕๕๘ ภายใต้แนวคิด "Wonderland ดินแดนแห่งเทพนิยาย" เพือ่ ให้เด็กๆ เกิดจินตนาการ มีความคิด สร้างสรรค์ ผ่านตัวละครที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสิ่งดีกับสิ่งไม่ดี โดยในงาน วันเด็ก กฟผ. มีกิจกรรมมากมาย อาทิ วาดภาพระบายสี ร้องเล่นเต้นฮา บ้านบอลลูน โบโซ่ เค้กหรรษา ปาเป้า กีฬากลางแจ้ง เปิดบ้านโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ตลอดจนกิจกรรมบันเทิง บนเวทีกลาง พร้อมอาหารและเครื่องดื่มไว้บริการเด็กๆ ตลอดงาน จัดขึ้น ณ บริเวณโดมขาว อาคารประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานกลาง กฟผ. จังหวัดนนทบุรี


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

บทความพิเศษ

Feature

อนาคต กฟผ. ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน

แม้มีอุปสรรคก็จะสำ�เร็จได้ ด้วยความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน เรื่อง: แพรวพิสาข์ เถาลัดดา

เริม่ วันแรกของการทำ�งานหลังจากทีห่ ยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ชาวการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถือว่าเป็นวันฤกษ์งามยามดีที่ชาว กฟผ. ทั่วประเทศจะได้พบผู้ว่าการเพื่อรับพรปีใหม่ รวมถึงรับฟังผลการดำ�เนินงาน ในปีที่ผ่านมา และทิศทางการนำ�องค์การในปีใหม่จากหัวเรือใหญ่ขององค์การ ในปี ๒๕๕๘ นี้ นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ. ได้สรุปประเด็นสำ�คัญ ของการดำ�เนินงานปี ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ที่มีทั้งความสำ�เร็จและอุปสรรค แต่ด้วย ความร่วมมือร่วมใจของชาว กฟผ. ทุกคน จึงทำ�ให้ กฟผ. สามารถผ่านอุปสรรค ต่างๆ มาได้อย่างสวยงาม รวมถึงนโยบายและแนวทางการดำ�เนินงานของปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นอีกปีที่มีความยากลำ�บาก แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่า กฟผ. จะข้ามผ่าน ไปได้ด้วยดี ด้วยพลังของชาว กฟผ. ทุกคนเหมือนที่ผ่านมา


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผูว้ า่ การ กฟผ. ได้สรุปผลการดำ�เนินงาน ในปีที่ผ่านมาว่า ตลอดปี ๒๕๕๗ ชาว กฟผ. ได้ทุ่มเทปฏิบัติ ภารกิจอย่างเต็มกำ�ลัง จนสามารถสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ แก่สายตาของสังคมและประชาชน เช่น การพัฒนาระบบพลังงาน ไฟฟ้าของประเทศให้มีความมั่นคง ภายใต้ระบบการบริหารจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และได้รับรางวัลมากมาย อย่างไรก็ตาม แม้จะประสบความสำ�เร็จ แต่ กฟผ. ยังต้องก้าวผ่าน อุปสรรคและความท้าทายอีกมาก สิง่ ทีพ่ สิ จู น์วา่ ชาว กฟผ. ได้รว่ มแรงร่วมใจกันทำ�งานอย่างดีเยีย่ ม คือรางวัลต่างๆ ที่ได้รับในปีที่ผ่านมา เช่น รางวัลองค์กรโปร่งใส ทีจ่ ดั ขึน้ เป็นปีที่ ๔ โดย กฟผ. ได้รบั รางวัลนีเ้ ป็นครัง้ แรก ถือเป็นรางวัล แห่งความภาคภูมิใจของ กฟผ. ว่า ตลอด ๔๕ ปีของการดำ�เนินงาน กฟผ. เป็นองค์การทีม่ คี วามโปร่งใส ปราศจากการทุจริต ปฏิบตั ติ าม กฎระเบียบมาโดยตลอดจนเป็นทีย่ อมรับ นอกจากนี้ รางวัลสำ�คัญ ที่ กฟผ. ได้รับในปีนี้ก็คือ รางวัลรัฐวิสาหกิจแห่งความภูมิใจ “กฟผ. ได้ตั้งวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นองค์การแห่งความภาคภูมิใจ ของชาติ หรื อ National Pride รางวั ล นี้ ถื อ เป็ น ก้ า วแรก และเป็ น รางวั ล แห่ ง เกี ย รติ ย ศ รางวั ล แห่ ง ความภาคภู มิ ใจ ของพวกเราชาว กฟผ. ซึ่งได้มีโอกาสพบปะกับอดีตผู้ว่าการ หลายๆ ท่าน ทุกท่านชมเชยและยืนยันว่าเป็นสิ่งที่ กฟผ. จะต้อง

รักษาไว้ เมื่อได้รับรางวัลนี้แล้ว สิ่งที่สำ�คัญคือจะต้องรักษา ให้ ค งไว้ รางวั ล นี้ เ ป็ น รางวั ล ที่ ห น่ ว ยงานภาครั ฐ ได้ ม อบให้ แต่ จ ะทำ � อย่ า งไรให้ เ ป็ น องค์ ก ารที่ ป ระชาชนคนไทยทุ ก คน ภาคภูมิใจ เวลาพูดถึง กฟผ. จะพูดถึงด้วยความชื่นชมยินดี เป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องช่วยกัน” ในระดับนานาชาติ กฟผ. ยังได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมอีกมากมาย ซึง่ เป็นการต่อยอดมาจากสิง่ ทีเ่ ราทำ�เป็นพืน้ ฐาน เช่น QCC Kaizen และการคิดค้นสิง่ ประดิษฐ์ ซึง่ ผูว้ า่ การได้กล่าวด้วยความภาคภูมใิ จว่า สิ่ ง ที่ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านได้ พั ฒ นาขึ้ น นั้ น สามารถสร้ า งประโยชน์ แก่องค์การอย่างมาก ช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์การได้อย่าง มหาศาล ดังนั้น ด้านนวัตกรรมจึงไม่เป็นสองรองใคร ในเรื่อง เหล่านี้ต้องขอบคุณผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และผู้ที่มีส่วนผลักดัน ทุกท่านที่สร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับ กฟผ. และอีกหนึ่งรางวัลที่ กฟผ. ได้รับอย่างถูกที่ถูกเวลาก็คือ การที่โครงการท่าเทียบเรือขนถ่าย นํ้ า มั น เชื้ อ เพลิ ง สำ � หรั บ โรงไฟฟ้ า พลั ง ความร้ อ นกระบี่ ไ ด้ รั บ รางวั ล สถานประกอบการที่ ป ฏิ บั ติ ต ามมาตรการในรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีการจัดการสภาพ แวดล้อมดีเด่น ประจำ�ปี ๒๕๕๗ (EIA Monitoring Awards 2014) ซึ่งเป็นการยืนยันว่า กฟผ. ดำ�เนินงานด้วยความใส่ใจ สิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ


นอกจากนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ของ กฟผ. ที่ชื่อว่า EGAT BEST 2015 - 2025 โดยกำ�หนดวิสัยทัศน์ ที่สะท้อนเป้าหมายและทิศทางขององค์การคือ การเป็นองค์การชั้นนำ�ในกิจการไฟฟ้าในระดับสากลที่มี ความสามารถในการดำ�เนินงานทุกด้านในระดับโลก (Global Top Quartile Utility) คือ จะมีการเปรียบเทียบ กับองค์การที่ดำ�เนินกิจการที่คล้ายคลึงกับ กฟผ. กว่า ๔๐๐ องค์การทั่วโลก โดยการดำ�เนินการเรื่อง แผนยุทธศาสตร์ใหม่จะประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์หลัก คือ ๑) การพัฒนาระดับความสามารถด้านการผลิต และส่งพลังงานไฟฟ้าให้ก้าวไปสู่ระดับโลก (Global Top Quartile Player) ซึ่งต้องอาศัยการปรับปรุงการดำ�เนินงานให้รวดเร็ว ทันกับสถานการณ์มากขึ้น ในปี ๒๕๕๘ เนื่องจากมีการจัดทำ�แผนพัฒนากำ�ลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ฉบับใหม่ มีการคาดการณ์ การใช้ไฟฟ้าใหม่ โอกาสในการที่จะเดินเครื่องโรงไฟฟ้าของ กฟผ. และการดูแลระบบเชื่อมโยงทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ท้าทาย ยกตัวอย่างระบบส่ง แต่เดิม กฟผ. พัฒนาระบบส่งได้ปีละประมาณ ๖๐๐ กิโลเมตร แต่จากนี้ไประบบส่งจะต้องพัฒนาให้ได้ปีละไม่ตํ่ากว่า ๑,๕๐๐ กิโลเมตร ๒) การใช้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการไฟฟ้าเพื่อสร้างการเติบโตในระดับภูมิภาค (Regional Power Specialist) โดยผลักดันทั้งการเจริญเติบโตของบริษัทในเครือ กฟผ. (EGAT Group) ซึ่งได้แก่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำ�กัด (มหาชน), บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำ�กัด (มหาชน), บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด, บริษัท ผลิตไฟฟ้าและนํ้าเย็น จำ�กัด, บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำ�กัด และ กฟผ. เจริญเติบโต ไปพร้อมๆ กัน ๓) การแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์ของ กฟผ. ออกสู่สังคม (Learning for Society) และ ผนวกกับแผนแม่บทความรับผิดชอบต่อสังคมที่ กฟผ. ดำ�เนินการอยู่ (CSR Master Plan)

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘


นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ. ได้กล่าว เพิ่มเติมว่า การดำ�เนินการโครงการต่างๆ สิ่งที่สำ�คัญ คือ การสือ่ สาร และสิง่ ทีเ่ ป็นอุปสรรคคือ การสร้างการ ยอมรับของประชาชน เช่น เรื่องภาพลักษณ์องค์การ (Brand) ซึง่ แบรนด์ กฟผ. เป็นเสมือนต้นทุนทางสังคม ที่จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลูกค้า และประชาชน ดังนั้น แบรนด์ กฟผ. จึงไม่ได้ เป็นเพียงโลโก้ เครื่องแบบ ชื่อ สี สัญลักษณ์ เขื่อน โรงไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้าเท่านั้น แต่แบรนด์คือ สิ่งที่ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง าน กฟผ. ทุ ก คนต้ อ งยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ แ ละ แสดงออกในรูปแบบของความรับผิดชอบในบทบาท หน้าที่ ภารกิจ และกิจกรรมต่างๆ “ภาพของ กฟผ. จะเป็ นอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ ชาว กฟผ. ทุกคน ที่คนภายนอกจะเห็นการประพฤติ ปฏิบัติของชาว กฟผ. ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนไหนของ ประเทศก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่เราประพฤติต่อผู้รับบริการ ผู้ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ ง ถ้ า เราทำ � ดี นอกจากจะได้ รั บ คำ�ชมเชยจากประชาชนที่ให้ส่วนบุคคลแล้ว ก็ยังจะ เป็นคำ�ชมเชยและการยอมรับต่อองค์การด้วย ในขณะ เดียวกัน ถ้าไปทำ�อะไรเสียหาย ผลเสียนัน้ ก็ยอ่ มตกมา ถึงองค์การด้วยเช่นกัน ขอให้ทุกคนช่วยกันตระหนัก ว่าการกระทำ�ของตนนั้นจะมีส่วนทำ�ร้ายองค์การ หรือไม่” ผู้ว่าการกล่าว

เรื่ อ งสุ ด ท้ า ยที่ สำ � คั ญ ไม่ น้ อ ยไปกว่ า เรื่ อ งอื่ น ๆ คื อ การดำ � เนิ น งานด้ า นความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม (CSR) ของ กฟผ. ทั้ง CSR in PROCESS และ CSR after PROCESS ที่ กฟผ. ได้ดำ�เนินการ มาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ โครงการแว่นแก้ว โครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าชุมชน บ้านคลองเรือ โครงการพลังงานเพื่อชุมชน โครงการ สนับสนุนการกีฬา โครงการเกี่ยวกับการส่งเสริม อาชีพ โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และได้ เริ่มนำ�ระบบ ISO 26000 เข้ามาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบ ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่พวกเราภาคภูมิใจ และมุ่งมั่นดำ�เนินการมาอย่างยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น ต้ อ งขอชื่ น ชมและขอขอบคุ ณ จิ ต อาสาและ ผู้เกี่ยวข้องที่ทำ�ให้โครงการเหล่านี้ประสบความ สำ�เร็จ และเป็นที่ยอมรับของประชาชน สำ�หรับอนาคต เรื่องของแผนพัฒนากำ �ลังผลิต ไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ฉบับใหม่ จะมีการเพิ่ม สัดส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน และการประหยัด พลังงานมากขึน้ ซึง่ ในแผน ๒๐ ปี เมือ่ เทียบกับแผน PDP ฉบับปัจจุบัน การใช้ไฟในช่วงปลายแผน จะลดลงประมาณ ๑๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ พลังงาน

ทดแทนจะอยู่ที่ประมาณ ๑๖,๐๐๐ กว่าเมกะวัตต์ จะเพิม่ ในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และชีวมวล ซึ่งจะมีผลกระทบต่อ กฟผ. ค่อนข้าง มากทีเดียว “กฟผ. จะคงรั ก ษาสั ด ส่ ว นการผลิ ต ไฟฟ้ า ได้ หรื อ ไม่ และจะมี ส่ ว นสนั บ สนุ น เกื้ อ กู ล หรื อ ได้ ประโยชน์จากพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไร จะมีสว่ นทีท่ �ำ ให้เกิดการประหยัดพลังงานได้อย่างไร ถึงแม้ว่า PDP ฉบับใหม่จะมีการลดการใช้พลังงาน ลง ๑๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ ในฐานะผูผ้ ลิตไฟฟ้าจะเป็น ผลเสีย แต่เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ กฟผ. จะดำ�เนินการอย่างไร ซึ่งเป็นภาระหนักของ กฟผ. ที่ จ ะดู แ ลการทำ � งานให้ ส อดคล้ อ งกั บ ภารกิ จ และแผน PDP ใหม่ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ ของทุ ก คนช่ ว ยกั น วางแผนให้ ชั ด เจนยิ่ ง ขึ้ น ” ผู้ว่าการกล่าวทิ้งท้าย แม้ ปี ๒๕๕๘ จะเป็ น อี ก ปี ที่ ค าดว่ า จะมี ค วาม ยากลำ�บากในการดำ�เนินงาน และมีอุปสรรคให้ กฟผ. ได้ ฟั น ฝ่ า กั น อี ก มาก แต่ ด้ ว ยความรั ก ความสามัคคี การร่วมแรงร่วมใจกันของชาว กฟผ. เชือ่ มัน่ ว่า กฟผ. จะสามารถรับมือกับทุกๆ อุปสรรค ที่ ผ่ า นเข้ า มาได้ และมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะ “ผลิ ต ไฟฟ้ า เพื่อความสุขของคนไทย” ต่อไป


๑๐

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

พลังงานวันนี้

ENERGY Today

เยอรมั น ต้นแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม-อยู่ร่วมชุมชน โรงไฟฟ้าถ่านหิน เรื่อง: ทีมข่าวสิ่งแวดล้อมหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ว่าที่พันตรี ดร.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

“ในระยะ ๑๐ - ๒๐ ปีนถี้ า่ นหินยังเป็นพลังงานหลักในการผลิตไฟฟ้า ที่ดีที่สุดของประเทศไทย” ว่าที่พันตรี ดร.อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำ�นวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อม โครงการ กฟผ. ระบุ ชั ด เจนระหว่ า งนำ � คณะสื่ อ มวลชนสายสิ่ ง แวดล้ อ ม จากประเทศไทยไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๐ พฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำ�ความรู้ด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดมาปรับใช้กับ แผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่ง “ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม” ได้ร่วมคณะ ติดตามไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าถ่านหิน ๒ แห่ง และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ๑ แห่งด้วย โรงไฟฟ้าถ่านหินเยอรมันต้นแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม-อยู่ร่วมชุมชนแห่งแรก คือ โรงไฟฟ้าถ่านหิน Schwarze Pumpe เป็นของบริษัท Vattenfall ตั้งอยู่ที่เมือง Spremberg ทางตะวันออกของเยอรมนีติดกับประเทศโปแลนด์ โรงไฟฟ้า แห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินปลอดคาร์บอนไดออกไซด์ ใช้ถ่านลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงหลัก ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า ๒ เครื่อง กำ�ลังการผลิตรวม ๑,๖๐๐ เมกะวัตต์ พลังงานความร้อนจากกระบวนการผลิตได้น�ำ ไปใช้ในเขตเมืองข้างเคียง เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ และโรงไฟฟ้าถ่านหิน Power Plant of Mainova ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าไมน์ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต โดยรอบโรงไฟฟ้าเต็มไปด้วย บ้านพักอาศัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกัน ได้อย่างปกติ แม้มีการลำ�เลียงขนถ่ายถ่านหินแบบระบบเปิดสามารถมองเห็น ด้วยตาได้ก็ตาม ส่วน โรงไฟฟ้าพลังงานลม Binselberg Wind Park เป็นของบริษัท HSE ตั้งอยู่ที่เมือง Binselberg เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนประเภทพลังงานลม ประกอบด้วย กังหันลม ๒ ต้น ต้นละ ๒,๐๐๐ เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้า ได้ ๙,๐๐๐ เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ๕,๘๐๐ ตันต่อปี

สิ่ ง ที่ ที ม ข่ า วสิ่ ง แวดล้ อ มสั ม ผั ส ได้ จ ากการร่ ว มดู ง านครั้ ง นี้ คื อ “คนเยอรมันไม่กลัวโรงไฟฟ้าถ่านหิน” เนื่องจากมั่นใจในระบบ การเผาไหม้ ซ่ึง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง เพราะโรงไฟฟ้ า ทั้ ง ๒ แห่ ง ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด อาทิ ซับบิทูมินัส (Sub-bituminus) บิทูมินัส (Bituminus) และแอนทราไซด์ (Anthracite) การปล่อย มลพิษจึงน้อยและสามารถควบคุมได้ทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และฝุ่นละอองต่างๆ ในระดับตํ่า กว่าเกณฑ์ทกี่ �ำ หนดมาก และสามารถผลิตไฟฟ้าเพือ่ การพาณิชย์ได้ เพราะไฟฟ้าที่ใช้เป็นหลักอยู่ในประเทศเยอรมนีก็มาจากโรงไฟฟ้า ถ่านหิน


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

๑๑ ในระยะ ๑๐ - ๒๐ ปีนี้ ถ่านหินยังเป็น พลังงานหลัก ในการผลิตไฟฟ้าที่ดีที่สุด ของประเทศไทย

หันกลับมาทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บ้าง การไปดูงานครั้งนี้ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมสำ�หรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย ขนาด ๘๐๐ เมกะวัตต์ พร้อมโครงการท่าเรือถ่านหินบ้านคลองรัว้ ทีอ่ �ำ เภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งกำ�ลังอยู่ในขั้นตอนของการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมของ กฟผ. ที่มีโรงไฟฟ้า มาตั้งแต่ปี ๒๕๐๗ ผลิตไฟฟ้าขนาด ๖๐ เมกะวัตต์ ให้กับคนภาคใต้ ๘ จังหวัด ทั้งนี้ ตามแผนต้องส่งรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ประมาณ แต่สิ่งหนึ่งที่เราอดห่วงไม่ได้และคงต้องขอฝากไว้คือ ต้องไม่ลืมว่า เดือนธันวาคม ๒๕๕๗ จากนั้นจะใช้เวลาประมาณ ๑๒ - ๑๘ เดือน เพื่อเสนอ ประเทศไทยกับเยอรมนีแตกต่างกัน เนื่องจากเยอรมนีมีความ โดดเด่นและมีชื่อเสียงเกี่ยวกับนวัตกรรมทางด้านพลังงานไฟฟ้า คณะรัฐมนตรีอนุมัติและจะเริ่มก่อสร้างในปี ๒๕๕๙ และแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๒ นอกจากนี้ กฟผ. ยังเตรียมก่อสร้างโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ตำ�บลปากบาง โดยเป็นประเทศผู้ส่งออกเทคโนโลยีและอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงาน อำ�เภอเทพา จังหวัดสงขลา ขนาด ๒,๒๐๐ เมกะวัตต์ ในเนื้อที่ ๒,๐๐๐ ไร่ ซึ่งจะเข้า หลายชนิด เช่น พลังงานจากลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงาน ไฟฟ้าจากถ่านหิน กระบวนการรับฟังความคิดเห็นประมาณต้นเดือนมกราคม ๒๕๕๘ “โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง ๒ แห่งเป็นการสร้างเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของ ประเทศ ใช้ระบบปิดทัง้ หมดเพือ่ ไม่ให้สง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและคุณภาพชีวติ ที่ผ่านมาเราอาจจะมีบทเรียนความผิดพลาดมาบ้าง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการ พัฒนาจนเรียกได้วา่ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด คือ มีเทคโนโลยีชนั้ สูงทีส่ ามารถ ดักจับมลพิษและของเสียที่เกิดขึ้นจนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในเวลาเดียวกัน ก็ยังสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์ตํ่าที่ประชาชนยอมรับได้” ว่าที่พันตรี ดร.อนุชาตกล่าวยืนยัน

การไปดูงานครัง้ นีถ้ อื เป็นการเตรียมความพร้อมสำ�หรับการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย

ขณะที่ประเทศไทยเกือบจะเป็นในสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยเฉพาะ ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ต้ อ งยอมรั บ คื อ ถึ ง วั น นี้ ก ารก่ อ สร้ า งโรงไฟฟ้ า ถ่านหินของ กฟผ. ที่จังหวัดกระบี่ ยังมีการต่อต้านอย่างรุนแรง ดั ง นั้ น ไม่ เ พี ย ง กฟผ. ต้ อ งรั บ ฟั ง ข้ อ มู ล จากคนในพื้ น ที่ แต่หัวใจสำ�คัญคือต้องสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นให้ประชาชน “ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม” มองว่าการมีพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะเป็นพลังงาน ทั้งประเทศ ทางเลือกทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมและชุมชน ทีเ่ ป็นการเพิม่ ศักยภาพของการพัฒนา เพราะคงไม่มีใครอยากเห็นโศกนาฏกรรมที่จะเกิดซํ้ารอยขึ้นอีก ในอนาคต... กำ�ลังการผลิตไฟฟ้าด้วย ย่อมเป็นสุดยอดปรารถนาของทุกประเทศในโลก ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๗


๑๒

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

โรงไฟฟ้าในอนาคต

Plant for Future

โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดเทพา มิติใหม่แห่งโครงการพัฒนา ที่ริเริ่มจากชุมชนอย่างแท้จริง

เรื่อง: สุรินทร์ หล่อฤ ๅทัย ปัญหาสำ�คัญประการหนึ่งทางด้านพลังงานไฟฟ้า ของประเทศไทยก็คือ ความเสี่ยงจากการพึ่งพา ก๊าซธรรมชาติมากเกินไป และกำ�ลังผลิตไฟฟ้า สำ�รองที่ลดน้อยลง จนกระทบถึงเรื่องความมั่นคง ของระบบไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ ต้องแก้ไข ด้ ว ยการปรั บ สั ด ส่ ว นเชื้ อ เพลิ ง ให้ เ หมาะสม โดยเฉพาะการเพิ่มสัดส่วนพลังงานประเภทอื่นๆ ขึ้นมาทดแทนสัดส่วนของก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผล จากความพยายามตลอดหลายปี ที่ ผ่ า นมาของ การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย (กฟผ.) เริ่ ม มี สั ญ ญาณการตอบรั บ ที่ ดี จ ากสั ง คมกั บ การ พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถา่ นหินสะอาด ขึ้นในประเทศไทย

ก า ร จั ด ทำ � แ ผ น พั ฒ น า กำ � ลั ง ผ ลิ ต ไ ฟ ฟ้ า ข อ ง ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๗๓ (PDP 2010 ฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ ๓) ได้มีความพยายามลดสัดส่วน การผลิ ต พลั ง งานไฟฟ้ า จากก๊ า ซธรรมชาติ จ าก เกือบร้อยละ ๗๐ ในปัจจุบัน ให้เหลือร้อยละ ๕๘ เมื่อสิ้นแผนในปี ๒๕๗๓ โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิต ไฟฟ้าจากถ่านหินนำ�เข้าขึ้นมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ ๑๒.๖ ทั้งนี้ กฟผ. เลือกพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหิน แห่ ง ใหม่ ด้ ว ยเทคโนโลยี โรงไฟฟ้ า ถ่ า นหิ น สะอาด (Clean Coal Technology) รวมถึงเพิ่มสัดส่วน พลังงานทางเลือกอื่นๆ อาทิ พลังงานหมุนเวียน และ พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น หากสามารถเพิ่มสัดส่วน การใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าได้สำ�เร็จ ไม่เพียง

ตอบโจทย์ ใ นเรื่ อ งของการช่ ว ยเพิ่ ม ความมั่ น คง ทางด้านพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังช่วยในเรื่องของ การรักษาระดับราคาพลังงานไฟฟ้าให้มคี วามเหมาะสม และสนับสนุนการแข่งขันของประเทศไทยอีกด้วย นายรั ต นชั ย นามวงศ์ รองผู้ ว่ า การพั ฒ นา โรงไฟฟ้ า กฟผ. เปิ ด เผยว่ า พื้ น ที่ ที่ มี ศั ก ยภาพ ในการพั ฒ นาโครงการโรงไฟฟ้ า ด้ ว ยเทคโนโลยี ถ่านหินสะอาดอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทั้งนี้ เพื่ อ ความสะดวกในการขนส่ ง ถ่ า นหิ น คุ ณ ภาพดี ที่นำ�เข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย หรือ แอฟริกาใต้ ซึ่ง กฟผ. ได้เริ่มศึกษาศักยภาพและ ความเป็นไปได้ของพื้นที่เบื้องต้น ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ รวมทั้ ง ดำ � เนิ น การสำ � รวจศึ ก ษา รวมทั้ ง วิ จั ย ถึ ง


๑๓

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และด้านสุขภาพ อนามัยของชุมชนในพื้นที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัดในทุกๆ ขั้นตอน และให้ชาวบ้านได้มี ส่วนร่วมในการดำ�เนินงานตั้งแต่เริ่มต้นโครงการฯ ตามคำ�เรียกร้องของประชาชน ซึ่งมีความคืบหน้า อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ในขั้นตอนของการจัดทำ � รายงานการวิ เ คราะห์ ผ ลกระทบสิ่ ง แวดล้ อ มและ สุ ข ภาพ (EHIA) ของโครงการขยายกำ � ลั ง ผลิ ต โรงไฟฟ้ากระบี่ รวมถึงจัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการขนส่ง ถ่านหินท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว ฉบับสมบูรณ์ เพื่อ นำ � ไปเสนอขอความเห็ น ชอบจากคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ดสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ) และประกอบการขออนุมตั โิ ครงการจากรัฐบาลต่อไป

นายรัตนชัย นามวงศ์

ไม่เพียงชุมชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่เท่านั้นที่เล็งเห็น ประโยชน์ ข องการพั ฒ นาโครงการโรงไฟฟ้ า เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด แต่ชุมชนในอำ�เภอเทพา จังหวัดสงขลา ยังเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ต้องการให้ กฟผ. เข้าไปศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหิน สะอาดในพืน้ ทีเ่ ช่นกัน กฟผ. จึงได้เริม่ ดำ�เนินการตาม คำ � เรี ย กร้ อ งของประชาชน มาตั้ ง แต่ ปี ๒๕๕๕ ซึ่ ง พบว่ า มี ศั ก ยภาพและความเป็ น ไปได้ ใ นการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดกำ�ลังผลิตติดตั้งประมาณ ๑,๑๐๐ เมกะวัตต์ จำ�นวน ๒ โรง รวม ๒,๒๐๐ เมกะวัตต์ เพือ่ เสริมสร้างความมัน่ คงด้านพลังงานไฟฟ้าในพืน้ ที่ ภาคใต้อย่างยัง่ ยืนในระยะยาว โดยคาดว่าจะสามารถ ทยอยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปี ๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕ ตามลำ�ดับ

“ชาวอำ�เภอเทพามีทัศนคติและประสบการณ์ที่ดี ต่อการดำ�เนินงานของ กฟผ. เนื่องจากสัมผัสได้ถึง ผลสำ � เร็ จ ในการดำ � เนิ น โครงการโรงไฟฟ้ า จะนะ อย่างเป็นรูปธรรม โดยหลังจากมีโรงไฟฟ้าจะนะ ชาวอำ � เภอจะนะซึ่ ง อยู่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ อำ � เภอเทพา ก็มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากเม็ดเงิน กองทุนพัฒนาชุมชนในพืน้ ทีร่ อบโรงไฟฟ้า รวมถึงการ เอาใจใส่ใจดูแลคุณภาพชีวติ ของคนในชุมชน และการ ควบคุมดูแลผลกระทบทุกด้านทีเ่ กิดจากการดำ�เนินงาน ของโรงไฟฟ้ า ส่ ง ผลให้ โรงไฟฟ้ า จะนะได้ รั บ การ ยอมรับจากชุมชนในพื้นที่โดยรอบเป็นอย่างดี จนนำ� ไปสูก่ ารยินดีให้มกี ารพัฒนาโรงไฟฟ้าชุดที่ ๒ เพิม่ เติม ดังนั้น ชาวอำ�เภอเทพาคาดหวังว่า การมีโรงไฟฟ้า ในพืน้ ทีอ่ �ำ เภอเทพาจะนำ�มาซึง่ การยกระดับคุณภาพ ชีวิตของคนในชุมชนเช่นกัน จึงได้ริเริ่มการคัดเลือก คนหนุ่มสาวในพื้นที่ประมาณ ๖๐ คน จัดตั้งเป็น กลุ่มมัคคุเทศก์ด้านพลังงาน เพื่อเป็นตัวแทนชุมชน เข้ามามีสว่ นร่วมในกระบวนการศึกษาความเหมาะสม ด้านต่างๆ ตลอดจนรับทราบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหิน สะอาด และกลั บ ไปสื่ อ สารต่ อ ด้ ว ยภาษาท้ อ งถิ่ น ให้ทุกคนในชุมชนเข้าใจง่ายๆ ไปในทิศทางเดียวกัน นำ�มาซึ่งความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ จนยินดี เปิดบ้านต้อนรับ กฟผ. พร้อมทั้งเตรียมจัดสรรพื้นที่ สำ � หรั บ การพั ฒ นาโครงการโรงไฟฟ้ า เทคโนโลยี ถ่านหินสะอาดไว้ให้ กฟผ. ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ ในเขตตำ�บลปากบาง อำ�เภอเทพา จังหวัดสงขลา”


๑๔ สำ � หรั บ การออกแบบด้ า นเทคนิ ค ของโรงไฟฟ้ า ดังกล่าว เบื้องต้นได้กำ�หนดให้ใช้เตาเผาเชื้อเพลิง และหม้อไอนํ้าที่มีประสิทธิภาพสูงในการเผาไหม้ ถ่ า นหิ น และลดมลสารที่ เ กิ ด ระหว่ า งการเผาไหม้ ซึ่ ง เป็ น เทคโนโลยี เ ดี ย วกั บ ที่ จ ะใช้ ใ นโรงไฟฟ้ า เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด จังหวัดกระบี่ โดยใช้ควบคู่ กับถ่านหินนำ�เข้าคุณภาพดีอย่างซับบิทูมินัส (Subbituminous) ซึ่งมีค่าความร้อนสูง จะช่วยลดการใช้ เชื้อเพลิงให้น้อยลง ส่งผลให้มีการระบายมลสาร น้อย ยิง่ เมือ่ นำ�อุปกรณ์ควบคุมผลกระทบสิง่ แวดล้อม ต่างๆ อาทิ ระบบกำ�จัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) แบบใช้นํ้า หัวพ่นแบบลดออกไซด์ของไนโตรเจน ด้วยการควบคุมอุณหภูมิ (Low NOx Burner) ระบบ กำ�จัดก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนแบบ Selective Catalytic Reduction (SCR) เครื่ อ งดั ก จั บ ฝุ่ น และเถ้าลอยด้วยไฟฟ้าสถิต (ESP) ยิ่งทำ�ให้ช่วยลด ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าปกติ และดีกว่าค่ามาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศ เสียจากโรงไฟฟ้าใหม่ ซึง่ กำ�หนดให้ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไม่เกิน ๑๘๐ ส่วนในล้านส่วน สำ�หรับโรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. จะควบคุมให้มีการ ปล่อยไม่เกิน ๙๐ ส่วนในล้านส่วน ก๊าซออกไซด์ ของไนโตรเจน (Nox) ไม่เกิน ๒๐๐ ส่วนในล้านส่วน โรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. จะควบคุมให้มีการปล่อย ไม่เกิน ๙๐ ส่วนในล้านส่วน และฝุ่นละอองไม่เกิน ๘๐ มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โรงไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. จะควบคุมให้มีการปล่อยไม่เกิน ๓๐ มิลลิกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

มาตรฐานของประเทศไทยจัดอยู่ในระดับเดียวกับ ประเทศชั้นนำ� ซึ่งกำ�หนดขึ้นโดยคำ�นึงถึงประเด็น สำ � คั ญ คื อ ต้ อ งไม่ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ สุ ข ภาพของ ประชาชน ควบคูก่ บั ความสามารถทีป่ ระเทศสามารถ ดำ�เนินการได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งค่ามาตรฐานที่สังคม และชุมชนให้การยอมรับ ได้มีการติดตั้งจุดตรวจวัด คุณภาพสิ่งแวดล้อมไว้ในพื้นที่ต่างๆ รอบโรงไฟฟ้า เพื่ อ ให้ ป ระชาชนได้ มี ส่ ว นร่ ว มในการตรวจสอบ เสริมสร้างความเชื่อมั่นและความสบายใจแก่ชุมชน ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า”

อย่างไรก็ตาม แม้ชาวบ้านในพื้นที่อำ �เภอเทพาจะ เห็นด้วยกับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยี “ดังนั้น โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ของ กฟผ. ได้ออกแบบ ถ่านหินสะอาด แต่ก็ยังมีความกังวลใจในเรื่องของ โรงไฟฟ้าให้สามารถควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากกระบวนการ ได้ดีกว่าค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำ�หนดไว้ โดยค่า ขนส่งและขนถ่ายถ่านหิน กฟผ. จึงพยายามสร้าง

ความเชื่อมั่นให้แก่ชุมชนด้วยการยืนยันว่า จะดำ�เนิน การศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ใ นแต่ ล ะทางเลื อ กของ กระบวนการขนส่งและขนถ่ายถ่านหินอย่างรอบคอบ ที่สุด และให้ความสำ�คัญกับความคิดเห็นของชุมชน ในพื้ น ที่ โ ดยรอบ ที่ สำ � คั ญ กฟผ. จะดำ � เนิ น การ ตามกฎหมายโดยเคร่งครัดในเรือ่ งของการศึกษาและ จัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ (EHIA) ของโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยี ถ่ า นหิ น สะอาดเทพา รวมถึ ง จั ด ทำ � รายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ ท่ า เที ย บเรื อ สำ � หรั บ โรงไฟฟ้ า เทคโนโลยี ถ่ า นหิ น สะอาดเทพา ซึง่ เป็นการศึกษาทีค่ รอบคลุมใน ๔ ด้าน คือ ๑. ทรัพยากรกายภาพ ๒. ทรัพยากรชีวภาพ ๓. คุ ณ ค่ า การใช้ ป ระโยชน์ ข องมนุ ษ ย์ และ ๔. คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

“ในที่สุดแล้ว โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดคืออนาคตของ ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ของ กฟผ. ในการสื่อสารเพื่อ สร้างความรูค้ วามเข้าใจแก่คนในชุมชนรอบพืน้ ที่ รวมถึงคนในสังคม ทั่ ว ไป ซึ่ ง ตลอดหลายปี ที่ ผ่ า นมา ผลจากการร่ ว มแรงร่ ว มใจ ของคน กฟผ. ทั้งองค์การ ที่มุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจอย่างไม่ย่อท้อ ต่ออุปสรรคต่างๆ นานา ก็ปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรม ดังเช่น ที่ประสบความสำ�เร็จในการเปิดรับฟังความคิดเห็นที่จังหวัดกระบี่ และได้มีการนำ�สูตรแห่งความสำ�เร็จดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอด เพื่ อ ใช้ ที่ อำ � เภอเทพา โดยเพิ่ ม ระดั บ การมี ส่ ว นร่ ว มของชุ ม ชน ในพื้ น ที่ ใ ห้ ม ากยิ่ ง ขึ้ น ไปอี ก ซึ่ ง การตื่ น ตั ว ของชุ ม ชนนี่ เ องที่ จ ะ เป็นหัวใจของโครงการพัฒนาต่างๆ นับจากนี้ไป ขณะเดียวกัน ก็ อ ยากให้ บุ ค ลากรของ กฟผ. ทุ ก คนมี ก ารตื่ น ตั ว อยู่ เ สมอ เช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องสถานการณ์ปัญหาทางด้านพลังงานไฟฟ้า ของประเทศ ตลอดจนภารกิจของ กฟผ. ในการแก้ไขปัญหาให้แก่ ทั้งนี้ กฟผ. ยังเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประเทศชาติ เพื่อที่จะได้ช่วยกันสื่อสารให้คนในสังคมเกิดความ ทุ ก กลุ่ ม ได้ เข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มตลอดทั้ ง กระบวนการ เพื่ อ สร้ า ง เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำ�เนินงานของ กฟผ.” นายรัตนชัย ความมั่นใจและการยอมรับใน ๓ ช่วงใหญ่ๆ คือ นามวงศ์ กล่าวในท้ายที่สุด ๑. การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ ๑ (ค.๑) เพื่อกำ�หนด ขอบเขตและแนวทางการศึ กษา EHIA ซึ่งเป็นการเปิด โอกาส ให้ประชาชนได้มโี อกาสเสนอขอบเขตและแนวทางการศึกษา EHIA เพิ่มเติมเพื่อคลายความกังวลใจ โดยได้ดำ�เนินการไปแล้วเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๗ ได้ รั บ การตอบรั บ ที่ ดี จ ากประชาชน ในพื้ น ที่ ซึ่ ง ให้ ค วามสนใจเข้ า ร่ ว มมากเป็ น ประวั ติ ก ารณ์ ก ว่ า ๔,๐๐๐ คน

นับเป็นนิมิตหมายอันดีที่สังคมเริ่มตื่นตัวเรื่องปัญหาพลังงาน ไฟฟ้าของชาติ และเริม่ เปิดใจยอมรับฟังข้อมูลเกีย่ วกับการพัฒนา โครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินมากยิ่งขึ้น เพราะเล็งเห็น ถึงประโยชน์ของการนำ�ถ่านหินมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพือ่ แก้ไข ปัญหาให้แก่ประเทศชาติ รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า นำ�มาซึ่งมิติใหม่ของการพัฒนาโครงการ โรงไฟฟ้าที่ชุมชนเป็นผู้ริเริ่มเสนอพื้นที่ให้ กฟผ. เข้าไปศึกษา ๒. การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ ๒ (ค.๒) เพื่อประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ที่จะมีโรงไฟฟ้าเข้าไปเป็น การศึ ก ษาผลกระทบด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพ รวมถึ ง สมาชิกของชุมชน ซึ่งเป็นภาพที่ กฟผ. มุ่งหมายมาโดยตลอด การร่ ว มเสนอมาตรการป้ อ งกั น /แก้ ไข และติ ด ตามตรวจสอบ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ๓. การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ ๓ (ค.๓) เพื่อทบทวน ร่างรายงาน EHIA โดยประชาชนสามารถเสนอให้มีการแก้ไข หรือเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ก่อนที่จะมีการปรับปรุงเป็นรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งคาดว่าจะดำ�เนินการได้ภายในปี ๒๕๕๘ จากนั้น จึงเข้าสู่ขั้นตอนของการจัดทำ�รายงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำ�ไป เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (บอร์ดสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ) และประกอบการขออนุมัติโครงการ จากรั ฐ บาลต่ อ ไป เพื่ อ ให้ ส ามารถดำ � เนิ น การก่ อ สร้ า งให้ เ สร็ จ ทันกำ�หนดการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบที่วางไว้

๑๕


๑๖

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

เส้นทางธุรกิจ

Road to BUSINESS

เอ็กโก

บุกตลาดใหม่ในอินโดนีเซีย ลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ เอ็กโกยกระดับการเติบโต ขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เข้าซื้อหุ้นโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ ประเทศอินโดนีเซีย


๑๗

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริ ษั ท ผลิ ต ไฟฟ้ า จำ � กั ด (มหาชน) หรื อ เอ็ ก โก เปิดเผยว่า เอ็กโกได้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลัง ความร้อนใต้พภิ พ ประเทศอินโดนีเซีย โดยการซือ้ หุน้ ทางอ้ อ มร้ อ ยละ ๒๐ ในบริ ษั ท Star Energy Geothermal Pte Ltd. (SEG) จากบริษัท Star Energy Group Holdings Pte Ltd. ซึ่งได้มีการ โอนหุ้นเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗

ทั้ ง นี้ การลงทุ น ครั้ ง นี้ เ ป็ น ไปตามแผนกลยุ ท ธ์ การลงทุนของเอ็กโกในการขยายธุรกิจในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกและยกระดับการเติบโตของเอ็กโก ในระยะยาว โดยใช้ เ งิ น ลงทุ น ทั้ ง สิ้ น ๒๑๕ ล้ า นดอลลาร์ ส หรั ฐ โดยขนาดการลงทุ น คิ ด เป็ น ร้อยละ ๕.๓ ชองสินทรัพย์รวมของเอ็กโก

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนในครั้งนี้เป็นไป ตามแผนกลยุทธ์การลงทุนของเอ็กโกในการขยาย SEG เป็นบริษัทผู้ถือหุ้นในโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ธุ ร กิ จ ในภู มิ ภ าคเอเชี ย แปซิ ฟิ ก และยกระดั บ ใต้ พิ ภ พในสาธารณรั ฐ อิ น โดนี เ ซี ย ซึ่ ง มี กำ � ลั ง การเติบโตของเอ็กโกในระยะยาวนั่นเอง การผลิตติดตั้งรวม ๒๒๗ เมกะวัตต์ ประกอบด้วย ๒ หน่วยคือ หน่วยที่ ๑ ขนาด ๑๑๐ เมกะวัตต์ และหน่วยที่ ๒ ขนาด ๑๑๗ เมกะวัตต์ เริ่มเดินเครื่อง เชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ และ ๒๕๕๒ ตามลำ�ดับ โดยขายไฟฟ้ า ให้ กั บ การไฟฟ้ า อิ น โดนี เซี ย หรื อ PT PLN (Persero) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระยะยาว ซึ่งได้สิทธิในการขายไฟฟ้าได้ถึง ๔๐๐ เมกะวัตต์ นอกจากนี้ SEG ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา โครงการโรงไฟฟ้ า พลั ง ความร้ อ นใต้ พิ ภ พอี ก ๒ โครงการ ซึ่ ง คาดว่ า จะสามารถลงนามในสั ญ ญา ซื้อขายไฟฟ้าได้ในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงมีแผน ทีจ่ ะขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ด้วย


๑๘

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

จับเข่าเล่าประสบการณ์

ROUND Table

... ประสบการณ์จริงไม่ผ่านจอ

กับคุณหญิงหมอพรทิพย์ โรจนสุนันท์

เรื่อง: ชโลบล ธงปราริน

เมื่ อ ไม่ น านมานี้ ฝ่ า ยกิ จ การสั ง คม การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย (กฟผ.) ได้ จั ด การ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ CSR โดยได้รับเกียรติจาก แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ หรือที่ เรารู้จักในนาม “คุณหมอพรทิพย์” เป็นวิทยากร บรรยายในหั ว ข้ อ “CSR…ประสบการณ์ จ ริ ง ไม่ผ่านจอกับคุณหญิงหมอพรทิพย์ โรจนสุนันท์” ซึ่ ง ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า ท่ า นเป็ น คุ ณ หมอที่ มี ชื่ อ เสี ย ง ทั้ ง ในฐานะแพทย์ นิ ติ เวช-นั ก นิ ติ วิ ท ยาศาสตร์ ฝีมอื ดี และผูม้ จี ติ อาสาช่วยเหลือสังคม รับรองได้วา่ การบรรยายพิเศษในครัง้ นี้ ทุกท่านจะได้รจู้ กั ตัวตน และวิธคี ดิ ของคุณหมอ ทีจ่ ะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ในการทำ� CSR ได้ไม่มากก็น้อย แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ เปิดเผย ให้ฟงั ว่า เมือ่ ต้องเป็นผูบ้ รรยายหรือทำ�อะไร ธรรมชาติ ของคนเป็นหมอคือ การเข้าไปหาคียเ์ วิรด์ (Keyword) เพื่ อ ดู วั ต ถุ ป ระสงค์ ห รื อ คำ � จำ � กั ด ความให้ ชั ด เจน ซึ่งคีย์เวิร์ดของการบรรยายครั้งนี้คือ CSR หมายถึง ๑. กิ จ กรรมในและนอกองค์ ก ร ๒. กิ จ กรรมนั้ น เป็ น การใช้ ท รั พ ยากรทั้ ง ในและนอกองค์ ก ร และ ๓. จะทำ�อย่างไรให้อยูร่ ว่ มกันในสังคมได้อย่างปกติสขุ สำ � หรั บ ประเด็ น การพู ด คุ ย กั น ในวั น นี้ คื อ การ ทำ � ความดี อะไรที่ ห ล่ อ หลอมให้ ห มอเป็ น เช่ น นี้ และทำ�อย่างไรที่จะไม่รู้สึกทรมานในการทำ� CSR ซึ่ ง CSR ไม่ ใช่ เรื่ อ งที่ กำ � หนดว่ า ท่ า นต้ อ งทำ � อะไร ไม่ใช่เรือ่ งทีม่ องว่าเป็นหน้าทีข่ องใคร ไม่แค่เรือ่ งทีไ่ กล หรือนอกองค์กร แต่แท้ที่จริงแล้วมันคือเรื่องของ การที่ทุกคนทำ�ดี

จากการเลีย้ งดูของคุณพ่อและคุณแม่ ท่านได้สอนหมอพรทิพย์ ๓ ข้อ คือ ข้อแรก ให้เชือ่ มัน่ ในการทำ�สิง่ ทีด่ ี และอยูใ่ ห้ไกลจากสิง่ ชัว่ ร้าย ตัง้ แต่หมออายุ ๔ ขวบ คุณพ่อมีค�ำ สอนทีส่ �ำ คัญคือ เรือ่ งเศษแก้วแตก “ถ้าลูกเดินผ่านและเห็นเศษแก้วแตกต้องเก็บและห่อก่อนนำ�ไปทิง้ ” คุณพ่อได้อธิบายว่า ถ้าลูกเดินผ่านเศษแก้วนั้นไปโดยที่ไม่เก็บ แล้วมีใครมาเหยียบ หรือแม้ลกู จะเก็บเศษแก้วแล้ว แต่ไม่หอ่ ให้มดิ ชิด หากคนเก็บขยะมารื้อ แล้วมือไปโดนได้รับบาดเจ็บ ยังไงบาปก็เกิด กั บ ลู ก อยู่ ดี ทุ ก วั น นี้ ห มอก็ ยึ ด คำ � สอนนี้ ม าโดยตลอด ปั จ จุ บั น มีแก้วแตกในสังคมเยอะ เพราะมีคนทิง้ เยอะ และคนรูส้ กึ ว่าไม่ใช่ธรุ ะ ของเราจึงไม่เก็บ เปรียบได้กับการทำ� CSR ต้องเริ่มจากจิตที่คิดถึง สิ่งเล็กๆ อย่างเรื่องแก้วแตก หากเรากังวลว่าแก้วที่แตกจะบาด คนอื่น เราจะไม่ทำ�แก้วแตก และเราจะเก็บแก้วที่แตกนั้นเอง


๑๙

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

๑. ทรงถือกล้องถ่ายภาพคูพ ่ ระหัตถ์ เมื่ อ พระองค์ ท รงเห็ น สิ่ ง ไม่ ดี พระองค์ จ ะทรงถ่ า ยรู ป เก็ บ มา เพื่อรวบรวมข้อมูลและวางแผนในการแก้ไข

ข้อต่อมา ความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด คนไทยใน ระยะหลังไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ถ้าศึกษา เราจะ รู้เลยว่าแผ่นดินที่เราอยู่ไม่อาจยั่งยืนมาได้ถึงทุกวันนี้ ถ้าขาดพระมหากษัตริย์ที่คอยปกปักรักษาแผ่นดิน ไทยไว้ เราต้ อ งกตั ญ ญู ต่ อ แผ่ น ดิ น เราควรจะ ภู มิ ใ จที่ เ กิ ด เป็ น คนไทยและอยากจะดู แ ลรั ก ษา แผ่นดินของเราให้มีความสุขตลอดไป ข้อสุดท้าย กระบวนการคิดวิเคราะห์ที่เป็นระบบ สมั ย ก่ อ นตอนเด็ ก ๆ คุ ณ พ่ อ สั่ ง ว่ า ถ้ า หมอไปดู ภาพยนตร์กลับมา หมอต้องเขียนเรือ่ งย่อ ๑๐ บรรทัด และสรุ ป ว่ า ภาพยนตร์ เรื่ อ งนี้ ส อนให้ รู้ อ ะไรบ้ า ง ซึ่งเป็นเทคนิคที่คุณพ่อสอนให้เราคิดอย่างเป็นระบบ นอกจากครอบครัวแล้ว หมอยังได้แนวคิดในการ ดำ�รงชีวิตมาจากโรงเรียน ฉะนั้นถ้า กฟผ. จะสร้าง CSR อยากให้สร้างในโรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็น พื้นฐานของชีวิตในอนาคต หมออยู่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เราไม่ได้บอกว่าโรงเรียนนี้ดีเลิศ แต่จะ บอกว่ า สิ่ ง ที่ โรงเรี ย นนี้ ส อนเป็ น สิ่ ง สำ � คั ญ ที่ ส อน ให้หมอไม่ทำ�ลายสังคม และยังช่วยให้สังคมดีขึ้นได้ คือ ๑. เป็นคนซื่อสัตย์ ๒. เป็นคนที่รับผิดชอบ ต่ อ ตนเองและสั ง คม และ ๓. ความกตั ญ ญู ต่ อ

แผ่นดินเกิด ทั้งโรงเรียนและพ่อแม่ทำ�ให้หมอเกิด กระบวนการคิดดี ทำ�ดี ถ้าเราสร้างคนจากเสาเข็ม ที่ดี เราจะไม่ต้องมาคอยสั่งสอนว่าจงคิดอย่างนั้น อย่างนี้ หรือจงทำ�ความดี แต่กิจกรรมที่ทำ�ตั้งแต่เด็ก จนโตจะหล่อหลอมให้คิดได้เอง


๒๐

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

๓. ทรงเรือใบ

กีฬาเรือใบเป็นกีฬาชนิดเดียวที่สะท้อนชีวิตอย่างแท้จริง เพราะชีวิต ต้องมีเป้าหมายและต้องไปให้ถึงเป้าหมาย เราจะนึกเบื่อกลางทะเล แล้วเลิกเล่นกลางคันไม่ได้ ยังไงต้องไปให้ถึงฝั่ง

๒. ทรงถือแผนที่

ในการริ เริ่ ม ทำ � สิ่ ง ต่ า งๆ จะคิ ด ทำ � เลยไม่ ไ ด้ หากหวั ง ผลสำ � เร็ จ ต้องมองให้ครบองค์รวม การทีพ่ ระองค์ทรงถือแผนทีเ่ สมอ ก็เพราะ พระองค์ตอ้ งทรงสำ�รวจภูมปิ ระเทศรอบๆ ว่าทำ�อะไรแล้วจะส่งผลดี ทำ � แล้ ว จะเกิ ด ผลกระทบกั บ อย่ า งอื่ น หรื อ ไม่ และยั ง หมายถึ ง พระองค์ทรงรู้จักและทรงรักทุกพื้นที่บนผืนแผ่นดินนี้

right things)” หากนึกไม่ออกว่าต้องทำ�อย่างไร หรือบางครั้งอาจจะรู้สึกว่าทำ�ยากเหลือเกิน ขอให้ นึ ก ถึ ง บุ ค คลท่ า นหนึ่ ง ที่ เ ป็ น ต้ น แบบของคนไทย ทั้งชาติคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ มีพระราชดำ�รัสว่า “แม้เราจะไปในที่อันตรายที่สุด ถ้าเราทำ�กรรมดี เขาบอกว่าไม่ต้องกลัว ไม่ต้องมี ที่เรียกว่าของขลัง ความขลังดีที่สุดคือ กรรมที่ เราทำ � ” เมื่ อ เรายึ ด ตามพระราชดำ � รั ส ดั ง กล่ า ว คุณหมอพรทิพย์ยังกล่าวอีกว่า กฟผ. เป็นองค์การ จะทำ�ให้เรามีแรงบันดาลใจในการทำ�ความดี เราจะ กึ่ ง ราชการ ซึ่ ง ข้ า ราชการจะต้ อ งเน้ น คำ � คำ � นี้ คื อ รูส้ กึ ว่าการทำ�ดีหรือการทำ� CSR เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ทรมาน “กล้าที่จะทำ�สิ่งที่ถูกต้อง (Stand up for the เพราะเป็นการทำ�ในสิ่งที่ถูกต้อง เมื่ อ โตขึ้ น แนวคิ ด ในการทำ � งานก็ เ ป็ น สิ่ ง สำ � คั ญ แนวคิดการทำ� CSR ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่ใช่แค่การ ออกไปสร้างโรงเรียน ออกไปปลูกป่า แต่คือเรื่องที่ เป็ น พื้ น ฐานของการทำ � งานที่ ทุ ก องค์ ก รควรมี คื อ ๑. การทำ�งานต้องทำ�ด้วยมาตรฐาน และใช้ความรู้ อย่างเต็มที่ ๒. ทำ�ในสิ่งที่ถูกต้อง ๓. ทำ�ในสิ่งที่มี จรรยาบรรณ เมือ่ องค์กรยึดถือหลักการนีจ้ ะสามารถ ลดการเกิดแก้วแตกในสังคมได้


๒๑

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

๔. ทรงหลั่งพระเสโท (เหงื่อ) หมายถึง แม้พระองค์ทรงอยู่สูง พระองค์ยังทรงงาน อย่างหนัก ฉะนั้นคนไทยทุกคน ทุกหน่วยงาน ยิ่งสูง ยิ่งมีอำ�นาจ ยิ่งต้องทุ่มเทมากกว่าคนตํ่ากว่า

“มี ค นเปรี ย บเทีย บสังคมไทยกับ แมลงสาบ เล่าว่านักวิจัยไทย จะนำ � แมลงสาบจากไทยไปทดลองที่ ญี่ ปุ่ น ใส่ ก ระป๋ อ งนม เปิ ด ฝาแง้ ม ไว้ โดยมี ท ฤษฎี ว่ า แมลงสาบอยู่ ใ นประเทศไหน จะมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับคนประเทศนัน้ นักวิจยั อยากรูว้ า่ ถ้าไปถึง ญี่ปุ่นที่มีการจัดเมืองอย่างเป็นระเบียบ แมลงสาบจะทำ�อย่างไร นั ก วิ จั ย ก็ อ ธิ บ ายให้ ตำ � รวจตรวจคนเข้ า เมื อ ง (ตม.) ที่ ญี่ ปุ่ น ฟั ง ก่อนผ่าน ตม. ญี่ปุ่นทักว่า ‘ไม่ปิดฝากระป๋องไม่เป็นไรรึ?’ นักวิจัย ก็ตอบว่า ‘ไม่ต้องห่วงครับ แมลงสาบเพิ่งมาจากประเทศไทย จึงยังมีนิสัยคนไทยอยู่ ไม่มีตัวไหนจะปีนออกมานอกกระป๋องได้ เพราะหากตัวไหนปีนจะถูกดึงลงมา ถ้าฉันไม่รอด แกก็ต้อง ไม่รอด’ ...เพราะสังคมไทยเป็นแบบนี้ บางคนอยากทำ�ดีก็กลัวเด่น เกินหน้าคนอืน่ กลัวคนอืน่ จะหมัน่ ไส้ แทนทีท่ กุ คนจะมุง่ ทำ�ความดี” ตามแนวคิดของคุณหมอพรทิพย์ CSR คือกระบวนการสร้างราก ที่แข็งแรงของความดี หากต้นไม้แห่งความดีจะเติบโตแข็งแรงได้ ต้องรดนํา้ พรวนดิน จะทำ�ครัง้ เดียวจบก็ไม่ได้ตอ้ งคอยดูแลสมาํ่ เสมอ หากถามหมอว่ า CSR มี ลั ก ษณะอย่ า งไร ขอให้ นึ ก ถึ ง พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้ง ๔ ภาพ คือ

๑. ทรงถือกล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ ๒. ทรงถือแผนที่ ๓. ทรงเรือใบ ๔. ทรงหลั่งพระเสโท (เหงื่อ)

“ท้ายที่สุดแล้ว วัตถุประสงค์ของการบรรยายในครั้งนี้คือ ต้องการให้ทุกคน มีความศรัทธาต่อการทำ�ในสิ่งที่เรียกว่า CSR จากประสบการณ์ของหมอ ขอเพียงให้พวกเราทุกคนช่วยกันเก็บเศษแก้ว ช่วยกันห้ามไม่ให้เขาทิง้ เศษแก้ว เพียงเท่านี้ก็จะสามารถช่วยให้สังคมของเราและสังคมโดยรอบไม่มีอันตราย สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข” คุณหมอพรทิพย์กล่าวทิ้งท้าย


๒๒

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

อนุรักษ์พลังงาน

ENERGY Saving

เรื่อง: ทีมข่าวประชาสัมพันธ์

กฟผ.

สีเขียวและโรงเรียนทั่วไปที่มีความสนใจ เข้าร่วม กิ จ กรรมในโครงการ และเพื่ อ ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจ ในแนวทางเดี ย วกั น กฟผ. จึ ง ได้ จั ด การบรรยาย ในหัวข้อ “การพัฒนาโรงเรียนคาร์บอนตํ่า” เมื่อ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๗ ณ หอประชุม กฟผ. สำ�นักงานใหญ่ บางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยได้รับ เกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพล สินธุนาวา อุ ป นายกสมาคมพั ฒ นาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีความ เป็นวิทยากรบรรยายความรู้ ปรารถนาอย่างยิ่งในการยกระดับห้องเรียนสีเขียว มุง่ สูโ่ รงเรียนสีเขียว เพือ่ สร้างเครือข่ายรักษ์พลังงาน จนกระทั่ ง เดื อ นตุ ล าคมที่ ผ่ า นมา ครบกำ � หนด โดยได้ด�ำ เนินงานต่อเนือ่ งมาตัง้ แต่ปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๖ ส่งผลงานของทุกโรงเรียน กฟผ. ได้เรียนเชิญผู้แทน เป็นการต่อยอดและขยายผลการดำ�เนินงานของ จากหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียนและหน่วยงาน โครงการห้ อ งเรี ย นสี เขี ย วสู่ ก ารบริ ห ารจั ด การ ภายนอกที่ เ กี่ ย วข้ อ งเข้ า ร่ ว มเป็ น กรรมการตั ด สิ น โรงเรียนทั้งระบบ โดยส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถ อาทิ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำ�ความรูด้ า้ นการอนุรกั ษ์พลังงานและสิง่ แวดล้อม (สพฐ.) สำ�นักการศึกษา กรุงเทพมหานคร องค์การ บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ไปใช้ควบคู่กับการดำ�เนินกิจการของโรงเรียน และสมาคมพั ฒ นาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ ม เป็ น ต้ น เพื่ อ ขยายผลดั ง กล่ า ว ฝ่ า ยบริ ห ารและแผนงาน โดยได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัล “โรงเรียนคาร์บอนตํ่า” ด้านการใช้ไฟฟ้า กฟผ. ได้จัดประกวดการพัฒนา ให้ กั บ โรงเรี ย นที่ ส่ ง ผลงานประกวด ในฐานะที่ มี โรงเรียนคาร์บอนตํ่า ภายใต้หัวข้อ “EGAT Low การบริหารจัดการพลังงานและลดการปล่อยก๊าซ Carbon School Award” เพื่ อ เฟ้ น หาสุ ด ยอด คาร์บอนไดออกไซด์ในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ โรงเรียน Low Carbon และเพื่อส่งเสริมกิจกรรม และเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ โดยมี ด้ า นการพั ฒ นาสั ง คมคาร์ บ อนตํ่ า ในสถานศึ ก ษา นายสุ น ชั ย คำ � นู ณ เศรษฐ์ ผู้ ว่ า การ กฟผ. และ โดยมีโรงเรียนให้ความสนใจและสมัครจำ�นวนทั้งสิ้น ดร.พิธาน พืน้ ทอง ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นักพัฒนานวัตกรรม ๒๓๔ โรงเรียน การจัดการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา นายพิธาน ชัยจินดา ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหารและ ขั้ น พื้ น ฐาน เป็ น ประธานในพิ ธี ม อบรางวั ล ณ แผนงานด้ า นการใช้ ไ ฟฟ้ า กล่ า วว่ า โครงการนี้ หอประชุ ม เกษม จาติ ก วณิ ช อาคาร ต.๐๔๐ เปิ ด โอกาสให้ โรงเรี ย นทั้ ง ในโครงการห้ อ งเรี ย น สำ�นักงานกลาง กฟผ.

ยกระดับโรงเรียนสีเขียว สู่โรงเรียนคาร์บอนตํ่า

สำ � หรั บ โรงเรี ย นที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ ระดั บ ประเทศดีเยี่ยม ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น จั ง หวั ด ขอนแก่ น ได้ รั บ เกี ย รติ บั ต ร โล่ ร างวั ล เงินรางวัลจำ�นวน ๓๐,๐๐๐ บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ ของท่านองคมนตรี พลอากาศเอก กำ�ธน สินธวานนท์ ส่วน รางวัลระดับประเทศดีเยีย่ ม จะได้รบั เกียรติบตั ร โล่รางวัล และเงินรางวัลจำ�นวน ๓๐,๐๐๐ บาท จำ�นวน ๔ โรงเรียน ได้แก่ ๑. โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อน วิทยา จังหวัดลำ�ปาง ๒. โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง จั ง หวั ด ระยอง ๑ จั ง หวั ด ระยอง ๓. โรงเรี ย น พลวิทยา จังหวัดสงขลา และ ๔. โรงเรียนอนุบาล สตูล จังหวัดสตูล นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า การประกวดการพัฒนาโรงเรียนคาร์บอนตํ่า เป็นอีก หนึ่งกิจกรรมที่เป็นความภาคภูมิใจของ กฟผ. ในการ ดำ�เนินงานด้านการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า ควบคู่ ไปกับภารกิจหลักในการจัดหาและผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นด้านพลังงาน ให้แก่ประชาชน ขอขอบคุณผู้บริหารและบุคลากร ของโรงเรี ย นทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ ร่ ว มกิ จ กรรมด้ ว ยความ สมัครใจ ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการ ด้านพลังงานภายในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยสำ�นึกรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมปลูกฝังจิตสำ�นึกที่ดีแก่เยาวชนให้ตระหนักถึง คุ ณ ค่ า ของพลั ง งานและรู้ ใช้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ ง จะช่ ว ยลดค่ า ใช้ จ่ า ยที่ ไ ม่ จำ � เป็ น ของโรงเรี ย น และเสริมสร้างความมัน่ คงด้านเศรษฐกิจของประเทศ อีกประการหนึ่งด้วย


๒๓

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

ด้านนายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการ สังคม กฟผ. กล่าวว่า โครงการยกระดับห้องเรียน สีเขียว มุ่งสู่โรงเรียนสีเขียว เพื่อสร้างเครือข่ายรักษ์ พลังงาน ได้ดำ�เนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ๒๕๕๖ ซึง่ เป็นการต่อยอดและขยายผลการดำ�เนินงาน ของโครงการห้องเรียนสีเขียว สู่การบริหารจัดการ โรงเรียนทั้งระบบ โดยส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถ นำ�ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ไปใช้ ค วบคู่ กั บ การดำ � เนิ น กิ จ การของโรงเรี ย น ทั้งทางด้านการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ โรงเรียนอย่างยั่งยืน โดยได้รับความร่วมมือจากคณะ สิง่ แวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าว เป็นหน่วยงาน ผู้ประเมิน โดยปัจจุบันมีโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การ ประเมินเป็นโรงเรียนสีเขียวแล้วทัง้ สิน้ ๑๑๒ โรงเรียน

ย่อมส่งผลดีตอ่ ภาพรวมการใช้ไฟฟ้าในภาพรวม และ รักษาสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันการลดการใช้ไฟฟ้า เท่ากับช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ อี ก ทางหนึ่ ง และอี ก กิ จ กรรมที่ น่ า สนใจก็ คื อ การตามรอยคาร์บอน หรือ Carbon Footprint เพื่อ ให้เ ห็ น ว่ ากระบวนการที่ ทำ � ให้ เกิ ด ก๊ า ซคาร์ บอนมี อะไรบ้าง กิจกรรมใดใช้พลังงานเกินความจำ�เป็น และ สามารถปรั บ เปลี่ ย นเพื่ อ ลดการใช้ ไ ฟฟ้ า และลด ปริมาณก๊าซคาร์บอนตรงไหนได้บ้าง ทำ�ให้เยาวชน ได้รับรู้กระบวนการตั้งแต่เริ่มต้น และรู้จักประหยัด การใช้พลังงานอย่างมีความเข้าใจ ซึ่งต้องขอขอบคุณ กฟผ. ทีไ่ ด้จดั โครงการดีๆ เช่นนี้ และให้การสนับสนุน เสมอมา

ภารกิจของ กฟผ. มิใช่เพียงแค่ผลิตหรือจัดหา พลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังมองถึงการส่งเสริม ลดการใช้ไฟฟ้าในภาคประชาชน และการใช้ไฟฟ้า อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นสิ่งที่สำ�คัญที่สุดที่จะ ทำ � ให้ เ กิ ด สิ่ ง เหล่ า นี้ ไ ด้ คื อ อุ ป นิ สั ย ที่ ดี ใ นการใช้ พลังงาน หากรูถ้ งึ คุณค่าแล้ว ย่อมส่งผลให้มกี ารใช้ ทรั พ ยากรอย่ า งประหยั ด และสร้ า งความยั่ ง ยื น ต่อการใช้พลังงานในอนาคต

ดร.พิ ธ าน พื้ น ทอง ผู้ อำ � นวยการสำ � นั ก พั ฒ นา นวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวว่า ความสำ�เร็จของ โรงเรียนที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความ ตัง้ ใจจริงในการดำ�เนินการประหยัดพลังงาน สะท้อน ถึ ง การสร้ า งอุ ป นิ สั ย ที่ ดี ใ นการประหยั ด พลั ง งาน ให้กบั เยาวชน ถือว่ามีความสำ�คัญอย่างยิง่ เพราะเมือ่ เยาวชนมีอุปนิสัยในการประหยัดพลังงานติดตัวแล้ว

รางวัลระดับประเทศ ได้รับเกียรติบัตร โล่รางวัล และเงินรางวัลจำ�นวน ๑๕,๐๐๐ บาท จำ�นวน ๔๐ โรงเรียน ได้แก่

นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี

1. โรงเรียนเชียงของวิทยาคม จังหวัดเชียงราย 2. โรงเรียนเชียงคำ�วิทยาคม จังหวัดพะเยา 3. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 93 (บ้านลาดตะเคียน) จังหวัดปราจีนบุรี 4. โรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 5. โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม 6. โรงเรียนบ้านโกตาบารู จังหวัดยะลา 7. โรงเรียนบ้านมาบตาพุด จังหวัดระยอง 8. โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส 9. โรงเรียนบ้านห้วยหมากเอียก จังหวัดเชียงราย 10. โรงเรียนบ้านอ่างกะป่อง จังหวัดตราด 11. โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ จังหวัดนนทบุรี 12. โรงเรียนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 13. โรงเรียนไผทอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร 14. โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม 15. โรงเรียนพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี 16. โรงเรียนพิชญศึกษา จังหวัดนนทบุรี 17. โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่ 18. โรงเรียนเมืองเลย จังหวัดเลย 19. โรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์) จังหวัดลพบุรี 20. โรงเรียนเมืองอำ�นาจเจริญ จังหวัดอำ�นาจเจริญ 21. โรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” จังหวัดแม่ฮ่องสอน

22. โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ จังหวัดแพร่ 23. โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี 24. โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จังหวัดราชบุรี 25. โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ 26. โรงเรียนราชานุบาล จังหวัดน่าน 27. โรงเรียนราชินีบน กรุงเทพมหานคร 28. โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 29. โรงเรียนศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี 30. โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี 31. โรงเรียนสายธรรมจันทร์ จังหวัดราชบุรี 32. โรงเรียนสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 33. โรงเรียนสุนทรวัฒนา จังหวัดชัยภูมิ 34. โรงเรียนแสงทวีปวิทยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 35. โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ 36. โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 37. โรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ 38. โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 39. โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 40. โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


๒๔

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

เราขอทำ�ความเข้าใจ

กับตัวเองนิดหนึ่ง เราไม่เอาค่าไฟแพง แต่เราก็ใช้ไฟฟ้าแบบว่า... อีก 15 ปีข้างหน้า ความต้องการไฟฟ้า ของคนไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ความต้องการไฟฟ้า

52,000 MW

26,942 MW 2557

เราไม่เอาโรงไฟฟ้า

2573 ปี

แต่เราอยากใช้ลม แดด แน่นอน... โลกเราร้อนขึ้นทุกวัน ประเทศไทยมี แ ผนใช้ พ ลั ง งาน จากแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล มากถึงร้อยละ 25 ในอีก 10 ปี ข้างหน้า


๒๕

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

เราใช้ไฟฟ้าแค่นี้พอแล้ว เราอาจไม่รู้

ประเทศไทยใช้ ก๊ า ซธรรมชาติ ผ ลิ ต ไฟฟ้ า ร้ อ ยละ 67 และแหล่ ง ก๊ า ซ ธรรมชาติในประเทศกำ�ลังจะหมดลง ใน 8 ปี ถึงตอนนั้น เราต้องนำ�เข้า ก๊าซธรรมชาติเหลวที่มีราคาแพงกว่า 2 เท่าตัว

และบางที เราอยากให้ความเจริญมาถึงบ้าน เราก็อาจลืม เราต้องการพลังงานที่มั่นคง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ลูกหลานของเรา ในวันข้างหน้า


อ้อมกอดสีเขียว

Care the EARTH


๒๗

ธรรมาภิบาล

สิ่งแวดล้อม

ทางออกความมั่นคงพลังงานไทย เรื่อง: กลุ่มงานธรรมภิบาล กฟผ.

ความสำ�คัญของหลักธรรมาภิบาล นอกเหนือจากการถูกนำ�ไปใช้ เป็ น หลั ก ในการกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การทั้ ง ภาครั ฐ และภาคเอกชนแล้ ว ในภาคประชาชนหรื อ แวดวงวิ ช าการ หลั ก ธรรมาภิ บ าลยั ง ได้ รั บ ความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป นักวิชาการ นั ก วิ จั ย หรื อ แม้ แ ต่ นั ก ศึ ก ษาเช่ น กั น พิ จ ารณาได้ จ ากมหกรรม งานวิจยั แห่งชาติ ๒๕๕๗ (Thailand Research Expo 2014) ซึง่ จัดโดย สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๗ ทีผ่ า่ นมา ได้จดั ให้มกี ารอภิปรายเรือ่ ง “ธรรมาภิบาลสิง่ แวดล้อม ...ทางออกความมั่ น คงพลั ง งานไทย” ปรากฏว่ า มี ผู้ ส นใจเข้ า ร่ ว ม การอภิปรายครั้งนี้เป็นจำ�นวนมาก จึงอยากนำ�เสนอสาระสำ�คัญของ การอภิปรายในวันนั้นมาฝากกัน ดังนี้


๒๘ พลั ง งานเป็ น ประเด็ น ที่ สั ง คมไทยยั ง มี ค วามสั บ สน หลายคนคิ ด ว่ า ประเทศไทยมี แ หล่ ง พลั ง งานใช้ อ ย่ า ง เหลื อ เฟื อ แต่ จ ากการคาดการณ์ พ ลั ง งานในอนาคต พบว่ า ก๊ า ซธรรมชาติ ใ นอ่ า วไทยจะหมดลงในอนาคต อันใกล้ ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพา การนำ � เข้ า พลั ง งานเป็ น ส่ ว นใหญ่ ดั ง นั้ น ยุ ท ธศาสตร์ ด้ า นพลั ง งานของประเทศจึ ง ต้ อ งมี ค วามเหมาะสม การกำ � หนดยุ ท ธศาสตร์ ต้ อ งมุ่ ง เน้ น ที่ ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำ�กัดให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เช่น ก๊าซธรรมชาติไม่เพียงแต่นำ�มาเป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น ยั ง สามารถนำ � มาสร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ ม ได้ หากนำ � ไปใช้ ใ น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเพือ่ ผลิตเป็นวัสดุภณ ั ฑ์ทมี่ ปี ระโยชน์ ต่างๆ มากมาย

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โครงสร้างการบริหาร ควรประกอบด้วยบุคคลจากหลากหลายอาชีพที่มีความรู้ ความสามารถ การแต่งตั้งคณะกรรมการต้องปราศจาก ผลประโยชน์ทบั ซ้อน และควรมีการตัง้ หน่วยงานด้านข้อมูล เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งจะทำ�ให้เกิดความน่าเชื่อถือ และ ประชาชนสามารถนำ�ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้

ความมั่ น คงด้ า นพลั ง งานของไทยจะเกิ ด ขึ้ น ได้ จ ริ ง ต้ อ งสร้ า งรากฐานของสั ง คมไทยให้ เ กิ ด ความใส่ ใ จ ด้านพลังงาน โดยสร้างการรับรู้ว่าพลังงานเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบนิ เวศทางธรรมชาติ การนำ � พลั ง งานมาใช้ ประโยชน์ ถื อ ว่ า เป็ น เรื่ อ งละเอี ย ดอ่ อ นต่ อ ระบบนิ เวศ และสิ่งแวดล้อม พลังงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ พลังงาน เป้าหมายในการพัฒนาพลังงานของชาตินั้น พลังงาน ยั ง เป็ น ปั จ จั ย สำ � คั ญ ของการอยู่ ร อด การเจริ ญ เติ บ โต ในประเทศต้ อ งมี ค วามมั่ น คงและมี ร าคาที่ เ ป็ น ธรรม ทางเศรษฐกิจและเชื่อมโยงกับความมั่นคงของชาติด้วย ต่ อ ทุ ก ฝ่ า ย การดำ � เนิ น งานในกิ จ การพลั ง งานต้ อ งมี


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

ในการดำ�เนินกิจการด้านพลังงาน คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า งานบางประเภทยังคงมีการผูกขาดอยูบ่ า้ ง ทัง้ นีเ้ พราะเหตุผล เกีย่ วกับความมัน่ คงด้านพลังงานของชาติ แต่สงิ่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ คือการดำ�เนินงานต้องปราศจากผลประโยชน์ทบั ซ้อน เน้นการ มี ส่ ว นร่ ว มของภาคประชาชนให้ เข้ า มามี บ ทบาทในด้ า น นโยบายมากขึน้ นอกจากนี้ การเผยแพร่ขอ้ มูลและการสือ่ สาร ต้ อ งมี ค วามโปร่ ง ใส หากสื่ อ สารข้ อ มู ล ไม่ ถู ก ต้ อ งและ ไม่ครบถ้วน ประชาชนจะเกิดความข้องใจ และการสื่อสาร กันเองอาจก่อให้เกิดการปลุกระดมเพื่อตอบสนองความเชื่อ ของกลุ่มตนเอง สร้างแรงกดดันกับภาครัฐหรือหน่วยงาน ที่ เ กี่ ย วข้ อ งจนกลายเป็ น ข้ อ พิ พ าท อี ก ทั้ ง ยั ง อาจมี ค วาม พยายามกล่าวหาฝ่ายที่มีความเห็นแตกต่างและลดความ น่าเชื่อถือโดยใช้ “วจีทุจริต” อีกด้วย จากสาระสำ�คัญของการอภิปรายในครั้งนี้อาจพอสรุปได้ว่า พลั ง งานเป็ น สิ่ ง ที่ มี ค วามสำ � คั ญ ต่ อ การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของประเทศ ทว่าการดำ�เนินกิจการด้านพลังงานอาจก่อ ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อม รวมทัง้ ต่อ มนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมาภิบาล จึ ง มี ค วามสำ � คั ญ และควรสร้ า งให้ เ กิ ด เป็ น รากฐานของ สังคมไทย เพราะการดำ�เนินงานทีย่ ดึ หลักธรรมาภิบาลจะช่วย ลดความขัดแย้งในสังคมไทยให้ลดน้อยลงได้

๒๙

หากพิ จ ารณาถึ ง ปริ ม าณการใช้ ไ ฟฟ้ า และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวม ในประเทศ (Gross Domestic Product หรือ GDP) พบว่ามีความ สัมพันธ์แบบแปรผันตรง หมายความว่าเมือ่ เศรษฐกิจเจริญเติบโตขึน้ ปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งประกอบกิจการด้านพลังงานไฟฟ้า โดยมี ภ ารกิ จ ในการผลิ ต และจั ด หาพลั ง งานไฟฟ้ า ให้ เ พี ย งพอ ต่อความต้องการใช้งานในประเทศ จึงมีความเกีย่ วข้องกับการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าการดำ�เนินงาน ของ กฟผ. จะช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ ประเทศ แต่การดำ�เนินงานของ กฟผ. ต้องไม่สร้างผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ กฟผ. จึงมีแนวทางการดำ�เนินงานโดยใช้แผนแม่บทการกำ�กับดูแลกิจการ ที่ดีเป็นกลไกในการขับเคลื่อน เพื่อให้การดำ�เนินงานทุกขั้นตอน ของ กฟผ. สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล ซึ่งนอกจากจะช่วย ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพแล้ ว ยั ง ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเป็ น ธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ส่งผลให้การ ดำ�เนินงานของ กฟผ. เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีอุปสรรค ถือว่า เป็ น การสร้ า งความมั่ น คงด้ า นพลั ง งานไฟฟ้ า ให้ กั บ ประเทศได้ อีกทางหนึ่ง ดังนั้น คำ�ว่า “ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม...ทางออก ความมั่นคงพลังงานไทย” จึงเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับการดำ�เนินงาน ของ กฟผ. ในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด


๓๐

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

คนต้นแบบ

The IDOL

บรรจงนักวิศรี ส อาด จัยลดผลกระทบ จากการระบายนํ้าเขื่อนสิริกิติ์ เรื่อง: ทีมข่าวประชาสัมพันธ์ สำ�หรับพืน้ ทีซ่ งึ่ อยูใ่ นเขตชลประทานทีร่ บั นาํ้ จากเขือ่ นฯ ต่างมีความ ต้องการใช้นาํ้ หลากหลายกิจกรรม ตัง้ แต่เกษตรกรรม ปศุสตั ว์ การเลีย้ ง ปลาในกระชัง และเพือ่ การบริโภค ดังนัน้ หลักการของเขือ่ นการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งนอกจากทำ�หน้าที่เป็นเขื่อน อเนกประสงค์เพือ่ เก็บนํา้ ไว้ใช้ประโยชน์ตอ่ ส่วนรวมแล้ว ยังทำ�หน้าที่ บรรเทาอุทกภัย ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้านั้นเป็นเพียงผลพลอยได้ จากการปล่ อ ยนํ้ า ผ่ า นเครื่ อ งกำ � เนิ ด ไฟฟ้ า ตามความต้ อ งการใช้ ประโยชน์ด้านต่างๆ เท่านั้น การบริหารจัดการนํ้าในเขื่อนอเนกประสงค์ของ กฟผ. จึงพยายาม ควบคุมให้ระดับนํ้าเป็นไปตามแผนบริหารจัดการนํ้า เพื่อสนองความ ต้องการใช้นํ้าในภาพรวม และอาจมีบ้างในบางครั้งที่สร้างผลกระทบ ต่อเกษตรกรที่ใช้ลำ�นํ้าเพื่อสร้างอาชีพ ดังเช่นเขื่อนสิริกิติ์ของ กฟผ. ทีไ่ ด้ใส่ใจในเรือ่ งนี้ และได้สร้างโปรแกรม Simulator เพือ่ ลดผลกระทบ การระบายนํ้าของเขื่อนสิริกิติ์ โดยมีคุณบรรจง ศรีสอาด และทีมงาน เป็นผู้คิดค้นและร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าว จนเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๗ กฟผ. ได้จัดพิธีมอบเข็มเชิดชูเกียรติ แก่บุคคลผู้กระทำ�คุณความดี ประจำ�ปี ๒๕๕๖ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ คุณบรรจง ศรีสอาด เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนคุณความดี รวมถึง คาดหวั ง ให้ เ ป็ น แบบอย่ า งที่ ดี แ ก่ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง าน กฟผ. และสั ง คม โดยทั่วไป


๓๑

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

EGAT magazine ฉบั บ นี้ ขอแนะนำ � หนึ่ ง ใน ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. คุณบรรจง ศรีสอาด วิศวกร ระดับ ๑๐ กองเดินเครื่อง เขื่อนสิริกิติ์ ผู้ได้รับเข็ม เชิดชูเกียรติ ประเภทผู้มีผลงานดีเด่นที่ได้รับการ ยกย่อ ง ซึ่ งเป็น ประโยชน์ ต่อ กฟผ. หรือสังคม ด้วยผลงานในการดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการ ระบายนํ้าของเขื่อนสิริกิติ์ โดยใช้เวลานอกเหนือจาก การปฏิ บั ติ ง านในหน้ า ที่ ห ลั ก เข้าตรวจสอบพื้นที่ หาแนวทางการแก้ไขด้วยวิธตี า่ งๆ จนสร้างความเชือ่ มัน่ ให้กับกลุ่มเกษตรกรได้เป็นอย่างดี พีบ่ รรจงเล่าให้ฟงั ว่า “เขือ่ นสิรกิ ติ ทิ์ �ำ หน้าทีก่ กั เก็บนา้ํ ในช่ ว งฤดู ฝ น และระบายออกเป็ น จำ � นวนมาก ในช่วงฤดูแล้งเพื่อทำ�นาปรัง โดยปริมาณนํ้าที่ระบาย ออกนั้นจะมีคณะกรรมการด้านการบริหารจัดการ นํ้ า ของประเทศเป็ น ผู้ กำ � หนด ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย หลายหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมชลประทาน และ กฟผ. ร่วมพิจารณา จากนั้นเขื่อนฯ จะเปิดนํ้าระบาย โดยผ่ า นเครื่ อ งผลิ ต ไฟฟ้ า ซึ่ ง ผลกระทบจากการ ระบายนํ้าอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับเกษตรกร ผู้เลี้ยงปลากระชังท้ายนํ้าโดยเฉพาะเขตพื้นที่ตำ�บล วังกะพี้ อำ�เภอเมืองอุตรดิตถ์ ตัง้ แต่ปี ๒๕๔๘ เป็นต้นมา ทำ � ให้ มี ก ารร้ อ งเรี ย นความเสี ย หายมายั ง เขื่ อ นฯ ทุ ก ครั้ ง ดั ง นั้ น เขื่ อ นสิ ริ กิ ติ์ จึ ง ต้ อ งเข้ า ไปดู แ ล หาแนวทางการแก้ไขเพื่อลดผลกระทบ รวมทั้ง ไม่ ใ ห้ เ กิ ด อุ ป สรรคต่ อ การเดิ น เครื่ อ งผลิ ต ไฟฟ้ า และป้องกันการร้องเรียนหรือเรียกร้องความเสียหาย กับ กฟผ. ด้วย”

ในช่วงปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒ ได้ ศึกษาวิจัยการนำ� ทฤษฎีและหลักการในการหาค่า Optimization มาประยุกต์ใช้กับการหาค่าปริมาณนํ้าระบายออก จากเขื่อนฯ ให้เหมาะสมกับระดับนํ้าที่เพียงพอ ต่อการเลีย้ งปลากระชัง เรือ่ ง ‘การบริหารจัดการนาํ้ เขือ่ นสิรกิ ติ :ิ์ กรณีศกึ ษาทีม่ ผี ลกระทบกับกระชังปลา วังกะพี’้ จากนัน้ ได้น�ำ ผลจากการศึกษาวิจยั มาปฏิบตั ิ ในช่วงฤดูฝนปี ๒๕๕๓ ซึ่งสามารถทำ�ให้ลดปริมาณ นํ้าระบายสำ�หรับการเลี้ยงปลากระชังลงได้ และ ส่งผลให้ปริมาณนํ้าในอ่างเก็บนํ้าเพิ่มขึ้นประมาณ ๕๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือสามารถผลิตไฟฟ้า ได้เพิ่มขึ้นประมาณ ๓๒ ล้านหน่วยอีกด้วย และได้ สร้างโปรแกรม Simulator สำ�หรับใช้คาดการณ์ ระดั บ นํ้ า ที่ จ ะสู ง เพิ่ ม ขึ้ น ในเขตพื้ น ที่ อำ � เภอเมื อ ง อุตรดิตถ์ รวมทั้งนำ�ข้อมูล Real time จากสถานี โทรมาตรมาประยุกต์ใช้กับโปรแกรม เพื่อให้มีข้อมูล ไว้ใช้ในการแจ้งประชาชนให้ทราบล่วงหน้าก่อนการ เพิม่ นํา้ ระบายจริง จะได้ขนย้ายสิง่ ของให้สงู พ้นเหนือ ระดับนํ้าได้ทันเวลาก่อนที่นํ้าจะไปถึง”

ประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อ กฟผ. และ รางวัลชมเชยจากมูลนิธิกำ�ธน สินธวานนท์ ในการ ส่ ง ประกวดในปี ๒๕๕๖ เช่ น เดี ย วกั น ซึ่ ง รางวั ล ทั้งสองที่ได้รับจากการสร้างโปรแกรมนี้ นับว่าเป็น ความสำ�เร็จระดับหนึ่งของทีมงานในการพัฒนางาน ทีร่ บั ผิดชอบอยูใ่ ห้ดยี งิ่ ขึน้ และเป็นการดูแลช่วยเหลือ สั ง คมและประชาชนที่ อ ยู่ ท้ า ยเขื่ อ นฯ มิ ใ ห้ ไ ด้ รั บ ความเดือดร้อนจากการระบายนํา้ และล่าสุด พีบ่ รรจง ได้ รั บ เข็ ม เชิ ด ชู เ กี ย รติ บุ ค คลผู้ ก ระทำ � คุ ณ ความดี ประจำ�ปี ๒๕๕๖ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๓ ของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ที่ได้รับรางวัลในปีนั้นอีกด้วย

พี่ บ รรจงได้ ก ล่ า วทิ้ ง ท้ า ยไว้ ว่ า “การปรั บ ปรุ ง พัฒนางานที่ปฏิบัติอยู่นั้นเป็นสิ่งจำ �เป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีการดำ�เนินงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยัง่ ยืน การเริม่ ต้นพัฒนา อาจจะเริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อน เมื่อได้ทำ�แล้วก็จะเกิด แนวคิ ด มากขึ้ น แล้ ว ค่ อ ยพั ฒ นาต่ อ ยอดขึ้ น ไป การสร้างทีมงานนั้นก็เป็นสิ่งสำ�คัญ เพราะจะช่วย ให้มกี ารร่วมคิด ร่วมทำ� ร่วมแก้ปญ ั หา งานก็จะสำ�เร็จ ไปได้ดว้ ยดี ทัง้ นี้ ภารกิจของ กฟผ. อยูค่ วบคูก่ บั สังคม โดยตลอด ‘สังคมอยู่ได้ กฟผ. ก็อยู่ได้’ ประชาชน ที่อยู่รอบๆ หน่วยงานของ กฟผ. ส่วนใหญ่จะมีความ ต้ อ งการประกอบอาชี พ เพื่ อ ให้ มี ชี วิ ต ดำ � รงอยู่ ไ ด้ พอมี พอกิน ซึ่งเมื่อเราเข้าไปอยู่ในสังคมร่วมกัน เราก็ ค วรที่ จ ะช่ ว ยดู แ ลความเป็ น อยู่ ข องเขาบ้ า ง พอประมาณ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และที่สำ�คัญคือ การสือ่ สารข้อมูลทีถ่ กู ต้องอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ป้องกัน การเข้าใจผิดต่อองค์กรครับ”

เมื่อถามถึงแรงบันดาลใจที่ทำ�ให้พี่บรรจงทำ�งานนี้ มาจนถึงปัจจุบนั พีบ่ รรจงได้กล่าวว่า “จากการลงพืน้ ที่ กระชังปลา ทำ�ให้ได้ทราบถึงความเสียหาย การขาดทุน การจะต้องเป็นหนี้เพิ่มขึ้น และผู้เลี้ยงปลาส่วนใหญ่ มีรายได้หลักจากการเลี้ยงปลาซึ่งใช้ในการดำ�รงชีพ ทำ�ให้เราคิดว่าจะต้องหาวิธีต่างๆ มาช่วยเพื่อไม่ให้ พี่บรรจงเล่าต่อไปว่า “จุดเริ่มแรกในการเข้าร่วม เกิดความเสียหายที่มีต้นเหตุมาจากการระบายนํ้า นี่คือหนึ่งในหลายท่านที่เป็นต้นแบบของ กฟผ. แก้ไขปัญหาคือ ใช้เวลานอกจากการเข้ากะเดินเครือ่ ง ของเขื่อนฯ ครับ” อีกคนหนึ่ง ที่สำ�นึกในความรับผิดชอบและหน้าที่ ไปสำ�รวจพื้นที่ร่วมกับเพื่อนๆ พี่ๆ ผู้ปฏิบัติงาน และ จากผลงานของที ม งานและผู้ บ ริ ห ารที่ ไ ด้ ทุ่ ม เท ใส่ใจสังคม ชุมชน ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ นำ�ข้อมูลมาเสนอผู้บริหารรับทราบ รวมทั้งประสาน ทำ�งานเพื่อดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากการระบายนํ้า และมีความมุง่ มัน่ ในการพัฒนางานอย่างต่อเนือ่ งและ งานกับกองจัดการทรัพยากรนํ้าเพื่อประสานงาน ของเขื่ อ นฯ ทำ � ให้ ผ ลงานการสร้ า งโปรแกรม การทำ�งานเป็นทีม ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำ�เนิน คณะกรรมการฯ เพือ่ ขอปรับปริมาณนาํ้ ระบาย ต่อมา Simulator ได้ รั บ รางวั ล ระดั บ ดี ม าก จากการ งานให้ดียิ่งขึ้น ขอปรบมือในความสำ�เร็จครับ


นวัตกรรม

INNOVATION

เรื่อง : ทีมข่าวประชาสัมพันธ์

EGAT RTU

นวัตกรรมชิ้นเอกของ กฟผ.


๓๓

จากเวทีงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นเมื่อปลายปี ที่เเล้ว ที่สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จั ด ขึ้ น มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพื่ อ มอบรางวั ล อันทรงเกียรติให้กับรัฐวิสาหกิจที่มีผลการดำ�เนินงาน ทีด่ เี ด่นในด้านต่างๆ เพือ่ เป็นกำ�ลังใจให้แก่รฐั วิสาหกิจ ที่ตั้งใจพัฒนาผลงาน สำ�หรับผู้รับแล้ว นี่คือเกียรติยศ ชื่อเสียง และเป็นก้าวต่อไปในการเป็นองค์กรชั้นนำ� ในระดับสากล

อย่างไรก็ตาม รางวัลนวัตกรรมดีเด่น ประเภทชมเชย ระดั บ องค์ ก ร ด้ ว ยผลงาน อุ ป กรณ์ รั บ ส่ ง ข้ อ มู ล ปลายทาง (Remote Terminal Unit: RTU) หรือ อุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลปลายทาง เกิดจากเจ้าของ ความคิดซึ่งประกอบด้วย นายปิยะพันธ์ จินดาลัทธ ช่างระดับ ๙ นายชูชพี แสงสุวรรณ์ วิศวกรระดับ ๗ และนายนิติ เลขาพันธ์ วิศวกรระดับ ๖ จากฝ่ายระบบ ควบคุมและป้องกัน กฟผ. เมื่อทราบว่าผลงานที่ สำ � หรั บ ปี ๒๕๕๗ ที่ ผ่ า นมา การไฟฟ้ า ฝ่ า ยผลิ ต คิดค้นนั้นทำ�ให้องค์กรได้รับรางวัลระดับประเทศ แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับถึง ๒ รางวัล ได้แก่ ทำ�เอาทุกคนในทีมปลื้มใจและดีใจ ในโอกาสนี้ ๑. รางวัลรัฐวิสาหกิจแห่งความภาคภูมใิ จ และ ๒. รางวัล จึงขอนำ�ผลงานดังกล่าวมาเผยแพร่ นวัตกรรมดีเด่น ประเภทชมเชยระดับองค์กร จากผลงาน Remote Terminal Unit: RTU คือ อุปกรณ์รับ-ส่ง “อุปกรณ์รบั ส่งข้อมูลปลายทาง (Remote Terminal ข้อมูลทางไกลระหว่างสถานีไฟฟ้าแรงสูงมายังศูนย์ Unit: RTU)” โดยนายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ ควบคุม ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมไฟฟ้าแห่งชาติ กฟผ. เข้ารับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำ�ปี ๒๕๕๗ (NCC) ศูนย์ควบคุมไฟฟ้าภาค (RCC) และศูนย์ควบคุม จากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ห้อง ไฟฟ้ากลุ่ม (GCC) ซึ่งข้อมูลที่ RTU รับ-ส่งนั้นคือ รอยั ล จู บิ ลี่ บอลรู ม อาคารชาเลนเจอร์ อิ ม แพ็ ค ข้อมูลสถานะ (เปิด/ปิด) ของอุปกรณ์ เช่น สวิตช์ เมื อ งทองธานี เมื่ อ วั น ที่ ๒๔ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๗ เบรกเกอร์ เป็นต้น และค่าวัดทางไฟฟ้า เช่น กระแส และแรงดันในสถานีไฟฟ้า เป็นต้น รวมถึงส่งข้อมูล ให้กบั ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม หรือรับคำ�สัง่ ควบคุม อุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าแรงสูง เช่น การเปิดหรือปิด สวิตช์และเบรกเกอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม ซึ่ ง อุ ป กรณ์ RTU นี้ มี ผู้ ผ ลิ ต เฉพาะเพี ย งไม่ กี่ ร าย จากต่างประเทศ จึงส่งผลให้มีราคาแพง และ กฟผ. มีความจำ�เป็นต้องติดตัง้ เพิม่ ขึน้ ทุกปี ตามการขยายตัว ของระบบส่งไฟฟ้าของประเทศ และนีจ่ งึ เป็นจุดเริม่ ต้น ของการพัฒนา “EGAT RTU”


๓๔

ในปี ๒๕๔๐ ฝ่ า ยระบบควบคุ ม และป้ อ งกั น ได้ มี แนวคิ ด ในการพั ฒ นา EGAT RTU เพื่ อ ทดแทน การนำ�เข้าจากต่างประเทศ ซึ่ง EGAT RTU นี้ได้ผ่าน การพัฒนามาจากผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายระบบควบคุม และป้องกันมาถึง ๓ รุ่นด้วยกัน โดยรุ่นล่าสุดคือ รุน่ ที่ ๔ นี้ ทัง้ ๓ ท่านได้เข้ามาทำ�การออกแบบปรับปรุง ซอฟต์ แวร์ แ ละฮาร์ ด แวร์ ใ หม่ โดยใช้ เ ทคโนโลยี ที่ทันสมัยกับปัจจุบัน โดยเพิ่มระบบ Redundant หรือระบบสำ�รองภายในตัวเอง ใช้กับสถานีไฟฟ้า แรงสูงใหม่ กฟผ. ที่ถูกออกแบบให้ไม่มีแผงควบคุม Control Board ซึ่งมีข้อดีคือ หาก RTU เกิดเหตุ ขัดข้อง ระบบ Redundant นี้จะสามารถทำ�งาน ทดแทนกันได้แบบทันทีทนั ใด ส่งผลให้ระบบส่งไฟฟ้า ของ กฟผ. มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ ลดปัญหา การเกิดไฟตกหรือดับได้เป็นอย่างดี EGAT RTU นี้ ได้มีการนำ�ไปใช้งานจริงในสถานี ไฟฟ้าแรงสูง ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน รวมกว่า ๑๕๔ สถานี ส่ ง ผลให้ กฟผ. สามารถประหยั ด

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

งบประมาณการนำ�เข้า RTU จากต่างประเทศได้ถึง ๘๔๓,๕๙๘,๘๓๕ บาท และยังสามารถสร้างรายได้ ให้ กั บ กฟผ. โดยจำ � หน่ า ยแก่ ภ าคเอกชน เช่ น โรงไฟฟ้าเอกชน และอุตสาหกรรมทั่วไปได้อีกด้วย อีกทั้งเป็นการพัฒนาความรู้ของบุคลากรและเพิ่ม เทคโนโลยีให้แก่ กฟผ. ให้สามารถดำ�เนินการภารกิจ ผลิ ต และส่ ง ไฟฟ้ า ได้ อ ย่ า งมั่ น คง มี เ สถี ย รภาพ ภายใต้การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน


๓๕

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

นายชูชีพ แสงสุวรรณ์ เล่าว่า “การทำ�งานต่างๆ ย่อมมีอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดา หากเราไม่ย่อท้อ ต่ออุปสรรค เราจะไปถึงเป้าหมายและความสำ�เร็จได้ ในที่สุด ในการทำ� EGAT RTU นี้ก็เช่นกัน การพัฒนา ระยะแรก ทางฝ่ า ยระบบควบคุ ม และป้ อ งกั น ไม่ มี เ งิ น ทุ น ให้ ม ากเพี ย งพอในการหาซื้ อ อุ ป กรณ์ เพื่อทำ�การทดลอง จึงส่ง EGAT RTU เข้าประกวด ในการแข่ ง ขั น ต่ า งๆ เพื่ อ หวั ง นำ�เงินรางวัลที่ช นะ การประกวดมาต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์ต่อไป ซึ่งผม ในฐานะตัวแทนของกลุ่มรู้สึกดีใจอย่างมากที่ได้รับ รางวั ล อั น ทรงเกี ย รติ นี้ อี ก ทั้ ง ภาคภู มิ ใ จที่ ไ ด้ สร้ า งประโยชน์ แ ละสร้ า งชื่ อ เสี ย งให้ กั บ องค์ ก ร ผมเชื่อว่าใน กฟผ. นั้น มีนักประดิษฐ์ที่มีฝีมือและ ผลงานอี ก มากมาย อยากฝากให้ ทุ ก คนช่ ว ยกั น พั ฒ นานวั ต กรรมใหม่ ๆ ขึ้ น มา เพื่ อ ช่ ว ยกั น สร้ า ง ชื่ อ เสี ย งให้ กฟผ. ก้ า วไกลทั้ ง ในระดั บ ประเทศ และระดับสากล”

ด้าน นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ. ได้กล่าวแสดงความยินดีในเรือ่ งนีว้ า่ การได้รบั รางวัล อันทรงเกียรตินี้ ส่วนหนึ่งมาจาก กฟผ. มีวัฒนธรรม องค์ ก รที่ เข้ ม แข็ ง พนั ก งานมี ค วามร่ ว มมื อ ในการ ดำ � เนิ น งานเพื่ อ ให้ บ รรลุ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข ององค์ ก ร มี ผ ลงานที่ อ ยู่ ใ นเกณฑ์ ที่ ค ณะกรรมการเห็ น ว่ า สามารถสร้ า งประโยชน์ ใ ห้ กั บ ประเทศชาติ ไ ด้ ซึง่ ถือว่าเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศและความภาคภูมใิ จ ของ กฟผ. และพนักงาน กฟผ. ทุกคน ที่ได้ทุ่มเท แรงกายแรงใจทำ�งานอย่างหนักตลอดมา ส่งผลให้ กฟผ. เป็นที่ยอมรับต่อหน่วยงานทั่วไป EGAT RTU เป็นเพียงหนึง่ สิง่ ประดิษฐ์จากหลายๆ ชิน้ ที่เกิดจากการที่คน กฟผ. ไม่หยุดคิด ไม่หยุดพัฒนา และทุ่ ม เทในการทำ � งาน นำ � มาซึ่ ง รางวั ล และ ชื่อเสียงให้แก่ กฟผ. จนได้รับรางวัลนวัตกรรม ดีเด่นถึง ๔ ปีซ้อน

นายสุนชัย คำ�นูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ กฟผ.


๓๖

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

นานาทัศนะ

The OPINION

หนึ่งคำ�พูด หนึ่งการกระทำ� บอกต่อการเป็นองค์การที่สังคมไว้วางใจและเป็นความภูมิใจของชาติ เรื่อง: ชโลบล ธงปาริน

“กฟผ. จะเป็ น องค์ ก ารชั้ น นำ � ในกิ จ การไฟฟ้ า ในระดับสากล” นีค่ อื วิสยั ทัศน์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึง่ การทีจ่ ะนำ�พาองค์การ ไปสู่ วิ สั ย ทั ศ น์ ดั ง กล่ า วคงไม่ ใช่ สิ่ ง ที่ จ ะทำ � ได้ ง่ า ย อย่างทีค่ าดหวัง การทีจ่ ะก้าวไปสูจ่ ดุ หมายดังกล่าว ได้นั้น กฟผ. ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้องค์การมี ความพร้อม ซึง่ ความพร้อมในทีน่ ตี้ อ้ งมีองค์ประกอบ ๕ ด้ า นด้ ว ยกั น ได้ แ ก่ ๑. การเป็ น องค์ ก ารที่ มี ธรรมาภิบาล ๒. การเป็นองค์การทีม่ กี ารบริหารงาน ที่ดี มีประสิทธิภาพสูง ๓. การเป็นองค์การที่มี ประสิทธิภาพการดำ�เนินงานเป็นเลิศ ๔. การเป็น องค์ ก ารที่ สั ง คมไว้ ว างใจและเป็ น ความภู มิ ใ จ ของชาติ และ ๕. การเป็นองค์การที่มีฐานะการเงิน มั่นคงเพียงพอต่อการขยายงาน

สิ่งที่ กฟผ. น่าเป็นกังวลมากที่สุดในตอนนี้ ไม่ใช่เรื่อง การบริหารงานของ กฟผ. ไม่มีประสิทธิภาพ หรือ กฟผ. มีฐานะการเงินที่ไม่มั่นคงเพียงพอ แต่กลับเป็น เรื่องของการ “จะทำ�อย่างไรให้ กฟผ. เป็นองค์การ ที่ สั ง คมไว้ ว างใจและเป็ น ความภู มิ ใจของชาติ ” เพราะหากสังคมไม่เชื่อมั่นใน กฟผ. แล้ว การเติบโต ของ กฟผ. จะเป็นไปอย่างยากลำ�บาก ไม่ว่า กฟผ. จะดำ�เนินงานอะไร อาจได้รับการต่อต้านจากสังคม สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ กฟผ. สามารถฝ่าฟันโจทย์ที่ยาก ข้อนี้ไปได้ นั่นคือ “ผู้ปฏิบัติงาน” แต่ก่อนที่สังคม จะเชื่อถือและไว้วางใจใน กฟผ. ได้น้นั ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ต้ อ งมี ค วามเชื่ อ มั่ น และศรั ท ธาในองค์ ก าร ของตนก่อน และช่วยกันนำ�เสนอข้อดีและจุดแข็ง ขององค์การให้สังคมได้รับทราบ

นานาทั ศ นะในเล่ ม นี้ จึ ง ขอเป็ น สื่ อ กลางที่ ส ะท้ อ น ถึ ง ความภาคภู มิ ใจในองค์ ก ารจากความรู้ สึ ก ของ ผูป้ ฏิบตั งิ าน กฟผ. ๓ รุน่ ๓ วัย มานำ�เสนอ บางมุมมอง และความคิดเห็นจากทั้ง ๓ ท่าน อาจจุดประกาย ความคิดของใครหลายคนทีก่ �ำ ลังหาคำ�ตอบได้วา่ เพราะ เหตุใด กฟผ. จึงควรเป็นองค์การทีน่ า่ ภาคภูมใิ จของชาติ


๓๗

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

นายปณิธาน บริเวธานันท์ สังกัดกลุ่มงานสื่อสารสาธารณะ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า “บ่อยครั้งหลายคนที่รู้จักผม พอได้ทราบว่าทำ�งานที่ กฟผ. ประโยคแรกที่มักจะได้ยินคือ โชคดีมากที่ได้งานสบายรายได้ดี แต่เมื่อเข้ามาทำ�งานที่ กฟผ. จึงได้รับทราบถึงการทำ�งาน ที่เป็นอยู่จริง ครั้นเมื่อพบคำ�ถามเช่นนี้อีก ผมจะพยายามอธิบายว่า งาน กฟผ. ไม่ได้สบายอย่างที่ เข้าใจ อยากให้คนภายนอกได้ตระหนักและเข้าใจว่า การทำ�งานเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น ต้องอาศัย ความรู้ ประสบการณ์ และความรับผิดชอบทีส่ งู พนักงาน กฟผ. ต้องทำ�งานอย่างหนักเพือ่ ให้คนไทย ได้มีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคงและเพียงพอ ดังจะเห็นได้จากภาพการทำ�งานในโรงไฟฟ้า ภาพการบำ�รุง รักษาทัง้ โรงไฟฟ้าและสายส่ง และนอกจากภารกิจหลักในการผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังมีภาพการทำ�งาน ร่วมกับชุมชนและเพื่อสังคมอีกเป็นจำ�นวนมาก ผ่านทางโครงการ CSR ต่างๆ ในพื้นที่เกือบ ทุกจังหวัดของประเทศไทย เหล่านีท้ �ำ ให้ผมรูส้ กึ ภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นส่วนหนึง่ ขององค์การทีท่ �ำ ประโยชน์ เพื่อสังคม ไม่ใช่องค์การที่แสวงหากำ�ไรเพื่อเจ้าของบริษัทหรือผู้ถือหุ้น”

นางสาวพิณสวัน ปัญญามาก สังกัดฝ่ายพัฒนาบุคลากร “ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่กล้าบอกทุกคนด้วยความภาคภูมิใจว่าเป็น ‘คน กฟผ.’ หรือเป็นผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เพราะองค์ ก ารของเราเป็ น องค์ ก ารที่ มี ผ ลงานด้ า นวิ ช าการต่ า งๆ และได้ รั บ รางวั ล มากมายแทบทุกปี เรามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในงานเฉพาะด้าน เรามีการศึกษาวิจัย ค้นคว้า สิ่งประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นองค์การที่มีคนดีเป็นที่ยกย่องในสังคม และด้วยหน้าที่ ของตนทีร่ บั ผิดชอบในงานด้านบุคลากร ทำ�ให้มโี อกาสได้พบเจอผูป้ ฏิบตั งิ าน กฟผ. หลากหลายท่าน พบว่าคน กฟผ. ส่วนใหญ่ทมุ่ เททำ�งานเพือ่ องค์การอย่างเต็มที่ และบางท่านสมควรได้รบั การยกย่อง ว่าเป็น ‘คนดีศรี กฟผ.’ ที่ดีมาจากภายในของตนเองและรักองค์การอย่างมาก ซึ่งมีทั้งคนที่ อาจได้รบั การประกาศเชิดชูเกียรติแล้ว หรือบางคนยังคงทำ�งานปิดทองหลังพระต่อไปอย่างไม่รสู้ กึ เหน็ดเหนื่อยหรือท้อถอย สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า กฟผ. ยังมีฟันเฟืองเล็กๆ อีกมากมายที่พร้อม ขับเคลื่อนองค์การด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นและทุ่มเทในการปฏิบัติหน้าที่ ทำ�ให้ กฟผ. ยังคงเคลื่อนตัว ไปข้างหน้าด้วยวิชาการที่เด่นและคุณธรรมที่ปรากฏตราบเช่นทุกวันนี้” นายหัฏฐจิตต์ นิวาศะบุตร สังกัดฝ่ายประสิทธิภาพการผลิต “ผมคิดว่าการได้ทำ�งานในโรงไฟฟ้าถือเป็นสิ่งวิเศษ เพราะเป็นงานที่ยากและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน ดังนั้นการคลุกคลีกับโรงไฟฟ้าหรือเขื่อนนับว่าเป็นประสบการณ์อันลํ้าค่าที่สุดในชีวิต ทั้งยัง เป็นการสร้างประโยชน์ต่อประเทศในการขยายตัวทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพราะหากไม่มีการพัฒนาพลังงานไฟฟ้ามาตั้งแต่อดีต อุตสาหกรรมต่างๆ ก็จะไม่เติบโต ตลอดระยะเวลา ที่ทำ�งานในองค์การแห่งนี้ ผมกล้ายืนยันว่า ในการทำ�งานของพวกเรา ได้ให้ความสำ�คัญต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม แต่เราไม่ได้บอกกับสังคมหรือชาวบ้านตรงๆ เพราะ กฟผ. เป็นองค์การที่ทำ�มากกว่าพูด ดังนั้นการได้มาเป็นส่วนหนึ่งในองค์การที่สร้างประโยชน์เพื่อสังคมแห่งนี้ นับเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง ในชีวิต ซึ่งความรู้สำ�หรับที่นี่หาเรียนรู้ที่ไหนไม่ได้ เพราะเราได้ความรู้จากการทำ�งานจริง จนเป็นต้นแบบ ของนวัตกรรมต่างๆ อยากฝากถึงรุ่นน้องทุกคนว่า ให้มอง กฟผ. เป็นเสมือนบ้าน อยากพัฒนาบ้านให้ดีขึ้น และสวยงาม เพื่อหวังให้ผู้ที่พบเห็นรู้สึกว่าบ้านของเราน่าอยู่ และอยากให้บ้านของเราดูเป็นมิตรกับทุกคน” นี่เป็นความรู้สึกของคน ๓ วัยที่มีต่อองค์การอันเป็นที่รัก ที่อยากจะบอกต่อเรื่องราวอันน่าภาคภูมิใจของ กฟผ. ให้สังคมได้รับทราบ ไม่ว่าจะด้วยคำ�พูดหรือการกระทำ� เพื่อให้คนไทยได้ประจักษ์ว่าองค์การของเรามีดีไม่แพ้ที่ไหนๆ


ใจเขาใจเรา

Keep in MIND

โครงการคนรักษ์ต้นนํ้า กลางนํ้า ปลายนํ้า

โครงการต้นแบบที่โดดเด่นในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ประจำ�ปี ๒๕๕๖ การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดความร่วมมือและความสามัคคี เรื่อง: กลุ่มงานธรรมาภิบาล กฟผ.


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

นํ้าเป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์เพื่อนำ�มาใช้ อุ ป โภคและบริ โ ภคตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น แหล่ ง นํ้ า ตาม ธรรมชาติทคี่ นไทยส่วนใหญ่นำ�นํา้ มาใช้ประโยชน์คอื แม่นาํ้ ดังนัน้ ปริมาณนํ้าในแม่นํ้าจึงส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของคนที่ อาศัยอยู่ริมนํ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในฤดูแล้ง หากปริมาณนํ้า ในแม่นํ้ามีน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะส่งผลให้เกิด การขาดแคลน นํา้ จึงเป็นทรัพยากรทีม่ คี า่ ทีท่ กุ คนต้องการ ขณะที่ ในฤดูนาํ้ หลาก หากปริมาณนํา้ มีมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอุทกภัย นํ้าก็จะกลายเป็นทรัพยากรที่ไม่มีใครต้องการ

โครงการคนรักษ์ต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า ได้รับคัดเลือกเป็นโครงการต้นแบบที่มี ความโดดเด่นในการปฏิบตั ติ ามหลักธรรมาภิบาล ประจำ�ปี ๒๕๕๖

๓๙ จากปรากฏการณ์ดังกล่าวพบว่า บ่อยครั้งที่ปริมาณนํ้าในแม่นํ้า กลายเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างชุมชน ที่อาศัยอยู่ริมแม่นํ้า เนื่องจากในฤดูแล้ง ปริมาณนํ้าในแม่นํ้ามีน้อย ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณต้น นํ้าก็ต้องการเก็บกักนํ้า ไว้ใช้ ทำ�ให้ ชุมชนกลางนํ้าและปลายนํ้าเรียกร้องให้มีการปล่อยนํ้าให้มากขึ้น เนื่องจากนํ้าไม่พอใช้ ในฤดูฝน หากปริมาณนํ้ามีมากเกินไป ชุมชน ต้นนํ้าก็ต้องการให้ระบายนํ้าออกไปยังพื้นที่กลางนํ้าและปลายนํ้า เพราะเกรงว่าจะได้รบั ผลกระทบจากนํา้ ท่วม ขณะทีช่ มุ ชนกลางนํา้ และปลายนํา้ เองก็ไม่ตอ้ งการให้ปล่อยนํา้ ลงมา เพราะจะสร้างความ เดื อ ดร้ อ นให้ แ ก่ ชุ ม ชนของตนเองด้ ว ยเช่ น กั น ความต้ อ งการที่ แตกต่างกันจากผลประโยชน์ส่วนตนเป็นสาเหตุให้เกิดข้อพิพาท ระหว่ า งชุ ม ชนต้ น นํ้ า กลางนํ้ า และปลายนํ้ า อยู่ เ สมอ ดั ง นั้ น การบริหารจัดการนํ้าเพื่อให้ชุมชนต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า สามารถใช้นาํ้ ร่วมกันด้วยความถ้อยทีถอ้ ยอาศัย ไม่เกิดความขัดแย้ง รุนแรง จึงเป็นภารกิจทีส่ ำ�คัญของหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบเป็นอย่างยิง่ แม่นํ้าปิงถือว่าเป็นแม่นํ้าสายหลักที่มีความสำ�คัญต่อประชาชน ในภาคเหนือ คุณประโยชน์ของแม่นํ้าปิงนอกเหนือจากการนำ�นํ้า มาใช้ อุ ป โภคและบริ โ ภคแล้ ว ยั ง สามารถนำ�มาใช้ ป ระโยชน์ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย ซึ่งการผลิตไฟฟ้าถือว่าเป็น อีกหนึง่ ภารกิจของเขือ่ นภูมพิ ล นอกเหนือจากการปล่อยนํา้ เพือ่ การ ชลประทาน เขื่อนภูมิพลยังมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการนํ้า ในอ่างเก็บนํ้าเขื่อนภูมิพลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกภาคส่วน ด้วยเหตุนี้จึงมีการริเริ่มโครงการคนรักษ์ต้นนํ้า กลางนํ้า ปลายนํ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารสองทางระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้นํ้า เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ผู้ใช้นํ้าด้วยกันเองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำ�ให้ชุมชน ที่ อ าศั ย อยู่ ใ นพื้ น ที่ ร อบเขื่ อ นภู มิ พ ลและพื้ น ที่ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ อ่างเก็บนํ้าเขื่อนภูมิพลทราบแนวทางและตรวจสอบการบริหาร จัดการนํ้าผ่านตัวแทนของชุมชนได้


ธรรมาภิบาล เปรียบเสมือน ยาดีที่มีสรรพคุณ หลายขนาน

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โครงการนี้มีการ ปฏิบัติสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลของ กฟผ. มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง อี ก ทั้ ง ยั ง ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลลั พ ธ์ เชิ ง ประจั ก ษ์ ที่ ส อดคล้ อ งกั บ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง โครงการ ด้วยเหตุผลดังกล่าว สายงานรองผูว้ า่ การ ผลิตไฟฟ้าจึงเสนอโครงการนีใ้ ห้เข้ารับการคัดเลือก โครงการต้นแบบทีม่ คี วามโดดเด่นในการปฏิบตั ติ าม หลักธรรมาภิบาล ประจำ�ปี ๒๕๕๖ และโครงการนี้ ก็ได้รับเลือกให้เป็นโครงการต้นแบบฯ จากคณะ กรรมการด้วยมติที่เป็นเอกฉันท์ โครงการนีไ้ ด้นำ�หลักธรรมาภิบาลมาใช้เป็นแนวทาง การดำ�เนินงานอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะ หลักการ มีส่วนร่วม นั้นมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ เนื่องจาก ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ได้เชิญกลุ่มชุมชนที่อาศัย อยู่ในพื้นที่ต้นนํ้า จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนกลางนํ้า

จังหวัดตาก และชุมชนปลายนํา้ จังหวัดกำ�แพงเพชร และจังหวัดนครสวรรค์ เข้ามาบูรณาการการใช้นํ้า ร่ ว มกั น โดยมี จุ ด มุ่ ง หมายเพื่ อ ให้ ก ารใช้ นํ้ า เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ส่วน หลักนิติธรรม โครงการฯ ได้กำ�หนดวิธปี ฏิบตั กิ ารจัดการนํา้ ไว้อย่าง ชัดเจน โดยได้จัดทำ�เป็นคู่มือและมีการปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด ขณะที่ หลักคุณธรรม โครงการฯ ได้กำ�หนดช่องทางการรับเรือ่ งร้องเรียนจากเครือข่าย ผู้ใช้นํ้าไว้หลายช่องทาง เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เว็บไซต์ รวมทั้งยังกำ�หนดแนวทางการพิจารณา ข้ อ ร้ อ งเรี ย นไว้ อ ย่ า งชั ด เจน หลั ก ความโปร่ ง ใส โครงการฯ มีช่องทางต่างๆ ในการเปิดเผยข้อมูล การดำ�เนินงาน ข้อมูลปริมาณนํา้ เพือ่ ให้ผทู้ เี่ กีย่ วข้อง ได้รบั ทราบข้อมูลทีถ่ กู ต้อง นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาส ให้เข้ามาตรวจสอบการดำ�เนินงานได้ตลอดเวลา

ส่วน หลักความรับผิดชอบ นัน้ การดำ�เนินงานของ โครงการฯ ได้ถูกกำ�หนดอยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการ รวมทั้งยังมีการจัดทำ�แผนบริหารความเสี่ยงด้าน การสื่อสารรองรับไว้ด้วย และในเรื่อง หลักความ คุ้มค่า โครงการฯ ได้น้อมนำ�แนวทางการบริหาร จั ด การนํ้ า ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว มาเป็นแนวทางในการดำ�เนินงาน โดยพืน้ ทีบ่ ริเวณ ยอดเขาได้ให้มีการสร้างฝายชะลอนํ้า ส่วนพื้นที่ กลางเขาให้ มี ก ารปลู ก ป่ า และพื้ น ที่ ป ลายเขา ให้มกี ารสร้างอ่างเก็บนํา้ นอกจากนี้ กิจกรรมต่างๆ ในโครงการฯ ยังดำ�เนินการโดยคนในชุมชนที่มี จิ ต อาสา รวมทั้ ง มี ก ารนำ�วั ส ดุ ที่ มี อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ มาใช้งาน ทำ�ให้ประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย


สิ่ ง ที่ ทำ�ให้ โ ครงการนี้ มี ค วามโดดเด่ น จนคณะ กรรมการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นโครงการต้นแบบฯ คือ โครงการนี้สามารถก่อให้เกิดความร่วมมือในการ บริ ห ารจั ด การนํ้ า อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพจากชุ ม ชน ต้นนํ้า กลางนํ้า และปลายนํ้า โดยชุมชนแต่ละพื้นที่ จะรับรู้บทบาทของตนเอง เช่น ชุมชนต้นนํ้ามีการ อนุรักษ์ป่าไม้ ลดการตัดต้นไม้ และปลูกพืชชนิดอื่น เพื่อเป็นรายได้แทนการตัดไม้ ขณะที่ชุมชนกลางนํ้า มีการปลูกป่า สร้างฝายชะลอนํ้า ปลูกป่าเพื่อเป็น แนวกั น ไฟ ส่ ว นชุ ม ชนปลายนํ้ า ก็ จ ะใช้ นํ้ า อย่ า ง รูค้ ณ ุ ค่า มีการบำ�บัดนํา้ เสีย ขุดลอกคูคลอง นอกเหนือ จากความร่วมมือแล้ว ชุมชนทัง้ สามพืน้ ทีย่ งั เกิดความ เอือ้ อาทรต่อกัน โดยชุมชนปลายนํา้ ให้ความช่วยเหลือ ชุมชนต้นนํ้าด้วยการจัดส่งข้าวสารและสิ่งของไปให้ ชุ ม ชนต้ น นํ้ า เพื่ อ เป็ น การตอบแทนชุ ม ชนต้ น นํ้ า ที่ไม่ตัดไม้ทำ�ลายป่าต้นนํ้า เป็นการสร้างความชุ่มชื้น ให้ กั บ ต้ น นํ้ า ความขั ด แย้ ง ที่ เ คยเกิ ด ขึ้ น ในอดี ต

หลายขนาน” ทีท่ กุ คนควรมีตดิ ตัวไว้กค็ งจะไม่ผดิ นัก และหากจะกล่าวต่อไปอีกว่า สรรพคุณของยาดีเม็ดนี้ จะมีสว่ นช่วยทำ�ให้ กฟผ. บรรลุเป้าหมายเชิงวิสยั ทัศน์ ในข้อแรกคือ การเป็นองค์การธรรมาภิบาล และ กลายเป็นองค์การชั้นนำ�ในกิจการไฟฟ้าระดับสากล ได้ จ ริ ง ในที่ สุ ด ก็ ค งจะไม่ ถื อ ว่ า เป็ น การกล่ า วเกิ น จากการนำ�เสนอสาระสำ�คัญของโครงการต้นแบบฯ ความเป็นจริงด้วยเช่นกัน ที่ ผ่ า นมา แสดงให้ เ ห็ น ว่ า กิ จ กรรมการคั ด เลื อ ก โครงการต้ น แบบฯ เป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดี ที่ น อกจาก จะช่วยเสริมสร้างจิตสำ�นึกด้านธรรมาภิบาลให้แก่ ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับแล้ว การดำ�เนินงานที่ยึดหลัก ธรรมาภิ บ าลยั ง สามารถก่ อ ให้ เ กิ ด ผลลั พ ธ์ เ ชิ ง ประจั ก ษ์ ที่ ห ลากหลาย ทั้ ง ในระดั บ จุ ล ภาคคื อ องค์การ หรือชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า และในระดับ มหภาคคือ ชุมชนในวงกว้าง ดังนั้น หากจะกล่าวว่า ธรรมาภิบาล เปรียบเสมือน “ยาดีที่มีสรรพคุณ

แปรเปลี่ ย นเป็ น ความร่ ว มมื อ และความสามั ค คี ระหว่างชุมชน และประเด็นสำ�คัญที่ทำ�ให้โครงการนี้ โดดเด่ น กว่ า โครงการอื่ น คื อ ผลของการนำ�หลั ก ธรรมาภิบาลมาใช้ในการดำ�เนินงานก่อให้เกิดผลลัพธ์ ต่อชุมชนสามพืน้ ทีท่ หี่ า่ งไกลกัน ไม่ใช่ชมุ ชนรอบพืน้ ที่ โรงไฟฟ้าแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น


๔๒

มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

ของดีรอบบ้านเรา โรงไฟฟ้ากระบี่ สืบสานศิลปะพื้นบ้าน

รำ�มโนราห์และหนังตะลุง เรื่องและภาพ: ประชาสัมพันธ์โครงการศึกษาเพื่อขยายกำ�ลังผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่ฯ

"บวร" หรือ บ้าน วัด โรงเรียน นับว่าเป็นระบบความสัมพันธ์อันยอดเยี่ยมของ ความเป็นชุมชนมาช้านาน แต่ในวันนี้ที่หมู่บ้านปกาสัย อำ�เภอเหนือคลอง จังหวัด กระบี่ บนพื้นที่บ้านเดิมของสองสุดยอดศิลปินพื้นบ้านแห่งปักษ์ใต้คือ หนังตะลุงและ มโนราห์ ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็น "ศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุง และมโนราห์" ซึ่งตั้งอยู่ติดกับวัดและโรงเรียน และที่สำ�คัญคือ ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชน แหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดย "หนังเคล้าน้อย โรจนเมธากุล" ซึ่งได้รับ การคัดเลือกเป็นครูผู้ได้รับทุนครูสอนดี จากสำ�นักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และ พัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะ การแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-หนังตะลุง) ปี ๒๕๕๕ อีกด้วย แม้วันนี้จะชราลงด้วยอายุ ๗๑ ปี ไม่สามารถเดินสายเล่นหนังตะลุงเป็นอาชีพมากว่าสิบปีแล้ว แต่ก็ได้ผันตัวเอง มาเป็นครูผู้ทรงภูมิปัญญา เพื่อถ่ายทอดศิลปะ “หนังเงา” ให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป ตราบเท่าที่ยังมีกำ�ลังทำ�ได้ ก่อนหน้านั้นหนังเคล้าน้อย กับ "มโนราห์ฉลวย ประดิษฐ์ศิลป์" มโนราห์ชื่อดัง ของภาคใต้ผู้เป็นคู่ชีวิต (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้ใช้สถานที่คือบ้านของตัวเอง เป็นที่ฝึกสอนหนังตะลุงและมโนราห์ให้แก่ผู้สนใจและคนในละแวกใกล้เคียง จนมี ลูกศิษย์ลูกหาจำ�นวนหนึ่ง ต่อมาจึงมีความคิดที่มุ่งเน้นถ่ายทอดศิลปะการแสดง พื้นบ้านทั้งสองแขนงให้แก่เยาวชนเป็นหลัก เพราะมองว่าศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ควรฝึกหัดตั้งแต่เป็นเยาวชนจึงจะได้ผลดี สามารถสืบทอดต่อไปได้อีกยาวนาน อีกทัง้ มองว่าศิลปวัฒนธรรมท้องถิน่ จะสูญหายแน่ ถ้า คนรุน่ ใหม่ไม่สนใจ คนรุน่ เก่า ไม่ถ่ายทอด และความมุ่งมั่นนี้ได้เป็นรูปธรรมมากขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๕ หนังเคล้าน้อย ได้รบั การสนับสนุนจาก สสค. โดยได้รบั ทุนครูสอนดีประจำ�จังหวัดกระบี่ จึงมีโอกาส ปรับปรุงบ้านให้กลายเป็นที่ตั้งโครงการ “แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ปั ก ษ์ ใ ต้ ” โดยเปิ ด เป็ น ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมการแสดงหนั ง ตะลุ ง และมโนราห์ เพื่อสอนศิลปะการแสดงให้เยาวชนได้เรียนรู้วัฒนธรรมภาคใต้ ทำ�ให้ เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเด็ก ส่วนใหญ่ทเี่ ข้าเรียนมาจากครอบครัวยากจน การเรียนมโนราห์และหนังตะลุงจะช่วยให้เด็ก มีรายได้เสริม เพราะกระบี่เป็นจังหวัดท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวอยากชมศิลปะการแสดง ท้องถิ่น เด็กเหล่านี้ก็สามารถไปแสดงให้ชมตามงานหรือสถานที่ต่างๆ ได้ นอกจากนี้ศิลปะ การแสดงยังช่วยขัดเกลาจิตใจทัง้ ตัวเด็กเองและผูร้ บั ชม เพราะเนือ้ หาจะสอดแทรกธรรมะ คติสอนใจในการดำ�เนินชีวิตด้วย


๔๓

มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

ในด้านการแสดงมโนราห์ หลังจากมโนราห์ฉลวย ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้แก่เด็กและเยาวชนเสียชีวิต มาวันนีไ้ ด้ลกู หลานของมโนราห์ฉลวยอย่าง "นางสาว พรปวีย์ ชนะกุล" หลานสาวครูเคล้า และครูอาสา ฝึกมโนราห์ประจำ�ศูนย์การเรียนรู้ฯ มาช่วยสืบสาน หน้าที่นี้ต่อ เธอเล่าว่า "ศูนย์แห่งนี้ครูเคล้าจะสอน การแสดงหนังตะลุงด้วยตัวเอง และจะพาคณะศิษย์ ออกไปแสดงในงานต่างๆ ส่วนดิฉันจะทำ�หน้าที่สอน มโนราห์ให้แก่เด็กๆ ตัง้ แต่เด็กเล็กระดับอนุบาล จนถึง ระดับมัธยม ปัจจุบันมีเด็กเล็กที่เข้ามาเรียน ๕๐ กว่าคน ระดับชั้นมัธยม ๒๐ - ๓๐ คน และมีเด็กที่อยู่ นอกระบบการศึกษา ๑๐ กว่าคน"

ผู้ ที่ ร่ ว มอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมไทยในจั ง หวั ด กระบี่ โดยโครงการฯ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ปี ๒๕๕๖ เป็นต้นมา หลังจากเยาวชนสามารถรำ�มโนราห์และ หนั ง ตะลุ ง ได้ แ ล้ ว จะได้ รั บ การว่ า จ้ า งให้ ไ ปแสดง ในงานต่างๆ ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง เช่น งานแก้บน งานเลี้ยงต้อนรับ งานเลี้ยงโรงแรม งานเลี้ยงโรงเรียน งานบวช งานศพ และงานรื่นเริง ต่ า งๆ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความภาคภู มิ ใจแก่ เ ยาวชนและ ครอบครั ว โดยในแต่ ล ะงาน เยาวชนจะได้ รั บ ค่าตอบแทนคนละ ๓๐๐ - ๕๐๐ บาท และมีโอกาส ได้ไปแสดงเดือนละ ๓ - ๕ งาน สร้างรายได้ให้กับ เยาวชนได้เดือนละ ๑,๐๐๐ - ๒,๐๐๐ บาท

โรงไฟฟ้ า กระบี่ เ ล็ ง เห็ น ความ สำ� คั ญ ใ น ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ไว้ ซึ่ ง วัฒนธรรมไทย โดยให้ความสำ�คัญ กั บ การปลู ก ฝั ง เด็ ก และเยาวชน ซึ่ ง เป็ น คนรุ่ น หลั ง เพื่ อ จะได้ สืบทอดภูมิปัญญาประจำ�ท้องถิ่น ต่ อ ไปในภายภาคหน้ า จึ ง จั ด ทำ� โครงการสื บ สานศิ ล ปะพื้ น บ้ า น รำ�มโนราห์ แ ละหนั ง ตะลุ ง โดย ประชาสัมพันธ์ให้เยาวชนในชุมชน มาเรียนรำ�มโนราห์และหนังตะลุงฟรี ในทุกช่วงปิดภาคเรียน เพือ่ สนับสนุน การอนุ รั ก ษ์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมไทย เปิดโอกาสให้เยาวชนในท้องถิ่นที่ด้อยโอกาสทาง การเงินสามารถมาเรียนหนังตะลุงและมโนราห์ได้ อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น การเผยแพร่ ศู น ย์ เรี ย นรู้ ภู มิ ปั ญ ญา พื้นบ้านมโนราห์และหนังตะลุงให้เป็นที่รู้จัก และ เป็ น การสร้ า งขวั ญ กำ�ลั ง ใจให้ กั บ ครู ผู้ ส อนหรื อ

เด็กชายธนกร พูลเกลี้ยง หรือน้องต่อ อายุ ๑๒ ปี ที่มี ปั ญ หาเรื่ อ งกระดู ก ขาและต้ อ งเข้ า รั บ การรั ก ษา ทุกเดือน เล่าว่า ได้เริ่มเรียนมโนราห์ตั้งแต่อยู่ ป.๑ ปัจจุบันอยู่ ป.๕ มักได้รับบทแสดงเป็นนายพราน ในเรื่องมโนราห์ แสดงมาแล้วหลายเวที เคยได้เงิน ตั้งแต่ ๓,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาท ในการแสดงใหญ่ๆ และ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ บาท ในการแสดงเล็ ก ๆ ค่ า ตอบแทนที่ ไ ด้ แ ต่ ล ะครั้ ง เขาจะนำ�ไปให้ แ ม่ ใช้ จุนเจือครอบครัวและใช้รักษาตัว

“หนังเคล้าน้อย โรจนเมธากุล” หนังตะลุงชั้นครู แห่งภาคใต้ กับประสบการณ์ที่สะสมมาชั่วชีวิต ได้ถา่ ยทอดภูมปิ ญ ั ญาศิลปะ “หนังเงา” ให้คนรุน่ หลัง ได้ รั ก ษ์ แ ละสื บ ทอดต่ อ ไป เพื่ อ ไม่ ใ ห้ ห นั ง ตะลุ ง หายไปจากแผ่นดินไทย กฟผ. ขอเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนเพื่อรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็น เอกลักษณ์ของปักษ์ใต้สืบไป


๔๔

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

กฟผ. ไม่ไปไม่รู้

Unseen EGAT

เที ย ่ วเชิ ง นิ เ วศ พักโฮมสเตย์อบอุ๊น...อบอุ่น ที่บ้านดง

เรื่อง: แผนกสื่อมวลชนสัมพันธ์ กองชุมชนสัมพันธ์ ฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

ธรรมชาติตระการตา

พระบาทนารองเด่นสง่า

เจ้าพ่อประตูผาคู่เมือง

ลือเลื่องภาพเขียนสี

แหล่งวัฒนธรรมโบราณคดี คนเมืองนี้นํ้าใจงาม

จากคำ � ขวั ญ ของตำ � บลบ้ า นดง อำ � เภอแม่ เ มาะ จั ง หวั ด ลำ � ปาง ทำ � ให้ รู้ ว่ า “บ้านดง” ก็มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวไม่แพ้กัน ตำ�บลบ้านดงซึ่งอยู่ทาง ด้านเหนือของอำ�เภอแม่เมาะ ประกอบไปด้วย ๘ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหัวฝาย บ้านดง บ้านท่าสี บ้านจำ�ปุย บ้านกลาง บ้านแม่ส้าน บ้านสวนป่าแม่เมาะ และ บ้านหัวฝายหล่ายทุ่ง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นภูเขาสูง มีพื้นที่ราบตามหุบเขา และเชิงเขา บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอุทยานแห่งชาติถํ้าผาไท ประชาชนในพื้นที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา ทั้งคนเมือง คนอีสาน และชนเผ่ากะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันอย่าง กลมกลืนบนยอดดอยแม่ส้าน โดยจากสภาพภูมิประเทศและประวัติศาสตร์ อันยาวนาน ทำ�ให้ตำ�บลบ้านดงมีแหล่งวัฒนธรรมด้านภาพเขียนสีโบราณปรากฏ อยู่ ห ลายพื้ น ที่ โดยจุ ด สำ � คั ญ พบที่ บ ริ เวณประตู ผ า และล่ า สุ ด มี ก ารค้ น พบ โครงกระดูกมนุษย์โบราณและภาพเขียนสีในสภาพสมบูรณ์ที่หมู่บ้านท่าสี ซึ่งใน อนาคตจะเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำ�คัญอีกด้วย


มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

๔๕

จากที่ เ กริ่ น นำ � ไป พวกเราจึ ง ขออาสาพาผู้ อ่ า นไปสั ม ผั ส บรรยากาศตำ � บล บ้านดงแบบเรียบง่ายสไตล์บ้านๆ ซึ่งอาจเป็นปลายทางของการพักผ่อนของคุณ หรื อ ใครอี ก หลายคนที่ อ ยากไปสั ม ผั ส เมื่ อ เป็ น เช่ น นี้ แ ล้ ว ที่ พั ก ซึ่ ง ถื อ เป็ น เรื่องสำ�คัญของการรองรับการท่องเที่ยวจะมีไหมหนอ ขอแนะนำ�บ้านพักน่ารักๆ แบบพื้นเมืองคือ “บ้านกาแฟจ๋า” ที่ให้บริการโฮมสเตย์ โดยมีเจ้าของชื่อว่า “พีห่ มู” อดีตสถาปนิกผูช้ นื่ ชอบศิลปะการออกแบบและมีแนวคิดการทำ�โฮมสเตย์ แบบ "สวนทาง" ได้ให้นยิ ามว่า เป็นการให้คา่ ในสิง่ ทีค่ นอืน่ ไม่ให้คา่ โดยโครงสร้าง ของบ้านนำ�มาจากไม้เหลือใช้ ทัง้ จากโรงเลือ่ ย ไม้ฟา้ ผ่า ไม้ลม้ หมอนนอนไพร ฯลฯ แต่คุณค่าและระยะเวลาในการเติบโตของแต่ละต้นใช้เวลายาวนาน ส่วนในการ ตกแต่งได้ใช้ “หวาย” ซึ่งเป็นไม้ที่หาได้ง่ายในชุมชนมาตกแต่งอย่างสวยงาม ทั้งหลัง นอกจาก “สวนทาง” แล้ว เมื่อมาพักในบ้านนี้จะพบกับความใส่ใจ ในรายละเอียดของการออกแบบ การถ่ายเทอากาศในห้องพักทำ�ให้เย็นสบาย ตลอดทุ ก ฤดู และการใช้ ก ากกาแฟมาตกแต่ ง ฝาอาคารให้ เ ป็ น แนววิ น เทจ เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เอง ฯลฯ โฮมสเตย์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ซอย ๑ ทางเข้าวัดจำ�ปุย หมู่บ้านจำ�ปุย ตำ�บลบ้านดง อำ�เภอแม่เมาะ ริมถนนสายลำ�ปาง-งาว

สำ�หรับบ้านกาแฟจ๋านั้น สามารถรองรับแขกได้สูงสุด ๑๒ ท่าน โดยราคาห้องเริม่ ต้นที่ ๖๕๐ บาท ถ้ามาเป็นครอบครัวสามารถเพิม่ เตียงเสริมได้ในราคา ๑๕๐ บาท หรือสามารถเข้าพักพร้อมแพ็คเกจ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในราคา ๑,๘๐๐ บาท โดยสามารถเข้าชม วิถีชีวิตชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการทำ�สินค้า ตะกร้า เก้าอี้จากหวาย การปลู ก กาแฟ วิ ถี ชี วิ ต ชนเผ่ า ในพื้ น ที่ อาทิ กะเหรี่ ย ง ละหู่ อิ่ ว เมี่ ย น และดื่ ม ดํ่ า กั บ ธรรมชาติ ทั้ ง กล้ ว ยไม้ ป่ า นํ้ า ตก ถํ้ า และล่องแก่งชมธรรมชาติ นอกจากนี้ถ้าชื่นชอบกาแฟ ในโฮมสเตย์ ยังมีการสาธิตกรรมวิธผี ลิตเม็ดกาแฟสด และมีอปุ กรณ์ท�ำ กาแฟสด ให้ชงดื่มด้วยตัวเองอีกด้วย สำ�หรับผู้สนใจ ติดต่อจองล่วงหน้าได้ที่ โทร. ๐๘-๑๗๙๖-๙๒๔๖ หรื อ สอบถามข้ อ มู ล ได้ ที่ ร้ า นกาแฟ ดอยแม่สา้ น บริเวณศาลเจ้าพ่อประตูผา ถนนสายลำ�ปาง-งาว ได้อกี ช่องทางหนึ่ง หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบดื่มกาแฟ รักธรรมชาติ และสนุกกับรายละเอียดน่ารักๆ บอกได้เลยว่า "บ้านกาแฟจ๋า Coffee Lodge" เลขที่ ๑๑๑ หมู่บ้านจำ�ปุย ตำ�บลบ้านดง อำ�เภอแม่เมาะ เป็นโฮมสเตย์เปิดใหม่ล่าสุดที่พลาดไม่ได้ในการพักผ่อนยามว่าง


เมื่ อ ท่ า นแวะตำ � บลบ้ า นดง อย่ า ลื ม ไปสั ก การะรอยพระพุ ท ธบาท วัดพระบาทนารอง เพราะมีความเชื่อว่า รอยพระพุทธบาทเกิดขึ้นจากการ ประทับรอยพระบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงบนศิลาหรือสถานที่ ต่างๆ ตามคำ�ทูลขออาราธนาของผู้มีจิตศรัทธาเพื่อไว้เป็นที่เคารพสักการบูชา ลักษณะของรอยพระพุทธบาทจะมีลักษณะเหมือนรอยเท้า บ้างเป็นสี่เหลี่ยม ผืนผ้า บ้างเป็นวงรี มีลักษณะพิเศษคือ มีขนาดใหญ่กว่ารอยเท้ามนุษย์ทั่วไป และอาจมีรอยกงจักรอยู่กลางพระบาทด้วย องค์ ส ถู ป เจดี ย์ พ ระบาทนารองสร้ า งขึ้ น เมื่ อ วั น ที่ ๒๔ กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๓๑ โดยสร้ า งครอบรอยพระพุ ท ธบาทเพื่ อ ความสะดวกในการปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ ของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน พระบาทจะหันไปยังทิศตะวันออก และใน ทุ ก ๆ ช่ ว งเทศกาลปี ใ หม่ เ มื อ ง เดื อ นเมษายน (เดื อ น ๗ เหนื อ ) ของทุ ก ปี จะมีการทำ�บุญสรงนํ้าตามประเพณี ซึ่งในอดีตแต่เดิมเมื่อยังไม่มีการสร้างวัด มีผคู้ นเข้ามาปฏิบตั พิ ธิ กี รรมโดยใช้ใบตองทำ�เป็นรูปบาตร เพือ่ นำ�ข้าวต้มข้าวหนุน ไปถวายรอยพระพุทธบาทเป็นประจำ�ทุกปี


๔๗

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

เรื่องปากเรื่องท้องก็สำ�คัญ ขอแนะนำ� ก๋วยเตี๋ยวเจ๊หอย ก๋วยเตี๋ยวกันเอง หรือ ก๋วยเตี๋ยวหัวฝาย สุดแล้วแต่ลูกค้าอยาก จะเรียก “เจ๊หอย” หรือพี่วันดี มณีวรรณ เจ้ า ของร้ า นอั ธ ยาศั ย ดี ค นนี้ เขาก็ ไ ม่ ว่ า อะไร ร้านนี้ขายก๋วยเตี๋ยวมากว่า ๑๘ ปี แล้ว มีทั้งนํ้าใส นํ้าตก และเย็นตาโฟ ก็ดูธรรมด๊าธรรมดา ที่ไหนๆ ก็มี ลองมา ดูความไม่ธรรมดากันดีกว่า เริม่ จากราคา ก๋วยเตี๋ยวเด็กขาย ๑๐ บาท ก๋วยเตี๋ยว ผู้ใหญ่ขาย ๒๐ บาท ถูกมากๆ ต่อด้วย บรรยากาศในร้านที่กันเองสมชื่อ เพราะเมื่อเข้าไปจะเห็นลูกค้า ลวกเส้น ลวกผักเอง เสิร์ฟเอง ถือชามก๋วยเตี๋ยวมานั่งห้อยขา ขัดสมาธิรับประทานอย่างสบายอารมณ์ เจ๊หอยบอกว่า ยิ่งถ้าเป็น วันเสาร์-อาทิตย์ แทบไม่ได้จับตะกร้อลวกก๋วยเตี๋ยว เพราะเด็กๆ ในหมู่บ้านจะมาแย่งลวกก๋วยเตี๋ยวเองอย่างสนุกสนาน และต้อง ขอเตือนลูกค้าว่า ถ้าไปเวลาเที่ยงตรง ของจะเริ่มหมด โดยเฉพาะ หมูหมักทีท่ ง้ั นุม่ ทัง้ เปือ่ ยจะหมดก่อน เจ๊หอยบอกสูตรแบบไม่หวงวิชา ว่า การหมักหมูต้องใช้เครื่องเทศธรรมชาติคือ แป้งมัน นํ้ามันหอย ซีอิ๊วขาว เคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ ๑ คืน จะอร่อยกว่าใช้ผงปรุงรส สำ�เร็จรูป อีกอย่างที่ตั้งใจทำ�ให้ลูกค้าคือ ถั่วกับพริกป่นต้องทำ�เอง

นอกจากจะอิ่มท้องในราคาเบาๆ แล้ว ลูกค้าจะอิ่มใจ กั บ บรรยากาศของร้ า นที่ อ ยู่ ใ นศาลากว้ า งของ ศูนย์สาธิตการตลาดบ้านหัวฝาย ติดกับลานกีฬา ต้านยาเสพติด ดูๆ ไปเหมือนเป็นศูนย์อาหารหรือ ศู น ย์ ก ลางของชุ ม ชนเสี ย มากกว่ า การเดิ น ทาง ไปไม่ยาก จากถนนเส้นหลักผาลาด-แม่เมาะ มาถึง สามแยกบ้ า นห้ ว ยคิ ง เลี้ ย วซ้ า ยเลาะคลองส่ ง นํ้ า แม่ขามไปประมาณ ๙ กิโลเมตร ถึงแยกหนองบอม ที่มีศาลาขายปลา เลี้ยวขวาไปทางหมู่บ้านหัวฝาย จนถึงวัดหัวฝาย เลยไปอีกนิดประมาณ ๕๐ เมตร ก็จะถึงร้านก๋วยเตีย๋ วติดถนนด้านซ้ายมือ ไปชิมกันได้ ทุกวันไม่มีวันหยุด เริ่มขายกันตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. อย่าลืม! เที่ยงหมด อดนะจ๊ะ เจ๊หอยฝากบอก นี่ แ ค่ ส าธยายให้ ฟั ง ก็ ส นุ ก แล้ ว ลองมาสั ม ผั ส บรรยากาศแบบบ้านๆ ที่ตำ�บลบ้านดงกันดู ไม่ไกล จากแม่เมาะ ยิ่งหน้าหนาว ก็หนาวสะเด็ด สนุก ฝุดฝุดคร้าบ


๔๘

มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘

ท้ายเล่ม

โลหะหนั ก จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน

LAST Page

เรื่อง: กองสารสนเทศ ฝ่ายสื่อสารองค์การ

ออกจากโรงไฟฟ้ า และปริ ม าณที่ อ ยู่ ใ นธรรมชาติ จ ริ ง แล้ ว นำ � มาเปรี ย บเที ย บกั บ ค่ า มาตรฐานเพื่ อ ดู ว่ า เกิ ด การสะสมหรือไม่ และจะต้องรายงานผลการตรวจวัด ดั ง กล่ า วแก่ สำ � นั ก งานนโยบายและแผนทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ท่านทราบหรือไม่ว่า โลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เป็นประจำ�ทุกปี เช่น ตะกัว่ ปรอท และสารหนู เป็นสารทีม่ อี ยูใ่ นธรรมชาติ สารเหล่ า นี้ ส ามารถเข้ า สู่ ร่ า งกายโดยไม่ รู้ ตั ว จาก ผลการตรวจวัดค่าความเข้มข้นทั้งจากนํ้าทิ้งและปล่อง สิ่งแวดล้อม (ดิน นํ้า อากาศ) อาหาร เครื่องสำ�อาง โรงไฟฟ้ า ตลอดจนการตรวจวั ด ในธรรมชาติ ได้ ผ ล หรือจากข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สาเหตุของการ เป็นที่น่าพอใจ เพราะดีกว่าค่ามาตรฐานหลายพันเท่าตัว ปนเปื้อนจากธรรมชาติมาจากกระบวนการผลิตวัตถุดิบ โดยมีผลการตรวจวัดล่าสุด ดังนี้ ผลการตรวจวัดในบรรยากาศรอบโรงไฟฟ้า และสารเคมีที่ถูกปล่อยเป็นของเสียออกมาจากโรงงาน ค่าความเข้มข้น ค่ามาตรฐาน (3 ) อุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้ ง โรงไฟฟ้ าถ่ านหิ น โลหะหนัก (นาโนกรัม/ลูกบาศก์เมตร) (นาโนกรัม/ลูกบาศก์เมตร) เนื่ อ งจากถ่ า นหิ น มี โ ลหะหนั ก ผสมอยู่ ไ ม่ ม ากก็ น้ อ ย ปรอท <0.000888 500 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงอุตสาหกรรม สารหนู <0.278 300 ตะกั่ว <0.112 100 กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี กระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม และกระทรวง ผลการตรวจวัดจากปล่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ค่าความเข้มข้น ค่ามาตรฐาน (1 ) สาธารณสุ ข จึ ง ได้ กำ � หนดมาตรฐานและปรั บ ปรุ ง ให้ โลหะหนัก (มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร) (มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร) ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ปรอท 0.00083 2.4 *

*

ยกตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงดำ�เนินงานมากว่า ๓๐ ปี ใช้เทคโนโลยี ประสิ ท ธิ ภ าพสู ง ที่ ช่ ว ยกำ � จั ด ฝุ่ น และมลสารต่ า งๆ ขณะเดียวกันก็สามารถกำ�จัดโลหะหนักไม่ให้ออกไปสู่ สิ่งแวดล้อมได้พร้อมๆ กัน เช่น ขี้เถ้าลอยที่ออกมากับ ไอเสียจะถูกดักจับโดยเครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต ซึ่งโลหะหนักส่วนมากมักจะถูกกำ�จัดออกไปในขั้นตอนนี้ สูงกว่าร้อยละ ๙๙ ระบบกำ�จัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และระบบกำ � จั ด ก๊ า ซออกไซด์ ข องไนโตรเจน และที่ สำ�คัญไม่ต่างกันคือ โรงไฟฟ้ามีมาตรการในการตรวจวัด ปริมาณโลหะหนักเป็นประจำ�ทุกปี ทั้งมลสารที่ระบาย

EGAT magazine

สารหนู ตะกั่ว

0.001 0.011

16 24

โลหะหนัก ปรอท สารหนู ตะกั่ว

ผลการตรวจวัดนํ้าในธรรมชาติรอบโรงไฟฟ้า ค่าความเข้มข้น ค่ามาตรฐาน (1*) (มิลลิกรัม/ลิตร) (มิลลิกรัม/ลิตร) <0.0005 0.002 <0.0046 0.01 <0.005 0.05

โลหะหนัก ปรอท สารหนู ตะกั่ว

ผลการตรวจวัดจากนํ้าทิ้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ค่าความเข้มข้น ค่ามาตรฐาน (2*) (มิลลิกรัม/ลิตร) (มิลลิกรัม/ลิตร) <0.0005 <0.005 <0.0328 <0.25 <0.005 <0.5

(๑)  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือ่ ง กำ�หนดค่าปริมาณ ของสารเจื อ ปนในอากาศที่ ร ะบายออกจากโรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ (๒)  ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๙) เรื่อง กำ�หนด มาตรฐานควบคุ ม การระบายนํ้ า ทิ้ ง จากแหล่ ง กำ � เนิ ด ประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม (๓)  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรือ่ งการกำ�จัดสิง่ ปฏิกลู หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘ เช่นเดียวกับโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ๆ ของ กฟผ. นอกจากตรวจวัดมลภาวะอืน่ ๆ จากโรงไฟฟ้า แล้ว ยังต้องมีการตรวจวัดโลหะหนักในธรรมชาติ ได้แก่ ดิน สัตว์ และพืช ผัก ผลไม้ ทั้งก่อนและหลังโครงการ อยู่เป็นประจำ� ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะระบุ ไว้ เ ป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรในรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ผลการตรวจสอบจะต้องนำ�เสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยสูส่ าธารณะ เพือ่ สร้างความมัน่ ใจให้ประชาชน ในพืน้ ทีส่ ามารถใช้ชวี ติ อยูก่ บั โรงไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย โดยปราศจากความวิตกกังวล

จัดทำ�โดย ฝ่ายสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษา ธาตรี ริ้วเจริญ เยาวลักษณ์ โหตรภวานนท์ ยุวดี ธงสุวรรณ รัชดา ทองอยู่ อนิรุจน์ เอี่ยมกิจการ ศรดิษฐ ชื่นชูศักดิ์ บรรณาธิการ ยุทธชาติ เพียรมานะกิจ หัวหน้ากองบรรณาธิการ ณัฐกา ปีตะเสน กองบรรณาธิการ กฤษณ์ สุนทรชาติ แพรวพิสาข์ เถาลัดดา ชโลบล ธงปราริน อั ค รพล รั ก ศรี รุ่ ง เรื อ ง สุ ริ น ทร์ หล่ อ ฤ ๅทั ย ภาพและศิ ล ปกรรม กองผลิ ต สื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ ฝ่ า ยสื่ อ สารองค์ ก าร สมาชิกและจัดส่ง แผนกบริการงานเผยแพร่ โทร. ๐-๒๔๓๖-๔๘๒๑ จัดพิมพ์โดย กองผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสาร องค์การ สำ�นักกองบรรณาธิการ แผนกข่าวสารประชาสัมพันธ์ภายใน อาคารประชาสัมพันธ์ กฟผ. สำ �นักงานใหญ่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อำ�เภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๓๐ โทร. ๐-๒๔๓๖-๔๘๒๓ EGAT magazine เผยแพร่ความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าและการดำ�เนินงานของ กฟผ. ทั้งนี้ ความคิดเห็นเป็นของผู้เขียน มิใช่ของ กฟผ. บรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขหรือปรับปรุงต้นฉบับเพื่อความเหมาะสม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.