ฉบับที่ 4 : เมษายน–มิถุนายน 2557
4th issue: April–June 2014
กองทุนส่งกลับต่างด้าว ออกนอกราชอาณาจักร และการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม อุบลวรรณ บุญรัตนสมัย*
ก
องทุนเพื่อส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (“กองทุน”) และข้อสังเกตการณ์เรื่องการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมกับ แรงงานต่างด้าวสามสัญชาติไม่ใช่เรือ่ งใหม่ แต่ทหี่ ยิบยกมารณรงค์อกี ครัง้ ในจดหมายข่าวฉบับนี้ เพราะการหักเงินเข้ากองทุน ดังกล่าวมีผลบังคับใช้อีกครั้ง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งเรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีการเรียกร้องทั้งจากแรงงาน ต่างด้าวและองค์กรสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ให้รัฐพิจารณาระงับ แก้ไข และยกเลิกบทบัญญัติในส่วน ที่มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการเก็บเงินสบทบจากแรงงานต่างด้าวเข้ากองทุน บทความนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ ห้ ค วามเห็ น ทางกฏหมาย ตามหลักสิทธิมนุษยชนว่าเหตุใดกองทุนถึงได้ไม่สอดคล้องกับ หลักสิทธิมนุษยชนและหลักการตามรัฐธรรมนูญของไทย รวมถึง ระบุข้อจ�ากัดการบังคับใช้บทบัญญัติและแนวนโยบายตามกฏ กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนดังกล่าว พร้ อ มทั้ ง น� า เสนอข้ อ เรี ย กร้ อ งต่ อ รั ฐ ให้ ยุ ติ ก ารปฏิ บั ติ ที่ ไ ม่ เป็นธรรมต่อแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติที่ได้รับผลกระทบ จากการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุน
(1) ลูกจ้าง (2) คนต่างด้าว และ (3) ผู้ถูกเนรเนศออกนอก ราชอาณาจักร ตลอดจนเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ เกี่ยวกับการท�างานของคนต่างด้าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีคณะกรรมการกองทุนพิจารณาจัดสรรงบประมาณกองทุนฯ ด�าเนินการอาศัยอ�านาจตามมาตรา 37 พรบ. ดังกล่าว
ข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติการเรียกเก็บเงินสมทบเข้า กองทุน เพือ่ รวบรวมเงินเข้ากองทุนรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงแรงงาน
ความเป็นมาของกองทุนเพื่อส่งคนต่างด้าวกลับออกไป ได้ออกกฎกระทรวงก�าหนดงาน และจ�านวนเงินทีล่ กู จ้างต่างด้าว นอกราชอาณาจักร ต้องส่งเข้ากองทุน โดยอาศัยอ�านาจตามพรบ.การท�างานของคน
กองทุนเพือ่ ส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร เป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เมื่อย้อนไปดูพรบ.ที่จัดกองทุนนี้ขึ้น ระบุที่มาและ วัตถุประสงค์ตามมาตรา 29 และ 31 ว่าไม่เพียงแค่เป็นกองทุน ส่ ง แรงงานต่ า งด้ า วออกนอกราชอาณาจั ก รเท่ า นั้ น แต่ เ ป็ น ทุนหมุนเวียนส�าหรับใช้จา่ ยเกีย่ วกับการส่งบุคคล 3 ประเภท คือ
ต่างด้าว ออกกฏกระทรวงเป็นจ�านวน 4 ฉบับ ตามแนวบันทึก ความเข้ า ใจระหว่ า งประเทศเรื่ อ งความร่ ว มมื อ ด้านการจ้าง แรงงาน (Memorandum of Understanding on Employment Corporation) ระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา และพม่า1 ทัง้ นีก้ ฎกระทรวงฉบับที่ 1 ออกเมือ่ ปี พ.ศ. 2553 ก�าหนดเฉพาะงานรับใช้ในบ้านและงานกรรมกรเท่านัน้ ทีล่ กู จ้าง
* อุบลวรรณ บุญรัตนสมัย เป็นเจ้าหน้าที่โครงการความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-ACT) ทั้งนี้บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ของผู้เขียนไม่ได้สะท้อนถึงความเห็นของ UN-ACT ผู้เขียนขอขอบคุณคุณอดิศร เกิดมงคล และทีมทนายสิทธิมนุษยชนของ HRDF ที่ให้ข้อมูลและค�าแนะน�า 1 บันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศเรือ ่ งความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลลาว กัมพูชา และพม่าลงนามเมือ่ วันที่ 18 ตุลาคม 2545, 31 พฤษภาคม 2546 และ 21 มิถุนายน 2546 ตามล�าดับ
สัญชาติพม่า และลาว ต้องส่ง เงินสมทบเข้ากองทุนจ�ำนวน คนละ 2,400 บาท และลูกจ้างสัญชาติกัมพูชาส่งเป็นจ�ำนวน คนละ 2,100 บาท โดยนายจ้างมีหน้าที่หักเงินลูกจ้างและน�ำส่ง จ�ำนวนเงินดังกล่าว เนือ่ งจากกฎกระทรวงฉบับที่ 1 ก�ำหนดบังคับใช้ในช่วงเวลา ที่คาบเกี่ยวกับการต่อใบอนุญาตท�ำงาน ทางกระทรวงแรงงาน จึงเห็นว่าช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสมและอาจท�ำให้แรงงาน ต่างด้าวไม่ยนื่ ต่อใบอนุญาตท�ำงาน จึงประกาศเลือ่ นการหักเงิน ลูกจ้างที่ก�ำหนดเข้ากองทุนสมทบออกไปอีก 1 ปี ตามกฎ กระทรวงฉบับที่ 2 ออกเมื่อปี พ.ศ. 2554 และต่อมาได้ขยาย เวลาหักเงินออกไปอีก 1 ปี ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 3 ออกเมื่อ ปี พ.ศ. 2555 เพราะยังมีลกู จ้างทีอ่ ยูร่ ะหว่างด�ำเนินการพิสจู น์สญ ั ชาติ เป็นจ�ำนวนมากประกอบกับเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีดังกล่าว ต่อมากฏกระทรวงฉบับที่ 4 บังคับใช้วนั ที่ 1 มีนาคม 2556 ได้ขยายระยะเวลาหักเงินอีกครั้งเป็นระยะเวลา 1 ปี ก�ำหนดเริ่ม หักเงินเมือ่ วันที่ 1 มีนาคม 2557 ทีผ่ า่ นมา โดยกฏกระทรวงฉบับ ล่าสุดนี้ได้เปลี่ยนอัตราเงินสมทบให้ลูกจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติตาม MOU ส่งเงินเข้ากองทุนในอัตราคนละ 1,000 บาท โดยให้เหตุผลการปรับลดว่าเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ปัจจุบันและเกิดความเสมอภาคแก่ลูกจ้าง เห็นได้ชัดว่าเงินสบทบกองทุนที่เรียกเก็บจากแรงงาน ต่างด้าวเพียงสามสัญชาติและเฉพาะงานสองประเภทนั้นก่อให้ เกิดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากกระทบต่อค่าครองชีพข องแรงงานต่ า งด้ า วที่ สู ง อยู ่ แ ล้ ว เมื่ อ เที ย บกั บ รายได้ ร ายวั น ของพวกเขา และกฏกระทรวงที่ออกมาอย่างต่อเนื่องเพื่อขยาย เวลาการหักเงินโดยให้เหตุผลในลักษณะเดียวกันแสดงให้เห็นว่า เงินสมทบดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บได้จริงในทางปฏิบัติ และเนื่องจากมีผู้ประกอบการเป็นจ�ำนวนมากร้องขอให้ รัฐทบทวนหลักเกณฑ์การน�ำเงินเข้ากองทุน ดังนัน้ กรมการจัดหา งานจึ ง ได้ ท� ำ การศึ ก ษาผลกระทบการบั ง คั บ ใช้ ก ฏกระทรวง ทีเ่ กีย่ วข้องขึน้ 2 ทีน่ า่ แปลกใจเกีย่ วกับเรือ่ งการศึกษาผลกระทบนี้ คือรัฐน�ำโดยกรมการจัดหางานไม่ได้รายงานผลกระทบทีเ่ กีย่ วกับ อุปสรรคเชิงกฏหมายและอุปสรรคเชิงปฏิบัติ แต่วิธีการศึกษา ผลกระทบของกรมการจั ด หางานคื อ การท� ำ แบบสอบถาม นายจ้าง (1,600 คน) แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (1,600 คน) และประชาชน (507 คน)3 ซึ่งหากเทียบกับจ�ำนวนแรงงาน ต่างด้าวทีอ่ าศัยอยูใ่ นไทยยังไม่ถงึ ร้อยละ 1 ดังนัน้ ข้อมูลดังกล่าว ไม่สามารถน�ำไปอ้างอิงหรืออธิบายถึงผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จริงได้ อีกทั้งการอภิปรายผลการศึกษาดังกล่าวได้การน�ำเสนอ ข้อมูลเปรียบเทียบการเก็บเงินแรงงานไทยทีท่ ำ� งานในต่างประเทศ กับแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ เฉพาะกิจการงานรับใช้ในบ้าน 2 กรมการจัดหางาน,
และงานกรรมกรเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถน�ำมาเปรียบเทียบได้เลย เพราะลักษณะงานทีต่ า่ งกันและประเทศทีถ่ กู ยกมาเปรียบเทียบ คือประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เป็นต้น โดยประเทศ ตัวอย่างเหล่านี้มีการบังคับใช้กฏหมายและระบบประกันสังคม ที่ ต ่ า งจากบ้ า นเราเป็ น อย่ า งมาก และที่ น ่ า ตกใจกว่ า ก็ คื อ การอภิปรายผลการศึกษาแจงเหตุที่นายจ้างและประชาชนเห็น ว่าควรมีการเรียกเก็บเงินจากแรงงานต่างด้าวเข้ากองทุนเพราะ “เห็นว่าแรงงานต่างด้าวทีเ่ ข้ามาท�ำงานในประเทศไทย มีรายได้เพียงพอทีจ่ ะรับผิดชอบค่าใช้จา่ ยในส่วนนี้ ประกอบ กับการส่งแรงงานต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางนั้นเป็น กรณีทเี่ กิดจากการกระท�ำทีผ่ ดิ กฏหมายของแรงงานต่างด้าว เองจึงไม่สมควรทีจ่ ะต้องตกเป็นภาระแก่งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งมาจากการเสียภาษีของประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า”4 ผลการศึ ก ษาที่ ไ ม่ อิ ง กั บ ความเป็ น จริ ง ทางสั ง คมและ ไม่ค�ำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนสะท้อนสังคมไทยในหลายด้าน ทั้ ง มายาคติ แ ละความเข้ า ใจที่ ผิ ด เกี่ ย วกั บ แรงงานต่ า งด้ า ว ซึ่งความเป็นจริงแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติเป็นแรงงานที่ ได้รบั อนุญาตตามบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศต้นทางและ ไทยให้ท�ำงานในภาคส่วนที่ไทยขาดแคลนแรงงาน โดยผ่าน กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ เสียค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการเพื่อ ให้ ไ ด้ เ อกสารการเข้ า เมื อ งและใบอนุ ญ าตท� ำ งานที่ ถู ก ต้ อ ง ตามกฎหมายตลอดจนค่าหลักประกันสุขภาพ ยังไม่รวมถึงปัญหา นายหน้าที่เรียกค่าบริการสูงเกินจริงและด�ำเนินกิจการโดยขาด การควบคุมเท่าที่ควรจากภาครัฐ ค่ า ใช้ จ ่ า ยที่ แรงงานสามสั ญ ชาติ ต ้ อ งแบกรั บ เหล่ า นี้ เมือ่ เทียบกับรายได้อนั น้อยนิดและค่าครองชีพทีส่ งู มาก บวกกับ ความเสีย่ งทีจ่ ะถูกละเมิดสิทธิกม็ มี ากกว่าแรงงานไทยเพราะการ เข้าถึงสิทธิการช่วยเหลือทางกฏหมายมีไม่ทั่วถึงประกอบกับ อุปสรรคทางภาษา แรงงานต่างด้าวจึงได้รับสิทธิประโยชน์น้อย กว่าที่กฎหมายก�ำหนด เช่น กรณีสิทธิประกันสังคม เป็นต้น อี ก ทั้ ง แรงงานสามสั ญ ชาติ นี้ ยั ง จะต้ อ งจ่ า ยเงิ น สมทบให้ รั ฐ เพื่อเป็นทุนส่งกลับอีก ดังนีก้ ารก�ำหนดให้หกั เงินจากค่าจ้างจากแรงงานสามสัญชาติ เฉพาะงานรั บ ใช้ ใ นบ้ า นและงานกรรมกรเพื่ อ น� ำ ส่ ง กองทุ น เพื่อการส่งกลับ โดยที่มิได้มีผลบังคับใช้กับเเรงงานสัญชาติอื่น เป็นการเลือกปฏิบัติและสร้างภาระอันเกินควรให้กับเเรงงาน ต่างด้าวสามสัญชาติเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นการปฏิบตั ทิ ขี่ ดั กับ หลักความเสมอภาคและน�ำไปสูก่ ารเลือกปฏิบตั ทิ ไี่ ม่เป็นธรรมซึง่ ขั ด แย้ ง กั บ หลั ก สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและหลั ก การตามรั ฐ ธรรมนู ญ ประกอบกับเมื่อมองย้อนไปที่วัตถุประสงค์ของกองทุนซึ่งมิได้มี ไว้ให้ส่งกลับแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และกัมพูชาเท่านั้น
รายงานผลการศึกษา:โครงการศึกษาเพื่อรองรับนโยบายการเก็บเงินจากลูกจ้างคนต่างด้าวเข้ากองทุนเพื่อเป็นประกันค่าใช้จ่าย ในการ ส่งลูกจ้างกลับออกไปนอกราชอาณาจักร, กุมภาพันธ์ 2555 (กกจ 15/2555 กวต 2) 3 ตามรายงานผลการศึกษากรมการจัดหางานสรุปว่านายจ้างส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 และประชาชนร้อยละ 74.8 เห็นด้วยกับการเก็บเงินดังกล่าว โดยระบุเพิ่ม เติมว่านายจ้างร้อยละ 88.8 และประชาชนร้อยละ 70.8 เห็นด้วยกับการเก็บเงินเข้ากองทุนโดยไม่มีการยกเว้นให้ประเทศใดประเทศหนึ่ง 4 ดูอ้างอิง 1 รายงานผลการศึกษา หน้า 56 2 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
ยั ง มี ไว้ เ พื่ อ ส่ ง กลั บ ลู ก จ้ า งคนต่ า งด้ า วสั ญ ชาติ อื่ น และผู ้ ที่ ถู ก เนรเทศตามกฏหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฏหมายว่าด้วยการ เนรเทศตามล�ำดับ ตลอดจนใช้เป็นค่าใช้จา่ ยบริหารกองทุนอีกด้วย ระหว่างทีร่ อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกมาใช้บงั คับ มาตรา 4 และมาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นับว่าเป็นบทกฏหมาย ทีเ่ กีย่ วข้องต่อการป้องกันการเลือกปฏิบตั ทิ ไี่ ม่เป็นธรรมมากทีส่ ดุ โดยมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญระบุวา่ “ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ สิ ท ธิ เ สรี ภ าพและความเสมอภาคของ บุ ค คลย่ อ มได้ รั บ ความคุ้มครอง” ประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 วรรค 2 “การเลื อ กปฏิ บั ติ โ ดยไม่ เ ป็ น ธรรมต่ อ บุ ค คลเพราะเหตุ แห่งความแตกต่างในเรือ่ ง ถิน่ ก�ำเนิด เชือ้ ชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิ จ หรื อ สั ง คม ความเชื่ อ ทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัด ต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระท�ำมิได้” องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization หรือ ILO) ได้นิยามการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ไว้ในอนุสญ ั ญาว่าด้วยการเลือกปฏิบตั ิ (การจ้างงาน และ อาชีพ) พ.ศ. 2501 ฉบับที่ 111 ว่าเป็นการแบ่งแยกใดๆ เนื่องจากเหตุผล ทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา ความคิด ทางการเมือง ประเด็นทางสัญชาติหรือภูมิหลังทางสังคม ซึ่งท�ำให้สูญเสียหรือกระทบต่อความเท่าเทียมด้านโอกาส หรือการปฏิบัติในการจ้างงานหรืออาชีพ ส่วนการตีความของศาลไทยในเรื่องการเลือกปฏิบัติต่ อแรงงานต่ า งด้ า วนั้ น ยั ง ไม่ มี แ นวค� ำ พิ พ ากษาที่ ชั ด เจนแต่ มี ค�ำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 251/2551 ที่ศาลเลือก น� ำ หลั ก ความเสมอภาคมาปรั บ ใช้ โดยศาลปกครองกล่ า ว ในค�ำพิพากษาดังกล่าวว่า “การเลือกปฎิบตั ทิ ถี่ อื ว่าไม่เป็นธรรมนัน้ ต้องเป็นกรณีของ การออกค� ำ สั่ ง ทางปกครองที่ ขั ด ต่ อ หลั ก ความเสมอภาค และเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุ
แห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นก�ำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคลฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชือ่ ทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็น ทางการเมือง” จึงเห็นว่ากฎกระทรวงดังกล่าวมีลักษณะของการเลือก ปฏิบัติและไม่สอดคล้องต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายการท�ำงาน ของคนต่างด้าวซึง่ ก�ำหนดค�ำนิยามของค�ำว่า “ต่างด้าว” ทีห่ มาย ถึงบุคคลธรรมดาซึง่ ไม่มสี ญ ั ชาติไทย แต่กระทรวงแรงงานกลับน�ำ มาตรการทางกฎหมายนี้บังคับใช้เฉพาะแรงงานต่างด้าวเฉพาะ สามสัญชาติได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา เฉพาะงานรับใช้ ในบ้านและงานกรรมกรเท่านัน้ ดังนัน้ รัฐบาลควรพิจารณายกเลิก การเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนส่งกลับจากแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ รัฐเองควรเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งกลับ โดยอาจ ก�ำหนดให้นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบบางส่วน และรัฐควรออก กฏหมายและนโยบายที่ ใ ห้ ค วามเท่ า เที ย มกั น ทางกฏหมาย โดยขจัดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม นโยบายและกฏกระทรวงทีอ่ อกมาควรสอดคล้องกับหลัก สิทธิมนุษยชน หลักการตามรัฐธรรมนูญ และหลักกฏหมายสากล เพือ่ ให้เกิดการปฏิบตั ทิ สี่ อดคล้อง และเป็นธรรมในการรับเข้าท�ำงาน การบังคับใช้ค่าแรงขั้นต�่ำตามกฏหมาย ตลอดจนการเข้าถึง สวัสดิการสังคมและสุขภาพ เพื่อให้เเรงงานทั้งไทยและต่างด้าว สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามมาตรฐานกฏหมายเเรงงาน อย่างเท่าเทียมกัน การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อบุคคล ที่ถูกละเมิดสิทธิโดยตรงเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อสังคม และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ น�ำไปสู่ความไม่เสมอภาคและ ความขัดแย้งทางสังคมอีกด้วย ไม่วา่ สถานการณ์การเมืองจะเป็น อย่างไร ผู้มีอ�ำนาจการปกครองควรยึดหลักสิทธิมนุษยชนและ ค�ำนึงถึงความเสมอภาคตามกฏหมายโดยไม่เลือกปฏิบตั ทิ ไี่ ม่เป็นธรรม เพราะทั้งสองหลักนี้เป็นหลักการพื้นฐานที่สนับสนุนซึ่งกันและ กันและเป็นรากฐานทีส่ ำ� คัญในการอยูร่ ว่ มกันในสังคมอย่างสันติ
แรงงานประมงกับความเป็นทาส ณัฐรัตน์ อรุณมหารัตน์5
จ
ากรายงานผลการดำ�เนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทยประจำ�ปี 2556 ทีจ่ ดั ทำ�ขึน้ โดยศูนย์ปฏิบตั ิ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติ สำ�นักงานเลขานุการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พบว่าในช่วงปีที่ผ่านมามีการสอบสวนคดีค้ามนุษย์ 674 คดี ซึ่งเพิม่ ขึ้นจากปี 2555 ถึง 368 คดี โดยที่สถิติการฟ้องคดีค้ามนุษย์ ต่อศาลก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำ�คัญเช่นกัน จาก 56 คดี เป็น 386 คดี อย่างไรก็ดีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของคดีที่ถูกสอบสวนและ ฟ้องคดีตอ่ ศาลเท่านัน้ ทีเ่ ป็นคดีการบังคับใช้แรงงาน ปัจจัยสำ�คัญปัจจัยหนึง่ ทีท่ ำ�ให้ตวั เลขการสอบสวนและดำ�เนินคดีกบั ผูบ้ งั คับ ใช้แรงงานนั้นต่ำ� อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับแรงงานโดยเฉพาะแรงงานในเรือประมง นั่นก็คือ การตีความและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ที่ขาดความเป็นพลวัต 5 ณัฐรัตน์
อรุณมหารัตน์ ผู้ประสานงานโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 3
การกระท�ำใดจะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ในรูปแบบ การบังคับใช้แรงงาน นอกจากการกระท�ำนัน้ จะต้องครบองค์ประกอบ ภายนอกของมาตรา 6(1) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบ ปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อันได้แก่ การเป็นธุระจัดหา ซื้อ ขาย จ�ำหน่าย พามา หรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยูอ่ าศัย หรือรับไว้ซงึ่ บุคคลใด โดยการข่มขู่ ใช้กำ� ลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อ�ำนาจโดยมิชอบ หรือโดยให้เงิน หรือผลประโยชน์อย่างอืน่ แก่ผปู้ กครองหรือผูด้ แู ลบุคคลนัน้ เพือ่ ให้ผปู้ กครองหรือผูด้ แู ลให้ความยินยอมแก่ผกู้ ระท�ำความผิดแล้ว การกระท�ำนัน้ จะต้องกระท�ำลงเพือ่ แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ โดยการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติ ฉบับเดียวกันก็ได้ให้ความหมายของการบังคับใช้แรงงานไว้วา่ เป็น การข่มขืนใจให้ทำ� งาน หรือบริการ โดยท�ำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย โดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้ก�ำลังประทุษร้าย หรือท�ำให้ บุคคลอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ส�ำหรับกรณีการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นกับแรงงานบนเรือ ประมงนัน้ เจ้าหน้าทีม่ กั จะพุง่ ไปทีป่ ระเด็นการบังคับใช้แรงงาน ซึง่ หลายครัง้ ทีล่ กั ษณะของการกระท�ำความผิดยังมีความคลุมเครือ ว่าบุคคลนัน้ ถูกบังคับใช้แรงงานหรือไม่ แน่นอนว่าแรงงานเหล่านัน้ ถูกแสวงหาประโยชน์ เพราะถูกนายหน้าหลอกให้มาท�ำงานใน เรือประมง แต่ประเด็นอยู่ที่พวกเขาถูกแสวงหาประโยชน์ใน รูปแบบใด หากเป็นการบังคับใช้แรงงาน ก็ต้องน�ำสืบให้เข้า องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่ามีการบังคับข่มขืน ใจให้ท�ำงาน อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง ถ้าน�ำสืบไม่ได้ว่ามี การบังคับใช้แรงงานจริงๆ พนักงานอัยการก็มกั จะไม่สงั่ ฟ้องเป็น คดีค้ามนุษย์ การที่เจ้าหน้าที่ตั้งธงไว้ตั้งแต่แรกว่าเป็นการบังคับ ใช้แรงงาน ท�ำให้เจ้าหน้าที่มุ่งสอบสวนและหาพยานหลักฐาน ให้เข้าองค์ประกอบความฐานนัน้ แต่เพียงอย่างเดียว ท�ำให้พลาด โอกาสที่จะเอาผิดกับนายหน้า เจ้าของกิจการ หรือ ไต้ก๋งเรือ ในความผิดฐานค้ามนุษย์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การแสวงหา ประโยชน์ในรูปแบบของการเอาคนลงเป็นทาส แม้ว่ารัชกาลที่ 5 จะได้ประกาศยกเลิกทาสในระบบ อุปถัมภ์ไปแล้ว ท�ำให้บุคคลเหล่านั้นได้รับสิทธิในชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพอย่างเต็มที่ แต่กม็ ไิ ด้หมายความว่าการเอารัดเอาเปรียบ และการแสวงหาประโยชน์ในตัวบุคคลในลักษณะเอาคนลงเป็น ทาสจะไม่หลงเหลืออยูเ่ ลยในสังคมปัจจุบนั ในทางกลับกัน กลับ ยังคงมีการเอาคนลงเป็นทาสให้เห็นอยูอ่ ย่างแพร่หลาย เพียงแต่ เป็นในรูปแบบและบริบททีแ่ ตกต่างออกไป ปัจจุบนั คดีคา้ มนุษย์ ที่มักจะถูกด�ำเนินคดีฐานเอาคนลงเป็นทาสนั้นส่วนใหญ่จะเป็น คดีที่เกิดขึ้นกับแรงงานท�ำงานบ้าน ที่แรงงานหญิงหรือแรงงาน เด็กถูกนายจ้างกระท�ำทรมานและทารุณกรรม ซึง่ เป็นการเอาคน ลงเป็นทาสที่มีรูปแบบของการกระท�ำความผิดที่ชัดเจน อย่างไร ก็ตาม ยังมีการเอาคนลงเป็นทาสอีกลักษณะหนึ่งที่เรามักจะ พบเห็นอยู่เป็นประจ�ำแต่กลับไม่ถูกตีความว่าเป็นการเอาคนลง เป็นทาสนั่นก็คือ การที่แรงงานถูกนายหน้าหลอกมาขายให้กับ นายจ้ า ง และต้ อ งท� ำ งานชดใช้ ห นี้ ค ่ า นายหน้ า ที่ มี ร าคาสู ง 4 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
เป็นหมื่นถึงสองหมื่นบาท ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้แรงงาน ขัดหนี้ หรือ Debt Bondage Debt Bondage หรือแรงงานขัดหนี้ ในทางสากลถือว่า เป็น ทาสในยุคปัจจุบนั (Modern–day slavery) เป็นภาวะทีบ่ คุ คล ถูกหลอกลวงให้มาท�ำงานโดยที่ไม่ได้รับค่าแรงเลยหรือได้เพียง เล็กน้อย เพื่อชดใช้หนี้สินที่ตนเองไม่ได้เป็นคนก่อ แรงงาน ลักษณะนีม้ อี ยูใ่ นทุกๆ พืน้ ทีท่ วั่ โลกโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในประเทศ แถบแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ILO เคยคาดการณ์ ไว้ว่ามีแรงงานไม่ต�่ำกว่า 11.7 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทีต่ อ้ งตกเป็นแรงงานขัดหนี้ ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ปี 2556 (Trafficking in Persons Report 2013) ก็ได้มกี ารรายงาน ถึ ง สถานการณ์ ข องแรงงานขั ด หนี้ ใ นสถานประกอบการใน ประเทศไทยว่า จากการตรวจสถานประกอบการห้าหมืน่ กว่าแห่ง พบว่ามีแรงงานทีถ่ กู หักค่าแรงเพือ่ ใช้หนี้ และถูกยึดหนังสือเดินทาง เป็นจ�ำนวนมากซึง่ เข้าข่ายการค้ามนุษย์ แต่กลับมีการด�ำเนินคดี ค้ามนุษย์เพียงสองคดีเท่านั้น ซึ่งทั้งสองคดีเป็นคดีการบังคับใช้ แรงงาน ในรายงานยังได้กล่าวถึงรูปแบบของแรงงานขัดหนี้ ในประเทศไทยว่าไม่ได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสมอีกด้วย การจะด� ำ เนิ น คดี กั บ นายหน้ า และนายจ้ า งในข้ อ หา เอาคนลงเป็นทาสโดยยึดถือมูลฐานของการใช้แรงงานขัดหนี้ ในประเทศไทยนั้น ยังคงถูกมองว่าขาดน�้ำหนัก และไม่เพียงพอ ที่เอาผิดกับคนเหล่านั้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากค�ำว่าแรงงานขัดนี้หนี้ ไม่มีปรากฏอยู่ในกฎหมายไทย ส่วนค�ำพิพากษาคดีการเอาคน ลงเป็นทาสนัน้ ก็ยงั คงจ�ำกัดอยูก่ บั เฉพาะแต่ในกรณีทมี่ กี ารทารุณ กรรมโหดร้ายไร้มนุษยธรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อาจารย์จิตติ ติงศภัทยิ ์ เคยได้ให้ความเห็นทางกฎหมายของการเอาคนลงเป็น ทาสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 312 ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ว่า “บุคคลซึง่ ตกอยูภ่ ายใต้อำ� นาจของบุคคลอืน่ ในการใช้แรงงาน โดยไม่ได้รบั ตอบแทนทีส่ มควรจากแรงงานของตนและถูกท�ำโทษ ได้ตามสมควร หาได้หมายความถึงขนาดที่บุคคลนั้นต้องตกอยู่ ภายใต้อ�ำนาจของบุคคลอื่นโดยเด็ดขาดในชีวิตและร่างกายไม่ เช่น การเอาคนมากักขังไว้ในโรงงานท�ำกระดาษ หรือน�ำแรงงาน เด็กมาใช้โดยไม่ให้ได้นอน ให้กนิ แต่นอ้ ย ให้คา่ แรงหรือไม่ให้เลย หรือแม้จะไม่ใช่ทาสเลยทีเดียว แต่ในฐานะคล้ายทาสก็อยู่ใน ความหมายของมาตรา 312 นี้” ค�ำว่า ฐานะคล้ายทาส หรือ Practices similar to Slavery ปรากฏอยู่ใน พิธีสารเพื่อป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงและเด็ก (United Nations Convention against Transnational Organized Crime and Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, especially Women and Children, 2000) ซึ่งเป็นต้น แบบของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยที่ มาตรา 1 ของพิธีสารเพิ่มเติม เพื่อขจัดความเป็นทาส การค้าทาส หรือสถาบันหรือการปฏิบัติ ที่ ค ล้ า ยกั บ ความเป็ น ทาส ค.ศ. 1956 (Supplementary Convention on the Abolition of Slavery, the Slave Trade, and
nstitutions and Practices Similar to Slavery 1956) ได้ยก ตัวอย่างการท�ำกระท�ำทีเ่ ป็น “Practices similar to slavery” หรือ “การกระท� ำ อื่ น ใดอั น คล้ า ยคลึ ง กั บ การเอาคนลงเป็ น ทาส” ว่าได้แก่ แรงงานขัดหนี้ (Debt Bondage), ทาสติดที่ดิน (Serfdom), บังคับแต่งงาน ขายภรรยา การตกเป็นมรดกหลังจาก สามีตาย, และการขายเด็กอายุต�่ำกว่า 18 ปี เพื่อน�ำไปแสวง ประโยชน์จากแรงงานเด็ก ความเห็นของท่านอาจารย์จติ ติ และค�ำอธิบายกฎหมาย ระหว่างประเทศข้างต้น ควรถูกน�ำมาใช้ประกอบการพิจารณา บังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ส่วนศาลจะยอมรับฟังความเห็น ในทางกฎหมายระหว่างประเทศได้เพียงใดนั้น ไม่ใช่ประเด็น ปัญหา เพราะพระราชบัญญัติป้องกันและปราบการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 นั้นอนุวัติการขึ้นมาจากกฎหมายระหว่างประเทศ ย่อมควรทีจ่ ะน�ำความเห็นในทางระหว่างประเทศในหลายๆ บริบท
มาพิจารณาประกอบ เพือ่ ให้การบังคับใช้กฎหมายนัน้ เป็นไปตาม เจตนารมณ์ทแี่ ท้จริง อีกทัง้ โดยธรรมชาติของกฎหมายนัน้ ตัวมัน เองมีความเป็นพลวัต กล่าวคือ กฎหมายย่อมพัฒนาเปลีย่ นแปลง อยู่ตลอดเวลาตามสภาพกาลและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อ บริบทของความเป็นทาสไม่ได้ถูกจ�ำกัดอยู่แต่ในกรอบเดิมๆ อีก ต่อไปแล้ว ผู้บังคับใช้กฎหมายก็ควรที่จะตีความ และบูรณาการ กฎหมายการค้ามนุษย์ของไทยให้เท่าทันด้วย หากเจ้าหน้าที่ ยังคงยึดถือรูปแบบการด�ำเนินคดีในลักษณะเดิมๆ อย่างทีก่ ำ� ลัง ท�ำอยู่ และไม่เปิดรับเอาความเห็นในมุมมองระหว่างประเทศบ้าง ก็คงไม่อาจแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นกับแรงงานโดย เฉพาะอย่างยิง่ แรงงานบนเรือประมง ทีเ่ ป็นกลุม่ บุคคลทีถ่ กู แสวง ประโยชน์ จ ากขบวนการค้ า มนุ ษ ย์ ม ากที่ สุ ด แต่ ก ลั บ ได้ รั บ การคุ้มครองต�่ำที่สุดเมื่อเทียบกับแรงงานประเภทอื่นๆ
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาออกแถลงการณ์ร่วมกับ องค์กรเอกชน สืบเนื่องจากการประชุมเวที ILO–RTG Multi– stakeholder forum on Labour conditions in fisheries sector in Thailand ระหว่างวันที่ 22–23 พฤษภาคม 2557 ใบแจ้งข่าว อัมสเตอร์ดัม 2 มิถุนายน 2557
แฟร์ฟูด อินเตอร์เนชั่นแนล6 เรียกร้องให้ปรับปรุงสภาพการท�ำงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย การเรียกร้องร่วมกันขององค์กรสิทธิให้ผู้มีอ�ำนาจในการตัดสินใจ แก้ไขปรับปรุงสถานการณ์กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2557 กลุ่มผู้ซื้อสินค้าทะเลไทย จากประเทศแถบตะวันตก กลุ่มตัวแทน อุตสาหกรรมทะเล เจ้า หน้าที่จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนรวมถึงแฟร์ฟูด อินเตอร์ เนชั่นแนล แรงงานข้ามชาติ และตัวแทนจากสหภาพแรงงาน จัดตัง้ แนวทางการท�ำงานร่วมกันเพือ่ พัฒนาปรับปรุง อุตสาหกรรม อาหารทะเลไทย การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นผลส�ำเร็จระหว่าง การประชุมสัมมนาซึ่งจัดขึ้นโดยองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) และรัฐบาลไทย โดยในที่ ประชุมกลุ่มผู้ซื้อสินค้าทะเลไทยจากประเทศแถบตะวันตก และ กลุ่มตัวแทนอุตสาหกรรมทะเลได้ ตกลงร่วมกันที่จะปรับปรุง สภาพการท�ำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานหรืออยูเ่ หนือมาตรฐาน กฎหมายแรง งานที่ก�ำหนด ถึงแม้ว่ากลุ่มองค์กรอิสระและ สหภาพแรงงานมีความพึงพอใจกับค�ำมัน่ สัญญาครัง้ นีแ้ ละ ยอมรับ
ว่ามาตรฐานแผนการปฏิบตั ติ อ่ แรงงานขององค์กรแรงงานระหว่าง ประเทศหรือที่เรียกเป็นภาษา อังกฤษว่า ILO Good Labour Practices (GPL) ได้ท�ำให้มีการเคารพสิทธิ มนุษยชนเบื้องต้น ของแรงงานในภาคส่วนอุตสาหกรรมอาหารทะลมากขึน้ อย่างไร ก็ดีในการร่างแผน งานและการด�ำเนินการตามแผน GPL ใน อนาคตควรที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากแรงงานและองค์กร ที่ท�ำงานเพื่อสิทธิของแรงงานมากขึ้น แผนงาน GPL ดังกล่าวเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2556 จัดตั้งโดยกรมคุ้มครอง แรงงานและ สวัสดิการสังคม กรมประมง และกลุ่มตัวแทนอุตสาหกรรมทะเล ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากโครงการ International Programme on the Elimination of Child Labour (IPEC) ขององค์กรแรงงาน ระหว่างประเทศ แผนงาน GPL นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง
6
เกี่ยวกับองค์กรแฟร์ฟูดอินเตอร์เนชั่นแนล (Fairfood International) เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศไม่แสวงหาผลก�ำไร วัตถุประสงค์ขององค์กร คือการปรับปรุง พัฒนาสภาพความเป็นอยู่ทางสังคมและเศรษฐกิจแก่กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิ เช่น กลุ่มชาวนาที่มีเนื้อที่ท�ำกินขนาดเล็ก แรงงาน (โดยเฉพาะแรงงานผู้หญิง) และผู้บริโภคซึ่งอยู่ในฐาน ลูกค้าระบบอาหารขององค์กร โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงนโยบายและการปฏิบัติของรัฐและ บริษัทที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มและอาหารให้เป็นไปในแนวทางที่ยั่งยืน ข้อมูลเพิ่มเติม: www.fairfood.org จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 5
สภาพการท�ำงานใน อุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย โดยด�ำเนิน การตามแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมและการปฏิบัติ ตาม กฎหมายแรงงานและการปฏิบัติที่ดี ตลอดจนการฝึกอบรมแก่ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดังกล่าว ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเป็นอันดับสาม ของโลก รวมมูลค่าการส่งออกประมาณ 7.3 พันล้านดอลล่าร์ ในปี 2011 และมากกว่า 8 พันล้านดอลล่าร์ในปี 20127 สหภาพ ยุโรปน�ำเข้า ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลจากไทยเป็นมูลค่า 1.15 พันล้านดอลล่าร์ในปี 2012 ขณะที่รายได้จากการ ส่งออกสินค้า อาหารทะเลไปยังประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่ามากกว่า 1.6 พันล้านดอลล่าร์ในปี 20138 ประเทศไทยผลิตสินค้าอาหารทะเลประมาณ 4.2 ล้าน ตั น ต่ อ ปี หรื อ ประมาณ 90 เปอร์ เซ็ น ของสิ น ค้ า ส่ ง ออก 9 อุตสาหกรรมทะเลจ้างคนงานมากกว่า 650,000 คน ซึง่ ในจ�ำนวน แรงงานนั้น 90 เปอร์เซ็น เป็นแรงงานข้ามชาติจากประเทศ สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาชนลาวและประเทศกัมพูชา10 ส�ำหรับในภาคส่วนประมงนั้น เนื่องจากมีการขาดแคลนแรงงาน อย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยง ต่อการละเมิดสิทธิ มนุษยชนและสิทธิแรงงาน ตลอดจนความเสีย่ งต่อการค้ามนุษย์11 เพื่ อ ที่ จ ะขจั ด การละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและสิ ท ธิ แรงงานจากอุตสาหกรรมสินค้าอาหารทะเลแปรรูปและ อุตสาหกรรมประมง และเพื่อที่จะปรับปรุงส่งเสริมสภาพ การท�ำงานของแรงงานในภาคส่วนนี้ให้ดีขึ้น ตลอดจนเพื่อ ปฏิบัติตามค�ำมั่นสัญญาที่ท�ำขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา องค์ที่ลงนาม รวมถึง แฟร์ฟูด อินเตอร์ เนชัน่ แนล ขอเรียกร้องรัฐบาลไทย กลุม่ ตัวแทนอุตสาหกรรม ทะเลไทย กลุม่ ผูซ้ อื้ สินค้าทะเลไทยจากประเทศแถบตะวันตก ให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้
พวกเราตระหนักว่า 1. ถึงแม้จะมีความคืบหน้าในการด�ำเนินงานเพือ่ ปรับปรุง สภาพการท�ำงาน อย่างไรก็ดีการละเมิด สิทธิและการเอารัด เอาเปรียบแรงงานยังเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงในอุตสาหกรรม อาหารแปรรูปทะเลและอุตสาหกรรมประมง และผูป้ ระกอบการ และเจ้าของอุตสาหกรรมดังกล่าวไม่ได้จ่ายค่า จ้างแรงงานตาม ทีแ่ รงงานท�ำงานจริง ค่าจ้างทีแ่ รงงานได้รบั นัน้ น้อยกว่าค่าครองชีพ
7 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
ที่ สู ง กว่ า มาก ค่ า ครองชี พ ที่ เ ป็ น ภาระหนั ก ดั ง กล่าวรวมถึง ค่าใช้จา่ ยเกีย่ วกับการท�ำงาน เช่น ค่าการจัด หาจ้างงาน อุปกรณ์ และกองทุนส่งกลับคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งค่าใช้ จ่ายเหล่านี้ สูงเกินไปและถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเพื่อ เทียบกับรายได้ของนายจ้าง และลูกจ้าง 2. ความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวในการ ปรับปรุงสภาพการท�ำงานไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยปราศจากอิสระในการจัดตั้งสมาคมและอ�ำนาจการ ต่อรองของแรงงาน ซึ่งสิทธิแรงงานทั้งสองประการนี้ยังไม่มี ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปทะเลและอุตสาหกรรมประมง 3. การเคารพมาตรฐานกฎหมายและสิทธิแรงงาน บังคับ ใช้กฎหมาย และตรวจสอบตามหลักนิติธรรมในอุตสาหกรรม อาหารแปรรูปทะเลและอุตสาหกรรมประมงยังคงเป็นปัญหา (เช่น การตรวจแรงงานและการฟ้องคดีตอ่ ผูก้ ระท�ำผิดและละเมิด สิทธิมนี อ้ ย) การตรวจแรงงานทีไ่ ม่มปี ระสิทธิภาพแทนทีจ่ ะคุม้ ครอง แรงงานกลับท�ำให้เป็นผลเสียต่อแรงงานที่ไม่สามารถร้องเรียน การละเมิดสิทธิดว้ ยตนเองได้ ดังนัน้ การเพิม่ ประสิทธิภาพในการ ด�ำเนินการบังคับใช้ กฎหมายและนโยบายทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับหน้าที่ และสิทธิในอุตสาหกรรมการประมงควรได้รบั การจัดการทีเ่ ร่งด่วน เพื่อก�ำจัดความไม่มีประสิทธิภาพที่ท�ำให้เกิดการละเมิดสิทธิ ทีร่ นุ แรง ตลอดจน เกิดปัญหาการบังคับใช้แรงงานและก่อให้เกิด ภาระหนี้สินที่ไม่สิ้นสุดต่อแรงงานในเรือประมง 4. มาตรการระยะสั้น นโยบายการจัดการแรงงานข้าม ชาติและโยกย้ายถิน่ ฐานแรงงานของไทยท�ำให้ แรงงานข้ามชาติ ด้อยโอกาสและเข้าไม่ถึงสิทธิมากขึ้น ช่องทางการจัดหางาน ให้กับแรงงานข้าม ชาติด�ำเนินการล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ และ ถูกควบคุมโดยนายหน้าซึ่งน�ำไปสู่การปฏิบัติที่ ไม่เป็นธรรมและ การละเมิดสิทธิแรงงาน 5. อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปทะเลและอุตสาหกรรม ประมงขาดความโปร่งใส ยกตัวอย่างโดย การท�ำสัญญาใน ลักษณะผูร้ บั เหมารายย่อยผ่านนายหน้าจัดหางานท�ำให้แรงงาน ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและการคุม้ ครองต่างๆ ในส่วนโรงงานผลิต สิ น ค้ า วั ต ถุ ดิ บ อาหารทะเลก็ มี ร ะบบการตรวจ สอบที่ ไ ม่ มี ประสิทธิภาพและขาดความโปร่งใสก่อให้เกิดประเด็นความเสีย่ ง ด้านคุณธรรมส�ำหรับผู้ ที่ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลไทย
(FAO) (2556). The State of World Fisheries and Aquaculture http://www.fao.org/docrep/016/i2727e/ i2727e.pdf 8 สถิตจ ิ ากนักวิเคราะห์ของกระทรวงการเกษตร อาหารและสิง่ แวดล้อมแห่งประเทศสเปน (MARM) เมือ่ วันที่ 24 มกราคม 2557–แหล่งข้อมูลต้นฉบับ Eurostat 9 กรมการประมงแห่งประเทศไทย (2556). Action Plan and Implementation by the Department of Fisheries in Addressing Labour Issues and Promoting Better Working Conditions in the Thai Fisheries Industry http://www.nocht.m–society.go.th/album/download/367802a4br46d2f4132c7a028e50980f.pdf 10 Accenture (2556). Exploitative Labour Practices in the Global Shrimp Industry http://www.humanityunited.org/pdf/Accenture_Shrimp_Report.pdf 11 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) (2556). Employment practices and working conditions in Thailand’s fishing sector http://www.ilo.org/wcmsp5/ groups/public/–––asia/–––ro–bangkok/documents/publication/wcms_220596.pd 6 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
ฟ้องร้อง และ ลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยด�ำเนินการดังต่อไปนี้ รวมไปถึงการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐและคนไทยที่มี 1. ปรับปรุงมาตรฐานการท�ำงานอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนร่วมกระท�ำความผิด แปรรูปทะเลและอุตสาหกรรมประมงของไทย: • มีมาตรการจัดการและปราบปรามการทุจริตในระบบ • ให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่าง การจัดการแรงงาน ประเทศฉบับที่ 188 ว่าด้วยการ ท�ำงานในภาค • เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพกระบวนการร้ อ งเรี ย นและ การประมง การเยียวยาตามโรงงานผู้ผลิตหรือในเรือ ประมงซึ่ง • เพิม่ ค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ให้แรงงานให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ น�ำไปสู่ขั้นตอนการด�ำเนินการทางกฎหมายต่อไป • นายจ้างหรือรัฐบาลควรสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ • แก้ปัญหาผู้เสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิไม่อยาก ทางการเงินซึ่งจ�ำเป็นส�ำหรับกองทุน ส่งแรงงาน มี ส ่ ว นร่ ว มในกระบวนการยุ ติ ธ รรมของศาลไทย ต่ า งด้ า วกลั บ ออกนอกราชอาณาจั ก ร และการ ยกตัวอย่างเช่น แก้ปัญหาการให้ผู้เสียหายจากการ บริหารงานกองทุนดังกล่าวควร มีความโปร่งใสตรวจ ค้ามนุษย์พกั ในสถาน คุม้ ครองของรัฐเป็นระยะเวลา สอบได้ นานเพราะต้องรอด�ำเนินคดีทางกฎหมายไทย • ควรท�ำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและ • กระทรวงแรงงานโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครอง รัฐบาลประเทศผู้ส่งแรงงานเข้ามาท�ำ งานในภาค แรงงานควรสนับสนุนการท�ำงาน ขององค์กรที่มี ประมง โดยก�ำหนดให้มีการฝึกอบรมทักษะและ แรงงานข้ามชาติเป็นผู้ดูแลบริหารงานเพื่อท�ำงาน การตรวจร่างกายก่อนเริ่ม ท�ำงานในเรือประมง รณรงค์ให้แรงงานข้ามชาติรับทราบสิทธิและเข้าถึง • พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ควรได้รับ การคุ้มครองช่วยเหลือตามกฎหมายแรงงาน การปรับปรุงแก้ไขให้แรงงานประมงสามารถเข้าถึง • คุ ้ ม ครองนั ก ปกป้ อ งสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและไม่ มี ก าร สิทธิกองทุนในกรณีบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต ด�ำเนินคดีอาญาต่อกิจกรรมต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง 2. สนับสนุนการรวมกลุ่มกันของลูกจ้างแรงงานและ ในการปกป้องสิทธิมนุษยชน การมีอ�ำนาจร่วมกันในการต่อรองเจรจา: • ร่ า งตั ว อย่ า งสั ญ ญาแจกจ่ า ยส� ำ หรั บ โรงงานเพื่ อ • ให้ ค วามส� ำ คั ญ เป็ น อั น ดั บ แรกในการพิ จ ารณา ให้เป็นตัวอย่างมาตรฐานสัญญาแรงงานประมง ให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่าง • ด�ำเนินการก�ำจัดแรงงานเด็กและให้บริการจัดหา ประเทศฉบับที่ 87 และ 98 สถานที่ท�ำงานที่ปลอดภัยส�ำหรับเยาวชน • เปลีย่ นแปลงแก้ไขมาตรา 88 และ 100 ของพระราช 4. ปรับปรุงสภาพการท�ำงานทีไ่ ม่เอือ้ ประโยชน์ตอ่ แรงงาน บัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เพื่อให้แรงงาน ข้ามชาติสามารถจัดตัง้ สหภาพแรงงานและสามารถ ข้ามชาติ เช่น • ให้บริการแรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิสุขภาพและ ด�ำรงต�ำแหน่ง เพือ่ บริหารงานสหภาพดังกล่าวได้เอง สิทธิประกันสังคม 3. หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายของรัฐควรได้รับการ • เปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติสามารถเปลีย่ นนายจ้าง พัฒนาและหลักนิติธรรมควรได้รับความเคา รพและยึดปฏิบัติ ได้ง่ายขึ้น เพื่อที่แรงงานสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ : • ด�ำเนินการวางแผนนโยบายการโยกย้ายถิน่ ฐานของ • บั ง คั บ ใช้ ค ่ า จ้ า งขั้ น ต�่ ำ ตามกฎหมายและยกเลิ ก แรงงานในระยะยาวที่มีประสิทธิ ภาพ รวมถึงการ การหักค่าจ้างเพื่อจ่ายชุดยูนิฟอร์ม อุปกรณ์และ วางแผนนโยบายที่ครอบคลุมไปถึงครอบครัวของ ค่าสมัครงานจากแรงงานซึ่งถือว่าเป็นการกระท�ำที่ แรงงานข้ามขาติ ผิดกฎหมาย • ให้บริการล่ามที่ไม่มีอคติและเป็นกลางแก่แรงงาน • จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ เช่น กองทุนส�ำหรับ ข้ามชาติ น�้ำมันใช้เดินเรือ และการอบรม เจ้าหน้าที่ ล่าม 5. เพิ่มความโปร่งใสการด�ำเนินงานในภาคประมง: เจ้ า หน้ า ที่ ก ระทรวงแรงงาน เจ้ า หน้ า ที่ ต รวจคน • มี ก ารลงทะเบี ย นศู น ย์ ป ระสานแรงงานประมง เข้าเมือง ต�ำรวจน�้ำ และทหารเรือเพื่อให้เจ้าหน้าที่ และรณรงค์เรื่องการสร้างมาตรฐานการท�ำงานที่ บังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปในทางเดียวกันในสถานที่ ปลอดภัยในสถานที่ท�ำงาน ท�ำงานและอ�ำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ • ก� ำ หนดกฏระเบี ย บและบั ง คั บ ใช้ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ด ตรวจแรงงานในน่านน�้ำทะเล ให้เจ้าของเรือลงทะเบียนเรือประมง ติดตั้งระบบ • น�ำตัวผู้กระท�ำผิดกฎหมายมาลงโทษตามกฎหมาย การติดตามเรือประมง (vessel monitoring systems) เช่น เพิ่มความพยายามใน การปราบปรามและ เพื่อสามารถ ติดตามพิกัดเรือ เวลาที่เรือเดินทะเล ป้ อ งกั น การค้ า มนุ ษ ย์ โ ดยมี ก ารลงพื้ น ที่ สื บ สวน จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 7
3. กลุม่ ผูซ้ อื้ โดยความร่วมมือกับแรงงาน ผูผ้ ลิต รัฐบาล และองค์กรภาคส่วนประชาชน ควรร่วมมือกันเพื่อพัฒนาระบบ ตรวจสอบที่ โ ปร่ ง ใสและการตรวจแรงงานที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เอื้ออ�ำนวยต่อการมีส่วนร่วมของแรงงาน 4. จัดตัง้ กลไกกับกลุม่ ผูผ้ ลิตซึง่ จะท�ำให้กลุม่ ผูซ้ อื้ สามารถ ติดต่อกับแรงงานได้โดยตรง 5. เพิ่มความโปร่งใสการด�ำเนินงานในภาคประมง: • กลุ ่ ม ผู ้ ซื้ อ ควรตั้ ง เงื่ อ นไขสั ญ ญาการซื้ อ จากกลุ ่ ม ผูผ้ ลิตโดยจะซือ้ วัตถุดบิ จากกลุม่ ผูผ้ ลิตทีจ่ ดทะเบียน ผู้รับเหมารายย่อยเท่านั้น เราขอเรียกร้องให้โรงงานและอุตสาหกรรมด�ำเนินการ • กลุม่ ผูซ้ อื้ ควรเรียกร้องให้กลุม่ ผูผ้ ลิตมีระบบการตรวจ ดังต่อไปนี้ สอบติดตามเรือประมงระบบ vessel monitoring 1. ปรับปรุงมาตรฐานการท�ำงานในอุตสาหกรรมอาหาร systems และมีการตรวจสอบเรือเป็นระยะเพื่อ ทะเล: ให้แน่ใจว่ากลุ่ม ผู้ผลิตดังกล่าวปฏิบัติตามกฎหมาย • เคารพสิทธิแรงงานโดยการบังคับใช้โดยปราศจาก สหภาพแรงงานและองค์กรเอกชนภาคประชาสังคมจะ การเลือกปฏิบตั ติ อ่ แรงงาน โดยเฉพาะ การดูแลเรือ่ ง ค่าแรงที่ควรเหมาะสมกับค่าครองชีพและประกัน ด�ำเนินการดังต่อไปนี้: สังคมต่างๆ 1. รณรงค์ ใ ห้ รั ฐ ลงนามให้ สั ต ยาบั น อนุ สั ญ ญา C87 2. สนับสนุนการรวมกลุ่มกันของลูกจ้างแรงงานและ และ C98 เพื่อให้ระบบแรงงานและกฎหมายภายในประเทศ การมีอ�ำนาจร่วมกันในการต่อรองเจรจา: ที่เกี่ยวข้องมีการปฏิบัติ และบังคับใช้กฎหมาย ที่สอดคล้องและ • ขั้นตอนแรกคือการสนับสนุนการเจรจาสนทนาของ มีพลวัตกับแนวนโยบายของรัฐ ลูกจ้างผ่านการรณรงค์ให้มีการใช้ บทบัญญัติเรื่อง 2. ให้การสนับสนุนแรงงานข้ามชาติมีโอกาสเติบโตและ สวั ส ดิ ก ารสั ง คมและจั ด ตั้ ง คณะกรรมการลู ก จ้ า ง มั่นคง ตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ซงึ่ ขยายความ 3. ให้ความช่วยเหลือแรงงานในการเจรจากับนายจ้าง ไปถึงการรณรงค์ให้คณะกรรมการลูกจ้างนีด้ ำ� เนินการ 4. ให้การอบรมแก่แรงงานและตัวแทนแรงงานเกี่ยวกับ อย่างจริงใจในการแก้ปญ ั หาแรงงานข้ามชาติ รวมไป สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมไปถึงสิทธิอ�ำนาจ ต่อรองร่วมกัน ถึงประเด็นการขาดอ�ำนาจต่อรอง ร่วมกันในรูปแบบ 5. มีส่วนร่วมในการปรับปรุงและให้บริการศูนย์ one– ของสหภาพแรงงานโดยเฉพาะสหภาพแรงงาน stop service ที่มีบริการที่หลากหลายส�ำหรับภาคส่วนประมง ข้ามชาติ 3. จัดตัง้ กลไกการร้องเรียนโดยขอค�ำปรึกษากับแรงงาน ที่ท�ำงานในสถานที่ท�ำงานต่างๆ 4. เพิ่มความโปร่งใสการด�ำเนินงานในภาคประมง: • นายจ้างควรจ้างแรงงานเองโดยไม่ผา่ นระบบนายหน้า • ลงทะเบียนผู้รับเหมารายย่อย • ลงทะเบียนเรือและแรงงานลูกเรือ ปรับปรุงสภาพ การท�ำงานให้ดีขึ้นและปลอดภัย ตลอดจนรณรงค์ ให้แรงงานประมงตะหนักถึงความปลอดภัยในการ ท�ำงาน อยูใ่ นน่านน�ำ้ และดูแลรักษาสมุดปูมเรือให้มี ข้อมูล ที่ถูกต้อง เพื่อท�ำให้มั่นใจว่าแรงงานจะได้รับสิทธิ ประโยชน์ทางประกันสังคม สิทธิประกันสุขภาพ และ ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย • ก�ำหนดให้มกี ารลงทะเบียนและเพิม่ มาตรการบังคับ ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนาย หน้าจัดหางานเพื่อ ป้องกันการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทีเ่ กินอัตราก�ำหนด และสามารถ เรียกร้องให้นายหน้าผู้กระท�ำผิดกฏ ระเบียบรับผิดชอบตามกฎหมาย
เราขอเรียกร้องให้กลุ่มผู้ซื้อด�ำเนินการดังต่อไปนี้ 1. ยืนยันที่จะสนับสนุนการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของ แรงงานในการท�ำงานในโรงงานผู้ผลิต 2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้รัฐบาลและนายจ้างเคารพ เสรีภาพในการสมาคมของแรงงาน ตลอดจนสนับสนุนให้มี การปรับปรุงมาตรฐานแรงงานในภาคประมงให้ดีขึ้น
8 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายประชากรข้ามชาติ ออกแถลงการณ์ด่วนกรณีการจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ วันที่ 17 มิถุนายน 2557
แถลงการณ์ด่วน เรียกร้องคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทบทวนมาตรการจัดการระเบียบแรงงานข้ามชาติ ป้องกันผลกระทบด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของมนุษย์ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ท�ำการ ยึดอ�ำนาจการปกครอง มาตัง้ แต่วนั ที่ 22 พฤษภาคม 2557 จนถึง ปัจจุบันเป็นระยะเวลาเกือบหนึ่งเดือนแล้วที่ คสช. ได้ออก ประกาศ–ค�ำสั่ง จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2557 จ�ำนวน 68 ฉบับ โดยมีคำ� สัง่ ที่ 59/2557 และ 60/2557 ลงวันที่ 11 มิถนุ ายน 2557 เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ โดยมีตัวแทนด้านความมั่นคงและข้าราชการพลเรือนร่วมเป็น คณะกรรมการและคณะกรรมการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จากการติ ด ตามสถานการณ์ ข องเครื อ ข่ า ยประชากร ข้ามชาติ และองค์กรแนบท้าย พบว่า ก่อน คสช. จะได้ออกค�ำสัง่ เลขที่ 59/2557 และ 60/2557 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2557 หน่วยงานด้านความมัน่ คงและเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือนในนามกอง อ�ำนวยการรักษาความมั่นคงจังหวัด (กอ.รมน.จว.) บางพื้นที่ ได้ให้ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนว่าได้ด�ำเนินการที่เรียกว่าจัดระเบียบ แรงงานต่างด้วยโดยใช้ก�ำลังปิดล้อม ตรวจค้นบ้านที่ต้องสงสัย ว่าอาจจะมีแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาท�ำงานในประเทศไทยและ ควบคุมแรงงานข้ามชาติไว้เป็นจ�ำนวนมาก จากข้อมูลที่ได้รับ พบว่ามีกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ถูกควบคุมตัวหลายกลุ่ม เช่น แรงงานไม่มีเอกสารเดินทางเข้าเมืองแบบถูกกฎหมายและไม่มี ใบอนุญาตให้ท�ำงาน บางรายมีหนังสือเดินทางแต่ใบอนุญาต ท�ำงานไม่สอดคล้องกับพื้นที่ท�ำงานกับพื้นที่ที่มีการพบและ ควบคุมตัวแรงงาน บางกรณีเป็นแรงงานทีม่ หี นังสือเดินทางและ ใบอนุญาตท�ำงานครบสีป่ ี มีการด�ำเนินการรือ้ ถอนบ้านในชุมชน ทีต่ อ้ งสงสัยว่ามีแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายพักอาศัยอยู่ และบางกรณีได้มกี ารด�ำเนินการทีม่ แี นวโน้มจะละเมิดต่อมาตรการ การคุ ้ ม ครองเด็ ก ตามกฎหมายคุ ้ ม ครองของไทย และตาม อนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก ซึง่ จากกระแสข่าวเรือ่ งจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวดังกล่าว ท�ำให้ แรงงานข้ามชาติมีความหวาดกลัวและมีความเสี่ยงว่าจะถูก จับกุม จึงทยอยเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไทยเป็นจ�ำนวน หลายแสนคน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของชาติ เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาภาวะ การขาดแคลนแรงงานในภาคผลิ ต ทั้ ง อุ ต สาหกรรมและภาค การเกษตร ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ การขาดแคลนแรงงาน โดยให้รฐั บาลมีนโยบายจดทะเบียนแรงงาน เพื่อให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ประเทศเมียนมาร์
ลาว และกัมพูชา สามารถท�ำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้ พ ยายามหาทางแก้ ไขปั ญ หากลุ ่ ม แรงงานที่ ท� ำ งาน ในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย สามารถเข้าสู่กระบวนการ พิสจู น์สญ ั ชาติ มีหนังสือเดินทางและใบอนุญาตท�ำงานทีถ่ กู ต้อง เครือข่ายประชากรข้ามชาติเห็นว่า นอกจากรัฐบาลไทยมีความ พยายามในแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังสามารถ แก้ ไขปั ญ หาด้ า นความมั่ น คงของชาติ ด ้ ว ยเนื่ อ งจากท� ำ ให้ ประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายมากขึ้น ซึ่งถือว่า เป็นความส�ำเร็จในการจัดการแรงงานข้ามชาติ อย่ า งไรก็ ต ามปั ญ หาของแรงงานข้ า มชาติ ยั ง ต้ อ งมี การเดินหน้าแก้ไขปัญหาทีส่ ำ� คัญหลายประการ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง แรงงานที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และการน�ำเข้าที่ผ่านบันทึก ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีเงื่อนไข อนุญาตให้ท�ำงานได้ครั้งละ 2 ปี และสามารถต่อระยะเวลา การท�ำงานไปได้อีกไม่เกินสองปี ซึ่งปรากฏว่าเมื่อปี 2556 มี แรงงานข้ามชาติทคี่ รบก�ำหนดวาระการจ้างงานสีป่ กี ว่าสองแสน ราย (อ้างถึงหนังสือกระทรวงแรงงานเลขที่ รง 0307/2443 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2557 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี) เพื่อ แก้ปัญหาการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ครบระยะเวลาการ จ้างงานสี่ปี และอยู่ในประเทศไทยเกินก�ำหนดระยะเวลา ที่จะ ท�ำให้แรงงานมีความเสีย่ งต่อการถูกจับกุม และภาคธุรกิจประสบ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน กระทรวงแรงงานจึงได้เสนอให้มี มติคณะรัฐมนตรีกำ� หนดให้แรงงานทีค่ รบก�ำหนดวาระการจ้างงาน สีป่ สี ามารถอยูต่ อ่ ในประเทศไทยได้เป็นกรณีพเิ ศษ 180 วัน หรือ จนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เพื่อให้ นายจ้างน�ำแรงงานข้ามชาติไปขอรับการตรวจลงตราและประทับ ตราอนุญาตให้อยูใ่ นราชอาณาจักร ขอรับใบอนุญาตท�ำงานตาม ขั้นตอนที่หน่วยงานราชการก�ำหนดไว้ต่อไป ดังนั้นแรงงาน กว่าสองแสนรายที่ครบก�ำหนดวาระการจ้างงานสี่ปี ย่อมได้รับ การคุม้ ครองโดยการไม่ถ่ กู จับกุมและบังคับให้สง่ กลับหากแรงงาน อยู่ระหว่างขั้นตอนการด�ำเนินการขอรับการตรวจลงตราและ ใบอนุญาตท�ำงานตามขั้นตอนที่หน่วยงานของรัฐก�ำหนด เหตุการณ์การปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม ควบคุมตัวและ การหลั่งไหลกันกลับประเทศต้นทางของแรงงานข้ามชาติ ย่อม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติ และความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ต ่ อ ประชาชนในประเทศเพื่ อ นบ้ า น จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 9
แม้หลายหน่วยงานรวมทั้งฝ่ายคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะ ยืนยันผ่านสือ่ ต่างๆ ว่าไม่มนี โยบายเร่งรัด ปราบปราม กวาดจับ แรงงานข้ามชาติแต่อย่างใด แต่มีแรงงานและผู้ประกอบการอีก จ�ำนวนมากที่ยังไม่มั่นใจต่อนโยบายของฝ่ายไทย มีบางกรณีท่ี ปรากฏเป็นข่าวนายจ้างคนไทยลอยแพแรงงานกว่าสองร้อยคน เนื่องจากเกรงกลัวความผิด หรือกระทั่งเหตุการณ์ล่าสุดที่รถขน แรงงานทีก่ ำ� ลังเดินทางไปชายแดนกัมพูชา ประสบอุบตั เิ หตุทาง รถยนต์เป็นเหตุให้แรงงานชาวกัมพูชาได้รบั บาดเจ็บและเสียชีวติ และชาวบ้านซึ่งเป็นเด็กและอยู่บนท้องถนนใกล้ที่เกิดเหตุถูกยิง ด้วยกระสุนปืนจนได้รับบาดเจ็บ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้สะท้อน การขาดการท�ำงานอย่างบูรณาการ ฝ่ายพลเรือนยังถูกจ�ำกัด บทบาทในการร่วมกันแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติทยี่ งั คงมีความ สลับซับซ้อนและต้องใช้ระยะเวลา และอาจเป็นอุปสรรคต่อคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ ที่จะสร้างความสงบสุข และการปฏิรูป ทางเศรษฐกิจ เครือข่ายประชากรข้ามชาติและองค์กรแนบท้าย จึงขอเรียกร้องและมีข้อเสนอแนะเร่งด่วน ดังนี้ 1. ยุติมาตรการของเจ้าหน้าที่ในการกวาดล้าง จับกุม แรงงานข้ามชาติ และก�ำหนดนโยบายและมาตการในการปฏิบตั ิ ให้ชดั เจน เพือ่ ให้เจ้าหน้าทีใ่ นท้องทีต่ า่ งๆ ปฏิบตั เิ ป็นแนวเดียวกัน อย่างเป็นเอกภาพ ออกประกาศ แจ้งให้หน่วยงานด้านความ มั่นคงและฝ่ายพลเรือนที่เกี่ยวข้องระมัดระวังในการด�ำเนินการ ปราบปรามกลุ่มแรงานที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เนื่องจาก แรงงานบางรายอาจจะอยู่ในกลุ่มที่อยู่ระหว่างการด�ำเนินการ ออกใบอนุญาตท�ำงานหลังจากที่แรงงานประมาณสองแสนราย ครบวาระการจ้างงานสี่ปี 2. ออกมาตรการด่วนที่จะสร้างความมั่นใจต่อแรงงาน ข้ามชาติ และผู้ประกอบการว่ามาตรการการจัดระบบแรงงาน ข้ามชาติจะไม่ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน เพื่อยับยั้งการไหล ออกของแรงงาน สืบเนื่องจากการได้รับข่าวลือที่ คสช. เห็นว่า ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด 3. คสช.ควรปรับโครงสร้างคณะกรรมการแก้ไขปัญหา แรงงานต่างด้าวมีคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับ การจ้างแรงงานข้ามชาติในแต่ละกลุ่ม เช่น ผู้ประกอบการ ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม เพื่อ ให้ได้มุมมองและข้อเสนออย่างรอบด้าน และสะท้อนแนวทาง การแก้ไขปัญหาที่สามารถน�ำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะเป็น การรั ก ษาไว้ ซึ่ ง ความมั่ น คงด้ า นเศรษฐกิ จ และเสถี ย รภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 4. สถานการณ์ทผี่ า่ นมาสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการทีเ่ น้น การใช้มิติความมั่นคงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาแรงงาน ข้ามชาติอย่างเป็นระบบได้ ทางคสช. และคณะกรรมการจึงควร ที่จะยืนยันจะด�ำเนินการจัดการแรงงานข้ามชาติที่เน้นการน�ำ แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบอย่างถูกกฎหมายตามแนวทางเดิม อย่างต่อเนือ่ งควบคูไ่ ปกับมาตรการอืน่ ๆ เช่น การจ้างงานชายแดน ทั้ ง นี้ โ ดยค� ำ นึ ง ถึ ง ความสมดุ ล ของความมั่ น คงของประเทศ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ 10 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
มนุษย์
ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็น
1. เครือข่ายประชากรข้ามชาติ (Migrants Working Group) 2. เครือข่ายปฏิบัติงานเพื่อแรงงานข้ามชาติ (ANM) 3. คลินกิ กฎหมายด้านสิทธิและสถานะบุคคล ศูนย์สงั คม พัฒนา มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี 4. โครงการประสานชาติพันธุ์อันดามัน พังงา 5. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) 6. เครือข่ายสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) 7. สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นาเพื่ อ เฝ้ า ระวั ง สภาวะไร้ รั ฐ (stateless watch) 8. มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน( Prorights Foundation) 9. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (UCL) 10. Save the Children
เครือข่ายลูกจ้างท�ำงานบ้านประเทศไทย ร่วมกิจกรรมวันลูกจ้างท�ำงานบ้านสากล เนื่องในวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ที่ประชุมองค์กรด้าน แรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ–ILO) ได้มมี ติให้มกี ารรับรอง อนุสญ ั ญาฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานทีม่ คี ณ ุ ค่าส�ำหรับลูกจ้างท�ำงาน บ้าน (C–189 Domestic workers Convention, 2011) (มีผลบังคับ ใช้วันที่ 5 กันยายน 2556–entry to force 5 September 2013) เพือ่ ก�ำหนดมาตรฐานในการคุม้ ครองลูกจ้างท�ำงานบ้าน ซึง่ ข้อมูล ของไอแอลโอ ระบุว่า มีแรงงานท�ำงานบ้านอยู่ทั่วโลกประมาณ 85 ล้าน โดย 20 ล้านคน เป็นแรงงานท�ำงานบ้านอยู่ในภูมิภาค เอเชีย ปัจจุบันมีประเทศภาคีสมาชิกขององค์กรด้านแรงงาน ระหว่างประเทศให้สัตยาบันแล้ว 14 ประเทศ โดยในประเทศ เอเชียมีเพียงฟิลิปปินส์เพียงชาติเดียวเท่านั้นที่ได้ให้สัตยาบัน อนุสญ ั ญาฉบับดังกล่าว นอกจากนี้ ลูกจ้างท�ำงานบ้านทัว่ โลกยัง นับวันทีม่ กี ารรับรองอนุสญ ั ญาฉบับที่ 189 เป็น วันลูกจ้างท�ำงาน บ้านสากล (International Domestic Workers’ Day) ซึ่งกลุ่ม ลูกจ้างท�ำงานบ้าน และเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วม กันท�ำกิจกรรมเพือ่ ระลึกถึงวันลูกจ้างท�ำงานบ้านสากลพร้อมทัง้ ข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลต่างๆ ในการปรับปรุงสภาพการท�ำงานของ ลูกจ้างท�ำงานบ้านให้ดีขึ้นและเป็นไปตามมาตรฐานที่ก�ำหนด โดยไอแอลโอ ในปีนี้ เมือ่ วันที่ 15 มิถนุ ายน 2557 มูลนิธเิ พือ่ การพัฒนา และอาชีพ (Foundation for Labour and Employment Promotion–Homenet) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.–Foundation for Child and Development) จึงได้จัดเวทีวันลูกจ้าง ท�ำงานบ้านสากลขึ้น เพื่อให้ตัวแทนของลูกจ้างท�ำงานบ้าน เข้าร่วมกิจกรรมและท�ำข้อเสนอถึงรัฐบาลไทย ปัจจุบนั กระทรวง แรงงานได้คาดการณ์ไว้วา่ มีลกู จ้างท�ำงานบ้านอยูใ่ นประเทศไทย
ประมาณ 300,000 คน โดยมีลูกจ้างท�ำงานบ้านที่เป็นชาวพม่า และคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ในหัวข้อ ก้าวต่อไปในการ กัมพูชาและลาว ขึน้ ทะเบียนกับกระทรวงแรงงานจ�ำนวน 45,000 คุ้มครองสิทธิลูกจ้างท�ำงานบ้านในประเทศไทยแล้ว เครือข่าย คน ด้านกฎหมายและนโยบายในการคุม้ ครองลูกจ้างท�ำงานบ้าน ลู ก จ้ า งท� ำ งานบ้ า นในประเทศไทยยั ง ได้ อ ่ า นค� ำ ประกาศ นัน้ ปัจจุบนั มีกฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2555) ออกตามความ เพื่อเรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งแก้ไขปัญหาที่ลูกจ้าง ในพระราชบัญญัตคิ มุ้ ครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึง่ ได้กำ� หนดสิทธิ ท�ำงานบ้านยังไม่ได้รับการคุ้มครอง ดังนี้ และประโยชน์ ข องลู ก จ้ า ง ท�ำงานบ้าน อาทิ ให้นายจ้าง เปิดค�ำประกาศ เครือข่ายลูกจ้างท�ำงานบ้านประเทศไทย จั ด ให้ ลู ก มี วั น หยุ ด ประจ� ำ วันที่ 16 มิถุนายน 2557 สัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วั น หยุ ด พั ก ผ่ อ นประจ� ำ ปี วันลาป่วย และให้นายจ้าง จ่ า ยค่ า จ้ า งให้ แ ก่ ลู ก จ้ า ง เท่ า กั บ ค่ า จ้ า งในวั น ท� ำ งาน นอกจากนี้ ก ฎกระทรวงยั ง ก�ำหนดห้ามมิให้จ้างเด็กอายุ ต�่ำกว่า 15 ปี เพื่อเป็นลูกจ้าง ท� ำ งานบ้ า น และห้ า มมิ ใ ห้ นายจ้ า งจ่ า ยค่ า จ้ า งของ ลูกจ้างทีเ่ ป็นเด็กแก่บคุ คลอืน่ อย่ า งไรก็ ต ามกฎกระทรวง ฉบับดังกล่าวนีย้ งั มิได้กำ� หนด สิทธิของลูกจ้างบางประการ ได้แก่ ชั่วโมงการท�ำงาน ค่า ล่วงเวลา สิทธิในการลาคลอด และนอกจากนี้กฎกระทรวง ฉบั บ ดั ง กล่ า วแล้ ว ลู ก จ้ า ง ท�ำงานบ้านไม่สามารถเข้าถึง ประโยชน์ แ ละสิ ท ธิ ห รื อ ที่ ส� ำ คั ญ เกี่ ย วกั บ เงิ น ทดแทน กรณี ป ระสบอั น ตราย เจ็ บ ป่ ว ยหรื อ เสี ย ชี วิ ต เนื่ อ งจาก การท�ำงาน จากกองทุนตาม พระราชบัญญัตปิ ระกันสังคม พ.ศ. 2533 และพระราช บั ญ ญั ติ เ งิ น ทดแทน พ.ศ. 2537 ดังนัน้ กิจกรรมส�ำคัญ ของเครือข่ายลูกจ้างท�ำงาน บ้านประเทศไทย นอกจาก การแสดงของกลุ ่ ม แทน ลูกจ้างท�ำงานบ้าน การรับฟัง นโยบายของรั ฐ บาลไทย ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง
จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 11
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาออกแถลงการณ์ต่อกรณีรัฐบาล สหรัฐอเมริกาออกรายงานด้านสถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย เผยแพร่วันที่ 24 มิถุนายน 2557
แถลงการณ์ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) Human Rights and Development Foundation เลขที่ 109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 109 Soi Sitthichon, Suthisarnwinichai Road, Samsennok, Huaykwang. Bangkok 10310 Tel: (+662)277 6882/277 6887 Fax: (+662)277 6882 ext 108 E–mail: info@hrdfoundation.org
รัฐบาลไทยต้องมีเจตจ�ำนงอย่างแน่วแน่ ในการปราบปรามการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ตามที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนาย จอห์น แคร์รี่ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการต่างประเทศได้เผยแพร่ รายงานประจ�ำปี เรื่อง สถานการณ์การค้ามนุษย์ ปี 2557 (Trafficking in Person Report 2014 หรือ Tip report) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 (เวลาประเทศไทย) ที่ผ่านมา โดยในปีนี้ ประเทศไทยถูกลดอันดับจากประเทศที่อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2 อันเป็นกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามองลงมาอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์การค้ามนุษย์ที่เลวร้ายที่สุด ในรายงานฉบับดังกล่าวเเสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ การค้ามนุษย์เเละเสนอข้อแนะน�ำบางประการให้ประเทศไทย พิจารณาเเละทบทวนเพื่อยกระดับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1. ประเด็นการรณรงค์เเละป้องกันการเกิดปัญหาการค้า มนุ ษ ย์ ซึ่ ง ประเทศไทยได้ ใ ห้ สั ต ยาบั น ในพั น ธกรณี ร ะหว่ า ง ประเทศ คือ The 2000 UN TIP Protocol (Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, Especially Women and Children, Supplementing the United Nations Convention Against Transnational Organized Crime) เเละ จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงปัญหาเเละความ ส�ำคัญต่อการยุติการค้ามนุษย์ 2. ประเด็นการคุ้มครองสวัสดิภาพเหยื่อหรือผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ โดยในเบื้องต้นพบว่ายังไม่สามารถคุ้มครอง สวัสดิภาพเเละให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างทั่วถึงได้ อี กทั้ ง ยั ง พบความบกพร่ อ งเเละความขั ด เเย้ ง ของเจ้ า หน้ า ที่ ในกระบวนการคัดเเยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์อีกด้วย 3. ประเด็นกระบวนการด�ำเนินคดีกับผู้กระท�ำความผิด โดยเฉพาะภาครัฐทีถ่ กู มองว่ายังไม่มคี วามพยายามทีม่ ากพอใน การใช้มาตรการทางกฎหมายเเละมาตรการทางนโยบายอย่าง บูรณาการในการป้องกันเเละปราบปรามการค้ามนุษย์ กล่าวคือ 3.1 ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายทีข่ าดประสิทธิภาพ ทั้งในหน่วยงานด้านการยุติธรรม หน่วยงานที่มีบทบาทในการ 12 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
ป้องกันเเละเยียวยาเหยื่อหรือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ 3.2 ปั ญ หาการทุ จ ริ ต หรื อ เรี ย กรั บ ประโยชน์ ของเจ้าหน้าที่รัฐ 3.3 ปัญหาการส่งต่อข้อมูลและพยานหลักฐาน ระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุตธิ รรม ส่งผลให้การด�ำเนินคดี ผูก้ ระท�ำความผิดเสีย่ งต่อการเกิดความล้มเหลวและล่าช้าไม่ตอบ สนองนโยบายทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการแก้ปญ ั หาการค้ามนุษย์ให้ เป็นภารกิจหลัก 3.4 ไม่มคี วามคืบหน้าในการด�ำเนินคดีตอ่ ผูก้ ระท�ำ ความผิดในกรณีกลุ่มโรฮิงญา เเต่กลับปรากฏว่ามีการฟ้องคดี โดยกองทัพเรือในข้อหาความผิดฐานหมิน่ ประมาทต่อสือ่ มวลชน ที่น�ำเสนอเรื่องดังกล่าว การจั ด ล� ำ ดั บ และการออกรายงานดั ง กล่ า วของทาง การสหรัฐอเมริกาจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยหลายประการ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจกลุม่ กิจการประมงทะเลเเละอุตสาหกรรม ต่อเนื่อง ซึ่งปรากฏว่ามีการบังคับใช้แรงงานข้ามชาติในลักษณะ เเรงงานขัดหนี้เเละแรงงานทาส มีสภาพการท�ำงานที่เลวร้าย และแรงงานไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยสินค้าจากกิจการดังกล่าวได้ส่งไปจ�ำหน่ายในสหรัฐอเมริกา และกลุม่ ประเทศในทวีปยุโรป และเป็นสินค้าทีท่ ำ� รายได้หลักให้ แก่ประเทศไทยก็อาจถูกตัง้ รังเกียจทางการค้าเเละการลงทุนรวม ทั้งประเทศไทยอาจถูกลดความช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และอาจส่งผลต่อความเชือ่ มัน่ ทางธุรกิจและการลงทุนของนานาชาติตอ่ ประเทศไทยอีกด้วย มูลนิธเิ พือ่ สิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา (มสพ.) ในฐานะ องค์กรภาคประชาสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือ ทางด้านกฎหมายเเละสนับสนุนการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ของกลุม่ แรงงานข้ามชาติ เเละผูท้ ตี่ กเป็นเหยือ่ หรือผูเ้ สียหายจาก การค้ามนุษย์ ได้ตระหนักเเละได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเเละ ภาคประชาสังคมเพือ่ แก้ปญ ั หาการค้ามนุษย์ตลอดมา ทัง้ มสพ. และองค์การภาคประชาสังคม ได้พยายามเสนอแนะและผลักดัน
ให้ภาครัฐและภาคธุรกิจก�ำหนดนโยบายและมาตรการที่ได้ผล ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งนอกจากเป็นการคุ้มครองสิทธิ มนุษยชนของผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ในกิจการ ประมงทะเลและอุตสาหกรรมต่อเนือ่ งแล้ว ยังสามารถหลีกเลีย่ ง มิให้ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาวะเป็นที่รังเกียจทางการค้า ด้วย แต่ข้อเสนอแนะต่างๆ ของ มสพ. และภาคประชาสังคม ไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร ดังนัน้ ในสภาวะทีป่ ระเทศไทยถูกจัดอันดับไปอยูใ่ นบัญชี กลุ่มที่ 3 โดยทางการสหรัฐอเมริกา เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มสพ. จึงขอเรียกร้องและเสนอแนะต่อทางราชการและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. รั ฐ ต้ อ งก� ำ หนดให้ ก ารแก้ ไขปั ญ หาการค้ า มนุ ษ ย์ เป็นนโยบายแห่งชาติทจี่ ะต้องระดมทรัพยากรและภาคส่วนต่างๆ มาร่วมกันแก้ปัญหา โดยจะต้องก�ำหนดแผนงานการป้องกัน ปราบปรามการค้ามนุษย์ เเละคุ้มครองสวัดิภาพของเหยื่อหรือ ผู้เสียหายอย่างบูรณาการร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม เเละ ผูป้ ระกอบการในธุรกิจทีม่ คี วามเสีย่ งต่อการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะ กิจการประมงทะเล เพือ่ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยแผนงาน ควรก�ำหนดให้สามารถเข้าใจได้ง่ายเเเละสามารถปฏิบัติอย่างได้ ผลภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงาน เพือ่ ป้องกันการเกิดปัญหา เรื่องข้อจ�ำกัดของบุคลากร งบประมาณรวมทั้งต้องสนับสนุน ให้การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพสามารถช่วยเหลือเหยื่อหรือ ผูเ้ สียหายจากการค้ามนุษย์ได้จริงจัง ทัง้ เป็นการพัฒนาศักยภาพ ของทีมสหวิชาชีพไปในคราวเดียวกัน 2. รัฐจะต้องก�ำหนดให้แรงงานในเรือประมงเป็นแรงงาน ทีไ่ ด้รบั การคุม้ ครองตามกฎหมายคุม้ ครองแรงงาน ทัง้ ในเรือ่ งการ ขึ้นทะเบียนเพื่อรองรับการเป็นลูกจ้าง ค่าจ้าง สภาพแวดล้อม ในการท�ำงานและสวัสดิการต่างๆ รวมทั้งการเข้าถึงกองทุนเงิน ทดแทนเมือ่ แรงงานประสบอุบตั เิ หตุหรือเจ็บป่วยจากการท�ำงาน เเละก�ำหนดให้การใช้แรงงานเด็กในกิจการประมงเป็นการกระท�ำ ที่ผิดกฎหมาย 3. รัฐและสมาคมทีเ่ กีย่ วข้องกับกิจการประมงทะเลเเละ อุตสาหกรรมต่อเนือ่ งต้องร่วมมือกันปราบปรามการจ้างแรงงาน ที่ผิดกฎหมายซึ่งเป็นแรงงานที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของ การค้ามนุษย์อย่างยิง่ โดยเน้นการลงโทษนายจ้างหรือผูป้ ระกอบ การที่กระท�ำผิด ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงแรงงาน กรมเจ้าท่า ต�ำรวจน�้ำ กองทัพเรือ เป็นต้น จะต้องร่วมมือกัน อย่างใกล้ชดิ และปราบปรามการทุจริตของเจ้าหน้าทีอ่ ย่างจริงจัง 4. รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมกิจการ ประมง ซึ่งเป็นกิจการที่ส�ำคัญที่ท�ำรายได้ให้แก่ประเทศอย่าง มหาศาล ด้วยการส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ลดการใช้ แรงงาน ลดต้นทุนเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ โดย นายท้ายเรือกลเดินทะเล (ไต้ก๋ง) และคนใช้เครื่องจักรยนต์ ต้องผ่านการฝึกอบรมและได้รับใบอนุญาต จัดระบบควบคุม คุณธรรมและส่งเสริมความสามารถ รวมทัง้ การจัดท�ำประวัตบิ คุ คล
ดังกล่าวเเละเจ้าของเรือประมงเพื่อประโยชน์ในการป้องปราม อาชญากรรมและการค้ามนุษย์ และส่งเสริมกิจการประมง 5. ควรทบทวนประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายทัง้ หมด ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ นอกจากพระราช บัญญัติป้องกันเเละปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ โดย เพิม่ มุมมองการบังคับใช้กฎหมายอย่างรอบด้านบนพืน้ ฐานของ การคุม้ ครองเหยือ่ หรือผูเ้ สียหายจากการค้ามนุษย์เเต่ละประเภท ควบคู่กับการเร่งรัดขึ้นทะเบียนแรงงานประมงทะเลอย่างถูก กฎหมาย รวมทัง้ ควรมีระบบตรวจสอบเเละประเมินผล โดยเปิด โอกาสให้ทั้งภาครัฐเเละเอกชนเป็นผู้ประเมิน เพื่อให้เกิดความ เข้าใจและการประสานงานที่ดี การปฏิบัติงานทั้งหมดควรตั้งอยู่ บนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ ความสุจริตในการ ปฏิบตั งิ าน การคุม้ ครองกลุม่ เสีย่ งเเละการคุม้ ครองสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้าน 6. ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ เอกชนและประชาสังมในการปฏิบัติงานร่วมกัน รวมทั้งในการ พัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่รัฐไปพร้อมๆ กับองค์กรภาค ประชาสังคม ทั้งในประเด็นการรณรงค์ การจัดกิจกรรมการ ต่อต้านการค้ามนุษย์ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมา ยแก่เหยื่อหรือผู้เสียหาย โดยสร้างเป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวัง แต่ต่อต้านการค้ามนุษย์ ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) 24 มิถุนายน 2557 สถานการณ์ด้านคดี ที่น่าสนใจ
ศาลจังหวัดก�ำแพงเพชร พิพากษาคดี ด.ญ.แอร์ ผู้เสียหายจากการถูกนายจ้างทรมาน และกระท�ำอย่างทารุณโหดร้าย ได้รับค่าเสียหาย จากการกระท�ำละเมิด จ�ำนวน 4,603,233 บาท ตามที่มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ได้ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ ด.ญ.แอร์ ชาวกะเหรี่ยง ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการถูกนายจ้างทารุณกรรมและ ใช้แรงงานเยี่ยงทาสนั้น เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2557 เวลา ประมาณ 14.00 น. ศาลจังหวัดจังหวัดก�ำแพงเพชร ได้อ่านค�ำ พิพากษาในคดีทนี่ างโม วาเตง ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง แอร์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายนที แตงอ่อน และนางสาวรัตนากร ปิยะวรธรรม นายจ้าง เป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจาก การท�ำร้ายร่างกายเด็กหญิงแอร์ ขณะที่ท�ำงานรับใช้ในบ้านของ นายจ้างทั้งสอง
จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 13
โดยศาลได้พิพากษาให้จ�ำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสีย ปิยะวรธรรม โดยในช่วงที่ท�ำงานอยู่กับนายจ้างทั้งสองนั้น เด็ก หายแก่โจทก์ ดังนี้ หญิงแอร์ได้ถูกนายจ้างร่วมกันท�ำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บ ส่วนที่ 1. ค่าเสียหายที่สามารถค�ำนวนเป็นจ�ำนวนเงิน สาหัสเเละมีบาดแผลส่วนหนึ่งที่เกิดจากนายจ้างใช้น�้ำเดือดราด ลงไปทีบ่ ริเวณร่างกายจนท�ำให้มพี งั ผืดยึดติดกับล�ำตัวไม่สามารถ ได้ ตามมาตรา 444 ประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ กางแขนและงอแขนได้ เเเละหลังจากนัน้ เจ้าหน้าทีจ่ ากบ้านพักเด็ก เป็นค่าชดใช้อันต้องสูญเสียไปและค่าเสียหายเพื่อการที่ และครอบครัวจังหวัดก�ำแพงเพชรได้น�ำตัวเด็กหญิงแอร์เข้ารับ เสียความสามารถประกอบการงานสิ้งเชิงตามแต่บางส่วนทั้งใน การรักษาตัวที่โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร เวลาปัจจุบันและในอนาคตโดยศาลพิจารณาเเล้วจะก�ำหนดให้ รายละเอียดเพิ่มเติมกรณีนางโม วาเตง ผู้เเทนโดยชอบ เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งความร้ายแรงตามกรณี ประกอบด้วย ธรรมของเด็กหญิงแอร์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายนที แตงอ่อนเเละ 1. ค่ า รั ก ษาพยาบาล จ� ำ นวน 303,233 บาทตาม นางสาวรัตนากร ปิยะวรธรรม เป็นจ�ำเลยในคดีแพ่งต่อศาล รายละเอียดใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลรามาธิบดี จังหวัดก�ำแพงเพชร ปรากฏตามลิงค์ 2. ค่ารักษาพยาบาลในอนาคต 800,000 บาท http://hrdfoundation.org/?p=805 และ http://hrdfoun3. ค่ า เสี ย หายที่ จ ะต้ อ งสู ญ เสี ย ความสามารถในการ dation.org/?p=805&lang=en ประกอบอาชีพไม่น้อยกว่า 50 ปี เป็นเงิน 1,000,000 บาท ปัจจุบันนายจ้างทั้งสองซึ่งตกเป็นจ�ำเลยในคดีนี้ ยังเป็น ส่วนที่ 2. ค่าเสียหายที่ไม่อาจคิดค�ำนวนเป็นจ�ำนวน ผู้ต้องหาในคดีอาญา ที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาว่ากระท�ำ เงินได้ ตามมาตรา 446 ประมวลกฎหมายแพ่งเเละพาณิชย์ ความผิดในฐานร่วมกันท�ำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับ คือ ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าเสียสูญเสีย อันตรายสาหัสโดยการทรมาน หรือการกระท�ำทารุณ โหดร้าย, สมรรถภาพในการเจริญพันธุ์ และ ค่าเสียหายจากความสวยงาม หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังได้ ของเด็กหญิงแอร์ โดยโจทก์มสี ทิ ธิเรียกได้ตามกฎหมาย มิจำ� ต้อง รับอันตรายสาหัส, หน่วงเหนีย่ วกักขังผูอ้ นื่ และให้ผอู้ นื่ นัน้ กระท�ำ ค�ำนึงว่าโจทก์จะได้ประกอบอาชีพหรือไม่ ประกอบด้วย การใดๆ ให้แก่ผกู้ ระท�ำหรือบุคคลอืน่ , ร่วมกันเอาคนลงเป็นทาส 1. ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย 600,000 บาท หรือมีฐานะคล้ายทาส, ร่วมกันพามาจากที่ใด หรือหน่วงเหนี่ยว 2. ค่าเสียสูญเสียสมรรถภาพในการเจริญพันธุ์ 700,000 กักขังเด็กอายุ ไม่เกิน 15 ปี จนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส บาท เเละร่วมกันพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และร่วมกันค้ามนุษย์ 3. ค่าเสียหายจากความสวยงามของโจทก์ 700,000 บาท ซึ่งปัจจุบันนายจ้างทั้งสองได้หลบหนีระหว่างการประกันตัวใน ทัง้ นี้ ศาลยังสัง่ ให้จำ� เลยจ่ายค่ายานพาหนะส�ำหรับโจทก์ ชั้นสอบสวน ในการเดินทางไปรักษาพยาบาลทีโ่ รงพยาบาลรามาธิบดี เป็นเงิน นางสาวณัฐรัตน์ อรุณมหารัตน์ ผู้ประสานงานโครงการ 500,000 บาท รวมค่าเสียหายทีศ่ าลสัง่ ให้จำ� เลยทัง้ สองช�ำระ ต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและ แก่โจทก์ทั้งสิ้น 4,603,233 บาท การพัฒนา เห็นว่าค�ำพิพากษาดังกล่าวนี้เเสดงให้เห็นถึงการ เเต่อย่างไรก็ตาม การทีค่ รอบครัวของ ด.ญ.แอร์ จะได้รบั รองรับสิทธิในทางแพ่งของผู้เสียหายในความผิดอาญา ซึ่งเป็น เงินค่าเสียหายจริงๆ มากน้อยเพียงใด ยังต้องผ่านกระบวนการ สิทธิอันเกิดจากการถูกละเมิดสิทธิในชีวิตร่างกายเเละเสรีภาพ บังคับคดีเอากับทรัพย์สนิ ของจ�ำเลยทัง้ สองอีกขัน้ ตอนหนึง่ จึงจะ ของเด็กหญิงแอร์เเละนอกจากจะเป็นความผิดตามประมวล สามารถน�ำเงินมาช�ำระเป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่ศาล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเเล้วความผิดดังกล่าวยังเป็น พิพากษาได้ มูลฐานของการกระท�ำความผิดฐานค้ามนุษย์ ซึ่งเด็กหญิงแอร์ โดยต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการเรียกร้องสิทธิเกิดขึ้น ถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบโดยการถูกบังคับใช้แรงงานเเละ เมื่อปี 2552 ขณะนั้นเด็กหญิงแอร์อายุประมาณ 7 ขวบ ได้หาย การเอาคนลงเป็นทาส เเละเเม้เด็กหญิงแอร์จะมีสิทธิได้รับ ออกไปจากบ้านพักที่เด็กหญิงแอร์เคยอยู่ร่วมกับบิดามารดาซึ่ง ค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติป้องกันเเละปราบปราม เป็นแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ซึง่ เป็นบ้านพักทีอ่ ยูใ่ นไร่ออ้ ยของ การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 แล้วก็ไม่เป็นการตัดสิทธิทเี่ ด็กหญิงแอร์ นายจ้าง ที่จังหวัดก�ำแพงเพชร ทางบิดาเเละมารดาได้พยายาม จะได้รับชดเชยในลักษณะค่าเสียหายในคดีแพ่งแต่อย่างใด ตามหาตัวเด็กหญิงแอร์เเต่ไม่พบ จนกระทัง่ เมือ่ วันที่ 31 มกราคม 2556 มีการประสานงาน แรงงานภาคก่อสร้างจังหวัดชลบุรี เข้าเจรจากับนายจ้าง จากเจ้าหน้าทีข่ องบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดก�ำแพงเพชร หลังจากร้องเรียนเรื่องไม่ได้รับค่าแรงตามกฎหมาย และหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่รวมทั้งการให้ข้อมูลจากพลเมืองดี จากกรณีที่แรงงานก่อสร้าง ซึ่งเป็นแรงงานรับเหมาช่วง ท่านหนีง ท�ำให้พบตัวเด็กหญิงแอร์ ซึ่งถูกนายจ้างคนเดิมของ บิดามารดาลักพาตัวจากบ้านพักที่อยู่ในไร่อ้อยของนายจ้าง ของบริษทั ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี 5 คน เข้าร้องเรียนต่อมูลนิธิ คนใหม่ของบิดามารดา และบังคับให้ทำ� งานเป็นเด็กรับใช้ในบ้าน เพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เรื่องนายจ้างได้ค้าง ของนายจ้าง คือ นายนที แตงอ่อน และนางสาวรัตนากร จ่ายค่าแรงเป็นเวลา 2 เดือน ตัวแทนมูลนิธิฯร่วมกับผู้แทนจาก 14 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ ได้ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรีเพื่อ หารือกรณีการค้างค่าจ้างแรงงานกับผูจ้ ดั การของบริษทั ผลิตภัณฑ์ คอนกรีตชลบุรี โดยการหารือครัง้ แรกทางผูจ้ ดั การ แจ้งให้แรงงาน ที่มาจากจากบริษัทรับเหมาท�ำงานให้เสร็จตามก�ำหนด จึงจะ สามารถจ่ายเงินค้างจ่ายได้ในวันที่ 20 มิถุนายน 2557 แรงงาน ตกลงตามทีบ่ ริษทั ผลิตภัณฑ์คอนกรีตชลบุรี โดยขอรับเงินค่าจ้าง ในวันดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อครบก�ำหนดตามที่ตกลงกัน ไว้ ทางบริษัทฯไม่สามารถจ่ายเงินให้กับแรงงานได้ เนื่องจาก ผลการท�ำงานยังไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ จึงให้แก้ไขงานใหม่ และนัดรับเงินค่าแรงในวันที่ 23 มิถุนายน 2557 แต่ได้เลื่อน การจ่ายค่าแรงในวันที่ 30 มิถุนายน แรงงานทั้ง 5 คน ได้รับ ค่าแรงตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้วทั้งหมด
แรงงานข้ามชาติชาย สามารถเข้าถึงสิทธิในการเบิก ค่าคลอดบุตร จากส�ำนักงานประกันสังคม วันที่ 20 มิถุนายน 2557 แรงงานข้ามชาติได้เข้าปรึกษา และขอรับการช่วยเหลือกรณีการยื่นค�ำร้องขอรับค่าคลอดบุตร ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 สืบเนื่องจากภรรยาของนาย Aung Ko Ko ซึ่งเป็นแรงงาน ข้ามชาติและมีบัตรประกันสังคม ได้คลอดบุตรเมื่อวันที่ 12 มิถนุ ายน 2557 แต่ไม่สามารถใช้สทิ ธิประโยชน์จากประกันสังคม กรณีค่าคลอดบุตรได้ เนื่องจากภรรยาของนาย Aung Ko Ko ได้ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ครบก�ำหนดระยะเวลา ที่ได้ก�ำหนดไว้ตามกฎหมาย และจากการตรวจสอบข้อมูลการ ท�ำงานของนายAung Ko Ko พบว่านาย Aung Ko Ko ซึ่งเป็น ลูกจ้างในกิจการที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วกว่าสามปี จึงสามารถใช้สิทธิในการขอค่าคลอดบุตรจากส�ำนักงานประกัน
สังคมได้ โดยทางมูลนิธิได้ช่วยเหลือนาย Aung Ko Ko ในการ เตรียมเอกสารเพื่อยื่นค�ำร้องขอรับค่าคลอดบุตรจากส�ำนักงาน ประกันสังคม เมือ่ วันที่ 24 มิถนุ ายน 2557 โดยส�ำนักงานประกัน สังคมประจ�ำจังหวัดสมุทรสาครได้พจิ ารณาค�ำร้องแล้วมีคำ� สัง่ ให้ จ่ายเงินค่าคลอดบุตรแก่นาย Aung Ko Ko แล้วในวันเดียวกัน เป็นเงินจ�ำนวน 13,000 บาท
แรงงานข้ามชาติได้รับค่ารักษาพยาบาลจากนายจ้าง กรณีประสบอุบัติเหตุจากการท�ำงานเป็นเหตุให้ ต้องสูญเสียดวงตา คลินกิ กฎหมายแรงงานแม่สอดด�ำเนินการให้ความช่วยเหลือ กรณีนายโก่ชิโก่ ลูกจ้างบริษัทไทยเจริญแกรนิต จ�ำกัด จังหวัด ก�ำแพงเพชร ประสบอุบัติเหตุระหว่างการท�ำงาน เป็นเหตุให้ สูญเสียดวงตาด้านขวา เหตุเกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ซึ่งหลังจากที่นายโก่ชิโก่ประสบอุบัติเหตุแล้ว นายจ้างได้ให้ การช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลเป็นเงิน 10,000 บาท และ มีเงินไม่เพียงพอในการจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล จึงมาขอรับ ค�ำแนะน�ำและช่วยเหลือทางกฎหมาย โดยคลินกิ ฎหมายแรงงาน แม่สอด ได้นำ� นายโก่ชโิ ก่ ยืน่ ค�ำร้องแจ้งการประสบอันตรายและ ขอรับเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ทีส่ ำ� นักงานประกันสังคม ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2557 ส�ำนักงาน ประกันสังคมจังหวัดตาก นัดฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเข้าท�ำ การเจรจาเรื่องค่ารักษาพยาบาลและเงินทดแทน ฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้างสามารถตกลงกันได้ โดยนายจ้างยินยอมจ่ายค่ารักษา พยาบาลเป็นเงิน 14,000 บาท และเงินทดแทนกรณีประสบ อุบัติเหตุจากการท�ำงาน เป็นเงิน 100,000 บาท รวม 114,000 บาท อย่างไรก็ตามฝ่ายนายจ้างได้จ่ายเงินให้แก่นายโก่ชิโก เป็นเงิน 70,000 บาท เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2557 หลังจากที่มี การเจรจาต่อรองกัน
จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 15
รู้จักโครงการ สะพานเสียง
อาสาสมัครคนอื่นๆ ในโครงการสะพานเสียง มูลนิธิฯ จึงขอน�ำ บทความสะท้อนประสบการณ์การท�ำงานของอาสาสมัคร นักศึกษาเผยแพร่ต่อในหนังสือข่าวฉบับนี้ ดังนี้
Epi.1: ผ่องนภา คิดหา (ป๊อปแป๊ป) กับมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) โครงการสะพานเสียงมีจดุ ประสงค์ในการสร้างความเข้าใจ ระหว่างคนไทยและแรงงานข้ามชาติ และลดอคติและความ เข้าใจผิดของคนไทยทัว่ ไปทีม่ ตี อ่ แรงงานข้ามชาติ โครงการยุวทูต สะพานเสียงเป็นหนึง่ ในกิจกรรมทีโ่ ครงการฯได้จดั ขึน้ โดยน�ำกลุม่ เยาวชนที่มีความสนในประเด็นสิทธิแรงงานและการพัฒนา และเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาท�ำงาน ในประเทศไทยจ�ำนวนกว่าสามล้านคนซึง่ มีสว่ นช่วยในการสร้าง ผลประโยชน์ทางสังคม และเศรษฐกิจต่อประเทศ อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปอาจยังไม่ทราบถึงสถานภาพ บทบาท และสิทธิ ของแรงงานเหล่านี้ การขาดแคลนแรงงานในประเทศที่จ�ำเป็น ต้องพึ่งพาแรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาการเข้าไม่ถึง โอกาสและสิทธิที่ควรได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือ การถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เหล่านีน้ บั เป็น ปัญหาที่แรงงานข้ามชาติจ�ำนวนมากต้องเผชิญในสังคมไทย การสร้ า งอาสาสมั ค รนั ก ศึ ก ษาเพื่ อ ศึ ก ษาดู ง านและ สนับสนุนการท�ำงานขององค์กรภาคประชาสังคมในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติ จะเป็นส่วนหนึ่งในการ ร่วมสร้างความเข้าใจที่ดี และช่วยในการน�ำเสนอมุมมองที่เป็น มิตร อันจะน�ำไปสูก่ ารอยูร่ ว่ มกันท่ามกลางความหลากหลายทาง เชือ้ ชาติและสัญชาติ และการสร้างความสันพันธ์ทดี่ กี บั ประชาชน ในประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และภาคีเครือข่าย โครงการยุวทูตสะพานได้ก่อตัวขึ้นเมื่อ เดือนพฤศจิกายน 2556 โดยมีนายอานัส อาลี เป็นผู้ประสาน งานโครงการฯ ปัจจุบันมีนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาหลาย สถาบันทั่วประเทศที่ให้ความสนใจในกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ทั้งนี้นักศึกษาจ�ำนวน 12 คนได้ถูกคัดเลือกเพื่อร่วมเป็นอาสา สมัครนักศึกษาในโครงการยุวทูตสะพานเสียง โดยนักศึกษา จ�ำนวน 3 คน ได้แก่นางสาวดวงตา หม่องภา จากโครงการเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางสาวผ่ อ งนภา คิ ด หา จากคณะคณะรั ฐ ศาสตร์ แ ละ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และนาย Paing Hein Htet จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามา ศึกษาและสนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและ การพัฒนา เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยในห้วงระยะเวลา 3 เดือน ทีผ่ า่ นมา อาสาสมัครนักศึกษาทัง้ สามคนได้สะท้อนประสบการณ์ การท� ำ งานผ่ า นการเขี ย นบทความเพื่ อ เผยแพร่ ใ ห้ แ ก่ เ พื่ อ น 16 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
จากการที่ ไ ด้ ไ ปอาสาสมั ค รท� ำ งานกั บ มู ล นิ ธิ เ พื่ อ สิ ท ธิ มนุษยชนและการพัฒนา (Human Rights and Development Foundation–HRDF) ได้ท�ำหน้าที่ในการสอนภาษาไทย การเดิน ทาง ไปสอนระยะทางค่อนข้างไกล เนือ่ งจากศูนย์การเรียนรูแ้ ละ การพัฒนาแรงงานข้ามชาติ (MLDC) อยู่ที่หมู่บ้านนันทาราม อ�ำเภอสารภี ศูนย์การเรียนรูแ้ ละการพัฒนาแรงงานข้ามชาติแห่ง นี้ เป็นศูนย์ที่เปิดขึ้นเพื่อให้คนที่สนใจเรียนภาษาทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาไทใหญ่ มาเรียนซึ่งไม่ได้เจาะจงเฉพาะ ผู้ที่เป็นแรงงานข้ามชาติเท่านั้น เด็กๆ ชาวไทย หรือผู้ใหญ่ที่อยู่ ใกล้เคียงก็มาเรียนได้ด้วย ซึ่งคนที่สนใจสามารถมาเรียนได้ใน วันจันทร์ พุธ และศุกร์ เวลา 18.00–20.30 น. เนือ่ งจากเป็นเวลา ทีท่ กุ คนเลิกงานกันแล้วความรูส้ กึ ในการทีไ่ ด้ไปสอนครัง้ แรก รูส้ กึ ตืน่ เต้นเป็นอย่างมาก เนือ่ งจากยังไม่เคยสอนภาษาไทยมาก่อน เลย อีกทัง้ คนทีม่ าเรียนภาษาไทยก็เป็นแรงงานข้ามชาติ จึงกังวล ว่าจะสื่อสารกันไม่เข้าใจ แล้วเกิดปัญหาในการเรียนการสอนขึ้น แต่เมื่อได้ไปสอนจริงๆ แล้ว กลับตรงกันข้าม วันแรกที่ไปถึง ทุกคนน่ารักมาก เป็นกันเอง แทบไม่ตอ้ งปรับตัวอะไรมากก็สนิท กันอย่างรวดเร็ว ประทับใจมากทีท่ กุ ครัง้ ทีไ่ ปสอนทุกคนจะพูดว่า “สวัสดีครับ/ค่ะ ครู” ถ้าเกิดเวลามีอะไรสงสัยนักเรียนก็จะเรียก “ครูครับๆ /คะๆ ” หรือ เมือ่ สอนเสร็จก็จะอวยพรให้วา่ “ครูครับ/ คะ เดินทางกลับดีๆ นะ” ซึ่งไม่เคยคิดมาก่อนว่าในชีวิตนี้จะมี ใครเรียกว่าครูเช่นนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการท�ำงาน คือศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ เป็นศูนย์เปิดที่ใครอยากเรียนก็สามารถเข้ามาเรียนได้ ท�ำให้ บางครัง้ มีนกั เรียนมาเพิม่ ซึง่ ไม่มพี นื้ ฐานภาษาไทยเลย การทีจ่ ะ สอนรวมกับคนอื่นก็เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน ท�ำให้ต้องแยก สอนเป็นกลุ่มๆ เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เหมือนกัน อีกทั้ง พวกเขาเหล่านี้ก็ไม่ได้ว่างกันทุกคน บางคนลางานไม่ได้ หรือติด ท�ำงานก็ไม่สามารถมาเรียนได้ ท�ำให้การเรียนขาดความต่อเนือ่ ง
แต่เมื่อไหร่ถ้าพวกเขาว่างพวกเขาก็มาเรียน ปัญหาที่เกิดขึ้นจึง ไม่ได้เป็นปัญหาที่ใหญ่มากนัก เนื่องจากเข้าใจว่าแต่ละคนก็มี หน้าที่ที่ต้องท�ำ มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ การที่พวกเขาเหล่านี้ มีความสนใจในการเรียน สละเวลาของพวกเขามาเรียนก็ถือว่า เป็นสิ่งที่ดีมากแล้ว จากการที่สอนภาษาไทยผ่านมาเดือนกว่าแล้ว สิ่งที่ ได้จากการสอนที่นี่คือ การได้รู้ว่าแรงงานข้ามชาติควรที่จะ ได้รบั โอกาสในการเรียนรู้ แม้วา่ พวกเขาไม่ใช่คนไทย แต่พวก เขาก็มีความส�ำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศของเรา ทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ในการท�ำงาน ของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ พวกเขาต่างก็ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกโกงค่าจ้าง หรือท�ำสัญญาต่างๆ ทีท่ ำ� ให้พวกเขาไม่ได้รบั ความ ยุตธิ รรม การเรียนภาษาไทยจึงเป็นส่วนหนึง่ ทีจ่ ะช่วยพวกเขาให้ ได้รับความยุติธรรมในด้านต่างๆ เนื่องจากถ้าพวกเขาสามารถ อ่านและเขียนภาษาไทยได้ ก็จะไม่ได้ถูกนายจ้างเอาเปรียบอีก ต่อไป พวกเขาสามารถอ่านสัญญาที่ท�ำกับนายจ้างได้ สามารถ กรอกเอกสารสมัครงานทีต่ นเองสนใจได้ ตลอดจนถึงหากมีความ สนใจเรียนต่อให้สูงขึ้นก็สามารถเรียนต่อ กศน. หรือ น�ำความรู้ ที่ได้เรียนไปใช้ในโรงเรียนได้ ซึ่งพวกเขาต่างก็ตระหนักถึงความ ส�ำคัญของการเรียนภาษาไทย จึงใช้เวลาตอนเย็นหลังเลิกเรียน หรือเลิกงาน มาเรียนภาษาไทย แม้ว่าจะเหนื่อยจากการท�ำงาน แต่พวกเขาก็ความพยายาม และมีความตั้งใจเรียนกันมาก
การได้มาสัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ จริงๆ ท�ำให้รู้ว่าในขณะที่บางคนได้รับโอกาสในการเรียน มากมาย ใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีเงินเรียนในโรงเรียนดีๆ สถาบันสอนพิเศษชื่อดัง มีโอกาสเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย
แต่กลับไม่สนใจในการเรียน ไม่ขวนขวายหาความรู้ ใช้เวลาแต่ละ วันไปอย่างเปล่าประโยชน์ แต่แรงงานข้ามชาติที่นี่กลับไม่ใช่ อย่างนั้น พวกเขาท�ำงานหนัก แต่กลับถูกเอาเปรียบ ไม่ได้รับ โอกาสดีๆ อย่างที่หลายคนได้รับ แต่พวกเขาก็ไม่ท้อ พยายาม ขวนขวายหาความรู้ เพื่อพวกเขาจะไม่ได้รับการเอาเปรียบอีก ต่ อ ไป และพวกเขาต่ า งก็ ห วั ง ว่ า สามารถน� ำ ความรู ้ ที่ ไ ด้ ไ ป ประกอบอาชีพอืน่ ๆ ได้ สิง่ ทีพ ่ วกเราจะสามารถช่วยได้คอื การ ให้โอกาสพวกเขาเหล่านี้ ปรับเปลี่ยนทัศนคติของเราที่มีต่อ แรงงานข้ามชาติใหม่ เพราะไม่ใช่แรงงานข้ามชาติทุกคนที่จะ ก่อปัญหา มีแค่ส่วนน้อยเท่านั้น ก็เหมือนกับคนไทยที่ไม่ได้เป็น คนดีกันทุกคน และไม่ได้เป็นคนไม่ดีกันหมด คนเราก็มีดีบ้าง ไม่ดีบ้างปะปนกันไป เราควรเข้าใจในประเด็นนี้ด้วย ไม่ควรน�ำ ทัศนคติแบบผิดๆ นี้ มามองคนอื่น แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่ คนไทยก็ตาม สิ่ ง ที่ ท ้ า ทายและความคาดหวั ง ในการท� ำ งานนี้ คื อ การสอนภาษาไทยให้ประสบความส�ำเร็จ นัน่ คือ สามารถท�ำให้ พวกเขาเหล่านี้ อ่านออก เขียนได้ และสามารถน�ำความรู้ ทีไ่ ด้ไปประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวันของพวกเขาได้ เนือ่ งจาก เคยได้มีโอกาสถามว่า “ทุกคนอยากเรียนเรื่องอะไรกันบ้าง?” ซึ่งก็ได้รับค�ำตอบที่หลากหลาย เช่น “การสะกดค�ำครับ” “การ เขียนค่ะ เพราะอ่านได้แต่เขียนไม่คล่อง” หรือแม้แต่ “อะไรก็ได้ ครับ ตามใจครู” แต่ค�ำตอบที่ฟังแล้วรู้สึกชอบคือ มีน้องคนหนึ่ง ตอบว่า “เรียนอะไรก็ได้ครับ ที่ผมสามารถเอาไปใช้จริงๆ ได้” ซึ่งท�ำให้ได้ตระหนักว่า การสอนภาษาไทยให้พวกเขาเหล่านี้ ไม่จ�ำเป็นต้องเรียนแบบท่องจ�ำ ต้องจ�ำให้ได้ ทุกหลักไวยากรณ์ ภาษาไทย เพราะบางครัง้ การท่องจ�ำไม่ได้ชว่ ยให้สามารถน�ำไปใช้ จริงๆ ได้ ถ้าหากสอนภาษาไทยแล้วพวกเขาเหล่านี้สามารถน�ำ ความรู้ไปใช้ได้ และเป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้พวกเขาเหล่านี้ประสบ ความส�ำเร็จก็รู้สึกดีใจมากแล้ว สุดท้ายนีข้ อขอบคุณโครงการยุวทูตสะพานเสียงทีไ่ ด้มอบ โอกาสดีๆ อย่างนีใ้ ห้ ให้ได้รบั ประสบการณ์ดๆ ี และปรับเปลีย่ น ทัศนคติเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ รู้สึกดีใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของโครงการนี้ ทีจ่ ะเป็นเสียงหนึง่ ทีช่ ว่ ยแรงงานข้ามชาติให้ได้รบั โอกาส และสิทธิต่างๆ อย่างเพียงพอ และเป็นส่วนหนึ่งในการ ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ในสังคมนี้
จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 17
โครงการสะพานเสียง มูลนิธสิ ทิ ธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้วา่ การท�ำ งานสิทธิเพือ่ แรงงานข้ามชาตินนั้ มีประเด็นทางสังคม ที่ ซั บ ซ้ อ นและหลากหลายและจ� ำ เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ อ งค์ ก รและ และประสบการณ์ครั้งแรกของผม
หน่วยงานต่างๆ ทีม่ คี วามรูค้ วามเชีย่ วชาญทีต่ า่ งกันจะมาท�ำงาน ผมยังจ�ำวันแรกที่เริ่มท�ำงานกับมูลนิธิสิทธิมนุษยชนและ ร่วมกันในเชิงบูรณาการประเด็นแรงงานต่างด้าวที่หลากหลาย การพัฒนา (มสพ.) ได้เป็นอย่างดี ผมมาท�ำงานด้วยความคาดหวัง ว่าจะมีโอกาสได้ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและส่งเสริมภาพ ลักษณ์ที่ดีของแรงงานข้ามชาติเมื่อมีโอกาสท�ำงานและสื่อสาร กับพวกเขาโดยตรง มาถึงจุดนีค้ วามคาดหวังของผมได้ถกู เติมเต็ม และผมมัน่ ใจได้วา่ เมือ่ ภารกิจการท�ำงานครัง้ นีข้ องผมเสร็จสิน้ ลง ผมจะสามารถช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติทตี่ อ้ งการความช่วยเหลือ ได้บ้างไม่มากก็น้อย
วันแรกของการท�ำงานที่ มสพ. ต้องขอบคุณค�ำแนะน�ำ รวมถึงการให้ขอ้ มูลสถานทีต่ งั้ ส�ำนักงานจากคุณ ณัฐรัตน์ทที่ ำ� ให้ ผมสามารถเดินทางไปส�ำนักงานได้งา่ ย สถานทีต่ ง้ั ของ มสพ. เอง นั้นก็น่าสนใจตรงซอยที่ส�ำนักงานตั้งอยู่นั้นเต็มไปด้วยองค์กร เครือข่ายภาคประชาชนท�ำงานเพื่อสิทธิมนุษยชน และชื่อซอย สิทธิชนก็แปลตรงตัวและมีเอกลักษณ์บ่งบอกความเป็นตัวตน ของส�ำนักงานทีนี้ได้ดี (ขอบคุณดวงตา ที่ช่วยอธิบายและแปล ความหมายของชื่อซอยนี้ให้ผมเข้าใจ) เมือ่ ถึง มสพ. ผมกับดวงตาได้รบั การต้อนรับทีอ่ บอุน่ และ เป็นมิตรจากพี่ๆ ที่ท�ำงานอีกทั้งยังพาเยี่ยมชมส่วนต่างๆ ของ ส�ำนักงาน ตัง้ แต่กา้ วแรกทีเ่ ข้าไปส�ำนักงานผมรูเ้ ลยว่าประสบการณ์ ทีผ่ มจะได้รบั จากทีน่ ตี่ อ้ งพิเศษและน่าจดจ�ำอย่างแน่นอน มสพ. เป็นส�ำนักงานทาวน์เฮ้าส์ ท�ำให้ผมนึกถึงส�ำนักงานที่ประเทศ พม่าซึง่ ก็เรียบง่าย ส่วนใหญ่กจ็ ะใช้บา้ นเรือนเป็นส�ำนักงานไม่ได้ ใช้ตกึ สูงระฟ้าเหมือนในเมืองใหญ่ หรือเมืองหลวงประเทศอืน่ ๆ และความโชคดีอกี อย่างคือห้องท�ำงานของผมนัน้ เป็นห้องเดียว กับห้องท�ำงานของคุณปรีดาซึ่งเธอจะเป็นผู้ดูแล ให้ค�ำแนะน�ำ และมอบหมายงานต่างๆ ให้ผม ผมค่อนข้างดีใจทีผ่ มได้รบั มอบหมายให้ทำ� งานทีส่ ำ� นักงาน กรุงเทพของ มสพ. เพราะทีน่ มี่ หี ลายโครงการ และการด�ำเนินงาน กิจกรรมต่างๆ เช่น โครงการยุติธรรมเพื่อแรงงานข้ามชาติ (Migrant Justice Program–MJP) และโครงการต่อต้านการค้า มนุษย์ด้านแรงงาน Anti–Labor Trafficking Project (ALP) ซึง่ ผมได้รบั มอบหมายงานประจ�ำวัน ท�ำรายงาน รวมถึงการแปล บทความต่างๆ ตามความจ�ำเป็น อีกทั้ง มสพ. เองมีเครือข่าย และท�ำงานร่วมกับองค์กรสิทธิอกี หลายองค์กร ท�ำให้ผมตระหนัก 18 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
หน้าทีแ่ รกทีผ่ มได้รบั มอบหมายคืออ่านและท�ำความเข้าใจ กับคดีตา่ งๆ รวมถึงตัวบทกฎหมายและนโยบาย ตลอดจนประเด็น ต่างๆ เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ ซึ่งการท�ำความเข้าใจกฎหมาย ต่างๆ เหล่านี้มีความส�ำคัญเป็นอย่างมากเพราะพื้นฐานความรู้ ของผมคือเศรษฐศาสตร์ ต้องขอบอกตามตรงว่าส�ำหรับคนที่ พยายาม ท�ำความเข้าใจกับตัวบทกฎหมายและคดีต่างๆ เป็น ครั้งแรกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามเมื่ออ่านไปสัก พักท�ำให้ ผมเริม่ เข้าใจและคุน้ เคยกับประเด็นต่างๆ มากขึน้ อีกทัง้ ทุกคนใน ส�ำนักงานก็ช่วยเหลือผมอธิบาย ให้ความกระจ่างตอบข้อสงสัย ของผมเป็นอย่างดี นีค่ อื ก้าวแรกของการเรียนรูแ้ ละท�ำความเข้าใจ ที่ถูกต้อง ในประเด็นแรงงานข้ามชาติของผม และงานชิ้นแรก ที่ได้รับมอบหมายคือการประเมินการท�ำงานของรัฐ บาลไทย และการปฏิ บั ติ ต ามข้ อ เสนอแนะตามกลไกรายงานทบทวน สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติสมัยที่ 12 หรือ ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Universal Periodic Review (UPR) ซึ่งรายงาน UPR นี้ใช้เป็นตัวประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ภายในประเทศ ผมรู้สึกตกใจที่ได้รับ มอบหมายงานส�ำคัญชิ้นนี้ เพราะงานของผมจะส่งไปยังคณะท�ำงาน UPR ของสหประชาชาติ โดยตรง ผมจ�ำได้แม่นและบอกกับตัวเองว่างานนี้ผมไม่สามารถ มีขอ้ ผิดพลาดได้ สุดท้ายแล้วกลายเป็นประสบ การณ์ทมี่ คี า่ มาก เพราะท�ำให้ผมเรียนรูท้ า่ ทีการตอบโต้ของรัฐบาลไทยต่อข้อเสนอ แนะเกีย่ วกับประเด็นแรงงานข้ามชาติ ประกอบกับเพือ่ นร่วมงาน ของผมก็ให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลและเต็มใจสนับสนุน การท�ำงานของผมเป็นอย่างดี กว่างานของผมจะเป็นชิน้ เป็นอัน เสร็ จ สมบู ร ณ์ ก็ ไ ด้ ผ ่ า นการตรวจพิ สู จ น์ อั ก ษรและการแก้ ไข มากกว่า 5 ครั้ง และหลังจากนั้นผมก็ได้รับมอบหมายให้ท�ำงาน จากมุมมองภาพรวม ขณะที่ดวงตาได้รับมอบหมายให้ท�ำงาน ลงพืน้ ที่ ผมรับผิดชอบในส่วนของการจัดท�ำเอกสารรายงานและ วิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ผมเชื่อว่านี่คือการท�ำงานที่ลงตัวมาก เพราะผมและดวงตาสามารถท�ำงานลงลึกใน ส่วนทีเ่ ราถนัดและ สร้างความเชี่ยวชาญให้กับตัวเองในงานที่ท�ำ ผมกับดวงตาสนุก กับงานทีท่ ำ� โดยเฉพาะ ตอนทีเ่ ราแลกเปลีย่ นประสบการณ์เล่าสู่
กันฟังเกี่ยวกับงานเราได้รับมอบหมาย นอกจากนีผ้ มได้มโี อกาสเข้าร่วมงานสัมมนาระดับภูมภิ าค และเดินทางเยี่ยมองค์กรต่างๆ หนึ่งในไฮไลท์ของผมคือการเข้า ร่วมการประชุมติดตามงาน ASEAN Forum on Migrant Labour ครั้งที่ 6 การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปรับปรุง กลไกการร้องเรียนและน�ำเสนอกิจกรรมติดตามผลการสัมมนา ASEAN Forum on Migrant Labour (ASML) ซึ่งเป็นแผนงาน ทีม่ งุ่ เน้นไปยัง การร่วมมือไตรภาคีระหว่างองค์กรภาคประชาชน หน่วยงานรัฐ และแรงงานข้ามชาติ ในส่วนของการ ประชุม สัมมนาทีผ่ มเข้าร่วมนัน้ เป็นการประชุมแผนงานและกิจกรรมสาน ต่อหลังจาก AFML จึงมุ่งเน้นการท�ำงานไปยังภาคส่วนสังคม ผมโชคดีมากทีม่ โี อกาสเข้าร่วมและเรียนรูก้ ารท�ำงานขององค์กร ภาคประชาชนที่ท�ำงานกันอย่างแข็งขัน และไม่ย่อท้อเพื่อสิทธิ ของแรงงานข้ามชาติถงึ แม้วา่ จะมีอปุ สรรคในการท�ำงานมากมาย และเป็นอีกครัง้ ทีผ่ มรูส้ กึ ขอบคุณโอกาสทีพ่ ๆ ี่ และเพือ่ นทีท่ ำ� งาน หยิบยื่นให้ผมได้เข้าร่วม การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ในเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมานับเป็นครั้งแรกที่ผมได้มีโอกาสท�ำงานเพื่อ แรงงานข้ามชาติผู้โชคร้ายตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในประเทศไทย ผมขอขอบคุ ณ คุ ณ ณั ฐ รั ต น์ คุ ณ ภั ท รานิ ษ ฐ์ คุณปภพ ที่ให้โอกาสดวงตาและผมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ สังเกตการณ์และการท�ำงานช่วยเหลือผู้เสียหายครั้งนี้ โดยพวก เราท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ล่ า มและติ ด ต่ อ ประสานงานกั บ ผู ้ เ สี ย หาย โดยตรง ผู้เสียหายนามสมมุติว่านายเอ็นได้เดินทางออกจาก ประเทศพม่าและมายังประเทศไทยโดยความช่วยเหลือของ พี่ชายและลูกพี่ลูกน้อง ซึ่งนายเอ็นหวังว่าเขาจะสามารถหางาน ทีด่ กี ว่าในประเทศไทยเพือ่ ส่งเงินกลับไปขยายกิจการครอบครัว ในประเทศพม่า แต่สิ่งต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามที่เขาคาดหวัง นายเอ็นถูกนายหน้าชาวพม่าโกงและต่อมาเขาถูกบังคับให้ ท�ำงานในเรือประมงโดยไม่ได้รบั ค่าตอบแทนใดๆ เมือ่ พีช่ ายของ เขาทีท่ ำ� งานในประเทศไทยเช่นกันทราบข่าวนายเอ็น พีช่ ายก็รบี มาติดต่อ มสพ. และขอให้มูลนิธิด�ำเนินการช่วยเหลือน้องชาย สิง่ ทีส่ ำ� คัญมากในการช่วยเหลือพีน่ อ้ งแรงงานข้ามชาติ และผูเ้ สีย หายจากการค้ามนุษย์คือการประชาสัมพันธ์และเข้าถึงองค์กร ภาคประชาชน เพราะในกรณีนี้ ถ้าพี่ชายของนายเอ็นไม่รู้จัก มสพ. ตัวคนท�ำงานเพื่อสิทธิเองก็ไม่สามารถรับเรื่องร้องเรียน และเข้าช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยได้ โชคดีที่นายเอ็นได้รับการ
ช่วยเหลือและส่งเข้าสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ (สถานที่ พักพิงส�ำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์) น้องของนายเอ็นเอง ก็ถูกบังคับท�ำงานในเรือประ มงเช่นกัน และเขาก็ได้รับการช่วย เหลือและส่งต่อไปยังสถานที่พักพิงส�ำหรับผู้เสียหายจากการค้า มนุษย์ ขณะนีผ้ เู้ สียหายทัง้ สองได้รบั การช่วยเหลือเบือ้ งต้น ส่วน ในการด�ำเนินการทางกฎหมายอยู่ ในระหว่างด�ำเนินคดีจับกุม ผู้กระท�ำผิด โดยผมหวังว่าพวกเขาจะได้รับความเป็นธรรม กรณี ของพวกเขาทัง้ สองท�ำให้ผมตระหนักได้วา่ ชีวติ คนเราสามารถถูก ท�ำลายได้งา่ ยดายยิง่ นัก เราอ่อนแอกว่าทีเ่ ราคิด ดังนัน้ ถือว่าเป็น ความรับผิดชอบร่วมกันของพวกเราทุกคนทีจ่ ะไม่หนั หลังให้พวก เขาและพร้อมที่จะช่วยเหลือในยามที่พวกเขาต้องการเรา การท�ำงานกับ มสพ. เป็นประสบการณ์ที่ให้รางวัลชีวิต แก่ผม ผมขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ ร่วมงานและ ผู้ประสานงาน โครงการสะพานเสียงที่ให้ผมได้รับโอกาสและประสบการณ์ ครั้งนี้ ผมได้เรียนรู้เบื้องลึก และเข้าใจภาพรวมประเด็นแรงงาน ข้ามชาติ ขณะเดียวกันผมก็ได้ประสบการณ์ตรงจากการท�ำงาน กั บ แรงงานข้ า มชาติ แ ละส่ ง ต่ อ ความรู ้ ที่ ไ ด้ ต ่ อ ไปยั ง พวกเขา ประสบการณ์การเรียนรูท้ ไี่ ด้จากองค์กรต่างๆ ท�ำ ให้ผมสามารถ เป็นกระบอกเสียงให้แรงงานข้ามชาติต่อไป เมื่อไรก็ตามที่ผม มีโอกาสผมจะไม่ลังเลที่จะ ถ่ายทอดประสบการณ์และความ ยากล�ำบากของพี่น้องแรงงานข้ามชาติให้ครอบครัวและเพื่อนๆ ของผม ได้รับรู้การท�ำงานกับ มสพ. ได้กระตุ้นต่อมการเรียนรู้ และสร้างความท้าทายในทุกวันท�ำงานของผม ถึง ตอนนีผ้ มบอก กับตัวเองได้ว่าผมพร้อมทุกวันในการท�ำงานเพื่อสิทธิแรงงาน ข้ามชาติ ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคบ้างก็ตาม ผมรู้ว่าผมสามารถ ก้าวข้ามอุปสรรคไปได้ดว้ ยการสนับสนุนจากบรรดาพีแ่ ละเพือ่ น ร่วมงาน และอีกครั้งที่ผมอยากจะขอบคุณงานทุกชิ้นที่ผมได้รับ มอบหมาย ผมรูส้ กึ ว่างานทีผ่ มท�ำนัน้ มีคณ ุ ค่า และตัวผมเองก็ได้ รับการปฏิบตั ทิ เี่ ท่าเทียมเสมือนหนึง่ เป็นเจ้าหน้าทีข่ อง มสพ. เอง มีหลาย ประสบการณ์ที่ผมได้เรียนรู้เป็นครั้งแรก ผมเองก็อยาก ที่จะเรียนรู้และรณรงค์ประเด็นสิทธิต่อไป เรื่อยๆ โดยได้รับ การสนับสนุนจากโครงการสะพานเสียง จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 19
Epi.1: ดวงตา หม่องภา (ตา) กับมูลนิธเิ พือ่ สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) เรียนรู้…แบ่งปัน… แลกเปลี่ยน… เราทุกคน คือ “สะพานเสียง”
หลังการได้รบั ความรูเ้ บือ้ งต้นเพือ่ เป็นอาวุธพืน้ ฐานในการ ปฏิบัติการต่อไปของช่วงชีวิตประสบการณ์ครั้งแรกในการพา ตัวเองเข้ามาเป็นอาสาสมัครใน “โครงการยุวทูตสะพานเสียง” ซึ่งภารกิจหลักของโครงการ คือ เพื่อสนับสนุนและสร้างความ เข้าใจอันดีงามระหว่างรัฐ และคนในสังคมผูเ้ ป็นเจ้าของประเทศ กับบุคคลผู้เป็น “แรงงานข้ามชาติ” ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในเยาวชนโครงการยุวทูตสะพานเสียง จากทั้งหมด 12 คน และภารกิจของข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าจะได้ เข้าไปศึกษาเรียนรู้ในองค์กรที่จะช่วยสอนให้ข้าพเจ้ามีความ เข้าใจอย่างถ่องแท้ตอ่ แรงงานข้ามชาติ ข้าพเจ้าโชคดีทไี่ ด้มโี อกาส เข้าไปท�ำงานกับองค์กร Human Rights and Development Foundation : HRDF (มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา: มสพ.) ซึ่งข้าพเจ้าเองรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก ด้วยภารกิจและ ความตั้งใจอันท่วมท้นอันมาจากความจ�ำเป็นที่ตัวข้าพเจ้าเอง ควรจะ “ต้องรู้” ด้วย เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นบุตรแรงงานข้ามชาติ จึงท�ำให้ข้าพเจ้าพอจะทราบเป็นพื้นฐานจากประสบการณ์ตรง รวมทั้งสังคมของประเทศไทยที่ก�ำลังเปลี่ยนไป สังคมไทยไม่ใช่สังคมเดี่ยวที่ประกอบด้วยคนในชาติ เดียวอีกต่อไปหากแต่ความเป็นจริงในปัจจุบนั นัน้ สังคมไทย ก� ำ ลั ง จะกลายเป็ น ประเทศพหุ สั ง คมที่ บ รรจุ ผู ้ ค นหลาก ชาติพนั ธุ์ และหลายสัญชาติ ต่างเกิดการปฏิสมั พันธ์กนั และกัน ความรูแ้ ละความเข้าใจทีป่ ราศจากอคตินบั เป็นสิง่ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ที่ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ด้วยเหตุผลและความ จ�ำเป็นดังกล่าว จึงเป็นแรงผลักดันส�ำคัญที่ท�ำให้ข้าพเจ้ามีความ สนใจและกระหายอยากร่วมสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ถูก ต้องต่อแรงงานข้ามชาติ และโครงการยุวทูตสะพานเสียงจึงเป็น ดังแสงสว่างน�ำทางทีเ่ ปิดโอกาส ให้ขา้ พเจ้าและเพือ่ นยุวทูตฯของ โครงการ ได้ร่วมเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ และส่งต่อ สิ่งมีค่านี้แด่เพื่อนร่วมสังคม ให้สังคมและโลกของเรามีความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่น่าอยู่มากขึ้น 20 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
เกือบ 2 เดือน นับเริ่มตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของโครงการยุวทูตสะพานเสียง ทุกๆ วันทีผ่ า่ นไปดูมคี ณ ุ ค่าและ ทวีความส�ำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ภาพเลือนลางของความรู้และ ความเข้าใจเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติที่ข้าพเจ้าเคยมีในงาน ที่ น อกเหนื อ จากการเกษตรกรรม–บั ด นี้ ชั ด เจนมากขึ้ น ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าแรงงานข้ามชาติมีความส�ำคัญอย่างยิ่งใน ภาคเศรษฐกิจไทย เพราะเขาเหล่านั้น คือ กลุ่มแรงงานที่ท�ำให้ เศรษฐกิจไทยขับเคลือ่ นก้าวหน้าต่อไปได้ และพวกเขาเหล่านีเ้ อง ทีเ่ ป็นผูท้ ำ� งานทีอ่ นั ตรายและเสีย่ งชีวติ มากกว่า ในงานบางประเภท ที่แรงงานไทยไม่ท�ำ ซึ่งมักเกิดการขาดแคลนแรงงานในงานบาง ประเภท บางกิจการ เช่น งานก่อสร้าง งานทางด้านการเกษตร งานค้าขายหน้าร้าน งานแม่บ้าน งานบริการต่างๆ และกรรมกร อื่นๆ เป็นต้น ท�ำให้นายจ้างเองมีความจ�ำเป็นต้องจ้างแรงงาน ข้ามชาติแทน แต่นบั เป็นเรือ่ งเศร้าและน่ากังวลอย่างยิง่ เมือ่ กลุม่ แรงงานข้ามชาติผู้อาบเหงื่อต่างน�้ำท�ำงานเพื่อแลกค่าแรงงานนี้ กลับถูกเอารัดเอาเปรียบจากผูไ้ ม่ประสงค์ดี รวมทัง้ การถูกละเลย ไม่ให้ความส�ำคัญในเรื่องสิทธิแรงงานที่เท่าเทียมกันของบุคคล และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง จึงท�ำให้คณ ุ ภาพชีวติ ของแรงงานข้าม ชาติยงั มีความน่าเป็นห่วงและจ�ำเป็นอย่างยิง่ ทีเ่ ราทุกคน ควรจะ หันกลับมาดูแลใส่ใจเพื่อนร่วมสังคม และชาวอาเซียนด้วยกัน มากขึ้น
องค์กร HRDF เป็นองค์กรที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปศึกษา เรียนรู้และร่วมท�ำงานภายใต้ความร่วมมือขององค์กรเพื่อ สิทธิแรงงานข้ามชาตินั้น เป็นองค์กรไม่แสวงผลก�ำไร ที่มีเจ้า หน้าที่คอยบริการช่วยเหลือความรู้ทางกฎหมายในเรื่องสิทธิ แรงงานข้ามชาติ เช่น สิทธิในประกันสังคม สิทธิที่จะได้รับการ คุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ ปัญหาทั่วไปที่แรงงาน มักประสบและเป็นปัญหาที่ไม่ควรที่จะเกิดขึ้นเลย คือ ปัญหา ค่าแรง ปัญหาการถูกยึดหนังสือเดินทาง ปัญหาการถูกท�ำร้ายทัง้ ทางร่างกายและจิตใจ เป็นต้น โดยสาเหตุสว่ นใหญ่ มักเกิดจาก การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิผล ความแตกต่างทางวัฒนธรรม รวมทั้งมายาคติเฉพาะบุคคลที่ตีตราคุณค่าของความเป็น มนุษย์ของคนอื่นด้อยค่าลง น�ำมาสู่ความไม่เข้าใจและเกิด ความขัดแย้งกันในที่สุด แม้ระยะเวลาที่ข้าพเจ้าได้คลุกคลี เรียนรู้เกี่ยวกับ แรงงานข้ามชาติจะยังไม่มากนัก แต่ความรูแ้ ละประสบการณ์
ใหม่ที่ได้มานั้น ไม่สามารถนับค่าราคาได้ องค์กร HRDF เป็น องค์กรที่มีส�ำนักงานประจ�ำอยู่ในหลายจังหวัด หลายภาค ตัว ข้าพเจ้าได้เข้าไปศึกษาเรียนรูแ้ ละท�ำงานทีส่ ำ� นักงานทีป่ ระจ�ำอยู่ ในกรุงเทพมหานคร ช่วง ๒ สัปดาห์แรกเป็นช่วงทีพ่ ๆ ี่ ขององค์กร ช่วยสอนในเรื่องของบทบาท และเป้าประสงค์การท�ำงานของ องค์กร ซึง่ เป็นไปเพือ่ แรงงานข้ามชาติตามทีก่ ล่าวมาข้างต้น และ หลังจากนัน้ สิง่ ทีน่ า่ ตืน่ เต้นและถือเป็นเรือ่ งส�ำคัญมากทัง้ ต่อชีวติ ของแรงงานและการท�ำงานของเจ้าหน้าที่ทุกๆ คน เมื่อมีกรณี ในเรื่องการค้ามนุษย์เข้ามาขอความช่วยเหลือกับทางองค์กร แน่นอนว่าองค์กร HRDF จะไม่เฉย ช่วงนี้เรามีการประสานงาน กับหน่วยงานทั้งทางรัฐ และองค์กรอิสระ ภาคประชาสังคม หลายองค์กร เพื่อเข้าช่วยเหลือเหยื่อถูกค้ามนุษย์ การท�ำงาน โดยส่วนใหญ่จะเป็นในเรือ่ งของกฎหมายทีข่ า้ พเจ้าก�ำลังพยายาม ท�ำความเข้าใจอยู่ เรามีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลประกอบ การวางแผน ข้าพเจ้าแอบปลื้มใจที่ตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ ช่วยเหลือเพือ่ นมนุษย์ดว้ ยกัน ในช่วงการเก็บข้อมูล การสอบข้อ เท็จจริงกับแรงงาน เป็นช่วงที่ข้าพเจ้ามีบทบาทเต็มที่ที่สุด เพราะความสามารถทีข่ า้ พเจ้าพูดได้ทงั้ ภาษาไทยและภาษา เมี ย นมาร์ ไ ด้ นั้ น ได้ ช ่ ว ยให้ ก ารท� ำ งานขององค์ ก รและ หน่วยงานที่ท�ำงานร่วมกัน มีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น การท�ำงานในสถานการณ์นี้ เวลา คือ ตัวแปรส�ำคัญของชีวิต เพื่อนมนุษย์ มาถึงวันนี้ วันที่เราสามารถช่วยแรงงานออกมาได้ แต่ทางคดีก็ยังเป็นหน้าที่ขององค์กรที่จะต้องจัดการด�ำเนินคดี ตามกฎหมายต่อไป
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า องค์กร HRDF มีส�ำนักงาน ประจ�ำอยู่หลายพื้นที่ ในระยะต่อมา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไป เรียนรูง้ านในพืน้ ทีม่ หาชัย จังหวัดสมุทรสาคร เป็นทีท่ ราบกัน ทัว่ ไปว่าพืน้ ทีด่ งั กล่าวเป็นพ้นทีท่ ถี่ กู จัดเป็นส่วนของอุตสาหกรรม รวมทัง้ สินค้าทางทะเล ซึง่ เป็นสินค้าหลักของไทยทีส่ ง่ ออกไปขาย ยังต่างประเทศ สร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาลต่อปี พืน้ ที่ มหาชัยจึงเต็มไปด้วยผู้ขายแรงงานในภาคต่างๆ บ้างอยู่โรงงาน บ้างท�ำประมง ฯลฯ เป็นที่น่าสนใจว่า แรงงานหลักและถือว่า แรงงานส่วนใหญ่ เป็นแรงงานข้ามชาติ ที่มาจากประเทศเมีย นมาร์ พืน้ ทีท่ นี่ ี่ มีลกั ษณะเฉพาะทีแ่ ตกต่างจากพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ เพราะ ที่นี่เราสามารถเห็นผู้คนต่างวัฒนธรรม ประเพณี แต่พวกเขา ก็ ส ามารถอยู ่ ร ่ ว มกั น ได้ มี ก ารติ ด ป้ า ยประกาศของทางการ ป้ายประกาศรับสมัครคนงานของโรงงาน หรือแม้แต่ร้านค้า
ร้านถ่ายรูปตามข้างทาง จะเขียนบนป้ายเป็นภาษาไว้ทั้ง 2 หรือ อาจ 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาเมียนมาร์ และภาษาอังกฤษ แรงงานข้ามชาติของพื้นที่ในส่วนนี้ดูมีความเข้มแข็ง อาจเพราะ ด้วยจ�ำนวนประชากรแรงงานข้ามชาติที่มีมาก รวมทั้งองค์กร อิสระ ภาคประชาสังคมต่างๆ เข้าให้ความช่วยเหลือ ที่ส�ำคัญ ภาครัฐก็ให้ความส�ำคัญด้วย ข้าพเจ้าจึงได้เห็นการรวมกลุ่มของ แรงงานข้ามชาติเอง อย่างเช่น กลุ่ม Migrant Worker Rights Network : MWRN (เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ) ซึ่งกลุ่ม ดังกล่าวตั้งขึ้น เพื่อให้ค�ำปรึกษาและช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ทีป่ ระสบปัญหา มีการเปิดสอนภาษาไทยให้กบั แรงงานข้ามชาติ ที่มีเวลาและมีความสนใจอยากเรียนภาษาไทย มีการเปิดเวที ให้ความรูก้ บั แรงงานข้ามชาติเรือ่ งสิทธิของแรงงาน เป็นต้น กลุม่ ดังกล่าวได้รับการสนับสนุน ส่งเสริมจากองค์กร HRDF ซึ่ง จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ในพื้นที่มหาชัยนี้ เราสามารถ เห็นการประกอบพิธกี ารบวชลูกแก้วแบบวัฒนธรรมเมียนมาร์ใน วัดทีม่ พี ระเป็นไทย ในพืน้ ทีน่ เี้ ราจะเห็นคนหนึง่ คน มีความสามารถ พูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา ไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อชาติสัญชาติใด ก็ ต าม เราจะเห็ น ความแตกต่ า งทางวั ฒ นธรรมซึ่ ง สามารถ ปรับและอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งจากที่ปรากฏ กลุ่มคนในพื้นที่เหล่านี้ พวกเขาต่างหากที่เข้าใจและกลายเป็นชาวอาเซียนโดยแท้จริง
ข้อสังเกตทีข่ า้ พเจ้าได้เรียนรูจ้ ากการเข้าร่วมเป็นอาสา สมัครของโครงการฯ คือ • ความไม่เข้าใจกันและกัน อาจจะเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ระหว่างเพือ่ นบ้าน หรือผูท้ อี่ ยูร่ ว่ มกัน ในสังคม ซึง่ อุปสรรคส�ำคัญ คือ ภาษา เมือ่ เราไม่สามารถสือ่ สาร กันได้อย่างเข้าใจถ่องแท้ เมือ่ ความสามารถของผูส้ ง่ สารและผูร้ บั สารมีจ�ำกัด มักก่อให้เกิดปัญหาตั้งแต่เรื่องจิปาถะไปจนถึงเรื่อง ใหญ่มากระดับอาเซียน • ต่อมาเป็นเรือ่ งของ มายาคติเดิมๆ จริงๆ แล้วในโลก นีป้ ระกอบขึน้ จากความแตกต่าง หลอมรวมเป็นโลกเพือ่ ให้พงึ่ พา อาศัยและเติมเต็มกันและกัน สัจธรรมความจริงข้อนี้ จะท�ำให้เรา รู้สึกอยากเปิดกว้างมากขึ้น จะเป็น “ชาวเรา ชาวเขา หรือชาว อะไร” ก็ตามที เราสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันได้ • คุณค่าของความเป็นมนุษย์ แรงงานข้ามชาติ คือ บุคคลทีใ่ ช้แรงงานแลกเงินเพือ่ หาเลีย้ งชีพและครอบครัว พวกเขา เป็นกลุ่มบุคคลผู้เสียสละท�ำงานที่เราไม่สามารถท�ำได้ พวกเขา เป็นส่วนส�ำคัญทีส่ ร้างรายได้ให้ประเทศ พวกเขาเป็นผูย้ อมเสีย่ ง อันตรายเพื่อให้เศรษฐกิจไทยยังคงขับเคลื่อนก้าวหน้าต่อไป “การเป็นคนขายแรงงาน ไม่ได้แปลว่าเขาไม่มีคุณค่า” เพราะ ฉะนั้นแล้ว สิทธิแรงงานที่มี จึงไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ แต่เป็นสิ่งที่ เราทุกๆ คนควรเคารพ สนับสนุนและส่งเสริม • การร่วมสรรค์สร้างสังคม ไม่ใช่หน้าทีค่ นใดหรือเฉพาะ หน่วยงานใด แต่เป็นของทุกๆ คน คนทุกคนมีคุณค่าและมี ความสามารถทีต่ า่ งกัน ร่วมด้วยช่วยกันไม่เพิกเฉยต่อการถูกเอา รัดเอาเปรียบของแรงงานข้ามชาติ ร่วมเคารพ สนับสนุนและส่ง จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 21
เสริม สิทธิของแรงงานข้ามชาติโดยไม่เลือกปฏิบัติ และการไม่ดู หมิน่ เหยียดหยาม ท�ำร้ายกันและกันทัง้ ทางวาจาและการกระท�ำ อีกหนึง่ เรือ่ งซึง่ เป็นความประทับใจส่วนตัวของข้าพเจ้า คือ วันทีข่ า้ พเจ้าจะได้ไปร่วมรับฟังค�ำพิพากษาทีศ่ าลจังหวัด ก�ำแพงเพชร ในคดีแพ่งของน้องนาแอร์ที่เกิดมีข่าวขึ้นเมื่อ ไม่นานมานี้ ข้าพเจ้าสนใจคดีนี้เป็นพิเศษเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะเหยื่อเป็นเพียงแค่เด็กหญิงตัวน้อย แต่ถูกท�ำร้ายทารุณ อย่างสาหัส ความเจ็บปวดรวดร้าว ไม่อาจหนีได้แม้เพียงฝัน โทรทัศน์เคยท�ำข่าวช่วงที่เรื่องเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีการน�ำเสนอ ข่าวหลังจากนั้นอีก วันฟังค�ำพิพากษา ข้าพเจ้าตื่นตั้งแต่ 3 นาฬิกา (ตี 3) เพื่อไปขึ้นรถไปก�ำแพงเพชรที่หมอชิต ภารกิจเรา คือ อยากไปให้ทนั ศาลอ่านค�ำพิพากษา ปรากฏว่า รถทีม่ กี บั เส้น ทางของเราบวกกับเวลาที่เร่งรีบ คลาดเคลื่อนกันไปหมด ผลคือ เราจึงไปนั่งรถตู้โดยสารไปนครสรรค์ก่อน ซึ่งรถตู้ก็แวะเติมแก๊ส 2 รอบ พอถึงนครสวรรค์กลับไม่มีรถไปก�ำแพงเพชร ที่มีรถอยู่ก็ ออกช้า แม้เจออุปสรรคแต่การเดินทางของเราก็ยงั คงต้องด�ำเนิน ต่อไป ท�ำให้เราต้องเหมารถคันสีเหลือง (เป็นรถโดยสารสองแถว) นีไ่ ม่ใช่ครัง้ แรกทีข่ า้ พเจ้านัง่ รถสองแถว แต่นเี่ ป็นครัง้ แรกทีร่ ถสอง แถวท�ำข้าพเจ้าหัวฟู ยุง่ เหยิง เข้าไปในศาล ถึงจะท�ำให้เสียความ มัน่ ใจไปบ้าง แต่ความตัง้ ใจเดิมยังมัน่ คง เราไปถึงเกือบเทีย่ งแล้ว เมื่อไปติดต่อที่ศาลปรากฏว่า “ศาลเลื่อนนัดอ่านค�ำพิพากษา” ด้วยเหตุผลบางประการ ไปเป็นวันที่ 30 มิถุนายนนี้ ข้าพเจ้า รู้สึกพูดไม่ออก บอกไม่ถูก แต่ก็รู้สึกประทับใจที่ช่วงบ่ายเราได้มี โอกาสเข้าไปคุยกับกลุม่ งานสวัสดิการแรงงานกรณีของน้อง ตาม ด้วยบะหมี่เกี้ยวชื่อดังเมืองเพชร และข้าวต้มผักบุ้งลอยฟ้า นครสวรรค์ สิ่งที่ข้าพเจ้าตั้งใจอยากให้เกิดขึ้นต่อไปในอนาคตนั้น ข้าพเจ้าก็ยงั จะตามหาสิง่ นัน้ ต่อไป และคิดว่าความคิดดีๆ คงจะ ลอยล่องมา หลังจากที่ข้าพเจ้ายังคงได้เข้าไปท�ำงานที่เกี่ยวข้อง กับแรงงานข้ามชาติ ข้าพเจ้ารู้สึกขอบคุณในโอกาสที่ “โครงการ สะพานเสียง” มอบให้รู้สึกขอบคุณ “พี่ๆ จากองค์กร” ที่ช่วย แนะน�ำและให้คำ� ปรึกษา และรูส้ กึ มีความสุขทีส่ ดุ ที่ (ท่านๆ อ่าน จนตัวหนังสือตัวสุดท้าย) ได้ร่วมแบ่งปันและอยากแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ด้านแรงงานข้ามชาติ โปรดติดตามตอนต่อไป…
ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในสังคมไทยที่นับว่ามีการเติบโต ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนือ่ ง และถือว่าเป็นประเทศทีม่ กี ารพัฒนา ในระดับต้นๆ ของภูมภิ าคประชาคมอาเซียน นับเป็นปัจจัยดึงดูด ส�ำคัญทัง้ นักลงทุนและแรงงานจ�ำนวนมหาศาล ทีต่ า่ งยอมทิง้ บ้าน ทิ้งครอบครัว ด้วยหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าในต่างแดน กว่าครึ่งศตวรรษ ของการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงาน ข้ามชาติ ท�ำให้รัฐผู้เป็นเจ้าของประเทศ ต้องมีการปรับตัวและ วางกลไกการดูแลไม่เฉพาะแค่คนไทยอีกต่อไป หากแต่สงั คมไทย นั้น ได้ค่อยๆ ผันแปรตามกาลเวลาและสมาชิกใหม่ในสังคม ภาคพื้นทวีปที่มีเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงสะดวกต่อ การติดต่อเดินทางไปมาหาสู่กันและกัน แม้เดิมยังไม่เกิดรัฐชาติ การอพยพ เคลื่อนย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นไปอย่างปกติ แต่ ยุคหลังการได้รับเอกราชของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ความ เข้มข้นของส�ำนึกความเป็นรัฐ เป็นชาติใดๆ ได้นำ� มาสูก่ ารตัง้ กฎ กติกา ที่เรียกว่า ข้อตกลงบ้าง สัญญาบ้าง กฎหมายบ้าง มนุษย์ ถูกแบ่งแยก จัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มคนที่อยู่ภายใต้อุปโลกน์รัฐ มนุษย์ทุกคนต้องมีตราประเทศประจ�ำตัวเอง นับเป็นข้อส�ำคัญ ทีม่ นุษย์ตา่ งต้องปฏิบตั ติ ามกฎกติกาดังกล่าว หากการอพยพเข้า มาใหม่เกิดขึ้น กลุ่มคนใหม่ในสังคมได้เข้าสู่สถานะ “ข้ามชาติ” ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งมีปัจจัยดึงดูดจากการขยายตัว เศรษฐกิจ ท�ำให้เกิดอุปสงค์ด้านแรงงานอย่างมหาศาล รวมทั้ง ปัจจัยผลักดันจากประเทศต้นทาง ทีม่ อิ าจอ�ำนวยให้ การด�ำรงชีพ รวมทัง้ การพัฒนาคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ต่อไปได้ จึงปรากฏแรงงาน ข้ามชาติจ�ำนวนมากในประเทศไทยดั่งในปัจจุบัน การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ใต้ร่มสังคมเดียวกัน ได้มกี ารแก้ไข ปรับเปลีย่ น และพัฒนาระบบเพือ่ ประโยชน์สงู สุด โดย ดวงตา หม่องภา ของทัง้ ต่อชีวติ แรงงานข้ามชาติเองและรัฐประเทศด้วย ดังจะเห็น ประเทศไทย ร่มเย็น ทั่วถิ่นหล้า ได้จาก ความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ผิด เหล่าประชา สามัคคี มีสุขสันต์ กฎหมาย ให้กลายเป็นแรงงานข้ามชาติที่ถูกต้องตามกฎหมาย คนแดนไกล ย้ายเคลื่อน เลื่อนชีวัน ไม่ ว ่ า จะเป็ น การออกใบอนุ ญ าตท� ำ งานแก่ แรงงานข้ามชาติ ดุจสวรรค์ ได้พึ่งพิง แผ่นดินทอง การพิสจู น์สญ ั ชาติ การมีสทิ ธิในประกันสังคม เป็นต้น แม้ในบาง เป็นแรงงาน ข้ามชาติ อาบเหงื่อแลก กระบวนการขัน้ ตอนยังไม่อาจสมบูรณ์และเปิดช่องว่างการทุจริต ก่อ ขน แบก ปัด กวาด งานทั้งผอง น�ำไปสูก่ ารเอารัดเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติ จึงเป็นภาระหน้าที่ น�้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า รักปรองดอง ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ควรเร่งแก้ไขและปรับปรุง มิให้เกิดข้อ อาเซียนก้อง ซ้องแซ่ ระบือนาม กังขาต่อสากล
22 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
แม้ในผู้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาขายแรงงานเอง ได้มีความ เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อดูแลเพื่อนร่วมชะตาชีวิตการเป็นแรงงาน ในต่างแดน ดังกลุ่มที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์มา ดังจะยก ตัวอย่าง ต่อไปนี้ “เครือข่ายเพือ่ สิทธิแรงงานข้ามชาติ” มีชอื่ เรียกเป็นภาษา อังกฤษว่า “Migrant Worker Right Network : MWRN” ปัจจุบัน มีคุณ Aung Kyaw เป็นประธานกลุ่ม ซึ่งท�ำงานร่วมกับเพื่อนๆ แรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศเมียนมาร์ กลุ่มดังกล่าวตั้งอยู่ ในพืน้ ทีม่ หาชัย จังหวัดสมุทรสาคร พืน้ ทีท่ ถี่ กู จัดเป็นโซนประกอบ กิจการอุตสาหกรรมของประเทศไทย การก่อตัง้ กลุม่ เกิดขึน้ เมือ่ จ�ำนวนประชากรแรงงานข้ามชาติที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ปี 1980 ด้วยปัจจัยทางประเทศต้นทางมีความยากแค้นทางด้านเศรษฐกิจ และเมือ่ ประเทศไทยซึง่ มีฐานะทางเศรษฐกิจทีด่ กี ว่า รวมทัง้ การ มีชายแดนที่ติดต่อกัน จึงเกิดการเดินทางเข้ามายังประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง และโดยส่วนมาก กลุ่มคนขายแรงงานที่เดินทาง เข้ามานั้น ไม่มีเอกสารใดๆ ที่แสดงได้ว่า ได้มีการขออนุญาต อย่างถูกต้องตามกฎหมาย บ้างอาจเดินทางมาและรอดปลอดภัย แต่ในหลายกรณีเอง กลายเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ และเข้าสู่วงจร ที่น�ำชีวิตไปตกต�่ำ จนท้ายสุดไม่อาจรักษาแม้ชีวิตของตนไว้ได้ การเดิ น ทางเข้ า มายั ง ประเทศไทยอย่ า งผิ ด กฎหมาย ท�ำให้แรงงานข้ามชาติเองก็ต้องหลบๆ ซ่อนๆ เพื่อไม่ให้ถูกจับ ตัวและส่งกลับ เกิดปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ความเสี่ยงต่อการเข้าสู่กระบวนการการค้ามนุษย์ คุณภาพชีวิต ที่ย�่ำแย่ ท้ายที่สุดจึงน�ำมาสู่การพยายามเข้ามาแก้ปัญหาต่างๆ ของรัฐ ภาคประชาสังคม รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง จ�ำนวนประชากร แรงงานที่มากขึ้น รวมทั้งปัญหาการสื่อสารระหว่างบุคคลใน สังคมเดิมกับสมาชิกใหม่ ท�ำให้แรงงานเอง มีความต้องการที่ อยากมีส่วนร่วมกับการจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้เกิดอาสา สมัครเพื่อนแรงงานข้ามชาติ เพื่อเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ในเวทีสาธารณะ ในด้านประเด็นแรงงานข้ามชาติอย่าง ต่อเนื่อง จนในที่สุด เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2552 อาสาสมัคร แรงงานข้ามชาติ 9 ท่าน ได้ชักชวนกันจัดตั้งกลุ่มเพื่อดูแล ช่วย เหลือ และประสานความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ ขึน้ โดยได้รบั การสนับสนุนจาก มูลนิธเิ พือ่ สิทธิมนุษยชนและการ พัฒนา: มสพ. (Human Rights and Development Foundation : HRDF) โดยเมื่อเริ่มตั้งกลุ่ม ภารกิจหลักที่หนักและยากล�ำบาก อย่างยิง่ คือ การเข้าไปหาแรงงานข้ามชาติดว้ ยกันเอง เนือ่ งจาก แรงงานข้ามชาติส่วนมาก เคยมีประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดี จึงไม่ ไว้ใจบุคคลทีต่ นไม่คนุ้ เคย ท�ำให้แกนน�ำกลุม่ ต้องกลับมาทบทวน และวางแผนการท�ำงานใหม่ และสรุปได้ว่า ควรหาความสนใจ ของแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ และค่อยๆ สอดแทรกความรู้ ที่ต้องการเผยแพร่ให้ ท้ายที่สุด มาลงตัวที่ ความสนใจในด้าน ศาสนา ทุกๆ ครั้งหลังการท�ำบุญ หลังช่วยกันปัดกวาด ท�ำ ความสะอาดวัดแล้ว ขบวนการให้ความรู้ทางกฎหมายในเรื่อง สิทธิแรงงานก็มกั จะเริม่ ขึน้ เมือ่ เวลาผ่านไป ฐานความรูไ้ ด้ขยาย วงกว้างมากมากขึ้น หลังปี 2555 ทางกลุ่มพบว่า ลักษณะของ
แรงงานข้ามชาติที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกมีความเปลี่ยนแปลงไป พวกเขามีความตระหนักในเรือ่ งของการท�ำตัวเองให้ถกู ต้องตาม กฎหมายมากขึ้น และที่ส�ำคัญ มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย โดยเฉพาะด้านสิทธิของตนเองมากยิ่งขึ้น มีในหลายกรณีที่ แรงงานข้ามชาติได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อทวงคืนสิทธิของตนที่ถูก ละเมิด ตัวอย่างเช่น มีบริษัทแห่งหนึ่ง มีการละเมิดค่าแรงของ แรงงานข้ามชาติและปลดพนักงานออกเป็นจ�ำนวนมาก แรงงาน กลุ่มหนึ่งได้ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของเองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 มาตรา 118 เป็นต้น ท�ำให้แรงงาน ได้ รั บ การคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ ต ามกฎหมายดั ง กล่ า ว นอกจากนี้ ทางองค์กรมีการลงพื้นที่ไปอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ พี่น้องแรงงานข้ามชาติ ตามโรงงานต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับแรงงานข้ามชาติ นอกจากความรู้ทางกฎหมายแล้ว องค์กรยังจัดให้มี โครงการการสอนหนั ง สื อ ภาษาไทย ภาษาอั ง กฤษ และ คอมพิ ว เตอร์ แ ก่ แรงงานข้ า มชาติ ด ้ ว ย เนื่ อ งจากเล็ ง เห็ น ว่ า อุปสรรคด้านการสื่อสารยังเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหา ต่างๆ ตามมา โดยมีผสู้ อนทีเ่ ป็นอาสาสมัครผลัดเปลีย่ นหมุนเวียน มาสอนให้อยู่เสมอ ซึ่งพบว่า การเพิ่มพูนทักษะเหล่านี้ให้แก่ แรงงานข้ามชาติ ได้ก่อให้เกิดบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ เพิ่มขึ้น บ้างสามารถเปลี่ยนจากการขายแรงงานในภาคกรรมกร ผันตัวเองไปท�ำงานในร้านคอมพิวเตอร์ อีกทั้งทักษะทางด้าน ภาษา ได้ช่วยลดระยะห่างความเข้าใจกันและกันระหว่างบุคคล ทีอ่ ยูร่ ว่ มกันในสังคมอีกด้วย ทีส่ ำ� คัญ องค์กรยังรวบรวมหนังสือ หลากภาษา จัดท�ำเป็นเสมือนห้องสมุด ที่แรงงานข้ามชาติ สามารถเข้ามานัง่ อ่าน หรือจะยืมกลับก็ได้ ทัง้ นีเ้ พือ่ ส่งเสริมและ สนับสนุนให้แรงงานข้ามชาติ ได้มโี อกาสได้อา่ นหนังสือ เพือ่ เป็น ความรู้ เสริมสร้างชีวิตต่อไป ในด้านการพัฒนาอาชีพ เพือ่ ช่วยลดต้นทุนการด�ำรงชีวติ และเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว หรืออาจเป็นความรู้เพื่อไป ต่อยอดในการพัฒนาคุณภาพชีวติ ต่อไปในอนาคตได้ เมือ่ อาสา สมัครได้มโี อกาสเข้าอบรมการฝึก พัฒนาฝีมอื อาชีพต่างๆ ก็มกั จะกลับมาอบรมให้ความรู้ส่งต่อมายังแรงงานข้ามชาติคนอื่นๆ ที่ไม่มีโอกาส มีการสอนท�ำน�้ำยาล้างจาน น�้ำยาซักผ้า การปลูก พืชผัก การท�ำเกษตรผสม ตามแนวทางพระราชด�ำริพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นภูมิความรู้พัฒนาคุณภาพชีวิต ในภายภาคหน้า หลังการท�ำงานเพื่อช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ ทางกลุ่ม ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของบุตรของแรงงานข้ามชาติอีกเช่นกัน เนื่ อ งจาก บุ ต รที่ ติ ด ตามบิ ด ามารดาที่ เข้ า มาขายแรงงานใน ประเทศไทยนั้น บ้างไม่ได้เรียนหนังสือ และท้ายที่สุด แม้อายุ ยังไม่ถึงเกณฑ์ เด็กๆ เหล่านี้กลับต้องเข้าสู่ระบบการใช้แรงงาน อย่างเต็มตัว แม้แต่เด็กๆ ที่ก�ำลังเรียนอยู่ในสถานศึกษาก็ตาม เนื่องจากหนังสือเดินทางของบิดามารดาที่มีกำ� หนด 4 ปี แล้ว ต้องเดินทางกลับออกนอกประเทศไทย บุตรแรงงานข้ามชาติ เหล่านี้ ต้องติดตามบิดามารดากลับด้วย ท�ำให้เด็กๆ เหล่านี้ จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 23
ไม่ได้รบั การศึกษา องค์กรจึงมีการรับอาสาสมัคร เพือ่ สอนหนังสือ ให้แก่เด็กๆ เหล่านี้ รวมทั้งพยายามเทียบให้มาตรฐานการสอน ให้เท่าเทียมกับสถานศึกษาของราชการในประเทศเมียนมาร์ เพื่อให้เด็กๆ เหล่านี้ สามารถกลับไปเทียบวุฒิการศึกษาต่อได้ ทางประธานกลุ ่ ม เคยได้ ก ล่ า วถึ ง ประเด็ น นี้ ใ นการประชุ ม ที่ เนปิดอร์ ประเทศเมียนมาร์ และปีการศึกษาที่ผ่านมา ได้มี ครอบครัวแรงงานข้ามชาติทกี่ ลับประเทศเมียนมาร์และสามารถ ให้บุตรไปเทียบการศึกษาในสถานศึกษาได้
อุปสรรคและปัญหาทีอ่ ยากสะท้อนให้แก่สงั คมได้รบั รู้ คือ • แรงงานข้ามชาติเองมักมีความกังวลใจและเกิดความ กลัว เนื่องจากแม้ในบางกรณี ที่ลูกจ้างถูกกฎหมาย แต่นายจ้างกลับมีการยึดเอกสารเดินทางไว้ เนือ่ งจาก กลัวลูกจ้างหนี ซึ่งในบางกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น มัก เกิดจากการไม่เข้าใจกันเนือ่ งจากอุปสรรคทางภาษา • การละเมิดเรือ่ งค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ของแรงงานข้ามชาตินนั้ ยังเป็นปัญหาแก่แรงงานข้ามชาติ เนือ่ งจากแรงงาน ข้ามชาติเอง ต้องมีภาระค่าครองชีพ ภาระการเลีย้ ง ดูบุตร อยู่แล้ว จึงอยากให้นายจ้างให้ความส�ำคัญ และตระหนักถึงสิทธิของแรงงานข้ามชาติด้วย • ส่วนสนับสนุนในเรือ่ งของงบประมาณทีย่ งั ไม่แน่นอน เนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานมีอยู่ทั่ว ประเทศ หรือความสามารถในการให้ความรู้และ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ระหว่างแรงงานเอง จ�ำเป็น ที่จะต้องมีงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้เป็นค่าเดิน ทาง ค่าพิมพ์เอกสาร เป็นต้น • อยากให้สังคมเห็นคุณค่าของแรงงานข้ามชาติที่ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย “ผมเองก็เป็นแรงงาน ข้ามชาติ มา 16 ปีแล้ว อยู่มาตั้งแต่มหาชัยยังเป็น ป่า ตอนนี้กลายเป็นเมืองไปแล้ว” คุณ Aung Kyaw กล่าว การขยายตัวและเติบโตของเศรษฐกิจไทย ท�ำให้มีความต้องการทางด้านแรงงานอย่างสูง เป็น ผลท�ำให้เกิดนายหน้าที่ท�ำการน�ำพาแรงงานเข้ามา ในประเทศไทย ทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย น�ำไปสู่ ปัญหาอื่นๆ ตามมา การเข้ามาท�ำงานของแรงงาน ข้ามชาติเอง แม้นมิอาจรู้ชะตาชีวิตข้างหน้าของ ตนเองได้ หรืออาจถูกเอารัดเอาเปรียบค่าแรงก็ตาม เมื่อเทียบกับการต้องอดอยากเพราะไม่ได้ท�ำงาน เงินทีไ่ ด้แม้จะน้อยนิดแต่กพ็ อประทังจุนเจือครอบครัว ได้บ้าง • อยากแลกเปลีย่ นวิถชี วี ติ ของแรงงานข้ามชาติสสู่ งั คม ด้วย แรงงานข้ามชาติทเี่ ข้ามาอยูใ่ นประเทศไทยเป็น เวลานาน บ้างสามารถพูดภาษาไทยได้ บ้างเข้าใจ วัฒนธรรมได้ บ้างกลมกลืนกับคนในสังคม เสมือน เป็นสังคมของตัวเอง แรงงานข้ามชาติเองต่างรู้สึก ว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ทุกๆ ครั้งที่มี การจัดงาน ทัง้ ของชุมชน วัด โรงเรียน หรือวันส�ำคัญ ต่างๆ ของประเทศ พี่น้องแรงงานข้ามชาติ ได้เห็น 24 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
และตระหนักถึงความส�ำคัญ มีความรูส้ กึ ร่วมเดียวกัน เหมือนคนในสังคมไทย เช่น มักร่วมกันปลูกต้นไม้ แก่ชุมชน การช่วยท�ำความสะอาดบริเวณวัดเพื่อ จัดเตรียมงานต่างๆ การให้ความร่วมมือกับชุมชน การบริจาคเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งในการกิจกรรม ล่าสุด ได้มกี ารบรรพชาสามเณร และอุปสมบทพระ ภิกษุ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ เนื่องในวัน คล้ายวันพระราชสมภพ เมือ่ เดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา สุดท้ายอยากฝากข้อความถึงผูอ้ า่ น ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องใดๆ ที่ได้รับรู้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งของแรงงานข้ามชาตินี้ว่า “ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลจริงจากประสบการณ์จริง อยากให้เกิดการแลกเปลีย่ น และเผยแพร่ต่อๆ ไป เพื่อความเข้าใจกันและกันของผู้คนที่อยู่ ร่วมกันในสังคมเดียวกัน” คุณ Aung Kyaw ประธานเครือข่าย เพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ กล่าวทิ้งท้าย กิจกรรม ที่น่าสนใจ
วันที่ 13 เมษายน มสพ. ประจ�ำพื้นที่มหาชัย เข้าร่วม กิจกรรมการบรรพชาอุปสมบทหมู่ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และบวชศีลจาริณี ภาคฤดูรอ้ น ณ วัดเทพนรรัตน์ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมทุรสาคร จัดโดยศูนย์พัฒนาเด็กชุมชนแรงงานข้าม ชาติ ร่วมกับวัดเทพนรรัตน์ โดยมีกลุ่มแรงงานข้ามชาติและ บุตรหลาน ทีม่ าจากชุมชนแรงงานข้ามชาติ เข้าร่วมพิธดี งั กล่าว กิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเนื่องในโอกาสวันคล้าย วันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2557 และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ วัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่น และการปลูกฝังค่านิยม และจิตส�ำนึกตามแนวทางพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน
23 เมษายน มสพ. ประจ�าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับอาสาสมัครวิทยากรด้านแรงงานข้ามชาติ จัดกิจกรรมให้ความรู้ในชุมชนแรงงานข้ามชาติ พื้นที่บ้านหม้อ อ�าเภอสันก�าแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในหั ว ข้ อ “สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ข องพระราชบั ญ ญั ติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 และการเข้าถึงระบบ ประกันสังคม) มีแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมรับฟังจ�านวน 22 คน เป็นแรงงานชาย 13 คน และแรงงานหญิง 9 คน
1 พฤษภาคม สหพันธ์คนงานข้ามชาติ (Migrant Workers Federation) ร่วมกับเครือข่ายด้านสิทธิแรงงาน ได้แก่ เครือ ข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) สหภาพแรงงาน อุตสาหกรรมและตัดเย็บเสือ้ ผ้าสัมพันธ์ สหภาพแรงงานอิเล็ค ทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ สหภาพแรงงานอัญมณี และเครือ่ งประดับสัมพันธ์ เครือข่ายคนงานข้ามชาติ และเครือ ข่ายองค์กรส่งเสริมสิทธิผู้ใช้แรงงาน จ�านวนกว่า 300 คน ท�า กิจกรรมเดินขบวนรณรงค์และยื่นข้อเรียกร้องถึงรักษาการณ์ นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ กระทรวงแรงงานและรัฐบาลด�าเนินนโยบายให้เป็นไปเพือ่ การ คุ้มครองและส่งเสริมสวัสดิภาพของแรงงานไทยและแรงงาน ข้ามชาติ รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยลงนามในอนุสัญญา ด้านแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพในการ รวมกลุ่ม ฉบับที่ 87 และ 98
15 พฤษภาคม ผูแ้ ทน มสพ. และมู ล นิ ธิ ผ สาน วัฒนธรรม ร่วมเป็นวิทยากร บ ร ร ย า ย แ ล ก เ ป ลี่ ย น ประสบการณ์ ก ารท� า งาน ด้านการสนับสนุนประชาชนเข้าถึงความยุตธิ รรม และการช่วยเหลือ ผูต้ อ้ งขังในคดีอาญา ในงานประชุมหน่วยงานในพระศาสนจักร คาทอลิกทีท่ า� งานเพือ่ ผูต้ อ้ งขังในเรือนจ�า จัดโดยกรรมาธิการ ฝ่ายสังคม Caritas Thailand ในสภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทย โดยมีคณะนักบวชชาย–หญิง เข้าร่วมประชุม ทั้งสิ้น 21 คน วั น ที่ 20 พฤษภาคม ผูแ้ ทน มสพ. ร่วมกับเครือข่าย ประชากร เข้าพบนาย Thein Naing ฑูตแรงงาน สถานฑูต สาธารณรัฐเมียนมาร์ ประจ�า ประเทศไทยเพือ่ แลกเปลีย่ นข้อมูลและประสบการณ์ดา้ น การท�างานให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ ในประเทศไทย รวมทั้งการแสวงหาแนวทางในการประสาน งานร่วมกันระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมและสถานฑูตใน การให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์
5 พฤษภาคม มสพ. ประจ�าจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับอาสาสมัคร วิทยากรด้านแรงงานข้ามชาติ จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่แรงงานข้ามชาติ ในภาคเกษตร พืน้ ทีอ่ า� เภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ว่าด้วยเรือ่ งสิทธิของ แรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราช บัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แรงงานที่เข้าร่วมกับฟังส่วนใหญ่ ได้รับค่าแรงตามกฎหมาย แต่ยังขาดความรู้ด้านกฎหมายคุ้มครอง แรงงานและกฎหมายประกันสังคม มีแรงงานเข้าร่วมรับฟังทัง้ สิน้ 24 คน เป็นแรงงานหญิง 14 คน แรงงานชาย 10 คน 8 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่ มสพ. ประจ�าพื้นที่มหาชัยและตัวแทน เครือข่ายด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ จัดอบรมให้ความรูด้ า้ นกฎหมายแก่ แรงงานข้ามชาติในชุมชน ที่อ�าเภอกระทุ่งแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยผู้จัดอบรมได้ให้ความรู้แก่แรงงานด้านสิทธิมนุษยชน และสิทธิของแรงงานตามกฎหมาย กฎหมายประกันสังคม และกฎหมายเงินทดแทน มีแรงงานในชุมชนเข้าร่วมรับการอบรม จ�านวน 30 คน การอบรมให้ความรู้ครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนให้แรงงานมีความรู้ความเข้าใจสิทธิของแรงงาน และกระบวนการการ เข้าถึงกลไกหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากแรงงานกลุ่มดังกล่าวประสบปัญหาการได้รับค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม และอยู่ ระหว่างการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และเจ้าหน้าที่จากส�านักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ 25
ระหว่างวันที่ 22–23 พฤษภาคม ผูแ้ ทน มสพ. เข้าร่วมประชุมเวที ILO–RTG Multi–stakeholder forum on Labour conditions in fisheries sector in Thailand จัดโดยกระทรวงแรงงานร่วมกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เพือ่ น�าเสนอสภาพของแรงงาน ในภาคประมงและอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเล โดยมีผู้แทนภาครัฐ ภาคธุรกิจจากกิจการประมง ตัวแทนผู้ซื้อสินค้า อาหารแปรรูปทะเลจากสหภาพยุโรป และองค์กรภาคประชาสังคมเข้าร่วม โดยมีตวั แทนจากภาคต่างๆ น�าเสนอแนวทางในการดูแล การปรับปรุงสภาพการท�างานของแรงงาน พร้อมทัง้ ข้อเสนอแนะในการปฏิบตั แิ ละการคุม้ ครองแรงงานภาคประมงและอุตสาหกรรม ประมงและแปรรูปอาหารทะเล 30 พฤษภาคม มสพ. ประจ�าจังหวัดเชียงใหม่ จัดประชุม อาสาสมัครวิทยกรแรงงานข้ามชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์ ของแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชุมชนที่ตัวเองอาศัยอยู่ จากการ แลกเปลี่ยนสถานการณ์พบว่าแรงงานข้ามชาติในชุมชนส่วนใหญ่ ประสบปัญหากรณีใบอนุญาตท�างานครบ 4 ปี ค่าธรรมเนียม ในการใช้บริการกับบริษัทนายหน้าในอัตราที่สูง ปัญหาการจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนส่งกลับ มีอาสาสมัครวิทยากรแรงงานข้ามชาติ เข้าร่วม 12 คน เป็นอาสาสมัครหญิง 3 คน อาสาสมัครชาย 9 คน
ระหว่างวันที่ 27–28 พฤษภาคม ผู้แทน มสพ. เข้าร่วมประชุมหารือและ ติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเสนอแนะจากการประชุม ASEAN Forum on Migrant Labour (AFML) ครั้ ง ที่ 6 ได้ แ ก่ การติ ด ตามกลไกด้ า น การร้องเรียนทีเ่ กีย่ วข้องกับการคุม้ ครองสิทธิของแรงงานและการจัดท�าฐานข้อมูล เกีย่ วกับแรงงานข้ามชาติ รวมทัง้ การร่วมหารือการวางแผนตารางกิจกรรมส�าหรับ การประชุม AFML ในครั้งที่ 7 กิจกรรมครั้งนี้จัดโดย Task Force–ASEAN on Migrant Workers (TF–AMW) เกี่ยวกับ AFML: เป็นเวทีส�าหรับการทบทวน หารือ และ แลกเปลี่ยนหลักการปฏิบัติและแนวคิดระหว่างองค์กรของรัฐ แรงงาน และนายจ้าง และภาคประชาสังคมในประเด็นแรงงาน ข้ า มชาติ ใ นภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ เปิ ด โอกาสให้ ผู้เข้าร่วมได้เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลัก การของปฏิ ญ ญาอาเซี ย นว่ า ด้ ว ยการปกป้ อ ง-ส่ ง เสริ ม สิ ท ธิ แรงงานข้ามชาติ และน�าเสนอกิจกรรมต่างๆ ทีต่ นได้ดา� เนินการ ให้เป็นไปตามข้อแนะน�าจากการประชุมครั้งก่อนๆ ในเมือง ฮานอย ปี 2553 บาหลี ปี 2554 และเสียมเรียบ ปี 2555 รวมไปถึงประสบการณ์ในการร่างเอกสาร เพื่อให้เป็นไปตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการปกป้อง-ส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ 26 จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ
วันที่ 29–31 พฤษภาคม คลินิกกฎหมายแม่สอด จัดกิจกรรมอบรมผู้ช่วยทนายความ รุ่นที่ 7 ที่อ�าเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีตวั แทนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมทัง้ สิน้ 16 คน เป็นแรงงานหญิง 7 คน และแรงงานชาย 9 คน ผูจ้ ดั อบรมได้ใช้คมู่ อื ฝึกอบรมผูช้ ว่ ยทนายความภาคภาษาพม่าและภาษาไทย ซึง่ มีเนือ้ หาเกีย่ วข้องกับการสร้างความรูค้ วามเข้าใจด้านกฎหมายคุม้ ครอง แรงงาน อบรมทักษะการสอบข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่แรงงานข้ามชาติประสบปัญหา การให้ ค�าแนะน�าเบื้องต้นด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนแก่แรงงานและการสนับสนุนการท�างานของทนายความ 30 พฤษภาคม มสพ. ประจ�าจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับอาสา สมัครวิทยากรแรงงานข้ามชาติ จัดกิจกรรมให้ความรูแ้ ก่แรงงานข้าม ชาติ ในกิจการก่อสร้าง พื้นที่อ�าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ หัวข้อ “สิทธิแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน” แรงงานที่ เข้าร่วมรับฟังส่วนใหญ่ไม่ได้รบั ค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุม้ ครองแรงงาน และนายจ้างไม่ได้น�าชื่อลูกจ้างเข้าสู่ระบบประกันสังคม มีแรงงาน เข้าร่วมรับฟังทั้งสิ้น 41 คน เป็นแรงงานหญิง 19 คน แรงงาน ชาย 22 คน
วันที่ 13 มิถุนายน 2557 ผู้แทน มสพ. เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยเรื่องการ เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งแก่เจ้า หน้ า ที่ ฑู ต แรงงาน (Capacity Building Workshop on Strengthening the Role of Labour Attaches in Thailand) ที่มาจาก ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ได้แก่เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา จัดโดยองค์การด้านแรงงาน ระหว่างประเทศ (ILO) การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นนอกจากการเสริมสร้างศักยภาพการท�า งานของฑูตแรงงานแล้ว ยังเป็นมีวตั ถุประสงค์ ให้ เ กิ ด การประสานงานการสื่ อ สารร่ ว มกั น ระหว่างฑูตแรงงาน หน่วยงานอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ที่ ท� า งานด้ า นการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ และ คุ ้ ม ครองแรงงานข้ า มชาติ ใ นประเทศไทย ผูแ้ ทน มสพ. ไ้ดม้ โี อกาสน�าเสนอข้อเสนอแนะ ในการท�างานประสานการให้ความช่วยเหลือ กรณีแรงงานข้ามชาติที่ประสบปัญหา รวมทั้งการจัดอบรมให้ความรู้ ด้านกฎหมายและนโยบายแก่แรงงานในชุมชน และการอบรมอาสาสมัครนักกฎหมายเพื่อช่วยเหลืองานของฑูตแรงงาน จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ 27
18, 27–28 มิถุนายน 2557 ผู้แทน มสพ. เข้าร่วมประชุมเตรียมการและร่วมสังเกตการณ์ การประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยเรื่อง การทบทวน การแก้ไขเขตอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่ า งรั ฐ บาลอาเซี ย นว่ า ด้ ว ยสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน (กรรมาธิการ) (The AICHR Regional Consultation on the Contribution to the Review of the AICHR’s Terms of Reference โดยการจัดงานครั้งนี้ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ตรวจสอบความก้าวหน้าและข้อ ท้าทายในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ การรวบรวมความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อ ปรับปรุงการท�างานของคณะกรรมการฯเพือ่ ให้การ ด�าเนินการเป็นไปเพือ่ การส่งเสริมและคุม้ ครองสิทธิ มนุษยชน์ภายใต้กรอบของกฎบัตรของอาเซียนและ เขตอ�านาจหน้าที่ของกรรมาธิการฯ การแก้ไขขอบเขตอ�านาจหน้าที่ของคณะ กรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิ มนุ ษ ยชน (Term of Reference of ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights) วันที่ 18 มิถุนายน ตัวแทน มสพ. ประจ�าพื้นที่มหาชัย เข้าร่วมประชุมเครือข่ายชุมชนแรงงานข้ามชาติที่ท�ากิจกรรม ด้านการส่งเสริมสิทธิดา้ นสุขภาพของแรงงาน ณ วัดเทพนรรัตน์ จั ง หวั ด สมุ ท รสาคร การประชุ ม ครั้ ง นี้ จั ด ขึ้ น เพื่ อ เตรี ย ม ความพร้ อ มในการประชุ ม ประจ� า ปี ข องเครื อ ข่ า ยเพื่ อ สิ ท ธิ แรงงานข้ามชาติและจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้แก่ ศู น ย์ พั ฒ นาเด็ ก ชุ ม ชนแรงงานข้ า มชาติ (The Migrant Children’s Development Center–MCDC) วัดเทพนรรัตน์
วันที่ 19 มิถุนายน 2557 ผู้แทน มสพ. เข้าร่วมเวทีสัมมนาหัวข้อ “ไทย ที่พักพิง ผู้อพยพหนีภัยสงคราม ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย” จัดโดย คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (“Thailand, Shelter, War Refugees, Asylumand ShelterSeekers” Arranged by Board of Sub–Committee of Civil Rights and Political Rights, NHRC) มีผแู้ ทนองค์กรภาคเอกชน ทีท่ า� กิจกรรมให้ความช่วยเหลือผูอ้ พยพชาวโรฮิงญาและชาวมุสลิมไม่ทราบสัญชาติ ในพืน้ ทีภ่ าคใต้ และ เจ้ า หน้ า ที่ จ ากส� า นั ก งานตรวจคนเข้ า เมื อ ง ร่ ว มแลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ก ารให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อ พยพชาวโรฮิ ง ญาและ ชาวมุสลิมไม่ทราบสัญชาติ และความพยายามในการด�าเนินคดีแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์หรือการแสวงหาประโยชน์ อันมิชอบด้วยกฎหมายแก่กลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ในช่วงบ่ายมีตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศและหน่วยงานด้านความมั่นคง ของรัฐและกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย และแนวโน้มการปิดค่ายผู้ลี้ภัยในพื้นที่ ชายแดนของไทย 28 จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ
11 มิถนุ ายน ตัวแทน มสพ. ประจ�าพืน้ ทีม่ หาชัย ลงพืน้ ทีช่ ุมชนแรงงานภาคก่อสร้าง จังหวัดชลบุรี เพื่อให้ความรู้แก่แรงงาน ข้ามชาติเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายประกันสังคม สืบเนื่องจากแรงงานได้ร้องเรียน เรื่องไม่ได้รับค่าแรงตามที่ได้กา� หนดไว้ มีแรงงานประมาณ 15 คน เข้าร่วมรับฟังการให้ความรู้
26–27 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ มสพ. ประจ�าพื้นที่ อ�าเภอแม่สอด จัดกิจกรรมอบรมวิทยากรเพื่อเผยแพร่ ความรูก้ ฎหมายด้านสิทธิแรงงาน ผูจ้ ดั อบรมได้นา� คูม่ อื ว่าด้วยการอบรมอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความ ซึ่ง ประกอบไปด้วยเนื้อหาด้านหลักการพื้นฐานด้านสิทธิ มนุษยชน กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการคุม้ ครองแรงงาน และการเข้ า ถึ ง กลไกการคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ แรงงาน มี ผู ้ เข้าร่วมทั้งหมด 10 คน เป็นผู้เข้าร่วมชาย 8 คน และ ผู้เข้าร่วมหญิง 2 คน
โครงการสนับสนุนการเข้าถึงความยุติธรรมและ การคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
มู
ลนิธเิ พือ่ สิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน มีวตั ถุประสงค์ในการด�าเนินกิจกรรมโดยไม่แสวงหา ก�าไร มสพ. ได้เน้นกิจกรรมส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติและครอบครัวในประเทศไทย ผ่านโครงการการเข้าถึงความยุติธรรม และการคุ้มรองทางกฎหมายต่อบุคคลดังกล่าว รวมทั้งกิจกรรมอบรมส่งเสริมศักยภาพ ของชุมชนแรงงานข้ามชาติ โดยท�างานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคมและรัฐทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โดยมี ความมุ่งหวังให้เกิด 1. การคุ้มครองทางสิทธิแก่แรงงานข้ามชาติผ่านไกการคุ้มครองทางกฎหมายและนโยบาย กลไกการร้องเรียนของรัฐ ที่มี ประสิทธิภาพมากขึ้น 2. แรงงานข้ามชาติมคี วามรูค้ วามใจด้านสิทธิมนุษยชนและการคุม้ ครองทางกฎหมาย และสามารถเข้าถึงกลไกการคุม้ ครอง และร้องเรียนของรัฐ 3. ป้องกันมิให้แรงงานข้ามชาติและครอบครัวเป็นเหยือ่ ของการแสวงหาประโยชน์จากการใช้แรงงานหรือถูกบังคับใช้แรงงาน 4. สังคมโดยรวมเข้าใจถึงความจ�าเป็นในการมีแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย และแรงงานสามารถอยู่ร่วมกับประชาชน ในสังคมได้ภายใต้ความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ และวัฒนธรรม จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ 29
Laws and Policies
Repatriation Fund and Discrimination against Migrant Workers Ubonwan Boonrattanasamai*
M
igrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia who work in the construction and domestic-service sectors are regulated by a series of Ministerial Regulations on the contribution of migrant workers to a repatriation fund. At the same time, a series of campaigns combating the discrimination against migrant workers relating to the fund has been advocated since the establishment of the repatriation fund in 2008. Human rights organisations and affected migrant workers from three neighbouring countries have called on the Thai government to suspend, amend and revoke the discriminatory provisions with regard to the contribution criteria and requirements of the migrant workers. This article aims to provide a legal opinion in accordance contribute 2,100 baht. Registered employers, who are with human rights standards pointing out why this repatriation authorised to submit the contribution to the Fund Committees, fund is not consistent with human rights norms and the will deduct the mandatory contribution from migrant workers’ principles under the Constitution of Thailand. This article wages. further reflects enforcement limitations and implementation In practice, the Ministerial Regulation No. 1 could not gaps of these series of Ministerial Regulations and other be enforced because it was implemented at the same time relevant laws. In addition, it also serves as a voice for affected as the renewal period of work permits. Therefore, the migrant workers by calling on the key government agencies Ministry of Labour decided that the implementation of the to stop implementing these discriminatory laws and policies. fund at that time was not appropriate and it could demotivate migrant workers to renew their work permits. As a result, in accordance with the Ministerial Regulation No. 2 issued Repatriation Fund in 2011, deduction for the contribution of the fund was A legal framework for the fund was established by suspended for a year. Further, the mandatory contribution amending the Alien Working Act in 2008. The sources and remained problematic and could not be implemented due objectives of the fund can be found in Article 29 and 31 of to the National Verification Process of migrant workers and the Act. The fund will be used to cover repatriation expenses the big floods in Thailand in 2011 until early 2012, which led of (1) alien workers, (2) aliens, and (3) persons being deported to Ministerial Regulation No. 3 suspending contributions for in accordance with the Immigration Act and the Deportation another year. Act, as well as to cover the expenses of fund management. In 2013, Ministerial Regulation No. 4 was issued, The Fund Committees, who have powers and duties under effective from 1 March 2014, regulating that migrant workers Article 37, are appointed to manage the fund accordingly. from Myanmar, Lao PDR and Cambodia have to contribute 1,000 baht to the fund. The Minister of Labour clarified that the rate of contribution decreased to 1,000 baht for each Ministerial Regulations and Practices worker because it was found to be a more reasonable and In order to collect money for the repatriation fund, the equal amount. Minister of Labour issued four Ministerial Regulations in However, it is clear that the Ministerial Regulations accordance with the Memoranda of Understanding (MOUs) remain questionable in terms of implementation. They have made with the governments of Lao PDR, Cambodia and been suspended by subsequent Ministerial Regulations for Myanmar.1 The first Ministerial Regulation was issued in four continuing years. In addition, under the MOUs, migrant 2010. Migrant workers, who work in construction and workers in construction and domestic-service sectors from domestic-service sectors, are obligated to pay contribution Myanmar, Lao PDR and Cambodia are also required to pay to the fund. Workers from Myanmar and Lao PDR shall other costs. In reality – together with the high costs of living, contribute 2,400 baht and Cambodian workers shall * Ubonwan
Boonrattanasamai currently works as National Project Officer, United Nations Action for Cooperation against Trafficking in Persons (UN-ACT). Please note that the views and opinions expressed in the above article do not necessarily express the views and opinions of UN-ACT. The author wishes to thank Adisorn Kerdmongkol and HRDF lawyers for their contributions. 1 MOUs on cooperation for employment of workers between the government of Thailand and the government of Lao PDR, Cambodia and Myanmar were signed on 18 October 2002, 31 May 2003 and 21 June 2003 respectively. 30 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
it is difficult to enforce the Ministerial Regulations. This article will not discuss the issue of unregistered migrant workers. Employers and migrant workers have called on the government agencies to review and reconsider the criteria and requirements of the repatriation fund. This prompted the Department of Employment (DOE) to study the impact of the implementation.2 Disappointedly, the study did not address legal gaps, implementation challenges and solutions. Instead, research was conducted using the methodology of a questionnaire, randomly questioning 1,600 employers, 1,600 migrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia, and 507 random Thai nationals.3 It is noted that this number does not even reflect 1% of the amount of migrant workers in Thailand (using conservative figures). Therefore, it seems this data cannot be used as a tool to effectively address the challenges and impacts the mandatory contribution to the repatriation fund may have. Furthermore, the study drew a comparison of the contribution between Thai workers, who work overseas and are required to pay to a foreign fund and migrant workers in Thailand. However, because of the contextualised and unique situation each country faces, this comparison is flaw. For example, Japan and Korea have very different social security and law enforcement systems than Thailand. The DOE’s study further revealed a result of the poll that employers and Thai people agreed that migrant workers should pay contribution to the fund because: “Migrant workers, who enter Thailand to work, have sufficient income to be able to contribute to the repatriation fund. Furthermore, repatriation of migrant workers to their countries of origin occurs when these migrants commit an illegal act in Thailand. Therefore Thai citizens, who regularly pay income tax, should not bear the burden of the fund.”4 The result of this study is not evidence-based research. It is a focus-group interview with a set of questionnaires. It reflects negative perceptions and misunderstandings towards migrant worker issues in Thai society. Contrary to the DOE’s findings and due to labour shortage the MOUs were made between three countries of origin and the Thai government to allow migrant workers to work in Thailand. The MOUs have outlined the requirements and expenses for the recruitment of migrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia to pay for visas, work permits, health insurance, taxes and employment contracts. In addition, visas must be obtained in accordance with the Nationality Verification Process.
This process is often an informal recruitment involving higher fees administrated by unauthorised brokers. Therefore the government should put more efforts to facilitate this process with more transparency and accountability. In addition to concerns about high expenses in obtaining a work permit in Thailand, migrant workers do not receive protection and services as broadly established by the MOUs. Contrary, they are more vulnerable to labour rights violations and abuses. Protection issues, access to legal assistance and equal access to the social security fund are the major concerns. Therefore the costs migrant workers face are very high compared to the incomes and risks in the construction and domestic-service sectors. It is only fair that migrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia should not bear a further burden of the repatriation fund. The requirements of the Ministerial Regulations, applying only to migrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia who work in construction and domestic-service sectors, contribute towards unjust discrimination and unfair treatment against them, which are contrary to the principles of equality and non-discrimination as well as principles outlined in the Constitution. Furthermore, the purpose of the fund is not only to facilitate the repatriation of migrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia in construction and domestic-service sectors but also to cover the expenses for other aliens and deportees. Why then, would only the migrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia who work in construction and domestic-service sectors have to contribute to the fund? While waiting for the new Constitution to be put in place, Article 4 and Article 30 of the Constitution of Thailand (2007) serve as a legal framework and guidance with respect to the prevention of discrimination. Article 4 juncto Article 30(3) of the 2007 Constitution provide: Article 4 “Human dignity, rights, liberty and equality of the people shall be protected.” Article 30(3) “Unjust discrimination against a person on the grounds of the difference in origin, race, language, sex, age, physical or health condition, personal status, economic or social standing, religious belief, education or Constitutional political views, shall not be permitted.” The International Labour Organization (ILO) defines discrimination in respect of employment and occupation in ILO Convention No. 111. Article 1 reads:
2 DOE, ‘Research on the Implementation of Repatriation Fund’ February 2012 <http://info.doe.go.th/pagedata/frmDocDetail2.aspx? docno=11725> 3 Ibid. According to the research study of the DOE, 63.3 percent of employers and 74.8 of Thai people agreed that migrant workers should contribute
to the repatriation fund. The study further shows that 88.8 percent of employers and 70.8 of Thai people agreed that workers of all nationalities should contribute to the f und. 4 Ibid, p. 56 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 31
“1. For the purpose of this Convention the term “discrimination” includes— (a) any distinction, exclusion or preference made on the basis of race, colour, sex, religion, political opinion, national extraction or social origin, which has the effect of nullifying or impairing equality of opportunity or treatment in employment or occupation; (b) such other distinction, exclusion or preference which has the effect of nullifying or impairing equality of opportunity or treatment in employment or occupation as may be determined by the Member concerned after consultation with representative employers’ and workers’ organisations, where such exist, and with other appropriate bodies…” In Thailand, Courts have no consistent jurisprudence on the issue of discrimination against migrant workers. However, the judgment of the Supreme Administrative Court, Aor. 251/2551, is relevant. In this case, the Court interpreted the principle of equality under the Constitution. The relevant part of the judgment reads: “An administrative order that constitutes discrimination and which violates the principle of equality and nondiscrimination is an act of unjust discrimination against a person on the grounds of the difference in origin, race, language, sex, age, physical or health condition, personal status, economic or social standing, religious belief, education or Constitutional political views.” In the case at hand, the Ministerial Regulations contain discriminatory provisions and are not coherent with the objectives of the Alien Working Act, which defines ‘Alien’ as
a natural person of non-Thai nationality. Therefore, the Ministerial Regulations, which apply only to migrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia, are contrary to the fundamental principles of equality and non-discrimination. Therefore, the Ministerial Regulations, which require migrant workers from Myanmar, Lao PDR and Cambodia working in construction and domestic-service sectors, to contribute to the repatriation fund, should be revoked. The government, led by the Ministry of Labour, should subsidise the repatriation fund with the possibility to collect part of the contribution from employers instead of the employees. In addition, Ministerial Regulations and relevant policies should be consistent and coherent with fundamental human rights principles, the Constitution of Thailand and international law, to facilitate access to labour rights, legal assistance, transparent recruitment processes, and in general better and equal protection for migrant workers. In conclusion, discrimination and unfair treatment do not only have a direct adverse impact to a person whose rights are violated but such practices also have significant negative impact to a society as a whole and can undermine economic development. It can steer a society into more inequality and potential social conflicts. It does not matter how the political situation in the country might be, it is very important that the people responsible for governing the country ensure that the basic human rights standards, in this case the principles of equality and non-discrimination, are respected at all times, because these principles are strong and necessary foundations of a peaceful and sustainable society.
Labour in fisheries and Modern Slavery Nattarat Aroonmaharat5
Situation and Progress Report on Prevention and Suppression of Trafficking in Persons’ prepared by the ❛Thailand National Operation Center on Prevention and Suppression of Human Trafficking, Minister of Social Development and
Human Security highlighted in its 2013 report that there were 674 human trafficking cases, which has increased d ramatically by 368 cases from previous year. The report further drew a comparison with regard to ongoing legal cases from 56 cases in 2012 to 368 cases in 2013. Nevertheless it is interesting to note that only 10 percent of all legal cases are forced labour cases. The low percentage of prosecution does not reflect reality. The main findings are erred law interpretation together with weak and inconsistent law enforcement. According to Thai law, definitions of trafficking in can be defined through a combination of these three persons can be found in the Anti–Trafficking in Persons Act constituent elements. Definitions of an act and means (actus B.E. 2551, which stipulates three constituent elements: an reus requirements) of human trafficking can be found in act, means and exploitative purpose. The crime of trafficking Article 6 as follows. 5 Nattarat
Aroonmaharat, Project Coordinator, Anti–Labour Trafficking ProjectHuman Rights and Development Foundation (HRDF)
32 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
Article 6: (1) procuring, buying, selling, vending, bringing from or sending to, detaining or confining, harboring, or receiving any person, by means of the threat or use of force, abduction, fraud, deception, abuse of power, or of the giving money or benefits to achieve the consent of a person having control over another person in allowing the offender to exploit the person under his control; or (2) procuring, buying, selling, vending, bringing from or sending to, detaining or confining, harboring, or receiving a child; Article 4 requires the exploitative purpose, which means seeking benefits from, inter alia, forced labour or service, regardless of such person’s consent. Article 4 further clarifies forced labour or service, which means “compelling the other person to work or provide service by putting such person in fear of injury to life, body, liberty, reputation or property, of such person or another person, by means of intimidation, use of force, or any other means causing such person to be in a state of being unable to resist.” In a case of human trafficking in fisheries sector, police officers and other law enforcement authorities tend to focus on exploitation in a form of forced labour, which often falls into a grey area whether workers were forced to work or not. It was obvious in many cases that workers were exploited because they were deceived and coerced by brokers and recruitment agencies and subsequently were forced to work on board vessels. However sometimes it is not a clear–cut case on which forms of exploitation. A scenario involving exploitation in a form of forced labour, attention should be paid to assess whether there are elements of a forced labour situation. Consequently, when there is insufficient evidence of forced labour (involuntary servitude), prosecutors often drop a legal case of force labour trafficking, which results to failure to bring a broker, business owner or boat captain to justice for the purpose of exploitation in other forms such as such as slavery. Thailand, formerly known as Siam, has abolished the Siamese corvée system and slavery since King Rama V reign. It was a turning point from servitude to freedom. However this does not mean that exploitation no longer exists in Thai society. In fact, slavery is still prevalent in many different forms. Today human trafficking and slavery are often cases of domestic workers, women and child abuses. But we also witness a circumstance when a broker sells a worker to an employer and deceives, coerces or forces the worker to work off transportation cost, which could accumulate to ten or twenty thousand baht under exploitative conditions. Abuses of contracts and hazardous conditions of employ-
ment are known as ‘debt bondage’, which is often not interpreted by law enforcement agencies as slavery. International community has recognised debt bondage as modern slavery. Labourers are forced to work for an employer in order to pay off actually incurred or inherited debts. Millions of people are believed to be in debt bondage worldwide particularly in Africa and South East Asia. The International Labour Organization (ILO) estimated 11.7 million of forced labourers in the Asia and Pacific region. In addition, 2013 Trafficking in Persons Report released by the U.S. government stated “Inspections of 54,090 workplaces revealed thousands of workplace violations indicative of trafficking—such as the illegal withholding of wages for recruitment fees and passport confiscation—but only two cases of forced labor appear to have been recognized. The two cases of labor trafficking were referred to the police, but the others were adjudicated under administrative labor laws; the government systematically failed to criminally investigate for possible trafficking violations uncovered through labor inspections of worksites.” There are difficulties in applying the legal concepts against forced labour and debt bondage in Thailand. The law enforcement agencies are reluctant to prosecute and punish brokers and employers who subject workers to forced labour and debt bondage because there is no definition of debt bondage in Thai anti–trafficking laws. Furthermore, criminal prosecutions and jurisprudence are limited only to cruel, inhumane or degrading treatment forms of trafficking in persons. Professor Jitti Tingsapat provided his legal opinion on the anti–slavery provision contained in Article 312 of Thailand’s Criminal Code: “A person who falls under the control of another person and works without reasonable payment with punishment or abuse does not always lead to the person being under the absolute control of life and body by the other person. For example, detaining people in a paper factory or using child labour while not allowing children to sleep and allow them to eat so little with or without payment, might strictly speaking not fall into slavery under the article but since these practices are similar to slavery they still fall under Article 312.” ‘Practices similar to slavery’ appears in the United Nations Convention against Transnational Organized Crime and Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, especially Women and Children (2000), which the Anti–Trafficking Act of Thailand has followed. In addition, Article 1 under Section 1 of the Supplementary Convention on the Abolition of Slavery, the Slave Trade, and Institutions and Practices Similar to Slavery (1956) provided acts of จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 33
‘Practices similar to slavery’ include debt bondage, serfdom, forced marriage, practice whereby a woman on the death of her husband is liable to be inherited by another person or practice whereby a child or young person under the age of 18 years, is delivered by either or both of his natural parents or by his guardian to another person with a view to the exploitation of the child or young person or of his labour. Therefore the legal opinion of Professor Tingsapat and the above mentioned United Nations convention should be considered and understood by law enforcement agencies. Whether or not the court will assess and consider international law constitutes a secondary concern because the
Anti–Trafficking in Persons Act of Thailand–national law–was adopted in accordance with international standards. As a result, there should be a level of consistency and coherence in enforcement and implementation. In addition, law has a dynamic nature and evolves over time in changing societies. In society slavery is no longer limited only in the traditional view. Law enforcement agencies should aim to establish a common understanding on the definitions of trafficking in persons in accordance with international definitions so that they can increase efforts to pro–actively identify and assist victims of trafficking, particularly the most vulnerable and least protected group working in the fisheries sector.
HRDF and non–profit organizations launched a joint statement in response ILO–RTG Multi–stakeholder forum on Labour conditions in fisheries sector in Thailand from 22–23 may 2014 PRESS RELEASE Amsterdam, 2 June 2013
Fairfood International calls for improved working conditions in Thai seafood industry A joint call to action for key decision makers Bangkok, Thailand On Friday 23 May 2014, Western buyers of seafood products from Thailand, Thai seafood industry representatives, representatives from the Royal Thai Government, NGOs including Fairfood International, migrant workers and trade unions established a framework for joint action to ensure improvement in the Thai seafood industry. This was achieved during a conference hosted by the International Labour Organization (ILO) and the Royal Thai Government. At the event, Western buyers and Thai industry representatives agreed to improve working conditions to ensure they always meet or exceed the legally required minimum standards. Although NGOs and trade unions are pleased with this commitment and recognise that the ILO Good Labour Practices (GPL) programme has made some progress in respecting basic human rights of workers in the seafood sector, the programme must encourage increased participation from workers and worker organisations in its future design and implementation. 6 Food
The GLP programme was launched in September 2013 by the Department of Labour Protection and Welfare (DLPW), Department of Fisheries (DOF) and seafood industry representatives with the support from the ILO through its International Programme on the Elimination of Child Labour (IPEC). The GLP programme intends to improve labour conditions in the seafood industry through the development of industry guidelines on the application of labour legislation and good practices, as well as a training programme for enterprises in the industry. Thailand is the third largest seafood exporter in the world, with seafood exports valued at $7.3 billion in 2011 and over $8 billion in 2012.6 The European Union imported more than $1.15 billion worth of seafood from Thailand in 2012, while the value of imports by the United States exceeded $1.6 billion in 2013.7 Thailand produces around 4.2 million tonnes of seafood per year, around 90% of which is destined for export.8 The industry employs over 650,000 people, as much
and Agriculture Organization (FAO) (2013). The State of World Fisheries and Aquaculture http://www.fao.org/docrep/016/i2727e/i2727e.pdf
7 Statistics provided by analysts at the Spanish Ministry of Agriculture, Food and Environment (MARM) on 24 January 2014–original source: Eurostat 8 Department
of Fisheries, Thailand (2013). Action Plan and Implementation by the Department of Fisheries in Addressing Labour Issues and Promoting Better Working Conditions in the Thai Fisheries Industry http://www.nocht.m–society.go.th/album/download/367802a4br46d2f4132c7a028e50980f.pdf 34 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
ers are slow, inefficient and controlled by brokers as 90% of whom are migrants from Myanmar, Laos and 9 leading to extortionate practices and violations Cambodia. For the fishing sector in particular, persisting of worker rights. shortfalls in the availability of labour exacerbate the risks of 10 5. lack of transparency in the industry, such as the human and labour rights violations, including human trafficking. subcontracting of work and workers through In order to eradicate human and labour rights labour brokers, is prevalent and weakens violations from the seafood and fisheries industry, to protection and rights of workers. Poor traceability actively promote better working conditions and to and transparency of supply chains originating in comply with the commitments made on Friday 23 May marine fisheries exacerbates the ethical risks to 2014, the undersigned organisations including Fairfood international purchasers of Thai seafood. International call upon the Royal Thai Government, Thai seafood industry representatives and Western buyers of We ask the Royal Thai Government to take the seafood products from Thailand to take the following following actions: actions: 1. Improve working standards in the Thai fisheries We consider that: and seafood industry: 1. although real progress has been made, serious • Ratify ILO C188–Work in Fishing Convention; human and labour rights abuses continue to be • Increase minimum wage to a living wage; a problem in the Thai seafood and fisheries • Employers and/or the government should provide industry and the industry does not provide a real all financial resources required for the deportation living wage for workers. Wages are further fund of migrants and the management of said undermined by the overall financial burden on resources should be transparent; workers for work–related costs such as recruit• Develop a specific MOU between the Government, equipment and repatriation funds, which ment and sending countries relating to workers are too high and not fairly shared between that are recruited for the fishing sector, requiring workers and employers. skills training and health checks before work on 2. there can be no sustainable, long term changes board fishing boats; in working conditions without freedom of asso• The Workmen’s Compensation Act should be ciation and collective bargaining, both of which amended to include access for fisherman to the continue to be notably absent from the industry. Workmen’s Compensation Fund in case of 3. there continues to be a lack of respect for the injury, sickness or death. rule of law and poor monitoring and enforcement 2. Promote freedom of association and collective of legal standards (i.e. poor labour inspections bargaining: and low prosecution rates for violations) through• Ratify the ILO C87 and C98 as a matter of out the industry. Ineffective audits manipulate priority; rather than empower workers, who cannot speak • Amend articles 88 and 100 of the Labour out about labour rights abuses. Strengthening Relations Act of 1975 to allow migrant workers the excessively weak regulatory framework to form their own labour unions and occupy governing fishing and labour practices in the leadership positions within them. marine fisheries sector–which results in regular 3. Law enforcement should be strengthened and the incidences of extreme violence as well as forced rule of law respected so that workers are able to receive all and bonded labour aboard vessels–should basic rights: constitute an urgent priority. • Enforce the minimum wage and stop deductions 4. short–term, piecemeal Thai labour migration for uniforms, equipment and recruitment fees policies continue to leave migrant workers from workers’ salaries as these are unlawful; vulnerable. Channels for recruiting migrant work9 Ibid
10 International
Labour Organization (ILO) (2013). Employment practices and working conditions in Thailand’s fishing sector http://www.ilo.org/ wcmsp5/groups/public/–––asia/–––ro–bangkok/documents/publication/wcms_220596.pdf จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 35
• Allocate sufficient financial resources (e.g. funds for fuel) and adequately trained officers, including interpreters, to the Ministry of Labour, Immigration Bureau, Marine Police and the Royal Thai Navy in order to facilitate effective workplace and inspections at sea; • Assure that violations of the law are penalised, for example by improving efforts to investigate, prosecute and convict those involved in the trafficking of persons; including, where appropriate, Thai nationals and Government officials; • Address the corruption rampant in labour management systems; • Ensure efficient grievance and redress mechanisms–within factories or on boats–that alert law enforcement to problems; • Address the systemic disincentives discouraging victims of abuse from pursuing cases through Thai courts, for example by reducing long stays in Government shelters and lengthy legal proceedings for victims of trafficking; • The Ministry of Labour and the Department of Labour Protection and Welfare should support the efforts of migrant worker–led organizations to support migrant workers seeking assistance with the labour law; • Protect human rights defenders and ensure that their activities are not criminalised; • Develop sample employment contracts for factories and disseminate the model contract issued for fishers widely; • Eliminate child labour and provide safe work for youth. 4. Improve the vulnerable working conditions of migrant workers, for example: • Ensure they have access to health care and social security benefits; • Allow migrant workers to easily change employers; • Develop a comprehensive, long–term migration policy that extends to migrant workers’ families; • Ensure migrant workers are provided with impartial interpretation services when needed. 5. Increase transparency in the sector: • Register all pre–processing facilities and raise awareness to create safe working conditions in all work places; • Require and strictly enforce fishing boat owners 36 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
to register fishing boats, install vessel monitoring systems (VMS) to track location and time spent at sea, and maintain accurate logs of fishers on each boat to ensure workers receive social security benefits, health care coverage and protection under the law; • Require registration of and increase regulation of migrant labour recruiters to ensure they are not charging excessive fees, and hold those that do legally accountable.
We ask the industry to take the following action: 1. Improve working standards in the seafood industry: • Respect worker’s rights by enforcing the law without discrimination against any worker, particularly through ensuring living wage and social security coverage. 2. Promote freedom of association and collective bargaining: • As an initial step in the promotion of worker dialogue given the existing lack of collective bargaining in the form of trade unions and the challenges to migrants forming unions, use the existing provisions in the Labour Relations Act on welfare and employee committees and extend the scope of these committees to genuinely address worker challenges; • Workplace management should carry out regular dialogue with workers to address pressing workplace issues. 3. Establish a complaints settlement mechanism in consultation with workers at the workplace. 4. Increase transparency in the sector: • Employ workers directly and not through brokers; • Register any subcontracting of work to other parties; • Register the boats and workers and provide better and safe working conditions and provide safety awareness to fishers and safe and working conditions. We ask the buyers to take the following actions: 1. Commit themselves to ensuring that the fundamental rights of workers are respected throughout their supply chains. 2. Proactively promote and encourage the Government and employers to respect and recognize the freedom of association of workers and to provide better labour standards in the sector.
3. Provide assistance to migrant workers in 3. Buyers–in collaboration with workers, Thai suppliers, the Government and civil society–should work together negotiating with employers. 4. Provide training to workers and their representato develop more transparent audit and inspection regimes that allows more opportunities for genuine worker engage- tives on workers’ rights and collective bargaining skills. 5. Engage in improving and diversifying the services ment and input. 4. Establish direct mechanisms together with of the one–stop service centers for fishers. suppliers whereby buyers can contact workers directly. 5. Increase transparency in the sector: • Buyers should require in contracts and purchasing agreements that their suppliers only subcontract to registered establishments; • Buyers should demand full supply chain traceability down to the boat level by requiring their suppliers to purchase from boats installed with VMS systems and regularly review boat manifests to ensure supplying boats are in compliance with the law.
Trade Unions and NGOs will: 1. Continue campaigning for ratification of ILO C87 and C98 and for a coherent and comprehensive Act on labour relations within the national legal framework. 2. Support migrant workers movements to grow and strengthen.
HRDF together with Migrant Working Group (MWG) launched an urgent statement on the issue of foreign workers management 17 June 2014
Urgent Statement Calling the National Council for Peace and Order to Review the Measures for Controlling Migrant Workers and Prevent Economic Effects and Human Security The National Council for Peace and Order (NCPO) has seized the power since 22nd May 2014. Now it is almost a month that the NCPO has issued many orders and announcements, as of 16 June 2014, there were 68 orders/ announcements. Particularly, Order No. 59/2557 and Order No. 60/2557, dated 11 June 2014, regarding the administration of migrant workers problems by representatives from the security sector and civil officials to sit as committee members and the committee to address the migrant workers problem. The Migrant Working Group and the undersigned organization have monitored the situation and noted that before the NCPO has issued the Order No. 59/2557 and Order No. 60/2557, dated 10 June 2014, security agencies
and civil officials, under the name of “Provincial Internal Security Commands Operation” (P–ISOC) in some areas have informed the press that there is an operation called “migrant workers regularization operation” using searching and surrounding of suspected premises where there may be migrant workers working in Thailand. Additionally, a number of migrant workers had face the soft deportation. According to our information, there has been many group of migrant workers arrested, such as migrants without valid immigration documents and work permits; migrants with passports but their work permits indicate different workplace that the current place they has been found and arrested; some migrants possess expired passports and work permits. It has been found that houses where migrant workers were จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 37
suspected to reside have been demolished. In some case, the operations tended to violate the child protection measure, under the Thai child protection law and the Convention on the Rights of the Child, which Thailand is the state party. The news of the recent regularization of migrant workers make them fear and they are at risk of arrests. Thus, hundreds of thousands have started to gradually migrate out of Thailand. The phenomenon has a direct effect to the Thai economic security because the country is facing labor shortage in manufacturing sector and agricultural sector. Agencies solving the labor shortage problem have addressed it through migrant workers registration to enable workers from Myanmar, Laos PRD and Cambodia to work legally in Thailand. Thai and origin governments also addressed undocumented migrant worker issue by introducing of the nationality verification process, so that the migrants can have valid travel documents and work permits. The Migrant Working Group found that the Thai government had attempted to address labor shortage problem and, at the same time, the government has addressed the national security issues by increasing the attempt to regularize migrant workers. The following measures were the success for migrant workers administration. Migrant workers problems need more steps forward to address important problems, namely, migrant workers who have passed the nationality verification process; workers employed through the Memorandum of Understanding (MoU) between Thailand and the neighboring countries, which set a term of employment for two years at the time, extendable for not exceeding two years. In 2013, there were over 200,000 migrants whose the employment period were over four years (Letter from Ministry of Labor No. RorNgor 0307/2443, dated 17 March 2014 to the Secretary–General to the Cabinet). The Ministry of Labor has addressed the labor shortage and alleviate the problem of migrants who had reached four years of employment period and are overstaying in Thailand, that put the migrant workers at risk of arrest and employees facing lack of labor force, by proposing a Cabinet’s Resolution to allow migrants whose employment term are reached, to stay as a special case for 180 days or until the new functioning government will be taking the office. The measure enables migrant workers to have apply for and receive visa extension and obtain work permits, as stipulated in the process to be further determined by the relevant agencies. Over 200,000 migrants whose four year employment terms were expired can be protected from arrests and forced repatriation if they are in the process of renewing their visas and work permits, according the the official’s processes. 38 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
The arrest, search and surrounding of the cordon and the massive flows of migrants back to their sending countries have direct impact to the migrant workers administration policy and good relationship with nationals from the neighboring countries. Despite many agencies and the NCPO have confirmed that there would not be any acceleration of arrests suppression and crackdowns of migrants. Nevertheless, migrants and a large number of entrepreneurs are not confident with the Thai policy. In certain case, it was reported that some employers laid–off over 200 migrants, fearing that they would violate the law. Additionally, there is a case injury and death of Cambodian migrants, in a road accident while the migrant were traveling to Cambodian border. It was found that some migrants and local child victims who were on the road at the same time near the scene sustained injuries from gunshot wounds. The above phenomenon reflects lack of integration, limitation of civil officials to address the migrant worker issues, which is very complex and requires some time to address, thus, it may present an obstacle for the NCPO to bring peace and economic reform. The Migrant Working Group (MWG) and the undersigned request the NCPO to urgently consider the following demands and recommendations. 1. Stop the crackdowns, arrest and suppression of migrant workers. Impose clear operational measures and policies to be used as a guideline for officials in local areas to follow in a unified manner. Issue and announce to security agencies and civil agencies to exercise caution in their operation to crackdown illegal migrant workers because some of them are in the work permit renewal process after about 200,000 workers’ permits will reach four years term. 2. Issue an urgent measure to build trust among migrant workers and entrepreneurs that the regularization measures will not affect employment to prevent the outflow of the migrant workers, who received the rumor that the NCPO regraded as not accurate. 3. The NCPO should restructure the committee to address the foreign workers’ problem. The committee member should have representatives from relevant bodies that employ migrant workers from different groups, namely, employers, representative from migrant workers, the academia and the civil society sector, to have well–rounded insights and perspective from the and reflect practical resolution that can be implemented so that it will preserve the economic security, stability and relationship between Thailand and neighboring countries. 4. The past situation indicated that security–oriented measures alone cannot address the migrant workers
problems. The NCPO and the committee should affirm to administrate migrant workers by encouraging process of migrant regularization, as in the previous path along with other measures such as border employment, with a view that embraces a balance between the national security, economic development and migrant workers protection. With respect to human rights and human dignity 1. Migrant Working Group (MWG) 2. Action Network for Migrants (ANM) 3. Legal Clinic, Diocesan Social Action of Surathani Catholic Foundation 4. Cross–ethnic Integration in Andaman, Phang–Nga 5. Human Rights and Development Foundation (HRDF) 6. Migrant Worker Rights Network (MWRN) 7. Stateless Watch 8. Prorights Foundation 9. Union for Civil Liberty (UCL) 10. Save the Children
Network of Thai Domestic Workers joined the International Domestic Workers Day At the International Labour Conference on 16 June 2011, the Convention concerning decent work for domestic workers, (‘Convention No. 189’), was adopted to set international labour standards for labour and social protection dedicated to domestic workers. Subsequently, it entered into force on 5 September 2013. The International Labour Organization (ILO) estimated there are 85 millions are domestic workers including 20 millions domestic workers in Asia. Currently the Philippines is the only country in Asia that has ratified the Convention from 14 state parties. In addition, the adoption date, 16th of June has been recognised by domestic workers around the world as the International Domestic Workers’ Day (IDWD). Each year, 16th of June, groups of domestic workers, civil society organisations as well as government agencies worldwide take part in the celebration of the IDWD to propose government agencies around the world to improve work conditions in accordance to the standards set in the Convention No. 189. On 15 June 2014, Foundation for Labour and
Employment Promotion (HomeNet Thailand) in collaboration with Foundation for Child Development (FCD) jointly organised an annual IDWD. Representatives of domestic workers were invited to join activities and proposed recommendations to the Thai government. The Ministry of Labour estimated 300,000 domestic workers in Thailand, of which registered 45,000 workers are from Myanmar, Cambodia and Lao PDR. In addition to the Labour Protection Act B.E. 2541 (1998), a new Ministerial Regulation No. 14 B.E. 2555, which was issued under the Labour Protection Act, is a legal protection framework for domestic workers in Thailand. The Ministerial Regulation No. 14 has improved legal protection and workplace rights for domestic workers such as entitlements with continued payment to weekly holiday, traditional holidays and annual holidays, remuneration and sick leave. Furthermore, the Ministerial regulation has set a minimum age of employment to be 15 years old. Protection of young domestic workers includes an employer is prohibited to pay remuneration of a young domestic worker to other person than the domestic worker him or herself. Despite the new Ministerial Regulation has set good initiatives to protect domestic workers. Nevertheless, other rights and entitlements of domestic workers still remain to be excluded, for example, working hours limitations, overtime compensation and maternity leave. Domestic workers also have no access to social security protection. There is no entitlement to compensation schemes to cover injuries, illness and death from workplace in accordance with the Social Security Act B.E. 2533 and the Workmen’s Compensation Act B.E. 2537. Consequently, the IDWD in 2014 in Thailand was advocated for an improvement of protection for domestic workers. The activities included a performance of domestic workers, a dialogue between representatives of employers, employees and the Law Reform Commission of Thailand and a discussion on ‘Protection of Domestic Workers in Thailand and the next step’. Furthermore, the highlighted activities of the Network of Thai Domestic Workers were to request relevant agencies to find solutions and provide protection for domestic workers. The statement can be read as follows.
Network of Thai Domestic Workers Statement for International Domestic Workers Day 2014 On the occasion of the International Domestic Workers Day and on the 3rd anniversary of the ILO’s Convention concerning Decent Work for Domestic Workers also known as Convention 189, the Network of Thai Domestic Workers (NTDW) congratulates 14 states that ratified the Convention 189. The ratifying states are Argentina, Plurinational State of Bolivia, Colombia, Costa Rica, Ecuador, Germany, Guyana, Italy, Mauritius, Nicaragua, Paraguay, Philippines, South Africa and Uruguay. จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 39
The Network of Thai Domestic Workers notes that it is an important step to protect rights of domestic workers, although 14 states are not sufficient to protect domestic workers worldwide. Every domestic workers around the world needs social protection and guarantee of their rights equivalent to those of other workers. All governments including Thai government should proceed to ratify and incorporate into domestic laws in accordance with this Convention to protect rights of all domestic workers irrespective of their ethnicity or religion. Despite Thailand’s new Ministerial Regulation No. 14 B.E. 2555 (2012) has entered into force, domestic workers still lack of protection and cannot access to a number of important labour rights. Moreover, in practice, the Ministerial Regulation cannot be fully implemented and effectively enforced to protect every domestic worker in Thailand. On the occasion of IDWD 2014, the Network of Thai Domestic Workers requests all stakeholders as follows: 1. Requests the Department of Welfare and Labour Protection fully and effectively implements and enforces the Ministerial Regulation No. 14 B.E. 2555 (2012) to protect all domestic workers in Thailand. 2. Requests the Social Security Office to provide domestic workers protection and access to social and labour rights in accordance with Article 33. 3. Requests the minimum wage to be set for domestic workers. The Network of Thai Domestic Workers calls on all stakeholders to urgently and sincerely consider all requests and ensure the protection of domestic workers and their access to rights and justice. With respect, Network of Thai Domestic Workers 15 June 2014
HRDF released a statement concerning US Trafficking in Persons Report มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) Human Rights and Development Foundation เลขที่ 109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 109 Soi Sitthichon, Suthisarnwinichai Road, Samsennok, Huaykwang. Bangkok 10310 Tel: (+662)277 6882/277 6887 Fax: (+662)277 6882 ext 108 E–mail: info@hrdfoundation.org For immediate release on 24 June 2014
Press Statement The Thai government’s determination to suppress human trafficking in sea fisheries urged On June 2014, the US State Department led by its Secretary, Mr. John Kerry, released the Trafficking in Persons Report 2014 (TIP Report) in which Thailand has been downgraded from Tier 2 Watch list to Tier 3 . The Tier 3 lists countries whose governments do not fully comply with the minimum standards and are not making significant efforts to do so. The report provides a description of the state of human trafficking along with recommendations for Thailand to review and improve its performance and obtain a better tier ranking. In particular, the following issues are emphasized; 1. The advocacy and campaign to prevent human trafficking related to Thailand’s ratification of international protocols including the 2000 UN TIP Protocol (Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, Especially Women and Children, Supplementing the United Nations Convention Against Transnational Organized Crime) and the public campaign to raise awareness on the issue and the importance for ending human trafficking. 40 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
2. The protection of wellbeing of victims of human trafficking as it has been found that the victims do not receive sufficient welfare protection and legal aid. Some shortcomings and conflicts among officials were identified in the screening process of human trafficking victims as well. 3. The prosecution of perpetrators, since the State has not yet launched comprehensive and effective legal and policy measures for the prevention and suppression of human trafficking including; 3.1 A lack of effective law enforcement among justice agencies and those involved with the prevention and the provision of remedies for human trafficking victims 3.2 Corruption or bribery among state officials 3.3 Problems in information and evidence sharing among justice agencies which have resulted in failure or delays in holding the perpetrators accountable indicating an ineffective response to the policy of tackling human trafficking issues.
3.4 No progress has been made to prosecute perpetrators who have victimized the Rohingyas. The Royal Thai Navy even proceeded to file a defamation suit against media that have published the story. The findings of the TIP report may have a significant impact on Thailand, particularly on sea fisheries and downstream industry which have been found to employ forced labour as either bonded labour or slave labour. It has been found that the workers in these industries are forced to work in exploitative environments and are accorded the protection of labour laws. As a result, products from these industries exported to markets in USA and certain countries in Europe could be subjected to trade and investment restriction. In addition, aid and assistance from international financial institutions that Thailand has enjoyed may face a cut. These may have an impact on international trade and investments in Thailand. As a nongovernmental organization which provides legal aid and promotes access to justice amongst migrant workers and human trafficking victims, the Human Rights and Development Foundation (HRDF) realizes the importance of the issues and has been collaborating with state agencies and civil society organizations to tackle human trafficking. HRDF and other civil society organizations have proposed and advocated among State and business sectors the adoption of effective policies and measures to solve the problems. As Thailand has now been downgraded to the Tier 3 by the US government, and in order to strengthen the systems for addressing the problem of human trafficking, HRDF would like to propose the following recommendations to concerned state agencies and other organizations; 1. The state must prioritize an effort to tackle human trafficking as a National Agenda in order to mobilize resources from various sectors to tackle the problem. Action plans for the prevention and suppression of human trafficking and the protection of wellbeing of the victims must be laid down comprehensively with participation from civil society organizations and entrepreneurs in businesses, which can potentially be involved with human trafficking in sea fisheries. All efforts should be streamlined and the action plans should be made with clarity to ensure understanding and effective implementation by each of the agencies involved. It should help to overcome personnel and funding scarcity and promote interdisciplinary work to genuinely address the needs of victims and those affected by human trafficking with a view of empowering the interdisciplinary teams at same time. 2. The state must ensure that workers in sea fishing boats are provided with protection under labour protection laws, such as by registering them as employees, guaran-
teeing their wages, decent working environment and other benefits as well as access to the compensation fund in case of occupational accidents or health problems. Also, the use of child labour in fisheries industry must be prohibited. 3. The State and associations related to sea fisheries and downstream industry must collaborate to abolish the employment of illegal workers. An emphasis should be placed on punishing employers and entrepreneurs who break the law and concerned State agencies including Ministry of Labour, Harbor Department, Marine Police and Royal Thai Navy, etc. Close collaboration is needed amongst the concerned agencies and entities for effective suppression of corruption. 4. The State must set aside funding to support fisheries industry since it has helped in generating huge income to the country. Such support will enable the industry to use modern technologies, minimize labour intensity, and reduce cost to promote their competitiveness in international markets. The captains and technicians in fishing vessels must receive training and obtain licenses as well as undergo ethical control and other empowerment schemes. Their profiles and the profiles of the vessel owners must be made public so as to help in the suppression of crime and human trafficking and to promote sea fisheries. 5. The enforcement of all legislations must be reviewed to ensure that it can effectively tackle human trafficking including Anti–Trafficking in Persons Act B.E 2551 (2008). Its enforcement must be carried out comprehensively based on the understanding and protection of victims and those affected by human trafficking in different categories. Along with the acceleration of registration of sea fisheries labour, there should an inspection and evaluation system, which involves participation of both state and private sectors to enhance their mutual understanding and collaboration. All implementations must be carried out based on the understanding of the officials and the faithful delivery of their services in order to protect the vulnerable groups and to ensure comprehensive human rights protection. 6. Collaboration among state agencies, private sector and civil society sector should be promoted along with the empowerment of both state officials and staff members of civil society organizations. The collaboration can be made on campaign and advocacy to raise awareness on anti–human trafficking effort and the provision of legal aid to victims and affected persons through the development of network to monitor and suppress human trafficking. With respect in human rights and human dignity Human Rights and Development Foundation (HRDF) 24 June 2014 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 41
Updates of highlighted cases
Kampaeng Phet Provincial Court awarded 4,603,233 baht as compensation to Girl Air for torture and cruel treatment inflicted on her by her employers The Human Rights and Development Foundation (HRDF) has been providing legal representation to Air, an ethnic Karen girl who has filed a case against her former employers for inflicting on her cruel treatment and enslavement. On 30 June 2014, around 2pm, the Kampaeng Phet Provincial Court read a verdict for the case filed by Air’s custodian, Mrs. Mo Wateng, on her behalf against Mr. Natee Taeng–on and Miss Rattanakorn Piyaworatham, her employers. The civil suit for damages was filed as it was alleged that while serving as housemaid for the two employers, the girl had been subjected to egregious physical abuse. The Court ordered the two defendants to collectively award the plaintiff the following; Part I: Regarding the pecuniary damages and according to Section 444 of the Civil and Commercial Code concerning reimbursement of the expenses and damages for total or partial disability to work for the present as well as for the future, the Court deemed that it fits the arising circumstances and gravity of the charges to award the damages including the following; 1. Incurred medical treatment: 303,233 baht as per the receipts issued by the Ramathibodi Hospital 2. Future medical treatment: 800,000 baht 3. Damages for disability to work of at least 50 years: 1,000,000 baht Part II: Regarding the non–pecuniary damages and according to Section 446 of the Civil and Commercial Code including agonies during the ailment, the loss of ability to reproduce, and the loss of beauty for Girl Air, for which, the plaintiff is entitled to request regardless of whether it is concerned with the livelihood of the plaintiff or not, it shall include; 1. Agonies incurred during the ailment: 600,000 baht 2. A loss of ability to reproduce: 700,000 baht 3. A loss of beauty for the plaintiff: 700,000 baht In addition, the Court ordered the defendants to provide 500,000 baht to cover transportation costs of the plaintiff to seek treatment from the Ramathibodi Hospital. In total, the two defendants are required to provide 4,603,233 baht as damages. 42 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
However, the exact amount to be received by the damaged parties shall be dependent on further executions in order to acquire assets belonging to the employers and to provide the compensation to the plaintiff as ruled by the Court. The case began around 2009, when Air, a seven year old girl disappeared from the living quarter of her parents who were migrant workers from Burma and employed by Thai employers in the province of Kamphaeng Phet. The search effort by her parents came to no avail. On 31 January 2013, Air successfully made an escape from the house and was assisted by some samaritans. She, then, received help and shelter from officers of the Kamphaeng Phet Children and Families shelter and other local agencies. According to Air, she was abducted by the former employers of her parents from the residence of her parents in the sugar cane plantation. Since then, she had been forced to serve as a housemaid in the house of Mr. Natee Taeng–on and Miss Rattanakorn Piyaworatham. During her time working with the two employers, she suffered abuses inflicted on her by them until she sustained grievous injuries including some wounds caused by her being poured with boiling water. The brute has also caused ligaments that make her unable to stretch her arms out and to bend her elbows. Officers of the Children’s and Family’s Home in Kamphaeng Phet has transferred her to Ramathibodi Hospital in Bangkok for further treatment. More detail of the case filed by Air’s custodian, Mrs. Mo Wateng, on her behalf against Mr. Natee Taeng–on and Miss Rattanakorn Piyaworatham, her employers in a civil suit with the Kampaeng Phet Provincial Court can be found at http://hrdfoundation.org/?p=805 and http://hrdfoundation. org/?p=805&lang=en . At present, the two employers are also the suspects in a separate criminal case as they are pressed with the accusation of committing bodily harm and thereby, causing the victim to receive grievous bodily harm, cruel treatment, deprivation of other’s liberties and as a result of which severe injuries have been inflicted on the person, deprivation of other’s liberties and as a result of which the person is forced to serve other persons or the perpetrator, enslaving a person or causing a person to be in a position similar to a slave, conspiring to bring forth a person or to deprive of liberties of the person younger than 15 years of age and as a result of which the person is inflicted with grievous bodily harm, taking away a child not yet 15 years of age from parents, and conspiring to conduct human trafficking. At present, the two employers are still at large after being granted bail by the police.
Ms. Nattarat Aroonmaharat, Coordinator of the Anti– labour trafficking, Human Rights and Development Foundation (HRDF), deems that the verdict underlies civil rights of a damaged party in a criminal offence including the right to be free from infringements on one’s body and freedom. Apart from being an offence against Criminal Procedure Code, the violations committed against Air can be persecuted as a human trafficking offence as Air has been a victim of unlawful exploitation including forced labour and enslavement and that Air is entitled to damages provided for by the 2008 Anti–Trafficking in Persons Act does not in any way deprive her of the right to be provided for with damages resulting from a civil suit.
Male labour migrant rights in claiming birth cost benefit from Social Security Fund
On 20th June 2014, a Burmese worker met with HRDF in Mahachai office to discuss their entitlement to birth cost benefit under Social Security Fund Act. Following the case of Aung Ko Ko, his wife, who is a migrant labour and social security card holder, gave birth to their child on 12th June 2014. She has dismissed from the birth cost benefit due to legal requirement for claimants to pay their social security fund for a certain period of time, of which she failed to meet that condition. However, her husband, Aung Ko Ko, has paid his social security fund for over three years and is entitled to receive the birth cost benefit from social security On 24th June 2014, HRDF assisted Aung Ko Ko in Construction Workers in Cholburi mediated fund. his application for the birth cost benefit. Social with their employer after filed an unpaid work preparing Security Fund office, Samutsakhon considered his application complaint and ordered the birth cost benefit payment for Aung Ko Ko A group of five subcontract construction workers at for 13,000 Baht on the same day. Cholburi concrete construction contractor filed a two months unpaid work complaint with HRDF in Mahachai office against their employer. Representatives from HRDF and MWRN met with the Cholburi concrete construction contractor’s manager to discuss the case. At the first meeting, the manager suggested the workers to complete their task within certain date set before the unpaid wage payment can be released on 20th June 2014. The workers agreed on this condition and requested the outstanding payment to be paid on the exact agreed date. However, after a completion of the work, the company refused to pay the workers claiming Labour migrants entitlement to medical that their finished work does not comply with the contract compensation from their employer when work requirements and requested the workers to redo their work injuries resulting in the loss of their eye. before payment. The new payment date was set to be Following the case of Mr.Korchitko, he worked for the on 23rd June 2014. Nevertheless, after completion, the Thai chareon Granite company in Kampaeng Phet province. company failed to pay the workers and postponed the On 26th July 2013, he had an accident during work that payment from 23rd to 30th June instead. All five workers have resulted in the loss of his right eye. His employer paid him now received their payment as agreed. 10,000 Baht for his medical treatment. However the amount given by his employer is insufficient to cover his medical treatment costs. He then seeked legal advise with the HRDF
จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 43
labour Law Clinic in Maesod. The clinic assisted Korchitko in filing the application to seek the indemnity for work injuries under Workmen Compensation Act at the social security fund office, Tak Province. Later on 4th March 2014, social security fund office, Tak Province called in both employer and employee to mediate the medical treatment and compensation matter. Both parties agreed that the employer will pay Korchitko a total of 114,000 Baht, which 14,000 Baht to be for his medical costs and another 100,000 baht to be for his injury at work compensation. On 5th of April 2014, the employer paid Korchitko 70,000 Baht. The Saphan Siang Project
The Saphan Siang (Bridge of Voices) project seeks to promote better understanding between Thais and migrant workers and reduce negative stereotypes and bias prevalent against migrant workers. It tries to meet its objectives by creating opportunities of interaction between Thais and migrant people. One of the activities under the Saphan Siang project is promoting youth ambassadors who are interested in the issues of development and labor rights of more than three million migrant workers in Thailand. Migrant workers contribute to economic growth in Thailand and because of labor shortage, Thailand depends on migrant workers from neighboring countries. Yet, Thai people remain aware about the status, role and rights of migrant workers who face exploitation and abuse while working in Thailand. Migrant workers also face numerous obstacles while trying to access their rights under the labor protection laws. The Saphan Siang Youth Ambassadors initiative seeks to promote understanding about cultural and ethnic diversity and create good relationships with people from neighboring countries. With the support from ILO and their alliance partners, the Saphan Siang Youth Ambassador initiative was launched in November 2013 and Mr. Aanas Aree is the project coordinator. At present, 12 students from various universities 44 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
have been deployed as youth ambassadors. Amongst them, Ms.Pongnapa Kidha from the faculty of Political Science and Public Administration, Chiangmai University, Mr.Paing Hein Htet from the faculty of Economic, Thammasat University and Ms.Duangtha Mongpa from the faculty of Liberal Art: South East Asian Studies Program, Thammasat University were placed with HRDF for 6 months to learn and support its activities with migrant workers. Three months have passed since they first started their work with HRDF. The youth ambassadors have written short articles, reflecting on their learnings and experiences of the past three months and HRDF is presenting these articles in the present edition of the newsletter.
Episode 1: Pongnapa kidha and her experience with Human Rights and Development Foundation (HRDF) During my volunteer work with Human Rights and Development Foundation (HRDF), I had an exciting opportunity to take a long journey up to Nantaram village located in Sarapee district in the northern region of Thailand. I was tasked to teach Thai at the Migrant Learning and Development Center (MLDC), which is situated in Chiang Mai province.
The MLDC was established, inter alia, as a language learning centre teaching Thai, English, and Tai Yai or Shan. The MLDC provides an educational opportunity not only for migrants but also for Thai children and adults who are interested. The MLDC is open on Monday, Wednesday and Friday from 18.00–20.30 hours, which are after working hours. It was my first teaching experience. I was very enthusiastic and eager to teach Thai to migrants. Nevertheless I predicted that it would be very challenging and I anticipated difficulties due to language barrier between the learners and myself. Thankfully, I was totally wrong. As the first day progressed, I felt so welcome and everyone was so friendly and easy–going without self–adaptation needed. I was
impressed every time when learners greeted me in Thai “Sawaddee krap/ka teacher”. It was the first time for me and I felt honoured to be called “teacher”. When I left the MLDC, I was so touched when they all wished me well with my journey back. Apart from the get–along–well part, I also encountered some challenges. I experienced increasing interests from migrants in learning Thai. It got difficult when learners have different levels of language skills. Some interested migrants had no basic background. It was not possible to take a single one–size–fits–all approach but on the other hand, it was also impossible to tailor my teaching to each individual learner. Time and availability of learners were another challenge to be considered. It is noted that the MLDC has a voluntary nature because it is open for everyone. On the opposite side, the non–compulsory part undermines the consistency and continuity to learn. Some learners could not manage to take time off work. I am very well aware of their conditions and therefore I would not conclude that these issues are big obstacles because everyone has other responsibilities and obligations. Flexibility is the right approach for the MLDC to carry out its learning objectives. The interest and willingness to learn is there and this is the key to success. It was more than a month that I taught there. I am fully aware that the right to education of migrants is essential. Even though they are not Thai, migrants are very important workforces that contribute to our economic growth, particularly in agriculture and industry sectors. Unfortunately, far too many disadvantaged migrants face exploitation, unequal treatment and discrimination. By facilitating access to education, which is a fundamental right, migrants will be empowered. Learning Thai particularly reading and writing skills will help migrants eliminate the language barrier. As a consequence, this will be another way to decrease their vulnerability and prevent exploitation from their employers. Increasing the ability to speak Thai for migrants would assist them to accessing information. Not only will those migrants be able to read job advertisements, ask for better work conditions and be able to apply to any job they want, they are also able to pursue further education to improve their life conditions.
Working in the MLDC and spending time with migrant workers made me realise an ironic fact about ‘opportunity’. Some children have abundant opportunities to live comfortably, be able to attend famous schools, afford private tutoring services and access to modern learning infrastructures. On the other hand, migrants have very limited opportunities and often they have no access to basic services that most people take for granted. I learnt from the MLDC that migrants are often to be found in labour intensive jobs and suffer from exploitation in various forms. I noticed they never give–up on seeking better opportunities. This includes learning Thai language or attending provided vocational trainings in order to enhance their skills and further increase their chance to find better employment without discrimination and exploitation. I believe that we can offer better opportunities for migrant workers by eliminating deep–seated attitudes of prejudice and xenophobia against them. Any society consists of good and bad people. It is a misperception that migrants are the cause of problems in our society.
In working for the MLDC, my challenge and ultimate expectation was to teach the students how to read and write Thai so they can eventually benefit from it in their daily lives. I once asked students in my class what they want to learn. I received various answers ranging from spelling, writing or even: “whatever you would like to teach us”. But there was one student that gave me a very จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 45
impressive answer: “a practical thing that I can use in my daily life”. Consequently, his answer inspired my lesson plan. I realised that learning a language is a lot more than just a list of structures to be memorised. In many cases, our memory lasts shortly. A useful lesson for migrants does not mean that they have to memorise all the grammar rules but instead I prepared lessons so that they can practically speak in their daily lives. And one day, I would be very happy to know that they find it useful and that I was part of their success stories. Lastly, I would like to sincerely thank the ‘Saphan Siang Youth Ambassadors’ project that offers me an incredible opportunity. This valuable experience has changed my attitude towards migrant workers. I am delightful to be part of this project. I will continue to be a voice advocating for a change of attitude towards migrant workers and for better opportunities and human rights for migrant workers.
Nattarat, it was easy to locate the office. The location of the office is interesting for the soi is occupied by Civil Society Organizations, fighting for Human Rights and is named Soi Sittichon–literally translated as Road for Actions on Human Rights (thanks to Duangtha for the translation!). Along with Duangtha, we were given a short tour of the office and were warmly welcomed by the friendly colleagues. On the first sight, I knew that the experience at this place will be special. The warmth and welcoming stance of the organization can be felt as soon as I step into the office. The office is based in a townhouse which reminds me of the simple offices back in Myanmar where offices are based in residences rather than skyscrapers. Luckily, my workspace is allocated along with Khun Preeda who would later become my close mentor and assigns works for me. I’m quite happy to be placed at the Bangkok office of HRDF as it is involved in wide range of activities, such as Migrant Justice Program (MJP) and Anti–Labor Trafficking Project (ALTP) for those I am currently involved in day–to–day assistance and provision of reports and translations when needed. Moreover, HRDF is linked with many other organizations. This makes me realize that the issues of migrant workers are multi–faceted and needs different specializations organizations to encounter these issues.
Episode 1 Mr.Paing Hein Htet: Saphan Siang, HRDF and my first experiences I still clearly remember the first time that I started my placement at the Human Rights and Development Foundation (HRDF). I came in with full expectation to help the migrant workers and to promote the positive images of the migrant workers, while fully involved in communicating with them. Up to this point, my expectation has been fulfilled and I am sure that by the end of the placement, I would be able to contribute something to the migrant workers in need.
My first task kicked off with reading various kinds of cases, familiarizing with the laws and codes of the issues….
These are of great importance as my background is Economics and being familiarized with the laws is necessary. To be honest, it was difficult to read the laws and cases at the start. However, overtime, I start to get familiar and everyone at the office explained to me whenever I have questions. This was my first steps towards understanding the migrant worker issues appropriately. My first assignment was the Assessment of the On the first day at the HRDF, thanks to the Royal Thai Government’s implementations on the recominstructions and location of the office provided by Khun mendations suggested at the Universal Periodic Review 46 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
(UPR) Twelfth session. UPR is a mechanism by the United Nations that examines the human rights performances of the nation. I was shocked being assigned this task as my work will be submitted to the UPR bodies directly. I remembered saying to myself that I cannot make mistakes. It turned out to be quite a rewarding experience as I was able to look at the Royal Thai Government’s responses on the migrant issues. My colleagues were really supportive and were willing to support any available information. The work was edited for more than five times and it came out perfect. From then on, I was more involved in looking at the issues from macro perspectives. While Duangtha was out on the field, I would be more involved in helping producing documents and analyzing the issues one at a time. I believe this is a good combination as we could specialize and it was always fun, catching up, talking about our experiences.
Moreover, I was allowed to attend conferences and short visits to other organizations whenever possible and some short visits. One of the highlight was attending the 6th Post ASEAN Forum on Migrant Labours (AFML). This conference revolved around improving the complaint mechanisms and upcoming activities for the AFML. The AFML focuses on the co–operation between the tripartite parties, namely Civil Society Organizations, the Government and the migrant workers. However, since this is a post activity, it was focusing on the CSOs. I was fortunate enough to be there as I was able to witness how the Civil Society Organizations in ASEAN are working hard for migrant workers’ issues even though they are facing numerous constraints. Again, I am really thankful for allowing me to participate in this conference. My first contact with the unfortunate migrant worker who was subsequently trafficked within Thailand was in May. Thanks to Khun Nattarat, Khun Patthranit and Khun Papop, Duangtha and I were able to involve in monitoring this case, through means of being translators and having contact with this person. Mr. N left Myanmar and come to Thailand through his brothers and cousins’
help, in the hope that he would be able to find a rewarding job, earn money and go back to Myanmar to expand his family business.
However, things did not turn out as he expected! Mr. N was forced into working on the fishing boat without any salary after being cheated by the Burmese brokers. When his brother who is also in Thailand heard this news, he immediately came to HRDF and asked to rescue his brother. One thing to be noted is that, prominence and accessibility of the CSOs are important. If his brother had not knew about HRDF, we would never be able to hear this saddening story. Mr. N was then rescued and was sent to the shelters for the Trafficked people. His another brother was also on the ship. Subsequently, he was rescued and now both of them are at the shelter. The case is still on– going and hopefully, justice will be done. This case had struck me, making me realize that a person’s life can be destroyed within seconds and is even more vulnerable than we might have thought. Therefore, it is our responsibility not to turn our blind side on them and be ready to help those whoever is in need of help. The placement at HRDF has been a rewarding experience for me. I am really thankful towards the colleagues and the Saphan Siang coordinators for giving me this opportunity. I am able to gain a deeper understanding at a macro level. At the same time, I am more able to engage at individuals levels and give advice with the knowledge that I learned. The experiences at these institutions made me more vocal for the migrant workers. Whenever I have the chance, I do not think twice to recount and expound the hardships faced by the migrant workers to my families and friends. Works at HRDF have been intellectually stimulating and challenging enough that every day that I go to work, I am fully prepared and say to myself that I am ready for the day. Even though there are challenges sometimes, I was able to go through those with the support from the colleagues. Again, I am really grateful that I have been assigned with important tasks and equally treated as a full– time employee. Manymemorable first experiences have been formed and I am จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 47
expecting more of like these works and at the same time, fellow youth ambassadors and myself to learn, exchange running campaigns with the support of Saphan Siang. ideas and share good practices and experiences. It is not only among us but also with other people in the society and Episode 1: Duangtha Mongpa (Ta) beyond in order to build and to be part of a resilient and and her experience with Human Rights harmonised global community.
and Development Foundation (HRDF)
Learn, Share, Exchange … through our voice and our shared experience, we build a “knowledge bridge”
Having completed the orientation training, I am now equipped with the basic knowledge and ready for my first volunteer mission in the ‘Saphan Siang Youth Ambassadors’ project. The goal of this project is to build and promote greater understanding between the Thai government, its citizen and migrant workers. I am one of the twelve youth ambassadors in the Saphan Siang project. Among other things, my task was to work with a host human rights organisation in order to build further understanding and knowledge on migrant workers issues. I felt lucky and excited to be working with the Human Rights and Development Foundation (HRDF). In addition to my strong intention to learn, volunteer and advocate for migrant workers, I have a personal connection with the subject. As a daughter of migrant workers I have a sound understanding of migrant workers’ issues and I am aware of the shift in the migration situation in Thailand. Thailand is not a singular–cultural society but the country hosts a cultural diversity of communities. Evidently, Thailand is becoming a more and more multicultural society with various ethnicities and nationalities living and interacting with each other. Having understanding and being unbiased are necessary keys to a harmonisation in a multicultural society. These factors are my motivations that drive me forward to promote understanding and advocate for an unbiased and tolerated society for migrant workers. Therefore, the Saphan Siang Youth Ambassadors project served as a light that illuminated my path. It offers an amazing opportunity for my 48 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
In the almost two months that I am part of the Saphan Siang Youth Ambassadors project, I have cherished everyday moments, enjoyed my time and valued the volunteer experience. Apart from gaining basic knowledge about migrant workers in the agricultural sector, I have benefited from this project by developing a sound knowledge and understanding towards migrant workers in a broader context. I learnt that not only in the agricultural sector migrant workers are an important workforce but also in other sectors. In fact, migrant workers provide significant contributions to the Thai economy. Due to labour shortages, migrants are employed to carry out dirty, dangerous and degrading work that Thai workers are unwilling to do, particularly in some sectors such as construction, agricultural work, domestic work, manual labour related work and other services. Migrant workers often face multifaceted challenges in the Thai society. In addition to the dirty, dangerous and degrading nature of jobs which are filled by migrants, they also suffer significantly from human rights violations, discrimination, and exploitation. Relevant organisations and their personnel often ignore the human rights of migrants. The combinations of these factors have worsened the quality of life for migrant workers. It is an issue of our concern and it is essential for everyone to be able to realise their human rights. We should treat migrant workers with respect and dignity and help migrant workers from the ASEAN neighbouring countries in realising their human rights and improving their life conditions. HRDF is my host organisation in this project. It is a non–profit organisation that works closely together with the ‘Migrant Worker Rights Network’ (MWRN). Its
staff members, among other things, provide legal advice and assistance relating to rights of migrant workers. Prominent work of HRDF includes providing legal advice to migrant workers, particularly with regard to rights to social security including social insurance and rights to seek protection of life, liberty and property. A number of migrant workers do not receive a fair or minimum wage they are entitled to. In many cases, the right to freedom of movement is often infringed upon when a passport or a travel document of migrant workers is seized or confiscated. In worst–case scenarios, migrant workers suffer physical or mental abuse. These are only a few examples of the most common problems that seriously undermine rights of migrant workers. Major causes of these problems often result from ineffective communication, cultural differences as well as individual attitudes that give expression to myths about other racial or ethnic groups. This leads to devaluation of other human beings and it can bring misunderstanding and potential conflicts. It is a very short period of time in which I have learned and volunteered to advocate for the rights of migrant workers but the knowledge and experience I have gained are priceless. It is a privilege that HRDF has its branches in several provinces and regions in Thailand. In the initial phase, I was based in Bangkok. During the first two–week, HRDF senior staff members guided me through the role and objectives of the organisation focusing particularly on human rights of migrant workers. Shortly after, I was thrilled to be part of HRDF’s anti–trafficking work. Safety and security are the first priorities when it comes to counter trafficking work. These are the highest considerations for both lives of trafficked migrant workers and also to HRDF’s aid workers, especially in raid and rescue operations. HRDF staff members work closely with government agencies and civil society organisations to rescue trafficked persons. In this period, I learnt a lot on the role of the organisation and its anti–trafficking project, which focuses on legal assistance to trafficked persons. HRDF does not only provide legal assistance to trafficked persons. Together with a multi–disciplinary team, HRDF is also involved in raid and rescue operations as well as fact–finding missions. I was part of HRDF’s fact–finding field missions to collect information and interview trafficked migrant workers. I am proud to assist trafficked persons and to be able to contribute significantly to HRDF’s anti–trafficking work because I can speak both Thai and Myanmar (Burmese). In counter trafficking work particularly a raid and rescue operation, time is a key factor in saving
lives. Being bilingual, I can directly facilitate an effective and faster communication between trafficked (Burmese) migrants and a multi–disciplinary team consisting of HRDF and other organisations. However, after trafficked migrants are rescued, HRDF continues its important legal work in initiating and following up with legal proceedings.
As I mentioned earlier, HRDF has branches covering several provinces in Thailand. After being based in Bangkok and learning about the counter trafficking work, I was later based in Mahachai district, Samutsakorn. This province is well known for its industrialised areas and its seafood– processed products produced in factories. Thailand is regarded as one of world largest seafood–product exporters bringing massive income to the country. Therefore Mahachai hosts a large number of labourers working in various sectors such as processing factories or fisheries. It’s interesting to note that a majority of workers are migrants from Myanmar. I found Mahachai to be one of the unique multicultural and multi–traditional communities. People are diverse but yet harmonised. To demonstrate, official announcements, shop signs and job advertisements are written here in two languages, Thai and Myanmar. Sometimes there are also English signs. Migrant communities are strongly united because there are NGOs providing assistance in various sectors as well as government agencies recognising the importance of migrant workers. I also learnt that migrant workers here have formed their own network, the MWRN. A great initiative supported by, among other organisations, HRDF. The MWRN is legally registered in accordance with the Thai law. It provides advice and assists migrant workers who face challenges living in the communities. In addition, the MWRN runs a language school teaching Thai for migrants who are interested and have time to learn. The MWRN activities include organising dialogues and workshops to advocate for the rights of migrant workers, which are also supported by HRDF. In Mahachai, Poy Sang Long or the festival of the Crystal Sons, a rite of passage ceremony originated from Shan ethnicity in Myanmar is widely practiced in Thai จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 49
temples. Regardless of ethnicity or nationality, a lot of people here can speak at least 2 languages. It is a multicultural society, which is adaptive and harmonised. This demonstrates a true ASEAN. My observations as a youth ambassador in the Saphan Siang project: • Misunderstanding–Language barrier is one of potential causes for misunderstanding. It may occur between employers–employees, neighbour or people in the communities. When we misunderstand each other then problems can arise from a little issue to a big regional ASEAN issue. • Attitudes of prejudice–Myths about other racial or ethnic groups can also cause misunderstanding and conflict. In fact, our global community is rich in diversity. We all depend on, rely on and fulfil each other. Realising these factors will guide us to openness. No matter where you come from, which ethnicity you are, we all can live together peacefully. • Human values–migrant workers work hard to earn their livings and support their families. Migrant workers carry out dirty, dangerous and degrading work that no Thai worker wishes to do. Migrant workers contribute significantly to economic growth. Being a migrant worker does not mean your human values are lower. There is a need to eliminate discrimination and to ensure rights of migrant workers are respected, promoted and protected. • Building a multicultural society–This is not a responsibility of particular individuals or assigned agencies but it is a shared responsibility for everyone in a society. We all have values and differentiated capacities to build and fulfil a society we live in. Importantly, there should be no society that tolerates exploitation of migrant workers. And people in a society should not insult, discriminate or harm migrant workers verbally or by actions. Another experience worth to share was the day I attended the Kampangpetch Provincial Court in its delivery of the judgment on the civil case of a Karen girl, Na Air. I paid a particular attention to this case because the victim is a very young girl who was severely injured and abused. Her shocking story was circulating in several media in Thailand recently however the story faded away right after the rescue operation. 50 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
On the day that the Court was scheduled to deliver its judgment I woke up at three in the morning to catch a public bus from Bangkok to Kampangpetch. My mission was to be on time for the reading of the judgment. Due to the rush hour in in the morning and the nature of traffic in Thailand, everything went wrong that day. I had to catch another minivan to Nakorn Sawan, which was even slower than I expected because the driver had to stop twice for patrols. Then when I arrived in Nakorn Sawan, it turned out that there was no express bus to Kampangpetch. But I did not give up. I hired a songthaw or a slow local minibus to continue my long and tiring journey. It was not my first time with a songthaw but it was the first time that a songthaw made my hair completely messy. When arriving at the Court, I lost my confidence but I managed to restore it back quickly with a strong intention to hear the Court’s judgment. It was almost noon when I arrived, only to find out that the verdict has been delayed until the 30th of June 2014. Of course I was speechless after going through all the difficulties in getting there. But it was not too miserable. There was an impressive moment. In fact, it was a highlight of my day when I was able to discuss the case of Na Air with the Provincial Office of Labour Protection and Welfare. As the day progressed, I cheered myself up with Kampangpetch’s famous wonton noodle. Eventually, I ended my day with a rice soup and delicious stir–fried morning glory in Nakorn Sawan. I am still searching for my future goals. And I strongly believe that there will be a continuity of productive ideas after I stepped myself into work relating to migrant workers. I am grateful for the opportunity that the Saphan Siang Youth Ambassadors Project offered. I am sincerely thankful to each and every one from HRDF for giving me useful advice and suggestions. At last, I am the happiest person to know that you read my story until the last word. I am so eager to share my work experience on migrant workers and would like to exchange it with you. Under the Same Umbrella: Migrant Workers in the Thai Society Duangtha Mongpha Thailand is an umbrella It has been sheltering various people Migrants have been moving to this paradise as a shelter Working hard to help build, clean and other jobs in this land Thais and migrants are depending on each other; Living in harmony, ASEAN praises as an example.
Nowadays, the Thai society has continuous economic growth and additionally, it is among the top developed nation in ASEAN. Thus, Thailand attracts investments as well as migrant workers, who leaves their homeland and families for better live in a foreign country. Over half a century ago, the flow of migrant workers has shaped an adjustment and mechanism in the destination country to include migrants in Thailand. The Thai society has shifted and adapted by time and new members in the society and the fact that Thailand has many areas that connect the country with other neighbours, facilitating migration, which even regularly exists before the nation states. However, after independence, the concentration of nationalism in each state makes the rules, such as agreements, contracts, and laws, that separate and categorise people under the imagined states. Every human being must bear a mark of a country once belong. It is vital that all have to follow the rule,. While people who has recently migrated will be “migrants.” An example in Thailand, which has a pull factor from the economic expansion, resulting in enormous demands for labour force, coupling with a push factor in the home countries that obstruct them from fulfilling their livelihood and enhancement of quality of live, witnesses a large flow of migrants to the country. Thailand has attempted to develop quality of live for migrant workers. It has adjusted and developed the systems to ensure maximum benefits for both migrants’ lives and the country. An obvious evident is Thailand’s endeavour to address irregular migrant workers and regularise them through migrant worker registration permits, nationality verification, coverage under the Social Security Scheme, etc. Despite some processes are not completed and have loopholes for corruption, leading to exploitation of migrant workers. Thus, the stakeholders must improve and address the situation to reduce international scrutiny. I have had an opportunity to interview a group of migrant manual workers empowered themselves to take care of those sharing the same destiny as fellow workers in the
foreign land, to shed some light as an example. “Migrant Worker Right Network (MWRN) is a migrant workers member based group, chaired by Mr. Aung Kyaw and his friends and colleague from Myanmar. MWRN is located in Maha Chai, Samutsakorn Province, Thailand, where the area is under the industrial zoning. The MWRN was established because of a large number of migrant workers who have been migrating since 1980 because of economic poverty in the home countries to Thailand, where the economic situation is better and Thailand has connecting border to those countries. Thus, migrants continuously crossed the border to Thailand. The majority of migrant labourers are usually cannot produce any document to show that they are regular migrants with lawful permits. Some people can survive the trip. In many cases, they fell victims to criminals and into vicious cycle that may even cost them their lives. Irregular migrants travel to Thailand, thus, they have to hide to avoid arrests and deportations. Migrant workers are at risk exploitation and being induced to human trafficking rings that subject to low quality of lives. Finally, the state, civil society sector and stakeholders have tried to address the issues such as increasing number of migrant workers, communities of newcomers’ communication with original members. Migrant workers also want to address the problem, so they create the friend of migrant workers’ volunteers. Volunteers are migrant workers who have been trained and participated in public forums on migrant workers for a certain period of time. On 29 March 2009, nine migrant workers established a group to take care and assist fellow migrant workers, with the support from the Human Rights and Development Foundation (HRDF). During an initial period, the first and the most difficult mission is to approach and recruit migrant workers. They had to overcome the fear and distrust from migrant workers, who had faced unfriendly experiences in the past. Nevertheless, the core leaders had reviewed their approach and their working plan. They finally reached an agreement that they should use the migrant workers’ interests and use them as entry points to communicate knowledge to fellow workers. Finally, they agreed that the religion issue is the most suitable to be used as an entry point. Every time after merit making and cleaning the temple area, the group would provide a session on labour rights. After a while, they can increase the knowledge base. After 2012, the group found that the demographic of the migrant workers had changed. Migrant workers who are MWRN’s members are more aware of regularisation process. They have more understanding of the law and on their rights. Many cases, the workers demanded their rights when they จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ 51
had been abused. For example, when a company abuse the contractual payment and illegally dismissed the workers, a group of workers demanded their rights under Section 75 and Section 118 until they can receive protection under the law. The MWRN also organised mobile legal clinic to provide legal knowledge to migrant workers in factories. Apart from legal knowledge the MWRN also established Thai, English and Computer classes for migrants to eliminate language and communication barrier that cause other problems. Skill training from migrant workers by volunteer teachers increase the number of skilled migrants. Some can shift their occupations from labourers to work in computer shops. Language training also assist workers to communicate and reduce the gap with other people in the community. The MWRN also hosts a library for migrants to read or borrow, thus, it supports migrants to increase their skills and upgrade their lives. The MWRN has occupational training program to reduce costs of living and create additional income for the family. The project can also provide knowledge to increase the migrants’ quality of live in the future. By organising a training for trainer program, trained volunteers provides training for other less fortunate migrant workers. Training includes making dish detergent, vegetable gardening, mixed agriculture under HM the King’s initiative , etc to develop their knowledge and quality of live in the future. After assisting migrant workers, the MWRN realised that migrant children are also important. The children following their parents to work in Thailand face some issue such as schooling opportunity, leading to entering into the work force when they are still underage. Children who can reach schools also have a problem when their parents have to return home at the end of the four years temporary residence period, thus their education is compromised. The MWRN recruits volunteers to teach these children and is now working to standardise the the education provided with the Myanmar’s state schools’ curriculum, so that the students can earn their education certification in Myanmar. The MWRN president raised this issue in a meeting at Naypyidaw, Myanmar, and in the past year, families of migrant workers who has returned can have their children’s certification recognised in Myanmar. Problems and obstacles that the MWRN wants the society to know • Migrants often fear and concern for their safety, because even legalised migrant workers, have their passport confiscated by Thai employers due to the fear taht thier workers will run away. This problem often caused by misunderstandings due to language barriers. 52 จดหมายข่าวด้านแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิ
• One of the most common problem migrant workers experienced is the minimum wage violations. Migrants themselves have a many burdens such as costs of living, child supports,, thus, employers should realise and focus on the rights of migrant workers. • Lack of regular and secure financial support for transportation and publication materials and the capacity of workers to provide knowledge and exchange among themselves is limited. Thus lack of funding is a drawback to address the problem of migrant worker abuses which happen all over the country. • The Thai society should recognise the contribution from migrant workers that drive the Thai economy. Aung Kyaw said, “I have been a migrant worker for 16 years when Mahachai was nothing but forest. Now it is a city.” He added that the expansion of the Thai economy create huge demand for labour. Consequentially, brokers smuggle migrants to Thailand legally and illegally and afterward there are many problems that follow. Despite migrant workers may not know their destiny or they may face exploitation and abuses, they are willing to risk because it is better than facing starvation because of lack of employment. The small amount of money can still meagrely support their families. • Migrants also want to exchange their way of life to the society. Those who have been living in Thailand for a long time can speak Thai, understand the Thai culture and integrate in the society as if it is their own. They feel that they are the part of the society. Every time there is a festival or a traditional event in a community, at schools, at a temple or in important national events, migrants share the same feeling as Thai people. They participate in planting trees in local communities, cleaning temples to prepare for various festival, cooperating with the community and contributing to community development. Recently, they organised novices and monks ordination ceremony on Princess Sirindhorn’s Birthday royal birth in April. Aung Kyaw, MWRN president, had a concluding remark for readers and stakeholders who have known the other side of migrant workers. “These are real experiences and information. I would like to see them being exchanged and disseminated to the wider public for mutual understanding of the people in the same society,” he said.
Activities
13 April: HRDF’s MJP in Mahachai HRDF participated in group novice and monk ordinations and layman precepts observers for summer period at Thep Nararat Temple, Mueang District, Samut Sakorn Province. The event is organised by Migrant Children Development Center with the Thep Nararat Temple. Migrant children and adults joined the ceremony to celebrate and make merit for Princess Sirindhorn’s birthday on 2nd April 2014. The ordination also intends to preserve local culture and tradition and to instil Buddhism values to children.
23 April, HRDF’s MJP Chiangmai office and migrant worker resource persons organise a knowledge activity in migrant communities at Baan Moh, Sankampaeng District, Chiang Mai Province. The session was entitled “Benefits of and Access to the Social Security Scheme.” Twenty two migrants (13 males, 9 females) participated. 28 April, HRDF’s MJP Chiangmai office and migrant worker resource persons organise a knowledge activity in migrant communities at Wat Ched Yord, Mueng District, Chiang Mai Province. The session was entitled “Benefits of the Social Security Act” and also featured a discussion on the state’s policy on migrant workers who has completed the four years residency term. Thirty migrants (17 males, 13 females) attended. 1 May, The Migrant Workers Federation (MWF) ( and workers’ right network such as the Migrant Workers Right Network (MWRN), the Garment and Industrial Workers Relation Confederation, the Electronic and Electrical Workers Union, the Gems and Jewellery Workers’ Union, Migrant Worker Network and Workers’ Rights Promotion Network of over 300 persons marched and campaigned to Acting Prime Minister, through Chiang Mai Governor to demand the Ministry of Labor and the Government to implement policy to protect and promote welfares of Thai and migrant workers and that the government should sign the ILO C 87 and 98 on the collective bargaining and association.
5 May, HRDF’s MJP Chiangmai office and migrant worker resource persons organise a knowledge activity in agricultural migrant sectors at Mae On, Chiang Mai Province. on labour rights under the Labour Protection Act and the the Social Security Act. The majority of migrants receive the wage at the legal rate but still do not have sufficient knowledge on labour rights and social security laws. Twenty four migrants (10 males, 14 females) attended. 8 May, HRDF’s MJP in Mahachai and MWRN representatives organised a legal knowledge training to migrant workers in Krathum Baen community, Samut Sakorn Province. Resource persons trained them on human rights and labour rights under the law, the Social Security Act and the Workmen Compensation Act. There are 30 trainees from the community. This training would enable them to know about labour rights and the mechanism where they can access help from many organisations because they were facing unfair wages problems and they were negotiating with their employer, the workers and a labour welfare and protection official.
15 May, HRDF and Cross Cultural Foundation Representative were resource persons to exchange experience and knowledge to provide access to justice and assistance to criminal prisoners in Catholic organisations working for the prisoners, organised by the Social Activity of Caritas Thailand, under the Catholic Bishops’ Conference of Thailand.Twenty one male and female priests attended the training. On 20 May, HRDF and Migrant Network met Mr Thein Naing, Labour Attaché of the Burmese Embassy to exchange and discuss information and experience on providing assistance to Burmese migrant workers in Thailand and to seek future collaboration opportunity between the civil society sector and the Burmese Embassy to provide assistance to Burmese migrant workers. จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ 53
During 22–23 May 2014, HRDF representative attended the ILO–RTG Multi–stakeholder forum on Labour conditions in fisheries sector in Thailand organized by the ILO to provide an overview of workers in fishery and seafood processing industries. The forum was attended by state sector, industry’s representatives, buyer’s representative from the European Union and the civil society sector. People attending the forum provided recommendations to monitor, improve the working condition and practical guideline to protect workers in the fishery and seafood processing industries.
30 May, HRDF’s MJP Chiangmai office organised a training of volunteers from various community to exchange and update the situation of migrant workers in their respective area.s It was found that migrants who have reached the full four years term of their work permit faced problems, the fees to use brokers to handle the matter was high, the repatriation fund problem. There were 12 volunteers, 9 males and 3 females.
During 27–28 May, HRDF representative attended the 6th ASEAN Forum on Migrant Labour (AFML) to update and monitor the situation, in particular the complaint mechanism regarding labour rights protection and the migrant worker database. Collaboration and schedule for the 6th AFML Forum was also discussed. The meeting was organised by the Task Force–ASEAN on Migrant Workers (TF–AMW) About AFML: AFML is an open platform for the review, discussion and exchange of best practices and ideas between governments, workers’ and employers’ organisations, and civil society stakeholders on key issues facing migrant workers in South East Asia, and to develop recommendations to advance the implementation of the principles of the ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers. The Forum provides opportunity to share stakeholder activities to implement the recommendations from past forums in Hanoi 2010, Bali 2011, and Siem Reap 2012, as well as the experience of developing the draft ASEAN Instrument on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers. On 29–31 May, HRDF’s LLC Mae Sot office organised a 7th paralegal training for Mae Sot District, Tak Province for 16 workers, 7 females, 9 males. Trainers used both Thai and Burmese version of the training manual, featuring topics on an understanding and knowledge of labour protection law, fact finding skills, gathering witnesses and evidences of migrant worker cases and basic legal counselling to workers and supporting to work of lawyers. 30 May, HRDF’s MJP Chiang Mai and volunteer migrant resource persons provide knowledge activity for migrant workers in construction sector at Doi Saket District, Chiang Mai, on “Labour Rights under the Labour Protection Act.” Workers in this training mostly did not receive the wages according to the Labour Protection Act and their employees did not register them with the Social Security Scheme. Forty four workers, 19 females, 22 males, attended 54 จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ
on 13 June 2014, HRDF representative attended a workshop on the Capacity Building Workshop on Strengthening the Role of Labour Attaches in Thailand. Participants came from the neighbouring countries of Thailand, including Myanmar, Laos and Cambodia. The workshop was organised by the International Labour Organisation (ILO) In addition to strengthening the work of labour attaché, the workshop also served the purpose for coordination and communication among labour attaché and other agencies involved with migrant worker protection and assistance in Thailand. HRDF Representative had the opportunity to present suggestions for the coordination of case assistances when migrants face problems and providing training, law and policy knowledge for workers in the community, and para–legal volunteer training to assist the labour attaché. On 18, 27–28 June 2014, HRDF representatives attended a preparatory meeting and observed the meeting on The AICHR Regional Consultation on the Contribution to the Review of the AICHR’s Terms of Reference. The consultation intended to monitor progress and challenges for AICHR as well as to gather inputs from participants to improve AICHR to protect and promote human rights and under the ASEAN Charter and the AICHR’s mandate. 18 June, HRDF’s MJP in Mahachai representative attended community network migrants meeting with a migrant network to promote health of workers at Wat Thep Nararat, Samut Sakhon Province. This meeting was held to prepare the annual conference of the MWRN and a fund–raising event for The Migrant Children’s Development Center (MCDC) at Wat Thep Nararat. On 19 June 2014, HRDF representative attended a seminar on“Thailand, Shelter, War Refugees, Asylum and Shelter Seekers” by of Sub–Committee of Civil Rights and Political Rights, National HUman Rights Commission. The seminar also invited representatives of NGOs that assist immigrants Rohingya and Muslims whose nationality cannot be determined in the southern part of Thailand as well as officials from the Immigration Bureau to share their experiences to help Rohingya and unidentified muslim immigrants. The seminar discussed an effort to prosecute those who were involved in human trafficking or unlawful exploitation of such groups. In the afternoon, representatives from international organisations and agencies, the State’s Security Agencies and the Ministry of Foreign Affairs also discussed the refugee situation in Thailand and a likelihood that the border shelters would be closed. 11 June, HRDF’s MJP in Mahachai representative visited a construction site in Cholburi Province to educate migrant workers on the rights under the Labor Protection Law and the Social Security Act after the workers had complained about the overdue payment. Fifteen workers attended the session. จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ 55
During 26–27 June, HRDF’s LLC Mae Sot office organised a training of trainers session to train resource persons on labour rights, using paralegal manual in Thai and Burmese versions, featuring topics on an understanding and knowledge of fundamental human rights principle, labour protection law, and access to labour protection mechanism There were 10 trainees, 8 males and 2 females.
Access to Justice and Rights Protection for Migrant Workers in Thailand The Human Rights and Development Foundation (HRDF) is a non–profit non–government organization that aims to promote and protect the human rights of migrant workers and their families in Thailand. Through the Access to Justice and Legal Protection Project and campaigns to promote the migrant workers’ potentials, HRDF has been working with several civil and state organizations at both national and international levels, with the following objectives: 1. To achieve greater efficiency in protection of the migrant workers’ rights through legal mechanisms and state channels (via petitions), 2. To enable the migrant workers to have better understanding of their human rights and access to the state’s protection and petition mechanisms, 3. To prevent the migrant workers and their families from falling victims to labour exploitation, 4. To educate Thai society about the necessity of migrant labour in Thailand, in order to promote peaceful co–existence despite racial and cultural differences. Editor: Ms.Preeda Tongchumnum and Ms.Phattranit Yaodam
บรรณาธิการ: นางสาวปรีดา ทองชุมนุม และนางสาวภัทรานิษฐ์ เยาด�า ติดต่อ: มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ส�านักงานกรุงเทพมหานคร (เฉพาะโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน) 109 ซอยสิทธิชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนนอก ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310 โทรศัพท์ 02 277 6882 โทรสาร 02 275 4261 www.hrdfoundation.org มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ส�านักงานจังหวัดสมุทรสาคร 93/200 หมู่ที่ 7 ต�าบลท่าทราย อ�าเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์/โทรสาร 034 414 087 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ส�านักงานจังหวัดตาก 14/12 ถนนประสาทวิถีเดิม ต�าบลแม่สอด อ�าเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63100 โทรศัพท์/โทรสาร 055 535 995 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ส�านักงานจังหวัดเชียงใหม่ 71 ถนนสนามกีฬาซอย 1 ชุมชนอุ่นอารีย์ ซอย 4 ต�าบลศรีภูมิ อ�าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์/โทรสาร 053 223 077 56 จดหมายขาวดานแรงงานขามชาติในประเทศไทยการเขาถึงความยุติธรรมและการคุมครองสิทธิ
Editor: Ms.Preeda Tongchumnum and Ms.Phattranit Yaodam Contact: Human Rights and Development Foundation–Bangkok (for the Anti–Human Trafficking Project only)109 Soi Sitthichon, Suthisarnwinichai Road, Samsennok, Huaykwang, Bangkok 10310 Tel. 662 277 6882 Fax. 02 2754261 www.hrdfoundation.org HRDF, Samut Sakhon Branch Office 93/200 Moo 7, Ta Sai Sub–district, Muang District, Samut Sakhon 74000 Tel/Fax 034 414 087 HRDF, Mae Sot District Branch Office 14/12 Prasart Witheederm Road, Mae Sot Sub–district, Mae Sot District, Tak 63100 Tel/Fax 055 535 995 HRDF, Chiang Mai Branch Office71 Sanamkeela Road, Soi 1, Un–Aree Community, Soi 4, Sriphum Sub–district, Muang District, Chiang Mai 50200 Tel/Fax 053 223 077