มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

Page 1


2

ชื่อหนังสือ ที่ปรึกษา บรรณาธิการ พิมพ์ครั้งที่ 2 จำ�นวนพิมพ์ จัดทำ�โดย พิมพ์ท ี่

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช นายแพทย์ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ นางกฤษณา อำ�คา สิงหาคม 2553 100 เล่ม กลุ่มพัฒนาความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำ�กัด


3

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

คำ�นำ� นับตัง้ แต่มกี ารปฏิรปู ระบบราชการของไทยภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธกี ารบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของส่วนราชการให้สามารถตอบสนองความ ต้องการของประชาชน โดยเน้นการปรับโครงสร้าง วิธีปฏิบัติราชการ ตลอดจนปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์จึงได้มีการทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ปรับโครงสร้างภายในองค์กรเพื่อให้สอดคล้อง กับภาระหน้าที่ตามกฎหมาย ความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม โดยได้มีการพัฒนามาตรฐานบริการ นิตจิ ติ เวชเมื่อปี พ.ศ. 2547 และมีการนำ�ไปปฏิบตั พิ ร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมการบริการ และเมื่อกรมสุขภาพจิต มอบหมายให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ พัฒนาให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 จึงเป็นโอกาสที่สถาบันฯจะได้มีการทบทวนวิธีปฏิบัติ (Best practices) และองค์ความรู้ที่ได้จาก กระบวนการให้บริการนิติจิตเวชในช่วงที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานบริการ โดยได้มีการปรับปรุง แก้ไขเป็นร่างมาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชเมื่อปี พ.ศ. 2551 และเพื่อให้ระบบ บริการด้านนิติจิตเวชมีความสอดคล้องกับความต้องการ การบริการของผู้ ใช้บริการมากขึ้นจึงได้มีการปรับปรุงจน เป็นมาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชขึ้น มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชที่จัดทำ�ขึ้นนี้ เกิดจากการประชุมเชิง ปฏิบัติการเพื่อระดมความคิด และประสบการณ์ของทีมสหวิชาชีพที่มีความมุ่งมั่นให้องค์กรได้ยกระดับมาตรฐาน บริการที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย โดยหวังว่าจะเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นทั้งในและนอกกรมสุขภาพ จิตได้น�ำ ไปศึกษา ขยายบริการนิตจิ ติ เวชทีเ่ ป็นมาตรฐานและให้บคุ ลากรทีป่ ฏิบตั งิ านใช้เป็นแนวทางในการให้บริการ แก่ผู้ป่วยนิติจิตเวชเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคมต่อไป

(นายศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


4

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

5

สารบัญ

คำ�นำ� สารบัญ บทนำ� วัตถุประสงค์ วิธีดำ�เนินการพัฒนา คำ�จำ�กัดความ ขอบเขตการบริการนิติจิตเวช กฎหมายสำ�คัญที่เกี่ยวข้อง ผังไหลการบริการนิติจิตเวช มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช 1. นโยบายและขั้นตอนการทำ�งาน 2. โครงสร้างการให้บริการ 3. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ 4. ระบบเอกสาร 5. ข้อบ่งชี้ในการรับเข้าบำ�บัดรักษา 6. การให้การดูแลช่วยเหลือที่สำ�คัญ - การตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวชแบบผู้ป่วยนอก - การตรวจสภาพจิตนักโทษเด็ดขาดประหารชีวิต - การตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวชแบบผู้ป่วยใน - การประชุมพิจารณาเพิกถอนมาตรา 48 7. การทำ�งานของทีมสหวิชาชีพ 8. หน้าที่ของผู้ดูแล 9. เชื้อชาติ วัฒนธรรมของผู้ป่วย 10. การกำ�กับดูแล 11. การตรวจสอบและเฝ้าระวังการดำ�เนินการทางคลินิก 12. การบริการเพื่อสนับสนุนการทำ�งาน 13. การประสานงานกับหน่วยงานอื่น 14. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 15. งานฝึกอบรม 16. งานวิจัย 17. ตัวชี้วัดเพื่อประเมินความเป็นเลิศทางการบริการเฉพาะด้าน เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก

หน้า 3 5 7 8 8 9 10 11 16 19 19 21 24 27 30 33 34 39 39 57 62 64 66 68 70 72 74 75 77 78 79 80 81


6

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

7

บทนำ� 1. หลักการและเหตุผล จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาพบว่าการบริการนิติจิตเวชของหน่วยงานต่างๆ มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทำ�ให้ผู้ ใช้บริการได้รับบริการที่แตกต่างกันตามประสบการณ์หรือความชำ�นาญของ ผูป้ ฏิบตั แิ ต่ละหน่วยงาน ซึง่ ส่งผลกระทบต่อผู้ ใช้บริการและบางครัง้ พบว่าผู้ ใช้บริการไม่ได้รบั การพิทกั ษ์สทิ ธิต์ ามที่ กฎหมายกำ�หนด ต่อมาได้มีการปฏิรูประบบราชการของไทยภายใต้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ บริหารกิจการบ้านเมืองทีด่ ปี พี .ศ. 2546 ซึง่ มีเป้าหมายเพื่อเพิม่ ประสิทธิภาพของส่วนราชการให้สามารถตอบสนอง ความต้องการของประชาชน โดยเน้นการปรับโครงสร้าง วิธปี ฏิบตั ริ าชการ ตลอดจนปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคล สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์จงึ ได้มกี ารทบทวนวิสยั ทัศน์ พันธกิจ ปรับโครงสร้างภายในองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับ ภาระหน้าทีต่ ามกฎหมาย ความเปลีย่ นแปลงและความต้องการของสังคม โดยได้มกี ารดำ�เนินการพัฒนามาตรฐาน บริการนิตจิ ติ เวชในปี พ.ศ. 2547 โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารจำ�นวน 4 ครัง้ ระหว่างเดือนมกราคม - สิงหาคม พ.ศ. 2547 คณะทำ�งานประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านนิติจิตเวชทั้งในและ นอกกรมสุขภาพจิต ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำ�บัด ได้เป็นมาตรฐาน บริการนิติจิตเวชและนำ�ไปปฏิบัติพร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมการบริการในสถาบันฯมาอย่างต่อเนื่อง ตามที่กรมสุขภาพจิตมีนโยบาย มุ่งพัฒนาสถานบริการให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ และเป็นศูนย์กลาง การพัฒนางานบริการและวิชาการด้านสุขภาพจิตและจิตเวชทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และข้อเสนอการเปลีย่ นแปลง (Blueprint of Change) ในมิตติ ามภารกิจด้านการพัฒนาระบบบริการ และประสิทธิภาพองค์กร ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้กำ�หนดแผนยุทธศาสตร์ประเด็นการพัฒนาความเป็นเลิศทางด้าน บริการสุขภาพจิตและจิตเวช คือ การให้บริการสุขภาพจิตอย่างมีคุณภาพและมาตรฐานในการบำ�บัดรักษา และ ฟื้นฟูสมรรถภาพที่ครบวงจรจุดเดียว (One Stop Service) รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาความสามารถใน การบำ�บัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเน้นให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต มีแนวทางมุ่งสู่การเป็นหน่วยบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง (Excellence Center) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทาง (Specialist) และใช้การจัดการความรู้ (Knowledge Management) มาเป็นแนวทางในการดำ�เนินงาน พร้อมทั้งได้มอบหมายให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์พัฒนาเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช จึงเป็นโอกาสที่สถาบันฯจะได้มีการทบทวนวิธีปฏิบัติ (Best practices) และองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการให้ บริการนิติจิตเวชในช่วงที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงและพัฒนางานการบริการด้านนิติจิตเวชให้ได้มาตรฐาน เหมาะสม กับสถานการณ์ สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ ใช้บริการ ซึ่งจะลดผลกระทบและผู้ ใช้บริการได้รับ การพิทักษ์สิทธิ์ตามที่กฎหมายกำ�หนด โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นร่างมาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศ เฉพาะทางด้านนิติจิตเวชขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2551 และเพื่อให้ระบบบริการด้านนิติจิตเวชมีความสอดคล้องกับความ ต้องการการบริการของผู้ ใช้บริการมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงจนเป็นมาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็น เลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชขึ้น มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชที่จัดทำ�ขึ้นนี้ เกิดจากการประชุมเชิง ปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดและประสบการณ์ของทีมสหวิชาชีพที่มีความมุ่งมั่นให้องค์กรได้ยกระดับมาตรฐาน


8

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

บริการที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย โดยหวังว่าจะเป็นต้นแบบให้หน่วยงานทั้งในและนอกกรมสุขภาพจิต ได้นำ�ไปศึกษา ขยายบริการนิติจิตเวชที่เป็นมาตรฐานและให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานใช้เป็นแนวทางในการให้บริการ แก่ผู้ป่วยนิติจิตเวชเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคมต่อไป

2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนามาตรฐานระบบบริการเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช 2. เพื่อให้ได้มาตรฐานระบบบริการเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช ที่สามารถนำ�ไปใช้เป็นแนวทางในการให้ บริการนิติจิตเวชทั้งในและนอกกรมสุขภาพจิต

3. วิธีดำ�เนินการพัฒนา ดำ�เนินการพัฒนาจาก 1. เอกสารมาตรฐานบริการนิตจิ ติ เวช ทีด่ �ำ เนินการในปี พ.ศ. 2547 ซึง่ มีการจัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร 4 ครัง้ ระหว่างเดือนมกราคม- สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยคณะทำ�งานประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพทีป่ ฏิบตั งิ านเกีย่ วข้อง กับการบริการนิติจิตเวชทั้งในและนอกกรมสุขภาพจิต ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำ�บัด รวมทั้งสิ้น 12 หน่วยงาน จำ�นวน 60 คน ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 14 คน ได้เป็น มาตรฐานบริการที่ใช้ ในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ 2. เอกสารร่างมาตรฐานระบบบริการทีม่ คี วามเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิตจิ ติ เวช ทีด่ �ำ เนินการพัฒนาขึน้ ในปี พ.ศ. 2551 ตามมาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวชของกรมสุขภาพจิต มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยคณะทำ�งานประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการให้บริการ นิติจิตเวชในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรม บำ�บัด จำ�นวน 60 คน ได้เป็นร่างมาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช แต่จากการ ปฏิบตั งิ านพบว่าการบริการยังมีบางส่วนทีต่ อ้ งมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สอดคล้องกับปัญหาความ ต้องการของผู้ ใช้บริการ 3. ในปี พ.ศ. 2552 จึงได้ดำ�เนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร การจัดทำ�มาตรฐานบริการนิตจิ ติ เวช ที่เป็นเลิศ เพื่อปรับปรุงร่างมาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช ที่ดำ�เนินการพัฒนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2551 โดยคณะทำ�งานประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับบริการนิติจิตเวชใน สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำ�บัด จำ�นวน 25 คน เพื่อให้การบริการด้านนิติจิตเวชเหมาะสมกับสถานการณ์ สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ ใช้บริการ และจัดทำ�เป็นมาตรฐานระบบบริการทีม่ คี วามเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิตจิ ติ เวชขึน้ ตามกรอบมาตรฐานระบบบริการ ทีม่ คี วามเป็นเลิศเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวชทีก่ รมสุขภาพจิตได้กำ�หนดเป็นแนวทาง 17 ประเด็น ประกอบด้วย 1. นโยบายและขั้นตอนการทำ�งาน (Policies and procedures) 2. โครงสร้างการให้บริการ: บุคลากร (Service structure: personnel) 3. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment) 4. ระบบเอกสาร (Documentation) 5. ข้อบ่งชี้ในการเข้ารับการประเมินตามกระบวนการนิติจิตเวช (Admission criteria) 6. การให้การดูแลช่วยเหลือที่สำ�คัญ (Core interventions)


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

9

7. การทำ�งานของทีมสหวิชาชีพ (Multidysplinary Team Working) 8. หน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วย (Carer involvement) 9. เชื้อชาติ วัฒนธรรมของผู้ป่วย (Ethnicity and culture) 10. การกำ�กับดูแล (Supervision) 11. การตรวจสอบและเฝ้าระวังการดำ�เนินการทางคลินิก (Clinical audit & monitoring) 12. การบริการเพื่อสนับสนุนการทำ�งาน (Support services system) 13. การประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ (Liaison with other agencies) 14. การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (Staff training) 15. งานฝึกอบรม (Training) 16. งานวิจัย (Research) 17. ตัวชี้วัดเพื่อประเมินความเป็นเลิศของการบริการเฉพาะด้าน (Indicator) อื่นๆ 4. ในปี พ.ศ. 2553 มีการจัดโครงการพัฒนามาตรฐานบริการนิติจิตเวชที่เป็นเลิศขึ้น เพื่อเป็นการ ถ่ายทอดองค์ความรู้มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชให้กับบุคลากรทีมสหวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จำ�นวน 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน หลังจากนั้นมีการทดลองใช้มาตรฐาน 2 เดือน และมีการประเมินผลการใช้มาตรฐาน ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับการใช้ ในการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวช

4. คำ�จำ�กัดความ เพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันในการใช้มาตรฐาน จึงได้มีการอธิบายคำ�จำ�กัดความต่างๆ ดังนี้ ผู้ป่วยนิติจิตเวช หมายถึง ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชและเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ผู้ถูกส่งตรวจ หมายถึง ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน จำ�เลย ผู้ต้องขังหรือนักโทษที่ผู้นำ�ส่ง ส่งมาตาม กระบวนการยุติธรรม หรือบุคคลทั่วไป และบุคคลที่ญาติหรือหน่วยงานต้นสังกัดส่งประเมินสภาพจิตในคดีอาญา ประเมินความสามารถ ประเมินภาวะอันตราย ประเมินระดับความสามารถในการทำ�งานของบุคคลและความ สามารถในการคุ้มครองบุคคล ทีมสหวิชาชีพ หมายถึง บุคลากรที่ทำ�งานด้านสุขภาพจิต ประกอบด้วย จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด คณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช หมายถึง คณะบุคคลในทีมสหวิชาชีพที่ท�ำ หน้าที่ ตรวจวินิจฉัย บำ�บัด รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยนิติจิตเวช ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด งานนิติจิตเวชชุมชน หมายถึง หน่วยงานที่ให้บริการด้านการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชน ผูเ้ กีย่ วข้อง ในการช่วยให้ผปู้ ว่ ยนิตจิ ติ เวชสามารถกลับสูช่ มุ ชนและดำ�เนินชีวติ อยูร่ ว่ มกับสังคมได้อย่างปกติสขุ ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม โดยให้บริการขณะอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งกลับสู่ชุมชน รวมถึงการดูแลต่อเนื่องหลัง กลับสู่ชุมชน งานประสานงานระหว่างรักษา หมายถึง หน่วยงานที่ให้บริการด้านการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ภายนอกโรงพยาบาล โดยการติดต่อทางโทรศัพท์หรือการทำ�หนังสือราชการถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแล ผู้ป่วยนิติจิตเวช เช่น ตำ�รวจ เรือนจำ� ศาล ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น


10

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

ผู้ ใช้บริการ หมายถึง ผู้ป่วยนิติจิตเวช ญาติ หน่วยงานที่ส่งผู้ถูกส่งตรวจมารับการตรวจประเมินหรือ รักษา หน่วยงานดังกล่าว เช่น ตำ�รวจ เรือนจำ� ศาล ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลที่ถูกกล่าวหา หรือถูกสงสัยว่ากระทำ�ผิดแต่ยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล พยาน หมายถึง บุคคลทีต่ อ้ งการเปิดเผยการรับรูข้ องตนเกีย่ วกับข้อเท็จจริง โดยการให้ถอ้ ยคำ� การรับรู้ โดยการสัมผัสของตน คือ จากการได้เห็น ได้ฟัง ได้กลิ่น ได้รส และได้รู้สึก จำ�เลย หมายถึง บุคคลที่ถูกฟ้องต่อศาลว่ากระทำ�ผิด ผู้ต้องขังหรือนักโทษ หมายถึง บุคคลที่กระทำ�ผิดและศาลตัดสินให้จำ�คุก การประกันตัว หมายถึง การยื่นหลักทรัพย์หรือตำ�แหน่งของบุคคลเพื่อรับผูต้ อ้ งหาออกมาจากการกักขัง และเป็นการรับรองว่าผู้ต้องหาจะอยู่ในกระบวนการยุติธรรม

5. ขอบเขตการบริการนิติจิตเวช ขอบเขตการบริการนิตจิ ติ เวชครอบคลุมถึงการให้บริการในโรงพยาบาล แบบผูป้ ว่ ยนอก ผูป้ ว่ ยใน เรือนจำ� ศาล ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน และชุมชน การบริการ มีดังนี้ 1. การประเมินวินิจฉัย 1.1 ผู้ต้องหาหรือจำ�เลยที่ถูกส่งประเมินสภาพจิตในคดีอาญา  ภาวะโรคจิต จิตบกพร่อง จิตฟั่นเฟือนและความสามารถบังคับตนเองหรือความรู้ผิดชอบใน ขณะประกอบคดี  การประเมินสภาพจิตนักโทษประหาร  การประเมินสภาพจิตของเด็กและเยาวชนที่กระทำ�ผิด 1.2 การประเมินความสามารถ  ความสามารถในการต่อสู้คดีอาญา  ความสามารถในการทำ�นิตกิ รรมสัญญาในคดีแพ่ง เช่น การประเมินความเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถของบุคคล ความสามารถในการทำ�พินยั กรรม ความสามารถในขณะทำ�นิตกิ รรมสัญญา เป็นต้น 1.3 การประเมินภาวะอันตราย  การประเมินภาวะอันตรายตามคำ�สั่งศาล 1.4 การประเมินระดับความสามารถในการทำ�งานของบุคคล  การหย่อนประสิทธิภาพในการทำ�งาน  ความเหมาะสมกับหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย 1.5 ความสามารถในการคุ้มครองบุคคล (สิทธิของเด็ก)  ความสามารถในการดูแลเลี้ยงดูบุตร  ความต้องการของเด็กในการได้รับการดูแลจากบุคคลอื่น 2. การบำ�บัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพในด้านต่างๆ เช่น 2.1 ความสามารถในการต่อสู้คดี 2.2 เพื่อความปลอดภัยต่อสังคม 2.3 ด้านการดูแลตนเอง 2.4 ด้านการประกอบอาชีพ


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

11

6. กฎหมายสำ�คัญที่เกี่ยวข้อง บุคลากรที่ทำ�หน้าที่ในการให้บริการทางด้านนิติจิตเวช จำ�เป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของ กฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนให้การดูแลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตอบสนองปัญหาและความต้องการ ของผู้ ใช้บริการ กฎหมายสำ�คัญที่เกี่ยวข้องในการบริการทางด้านนิติจิตเวช ประกอบด้วย 6.1 ความสามารถในการต่อสู้คดี ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ในระหว่างทำ�การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหา หรือจำ�เลยเป็น ผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณีสั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำ� หรือให้การว่าตรวจได้ผลเป็นประการใด ในกรณีทพี่ นักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่า ผูต้ อ้ งหา หรือจำ�เลยเป็นผูว้ กิ ลจริต และไม่สามารถต่อสูค้ ดีได้ ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาไว้จนกว่าผูน้ นั้ หายวิกลจริตหรือสามารถต่อสูค้ ดีได้ และให้สง่ ตัวผู้ นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิต หรือผู้อื่นที่เต็มใจไปดูแลรักษาก็ ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร กรณีที่ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ดั่งบัญญัติไว้ ในวรรคก่อน ศาลจะสั่งจำ�หน่ายคดีเสีย ชั่วคราวก็ ได้ 6.2 ความรับผิดชอบทางอาญา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ผู้ ใดกระทำ�ความผิดซึ่งมีโทษจำ�คุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับ โทษจำ�คุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำ�คุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำ�หรับความผิดที่ได้กระทำ�โดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำ�นึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปญ ั ญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพและสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว เห็นเป็นการสมควร ศาล จะพิพากษาว่าผูป้ ว่ ยนัน้ มีความผิด แต่รอการลงโทษไว้แล้วปล่อยตัวไป เพื่อให้ โอกาสผูน้ นั้ กลับตัวภายในระยะเวลา ที่ศาลจะได้กำ�หนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำ�หนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของ ผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ ได้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ผู้ ใดกระทำ�ความผิดในขณะไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำ�หรับความผิดนั้น แต่ถา้ ผูก้ ระทำ�ความผิดยังสามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ ง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บา้ ง ผูน้ นั้ ต้องรับโทษ สำ�หรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำ�หนดไว้สำ�หรับความผิดนั้นเพียงใดก็ ได้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 66 ความมึนเมาเพราะเสพสุราหรือสิ่งเมาอย่างอื่นจะยกขึน้ เป็นข้อแก้ตัวตามมาตรา 65 ไม่ได้ เว้นแต่ความ มึนเมานั้นจะได้เกิดโดยผู้เสพไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำ�ให้มึนเมา หรือได้เสพโดยการถูกขืนใจให้เสพ และได้กระทำ�ความผิด ในขณะไม่สามารถรูผ้ ดิ ชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ผูก้ ระทำ�ผิดจึงจะได้รบั การยกเว้นโทษสำ�หรับความผิด นัน้ แต่ถา้ ผูน้ นั้ สามารถรูผ้ ดิ ชอบอยูบ่ า้ งหรือยังสามารถบังคับตนเองได้ศาลจะลงโทษน้อยกว่าทีก่ ฎหมายกำ�หนดไว้ สำ�หรับความผิดนั้นเพียงใดก็ ได้ จากบทบัญญัตกิ ฎหมายดังกล่าว จะเห็นว่าการทีผ่ ู้ ใดจะได้รบั การยกเว้นโทษทางอาญาจากกฎหมายมาตรา เหล่านี้ จะต้องเป็นบุคคลในกลุ่มจิตบกพร่อง โรคจิต จิตฟั่นเฟือน โดยขณะประกอบคดีไม่สามารถบังคับตนเองได้


12

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เพราะอาการของโรค เพราะฉะนั้นบทบาทของทีมนิติจิตเวชจะต้องทำ�หน้าที่ในการตรวจวินิจฉัย เพื่อลงความเห็น เกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิตเวชหรือปัญหาทางด้านสุขภาพจิตของบุคคลที่ถูกส่งตรวจสภาพจิตว่าเป็นประการใด เพื่อศาล พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวน จะได้นำ�ไปประกอบการพิจารณาโทษทางอาญาต่อไป 6.3 วิธีการเพื่อความปลอดภัย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 48 ถ้าศาลเห็นว่า การปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนซึ่งไม่ต้องรับโทษหรือได้รับการลด โทษตามมาตรา 65 จะไม่เป็นการปลอดภัยแก่ประชาชน ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมไว้ ในสถานพยาบาลก็ ได้ และคำ�สั่ง นี้ศาลจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ ได้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 49 ในกรณีทศี่ าลพิพากษาลงโทษจำ�คุก หรือพิพากษาว่ามีความผิดแต่รอการกำ�หนดโทษ หรือรอการลงโทษ บุคคลใดถ้าศาลเห็นว่าบุคคลนั้นได้กระทำ�ความผิดเนื่องเกี่ยวกับการเสพสุราเป็นอาจิณ หรือการเป็นผู้เสพยาเสพ ติดให้ โทษ ศาลจะกำ�หนดในคำ�พิพากษาว่าบุคคลนั้นจะต้อง ไม่เสพสุรา ยาเสพติดให้ โทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ ทั้งสองอย่างภายในระยะเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันพ้นโทษ หรือวันปล่อยตัวเพราะรอการกำ�หนดโทษหรือรอการ ลงโทษก็ ได้ ในการณีที่บุคคลดังกล่าวในวรรคแรกไม่ปฏิบัติตามที่ศาลกำ�หนด ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมตัวไว้ ในสถาน พยาบาลเป็นเวลาไม่เกินสองปีก็ ได้ 6.4 การหย่อนความสามารถในการทำ�นิติกรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ ใด ถ้าคูส่ มรสก็ดี ผูบ้ พุ การีกล่าวคือ บิดามารดา ปูย่ า่ ตายาย ทวดก็ดี ผูส้ บื สันดานกล่าว คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สงั่ ให้บคุ คลวิกลจริตผูน้ นั้ เป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสัง่ ให้บคุ คลวิกลจริตผูน้ นั้ เป็นคนไร้ความ สามารถก็ ได้ บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้ง ผูอ้ นุบาล อำ�นาจหน้าทีข่ องผูอ้ นุบาลและการสิน้ สุดของความผูเ้ ป็นผูอ้ นุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัตบิ รรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายนี้คำ�สั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำ�ลงไป การนั้นเป็นโมฆียะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 31 ถ้าเหตุทที่ ำ�ให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สนิ้ สุดไปแล้วและเมื่อบุคคลผูน้ นั้ เองหรือบุคคลใดๆ ดังกล่าวใน มาตรา 28 ร้องขอต่อศาล ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำ�สั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น คำ�สั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 32 บุคคลใดมีกายพิการ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติด สุรายาเมา หรือมีเหตุอนื่ ใดทำ�นองเดียวกันนัน้ จนไม่สามารถจะจัดทำ�การงานโดยตนเอง หรือจัดกิจการไปในทางอื่น ที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อบุคคลตามที่ระบุไว้ ในมาตรา 28 ร้องขอต่อศาล ศาล จะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ ได้


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

13

บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นเสมือนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่งต้องจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ การแต่งตั้ง ผู้พิทักษ์ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้น�ำ บทบัญญัตวิ า่ ด้วยการสิน้ สุดของความเป็นผูปกครองในบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บงั คับ แก่การสิ้นสุดของการเป็นผู้พิทักษ์ โดยอนุโลม คำ�สั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 6.5 วิธีการทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยนิติจิตเวช ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 246 ศาลมีอำ�นาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำ�คุกไว้ก่อน จนกว่าเหตุอันควรทุเลาจะหมดไปในกรณีต่อไปนี้ 1. เมื่อจำ�เลยวิกลจริต 2. เมื่อเกรงว่าจำ�เลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำ�คุก 3. เมื่อจำ�เลยมีครรภ์ตั้งแต่เจ็ดเดือนขึ้นไป 4. ถ้าจำ�เลยคลอดบุตรยังไม่ถึงเดือน ในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้น ให้ศาลสั่งพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำ�รวจจัดให้บุคคลดังกล่าวอยู่ใน สถานที่อันควร ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 248 ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำ�พิพากษาให้ประหารชีวิต เกิดวิกลจริตก่อนถูกประหารชีวิตให้รอการประหารชีวิตไว้ ก่อน จนกว่าผู้นั้นจะหาย ขณะทุเลาการประหารชีวิตอยู่นั้น ศาลมีอำ�นาจยกมาตรา 46 (2) แห่งกฎหมายลักษณะ อาญามาบังคับ ถ้าผู้วิกลจริตนั้นหายภายหลังปีหนึ่ง นับแต่วันคำ�พิพากษาถึงที่สุดให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำ�คุก ตลอดชีวิต 6.6 ข้อจำ�กัดทางกฎหมายของผู้ป่วยจิตเวช ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1449 การสมรสจะกระทำ�มิได้ ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ 6.7 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ดูแลผู้ป่วย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 ผู้ ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชีหรือวิชาชีพอื่นใด ทำ�คำ�รับรองเป็นเอกสารอัน เป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ต้องระวางโทษจำ�คุกไม่เกินสองปี หรือปรับ ไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ ผู้ ใดทุจริตโดยใช้หรืออ้างคำ�รับรองอันเกิดจากการกระทำ�ความผิดตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่น เดียวกัน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 307 ผู้ ใดมีหน้าที่ตามกฎหมาย หรือตามสัญญาต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้ เพราะอายุความเจ็บป่วย กาย พิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้น โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวาง โทษจำ�คุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำ�ทั้งปรับ


14

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 323 ผู้ ใดล่วงรู้หรือได้มาซึ่งความลับของผู้อื่น โดยเหตุที่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ โดยเหตุที่ประกอบอาชีพ เป็นแพทย์ เภสัชกร คนจำ�หน่ายยา นางผดุงครรภ์ ผู้พยาบาล นักบวช หมอความ ทนายความ หรือผู้สอบบัญชี หรือโดยเหตุที่เป็นผู้ช่วยในการประกอบอาชีพนั้น แล้วเปิดเผยความลับนั้นในประการที่น่าเกิดความสียหายแก่ ผู้หนึ่ง ผู้ ใด ต้องระวางโทษจำ�คุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ ผู้รับการศึกษาอบรมในอาชีพดังกล่าวในวรรคแรก เปิดเผยความลับของผู้อื่นอันตนได้ล่วงรู้ หรือได้มา ในการศึกษาอบรมนั้น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้หนึ่งผู้ ใด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 373 ผู้ ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริต ปล่ อ ยปละละเลยให้ บุ ค คลวิ ก ลจริ ต ผู้ นั้ น ออกเที่ ย วไปโดยลำ � พั ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึง่ รับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยูเ่ ป็นนิตย์กด็ ี ชัว่ คราวก็ดี จำ�ต้องรับ ผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึง่ เขาได้กระทำ�ระหว่างทีอ่ ยู่ในความควบคุมดูแลของตน ถ้าหากพิสจู น์ ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ ใช้ความระมัดระวังตามสมควร


15

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

ผังไหลการบริการนิติจิตเวช รับเอกสาร / ผู้ถูกส่งตรวจ บริการเวชระเบียน การคัดกรอง การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น ไม่ใช่

รับไว้เป็นผู้ป่วยใน ใช่ บริการผู้ป่วยใน รวบรวมข้อมูลและประเมิน ของแต่ละวิชาชีพ การบำ�บัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ตามวัตถุประสงค์การนำ�ส่ง รายงานผลการตรวจ จำ�หน่าย

ติดตามต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี หลังพ้นโทษ ในปากคำ�/เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ ติดตามผลคดี บริการต่อเนื่องหลังจำ�หน่าย

บริการผู้ป่วยนอก


16

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

7. ผังไหลการบริการนิติจิตเวช ผังไหลการบริการนิติจิตเวชเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการรับเอกสารและตัวผู้ถูกส่งตรวจ และสิ้นสุดที่การ ติดตามผลคดีและบริการต่อเนื่องหลังจำ�หน่าย ซึ่งมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้

หมายถึง การเริ่มต้นและสิ้นสุดกิจกรรม

หมายถึง กิจกรรมที่ต้องทำ�ทุกกรณี

หมายถึง กรณีที่ต้องมีการตัดสินใจหรือทางเลือกว่าต้องทำ�หรือไม่กรณีใด

การไหลของกิจกรรมเป็นลำ�ดับขั้นจากขั้นตอนบนสู่ล่าง

การรับเอกสารและผู้ถูกส่งตรวจ หมายถึง การรับตัวผู้ถูกส่งตรวจทางนิติจิตเวช และหรือเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับการส่งตัวผู้ถูกส่งตรวจมาเพื่อการตรวจวินิจฉัย หรือบำ�บัดรักษา การคัดกรอง หมายถึง การตรวจสอบและคัดแยกประเภทผู้ถูกส่งตรวจทางนิติจิตเวช และเอกสารที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย 1. การตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้อง ของเอกสารนำ�ส่ง 2. การแยกประเภทตามวัตถุประสงค์ของการนำ�ส่งเพื่อการใด เช่น ตรวจวินิจฉัย บำ�บัดรักษา หรือ การขอความเห็นทางการแพทย์ 3. การแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน 4. การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการประเมินและคัดกรองของแพทย์ ในการบำ�บัดแบบ ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน 5. ประเภทสิทธิบตั ร ได้แก่ บัตรผูพ้ กิ าร บัตรประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) บัตรประกัน สังคมกรณีฉุกเฉินรับรองสิทธ์เฉพาะครั้งแรก 15 วัน การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น หมายถึง การประเมินเบื้องต้นของแพทย์ เพื่อพิจารณาการให้บริการแบบ ผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยใน บริการผูป้ ว่ ยนอก หมายถึง กระบวนการตรวจวินจิ ฉัย บำ�บัด รักษา และฟืน้ ฟูสมรรถภาพด้านนิตจิ ติ เวช แบบผู้ป่วยนอกของคณะผู้ตรวจวินิจฉัย บำ�บัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านนิติจิตเวช บริการผูป้ ว่ ยใน หมายถึง กระบวนการตรวจวินจิ ฉัย บำ�บัด รักษา ฟืน้ ฟูสมรรถภาพ ด้านนิตจิ ติ เวช แบบ ผู้ป่วยในตามเกณฑ์การบ่งชี้การรับไว้เป็นผู้ป่วยใน การรวบรวมข้อมูลและประเมินของแต่ละวิชาชีพ หมายถึง กระบวนการรวบรวมข้อมูลตามมาตรฐาน ของแต่ละวิชาชีพ เพื่อการวางแผนวินิจฉัย บำ�บัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และเตรียมการจำ�หน่าย (กรณีเป็น ผู้ป่วยใน) การตรวจวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช หมายถึง การตรวจวินจิ ฉัยผูถ้ กู นำ�ส่งทีศ่ าลหรือตำ�รวจหรือหน่วยงานอื่น ส่งมาให้คณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช พิจารณาลงความเห็นทั้งด้านคลินิก และด้านกฎหมาย โดยการวินจิ ฉัยทางคลินกิ นัน้ ยึดตามการวินจิ ฉัยขององค์การอนามัยโลก ฉบับ ICD-10 ส่วนข้อวินจิ ฉัยทางกฎหมาย


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

17

พิจารณาตามจุดประสงค์ของการนำ�ส่ง เช่น ขณะประกอบคดีสามารถรู้ผิดชอบหรือไม่ในคดีอาญา ในคดีแพ่ง พิจารณาความสามารถในการดูแลตนเอง การประกอบอาชีพ เป็นต้น การประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช หมายถึง การประชุมของคณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทาง นิติจิตเวช อย่างน้อยวิชาชีพละ 1 คน จิตแพทย์ 2 คน เพื่อพิจารณาวินิจฉัยทางนิติจิตเวชในกรณีผู้ป่วยที่ต้องการ ผลการตรวจทางนิติจิตเวช รายงานผลการตรวจวิ นิ จ ฉั ย หมายถึ ง การสรุ ป ผลการประชุ ม วิ นิ จ ฉั ย ทางนิ ติ จิ ต เวชของคณะ ผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช ตามวัตถุประสงค์ของการนำ�ส่ง และส่งรายงานนั้นแก่ผู้นำ�ส่งที่เป็น ลายลักษณ์อักษรในรูปเอกสารทางราชการ พยานผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง พยานแพทย์หรือบุคลากรในคณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทาง นิติจิตเวช ซึ่งเป็นผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวชผู้ถูกส่งตรวจ การให้ปากคำ�/เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง กรณีบุคคลในคณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทาง นิติจิตเวช ได้รับหมายเรียกหรือหมายศาลให้ไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช และข้อเสนอ แนะต่าง ๆ เกี่ยวกับการบำ�บัดดูแลผู้ป่วยที่ถูกนำ�ส่งตรวจ ต่อตำ�รวจ ศาล ฯลฯ แล้วแต่กรณี การติดตามผลคดี หมายถึง การติดตาม การนำ�ข้อมูลของรายงานสรุปผลการประชุมวินิจฉัยทาง นิติจิตเวช การให้ปากคำ� การเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญของคณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช ไปใช้ ประโยชน์ประกอบการพิจารณาคดี และผลทางกระบวนการยุติธรรมต่างๆ


18

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

19

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทาง ด้านนิติจิตเวช

การดูแลผูป้ ว่ ยนิตจิ ิตเวช เพื่อให้ได้มาตรฐานและครอบคลุมการบริการตามกรอบมาตรฐานระบบบริการ ทีม่ คี วามเป็นเลิศเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวชตามกรมสุขภาพจิตประกอบด้วยแนวทาง 17 ประเด็น ดังต่อไปนี้

1. นโยบายและขั้นตอนการทำ�งาน (Policies and procedure) ความสำ�คัญ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ มีนโยบายในการพัฒนาการบริการความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช ตามมาตรฐานความเป็นเลิศทางด้านบริการของกรมสุขภาพจิต

มาตรฐานการทำ�งาน การพัฒนานโยบายการทำ�งานของหน่วยบำ�บัดรักษารวมถึงประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ 1. มีการให้บริการด้านนิตจิ ติ เวชโดยเน้นความเสมอภาคไม่เลือก เชือ้ ชาติ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ 2. ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างมีมาตรฐาน 3. การตรวจวินิจฉัยและการบำ�บัดรักษาโดยคำ�นึงถึงสิทธิของผู้ป่วย 4. บุคลากรด้านนิติจิตเวชได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำ�ความรู้ไปเผยแพร่ให้กับ บุคลากรทางการแพทย์และกระบวนการยุติธรรมได้ 5. มีการพัฒนาทางด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง

แนวทางในการปฏิบัติ 1. มีการกำ�หนดนโยบายแบบมีส่วนร่วมโดยทีมงานด้านวิชาการและบริการและนำ�เสนอต่อผู้บริหาร 2. มีการนำ�นโยบายไปเป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานบริการนิติจิตเวช 3. สิ่งที่ควรระบุในนโยบาย คือ หัวข้อดังต่อไปนี้  การประเมินตนเองระดับโรงพยาบาล (Hospital profile) ระดับหน่วยงาน (Unit profile)  เหตุผลและความสำ�คัญ (The rationale)  หลักฐาน (The evidence)  ขีดความสามารถที่ต้องการ (The competencies required)  ข้อแนะนำ� (The instruction)  การดำ�เนินการเฝ้าระวังติดตาม ประเมิน และทบทวนวิธีการ (The implementation, monitoring, evaluation and review methods)


20

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

4. ในกระบวนการพัฒนาหรือกำ�หนดนโยบายนั้น ควรไตร่ตรองถึงประเด็นสำ�คัญที่ควรคำ�นึงดัง องค์ประกอบต่อไปนี้  สิทธิผู้ป่วยและการรักษาความลับ  การมีส่วนร่วมของผู้ ให้บริการและผู้ ใช้บริการ  เจตนารมณ์ สาระสำ�คัญและข้อกำ�หนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5. มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย

ตัวชี้วัด หน่วยงานมีนโยบายการทำ�งานมาตรฐานบริการนิติจิตเวชที่ชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ของสถาบันฯ


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

21

2. โครงสร้างการให้บริการ: บุคลากร (Service structure: personnel) ความสำ�คัญ ปัจจัยสำ�คัญในการให้บริการด้านนิติจิตเวชที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ คือการทำ�หน้าที่และลักษณะ การทำ�งานของทีมผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพ

มาตรฐานการทำ�งาน 1. ทีมผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพ (Multidisciplinary Team) หน่วยบำ�บัดรักษาทุกหน่วย ควรมีทมี ผูเ้ ชีย่ วชาญสหวิชาชีพทางด้านนิตจิ ติ เวช ประกอบด้วยบุคลากร ผู้ ให้บริการหลัก ดังนี้ 1.1 ด้านการแพทย์ (Medical) 1.2 ด้านการพยาบาล (Nursing) 1.3 ด้านจิตวิทยา (Psychology) 1.4 ด้านสังคมสงเคราะห์ (Social work) 1.5 ด้านกิจกรรมบำ�บัด (Occupational therapy) 1.6 ด้านเภสัชวิทยา (Pharmacy) 2. ความเป็นผู้นำ� 2.1 ในทีมสหวิชาชีพจะได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วย โดยมีแพทย์เป็นผู้นำ�ทีม วางระบบบริการ ดูแลผูป้ ว่ ย ตัง้ แต่แรกรับจนถึงจำ�หน่ายออกสูช่ มุ ชน โดยมีการประสานส่งต่อตามระบบของโรงพยาบาลและระบบ บริการของกระบวนการยุติธรรม 2.2 หน่วยงานนิตจิ ติ เวชหรือศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิตจิ ติ เวช ต้องมีผทู้ ี่ได้รบั มอบหมาย ให้ทำ�งานเป็นหัวหน้าทีมซึ่งอาจเป็น แพทย์ หรือพยาบาล มีอำ�นาจในการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของ หน่วยงานนิติจิตเวชหรือศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช 2.3 หน่วยบำ�บัดรักษาแต่ละหน่วยต้องมีหัวหน้าที่ปรึกษา (Lead consultant) ผู้มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านเทคนิค สำ�หรับประเด็นปัญหาสำ�คัญ ซึง่ ขึน้ กับการปฏิบตั งิ านให้บริการ ใช้ความชำ�นาญทีม่ ีให้การสนับสนุน และกำ�กับดูแลการทำ�งานของเจ้าหน้าที่และประสานงานการให้บริการในภาพรวม 2.4 การทำ�หน้าที่ให้คำ�ปรึกษาต้องมีการทำ�งานที่ถูกกำ�หนดไว้ประกอบกับแผนการทำ�งาน เพื่อ ประกันว่าผู้ที่เป็นที่ปรึกษาจะจัดสรรเวลาให้กับการทำ�งานของหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยอย่างเพียงพอ 3. ระดับความสามารถและประสบการณ์ของบุคลากร ในทีมงานผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพที่ทำ�งานอยู่ในหน่วยนิติจิตเวชหรือศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง ด้านนิติจิตเวชนั้น สมาชิกส่วนใหญ่ของทีมงานคือผู้ที่มีประสบการณ์เฉพาะในสาขาวิชาชีพของตน ประกอบด้วย 3.1 ผู้ ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าหน่วย ต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่ มีความเป็นผู้นำ� (Leadership) มีความสามารถในการจัดการแก้ปัญหา เป็นผู้ที่สนใจหรือมีประสบการณ์ ในงานนิติจิตเวช 3.2 ด้านการแพทย์ เป็นจิตแพทย์ ที่เคยผ่านการศึกษาดูงานด้านนิติจิตเวชอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือผ่านการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวชมาแล้ว ซึ่งการทำ�งานในปีแรกต้องอยู่ภายใต้การกำ�กับดูแลของจิตแพทย์ที่มี ประสบการณ์การทำ�งานด้านนิติจิตเวชอย่างน้อย 3 ปี


22

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

3.3 ด้านการพยาบาล เป็นพยาบาลวิชาชีพทีม่ ปี ระสบการณ์ดแู ลผูป้ ว่ ยจิตเวชอย่างน้อย 1 ปี หรือ พยาบาลวิชาชีพทีผ่ า่ นการอบรมเฉพาะทางด้านสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชหรือผ่านการอบรมหลักสูตรการ พยาบาลนิติจิตเวช และมีความรู้ ในการพยาบาลนิติจิตเวช 3.4 ด้านจิตวิทยา เป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่มีประสบการณ์ ในการใช้เครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา คลินิกและดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างน้อย 1 ปี และผ่านการอบรมหลักสูตรนิติจิตวิทยา 3.5 ด้านสังคมสงเคราะห์ เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนักสังคมสงเคราะห์ จิตเวช และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์จิตเวชอย่างน้อย 1 ปี ผ่านการอบรมหลักสูตรการ ให้การปรึกษาเบื้องต้น และผ่านการอบรมหลักสูตรด้านสังคมสงเคราะห์นิติจิตเวช 3.6 ด้านกิจกรรมบำ�บัด เป็นนักกิจกรรมบำ�บัดที่มีประสบการณ์ด้านการจัดกิจกรรมบำ�บัดผู้ป่วย จิตเวชอย่างน้อย 1 ปี หรือเจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัดที่มีประสบการณ์ด้านการจัดกิจกรรมบำ�บัดผู้ป่วยจิตเวชอย่าง น้อย 1 ปี และผ่านการอบรมหลักสูตรการจัดกิจกรรมบำ�บัดในผู้ป่วยนิติจิตเวช 3.7 ด้านเภสัชวิทยา เภสัชกรมีประสบการณ์ ในการปฏิบตั งิ านด้านการบริบาลเภสัชกรรมด้านจิตเวช อย่างน้อย 1 ปี

แนวทางในการปฏิบัติ 1. บุคลากรทีมสหวิชาชีพควรได้รบั การสนับสนุน ส่งเสริมให้มกี ารเรียนรูเ้ พื่อพัฒนาตนเองอยูเ่ สมอไม่ ว่าจะโดยการฝึกอบรมภายในองค์กร และการพัฒนาความเชี่ยวชาญในวิชาชีพซึ่งจัดโดยองค์กรภายนอก 2. บุคลากรทีมสหวิชาชีพจะต้องมีการพัฒนาตนเองด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ เพื่อพัฒนาให้ เป็นผู้เชี่ยวชาญ เช่น  การเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้ามาฝึกปฏิบัติงาน นับเป็นปัจจัยสำ�คัญที่จะทำ�ให้นักศึกษาใน สหวิชาชีพเหล่านั้นเห็นความสำ�คัญในการให้ความเข้าใจและนำ�มาซึ่งการให้การบำ�บัดดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความ สามารถ  เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านนิติจิตเวชให้กับหน่วยงานทั้งของภาครัฐ และเอกชน  มีผลงานวิจัยด้านนิติจิตเวช 3. บุคลากรทีมสหวิชาชีพได้รบั การพัฒนาบทบาทการเป็นผูน้ � ำ เช่น การส่งเข้ารับการฝึกอบรมผูบ้ ริหาร ของหน่วยงานภายนอกองค์กร 4. มีการกำ�หนด บทบาท หน้าที่ เป้าหมาย และผู้รับผิดชอบงานอย่างชัดเจน 5. มีการกำ�หนดคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญด้านนิติจิตเวชคือ  จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขนึ้ ไปในสาขาทีเ่ กีย่ วข้อง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล จิตวิทยาคลินกิ สังคมสงเคราะห์ กิจกรรมบำ�บัด และนิติศาสตร์  มีประสบการณ์ ในการทำ�งานด้านนิติจิตเวชไม่น้อยกว่า 3 ปี  ผ่านการอบรม หรือการศึกษาต่อเนื่องด้านนิติจิตเวช และสาขาที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ หรือต่างประเทศ  มีผลงานวิชาการที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญด้านนิติจิตเวช เช่น ผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

23

 เป็นวิทยากรบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ด้านนิติจิตเวชให้กับหน่วยงานทั้งของ ภาครัฐและ/หรือเอกชน  มีสมรรถนะในการเรียนรู้ พัฒนางาน มีความสามารถในการใช้หลักของเหตุผลในการแก้ปญ ั หา และประยุกต์สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวให้เป็นประโยชน์ได้

ตัวชี้วัด

1. 2. 3. 4.

มีแผนพัฒนาบุคลากรที่มีความเฉพาะแต่ละวิชาชีพของหน่วยงาน มีหลักสูตรเฉพาะวิชาชีพ ของทีมสหวิชาชีพด้านนิติจิตเวช มีการกำ�หนดถึงคุณลักษณะที่ชัดเจนของทีมสหวิชาชีพด้านนิติจิตเวช มีการกำ�หนดคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติจิตเวชที่ชัดเจน


24

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

3. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical environment) ความสำ�คัญ การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพของหน่วยดูแลผูป้ ว่ ยนิตจิ ติ เวช สิง่ ทีต่ อ้ งให้ความสำ�คัญโดยเฉพาะการ ออกแบบ ต้องคำ�นึงถึงหน้าที่พื้นฐานทั้ง 3 ข้อ คือ การทำ�หน้าที่ให้ความปลอดภัย ให้การบำ�บัดรักษาและประกัน ความมั่นคงปลอดภัยในการควบคุมดูแล

มาตรฐานการทำ�งาน 1. การจัดวางแผนผังและตำ�แหน่งพื้นที่ใช้สอยภายในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วย 1.1 ต้องมีพื้นที่ใช้สอยสำ�คัญตามที่จำ�เป็น เช่น ห้องนอน ห้องโถง ทางเดิน ห้องอาบน้ำ�และ ห้องสุขา 1.2 พื้นที่ของหน่วยบำ�บัดรักษา ควรอยู่ในชั้นล่างของอาคาร 1.3 จำ�นวนผู้ป่วยต่อบุคลากรที่ดูแลเหมาะสมกับการบำ�บัดรักษาและมาตรฐานความปลอดภัย 1.4 การออกแบบอาคารสถานที่ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินความเสี่ยงของสิ่งแวดล้อมที่ อาจเกิดกับผู้ป่วย เช่น การวางท่อ สายไฟ เครื่องทำ�ความร้อน ต้องไม่ให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้ง่าย 1.5 ในพืน้ ทีข่ องหอผูป้ ว่ ยไม่ควรมีบริเวณทีล่ บั สายตา แม้แต่ในมุมตึกหรือมุมกำ�แพง ซึง่ ในบริเวณ ที่ว่านี้อาจติดเลนส์กระจกสะท้อนมุม (convex mirrors) หรือโทรทัศน์วงจรปิดไว้ 1.6 ความสูงของเพดานต้องสูงอย่างน้อย 3 เมตร เพื่อให้เกิดความรู้สึกโล่งสบายไม่อึดอัด 2. ความปลอดภัย (Security Levels) หากจะมีการนำ�มาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยมาใช้ เช่น การปิดกั้นหน้าต่าง หรืออื่นๆ พึง พิจารณาอย่างถี่ถ้วนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 3. ทางเข้าหลัก (Main Entrance) 3.1 ประตูทางเข้าหลักควรตั้งอยู่ห่างออกไปจากพื้นที่บริเวณพื้นที่หลักที่ใช้ ในการบำ�บัดรักษา 3.2 ประตูทางเข้าหลักควรมีทางลาดสำ�หรับรถเข็น หรือรถนอน สำ�หรับใช้กบั ผูป้ ว่ ยในกรณีฉกุ เฉิน ที่ผู้ป่วยต้องนั่งรถเข็น รถนอน ในกรณีไม่สามารถเดินได้ 4. ทางหนีไฟ (Fire Exit) 4.1 ทุกอาคารและหอผู้ป่วยต้องมีแผนผังและสัญลักษณ์บอกทางหนีไฟที่ชัดเจน มองเห็นได้ง่าย 4.2 มีแผนการเคลื่อนย้ายผูป้ ว่ ยกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ ในขัน้ ตอนแรกของการวางแผนเคลื่อนย้าย หนีไฟให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงประจำ�ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และการซักซ้อมการเคลื่อนย้ายหนีไฟต้องมีอย่าง สม่ำ�เสมออย่างต่อเนื่องปีละ 1 ครั้ง 4.3 มีสญ ั ญาณแจ้งเหตุการณ์เกิดเพลิงไหม้ทบี่ อกถึงการเกิดเพลิงไหม้ทสี่ ามารถรู้ได้ โดยทัว่ กัน เช่น สัญญาณแจ้งเหตุเกิดเพลิงไหม้ คือ การกดกริ่งติดต่อกัน 3 ครั้ง 4.4 มีกริ่งสัญญาณสำ�หรับผู้พบเห็นเพลิงไหม้ 4.5 ต้องมีเครื่องดับเพลิงเพียงพอพร้อมใช้ทุกอาคาร 5. หน้าต่าง (Windows) 5.1 การออกแบบพืน้ ที่ใดๆก็ตาม ควรคำ�นึงถึงการทำ�ให้พนื้ ทีภ่ ายในได้รบั แสงธรรมชาติให้มากทีส่ ดุ


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

25

เท่าที่จะมากได้ 5.2 วัสดุที่แนะนำ�ให้ ใช้กับบานหน้าต่าง คือ พลาสติคโพลีคาร์บอเนต (เป็นโอกาสพัฒนา) แก้วที่ มีความทนทานสูงและ laminated glasses 5.3 การระบายอากาศถือเป็นเรื่องสำ�คัญเรื่องหนึ่ง หน้าต่างควรเปิดได้ โดยควบคุมความกว้างใน การเปิดไว้ไม่เกิน 125 มิลลิเมตร 5.4 ควรระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยเข้าถึงข้อต่อ ท่อที่อยู่ด้านบน เนื่องจากผู้ป่วยอาจใช้เป็นเครื่องมือ ในการแขวนคอได้ แต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ไม่ควรยึดท่อให้แน่นมากและรับน้ำ�หนักได้ไม่เกิน 20 กิโลกรัม 6. ประตู (Doors) 6.1 ประตูทุกบานต้องมีโครงสร้างแกนกลางที่แข็งแรง และมีความหนาของส่วนแข็งนั้นไม่ต่ำ�กว่า 50 มิลลิเมตร 6.2 ประตูที่มีอยู่ในแผนก ควรเป็นประตูที่เปิดออกด้านนอกให้มากบานที่สุดเท่าที่จะมากได้ 6.3 ห้องปฏิบัติการพยาบาลและห้องทำ�งาน ควรมีทางเข้าออก 2 ทางเพื่อความปลอดภัยของ เจ้าหน้าที่ในกรณีฉุกเฉิน 7. การปิดล๊อค (Locks) 7.1 ประตูที่มีอยู่ในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วย ควรเป็นประตูที่สามารถล๊อคได้ ให้มากบานที่สุดเท่าที่ จะทำ�ได้ 7.2 ประตูของห้องที่เป็นห้องใช้งานในเวลากลางวันและพื้นที่รับประทานอาหาร ควรเปิดให้มีการ ผ่านเข้าออกได้ โดยอิสระ ในช่วงเวลากลางวัน แต่ก็อาจมีการกำ�หนดเวลาเฉพาะที่ห้องต้องถูกปิดกั้นชั่วคราว 7.3 สถานทีร่ บั ประทานอาหารเป็นพืน้ ทีท่ อี่ าจก่อให้เกิดปัญหาการดูแลผูป้ ว่ ย จึงควรพิจารณาให้เป็น พื้นที่มีความเสี่ยงสูง ควรพิจารณาให้แยกจากหอผู้ป่วย 7.4 ห้องอาบน้ำ�และห้องสุขาควรแยกจากกัน มีที่ปิดกั้นเป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการเปิดเผย เจ้าหน้าทีส่ ามารถเปิดจากภายนอกได้ ผนังและกำ�แพงกัน้ ต้องมีระยะห่างจากฝ้าเพดานกว้างพอทีเ่ จ้าหน้าทีจ่ ะสังเกต ความผิดปกติ ความเสี่ยงต่ออันตรายและสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน 7.5 ประตูหอ้ งนอนผูป้ ว่ ย ประตูเข้า-ออก ประตูเชื่อมระหว่างตึก ควรเป็นกุญแจแบบ Master key ที่สามารถใช้ไขร่วมกันได้ ในกรณีฉุกเฉิน 8. การสังเกตผู้ป่วย (Observation) 8.1 ควรให้ภายในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยมีจุดอับสายตาน้อยที่สุด ไม่ควรมีซอกมุมหรือทางเดิน มากเกินไป 8.2 ประตูทกุ บานในหน่วยบำ�บัดรักษาผูป้ ว่ ย (ยกเว้นห้องอาบน้�ำ และห้องสุขา) ควรเจาะช่องมองที่ ปิดทับด้วยแผ่นโพลีคาร์บอเนตใส เพื่อใช้สงั เกต ซึง่ จะมีประโยชน์ ในแง่ความปลอดภัย หรือเวลาเจ้าหน้าทีป่ ดิ -เปิด ประตูจะเห็นว่าอีกด้านหนึ่งมีคนยืนอยู่หรือไม่ 8.3 แสงสว่างภายในห้องนอนควรใช้สวิทซ์เปิดปิดที่อยู่ภายนอก เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วย 9. การบำ�บัดโดยใช้กจิ กรรมนันทนาการ หรือปฏิบตั งิ านกิจกรรมบำ�บัด (Recreation, Occupational therapy and other fittings) การออกแบบพื้นที่ของหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยที่ดี ต้องให้ความสำ�คัญกับการอำ�นวยความสะดวก ในการจัดกิจกรรมบำ�บัด เท่าเทียมกับการให้ความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคง


26

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

10. พื้นที่ใช้สอยสำ�หรับกิจกรรมนันทนาการ (Recreation/activity facilities) 10.1 ต้องมีพื้นที่ ที่เป็นห้องเล่นเกมส์สำ�หรับผู้ป่วยสามารถเข้าไปใช้ได้ 10.2 ในห้องกิจกรรมควรมี เกมส์หมากกระดาน อุปกรณ์สำ�หรับทำ�งานศิลปะ และเครื่องเล่น สเตอริโอเตรียมพร้อมไว้ ให้บริการแก่ผู้ป่วย 10.3 ห้องนั่งเล่นและห้องพักผ่อนในเวลากลางวันของผู้ป่วย ควรมีโทรทัศน์และเครื่องเล่นวีดีโอ เตรียมพร้อมไว้ ให้บริการแก่ผู้ป่วย 10.4 อุปกรณ์ที่สามารถใช้เป็นอาวุธได้ควรยึดติดไว้กับที่ เช่น กระดานหมากรุก เป็นต้น 11. เฟอร์นิเจอร์และของใช้ภายในห้อง (Furniture and fittings) ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมภายในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยให้มีความสะดวกสบายมากที่สุดเท่าที่จะมาก ได้ และควรใช้เฟอร์นเิ จอร์และของใช้ภายในห้องทีม่ คี วามปลอดภัยและผูป้ ว่ ยไม่สามารถนำ�ไปใช้เพื่อทำ�ร้ายตนเอง หรือผู้อื่น 12. ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย (Staff and Patient Safety) 12.1 ต้องมีระบบสัญญาณแจ้งเตือนภัย เพื่อทีเ่ จ้าหน้าทีท่ ปี่ ระสบเหตุจะได้เปิดเพื่อแจ้งให้คนอื่นๆ ทราบว่าขณะนี้เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น และเกิดขึ้นในบริเวณใด 12.2 ปุ่มเรียกฉุกเฉินระบบเสียงเป็นสิ่งจำ�เป็นที่ต้องมีไว้ทุกหอผู้ป่วย (เป็นโอกาสพัฒนา) 12.3 ระบบแจ้งเตือนต่างๆ ต้องเป็นทีร่ บั รูแ้ ละเข้าใจของเจ้าหน้าทีท่ งั้ หมด (ทัง้ เจ้าหน้าทีป่ กติและ เจ้าหน้าที่พิเศษ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเองและเจ้าหน้าที่ภายนอก) 12.4 ต้องมีนโยบายและขั้นตอนวิธีการทำ�งานด้านความปลอดภัยที่ชัดเจน 12.5 ต้องมีการทดสอบการทำ�งานของระบบอย่างสม่ำ�เสมอ 13. ระบบติดต่อสื่อสาร (Communication systems) ต้องมีการกำ�หนดระบบติดต่อสื่อสาร เช่น อาจใช้วทิ ยุสอื่ สารสองทาง (two way radios) อยูค่ นละชัน้ หรือระบบการสื่อสารระหว่างตึก เช่น ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เป็นต้น

แนวทางในการปฏิบัติ สิ่งที่สภาพแวดล้อมของหน่วยบำ�บัดรักษา ต้องมีให้แก่ผู้ป่วยคือ  การเพิ่มความปลอดภัยเพื่อต้านกับพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง และพฤติกรรมที่ไม่อาจคาดเดาได้ ของผู้ป่วย ที่อาจกระทำ�กับตัวเองและผู้อื่น  เพื่อป้องกันการหลบหนี  เพื่อให้มีที่ว่างมากพอสำ�หรับการดำ�เนินกิจกรรมบำ�บัดที่หลากหลาย  การให้พื้นที่กว้างเพียงพอจะสร้างบรรยากาศการพักอาศัยที่อบอุ่นเหมือนบ้าน ที่ซึ่งผู้ป่วยสามารถ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในช่วงกลางวันได้อย่างมีความสุข

ตัวชี้วัด

1. มีมาตรฐานการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 2. มีระบบการตรวจสอบและการเฝ้าระวังความเสี่ยงทางกายภาพและดำ�เนินการตามระบบ


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

27

4. ระบบเอกสาร (Documentation) ความสำ�คัญ การมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพถือเป็นเรื่องสำ�คัญอย่างยิ่ง เอกสารถือเป็น ส่วนหนึ่งของข้อมูลสารสนเทศ ที่ถูกใช้ ในการ ประเมิน วางแผน ตัดสิน รวมถึงการใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมาย ในการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวช

มาตรฐานการทำ�งาน รายการทีแ่ สดงข้างล่างนีค้ อื เอกสารทีเ่ กีย่ วกับการดูแล บำ�บัดรักษา รวมถึงเอกสารที่ใช้ ในกระบวนการ นิติจิตเวช 1. เอกสารทั่วไป (General documents) 1.1 เอกสารแนะนำ�หน่วยงานสำ�หรับผู้เยี่ยมชม 1.2 เอกสารปฐมนิเทศสำ�หรับผู้ป่วย และญาติ 1.3 สมุดบันทึกการเข้าเยี่ยม 1.4 เกณฑ์การวินิจฉัยโรคของ WHO ฉบับ 10 (ICD-10) 1.5 ประมวลกฎหมายอาญาและแพ่งที่เกี่ยวข้องกับงานนิติจิตเวช เช่น ความสามารถในการต่อสู้ คดี ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 ความรับผิดชอบทางอาญาได้แก่ กฎหมายอาญา มาตรา 56 65 และ 66 วิธีการเพื่อความปลอดภัย ได้แก่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 และ 49 การหย่อน ความสามารถในการทำ�นิติกรรม ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 28 และมาตรา 31 32 วิธีการ ทางกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 246 และ 248 ข้อ จำ�กัดทางกฎหมายของผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่ง พาณิชย์มาตรา 1449 กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล ที่ดูแลผู้ป่วย ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269 307 323 และ 373 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 430 และพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เป็นต้น 2. เอกสารก่อนเข้ารับการรักษา (Pre-Admission documents) 2.1 แบบฟอร์มการส่งต่อ (กรณีรับการส่งต่อ) 2.2 แบบฟอร์มการประเมินผู้ป่วยก่อนรับเข้าบำ�บัดรักษา (ตามความเหมาะสม) 2.3 เอกสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยบำ�บัดรักษา เพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมผู้ป่วยรับไว้รักษา 2.4 หนังสือส่งตัวจากกระบวนการยุติธรรม 2.5 หนังสือคำ�ร้องขอรับบริการนิตจิ ติ เวชของบุคคล กรณีไม่มหี นังสือส่งตัวจากกระบวนการยุตธิ รรม 2.6 หนังสืออายัดตัว กรณีไม่มีประกันตัว 2.7 หนังสือประกันตัว กรณีมีประกันตัว 3. เอกสารเมื่อรับเข้ารักษาและระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ในการดูแลรักษา (Pre-Admission & During Admission documents) 3.1 เอกสารติดตามการเปลี่ยนแปลง 3.1.1 เวชระเบียนผู้ป่วย 3.1.2 แบบบันทึกการตรวจของแพทย์ (Physician’s note)


28

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

3.1.3 แบบบันทึกคำ�สั่งการรักษาของแพทย์ (Doctor’s order sheet) 3.1.4 แบบบันทึกการให้ยา (Medication record) 3.1.5 แบบบันทึกสัญญาณชีพ (Vital Signs record) 3.1.6 แบบบันทึกของทีมสหวิชาชีพ (Multidysplinary record) 3.1.7 แบบเฝ้าระวังความเสี่ยงทางคลินิก 3.1.8 แบบฟอร์มการจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าว (Management of aggression Form) เช่น แบบบันทึกการจำ�กัดพฤติกรรม 3.1.9 แบบบันทึกรายงานกลุ่มกิจกรรมบำ�บัด 3.1.10 แบบดูแลต่อเนื่องสำ�หรับผู้ป่วยจำ�หน่าย 3.2 เอกสารประเมินอาการโดยพยาบาล (Nurse’s assessment) 3.2.1 บันทึกผู้ป่วยรับใหม่ 3.2.2 แบบบันทึกของพยาบาล (Nurse’s note) 3.2.3 การรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory report) 3.2.4 แบบแสดงความจำ�นงของญาติเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 3.2.5 แบบสรุปผลการรักษา 3.2.6 เอกสารการร้องเรียน (Complaints) 3.6.7 เอกสารอื่นๆ ตามความจำ�เป็นในผู้ป่วยแต่ละคน 3.3 หนังสือราชการ 3.3.1 หนังสือตอบกลับกระบวนการยุติธรรมกรณีเข้ารับการรักษา 3.3.2 หนังสือขอประวัติจากระบวนการยุติธรรม เช่น พฤติกรรมคดี 4. เอกสารการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 4.1 แบบบันทึกประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (โดยนักสังคมสงเคราะห์) 4.2 รายงานผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก (โดยนักจิตวิทยาคลินิก) 4.3 เอกสารรายงานบันทึกผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 4.4 เอกสารสรุปผลการประชุมโดยทีมสหวิชาชีพ 4.5 เอกสารสรุปอาการ พฤติกรรมของผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนถึงวันประชุมวินิจฉัยโรคสำ�หรับ พยาบาล 4.6 เอกสารสรุปพฤติกรรมระหว่างผู้ป่วยเข้ารับบริการด้านกิจกรรมบำ�บัด 5. เอกสารก่อนจำ�หน่ายผู้ป่วยออกจากการดูแล (Pre-Discharge documents) 5.1 เอกสารกำ�หนดแนวทางการดูแล หรือ Care Program Approach 5.2 เอกสารประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง 5.3 เอกสารสรุปอาการก่อนการจำ�หน่ายผู้ป่วย 5.4 รายงานการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 5.5 เอกสารการประสานการดูแลผู้ป่วยกับชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจำ�หน่าย 6. เอกสารหลังจำ�หน่ายผู้ป่วยออกจากการดูแล (Post - Discharge documents) 6.1 บทสรุปการจำ�หน่ายผู้ป่วยออกไปจากการดูแล ซึ่งมาจากสมาชิกทุกคนในทีมผู้เชี่ยวชาญ


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

29

สหวิชาชีพ ระบุถึงปัญหาที่พบกับผู้ป่วย ความจำ�เป็น ความก้าวหน้าในการบำ�บัดรักษา อาการและข้อแนะนำ�ที่ เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละคน 6.2 เอกสารส่งต่อซึง่ ระบุถงึ แผนการดำ�เนินการกับผูป้ ว่ ย ณ เวลานี้ และรายละเอียดของการบำ�บัด รักษาเพื่อให้การโอนย้ายไปยังหน่วยงานหรือทีมงานอื่นเป็นไปอย่างราบรื่น

แนวทางในการปฏิบัติ ควรมีการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวชให้เพียงพอ พร้อมใช้ มีการ บันทึกและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ทางกฎหมายและการรักษาความลับของผู้ป่วย

ตัวชี้วัด

1. 2. 3. 4.

มีการจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวชให้เพียงพอ พร้อมใช้ มีมาตรฐานการบันทึกในเอกสารแต่ละชนิด มีการทบทวนเอกสารผู้ป่วยเพื่อใช้ประโยชน์ ในการพัฒนางานหรือการดูแลผู้ป่วย มีมาตรฐานการเข้าถึงเอกสารและการรักษาความลับของผู้ป่วย


30

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

5. ข้อบ่งชีใ้ นการรับเข้าสูก่ ารประเมินตามกระบวนการนิตจิ ติ เวช (Admission criteria) ความสำ�คัญ ผู้ป่วยนิติจิตเวชเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการนำ�มาต่างกัน การที่หน่วยงานมีข้อบ่งชี้ในการ รับเข้าสูบ่ ริการนิตจิ ติ เวช จะสามารถช่วยให้ผดู้ แู ลรักษาผูป้ ว่ ยสามารถตัดสินใจได้งา่ ยขึน้ ในการรับหรือไม่รบั ผูป้ ว่ ย เข้ารักษาไว้ ในโรงพยาบาลนั้น โดยคำ�นึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้อื่นและประเด็นของกฎหมายเป็นหลัก

มาตรฐานการทำ�งาน ข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยเข้าสู่บริการนิติจิตเวช 1. ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน จำ�เลย ผู้ต้องขังหรือนักโทษที่ผู้นำ�ส่ง ส่งมาตามกระบวนการยุติธรรม ถูกสงสัยว่ามีอาการทางจิตหรือญาติร้องขอว่ามีอาการทางจิต หรือมีประวัติการรักษาอาการทางจิต 2. บุคคลที่ศาลส่ง เพื่อต้องการทราบผลการตรวจวินิจฉัย ความสามารถในการต่อสู้คดี ความรับผิด ชอบในคดีอาญาหรือส่งจำ�เลยเพื่อบังคับรักษาตามกฎหมายหรือศาลส่งบังคับรักษาตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย ต่อสังคม (ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 48) 3. บุคคลที่ญาติหรือผู้มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความ สามารถ 4. บุคคลทั่วไปและบุคคลที่ญาติหรือหน่วยงานต้นสังกัดส่งประเมินความสามารถในการทำ�งาน 5. ผูท้ ถี่ กู ส่งมาตามกระบวนการยุตธิ รรม เพื่อเข้าสูก่ ระบวนการนิตจิ ติ เวชในกรณีอนื่ ๆ เช่น กรณีประเมิน ความสามารถในการดูแลปกครองเด็ก ตรวจสภาพจิตของนักโทษประหาร ควรรับไว้เป็นผู้ป่วยในทุกราย ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้ 1. กรณีผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางกายรุนแรง ที่สถานบำ�บัดรักษาไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ ควรส่ง ให้สถานบำ�บัดรักษาอื่นดูแลรักษาจนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงนำ�กลับมาเข้าสู่กระบวนการนิติจิตเวชแบบผู้ป่วยใน 2. ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน จำ�เลย หรือนักโทษที่ถูกส่งประเมินสภาพจิตในคดีอาญาตามที่ศาลระบุ ว่าต้องอยู่ในเรือนจำ�เท่านัน้ หรือกรณีทมี่ คี ดีโทษรุนแรง มีความเสีย่ งต่อการหลบหนี เช่น นักโทษประหาร ผูต้ อ้ งหา หรือจำ�เลยที่มีประวัติก่ออาชญากรรมคดีรุนแรงต่อเนื่องหลายคดี 3. กรณีที่แพทย์พิจารณาว่าสามารถทำ�การประเมินและวินิจฉัยโดยทีมสหวิชาชีพแบบผู้ป่วยนอกได้ เนื่องจากมีข้อมูลครบถ้วน มีหลักฐานที่จะวินิจฉัยทั้งทางคลินิกและกฏหมายได้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนสามารถส่งตรวจ ทดสอบและได้รับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ โดยเร็ว หรือกรณีผู้ป่วยมีการประกันตัว 4. กรณีประเมินความสามารถของบุคคลที่มีความจำ�เป็นไม่สามารถเข้ารับการประเมินแบบผู้ป่วยใน ได้ หากรับไว้เป็นผูป้ ว่ ยในอาจทำ�ให้ผปู้ ว่ ยไม่ปลอดภัยได้ เช่น กรณีผปู้ ว่ ยสูงอายุ ผูท้ มี่ คี วามบกพร่องทางสติปญ ั ญา หรือผู้ป่วยอื่นที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลได้

แนวทางในการปฏิบัติ 1. จัดให้มีพยาบาลวิชาชีพประจำ�จุดคัดกรองผู้ป่วยนิติจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอกอย่างน้อย 1 คน 2. การประเมิน (Assessment) โดยพยาบาลผู้ป่วยนอกประจำ�จุดคัดกรองดำ�เนินการดังนี้ 2.1 รับเอกสารพร้อมผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ ตรวจสอบวัตถุประสงค์การนำ�ส่งจากหนังสือส่งตัว (เอกสารหมายเลข 1-3) ในเอกสารต้องมีการระบุชื่อหน่วยงานที่นำ�ส่ง ชื่อสกุลผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ คดี หมายเลข


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

31

คดี (กรณีมคี ดีผปู้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจเป็นผูต้ อ้ งหาหรือจำ�เลย) เอกสารการประกันตัว (กรณีมปี ระกันตัว) หนังสืออายัด ตัวกับสถานีตำ�รวจศาลาแดง (กรณีไม่มีประกันตัว) (เอกสารหมายเลข 4) 2.2 ตรวจสอบวัตถุประสงค์การนำ�ส่งตัวจากเอกสารส่งตัว เช่น ส่งตรวจวินิจฉัยและรักษาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 หรือเพื่อบำ�บัดรักษาตามมาตรการความปลอดภัยต่อสังคม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 หรือกรณีไม่มีคดีส่งตรวจเพื่อประเมินความสามารถของบุคคล เป็นต้น 2.3 ประเมินภาวะฉุกเฉินทางกายและจิตของผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ ตามเกณฑ์การจำ�แนกประเภท ผูป้ ว่ ย กรณีผปู้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจมีภาวะฉุกเฉินทางกายหรือจิตเวช ให้พบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน หรือ ประเมินตามแบบคัดกรอง/ประเมินภาวะฉุกเฉินทางกาย-ทางจิต (เอกสารหมายเลข 5) พร้อมทั้งประเมินและ ตรวจสอบอาวุธที่อาจเป็นอันตรายในกรณีผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจมีความเสี่ยง และให้งานเวชระเบียนดำ�เนินการทำ� เวชระเบียนผู้ป่วยนอก 2.4 รวบรวมข้อมูลการใช้สิทธิบัตรประสานเจ้าหน้าที่การเงิน เพื่อดำ�เนินการตรวจสอบการใช้สิทธิ์ 2.5 กรณีญาติร้องขอเป็นผู้อนุบาลให้ญาติระบุเหตุผลของการพาผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ มาตรวจใน แบบฟอร์มกรอกประวัติผู้ป่วยใหม่ 2.6 กรณีญาติสง่ ตรวจขอให้ญาติระบุเหตุผลของการพาผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจมาตรวจในแบบฟอร์ม กรอกประวัติผู้ป่วยใหม่ 2.7 กรณีผู้ป่วยเก่า พยาบาลบันทึกเหตุผลการมาครั้งนี้ลงในเวชระเบียนผู้ป่วย 2.8 พยาบาลคั ด กรองผู้ ป่ ว ย/ผู้ ถู ก ส่ ง ตรวจตามแบบเกณฑ์ ก ารคั ด กรองผู้ ถู ก นำ � ส่ ง เพื่ อ เข้ า สู่ กระบวนการนิติจิตเวช (เอกสารหมายเลข 6) และประสานแจ้งคณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช เพื่อดำ�เนินการตามกระบวนการนิติจิตเวช 3. การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น ในกระบวนการตรวจวินิจิฉัยเบื้องต้น แพทย์ดำ�เนินการดังนี้ 3.1 ศึกษาวัตถุประสงค์ และรายละเอียดจากเอกสารที่นำ�ส่ง เพื่อทราบความต้องการใช้บริการ ตลอดจนขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม 3.2 สัมภาษณ์ผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ /ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ  ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช  ประวัติการเจ็บป่วยทางกาย  ประวัติพัฒนาการ  ประวัติส่วนตัว  ประวัติครอบครัว  ประวัติที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายซึ่งเป็นที่มาของการนำ�ส่ง รวมทั้งสภาวะแวดล้อมแรง จูงใจในการก่อคดี การรับรู้ของผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจในการก่อคดี 3.3 ตรวจสภาพจิต ตามมาตรฐานการตรวจทางจิตเวช 3.4 ตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบประสาทหรือระบบอื่นๆ ที่เกีย่ วข้องให้ละเอียดยิ่งขึน้ ในกรณี ที่สงสัยว่าจะมีพยาธิสภาพทางสมอง หรือมีโรคทางกายที่เป็นสาเหตุของโรคจิตเวช หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนของ โรคทางกายแล้วแต่กรณี


32

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

3.5 ในกรณีที่ส่งจากตำ�รวจ หรือกรณีที่ส่งมาประเมินความเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ เนื่องมา จากการเสพสารเสพติดเป็นอาจิณสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจ CBC, U/A, screening test of urine for amphetamine, heroin, cannabis สั่งตรวจทางรังสีวิทยาได้แก่ Chest X-RAY ในกรณีที่เรือนจำ�นำ� ส่ง สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, U/A สั่งตรวจทางรังสีวิทยาได้แก่ Chest X-RAY การตรวจเพิ่มเติม เช่น TPHA, EEG, CT-brain, MRI- brain ในกรณีที่การตรวจอื่นๆ พบว่ามีพยาธิสภาพหรือรอยโรคของสมอง 3.6 สั่งตรวจทางจิตวิทยาคลินิก 3.7 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประวัติที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทั้งด้านจิตเวชและโรคทางกาย พฤติกรรมคดี หรือคำ�พิพากษาในกรณีคดีอาญา หลักฐานพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องจากแหล่งต่างๆ เช่น พฤติกรรมใน ชุมชน ที่ทำ�งาน สถานศึกษา พฤติกรรมในการเบิกความในศาล เรือนจำ� ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน เป็นต้น 3.8 วินิจฉัยทางการแพทย์ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโรค (WHO) พิจารณาตัดสินว่าจะให้ บริการนิตจิ ติ เวชแบบผูป้ ว่ ยนอก หรือแบบผูป้ ว่ ยในตามข้อบ่งชี้ในการรับผูป้ ว่ ยเข้าสูก่ ระบวนการนิตจิ ติ เวช (เอกสาร หมายเลข 7) 3.9 กรณีพบผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจมีโรคแทรกซ้อนทางกายที่ควรรักษาอย่างเร่งด่วน แพทย์มีหน้าที่ รักษาเบื้องต้นและส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม

ตัวชี้วัด 1. ผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจได้เข้าสู่กระบวนการนิติจิตเวชตามข้อบ่งชี้ทุกราย 2. ผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจได้รบั การคัดกรองและประเมินสภาพความเจ็บป่วยถูกต้องตรงตามสภาพปัญหา ความต้องการและประเด็นทางกฎหมายทุกราย 3. ผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจได้รบั การประเมินอาการอย่างครบถ้วนและได้รบั การตรวจวินจิ ฉัยและหรือบำ�บัด รักษาจากแพทย์ทุกราย 4. ผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจได้รับความปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่นและทรัพย์สิน 5. ร้อยละของผู้ถูกส่งตรวจถูกประเมินว่าเป็นผู้ป่วยนิติจิตเวช 6. ผู้ป่วยนิติจิตเวชที่จำ�เป็นต้องได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในได้รับการรับไว้เป็นผู้ป่วยในทุกราย


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

33

6. การให้การดูแลช่วยเหลือทีส่ �ำ คัญ (Core interventions) ความสำ�คัญ

การให้บริการที่จะสร้างความมั่นใจแก่ผู้ ใช้บริการว่าการให้บริการนั้นจะเป็นไปด้วยความยุติธรรมต่อ ผู้ป่วยและสังคม คือ การที่ผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจจะได้รับการประเมิน ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมสหวิชาชีพ ด้วยการประเมินและการบำ�บัดรักษาทีเ่ หมาะสม รวมทัง้ ช่วยเหลือตามอาการทีเ่ กิดขึน้ จริง ทัง้ ในและนอกสถานบำ�บัด

มาตรฐานการทำ�งาน

ผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการตรวจประเมิน วินิจฉัย บำ�บัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพแบบองค์รวมอย่าง ต่อเนื่องและเหมาะสมกับความจำ�เป็นของแต่ละคน ดังนี้ 1. ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการครบ 4 ด้าน ได้แก่ กาย จิตใจ สังคม (ซึ่งรวมถึง ครอบครัวและประเด็นทางกฎหมาย) และจิตวิญญาณ โดยทีมสหวิชาชีพ และมีการบันทึกความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิด ขึ้นกับผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 2. มีการรวบรวมข้อมูลที่สำ�คัญจากผู้ป่วย ครอบครัว ชุมชนและเอกสารที่เกีย่ วข้องโดยทีมสหวิชาชีพ 3. มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำ�เป็น 4. มีการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก โดยชุดแบบทดสอบ (Battery of tests) 5. มีการประเมินความสามารถ ทักษะในด้านอาชีพ (Occupational performance) โดยนักกิจกรรม บำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด 6. มีการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชโดยทีมสหวิชาชีพ และจัดทำ�รายงานการตรวจวินิจฉัยทาง นิติจิตเวชส่งให้หน่วยงานนำ�ส่งหรือผู้ร้องขอ 7. มีการเบิกความหรือให้ปากคำ�แล้วแต่กรณี 8. ผู้ป่วยได้รับการบำ�บัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวช 9. ผูป้ ว่ ยได้รบั การประเมิน บำ�บัดทางด้านนิตจิ ติ เวชทีจ่ �ำ เป็นแล้วแต่กรณี เช่น การเตรียมความพร้อม ในการต่อสู้คดีรายกลุ่มและรายบุคคล การเตรียมจำ�หน่ายผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน เป็นต้น 10. มีการค้นหาและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วยของผู้ป่วยนิติจิตเวช เช่น เหยื่อ ครอบครัว และชุมชน 11. ให้ผู้ป่วยได้อยู่ ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน การหลบหนี และถูกแทรกแซงจากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง 12. มีการตรวจประเมินสภาพจิตผู้ป่วยนิติจิตเวชและความสามารถในการต่อสู้คดีในเรือนจำ�

แนวทางในการปฏิบัติ 1. การช่วยเหลือต่างๆ ที่กล่าวมาต้องดำ�เนินไปโดยอยู่บนพื้นฐานการประเมินความจำ�เป็นของผู้ป่วย อย่างครอบคลุม และควรให้คำ�แนะนำ�ช่วยเหลือที่จะมีต่อไปในอนาคตแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องหลังจากที่มีการย้ายผู้ป่วย ออกจากหน่วยดูแลผู้ป่วย หรือออกจากสถานบริการแล้ว 2. เป้าหมายของการช่วยเหลือเพื่อให้  ตรงตามความจำ�เป็นและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน  สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในการบำ�บัด


34

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

 สามารถประเมินได้อย่างถูกต้องและตรงความเป็นจริงมากที่สุด  เพิ่มระดับความสามารถในการทำ�หน้าที่ของผู้ป่วยที่บกพร่องให้กลับมาทำ�หน้าที่ของผู้ป่วยได้ สามารถดูแลตนเองได้ ไม่เป็นภาระของญาติหรือผูด้ แู ล ซึง่ จะเป็นการเพิม่ โอกาสในการทีผ่ ปู้ ว่ ยจะใช้ชวี ติ ในสังคมได้  ลดผลกระทบทางด้านจิตใจที่มีต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม 3. เจ้าหน้าที่เป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับการบำ�บัดรักษา โดยการให้กำ�ลังใจ การ ให้ความรู้ที่จำ�เป็นต่อผู้ป่วย และการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือครอบครัว เข้ามามีส่วนในการวางแผนการดูแลรักษา หากเป็นไปได้ทีมผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพควรให้ความสำ�คัญกับการบำ�บัดดูแลเสริมต่างๆ ด้วย

กรณี ผู้ ป่ ว ย/ผู้ ถู ก ส่ ง ตรวจได้ รั บ การประเมิ น และให้ ก ารตรวจวิ นิ จ ฉั ย ทางนิ ติ จิ ต เวชแบบผู้ ป่ ว ยนอก ทีมสหวิชาชีพมีกระบวนการทำ�งาน ดังต่อไปนี้ งานประสานงานระหว่างรักษาหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมาย ดำ�เนินการดังนี้ 1. รั บ เอกสารหรื อ หนั ง สื อ ส่ ง ตั ว จากงานพยาบาลผู้ ป่ ว ยนอกศึ ก ษารายละเอี ย ดและสอบถาม วัตถุประสงค์กับหน่วยงานนำ�ส่งให้ชัดเจน 2. ตอบรับเรื่องกับหน่วยงานนำ�ส่งโดยการทำ�หนังสือตอบรับตัว หรือทำ�หนังสือประสานงานกับหน่วย งานที่นำ�ส่ง เพื่อสอบถามวัตถุประสงค์ของการนำ�ส่งในกรณีหนังสือส่งตัวระบุวัตถุประสงค์การนำ�ส่งไม่ชัดเจน (เอกสารหมายเลข 8) 

แพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. สัมภาษณ์ผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ/ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ  ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช  ประวัติการเจ็บป่วยทางกาย  ประวัติพัฒนาการ  ประวัติส่วนตัว  ประวัติครอบครัว  ประวัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายซึ่งเป็นที่มาของการนำ�ส่ง รวมทั้งสภาวะแวดล้อม แรงจูงใจใน การก่อคดี การรับรู้ ในการก่อคดี 2. ตรวจสภาพจิต ตามมาตรฐานการตรวจทางจิตเวช 3. ตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบประสาทหรือระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ละเอียดยิ่งขึ้นในกรณีที่ สงสัยว่าจะมีพยาธิสภาพทางสมอง หรือมีโรคทางกายที่เป็นสาเหตุของโรคจิตเวช หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนของ โรคทางกายแล้วแต่กรณี 4. ในกรณีที่ส่งจากตำ�รวจ หรือกรณีที่ส่งมาประเมินความเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ เนื่องมาจาก การเสพสารเสพติดเป็นอาจิณ สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจ CBC, U/A, screening test of urine for amphetamine, heroin, cannabis สั่งตรวจทางรังสีวิทยาได้แก่ Chest X-RAY ในกรณีที่เรือนจำ�นำ�ส่ง สั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, U/A สั่งตรวจทางรังสีวิทยาได้แก่ Chest X-RAY การตรวจเพิ่มเติม เช่น TPHA, EEG, CT-brain, MRI- brain ในกรณีที่การตรวจอื่นๆ พบว่ามีพยาธิสภาพหรือรอยโรคของสมอง 5. สั่งตรวจทางจิตวิทยาคลินิก 6. วินิจฉัยทางการแพทย์ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโรค (WHO) และให้การรักษา 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

35

7. เข้าประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวชตามเวลาทีก่ ำ�หนด โดยให้มแี พทย์เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้มีมุมมองที่หลากหลายและเพื่อความโปร่งใสในการพิจารณา 8. ให้แพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์เจ้าของไข้สมั ภาษณ์ประวัตคิ วามเจ็บป่วย พฤติกรรมทีเ่ กีย่ วกับวัตถุประสงค์ การส่งตรวจและตรวจสภาพจิตเพิ่มเติม (เอกสารหมายเลข 9 ) 9. ให้แพทย์เจ้าของไข้บนั ทึกการตรวจสภาพจิต การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของแพทย์ทเี่ ข้าประชุม พร้อมทั้งลงนามแพทย์ผู้เข้าร่วมประชุมในแบบบันทึกที่กำ�หนด (เอกสารหมายเลข 10) 10. สรุปการวินิจฉัยทางนิติจิตเวชตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนำ�ส่ง หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่ม เติมโดยคำ�นึงถึงความเป็นธรรม ความปลอดภัยสงบสุขของสังคม 11. สรุปการวินจิ ฉัยทางคลินกิ สุดท้าย (Definite diagnosis) เพื่อความถูกต้องในการเก็บสถิติ และการ บำ�บัดรักษา 12. ในกรณีที่ข้อมูลที่ได้จากคณะกรรมการตรวจวินิจฉัย และบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวชไม่เพียงพอต่อ การสรุป ให้มีการหาข้อมูล หรือส่งตรวจเพิ่มเติมและนัดประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชอีกจนกว่าจะได้ข้อยุติ 13. ในกรณีแพทย์เจ้าของไข้ตดิ ราชการอื่นทีส่ �ำ คัญและจำ�เป็นกว่า ให้มอบหมายแพทย์ทา่ นอื่นจดบันทึกแทน พยาบาลผู้ป่วยนอก ดำ�เนินการดังนี้ 1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจโดยประเมินทางคลินิกทั้งด้านร่างกาย สภาพจิต (Mental Status Examination) ประวัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านจิตเวช เช่น ประวัติความเจ็บป่วยทางจิต ทางกาย การใช้สารเสพติด โรคประจำ�ตัว กรรมพันธุ์ เป็นต้น 2. รวบรวมข้อมูลประเด็นทางกฎหมาย เช่น ผู้ป่วยมีคดีหรือไม่ คดีอยู่ในชั้นตำ�รวจหรือชั้นศาล ผู้ป่วย เป็นผู้ต้องหาหรือจำ�เลย มีประกันตัวหรือไม่ พฤติกรรมคดีโดยสรุป มีการประเมินอาการและพฤติกรรมและให้การ พยาบาลเป็นระยะตามแพทย์นดั และบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลประกอบการวินจิ ฉิ ยั ทางนิตจิ ติ เวชแบบผูป้ ว่ ย นอก (เอกสารหมายเลข 11) 3. ประสานงานแจ้งคณะผูต้ รวจวินจิ ฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิตจิ ติ เวช เพื่อดำ�เนินการตามกระบวนการ นิติจิตเวช 4. ร่วมเสนอข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในวันประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวชตามประเด็นวัตถุประสงค์ ของผู้นำ�ส่ง 5. กรณีมีการรักษา พยาบาลออกใบนัดให้มาตรวจซ้ำ� 

นักสังคมสงเคราะห์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. วิเคราะห์ข้อมูล และวัตถุประสงค์ของการส่งตัวจากหนังสือนำ�ส่ง 2. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและได้ข้อมูลที่เป็นจริง ชี้แจง วัตถุประสงค์ และขั้นตอนการให้บริการกับผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจและญาติหรือหน่วยงานนำ�ส่งที่เกี่ยวข้อง 3. สัมภาษณ์ผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ญาติ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบประวัติ ส่วนตัว (พัฒนาการ การชัก การเลี้ยงดู การเกณฑ์ทหาร การศึกษา อาชีพ ชีวิตสมรส ประวัติการใช้สารเสพติด ประวัตกิ ารประสบอุบตั เิ หตุ ประวัตกิ ารทำ�ร้ายตนเอง บุคลิกภาพเดิม เป็นต้น) ประวัตคิ รอบครัวและความเจ็บป่วย ทางจิตและการรักษาทางจิตเวช ประวัติการกระทำ�ความผิดในอดีตของผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ (เอกสารหมายเลข 12,13) 


36

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

4. ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบพฤติกรรมคดี เช่น ตำ�รวจ อัยการ หรือศาล ขอ ทราบพฤติกรรมขณะอยู่เรือนจำ� ประวัติการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ประวัติการทำ�งานจาก หน่วยงานที่นำ�ส่ง หรือจากสถานทูตกรณีผู้ป่วยเป็นชาวต่างชาติ หรือกองสวัสดิการคุ้มครองแรงงานกรณีผู้ป่วย เป็นชาวเขา หรือชนกลุ่มน้อย (เอกสารหมายเลข 14-17) 5. กรณีผู้ป่วยที่ถูกส่งมาตามมาตรการความปลอดภัย ทำ�หนังสือขอสำ�เนาคำ�พิพากษาของศาล (เอกสารหมายเลข 18) เพื่อทราบวัตถุประสงค์ของศาล และเป็นแนวทางในการบำ�บัดรักษา 6. เยีย่ มบ้านเพื่อศึกษาข้อมูลเพิม่ เติมในด้านการประกอบอาชีพ การศึกษา การดำ�เนินชีวติ ของผูป้ ว่ ย/ ผูถ้ กู ส่งตรวจจากเพื่อนบ้าน ชุมชน พร้อมทัง้ สังเกตสภาพแวดล้อมครอบครัวของผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจ ซึง่ ได้จ�ำ แนก กรณีเยี่ยมบ้านคือ 6.1 ผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจมีคดีรุนแรงถึงแก่ชีวิต และเป็นอันตรายต่อชุมชน 6.2 อาศัยอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลและไม่สามารถมาให้ข้อมูลได้ 6.3 กรณีที่สังเกตจากการสัมภาษณ์ญาติแล้วได้ข้อมูลที่มีลักษณะลำ�เอียง 6.4 กรณีผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจมีประวัติก่อคดีซ้ำ� 7. กำ�หนดวันที่ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชตามระยะเวลาที่กำ�หนด 8. ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจวินจิ ฉัย และบำ�บัดรักษาทางนิตจิ ติ เวช เพื่อเตรียมความพร้อม ของข้อมูลที่จะนำ�เข้าประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 9. ร่วมเสนอข้อมูล และแสดงความคิดเห็นในวันประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวชตามประเด็นวัตถุประสงค์ ของผู้นำ�ส่งตามแบบบันทึกประชุมวินิจิฉัยทางนิติจิตเวช (เอกสารหมายเลข 19) 10. รวบรวมและสรุปผลการตรวจวินจิ ฉัยของทีม ให้แพทย์เจ้าของไข้ตรวจสอบแก้ไขและลงนามในผล การตรวจวินิจฉัยแล้วจึงให้ผู้อำ�นวยการสถาบันฯหรือโรงพยาบาลลงนามกำ�กับอีกครั้ง (เอกสารหมายเลข 20) 11. ส่งรายงานผลการตรวจวินิจฉัยให้หน่วยงานนำ�ส่งทราบ (เอกสารหมายเลข 20, 21) นักจิตวิทยาคลินิก ดำ�เนินการดังนี้ 1. ลงทะเบียนรับผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจใหม่ ในสมุดรับผู้ป่วยใหม่ 2. ประเมินความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก 2.1 ประเมินความพร้อมว่าผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจมีความพร้อมทีจ่ ะได้รบั การตรวจวินจิ ฉัยทางจิตวิทยา คลินิกหรือไม่ มีการกำ�หนด และวางแผนการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกในกรณีผู้ป่วยพร้อมในการประเมิน 2.2 ในกรณีผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจยังไม่พร้อมในการตรวจทางจิตวิทยาคลินิก ให้ทำ�การนัดหมายมา ตรวจใหม่ เช่น มีอาการไม่สบายทางกายมาก มีไข้สูง ตัวแข็ง มีอาการข้างเคียงจากยา เป็นต้น 2.3 หากผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจเหนื่อยจากการเดินทางไกลอาจให้พักผ่อน จนพร้อมรับการตรวจทาง จิตวิทยาคลินิก 3. การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก กิจกรรมประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ 3.1 ศึกษาเวชระเบียนเพื่อวางแผน และตัดสินใจเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจ 3.2 เตรียมเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาคลินกิ พร้อมอุปกรณ์ และสถานทีท่ มี่ คี วามสงบ ปลอดภัย เหมาะสมในการทำ�แบบทดสอบ มีสัญญาณฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

37

3.3 สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจรู้สึกผ่อนคลาย ให้ความร่วมมือ ไว้วางใจในการ ให้ข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับคดี ทำ�ให้สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ รวมทั้งข้อมูล สำ�คัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสัมภาษณ์ สังเกตอาการและพฤติกรรมของผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ การสัมภาษณ์ อาจสามารถทำ�เพิ่มเติมได้เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกหากนักจิตวิทยาคลินิกต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูลในการประกอบการวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก บันทึกข้อมูลในเอกสาร 4. ดำ�เนินการทดสอบด้วยเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาคลินกิ ซึง่ ผูป้ ว่ ยนิตจิ ติ เวชต้องได้รบั การตรวจ ทางจิตวิทยาคลินิก เป็นแบบชุดทดสอบ (Battery of Test) ดังต่อไปนี้ 4.1 แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา (Intelligence Test) เพื่อประเมินความสามารถทางเชาวน์ปัญญา 4.2 แบบทดสอบพยาธิสภาพทางจิตและบุคลิกภาพ (Projective Test) อย่างน้อย 2 แบบทดสอบ ขึ้นไป และแบบทดสอบบุคลิกภาพอื่นๆ ตามความเหมาะสม 4.3 แบบทดสอบประสาทจิตวิทยา (Neuropsychological Tests) 5. วิเคราะห์และแปลผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก 5.1 แปลผลตามเกณฑ์มาตรฐานของเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาคลินิกแต่ละชนิด 5.2 วิเคราะห์ผลการทดสอบทางจิตวิทยาคลินกิ ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการสังเกต เพื่อการวินิจฉัยทางคลินิก ในกรณีที่ผลการทดสอบมีข้อที่น่าสงสัย หรือไม่ชัดเจนให้ปรึกษากับนักจิตวิทยาคลินิก ท่านอื่นเพื่อลงความเห็นและ/หรือทำ�แบบทดสอบเพิ่มเติม 6. การสัมภาษณ์พฤติกรรมคดี ร่วมกับการใช้แบบประเมินความสามารถรูผ้ ดิ ชอบทางอาญา (Criminal responsibility assessment scale) เพื่อการวินิจฉัยทางกฏหมาย 7. การประเมินอื่นๆ เพื่อการให้ข้อเสนอะแนะ ถ้ามี เช่น ความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง 8. กรณีที่ทำ�การตรวจทางจิตวิทยาคลินิกได้ไม่เสร็จสมบูรณ์ภายในวันที่ผู้ป่วย/ผู้ถกู ส่งตรวจมาพบ นัก จิตวิทยาคลินิกสามารถนัดหมายมาใหม่ แต่ต้องอยู่ในกรอบเวลาที่ไม่นานเกินไปและทันต่อการประชุมวินิจฉัยทาง นิติจิตเวช 9. นักจิตวิทยาคลินกิ สามารถหาข้อมูลอื่นๆ เพิม่ เติมจากญาติ เจ้าหน้าที่ ทีพ่ าผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจมาตรวจ 10. รายงานผลการตรวจวินจิ ฉัยทางจิตวิทยาคลินกิ (เอกสารหมายเลข 22) และแสดงความคิดเห็นต่อ ที่ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชร่วมกับคณะกรรมการตรวจวินิจฉัย และบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช โดยการรายงาน ผลต้องเน้นสาระสำ�คัญ ดังต่อไปนี้ 10.1 ระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ในกรณีผู้ป่วยมีภาวะปัญญาอ่อน ต้องระบุอายุสมอง (Mental Age) 10.2 พยาธิสภาพทางจิต เพื่อประเมินและวินิจฉัยความผิดปกติของแนวความคิด อารมณ์ บุคลิกภาพ และระดับความรุนแรงของพยาธิสภาพดังกล่าว 10.3 พยาธิสภาพทางสมอง มีพยาธิสภาพทางสมองหรือไม่ และมีระดับความรุนแรงมากน้อยเพียงใด 11. เสนอความคิดเห็นตามวัตถุประสงค์ของผู้นำ�ส่ง 11.1 ความสามารถในการต่อสู้คดี 11.2 ความสามารถรับผิดทางอาญา 11.3 ภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง 11.4 ข้อคิดเห็นอื่นๆ เช่น จุดแข็ง จุดด้อย และแนวทางการบำ�บัดฟื้นฟู


38

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด ดำ�เนินการดังนี้ 1. ลงทะเบียนรับผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ 2. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ พร้อมสัมภาษณ์ประวัติ เช่น ภูมิลำ�เนา การศึกษา การ ประกอบอาชีพ การเปลี่ยนงาน การใช้สารเสพติด ความเจ็บป่วยในอดีต และพฤติกรรมการประกอบคดี 3. ประเมินความสามารถในการประกอบกิจกรรมด้วยแบบประเมิน COTE หรือ MOHO (เอกสาร หมายเลข 23,24) โดยวิเคราะห์กิจกรรมที่สอดคล้องกับความสามารถเดิมของผู้ป่วยมาใช้ ในการประเมิน และ บันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึกพฤติกรรมระหว่างเข้าร่วมกลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพ (เอกสารหมายเลข 25) 4. รวบรวมข้อมูลผูป้ ว่ ยและบันทึกลงในแบบบันทึกประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช (Case conference) (เอกสารหมายเลข 26) 5. รายงานข้อมูล อภิปรายผล และให้ความเห็นในที่ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 

งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ ในกรณีเคยรับไว้เป็นผู้ป่วยนิติจิตเวชใน มีการจำ�หน่ายและนัดมาประชุมวินิจฉัย นักสังคมสงเคราะห์จะ เป็นผูป้ ระสานงานกับญาติ แต่หากมีปญ ั หาเรื่องการดูแลผูป้ ว่ ยหรือความขัดแย้งระหว่างผูป้ ว่ ยกับผูด้ แู ลหรือชุมชน จึงจะประสานงานนิตจิ ติ เวชชุมชน และมีบทบาทเมื่อนักสังคมสงเคราะห์ซงึ่ ประสานกับญาติและชุมชนแล้ว พบว่า ญาติหรือผูด้ แู ลมีปญ ั หาในการดูแลผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจ หรือชุมชนไม่ยอมรับ งานนิตจิ ติ เวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ 1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ 2. ศึกษาอาการทางจิตผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจและประวัตกิ ารรักษา สาเหตุหรือปัจจัยกระตุน้ ให้เกิดอาการ ทางจิตกำ�เริบ และศึกษาข้อมูลของครอบครัว ประวัติความสัมพันธ์ ในครอบครัวโดยเฉพาะกับบุคคลที่เป็นผู้ดูแล หลักในครอบครัว 3. รวบรวมข้อมูล ประเมินผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจจากสมาชิกในครอบครัวและญาติ และค้นหาพฤติกรรม ของผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจที่เป็นปัญหาการดูแลของญาติ 4. สังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างญาติกับผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจขณะที่พามาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก 5. นัดญาติเข้ากลุ่มเตรียมความพร้อมญาติในการดูแลผู้ป่วย 6. ประเมินความตระหนัก และรับผิดชอบของญาติในการดูแลผูป้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจตามแนวทางประเมิน การแสดงออกทางอารมณ์ภายในครอบครัว (Hight emotional expression) ได้แก่ ความรู้สึกไม่เป็นมิตรต่อกัน ตำ�หนิติเตียน จู้จี้ขี้บ่น และก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว 7. เตรียมความพร้อมของชุมชนโดย 7.1 ประเมินชุมชนในด้าน การยอมรับผู้ป่วยของชาวบ้านในชุมชน มีการกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการ ทางจิตกำ�เริบหรือไม่ เช่น การพูดจายั่วยุ มีการชักชวนให้ ใช้สารเสพติดหรือไม่ การทำ�ร้ายผู้ป่วยเนื่องจากไม่ เข้าใจอาการทางจิต ประเมินความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการดูแลผู้ป่วยของชาวบ้านในชุมชน และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในชุมชน 7.2 เตรียมความพร้อมชุมชนในการดูแลผู้ป่วย โดยลงเยี่ยมชุมชน เพื่อประเมินเจตคติของ ชาวบ้านในชุมชน ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาการทางจิต หรืออาจเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการทาง จิตกำ�เริบ โดยเตรียมชาวบ้านในชุมชนที่เป็นกลุ่มย่อยที่มีความขัดแย้งกับผู้ป่วยก่อน จึงทำ�ความเข้าใจกับชาวบ้าน ชุมชน เพื่อประเมินและปรับเจตคติให้พร้อมยอมรับ และมีเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย และให้ความรู้เรื่องโรค และการ 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

39

ดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชน มีความรู้ และดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้ เภสัชกร ดำ�เนินการดังนี้ 1. ตรวจสอบประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยว่าเคยมีประวัติแพ้ยาหรือไม่ 2. ประเมินวิเคราะห์การเกิดอันตราย กิริยาระหว่าง (Drug interaction) และอาการไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยา (Adverse Drug Reaction: ADR) ตลอดระยะเวลาการดูแลรักษา 3. ให้ความรู้ (Drug counseling) แบบรายบุคคลแก่ผู้ป่วยและญาติด้านการป้องกันและแก้ไขกรณี ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ADR) 

กรณีการตรวจสภาพจิตนักโทษเด็ดขาดประหารชีวิต งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจวิ นิ จ ฉั ย และบำ � บั ด รักษาทางนิ ติ จิ ต เวช และเจ้ าหน้ า ที่ ทัณฑปฏิบัติในเรือนจำ�เพื่อกำ�หนดวันตรวจวินิจฉัยในเรือนจำ� 2. ตรวจสอบรายชื่อนักโทษว่าเคยเป็นผู้ป่วยเก่าของสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์หรือไม่ ถ้าเคยเป็น ผู้ป่วยเก่าให้ดำ�เนินการยืมแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อนำ�เข้าในเรือนจำ� 3. คณะกรรมการตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช สัมภาษณ์ คัดกรอง สังเกตอาการ พฤติกรรม บันทึกและรวบรวมข้อมูล ให้คำ�แนะนำ� และส่งต่อข้อมูลการดูแลรักษาต่อเนื่องแก่เจ้าหน้าที่สถาน พยาบาลในเรือนจำ� 4. ในกรณีทนี่ กั โทษไม่เคยรักษาในสถาบันฯ หลังจากเข้าไปตรวจในเรือนจำ�ให้ด�ำ เนินการทำ�เวชระเบียน ของสถาบันฯทุกราย 5. แพทย์พิจารณาจากประวัติการตรวจสภาพจิตและการตรวจโดยแบบทดสอบทางจิตวิทยาให้การ วินิจฉัยและบำ�บัดรักษา 6. จัดทำ�รายงานสรุปการตรวจวินิจฉัย หรือใบรับรองส่งให้เรือนจำ� 7. จัดทำ�ทะเบียนรายชื่อในสมุดทะเบียนการตรวจสภาพจิตนักโทษเด็ดขาดประหารชีวิต 

กรณีผปู้ ว่ ย/ผูถ้ กู ส่งตรวจได้รบั การประเมินและให้การตรวจวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวชแบบผูป้ ว่ ยใน ทีมสหวิชาชีพ มีกระบวนการทำ�งาน ดังต่อไปนี้ พยาบาลผู้ป่วยนอก ดำ�เนินการดังนี้ 1. แจ้งผู้ป่วยและญาติหรือผู้นำ�ส่งให้ทราบว่าต้องรับไว้เป็นผู้ป่วยใน 2. ให้ขอ้ มูลแก่ผปู้ ว่ ยและญาติในประเด็นขัน้ ตอนการรักษา สิทธิผ์ ปู้ ว่ ย การใช้สทิ ธิบตั รประกันสุขภาพ ต่างๆ ประเด็นทางกฎหมาย ได้แก่ คดีของผู้ป่วย หน่วยงานที่นำ�ส่ง วัตถุประสงค์การนำ�ส่ง ข้อมูลที่ญาติต้องแจ้ง แก่ทางโรงพยาบาล เพื่อประโยชน์ ในการตรวจวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช เช่น ประวัตกิ ารเจ็บป่วยทางกาย-ทางจิต การ ใช้สารเสพติด การก่อคดี และข้อจำ�กัดความสามารถในการดูแลโรคทางกายของโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น 3. ให้ผู้ป่วยหรือญาติโดยชอบธรรมตามลำ�ดับชั้นทางกฎหมายลงนามในเอกสารยินยอมบำ�บัดรักษา 4. นำ�หนังสือส่งตัวที่แพทย์ลงนามรับไว้เป็นผู้ป่วยในไปลงรับหนังสือที่งานธุรการ และถ่ายสำ�เนา เอกสาร 3 ชุด ให้นกั สังคมสงเคราะห์ 1 ชุด งานประสานงานระหว่างรักษาหรือผูท้ ี่ได้รบั มอบหมาย 1 ชุดและผูน้ �ำ ส่ง 1 ชุด ส่วนเอกสารตัวจริงเก็บเข้าแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วย 


40

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

5. แนะนำ�เจ้าหน้าที่นำ�ส่ง นำ�หนังสือส่งตัวที่แพทย์ลงนามรับไว้ไปดำ�เนินการอายัดตัวที่สถานีตำ�รวจ ในพื้นที่ตั้งของโรงพยาบาล (สถานีตำ�รวจศาลาแดง) ในกรณีไม่มีประกันตัว และถ่ายสำ�เนาเอกสารหนังสืออายัด ตัวจำ�นวน 2 ชุด ให้สถานีตำ�รวจในพื้นที่ตั้งของโรงพยาบาล 1 ชุด หน่วยงานนำ�ส่ง 1 ชุด ส่วนเอกสารตัวจริงเก็บ เข้าแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วย 6. ส่งแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยให้หน่วยงานสิทธิบัตร ตรวจสอบสิทธิ์การรักษา ให้ญาติลงนามจ่ายส่วน เกินในส่วนที่ไม่สามารถเบิกได้ ในกรณีที่ใช้สิทธิบัตร 7. ส่งแฟ้มเวชระเบียนผูป้ ว่ ยให้กบั หน่วยงานเวชระเบียนดำ�เนินการในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องเมื่อได้รบั หนังสือ อายัดตัวจากผู้นำ�ส่ง ให้เวชระเบียนลงทะเบียนรับใหม่ 8. แจ้งนักสังคมสงเคราะห์เพื่อให้นกั สังคมสงเคราะห์ด�ำ เนินการจัด case ให้แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ และนักจิตวิทยาคลินิกตามคิว 9. บันทึกแบบฟอร์มการรับไว้ 3 ชุด เพื่อแจ้งให้แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาคลินกิ เจ้าของ ไข้ทราบ ตรวจสอบความครบถ้วนของเวชระเบียน แบบบันทึกสัง่ การรักษาของแพทย์ แบบบันทึกยินยอมการรักษา 10. จัดเจ้าหน้าที่นำ�ส่งผู้ป่วยเข้าหอผู้ป่วยพร้อมผู้นำ�ส่ง หมายเหตุ กรณีมีประกันตัวต้องตรวจสอบหลักฐาน การประกันตัว ดังนี้  หลักฐานการประกันตัวตรงกับคดี เลขคดี และ ชื่อผู้ป่วย/ผู้ถูกส่งตรวจ  การประกันตัวยังอยู่ในระยะเวลาการประกันตัว งานประสานงานระหว่างรักษาหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมาย ดำ�เนินการดังนี้ ทำ�หนังสือตอบรับตัว หรือทำ�หนังสือประสานกับหน่วยงานที่นำ�ส่ง เพื่อทราบวัตถุประสงค์ของการนำ�ส่ง ในกรณีหนังสือส่งตัวระบุวัตถุประสงค์การนำ�ส่งไม่ชัดเจน (เอกสารหมายเลข 8) 

ภายหลังที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ทีมสหวิชาชีพที่เข้ามาดูแลผู้ป่วย มีกระบวนการทำ�งานเป็น ระยะดังนี้ 1. ระยะการรวบรวมขอมู ชาชีพ ้ ลและประเมินของแตละวิ ่ ดังนี้

ในระยะรวบรวมข้อมูลและประเมินของแต่ละวิชาชีพ บุคลากรของทีมสหวิชาชีพมีกระบวนการทำ�งาน

พยาบาลผู้ป่วยใน ดำ�เนินการดังนี้ 1. เตรียมความพร้อมในการรับผู้ป่วยด้านต่างๆ ได้แก่ สถานที่ บุคลากร เสื้อผ้า รวมทั้งยาที่จำ�เป็น เตรียมทีมจิตเวชฉุกเฉิน และผ้าผูกมัดกรณีผู้ป่วยไม่ร่วมมือ หรือมีอาการรุนแรง 2. ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารนำ�ส่ง ได้แก่ หนังสือส่งตัวจากหน่วยงานนำ�ส่ง เอกสารประกันตัว หรือหลักฐานการอายัดตัวกับสถานีตำ�รวจในพื้นที่ตั้งของโรงพยาบาล กรณีเป็นผู้ต้องหาหรือจำ�เลย ตรวจสอบ วัตถุประสงค์ของการส่งตรวจ ตรวจสอบเวชระเบียนกับผู้ป่วยให้ถูกต้องตรงกัน 3. พยาบาลให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ดังนี้ 3.1 รูปแบบการรักษาแบบผู้ป่วยใน ขั้นตอนการรักษา สิทธิผู้ป่วย กฎระเบียบของหอผู้ป่วย การใช้ สิทธิบัตรประกันสุขภาพต่างๆ 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

41

3.2 ประเด็นทางกฎหมาย ได้แก่ คดีของผู้ป่วย หน่วยงานที่นำ�ส่ง วัตถุประสงค์การนำ�ส่ง 3.3 ข้อมูลทีญ ่ าติตอ้ งแจ้งแก่ทางโรงพยาบาล เพื่อประโยชน์ ในการตรวจวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช เช่น ประวัติการเจ็บป่วยทางกาย ทางจิตของผู้ป่วย การใช้สารเสพติด การก่อคดี เป็นต้น 3.4 ข้อจำ�กัดด้านการดูแลโรคทางกายของโรงพยาบาลจิตเวช 4. พยาบาลให้ข้อมูลแก่ผู้นำ�ส่งดังนี้ 4.1 ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 4.2 ข้อมูลที่ผู้นำ�ส่งต้องให้แก่โรงพยาบาล เพื่อประกอบการตรวจวินิจฉัย เช่น พฤติกรรมคดี พฤติกรรมการทำ�งานของผู้ป่วย พฤติกรรมขณะอยู่ในเรือนจำ�หรือโรงพัก เป็นต้น 4.3 แจ้งระยะเวลาการนำ�ผูป้ ว่ ยเข้าประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวชและการส่งผลการตรวจวินจิ ฉัยแก่ หน่วยงานนำ�ส่ง 5. ประเมินและรวบรวมข้อมูลดังนี้ 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโดยประเมินอาการทางด้านร่างกาย โดยการตรวจสภาพ ร่างกายทั่วไป ลักษณะการแต่งกาย รวมทั้งบาดแผล ร่องรอยการถูกทำ�ร้าย ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางกายที่ รุนแรงจะต้องให้การช่วยเหลืออาการทางกายก่อน 5.2 ประเมินอาการทางด้านสภาพจิต (Mental Status Examination) ภาวะอันตรายต่อตนเอง และผู้อื่น ประวัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านจิตเวช เช่น ประวัติความเจ็บป่วย การใช้สารเสพติด โรคประจำ�ตัว กรรมพันธุ์ เป็นต้น 5.3 รวบรวมข้อมูลประเด็นทางกฎหมาย เช่น พฤติกรรมคดี ประเด็นทางกฎหมายที่เป็นสาเหตุ การนำ�ผู้ป่วยมาตรวจวินิจฉัยในแต่ละมาตรา คดีอยู่ในชั้นตำ�รวจหรือชั้นศาล ผู้ป่วยเป็นโจทก์หรือจำ�เลย บันทึก ข้อมูลข้อ 5.1-5.3 ในแบบบันทึกการประเมินสภาพผู้ป่วย (เอกสารหมายเลข 27) 6. ปฐมนิเทศผู้ป่วยรับใหม่ 7. ในกรณีทตี่ �ำ รวจนำ�ส่ง หรือกรณีทสี่ ง่ มาประเมินความเป็นผูเ้ สมือนไร้ความสามารถเนื่องมาจากการ เสพสารเสพติด ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามคำ�สั่งแพทย์ ได้แก่ การตรวจ CBC, U/A, screening test of urine for amphetamine, heroin, cannabis และส่งตรวจทางรังสีวิทยาได้แก่ Chest X-RAY ในกรณีที่เรือน จำ�นำ�ส่ง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ CBC, U/A ส่งตรวจทางรังสีวิทยาได้แก่ Chest X-RAY 8. ประสานงานกับทีมสหวิชาชีพ 9. ประเมินอาการ ปัญหา ความต้องการ จำ�แนกประเภทผู้ป่วยตามมาตรฐานการพยาบาลนิติจิตเวช วางแผนการพยาบาลผู้ป่วยตามกระบวนการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวช (ป.วิอาญามาตรา 14/ป.อาญามาตรา 48/การ ประเมินความสามารถในการทำ�งาน เป็นต้น) 10. ปฏิบัติการพยาบาลตามสภาพปัญหา และความต้องการตามมาตรฐานการพยาบาลนิติจิตเวชโดย การให้การบำ�บัดรายบุคคล ได้แก่ การทำ�จิตบำ�บัดแบบประคับประคอง เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยโดยการ ระบายความรู้สึกถึงสิ่งไม่สบายใจ ให้กำ�ลังใจ รวมทั้งการสำ�รวจปัญหาของผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถ แก้ไข ปัญหาได้ด้วยตนเอง 11. วางแผน และเตรียมจำ�หน่ายผู้ป่วย (Discharge planning) 11.1 ประเมินสภาพผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน


42

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

11.2 ให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติเรื่อง โรคของผู้ป่วย การดูแลรักษา วัตถุประสงค์การรักษา ผลการ รักษา กระบวนการตรวจวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช ระยะเวลาทีอ่ ยูโ่ รงพยาบาล การรักษาต่อเนื่อง และแหล่งสนับสนุน ทางสังคม แพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ ดำ�เนินการเช่นเดียวกับกรณีขั้นตอนบริการผู้ป่วยนอก และเพิ่มเติมดังนี้ 1. สัมภาษณ์ประวัติความเจ็บป่วยทางจิต และโรคทางกายที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วย และจากบุคคลที่ เกี่ยวข้อง 2. สัมภาษณ์ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างความเจ็บป่วยทางจิตเวชกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ กฎหมาย 3. ตรวจสภาพจิต ตรวจร่างกาย และสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้อง 4. ติดตามการเปลีย่ นแปลงสภาพจิตของผูป้ ว่ ยร่วมกับทีมคณะผูต้ รวจวินจิ ฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติ จิตเวช เป็นระยะ 5. ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ การตรวจประเมิน และการติดตามทางคลินิก ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งให้การบำ�บัดรักษาตามปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย 6. ให้การวินิจฉัยทางคลินิกตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก การวินิจฉัยทางนิติจิตเวชตลอดจน ทบทวนการวินิจฉัยและให้การรักษา 7. บันทึกข้อมูลที่ได้จากข้อ 1-6 ในเวชระเบียนที่เกี่ยวข้อง 

นักสังคมสงเคราะห์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. วิเคราะห์ข้อมูล และวัตถุประสงค์ของการส่งตัวจากหนังสือนำ�ส่ง 2. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ และได้ข้อมูลที่เป็นจริง ชี้แจงวัตถุประสงค์ และขั้นตอนการให้บริการกับผู้ป่วยและญาติที่เกี่ยวข้อง 3. สัมภาษณ์ผปู้ ว่ ยและผูเ้ กีย่ วข้อง เช่น ญาติ เจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้อง เพื่อทราบประวัตสิ ว่ นตัว (การเลีย้ งดู การชัก พัฒนาการ การศึกษา อาชีพ การเกณฑ์ทหาร การใช้สารเสพติด การประสบอุบัติเหตุ ประวัติการทำ�ร้าย ตนเอง บุคลิกภาพเดิม เป็นต้น) ประวัติครอบครัวและความเจ็บป่วยทางจิตและการรักษาทางจิตเวช ประวัติการ กระทำ�ความผิดในอดีตของผู้ป่วย (เอกสารหมายเลข 12, 13) 4. ให้การบำ�บัดรายบุคคล การทำ�จิตบำ�บัดแบบประคับประคอง เพื่อลดความวิตกกังวลของผูป้ ว่ ย ได้แก่ การทำ�จิตบำ�บัดแบบประคับประคอง เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย โดยระบายความรู้สึกถึงสิ่งไม่สบายใจ ให้ กำ�ลังใจ รวมทั้งเป็นการสำ�รวจปัญหาของผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง 5. ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบพฤติกรรมคดี เช่น ตำ�รวจ อัยการ หรือศาล ขอ ทราบพฤติกรรมผู้ป่วยขณะอยู่เรือนจำ� ประวัติการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้อง หรือประวัติการ ทำ�งานจากหน่วยงานที่นำ�ส่ง หรือจากสถานทูตกรณีผู้ป่วยเป็นชาวต่างชาติหรือกองสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน กรณีผู้ป่วยเป็นชาวเขาหรือชนกลุ่มน้อย (เอกสารหมายเลข 14-17) 6. กรณีผู้ป่วยที่ถูกส่งมาตามมาตรการความปลอดภัย ทำ�หนังสือขอสำ�เนาคำ�พิพากษาของศาล (เอกสารหมายเลข 18) เพื่อทราบวัตถุประสงค์ของศาล และเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษา 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

43

7. เยี่ยมบ้านเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในด้านการประกอบอาชีพ ศึกษาการดำ�เนินชีวิตของผู้ป่วยจาก เพื่อนบ้าน ชุมชน พร้อมทั้งสังเกตสภาพแวดล้อมครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งได้จำ�แนกกรณีเยี่ยมบ้าน คือ 7.1 ผู้ป่วยมีคดีรุนแรงถึงแก่ชีวิต และเป็นอันตรายต่อชุมชน 7.2 อาศัยอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลและไม่สามารถมาให้ข้อมูลได้ 7.3 กรณีที่สังเกตจากการสัมภาษณ์ญาติแล้วได้ข้อมูลที่มีลักษณะลำ�เอียง 7.4 กรณีผู้ป่วยมีประวัติก่อคดีซ้ำ� 8. ให้การปรึกษาครอบครัวหรือผูด้ แู ล เพื่อให้ครอบครัวหรือผูด้ แู ล มีเจตคติทดี่ ตี อ่ ผูป้ ว่ ย และมีความรู ้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย การปฏิบัติตัวในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วย นักจิตวิทยาคลินิก ดำ�เนินการดังนี้ ดำ�เนินการเช่นเดียวกับกระบวนการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยนอก แต่มีประเด็นเพิ่มเติม ดังนี้คือ 1. นักจิตวิทยาคลินิกต้องเข้าไปประเมิน และ/หรือตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกผู้ป่วยภายใน 14 วันนับตั้งแต่ผู้ป่วยรับผู้ป่วยไว้ ในสถาบันฯ และเสร็จสมบูรณ์ก่อนการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 2. นักจิตวิทยาคลินกิ สามารถเข้าไปพบผูป้ ว่ ยหลายครัง้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เมื่อพบ ว่าข้อมูลไม่สอดคล้องกัน 3. นักจิตวิทยาคลินิกมีเวลามากพอที่จะสามารถให้การบำ�บัดทางจิตวิทยา ระหว่างการสนทนาได้ มากกว่าการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก 

นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด ดำ�เนินการดังนี้ 1. ลงทะเบียนรับผู้ป่วยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ 2. คัดกรองอาการเพื่อประเมินแนวความคิดและภาวะอันตรายภายใน 7 วัน 3. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย พร้อมสัมภาษณ์ประวัติ เช่น ภูมิลำ�เนา การศึกษา การประกอบอาชีพ การเปลี่ยนงาน การใช้สารเสพติด ความเจ็บป่วยในอดีต และพฤติกรรมการประกอบคดี 4. ประเมินความสามารถในการประกอบกิจกรรมด้วยแบบประเมิน COTE หรือ MOHO (เอกสาร หมายเลข 23,24) โดยวิเคราะห์กิจกรรมสำ�หรับที่สอดคล้องกับความสามารถเดิมของผู้ป่วยมาใช้ ในการประเมิน 5. วางแผนกิจกรรมการฟืน้ ฟูสมรรถภาพรายบุคคล บันทึกลงในแผนการให้บริการ(เอกสารหมายเลข 28) 6. ดำ�เนินกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพ พร้อมสังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้ป่วยขณะทำ�กิจกรรมฟื้นฟู สมรรถภาพ ในแบบบันทึกพฤติกรรมผู้ป่วยระหว่างเข้าร่วมกลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพ (เอกสารหมายเลข 25) 7. รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยและบันทึกลงในแบบบันทึก Case conference (เอกสารหมายเลข 26) เพื่อ รายงานในที่ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 8. รายงานข้อมูล อภิปรายผล และให้ความเห็นในที่ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 

งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ 1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย 2. ศึกษาอาการทางจิตผู้ป่วยและประวัติการรักษา สาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการทางจิตกำ�เริบ และศึกษาข้อมูลของครอบครัว ประวัติความสัมพันธ์ ในครอบครัวโดยเฉพาะกับบุคคลที่เป็นผู้ดูแลหลักด้าน ครอบครัว 


44

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

3. รวบรวมข้อมูลและประเมินผู้ป่วยจากสมาชิกครอบครัวและญาติ 4. ค้นหาพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เป็นปัญหาการดูแลของญาติ 5. สังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างญาติกับผู้ป่วยขณะที่มาเยี่ยมผู้ป่วย 6. นัดญาติเข้ากลุ่มเตรียมความพร้อมญาติในการดูแลผู้ป่วย 7. ประเมินความตระหนัก และรับผิดชอบของญาติในการดูแลผู้ป่วยตามแบบประเมินการแสดงออก ทางอารมณ์ภายในครอบครัว ได้แก่ ความรู้สึกไม่เป็นมิตรต่อกัน ก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว 8. เตรียมความพร้อมของชุมชนโดย 8.1 ประสานกับสาธารณสุขในพื้นที่ หรือญาติ ผู้ดูแล หรือรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติผู้ป่วย เพื่อประเมินเจตคติของชาวบ้านในชุมชน ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาการทางจิต หรืออาจเป็นตัวกระตุ้น ให้ผปู้ ว่ ยมีอาการทางจิตกำ�เริบ การยอมรับผูป้ ว่ ยของชาวบ้านในชุมชน มีการกระตุน้ ให้ผปู้ ว่ ยมีอาการทางจิตกำ�เริบ หรือไม่ เช่น การพูดจายัว่ ยุ มีการชักชวนให้ ใช้สารเสพติดหรือไม่ การทำ�ร้ายผูป้ ว่ ยเนื่องจากไม่เข้าใจอาการทางจิต 8.2 ประเมินความรู้ ความเข้าใจ และการดูแลผูป้ ว่ ยของชาวบ้านในชุมชน และเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข ในชุมชน 2. ระยะบำ�บัดรักษาและฟื นฟู ้ สมรรถภาพ พยาบาลผู้ป่วยใน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ประเมินด้านร่างกายและให้การพยาบาลแบบองค์รวมดังนี้ 1.1 ประเมินสภาวะการได้รับสารน้ำ� สารอาหารโดยสังเกตความยืดหยุ่นของผิวหนัง สัญญาณชีพ การเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของน้ำ�หนักตัว  ดูแลและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้ครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของ ร่างกายทุกมื้อ  ดูแลให้ดื่มน้ำ�อย่างน้อยวันละประมาณ 2,000 ซี.ซี.  ชั่งน้ำ�หนักอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  ดูแลให้ได้รับสารอาหารและสารน้ำ�ทางหลอดเลือดในกรณีที่รับประทานอาหาร และน้ำ�ไม่ เพียงพอ ตรวจวัดสัญญาณชีพทุกวันเพื่อประเมินอาการและการเปลี่ยนแปลง 1.2 กระตุ้นและช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำ�ความสะอาดร่างกาย โดยให้  อาบน้ำ� วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น)  แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้า-ก่อนนอน)  ตัดเล็บ โกนหนวด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  เปลี่ยนเสื้อผ้าทุกวัน (เช้า-เย็น)  ประเมินการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ประเมินอาการท้องผูกหรือไม่ ปัสสาวะมีความผิด ปกติหรือไม่ เช่น ปัสสาวะลำ�บาก ปัสสาวะไม่ออก  ดูแลให้สระผมวันเว้นวัน ยกเว้นกรณีที่รกั ษาด้วยไฟฟ้าต้องสระผมในตอนเย็นก่อนวันที่จะ ทำ�การรักษาด้วยไฟฟ้า  ประเมินการมีประจำ�เดือนของผู้ป่วยหญิง ว่ามีอาการผิดกติหรือไม่และดูแลเรื่องความ สะอาดร่างกาย 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

45

1.3 ดูแลให้พักผ่อนนอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง/วัน 1.4 ให้ความรูเ้ กีย่ วกับความเจ็บป่วยทางจิต อาการ การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและความรูเ้ รื่องยา 1.5 ดูแลให้ผปู้ ว่ ยปฏิบตั ติ ามแผนการรักษาของแพทย์ เช่น การรับประทานยา การรักษาด้วยไฟฟ้า 1.6 เฝ้าระวังอาการข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์จากยาตามมาตรฐานการใช้ยา 1.7 ประเมินสภาพทั่วไปเพื่อนำ�ข้อมูลที่ ได้มาวางแผนการพยาบาล และให้การพยาบาลตาม มาตรฐานวิชาชีพ 2. สังเกตและประเมินสภาพจิตทุกเวร และให้การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ ดังนี้ 2.1 ประเมินความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยสังเกตอาการทางคลินิก พฤติกรรมการ แสดงออก ความรูส้ กึ ผิดต่อการก่อคดี ระดับความก้าวร้าว ความเสีย่ งต่อการฆ่าตัวตายและความเสีย่ งต่อการหลบ หนี (เอกสารหมายเลข 29, 30) 2.2 ขจัดและลดสาเหตุที่อาจกระตุ้นให้เกิดอันตรายจากอุปกรณ์ สถานที่และบุคคลโดยตรวจค้น อาวุธ ของมีคม วัตถุที่เป็นต้นเหตุเชื้อเพลิงในตัวผู้ป่วยทุกเวรหรือทุกครั้งที่ผู้ป่วยออกนอกหอผู้ป่วยและก่อนกลับ เข้าตึก 2.3 จัดสภาพห้องนอนให้เหมาะสมกับสภาพผูป้ ว่ ยและปราศจากสิง่ ของทีอ่ าจเป็นอันตรายต่อผูป้ ว่ ย และผู้อื่น 2.4 ดูแลใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังมิให้เกิดอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น และทรัพย์สิน ในระยะที่มีความ เสี่ยงดังกล่าว ให้จัดเตียงนอนของผู้ป่วยให้อยู่ใกล้ชิดสถานที่ทำ�งานของพยาบาล 2.5 รายงานแพทย์ทราบเมื่อพบผูป้ ว่ ยทีม่ คี วามเสีย่ งต่างๆ หรือมีแนวโน้มทีเ่ ป็นอันตรายต่อตนเอง ผู้อื่น และทรัพย์สินเพื่อให้การบำ�บัดรักษา 2.6 ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยภายหลังได้รับการรักษา ได้แก่ อาการ พฤติกรรม ความคิด ฯลฯ 2.7 สนทนากับผู้ป่วยด้วยท่าทางและน้ำ�เสียงเป็นมิตร ยอมรับพฤติกรรมผู้ป่วย ไม่ตำ�หนิ และไม่ ขัดแย้งความคิด หรือคำ�พูดเพื่อให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกนึกคิดออกมา 2.8 กล่าวชมเชยเพื่อเป็นการให้กำ�ลังใจ เมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม 2.9 ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดเพื่อป้องกันการหลบหนีโดยตรวจเยี่ยมผู้ป่วยตามมาตรการที่โรงพยาบาล กำ�หนดไว้ หากผู้ป่วยไปทำ�กิจกรรมนอกหอผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ที่พาผู้ป่วยไปทำ�กิจกรรมนอกหอผู้ป่วยต้องลงชื่อเป็น ลายลักษณ์อักษร และติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด 2.10 สังเกตและประเมินการแกล้งป่วย (Malingering) เช่น การตรวจร่างกาย หรือสภาพจิต ไม่สอดคล้องกับอาการสำ�คัญ มีอาการรุนแรงเกินกว่าธรรมชาติของโรค ความไม่สม่ำ�เสมอของอาการ อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมในช่วงที่เผลอ เป็นต้น 2.11 ประเมินอาการและจัดให้ผปู้ ว่ ยได้รบั การบำ�บัดรายบุคคลตามสภาพการเจ็บป่วย ได้แก่ การทำ� จิตบำ�บัดแบบประคับประคอง เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย โดยระบายความรู้สกึ ถึงสิ่งไม่สบายใจ ให้ก�ำ ลังใจ รวมทั้งเป็นการสำ�รวจปัญหาของผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถ แก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง 2.12 ประเมินความพร้อมของผู้ป่วย เพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย 2.13 พิทักษ์สิทธิต่างๆ ของผู้ป่วย เช่น การทำ�นิติกรรมสัญญา การรักษาความลับของผู้ป่วย การ เข้าถึงเวชระเบียน การให้ความยินยอมในการรักษา และการจำ�กัดพฤติกรรม เป็นต้น


46

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

2.14 ให้ข้อมูลทางกระบวนการยุติธรรมแก่ผู้ป่วย ดังนี้  การนำ�ผลการตรวจวินิจฉัยไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย  ระยะเวลาโดยประมาณในการรักษาตัวในโรงพยาบาล  สถานที่อยู่หลังเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจรักษาในโรงพยาบาล 2.15 ประสานติดตามผลการดำ�เนินคดีจากหน่วยงานที่นำ�ส่งเพื่อประกอบการวางแผนดูแลผู้ป่วย ต่อเนื่อง 3. ประเมินอาการและจัดให้ผปู้ ว่ ยได้รบั การบำ�บัดด้วยกลุม่ เฉพาะทีเ่ กีย่ วข้องกับประเด็นทางกฎหมาย ได้แก่ กลุ่มเตรียมต่อสู้คดีในผู้ป่วยที่ส่งตรวจรักษาจนกว่าจะต่อสู้คดีได้ (ป.วิอาญามาตรา 14) กลุ่มเตรียมความ พร้อมในการออกสู่สังคม ในผู้ป่วยที่ส่งรักษาจนกว่าจะปลอดภัยต่อสังคม (ป.อาญามาตรา 48) 4. จัดให้ผปู้ ว่ ยได้รบั การบำ�บัดด้วยกลุม่ พืน้ ฐาน ได้แก่ กลุม่ สุขศึกษา กลุม่ ชุมชนบำ�บัด กลุม่ นันทนาการ กลุ่มเตรียมจำ�หน่าย กลุ่มการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำ�หรับญาติและผู้ดูแล กลุ่มจิตสังคมบำ�บัด (Matrix) กลุ่มสุรา เป็นต้น 5. ประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ย วข้ อ งเพื่ อ ฟื้ น ฟู ส มรรถภาพผู้ ป่ ว ยขณะอยู่ โ รงพยาบาล เช่ น โรงพยาบาลกลางวัน เพื่อฝึกทักษะทางสังคม ทักษะทางอาชีพ ทักษะการประกอบอาหาร เป็นต้น 6. ประเมินเป้าหมายการดำ�เนินชีวิตของผู้ป่วยภายหลังจากจำ�หน่ายออกจากโรงพยาบาล 7. เตรียมความพร้อมของครอบครัวเพื่อรองรับผู้ป่วยดังนี้ 7.1 ประเมินความพร้อมของครอบครัวโดยให้ความรู้เรื่องโรค การดูแลผู้ป่วย การปฏิบัติต่อผู้ป่วย ประเมินปัญหาของผู้ป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นหลังกลับสู่ชุมชน 7.2 ประเมินเจตคติและเตรียมความพร้อมของครอบครัวหรือผูด้ แู ล เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การยอมรับและลดความหวาดกลัวต่อผู้ป่วย รวมถึงการให้ข้อมูลแหล่งสนับสนุนทางสังคมที่ให้ความช่วยเหลือ ผู้ป่วยได้ 8. ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล กรณีต่างๆ ดังนี้ 8.1 กรณีผู้ป่วยส่งต่อรักษาโรคทางกายโรงพยาบาลอื่น กรณีต�ำ รวจนำ�ส่ง 1. แจ้งทางโทรศัพท์ ในเบื้องต้น หรือประสานงานกับงานประสานงานระหว่างรักษาหรือผู้ที่ได้รับ มอบหมาย ให้ทำ�หนังสือขอกำ�ลังเจ้าหน้าที่ตำ�รวจท้องที่ เพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยและป้องกันการหลบหนีขณะไปรับการ ตรวจรักษาที่โรงพยาบาลฝ่ายกาย (เอกสารหมายเลข 31) 2. แจ้งหน่วยงานที่นำ�ส่ง โดยการแจ้งทางโทรศัพท์ ในเบื้องต้น และประสานงานกับงานประสาน งานระหว่างรักษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้ทำ�ทางหนังสือราชการแจ้งภายหลัง

กรณีศาลนำ�ส่ง 1. กรณีผู้ป่วยไม่เร่งด่วน ประสานงานกับงานประสานงานระหว่างรักษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้ทำ�หนังสือแจ้งเรือนจำ�ในพื้นที่ หรือเรือนจำ�ที่นำ�ส่งเพื่อรับผู้ป่วยไปรักษาต่ออาการทางกาย พร้อมทั้งทำ�หนังสือ แจ้งศาลที่นำ�ส่งทราบ (เอกสารหมายเลข 32)


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

47

2. กรณีผปู้ ว่ ยมีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน นำ�ผูป้ ว่ ยส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงโดยให้มเี จ้าหน้าทีร่ าชทัณฑ์ ควบคุมตัวไปด้วย เพื่อป้องกันการหลบหนี และประสานงานกับงานประสานงานระหว่างรักษาหรือผู้ที่ ได้รับ มอบหมาย ให้ทำ�หนังสือแจ้งศาลทราบ พร้อมทั้งขอทราบผลการตรวจรักษาจากโรงพยาบาลฝ่ายกาย

กรณีญาติ/ทนายความนำ�ส่งหรือมีประกันตัว แจ้งญาติ นายประกันหรือทนายความผู้นำ�ส่งทางโทรศัพท์ทันที เพื่อรับผู้ป่วยไปรักษา 

กรณีผป ู ่ วยหลบหนี ้ 1. ประสานงานกับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง หน่วยงานนำ�ส่งและแจ้งสถานีต�ำ รวจท้องที่ (สถานีต�ำ รวจ ในพื้นที่ที่โรงพยาบาลตั้งอยู่) เพื่อร่วมติดตามผู้ป่วย 2. แจ้งญาติหรือผู้นำ�ส่งทราบ โดยแจ้งทางโทรศัพท์ทันที และประสานงานกับงานประสานงาน ระหว่างรักษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้ทำ�หนังสือราชการแจ้งผู้นำ�ส่งภายหลัง (เอกสารหมายเลข 33)

กรณีผป ู ่ วยถึ งแกกรรม ้ ่ 1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเขตหรืออำ�เภอ เพื่อให้ออกใบมรณะบัตร (เอกสาร หมายเลข 34) และประสานกับสถานีต�ำ รวจท้องทีเ่ พื่อชันสูตรศพ โดยห้ามเคลื่อนย้ายศพหรือแต่งศพจนกว่าตำ�รวจ ได้ชันสูตรพลิกศพแล้ว 2. แจ้งญาติและหน่วยงานนำ�ส่งทางโทรศัพท์ และประสานงานกับงานประสานงานระหว่างรักษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้ทำ�หนังสือราชการแจ้งภายหลัง

แพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. สั่งการบำ�บัดรักษาตามความจำ�เป็น และความต้องการทางคลินิกตามมาตรฐานการบำ�บัดรักษา 2. ประชุมเพื่อวางแผนการบำ�บัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพตลอดจนการป้องกันปัญหาที่เป็นความ เสี่ยงในลักษณะองค์รวมครอบคลุมมิติกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณร่วมกับคณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษา ทางนิติจิตเวช และมีการติดตามผลเป็นระยะ 

นักสังคมสงเคราะห์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. ให้การบำ�บัดรายบุคคล ได้แก่ การทำ�จิตบำ�บัดแบบประคับประคอง เพื่อลดความวิตกกังวลของ ผู้ป่วย โดยระบายความรู้สึกถึงสิ่งไม่สบายใจ ให้กำ�ลังใจ รวมทั้งเป็นการสำ�รวจปัญหาของผู้ป่วย และช่วยให้ผู้ป่วย สามารถ แก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง 2. ให้การปรึกษาครอบครัวหรือผูด้ แู ล เพื่อให้ครอบครัวหรือผูด้ แู ล มีเจตคติทดี่ ตี อ่ ผูป้ ว่ ย และมีความรู ้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย การปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วยในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วย 

นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด ดำ�เนินการดังนี้ 1. รวบรวมข้อมูลการประเมินระดับสมรรถภาพเพื่อวางแผนการฟื้นฟูฯ 2. วิเคราะห์หรือสังเคราะห์กจิ กรรมเพื่อกำ�หนดแนวทางการฟืน้ ฟูสมรรถภาพเฉพาะรายหรือแบบกลุม่ 3. ดำ�เนินกิจกรรมการฟืน้ ฟูสมรรถภาพเช่น กลุม่ พัฒนาทักษะขัน้ พืน้ ฐาน กลุม่ พัฒนาทักษะทางสังคม กลุ่มพัฒนาทักษะทางอาชีพ 


48

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

4. ประเมินผลความก้าวหน้าของระดับความสามารถหลังเข้ารับบริการตามแผน 5. วางแนวทางในการแก้ไขปัญหา และป้องกันการเกิดภาวะอันตรายสำ�หรับผูป้ ว่ ยส่งมาตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 48 นักจิตวิทยาคลินิก ดำ�เนินการดังนี้ 1. ประเมินและตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกซ้ำ� ในกรณีแพทย์ต้องการติดตามผลการรักษา 2. การตรวจทางจิตวิทยาด้วยแบบทดสอบในครั้งแรกเพิ่มเติม เช่น บุคลิกภาพ สมรรถภาพการรู้คิด เป็นต้น ในกรณีที่ต้องการข้อสรุปของวินิจฉัยทางคลินิกที่ชัดเจนมากขึ้น 3. ให้การบำ�บัดฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตวิทยา 

งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ 1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย พร้อมประเมินความพร้อมของผู้ป่วยและผู้ดูแลก่อนจำ�หน่าย ด้วย การสัมภาษณ์ประวัติและ/หรือผู้ดูแลตามแบบบันทึกการเตรียมจำ�หน่ายและดูแลต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยตามรูปแบบ D-METHOD (เอกสารหมายเลข 35) 2. ประเมินความตระหนัก และรับผิดชอบของญาติในการดูแลผู้ป่วยตามแนวทางการประเมินการ แสดงออกทางอารมณ์ ภายในครอบครัวได้แก่ ความรู้สึกไม่เป็นมิตรต่อกัน จู้จี้ ขี้บ่น ก้าวก่ายความ เป็นส่วนตัว 3. เตรียมความพร้อมของชุมชนโดย 3.1 ในกรณีที่ชาวบ้านในชุมชนไม่ยอมรับผู้ป่วย มีการต่อต้าน โกรธแค้น หรืออาจรังเกียจผู้ป่วย เตรียมความพร้อมชุมชนในการดูแลผู้ป่วย โดยการประสานสาธารณสุขในพื้นที่โดยส่งหนังสือประสานการเตรียม ชุมชน พร้อมแนบแบบตอบกลับผลการเตรียมชุมชนเพื่อพร้อมรับผูป้ ว่ ยกลับไปอยูก่ บั ครอบครัว (เอกสารหมายเลข 36,37) เพื่อมีขอ้ มูลเบือ้ งต้นในการพิจารณาสภาพปัญหา และร่วมกับสาธารณสุขในพืน้ ทีล่ งเยีย่ มชุมชน เพื่อประเมิน เจตคติของชาวบ้านในชุมชน ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาการทางจิต หรืออาจเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยมี อาการทางจิตกำ�เริบ โดยเตรียมชาวบ้านในชุมชนทีเ่ ป็นกลุม่ ย่อยทีม่ คี วามขัดแย้งกับผูป้ ว่ ยก่อน จึงทำ�ประชาคมกับ ชุมชน เพื่อประเมิน และปรับเจตคติให้พร้อมยอมรับ และมีเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย และให้ความรู้เรื่องโรค และการ ดูแลผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชน มีความรู้ และดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้ 3.2 ในกรณีทชี่ าวบ้านในชุมชนขาดความรู้ และแนวทางในการดูแลผูป้ ว่ ย เตรียมความพร้อมชุมชน โดยส่งหนังสือประสานการเตรียมชุมชน พร้อมแนบแบบตอบกลับผลการเตรียมชุมชนเพื่อพร้อมรับผูป้ ว่ ยกลับไปอยู่ กับครอบครัว (เอกสารหมายเลข 36,37) และร่วมลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่กรณีที่สาธารณสุข ในพื้นที่ขอความร่วมมือในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลผู้ป่วยจิตเวชแก่ชาวบ้านในชุมชน 

เภสัชกร ดำ�เนินการดังนี้ ดำ�เนินการเช่นเดียวกับกระบวนการตรวจวินิจฉัยแบบผู้ป่วยนอก 

3. การประชุมวินิจฉัยทางนิตจ ิ ต ิ เวชตามวัตถุประสงคการนำ �ส่ง ์ นักสังคมสงเคราะห์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. กำ�หนดวันที่นำ�ผู้ป่วยเข้าที่ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชตามระยะเวลาที่กำ�หนด 2. ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจวินจิ ฉัย และบำ�บัดรักษาทางนิตจิ ติ เวช เพื่อเตรียมความพร้อม ของข้อมูลที่จะนำ�เข้าประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

49

3. นำ�เสนอข้อมูลของผู้ป่วยตั้งแต่พัฒนาการต่าง ประวัติการเลี้ยงดู ประวัติการใช้สารเสพติด ประวัตกิ ารประสบอุบตั เิ หตุและการถูกทำ�ร้ายร่างกาย ประวัตกิ ารทำ�ร้ายตนเอง ประวัตกิ ารเจ็บป่วยทางจิตเวชและ การรักษา ประวัติครอบครัว ความสัมพันธ์ ในครอบครัว ประวัติกรรมพันธุ์ พฤติกรรมคดี ตามแบบบันทึกประชุม วินิจฉัยทางนิติจิตเวช (ตามเอกสารหมายเลข 19) 4. เสนอความคิดเห็นตามวัตถุประสงค์ของผู้นำ�ส่ง แพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. เข้าประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวชตามเวลาทีก่ ำ�หนด โดยให้มแี พทย์เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้มีมุมมองที่หลากหลาย และเพื่อความโปร่งใสในการพิจารณา 2. ให้แพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์เจ้าของไข้สมั ภาษณ์ประวัตคิ วามเจ็บป่วย พฤติกรรมทีเ่ กีย่ วกับวัตถุประสงค์ การส่งตรวจและตรวจสภาพจิตเพิม่ เติม ตามแนวทางการสัมภาษณ์ทางนิตจิ ติ เวชสำ�หรับแพทย์ (เอกสารหมายเลข 9) 3. ให้แพทย์เจ้าของไข้บนั ทึกการตรวจสภาพจิต การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของแพทย์ทเี่ ข้าประชุม พร้อมทัง้ ลงนามแพทย์ผเู้ ข้าร่วมประชุมในแบบบันทึกสรุปการประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช (เอกสารหมายเลข 10) 4. สรุปการวินิจฉัยทางนิติจิตเวชตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนำ�ส่ง หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่ม เติมโดยคำ�นึงถึงความเป็นธรรม ความปลอดภัยสงบสุขของสังคม 5. สรุปการวินจิ ฉัยทางคลินกิ สุดท้าย (Definite diagnosis) เพื่อความถูกต้องในการเก็บสถิติ และการ บำ�บัดรักษา 6. ในกรณีที่ข้อมูลที่ได้จากคณะกรรมการตรวจวินิจฉัย และบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวชไม่เพียงพอต่อ การสรุป ให้มีการหาข้อมูล หรือส่งตรวจเพิ่มเติมและนัดประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชอีกจนกว่าจะได้ข้อยุติ 7. ในกรณีแพทย์เจ้าของไข้ตดิ ราชการอื่นทีส่ �ำ คัญและจำ�เป็นกว่า ให้มอบหมายแพทย์ทา่ นอื่นจดบันทึกแทน 

พยาบาลผู้ป่วยใน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ประเมินสภาพจิตผู้ป่วยและทบทวนประเด็นทางกฎหมายซ้ำ� ก่อนเข้าประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 1 วัน 2. สรุปข้อมูลเกี่ยวกับอาการผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนถึงวันประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชในแบบบันทึก ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (เอกสารหมายเลข 38) 3. เตรียมความพร้อมของผู้ป่วยเพื่อการเข้าประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ดังนี้ 3.1 เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย โดยสนับสนุนและกระตุน้ ให้ผปู้ ว่ ยปฏิบตั กิ จิ วัตรประจำ�วัน การ รักษาความสะอาดร่างกาย 3.2 เตรียมความพร้อมด้านจิตใจโดย  ประเมินระดับความเครียด หรือความวิตกกังวล พร้อมทัง้ ให้การพยาบาลตามระดับอาการ และมาตรฐานวิชาชีพ  เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก ความคับข้องใจ  จัดให้ผู้ป่วยได้สนทนากับผู้ป่วยที่ผ่านการเข้าประชุมวินิจฉัยแล้ว  ให้ข้อมูล ขั้นตอนการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช  จัดให้มีบุคลากรดูแลผู้ป่วยขณะรอเข้าห้องประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 


50

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

3.3 แจ้งวัตถุประสงค์ของการเข้าประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช วัน เวลา สถานที่ ลักษณะของห้อง ประชุม ผู้เข้าประชุมในห้องประชุมประกอบด้วยใครบ้าง เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในห้องประชุม เช่น นั่งให้เรียบร้อย ตอบให้ตรง คำ�ถาม ถ้าสงสัยไม่แน่ใจให้ทวนคำ�ถามได้ 3.4 ให้ข้อมูลด้านกฎหมายดังนี้  ข้อมูลเกี่ยวกับคดี เช่น ข้อมูลเรื่องคดี ผู้นำ�ส่ง วัตถุประสงค์การนำ�ส่ง  บุคคลในทีมสหวิชาชีพที่เข้าร่วมประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช  ขั้นตอนและกระบวนการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช  การนำ�ผลการวินิจฉัยทางนิติจิตเวชไปใช้ประโยชน์ต่อผู้ป่วย  ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโดยประมาณ  สิทธิ์ในการตอบคำ�ถามและการซักถามเมื่อมีข้อสงสัย  สถานที่อยู่ของผู้ป่วยหลังเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจรักษาในโรงพยาบาล  แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงการรักษาความลับข้อมูลของผู้ป่วย 4. บันทึกพฤติกรรมการแสดงออก อาการ การพูดคุยของผู้ป่วยขณะประชุม 5. เสนอความคิดเพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ดังนี้ 5.1 นำ�เสนอข้อมูลของผูป้ ว่ ยตัง้ แต่วนั แรกทีผ่ ปู้ ว่ ยรับไว้รกั ษา จนถึงวันทีน่ �ำ ผูป้ ว่ ยเข้าประชุมวินจิ ฉัย ทางนิติจิตเวช 5.2 เสนอความเห็นการวินิจฉัยทางนิติจิตเวชต่อที่ประชุม ประกอบด้วย  ข้อวิจฉัยทางคลินิก (Clinical diagnosis) ตามเกณฑ์ ICD-10 แผนการดูแลผู้ป่วยและ สิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง  ข้อวินิจฉัยทางกฎหมาย (Legal diagnosis) ได้แก่ กรณีการส่งตรวจตามกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญามาตรา 14 เสนอความคิดเห็นในข้อวินิจฉัยทางกฎหมายเรื่องความรู้ผิดชอบหรือการบังคับ ตนเองขณะประกอบคดี รวมทั้งข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น มาตรการความปลอดภัย ความสามารถในการต่อสู้คดี เป็นต้น 6. ประสานงานกับนักสังคมสงเคราะห์เจ้าของไข้ ในการตอบผลการตรวจวินิจฉัย ตามความเห็นของ ที่ประชุม นักจิตวิทยาคลินิก ดำ�เนินการดังนี้ 1. รายงานผลการตรวจวินจิ ฉัยทางจิตวิทยาคลินกิ (เอกสารหมายเลข 22) และแสดงความคิดเห็นต่อ ที่ประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชร่วมกับคณะกรรมการตรวจวินิจฉัย และบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช โดยการรายงาน ผลต้องเน้นสาระสำ�คัญ ดังต่อไปนี้ 1.1 ระดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ในกรณีผู้ป่วยมีภาวะปัญญาอ่อน ต้องระบุอายุสมอง (Mental age) 1.2 พยาธิสภาพทางจิต เพื่อประเมินและวินจิ ฉัยความผิดปกติของแนวความคิด อารมณ์ บุคลิกภาพ และระดับความรุนแรงของพยาธิสภาพดังกล่าว 1.3 พยาธิสภาพทางสมอง มีพยาธิสภาพทางสมองหรือไม่ และมีระดับความรุนแรงมากน้อยเพียงใด 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

2.

51

เสนอความคิดเห็นตามวัตถุประสงค์ของผู้นำ�ส่ง 2.1 ความสามารถในการต่อสู้คดี 2.2 ความสามารถรับผิดทางอาญา 2.3 ภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง 2.4 ข้อคิดเห็นอื่นๆ เช่น จุดแข็ง จุดด้อย และแนวทางการบำ�บัดฟื้นฟู

นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด ดำ�เนินการดังนี้ 1. สรุปข้อมูลผูป้ ว่ ยตัง้ แต่แรกรับจนถึงก่อนการประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช บันทึกลงแบบสรุปข้อมูล การตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (เอกสารหมายเลข 26) 2. รายงานข้อมูล อภิปรายผล และให้ความเห็นเกี่ยวกับการวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (เอกสารหมายเลข 26) 3. รับข้อมูลเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจวินิจฉัยและบำ�บัดรักษาทางนิติจิตเวช ในการปรับ แผนการฟื้นฟูสมรรถภาพ 4. เสนอความคิดเห็นตามวัตถุประสงค์ของผู้นำ�ส่ง 

งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ 1. เข้าร่วมประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชและวางแผนการดูแลผู้ป่วยตามประเด็นปัญหาที่พบ 2. ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่พบเพิ่มเติมจากญาติและผู้ป่วย 

4. การรายงานผลการตรวจวินิจฉัย

ในระยะการรายงานผลการตรวจวินิจฉัย บุคลากรทีมสหวิชาชีพมีกระบวนการทำ�งาน ดังต่อไปนี้  นักสังคมสงเคราะห์เจ้าของไข้ ดำ�เนินการดังนี้ 1. รวบรวมและสรุปผลการตรวจวินิจฉัยของทีม ให้แพทย์เจ้าของไข้ตรวจสอบแก้ไขและลงนามใน ผลการตรวจวินิจฉัยแล้วจึงให้ผู้อำ�นวยการสถาบันฯหรือโรงพยาบาลลงนามกำ�กับอีกครั้ง (เอกสารหมายเลข 20) 2. ส่งรายงานผลการตรวจวินิจฉัยให้หน่วยงานนำ�ส่งทราบ (เอกสารหมายเลข 20, 21) แพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ แพทย์เจ้าของไข้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนข้อมูลของรายงานการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวชที่ นักสังคมสงเคราะห์เจ้าของไข้สรุปตามแบบรายงานผลการตรวจวินิจิฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี (เอกสารหมายเลข 20) ที่กำ�หนดให้แพทย์เจ้าของไข้และผู้อำ�นวยการสถาบันฯหรือโรงพยาบาลลงนามรับรอง เอกสาร 

5. การจำ�หน่าย

ในระยะการจำ�หน่าย บุคลากรทีมสหวิชาชีพมีกระบวนการทำ�งาน ดังต่อไปนี้  นักสังคมสงเคราะห์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. เตรียมความพร้อมของผูป้ ว่ ยและให้การช่วยเหลือ เช่น การให้การปรึกษารายบุคคล และการเตรียม ความพร้อมของผู้ป่วยเกี่ยวกับการต่อสู้คดีในกรณีส่งตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ในกรณีรับการตรวจวินิจฉัยทาง นิติจิตเวชแบบผู้ป่วยนอก


52

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

2. เตรียมความพร้อมของครอบครัวหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแล การปฏิบัติตัวต่อผู้ป่วย เจตคติของ ครอบครัวหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ยอมรับผู้ป่วย และลดความหวาดกลัวต่อผู้ป่วย รวมถึงการให้ข้อมูลแหล่งสนับสนุนในสังคมที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ 3. เตรียมความพร้อมของชุมชน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับผู้ป่วย โดยการประสาน งานทางหนังสือถึงผู้นำ�ชุมชน ได้แก่ ผู้ ใหญ่บ้าน กำ�นัน ในการบอกถึงปัญหาและความเจ็บป่วยของผู้ป่วย การ ปฏิบตั ติ อ่ ผูป้ ว่ ยเมื่ออยูร่ ว่ มกัน รวมถึงการช่วยเหลือผูป้ ว่ ยเมื่ออยู่ในชุมชน โดยได้รบั ความยินยอมจากผูป้ ว่ ยในการ เปิดเผยข้อมูล 4. กรณี ที่ ผู้ ป่ ว ยไม่ ต้ อ งถู ก ดำ � เนิ น คดี ห รื อ พ้ น จากคำ � สั่ ง ศาลและไม่ มี ผู้ ดู แ ลหรื อ ไม่ มี ที่ อ ยู่ อ าศั ย นักสังคมสงเคราะห์จะดำ�เนินการติดต่อหาสถานที่อยู่อาศัย และผู้ดูแลให้ผู้ป่วย เช่น สถานสงเคราะห์ วัด เป็นต้น หรือจัดหาสถานประกอบการเพื่อประกอบอาชีพ รวมถึงการเตรียมทางด้านเอกสารสิทธิ์ของบัตรประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า บัตรผู้พิการ แพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ ประเมินความก้าวหน้าการรักษาจากตัวผู้ป่วย ญาติ และทีมผู้ดูแล ประเมินความพร้อมในการปรับตัว ของผู้ป่วยก่อนจำ�หน่ายออกจากสถาบันฯ ประเมินความพร้อมของสถานที่ที่ผู้ป่วยจะไปอยู่หลังจำ�หน่าย วางแผน ในการดูแลต่อเนื่อง สั่งจำ�หน่ายและให้ ใบส่งตัวกรณีผู้ป่วยไปรับการรักษาที่สถานบำ�บัดอื่น 

พยาบาลผู้ป่วยใน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ตรวจสอบเอกสารการรับตัวกลับให้ถูกต้องตรงกับเอกสารของหน่วยงานที่นำ�ส่ง และผู้นำ�ส่งต้อง แจ้งถอนอายัดตัวจากสถานีตำ�รวจในพื้นที่ตั้งของโรงพยาบาล 2. ตรวจสอบเอกสารบัตรประจำ�ตัวของผู้ที่มารับ เช่น บัตรประชาชน บัตรข้าราชการ ถูกต้องตรงกับ หนังสือราชการที่แจ้งมา ให้ผู้รับกลับลงนามเป็นหลักฐานในแบบฟอร์มรับผู้ป่วยกลับ 3. กรณีมีประกันตัวต้องตรวจสอบเอกสารการประกัน คือ เลขที่ประกัน อายุการประกัน มีการถอน ประกันหรือไม่ 4. เตรียมยาตามแผนการรักษาของแพทย์ ให้คำ�แนะนำ�ผู้ป่วยในการรับประทานยา อาการข้างเคียง ของยา 5. ให้ข้อมูลแก่ผู้รับกลับเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเรื่องโรค อาการ การรักษา การดูแลผู้ป่วยรับประทาน ยาต่อเนื่อง การเฝ้าระวังอาการข้างเคียงของยา อาการแสดงของการป่วยซ้ำ� และการกลับมาตรวจตามนัดเป็นต้น 6. เขียนใบส่งตัวผูป้ ว่ ยไปรับการตรวจหรือรักษาต่อ (ใบ Refer) พร้อมให้ค�ำ แนะนำ�กับผูป้ ว่ ย และผูร้ บั กลับ เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง หรือนัดมารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล (Follow up) โดยการออกใบนัดมาตรวจที่ แผนกผู้ป่วยนอก 7. เตรียมของใช้และทรัพย์สินของผู้ป่วย เช่น เงิน เสื้อผ้า ของฝาก ให้ผู้ป่วยรับกลับไป พร้อมทั้งให้ ผู้ป่วยลงลายมือชื่อในเวชระเบียนผู้ป่วยไว้เป็นหลักฐาน 8. ประสานงานกับงานนิติจิตเวชชุมชนเพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยหลังจำ�หน่ายออกจากโรงพยาบาล 9. ให้ข้อมูลกับญาติ (ถ้ามี) เพื่อการดูแลหลังจำ�หน่าย 10. กรณีผู้ป่วยถึงแก่กรรม แจ้งตำ�รวจที่เกี่ยวข้องดำ�เนินการตามขั้นตอนที่กำ�หนด 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

53

นักจิตวิทยาคลินิกดำ�เนินการดังนี้ ประเมินหรือตรวจทางจิตวิทยาคลินิก เพื่อประเมินปัจจัยความเสี่ยงด้านคลินิก ซึ่งเป็นอาการทางคลินิก ณ ปัจจุบันที่อาจยังเป็นปัจจัยเสี่ยง กรณีแพทย์ส่งปรึกษา 

นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด ดำ�เนินการดังนี้ เตรียมความพร้อมของทักษะในด้านต่างๆ ที่จำ�เป็นในการดำ�เนินชีวิตหลังจำ�หน่าย 

งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ 1. จำ�หน่าย (กรณีคดีไม่สิ้นสุด) 1.1 กรณีพนักงานสอบสวนนำ�ส่ง ติดตามจากพนักงานสอบสวนว่าผูป้ ว่ ยถูกส่งตัวไปควบคุมไว้ที่ใด ซึง่ อาจฝากขังไว้ทศี่ าล หรือถูกควบคุมตัวในเรือนจำ� หรือปล่อยตัวชัว่ คราวให้ญาติรบั กลับไป แล้วอาจเรียกมาสอบ สวนเพิม่ เติมหรือควบคุมตัวต่อไป หากผูป้ ว่ ยได้รบั การปล่อยตัวชัว่ คราว ประสานเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขในพืน้ ที่ เพื่อ ติดตามการดูแลผู้ป่วย พร้อมแนบแบบฟอร์มการติดตามผลการบำ�บัดรักษาผู้ป่วยตามพรบ.สุขภาพจิตพ.ศ. 2551 (เอกสารหมายเลข 39,40) 1.2 กรณีเรือนจำ�นำ�ส่งตามคำ�สั่งศาล ประสานการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องกับเจ้าหน้าที่สถาน พยาบาลในเรือนจำ� พร้อมแนบแบบฟอร์มการติดตามดูแลผูป้ ว่ ยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในเรือนจำ�ตามพ.ร.บ.สุขภาพ จิต 2551 (เอกสารหมายเลข 41,42) ในกรณีผู้ป่วยมีพฤติกรรมรุนแรง หรือมีภาวะอันตราย ไม่มีผู้ดูแล ประสาน เรือนจำ�ก่อนพ้นโทษ หรือเมื่อพ้นโทษ ให้สง่ ผู้ป่วยเข้าบำ�บัดรักษาในสถานพยาบาลตามพรบ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มาตรา 25 และ มาตรา 22 เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอันตราย 2. จำ�หน่าย (กรณีคดีสิ้นสุด) 2.1 เตรียมครอบครัวโดยประเมินความพร้อมของญาติ หรือผู้ดูแลผู้ป่วยในการดูแลผู้ป่วยหลัง จำ�หน่าย 2.2 เตรียมชุมชนโดยประสานเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขในพืน้ ที่ โดยส่งหนังสือประสานการเตรียมชุมชน พร้อมแนบแบบตอบกลับผลการเตรียมชุมชนเพื่อพร้อมรับผูป้ ว่ ยกลับไปอยูก่ บั ครอบครัว (เอกสารหมายเลข 36,37) 2.3 ในรายที่ชุมชนไม่ยอมรับ เตรียมความพร้อมชุมชน และวางแผนเยี่ยมบ้านและประเมินภาพ โดยรวมที่ชุมชนมีต่อผู้ป่วย โดยประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ในการให้ความรู้ เกี่ยวกับอาการทางจิตที่ เกิดขึ้น การดูแล การป้องกันอาการกำ�เริบ ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ 2.4 จำ�หน่าย (กรณีที่ชุมชนยอมรับและครอบครัวพร้อมดูแล)  ประสานงานกับญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเรื่องการติดตามการรักษาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ตามแผนการรักษาของแพทย์  ประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ในการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 2.5 จำ�หน่าย (กรณีที่ครอบครัวหรือชุมชนไม่พร้อมที่จะดูแล)  ประสานงานกับแพทย์ และนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อพิจารณาหาสถานทีอ่ ยูอ่ าศัยทีเ่ หมาะสม กับผู้ป่วย เช่น สถานสงเคราะห์ วัด และหากมีปัญหายุ่งยากซับซ้อนนำ�เข้าที่ประชุมทีมนิติจิตเวช  เตรียมผู้ป่วยเรื่องการปฏิบัติตัวเรื่องการรักษาอย่างต่อเนื่อง การมาตรวจตามนัด/การไป รับการรักษาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่  จัดเตรียมใบส่งต่อ ใบนัด ยา 


54 นิติจิตเวชชุมชน

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

ประสานสาธารณสุขในพื้นที่ในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง  จัดเก็บข้อมูลผูป ้ ว่ ยจำ�หน่ายไว้ ในเวชระเบียน และสมุดทะเบียนการติดตามผูป้ ว่ ยของงาน 

6. การติดตามตอเนื ่ างน ่ องอย ่ ้ อย 2 ปี หลังพนโทษ ้ ในระยะการติดตามต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปีหลังพ้นโทษ บุคลากรทีมสหวิชาชีพมีกระบวนการทำ�งาน ดังต่อไปนี้  งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ดำ�เนินการติดตามผูป้ ว่ ยหลังพ้นโทษจากเรือนจำ� หรือได้รบั การปล่อยตัวกรณีพนักงานสอบสวนไม่ ส่งฟ้อง โดยติดตามอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน โดยการประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ โดยการสอบถามอาการผู้ป่วยทางโทรศัพท์ และการส่งหนังสือติดตามให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เข้าไปเยี่ยม ผู้ป่วย บันทึกเรื่องการรับประทานยา มีการใช้สารเสพติดหรือไม่ อาการทางจิตที่พบ การทำ�กิจวัตรประจำ�วัน การ ปรับตัว การสังเกตอาการเตือนของผู้ป่วย ปัญหาของผู้ป่วย และปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ในการติดตาม ดูแลผูป้ ว่ ย พร้อมทัง้ ให้เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขในพืน้ ทีส่ ง่ หนังสือตอบกลับการติดตามผลการบำ�บัดรักษาผูป้ ว่ ยตามพ ระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มายังหน่วยงาน บันทึกข้อมูลและเก็บในเวชระเบียนผู้ป่วย 2. ในกรณีที่พบว่าผู้ป่วยมีปัญหาในการดูแลตนเอง ไม่รับประทานยา อาการทางจิตกำ�เริบ ประสาน กับทีมสหวิชาชีพของสถาบันฯหรือโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อเข้าไปเยี่ยมอาการผู้ป่วย 3. ถ้าพบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือมีภาวะที่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นประสานญาติ และ สาธาณสุขในพื้นที่ ให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 7. การให้ปากคำ�เป็ นพยานผูเชี้ ยวชาญ ่

ในระยะการให้ปากคำ�เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรทีมสหวิชาชีพมีกระบวนการทำ�งาน ดังต่อไปนี้  กรณีศาลต้องการสอบปากคำ�แพทย์ องค์กรแพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. รับหมายศาลและตรวจสอบหมายศาล 2. ประสานงานกับแพทย์เจ้าของไข้ 3. ส่งใบตอบรับหมายศาลของแพทย์ 4. เก็บเอกสารตามระบบของเวชระเบียน 5. กรณีแพทย์ไปศาลได้ เตรียมข้อมูลจากเวชระเบียน เตรียมขอรถ ประสานงานทางโทรศัพท์และทำ� หนังสือแจ้งว่าแพทย์สามารถไปศาลได้ตามวันเวลาที่กำ�หนด ทำ�หนังสือขอสำ�เนาถ้อยคำ�การเป็นพยานศาล และ ขอผลการพิจารณาคดีของศาล 6. กรณีแพทย์ไปศาลไม่ได้ ทำ�หนังสือแจ้งศาลถึงสาเหตุที่แพทย์ไม่สามารถไปเป็นพยานศาลได้ และ ให้มีการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการล่วงหน้า เช่น ทางโทรศัพท์เพื่อกำ�หนดวันเป็นพยานศาลที่สะดวกต่อ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อไป


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

55

แพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. แพทย์เจ้าของไข้ตอบรับกำ�หนดการสอบปากคำ�หรือเป็นพยานศาลอย่างเป็นทางการหรือกึง่ ทางการ แล้วแต่กรณี 2. กรณีเป็นพยานศาล ให้มกี ารบันทึกสาระสำ�คัญของถ้อยแถลง ตลอดจนข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องอื่นๆ แล้ว แต่กรณีในเวชระเบียน เพื่อประโยชน์ ในความต่อเนื่องของการเป็นพยานครัง้ ต่อไป เช่น ในกรณีทผี่ ปู้ ว่ ยเป็นจำ�เลย และยังไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจำ�หน่ายคดีชั่วคราว หรือกรณีร้องขอให้ผู้ป่วยเป็นผู้ไร้ความสามารถ และอาจมี การร้องขอให้เพิกถอนความเป็นผู้ไร้ความสามารถในภายหลังตามเอกสารการเป็นพยานศาล (เอกสารหมายเลข 43) 

กรณีตำ�รวจต้องการสอบปากคำ�แพทย์ องค์กรแพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. ประสานงานให้แพทย์เจ้าของไข้ทราบ 2. แจ้งวัน เวลาให้สะดวกทั้งฝ่ายตำ�รวจและฝ่ายแพทย์พร้อมและให้ตำ�รวจทำ�หนังสือขอสอบปากคำ� แพทย์ 3. เตรียมเวชระเบียนผู้ป่วย 4. ให้สำ�เนาบันทึกการสอบสวนปากคำ�กับตำ�รวจและเก็บไว้ ในเวชระเบียน 

กรณีเจ้าหน้าที่ตำ�รวจมาสอบปากคำ�ผู้ป่วยเพิ่มเติม พยาบาลผู้ป่วยใน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ตรวจสอบหนังสือขออนุญาตสอบปากคำ� 2. รายงานแพทย์เจ้าของไข้ทราบ 3. แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ 4. ตรวจสอบหลักฐานเจ้าหน้าทีท่ มี่ าสอบปากคำ� เช่น บัตรข้าราชการ บัตรประจำ�ตัวประชาชน ว่าตรง กับหนังสือขออนุญาตสอบปากคำ�หรือไม่ 5. ขณะสอบปากคำ�จัดให้มีพยาบาลประจำ�ตึกร่วมรับฟังด้วย 6. หลังสอบปากคำ�เรียบร้อยให้ผู้ป่วยอ่านเอกสารที่ตำ�รวจพิมพ์สำ�นวนการสอบปากคำ�เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องก่อนให้ผู้ป่วยลงนาม 7. เก็บสำ�เนาเอกสารการสอบปากคำ�ไว้ ในเวชระเบียน 

กรณีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์รับตัวผู้ป่วยไปขึ้นศาล พยาบาลผู้ป่วยใน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ตรวจสอบหนังสือขออนุญาตรับตัวผู้ป่วยไปขึ้นศาล 2. รายงานแพทย์เจ้าของไข้ทราบ 3. แจ้งให้ผู้ป่วยทราบเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม 4. เตรียมยาให้ผู้ป่วย 5. ตรวจสอบหลักฐานการขอรับตัวของเจ้าหน้าทีร่ าชทัณฑ์ เช่น บัตรประจำ�ตัวประชาชน บัตรข้าราชการ และลงหลักฐานในเอกสารการรับตัวกลับไว้เป็นหลักฐาน ให้เจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน 


56

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

6. เขียนใบผ่านยามให้กบั เจ้าหน้าทีท่ รี่ บั ผูป้ ว่ ยกลับ เพื่อให้เจ้าหน้าทีร่ กั ษาความปลอดภัยของสถาบันฯ หรือโรงพยาบาลตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งก่อนพาผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล 8. การติดตามผลคดี งานประสานงานระหว่างรักษาหรือผู้ที่ ได้รับมอบหมาย ดำ�เนินการดังนี้ ติดตามผลการดำ�เนินคดีกบั หน่วยงานนำ�ส่ง หรือติดตามในรายทีแ่ จ้งรับกลับแล้วยังไม่มารับหรือติดตาม ในรายที่ต้องการทราบผลการดำ�เนินคดี 

9. บริการตอเนื ่ งจำ�หน่าย ่ องหลั งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ * กรณีบริการนิติจิตเวชในเรือนจำ�  ประสานงานกับเรือนจำ�ในการติดตามดูแลผูป้ ว่ ยอย่างต่อเนื่อง และร่วมทีมบริการบำ�บัดรักษา ผู้ป่วยในเรือนจำ�พิเศษธนบุรี  ทำ�หนังสือประสานการติดตามการดูแลต่อเนื่องในเรือนจำ�ทุก 3 เดือน พร้อมแนบแบบฟอร์ม การติดตามดูแลผูป้ ว่ ยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในเรือนจำ� ตามพรบ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 (เอกสารหมายเลข 41, 42) ซึ่งหากพบว่ามีปัญหาพฤติกรรมรุนแรงหรือความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอันตรายเนื่องจากอาการทางจิตและไม่มีผู้ ดูแลหลังได้รับการปล่อยตัวจะประสานเรือนจำ�เพื่อให้ส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชหรือสถาบัน กัลยาณ์ราชนครินทร์ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 (มาตรา 25 และ มาตรา 22 ต่อไป เพื่อลดความ เสี่ยงจากภาวะอันตราย)  ติดตามการแจ้งข้อมูลกลับจากเรือนจำ� กรณีผู้ป่วยได้รับปล่อยตัว หรือพ้นโทษ เพื่อประสาน การติดตามดูแลผู้ป่วยหลังพ้นโทษอย่างต่อเนื่องกับสาธารณสุขในพื้นที่และแนบ หนังสือตอบกลับการติดตามผล การบำ�บัดรักษาผู้ป่วยตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 มายังหน่วยงาน บันทึกข้อมูลและเก็บในเวช ระเบียนผู้ป่วย  แจ้งกองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์ โดยจัดส่งรายชื่อผูป้ ว่ ยทีจ่ ำ�หน่ายกลับเรือนจำ�ใน แต่ละเดือน ทุก 1 เดือน  ประสานงานเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขในพืน้ ทีโ่ ดยการประสานด้วยหนังสือเตรียมความพร้อมชุมชน พร้อมแนบแบบตอบกลับผลการเตรียมชุมชนเพื่อพร้อมรับผูป้ ว่ ยกลับไปอยูก่ บั ครอบครัว (เอกสารหมายเลข 36, 37) และอาจร่วมลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่กรณีที่สาธารณสุขในพื้นที่ขอความร่วมมือ เช่น กรณี ชาวบ้านในชุมชนได้รับผลกระทบจากอาการทางจิตของผู้ป่วย เพื่อให้สาธารณสุขในพื้นที่ทราบความก้าวหน้าของ ผู้ป่วยหลังจำ�หน่ายและเพื่อเตรียมความพร้อมชุมชนในการดูแลผู้ป่วยเมื่อได้รับการปล่อยตัว * กรณีตำ�รวจรับกลับ  ติดตามผลการดำ�เนินคดีจากพนักงานสอบสวนภายใน 1 สัปดาห์  ประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ได้แก่ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด สำ�นักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง  นิเทศเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับจิตเวชชุมชนในการเฝ้าระวังความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มีอาการ กำ�เริบก่อคดีซ้ำ� ในรายที่มีแนวโน้มเป็นอันตรายต่อสังคม  ประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เพื่อร่วมติดตามเยี่ยมบ้านในรายที่มีปัญหาการดูแล 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

57

นักสังคมสงเคราะห์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. ประสานงานทำ�หนังสือถึงหน่วยงานสาธารณสุขในพืน้ ทีข่ องผูป้ ว่ ย ได้แก่ สถานีอนามัยทีร่ บั ผิดชอบ พื้นที่ผู้ป่วย เพื่อประสานกับอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนในการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง 2. มีการติดตามหลังจำ�หน่ายจากโรงพยาบาล โดยการทำ�หนังสือหรือติดตามทางโทรศัพท์ เพื่อสอบถาม อาการความเจ็บป่วยของผูป้ ว่ ย การดำ�เนินชีวติ การอยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ ในชุมชน การปฏิบตั กิ จิ วัตรประจำ�วันทีน่ อกเหนือ จากในบ้าน รวมถึงการติดต่อสอบถามกับผู้นำ� ชุมชนด้วย และเยี่ยมบ้านในกรณีที่มีปัญหาการดูแลผู้ป่วยร่วมกับ งานนิติจิตเวชชุมชนเพื่อสังเกตอาการและความเป็นอยู่ของผู้ป่วย รวมถึงได้ติดตามผู้ป่วยจากการได้รับหนังสือ ตอบกลับของอาสาสมัครสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วย 

กรณีการประชุมพิจารณาเพิกถอนมาตรการความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 การประเมินมาตรการความปลอดภัย หมายถึง การประเมินผู้ป่วยนิติจิตเวชที่ศาลส่งมารักษาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 เพื่อประเมินภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงต่อคนอื่นและความ เสี่ยงต่อการทำ�ร้ายตนเองก่อนปล่อยกลับสู่สังคม แล้วแจ้งศาลพิจารณาเพิกถอนมาตรา 48 เป็นระยะๆ โดยการ ประเมินมาตรการความปลอดภัยต้องครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1. ความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงต่อผู้อื่น และความเสี่ยงต่อการทำ�ร้ายตนเอง 2. ความพร้อมและความเต็มใจของญาติในการดูแลผู้ป่วย 3. ความพร้อมของชุมชนในการยอมรับการอยู่ร่วมกับผู้ป่วย 4. อาการทางจิตสงบ การประชุมเพิกถอนมาตรการความปลอดภัย หมายถึง การประชุมของคณะผู้ตรวจวินิจฉัยและบำ�บัด รักษาทางนิตจิ ติ เวช เพื่อพิจารณาผลการบำ�บัดว่าผูป้ ว่ ยมีความพร้อมในการออกสูส่ งั คม โดยไม่มภี าวะอันตรายต่อ ตนเองและผู้อื่นหรือไม่ เพียงใด และแจ้งผลการบำ�บัดเพื่อให้ศาลทราบ เพื่อให้ศาลพิจารณาเพิกถอนคำ�สั่งการ บังคับรักษาผู้ป่วยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 ต่อไป การประชุ ม พิ จ ารณาเพิ ก ถอนมาตรการความปลอดภั ย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 ทีมสหวิชาชีพมีกระบวนการทำ�งาน ดังต่อไปนี้ นักสังคมสงเคราะห์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. พบผู้ป่วยเพื่อประเมินสภาพจิตและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยและรายละเอียด เกี่ยวกับการพิพากษาของศาล 2. ดำ�เนินการทำ�หนังสือแจ้งครอบครัวหรือผู้ดูแล เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยถูกส่งมารักษา พร้อมกับ สัมภาษณ์ครอบครัวหรือผู้ดูแลเพื่อประเมินความพร้อมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยต่อที่บ้าน โดยครอบครัว หรือผู้ดูแลเกิดความเข้าใจ ยอมรับความเจ็บป่วยและการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปรับเจตคติของครอบครัว หรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้ป่วย ครอบครัวหรือผู้ดูแลได้รับข้อมูลการรักษาต่อเนื่องจากหน่วยงานสาธารณสุขใกล้บ้านโดย สามารถใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ถูกต้อง 3. กำ�หนดวันที่นำ�ผู้ป่วยเข้าที่ประชุมโดยไม่เกิน 180 วัน หลังจากมีคำ�สั่งศาล ในกรณีที่แพทย์มีความ เห็นว่าต้องได้รับการบำ�บัดรักษาต่อไปให้รายงานผลการบำ�บัดรักษาต่อศาลทุก 180 วัน 4. ประสานงานกับคณะกรรมการตรวจวินจิ ฉัย และบำ�บัดรักษาทางนิตจิ ติ เวช เพื่อเตรียมความพร้อม ของข้อมูลที่จะนำ�เข้าประชุม 


58

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

5. ประเมินความเสีย่ งต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (เอกสารหมายเลข 44) ในด้านประวัตคิ วามรุนแรง ในอดีต (Historical factor) นำ�เสนอรายงานและร่วมแสดงความคิดเห็นภาวะอันตรายของผูป้ ว่ ยเมื่อกลับสูช่ มุ ชน ต่อที่ประชุม (เอกสารหมายเลข 45) แพทย์ ดำ�เนินการดังนี้ 1. เข้าประชุมตามเวลาที่กำ�หนด โดยให้มีแพทย์เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 2 คน เพื่อให้มีมุมมองที่ หลากหลาย และเพื่อความโปร่งใสในการพิจารณา 2. ให้แพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์เจ้าของไข้สมั ภาษณ์ประวัตคิ วามเจ็บป่วย พฤติกรรมทีเ่ กีย่ วกับวัตถุประสงค์ การส่งตรวจและตรวจสภาพจิตเพิ่มเติมตามเอกสารแนวทางการสัมภาษณ์ทางนิติจิตเวชสำ�หรับแพทย์ (เอกสาร หมายเลข 9) 3. ให้แพทย์เจ้าของไข้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (เอกสารหมายเลข 44) ร่วมกับทีมเพื่อหาความเห็นร่วมกันและใช้ผลการประเมินประกอบกับอาการทางคลินิกของผู้ป่วยเพื่อลงความเห็น ในการเพิกถอนมาตรการความปลอดภัย (มาตรา 48) 4. ให้แพทย์เจ้าของไข้บนั ทึกการตรวจสภาพจิต การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของแพทย์ทเี่ ข้าประชุม พร้อมทัง้ ลงนามแพทย์ผเู้ ข้าร่วมประชุมในแบบบันทึกสรุปการประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช (เอกสารหมายเลข 10) 5. สรุปการประชุมพิจารณาเพิกถอนมาตรการความปลอดภัยตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 48 หรือความคิดเห็นเพิ่มเติมโดยคำ�นึงถึงความเป็นธรรม ความปลอดภัยสงบสุขของสังคม 6. สรุปการวินิจฉัยทางคลินิกสุดท้าย (Definite diagnosis) เพื่อความถูกต้องในการเก็บสถิติและการ บำ�บัดรักษา 7. ในกรณีแพทย์เจ้าของไข้ตดิ ราชการอื่นทีส่ �ำ คัญและจำ�เป็นกว่า ให้มอบหมายแพทย์ทา่ นอื่นจดบันทึกแทน 8. กรณีที่ผู้ป่วยอาการดีขึ้นและแพทย์พิจารณาเห็นแล้วว่าควรพิจารณาเพิกถอนมาตรการความ ปลอดภัย (มาตรา 48) ให้แจ้งกับนักสังคมสงเคราะห์เพื่อกำ�หนดการประชุม 

พยาบาลผู้ป่วยใน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ประเมินสภาพจิตผู้ป่วยและทบทวนประเด็นทางกฎหมายซ้ำ�ก่อนเข้าประชุม 1 วัน 2. เตรียมความพร้อมของผูป้ ว่ ยต่อการประชุม โดยสรุปข้อมูลเกีย่ วกับอาการผูป้ ว่ ยตัง้ แต่แรกรับจนถึง วันประชุมพิจารณาเพิกถอนมาตรการความปลอดภัยตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 48 (เอกสารหมายเลข 36) 3. เตรียมความพร้อมของผู้ป่วยเพื่อการเข้าประชุม ดังนี้ 3.1 เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย โดยสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำ�วัน 3.2 เตรียมความพร้อมด้านจิตใจโดย  ประเมินระดับความเครียด หรือความวิตกกังวล พร้อมทัง้ ให้การพยาบาลตามระดับอาการ และมาตรฐานวิชาชีพ  เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก ความคับข้องใจ  จัดให้ผู้ป่วยได้สนทนากับผู้ป่วยที่ผ่านการเข้าประชุม  ให้ข้อมูล ขั้นตอนการประชุม  จัดให้มีบุคลากรดูแลผู้ป่วยขณะรอเข้าห้องประชุม 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

59

 แจ้งวัตถุประสงค์ของการเข้าประชุม วัน เวลา สถานที่ ลักษณะของห้องประชุม ผู้เข้า ประชุมในห้องประชุมประกอบด้วยใครบ้าง เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรม บำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในห้องประชุม เช่น นั่งให้เรียบร้อย ตอบให้ตรงคำ�ถาม ถ้า สงสัยไม่แน่ใจให้ทวนคำ�ถามได้ 3.3 ให้ข้อมูลด้านกฎหมายดังนี้  ข้อมูลเกี่ยวกับคดี เช่น ข้อมูลเรื่องคดี ผู้นำ�ส่ง วัตถุประสงค์การนำ�ส่ง  บุคคลในทีมสหวิชาชีพที่เข้าร่วมประชุม  ขั้นตอนและกระบวนการประชุม  ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโดยประมาณ  สิทธิในการตอบคำ�ถามและการซักถามเมื่อมีข้อสงสัย  สถานที่อยู่ของผู้ป่วยหลังเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจรักษาในโรงพยาบาล  แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงการรักษาความลับของข้อมูลผู้ป่วย 4. บันทึกพฤติกรรมการแสดงออก อาการ การพูดคุยของผู้ป่วยขณะประชุม 5. ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (เอกสารหมายเลข 44) ในด้านอาการทางคลินิก (Clinical factor) 6. เสนอความคิดเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเพิกถอนมาตรการความปลอดภัยตามประมวล กฎหมาย อาญามาตรา 48 ดังนี้ 6.1 อาการทางจิตปัจจุบัน ความสามารถในการดูแลตนเอง 6.2 ความปลอดภัยต่อตนเองและสังคม ตามเกณฑ์ประเมินระดับความเสีย่ งต่อการเกิดพฤติกรรม รุนแรง (เอกสารหมายเลข 44) คะแนนประเมินต้องน้อยกว่า 21 และไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จึงจะพิจารณาความ สามารถออกไปอยู่ในชุมชนได้ 6.3 ความพร้อมของญาติในการดูแล ผู้ป่วย และการยอมรับของชุมชน 7. ประสานงานนักสังคมสงเคราะห์เจ้าของไข้ ในการแจ้งผลการประชุมต่อศาล นักจิตวิทยาลินิก ดำ�เนินการดังนี้ 1. การประเมินหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงในด้านคลินิก จากชุดแบบ ทดสอบ Battery of Tests เช่น ระดับความรุนแรงของแนวความคิด (Severity of Thought Distortion) ความ หวาดระแวง (Paranoid) การควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม (Impulse Control) แนวโน้มความก้าวร้าวรุนแรง (Explosive, Aggressive acting out) หรือลักษณะของบุคลิกภาพที่เป็นปัญหา เพื่อการแก้ไข หรือการแนวทาง การป้องกันต่อไป 2. ร่วมแสดงความเห็นภาวะความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยเมื่อกลับสู่สังคม 

นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด ดำ�เนินการดังนี้ 1. ลงทะเบียนรับผู้ถูกส่งตรวจเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ 2. คัดกรองอาการเพื่อประเมินแนวความคิดและภาวะอันตรายภายใน 7 วัน 3. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย พร้อมสัมภาษณ์ประวัติ เช่น ภูมิลำ�เนา การศึกษา การประกอบอาชีพ การเปลี่ยนงาน การใช้สารเสพติด ความเจ็บป่วยในอดีต และพฤติกรรมการประกอบคดี 


60

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

4. ประเมินความสามารถในการประกอบกิจกรรมด้วยแบบประเมิน COTE หรือ MOHO (เอกสาร หมายเลข 23,24) โดยวิเคราะห์กิจกรรมสำ�หรับที่สอดคล้องกับความสามารถเดิมของผู้ป่วยมาใช้ ในการประเมิน 5. วางแผนกิจกรรมการฟืน้ ฟูสมรรถภาพรายบุคคล บันทึกลงในแผนการให้บริการ (เอกสารหมายเลข 28) 6. ดำ�เนินกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพ พร้อมสังเกตและบันทึกพฤติกรรมผู้ป่วยขณะทำ�กิจกรรมฟื้นฟู สมรรถภาพ ในแบบบันทึกพฤติกรรมผู้ป่วยระหว่างเข้าร่วมกลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพ (เอกสารหมายเลข 25) 7. รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยและบันทึกลงในแบบบันทึกประชุมเพิกถอนมาตรการความปลอดภัยตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 (เอกสารหมายเลข 46) เพื่อรายงานในที่ประชุมเพิกถอน ม.48 8. รายงานข้อมูล อภิปรายผล และให้ความเห็นเกี่ยวกับภาวะอันตรายของผู้ป่วยเมื่อกลับสู่สังคม งานนิติจิตเวชชุมชน ดำ�เนินการดังนี้ 1. ประเมินอาการทางจิต การรับรู้เกี่ยวกับโรค ทักษะในการดูแลตนเองและการจัดการกับอาการทาง จิตที่เกิดขึ้น การสังเกตอาการเตือน ความคิดเห็นต่อคดีที่เกิดขึ้น 2. ประเมินความรู้ เจตคติ ความพร้อมของครอบครัวหรือผู้ดูแล และทักษะในการดูแลผู้ป่วย ร่วมกับนักสังคมสงเคราะห์ โดยรับฟังข้อมูลจากครอบครัวหรือผูด้ แู ล และวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกับสาธารณสุข ในพื้นที่ และผู้ดูแลผู้ป่วย ปรับเจตคติให้ยอมรับ หรือมีเจตคติที่ดีกบั ผู้ป่วย และให้ความรู้ ในเรื่องโรคและการดูแล ผู้ป่วยทางจิตเวช 3. เตรียมความพร้อมของชุมชนโดย 3.1 ประเมินชุมชนในด้าน การยอมรับผู้ป่วยของชาวบ้านในชุมชน มีการกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการ ทางจิตกำ�เริบหรือไม่ เช่น การพูดจายั่วยุ มีการชักชวนให้ ใช้สารเสพติดหรือไม่ การทำ�ร้ายผู้ป่วยเนื่องจากไม่ เข้าใจอาการทางจิต ประเมินความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการดูแลผู้ป่วยของชาวบ้านในชุมชน และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในชุมชน 3.2 เตรียมความพร้อมชุมชนในการดูแลผู้ป่วย โดยลงเยี่ยมชุมชน เพื่อประเมินเจตคติของชาว บ้านในชุมชน ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอาการทางจิต หรืออาจเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการทางจิต กำ�เริบ โดยเตรียมชาวบ้านในชุมชนที่เป็นกลุ่มย่อยที่มีความขัดแย้งกับผู้ป่วยก่อน จึงทำ�ความเข้าใจกับชุมชน เพื่อ ประเมิน และปรับเจตคติให้พร้อมยอมรับ และมีเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย และให้ความรู้เรื่องโรค และการดูแลผู้ป่วย จิตเวช เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชน มีความรู้ และดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้ 4. ประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (เอกสารหมายเลข 44) ในด้านความเสี่ยง ในอนาคต (Risk management) 5. รายงานข้อมูล อภิปรายผล และให้ความเห็นเกี่ยวกับภาวะอันตรายของผู้ป่วยเมื่อกลับสู่สังคม 6. รวบรวมข้อมูลผูป้ ว่ ยและบันทึกลงในแบบบันทึกการพิจารณาเพิกถอนมาตรการความปลอดภัยตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 (เอกสารหมายเลข 47) 


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

61

นักสังคมสงเคราะห์เจ้าของไข้ ดำ�เนินการดังนี้ 1. รวบรวมสรุปผลการประชุมพิจารณาเพิกถอนมาตรการความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 48 ของทีมและให้แพทย์เจ้าของไข้ตรวจแก้ไขและลงนาม แล้วให้ผู้อำ�นวยการสถาบันฯ หรือโรงพยาบาล ลงนามกำ�กับอีกครั้ง (เอกสารหมายเลข 48) 2. ส่งรายงานผลการประชุมพิจารณาเพิกถอนมาตรการความปลอดภัยตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 48 ให้หน่วยงานนำ�ส่งทราบ (เอกสารหมายเลข 48, 49) หมายเหตุ ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการทางจิตสงบ มีการรับรู้ดี สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้ดี ร่วมมือ ในการอยู่โรงพยาบาล พยาบาลจิตเวชชุมชนประเมินครอบครัว ชุมชนยอมรับผู้ป่วยดี อาจมีการทดลองให้ผู้ป่วย เยี่ยมบ้านก่อนมีคำ�สั่งศาลเพิกถอนมาตรา 48 โดยแพทย์มีคำ�สั่งให้ขออนุญาตจากศาล หน่วยประสานงานบริการ นิติจิตเวชดำ�เนินการทำ�หนังสือสอบถามศาล ถ้าศาลมีหนังสืออนุญาตให้เยี่ยมบ้านได้ ให้พิจารณาทดลองให้ผู้ป่วย เยี่ยมบ้านเป็นรายกรณีไป 

ตัวชี้วัด 1. อัตราการหลบหนีสำ�เร็จของผู้ป่วยนิติจิตเวช 2. ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัย และบำ�บัดรักษาตรงตามประเด็นด้านกฎหมาย 3. ส่งรายงานผลการตรวจวินิจฉัยภายใน 45 วัน หลังรับไว้ หรือยื่นความจำ�นงขอตรวจวินิจฉัยทาง นิติจิตเวชร้อยละ 100 4. ผู้ป่วยที่ส่งมาตามวิธีพิจารณาอาญามาตรา 14 ได้รับการเตรียมความพร้อมในการต่อสู้คดียกเว้น ผู้ป่วยต่างชาติ ผู้ป่วยที่มีปัญหาการสื่อสาร ร้อยละ 100 5. มีการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนก่อนจำ�หน่าย ร้อยละ 95


62

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

7. การทำ�งานของทีมสหวิชาชีพ (Multidysplinary Team Working) ความสำ�คัญ การประสานการทำ�งานระหว่างผูเ้ ชีย่ วชาญจากสหวิชาชีพถือเป็นหัวใจสำ�คัญของหลักปฏิบตั ใิ นการทำ�งาน การทำ�งานเป็นทีมช่วยให้เกิดการดูแลบำ�บัดรักษาที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุม เนื่องจากบทบาทหน้าที่พื้นฐาน ในการทำ�งานของผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพคือ การให้บริการที่คำ�นึงถึงความจำ�เป็นที่ผู้ป่วยนิติจิตเวชจะได้รับ

มาตรฐานการทำ�งาน สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้จะช่วยเพิ่มพูนการทำ�งานของทีมผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพ 1. ปรัชญาการทำ�งานที่เป็นลายลักษณ์อักษรบ่งบอก “วิสัยทัศน์” ที่ชัดเจน ระบุถึงภารกิจหน้าที่ความ รับผิดชอบของทีมผูเ้ ชีย่ วชาญจากสหวิชาชีพ ภารกิจหน้าทีก่ ต็ อ้ งจัดทำ�เป็นเอกสารทีเ่ ข้าใจได้สำ�หรับทุกคน ในขณะ เดียวกันผู้ ใช้บริการของหน่วยบำ�บัดรักษาก็ต้องมีส่วนร่วมในการกำ�หนดวิสัยทัศน์ด้วย 2. มีแนวทางที่ชัดเจนบ่งบอกว่าใครควรจะต้องเกี่ยวข้องในกระบวนการบำ�บัดรักษาผู้ป่วย 3. ทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพทั้งหมดต้องจัดการพบปะเพื่อทบทวน การดำ�เนินทางคลินิกของ อาการป่วยของผู้ป่วยอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง 4. ทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพทั้งหมด ต้องเข้าไปดูแลผู้ป่วยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และ บันทึกความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย 5. ทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพต้องทำ�งานประสานงานกันเพื่อร่วมกันในการดูแลผู้ป่วย มีการ สื่อสารและประสานงานกับผู้ ใช้บริการทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เพื่อให้การบริการนิติจิตเวชบรรลุผล ตามความประสงค์ของผู้ ใช้บริการและตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย 6. ทีมสหวิชาชีพและทีมสนับสนุนในโรงพยาบาลประชุมใหญ่ร่วมกันอย่างน้อยทุก 1 ปี 7. การประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชที่ประชุมต้องประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพได้แก่ จิตแพทย์ 2 คน พยาบาล นักจิตวิทยาคลินิก นักสังคมสงเคราะห์ และนักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด 8. กำ�หนดให้มีผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช 9. ต้องมีขั้นตอนกระบวนการที่ชัดเจนเมื่อปรากฏว่ามีสมาชิกในทีมงานมีความเห็นไม่ตรงกัน ต้อง อภิปรายหาหลักฐานเหตุผลประกอบ และหาข้อสรุปร่วมกัน 10. ต้องมีการจัดกิจกรรมการให้การศึกษา พัฒนาหลักปฏิบตั งิ าน ฝึกอบรมภายในทีส่ มาชิกทุกคนในทีม งานสหวิชาชีพเข้าร่วมทั้งหมด โดยจัดขึ้นในหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 11. ต้องมีเอกสารวิชาการที่สมาชิกในทีมสหวิชาชีพ ร่วมแบ่งปันการใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น case report 12. ผู้ป่วยพึงได้รับการบำ�บัดรักษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพ 13. ควรมีการติดตามหลังจำ�หน่ายโดยทีมสหวิชาชีพ

แนวทางในการปฏิบัติ 1. ทีมงานสหวิชาชีพมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในทีมงานของตน 2. การทำ�งานในลักษณะของทีมงานสหวิชาชีพถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในใบพรรณนาลักษณะงาน (Job description)


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

3. การเข้าร่วมกับการฝึกอบรมความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างสม่ำ�เสมอ 4. ทีมงานจะประสบความสำ�เร็จและเป็นทีมงานที่มีคุณภาพได้ต้องมีสิ่งต่อไปนี้  เป้าหมายที่ชัดเจน  ภารกิจที่ชัดเจน  การผสมผสานใช้ทักษะการทำ�งานที่ถูกต้องเหมาะสมกับผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการ  มีกระบวนการการมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีม  มีความไว้เนื้อเชื่อใจในสมาชิก  การทำ�งานสำ�หรับให้บริการแก่ผู้ป่วยแต่ละคนจะทำ�กันเป็นทีม

ตัวชี้วัด

1. มีการประเมินครบถ้วนในทุกวิชาชีพ 2. ผูป้ ่วยนิติจิตเวชได้รับการวางแผนการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังจำ�หน่ายทุกราย 3. จำ�นวนวันนอนโรงพยาบาลลดลง

63


64

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

8. หน้าทีข่ องผูด้ แู ลผูป้ ว่ ย (Carer involvement) ความสำ�คัญ ผู้ดูแลผู้ป่วย (ญาติ ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวชใน ทุกๆ ประเด็น รวมทั้งการบำ�บัดรักษา เพื่อลดอคติที่อาจมีอยู่และเพิ่มประสบการณ์ทางบวก เจ้าหน้าที่ในทุกระดับ ของหน่วยบำ�บัดรักษาต้องตอบสนองเพื่อคลี่คลายความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้ป่วยในเรื่องของการบำ�บัดรักษาใน สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัย

มาตรฐานการทำ�งาน 1. หน่วยบำ�บัดต้องให้ขอ้ มูลทีจ่ �ำ เป็น รวมถึงประเด็นเรื่องของกระบวนการทำ�งานต่างๆ ของหน่วยงาน นั้นให้ผู้ดูแลทราบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 2. หากผู้ป่วยไม่มีผู้ดูแล ให้ค้นหาญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 3. ต้องระบุไว้ ในนโยบายการให้บริการอย่างชัดเจนว่า กรณีใดบ้างที่ต้องมีการปิดกั้นการมีส่วนร่วม ของผู้ดูแลผู้ป่วย และต้องแจ้งให้ผู้ดูแลผู้ป่วยทราบ 4. แผนการทำ�งานในภาวะวิกฤติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่เกิดการหลบหนี ต้องคิดถึงผู้ดูแลผู้ป่วย (carer) และคนอื่นๆ ที่อยู่ในข่ายอาจมีความเสี่ยง 5. หากผู้ดูแลผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่เห็นว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยควรได้รับรู้กระบวนการดูแลและบำ�บัดรักษา ผู้ป่วย ก็ควรแจ้งให้ผู้ดูแลทราบในการพบปะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ในทีมงานผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพกับผู้ดูแลผู้ป่วย หรือติดต่อทางโทรศัพท์ โดยได้รับการบอกกล่าวให้ทราบว่าผู้ดูแลขอรับฟังการสนทนาเพื่อประเมินสภาพจิตและมี ส่วนในการช่วยเหลือตามแผนการบำ�บัดรักษา 6. หน่วยบำ�บัดรักษาทุกหน่วย ให้การฝึกอบรมกับเจ้าหน้าทีข่ องหน่วยเพื่อให้ท�ำ งานตอบสนองต่อความ ต้องการและความจำ�เป็นของผู้ดูแลผู้ป่วย 7. มีกลุม่ หรือเครือข่ายสนับสนุนการทำ�งานของผูด้ แู ลผูป้ ว่ ยและพร้อมทีจ่ ะให้แก่ผดู้ แู ลผูป้ ว่ ยทีม่ ผี ปู้ ว่ ย เข้ารับการรักษาในหน่วยบำ�บัดรักษาทุกคน 8. ผู้ดูแลผู้ป่วยทุกคนที่เป็นผู้ดูแลหลักของผู้ป่วย พึงต้องได้รับการประเมินความจำ�เป็นและความ ต้องการของตนเอง และต้องได้รับการบอกกล่าวถึงแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ 9. ต้องมีการทบทวนตรวจสอบเอกสารแผ่นพับที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยของหน่วยที่พิมพ์แจกให้ กับผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วย 10. มีระบบการแจ้งเรื่องต่างๆ ตามสิทธิผู้ป่วย

แนวทางในการปฏิบัติ เจ้าหน้าทีป่ ระจำ�หน่วยปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการทำ�งานโดยคำ�นึงถึงผลกระทบด้านอารมณ์ความรูส้ กึ ทีจ่ ะ เกิดกับผู้ดูแลผู้ป่วย คุณค่าในทางบวกที่จะได้รับหากเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการบำ�บัดดูแลรักษา ผู้ป่วย การทำ�งานต่างๆ ที่กล่าวมาต้องสอดคล้องตรงกันกับ ข้อตกลงว่าด้วยการรักษาความลับ (model of confidentiality)


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

65

ในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์มีการดำ�เนินการในการดูแลญาติผู้ป่วยนิติจิตเวชโดย 1. มีการนัดญาติเข้ากลุม่ ให้ความรูญ ้ าติในการดูแลผูป้ ว่ ยจิตเวชโดยสถาบันฯกำ�หนดให้ญาติทมี่ ผี ปู้ ว่ ย มารักษาในโรงพยาบาลเข้ากลุม่ ซึง่ ทางสถาบันฯจัดทุกวันอังคารที่ 3 เดือน โดยทีมสหวิชาชีพร่วมกันในการให้ขอ้ มูล ญาติในด้านโรคทางจิตเวช การรักษาด้วยยา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การเข้าถึงแหล่งบริการ การใช้สิทธิบัตรต่างๆ 2. จัดโครงการค่ายครอบครัวให้กับผู้ป่วยและญาติเพื่อเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างญาติ และผู้ป่วย ฝึกทักษะการอยู่ร่วมกัน การสร้างเครือข่ายระหว่างญาติเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ในการดูแลผู้ป่วย การ ส่งเสริมกำ�ลังใจระหว่างญาติ

ตัวชี้วัด 1. ครอบครัวหรือผูด้ แู ลได้รบั การเตรียมความพร้อมในการดูแลผูป้ ว่ ยเกีย่ วกับความรูเ้ รื่องโรค สาเหตุ การก่อคดี มีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันกับผู้ป่วย มีเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วยและให้การยอมรับผู้ป่วย ร้อยละ 95 2. อัตราการก่อคดีซ้ำ�ภายใน 2 ปีหลังพ้นโทษเป็น 0 3. อัตราความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วย/ผู้ป่วย ร้อยละ 85


66

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

9. เชือ้ ชาติ วัฒนธรรมของผูป้ ว่ ย (Ethnicity and culture) ความสำ�คัญ หน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยนิติจิตเวช มีหน้าที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่าพวกเขาจะได้รับการปฏิบัติ เท่าเทียมกัน โดยไม่ขึ้นอยู่กับ เพศ ความพิการ ความเชื่อทางศาสนา พฤติกรรมทางเพศ หรือเชื้อชาติสีผิวใดๆ

มาตรฐานการทำ�งาน สิ่งที่หน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยต้องมีเป็นอย่างน้อย คือ 1. นโยบายทีช่ ดั เจนทีร่ ะบุถงึ การทีเ่ จ้าหน้าทีแ่ ละผูป้ ว่ ยต้องตระหนักถึงการได้รบั โอกาสทีเ่ ท่าเทียมและ การระมัดระวังไม่ให้เกิดการละเมิดด้านเชื้อชาติเกิดขึ้น โดยครอบคลุมทั้งการละเมิดระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ป่วย และผู้ป่วยกับผู้ป่วย หน่วยงานต้องระบุให้ชัดเจนในการออกนโยบาย และต้องมีระบบการเฝ้าระวังเพื่อให้แน่ใจ ว่าทุกภาคส่วนปฏิบัติตามนโยบายที่กำ�หนดให้ โดยในการตรวจสอบการทำ�ตามนโยบายต้องใช้วิธีการที่สามารถ ชี้วัดได้อย่างชัดเจน 2. มีวธิ กี ารประเมินความจำ�เป็นของผูป้ ว่ ยทีเ่ กิดขึน้ เนื่องจากความแตกต่างด้านเชือ้ ชาติและเพศของ ผู้ป่วย 3. ให้มีการเข้าถึงสื่อที่ใช้ ในการแปลความ ภาษาใบ้ หรือการสื่อความในลักษณะอื่น 4. มีความตั้งใจจริงที่จะพิสูจน์ ให้เห็นว่า ความเคารพในเรื่องเชื้อชาติสีผิวของเจ้าหน้าที่จะเป็นกระจก สะท้อนที่แสดงถึงความเคารพเชื้อชาติสีผิวของผู้ป่วย 5. การอำ�นวยทรัพยากรเพื่อให้ตรงกับความต้องการหรือความจำ�เป็นอันเกิดจากความแตกต่างด้าน เชื้อชาติของผู้ป่วย เช่น การจัดแต่งทรงผม ทางเลือกในการบริโภคอาหาร การจัดหาหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ที่เป็นภาษาเฉพาะของชนกลุ่มน้อยชาวต่างชาติตามความเหมาะสม 6. การเปิดโอกาสให้ผปู้ ว่ ยเข้าถึง การสนับสนุนการปฏิบตั ติ ามความเชื่อทางจิตวิญญาณทีผ่ ปู้ ว่ ยต้องการ ภายใต้การดูแลของทีมสหวิชาชีพ 7. จัดเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณี วัฒนธรรม เพื่อเกื้อกูลให้เกิดการปฏิบัติตามหลักความเชื่อ วัฒนธรรมและจิตวิญญาณ เช่น การจัดห้องสวดมนต์ ห้องละหมาด ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง เป็นต้น 8. มีห้องปฏิบัติกิจกรรมเฉพาะแยกสำ�หรับแต่ละเพศ เช่น ห้องอาบน้ำ� ห้องสุขา ห้องนอนและห้อง พักผ่อน 9. มีการแนะนำ�ให้ผู้ป่วยทราบถึงทรัพยากรต่างๆ ที่จัดหาให้ตามความต้องการและความจำ�เป็นทาง ด้านเชื้อชาติศาสนา เป็นต้น 10. ให้รายละเอียดกับญาติผู้ป่วยและผู้ดูแล ถึงทรัพยากรที่มีและความมุ่งมั่นของหน่วยบำ�บัดรักษาที่ จะตอบสนองต่อความจำ�เป็นที่เกิดจากเชื้อชาติของผู้ป่วย 11. ต้องมีระบบการบันทึก เพื่อเก็บข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานะทางกฎหมาย เชื้อชาติ และการบันทึกอุบัติการณ์ที่ส่งผลร้ายเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงหลักปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้นไปอีก 12. มีการประสานงานกับสถานทูตหรือสถานกงสุลของผู้ป่วยต่างชาติทุกราย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของ ประเทศนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วย


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

67

แนวทางในการปฏิบัติ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต้องตระหนักรู้ถึงประเด็นปัญหา ความจำ�เป็นและทรัพยากรที่ต้องจัดเตรียม ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถทำ�การประเมินความจำ�เป็นและให้บริการทีต่ รงกับความต้องการของผูป้ ว่ ยอันเกีย่ วเนื่องกับมาตรฐาน ด้านเชื้อชาติวัฒนธรรมนี้

ตัวชี้วัด มีการให้บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ป่วย เช่น อาหารเฉพาะศาสนา การจัดสถานที่ประกอบพิธี ละหมาดของศาสนาอิสลาม อาหารเฉพาะโรค


68

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

10. การกำ�กับดูแล (Supervision) ความสำ�คัญ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักในการปฏิบตั งิ านคลินกิ จำ�เป็นอย่างยิง่ ทีก่ ารทำ�งานของหน่วยบำ�บัดรักษาผูป้ ว่ ย จะต้องมีระบบการกำ�กับดูแลการปฏิบตั งิ านทีม่ แี บบแผนชัดเจน สิง่ ที่ใช้ ในการสนับสนุนการทำ�งานกำ�กับดูแลให้เกิด ประสิทธิภาพ คือความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่แต่ละคนในการพัฒนาความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของตนเอง และ การจัดตัง้ กลุม่ ของเจ้าหน้าทีท่ ท่ี �ำ งานในการบำ�บัดผูป้ ว่ ยเพื่ออภิปรายปัญหาหรือสะท้อนปัญหาแล้วนำ�ไปสูก่ ารเรียนรู้

มาตรฐานการทำ�งาน 1. หน่วยบำ�บัดรักษาทุกหน่วยต้องมีระบบที่ชัดเจนในการกำ�กับดูแล 2. ผู้ที่เข้ามาใหม่ในหน่วยงานควรได้รับการปฐมนิเทศและสอนงานก่อนเข้าทำ�งาน และอยู่ในระบบพี่ เลี้ยงอย่างน้อย 4 สัปดาห์และต้องได้รับการแจ้งรายละเอียดของกระบวนการกำ�กับดูแลการทำ�งานอย่างชัดเจน ตั้งแต่ต้น 3. หน่วยบำ�บัดรักษาทุกหน่วยต้องมีระบบที่ชัดเจนในการกำ�กับดูแลเพื่อตรวจติดตามและกำ�กับดูแล เพื่อตรวจสอบ และต้องมีการทบทวนระบบทุกๆ 6 เดือน 4. หน่วยบำ�บัดรักษาทุกหน่วยต้องมีแนวทางการกำ�กับดูแลทีถ่ กู จัดทำ�เป็นพันธะสัญญาระหว่างผูก้ �ำ กับ ดูแลและผู้ถูกกำ�กับดูแล เพื่อให้ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังนี้  เป้าหมายการฝึกอบรม/เรียนรู้  วิธีการแก้ปัญหาเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น  บทบาทหน้าที่รับผิดชอบ  ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน  เอกสารที่ต้องใช้  การรักษาระดับความลับ (เป็นไปตามข้อกำ�หนดด้านวิชาชีพของแต่ละหน่วยงาน) 5. หน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยทุกหน่วยพึงต้องมีการมอบหมายงาน ผู้กำ�กับดูแลการทำ�งานตามความ เหมาะสม 6. การกำ�กับดูแลต้องรวมถึงการมีเอกสารกำ�หนดลักษณะงาน (Job description) สำ�หรับเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบำ�บัดรักษาทุกคน 7. เจ้าหน้าทีท่ ที่ ำ�หน้าทีเ่ ป็นผูก้ ำ�กับดูแลต้องได้รบั การฝึกอบรมทางด้านนิตจิ ติ เวชหรือเรื่องทีเ่ กีย่ วข้อง ตามความเหมาะสม

แนวทางในการปฏิบัติ 1. ในการกำ�กับดูแลนั้น ต้องมีต้นแบบการทำ�งานที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน ที่เป็นที่รู้จัก และ ต้องนำ�มาปรับใช้ได้จริงภายในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วย 2. การทำ�งานกำ�กับดูแลต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ และต้องมุ่งตรงไปที่ปัจจัยทั้งด้านการ ดำ�เนินการทางคลินิกและการบริหารจัดการ ซึ่งหมายรวมถึง  การเฝ้าระวังติดตาม รวมทั้งข้อวิตกกังวลของผู้ป่วย  การพัฒนาทักษะการทำ�งานที่สำ�คัญ และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

69

 การสนับสนุนการพัฒนาตนเอง การให้การสนับสนุนในภาวะทีม่ คี วามตึงเครียดในการทำ�งานสูง  แผนปฏิบัติการ การมีข้อตกลงร่วมกันในการดำ�เนินการ 3. เจ้าหน้าทีท่ ที่ �ำ หน้าทีเ่ ป็นผูก้ �ำ กับดูแลต้องได้รบั การอบรมทางด้านนิตจิ ติ เวชและเรื่องทีเ่ กีย่ วข้องตาม ความเหมาะสม

ตัวชี้วัด

มีระบบการกำ�กับติดตามการดูแลผู้ป่วยของแต่ละวิชาชีพ


70

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

11. การตรวจสอบและเฝ้าระวังการดำ�เนินการทางคลินกิ (Clinical audit & monitoring) ความสำ�คัญ การตรวจสอบการดำ�เนินการทางคลินกิ (clinical audit) ถือเป็นหัวใจสำ�คัญของหลักการบำ�บัดรักษา ใน การดำ�เนินการคลินิกและเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำ�หรับการยกระดับงานบริการโดยผ่านทาง 1. การประเมินคุณภาพของการปฏิบตั ทิ เ่ี กิดขึน้ จริงเทียบกับหลักปฏิบตั มิ าตรฐานที่ได้มขี อ้ ตกลงร่วมกัน 2. การให้ความสำ�คัญกับคุณภาพการบริการและประสิทธิภาพด้านการบริการในการดูแลผู้ป่วย 3. การปรับปรุงการปฏิบัติโดยใช้สิ่งที่เกิดจากการสะท้อนการทำ�งาน (feedback) การตรวจสอบการ ดำ�เนินการทางคลินิก (clinical audit) ต้องให้ความสำ�คัญเป็นอันดับแรกในการให้บริการ เพื่อติดตามตรวจวัดการ ให้บริการเพื่อตอบสนองการดูแลผู้ป่วย

มาตรฐานการทำ�งาน 1. มาตรฐานทุกอย่างที่ระบุไว้ ในเอกสารฉบับนี้ต้องได้รับการตรวจสอบการดำ�เนินการ 2. สำ�หรับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ต้องได้รับการจัดทำ�เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ต้องได้รับ การตรวจสอบและทบทวนการทำ�งานเป็นระยะ เพื่อให้มน่ั ใจว่าการปฏิบตั อิ ยูใ่ นกรอบทีก่ �ำ หนด กิจกรรมทีว่ า่ นีร้ วมถึง  การผูกมัดผู้ป่วย (restraint)  การแยกเดี่ยว (seclusion) และการจำ�กัดสิทธิอื่นๆ  การให้ยาผูป้ ว่ ยในลักษณะของการทำ�ให้ผปู้ ว่ ยสงบอย่างรวดเร็ว (rapid tranquillization) และ การให้ยาในปริมาณที่สูง  อุบัติการณ์ ในทางลบและอุบัติการณ์ที่เกือบทำ�ให้เกือบเกิดการสูญเสียหรือ “near misses” ต้องมีกลไกการรายงานส่วนกลางเพื่อคอยช่วยสนับสนุนกระบวนการทำ�งานทั้งหมดนี้ 3. ต้องมีการกำ�หนดมอบหมายให้ ใครคนใดคนหนึง่ เป็นผูน้ � ำ เพื่อสร้างความมัน่ ใจว่างานการตรวจสอบ การดำ�เนินงานทางคลินิก (clinical audit) ได้รับการดำ�เนินการจริงๆ 4. สมาชิกของทีมผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพที่รับผิดชอบการตรวจสอบการดำ�เนินงานทางคลินิกพึงต้อง มีความเข้าใจถึงภาระหน้าที่ วิธีการและการปรับใช้การตรวจสอบการดำ�เนินการทางคลินิก (clinical audit) 5. ผลของการตรวจสอบการดำ�เนินการทางคลินิก (clinical audit) ต้องถูกกระจายไปยังทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอข้อเสนอแนะ เพื่อนำ�มาปรับใช้พัฒนาหลักปฏิบัติในอนาคตให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม 6. สมาชิกของทีมผูเ้ ชีย่ วชาญสหวิชาชีพทีป่ ฎิบตั หิ น้าทีเ่ ป็นทีมผูต้ รวจสอบและเฝ้าติดตามพึงต้องทำ�งาน เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำ�หนด 7. พึงต้องมีการตรวจสอบการดำ�เนินการให้บริการเพื่อตอบสนองต่อความจำ�เป็นของผู้ป่วยอันเกิด ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรมอย่างสม่ำ�เสมอ

แนวทางในการปฏิบัติ 1. การตรวจสอบการดำ�เนินการทางคลินกิ ถือเป็นเครื่องมือสำ�คัญของหลักในการดำ�เนินการทางคลินกิ ดังนั้นจึงต้องถือเป็นงานประจำ�งานหนึ่ง (routine work) ในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วย ยิ่งงานไหนที่มีความเสี่ยงสูง อาจก่อให้เกิดการสูญเสียเสรีภาพส่วนบุคคลและสถานะภาพทางกฎหมายของผูป้ ว่ ย ยิง่ จำ�เป็นต้องมีการตรวจสอบ


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

71

และเฝ้าระวังมากกว่าปกติ โดยเฉพาะกับการสังเกตอาการผูป้ ว่ ย การแยกกักเดีย่ ว การยับยัง้ อาการคลุม้ คลัง่ และ การให้ยาในลักษณะของการทำ�ให้ผู้ป่วยสงบอย่างรวดเร็ว (rapid tranquillization) 2. ทีมผู้เชี่ยวชาญสหวิชาชีพ ต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับการดำ�เนินการตรวจสอบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้การตรวจสอบการดำ�เนินงานทางคลินิกประสบความสำ�เร็จด้วยดี การให้ความร่วมมือที่ว่านี้รวมทั้งการ รายงานอุบัติการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น การทบทวนอุบัติการณ์ที่ทำ�ให้เกือบเกิดการสูญเสีย (near misses) และทำ�การ ออกมาตรการหรือหลักปฏิบตั ิ กระบวนการทีว่ า่ นีอ้ ยูบ่ นพืน้ ฐานในเรื่องของการ เรียนรูจ้ ากเงาสะท้อน ซึง่ จะนำ�ความ ผิดพลาดที่พบเจอมาใช้เป็นบทเรียนเพื่อพัฒนาหลักปฏิบัติที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

ตัวชี้วัด 1. มีมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค เช่น โรคจิตเภท สุรา 2. มีระบบการติดตามการปฏิบัติตามมาตรฐานหรือแนวทางหรือระบบต่างๆ ที่วางไว้ เช่น ระบบของ ทีมดูแลผู้ป่วย (Patiean care term: PCT) การร้องเรียน การรายงานความเสี่ยง 3. มีแผนการประเมินผลระบบที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง เช่น การตรวจสอบเวชระเบียน, Peer Review เป็นต้น


72

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

12. การบริการเพือ่ สนับสนุนการทำ�งาน (Support services system) ความสำ�คัญ ในกระบวนการบำ�บัดรักษาและการดูแลผูป้ ว่ ยนิตจิ ติ เวชนัน้ อาจจำ�เป็นต้องใช้เจ้าหน้าทีจ่ ากภายนอกที่ไม่ใช่ เจ้าหน้าทีข่ องหน่วยบำ�บัดรักษาผูป้ ว่ ย แต่เจ้าหน้าทีจ่ ากภายนอกเหล่านัน้ อาจไม่มคี วามตื่นตัวกับประเด็นความมัน่ คง ปลอดภัยของหน่วยบำ�บัดรักษาผูป้ ว่ ย ดังนัน้ พึงต้องจัดวางระบบแจ้งเตือนเพื่อทีจ่ ะให้รายละเอียดของขัน้ ตอนการ ทำ�งานที่พวกเขาจำ�เป็นต้องรับรู้ ในระหว่างที่เข้ามาทำ�งานในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วย

มาตรฐานการทำ�งาน เพื่อรักษาระดับความปลอดภัยควรปฏิบัติตามข้อแนะนำ�ต่อไปนี้ 1. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยต้องให้ข้อมูลประกอบแก่การจัดทำ�โปรแกรมการ ฝึกอบรม 2. เจ้าหน้าที่ในส่วนสนับสนุนต้องได้รบั การชีแ้ จงเกีย่ วกับการดูแลผูป้ ว่ ยนิตจิ ติ เวช เช่น การรักษาความ ลับของผู้ป่วย การรักษาความปลอดภัย 3. เจ้าหน้าที่ในส่วนสนับสนุนทุกคนพึงต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการทำ�งานของหน่วย 4. ผู้ป่วยทุกคนพึงต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการให้บริการสนับสนุนที่ส่งผ่านมาทางหน่วย บำ�บัดรักษาผู้ป่วย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ที่ทำ�งานในส่วนหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยก็ต้องได้รับข้อมูลจากหน่วยงาน สนับสนุนที่ทำ�หน้าที่ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนิติจิตเวชด้วยเช่นกัน 5. เมื่อเจ้าหน้าที่ในส่วนสนับสนุนเข้ามาในหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วย เจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องรายงานตัว ให้กับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่รบั ผิดชอบทราบเพื่อขอความช่วยเหลือตามความเหมาะสมและแจ้งจุดประสงค์ของการ เข้ามายังหน่วยบำ�บัดรักษา 6. เจ้าหน้าที่ในส่วนสนับสนุนทุกคน ต้องปฏิบัติตามระเบียบของหน่วยงานบำ�บัดรักษาและต้องได้รับ การบอกกล่าวถึงประเด็นความปลอดภัยต่างๆ (เช่น ระบบความปลอดภัย)

แนวทางในการปฏิบัติ

ผู้ที่ทำ�งานหรือหน่วยงานจากภายนอกเพื่อช่วยสนับสนุนหน่วยบำ�บัดรักษา อาจรวมถึง  พนักงานเจาะเลือด (Phlebotomist)  ช่างซ่อมบำ�รุง (Maintenance)  ผู้ ให้บริการอาหาร (Catering)  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (Porters)  เจ้าหน้าที่ทางการ (Identified officials)  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (Administrative staff)  ผู้พิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วย (Patient advocacy)  เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร (Voluntary agencies)  ช่างทำ�ผม (Hairdresser)  ทนายความ (Legal representatives)


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

ผู้ ให้การบำ�บัดด้วยกิจกรรมนันทนาการแก่ผู้ป่วย (Leisure/creative therapists)  ผูส้ นับสนุนการฝึกประกอบอาชีพ 

ตัวชี้วัด

1. มีจำ�นวนแผนการทำ�งานที่สนับสนุนการพัฒนางานด้านบริการที่เป็นรูปธรรม 2. มีมาตรฐานการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ส่วนสนับสนุนที่ชัดเจน (เป็นโอกาสพัฒนา)

73


74

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

13. การประสานงานกับหน่วยงานอืน่ ๆ (Liaison with other agencies) ความสำ�คัญ เพื่อให้สอดคล้องกับการทำ�งานทีเ่ น้นการทำ�งานเป็นทีม และการกำ�หนดวาระการทำ�งานทีต่ อ้ งรวมเอาการ มีสว่ นร่วมของสังคม ดังนัน้ การให้บริการของหน่วยบำ�บัดรักษาจึงต้องเข้าถึงหน่วยงานให้บริการอื่นๆ อย่างรวดเร็ว

มาตรฐานการทำ�งาน 1. ในหน่วยบำ�บัดรักษาแต่ละหน่วยต้องกำ�หนดตัวบุคคลทีจ่ ะเป็นผูต้ ดิ ต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ ที่ ทำ�งานเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยนิติจิตเวชอย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร 2. หน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการให้บริการนิติจิตเวช 3. หน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยต้องทำ�งานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานต่างๆ ที่ทำ�งานเกี่ยวข้องกับ ผู้ป่วย เพื่อกำ�หนดต้นแบบวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับระดับการแบ่งปันข้อมูลและระดับความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างกัน 4. เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปในทางเดียวกันกับแผนการดูแลผูป้ ว่ ยแต่ละคน หากพบว่ามีองค์กรภายนอก องค์กรไหนทีส่ ามารถนำ�มาเชื่อมโยงกับการบำ�บัดดูแลได้ ต้องดำ�เนินการส่งต่อความเชื่อมโยงนัน้ ไปยังทีมงานบำ�บัด อาการทางจิตที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ ในความต่อเนื่องของการบำ�บัดดูแล (continuity of care) 5. ผูป้ ว่ ยต้องได้รบั การบอกกล่าวถึงหน่วยงานต่างๆ ทีท่ �ำ งานเกีย่ วข้องกับการดูแลผูป้ ว่ ยและแผนการ บำ�บัดรักษาที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานเหล่านั้น

แนวทางในการปฏิบัติ 1. เป็นความรับผิดชอบในการให้บริการของหน่วยบำ�บัดรักษาทุกหน่วยที่จะพัฒนาเครือข่ายการให้ บริการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีจุดประสงค์คือ  เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการสำ�หรับผู้ป่วยแต่ละราย  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับรู้และให้ความร่วมมือในการบำ�บัดรักษาให้มากที่สุด ซึ่งในท้ายที่สุดจะ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น และผู้ป่วยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอนาคต  เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างสูงสุดและมอบอำ�นาจในการเลือกว่าการบริการใดที่ เหมาะกับความจำ�เป็นและความต้องการของตนเองมากที่สุดแก่ผู้ป่วย  เพื่อลดความรูส้ กึ อายหรือเป็นตราบาปทีต่ อ้ งเข้ารับการบำ�บัดในหอบำ�บัดรักษาผูป้ ว่ ยทางจิตเวช 2. การเชื่อมโยงการทำ�งานกับหน่วยงานอื่นๆ นั้นสามารถแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ 5 หมวดดังนี้  หน่วยงานที่ช่วยสนับสนุนด้านสังคม  ตัวแทนของผู้ ใช้บริการ  หน่วยงานด้านกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม  ชุมชนและสังคม  หน่วยงานการให้การบริการทางการแพทย์ ทั้งขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิ

ตัวชี้วัด

มีระบบการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

75

14. การฝึกอบรมเจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฏิบตั งิ าน (Staff training) ความสำ�คัญ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานถือเป็นเรื่องจำ�เป็นในงานที่มีความคาดหวังสูงภายใต้สภาพแวดล้อม ทีม่ คี วามกดดันอย่างหน่วยบำ�บัดรักษาผูป้ ว่ ย และยิง่ ในกระแสการทำ�งานทีห่ ลักปฏิบตั ใิ ดๆ ต้องอ้างอิงกับหลักฐาน ทางการแพทย์ที่ยอมรับและเชื่อถือได้ เจ้าหน้าที่ที่ทำ�งานต้องใฝ่หาความรู้ มีทักษะการทำ�งานรวมถึงทัศนคติที่ทัน ยุคทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวชที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ

มาตรฐานการทำ�งาน 1. เจ้าหน้าที่ของหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยทุกคนต้องเข้าร่วมในการ ฝึกอบรม อย่างน้อย 8 ชั่วโมงใน ทุกๆ ปี ในเรื่องทีเ่ กีย่ วข้องโดยตรงกับความชำ�นาญในแขนงวิชาชีพของตนเอง เพื่อให้มคี วามรูท้ ที่ นั สมัยเท่าทันกับ หลักปฏิบัติที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 2. ผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของทีม ต้องมีความสามารถที่จะเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติงานที่สำ�คัญของ หน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วย 3. ภายในกำ�หนดระยะเวลา 6 เดือนหลังจากที่เข้าร่วมงานกับหน่วยบำ�บัดรักษา เจ้าหน้าที่คนนั้นๆ ต้องพิสูจน์ ให้เห็นว่ามีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมกับภารกิจและงานที่ได้รับมอบหมาย 4. ผู้ที่เป็นผู้นำ�ในการปฏิบัติงานคลินิกเป็นผู้รับผิดชอบในการอำ�นวยการเพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ ได้มาและหรือแสดงออกถึงขีดความสามารถที่มีอยู่ 5. การกำ�กับดูแลโดยเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารถือเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำ�คัญที่จะทำ�ให้เกิดความมั่นใจ ว่าทักษะการทำ�งานจะสามารถเกิดขึ้นได้จริง 6. ต้องให้การอบรมเจ้าหน้าทีอ่ ย่างสม่ำ�เสมอ เพื่อทีจ่ ะสามารถบ่งชีถ้ งึ ประเด็นปัญหาความไม่เท่าเทียม ในการปฏิบัติกับผู้ป่วยรวมถึงสามารถบ่งชี้ถึงพัฒนาการของความขัดแย้งด้านวัฒนธรรมที่อาจเกิดขึ้น อันจะนำ�ไป สู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นและเพิ่มระดับความสามารถในการรับรู้ถึงความต้องการที่แตกต่างของผู้ป่วย อันเนื่องมาจาก เชื้อชาติ วัฒนธรรมและเพศที่ต่างกัน

แนวทางในการปฏิบัติ 1. การทำ�งานที่ถือเป็นส่วนหนึ่งการพัฒนาความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง หรือ continuing professional development (CPD) จำ�เป็นที่เจ้าหน้าที่ทุกคนของหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยต้องมีแผนการพัฒนาศักยภาพ การทำ�งานส่วนบุคคล หรือ Personal Development Plan ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาที่ต้องมีการทวนสอบเป็นระยะ แผนการพัฒนาและฝึกอบรมเจ้าหน้าทีเ่ ป็นรายบุคคล ต้องอิงกับขีดความสามารถหลักนี้ ปรัชญาการทำ�งานทีช่ ดั เจน ในการดูแลผู้ป่วยต้องถูกใช้เป็นหลักสำ�คัญในกระบวนการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่

หัวข้อการฝึกอบรมที่พึงต้องครอบคลุม

   

การบริหารจัดการและอำ�นวยการทั่วไป (Management & Administration) การประเมิน (Assessment) การบริหารจัดการการบำ�บัดและการดูแลผู้ป่วย (Treatment & Care Management) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Skills)


76

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

 ทักษะการทำ�งานร่วมกับผู้อื่น (Collaborative Working)  ความรู้ด้านกฎหมาย อาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรมที่เกี่ยวข้อง  การวิจัย (Research) 2. ภายใต้กรอบการทำ�งานของหน่วยบำ�บัดรักษาผู้ป่วยนั้นถือว่าทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่าง บุคคลมีความสำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทักษะด้านเทคนิคการทำ�งานเฉพาะ นอกจากนี้ยังควรต้องเปิดโอกาสให้ เจ้าหน้าที่ได้แสวงหาความรู้ ใหม่ๆ ทักษะการทำ�งานใหม่ๆ และทัศนคติการทำ�งานที่เป็นปัจจุบัน เพื่อนำ�มาใช้ ใน การยกระดับการให้บริการแก่ผู้ป่วย

ตัวชี้วัด ระดับที่ปฏิบัติได้ตามแผนการพัฒนาเฉพาะของบุคลากรในหน่วยแต่ละคนตามสมรรถนะที่กำ�หนดใน แต่ละวิชาชีพ


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

77

15. งานฝึกอบรม (Training) ความสำ�คัญ การจัดการอบรมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทางด้านนิติจิตเวชในทุกระดับ ทั้งระดับวิชาชีพที่สำ�คัญ และที่ มีความสำ�คัญระดับรองลงมา

มาตรฐานการทำ�งาน การดำ�เนินการฝึกอบรม ต้องให้ความสำ�คัญในวิชาชีพหลักในการดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวช ได้แก่  แพทย์  พยาบาล  นักจิตวิทยา  นักสังคมสงเคราะห์  นักกิจกรรมบำ�บัด/เจ้าพนักงานอาชีวบำ�บัด  เภสัชกรด้านคลินิก  บุคลากรที่สนับสนุนทางด้านการบริการ เช่น ทันตแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้ช่วยเหลือ คนไข้ เป็นต้น โดยการจัดฝึกอบรมควรยึดหลัก ดังนี้ 1. กำ�หนดเป้าหมายของหลักสูตร ระยะเวลา ผลลัพธ์สำ�คัญ 2. กำ�หนดจำ�นวนหลักสูตร มาตรฐานของหลักสูตร 3. ประเมินผลหลักสูตร

แนวทางในการปฏิบัติ ควรมีการจัดการอบรมเจ้าหน้าทีข่ องหน่วยงานในทุกระดับ ทัง้ ระดับวิชาชีพทีส่ �ำ คัญ และทีม่ คี วามสำ�คัญ ระดับรองลงมาทางด้านนิติจิตเวช

ตัวชี้วัด

มีแผนพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชสำ�หรับสายงานหลัก


78

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

16. งานวิจยั (Research) ความสำ�คัญ การดำ�เนินการด้านการวิจัยของหน่วยงานจะช่วยให้เห็นถึงการมีพัฒนาการด้านวิชาการที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน ทั้งยังจะช่วยให้หน่วยงานพัฒนาไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

มาตรฐานการทำ�งาน 1. กรอบงานวิจัยที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของหน่วยงาน 2. มีคณะกรรมการวิจัยของหน่วยงาน 3. วางแผนงานวิจัยด้านนิติจิตเวชอย่างน้อยปีละ 1 เรื่องโดยมีผลลัพธ์ส�ำ คัญในการพัฒนางานหรือ องค์ความรู้ เพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ ใหม่ 4. ระบุจำ�นวนผลงานวิจัยที่เผยแพร่ในวงการวิชาชีพ หรือระดับสากล 5. การดำ�เนินการวิจัยเป็นไปตามมาตรฐานการวิจัยของกรมสุขภาพจิต ดังนี้ 5.1 มาตรฐานด้านปัจจัยการวิจัย ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน 5.2 มาตรฐานด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 9 มาตรฐาน 5.3 มาตรฐานด้านผลผลิต ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน

ตัวชี้วัด 1. จำ�นวนผลงานวิจยั ด้านนิตจิ ติ เวชมีเป้าหมายมีปลี ะ 1 เรื่อง มีผลงานวิจยั ทีต่ อบสนองวิสยั ทัศน์พนั ธกิจ ของหน่วยงาน 2. ร้อยละของผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในเวทีประชุมวิชาการ (ได้ 100%)


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

17. ตัวชีว้ ดั เพือ่ ประเมินความเป็นเลิศของการบริการเฉพาะด้าน (Indicator) อืน่ ๆ ความสำ�คัญ

ต้องมีการกำ�หนดแนวทางการพัฒนาหน่วยงานให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

มาตรฐานการทำ�งาน

1. มีแผนการพัฒนาความเป็นเลิศของหน่วยงานที่ชัดเจน 2. กำ�หนดทีมผู้รับผิดชอบในการประสานงาน 3. กำ�หนดเป้าหมายการดำ�เนินงานในแต่ละระยะอย่างชัดเจน

แนวทางในการปฏิบัติ

ควรต้องกำ�หนดแนวทางการพัฒนาหน่วยงานให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวชที่ชัดเจน

ตัวชี้วัด

1. ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการทำ�งานจากสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) 2. มีผลงานวิจัยเผยแพร่ในระดับประเทศหรือต่างประเทศ 3. มีหลักสูตรอบรมผู้เชี่ยวชาญของแต่ละวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเฉพาะด้าน

79


80

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารอ้างอิง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานระบบบริการทีม่ คี วามเป็นเลิศเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด, 2551. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ร่างมาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางนิติจิตเวช. กรุงเทพมหานคร, 2551. สัก กอแสงเรือง. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-6 : ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ ชวนพิมพ์. 2535. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานบริการนิตจิ ติ เวช. กรุงเทพมหานคร, 2547.


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

ภาคผนวก

81


82

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

1. เอกสารหมายเลข 1 2. เอกสารหมายเลข 2 3. เอกสารหมายเลข 3 4. เอกสารหมายเลข 4 5. เอกสารหมายเลข 5 6. เอกสารหมายเลข 6 7. เอกสารหมายเลข 7 8. เอกสารหมายเลข 8 9. เอกสารหมายเลข 9 10. เอกสารหมายเลข 10 11. เอกสารหมายเลข 11 12. เอกสารหมายเลข 12 13. เอกสารหมายเลข 13 14. เอกสารหมายเลข 14 15. เอกสารหมายเลข 15 16. เอกสารหมายเลข 16 17. เอกสารหมายเลข 17 18. เอกสารหมายเลข 18 19. เอกสารหมายเลข 19 20. เอกสารหมายเลข 20 21. เอกสารหมายเลข 21 22. เอกสารหมายเลข 22 23. เอกสารหมายเลข 23 24. เอกสารหมายเลข 24 25. เอกสารหมายเลข 25 26. เอกสารหมายเลข 26 27. เอกสารหมายเลข 27 28. เอกสารหมายเลข 28 29. เอกสารหมายเลข 29 30. เอกสารหมายเลข 30 31. เอกสารหมายเลข 31

หนังสือส่งตัวสำ�หรับสถานีตำ�รวจ หนังสือส่งตัวสำ�หรับศาล/เรือนจำ� หนังสือส่งตัวสำ�หรับสำ�นักงานตรวจคนเข้าเมือง หนังสืออายัดตัว แบบคัดกรอง/ประเมินภาวะฉุกเฉินทางกาย-ทางจิต เกณฑ์การคัดกรองผู้ถูกนำ�ส่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการนิติจิตเวช ข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยเข้าสู่บริการนิติจิตเวช หนังสือตอบรับตัวผู้ป่วย แนวทางการสัมภาษณ์ทางนิติจิตเวชสำ�หรับแพทย์ แบบบันทึกสรุปการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (แพทย์) แบบบันทึกข้อมูลประกอบการวินิจฉัยทางนิติจิตเวชแบบผู้ป่วยนอก (พยาบาล) แบบสอบถาม (นักสังคมสงเคราะห์) หนังสือเชิญญาติพบนักสังคมสงเคราะห์ หนังสือขอพฤติกรรมคดี หนังสือขอพฤติกรรมขณะถูกคุมขัง หนังสือขอประวัติการรักษา หนังสือขอประวัติการรักษา หนังสือขอสำ�เนาคำ�พิพากษา แบบบันทึกประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (นักสังคมสงเคราะห์) แบบรายงานผลการตรวจวินจิ ฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้ คดี หนังสือนำ�ส่งรายงานการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถใน การต่อสู้คดี แบบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก แบบประเมิน COTE แบบประเมินทักษะการทำ�งาน แบบบันทึกพฤติกรรมระหว่างเข้าร่วมกลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพ แบบบันทึก Case conference (กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ) แบบบันทึกการประเมินสภาพผู้ป่วย (พยาบาล) แบบบันทึกแผนการให้บริการ (งานฟื้นฟูสมรรถภาพ) เกณฑ์การประเมินอาการผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงเพื่อเฝ้าระวัง แบบประเมินระดับความก้าวร้าว (Modified Overt Aggressive Scale) หนังสือส่งตัวผู้ป่วยไปรับการตรวจรักษาโรคทางกายนอกสถาบันฯ (สน./สภอ.)


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

32. เอกสารหมายเลข 32 33. เอกสารหมายเลข 33 34. เอกสารหมายเลข 34 35. เอกสารหมายเลข 35 36. เอกสารหมายเลข 36 37. เอกสารหมายเลข 37 38. เอกสารหมายเลข 38 39. เอกสารหมายเลข 39 40. เอกสารหมายเลข 40 41. เอกสารหมายเลข 41 42. เอกสารหมายเลข 42 43. เอกสารหมายเลข 43 44. เอกสารหมายเลข 44 45. เอกสารหมายเลข 45 46. เอกสารหมายเลข 46 47. เอกสารหมายเลข 47 48. เอกสารหมายเลข 48 49. เอกสารหมายเลข 49

83

ตัวอย่างหนังสือส่งตัวผู้ป่วยไปรับการตรวจรักษาโรคทางกายนอก สถาบันฯ (ศาลส่ง) หนังสือรายงานแจ้งผลการติดตามผู้ถูกนำ�ส่งหลบหนี หนังสือแจ้งผู้ป่วยถึงแก่กรรม แบบบันทึกการเตรียมจำ�หน่ายและดูแลต่อเนื่อง (D-METHOD) หนังสือขอความร่วมมือประสานการเตรียมชุมชนสำ�หรับผู้ป่วย นิติจิตเวช แบบฟอร์มแจ้งกลับผลการเตรียมชุมชนเพื่อพร้อมรับผู้ป่วย กลับไปอยู่กับครอบครัว แบบบันทึกประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (พยาบาล) หนังสือการประสานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หนังสือแจ้งผลการติดตามผู้ป่วยหลังจำ�หน่ายออกจาก สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ หนังสือการประสานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำ� หนังสือแจ้งข้อมูลกลับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในเรือนจำ� การเป็นพยานศาล แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง แบบบันทึกการประชุมเพิกถอนมาตรา 48 (นักสังคมสงเคราะห์) แบบบันทึก ม.48 (กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ) แบบบันทึกการประชุมการเพิกถอน ม.48 (งานนิติจิตเวชชุมชน) แบบรายงานผลการบำ�บัดรักษาผู้ป่วย ม.48 หนังสือนำ�ส่งรายงานการบำ�บัดรักษาผู้ป่วย ม.48


84

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 1

หนังสือส่งตัวสำ�หรับสถานีตำ�รวจ

ที่ (รหัสหน่วยงาน)/

วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง

ส่งผู้ป่วย/ผู้ต้องหามาตรวจวินิจฉัย

เรียน

ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง ที่อยู่ – รหัสไปรษณีย์

สิ่งที่ส่งมาด้วย จำ�นวน ฉบับ (ถ้ามี) ด้วยสถานีตำ�รวจ........................................................................................มีความประสงค์ขอส่งตัวผู้ป่วย/ ผู้ต้องหา (ชื่อ-นามสกุล)...................................................................อายุ....................................ปี ที่อยู่ผู้ป่วย/ ผูต้ อ้ งหา................................................................................................................ผูต้ อ้ งหาในคดีอาญาหมายเลขดำ�/แดงที่ .................................... ความผิดฐาน...........................................(และรายละเอียดการก่อคดีพอสังเขป) ไปตรวจอาการ ทางจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ พร้อมขอให้แพทย์รายงานผลการตรวจให้ทราบด้วย ความแจ้งตามสำ�เนา หนังสือฯ ที่แนบมาพร้อมนี้ (ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง).............................................จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฯ ควบคุมตัวผู้ป่วย/ผู้ต้องหา (ชื่อ-นามสกุล).................................................................มาเข้ารับการตรวจวินจิ ฉัยทีส่ ถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ในวัน ที.่ ..................................................พร้อมกับพฤติการณ์แห่งคดี ผลการตรวจวินจิ ฉัยเป็นประการใด ขอได้ โปรดแจ้งให้ ทราบด้วย เพื่อจะได้ดำ�เนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง เบอร์ โทรศัพท์ โทรสาร

(หัวหน้าหน่วยงาน) ตำ�แหน่ง


85

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 2

หนังสือส่งตัวสำ�หรับศาล/เรือนจำ�

ที่ (รหัสหน่วยงาน)/

ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง ที่อยู่ - รหัสไปรษณีย์ วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง

ส่งผู้ต้องขัง/ผู้ป่วย/จำ�เลยมาตรวจวินิจฉัย/ตรวจรักษา

เรียน

ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

สิ่งที่ส่งมาด้วย จำ�นวน ฉบับ (ถ้ามี) ด้วยศาล/เรือนจำ�.......................................................ได้มคี ำ�สัง่ ที.่ ...............................................ส่งตัวผูต้ อ้ งขัง/ ผู้ป่วย/จำ�เลย (ชื่อ-นามสกุล).......................................................................................จำ�เลยในคดีอาญาหมายเลข ดำ�/แดงที่.................................................ของศาล...........................................................................................ความผิดฐาน ไปตรวจอาการทางจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนคริ น ทร์ พร้ อ มขอให้ แ พทย์ ร ายงานผลการตรวจให้ ท ราบด้ ว ย รายละเอียดแจ้งตามสำ�เนาหนังสือฯ ที่แนบมาพร้อมนี้ (ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง)..............................................................................จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าทีฯ่ ควบคุม ตัวผู้ต้องขัง/ผู้ป่วย/จำ�เลย (ชื่อ-นามสกุล)........................................................................................มาเข้ารับการตรวจ วินิจฉัย/ตรวจรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ในวันที่............................................................พร้อมกับพฤติการณ์ แห่งคดี ผลการตรวจวินิจฉัย/ตรวจรักษาเป็นประการใด ขอได้ โปรดแจ้งให้ทราบด้วย เพื่อจะได้ดำ�เนินการในส่วน ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง เบอร์ โทรศัพท์ โทรสาร

(หัวหน้าหน่วยงาน) ตำ�แหน่ง


86

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 3

หนังสือส่งตัวสำ�นักงานตรวจคนเข้าเมือง

ที่ (รหัสหน่วยงาน)/

วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง

ส่งผู้ป่วย/ผู้ต้องหามาตรวจวินิจฉัย/ตรวจรักษา

เรียน

ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง ที่อยู่ – รหัสไปรษณีย์

สิ่งที่ส่งมาด้วย จำ�นวน ฉบับ (ถ้ามี) ด้วยสำ�นักงานตรวจคนเข้าเมือง.......................................................มีความประสงค์ขอส่งตัวผู้ป่วย/ ผู้ต้องหา (ชื่อ-นามสกุล).......................................................อายุ...........................ปี ผู้ต้องหาในคดีอาญาหมายเลข ดำ�/แดงที่.......................................................ความผิดฐาน......................................................................................(และ รายละเอียดการก่อคดีพอสังเขป) ไปตรวจอาการทางจิตที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ พร้อมขอให้แพทย์รายงาน ผลการตรวจให้ทราบด้วย ความแจ้งตามสำ�เนาหนังสือฯ ที่แนบมาพร้อมนี้ (ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง)...............................จึงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฯ ควบคุมตัวผู้ป่วย/ผู้ต้องหา (ชื่อ-นามสกุล)...............................มาเข้ารับการตรวจวินิจฉัย/ตรวจรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ในวันที่........ .......................ผลการตรวจวินิจฉัย/ตรวจรักษาเป็นประการใด ขอได้ โปรดแจ้งให้ทราบด้วย เพื่อจะได้ดำ�เนินการใน ส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง เบอร์ โทรศัพท์ โทรสาร

(หัวหน้าหน่วยงาน) ตำ�แหน่ง


87

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 4

หนังสืออายัดตัว

ที่ (รหัสหน่วยงาน)/ เรื่อง

ขออายัดตัวผู้ป่วย/ผู้ต้องหา

เรียน

ผู้กำ�กับการสถานีตำ�รวจนครบาลศาลาแดง

ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง ที่อยู่ - รหัสไปรษณีย์ วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

สิ่งที่ส่งมาด้วย จำ�นวน ฉบับ (ถ้ามี) ด้วย (ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง)...................................................................................................ได้สง่ ตัว (ชื่อผู้ป่วย/ ผู้ต้องหา)...........................................................อายุ......................................ปี ผู้ต้องหาในคดีอาญาหมายเลขดำ�/แดงที. .่ ............................................................................................................ความผิดฐาน .......................................................(และ รายละเอียดการก่อคดีพอสังเขป) มาทำ�การตรวจวินิจฉัยที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์แล้ว ในวันที่......................... ..............................เวลา.......................................น. นั้น ดังนั้น (ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง)..................................................................จึงมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฯ ควบคุม ตัว (ชื่อผู้ป่วย/ผู้ต้องหา).......................................................ไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ในวันที่.......................................................จึงแจ้งมายังท่านเพื่อขออายัดตัวไว้ต่อสถานีตำ�รวจนครบาลศาลาแดงตาม ระเบียบต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ชื่อหน่วยงานนำ�ส่ง เบอร์ โทรศัพท์ โทรสาร

ขอแสดงความนับถือ (หัวหน้าหน่วยงานนำ�ส่ง) ตำ�แหน่ง


88

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 5

แบบคัดกรอง/ ประเมินภาวะฉุกเฉินทางกาย งานพยาบาลผู้ป่วยนอก สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เกณฑ์การคัดกรอง/ประเมินภาวะฉุกเฉินทางกาย

เกณฑ์การคัดกรอง/ประเมินภาวะฉุกเฉินทางกาย

1. สัญญาณชีพผิดปกติ  อุณหภูมิ ≥ 38 °c ร่วมกับอาการปวดศีรษะ หนาวสั่น หน้าแดง  หายใจ ≤ 12  ≥ 26 ครั้ง/นาที  ปลายมือ ปลายเท้าเขียว  ชีพจร เบา ≤ 50  ≥ 120 ครั้ง/นาที  คลำ�ชีพจรไม่ได้  ความดันโลหิต ≤ 80/60  ≥ 140/90 mmHg 2. ระบบทางเดินหายใจ  มีโรคระบบทางเดินหายใจ  หอบหืด  วัณโรคปอด  เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ/น้ำ�มูกเขียว แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก  ต่อมทอนซิลโต / อักเสบ 3. ระบบหัวใจ และหลอดเลือด  มีประวัติโรคหัวใจ  ลิ้นหัวใจรั่ว  หัวใจวายร่วมกับอาการ เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หัวใจเต้นรัว ใจสั่น บวมกดบุ๋มบริเวณหน้าขา และหลังเท้า  มีประวัติหลอดเลือดแดงตีบ  หลอดเลือดดำ�ตีบ  หลอดเลือดสมองตีบ ร่วมกับพูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง เดินเซ 4. ระบบต่อมไร้ท่อ  มีประวัติเบาหวาน  รักษาด้วยยากิน / ยาฉีด ปริมาณยาที่ได้รับ................................... ร่วมกับมีอาการหายใจหอบลึก ปากแห้ง คอแห้ง หิวน้ำ�บ่อย ปัสสาวะ บ่อย สับสน คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย  เจาะ DTX  BS ≥ 240 mg%  BS ≤ 60 mg%  เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสัน่ หน้ามืด กระวนกระวาย หัวใจเต้นผิดปกติ รู้สึกเหมือนเข็มทิ่มตามปลายประสาท 5. ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ  มีบาดแผล  จากการผ่าตัด / เย็บแผล  แผลใหม่ / แผล เก่า  จากการบาดเจ็บ  จากของมีคม  แผลฟกช้ำ�  แผลถลอก  แผลเปิดขนาด..................... แผลถูกกระสุนปืน  แผลไฟไหม้ / น้ำ�ร้อนลวก /สารเคมี / ไฟฟ้าช๊อต ระดับ.....°  บาดเจ็บที่ศีรษะ  หนังศีรษะ ช้ำ�บวม / แตก / ฉีกขาด  บาดเจ็บที่ใบหน้า / ริมฝีปาก / รอบตา  กระดูกหัก  ไม่มีแผลถึงผิวหนังภายนอก  ปลายกระดูกโผล่ออกมาทางผิวหนัง  ข้อเคลื่อน  มีการฉีกขาดของเอ็นออกจากกัน  มีการบาดเจ็บของทรวงอก  บาดเจ็บทีช่ อ่ งท้องร่วมกับภาวะช๊อค ผิวหนังเย็นซีด ชีพจรเต้นเร็ว ความดัน ≤ 80/60 mmHg

6. ระบบทางเดินอาหาร  อาเจียนเป็นเลือดสด ๆ หรือเลือดเก่าๆ ถ่ายดำ� ปวดท้องเรือ้ รัง ซีด 7. ระบบประสาท และสมอง  มีประวัติโรคลมชัก  โรคหลอดเลือดสมอง  โรคพาร์กินสัน สั่น การทรงตัวผิดปกติ เชื่องช้า  ชาแขนขา ใบหน้า สับสน มีปัญหาด้านการพูด /มอง  ปวดศีรษะอย่างแรง มีปัญหาด้านการเดินอย่างรุนแรง  หลงลืมมีพฤติกรรมรุนแรง / ซึมเศร้า/ ถดถอย  เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ชาปลายมือเท้า รูส้ กึ ปวดแสบ ปวดร้อนปลายมือเท้า หรือสูญเสียความรู้สึก 8. ระบบอื่นๆ  มีประวัติความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายร่วมกับ ปวดรอบๆ ข้อ เอ็น กล้ามเนื้อ อาจมีผื่นแดงมีอาการอักเสบ แดง ร้อนบริเวณรอบๆ ข้อ  มีประวัตโิ รคสะเก็ดเงิน ร่วมกับมีผนื่ ผิวหนังอักเสบเป็นปืน้ หนา มีสะเก็ดสีขาวคล้ายเงิน เมื่อสะเก็ดหลุดออกจะพบจุดเลือดออกอยู่ บนพื้นผิวหนัง  มีประวัตโิ รคติดเชือ้ แบคทีเรียทีผ่ วิ หนัง (ไฟลามทุง่ /Cellulites) ร่วมกับอาการไข้ ปวด บวม แดงร้อน กดเจ็บบริเวณผื่น /แผล และ อาการอักเสบ  มีประวัติโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ร่วมกับไข้เรื้อรัง ไอเรื้อรัง ถ่าย อุจจาระเรื้อรัง เชื้อราในปาก ผื่นที่ผิวหนัง เรื้อรัง ความจำ�เสื่อม หลงลืมง่าย ซึมเศร้า  มีประวัติโรคตาแดง มีตาแดง เคืองตา น้ำ�ตาไหลมาก เจ็บตา มีขี้ตามาก เปลือกตาบวมแดง เยื่อบุตาบวมแดงต่อมน้ำ�เหลืองหลัง ใบหูมกั จะเจ็บบวม ร่วมกับ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว น้�ำ มูกไหล คลื่นไส้ อาเจียน  มีประวัติรับประทานยาหรือสารพิษเกินขนาด เสี่ยงต่อการมี ภาวะแทรกซ้อนทางกายที่รุนแรง  เป็น Steven Johnson Syndrome  มีประวัติตั้งครรภ์มากกว่า 6 เดือน  มีประวัติเลือดออกมากทางช่องคลอด  มีประวัติหลังคลอดน้อยกว่า 7 วัน

ชื่อ..................สกุล...........HN………ผู้ประเมิน..................แพทย์/พยาบาล ว/ด/ป..........................


89

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 5

แบบคัดกรอง/ ประเมินภาวะฉุกเฉินทางจิต งานพยาบาลผู้ป่วยนอก สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เกณฑ์การคัดกรอง/ประเมินภาวะฉุกเฉินทางจิต

เกณฑ์การคัดกรอง/ประเมินภาวะฉุกเฉินทางจิต

 นิติจิตเวช มีหนังสือส่งตัวที่มีเลขคดี และหนังสืออายัดตัว  พรบ.สุขภาพจิต มีตจ.1 / หนังสือส่งตัวรับการรักษา  คุมประพฤติ  จิตเวชทั่วไป  มีประวัติพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน / มีการวางแผน / ใช้วิธี รุนแรง ผู้ป่วยเคยพูดไว้ว่าอยากตาย / เขียนจดหมายสั่งลา หรือลา ออกจากงาน  มีภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย  มีพฤติกรรมก้าวร้าว  ทางคำ�พูด เสียงดัง เอะอะโวยวาย /ด่าว่าผู้อื่น / ข่มขู่  ต่อตนเอง ขีดข่วน / หยิก ตบตี / ดึงผม / ชกกำ�แพง / ใช้ศีรษะโขก  ต่อผู้อื่น ทำ�ท่าต่อยลม / ถ่มน้ำ�ลายใส่ / ขีดข่วน / เตะ / ต่อย  ต่อสิง่ ของ ปิดประตูเสียงดัง / ขว้างปาสิง่ ของ / จุดไฟเผา  มีพฤติกรรมรุนแรง  มีลักษณะท่าทางไม่เป็นมิตร/ พกอาวุธ / หวาดระแวง  มีหูแว่วสั่งให้ทำ�ร้ายคนอื่น  มีประวัติเมาเหล้า / เมายาเสพติด  มีอาการกระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง ควบคุมตนเองไม่ได้  มีความผิดปกติของระดับความรู้สึกตัว  เรียกไม่ลืมตา / ลืมตาเมื่อเจ็บ / ลืมตาเมื่อเรียก /ลืมได้ เอง  ไม่ออกเสียง / ส่งเสียงไม่เป็นคำ�พูด / พูดเป็นคำ� ๆ / พูด คุยได้แต่สับสน / พูดคุยได้ไม่สับสน  ไม่เคลื่อนไหวเลย / แขนขาเหยียดเกร็งเมื่อเจ็บ / แขนขา งอ เมื่อเจ็บ ชักแขนขาหนี / ทราบตำ�แหน่งที่เจ็บ / ทำ�ตามสั่ง  แขนขาไม่มกี ารเคลื่อนไหว / ขยับเล็กน้อย / เคลื่อนทีแ่ นว ราบ / เคลื่อนที่แนวดิ่ง / อ่อนแรงเล็กน้อย / กำ�ลังปกติ  รู ม่ า นตา ซ้ า ยขนาด......ปฏิ กิ ริ ย า....... ขวาขนาด...... ปฏิกิริยา........  มีภาวะหายใจเร็ว ร่วมกับอาการมึนงง หายใจไม่อิ่ม รู้สึก หัวเบา ๆ เหมือนจะเป็นลม ชาปลายมือและหนังศีรษะ มือชาจนเกร็งจีบ  ภาวะวิตกกังวลอย่างมาก  กังวลว่าจะเกิดอาการตลอดเวลา  กังวลว่าอาจเกิดโรคร้ายตามมา ร่วมกับ ใจสั่น ชีพจร เต้นรัวเร็ว เหงื่ออกมาก สั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม รู้สึกเหมือนจะเป็นลม เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกไม่สุขสบาย

 มีภาวะสุราเป็นพิษ (เมาสุรา) จากการที่เพิ่งดื่มสุราเข้าไป พฤติกรรมเปลี่ยน มีหงุดหงิด ก้าวร้าว ขาดการควบคุมทางเพศ การตัดสินใจไม่ดี พูดไม่ชัด การทรงตัวไม่ดี หน้าแดง ร้อนวูบวาบ ความจำ�ไม่ดี สับสน หรือหมดสติ  มีภาวะถอนสุรา จากการหยุดหรือลดการดื่มสุรา ร่วมกับอาการ สั่น นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน หูแว่ว ภาพหลอน กระวนกระวาย วิตกกังวล อยู่ไม่นิ่ง สับสน ไม่รู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล งุนงง ชัก มีไข้  มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นกลุ่ม ๆ จากยาต้านโรคจิต  มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อคอ / คอแหงน /คอเอียง  มีอาการเกร็งบริเวณกราม  มีอาการหลังอ่อน / แอ่นโค้งงอ  มีอาการตาเหลือกขึ้นข้างบน  มีอาการลิ้นแข็ง / เคี้ยวลิ้นตลอดเวลา / กลืนลำ�บาก  มีอาการตัวแข็ง เกร็ง มือสั่น  มีภาวะเป็นพิษจากยา  มีประวัติได้รับยา Lithium ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวติดต่อกันเป็นเวลานาน ง่วงซึม มึนงง พูดไม่ชัด สับสน วิง เวียน มือสั่นมาก กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนแรง เดินเซ เคลื่อนไหวกระตุกคล้ายเต้นรำ�  มีประวัติได้รับยา Depakine ร่วมกับปวดท้อง เบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย ผมร่วง ผื่นแพ้ ปวดหลัง มีไข้ สั่น เดินเซ เห็นภาพ ซ้อน ตากระตุก Hepatic failures ผูป้ ว่ ยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึม รู้สึกตัวน้อยลง เบื่ออาหาร ควบคุมอาการชักไม่ได้ อ่อนเพลีย หน้าบวม มีภาวะดีซ่าน  มีประวัติได้รับยา Carbamazepine ร่วมกับอาการ มึนงง ง่วงนอน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ Aplastic anemia, Leucopenia, Agranulocytosis, Leucocytosis, Thrombocytopenia, Hepatitis, ไตทำ�งานผิดปกติ, jaundice, ปัสสาวะบ่อย, ปัสสาวะคั่ง, Oliguria, renal failure, คัน, ผื่นแดง, ลมพิษ, Steven-Johnson ท้องเสีย ปวดข้อและกล้ามเนื้อ, ตะคริว  มี ภ าวะ Neuroleptic Malignant Syndrome ที่มี ภ าวะ แทรกซ้อนทางกาย เช่น ปัสสาวะเป็นสีน�้ำ ตาล ไข้สงู และหอบเหนื่อย  มีประวัติชัก เกร็ง หมดสติก่อนมารพ.

ชื่อ.......................สกุล.........................HN……….ผู้ประเมิน.......................แพทย์/พยาบาล ว/ด/ป........


90

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 5 รูปภาพประเมิน บริเวณที่มีบาดแผล

ชื่อ......................สกุล................HN……….ผู้ประเมิน..................แพทย์/พยาบาล ว/ด/ป.......................


91

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 6

เกณฑ์การคัดกรองผู้ถูกนำ�ส่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการนิติจิตเวช

มีหนังสือนำ�ส่งจากหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานต้นสังกัดพร้อมกับตัวผู้ถูกนำ�ส่ง

มีวัตถุประสงค์การส่งมาชัดเจน คือ

 ประเมินสภาพจิตในคดีอาญา  ประเมินสภาพจิตในคดีแพ่ง  ประเมินระดับความสามารถในการทำ�งาน  ประเมินความสามารถในการคุ้มครองบุคคล (สิทธิเด็ก)  อื่นๆ

กรณีคดีอาญา ระบุรายละเอียดดังนี้

เลขคดี.................................................................................................................................................................. ประเภทคดี ...................................................................................................................................................... สถานภาพในคดี คือ......................................................................................................................................... กรณีประกันตัวมีหลักฐานการประกันตัว ระบุ .......................................................................................... หนังสือแจ้งอายัดตัวถูกต้อง (กรณีไม่มีประกันตัว)......................................................................................

ความพร้อมในการอยู่โรงพยาบาล (ยกเว้นกรณีถูกควบคุม)

 พร้อมอยู่โรงพยาบาล  ไม่พร้อมอยู่โรงพยาบาล

สิทธิ์การรักษา

 จ่ายเอง  บัตรประกันสุขภาพ ระบุ.......................................................................................................................  เบิกต้นสังกัด ระบุ.................................................................................................................................. กรณีที่ส่งมาเพื่อประเมินความสามารถใดๆ ผู้รับการประเมินต้องทราบขั้นตอนการประเมิน และลงนาม ยินยอม รับการประเมิน ผู้รับการประเมินลงนามยินยอม.................................................................................วัน /เดือน /ปี....................................


92

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 7

ข้อบ่งชี้ในการรับผู้ป่วยเข้าสู่บริการนิติจิตเวช 1. ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน จำ�เลย ผู้ต้องขังหรือนักโทษที่ผู้นำ�ส่ง ส่งมาตามกระบวนการยุติธรรมถูก สงสัยว่ามีอาการทางจิตหรือญาติร้องขอว่ามีอาการทางจิต หรือมีประวัติการรักษาอาการทางจิต 2. บุคคลทีศ่ าลส่ง เพื่อต้องการทราบผลการตรวจวินจิ ฉัย ความสามารถในการต่อสูค้ ดี ความรับผิดชอบ ในคดีอาญาหรือส่งจำ�เลยเพื่อบังคับรักษาตามกฎหมายหรือศาลส่งบังคับรักษาตามวิธีการเพื่อความ ปลอดภัย ต่อสังคม (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48) 3. บุคคลที่ญาติหรือผู้มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลเสมือนไร้ความ สามารถ 4. บุคคลทั่วไปและบุคคลที่ญาติหรือหน่วยงานต้นสังกัดส่งประเมินความสามารถในการทำ�งาน 5. ผูท้ ถี่ กู ส่งมาตามกระบวนการยุตธิ รรม เพื่อเข้าสูก่ ระบวนการนิตจิ ติ เวชในกรณีอนื่ ๆ เช่น กรณีประเมิน ความสามารถในการดูแลปกครองเด็ก ตรวจสภาพจิตของนักโทษประหาร

ควรรับไว้เป็นผู้ป่วยในทุกราย ยกเว้นในกรณีต่อไปนี้ 1. กรณีผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนทางกายรุนแรง ที่สถานบำ�บัดรักษาไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้ ควรส่งให้ สถานบำ�บัดรักษาอื่นดูแลรักษาจนกว่าอาการจะดีขึ้น จึงนำ�กลับมาเข้าสู่กระบวนการนิติจิตเวชแบบ ผู้ป่วยใน 2. ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย พยาน จำ�เลย หรือนักโทษที่ถูกส่งประเมินสภาพจิตในคดีอาญาตามที่ศาลระบุ ว่าต้องอยู่ในเรือนจำ�เท่านั้น หรือกรณีที่มีคดีโทษรุนแรง มีความเสี่ยงต่อการหลบหนี เช่น นักโทษ ประหาร ผู้ต้องหาหรือจำ�เลยที่มีประวัติก่ออาชญากรรมคดีรุนแรงต่อเนื่องหลายคดี 3. กรณีที่แพทย์พิจารณาว่าสามารถทำ�การประเมินและวินิจฉัยโดยทีมสหวิชาชีพแบบผู้ป่วยนอกได้ เนื่องจากมีข้อมูลครบถ้วน มีหลักฐานที่จะวินิจฉัยทั้งทางคลินิกและกฎหมายได้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถส่งตรวจ ทดสอบและได้รับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ โดยเร็ว หรือกรณีผู้ป่วยมีการ ประกันตัว 4. กรณีประเมินความสามารถของบุคคลที่มีความจำ�เป็นไม่สามารถเข้ารับการประเมินแบบผู้ป่วยในได้ หากรับไว้เป็นผูป้ ว่ ยในอาจทำ�ให้ผปู้ ว่ ยไม่ปลอดภัยได้ เช่น กรณีผปู้ ว่ ยสูงอายุ ผูท้ มี่ คี วามบกพร่องทาง สติปัญญา หรือผู้ป่วยอื่นที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลได้


93

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 8

หนังสือตอบรับตัวผู้ป่วย

ที่ สธ 0808 /

เรื่อง

ตอบรับตัวผู้ถูกนำ�ส่ง

เรียน

................................................................(ผู้นำ�ส่ง)

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

(ของผู้นำ�ส่ง) อ้างถึง หนังสือ.......................................ที่.........../..............ลงวันที่..............เดือน.........................พ.ศ.................. ตามหนังสือที่อ้างถึง.......................................ได้ส่งตัวนาย / นาง / นางสาว....................................... (ผู้ถูกส่งตรวจสภาพจิต/รักษาอาการทางจิต) ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตรวจวินิจฉัยและรักษา ขอเรียนว่า สถาบันฯ ได้รับตัวนาย / นาง / นางสาว.................................................................................. ไว้ตรวจรักษาและวินิจฉัยสภาพจิต แบบผู้ป่วยใน (หรือผู้ป่วยนอก) ตั้งแต่วันที่..............เดือน......................... พ.ศ..................

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

งานประสานงานระหว่างรักษา โทรศัพท์ 0 2889 9066 ต่อ 1303 โทรสาร 0 2889 9083

ขอแสดงความนับถือ (.......................................................................) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


94

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 9

แนวทางการสัมภาษณ์ทางนิติจิตเวชสำ�หรับแพทย์ การสัมภาษณ์เป็นวิธีการหนึ่งในการรวบรวมข้อมูล และพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากผู้ถูกส่งตรวจ และ/หรือ ผู้เกี่ยวข้องโดยใช้ทักษะทางจิตเวชในการสัมภาษณ์และการตรวจสภาพจิต ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล จากนั้นประมวลข้อมูลที่ได้ โดยใช้องค์ความรู้ด้านจิตเวชสุขภาพจิตมาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้ข้อ วินิจฉัยทางนิติจิตเวช ในการให้ข้อวินิจฉัยทางนิติจิตเวชนั้นจะปรากฏอยู่ในรายงานการวินิจฉัยทางนิติจิตเวชซึ่งเป็นพยาน เอกสารที่สะท้อนความเป็นผู้เชี่ยวชาญของพยานผู้เชี่ยวชาญที่ต้องมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ผ่านการศึกษา อบรมเฉพาะ มีเหตุมีผลตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยข้อสรุปในรายงานจะต้อง (1) อยู่บนพื้นฐานของข้อมูล/ข้อเท็จ จริงที่เพียงพอ (2) เป็นผลิตผลของการใช้หลักการและวิธีการที่เชื่อถือได้ (3) พยานผู้เชี่ยวชาญได้ประยุกต์หลัก การและวิธีการที่เชื่อถือได้นั้น เข้ากับข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ดังนัน้ การวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวชทีม่ คี ณ ุ ภาพเชื่อถือได้นนั้ จึงจำ�เป็นต้องผ่านขัน้ ตอนการรวบรวมข้อมูล ข้อ เท็จจริงจากแหล่งต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับกรณี (case) โดยคณะทำ�งานซึง่ เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญในสาขาวิชาชีพทีม่ คี ณ ุ สมบัติ ใช้หลักฐานและวิธีการทำ�งานดังกล่าวข้างต้น นำ�ข้อมูลทั้งหมดมาร่วมกันพิจารณาโดยปราศจากอคติ และให้ข้อ วินิจฉัยตามจุดประสงค์ของผู้นำ�ส่ง คณะทำ�งานฯ ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับคู่กรณี

กรอบการสัมภาษณ์ตามจุดประสงค์ของการส่งตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ความสามารถในการต่อสู้คดี เกณฑ์ ในการประเมินผู้ต้องหาหรือจำ�เลยมีความสามารถในประเด็นดังนี้ 1. รับรู้สภาพปัจจุบันของตนเองต่อกาลเวลา สถานที่ บุคคล และสิ่งต่างๆ รอบตัว 2. สามารถเข้าใจตระหนักรู้ ในข้อกล่าวหา ตัวอยางคำ �ถาม ่ “คุณบอกได้ไหมว่าเพราะอะไรคุณจึงต้องมาที่โรงพยาบาลนี้” “ใครส่งคุณมา ?” “คุณถูกกล่าวหาด้วยข้อหาอะไร ?” 3. ความสามารถในการเล่าเหตุการณ์ตามข้อกล่าวหาและความสามารถในการเบิกความหรือให้ปากคำ� ได้ตรงประเด็น “คุณลองเล่ารายละเอียดของเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ เช่น วัน เวลา สถานทีเ่ กิดเหตุ ใครอยู่ในเหตุการณ์ บ้าง ? มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? มีเหตุการณ์อะไรนำ�มาก่อน ? หลังเกิดเหตุการณ์ ในคดีแล้วใครทำ�อะไร อย่างไร ต่อไป” 4. ตระหนักรู้ความหนักเบาของโทษ “คุณคิดว่าการกระทำ�ตามข้อกล่าวหาเป็นความผิดหรือไม่ ? ต้องได้รับโทษหรือไม่ ?” “คุณคิดว่าถ้าหากคุณทำ�ผิดจริงตามข้อกล่าวหา โทษที่คุณจะได้รับน่าจะเป็นอย่างไร”


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

95 เอกสารหมายเลข 9

5. ความสามารถในการวางแผนต่อสู้คดีและคาดคะเนผลที่อาจจะเกิดขึ้น “คุณจะพิสูจน์ตนเองอย่างไร ?” “คุณจะยอมรับผิดหรือไม่ ? หากรับผิดจะอธิบายต่ออัยการ และ/หรือศาลอย่างไร ? เพื่อให้ได้รับ โทษเบาลง” “ถ้าหากคุณไม่ยอมรับผิด คุณจะหาเหตุผลหรือหลักฐานอะไรมาพิสูจน์ว่าคุณไม่ได้ทำ�ผิดตามข้อ กล่าวหา ?” “คุณทราบผลของการรับสารภาพกับการปฏิเสธว่าแตกต่างกันหรือไม่ ? อย่างไร ?” 6. การรับรู้สิทธิของตนเองในการมีทนายความ หรือร้องขอทนายความที่ศาลแต่งตั้งกรณีไม่มีเงินว่า จ้างทนายส่วนตัว และสามารถร่วมมือกับทนายความได้ “ทนายความมีบทบาทสำ�คัญต่อคำ�ให้การ หรือการเบิกความของคุณในศาลอย่างไร ?” “คุณมีทนายความหรือไม่ ? คุณเคยร้องขอต่อศาลหรือไม่ ?” “คุณคิดว่าจะร่วมมือกับทนายหรือไม่ ? จะร่วมมืออย่างไร ?” “คุณทราบหรือไม่ว่าก่อนขึ้นศาลต้องมีการพูดคุยเตรียมตัวกับทนายก่อน” 7. ความเข้าใจในกระบวนการของศาล “คุณเคยไปศาลหรือไม่ ? คุณพอบอกได้ไหมว่าใครทำ�หน้าที่อะไรบ้างในศาล เช่น ทนายจำ�เลย อัยการ ผู้พิพากษา พยาน ?” “คุณทราบหรือไม่ว่าก่อนเบิกความต้องสาบานตนก่อน ?” เป็นต้น 8. ความสามารถในการควบคุมตนเองในห้องพิจารณา แพทย์ประเมินสภาพจิตและความสามารถใน การให้ปากคำ�เบิกความกับกระบวนการยุตธิ รรม เช่น ความสามารถในการสื่อสาร การควบคุมอารมณ์ สมาธิ เป็นต้น ความรับผิดชอบในคดีอาญาของผู้กระทำ�ผิดนิติจิตเวช หลักการพิจารณาความรู้ผิดชอบขณะกระทำ�ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 ณ ปัจจุบัน ได้ ใช้หลักการพิจารณาของ M’ Naghten rule ดังนี้ 1. ความบกพร่องของเหตุผล (Defect of reason) หมายถึง มีความบกพร่องอย่างชัดเจนในความ สามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผล 2. ความรู้ความเข้าใจ (Know) ซึ่งใช้ ในการระบุอย่างเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับความหมายในด้านการ รับรูก้ ารคิด (cognitive) หรือสติปญ ั ญาความรู้ (intellectual) หรือความเข้าใจ (apprehension) หรือการตระหนักรู้ (awareness) ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 3. สภาพและสาระของการกระทำ� (Nature and quality of the act) Nature คือลักษณะของความ ตระหนักรู้ตัวว่ากำ�ลังทำ�อะไรอยู่ Quality คือ รู้หรือไม่จะเกิดอะไรขึ้นตามมาจากการกระทำ�นั้น 4. เป็นความผิด (Wrongfulness) ซึ่งหมายถึง ความผิดทั้งทางกฎหมายและศีลธรรม นอกจากนี้ยัง ใช้เกณฑ์ ในการพิจารณาตาม The Irresistible Impulse rule ดังนี้


96

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 9 “บุคคลที่กระทำ�ผิดมิต้องรับผิดทางอาญา หากกระทำ�ผิดเนื่องจากความเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งทำ�ให้เขาไม่ สามารถควบคุมการกระทำ�ของเขาได้” กรอบในการสัมภาษณ์นั้น จิตแพทย์จะต้องประเมิน 1. ระดับความเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้เพื่อจำ�แนกการแกล้งป่วย (malingering) หรือภาวะหลงลืม (amnesia) ซึง่ มีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้ซงึ่ กรณีแรกเกิดจากความตัง้ ใจ ในกรณีหลังเกิดจากพยาธิสภาพ ของสมอง และ/หรือจิตใจ 2. พยาธิสภาพทางสมอง (organicity) รวมทั้งปัจจัยที่เกีย่ วข้อง ได้แก่ ฤทธิ์ที่เกีย่ วข้องกับสารเสพติด โรคของสมองหรือสมองได้รับความกระทบกระเทือน ภาวะปัญญาอ่อน 3. พยาธิสภาพทางจิตใจ ได้แก่ แนวความคิด เช่น ความคิดหลงผิด ระบบประสาทการรับรู้ เช่น อาการประสาทหลอน ลักษณะการพูดและอารมณ์ที่ผิดปกติ 4. ความสามารถในการเข้าใจ การวางแผน เหตุผล แรงจูงใจ ความตระหนักรู้ ตลอดจนสมรรถภาพ ในการคิดต่อพฤติกรรมอาชญากรรมของตนเอง 5. ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมอาชญากรรมและพฤติกรรมความรับผิดชอบในสังคมของ ตนเองก่อนเกิดพฤติกรรมคดี การประเมินภาวะอันตราย (ตามมาตรการความปลอดภัยต่อสังคม) ประเด็นในการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะอันตรายของผู้ป่วยนิติจิตเวช สามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้ 1. ประวัติ การสัมภาษณ์เพื่อให้ขอ้ มูลประวัตใิ นอดีตผูท้ มี่ ปี ระวัตดิ งั ต่อไปนีม้ คี วามเสีย่ งต่อการก่อภาวะอันตราย ในอนาคต 1.1 มีประวัติการใช้ความรุนแรง 1.2 มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงครั้งแรกเมื่ออายุน้อย 1.3 มีสัมพันธภาพที่ไม่มั่นคงกับบุคคลอื่น 1.4 มีปัญหาด้านการประกอบอาชีพการงานมีการเสพสารเสพติด 1.5 ประวัติความเจ็บป่วยทางจิตเวชที่รุนแรง เช่น โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น 1.6 มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม 1.7 มีปัญหาในการปรับตัวที่บ้านหรือที่โรงเรียนตั้งแต่วัยเด็ก 1.8 มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ซึ่งมีความโกรธ ความหุนหัน พลันแล่น และความไม่ เป็นมิตรเป็นองค์ประกอบสำ�คัญในบุคคลนั้น ๆ 1.9 ไม่เชื่อในการอบรมสั่งสอน เช่น กระทำ�ผิดซ้ำ�ในช่วงที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติ เป็นต้น 2. ปัจจัยทางคลินิก ผู้ที่มีลักษณะทางคลินิกดังต่อไปนี้ 2.1 เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการก่อพฤติกรรมอันตราย 2.2 ไม่รับรู้สภาพปัญหาจิตใจ และ/พฤติกรรมของตนเองที่มีแนวโน้มเป็นอันตราย 2.3 มีเจตคติด้านลบ มองโลกในแง่ร้าย โทษผู้อื่น 2.4 อาการของโรคจิตเวช (เช่น โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน เป็นต้น) ยังไม่สงบ 2.5 มีความหุนหันพลันแล่น 2.6 ไม่รับผิดชอบต่อการบำ�บัดรักษา


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

97 เอกสารหมายเลข 9

3. ปัจจัยด้านการจัดการกับความเสี่ยง 3.1 การวางแผนเพื่อป้องกันการกระทำ�ความรุนแรงไม่เหมาะสม ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงและ ไม่ปลอดภัยเพียงพอ 3.2 อยูใ่ นสถานการณ์หรือสิง่ แวดล้อมทีเ่ อือ้ อำ�นวยต่อการกระทำ�ความผิดซ้� ำ มีโอกาสเสพสารเสพติด หาอาวุธและ/หรือหาเหยื่อได้ง่าย 3.3 ขาดแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ ไร้ญาติขาดมิตร 3.4 ไม่ยอมรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 3.5 มีความเครียดทีก่ ระตุน้ ให้กระทำ�ความผิดจากแหล่งต่างๆ เช่น ครอบครัว กลุม่ เพื่อน สถานภาพ ทางการเงิน เป็นต้น การประเมินความสามารถของบุคคล เนื่องจากการพิจารณาความสามารถของบุคคลเป็นการประเมินความสามารถในการทำ�นิติกรรมสัญญา ดังนั้นกรอบในการสัมภาษณ์จึงเป็นการประเมินสมรรถภาพของความคิด ความจำ� ความเข้าใจต่อนิติกรรม สัญญา ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะสามารถรับรู้เนื้อหาสาระ และปกป้องผลประโยชน์ทางกฎหมายของตนเองได้หรือไม่


98

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 10

แบบบันทึกสรุปการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (แพทย์) วันที่............................................................ชื่อ - สกุลแพทย์ผู้สัมภาษณ์........................................................................... สภาพจิต................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ความเห็นของแพทย์ (ระบุชื่อและรายละเอียดความเห็น) ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ชื่อ........................................นามสกุล.......................................HN.......................................AN..............................


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

99

เอกสารหมายเลข 10 การวินิจฉัยทางคลินิก.............................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... การวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (ระบุเหตุผลให้ชัดเจน) ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ…………………………………………แพทย์เจ้าของไข้ ( )

ลงชื่อ ……………………………....…..แพทย์ผู้บันทึก ( )

ลงชื่อ………………………………………… พยาบาล ( )

ลงชื่อ …………….…………...………..นักจิตวิทยา ( )

ลงชื่อ………………………………………… นักสังคมสงเคราะห์ ลงชื่อ ……………………………..……..นักกิจกรรมบำ�บัด ( ) ( )

ชื่อ - สกุลแพทย์ที่เข้าร่วมประชุม ลงนาม 1. ........................................................................................................................................................................................ 2. ........................................................................................................................................................................................ 3. ........................................................................................................................................................................................ 4. ........................................................................................................................................................................................ 5. ........................................................................................................................................................................................ 6. ........................................................................................................................................................................................


100

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 11

แบบบันทึกข้อมูลประกอบการวินิจฉัยทางนิติจิตเวชแบบผู้ป่วยนอก (พยาบาล) ชื่อ – สกุล ผูถ้ กู นำ�ส่ง...........................................................................................................................อายุ.............................ปี คดี/กรณีทางกฎหมาย................................................................................................................................................................ จุดประสงค์ของผูร้ บั บริการ...................................................................................................................................................... วัน เดือน ปีที่ประเมิน.............................................................................................................................................................. ประวัตกิ ารเจ็บป่วย ประวัตพิ ฒ ั นาการ แบบแผนการดำ�รงชีวติ พฤติกรรมและอาการแสดงออกเมื่อแรกรับ (ลักษณะ ทัว่ ไป พฤติกรรม การแสดงออก อารมณ์ คำ�พูด แนวความคิด การรับรูท้ ผี่ ดิ ปกติทางประสาทสัมผัส การรับรูต้ นเอง การรับรู้ เวลา สถานที่ บุคคล การรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมคดี) ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... พฤติกรรมและอาการแสดงออก / การพยาบาลที่ให้ ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

101

เอกสารหมายเลข 11 พฤติกรรมและอาการแสดงออก / การพยาบาลที่ให้ ครั้งที.่ .................................. วัน/เดือน/ปี ............................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... พฤติกรรมและการแสดงออก / การพยาบาลที่ให้ ครั้งที.่ .................................. วัน/เดือน/ปี..................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... สรุปการรักษาที่ ได้รบั ตัง้ แต่แรกรับถึงวันประชุมวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช....................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... สรุปข้อคิดเห็น ........................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... ผู้สรุป.................................................................... วัน/เดือน/ปี..........................................................


102

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 12

แบบสอบถาม (นักสังคมสงเคราะห์) กรุณาตอบแบบสอบถามโดยทำ�เครื่องหมาย / ในข้อที่ต้องการและเติมคำ�ตอบในช่องว่าง ทุกข้อด้วย 1. 2. 3.

ผูถ้ กู ส่งตรวจ.........................................................นามสกุล........................................................................................... มีความสัมพันธ์กับท่านในฐานะใด (เป็นลูก, พ่อ-แม่, พี่น้อง)............................................................................... ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตของผู้ถูกส่งตรวจ 3.1 ลักษณะอาการที่เคยมี  งุนงง สับสน  ซึม เฉย เหม่อลอย  ลุกลี้ลุกลน  คิดฆ่าตัวตาย  ช่วยเหลือตนเองไม่ได้  เอะอะวุ่นวาย  แยกตัวเอง  มีพฤติกรรมทางเพศมากกว่าปกติ  ชอบอวดอวัยวะเพศ  พูดคุยพอรู้เรื่อง  พูดคุยไม่รู้เรื่อง  พูดมาก เพ้อเจ้อ  ไม่พูด ซึม  พูดคนเดียวพึมพำ�  พูดภาษาใหม่ๆ  อารมณ์หงุดหงิด  ยิ้ม หัวเราะคนเดียว  ร่าเริงมากกว่าปกติ  คิดมาก วิตกกังวล  ซึมเศร้า  อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย  ก้าวร้าว  กลัวคนทำ�ร้าย  กลัวสิ่งที่ไม่เห็นตัวตน  มีความคิดหวาดระแวง  ชอบแก้ผ้า  ชอบออกนอกบ้าน  มีหูแว่ว ประสาทหลอน  ทำ�ร้ายผู้อื่น  ทำ�ลายทรัพย์สิน  คลุ้มคลั่ง อาละวาด  อื่นๆ ระบุ............................ 3.2 ผู้ถูกนำ�ส่งเริ่มมีอาการตามข้อ 3.1 ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.....................................อายุ................................ปี รวมเวลาการเจ็บป่วย..........................ปี อาการเริ่มแรกที่สังเกตเห็น............................................................... ................................................................................................................................................................................. 3.3 รักษาที่โรงพยาบาล.................................................................................ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.............................. บัตรประจำ�ตัวผู้ถูกนำ�ส่งเลขที.่ ............................................................................................................................ 3.4 ท่านคิดว่า สาเหตุน�ำ ของการเจ็บป่วยมาจากสาเหตุใด (เช่น มีความผิดหวัง เสียใจ ติดยาเสพติด อุบตั เิ หตุ หรือมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ จิตวิญญาณ)........................................................................... ................................................................................................................................................................................... 3.5 ระบุสาเหตุ / อาการความเจ็บป่วยอื่นๆ ในกรณีที่มี  อุบัติเหตุ (เช่น รถชน รถคว่ำ� ถูกตี) ระบุรายละเอียด.................................................................................................................................................... รักษาที่โรงพยาบาล.......................................................................เมื่อ................................................................. บัตรประจำ�ตัวผู้ถูกนำ�ส่งเลขที่.............................................................................................................................. มีอาการชักครั้งแรกเมื่ออายุ.........................ปี ชักครั้งสุดท้ายเมื่อ................................................................... ความถี่/ห่างของการชัก (วันละ/เดือนละกี่ครั้ง)............................................................................................... ลักษณะของการชัก............................................................หมดสตินาน......................................................นาที


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

103

เอกสารหมายเลข 12  เคยรักษาที่โรงพยาบาล.......................................................บัตรประจำ�ตัวเลขที.่ ...................................  ไม่เคยรักษา 3.6 ผู้ถูกนำ�ส่งได้รับประทานยาสม่ำ�เสมอหรือไม่ อย่างไร...................................................................................... .................................................................................................................................................................................. 3.7 ก่อนจะมีปัญหาตามข้อกฎหมายที่เป็นเหตุนำ�ส่งตรวจสภาพจิต ผู้ถูกนำ�ส่งมีอาการผิดปกติอย่างไร (เช่น คลุ้มคลั่ง อาละวาด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า แยกตัว หงุดหงิด กลัว ระแวงมีคนจะทำ�ร้าย มีพฤติกรรม แปลกๆ หลงลืม เป็นต้น)........................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................. และระบุระยะเวลาที่มีอาการ 4. ประวัติส่วนตัว 4.1 การเจริญเติบโตในวัยเด็ก  ปกติเหมือนเด็กทั่วไป  การยืน เดิน นั่ง นอน พูด ช้ากว่าเด็กปกติ 4.2 การอบรมเลี้ยงดู  ผู้เลี้ยงดูคือ....................................................................................................................................................  การเลี้ยงดูเป็นอย่างไร (เช่น ปล่อยปละละเลย เข้มงวด ตามใจ ฯลฯ)............................................... 4.3 การศึกษา จบชั้น...........................................................เมื่อปี พ.ศ....................................................................... เคยสอบตกชั้น....................................................................................................................................................... 4.4 การประกอบอาชีพ 4.4.1  ประกอบอาชีพ...........................................รายได้...........................................บาท/เดือน  ไม่ได้ประกอบอาชีพ 4.4.2 ก่อนมีปัญหาข้อกฎหมายผู้ถูกนำ�ส่งสามารถประกอบอาชีพได้หรือไม่ อย่างไร.................................. .................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................. 4.5 การเกณฑ์ทหาร  ถูกเกณฑ์ทหาร  ไม่ถูกเกณฑ์ทหาร เพราะ.............................................................. 4.6 ประวัติการเสพติด ผู้ถูกนำ�ส่งเคยติดสิ่งเสพติดชนิดใดบ้าง  เหล้า หรือเครื่องดื่มมึนเมาอื่นๆ  ดื่มทุกวัน ประมาณ ปี  นานๆ ครั้ง  กัญชา สูบนาน ...........................................ปี  เฮโรอีน สูบ........................................ปี ฉีด.........................................ปี  สารระเหย ประเภท............................สูดดมมานาน..........................................................ปี  ยาบ้า กินวันละ..................... ...............เม็ด กินมานาน..........................................................เดือน/ปี  ยาอี กินวันละ....................... ...............เม็ด กินมานาน..........................................................เดือน/ปี


104

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 12 ระบุอาการเมื่อเสพสารเสพติด............................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................. ระบุอาการเมื่อหยุด/ขาดเสพสารเสพติด............................................................................................................ ................................................................................................................................................................................. 4.7 อุปนิสัยปกติ พื้นอารมณ์ (ชอบอยู่คนเดียว, อารมณ์ โมโหร้าย, หงุดหงิดง่าย มองคนในแง่ร้าย) 4.8 ประวัติทางคดี  เคยก่อคดีมาแล้ว  ไม่เคยก่อคดีมาก่อน ถ้าเคยก่อคดี ก่อคดีมาแล้ว ...................................................ครั้ง ระบุคดีครั้งแรก..................................................................เมื่อ พ.ศ........................................................... ผลของคดี..................................................................................................................................................... ครั้งสุดท้ายคดี..................................................................เมื่อ พ.ศ............................................................ ผลของคดี..................................................................................................................................................... 5. ประวัติครอบครัวของผู้ถูกนำ�ส่ง 5.1 บิดา  ถึงแก่กรรม..............................................ปี  ยังมีชีวิต  อาชีพ  รายได้เดือนละ.........................บาท อุปนิสัย (ดุ จู้จี้ ขี้บ่น ปล่อยปละละเลย) 5.2 มารดา  ถึงแก่กรรม..............................................ปี  ยังมีชีวิต  อาชีพ  รายได้เดือนละ.........................บาท อุปนิสัย (ดุ จู้จี้ ขี้บ่น ปล่อยปละละเลย อ่อนโยน) 5.3 ผู้นำ�ของครอบครัว  บิดา  มารดา  สามี/ ภรรยา 5.4 พี่น้อง.........................คน ผู้ถูกนำ�ส่งเป็นบุตรลำ�ดับที.่ ................................................. ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง (เช่น รักใคร่ห่วงใยกัน ต่างคนต่างอยู่ เป็นต้น)............................................... ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. 5.5 สามี/ภรรยา  อาชีพ.......................................................................................................................................... อุปนิสัย................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................  อยู่ด้วยกัน  แยกทางกันเป็นเวลา.......................................ปี  เสียชีวิตแล้วด้วยสาเหตุ.......................................เมื่อ พ.ศ.................... 5.6 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยา (รักกัน, ทะเลาะกันประจำ�)................................................................... ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................................


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

105 เอกสารหมายเลข 12

5.7 บุตร..............................คน ระบุ เพศ และอายุ ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. 5.8 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ�ส่งกับบุตร (กรณีมีบุตร)........................................................................................... ................................................................................................................................................................................. 5.9 ฐานะครอบครัว (จน, ปานกลาง, ดี)................................................................................................................. 5.10 ประวัติทางกรรมพันธุ์ (ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา เคยป่วยเป็นโรคจิต, ชัก) ระบุรายละเอียด ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. 6. ความสามารถในการดูแลสุขอนามัยของตนเอง การจัดการบ้านให้เรียบร้อย การเข้าสังคม ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. 7. ในกรณีคดีอาญา 7.1 เหตุการณ์ก่อนเกิดคดี (ผู้ถูกนำ�ส่งกำ�ลังทำ�อะไร ที่ไหน)................................................................................ ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. 7.2 เหตุการณ์ขณะเกิดคดี และหลังเกิดคดี (ผูถ้ กู นำ�ส่งทำ�อย่างไร เมื่อทำ�แล้วหนีไปไหนหรือ ไม่หนี มีอาการ อย่างไร).................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................. (ลงชื่อ).................................................................... ผู้กรอกแบบสอบถาม ที่อยู่ผู้กรอกแบบสอบถาม บ้านเลขที่ ..................................ชื่อบ้าน (ถ้ามี)...................................................................................หมู่ท.ี่ ........................... ตำ�บล.........................................อำ�เภอ.....................................................จังหวัด.................................................................. เบอร์ โทรศัพท์ (ถ้ามี)..............................................................................................................................................................


106

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 13

หนังสือเชิญญาติพบนักสังคมสงเคราะห์ ที่ สธ 0808.603/

เรื่อง

ขอเชิญพบนักสังคมสงเคราะห์

เรียน

.........................................................................

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. แผนที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ 2. แบบสอบถาม

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

1 ฉบับ 1 ชุด

(ผู้นำ�ส่ง) (ระบุชื่อ-สกุลผู้ถูกนำ�ส่งและจุดประสงค์ ด้วย.........................................................................ได้ ส่งตัว.................................................................................. (ระบุความสัมพันธ์) ของการนำ�ส่ง) ่งเป็น ..................................................................ของท่ ..............................ซึ าน ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตรวจ (ระบุวันที่รับไว้รักษา) วินิจฉัยบำ�บัดรักษาอาการทางจิต ตั้งแต่วันที.่ ................................................................. (ระบุชื่อ - สกุล ขอเรียนว่า ในการตรวจวินิจฉัยแพทย์มีความจำ�เป็นต้องทราบประวัติความเป็นมาของ........................... ของนักสังคมสงเคราะห์) างละเอียด เพื่อจะได้ทราบสาเหตุปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการถูกนำ�ตัวส่งตรวจสภาพจิต ..........................................อย่ (ระบุชื่อและเพื่อเป็นแนวทางการวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป ดังนั้น จึงเรียนมาเพื่อขอความร่วมมือให้ท่านไปพบ...................... สกุล ผู้ถูกนำ�ส่ง) .........................................นั กสังคมสงเคราะห์ ในวัน - เวลาราชการด้วย อนึ่ง หากท่านมีปัญหาข้อขัดข้องใดที่ไม่สามารถไปพบได้ ขอได้กรอกข้อมูลลงในแบบสอบถามที่แนบมา (ระบุชื่อ ผู้ถูกนำ�ส่ง) พร้อมนี้ แล้วส่งกลับคืนไปให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์และหากว่า...............................................................มี บัตร ประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรประกันสังคมหรือสมุด ผูพ้ กิ าร ขอให้ทา่ นได้นำ�หรือส่งบัตรดังกล่าว พร้อมกับแนบ สำ�เนาบัตรประจำ�ตัวประชาชน หรือสำ�เนาทะเบียนบ้าน (เขียนรับรองสำ�เนาถูกต้องในตัวสำ�เนาทุกแผ่น) ให้สถาบัน กัลยาณ์ราชนครินทร์ด้วยจะขอบคุณ ขอแสดงความนับถือ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1305, 1306 โทรสาร 0 2889 9083

(....................................................................) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


107

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 14

หนังสือขอพฤติกรรมคดี ที่ สธ 0808.603/ เรื่อง เรียน

ขอพฤติกรรมคดี (หั วหน้าหน่วยงานที่ต้องการขอเอกสาร) .........................................................................

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

งสือนำ�ส่งที่ ลงวันที่ ) อ้างถึง (หนั ......................................................................... (หน่วยงานที่นำ�ส่ง) (ระบุชื่อ ตามหนังสือที่อ้างถึง.........................................................................ได้ มีคำ�สั่งให้ส่งตัว................................ นามสกุลผู้ถูกนำ�ส่ง) .................................................จำ �เลย/ผู้ต้องหาในคดีอาญาหมายเลขดำ�ที่......................................................................... (ระบุ ค ดี ) เรื่อง.................................................ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ตั้งแต่วันที.่ ................ ................................นั้น

เพื่อให้การทำ�ความเห็นประกอบการพิจารณาของพนักงานสอบสวนหรือศาลว่าผู้ต้องหาหรือจำ�เลย วิกลจริตหรือไม่ สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 และ มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 นั้น สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์มคี วามจำ�เป็นต้องทราบเหตุการณ์ขณะเกิดคดีอย่างละเอียด เพื่อเป็นข้อมูล ในการตรวจสอบการรับรู้เกี่ยวกับคดีของผู้ต้องหา/จำ�เลย ว่าตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ อย่างไร ทั้งนี้สถาบันฯต้อง รายงานผลการตรวจวินิจฉัยและการประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีภายในสี่สิบห้าวันนับตั้งแต่รับไว้ จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์ได้ โปรดส่งสำ�เนาสำ�นวนการสอบสวนผู้เสียหาย จำ�เลย และพยาน หรือสำ�เนาคำ�ฟ้อง หรือสรุปเหตุการณ์ขณะเกิดคดี ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ทราบภายในวันที่.................. ....................................เพื่อนำ�เข้าสู่การประชุมวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวชของสถาบันฯ จะเป็นพระคุณ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โทร. 0 2889 9066 ต่อ 1306 โทรสาร 0 2889 9083

ขอแสดงความนับถือ (....................................................................) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


108

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 15

หนังสือขอพฤติกรรมขณะถูกคุมขัง ที่ สธ 0808.603/

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง

ขอพฤติกรรมขณะถูกคุมขังในเรือนจำ�

เรียน

ผู้บัญชาการเรือนจำ�.........................................................................

อ้างถึง หนังสือ..............................ที่...........................................ลงวันที.่ .......................................................................... ตามหนังสือที่อ้างถึง........................................................ได้มีคำ�สั่งให้ส่งตัว...................................................... ผู้ต้องหา/จำ�เลย ในคดีอาญาที่........................................................เรื่อง........................................................ให้สถาบัน กัลยาณ์ราชนครินทร์ตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ตั้งแต่วันที.่ .......................................................นั้น เพื่อให้การทำ�ความเห็นประกอบการพิจารณาของพนักงานสอบสวนหรือศาล ว่าผู้ต้องหาหรือจำ�เลย วิกลจริตหรือไม่ สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 และ มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 นั้น สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์มีความจำ�เป็นต้องทราบข้อมูลของผู้ต้องหาหรือจำ�เลย ได้แก่ พฤติกรรม ลักษณะการแสดงออกทั่วไป ความสัมพันธ์กับเพื่อนผู้ต้องขัง การบำ�บัดรักษาขณะอยู่ในเรือนจำ� (ถ้ามี) และอื่นๆ ที่สังเกตพบ ทั้งนี้ สถาบันฯต้องรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและการประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีภายในสี่ สิบห้าวันนับตั้งแต่รับไว้ จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์ได้ โปรดส่งข้อมูลดังกล่าว ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ทราบภายใน วันที.่ .......................................................เพื่อนำ�เข้าสูก่ ารประชุมวินจิ ฉัยของคณะกรรมการตรวจวินจิ ฉัยทางนิตจิ ติ เวช ของสถาบันฯ จะเป็นพระคุณ ขอแสดงความนับถือ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โทร. 0 2889 9066 ต่อ 1305, 1306 โทรสาร 0 2889 9083

(....................................................................) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


109

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 16

หนังสือขอประวัติการรักษา

ที่ สธ 0808.603/

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง

ขอประวัติการรักษา

เรียน

ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาล

อ้างถึง หนังสือ..............................ที่...........................................ลงวันที.่ .......................................................................... ตามหนังสือทีอ่ า้ งถึง..........................................................ได้สง่ ตัว........................................................................... อายุ........................ปี มาตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ตั้งแต่วนั ที.่ ...............................................ซึง่ จากการซักถามทราบ ว่าผู้ป่วยเคยเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งนี้มาก่อน นั้น เพื่อให้การทำ�ความเห็นประกอบการพิจารณาของพนักงานสอบสวนหรือศาลว่าผู้ป่วยวิกลจริตหรือไม่ สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 และมาตรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และตามมาตรา 16 (3) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ที่ให้ เปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้ตามที่กฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย นั้น สถาบันฯ จึงขอความอนุเคราะห์จัดส่งสำ�เนาเวชระเบียนของผู้ป่วย หรือสรุปประวัติการเจ็บป่วย การ รักษา การวินิจฉัยโรค ประวัติการชัก การให้ยากันชัก (ถ้ามี) การทดสอบทางจิตวิทยา ประวัติที่ได้จากการรวบรวม ของนักสังคมสงเคราะห์ ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ ผลการตรวจเอกซเรย์สมอง (ถ้ามี) และการตรวจพิเศษ ต่างๆ (ถ้ามี) ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ทราบภายในวันที.่ ...............................................เพื่อนำ�เข้าสู่การประชุม วินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวชของสถาบันฯ จะเป็นพระคุณ กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โทร. 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1305, 1306 โทรสาร 0 2889 9083

ขอแสดงความนับถือ (....................................................................) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


110

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 17

บันทึกข้อความ ส่วนราชการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โทร. 0 2889 9081 โทรสาร 0 2889 9083 ที่ สธ 0808.603/ วันที.่ ..................................................... เรื่อง ขอประวัติการรักษา เรียน

ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาล

(ระบุหน่วยงานนำ�ส่ง) ตามที่................................................................ได้ส่งตัว......................................................อายุ......................ปี มาตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวช ตั้งแต่วันที่................................................ ซึ่งจากการซักถามทราบว่าผู้ป่วยเคยเข้ารับ การรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งนี้มาก่อน นั้น เพื่อให้การทำ�ความเห็นประกอบการพิจารณาของพนักงานสอบสวนหรือศาลว่าผู้ป่วย วิกลจริตหรือไม่ สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 และมาตรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และตามมาตรา 16 (3) แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ที่ให้ เปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยได้ตามที่กฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย นั้น สถาบันฯ จึงขอความอนุเคราะห์จัดส่งสำ�เนาเวชระเบียนของผู้ป่วย หรือสรุปประวัติการเจ็บป่วย การ รักษา การวินิจฉัยโรค ประวัติการชัก การให้ยากันชัก (ถ้ามี) การทดสอบทางจิตวิทยา ประวัติที่ได้จากการรวบรวม ของนักสังคมสงเคราะห์ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจเอกซเรย์สมอง (ถ้ามี) และการตรวจพิเศษ ต่างๆ (ถ้ามี) ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ทราบภายในวันที.่ ...............................................เพื่อนำ�เข้าสู่การประชุม วินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจวินิจฉัยทางนิติจิตเวชของสถาบันฯ จะเป็นพระคุณ

ขอแสดงความนับถือ

(....................................................................) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


111

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 18

หนังสือขอสำ�เนาคำ�พิพากษา

สธ 0808.603/

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170

เรื่อง

ขอสำ�เนาคำ�พิพากษา

เรียน

ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล

วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

อ้างถึง หนังสือศาลจังหวัด..............................ที.่ ..................................ลงวันที.่ ................................................................ ตามหนังสือที่อ้างถึง......................................................ได้มีคำ�สั่งให้ส่ง.............................................................. จำ�เลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่................................................เรื่อง............................................................................... ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์บำ�บัดรักษาสภาพจิต ตั้งแต่วันที.่ ...........................................................นั้น ทางสถาบันฯ มีความประสงค์ที่จะศึกษาพฤติกรรมกระทำ�ความผิดของจำ�เลยซึ่งมีความผิดปกติทางจิต และจำ�เป็นต้องได้รับการบำ�บัดรักษา เพื่อประกอบการวางแผนการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งเตรียม ความพร้อมของจำ�เลย ครอบครัวและชุมชนต่อไป จึงเรียนมาเพื่อขอความอนุเคราะห์จดั ส่งสำ�เนาคำ�พิพากษาของจำ�เลยให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จะ เป็นพระคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ

(....................................................................) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โทร. 0 2889 9066 ต่อ 1306 โทรสาร 0 2889 9083


112

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 19

แบบบันทึกประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (นักสังคมสงเคราะห์) ชื่อ-สกุลผู้ป่วย.............................................................เลขที่บัตรประจำ�ตัวประชาชน........................................................ สถานภาพสมรส..................................อายุ..............ปี การศึกษา...................................อาชีพ........................................ ภูมิลำ�เนา................................................................................................................................................................................. โทรศัพท์............................................................. คดี.............................................................................................................คดีอาญาที่............................................................. ผูน้ �ำ ส่ง....................................................................................................................................................................................... วัตถุประสงค์การนำ�ส่ง.......................................................................................................................................................... สถาบันฯ รับไว้ วันที่.........................................................รับไว้ครั้งที่................................ข้อมูลพร้อม วันที่.................... วันประชุมวินิจฉัยโรค วันที่......................................................... ที่มาของข้อมูล 1. เอกสารทางราชการ ได้แก่ 1.1 สำ�เนาสรุปพฤติการณ์ของคดีจาก 1.2 สำ�เนาเวชระเบียนจาก 1.3 สำ�เนาพฤติกรรมขณะถูกคุมขังในเรือนจำ�จาก 2. สัมภาษณ์ 2.1 ผู้ป่วย วันที.่ ................................................................... 2.2 ญาติ (ระบุ.........................................) วันที.่ ...................................................................  ลักษณะที่พบ เมื่อวันที่................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... .........................................................................................................................................................................................  ประวัติส่วนตัว ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอดและพัฒนาการที่สำ�คัญ ประวัติด้านการเลี้ยงดู................................................................................................................................................... ประวัติด้านการศึกษา / การเข้าสังคม/การเกณฑ์ทหาร.......................................................................................... ประวัติการประกอบอาชีพ............................................................................................................................................. ประวัติชีวิตสมรส........................................................................................................................................................... งานอดิเรก / ความสนใจ / กิจกรรม........................................................................................................................... ประวัติการใช้สารเสพติด...............................................................................................................................................


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

113

เอกสารหมายเลข 19 ประวัติการประสบอุบัติเหตุและการถูกทำ�ร้ายร่างกาย.............................................................................................. ประวัติการใช้สารเสพติด.............................................................................................................................................. ประวัติการทำ�ร้ายตนเอง............................................................................................................................................... บุคลิกภาพเดิม ....................................................................................................................................................................

 ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช ประวัติความเจ็บป่วย การรักษาทางการแพทย์และจิตเวช ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... .........................................................................................................................................................................................  ประวัติครอบครัว (อายุ อาชีพ อุปนิสัย) ประวัติของบิดา.............................................................................................................................................................. (อายุ อาชีพ อุปนิสัย) ประวัติของมารดา ......................................................................................................................................................... จำ�นวนพี่น้องทั้งหมด (ระบุรายละเอียดของพี่น้องแต่ละคน---ชื่อ-นามสกุล, อายุ, อาชีพ, ความเจ็บป่วยทาง จิต(ถ้ามี))................................................................................................................................................................................... ความสัมพันธ์ ในครอบครัว............................................................................................................................................ ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง......................................................................................................................................... ฐานะทางเศรษฐกิจ........................................................................................................................................................ ประวัติทางกรรมพันธุ์.................................................................................................................................................... ระบุรายละเอียดของคดี และการตัดสิน  ประวัติการกระทำ�ความผิดในอดีต :....................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... .........................................................................................................................................................................................  คดีในปัจจุบัน พฤติกรรมคดี : จากสรุปพฤติการณ์ของคดีจาก.................................................................................................มี รายละเอียดดังนี้ ผู้ป่วยกระทำ�ผิด เมื่อวันที่...........................................................เวลาประมาณ...................................................... น. เหตุเกิดที.่ ............................................................................................................................................................................ พฤติการณ์ของคดี ........................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... .........................................................................................................................................................................................


114

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 19 จากคำ�บอกเล่าของผู้ป่วยเกี่ยวกับคดีขณะมารับการรักษาที่สถาบันฯ : การรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับคดีของ ผู้ป่วย........................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................................................................................  การลงความเห็นและระบุเหตุผล ................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ (....................................................................) นักสังคมสงเคราะห์

บันทึกความเห็นของนักสังคมสงเคราะห์ ในวันประชุมวินิจฉัยโรค ................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................


115

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 20 ผค 1

แบบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี ที่ ชื่อสถานพยาบาลหรือสถานบำ�บัด

วันที.่ .......................เดือน............................พ.ศ................

ชื่อผูร้ บั การตรวจ.........................................................อายุ...................ปี สัญชาติ............การศึกษา..................... เลขทีท่ วั่ ไป....................................รับครัง้ ที.่ ...................................รับตัวไว้ตงั้ แต่วนั ที่........................................ หน่วยงานนำ�ส่ง.................................................................................................................................................... แหล่งทีม่ าของข้อมูล........................................................................................................................................... ประวัติการเจ็บป่วย  ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช  การตรวจสภาพจิต ผลการตรวจร่างกาย........................................................................................................................................... ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ.......................................................................................................................... การตรวจทางจิตวิทยา การวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี 1. ความสามารถในการรับรู้กาล เวลา สถานที่ บุคคล และสิ่งต่างๆ รอบตัว  มีความสามารถ  ไม่มีความสามารถ 2. ความเข้าใจตระหนักรู้เรื่องของข้อกล่าวหา ความสามารถในการเล่าเหตุการณ์ตามข้อเท็จจริงที่ถูก กล่าวหาและความสามารถในการพูดคุยและตอบคำ�ถามได้ตรงคำ�ถาม  มีความเข้าใจ  ไม่มีความเข้าใจ 3. ความสามารถในการรับรู้ถึงผลที่เกิดขึ้นจากคดี  มีความสามารถ  ไม่มีความสามารถ 4. ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง  มีความสามารถ  ไม่มีความสามารถ ผลการประเมิน  สามารถต่อสู้คดีได้ ความเห็นอื่นๆ

 ยังไม่สามารถต่อสู้คดี

(.....................................................................) จิตแพทย์เจ้าของไข้


116

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 21 ที่ สธ 0808.603/ เรื่อง

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

ส่งรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี

เรียน อ้างถึง หนังสือที่……………ลงวันที่………………. สิ่งที่ส่งมาด้วย รายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี 1 ชุด จำ�นวน….แผ่น ตามหนังสือทีอ่ า้ งถึง………….ได้สง่ ตัว (ชื่อผูป้ ว่ ย)………… จำ�เลยในคดีอาญาหมายเลขดำ�/แดงที…่ ……เรื่อง (คดี)………………………………………………………… ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ตรวจวินจิ ฉัยและประเมินความสามารถ ในการต่อสู้คดี นั้น สถาบันฯ ได้ดำ�เนินการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี โดยทีมตรวจวินิจฉัย ประกอบด้วยจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาคลินกิ และนักกิจกรรมบำ�บัดเสร็จเรียบร้อย แล้ว ดังนั้นจึงขอส่งรายงานผลตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดีมาให้ท่านเพื่อประกอบการ พิจารณาคดีดังกล่าวข้างต้นต่อไป (รายละเอียดตามรายงานฯ ที่แนบมา) เห็นควรรับตัวไปดำ�เนินการต่อ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดำ�เนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป จะเป็นพระคุณ ขอแสดงความนับถือ

กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โทร. 0 2889 9066 ต่อ 1306 โทรสาร 0 2889 9083

(นางดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์) รองผู้อำ�นวยการฝ่ายการแพทย์ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


117

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 22

แบบรายงานผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ชื่อ....................................................................นามสกุล..................................อายุ.................ปี เพศ.................................. ผู้ส่งตรวจ................................................................................................................................................................................. คดี / เหตุที่ส่งตรวจ............................................................................................................................................................... เครื่องมือทดสอบที่ใช้........................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... วัน/เดือน/ปี ที่ทดสอบ.......................................................................................................................................................... ลักษณะทั่วไป.......................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... พฤติกรรมขณะทดสอบ.......................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก - ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา / อายุสมอง ........................................................................................................................................................................................................ - พยาธิสภาพทางจิต / และหรือองค์ประกอบร่วมของความผิดปกติทางจิตเวชอื่น ................................................................................................................................................................................................... - พยาธิสภาพทางประสาทจิตวิทยา ........................................................................................................................................................................................................ - ปัญหาบุคลิกภาพอื่น ๆ ................................................................................................................................................................................................... สรุปผล..................................................................................................................................................................................... - การวินิจฉัยทางคลินิก ........................................................................................................................................................................................................ - การวินิจฉัยทางกฎหมาย ................................................................................................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ - ข้อควรระวัง เช่น ความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง ........................................................................................................................................................................................................ - การให้การช่วยเหลือ บำ�บัด ฟื้นฟู ที่จำ�เป็น ...................................................................................................................................................................................................

(..............................................) นักจิตวิทยาคลินิก


118

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 23


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

119 เอกสารหมายเลข 24


120

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 25


121

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 26

แบบบันทึกประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ) ชื่อ................................................................นามสกุล.................................................อายุ..............................ปี คดี...................................................................................................................................................................... ผู้นำ�ส่ง............................................................................................................................................................... วันที่รับไว้ ในสถาบันฯ................................../................................../.................................. วันที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพ................................../................................../.................................. พบผู้ป่วยหลังรับไว้ ในสถาบันฯ.............................วัน อาการแรกรับ ........................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... การรับรู้การเจ็บป่วยทางจิต ........................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... การรับรู้พฤติกรรมคดี ........................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ผลการประเมินความสามารถในการประกอบกิจกรรม ........................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... อาการ/พฤติกรรมขณะเข้าร่วมกลุม่ กิจกรรมฟืน้ ฟูสมรรถภาพ (........../........../..........) ถึง (........../........../..........) ........................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... สรุปความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ ความเจ็บป่วยทางจิต  มีความเจ็บป่วยทางจิต  ไม่พบอาการป่วยทางจิต


122

ความรู้ผิดชอบขณะประกอบคดี  รู้ผิดชอบ  ไม่รู้ผิดชอบ

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 26

ความสามารถในการต่อสู้คดี  สามารถต่อสู้คดี/รับไปดำ�เนินคดีต่อได้  ยังไม่สามารถต่อสู้คดี/เห็นควรรักษาต่อ ความคิดเห็นอื่นๆ / ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ........................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ลงชื่อ....................................................................... (.....................................................................) ตำ�แหน่ง.................................................................. ....................../....................../......................


123

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 27

แบบบันทึกการประเมินสภาพผู้ป่วย (พยาบาล) ประเภทผู้ป่วย  นิติจิตเวช  จิตเวชทั่วไป  สารเสพติด  อื่น ๆ ระบุ............................................... ผูน้ �ำ ส่ง........................................................................................................................................................................................ วัตถุประสงค์การนำ�ส่ง........................................................................................................................................................... ลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยแรกรับ.......................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... พฤติกรรมและอาการแรกรับ............................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ข้อมูลเกี่ยวกับคดี................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ผู้ ให้ข้อมูล  ผู้ป่วย  ญาติ ระบุ  หน่วยงานนำ�ส่ง ส่วนที่ 1 ประวัติการเจ็บป่วย 1. อาการสำ�คัญที่เป็นสาเหตุนำ�ผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... 2. ความเจ็บป่วยในปัจจุบัน 2.1 ความเจ็บป่วยทางจิต............................................................................................................................................. ..................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... 2.2 ความเจ็บป่วยทางกาย/โรคประจำ�ตัว ..................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ตึก................................................ชื่อ – สกุล...........................................HN....................AN....................... แก้ไขครั้งที่ 04 วันที่ประกาศใช้ 1 มีนาคม 2549 องค์กรพยาบาล

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


124

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 27

3. ความเจ็บป่วยในอดีต 3.1 การเจ็บป่วยทางกาย  ไม่มี  มี ระบุ 3.2 การเจ็บป่วยทางจิต  ไม่มี  มี ระบุ 3.3 การได้รับอุบัติเหตุ  ไม่มี  มี ระบุ 3.4 การถูกทำ�ร้ายร่างกาย  ไม่มี  มี ระบุ 3.5 การผ่าตัด  ไม่มี  มี ระบุ 3.6 การแพ้ (ยา อาหาร ฯลฯ)  ไม่มี  มี ระบุ 3.7 การชัก  ไม่มี  มี ความถี่ ครั้งแรกเมื่อ...........................................................ครั้งสุดท้ายเมื่อ..................................................................... ลักษณะการชัก.......................................................อาการนำ�............................................................................... 4. การใช้สารเสพติด  ไม่ใช้  ใช้ ระบุ (ชนิด ปริมาณ ระยะเวลาที่ใช้)........................................................ ................................................................................................................................................................................................... ส่วนที่ 2 การประเมินสภาพผู้ป่วยด้านร่างกาย 1. สัญญาณชีพ  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 2. ระดับความรู้สึกตัว  รู้สึกตัวดี  สับสน  ไม่รู้สึกตัว  อื่น ๆ 3. การตรวจร่างกายตามระบบ 3.1 ผิวหนัง  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 3.2 หู ตา จมูก  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 3.3 ช่องปาก/ฟัน  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 3.4 ระบบประสาท  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 3.5 ระบบหัวใจและหลอดเลือด  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 3.6 ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 3.7 ระบบช่องท้องและทางเดินอาหาร  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 3.8 ระบบขับถ่าย  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 3.9 ระบบสืบพันธุ์  ไม่พบความผิดปกติ  พบความผิดปกติ ระบุ 4. การทำ�หน้าที่ทางร่างกาย 4.1 การรับประทานอาหาร * พฤติกรรมการรับประทานอาหาร  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ * ความอยากรับประทานอาหาร  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ ตึก.............................................................ชื่อ – สกุล.................................HN............................AN.................. แก้ไขครั้งที่ 04 วันที่ประกาศใช้ 1 มีนาคม 2549 องค์กรพยาบาล

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


125

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 27

4.2 การดื่มน้ำ�  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 4.3 การทำ�กิจกรรม/การออกกำ�ลังกาย  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 4.4 การนอนหลับ  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 4.5 การขับถ่ายอุจจาระ  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 4.6 การขับถ่ายปัสสาวะ  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 4.7 ความรู้สึกและความต้องการทางเพศ  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ ส่วนที่ 3 การประเมินสภาพผู้ป่วยด้านจิตใจ 1. ลักษณะของอารมณ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  แจ่มใส  ครื้นเครง  เศร้า  โกรธ  หงุดหงิด  เฉยเมย/ไร้อารมณ์  กลัว  อื่น ๆ ระบุ 2. คุณภาพของอารมณ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  มั่นคง  เปลี่ยนแปลงง่าย  สอดคล้องกับเหตุการณ์  ไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์ 3. การสื่อสาร 3.1 น้ำ�เสียง (เบา เสียงดัง) 3.2 ลักษณะการพูด (ไม่พูด พูดช้า พูดเร็ว พูดมาก) 4. การตัดสินใจ  สมเหตุสมผล  ไม่สมเหตุสมผล  อื่น ๆ ระบุ 5. สมาธิ  มีสมาธิ  ไม่มีสมาธิ  อื่น ๆ ระบุ 6. ความคิด 6.1 กระแสความคิด  ปกติ  คิดไม่ปะติดปะต่อกัน  คิดวกวน  อื่น ๆ ระบุ 6.2 เนื้อหาความคิด  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 7. การรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Hallucination)  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 8. การรู้วัน เวลา สถานที่ และบุคคล (Orientation) 8.1 วัน/เวลา  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 8.2 สถานที่  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 8.3 บุคคล  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 9. ความจำ� 9.1 ความจำ�ทันทีทันใด  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 9.2 ความจำ�ปัจจุบัน  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ 9.3 ความจำ�ในอดีต  ปกติ  ไม่ปกติ ระบุ

ตึก.............................................................ชื่อ – สกุล.................................HN............................AN.................. แก้ไขครั้งที่ 04 วันที่ประกาศใช้ 1 มีนาคม 2549 องค์กรพยาบาล

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


126

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 27

10. การรับรู้ภาวการณ์เจ็บป่วยทางจิต (Insight)  ยอดรับ  ปฏิเสธ  อื่น ๆ ระบุ 11. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง  ปกติ  ต่ำ�  อื่น ๆ ระบุ 12. การประเมินความเสี่ยง  การฆ่าตัวตาย/ทำ�ร้ายตนเอง การทำ�ร้ายร่างกายผู้อื่น  การเกิดอุบัติเหตุ  การหลบหนี  การเกิดอาการจากฤทธิ์ข้างเคียง หรือ ADR ของยาต้านโรคจิต  อื่นๆ ระบุ 13. แบบแผนการเผชิญกับความเครียด (เช่น หลีกหนี โทษคนอื่น ปรึกษาผู้อื่น ใช้วิธีการผ่อนคลายความเครียด ฯลฯ) ..................................................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... ส่วนที่ 4 การประเมินสภาพผู้ป่วยด้านสังคมและจิตวิญญาณ 1. บทบาทในครอบครัว  หัวหน้าครอบครัว  สมาชิกในครอบครัว ระบุ 2. ความสัมพันธ์ ในครอบครัว  รักใคร่กันดี  ขัดแย้ง  ห่างเหิน  อื่น ๆ ระบุ 3. บุคคลที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วย  สมาชิกในครอบครัว ระบุ  บุคคลอื่น ระบุ 4. การมีส่วนร่วมในชุมชน  ไม่มี  มี ระบุ 5. รายได้ของผู้ป่วย..........................................จำ�นวน.................................บาท/เดือน............................แหล่งรายได้  พอใช้  ไม่พอใช้ 6. ความเชื่อ/ความศรัทธา  ไสยศาสตร์ ระบุ  คุณความดี  อื่น ๆ ระบุ 7. สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ระบุ ข้อมูลเพิ่มเติม (จากญาติ/ผู้นำ�ส่ง) ..................................................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................................

ลงชื่อ......................................................(ผู้ประเมิน) วดป.ที่ประเมิน.............................................

ตึก.............................................................ชื่อ – สกุล.................................HN............................AN.................. แก้ไขครั้งที่ 04 วันที่ประกาศใช้ 1 มีนาคม 2549 องค์กรพยาบาล สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

แก้ไขครั้งที่ 03 วันที่ประกาศใช้ 1 เมษายน 2551 คณะกรรมการเวชระเบียน

127 เอกสารหมายเลข 28


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 29

128


129 เอกสารหมายเลข 30

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช


130

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

อกสารหมายเลข 31

หนังสือส่งตัวผู้ป่วยไปรับการตรวจรักษาโรคทางกายนอกสถาบันฯ (สน./สภอ.)

ที่ สธ 0808/ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................ เรื่อง ขอกำ�ลังเจ้าหน้าที่ตำ�รวจเพื่อควบคุมผู้ต้องหา และ/หรือผู้ต้องขังนิติจิตเวช เรียน ผู้กำ�กับการสถานีตำ�รวจ

อ้างถึง หนังสือ

(ถ้ามี)

ตามหนังสือที่อ้างถึง (หน่วยงาน)…………………………………………………………ส่งผู้ต้องหา และ/หรือผู้ต้องขัง ชื่อ นาย/นาง/นางสาว/……………………………………………………………คดี……………………………………………………………………… และสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ได้รับไว้ เพื่อตรวจวินิจฉัยบำ�บัดรักษาแบบผู้ป่วยใน ตั้งแต่วันที ่ ………………………… เดือน……………………พ.ศ……………………นั้น ขณะนี้ ผู้ ต้ อ งหา และ/หรื อ ผู้ ต้ อ งขั ง ดั ง กล่ า วมี ค วามจำ � เป็ น ต้ อ งไปตรวจรั ก ษาโรคทางกายที่ โรงพยาบาล………………………………………… ในวันที่……………………เวลา……………………น. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จึงใคร่ขอความกรุณาท่านดำ�เนินการจัดกำ�ลัง เจ้าหน้าที่ต�ำ รวจเพื่อควบคุมผู้ต้องหา และ/หรือผู้ต้องขังไปรับการ รักษาในวันและเวลาดังกล่าว

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำ�เนินการต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณ

งานประสานงานระหว่างรักษา โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1303 โทรสาร 0 2889 9083

ขอแสดงความนับถือ (……………………………………………) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


131

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 32

หนังสือส่งตัวผู้ป่วยไปรับการตรวจรักษาโรคทางกายนอกสถาบันฯ (ศาลส่ง)

ที่ สธ 0808/ เรื่อง (ชื่อผู้ป่วย/ชื่อหนังสือ) เรียน

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

(ผู้นำ�ส่ง)

อ้างถึง หนังสือ…………………………………(ผูน้ �ำ ส่ง) ที…่ …………/………………ลงวันที…่ ……เดือน………………พ.ศ……………… (ผู้นำ�ส่ง) ตามหนังสือทีอ่ า้ งถึง……………………………................……ได้ สง่ ตัว นาย/นาง/นางสาว/………………………………… ผู้ต้องหา/จำ�เลยในคดี (ระบุสถานะตามข้อกฎหมายแล้วแต่กรณี)………………………………………………………....…………… ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตรวจวินิจฉัยและรักษา ตั้งแต่วันที่……....…เดือน………….....……พ.ศ…………......……นั้น ขอเรียนว่า สถาบันฯได้ ให้การตรวจรักษาผู้ป่วยตลอดมา แพทย์ผู้ทำ�การตรวจรักษาตรวจพบว่า ผู้ป่วยมี โรคแทรกซ้อนทางกาย (ตามคำ�สั่งแพทย์) เพื่อการตรวจรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม เห็นควรได้รับการรักษาโรคทางกาย ณ ทัณฑสถาน โรงพยาบาล ราชทัณฑ์

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและโปรดดำ�เนินการต่อด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง

งานประสานงานระหว่างรักษา โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1303 โทรสาร 0 2889 9083

ขอแสดงความนับถือ (……………………………………………) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


132

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 33

หนังสือรายงานแจ้งผลการติดตามผู้ถูกนำ�ส่งหลบหนี ที่ สธ 0808/ เรื่อง ผู้ป่วยหลบหนี เรียน

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

(หน่วยงานที่รับอายัดตัว / หน่วยงานที่นำ�ส่ง) …………………………………………………………………………………

(สถานีตำ�รวจที่นำ�ส่ง) ่………………………………ลงวันที่…………………………………………………… อ้างถึง (1) หนังสือ………………………………………ที (2) หนังสือสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ที่…………………………………………ลงวันที่ ………………………………… (หน่วยงานที่นำ�ส่ง) ตามหนังสือที่อ้างถึง (1)…………………………….............................……ได้ ส่งตัว และขออายัตตัว นาย/นาง/ (คดี) นางสาว……………………………………ผู้ต้องหา/จำ�เลยโดยกล่าวหาว่า………………………………………………………………………… ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตรวจรักษาและวินิจฉัยสภาพจิต และสถาบันฯ ได้แจ้งให้ท่านทราบว่าผู้ป่วยได้ หลบหนีออกจากสถาบันฯ เมื่อวันที่……………………...……………………เวลา…………………………………………น. ตามหนังสือ ที่อ้างถึง (2) นั้น

ขอเรียนว่า สถาบันฯ ได้พบผู้ป่วยแล้ว เมื่อวันที่…………………………………………เวลา………………………น.

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ขอแสดงความนับถือ

(……………………………………………) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

งานประสานงานระหว่างรักษา โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1303 โทรสาร 0 2889 9083


133

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 34

หนังสือแจ้งผู้ป่วยถึงแก่กรรม ที่ สธ 0808/

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170

วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง ผู้ป่วยถึงแก่กรรม เรียน ผู้บัญชาการเรือนจำ�………………………………………………………

(ออกหนังสือ) อ้างถึง หนังสือเรือนจำ�…………………………………ที่………………………………ลงวันที่……………………………… สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. สำ�เนาหนังสือรับรองการตาย 2. สำ�เนาใบมรณะบัตร

1 ฉบับ 1 ฉบับ

ตามหนังสือที่อ้างถึง เรือนจำ�……………………………………ส่งตัว นาย/นาง/นางสาว…………………………………… ผู้ต้องขังคดี…………………………………..…………ระหว่างพิจารณาคดีหมายเลขดำ�/แดงที่………………………....………………… ของศาล/สถานีตำ�รวจ………………………………………………………………………ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ตรวจรักษา สภาพจิต ตั้งแต่วันที่……………………………………………นั้น ขอเรียนว่า นาย / นาง / นางสาว…………………………………………………...……………………………ได้ถึงแก่กรรม (บอกสาเหตุการเสียชีวิตตามความเห็นแพทย์) ด้วยสาเหตุ………………………………………....…………………………………………………เมื่ อวันที่……………………………………………… เวลา…………………………………………………………………………น. จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำ�เนินการต่อไปด้วยจะเป็นพระคุณ ขอแสดงความนับถือ (………………………………………………………) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ งานประสานงานระหว่างรักษา โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1303 โทรสาร 0 2889 9083


134

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 35

แบบบันทึกการเตรียมจำ�หน่ายและดูแลต่อเนื่องกรณีผู้ป่วยตามรูปแบบ D-METHOD (งานนิติจิตเวชชุมชน) 1. การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย/ผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วย 1.1 ความเข้าใจ การยอมรับความเจ็บป่วยทางจิตเวช และการรับรู้อาการเตือนของโรคจิตเวช ผูป้ ว่ ย.......................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ญาติ/ผูด้ แู ล............................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... 1.2 ความเข้าใจและการยอมรับการรักษาทางจิตเวช ผูป้ ว่ ย.......................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ญาติ/ผูด้ แู ล............................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... 1.3 ที่อยู่อาศัย/เศรษฐกิจ / สิทธิบัตร ระบุบุคคลที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่............................................................................................หรือ  อยู่คนเดียว ปัญหาด้านเศรษฐกิจ............................................................................................................................................................... 1.4 ความเข้าใจ และเป้าหมายของการรักษา ผูป้ ว่ ย.......................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ญาติ/ผูด้ แู ล............................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... 1.5 การดำ�เนินชีวิตประจำ�วันด้านสุขภาพ ผูป้ ว่ ย.......................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................................... ญาติ/ผูด้ แู ล............................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................................................................... 1.6 การมาตรวจตามนัด/การรักษาต่อเนื่อง ................................................................................................................................................................................................... 1.7 ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหาร/สิ่งเสพติด ...................................................................................................................................................................................................


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

135

2. 3.

เอกสารหมายเลข 35 1.8 สรุปจากการประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย/ผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วย D  ความรู้เรื่องโรคและการรักษา M  ความรู้เรื่องยาทางจิตเวช E  ความรู้เรื่องการดูแลที่อยู่อาศัย/เศรษฐกิจ/สิทธิบัตร T  ความรู้ ความเข้าใจในเป้าหมายการรักษาและทักษะตามแผนการบริการ H  การดำ�เนินชีวิตประวันด้านสุขภาพ O  ความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจตามนัดและการรักษาต่อเนื่อง D  ความรู้ ความเข้าใจเรื่องอาหาร สารเสพติดที่มีผลต่อการเจ็บป่วย การให้บริการ  ให้ความรู้เรื่องโรคและการรักษา  ให้ความรู้เรื่องการดูแล/ปฏิบัติตัว  ให้ข้อมูลการบริการที่จะได้รับ/แผนการพยาบาล  ทำ�จิตบำ�บัดแบบประคับประครองรายบุคคล/กลุ่ม  ให้ข้อมูลการใช้สิทธิบัตร/ค่าใช้จ่าย  ให้ข้อมูลการบริการสาธารณสุขหลังจำ�หน่าย  การบำ�บัดครอบครัว  ประสานการดูแลกับทีมสหวิชาชีพ  วางแผนด้านการประกอบอาชีพ/ที่อยู่หลังจำ�หน่าย  ประสานสาธารณสุขในการเตรียมชุมชน  เตรียมความพร้อมญาติในการดูแลผู้ป่วย  ประสานสาธารณสุขในการติดตามหลังจำ�หน่าย  ลงพื้นที่เตรียมครอบครัว/ชุมชนวันที่  ติดตามหลังจำ�หน่ายตามระบบบริการนิติจิตเวช  วางแผนตรวจ/ติดตามในเรือนจำ�  ประสานการดูแลกองบริการทางการแพทย์ กรมราชทัณฑ์  ประสานเรือนจำ�ในการติดตามดูแลหลังจำ�หน่าย  ติดตามผลการดำ�เนินคดีจากพนักงานสอบสวนหลังจำ�หน่าย  อื่นๆ ระบุ........................................................................................................................................................... สรุปรายงานความก้าวหน้า........................................................................................................................................... .........................................................................................................................................................................................

ผู้บันทึก...........................................................................


136

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 36

หนังสือขอความร่วมมือประสานการเตรียมชุมชนสำ�หรับผู้ป่วยนิติจิตเวช ที่ สธ 0808.901/ว.2040

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง

ขอความร่วมมือประสานการเตรียมชุมชนสำ�หรับผู้ป่วยนิติจิตเวช

เรียน

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

สิ่งที่ส่งมาด้วย แบบฟอร์มแจ้งกลับผลการเตรียมชุมชน เพื่อพร้อมรับผู้ป่วยกลับไปอยู่กับครอบครัว (F 042.26) (ชื่อผู้ป่วย) ตามที่........................................................อายุ ....................................ปี H.N.............................มีภูมิลำ�เนาอยู่

บ้านเลขที่.........................................ญาติที่ติดต่อได้.............................................................................................................. โดยผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ครั้งที่...............................ตั้งแต่วันที่................................... บัดนี้ แพทย์ได้ท�ำ การรักษาอาการทางจิต พบว่าผูป้ ว่ ยมีอาการ........................................................................... แพทย์วินิจฉัยป่วยเป็นโรค..........................................................ปัจจุบันได้รับการรักษาดังนี้............................................. และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมญาติและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยหลังจำ�หน่าย แต่เนื่องจากผู้ป่วยมีปัญหา ................................................................................................................................................................................................... ปัจจุบันผู้ป่วยยังคงรักษาอยู่ในสถาบันฯ หากอาการทางจิตสงบและจำ�หน่ายจะแจ้งให้ท่านทราบต่อไป ในการนี้ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ขอความร่วมมือมายังผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตในหน่วยงานของ ท่านประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อ 1. เตรียมครอบครัวของผูป้ ว่ ย ให้มคี วามรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับการดูแลผูป้ ว่ ยจิตเวช และ มีสว่ นร่วม ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน 2. เตรียมชุมชนทีผ่ ปู้ ว่ ยจะกลับไปอยู่ ให้มคี วามเข้าใจ มีเจตคติทดี่ ตี อ่ ผูป้ ว่ ยจิตเวช เพื่อให้ชมุ ชนมีสว่ น ร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน หากผลการเตรียมชุมชนเป็นประการใด ขอได้ โปรดแจ้งกลับตามแบบฟอร์ม F042.26 ที่แนบมานี้ เพื่อ สถาบันฯ จะได้ดำ�เนินการต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำ�เนินการต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณ ขอแสดงความนับถือ (………………………………………………………) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กลุ่มพัฒนาความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1421 โทรสาร 0 2889 9083


137

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 37

แบบฟอร์มแจ้งกลับผลการเตรียมชุมชนเพื่อพร้อมรับผู้ป่วยกลับไปอยู่กับครอบครัว ชื่อผู้ป่วย………………………….......………อายุ………………………………………ปี H.N.………………………………………… ทีอ่ ยู… ่ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… วันที่ลงพื้นที่………………………………………………………………………………………………………………........………………  ผลการเตรียมครอบครัว ได้พบญาติ คือ……………………………………………………………………………….……………………........…………...... ญาติมีความรู้สึก/ความคิดเห็นต่อผู้ป่วยดังนี้ ……………………………………………………………………………………………………………………………........…………...... ……………………………………………………………………………………………………………………………........…….……..... ญาติเข้าใจผู้ป่วย และพร้อมที่จะดูแลหรือไม่ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………........….………..... ……………………………………………………………………………………………………………………………........….………..... ญาติมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………........……….…..... ……………………………………………………………………………………………………………………………........……….….....  ผลการเตรียมชุมชน ชุมชนมีเจตคติและความพร้อมต่อการกลับไปอยู่ของผู้ป่วยอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………………........……….…..... ……………………………………………………………………………………………………………………………........……….….....  ความเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการเตรียมครอบครัวและชุมชนในครั้งนี้  ครอบครัวพร้อมรับผู้ป่วยกลับไปดูแล  ครอบครัวไม่พร้อมรับผู้ป่วยกลับไปดูแล เนื่องจาก………………………………………………………………………………………………………........……….….....  ปัญหา และอุปสรรคในการติดตามดูแลต่อเนื่อง……………………………………….........…………..... ……………………………………………………………………………………………………………........…………..... ……………………………………………………………………………………………………………........…………..... กลุ่มพัฒนาความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1421 โทรสาร 0 2889 9083

ผู้แจ้งผล………………………………........…..………..... ตำ�แหน่ง………………………………........……..……..... หน่วยงาน………………………………........…………..... โทรศัพท์………………………………........…..………..... วันทีแ่ จ้งข้อมูล……………………………........………….....


138

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 38

แบบบันทึกการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช (Case Conference) วันที่ รับครั้งที่ คดี ผู้นำ�ส่ง สาเหตุนำ�ส่ง ลักษณะทั่วไป

เดือน เมื่อวันที่

พ.ศ. พ.ศ.

เดือน

พฤติกรรมอาการแรกรับ

ประวัติจากเจ้าหน้าที่นำ�ส่ง / ญาติ ขณะแรกรับ การรักษาแรกรับ

สรุปอาการตั้งแต่แรกรับจนถึงปัจจุบัน รวมอยู่โรงพยาบาล วัน สัปดาห์แรกหลังรับไว้

สัปดาห์ที่ 2 หลังรับไว้

1 เดือนหลังรับไว้

Hospital Number Patient’s name Admission Number Age Sex HOSPITAL สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

Ward

Date Nurse NURSE REPORT


139

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 38 2 เดือนหลังรับไว้

อาการปัจจุบัน

การรักษาปัจจุบัน

ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผล X-ray

ผู้เตรียม

ลักษณะของผู้ถูกส่งตรวจ สรุปผล ผู้นำ�เสนอ Hospital Number Patient’s name Date Admission Number Age Sex Ward Nurse


140

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 38

ตัวอย่างการสรุปข้อมูลเพื่อนำ�เสนอการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวชแบบผู้ป่วยใน (พยาบาล) วันประชุมที่........................เดือน...................................พ.ศ...…….. รับครั้งที่.............................เมื่อวันที่..........................เดือน...............................พ.ศ................... (วันที่รับไว้เป็นผู้ป่วยใน) คดี (ผู้ป่วยต้องหาคดีอะไร ดูจากหนังสือส่งตัว) ผู้นำ�ส่ง (หน่วยราชการที่ส่งมา ดูจากหนังสือส่งตัว) สาเหตุนำ�ส่ง พิจารณาจากวัตถุประสงค์ของหนังสือส่งตัว ลักษณะทั่วไป - ระบุเพศ ชาย หญิง อายุ............สมวัยหรือไม่ (อ่อนหรือแก่กว่าวัย) - รูปร่าง สีผิว สีผม ลักษณะการไว้ผม - ลักษณะการแต่งกายเหมาะสมกับวัย ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือไม่ เสือ้ ผ้าทีส่ วมใส่เป็น อย่างไร/สี - ความสะอาดของร่างกายทั่วไป สะอาดหรือสกปรก - ลักษณะร่างกายปกติหรือไม่ มีความพิการที่ส่วนใด บาดแผล แผลเป็น รอยสัก รอยฟกช้ำ� มีหรือไม่ ถ้ามีอยู่ส่วนใดของร่างกาย ตัวอย่างการเขียน ชายไทยวัย 49 ปี หน้าตาแก่กว่าวัย ผมสีขาว เป็นส่วนมากและตัดสั้นเกรียน รูปร่าง อ้วนเตี้ย (น้ำ�หนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 155 เซนติเมตร) มีผิวค่อนข้างขาว ร่างกายและการแต่งกายสะอาด สวมเสื้อเชิ้ต สีขาว กางเกงขายาวสีเทา สวมรองเท้าแตะหนังสีดำ� เล็บมือเล็บเท้ายาวดำ� ตามร่างกายมีบาดแผลและรอยสัก มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดบริเวณท้องน้อยด้านขวา ผู้ป่วยบอกว่าเป็นแผลผ่าตัดไส้ติ่ง พฤติกรรมและอาการแรกรับ - ผู้ป่วยเข้าตึกโดยเดินมาเอง หรือต้องช่วยเหลือโดยนั่งรถ เปลหาม - สีหน้า ท่าทาง การจัดระเบียบการกระทำ� กระวนกระวาย เชื่องช้า ตัวแข็ง - ลักษณะคำ�พูด หรือกระบวนการคิด เช่น ไม่ยอมพูด หรือพูดไปเรื่อยๆ พูดจาวกวน พูดไม่ต่อเนื่อง พูดออกนอกเรื่อง พูดช้า/เร็ว ตอบตรงคำ�ถามหรือไม่ - อารมณ์/ความรู้สึก เช่น สงบ ร่าเริงผิดปรกติ เศร้า กลัว กังวล อารมณ์ เหมาะสมกับเหตุการณ์ หรือไม่ - ความนึกคิด การระแวง ความคิดหลงผิด คิดซ้ำ�ๆ ทำ�ซ้ำ�ๆ หวาดกลัว บอกรายละเอียดด้วยว่า หลงผิดหรือระแวงเกี่ยวกับเรื่องใด กับบุคคลใด รวมทั้งอาการประสาทหลอนทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 - ถ้าผู้ป่วยมีลักษณะปัญญาอ่อน บันทึกและเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับการตอบ คำ�ถามด้านเชาวน์ ปัญญา เช่น การบวก การลบเลข - การรู้จัก กาล และสถานที่ บุคคล - การรับรู้เกี่ยวกับคดี และรายละเอียดของคดี


141

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 38

- การรับรู้ความเจ็บป่วย / การรับรู้ตนเอง ยอมรับการเจ็บป่วยหรือไม่ - การตัดสินใจ เหมาะสมกับเหตุการณ์หรือไม่

ตัวอย่างการเขียน ผู้ป่วยเดินเข้าตึกพร้อมเจ้าหน้าที่นำ�ส่ง 2 คน มือทั้งสองข้างถูกสวมกุญแจ ท่าทางระมัดระวังตัว มองออ กรอบๆ ข้างตลอดเวลา ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ได้ดี ผู้ป่วยพูดช้าเสียงเบา ตอบได้ตรงคำ�ถาม มี สมาธิในการสนทนาช่วงสั้นๆ ขณะสนทนาจะหันซ้ายขวา มองออกรอบๆ ตัว และหยุดสนทนา เป็นช่วงๆ บอกว่า กลัวคนจะตามมาฆ่า มีคนคอยติดตามจะฆ่ามาประมาณ 1 เดือน ไม่ทราบว่าเป็นใคร ทำ�ให้ตอ้ งหนีตลอดเวลา ขณะ พูดถึงการถูกปองร้าย มีสหี น้ากังวล ท่าทางหวาดกลัว อารมณ์เหมาะสม ปฏิเสธความผิดปกติการรับรูข้ องประสาท สัมผัสทั้ง 5 เล่าเหตุการณ์ก่อนเกิดคดีได้ ลำ�ดับเหตุการณ์ได้ดี ผู้ป่วยบอกว่า ตนเองรู้สึกว่าจิตใจไม่ค่อยปกติ ไม่ กล้าอยู่คนเดียว แต่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร ไม่ทราบว่าป่วย การรักษาที่ ได้รับ ยาที่แพทย์สั่งการรักษา เมื่อแรกรับ สรุปอาการตั้งแต่แรกรับถึงปัจจุบัน รวมอยู่โรงพยาบาล..................วัน (นับถึงวันเข้าประชุมวินิจฉัยโรค) สัปดาห์แรกหลังรับไว้ การสรุปอาการของผู้ป่วยควรครอบคลุมดังนี้ - การสนใจตนเอง ความสะอาดของร่างกาย การปฏิบัติกิจวัตรประจำ�วัน - การร่วมกิจกรรม สัมพันธภาพกับผู้ป่วย - ลักษณะการพูดคุย - แนวความคิด - พฤติกรรมที่พบ - การนอน การรับประทานอาหาร - การรับรู้ความเจ็บป่วย/วัตถุประสงค์ของการนำ�ส่ง รายละเอียดประเด็น ทางกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง ตัวอย่างการเขียน ผูป้ ว่ ยสนใจตนเองและสิง่ แวดล้อมดี ร่างกายสะอาด ปฏิบตั กิ จิ วัตรประจำ�วันได้เอง ขณะร่วมกลุม่ กิจกรรม มีสมาธิช่วงสั้น ๆ ท่าทางหวาดกลัว ระมัดระวังตัวมาก จะขอนั่งใกล้กับเจ้าหน้าที่ โดยให้เหตุผลว่า มีผู้ป่วยด้วยกัน จะมาทำ�ร้าย และยังมีคนอื่น ๆ ที่อยู่นอกโรงพยาบาลอีกหลายคน ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใครบ้างจะตามมาฆ่า เมื่อถึงเวลา รับประทานอาหารมักจะถามเจ้าหน้าที่ก่อนว่า อาหารนี้นำ�มาจากไหน ใครเป็นคนทำ� และนั่งรออยู่นานจึงยอมรับ ประทาน บางครั้งขอเปลี่ยนอาหารกับผู้ป่วยอื่น โดยบอกว่ากลัวถูกวางยาพิษ กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ บางครั้ง ลุกนั่งบนเตียงเป็นบางช่วงและขอเปิดไฟในห้องนอน ผู้ป่วยบอกว่าถ้าปิดไฟแล้วมีคนเข้ามาฆ่าจะมองไม่เห็น เมื่อ พยาบาลเข้าไปแนะนำ� ปลอบโยนและอยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยจึงยอมนอน


142

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 38 สัปดาห์ที่ 2 หลังรับไว้ อาการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี หรือไม่ อย่างไรมีการเปลี่ยนแปลงการรักษาอย่างไร ผู้ป่วยได้ตรงเข้าชกต่อยผู้ป่วยนาย ก. ที่อยู่ตึกเดียวกัน ขณะที่นาย ก. กำ�ลังนั่งพักผ่อนในตึก เมื่อจับ แยกและซักถามผู้ป่วย บอกสาเหตุที่ชกต่อยนาย ก. ว่าเพราะนาย ก. เป็นพวกเดียวกับกลุ่มที่จะตามมาฆ่าตน รายงานอาการให้แพทย์ทราบ ได้รับการรักษาด้วย Haloperidol วันละ 20 mg 1 เดือนหลังรับไว้/2 เดือนหลังรับไว้ สรุปเหมือนสัปดาห์ ที่ 2 อาการปัจจุบนั ควรครอบคลุมหัวข้ออาการและพฤติกรรมเหมือนในสัปดาห์แรก มีการเปลีย่ นแปลงในทางทีด่ หี รือ ไม่อย่างไร ตัวอย่างการเขียน ผู้ป่วยมีสมาธิในการพูดคุยมากขึ้น ท่าทางหวาดระแวงน้อยลง เข้ากลุ่มกิจกรรมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ไม่มีพฤติกรรมทำ�ร้ายผู้อื่น แต่ยังมีความคิดว่า มีคนคอยตามฆ่า อาหารรับประทานได้เอง โดยไม่ขอเปลี่ยนอาหาร กับผู้ป่วยอื่น หลังจากเข้าห้องนอน ผู้ป่วยนอนหลับได้ตลอดคืน โดยไม่ต้องเปิดไฟไว้ อาการปัจจุบัน

ผู้ป่วยได้รับการรักษามียาอะไรบ้าง

ผลการตรวจห้องปฏิบัติการ

ผล C.B.C., VDRL ถ้าค่าปกติ เขียนว่า ปกติ ถ้าไม่อยู่ในค่าปกติ ให้นำ�มาเขียนด้วยว่ามีอะไรบ้าง

ผล X – ray

ผลเป็นอย่างไร

สรุปผล

(ตามความคิดเห็นของพยาบาล)


143

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 39

หนังสือการประสานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ที่ สธ 0808.901/ว.2043

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170

วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง

ประสานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

เรียน

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. แบบฟอร์มแจ้งผลการติดตามผูป้ ว่ ยหลังจำ�หน่ายออกจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (F042.04) 2. รายงานสรุปผลการรักษาผู้ป่วยใน ด้ ว ยสถาบั น กั ล ยาณ์ ร าชนคริ น ทร์ ได้ รั บ รั ก ษาผู้ ป่ ว ยชื่ อ ………………………………………………………… H.N.……………… อายุ………………………ปี มีภูมิลำ�เนาบ้านเลขที่…………………………………………………………………..…………… ญาติที่ติดต่อได้/บิดามารดาชื่อ……………………………………………………………………………………………………………………...… โดยผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ครั้งที่ ตั้งแต่วันที่ ………………………โดย……….…………… รับกลับ/ส่งกลับ เมื่อวันที่………………………แพทย์จัดยาให้……………………วัน และนัดติดตามอาการ  วันที่…………… ………………… ส่งรักษาต่อ………………………………………………แพทย์วนิ จิ ฉัยป่วยเป็นโรค……………………………………………… การรักษาที่ได้รับตามรายงานสรุปผลการรักษาผู้ป่วยในที่แนบมาด้วยนี้ ในการนี้ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ใคร่ขอความร่วมมือมายังผูร้ บั ผิดชอบงานสุขภาพจิตในหน่วยงาน ของท่าน ติดตามให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยขาดยา หากผู้ป่วยขาดยาอาจ ทำ�ให้อาการทางจิตกำ�เริบรุนแรง และอาจก่อคดีซ้ำ�ได้ รวมทั้งให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชแก่ญาติและชุมชน ได้เข้าใจอย่างถูกต้อง หากผลการติดตามเป็นประการใด โปรดตอบกลับตามแบบฟอร์ม F.042.04 เพื่อเป็นฐาน ข้อมูลในการติดตามการดูแลผู้ป่วยต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำ�เนินการต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณ ขอแสดงความนับถือ กลุ่มพัฒนาความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1421 โทรสาร 0 2889 9083

(………………………………………………………) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


144

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 40

หนังสือแจ้งผลการติดตามผู้ป่วยหลังจำ�หน่ายออกจากสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

ชื่อผู้ป่วย…………………………………....……H.N.………………..………จำ�หน่ายเมื่อวันที่……………………..……………… ทีอ่ ยู…่ ……………………………………………...…………..……… โทรศัพท์………………………………………………………..……… 1. ผลการติดตามผู้ป่วยหลังจำ�หน่ายออกจากโรงพยาบาล  พบ วันทีพ่ บผูป้ ว่ ย………………………………………………  ไม่พบ เนื่องจาก……………………………………………… 2. การติดตามเยี่ยมบ้านจากบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ (ด้าน ยา สุขภาพจิต กิจวัตร ปรับ เตือน) 2.1 ด้านการรับประทานยาทางจิตเวช (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ต่อเนื่อง  ไม่ต่อเนื่อง  มีอาการแพ้ยา เช่น ปากคอแห้ง น้ำ�ลายไหล แขนขาสั่น เคลื่อนไหวช้า ตัวแข็ง ความดันโลหิตต่ำ�  อื่นๆ …………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2.2 ด้านการใช้สารเสพติด (บุหรี่ สุรา ยาบ้า ยาบำ�รุงกำ�ลัง ฯลฯ)  ไม่ใช้  ใช้ ระบุ………………………………………………………………………………… 2.3 ด้านการดูแลสุขภาพจิต/อาการทางจิตของผู้ป่วย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  มีความสามารถจัดการความเครียด (มีที่ปรึกษาพูดคุยด้วย พักผ่อน หลีกเลี่ยงสถานการณ์ ชั่วคราว ทำ�สมาธิ สวดมนต์ ออกกำ�ลังกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อฯลฯ)  มีการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว ซึมเศร้า  อาการเหมือนคนปกติ  นอนตลอดทั้งวัน  ยังมีหลงผิด  ยังมีประสาทหลอน หูแว่ว  พูดหัวเราะคนเดียว  ซึม แยกตัว ไม่พูด  ก้าวร้าว เอะอะ อาละวาด  อื่นๆ 2.4 ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำ�วัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ทำ�ได้เอง  ทำ�ได้แต่ต้องคอยบอก  ทำ�ไม่ได้เลย  อื่นๆ………………………………………………………………………………………………………………………………...………… 2.5 ด้านการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ� (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ปรับตัวเข้ากับสมาชิกในครอบครัวได้  นอนหลับได้  ทำ�งานได้  ทำ�งานไม่ได้  ไม่มีงานทำ�  สังเกตอาการเตือนได้ (กระสับกระส่าย เครียด กังวล นอนไม่หลับ นอนมาก แยกตัวเอง) 2.6 ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาล……………………………………………………..................……………… 3. การให้ความช่วยเหลือของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่…………………….....………………..………..................…………… ………………………………………………..................……………………………………………………………………..................……………… 4. ปัญหา และอุปสรรคในการติดตามดูแลต่อเนื่อง…………………………………………………………..................……………… ………………………………………………..................……………………………………………………………………..................……...……… ผู้แจ้งผล…………………....................……………ตำ�แหน่ง……………………….………………หน่วยงาน…………..………………… โทรศัพท์………………..…………………………………..…………………วันที่แจ้งข้อมูล………………..………………..………………… กลุ่มพัฒนาความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1421 โทรสาร 0 2889 9083


145

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 41

หนังสือการประสานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำ� ที่ สธ 0808.901/ว.2041

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

เรื่อง

ประสานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในเรือนจำ�อย่างต่อเนื่อง

เรียน

ผู้บัญชาการเรือนจำ�………………………………………………………

อ้างถึง ………………………………………………………………………………………………………………

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. แบบแจ้งข้อมูลกลับสำ�หรับเรือนจำ� (F042.15) 2. สรุปรายงานการรักษาผู้ป่วยใน ตามหนังสือที่อ้างถึง……………………………………..........………ได้ส่งผู้ต้องขังชื่อ…………………………………………… HN…………………………………อายุ………………………ปี คดี……………………………………เลขทีค่ ดี……………………………………………… ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ตรวจรักษาและวินิจฉัยสภาพจิตนั้น สถาบันฯได้รับตัวไว้เป็นผู้ป่วยใน ระหว่าง วันที่…………………………………………………………ถึงวันที่………………………………………………………และนัดติดตามอาการ  วันที่……………………………………  ส่งรักษาต่อ……………………………………โดยแพทย์ ให้การวินิจฉัยป่วยเป็น โรค……………………………………เห็นควรให้ได้รบั การรักษาด้วยยาทางจิตเวชต่อเนื่องตาม สรุปรายงานการรักษาผูป้ ว่ ย ในที่แนบมาด้วยนี้ ในการนี้ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ได้จัดยามาพร้อมผู้ต้องขังเป็นระยะเวลา…………………….....………วัน การที่ผู้ต้องขังทางจิตเวชได้รับยาต่อเนื่องจะทำ�ให้มีอาการสงบลง เจ้าหน้าที่ดูแลง่ายขึ้น จึงใคร่ขอความร่วมมือ ให้ทางเรือนจำ�ได้จัดยาให้ผู้ต้องขังรับประทานตามที่แพทย์สั่งทุกมื้อ เมื่อยาหมดขอให้ทางเรือนจำ� จัดให้ผู้ต้องขัง ได้รับยาต่อเนื่องกับโรงพยาบาลตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือตามที่เรือนจำ�ได้จัดระบบประสานงาน ไว้ โดยนำ�แบบสำ�หรับส่งผู้ต้องขังไปรับการตรวจหรือรักษาต่อที่ส่งมาด้วย ให้แพทย์ที่รับดูแลต่อได้ทราบแผนการ รักษาต่อเนื่องด้วยและหากทางเรือนจำ�จะปล่อยตัวผู้ต้องขังโปรดแจ้งข้อมูลการรักษากับญาติ เพื่อให้ผู้ต้องขังได้ รับการรักษาต่อเนื่องในชุมชน และขอได้ โปรดแจ้งข้อมูลกลับมายังสถาบันฯ เพื่อเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้นในการ วางแผนรักษาต่อเนื่อง จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำ�เนินการต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณ ขอแสดงความนับถือ (………………………………………………………) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กลุ่มพัฒนาความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1421 โทรสาร 0 2889 9083


146

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 42

หนังสือแจ้งข้อมูลกลับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในเรือนจำ� ชื่อผู้ป่วย…………………………………………H.N.…………………………………จำ�หน่ายวันที่………………………………… 1. สภาพความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย…………………………………………………………………….………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………........……………......…….…..... 2. สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแล…………………………………………………………………........……………......…….…..... 3. การดูแลสุขภาพจิต/อาการทางจิตที่พบ 3.1 ด้านการดูแลสุขภาพจิต/อาการทางจิตของผู้ป่วย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  มีความสามารถจัดการความเครียด (มีที่ปรึกษาพูดคุยด้วย พักผ่อน หลีกเลี่ยงสถานการณ์ ชั่วคราว ทำ�สมาธิ สวดมนต์ ออกกำ�ลังกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฯลฯ)  มีการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว ซึมเศร้า  อาการเหมือนคนปกติ  นอนตลอดทั้งวัน  ยังมีหลงผิด  ยังมีประสาทหลอน หูแว่ว  พูดหัวเราะคนเดียว  ซึม แยกตัว ไม่พูด  ก้าวร้าว เอะอะ อาละวาด  อื่นๆ 3.2 ด้านการใช้สารเสพติด (บุหรี่ สุรา ยาบ้า ยาบำ�รุงกำ�ลัง ฯลฯ)  ไม่ใช้  ใช้ ระบุ……………………………………………………………........……………......… 3.3 ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำ�วัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ทำ�ได้เอง  ทำ�ได้แต่ต้องคอยบอก  ทำ�ไม่ได้เลย  อื่นๆ 3.4 ด้านการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ� (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ปรับตัวเข้ากับผู้ต้องขังอื่นในเรือนจำ�ได้  นอนหลับได้  ทำ�งานได้  ทำ�งานไม่ได้  ไม่มีงานทำ�  สังเกตอาการเตือนได้ (กระสับกระส่าย เครียด กังวล นอนไม่หลับ นอนมาก แยกตัวเอง) 4. การรักษาต่อเนื่อง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ต่อเนื่อง  ไม่ต่อเนื่อง เพราะ………………..………………………………………........  มีอาการจากผลข้างเคียงของการรักษา เช่น ปากคอแห้ง น้ำ�ลายไหล แขนขาสั่น เคลื่อนไหวช้า ตัวแข็ง ความดันโลหิตต่ำ�  อื่นๆ …………………................................…………………………………….......……………………………………………....… ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาล…………………..................……………………………………………....… 5. การให้ความช่วยเหลือของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่และชุมชน 6. ปัญหา และอุปสรรคในการติดตามดูแล ผูแ้ จ้งผล……................……………………ตำ�แหน่ง……...............………………หน่วยงาน……..................…………………………… โทรศัพท์……..................………………………………...วันที่แจ้งข้อมูล……..................…………..........……………………………… กลุ่มพัฒนาความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช โทรศัพท์ 0 2889 9066 - 7 ต่อ 1421 โทรสาร 0 2889 9083


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

147 เอกสารหมายเลข 43

การเป็นพยานศาล ปกติแล้วจิตแพทย์จะต้องไปศาลในฐานะ “พยานผู้เชี่ยวชาญ” ซึ่งหมายความถึง พยานที่มีความรู้ความ ชำ�นาญในสาขาวิชา ซึง่ ในการนำ�พยานผูเ้ ชีย่ วชาญเข้าสืบจะให้พยานให้ความเห็นจากข้อมูล การบอกเล่าข้อเท็จจริง หรือการตรวจบุคคลหรือวัตถุ กฎหมายได้แบ่งพยานผู้เชี่ยวชาญออกเป็น 3 ประเภท คือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ เชี่ยวชาญ และชำ�นาญการพิเศษ โดย 1) ผู้เชี่ยวชาญจะหมายถึงบุคคลที่ศาลแต่งตั้งในคดีแพ่ง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99) ซึ่งปกติแล้วศาลจะตั้งจากผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญของศาล ถ้าคู่กรณีมีคำ�ขอให้ศาลตั้ง ศาล จะให้คู่กรณีกำ�หนดตัวผู้เชี่ยวชาญและถามความสมัครใจก่อนมีการแต่งตั้ง เว้นแต่จะเลือกจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้ ขึ้นทะเบียนไว้ ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งอาจถูกคัดค้าน ผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น ด้วยวาจาหรือหนังสือแล้วแต่ศาลจะต้องการ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 130) ซึ่งปกติแล้ว ผูเ้ ชีย่ วชาญจะไม่ตอ้ งมาเบิกความด้วยตนเอง แต่จะสามารถทำ�ความเห็นเป็นหนังสือ (คำ�พิพากษาฎีกาที่ 338/2519) 2) ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ คือบุคคลที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระบุอ้างเป็นพยานฝ่ายตน เนื่องจากมี ความรูค้ วามเชีย่ วชาญในสาขาใดสาขาหนึง่ โดยเฉพาะ พยานผูม้ คี วามรูเ้ ชีย่ วชาญจะต้องเบิกความด้วยวาจาเหมือน พยานบุคคลทั่วๆ ไป หากทำ�ความเห็นเป็นหนังสือพยานจะต้องมาเบิกความประกอบด้วยเสมอ 3) ผู้ชำ�นาญการพิเศษ คือพยานผู้เชี่ยวชาญในคดีอาญาไม่ว่าโดยการแต่งตั้งจากศาลหรือคู่ความ อ้างอิงมา ผู้ชำ�นาญการพิเศษต้องมาศาลเพื่อเบิกความด้วยวาจา หากทำ�ความเห็นเป็นหนังสือจะต้องเบิกความ ประกอบการทำ�ความเห็นดังกล่าว และในกรณีที่ศาลสั่งให้ผู้ชำ�นาญการพิเศษทำ�ความเห็นเป็นหนังสือจะต้องส่ง สำ�เนาหนังสือดังกล่าวแก่คคู่ วามล่วงหน้าไม่นอ้ ยกว่าสามวันก่อนวันเบิกความ (ประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความ อาญา มาตรา 243) การที่พยานทำ�ความเห็นเป็นหนังสือแต่ไม่มาเบิกความเองจะไม่อาจถือเอาความเห็นดังกล่าว เป็นคำ�เบิกความของพยานแม้จำ�เลยไม่คัดค้าน (คำ�พิพากษาฎีกาที่ 1264/2513) บทบาทของจิตแพทย์ ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากจิตแพทย์เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ ความเห็นของ จิตแพทย์จะนำ�มาใช้เพื่อประกอบการดำ�เนินคดีและการพิจารณาคดีของศาล เพื่อให้การดำ�เนินคดีหรือศาลสามารถ ตัดสินคดีด้วยความถูกต้องเป็นธรรมยิ่งขึ้น ในการสืบพยานพนักงานอัยการและทนายความผูน้ ำ�สืบพยานจะทำ�หน้าทีเ่ สนอความคิดเห็นของจิตแพทย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคดีมากที่สุด โดยขั้นตอนในการเบิกความในชั้นศาลนั้นจะประกอบไปด้วยการซักถาม การ ถามค้าน และการถามติง โดยในขั้นตอนของการซักถามนั้น พนักงานอัยการหรือทนายความผู้ทำ�หน้าที่ซักถามจะ ตั้งคำ�ถามให้จิตแพทย์ตอบ จากนั้นพนักงานอัยการหรือทนายความผู้ทำ�หน้าที่ซักค้านจะถามค้านเพื่อตรวจสอบคำ� ให้การของ


148

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 43 พยาน และในขั้นตอนสุดท้ายพนักงานอัยการหรือทนายความผู้ท�ำ หน้าที่ถามติงจะตั้งคำ�ถามติงเพื่อให้ พยานได้มีโอกาสอธิบายสิ่งที่ได้มีการถามค้านไป ดังนัน้ บทบาทสำ�คัญของจิตแพทย์ ในการทำ�หน้าทีเ่ ป็นพยานผูเ้ ชีย่ วชาญ ก็คอื จะต้องให้ความร่วมมือโดย การตอบคำ�ถาม ให้ความรู้ทางการแพทย์ และแสดงความคิดเห็นจากการตรวจรักษาหรืออื่นๆ อย่างตรงไปตรงมา ตามที่พนักงานอัยการหรือทนายความได้ตั้งคำ�ถาม ตารางเวลา การเป็นพยานศาลถือเป็นหน้าทีต่ ามกฎหมาย ปกติแล้วจิตแพทย์จะได้รบั หมายเรียกพยานล่วงหน้าอย่าง น้อยสามวัน โดยในหมายดังกล่าวจะแจ้งชื่อ ตำ�บลที่อยู่ของพยาน ชื่อคดี ชื่อศาล วัน เวลา สถานที่ที่จะทำ�การสืบ พยาน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 106) เมื่อได้รับหมายศาลแล้วให้จิตแพทย์ตรวจสอบว่าใน ช่วงวันเวลาดังกล่าวสามารถไปได้หรือไม่ หากติดธุระสำ�คัญต้องประสานงานและแจ้งให้พนักงานอัยการหรือศาล ทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อกั ษร พร้อมทัง้ แจ้งเหตุผลที่ไม่สามารถไปเป็นพยานศาลได้ หากสามารถประสานงาน เพื่อนัดหมายการเป็นพยานศาลครั้งต่อไปล่วงหน้าได้จะยิ่งสะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจากกฎหมายได้ถือว่า การเป็นพยานศาลเป็นหน้าที่ หากไม่ไปเบิกความ โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ ศาลทราบหรือเบิกความเท็จจะต้องได้รบั โทษตามกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 170 และ 177) นอกจาก นี้เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปตามกำ�หนดระยะเวลา จิตแพทย์ควรไปเป็นพยานตามหมายเรียกหากไม่ติดธุระ สำ�คัญ การขอเลื่อนนัดในการเป็นพยานศาลจะทำ�ให้ระยะเวลาในการสืบพยานถูกเลื่อนออกไป ทำ�ให้จำ�เลยในคดี อาญาบางคนที่มีฐานะยากจนที่ไม่สามารถหาหลักประกันมาประกันตัวได้จะต้องถูกคุมตัวในเรือนจำ�เป็นผู้ต้องขัง ระหว่างพิจารณา และเนื่องจากจำ�เลยดังกล่าวยังได้รับการสันนิษฐานตามกฎหมายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำ� พิพากษา การเลื่อนคดีออกไปจึงทำ�ให้จำ�เลยได้รับผลกระทบเพราะระยะเวลาที่ถูกควบคุมตัวในระหว่างพิจารณา จะยาวนานออกไป ดังนั้นจิตแพทย์ ในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ จึงควรสร้างเจตคติที่ดีต่อการทำ�หน้าที่เป็นพยานศาลว่าเป็น ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และความร่วมมือในการเบิกความเป็นพยานของจิตแพทย์จะทำ�ให้เกิดความเป็นธรรม การเป็นพยานศาลจึงเป็นภารกิจที่น่าภาคภูมิใจ การเตรียมตัว จิตแพทย์ควรแต่งกายให้สภุ าพเรียบร้อย ในเช้าวันนัดจิตแพทย์อาจไปพบพนักงานอัยการ ในกรณีทเี่ ป็น พยานของอัยการ หรือไปศาลเอง โดยเมื่อไปถึงศาลให้ไปดูทตี่ ารางนัดพิจารณาคดีของศาลว่า ห้องพิจารณาคดีตาม หมายเรียกพยานที่ได้รบั ว่าอยูท่ หี่ อ้ งพิจารณาคดีหอ้ งใด เมื่อไปถึงห้องพิจารณาให้จติ แพทย์แจ้งเสมียนหน้าบัลลังก์ ว่าได้มาถึงแล้ว เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้เรียนให้พนักงานอัยการ หรือทนายความที่ต้องทำ�หน้าที่สืบพยานทราบ และ เชิญศาลขึ้นบัลลังก์พิจารณา ขณะทีอ่ ยูใ่ นห้องพิจารณาระหว่างทีร่ อการเบิกความให้จติ แพทย์นงั่ อยูใ่ นความสงบ และขอให้จติ แพทย์ปดิ เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดในขณะที่อยู่ในห้องพิจารณาคดี แต่หากมีกรณีที่จะต้องสืบพยานหลายคนและไม่สามารถ นำ�จิตแพทย์เข้าเบิกความก่อน จิตแพทย์อาจขอคำ�ปรึกษา


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

149 เอกสารหมายเลข 43

จากพนักงานอัยการหรือทนายความที่มีหน้าที่นำ�สืบเพื่อไปรอการเบิกความ ณ บริเวณที่จัดไว้นอกห้อง พิจารณา จิตแพทย์ควรจะศึกษาเอกสารข้อมูลตลอดจนรายงานทางนิตจิ ติ เวชทีต่ อ้ งเบิกความเป็นพยานให้ถอ่ งแท้ ควรพูดคุยกับพนักงานอัยการหรือทนายความทีท่ ำ�หน้าทีส่ บื พยานให้เข้าใจถึงประเด็นทีจ่ ะเบิกความ จิตแพทย์อาจ จะอ่านข้อความเอกสารที่เตรียมมาได้ แต่ทั้งนี้ควรปรึกษากับพนักงานอัยการหรือทนายความที่ทำ�หน้าที่สืบพยาน ก่อน การเบิกความเป็นพยาน ในการเบิกความเป็นพยาน จิตแพทย์จะได้รับเชิญให้เบิกความในคอกพยาน โดยก่อนเบิกความจะต้อง สาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณี หรือกล่าวคำ�ปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่คู่ ความทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันว่าไม่ต้องสาบาน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแบ่ง มาตรา 112) โดยทั่วไป แล้วศาลถามพยานในเรื่อง ชื่อ อายุ ตำ�แหน่ง อาชีพ ภูมิลำ�เนา และความเกี่ยวพันกับคู่ความ จากนั้นพนักงาน อัยการหรือทนายความทีท่ �ำ หน้าทีส่ บื พยานจะเริม่ การซักถามคุณสมบัตแิ ละประวัตทิ างการศึกษาของจิตแพทย์ การ ตรวจคนไข้ ผลการตรวจคนไข้ และให้รับรองผลการตรวจดังกล่าวอ้างส่งศาล หลังจากนั้นจะมีการถามค้านพยาน และถามติงตามขั้นตอนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตร 116 ถึง 118) การถามคำ�ถามอื่นนอกเหนือจากการถามในขัน้ ตอนการซักถาม ถามค้าน และถามติงจะต้องได้รบั อนุญาต จากศาล (ประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพ่ง มาตรา 117) ปกติแล้วศาลมักจะอนุญาตให้ถามเฉพาะคำ�ถามที่ เกีย่ วกับคำ�ถามเดิม นอกจากนีแ้ ล้วศาลอาจจะตัง้ คำ�ถามเพิม่ เติมเพื่อให้คำ�เบิกความของพยานบริบรู ณ์หรือชัดเจน ยิ่งขึน้ (ประมวลกฎหมายวิธีพจิ ารณาความแพ่ง มาตรา 119) ในระหว่างเบิกความหากจิตแพทย์เห็นว่าการอธิบาย ข้อมูลพร้อมเหตุผลทางการแพทย์เรื่องใดจะทำ�ให้เข้าใจสิง่ ทีจ่ ติ แพทย์ได้เบิกความไปมากขึน้ จิตแพทย์กอ็ าจอธิบาย เพิ่มเติมได้ แต่ทั้งนี้หากอยู่ในระหว่างขั้นตอนการถามค้านและพยานไม่มีโอกาสอธิบาย พนักงานอัยการหรือ ทนายความที่ทำ�หน้าที่สืบพยานอาจถามเพื่อให้พยานได้อธิบายในขั้นตอนการถามติง เพื่อสร้างความเข้าใจถูกต้อง อันจะนำ�มาซึ่งความเป็นธรรมในการดำ�เนินคดีหรือการพิจารณาคดี เมื่อสิน้ สุดการเบิกความแล้ว ศาลจะอ่านคำ�เบิกความนัน้ ให้พยานฟัง หากพบว่ามีขอ้ ความใดทีเ่ ห็นไม่ตรง กับที่ได้เบิกความไว้ก็ให้จิตแพทย์ทักท้วง อธิบาย และขอให้ศาลแก้ไข เมื่อเป็นที่ยุติแล้วให้จิตแพทย์ลงลายมือชื่อ ในรายงานคำ�ให้การ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 121) เสร็จจากขั้นตอนนี้ถือว่าจิตแพทย์ได้ สิ้นสุดภารกิจในการเป็นพยานศาล


150

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 44

แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมรุนแรง ประวัติในอดีต ข้อมูลสนับสนุน H1 ประวัติความรุนแรงในอดีต H2 ช่วงวัยที่ก่อความรุนแรงครั้งแรก H3 การมีสัมพันธภาพที่ไม่มั่นคง H4 ปัญหาด้านการทำ�งาน H5 ปัญหาจากการใช้สารเสพติด H6 ประวัติความเจ็บป่วยทางจิต H7 ประวัติความบกพร่องทางจริยธรรม H8 การปรับตัวไม่เหมาะสมในช่วงวัยเด็ก H9 บุคลิกภาพผิดปกติ H10 ล้มเหลวในการปฏิบัติตัวภายใต้กฎระเบียบ ลักษณะทางคลินิกในปัจจุบัน รวม C1 ขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง C2 มีทัศนคติด้านลบ C3 มีอาการผิดปกติทางจิตชัดเจน C4 มีพฤติกรรมและอารมณ์หุนหันพลันแล่น C5 ไม่ตอบสนองต่อการรักษา การบริหารจัดการความเสี่ยงในอนาคต รวม R1 การวางแผนที่ขาดความเป็นไปได้ R2 การเผชิญกับสิ่งที่เป็นความเสี่ยง R3 ขาดบุคคลสนับสนุนในการดูแลรักษา R4 ไม่ยนิ ยอมและไม่พยายามทีจ่ ะกลับมารักษาอย่างต่อเนื่อง R5 การจัดการกับความเครียด ระดับความเสี่ยง (Final Risk Judgment) รวม  Low  Moderate  High Total

คะแนน


151

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 45

แบบบันทึกการประชุมเพิกถอนมาตรา 48 (โดยนักสังคมสงเคราะห์) ชื่อ – สกุลผู้ถูกนำ�ส่ง………………………......…… อายุ………………………..........……ปี การศึกษา……………………… อาชีพ…………………………………......…................…… ภูมิลำ�เนา…………………………….................………..........…… คดี……………………………...........………..........……หมายเลขคดีแดง…………………............…………………..........…… ผู้นำ�ส่ง……………………………………..................……วัตถุประสงค์การนำ�ส่ง……………………………………..........…… รับไว้ครัง้ ที… ่ ………………………………เมื่อ…………………………....……ข้อมูลพร้อม…………….......วันประชุมเพิกถอน มาตรา 48……………………………………..........…… ที่มาข้อมูล 1. เอกสารอะไรบ้าง เช่น 1.1 สำ�เนาคำ�พิพากษาของศาล…………………….....……ที่……………….......ลงวันที่………………….......... 1.2 เวชระเบียนผู้ถูกนำ�ส่งของโรงพยาบาล…….....………………………..........…………………………..…… 2. สัมภาษณ์ 2.1 ผู้ถูกนำ�ส่ง วันที่……………………………………..........……………………………………… 2.2 ญาติผู้ถูกนำ�ส่ง วันที่……………………………………..........……………………………………… ลักษณะที่พบ เมื่อวันที่……………………………………..........……………………………………… บรรยายวันที่……………………………………..........…..………………………ความสามารถในการรับรู้วัตถุประสงค์ของการ สัมภาษณ์ …………………………………..........…………………………………………………………………………..........…………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… พฤติกรรมคดี และคำ�พิพากษา รายละเอียดเกี่ยวกับคดี…………………………………..........…………………………………………………………………………..........……… รายละเอียดคำ�พิพากษา…………………………………..........……………………………………………..........…………………………………… ประวัติส่วนตัว ประวัติการเจ็บป่วยทางจิต การรักษาทางการแพทย์…………………………………..………………………………........... ประวัติครอบครัว และการอยู่อาศัยก่อนก่อคดี…………………………………………………………………………………… สัมพันธภาพในครอบครัว…………………………………………………………………….........................………………………… การประกอบอาชีพ……………………………………………………………………………………………………………………………… ประวัติอุบัติเหตุ………………………………………………………………………………………….....…………………………………… ประวัตกิ ารใช้สารเสพติด……………………………………………………………………………………………………………………… สรุปการเตรียมความพร้อมของผู้ถูกนำ�ส่ง และการเตรียมความพร้อมของญาติ…………………………....…… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


152

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 45

การลงความเห็นและระบุเหตุผล ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………………

ลงชื่อ (........................................................) นักสังคมสงเคราะห์

บันทึกความเห็นของนักสังคมสงเคราะห์ ในวันประชุมเพิกถอนมาตรา 48 ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........…………………………………


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

153 เอกสารหมายเลข 46

แบบบันทึก ม.48 (กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ)

ชื่อ………………………………………..........…… นามสกุล……………………………………………… อายุ……………………...... ปี คดี....………………………………………………ผูน้ �ำ ส่ง………………..........……………………………………………………………… วันทีร่ บั ไว้ ในสถาบันฯ……..……/…..……/…………… วันทีเ่ ข้ารับการฟืน้ ฟูสมรรถภาพ....……/……………/…………… พบผู้ป่วยหลังรับไว้ ในสถาบันฯ……………………………………………..... วัน อาการแรกรับ .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… การรับรู้การเจ็บป่วยทางจิต .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… การรับรู้พฤติกรรมคดี .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… ผลการประเมินความสามารถการประกอบกิจกรรม .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… อาการ/พฤติกรรมขณะเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพ (....…/………/………) ถึง (....…/………/………) .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… การวางแผนการดำ�เนินชีวิตในชุมชน .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… สรุปความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่กลุ่มงานฟื้นฟูสมรรถภาพ การรับรู้ความเจ็บป่วยทางจิต ……………………………………………………………..........…………………………………………………………………………….………………......... ความรู้ผิดชอบเกี่ยวกับคดี ……………………………………………………………..........…………………………………………………………………………….………………......... ภาวะอันตรายต่อสังคม ……………………………………………………………..........…………………………………………………………………………….……………….........


154

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 46

ความสามารถในการเพิกถอนคดี

 สามารถเพิกถอนคดีได้  ยังไม่สามารถเพิกถอนคดีได้/เห็นควรรักษาต่อ……………………………..........………........……………

ความคิดเห็นอื่นๆ/ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........…………………………………

ลงชื่อ........................................................... (........................................................) ตำ�แหน่ง...................................................... .................../............../....................


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

155 เอกสารหมายเลข 47

แบบบันทึกการประชุมวินิจฉัยทางนิติจิตเวช/เพิกถอนม. 48 (งานนิติจิตเวชชุมชน) ชื่อ........................................................................นามสกุล.............................................อายุ..............................ปี คดี.........................................ผูน้ �ำ ส่ง..................................................ตามประมวลกฎหมาย................................ รับไว้ ในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ครั้งที่........................วันที่...........................ประชุมวันที่......................... อาการปัจจุบัน .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… การเตรียมความพร้อมผู้ดูแล/ครอบครัว/ชุมชน .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… .....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………………..........… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… การวางแผนเรื่องการดูแลผู้ป่วยของญาติหลังผู้ป่วยจำ�หน่าย .....…………………………………………………………………………. ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… การวางแผนเรื่องการรักษาต่อเนื่อง.....…………………………………………………………………………..........……………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ความเห็น.....…………………………………………………………………………..........…………………………………………………………………… ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… จากการประเมินความเสีย่ งพบว่า………………………………………………………………………..........………..……………………………… ลงชื่อ.................................... พยาบาลนิติจิตเวชชุมชน ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........……………………………………… ชื่อ...................................นามสกุล............................. อายุ...........ปี ตึก............ HN. ............... AN................. งานบริการนิติจิตเวชชุมชน สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ แก้ไขครั้งที่ 1 วันที่ประกาศใช้ 28 ตุลาคม 2552

คณะกรรมการเวชระเบียน


156

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 48 แบบ ผค. 2

แบบรายงานผลการบำ�บัดรักษาผู้ป่วย ม.48 วันที่........................เดือน............................พ.ศ................ ชื่อสถานพยาบาลหรือสถานบำ�บัดรักษา……………………..........…………………………………………………………………………..........… ชื่อผู้รับการตรวจ ป่วย นาย/นาง/นางสาว…………………….......... นามสกุล………………………………… อายุ………………..ปี เลขทีผ่ ปู้ ว่ ยทัว่ ไป (Hospital number)……………….........รับตัวไว้ตงั้ แต่วนั ที่………………เดือน…………….พ.ศ.…………....... หน่วยงานนำ�ส่ง………………………………………........…………………........…………………........…………………........…………………....... แหล่งที่มาของข้อมูล (1) …………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………... .....…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……...…… (2) …………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………... .....…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……...…… (3)…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………...... ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ประวัติความเจ็บป่วย ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… การตรวจสภาพจิตและการดำ�เนินโรค ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ผลการทดสอบทางจิตวิทยา (ถ้ามี) ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......…… ..…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........…………………........……......……


157

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 48

ผลการบำ�บัดรักษา (1) ยอมรับความเจ็บป่วยทางจิต  ใช่  ไม่ใช่ (2) เข้าใจและสามารถในการรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง  ใช่  ไม่ใช่ (3) เข้าใจและสามารถในการจัดการกับความเครียดซึ่งเป็นตัวกระตุ้นอาการของโรค  ใช่  ไม่ใช่ (4) มีผู้รับดูแลในชุมชนซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในการติดตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย  ใช่  ไม่ใช่ (5) มีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ที่ผู้ป่วยพักอาศัย หรือเจ้าหน้าที่ หน่วยงานด้าน สงเคราะห์และสวัสดิการกรณีที่ไม่มีผู้รับดูแลเพื่อให้มีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องหลังจำ�หน่ายผู้ป่วยคดี  ใช่  ไม่ใช่ ความเห็น  จำ�หน่ายออกจากสถานพยาบาลหรือสถานบำ�บัดรักษาได้  จำ�เป็นต้องบำ�บัดรักษาต่อไป

ความเห็นอื่น ๆ (ถ้ามี) ……………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………… ………………………………………..........…………………………………………………………………………..........………………………………………

ลงนาม.......................................................... (.....................................................) จิตแพทย์เจ้าของไข้

หมายเหตุ (1) การรายงานตามมาตรา 37 ให้รายงานภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่รับผู้ป่วยคดีไว้ หรือ ทุกหนึ่งร้อยแปดสิบวัน เว้นแต่ศาลจะมีคำ�สั่งเป็นอย่างอื่น (2) การรายงานตามมาตรา 39 ให้รายงานภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับไว้ หรือทุกเก้าสิบวัน เว้นแต่ศาลจะมีคำ�สั่งเป็นอย่างอื่น


158

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

เอกสารหมายเลข 49

หนังสือนำ�ส่งรายงานการบำ�บัดรักษาผู้ป่วย ม.48 ที่ สธ 0808.603/ เรื่อง

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต 23 หมู่ 8 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170

วันที่........................เดือน............................พ.ศ................

ส่งรายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี

เรียน …………………………………………..........…………………………………………………………………………..........…………… อ้างถึง …………………………………………..........…………………………………………………………………………..........…………… สิ่งที่ส่งมาด้วย รายงานผลการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี 1 ชุด จำ�นวน แผ่น ตามหนังสือทีอ่ า้ งถึง……………………………………..........………………ได้สง่ ตัว ………………………………………………… ผู้ต้องหาคดี………………………………………..........…….........…………คดีอาญาที…่ ……………………………………..........……………… ให้สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี นั้น สถาบันฯ ได้ดำ�เนินการตรวจวินิจฉัยและประเมินความสามารถในการต่อสู้คดี โดยทีมตรวจวินิจฉัย ประกอบด้วยจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยาคลินิก และนักกิจกรรมบำ�บัด(หรือเจ้า พนักงานอาชีวบำ�บัด) เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนัน้ จึงขอส่งรายงานผลตรวจวินจิ ฉัยและประเมินความสามารถในการ ต่อสู้คดีมาให้ท่านเพื่อประกอบการพิจารณาคดีดังกล่าวข้างต้นต่อไป (รายละเอียดตามรายงานฯ ที่แนบมา)

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาดำ�เนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป จะเป็นพระคุณ

กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ โทร. 0 2889 9066 ต่อ 1305, 1306 โทรสาร 0 2889 9083

ขอแสดงความนับถือ (………………………………..........…) ผู้อำ�นวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

รายนามคณะผู้จัดทำ�มาตรฐาน

1. แพทย์หญิงดวงตา 2. แพทย์หญิงรัชนีกร 3. นายณัฏฐกร 4. นางสาววิไล 5. นางสาวเบญจวรรณ 6. นางวนิดา 7. นางบุญนำ� 8. นางสุพัตรา 9. นางทองพูน 10. นางสาววันดี 11. นางดวงจันทร์ 12. นายไพโรจน์ 13. นางประเสริฐ 14. นางเกศรียา 15. นายณัฐวุฒิ 16. นางสาวพรพรรณ 17. นายฌานิน 18. นางลัดดา 19. นางยุวดี 20. นางสาวอินทิรา 21. นางสาวกรรณิกา 22. นางสาววิภา

ไกรภัสสร์พงษ์ เอี่ยมผ่อง ประสาทศรี เสรีสิทธิพิทักษ์ สามสาลี รัมมนต์ เล้าโสภาภิรมย์ สกุลพันธุ์ ปินทะนา บุปผาถา บัวคลี่ สุขเกิด แสวงสุข คณาธรรม อรินทร์ มีฤทธิ์ สินศุข จีระกุล มณีสอดแสง อะตะมะ พรมเถื่อน จิราโรจน์

นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ นายแพทย์ชำ�นาญการพิเศษ รองผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหาร นักจิตวิทยาคลินิกเชี่ยวชาญ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการพิเศษ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการพิเศษ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ นักจิตวิทยาคลินิกชำ�นาญการ นักจิตวิทยาคลินิกปฏิบัติการ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ชำ�นาญการ นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำ�บัดชำ�นาญการ นักกิจกรรมบำ�บัดปฏิบัติการ เจ้าพนักงานอาชีพบำ�บัดชำ�นาญงาน

159


160

มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

รายนามคณะทำ�งาน

1. แพทย์หญิงวนัทดา 2. นางสาวภาวินี 3. นางสุพรรณี 4. นางสุดสาคร 5. นางสาวกนกพร 6. นางสาวนงนุช 7. นางกฤษณา

ถมค้าพาณิชย์ บุตรแสน แสงรักษา จำ�มั่น ขุนทรง สืบเชื้อ อำ�คา

ประธานคณะทำ�งาน คณะทำ�งาน คณะทำ�งาน คณะทำ�งาน คณะทำ�งาน คณะทำ�งาน คณะทำ�งานและเลขานุการ


มาตรฐานระบบบริการที่มีความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านนิติจิตเวช

161


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.