แถลงการณ์คัดค้านควบรวมกสม.

Page 1

แถลงการณ์ คัดค้านการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดิน เผยแพร่วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๘ ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตรา ในหมวด ๒ การตรวจสอบการใช้อานาจรัฐส่วนที่ ๕ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตอนที่ ๔ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตอนที่ ๕ ผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยเสนอให้มีการควบรวมทั้งสอง องค์กรเข้าด้วยกันเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๘ โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณามีความเห็นไปในทาง เดียวกันว่าให้รอการพิจารณาไว้ก่อนโดยไปศึกษาข้อดี ข้อเสียในการควบรวมทั้งสองหน่วยงานเข้า ด้วยกันเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในคราวต่อไป และมีมติให้แต่งตั้งคณะทางานขึ้นคณะหนึ่งเพื่อศึกษาแนวทางในการควบรวมคณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าด้วยกันนั้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(สนส.)และ องค์กรที่มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอคัดค้านการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าด้วยกัน โดยขอแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะประกอบความคิดเห็น ดังต่อไปนี้ ๑. ที่มาและเจตนารมณ์ของการก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการ แผ่นดินในระดับสากล คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถือเป็นสถาบันระดับชาติด้านการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนตามหลักการปารีส (Paris Principles -ดูเอกสารสหประชาชาติ A/RES/48/134) ซึ่ง เกิดขึ้นจากผลการประชุม International Workshop on National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights ในปีค.ศ.๑๙๙๑ และได้รับการรับรองตามมติที่ ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่ ๔๘/๑๓๔ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๑๙๙๓ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันมี สถาบันระดับชาติด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกว่า ๑๐๖ ประเทศทั่วโลก ในขณะทีผ่ ู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ Ombudsman นั้น มีที่มาจากประเทศสวีเดน ก่อตั้งขึ้นใน ราวปี ๑๘๐๙ ให้ทาหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดิน บรรเทาทุกข์เดือดร้อนของ ประชาชนที่เกิดจากความอยุติธรรมอันเกิดจากการกระทาของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อประเทศสวีเดน เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แนวคิดเรื่อง Ombudsman จึงยังคงอยู่แต่ องค์กรผู้ใช้อานาจนี้ คือ สภาผู้แทนราษฎร จึงเรียกว่า “ผู้ตรวจการรัฐสภา” คือ ทาหน้าที่แทนฝ่ายนิติ บัญญัติในการเยียวยาแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนอันเกิดจากการกระทาที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่


รัฐ อันเป็นบทบาทขององค์กรที่ทาหน้าที่ตรวจสอบอานาจรัฐ ที่สาคัญองค์กรหนึ่งที่ยึดโยงกับตัวแทน ของผู้ใช้อานาจอธิปไตย1 เมื่อพิจารณาจากที่มาขององค์กรทั้งสองในระดับสากลจะเห็นว่า เจตนารมณ์ของการจัดตั้ง และภารกิจนั้นแตกต่างกัน กล่าวคือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มุ่งแก้ไขปัญหาการละเมิด สิทธิมนุษยชน ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินนั้นมีวัตถุประสงค์ตรวจสอบการใช้ฝ่ายปกครองมิให้ใช้อานาจ ตามอาเภอใจในการดาเนินการบริหารบ้านเมือง ๒.อานาจหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินในประเทศไทย ในประเทศไทยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน มี ที่มาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๔๐ และรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ มีอานาจหน้าที่สาคัญ คือ การตรวจสอบและรายงานการกระทาหรือการละเลยการกระทา อัน เปนการละเมิดสิ ทธิมนุ ษยชนตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ หรือไมเปนไปตามพันธกรณีระหวาง ประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ ประเทศไทยเปนภาคีและเสนอมาตรการการแกไขที่เหมาะสมต อบุคคลหรือหนวยงานที่กระทา หรือละเลยการกระทาดังกลาว การเสนอนโยบายกฎหมายด้านสิทธิ มนุษยชน รวมทั้งการส่งเสริมการศึกษาสิทธิมนุษยชน ส่ว นอานาจหน้ าที่ของผู้ ตรวจการแผ่นดิน มีอานาจหน้าที่ส าคัญ คือ ในการพิจารณาและ สอบสวนหาข้อเท็จจริ งกรณีการร้ องเรียนว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่ ว ยงานของรั ฐ หรื อรั ฐ วิ ส าหกิ จ หรื อ ราชการส่ ว นท้ องถิ่น ไม่ป ฏิ บัติ ตามกฎหมาย หรื อ ปฏิ บั ติ นอกเหนืออานาจหน้าที่ หรือการปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิ บัติหน้าที่และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม รวมถึงการตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหนาที่หรือการ ปฏิบัติหนาที่โดยไมชอบดวยกฎหมายขององคกรตามรัฐธรรมนูญและองคกรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ไมรวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล เมื่อพิจารณาถึง อานาจหน้าที่ดังกล่าว แม้ทั้งสององค์กรจะเป็น องค์กรอิสระ และมีอานาจ หน้าที่ในการตรวจสอบการร้องเรียนเช่นเดียวกัน แต่เนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบมีความ แตกต่างกัน กล่าวคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมุ่งตรวจสอบและคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติ ตาม ไม่ว่า การละเมิ ด สิ ท ธิ มนุ ษยชนนั้ น จะเกิด จากการกระทาของบุค คลใด ส่ ว นผู้ ต รวจการแผ่ นดิ น นั้น มุ่ ง ตรวจสอบการกระทาของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายโดยการกระทาดังกล่าวอาจจะไม่เป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชนก็ได้ อย่ างไรก็ตามแม้มีบ างกรณีที่ส ามารถร้อ งเรียนได้ทั้งสององค์ก รคือกรณี การละเมิดสิ ท ธิ มนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อมีการตรวจสอบหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบของทั้งสององค์กรย่อม มีความแตกต่างกัน เพราะนอกจากคณะกรรมการสิ ทธิมนุษยชนจะต้องตรวจสอบความชอบด้ว ย กฎหมายแล้ว ยังต้องพิจารณาว่ากรณีดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะ นาไปสู่ข้อเสนอในเชิงนโยบายและกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีดังกล่าว ประชาชนจึงย่อม ได้รับความคุ้มครองสิทธิมากกว่าการพิจารณาโดยอาศัยบทบัญญัติทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว

1

สรุปความจากบทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๖ หน้า ๗-๘


สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และองค์กรข้างท้ายนี้ เห็นว่าการที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาควบควบหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยอ้างว่าเป็ น เพราะอานาจหน้ าที่ของทั้งสองหน่ว ยงานคล้ ายคลึ งกันนั้น ย่อมเป็นความเข้าใจที่ คลาดเคลื่ อนในเจตนารมณ์และภารกิจขององค์กร และขอเสนอแนะให้ คณะกรรมาธิการยกร่าง รัฐ ธรรมนู ญ พิจารณายกร่างบทบั ญญัติให้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ ตรวจการ แผ่ น ดิ น เป็ น หน่ ว ยงานอิ ส ระแยกจากกั น เป็ น สองหน่ ว ยงาน อั น สอดคล้ อ งกั บ รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ และจะนาไปสู่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนต่อไป ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ๑. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) ๒. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ๓. มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Prorights Foundation) ๔. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) ๕. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ๖. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ๗. มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ๘. มูลนิธิศักยภาพชุมชน ๙. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ๑๐. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet) ๑๑. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ๑๒. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม (สสธ.) ๑๓. คณะทางานไทยเพื่อกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน ๑๔. พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ๑๕. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน ๑๖. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ๑๗. มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก ๑๘. มูลนิธิชุมชนไท ๑๙. ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์ ๒๐. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ๒๑. เครือข่ายทรัพยากรภาคเหนือตอนล่าง ๒๒. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.) ๒๓. เครือข่ายสลัมสี่ภาค ๒๔. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ภาคอีสาน ๒๕. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา ๒๖. ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชนนครราชสีมา ๒๗. สถาบันชุมชนอีสาน ๒๘. โครงการป่าชุมชน


๒๙. โครงการทามมูน ๓๐. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย ๓๑. สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ ๓๒. สมาคมลุ่มน้าสายบุรี ๓๓. สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชน ๓๔. คณะทางานวาระทางสังคม ๓๕. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ๓๖. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ๓๗. ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ๓๘. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) ๓๙. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ๔๐. สภาชนเผ่าพื้นเมืองประเทศไทย ๔๑. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย ๔๒. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) ๔๓. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ๔๔. สมาคมส่งเสริมศักยภาพสตรีพิการ ๔๕. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ๔๖. นายสมชาย หอมลออ ๔๗. นางสุนี ไชยรส ๔๘. ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ๔๙. นายชานาญ จันทร์เรือง ๕๐. นางสาวดาราราย รักษาสิริพงศ์ ๕๑. นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.