กุ่มน้ำ

Page 1



คำนำ

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า เป็นหัวข้อการศึกษาด้านวนศาสตร์ชุมชน ซึ่ ง ส่ ว นจั ด การป่ า ชุ ม ชน ส้ า นั ก จั ด การทรั พ ยากรป่ า ไม้ ท่ี 13 (สงขลา) ได้ ด้ า เนิ น การ ตามแผนงานพืนฐานด้านการจัดการน้าและสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผลผลิตพืนที่ป่าไม้ได้รับการบริหารจัดการ กิจกรรมหลักส่งเสริม และพั ฒ นาป่ า ไม้ กิ จ กรรมพั ฒ นาวนศาสตร์ ชุ ม ชน ประจ้ า ปี ง บประมาณ พ.ศ.2560 เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชนิดพันธุ์ไม้ท่ีพบในท้องที่ต่างๆ ที่มีความน่าสนใจ โดยเน้นน้าเสนอข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์เป็นหลัก และสอดแทรกข้อมูลเกร็ดความรู้ ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นที่เกี่ยวกับชนิดพันธุ์ไม้นันๆ ไว้ด้วย นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของ การเก็บรวบรวมเป็นความรู้คู่ชุมชนแล้ว ยังท้าให้ชุมชนได้ทราบ ตลอดจนเห็นคุณค่าและ ความส้าคัญของทรัพยากรธรรมชาติท่มี ีอยู่ทอ้ งถิ่นของตนเอง เอกสารฉบับนี ได้จัดท้าเผยแพร่ทังแบบที่เป็นรูปเล่ม และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เสมือนจริง (E-book) ในห้องสมุดออนไลน์ของส้านักจัดการทรัพยากรป่าไม้ท่ี 13 (สงขลา) ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าอ่านหรือดาวน์โหลดได้ 2 วิธี คือ ทางลิงค์ https:// issuu.com/frmo13 หรือสแกนคิวอาร์โค้ด (QR-code) ที่ปรากฏอยู่บนหน้าปกหนังสือเล่มนี หากมีข้อผิดพลาด ประการใดส่วนจัดการป่าชุมชนขอน้อมรับไปปรับปรุงและพัฒนาให้ดขี นในโอกาสต่ ึ อไป

ส่วนจัดการป่าชุมชน กันยายน 2560

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า



สำรบัญ

หัวเรื่อง

หน้ำ

บทน้า

1-2

กุ่มน้า

3

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

4

ลักษณะวิสัย

4

ใบ

5-6

ช่อดอก

6-7

ดอก

8-11

ผล

12-13

การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา

13

การใช้ประโยชน์

13

บรรณานุกรม

14

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า



1

บทนำ

** วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยโบราณมีความใกล้ชิดกับธรรมชาติ การปลูกบ้านเรือนก็นิยม ปลูกอยู่ริมแม่น้าเพราะสะดวกต่อการคมนาคมและการท้าเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลัก จึงปรากฏ เรื่องราวของธรรมชาติรอบตัวอยู่ในวิ ถีชีวิตเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ในการละเล่น ก็มีสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ สอดแทรกอยู่เช่นกัน ดั งเช่น บทเพลง “จ้าจีมะเขือเปราะ” ที่ใ ช้ร้องประกอบการละเล่นอย่างหนึ่งที่ เรียกว่า “จ้าจี” มีเนือหาที่เกี่ยวกับชื่อของต้นไม้ปรากฏอยู่ด้วย ความว่า จ้าจีมะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น พายเรือแอ่นๆ กระทั่งต้นกุ่ม สาวๆ หนุ่มๆ อาบน้าท่าไหน......

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


2 หากให้บอกชื่อของต้นไม้ที่ปรากฏอยู่ในบทเพลงที่ยกมาข้างต้นนี คนส่วนใหญ่อาจจะรู้จักอยู่ เพียงชนิดเดียว คือ “มะเขือเปราะ” แต่ความจริงแล้วมีชื่อต้นไม้อยู่ทังหมด 2 ชนิด อีกชนิดหนึ่ง คือ “ต้น กุ่ม ” ซึ่งอาจไม่เ ป็นที่รู้จัก ของคนทั่ว ไปเท่าใดนัก บทเพลงนีได้สะท้อนให้เ ห็น ทังวิถีชีวิตของคนสมัย โบราณรวมถึงสภาพลักษณะที่อยู่อาศัยที่แท้จริงตามธรรมชาติของต้นกุ่มด้วย เพราะต้นกุ่มมักพบขึนอยู่ ทั่วไปตามริมคลอง จึงมีการเปรียบเทียบให้เห็นว่าหากพายเรือไม่ตรงทาง (พายเรือแอ่นๆ) จะไปกระทั่ง (กระทบ) ต้นกุ่มได้โดยง่าย แต่ต้นกุ่มที่ขึนอยู่ตามแม่น้าล้าคลองนี หากเรียกชื่อให้ถูกต้องจริงๆแล้ว จะต้องเรียกว่ากุ่มน้า เพราะยังมีต้นกุ่มชนิดอื่นๆ ที่ไม่ชอบขึนในที่ลมุ่ อีก กล่าวในทางพฤกษศาสตร์แล้ว ต้น ไม้ที่อยู่ในสกุล (Genus) เดียวกันกับต้นกุ่ม (สกุล Crateva) ในประเทศไทย มีอยู่ประมาณ 5 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กุ่มน้า ซึ่งมีอยู่ประมาณ 3 ชนิด และกุ่มบก มีอยู่ประมาณ 2 ชนิด ทังกุ่มน้าและกุ่มบกมีลักษณะหลายอย่างคล้ายคลึงกัน ถือเอาลักษณะนิสัยชอบ อยู่ริมน้าหรือที่ดอนเป็นตัวแบ่ง ต้นกุ่มนอกจากเป็นพืชที่ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืชตามริมแม่น้า ล้าคลอง มีสรรพคุณด้านสมุนไพรมากมายแล้ว ความสวยงามของดอกกุ่มน้า ซึ่งจะมีลักษณะ และสีสัน ที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต ก็ท้าให้พืชชนิดนีน่าสนใจเพราะมีศักยภาพที่จะเป็นไม้ ประดับได้

ดัดแปลงข้อมูลจาก somsak. (2537). กุ่ม : ผักพื้นบ้านที่มีเป็นกลุ่ม (ออนไลน์) . สืบค้นจาก : https://www.doctor.or.th. ( 9 สิงหาคม 2560).

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


3

กุ่มนำ

ชื่ อ อื่ น : กุ่ ม (เลย) อ้ า เภอ (สุ พ รรณบุ รี ) ผั ก กุ่ ม ก่ า ม ผั ก ก่ า ม(ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ) เหาะเถาะ (กาญจนบุรี), อ้าเภอ (สุพรรณบุรี, ภาคตะวันตกเฉียงใต้), ผักกุ่ม, รอถะ (ละว้า-เชียงใหม่, ภาคเหนือ), กุ่มน้า (ภาคกลาง), ด่อด้า (ปะหล่อง) ชื่อวิทยำศำสตร์ : Crateva magna (Lour.) DC. ชื่อพ้อง Crateva religiosa G.Forst. ชื่อวงศ์ : CAPPARACEAE ถิ่นกำเนิด : Tropical Asia

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


4 ลักษณะทำงพฤกษศำสตร์ *** ค้ าว่า “กุ่ ม” มาจากภาษาไทยใหญ่ แปลความถึง คุ้มครอง-คุ้มโรค คุ้มภัย อันตราย คุ้มครองตลอดปี ตรงกับค้าว่า “คุ้ม” ในภาษากลาง ชนชาติไทยใหญ่นันรู้จักมักคุ้นกับพันธุ์ไม้ชนิดนี มานาน แต่เป็นกุ่มชนิดที่เรียกว่า กุ่มบก ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันกับกุ่มน้า ถือเป็นไม้มงคลที่ส้าคัญ จะขาด เสียมิได้เลย ในงานพิธีขึนบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานมงคล หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบวชลู กแก้ว (ปอยส่างลอง) จะต้องมีดอกและยอดผักกุ่ม ตอนนันไม่ว่าจะแพง หายากสักปานใด เจ้าภาพงานก็ต้อง หามาให้จงได้ คนไทยเองก็มีความเชื่อเช่นเดียวกันว่า ต้นกุ่ม เป็นไม้มงคลและเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ มาก ใครปลูกไว้ประจ้าบ้านจะช่วยให้ลูกหลานครอบครัวอยู่กันเป็นปึกแผ่น เหนียวแน่นมั่ นคง มีฐานะมี เงินเป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังชื่อของต้นไม้ นิยมปลูกทางทิศตะวันตก (ประจิม) แต่ไม่ควรปลูกใกล้ตัวบ้าน มากเกินไป เพราะเมื่อโดนลมแรงๆ กิ่งจะเปราะ และฉีกขาดหักง่าย ดั งที่ ก ล่า วไว้ ข้างต้น ว่า พืชในสกุ ล Crateva (กุ่ม ) นั น มี หลายชนิ ด แต่ที่ ท้าการศึ ก ษาและ รวบรวมไว้ในครังนี คือ กุ่มน้า (***ดัดแปลงข้อมูลจาก เส้นทางเศรษฐีออนไลน์. กุ่มบก (ออนไลน์) . สืบค้นจาก : https://www.sentangsedtee.com. (11 สิงหาคม 2560).) ลักษณะวิสัย (Habitat) เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงกลางสูงประมาณ 4-20 ม. ทรงพุ่มแผ่กว้าง ล้าต้นมักจะ เอนงอ เปลือกต้นสีเทา มีรอยปุ่มปมของรูอากาศ กระจายอยู่ทั่วล้าต้น เปลือกชันในสีขาวหรือขาวอม เหลือง (ภำพที่ 1)

ภำพที่ 1 ลักษณะล้าต้น

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


5 ใบ (Laeves) มีใบเป็นใบประกอบแบบนิวมือ เรีย งแบบเวียนสลับ ก้านใบประกอบมีความยาวประมาณ 4-14 เซนติ เ มตร มี ใ บย่อ ย 3 ใบ ลั ก ษณะเป็ น รูป ใบหอกหรื อ ขอบขนาน มีค วามกว้ างประมาณ 1.5-6.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4.5-18 เซนติเมตร ปลายค่อย ๆ เรียวแหลม มีความยาว ประมาณ 2.5 เซนติเมตร โคนสอบ เรียงตัวแบบเวียนสลับ แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียวเป็นมัน ท้องใบ มีสีอ่อนกว่าด้านหลังใบและมีละอองสีเทาปกคลุมอยู่ เส้นใบสามารถมองเห็นได้ชัดจากด้านล่าง หูใบ เล็ก ร่วงได้ง่าย ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบจะเบียวเล็กน้อย ใบย่อยไม่มีก้าน หรือถ้ามีก็ ยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร มีเส้นแขนงของใบข้างละประมาณ 9-20 เส้น และอาจมีถึงข้างละ 22 เส้น เมื่อใบแห้งจะ มีสคี ่อนข้างแดง ภำพที่ 2-4

ภำพที่ 2 รูปร่างใบ เส้นใบ และลักษณะของผิวใบ ด้านท้องใบ

ภำพที่ 3 การเรียงตัวของใบแบบเวียนสลับ

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


6

ภำพที่ 4 รูปร่างใบ และลักษณะของผิวใบด้านหลังใบ ช่อดอก (Inflorescences) ดอกเป็นช่อแบบกระจุ ก ออกตามปลายกิ่ง และซอกใบ หนึ่งช่อมีหลายดอก (ประมาณ 10-15 ดอก) มักออกดอกพร้อมกันทังต้น ช่อดอกยาว 10-16 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ภำพที่ 5-7

ภำพที่ 5 รูปแบบของช่อดอก การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


7

ภำพที่ 6 ดอกกุ่มน้าที่เพิ่งเจริญออกจากบริเวณปลายกิ่ง

ภำพที่ 7 ช่อดอก ก้านช่อดอก และก้านดอก

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


8 ดอก (Flowers) ดอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ก้านดอกยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ก้านดอกออกในแนวเฉียงเวียนรอบก้านช่อดอก เมื่อดอกยังบานไม่เต็มที่ ก้านดอก บริเวณโคนกลีบเลียงจะงุ้มลง ท้าให้ดอกมีลักษณะคว่้าห้อยลงด้านล่าง และจะค่อยๆ ยืดออกจนตรง เมื่อดอกเจริญเต็มที่ ภำพที่ 8-11

ภำพที่ 8 ลักษณะดอกที่ยังบานไม่เต็มที่ กลีบ ดอกรูปไข่ค่ อนข้างกลมถึงรี เมื่อแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ย นเป็นสีเ หลืองอ่อนจนถึง สีเหลืองอมส้ม ปลายกลีบมน มี 4 กลีบ กลีบล่างและกลีบบนอย่างละ 2 กลีบ แต่กลีบบนจะใหญ่กว่า แต่ละกลีบกว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-3 ซม. ขอบกลีบบริเวณใกล้โคนเมื่อดอกบาน เต็มที่จะมีลักษณะโค้งชนกันคล้ายรูปกรวย โคนกลีบส่วนล่างสุดมีลักษณะคล้ายก้าน ยาว 0.5-1.2 ซม. กลี บ เลี ยงสีเ ขี ย วอ่ อ น ลั ก ษณะเป็ น รู ป ไข่ ปลายแหลม กว้ างประมาณ 2 มิ ล ลิเ มตร และยาว ประมาณ 2-4 มิลลิเมตร

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


9

ภำพที่ 9 ลักษณะดอกเมื่อบานเต็มที่

ภำพที่ 10 กลีบเลียงและโคนกลีบเลียง

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


10

ภำพที่ 11 กลีบดอกเมื่อแรกบานสีขาว และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองอมส้มเมื่อดอกใกล้โรย

เกสรเพศเมียมีรูปร่างเป็นกระเปาะยาว กลางกระเปาะพองออกคล้ายเมล็ดข้าวเปลือก มียอดเกสรเป็นปุ่มกลม ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 3.5-8 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีประมาณ 15-25 อัน เมื่อดอกอ่อนก้านชูอับเรณูสีเขียวอ่อน ยาว 3.5-6.5 ซม. อับเรณูยาว 2-3 มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วฝักยาว ส่วนโค้งด้านนอกสีเหลืองมีร่องตามยาว 4 ร่อง ส่วนโค้งด้านในสีเขียวอ่อน ถึงเข้ม มีร่องลึกตามยาว 1 ร่อง ปลายอับเรณูเป็นสีม่วง หลังจากดอกได้รับการผสมเกสรแล้ว เกสร เพศผู้จะมีลักษณะเปลี่ยนไป คือ ก้านชูอับเรณูจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อนจนถึงม่วงแดง และยาวขึนจาก เดิ ม ประมาณ 2 เท่ า อั บ เรณู ลี บ เล็ ก ลง และมี สี เ ปลี่ ย นไปเป็ น สี ม่ ว งอ่ อ นจนถึ ง สี ม่ ว งแดงเช่ น กั น (ภำพที่ 12-13) ดอกกุ่มน้า มักออกพร้อมกันทังต้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


11

ภำพที่ 12 เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียเมื่อดอกยังอ่อน ยังไม่ได้รับการผสมเกสร

ภำพที่ 13 เกสรเพศผูม้ ีขนาดและสีเปลี่ยนไปเมื่อดอกโตเต็มที่ และได้รับการผสมเกสรแล้ว

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


12 ผล (Fruit) ผลเป็นรูปกลมรี ห้อยเป็นพวง มีเปลือกหนา ผลอ่อนผิวมีสะเก็ดสีเหลืองอมเทา เมื่อสุกจะ เป็นสีเทา ผลแก่ผวิ จะเรียบ ผลกว้างประมาณ 1.5-4.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร หนาประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ด้านในผลมีเมล็ดมาก ออกผล ช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน (ภำพที่ 14) เมล็ดกุ่มน้า มีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีขนาดกว้างและยาวเท่า ๆ กัน คือประมาณ 6-9 มิลลิเมตร และเมล็ดมีสีน้าตาลเข้ม

ภำพที่ 14 ผลกุ่มน้า (ภาพจาก http://www.สมุนไพร-ไทย.com)

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


13 จากการเก็บข้อมูลพรรณไม้ต้นกุ่มน้า ในพืนที่บ้านเกาะใหญ่ หมู่ที่ 7 ต้าบลทุ่งนุ้ย อ้าเภอ ควนกาหลง จังหวั ด สตูล พบต้น กุ่ มน้าอยู่บ ริเ วณชายห้วยใกล้กั บ ที่อยู่อาศัย และพืนที่เ กษตรกรรม (สวนยางพารา) (ชาวบ้านบอกว่าในพืนที่นีมีต้นกุ่มอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่ขึนอยู่บนเขา และชนิดที่ขึนอยู่ ตามล้าห้วย ล้าธาร) ช่วงฤดูกาลที่ต้นกุ่มน้าติดดอกซึ่งมีเพียงปีละ 1 ครังเท่านัน ชาวบ้านจะนิยมเก็บ ยอดและดอกทังหมด น้าไปดองน้าเกลือไว้บริโภคเป็นผักเครื่องเคียง (ผักเหนาะ) รับประทานกับอาหาร น้าพริก และขนมจีน เมื่อสอบถามชาวบ้านส่วนใหญ่จึงให้ข้อมูลว่าพบเห็นผลกุ่มน้าไม่บ่อยนัก อาจจะ เนื่องมาจากความนิยมในเก็บยอดและดอกผักกุ่มน้าไปบริโภค จึงท้าให้พบการติดผลของต้นกุ่มน้าน้อย มาก กำรกระจำยพันธุ์และนิเวศวิทยำ กุ่มน้า เป็นไม้ป่าที่ขึนเองตามธรรมชาติและขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดหรือปักช้ากิ่ง พบตามข้างล้าธาร ริมแม่น้า ที่ชืนแฉะ ในป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงจากระดับน้าทะเล 30-700 ม. มีแหล่งกระจายพันธุ์อยู่ในแถบอินเดีย พม่า จีนภาคใต้ ภูมภิ าคอินโดจีน และภูมภิ าคมาเลเซีย กำรใช้ประโยชน์ ด้วยทรงพุ่มและช่อดอกที่สวยงาม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก โดยควรปลูกริมน้าหรือ บ้านที่มีระดับน้าใต้ดินสูง ยอดอ่อนและช่อดอกอ่อนรับประทานได้ แต่ต้องลวกหรือดองก่อน เพื่อท้าลายกรดไฮโดร ไซยานิกที่เป็นพิษ แล้วกินแกล้มกับน้าพริก ขนมจีนน้ายา หรือใช้ยอดอ่อนต้มน้าเดือดหลายครัง เพื่อลด ความขม

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า


14

บรรณานุกรม somsak. (2537). กุ่ม : ผักพื้นบ้านที่มีเป็นกลุ่ม (ออนไลน์) . สืบค้นจาก : https://www.doctor.or.th. ( 9 สิงหาคม 2560). วิกิพีเดีย. (_____). กุ่มน้​้า (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://th.wikipedia.org. ( 9 สิงหาคม 2560). เมดไทย (Medthai). (2013). กุ่มน้​้า (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://medthai.com. (9 สิงหาคม 2560). คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2010). กุ่มน้​้า (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.phargarden.com. (11 สิงหาคม 2560) กองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2559). กุ่มน้​้า (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.dnp.go.th. (11 สิงหาคม 2560). บ้านและสวน. (_____). Plant library กุ่มน้​้า (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://book.baanlaesuan.com. (11 สิงหาคม 2560). โครงการอนุรกั ษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ. (2544). กุ่มน้​้า (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.rspg.or.th. (11 สิงหาคม 2560). เส้นทางเศรษฐีออนไลน์. กุ่มบก (ออนไลน์) . สืบค้นจาก : https://www.sentangsedtee.com. (11 สิงหาคม 2560). บ้านมหาดอทคอม. กุ่มน้​้า (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.baanmaha.com. (11 สิงหาคม 2560).

การศึกษาชนิดพันธุ์ไม้ เรื่อง กุ่มน้า




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.