PROPOSAL
SOCIAL MEDIA OPTIMIZATION (SMO) STRATEGY BY PUBLIC RELATION DEPARTMENT
เหตุจากที่พยายามที่จะเขียนรายงาน ฉบับนี้ให้มีประโยชน์มากที่สุด ทำ�ให้อาจจะ หนา หรือข้อมูลมากเกินไป ขวัญจึงแก้ทำ�หน้าสารบัญขึ้นมาให้ค่ะ หากอาจารย์อยากข้ามประเด็นใด หรือสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ จะได้สะดวก ต่อการอ่าน ขออภัยที่ต้องส่งเป็น PDF นะค่ะ เนื่องด้วย ในบางประเด็นจำ�เป็นที่จะต้องมีรูปภาพ ประกอบ
Table of Content True story ที่ทำ�ให้เราต้องหันกลับมามอง Social Media.................................................................................................4 Define Traditional VS New Media in the digital era...................................................................................6 New Media.................................................................................................................................8 Social Media..............................................................................................................................10 Statistics & Poll Results............................................................................................................................................17 The Wave 3 Report ของ Universal Maccan..................................................................................18 100 แบรนด์สินค้าที่ใช้ Social Media ในการทำ� online marketing มากที่สุดในปี 2008............................19 พฤติกรรมการใช้ Social Network....................................................................................................20 ตัวเลขเปรียบเทียบ Unique Visitors รายเดือน ของ Facebook, Myspace และ Twitter..............................21 10 อันดับเว็บไซต์ของไทย ส.ค. 2009/2552........................................................................................23 50 เว็บไซต์ที่คนไทยเข้ามากที่สุด.....................................................................................................24 ตัวเลขการใช้งบโฆษณากับสื่อต่างๆ ในปี 2009...................................................................................25 Case Studies ครบสูตร Digital Marketing กับภาพยนตร์ของเยอรมันเรื่อง Bruno ของ Universal....................................27 กลยุทธ์ KTC บน Facebook KTC Privilege.......................................................................................30 เจาะลึก Facebook อะไรที่ทำ�ให้ facebook มาแรงแซงโค้งขนาดนี้ ?........................................34 จำ�นวนสมาชิก Facebook ในประเทศไทย................................................35 เจาะลึก Twitter ตัวอย่างการใช้ Twitter ในธุรกิจต่างๆ.......................................................38 เพื่อดูว่าใครพูดถึงม.กรุงเทพบ้างใน Twitter................................................39 Ideas & Suggestions Process....................................................................................................................................................41 1. UGC (User Generated Content)...............................................................................................42 2. Blog / Microblogs....................................................................................................................43 3. Online Videos.........................................................................................................................44 4. Personal Social Network..........................................................................................................45 5. Photo Sharing.........................................................................................................................46
Page 2
“ธุรกิจของฉันไม่ได้เน้นด้านออนไลน์” อาจจะต้องคิดใหม่ เพราะ ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเกี่ยวข้องกับระบบออนไลน์ หรือไม่ก็ตาม แต่ธุรกิจของคุณจะเกี่ยวพันกับเครือข่าย ในสังคมออนไลน์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะลูกค้าของคุณ คู่ค้าของคุณ แม้แต่เพื่อนฝูง หรือ คนในองค์กร ของคุณได้เข้าไปมีบทบาทหรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสังคมออนไลน์ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่การสนทนาในบางครั้งอาจจะโยงใยเข้ามาถึง ธุรกิจของ คุณได้ นั่นหมายถึงว่า บริษัทที่ไม่ได้พิจารณา หรือ ผนวก Social Media ไว้ เป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ หรือ แผนการตลาดรวม กำ�ลังเสียโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าไปอย่างน่าเสียดาย
original media กำ�ลังถูกรุกหนักจาก Social media เพราะพื้นที่ของ social networking ขยายตัวมากขึ้น และถูกประเมินแล้วว่าไม่ใช่เรื่องของ fashion แต่ เป็น trends “ผมมองว่าตอนนี้เป็นยุคดิจิตอล ไม่ใช่แค่ทำ�เว็บไซต์ขึ้นในโลกออนไลน์ แต่เรา ต้องหาสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ซึ่งเป็นสังคมของลูกค้าจริงๆ เพื่อให้ เกิดการเข้าถึงลูกค้าแบบใกล้ชิดมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง” “ทุก branding ควรเข้าร่วมใน network นี้ เพราะ customer มักจะมาจาก non customer เสมอ” เขากล่าวด้วยว่า สิ่งที่อยู่ใน pantip.com หรือใน MSN ก็กำ�ลังถูกถ่ายโอนมาอยู่ที่ twitter มากขึ้นด้วย ธันยวัฒน์ บรรณาธิการรับเชิญในหนังสือการตลาดหลายฉบับ และอาจารย์พิเศษด้านการบริหาร brand
Page 3
True story ที่ทำ�ให้เราต้องหันกลับมามอง Social Media ค่ะ
วู้ดดี้ มิลินทจินดา พิธีกรชื่อดังและเจ้าของรายการ ‘วู้ดดี้ เกิดมาคุย’ เขากล่าวว่า เขาได้รับประสบการณ์ที่แปลกจาก twitter คือ ในช่วงหลายเดือนก่อน เขาได้ tweet message บ่นเรื่องคุณภาพและบริการของโทรมือถือยี่ห้อหนึ่ง อย่างต่อเนื่องว่า ทำ�ไม”ห่วย”และแย่ ได้ขนาดนี ้ ซึ่ง followers ของเขาที่มีจำ�นวนมากก็ได้ share comment มากมาย ต่อมามี top executive ของบริษัทโทรมือถือรายนั้น โทรเข้าหาเขาโดยตรงและเสนอว่า “Woody คุณต้องการอะไร หรือมีปัญหาอะไรให้ผมช่วยหรือเปล่า” “หลังจากนั้นมือถือผมก็ใช้งานได้ดีมากๆ และผมต้องชมผ่าน tweet เลยว่าบริษัทนี้เป็นอันดับหนึ่ง ในใจเลย เพราะเขาติดตามสนใจใน social network และทำ�วิกฤตให้เป็นโอกาสได้ดี” กรณีเหมือนกับที่เขาเคยทดลองขับ new Toyota Camry hybrid และสนใจจะจองซื้อ จึงได้ tweet message ออกไป ปรากฏว่าเขาได้รับ reply message ต่อเนื่องไปจนถึงตี 2 ในด้านที่ดีและไม่ดี ซึ่ง ทำ�ให้เขาคิดว่า หากศูนย์บริการของ Toyota Thailand เข้ามาอยู่ใน network ด้วยก็น่าจะดี
Page 4
1. Define ส่วนแรกนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานค่ะ ที่จะช่วยให้อาจารย์ได้เข้าใจว่าประเภทของ New Media Social Media Social Network คืออะไร เกิดขึ้นมีผลกระทบกับการตลาด พฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างไร
Page 5
Traditional VS New Media in the digital era. ก่อนเข้าเรื่อง New Media ขอท้าวความว่าทำ�ไมประเด็นของ Social Media ถึงมาแรงนัก ที่เรารู้กันอยู่แล้วนะค่ะว่า เทคโนโลยีมีส่วนสำ�คัญที่ท�ำ ให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม (Internet will change everything) ทำ�ให้ผู้บริโภคหรือนักการตลาดต้องศึกษาข้อมูลและปรับตัว ขอยกตัวอย่างของการวิจัยที่ บริษัท โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์คส ทำ�ไว้ พบว่า • ภายใน 5 ปีประเทศไทยจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เกิน 30 ล้านคน • ในปี 2556 จะมีผู้ใช้ wi-fi อินเทอร์เน็ต 12 ล้านคน • จะมีบริการใหม่ๆ (Content On Demand)เกิดขึ้น ในราคาที่ถูกลง • โดยเฉพาะปี 2556 จะมีพลโลก 75% สื่อสารกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเราจะต้องพิจารณาว่าจะใช้สื่อเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดอย่างไร จะเข้าไปดูบทความเต็มๆ ก็ได้ค่ะที่ http://www.aircardshop.com/AIRCARD-EDGE-3G-AIS-DTAC-Sierra-2-142.html อีกทั้งนะค่ะ ถ้าเรามองในมุมของผู้บริโภคสื่อ จะเห็นว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันมีความฉลาดมากขึ้น โดยเฉพาะการหาข้อมูล และการแบ่งปันข้อมูล โดยจะไม่ยอมเป็นผู้ถูกกระทำ�จากนักการตลาดเหมือน สมัยก่อนที่โดนชักจูงอย่างเดียว จะมีการหาข้อมูลเอง (Search) และถ้าเราสังเกตกันดีๆ นะค่ะ จะเห็นว่า เค้าจะไม่หาข้อมูลจากเว็บของบริษัท นั้นๆ แต่บางทีเป็นข้อมูลจากผู้ใช้ด้วยกันเองแล้วมา เขียนเว็บแบ่งปัน หรือ review ไว้ ที่ชัดเจนสุดและอาจารย์ก็น่าจะรู้จัก ก็คงหนีไม่พ้น Pantip cafe โดยคนกลุ่มนี้จะมาเล่าประสบการณ์การใช้สินค้า หรือการบริการจริงๆ (บางครั้งก็ท�ำ เหมือน) มันก็ คือการตลาดแบบ word of mouth ที่เราคุ้นกันดี หากเราวิเคราะห์ กันดีๆแล้วจะพบว่า เราไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ได้ แต่ต้องเป็นผู้คอยอำ�นวยความสะดวก หรืออีกกรณีหนึ่งนะค่ะ จากตัวขวัญเองถ้าเราอยากจะไปพักผ่อนที่ไหน เรา คงเลือกที่จะใช้ google นี่แหละค่ะ เป็นตัวช่วยมากกว่ากดไปถาม bug 1113 หรือเข้าไปอ่าน review ที่มีคนเขียนไว้เป็นประสบการณ์และถ่ายรูปมาให้เราดู ซึ่งจะเห็นได้ชัดและพิสูจน์ได้ชัดเจนว่า review นั้นมีส่วนช่วยในการตัดสินใจจริงๆ
Page 6
ถ้าเราดูว่าเทคโนโลยีมีผลกับคนอย่างไร....... จะเห็นว่า เทคโนโลยีแบ่งคนออกเป็นสองยุค คือ กลุ่ม Old Generation และ Young Generation โดยเปรียบเทียบความแตกต่างกันใน เรื่องของความเร็ว (Speed) คนรุ่นเก่า ดูทีวี แล้วเห็นโฆษณา อยากได้สินค้า จึงเดินไปซื้อของ คนรุ่นใหม่ ดูข่าวสารต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ หากสนใจสินค้าสามารถ คลิกสั่งซื้อได้ทันที แม้แต่ตอนประชุม คนรุ่นเก่า ไม่สามารถรับโทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามาขณะนั้นได้ คนรุ่นใหม่ ประชุมไปด้วย ส่ง SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ BB ซึ่ง BB กำ�ลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นและดารา ที่เราจะเห็นเค้าพูด กันบ่อยว่า BB คุยกัน รวมถึงยังแชต MSN กับเพื่อนอีกห้าคนในจอ คอมพิวเตอร์ได้ในเวลาเดียวกัน การสร้างมิตรภาพระหว่างกัน คนรุ่นเก่า แนะนำ�ตัวด้วยการแจกนามบัตร คนรุ่นใหม่ จะชักชวนให้ไปดูประวัติตัวเองในเว็บ hi5 แล้วจะรู้ว่ามี เครือข่ายแยะขนาดไหน!?
ทำ�ให้เราต้องยอมรับว่า ลมดิจิตอลกำ�ลังมาแรง และธุรกิจทุกๆ ประเภทถ้าไม่อยากตกยุค หรือพลาดช่องทางการ สื่อสารกับกลุ่มคนรุ่นใหม่
เราคงต้องหันมาสนใจกับโลก Digital กันแล้วล่ะค่ะ เพราะกลุ่มเป้าหมายของ มหาวิทยาลัยเราคงหนีไม่พ้นคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ จะเห็นว่าไม่แม้แต่ CNN ช่องข่าวต่างประเทศ ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีก็หันมาใช้ twitter และใครจะเชื่อค่ะว่ามีผู้ ติดตามหรือ follower ของ CNN อยู่ถึง ล้านกว่าคน (ในขณะที่ขวัญเขียนบทความอยู่นะค่ะ) ตัวเลขล้านกว่าคนนี้ ถ้าอาจารย์ท่านใดไม่เคยเล่น twitter อาจสงสัยว่ามันจะสร้าง impact ได้อย่างไร ขออธิบายง่ายๆ ว่าแต่เดิมถ้าเรา ต้องการส่งสารไปหากลุ่มเป้าหมายเรา เราอาจต้องใช้สื่อต่างๆ เช่น วิทยุ หรือ แผ่นพับ คล้ายกับว่า “สารเดินทาง ไปหาผู้ฟัง” ซึ่งก็สนใจบ้างไม่สนใจบ้าง แต่ในทางกลับกัน สี่แสนคน ใน twitter คือ สี่แสนคนคนที่สนใจข่าวของ CNN และต้องการทราบความเคลื่อนไหวหรืออาจเรียกว่าแฟนพันธ์แท้ ซึ่งเมื่อ CNN ต้องการปล่อยสาร แค่พิมพ์ ไปที่ twitter หรือที่เค้าเรียกว่าการ tweet พิมพ์เพียง 1 ครั้ง เราจะสามารถคุยกับคนได้ทีเดียวครึ่งล้านคนค่ะ จะ เห็นว่า ไม่ต้องใช้เงินเป็นแสนพิมพ์แผ่นพับ หรือโปสเตอร์แค่ท�ำ เว็บบล็อก หรือเขียนในเว็บเด็กดี หรือแค่ twitter ก็ สามารถปล่อยสารได้แล้ว ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเราคือกลุ่มวัยรุ่นนี้หาข้อมูลและอ่านข่าวสารในเน็ตอยู่ แล้ว
Page 7
New Media New Media ถ้าอธิบายง่ายๆ สุดๆ นะค่ะ คือ Media (สื่อ) ที่ใช้ Information-Technology (IT, ไอที ในมุมกว้าง = internet) เข้ามาเป็นช่องทาง ช่วยส่งเสริมให้สื่อนั้นสามารถแพร่กระจายออกไปสู่สาธารณะ และผู้ที่เข้าถึง IT ก็สามารถที่จะเป็นทั้ง ผู้รับ และ ผู้ส่ง ได้ในคนเดียวกัน New Media ยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มคนเมืองและคนรุ่นใหม่ และยัง มีส่วนสำ�คัญให้เกิด Search Engine Marketing หรือ Search Engine Optimization (จะอธิบายในอีก ครั้งนะค่ะ) หรือ การตลาดที่เกิดจากการค้นหาข้อมูล ที่ถือว่า ตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ต้องการหาข้อมูลมาเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า เช่น ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการเงิน
ซึ่งประโยชน์จะชัดเจนมากคือการทำ�ให้ผลลัพธ์ที่ user ค้นหาผ่านทาง search engine เช่น Google เมื่อพูดถึงการศึกษาจะต้องปรากฏเว็บไซต์ ของ ม.กรุงเทพในอันดับต้นๆ ค่ะ ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่กำ�ลังมาแรงและได้ผลอย่างสูงค่ะ
Page 8
ขวัญขอเอาบทความที่ ผู้จัดการ รายสัปดาห์ เคยเขียนไว้มาอ้งอิงนะค่ะ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำ�กัด ที่มั่นใจว่า นิวมีเดีย และ ซีเอสอาร์ จะยังคงเป็นเทรนด์การสื่อสารทางการตลาดในปี 2552
“ปีนี้นิวมีเดีย และซีเอสอาร์มีบทบาทอย่างเห็นได้ชัด เพราะนิวมีเดีย วัดผลได้ รู้ว่าเข้าถึง ใคร ส่วนซีเอสอาร์ยังจำ�เป็นที่ช่วยเรื่องภาพลักษณ์ มีผลป้องกันและแก้ปัญหาเรื่อง Crisis Communication ดังนั้นจะเห็นองค์กรต่างๆหยิบมาใช้อย่างต่อเนื่อง” ดนัยกล่าว “หลังเกิดวิกฤติต้มยำ�กุ้งธุรกิจพีอาร์โตทุกปี เฉลี่ยปีละ 15-20% ขณะที่ธุรกิจอื่นตก
แต่พีอาร์ต้องปรับรูปแบบ คือ ไม่ให้ผลเฉพาะเรื่องอิมเมจอย่างเดียว ต้องเข้ามาช่วยในเรื่อง มาร์เก็ตติ้งและการขายด้วย เช่น ทำ�ซีอาร์เอ็ม สร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ เป็นต้น หากทำ�ได้พีอาร์ก็จะแรงยิ่งขึ้น”ดนัยเสริม นอกจากการสื่อสารการตลาดข้างต้น ยังมีอีกหลายเทรนด์ที่มาแรงสำ�หรับปี 2552 เช่น Social Network ที่เกิดจากจำ�นวนสมาชิกของเวบ ไซต์ที่เป็นแหล่งแสดงความคิดเห็น หรือเป็นสังคมในแต่ละกลุ่ม เช่น Hi5 YouTube เป็นต้น
Page 9
Social Media New Media ที่แรงและชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้น Social Media ซึ่งหากเรามีแนวทางที่จะหันมาสนใจ การตลาดแบบ Social Media ขวัญคงต้องขออนุญาตอธิบายว่าแต่ละประเภท ของ Social Media มีอะไรบ้างเพื่อที่เมื่ออาจารย์จะ ได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมแล้วอาจจะเกิดไอเดียอะไร ที่น่าสนใจทางการตลาด ซึ่งตัวขวัญเองยังไม่ได้มี ประสบการณ์ในเรื่องนี้เท่าที่ควรค่ะ ด้วยเหตุผลว่า เว็บประเภท Social Media ก็จะมี หลายลักษณะด้วยกัน จึงขออธิบายอย่างละเอียดไว้ ก่อนนะค่ะ เพราะถ้าเรารู้ ability
ของ แต่ละ application เราก็จะสามารถ ใช้ประโยชน์จากเว็บเหล่านี้ได้อย่างมี ประโยชน์สูงสุด ค่ะสามารถแบ่งตาม หมวดต่างๆ ได้ดังนี้
Social หมายถึง สังคมออนไลน์ Media หมายถึง เนื้อหา เรื่องราว และบทความ Social Media จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำ�ขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำ�มาแบ่งปันให้กับผู้อื่น ที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำ�ผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ส่วนเนื้อหาของ Social Media โดยทั่วไปเปรียบได้หลายรูปแบบ ทั้ง กระดานความคิดเห็น (Discussion boards), เว็บบล็อค (Weblogs), วิกิ (wikis), Podcasts, รูปภาพ และวิดีโอ เป็นต้น
Page 10
Social Media หมวดการสื่อสาร (Communication) 1. Internet forums
คือบริการสำ�หรับการแสดงความคิดเห็นหรือ อภิปราย ทำ�ให้เกิดชุมชนเสมือนจริง (virtual community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตาม หัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม มีหลายชื่อเรียก เช่น web forums, message boards, discussion boards, discussion forums, discussion groups, bulletin boards
2. Blogs
คำ�นี้เราจะคุ้นกันค่อนข้างมากค่ะ เราอาจจะเห็นคนพูดกันบ่อยๆว่าเขียน blog หรือ โพสขึ้น blog ซึ่ง Blog มาจากศัพท์ค�ำ ว่า Weblog ความหมายของคำ�ว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็น บทความเฉพาะด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น Blogger, WordPress , LiveJournal, TypePad, Vox. ซึ่งสองตัวแรกเป็นที่นิมยมอย่างมากค่ะ ทั้งนี้ ขวัญได้มีการสอนให้นักศึกษาในชั้นเรียนของขวัญเองลองใช้ Blog ในการทำ�งาน กลุ่ม เพื่อเป็นสื่อกลางการคุยกันกับเพื่อนในกลุ่ม เพื่อนร่วมชั้น และกับผู้สอนเอง โดยนักศึกษาจะทำ�การ post ข้อมูลที่ได้ท�ำ การค้นคว้า ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งรูปภาพและวีดีโอ จากนั้น ผู้สอนเหรือเพื่อนๆก็จะสามารถร่วมแสดง ความคิดเห็นได้ค่ะ เช่น http://makeperfect.wordpress.com/ เป็น blog ที่นักศึกษาทำ�ขึ้นค่ะในวิชาเรียนเรื่องการท่องเที่ยวสัตหีบ โดยนอกเหนือจากเขียนสรุปงาน แชร์ ความคิดเห็น เด็กกลุ่มนี้ก็ยังอัพโหลดวีดีโอที่เค้าทำ�เองลงไปด้วยค่ะ จะทำ�ให้ผู้สอน เพื่อนในชั้น เข้าใจและ เห็นภาพตามไปด้วยค่ะ
Page 11
Social Media หมวดการสื่อสาร (Communication) 3. Micro-blogging
ประเภทนี้หลายคนจะสับสนกับ blog ตัวอย่างที่เราคุ้นหูคือ twitter บางคนอาจจะเข้าใจว่าคือ blog แต่จริงๆ แล้วจัดอยู่ในประเภทของ micro-blogging ขวัญขอท้าวความไปที่ blog นะค่ะ ว่าข้อดีของ blog คือ ผู้ใช้สามารถกำ�หนดหัวข้อการคุย และ
คนบางกลุ่มมีความรู้สึก ไม่ชอบเขียนยาวๆ แต่แค่อยากจะสื่อสารกับเพื่อนๆ เท่านั้น
สามารถเขียนเรื่องราวต่างๆ ลงไปได้ แต่นั้นก็เป็นข้อเสียค่ะ คือ
ด้วยเหตุผลนี้ค่ะ Micro-blogging จึงได้ถือกำ�เนิดมาเพื่อตอบโจทย์ให้กับผู้ที่ชอบเขียนสั้นๆ โดยจะ มีเงื่อนไขว่าจะสามารถพิมพ์ข้อความได้แค่ครั้งละ 140 ตัวอักษรเท่านั้น ตัวอย่างก็เช่น Twitter, Plurk (ตอนนี้กำ�ลังมาแรงค่ะ), Pownce, Jaiku
Page 12
Social Media หมวดการสื่อสาร (Communication) 4. Social networking
เช่น Avatars United, Bebo, Facebook, LinkedIn, MySpace, Orkut, Skyrock, Netlog, Hi5, Friendster, Multiply
Social Network คือการที่ผู้คนสามารถทำ�ความรู้จัก และเชื่อมโยงกัน ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเภทที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำ�มาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ� url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้ คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น บางคนอาจจะเรียก Facebook หรือ HI5 ว่าคือ Blog แต่จริงๆ แล้วจะเรียกว่า Social Network ค่ะ ซึ่ง เรียกได้ว่าเป็น social network เต็มรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง ที่ให้ผู้คนได้มามีพื้นที่ ได้ท�ำ ความรู้จักกันโดย เลือกได้ว่า ต้องการทำ�ความรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร
อ้างอิงถึงข้อมูลจากการสำ�รวจของ Forrester Research
http://www.adweek.com/aw/content_display/news/digital/e3icc3b73373ecfd4ebe949400894165ce6 ได้ทำ�การสำ�รวจ เกี่ยวกับการเจริญเติบโต ของ Social Network แล้วพบว่า • •
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 75% ได้มีส่วนร่วม หรือมีการสมัครสมาชิกไว้กับ Social Network อย่างน้อยหนึ่งแห่ง โดยการสำ�รวจครั้งนี้ ยังพบว่า ผู้ที่อ่าน blog และเขียนรีวิวเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าอื่น ๆ มีมากขึ้นจากเดิม 48% กลายเป็น 69%
สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นประเด็นหรือจุดที่จะต้องพิจารณาเรื่องนี้ กันอย่าง รอบคอบ เพราะว่าหากเว็บไซต์ Social Web เหล่านี้ เริ่มมีการพัฒนาการ ไปเป็นสื่อกระแสหลักได้ ลองคิดดูสินะค่ะว่า จะสามารถประหยัดงบโฆษณา ใน TV ลงได้เยอะขนาดไหน ถ้าหากผันงบ มาทำ�การโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ประเภท Social Web อย่างนี้ดูบ้าง ซึ่งตามหลักทฤษฎีก็คือการ ทำ�การตลาดแบบ Social Media Marketing
Page 13
Social Media หมวดการสื่อสาร (Communication) 5. Social network aggregation
เช่น FriendFeed, Youmeo โดย Application ประเภทนี้มีไว้ สำ�หรับคนที่มีหลายๆ account โดยที่เว็บไซต์ประเภทนี้จะช่วยให้ผู้ใช้ สามารถนำ�หลายๆ social network มารวมกันไว้ที่เดียวและสามารถเช็คในลักษณะ real time ได้ด้วย
6. Events:
เช่น Upcoming, Eventful, Meetup.com เว็บลักษณะนี้จัดทำ�ไว้คล้ายลักษณะของชุมชน สามารถโพสข้อความ หรือเขียนกำ�หนดการต่างๆ คล้ายกับ การแจ้งข่าวสารกิจกรรมต่างๆค่ะ ตัวอย่างในประเทศไทยก็มีกลุ่มคนที่ใช้เว็บประเภทนี้อยู่ เช่น Central Thailand Association of Entrepreneurs and Executives ตามลิงค์นี้เลยค่ะ http://entrepreneur.meetup.com/1515/
Page 14
Social Media หมวดมัลติมีเดีย (Multimedia) หมวดนี้น่าสนใจเช่นกันค่ะ
Photo sharing: Flickr(ดัง และดี) , Zooomr, Photobucket, Multiply (คนไทยนิยม), SmugMug
ประเด็นโดยรวมอยู่ที่ว่า
แต่เดิมเวลาที่มหาวิทยาลัยมีงานต่างๆ เช่น open house ที่ผ่านมาเราก็จะจัดทำ� gallery โดยจัดเก็บอยู่ ที่ server ของเราเอง ดังนั้น คนที่จะเห็นรูปนี้ก็จะเป็นคนใน มหาวิทยาลัย เป็นส่วนมาก
แล้วทำ�อย่างไรที่คนอื่นจะได้เห็นสิ่งดีๆ บรรยากาศดีๆ ที่เราอยากจะโชว์?
ด้วยเหตุนี้ และจากที่ขวัญได้ลองศึกษาและเข้าไปดูตามหน่วย งานดังๆ ได้เริ่มที่จะหันมาใช้บริการ Network ประเภทนี้กัน มากขึ้นค่ะ เพราะผลที่จะได้คือ เราสามารถแชร์รูปเราให้คนอื่นดูได้ ไม่ เฉพาะแต่ประเทศไทยแต่จะได้ทั่วโลก และสามารถสร้างกระแส word of mount ได้อย่างดี
Video sharing: YouTube(คงไม่ต้องบอกว่าดังนะค่ะ), Vimeo, Revver Art sharing: deviantART (มีเพื่อนขวัญหลายคนที่เมื่อโพสงาน
หรือ portfolio ไปที่เว็บนี้ แล้วได้งานจริงๆ ค่ะ)
Livecasting: Ustream.tv, Justin.tv, Skype (เน้นการคุยกัน online ถ้าใครมี web cam ก็จะเห็นหน้ากันได้ค่ะ) Audio and Music Sharing: imeem (บางคนทำ�เพลงเอง ก็โพสลงไปให้คน download หรือฟัง ซึ่งนักศึกษาขวัญบางคนก็ท�ำ อยู่), The Hype Machine, Last.fm, ccMixter
Page 15
Social Media หมวดรีวิว และแสดงความคิดเห็น (Reviews and Opinions) Product Reviews: epinions.com, MouthShut.com, Yelp.com Q&A: Yahoo Answers
Social Media หมวดบันเทิง (Entertainment) Virtual worlds: Second Life, The Sims Online
Online gaming: World of Warcraft, EverQuest, Age of Conan, Spore (2008 video game) Game sharing: Miniclip
Page 16
Statistics & Poll Results
ขอนำ�ผลการวิจัยและการทำ� Research มาเพื่อเป็นข้อมูล และดูทิศทางการใช้ Social Media ในปัจจุบันกันก่อนนะค่ะ
Page 17
The Wave 3 Report ของ Universal Maccan http://www.universalmccann.com
จากรายงาน The Wave 3 Report ของ Universal Maccan แสดงว่า • Social Media เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อแบรนด์และ ภาพลักษณ์ขององค์กรธุรกิจอย่างมาก • เพราะผู้ใช้สื่อ Social Media นิยมโพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และ แบรนด์ ผ่านบล็อก หรือ ในกลุ่มสังคมออนไลน์ของตน •
การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ต มีทัศนคติในนเชิงบวกต่อบริษัทหรือองค์กรที่สร้าง บล็อกเป็นของตนเอง
จากบรรดาสื่อต่างที่ใช้ในกลุ่มสังคมออนไลน์นั้นตามรายงานของ Universal McCann พบว่า • วิดีโอออนไลน์ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง โดย คาดว่าจะมีผู้ใช้งานวิดีโอออนไลน์ถึง 394 ล้านราย • ในขณะที่ 346 ล้านรายอ่านบล็อก • 321 ล้านรายอ่านบล็อกส่วนบุคคล • 307 ล้านรายเข้าเยี่ยมชมกลุ่มสังคมของเพื่อนฝูง และ • 303 ล้านรายส่งต่อหรือแบ่งปันวิดีโอคลิปออนไลน์ พัฒนาการที่รวดเร็วของ Social Media ส่งผลให้การสร้างบล็อก การส่งต่อรูปภาพ หรือ วิดีโอคลิป เป็นเรื่องปกติ
Page 18
100 แบรนด์สินค้าที่ใช้ Social Media ในการทำ� online marketing มากที่สุดในปี 2008 Vitrue ทำ�การรวบรวมตัวเลขของ 100 แบรนด์สินค้า ที่ใช้ Social Media ในการทำ� online marketing มากที่สุดในปี 2008
• • • • •
มี iPhone เป็นแบรนด์อันดับหนึ่ง ตามด้วย CNN และ Apple Apple ติด Top 10 rank ถึงสองแบรนด์ คือ แบรนด์ iPhone และแบรนด์ Apple #2 CNN, #4 Disney, #5 Xbox, #6 Starbucks, #8 MTV, #9 Sony และ #10 Dell. Microsoft ติด Top 15 ranks ถึงสองแบรนด์เช่นกัน คือ #5 Xbox และ #11 Microsoft Sony ติดอับดับ 9 และ PlayStation ติดอันดับที่ 15
Page 19
พฤติกรรมการใช้ Social Network จาก Netpop Reserach
ในเรื่องของการใช้งาน
คนอเมริกันส่วนมาก log on เข้าเว็บไซต์ Social Network ค่อนข้างบ่อย โดยจะเข้าเป็น ประจำ�ประมาณ 5 วันต่อสัปดาห์ และเข้าใช้งานประมาณ 4 ครั้งต่อวัน โดยรวมประมาณ 1 ชม. และประมาณ 9%
ออนไลน์บน Social Network ทั้งวัน
การปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์สินค้า •
ล่าสุดได้ผลสำ�รวจมาจาก Netpop Reserach เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ Social Network ของ ชาวอเมริกัน พบว่าคนอเมริกาขยับขยายและใช้ Social Media มากขึ้นกว่าที่เราจะสังเกตได้ ผลสำ�รวจหลักๆ จากการสำ�รวจครั้งนี้ คือ • • • • • •
ชาวอเมริกัน 105 ล้านคนใช้เวลากับ Social Networking Social networking เติบโต 93% จากปี 2006 ชาวอเมริกัน 7 ล้านคน ใช้ Social Network ตลอดทั้งสัปดาห์ มีการติดต่อสื่อสารโดยเฉลี่ยกับ 248 คนในเครือข่าย 54% ใช้ Twitter เป็นประจำ�ทุกวัน 72% ของคนอายุต่ำ�กว่า 18 ปี ใช้ Twitter ทุกวันเช่นกัน
ตัวเลขแสดงการเติบโตของ Social Network ของอเมริกา เห็น ได้ชัดว่า Twitter เติบโตแรงมาก มาอันดับหนึ่งถึง 1,382% ตาม ด้วย Zimbio 240%, Facebook 228%, Multiply 192% และ Wikia 172%
• • • • • •
52% ของผู้ใช้ Social Network จะต้องเป็น fan (become a fan) ให้กับแบรนด์สินค้า 1 แบรนด์ 17% รู้สึกในแง่ดีที่เห็นแบรนด์สินค้าบน Social network 19% ไม่ได้รู้สึกดีที่เห็นแบรนด์สินค้าบน Social network 64% รู้สึกเฉยๆ และไม่แคร์เกี่ยวกับแบรนด์สินค้าบน Social network 20% อยากที่จะเห็นการสื่อสารของแบรนด์สินค้ามากขึ้น 35% ไม่อยากจะเห็นการสื่อสารเพิ่มขึ้นของแบรนด์สินค้า 45% รู้สึกเฉยๆ และไม่แคร์เท่าไหร่
ยังมีสองสิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้ Social network ไม่ได้สนใจมากที่จะใช้ Social Network ใน การติดต่อกับคนแปลกหน้า หรือสร้าง Profile ปลอม • 45% ของผู้ใช้ Social network นิยมติดต่อกับคนในครอบครัว และเพื่อนก๊วนเดียวกัน 18% ใช้ติดต่อกับคนรู้จัก อีกอย่างที่น่าสนใจเหมือนกันคือ •
15% ของผู้ใช้นิยมเข้า Social network จากที่ทำ�งาน
Page 20
ตัวเลขเปรียบเทียบ Unique Visitors รายเดือน ของ Facebook, Myspace และ Twitter
การเติบโตของ Twitter เพราะเมื่อสัปดาห์ก่อน (Mar 14) Twitter ขึ้นอันดับที่ 54 เว็บไซต์ยอดนิยมของชาวอังกฤษ (โตขึ้นจากตำ�แหน่งที่ 66 ของสัปดาห์ก่อนหน้านี้) และยังแซงหน้าเว็บไซต์ข่าวของอังกฤษอีกด้วย ดูจากกราฟของ Hitwise (หน้าถัดไป)
จะเห็นอย่างชัดเจนว่าคนเข้า Twitter มากกว่าเว็บไซต์ข่าวอย่าง Guardian, Times, Sun และ Telegraph ไม่เว้นแม้แต่ Google News ของ UK
Page 21
Hitwise ยังคงบอกว่า Twitter เป็นแหล่ง traffic ของเว็บข่าว มี 9.6% จาก Traffic ของ Twitter คลิกต่อไปที่เว็บไซต์ข่าว 41% คลิกอ่านต่อไปตามหมวดต่างๆ อย่าง News, Media และ Print
Page 22
10 อันดับเว็บไซต์ของไทย ส.ค. 2009/2552
ที่เด็ดๆ และขึ้นอันดับมาอย่างรวดเร็วคือ Gmember.com ของแกรมมี่ ไตร่อันดับขึ้นมาเรื่อยๆ จนขึ้นมาถึงอันดับที่ 8 ของเดือนสิงหาคม ส่วนเว็บ Ohozaa.com ที่เพิ่งติดอันดับเมื่อเดือน กรกฏาคมที่ผ่านมา ก็ยังคงรักษา Top 10 ได้อยู่
สำ�หรับความเคลื่อนไหวของอันดับอื่นๆ ก็คือ Dek-d.com กลับ มาอยู่อันดับ 5 เหมือเดิม หลังจากที่ลงไปอันดับ 6 เมื่อเดือนที่แล้ว และ Exteen ที่ยังรักษา ตำ�แหน่งได้อย่างไม่ตกหล่น
กลยุทธ์ ของ Grammy แค่คลิกปุ่ม Play ใน Music Player ของ Gmember (ซึ่งทุกๆเว็บต้องใช้ Player ตัวนี้) มันจะ มีหน้าต่างของ Gmember.com ขึ้นมาด้วยเสมอทำ�ให้ได้ UIP + PV เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งก็มาจากการ จริงจังในเรื่องสิทธิ์การเผยแพร่ของ Grammy เองด้วยถึงจะทำ�แบบนี้ได้ ก็ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่น่า สนใจ
Page 23
50 เว็บไซต์ที่คนไทยเข้ามากที่สุด – ส.ค. 2009/2552 อัพเดท 50 อันดับของ “เว็บไทย” และ “เว็บต่างประเทศ” ที่คนไทยนิยมเข้ามาที่สุดจากเดือน สิงหาคม 2552
กับความเคลื่อนไหวของ Facebook และ Twitter!! เว็บไซต์ทั่วไปมีเปลี่ยนอันดับขึ้นและลงสลับกันไป แต่ที่โดดเด่นและต้องพูดถึงคือ 2 ยักษ์ใหญ่ Social Network อย่าง Facebook และ Twitter ที่ แสดงให้เห็นว่ามีคนไทยใช้มากขึ้นในเดือนที่ผ่านมา
Facebook ย้ายจากอันดับ 10 ในเดือนกรกฏาคม ขึ้นมาอันดับ ที่ 7 แล้ว ซึ่งอีกไม่นาน Facebook คงจะถูกจัดเข้าไปในกลุ่ม Top web ต่างประเทศที่คนไทยเข้ามาที่สุด และจะทำ�ให้เว็บไทยอย่าง Sanook.com ต้อง หล่นลงมาอันดับ 7 อย่างถาวร ที่น่าตกใจสำ�หรับการอัพเดทครั้งนี้คือ
Twitter ที่ไม่เคยติดอันดับ 50 ของไทยมาก่อน มาคราวนี้ติด อันดับที่ 43 แล้ว และเชื่อว่าจะเขยิบขึ้นมาอีกเรื่อยๆ Page 24
ตัวเลขการใช้งบโฆษณากับสื่อต่างๆ ในปี 2009 ของทางฝั่ง US จาก ผลสำ�รวจของ ‘2009 Media Survey Result & Analysis’
งบโฆษณาของอเมริกาหลังสถานการณ์เศรษฐกิจย่�ำ แย่ที่ผ่านมา ที่ทำ�ให้นักการตลาดต้องตัดงบโฆษณา รวมถึงการใช้งบ โฆษณาอย่างระมัดระวัง และเห็นผลมากที่สุด จึงทำ�ให้หลายๆ แบรนด์สินค้าต้องตัดงบโฆษณาจากสื่อหลักมายังสื่อทาง เลือก โดยเฉพาะสื่อ ดิจิตอล มาถึงตอนนี้ก็ผ่านมาหลายเดือนแล้ว เรามาดูกันว่า eMarketer ทำ�การสำ�รวจจากผู้บริหารด้านการตลาดของอเมริกา ‘2009 Media Survey Result & Analysis’ ถึงการใช้งบ โฆษณาผ่านสื่อต่างๆ และ พบว่า 2 ใน 3 ของผู้บริหารบอกว่า งบการใช้สื่อโฆษณานั้นลดลงเมื่อเทียบกับปี 2008 แต่ยังคงหวังว่าจะมีการเพิ่มงบ โฆษณาในไตรมาสสุดท้ายนี้สัก 10% หรือมากกว่านี้ ผู้บริหารส่วนมากบอกว่า • สำ�หรับปี 2009 ได้มีการเก็บงบโฆษณาไว้ใช้กับหลายๆ สื่อยกเว้นสื่อสิ่งพิมพ์ • ส่วนสื่ออินเทอร์เน็ตยังคงเป็นสื่อสำ�คัญที่ต้องใช้ต่อไป • สำ�หรับงบโฆษณาที่ถูกตัดนั้น ส่วนมากจะเป็นสื่อดั้งเดิมอย่าง TV, Radio และ Direct Mail • ส่วนสื่อที่จะมีการใช้เพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นสื่อดิจิตัล คือ e-Mail marketing, Search และ Interactive อย่างแน่นอน เห็นได้ชัดว่านักการตลาดชาวอเมริกัน จะให้ความสำ�คัญกับสื่อ E-mail marketing มากกว่าสื่ออื่นๆ และเป็นสื่อโดดเด่นที่ มีการโยกงบโฆษณาจากส่วนอื่นๆ มาใช้ตรงนี ้ ส่วนสื่อที่ถูกให้ความสำ�คัญลดลงคือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ และสื่อนอกบ้าน ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีการโยกงบโฆษณาจากสื่อดั้งเดิมมาสู่สื่อใหม่อย่าง Digital Media
Page 25
Case Studies ก่อนที่จะเริ่มศึกษาเรื่อง Social Media ขวัญยังเคยสงสัยว่า จะสามารถนำ� social media มาประยุกต์ สู่การตลาดเชิงประชาสัมพันธ์ได้อย่างไร ลองมาไขข้อข้องใจจาก case studies กันนะค่ะ
Page 26
ครบสูตร Digital Marketing กับภาพยนตร์ของเยอรมันเรื่อง Bruno ของ Universal แคมเปญของประเทศเยอรมัน ไม่เชิงเป็นแคมเปญล้วนซะทีเดียว แต่เป็นการใช้สื่อดิจิตอลครบถ้วน ทุก channel ในการโปรโมทภาพยนตร์เรื่อง ‘Bruno’ ไม่ว่าจะเป็น Microsite, Facebook, Twitter, Widget และ iPhone App เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกช่อง สิ่งที่โดดเด่นของแคมเปญนี้ ต้องขอยกให้ Social Media Campaign บน Twitter ที่ทาง Universal ได้ใช้บริการของทาง Federated Media ในการสร้าง Twitter community ชื่อ ‘Cinema Tweets’ โดย มี Twitter account ของ @Brunovassup คอย tweet คุยกับคนในเว็บไซต์ และให้ใครๆ ได้ติดตาม และยังเปิดให้ชาว Twitter ได้ tweet เข้ามาในเว็บไซต์ได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการตั้ง Topic ว่าจะ tweet อะไรดี
เกี่ยวกับ Movies ไว้นำ�ทางให้คน tweet เข้ามาอย่างไม่ต้องคิด
เรียกว่าไอเดียนี้อีกหน่อยจะต้องกลายเป็นแคมเปญที่เหล่า Digital Agency เริ่มจับตาและนำ�มาสร้างแคมเปญให้กับแบรนด์ของตนอย่าง แน่นอน
Twitter Community เว็บไซต์ของ Cinema Tweets
Page 27
ครบสูตร Digital Marketing กับภาพยนตร์ของเยอรมันเรื่อง Bruno ของ Universal Showcase banner โปรโมท Cinema Tweets บน target เว็บไซต์ต่างๆ
Page 28
Facebook connect, Fanpage และ Widgets ของภาพยนตร์เรื่อง Bruno
Official Microsite ของ Bruno http://www.brunoredhot.com มี iPhone App ให้ download free ด้วย
Page 29
กลยุทธ์ KTC บน Facebook KTC Privilege ภาพลักษณ์ของบัตรเครดิตเคทีซีที่คนไทยเห็นและจำ�ติดตา คือ คนรุ่นใหม่ ที่มีความทันสมัย และใช้ชีวิตอย่างสมาร์ท การที่บัตรเครดิตเคทีซี โดยการกระโดดเข้ามาในกระแส ความนิยมของ Social Network อย่าง Facebook ที่นับ วันยิ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทยมากขึ้นทุกวัน ถือเป็นการ ตอกย้�ำ ความเป็นบัตรเครดิตของคนรุ่นใหม่ ที่ทันสมัย และ ใช้ชีวิตอย่างสมาร์ทได้เป็นอย่างดี จัดว่าเป็นประสบการณ์ ของวงการบัตรเครดิตที่สร้างความหวือหวาให้กับวงการบัตร เครดิตอีกครั้ง ประภาส ทองสุข ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าบริหาร สายงาน สื่อสารการตลาด บัตรกรุงไทย (KTC)
Page 30
เนื่องจากข้อมูลค่อนข้างมาก ขอสรุปย่อๆ จากบทสัมภาษณ์ นะค่ะ http://www.marketingoops.com/digital/social-media-marketing-digital/ktc-privilege/
สมาชิก Facebook คือเพื่อนของเคทีซี •
Facebook ถือว่าค่อนข้างเป็นสิ่งแปลกใหม่สำ�หรับเมืองไทยที่เราต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ อย่างจริงจังเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก Facebook ได้เต็มที่และมีประสิทธิภาพ
การทดลองหากลุ่มเป้าหมาย •
• •
เคทีซีได้ทดลองเข้าไปในเว็บไซต์ Social Network อย่างเช่น hi5 มาแล้ว โดยการนำ�โปรไฟล์ ของนักแสดงหนังโฆษณาเข้าไปอยู่ในสังคมนี้ ซึ่งมีการตอบรับกลับมาดีระดับหนึ่ง แต่เมื่อ Facebook ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในเมืองไทย เคทีซีจึงได้เริ่มศึกษากับเว็บไซต์ Social Network นี้ ประกอบกับเห็นว่ากลุ่มคนใน hi5 ไม่ใช่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เนื่องจากส่วนใหญ่จะ เป็นกลุ่มวัยรุ่นมากกว่ากลุ่มวัยทำ�งาน เคทีซีมองว่ากลุ่มคนในสังคม Facebook จะตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ สมาชิกจะอยู่ในวัยทำ�งานและมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จำ�นวนสมาชิกคนไทยใน Facebook มีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หากเคทีซีสามารถเข้ามา ร่วมเป็นหนึ่งในสังคมนี้ตั้งแต่แรกถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของเราได้เข้าใกล้ลูกค้าในช่องทางใหม่ๆ ที่ทันกับกระแสของสังคม และต้องการจับกลุ่มตลาดบนมากขึ้น
เริ่มต้นใช้ Facebook ในองค์กร •
facebook.com/ktcprivilege เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม
•
กับพนักงานของเคทีซี โดยจัดแคมเปญพนักงานเคทีซีมี
•
Facebook ได้แต้มสะสม 200 แต้มฟรี
หลังจากที่ออกแคมเปญนี้ไปปรากฏว่ามีจ�ำ นวนสมาชิก Fan Page ประมาณ 200 คน ภายใน 5 วัน ตั้งแต่เปิด Facebook มาจนถึงตอนนี้ เคทีซีมีสมาชิกประมาณ 500 กว่าคนแล้ว ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดี ซึ่งตอนนี้ได้ปิดแคมเปญนี้ไปแล้ว ตอนนี้เริ่ม ให้ประชาสัมพันธ์ให้กับลูกค้าทราบแล้ว
......การที่เปิดตัว Facebook ภายในองค์กรก่อน เพื่อ เป็นการทดสอบความพร้อมในการบริหารจัดการกับ Facebook เพราะถือว่าเป็นเครื่องมือใหม่ที่ยังคงต้องใช้ เวลาในการเรียนรู้ และมองในแง่ข้อดีของ Social Network พนักงานเคทีซีมีประมาณ 800 คน หากคนทั้ง 800 คน ชวนเพื่อนในเครือข่าย Facebook ของตัวเองเข้าร่วม เป็น Fan Page ของเคทีซี ตอนนี้สัดส่วนของสมาชิก Facebook 1 คนจะมีเพื่อนในเครือข่ายประมาณ 120 คน ดังนั้น ลองคิดเล่นๆ ว่า หากพนักงาน 800 คน จะได้ สมาชิกเข้ามาเป็น Fan Page เท่าไร..........
Page 31
สื่อสารได้ง่าย แต่ต้องรู้จักกาลเทศะ การที่เคทีซีจะปล่อยข้อมูลให้แก่สมาชิกในเครือข่าย ควรจะมีการกำ�หนดเวลาในการส่งเพื่อให้เป็นการรบกวนสมาชิกมากเกินไป ซึ่งได้กำ�หนดไว้ 2 วัน คือ จันทร์กับพฤหัสบดี นอกจากการสื่อสารด้วยการส่งข้อความบน Facebook แล้วสำ�หรับแอพลิเคชั่นแรกที่เคทีซีได้ มองไว้ในการนำ�มาปรับใช้จะเป็นรูปแบบของ Quiz เพราะง่ายต่อการเข้าถึงของสมาชิก ถ้ามี จำ�นวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้นอาจมีการพัฒนาแอพลิเคชั่นโดยเฉพาะของเคทีซีขึ้นมา เช่น แอพลิเคชั่นที่เกี่ยวกับแคมเปญแจกคะแนนสะสมบัตรเครดิตแก่สมาชิก
สิ่งที่นักการตลาดต้องเรียนรู้ • • • • •
ขั้นแรกต้องเข้าใจ Facebook ก่อน คนที่เข้าไปอยู่ในสังคมนี้มีลักษณะบุคลิกอย่างไร ใช้ภาษาเดียวกับคนในสังคมนั้น พูดในสิ่งที่เขาสนใจ แต่ต้องไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของเขา คทีซีจะเป็นเพื่อนคนหนึ่งในสังคม ไม่ใช่หน่วยงาน หรือองค์กร และบอกสิ่งดีๆ ที่มี ประโยชน์ต่อเพื่อนในสังคมออกไป
Page 32
เจาะลึก Facebook
Page 33
ข้อมูลในอดีตที่เชื่อว่า Social Network เหล่านี้จะมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่นนั้นเริ่มหมดสมัยแล้ว เพราะการสำ�รวจล่าสุดพบว่าเยาวชนไม่ใช่ฐานตลาดใหญ่ของ Social Network แล้วในขณะนี้ โดยการสำ�รวจ ของ Nielsen Online พบว่า
ระดับอายุสมาชิก Facebook ที่มีการเติบโตสูงที่สุดคือกลุ่ม 35-49 ปี และผู้ใช้ Facebook ในกลุ่ม 50-64 ปีนั้นมีการเข้าใช้งานมากกว่ากลุ่มอายุต�่ำ กว่า 18 ปีถึง 2 เท่า ที่สำ�คัญ Nielsen Online เชื่อว่า สมาชิก Facebook ในอังกฤษช่วงอายุ 35-49 ปีนั้นจะมีจ�ำ นวนมากกว่าช่วงอายุ 18-34 ปีภายในเดือนมิถุนายน ปีนี้ กลุ่มตลาดที่เปลี่ยนไปย่อมส่งผลถึงรูปแบบการโฆษณาออนไลน์บน Social Network เหล่านี้ ซึ่งเชื่อว่าภาพรวมการเปลี่ยนแปลงจะชัดเจนมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีนี้
อะไรที่ทำ�ให้ facebook มาแรงแซงโค้งขนาดนี้ ? • •
• • • •
คำ�ตอบคือความง่าย (friendly user) และสนองตอบความในใจ (consumer insight) ของผู้บริโภคได้ตรงจุดนั่นแหละครับ ฟังก์ชั่นในเฟซบุ๊กสามารถแลกเปลี่ยน, พูดคุย, แสดงความเห็น, แบ่ง ปันข้อมูล กับเครือข่ายของเราและเครือข่ายของเพื่อนที่มีไลฟ์ สไตล์แบบเดียวกันโดยไม่ ยุ่งยาก ด้วยลูกเล่นต่างๆ ทั้งแบบสอบถามขำ�ๆ รูปสวยๆ ข้อความดีๆ ที่ใครไม่รู้ส่งมาให้ แต่สุดท้ายก็ คือเพื่อนของเพื่อนเรานั่นเอง สิ่งสำ�คัญ คือ facebook สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เป็น ชุมชนออนไลน์เพื่อรวบรวมข้อมูลเพื่อนๆ เหมือนหนังสือรุ่น จึงถูกวางกฎเกณฑ์ให้เหมือนโลกที่เป็นจริง คนที่จะเป็นสมาชิกต้องใช้ชื่อนาม-สกุลจริง และอีเมลเดียวกันในการลงทะเบียน เพื่อการันตีการมีตัวตนอยู่จริง ในขณะที่ชุมชน ออนไลน์อื่นสามารถใช้ชื่อสมมติลงทะเบียน จึงเป็นได้แค่เครื่องมือที่ท�ำ ให้เจอคนใหม่ๆ บนโลกออนไลน์แค่นั้น facebook จึงกลายเป็นชุมชนออนไลน์ที่แข็งแรง และขยายตัวจากกลุ่มวัยรุ่นสู่กลุ่มอายุหลากหลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งกลายเป็นจุด แข็งที่ social network อื่นให้ไม่ได้
ทำ�ให้คนทั้งโลกติดหนึบอยู่หน้าคอมพ์เฉลี่ยเดือนละ 169 ชั่วโมง
Page 34
จำ�นวนสมาชิก Facebook ในประเทศไทย จาก check facebook.com บอกว่าไทย มีสมาชิก facebook 632,520 คน ผู้ชาย 42.5% ผู้หญิง 57.5% กลุ่มอายุ 18-24 ยังเป็นกลุ่มหลัก 38.5% ใกล้เคียงกับกลุ่มอายุ 25-34 เป็น 36.6% ตามมาด้วยกลุ่มอายุ 35-44 เป็น 10.1% กลุ่มวัยรุ่น 14-17 ปี ใช้น้อยมาก 8.9% จากข้อมูลเห็นชัดเจนว่า facebook
เติบโตในกลุ่มของนักศึกษา และ วัยทำ�งาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการตลาดสูง สอดคล้องกับเทรนด์ของ facebook ในประเทศอื่นๆ ที่น่าสนใจคือ จากคุณสมบัติใช้งานง่ายและสมาชิกมีตัวตนจริง ทำ�ให้ facebook ใน กลุ่มคนทำ�งาน 35-49 ปี มีอัตราการเติบโตมากกว่ากลุ่ม 18-34 ปี เพราะคนกลุ่มนี้ใช้ social network เป็นพื้นที่ในการพูดคุยและขยายฐานธุรกิจจากเครือข่ายใน facebook ด้วย
Page 35
เจาะลึก Twitter Page 36
Twitter คืออะไร Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคม (Social Networking) และบล็อกขนาดเล็ก (Micro Blog) ที่ผู้ใช้สามารถที่จะส่งและอ่านข้อความที่เรียกกันว่า Tweet ซึ่งจะต้องเป็นข้อความที่ไม่เกิน 140 ตัวอักษร โดยจะแสดงในหน้าของประวัติของผู้เขียน (Author’s Profile) สามารถส่งต่อไปยังผู้ที่สมัคร รับข้อความดังกล่าว หรือที่เรียกว่า ผู้ติดตาม (Follower)” เน้นการเขียนข้อความสั้นๆ ที่เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาในการบอกเล่าเรื่องราวยาวๆ ผ่านบล็อก โดยส่วนใหญ่มักจะเขียนบอกเล่าว่า ณ ขณะที่ เขียนนั้นกำ�ลังทำ�อะไรอยู่ ซึ่งก็ไม่ต่างจากการติดตามรายการประเภท Reality Show ทั้งหลายนั่นเอง เพื่อแสดงตัวอย่างให้เห็นชัด เรามาลองพิจารณารายละเอียดการใช้ Twitter ของอดีตนายกฯ ดูนะค่ะ
จากการที่เราทราบข่าวการ Twitter ของอดีตนายก ซึ่งตอนนี้ปรากฏว่ามีผู้ติดตาม (Follower) อยู่จ�ำ นวน 11,400 คนที่จะได้รับข่าวสารนี้ตรงไปยังหน้า Twitter หรือผ่านไปยังโทรศัพท์มือถือ ในรูปของ SMS ของผู้ติดตามนั้น ผู้ติดตามเองก็สามารถสนทนาโต้ตอบกลับมา ยังอดีตนายกฯ ได้หรือสามารถส่งต่อข้อความ (Retweet) ไปยังคนอื่นๆ ได้อีกด้วย นั่นหมายความว่าคนที่ได้ รับสารดังกล่าวไม่ใช่เพียงแค่ผู้ติดตามเท่านั้น ถือเป็นช่องทางในการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพ
Page 37
ตัวอย่างการใช้ Twitter ในธุรกิจต่างๆ สำ�นักข่าว CNN ใช้ Twitter ในการแจ้งหัวข้อข่าว (Head Line News) อย่างที่เกริ่นให้ทราบตอนต้น ตอนนี้มี Followers ไปแล้วกว่า ครึ่งล้านค่ะ รวมไปถึงข้อความประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสอด แทรกไปด้วย ทั้งนี้หากต้องการรายละเอียดของข่าวเพิ่มเติมก็สามารถคลิกที่ลิงค์ เพื่อเข้าไปอ่านต่อได้ สายการบิน JetBlue ใช้ Twitter ในการแจ้งข่าวต่างๆ รวมไปถึงการตอบคำ�ถามต่างๆ ของผู้ใช้บริการ และมัก จะบอกชื่อของพนักงานที่กำ�ลังประจำ�อยู่ที่ฝ่ายบริการลูกค้า สายการบิน Southwest Airline มักจะใช้คำ�พูดแบบที่ไม่เป็นทางการและเน้นการพูดคุยกับลูกค้าอย่างสนุกสนาน Dell ใช้ Twitter ในการแจ้งข่าวโปรโมชั่นที่เกิดขึ้น ที่น่าสนใจคือการให้โปรโมชั่น เฉพาะสำ�หรับผู้ที่ใช้ Twitter เท่านั้น นอกจาก นี้ Twitter ยังถูกใช้ในการแก้ปัญหาของลูกค้า Ford มักจะใช้ Twitter สำ�หรับการสื่อสารภายในองค์กร Samsung ใช้ส�ำ หรับผลิตภัณฑ์โทรศัพท์มือถือ โดยเน้นการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า และงานด้าน การตลาด ต่างๆ รวมไปถึงใช้ตอบคำ�ถามและให้ข้อมูลด้านการบริการแก่ลูกค้า Starbucks แสดงโปรโม ชั่นใหม่ๆ ของทางร้าน นอกจากนี้ยังมีพนักงานมาช่วยตอบคำ�ถามและชวนลูกค้าคุย แบบสบายๆ เป็นกันเอง ซึ่งเข้ากับภาพลักษณะของทางร้าน รวมถึงเปิดเป็นเวทีในการแสดงไอเดียของลูกค้าต่อ ผลิตภัณฑ์ของทางร้าน Forrester ซึ่งให้บริการในเรื่องงานวิจัย ใช้ในการแจ้งข่าวสาร ผลจากการถกปัญหา รวมถึงงานวิจัยใหม่ๆ ที่น่า สนใจ
Page 38
มาดูกันดีกว่าว่าขวัญได้อะไร จากการใช้ Twitter Advance Search เพื่อดูว่าใครพูดถึงเราบ้าง
Page 39
Ideas & Suggestions Social Media Optimization Strategy
ขออนุญาตเสนอแนะแนวทางหรือเทคนิคที่เราจะสามารถนำ� Social Media มาประยุกต์ใช้
Page 40
Process
1. UGC User Generated Content
Pre-Process 1. ทำ�การสร้าง Account ของเราเองตาม Social Media คือ - Twitter, Facebook - Flickr, Youtube: (ทำ�การสร้าง account แล้ว)
- Personal
5. Photo Sharing (Flickr) - Official
BU Social Media Optimization Ideation
2. Upload Contents และสร้าง Profile เข้าไปที่ - Facebook, Flickr, Youtube 3. ทำ�การประชาสัมพันธ์ว่ามหาวิทยาลัยเปิดช่องทางการสื่อสารผ่านทาง Social Network เพื่อสร้างเครือข่ายที่จะติดตามข่าวสาร - บุคลากร ผ่าน f-list - นักศึกษา ผ่าน URSA
4. Social Network (Facebook)
2. Microblogs (Twitter) - Official - Personal
3. Online Videos (Youtube)
- Official
4. จัดอบรมเพื่อเผยแพร่และให้ความรู้เรื่อง New Media ซึ่งเป็นช่อง ทางการสื่อสารใหม่ภายในองค์กร และประโยชน์ต่อกระบวนการการเรียน การสอน
Process and Condition หน้าถัดไปค่ะ
Page 41
1. UGC (User Generated Content)
Process and Condition
หลังจากที่เรามีการประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนบุคลเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Network เราแล้ว เรื่องต่อไปที่เราต้องสนใจคือ
เราต้องหาประเด็นที่จะคุย ต้องมีการเชิญชวน เปิดเวที ให้คนทุกคนสามารถส่งเรื่องราวดีๆ มาคุยกันได้ มาแชร์กัน อาจเป็นการส่งลิงค์ ส่งมาทางเมล์ แล้วเราจะทำ�หน้าที่ประชาสัมพันธ์ หรือเล่าสารให้เอง
ผลงานนักศึกษาที่อยู่บน Youtube
ประเด็นสามารถเป็นได้หลากหลาย • เรื่องเล่าจากชั้นเรียน อาจจะเป็นอาจารย์ นำ�เรื่องราวประทับใจเกี่ยวกับนักศึกษามาเล่า เช่น ในชั้นที่ ขวัญสอน เราได้เห็นการพัฒนาของเด็กในการนำ�เสนอหน้าชั้น หรือผลงานที่นักศึกษาได้ทำ�ไว้ ซึ่งเป็น เรื่องง่ายที่จะเอามาโชว์กัน อย่างเช่นในชั้นของขวัญ ผลงานที่นักศึกษาจะนำ�มาส่งงานจะต้อง Upload ผ่านระบบ Internet • ผลงานวิจัย • หรือแม้แต่ประสบการณ์จากการไปท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นเรื่องที่เป็นทางวิชาการก็เป็นได้ แต่เป็น ความรู้รอบตัว หรือเราจะสร้าง blog ขึ้นมาเองเหมือนอย่างสายการบิน Southwest Airline ที่สามารถเป็นgs,nvo Portal ของ Social Media ได้
Page 42
Process and Condition 2. Blog / Microblogs
ถ้าม.กรุงเทพ จะใช้ Twitter (Twitter Marketing)
ใช้ Twitter ในรูปแบบของ Official
สามารถนำ�มาใช้ได้ เช่น คุยกับนักศึกษา และศิษย์เก่า สร้างความสัมพันธ์และความใกล้ชิดเพื่อเกิด brand awareness
เราจะทำ�การสร้าง Account ที่เป็น Official ขึ้นมา
ประชาสัมพันธ์ข่าว News Update หรือข่าวดังๆ เพื่อสร้าง landing page ให้กับเว็บหลักม.กรุงเทพ
แต่ในเบื้องต้นได้ท�ำ การตรวจเช็คพบว่า ในระบบได้มี http://twitter.com/bangkoku ได้พยายามสอบถามไปทาง ศูนย์คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ และคณะ นิเทศศาสตร์ แต่ก็ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ดูแล แต่ขวัญได้พิมพ์ข้อความไปถาม เจ้าของเว็บไซต์โดยตรงแล้วค่ะ ในประเด็นที่เราอยากได้ความช่วยเหลือ ตอนนี้รอการตอบกลับค่ะ
เดิม
เราใช้การส่งเมล์ภายในคือ f-list หรือ ขึ้นที่หน้าหลักของมหาวิทยาลัย หรือ ส่งข่าวให้ สื่อมวลชน
ปัญหา f-list เฉพาะ บุคลากรเท่านั้นที่ได้รับ ส่งข่าวให้สื่อมวลชน ใช้เวลานาน ขึ้นหน้าหลัก ต้องเป็น
คนที่เจาะจงเข้าเว็บไซต์เท่านั้น
กระบวนการ เราสามารถส่งข้อความแค่หัวข้อหรือสร้างคำ�โปรยข่าวที่เราใช้สำ�หรับ News Up-
date นำ�ไป Tweet ใน twitter แล้วสร้างลิงค์กลับมาที่เว็บข่าวเรา ถ้าจะให่ดีต้องทำ�ให้เมื่อเค้าลิงค์กลับ มาแล้วจะไม่ได้เห็นแค่ข่าวหรือประเด็นนั้น แต่เราคงต้องหาวิธีที่สามารถโชว์ของดีของเราให้เค้าเห็นได้ ด้วย เหมือนเช่นหนังสือพิมพ์ออนไลน์หลายฉบับจะมีท้ายของบทความว่า บทความที่เกี่ยวข้อง และเน่า จะสนใจ
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ สามารถกระจายข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ได้รวมเร็ว
และเพื่อให้คนทั่วไป มีคำ�ว่า Bangkok University Creative University ผ่านตา ผ่านหู และสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับ นักศึกษามากขึ้น
Page 43
Process and Condition 3. Online Videos เลือกใช้ Youtube ในการเริ่มต้น ทำ�การสร้าง Account ในเบื้องต้นแล้ว คือ YouTube username: BUCreativeU Google Account email address: plananddev@bu.ac.th เราจะปรับปรุง Channel ของเราใน youtube http://www.youtube.com/BUCreativeU ให้มีความเป็นเรามากที่สุด ตัวอย่างเช่น Stanford University หาวิธีที่จะรวบรวม video ที่เกี่ยวกับเราที่กระจายอยู่ใน youtube อยู่มากมาย เปลี่ยนแนวทาง แทนที่ะเก็บไฟล์วีดีโอไว้ที่ Server เราก็อัพโหลดไว้ที่ youtube เช่น ของ Jeep Community
Page 44
Process and Condition 4. Personal Social Network สร้างพื้นใน facebook สำ�หรับการทำ� community ซึ่งในภายภาคหน้า เราสามารถ สร้างแบบสอบถาม เราสามารถสร้างประเด็น ชวนคุย การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี หรือแม้แต่ การโต้ตอบกับ ศิษย์เก่าก็ได้
Page 45
Process and Condition 5. Photo Sharing จากเดิมที่เราจะเก็บภาพบรรยากาศดีๆ เรื่องดีๆ ไว้ดูเฉพาะเรา ก็นำ�ไปอัพโหลดไว้ที่ Social Media ค่ะ ซึ่งสามารถนำ�กลับมาอ้างอิงที่เราได้ด้วย เช่นตัวอย่างของ Jeep
Page 46
ท้ายนี้ หาก proposal ฉบับนี้ขาดตกบกพร่อง หรือผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ อ.เรืองลดา