06_

Page 1

กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธเลมนี้เสร็จสมบูรณไดดวยความกรุณาของ รองศาสตราจารย ดร. สุนีย กาศจํารูญ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ ดร. สุวิมล อังควานิช และ คุณจุฑามาศ มงคลพิทักษสุข กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธที่ไดใหคําปรึกษา แนะนําในการจัดทําวิทยานิพนธเลมนี้มาโดยตลอด ดวยความเอาใจใสเปนอยางดี ผูวิจัยจึงขอกราบขอบพระคุณไวเปนอยางสูง ขอขอบคุณบุคลากรกรมบัญชีกลางทุกทาน ที่ใหความกรุณาในการตอบ แบบสอบถามเปนอยางดี ขอขอบคุณเจาหนาที่สํานักงานการตรวจเงินแผนดิน สายตรวจกรมบัญชีกลาง ที่ใหคําแนะนําในการสรางแบบสอบถาม และขอขอบคุณ สิบเอกวิชัย ปนประเสริฐ เจาหนาที่หองสมุดกรมบัญชีกลาง ที่ใหความชวยเหลือใน การเก็บรวบรวมขอมูล ขอขอบคุณเพื่อน ๆ สาขาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร รุน 11 มหาวิทยาลัยรามคําแหงทุกทาน ที่คอยชวยเหลือและใหกําลังใจแกผูวิจัย ตลอด ระยะเวลาในการศึกษาและการจัดทําวิทยานิพนธ สุดทายนี้ขอขอบพระคุณ คุณพอ คุณแม และคุณจุฑาทิพย จันทรลุน ผูเปน กําลังใจและใหความชวยเหลือมาโดยตลอดจนวิทยานิพนธเลมนี้สําเร็จลงดวยดี คุณคา และประโยชนทั้งหลายที่ไดจากวิทยานิพนธเลมนี้ ผูวิจัยขอมอบเปน เครื่องบูชาพระคุณของบิดา มารดา ครูอาจารย และผูมีพระคุณทุกทาน ไพบูลย ปะวะเสนะ


บทคัดยอ ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ชื่อผูเขียน นายไพบูลย ปะวะเสนะ ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา บรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร ปการศึกษา 2550 คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ 1. รองศาสตราจารย ดร. สุนยี  กาศจํารูญ ประธานกรรมการ 2. อาจารย ดร. สุวมิ ล อังควานิช 3. นางจุฑามาศ มงคลพิทักษสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบการใชเว็บไซตหองสมุด กรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง (2) ศึกษาความตองการใชเว็บไซต (3) ศึกษาปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซต ประชากรทีใ่ ชศึกษา คือ บุคลากรกรมบัญชีกลาง จํานวน 854 คน สถิตทิ ี่ใชในการวิเคราะห ขอมูล คือ คารอยละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test โดยวิธี Oneway ANOVA ผลของการวิจัยสรุปไดดังนี้ สถานที่เขาใชอินเทอรเน็ต เพื่อใชเว็บไซตหองสมุดสวนใหญ คือ สถานที่ภายใน กรมบัญชีกลาง ความถี่ในการใชเว็บไซตอยูระหวาง 1-2 ครั้ง/สัปดาห ชวงเวลาที่เขาใช มากที่สุด คือ 10.00 -13.59 น. วัตถุประสงคในการใชสวนใหญ เพื่อประกอบการทํางาน การเขาถึงเว็บไซตเขาถึงโดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของกรมบัญชีกลาง การสืบคนขอมูล สวนใหญสืบคนดวยตนเอง ในดานการใชบริการสารสนเทศบนเว็บไซตบุคลากรสวนใหญ ใชบริการขาวประชาสัมพันธ แนะนําหนังสือใหม ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรม หนังสือ องคความรูเกี่ยวกับการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) และใช Link แหลงสารสนเทศประเภทหนังสือพิมพ (4)


ผลการทดสอบสมมติฐานการใชเว็บไซตหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา มีความแตกตางกันตามอายุ อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แตไมมีความ แตกตางกันตามเพศ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง ดานความตองการใชเว็บไซต บริการสารสนเทศที่ตองการใหมีเพิ่มเติม คือ ฐานขอมูลออนไลน รองลงมา คือ บริการตรวจสอบสถานะการยืม-คืนของสมาชิก หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง และบริการสงขาวสารไปยัง สมาชิกโดยใชจดหมายอิเล็กทรอนิกส (e-mail) ดานรูปแบบสารสนเทศตองการ สารสนเทศแบบเอกสารเนื้อหาเต็ม (full-text) ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซต ดานผูใชบริการ พบวา ผูใชบริการไม ทราบวาสารสนเทศที่ตองการควรหาจากหัวขอใดบนเว็บไซตหองสมุด ดานเนื้อหา พบวา ขาดคูม ือแนะนําการใชงานฐานขอมูล ดานการออกแบบเว็บไซต พบวา ภาพกราฟก/ ภาพเคลื่อนไหวที่ใชไมดึงดูดความสนใจ

(5)


ABSTRACT Thesis Title

Utilization of the Comptroller General’s Department Library Web Site by Department Personnel Student’s Name Mr. Paiboon Pawasena Degree Sought Master of Arts Major Library and Information Science Academic Year 2007 Advisory Committee 1. Assoc. Prof. Dr. Sunee Karschmroon Chairperson 2. Dr. Suwimol Angkavanich 3. Mrs. Jutamas Mongkolpitaksuk The objectives of this study were to study (1) a comparison of the utilization of the Comptroller General’s Department Library web site by sex, age, education level and position groups of personnel in Department, (2) web site needs, and (3) problems and obstacles of using the web site. The population of this study was 854 personnel of the Comptroller General’s Department. The statistical values used were as follows: percentage, mean, standard division, t-test and Oneway Anova (F-test). The research findings were as follows: The main place of using the library web site was in the Comptroller General’s Department. Frequency of use was 1-2 times per week. The peak (6)


hours were from 10:00 a.m. to 1:59 p.m. The main objective of using the library web site was for supporting their work. The method of using the web site was linking from the Comptroller General’s Department web site. Information retrieval behavior was seeking by themselves. The main database used on the library web site was public relations news. The other main activity was introductions of new books; the main information database used was the references database; the main knowledge management used was the knowledge of GFMIS; the main database online database link used was the database of journals (article links); and the main information link used was newspapers. In comparison of sex, there are no differences. As for age, there are differences in the use of information databases, knowledge management, and the online database links. The other comparisons are education level and position groups, which do not show differences. The library web site’s need for the information service was the online database links. The others were circulation service, economic and finance e-book, and the library’s news service by e-mail. The information format need was full-text. Regarding problems and obstacles, the users did not know how to access the information on the web site; the contents did not have the handbook; and concerning the design of the web site, the graphics and figures were not attractive.

(7)


บทที่ 1 บทนํา ความเปนมาและความสําคัญของปญหา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร Information and Communication Technologies (ICT) มีบทบาทสําคัญตอการดําเนินชีวิตของมนุษย และกอใหเกิด การเปลี่ยนแปลงกับสังคมมนุษยอยางมาก ไมวาจะเปนการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจําวัน หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสําคัญ ในการขยายโอกาสทางการศึกษา การบริการทางสาธารณสุข การสื่อสารระหวางรัฐกับ ประชาชน ถูกนํามาประยุกตใชในการปฏิบัติงาน การใหบริการตอผูบริโภค และยังเปน พลังขับเคลื่อนที่สําคัญในการนําพาประเทศเขาสูระบบเศรษฐกิจและสังคมแหงภูมิปญญา และการเรียนรู (knowledge-based economy/society) อินเทอรเน็ต เปนเครือขายคอมพิวเตอรขนาดใหญที่เชื่อมโยงเครือขายคอมพิวเตอร จากทั่วโลกเขาดวยกัน โดยผานระบบการสื่อสาร (communications) เชน สายเคเบิล สายโทรศัพท โมเด็ม และดาวเทียม เปนตน ทําใหสามารถเขาถึงและติดตอแลกเปลี่ยน สารสนเทศระหวางกันไดอยางรวดเร็ว ไมจํากัดเวลา และสถานที่ ปจจุบันอินเทอรเน็ต ถือเปนเครื่องมือสําคัญในการเขาถึงขอมูลขาวสารและแหลงความรูทั่วโลก อีกทั้งยังเปน เครื่องมือในการติดตอสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพ จึงเปนที่ยอมรับทั่วโลกวาอินเทอรเน็ต เปนโครงสรางพื้นฐานที่สําคัญในการกาวไปสูสังคมแหงภูมิปญญาและการเรียนรู ปจจุบันมนุษยนําอินเทอรเน็ตมาประยุกตใชในชีวติ ประจําวันแทบทุกอยาง การแพร กระจายของการใชอินเทอรเน็ตนับวาเร็วมาก เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีมาแตใน อดีต การเติบโตอยางรวดเร็วของอินเทอรเน็ตทําใหการพัฒนาในดานอื่น ๆ เติบโตตาม ไปดวย สถาบัน องคกร หนวยงานตาง ๆ นําอินเทอรเน็ตมาใชในหนวยงาน เพื่อเพิ่ม ความสะดวกรวดเร็วในการทํางาน ใชอินเทอรเน็ตเปนสื่อในการพัฒนาและเผยแพร


2 ความรู อินเทอรเน็ตจึงมีบทบาทสําคัญในชีวิตประจําวันของคนทั่วไปและใชกันอยาง กวางขวาง เว็บไซตเปนบริการหนึ่งในอินเทอรเน็ตที่ชวยใหการแสวงหาสารสนเทศเปนไป อยางรวดเร็ว กวางขวาง และไดรับความนิยมอยางมาก หนวยงานตาง ๆ หรือแมแต บุคคลทั่วไปตางก็ตองการจัดทําเว็บไซตขึ้นมา เพื่อนําเสนอขอมูลของตนเอง เพื่อเปน แหลงรวบรวม เผยแพรขาวสาร ความรู ตลอดจนเปนแหลงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน ประเด็นตาง ๆ ของหนวยงานหรือบุคคล เว็บไซตจึงเปนสื่อกลางในการเผยแพรขอมูล ขาวสาร ความรูระหวางบุคคลที่ไดรับความนิยม เว็บไซตมีจุดเดนที่เหนือจากบริการ อื่น ๆ ในอินเทอรเน็ต คือ ความสะดวกในการใชงาน ขอมูลมีความหลากหลายทั้งดาน เนื้อหาและรูปแบบ โดยสามารถนําเสนอขอมูลแบบกราฟก กลาวคือ ขอมูลที่อยูบน เว็บไซตจะมีทั้งที่เปนขอความและรูปภาพ รวมไปถึงภาพในลักษณะมัลติมีเดีย คือ ภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบ ความสามารถในการเชื่อมโยงขอมูลจากหนาหนึ่ง ไปยังหนาอื่น ๆ หรือจากแฟมขอมูลหนึ่งไปยังแฟมขอมูลอื่น โดยใชคํา หรือ ขอความ หรือ รูปภาพที่สามารถเชื่อมโยงกันไดเรียกวา ไฮเปอรเท็กซ ลิงค (hypertext link) ลักษณะเดนอีกประการหนึ่งของเว็บไซต คือ สามารถนําเสนอหรือเผยแพรขอมูล ขาวสารอยางไรขีดจํากัดไมวาจะนั่งอยูบานหรืออยูสวนใด ๆ ของโลกก็ตาม หองสมุดยุคใหมจัดใหมีบริการอินเทอรเน็ต นอกเหนือจากบริการสื่อสิ่งพิมพ สื่อโสตทัศน และสื่ออิเล็กทรอนิกส เนื่องจากอินเทอรเน็ตเปนเสมือนประตูสูขอมูล ขาวสารที่เชื่อมโยงไปยังแหลงขอมูลตาง ๆ การใชบริการอินเทอรเน็ตชวยใหขอมูล ขาวสารสงถึงกันไดทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้หองสมุด หลายแหงยังจัดทําเว็บไซตหองสมุด เพื่อแจงขาวสารความเคลื่อนไหวของหองสมุด นําเสนอสารสนเทศเกี่ยวกับหองสมุด เปนแหลงในการสืบคนสารสนเทศ ใหบริการ สารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส เชน ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของหองสมุด ที่สามารถสืบคนผานเครือขายอินเทอรเน็ต Online Public Access Catalog (OPAC) ฐานขอมูลออนไลน วารสารอิเล็กทรอนิกส สิ่งพิมพอิเล็กทรอนิกส และบริการอื่น ๆ ของหองสมุด เพื่ออํานวยความสะดวกและรวดเร็วแกผูใชบริการ กรมบัญชีกลาง มีภารกิจเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการใชจายเงินแผนดินและของ


3 หนวยงานรัฐใหเปนไปโดยถูกตอง มีวินัย คุมคา โปรงใส และสามารถตรวจสอบได โดย การวางกรอบกติกากลางใหหนวยงานภาครัฐถือปฏิบัติ การใหบริการคําแนะนําปรึกษา ดานการเงิน การคลัง การบัญชี และการตรวจสอบภายใน การดําเนินการเกี่ยวกับการบริหาร เงินคงคลังใหมีการใชจายอยางเพียงพอและการเสนอขอมูลในเชิงนโยบายการคลังแก ฝายบริหาร โดยประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวของเพื่อใหเกิดเสถียรภาพทางการคลัง รวมทั้งดําเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการดําเนินงาน ตลอดจนการดูแลและการพัฒนา มาตรฐานคาตอบแทนสวัสดิการและสิทธิประโยชนของบุคลากร (กรมบัญชีกลาง, 2548, หนา 7) หองสมุดกรมบัญชีกลางเปนหนวยงานสังกัดกองพัฒนาทรัพยากรบุคคล กรมบัญชีกลาง มีหนาที่ในการจัดหา จัดเก็บ และใหบริการขอมูลขาวสารแกบุคลากร และบุคคลทั่วไป หองสมุดมีการพัฒนามาโดยตลอด ปจจุบันไดนําเอาระบบหองสมุด อัตโนมัติมาใชในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่ออํานวยความสะดวกใน การทํางานและการใหบริการ และมีการจัดทําเว็บไซตหองสมุด เพื่อเผยแพรขอมูล ขาวสารของหองสมุดแกผูใชบริการ รวมทั้งเพื่อใหผูใชบริการสามารถสืบคนรายการ ทรัพยากรสารสนเทศของหองสมุดผานทางเว็บไซต การใหบริการผานทางเว็บไซตของ หองสมุดไดทํามาระยะหนึ่งแลว และไดมีการปรับปรุงพัฒนามาโดยตลอด เพื่อให สามารถ ตอบสนองกับความตองการที่ไมสิ้นสุดของผูใชบริการ ผูวิจัยในฐานะเปน ผูปฏิบัติงานในหองสมุดกรมบัญชีกลาง จึงมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการใชเว็บไซต หองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยมีวัตถุประสงคเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ การใช ศึกษาความตองการใช ศึกษาปญหาและอุปสรรคในการใช เพื่อใช เปนขอมูลในการพัฒนาเว็บไซตหองสมุด และปรับปรุงใหมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงคของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง


4 2. เพื่อศึกษาความตองการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากร กรมบัญชีกลาง 3. เพื่อศึกษาปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของ บุคลากรกรมบัญชีกลาง

ขอบเขตของการวิจัย 1. การวิจัยครั้งนี้เปนการศึกษาเปรียบเทียบการใช ศึกษาความตองการใช ศึกษา ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง 2. ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรกรมบัญชีกลางที่ปฏิบัติงานในสวนกลาง ไดแก ขาราชการ ระดับ 1-8 และพนักงานราชการ จํานวน 854 คน

สมมติฐานของการวิจยั การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางมีความแตกตางกันตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง

นิยามศัพทเฉพาะ 1. บุคลากรกรมบัญชีกลาง หมายถึง ขาราชการระดับ 1-8 และพนักงานราชการ ของกรมบัญชีกลางที่ปฏิบัติงานในสวนกลาง 2. กลุมตําแหนง หมายถึง กลุมตําแหนงของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ซึ่งประกอบดวย 5 กลุม ดังนี้ 2.1 กลุมดานการเงินและบัญชี ไดแก นักบัญชี นักวิชาการเงินและบัญชี เจาหนาที่ตรวจสอบภายใน เจาหนาที่การเงินและบัญชี เจาพนักงานการเงินและบัญชี เจาหนาที่บริหารงานการเงินและบัญชี และเจาหนาที่ดูเงิน


5 2.2 กลุมดานเศรษฐศาสตรและการคลัง ไดแก นักวิชาการคลัง เจาหนาที่วิเคราะหระบบงาน นักวิชาการพัสดุ เจาหนาที่พัสดุ เจาหนาที่บริหารงานพัสดุ เจาหนาที่การคลัง เจาพนักงานการคลัง และเจาหนาที่บริหารงานการคลัง 2.3 กลุมดานกฎหมาย ไดแก นิติกร 2.4 กลุมดานวิทยาการคอมพิวเตอร ไดแก นักวิชาการคอมพิวเตอร และ เจาหนาที่เครื่องคอมพิวเตอร 2.5 กลุม ดานการบริหาร ไดแก บุคลากร นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล บรรณารักษ เจาหนาที่วิเคราะหนโยบายและแผน นักประชาสัมพันธ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เจาพนักงานโสตทัศนศึกษา เจาหนาที่บริหารงานทั่วไป เจาหนาที่ธุรการ เจาหนาที่บริหารงานธุรการ เจาหนาที่บันทึกขอมูล และชางศิลป

ประโยชนที่คาดวาจะไดรับ 1. ทราบความแตกตางในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากร กรมบัญชีกลาง 2. ทราบความตองการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากร กรมบัญชีกลาง 3. ทราบปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของ บุคลากรกรมบัญชีกลาง 4. เปนแนวทางในการพัฒนาเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง


บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกีย่ วของ การวิจัยเรื่องการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง จะนําเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวของตามหัวขอตอไปนี้ 1. อินเทอรเน็ต 2. เว็บไซต 3. เว็บไซตหองสมุด 4. กรมบัญชีกลาง 5. หองสมุดกรมบัญชีกลาง 6. งานวิจัยที่เกี่ยวของ

อินเทอรเน็ต ความหมายของอินเทอรเน็ต อินเทอรเน็ต เปนเครือขายคอมพิวเตอรที่เชื่อมโยงติดตอกันโดยคอมพิวเตอร และเครือขายตาง ๆ จากทั่วโลกถูกเชื่อมโยงเขาดวยกัน เพื่อแบงปนขอมูลกัน (Burke, 1996, p. 1) อินเทอรเน็ต หมายถึง เครือขายคอมพิวเตอรนานาชาติที่มีสายตรงตอไปยัง สถาบันหรือหนวยงานตาง ๆ เพื่ออํานวยความสะดวกใหแกผูใชรายใหญทั่วโลกผาน โมเด็ม (modem) คลายกับ compuserve ผูใชเครือขายนี้สามารถสื่อสารถึงกันไดทาง ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส (e-mail) สามารถสืบคนขอมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอก แฟมขอมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใชได (ทักษิณา สวนานนท, 2539, หนา 157) อินเทอรเน็ต หมายถึง เครือขายคอมพิวเตอรที่เกิดจากการเชื่อมตอเครือขายยอย จํานวนมาก โดยเชื่อมโยงการสื่อสารระหวางกันดวยระบบโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี ดังนั้น


7 อินเทอรเน็ต จึงเปนเครือขายคอมพิวเตอรที่มีขนาดใหญที่สุดของโลก ประกอบดวย เครือขายยอยจํานวนมาก ซึ่งกระจายอยูเกือบทั่วทุกมุมโลก (วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์, 2542, หนา 14) อินเทอรเน็ต หมายถึง ระบบเครือขายคอมพิวเตอรที่มีขนาดใหญมาก ซึ่งสามารถ เชื่อมโยงเครือขายคอมพิวเตอรทั่วโลกเขาดวยกันได ซึ่งทําใหเราสามารถโอนยายขอมูล ติดตอสื่อสาร และคนหาขอมูลจากแหลงขอมูลไกล ๆ ได (นิภาภรณ คําเจริญ, 2544, หนา 19) อินเทอรเน็ต หมายถึง เครือขายซึ่งเปนที่รวมของเครือขายยอย ๆ หรือกลาวได วาเปนเครือขายของเครือขาย (network of network) ซึ่งสื่อสารกันไดโดยใชโปรโตคอล แบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ซึ่งทําใหคอมพิวเตอรตางชนิดกันเมื่อนํามาใชในเครือขายแลว สามารถแลกเปลี่ยนขอมูลกันได (วาสนา สุขกระสานติ, 2545, หนา 8-2) อินเทอรเน็ต หมายถึง ระบบเครือขายคอมพิวเตอรที่มีขนาดใหญมาก สามารถ เชื่อมโยงเครือขายคอมพิวเตอรทั่วโลกเขาไวดวยกันโดยอาศัยเครือขายโทรคมนาคมเปน ตัวเชื่อมเครือขายภายใตมาตรฐานการเชื่อมโยงดวยโปรโตคอล TCP/IP ทําใหเกิด การสื่อสารแลกเปลี่ยนขอมูลไดในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งขอมูลที่สามารถใชในการติดตอ สื่อสารไดนั้นมีอยูหลายรูปแบบ ไมวาจะเปนตัวอักษร ภาพ และเสียง เปนตน (ณาตยา ฉาบนาค, 2548, หนา 12-13) อินเทอรเน็ต หมายถึง เครือขายคอมพิวเตอรขนาดใหญที่ใชสื่อสารกันและ สงขอมูลผานทางบริการ World Wide Web (WWW) ที่ชวยใหสามารถเชื่อมโยงกับ แหลงขอมูลตาง ๆ ไดทั่วโลกผานโปรโตคอล Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) (น้ําทิพย วิภาวิน, 2548, หนา 137) สรุปอินเทอรเน็ต หมายถึง เครือขายคอมพิวเตอรขนาดใหญที่เชื่อมโยงกับเครือขาย คอมพิวเตอรจากทั่วโลก ซึ่งคอมพิวเตอรแตละเครื่องเชื่อมโยงกันไดดวยมาตรฐานโปรโตคอล Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) ทําใหคอมพิวเตอรสามารถ สื่อสารและแลกเปลี่ยนขอมูลระหวางกันได


8 ความเปนมาของอินเทอรเน็ต อินเทอรเน็ตถือกําเนิดขึ้นในป ค.ศ. 1969 โดยหนวยงานของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา คือ Advanced Research Projects Agency (ARPA) ซึ่งใหการสนับสนุน งานวิจัยแกหนวยงานตาง ๆ เพื่อทําการวิจัยทางดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีเครือขาย อินเทอรเน็ต ในชวงแรกนั้นรูจักกันในนามของ “อารพาเน็ต (ARPANET)” ซึ่งเริ่มจาก การเชื่อมตอคอมพิวเตอรระหวางสถาบันการศึกษา 4 แหงไดแก 1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอรเนีย ที่ลอสแองเจลิส 2) มหาวิทยาลัยยูทาห 3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอรเนียที่ซานตาบารบารา และ 4) สถาบันวิจัยแหงมหาวิทยาลัยสแตนฟอรด คอมพิวเตอรที่เชื่อมตอกันในเครือขาย ที่ทําการวิจัยนี้จะมีอยูหลากหลายชนิด รวมทั้งใชระบบปฏิบัติการที่แตกตางกัน ภายหลังไดมีหนวยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจํานวนมากเชื่อมตอเขากับระบบ เครือขายอารพาเน็ต ทําใหเครือขายขยายขนาดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งในป ค.ศ. 1984 ไดเรียก เครือขายนี้วา “อินเทอรเน็ต (internet)” ซึ่งคอมพิวเตอรตาง ๆ ที่จะเชื่อมตอเขาสู เครือขายอินเทอรเน็ตนั้น จะตองใชมาตรฐานของรูปแบบในการสื่อสารหรือโปรโตคอล (protocol) คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) นอกจากนี้ยัง ไดมีการพัฒนาและประยุกตระบบเครือขายอินเทอรเน็ตใหเปนระบบเครือขายในลักษณะ ของเครือขายอินทราเน็ต (intranet) และเครือขายเอ็กทราเน็ต (extranet) ซึ่งจะมีโปรโตคอล หลักเปน TCP/IP เชนเดียวกัน (น้ําทิพย วิภาวิน, 2548, หนา 141) สําหรับในประเทศไทย กาวสําคัญของการพัฒนาอินเทอรเน็ต พอสรุปไดดังนี้ พ.ศ. 2530 เริ่มใชอีเมลเปนครั้งแรก ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตหาดใหญ และสถาบันเทคโนโลยีแหงเอเชีย (AIT) เปนความรวมมือจากโครงการ International Development Plan (IDP) ของรัฐบาลออสเตรเลีย โดยทางออสเตรเลียจะ โทรศัพทเขามาวันละ 2 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนอีเมล ทําใหประเทศไทยสามารถใชอีเมล ติดตอกับผูใชเครือขายอินเทอรเน็ตได พ.ศ. 2531 กระทรวงวิทยาศาสตร เทคโนโลยี และการพลังงาน (ชื่อขณะนั้น) ได มอบหมายใหเนคเทคใหทุนสนับสนุนการวิจัยโครงการเครือขายคอมพิวเตอรแกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษาการเชื่อมตอเครื่องคอมพิวเตอร ของมหาวิทยาลัยดานวิทยาศาสตรของไทย 12 แหง


9 พ.ศ. 2534 เนคเทครวมมือกับอาจารยและนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษา 8 แหง กอตั้งคณะทํางานชื่อ NEWgroup เพื่อแลกเปลี่ยนอีเมลระหวางคอมพิวเตอรของแตละ สถาบัน และแลกเปลี่ยนกับประเทศออสเตรเลียผาน AIT ทําใหนักวิจัยไทย สามารถ ติดตอสื่อสารกับนักวิจัยนานาชาติได พ.ศ. 2535 กอตั้งเครือขายไทยสาร ภายใตการดําเนินการของคณะทํางานไทยสาร ซึ่งในตอนเริ่มแรกนั้น ประกอบดวยเนคเทค และสถาบันอุดมศึกษา 5 แหง คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร สถาบันเทคโนโลยีแหงเอเชีย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ไทยสารเปนเครือขายเพื่อสนับสนุนการศึกษา คนควาและวิจัย จึงมุงใหบริการเฉพาะแกกลุมนักวิชาการ นักวิจัย และผูอยูในแวดวง การศึกษา การบริการอินเทอรเน็ตสูประชาชนในวงกวางยังไมเกิดขึ้น พ.ศ. 2538 อินเทอรเน็ตประเทศไทย (Internet Thailand) ผูใหบริการอินเทอรเน็ต เชิงพาณิชย หรือ ISP รายแรกของประเทศไทยถูกกอตั้งขึ้น โดยการรวมทุนระหวางเนคเทค การสื่อสารแหงประเทศไทย และองคการโทรศัพทแหงประเทศไทย นับเปนจุดกําเนิดของ บริการอินเทอรเน็ตเชิงพาณิชยสําหรับประชาชนทัว่ ไป (ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส และคอมพิวเตอรแหงชาติ, 2544, หนา 5-6) บริการบนอินเทอรเน็ต อินเทอรเน็ตมีบริการตาง ๆ มากมายที่ใหประโยชนกับผูใชอินเทอรเน็ต สําหรับ บริการบนอินเทอรเน็ต พอสรุปไดดังนี้ 1. ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส Electronic Mail (e-mail) เปนบริการบนอินเทอรเน็ต ที่คนนิยมใชมากที่สุด และเปนประโยชนตอคนทั่วไปใหสามารถติดตอรับสงขอมูล ระหวางกันไดอยางรวดเร็ว เปนการสงจดหมายทางคอมพิวเตอรถึงผูรับในระบบ อินเทอรเน็ตดวยกันไมวาจะอยูใกลหรือไกลหรืออยูคนละซีกโลก ซึ่งจดหมายที่สงจะไป ถึงอยางสะดวกรวดเร็ว โปรแกรมที่ใชในการรับสงจดหมายอิเล็กทรอนิกสมีหลาย โปรแกรมดวยกัน ขึ้นอยูกับความชอบและความถนัดในการใชงานของผูใช เว็บไซตที่ สามารถรับสงจดหมายอิเล็กทรอนิกส เชน Yahoo, Hotmail, Thaimail เปนตน 2. เวิลดไวดเว็บ World Wide Web (WWW) เปนบริการบนอินเทอรเน็ตที่ไดรับ


10 ความนิยมเปนอยางมาก เนื่องจากลักษณะเดนของเวิลดไวดเว็บที่สามารถนําเสนอขอมูล มัลติมีเดียที่แสดงไดทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งมีอยูมากมายและ สามารถรวบรวมลักษณะการใชงานอื่น ๆ ในระบบอินเทอรเน็ตเอาไวดวยไมวาจะเปน ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส การถายโอนขอมูล การสนทนา การคนหาขอมูล และอื่น ๆ ทําใหเวิลดไวดเว็บเปนแหลงขอมูลที่มีขนาดใหญที่สุดในโลก 3. การถายโอนแฟมขอมูล File Transfer Protocol (FTP) เปนบริการบน อินเทอรเน็ตอยางหนึ่งที่ผูใชอินเทอรเน็ตนิยมใช โดยผูใชสามารถแลกเปลี่ยนขอมูลตาง ๆ ไมวาจะเปนไฟลขอมูล ตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง วีดีโอ หรือโปรแกรมตาง ๆ จากระบบ อินเทอรเน็ตหรือจากเครื่องที่ใหบริการ FTP มาไวในเครื่องคอมพิวเตอรของเรา ซึ่ง เรียกวา การดาวนโหลด (download) และในทางตรงกันขาม ถาเราตองการเอาขอมูลจาก เครื่องคอมพิวเตอรของเราไปไวในระบบอินเทอรเน็ต ก็สามารถทําไดเชนเดียวกันโดยใช การอัพโหลด (upload) ไฟลขอมูลของเราไป แตการอัพโหลดยังไมคอยเปนที่นิยมมากนัก สวนมากผูใชมักจะใชบริการดาวนโหลดโปรแกรมตาง ๆ มากกวา 4. การขอเขาใชระบบจากระยะไกล (telnet) เปนบริการที่ชวยใหสามารถเขาไป ใชงานในระบบคอมพิวเตอรเครื่องอื่นที่อยูไกล ๆ ได เหมือนกับไปนั่งใชเครื่องคอมพิวเตอร อยูที่นั่น สําหรับการทํางานของโปรแกรมเทลเน็ตนั้น จะตองอาศัยผูที่มีความเชี่ยวชาญ ในการเชื่อมตอระบบ และการติดตั้งโปรแกรม เพราะการแสดงผลลัพธของโปรแกรม เทลเน็ต สวนใหญจะแสดงเปนขอความ ไมไดแสดงเปนรูปภาพเหมือนกับโปรแกรมอื่น สําหรับโปรแกรมที่ชวยใหสามารถใชบริการนี้ไดคือ โปรแกรม NCSA telnet เมื่อเปด โปรแกรมแลวใหพิมพคําสั่ง telnet การใชเทลเน็ตเปนการใหผูใชสามารถเขาไปใช ทรัพยากรหรือขอใชบริการจากคอมพิวเตอรเครื่องอื่น และใหคอมพิวเตอรเครื่องนั้น ทําหนาที่ประมวลผล โดยผูใชปอนคําสั่งผานทางคอมพิวเตอรของตนเอง แลวจึงสง ผลลัพธกลับมาแสดงบนหนาจอภาพ นอกจากนี้ถาเราเดินทางไปตางจังหวัดหรือ ตางประเทศก็สามารถใชเทลเน็ตติดตอมายังคอมพิวเตอรที่ศูนยบริการอินเทอรเน็ตที่เรา เปนสมาชิกอยูได 5. นิวสกรุป (newsgroup)/ยูสเน็ต (usenet) เปนการรวมกลุมของผูใชอินเทอรเน็ต ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เชน กลุมที่สนใจเรื่องคอมพิวเตอร รถยนต การเลี้ยงปลา


11 การปลูกไมประดับ เปนตน เพื่อสงขาวสารหรือแลกเปลี่ยนขอคิดเห็นระหวางกันใน ลักษณะของกระดานขาว (bulletin board) บนอินเทอรเน็ต ผูใชสามารถเลือกหัวขอที่สนใจ และสามารถแสดงความคิดเห็นได โดยการสงขอความไปยังกลุม และผูอานภายในกลุม จะมีการรวมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นและสงขอความ กลับมายังผูสงโดยตรงหรือ สงเขาไปในกลุมเพื่อใหผูอื่นอานดวย 6. การสนทนา (talk) เปนบริการที่ชวยใหผูใชสามารถพูดคุยโตตอบกับผูใช คนอื่น ๆ ที่เชื่อมตอเขาระบบอินเทอรเน็ตในเวลาเดียวกัน โดยการพิมพขอความผานทาง แปนพิมพ พูดคุยผานทางคอมพิวเตอรโดยมีการตอบโตกันทันที การสนทนาผานทาง อินเทอรเน็ตนี้สามารถใชโปรแกรมไดหลายโปรแกรม เชน โปรแกรม talk สําหรับ การสนทนาเพียง 2 คน โปรแกรม chat หรือ Internet Relay Chat (IRC) สําหรับ การสนทนาเปนกลุม หรือโปรแกรมไอซีคิว (ICQ) เปนการติดตอสื่อสารกับคนอื่น ๆ บนอินเทอรเน็ตทางหนึ่ง คุณสมบัติที่โดดเดนของไอซีคิวคือ การสนทนาแบบตัวตอตัว กับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะหรือสนทนาพรอมกันหลาย ๆ คนก็ได และที่สําคัญคือ การใชไอซีคิวผูใชสามารถเลือกสนทนากับใครโดยเฉพาะและเลือกไมสนทนากับผูที่ ไมพึงประสงคได 7. The Internet Telephone/The Videophone ปกติการสื่อสารทางโทรศัพทผูใช จะตองยกหูจากเครื่องรับโทรศัพทและพูดขอความตาง ๆ ระหวางผูรับกับผูสง แตเมื่อใช บริการอินเทอรเน็ต ซึ่งเปนเครือขายการสื่อสารทั่วโลก ผูใชสามารถเลือกหมายเลขโทรศัพท ที่ตองการติดตอ โดยพูดผานไมโครโฟนเล็ก ๆ และฟงเสียงสนทนาผานทางลําโพง ทั้งนี้ ผูใชตองมีโปรแกรมสําหรับใชงาน รวมทั้งใชเครื่องคอมพิวเตอรที่เปนระบบมัลติมีเดีย นอกจากนี้หากมีการติดตั้งกลองวิดีทัศนที่เครื่องคอมพิวเตอรของคูสนทนาทั้ง 2 ฝาย เมื่อเชื่อมตอคอมพิวเตอร เขากับระบบอินเทอรเน็ตแลว ภาพที่ไดจากการทํางานของ กลองวิดีทัศน ก็สามารถสงผานไปทางอินเทอรเน็ตถึงผูรับได การสนทนาทางโทรศัพท จึงปรากฏภาพของคูสนทนาทั้งผูรับและผูสงบนจอคอมพิวเตอรไปพรอมกับเสียงดวย 8. Entertain เปนการใหบริการทางดานความบันเทิงบนอินเทอรเน็ต ซึ่งมีรูปแบบ ตาง ๆ ใหเขาไปเลือกใชบริการได ไมวาจะเปนรายการโทรทัศน รายการวิทยุ เพลง เกมส รายการเกมสโชว และรายการบันเทิงทั่วไป ซึ่งรายการบันเทิงเหลานี้มีทั้งของประเทศไทย


12 และตางประเทศ เชน อเมริกา ออสเตรเลีย เปนตน 9. Electronic Commerce (e-Commerce) เปนระบบการคาที่ทําผานสื่อ อิเล็กทรอนิกส ซึ่งหมายถึงการคาทุกประเภท ไมวาจะเปนการคาผาน TV Media, UBC, Cable TV และผานระบบอินเทอรเน็ต ถาเปนการคาที่ใชการโทรศัพทเขาไปสั่งซื้อสวนมาก จะเปนทางโทรศัพท แตถา เปนระบบอินเทอรเน็ตมักเปนการสั่งซื้อผานทางอีเมล ซึ่งผูซื้อ อาจขอดูสินคาจากโบรชัวร หรือแคทตาล็อกจากเว็บไซตนั้น ๆ และถาตกลงซื้อก็สามารถ สั่งซื้อไดทันที สําหรับการชําระเงินถาเปนระบบ e-Commerce มักจะชําระเงินผานทาง บัตรเครดิต โดยผูซื้อตองกรอกหมายเลขบัตรเครดิตลงไปดวย ซึ่งทําใหผูซื้อสามารถซื้อ ของไดสะดวก รวดเร็ว และไมตองเสียเวลาเดินทางไปซื้อดวยตนเอง 10. เสิรชเอนจิ้น (search engines) เปนเครื่องมือชวยคนหาขอมูลในระบบ อินเทอรเน็ตที่ไดรับความนิยมมากที่สุดในปจจุบัน เปนลักษณะของโปรแกรมชวย การคนหา ซึ่งมีอยูมากมายในระบบอินเทอรเน็ต โดยการพัฒนาขององคกรตาง ๆ เชน Yahoo, Infoseek, Altavista, Hotbot, Excite เปนตน เพื่อชวยใหผูใชคนหาขอมูลสารสนเทศ ตาง ๆ โดยผูใชพิมพคําหรือขอความที่เปนคําสําคัญ (keyword) เขาไป โปรแกรมเสิรชเอนจิ้น จะแสดงรายชื่อของแหลงขอมูลตาง ๆ ที่เกี่ยวของขึ้นมา ซึ่งสามารถคลิกไปที่รายชื่อตาง ๆ เพื่อเขาไปดูขอมูลนั้น ๆ ได หรือจะเลือกคนจากหัวขอในหมวดตาง ๆ ที่ทางเสิรชเอนจิ้น ไดแสดงไวเปนเมนูตาง ๆ โดยเริ่มจากหมวดที่กวางจนลึกเขาไปสูหมวดยอย ขอดีและขอจํากัดของอินเทอรเน็ต อินเทอรเน็ตเปนเทคโนโลยีในการสื่อสารสารสนเทศที่มีทั้งขอดีที่เปนประโยชน และขอจํากัดบางประการ ซึ่งผูใชควรทราบ พอสรุปไดดังนี้ ขอดี 1. ใชในการคนหาขอมูลในลักษณะตาง ๆ เชน งานวิจัย บทความจากแหลงขอมูล ทั่วโลก เชน หองสมุด สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย โดยไมตองเสียคาใชจาย และไมตอง เสียเวลาในการเดินทางและยังสามารถเขาไปหาขอมูลไดตลอด 24 ชั่วโมง 2. สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณตาง ๆ ทั่วโลกไดอยางรวดเร็ว จากการรายงานขาวของสํานักขาวตาง ๆ


13 3. สามารถรับสงจดหมายอิเล็กทรอนิกสจากทั่วโลกไดอยางรวดเร็วโดยไม ตองเสียคาซองจดหมาย คาแสตมป หรือคาลงทะเบียน ถึงแมจะเปนการสงขอความไป ตางประเทศก็ไมตองเสียเงินเพิ่มเหมือนการสงจดหมาย จะเสียก็เพียงแตคาโทรศัพท ที่ใชในการหมุนเขาระบบอินเทอรเน็ตเทานั้น 4. สามารถสนทนากับผูอื่นที่อยูหางไกลไดทั้งในลักษณะการพิมพขอความ โตตอบกัน และการพูดคุย 5. สามารถเขารวมกลุมอภิปรายหรือกลุมขาว เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือพูดคุย ถกปญหากับผูที่สนใจในเรื่องเดียวกัน ซึ่งเปนการขยายวิสัยทัศนในเรื่องที่สนใจ 6. สามารถถายโอนโปรแกรม แฟมขอความ ภาพกราฟก ภาพเคลื่อนไหวจาก เว็บไซตที่ใหบริการได 7. สามารถตรวจดูราคาสินคาและสั่งซื้อสินคา รวมทั้งบริการตาง ๆ ได โดย ไมตองเสียเวลาเดินทางไปหางสรรพสินคา 8. ใหความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ เชน ฟงเพลง ดูรายการโทรทัศนผานทาง อินเทอรเน็ต 9. สามารถติดประกาศขอความตาง ๆ ที่ตองการใหผูอื่นทราบไดอยางทั่วถึง 10. มีเสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแกบุคคลทุกคน ขอจํากัด 1. อินเทอรเน็ตเปนขายงานคอมพิวเตอรขนาดใหญ ซึ่งไมมีใครเปนเจาของทุกคน สามารถสรางเว็บไซตหรือติดประกาศโฆษณาขอความตาง ๆ ไดทุกเรื่อง ซึ่งขอความหรือ ประกาศบางอยางอาจเปนขอมูลที่ไมถูกตองหรือไมไดรับการรับรองจากสถาบันที่นาเชื่อถือ ผูอานควรพิจารณาในเรื่องที่อานเปนอยางดี 2. อินเทอรเน็ตมีโปรแกรมและเครื่องมือที่ชวยในการทํางานมากมาย เชน การใช IRC ในการพูดคุย การใชอีเมลในการรับสงจดหมาย ดังนั้นผูใชควรทําการศึกษาวิธี การใชงานโปรแกรมเหลานั้นใหละเอียดเสียกอน จึงจะสามารถนํามาใชงานไดอยางมี ประสิทธิภาพ 3. นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน อาจจะเขาไปในเว็บไซตท่ไี มเหมาะสมและ ไมเปนประโยชน หรือยั่วยุทางอารมณทําใหเปนอันตรายตอตนเองและสังคมได


14 4. เว็บไซตบางอยางชักจูงผูอานไปในทางที่ไมดี หรือมีการลอลวง ทําใหเสื่อม เสีย หรืออาจเกี่ยวของกับยาเสพติด ดังนั้น ผูปกครองควรมีการแนะนําหรือดูแลบุตรหลาน ในการเขาใชอินเทอรเน็ตดวย

เว็บไซต เว็บไซตเปนสื่อที่สําคัญอยางหนึ่งในปจจุบัน ซึ่งทุกคน ทุกหนวยงาน ทุกองคกร สามารถมีเปนของตนเองได การสรางเว็บไซตที่มีคุณภาพมีองคประกอบที่เกี่ยวของอยู มากมาย ซึ่งเราจะตองหาขอมูล วิเคราะห และตัดสินใจกอนที่จะลงมือทําจริง ตัวอยางเชน วัตถุประสงคของเว็บไซตคืออะไร ใครเปนกลุมผูใชเปาหมาย ทีมงานมีใครบาง และ แตละคนเชี่ยวชาญในเรื่องใด เนื้อหาและขอมูลจะมาจากไหน เทคโนโลยีอะไรบางที่จะ นํามาใช รูปแบบของเว็บเพจควรเปนอยางไร และการประชาสัมพันธจะทําในรูปแบบ ใดบาง ความหมายของเว็บไซต เว็บไซตถูกเรียกเปนตําแหนงที่อยูของผูที่มีเว็บเพจของตัวเองบนระบบอินเทอรเน็ต ซึ่งไดจากการลงทะเบียนกับผูใหบริการเชาพื้นที่บนระบบอินเทอรเน็ต เมื่อไดลงทะเบียน ในชื่อที่ตองการแลว ก็สามารถจัดทําเว็บเพจ และสงใหศูนยบริการนําขึ้นไปไวบน อินเทอรเน็ต ถือไดวามีเว็บไซตเปนของตัวเองแลว (ปยวิท เจนกิจจาไพบูลย, 2540, หนา 4) เว็บไซตเปนชื่อเรียก Host หรือ Server ที่ไดจดทะเบียนอยูในเวิลดไวดเว็บ ซึ่งก็คือ ชื่อ Host ที่ถกู กําหนดใหมีชื่อในเวิลดไวดเว็บ และขึ้นตนดวย http และมีโดเมนหรือ นามสกุลเปน .com, .net, .org หรือ อื่น ๆ (นิรุธ อํานวยศิลป, 2542, หนา 7) เว็บไซต หมายถึง สถานที่ ที่ใชเรียกบนเวิลดไวดเว็บ (WWW) เว็บไซตอาจประกอบ ไปดวยเว็บเพจจํานวนหลาย ๆ หนาที่มีความสัมพันธกัน มีเว็บเพจหลายหนารวมกันอยู (ชัยยุทธ ลิมลาวัลย, 2544, หนา 19) เว็บไซต หมายถึง การเรียกเว็บเพจทั้งหมด เชน สมมติวาเว็บไซต www.siam2.com คือชื่อ URL ของเว็บไซตที่ตองการอางถึง หากจะพูดถึงเว็บไซต siam2.com ทั้งหมดก็จะ


15 หมายถึง ขอมูลทั้งหมดของเว็บที่เก็บอยูในเครื่องคอมพิวเตอรที่คอยใหบริการ เมื่อมีคน ขอเรียกดูขอมูลเขามาจากที่ไหนก็ไดในโลก (นวพันธ ปยะวรรณกร, 2544, หนา 66) เว็บไซต คือ กลุมของเว็บเพจที่ประกอบไปดวยหนาเว็บเพจหลาย ๆ หนา โดยใช การเชื่อมโยงระหวางหนาดวยระบบไฮเปอรลิงค (hyperlink) ดังนั้น ภายในเว็บไซตจะ ประกอบไปดวยหนาโฮมเพจและเว็บเพจ (ภาษิต เครืองเนียม, 2549, หนา 4) เว็บไซต หมายถึง หนาเว็บเพจหลายหนา ซึ่งเชื่อมโยงกันผานทางไฮเปอรลิงค สวนใหญจัดทําขึ้นเพื่อนําเสนอขอมูลผานคอมพิวเตอร โดยถูกจัดเก็บไวในเวิลดไวดเว็บ หนาแรกของชื่อเว็บไซตที่เก็บไวที่ชื่อหลักจะเรียกวาโฮมเพจ เว็บไซตโดยทั่วไปจะให บริการตอผูใชบริการฟรี แตในขณะเดียวกันบางเว็บไซตจําเปนตองมีการสมัครสมาชิก และเสียคาบริการเพื่อที่จะดูขอมูลในเว็บไซตนั้น ซึ่งไดแก ขอมูลทางวิชาการ ขอมูลตลาดหลักทรัพย หรือขอมูลสื่อตาง ๆ ผูทําเว็บไซตมีหลากหลายระดับ ตั้งแตสรางเว็บไซตสวนตัว จนถึงระดับเว็บไซตสําหรับธุรกิจหรือองคกรตาง ๆ การเรียกดูเว็บไซตโดยทั่วไปนิยม เรียกดูผานซอฟตแวรในลักษณะของเว็บบราวเซอร (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2549) สรุปเว็บไซต หมายถึง แหลงขอมูลในระบบเครือขายคอมพิวเตอรที่สามารถเชื่อมโยง ถึงกันได โดยผานระบบเครือขายอินเทอรเน็ต หนาแรกของเว็บไซตเรียกวาโฮมเพจ และ หนาอื่น ๆ เรียกวาเว็บเพจ โดยในแตละเว็บเพจจะมีการเชื่อมโยงถึงกันและมีเนื้อหาที่ เกี่ยวของหรือสอดคลองกัน

ขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต กําหนดเปาหมายและวางแผน (site definition and planning) การพัฒนาเว็บไซตควรกําหนดเปาหมายและวางแผนไวลวงหนา เพื่อใหการทํางาน ในขั้นตอไปมีแนวทางที่ชัดเจน ประกอบดวยขั้นตอนดังนี้ 1. กําหนดวัตถุประสงคของเว็บไซต เพื่อใหเห็นภาพที่ชัดเจนวาเว็บไซตตองการ นําเสนอหรือตองการใหเกิดผลอะไร เชน เปนเว็บไซตสําหรับใหขอมูลหรือขายสินคา ซึ่งวัตถุประสงคนี้จะเปนตัวกําหนดรายละเอียดอื่น ๆ ที่จะตามมา เชน โครงสรางของ


16 เว็บไซต รวมทั้งลักษณะหนาตาและสีสันของเว็บเพจ ในกรณีที่เปนเว็บไซตของบริษัท หรือองคกร วัตถุประสงคควรวางใหสอดคลองกับภารกิจขององคกร 2. กําหนดกลุมผูใชเปาหมาย เพื่อจะไดรูวาผูใชหลักคือใคร และออกแบบเว็บไซต ใหตอบสนองความตองการของผูใชกลุมนั้นใหมากที่สุด ไมวาจะเปนการเลือกเนื้อหา โทนสี กราฟก เทคโนโลยีที่นํามาสนับสนุน และอื่น ๆ 3. เตรียมแหลงขอมูล เนื้อหาหรือขอมูล คือสาระสําคัญที่แทจริงของเว็บไซต ตองรูวาขอมูลที่จําเปนจะมาจากแหลงใดไดบาง เชน ถาเปนเว็บไซตของบริษัท ใครจะ เปนผูใหขอมูล หรือถาเปนเว็บขาวสาร ขาวนั้นจะมาจากแหลงใด มีลิขสิทธิ์หรือไม 4. เตรียมทักษะหรือบุคลากร การสรางเว็บไซตตองอาศัยทักษะหลาย ๆ ดาน เชน ในการเตรียมเนื้อหา ออกแบบกราฟก เขียนโปรแกรม และการดูแลเว็บเซิรฟเวอร เปนตน ถาเปนเว็บไซตขนาดใหญอาจตองใชบุคลากรเปนจํานวนมาก แตสําหรับเว็บไซตเล็ก ๆ ที่ตองดูแลเพียงคนเดียว ผูดูแลควรศึกษาหาความรูในเรื่องนั้น ๆ เพื่อเตรียมความพรอม เอาไว 5. เตรียมทรัพยากรตาง ๆ ที่จําเปน เชน โปรแกรมสําหรับสรางเว็บไซต โปรแกรม สําหรับสรางภาพกราฟก ภาพเคลื่อนไหว และมัลติมีเดีย โปรแกรมยูทิลิตี้อื่น ๆ ที่ตองใช การจดทะเบียนโดเมนเนม ตลอดจนการเตรียมหาผูใ หบริการรับฝากเว็บไซต (web hosting) และเลือกแผนบริการที่เหมาะสม วิเคราะหและจัดโครงสรางขอมูล (analysis and information architecture) ขั้นตอนนี้เปนการนําเสนอขอมูลตาง ๆ ที่รวบรวมไดจากขั้นแรก ไมวาจะเปน วัตถุประสงคของเว็บไซต คุณลักษณะและขอจํากัดของกลุมผูใชเปาหมาย รวมทั้งเนื้อหา หลักของเว็บไซต นํามาประเมิน วิเคราะห และจัดระบบ เพื่อใหไดโครงสรางขอมูลและ ขอกําหนด ซึ่งจะเปนกรอบสําหรับการออกแบบและดําเนินการในขั้นตอไป ผลที่ไดรับ จากขั้นตอนนี้ควรประกอบดวย 1. แผนผังโครงสรางของเว็บไซต (site structure) สารบัญ (table of content) ลําดับการนําเสนอ (storyboard) หรือผังงาน (flowchart)


17 2. ระบบนําทางหรือเนวิเกชั่น (navigation) ซึ่งผูใชจะใชสําหรับเปดเขาไปยังสวน ตาง ๆ ของเว็บไซต ตัวอยางเชน โครงสรางและรูปแบบของเมนู 3. องคประกอบตาง ๆ ที่จะนํามาใชในเว็บเพจมีอะไรบาง เชน ภาพกราฟก เสียง วิดีโอ มัลติมีเดีย แบบฟอรม อะไรบางที่บราวเซอรของผูใชสนับสนุน และอะไรบางที่ ตองอาศัยโปรแกรมเสริม 4. ขอกําหนดเกี่ยวกับลักษณะหนาตาและรูปแบบของเว็บเพจ 5. ขอกําหนดของโปรแกรมภาษาสคริปตหรือเว็บแอพลิเคชั่น และฐานขอมูล ที่ใชในเว็บไซต 6. คุณสมบัติของเว็บเซิรฟเวอร รวมถึงขอจํากัด และบริการเสริมตาง ๆ การออกแบบเว็บเพจและเตรียมขอมูล (page design and content editing) เปนขั้นตอนของการออกแบบเคาโครง หนาตา และลักษณะทางดานกราฟกของ หนาเว็บเพจ เพื่อใหผูใชเกิดอารมณความรับรูตอเว็บเพจ ตามที่ผูออกแบบตองการ ดังนั้น ผูทําหนาที่นี้จึงควรมีความสามารถทางดานศิลปะพอสมควร การออกแบบเว็บเพจยังรวมไปถึงการกําหนดสีสันและรูปแบบของสวนประกอบ ตาง ๆ ที่ไมใชภาพกราฟก เชน รูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร สีพื้นหลัง บริเวณที่วาง สีและลวดลายของเสนกรอบ เปนตน นอกจากนั้นองคประกอบเสริมอื่น ๆ ของเว็บเพจก็ตองเตรียมไวดวย เชน ภาพเคลื่อนไหวที่ใชโตตอบกับผูใช ในสวนของเนื้อหา ขั้นตอนนี้เปนการนําเอาเนื้อหาที่เลือกไวมาปรับแก และตรวจทาน ความถูกตอง เพื่อใหพรอมสําหรับนําไปใสเว็บเพจแตละหนาในขั้นตอนตอไป การสรางและทดสอบ (construction and testing) เปนขั้นตอนที่เว็บเพจถูกสรางขึ้นมาจริงทีละหนา โดยอาศัยเคาโครงและ องคประกอบกราฟกตามที่ออกแบบไว เนื้อหาตาง ๆ จะถูกนํามาจัดรูปแบบ ลิงคและ ระบบนําทาง สรางองคประกอบเสริมตาง ๆ อยางไรก็ตาม เมื่อลงมือสรางเว็บเพจจริง อาจพบวาสิ่งที่ออกแบบไวแลวบางอยางอาจไมเหมาะสมหรือควรไดรับการปรับแตง ก็สามารถทําได โปรแกรมที่ใชในขั้นตอนนี้ก็คือโปรแกรมสําหรับสรางเว็บไซต


18 เว็บไซตที่สรางขึ้นมา ควรไดรับการทดสอบกอนนําออกเผยแพร ไมวาจะเปน เรื่องความถูกตองของเนื้อหา การทํางานของลิงค และระบบนําทาง ตรวจหาความ ผิดพลาดของโปรแกรมสคริปตและฐานขอมูล นอกจากนี้ควรทดสอบโดยใช สภาพแวดลอมที่เหมือนกับของกลุมผูใชเปาหมาย เชน เวอรชนั่ ของบราวเซอร ความ ละเอียดของจอภาพและความเร็วที่เชื่อมตอกับอินเทอรเน็ต เพื่อดูวากลุมผูใชเปาหมาย สามารถชมเว็บไซตไดอยางสมบูรณและมีประสิทธิภาพหรือไม การเผยแพรและสงเสริมใหเปนที่รูจัก (publishing and promotion) โดยทั่วไปการนําเว็บไซตขึ้นเผยแพรบนอินเทอรเน็ต จะทําดวยการอัพโหลด ไฟลทั้งหมด คือ html และไฟลอื่น ๆ ที่เกี่ยวของขึ้นไปเก็บบนเว็บเซิรฟเวอรที่เราเปด บริการไว การอัพโหลดเว็บไซตหรือบางครั้งเรียกวา “พับบลิช (publish)” อาจทําดวย โปรแกรมสรางเว็บไซตเอง ซึ่งมีคุณสมบัตินี้อยูในตัว หรืออาจใชโปรแกรมยูทิลิตี้ประเภท FTP หรือใชเครื่องมืออื่นบนเว็บเซิรฟเวอรก็ได หลังจากนั้นเว็บไซตควรไดรับการทดสอบอีกครั้ง เพื่อตรวจหาปญหาบางอยาง ที่ไมสามารถทดสอบบนคอมพิวเตอรของเราเอง เชน การลิงคของเว็บเพจกับเว็บไซตอื่น และการทํางานของโปรแกรมสคริปตกับฐานขอมูล ซึ่งอาจทําไมไดบนเครื่องของเรา หรือ บนเว็บเซิรฟเวอรอาจมีสภาพแวดลอมที่ตางออกไป เว็บไซตที่จะประสบความสําเร็จ นอกจากตองมีเนื้อหาที่ดี มีการวางโครงสราง และการออกแบบที่เหมาะสมแลว ยังตองไดรับการโฆษณาและสงเสริมใหเปนที่รูจักใน กลุมผูใชเปาหมายหรือในวงกวางออกไปอีกดวย การสงเสริมนี้มีกลยุทธที่ทําไดหลายวิธี ไมจําเปนตองใชงบประมาณจํานวนมากเสมอไป สามารถทําไดตั้งแตแบบงาย ๆ คือ การแลกเปลี่ยนลิงคและแบนเนอร ประกาศบนเว็บบอรดสาธารณะ การสงอีเมล เพิ่ม ขอมูลในเสิรชเอนจิ้นหรือเว็บไดเร็คทอรี ไปจนถึงแบบที่ใชงบประมาณมากขึ้น เชน การจัดงานเปดตัว การลงโฆษณาบนเว็บไซตอื่น หรือในวิทยุและโทรทัศน เปนตน การดูแลและพัฒนา (maintenance and innovation) เว็บไซตท่ีเผยแพรออกไปแลวไมควรทิ้งขวาง ควรดูแลโดยตลอด ซึ่งหนาที่น้ี


19 ครอบคลุมหลายเรื่อง ตั้งแตการตรวจสอบเว็บเซิรฟเวอรวาไมหยุดทํางานบอย ๆ ลิงคที่ เชื่อมโยงไปภายนอกยังคงใชได (เนื่องจากบางเว็บไซตอาจถูกปด) คอยตอบอีเมลหรือ คําถามที่มีผูฝากไวบนเว็บเพจ ถาเปนเว็บขาวสารก็ตองปรับปรุงขอมูลใหทันสมัยตลอดเวลา ถามีการใชฐานขอมูลก็ตองแบ็คอัพขอมูลอยางสม่ําเสมอ นอกจากนั้นเราควรตรวจสอบสถิติของการเขาชมเปนระยะ ๆ ซึ่งเปนบริการเสริม ที่เว็บเซิรฟเวอรมักมีให เชน จํานวนผูใช เว็บเพจใดมีผูใชมากหรือเปนที่นิยม ผูใชมี การเปลี่ยนคุณสมบัติ (เชน ความละเอียดของจอภาพและรุนของบราวเซอร) ไปหรือไม หรือเขาถึงเว็บไซตของเราจากทิศทางใดมากที่สุด (เชน จากเว็บไซตของหนวยงานอื่น ที่ลิงคมาหาเรา หรือมาจากเสิรชเอนจิ้นใด) ฯลฯ หลังจากที่เว็บไซตไดรับการเผยแพรไประยะหนึ่ง เราควรปรับปรุง เพื่อใหผูใช รูสึกวามีความเปลี่ยนแปลง มีความสดใหมทันสมัย โดยอาจนําขอมูลสถิติที่รวบรวมไว มาพิจารณาประกอบ การเปลี่ยนแปลงทําไดทั้งในสวนของเนื้อหา โครงสรางเว็บไซต การออกแบบเว็บเพจ และการนําเทคโนโลยีใหม ๆ เขามาเสริม

เนื้อหาที่ควรมีในเว็บไซต การศึกษาตัวอยางจากเว็บไซตทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะที่เปนประเภทเดียวกันจะชวย ใหมองเห็นวาเว็บไซตควรมีเนื้อหาอะไรบาง ซึ่งเรื่องนี้ไมไดมีการกําหนดไวเปนมาตรฐาน แตขึ้นอยูกับสิ่งที่จะนําเสนอและจุดเดนที่ตองการใหมี ทําใหรายละเอียดปลีกยอยของ แตละเว็บไซตแตกตางกันออกไป พอสรุปไดวาขอมูลพื้นฐานที่ควรมีในเว็บไซตควร ประกอบดวย 1. ขอมูลเกี่ยวกับบริษัท องคกร หรือผูจัดทํา (about us) คือ ขอมูลเกี่ยวกับเจาของ เว็บไซต เพื่อบอกใหผูใชรูวาเราเปนใครมาจากไหน และตองการนําเสนออะไร เชน วัตถุประสงคของเว็บไซต ประวัติความเปนมา สถานที่ตั้งหนวยงาน 2. รายละเอียดของผลิตภัณฑหรือบริการ (products/services information) คือ ขอมูลหลักที่นําเสนอ ซึ่งหากเปนเว็บไซตทางธุรกิจผูใชจําเปนตองไดรูรายละเอียด ของผลิตภัณฑหรือบริการ รวมทั้งอาจมีการเปรียบเทียบราคา เพื่อเปนขอมูลประกอบ


20 การตัดสินใจซื้อ แตหากเปนเว็บไซตที่ใหความรู สวนนี้อาจประกอบดวยบทความ ภาพกราฟก มัลติมีเดีย และลิงคไปยังเว็บไซตอื่นที่ใหขอมูลเพิ่มเติม 3. ขาวสาร (news/press release) อาจเปนขาวสารที่ตองการสงถึงบุคคลทั่วไป หรือสมาชิก เพื่อใหรับรูความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับบริษัทหรือเว็บไซตของเรา เชน การเปดตัวสินคา โปรโมชั่น หรือกิจกรรมตาง ๆ 4. คําถามคําตอบ (frequently asked question) คําถามคําตอบมีความจําเปน เพราะ ผูใชบางสวนอาจไมเขาใจขอมูลหรือมีปญหาตองการสอบถาม การติดตอทางอีเมลหรือ ชองทางอื่น แมวาจะทําไดแตก็เสียเวลา ดังนั้นควรคาดการณหรือรวบรวมคําถามที่เคย ตอบไปแลวใสไวในเว็บเพจ ซึ่งผูใชที่สงสัยสามารถเปดดูไดทันที นอกจากนี้อาจมี เว็บบอรดสําหรับใหผูดูแลเว็บไซตคอยตอบ รวมทั้งอาจเปดใหผูใชดวยกันชวยตอบก็ได FAQ บางครั้งก็อยูในรูปของ help หรือขอมูลชวยเหลือ 5. ขอมูลในการติดตอ (contact information) เพื่อใหผูใชเว็บไซตที่เกิดขอสงสัย หรือตองการสอบถามขอมูลเพิ่มเติม สามารถติดตอกับเราได ควรระบุอีเมล ที่อยูบริษัท หรือหนวยงาน หมายเลขโทรศัพท หมายเลขโทรสาร ไวในเว็บไซตดวย

การศึกษาความตองการของผูใชเว็บไซต วัตถุประสงคหลักของการสรางเว็บไซตเพื่อใหมีผูใชเขามาใชบริการและอยูใน เว็บไซตใหนานที่สุด ดังนั้นจําเปนตองใสเนื้อหาและองคประกอบที่นาสนใจหลาย ๆ อยางเพื่อดึงดูดความสนใจ ตองศึกษาและเขาใจถึงธรรมชาติของสิ่งที่ผูใชสวนใหญ คาดหวังวาจะไดรับ จากการเขามาในเว็บไซตวามีอะไรบาง ซึ่งความตองการของผูใช โดยทั่วไป สรุปไดดังนี้ 1. ขอมูล (content) หรือ เนื้อหาหลัก ที่นําเสนอในเว็บไซต ไมวาจะเปนขอมูล เกี่ยวกับหนวยงาน รายละเอียดของสินคา บริการ และการบริการหลังการขาย 2. ขาวสารความเคลื่อนไหว (news) เกี่ยวกับสินคา บริการ กิจกรรมที่เว็บไซต หรือหนวยงานมี เชน การเปดตัวสินคาใหม สิทธิประโยชน โปรโมชั่น 3. ของฟรี (free service) ในโลกของอินเทอรเน็ตจะพบกับเว็บไซตจํานวนมาก


21 ที่มีของฟรีแจก เชน อีเมล พื้นที่วางเว็บไซต คูปองสวนลดราคาของรานคา และภาพกราฟก เปนตน ซึ่งเว็บไซตเหลานี้มักมีผูใชเขาไปใชบริการมาก 4. การมีปฏิสัมพันธ (interactive) เชน ใหมีการถามตอบปญหา รวมแสดงความ คิดเห็น หรือโหวตในหัวขอตาง ๆ เว็บไซตควรมีเว็บบอรดไวใหผูใชแสดงความคิดเห็น หรือตั้งกระทูได หรือใชการโตตอบดวยอีเมล เชน ถาเปนเว็บไซตที่ทําธุรกิจออนไลน เมื่อผูใชสั่งซื้อสินคา และชําระเงินควรตอบกลับโดยเร็วเพื่อใหลูกคามั่นใจวาธุรกรรม ดําเนินไปดวยความเรียบรอย 5. ความบันเทิง (entertainment) ผูคนสวนใหญชอบบริโภคขอมูลที่สรางความ สนุกสนานและความบันเทิงในรูปแบบตาง ๆ ตามลักษณะของกลุมผูใช ซึ่งอาจอยูใน รูปแบบของบทความตลกขําขัน ขาวซุบซิบของดารานักรอง การแขงขันชิงรางวัล เลนเกมส ฟงเพลง ริงโทนสําหรับมือถือ ดูภาพยนตรตัวอยาง เปนตน เว็บไซตที่ให บริการประเภทนี้จะไดรับความนิยมสูง

ทีมงานพัฒนาเว็บไซต การพัฒนาเว็บไซตสามารถทําไดเพียงคนเดียวหรือทําเปนทีม ขึ้นอยูกับความ จําเปนที่แตกตางกัน เปนเว็บไซตขนาดใหญหรือเล็ก หรือเว็บไซตสวนตัว สําหรับประเภท ของบุคลากรที่ตองใชขึ้นอยูกับเนื้อหา ขอมูล และเทคโนโลยี ทีต่ องการจะนําเสนอ โดย องคกรขนาดใหญหรือบริษัทที่รับพัฒนาเว็บไซต อาจตองมีการแบงแยกหนาที่อยาง ชัดเจนวาใครทําอะไร ซึ่งแตละคนจะมีความชํานาญเฉพาะเรื่องไป โดยทั่วไปทีมงาน พัฒนาเว็บไซตจะประกอบดวยบุคลากรตาง ๆ ดังนี้ 1. Web Master คือ ผูรับผิดชอบและดูแลเว็บไซตที่ไดรับมอบหมายในภาพรวม หรืออาจมีหนาที่ออกแบบและพัฒนาเว็บไซตทั้งหมดก็ได ดังนั้นจึงตองเปนผูที่มีความรู ในเรื่องตาง ๆ อยางกวางขวาง 2. Web Designer เปนผูออกแบบลักษณะหนาตาทั้งหมดของเว็บไซต เชน การวางโครงรางของหนาเว็บเพจ การเลือกสี การออกแบบภาพกราฟกที่เปนสวนประกอบ ตาง ๆ ดังนั้นควรเปนผูที่มีความรูทางดานศิลปะและนํามาประยุกตใชอยางเหมาะสม


22 3. Web Programmer เปนนักเขียนโปรแกรมซึ่งสามารถพัฒนาโปรแกรมดวย ภาษาตาง ๆ ที่ใชในเว็บไซต เชน JavaScript, VBScript, ASP และ PHP บุคลากรดานนี้ กําลังมีความสําคัญ เนื่องจากปจจุบันมีการใชโปรแกรมเขามาชวยเสริมการทํางานของ เว็บไซตมากขึ้น เชน ใชจัดการระบบฐานขอมูล หรือเพิ่มลูกเลนบนเว็บเพจใหนาสนใจ 4. Content Writer/Editor คือ นักเขียนและบรรณาธิการที่ดูแลดานเนื้อหา (content) ของเว็บไซต เปนผูรับผิดชอบในการจัดเตรียมเนื้อหา ตรวจสอบความถูกตอง และปรับปรุง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

การออกแบบเว็บไซต กอบเกียรติ สระอุบล (2547, หนา 19-20) ไดกลาวถึงหลักการทั่วไปในการออกแบบ เว็บไซตไว ดังนี้ 1. นําเสนอขอมูล โดยจัดสีสัน ขอความใหดูสะดุดตา และมีรูปภาพประกอบ 2. หนาแรกไมควรมีขอมูลหรือรูปภาพใหญ ๆ มากเกินไป จะทําใหเว็บเปดไดชา ถาตองการนําเสนอภาพขนาดใหญ ควรเริ่มตนแสดงภาพเล็กกอนแลวทําลิงคใหคลิก เพื่อเปดดูภาพใหญสําหรับผูสนใจ 3. มีภาพเคลื่อนไหวประกอบเพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ ดึงดูดความสนใจ แตไมควรใสมากเกินไปจะทําใหลายตา 4. หนาเว็บควรตกแตงดวยภาพกราฟกพอประมาณ ถามากเกินไปจะทําใหเว็บ เปดชา ผูใชอาจหนีไปเว็บอื่นเนื่องจากรอไมไหว 5. ปรับปรุงขอมูลหนาเว็บเปนระยะ ๆ เพื่อไมใหผูใชรูสึกเบื่อ เชน เพิ่มเนื้อหา ขาวใหม เปลี่ยนสี เปลี่ยนรูปภาพ ฯลฯ 6. ควรมีชื่อเว็บไซต หรือชื่อองคกร และขอมูลสําหรับติดตอ เชน อีเมล หมายเลขโทรศัพท ไวที่เว็บทุกหนา อาจเปนสวนลาง (footer) หรือสวนบนหัวเว็บ (header) ก็ได แลวแตความเหมาะสมในการออกแบบ


23

การออกแบบเว็บเพจ เว็บเพจ คือ หนาเว็บแตละหนา เว็บไซตหนึ่ง ๆ จะประกอบดวยเว็บเพจหลาย เว็บเพจ โดยขอมูลในเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ที่เกี่ยวของกันได จากการศึกษาสรุปหลักการออกแบบเว็บเพจได ดังนี้ 1. หนาแรกของเว็บไซต หรือโฮมเพจ เปนหนาที่มีความสําคัญ ดังนั้นใน การออกแบบจึงไมควรใสกราฟกหรือลูกเลนมากเกินไป เพราะจะทําใหผูใชเสียเวลา รอนาน อาจทําใหเกิดความเบื่อ และเปลี่ยนไปหาแหลงขอมูลอื่น 2. ควรมีระบบนําทาง หรือเนวิเกชั่น เพราะจะชวยใหผูใชเขาถึงขอมูลที่ตองการ ไดอยางรวดเร็วและรูวากําลังอยูตําแหนงใดในเว็บไซต ระบบนําทางที่ดีควรเห็นไดชัด เขาถึงงาย เขาใจงายหรือมีขอความกํากับชัดเจน มีการตอบสนองเมื่อใชงาน เชน เปลี่ยนสี เมื่อผูใชชี้เมาส หรือ คลิก 3. ควรใหมีความเรียบงาย นาสนใจ นาเชื่อถือ วางตําแหนงเนื้อหาใหเปนสัดสวน มีระเบียบ หาขอมูลที่ตองการไดรวดเร็ว 4. ควรใหความสําคัญกับสวนบนของเว็บเพจ เพราะผูใชจะสัมผัสไดทันทีเมื่อ เปดเขามา เว็บเพจสวนใหญนิยมจัดวางองคประกอบ เชน ชื่อเว็บไซต โลโก ระบบนําทาง เครื่องมือสําหรับคนหาขอมูล ปายแบนเนอรโฆษณา 5. ขอความในแตละหนาไมควรมีมากเกินไป ควรจัดใหเหมาะสมในแตละยอหนา หรือแตละตอน ถามากเกินไปอาจทําใหนาเบื่อ 6. ขอมูลที่นาํ เสนอควรตรวจสอบความถูกตอง เชน เครื่องหมาย ตัวสะกด ไวยากรณ เพราะขอมูลจะถูกเผยแพรไปทั่วโลก 7. การนําเสนอขอมูลอาจอยูในรูปของตารางหรือมีสารบัญหัวขอ เพื่อใหผูใช หาขอมูลไดงาย สะดวก รวดเร็ว 8. รูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร และสีตัวอักษร ควรอานงาย มีความกลมกลืน กับเนื้อหา 9. ควรมีการปรับปรุงเนื้อหาใหมีความทันสมัยอยูตลอดเวลา และระบุวันที่ ปรับปรุงขอมูลใหมทุกครั้ง


24 10. การนําภาพหรือกราฟกเขามาเสริม ไมควรมีขนาดใหญมากเกินไป การใช รูปภาพแทนพื้นหลังควรเลือกภาพที่มีขนาดเล็ก มีความละเอียดต่ํา สีนอย หรือเปนสีออน เพราะจะชวยใหแสดงภาพไดอยางรวดเร็ว 11. การนําเทคโนโลยีเขามาประกอบ ตองคํานึงถึงผูใชดวยวาสามารถเรียกดู เอกสารไดอยางสะดวกรวดเร็วหรือไม หากผูใชไมมีโปรแกรมหรือเทคโนโลยีที่นํามา จัดทําขอมูลผูใชก็ไมสามารถเรียกดูขอมูลได 12. ควรเลือกใชสีใหเหมาะสม เชน สีตัวอักษร สีพื้นหลัง สีองคประกอบอื่น ๆ เชน ภาพกราฟก ปุมกด หรือลิงค ซึ่งควรเปนโทนเดียวกัน และรูจักการออกแบบเพื่อสื่อ ใหผูใชเขาใจความหมายตามที่ผูออกแบบตองการ เชน สีโทนรอน สีโทนเย็น ฯลฯ 13. ควรออกแบบขนาดเว็บเพจใหพอดีกับหนาจอ คํานึงถึงกลุมผูใชสวนใหญวา ใชขนาดจอภาพเทาใดและใชความละเอียดหนาจอกี่พิกเซล ซึ่งความละเอียดมีบทบาท กับการแสดงผลของเว็บเพจที่เราสรางขึ้น 14. บางเว็บเพจที่ตองการใหกรอกรหัสผาน หรือกรอกชื่อสมาชิก ควรมีคําอธิบาย ใหทราบ และควรอยูในตําแหนงที่ผูใชเห็นไดอยางชัดเจน ขอดีของเว็บไซต 1. สามารถเผยแพรขอมูลขาวสาร เชน รายการสินคา การบริการ ประชาสัมพันธ สินคาออกใหม ผลงานขององคกร ฯลฯ 2. นําเสนอไดอยางกวางขวาง ทุกคนไมวาอยูตรงสวนใดของโลกสามารถเขาใช เว็บไซตไดตลอด 24 ชั่วโมง 3. นําเสนอขอมูลไดหลายรูปแบบ เชน ขอความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมี เสียงประกอบ ฯลฯ 4. เพิ่มภาพลักษณ เพิ่มความนาเชื่อถือใหกับผูประกอบการ หางราน บริษัท หรือ องคกรที่มีเว็บไซต 5. ปรับปรุงขอมูลการนําเสนอไดงายและรวดเร็ว เพื่อใหไดขอมูลที่ทันสมัย อยูตลอดเวลา 6. ชวยใหการรับสงขอมูลทําไดรวดเร็วทันใจดวยตนทุนที่ต่ํา เชน การสงอีเมล แคทตาล็อกสินคา ฯลฯ


25

เว็บไซตหองสมุด การสรางเว็บไซตหองสมุด ควรคํานึงถึงองคประกอบที่สําคัญ คือ นโยบาย วัตถุประสงคของหองสมุด เนื้อหาสาระที่นําเสนอ รูปแบบการนําเสนอ และการบริหาร จัดการเว็บไซต นโยบายและวัตถุประสงค หองสมุดควรมีการกําหนดนโยบายและวัตถุประสงคในการจัดทําเว็บไซตที่ ชัดเจน เชน เพื่อใหบริการแจงขาวสารความเคลื่อนไหวของหองสมุดแกผูใชบริการ กลุมเปาหมาย นําเสนอสารสนเทศที่สําคัญ ใหบริการสารสนเทศบนเวิลดไวดเว็บ รับฟง และแลกเปลีย่ นขอคิดเห็นกับผูใชบริการ การสนับสนุนความเจริญกาวหนาของวิชาชีพ บรรณารักษศาสตรและสารสนเทศศาสตร การใหความรวมมือระหวางหองสมุดและ สถาบันการศึกษา เปนตน เนื้อหาสาระที่นําเสนอ 1. ขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด ขอมูลเกี่ยวกับชื่อและที่อยูของหองสมุด ประวัติ ระเบียบขอบังคับ ชื่อผูบริหาร ตําแหนง หมายเลขโทรศัพท หมายเลขโทรสาร ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส ฯลฯ เพื่อผูใชบริการสามารถติดตอสื่อสารไดโดยสะดวก รวดเร็ว 2. ขอมูลเกี่ยวกับการใหบริการ เชน บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ บริการตอบคําถามและชวยการคนควา บริการสืบคนสารสนเทศ บริการเอกสารฉบับเต็ม ฯลฯ 3. ขอมูลเกี่ยวกับกิจกรรมหองสมุด เชน การจัดประชุมสัมมนา การบรรยาย การอภิปราย การสาธิตการสืบคนสารสนเทศ การจัดกิจกรรมสัปดาหหองสมุด การอบรมการใชหองสมุด ฯลฯ 4. ขอมูลเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศ เชน บริการสืบคนทรัพยากรสารสนเทศ ของหองสมุด บริการสืบคนฐานขอมูลออนไลน วารสารอิเล็กทรอนิกส สิ่งพิมพอิเล็กทรอนิกส เชน พจนานุกรม สารานุกรม ชีวประวัติ ทําเนียบนาม หนังสือรายป สิทธิบัตร สํานักพิมพ เอกสารมาตรฐาน คําคม สมุดโทรศัพท ฯลฯ ซึ่งในการใหบริการ


26 ดังกลาวหองสมุดควรมีการกําหนดเงื่อนไขในการเขาใชดวย เชน ฐานขอมูลใดที่ผูใชบริการ ทั่วไปสามารถสืบคนได ฐานขอมูลใดสงวนสิทธิสําหรับสมาชิกหองสมุด เปนตน 5. ขอมูลความชวยเหลือ เชน ขอมูลเกี่ยวกับการแนะนําการใชบริการหองสมุด วิธีการใชคอมพิวเตอรและอินเทอรเน็ตในหองสมุด การสืบคนสารสนเทศจากฐานขอมูล ซีดีรอม และฐานขอมูลออนไลน การใช Boolean searching เทคนิคและขั้นตอนการศึกษา คนควา การทํารายงานหรือการวิจัย วิธีลงรายการบรรณานุกรมและเชิงอรรถ และการลงรายการ สื่ออิเล็กทรอนิกส เปนตน 6. เพื่อนของหองสมุด หองสมุดบางแหงอาจแสวงหาความชวยเหลือจาก “เพื่อนของหองสมุด” หรือ “ชมรมหองสมุด” เพื่อชวยระดมทุนหรือใหความรวมมือในการจัดหา ทรัพยากรสารสนเทศเขาหองสมุด การจัดทําคอลัมนนี้ไวในเว็บไซตของหองสมุด ทําให ผูใชบริการทีร่ ักหองสมุดมีชองทางในการชวยเหลือหองสมุดอีกชองทางหนึ่ง 7. คอลัมนทา นถามเราตอบ เปนคอลัมนที่ควรมีในเว็บไซตหองสมุด เพื่อใชเปน สื่อกลางในการตอบคําถาม ที่ผูใชบริการมักสอบถามบอยครั้ง การตอบคําถามเหลานี้ ทําให ผูใชบริการทีม่ ีความสงสัยหัวขอหรือประเด็นตาง ๆ ที่มีคนสอบถามไวแลว สามารถเขา ไปอานคําตอบได และหากยังไมมีผูใดสอบถามหัวขอที่ผูใชสนใจ ผูใชอาจสอบถามผาน คอลัมนนี้ ถามผานเว็บมาสเตอรหรือผานบุคคลอื่นใดที่ไดรับมอบหมายใหเปนผูรับและ ตอบคําถาม 8. เว็บมาสเตอร ควรมีการกําหนดชองทางในการติดตอกับผูที่รับผิดชอบใน การจัดทําเว็บไซต เพื่อเปดโอกาสใหผใู ชบริการสามารถติดตอใหขอเสนอแนะเกี่ยวกับ เว็บไซต ซึ่งตามปกติเว็บไซตตาง ๆ มักมีชื่อเว็บมาสเตอร หมายเลขโทรศัพท หมายเลขโทรสาร และอีเมล ไวบนสวนใดสวนหนึ่งของเว็บเพจ 9. ขอมูลอื่น ๆ หองสมุดสวนใหญมีการรวบรวมแหลงขอมูลบนอินเทอรเน็ตไว ใหบริการแกผูใชบริการดวย เพื่ออํานวยความสะดวกในการสืบคนสารสนเทศใหมีความ หลากหลายและกวางขวาง เชน เว็บไซตหนวยงาน สถาบันทีส่ ําคัญ ๆ ทั้งในประเทศและ ตางประเทศ เว็บไซตหองสมุดในประเทศและตางประเทศ เว็บไซตอื่น ๆ ทีน่ าสนใจ นอกจากนั้นหองสมุดอาจรวบรวมเสิรชเอนจิ้นไวเพื่อใหบริการแกผูใชบริการอีกดวย


27 รูปแบบในการนําเสนอ รูปแบบของเว็บไซตที่นําเสนอควรมีการออกแบบที่สวยงาม สะดุดตา นาสนใจ ขณะเดียวกันตองคํานึงถึงความรวดเร็วในการแสดงผลดวย บางครั้งผูออกแบบเว็บไซต เนนที่ความสวยงามมากเกินไป โดยมีรูปภาพประกอบจํานวนมาก หรือมีการนําเสนอ ขอมูลในรูปขอความ ภาพ และเสียงที่ซับซอน อาจทําใหการแสดงผลชา ผูใชอาจเกิด ความเบื่อหนายในการเขาใชบริการ ดังนั้นในการออกแบบเว็บไซต นอกจากมีความ สวยงามสะดุดตาแลว ยังตองพิจารณาถึงเทคนิคและวิธีการที่จะทําใหเว็บไซตมีการแสดงผล ที่รวดเร็วดวย การบริหารจัดการ การบริหารจัดการเว็บไซตที่ควรพิจารณา ไดแก ผูจัดทําเว็บไซต การนําออก เผยแพรบนอินเทอรเน็ต การปรับปรุงแกไข และการประเมินเว็บไซต ผูจัดทําเว็บไซต การจัดทําเว็บไซตที่ประสบความสําเร็จ ควรมีผูรับผิดชอบในการจัดทําที่แนนอน ซึ่งควรเปนบุคคลที่มีความรู ความสามารถ และมีทักษะในดานตาง ๆ เชน ทักษะเกี่ยวกับการจัดการและการวางแผน ทักษะทางดานการเขียนหรือทางดานวารสารศาสตร ทักษะทางดานการบรรณาธิกรณ (editing skills) ทักษะเกี่ยวกับการจัดการและการนําเสนอสารสนเทศ ทักษะการสืบคนสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ การแปล และการบันทึก รายการลงบนสื่อคอมพิวเตอร ทักษะเกี่ยวกับการออกแบบภาพ ภาพถาย และภาพกราฟก ทักษะการใชงานภาษา html และเครื่องมือจัดทําเว็บเพจอื่น ๆ รวมทั้งการใชงาน โปรแกรมอืน่ ๆ ที่เกี่ยวของ เชน โปรแกรม UNIX และ Perl เปนตน ทักษะในการบํารุงรักษาเว็บเซิรฟเวอร ซึ่งประกอบดวยเรื่องระบบคอมพิวเตอร ซอฟตแวร และฮารดแวร


28 ทักษะทางดานการประชาสัมพันธ ทักษะทางดานมนุษยสัมพันธ หองสมุดควรประกาศแตงตั้งบุคคลที่รับผิดชอบจัดทําเว็บไซตของหองสมุดไว เปนลายลักษณอักษร และใหความสนับสนุนการปฏิบัติงานอยางเต็มที่ เชน จัดหาวัสดุ อุปกรณ คูมือคอมพิวเตอร ซอฟตแวร หองประชุม หองปฏิบัติงาน รวมทั้งใหมีชวงเวลา ที่สามารถประชุมหารือ เนื่องจากการจัดทําเว็บไซตหองสมุดมีความซับซอนและใชเวลานาน ดังนั้นหองสมุด อาจมีการจัดตั้งผูจัดทําในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทํางาน ซึ่งประกอบดวย ประธาน รองประธาน เลขานุการ และคณะกรรมการ คณะกรรมการนี้อาจมีการประชุม อยางสม่ําเสมอ เชน เดือนละครั้ง เพื่อพิจารณารูปแบบ เนื้อหาสาระ และสวนประกอบ ตาง ๆ ของเว็บไซต นอกจากการประชุมแลว คณะกรรมการอาจมีสวนในการจัดทําและ ปรับปรุงแกไขเว็บไซตหรือเว็บเพจหนาตาง ๆ ใหมีความทันสมัยอยูเสมอ นอกจากนั้น ควรมีการแตงตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งในทีมคณะกรรมการเปนเว็บมาสเตอร เพื่อเปน ผูรับผิดชอบกลางในการนําเว็บไซตขึ้นสูอินเทอรเน็ต เปนตัวกลางในการปรับปรุงแกไข เว็บไซต รวมทั้งรับขอเสนอแนะจากผูใช การเผยแพรบนอินเทอรเน็ต หลังจากจัดทําเว็บไซตเรียบรอยแลว ตองมีการทดลอง ทดสอบกับระบบภายใน หองสมุดกอน เชน ทดสอบกับคอมพิวเตอรเครื่องใดเครื่องหนึ่ง ทดสอบบนระบบ LAN หรือระบบอินทราเน็ต เปนตน เมื่อเห็นวารูปแบบและขอมูลเปนที่พึงพอใจแลว จึงนําออก เผยแพรบนอินเทอรเน็ต ซึ่งจําเปนตองมีการตัดสินใจวาจะนําออกเผยแพรผานชองทางใด เชน ออกเผยแพรบนเว็บไซตสถาบันของตน ลงทะเบียนกับสถาบันที่ใหบริการรับ จดทะเบียนโดเมนเนม นําไปฝากไวกับเว็บไซตตาง ๆ ที่ใหบริการโดยไมคิดมูลคา การจะ ตัดสินใจนําเว็บไซตออกใหบริการผานชองทางใดอาจตองพิจารณาถึงองคประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ เชน ประสิทธิภาพขององคกรนั้น ๆ ความมีชื่อเสียง ขนาดของขอมูลที่ สามารถนําขึ้น งบประมาณที่ตองใช ความคลองตัวในการปรับปรุงแกไข เปนตน


29 การปรับปรุงแกไขเว็บไซต ผูสืบคนขอมูลสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตมักมีประสบการณในการเขาใชเว็บไซต ตาง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงรู เขาใจ และทราบวาเว็บไซตใดดีหรือนาสนใจ เว็บไซตใดมีขอมูล ใหม ทันสมัย เว็บไซตใดมีขอมูลเกา ลาสมัย ในการจัดทําเว็บไซต จึงตองมีการปรับปรุง แกไขอยางสม่ําเสมอ ทั้งในแงของเนื้อหาสาระและรูปแบบการนําเสนอ ดังนั้น คณะกรรมการเว็บไซตควรมีการประชุมปรึกษาหารือและมีการดําเนินการปรับปรุงแกไข เว็บไซตของหองสมุดอยูตลอดเวลา นอกจากการประชุมหารือในกลุมคณะกรรมการแลว ผูเยี่ยมชมอาจมีขอเสนอแนะ ตาง ๆ ซึ่งสามารถใชเปนแนวในการปรับปรุงแกไขเว็บไซตใหมีความทันสมัย และนาสนใจ มากยิ่งขึ้นตอไป การประเมินเว็บไซต หองสมุดควรมีการประเมินเว็บไซตวามีคุณภาพหรือมีคุณคามากนอยเพียงใด โดยตองมีการประเมินอยางสม่ําเสมอ การประเมินดังกลาวอาจประเมินในหัวขอตอไปนี้ ความเหมาะสมกับวัตถุประสงค เปาหมาย ความตองการของผูใชบริการ และ ความตองการขององคกร ความเหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม ๆ ทางดานเว็บ (web technology) ใครคือผูที่ใชเว็บไซตที่แทจริง และผูใชเว็บไซตดังกลาวสอดคลองกับผูใช กลุมเปาหมายหรือไม สําหรับเทคนิคในการประเมินเว็บไซตมีหลายประการ เชน การออกแบบสอบถาม การมีแบบฟอรมบนเว็บไซตใหผูใชกรอก ปฏิกิริยาจากผูใชบริการเว็บไซต การสัมภาษณ ผูใชเว็บไซต การตรวจสอบการอางถึงเว็บไซตจากวิทยานิพนธ งานวิจัย บทความวารสาร และบทความหนังสือพิมพตาง ๆ การสงเว็บไซตเขาประกวด พิจารณาจากจํานวนคนเขา เยี่ยมชม (counters) หนาสมุดผูเยี่ยมชม (guest book) และอื่น ๆ


30 ขอควรระวังในการออกแบบ 1. ไมควรโออวดถึงเทคโนโลยีที่นํามาใช แตควรเนนในดานขอมูลที่นํามา เผยแพรวามีประโยชนอยางไรมากกวา 2. การใชอักษรวิ่ง ควรตองกําหนดใหมีการวิ่งอยางสม่ําเสมอ ไมควรชาบางเร็วบาง หรือชาเกินไป เร็วเกินไป เพราะผูใชอาจตองการคลายเครียด ตองการพักผอน หรือตองการ ติดตามขาวสารมากกวาที่จะถูกกระตุนอยูตลอดเวลา 3. การตั้งชื่อ URL ควรสื่อความหมาย ไมควรตั้งชื่อซับซอนและเขาใจยาก การตั้งชื่อ URL ที่สื่อถึงขอมูลที่เผยแพรจะทําใหผูใชจําไดงาย 4. การเชื่อมโยงเว็บเพจในแตละหนา ตองเชื่อมโยงกันทุกหนา และทุก ๆ เรือ่ ง และควรมีการโยงกลับมายังหนาโฮมเพจได 5. ควรออกแบบโครงสรางของขอมูลใหผูใชเขาใจงาย สามารถเขาถึงขอมูลได อยางรวดเร็ว 6. การใชสีของอักษรที่เชื่อมโยง ควรมีการเปลี่ยนสีเมื่อไดเขาใชแลว เพราะหาก ไมมีการเปลี่ยนสี ผูใชอาจสับสน หากมีการเชื่อมโยงจํานวนมาก 7. ควรมีการปรับปรุงขอมูลอยางสม่ําเสมอ หากมีขอมูลใหมควรแกไขทันที เพื่อใหผูใชไดขอมูลที่ทันตอเหตุการณ เปนการสรางความนาเชื่อถือใหกับเว็บเพจดวย 8. ในการดาวนโหลดขอมูลไมควรใชเวลานานเกินไป นอกจากนั้นขอมูลที่มีใน แตละหนาจะตองมีปุมเลือกใหผใู ชสามารถเลือกดูยอนกลับไปกลับมาได 9. วิธี Pop up เพื่อประชาสัมพันธขอมูล ไมควรมีมากเกินไป เพราะจะทําใหผูใช เกิดความรําคาญ ปญหาและขอเสนอแนะในการจัดทําเว็บไซตหองสมุด จากการศึกษาของนพพร เพียรพิกุล (2544, หนา 61-63) ไดรวบรวมปญหาและ ขอเสนอแนะในการจัดทําเว็บไซตหองสมุดไว ดังนี้ 1. การจัดทําเว็บไซตที่ใชภาษาเปนภาษาไทย ควรมีการแปลเปนภาษาสากล เชน ภาษาอังกฤษดวย เพื่อทําใหคนทั่วโลกสามารถทบทวนและเขาใจเกี่ยวกับเว็บไซตนั้น ๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น


31 2. การปรับปรุงแกไขขอมูลตาง ๆ ในเว็บไซต ควรมีการปรับปรุงใหถูกตอง ชัดเจนทั้งหมด กอนนําขึ้นสูระบบเครือขายอินเทอรเน็ต 3. การปรับปรุงแกไขรูปแบบเว็บไซตใหสวยงามและทันสมัยนั้น บางครั้งอาจมี การปรับปรุงบอยครั้งเกินไป ในขณะที่ผูเขาเยี่ยมชมยังไมคุนเคยกับรูปแบบเดิม หากมี การปรับเปลีย่ นจะทําใหผูใชสับสน ดังนั้น การปรับเปลี่ยนรูปแบบควรมีระยะเวลานาน พอควร เชน 6 เดือนตอครั้ง หรือปละครั้ง 4. เว็บไซตจํานวนมากอาจคัดลอกหรือดัดแปลงรูปแบบการนําเสนอจากเว็บไซต อื่น ๆ จนไมมีเอกลักษณเปนของตนเอง ผูออกแบบและจัดทําเว็บไซตจึงควรมีการออกแบบ เว็บไซตใหมีเอกลักษณเปนของตนเอง รวมทั้งมีโลโกที่เดน สวยงาม สะดุดตาและจําไดงาย 5. เว็บไซตจํานวนมากคํานึงถึงความสวยงาม มีสีสันและมีลูกเลนมาก ทําให การโหลดขอมูลทําไดชา บางเว็บไซตอาจถูกประเมินวาเปนเว็บไซตที่ไมสวยงามและ มีสีสันนอยไมนาสนใจ แตความจริงแลว การออกแบบและจัดทําเว็บไซตควรมีจุดเนน ที่เนื้อหาสาระและควรพิจารณาถึงความเหมาะสมกับองคกรและหนวยงานดวย เชน สถาบันการศึกษาระดับสูงอาจตองมีการใชรปู แบบและสีสันที่เครงขรึม มีระเบียบ หรือมี ความคลาสสิค ไมหวือหวารอนแรงเหมือนเว็บไซตที่ใหบริการแกเด็ก วัยรุน บุคคลทั่วไป หรือเว็บไซตทางธุรกิจ 6. การเชื่อมตอขอมูลไปยังเว็บไซตตาง ๆ หรือ ลิงค อาจมีปญหาบอยครั้ง เนื่องจากเว็บไซตที่ทําลิงคไวอาจเลิกใชหรือเปลี่ยน URL ใหม (และบางครั้งเว็บไซต ดังกลาวมิไดทําการลิงคจากเว็บไซตเดิมไปยังเว็บไซตใหม) หรือทําลิงคผิด ดังนั้น ผูรับผิดชอบเว็บไซตจึงควรมีการตรวจสอบเว็บไซตที่ทําลิงคไวอยางสม่ําเสมอ 7. ขอมูลที่ผใู ชชอบและอยากใชบริการมากที่สุดสวนหนึ่งคือ ฐานขอมูลที่จัดทํา โดยหองสมุด โดยเฉพาะฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ และฐานขอมูลเฉพาะ ซึ่งอาจ ประกอบดวยบรรณานุกรม สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็ม (เชน ฐานขอมูลวิทยานิพนธ หรืองานวิจัยของสถาบัน เปนตน) ดังนั้น หากเปนไปได หองสมุดควรมีการนําฐานขอมูล หองสมุดทั้งหมดบริการบนเว็บไซต จะทําใหผูเยี่ยมชมเห็นคุณคาและเขาใชเว็บไซตของ หองสมุดมากยิ่งขึ้น 8. เพื่อทําใหผูเยี่ยมชมเขาใจขอบเขตของเว็บไซตทั้งหมด ผูจัดทําเว็บไซตจึงควร


32 จัดทํา site map ไวใหบริการดวย ซึ่งนอกจากจะทําใหผูใชบริการเขาใจขอบเขตเนื้อหาสาระ โดยรวมแลว ยังทําใหผูใชบริการไมสับสนอีกดวย 9. การจัดเรียงหัวขอของเว็บไซตบางครั้งอาจมีความสับสน ผูใ ชไมทราบวาผูจัดทํา มีหลักเกณฑจัดเรียงหัวขออยางไร การจัดทําเว็บไซตจึงอาจตองมีการทําดรรชนีคําหรือ หัวขอตามลําดับอักษรดวย (alphabetical index) 10. ผูใชบริการไมสามารถคนหาเว็บไซตของหองสมุดไดจากหนาของสถาบันหลัก เชน หนาเว็บไซตของมหาวิทยาลัย หรือบนเสิรชเอนจิ้นตาง ๆ หองสมุดควรขอความ รวมมือจากสถาบันของตนในการนําเว็บไซตหองสมุดใหอยูในหนาแรกของสถาบัน และ ควรอยูในบริเวณที่หาไดงาย นอกจากนั้นหองสมุดควรจดทะเบียนเว็บไซตในเสิรชเอนจิ้น ที่สําคัญ ๆ เชน Yahoo, Altavista, Hotbot, Lycos, Excite, Google, Infoseek เปนตน 11. เว็บไซตหองสมุดยังใหขอมูลที่จําเปนไมครบถวน เชน ขอมูลเกีย่ วกับที่อยูของหองสมุดที่สามารถติดตอไดทางไปรษณีย ไมมี รหัสไปรษณีย หองสมุดบางแหงมีทั้งหองสมุดกลางและหองสมุดสาขา แตละแหงอาจมี การระบุขอมูลเกี่ยวกับที่อยูไวทั้งหมดหรือบางสวน แตไมไดระบุชัดเจนวาหองสมุดใด เปน “หองสมุดกลาง” ซึ่งผูใชบริการตองการทราบเพื่อประโยชนในการติดตอกับ ผูอํานวยการของหองสมุด บางเว็บไซตไมระบุหมายเลขโทรศัพท ไมระบุรหัสพื้นที่ หรือถาระบุอาจอยูในหนาถัด ๆ ไป ซึ่งหาไดยาก ไมระบุชอื่ ของหัวหนาหองสมุด ไมระบุวา จะติดตอกับเว็บมาสเตอรไดอยางไร ไมระบุวนั เดือนปที่ปรับปรุงแกไขขอมูลครั้งสุดทาย (last update) หรืออาจใช วันเดือนปเดิม ทั้ง ๆ ที่มีการปรับปรุงแกไขขอมูลใหมแลว บางเว็บไซตใชวันเดือนปที่ ยอนหลังไปถึง 1-2 ป บางครั้งผูใชบริการตองกรอกแบบฟอรมเพื่อขอใชบริการผานเว็บเพจของ หองสมุด (เชน การขอใชบริการเขารับการอบรมการสืบคนสารสนเทศ) แตบนเว็บเพจ ไมไดระบุชื่อผูรับผิดชอบโดยตรง อาจบอกใหติดตอกับชื่อตําแหนงเทานั้น ทําใหผูใช-


33 บริการไดรับขอมูลที่ไมชัดเจน ในยุคปจจุบัน หองสมุดมีความจําเปนตองมีการจัดทําเว็บไซต เพื่อประโยชนใน การประชาสัมพันธและใหบริการสารสนเทศในรูปแบบใหม บุคลากรหองสมุดจึงควรมี ความรูและทักษะในการจัดทําเว็บไซตเปนอยางดี เพื่อทําใหเว็บไซตที่สรางขึ้นมีความถูกตอง สวยงาม ทันสมัย และเหมาะสมกับงานของหองสมุด การจัดทําเว็บไซตจึงเปนภารกิจที่ ทาทายอีกดานหนึ่งที่บรรณารักษและบุคลากรหองสมุดสมัยใหมไมอาจมองขามไปได จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวของกับอินเทอรเน็ต เว็บไซต และเว็บไซตของ หองสมุดทําใหเขาใจและทราบถึงขอมูลเกี่ยวกับความเปนมาของอินเทอรเน็ต บริการ ตาง ๆ ที่มีบนอินเทอรเน็ต รวมถึงประโยชนที่ไดรับจากอินเทอรเน็ต ในดานเว็บไซตได ทราบถึงหลักการพัฒนาและออกแบบเว็บไซต เนื้อหาที่ควรมีในเว็บไซต ขอดีและขอเสีย ของเว็บไซต สวนเนื้อหาที่เกี่ยวของกับเว็บไซตของหองสมุดนั้น ทําใหทราบรายละเอียด ที่ควรนําเสนอบนเว็บไซตของหองสมุด รวมถึงหลักการออกแบบเว็บไซตหองสมุดที่ เหมาะสม เนื้อหาที่ไดศึกษามาทั้งหมดทําใหไดรับความเขาใจในรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถนําไปใชเปนแนวทางในการทําวิจัยในหัวขอที่ทําอยูนี้ไดเปนอยางดี

กรมบัญชีกลาง ประวัติความเปนมา พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณา โปรดเกลาฯ ใหปรับปรุงระบบบริหารราชการแผนดิน โดยตั้งกรมตาง ๆ ขึน้ รับผิดชอบ บริหารราชการรวม 12 กรม แทนการปกครองแบบจตุสดมภ โดยมีกรมพระคลังมหาสมบัติเปน 1 ใน 12 กรม ทําหนาที่รับผิดชอบวาการบรรดาภาษีอากรและเงินที่จะรับจะจาย ในแผนดินทัง้ สิ้น มีปลัดบาญชีกลางเปนพนักงานที่จะวาภาษีอากรและรักษาสมุดบัญชี เงินของแผนดิน พ.ศ. 2433 กรมพระคลังมหาสมบัติไดรับการยกฐานะเปนกระทรวง ตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญการปกครองแผนดิน ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหนาที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม


34 ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) กําหนดหนาที่รับจายและรักษาเงินแผนดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุ ทั้งปวงกับถือบาญชีพระราชทรัพยสําหรับแผนดินทั้งสิ้น และเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผนดิน ตลอดทั่วพระราชอาณาจักร มีเสนาบดีรับผิดชอบบังคับราชการในกระทรวงสิทธิขาด โดยถือเอาวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เปนวันกอตั้งกรม และในปเดียวกันไดกําหนดหนาที่ และแบงกรมสารบัญชีออกเปน 3 กอง คือ กองบาญชีกลาง กองรับ และกองจาย พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณา โปรดเกลาฯ ใหรวมกรมตรวจกับกรมสารบาญชี เขาดวยกัน กําหนดหนาที่ราชการใหม และใหชื่อวา “กรมบาญชีกลาง” เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2458 จนถึงสมัยเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยเปนระบอบรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการราษฎร จึงปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมตาง ๆ และเปลี่ยนนามกรมบาญชีกลางเปน “กรมบัญชีกลาง” (กรมบัญชีกลาง, 2548, หนา 5) โครงสรางและหนาที่ อํานาจหนาที่ของกรมบัญชีกลาง ตามกฎกระทรวงแบงสวนราชการกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2545 กรมบัญชีกลางมีภารกิจเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการใชจายเงินแผนดินและของ หนวยงานรัฐใหเปนไปโดยถูกตอง มีวินัย คุมคา โปรงใส และสามารถตรวจสอบได โดย การวางกรอบกติกากลางใหหนวยงานภาครัฐถือปฏิบัติ การใหบริการคําแนะนําปรึกษา ดานการเงิน การคลัง การบัญชี และการตรวจสอบภายใน การดําเนินการเกี่ยวกับการบริหาร เงินคงคลังใหมีการใชจายอยางเพียงพอและการเสนอขอมูลในเชิงนโยบายการคลังแก ฝายบริหาร โดยประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวของเพื่อใหเกิดเสถียรภาพทางการคลัง รวมทั้งดําเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการดําเนินงาน ตลอดจนการดูแลและการพัฒนา มาตรฐานคาตอบแทนสวัสดิการและสิทธิประโยชนของบุคลากร โดยใหมีอํานาจหนาที่ ดังนี้ (กรมบัญชีกลาง, 2548, หนา 7-8) 1. ดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ขอบังคับ และหลักเกณฑดานการเงิน การคลัง การบัญชี การพัสดุ และระบบตรวจสอบภายในของสวนราชการ เพื่อให สวนราชการถือปฏิบัติ


35 2. ดําเนินการเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานและการบริหาร ดานการคลัง เพื่อประกอบการพิจารณาเสนอแนะนโยบายดานการคลังของประเทศ 3. ควบคุม ดูแล และตรวจสอบการเบิกจายเงิน การกอหนี้ผูกพัน การนําเงิน สงคลัง และการถอนคืนเงินรายไดของสวนราชการ รวมทั้งพิจารณาทําความตกลง ในการเบิกจายเงินงบประมาณตามที่สวนราชการตาง ๆ ขอทําความตกลง 4. ดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารเงินคงคลัง รวมทั้งการบริหาร การกํากับดูแล การติดตามและการประเมินผลการใชจายเงินนอกงบประมาณของสวนราชการตาง ๆ 5. ดําเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะหและประมวลผลบัญชีการเงินแผนดิน 6. ควบคุมดูแลเกี่ยวกับเงินเดือน คาจาง บําเหน็จ บํานาญ และเงินอื่นในลักษณะ เดียวกัน รวมทั้งดูแลและพัฒนามาตรฐานคาตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน ของกําลังคนภาครัฐ 7. ดําเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ตามกฎหมาย วาดวยความรับผิดทางละเมิดของเจาหนาที่ และความรับผิดทางแพงของเจาหนาที่ของ สวนราชการ 8. ดําเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการจางและการบริหารบุคคลลูกจางของ สวนราชการ 9. ดําเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรดานการเงิน การคลัง การบัญชี การตรวจสอบภายใน และระบบพัสดุภาครัฐ 10. ใหคําปรึกษา เสนอแนะ และใหความชวยเหลือดานวิชาการทางการเงิน การคลัง การบัญชี ระบบการพัสดุภาครัฐ การตรวจสอบภายในแกสวนราชการและ หนวยงานของรัฐและการปฏิบัติงานแกสวนราชการและหนวยงานของรัฐ 11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดใหเปนอํานาจหนาที่ของกรมหรือ ตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย ปจจุบันกรมบัญชีกลางแบงโครงสรางการบริหารงานออกเปน 2 สวน คือ ราชการสวนกลาง ประกอบดวย สํานักมาตรฐานดานการบัญชีภาครัฐ สํานักมาตรฐานดานกฎหมาย และระเบียบการคลัง สํานักการเงินการคลัง สํานักความรับผิดทางแพง สํานักบริหารการรับจายเงินภาครัฐ สํานักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ สํานักงานคลังเขต สํานักงาน-


36 เลขานุการกรม กองการเจาหนาที่ กองพัฒนาทรัพยากรบุคคล ศูนยเทคโนโลยีสารสนเทศ หนวยงานตรวจสอบภายใน กลุมงานประเมินผลระบบการคลัง กลุมงานพัฒนาเงินนอกงบประมาณ กลุมงานพัฒนาระบบลูกจาง กลุมงานมาตรฐานดานการตรวจสอบภายใน กลุม งานสวัสดิการรักษาพยาบาลขาราชการ และกลุมพัฒนาระบบบริหาร สําหรับราชการสวนภูมิภาค ประกอบดวย สํานักงานคลังจังหวัด และสํานักงานคลังจังหวัด ณ อําเภอตาง ๆ ทั่วประเทศ

หองสมุดกรมบัญชีกลาง ประวัติความเปนมา หองสมุดกรมบัญชีกลาง เดิมเปนหนวยหนึ่งสังกัดสํานักงานเลขานุการกรม เริ่ม เปดใหบริการ เมื่อวันเสารที่ 18 กันยายน 2508 ซึ่งเปนวันที่กรมบัญชีกลางไดสถาปนา ครบกึ่งศตวรรษ นายพิศลย เดชาติวงศ ณ อยุธยา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ไดทําพิธีเปด โดย ไดไขกุญแจหองเมื่อเวลา 12.10 น. ในชวงแรกหองสมุดไดรวบรวมหนังสือที่หองอธิบดีกรมบัญชีกลาง และกองระบบบัญชีและการคลังมาสมทบกับหนังสือที่มีผูบริจาคมาไว ใหบริการ ครุภัณฑหองสมุดไดใชเงินงบประมาณประจําป 2508 จัดหา พ.ศ. 2548 กรมบัญชีกลางไดทําการปรับปรุงพื้นที่หองสมุด ใหมีความทันสมัย ตั้งอยูบริเวณอาคารใหม ชั้น 6 โดยหองสมุดสังกัดกองพัฒนาทรัพยากรบุคคล วัตถุประสงคในการจัดตั้ง 1. เพื่อเปนสถานที่สาํ หรับรวบรวมตํารา เอกสาร วารสาร และสิ่งพิมพตาง ๆ ที่เกี่ยวของกับงานในหนาที่ของกรมบัญชีกลาง 2. เพื่อเปนแหลงศึกษาคนควาและใหบริการทางวิชาการแกบุคลากรกรมบัญชีกลาง และบุคคลทัว่ ไป


37 หนาที่ความรับผิดชอบ 1. จัดหา และใหบริการหนังสือทั่วไป สิ่งพิมพรัฐบาล งานวิจัย วารสาร หนังสือพิมพ ผลงานทางวิชาการของขาราชการกรมบัญชีกลาง และสื่ออื่น ๆ โดยมี เนื้อหาเนนทางดานการเงิน การคลัง การบัญชี การตรวจสอบภายใน และการพัสดุภาครัฐ 2. เปนศูนยขอมูลขาวสารของกรมบัญชีกลาง 3. ใหบริการสื่อโสตทัศน ทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีบริการในหองสมุดกรมบัญชีกลาง ไดแก หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ ซีดีรอม เทปคาสเซ็ต ราชกิจจานุเบกษา ผลงานทางวิชาการของ ขาราชการกรมบัญชีกลาง และอื่น ๆ บริการของหองสมุด 1. บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ไดแก หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ ซีดีรอม เทปคาสเซ็ต ราชกิจจานุเบกษา ผลงานทางวิชาการของขาราชการกรมบัญชีกลาง และอื่น ๆ 2. บริการยืมระหวางหองสมุด 3. บริการตอบคําถามและชวยการคนควา เว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง หองสมุดกรมบัญชีกลาง จัดทําเว็บไซตขึ้น เพื่อแจงขาวสารความเคลื่อนไหวของ หองสมุด นําเสนอสารสนเทศเกี่ยวกับหองสมุด ใหบริการสืบคนรายการทางบรรณานุกรม ทรัพยากรสารสนเทศ และบริการอื่น ๆ ตลอดจนรวบรวมแหลงทรัพยากรสารสนเทศตาง ๆ ที่มีบริการบนเครือขายอินเทอรเน็ต เพื่อใหบริการแกผูใชบริการไดอยางกวางขวางมาก ยิ่งขึ้น โดยมีเว็บไซต คือ http://www.cgd.go.th/library และมีโฮมเพจ ดังภาพ


38

ภาพ 1 โฮมเพจหองสมุดกรมบัญชีกลาง ที่มา. จาก โฮมเพจหองสมุดกรมบัญชีกลาง. โดย หองสมุดกรมบัญชีกลาง, 2549, คนเมื่อ 2 ตุลาคม 2549, จาก http://www.cgd.go.th/library


39 โครงสรางเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง เนื้อหาที่มีในเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ประกอบดวยรายละเอียดหลัก ๆ ดังนี้ 1. ขอมูลทั่วไปของหองสมุด ไดแก ประวัติ ทรัพยากรสารสนเทศ และ การจัดหมวดหมูทรัพยากรสารสนเทศ 2. บริการ ไดแก บริการที่ควรทราบ และระเบียบการใชบริการหองสมุด 3. ขาวประชาสัมพันธ ไดแก ขาวเกี่ยวกับหองสมุด ขาวที่นาสนใจ สรุปขาวประจําวัน และสาระนารู 4. แนะนําทรัพยากรสารสนเทศ ไดแก หนังสือใหม ซีดีรอมใหม วารสารที่มีใน หองสมุด กฎหมายและระเบียบที่นาสนใจ 5. ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของหองสมุด ไดแก ฐานขอมูลบรรณานุกรมหนังสือ ฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร ฐานขอมูลบรรณานุกรมซีดีรอมและเทปคาสเซ็ต ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) ฐานขอมูลกฎหมาย และระเบียบการคลัง และฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของขาราชการกรมบัญชีกลาง 6. ฐานขอมูลออนไลน เปนบริการที่หองสมุดเชื่อมโยง (links) ฐานขอมูลที่ นาสนใจไวใหบริการ ไดแก ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย ฐานขอมูลงานวิจัยไทย ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) และระบบสารสนเทศกฎหมายกรมบัญชีกลาง 7. ศูนยขอมูลขาวสารกรมบัญชีกลาง เปนการเผยแพรขอมูลขาวสารของ กรมบัญชีกลาง ตามพระราชบัญญัติขอมูลขาวสารของราชการ พ.ศ. 2540 โดยใหรายละเอียด เกี่ยวกับดรรชนีเอกสารที่กรมบัญชีกลางจัดไวใหประชาชนเขาตรวจดู โดยใหเนื้อหาเต็ม รูปแบบ (full-text) 8. องคความรู เปนการรวบรวมความรูท ี่เกี่ยวของกับงานในหนาที่ของกรมบัญชีกลาง ไดแก ความรูเกี่ยวกับการบัญชี ความรูเกี่ยวกับการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐสู ระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) ความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจการคลังจังหวัด (CFO) ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) ความรูเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย และความรูอื่น ๆ ที่เกีย่ วของ


40 9. แหลงสารสนเทศที่นาสนใจ เปนการรวบรวมเว็บไซตที่นาสนใจทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนไวใหบริการ ไดแก เว็บไซตดานการบัญชี หนวยงานราชการ หนวยงาน สังกัดกระทรวงการคลัง หองสมุดในประเทศไทย หองสมุดในตางประเทศ แหลงหนังสือ ธนาคาร สถานีโทรทัศน หนังสือพิมพ และ Search Engine 10. กระดานขาว เปนบริการถามตอบเกี่ยวกับการใชบริการหองสมุด และ เว็บไซตหองสมุด 11. สมุดเยี่ยม เปนกระดานแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใชบริการหองสมุด และเว็บไซตหองสมุด 12. สถิติ เปนการรวบรวมสถิติที่นาสนใจของหองสมุดไวใหบริการ

งานวิจัยที่เกี่ยวของ จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวของกับการใชเว็บไซตหองสมุดและอินเทอรเน็ต พบวามีงานวิจัยที่เกี่ยวของ ดังนี้ งานวิจัยที่เกี่ยวของภาษาไทย สุกัญญา อางศิลา (2541) ศึกษาเรื่องสภาพและปญหาการใชอินเทอรเน็ตเพื่อ การบริการผูใชในหองสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในสวนภูมิภาค (PULINET) พบวา บรรณารักษงานบริการสวนใหญใชเทลเน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ เวิลดไวดเว็บ (WWW) และไปรษณียอิเล็กทรอนิกส (e-mail) ตามลําดับ สวนเสิรชเอนจิ้นที่บรรณารักษติดตอ เขาไปสืบคนแหลงสารสนเทศพบวา สวนใหญใช yahoo รองลงมาใช infoseek และ lycos ตามลําดับ สวนปญหาในการบริการ WWW พบวา สวนใหญศูนยบริการเชือ่ มโยงขอมูล ไปยังศูนยบริการสารสนเทศอื่น ๆ มากเกินไปทําใหไมสามารถคนพบแหลงสารสนเทศ ที่ตองการไดในเวลารวดเร็ว รองลงมาศูนยบริการใหบริการดวยความเร็วต่ํา และไมพบ แหลงสารสนเทศที่ตองการใชและปญหาอื่น ๆ ไดแก ไดรับขอมูลจากการสืบคนมาก เกินไปทําใหเลือกยาก และไดรับขอมูลไมตรงกับความตองการ ตามลําดับ ผุสดี นนทคําจันทร (2542) ศึกษาเรื่อง การแสวงหาสารสนเทศบนอินเทอรเน็ต


41 ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร พบวา มีวัตถุประสงคเพื่อความบันเทิงมากที่สุด รองลงมา คือ เพื่อเพิ่มพูนความรู ประสบการณ เพื่อคนควาประกอบการเรียน เพื่อการติดตอสื่อสาร และเพื่อคนขอมูลในหองสมุดตาง ๆ ตามลําดับ สถานที่ใชอินเทอรเน็ตที่นักศึกษาจํานวน มากที่สุดใชคือ ที่บาน ความถี่ในการใชคือ 1-2 ครั้งตอสัปดาห บริการบนอินเทอรเน็ตที่ นักศึกษาจํานวนมากที่สุดใชคือ บริการเวิลดไวดเว็บ รูปแบบของสารสนเทศที่นักศึกษา จํานวนมากที่สุดแสวงหาคือ รูปแบบภาพ สวนปญหาที่นักศึกษาจํานวนมากที่สุดประสบ ในการแสวงหาสารสนเทศบนอินเทอรเน็ต คือ ปญหาการที่ไมสามารถติดตอกับเครื่องคอมพิวเตอรที่ใหบริการสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตตามที่ตองการได รุงอรุณ ผาสุกสกุล (2542) ศึกษาเรื่อง การใชบริการอินเทอรเน็ตของนิสิตใน หองสมุดจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พบวา นิสิตสวนใหญใชบริการอินเทอรเน็ตในหองสมุด เพื่อคนหาขอมูลที่สนใจ มีประสบการณในการใชอินเทอรเน็ต 1-2 ป มีความถี่ในการใช บริการอินเทอรเน็ตในหองสมุด 2-3 วันตอครั้ง บริการที่นิสิตสวนใหญใชคือ บริการ เวิลดไวดเว็บ นิสิตสวนใหญรับสารสนเทศในรูปแบบขอความ นิสิตประสบปญหา โดยรวมอยูในระดับปานกลาง ปญหาดานการใหบริการที่นิสิตประสบโดยรวมในระดับ มากคือ ไมสามารถบันทึกขอมูลลงบนแผนดิสเก็ตต เนื่องจากหองสมุดไมอนุญาต วาสนา บุญจูง (2542) ศึกษาเรื่อง ความตองการและการใชสารสนเทศบน อินเทอรเน็ตของนักวิจัยดานไทยศึกษา พบวา นักวิจัยดานไทยศึกษาจํานวนมากที่สุดใช อินเทอรเน็ต 1-3 ครั้งตอสัปดาห โดยใชจากที่ทํางาน/สถาบันที่สังกัด และใชเพื่อวัตถุประสงค ในการสืบคนขอมูลจากแหลงตาง ๆ มาใชงาน รูปแบบที่นักวิจัยจํานวนมากที่สุดใช คือ รูปแบบบรรณานุกรม และตองการใชเอกสารเนื้อหาเต็ม ใชสารสนเทศที่เปนภาษาอังกฤษ และตองการใชภาษาไทย บริการที่นักวิจัยจํานวนมากที่สุดใชคือ บริการไปรษณียอิเล็กทรอนิกส และบริการที่ตองการใชคือ เวิลดไวดเว็บ ปญหาในการใชสารสนเทศบน อินเทอรเน็ตที่นักวิจัยสวนใหญประสบ ไดแก ไมมีเวลาเพียงพอในการใช คอมพิวเตอร มีประสิทธิภาพต่ํา มีจํานวนนอยไมเพียงพอแกการใหบริการ และใชเวลานานในการคนหา ขอมูล เสกสรร สายสีสด (2542) ศึกษาเรื่อง การใชประโยชนจากอินเทอรเน็ตของ นักศึกษา อาจารย และผูบริหารสถาบันราชภัฏอุดรธานี พบวา มีความถี่ในการใช


42 อินเทอรเน็ต 1-2 ครั้งตอสัปดาห ระยะเวลาที่ใชมากที่สุดคือ 1-2 ชั่วโมง โดยมี วัตถุประสงคเพื่อสนับสนุนการเรียนรูดวยตนเองและประหยัดเวลาในการคนควา มากที่สุด สวนปญหาและอุปสรรคในการใชพบวา นักศึกษามีปญหาดานจํานวนเครื่องคอมพิวเตอรที่ติดตั้งอินเทอรเน็ตมีใชไมเพียงพอมากที่สุดไมสามารถเขาใชระบบ อินเทอรเน็ตไดตลอดเวลา และการจัดอบรมการใชอนิ เทอรเน็ตของสถาบันไมเพียงพอกับ ความตองการ สวนขอเสนอแนะพบวานักศึกษามีขอเสนอดานเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร ใหใชงานไดอยางสะดวกมากที่สุด เพิ่มงบประมาณในการติดตั้งแมขายใหเพียงพอ ขยาย สถานที่และปรับปรุงหองบริการอินเทอรเน็ตใหดีกวาเดิม อรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) ศึกษาเรื่อง การใชและไมใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการของคณาจารยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พบวา อาจารยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สวนใหญไมใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ สําหรับอาจารยที่ใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ สวนใหญใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ เพื่อประกอบการวิจัย เพื่อประกอบ การสอน และเพื่อเพิ่มพูนความรู อาจารยสวนใหญเขาถึงเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ โดยยูอารแอลของเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ และโดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย บริการบนเว็บไซตสถาบันวิทยบริการที่อาจารยสวนใหญใช ไดแก บริการฐานขอมูลของหองสมุด และเครือขายหองสมุดจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และบริการฐานขอมูลเพื่อการคนควาวิจัย โดยปญหาที่อาจารยสวนใหญประสบใน การใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ คือ การสื่อสารมีความเร็วต่ํา และไมมีเวลาเพียงพอ ในการใชเว็บไซต ภควดี สุวรรณะโสภณ (2543) ศึกษาเรื่อง ทัศนคติและพฤติกรรมการแสวงหา ขอมูลขาวสารในเว็บไซตพาณิชยอิเล็กทรอนิกสของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร พบวา นิสิตนักศึกษาสวนใหญมีพฤติกรรมการแสวงหาขอมูลขาวสารในเว็บไซต พาณิชยอิเล็กทรอนิกสจากที่บาน และมีวัตถุประสงคในการแสวงหาขอมูลขาวสารคือ เพื่อความบันเทิงพักผอนหยอนใจมากที่สุด เทวา จุฬารี (2544) ศึกษาเรื่อง สภาพการใชและการยอมรับอินเตอรเน็ตของ อาจารยและนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบวา อาจารยสวนใหญรูจักระบบเครือขายอินเตอรเน็ตจาก


43 สื่อโทรทัศน และมีการเรียนรูพื้นฐานดวยการเรียนรูดวยตนเองจากคําแนะนําบนหนาจอ แหลงที่ใชบริการอินเตอรเน็ตจากวิทยาลัย โดยใชบริการ จํานวน 1-2 ครั้ง ตอสัปดาห ในการใชบริการแตละครั้งใชเวลานอยกวา 1 ชั่วโมง ชวงเวลาที่ใชบริการบอยที่สุดคือ 15.01-18.00 น. เพราะเปนชวงเวลาที่ตนเองวาง บริการตาง ๆ บนอินเตอรเน็ตที่ใชมากทีส่ ุด คือ บริการการสืบคนขอมูลเวิลดไวดเว็บ วัตถุประสงคในการใชบริการอินเตอรเน็ตเพื่อ เพิ่มพูนความรูทั่วไป ปญหาและอุปสรรคที่อาจารยพบตอการใชอินเตอรเน็ตคือ มีผูใช จํานวนมากทําใหไมสามารถติดตอเขากันได และความขัดของทางเทคนิคแมขาย สวน นักศึกษารูจักระบบเครือขายอินเตอรเน็ตจากเพื่อนแนะนํา และมีทักษะพื้นฐานจากเพื่อน แหลงที่ใชบริการอินเตอรเน็ตจากวิทยาลัย และจากรานที่เปดใหบริการอินเตอรเน็ตมี จํานวนเทากัน โดยใชบริการ จํานวน 1-2 ครั้ง ตอสัปดาห ในแตละครั้งใชเวลา 1-2 ชั่วโมง ชวงเวลาที่ใชบริการบอยที่สุดคือ 15.01-18.00 น. เพราะเปนชวงเวลาที่ตนเองวาง บริการ ที่ใชมากที่สุดคือ บริการการสืบคนขอมูลเวิลดไวดเว็บ (WWW) ซึ่งสวนใหญใชเพื่อ ความบันเทิง นิทัศน อิทธิพงษ (2544) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการออกแบบเว็บเพจการศึกษา ตามรูปแบบเว็บไซตยอดนิยมของไทย พบวา หลักการออกแบบเว็บเพจการศึกษาตาม คุณลักษณะเว็บไซตยอดนิยมจะมีคุณลักษณะที่เหมือนกันคือ เนนการออกแบบใหใชงาน ไดงาย มีเนื้อหาตรงกับความตองการของกลุมเปาหมาย มีความสวยงามในการออกแบบ สามารถตอบสนองและดาวนโหลดไดรวดเร็ว และมีการปรับปรุงเนื้อหารวมทั้งรูปแบบ ใหทันสมัยอยูเสมอ นอกจากการใหขอมูลหรือเนื้อหาวิชาจะใหกับผูเรียน ซึ่งเปน สวนหลักแลว เว็บการศึกษาควรจะใหบริการเสริมที่เปนที่ตองการ หรือเปนสิ่งที่ นาสนใจเพิ่มเติมกับผูเรียน เชน ขาวการศึกษาที่นาสนใจ หองสมุดออนไลน มีระบบ การสืบคนขอมูลที่ดี รวมทั้งความบันเทิงในรูปแบบตาง ๆ เชน เกมส การจัดกิจกรรม การจัดประกวด เพื่อดึงดูดผูเรียน เยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) ศึกษาเรื่อง การสืบคนสารนิเทศบนเว็บไซตของ คณาจารยและนักวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พบวา คณาจารยและนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สวนใหญมีวัตถุประสงคเพื่อติดตามความกาวหนาทาง วิชาการ มีความถี่ในการสืบคนสารนิเทศบนเว็บไซตไมแนนอน ชวงเวลาที่สืบคนไมแนนอน


44 ระยะเวลาที่ใชสืบคน 1-2 ชั่วโมง สืบคนจากเว็บไซตของสถาบันอุดมศึกษา สืบคนโดย ใชคําสําคัญโดยใชคําแทนเนื้อหาของเรื่องที่ตองการสืบคน และสืบคนจากสถานที่ทํางาน ผานเครือขายของมหาวิทยาลัย เนื้อหาที่สืบคนในระดับมาก ไดแก ขาวจากสํานักขาว/ สํานักพิมพ รูปแบบของสารนิเทศที่ไดรับในระดับปานกลาง ไดแก บรรณานุกรมและ สาระสังเขป ปญหาที่ประสบในระดับมาก คือ ระบบเครือขายขัดของ วัสสมาลย ตินทุกานนท (2544) ศึกษาเรื่อง การรับรูแ ละการใชอนิ เทอรเน็ตของ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบวา นักศึกษาเรียนรูการใชอินเทอรเน็ตจาก การศึกษาคนควาดวยตนเองทั้งที่มหาวิทยาลัยและทีบ่ าน นักศึกษาใชเว็บไซตของหองสมุด เพื่อคนหารายชื่อหนังสือจากบัตรรายการออนไลน นักศึกษาสวนใหญเปนสมาชิกของ ผูใหบริการอินเทอรเน็ตเชิงพาณิชยคือ เค เอส ซี คอมเมอรเชียลอินเทอรเน็ตมากที่สุด ดานคูมือการคนสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตที่ใชมากที่สุดสําหรับภาษาอังกฤษ ไดแก yahoo สําหรับภาษาไทย ไดแก sanook สําหรับสารสนเทศที่ชอบคนบนอินเทอรเน็ต ไดแก ภาพยนตรและบันเทิง ปญหาที่นักศึกษาประสบมากที่สุด ไดแก จํานวนเครื่องคอมพิวเตอรมีใหบริการนอย ไมสามารถเขาถึงรายการบัตรออนไลนของหองสมุดได และ การลงทะเบียนออนไลนของระบบมีขอจํากัด ตามลําดับ จิราพร ทัศนานุสิทธิ์ (2545) ศึกษาเรื่อง การวิเคราะหเว็บไซตหองสมุดสถาบันอุดมศึกษา พบวา เว็บไซตหองสมุดสถาบันอุดมศึกษาสวนใหญมีขอมูลเกี่ยวกับที่อยู ที่ต้งั วัน เวลาทําการ รายชื่อบุคลากร ขาวและกิจกรรมของหองสมุด และรายชื่อหนังสือใหม สวนใหญสามารถใชสืบคนฐานขอมูลรายการทรัพยากรสารนิเทศของหองสมุดผานทาง ออนไลนได และมีการเชือ่ มโยงไปยังเว็บไซตของหนวยงานภายนอก ผูรบั ผิดชอบเว็บไซต พบวา สวนใหญจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร อายุ 26-30 ป เรียนรูดานการจัดทําเว็บไซตดวยตนเอง มีผูรวมรับผิดชอบเว็บไซต จํานวน 1-3 คน ปรับปรุงเว็บไซตเมื่อมีขอมูลใหมและไดตรงตามระยะเวลาที่กําหนด สวนใหญประสบปญหาเรื่องไมมีเวลาเนื่องจากมีงานประจําอยางอื่น และเนื้อหาใน การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซตตาง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงบอย ทําใหการปรับปรุงขอมูลลาชา ขาดทักษะการใชโปรแกรมที่ใชทําเว็บไซต พิมพรัฐ วงษดนตรี (2545) ศึกษาเรื่อง การนําเสนอองคประกอบของเนื้อหาที่


45 เหมาะสมในเว็บไซตเครือขายการศึกษา พบวา องคประกอบของเนื้อหาที่เหมาะสมมี ทั้งหมด 8 องคประกอบหลัก คือ เว็บเพจแนะนํา เว็บเพจแสดงภาพรวมรายวิชา เว็บเพจ กิจกรรมและการบานที่มอบหมาย เว็บเพจแหลงทรัพยากรสนับสนุนการเรียน เว็บเพจ การประเมิน เว็บเพจการอภิปราย เว็บเพจประกาศขาว เว็บเพจการตอบคําถาม องคประกอบยอยทั้งหมดมี 33 องคประกอบคือ รูปภาพที่ชวนใหสนใจ รหัสผานเฉพาะ ผูที่ลงทะเบียนเรียน อธิบายถึงกลุมเปาหมายของผูใชเว็บ รหัสวิชาและชื่อวิชา ประมวล รายวิชา วิธีการเรียนการสอน กําหนดการสอบ วัดผลการเรียน แจงระดับชั้นของผูเรียน แจงสถานที่ติดตอ หมายเลขโทรศัพท อีเมลของผูสอน การลงทะเบียนเรียนผานเว็บ โปรแกรมคอมพิวเตอรที่จําเปน คําสั่งของกิจกรรมที่มอบหมาย วิธีการสงงาน กําหนด เวลาสงงาน เกณฑเงื่อนไขของการตรวจงาน ตารางการสงงาน แหลงคนควาเพิ่มเติม หองสมุดอิเล็กทรอนิกสภายในและภายนอกประเทศ ฐานขอมูลงานวิจัยตาง ๆ เว็บ เกี่ยวกับการศึกษา คําศัพทที่เกี่ยวกับบทเรียน การประเมินผูเรียน การประเมินผูสอน การใหขอมูลที่เกี่ยวของกับเกณฑการประเมินผลตาง ๆ ประเด็นการอภิปรายที่แยก หัวขอที่เปนวิชาการ และไมเปนวิชาการออกจากกัน ควรระบุหัวขอและวันที่สงกระทู สามารถกลับไปดูกระทูเกา ๆ ได ขาวการเรียนการสอน ขาวรับสมัครงาน ขาวการฝกอบรมตาง ๆ ตัวกระพริบหรือตัวนําที่บอกวาเปนขาวใหม คําถามที่พบบอย ประมวล คําถามคําตอบที่ผาน ๆ มา และคําถามทายบทเรียน สุพัตรา คชาทอง (2545) ศึกษาเรื่อง การใชอินเทอรเน็ตของผูสูงอายุ: กรณีศึกษา สมาชิกกลุม OPPY Club พบวา ประเภทของสารสนเทศที่มีการใชมากที่สุด แบงตาม เนื้อหา ไดแก การทองเที่ยว ขาว เหตุการณเคลื่อนไหวในปจจุบัน และขอมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ วัตถุประสงคในการใชอินเทอรเน็ตเพื่อความเพลิดเพลิน มากที่สุด รองลงมา ไดแก เพื่อเพิ่มพูนความรู กิจกรรมที่ใชบนอินเทอรเน็ตคือ คนหาขอมูล ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส และติดตามขาวสาร เว็บไซตที่ใชคือ Yahoo ปญหาจากการใชงาน คือ ปญหา ในการเชื่อมตออินเทอรเน็ต กับ ISP และปญหาในการเคลื่อนยายเมาส ปญหาดานการใช บริการคือ ขาดทักษะในการใชเวิลดไวดเว็บ ขาดกลยุทธในการสืบคนขอมูล ปญหาดาน อื่น ๆ ไดแก ขาดคําแนะนําในการเขาถึงแหลงขอมูล ความลาชาของการสื่อสาร สําหรับ ความคิดเห็นของผูใชพบวา ผูใชตองการใหรวบรวมรายชื่อเว็บไซต ทําคูมือการใช


46 ทําเว็บไซตสําหรับผูสูงอายุโดยเฉพาะและตองการใหพัฒนาบริการตาง ๆ ทางดานบริการ บนเว็บไซต ระบบสงจดหมาย ขนาดตัวอักษรที่ใหญขึ้น สุวิมล ธนะผลเลิศ (2545) ศึกษาเรื่อง การใชบริการอินเทอรเน็ตของนิสิตใน ศูนยบรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พบวา การใชบริการอินเทอรเน็ตของนิสิตสวนใหญจะใชเวลาวางจากการเรียนวันจันทร-ศุกร ชวงเวลา 16.00-17.00 น. และ 15.00-16.00 น. จํานวนครั้งที่เขาใชบริการอินเทอรเน็ต ตอสัปดาห นิสิตระดับปริญญาตรีโดยเฉลี่ย 5 ครั้ง ระดับปริญญาโท 4 ครั้ง และระดับ ปริญญาเอก 3 ครั้ง สวนใหญใชบริการอินเทอรเน็ตเพื่อสืบคนขอมูลเกี่ยวกับการศึกษา รองลงมาคือ เพื่อการติดตอสื่อสารและติดตามขาวสารทั่วไป นิสิตระดับปริญญาโท และปริญญาเอกใชฐานขอมูลวิทยานิพนธ วารสารทางการศึกษา และขาวการศึกษา มาก ตามลําดับ พรพิศ อุปถัมภ (2545) ศึกษาเรื่อง การใชบริการสารสนเทศบนเวิลดไวดเว็บ ศูนยสนเทศและหอสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย พบวา วัตถุประสงค ในการใชเพื่อประกอบการเรียน วิธีการเขาใชบริการโดยการเชือ่ มโยงจากเว็บไซตของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย ความถี่ในการเขาใชบริการ 1-2 ครั้งตอสัปดาห ฐานขอมูล ของหองสมุดสวนใหญใชฐานขอมูลหนังสือ โสตทัศน ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย รายชื่อ วารสารภาษาไทย บริการสารสนเทศ สวนใหญใชสาระนารู มุมนักคนควา สวนใหญใช มุมหนังสือ และบริการตาง ๆ ของหองสมุด สวนใหญใชบริการอินเทอรเน็ต ในดาน ปญหาและอุปสรรคในการใชบริการโดยรวมพบวา นักศึกษาประสบปญหาในดานการใช บริการอยูใ นระดับปานกลาง และผลการเปรียบเทียบการใชบริการสารสนเทศของนักศึกษา จําแนกตามชั้นป พบวา มีการใชบริการสารสนเทศโดยรวมแตกตางกัน และจําแนกตาม เพศ มีการใชบริการสารสนเทศโดยรวมไมแตกตางกัน กฤติยา ไวยมัย (2546) ศึกษาเรื่อง การใชเว็บไซตสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคําแหง พบวา วัตถุประสงค ในการใชบริการเว็บไซต สํานักหอสมุดกลาง เพื่อทํารายงาน สวนใหญใชบริการอินเทอรเน็ต จากบาน ในดานบริการสารสนเทศบนเว็บไซตนักศึกษาสวนใหญใชบริการขอมูลเกี่ยวกับ หองสมุด บริการฐานขอมูล บริการ e-Document บริการ e-Content และบริการ Link ใน


47 ระดับปานกลาง และใชบริการ knowledge บริการ download และบริการกิจกรรมอื่น ๆ ในระดับนอย ปญหาและอุปสรรคในการใชบริการเว็บไซตสํานักหอสมุดกลางของ นักศึกษา พบวา นักศึกษาสวนใหญไมมีเวลาในการใชเว็บไซตอยางเพียงพอและไมทราบ แหลงสารสนเทศ ขาดความชํานาญในการใชเว็บไซต ปญหาอื่น ๆ ไดแก ขาดแผนผัง เว็บไซต และสารสนเทศที่นําเสนอบนเว็บไซตไมครอบคลุมสารสนเทศที่ตองการ ปวีณา ฉ่ํากิ่ง (2546) ศึกษาเรื่อง สภาพและปญหาการใชอินเทอรเน็ตในศูนยการศึกษาจันทรเกษมสหะพาณิชย พบวา วัตถุประสงคในการใชงานอินเทอรเน็ต คือ เพื่อคนหาขอมูล บริการที่ใชเปนประจําคือ การใชบริการตรวจสอบผลการเรียนและ ลงทะเบียน เรียนรูทักษะการใชงานอินเทอรเน็ตจากหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพอื่น ๆ การใชงานอินเทอรเน็ตดานการเรียนคือ การคนควาเพื่อทํารายงาน ปญหาการใชงาน ในภาพรวมอยูในระดับมากคือ การใหบริการอินเทอรเน็ตไมทั่วถึงตอการใชงาน จํานวน เครื่องคอมพิวเตอรใชงานอินเทอรเน็ตไมเพียงพอ การเขาถึงอินเทอรเน็ตใชเวลาใน การคนขอมูลนาน ในดานทักษะความรูตาง ๆ มีขอจํากัดในการใชภาษา สําหรับสื่อเขาถึง ขอมูลและติดตามขาวสาร และชวงเวลาในการเปดหองใหบริการอินเทอรเน็ตกับเวลาที่ จะใชงานอินเทอรเน็ตไมตรงกัน พรวิไล สุขมาก (2546) ศึกษาเรื่อง สภาพและปญหาการใชอินเทอรเน็ตของ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 พบวา สภาพการใชอินเทอรเน็ตของนักศึกษาโดยรวม อยูในระดับปานกลาง เพศชายมีการใชงานอินเทอรเน็ตมากกวาเพศหญิง นักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มีการใชอินเทอรเน็ตมากกวาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีความถี่ในการใชงาน 1 ครั้งตอสัปดาห ระยะเวลาที่ใชในแตละ ครั้งเปนเวลา 1 ชั่วโมง มีวัตถุประสงคในการใชงานอินเทอรเน็ตเพื่อการศึกษา บริการ ที่ใชเปนประจําคือ คนหาขอมูลบนเวิลดไวดเว็บ และปญหาการใชงานอินเทอรเน็ตคือ ขาดทักษะความรูดานตาง ๆ เกี่ยวกับการใชงาน ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ (2546) ศึกษาเกี่ยวกับ รายงานผลการสํารวจกลุมผูใชอินเทอรเน็ตในประเทศไทย ป 2545 พบวา สถานที่ที่ใช อินเทอรเน็ต สวนใหญใชจากบาน และที่ทํางาน ตามลําดับ การใชงานที่ไดรับความนิยม สูงสุดคือ การใชไปรษณียอิเล็กทรอนิกส (e-mail) รองลงมาคือ การคนหาขอมูล ปญหา


48 สําคัญของอินเทอรเน็ต คือ ความลาชาของการสื่อสาร อีเมลขยะ และความเชื่อถือไดของ บริการเครือขาย ตามลําดับ การเขาไปใชประโยชนจากเว็บไซตภาครัฐ จะเขาไปเพื่อ คนควาหาขอมูลหรือหาความรูทั่วไป การรับทราบขาวสารใหม ๆ และการหาขอมูล เกี่ยวกับสถานที่ราชการ ตามลําดับ ปญหาที่พบจากการเขาไปใชประโยชนจากเว็บไซต ภาครัฐ ไดแก ขอมูลไมทันสมัย ไมรูจักชื่อเว็บไซต และหาขอมูลที่ตองการไมพบเมื่อเขา ไปในเว็บไซตนั้นแลว สุภาพร เอียบสกุล (2546) ศึกษาเรื่อง การใชสารสนเทศบนเครือขายอินเทอรเน็ต ของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร พบวา นักศึกษาสวนใหญใชบริการสารสนเทศบนเครือขายอินเทอรเน็ต โดยมีวัตถุประสงค เพื่อติดตามขาวสาร และเพื่อประกอบการเรียนการสอน สวนวิธีการเรียนรูพ บวา ศึกษา คนควาดวยตนเอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใชบริการสารสนเทศบนเครือขาย อินเทอรเน็ต 1-3 ครั้งตอสัปดาห และใชบริการสารสนเทศบนเครือขายอินเทอรเน็ตจาก บานในระดับปานกลาง กลุมของบริการสารสนเทศบนเครือขายอินเทอรเน็ตที่ใชใน ระดับมาก ไดแก บริการไปรษณียอิเล็กทรอนิกส สวนเนื้อหาสารสนเทศที่ศึกษา ไดแก สารสนเทศบน WWW ปญหาและอุปสรรคในการใชบริการสารสนเทศบนเครือขาย อินเทอรเน็ตโดยรวมอยูในระดับปานกลาง ปญหาที่เกิดจากผูใช พบวา นักศึกษาไมทราบ แหลงสารสนเทศในสาขาวิชาที่เกี่ยวของ และประเภทของบริการสารสนเทศ รวมทั้ง แหลงสารสนเทศที่มีเนื้อหาทันสมัยบนเครือขายอินเทอรเน็ต สวนปญหาที่เกี่ยวกับ สารสนเทศบนเครือขายอินเทอรเน็ต พบวา นักศึกษาไมทราบแหลงสารสนเทศที่มีขอมูล นาเชื่อถือและอางอิงได การเขาถึงแหลงสารสนเทศบางประเภทมีขอจํากัด ทําใหคนหา สารสนเทศไดยาก กติมาส ดิลกมธุรส (2547) ศึกษาเรื่อง การใชบริการสารสนเทศบนอินเทอรเน็ต ของบรรณารักษในหองสมุดโรงเรียนนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบวา ใชสารสนเทศบนเครือขายอินเทอรเน็ตทุกวัน และใชมากกวา 7 ครั้งตอวัน โดยมี คําถามจากผูใชบริการ 1-3 คําถามตอวัน และมีวัตถุประสงคในการใชบริการสารสนเทศ บนอินเทอรเน็ต เพื่อใหบริการสารสนเทศแกผูใชบริการในดานแนะนําการใชดาน บริการตอบคําถามและชวยการคนควาขอมูล ใชอีเมลเพื่อติดตอสื่อสาร และ WWW


49 โดยใชแหลงสารสนเทศบนอินเทอรเน็ต ประเภทสถาบันหรือองคการการศึกษาในระดับมาก ใช Yahoo ในระดับมาก และใชคําสําคัญ (keyword) มากที่สุด ในดานปญหาในการใช สารสนเทศบนอินเทอรเน็ตพบวา บรรณารักษหองสมุดโรงเรียนนานาชาติประสบปญหา ในดานขาดทักษะและประสบการณในการใชบริการสารสนเทศบนอินเทอรเน็ต และดาน การติดตอเขาสูระบบเครือขายอินเทอรเน็ตใชเวลานานในระดับปานกลาง นฤมล เทพนวล (2547) ศึกษาเรื่อง การใชอินเทอรเน็ตเพื่อการศึกษาของนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พบวา นักศึกษาที่ใชอินเทอรเน็ตสวนใหญเปนเพศชาย มีประสบการณในการใชอินเทอรเน็ต 3-4 ป มีความถี่ในการใชอินเทอรเน็ต 1-2 ครั้งตอ สัปดาห และมีระยะเวลาในการใชอินเทอรเน็ตแตละครั้ง 1-2 ชั่วโมง นักศึกษาใชบริการ อินเทอรเน็ตที่รานบริการอินเทอรเน็ตทั่วไป โดยมีวัตถุประสงคเพื่อการคนหาขอมูล มีรูปแบบของการใชบริการบนอินเทอรเน็ตคือ บริการโปรแกรมคนหา และมีการใช โปรแกรมคนหาในการสืบคนขอมูลภาษาตางประเทศคือ Google สวนภาษาไทยคือ Sanook และมีประสิทธิผลในการสืบคนดานขอมูลที่สืบคนได และตรงกับความตองการ มากที่สุด นักศึกษามีปญหาการใชอินเทอรเน็ตดานการใหบริการอินเทอรเน็ตไมเพียงพอ การเขาถึงอินเทอรเน็ตลาชา ทักษะและความรูในเรื่องภาษาเปนอุปสรรคในการสื่อสาร และแสวงหาขอมูล และชวงเวลาในการใหบริการอินเทอรเน็ตมีนอย งานวิจัยที่เกี่ยวของภาษาอังกฤษ He and Jacobson (1996) ศึกษาเรื่อง การแสวงหาสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตของ ผูใชบริการอินเทอรเน็ตที่หองสมุดของมหาวิทยาลัยแหงรัฐนิวยอรกที่เมืองอัลบานี (Albany) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบวา ผูใชบริการมีประสบการณในการใชอินเทอรเน็ตนอยกวา 6 เดือน ผูใชบริการสวนใหญเรียนรูการแสวงหาสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตดวยตนเอง รวมทั้งเห็นวาอินเทอรเน็ตเปนแหลงสารสนเทศที่สําคัญและมีประโยชน ซึ่งสามารถใช ศึกษาคนควาสารสนเทศเพื่อทําวิจัย และทํางานตามที่ไดรับมอบหมายตาง ๆ ได ผูใชบริการ สวนใหญจะสืบคนสารสนเทศดวยวิธีการคนหา (searching) มากกวาการคนผาน (browsing) เครื่องมือที่ใชในการสืบคนสารสนเทศที่มีการใชมากที่สุดคือ เวิลดไวดเว็บ รูปแบบสารสนเทศ ที่ผูใชบริการตองการมากที่สุดคือ รูปแบบขอความมีเนื้อหาเต็ม (full-text) และรองลงมา


50 คือ รูปแบบภาพ รูปแบบสาระสังเขป และรูปแบบซอฟตแวร ตามลําดับ นักศึกษาสวนใหญ ตองการใหหอ งสมุดจัดใหบริการอินเทอรเน็ตแกผใู ชบริการ และไดเสนอแนะใหหองสมุด จัดทํา รวบรวม เผยแพร และใหบริการดรรชนีทใี่ ชในการสืบคนสารสนเทศบนอินเทอรเน็ต ผานโกเฟอร หรือเวิลดไวดเว็บโฮมเพจของหองสมุด Mohaiadin (1996) ศึกษาเรื่อง ประโยชนของอินเทอรเน็ตของนักศึกษามาเลเซียที่ ศึกษาอยูตางประเทศ พบวา วัตถุประสงคของการใชอินเทอรเน็ตคือ การเขาสังคม เพื่อ การเรียน บริการที่ถูกใชมากที่สุดคือ ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส นักศึกษาที่มีทักษะและ ประสบการณทางคอมพิวเตอรดีจะมีการใชอินเทอรเน็ตสูงกวานักศึกษาที่ไมมีทักษะ นอกจากนี้การใชอินเทอรเน็ตยังขึ้นอยูกับความยากงาย ประโยชน ความซับซอน และ การสังเกต Logan (1998) ศึกษาเรื่อง การใชอินเทอรเน็ตของบรรณารักษรัฐโคโลราโด พบวา บรรณารักษหองสมุดเฉพาะทาง เห็นความสําคัญและประโยชนของอินเทอรเน็ต โดยใช อินเทอรเน็ตในการสอน ตอบคําถามผูใชบริการ บรรณารักษสามารถชวยจัดการและ จัดลําดับของทางดวนขอมูล นอกจากนี้เจาหนาที่หองสมุดตองการศึกษาการใชอินเทอรเน็ต ใหเกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการฝกอบรมที่ถูกตองเปนสิ่งสําคัญในการชวยใหบรรณารักษ สามารถใชอินเทอรเน็ตไดอยางมีประสิทธิภาพ แตอยางไรก็ตามสิ่งสําคัญทีส่ ุดอันดับแรก คือ การเขาใจถึงความตองการ เครื่องมืออุปกรณในการเชื่อมตอที่รวดเร็ว มีเวลามากพอ สําหรับการฝกอบรมการใช และการไดรับการสนับสนุนจากหัวหนางานและเพื่อนรวมงาน Wilson (1998) ศึกษาเรื่อง การใชอินเทอรเน็ตของนักศึกษาสําหรับวิชาที่เกี่ยวของ กับการวิจัย ปจจัยที่ใชหรือไมใช พบวา กลุมที่ใชอินเทอรเน็ตสวนใหญใชบริการไปรษณียอิเล็กทรอนิกส (e-mail) ในการคนควาขอมูลในวิชาการเรียนและเพื่อความบันเทิง เกือบ ทุกคนคนควาขอมูลจากอินเทอรเน็ตเพือ่ ทํารายงานที่อาจารยกําหนดใหไดรบั ความสะดวก ในการคนหาขอมูลที่มีอยูในอินเทอรเน็ต สําหรับกลุมที่ไมใชอินเทอรเน็ตสวนใหญ บอกวาไมมีเหตุผลที่จะเขาไปใชอินเทอรเน็ต เพราะไมทราบวิธีการใช หรือการคนหา ขอมูลมีความยุงยากมาก Zumalt and Pasicznyuk (1998) ศึกษาเรื่อง อินเทอรเน็ตและงานบริการตอบคําถาม และชวยการคนควา พบวา อินเทอรเน็ตสามารถใหคําตอบกับผูใชบริการไดอยางดีในดาน


51 ความลึกซึ้งของขอมูล โดยดานความถูกตองของขอมูลจากอินเทอรเน็ตมีความแตกตาง ไมมากจากการคนหาขอมูลจากสื่อสิ่งพิมพ และดานความถาวรของขอมูลในอินเทอรเน็ต พบวา มีความถาวรอยูบนแหลงนั้น ๆ ตลอดระยะเวลาของการทดสอบ ดังนั้นอินเทอรเน็ต จึงนับวาเปนเครื่องมือที่มคี วามนาเชื่อถือใหผลดี และคุมคาตอการลงทุน เพื่อการจัดบริการ ในงานบริการตอบคําถามและชวยการคนควาเปนอยางยิ่ง Voorbij (1999) ศึกษาเรื่อง การสืบคนสารสนเทศทางดานวิทยาศาสตรบน อินเทอรเน็ตของนักศึกษาและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ประเทศเนเธอรแลนด พบวา นักศึกษาและบุคลากรสวนใหญเคยใชอินเทอรเน็ตโดยเรียนรูการใชดว ยตนเอง และขอคําแนะนํารวมทั้งความชวยเหลือในการใชจากเพื่อน และมีประสบการณใน การใชมากกวา 1 ป นักศึกษาและบุคลากรสวนนอยที่ไมเคยใชอินเทอรเน็ต มีเหตุผลที่ใช อินเทอรเน็ตไมเปน เนื่องจากขาดความรูและทักษะในการใชอนิ เทอรเน็ต สวนใหญใช อินเทอรเน็ตเพื่อประโยชนทางดานการศึกษาและการทํางาน โดยใชบริการไปรษณียอิเล็กทรอนิกส มากที่สุด และใชบริการเวิลดไวดเว็บในการสืบคนสารสนเทศตามที่ ตองการ ปญหาที่พบในการสืบคนสารสนเทศ คือ ขาดการวางแผนการสืบคนที่ดี เชน กลยุทธในการสืบคน การเลือกเครื่องมือชวยสืบคน เปนตน นักศึกษาและบุคลากร สวนใหญไดเสนอแนะใหหองสมุดเขามามีบทบาทในการแกไขปญหาดังกลาวโดยที่ หองสมุดควรจัดโครงการฝกอบรมเกี่ยวกับการสืบคนสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตแก ผูใชบริการ รวมทั้งควรจัดคูมือชวยเหลือในการคนสารสนเทศบนอินเทอรเน็ต Kibirige and DePalo (2000) ศึกษาเรื่อง การใชอินเทอรเน็ตเปนแหลงสารสนเทศ เพื่อวิจัยทางวิชาการ พบวา ประชากรมากกวารอยละ 90 ใชอินเทอรเน็ตอาทิตยละ 1 ครัง้ และใชโปรแกรมเขาคนหาสารสนเทศมากกวาการใชฐานขอมูลซีดีรอมและฐานขอมูล ออนไลนในหองสมุด Stover (2000) ศึกษาเรื่อง บรรณารักษใหบริการตอบคําถามและชวยการคนควา บนอินเทอรเน็ต พบวา บรรณารักษสวนใหญมีความพึงพอใจตอการใชอินเทอรเน็ตเพื่อ การปฏิบัติงานและติดตอสื่อสารกับผูใชบริการ โดยบริการบนอินเทอรเน็ตที่ใช ไดแก โปรแกรมคนหา จดหมายอิเล็กทรอนิกส กลุมสนทนาและขาวสาร ทั้งในรูปของ newsgroup และ listservs


52 Al-Harbi (2002) ศึกษาเรื่อง การใชอินเทอรเน็ตและผลกระทบที่มีตอการใช หองสมุดของผูจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรัฐฟลอริดา พบวา ผูตอบแบบสอบถามระบุวาอินเทอรเน็ตมีความสําคัญตอการศึกษาคนความาก เทากับหองสมุด ทั้งนี้ขึ้นอยูกับแหลงสารสนเทศและบริการบนอินเทอรเน็ตซึ่งมีมากกวา หองสมุด ในดานความสัมพันธระหวางการเลือกใชอินเทอรเน็ตเปนแหลงสารสนเทศ ประเภทปฐมภูมิ และการลดการใชหองสมุดพบวา นักศึกษาที่มีทักษะในการใชอินเทอรเน็ต ในระดับสูง และนักศึกษาที่ใชหองสมุดคอนขางนอย มีวัตถุประสงคในการใชหองสมุด เพื่องานดานวิชาการเปนสวนใหญ และดานบันเทิงเปนสวนนอย ในขณะที่มีการใช อินเทอรเน็ตในการติดตอสื่อสารคอนขางมาก และใชในการปฏิบัติงานคอนขางนอย นอกจากนี้ยังพบวา เหตุผลของการเลือกใชแหลงสารสนเทศตาง ๆ ไดแก ความสะดวก ในการเขาใช ราคา ประโยชน ความถูกตองของขอมูล ความพึงพอใจ ความงายในการเขาใช Schwartz (2002) ศึกษาเรื่อง การเขาถึงอินเทอรเน็ตและความตองการของผูใช: การใชคอมพิวเตอรในหองสมุด พบวา ผูตอบแบบสอบถามไมสามารถจําแนกความ แตกตางระหวางหองสมุด ฐานขอมูลงานวิจัย ดรรชนีวารสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส โปรแกรมคนหา/subject directory และวารสารอิเล็กทรอนิกส/ขอความอิเล็กทรอนิกส ตามลําดับ ดานความตองการความชวยเหลือของผูใชพบวา ผูใชสวนใหญไมตองการ ความชวยเหลือ สวนที่ตองการความชวยเหลือ ไดแก ความชวยเหลือดานการใชระบบ ออนไลน ดานการจัดพิมพขอมูล Hwong (2003) ศึกษาเรื่อง การเรียนรูอินเทอรเน็ต: การประเมินผลการใชอินเทอรเน็ต ของนักศึกษาในวิทยาลัยแหงหนึ่งในไตหวัน พบวา ตัวแปรที่มีความสัมพันธกับระดับ การใชอินเทอรเน็ต ไดแก การเรียนรูอินเทอรเน็ต ประสบการณการใชอินเทอรเน็ตและ ปริมาณแหลงที่เขาถึง โดยตัวแปรดังกลาวสนับสนุนระดับการใชอินเทอรเน็ตเพื่อ การศึกษา นักศึกษาที่มีระดับการเรียนรูอินเทอรเน็ตที่สูงกวา จะมีความถี่ในการใช อินเทอรเน็ตในการเรียนมากกวา นักศึกษาที่มีระดับการเขาถึงอินเทอรเน็ตสูงกวา มีการใช อินเทอรเน็ตมากกวา นักศึกษาไดระบุวาการจราจรแออัดบนอินเทอรเน็ตเปนอุปสรรค สําคัญในการใชอินเทอรเน็ต Ha (2004) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาเว็บไซตขององคกรเกี่ยวกับการจัดประชุมสัมมนา


53 พบวา เนื้อหาที่แนะนําใหมีในเว็บไซตคือ ขอมูลเกี่ยวกับโรงแรมและขอมูลเกี่ยวกับสถานที่ ประชุม โดยตองมีขอมูลเกี่ยวกับพื้นที่ แผนที่ และขอมูลการเดินทาง สวนผลการวิจัย ดานโครงสรางของเว็บไซตพบวา มีองคประกอบที่สําคัญ 4 อยาง ไดแก แนวคิดใน การออกแบบ คุณภาพของสารสนเทศ การชี้นําและความสามารถในการเขาถึง ประสบการณ และบริการทีม่ ีคุณภาพ Jurkowski (2004) ศึกษาเรือ่ ง การวิเคราะหเว็บไซตของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยที่ ใหบริการดานการศึกษา พบวา ขนาดของสถาบันมีความสัมพันธกับบริการของหองสมุด ที่ใหบริการแกนักศึกษา สําหรับขอมูลที่นําเสนอผานเว็บไซตนักศึกษามีความตองการ อยูในระดับมาก ในดานองคประกอบอื่น ๆ ควรเพิ่มเครื่องมือสําหรับชวยเหลือผูใช และปรับปรุงรูปแบบของตัวนําทาง ซึ่งควรพัฒนาใหมีความซับซอนมากขึ้น จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวของทั้งในประเทศ และตางประเทศ พบวามีที่ สอดคลองกันและแตกตางกัน แบงออกเปนดานตาง ๆ ได ดังนี้ ดานวัตถุประสงคในการใชอินเทอรเน็ต ผลการวิจัยของผุสดี นนทคําจันทร (2542) พบวา นักศึกษาใชอินเทอรเน็ตเพื่อ ความบันเทิงมากที่สุด วาสนา บุญจูง (2542) พบวา นักวิจัยใชอินเทอรเน็ตเพื่อสืบคน ขอมูลจากแหลงตาง ๆ มาใชงาน เสกสรร สายสีสด (2542) พบวา ผูใชมีวัตถุประสงค เพื่อสนับสนุนการเรียนรูด วยตนเองและประหยัดเวลาในการคนความากที่สุด อรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) พบวา อาจารยสวนใหญไมใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ ที่ใช สวนใหญใชเพื่อประกอบการวิจัย ประกอบการสอน และเพิ่มพูนความรู เยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) พบวาวัตถุประสงคในการใชอินเทอรเน็ตคือ เพื่อติดตามความกาวหนา ทางวิชาการ สอดคลองกับผลการวิจัยของเทวา จุฬารี (2544); ปวีณา ฉ่ํากิ่ง (2546); สุภาพร เอียบสกุล (2546) พบวา วัตถุประสงคในการใชอินเทอรเน็ตเพื่อเพิ่มพูนความรู ทั่วไป สวน สุพัตรา คชาทอง (2545) และภควดี สุวรรณะโสภณ (2543) พบวา วัตถุประสงคในการใชอนิ เทอรเน็ตคือ เพื่อความเพลิดเพลินมากที่สุด แตกตางจาก พรพิศ อุปถัมภ (2545); กฤติยา ไวยมัย (2546); พรวิไล สุขมาก (2546); Al-Harbi (2002); Wilson (1998) พบวา วัตถุประสงคการใชเว็บไซตเพื่อทํารายงาน และเพื่อ การศึกษา กติมาส ดิลกมธุรส (2547); นฤมล เทพนวล (2547) พบวา วัตถุประสงคใน


54 การใชบริการอินเทอรเน็ตคือ เพื่อใหบริการสารสนเทศแกผูใชบริการ และเพื่อ การคนหาขอมูล และ Mohaiadin (1996) พบวา วัตถุประสงคของการใชอินเทอรเน็ต คือ การเขาสังคม การเรียน ดานสถานที่ที่ใชอินเทอรเน็ต ผลการวิจัยของผุสดี นนทคําจันทร (2542) พบวา นักศึกษาใชอินเทอรเน็ตที่บาน มากที่สุด รุงอรุณ ผาสุกสกุล (2542) พบวา นักศึกษาใชอินเทอรเน็ตในหองสมุด วาสนา บุญจูง (2542) พบวา นักวิจัยใชอินเทอรเน็ตจากที่ทํางาน/สถาบันที่สังกัด สวน กฤติยา ไวยมัย (2545) พบวา การใชอินเทอรเน็ตสวนใหญจะใชจากที่บาน สอดคลองกับ ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ (2546); สุภาพร เอียบสกุล (2546) พบวา สถานที่ที่ใชอินเทอรเน็ตสวนใหญใชจากที่บานและที่ทาํ งาน แตกตางกับนฤมล เทพนวล (2547) ที่พบวา นักศึกษาจะใชบริการอินเทอรเน็ตที่รานบริการอินเทอรเน็ตทั่วไป ดานการเขาถึงเว็บไซต ผลการวิจัยของอรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) พบวา อาจารยสวนใหญเขาถึง เว็บไซตสถาบันวิทยบริการ โดยยูอารแอลของเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ และโดย การเชื่อมโยงจากเว็บไซตของมหาวิทยาลัย ดานความถี่ในการใชอินเทอรเน็ต ผลการวิจัยของผุสดี นนทคําจันทร (2542) พบวา นักศึกษาใชอินเทอรเน็ต 1-2 ครั้งตอสัปดาห สอดคลองกับผลการวิจัยของเสกสรร สายสีสด (2542); เทวา จุฬารี (2544); พรพิศ อุปถัมภ (2545) และนฤมล เทพนวล (2547) พบวา นักศึกษา อาจารย และผูบริหารใชอินเทอรเน็ต 1-2 ครั้งตอสัปดาห วาสนา บุญจูง (2542); สุภาพร เอียบสกุล (2546) พบวา นักวิจัยใชอินเทอรเน็ต 1-3 ครั้งตอสัปดาห สวนรุงอรุณ ผาสุกสกุล (2542) พบวา นักศึกษาใชอินเทอรเน็ต 2-3 วันตอครั้ง พรวิไล สุขมาก (2546) พบวา ความถี่ใน การใชอินเทอรเน็ต 1 ครัง้ ตอสัปดาห ซึ่งแตกตางจากกติมาส ดิลกมธุรส (2547) พบวา การใชบริการใชทุกวันและมากกวา 7 ครั้งตอวัน แตกตางกับ Kibirige and DePalo (2000) พบวา มีการใชอินเทอรเน็ต อาทิตยละ 1 ครั้ง ดานระยะเวลาที่ใชอินเทอรเน็ต ผลการวิจัยของเสกสรร สายสีสด (2542) พบวา ระยะเวลาที่ใชอินเทอรเน็ตของ


55 นักศึกษา อาจารย และผูบริหารมากที่สุดคือ 1-2 ชั่วโมง สอดคลองกับนฤมล เทพนวล (2547); เยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) สําหรับเทวา จุฬารี (2544) พบวา การใชบริการ อินเทอรเน็ตใชเวลานอยกวา 1 ชั่วโมง เวลาที่ใชบอยที่สุดคือ 15.01-18.00 น. สุวิมล ธนะผลเลิศ (2545) พบวา ชวงเวลาการใชอินเทอรเน็ตคือ จันทร-ศุกร เวลา 16.00-17.00 น. และพรวิไล สุขมาก (2546) พบวา ระยะเวลาในการใชอินเทอรเน็ตแตละครั้งเปนเวลา 1 ชั่วโมง ดานการเรียนรูอินเทอรเน็ต ผลการวิจัยของเทวา จุฬารี (2544) พบวา การรูจักเครือขายอินเทอรเน็ตจะเรียนรู จากสื่อโทรทัศน และการเรียนรูดวยตนเองจากคําแนะนําในหนาจอ ซึ่งสอดคลองกับ ผลการวิจัยของวัสสมาลย ตินทุกานนท (2544); ปวีณา ฉ่ํากิ่ง (2546); สุภาพร เอียบสกุล (2546) พบวา การเรียนรูก ารใชอินเทอรเน็ตจากการคนควาดวยตนเองทั้งที่มหาวิทยาลัย และที่บาน ซึ่งสอดคลองกับ He and Jacobson (1996); Voorbij (1999) พบวา ผูใชบริการ เรียนรูการใชอินเทอรเน็ตดวยตนเอง ดานการใชบริการบนอินเทอรเน็ต ผลการวิจัยของสุกัญญา อางศิลา (2541) พบวา บรรณารักษใช telnet มากที่สุด แตกตางจากผลการวิจัยของผุสดี นนทคําจันทร (2542); รุงอรุณ ผาสุกสกุล (2542) ที่ พบวา นักศึกษาใชบริการเวิลดไวดเว็บมากที่สุด สอดคลองกับพรวิไล สุขมาก (2546); He and Jacobson (1996) สวนวาสนา บุญจูง (2542) พบวา นักวิจัยใชบริการไปรษณียอิเล็กทรอนิกสมากที่สุด และบริการทีต่ องการใชคือ เวิลดไวดเว็บ นอกจากนี้เทวา จุฬารี (2544) พบวา บริการที่ใชบนอินเทอรเน็ตมากที่สุดคือ บริการสืบคนขอมูลเวิลดไวดเว็บ เยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) พบวา การใชบริการจะใชบริการสืบคนจากเว็บไซตของ สถาบันอุดมศึกษา สําหรับสุพัตรา คชาทอง (2545) พบวา กิจกรรมที่ใชบนอินเทอรเน็ต มากที่สุดคือ คนหาขอมูล ไปรษณียอิเล็กทรอนิกส และติดตามขาวสาร สอดคลองกับ ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ (2546); สุภาพร เอียบสกุล (2546); กติมาส ดิลกมธุรส (2547); Mohaiadin (1996); Wilson (1998); Voorbij (1999) และ Stover (2000) ที่พบวา การใชงานที่ไดรับความนิยมสูงสุดคือ การใชไปรษณียอิเล็กทรอนิกส และมีการใชเวิลดไวดเว็บ สวนนฤมล เทพนวล (2547) พบวา การใช


56 บริการบนอินเทอรเน็ตที่ใชคือ โปรแกรมคนหา แตกตางจากปวีณา ฉ่ํากิ่ง (2546) พบวา บริการที่ใชเปนประจําคือ การตรวจสอบผลการเรียนและการลงทะเบียน สวนเสิรชเอนจิ้นที่ใชบริการ สุกัญญา อางศิลา (2541) พบวา สวนใหญใช Yahoo สอดคลองกับวัสสมาลย ตินทุกานนท (2544) ที่พบวา มีการใช Yahoo และ Sanook เปน คูมือการคนหาสารสนเทศมากที่สุด เชนเดียวกับสุพัตรา คชาทอง (2545) และ กติมาส ดิลกมธุรส (2547) พบวา Yahoo เปนเว็บไซตที่ใชมากที่สุด แตกตางกับพรพิศ อุปถัมภ (2545) และนฤมล เทพนวล (2547) พบวา มีการใช Google และ Sanook มากที่สุด ดานรูปแบบของสารสนเทศที่ใช ผลการวิจัยของผุสดี นนทคําจันทร (2542) พบวา นักศึกษาใชสารสนเทศในรูปแบบ รูปภาพมากที่สุด สวนรุงอรุณ ผาสุกสกุล (2542) พบวา นักศึกษาใชสารสนเทศในรูปแบบ ขอความ แตกตางจากวาสนา บุญจูง (2542) พบวา นักวิจัยใชสารสนเทศในรูปแบบ บรรณานุกรม และตองการใชเอกสารเนื้อหาเต็ม ใชสารสนเทศที่เปนภาษาอังกฤษ และ ตองการใชภาษาไทย เชนเดียวกับ He and Jacobson (1996) พบวา รูปแบบสารสนเทศที่ ตองการคือ รูปแบบขอความมีเนื้อหาเต็ม สวนผลการวิจัยของอรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) พบวา อาจารยสวนใหญใชบริการฐานขอมูลของหองสมุด เครือขายหองสมุด และ ฐานขอมูลเพื่อการคนควาวิจัย เชนเดียวกับพรพิศ อุปถัมภ (2545) และสุวิมล ธนะผลเลิศ (2545) พบวา มีการใชอินเทอรเน็ตเพื่อสืบคนขอมูลเกี่ยวกับการศึกษา วิทยานิพนธ วารสารทางการศึกษา กฤติยา ไวยมัย (2546) พบวา สารสนเทศทีใ่ ชสวนใหญเปนบริการ ขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด บริการฐานขอมูล เปนตน ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและ คอมพิวเตอรแหงชาติ (2546) พบวา การใชบริการเว็บไซตจะเขาไปคนหาขอมูลหรือ ความรูทั่วไป การรับทราบขาวสารใหม ๆ กติมาส ดิลกมธุรส (2547) พบวา แหลง สารสนเทศบนอินเทอรเน็ตประเภทสถาบันหรือองคกรจะใชมากที่สุด Voorbij (1999) พบวา การใชอินเทอรเน็ตจะใชเพื่อการศึกษาและการทํางาน ดานเนื้อหาของสารสนเทศที่ใช เยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) พบวา เนื้อหาสารสนเทศที่สืบคน ไดแก ขาวจาก สํานักขาว/สํานักพิมพ สําหรับวัสสมาลย ตินทุกานนท (2544) พบวา สารสนเทศที่สืบคน คือ การคนหารายชื่อหนังสือจากบัตรรายการออนไลน ภาพยนตรและบันเทิง สวน


57 สุพัตรา คชาทอง (2545) พบวา สารสนเทศที่มีการใชมากที่สุด ไดแก การทองเที่ยว ขาวเหตุการณความเคลื่อนไหวในปจจุบัน และขอมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ ปวีณา ฉ่ํากิ่ง (2546) พบวา สารสนเทศที่ใช คือ ขอมูลการทํารายงาน สุภาพร เอียบสกุล (2546) พบวา เนื้อหาสารสนเทศทีใ่ ช คือ สารสนเทศทั่วไป เชนเดียวกับนิทศั น อิทธิพงษ (2544) ที่พบวา ในเว็บไซตควรจัดใหบริการขอมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่นาสนใจ เชน ขาวการศึกษาที่นาสนใจ หองสมุดออนไลน รวมทั้งความบันเทิงอื่น ๆ เชน เกมส การจัดกิจกรรม การจัดประกวด ดานขอมูลบนเว็บไซตที่ควรมี จิราพร ทัศนานุสิทธิ์ (2545) พบวา สิ่งที่เว็บไซตมีคือ ที่อยู ที่ตั้ง วัน เวลาทําการ รายชื่อบุคลากร ขาวและกิจกรรมหองสมุด และรายชื่อหนังสือใหม สามารถสืบคน สารสนเทศหองสมุดผานทางออนไลนได และมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซตของหนวยงาน ภายนอก สวนพิมพรัฐ วงษดนตรี (2545) พบวา องคประกอบหลักที่เว็บไซตควรมี ไดแก เว็บเพจแนะนํา เว็บเพจแสดงภาพรวมรายวิชา เว็บเพจกิจกรรมและการบานที่มอบหมาย เว็บเพจแหลงทรัพยากรสนับสนุนการเรียน เว็บเพจการประเมิน เว็บเพจการอภิปราย เว็บเพจประกาศขาว เว็บเพจการตอบคําถาม Ha (2004) พบวา เนื้อหาที่ควรมีคือ ขอมูล เกี่ยวกับโรงแรม และขอมูลเกี่ยวกับสถานที่จัดประชุม ขอมูลเกี่ยวกับพื้นที่ แผนที่ ขอมูล การเดินทาง Jurkowki (2004) พบวา ในการจัดทําเว็บไซตนั้นควรมีตัวนําทางและเครื่องมือ สําหรับชวยเหลือผูใชบริการ ดานปญหาการใชอินเทอรเน็ต ผลการวิจัยของสุกัญญา อางศิลา (2541) พบวา ศูนยบริการเชื่อมโยงไปยัง ศูนยบริการสารสนเทศอื่น ๆ มากเกินไป ทําใหไมสามารถคนพบแหลงสารสนเทศที่ ตองการไดในเวลาอันรวดเร็ว สอดคลองกับผุสดี นนทคําจันทร (2542) ที่พบวา นักศึกษา มีปญหาเกี่ยวกับการไมสามารถติดตอกับเครื่องคอมพิวเตอรที่ใหบริการสารสนเทศบน อินเทอรเน็ตตามที่ตองการได วาสนา บุญจูง (2542) พบวา นักวิจัยสวนใหญไมมีเวลา เพียงพอในการใช คอมพิวเตอรมีประสิทธิภาพต่ํา มีจํานวนนอยไมเพียงพอแกการใหบริการ และใชเวลานานในการคนหาขอมูล สอดคลองกับเสกสรร สายสีสด (2542); วัสสมาลย ตินทุกานนท (2544); ปวีณา ฉ่ํากิ่ง (2546) พบวา นักศึกษามีปญหาดานจํานวนเครื่อง-


58 คอมพิวเตอรที่ติดตั้งอินเทอรเน็ตมีใชไมเพียงพอ และผลการวิจัยของอรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) พบวา การสื่อสารมีความเร็วต่ํา และอาจารยไมมีเวลาเพียงพอในการใชเว็บไซต สถาบันวิทยบริการ สําหรับเทวา จุฬารี (2544); สุพัตรา คชาทอง (2545) พบวา ปญหาที่พบ คือ มีผูใชบริการจํานวนมากทําใหไมสามารถติดตอเขากันได และความขัดของทางเทคนิค แมขาย เชนเดียวกับเยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) พบวา ปญหาที่พบมากที่สดุ คือ ระบบ เครือขายขัดของ นอกจากนี้ยังพบปญหา การขาดทักษะในการใชเวิลดไวดเว็บ ขาดกลยุทธ ในการสืบคนขอมูล ขาดการแนะนํา ความลาชาของการสื่อสาร กฤติยา ไวยมัย (2546); พรวิไล สุขมาก (2546); กติมาศ ดิลกมธุรส (2547) พบวา ปญหาและอุปสรรคในการใช บริการคือ ไมมีเวลาและไมทราบแหลงสารสนเทศ ขาดความชํานาญในการใช ขาดแผนผัง เว็บไซต และสารสนเทศไมครอบคลุม ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ (2546) พบวา ปญหาของอินเทอรเน็ตคือ ความลาชาของการสื่อสาร อีเมลขยะ และความเชื่อถือไดของบริการ นอกจากนี้ยังพบ ปญหาดานขอมูลไมทันสมัย ไมรูจัก ชื่อเว็บไซต และหาขอมูลที่ตองการไมพบ สุภาพร เอียบสกุล (2546) พบวา ปญหาที่พบ จะไมทราบแหลงสารสนเทศในสาขาที่เกี่ยวของ ประเภทสารสนเทศที่ใหบริการ นฤมล เทพนวล (2547) พบวา ปญหาที่พบในการใชอินเทอรเน็ต คือ บริการไมเพียงพอ ดาวนโหลดขอมูลชา การเขาถึงชา ขาดทักษะและความรูในเรื่องภาษา และเวลาในการใช บริการอินเทอรเน็ต จากการศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับอินเทอรเน็ต พบวา ปจจุบัน อินเทอรเน็ตไดเขามามีบทบาทสําคัญตอการดําเนินชีวิตประจําวันของมนุษย การทํางาน ในองคกรตาง ๆ ลวนใหความสําคัญกับอินเทอรเน็ต โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาเว็บไซต เพื่อเผยแพรขอมูลขาวสารและสื่อสารภายในหนวยงานของตน และหนวยงานอื่น ๆ กรมบัญชีกลางเปนสวนราชการหนึ่งที่ใหความสําคัญกับอินเทอรเน็ต ไดมีการจัดทํา เว็บไซตขึ้นมาเพื่อเผยแพรขอมูลขาวสารและบริการตาง ๆ ที่สําคัญแกประชาชนผานทาง เครือขายอินเทอรเน็ต นอกจากนี้หนวยงานภายในกรมบัญชีกลางก็ไดมีการจัดทําเว็บไซต ขึ้นมาใหบริการดวย หนึ่งในนั้นก็คือ หองสมุดกรมบัญชีกลางที่จัดทําเว็บไซตขึ้นมา เพื่อ เผยแพรขอมูลขาวสารและบริการตาง ๆ แกผูใช ดังนั้นเพื่อใหเว็บไซตที่ไดจัดทําขึ้นมา ตอบสนองกับความตองการของผูใชบริการ จึงควรมีการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้


บทที่ 3 วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยเรื่อง การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช ศึกษาความตองการใช ศึกษาปญหาและอุปสรรค ในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง คือ ขาราชการ ระดับ 1-8 และพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานในสวนกลาง การวิจัยนี้เปนการวิจัยเชิงสํารวจ (survey research) โดยศึกษาจากตําราวิชาการ งานวิจัย และบทความที่เกี่ยวของกับเรื่องที่ ศึกษา เพื่อนํามาเปนกรอบในการศึกษาและกําหนดแนวทางในการวิจัย โดยกําหนดวิธี ดําเนินการวิจัย ดังนี้ 1. ประชากร กลุมตัวอยาง และตัวแปรที่ใชในการวิจัย 2. เครื่องมือที่ใชในการวิจัย 3. การสรางเครื่องมือที่ใชในการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมขอมูล 5. การวิเคราะหขอมูลและสถิติที่ใชในการวิจัย

ประชากร กลุมตัวอยาง และตัวแปรที่ใชในการวิจัย ประชากร ประชากรที่ใชในการวิจัย คือ ขาราชการ ระดับ 1-8 และพนักงานราชการของ กรมบัญชีกลางที่ปฏิบัติงานในสวนกลาง จํานวน 854 คน


60 กลุมตัวอยาง ขนาดตัวอยาง กลุมตัวอยางไดจากการสุมตัวอยางแบบระดับชั้น แยกตามสวนงานที่สังกัด โดย ใชสูตรของ Taro Yamane (อางถึงใน เพ็ญแข แสงแกว, 2541, หนา 57) กําหนดความ คลาดเคลื่อนที่ระดับ .05 n

N 2 1 + N (e)

=

e = ความคลาดเคลื่อนของการสุมตัวอยาง N = ขนาดของประชากร n = ขนาดของกลุมตัวอยาง ดังนั้น กลุมตัวอยางที่ไดคือ n

=

n = n =

854 1 + (854 x0.0025) 854 3.14

272

เพื่อใหความคลาดเคลื่อนนอยกวา .05 จึงใชกลุมตัวอยางประมาณ 300 คน หาจํานวนกลุมตัวอยางในแตละสวนงาน โดยวิธีการคํานวณตามสัดสวนของแตละ สวนงาน วิธีการสุมตัวอยาง ผูวิจัยสุมตัวอยางโดยการสุมแบบแบงชั้นภูมิ (stratified random sampling) โดย การจับสลากรายชื่อจากกรอบตัวอยาง (sampling frame) ที่ไดจากกองการเจาหนาที่ของ กรมบัญชีกลาง


61 ตาราง 1 ขนาดของกลุมตัวอยางที่คํานวณไดแยกตามสวนงาน สังกัด กลุมพัฒนาระบบบริหาร กลุมงานประเมินผลระบบการคลัง กลุมงานพัฒนาเงินนอกงบประมาณ กลุมงานพัฒนาระบบลูกจาง กลุมงานมาตรฐานดานการตรวจสอบภายใน กลุมงานสวัสดิการรักษาพยาบาลขาราชการ สํานักงานเลขานุการกรม กองการเจาหนาที่ กองพัฒนาทรัพยากรบุคคล ศูนยเทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักมาตรฐานดานกฎหมายและระเบียบการคลัง สํานักความรับผิดทางแพง สํานักมาตรฐานดานการบัญชีภาครัฐ สํานักบริหารการรับ-จายเงินภาครัฐ สํานักการเงินการคลัง สํานักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ รวม

ประชากร จํานวน (คน) 3 5 34 15 22 15 54 23 28 57 90 53 71 297 45 42 854

กลุมตัวอยาง จํานวน (คน) 1 2 12 5 8 5 19 8 10 20 31 19 25 104 16 15 300

ตัวแปรที่ใชในการวิจัย 1. ตัวแปรอิสระ ไดแก เพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง 2. ตัวแปรตาม ไดแก การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง

เครื่องมือทีใ่ ชในการวิจัย เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช เว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยแบบสอบถาม ประกอบดวย 3 สวน คือ


62 สวนที่ 1 เปนแบบสอบถามเกี่ยวกับขอมูลทั่วไปของผูตอบแบบสอบถาม ไดแก ขอมูลเกี่ยวกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา กลุมตําแหนง สถานที่ ความถี่ ชวงเวลา วัตถุประสงค การเขาถึง และการสืบคนขอมูลบนเว็บไซตหองสมุด สวนที่ 2 เปนแบบสอบถามเกี่ยวกับการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของ บุคลากรกรมบัญชีกลาง เปนแบบสอบถามประเภทมาตรสวน แบงเปน 5 ระดับ โดยถาม ในดานการใชเว็บไซต ความตองการใชเว็บไซต ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซต หองสมุด สวนที่ 3 เปนแบบสอบถามแบบปลายเปด ใหแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยผูวิจัยไดกําหนดเกณฑการใหคะแนนดังนี้ (ประคอง กรรณสูต, 2542, หนา 73) 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง นอย 1 หมายถึง นอยที่สุด

การสรางเครื่องมือที่ใชในการวิจัย เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช เว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยมีขั้นตอนการสราง เครื่องมือ ดังนี้ 1. สํารวจจํานวนบุคลากรกรมบัญชีกลางที่ปฏิบัติงานในสวนกลาง 2. สรางแบบสอบถามเพื่อใชเปนเครื่องมือในการวิจัย เมื่อเรียบรอยแลวเสนอ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธและกรรมการ ตรวจสอบเนื้อหาของแบบสอบถามและ ความเหมาะสมของภาษาที่ใช ใหครอบคลุมการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง และนํามาปรับปรุงแกไขเนื้อหาแบบสอบถามใหเหมาะสม 3. ตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม โดยนําแบบสอบถาม ที่สรางขึ้นไปใหผูเชี่ยวชาญดานเนื้อหา จํานวน 3 คน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและ


63 ใหพิจารณาลงความเห็นวาขอคําถามแตละขอมีความเหมาะสมหรือไม รวมทั้งใหเสนอแนะ แนวทางในการปรับปรุงแบบสอบถาม จากนั้นนําผลการพิจารณาของผูเชี่ยวชาญไปหา คาดัชนีความสอดคลอง Index of Item Objective Congruence (IOC) แลวดําเนินการ ปรับปรุงแกไขขอบกพรองของแบบสอบถาม โดยตัดขอคําถามที่ไดคาดัชนีความสอดคลอง นอยกวา .5 ออก และปรับปรุงแกไขแบบสอบถามใหสมบูรณ 4. นําแบบสอบถามทีป่ รับปรุงแกไขแลวไปทําการทดสอบกับบุคลากรกรมบัญชีกลาง จํานวน 20 คน ที่มิไดถูกเลือกเปนกลุมตัวอยาง เพื่อทดสอบความนาเชื่อถือของแบบสอบถาม โดยไดคาความเชื่อมั่นสัมประสิทธิสหสัมพันธ (alpha coefficient) เทากับ .9717 5. หลังจากนั้นนําแบบสอบถามมาปรับปรุงเพื่อใหครอบคลุมเนื้อหาในแตละดาน ใหมากยิ่งขึ้น กอนนําไปใชเก็บขอมูลกับกลุมตัวอยางจํานวน 300 คน

การเก็บรวบรวมขอมูล การเก็บรวบรวมขอมูล ในการวิจัยครั้งนี้เก็บขอมูลดวยตนเอง โดยแจกแบบสอบถาม แกกลุมตัวอยางตามสัดสวนที่กําหนด ตามรายชื่อที่สุมตัวอยางไวแตเบื้องตน

การวิเคราะหขอมูลและสถิติที่ใชในการวิจัย การวิเคราะหขอมูลใชโปรแกรมสําเร็จรูปในการวิเคราะหขอมูล สําหรับสถิติที่ใช ในการวิจัยครั้งนี้คือ สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistic) ไดแก 1. คารอยละ (percentage) 2. คาเฉลี่ย (mean) คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การแปลความหมาย ของคาเฉลี่ย ใชเกณฑในการแปลความหมายตามชวงคะแนน ดังนี้ (ประคอง กรรณสูต, 2542, หนา 77)


64 4.50-5.00 หมายถึง ระดับมากที่สุด 3.50-4.49 หมายถึง ระดับมาก 2.50-3.49 หมายถึง ระดับปานกลาง 1.50-2.49 หมายถึง ระดับนอย 1.00-1.49 หมายถึง ระดับนอยที่สุด 3. สถิติภาคสรุปอางอิงใช t-test และ F-test โดยวิธี Oneway ANOVA ใน การทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยระหวางกลุม


บทที่ 4 การวิเคราะหผลการวิจัย การวิจัยเรื่อง การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช ศึกษาความตองการใช ศึกษาปญหาและอุปสรรค ในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง คือ ขาราชการ ระดับ 1-8 และพนักงานราชการที่ปฏิบัติงานในสวนกลาง โดยเก็บรวบรวมขอมูลจาก กลุมตัวอยาง 300 คน ในการเก็บรวบรวมขอมูล ผูวิจัยเก็บรวบรวมขอมูลดวยตนเอง โดย แจกแบบสอบถามใหกับกลุมตัวอยางตามสัดสวนที่กําหนด และไดรับแบบสอบถาม กลับคืนมาทั้งหมด 276 ชุด คิดเปนรอยละ 92 ผลการวิเคราะหขอมูล นําเสนอดวยตารางประกอบการบรรยาย โดยแบงเปน 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผูตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางตามเพศ อายุ ระดับ การศึกษา และกลุมตําแหนง ตอนที่ 4 ความตองการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ตอนที่ 5 ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง

ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผูตอบแบบสอบถาม ศึกษาสถานภาพทั่วไปของผูตอบแบบสอบถาม ประกอบดวย เพศ อายุ ระดับการศึกษา กลุมตําแหนง สถานที่เขาใชบริการอินเทอรเน็ตเพื่อใชเว็บไซตหองสมุด ความถี่ในการใช ชวงเวลาที่ใช วัตถุประสงคในการใช การเขาถึงเว็บไซต และการสืบคน ขอมูลบนเว็บไซต โดยมีตารางแสดงผลการวิเคราะหขอมูล ดังตอไปนี้


66 ตาราง 2 จํานวนและรอยละของบุคลากรจําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง ขอมูลสวนบุคคล เพศ ชาย หญิง รวม อายุ ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ป ขึ้นไป รวม การศึกษา ต่ํากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท รวม กลุมตําแหนง ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและการคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการคอมพิวเตอร ดานการบริหาร รวม

จํานวน (คน)

รอยละ

62 214 276

22.50 77.50 100.00

126 72 78 276

45.70 26.00 28.30 100.00

35 193 48 276

12.70 69.90 17.40 100.00

79 48 59 15 75

28.60 17.40 21.40 5.40 27.20 100.00

276

จากตาราง 2 ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญเปนเพศหญิง รอยละ 77.50 และ เพศชาย รอยละ 22.50 อายุสวนใหญอยูในชวงต่ํากวา 31 ป รอยละ 45.70 รองลงมา คือ ชวงอายุมากกวา 40 ป ขึน้ ไป รอยละ 28.30 และชวง 31-40 ป รอยละ 26.00 การศึกษา สวนใหญอยูในระดับปริญญาตรี รอยละ 69.90 รองลงมา คือ ปริญญาโท รอยละ 17.40 และต่ํากวาปริญญาตรี รอยละ 12.70 เมื่อจําแนกตามกลุมตําแหนง พบวา กลุมตําแหนง


67 ดานการเงินและบัญชี ตอบแบบสอบถาม รอยละ 28.60 รองลงมา คือ กลุมตําแหนง ดานบริหาร รอยละ 27.20 กลุมตําแหนงดานกฎหมาย รอยละ 21.40 กลุมตําแหนง ดานเศรษฐศาสตรและการคลัง รอยละ 17.40 และกลุมตําแหนงดานวิทยาการคอมพิวเตอร รอยละ 5.40 ตามลําดับ ตาราง 3 จํานวนและรอยละของสถานที่เขาใชบริการอินเทอรเน็ต เพื่อใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง สถานที่ ที่หองสมุดกรมบัญชีกลาง ที่อื่น ๆ ภายในกรมบัญชีกลาง ที่บาน ที่รานบริการอินเทอรเน็ต

จํานวน 134 205 30 14

รอยละ 48.60 74.30 10.90 5.10

หมายเหตุ ตอบไดมากกวา 1 ขอ จากตาราง 3 สถานที่ที่ผูตอบแบบสอบถามเขาใชบริการอินเทอรเน็ต เพื่อใช เว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางสวนใหญเปนที่อื่น ๆ ภายในกรมบัญชีกลาง รอยละ 74.30 รองลงมา คือ ที่หองสมุดกรมบัญชีกลาง รอยละ 48.60 ที่บาน รอยละ 10.90 และ ที่รานบริการอินเทอรเน็ต รอยละ 5.10 ตามลําดับ ตาราง 4 จํานวนและรอยละของความถี่ในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ความถี่ ทุกวัน 1-2 ครั้ง/สัปดาห 3-4 ครั้ง/สัปดาห มากกวา 4 ครั้ง/สัปดาห อื่น ๆ รวม

จํานวน 17 135 21 21 81 275

รอยละ 6.20 49.10 7.60 7.60 29.50 100.00


68 จากตาราง 4 ผูตอบแบบสอบถามมีความถี่ในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง มากที่สุด 1-2 ครั้ง/สัปดาห รอยละ 49.10 รองลงมา คือ อื่น ๆ รอยละ 29.50 (ความถี่อื่น ๆ ที่ผูตอบแบบสอบถามระบุ ไดแก นาน ๆ ครั้ง และ 1-2 ครั้ง/เดือน) 3-4 ครั้ง/สัปดาห และ มากกวา 4 ครั้ง/สัปดาห รอยละ 7.60 และทุกวัน รอยละ 6.20 ตามลําดับ ตาราง 5 จํานวนและรอยละของชวงเวลาที่ใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางบอยที่สุด ชวงเวลา 06.00-09.59 น. 10.00-13.59 น. 14.00-17.59 น. 18.00-21.59 น. รวม

จํานวน 40 174 52 8 274

รอยละ 14.60 63.50 19.00 2.90 100.00

จากตาราง 5 ชวงเวลาที่ผูตอบแบบสอบถามใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง สวนใหญอยูในชวง 10.00-13.59 น. รอยละ 63.50 รองลงมา คือ ชวง 14.00-17.59 น. รอยละ 19.00 ชวง 06.00-09.59 น. รอยละ 14.60 และชวง 18.00-21.59 น. รอยละ 2.90 ตามลําดับ ตาราง 6 จํานวนและรอยละของวัตถุประสงคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง วัตถุประสงค เพื่อประกอบการทํางาน เพื่อประกอบการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนความรู เพื่อติดตามขาวสารตาง ๆ เพื่อเชื่อมโยงไปสูแหลงสารสนเทศอื่น ๆ

หมายเหตุ ตอบไดมากกวา 1 ขอ

จํานวน 145 92 140 127 44

รอยละ 52.50 33.30 50.70 46.00 15.90


69 จากตาราง 6 วัตถุประสงคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางสวนใหญ เพื่อประกอบการทํางาน รอยละ 52.50 รองลงมา คือ เพื่อเพิ่มพูนความรู รอยละ 50.70 เพื่อติดตามขาวสารตาง ๆ รอยละ 46.00 เพื่อประกอบการศึกษา รอยละ 33.30 และ เพื่อเชื่อมโยงไปสูแหลงสารสนเทศอื่น ๆ รอยละ 15.90 ตามลําดับ ตาราง 7 จํานวนและรอยละของการเขาถึงเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง การเขาถึง โดยพิมพยูอารแอล (URL) ของหองสมุดโดยตรง โดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของกรมบัญชีกลาง โดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของหนวยงานอื่น ๆ โดยการสืบคนจาก Search Engine

จํานวน 64 238 10 24

รอยละ 23.20 86.20 3.60 8.70

หมายเหตุ ตอบไดมากกวา 1 ขอ จากตาราง 7 การเขาถึงเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของผูตอบแบบสอบถาม สวนใหญเขาถึงโดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของกรมบัญชีกลาง รอยละ 86.20 รองลงมา คือ โดยพิมพยูอารแอล (URL) ของหองสมุดโดยตรง รอยละ 23.20 โดยการสืบคนจาก Search Engine รอยละ 8.70 และโดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของหนวยงานอื่น ๆ รอยละ 3.60 ตามลําดับ ตาราง 8 จํานวนและรอยละของการสืบคนขอมูลบนเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง การสืบคนขอมูล สืบคนดวยตนเอง ใหเจาหนาที่หองสมุดสืบคนให ใหเพื่อนรวมงานสืบคนให ใหผูใตบังคับบัญชาสืบคนให

หมายเหตุ ตอบไดมากกวา 1 ขอ

จํานวน 242 79 52 5

รอยละ 87.70 28.60 18.80 1.80


70 จากตาราง 8 การสืบคนขอมูลบนเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางสวนใหญ สืบคนดวยตนเอง รอยละ 87.70 รองลงมา คือ ใหเจาหนาที่หองสมุดสืบคนให รอยละ 28.60 ใหเพื่อนรวมงานสืบคนให รอยละ 18.80 และใหผูใตบังคับบัญชาสืบคนให รอยละ 1.80 ตามลําดับ

ตอนที่ 2 การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ศึกษาการใชเว็บไซตหองสมุด ประกอบดวย การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด ไดแก ขอมูลทั่วไป คือ ประวัติหองสมุด ทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดหมวดหมู ทรัพยากรสารสนเทศ ขอมูลเกี่ยวกับบริการ คือ ระเบียบการใชบริการ และบริการของ หองสมุด และขาวประชาสัมพันธ กิจกรรมอื่น ๆ ของหองสมุด ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ องคความรู (สาระความรูตาง ๆ) Link ฐานขอมูลออนไลนที่เขาใช และ Link แหลงสารสนเทศที่เขาใช โดยมีตารางแสดงผลการวิเคราะหขอมูล ดังตอไปนี้ ตาราง 9 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด X

1. ขอมูลทั่วไป 2. ขอมูลเกี่ยวกับบริการ 3. ขาวประชาสัมพันธ รวม

2.97 3.05 3.22 3.08

การใช S.D. 1.01 0.97 0.94 0.97

แปลความ ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

จากตาราง 9 การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยรวม อยูในระดับปานกลาง ( X = 3.08) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีระดับเดียว คือ ระดับ ปานกลาง โดยคาเฉลี่ยการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดที่มากที่สุด คือ ขาวประชาสัมพันธ ( X = 3.22) รองลงมา ไดแก ขอมูลเกี่ยวกับบริการ ( X = 3.05) และขอมูลทั่วไป ( X = 2.97)


71 ตาราง 10 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอืน่ ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง กิจกรรมอื่น ๆ X

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

แนะนําหนังสือใหม แนะนําซีดรี อมใหม วารสารที่มีในหองสมุด กฎหมายและระเบียบทีน่ า สนใจ นําชมหองสมุด สรุปขาวประจําวัน กระดานขาว สมุดเยี่ยม สถิติที่นาสนใจ รวม

3.86 3.01 3.30 3.28 2.82 3.45 2.10 1.95 2.73 2.94

การใช S.D. 0.81 1.00 0.91 0.94 0.98 1.00 0.71 0.71 0.97 0.89

แปลความ มาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง นอย นอย ปานกลาง ปานกลาง

จากตาราง 10 การใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยรวมอยูใน ระดับปานกลาง ( X = 2.94) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 3 ระดับ คือ มาก 1 รายการ ปานกลาง 6 รายการ และนอย 2 รายการ โดยคาเฉลี่ยการใชกิจกรรมที่มากที่สุด คือ แนะนําหนังสือใหม ( X = 3.86) รองลงมาในระดับปานกลาง ไดแก สรุปขาวประจําวัน วารสารที่มีในหองสมุด กฎหมายและระเบียบที่นาสนใจ แนะนําซีดีรอมใหม นําชม หองสมุด และสถิติที่นาสนใจ สวนการใชกิจกรรมในระดับนอย ไดแก กระดานขาว ( X = 2.10) และสมุดเยี่ยม ( X = 1.95)


72 ตาราง 11 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลาง ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ X

1. 2. 3. 4. 5. 6.

ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมหนังสือ ฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมซีดรี อมและเทปคาสเซ็ต ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง ฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของขาราชการกรมบัญชีกลาง รวม

4.07 3.08 2.99 3.21 3.29 3.24 3.31

การใช S.D. 0.86 0.96 0.95 0.98 0.96 1.00 0.95

แปลความ มาก ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

จากตาราง 11 การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยรวมอยูใ นระดับปานกลาง ( X = 3.31) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 2 ระดับ คือ มาก 1 รายการ และปานกลาง 5 รายการ โดยคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศที่มากที่สุด คือ ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมหนังสือ ( X = 4.07) รองลงมาในระดับปานกลาง ไดแก ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง ฐานขอมูล ผลงานทางวิชาการของขาราชการกรมบัญชีกลาง ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) ฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร และฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมซีดีรอมและเทปคาสเซ็ต


73 ตาราง 12 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลาง

3.17

การใช S.D. แปลความ 1.00 ปานกลาง

3.93 3.16

0.74 0.94

มาก ปานกลาง

3.20 3.13 3.32

0.98 0.98 0.93

ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

องคความรู (สาระความรูตาง ๆ) X

1. ความรูเกี่ยวกับการบัญชี 2. ความรูเ กี่ยวกับการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐ สูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) 3. ความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจการคลังจังหวัด (CFO) 4. ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) 5. ความรูเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย รวม

จากตาราง 12 การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยรวมอยูใ นระดับปานกลาง ( X = 3.32) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 2 ระดับ คือ มาก 1 รายการ และปานกลาง 4 รายการ โดยคาเฉลี่ยการใชองคความรูที่มากที่สุด คือ ความรูเกี่ยวกับการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) ( X = 3.93) รองลงมาในระดับปานกลาง ไดแก ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) ความรูเกี่ยวกับการบัญชี ความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจ การคลังจังหวัด (CFO) และความรูเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย


74 ตาราง 13 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลาง Link ฐานขอมูลออนไลน X

1. 2. 3. 4.

ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย ฐานขอมูลงานวิจยั ไทย ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) รวม

2.88 2.87 2.83 2.90 2.87

การใช S.D. 1.04 1.02 0.99 1.00 1.01

แปลความ ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

จากตาราง 13 การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยรวมอยูในระดับปานกลาง ( X = 2.87) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา อยูใน ระดับปานกลางทั้งหมด โดยคาเฉลี่ยการใช Link ฐานขอมูลออนไลนที่มากที่สุด คือ ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) ( X = 2.90) รองลงมา ไดแก ฐานขอมูล วิทยานิพนธไทย ( X = 2.88) ฐานขอมูลงานวิจัยไทย ( X = 2.87) และฐานขอมูลชี้แหลง วารสารไทย (journal link) ( X = 2.83) ตาราง 14 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง Link แหลงสารสนเทศ X

1. 2. 3. 4. 5. 6.

หนวยงานราชการ หองสมุดในประเทศไทย หองสมุดในตางประเทศ รานหนังสือหรือสํานักพิมพ ธนาคาร สถานีโทรทัศน

3.94 3.02 1.98 2.78 2.59 2.99

การใช S.D. 0.76 0.98 0.74 1.00 1.02 1.09

แปลความ มาก ปานกลาง นอย ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง


75 ตาราง 14 (ตอ) Link แหลงสารสนเทศ X

7. หนังสือพิมพ 8. Search Engine รวม

3.97 3.18 3.06

การใช S.D. 0.87 1.20 0.96

แปลความ มาก ปานกลาง ปานกลาง

จากตาราง 14 การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยรวม อยูในระดับปานกลาง ( X = 3.06) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 3 ระดับ คือ มาก 2 รายการ ปานกลาง 5 รายการ และนอย 1 รายการ โดยคาเฉลี่ยการใช Link แหลง สารสนเทศที่มากที่สุด คือ หนังสือพิมพ ( X = 3.97) รองลงมา ไดแก หนวยงานราชการ Search Engine หองสมุดในประเทศไทย สถานีโทรทัศน รานหนังสือหรือสํานักพิมพ และ ธนาคาร สวนการใชที่นอยที่สุด คือ หองสมุดในตางประเทศ ( X = 1.98)

ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง ศึกษาเปรียบเทียบการใชเว็บไซตหองสมุดตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และ กลุมตําแหนง ประกอบดวย การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด ไดแก ขอมูลทั่วไป คือ ประวัติ หองสมุด ทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดหมวดหมูทรัพยากรสารสนเทศ ขอมูลเกี่ยวกับ บริการ คือ ระเบียบการใชบริการ และบริการของหองสมุด และขาวประชาสัมพันธ กิจกรรมอื่น ๆ ของหองสมุด ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ องคความรู (สาระความรู ตาง ๆ) Link ฐานขอมูลออนไลนที่เขาใช และ Link แหลงสารสนเทศที่เขาใช โดยมี ตารางแสดงผลการวิเคราะหขอมูล ดังตอไปนี้


76 ตาราง 15 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามเพศ เพศ ขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด

ชาย S.D. 1.01 0.99 1.03 1.01

X

1. ขอมูลทั่วไป 2. ขอมูลเกี่ยวกับบริการ 3. ขาวประชาสัมพันธ รวม

หญิง

3.19 3.11 3.33 3.21

S.D. 1.00 0.97 0.91 0.96

X

2.90 3.04 3.19 3.04

t

sig

2.02 0.54 0.99 1.18

0.37 0.42 0.20 0.33

จากตาราง 15 เมื่อพิจารณาการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทั้งสองเพศโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา เพศชายมี คาเฉลี่ยการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดสูงกวาเพศหญิงทุกขอ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด โดยรวมและ รายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 2 กลุม มีการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดไมแตกตางกัน ตาราง 16 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอืน่ ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศ เพศ กิจกรรมอื่น ๆ

ชาย X

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

แนะนําหนังสือใหม แนะนําซีดีรอมใหม วารสารที่มีในหองสมุด กฎหมายและระเบียบที่นาสนใจ นําชมหองสมุด สรุปขาวประจําวัน กระดานขาว สมุดเยี่ยม

3.89 3.15 3.38 3.48 2.90 3.50 2.13 2.03

หญิง S.D. 0.91 1.04 1.05 0.99 1.02 0.95 0.78 0.77

X

3.85 2.98 3.28 3.22 2.80 3.43 2.09 1.93

S.D. 0.79 0.99 0.86 0.92 0.97 1.01 0.70 0.69

t

sig

0.35 1.17 0.86 0.92 0.97 1.01 0.70 0.69

0.07 0.23 0.05 0.34 0.49 0.65 0.13 0.45


77 ตาราง 16 (ตอ) เพศ กิจกรรมอื่น ๆ

ชาย S.D. 1.03 0.95

X

9. สถิติที่นาสนใจ รวม

หญิง

2.89 3.04

X

2.68 2.92

S.D. 0.96 0.88

t

sig

1.46 0.92

0.64 0.34

จากตาราง 16 เมื่อพิจารณาการใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทั้งสองเพศโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา เพศชายมีคาเฉลี่ย การใชกิจกรรมอื่น ๆ สูงกวาเพศหญิงทุกขอ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชกิจกรรมอื่น ๆ โดยรวมและรายขอของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 2 กลุม มีการใชกิจกรรมอืน่ ๆ ไมแตกตางกัน ตาราง 17 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามเพศ เพศ ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ

ชาย

t

sig

0.12 1.25

0.14 0.19

4.08 3.21

S.D. 0.98 1.01

4.07 3.04

S.D. 0.83 0.94

3.05

0.91

2.97

0.96

0.59

0.78

3.36 3.35

1.02 1.06

3.16 3.27

0.97 0.94

1.39 0.60

0.46 0.14

3.28 3.39

1.07 1.01

3.23 3.29

0.98 0.94

0.34 0.72

0.36 0.35

X

1. ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมหนังสือ 2. ฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร 3. ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมซีดีรอม และเทปคาสเซ็ต 4. ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับ กฤษฎีกา (ฉบับ ก) 5. ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง 6. ฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของขาราชการ กรมบัญชีกลาง รวม

หญิง X


78 จากตาราง 17 เมื่อพิจารณาการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทั้งสองเพศโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา เพศชายมีคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศสูงกวาเพศหญิงทุกขอ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ โดยรวมและรายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศไมพบความแตกตางกันอยางมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทัง้ 2 กลุม มีการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศไมแตกตางกัน ตาราง 18 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามเพศ เพศ องคความรู (สาระความรูตาง ๆ)

ชาย

t

sig

-0.22

0.20

3.15

S.D. 0.92

3.18

S.D. 1.02

3.97

0.72

3.92

0.75

0.49

0.41

3.16

0.89

3.15

0.95

0.05

0.47

3.32 3.24 3.37

1.07 0.95 0.91

3.16 3.09 3.30

0.96 0.98 0.93

1.16 0.76 0.45

0.17 0.76 0.40

X

1. ความรูเกี่ยวกับการบัญชี 2. ความรูเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน การคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) 3. ความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจการคลัง จังหวัด (CFO) 4. ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) 5. ความรูเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย รวม

หญิง X

จากตาราง 18 เมื่อพิจารณาการใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทั้งสองเพศโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา เพศชายมีคาเฉลี่ยการใชองคความรูสูงกวาเพศหญิงทุกขอ ยกเวนคาเฉลี่ยของ การใชองคความรูเกี่ยวกับการบัญชีเพศหญิงมีคาเฉลี่ยสูงกวาเพศชาย


79 เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชองคความรู โดยรวมและรายขอของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 2 กลุม มีการใชองคความรูไมแตกตางกัน ตาราง 19 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามเพศ เพศ Link ฐานขอมูลออนไลน

ชาย X

1. 2. 3. 4.

ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย ฐานขอมูลงานวิจัยไทย ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) รวม

3.08 3.03 3.05 3.11 3.07

หญิง S.D. 1.08 1.01 1.05 1.01 1.04

X

2.83 2.82 2.77 2.84 2.82

S.D. 1.03 1.02 0.96 0.99 1.00

t

sig

1.69 1.47 1.96 1.93 1.76

0.95 0.50 0.82 0.83 0.78

จากตาราง 19 เมื่อพิจารณาการใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทั้งสองเพศโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา เพศชายมีคาเฉลี่ยการใช Link ฐานขอมูลออนไลนสูงกวาเพศหญิงทุกขอ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใช Link ฐานขอมูลออนไลน โดยรวม และรายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 2 กลุม มีการใช Link ฐานขอมูลออนไลน ไมแตกตางกัน


80 ตาราง 20 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามเพศ เพศ Link แหลงสารสนเทศ

ชาย X

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

หนวยงานราชการ หองสมุดในประเทศไทย หองสมุดในตางประเทศ รานหนังสือหรือสํานักพิมพ ธนาคาร สถานีโทรทัศน หนังสือพิมพ Search Engine รวม

3.92 3.16 2.13 2.97 2.68 3.00 4.05 3.19 3.14

หญิง S.D. 0.75 0.98 0.76 1.07 0.99 1.16 0.91 1.28 0.99

X

3.95 2.98 1.94 2.72 2.57 2.99 3.95 3.17 3.03

S.D. 0.76 0.98 0.73 0.98 1.04 1.07 0.86 1.18 0.95

t

sig

-0.27 1.31 1.78 1.69 0.76 0.06 0.80 0.12 0.78

0.57 0.99 0.40 0.96 0.36 0.23 0.21 0.38 0.51

จากตาราง 20 เมื่อพิจารณาการใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทั้งสองเพศโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา เพศชายมี คาเฉลี่ยการใช Link แหลงสารสนเทศสูงกวาเพศหญิงทุกขอ ยกเวน การใช Link แหลงสารสนเทศเกี่ยวกับหนวยงานราชการที่เพศหญิงมีคาเฉลี่ยสูงกวาเพศชาย เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใช Link แหลงสารสนเทศ โดยรวมและ รายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 2 กลุม มีการใช Link แหลงสารสนเทศไมแตกตางกัน


81 ตาราง 21 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามอายุ อายุ ขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด

ต่ํากวา 31 ป X

1. ขอมูลทั่วไป 2. ขอมูลเกี่ยวกับบริการ 3. ขาวประชาสัมพันธ รวม

3.09 3.19 3.18 3.15

S.D. 0.96 0.93 0.86 0.92

31-40 ป X

2.90 3.03 3.39 3.11

S.D. 0.94 1.01 0.90 0.95

มากกวา 40 ป ขึ้นไป S.D. X 2.83 1.13 2.86 0.98 3.13 1.07 2.94 1.06

F

sig

1.75 2.88 1.69 2.10

0.17 0.05 0.18 0.13

จากตาราง 21 เมื่อพิจารณาการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกชวงอายุโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ชวงอายุ ต่ํากวา 31 ป มีการใชขอมูลทั่วไป และขอมูลเกี่ยวกับบริการสูงที่สุด รองลงมา คือ ชวงอายุ 31-40 ป สวนชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป มีการใชขอมูลทั่วไป และขอมูลเกี่ยวกับ บริการนอยที่สุด สวนขอมูลขาวประชาสัมพันธ พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีการใชสูงที่สุด รองลงมา คือ ชวงอายุต่ํากวา 31 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด โดยรวมและ รายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดไมแตกตางกัน


82 ตาราง 22 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอืน่ ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ อายุ กิจกรรมอื่น ๆ

ต่ํากวา 31 ป X

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

แนะนําหนังสือใหม แนะนําซีดีรอมใหม วารสารที่มีในหองสมุด กฎหมายและระเบียบที่นาสนใจ นําชมหองสมุด สรุปขาวประจําวัน กระดานขาว สมุดเยี่ยม สถิติที่นาสนใจ รวม

3.80 3.09 3.30 3.27 2.85 3.46 2.13 2.05 2.88 2.98

S.D. 0.85 0.93 0.81 0.87 0.96 0.92 0.64 0.66 0.92 0.84

31-40 ป X

4.07 3.21 3.50 3.40 2.90 3.62 2.10 1.93 2.74 3.05

S.D. 0.76 1.10 0.90 0.94 0.98 1.00 0.72 0.76 1.03 0.91

มากกวา 40 ป ขึ้นไป S.D. X 3.74 0.78 2.72 0.95 3.13 1.02 3.19 1.05 2.71 1.02 3.27 1.09 2.05 0.82 1.81 0.74 2.47 0.96 2.79 0.94

F

sig

3.56* 5.29* 3.19* 0.95 0.84 2.43 0.26 2.80 4.30* 2.62

0.03 0.00 0.04 0.38 0.43 0.09 0.76 0.06 0.01 0.20

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 22 เมื่อพิจารณาการใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกชวงอายุโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชขอมูลเกี่ยวกับกิจกรรมอื่น ๆ สูงทีส่ ุด ยกเวน ขอมูลเกี่ยวกับกระดานขาว สมุดเยี่ยม และสถิติที่นาสนใจ รองลงมา คือ ชวงอายุต่ํากวา 31 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชกิจกรรมอื่น ๆ โดยรวมของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามอายุไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใชกิจกรรมอื่น ๆ ไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เมื่อ พิจารณาเปนรายขอ พบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช กิจกรรมแนะนําหนังสือใหม แนะนําซีดีรอมใหม วารสารที่มีในหองสมุด และสถิติ ที่นาสนใจ จึงทําการทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD


83 ตาราง 23 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ X

แนะนําหนังสือใหม ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป แนะนําซีดีรอมใหม ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป วารสารที่มีในหองสมุด ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป สถิติที่นาสนใจ ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป

3.80 4.07 3.74 3.09 3.21 2.72 3.30 3.50 3.13 2.88 2.74 2.47

ต่ํากวา 31 ป

31-40 ป

มากกวา 40 ป ขึ้นไป

* *

* *

*

*

จากตาราง 23 เปรียบเทียบการใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง เปนรายคู พบวา กิจกรรมแนะนําหนังสือใหม บุคลากรชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใช สูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุ 31-40 ป และชวงอายุ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป กิจกรรมแนะนําซีดีรอมใหม พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 41 ป ขึ้นไป กิจกรรมวารสารที่มีในหองสมุด พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุ 31-40 ป มีการใชแตกตางจาก ชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป และกิจกรรมสถิติที่นาสนใจ พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด และมีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึน้ ไป


84 ตาราง 24 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามอายุ อายุ ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ 1. ฐานขอมูลรายการทาง บรรณานุกรมหนังสือ 2. ฐานขอมูลวารสารและ ดรรชนีวารสาร 3. ฐานขอมูลรายการทาง บรรณานุกรมซีดีรอมและ เทปคาสเซ็ต 4. ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) 5. ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบ การคลัง 6. ฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของ ขาราชการกรมบัญชีกลาง รวม

X

S.D.

X

มากกวา 40 ป ขึ้นไป S.D. X S.D.

4.10

0.87

4.18

0.86

3.91

0.84

2.04

0.13

3.17

0.86

3.26

0.98

2.76

1.01

6.57*

0.00

3.08

0.91

3.14

0.97

2.69

0.93

5.49*

0.00

3.30

0.93

3.40

0.99

2.88

0.98

6.41*

0.00

3.36

0.88

3.43

0.96

3.05

1.06

3.53*

0.03

3.29 3.38

0.88 0.88

3.46 3.47

1.05 0.96

2.95 3.04

1.09 0.98

5.34* 4.89*

0.00 0.02

ต่ํากวา 31 ป

31-40 ป

F

sig

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 24 เมื่อพิจารณาการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทุกชวงอายุโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศสูงที่สุด รองลงมา คือ ชวงอายุต่ํากวา 31 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ โดยรวมและรายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุพบความแตกตางกันอยางมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทัง้ 3 กลุม มีการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศแตกตางกัน จึงทําการทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD


85 ตาราง 25 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามอายุ X

ฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรม ซีดีรอมและเทปคาสเซ็ต ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของ ขาราชการกรมบัญชีกลาง ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป

ต่ํากวา 31 ป

31-40 ป

มากกวา 40 ป ขึ้นไป

3.17 3.26 2.76

* *

3.80 3.26 2.76

* *

3.30 3.40 2.88

* *

3.36 3.43 3.05

* *

3.29 3.46 2.95

* *

จากตาราง 25 เปรียบเทียบการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลางเปนรายคู พบวา ฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร บุคลากรชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตาง


86 จากชวงอายุมากกวา40 ป ขึ้นไป ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมซีดีรอมและเทปคาสเซ็ต พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป และฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของขาราชการกรมบัญชีกลาง พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจาก ชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป ตาราง 26 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามอายุ อายุ องคความรู (สาระความรูตาง ๆ)

3.17

S.D. 0.91

3.51

มากกวา 40 ป ขึ้นไป S.D. X S.D. 0.98 2.86 1.07

3.93

0.72

4.11

0.74

3.76

0.74

4.40*

0.01

3.13

0.84

3.46

0.98

2.92

0.99

6.44*

0.00

3.22

0.88

3.44

1.05

2.92

1.02

5.53*

0.00

3.15 3.32

0.92 0.85

3.25 3.55

1.07 0.96

2.97 3.08

0.97 0.95

1.56 5.27*

0.21 0.04

ต่ํากวา 31 ป X

1. ความรูเกี่ยวกับการบัญชี 2. ความรูเกี่ยวกับการบริหารงาน การเงินการคลังภาครัฐสูระบบ อิเล็กทรอนิกส (GFMIS) 3. ความรูเกี่ยวกับนักบริหาร เศรษฐกิจการคลังจังหวัด (CFO) 4. ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจาง ภาครัฐ (government procurement) 5. ความรูเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย รวม

*นัยสําคัญ .05

31-40 ป X

F

sig

8.46*

0.00


87 จากตาราง 26 เมื่อพิจารณาการใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทุกชวงอายุโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ชวงอายุ 31-41 ป มีคาเฉลี่ยการใชองคความรูสูงที่สุด รองลงมา คือ ชวงอายุต่ํากวา 31 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชองคความรู โดยรวมและรายขอของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใชองคความรูแตกตางกัน จึงทําการทดสอบความแตกตาง ของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD ตาราง 27 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามอายุ X

ความรูเกี่ยวกับการบัญชี ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ความรูเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน การคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจ การคลังจังหวัด (CFO) ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป

3.17 3.51 2.86

ต่ํากวา 31 ป

31-40 ป *

3.93 4.11 3.76

3.13 3.46 2.92

มากกวา 40 ป ขึ้นไป * *

*

* *


88 ตาราง 27 (ตอ) X

ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป

3.22 3.44 2.92

ต่ํากวา 31 ป

31-40 ป

มากกวา 40 ป ขึ้นไป

* *

จากตาราง 27 เปรียบเทียบการใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลางเปนรายคู พบวา การใชความรูเกี่ยวกับการบัญชี บุคลากรชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุ 31-40 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป สวนชวงอายุ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป ความรูเกี่ยวกับการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุ 31-40 ป มีการใช แตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป ความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจการคลัง จังหวัด (CFO) พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุ 31-40 ป สวนชวงอายุ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุ มากกวา 40 ป ขึ้นไป และความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) พบวา ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป


89 ตาราง 28 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามอายุ อายุ Link ฐานขอมูลออนไลน

ต่ํากวา 31 ป

มากกวา 40 ป ขึ้นไป S.D. X 2.49 1.09 2.55 1.08

F

sig

9.21* 5.49*

0.00 0.00

3.11 3.02

S.D. 0.96 0.95

2.92 2.94

S.D. 1.02 0.99

3.04

0.90

2.81

1.03

2.53

1.02

6.84*

0.00

3.06 3.05

0.94 0.93

2.90 2.89

1.05 1.02

2.64 2.55

0.99 1.04

4.26* 6.45*

0.01 0.00

X

1. ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย 2. ฐานขอมูลงานวิจัยไทย 3. ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) 4. ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) รวม

31-40 ป X

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 28 เมื่อพิจารณาการใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกชวงอายุโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ชวงอายุ ต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใช Link ฐานขอมูลออนไลนสูงที่สุด รองลงมา คือ ชวงอายุ 31-40 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใช Link ฐานขอมูลออนไลน โดยรวมและ รายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใช Link ฐานขอมูลออนไลนแตกตางกัน จึงทําการทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD


90 ตาราง 29 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามอายุ X

ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ฐานขอมูลงานวิจัยไทย ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป

ต่ํากวา 31 ป

31-40 ป

มากกวา 40 ป ขึ้นไป

3.11 2.92 2.49

* *

3.02 2.94 2.55

* *

3.04 2.81 2.53

*

3.06 2.90 2.64

*

จากตาราง 29 เปรียบเทียบการใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลางเปนรายคู พบวา ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย บุคลากรชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจาก ชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป ฐานขอมูลงานวิจัยไทย พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ย การใชสูงที่สดุ โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป และฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป


91 ตาราง 30 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามอายุ อายุ Link แหลงสารสนเทศ

ต่ํากวา 31 ป X

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

หนวยงานราชการ หองสมุดในประเทศไทย หองสมุดในตางประเทศ รานหนังสือหรือสํานักพิมพ ธนาคาร สถานีโทรทัศน หนังสือพิมพ Search Engine รวม

4.09 3.31 2.11 2.92 2.85 3.02 4.02 3.33 3.20

S.D. 0.70 0.91 0.71 0.97 0.97 1.02 0.81 1.18 0.90

31-40 ป X

3.97 2.92 1.94 2.81 2.44 3.03 3.94 3.10 3.01

S.D. 0.73 0.93 0.79 1.00 1.03 1.07 0.95 1.28 0.97

มากกวา 40 ป ขึ้นไป S.D. X 3.68 0.80 2.64 1.01 1.81 0.72 2.53 1.02 2.31 1.01 2.91 1.21 3.91 0.89 3.01 1.16 2.85 0.97

F

sig

7.42* 2.68* 4.26* 3.86* 8.11* 0.31 0.45 1.85 4.86

0.00 0.00 0.01 0.02 0.00 0.73 0.63 0.15 0.19

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 30 เมื่อพิจารณาการใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกชวงอายุโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ชวงอายุ ต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใช Link แหลงสารสนเทศสูงที่สุด ยกเวน การใช Link แหลงสารสนเทศเกี่ยวกับสถานีโทรทัศนที่ชวงอายุ 31-40 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด รองลงมา คือ ชวงอายุ 31-40 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใช Link แหลงสารสนเทศ โดยรวมของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใช Link แหลงสารสนเทศไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช Link แหลงสารสนเทศเกี่ยวกับหนวยงานราชการ หองสมุดในประเทศไทย หองสมุดใน ตางประเทศ รานหนังสือหรือสํานักพิมพ และธนาคาร จึงทําการทดสอบความแตกตาง ของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD


92 ตาราง 31 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามอายุ X

หนวยงานราชการ ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป หองสมุดในประเทศไทย ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป หองสมุดในตางประเทศ ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป รานหนังสือหรือสํานักพิมพ ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป ธนาคาร ต่ํากวา 31 ป 31-40 ป มากกวา 40 ขึ้นไป

ต่ํากวา 31 ป

31-40 ป

* *

4.09 3.97 3.68 3.31 2.92 2.64

มากกวา 40 ป ขึ้นไป

*

*

2.11 1.94 1.81

*

2.92 2.81 2.53

*

2.85 2.44 2.31

*

*

จากตาราง 31 เปรียบเทียบการใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง เปนรายคู พบวา หนวยงานราชการ บุคลากรชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป และ 31-40 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป หองสมุดในประเทศไทย พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สดุ โดยชวงอายุ ต่ํากวา 31 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุ 31-40 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป หองสมุดใน ตางประเทศ พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป


93 มีการใชแตกตางจากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป รานหนังสือหรือสํานักพิมพ พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีการใชแตกตาง จากชวงอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป และธนาคาร พบวา ชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีคาเฉลี่ยการใช สูงที่สุด โดยชวงอายุต่ํากวา 31 ป มีการใชแตกตางจากชวงอายุ 31-40 ป และมากกวา 40 ป ขึ้นไป ตาราง 32 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามระดับการศึกษา ขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด 1. ขอมูลทั่วไป 2. ขอมูลเกี่ยวกับบริการ 3. ขาวประชาสัมพันธ รวม

ระดับการศึกษา ต่ํากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี S.D. S.D. X X 0.98 2.98 1.00 3.09 0.96 3.04 0.94 3.20 1.08 3.25 0.94 3.31 3.20 1.01 3.09 0.96

ปริญญาโท S.D. X 2.83 1.07 3.02 1.10 3.06 0.84 2.97 1.00

F

sig

0.69 0.45 0.92 0.69

0.50 0.64 0.40 0.51

จากตาราง 32 เมื่อพิจารณาการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกระดับโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ระดับ การศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดสูงที่สุด รองลงมา คือ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ย การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด โดยรวมและ รายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษาไมพบความแตกตางกันอยางมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใชขอมูลเกี่ยวกับ หองสมุดไมแตกตางกัน


94 ตาราง 33 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอืน่ ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามระดับการศึกษา กิจกรรมอื่น ๆ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

แนะนําหนังสือใหม แนะนําซีดีรอมใหม วารสารที่มีในหองสมุด กฎหมายและระเบียบที่นาสนใจ นําชมหองสมุด สรุปขาวประจําวัน กระดานขาว สมุดเยี่ยม สถิติที่นาสนใจ รวม

ระดับการศึกษา ต่ํากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี S.D. S.D. X X 3.80 0.84 0.66 4.09 2.97 0.99 1.00 3.23 3.30 0.91 1.00 3.34 3.31 0.94 1.04 3.17 2.83 0.99 0.87 2.94 3.45 0.99 0.95 3.46 2.13 0.70 0.77 2.00 1.96 0.71 0.73 2.00 2.70 0.97 0.87 2.94 3.02 0.88 2.94 0.89

ปริญญาโท S.D. X 3.90 0.81 3.04 1.03 3.29 0.85 3.27 0.87 2.69 1.06 3.44 1.05 2.02 0.73 1.85 0.71 2.67 1.06 2.91 0.91

F

sig

1.87 1.02 0.04 0.30 0.73 0.01 0.86 0.56 1.00 0.71

0.16 0.36 0.96 0.74 0.49 1.00 0.42 0.57 0.37 0.56

จากตาราง 33 เมื่อพิจารณาการใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกระดับโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ระดับการศึกษา ต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยการใชกจิ กรรมอื่น ๆ สูงที่สุด รองลงมา คือ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชกิจกรรมอื่น ๆ โดยรวมและรายขอ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษาไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใชกิจกรรมอื่น ๆ ไมแตกตางกัน


95 ตาราง 34 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ 1. ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรม หนังสือ 2. ฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร 3. ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรม ซีดีรอมและเทปคาสเซ็ต 4. ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) 5. ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง 6. ฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของ ขาราชการกรมบัญชีกลาง รวม

ระดับการศึกษา ต่ํากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี S.D. X S.D. X

ปริญญาโท X S.D.

F

sig

4.17 3.31

0.71 0.83

4.02 0.88 4.19 0.89 3.02 0.96 3.12 1.02

1.01 0.37 1.48 0.23

3.11

0.83

2.96 0.98 3.00 0.88

0.41 0.67

3.29 3.40

0.93 0.91

3.20 1.01 3.19 0.89 3.28 0.99 3.23 0.88

0.13 0.88 0.33 0.72

3.46 3.46

0.82 0.84

3.16 1.03 3.40 0.97 3.27 0.98 3.36 0.92

2.08 0.13 0.91 0.50

จากตาราง 34 เมื่อพิจารณาการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทุกระดับโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ระดับการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศสูงที่สุด รองลงมา คือ ระดับปริญญาโท และปริญญาตรี ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ โดยรวมและรายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษาไมพบความแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใชฐานขอมูล ทรัพยากรสารสนเทศไมแตกตางกัน


96 ตาราง 35 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา องคความรู (สาระความรูตาง ๆ) 1. ความรูเกี่ยวกับการบัญชี 2. ความรูเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน การคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) 3. ความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจ การคลังจังหวัด (CFO) 4. ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจาง ภาครัฐ (government procurement) 5. ความรูเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากร มนุษย รวม

ระดับการศึกษา ต่ํากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท F S.D. S.D. X S.D. X X 0.99 3.15 0.96 3.23 1.17 0.14 3.20

0.87

sig

4.00

0.77

3.92 0.75 3.92 0.68 0.19

0.83

3.23

0.91

3.12 0.96 3.25 0.86 0.49

0.61

3.11

0.72

3.20 1.01 3.23 1.04 0.15

0.86

3.23 3.35

0.97 0.87

3.06 0.96 3.33 1.04 1.76 3.29 0.93 3.39 0.96 0.55

0.17 0.67

จากตาราง 35 เมื่อพิจารณาการใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทุกระดับโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ระดับการศึกษาปริญญาโท มีคาเฉลี่ยการใชองคความรูสูงที่สุด รองลงมา คือ ระดับต่ํากวา ปริญญาตรี และปริญญาตรี ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชองคความรู โดยรวมและรายขอของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษาไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใชองคความรูไมแตกตางกัน


97 ตาราง 36 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา Link ฐานขอมูลออนไลน 1. ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย 2. ฐานขอมูลงานวิจัยไทย 3. ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) 4. ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) รวม

ระดับการศึกษา ต่ํากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี S.D. S.D. X X 0.92 2.82 1.05 2.97 0.71 2.79 1.05 3.03

F

sig

ปริญญาโท S.D. X 3.06 1.08 3.04 1.05

1.15 0.32 1.67 0.19

3.17

0.75

2.79

1.02

2.77

0.99

2.38 0.10

3.17 3.09

0.71 0.77

2.87 2.82

1.03 1.04

2.81 2.92

1.02 1.04

1.57 0.21 1.69 0.21

จากตาราง 36 เมื่อพิจารณาการใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทุกระดับโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ระดับการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลีย่ การใช Link ฐานขอมูลออนไลนสูงทีส่ ุด รองลงมา คือ ระดับปริญญาโท และปริญญาตรี ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใช Link ฐานขอมูลออนไลน โดยรวม และรายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษาไมพบความแตกตางกันอยางมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใช Link ฐานขอมูลออนไลน ไมแตกตางกัน


98 ตาราง 37 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา Link แหลงสารสนเทศ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

หนวยงานราชการ หองสมุดในประเทศไทย หองสมุดในตางประเทศ รานหนังสือหรือสํานักพิมพ ธนาคาร สถานีโทรทัศน หนังสือพิมพ Search Engine รวม

ต่ํากวาปริญญาตรี S.D. X 0.77 4.00 1.01 3.17 0.72 1.89 1.03 3.06 1.00 3.06 0.98 3.40 0.80 4.20 1.07 3.43 3.28 0.92

ระดับการศึกษา ปริญญาตรี S.D. X 3.92 0.74 3.02 0.99 2.01 0.72 2.70 1.02 2.52 1.01 2.98 1.10 3.95 0.85 3.12 1.21 3.03 0.96

F sig ปริญญาโท S.D. X 4.00 0.83 0.35 0.71 2.92 0.94 0.68 0.51 1.96 0.85 0.41 0.66 2.88 0.87 2.12 0.12 2.54 1.03 4.26* 0.02 2.73 1.05 3.94* 0.02 3.90 0.99 1.47 0.23 3.21 1.25 0.97 0.38 3.02 0.98 1.78 0.33

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 37 เมื่อพิจารณาการใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกระดับโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา ระดับการศึกษา ต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด รองลงมา คือ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใช Link แหลงสารสนเทศ โดยรวมของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษาไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 3 กลุม มีการใช Link แหลงสารสนเทศไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช Link แหลงสารสนเทศเกี่ยวกับธนาคาร และสถานีโทรทัศน จึงทําการทดสอบ ความแตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD


99 ตาราง 38 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามระดับการศึกษา ปริญญาตรี

ปริญญาโท

3.06 2.52 2.54

*

*

3.40 2.98 2.73

*

*

ต่ํากวาปริญญาตรี

X

ธนาคาร ต่ํากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท สถานีโทรทัศน ต่ํากวาปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท

จากตาราง 38 เปรียบเทียบการใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง เปนรายคู พบวา ธนาคาร บุคลากรระดับการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ยการใช สูงที่สุด โดยระดับการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีการใชแตกตางจากระดับปริญญาตรี และปริญญาโท และสถานีโทรทัศน พบวา ระดับการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีคาเฉลี่ย การใชสูงที่สุด โดยระดับการศึกษาต่ํากวาปริญญาตรี มีการใชแตกตางจากระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ตาราง 39 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามกลุมตําแหนง กลุมตําแหนง ขอมูลเกี่ยวกับ หองสมุด

ดาน การเงินและ บัญชี X

1. ขอมูล ทั่วไป

S.D.

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

ดาน กฎหมาย X

S.D.

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร X

S.D.

ดาน การบริหาร X

F

sig

4.42*

0.00

S.D.

2.77 1.01 2.62 0.99 3.12 0.94 3.47 0.64 3.17 1.04


100 ตาราง 39 (ตอ) กลุมตําแหนง ขอมูลเกี่ยวกับ หองสมุด

ดาน การเงินและ บัญชี X

S.D.

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

ดาน กฎหมาย X

S.D.

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร X

S.D.

ดาน การบริหาร X

F

sig

2.57*

0.04

1.71 2.90

0.15 0.06

S.D.

2. ขอมูล เกี่ยวกับ บริการ 2.99 1.06 2.70 0.91 3.19 0.97 3.27 0.80 3.20 0.90 3. ขาวประชาสัมพันธ 3.06 1.01 3.17 0.78 3.17 1.05 3.33 0.98 3.44 0.84 รวม 2.94 1.03 2.83 0.89 3.16 0.99 3.36 0.81 3.27 0.93

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 39 เมื่อพิจารณาการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกกลุมโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา กลุมตําแหนง ดานวิทยาการคอมพิวเตอร มีคาเฉลี่ยการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดสูงที่สุด รองลงมา คือ ดานการบริหาร ดานกฎหมาย ดานการเงินและบัญชี และดานเศรษฐศาสตรและการคลัง ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด โดยรวม ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนงไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 5 กลุม มีการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด ไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใชขอมูลทั่วไป และขอมูลเกี่ยวกับบริการ จึงทําการทดสอบ ความแตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD


101 ตาราง 40 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามกลุมตําแหนง X

ขอมูลทั่วไป ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร ขอมูลเกี่ยวกับบริการ ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร

ดาน ดาน ดาน ดาน วิทยาการ การเงิน เศรษฐศาสตร กฎหมาย คอมพิวเตอร และบัญชี และการคลัง

ดาน การบริหาร

2.77

*

*

*

2.62 3.12

*

*

*

*

*

*

3.47 3.17 2.99 2.70 3.19 3.27 3.20

จากตาราง 40 เปรียบเทียบการใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของบุคลากรกรมบัญชีกลาง เปนรายคู พบวา ขอมูลทั่วไป บุคลากรกลุมตําแหนงดานวิทยาการคอมพิวเตอร มีคาเฉลี่ย การใชสูงที่สุด โดยกลุมดานการเงินและบัญชี มีการใชแตกตางจากกลุมดานกฎหมาย ดานวิทยาการคอมพิวเตอร และดานการบริหาร สวนกลุมดานเศรษฐศาสตรและการคลัง มีการใชแตกตางจากกลุมดานกฎหมาย ดานวิทยาการคอมพิวเตอร และดานการบริหาร และขอมูลเกี่ยวกับบริการ พบวา กลุมดานวิทยาการคอมพิวเตอร มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยกลุมดานเศรษฐศาสตรและการคลัง มีการใชแตกตางจากกลุมดานกฎหมาย ดานวิทยาการคอมพิวเตอร และดานการบริหาร


102 ตาราง 41 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอืน่ ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามกลุมตําแหนง กลุมตําแหนง กิจกรรมอื่น ๆ

ดาน การเงินและ บัญชี

ดาน กฎหมาย

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร

ดาน การบริหาร

F

sig

3.80 0.81 3.81 0.82 3.78 0.87 3.80 0.94 4.01 0.74

0.98

0.42

3.15 1.01 2.71 0.82 3.14 0.99 2.80 0.86 3.01 1.08

1.92

0.11

3.32 0.95 3.15 0.82 3.33 1.00 3.13 0.99 3.40 0.82

0.72

0.58

3.19 1.05 3.06 0.84 3.47 0.92 3.20 0.86 3.39 0.90

1.74

0.14

2.72 0.95 2.46 0.82 2.93 1.00 2.87 1.13 3.07 1.02

3.30*

0.01

3.37 0.92 3.42 1.15 3.51 0.88 3.27 1.10 3.55 1.04

0.50

0.73

2.01 0.71 1.98 0.73 2.10 0.61 2.00 0.65 2.28 0.78 1.84 0.71 1.85 0.71 1.93 0.61 1.73 0.59 2.19 0.77

1.93 3.26*

0.11 0.01

2.57 0.96 2.60 1.03 2.75 0.90 2.67 0.82 2.97 1.01 2.89 0.90 2.78 0.86 2.99 0.86 2.83 0.88 3.10 0.91

1.95 1.81

0.10 0.25

X

1. แนะนํา หนังสือ ใหม 2. แนะนํา ซีดีรอม ใหม 3. วารสาร ที่มีใน หองสมุด 4. กฎหมาย และ ระเบียบที่ นาสนใจ 5. นําชม หองสมุด 6. สรุปขาว ประจําวัน 7. กระดาน ขาว 8. สมุดเยี่ยม 9. สถิติที่ นาสนใจ รวม

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

*นัยสําคัญ .05

S.D.

X

S.D.

X

S.D.

X

S.D.


103 จากตาราง 41 เมื่อพิจารณาการใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกกลุมโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา กลุม ตําแหนงดานการบริหาร มีคาเฉลี่ยการใชกิจกรรมอืน่ ๆ สูงที่สุด รองลงมา คือ ดานกฎหมาย ดานการเงิน และบัญชี ดานวิทยาการคอมพิวเตอร และดานเศรษฐศาสตรและการคลัง ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชกิจกรรมอื่น ๆ โดยรวมของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนงไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 5 กลุม มีการใชกิจกรรมอืน่ ๆ ไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เมื่อ พิจารณาเปนรายขอ พบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช กิจกรรมนําชมหองสมุด และสมุดเยี่ยม จึงทําการทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยเปน รายคูดวยวิธี LSD ตาราง 42 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตาม กลุมตําแหนง X

นําชมหองสมุด ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร สมุดเยี่ยม ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย

ดาน ดาน ดาน ดาน ดาน วิทยาการ การเงิน เศรษฐศาสตร กฎหมาย การบริหาร คอมพิวเตอร และบัญชี และการคลัง

2.72 2.46 2.93

* *

*

2.87 3.07 1.84

*

1.85 1.93

* *


104 ตาราง 42 (ตอ) X

ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร

ดาน ดาน ดาน ดาน ดาน วิทยาการ การเงิน เศรษฐศาสตร การบริหาร กฎหมาย คอมพิวเตอร และบัญชี และการคลัง *

1.73 2.19

จากตาราง 42 เปรียบเทียบการใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง เปนรายคู พบวา กิจกรรมนําชมหองสมุด บุคลากรกลุมตําแหนงดานการบริหาร มีคาเฉลี่ย การใชสูงที่สุด โดยกลุมดานการเงินและบัญชี มีการใชแตกตางจากกลุมดานการบริหาร สวนกลุมดานเศรษฐศาสตรและการคลัง มีการใชแตกตางจากกลุมดานกฎหมาย และ ดานการบริหาร และกิจกรรมสมุดเยี่ยม พบวา กลุมดานการบริหาร มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยกลุมดานการบริหาร มีการใชแตกตางจากทุกกลุมตําแหนง ตาราง 43 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง กลุมตําแหนง ฐานขอมูล ทรัพยากรสารสนเทศ

ดาน การเงินและ บัญชี X

S.D.

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

ดาน กฎหมาย X

S.D.

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร X

S.D.

ดาน การบริหาร X

F

sig

0.44

0.70

S.D.

1. ฐานขอมูล รายการทาง บรรณานุกรม 4.01 0.76 4.02 0.96 4.03 0.89 4.13 0.92 4.17 0.88 หนังสือ


105 ตาราง 43 (ตอ) กลุมตําแหนง ฐานขอมูล ทรัพยากรสารสนเทศ

ดาน การเงินและ บัญชี

ดาน กฎหมาย

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร

ดาน การบริหาร

F

sig

2.95 0.99 3.06 0.95 3.14 0.88 2.87 0.99 3.21 0.98

0.97

0.42

2.94 0.94 3.02 0.96 3.15 0.93 2.67 0.90 2.95 0.97

0.99

0.42

3.16 0.93 3.09 1.06 3.44 0.91 3.00 0.93 3.19 1.04

1.24

0.30

3.19 0.91 3.29 0.94 3.42 1.00 3.20 0.94 3.31 1.01

0.53

0.71

X

2. ฐานขอมูล วารสารและ ดรรชนี วารสาร 3. ฐานขอมูล รายการทาง บรรณานุกรมซีดีรอม และเทปคาสเซ็ต 4. ฐานขอมูล สารบัญ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับ กฤษฎีกา (ฉบับ ก) 5. ฐานขอมูล กฎหมาย และ ระเบียบ การคลัง

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

S.D.

X

S.D.

X

S.D.

X

S.D.


106 ตาราง 43 (ตอ) กลุมตําแหนง ฐานขอมูล ทรัพยากรสารสนเทศ

ดาน การเงินและ บัญชี X

S.D.

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

ดาน กฎหมาย X

S.D.

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร X

S.D.

ดาน การบริหาร X

F

sig

0.14 0.72

0.97 0.59

S.D.

6. ฐานขอมูล ผลงานทาง วิชาการของ ขาราชการ กรมบัญชีกลาง 3.23 1.01 3.25 1.10 3.17 0.91 3.27 0.80 3.30 1.04 รวม 3.25 0.92 3.29 1.00 3.39 0.92 3.19 0.91 3.36 0.99

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 43 เมื่อพิจารณาการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทุกกลุมโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา กลุมตําแหนงดานกฎหมาย มีคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศสูงที่สุด รองลงมา คือ ดานการบริหาร ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและการคลัง และ ดานวิทยาการคอมพิวเตอร ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ โดยรวมและรายขอของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนงไมพบความแตกตางกัน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 5 กลุม มีการใชฐานขอมูล ทรัพยากรสารสนเทศไมแตกตางกัน


107 ตาราง 44 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง กลุมตําแหนง องคความรู (สาระความรู ตาง ๆ)

ดาน การเงินและ บัญชี X

S.D.

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

ดาน กฎหมาย X

S.D.

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร X

S.D.

ดาน การบริหาร X

F

sig

4.23*

0.00

1.27

0.28

0.34

0.85

S.D.

1. ความรูเกี่ยว กับการ3.53 0.98 3.02 0.98 2.92 0.93 2.93 0.88 3.13 1.02 บัญชี 2. ความรูเกี่ยว กับการบริหารงาน การเงิน การคลัง ภาครัฐสู ระบบอิเล็กทรอนิกส 4.03 0.66 3.98 0.81 3.86 0.73 3.60 0.51 3.91 0.81 (GFMIS) 3. ความรูเกี่ยว กับนักบริหาร เศรษฐกิจ การคลัง จังหวัด (CFO) 3.15 0.85 3.17 1.00 3.12 0.98 2.93 0.96 3.23 0.97


108 ตาราง 44 (ตอ) กลุมตําแหนง องคความรู (สาระความรู ตาง ๆ)

ดาน การเงินและ บัญชี X

S.D.

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

ดาน กฎหมาย X

S.D.

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร X

S.D.

ดาน การบริหาร X

F

sig

0.34

0.85

1.86 1.61

0.12 0.42

S.D.

4. ความรูเกี่ยว กับการจัดซื้อจัดจาง ภาครัฐ (government procurement) 3.09 0.89 3.23 1.08 3.25 0.98 3.20 1.01 3.24 1.02 5. ความรูเกี่ยว กับการบริหาร ทรัพยากร มนุษย 3.03 0.97 2.92 0.85 3.19 0.96 3.00 0.85 3.35 1.07 รวม 3.37 0.87 3.26 0.94 3.27 0.92 3.13 0.84 3.37 0.98

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 44 เมื่อพิจารณาการใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทุกกลุมโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา กลุมตําแหนงดานการเงินและบัญชี และดานการบริหาร มีคาเฉลี่ยการใช องคความรูสูงที่สุด รองลงมา คือ ดานกฎหมาย ดานเศรษฐศาสตรและการคลัง และ ดานวิทยาการคอมพิวเตอร ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใชองคความรู โดยรวมของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนงไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 5 กลุม มีการใชองคความรูไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เมื่อ


109 พิจารณาเปนรายขอ พบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช ความรูเกี่ยวกับการบัญชี จึงทําการทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD ตาราง 45 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคูการใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง X

ความรูเกี่ยวกับการบัญชี ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร

3.53

ดาน ดาน ดาน ดาน วิทยาการ การเงิน เศรษฐศาสตร กฎหมาย คอมพิวเตอร และบัญชี และการคลัง *

*

*

ดานการ บริหาร *

3.02 2.92 2.93 3.13

จากตาราง 45 เปรียบเทียบการใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากร กรมบัญชีกลางเปนรายคู พบวา ความรูเกี่ยวกับการบัญชี บุคลากรกลุมตําแหนงดานการเงินและบัญชี มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดยกลุมดานการเงินและบัญชี มีการใชแตกตาง จากทุกกลุมตําแหนง


110 ตาราง 46 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง กลุมตําแหนง Link ฐานขอมูล ออนไลน

ดาน การเงินและ บัญชี

ดาน กฎหมาย

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร

ดาน การบริหาร

F

sig

2.86 1.03 2.75 1.12 2.97 0.95 2.93 0.96 2.92 1.10

0.33

0.86

2.81 0.99 2.75 1.10 2.92 0.93 2.93 0.88 2.95 1.09

0.38

0.82

2.68 0.94 2.60 0.96 2.95 1.01 3.00 0.65 3.01 1.06

2.06

0.09

2.71 0.95 2.69 0.97 2.93 0.98 3.07 0.59 3.17 1.08 2.77 0.98 2.70 1.04 2.94 0.97 2.98 0.77 3.01 1.08

2.88* 1.41

0.02 0.45

X

1. ฐานขอมูล วิทยานิพนธไทย 2. ฐานขอมูล งานวิจัย ไทย 3. ฐานขอมูล ชี้แหลง วารสารไทย (journal link) 4. ฐานขอมูล บทความ วารสาร (article link) รวม

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

S.D.

X

S.D.

X

S.D.

X

S.D.

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 46 เมื่อพิจารณาการใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลาง พบวา ทุกกลุมโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา กลุมตําแหนงดานการบริหาร มีคาเฉลี่ยการใช Link ฐานขอมูลออนไลนสูงที่สุด รองลงมา คือ ดานวิทยาการคอมพิวเตอร ดานกฎหมาย ดานการเงินและบัญชี และ


111 ดานเศรษฐศาสตรและการคลัง ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใช Link ฐานขอมูลออนไลน โดยรวม ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนงไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 5 กลุม มีการใช Link ฐานขอมูลออนไลน ไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใชฐานขอมูลบทความวารสาร จึงทําการทดสอบความแตกตาง ของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวิธี LSD ตาราง 47 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคูการใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง X

ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร

ดาน ดาน ดาน ดาน ดาน วิทยาการ การเงิน เศรษฐศาสตร การบริหาร กฎหมาย คอมพิวเตอร และบัญชี และการคลัง

2.71

*

2.69 2.93

*

3.07 3.17

จากตาราง 47 เปรียบเทียบการใช Link ฐานขอมูลออนไลนของบุคลากร กรมบัญชีกลางเปนรายคู พบวา การใชฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) บุคลากร กลุมตําแหนงดานการบริหาร มีคาเฉลี่ยการใชสูงทีส่ ุด โดยกลุมดานการบริหาร มีการใช แตกตางจากกลุมดานการเงินและบัญชี และดานเศรษฐศาสตรและการคลัง


112 ตาราง 48 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามกลุมตําแหนง กลุมตําแหนง Link แหลง สารสนเทศ

ดาน การเงินและ บัญชี

ดาน กฎหมาย

ดาน วิทยาการ คอมพิวเตอร

ดาน การบริหาร

F

sig

3.80 0.81 4.00 0.65 3.86 0.73 3.87 0.83 4.13 0.74

2.23

0.07

2.75 0.99 2.98 1.08 3.24 0.88 3.20 0.68 3.12 0.99

2.66*

0.03

1.90 0.74 1.83 0.78 2.17 0.67 2.13 0.64 1.99 0.76

1.86

0.12

2.65 0.89 2.46 0.92 2.92 0.97 2.73 0.96 3.03 1.13 2.46 1.00 2.42 1.07 2.66 0.92 2.60 0.83 2.79 1.12

3.10* 1.45

0.02 0.22

2.94 1.10 2.92 1.15 2.73 1.00 2.67 0.90 3.37 1.06

3.75*

0.01

3.97 0.86 3.75 1.00 3.86 0.84 3.80 0.86 4.23 0.76

2.84*

0.03

3.20 1.22 2.98 1.16 3.05 1.17 3.13 1.25 3.39 1.23 2.96 0.95 2.92 0.98 3.06 0.90 3.02 0.87 3.26 0.97

1.07 2.37

0.37 0.11

X

1. หนวยงาน ราชการ 2. หองสมุด ในประเทศ ไทย 3. หองสมุด ในตางประเทศ 4. รานหนังสือ หรือ สํานักพิมพ 5. ธนาคาร 6. สถานีโทรทัศน 7. หนังสือพิมพ 8. Search Engine รวม

ดาน เศรษฐศาสตรและ การคลัง X S.D.

S.D.

X

S.D.

X

S.D.

X

S.D.

*นัยสําคัญ .05 จากตาราง 48 เมื่อพิจารณาการใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง พบวา ทุกกลุมโดยรวมอยูในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาตามรายขอ พบวา กลุมตําแหนง ดานการบริหาร มีคาเฉลี่ยการใช Link แหลงสารสนเทศสูงที่สุด รองลงมา คือ ดานกฎหมาย


113 ดานวิทยาการคอมพิวเตอร ดานการเงินและบัญชี และดานเศรษฐศาสตรและการคลัง ตามลําดับ เมื่อทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยการใช Link แหลงสารสนเทศ โดยรวม ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนงไมพบความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติท่ีระดับ .05 นั่นคือ ประชากรทั้ง 5 กลุม มีการใช Link แหลงสารสนเทศ ไมแตกตางกัน อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเปนรายขอ พบความแตกตางอยางมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ในการใช Link แหลงสารสนเทศเกี่ยวกับหองสมุดในประเทศไทย รานหนังสือหรือสํานักพิมพ สถานีโทรทัศน และหนังสือพิมพ จึงทําการทดสอบความ แตกตางของคาเฉลี่ยเปนรายคูดวยวีธี LSD ตาราง 49 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคูการใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ตามกลุมตําแหนง X

หองสมุดในประเทศ ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร รานหนังสือหรือ สํานักพิมพ ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย

2.75

ดาน ดาน ดาน ดาน วิทยาการ การเงิน เศรษฐศาสตร กฎหมาย คอมพิวเตอร และบัญชี และการคลัง *

ดาน การบริหาร *

2.98 3.24 3.20 3.12

*

2.65 2.46 2.92

*

*


114 ตาราง 49 (ตอ) X

ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร สถานีโทรทัศน ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร หนังสือพิมพ ดานการเงินและบัญชี ดานเศรษฐศาสตรและ การคลัง ดานกฎหมาย ดานวิทยาการ คอมพิวเตอร ดานการบริหาร

ดาน ดาน ดาน ดาน วิทยาการ การเงิน เศรษฐศาสตร กฎหมาย คอมพิวเตอร และบัญชี และการคลัง

ดาน การบริหาร

2.73 3.03 2.94

*

2.92 2.73

* *

2.67 3.37

*

3.97 3.75 3.86 3.80 4.23

* *

จากตาราง 49 เปรียบเทียบการใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง เปนรายคู พบวา หองสมุดในประเทศ บุคลากรกลุมตําแหนงดานกฎหมาย มีคาเฉลี่ยการใช สูงที่สุด โดยกลุมดานการเงินและบัญชี มีการใชแตกตางจากกลุมดานกฎหมาย และ ดานการบริหาร รานหนังสือหรือสํานักพิมพ พบวา กลุมดานการบริหาร มีคาเฉลี่ยการใช สูงที่สุด โดยกลุมดานการเงินและบัญชี มีการใชแตกตางจากกลุมดานการบริหาร สวน กลุมดานเศรษฐศาสตรและการคลัง มีการใชแตกตางจากกลุมดานกฎหมาย และดานการบริหาร สถานีโทรทัศน พบวา กลุมดานการบริหาร มีคาเฉลี่ยการใชสูงที่สุด โดย กลุมดานการบริหาร มีการใชแตกตางจากทุกกลุมตําแหนง และหนังสือพิมพ พบวา


115 กลุมดานบริหาร มีคาเฉลี่ยการใชสูงทีส่ ุด โดยกลุมดานการบริหาร มีการใชแตกตางจาก กลุมดานกฎหมาย และดานวิทยาการคอมพิวเตอร

ตอนที่ 4 ความตองการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ศึกษาความตองการใชเว็บไซตหองสมุด แบงออกเปน 2 ดาน คือ บริการสารสนเทศ ที่ผูใชบริการตองการใหมีเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่มีอยูแลวในหองสมุด และรูปแบบ สารสนเทศที่ตองการใช โดยมีตารางแสดงผลการวิเคราะหขอมูล ดังตอไปนี้ ตาราง 50 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตองการใชบริการสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลาง บริการสารสนเทศ X

1. ฐานขอมูลออนไลน เชน ฐานขอมูล ABI/Inform 2. หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาการเงินและบัญชี 3. หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง 4. หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย 5. หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร 6. หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาการบริหาร 7. วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาการเงินและบัญชี 8. วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง 9. วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย 10. วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร 11. วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาการบริหาร 12. กฤตภาคขาวออนไลน 13. แนะนําการสืบคนฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ หองสมุด 14. แนะนําการสืบคนฐานขอมูลออนไลน

4.03 3.38 3.88 3.55 3.43 3.36 3.38 3.42 3.50 3.43 3.36 3.27 3.33 3.40

ความตองการใช S.D. แปลความ 0.78 มาก 1.04 ปานกลาง 0.72 มาก 0.99 มาก 0.99 ปานกลาง 0.92 ปานกลาง 1.00 ปานกลาง 1.01 ปานกลาง 1.00 มาก 0.99 ปานกลาง 0.95 ปานกลาง 1.03 ปานกลาง 0.93 0.87

ปานกลาง ปานกลาง


116 ตาราง 50 (ตอ) บริการสารสนเทศ 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24.

แนะนําการใชบริการหองสมุด แนะนําการใชทรัพยากรสารสนเทศ บริการตรวจสอบสถานะการยืม-คืนของสมาชิก บริการสงขาวสารไปยังสมาชิกโดยใชจดหมายอิเล็กทรอนิกส (e-mail) บริการตอบคําถามและชวยการคนควาออนไลน บริการคําถามที่มีผูใชบริการสอบถามบอยครั้ง (FAQ) แบบฟอรมยืมระหวางหองสมุดที่ตั้งอยูในพื้นที่ กระทรวงการคลัง แบบฟอรมเสนอแนะรายชื่อหนังสือ/ซีดีรอมที่หองสมุด ควรจัดหา นิทรรศการออนไลนในวันสําคัญตาง ๆ รายชื่อผูมีอุปการะคุณตอหองสมุด รวม

ความตองการใช S.D. แปลความ X 3.29 0.88 ปานกลาง 3.33 0.87 ปานกลาง 3.91 0.75 มาก 3.78 3.43 3.24

0.74 0.99 0.90

มาก ปานกลาง ปานกลาง

3.39

0.98

ปานกลาง

3.29 3.20 2.80 3.43

0.94 0.98 1.01 0.93

ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

จากตาราง 50 ความตองการใชบริการสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยรวมอยูใ นระดับปานกลาง ( X = 3.43) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 2 ระดับ คือ มาก 6 รายการ และปานกลาง 18 รายการ โดยคาเฉลี่ยความตองการใชบริการสารสนเทศ ที่มากที่สุด คือ ฐานขอมูลออนไลน เชน ฐานขอมูล ABI/Inform ( X = 4.03) รองลงมา คือ บริการตรวจสอบสถานะการยืม-คืนของสมาชิก หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตร และการคลัง บริการสงขาวสารไปยังสมาชิกโดยใชจดหมายอิเล็กทรอนิกส (e-mail) หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย และวารสารอิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย ในระดับ ปานกลาง ไดแก หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร วารสารอิเล็กทรอนิกส สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร บริการตอบคําถามและชวยการคนควาออนไลน วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง แนะนําการสืบคนฐานขอมูลออนไลน


117 แบบฟอรมยืมระหวางหองสมุดที่ตั้งอยูในพื้นที่กระทรวงการคลัง หนังสืออิเล็กทรอนิกส สาขาการเงินและบัญชี วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาการเงินและบัญชี หนังสืออิเล็กทรอนิกส สาขาการบริหาร วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาการบริหาร แนะนําการสืบคนฐานขอมูล ทรัพยากรสารสนเทศหองสมุด แนะนําการใชทรัพยากรสารสนเทศ แนะนําการใชบริการ หองสมุด แบบฟอรมเสนอแนะรายชือ่ หนังสือ/ซีดีรอมที่หองสมุดควรจัดหา กฤตภาคขาวออนไลน บริการคําถามที่มีผูใชบริการสอบถามบอยครั้ง (FAQ) และนิทรรศการออนไลน ในวันสําคัญตาง ๆ สวนความตองการใชที่นอยที่สุด คือ รายชื่อผูม ีอุปการะคุณตอหองสมุด ( X = 2.80) ตาราง 51 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตองการใชรูปแบบสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลาง รูปแบบสารสนเทศ X

1. รายการทางบรรณานุกรม 2. รายการทางบรรณานุกรมพรอมสาระสังเขป/บทคัดยอ 3. เอกสารเนือ้ หาเต็ม (full-text) รวม

3.29 3.67 4.63 3.86

ความตองการใช S.D. แปลความ 1.00 ปานกลาง 0.71 มาก 0.49 มากที่สุด 0.93 มาก

จากตาราง 51 ความตองการรูปแบบสารสนเทศของบุคลากรกรมบัญชีกลาง โดยรวมอยูในระดับมาก ( X = 3.86) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 3 ระดับ คือ มากที่สุด 1 รายการ มาก 1 รายการ และปานกลาง 1 รายการ โดยคาเฉลี่ยความตองการรูปแบบ สารสนเทศที่มากที่สุด คือ เอกสารเนื้อหาเต็ม (full-text) ( X = 4.63) รองลงมา คือ รายการ ทางบรรณานุกรมพรอมสาระสังเขป/บทคัดยอ ( X = 3.67) สวนความตองการที่นอยที่สุด คือ รายการทางบรรณานุกรม ( X = 3.29)


118

ตอนที่ 5 ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ศึกษาปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุด แบงออกเปน 3 ดาน คือ ดานผูใชบริการ ดานเนื้อหา และดานการออกแบบเว็บไซต โดยมีตารางแสดงผล การวิเคราะหขอมูล ดังตอไปนี้ ตาราง 52 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปญหาและอุปสรรคดานผูใชบริการ 1. 2. 3. 4. 5.

ปญหาและอุปสรรค ขาดความรูแ ละทักษะในการใชอินเทอรเน็ต ขาดความชํานาญในการใชเว็บไซตหองสมุด ไมเขาใจเทคนิคในการสืบคนขอมูล ไมมีเวลาในการใชเว็บไซตหองสมุด ไมทราบวาสารสนเทศที่ตองการควรหาจากหัวขอใด บนเว็บไซตหองสมุด รวม

2.78 2.95 3.05 3.19

S.D. 0.99 1.03 1.04 1.04

แปลความ ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง

3.74 3.14

0.74 0.97

มาก ปานกลาง

X

จากตาราง 52 ปญหาและอุปสรรคดานผูใชบริการ โดยรวมอยูในระดับปานกลาง ( X = 3.14) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 2 ระดับ คือ มาก 1 รายการ และปานกลาง 4 รายการ โดยปญหาและอุปสรรคดานผูใชบริการที่มากที่สุด คือ ไมทราบวาสารสนเทศ ที่ตองการควรหาจากหัวขอใดบนเว็บไซตหองสมุด ( X = 3.74) รองลงมาในระดับปานกลาง ไดแก ไมมีเวลาในการใชเว็บไซตหองสมุด ไมเขาใจเทคนิคในการสืบคนขอมูล และขาด ความชํานาญในการใชเว็บไซตหองสมุด สวนปญหาและอุปสรรคดานผูใชบริการที่นอย ที่สุด คือ ขาดความรูและทักษะในการใชอินเทอรเน็ต ( X = 2.78)


119 ตาราง 53 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปญหาและอุปสรรคดานเนื้อหา ปญหาและอุปสรรค 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

ไมทันสมัย ไมครอบคลุมเนื้อหาที่ตองการ สารสนเทศมีมากเกินไปทําใหคนหายาก การจัดกลุมสารสนเทศไมชัดเจนทําใหสบั สน ขาดคูมือแนะนําการใชงานฐานขอมูล ตัวสะกดผิดพลาดบอย ความเหมาะสมของภาษา สํานวน รวม

S.D. 0.94 0.96 0.90 1.00 0.82 0.73 0.75 0.87

X

2.82 2.94 2.55 2.68 3.52 1.95 2.15 2.66

แปลความ ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง มาก นอย นอย ปานกลาง

จากตาราง 53 ปญหาและอุปสรรคดานเนื้อหา โดยรวมอยูในระดับปานกลาง ( X = 2.66) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 3 ระดับ คือ มาก 1 รายการ ปานกลาง 4 รายการ และนอย 2 รายการ โดยปญหาและอุปสรรคดานเนื้อหาที่มากที่สุด คือ ขาดคูมือ แนะนําการใชงานฐานขอมูล ( X = 3.52) รองลงมา ไดแก ไมครอบคลุมเนื้อหาที่ตองการ ไมทันสมัย การจัดกลุมสารสนเทศไมชัดเจนทําใหสับสน สารสนเทศมีมากเกินไปทําให คนหายาก และความเหมาะสมของภาษา สํานวน สวนปญหาและอุปสรรคดานเนื้อหาที่ นอยที่สุด คือ ตัวสะกดผิดพลาดบอย ( X = 1.95) ตาราง 54 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปญหาและอุปสรรคดานการออกแบบเว็บไซต 1. 2. 3. 4. 5.

ปญหาและอุปสรรค การจัดวางองคประกอบของโฮมเพจไมเหมาะสมใชงานยาก โฮมเพจมีตวั อักษรมากเกินไป โฮมเพจมีภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวมากเกินไป ภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวทีใ่ ชไมดึงดูดความสนใจ เว็บเพจไมเปนมาตรฐานเดียวกันทั้งเว็บไซต

X

2.70 2.68 2.61 2.78 2.65

S.D. 0.95 0.89 0.87 0.93 0.90

แปลความ ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง


120 ตาราง 54 (ตอ) ปญหาและอุปสรรค 6. การจัดหมวดหมูของเนื้อหาไมชัดเจน 7. รูปแบบตัวอักษรอานยากไมสบายตา 8. ขนาดตัวอักษรอานยากไมสบายตา 9. สีตัวอักษรไมเหมาะสม 10. สีของพื้นหลังไมเหมาะสม รวม

S.D. 0.81 0.89 0.92 0.93 0.73

แปลความ นอย ปานกลาง ปานกลาง ปานกลาง นอย

2.56 0.88

ปานกลาง

X

2.09 2.62 2.69 2.66 2.07

จากตาราง 54 ปญหาและอุปสรรคดานการออกแบบเว็บไซต โดยรวมอยูในระดับ ปานกลาง ( X = 2.56) เมื่อแยกพิจารณาเปนรายขอ พบวา มีอยู 2 ระดับ คือ ปานกลาง 8 รายการ และนอย 2 รายการ โดยปญหาและอุปสรรคดานการออกแบบเว็บไซต ที่มากที่สุด คือ ภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวที่ใชไมดึงดูดความสนใจ ( X = 2.78) รองลงมา ไดแก การจัดวางองคประกอบของโฮมเพจไมเหมาะสมใชงานยาก ขนาด ตัวอักษรอานยากไมสบายตา โฮมเพจมีตั วอักษรมากเกินไป สีตัวอักษรไม เหมาะสม เว็ บเพจไมเปนมาตรฐานเดียวกันทั้งเว็บไซต รูปแบบตัวอักษรอานยากไมสบายตา โฮมเพจมีภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวมากเกินไป และการจัดหมวดหมูของเนื้อหาไม ชัดเจน สวนปญหาและอุปสรรคดานการออกแบบเว็บไซตที่นอยที่สุด คือ สีของพื้นหลัง ไมเหมาะสม ( X = 2.07)


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และขอเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช ศึกษาความตองการใช ศึกษาปญหาและอุปสรรค ในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง กลุมตัวอยางในการวิจัยครั้งนี้ คือ ขาราชการระดับ 1-8 และพนักงานราชการ ที่ปฏิบัติงานในสวนกลาง รวมจํานวนทั้งสิ้น 300 คน เครื่องมือที่ใชในการวิจัยเปนแบบสอบถาม ผูวิจัยไดแจกแบบสอบถามกับ กลุมตัวอยาง และไดรับแบบสอบถามกลับคืนมา จํานวนทั้งสิ้น 276 ชุด คิดเปนรอยละ 92 การวิเคราะหขอมูลใชโปรแกรมสําเร็จรูปในการวิเคราะหขอมูล สถิติท่ีใชใน การวิจัย ไดแก คารอยละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาความแตกตางของ คาเฉลี่ยระหวางประชากรและทดสอบสมมติฐานโดยใชคา t-test และ F-test โดยวิธี Oneway ANOVA ในการทดสอบความแตกตางของคาเฉลี่ยระหวางกลุม

สรุปผลการวิจัย สรุปผลการวิเคราะหขอมูลทั่วไป ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญเปนเพศหญิง อายุสวนใหญอยูในชวงต่ํากวา 31 ป การศึกษาสวนใหญอยูในระดับปริญญาตรี กลุมตําแหนงสวนใหญเปนกลุมตําแหนง ดานการเงินและการบัญชี สถานที่ที่ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญเขาใชอินเทอรเน็ต เพื่อใชเว็บไซตหองสมุด คือ ที่อื่น ๆ ภายในกรมบัญชีกลาง รองลงมา คือ ที่หองสมุดกรมบัญชีกลาง และที่บาน สวนที่รานบริการอินเทอรเน็ตอยูในระดับนอย ความถี่ในการเขาใชเว็บไซตหองสมุดสวนใหญอยูระหวาง 1-2 ครั้ง/สัปดาห และ


122 ชวงเวลาที่เขาใชมากที่สุด คือ 10.00-13.59 น. วัตถุประสงคในการใชเว็บไซตหองสมุดสวนใหญ คือ เพื่อประกอบการทํางาน รองลงมา คือ เพื่อเพิ่มพูนความรู เพื่อติดตามขาวสารตาง ๆ สวนเพื่อเชื่อมโยงไปสูแหลง สารสนเทศอื่น ๆ อยูใ นระดับนอย การเขาถึงเว็บไซตหองสมุดสวนใหญเขาถึงโดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของ กรมบัญชีกลาง รองลงมา คือ โดยพิมพยูอารแอล (URL) ของหองสมุดโดยตรง สวน การเชื่อมโยงจากเว็บไซตของหนวยงานอื่น ๆ อยูในระดับนอย การสืบคนขอมูลบนเว็บไซตสวนใหญสืบคนดวยตนเอง รองลงมา คือ ใหเจาหนาที่ หองสมุดสืบคนให สวนการใหผใู ตบังคับบัญชาสืบคนใหอยูในระดับนอย การใชเว็บไซต การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด พบวา มีการใชขาวประชาสัมพันธมากที่สุด รองลงมา คือ ขอมูลเกี่ยวกับบริการ สวนที่มีการใชนอยที่สุด คือ ขอมูลทั่วไป การใชกิจกรรมอื่น ๆ พบวา มีการใชแนะนําหนังสือใหมมากที่สุด รองลงมา คือ สรุปขาวประจําวัน สวนที่มีการใชนอ ยที่สุด คือ สมุดเยี่ยม การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ พบวา มีการใชฐานขอมูลรายการทาง บรรณานุกรมหนังสือมากที่สุด รองลงมา คือ ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง ฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของขาราชการกรมบัญชีกลาง ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) และฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร สวนที่มี การใชนอยที่สุด คือ ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมซีดีรอมและเทปคาสเซ็ต การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) พบวา มีการใชความรูเกี่ยวกับการบริหาร งานการเงินการคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) มากที่สุด รองลงมา คือ ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) ความรูเกี่ยวกับการบัญชี และความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจการคลังจังหวัด (CFO) สวนที่มีการใชนอยที่สดุ คือ ความรูเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย การใช Link ฐานขอมูลออนไลน พบวา มีการใชฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) มากที่สุด รองลงมา คือ ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย และฐานขอมูลงาน-


123 วิจัยไทย สวนที่มีการใชนอยที่สุด คือ ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) การใช Link แหลงสารสนเทศ พบวา มีการใชหนังสือพิมพมากที่สุด รองลงมา คือ หนวยงานราชการ และ Search Engine สวนที่มีการใชนอยที่สุด คือ หองสมุดใน ตางประเทศ ความตองการใชเว็บไซต บริการสารสนเทศที่บุคลากรกรมบัญชีกลางตองการใหมีเพิ่มเติมมากที่สุด คือ ฐานขอมูลออนไลน เชน ฐานขอมูล ABI/Inform รองลงมา คือ บริการตรวจสอบสถานะ การยืม-คืนของสมาชิก หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง บริการสง ขาวสารไปยังสมาชิกโดยใชจดหมายอิเล็กทรอนิกส (e-mail) หนังสืออิเล็กทรอนิกส สาขากฎหมาย วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร บริการตอบคําถาม และชวยการคนควาออนไลน วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง แนะนําการสืบคนฐานขอมูลออนไลน และแบบฟอรมยืมระหวางหองสมุดที่ตั้งอยูใน พื้นที่กระทรวงการคลัง สวนบริการสารสนเทศที่มีความตองการใชนอยที่สุด คือ รายชื่อ ผูมีอุปการะคุณตอหองสมุด ดานรูปแบบสารสนเทศที่ตองการ พบวา ตองการเอกสารเนื้อหาเต็ม (full-text) มากที่สุด รองลงมา คือ รายการทางบรรณานุกรมพรอมสาระสังเขป/บทคัดยอ สวนรูปแบบ ที่มีความตองการนอยที่สุด คือ รายการทางบรรณานุกรม ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซต ดานผูใชบริการ พบวา ผูใชบริการไมทราบวาสารสนเทศที่ตองการควรหาจาก หัวขอใดบนเว็บไซตหองสมุดมากที่สุด รองลงมา คือ ไมมีเวลาในการใชเว็บไซตหองสมุด และไมเขาใจเทคนิคในการสืบคนขอมูล สวนปญหาที่พบนอยที่สุด คือ ขาดความรูและ ทักษะในการใชอินเทอรเน็ต ดานเนื้อหา ปญหาที่พบมากที่สุด คือ ขาดคูมือแนะนําการใชงานฐานขอมูล รองลงมา คือ ไมครอบคลุมเนื้อหาที่ตองการ และไมทันสมัย สวนปญหาที่พบนอยที่สุด


124 คือ ตัวสะกดผิดพลาดบอย ดานการออกแบบเว็บไซต พบวา ภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวที่ใชไมดึงดูด ความสนใจมากที่สุด รองลงมา คือ การจัดวางองคประกอบของโฮมเพจไมเหมาะสม ใชงานยาก และขนาดตัวอักษรอานยากไมสบายตา สวนปญหาที่พบนอยที่สุด คือ สีของ พื้นหลังไมเหมาะสม ผลการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิเคราะหความสัมพันธดานเพศกับการใชเว็บไซตหองสมุด พบวา เพศ ที่แตกตางกันไมมีผลตอการใชเว็บไซตหองสมุดทุกประเภท อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งไมเปนไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว ผลการวิเคราะหความสัมพันธดานอายุกับการใชเว็บไซตหองสมุด พบวา อายุ ที่แตกตางกันมีผลตอการใชเว็บไซตหองสมุดหลายประเภท อยางมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งเปนไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว ผลการวิเคราะหความสัมพันธดานระดับการศึกษากับการใชเว็บไซตหองสมุด พบวา ระดับการศึกษาที่แตกตางกันไมมีผลตอการใชเว็บไซตหองสมุดทุกประเภท อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไมเปนไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว ผลการวิเคราะหความสัมพันธดานกลุมตําแหนงกับการใชเว็บไซตหองสมุด พบวา กลุมตําแหนงที่แตกตางกันไมมีผลตอการใชเว็บไซตหองสมุดทุกประเภท อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไมเปนไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว

อภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัยครั้งนี้ มีประเด็นสําคัญที่ควรนํามาอภิปราย ดังตอไปนี้ ขอมูลทั่วไป สถานที่ที่ผูตอบแบบสอบถามสวนใหญเขาใชอินเทอรเน็ต เพื่อใชเว็บไซตหองสมุด


125 คือ ที่อื่น ๆ ภายในกรมบัญชีกลาง สอดคลองกับผลการวิจัยของวาสนา บุญจูง (2542) พบวา นักวิจัยใชอินเทอรเน็ตจากที่ทํางาน/สถาบันที่สังกัด อาจเปนเพราะปจจุบันสวนราชการนําคอมพิวเตอรมาใชในการทํางานมากขึ้นและเชื่อมตอกับเครือขายอินเทอรเน็ต ทําใหผูใชบริการสามารถเขาใชเว็บไซตหองสมุดไดสะดวกโดยไมตองเดินทางไปยัง หองสมุด รองลงมา คือ ที่หองสมุดกรมบัญชีกลาง สอดคลองกับผลการวิจัยของรุงอรุณ ผาสุกสกุล (2542) พบวา นักศึกษาใชอินเทอรเน็ตในหองสมุดและที่บาน สวนที่รานบริการอินเทอรเน็ตอยูในระดับนอย ซึ่งไมสอดคลองกับผลการวิจัยของนฤมล เทพนวล (2547) ที่พบวา นักศึกษาจะใชบริการอินเทอรเน็ตที่รานบริการอินเทอรเน็ตทั่วไป อาจเปนเพราะนักศึกษาไดรับความสะดวกในการใชอินเทอรเน็ตที่รานบริการมากกวา ที่มหาวิทยาลัย/สถาบันทีส่ ังกัด หรือที่ทํางาน เนื่องจากสถานที่เหลานี้สวนใหญจะจํากัด การเขาใชเว็บไซตหรือบริการตาง ๆ บนอินเทอรเน็ตที่ไมเหมาะสม เชน เกมสออนไลน โปรแกรมสนทนา ซึ่งเปนที่นิยมของวัยรุน สวนทีร่ านบริการอินเทอรเน็ตจะไมคอยมี ระบบปองกันการใชงาน และที่บานของนักศึกษาอาจไมมีคอมพิวเตอรหรือมี แตอาจ ไมไดเชื่อมตอกับเครือขายอินเทอรเน็ต และที่มหาวิทยาลัยอาจมีจํานวนเครื่องไมเพียงพอ ตอการใชงานของนักศึกษา ความถี่ในการเขาใชเว็บไซตหองสมุดสวนใหญอยูระหวาง 1-2 ครั้ง/สัปดาห สอดคลองกับผลการวิจัยของผุสดี นนทคําจันทร (2542) พบวา นักศึกษาใชอินเทอรเน็ต 1-2 ครั้ง/สัปดาห เสกสรร สายสีสด (2542); เทวา จุฬารี (2544); พรพิศ อุปถัมภ (2545) และนฤมล เทพนวล (2547) พบวา นักศึกษา อาจารย และผูบริหารใชอินเทอรเน็ต 1-2 ครั้ง/สัปดาห อาจเปนเพราะผูใชบริการสวนใหญมีงานประจํา ทําใหไมสามารถใช บริการเว็บไซตหองสมุดไดอยางเต็มที่ ชวงเวลาที่เขาใชมากที่สุด คือ 10.00-13.59 น. อาจเปนเพราะเปนชวงพักกลางวัน ของผูใชบริการ ทําใหมีเวลาใชบริการเว็บไซตหองสมุดนอกเหนือจากการทํางานประจํา ซึ่งไมสอดคลองกับผลการวิจัยของเทวา จุฬารี (2544) ที่พบวา เวลาที่อาจารยและนักศึกษา ใชบอยที่สุด คือ 15.01-18.00 น. และสุวิมล ธนะผลเลิศ (2545) พบวา ชวงเวลาการใช อินเทอรเน็ตของนิสิต คือ 16.00-17.00 น. อาจเปนเพราะชวงเวลาดังกลาว เปนชวงที่ อาจารยและนักศึกษามีความสะดวกในการใชอินเทอรเน็ต เพราะเปนชวงเวลาหลังการสอน


126 หรือหลังเลิกเรียน ซึ่งแตกตางจากบุคลากรของสวนราชการที่ใชเวลาชวงพักกลางวัน หรือเวลาทํางานในการใชบริการอินเทอรเน็ต วัตถุประสงคในการใชเว็บไซตหองสมุดสวนใหญ คือ เพื่อประกอบการทํางาน สอดคลองกับผลการวิจัยของ Voorbij (1999) พบวา การใชอินเทอรเน็ตจะใชเพื่อ การศึกษาและการทํางาน ซึ่งไมสอดคลองกับผลการวิจยั ของผุสดี นนทคําจันทร (2542) พบวา นักศึกษาใชอินเทอรเน็ตเพื่อความบันเทิงมากที่สุด สุพัตรา คชาทอง (2545) และ ภควดี สุวรรณะโสภณ (2543) พบวา วัตถุประสงคในการใชอินเทอรเน็ต คือ เพื่อความ เพลิดเพลิน รองลงมา คือ เพื่อเพิ่มพูนความรู เพื่อติดตามขาวสารตาง ๆ และเพื่อประกอบ การศึกษา สอดคลองกับผลการวิจัยของอรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) พบวา อาจารย สวนใหญใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ เพื่อประกอบการวิจัย ประกอบการสอน และ เพิ่มพูนความรู อาจเปนเพราะความแตกตางของวัยและหนาที่ความรับผิดชอบ ทําให วัตถุประสงคในการใชอินเทอรเน็ตแตกตางกัน โดยกลุมคนทํางาน/อาจารย สวนใหญ จะใชอินเทอรเน็ตเพื่อประกอบการทํางาน เพื่อการศึกษา และเพื่อเพิ่มพูนความรู วัยรุน/ นักศึกษา สวนใหญจะใชอินเทอรเน็ตเพื่อความบันเทิง เพื่อความสนุกสนาน สวนผูสูงอายุ สวนใหญจะใชอินเทอรเน็ตเพื่อความเพลิดเพลิน ชวยใหผอนคลาย การเขาถึงเว็บไซตหองสมุดสวนใหญเขาถึงโดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของ กรมบัญชีกลาง รองลงมา คือ โดยพิมพยูอารแอล (URL) ของหองสมุดโดยตรง สอดคลอง กับผลการวิจัยของอรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) พบวา อาจารยสวนใหญเขาถึงเว็บไซต สถาบันวิทยบริการ โดยยูอารแอลของเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ และโดยการเชื่อมโยง จากเว็บไซตของมหาวิทยาลัย อาจเปนเพราะผูใชบริการคุนเคยกับเว็บไซตกรมบัญชีกลาง มากกวาเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง และการประชาสัมพันธเว็บไซตของหองสมุด อาจยังทําไมเต็มที่ การสืบคนขอมูลบนเว็บไซตสวนใหญสืบคนดวยตนเอง รองลงมา คือ ใหเจาหนาที่ หองสมุดสืบคนให และใหเพื่อนรวมงานสืบคนให สวนการใหผูใตบังคับบัญชาสืบคนให อยูในระดับนอย อาจเปนเพราะการสืบคนดวยตนเองมีความสะดวกมากกวาวิธีอื่น ๆ และ ผูใชบริการสามารถเรียนรูวิธีการสืบคนฐานขอมูลไดจากเว็บไซตหองสมุด


127 การใชเว็บไซต การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด พบวา มีการใชขาวประชาสัมพันธมากที่สุด สอดคลองกับผลการวิจัยของศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ (2546) พบวา การใชบริการเว็บไซตจะเขาไปคนหาขอมูลหรือความรูทั่วไป การรับทราบ ขาวสารใหม ๆ รองลงมา คือ ขอมูลเกี่ยวกับบริการ สอดคลองกับผลการวิจัยของกฤติยา ไวยมัย (2546) พบวา สารสนเทศที่ใชสวนใหญเปนบริการขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด บริการ ฐานขอมูล อาจเปนเพราะผูใชบริการตองการติดตามขาวสารความเคลื่อนไหวของหองสมุด รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศและบริการใหม ๆ ทีห่ องสมุดจัดไวใหบริการ การใชกิจกรรมอื่น ๆ พบวา มีการใชแนะนําหนังสือใหมมากที่สุด สอดคลองกับ ผลการวิจัยของจิราพร ทัศนานุสิทธิ์ (2545) พบวา สิ่งที่เว็บไซตควรมี คือ ที่อยู ที่ตั้ง วัน เวลาทําการ รายชื่อบุคลากร ขาวและกิจกรรมหองสมุด และรายชื่อหนังสือใหม รองลงมา คือ สรุปขาวประจําวัน สอดคลองกับผลการวิจัยของเยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) พบวา เนื้อหาสารสนเทศที่สืบคน ไดแก ขาวจากสํานักขาว/สํานักพิมพ นิทัศน อิทธิพงษ (2544) พบวา ในเว็บไซตควรจัดใหบริการขอมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่นาสนใจ เชน ขาวการศึกษา ที่นาสนใจ อาจเปนเพราะบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของผูใชบริการในปจจุบันที่ตอง ปรับปรุงตัวเองใหทันกับวิทยาการสมัยใหม จําเปนตองคนควาหาความรูใหม ๆ ที่มี การเปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็วจึงสนใจกิจกรรมแนะนํารายชื่อหนังสือใหม และใช กิจกรรมสรุปขาวประจําวันเพื่อติดตามขาวสาร เหตุการณปจจุบัน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ พบวา มีการใชฐานขอมูลรายการทาง บรรณานุกรมหนังสือมากที่สุด สอดคลองกับผลการวิจัยของวัสสมาลย ตินทุกานนท (2544) พบวา สารสนเทศที่สืบคน คือ การคนหารายชื่อหนังสือจากบัตรรายการออนไลน และผลการวิจัยของอรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) พบวา อาจารยสวนใหญใชบริการ ฐานขอมูลของหองสมุด เครือขายหองสมุด และฐานขอมูลเพื่อการคนควาวิจัย รองลงมา คือ ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง ฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของขาราชการ กรมบัญชีกลาง ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) และฐานขอมูล วารสารและดรรชนีวารสาร สวนฐานขอมูลที่มีการใชนอยที่สดุ คือ ฐานขอมูลรายการ ทางบรรณานุกรมซีดีรอมและเทปคาสเซ็ต อาจเปนเพราะผูใชบริการคุนเคยกับการใช


128 หนังสือมาเปนเวลานานทําใหเกิดการยอมรับและเชื่อถือมากกวาทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทอื่น ๆ เชน ซีดีรอม และเทปคาสเซ็ต ที่อาจมีการดัดแปลงเนื้อหาในขณะจัดทําได และหนังสือสามารถนําไปใชอางอิงไดงาย มีหลักฐานเปนตัวเลมชัดเจน นอกจากนี้ ฐานขอมูลอื่น ๆ อาจมีขอมูลไมครบถวนสมบูรณเพียงพอตอความตองการของผูใชบริการ การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) พบวา มีการใชความรูเกี่ยวกับการบริหารงาน การเงินการคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) มากที่สุด รองลงมา คือ ความรู เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) ความรูเกี่ยวกับการบัญชี และความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจการคลังจังหวัด (CFO) อาจเปนเพราะปจจุบัน สวนราชการไดนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเขามาใชในการบริหารงาน เนนการทํางาน แบบโปรงใส ตรวจสอบได ผูใชบริการจึงใหความสําคัญกับความรูเกี่ยวกับการบริหารงาน การเงินการคลังภาครัฐสูระบบอิเล็กทรอนิกส (GFMIS) เนื่องจากเปนความรูที่จําเปนใน การทํางานสอดคลองกับบทบาทและภารกิจของกรมบัญชีกลางในปจจุบัน การใช Link ฐานขอมูลออนไลน พบวา มีการใชฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) มากที่สุด รองลงมา คือ ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย และฐานขอมูลงานวิจัยไทย สอดคลองกับผลการวิจัยของพรพิศ อุปถัมภ (2545) และสุวิมล ธนะผลเลิศ (2545) พบวา มีการใชอินเทอรเน็ตเพื่อสืบคนขอมูลเกี่ยวกับการศึกษา วิทยานิพนธ วารสารทางการศึกษา อาจเปนเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสําคัญชวยใหการคนหาสารสนเทศมีความ สะดวกรวดเร็วมากขึ้นทําใหผูใชบริการสนใจคนควาสารสนเทศจากฐานขอมูลออนไลน การใช Link แหลงสารสนเทศ พบวา มีการใชหนังสือพิมพมากที่สุด รองลงมา คือ หนวยงานราชการ สอดคลองกับผลการวิจัยของกติมาส ดิลกมธุรส (2547) พบวา แหลง สารสนเทศบนอินเทอรเน็ตประเภทสถาบันหรือองคกรจะใชมากที่สุด และ Search Engine สอดคลองกับผลการวิจัยของนฤมล เทพนวล (2547) พบวา การใชบริการบนอินเทอรเน็ต ที่ใช คือ โปรแกรมคนหา อาจเปนเพราะบทบาทหนาที่ความรับผิดชอบของผูใชบริการ ที่ตองติดตามขาวสาร เหตุการณปจจุบัน เพื่อจะไดปฏิบัติงานและจัดบริการประชาชนให สอดคลองกับภาวะสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา และความสะดวกในการเขาถึง หนังสือพิมพออนไลนที่สํานักพิมพตาง ๆ ไดจัดไวใหบริการฟรี ก็อาจเปนเหตุผลสําคัญ ที่ผูใชบริการเลือกใชหนังสือพิมพผานทางเครือขายอินเทอรเน็ต


129 เปรียบเทียบการใชเว็บไซต บุคลากรที่มีเพศแตกตางกันไมมีผลตอการใชเว็บไซตหองสมุดทุกประเภท บุคลากรที่มีอายุแตกตางกันมีผลตอการใชเว็บไซตหองสมุดหลายประเภท โดยรวมพบวา บุคลากรที่มีอายุมากกวา 40 ป ขึ้นไป มีการใชบริการสารสนเทศบน เว็บไซตหองสมุดนอยกวาบุคลากรที่มีอายุนอยกวา 40 ป อาจเปนเพราะบุคลากรที่มี อายุมาก ไมคุนเคยและไมมีความสนใจในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความทันสมัย รวมทั้งไมสนใจแสวงหาสารสนเทศมาใชงานเหมือนกับบุคลากรที่มีอายุนอย ซึ่งเปน ชวงอายุที่มีความสนใจในการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอรเน็ต บุคลากรที่มีระดับการศึกษาแตกตางกันไมมีผลตอการใชเว็บไซตหองสมุด ทุกประเภท บุคลากรที่มีกลุมตําแหนงแตกตางกันไมมีผลตอการใชเว็บไซตหองสมุดทุกประเภท ความตองการใชเว็บไซต บริการสารสนเทศที่บุคลากรกรมบัญชีกลางตองการใหมีเพิ่มเติมมากที่สุด คือ ฐานขอมูลออนไลน เชน ฐานขอมูล ABI/Inform อาจเปนเพราะทรัพยากรสารสนเทศ ของหองสมุดยังไมครอบคลุมเนื้อหาที่ผูใชบริการตองการ และไมมีความทันสมัยเพียงพอ ในขณะที่ฐานขอมูลออนไลนจะมีเนื้อหาครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา สามารถเลือกซื้อ เฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวของกับภารกิจของหนวยงานได และบริษัทผูใหบริการยังมี การเพิ่มเติมขอมูลลงในฐานขอมูลเปนประจํา ทําใหเนื้อหามีความทันสมัยอยูตลอดเวลา รองลงมา คือ บริการตรวจสอบสถานะการยืม-คืนของสมาชิก อาจเปนเพราะความคุนเคย กับการใชเทคโนโลยีสารสนเทศทําใหผูใชบริการเชื่อมั่นวาหากสามารถตรวจสอบสถานะ การยืม-คืน ไดดวยตนเองผานทางเว็บไซตหองสมุดจะทําใหผูใชบริการสามารถคืน ทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมไปไดทันตามกําหนด สวนบริการอื่น ๆ ที่สําคัญ คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง บริการสงขาวสารไปยังสมาชิก โดยใชจดหมายอิเล็กทรอนิกส (e-mail) หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร บริการตอบคําถามและชวยการคนควาออนไลน


130 วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง จะเห็นไดวาความตองการในระดับ รองลงมาสวนใหญเปนหนังสือและวารสารอิเล็กทรอนิกส ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากปจจุบัน สารสนเทศสามารถสืบคนไดจากอินเทอรเน็ตทําใหผูใชบริการเกิดความคุนเคย มีความ สะดวกในการเขาถึง และใชงานสารสนเทศที่เปนสื่ออิเล็กทรอนิกส นอกจากนี้ผูใชบริการ ยังมีความตองการ บริการที่เปนการติดตอสื่อสารระหวางเจาหนาที่หองสมุดกับผูใชบริการ แสดงวาผูใชบริการมีความเต็มใจ และพรอมที่จะติดตอสื่อสารกับหองสมุดผานทาง เว็บไซตหองสมุด รูปแบบสารสนเทศที่ตองการ พบวา บุคลากรกรมบัญชีกลางตองการสารสนเทศ แบบเอกสารเนื้อหาเต็ม (full-text) มากที่สุด สอดคลองกับผลการวิจัยของ He and Jacobson (1996) พบวา รูปแบบสารสนเทศที่ตองการ คือ รูปแบบขอความมีเนื้อหาเต็ม รองลงมา คือ รายการทางบรรณานุกรมพรอมสาระสังเขป/บทคัดยอ และวาสนา บุญจูง (2542) พบวา นักวิจัยตองการใชเอกสารเนื้อหาเต็ม อาจเปนเพราะสารสนเทศแบบเนื้อหาเต็ม (full-text) ชวยใหผูใชบริการไดรับความสะดวกในการใชงาน เมื่อสืบคนสารสนเทศที่ตองการผาน ทางเว็บไซตไดแลว สามารถอานเนื้อหาของสารสนเทศหรือนําไปใชไดทันที โดยไมตอง เสียเวลาในการเดินทางไปยืมถึงหองสมุด ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซต ดานผูใชบริการ พบวา ผูใชบริการไมทราบวาสารสนเทศที่ตองการควรหาจาก หัวขอใดบนเว็บไซตหองสมุดมากที่สุด สอดคลองกับผลการวิจัยของสุภาพร เอียบสกุล (2546) พบวา ผูใชไมทราบแหลงสารสนเทศในสาขาที่เกี่ยวของ ประเภทสารสนเทศที่ ใหบริการ อาจเปนเพราะภาษาที่ใชในการจัดกลุมสารสนเทศหรือแยกหัวขอสารสนเทศ ยังไมชัดเจน ใชศัพททางบรรณารักษมากเกินไป ไมสอดคลองกับความเขาใจของผูใชบริการ รองลงมา คือ ไมมีเวลาในการใชเว็บไซตหองสมุด สอดคลองกับผลการวิจัยของวาสนา บุญจูง (2542) พบวา นักวิจัยสวนใหญไมมีเวลาเพียงพอในการใช อรนุช เศวตรัตนเสถียร (2542) พบวา อาจารยไมมีเวลาเพียงพอในการใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการ สวน กฤติยา ไวยมัย (2546); พรวิไล สุขมาก (2546); กติมาศ ดิลกมธุรส (2547) พบวา ผูใช ไมมีเวลาและไมทราบแหลงสารสนเทศ อาจเปนเพราะผูใชบริการมีงานประจําที่ตอง


131 ปฏิบัติมาก จนไมมีเวลาเพียงพอในการใชเว็บไซตหองสมุด และการสืบคนสารสนเทศ ตองใชเวลานานในการคัดเลือกสารสนเทศที่ตองการจึงทําใหไมสะดวก และผูใชบริการ ไมเขาใจเทคนิคในการสืบคนขอมูล สอดคลองกับผลการวิจัยของเยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) พบวา ผูใชขาดทักษะในการใชเวิลดไวดเว็บ ขาดกลยุทธในการสืบคนขอมูล อาจเปนเพราะผูใชบริการยังไมคุนเคยกับการสืบคนสารสนเทศที่ตองการจากฐานขอมูล ทรัพยากรสารสนเทศของหองสมุด ดานเนื้อหา ปญหาที่พบมากที่สุด คือ ขาดคูมือแนะนําการใชงานฐานขอมูล สอดคลองกับผลการวิจัยของเยาวลักษณ สุวรรณแข (2544) พบวา ขาดการแนะนํา อาจเปนเพราะเว็บไซตหองสมุดยังมีคูมือแนะนําการใชบริการและวิธีการสืบคนสารสนเทศ ไมเพียงพอ ไมครอบคลุมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท และที่มีอยูแลวอาจมีรูปแบบ ไมนาสนใจ ไมดึงดูดความสนใจ ยากตอการทําความเขาใจของผูใชบริการ รองลงมา คือ ไมครอบคลุมเนื้อหาที่ตองการ สอดคลองกับผลการวิจัยของกฤติยา ไวยมัย (2546); พรวิไล สุขมาก (2546); กติมาศ ดิลกมธุรส (2547) พบวา สารสนเทศไมครอบคลุม และ ไมทันสมัย อาจเปนเพราะสารสนเทศและเนื้อหาสารสนเทศที่ใหบริการบนเว็บไซต หองสมุดยังไมเพียงพอกับการใชงานและความตองการของผูใชบริการ ดานการออกแบบเว็บไซต พบวา ภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวที่ใชไมดึงดูดความ สนใจมากที่สุด อาจเปนเพราะการออกแบบภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวยังไมดึงดูดความ สนใจของผูใชบริการและยังไมสอดคลองกับเนื้อหาสารสนเทศที่นําเสนอ รองลงมา คือ การจัดวางองคประกอบของโฮมเพจไมเหมาะสม ใชงานยาก อาจเปนเพราะยังขาด การวางแผนในการจัดวางองคประกอบตาง ๆ ของโฮมเพจที่เหมาะสม และขนาด ตัวอักษรอานยากไมสบายตา อาจเปนเพราะขนาดของตัวอักษรเล็กหรือใหญเกินไป และผูจัดทําเว็บไซตหองสมุดอาจไมไดทําการทดสอบกับสภาพแวดลอมการใชงานจริง ของผูใชบริการกลุมเปาหมายสวนใหญ กอนนําขึ้นใหบริการ ซึ่งความละเอียดของ จอภาพคอมพิวเตอรอาจมีผลตอการแสดงตัวอักษร


132

ขอเสนอแนะ ขอเสนอแนะเพื่อนําผลการวิจัยไปใชเปนแนวทางตอไป แบงเปน 3 ขอ ดังนี้ ขอเสนอแนะที่ไดจากการวิจัย 1. ควรมีการจัดหมวดหมูสารสนเทศบนเว็บไซตหองสมุดใหคนหาไดงาย 2. ควรมีบริการที่ผูใชสามารถติดตอสื่อสารกับหองสมุดผานทางเว็บไซต ไดโดยสะดวก เชน บริการตรวจสอบสถานะการยืม-คืนของสมาชิก 3. ควรมีการออกแบบภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวใหสอดคลองกับสารสนเทศ ที่นําเสนอ และดึงดูดความสนใจของผูใชบริการ 4. ควรมีการเชื่อมโยงแหลงสารสนเทศไวใหบริการบนเว็บไซตหองสมุด โดยเฉพาะฐานขอมูลออนไลน และวารสารออนไลน 5. ควรมีคําแนะนําการใชบริการตาง ๆ บนเว็บไซตหองสมุด 6. ควรมีคูมอื แนะนําการใชบริการตาง ๆ บนเว็บไซตหองสมุดที่เปนเอกสาร เพื่อใหผูใชบริการเขาใจวามีบริการอะไรบางและสารสนเทศที่ตองการควรหาจากหัวขอใด ขอเสนอแนะตอหองสมุดกรมบัญชีกลาง 1. สารสนเทศที่ผูใชบริการมีความตองการใชมาก หองสมุดควรจัดหามาไว บริการใหเพียงพอและปรับปรุงขอมูลบนเว็บไซตใหทันสมัยอยูเสมอ เชน ฐานขอมูล ABI/Inform หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง หนังสืออิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขากฎหมาย หนังสืออิเล็กทรอนิกส สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร และ วารสารอิเล็กทรอนิกสสาขาเศรษฐศาสตรและการคลัง 2. บริการสารสนเทศที่ผูใชบริการมีความตองการใชมาก หองสมุดควรจัดไว ใหบริการบนเว็บไซตหองสมุด เชน บริการตรวจสอบสถานะการยืม-คืนของสมาชิก บริการสงขาวสารไปยังสมาชิกโดยใชจดหมายอิเล็กทรอนิกส (e-mail) บริการตอบ-


133 คําถามและชวยการคนควาออนไลน 3. หองสมุดควรมีการจัดทําคูมือแนะนําการใชงานเว็บไซต และคูมือแนะนํา การใชงานฐานขอมูลที่ผูใชบริการสามารถศึกษาไดดวยตนเองผานทางเว็บไซตหองสมุด 4. หองสมุดควรมีการสํารวจการใชเว็บไซตเปนประจํา เพื่อนํามาเปนแนวทางใน การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และพัฒนาเว็บไซตหองสมุดตอไป ขอเสนอแนะสําหรับการวิจัยครั้งตอไป 1. ควรศึกษาการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางกับบุคลากรกรมบัญชีกลาง ที่ปฏิบัติงานในสวนภูมิภาค เนื่องจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสวนภูมิภาคก็มีความสําคัญ ในการดําเนินงานขององคกรเชนเดียวกัน 2. ควรศึกษารูปแบบที่เหมาะสมและประเมินเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง โดยบุคลากรกรมบัญชีกลางทั้งสวนกลางและสวนภูมิภาค 3. ควรศึกษาการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางกับบุคคลภายนอก เพื่อ พัฒนาเว็บไซตใหสามารถบริการและตอบสนองกับความตองการของประชาชนทั่วไป


บรรณานุกรม กติมาส ดิลกมธุรส. (2547). การใชบริการสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตของบรรณารักษ ในหองสมุดโรงเรียนนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. กรมบัญชีกลาง. (2548). รายงานประจําปงบประมาณ พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: ผูแตง. กฤติยา ไวยมัย. (2546). การใชเว็บไซตสํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคําแหงของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. กอบเกียรติ สระอุบล. (2547). คูมือการสรางและดูแลเว็บไซตดวยตนเอง. กรุงเทพฯ: บี อี แอนด ซี บุคส. จิราพร ทัศนานุสิทธิ์. (2545). การวิเคราะหเว็บไซตหองสมุดสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ชัยยุทธ ลิมลาวัลย. (2544). Webmaster กับการบริหารเว็บไซต. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. ณาตยา ฉาบนาค. (2548). อินเทอรเน็ตเบื้องตน. กรุงเทพฯ: เอส.พี.ซี. บุคส. ทักษิณา สวนานนท. (2539). พจนานุกรมศัพทคอมพิวเตอร สําหรับผูปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: ดวงกมลสมัย. เทวา จุฬารี. (2544). สภาพการใชและการยอมรับอินเทอรเน็ตของอาจารยและนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. นพพร เพียรพิกุล. (2544). เว็บไซตของหองสมุดกับการใหบริการสารสนเทศ. วารสารสํานักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม, 8, 56-63. นฤมล เทพนวล. (2547). การใชอินเทอรเน็ตเพื่อการศึกษาของนักเรียนสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. นวพันธ ปยะวรรณกร (บรรณาธิการ). (2544). เกงอินเตอรเน็ตใน 11 ชั่วโมง. กรุงเทพฯ: สารสาร มารเก็ตติ้ง.


144 น้ําทิพย วิภาวิน. (2548). การใชหองสมุดยุคใหม (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. นิทัศน อิทธิพงษ. (2544). การพัฒนาหลักการออกแบบเว็บเพจการศึกษาตามรูปแบบ เว็บไซตยอดนิยมของไทย. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. นิภาภรณ คําเจริญ. (2544). เริ่มตนเรียนรูการใชงาน Internet เบื้องตน. กรุงเทพฯ: เอส.พี.ซี.พริน้ ติ้ง. นิรุธ อํานวยศิลป. (2542). สรางเว็บเพจอยางไรขีดจํากัด CGI & Perl เพื่อการประยุกตใชงาน: เรียนรูงาย เขาใจเร็ว พรอมปฏิบัติไดจริง. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย. ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร (พิมพครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ปวีณา ฉ่ํากิ่ง. (2546). สภาพและปญหาการใชอินเทอรเน็ตในศูนยการศึกษาจันทรเกษมสหะพาณิชย. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง. ปยวิท เจนกิจจาไพบูลย. (2540). เรียนรูการสรางโฮมเพจดวย HTML. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพวิศาสตร. ผุสดี นนทคําจันทร. (2542). การแสวงหาสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. พรพิศ อุปถัมภ. (2545). การใชบริการสารสนเทศบนเวิลดไวดเว็บศูนยสนเทศและ หอสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. พรวิไล สุขมาก. (2546). สภาพและปญหาการใชอินเทอรเน็ตของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3. วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาเจาคุณทหารลาดกระบัง. พิมพรัฐ วงษดนตรี. (2545). การนําเสนอองคประกอบของเนื้อหาที่เหมาะสมในเว็บไซต เครือขายการศึกษา. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.


145 เพ็ญแข แสงแกว. (2541). การวิจัยทางสังคมศาสตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, คณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี, ภาควิชาคณิตศาสตรและสถิติ. ภควดี สุวรรณะโสภณ. (2543). ทัศนติและพฤติกรรมการแสวงหาขอมูลขาวสารในเว็บไซตพาณิชยอิเล็กทรอนิกสของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย. ภาษิต เครืองเนียม. (2549). หัดสรางเว็บไซตดวย Dreamweaver 8 ฉบับมือใหม. นนทบุรี: ไอดีซี อินโฟ ดิสทริบิวเตอร เซ็นเตอร. เยาวลักษณ สุวรรณแข. (2544). การสืบคนสารนิเทศบนเว็บไซตของคณาจารยและ นักวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. รุงอรุณ ผาสุกสกุล. (2542). การใชบริการอินเทอรเน็ตของนิสิตในหองสมุดจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วงศประชา จันทรสมวงศ และดวงพร เกี๋ยงคํา. (2547). อินไซด Dreamweaver MX 2004. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น. วัสสมาลย ตินทุกานนท. (2544). การรับรูและการใชอินเทอรเน็ตของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. วาสนา บุญจูง. (2542). ความตองการและการใชสารสนเทศบนอินเทอรเน็ตของนักวิจัย ดานไทยศึกษา. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วาสนา สุขกระสานติ. (2545). โลกของคอมพิวเตอร สารสนเทศ และอินเทอรเน็ต (พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2549). เว็บไซต. คนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2549, จาก http://th.wikipedia.org/wiki วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์. (2542). เรียนรูอินทราเน็ต ระบบเครือขายองคกรยุคใหม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ, สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแหงชาติ. (2544). รายงานผลการสํารวจกลุมผูใช อินเทอรเน็ตในประเทศไทย ป 2543. กรุงเทพฯ: ผูแตง.


146 ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ, สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแหงชาติ. (2545). รายงานผลการสํารวจกลุมผูใช อินเทอรเน็ตในประเทศไทย ป 2544. กรุงเทพฯ: ผูแตง. ศูนยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกสและคอมพิวเตอรแหงชาติ, สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแหงชาติ. (2546). รายงานผลการสํารวจกลุมผูใช อินเทอรเน็ตในประเทศไทย ป 2545. กรุงเทพฯ: ผูแตง. สุกัญญา อางศิลา. (2541). สภาพและปญหาการใชอินเทอรเน็ตเพื่อการบริการผูใชใน หองสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในสวนภูมิภาค (PULINET). วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สุพัตรา คชาทอง. (2545). การใชอินเทอรเน็ตของผูสูงอายุ: กรณีศึกษาสมาชิกกลุม OPPY Club. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. สุภาพร เอียบสกุล. (2546). การใชสารสนเทศบนเครือขายอินเทอรเน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. สุวิมล ธนะผลเลิศ. (2545). การใชบริการอินเทอรเน็ตของนิสิตในศูนยบรรณสารสนเทศ ทางการศึกษา คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. เสกสรร สายสีสด. (2542). การใชประโยชนจากอินเทอรเน็ตของนักศึกษา อาจารย และ ผูบริหารสถาบันราชภัฏอุดรธานี. วิทยานิพนธนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. อรนุช เศวตรัตนเสถียร. (2542). การใชและไมใชเว็บไซตสถาบันวิทยบริการของคณาจารยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Al-Harbi, A. H. (2002). Internet use by graduate students in the Communication Department of Florida State University and its impact on the use of FSU academic libraries. Dissertation Abstracts International, 63(05), 1603-A. (UMI No. 3055743)


147

Burke, J. (1996). Learning the Internet. New York: Neal-Schuman. Ha, M. (2004). Development of an instrument for accessing quality of a Convention and Visitors Bureau web site. Dissertation Abstracts International, 42(02), 434-A. (UMI No. 1416222) He, P. W., & Jacobson, T. E. (1996). What are they doing with the Internet?: A study of user information seeking behaviors. Internet Reference Services Quarterly, 1(1), 31-51. Hwong, W. L. (2003). Internet learning: An assessment of students’ Internet usage in one college in Taiwan (China). Dissertation Abstracts International, 64(01), 57-A. (UMI No. 3077707) Jurkowski, O. L. (2004). An analysis of library web sites at colleges and universities serving distance education students. Dissertation Abstracts International, 64(08), 2853-A. (UMI No. 3102755) Kibirige, H. M., & DePalo, L. (2000). The Internet as a source of academic research information: Findings of two pilot studies. Information Technology and Libraries, 19(1), 11-16. Logan, R. (1998). Colorado librarian Internet use: Results of a survey. School Library Media Quarterly (Online). Retrieved April 25, 2006, from http://vnweb.hwwilsonweb.com/hww/results/results_common.jhtml?nn=40 Mohaiadin, J. (1996). Utilization of the Internet by Malaysian student who are studying in foreign countries and factors that influence its adoption. Dissertation Abstracts International, 57(01), 180-A. (UMI No. 9614210) Schwartz, J. (2002). Internet access and end-user needs: Computer use in an academic library. Reference & User Services Quarterly, 41(3), 253-263.


148

Stover, M. (2000). Reference librarians and the Internet: A qualitative study. Reference Services Review, 28(1), 39-46. Voorbij, H. J. (1999). Searching scientific information on the Internet: A Dutch academic user survey. Journal of the American Society for Information Science, 50(7), 598-615. Wilson, R. A. (1998). Students’ use of the Internet for course-related research: Factors which account for use or non-use. Dissertation Abstracts International, 58(07), 2566-A. (UMI No. 9802771) Zumalt, J. R., & Pasicznyuk, R. W. (1998). The Internet and reference services: A real-world test of internet utility. Reference & User Services Quarterly, 38(2), 165-172.


การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง

ไพบูลย ปะวะเสนะ

วิทยานิพนธเสนอตอมหาวิทยาลัยรามคําแหง เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร) ปการศึกษา 2550


ประวัติผูเขียน ชื่อ ชื่อสกุล วัน เดือน ปเกิด สถานที่เกิด วุฒิการศึกษา

ตําแหนงหนาที่ การงานปจจุบัน

นายไพบูลย ปะวะเสนะ 23 เมษายน 2521 จังหวัดมหาสารคาม สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนวาปปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปการศึกษา 2539 สําเร็จปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) (บรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร) เกียรตินิยมอันดับ 1 จากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม ปการศึกษา 2543 พ.ศ. 2545 - ปจจุบัน รับราชการในตําแหนง บรรณารักษ 5 หองสมุดกรมบัญชีกลาง


ภาคผนวก ก แบบสอบถาม


135 แบบสอบถาม เรื่อง การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง 1. คําชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม แบบสอบถามชุดนี้มีวัตถุประสงค เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช ศึก ษาความตอ งการใช ศึกษาปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ขอความอนุเคราะหจากทานไดโปรดพิจารณาแบบสอบถามและกรุณาตอบแบบสอบถาม ใหตรงกับความเปนจริงมากที่สุดและทําใหครบถวนทุกขอ เพื่อใหไดขอมูลที่ถูกตองและสมบูรณ ขอ มูล ที่ไ ดจ ากคํา ตอบของทา นจะเปน ประโยชนอ ยา งยิ่ง สํา หรับ การพัฒนาเว็บไซตหองสมุด กรมบัญชีกลางตอไป คําตอบของทุกทานจะถูกนําไปวิเคราะหผลทางสถิติ และจะไมมีการอางอิงถึง ตัวบุคคลไมวาในกรณีใด ๆ ก็ตาม 2. คําอธิบายศัพทที่ใชในการวิจัย บุคลากรกรมบัญชีกลาง หมายถึง ขาราชการระดับ 1-8 และพนักงานราชการของกรมบัญชีกลาง ที่ปฏิบัติงานในสวนกลาง กลุมตําแหนง หมายถึง กลุมตําแหนงของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ซึ่งประกอบดวย 5 กลุม ดังนี้ 1. กลุมดานการเงินและบัญชี ไดแก นักบัญชี นักวิชาการเงินและบัญชี เจาหนาที่ตรวจสอบภายใน เจาหนาที่การเงินและบัญชี เจาพนักงานการเงินและบัญชี เจาหนาที่บริหารงานการเงินและ บัญชี และเจาหนาที่ดูเงิน 2. กลุมดานเศรษฐศาสตรและการคลัง ไดแก นักวิชาการคลัง เจาหนาทีว่ ิเคราะหระบบงาน นักวิชาการพัสดุ เจาหนาที่พสั ดุ เจาหนาทีบ่ ริหารงานพัสดุ เจาหนาทีก่ ารคลัง เจาพนักงานการคลัง และเจาหนาทีบ่ ริหารงานการคลัง 3. กลุมดานกฎหมาย ไดแก นิติกร 4. กลุมดานวิทยาการคอมพิวเตอร ไดแก นักวิชาการคอมพิวเตอร และเจาหนาที่เครื่องคอมพิวเตอร 5. กลุมดานการบริหาร ไดแก บุคลากร นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล บรรณารักษ เจาหนาที่วิเคราะหนโยบายและแผน นักประชาสัมพันธ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เจาพนักงานโสตทัศนศึกษา เจาหนาที่บริหารงานทั่วไป เจาหนาที่ธุรการ เจาหนาที่บริหารงานธุรการ เจาหนาที่บันทึกขอมูล และชางศิลป


136 ผูวิจัยหวังเปนอยางยิ่งวาจะไดรับความรวมมือจากผูตอบแบบสอบถามทุกทานเปนอยางดี และขอขอบคุณมา ณ ทีน่ ี้ดว ย นายไพบูลย ปะวะเสนะ นักศึกษาปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร รุน 11 มหาวิทยาลัยรามคําแหง ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผูต อบแบบสอบถาม คําชี้แจง โปรดใสเครื่องหมาย 9 หรือเติมขอความลงในชองที่ตรงกับความจริง 1. เพศ ( ) 1. ชาย

( ) 2. หญิง

2. อายุ ( ) 1. ต่ํากวา 26 ป ( ) 3. 31-35 ป ( ) 5. 41-45 ป 3. ระดับการศึกษา ( ) 1. ต่ํากวาปริญญาตรี 4. กลุมตําแหนง ( ) 1. ดานการเงินและบัญชี ( ) 3. ดานกฎหมาย ( ) 5. ดานการบริหาร

( ) 2. 26-30 ป ( ) 4. 36-40 ป ( ) 6. มากกวา 45 ป ขึ้นไป

( ) 2. ปริญญาตรี

( ) 3. ปริญญาโท

( ) 4. ปริญญาเอก

( ) 2. ดานเศรษฐศาสตรและการคลัง ( ) 4. ดานวิทยาการคอมพิวเตอร

5. สถานที่เขาใชบริการอินเทอรเน็ต เพื่อใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง (ตอบไดมากกวา 1 ขอ) ( ) 1. ที่หองสมุดกรมบัญชีกลาง ( ) 2. ที่อื่น ๆ ภายในกรมบัญชีกลาง ( ) 3. ที่บาน ( ) 4. ที่รานบริการอินเทอรเน็ต


137 6. ความถี่ในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ( ) 1. ทุกวัน ( ) 2. 1-2 ครั้ง/สัปดาห ( ) 3. 3-4 ครั้ง/สัปดาห ( ) 4. มากกวา 4 ครั้ง/สัปดาห ( ) 5. อื่น ๆ (โปรดระบุ) ...................................................... 7. ชวงเวลาที่ใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางบอยที่สดุ ( ) 1. 06.00-09.59 น. ( ) 2. 10.00-13.59 น. ( ) 3. 14.00-17.59 น. ( ) 4. 18.00-21.59 น. ( ) 5. 22.00-01.59 น. ( ) 6. 02.00-05.59 น. 8. วัตถุประสงคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง (ตอบไดมากกวา 1 ขอ) ( ) 1. เพื่อประกอบการทํางาน ( ) 2. เพื่อประกอบการศึกษา ( ) 3. เพื่อเพิ่มพูนความรู ( ) 4. เพื่อติดตามขาวสารตาง ๆ ( ) 5. เพื่อเชื่อมโยงไปสูแหลงสารสนเทศอื่น ๆ 9. การเขาถึงเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง (ตอบไดมากกวา 1 ขอ) ( ) 1. โดยพิมพยูอารแอล (URL) ของหองสมุดโดยตรง (http://www.cgd.go.th/library) ( ) 2. โดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของกรมบัญชีกลาง (http://www.cgd.go.th) ( ) 3. โดยการเชื่อมโยงจากเว็บไซตของหนวยงานอื่น ๆ ( ) 4. โดยการสืบคนจาก Search Engine เชน Google, Yahoo, Sanook เปนตน 10. การสืบคนขอมูลบนเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง (ตอบไดมากกวา 1 ขอ) ( ) 1. สืบคนดวยตนเอง ( ) 2. ใหเจาหนาที่หองสมุดสืบคนให ( ) 3. ใหเพื่อนรวมงานสืบคนให ( ) 4. ใหผูใตบังคับบัญชาสืบคนให


138 ตอนที่ 2 การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง คําชี้แจง โปรดใสเครื่องหมาย 9 ลงในชองที่ตรงกับความจริง 5 = มากที่สุด

4 = มาก

3 = ปานกลาง

2 = นอย

1 = นอยที่สุด

ประเภทบริการ 5 ขอมูลเกี่ยวกับหองสมุด 1. ขอมูลทั่วไป (ประวัติ ทรัพยากร การจัดหมวดหมูทรัพยากร) 2. ขอมูลเกี่ยวกับบริการ (ระเบียบการใชบริการ บริการของหองสมุด) 3. ขาวประชาสัมพันธ กิจกรรมอื่น ๆ 1. แนะนําหนังสือใหม 2. แนะนําซีดรี อมใหม 3. วารสารที่มีในหองสมุด 4. กฎหมายและระเบียบทีน่ า สนใจ 5. นําชมหองสมุด 6. สรุปขาวประจําวัน 7. กระดานขาว 8. สมุดเยี่ยม 9. สถิติที่นาสนใจ ฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ 1. ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมหนังสือ 2. ฐานขอมูลวารสารและดรรชนีวารสาร 3. ฐานขอมูลรายการทางบรรณานุกรมซีดรี อมและเทปคาสเซ็ต 4. ฐานขอมูลสารบัญราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา (ฉบับ ก) 5. ฐานขอมูลกฎหมายและระเบียบการคลัง 6. ฐานขอมูลผลงานทางวิชาการของขาราชการกรมบัญชีกลาง

ระดับการใช 4 3 2

1


139 ประเภทบริการ 5 องคความรู (สาระความรูตาง ๆ) 1. ความรูเกี่ยวกับการบัญชี 2. ความรูเกี่ยวกับการบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐสูระบบ อิเล็กทรอนิกส (GFMIS) 3. ความรูเกี่ยวกับนักบริหารเศรษฐกิจการคลังจังหวัด (CFO) 4. ความรูเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจางภาครัฐ (government procurement) 5. ความรูเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย Link ฐานขอมูลออนไลนที่เขาใช 1. ฐานขอมูลวิทยานิพนธไทย 2. ฐานขอมูลงานวิจยั ไทย 3. ฐานขอมูลชี้แหลงวารสารไทย (journal link) 4. ฐานขอมูลบทความวารสาร (article link) Link แหลงสารสนเทศที่เขาใช 1. หนวยงานราชการ 2. หองสมุดในประเทศไทย 3. หองสมุดในตางประเทศ 4. รานหนังสือหรือสํานักพิมพ 5. ธนาคาร 6. สถานีโทรทัศน 7. หนังสือพิมพ 8. Search Engine เชน Google, Yahoo, Sanook เปนตน

ระดับการใช 4 3 2

1


140 ตอนที่ 3 ความตองการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง คําชี้แจง โปรดใสเครื่องหมาย 9 ลงในชองที่ตรงกับความจริง 5 = มากที่สุด

4 = มาก

3 = ปานกลาง

2 = นอย

ประเภทบริการ บริการสารสนเทศที่ตองการใหมีเพิ่มเติม 1. ฐานขอมูลออนไลน เชน ฐานขอมูล ABI/Inform (บทความทาง ดานเศรษฐศาสตร การเงิน ธุรกิจ) 2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส (e-books) ดานการเงินและบัญชี 3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส (e-books) ดานเศรษฐศาสตรและการคลัง 4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส (e-books) ดานกฎหมาย 5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส (e-books) ดานวิทยาการคอมพิวเตอร 6. หนังสืออิเล็กทรอนิกส (e-books) ดานการบริหาร 7. วารสารอิเล็กทรอนิกส (e-journals) ดานการเงินและบัญชี 8. วารสารอิเล็กทรอนิกส (e-journals) ดานเศรษฐศาสตรและการคลัง 9. วารสารอิเล็กทรอนิกส (e-journals) ดานกฎหมาย 10. วารสารอิเล็กทรอนิกส (e-journals) ดานวิทยาการคอมพิวเตอร 11. วารสารอิเล็กทรอนิกส (e-journals) ดานการบริหาร 12. กฤตภาคขาวออนไลน (news clipping on internet) 13. แนะนําการสืบคนฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศหองสมุด 14. แนะนําการสืบคนฐานขอมูลออนไลน 15. แนะนําการใชบริการหองสมุด 16. แนะนําการใชทรัพยากรสารสนเทศ 17. บริการตรวจสอบสถานะการยืม-คืนของสมาชิก เชน หนังสือคางสง 18. บริการสงขาวสารไปยังสมาชิกโดยใชจดหมายอิเล็กทรอนิกส (e-mail) 19. บริการตอบคําถามและชวยการคนควาออนไลน 20. บริการคําถามที่มีผูใชบริการสอบถามบอยครั้ง (FAQ) 21. แบบฟอรมยืมระหวางหองสมุดที่ตั้งอยูในพื้นที่กระทรวงการคลัง

1 = นอยที่สุด ระดับความตองการใช 5 4 3 2 1


141 ประเภทบริการ

ระดับความตองการใช 5 4 3 2 1

บริการสารสนเทศที่ตองการใหมีเพิ่มเติม 22. แบบฟอรมเสนอแนะรายชื่อหนังสือ/ซีดีรอมที่หองสมุดควรจัดหา 23. นิทรรศการออนไลนในวันสําคัญตาง ๆ 24. รายชื่อผูมีอุปการะคุณตอหองสมุด รูปแบบสารสนเทศที่ตองการ 1. รายการทางบรรณานุกรม เชน ชื่อผูแตง ชื่อเรื่อง สํานักพิมพ ปทพี่ มิ พ 2. รายการทางบรรณานุกรมพรอมสาระสังเขป/บทคัดยอ (abstract) 3. เอกสารเนือ้ หาเต็ม (full-text) ตอนที่ 4 ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง คําชี้แจง โปรดใสเครื่องหมาย 9 ลงในชองที่ตรงกับความจริง 5 = มากที่สุด

4 = มาก

3 = ปานกลาง

2 = นอย

1 = นอยที่สุด

ปญหาและอุปสรรค 5 ดานผูใชบริการ 1. ขาดความรูแ ละทักษะในการใชอินเทอรเน็ต 2. ขาดความชํานาญในการใชเว็บไซตหองสมุด 3. ไมเขาใจเทคนิคในการสืบคนขอมูล 4. ไมมีเวลาในการใชเว็บไซตหองสมุด 5. ไมทราบวาสารสนเทศที่ตองการควรหาจากหัวขอใดบนเว็บไซตหองสมุด ดานเนื้อหา 1. ไมทันสมัย 2. ไมครอบคลุมเนื้อหาที่ตองการ 3. สารสนเทศมีมากเกินไปทําใหคนหายาก 4. การจัดกลุมสารสนเทศไมชัดเจนทําใหสบั สน 5. ขาดคูมือแนะนําการใชงานฐานขอมูล

ระดับของปญหา 4 3 2

1


142 ปญหาและอุปสรรค 5

ระดับของปญหา 4 3 2

ดานเนื้อหา 6. ตัวสะกดผิดพลาดบอย 7. ความเหมาะสมของภาษา สํานวน ดานการออกแบบเว็บไซต 1. การจัดวางองคประกอบของโฮมเพจไมเหมาะสมใชงานยาก 2. โฮมเพจมีตวั อักษรมากเกินไป 3. โฮมเพจมีภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวมากเกินไป 4. ภาพกราฟก/ภาพเคลื่อนไหวทีใ่ ชไมดึงดูดความสนใจ 5. เว็บเพจไมเปนมาตรฐานเดียวกันทั้งเว็บไซต เชน สีของลิงค 6. การจัดหมวดหมูของเนื้อหาไมชัดเจน 7. รูปแบบตัวอักษรอานยากไมสบายตา 8. ขนาดตัวอักษรอานยากไมสบายตา 9. สีตัวอักษรไมเหมาะสม 10. สีของพื้นหลังไมเหมาะสม ขอเสนอแนะ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ขอขอบคุณทุกทานที่กรุณาตอบแบบสอบถาม ไพบูลย ปะวะเสนะ

1


สารบัญ

บทคัดยอภาษาไทย................................................................................................ บทคัดยอภาษาอังกฤษ........................................................................................... กิตติกรรมประกาศ................................................................................................ สารบัญตาราง........................................................................................................ สารบัญภาพประกอบ............................................................................................ บทที่ 1 บทนํา ......................................................................................................... ความเปนมาและความสําคัญของปญหา.............................................. วัตถุประสงคของการวิจัย .................................................................... ขอบเขตของการวิจัย ........................................................................... สมมติฐานของการวิจัย........................................................................ นิยามศัพทเฉพาะ ................................................................................ ประโยชนทคี่ าดวาจะไดรับ ................................................................. 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวของ .............................................................................. อินเทอรเน็ต ........................................................................................ เว็บไซต............................................................................................... เว็บไซตหองสมุด ................................................................................ กรมบัญชีกลาง.................................................................................... หองสมุดกรมบัญชีกลาง ..................................................................... งานวิจัยที่เกี่ยวของ.............................................................................. 3 วิธีดําเนินการวิจัย ...................................................................................... ประชากร กลุมตัวอยาง และตัวแปรที่ใชในการวิจัย ............................. เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ...................................................................... (9)

หนา (4) (6) (8) (11) (16) 1 1 3 4 4 4 5 6 6 14 25 33 36 40 59 59 61


บทที่ การสรางเครื่องมือที่ใชในการวิจัย........................................................ การเก็บรวบรวมขอมูล ......................................................................... การวิเคราะหขอมูลและสถิติที่ใชในการวิจัย ........................................ 4 การวิเคราะหผลการวิจัย .............................................................................. ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผูตอบแบบสอบถาม.............................. ตอนที่ 2 การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง................................. ตอนที่ 3 เปรียบเทียบการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง .................................. ตอนที่ 4 ความตองการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง ................. ตอนที่ 5 ปญหาและอุปสรรคในการใชเว็บไซตหองสมุด กรมบัญชีกลาง ....................................................................... 5 สรุป อภิปรายผล และขอเสนอแนะ............................................................. สรุปผลการวิจัย .................................................................................... อภิปรายผลการวิจัย .............................................................................. ขอเสนอแนะ........................................................................................ ภาคผนวก ก แบบสอบถาม ............................................................................................ บรรณานุกรม........................................................................................................ ประวัติผูเขียน........................................................................................................

(10)

หนา 62 63 63 65 65 70 75 115 118 121 121 124 132 135 143 149


สารบัญตาราง ตาราง หนา 1 ขนาดของกลุมตัวอยางที่คํานวณไดแยกตามสวนงาน ................................ 61 2 จํานวนและรอยละของบุคลากรจําแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุมตําแหนง ....................................................................................... 66 3 จํานวนและรอยละของสถานที่เขาใชบริการอินเทอรเน็ต เพื่อใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง..................................................... 67 4 จํานวนและรอยละของความถี่ในการใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง . 67 5 จํานวนและรอยละของชวงเวลาที่ใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง บอยที่สดุ .................................................................................................... 68 6 จํานวนและรอยละของวัตถุประสงคในการใชเว็บไซตหองสมุด กรมบัญชีกลาง........................................................................................... 68 7 จํานวนและรอยละของการเขาถึงเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลาง............ 69 8 จํานวนและรอยละของการสืบคนขอมูลบนเว็บไซตหองสมุด กรมบัญชีกลาง........................................................................................... 69 9 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของ บุคลากรกรมบัญชีกลาง .............................................................................. 70 10 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากร กรมบัญชีกลาง........................................................................................... 71 11 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง....................................................................... 72 12 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากรกรมบัญชีกลาง....................................................................... 73 13 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของ บุคลากรกรมบัญชีกลาง ............................................................................. 74 (11)


ตาราง หนา 14 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลาง ............................................................................. 74 15 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศ................................................................. 76 16 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามเพศ................................................................................ 76 17 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศ.......................................................... 77 18 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศ.......................................................... 78 19 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศ................................................................. 79 20 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามเพศ................................................................. 80 21 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ................................................................. 81 22 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามอายุ............................................................................... 82 23 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชกิจกรรมอืน่ ๆ ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามอายุ............................................................................... 83 24 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ .......................................................... 84 25 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ................................................................. 85 (12)


ตาราง หนา 26 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ .......................................................... 86 27 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ .......................................................... 87 28 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ................................................................. 89 29 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ................................................................. 90 30 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ................................................................. 91 31 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใช Link แหลงสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามอายุ................................................................. 92 32 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา .............................................. 93 33 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา ............................................................ 94 34 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา........................................ 95 35 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา........................................ 96 36 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา .............................................. 97 37 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา .............................................. 98 (13)


ตาราง 38 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใช Link แหลงสารสนเทศของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามระดับการศึกษา............................................................ 39 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชขอมูลเกี่ยวกับหองสมุดของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง.................................................. 40 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชขอมูลเกีย่ วกับหองสมุดของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง.................................................. 41 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชกิจกรรมอื่น ๆ ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง ................................................................ 42 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชกิจกรรมอืน่ ๆ ของบุคลากร กรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง ................................................................ 43 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชฐานขอมูลทรัพยากรสารสนเทศ ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง ........................................... 44 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง ........................................... 45 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใชองคความรู (สาระความรูตาง ๆ) ของบุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง ........................................... 46 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง .................................................. 47 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใช Link ฐานขอมูลออนไลนของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง .................................................. 48 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช Link แหลงสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง .................................................. 49 เปรียบเทียบคาเฉลี่ยเปนรายคู การใช Link แหลงสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลางตามกลุมตําแหนง .................................................. (14)

หนา 99 99 101 102 103 104 107 109 110 111 112 113


ตาราง 50 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตองการใชบริการสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลาง ............................................................................. 51 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความตองการใชรูปแบบสารสนเทศของ บุคลากรกรมบัญชีกลาง ............................................................................. 52 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปญหาและอุปสรรคดานผูใชบริการ........ 53 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปญหาและอุปสรรคดานเนื้อหา............... 54 คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปญหาและอุปสรรคดานการออกแบบ เว็บไซต......................................................................................................

(15)

หนา 115 117 118 119 119


สารบัญภาพประกอบ ภาพ หนา 1 โฮมเพจหองสมุดกรมบัญชีกลาง ........................................................ 38

(16)


การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง

ไพบูลย ปะวะเสนะ

วิทยานิพนธเสนอตอมหาวิทยาลัยรามคําแหง เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (บรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร) ปการศึกษา 2550 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยรามคําแหง


UTILIZATION OF THE COMPTROLLER GENERAL’S DEPARTMENT LIBRARY WEB SITE BY DEPARTMENT PERSONNEL

PAIBOON PAWASENA

A THESIS PRESENTED TO RAMKHAMHAENG UNIVERSITY IN PARTIAL FULFILLMENT OF THE REQUIREMENTS FOR THE DEGREE OF MASTER OF ARTS (LIBRARY AND INFORMATION SCIENCE) 2007 COPYRIGHTED BY RAMKHAMHAENG UNIVERSITY


ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ การใชเว็บไซตหองสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง ชื่อผูเขียน นายไพบูลย ปะวะเสนะ ภาควิชาและคณะ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร คณะมนุษยศาสตร คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ รองศาสตราจารย ดร. สุนีย กาศจํารูญ ประธานกรรมการ อาจารย ดร. สุวิมล อังควานิช นางจุฑามาศ มงคลพิทักษสุข _____________________________________________________________________ มหาวิทยาลัยรามคําแหงอนุมัติใหวิทยานิพนธฉบับนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต .......................................................................................คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย (ผูชวยศาสตราจารยพิมล พูพิพิธ) คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ .......................................................................................ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย ดร. สุนีย กาศจํารูญ) .......................................................................................กรรมการ (อาจารย ดร. สุวิมล อังควานิช) .......................................................................................กรรมการ (นางจุฑามาศ มงคลพิทักษสุข)

(3)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.