จดหมายข่าว5

Page 1

ฉบับที่ 5 : กรกฎาคม–กันยายน 2557

5th issue: July–September 2014

ข้อสังเกตบางประการ ต่อการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน เพื่ อขยายขอบข่ายความคุ้มครองประกันสังคม แก่ลูกจ้างในภาคเกษตรเเละภาคประมง

สถานการณ์ ด้านนโยบายและ การบังคับใช้กฎหมาย

ภัทรานิษฐ์ เยาด�ำ

มื่อพิจารณาถึงสถิติของกองประมงต่างประเทศ กรมประมง พบว่าประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมด ไปยังประเทศต่างๆ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2557 เป็นจำ�นวนถึง 704,658.02 ตัน คิดเป็นมูลค่า 86,596.03 ล้านบาท อันเเสดงให้เห็นถึงความต้องการแรงงานภาคประมงเป็นจำ�นวนมากโดยมีการประมาณการว่าในสายพานการผลิตดังกล่าว ต้องอาศัยผูป้ ฏิบตั งิ านด้านการประมงชายฝัง่ ทะเลและการประมงนอกน่านน้ำ� เป็นจำ�นวนกว่า 283,557 คน เเละตัวเลขดังกล่าว มีความใกล้เคียงกับเเรงงานภาคเกษตรที่ปัจจุบันกลายเป็นกำ�ลังหลักในการผลิตขั้นพื้นฐานในประเทศเช่นเดียวกัน เเม้ โ ดยสภาพของอั ต ราการผลิ ต จะเเสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความส�ำคัญของแรงงานกลุ่มใหญ่ที่เป็นก�ำลังหลักของงาน ทั้งสองประเภท เเต่ทิศทางการให้ความคุ้มครองทางกฎหมาย กลั บ แปรไปในทิ ศ ทางผกพั น โดยเฉพาะเจตนารมณ์ ข อง กฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนทีม่ งุ่ คุม้ ครองเเรงงานอันเป็นลูกจ้าง ทีป่ ระสบอุบตั เิ หตุหรือเจ็บป่วยอันเนือ่ งมาจากการท�ำงาน ตาม ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2545

ยังยกเว้นให้นายจ้างในบางกิจการ ซึง่ รวมถึงนายจ้างซึง่ ประกอบ กิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้าง ตลอดปีและไม่มงี านลักษณะอืน่ รวมอยูด่ ว้ ยไม่มหี น้าทีต่ อ้ งจ่าย เงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ท�ำให้ลกู จ้างต้องเรียกร้องสิทธิ ในเงินทดแทนดังกล่าวจากนายจ้างเอง อันเป็นปัญหาการเข้าถึง สิทธิในกองทุนเงินทดแทนของลูกจ้างอย่างยิง่ โดยเฉพาะลูกจ้าง ที่เป็นแรงงานข้ามชาติ


ในช่วงเดือนสิงหาคม 2557 ส�ำนักงานประกันสังคม ได้จัดโครงการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อการขยายขอบข่าย ความคุม้ ครองประกันสังคมแก่ลกู จ้างในภาคเกษตรเเละประมง ตลอดช่วงเดือนสิงหาคมในพืน้ ที่ 4 จังหวัด คือ ระยอง ขอนแก่น ตาก เเละสุราษฏร์ธานี ซึ่งผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ประกอบด้วย ตัวเเทนนายจ้าง ลูกจ้าง เเละองค์กรภาคประชาสังคมนั้นเห็น ด้วยต่อการเสนอปรับปรุงกฎหมายในประเด็นดังกล่าวเเต่ทั้งนี้ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้สะท้อนข้อสังเกต บางประการที่รัฐไทยอาจต้องประสบ ดังนี้ 1. การจัดการระบบการขึน้ ทะเบียนลูกจ้าง สืบเนือ่ งจาก สภาพการจ้างงานของแรงงานประมงนั้นยังไม่มีมาตรฐาน เพียงพอที่เอื้อต่อการจัดหาลูกจ้างที่ถูกกฎหมาย ท�ำให้เกิด ระบบนายหน้าจัดหาแรงงานขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการในการผลิต ซึ่ ง หากไม่ ส ามารถจั ด การปั ญ หา ดังกล่าวได้ ย่อมไม่สามารถพัฒนา ระบบการขึน้ ทะเบียนลูกจ้างให้เข้ามา อยู ่ ใ นระบบกองทุ น เงิ น ทดแทน ได้อย่างเเน่นอน 2. ป ั ญ ห า ก า ร ตี ค ว า ม นิติสัมพันธ์ระหว่างการจ้างแรงงาน เเละการจ้ า งท� ำ ของ อั น เป็ น หลั ก กฎมายเบื้ อ งต้ น ของการคุ ้ ม ครอง สิทธิลูกจ้างที่ต้องมีนิติสัมพันธ์กับ นายจ้างในลักษณะการจ้างเเรงงาน เเต่ พ บว่ า งานเกษตรโดยเฉพาะ ในรายที่ น ายจ้ า งเป็ น เจ้ า ของสวน ยางพาราเเละสวนปาล์มมีลักษณะ การหมุ น เวี ย นลู ก จ้ า งท� ำ งานกั บ นายจ้ า งหลายคนเเละบางครั้ ง ลูกจ้างก็น�ำคนในครอบครัวมาช่วย งานนายจ้างด้วย อันเป็นประเด็นข้อ กฎหมายทีล่ ะเอียดอ่อนในการตีความ เเละหากเจ้าหน้าที่หรือนายจ้างไม่มี ความรู้ความเข้าใจถึงความเเตกต่าง ระหว่างสองนิติสัมพันธ์จะก่อให้เกิด ความสับสนเเละเกิดผลกระทบต่อ การขึ้นทะเบียนลูกจ้างเเละนายจ้าง ได้ 3. ข้ อจ� ำ กั ด ของการเข้ า ถึ ง สิทธิของลูกจ้างทีเ่ ป็นแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะกรณี ที่ ลู ก จ้ า งมี สิ ท ธิ ใ น กองทุ น เงิ น ทดแทนเเล้ ว เเต่ มี เ หตุ 2 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ

จ�ำเป็นบางประการท�ำให้ตอ้ งเดินทางจากออกจากประเทศไทย เช่นนี้ รัฐไทยอาจต้องมีการพัฒนาระบบการเข้าถึงกองทุนเงิน ทดแทนขนานใหญ่เพือ่ มิให้ขอ้ จ�ำกัดในการติดต่อระหว่างรัฐมา ตัดสิทธิของแรงงานข้ามชาติ จากข้ อ สั ง เกตข้ า งต้ น สะท้ อ นให้ เ ห็ น ความท้ า ทาย ในอีกครั้งของความพยายามในการบริหารจัดการของรัฐไทย ซึ่งเเน่นอนว่าการลบข้อจ�ำกัดของกฎหมายออกนั้นเป็นการ เริ่ ม ต้ น ที่ มี ค วามหมายเเละก่ อ ให้ เ กิ ด ความหวั ง แก่ ลู ก จ้ า ง นับเเสนราย อย่างไรก็ตามหากรัฐไทยสามารถลดปัญหาในทาง ปฏิบัติที่รับทราบเเล้วว่าอาจเกิดขึ้นได้ย่อมเป็นการเปิดโอกาส ในการเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างอย่างเเท้จริง


วิเคราะห์นโยบายการจดทะเบียนแรงงาน ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (ONE STOP SERVICE) ปภพ เสียมหาญ1

ศู

นย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (ONE STOP SERVICE) (ต่อไปเรียก “ศูนย์บริการ”) ถูกตั้งขึ้นตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์ นำ�ไปสูก่ ารจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวภายใน ประเทศและเป็นการสร้างมาตรฐานให้สอดคล้องกับมาตรฐาน สากล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบการหรือ นายจ้าง ที่ประกอบกิจการบางประเภท เช่น กิจการประมงซึ่ง มีความต้องการแรงงานจำ�นวนมาก และเพื่อขจัดการแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานต่างด้าว อันเป็นสาเหตุให้เกิด ปัญหาการค้ามนุษย์

ปัจจุบันศูนย์บริการเปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน (ตั้งแต่ 26 มิถุนายน 2557 ถึง 5 ตุลาคม 2557) มีแรงงานต่างด้าวเข้าจดทะเบียนจ�ำนวน 1,261,161 คน ซึ่งถือว่าประสบความส�ำเร็จในด้านจ�ำนวนผู้จดทะเบียนและ การให้ความร่วมมือ แต่อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา ศูนย์บริการ ได้เผยให้เห็นถึงข้อจ�ำกัดของการท�ำงาน ทัง้ ในด้าน นโยบายและการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. ข้อจ�ำกัดด้านระยะเวลาและระบบการตรวจสอบ เนือ่ งจากศูนย์บริการมีเป้าหมายในการด�ำเนินการเพือ่ เร่งจัดท�ำ ทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมาย ดังนั้นกลุ่มแรงงาน ต่างด้าวที่เข้ารับบริการจึงประกอบด้วยกลุ่มแรงงานต่างด้าว 1 ปภพ

หลายประเภทเเละมีจ�ำนวนมากภายใต้ระยะเวลาที่จ�ำกัดตาม ประกาศจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ท� ำ ให้ การจดทะเบียนขาดการตรวจสอบข้อมูลทีถ่ กู ต้องเเละเกิดปัญหา ความลักลั่นของสถานะเเรงงานต่างด้าว มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษย ชนเเละการพัฒนาพบกลุม่ แรงงานต่างด้าวบางกลุม่ ทีเ่ ข้ามาใน ประเทศไทยผ่านการน�ำเข้าตามบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศไทย กับประเทศเพื่อนบ้าง หรือที่เรียกว่าแรงงานในระบบ MOU เข้ามาจดทะเบียน ณ ศูนย์บริการด้วย ซึ่งท�ำให้แรงงานกลุ่ม ดังกล่าวเป็นบุคคลที่มี 2 สถานะ นอกจากนี้ยังพบการใช้ กระบวนการนายหน้าน�ำพาแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียน และยังมีกลุ่มแรงงานต่างด้าวบางส่วนที่มีอายุต�่ำกว่า 15 ปี มาจดทะเบียนโดยอ้างว่ามีอายุเกินกว่า 18 ปีเพื่อให้สามารถ ออกใบอนุญาตท�ำงานได้ ดังนัน้ ข้อจ�ำกัดในแนวทางด�ำเนินการ ที่เป็นไปอย่างไร้การตรวจสอบจึงยังถือว่าเป็นปัญหาส�ำคัญ ในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวของศูนย์บริการ 2. ความไม่ชัดเจนเรื่องทิศทางการด�ำเนินงานในระยะ ยาว กล่าวคือ นโยบายของศูนย์บริการเป็นเพียงการออกใบ อนุญาตท�ำงานประเภทชั่วคราวเท่านั้น (ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2558) ซึง่ หากต้องการทีจ่ ะได้รบั อนุญาตให้อยูใ่ นราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัตคิ นเข้าเมือง พ.ศ.2522 และได้รบั อนุญาต ท�ำงานตามพระราชบัญญัติการท�ำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 จะต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติจากประเทศ ต้นทาง โดยในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควรในประเด็น ความร่วมมือในการพิสูจน์สัญชาติของกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ เข้ารับการบริการ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 เรื่อง การด�ำเนินการตรวจสัญชาติแรงงาน ต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา โดยมีมติเพียงแค่ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก�ำกับดูแลกระบวนการ พิสูจน์สัญชาติ และให้แรงงานประมงที่ได้รับอนุญาต ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2556 เข้าสู่กระบวนการ พิสูจน์สัญชาติเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ก. แนวทางการตรวจสัญชาติแรงงานต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตท�ำงานชั่วคราวจาก ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One

เสียมหาญ เจ้าหน้าที่โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ในแรงงาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 3


Stop Service) และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ ส�ำนักงานตรวจ คนเข้ า เมื อ ง กระทรวงแรงงาน (กรมการจั ด หางานและ ส�ำนักงานประกันสังคม) กระทรวงสาธารณสุข ส�ำนักงาน ต�ำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด�ำเนินการในส่วนที่ เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ให้หน่วยงานต่าง ๆ ด�ำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ทนั ทีนบั แต่วนั ทีค่ ณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบ โดยให้เริม่ ด�ำเนินการ ตรวจสัญชาติแรงงานต่างด้าวโดยเร็วและให้สนิ้ สุดการด�ำเนินการ ในวันที่ 31 มีนาคม 2558 ข. ให้แรงงานต่างด้าวทีไ่ ด้รบั อนุญาตท�ำงานในกิจกรรม การประมง ตามมติคณะรัฐมนตรี (6 สิงหาคม 2556) ทีเ่ ห็นชอบ ให้มกี ารจดทะเบียนปีละ 2 ครัง้ โดยในครัง้ แรก (สิน้ สุดการผ่อนผัน ในวันที่ 24 กันยายน 2557) ให้ไปด�ำเนินการจดทะเบียนแรงงาน

ต่างด้าว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และเข้าสูก่ ระบวนการตรวจสัญชาติตอ่ ไป ส่วนครั้งที่สอง (สิ้นสุดการผ่อนผันวันที่ 2 มีนาคม 2558) ให้เข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติตามมาตรการนี้ด้วย ดังนัน้ แม้วา่ การจัดตัง้ ศูนย์บริการจะช่วยลดขัน้ ตอนการ จดทะเบียนภายในประเทศแต่อาจประสบปัญหาการประสาน งานทีล่ า่ ช้าจากประเทศต้นทางทีเ่ เรงงานต่างด้าวต้องเข้ารับการ พิสจู น์สญ ั ชาติได้ประกอบกับการท�ำงานของศูนย์บริการมีระยะ เวลาทีจ่ ำ� กัด หากไม่สามารถด�ำเนินกระบวนการพิสจู น์สญ ั ชาติ ได้ภายในวันที่31มีนาคม2558หรือไม่มีเเนวทางใดออกมา แก้ ไ ขปั ญ หาดั ง กล่ า วก็ จ ะส่ ง ผลต่ อ สิ ท ธิ ใ นการอยู ่ ใ นราช อาณาจักรเป็นการชั่วคราวของเเรงงานต่างด้าวตามพระราช บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 3. ข้อจ�ำกัดด้านการบูรณาการภาระงานระหว่างหน่วย งานทีร่ บั ผิดชอบ เนือ่ งจากกระบวนการจดทะเบียนภายในศูนย์ 2

บริการมีหลายขัน้ ตอนจึงต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วย งานราชการหลายหน่วย เเละหน่วยงานเหล่านี้ต้องปฏิบัติงาน ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) และคณะอนุ ก รรมการประสานงานจั ด การปั ญ หา แรงงานต่างด้าว (อกนร.) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามค�ำสั่งของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ (คสช.) เเละหากมีการบังคับใช้พระราช บั ญ ญั ติ ก ารบริ ห ารจั ด การและคุ ้ ม ครองการท� ำ งานของคน ต่างด้าว พ.ศ. ......2 จะท�ำให้คณะกรรมการทั้ง 2 กลุ่มถูกจัดตั้ง ขึ้นอย่างถาวร ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอาจท�ำให้แนวทาง การด�ำเนินงานของศูนย์บริการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะการ จัดการเเรงงานต่างด้าวอย่างเบ็ดเสร็จภายใต้การด�ำเนินงานของ กนร. เเละ อกนร. นอกจากนี้การท�ำงานของศูนย์บริการมีระยะเวลาที่ จ�ำกัด หากไม่สามารถด�ำเนินกระบวนการพิสูจน์สัญชาติได้ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2558 หรือไม่มีเเนวทางใดออกมา แก้ ไ ขปั ญ หาดั ง กล่ า วก็ จ ะส่ ง ผลต่ อ สิ ท ธิ ใ นการอยู ่ ใ นราช อาณาจักรเป็นการชั่วคราวของเเรงงานต่างด้าวตามพระราช บัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 4. ข้อจ�ำกัดในการเข้าถึงข้อมูลและสิทธิตามกฎหมาย แรงงานและสิทธิอื่นๆ เนื่องจากจ�ำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขึ้น ทะเบียนกับศูนย์บริการมีจ�ำนวนมากประกอบกับจ�ำนวนเจ้า หน้าในศูนย์บริการสามารถปฏิบัติได้อย่างจ�ำกัดท�ำให้ขาดการ ประชาสัมพันธ์เรื่องการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายในด้านต่างๆ จากการสั ง เกตในหลายศู น ย์ บ ริ ก ารมู ล นิ ธิ เ พื่ อ สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ชนเเละการพัฒนาพบว่ามีเพียงเจ้าหน้าทีเ่ พียง 1–2 คน ในจุด บริการอธิบายสิทธิแรงงานอีกทัง้ เเรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่มไิ ด้ เป็น ผู้รับทราบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในจุดนี้โดยตรง เเต่จะรับ ทราบผ่านการถ่ายทอดของนายจ้างหรือตัวแทนของนายจ้าง ทีม่ ารับบริการ ณ จุดบริการดังกล่าว เเม้วา่ เเท้จริงเเล้วลักษณะ การจ้างงานที่จะท�ำให้เกิดความสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างเเละ นายจ้างอันส่งผลให้ลกู จ้างมีสทิ ธิในตามกฎหมายเเรงงานจะ สามารถเกิดขึน้ โดยพฤติการณ์เเละกฎหมายเเรงงานก็รองรับ สิทธิดังกล่าวก็ตามเเต่การที่แรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนที่ ศูนย์บริการจะท�ำให้เเรงงานต่างด้าวได้รับการรับรองสิทธิใน ฐานะลูกจ้างตามกฎหมายเเรงงานอย่างเป็นทางการเเละอยู่ ภายใต้การรับทราบของรัฐไทยเเละนายจ้างหากเกิดข้อติดขัดดัง กล่าวย่อมท�ำให้เเรงงานต่างด้าวไม่สามารถรับรู้สิทธิ การใช้สิ ทธิเเละการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายเเรงงานเเละสิทธิอื่นๆ ได้ อย่างถูกต้อง เเละย่อมไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัด ตั้งศูนย์บริการอย่างเเเน่นอน

เสนอโดย คณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และข้อเสนอแนะจากกระทรวงสาธารสุข ตามหนังสือด่วนที่สุด สธ.0228.05.4 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2557 4 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


ข้อสังเกตต่อวัตถุประสงค์ ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว โดยศูนย์บริการจดทะเบียน แรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (ONE STOP SERVICE)

แต่ปรากฏตามข้อมูลของศูนย์บริการที่เปิดให้บริการมา เป็นระยะเวลา 3 เดือนเศษ (ตั้งแต่ 26 มิถุนายน 2557 ถึง 5 ตุลาคม 2557) มีแรงงานต่างด้าวเข้าจดทะเบียนจ�ำนวน 1,261,161 คน แต่จ�ำนวนแรงงานต่างด้าวที่ประสงค์จะ จดทะเบียนเพื่อท�ำงานภาคกิจการประมงทะเลนั้นยังมีจ�ำนวน เพียง 32,112 คนเท่านัน้ (ข้อมูลถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2557) เทียบกับความต้องการจ�ำนวนแรงงานกว่า 200,000 คน 1. การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ย่อมเห็นถึงความแตกต่างได้ชัด การจดทะเบียนแรงงานเป็นการยืนยันถึงการจ้างงาน จึงอาจกล่าวได้วา่ “ศูนย์บริการ” ยังไม่ประสบความส�ำเร็จ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การยืนยันในข้อมูลต่างๆ ของลูกจ้าง ในเชิงการเพิ่มจ�ำนวนแรงงานในภาคกิจการประมงทะเลตาม ทั้งชื่อสกุลและที่อยู่โดยกระบวนการพิสูจน์สัญชาติในประเทศ เหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ต้นทางเเละยังเป็นสามารถตรวจสอบข้อมูลของนายจ้างได้หาก 2. การแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน เกิ ด กรณี ที่ ลู ก จ้ า งการถู ก หลอกหรื อ ถู ก บั ง คั บ ให้ ม าท� ำ งาน การละเมิดสิทธิแรงงานมักเกิดขึน้ ในกลุม่ เเรงงานต่างด้าว (อันมีลักษณะเป็นการจ้างงานที่ไม่ชอบหรือบังคับใช้เเรงงาน) แต่อย่างไรก็ตามหากการจดทะเบียนแรงงานขาดความละเอียด ที่เข้ามาเเละอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมายส่งผล ในการตรวจสอบให้แน่ชดั ว่าเป็นข้อมูลจริงหรือไม่การจดทะเบียน ให้แรงงานต่างด้าวขาดอ�ำนาจในการต่อรองไม่สามารถร้องเรียน แรงงานมีขนึ้ เพือ่ เพียงแค่ยนื ยันความสุจริตของนายจ้างในขณะที่ เพื่อให้สามารถรับการคุ้มครองจากหน่วยงานของรัฐได้เเม้ว่า โดยสถานะของเเรงงานต่างด้าวจะมีสิทธิในฐานะลูกจ้างตาม จดทะเบียนแรงงานเท่านั้น นอกจากนี้ปัญหาการค้ามนุษย์ก็ไม่สามารถที่จะแก้ไข กฎหมายเเรงงานก็ตาม ดังนัน้ ภายหลังทีม่ กี ารจดทะเบียนก็จะท�ำให้สถานะของ ได้โดยวิธีการจัดท�ำทะเบียนแรงงานต่างด้าวเพียงวิธีการเดียว เนื่องจากการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ต้องประกอบไปด้วย เเรงงานต่างด้าวถูกต้องตามกฎหมาย อาจเป็นการเพิ่มความ ปัจจัยหลายประการในลักษณะการใช้ทงั้ มาตรการป้องกันเเละ สามารถในการต่อรองกับนายจ้าง สามารถร่วมกลุม่ อย่างไม่เป็น ปราบปราม เช่น การจัดท�ำทะเบียนเรือ การตรวจคนออกนอกท่า ทางการเพือ่ ร้องเรียนต่อองค์กรภาคประชาสังคมได้ จึงอาจเป็น หนทางหนึ่งในการลดปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานได้ ดังนั้น จึงต้องใช้การประสานงานจากหลายภาคส่วน 3. ค วามสอดคล้อ งกั บ แนวทางจั ด การกิ จ การ เเละสืบเนื่องมาจากกรณีดังกล่าวมูลนิธิฯ พบว่า ยังมี กระบวนการนายหน้าเข้ามาพัวพันกับการน�ำเเรงงานต่างด้าว ประมงทะเลตามกฎหมายและนโยบาย กิจการประมงยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอัน มาจดทะเบียนทีศ่ นู ย์บริการ ซึง่ เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ กระบวนการ นายหน้ามิใช่บุคคลหรือองค์กรที่ได้รับรองการปฏิบัติงานอย่าง เนือ่ งมาจากเป็นงาน ประเภท 3D อันได้แก่ งานสกปรก (Dirty) ถูกกฎหมาย การปฏิบัติงานของนายหน้ามักเป็นการท�ำหน้าที่ งานเสี่ยง (Dangerous) และงานยากล�ำบาก (Difficult) และ เเทนนายจ้างในการจัดหาลูกจ้าง อันเป็นการตัดตอนความสัมพันธ์ ขั้นตอนการจดทะเบียนแรงงานตามในระบบปกติยังมีขั้นตอน ระหว่างนายจ้างเเละลูกจ้าง เเละเปิดช่องว่างให้นายหน้าบางกลุม่ ที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูงไม่สอดคล้องกับสภาพการจ้างงาน ของกิจการประมงทะเลดังนัน้ การจัดตัง้ ศูนย์บริการจึงสอดคล้อง เรียกรับผลประโยชน์จากทั้งฝ่ายนายจ้างเเละลูกจ้างอีกด้วย ประกอบกับข้อมูลสถานการณ์การค้ามนุษย์ทปี่ รากฏใน กับนโยบายการแก้ปัญหาขั้นตอนการจ้างงานให้มีระยะเวลา ประเทศไทยพบว่ากลุ่มเสี่ยงของแรงงานที่จะตกเป็นผู้เสียหาย สัน้ ลง (30–45 นาทีตอ่ คน) เพือ่ ช่วยลดปัญหาขัน้ ตอนทีย่ งุ่ ยาก จากการค้ามนุษย์นั้นคือกลุ่มแรงงานในกิจการประมงทะเล และลดค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนในแต่ละครั้ง กล่าวโดยสรุป การที่รัฐไทยเปิดศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ข้อมูลจากการศึกษาและงานวิจัยหลายฉบับชี้ให้เห็นว่ากิจการ ประมงทะเลในประเทศไทยยังต้องการแรงงานกลุ่มนี้อีกเป็น (ONE STOP SERVICE) ถือเป็นการวางทิศทางที่สอดคล้อง จ�ำนวนมาก (ประมาณ 200,000 คน)3 และวัตถุประสงค์หนึง่ กับหลักการคุ้มครองสิทธิของเเรงงานหลายประการ ที่ส�ำคัญ ของการจัดตั้งศูนย์บริการคือการพยายามเพิ่มจ�ำนวนแรงงาน คือ การใช้มาตรการผ่อนปรนให้เเรงงานต่างด้าวที่เข้ามาเเละ อยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็น ในกิจการดังกล่าวด้วย 3 มีการประมาณการความต้องการแรงงานจ�ำแนกตามหมวดอาชีพผูป ้ ฏิบตั งิ านด้านการประมงชายฝัง่ ทะเลและการประมงนอกน่านน�ำ้ ในปี ๒๕๕๗ เป็นจ�ำนวน

283,557 (จ�ำนวนนี้รวมประมงน�้ำจืด) ; โปรดดู รายงานการศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานในช่วงปี ๒๕๕๓-๒๕๕๗ http://human.aru.ac.th/www/ images/stories/Font_Goverment/7.pdf NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 5


เเรงงานต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมท�ำให้ รัฐไทยทราบจ�ำนวนเเรงงานต่างด้าวทีเ่ เท้จริงทีอ่ ยูใ่ นประเทศไทย อันเป็นข้อมูล พื้นฐานในการวางยุทธศาสตร์การจัดการเเรงงานต่างด้าวต่อไป เเละเป็น การเเสดงออกถึงนัยยะที่ส�ำคัญของแรงงานต่างด้าวที่กลายมาเป็นก�ำลังหลัก ในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานล่างของประเทศไทยเมื่อความต้องการ เเรงงานต่างด้าวมีเป็นจ�ำนวนมากการจัดการเเรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ย่อมต้อง ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีผ่านการพิจารณาที่รอบคอบชอบด้วยกฎหมาย เเละมีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบอย่างชัดเจน เเละรัฐไทยพึงต้องตระหนัก ว่าการแก้ปญ ั หาเเรงงานข้ามชาติจะเป็นประเด็นทีท่ า้ ทายต่อหลักกฎหมายเเละ หลักการด้านสิทธิมนุษยชน ดังนั้น การเปิดโอกาสให้มีการรับฟังเเลกเปลี่ยน ความเห็นจากทุกภาคส่วน ย่อมท�ำให้การจัดการปัญหาเป็นไปอย่างรอบด้าน มากยิ่งขึ้น

สถานการณ์ด้านคดี ที่น่าสนใจ

ศาลปกครองสูงสุด นั่งพิ จารณาครั้งแรก ในคดีแรงงาน ข้ามชาติฟ้องส�ำนักงานประกันสังคม กรณีการแนวปฏิบัติด้าน การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย จากการท�ำงาน ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเลือกปฏิบัติ

ตามทีม่ ลู นิธเิ พือ่ สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้ดำ� เนินการ ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย กรณีนายโจ แรงงานข้ามชาติ ชาวพม่า และพวก เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ส�ำนักงานประกันสังคม เมือ่ วันที่ 28 มกราคม 2553 กรณีการออกแนวปฏิบตั เิ กีย่ วกับ การให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติที่ประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยจากการท�ำงาน ตามหนังสือที่ รส.0711/ว 751 ลงวั น ที่ 25 ตุ ล าคม 2544 ซึ่ ง ออกโดยมติ ที่ ป ระชุ ม ของ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 20/2544 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2544 เนือ่ งจากเห็นว่า พระราชบัญญัตเิ งินทดแทน พ.ศ. 2537 จะมีผลบังคับใช้ครอบคลุมถึงลูกจ้างทีเ่ ป็นแรงงาน ข้ามชาติผเู้ ข้ามาท�ำงานในประเทศไทย หากปรากฎหลักฐานว่า เเรงงานข้ามชาตินั้น 1. มีการจดทะเบียนและมีใบอนุญาตให้ท�ำงานที่ทาง ราชการออกให้ 2. นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนใน อัตราไม่ต�่ำกว่าค่าจ้างขั้นต�่ำ 3. ลูกจ้างที่ยื่นขึ้นทะเบียนต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทย หากลูกจ้างทีเ่ ป็นเเรงงานข้ามชาติไม่มหี ลักฐานดังกล่าว ข้างต้น นายจ้างจะต้องเป็นผูร้ บั ผิดชอบค่าจ่าย ตามพระราชบัญญัติ เงินทดแทน พ.ศ. 2537เอง 6 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ

ต่อมา ส�ำนักงานประกันสังคม ได้น�ำมติคณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ครั้งที่ 23/2544 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ก�ำหนดให้การขึ้นทะเบียนประกันสังคมของแรงงาน ข้ามชาติจะต้องมีหลักฐานประกอบการขึ้นทะเบียนดังนี้ 1. ใบอนุญาตท�ำงาน และหนังสือเดินทาง หรือมี 2. ใบอนุญาตท�ำงาน และใบส�ำคัญประจ�ำตัวคนต่างด้าว ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ เห็นว่า แนวปฏิบัติ ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยเห็นว่าเป็นการก�ำหนดหลักเกณฑ์ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุในด้านเชื้อชาติ ต่อเเรงงาน ข้ามชาติอันเป็นประธานแห่งสิทธิตามตามพระราชบัญญัติเงิน ทดแทน พ.ศ. 2537 ขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสญ ั ญา ว่ า ด้ ว ยการขจั ด การเลื อ กปฎิ บั ติ ท างเชื้ อ ชาติ ใ นทุ ก รู ป แบบ อนุสญ ั ญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และขัดต่อปฏิญญา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรือ่ ง การปกป้อง และส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ และอนุสัญญาว่าด้วย การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน (เรื่องกองทุนเงินทดแทนกรณี อุบัติเหตุ) พ.ศ. 2468 (ฉบับที่ 19) นอกจากนี้การที่ส�ำนักงาน ประกันสังคมไม่ด�ำเนินการให้นายจ้างขึ้นทะเบียนเพื่อจ่ายเงิน สมทบให้แก่กองทุนเงินทดแทนส�ำหรับแรงงานข้ามชาติ ย่อม เป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายที่ก�ำหนดให้ต้องปฏิบัติ


ดังนั้น การก�ำหนดแนวปฏิบัติดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความ เสียหายในการเข้าถึงเงินทดแทนได้กรณีทปี่ ระสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยเนื่องจากการท�ำงาน ต่อมาวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ศาลปกครองสูงสุด นัดพิจารณาคดีครั้งแรก โดยมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละ การพัฒนาสรุปความเห็นของตุลาการผูแ้ ถลงคดีสรุปความเห็น4 ได้ดังนี้ 1. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองแรงงาน ข้ามชาติทปี่ ระสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการท�ำงาน ตามหนังสือ ที่ รส.0711/ว 751 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2544 ของส�ำนักงาน ประกันสังคม ทีไ่ ด้กำ� หนดคุณสมบัตขิ องลูกจ้างในการเข้าถึงเงิน ทดแทน เป็นการก�ำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นใหม่ จึงมีสภาพเป็นกฎ5 ตามมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ วิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 2. เมื่อพิจารณาถึงพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 แล้ว มีความมุ่งคุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยจากการท�ำงาน ไม่วา่ ลูกจ้างจะมีสญ ั ชาติไทยหรือต่างด้าว 3. มาตรา 6 แห่ ง เมื่ อ พิ จ ารณาถึ ง พระราชบั ญ ญั ติ เงินทดแทน พ.ศ. 2537 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง แรงงาน รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีอ�ำนาจ ในการออกกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศเพื่อปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ 4. มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 บัญญัติอ�ำนาจของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ในการพิจารณาให้ความเห็นและเสนอต่อรัฐมนตรี 5. เมื่อพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ได้ บัญญัตอิ ำ� นาจในการออกกฎ ให้บรรลุเจตนารมณ์ตามพระราช บัญญัตเิ ป็นอ�ำนาจของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงแรงงาน ดังนัน้ อ� ำ นาจของคณะกรรมการกองทุ น เงิ น ทดแทน เป็ น เพี ย ง การท�ำความเห็นและข้อเสนอแนะเท่านั้น 6. เเม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะสามารถ ออกแนวปฏิบัติดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาบังคับใช้เพื่อ ความมุ่งหมายไม่ให้นายจ้างน�ำแรงงานข้ามชาติเข้ามาโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมายและสามารถได้ประโยชน์จากกองทุนเงิน ทดแทนเช่นเดียวกับเเรงงงานอื่นก็ตามแต่เเนวปฏิบัติดังกล่าว

มีลักษณะเป็น “กฎ” ก็มิได้ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เเรงงานโดยอาศั ย อ� ำ นาจตามพระราชบั ญ ญั ติ เ งิ น ทดแทน พ.ศ. 2537 แต่อย่างใด ดังนัน้ การทีส่ ำ� นักงานประกันสังคม ผูถ้ กู ฟ้องคดีนำ� มติ ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมาแจ้งให้หน่วยงาน รับผิดชอบถือปฏิบตั ิ ตามแนวปฏิบตั เิ กีย่ วกับการให้ความคุม้ ครอง แรงงานข้ามชาติทปี่ ระสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการท�ำงาน ตามหนังสือที่ รส.0711/ว 751 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2544 จึงเป็นการกระท�ำโดยปราศจากอ�ำนาจโดยกรณีดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาทีเ่ กีย่ วข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เเละ ตุลาการผู้เเถลงคดีเห็นว่าควรกลับค�ำพิพากษาของศาลชั้นต้น เเละเห็นควรเพิกถอนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครอง แรงงานข้ามชาติทปี่ ระสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการท�ำงาน ตามหนังสือที่ รส.0711/ว 751 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2544 ส่วนประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ส�ำนักงานประกันสังคม แจ้งให้นายจ้างที่มีแรงงานข้ามชาติยื่นแบบจ่ายเงินสมทบนั้น เป็นค�ำขอที่ศาลไม่อาจบังคับได้

ศาลจังหวัดแม่สอด ลงโทษจ�ำคุก จ�ำเลย ในคดีความผิดทางเพศ เนื่องจากคลินิกกฎหมายแรงงาน ได้ให้ความช่วยเหลือ แก่ผเู้ สียหายทีเ่ ป็นแรงงานข้ามชาติหญิง ซึง่ ร้องเรียนมายังคลินกิ กฎหมายเเรงงานว่าเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ผู้เสียหาย ถูกนายนก ไม่มีนามสกุล ก่อเหตุข่มขืนกระท�ำช�ำเรา โดยการ หลอกให้ดมื่ นมในแก้วซึง่ นายนกได้ใส่ยานอนหลับผสมไว้ ท�ำให้ ผู้เสียหายมีอาการง่วง และไม่มีแรงที่จะขัดขืนหรือหลบหนี คลินกิ ฎหมายแรงงานจึงได้นำ� ผูเ้ สียหาย เข้าร้องทุกข์กบั พนักงานสอบสวน สถานีต�ำรวจภูธรแม่สอด จังหวัดตากเพื่อ ด�ำเนินคดีอาญากับนายนกฐานข่มขืนกระท�ำช�ำเราตามมาตรา 276ประมวลกฎหมายอาญา และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้อง นายนกต่อศาลจังหวัดแม่สอดในความผิดฐานดังกล่าว ต่อมาวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ศาลจังหวัดแม่สอด มีค�ำพิพากษาจ�ำคุกนายนก เป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน

4 การพิจารณาพิพากษาคดีในศาลปกครอง ถือหลักถ่วงดุลการใช้อ�ำนาจระหว่างตุลาการ โดยก�ำหนดให้มีตุลาการเจ้าของส�ำนวนคนหนึ่งซึ่งแต่งตั้งจากตุลาการ

ในองค์คณะที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นเป็นผู้ด�ำเนินการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริง และมีตุลาการอีกคนหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ในองค์คณะ เรียก "ตุลาการผู้แถลง คดี" เป็นผู้ท�ำหน้าที่ตรวจสอบ และถ่วงดุลการท�ำหน้าที่ของตุลาการเจ้าของส�ำนวนและองค์คณะ 5 “กฎ" หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 7


ส�ำนักงานต�ำรวจตรวจคนเข้าเมืองพื้ นที่อ�ำเภอแม่สอดและพื้ นที่เมียวดี ประเทศพม่า ร่วมกันติดตาม หาผู้กระท�ำผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสาร หลังแรงงานข้ามชาติได้รับเอกสารการเดินทางปลอมจากนายหน้า คลินิกกฎหมายแรงงานได้ให้ความช่วยเหลือนางนินอิไล อายุ 25 ปี แรงงานข้ามชาติชาวพม่า กรณีถูกเจ้าหน้าที่ต�ำรวจตรวจคน เข้าเมือง ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณสะพานมิตรภาพไทย–พม่า อ�ำเภอ แม่สอด จังหวัดตาก ควบคุมตัวไว้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2557 โดย เจ้าหน้าที่ต�ำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้แจ้งข้อหานางนินอิไล ว่ากระท�ำ ความผิดฐานปลอมแปลงเเละใช้หนังสือเดินทางปลอมตามประมวล กฎหมายอาญา นางนินอิไลได้ให้ข้อมูลว่า ตนได้ว่าจ้างนายหน้าชาวพม่าเพื่อ ช่วยด�ำเนินการต่ออายุหนังสือเดินทางช�ำระค่าใช้จ่ายให้แก่นายหน้า ดังกล่าวเป็นเงิน 3,000 บาท ใช้เวลาในการด�ำเนินการ 2 เดือน ต่อมา นายหน้าได้น�ำหนังสือเดินทางมอบให้แก่นางนินอิไล ที่ประเทศพม่า เมื่อนางนินอิไลใช้หนังสือเดินทางดังกล่าวเพื่อเข้ามายังประเทศไทย จึงถูกเจ้าหน้าต�ำรวจตรวจคนเข้าเมืองกักตัวไว้และแจ้งข้อหาดังกล่าว ในขณะนี้ คดีอยูใ่ นชัน้ สอบสวนเเละนางนินอิไลยังถูกควบคุมตัวในระหว่าง การสอบสวนอีกด้วย ตั ว แทนคลิ นิ ก กฎหมายแรงงาน ได้ ป ระสานกั บ ส� ำ นั ก งาน ภาพบรรยากาศ การประชุมร่วมกัน ระหว่าง ต�ำรวจตรวจคนเข้าเมือง เทศบาลนครแม่สอด เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ คลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด ส�ำนักงาน เกิดขึ้น จากนั้นจึงได้มีการประชุมหารือร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ตรวจคนเข้าเมืองอ�ำเภอแม่สอดและเมืองเมียวดี และหาแนวทางในการจับกุมตัวและด�ำเนินคดีต่อนายหน้าที่เกี่ยวข้อง กับการจัดท�ำเอกสารทางราชการปลอมให้กับแรงงานข้ามชาติ ในช่วง เจ้าหน้าทีจ่ ากส�ำนักงานต�ำรวจตรวจคนเข้าเมืองฝัง่ เมียวดี เดือนกันยายน 2557 โดยมีสำ� นักงานต�ำรวจตรวจคนเข้าเมืองฝัง่ เมียววดี ได้นำ� หลักฐาน หนังสือเดินทางปลอมอีก 8 เล่ม ทีส่ ามารถ ประเทศเมียนมาร์เข้าร่วมประชุมด้วย ทัง้ นีใ้ นระหว่างการประชุม ตัวแทน ยึดได้จากนายหน้ามาน�ำเสนอในที่ประชุมด้วย

ทายาทของแรงงานข้ามชาติที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย

ภาพบรรยากาศการรับเงินค่าสินไหม ทดแทนจากบริษัทประกันภัย

เนือ่ งด้วยเมือ่ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 นางสาวสิ่นหม่าเปียก ไม่มี นามสกุล แรงงานข้ามชาติ ชาวพม่า ประสบอุบัติจากการถูกรถชน และ ต่ อ มา วั น ที่ 24 เมษายน 2557 ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลแม่สอด ในการนี้ ค ลิ นิ ก กฎหมายแรงงาน จึ ง ด� ำ เนิ น การช่ ว ยเหลื อ ทายาท ให้สามารถเข้าถึงเงินสินไหมทดแทน จากบริษัทวิริยะประกัน มหาชน จ�ำกัด ที่คู่กรณี ได้ท�ำประกันส�ำหรับรถยนต์ที่เกิดเหตุ เเละวันที่ 3 มิถุนายน 2557 นางเมี้ยะเมี้ยะวิน ไม่มีนามสกุล มารดาของผู้ตาย ได้รบั ค่าสินไหมทดแทนจากบริษทั ประกันภัย ทัง้ สิน้ 200,000 บาท ทัง้ นี้ จะต้องหักเป็น ค่ารักษาพยาบาลของผูต้ ายให้แก่โรงพยาบาล เป็นเงิน 50,000 บาท นอกจากนี้ ทางฝ่าย คู่กรณีได้จ่ายเงินช่วยเหลือมารดาผู้ตาย เป็นเงิน 30,000 บาทอีกด้วย

8 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


ศาลจังหวัดสงขลา สืบพยานล่วงหน้า ในคดีค้ามนุษย์ โดยการแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบประเภท การขูดรีดบุคคลจากการเรียกค่าไถ่ เจ้าหน้าที่โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และทนายความ ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ การสืบพยานก่อนฟ้อง นาย อ. (นามสมมุติ) ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และ นาย ม. (นามสมมุต)ิ ญาติของผูเ้ สียหาย เมือ่ วันที่ 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 09.00 น. ณ ศาลจังหวัดสงขลา ซึง่ มีพนักงานอัยการเป็น โจทก์ยื่นฟ้องนายอนัส หะยีมะแซและพวกเป็นจ�ำเลย ในฐาน ความผิดค้ามนุษย์ โดยการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประเภท การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลจากการเรียก ค่าไถ่ ตามพระราชบัญญัตปิ อ้ งกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และฐานเรียกค่าไถ่ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ และหน่วงเหนี่ยวกักขัง ตามประมวลกฎหมายอาญา ในวันสืบพยานดังกล่าว มีเพียงญาติผู้เสียหายขึ้นเบิก ความเป็นพยาน สรุปว่า นาย ม. ได้รับการติดต่อจากญาติที่ ประเทศพม่า ให้ช่วยเหลือนาย อ. หลานชาย ผู้เสียหายในคดีนี้ จากกลุม่ ขบวนการนายหน้าโดยให้นำ� เงินจ�ำนวน 60,000 บาท มาแลกกับตัวของผู้เสียหาย สืบเนื่องจากผู้เสียหายได้ออก เดินทางจากรัฐยะไข่ประเทศพม่าเนื่องจากกลัวภัยประหัติหาร

ไปยังประเทศมาเลเซียผ่านขบวนการนายหน้า มีการตกลง จ่ายค่าเดินทางเมื่อไปถึงประเทศมาเลเซียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่ า งไรก็ ต ามเมื่ อ ผู ้ เ สี ย หายเดิ น ทางมากั บ กลุ ่ ม ขบวนการ นายหน้าแล้ว กลับถูกน�ำมากักไว้ในประเทศไทย และถูกกลุ่ม ขบวนการนายหน้าบังคับให้ผู้เสียหายโทรศัพท์แจ้งญาติและ ได้ทำ� การท�ำร้ายร่างกายผูเ้ สียหายขณะทีพ่ ดู คุยโทรศัพท์กบั ญาติ เพื่อให้ญาติยอมจ่ายเงินเพื่อแลกกับอิสรภาพของผู้เสียหาย ในคดีนี้ จากการช่วยเหลือขององค์กรภาคประชาสังคมและ เจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจ พยานจึงตกลงพบกับกลุม่ ขบวนการนายหน้าที่ สถานีขนส่งอ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเมื่อนายอนัส หะยีมะแซ จ�ำเลยในคดีนี้ น�ำผู้เสียหายมาส่งตามก�ำหนด นัด ต�ำรวจจึงได้ท�ำการเข้าจับกุมและด�ำเนินคดี ภายหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการสืบพยานนาย ม.แล้ว ศาลจังหวัดสงขลาได้ก�ำหนดวันนัดสืบพยานฝ่ายโจทก์วันที่ 21–24 ตุลาคม และนัดสืบพยานฝ่ายจ�ำเลยวันที่ 30–31 ตุลาคม 2557

แรงงานข้ามชาติ จ�ำนวน 6 ราย ได้รับค่าจ้างค้างจ่าย จากนายจ้างเหมาค่าแรงภายหลังยื่นเรื่องร้องเรียน ที่ส�ำนักงานคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการสังคม จังหวัดสมุทรปราการ โครงการยุตธิ รรมเพือ่ สิทธิแรงงานข้ามชาติ ประจ�ำ พื้นที่ต�ำบลมหาชัย ได้รับเรื่องร้องเรียนจากนาย Aung Tun Win และเพื่อนรวม 6 คน ลูกจ้างบริษัทอู่เรือ มารีน แอ็คมีไทย จ�ำกัด จังหวัดสมุทรปราการว่าตนเเละเพื่อน ไม่ได้รบั ค่าจ้างจากนายจ้างทีเ่ หมาช่วงการจ้างงานมาจาก บริษัทดังกล่าวต่อมา ลูกจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าว ได้ดำ� เนินการยืน่ เรือ่ งร้องเรียนต่อส�ำนักงานคุม้ ครองแรงงาน และสวัสดิการสังคม จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเดือน มิถุนายน 2557 วันที่ 3 กันยายน 2557 เจ้าหน้าที่จากส�ำนักงาน คุ้มครองแรงงานเเละสวัสดิการสังคมจึง เรียกนายจ้างรับ เหมาและตัวแทนของบริษัทมาเจรจาเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย ผลการเจรจาสรุปว่าบริษัทตกลงจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างทั้ง 6 คน แทนนายจ้างผูร้ บั เหมา โดยมีการท�ำบันทึกข้อตกลงการจ่ายค่า จ้างในวันเดียวกัน และลูกจ้างทั้งหมดได้รับค่าจ้างค้างจ่ายแล้ว

NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 9


มูลนิธิฯ ลงพื้ นที่เกิดเหตุอาคารก่อสร้างคอนโดถล่ม เพื่ อให้ความช่วยเหลือแรงงาน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ จากเหตุการณ์อาคารยูเพลส คอนโด ซึง่ เป็นอาคารทีก่ ำ� ลัง ก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้ถล่มลงมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2557 เวลาประมาณ 16.20 น. เป็นเหตุให้มผี เู้ สียชีวติ จ�ำนวน 14 คน ซึ่งรวมถึงแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาจ�ำนวน 3 คนด้วย นางศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา ตัวแทนเจ้าหน้าที่โครงการ ยุตธิ รรมเพือ่ สิทธิแรงงานข้ามชาติ พืน้ ทีเ่ ชียงใหม่รว่ มกับตัวแทน สหภาพแรงงานย่านรังสิตและพืน้ ทีใ่ กล้เคียงรวมทัง้ สภาเครือข่าย ผูป้ ว่ ยเนือ่ งจากการท�ำงาน ได้ลงพืน้ ทีเ่ พือ่ เยีย่ มผูไ้ ด้รบั ผลกระทบ และให้ความช่วยเหลือแรงงานให้สามารถเข้าถึงการเยียวยา และการคุ้มครองตามกฎหมาย เบื้องต้น มูลนิธิฯ ร่วมกับ สหภาพแรงงานย่านรังสิตและสภาเครือข่ายผูป้ ว่ ยจากการท�ำงาน ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีเพื่อเรียกร้องให้มี การตรวจสอบข้อเท็จจริงและด�ำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ แรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบ และเข้าหารือกับส�ำนักงาน ประกันสังคม จังหวัดปทุมธานี เพือ่ เรียกร้องให้แรงงานข้ามชาติ เข้าถึงสิทธิในเงินทดแทนเนื่องจากกรณีประสบอุบัติเหตุจาก การท�ำงาน รวมทัง้ ช่วยเหลือเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายเงินค่าแรง ค้างจ่ายระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม–15 สิงหาคม 2557

ภาพบรรยากาศการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย จากเหตุการณ์อาคารก่อสร้างถล่ม

แก่แรงงานชาวกัมพูชา 28 คน และแรงงานชาวไทย 3 คน โดยฝ่ายนายจ้างได้ดำ� เนินการจ่ายตามทีล่ กู จ้างได้เรียกร้องแล้ว วันที่ 29 สิงหาคม 2557 ส�ำนักงานประกันสังคม จังหวัดปทุมธานี ได้ออกค�ำสัง่ ให้จา่ ย ให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน แรงงานแก่ทายาทของแรงงานชาวกัมพูชาสองราย (ทายาทของ นายโอยและนายอิมเผือ) เนือ่ งจากเเรงงานข้ามชาติทงั้ สองราย เสียชีวติ เนือ่ งมาจากประสบอุบตั เิ หตุจากการท�ำงาน โดยส�ำนักงาน ประกันสังคม ยังคงบังคับใช้หลักเกณฑ์เดิมทีใ่ ห้นายจ้างจ่ายเงิน ทดแทนแก่ลูกจ้างหรือทายาทแก่เเรงงานผู้เสียชีวิตในกรณีที่ ไม่ปรากฎว่านายจ้างได้ขึ้นทะเบียนลูกจ้างเพื่อจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนเงินทดแทนเเต่ทงั้ นีย้ งั ไม่ได้ปรากฎข้อมูลว่าส�ำนักงาน ประกันสังคมได้ด�ำเนินคดีต่อนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามพระราช บัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537กรณีที่ไม่จ่ายเงินสมทบเข้า กองทุนหรือไม่ อย่างไร

มูลนิธิฯ ลงพื้ นที่เพื่ อเยี่ยมแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์เครื่องหม้อไอน�้ำ จังหวัดสมุทรปราการ ระเบิด เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2557 ตัวแทนมูลนิธิฯได้ลงพื้นที่จังหวัด สมุทรปราการเพื่อเยี่ยมแรงงานข้ามชาติ ที่ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ เครือ่ งหม้อไอน�ำ้ ซึง่ เป็นเหตุให้แรงงานข้ามชาติทอี่ ยูใ่ นโรงงานและทีพ่ กั อาศัย อยู่ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุได้รับบาดเจ็บ เบื้องต้นพบว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมุทรปราการทั้งสิ้น 22 ราย เเบ่งเป็น ผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บเล็กน้อยทีแ่ พทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว 7 ราย และยังผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บทีย่ งั คงรักษาตัวทีโ่ รงพยาบาล อีก 15 ราย นอกจากนี้ ยังมีแรงงานข้ามชาติที่พักอาศัยอยู่ใกล้โรงงานได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ดังกล่าวด้วย โดยทางเจ้าของโรงงานดังกล่าวได้แจ้งเเละเเสดงความรับผิดชอบ ในส่วนค่ารักษาพยาบาลของผู้ที่บาดเจ็บเเละค่าทดแทนแก่ผู้เสียชีวิตเเล้ว ในการนีเ้ จ้าหน้าทีม่ ลู นิธฯิ ได้เยีย่ มและสัมภาษณ์ผปู้ ว่ ยและญาติของ ผู้ป่วยบางราย พร้อมทั้งยินดีให้ค�ำแนะน�ำกับแรงงานข้ามชาติหรือญาติ ของแรงงานข้ามชาติที่ประสงค์จะขอความช่วยเหลือด้านกฎหมายหรือ การเข้าถึงกระบวนการเยียวยาตามกฎหมายอีกด้วย ภาพบรรยากาศการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย จากเหตุการณ์เครื่องหม้อไอน�้ำระเบิด 10 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


แนะน�ำ กิจกรรม

สื

กิจกรรมพั ฒนาศักยภาพการเรียนรู้ ของเด็กในชุมชนแรงงานข้ามชาติ

บเนื่องจากโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ โดยมูลนิธิเพื่อสิทธิ มนุษยชนและการพัฒนาได้สนับสนุนให้ ชุมชนแรงงานชาติจัดตั้งกลุ่ม สหพันธ์แรงงานข้ามชาติ หรือ Migrant Workers Federation–MWF เพื่อ จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและพัฒนาศักยภาพของแรงงาน ข้ามชาติ เช่น ให้บริการห้องสมุดเพื่อเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติสมัคร เป็นสมาชิกของห้องสมุด เเละทำ�กิจกรรมภายในห้องสมุด เช่น อ่านหนังสือ เรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาไทใหญ่ การฝึกทักษะด้านการใช้งาน คอมพิวเตอร์ การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แรงงานในชุ ม ชนกรณี ที่ ป ระสบปั ญ หา ด้านกฎหมายหรือถูกละเมิดสิทธิ รวมทัง้ การเป็นศูนย์กลางในการท�ำกิจกรรม ด้านวัฒนธรรมร่วมกับชุมชนไทยเพือ่ สร้างการเรียนรูแ้ ละเข้าใจความแตกต่าง ด้านภาษาและวัฒนธรรมเเละเมื่อเปิดด�ำเนินการมาระยะหนึ่ง ทางโครงการ ยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติก็พบว่ามีลูกหลานของแรงงานข้ามชาติจ�ำนวน หนึ่งที่ให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมท�ำกิจกรรมในห้องสมุดด้วย ดังนั้น ทางโครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติจึงจัดกิจกรรมเพื่อ พัฒนาศักยภาพทางของลูกหลานของเเรงงานข้ามชาติ เช่น กิจกรรมที่เรียก ว่า “ชั่วโมงชวนคุย” โดยเน้นกิจกรรมที่ท�ำ เพื่อให้เด็กมีความกล้าแสดงออก กล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กิจกรรม ที่น่าสนใจ

1 กรกฎาคม 2557 ผู้แทนเจ้าหน้าที่จาก สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ได้เข้าเยี่ยม ส�ำนักงาน มสพ. ประจ�ำพื้นมหาชัย เพื่อรับทราบ การท�ำงานด้านการให้ความช่วยเหลือแรงงานข้าม ระหว่างวันที่ 13–14 กรกฎาคม 2557 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชน ชาติและแรงงานที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และการพัฒนา ร่วมกับส�ำนักงานกฎหมาย U Kyaw Myint ซึ่งมีส�ำนักงาน อยู่ที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า จัดท�ำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อ แลกเปลีย่ นความรูแ้ ละประสบการณ์การให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ที่ท�ำงานในประเทศไทย ทางกฎหมาย ระหว่างทนายความไทยและพม่า (Workshop on Sharing Knowledge and Experience with Lawyers from Myanmar on Legal Aid to Migrant Workers in Thailand) มีตวั แทนทนายความ ทัง้ ไทยและพม่า สหภาพแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์การด้านแรงงานระหว่างประเทศเข้าร่วมการประชุม 60 คน หลังจากการประชุมครัง้ นีแ้ ล้วตัวแทนทนายความทัง้ สองประเทศจะพัฒนา กิจกรรมร่วมกันเพือ่ น�ำไปสูก่ ารช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ให้รบั ทราบ ข้อมูลด้านนโยบายและการจ้างแรงานข้ามชาติในประเทศไทย และการให้ สนับสนุนงานด้านคดีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของแรง NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 11


15 กรฎาคม 2557 ตัวแทน มสพ. ร่วมกับสมาชิก เครือข่ายท�ำงานด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) ลงพืน้ ทีจ่ งั หวัด สมุทรสาคร เพื่อสังเกตุการณ์การเปิดศูนย์จดทะเบียนแรงงาน เบ็ดเสร็จ (one stop Service) ที่ได้มีการตั้งขึ้นตามประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2557 เพื่อเป็นมาตรการั่วคราวในการแก้ไขแรงงาน ข้ามชาติและการค้ามนุษย์ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นศูนย์แรกทีเ่ ปิดขึน้ ทะเบียนแรงงานพร้อมผูต้ ดิ ตาม ซึง่ ปรากฎ ว่ามีแรงงานทั้งสามสัญชาติและผู้ติดตามมาขึ้นทะเบียนเป็น จ�ำนวนมากโดยมีนายจ้างหรือตัวแทนนายจ้างเป็น ผู้น�ำมาขึ้น ทะเบียน หลังขึ้นทะเบียนแล้วแรงานและผู้ติดตามจะได้รับ

บัตรประจ�ำตัวชั่วคราวและ ทร.38/1 ซึ่งท�ำให้แรงงานข้ามชาติ สามารถอยู่และท�ำงานประเทศไทยเป็นการชั่วคราว จากนั้น แรงงานข้ามชาติจะต้องเข้าสูก่ ระบวนการของการพิสจู น์สญ ั ชาติ ต่อไป จากนัน้ คณะผูส้ งั เกตุการณ์ได้เดินทางไปเยีย่ มศูนย์บริการ เบ็ดเสร็จทีเ่ ปิดให้บริการส�ำหรับแรงงานข้ามชาติทผี่ า่ นการพิสจู น์ สัญชาติแล้วแต่วาระการจ้างงานครบก�ำหนด 4 ปี นายจ้าง จะต้องน�ำลูกจ้างมาขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาต ให้อยูใ่ นราชอาณาจักรและขอรับใบอนุญาตท�ำงานตามขัน้ ตอน ที่กรมการจัดหางานก�ำหนด ศูนย์ดังกล่าวนี้มีเจ้าหน้าที่จาก ส�ำนักงานจัดหางานและส�ำนักงานตรวจคนเข้าเมืองบริหาร จัดการ

19 กรกฎาคม 2557 มสพ. ประจ�ำพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ ลงพืน้ ทีช่ มุ ชนก่อสร้าง บริเวณ วัดดงจันทร์ ต�ำบลสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมายคุ้มครอง แรงงาน นโยบายด้านแรงงานข้ามชาติภายใต้คณะรักษา ความสงบแห่งชาติ และอัพเดทสถานการณ์ของแรงงาน ข้ามชาติในชุมชน มีแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมจ�ำนวน 25 คน (เป็นชาย 15 คน หญิง 10 คน) วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ตัวแทน มพส. เข้ า ร่ ว มประชุ ม หารื อ กั บ คณะอนุ ก รรมการปฏิ รู ป กฎหมายด้านอาเซียน ซึ่งท�ำการศึกษาวิจัยการจัดท�ำ ข้อเสนอกลไกที่เหมาะสมส�ำหรับการคุ้มครองและ ส่งเสริมสิทธิแรงานอาเซียน อันน�ำมาสูก่ ารจัดท�ำ “ร่าง ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงาน” โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้นำ� เสนอร่างข้อตกลงอาเซียน ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิแรงงาน และรับทราบความ คิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ จากนัน้ คณะอนุกรรมการฯ จะน�ำไป ปรับปรุงก่อนเผยแพร่และรับฟังความคิดเห็นในระดับ ประเทศและระดับภูมิภาคอาเซียน

12 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ

ระหว่างวันที่ 21–23 กรกฎาคม 2557 ตัวแทน มพส. เข้าร่วม ประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับเครือข่ายแรงงานข้ามชาติระดับประเทศ (CBO Summit) ครัง้ ที่ 1 จัดโดยเครือข่ายองค์กรทีท่ ำ� งานด้านประชากร ข้ามชาติ (MWG) เพือ่ เป็นเวทีให้กลุม่ องค์กรแรงานข้ามชาติในประเทศไทย ได้ แ ลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ประสบการณ์ ด ้ า นการท� ำ งาน และกระตุ ้ น ให้เกิดเครือข่ายการท�ำงานด้าน การคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ แ ละพั ฒนา คุณภาพชีวติ ของแรงงานข้ามชาติ ทั้งในระดับประเทศและระดับ ภูมภิ าค หลังเสร็จสิน้ การประชุม แล้ ว ได้ มี ตั ว แทนแรงงาน ข้ า มชาติ จ ากสหพั น ธ์ แ รงงาน ข้ า มชาติ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เข้าเยี่ยมและเรียนรู้การท�ำงาน ให้ความช่วยเหลือแรงงานข้าม ชาติ ที่ มสพ. ส�ำนักงานมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร


30 กรกฎาคม 2557 มสพ .ประจ�ำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับอาสาสมัคร แรงานข้ามชาติ ลงพืน้ ทีช่ มุ ชนก่อสร้างบริเวณส่าเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ความรู้ว่าด้วยสิทธิของงานแรงงานตาม พรบ. ประกันสังคม นโยบายด้าน แรงงานข้ามชาติภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และอัพเดทสถานการณ์ของ แรงงานข้ามชาติในชุมชน มีแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมจ�ำนวน 29 คน (เป็นชาย 9 คน หญิง 20 คน) 30 กรกฎาคม 2557 ส�ำนักงาน คลินิกกฎหมาย มสพ. ได้ลงพื้นที่เยี่ยม ชุมชนแรงงานข้ามชาติ ชุมชนป่ากล้วย เขต ซอยร่วมใจ อ�ำเภอแม่สอด พบว่ามีแรงงาน ข้ามชาติชาวพม่าอาศัยอยูก่ ว่าสิบหลังคาเรือน แรงงานในชุมชนส่วนใหญ่ประสบปัญหา ด้านเอกสารประจ�ำตัว แรงงานส่วนใหญ่ มีอาชีพรับจ้างทัว่ ไป บุตรหลานของแรงงาน มีโอกาสเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาในโรงเรียน ทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ โดยองค์กรภาคประชาสังคมของ พม่าในพื้นที่แม่สอด

30 กรกฎาคม 2557 มสพ. ประจ�ำจังหวัด เชี ย งใหม่ จั ด ประชุ ม ที่ ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ส� ำ หรั บ แรงงานข้ามชาติ ที่ต�ำบลสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่ อ อั พ เดทการท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั บ อาสาสมั ค ร แรงานข้ามชาติ ทีม่ สี ว่ นช่วยให้แรงงานที่ มสพ. และ ทีมอาสาสมัครฯลงไปท�ำกิจกรรมให้ความรูใ้ นชุมชน มีความกล้าสือ่ สาร มีความมัน่ ใจในการแลกเปลีย่ น สภาพปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในชุมชนแรงงาน และมีความ เข้าใจด้านการเข้าถึงกลไกการคุ้มครองสิทธิของ แรงงานข้ามชาติ มีอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติเข้า ร่วมจ�ำนวน 14 คน (เป็นชาย 11 คน หญิง 3 คน)

1 สิงหาคม 2557 ผู้แทน มสพ. เข้าร่วมรับฟัง การเสวนาภายใต้หวั ข้อ “เวที สือ่ สารสาธารณะ เพือ่ ต่อต้าน การค้ามนุษย์” จัดขึ้นโดย กระทรวงพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงให้ทุกภาคส่วนได้ทราบถึงทิศทาง ในการด�ำเนินการเพือ่ ป้องกันและปราบการค้ามนุษย์ภายหลัง จากทีป่ ระเทศไทยถูกจัดอันดับโดยกระทรวงต่างประเทศของ สหรัฐอเมริกาให้ตกอยู่ในอันดับ 3 ในรายงานสถานการณ์ การค้ามนุษย์ (TIP Report) โดยมีหม่อมหลวง ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน ,พลต�ำรวจเอก เอก อังสนานนท์ รองผู้บัญชาการต�ำรวจแห่งชาติ, พลต�ำรวจเอก ชัชวาลย์ สุ ข สมจิ ต ร์ อธิ บ ดี ก รมสอบสวนคดี พิ เ ศษ, นายทรงศั ก สายเชื้อ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ และนางญาณี เลิศไกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เข้าร่วมเสวนา ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ชั้น ๒ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ

4 สิงหาคม 2557 ทางเจ้าหน้าที่ คลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด เข้าร่วมงาน คื น ธรรมชาติ คื นวั ฒ นธรรม คื น คนตาก คืนความสุขให้ประชาชน ซึง่ จัดโดยบ้านพักเด็ก และครอบครัวจังหวัดตาก ซึ่งผู้เข้าร่วมงาน มีทงั้ องค์กรทางภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึง ภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันถกถึงประเด็น ปัญหาต่างๆ ด้านการค้ามนุษย์ในพืน้ ทีอ่ ำ� เภอ แม่ ส อด จั ง หวั ด ตาก และยั ง มี ก ารจั ด ตั้ ง บูธงานต่างๆ เพื่อรณรงค์การป้องการและ การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษณ์ให้ผู้ร่วมงาน ได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของประเด็ น ปัญหาการค้ามนุษย์ที่เกิดอีกด้วย

NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 13


ระหว่างวันที่ 6–8 สิงหาคม 2557 ผู้แทน มสพ. ได้เข้า ร่วมประชุมระดับภูมิภาคขององค์กรหุ้นส่วนในโครงการแลก เปลี่ยนเจ้าหน้าที่เพื่อศึกษาดูงานระหว่างองค์กร สนับสนุนโดย องค์กรพัฒนาเอกชน ชื่อว่า Fredsorpset (FK–Norway) จาก ประเทศนอร์เวย์ การประชุมครั้งนี้ เพื่อท�ำความเข้าใจระบบ การบริหารจัดการในการส่งเจ้าหน้าที่มาแลกเปลี่ยน รวมทั้ง การพบปะระหว่างตัวแทนองค์กรหุ้นส่วน และเจ้าหน้าที่ที่ผ่าน การคัดเลือกไปศึกษาดูงาน ส�ำหรับ มพส. ได้เป็นองค์กรหุน้ ส่วน กับส�ำนักงานกฎหมาย U Kyaw Myint ประเทศพม่า และองค์กร พัฒนาเอกชนชื่อว่า Lembaga Batuan Hukum (LBH– Jakarta) ประเทศอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยน เจ้าหน้าทีข่ ององค์กรเพือ่ ศึกษาดูงานด้านกิจกรรมให้ความช่วยเหลือ ประชาชนทางกฎหมาย

ระหว่างวันที่ 15–16 สิงหาคม 2557 ผู้แทน มสพ. เข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อน�ำมาสู่ การปรั บ ปรุ ง กลไกการร้ อ งเรี ย นที่ เ หมาะสมแก่ แ รงงาน ข้ามชาติ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จัดโดย คณะ ท�ำงานด้านแรงงานชาติอาเซียน (Task Force on ASEAN Migrant Workers) โดยผู้เข้าร่วมจากองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ท�ำงานด้านการคุ้มครองสิทธิแรงานข้ามชาติ ได้น�ำเสนอ ประสบการณ์ด้านการช่วยเหลือและสนับสนุนให้แรงงาน ข้ามชาติเข้าถึงกลไกการร้องเรียนการคุ้มครองสิทธิทั้งใน ระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ และการน�ำเสนอ ตัวอย่างการจัดท�ำแบบฟอร์มเพื่อบันทึกข้อร้องเรียนจาก แรงานข้ามชาติ

17 สิงหาคม 2557 มสพ. ประจ�ำ จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับอาสาสมัครแรงาน ข้ า มชาติ ลงพื้ น ที่ ชุ ม ชนก่ อ สร้ า งบริ เ วณ วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ความรู้ ว่าด้วยกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แรงงาน ในชุมชนก่อสร้างเขตนี้มีประสบปัญหาการ ไม่ได้รบั ค่าแรงงานขัน้ ต�ำ่ และนายจ้างได้ยดึ หนังสือเดินทางของแรงานไว้ โดยเจ้าหน้าที่ มสพ. ได้ให้ค�ำแนะน�ำในการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายแรงงาน และขั้นตอนในการ ขอคืนหนังสือเดินทางจากนายจ้าง มีแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมจ�ำนวน 46 คน (เป็นชาย 38 คน หญิง 8 คน) ระหว่างวันที่ 23–24, 30–31 สิงหาคม 2557 ผู้แทน มสพ. เข้าร่วมประชุมการรับฟังความคิดเห็นการขยายขอบข่าย ความคุม้ ครองประกันสังคมแก่ลกู จ้างในภาคเกษตรและประมงทีจ่ งั หวัดขอนแก่น จังหวัดระยอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดตาก จัดโดยส�ำนักงานประกันสังคม เพื่อน�ำข้อมูลจากเวทีรับฟังความคิดเห็นเป็นข้อมูลประกอบการน�ำเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ประกันสังคมและกฎหมายเงินทดแทนที่เกี่ยวกับการขยายข่ายความคุ้มครองให้ลูกจ้างในกิจการเกษตรและประมง โดยการร่วม ประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว ทางมูลนิธิฯ ได้จัดท�ำเอกสารว่าด้วยข้อสังเกตุบางประการต่อการแก้ไขกฎหมายว่าด้วย เงินทดแทนแก่แรงงานภาคเกษตรและภาคประมงต่อส�ำนักงานประกันสังคมด้วย

14 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


26 สิงหาคม 2557 ผู้แทน มสพ. เข้าร่วมประชุมผู้บริหาร เพือ่ พัฒนากลไกการร้องทุกข์และส่งเสริมการเข้าถึงกลไกการคุม้ ครอง สิทธิของแรงงานข้ามชาติ จัดโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศร่วม กับกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้คณะผู้จัดงานได้น�ำเสนอผลการด�ำเนิน กิจกรรมว่าด้วยการพัฒนากลไกการร้องทุกข์ใน 7 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ แม่สอด ตาก ระยอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี

29 สิ ง หาคม 2557 ตั ว แทน มสพ. เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมมอบ ประกาศนี ย บั ต รแก่ นั ก ศึ ก ษาที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการยุ ว ฑู ต สะพานเสี ย ง (Saphansiang Youth Ambassador) สนับสนุนโครงการโดยองค์การ ด้านแรงงานระหว่างประเทศ เพือ่ ให้นกั ศึกษาทีผ่ า่ นการคัดเลือกเข้าศึกษา ดูงานด้านการคุ้มครองสิทธิของแรงานข้ามชาติในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ เดือนเมษายน–กันยายน 2557 ทางโครงการยุวฑูตสะพานเสียงได้ส่ง ศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาลัยเชียงใหม่ เข้าศึกษาดูงาน กับ มสพ. จ�ำนวน 3 คน

18. 31 สิงหาคม 2557 มสพ. ประจ�ำจังหวัด เชียงใหม่ ร่วมกับอาสาสมัครแรงานข้ามชาติ ลงพื้นที่ ชุมชนก่อสร้างสะเมิง บ้านแม่เหียะ เพือ่ ประเมินความ รู ้ ค วามเข้ า ใจของแรงงานข้ า มชาติ ว่ า ด้ ว ย พรบ. ประกันสังคม และการเข้าถึงสิทธิใน พรบ. ประกัน สังคม โดยแรงงานที่เข้าร่วมประเมินความรู้ให้ข้อมูล ว่า พรบ. ประกันสังคมมีประโยชน์ต่อแรงงาน แต่ เนือ่ งจากแรงงานได้รบั ค่าแรงต�ำ่ กว่าอัตราค่าแรงขัน้ ต�ำ่ และนายจ้ า งไม่ ย อมน� ำ ลู ก จ้ า งขึ้ น ทะเบี ย นกั บ ส�ำนักงานประกันสังคม มีแรงงานข้ามชาติเข้าร่วม กิจกรรมประเมินความรู้ จ�ำนวน 22 คน (เป็นชาย 9 คน หญิง 13 คน)

5 กั น ยายน 2557 นางสาวสุนิดา ปิยกุลพานิยช์ เจ้าหน้าที่ คลินกิ กฎหมายแรงงาน แม่สอด ได้จัดกิจกรรม แลกเปลีย่ นประสบการณ์ การเข้ า ร่ ว มโครงการ ศึ ก ษาดู ง านระหว่ า ง องค์ ก ร โดยนางสาว สุ นิ ด า ได้ เ ดิ น ทางไป ศึกษาดูงานทีส่ ำ� นักงาน กฎหมาย U Kyaw Myint กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีเจ้าหน้าที่ ของคลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด ตัวแทนจากเครือข่ายชุมชนแรงงาน ข้ามชาติ หรือ CBO ตัวแทนจากสภาทนายความพื้นที่อ�ำเภอแม่สอด เข้าร่วมรับฟัง นางสาวสุนิดา ได้น�ำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้ด้าน สภาพการเมืองและเศรษฐกิจ การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ภายในประเทศพม่า ปัจจัย ผลักที่ให้ชาวพม่าเดินทางมาท�ำงานใน ประเทศไทย กลไกในการให้ความช่วยเหลือแรงงานในประเทศพม่า การพัฒนาแนวทางการสนับสนุนด้านคดีแก่แรงงานข้ามชาติที่ประสบ ปัญหาระหว่าง มสพ. และส�ำนักงานกฎหมาย U Kyaw Myint นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือกับผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับแนวทางการจัดท�ำคู่มือ ส�ำหรับแรงงานข้ามชาติในการใช้ชวี ติ ในประเทศไทยและการเข้าถึงกลไก การคุ้มครองสิทธิกรณีที่แรงงานประสบปัญหา NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 15


19 กันยายน 2557 คณะกรรมาธิการระหว่างอาเซียนว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights–AICHR) ได้จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การจัดท�ำรายงานทบทวนสถานการณ์สทิ ธิมนุษยชน ของประเทศ (Universal Periodic Review–UPR) ซึ่งรัฐบาล สมาชิกขององค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น ทุกประเทศจะต้อง ท�ำรายงานดังกล่าวถึงส�ำนักข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชน องค์กรสหประชาชาติ ทุก 4 ปี พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้องค์กร ภาคประชาชนสามารถจัดท�ำรายงานในลักษณะคูข่ นานถึงส�ำนัก ข้าหลวงใหญ่ฯ ได้อีกทางหนึ่ง การจัดประชุมโดย AICHR ครั้งนี้ เพื่อให้ตัวแทนภาครัฐ ภาคประชาสังคมจากประเทศสมาชิก อาเซี ย น หารื อ ร่ ว มแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ใ นการจั ด การ กับความท้าทายภายใต้กระบวนการจัดท�ำรายงาน UPR รวมถึง การแสวงหาแนวทางในการพัฒนาและจัดการกับความท้าทาย ร่วมกันในระดับภูมิภาค

10 กันยายน 2557 เจ้าหน้าทีค่ ลินกิ กฎหมาย แรงงานแม่สอด ได้จัดกิจกรรมลงพื้นที่เยี่ยมแรงงาน ในชุมชน หมู่บ้านห้วยน�้ำขุ่น หมู่ 8 ต�ำบลมหาวัน อ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากเข้าเยีย่ มพบว่าชาวบ้าน ในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง จ�ำนวนร้อยกว่า ครั ว เรื อ น ประกอบอาชี พ เกษตรกรรมเพาะปลู ก เด็กเล็กส่วนใหญ่มีโอกาสในทางการศึกษาเนื่องจาก มีโรงเรียนต�ำรวจตระเวนชายแดนประจ�ำอยู่ในชุมชน

16 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ

ระหว่างวันที่ 5–7 กันยายน 2557 องค์กรพัฒนา เอกชน Migrant Forum in ASIA (MFA) ร่วมกับ Caritas Lebanon Migrants Center จัดประชุมครั้งที่สองกับเครือ ข่ายทนายความไร้พรมแดน Lawyers Beyond Borders ที่กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน เพื่อน�ำตัวแทนทนายความ และนักกฎหมายจากภูมภิ าคเอเชียตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จ�ำนวน 21 คน ซึ่งเป็น ผู้มี ประสบการณ์ในการให้ความช่วยเหลือคดีแก่แรงงานข้ามชาติ โดยตั ว แทน มสพ. ได้ เ ข้ า ร่ ว มแลกเปลี่ ย นและน� ำ เสนอ ประสบการณ์ กรณีศึกษาด้านการให้ความช่วยเหลือคดีแก่ แรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติชาวพม่า โดย ปัญหาของแรงงานข้ามชาติทแี่ รงงานประสบคล้ายๆ กัน ได้แก่ การถูกเอารัดเอาเปรียบจากการท�ำสัญญาจ้างงานที่ไม่เป็น ธรรม การถูกหลอกจากบริษัทจัดหางานหรือนายหน้า การ เข้าไม่ถึงกลไกการคุ้มครองสิทธิของแรงงาน โดยเฉพาะ แรงงานท�ำงานในบ้าน

14 กันยายน 2557 มสพ. ประจ�ำจังหวัดเชียงใหม่ จั ด กิ จ กรรมให้ ค วามรู ้ แ ก่ อาสาสมัครแรงานข้ามชาติ ทีศ่ นู ย์ความรูส้ ำ� หรับแรงงาน ข้ามชาติ ต�ำบลสารภี จังหวัด เชียงใหม่ มีตวั แทนทนายความ เป็นผูใ้ ห้ความรูด้ า้ นกฎหมายประกันภัย กรณีทมี่ อี บุ ตั เิ หตุจากรถยนต์ และร่วมแลกเปลีย่ นกรณีศกึ ษาทีเ่ กิดขึน้ จริง แนวทางการให้ความช่วยเหลือ แรงงานข้ามชาติ ในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ มีอาสาสมัครแรงงานข้ามชาติ เข้าร่วม จ�ำนวน 15 คน (เป็นชาย 11 คน หญิง 4 คน)


19 กันยายน 2557 มสพ. ประจ�ำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับอาสาสมัครแรงานข้ามชาติ ลงพื้นที่ชุมชนก่อสร้างกาญจนา 1 จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของแรงงานข้ามชาติ ว่าด้วย พรบ. เงินทดแทน และการเข้าถึงสิทธิใน พรบ. เงินทดแทน มีแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมกิจกรรมประเมินความรู้ จ�ำนวน 21 คน (เป็นชาย 11 คน หญิง 10 คน)

8 กันยายน 2557 ผู้แทนมูลนิธิฯ เข้า ร่วมประชุมเรือ่ ง “หลักการส�ำคัญของกฎหมาย ประกันสังคม เพื่อคนท�ำงานทุกคน” เพื่อรับ ความคิดเห็นและข้อเสนอต่อหลักการส�ำคัญ ของกฎหมายประกั น สั ง คมและพิ จ ารณา ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายประกันสังคม ให้ สอดคล้องกับระบบการประกันสังคม อันน�ำมา สูก่ ารพัฒนาคุณภาพชีวติ ของแรงงานทัง้ ในและ นอกระบบรวมทั้งแรงงานข้ามชาติด้วย จัดโดย คณะกรรมการปฏิรปู กฎหมาย ซึง่ มีคณะท�ำงาน พิจารณาเนื้อหาและสาระส�ำคัญของกฎหมาย ประกั น สั ง คม และได้ ก� ำ หนดแนวทางการ พิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายประกัน สังคม

25. 25 กันยายน 2557 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจัดประชุม รับฟังความคิดเห็น เรือ่ ง ร่างพระราชบัญญัตแิ ก้ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการด�ำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) ที่ น�ำเสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีผแู้ ทนจากนักวิชาการ ผู้พิพากษา อัยการ นักกฎหมายด้านคดีแรงงาน (นายชฤทธิ์ มีสิทธิ และ ผู้แทน มสพ.) ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านผู้บริโภค ร่วมแลกเปลี่ยนแสดง ความคิดเห็นและประสบการณ์ทางวิชการเกี่ยวกับกระบวนการด�ำเนินคดี แบบกลุม่ เพือ่ ให้ทางคณะกรรมการปฏิรปู กฎหมาย รวบรวมความเห็นและ จัดท�ำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

วันที่ 26 กันยายน 2557 ผูแ้ ทน มพส. และสมาชิกเครือ ข่ายองค์กรทีท่ ำ� งานด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) ร่วมประชุม ปรึกษาหารือว่าด้วยแรงงานข้ามชาติทผี่ า่ นการจ้างงานในระบบ การจัดท�ำบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศไทย (MOU) และ ประเทศเพือ่ นบ้านจากพม่า ลาว และกัมพูชา สนับสนุนกิจกรรม โดยองค์การด้านแรงานระหว่างประเทศ การประชุมปรึกษา หารือครัง้ นีเ้ พือ่ สะท้อนประสบการณ์ดา้ นการให้ความช่วยเหลือ และปัญหาของแรงงานข้ามชาติทผี่ า่ นการจ้างงานในระบบ MOU เพือ่ จัดท�ำเป็นข้อเสนอให้เกิดการแก้ไขในเชิงนโยบายต่อการน�ำเข้า แรงงานระบบ MOU

NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 17


Some observations regarding the amendment of workmen’s compensation fund to expand social security protection to employees in agricultural and fishery sectors

Laws and Policies

Phattranit Yaodam

A

ccording to the Thailand’s Fisheries Foreign Affairs Division (FiFAD), Department of Fisheries, Thailand has exported fishery products to other countries in the first semester of 2014 at 704,658.02 tons, worth 86,596.03 million baht. It is indicative of our massive potential in fishery sector. An estimate goes that our fishery assembly lines, inshore and offshore, rely on 283,557 workers. The number is similar to the number of workers employed in agricultural sector which is one of the main production sectors of the country as well. Despite the massive number of workers employed in both sectors, but the legal protection meted out for them is minimal.

The workmen’s compensation law aims to protect workers suffering from work–related accidence or illness. But according to the Ministry of Labour and Social Welfare’s Regulation B.E. 2545 (2002), employers in certain sectors including plantation, fishery, forestry and husbandry who do not employer workers all year round are not required to pay contribution to the workmen’s compensation fund. As a result, if any mishaps happen, the employees have to ask for compensation from the 18 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ

employers directly and it has become an obstacle for workers, particularly migrant workers, in terms of their access to the workmen’s compensation fund. Therefore, the Social Security Office (SSO) has conducted a public hearing on the proposed expansion of social security protection to employees in agricultural and fishery sectors in August 2014 covering four provinces including Rayong, Khon Kaen, Tak and Surat Thani with most of the participants included representatives


of employers, employees and civil society organizations. order to avoid the impediment of the rights of migrant They shared the idea that the law should be amended workers by the state. The above observations reflect another set of to address the problem and HRDF have some obser challenges regarding the management of the Thai state. vations regarding its implications as follows; 1. Employee registration management: Due Of course, by eradicating the legal impediment, it gives to a lack of standard protocol for the employment of us a good start and makes hundreds of thousand of workers in fishery sector, labour agents have emerged workers become more hopeful. If the Thai state is able to meeting the demand of labour in manufacturing sector. to minimize practical hassles, it would enable workers If the issue cannot be addressed, it would not be possible to have effective access to the workmen’s compensation to develop the employee registration system and to ensure fund. the migrant workers shall become Regulation of the Social Security Office (SSO) a part of the workmen’s compensation fund system. Registration of Alien Workers from Lao, Cambodia and Myanmar 2. Issues concerning the having been given the right to temporary stay in Thailand interpretation employment and In order to ensure orderly and effective registration of alien workers hired work which is so key and fundamental to providing for right from Lao, Cambodia and Myanmar, who have been given the right to protection of the employees who temporary stay in Thailand; By the virtue of Article 32 of the State Administration Act B.E. 2534 are supposed to be “employed’ by their employers. But in reality, we (1991) amended by the State Administration Act (No. 5), B.E. 2545 have found a number of workers in (2002), the Secretary–General of the Social Security Office has the agricultural sector including rubber following to announce; and palm oil plantations who have (1) The Regulation of the Social Security Office (SSO) on the become rotational labour for different Registration of Alien Workers from Lao, Cambodia and Myanmar who have employers. In some instances, the undergone nationality verification, dated 8 October 2010, shall be repealed. workers also get their family mem(2) Employers shall have their alien workers from Lao, Cambodia bers to help in their work. It requires sensitivity in the interpretation. If the and Myanmar registered as employees as per the SSO Regulation on authorities or the employers have the Registration of Employers issued by the virtue of the Workmen’s not enough understanding to distin- Compensation Fun Act B.E. 2537 (1994) dated 1 July 1994 and to have guish between the two legal defini- them registered as insured persons as per the SSO Regulation the Format tions, it could give rise to confusion of Registration issued by the virtue of the Social Security Act B.E.2533 and impact on the registration of (1990) dated 24 March 2003, by using an ID card issued by the Department of Provincial Administration for persons without Thai nationality. employers and employees. (3) The Regulation shall come into force since 16 July 2014 onward. 3. Restrictions to access to rights of migrant workers: Some Announced on 16 July 2014 migrant workers have the right to Mrs. Ammorn Chaowalit access the workmen’s compensation Secretary–General of the Social Security Office (SSO) fund, but are obliged to leave the country, thus their access will be Social Security Fund has announced regulations dated 16 July 2014 impeded. The Thai state is then on migrant workers registration from Laos, Cambodia, required to overhaul access to the and Myanmar accordingly to the Workmen’s Compensation Act of B.E.2537 workmen’s compensation fund in and Social Security Act of B.E.2533 NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 19


An analysis of the labor registration policy at the One Stop Service Center Papop Siamhan1

T

he One Stop Service Center for Registration of Alien Labor (ONE STOP SERVICE) (hereafter called “Service Center”) is established by the virtue of the National Council for Peace and Order (NCPO) Announcement No. 70 dated 25 June 2014. It was aimed at providing a temporary measure to address migrant labor and human trafficking issues by launching the registration of migrant workers in the country and to develop the standards on par with international ones. It is supposed to address the need of the entrepreneurs or employers in certain business sectors including the labor intensive fishery and to eradicate any exploitation of migrant workers which has given rise to human trafficking. The Center has been operating for more than three months (since 26 June 2014 to 5 October 2014) and there have been 1,261,161 migrant workers who got registered. It could be touted as a success in term of the number of registrants and cooperation. Nevertheless, there is also room for improvement from the existing operation of the Center which should prompt changes in the policy and at the operational level as follows; 1. Challenges regarding the time and verification system: Since the Service Center aims to accelerate the registration of migrant workers and thus there have been a range of workers and a massive number of them who apply for the registration all at once as required by the NCPO Announcement. As a result,

1

the verification has to be done in haste causing errors and inconsistencies regarding the status of the migrant workers. Human Rights and Development Foundation (HRDF) have found that even some migrant workers who have entered the country via a Memorandum of Understanding (MOU) made between Thailand and our neighboring countries have registered themselves at the Service Center as well. As a result, they would have two statuses of workers at the same time. In addition, agents have been involved in facilitating the registration of the workers and some workers who are under fifteen years of age have been brought for registration and they had to falsely claim that they are over eighteen years old in order to be eligible for the work permits. The requirement for the process to be conducted in haste without proper verification is still a major issue faced by the Service Center as far as the registration of migrant workers is concerned. 2. No clear long term policy: The Service Center policy is simply a provisional measure to provide temporary work permits (which will expire in 31 March 2015). If the worker wants to extend his or her permit and to stay in the Kingdom as prescribed for by the 1979 Immigration Act and the Working of Aliens Act B.E. 2551 (2008), he or she has to enter the nationality verification process starting from his or her country of origin. Right now, there is no clarity as to the cooperation in nationality verification of the migrant workers. Of late, the cabinet endorsed in principle on 28 October 2014 the verification of nationality of migrant workers from Myanmar, Lao and Cambodia. Basically, concerned agencies have been designated to oversee the nationality verification process and the fishing workers who have been granted permission to work as per the cabinet resolution made on 2 August 2013 are required to enter the nationality verification with the following detail.

Mr. Pabhop Siamhan is a staff member of the Anti-human trafficking project under the Human Rights and Development Foundation (HRDF).

20 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


(a) The verification of nationality of migrant workers from Myanmar, Lao and Cambodia who have been granted temporary right to work by the Service Center through the One Stop Service package. Concerned agencies including the Ministry of Interior, Ministry of Foreign Affairs, Immigration Bureau, Ministry of Labor (Department of Employment and Social Security Office), Ministry of Public Health, Royal Thai Police and other agencies have been designate to perform their relevant duties. All concerned agencies are authorized to carry out their work immediately after the endorsement of the cabinet resolution. All nationality verification process of the migrant workers has to be promptly conducted and should be finished by 31 March 2015. (b) All fishing workers granted permission to work as per the cabinet resolution made on 6 August 2013 and the registration process shall take place twice a year, the first of which will be ended on 24 September 2014 are required to get registered at the One Stop Service Center prior to getting through the nationality verification process. Also, those who get registered in the second round (ended on 2 March 2015) are required to go through the nationality verification as well. Therefore, even though the Service Centers can help to facilitate registration procedure, but its work can be impeded by delay of coordinate in the sending countries. In addition, given the specific period of time, the Service Centers have in order to complete nationality verification within 31 March 2015, and if there is no other solution to address the problem, it could affect the migrant workers’ right to provisional stay in the country as per the 1979 Immigration Act. 3. A lack of integration among concerned agencies: The registration via the Service Center has to go through a number of steps and depends on cooperation from various government agencies. All these agencies have to work under supervision of the Committee on the Policy to Address Issues of Alien

Workers and the Subcommittee for Coordination on Addressing Issues of Alien Workers established by the order of the NCPO Order. If the Act on Management and Protection of the Work by Alien Workers B.E‌‌2 is invoked, the two committees could be established permanently As a result, the operation of the Service Center shall be developed into a one stop service operation under the supervision of the Committee and the Subcommittee. In addition, the operation of the Service Center lasts during a limited period of time. If the nationality verification cannot be completed within 31 March 2015 or no other ad hoc measures are meted out to address the issue, it will have affected their right to temporary stay in the Kingdom of the migrant workers as per the 1979 Immigration Act. 4. There are many obstacles in the access to information and legal labor rights and other rights of migrant workers registered with the Service Center. In addition, there are limited number of officials who work in the Service Center and thus their limited performance. There has also been a lack of effort to publicize information regarding the right to have access to many legal rights. From our observation, it was found that each Service Center features only one or two staff members on spot to explain about labor rights to the migrant workers. Most of the workers receive the information from their employers or representatives of employers. They are not aware that in fact once their employment relationship is established, they as employees shall enjoy the rights as provided for in labor laws. That they get registered at the Service Center will make their employee status officially recognized and acknowledged by the Thai state and their employers. But as of now, there are obstacles preventing them from having proper access to the information and to exercise their legal and labor rights and other rights. Thus, this will certainly fail to serve the purpose for the establishment of the Service Center.

2

Proposed by the Subcommittee for Coordination on Addressing Issues of Alien Workers and the Ministry of Public Health as per the most urgent letter no. ST 0228.05.4 dated 22 August 2014. NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 21


An observation of the use of One Stop Service Center to address problems in migrant worker registration

But according to the Service Center that has been operating for over three months (from 26 June 2014 to 5 October 2014), 1,261,161 migrant workers have got registered with them. Of this number, there are just 32,112 workers in sea fishery (as of 18 August 2014). It was a stark difference when compared to the number 1. Tackling human trafficking of 200,000 workers needed for the sector. Labor registration helps to affirm legality of an It could be said that the “Service Center” has not employment. It provides personal information of an been very successful in terms of boosting the number employee including their names and addresses and of workers in sea fishery sector due to the above reasons. other information regarding the nationality verification in 2. Tackling violation of labor rights their countries of origin. It is useful for tracking down Labor rights violation is not uncommon among the employer when the employee has been lured or forced to work (illegal workers or forced labor). Never- migrant workers who enter and live in the Kingdom of theless, with good information and stringent verification, Thailand illegally. As a result, they have no bargaining it will make labor registration fail to provide correct and power and are not able to demand protection from state detailed information and even to verify the authenticity authorities even though they are entitled to as they are of the information. It is important to affirm integrity of the an employee according to the labor law. Therefore, labor registration lately initiated could employer. It is not possible to use labor registration alone help to legalize the status of the migrant workers giving to tackle human trafficking since it depends upon them more leverage to negotiate with their employers. various factors including the use of suppression and They can even participate in unofficially recognized prevention measures such as the registration of fishing groups to campaign with civil society organizations. This boats, keeping record of persons boarding the boats could help to reduce labor rights violation. and coordination with other sectors. 3. Consistencies of the law to organize HRDF has also found that labor agents have sea fishery and policy become involved with the registration of migrant workers There is a huge labor shortage in fishery sector at the Service Center. It is known that the agents are since the work is considered “3D” (dirty, dangerous and not recognized officially or legally. They often work in difficult). Normal labor registration is consisted of too behalf of the employers to procure employees. Apart complicated and expensive process and not compatible from shortcutting relations between the employer and with the nature of employment in sea fishery. The the employee, some agents have made their gain from establishment of Service Center should help to reduce exploiting and asking for money from both the employer the time used for registration of employment (30–45 and the employee. minutes per worker) and address the complicated and According to human trafficking database, workers expensive process. in Thailand vulnerable to human trafficking are those In conclusion, the opening of One Stop Service employed in sea fishery. Based on various studies, there Center by the Thai state can be beneficial to the cause is a shortage of labor in the sector and a lot more for the protection of labor rights in various ways. Most workers (about 200,000 workers) are needed.3 One of importantly, it paves the way to use more lenient the purposes for the establishment of the Service approaches and to transform the illegal migrant workers Center is to boost the number of workers in the sector. to legal workers who can live lawfully in Thailand. It helps 3

The number has been calculated based on those working for inshore and offshore fishery. In 2014, the number of inshore fishers is 283,557 (including freshwater fishery). Please see a report on the study of projected labor demand during 2010-2014. http://human.aru. ac.th/www/images/stories/Font_Goverment/7.pdf 22 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


the Thai state to gauge the exact number of the migrant workers, the information of which is essentially important for the stratification labor management plans. It also indicates how the importance of migrant workers is acknowledged since they are so instrumental in developing the economy from the ground up. Since there is a great demand of migrant workers, it is proper then to arrange for a system through which the workers can be handled lawfully and certain agencies are clearly designated with the roles to help them. And the Thai state should realize that addressing issues of migrant workers can be quite challenging with regard to the law and existing human rights principles. It is therefore necessary to allow more exchange of opinions from various sectors to ensure comprehensive solutions of the problems.

First Hearing of the Supreme Administrative Court On cases filed by migrant workers against Social Security Office regarding the discriminatory and unlawful guidelines for protection of migrant workers suffers from injuries or sickness from work

Updates of highlighted cases

The Human Rights and Development Foundation (HRDF) has been providing legal representation to Mr. Joe, a migrant worker from Burma and his colleagues in their litigation against the Social Security Office (SSO) on 28 January 2010. Previously, SSO issued a guideline regarding the protection of migrant workers suffering from occupational health as per the circular no. RS0711/ W751 dated 25 October 2001, which was approved at the meeting of the Workmen’s Compensation Fund Committee in its meeting no. 20/2544 on 7 September 2001. The lawsuit was launched since existing laws including the 1994 Workmen’s Compensation Act already covers all employees including migrant workers in Thailand, provided that the worker has the following qualifications; 1. Having been registered and granted work permit by the Thai authorities 2. Their employers have paid contributions to the Workmen’s Compensation Fund at the rate not lower than minimum wage. 3. The employee has submitted personal income tax form to the Thai authorities. Normally, a migrant worker despite their having none of the above documents is still eligible to compensation from their employer as provided for in the 1994 Workmen’s Compensation Act. Later, the SSO invoked a resolution made by the

Workmen’s Compensation Fund Committee no. 23/2544 dated 12 October 2001 to require that in order to apply for social security status, a migrant worker is obliged to produce the following documents; 1. Work permit and passport, if there is any 2. Work permit and Alien ID Card The migrant workers who filed complaint found the measure unlawful since it imposes a discriminatory requirement based on racial biases against them even though according to the 1994 Workmen’s Compensation Act, they are entitled to the right. The new guideline by SSO is also found to have breached the Constitution of the Kingdom of Thailand, the Universal Declaration for Human Rights (UDHR), International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (ICERD), ILO Conventions, and even the Charter of the Association of Southeast Asian Nations regarding the protection and promotion of the rights of migrant workers and the Convention on Equal Treatment (regarding the 1925 Workmen’s Compensation Fund’s policy on accidence no. 19. In addition, SSO has failed to ensure that the employer pays the contribution to the Workmen’s Compensation Fund, and thus it must be found to have neglected their duties as required by law. Therefore, the implementation of the guideline will become a hurdle to access to the Workmen’s Compensation Fund if the worker suffers from a work–related injury. NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 23


Later on 17 July 2014, the Supreme Administrative Court held the first hearing on this case and the Judge’s statement during the first hearing can be summarized by HRDF as follows;4 1. The SSO’s protection of migrant workers suffering from occupational health as per the circular no. RS0711/W751 dated 25 October 2001 which requires a new set of qualifications of the employee to have access to compensation is a new rule and therefore must be treated as a by–law5 as per Article 3 of the “Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999). 2. In view of the 1994 Workmen’s Compensation Act ,it intends to protect an employee suffering from or being injured during their work regardless if the employee is a Thai or alien national. 3. Article 6 of the 1994 Workmen’s Compensation Act provides that the Minister of Labour shall have charge and control of the execution of this Act and shall have powers to issue Ministerial Regulations, Rules and Promulgations for the execution of this Act. 4. Article 32 of the 1994 Workmen’s Compensation Act provides that the Workmen’s Compensation Fund Committee shall have the powers to submit opinions to the Minister. 5. Since the 1994 Workmen’s Compensation Act provides that the Minister of Labour have the powers to issue a Ministerial Regulation, therefore, the Workmen’s Compensation Fund Committee shall only have the powers to just submit opinions and suggestions. 6. Even though the Workmen’s Compensation Fund Committee has the powers to issue a guideline to be enforced by government officials in order to prevent the employer from importing illegally their migrant workers and to enable their employees to have access to compensation, similar to other workers, but the guideline which constitutes as a by–law can only be issued by the Minister of Labour invoking his power 4

provided for by the 1994 Workmen’s Compensation Act. Therefore, that the SSO, a defendant in this case, invoked the resolution of the Workmen’s Compensation Fund Committee and instructed concerned agencies to act in compliance with it with regard to the guideline for the protection of migrant workers suffering from occupational health as per the circular no. RS0711/ W751 dated 25 October 2001 is an unauthorized act. Since the case is involved with public order, the judge who makes the conclusions for consideration deems it fit to overturn the decision made by the Lower Administrative Court and to revoke the protection of migrant workers suffering from occupational health as per the circular no. RS0711/W751 dated 25 October 2001. As for the request for the Court to ask the SSO to instruct the employer of the migrant workers to proceed with paying contribution to the Fund is not executable by the Court.

The Provincial Court of Mae Sot sentenced a sexual abuser to jail HRDF–labor law clinic (LLC) has provided legal assistance to a female migrant worker who complained that on 24 February 2014 she was raped by Mr. Nok with unknown last name. According to her, she was lured to drink milk mixed with sedative substance which made her feel sleepy and weak and could not resist the raping attempt or to run away. Our labor Law clinic has accompanied the damaged party to report the case to the police at the Mae Sot Police Station in Tak province asking that the perpetrator be charged with rape as per Article 276 of the Penal Code. Mr.Nok later indicted on the charge with the Provincial Court of Mae Sot. On 17 July 2014, the Court found Mr. Nok guilty of the charge and sentenced him to one year and four months.

Adjudication process in the Administrative Court is based on checks and balances among the judiciaries. One of the judges is designated as the judge in charge of the case shall prepare and deliver a case file to the judge who makes the conclusions for consideration. The latter judge plays a role in verifying the performance of duties of the judge in charge of the case and the whole division of judges. 5 A “by-law” means a Royal Decree, Ministerial Regulation, Notification of a Ministry, ordinance of local administration, rule, regulation or other provision which is of general application and not intended to be addressed to any specific case or person. 24 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


Immigration Offices in Mae Sot District and Burma’s Myawaddy collaborating to crack down on agents forging counterfeit passports for the migrant workers HRDF–Labour Law Clinic (LLC) in Mae Sot District has given help to Mrs. NinIlai, 25 years, a migrant worker from Burma, who was apprehended by the immigration official at the Thailand–Burma Friendship Bridge in Mae Sot District on 3 September 2014. She was charged for forging official documents and using counterfeit passport as per the Penal Code. According to Mrs. NinIlai, she hired a labor agent in Burma to extend her passport giving him the amount of 3,000 baht. After two months, she was given the passport in Burma and later she used it to make her entry into Thailand and was nabbed and charged. She has been held in custody during the investigation by the police. Our LLC in Mae Sot District has contacted the Immigration Office in Mae Sot District to inquire about the incidence. A meeting was later held with immigration officials from Thailand including officials from the Burma’s Myawaddy Immigration Office to exchange information and to explore ways to crack down on the agents involved with the passport forgery in September 2014. During the meeting, the officials from Burma even showed us eight more counterfeit passports seized from labor agents.

(Photo#) The meeting attended by representatives from our labor rights clinic in Mae Sot District, officials from both Thai and Burmese Immigration Offices in Mae Sot District and Myawaddy

Heir of migrant worker who died from car accident awarded indemnity from insurance company

(photo#) When the indemnity was awarded by the insurance company

On 6 February 2014, Ms. Sinmapiak (no last name), a migrant worker from Burma, was hit by a car and died at Mae Sot Hospital on 24 April 2014. HRDF Labour Law Clinic in Mae Sot District helped to facilitate for her heir to have access to the indemnity from the Viriyah Insurance PLC, which is contracted to provide the service by the car owner. On 3 June 2014, Mrs. Mia Mia Win (no last name), the deceased’s mother, was awarded 200,000 baht as indemnity from the insurance company. 50,000 baht has been deducted from the amount to foot the medical bill. In addition, the party that has accidentally killed her also provided the amount of 30,000 baht to the deceased’s mother as well. NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 25


The Provincial Court of Songkhla conducting advance witness examination in human trafficking case involved with illegal exploitation and extortion Staff from the anti–labor–human–trafficking project under the Human Rights and Development Foundation (HRDF) and lawyers have observed the witness examination of Mr. Or (not real name), a survivor of human trafficking and Mr. M (not real name), his relative on 30 July 2014 at 09.00 am at the Provincial Court of Songkhla. In this case, Mr. Anus Hayeemasae and others were indicted on human trafficking charges including illegal exploitation and extortion as per the Prevention and Suppression of Human Trafficking Act B.E. 2551 (2008) and on kidnapping, offence against freedom and arbitrary detention as per the Penal Code. During the witness examination, relatives of the survivor gave evidence that Mr. M was contacted by his relatives in Burma and was asked to help Mr. Or, a damaged party in this case. He was kidnapped by the broker who demanded 60,000 baht as ransom. The victim has fled from Rakhine State in Burma fearing

persecution there and wanted to go to Malaysia with help from the broker. It was agreed that the sum of money would be paid in its entirety once he sets his foot on Malaysia. Nevertheless, he was held in custody while in Thailand by the broker and was forced by them to make a phone call and informed his relatives in Burma. While his relatives were phone, he was tortured so that they could hear his groaning and prompted to pay the ransom. With coordination from civil society organizations and police officials, the witness arranged to meet with the broker at the Hat Yai bus station in Songkhla Province. There, Mr. Anus Hayeemasae, a defendant in this case, brought the victim and the police made the arrest and took legal action against him. After witness examination, the Provincial Court of Songkhla will further conduct examination of prosecution of witnesses during 21–24 October and examination of prosecution witnesses during 30–31 October 2014.

Six migrant workers received overdue wages from employer after lodging complaint with the Office of Labor Protection and Social Welfare in Samut Prakan Province HRDF–Migrant Justice Program (MJP) in Mahachai District received a complaint from Mr. Aung Tun Win and four friends who worked at Marine Acme Thai Dockyard Co., Ltd in Samut Prakan since they had not received any wages from the employer who subcontracted the work from the company. They later complained with the Office of Labor Protection and Social Welfare in Samut Prakan Province in Samut Prakan in June 2014. On 3 September 2014, officials from the Office of Labor Protection and Social Welfare in Samut Prakan Province asked the subcontract employer and representative from the company to have a meeting. Eventually, the company agreed to pay wages to all the six employees instead of the subcontract employer. An agreement was made to record the payment the same day all the employees received their pay. (Photo#) Five migrant workers complaining with the Office of Labor Protection and Social Welfare in Samut Prakan Province

26 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


HRDF visiting the collapsing condominium to provide humanitarian to affected workers The U Place condominium collapsed during the construction in the province of Pathumthani on 11 August 2014 about 16.20 causing 14 deaths including three migrant workers from Cambodia. Mrs. Sugarnta Sookpaita, staff of the Migrant Justice Program (MJP) in Chiang Mai with representatives from labor unions in Rangsit and adjacent areas and the Council of Work and Environment Related Patent’s Network of Thailand (WEPT) have made a visit to the affected workers and to provide them help making them have access to remedies and protection as provided for by law. Initially, HRDF and labor unions in Rangsit and the Council of Work and Environment Related Patent’s Network of Thailand (WEPT) have submitted a letter of petition to the Pathumthani Governor asking for an inquiry into the incidence and remedies for the affected migrant workers. A meeting was held with the Social Security Office (SSO) in Pathumthani to ensure that the migrant workers have access to compensation since they suffer from work–related injuries and to help them receive the overdue wages

Staff visiting building collapse patients

covering the period of 16 July–15 August 2014 for the 28 workers from Cambodia and three from Thailand. Later the wages have been paid by the employer. On 29 August 2014, Pathumthani SSO instructed the employer to provide compensation to the heirs of the two deceased workers from Cambodia (Mr. Ouy and Mr. Im Phua) since the two of them died of work–related accidence. SSO applied the same guideline for the employer to provide compensation to the heir of the deceased employees even though the employer did not pay his contribution to the Workmen’s Compensation Fund, Nevertheless, it did not appear that the SSO has taken any legal action against the employer who has failed to act in compliance with the 1994 Workmen’s Compensation Act since he has failed to pay his contributions to the Fund.

HRDF visited affected migrant workers from bursting boiler in Samut Prakan

Staff visiting bursting boiler patients

On 20 August 2014, representatives from HRDF have gone to Samut Prakan to visit migrant workers who suffered from an explosion of boiler causing injuries among migrant workers in the factory and those living close to the crime scene. Initially, it was found that 22 of them were receiving treatment at Samut Prakan Hospital, seven of them were inflicted with minor wounds and were allowed to return home while 15 others were admitted into hospital. In addition, some migrant workers who lived closer to the factory also died from the incidence. The factory’s owner has indicated his intention to provide for medical expense and compensation to the heirs of the deceased. HRDF staffs have visited and interviewed the patients and their relatives and were willing to advice the migrant workers or their relatives who wanted to have access to their legal rights and remedies. NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 27


Introducing awareness raising activities among children in migrant workers community

Child learning empowerment in migrant worker community

T

he Migrant Justice Program (MJP) under Human Rights and Development Foundation (HRDF) has supported migrant labor community to found the Migrant Workers Federation (MWF) in order to organize activities to provide for and develop capacity building of migrant workers including the opening of library for migrant workers and its memberships, activities in the library such as reading, learning Thai, English, Shan and practicing computer skill.

We also provide help including legal aid to those whose rights have been violated as well as work to promote cultural activities with Thai community to nurture mutual understanding of the language and cultural differences. The MJP has found a number of descendants of migrant workers are interested to participate in our library activities as well. The MJP therefore organized capacity building activities for children of the migrant workers emphasizing activities to encourage them to express themselves, to share their experience, and to provide them with library services.

Activities

1 July, The US Embassy representative visited the HRDF–MJP Mahachai office to learn about assistances to migrant workers and human trafficking victims.

13–14 July 2014 HRDF and U Kyaw Myint Legal office of Yangon jointly organized a Workshop on Sharing Knowledge and Experience with Lawyers from Myanmar on Legal Aid to Migrant Workers in Thailand. The workshop composed of sixty participants attorneys from Thailand and Myanmar, labor union members, Ngos and international labor organization. After the meeting, the two attorneys from both countries will develop an activity together to provide legal aid to migrant workers from Myanmar to know about employment and labor policies in Thailand. They also discussed about migrant labor rights case work supports

28 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


On 15 July, a HRDF representative and members of Migrant Working Group (MWG) organized a field observation trip to observe the opening of the one stop service migrant workers registration process stop (One Stop Service) which has been established under the Declaration National Council for Peace and Order (NCPO) No. 70, dated 25 June 2014, as a temporary measure to resolve migrant workers and human trafficking issues. The Samutsakorn Center Comprehensive Migrant Registration Services is first center for registering workers along with their dependents. Many migrant workers came to register with the employer or employer’s representatives, then migrants and dependents will receive a temporary identification and TR. 38/1. This allows workers to live and work temporarily in Thailand. Then, workers will need to follow the process of nationality verification. Later the observers visited the service center for migrants who passed the nationality verification process but whose terms of employment expired after four 4 years. Employers will need to obtain a visa to remain in the kingdom and a work permit at the Department of Employment. Office of Employment and Immigration office staffs manage this center. 19 July, HRDF–MJP Chiang Mai staff and migrant workers volunteers visited Dong Wat Chan construction site community, Sarapi sub–district, Chiang Mai to educate on labor protection law, migrant workers policies under the NCPO and receive and update on the situation of migrant workers in the community. There were 25 participants, 15 males and 10 females

21 July, a HRDF representative joined a meeting with the Law Reform Commision, Sub–commission on the ASEAN. The Sub–commission is responsible for designing an appropriate mechanism to protect and promote the rights of workers in ASEAN, which will be incorporated in the “Draft ASEAN Agreement on Protection of the Rights of Worker” The Sub–commission has presented the draft and received inputs from participants from the state, the civil society and the academic sector. Then it will use the inputs to revise and publish the draft for national public hearing and for ASEAN public hearing.

6. From 21–23 July, a HRDF representative attended a workshop to upgrade the first national network of migrant workers community based organizations (CBO Summit) organized by the Migrant Working Group (MWG) to be a forum for migrant workers organizations to exchange information, practices and experience. The workshop aimed at encouraging migrants to network to protect the rights and improve livelihood of fellow migrant workers nationally and regionally. After the meeting, a representative from the Migrant Workers Federation (MWF) from Chiang Mai visited and learned about HRDF’s mission to help migrant workers at Samutsakorn office. NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 29


30 July, HRDF–MJP Chiang Mai and migrant volunteers visited a construction site in Baan Sa Muang, Muang Chiang Mai District to educate the workers in the labor rights of under the Social Security Act, migrant workers policy under the NCPO and to receive an update the situation of migrants in the community. There were 29 migrants in the session, including 20 males and 9 females. On July 30, HRDF–Legal Clinic office visited the migrant community at Pa Kluay community, Soi Ruam Jai, Mae Sot. There were over ten Burmese migrant workers households. Most workers in communities are experiencing identity document related issues and are generally employed as manual workers. Their children can access to education in schools established by Burmese civil society organizations in Mae Sot.

30 July, HRDF–MJP Chiang Mai organized a meeting at the migrant workers learning center, Sarapi District of Chiang Mai Province to update activities with migrant volunteers to help HRDF activities and community visits in migrant communities. The meeting intended to help the volunteer team to educate the community, to have the courage to communicate with confident during their discussion of problems in migrant communities and to understand various protection mechanisms for migrant rights. There were 14 volunteers, 11 males, 3 females in the meeting.

1 August, a HRDF representative participated in a seminar, entitled “A Public Forum Against Human Trafficking,” by Ministry of Social Welfare and Human Security. The seminar intended to inform the direction that the Ministry will address the human trafficking prevention and elimination after Thailand has been demoted to TIP Tier 3. The seminar was organized at Plaza Athinee Royal Meridien and included ML Budaril Samiti, Deputy Permanent Secretary of the Ministry of Labor; Deputy Police Commander Pol. Gen. Ake Angsananon; Pol. Gen. Chatchawal Suksomjit, Director General of Department of Special Investigation (DSI); Mr. Songsak Saichuer, Director General of America and Southern Pacific Department, Ministry of Foreign Affairs and Ms. Yanee Lertkrai, Director General of the Social Development and Welfare Department. 30 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


4 August, HRDF–Labor Clinic Office representative attended a Returning Nature, Culture, Tak people and Happiness to the All organized by the Tak Children and Family Shelter. The participants, both public, private and civil society sectors jointly discussed the issues of human trafficking in Mae Sot District, Tak Province. There was a booth to promote the prevention and resolving trafficking in human issues to participants to be aware of this problem.

Between 6–8 August 2014 a HRDF representative attended a regional meeting of partner organizations in an Exchange Program to study international organizations sponsored by the Fredsorpset (FK–Norway) an NGO from Norway. The meeting aimed to provide an understanding to the management system of the exchange program, an interactions between representatives of partner organizations and staff selected to participate in the exchange program. HRDF is a partner with the U Kyaw Myint law firm in Myanmar and Lembaga Batuan Hukum (LBH–Jakarta), Indonesia. The purpose of the exchange program is to study the activities of the host organizations to provide legal aid to the public.

Between 15–16 August, HRDF representative attended a meeting on best practices to improve a complaint mechanism for migrant workers in Phnom Penh, Cambodia, organized by the Task Force on ASEAN Migrant Workers. The participants from NGOs working on the protection of migrant rights offered experience of their supports and promotion for workers to access the complaint mechanism to protect migrant workers both nationally and internationally. They also discussed a preparation and a presentation of complaint application forms for recording complaints from migrant workers.

NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 31


17 August, HRDF–MJP Chiang Mai office and migrant volunteers organized an outreach visit to a community area construction site in Wat Jed Yod in Chiangmai to inform them about the labor law. The workers in the construction site were having a minimum wage problem and employers have confiscated their passports. The HRDF officer advised them to claim their rights under the labor law and how to retrieve their passports from their employers. There were 46 migrant participants, 38 females and 8 men. During 23–24 and 30–31 August, HRDF representatives attended a hearing on the extension of social security protection to migrant workers in agriculture and fisheries sectors in Khon Kaen Province, Surat Thani Province, Rayong Province and Tak Province by the Social Security Office. The data from the hearing would be used to amend the Social Security Act and Workmen Compensation Act to consider the extension of the schemes to workers in the agriculture and fisheries sectors. The Foundation’s representative had prepared a document on some observations of the Social Security Act and the Workmen Compensation Act amendments, on the compensation for agriculture, fisheries and other sectors to the social security office representative.

26 August, a HRDF representative attended a board meetings to develop an access to a complaint mechanism and to promote access to complaint mechanisms for the protection of migrant workers’ rights organized by the ILO in collaboration with the Thai Ministry of Labour. The organizing committee had presented its activities on the development of a mechanism for grievances in seven pilot provinces in Bangkok, Samut Sakhon, Samut Prakan, Chiang Mai, Mae Sot, Tak, Rayong and Surat Thani 32 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ

29 August, HRDF representatives participated in an certificate presentation ceremony to students who had participated in Saphansiang Youth Ambassador project by the International Labour Organization. The students who had been qualified for a study trip on the protection of migrant workers’ rights in Thailand from April–September 2014. The three candidates are undergraduates from Chiang Mai University and Thammasat University took an internship at HRDF.


31 August, HRDF–MJP Chiang Mai office and migrant volunteers visited a construction site community in Samoeng, Baan Mae Hia to assess migrant workers’ understanding and an access of their rights under the Social Security Act. The migrant workers participated in the assessment said that the Social Security Act is useful but since they are paid less than the minimum wage, in addition to their employers have not registered them with the Social Security Office. There were 22 migrant workers participating in the assessment, 9 males and 13 females 5 September 2014, Ms. Sunida Piyakulpanich, HRDF–Mae Sot Labor Law Clinic officer, who has participated in an exchange program with U Kyaw Myint Legal Office of Yangon, Myanmar for a period of one year, gave a talk to staff of the labor law clinic, Mae Sot, community representative, migrant workers, CBO representatives, local Lawyer Council representatives in Mae Sot area. Ms. Sunida presented her experience from economical and political background, enforcement of labor laws in the country, push factors for the Burmeses to migrate to Thailand, domestic mechanisms to assist workers in Burma, a development of the legal aid guideline for migrants at HRDF and the U Kyaw Myint Legal Office. Participants also discussed the guidelines to prepare a manual for migrants so that they can know about living and accessing labor rights protection mechanism in Thailand when they experience problems 19 September, the ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) held a meeting to change experience over the country Universal Periodic Review (UPR), in which every member government must submit a report to the United Nations through the Office of the High Commissioner for Human Rights every four years. The civil society may also prepare their parallel reports to the state report to the High Commissioner. The AICHR meeting provided an exchange forum for representatives of government, civil society from ASEAN countries to discuss and exchange experiences in handling challenges under the UPR process, as well as seeking a way to develop and manage common challenges in the region.

NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 33


During 5–7 September 2014, the Migrant Forum in ASIA (MFA), an NGO and the Caritas Lebanon Migrants Center held a second meeting with Lawyers Beyond Borders network from Beirut, Lebanon. The workshop bring 21 attorneys and lawyers representatives from Asia, the Middle East, South Asia and Southeast Asia, who have experiences in providing legal aid to migrant workers. A HRDF representative attended the workshop to present, exchange experience and case studies to support migrants litigation, especially among migrant workers from Myanmar where migrant workers experience similar exploitation such as unfair employment contract, being tricked by their employers, brokers, and in–access to labor right protection mechanism especially among domestic workers. 14 September, HRDF–MJP Chiang Mai organized a workshop for migrant volunteers at Learning Center for Migrant Workers in Fang District, Chiang Mai. There were legal representatives to inform them about road accident insurance law in case of a car accident, case studies, a guideline to assist migrants in a car accident. There were 15 participants, 4 females and 11 males.

10 September, HRDF–Mae Sot Labor Clinic staff organized a community visited Baan Huay Nam Khun Village, Moo 8, Maha Wan Sub–district, Mae Sot District, Tak Province. Populations are Karens. There are a little over one hundred households and they planted agricultural crops. Young kids are educated in Border Partrol Police School in the community.

34 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ


19 September, HRDF–MJP Chaing Mai and migrant volunteers visited Kanchana 1 construction site community in Chiang Mai to assess an understanding on the Workmen Compensation Act and access to rights stipulated in the Act. There were 21 migrant workers participating in the assess, of which are 10 females and 11 males.

25 September, the Law Reform Commission of Thailand held a hearing on the draft Bill to Amend the Civil Procedure Code on Class Action, proposed by the National Council for Peace and Order (NCPO) The representatives from judge, public prosecutor, academics, lawyers, labor law lawyers (Mr Charit Meesit and a HRDF representative), environmental lawyers and consumer lawyers commented and shared their experience about a litigation process to the Law Reform Commission to take stock and make recommendations.

8 September, a HRDF representative attended a meeting “the Principle of the Social Security Law for All Workers “to voice opinions and proposals to improve and amend Social Security Act , its principle and a coherence to the social security system. Thus, the law can enhance quality of life of formal and informal workers, including migrant workers. The meeting is organized by the Law Reform Commission. The Working Group will consider the content and the principle social security law as well as guidelines for an amendment and a development of the social security law.

On September 26, a HRDF representative and member of Migrant Working Group (MWG) had a consultative meeting on MOU Employment for Migrant Workers from Neighboring countries (Myanmar, Laos and Cambodia). The meeting is sponsored by the ILO with an aim to reflect on the experience of aid and the problems facing migrant workers through the MOU employment and to develop a proposal to amend the MOU recruitment and employment policy. NEWSLETTERS Access to Justice and Rights Protection for Migrants Workers in Thailand 35


บรรณาธิการ: นางสาวปรีดา ทองชุมนุม และนางสาวภัทรานิษฐ์ เยาด�ำ ติดต่อ: มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ส�ำนักงานกรุงเทพมหานคร (เฉพาะโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน) 109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310 โทรศัพท์ 02 277 6882 โทรสาร 02 275 4261 www.hrdfoundation.org มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ส�ำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร 93/200 หมู่ที่ 7 ต�ำบลท่าทราย อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์/โทรสาร 034 414 087 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ส�ำนักงานจังหวัดตาก 14/12 ถนนประสาทวิถีเดิม ต�ำบลแม่สอด อ�ำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63100 โทรศัพท์/โทรสาร 055 535 995 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ส�ำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ 71 ถนนสนามกีฬาซอย 1 ชุมชนอุ่นอารีย์ ซอย 4 ต�ำบลศรีภูมิ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์/โทรสาร 053 223 077 36 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ

Editor: Ms.Preeda Tongchumnum and Ms.Phattranit Yaodam Contact: Human Rights and Development Foundation–Bangkok (for the Anti–Human Trafficking Project only)109 Soi Sitthichon, Suthisarnwinichai Road, Samsennok, Huaykwang, Bangkok 10310 Tel. 662 277 6882 Fax. 02 2754261 www.hrdfoundation.org HRDF, Samut Sakhon Branch Office 93/200 Moo 7, Ta Sai Sub–district, Muang District, Samut Sakhon 74000 Tel/Fax 034 414 087 HRDF, Mae Sot District Branch Office 14/12 Prasart Witheederm Road, Mae Sot Sub–district, Mae Sot District, Tak 63100 Tel/Fax 055 535 995 HRDF, Chiang Mai Branch Office71 Sanamkeela Road, Soi 1, Un–Aree Community, Soi 4, Sriphum Sub–district, Muang District, Chiang Mai 50200 Tel/Fax 053 223 077


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.