Payam Islam 37-1

Page 1


CONTENTS ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2559 Vol. 37 No.1 JANUARY-APRIL 2016 ISSN : 0859-7162 ผู้อ�ำนวยการ : Director มุฮัมหมัดริฎอ เซนอาลี บรรณาธิการอ�ำนวยการ : Editor-in-Chief เชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ บรรณาธิการ : Editor อรุณ เด่นยิ่งโยชน์

สารบัญ

หน้ า

บทบรรณาธิการ

2

อธิบายโองการ “ขอทรงชี้น�ำเราสู่หนทางที่เที่ยงตรง”

4

การเชิญชวนสู่อิสลามบนพื้นฐานแห่งตรรกะ

9

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) แบบอย่างส�ำหรับมนุษยชาติ

12

บทบาทของคนสองกลุ่ม ในความดีงามและความเสื่อมทรามของสังคม

19

วิเคราะห์เหตุการณ์จากค�ำปราศรัยต่างๆ ของท่านอายะตุลลอฮ์ ซัยยิด อะลี คอเมเนอี

24

ข้อเท็จจริงในตะวันออกกลาง กับความใฝ่ฝันของอเมริกา

30

ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ภาพลักษณ์แห่ง เอกภาพของประชาชาติอิสลาม

36

แผนการแบ่งซอยโลกอิสลาม

49

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

1

กองบรรณาธิการ : Section Editor นูรรีฎอ แสงเงิน อันวาร อูเซ็ง มัวฮ์ซิน ปานโด๊ะ มุฮัมมัด อูเซ็ง ออกแบบรูปเล่ม : Design/Artwork 14 พับลิเคชั่น E-mail : thaqalayn12@gmail.com โทร. 02 7325563 โทรสาร 02 7325564 ผลิตโดย : Published by ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ 106-106/1 ซอยเจริญมิตร สุขุมวิท 63 เอกมัย 10 แยก 6 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2392-2620-2 โทรสาร 0-2392-2623 CULTURAL CENTER THE EMBASSY OF ISLAMIC REPUBLIC OF IRAN BANGKOK 106-106/1 SOI CHAROENMITR, SUKHUMVIT 63 EKAMAI 10 YEAK 6, KLONGTON NUA, VADHANA BANGKOK 10110 THAILAND

ทรรศนะและความคิดเห็นในนิตยสารนี้ ไม่จ�ำเป็นต้องถือว่า เป็นจุดยืนอย่างเป็นทางการของศูนย์วัฒนธรรมฯ เรายินดีต้อนรับข้อเขียนจากนักเขียนและนักวิชาการทั่วไป ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกและตัดตอนข้อความที่ไม่สมควร โดยไม่ปิดบังความหมายของผู้เขียน และผู้เขียน บทความนั้นๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบบทความของตน


EDITORIAL บทบรรณาธิการ

http// Bangkok.icro.ir

ด้ วยพระนามของอัลลอฮ์ พระผู้ทรงเมตตา พระผู้ทรงกรุ ณาปรานีเสมอ แม้วา่ ประชาชาติอสิ ลามและสังคมมุสลิมทัว่ โลกมีประวัตศิ าสตร์และความภาคภูมใิ จในศตวรรษทีผา่ นมา และความแตกต่างจากเดิมคือความรุง่ โรจน์และความเฟืองฟูของอารยธรรมของตนทีเกิดขึน้ ในยุคกลาง แต่ขณะ เดียวกันชาติตะวันตกซึง่ เป็นชาติทไี ร้ซงึ่ วัฒนธรรมและหมกมุน่ ในการสร้างวัฒนธรรม แต่วนั นีส้ ถานการณ์เปลีย่ น ไปทีต้องเจอกับหลายบทบาท และบุคลิกภาพที่แตกต่างอยู่มากมาย เช่น การเกิดใหม่ของอิสลามวาฮาบี กลุ่ม ตักฟีรี และกลุ่มซัลฟี และยังที่ตามมาเช่น กลุ่มตอเลบัน อัลกออิดะห์ และยังมีสถานการณ์ต่างๆที่ยังติดเป็นห่วง โซ่คล้องคอประชาชาติอสิ ลามตามมาด้วย จากมุสลิมทีห่ น้าเชิดชูตา มีเอกลักษณ์ในอารยธรรม มีความเป็นสุภาพ ชน มีความรักและความเมตตา มีจิตวิญญาณที่เข้มแข้ง มีอุดมการณ์ที่หนักแน่นไม่อยู่ภายใต้การกดขี่ข่มเหง แต่พอมาวันนี้ต้องพบกับความอับอายด้วยการปรากฏของส�ำนักคิดที่สร้างความแตกต่างและความแตกแยกให้ กับมนุษยชาติจึงท�ำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสังคมมุสลิม ทั้งนี้ถึงท�ำให้สังคมมุสลิมเจอกับความอับอาย และต้องหาข้ออ้างมากมายเพื่อชี้แจงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ท�ำไมประชาชาติอิสลามและสัมคมมุสลิมทั่วโลกจึงประสบกับสถานการณ์เช่นนี้ ? มุสลิมทั้งหลายจะต้องหวนกลับไปมองตัวเอง ทั้งค�ำสอนและหลักศรัทธา และความเป็นสุภาพชนของ ตนเองอีกครั้ง และให้ตรวจดูว่าจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดเกิดจากจุดใด จุดเริ่มต้นของความเบี่ยงเบนเกิดขึ้นจากจุดใดและต่อเนื่องเพราะสาเหตุใด? กระผมมีความเชื่อว่าจุดที่เกิดความแตกต่างนั้น เกิดจากจุดที่มีความเห็นขัดแย้งกันจากค�ำสั่งใช้ใน อัลกุรอานและของท่านศาสดา (ซ.ล) มุสลิมแทนทีจ่ ะใช้ความเป็นพีน่ อ้ งสายสัมพันธ์ทางศาสนาอยูก่ นั ด้วยความรักและความเป็นเพือ่ น แต่กลับ ผลักไสพี่น้อง เป็นกาฟิร มุชริก และมุนาฟิก และหันหลังให้กับพวกเขา ปิดกลั้นโอกาสและยังใส่ร้ายป้ายสีให้กับ พวกเขาเหล่านั้นอีก กลุ่มหนึ่งจากชนมุสลิม ป้ายสีในความเป็นชีอะห์ กลุ่มหนึ่งป้ายสีเรื่องของตะเซาวุฟ กลุ่มหนึ่งป้ายสีความ ผิดบาป และหัวข้อป้ายสีต่างๆ ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่ในสังคม ฉะนั้นภาพลักษณ์ที่แสดงให้เห็นเป็นการแสดงถึง ความบกพร่องและความอ่อนแอ ซึ่งส่งผลอย่างมากในอนาคต เมื่อใดที่มุสลิมทั้งหลายมีอุดมการณ์ที่หนักแน่น ใส่ใจซึ่งกันและกันแบบฉันท์พี่น้อง ยืนเคียงข้างกันไม่ใส่ ร้ายซึ่งกันและกัน ปกป้องกันและกัน 2

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


แต่ถ้ามุสลิมกันเองห�้ำหั่นกันเอง ต่างฝ่ายต่างคิดที่จะแก้แค้นกันและกัน ว่าร้ายใส่กันทั้งกาเฟร มุชริก และ ประกาศเป็นศัตรูกัน ถึงตอนนี้อิสลามจะต้องมีความหวังจากอะไร จริงๆแล้วเคยมีความรู้สึกบ้างมั้ยว่า ความล้าหลังของประเทศมุสลิมกับประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม หรือความ ล้าหลังของสังคมมุสลิมกับไม่ใช่สังคมมุสลิม ความแตกต่างเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากที่ใด ? ความล้าหลังและความอ่อนแอเหล่านีเ้ ริม่ ขึน้ เมือ่ ใด ? แล้วท�ำไมมุสลิมถึงได้มสี ว่ นน้อยในหลายๆประเทศ เมื่อเทียบกับผู้ไม่ใช่มุสลิม ? หรือถ้าจะเปรียบในส่วนน้อยด้วยกันก็ยังเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนแอและล้าหลัง ถูกใส่ร้ายหรือโดนดูถูกเหยียดหยาม ? เป็นไปได้ยงั ไงว่าในประวัตศิ าสตร์เคยมีผปู้ กครองทีย่ งิ่ ใหญ่ในหน้าประวัตศิ าสตร์การเกิดอิสลาม แต่ปจั จุบนั เหลือเพียงเรื่องเล่า หรือกลายเป็นการเล่าเรื่องปลุกใจเพื่อสร้างความหวังเท่านั้น ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเกิดขึ้น !!? เราต้องกลับมาสู่ยุคของเราอีกครั้ง ถ้าหากว่าเรายังคงเดินตามแผนการณ์ของกลุ่มศัตรูอิสลามและผู้ไม่ หวังดีกับพี่น้องมุสลิมทั้งหลาย จนต้องท�ำให้เราละทิ้งหน้าที่ และหลงไปกับการวางแผนการณ์เหล่านั้น ไม่ได้ช่วย ท�ำให้เราคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันได้ จุดส�ำคัญและการเยียวยารักษานั้นเริ่มต้นจากในสังคมมุสลิมที่ ต้องค้นหาและด�ำเนินการแก้ไข ปัจจุบนั นีไ้ ม่มวี ธิ ใี ดทีจ่ ะสร้างความก้าวหน้าและความเฟือ่ งฟูให้กบั ประชาชาติอสิ ลามอีกแล้วนอกจากสันติ วิธีและความเข้าใจซึ่งกันและกัน และวิธีที่สร้างความถดถอย ความล้าหลัง และความเสื่อมโทรมของประชาชาติ อิสลามที่ได้ผลที่สุดก็คือ การสร้างความแตกแยก ความขุ่นเคือง ความรุนแรง ความกดดันต่างๆ ดังนั้นมุสลิมทั้งหลายต้องร่วมมือกันสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมภายใต้ร่มเงาการสอนของอัลกุรอานและ แบบอย่างของท่านศาสดา (ซ.ล) อย่าได้ให้ความแตกแยกและวัฒนธรรมที่แปลกปลอม ที่หลุดออกจากวงจร ของศาสนาและหลักการอิสลามมาท�ำลายพี่น้องมุสลิมด้วยกันได้ เราต้องพยายามสร้างความอดทน ท�ำจิตใจให้ เข้มแข็ง หลีกเลี่ยงความขุ่นเคืองซึ่งกันและกัน หากเราท�ำได้ดั่งนี้เป็นไปได้ว่าสังคมมุสลิมนั้นจะต้องเฟื่องฟูและ สว่างไสวอีกครั้ง และผมหวังว่าเป็นเช่นนั้น มุฮัมหมัดริฎอ เซนอาลี ทูตวัฒนธรรมแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจ�ำประเทศไทย

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

3


อธิบายโองการ

“ขอทรงชี้น�ำเราสู่หนทางที่เที่ยงตรง” บทความโดย กองบรรณาธิการ การด�ำเนินไปบนหนทางอันเที่ยงตรง หลั งจากที่มนุ ษย์ ยอมจ�ำนนต่ อองค์ พระผู้ อภิบาลแห่ งสากลจักรวาล และได้ ยกระดับตนเอง ขึ น้ สู่ การสั ก การะภั ก ดี แ ละการแสวงหาความ ช่ วยเหลือจากอัลลอฮผู้ทรงสูงส่ ง เขาก็จะวิงวอน ขอให้ พระองค์ ทรงชี น้ � ำเขาสู่ หนทางที่เที่ยงตรง (‫ )رصاط املستقيم‬หนทางแห่ งความบริสุทธิ์ ความ ดีงาม ความยุตธิ รรม ศรัทธา และการประพฤติชอบ เพื่อที่อัลลอฮจักได้ ประทานทางน�ำให้ แก่ เขาหลัง จากที่พระองค์ ได้ ทรงประทานสิ่งที่ดีงามทัง้ หลาย ให้ แก่ เขามาก่ อนหน้ านี ้ ในขณะที่ท�ำการวิงวอนขอในสิ่งนี ้ มนุ ษย์ จะต้ องเป็ นผู้ศรั ทธาและรู้ จักกับองค์ อภิบาลของ เขาอย่ างแน่ นอน แต่ ทว่ าเขาจะต้ องเผชิญกับการ ล่ อลวงให้ หนั เหออกจากหนทางอันเที่ยงตรงด้ วย เหตุจงู ใจต่ าง ๆ ด้ วยเหตุนีเ้ อง จึงจ�ำเป็ นที่เขาจะ ต้ องวอนขอซ�ำ้ ๆ กันเป็ นสิบ ๆ ครัง้ ในแต่ ละวัน เพื่อ ที่อลั ลอฮจักได้ ปกป้องเขาให้ พ้นจากความหลงผิด

4

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


หนทางอันเที่ยงตรง (‫ )رصاط املستقيم‬นั้นคือ ศาสนาของอัลลอฮ และมันนั้นก็มีระดับขั้นที่หลาก หลาย และไม่ว่ามนุษย์จะบรรลุสู่ระดับไหนมันก็จะยัง คงมีระดับขั้นที่สูงส่งกว่ารออยู่เสมอ มนุษย์ผู้ศรัทธา จะต้องปรารถนาอยู่ตลอดเวลาที่จะด�ำเนินไปบนบรร ไดแห่งความสูงส่งนี้ และเขาจะต้องแสวงหาความช่วย เหลือจากอัลลอฮในสิ่งนั้น มีค�ำถามหนึ่งเกี่ยวกับการวอนขอต่ออัลลอฮให้ พระองค์ทรงชีน้ ำ� เราไปสูห่ นทางทีเ่ ทีย่ งตรง นัน่ ก็คอื เรา เป็นผูห้ ลงผิดหรือไร ถึงต้องการการชีน้ ำ� ? อีกทัง้ การวอน ขอในรูปแบบนีจ้ ะมาจากมะอ์ศมู (ผูท้ ไี่ ด้รบั การปกป้องให้ พ้นจากความผิดพลาด) ได้อย่างไร ทั้ง ๆ ทีพ่ วกท่านนั้น เป็นมนุษย์ผสู้ มบูรณ์? เราสามารถตอบข้อสงสัยนีไ้ ด้ดงั นี้ ประการแรก : มนุษย์ตอ้ งเผชิญกับความเสีย่ งที่ จะหันเหออกจากทางทีเ่ ทีย่ งตรงอยูต่ ลอดเวลา (ดังทีเ่ รา ได้อธิบายไปแล้ว) ดังนัน้ มนุษย์จงึ ต้องแสวงหาการช่วย เหลือจากอัลลอฮ เพือ่ ทีเ่ ขาจักได้ดำ� รงอยูอ่ ย่างมัน่ คงบน หนทางที่เที่ยงตรง เราจะต้องระลึกอยู่เสมอว่า ความโปรดปรานใน การด�ำรงอยู่และสิ่งต่าง ๆ ที่พระเป็นเจ้าทรงประทาน ให้นนั้ มันได้ไหลหลัง่ ลงมาสูเ่ ราในทุกชัว่ ขณะ อีกทัง้ เรา และสรรพสิ่งทั้งหลายนั้นก็เปรียบเสมือนกับหลอดไฟที่ แสงสว่างของมันมาจากเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้า ซึ่งมันจะ ผลิตกระแสไฟฟ้าใหม่ในทุกวินาที และส่งกระแสไฟฟ้า นั้นไปสู่หลอดไฟตามสายไฟ เพื่อที่กระแสไฟนั้นจะได้ ผันแปรเป็นแสงสว่างอันเรืองรอง การด�ำรงอยู่ของเราก็เหมือนกับแสงสว่างของ หลอดไฟทีก่ ล่าวไปข้างต้น นัน่ ก็เพราะว่าการด�ำรงอยูน่ ี้ (ถึงแม้จะดูเหมือนว่ามันจะต่อเนือ่ งกันอย่างไม่ขาดสาย) ในความเป็นจริงแล้วมันคือการด�ำรงอยูท่ แี่ ปรเปลีย่ นซึง่ ไหลหลั่งมาจากแหล่งเดียวกันอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือ พระผู้สร้างผู้ทรงประทานการมีอยู่ทั้งปวง ดังนั้น การ แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลานี้ต้องการการชี้น�ำอย่างไม่

ขาดสาย และหากว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นในสายไฟ แห่งจิตวิญญาณที่ผูกมัดเราไว้กับอัลลอฮ เช่น การอ ยุติธรรมและความเลวทราม ความสัมพันธ์ระหว่างเรา กับอัลลอฮก็จะขาดลง และเราก็จะต้องหันเหออกจาก หนทางอันเที่ยงตรง ดังนั้น เราจึงวอนขอต่ออัลลอฮในทุก ๆ การ ละหมาดของเรา เพื่อที่ความผิดพลาดจะได้ไม่เกิดกับ เรา และเพื่อที่เราจักได้มั่นคงอยู่ในหนทางอันเที่ยงตรง ประการที่สอง : การชี้น�ำนั้นคือการจาริกไปยัง ความสมบูรณ์ ซึ่งมันเป็นการเดินทางที่มีระดับขั้น ซึ่ง ในแต่ละระดับนั้นมนุษย์จะต้องผ่านความบกพร่องไป สู่ระดับขั้นที่สูงกว่า และหนทางแห่งความสมบูรณ์นั้น (ดังเช่นทีเ่ รารูก้ นั ) เป็นหนทางทีย่ าวไกลอย่างไม่มที สี่ นิ้ สุด การอธิบายในข้างต้นท�ำให้เราสามารถเข้าใจถึง เหตุผลทีเ่ รา รวมถึงบรรดานบีและบรรดาอิมาม ต้องขอ ให้อลั ลอฮทรงชีน้ ำ� สูห่ นทางทีเ่ ทีย่ งตรง (‫)رصاط املستقيم‬ นัน่ ก็เพราะว่าความสมบูรณ์ทแี่ ท้จริงนัน้ เป็นของอัลลอฮ เท่านั้น ส่วนสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พระองค์นั้นต่างก็ด�ำเนินไป ในหนทางแห่งความสมบูรณ์ แล้วมันจะแปลกอะไรทีบ่ ร รดามะอ์ศูม (ผู้ที่ได้รับการปกป้องให้พ้นจากความผิด พลาด) จะขอให้อัลลอฮประทานระดับขัน้ และฐานันดร ทีส่ งู ส่งกว่าให้แก่พวกท่าน อนึง่ การทีเ่ ราขอพร (ศอลาต) ให้แก่มฮุ มั มัดและวงศ์วานแห่งมุฮมั มัดนัน้ ก็หมายความ ถึง การทีเ่ ราขอให้พระองค์เมตตาพวกท่าน และประทาน ฐานันดรอันสูงขึ้นให้แก่พวกท่าน ท่านศาสนทูต (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “โอ้ องค์ อภิบาล ขอโปรดทรงเพิม่ พูนความรู้ให้แก่ ข้าฯ” (ซูเราะฮ์มรั ยัม โองการที่ 76) เช่นเดียวกันนี้ อัลกุรอานได้กล่าวว่า “และผู้ทรี่ ั บทางน�ำ ทางน�ำก็จะเพิม่ พูนแก่ พวกเขา และพระองค์ กจ็ ะทรงประทานความย�ำเกรงให้ แก่ พวกเขา” (ซูเราะฮ์มุฮัมมัด โองการที่ 17) และเพื่อราย ละเอียดเพิ่มเติม เราก็ขอกล่าวถึงหะดีษสองบท คือ 1. หัวหน้าแห่งศรัทธาชน (อ) กล่าวอรรถาธิบาย

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

5


โองการ ‫( اهدنا الرصاط املستقيم‬ขอทรงชี้น�ำเราสู่ หนทางที่เที่ยงตรง) ว่า ‫"أدم لنا توفيقك الذي أطعناك به يف ما مىض من‬ "‫ حتى نطيعك يف مستقبل أعامرنا‬،‫أيامنا‬ “ขอโปรดทรงประทานความมัน่ คงถาวรให้แก่ ความส� ำเร็ จที ่เราได้ภกั ดี ต่อพระองค์ ด้วยกับมันในวัน วารทีผ่ นั ผ่าน เพือ่ ทีเ่ ราจักได้ภกั ดีต่อพระองค์ในอายุขยั ทีเ่ หลือของเราในอนาคต” 1 2. อิมามญะอ์ฟรั บินมุฮมั มัด อัล-ศอดิก (อ) กล่าวว่า ‫ واملب ّلغ‬،‫"يعني ارشدنا للزوم الطريق املؤدي إىل حمبتك‬ ‫ أو أنا‬،‫ واملانع من أن نتبع أهواءنا فنعطب‬،‫إىل جنتك‬ "‫نأخذ بآرئنا فنهلك‬ “หมายความว่า ขอพระองค์ทรงชีน้ �ำเราให้ยึดมัน่ อยูก่ บั หนทางทีจ่ ะน�ำไปสูค่ วามรักต่อพระองค์ และน�ำเรา ไปสู่สรวงสวรรค์ของพระองค์ และหักห้ามเราจากการ ปฏิ บตั ิ ตามอารมณ์ ใฝ่ ต�่ำของพวกเรา จนท�ำให้พวกเรา ต้องพิ นาศ หรื อยึดถือตามทัศนะของพวกเรา จนท�ำให้ พวกเราหายนะ” 2

6

หนทางอันเที่ยงตรง (‫ )رصاط املستقيم‬คืออะไร? จากการศึกษาโองการต่าง ๆ ของอัลกุรอาน เราจะ พบได้วา่ หนทางดังกล่าวก็คอื หนทางแห่งเตาฮีด (ความ เป็นเอกะของพระเป็นเจ้า) และการปฏิบตั ติ ามพระบัญชา ของอัลลอฮ แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ปรากฏในอัลกุรอาน ด้วยส�ำนวนและถ้อยค�ำทีห่ ลากหลาย ในโองการหนึง่ ได้ กล่าวว่ามันคือศาสนาอันเที่ยงตรง (‫ )الدين القيم‬และ เป็นแนวทางของอิบรอฮีม (‫ )ملة إبراهيم‬เช่น ‫رب إىل رصاط مستقيم دينا قيام ملة‬ ّ ‫"قل إنني هداين‬ "‫إبراهيم حنيفا وما كان من املرشكني‬ “จงกล่ าวเถิดว่ า แท้ ที่จริ งแล้ วองค์ อภิบาล ของฉันได้ ชน้ี ำ� ฉันไปสู่หนทางทีเ่ ทีย่ งตรง ศาสนาอัน เทีย่ งแท้ อนั เป็ นแนวทางอันเทีย่ งตรงแห่ งอิบรอฮีม และท่ านนั้ นมิได้ เป็ นหนึ่งจากผู้ต้ังภาคี” (ซูเราะฮ์ อัลอันอาม โองการที่ 161) นอกจากนั้น หนทางที่เที่ยงตรงยังหมายถึงการ ปฏิเสธการภักดีต่อชัยฏอน และการมุ่งมั่นสู่การสักกา ระอัลลอฮเพียงพระองค์เดียว ดังเช่นโองการที่กล่าวว่า ‫"أمل أعهد إليكم يا بني آدم أن ال تعبدوا الشيطان إنه‬

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


"‫لكم عدو مبني وأن اعبدوين هذا رصاط مستقيم‬ “เรามิได้ กระท�ำพันธสัญญากับสูเจ้ าหรื อ โอ้ บุตรแห่ งอาดัม ว่ าสูเจ้ าจักต้ องไปสักการะบูชาชัย ฏอน แท้ จริงมันนั้นเป็ นศัตรูทช่ี ดั เจนของสูเจ้ า และ ให้ สักการะบูชาข้ า เพราะนี่คอื หนทางอันเทีย่ งตรง” (ซูเราะฮ์ยาสีน โองการที่ 61-62) อนึ่ง อัลกุรอานก็ได้กล่าวว่า หนทางที่จะน�ำไป สู่หนทางที่เที่ยงตรงนั้นก็คือ การยึดมั่นอยู่กับอัลลอฮ "‫"ومن يعتصم باهلل فقد ُهدي إىل رصاط مستقيم‬ “และใครก็ตามทีย่ ดึ มั่นอยู่กับอัลลอฮ เขาก็ จักได้ รับทางน�ำไปสู่หนทางอันเทีย่ งตรง” (ซูเราะฮ์ อาลุอิมรอน โองการที่ 101) สิง่ ส�ำคัญทีเ่ ราต้องกล่าวถึงก็คอื หนทางอันเทีย่ ง ตรงนัน้ มีเพียงหนทางเดียว เพราะว่าระหว่างจุดสองจุด นั้นไม่อาจมีเส้นทางที่เที่ยงตรงมากไปกว่าหนึ่ง ฉะนั้น หนทางทีเ่ ทีย่ งตรงตามแนวคิดของอัลกุรอานอันจ�ำเริญก็ คือ ศาสนาแห่งพระเป็นเจ้า ไม่วา่ จะในหลักศรัทธาหรือ ภาคปฏิบตั ิ นัน่ ก็เพราะว่าศาสนานีเ้ ป็นหนทางทีใ่ กล้ทสี่ ดุ ส�ำหรับการสร้างสัมพันธภาพกับอัลลอฮผูท้ รงสูงส่ง และ

ด้วยเหตุนี้เอง ศาสนาที่แท้จริงจึงมีเพียงหนึ่งเดียว ตาม ทีอ่ ลั กุรอานได้กล่าวไว้วา่ “แท้จริงศาสนา ณ อัลลอฮคือ อิสลาม” (ซูเราะฮ์อาลุอิมรอน โองการที่ 190) ซึ่งเราจะ ได้อธิบายในโอกาสต่อไปว่า อิสลามนัน้ มีความหมายที่ ครอบคลุมศาสนาแห่งเอกานุภาพ (‫ )دين التوحيد‬ทุก ศาสนาในยุคสมัยของมัน ตราบใดทีศ่ าสนานัน้ ยังไม่ถกู แทนที่ด้วยศาสนาใหม่ จากทีไ่ ด้อธิบายไปนีท้ ำ� ให้เราเข้าใจว่า “หนทางอัน เทีย่ งตรง” นัน้ มีหลายความหมาย ซึง่ แต่ละความหมาย ก็ตา่ งย้อนกลับไปสูค่ วามเดียวกัน เพราะไม่วา่ “หนทาง อันเทีย่ งตรง” จะหมายถึงอิสลาม อัลกุรอาน นบีและบร รดาอิมาม หรือศาสนาของอัลลอฮก็ตาม แต่ทกุ ๆ ความ หมายทีก่ ล่าวมานีก้ ล็ ว้ นแต่ยอ้ นกลับไปสูศ่ าสนาของพระ เป็นเจ้า ทั้งในแง่ของหลักศรัทธาและการปฏิบัติ อนึ่ง ริ วายะฮ์ทกี่ ล่าวถึงความหมายของ “หนทางอันเทีย่ งตรง” ก็ได้กล่าวถึงความหมายที่หลากหลาย แต่ก็ต่างย้อน กลับไปสู่ความหมายเดียวกัน เช่นวจนะของท่านศาสน ทูต (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ‫"اهدنا الرصاط املستقيم رصاط األنبياء وهم الذين‬ "‫أنعم اهلل عليهم‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

7


“หัวหน้าของศรัทธาชน (อ) คือหนทางอันเทีย่ งตรง” 3 ซึ่งเป็นที่กระจ่างชัดว่า ท่านนบี (ศ็อลฯ) และ บรรดาอิมามแห่งอะห์ลุลบัยต์ (อ) พวกท่านเหล่านั้น ต่างเรียกร้องไปสู่ศาสนาแห่งเอกานุภาพของพระเป็น เจ้า อีกทั้งเรียกร้องไปสู่การยึดมั่นอยู่กับศาสนานั้น ทั้ง ทางด้านความเชื่อและการปฏิบัติ รอฆิบ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “มุฟรอดาต” ของ เขาว่าค�ำว่า “ศิรอต” (‫ )رصاط‬นั้นหมายถึงความเที่ยง ตรงอยู่แล้ว ดังนั้นการใช้ค�ำว่า “มุสตะกีม” (‫)مستقيم‬ มาขยายมันอีกก็ถอื เป็นการเน้นย�ำ้ ให้มคี วามหนักแน่น มากยิ่งขึ้น เชิงอรรถ (1) มะอานี อัล-อัคบาร และตัฟสีร อัล-อิมาม อัล-หะสัน อัล-อัสกะรี คัดลอกจาก ตัฟสีร อัล-ศอฟี ท้ายโองการดังกล่าว (2) มะอานี อัล-อัคบาร และตัฟสีร อัล-อิมาม อัล-หะสัน อัล-อัสกะรี คัดลอกจาก ตัฟสีร อัล-ศอฟี “ขอทรงชีน้ �ำเราสูห่ นทางอันเทีย่ งตรง หนทางของ (3) วจนะต่าง ๆ เหล่านี้มาจากตัฟสีร นูร อัลบรรดานบี ซึ่งพวกท่านเหล่านัน้ คือผูท้ ีอ่ ลั ลอฮได้ประทาน ษะกอลัยน์ เล่ม 1 หน้า 20-21 ความโปรดปรานแด่พวกท่าน” หรือวจนะของญะอ์ฟรั บินมุฮมั มัด อัล-ศอดิก (อ) ที่กล่าวอรรถาธิบายโองการนี้ว่า "‫اهدنا الرصاط املستقيم " الطريق هو معرفة اإلمام‬ “ขอทรงชี น้ �ำเราสู่หนทางทีเ่ ทีย่ งตรง หนทางนัน้ ก็คือการรู้จกั อิ มาม” หรือวจนะของท่านที่กล่าวว่า "‫"واهلل نحن الرصاط املستقيم‬ “ขอสาบานด้ ว ยอัล ลอฮ พวกเราคื อ หนทาง อันเทีย่ งตรง” รวมถึงวจนะที่กล่าวว่า "‫"الرصاط املستقيم أمري املؤمنني عليه السالم‬

8

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


การเชิญชวน

สู่อิสลาม บนพื้นฐาน แห่งตรรกะ

บทความโดย Sahibzaman

ข้ อเคลือบแคลงสงสัยประการหนึ่ง ที่ศตั รูของ อิสลามพยายามที่จะหยิบยกและน�ำเสนอใน โซ เชียลมีเดียหรือสื่อสารทางอินเตอร์ เน็ตและองค์ กร ต่างๆ นั่นก็คอื พระเจ้าเรียกร้ องเชิญชวนมนุษยชาติ ไปสู่อสิ ลามด้ วยการบีบบังคับกระนัน้ หรื อ? เพื่อที่ จะตอบข้ อเคลือบแคลงสงสัยนี ้ ในเบือ้ งต้ นจ�ำเป็ น ที่เราจะต้ องมาท�ำความเข้ าใจก่ อนว่ า โดยพืน้ ฐาน แล้ วเป็ นเป็ นไปได้ หรื อไม่ ท่ จี ะบีบบังคับบุคคลอื่น ให้ มีศรั ทธาและ เชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง? ความศรั ทธา (อีหม่ าน) และความเชื่อนัน้ เป็ นเรื่ องภายในของหัวใจ และเรื่ องของหัวใจนัน้ ไม่ สามารถที่จะบังคับกันได้ ไม่ มีใครที่จะสามารถ ใช้ กำ� ลังหรื อการข่ มขู่เพื่อบีบบังคับผู้อ่ ืนให้ เชื่อใน เรื่ องใดเรื่ องหนึ่งได้ แม้ เป็ นไปได้ ว่าบางทีด้วยผล ของการข่ มขู่และความกลัวอาจจะท�ำให้ เขาผู้นัน้ แสดงออกทางภายนอกว่ าศรั ทธาและเชื่อมั่น แต่ ความศรั ทธาที่แท้ จริ งในหัวใจนัน้ ไม่ อาจที่จะเกิด ขึน้ ด้ วยวิธีการดังกล่ าวได้ อย่ างแน่ นอน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

9


เช่นเดียวกับความรัก และความเกลียดชัง ซึ่ง เป็นเรื่องของหัวใจ และไม่สามารถที่จะบังคับใครให้รัก ตนเองได้ และด้วยเหตุนี้เองที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า ِ ِّ‫َل إِك َْرا َه ِف الد‬ ‫الر ْشدُ ِم َن ا ْل َغ ِّي‬ َ َّ ‫ين َقدْ َت َب‬ ُّ ‫ي‬

“ไม่ มกี ารบังคับใดๆ ในศาสนา แน่ นอน ความ ถูกต้องนัน้ เป็ นทีก่ ระจ่างแจ้งแล้วจากความหลงผิด” (1) ด้ ว ยเหตุ ผ ลดั ง กล่ า วนี้ เ ช่ น กั น ที่ ใ นคั ม ภี ร ์ อัลกุรอาน พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ทรงตรัสต่อท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ว่า ِ ‫َو َل ْو َشا َء َر ُّب َك الَ َم َن َمن ِىف ْالَ ْر‬ ‫ض ُك ُّل ُه ْم َجِي ًعا َأ‬ ‫تى َيكُونُو ْا ُم ْؤ ِمنِني‬ َ ‫َف َأ‬ َ ‫نت ُتك ِْر ُه الن‬ َ ‫َّاس َح‬ “และ หากพระผู้อภิบาลของเจ้ าทรงประสงค์ แล้ ว แน่ นอน ผู้ท่ีอยู่ในแผ่ นดินทั้งมวลจะศรั ทธา เจ้ าจะบังคับหมู่ชนเพื่อให้ พวกเขาเป็ นผู้ศรั ทธา กระนั้นหรื อ” (2) คัมภีรอ์ ลั กุรอานโองการนีไ้ ด้อธิบายอย่างชัดเจน ว่า หากพระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์แล้ว พระองค์ก็ทรง สามารถที่จะท�ำให้มนุษย์ทุกคนกลายเป็นผู้ศรัทธาโดย การบังคับ (ญับร์) ด้วยเดชานุภาพและมหิทธานุภาพ ของพระองค์ แต่ทว่าพระองค์ทรงประสงค์ทจี่ ะให้มนุษย์ จ�ำแนกแยกแยะแนวทางทีถ่ กู ต้องออกจาก แนวทางทีผ่ ดิ พลาดด้วยเจตจ�ำนงเสรี (อิคติยาร) ของตนเอง และทรง ประสงค์ทจี่ ะให้พวกเขาย่างก้าวไปบนเส้นทางแห่งความ ส�ำเร็จและความผาสุก ไพบูลย์ บนพืน้ ฐานของวิสยั ทัศน์ ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง เจตจ�ำนงเสรีและเสรีภาพ ในอีกโองการหนึง่ พระองค์ทรงตรัสต่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า ِ ‫َلع َّل َك ب‬ ‫اخ ٌع َّن ْف َس َك َأ َّل َيكُونُو ْا ُم ْؤ ِمنِني* إِن ن ََّش ْأ ن َُّنز ْل‬ َ َ ِ ‫َع َليهم من السم ِء ءاي ًة َف َظ َّل ْت َأ ْعنَا ُقهم هلا َخ‬ ‫اض ِعني‬ َ َ َ َّ َ ِّ ْ ُ ่ วกเขาไม่ ศรัทธานั้น อาจท�ำให้ “บางทีการทีพ เจ้ าถึงกับจะเป็ นผู้ทำ� ลายชีวติ ของเจ้ าเอง หากแม้ น

10

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


เราประสงค์ เราก็จะให้ มีสัญลักษณ์ หนึ่งจากฟาก ฟ้าลงมายังพวกเขา แล้ วคอของพวกเขาก็ยอมก้ ม แสดงความนบนอบต่ อมัน” (3) จากโองการต่างๆ ของคัมภีรอ์ ลั กุรอานนัน้ สามารถ สรุปได้เป็นอย่างดีว่า ตรรกะของท่านศาสนทูตแห่ง อัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) คือการแนะน�ำตักเตือนที่ดีงาม ไม่ใช่ การบีบบังคับและการใช้อำ� นาจข่มขู่ ท่านพยายามทีจ่ ะ ชีน้ ำ� ทางประชาชนด้วยวิธกี ารทีด่ ที สี่ ดุ คัมภีรอ์ ลั กุรอาน เองได้กล่าวว่า ِ ِ ِ ِْ ِ‫بيل رب َك ب‬ ‫ال َسن َِة َو‬ ِّ َ ِ ‫ا ْد ُع إِىل َس‬ َ ْ ‫الك َْمة َو ا َْل ْوع َظة‬ ِ ‫جاد ْل ُ ْم بِا َّلتي ِه َي َأ ْح َسن‬ “จงเรี ยกร้ องเชิญชวนสู่แนวทางของพระผู้ อภิบาลของเจ้ าด้ วยวิทยปั ญญา และการตักเตือนที่ ดีงาม และจงโต้ แย้ งพวกเขาด้ วยสิง่ ทีด่ งี ามยิง่ กว่ า” (4) ท่ า นศาสตราจารย์ ช ะฮี ด มุ ร ตะฎอ มุ เ ฏาะฮ์ ฮะรี กล่าวว่า “ประเด็นนี้ถูกหยิบยกและตั้งเป็นปมค�ำถามอยู่ บ่อยครั้งที่ว่า ศาสนาอิสลามนั้น การเรียกร้องเชิญชวน ของมัน อาศัยก�ำลังและการบีบบังคับ หรือว่าอาศัย ตรรกะและเจตจ�ำนงเสรี” และนีค้ อื สิง่ ทีบ่ รรดาบาทหลวงชาว คริสต์ (ยิง่ ไปกว่า นัน้ ชาวตะวันตกทัง้ หลาย) ได้ทำ� การโหมโฆษณาชวนเชือ่ เป็นพิเศษในประเด็นนี้ ถึงขั้นที่ว่าพวกเขาได้กล่าวขาน ถึงอิสลามว่า “อิสลามคือศาสนาที่เกิดจากคมดาบ” อิสลามเป็นศาสนา (แห่งความรุนแรง) ทีจ่ ะอาศัย ดาบเพียงเท่านัน้ ... และแม้แต่ในหนังสือบางเล่มของพวก เขา ก็ได้แสดงการหมิน่ ประมาทต่อท่านศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) และพวกเขาได้เขียนการ์ตนู ล้อเลียนต่างๆ ในรูป ของบุรุษผู้ซึ่งในมือข้างหนึ่งถือคัมภีร์อัลกุรอาน และใน มืออีกข้างหนึง่ ถือดาบ และยืนอยูเ่ หนือศีรษะของผูค้ นทัง้ หลาย (และปัจจุบนั ระเบิดนิวเคลียร์ถกู ใช้แสดงแทนดาบ เคียงคูก่ บั คัมภีรอ์ ลั กุรอาน) ซึง่ ต้องการจะสือ่ ความหมาย

ว่า พวกท่านจงศรัทธาต่อคัมภีร์อัลกุรอานเล่มนี้ หรือมิ เช่นนั้นเราก็จะบั่นคอของพวกท่านด้วยดาบนี้ (หรือเรา จะท�ำลายพวกท่านด้วยระเบิดนิวเคลียร์) และนับเป็นความโชคร้าย ที่บางครั้งชาวมุสลิม เองก็จะพูดค�ำพูดต่างๆ ทีไ่ ม่สอดคล้องกับประวัตศิ าสตร์ และไม่สอดคล้องคัมภีร์อัลกุรอาน แต่ไปสอดคล้องกับ ค�ำพูดต่างๆ ของบรรดาศัตรู กล่าวคือ ค�ำพูดซึง่ ด้านหนึง่ ของมันนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่พวกเขาได้ตีความและ อรรถาธิบายเป็นอย่างอื่น และกลายเป็นเหตุผลข้ออ้าง ทีไ่ ปอยูใ่ นมือของพวกเหล่านัน้ ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะ กล่าวว่า “อิสลามเจริญก้าวหน้าด้วยกับสองสิง่ คือด้วย กับทรัพย์สมบัตขิ องท่านหญิงคอดิญะฮ์และด้วยกับดาบ ของท่านอะลี (อ.)” กล่าวคือ ด้วยกับความมัง่ คัง่ และการ ใช้กำ� ลังบีบบังคับ ถ้าหากศาสนาเจริญก้าวหน้าด้วยกับ ความมั่งคั่งและการใช้ก�ำลังบีบบังคับแล้ว ศาสนาดัง กล่าวนัน้ ควรจะเป็นศาสนาประเภทใดกัน?! แต่ทว่าคัมภีร์ อัลกุรอานไม่มแี ม้แต่เพียงทีเ่ ดียวทีจ่ ะกล่าวว่า “ศาสนา อิสลามได้รับความเจริญก้าวหน้าและแผ่ขยายด้วยกับ ความมั่งคั่งและการใช้ก�ำลังบีบบังคับ...” (5) แหล่ งอ้ างอิง [1] อัลกุรอานบท อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 256 [2] อัลกุรอานบท ยูนุส โองการที่ 99 [3] อัลกุรอานบท อัชชุอะรออ์ โองการที่ 3 และ 4 [4] อัลกุรอานบท อันนะฮ์ลิ โองการที่ 125 [5] ซีเรเย นะบะวี, ชะฮีดมุเฏาะฮ์ฮะรี, หน้าที่ 138 ทีม่ า : sahibzaman.com

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

11


บทความโดย เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์

อัซซะฮ์รอ (อ.) แบบอย่างส�ำหรับ

มนุษยชาติ 12

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


บทบาทหรื ออิทธิพลของแบบอย่ างที่มีผลกระทบต่ อวิถีการด�ำเนินชีวติ ของมนุษย์ เรานัน้ นับได้ ว่ าเป็ นเรื่ องที่มีความชัดเจนยิ่งส�ำหรั บทุกคน การลอกเลียนและการปฏิบัติตามแบบอย่ างจากบุคคล อื่นคือสัญชาติญาณทางธรรมชาติอย่ างหนึ่งที่ถกู ก�ำหนดไว้ ในตัวมนุษย์ ทกุ คน ด้ วยเหตุนีเ้ องเราจะเห็น ได้ ว่า ศาสนาอิสลามจึงให้ ความส�ำคัญเป็ นพิเศษในเรื่ องของการเลือกแบบอย่ าง และคัมภีร์อัลกุรอาน เองก็พยายามที่จะน�ำเสนอแบบอย่ างในทางปฏิบตั ใิ ห้ แก่ มวลมนุษย์ ได้ ยดึ ถือและปฏิบตั ติ ามตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่นในเรือ่ งของสตรี คัมภีรอ์ ลั กุรอาน ได้ยำ�้ ถึงแบบอย่างของท่านหญิงอาซิยะฮ์และท่านหญิง มัรยัมไว้บอ่ ยครัง้ อย่างเช่นในคัมภีรอ์ ลั กุรอานได้กล่าวว่า ‫ض َب اللَُّ َم َث ًل لِ َّل ِذي َن َآ َمنُوا اِ ْم َر َأ َة فِ ْر َع ْو َن إِ ْذ َقا َل ْت‬ َ َ ‫َو‬ ِ ‫الن َِّة َون َِّجنِي ِم ْن فِ ْر َع ْو َن‬ َ ْ ‫َر ِّب ا ْب ِن ِل عنْدَ َك َب ْيتًا ِف‬ ‫ني‬ َ ِ‫َو َع َم ِل ِه َون َِّجنِي ِم َن ا ْل َق ْو ِم ال َّظال‬ َ ‫َو َم ْر َي َم ا ْبن َ​َت ِع ْم َر‬ ‫ان ا َّلتِي َأ ْح َصن َْت َف ْر َج َها َفنَ َف ْخنَا‬ ِ ‫وحنَا وصدَّ َق ْت بِك َِلم‬ ِ ‫فِ ِيه ِمن ر‬ ‫ت َر ِّ َبا َو ُكتُبِ ِه‬ َ َ َ ُ ْ ‫ني‬ ْ ‫َوكَان‬ َ ِ‫َت ِم َن ا ْل َقانِت‬ “และอัลลอฮ์ ทรงยกอุทาหรณ์ (ตัวอย่ าง) หนึง่ ส�ำหรั บบรรดาผู้ศรั ทธา อันได้ แก่ ภรรยาของฟิ รอูน เมือ่ นางได้กล่ าวว่ า : โอ้ พระผู้อภิบาลของข้ าพระองค์ โปรดสร้ างบ้ านหลังหนึ่งให้ ข้าพระองค์ ณ พระองค์ ในสรวงสวรรค์ และโปรดท�ำให้ข้าพระองค์ ปลอดภัย

จากฟิ รอูนและการกระท�ำของเขา และโปรดท�ำให้ ข้ าพระองค์ ปลอดภัยจากกลุ่มชนผู้อธรรมด้ วยเถิด และ(อีกตัวอย่ างหนึ่ งอันได้ แก่ )มัรยัมบุตรี ของอิ มรอน(ผู้เป็ นมารดาของอีซา)ซึ่งนางได้ รักษาพรม จรรย์ ของนางไว้ ต่ อมาเราได้ เป่ าวิญญาณของเรา ลงไปในนั้น(แล้ วนางก็ตง้ั ครรภ์ และให้ กำ� เนิดบุตร) และนางได้ เชื่อมั่นในพระค�ำและบรรดาคัมภีร์ของ พระผู้อภิบาลของนาง และนางเป็ นผู้หนึ่งจากมวล ผู้ภักดี” (1) หรือตัวอย่างของท่านศาสดาอิบรอฮีมและผูป้ ฏิบตั ิ ตามท่าน ซึ่งอัลกุรอานได้กล่าวว่า ِ ‫يم َوا َّل ِذي َن َم َع ُه‬ ْ ‫َقدْ كَان‬ َ ‫َت َلك ُْم ُأ ْس َو ٌة َح َسنَ ٌة ِف إِ ْب َراه‬ “แท้จริงในอิบรอฮีมและบรรดาผู้ร่วมอุดมการณ์ ของเขานั้ นย่ อมมีแบบฉบับอันงดงามยิ่งส�ำหรั บ พวกเจ้ า” (2)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

13


หรือแม้แต่ในตัวอย่างของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ที่คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า ِ ‫كان َلكُم فِی رس‬ َ ‫ول اللَِّ ُأ ْس َو ٌه َح َسنَ ٌه َلِ ْن‬ ‫كان‬ ُ َ ْ َ ْ‫َل َقد‬ ِ ‫یرجوا اللَّ​َ و ا ْلیوم‬ ‫اآلخ َر‬ ُ َْ َ َْ َ “แน่ นอนยิง่ ในศาสนทูตแห่ งอัลลอฮ์ นั้น ย่ อม มีแบบอย่ างอันงดงามยิง่ ส�ำหรับผู้ทมี่ ่ งุ หวังต่ อการพ บอัลอฮ์ และวันสุดท้ าย” (3) นีค่ อื ตัวอย่างซึง่ คัมภีรอ์ ลั กุรอานพยายามทีจ่ ะน�ำ เสนอในฐานะผู้เป็น “อุซวะฮ์” (แบบอย่าง) ที่ดีส�ำหรับ มวลมนุษยชาติ ค�ำจ�ำกัดความของค�ำว่ า “แบบอย่ าง” ค�ำว่า “แบบอย่าง” ในภาษาอาหรับใช้ค�ำว่า “อุซวะฮ์” ในหนังสือ “อัลมุฟร่อดาต” ของท่านรอฆิบ อิสฟะฮานี ได้กล่าวว่า ‫األسوة و اإلسوة کالقدوة والقدوة وهی احلال‬

‫التی یکون االنسان عليه فی اتباع غریه إن حسنا‬ ‫إن قبیحا و إن سارا و اإن ضارا‬

“อุซวะฮ์” และ “อิซวะฮ์” ก็เช่นเดียวกับค�ำว่า “กุด วะฮ์” และ “กิดวะฮ์” มันคือสภาพซึง่ มนุษย์เป็นอยูใ่ นการ ปฏิบตั ติ ามผูอ้ นื่ ไม่วา่ จะเป็นสิง่ ดีงามหรือสิง่ น่ารังเกียจ และไม่วา่ จะเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้เกิดความพอใจหรือจะก่อให้ เกิดอันตรายก็ตาม (4) ท่ านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) คือแบบอย่ างที่ดงี าม ส�ำหรั บมนุษยชาติ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในฐานะทีเ่ ป็นเนือ้ ก้อนหนึง่ จากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) (5) และเป็นหัวหน้าของบรรดา สตรีแห่งสากลโลก กระทั่งว่าในด้านความประเสริฐนั้น ท่านมีความสูงส่งยิ่งกว่าท่านหญิงมัรยัม (อ.) เสียอีก (6)

14

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ท่านไม่เพียงแต่จะเป็นแบบอย่างส�ำหรับมวลสตรีมสุ ลิม เท่านัน้ ทว่าเป็นแบบอย่างส�ำหรับบรรดาสตรีทงั้ มวล และ ยิง่ ไปกว่านัน้ ท่านยังเป็นแบบอย่างส�ำหรับมนุษยชาติทงั้ มวลในทุกๆ ด้านของการด�ำเนินชีวิตอีกด้วย แม้แต่บรรดาท่านอิมาม (อ.) เองทัง้ ๆ ทีท่ า่ นเหล่า นัน้ ก็เป็นแบบอย่างและเป็นข้อพิสจู น์ (ฮุจญะฮ์) ส�ำหรับ มนุษยชาติ แต่พวกท่านก็ยงั เรียนรูแ้ ละหล่อหลอมตนเอง มาจากแบบอย่างของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) และกล่าว ถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ในฐานะผูเ้ ป็นแบบ อย่างที่ดีงาม (อุซวะตุลฮะซะนะฮ์) ของพวกท่าน ท่านอิมามฮะซัน อัซการี(อ.)ได้กล่าวว่า ‫َن َْح ُن ُح َج ُج اللَِّ َعىل َخ ْل ِق ِه َو َجدَّ تُنا فاطِ َم ُة‬ ‫ُح َّج ُة اللَِّ َع َل ْينا‬

“พวกเราคื อข้อพิ สูจน์ (ฮุจญะฮ์ ) ของอัลลอฮ์ เหนื อ ปวงสิ่ ง ถู ก สร้ า งของพระองค์ และท่ า นหญิ ง ฟาฏิ มะฮ์ (อ.) ย่าทวดของเราก็เป็ นข้อพิสจู น์ของอัลลอฮ์ เหนือพวกเรา” (7) และท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) ได้เขียนในจดหมาย (เตาเกี๊ยะอ์) ของท่าน โดยได้เอ่ยถึงท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในฐานะแบบอย่างที่งดงามของตนเช่นเดียวกัน โดยกล่าวว่า ِ ‫ِف ا ْبن َِة رس‬ ‫ول اللَِّ ص ِل ُأ ْس َو ٌة َح َسنَ ٌة‬ ُ َ “ในบุตรี ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) นัน้ มี แบบอย่างทีง่ ดงามยิ่ งส�ำหรับฉัน” (8)

ที่ได้ยินกันบ่อยครั้งที่ท่านกล่าวว่า

»‫«حب الدنيا رأس كل خطيئة‬

"ความลุ่มหลงวัตถุ คื อที ่มาของความผิ ดบาป ทัง้ มวล” (9) จากประสบการณ์ต่างๆ และการประจักษ์ด้วย สายตาของเราในการด�ำเนินชีวิตนั้น เป็นเครื่องแสดง ให้เห็นว่าการละเมิดสิทธิต่างๆ อาชญากรรมต่างๆ การ กดขี่ข่มเหง การอธรรม การโกหกหลอกลวง การคดโกง การแก่งแย่งชิงดีกัน ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเกิดจากความ ลุ่มหลงและการยึดติดอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง ลาภยศ ต�ำแหน่ง และชื่อเสียงทั้งสิ้น เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่าความ สมถะ (ซุฮด์ ) และการระงับตนจากการยืดติดนีเ่ องทีเ่ ป็น รากฐานที่มาของตักวา (ความย�ำเกรง) ความสะอาด บริสุทธิ์และความดีงาม ทว่า "ความสมถะ" นั้นไม่ได้หมายถึงการละทิ้ง เรื่องทางโลก (ดุนยา) และการใช้ชีวิตอยู่อย่างสันโดษ และแยกตัวออกจากสังคม หากแต่ว่าข้อเท็จจริงของ ค�ำว่า “สมถะ” ก็คอื ความมีอสิ ระและการไม่ตกเป็นทาส ของวัตถุ (ดุนยา) นั่นเอง "ผู้สมถะ" (ซาฮิด) คือผู้ซึ่งถ้าหากโลกทั้งมวลถูก มอบให้อยูใ่ นอ�ำนาจของเขา เขาก็จะไม่ยดึ ติดหรือจะไม่มี จิตใจทีผ่ กู พันต่อมัน หากวันหนึง่ เขาพบว่าพระประสงค์ ของพระผูเ้ ป็นเจ้าอยูท่ วี่ า่ เขาจะต้องสละทัง้ หมดของมัน เขาก็พร้อมที่จะเสียสละทั้งหมดเหล่านั้นโดยดุษฎี และถ้าวันหนึง่ การรักษาเสรีภาพ เกียรติยศศักดิศ์ รี และความศรัทธา อยู่ในการที่เขาจะต้องยอมเสียสละ ทรัพย์สนิ และชีวติ ของตนเอง เขาก็พร้อมทีจ่ ะกูต่ ระโกน ร้องค�ำขวัญที่ว่า

แบบอย่ างบางประการ จากท่ านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์ รอ (อ.) 1. ความสมถะและการเสียสละของท่านหญิง »‫«هيهات منا الذلة‬ ฟาฏิมะฮ์ อัซซะรอ (อ.) “ความต�่ำต้อยช่างห่างไกลจากเราเสียนีก่ ระไร” (10) จากประเด็นทีว่ า่ ความลุม่ หลงในวัตถุ (ฮุบบุดดุน และเป็นไปตามโองการของคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้ ยา) คือบ่อเกิดของความผิดพลาดและความผิดบาปทัง้ มวลโดยทีใ่ นหะดีษของท่านศาสนฑูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ที่สมถะนั้นคือผู้ที่จะไม่รู้สึกเสียใจต่ออดีตและสิ่งที่สูญ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

15


เสียไปจากเขา และจะไม่รู้สึกดีใจจนเกินเหตุต่อสิ่งที่ ต่างหูเงิน ไม่ได้มรี าคาค่างวดอะไรมากนัก และทีไ่ ร้ราคา เขาได้รับในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นก็คือผ้าม่านที่เรียบง่ายที่คนเราใช้ติดหน้า ‫ ليكال تأسوا عىل ما فاتكم و ال تفرحوا بام آتيك‬ประตูห้อง แต่ทว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เห็นว่า สิ่งนี้ไม่เหมาะกับสถานะของท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ (อ.) “เพื ่อว่าพวกเจ้าจะได้ไม่เศร้ าเสี ยใจต่อสิ่ งที ่ได้ และท่านถือว่าเกียรติศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจของ สูญเสียไปจากพวกเจ้า และจะไม่รู้สึกปลืม้ ปี ติ ยินดีต่อ นางนั้นอยู่ที่การมีบุคลิกภาพและคุณลักษณะอันสูงส่ง สิ่ งทีม่ าสัมผัสกับพวกท่าน” (11) แห่งความเป็นมนุษย์ของเธอต่างหาก จากเนื้ อ หาโดยสั ง เขปนี้ เราจะมาพิ เ คราะห์ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้เรียนรู้บทเรียนนี้เป็น บุคลิกภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในขอบข่ายของ อย่างดีจากบิดาของท่าน และท่านได้ละทิ้งสีสันและสิ่ง เนื้อหาข้างต้นนี้ จากมุมมองของฮะดีษต่างๆ ของท่าน เย้ายวนแห่งวัตถุ (ดุนยา) และได้ปลดเปลือ้ งตนเองออก ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ที่มีปรากฏอยู่ในหนังสือ จากการตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น และสิ่งใดที่ท่านมี ต่างๆ ของพี่น้องอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ อยู่นั้น ท่านจะใช้จ่ายออกไปในหนทางของพระผู้เป็น ในริวายะฮ์ (ค�ำรายงาน) บทหนึ่ง อิบนุฮะญัร เจ้าและปวงบ่าวผู้ยากจนขัดสนของพระองค์ และบุคคลอื่นๆ ได้อ้างรายงานมาจากท่านศาสดา ในฮะดีษบทหนึง่ ซึง่ มีบนั ทึกอยูใ่ นหนังสือ “ฮิลยะ มุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ว่า : ทุกครั้งเมื่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตุลเอาลิยาอ์” ซึง่ มีเนือ้ ความว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) กลับมาจากการเดินทาง อันดับแรกท่านจะไปพบท่านหญิง แม้แต่เสือ้ ผ้าอาภรณ์ทจี่ ะสวมใส่ปกปิดร่างกายให้มดิ ชิด ฟาฏิมะฮ์ (อ.) บุตรีของท่าน และจะใช้เวลาอยู่กับท่าน อย่างเพียงพอเพื่อที่จะต้อนรับแขกที่จะเข้ามาภายใน หญิงในระยะเวลาหนึ่ง แต่ในครั้งหนึ่งประชาชนได้ท�ำ บ้านของตนก็ยงั ไม่มี จนกระทัง่ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ก�ำไลข้อมือที่ท�ำจากเงินสองอัน สร้อยคอและต่างหู (ซ็อลฯ) ต้องเอาผ้าคลุมกาย (อะบาอ์) ของท่านให้ท่าน สองอันให้แก่ท่านหญิง พร้อมกับติดผ้าม่านให้ในห้อง หญิงเพือ่ ใช้ปกปิดร่างกายของตน และเตรียมพร้อมตน ของท่านหญิง ส�ำหรับแขกที่ก�ำลังจะข้ามาเยี่ยมอาการป่วยของท่าน เมื่อศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เห็นสิ่งดังกล่าว เรื่องราวเกี่ยวกับของใช้ในวันแต่งงานของท่าน นี้ ท่านได้ออกมาจากห้องและไปยังมัสยิด ในสภาพที่ หญิง และพิธกี ารในค�ำ่ คืนของการส่งตัวเจ้าสาวทีถ่ กู จัด ร่องรอยของความไม่พอใจปรากฏให้เห็นบนใบหน้า ขึ้นอย่างเรียบง่าย ก็เป็นหลักฐานที่ชัดเจนอีกประการ ของท่าน และไปนั่งอยู่บนมิมบัร (ธรรมาสน์) ท่าน หนึ่งที่บ่งบอกถึงความสมถะและการใช้ชีวิตอยู่อย่าง หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) รู้ถึงความไม่พอใจของท่านศาสดา เรียบง่ายของท่านหญิง มุฮมั มัด (ซ็อลฯ) เนือ่ งจากเครือ่ งประดับอันเล็กน้อยเหล่า การรับใช้บริการและการปรนนิบตั ขิ องท่านหญิง นั้น ท่านหญิงจึงส่งเครื่องประดับเหล่านั้นทั้งหมดไปให้ ภายในบ้านของท่านอิมามอะลี (อ.) ผูเ้ ป็นสามีนนั้ ก็เป็น บิดาของท่าน เพื่อใช้ไปในหนทางของอัลลอฮ์ เมื่อท่าน ทีเ่ ด่นชัดเช่นเดียวกัน ถึงขัน้ ทีว่ า่ ในการจัดเตรียมอาหาร ศาสดา (ซ็อลฯ) ได้เห็นสิง่ นัน้ ท่านได้กล่าวขึน้ ถึงสามครัง้ ว่า นั้น ตามค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) ได้กล่าวว่า มือข้างหนึ่ง ‫فعلت فداها ابوها‬ ของท่านได้โม่แป้งข้าวสาลีเพื่อท�ำขนมปัง ส่วนมืออีก “ฟาฏิ มะฮ์ได้พลีสิ่งเหล่านีแ้ ด่บิดาของนาง” (12) ข้างหนึ่งนั้นอุ้มลูกน้อยของท่านไว้บนเอว ทั้งหมดเหล่า เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่าก�ำไลเงินคู่หนึ่ง สร้อยคอและ นี้แสดงให้เห็นถึงความสมถะของท่าน

16

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ท่านหญิงคือประจักษ์พยานในความหมายของ ฮะดีษต่อไปนี้คือ : ท่านอบูนะอีม อิสฟาฮานี ได้เล่า รายงานไว้เช่นนี้ว่า ‫لقد طحنت فاطمة بنت رسول‏اللَّ صىل اللَّ عليه‬

(6) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 43, หน้าที่ 24 ِ ‫ني ِم َن‬ َ ِ‫َف َأ َّما ا ْبنَتِي َفاطِ َم ُة َف ِه َي َس ِّيدَ ُة نِ َساء ا ْل َعا َل‬ ‫ني َو ْال ِخ ِري َن‬ َ ِ‫ْالَ َّول‬

(7) อัฏยะบุลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, เล่มที่ 13, หน้าที่ 225 ‫الرحى ىف يدها‬ (8) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 53, หน้าที่ 180 (9) ซะคออิรุลอุกบา, หน้าที่ 54 “ท่านหญิ งฟาฏิ มะฮ์ บุตรี ของท่านศาสนทูตแห่ง (10) ค�ำพูดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) อัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้โม่แป้ งจนกระทัง่ ว่ามื อของท่านนัน้ (11) ซูอัลกุรอานบท อัลฮะดีด โองการที่ 23 เป็ นตุ่มบวม และรอยด้านของมื อทีจ่ บั โม่หินนัน้ ปรากฏ (12) อัซซ่อวาอิกุลมุห์ริเกาะฮ์, หน้าที่ 109 ร่ องรอยอยู่บนฝ่ ามื อของท่าน” (13) (13) ฮิลยะตุลเอาลิยาอ์, เล่มที่ 2, หน้าที่ 41 ‫ و اثر قطب‬،‫ وربا‬،‫و آله و سلم حتى جملت يدها‬

แหล่ งอ้ างอิง : (1) อัลกุรอานบทอัตตะห์รีม โองการที่ 11,12 (2) อัลกุรอานบท อัลมุมตะฮินะฮ์ โองการที่ 4 (3) อัลกุรอานบท อัลอะห์ซาบ/โองการที่ 21 (4) อัลมุฟร่อดาต, หน้าที่ 18 (5) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 23, หน้าที่ 43 َ ‫َق َال َر ُس‬ ‫ َفاطِ َم ُة َب ْض َع ٌة ِمنِّي‬:)‫ول اللَِّ (ص‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

17


บทความโดย กองบรรณาธิการ

บทบาทของคนสองกลุ่ม ในความดีงาม และความเสื่อมทราม ของสังคม ความดีงามและความเสื่อมทรามของสังคม เกิดจากปัจจัยส�ำคัญหลายประการ ส่วนหนึ่งจากปัจจัยเหล่า นั้นได้แก่บุคคลสองกลุ่ม ซึ่งถือว่ามีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากต่อทิศทางของสังคม นั่นคือ ผู้รู้ศาสนา (อาลิม) และผู้น�ำของสังคม เกี่ยวกับผู้รู้ (อาลิม) นั้น ท่านอิมามโคมัยนี (ร.ฮ.) ได้กล่าวว่า "หากผู้รู้ (อาลิม) เป็นคนเลว ย่อมไม่เหมือนกับคนทั่วไปที่ว่าหากเขาเลวก็เลวเฉพาะตัวเขาเอง แต่ทว่า ความป่วยไข้ (ของผู้รู้) นั้นคือโรคติดต่อและจะแพร่ระบาด ความเลวและความเสื่อมทราม (ฟะซาด) ของ ผู้รู้ (อาลิม) นั้นจะแพร่ไปสู่ผู้คนทุกหมู่เหล่า ตัวข้าพเจ้าเองเคยเดินทางไปยังบางเมือง พบว่าประชาชนในเมือง นั้นเป็นคนดี (ซอและห์) เมื่อพิจารณาดูว่า ท�ำไมประชาชนทั้งหมดเหล่านี้จึงเป็นคนดี ก็เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้รู้ ของเมืองนั้น เป็นคนดีมาก ผู้คนทั้งหมดเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามผู้รู้ (อาลิม) ที่เป็นคนดีดังกล่าวนั่นเอง บรรดาผู้รู้ (อุละมาอ์) ไม่ว่าจะในที่แห่งใดก็ตาม เนื่องจากประชาชนจะให้ความส�ำคัญต่อพวกเขา หากพวกเขาเป็นคนดี พวกเขาก็จะน�ำพาประชาชนไปสู่ความดีงามโดยปริยาย แต่หากพวกเขาเป็นคนเลว (ฟาซิด) พวกเขาก็จะน�ำพา ประชาชนไปสู่ความเสื่อมเสียโดยปริยายเช่นกัน" (1)

18

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ส�ำนวนค�ำพูดทีเ่ รามักจะได้ยนิ กันอยูเ่ สมอนัน่ คือ ِ ‫ وإذا فسد‬، ‫العال‬ ِ ‫إذا صلح‬ َ ‫العال فسد‬ َ ‫العال صلح‬ ‫العال‬

‫كلمه احلق يراد هبا الباطل‬

“ค�ำพูดทีเ่ ป็ นสัจธรรม แต่ถูกใช้เพือ่ วัตถุประสงค์ ทีเ่ ป็ นความเท็จ” (5) "หากผู้รู้เป็นคนดี โลกก็จะดีด้วย แต่หากผู้รู้เป็น คนลักษณะเช่นนี้คือหนึ่งในตัวอย่างที่พระผู้เป็น คนเลว โลกก็จะเสื่อมเสียไปด้วย" เจ้าทรงตรัสว่า นั่นคือสิ่งเดียวกับที่ท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ.) ได้ ِ ِ ‫َو ِم َن الن‬ ‫ال َي ِاة الدُّ ْن َيا‬ َ ْ ‫َّاس َمن ُي ْعج ُب َك َق ْو ُل ُه ِف‬ กล่าวว่า ِ ْ ُّ‫وي ْش ِهدُ اللََّ َع َل ما ِف َق ْلبِ ِه وهو َأ َلد‬ ِ ‫العالِ ت‬ ِ ‫ُفسد الع‬ ِ ‫َز ّل ُة‬ ‫ال َصا ِم‬ َ ُ َ َُ َ ٰ ‫وال‬ َ “และในหมู่ ม นุ ษ ย์ นั้ น มี ผ้ ู ท่ี ค� ำ พู ด ของเขา "การท�ำผิ ดของผูร้ ู้ จะสร้างความเสียหายให้กบั ท�ำให้ เจ้ ารู้ สึกประทับใจในชีวติ ทางโลกนี้ และเขา โลกทัง้ ปวง" (2) จะอ้ างอัลลอฮ์ เป็ นสักขีพยานเสมอต่ อสิ่งที่อยู่ใน ในอีกวจนะหนึ่งท่านกล่าวว่า ِ ‫ تَغرق وت‬،‫كانكسار السفينة‬ ِ ‫ َز ّل ُة‬หัวใจของเขา ในขณะทีเ่ ขานั้นเป็ นผู้ก่อการวิวาท ِ ‫غريها‬ ‫معها‬ ‫رق‬ ‫ُغ‬ ‫العال‬ َ َ ทีร่ ้ ายกาจทีส่ ุด” (6) "การท� ำผิ ดของผู้รู้ เปรี ยบประดุจการแตกของ คนอีกจ�ำกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทส�ำคัญที่จะท�ำให้ เรื อเดิ นทะเล ซึ่งตัวเรื อทีต่ อ้ งอับปรางแล้ว ยังจะท�ำให้ ประชาชนในสังคมเป็นคนดีหรือเป็นคนเลว นั้นคือผู้น�ำ สิ่ งต่างๆ ต้องจมลงไปพร้อมกับมัน" (3) และผูป้ กครองของสังคม ส�ำนวนทีเ่ ราจะได้ยนิ อยูเ่ สมอ ผูร้ ู้ (อาลิม) ทีเ่ ป็นคนเลวนัน้ เลวร้ายยิง่ กว่าซาตาน ที่กล่าวว่า (ชัยฏอน) ท่านอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ.) ไดกล่าวว่า : มี ‫الناس عىل دين ملوكهم‬ ผูถ้ ามท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า "สิง่ ถูกสร้างของพระผูเ้ ป็น "ประชาชนนัน้ จะอยูบ่ นศาสนาของบรรดากษัตริย์ เจ้าที่เลวร้ายที่สุด หลังจากอิบลีสและฟิรเอาน์นั้นคือ (7) ใคร" ท่านตอบว่า "บรรดาผูร้ ู้ (อุละมาอ์) ทีเ่ ป็นคนเลว" (4) ของพวกเขา" ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวว่า ปัจจุบันนี้อันตรายของผู้รู้ (อุละมาอ์) ที่ลุ่มหลง ในวัตถุและเป็นผูแ้ สวงหาอ�ำนาจในสังคมนัน้ มีมากกว่า ‫تغي الزمان‬ ّ ‫تغي السلطان‬ ّ ‫إذا‬ อันตรายของซาตาน (ชัยฏอน) เสียอีก ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากเมือ่ "เมื อ่ ผูป้ กครองเปลีย่ นไป ยุคสมัยก็เปลีย่ นไป" (8) ผูร้ ู้ (อาลิม) เป็นคนเลวเสียแล้ว ก็จะท�ำให้โลกทัง้ โลกเกิด ท่านอิมามอะลี (อ.) ยังได้กล่าวอีกว่า ความเสียหาย ความลุม่ หลงในวัตถุของผูร้ บู้ างคนจะถูก ِ ِ‫رائ ِهم َا ْشبه ِمنْهم ب‬ ِ ‫َالنّاس بِ ُام‬ ‫آبائ ِه ْم‬ ُ ُ َ ْ ْ َ ُ อ้างด้วยชื่อของศาสนาและจะถูกอธิบายเหตุผลต่างๆ "ประชาชนนัน้ จะมี ความคล้ายคลึงกับบรรดาผู้ โดยอาศัยบทบัญญัตขิ องศาสนา อันจะท�ำให้เกิดความ เคลือบแคลงและการหลงเชือ่ ของประชาชน ผูร้ ู้ (อาลิม) ปกครองของพวกเขา มากกว่าบรรดาบรรพบุรุษของ (9) ทีล่ มุ่ หลงในวัตถุและขาดการขัดเกลานัน้ สามารถทีจ่ ะใช้ พวกเขา" วจนะ (ฮะดีษ) และค�ำพูดในลักษณะนี้ ต้องการที่ ค�ำพูดที่เป็นสัจธรรมเพื่อที่จะท�ำให้บรรลุเป้าหมายทาง วัตถุของตนได้ เหมือนดังส�ำนวนค�ำพูดของท่านอิมาม จะสือ่ ให้เราได้รบั รูว้ า่ ประชาชนโดยส่วนใหญ่จะรับเอา สิง่ ทีบ่ รรดาผูน้ ำ� และผูป้ กครองแห่งยุคสมัยของตนเองได้ อะลี (อ.) ที่กล่าวว่า ปฏิบตั ไิ ว้เป็นแบบอย่าง พฤติกรรมและแนวคิดของผูน้ ำ� จะ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

19


คนดี ประชาชาติ ของฉันก็จะเป็ นคนดีดว้ ย แต่หากเขา เป็ นคนเลว ประชาชาติ ของฉันก็จะเป็ นคนเลวด้วย” มีผถู้ ามท่านว่า “คนทัง้ สองกลุม่ นัน้ เป็ นใคร” ท่าน ตอบว่า “บรรดาผูร้ ู้ศาสนาและบรรดาผูน้ �ำ" (11)

มีผลกระทบและมีอทิ ธิพลต่อผูอ้ ยูใ่ ต้ปกครองของตนเอง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้เองเราจะพบเห็นฮะดีษ (วจนะ) ต่างๆ ได้เน้นย�้ำและเตือนประชาชาติมุสลิมให้ ระมัดระวังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า ‫صنفان من النّاس إذا صلحا صلح النّاس و إذا‬ ‫فسدا فسد النّاس العلامء و االمراء‬

"คนสองกลุม่ หากพวกเขาเป็ นคนดี ประชาชนก็จะ เป็ นคนดีดว้ ย และถ้าหากพวกเขาเป็ นคนเลว ประชาชน ก็จะเลวด้วย นัน่ คือ บรรดาผูร้ ู้และบรรดาผูน้ �ำ" (10) ในฮะดีษ (วจนะ) อีกบทหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ‫ و اذا فسد‬،‫صنفان من امتی اذا صلحا صلحت امتی‬

.‫ الفقهاء و االمراء‬:‫ و من مها؟ قال‬:‫ قیل‬،‫فسدت امتی‬ "คนสองกลุม่ จากประชาชาติ ของฉัน หากเขาเป็ น

20

การขัดเกลาตน ในทัศนะของอิสลาม การขัดเกลาตนนัน้ เป็นสิง่ ที่ มีความจ�ำเป็นอย่างยิง่ โองการจ�ำนวนมากในคัมภีรอ์ ลั กุรอานได้ชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายของการแต่งตั้งศาสดา (ซ็อลฯ) มายังมนุษยชาติวา่ “เพือ่ การขัดเกลาประชาชน” ในฮะดีษ (วจนะ) ต่างๆ ก็เน้นย�ำ้ ในประเด็นนีเ้ ป็นพิเศษ จะเห็นได้วา่ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าว ถึงการต่อสู้กับจิตใจของตนเองนั้นคือ "ญิฮาด อักบัร" (การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด) แน่นอนยิ่งว่า การขัดเกลาตนนั้นเป็นสิ่งจ�ำเป็น ส�ำหรับมนุษย์ทุกคน แต่ส�ำหรับบุคคลสองกลุ่มข้างตน นัน้ ย่อมเป็นสิง่ จ�ำเป็นและมีความส�ำคัญเป็นพิเศษ ด้วย เหตุผลที่ว่า คนทั้งสองกลุ่มนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ อยู่กับชีวิต ทรัพย์สินและเกียรติศักดิ์ศรีของประชาชน โดยตรง และมีบทบาทและผลกระทบโดยตรงต่อการ แก้ไขปรับปรุงและความเสื่อมทรามของสังคม ท่านอิมามอะลี (อ.) ถือว่าการปฏิรูปสังคมและ การแก้ไขปรับปรุงประชาชาตินั้น ต้องแก้ไขปรับปรุง บรรดาผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ของสังคมก่อน โดย ท่านได้กล่าวว่า ّ ‫اﻟﺮﻋﯿﺔ‬ ‫إﻻ ﺑﺼﻼح اﻟﻮﻻة‬ ‫ﻓﻠﯿﺴﺖ ﺗﺼﻠﺢ‬ ّ “ผูอ้ ยู่ใต้ปกครองไม่อาจจะเป็ นคนดีได้ นอกจาก ว่าบรรดาผูป้ กครองจะเป็ นคนดี” (12) แน่นอนยิ่งว่า บรรดาผู้ปกครองหรือผู้น�ำสังคมที่ จะสามารถปฏิรปู และแก้ไขปรับปรุงสังคมและประชาชน ได้นั้น อันดับแรกตัวของพวกเขาเองจะต้องเริ่มต้นด้วย การปรับปรุงและการขัดเกลาตัวเองเสียก่อน ด้วยเหตุนี้ เองท่านอิมามอะลี (อ.) จึงกล่าวว่า

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


‫من نصب نفسه للناس اماما فعلیه ان یبدا بتعلیم‬

‫نفسه قبل تعلیم غریه و معلم نفسه و مؤدهبا احق‬ ‫باالجالل من معل ‌م الناس و مودهبم‬

“ผูใ้ ดที ต่ งั้ ตนเองเป็ นผูน้ �ำของประชาชน ดังนัน้ เขาจะต้องเริ่ มต้นด้วยการสัง่ สอนตนเองก่อนที ่จะสัง่ สอนคนอืน่ และผูท้ ีส่ งั่ สอนและอบรมขัดเกลาตนเองนัน้ คู่ควรต่อการยกย่องเชิ ดชูยิ่งกว่าคนทีส่ งั่ สอนและอบรม ขัดเกลามนุษย์” (13)

(5) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คฏบะฮ์ที่ 40 (6) อัลกุรอานบทอัลบะกาเราะฮ์ โองการที่ 204 (7) กัชฟุลฆุมมะฮ์, เล่มที่ 2, หน้าที่ 21 (8) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ริซาละฮ์ที่ 31 (9) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 17, หน้าที่ 129 (10) นะฮ์ญุลฟะซอฮะฮ์, เล่มที่ 2, หน้าที่ 393 (11) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 2, หน้าที่ 49 (12) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คุฏบะฮ์ที่ 214 (13) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ฮิกมะฮ์ที่ 70

แหล่ งที่มา : (1) ซอฮีฟะฮ์ อิมามโคมัยนี (ร.ฮ.), เล่มที่ 7, หน้าที่ 256 (2) ชัรห์ ฆุร่อริ้ลฮิกัม, เล่มที่ 4, หน้าที่ 209 (3) ฆุร่อรุ้ลฮิกัม, หน้าที่ 288 (4) อัลหะยาต, เล่มที่ 2

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

21


บทความโดย อิลาฮี บิน นูรุดดีน

วิเคราะห์เหตุการณ์ จากค�ำปราศรัยต่างๆ ของ ท่านอายะตุลลอฮ์ ซัยยิด อะลี คอเมเนอี ในช่ วงหลายเดือนที่ผ่านมา จากค�ำปราศรั ย ต่ างๆ ท่านอายะตุลลอฮ์ คอเมเนอี ได้ ชถี ้ งึ เหตุการณ์ และสถานการณ์ ต่างๆ ในภูมภิ าคตะวันตกเฉียงใต้ ของเอเชีย โดยเฉพาะอย่ างยิ่งปั ญหาของประเทศ อิรัก ท่านได้ วเิ คราะห์ถงึ เป้าหมายและกลยุทธ์ ต่างๆ ของศัตรู และแนวทางที่จะหลุดพ้ นออกจากมัน ซึ่ง สามารถประมวลให้ เห็นได้ ดงั ต่ อไปนี ้

22

1.การรู้ จกั ศัตรู ท่ แี ท้ จริง หน่วยงานด้านความมัน่ คงและหน่วยสืบราชการ ลับของตะวันตก : “วันนี้ มีคนกลุม่ หนึง่ ทีอ่ ยูใ่ นส่วนต่างๆ ของโลกอิสลามที่เรียกว่า กลุ่มตักฟีรีย์ วะฮ์ฮาบีและซะ ละฟีย์ พวกเขาก�ำลังพยายามต่อต้านอิหร่าน ต่อต้าน ชาวชีอะฮ์ ต่อต้านแนวทางชีอะฮ์ พวกเขาก�ำลังปฏิบัติ การต่างๆ ที่เลวร้ายและน่าเกลียด แต่พวกเขาเหล่า

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


นี้ไม่ใช่ศัตรูหลัก ทุกคนทราบดีในสิ่งนี้ พวกเขาก�ำลัง แสดงความเป็นศัตรู ก�ำลังแสดงความโง่เขลา แต่ทว่า ศัตรูหลักนั้นคือผู้ที่ก�ำลังปลุกปั่นบุคคลเหล่านี้อยู่ คือผู้ ที่ให้เงินแก่พวกเขา ผู้ที่เมื่อแรงกระตุ้นของบุคคลเหล่า นี้อ่อนแอลงเพียงเล็กน้อย พวกเขาก็จะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้แก่บุคคลเหล่านี้ ศัตรูหลักคือผู้ที่ คอยหว่านเมล็ดพันธ์ของความแตกแยกและความขัด แย้งในหมูก่ ลุม่ คนทีโ่ ง่เขลาและขาดความรูเ้ หล่านี้ และ ในหมูป่ ระชาชนอิหร่านผูถ้ กู กดขี่ พวกเหล่านีค้ อื มือทีม่ อง ไม่เห็นของหน่วยงานต่างๆ ด้านความมั่นคงและหน่วย สืบราชการลับ (ของศัตรู)” (14/3/1393) “เราสามารถมองเห็นมือต่างๆ ของศัตรูได้ และ เชื่อมั่นว่ามือที่ชั่วร้ายของบรรดาหน่วยงานด้านความ มัน่ คงและสายลับของรัฐบาลต่างๆ ทีเ่ ป็นศัตรูกบั อิสลาม นัน้ มีบทบาทอย่างแน่นอนในการสร้างปัญหาและความ

ทุกข์ยากเหล่านีใ้ ห้เกิดขึน้ กับชาวมุสลิม ไม่วา่ จะโดยตรง หรือทางอ้อม พวกเขาก�ำลังจัดฉาก (สิ่งเหล่านี้) ให้เกิด ขึ้น ดังเช่นที่เราก�ำลังเห็นอยู่ เครื่องบ่งชี้และหลักฐาน ต่างๆ ของมันก็เป็นที่ชัดเจน” (8/4/1393) 2.กลยุทธ์ ต่างๆ ของศัตรู คืออะไร (ก) การสร้ างความขัดแย้ งทางด้ านชาติพนั ธุ์ และศาสนา : “ปัจจุบันนี้บรรดาศัตรูจะเผชิญหน้ากับ อิสลามอย่างเปิดเผย การเผชิญหน้าของพวกเขาในขั้น แรกนั่นก็คือ การอาศัยการสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้น ความขัดแย้งทีล่ มุ่ ลึกทีส่ ดุ และอันตรายทีส่ ดุ ก็คอื ความ ขัดแย้งต่างๆ ทางด้านความเชือ่ และความศรัทธา ปัจจุบนั การปลุกปั่นด้านความศรัทธาและความเชื่อ เพื่อท�ำให้ มุสลิมห�้ำหั่นชีวิตกันเองนั้น ถูกกระท�ำโดยมือทั้งหลาย ของลัทธิจักรวรรดินิยม คนกลุ่มหนึ่งจะกล่าวหาคนอีก กลุม่ หนึง่ ว่าเป็นผูป้ ฏิเสธอิสลาม (กาฟิร) คนกลุม่ หนึง่ ชัก ดาบขึน้ มาห�ำ้ หัน่ คนอีกกลุม่ หนึง่ แทนทีพ่ นี่ อ้ งจะร่วมมือ กันและจับมือกัน กลับไปจับมือกับบรรดาศัตรูเพือ่ ท�ำลาย พี่น้องของตนเอง สร้างสงครามระหว่างชีอะฮ์และซุนนี่ ขึ้น และเพิ่มการปลุกปั่นต่างๆ ทางด้านชาติพันธุ์และ นิกายให้มากยิ่งขึ้น” (6/3/1393) (ข) การสร้ างสงครามตัวแทน : “นโยบายของ บรรดาศัตรูอสิ ลามก็คอื การทีพ่ วกเขาจะท�ำการเข่นฆ่าพี่ น้องกันเองและสร้างสงครามภายในให้เกิดขึน้ ในประเทศ อิสลาม ในท่ามกลางสังคมมุสลิมและในหมูป่ ระชาชาติ อิสลามในนามตัวแทนของพวกเขา โดยทีพ่ วกเขาจะนัง่ อยู่ข้างๆ และคอยดูเราห�้ำหั่นชีวิตกันเอง ตรงนี้เองที่เรา จะต้องรับรู้ เราจะต้องเข้าใจแผนการของศัตรู นี่คือข้อ บกพร่องของโลกอิสลาม ท่ามกลางประชาชาติอิสลาม นัน้ เรามีบคุ คลกลุม่ หนึง่ เพือ่ ทีจ่ ะจัดการกับพีน่ อ้ งมุสลิม ของเขา พวกเขาได้จบั มือกับบรรดาศัตรูของอิสลาม วัน นีเ้ ราได้เห็นสิง่ ทีพ่ วกเขาก�ำลังเข้าใกล้ซาตาน (ชัยฏอน) ไปทุกที เพือ่ ทีจ่ ะท�ำสงคราม ท�ำการต่อสูแ้ ละจัดการกับ พี่น้องมุสลิมของตน วันนี้มีกลุ่มบุคคลที่พร้อมจะร่วม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

23


มือกับรัฐบาลไซออนิสต์ เพื่อที่จะคว�่ำพี่น้องมุสลิมของ เป็นที่เคารพรักของเรา (ขออัลลอฮ์ทรงพึงพอพระทัย ตนลงกับพื้นดิน ต่อท่าน) ได้กล่าวว่า : อิสลามแบบอเมริกัน ตรงข้าม ِ ‫َّیطنی َاولِیاء ِمن د‬ กับอิสลามอันบริสุทธิ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ‫ون اهلل‬ َ ‫اِ َّنُ ُم َّاتَذوا الش‬ ُ َ อิสลามแบบอเมริกันก็คืออิสลามที่เข้ากันได้กับทรราช َ ‫َو َی َس ُب‬ ‫ون َا َّنُم ُمهتَدُ ون‬ (ฏอฆูต) เข้ากันได้กับลัทธิไซออนิสต์สากล ในการรับ “แท้จริงพวกเขาได้ยึดเอาบรรดามาร (ชัยฏอน) ใช้เป้าหมายต่างๆ ของอเมริกา ภาพภายนอกของมัน เป็นผู้คุ้มครองอื่นไปจากอัลลอฮ์ โดยที่พวกเขาคิดว่า ก็คืออิสลาม ชื่อของมันก็คืออิสลาม แม้บางครั้งอาจจะ พวกเขาคือผู้ได้รับการชี้น�ำ” (บทอัลอะอ์ร๊อฟ โองการ ปฏิบตั พิ ธิ กี รรมบางอย่างของอิสลาม ตามทีเ่ ราจะได้ยนิ ที่ 30) พวกเขาจะประนีประนอมและจับมือกับซาตาน มา ซึ่งขณะนี้เรายังมีข้อมูลไม่ชัดเจนนัก บุคคลเหล่านี้ (ชัยฏอน) และความคาดคิดที่หลงผิดของพวกเขาก็คือ ได้ปรากฏตัวขึ้นในบางประเทศ ซึ่งล่าสุดนี้ในอิรักและ พวกเขาก�ำลังก้าวไปในหนทางของทางน�ำ” (13/3/1393) ในประเทศอื่นๆ บางประเทศก่อนหน้านี้ โดยชื่ออิสลาม (ค) การสร้ างอิสลามเทียม : “สิง่ ทีก่ ำ� ลังพบเห็น ด้วยรูปลักษณ์ที่บ้าคลั่ง โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเขาก็ไม่ อยูใ่ นโลกอิสลาม (ขณะนี)้ ก็คอื บรรดาศัตรูของอิสลาม ได้เคร่งครัดต่อหลักปฏิบตั ิ บทบัญญัตแิ ละหน้าทีบ่ งั คับ ก�ำลังเผชิญหน้ากับอิสลามด้วยชื่อและเสื้อคลุมแห่ง ต่างๆ ทางศาสนาทีเ่ ป็นเรือ่ งส่วนตัวสักเท่าใดนัก แต่สงิ่ ที่ อิสลาม และนั่นก็คือส�ำนวนที่ท่านอิมาม (โคมัยนี) ผู้ เห็นได้ชดั เจนก็คอื พวกเขาก�ำลังเคลือ่ นไหวไปในทิศทาง 24

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ที่ตรงกันข้ามกับอิสลามแบบ 180 องศา อย่างแน่นอน อิสลามถือว่าการร่วมทางกับบรรดาศัตรูของศาสนา การ ยอมรับอ�ำนาจคุ้มครอง (วิลายะฮ์) ของบรรดาศัตรูของ ศาสนา การยอมรับการคุม้ ครองของบรรดามหาอ�ำนาจ จอมอหังการนัน้ เป็นส่วนหนึง่ จากสิง่ ทีผ่ ศู้ รัทธา (มุอม์ นิ ) จ�ำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยง ِ ‫ون ىف َس‬ َ ‫َا َّلذی َن ءا َمنُوا ُیقاتِ ُل‬ ‫بیل‌اهلل َو ا َّلذی َن َک َف ُروا‬ ِ ‫ون ىف َس‬ َ ‫ُیقاتِ ُل‬ ‫بیل ال ّطا ُغوت‬ "บรรดาผู้ศรัทธานัน้ จะต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์ และบรรดาผู้ ปฏิ เ สธจะต่ อสู้ ในทางของมาร" (บทอันนิซาอ์ โองการที่ 76) หากพวกท่านก�ำลังขับเคลื่อนไปในหนทางของ มาร (ทรราช) ด้วยชื่อของอิสลาม พวกท่านก็จงรับรู้เถิด ว่า อิสลามแบบนี้เป็นอิสลามที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่อิสลาม ที่แท้จริง จะต้องมีปัญหาข้อผิดพลาดในที่ใดที่หนึ่ง วัน นี้จะเป็นเช่นนี้” (8/4/1393) 3. วัตถุ ประสงค์ ของศัตรู จากกรณี เหล่ านี ้ คืออะไร (ก) การปิ ดบังอ�ำพรางปั ญหาต่ างๆ ของ ตนเอง : “วันนี้ในโลกอิสลาม เพื่อที่หน่วยงานต่างๆ ของจักรวรรดินิยมจะบรรลุเป้าหมายต่างๆ ของความ เป็นจักรวรรดินิยมของเขา เพื่อที่พวกเขาจะปกปิดและ อ�ำพรางปัญหาต่างๆ ของพวกเขา พวกเขาจะสร้างความ ขัดแย้งให้เกิดขึน้ ในหมูช่ าวมุสลิม พวกเขาจะสร้างความ เกลียดกลัวชีอะฮ์ จะสร้างความเกลียดกลัวอิหร่าน เพือ่ ที่ พวกเขาจะรักษารัฐบาลไซออนิสต์ผยู้ ดึ ครองให้คงอยูต่ อ่ ไป เพือ่ ว่าพวกเขาจะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ จะท�ำให้นโยบายต่างๆ ของลัทธิจกั รวรรดินยิ มในภูมภิ าค ต้องเผชิญกับความล้มเหลวได้ในระดับหนึ่ง แนวทางที่ พวกเขามองเห็น ก็คอื การทีพ่ วกเขาจะต้องสร้างความขัด แย้งให้เกิดขึน้ ในระหว่างประชาชาติมสุ ลิม” (6/3/1393)

(ข) การจัดการกับการเกิดขึน้ ของระบอบ ประชาธิปไตย : “เป้าหมายหลักจากสถานการณ์ตา่ งๆ ที่เกิดขึ้นล่าสุดในอิรักนั้น คือการลิดรอนประชาชนของ ประเทศนี้จากความส�ำเร็จต่างๆ ที่พวกเขาได้รับมา แม้ จะมีการปรากฏตัวและมีการแทรกแซงจากอเมริกาอยู่ ก็ตาม ซึง่ สิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ของความส�ำเร็จเหล่านัน้ ก็คอื อ�ำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อเมริกาไม่ พึงพอใจต่อแนวโน้มความเป็นไปในขณะนี้ในประเทศ อิรกั หมายถึงการจัดการเลือกตัง้ โดยการเข้าร่วมอย่างดี ยิง่ ของประชาชน และการก�ำหนดตัวเลือกต่างๆ ทีไ่ ด้รบั ความไว้วางใจจากประชาชน เนือ่ งจากอเมริกาพยายาม ที่จะท�ำให้อิรักอยู่ในการครอบง�ำ (ของตน) และหาทาง ทีจ่ ะท�ำให้ผทู้ เี่ ชือ่ ฟังค�ำสัง่ ของอเมริกาได้เป็นผูป้ กครอง” (1/4/1393) (ค) การสกั ด กั น้ การตื่ น ตั ว ของอิ ส ลาม : “มีความพยายามจากบรรดาศัตรูของอิสลามทีจ่ ะปราบ ปรามการตืน่ ตัวของอิสลาม และในหลายๆ แห่งพวกเขา ก็ได้ปราบปรามแล้ว แต่ทว่าการตืน่ ตัวของอิสลามนัน้ ไม่ อาจจะถูกปราบปรามให้หมดไปได้ ธงที่โบกสะบัดของ อิสลามถูกชูขนึ้ แล้ว ความส�ำนึกในอัตลักษณ์แห่งอิสลาม ในหมูม่ สุ ลิมนัน้ วันนีม้ นั ได้เข้มแข็งขึน้ แล้วในทุกจุดของ โลก และมันจะเข็มแข็งยิ่งขึ้น” (6/3/1393) “เราได้เห็นโลกอิสลามในช่วงเวลาก่อนชัยชนะของ การปฏิวตั แิ ละก่อนการตืน่ ตัวของอิสลามอยูใ่ นสภาพที่ หลับใหล แต่วนั นีโ้ ลกอิสลามอยูใ่ นสภาพของการตืน่ ตัว แล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ที่ก�ำลังเกิดขึ้นในโลกอิสลาม ก็มี ส่วนช่วยในการตืน่ ตัวของประชาชาติอสิ ลาม มันจะช่วย ให้เราเกิดการรับรูแ้ ละมีความเข้าใจทีก่ ระจ่างชัดมากยิง่ ขึน้ ท�ำให้เราได้เห็นภาระหน้าทีข่ องเราได้ชดั เจนมากยิง่ ขึ้น บรรดาศัตรูของอิสลามมีความหวาดกลัวต่อความ เข้าใจที่ลึกซึ้งของบรรดาผู้ศรัทธาและของประชาชาติ อิสลาม เราจึงเป็นจะต้องเสริมสร้างความเข้าใจที่ลึก ซึง้ นีใ้ ห้เข้มแข็งมากยิง่ ขึน้ ในแต่ละวัน ก้าวแรกนัน้ ก็คอื

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

25


การที่จะเราจะรับรู้ถึงความท้าทายนี้” (8/4/ 1393) 4.บรรดาผู้เล่ นในสงครามมีใครบ้ าง สงครามระหว่างผูท้ มี่ หี วั ใจผูกพันอยูก่ บั ตะวันตก กับผู้ที่สนับสนุนความเป็นเอกราชของประเทศต่างๆ : “ในอิรกั นัน้ บรรดาผูส้ บื ทอดและกากเดนของรัฐบาลซัด ดัม พร้อมกับคนบางกลุ่มที่หลงลืม โง่เขลา ขาดความ เข้าใจและขาดจิตวิญญาณ ได้รว่ มมือกันก่ออาชญกรรม บรรดาศัตรูได้เรียกเหตุการณ์ตา่ งๆ ในครัง้ นีว้ า่ "สงคราม ระหว่างชีอะฮ์และซุนนี่" แต่สิ่งนี้เป็นได้แค่เพียงความ คาดหวังหนึ่ง (ของพวกเขา) เท่านั้น พวกเขาได้กุเรื่อง เท็จโดยเรียกเหตุการณ์ในอิรักว่า เป็นสงครามระหว่าง ชีอะฮ์กับซุนนี่ แต่ (ในความเป็นจริง) สงครามครั้งนี้คือ สงครามระหว่างกลุ่มผู้ก่อการร้ายกับผู้ที่ต่อต้านการ ก่อการร้าย (มันคือ) สงครามระหว่างผูท้ ผี่ กู ใจอยูก่ บั เป้า หมายต่างๆ ของอเมริกาและตะวันตก กับผู้ที่สนับสนุน ความเป็นเอกราชของชนชาติทงั้ หลาย และมันคือสงคราม

26

ระหว่างมนุษยธรรมกับความโหดร้ายและความป่าเถือ่ น ชนชาติทงั้ หลายจะต้องเฝ้าติดตามการเคลือ่ นไหวเหล่า นี้อย่างรอบคอบ และพวกเขาจะต้องรู้ว่า ศัตรูนั้นจะใช้ วิธีการทุกอย่างเพื่อที่จะท�ำลายความเป็นเอกราชและ เกียรติศักดิ์ศรีของชาวมุสลิม” (7/4/ 1393) “ตัวการหลักของการสร้างวิกฤติในอิรักนั้น คือ การเป็นศัตรูกับชาวซุนนี่ที่เป็นผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) และ ผู้ที่เชื่อมั่นในเอกราชของอิรัก เช่นเดียวกับที่พวกเขามี ความเป็นศัตรูกับชาวชีอะฮ์ ความขัดแย้งหลักที่เกิดขึ้น ในอิรักเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้ที่ต้องการให้อิรักเข้า อยูใ่ นค่ายของอเมริกา กับผูท้ ตี่ อ้ งการความเป็นเอกราช ของอิรัก” (1/4/1393) 5.แนวทางในการหลุดพ้นออกจากสถานการณ์ เช่ นนีค้ ืออะไร การใช้ความคิด การมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งและ ความเป็นเอกภาพ : “โลกอิสลามวันนี้ จ�ำเป็นต้องหัน

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


กลับมาสู่ความคิด หันกลับมาสู่การคิดใคร่ครวญ และ สร้างความเคยชินกับการใช้ความคิด การท�ำความเข้าใจ กับปัญหาต่างๆ อย่างถูกต้อง การวิเคราะห์อย่างถูกต้อง โลกอิสลามวันนี้มีความจ�ำเป็นที่จะต้องท�ำความรู้จัก อย่างแท้จริงต่อแนวรบของศัตรูของประชาชาติอิสลาม เราจะต้องรู้จักบรรดาศัตรูของเรา รู้จักมิตรสหายของ เรา บางครั้งเราจะเห็นว่า มีมุสลิมกลุ่มหนึ่งของเราได้ ร่วมมือกับศัตรูของเราเสียเอง เพือ่ ท�ำลายมิตรสหายของ ตน ท�ำลายพีน่ อ้ งของตน สิง่ นีจ้ ะยังอันตรายต่อเรา สิง่ นี้ จะท�ำให้ประชาชาติอสิ ลามตกอยูใ่ นความระส�ำ่ ระสาย และประสบกับความอ่อนแอ สิ่งนี้เกิดจากการขาดวิสัย ทัศน์ วันนี้โลกอิสลามจะต้องมีวิสัยทัศน์ จะต้องมีการ ไตร่ตรองและการคิดใคร่ครวญ จะต้องขุดเอาขุมคลัง ِ ‫ و یثریوا َلم د‬และ แห่งสติปัญญาขึ้นมา ‫فائ َن ال ُعقول‬ ُ َ َ ُ (ปวงศาสดามาเพือ่ ทีจ่ ะ) ขุดพลิกบรรดาขุมคลังแห่งสติ ปัญญาให้แก่พวกเขา" (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) “ความจ�ำเป็นที่ส�ำคัญอีกประการหนึ่งของโลก อิสลาม คือความสามัคคี เราจะต้องข้ามผ่านความแตก ต่างทีเ่ ป็นข้อปลีกย่อยทัง้ หลาย ความแตกต่างทางด้าน รสนิยมและความแตกต่างทางความคิดความเชื่อ และ จะต้องจัดตั้งประชาติหนึ่งเดียว (อุมมะตัน วาฮิดะฮ์) ขึ้นมาให้ได้

ِ ‫إِ َّن ه ِذ ِه ُأم ُتكُم ُأم ًة و‬ ِ ُ‫احدَ ًة و َأنَا ربكُم َفا ْعبد‬ ‫ون‬ َٰ ُ ْ ُّ َ َ َ َّ ْ َّ "แท้จริงประชาชาติของพวกเจ้านี้ คือประชาชาติ หนึ่งเดียวกัน และข้ าคือพระผู้อภิบาลของพวกเจ้ า ดังนั้ นพวกเจ้ าจงเคารพภักดีต่อข้ าเถิด" (บทอัล อันบิยาอ์ โองการที่ 92) “พระผูเ้ ป็นเจ้าผูท้ รงสูงส่งทรงตรัสไว้เช่นนี้ การมี ความเชือ่ ต่อคัมภีรอ์ ลั กุรอาน การมีความเชือ่ ต่อศาสดา การมีความเชือ่ ต่อพระผูเ้ ป็นเจ้าองค์เดียวกัน การมีความ เชือ่ ต่ออาคารกะอ์บะฮ์และกิบลัตหนึง่ เดียวกัน การเผชิญ หน้ากับศัตรูหนึง่ เดียวกัน สิง่ เหล่านีย้ งั ไม่เพียงพออีกหรือ ส�ำหรับความมีเอกภาพของโลกอิสลาม” (6/3/1393) ประชาธิปไตยแบบอิสลาม : “ประชาธิปไตยแบบ อิสลาม ในฐานะที่เป็นต้นแบบในการเยียวยาปัญหาที่ ไม่มใี ครเหมือน นัน่ คือหนึง่ ในแนวทางหลักในการจัดการ กับศัตรู” (7/4/1393)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

27


ข้อเท็จจริงใน

ตะวันออกกลาง กับความใฝ่ฝันของ อเมริกา บทความ : ซัยยิด ลิวาซานี แปล : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

นับจากช่ วงเวลาที่การปฏิวตั อิ สิ ลามในอิหร่ านได้ รับชัยชนะในปี ค.ศ. 1979 เป็ นที่ชดั เจนว่ า กระแส คลื่นของการปฏิวัตนิ ีไ้ ม่ ได้ จำ� กัดอยู่แค่ ในประเทศอิหร่ านเพียงเท่ านัน้ แต่ ค่อยๆ ลุกลามไปสู่ประเทศ อิสลามอื่นๆ ด้ วยเช่ นกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง จอมเผด็จการในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีความหวาดกลัวต่อสถานภาพและ อ�ำนาจการปกครองของตนเองนั้น แทนที่พวกเขาจะย้อนกลับมาสู่อ้อมอกของอิสลาม พวกเขากลับหันไปอาศัย

28

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


กลยุทธ์ทางด้านความมัน่ คงของอเมริกา และขยายแนวทาง แบบเผด็จการทีว่ างพืน้ ฐานอยูบ่ นการใช้ประโยชน์จาก กองทัพและการสนับสนุนอย่างไร้เหตุไร้ผลของอเมริกา ในประเทศของตน โดยหวังว่าบางที่จะสามารถยับยั้ง กระแสคลื่นการหวนกลับสู่อิสลามของประชาชนได้ แต่ทว่าเหตุการณ์ต่างๆ แห่งยุคสมัยกลับด�ำเนิน ไปในลักษณะทีต่ รงข้ามกับความคาดหวัง มันได้คกุ คาม และสร้างความหวาดผวาให้กบั มหาอ�ำนาจทีเ่ ป็นหุน่ เชิด เหล่านี้ และจนถึงขณะนี้สามจอมเผด็จการในตูนิเซีย อียิปต์และลิเบียก็ถูกโค่นอ�ำนาจลงแล้ว และจอมเผด็จ อีกผูห้ นึง่ มองเห็นว่าจะสามารถรักษาอ�ำนาจการปกครอง ของตนเองไว้ได้โดยอาศัยการหลบหนีออกนอกประเทศ ส่วนจอมเผด็จการคนอืน่ ๆ ก็กำ� ลังอยูใ่ นระหว่างการถูก โค่นล้มเช่นเดียวกัน

แต่ทว่าปรากฏการณ์ทกี่ ำ� ลังเกิดขึน้ ในโลกอิสลาม และกลุ่มประเทศอาหรับในภูมิภาคตะวันออกกลาง นั้นชาวตะวันตกให้ชื่อมันว่า “ฤดูใบไม้ผลิแห่งอาหรับ” (Arab spring) และพวกเขาได้ใช้ความพยายามด้วย กับการโฆษณาชวนเชือ่ อย่างกว้างขวางทีจ่ ะท�ำให้ชอื่ นี้ เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาคมโลกและในประเทศต่างๆ ของภูมิภาคตะวันออกกลาง การให้ค�ำจ�ำกัดความค�ำ ว่า “ฤดูใบไม้ผลิแห่งอาหรับ” (Arab spring) ของพวก เขานั้น คือการลุกฮือของโลกอาหรับ โดยมีเจตนาที่จะ โค่นล้มเหล่าเผด็จการในภูมิภาคเพียงเท่านั้น ซึ่งก่อให้ เกิดความปีติยินดีในลักษณะหนึ่งขึ้นในหมู่ประชาชน การให้คำ� จ�ำกัดความของตะวันตกนี้ ก็เพือ่ ท�ำให้ การปฏิวตั ติ า่ งๆ ในภูมภิ าคตะวันออกกลางนัน้ ไม่มสี ว่ น เกีย่ วข้องและความสัมพันธ์ใดๆ ต่ออิสลามเลย และหาก

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

29


จ�ำเป็นต้องยอมรับในสิ่งดังกล่าว พวกเขาก็พยายามที่ จะแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ดงั กล่าวนัน้ มีนอ้ ยมาก และอธิบายถึงสิ่งนั้นในมุมของอุดมการณ์และแนวคิด ซึง่ พวกเขาจะปฏิเสธอิทธิพลหลักของอิสลาม การปฏิวตั ิ อิสลามแห่งอิหร่าน และแบบอย่างของประชาธิปไตย ทางศาสนาโดยสิ้นเชิง แต่ในความเป็นจริงก็คือ การปฏิวัติต่างๆ ใน ภูมภิ าคตะวันออกกลางนัน้ ได้รบั อิทธิพลโดยตรงมาจาก การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน และแนวคิดอันบริสุทธิ์ ของท่านอิหม่ามโคมัยนี (ร.ฮ.) และเป้าหมายของการ ปฏิวตั เิ หล่านัน้ คือการหวนกลับสูอ่ สิ ลามและปฏิเสธการ ครอบง�ำของตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกา และการปฏิเสธ ประชาธิปไตยจอมปลอมแบบตะวันตก ด้วยเหตุผลดัง กล่าวนี้เองจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะให้ชื่อปรากฏการณ์ เหล่านีว้ า่ “การตืน่ ตัวของอิสลาม” (Islamic Awakening) อย่างไรก็ดี “การตืน่ ตัวของอิสลาม” นีเ้ ป็นช่วงเริม่ ต้นเพียง เท่านั้น และจะต้องด�ำเนินต่อไปในเส้นทางของตนเอง และประชาชนในภูมภิ าคจะต้องระมัดระวังอย่าให้ความ ส�ำเร็จอันยิง่ ใหญ่ทไี่ ด้รบั มานัน้ ถูกดึงให้เบีย่ งเบนออกไป แต่เนื้อหาการพูดคุยของเราไม่ใช่ประเด็นนี้ ทว่าเนื้อหา การพูดคุยของเราคือสถานภาพของตะวันตกโดยเฉพาะ อย่างยิง่ ของอเมริกา ทีม่ ตี อ่ ข้อเท็จจริงทีก่ ำ� ลังด�ำเนินอยู่ หลักการเชิงกลยุทธ์ของอเมริกาคือการครอบง�ำ ในภูมิภาคตะวันออกกลางต่อไป และการรักษาผล ประโยชน์ต่างๆ ของตนเอาไว้ ไม่ว่าจะโดยวิธีการใดๆ ก็ตาม ด้วยเหตุผลดังกล่าวนีเ้ ช่นกันทีพ่ วกเขาเห็นว่าการ ทีจ่ ะครอบง�ำภูมภิ าคตะวันออกกลางต่อไปได้นนั้ ขึน้ อยู่ กับการด�ำรงอยูข่ องรัฐบาลจอมเผด็จการทีต่ อ่ ต้านศาสนา และต่อต้านประชาชนของภูมภิ าคนี้ และการเริม่ ต้นของ การตืน่ ตัวของอิสลามนัน้ อเมริกาจ�ำเป็นต้องค่อยๆ ถอน ตัวออกจากการสนับสนุนรัฐบาลทีก่ ำ� ลังจะถูกโค่นอ�ำนาจ จริงอยูท่ วี่ า่ อเมริกาจะสนับสนุนรัฐบาลเหล่านีต้ ราบเท่า ที่สามารถกระท�ำได้

30

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


และด้วยกับข้ออ้างทีว่ า่ “เราจะให้ความร่วมมือกับ รัฐบาลทีอ่ ยูใ่ นอ�ำนาจ” นัน้ พวกเขาได้ใช้ความพยายาม ที่จะปกป้องบรรดาสมุนรับใช้ที่มีอิทธิพลของตนเท่า ที่จะท�ำได้ ดังที่เราพบเห็นอยู่ในขณะนี้ การสนับสนุน และปกป้องรัฐบาลของราชวงศ์ซาอูดและอาลิคอ่ ลีฟะฮ์ (แห่งบาห์เรน) พวกเขาเริ่มเข้าใจแล้วว่าการปกป้อง จอมเผด็จการบางคนนั้นจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และไม่ สอดคล้องกับเป้าหมายทางด้านยุทธศาสตร์ของตน ด้วย เหตุนพี้ วกเขาจึงพยายามทีจ่ ะแสดงออกว่ามีความเห็น อกเห็นใจและห่วงใยต่อประชาชนในภูมิภาค และต้อง ยอมรับความต้องการของประชาชนโดยวางมือจากการ สนับสนุนและการปกป้องเหล่าเผด็จการทั้งหลาย นี่คือ สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีของประเทศอียิปต์ ความคาดหวังของอเมริกาจากกรณีเหล่านี้ก็คือ บางทีอาจจะยังคงมีอิทธิพลท่ามกลางการปฏิวัติเหล่า นี้ได้ และท�ำให้การปฏิวัติเหล่านั้นเบี่ยงเบนออกไปจาก เป้าหมายของมัน ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากอเมริกาเชือ่ ว่าการปฏิวตั ิ เหล่านีจ้ ะเผชิญกับความทุกข์ยากเนือ่ งจากขาดผูน้ ำ� ทีม่ ี ความเข้าใจและมีมุมมองที่ลึกซึ้งเหมือนกับการปฏิวัติ อิสลามแห่งอิหร่าน ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ การทีจ่ ะเข้าไป มีอทิ ธิพลและเบีย่ งเบนเป้าหมายการปฏิวตั เิ หล่านีก้ จ็ ะ ง่ายขึน้ แต่เมือ่ เห็นแล้วว่าประชาชนไม่เปิดโอกาสให้พวก เขา และมุง่ ทีจ่ ะฟืน้ ฟูและให้ชวี ติ ใหม่แก่อสิ ลาม จนท�ำให้ อเมริการู้สึกผิดหวังและทุกข์ใจอย่างมาก อเมริกาคาด หวังว่าจะสามารถแผ่อิทธิพลในภูมิภาคได้ใหม่อีกครั้ง แต่สิ่งนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อในกรณีที่รัฐบาลหุ่นเชิดได้ ขึน้ มาสูอ่ ำ� นาจหรืออย่างน้อยมีความประสานสอดคล้อง กับเป้าหมายของอเมริกา และศาสนาในประเทศเหล่านัน้ จะถูกแยกออกจากเรื่องของการเมืองและสังคม ด้วยจุดประสงค์ดังกล่าวนี้ อเมริกาพยายามที่ จะช�ำระตัวเองให้สะอาดในสายตาของประชาชนใน ภูมิภาคตะวันออกกลาง และพยายามอธิบายเหตุผล ของการเข้าไปสนับสนุนจอมเผด็จและการแทรกแซง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

31


กิจการภายในของประเทศต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้นอเมริกา ได้ใช้ความพยายามที่จะเปิดตัวกลุ่มต่างๆ ที่ดูตามรูป ลักษณ์ภายนอกแล้วเป็นอิสลาม แต่ด้านในนั้นคือกลุ่ม ต่อต้านอิสลามและเป็นผูก้ อ่ การร้าย อย่างเช่น กลุม่ ตอ ลิบนั อัลกออิดะฮ์และดาอิช (ไอซิส) ทีท่ ำ� ให้ประชาชนมี ความวิตกกังวลและเบือ่ หน่ายต่อระบอบต่างๆ ทีเ่ กิดจาก อิสลาม และแสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นวีรบุรุษแห่งการ ต่อสู้กับกระแสต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก ลุ่มเหล่านี้ก็คืออิสลามแบบอเมริกานั่นเอง มีใครทีไ่ ม่รบู้ า้ งว่ากลุม่ ตอลิบนั และกลุม่ อัลกออิด ะฮ์นนั้ เกิดขึน้ มาจากนิกาย (มัซฮับ) วะฮ์ฮาบีและซะละฟี ของซาอุดอิ าระเบียทีถ่ กู สร้างขึน้ โดยอังกฤษ ทีไ่ ด้หำ�้ หัน่ เลือดเนื้อและชีวิตของประชาชน ด้วยกับเงินและการ สนับสนุนทั้งอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้นของชาวตะวัน ตกและพวกปฏิกริ ยิ าแห่งอาหรับ และส�ำหรับอเมริกานัน้ ชีวติ ทรัพย์สนิ และเกียรติของประชาชนไม่มคี วามส�ำคัญ ใดๆ หลักเกณฑ์ทางด้านจริยธรรมไม่มีสถานะใดๆ ใน

32

ทางการเมือง การใช้ประโยชน์จากเครือ่ งมือทุกอย่างเพือ่ ให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ ของตนนัน้ ถือเป็นเรือ่ งอนุญาต ข้อเท็จจริงก็คือ อเมริกาไม่พร้อมที่จะยอมรับ ประชาธิปไตยทางศาสนาอย่างเป็นทางการ ซึง่ สิง่ นีก้ ค็ อื ความพ่ายแพ้ในแนวความคิดของเสรีนยิ มประชาธิปไตย และเป็นการสิน้ สุดยุคการครอบง�ำของตะวันตกในภูมภิ าค ตะวันออกกลาง และในขณะเดียวกัน อเมริกาก�ำลัง พบตัวเองอยู่ในระหว่างอันตรายสองด้าน ด้านหนึ่งคือ อ�ำนาจการปกครองทีก่ ำ� ลังล่มสลายและแตกเป็นเสีย่ งๆ ของจอมเผด็จการทีต่ นเองให้การสนับสนุนและปกป้อง มาเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี และอีกด้านหนึ่งคือ อ�ำนาจการปกครองของมุสลิมทีก่ ำ� ลังถูกสถาปนาขึน้ ซึง่ มีความโน้มเอียงและความเชือ่ มัน่ ต่ออิสลามอันบริสทุ ธิ์ ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ที่ได้แรงบันดาลใจมา จากการปฏิวตั อิ สิ ลามแห่งอิหร่านและแนวความคิดของ ท่านอิหม่ามโคมัยนี (ร.ฮ.) และมีเพียงหนทางเดียวที่ อเมริกามองว่าจะสามารถออกจากสิ่งนี้ได้ก็คือการหา ทางสร้างรัฐบาลขึ้นมาใหม่ ที่มีรูปลักษณ์ภายนอกเป็น อิสลามทีเ่ รียกว่าอิสลามตามแบบอเมริกา กล่าวคือ ด้าน นอกดูเหมือนว่าเป็นอิสลาม แต่ดา้ นในคือตะวันตก เป็น รัฐบาลจ�ำพวกเดียวกับรัฐบาลตุรกีซงึ่ เป็นวัตถุนยิ มด้วย เป็นมุสลิมด้วย และก็เป็นประชาธิปไตยด้วย อย่างไรก็ตาม อเมริกาก�ำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ เลวร้ายอย่างยิง่ แต่จำ� เป็นต้องด�ำเนินนโยบายกลยุทธ์ทาง ด้านความมัน่ คงของตนต่อไป ซึง่ ในกรณีเช่นนีป้ ระชาชน จะอยูต่ รงข้ามกับตนเอง หรือว่าจะยอมสนองตอบความ ต้องการของประชาชน และในกรณีเช่นนีอ้ สิ ลามก็จะขึน้ มามีอำ� นาจในประเทศเหล่านี้ ทัง้ สองกรณีจะก่อให้เกิด ความเสียหายต่อการมีอำ� นาจครอบง�ำของตน และขณะ นีอ้ เมริกามองเห็นทางแก้เพียงทางเดียวคือการเล่นเกม ทีอ่ ยูร่ ะหว่างทัง้ สอง นัน่ ก็คอื การท�ำให้พวกนิยมอิสลาม แบบอเมริกาเข้ามามีอ�ำนาจโดยการวาดภาพที่ไม่เป็น จริงและเป็นเรือ่ งเท็จเกีย่ วกับอิหร่านและระบอบอิสลาม

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


และการท�ำให้ประชาชนในภูมิภาคหวาดกลัวต่อแบบ อย่างของระบอบอิสลามและประชาธิปไตยทางศาสนา และในสภาพการณ์เช่นนี้อเมริกาจะต้องให้ค�ำ นิยามใหม่เกีย่ วกับรัฐบาลใหม่ทจี่ ะเกิดขึน้ และจะน�ำพา รัฐบาลเหล่านั้นให้เบี่ยงเบนออกไป ซึ่งอเมริกานั้นเป็น ปรมาจารย์ในด้านนี้อยู่แล้ว แน่นอนยิ่งว่า หากไม่ใช่ เพราะความจ�ำเป็นแล้วอเมริกาเองนั้นไม่พร้อมแม้แต่ จะคาดหวังต่อกลุม่ อิสลามนิยม ทีใ่ นส�ำนวนของตัวพวก เขาเองคือ “อิสลามสากล” หรือ “อิสลามสายกลาง” ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้วเป็นพวกนิยมตะวันตก แต่เนือ่ งจาก ว่าผลประโยชน์ของตนเองขึน้ อยูก่ บั สิง่ ดังกล่าวจึงจ�ำเป็น ต้องยอมรับกระแสแนวคิดเหล่านีอ้ ย่างเป็นทางการ และ ยอมให้การสนับสนุนต่อกลุ่มเหล่านั้น ใช่แล้ว! อเมริกาจ�ำเป็นต้องร่วมทางและแม้กระทัง่ การเข้าร่วมในกระบวนการของการปฏิวตั ติ า่ งๆ ในภูมภิ าค ทัง้ นีเ้ พือ่ ทีว่ า่ จะสามารถบรรลุสเู่ ป้าหมายต่างๆ ทางด้าน ยุทธศาสตร์และการรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่ง มองไม่เห็นช่องทางอื่นนอกเสียจากการยอมร่วมทาง ดังกล่าวนี้ ในกรณีเช่นนี้บางทีอาจจะสามารถรักษาผล ประโยชน์ของตนเองหรืออย่างน้อยทีส่ ดุ ก็เพียงบางส่วน เอาไว้ได้ และจะสามารถบรรลุเป้าหมายบางส่วนของตน แต่ทว่าการปฏิวัติในภูมิภาคนั้นยังไม่จบสิ้นลง และจะต้องด�ำเนินต่อไปจนกว่าระบอบทีว่ างพืน้ ฐานอยู่ บนการปฏิวตั เิ หล่านีจ้ ะถูกสถาปนาขึน้ รัฐธรรมนูญและ การสถาปนาระบอบใหม่คือขั้นตอนต่อไปในการเผชิญ หน้าของประชาชนในภูมิภาคกับอเมริกาและกากเดน ทั้งหลายของมัน ซึ่งขณะนี้ได้เปลี่ยนสีของตนเองแล้ว สรุปใจความก็คือ ความใฝ่ฝันของตะวันตกคือ การครอบง�ำโลกทั้งมวลอย่างเบ็ดเสร็จ นั่นก็คือสิ่งที่ถูก น�ำเสนอภายใต้ชื่อ “โลกาภิวัตน์” (globalization) ซึ่ง โลกจะตกอยู่ภายใต้การครอบง�ำทางด้านวัฒนธรรม การเมือง สังคมและเศรษฐกิจของตะวันตก โดยเฉพาะ อเมริกา และความเป็นจริงก็คือ ความใฝ่ฝันดังกล่าวนี้

ได้เผชิญกับการท้าทายอย่างร้ายแรงด้วยกับการปรากฏ ขึ้นของการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน ในหมู่ประเทศซึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่งเคยเป็นหุ่นเชิดของอเมริกา และก�ำลัง เผชิญกับความพินาศย่อยยับด้วยกับกระแสการตื่นตัว ของอิสลาม สิ่งที่เลวร้ายยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ตะวันตกก�ำลัง เผชิญกับความท้าทายทีห่ นักหน่วงภายในกลุม่ ประเทศ ของตนด้วยเช่นกัน ซึง่ ได้ทำ� ลายความฝันอันจอมปลอม ของพวกเขาลงจนหมดสิน้ ในช่วงเวลานีพ้ วกเขาควรจะ ท�ำอย่างไร? ควรจะยอมรับความจริงและเก็บเกี่ยวผล อันแสนขมขื่นจากศตวรรษต่างๆ แห่งความอธรรมของ ตนเอง หรือพวกเขาจะไม่ยอมรับความจริงดังกล่าวนี้ และน�ำพาตนเองเข้าสูค่ วามท้าทายใหม่ ซึง่ ความท้าทาย ดังกล่าวนี้จะท�ำให้หัวของตะวันตกผู้อธรรมโดยเฉพาะ อเมริกา ต้องกระแทกกับก�ำแพงแห่งความจริงที่รุนแรง มากขึ้นกว่าเดิม ِ »‫الص ْب ُح بِ َق ِریب‬ ُّ ‫الص ْب ُح َأ َل ْی َس‬ ُّ ‫«إِ َّن َم ْوعدَ ُه ُم‬ “แท้ จริงก�ำหนดเวลา (แห่ งการลงโทษ) ของ พวกเขานั้นคือยามเช้ า ยามเช้ านั้นใกล้ เข้ ามาแล้ ว มิใช่ หรื อ” (อัลกุรอานบทฮูด โองการที่ 61)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

33


ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ภาพลักษณ์แห่งเอกภาพ

ของประชาชาติอิสลาม บทความโดย ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม เรือ่ งราวของศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) มีความชัดเจนในทุกๆ ช่วง นับตัง้ แต่ทา่ นอับดุลลอฮ์และนางอามีนะฮ์ ผู้เป็นบิดามารดา ซึ่งแต่งงานกันจนกระทั่งถึงช่วงที่ท่านเสียชีวิตลง เราทราบเรื่องราวอย่างละเอียดมากมาย นับ ตัง้ แต่วนั ทีท่ า่ นถือก�ำเนิดออกมาดูโลก วัยเด็กจนเข้าสูว่ ยั รุน่ การประกอบอาชีพก่อนการเป็นศาสดา การเดินทาออก จากมักกะฮ์ไปยังต่างเมือง จนถึงวันที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้งท่านเป็นศาสนทูตของพระองค์ นอกจากนั้นเรายังทราบ เกีย่ วกับสภาพต่างๆ ของท่านทัง้ หมดในแต่ละปีโดยละเอียด ชัดเจนและสมบูรณ์ ซึง่ ท�ำให้ชวี ประวัตขิ องท่านมีความ

34

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


แจ่มแจ้งชัดเจนดุจดังแสงอาทิตย์ยามเทีย่ งวัน แม้แต่นกั วิชาการตะวันตกบางคนได้กล่าวว่า “มุฮัมมัดคือบุรุษ เพียงหนึ่งเดียวที่ถือก�ำเนิดขึ้นท่ามกลางแสงสว่างของ ดวงอาทิตย์” ไม่งา่ ยนักทีจ่ ะมีเรือ่ งราวของศาสนทูตท่านใดของ พระเจ้าก่อนหน้านี้ที่จะเป็นได้เหมือนท่าน เช่นศาสดา มูซา (อ.) ซึ่งเราไม่ทราบถึงชีวิตในช่วงวัยเด็ก วัยหนุ่ม และวิถชี วี ติ ก่อนการแต่งตัง้ ท่านเป็นศาสนทูต นอกจาก อัตชีวประวัติหลังจากเป็นศาสทูต แต่ก็เพียงเล็กน้อย เท่านั้น และท่านศาสดาอีซา (อ.) ก็ท�ำนองเดียวกัน เรา ไม่ทราบชีวติ ในวัยเด็กนอกจากทีค่ มั ภีรไ์ บเบิล้ เล่มต่างๆ ในปัจจุบันที่กล่าวถึงท่านได้เข้าไปยังโบสถ์ยิวและได้ โต้ตอบกับบรรดานักบวชชาวยิวเหล่านัน้ ส่วนเรือ่ งอืน่ ๆ นั้นเราไม่ทราบมากนัก นอกจากเรื่องราวการเผยแพร่ ศาสนาเล็กๆ น้อยๆ ส่วนท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นัน้ มีเรือ่ งราวทีก่ ล่าวถึง รายละเอียดมากมาย เช่น การรับประทานอาหาร การยืน การนั่ง การสวมใส่เสื้อผ้า บุคลิกท่าทาง แนวความคิด ตลอดจนถึงการปฏิบตั ติ อ่ ครอบครัว การประกอบศาสน พิธี การละหมาด การใช้ชีวิตร่วมกับบรรดาซอฮาบะฮ์ ชีวประวัตขิ องท่านศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) เป็นการ บอกถึงประวัตชิ วี ติ มนุษย์ปถุ ชุ นคนหนึง่ ทีพ่ ระเจ้าทรงให้ เกียรติในการเป็นศาสนทูต เป็นประวัติที่มิได้ออกจาก กรอบของความเป็นมนุษย์เลย ด้วยเหตุนี้เองประวัติ ของท่านจึงมีอิทธิพลอย่างยิ่งยวดต่อพฤติกรรม ทั้งใน เรื่องส่วนตัวและสังคมของผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา ในขณะ ที่การกล่าวอ้างว่าเยซูหรืออีซาเป็นพระเจ้า ย่อมท�ำให้ สถานภาพนั้นสูงส่งเกินกว่าที่จะเป็นแบบอย่างส�ำหรับ มนุษย์สามัญชนที่จะปฏิบัติตามได้ ทั้งในเรื่องส่วนตัว และส่วนร่วม แต่สำ� หรับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แบบอย่าง การเป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์และเพียบพร้อมของท่านได้เกิด ขึน้ เป็นจริงแล้ว และยังคงสามารถเป็นแบบอย่างเช่นนัน้ ได้ตลอดไปส�ำหรับทุกคนทีป่ ระสงค์การมีชวี ติ ทีเ่ ปีย่ มสุข

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

35


และน่ายกย่อง ทั้งในเรื่องส่วนตัว ครอบครัวและสังคม รอบข้าง และนี่คือสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสยืนยันไว้ ในอัลกุรอานคัมภีร์อันทรงเกียรติว่า ِ ‫َان َلكُم ِف ر‌س‬ َ ‫ول ال َّل ِـه ُأ ْس َو ٌة َح َسنَ ٌة َِّلن ك‬ ‫َان‬ ُ َ ْ َ ‫َّل َقدْ ك‬ ‫‌جو ال َّلـ َه َوا ْل َي ْو َم ْال ِخ َ‌ر‬ ُ ‫َي ْر‬ “แน่ นอนในตัวของศาสนทูตของอัลลอฮ์ นนั ้ มี แบบอย่ างที่ดเี ลิศ ส�ำหรับบุคคลที่ม่ งุ หวังต่ ออัลลอฮ์ และวันสุดท้ าย” (อัลอะห์ซาบ : 21) เพื่อให้เรื่องราวการสร้างเอกภาพของศาสดา ชัดเจนมากขึ้น จึงขอยกตัวอย่างในสนธิสัญญาที่ท่าน ศาสนทูต (ซ็อลฯ) ได้ให้ชาวมุฮาญิรีนและอันศอรเป็น พี่น้องบุญธรรม และให้มุสลิมและชนต่างศาสนิกช่วย เหลือเกือ้ กูลกันทีเ่ ป็นหลักฐานทีไ่ ม่อาจโต้แย้งได้เลยว่า ในอิสลามมีหลักการว่าด้วยความเสมอภาคในสังคม และ พืน้ ฐานความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมและผูน้ ำ� ศาสนาอืน่ คือมิตรภาพ ตราบใดทีพ่ วกเขาต้องการมิตรภาพนัน้ ทีม่ ี หลักการว่าด้วยสัจธรรม ความยุติธรรม การช่วยเหลือ เกื้อกูล การท�ำความดี การย�ำเกรงและสิ่งอื่นๆ ที่เป็น

36

ประโยชน์ตอ่ มนุษยชาติ การก�ำจัดความชัว่ ร้ายให้หมด ไปจากสังคม เป็นคติพจน์ทรี่ ฐั อิสลามทีต่ อ้ งการประกาศ เผยแพร่รัฐอิสลาม ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในภูมิภาคใดในโลก หรือในยุคใด ทีจ่ ะต้องตัง้ อยูบ่ นหลักการพืน้ ฐานทีเ่ ทีย่ ง ธรรมเหล่านี้ แม้แต่ในโลกปัจจุบนั หลักการพืน้ ฐานเหล่า นีย้ งั คงเป็นหลักการทีส่ งู ส่งและเป็นธรรมอย่างทีส่ ดุ ความ พยายามเพือ่ สถาปนารัฐขึน้ ในดินแดนมุสลิมในยุคสมัย ของเรา จะต้องตั้งอยู่บนหลักการอิสลาม การกระท�ำ ดังกล่าวนอกจากจะท�ำให้มุสลิมสามารถสร้างสังคมที่ เข้มแข็งที่สุด สมบูรณ์ที่สุด สงบสุขที่สุดและสูงส่งที่สุด ได้แล้ว ยังเป็นความพยายามที่สอดรับกับวิวัฒนาการ ของแนวคิดทฤษฎีทางรัฐศาสตร์ ส�ำหรับคนทั่วไปที่ไม่ ได้นับถือศาสนาอิสลามด้วย ไม่วา่ จะอย่างไรก็ตาม การสถาปนารัฐจะต้องตัง้ อยู่บนหลักการอิสลาม การละทิ้งหลักการอิสลามจะ ท�ำให้รัฐของมุสลิมล่มสลาย ในเมื่ออิสลามมิได้ข่มเหง รังแกศาสนิกอื่นในรัฐอิสลาม ให้เสรีภาพในการนับถือ ศาสนา ไม่ละเมิดสิทธิของศาสนิกอืน่ ดังนัน้ จะกลัวอะไร กับการใช้กฎหมายในรัฐอิสลาม เพราะกฎหมายอิสลาม

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


เป็นความยุตธิ รรมสูงสุด เป็นความจริง เป็นภารดรภาพ การช่วยเหลือเกือ้ กูลกันอย่างสมบูรณ์แบบ ความรักใคร่ กลมเกลียวกัน การสร้างเอกภาพระหว่างมนุษย์คือเป้า หมายสูงสุดทีอ่ สิ ลามได้วางไว้ แต่ตอ้ งตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐาน ของผู้ศรัทธาที่มั่นคง และนี่คือแนวทางที่อัลกุรอานได้ กล่าวไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ ‫‌ى آ َمنُوا َوا َّت َق ْوا َل َفت َْحنَا َع َل ْي ِهم‬ ٰ ‫َو َل ْو َأ َّن َأ ْه َل ا ْل ُق َر‬ ٍ ‫ب ‌رك‬ ِ ‫َات ِّم َن الس َ​َّم ِء َو ْالَ ْر‬ ‫‌ض‬ َ​َ

จิตใจ ร่างกาย โลกดุนยาและโลกหลังความตาย อิสลาม คือศาสนาและรัฐมัสยิดและรัฐสภา และอัลกุรอานคือค�ำ สอนทีเ่ กีย่ วข้องกับจริยธรรมและบทบัญญัตทิ เี่ กีย่ วข้อง ของมนุษย์ ทัง้ ปัจเจกบุคคลและส่วนร่วม มันคือค�ำสอน ทีส่ ามารถสร้างหลักประกันให้กบั มนุษย์ทงั้ โลกนีแ้ ละโลก หน้า ค�ำสอนของอิสลามจึงสอดคล้องกับทุกยุคทุกสมัย และทุกสภาวการณ์ มนุษย์ทุกคนจึงถูกเชิญชวนให้เข้า มาสู่กระบวนทัศน์อิสลามในทุกมิติ ทั้งในระดับปัจเจก หรือสังคม ประชาชนหรือผู้น�ำ ช่วงอ่อนแอหรือเข้มแข็ง ช่วงยากล�ำบากหรือสุขสบาย สันติหรือสงคราม ในทุก มิตขิ องชีวติ นี้ เราถูกเชิญชวนให้อยูใ่ นกรอบของอิสลาม อย่างสมบูรณ์ ِ ‫الس ْل ِم كَا َّف ًة َو َل َتتَّبِ ُعوا‬ ِّ ‫َيا َأ ُّ َيا ا َّلذي َن آ َمنُوا ا ْد ُخ ُلوا ِف‬ ِ ِ ‫الشي َط‬ ‫ني‬ ٌ ِ‫ان إِ َّن ُه َلك ُْم عَدُ ٌّو ُّمب‬ ْ َّ ‫ُخ ُط َوات‬

“และหากว่าชาวเมืองนัน้ ได้ศรัทธาและมีความ ย�ำเกรงแล้ วไซร้ แน่ นอนเราก็เปิ ดให้ พวกเขาแล้ ว ซึ่งความศิริมงคลต่ างๆ จากฟากฟ้าและแผ่ นดิน” (อัลอะห์รอฟ : 96) และแท้จริงนีค่ อื แนวทางของฉันอันเทีย่ งตรง พวก ท่านจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลายๆ ทาง เพราะมันจะท�ำให้พวกท่านแยกออกไปจากทาง “บรรดาผู้ ศ รั ท ธาทั ง้ หลาย จงเข้ า สู่ ค วาม ของพระองค์ สันติโดยทั่วทัง้ หมด และจงอย่ าท�ำตามบรรดาก้ าว ความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนต่อศาสนาอิสลาม คือ เดินของซาตาน แท้ จริ งมันคือศัตรู ท่ ีชัดแจ้ งของ ประมวลค�ำสอนที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ทั้งวิญญาณ พวกเจ้ า” (อัลบาเกาะเราะฮ์ : 208)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

37


ความเข้าใจทีบ่ ดิ เบีย้ วและคลาดเคลือ่ นในศาสนานี้ ได้สร้างผลกระทบทีร่ า้ ยแรงต่ออิสลาม กลายเป็นศาสนา แห่งการล้างแค้น อาฆาต แค้นเคือง มองประวัตศิ าสตร์ ความสวยงามของอิสลามในเชิงอคติและไม่สร้างสรรค์ ปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชังที่มีแต่ความวุ่นวาย และท�ำลายล้าง ทัง้ ๆ ทีอ่ สิ ลามเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ และมุ่งสร้างความเจริญ ความสุดโต่งและความรุนแรง ท�ำให้ประชาชาติ มุสลิมตกเป็นเครือ่ งมือในการโฆษณาชวนเชือ่ ของพวก ตะวันตก ทั้งๆ ที่ชื่อว่า “อิสลาม” ซึ่งแปลว่า “สันติภาพ” ถูกเปลีย่ นไปจากเจตนาเดิมทีพ่ ระเจ้าได้ตงั้ ไว้ คือความ สันติภาพ ศาสนาแห่งดุลยภาพ แต่ก็มีบางกลุ่มที่บูชา ความส�ำเร็จอย่างรวบรัด ต้องการชัยชนะแบบฉาบฉวย สร้างความเปลีย่ นแปลงแบบกะทันหัน อาศัยกองก�ำลัง และความรุนแรง เป็นวิธีการที่พวกเขาคิดว่าจะมั่นคง ตลอดไป อิสลามปฏิเสธความรุนแรงและแนวคิดสุดโต่ง อิสลามถือว่าความสุดโต่งเป็นสาเหตุของความหายนะ ตัวชี้วัดชัยชนะที่แท้จริงในอิสลามจึงไม่สามารถวัดได้ จากความส�ำเร็จเชิงประจักษ์บนโลกนีเ้ ท่านัน้ แต่มนั คือ ความพึงพอใจของอัลลอฮ์ (ซบ.) และการยืนยันแนวทาง ที่ถูกต้องต่างหาก อิสลามได้สอนให้ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมว่า ความแตกต่างคือช่องทางและโอกาสที่จะท�ำให้เกิด ความรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน บนพื้นฐาน ของความย�ำเกรง ‫اونُوا َع َل‬ َ ‫ب‌ َوال َّت ْق َو ٰى َو َل َت َع‬ َ ‫َو َت َع‬ ِّ ِ ‫اونُوا َع َل ا ْل‬ ِ ‫ال ْث ِم وا ْلعدْ و‬ ‫ان‬ َ ُ َ ِْ

“ท่ านทัง้ หลายจงช่ วยเหลือซึ่งกันและกัน บน พืน้ ฐานความดีงามและย�ำเกรง อย่ างได้ ช่วยเหลือ ในสิ่งที่เป็ นบาปและสร้ างศัตรู ” (อัลมาอิดะฮ์ : 2) อิสลามคือศาสนาที่ยอมรับความหลากหลาย และถือว่าเป็นดอกไม้หลากสีทมี่ คี วามสวยงาม ในนาม

38

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ของพระเจ้าและการเผยแพร่อสิ ลาม ศาสดาได้รวบรวม เผ่าพันธุต์ า่ งๆ ทัว่ โลกให้เป็นหนึง่ เดียว ในบรรยากาศอัน เดียวกัน สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมือนกัน ปฏิบัติกิจกรรมอัน เดียวกัน เห็นได้ชัดในพิธีกรรมทางศาสนาหรือที่เรียก ว่า “การประกอบพิธีฮัจญ์” ที่นครมักกะฮ์ อิสลามจึงมี ต้นทุนและเครือ่ งมือในการสร้างความเป็นหนึง่ ทีส่ ามารถ ปฏิบตั ไิ ด้จริงภายใต้ปรัชญาค�ำสอน “อุมมะเตาวาฮิดะฮ์” (ประชาชาติหนึง่ เดียว) เพราะอิสลามคือศาสนาทีเ่ สริม สร้างไม่ใช่การท�ำลาย ไม่ใช่การแตกกระจาย การมุง่ มัน่ ท�ำความดีไม่ใช่แข่งขันกันท�ำความชั่วบนหน้าแผ่นดิน การฉวยโอกาสของตะวันตกจากการเกิดโศกนาฏกรรม 9/11 ดูเหมือนว่าความพยายามที่จะท�ำให้อิสลามเป็น ศาสนาแห่งความหวาดกลัว และการหลั่งเลือดกลาย เป็นเรื่องที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการปรากฏตัวของกองก�ำลังติดอาวุธที่ใช้วาท กรรม “การญิฮาด” ทีไ่ ด้สร้างภาพอันมัวหมองต่ออิสลาม ภาพความรุนแรงที่เผยแพร่ทั่วไปตามโลกอ่อนไลน์ ได้ ท�ำให้สงั คมโลกเข้าใจผิดว่าอิสลามคือการเชือดคอ เข่น ฆ่าและตัดสินคดีด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยมเท่านั้น ทั้งๆ ที่ การกระท�ำในลักษณะนีไ้ ม่มสี ว่ นเกีย่ วข้องใดๆ กับอิสลาม เพื่อที่สนับสนุนข้ออ้างอิงดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ท่านศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) นัน้ เป็นผูร้ กั สันติและความ ยุติธรรม โดยขอยกกรณีที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ที่เข้าร่วมสัญญาอัลฟุฏูล สมัยที่ท่านอยู่ในนครมักกะฮ์ ในขณะที่ท่านอายุเพียง 20 ปี ซึ่งเป็นสัญญาที่มีเนื้อหา ให้ชาวกุเรซยึดมัน่ หลักความยุตธิ รรม ไม่ลว่ งละเมิด คืน สิทธิให้กบั บุคคลทีพ่ งึ ได้รบั และลงโทษผูก้ ระท�ำผิดไม่วา่ จะเป็นผูใ้ ดก็ตาม ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในฐานะผูเ้ ข้าร่วม ประชุมทีม่ อี ายุนอ้ ยทีส่ ดุ ในขณะนัน้ ได้รบั เชิญให้ไปเป็น สักขีพยานในสัญญานี้ แม้กระทั่งเมื่อท่านได้เป็นผูน้ ำ� ที่ นครมะดีนะฮ์ ซึ่งท่านกล่าวว่า “ฉันเคยร่วมท�ำสัญญากับญาติทบ่ี า้ นของอับดุล ลอฮ์ บินญุดอาน ฉันดีใจยิ่งกว่ามีอูฐราคาแพงเสียอีก

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

39


หากฉันได้รับเชิญในช่วงที่ศาสนาอิสลามได้ปรากฏขึ้น แล้ว ฉันก็ยินดีที่จะร่วมแน่นอน” (เชคอัลบนีร ระบุเป็น ฮะดีษหะซัน) ผู้ปกครองในโลกมุสลิมได้ให้ความยุติธรรมแก่ ประชาชน ถ้ากลุ่มผู้น�ำปฏิบัติตามแบบอย่างของท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ความวุ่นวายในโลกมุสลิมก็จะ ไม่เกิดขึน้ เหมือนกับการเกิดขึน้ ของอาหรับสปริง สาเหตุ ทั้งหมดมาจากการปกครองของผู้น�ำที่อยุติธรรมทั้งสิ้น ประวัติศาสตร์ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) คือบทเรียนมิได้มี ไว้เพื่อท่องจ�ำแต่เพียงอย่างเดียว ท่านศาสนทูตศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) ได้รา่ งพันธะ สัญญาระหว่างชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศอร ท่านได้ เชิญชวนให้ชาวยิวเข้ามาร่วมด้วย และยอมรับสิทธิใน การนับถือศาสนาของพวกเขา อิบนิฮิซามได้เล่าถึงราย ละเอียดของพันธะสัญญาฉบับนี้ในหนังสือชีวประวัติ ของท่าน ซึง่ ประกอบด้วยพืน้ ฐานของรัฐอิสลามแห่งแรก ในเรื่องของมนุษยธรรมและความยุติธรรมในสังคม ซึ่ง จะขอกล่าวถึงเพียงหลักการทีส่ ำ� คัญๆ ทีม่ อี ยูใ่ นเอกสาร ดังต่อไปนี้ 1. ประชาชาติอสิ ลามเป็นหนึง่ เดียวโดยไม่มกี าร แบ่งแยก

40

2. ชาวมุสลิมทุกคนมีความเสมอภาคกันในสิทธิ และศักดิ์ศรี 3. ประชาชาตินี้จะต้องช่วยเหลือกันในสิ่งที่ไม่ เป็นการข่มเหงรังแกกัน ในสิ่งที่เป็นความชั่วร้ายและ การละเมิด 4. ประชาชาตินจี้ ะต้องร่วมกันก�ำหนดท่าทีตอ่ ศัตรู โดยไม่มีผู้ใดท�ำสัญญาโดยที่ผู้อื่นไม่ร่วมด้วย 5. การสถาปนาสังคมให้ตั้งอยู่บนระบบที่ดีและ เที่ยงธรรมที่สุด 6. ต่อต้านผูต้ งั้ ตัวเป็นปฏิปกั ษ์ตอ่ รัฐและระบบของ รัฐ และจะต้องไม่ให้ความอนุเคราะห์พวกเขาเหล่านั้น 7. ปกป้องรักษาผูท้ มี่ คี วามประสงค์จะสานสัมพันธ์ กับมุสลิม และให้ความช่วยเหลือพวกเขา ห้ามท�ำร้าย หรือรังแกพวกเขา 8. ชนต่างศาสนิกมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา ในทรัพย์สนิ ห้ามการบังคับให้นบั ถือศาสนาอิสลาม และ ยึดเอาทรัพย์สินของพวกเขาเหล่านั้น 9. ชนต่างศาสนิกจะต้องร่วมกันแบกรับภาระค่า ใช้จ่ายของรัฐเหมือนกับมุสลิมที่ต้องรับภาระ 10. ชนต่างศาสนิกจะต้องร่วมกับมุสลิมในการ ปกป้องรัฐจากภัยอันตรายทุกประการ

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


11. ชนต่างศาสนิกจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายใน สงคราม ตราบใดที่รัฐยังอยู่ในภาวะสงคราม 12. รัฐจะต้องช่วยเหลือชนต่างศาสนิกทีถ่ กู ละเมิด เหมือนการช่วยเหลือมุสลิมที่ถูกละเมิด 13. ห้ามมิให้มุสลิมและชนต่างศาสนิกปกป้อง ศัตรูของรัฐ และพันธมิตรของศัตรูเหล่านั้น 14. หากว่าการสงบศึกใดให้ประโยชน์แก่ประชาชาติ นัน้ มุสลิมและชนต่างศาสนิกจะต้องยอมรับการสงบศึกนัน้ 15. บุคคลใดจะไม่ถูกลงโทษเนื่องจากความผิด ของผู้อื่น 16. เสรีภาพในการเดินทางภายในและภายนอก รัฐ จะต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ 17. ไม่มีการปกป้องผู้กระท�ำผิดและผู้ละเมิดต่อ สิทธิของผู้อื่น 18. สังคมตั้งอยู่บนการช่วยเหลือกันในความดี และความย�ำเกรง ไม่ใช่การช่วยเหลือเกือ้ กูลกันในความ ชั่วและการข่มเหงรังแก 19. หลักการเหล่านี้ปกป้องรักษาโดยอ�ำนาจ 2 ประการคือ - อ�ำนาจเชิงนามธรรม คือความศรัทธาของประชา ชาติตอ่ อัลลอฮ์ (ซบ.) การดูแลรักษาของพระองค์ทมี่ ตี อ่

ผู้ท�ำความดีและยึดมั่นในสัญญา - อ�ำนาจเชิงรูปธรรม คือผู้น�ำแห่งรัฐที่มีศาสดามุ ฮัมมัด (ซ็อลฯ) เป็นตัวแทนของรัฐ การสร้ างเอกภาพและสันติ ท่ านศาสดามุ ฮั มมั ด (ซ็ อ ลฯ) ไม่ ละทิ้ ง ความ พยายามที่จะสถาปนาสันติภาพให้เกิดขึ้นให้ได้ด้วย การเจรจา และลบล้างความคิดของผูน้ ำ� กุเรชให้ได้ หาก มุสลิมประสบความส�ำเร็จตามวิธีการที่ท่านได้คิดไว้ มุสลิมจะได้ประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์อย่างเป็น อิสระ ท่ามกลางสายตาของชาวอาหรับผู้ตั้งภาคีหลาย พันคน สิ่งนี้ถือเป็นการเผยแพร่ศาสนาอิสลามอันยิ่ง ใหญ่ สิ่งที่ตามมาก็คือสิทธิของมุสลิมก็จะชัดเจนยิ่งขึ้น การใช้กำ� ลังบีบบังคับของพวกกุเรชก็จะเป็นทีป่ ระจักษ์ ต่อสายตาของทุกคน แล้วพวกกุเรชก็คงไม่สามารถทีจ่ ะ ระดมพลชาวอาหรับมาเพือ่ เป็นปฏิปกั ษ์ตอ่ มุสลิมได้อกี เพราะเท่ากับว่าพวกเขาก�ำลังท�ำตัวเป็นฝ่ายสกัดกัน้ ไม่ ให้ผู้จาริกแสวงบุญชาวมุสลิมได้ท�ำพิธีกรรมดังกล่าว ในที่สุดท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้ตัดสินใจ ส่งอุษมาน บินอัฟฟาน ซึ่งมีความเกี่ยวดองทางเครือ ญาติกับอบูซุฟยาน เป็นผู้น�ำสาสน์ของท่านไปเจรจา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

41


ด้วยจิตใจทีม่ งั่ มัน่ ในการต้องการสันติภาพและ เอกภาพทีจ่ ะให้เกิดขึน้ ให้ได้ โดยมิได้คดิ อะไรไปมากกว่า นัน้ ความพยายามทีจ่ ะก่อให้เกิดสันติภาพท�ำให้ตอ้ งเจ็บ ปวดต่อการกระท�ำของพวกกุเรช ข้อตกลงลักษณะนีไ้ ม่เคย เกิดขึน้ ในโลก และไม่เคยมีมาก่อนในหน้าประวัตศิ าสตร์ ซึ่งแสดงถึงความเสียสละอย่างใหญ่หลวงเพื่อรักษา สันติภาพที่ท่านปรารถนา ท่านยอมรับเงื่อนไขที่เต็มไป ด้วยการบีบคั้นของซุฮัยล์ เพื่อรักษาเป้าหมายข้างต้น

กับพวกกุเรช ในที่สุดพวกกุเรชได้ส่งซุฮัยล์เป็นตัวแทน ของพวกเขามาเจรจากับท่านศาสดา การพูดคุยระหว่าง ซุฮยั ล์และท่านศาสดาท�ำให้เกิดการร่างข้อสัญญาท�ำข้อ ตกลงระหว่างมุสลิมกับพวกกุเรช เขาพยายามสร้างข้อ เสนอทีบ่ บี คัน้ มุสลิมถึงขนาดทีเ่ กือบจะไม่ได้รา่ งข้อตกลง สันติภาพ การท�ำความตกลงระหว่างสองคนสิน้ สุดด้วย การพยายามทีจ่ ะสร้างเงือ่ นไขมากมายของซุฮยั ล์ สุดท้าย สัญญาถูกร่างขึ้นและได้รับการลงนามจากทั้งสองฝ่าย การท�ำสัญญาในครั้งนี้ท่านอาลีเป็นคนบันทึก เรือ่ งราวในสัญญาทัง้ หมด ท่านศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) ได้สั่งให้ท่านอาลีเขียนว่า “นี่คือข้อตกลงสันติภาพที่ มุฮมั มัดศาสดาของอัลลอฮ์ กระท�ำ (ซุฮยั ล์ในนามตัวแทน ของพวกกุเรช)” ซุฮยั ล์ได้กล่าวขึน้ ว่า “เราไม่ยอมรับความ เป็นศาสนทูตและการได้รบั สานส์ของท่าน ถ้าเรายอมรับ เช่นนัน้ เราคงไม่ทำ� สงครามกับท่าน ท่านควรจะเอ่ยเฉพาะ นามของท่านและบิดาของท่าน แต่หา้ มใส่คำ� ว่าศาสดา ของอัลลอฮ์” พวกมุสลิมเริม่ แสดงความไม่พอใจทีจ่ ะให้ ศาสดายอมตามความต้องการของซุฮัยล์ถึงขนาดนั้น แต่ท่านศาสดาก็ยอมท�ำตามความประสงค์ของซุฮัยล์

42

สัญญาสันติภาพฮุดยั บียะฮ์ สัญญานีเ้ ป็นสัญญาสันติภาพทีค่ วรทราบถึงความ เสียสละอันยิง่ ใหญ่ แม้จะมีมสุ ลิมบางกลุม่ ไม่พอใจเพราะ ท่านมีวสิ ยั ทัศน์ทกี่ า้ วไกล และรูว้ า่ หากสัญญานีผ้ า่ นพ้น ไปได้จะท�ำให้ศาสนาอิสลามปรากฏขึน้ และเป็นทีย่ อมรับ ในที่สุด สัญญานี้ระหว่างท่านศาสดากับตัวแทนของ พวกกุเรชทีร่ า่ งขึน้ อย่างสมบูรณ์ ซึง่ มีขอ้ ความดังต่อไปนี้ 1. พวกกุเรชและมุสลิมมีขอ้ ตกลงร่วมกันว่า พวก เขาจะไม่ท�ำสงครามหรือรุกรานกันเป็นเวลา 10 ปี เพื่อ สร้างความสมานฉันท์และสันติภาพให้เกิดขึ้นในดิน แดนอาหรับ 2. หากมีพวกกุเรชคนใดหนีออกจากมักกะฮ์โดย ไม่ได้รบั อนุญาตจากผูอ้ าวุโสและเข้ารับอิสลาม และเข้า ร่วมกับมุสลิม มุฮมั มัดจะต้องส่งเขาผูน้ นั้ กลับคืนยังพวก กุเรช แต่หากมีมสุ ลิมคนใดกลับไปหาพวกกุเรช พวกกุเร ชไม่จ�ำเป็นต้องส่งคืนกลับมายังหมู่มุสลิม 3. มุสลิมและพวกกุเรชมีสิทธิที่จะท�ำสัญญาข้อ ตกลงใดๆ กับกลุ่มชนอื่นๆ ได้ 4. ในปีนมี้ ฮุ มั มัดและพรรคพวกต้องเดินทางออก จากบริเวณนี้ และกลับคืนสูน่ ครมะดีนะฮ์ในปีตอ่ มาเมือ่ พวกเขามีอิสระที่จะเดินทางเข้ามักกะฮ์และเยือนบ้าน ของพระเจ้า แต่มีเงื่อนไขว่าพวกเขาต้องอยู่ที่มักกะฮ์ ได้ไม่เกินสามวัน และต้องไม่พกพาอาวุธใดๆ ติดตัวมา นอกจากดาบที่มีไว้ใช้ส�ำหรับการเดินทางเท่านั้น

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


5. มุสลิมทีย่ งั อาศัยอยูใ่ นมักกะฮ์มสี ทิ ธิท์ จี่ ะปฏิบตั ิ ตามความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ตามข้อตกลง ของสัญญาสันติภาพนี้ และพวกกุเรชไม่มีสิทธิ์ที่จะท�ำ อันตรายพวกเขาเป็นเด็ดขาด หรือบีบบังคับให้พวกเขา ละทิ้งความเชื่อของพวกเขา หรือแสดงการดูถูกเหยียด หยามศาสนาของพวกเขา 6. ผู้ลงนามในข้อตกลงนี้ มีหน้าที่ให้เกียรติต่อ ทรัพย์สินของกันและกัน และต้องทิ้งการเสแสร้งและ เล่ห์เพทุบายต่างๆ หัวใจของพวกเขาต้องไร้ซึ่งความ ริษยาต่อกันและกัน 7. มุสลิมทีเ่ ดินทางมาจากมะดีนะฮ์สนู่ ครมักกะฮ์ นั้น ทรัพย์สินของพวกเขาจะได้รับการให้เกียรติ นี่คือข้อความที่ปรากฏในร่างข้อตกลงสัญญา สันติภาพฮุดยั บียะฮ์ เนือ้ หาของสัญญาสันติภาพฉบับนี้ บ่งบอกถึงความกดดันอย่างหนักทีม่ ตี อ่ ศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) ซึง่ ถ้าไม่ยอมรับตามนีส้ นั ติภาพก็จะไม่มวี นั เกิด ขึน้ ได้ เพือ่ รักษาเป้าหมายไว้ทา่ นจึงยอมท�ำสัญญาแม้จะ เสียเปรียบมากมายท่ามกลางกระแสคัดค้านและความ ขัดแย้งในหมู่สาวกและสหายของท่านศาสดา

กับหัวหน้าชาวกุเรช ใช้เวลาต่อรองทั้งหมด 19 วัน ณ ต�ำบลฮุดัยบียะฮ์ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ ของท่านศาสดามุฮัมมัดที่มองการณ์ไกลและเข้าใจถึง สถานการณ์ ความพยายามอย่างบริสุทธิ์ใจที่จะรักษา สันติภาพให้ได้นั้น เป็นสิ่งยืนยันว่านี่คือความยิ่งใหญ่ ของท่านศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) ศาสดาแห่งมนุษยชาติ สรุปจากสิง่ ทีไ่ ด้รบั ประโยชน์และคุณค่าอันอเนก อนันต์ต่อศาสนาอิสลามมีดังนี้ 1. สงครามหยุดพัก 10 ปี ระยะเวลาที่ยาวนานนี้ ท�ำให้โอกาสเผยแพร่มเี วลามากยิง่ ขึน้ และนัน่ คือโอกาส ทองส�ำหรับชาวมุสลิมในการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม 2. สรีระของมนุษย์ในวัยหนุม่ และวัยทีม่ อี ายุมาก ขึน้ ความรุนแรงและการใช้เหตุผลแตกต่างกันท�ำให้มสุ ลิม เริ่มคลายความกังวลและมีอิสระมากขึ้น 3. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติ กลับมาอีกครั้งหนึ่ง การไปมาหาสู่ระหว่างมุสลิมชาว มักกะฮ์และมาดีนะฮ์มีบ่อยขึ้น ท�ำให้ได้เรียนรู้หลักการ อันสูงส่งของอิสลาม หลังจากหลงกราบไหว้รูปปั้นอยู่ นานหลายศตวรรษ 4. การเรียนรู้อิสลามนี่เองที่เป็นเสมือนปฐมบท ผลประโยชน์ แห่ งคุณค่ าของเอกภาพและสันติภาพ ส�ำหรับการพิชิตมักกะฮ์ในเวลาต่อมา การช�ำระล้าง สันติภาพระหว่างท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ความสะอาดของมุสลิมก่อนเริม่ พิธลี ะหมาด ความเป็น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

43


ระเบียบเรียบร้อย การได้ฟงั โองการอัลกุรอาน การสร้าง แรงบันดาลใจแก่ชาวมักกะฮ์ กฎเกณฑ์ทางศาสนาแบะ มารยาททางสังคมได้ถกู น�ำมาใช้ ท่ามกลางชาวมักกะฮ์ ที่ไม่เคยเห็นภาพเหล่านี้มาก่อน 5. ซูเราะฟัตฮ์ได้แจ้งข่าวชัยชนะของมุสลิม ที่ถูก ประทานลงมาในเวลาใกล้เคียงกัน ซึง่ ถือเป็นการเริม่ ต้น แห่งชัยชนะในเวลาต่อมา แบบอย่างของท่านศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) ก็คอื แบบอย่างของชาวมุสลิมทัว่ โลก และเราต้องเดินตามสิง่ ทีท่ า่ นได้ปฏิบตั ไิ ว้ อย่าเพียงแต่เอาค�ำพูดของท่าน เพราะ มันจะไม่เกิดประโยชน์อะไร เราต้องดูสภาพความเป็น จริงในโลกปัจจุบนั จ�ำนวนประชากรมุสลิมในปัจจุบนั มี มากกว่า 1,000 ล้านคน แต่เราไม่สามารถเป็นประชาชาติ ที่เข้มแข็งได้ จ�ำนวนที่มากมายแต่แตกแยกกัน สิ่งนี้จะ ขัดขวางเราจากจากคุณประโยชน์อนั ใหญ่หลวง ในทาง กลับกัน จ�ำนวนทีน่ อ้ ยนิดแต่มเี อกภาพนัน้ จะท�ำให้เรามี ความมั่นคงแข็งแกร่ง แบบอย่างของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ที่ไม่

44

สุดโต่งเหมือนสาวกและมุสลิมบางกลุ่มที่จะขัดขวาง สัญญานี้ โดยไม่เข้าใจว่าตนเองก�ำลังท�ำลายสันติภาพ ทีย่ งิ่ ใหญ่ทศี่ าสดาได้สร้างขึน้ ทัง้ นีแ้ สดงให้เห็นว่ามุสลิม นัน้ พระเจ้าได้วางแนวทางให้เราได้กา้ วเดินแล้ว นัน่ ก็คอื ทางสายกลางที่ไม่ตึงและไม่หย่อนจนเกินไป หรือที่เรา เรียกว่า “มุสลิมประชาชาติสายกลาง” ‫َوك ََٰذلِ َك َج َع ْلنَاك ُْم ُأ َّم ًة َو َس ًطا‬

“และในท�ำนองเดียวกันนัน้ เราได้ ก�ำหนด ให้ พ วกเจ้ า ทัง้ หลายเป็ นประชาชาติส ายกลาง” (อัลบาเกาะเราะฮ์ : 143) แต่ตรงกันข้าม ประชาชาติอิสลามในปัจจุบันได้ ละทิง้ ทางสายกลางในการด�ำเนินชีวติ พฤติกรรมต่างๆ จึง โอนเอียงไปทางซ้ายหรือไม่กท็ างขวา ไปสูต่ ะวันออกหรือ ไม่ก็ตะวันตกในที่สุด พวกเขาละทิ้งแนวทางที่เที่ยงตรง อันเป็นแนวทางทีเ่ ราได้รบั ความเมตตาจากอัลลอฮ์ (ซบ.) ในอีกโองการหนึ่ง อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงแสดง ภาพคุณลักษณะของประชาชาติอิสลามที่ว่าพวกเขา

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


คือประชาชาติที่เป็นเอกภาพ ِ ‫إِ َّن هـ ِٰذ ِه ُأم ُتكُم ُأم ًة و‬ ِ ُ‫احدَ ًة و َأنَا ‌ربكُم َفا ْعبد‬ ‫ون‬ َ ُ ْ ُّ َ َ َ َّ ْ َّ

หรือการทหาร ชาวมุสลิมของเรายังคงด�ำรงชีวิตอยู่อย่างขาด ความกระตือรือร้น ประชาชาติอิสลามในทุกวันนี้ยัง ไม่ได้ใช้ปัจจัยจากความเข้มแข็งที่มีอยู่ พวกเราควรร�ำ ลึกว่าอัลกุรอานนั้นเป็นพระบัญชาจากอัลลอฮ์ (ซบ.) ที่ทรงประทานให้แก่ปวงชนผู้โง่เขลา เกียจคร้านและ ปราศจากความคิด พฤติกรรมทีน่ า่ เกลียดทีส่ ดุ ทีป่ ระสบกับประชาชาติ อิสลาม ก็คือเราไม่จริงจังกับอัลกุรอาน พวกเราประดับ ประดาฝาผนังบ้านด้วยภาพอักษรประดิษฐ์จากอายะฮ์กุ รอาน แต่เราไม่ได้ประดับประดาชีวติ ด้วยค�ำสอนของอัล กุรอาน เราบรรจงอ่านอัลกุรอานเบือ้ งหน้าคนทีเ่ สียชีวติ แต่เราไม่ได้เข้มงวดสิ่งนี้ในหมู่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ‫إِ َّن ال َّلـ َه َل ُي َغ ِّ ُي‌ َما بِ َق ْو ٍم َحت َّٰى ُي َغ ِّ ُي‌وا َما بِ َأن ُف ِس ِه ْم‬

“และแท้ จ ริ ง ประชาชาติ ข องพวกเจ้ า คื อ ประชาชาติเดียวกัน และข้าเป็ นองค์อภิบาลของพวก เจ้ า ดังนัน้ จึงเคารพภักดีข้าเถิด” (อัลอัมบิยาอ์ : 92) โดยข้อเท็จจริงทีพ่ วกเรามองเห็นในขณะนี้ ประชาชาติ อิสลามในทุกวันนี้มิได้เป็นประชาชาติที่มีเอกภาพดังที่ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงประสงค์อกี ต่อไป ประชาชาติอสิ ลาม โดยเฉพาะตะวันออกกลาง กลายเป็นกลุม่ ทีแ่ ตกแยกกัน ตามเจตนารมณ์ของบรรดาจักรวรรดินยิ ม ซึง่ ไม่เพียงแต่ มีความรู้สึกเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันเท่านั้น ยังยุยงให้เกิด สงครามห�่ำหั่นกันในระหว่างพี่น้องร่วมศาสนาอีกด้วย สิง่ ทีม่ สุ ลิมทัว่ โลกควรพิจารณาอย่างจริงจัง ก็คอื ประชาชาติสายกลางในปัจจุบันยังอยู่ในต�ำแหน่งที่ล้า หลังและห่างไกล และถูกปกคลุมด้วยความตกต�่ำแทบ “แท้ จริ งอัลลอฮ์ จะไม่ ทรงเปลี่ยนแปลงกลุ่ม ทุกด้าน หลากหลายจากประเทศมุสลิมยังต้องแขวน ชนใด จนกว่ าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงตนเองเสีย ชะตาชีวติ ด้วยการพึง่ พากลุม่ ชนอืน่ ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจ ก่ อน” (อัลเราะอ์ดุ : 11)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

45


นับวันเรายิง่ เผลอไผลขาดความเอาใจใส่ในแหล่ง พลังอันยิง่ ใหญ่ดงั กล่าวนีเ้ ข้าไปทุกที จ�ำนวนคนของเรา มีมาก แต่เป็นความมากทีม่ สี ภาพประหนึง่ ฟองน�ำ้ ทีอ่ ยู่ เหนือน�้ำ ดังฮะดีษของท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ที่กล่าว ว่า “มากเหมือนดังฟองน�้ำ” หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่น่าแปลกใจอย่าง ยิ่งคือ ชนชาติที่เป็นยิวหรือรู้จักกันในนาม “อิสราเอล” ได้หันกลับมาใช้ประโยชน์จากพลังจิตวิญญาณและ พลังทางศาสนาของพวกเขาอย่างเต็มที่ ในการปลุกเร้า ประชาชาติของพวกเขาให้ตนื่ จากการหลับใหล ชาวยิว ทั้งหมดที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจ่ายถูกรวมให้เป็นหนึ่ง เดียว โดยการรณรงค์ให้มีการฟื้นฟูภาษาแม่ของพวก เขา จนกระทัง่ พวกเขาสามารถเผชิญหน้ากับประชาชาติ อิสลาม โดยการอ้างกลับไปยังหลักฐานจากคัมภีร์เตา รอตของพวกเขา ในขณะทีเ่ ราเผชิญหน้ากับพวกเขาโดย ไม่ได้อา้ งหลักฐานกลับไปยังคัมภีรอ์ ลั กุรอานแต่อย่างใด จ� ำ นวนของเรามี ม ากแต่ เ ป็ น ความมากที่ มี สภาพประหนึ่งฟองน�้ำที่อยู่เหนือน�้ำ ดังฮะดีษของท่าน รอซูลุลอฮ์ (ซ็อลฯ) ที่ว่า “มากเหมือนดั่งฟองน�้ำ” ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ประชากรมุสลิมจ�ำนวนหนึ่ง พันล้านประหนึ่งฟองน�้ำที่มีอยู่จ�ำนวนมากมาย แต่มัน จะแตกสลายทันทีเมื่อถูกลมพัด จึงพ่ายแพ้แก่เงื้อมมือ ของชาวยิว อิสราเอลที่ถูกสาปแช่ง ซึ่งมีประชากรแค่ เพียง 3 ล้านคนเท่านั้น สิ่งเดียวที่เราจ�ำเป็นต้องกระท�ำโดยรีบเร่ง คือ การสร้างสังคมสันติภาพให้เป็นเอกภาพ เป็นอุมมะฮ์ (ประชาชาติ) เดียวกันให้ได้ ซึ่งคือต้นก�ำเนิดของความ สามัคคีและความจ�ำเริญ หากเรารวมกันได้ มีความ ปรองดองและย�ำเกรงต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) หากเราท�ำให้ สังคมของเรามีแต่ความแตกแยกตามการชีน้ ำ� ของตะวัน ตก ตามการยุยงของมหาอ�ำนาจ ในที่สุดเราก็จะเป็น เหยื่อของความสูญเสียที่ไม่มีวันจบสิ้น กล่าวโดยสรุปก็คอื ประชาชาติอสิ ลามลืมอัลลอฮ์

46

(ซบ.) อัลลอฮ์จึงทรงท�ำให้พวกเขาหลงลืมตัวเอง ดังที่ อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรงตรัสว่า “และพวกเจ้ าอย่ าได้ เป็ นเช่ นบรรดาจ�ำพวกที่ ลืมอัลลอฮ์ แล้ วอัลลอฮ์ กท็ ำ� ให้ พวกเขาลืมตัวเอง” แม้ว่าเราจะมีองค์กรใหญ่ที่สุดในโลกรองจาก สหประชาชาติ ซึง่ ถูกเรียกและรูจ้ กั ในนาม “OIC” องค์กร เพื่อเอกภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศในโลก อิสลาม ซึง่ ทุกคนเข้าใจและรูจ้ กั ดีถงึ บทบาทขององค์กรนี้ ในความเป็นจริงแล้วการมีอยูข่ องอุมมะฮ์ไม่มคี วามหมาย ใดๆ หากไม่มีอิสลามที่อยู่ในหลักการตามบทบัญญัติ ของศาสนา ไม่มีชัยชนะหากไม่มีอิสลาม ไม่มีเอกภาพ ที่แท้จริงหากขาดความบริสุทธิ์ใจ และไม่มีเกียรติยศ อันใดพึงมีแก่อุมมะฮ์ (ประชาชาติ) นี้ หากไม่มีอิสลาม ท่านอุมัร อัลคอตต็อบ อมีรุลมุอ์มินีน ได้กล่าวไว้ เป็นสัจธรรมว่า “ก่อนหน้านีเ้ ราเป็ นกลุม่ ชนทีต่ อ้ ยต�่ำทีส่ ดุ แต่แล้ว อัลลอฮ์ ก็ทรงยกเกี ยรติ พวกเราด้วยอิ สลาม หากเรา แสวงหาเกียรติยศโดยปราศจากอิสลาม แน่นอนอัลลอฮ์ จะท�ำให้เรากลับคืนสู่ความต�่ำต้อยอีกครัง้ ”

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


แผนการแบ่งซอย

โลกอิสลาม บทความโดย กองบรรณาธิการ

สิ่งที่กำ� ลังเกิดขึน้ ในโลกอิสลามและโลกอาหรับปั จจุบนั นีไ้ ม่ ว่าจะเป็ นในเรื่อง ของสงคราม ความ ขัดแย้ งและการแบ่ งซอยประเทศต่ างๆนัน้ มิใช่ เป็ นเรื่องที่เกิดขึน้ หรือที่ อุบตั ขิ นึ ้ โดยบังเอิญ เบอร์ นาร์ ด ลูอิสชาวไซออนิสต์ ได้ ร่างแผนการแบ่ งซอยโลกอิสลาม ผู้เชี่ยวชาญด้ านทฤษฎีของอเมริ กาคือผู้ร่าง แผนที่อันตรายที่สุดในศตวรรษ ส�ำนักข่าวฟาร์ซ : สิง่ ทีก่ ำ� ลังเกิดขึน้ ในโลกอิสลามและโลกอาหรับปัจจุบนั นีไ้ ม่วา่ จะเป็นใน เรือ่ งของสงคราม ความขัดแย้งและการแบ่งซอยประเทศต่างๆนั้นมิใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือที่ อุบัติขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นแผนการ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

47


ที่ออกแบบค�ำนวณไว้ล่วงหน้าซึ่งได้ถูกวางแผนไว้เมื่อ หลายปีก่อน โดยบุรุษผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อว่า "เบอร์นาร์ด ลูอิส"(Bernard Lewis) ตามการรายงานของส�ำนักข่าวฟาร์ซโดยอ้าง แหล่งข่าวจากเว็บไซต์ข่าวอิสลามทู เดย์ ; "ฟัตฮี ชะฮา บุดดีน"นักเขียนแห่งโลกอาหรับได้อธิบายและแจกแจง รายละเอียดไว้ในบทความ บทหนึง่ ถึงแผนการของเบอร์ นาร์ด ลูอสิ เกีย่ วกับการแบ่งซอยโลกอิสลามและอาหรับ และเขาได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า บรรดาผูท้ ไี่ ม่ได้อา่ นประวัตศิ าสตร์นนั้ พวกเขาคิด ว่าสิ่งที่อเมริกาได้ ด�ำเนินการในอิรักและได้ครอบครอง ประเทศนีเ้ ป็นการด�ำเนินการทีเ่ กิดขึน้ แบบ อุบตั เิ หตุโดย ไม่ตั้งใจและเป็นผลพวงของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญ ภายหลังจากทีเ่ ราได้เห็นเหตุการณ์ตา่ งๆใน ประเทศซูดานทีเ่ ป็นสาเหตุนำ� ไปสู่ การแยกตัวของภาค ใต้ของซูดานออกไปจากภาคเหนือของมัน ในขณะทีค่ น ส่วนมากนั้นหลงลืมไปว่า นี่คือข้อเท็จจริงอันยิ่งใหญ่ที่ ว่าการด�ำเนินการดังกล่าวนีเ้ ป็นเพียงส่วน หนึง่ ของการ ด�ำเนินการตามแผนการล่าอาณานิคมซึง่ ลัทธิไซออนิสต์

48

สากลได้วางแผน ไว้เพือ่ การแบ่งแยกและซอยโลกอิสลาม และโลกอาหรับเพื่อที่ว่าบนพื้นฐานของสิ่ง ดังกล่าวนี้ พวกเขาจะเปลี่ยนโลกทั้งสองให้กลายเป็นประเทศเล็ก ประเทศน้อย และโดยสือ่ ดังกล่าวนีป้ จั จัยขัน้ พืน้ ฐานใน เบือ้ งต้นของอ�ำนาจการปกครองของ ระบอบไซออนิสต์ จะได้ถกู จัดเตรียมขึน้ ในดินแดนปาเลสไตน์และจากนัน้ ก็จะขยายวง ไปทั่วภูมิภาคของตะวันออกกลาง เป้าหมายของการตีแผ่ประเด็นนีก้ เ็ พือ่ ท�ำให้โลก อิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดา เยาวชนมุสลิมได้รับ รู้ถึงแผนการที่อันตรายนี้ โดยเฉพาะกรณีที่พวกไซออ นิสต์สากลได้ได้ทมุ่ ทุนมหาศาลเพือ่ ล้างสมองของบรรดา เยาวชนและเบีย่ งเบนความคิดของพวกเขาเพือ่ ทีว่ า่ โดย สือ่ ดังกล่าวนีพ้ วกเขาจะ ได้รบั ใช้บริการและสนองตอบ ต่อแผนการของระบอบไซออนิสต์และอเมริกา เบอร์ นาร์ ด ลูอสิ คือใคร? เบอร์นาร์ดลูอสิ เป็นยิวไซออนิสต์ สัญชาติอาหรับ และเป็นจอมวางแผนที่อันตรายและร้ายกาจที่สุดแห่ง ศตวรรษส�ำหรับ การแบ่งแยกและการซอยโลกมุสลิม และโลกอาหรับออกเป็นส่วนๆเริ่มตั้งแต่ปากีสถาน ไป

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


จนถึงมอร็อกโคซึ่งนิตยสารของกระทรวงกลาโหมของ อเมริกาได้จัดพิมพ์และตีแผ่ เรื่องนี้ไว้ เบอร์นาร์ด ลูอสิ เกิดในกรุงลอนดอนในปี 1916 เขา เป็นนักบูรพาคดีศกึ ษา(Orientalists)ชาวอังกฤษเชือ้ สาย ยิวทีม่ สี ญ ั ชาติ อเมริกนั เขาจบการศึกษาในปี 1936 จาก ลอนดอนและได้ทำ� การสอนอยูใ่ นภาควิชาประวัตศิ าสตร์ ของศูนย์การวิจัยเกี่ยว กับแอฟริกาตะวันออก ผลงานเขียนต่ างๆ ของเบอร์ นาร์ ด ลูอสิ ลูอิสได้เขียนบทความและหนังสือจ�ำนวนมาก เกีย่ วกับอิสลามและชาวมุสลิม ในความเป็นจริงแล้วเขา ได้ท�ำการเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับทุกๆเรื่องราวที่ประณาม และดูถกู เหยียดหยามอิสลามเอาไว้ และด้วยเหตุผลดัง กล่าวนี้เองในระยะเวลาไม่นานผลงานการเขียนต่างๆ ของเขาจึง ได้กลายเป็นหนังสืออ้างอิงของกลุม่ ประเทศ ตะวันตกจ�ำนวนมาก ผลงานการเขียนต่างๆของลูอสิ นัน้ ครอบคลุมเนื้อหาโดยเริ่มจากบรรดาพวกที่ติดยา เสพ ติดและพวกหัวรุนแรงทีน่ บั ถือศาสนาตามแนวความเชือ่ เดิม(fundamentalist) ของนิกายอิสมาอีลยี ะฮ์และกิรมิฏี

ยะฮ์มาจนถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของโลก และส่วน หนึง่ จากเนือ้ หาเหล่านัน้ ได้แก่ขบวนการไซออนิสต์และ แนวความเชื่อ ต่างๆของลัทธิไซออนิสต์ และเขาได้เน้น ย�ำ้ เกีย่ วกับแนวความเชือ่ ของลัทธิไซออนิสต์ของตนเอง หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นลั : ลูอสิ ผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านทฤษฎีนโยบายการครอบง�ำต่างๆและการแทรกแซง ของอเมริกาในภูมิภาคตะวันออกกลาง หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นลั (The Wall Street Journal)ได้เขียนเกี่ยวกับเบอร์นาร์ด ลูอิสไว้เช่นนี้ว่า : "เบอร์ นาร์ด ลูอสิ บุรษวัย 90 ปี เป็นนักประวัตศิ าสตร์ ทีโ่ ดดเด่นของตะวันออกกลางผูซ้ งึ่ ได้จดั เตรียมข้อมูล แนว ความคิดและความเชือ่ ทางอุดมการณ์ของรัฐบาลบุชใน ประเด็นต่างๆเกีย่ วกับ ตะวันออกกลางและสงครามของ อเมริกาในการต่อต้านลัทธิก่อการร้าย โดยที่จ�ำเป็นจะ ต้องยอมรับว่าเขาคือผูเ้ ชีย่ วชาญตัวจริงเกีย่ วกับทฤษฎี นโยบาย ครอบง�ำ การปกครองและการแทรกแซงของ อเมริกาในภูมิภาคนี้ ในนิตยสารฉบับเดียวกันนี้ยังได้เขียนต่อไปว่า : ลูอสิ ได้แสดงการสนับสนุนและการปกป้องต่างๆทีช่ ดั เจน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

49


กริ้วของชาวมุสลิม" และเขาได้เขียนไว้ในบทความนั้น ว่า : สิง่ นีม้ ไิ ด้นอ้ ยไปกว่าการปะทะระหว่างอารยะธรรม ต่างๆ บางทีประเด็นดังกล่าวนีอ้ าจจะไม่มตี รรกะและเหตุ ผลใดๆ แต่กไ็ ม่ตอ้ งสงสัยเลยว่าปฏิกริ ยิ าของโลกอิสลาม ทีม่ ตี อ่ พวกเรานัน้ เป็นปฏิกริ ยิ าทางประวัตศิ าสตร์ทมี่ มี า แต่ดงั้ เดิมและโบราณทีเ่ กิดขึน้ จาก ฝ่ายผูเ้ ป็นปรปักษ์กบั อารยะธรรมต่างๆของชาวยิวและชาวคริสต์และอารยะ ธรรมที่ มุ่งเน้นทางโลก(เซคคิวลาร์)ในปัจจุบันและการ ขยายอิทธิพลของเราออกไปในในโลก

และอย่างเปิดเผยจากการ โจมตีตา่ งๆของสงครามครูเสด (Crusade)ในตลอดระยะเวลาแห่งประวัตศิ าสตร์และใน ช่วงหลายศตวรรษทีผ่ า่ นมา และเขาได้ยำ้� ว่า การขออภัย ส�ำหรับการโจมตีต่างๆเหล่านี้เป็นความโง่เขลาบริสุทธิ์ เบอร์นาร์ด ลูอิส คือผู้ประดิษฐ์ส�ำนวนที่ว่า "การ ปะทะระหว่างอารยะธรรม" แม้จะมีผกู้ ล่าวว่า ส�ำนวนมายาคติของค�ำว่า"การ ปะทะระหว่ า งอารยะธรรม"นั้ น ซามู เ อล ฮั น ติ ง ตั น (Samuel Huntington)นักคิดกลุ่มอนุรักษ์นิยมได้เป็น ผู้ประดิษฐ์ขึ้น แต่กระนั้นก็ตาม "เบอร์นาร์ด ลูอิส"ผู้นี้ได้ น�ำเสนอส�ำนวนดังกล่าวนี้ไปสู่ความคิดสาธารณะของ ประชาชน ในหนังสือ “The Clash of Civilizations and the Remaking of World Order” ของฮันติงตันซึ่งถูก ตีพิมพ์ในปี 1996 ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นในส่วนส�ำคัญของ หนังสือของตนเองถึงบทความหนึง่ ทีล่ อู สิ ได้เขียนไว้ใน ปี 1990 ภายใต้หัวข้อว่า "รากฐานที่มาของความโกรธ

50

การสร้ างความสัมพันธ์ กับ บรรดาเจ้ าหน้ าที่รัฐบาลในสหรั ฐอเมริกา ลูอสิ นับตัง้ แต่ทศวรรษทีเ่ จ็ดสิบได้สถาปนาความ สัมพันธ์ทแี่ ข็งแกร่งและจริง ใจกับกลุม่ อนุรกั ษ์นยิ มใหม่ (Neoconservative)ของอเมริกา โดยที่ "กรีชต์"ซึง่ เป็นผู้ หนึ่งจากสมาชิกของหน่วยงานข่าวกรองกลาง(ซีไอเอ ) ของอเมริกาได้กล่าวเกี่ยวกับเขาว่า ลูอิสได้เป็นหนึ่งใน ที่ปรึกษาบุชซีเนียร์และบุชจูเนียร์ในกิจการทั่วไปเป็น ระยะเวลายาวนานหลายปี ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 ดิก ชีนีย์ รอง ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชซึ่งเป็นประธานาธิบดี ของอเมริกาในสมัยนั้นเขาได้กล่าวค�ำปราศรัยเกี่ยวกับ กิจการระหว่างประเทศในเมืองฟิลาเดลเฟียซึง่ ได้ยกย่อง และเชิดชูเกียรติต่อลู อิสในค�ำพูดของตน ดิก ชีนีย์ ได้ กล่าวในค�ำปราศรัยของตนว่า ลูอิสได้มายังวอชิงตัน เพื่อเป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ของ อเมริกาในกิจการเกี่ยวกับตะวันออกกลาง บุรุษผู้มีผลงานเขียนหลายพันเรื่ อง เกี่ยวกับตะวันออกกลาง ลูอิสศาสตราจารย์ผู้เกษียณอายุของมหาวิทยา ลัยพรินซ์ตันผู้นี้ได้เขียน หนังสือและบทความเกี่ยว กับตะวันออกกลางจ�ำนวนถึงสองหมื่นเรื่องซึ่งในท่าม

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


กลางผลงานเหล่านีจ้ ำ� เป็นต้องกล่าวถึงหัวข้อเรือ่ ง"ชาว อาหรับในประวัติ ศาสตร์" "การปะทะระหว่างอิสลามและ ความคิดสมัยใหม่ในตะวันออกกลางยุคใหม่" "วิกฤต ของอิสลาม"และ"สงครามเก่าแก่และการก่อการร้ายที่ ไร้ความศักดิ์สิทธิ์" บทบาทของเบอร์นาร์ด ลูอิสไม่จ�ำกัดอยู่แค่การ สร้างความเข้าใจและในขณะเดียวกันการสร้างความ เกลียด ชังให้เกิดขึน้ ในระหว่างบรรดาผูน้ ำ� ของสองทวีป คืออเมริกาและยุโรปเพียงเท่า นัน้ ทว่าในฐานะทีเ่ ป็นไซ ออนิสต์ผู้หนึ่งที่อยู่ในรัฐบาลของจอร์จ ดับเบิลยู บุชนั้น เขาได้ดำ� เนินการวางแผนและน�ำเสนอยุทธศาสตร์ตา่ งๆ ของกลุม่ อนุรกั ษ์นยิ ม ใหม่ของอเมริกาในการสร้างความ เป็นศัตรูและความเป็นปรปักษ์อย่างรุนแรงต่ออิส ลาม และชาวมุสลิมให้เกิดขึ้นในรัฐบาลของบุช

หนังสือพิมพ์อเมริกาฉบับหนึง่ ได้เขียนว่า ลูอสิ ในช่วงเวลา ทีม่ ดื มนของจอร์จ ดับเบิลยู บุชและดิก ชีนยี ภ์ ายหลังจาก เหตุการณ์ที่เครื่องบินได้พุ่งชนศูนย์กลางเศรษฐกิจของ โลก นั้นเขาได้อยู่ร่วมกับบุคคลทั้งสอง และในช่วงเวลา ดังกล่าวนีเ้ องทีล่ อู สิ ได้นำ� เสนอประเด็นเกีย่ วกับการบุก ยึด ประเทศอิรักและเป้าหมายต่างๆที่แฝงอยู่ภายหลัง จากนัน้ และวิธกี ารให้เหตุผล ต่างๆเกีย่ วกับการบุกโจมตี ครัง้ นีใ้ นรูปค�ำพูดต่างๆ อย่างเช่น "สงครามระหว่างอารยะ ธรรม"และ"ลัทธิการก่อการร้ายของอิสลาม"

ทัศนคติของเบอร์ นาร์ ด ลูอสิ เกี่ยว กับชาวอาหรั บและชาวมุสลิม ในการสัมภาษณ์ซ่ึงส�ำนักข่าวแห่งหนึ่งได้กระ ท�ำต่อลูอิสในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 นั้น เขา ได้กล่าวว่า : ชาวอาหรับและชาวมุสลิมนั้นเป็นหมู่ชน การมีส่วนร่ วมในการวางแผนทางยุทธศาสตร์ ที่เลวร้ายซึ่งจะท�ำให้หมู่ชนอื่น ๆ เลวร้ายและน�ำพาไป ในการบุกยึดอิรัก สู่ความเสียหายด้วย คุณไม่สามารถที่จะท�ำให้พวกเขา ในความเป็นจริงแล้วเขาเป็นผูท้ มี่ สี ว่ นร่วมในการ เป็นผูม้ อี ารยะธรรมได้ และถ้าหากคุณปล่อยให้พวกเขา การวางแผนทางด้านยุทธศาสตร์ ในการบุกยึดอิรกั โดยที่ ด�ำเนินไปตามยถากรรมของตัวเอง พวกเขาจะท�ำให้โลก

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

51


ของ พวกเขาและการท�ำลายวัฒนธรรมทางศาสนาและ สังคมของพวกเขา และในกรณีทอี่ เมริกาต้องการทีจ่ ะรับ ผิดชอบบทบาทดังกล่าวนี้ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องเรียนรูแ้ ละใช้ ประโยชน์จากประสบการณ์ของอังกฤษและฝรั่งเศสใน การล่าอาณานิคมในภูมภิ าคนีเ้ พือ่ ป้องกันมิให้เกิดความ ผิดพลาดต่างๆซ�้ำรอยสอง ประเทศนี้ เขาได้ย�้ำต่ออีกในการให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ว่า การ แบ่งซอยโลกอิสลามและโลกอาหรับออกเป็นส่วนๆ และ แยกซอยเป็นกลุม่ ชนและเผ่าชนต่างๆนัน้ เป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็น อย่างยิ่ง และในการกระท�ำดังกล่าวนี้ไม่จ�ำเป็นต้อง ค�ำนึงความรู้สึกหรือปฏิกิริยาใดๆของ พวกเขา แต่สิ่งที่ อเมริกาควรค�ำนึงหรือกังวลในเรือ่ งนีก้ ค็ อื ว่า เราจ�ำเป็น จะต้องท�ำให้พวกเขาเข้ามาอยูใ่ นบ่วงและกรอบของตน และท�ำการปกครองพวก เขาให้ได้ หรือว่าเราจะปล่อย ให้พวกเขาอยู่ในสภาพของพวกเขาเช่นนี้ต่อไป โดยที่ พวกเขาจะสร้างความเสียหายและท�ำลายอารยะธรรม ของพวกเราให้หมดสิ้นไป?

ตกอยู่ในภวังค์แห่งความตลึงงันด้วยกระแสคลื่นของ การก่อการ ร้ายของตนที่จะเป็นตัวบั่นทอนและท�ำลาย อารยะธรรมทัง้ หลายให้สญ ู สิน้ ไป และพวกเขาจะท�ำลาย สังคมของมนุษยชาติให้ย่อยยับ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ หนทางแก้ไขแบบสันติวิธีในการปฏิบัติกับพวกเขานั้น มีเพียงหนทางเดียวนั่นคือ การยึดครองประเทศต่างๆ ของพวกเขาอีกครั้งหนึ่งและการล่าอาณานิคมแผ่นดิน

52

การส่ งเสริมให้ ยดึ ครองโลกอาหรั บและอิสลาม ลูอิสชี้ให้เห็นว่า เขาไม่เห็นอุปสรรคใดๆที่จะมา ขวางกั้นหนทางในการครอบครองและการยึดครอง อาณาเขตต่างๆของอาหรับและอิสลามเลย โดยที่เขา กล่าวว่า : จากกรณีที่ว่าเราก�ำลังพยายามที่จะท�ำให้ ชาวอาหรับและชาวมุสลิมเป็นผูม้ อี ารยะ ธรรมและจาก กรณีที่ว่าเรามีความปรารถนาที่จะท�ำให้เกิดเสรีภาพ และประชาธิปไตย ขึ้นในประเทศทั้งหลายของพวกเขา ดังนั้นจ�ำเป็นที่เราจะต้องล่าอาณานิคมประเทศเหล่า นี้ และในแง่นี้ผมไม่เห็นว่าจะมีอุปสรรคใดๆในเรื่องนี้ เลยที่อเมริกาจะกดดัน บรรดาผู้น�ำที่นิยมอิสลามของ ประเทศเหล่านีเ้ อาไว้เพือ่ ทีจ่ ะปลดปล่อยประชาชน ของ ประเทศเหล่านัน้ ให้หลุดพ้นออกจากบ่วงพันธนาการของ อิสลามและความเชื่อ ต่างๆที่เลวร้าย ด้วยจุดประสงค์ ดังกล่าวนี้จ�ำเป็นที่จะต้องตีวงการกดดันต่อประชาชน

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


เหล่านี้ ให้แคบลงเท่าที่จะท�ำได้และท�ำให้พวกเขาเข้า มาอยูใ่ นวงล้อมให้ได้ และจะต้องใช้ประโยชน์ให้ได้มาก ทีส่ ดุ จากความขัดแย้งในทัศนะความเห็นต่างๆที่ มีอยูใ่ น ประเทศเหล่านีแ้ ละความอคติในระหว่างเผ่าชนและการ เล่นพรรคเล่นพวกที่ มีอยูใ่ นหมูพ่ วกเขามาแต่เดิมในการ ยึดครองประเทศเหล่านี้ การวิพากษ์ วจิ ารณ์ การถอนตัวของอิสราเอล ออกจากตอนใต้ ของเลบานอน ลูอสิ ยังได้วพิ ากษ์วจิ ารณ์การแก้ปญ ั หาอย่างสันติ วิธที ถี่ กู น�ำเสนอส�ำหรับ ความขัดแย้งระหว่างอาหรับกับ อิสราเอลในภูมิภาคตะวันออกกลางและการถอนตัว ของอิสราเอลออกจากตอนใต้ของ เลบานอน โดยกล่าว ว่า : การถอนตัวครั้งนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เสียจนเกินเหตุและโดย ไม่มีการคิดใคร่ครวญถึงผลก ระทบที่จะติดตามมาของมัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้จึง เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่อาจแก้ตวั ใดๆได้เลย ในความเป็นจริงแล้ว อิสราเอลนั้นคือด่านหน้าของอารยะธรรมตะวันตกใน ภูมิภาคนี้ ที่ก�ำลังยืนหยัดและทัดทานต่อความเครียด

แค้นและความเกลียดชังทีจ่ อมปลอมของ อิสลามทีม่ ตี อ่ ยุโรปและอเมริกา ด้วยเหตุผลดังกล่าวนีบ้ รรดาประเทศ ตะวันตกจ�ำเป็นจะต้องปกป้องอิสราเอลจาก ภยันตราย นี้ และพวกเขาเองจ�ำเป็นจะต้องยืนหยัดเผชิญหน้ากับ ภัยคุกคามนีอ้ ย่างไม่ยอ่ ท้อและ บกพร่อง และในกรณีนี้ ไม่มีความจ�ำเป็นใดๆที่จะต้องไปใส่ใจต่อความคิดเห็น ของประชาคม นานาชาติ การประชุมแอนแนโพลิส (Annapolis) กับ เบอร์ นาร์ ด ลูอสิ และในช่วงปี 2007 ทีอ่ เมริกาเรียกร้องให้มกี ารจัด ประชุมแอนแนโพลิสนั้น เบอร์นาร์ด ลูอิสได้เขียนลงใน หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ว่า : ไม่จ�ำเป็น ทีเ่ ราจะต้องให้ความส�ำคัญและมองดูการประชุมครัง้ นี้ และผลต่างๆที่ เกิดจากมันมากไปกว่ากลยุทธ์ชวั่ คราวซึง่ ท้ายทีส่ ดุ เป็นแค่เพียงความพยายามใน การสร้างพันธะ มิตรเพือ่ ต่อต้านอิหร่านและและท�ำให้เกิดความง่ายดาย ในการคัด แยกและการแบ่งซอยบรรดาประเทศอาหรับ และอิสลามและเป็นการผลักดันให้ชาว เติกส์(ตุรกี) ชาว อาหรับ ชาวปาเลสไตน์และชาวอิหร่านห�้ำหั่นชีวิตและ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

53


ฆ่าฟันกันเองเช่นเดียวกับสิ่งที่ สหรัฐอเมริกาได้กระท�ำ ขึน้ ใน ตะวันออกกลางและเฉพาะเจาะจงในภูมภิ าคอ่าว กับอินเดียนแดงของอเมริกา เปอร์เซียเพื่อว่าโดยสื่อดังกล่าว อเมริกาจะได้มีโอกาส ที่จะแก้ไขข้อก�ำหนดต่างๆของสนธิสัญญา“ไซเกส – ปี การวางแผนของเบอร์ นาร์ ด ลูอสิ เพื่อการคัดแยก โกต์” (Sykes – Picot Agreement) และปรับปรุงมันเพือ่ และการแบ่ งซอยโลกอิสลามและอาหรับซึ่งจะเป็ น ให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของอเมริกาในภูมิภาคนี้ นโยบายของอเมริกาในช่ วงปี ทัง้ หลายในอนาคต 3 - ในปี 1983 สภาคองเกรสของอเมริกาโดยการ 1 -ในปี 1980 และในช่วงที่สงครามอิรักและ ประชุมลับได้ตกลงกับเบอร์นาร์ด ลูอสิ และในการประชุม อิหร่านก�ำลังด�ำเนินอยู่นั้น เบรอชินสกี(Brzezinski) ที่ ครัง้ นีเ้ องทีส่ ภาคองเกรสได้อนุมตั แิ ผนของลูอสิ และออก ปรึกษาด้านความมัน่ คงแห่งชาติของอเมริกาในช่วงเวลา ค�ำ สัง่ ให้บรรจุแผนนีล้ งในแฟ้มนโยบายยุทธศาสตร์ของ นั้นได้กล่าวว่า : ปัญหาหลักและเป็นปัญหาส�ำคัญยิ่งที่ อเมริกาส�ำหรับปีต่างๆในอนาคต อเมริกาก�ำลังเผชิญหน้าอยู่ในขณะนี้ ก็คือ อเมริกาไม่รู้ ว่าจะท�ำอย่างไรทีจ่ ะสามารถท�ำให้สงครามอืน่ ๆเกิดขึน้ รายละเอียดของแผนการของไซออนิสต์ กบั อเมริกา ในอ่าว เปอร์เซียเคียงข้างและควบคู่ไปกับสงครามอิรัก ในการแยกและแบ่ งซอยโลกอิสลามและอาหรั บ กับอิหร่าน เพือ่ ว่าโดยสือ่ ดังกล่าวอเมริกาจะได้สามารถ อียปิ ต์ แก้ไขและเปลีย่ นแปลงข้อตกลง “ไซเกส – ปีโกต์” (Sykes บนพื้นฐานของแผนร่างนี้ประเทศอียิปต์จะถูก – Picot Agreement) ได้ แบ่งออกเป็น 4 ประเทศเล็ก ๆ คือ : 2 – สืบเนือ่ งมาจากถ้อยแถลงดังกล่าวนีแ้ ละเป็น 1 – ไซนาอ์และตะวันออกของเดลตาซึ่งจะต้อง ไปตามค�ำสัง่ ของกระทรวงกลาโหม ของอเมริกา(เพนตา อยู่"ภายใต้อิทธิพลและการควบคุมของชาว ยิว"เพื่อ กอน) เบอร์นาร์ด ลูอิสจึงได้รับค�ำสั่งให้วางแผนอันเป็น ที่จะเป็นย่างก้าวหนึ่งที่น�ำไปสู่การบรรลุความฝันของ ที่เลื่องลือของตนในการท�ำลายความเป็น เอกภาพทาง การสถาปนารัฐ ไซออนิสต์ที่ครอบคลุมอาณาเขตจาก กฎหมายของประเทศอิสลามและอาหรับทัง้ หมดและใน ลุ่มแม่น�้ำไนล์ไปจรดแม่น�้ำยูเฟรติส การดังกล่าวนี้เขาได้ ถูกมอบหมายหน้าที่ให้วางแผน 2 – ประเทศคริสเตรียนโดยมีเมืองหลวงคืออิสกัน แบ่งซอยและแยกแยะแต่ละประเทศอิสลามและอาหรับ ดะรียะฮ์(Alexandria); ประเทศนีไ้ ด้ถกู วาดจากทางทิศใต้ โดยที่จะครอบคลุมบรรดาประเทศอย่างเช่น อิรัก ซีเรีย โดยเริม่ จากเมืองบนีซะวีฟ(Beni-Suef)ไปจนถึง ตอนใต้ เลบานอน อียปิ ต์ อิหร่าน ตุรกี อัฟกานิสถาน ปากีสถาน ของเมืองอัสยูฏ(Asyut) และจากทางทิศตะวันตกไปจน ซาอุดีอาระเบีย ประเทศต่างๆในแถบอ่าวเปอร์เซียและ ถึงเมืองฟัยยูม(Faiyum)และตราบเท่าทีเ่ ป็นไปได้ เมือง แอฟริกาเหนือ และด้วยกับแรงบันดาลใจจากค�ำพูดของ ฟัยยูม(Faiyum)เองก็จะถูกรวมเข้าอยูใ่ นประเทศนีด้ ว้ ย เบรอชินสกี (Brzezinski)นีเ้ องทีเ่ ขาด�ำเนินการจัดเตรียม ประเทศนีจ้ ะด�ำเนินไปตามแนวของทะเลทรายผ่านจาก แผนและโครงการแยกแยะและแบ่งซอย ประเทศต่างๆ ทีร่ าบนัฏรูนจนกระทัง่ ท�ำให้ อาณาเขตนีเ้ ชือ่ มต่อกับอิส ของโลกอิสลาม กันดะรียะฮ์(Alexandria) ในขณะที่หลังจากเบรอชินสกี (Brzezinski)ใน 3 – ประเทศโนเบฮ์ : ซึง่ จะเกิดขึน้ โดยการรวมพืน้ ที่ ช่วงสมัยดังกล่าวนี้ จิมมี่ คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดี ทางตอนเหนือของซูดานเข้ากับมันโดยมีเมือง หลวงเป็น ของสหรัฐอเมริกาเองก็ตอ้ งการให้เกิดสงครามแห่งทีส่ อง เมือง"อัสวาน" (Aswan)ประเทศนีจ้ ะครอบคลุมพืน้ ทีจ่ าก

54

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


โนเบฮ์ทรี่ าบสูงตอนบนของอียปิ ต์ไปจน ถึงทางตอนเหนือ ของซูดาน เพื่อที่ว่าประเทศโนเบฮ์นี้จะได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ ของทะเลทรายขนาดใหญ่ และจะได้ติดต่อกับประเทศ ของชาวเบอร์เบอร์( Berbers)ซึง่ ประกอบด้วยทิศใต้ของ โมร็อกโคไปจนจรดทะเลแด 4 – อียิปต์ของอิสลามโดยมีไคโรเป็นเมืองหลวง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะประกอบขึ้น จากพื้นที่ส่วนที่ เหลือของอียปิ ต์ และอย่างไรก็ตามจะอยูภ่ ายใต้อทิ ธิพล และการครอบง�ำของอิสราเอล ซูดาน เป็นไปตามแผนทีถ่ กู น�ำเสนอโดยเบอร์นาร์ด ลูอสิ นั้นซูดานก็จะต้องถูกแบ่งซอยเป็น 4 ประเทศขนาดเล็ก เช่นเดียวกับอียิปต์ คือ : 1 – ประเทศโนเบฮ์ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็น ส่วนหนึง่ ทีถ่ กู ผนวกเข้าไปกับประเทศ โนเบฮ์ของอียปิ ต์ ทีม่ เี มืองหลวงเป็นเมืองอัสวานและดินแดนของซูดานจะ ถูกผนวก เข้าไปยังประเทศนี้ 2 – ประเทศอิสลามแห่งซูดานในภาคเหนือ 3 – ประเทศคริสเตียนในภาคใต้ของซูดานซึ่ง

ก�ำลังจะประกาศการแยกตัวของตนเองโดยการ จัดท�ำ ประชามติที่จอมปลอม (และในทางปฏิบัติเราจะเห็น ได้วา่ ภายใต้แผนนีป้ ระเทศซูดานใต้หลังจากทีม่ กี าร ลง ประชามติได้ก่อตั้งขึ้นแล้วเมื่อ 9 กรกฎาคม 2011 โดย การแยกตัวออกจากซูดาน) 4 – ประเทศดาร์ฟูร์ (Darfur)ซึ่งแผนการต่างๆ ที่ จะแยกมันออกจากของซูดานโดยเฉพาะภายหลังจาก การแยกตัวของตอนใต้ของซูดาน แล้วนั้นได้ทวีความ รุนแรงขึน้ มาก โดยทีจ่ ำ� เป็นจะต้องตระหนักว่าอาณาเขต ของดาร์ฟรู น์ นั้ เป็นพืน้ ทีท่ มี่ คี วาม อุดมสมบูรณ์และมัง่ คัง่ ไปด้วยแร่ยูเรเนียม ทองค�ำและน�้ำมัน ประเทศต่ างๆในแอฟริกาเหนือ การแบ่งซอยลิเบีย แอลจีเรียและโมร็อกโคโดยมี วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง : 1 – ประเทศเบอร์เบอร์ซงึ่ มีแนวติดต่อกับประเทศ โนเบฮ์แห่งอียิปต์และซูดาน 2 -- ประเทศโพลีซารีฟ 3 – และพื้นที่ส่วนที่เหลือก็คือบรรดาประเทศที่ ถูกท�ำให้มีขนาดเล็กลงแล้วซึ่งประกอบด้วยโมร็อกโค

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

55


แอลจีเรีย ตูนิเซียและลิเบีย คาบสมุทรอาหรั บและอ่ าวเปอร์ เซีย การลบคูเวต กาตาร์ บาห์เรน โอมาน เยเมนและ สหรัฐอาหรับเอมิเรตออกจากแผนที่ โดยที่คาบสมุทร อาหรับและอ่าวเปอร์เซียจะประกอบไปด้วยสามประเทศ เพียงเท่านั้น คือ : 1 – ประเทศอะห์ซาอ์ของชาวชีอะฮ์ซึ่งประกอบ ด้วยคูเวต ยูเออี กาตาร์ โอมานและบาห์เรน 2 – ประเทศนัจด์ของชาวซุนนี 3 –ประเทศฮิญาซของชาวซุนนี ประเทศอิรัก การแบ่งซอยอิรักจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานของหลัก การเชื้อชาติ ศาสนาและมัซฮับ(นิกาย)ในรูปแบบที่เคย เกิดขึ้นในประเทศซีเรียในยุคออตโตมัน และจากการ แยกซอยประเทศนี้จะก่อให้เกิด 3 ประเทศเล็กขึ้น คือ : 1 – ประเทศของชาวชีอะฮ์ในภาคใต้ที่จะเกิดขึ้น รอบ ๆ เมืองบัศเราะฮ์ 2 – ประเทศของชาวซุนนีในพืน้ ทีใ่ นกลางของอิรกั ซึ่งจะเกิดขึ้นรอบๆกรุงแบกแดด 3 – ประเทศของชาวเคิร์ดในทางภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิรักซึ่งจะ เกิดขึ้นรอบๆ เมืองมูซลั (Mosul)ซึง่ เป็นถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของชาวเคิรด์ และ รวมถึงบางส่วนของอิหร่าน ซีเรีย ตุรกีและอดีตสหภาพ โซเวียตซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวเคริ์ด ประเด็นส�ำคัญที่ควรรั บรู้ ในทีน่ จี้ ำ� เป็นทีจ่ ะต้องชีใ้ ห้เห็นถึงประเด็นทีส่ ำ� คัญ ยิ่งประการหนึ่ง นั่นคือ สภาสูง(วุฒิสภา)ของอเมริกา ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2007 เห็นด้วยที่จะถอนกอง ก�ำลังกองก�ำลังอเมริกันออกจากอิรักโดยมีเงื่อนไขว่า กรุง แบกแดดจะต้องยอมตงลงเกี่ยวกับการจัดตั้งสาม ประเทศดังทีไ่ ด้กล่าวไปแล้วข้าง ต้น และได้ขอให้มสั อูด บอร์ซอนีจดั ท�ำประชามติเกีย่ วกับการทีจ่ ะก�ำหนดชะตา กรรมพื้นที่เคอร์ดิสถานโดย มีเมืองคอร์คุกซึ่งเป็นเมือง

56

ที่อุดมไปด้วยทัพยากรน�้ำมันในพื้นที่นี้เป็น เมืองหลวง และเป็นที่รับรู้กันดีว่าฟัรมอน พะรีเมอร์และพันธมิตร ของเขาในอิรกั เรียกร้องให้มกี ารจัดตัง้ รัฐอิสระขึน้ ใน อิรกั บนพื้นฐานของเผ่าชนซึ่งประกอบไปด้วยสามรัฐ ได้แก่ รัฐของชีอะฮ์ทางตอนใต้ รัฐของซุนนีในใจกลางและรัฐ ของชาวเคร์ดทางตอนเหนือ ประเทศซีเรี ย บนพืน้ ฐานแผนการแยกซอยของลูอสิ นัน้ ซีเรียก็ จ�ำเป็นจะต้องถูกแบ่งซอยบนหลักพื้นฐานของศาสนา มัซฮับ(นิกาย) และเผ่าชนออกเป็น 4 ประเทศเล็ก ๆ เชนเดียวกัน คือ : 1 – ประเทศอะละวีของชาวชีอะฮ์ตงั้ อยูต่ ามแนว ชายฝั่งทะเล 2 – ประเทศของชาวซุนนีในพืน้ ทีฮ่ ะลับ( Aleppo) 3 -- ประเทศของชาวซุนนีในดามัสกัส 4 – ประเทศของชาวดรูซี่(Druze)ในเญาลาน (Golan)และเลบานอน(ประเทศนี้จะประกอบด้วยดิน แดนทางตอนใต้ของซีเรีย ตะวันออกของจอร์แดนและ พื้นที่บางส่วนของเลบานอน) ประเทศเลบานอน ตามแผนการแบ่งซอยโลกอิสลามและอาหรับ ของเบอร์นาร์ด ลูอิสนั้นเลบานอนจะถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเทศเล็ก ๆ บนพื้นฐานของการแบ่งตามเชื้อชาติ และศาสนาดังต่อไปนี้ : 1 – ประเทศซุนนีในภาคเหนือโดยมีตริโปรลีเป็น เมืองหลวง 2 – ประเทศของชาวมารูนี(Maronites)ในภาค เหนือโดยมีญูนียะฮ์เป็นเมืองหลวง 3 – ประเทศอะละวีพื้นที่ราบบิกออ์โดยมีบะอ์ละ บักเป็นเมืองหลวงซึง่ จะอยูภ่ ายใต้อทิ ธิพลของซีเรียทาง ด้านตะวันออกของเลบานอน 4 -- ประเทศสากลแห่งเบรุต 5 – ประเทศปาเลสไตน์ทอี่ ยูร่ อบๆไซดาน(Sidon)

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ไปจนถึ ง แม่ น�้ ำ ลี ต าน(Litan)ซึ่ ง องค์ ก ารปลดปล่ อ ย ปาเลสไตน์จะท�ำการปกครองมัน 6 - ประเทศของชาวกะตาอิบีในตอนใต้ซึ่งจะ ครอบคลุมชาวคริสต์และจ�ำนวนหนึ่งล้านห้าแสนคน ของชาวชีอะฮ์แห่งเลบานอน 7 -- ประเทศของชาวดรูซี่(Druze)ซึ่งจะประกอบ จากดิ น แดงต่ า งๆของเลบานอน ซี เ รี ย และดิ น แดน ปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง 8 – ประเทศของคริสเตียนซึง่ จะอยูภ่ ายใต้อทิ ธิพล ของอิสราเอล อิหร่ าน ปากีสถานและอัฟกานิสถาน ทัง้ สามประเทศนีจ้ ะถูกแบ่งออกเป็น 10 ประเทศ ที่มีขนาดเล็กตามเผ่าชนและถูกท�ำให้อ่อนแอ ได้แก่ : 1 – เคอร์ดิสถาน 2 - อาเซอร์ไบจาน 3 – เตอร์กิสถาน 4 - อาระบิสถาน 5 – อิรานิสถาน(จะถูกจัดตั้งขึ้นจากส่วนที่เหลือ ภายหลังจากการแบ่งซอยแล้ว) 6 – บูคูนิสถาน 7 – บาลูจิสถาน 8 - อัฟกานิสถาน(ส่วนที่เหลือของอัฟกานิสถาน ภายหลังจากการแบ่งซอย) 9 - ปากีสถาน(ส่วนที่เหลือของปากีสถานภาย หลังจากการแบ่งซอย) 10 - แคชเมียร์ ตุรกี การแยกบางส่วนของดินแดนของมันและการ ผนวกมันเข้าไปยังประเทศเคอร์อิสถานในอิรัก จอร์ แดน การลบประเทศจอร์แดนและการมอบให้แก่รัฐ ปกครองตนเองแห่งปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์

การลบประเทศนี้ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ออก อย่างสมบูรณ์ (ท่านทั้งหลายจงดูแผนที่ของมหานคร อิสราเอล) เยเมน การลบการด�ำรงอยูข่ องประเทศเยเมนออกอย่าง สมบูรณ์ทั้งภาคเหนือและภาคใต้เยเมนและผนวกมัน เข้าไปยังประเทศฮิญาซ แม้ดเู หมือนว่าการตืน่ ตัวของอิสลามจะสามารถ เป็นอุปสรรคต่อแผนการล่าอาณานิคม นี้ แต่การปิดล้อม และการช่วงชิงการปฏิวตั เิ หล่านีก้ ส็ ามารถทีจ่ ะเปิดทาง ส�ำหรับ อนาคตแผนการของอเมริกาและอิสราเอลได้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

57


มนุษย์ใน

อัลกุรอาน บทความโดย เชค ดร.มุฮัมมัดชรีฟ เกตุสมบูรณ์ ค�ำว่ า “อินซาน” ถูกใช้ ในอัลกุรอานทัง้ สิน้ 65 ครั ง้ ค�ำๆ นีม้ ีคุณสมบัตเิ ป็ นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว ท่ ามกลางค�ำต่ างๆ ที่ถกู ใช้ ในอัลกุรอาน การใช้ คำ� นีใ้ นคัมภีร์อลั กุรอาน จะถูกใช้ พร้ อมกับการสรรเสริญ การต�ำหนิ จุดแข็งและจุดอ่ อน ในลักษณะที่ก่อให้ เกิดค�ำถามต่ างๆ มากมาย ส�ำหรั บนักวิชาการและผู้ ศึกษาค้ นคว้ าคัมภีร์อัลกุรอานที่ว่า ปรั ชญาของการกล่ าวถึงคุณลักษณะสองประการของมนุษย์ (การ สรรเสริญและต�ำหนิ) ไว้ ในอัลกุรอานคืออะไร? และท�ำไมอัลกุรอานจึงอธิบายลักษณะมนุษย์ ในเชิงลบ ไว้ อย่ างมากมาย เช่ น มนุษย์ เป็ นผู้อ่อนแอ รี บร้ อน โง่ เขลา อกตัญญู และฯลฯ อีกด้ านหนึ่งมนุษย์ เป็ น ผู้มีเกียรติ และศักดิ์ศรี มากกว่ าสรรพสิ่งอื่นทัง้ หมด

58

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ความส�ำคัญของอัลกุรอาน อัลกุรอานเป็นคัมภีรจ์ ากฟากฟ้าเพียงเล่มเดียวที่ ยังคงเหลืออยู่ ซึ่งมีความแตกต่างไปจากคัมภีร์อื่นโดย สิ้นเชิง อัลกุรอานถูกประทานลงมา เพื่อชี้น�ำทางมวล มนุษยชาติทั้งหมดบนโลกนี้ “เป็นทางน�ำ เป็นความ เมตตา”(อันนะฮ์ลุ /89) ไปสู่หนทางถูกต้อง มันคง และ เที่ยงธรรม อัลกุรอานกล่าวว่า ‫ني‬ َ ِ‫إِ َّن َه َذا ا ْل ُق ْرآن ْهي ِدي لِ َّلتِي ِه َي َأ ْق َو ُم َو ُي َبشِّ ُ ا ُْل ْؤ ِمن‬ ِ ‫ال‬ ِ َ ‫ا َّل ِذي َن َي ْع َم ُل‬ ‫ات َأ َّن َل ُ ْم َأ ْج ًرا كَبِ ًريا‬ َّ ‫ون‬ َ ‫الص‬

“อัลกุรอานนี้ชี้น�ำสู่หนทางทีม่ ั่นคงเทีย่ งตรง ยิง่ และแจ้ งข่ าวดีแก่ บรรดาผู้ศรั ทธา ทีป่ ระกอบ การดีทั้งหลายว่ าส�ำหรั บพวกเขา จะได้ รับรางวัล ตอบแทนอันยิง่ ใหญ่ ” (อัลอิสรอ / 9) การชี้น�ำสู่หนทางที่มั่นคงเที่ยงตรง หมายถึงว่า อัลกุรอานมีความมั่นคง และมีเสถียรภาพที่สุดในการ ชี้น�ำทางมนุษย์ หรืออีกนัยหนึ่งเฉพาะประชาชาติที่ยืน หยัดอย่างมัน่ คงทีส่ ดุ เท่านัน้ ทีอ่ ลั กุรอานชีน้ ำ� ทางพวกเขา ฉะนั้น ความเชื่อที่บิดเบือน เหลวไหล หรือถูก สร้างขึ้นจากจินตนาการ จึงไม่อาจวางอยู่บนพื้นฐาน แห่งตรรกะของอัลกุรอานได้เด็ดขาด เนือ่ งจากอัลกุรอาน นี้ชี้น�ำสู่หนทางที่มั่นคงเที่ยงตรงยิ่ง

อัลกุรอานคือคัมภีรเ์ ล่มเดียวทีเ่ ป็นกฎหมายนิรนั ดร์และมีความมั่นคงที่สุด อัลกุรอานยืนยันว่า การจะได้รับรางวัลในวัน ตัดสินบุคคลนั้นต้องมี 2 องค์ประกอบส�ำคัญ ได้แก่ ความศรัทธามั่นคง และประกอบการดี ส่วนการลงโทษในไฟนรกแค่การปฏิเสธเพียงอย่าง เดียวก็เพียงพอแล้ว ต่อการถูกลงโทษในนั้น ความแตกต่ างของอัลกุรอานกับคัมภีร์อ่ ืน 1- อัลกุรอานคือ พจนารถของพระผูเ้ ป็นเจ้า ทีผ่ า่ น การวะฮ์ยู (วิวรณ์) มายังท่านศาสดามุฮมั มัด (ซ็อลฯ) ซึง่ มีทั้งสิ้น 114 ซูเราะฮ์ (บท) 6236 โองการ อัลกุรอานถูก ทยอยลงมายังท่านศาสดา ตลอดระยะเวลา 23 ปีแห่ง การประกาศสอนศาสนา ท่ามกลางเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นอย่างมากมาย ในช่วงต้นของการประกาศอิสลาม อัลกุรอานจึงถูกประทานลงมา โดยเอาใจใส่ตอ่ เหตุการณ์ เหล่านั้น และสนองตอบความต้องการของมนุษยชาติ ทั้งหมด ในทุกยุคทุกสมัย 2- บทและโองการทั้งหมดของอัลกุรอาน ได้รับ การเน้นย�้ำจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า ให้มีการจด บันทึก และจงให้ความส�ำคัญต่ออัลกุรอาน วันนี้เราจึง พบว่าอัลกุรอานเป็นคัมภีร์เล่มเดียว ที่ถูกท่องจ�ำมาก

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

59


ทีส่ ุด โดยเริ่มจากเด็กตั้งแต่ 3 ขวบเป็นต้นไป อัลกุรอาน ถูกรวบรวมเป็นเล่มตัง้ แต่สมัยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ยังมี ชีวติ อยู่ ดังฮะดีษษะเกาะลัยน์ทกี่ ล่าวว่า “ฉันฝากสิง่ หนัง สองสิ่งไว้ในหมู่พวกเจ้า ....กิตาบัลลอฮ์และ... :‫ ما إن َتَسَّکتُم هبام َلن تَض ّلوا‬،‫تارک فیک ُ​ُم ال َّث َق َلنی‬ ٌ ‫إنّی‬ َ ‫رتتی‬ ‫أهل َبیتی او کتاب اهلل و السنتی‬ َ َ ‫کتاب اللّ َو ع‬

ค�ำว่า “กิตาบ” หมายถึงสิ่งที่ถูกบันทึกไว้เป็นรูป เล่มแล้ว ท่านศาสดาจึงกล่าว่า “กิตาบัลลอฮ์” 3- บรรดานักปราชญ์ทงั้ ฝ่ายอะฮ์ลซิ ซุนนะฮ์ และ ชีอะฮ์ ต่างปฏิเสธและไม่ยอมรับ การสังคายนา การ เปลี่ยนแปลง และการบิดเบือนใดๆ ที่ถูกกล่าวหาว่า ได้เกิดขึ้นกับอัลกุรอาน มวลมุสลิมทั้งที่เป็นนักวิชาการ และไม่ใช่นักวิชาการ ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า ความเป็นตัวตนของอัลกุรอาน เล่มปัจจุบันในฐานะที่ เป็นวะฮ์ยู วิวรณ์จากพระผู้เป็นเจ้า ทั้งซูเราะฮ์ โองการ ค�ำพูด อักษร พยางค์ วรรณยุกต์ และการอ่านก็คือ อัลกุรอานเล่มเดียวกัน ทีถ่ กู ประทานลงมาแก่ทา่ นศาสดา 4- อัลกุรอานเป็นพระด�ำรัสหรือพจนารถของ พระผู้เป็นเจ้า เป็นความจริงหนึ่งที่มนุษย์รับรู้ได้ในเชิง ความหมาย แต่ไม่อาจเข้าถึงอัตลักษณ์ที่แท้จริงของ อัลกุรอานได้ อัตลักษณ์แท้จริงของอัลกุรอาน นอกเหนือ ไปจากตัวอักษรและวรรณยุกต์ ภายนอกที่ประจักษ์แก่ สายตา เนือ่ งจากอัตลักษณ์ทแี่ ท้จริงของอัลกุรอานนี้ ถ้า ถูกประทานลงบนภูเขา ภูเขาจะแตกกระจายออกเป็น เสีย่ ง เพราะความเกรงกลัว ถ้าถูกประทานแก่แผ่นดิน จะ ท�ำให้แผ่นดินแยกแตกออกเป็นส่วนๆ และถ้าถูกประทาน ลงบนคนตาย จะท�ำให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมา 5- อัลกุรอานคือค�ำตอบส�ำหรับทุกความต้องการ ٍ«‫“ »ونَز ْلنَا ع َلی َک ا ْل ِکتَاب تِبیان ًا لِک ُِّل َشی‏ء‬เราประทาน َْ َ ْ َ َّ َ ْ คัมภีร์นี้แก่เจ้าที่ชี้แจงทุกสิ่ง เป็นทางน�ำ และเป็นความ เมตตา”1 อัลกุรอานเรียกร้องมุสลิมให้ใช้ประโยชน์จา กอัลกุรอาน ในฐานะผู้ชี้แจงและสาธยายทุกสิ่ง และ

60

เมื่อเกิดความขัดแย้งกัน ก็จะเข้าหาอัลกุรอานในฐานะ ผู้ตัดสินสุดท้าย “ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงน�ำ สิ่งนั่นกลับไปยังอัลลอฮ์และศาสนทูต”2 6- อัลกุอานไม่เคยถูกสังคายนา หรือได้รับการ เปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหนึ่งในข้อสงสัยที่ถูกสร้าง ขึ้นมา เพื่อท�ำลายความน่าเชื่อถือของอัลกุรอาน ก็คือ การกล่าวว่า อัลกุรอานไม่สมบูรณ์ และได้รับการแก้ไข เปลีย่ นแปลงแล้ว แม้วา่ มุสลิมจะยอมรับว่า อัลกุรอาน ถูก เปลีย่ นแปลงด้านความหมาย หรือทีร่ จู้ กั กันในนามของ การตัฟซีรโดยใช้ทัศนะหรือมติของตนเอง (ตัฟซีรบิลรัย นฺ) ว่าสิง่ นีไ้ ด้เกิดกับอัลกุรอานจริง ทว่าการเปลีย่ นแปลง ด้านค�ำพูด อักขระ อักษร หรือวรรณยุกต์นนั้ ทัง้ ฝ่ายอะฮ์ ลิซซุนนะฮ์ และชีอะฮ์ตา่ งมีความเห็นพร้องต้องกันว่า สิง่ นี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับอัลกุรอาน อัลกุรอานกล่าวว่า َ ‫لافِ ُظ‬ ِّ ‫إِنَّا ن َْح ُن ن ََّز ْلنَا‬ ‫ون‬ َ َ ‫الذك َْر َوإِنَّا َل ُه‬

“เราประทานอัลกุรอาน [ข้ อตักเตือน] ลงมา และเราเป็ นผู้ปกปั กรั กษาอย่ างแน่ นอน” 3 7- อัลกุรอานคือ สิ่งเดียวที่ยืนยันความถูกต้อง ของความเชื่อศรัทธา การปฏิบัติ และการเป็นมุสลิมที่ ดี ฉะนั้น ถ้าถามว่าบุคคลนั้นเป็นมุสลิมหรือไม่ ก็ต้อง พิจารณาว่าผู้นั้นปฏิบัติตัวขัดหรือตามอัลกุรอานหรือ เปล่า เนือ่ งจากสิง่ ทีป่ รากฏแก่สายตา ไม่ได้ยนื ว่าสิง่ นัน้ มีอยูจ่ ริง หรือเป็นความจริงเสมอไป ขณะทีบ่ างสิง่ ไม่เคย ปรากฏแก่สายตา แต่สิ่งนั้นมีอยู่จริง และเป็นจริงเสมอ ค�ำว่ า “อินซาน” มนุษย์ หมายถึงอะไร? ในนิยามของตรรกศาสตร์ ให้นิยามว่า มาฮุวะ อินซาน ค�ำตอบคือ อินซาน ฮัยวาน นาติก มนุษย์หมาย ถึงสัตว์ประเสริฐที่พูดได้และคิดเป็น ในนิยามของปรัชญา อริสโตเติล กล่าวว่า อินซาน ฮัยวาน นาติก ซึ่งนักปรัชญาท่านอื่น และนักจาริกจิต วิญญาณบางท่านยอมรับนิยามนี้เช่นกัน แต่แตกต่าง

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


กันในการอธิบาย อิบนุอารอบี ไม่ยอมรับนิยามของ อลิสโตเติล ท่านกล่าวว่า “มนุษย์” คือความเป็นจริงแห่ง โลกที่ครอบคลุม และเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง อัลลามะฮ์ มุฮัมมัดตะกี ญะอ์ฟะรีย์ นักปรัชญา แห่งยุคสมัย กล่าวว่า มนุษย์คือ สิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพ และมีความสมารถหลากหลายอันมากมาย ซึง่ ศักยภาพ ส่วนใหญ่มนุษย์ได้แสดงให้ประจักษ์แล้ว ส่วนในโลกทัศน์ แห่งพระเจ้า มนุษย์ได้ขับเคลื่อนตนไปสู่ความสมบูรณ์ ในระดับชั้นต่างๆ ในนิยามอิสลาม “มนุษย์” คือ สิง่ มีชวี ติ ทีม่ ี 2 องค์ ประกอบส�ำคัญกล่าวคือ สรีระ และจิตวิญญาณ และหลัง จากเสียชีวติร่างกายมนุษย์จะเน่าเปื่อยผุพังเป็นผุยผง แต่จิตวิญญาณยังคงด�ำเนินชีวิตต่อไป ความตายของ มนุษย์มิได้หมายความว่า เป็นการสิ้นสุดของทุกอย่าง แต่ความตายเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อก้าวไปสู่การมีชีวิตใหม่ อัลกุรอาน เรียกสิง่ มีชวี ติ ทีข่ บั เคลือ่ นอยูบ่ น 2 เท้า ด้วยศัพท์อยูห่ ลายค�ำ เช่น อินซาน นาส บะชัร บนีอาดัม และอาดัม เป็นทีป่ ระจักษ์วา่ การเลือกสรรค�ำศัพท์ของ อัลลอฮ์ตา่ งไปจากมนุษย์มาก เนือ่ งจากพระองค์ทรงเลือก ค�ำศัพท์ทมี่ คี วามเหมาะสมกับสถานะของสิง่ นัน้ ดังนัน้ จ�ำเป็นต้องเรียนรูค้ วามหมายของค�ำเหล่านี้ เพือ่ จะได้ทราบ

วัตถุประสงค์ของพระองค์ในการใช้คำ� เหล่านีว้ า่ คืออะไร 1. ค�ำว่า “บะชัร” พจนานุกรมกล่าวว่า หมายถึง หนัง เนื้อหนังมังสา หรืออัตลักษณ์ภายนอกของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ เวลาใช้คำ� ๆ นีอ้ าจไม่ตรงความหมาย หรือไม่ เข้ากับเนื้อหาสาระของสิ่งนั้นก็ได้ َ ‫َو ُق ْل َن َح‬ ‫يم‬ ٌ ‫شا إِ ْن َه َذا إِلَّ َم َل ٌك ك َِر‬ ً َ ‫اش لَِّ َما َه َذا َب‬

“พวกนางกล่าวว่า มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮ์ นี่ไม่ใช่สามัญชนคนธรรมดา นี่คือมะลักผู้มีเกียรติ์”4 ก่อนที่สตรีชาวอียิปต์จะเห็นศาสดายูซุฟ (อ.) พวกนาง คิดว่าท่านก็เป็นเพียงชายหนุ่มบ่าวรับใช้คนหนึ่ง แต่ เมื่อพวกนางพบศาสดาจริง ถึงกลับตะลึงงันในความ สง่างามของเขา ٍ ‫ا ْذ َق َال ر ُّب َك لِ ْلمال َِئك َِة إِنِّ َخالِ ٌق َب َشا من َص ْل َص‬ ‫ال‬ ِّ ً َ َ ٍ‫حإٍ مسنُون‬ ْ َّ َ َ ‫ِّم ْن‬ “[จงร�ำลึกถึง] เมื่อพระผู้อภิบาลของเจ้า ตรัสแก่ มะลาอิกะฮ์ว่า ข้าสร้างมนุษย์จากดินแห้ง แห่งตมด�ำ เหม็นขึ้นเป็นรูปร่าง”5 อัลกุรอานกล่าวถึง ขั้นตอนแรก ของการสร้างมนุษย์ หลังจากนัน้ กล่าวว่า (‫“ ) َفإِ َذا َس َّو ْي ُت ُه‬เมือ่ ข้าท�ำให้ เขามีรปู ร่างสมบูรณ์แล้ว”6 ในขัน้ นีเ้ ริม่ เข้าสูช่ นั้ ของความ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

61


เป็นมนุษย์ หรือที่เรียกว่าอินซานียะฮ์ ِ ‫)و َن َف ْخ ُت فِ ِيه ِمن ر‬ หลังจากนั้นกล่าวว่า (‫وحي‬ َ ُّ “ข้าเป่าวิญญาณของข้าไปบนเขา” เข้าสู่ขั้นสมบูรณ์ใน การเป็นมนุษย์ หรือทีเ่ รียกว่าอาดัมมียตั หลังจากนัน้ กล่าว ِ ‫“ ) َف َق ُعو ْا َل ُه س‬ฉะนั้น จงกราบเขาเถิด” บ่ง ว่า (‫اج ِدي َن‬ َ บอกให้เห็นถึงความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ทแี่ ท้จริง 2. ค�ำว่า “อินซาน” มาจากรากศัพท์ค�ำว่า อันซ์ หรืออินซ์ หมายถึงความสงบ การปรับตัว ความรัก และ ความอ่อนโยน ตรงข้ามกับความโหดร้าย ดังนัน้ อินซาน สูงว่า บะชัร ในระดับหนึ่ง กล่าวคือบะชัรนั้นเป็นความ สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง และมีความคุ้นเคย มีการเอาใจ ใส่ มีความร่วมมือ และรู้จักการอยู่ร่วมกัน ค�ำว่า “อินซาน” ถูกใช้ในอัลกุรอานทัง้ สิน้ 65 ครัง้ ค�ำๆ นีม้ คี ณ ุ สมบัตอิ นั เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ท่ามกลาง ค�ำต่างๆ ทีถ่ กู ใช้ในอัลกุรอาน การใช้คำ� นีใ้ นคัมภีรก์ รุ อาน จะถูกใช้พร้อมกับการสรรเสริญ การต�ำหนิ จุดแข็งและ จุดอ่อน ในลักษณะที่ก่อให้เกิดค�ำถามต่างๆ มากมาย ส�ำหรับนักวิชาการ และผู้ศึกษาค้นคว้าคัมภีร์กุรอานที่ ว่า ปรัชญาของการกล่าวถึงคุณลักษณะสองประการ ของมนุษย์ (การสรรเสริญและต�ำหนิ) ไว้ในอัลกุรอาน คืออะไร? และท�ำไมอัลกุรอานจึงอธิบายลักษณะมนุษย์ ในเชิงลบไว้อย่างมากมาย เช่น มนุษย์เป็นผู้อ่อนแอ รีบ ร้อน โง่เขลา อกตัญญู และฯลฯ อีกด้านหนึ่งมนุษย์เป็น ผู้มีเกียรติ และศักดิ์ศรีมากกว่าสรรพสิ่งอื่นทั้งหมด 3. ค�ำว่า “อาดัม” มาจากค�ำว่า อะดะมะ หมายถึง (1) วัตถุที่ผสมลงในในอาหาร หรือขนนปัง เพื่อ ให้มีรสชาติอร่อยขึ้น (2) หัวหน้าของชนเผ่าหรือครอบครัว (3) มีชื่อเสียง (4) ด้านในของสรรพสิง่ ดังนัน้ เราจึงสามารถพูด ได้วา่ ท่ามกลางหมูช่ นทีถ่ กู เลือกสรรได้วา่ อาดัม ด้วยเหตุ นี้ อาดัม ก็คือมนุษย์ที่ไปถึงความสมบูรณ์แล้ว 4. ค� ำ ว่ า “นาส” ตามหลั ก ภาษาถื อ ว่ า เป็ น

62

อิสม์ ญัมอ์ 7 หมายถึงประชาชน หรือมวลชน รากเดิม ของค�ำว่า อันนาส อุนาซิน หรือ อะนัส เมื่อมีอะลีฟกับ ลามตะอ์รฟี เข้ามาเป็นผลท�ำให้ ฮัมซะฮ์ ตกไป และลาม ตะอ์รีฟได้ผนวกเข้ากับนูน เป็น อันนาส อัลกุรอานจะ ไม่ใช่ค�ำนี้ โดยปราศจาก อะลีฟ ลาม เด็ดขาด ค�ำว่า “อันนาส” ในอัลกุรอานบ่งบอกความหมาย ไว้ 2 ประการ กล่าวคือ 1-หมายถึง อุมูม หมายถึงทั่วไป เช่น ِ ‫َّاس لِیو ٍم ال ریب‬ ِ َ ‫َر َّبنا إِن‬ ‫فیه‬ َ َْ ْ َ ِ ‫َّک جام ُع الن‬ ‫ف ا ْلیعا َد‬ ُ ‫إِ َّن اللََّ ال ُی ِْل‬ “โอ้ พระผูอ้ ภิบาลของเรา พระองค์คอื ผูท้ รงชุมนุม มนุษย์ทั้งหลายในวันหนึ่ง ซึ่งไม่มีความสงสัยในนั้น อัลลอฮ์ไม่ทรงผิดสัญญา” 8 มิตอ้ งสงสัยเลยว่าในวันกิยามัต อัลลอฮ์ (ซบ.) จะ ทรงรวมมนุษย์ทงั้ หมดตัง้ แต่ยคุ แรก จนถึงยุคสุดท้าย ทัง้ ชายและหญิง ทารกทีถ่ กู ท�ำแท้งออก ตลอดจนคนสติฟน่ั เฟือน มิใช่กลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ อันเฉพาะ ดังนัน้ ค�ำว่า อันนาส

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ในโองการข้างต้นจึงให้ความหมายทัว่ ไปว่า รวมกันทัง้ หมด ِ َّ‫ُق ْل َأ ُعو ُذ بِ َر ِّب الن‬ 2- หมายถึงกลุม่ ชนเฉพาะ เช่น ‫اس‬ “จงกล่าวเถิด ข้าฯ ขอความคุ้มครองต่อพระผู้อภิบาล แห่งมนุษยชาติ”9 นักตัฟซีรบางท่านกล่าวว่า จุดประสงค์ ของโองการหมายถึ ง ทารกที่ อ ยู ่ ใ นครรภ์ ม ารดา มิใช่ประชาชนทั้งหมด 10 หรือบางโองการที่กล่าวว่า ِ ‫ال و ِمن الص‬ ِ ِ ‫النی‬ َّ َ َ ً ‫َّاس فی ا َْل ْهد َو ک َْه‬ َ ‫َو ُی َک ِّل ُم الن‬ “เขาจะพู ด แก่ ผู ้ ค น [ด้ ว ยอภิ นิ ห ารของพระเจ้ า ] ขณะอยู่ในเปล [ด้วยวะฮ์ยู] ในวัยกลางคนจากหมู่ กัลยาณชน”11 จุดประสงค์ของ อันนาสในโองการ เฉพาะ วงศ์วานอิสราเอล ทีม่ ชี วี ติ ร่วมสมัยกับศาสดาอีซา (อ.) 12 5. ค�ำว่า “บนีอาดัม” ถูกใช้ในอัลกุรอานหลายครัง้ เช่น บทอะอ์รอฟ /26, 27, 31, 35, 172, อัสรอ / 70, ยาซีน / 60 เป็นต้น ค�ำนีม้ คี วามหมายว่า รวม, ทัว่ ไป หมายถึงผู้ ทีเ่ ป็นบุตรของศาสดาอาดัม (อ.) และพระนางฮาวา (อ.) ทัง้ หมด ไม่วา่ จะจากไปแล้ว หรือทีย่ งั มีชวี ติ อยู่ และทีจ่ ะ เกิดใหม่ในอนาคตทัง้ ชายและหญิง ตราบจนถึงวันกิยามัต

ِ ‫ی آ َد َم ِم ْن ُظ ُه‬ ‫ور ِه ْم ُذرِّیَّ ت َُه ْم‬ ‫َو إِ ْذ َأ َخ َذ َر ُّب َک ِم ْن َبن ‏‬ “เมือ่ พระผูอ้ ภิบาลของเจ้า เอาวงศ์วานของอาดัม ออกมาจากไขสันหลังของ ผูส้ บื วงศ์วานของพวกเขา”13 จุดประสงค์ของค�ำว่า “บนีอาดัม” ในโองการนี้ หมายถึง บรรดาบุตรหลานของอาดัมทั้งหมด ตราบจน ถึงวันกิยามัต14 สรุ ป : ความแตกต่างของค�ำเหล่านี้ค�ำว่า “นาส” เป็นค�ำนามพหูพจน์ หมายถึงประชาชน ซึ่งบางครั้ง อัลกุรอานใช้ในความหมายทัว่ ไป และบางครัง้ ก็ใช้กบั กลุม่ ชนที่เฉพาะ ต่างไปจากค�ำว่า “บนีอาดัม” ซึ่งถือว่าเป็น ค�ำมีความหมายรวมทั่วไป บ่งบอกให้เห็นถึงประชาชน ทั่วไปทั้งหญิงและชาย เด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่อัล กุรอานจะใช้ค�ำๆ นี้ในความรวมทั่วไป อย่างไรก็ตามอัลกุรอาน จะเรียกสิ่งมีชีวิต 2 เท้า ไปตามความเหมาะสมของค�ำๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็น บะชัร อินซาน หรืออาดัม ดังทีโ่ องการที่ 11 บทอะอ์รอฟ กล่าว ถึงความแตกต่างของค�ำทั้งสามไว้ชัดเจน กล่าวคือ อันดับแรก ‫“ َو َل َقدْ َخ َل ْقنَاك ُْم‬เราบังเกิดพวกเจ้า” บ่ง บอกให้เห็นความเป็นบะชัร นัน่ หมายถึงมีเนือ้ หนังมังสา อันดับสอง ‫“ ُث َّم َص َّو ْرنَاك ُْم‬เราท�ำให้พวกเจ้าเป็น รูปร่าง” บ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นอินซานียะฮ์ (มนุษย์) ِ ِ ِ อันดับสาม ‫اس ُجدُ و ْا آل َد َم‬ ْ ‫ُث َّم ُق ْلنَا ل ْل َمآلئكَة‬ “เราบอกแก่มะลาอิกะฮ์ว่า จงกราบอาดัมเถิด” บ่งบอก ให้เห็นถึงระดับของความสมบูรณ์สูงส่ง หรือความเป็น อาดัมมียะฮ์ จึงคู่ควรแก่การกราบคารวะ อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสว่า ข้าสร้างพวกเจ้าขึน้ มาจาก ดิน หลังจากนัน้ ท�ำให้เจ้าเป็นรูปใหม่ และท�ำให้เจ้าสมบูรณ์ หลังจากนัน้ ข้าได้เป่าจิตวิญญาณไปบนเจ้า แล้วตรัสกับ หมูม่ ะลาอิกะฮ์วา่ พวกเจ้าจงสุญดู อาดัมเถิด ซึง่ การซัจญฺ ดะฮ์ ตรงนีไ้ ม่ได้หมายรวมไปถึงนบีทกุ คน เฉพาะอาดัม เท่านัน้ และการทีช่ ยั ฏอนไม่กราบอาดัม ก็เนือ่ งจากมาร คิดว่า อาดัม เป็นสิง่ ถูกสร้างธรรมดา แต่ถา้ มารรูว้ า่ อาดัม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

63


สมบูรณ์สงู สุดในขัน้ ของ อาดัมมียะฮ์แล้ว จึงมีความเป็น ไปได้ทมี่ ารจะกราบอาดัม เพราะมารพูดว่า “ข้าฯจะไม่ กราบมนุษย์ทพี่ ระองค์ทรงสร้างเขาจากดินแห้ง แห่งตม ด�ำขึน้ เป็นรูปร่าง”15 ٍ َ ‫َق َال َل َأكُن لِّ َ ْس ُجدَ لِ َب‬ ‫ش َخ َل ْق َت ُه‬ ْ ِ ٍ‫حإٍ مسنُون‬ ٍ ْ َّ َ َ ‫من َص ْل َصال ِّم ْن‬ ศักดิ์ศรี ความเป็ นมนุษย์ (กะรอมัตอินซาน) สถานภาพของมนุษย์ทา่ มกลางสรรพสิง่ ถูกสร้าง อื่นเป็นอย่างไร มนุษย์ดีและประเสริฐกว่าบางสิ่ง หรือ ว่าดีกว่าสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด หรือว่ามนุษย์ไม่ได้ดีกว่า สิ่งใดเลย? กรณีที่ดีกว่า ดีกว่าโดยธาตุแท้ของความเป็น มนุษย์ (ซาตียะฮ์) หรือว่าเกิดจากการขวนขวาย และ การพัฒนาการของมนุษย์? ส�ำหรับการท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนี้ จ�ำเป็นต้องพิจารณาและวิเคราะห์จากอัลกุรอาน ถึง โองการที่ยืนยันว่า มนุษย์ ประเสริฐกว่าสรรพสิ่งอื่น เพื่อจะได้เข้าใจถึงสถานภาพของมนุษย์ในอัลกุอาน ซึ่งการที่อัลลอฮ์ ทรงแนะน�ำมนุษย์ว่า เป็นตัวแทน “เคาะลิฟะฮ์” ของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน มนุษย์นั้น เป็นสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุด และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดด้วย หรือไม่? อัลกุรอานกล่าวว่า ‫َاهم‬ َ َ ‫َو َل َقدْ ك ََّر ْمنَا َبنِي آ َد َم َو‬ ُ ‫ب َوا ْل َب ْح ِر َو َر َز ْقن‬ ُ ‫ح ْلن‬ ِّ َ ‫َاه ْم ِف ا ْل‬ ِ ً ‫َاه ْم َع َل كَثِ ٍري مَِّّ ْن َخ َل ْقنَا َت ْف ِضي‬ ‫ال‬ ُ ‫ِّم َن ال َّط ِّي َبات َو َف َّض ْلن‬ “เราให้เกียรติแ์ ก่ลกู หลานของอาดัม เราบรรทุก พวกเขา [ด้วยพาหนะ] ทั้งทางบกและทางทะเล เรา ให้ปัจจัยยังชีพต่างๆ ที่ดีแก่พวกเขา เราให้พวกเขามี เกียรติ์ เหนือกว่าสิ่งเราสร้างส่วนใหญ่”16 มนุษย์โดยตัวเองแล้วเป็นผู้มีเกียรติ โองการ อัลกุรอานถูกประทานลงมาบนจิตใจของมนุษย์ อัลลอฮ์ (ซบ.) จึงตรัสว่า “เราให้เกียรติ์แก่ลูกหลานของอาดัม” 64

แน่นอนว่าศักดิ์ศรีของมนุษย์นั้นอยู่ภายใต้ ความรู้และ การประกอบการดี แต่มไิ ด้หมายถึงความรูท้ งั้ หมด หาก แต่เป็นความรูท้ ผี่ สู้ อนคือ อัลลอฮ์ (ซบ.) ซึง่ พระองค์ทรง เชิญชวนให้มนุษย์เรียนรู้ความรู้นั้น อัลกุรอานบทแรก ที่ถูกประทานลงมาคือ บทอะลัก โองการที่ 3 กล่าวว่า “จงอ่านเถิด ขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าทรงเกียรติยศ ที่สุด” ‫ ا ْق َر ْأ َو َر ُّب َك ْالَك َْر ُم‬อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงแนะน�ำ ว่าพระองค์ทรงเป็น “อักรัม” ทรงเกียรติที่สุด ในความ หมายคือ ผูเ้ ป็นครูของท่านคือ อัลลอฮ์ผทู้ รงเกียรติทสี่ ดุ ดังนัน้ ครูทกุ คนต้องสอนไปตามความรู้ และความถนัด ของตน จึงจะเกิดประสิทธิผล เช่น ถ้าครูเป็นวิศวกร เขาก็ต้องสอนเกี่ยวกับวิศว ถ้าครูเป็นแพทย์ก็ต้องสอน วิชาการแพทย์ ท�ำนองเดียวกันถ้าพูดว่า อัลลอฮ์เป็นเป็น อักรัม เป็นผู้สอนวิชาแก่ท่าน นั่นหมายความว่า อักรัม ก�ำลังจะสอน กะรอมัต แก่ทา่ น อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงกะรีม พระองค์จงึ สอนกะรอมัตแก่มนุษย์ หมายถึง ทรงประสงค์ ให้มนุษย์ทกุ คนเป็น กะรีม ซึง่ มิได้เฉพาะเจาะจงอยูแ่ ค่ผู้ ศรัทธาเท่านัน้ ทว่าหมายรวมถึงมนุษย์ทงั้ โลก เนือ่ งจาก ทุกคนเป็นมนุษย์ทถี่ กู สร้างขึน้ โดยพระองค์ มนุษย์ทกุ คน จึงเป็นผู้เรียนรู้จากอัลลอฮ์ และ เนื่องจากอัลลอฮ์ ทรง เป็นอักรัม พระองค์จึงเป็นผู้สอนมนุษย์ทุกคน เป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่พระองค์ทรงให้ กะรอมัต เป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของมะลาอิกะฮ์ และเป็นความพิเศษเช่นกัน เมือ่ มนุษย์ผมู้ คี วามเคร่งครัด ก็ถกู ยกให้อยูใ่ นชัน้ กะรอมัต โดยมีอลั ลอฮ์ (ซบ.) เป็นครู ผูส้ อนสัง่ อัลกุรอาน บทอะลัก เป็นบทแรกทีถ่ กู ประทาน ลงมา จะเห็นว่าพระองค์ทรงเชิญชวนมนุษย์ทกุ คนไปชัน้ เรียนกะรอมัต ตรัสว่า ‫اقرأ و ربک االکرم الذی علم بالقلم علم‬ ‫االنسان مامل یعلم‬ “จงอ่านเถิด ขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าทรง เกียรติยศทีส่ ดุ ผูท้ รงสอนการใช้ปากกา ทรงสอนมนุษย์ ในสิ่งที่เขาไม่รู้”17

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงมีพระนามอันไพรจิตมากมาย (อัสมาอุลฮสนา) แต่ในโองการนี้พระองค์กับแนะน�ำ พระองค์วา่ ทรงเป็นครูแก่ประชาโลก ทรงสอนกะรอมัต แก่ปวงมนุษย์ จึงตรัสว่า “ข้าจะสอนการใช้ปากกาแก่พวก เจ้า” ฉะนั้น เมื่อกล่าวว่า อัลลอฮ์ ทรงเป็นอักรัม (ผู้ทรง เกียรติที่สุด) ทรงสอนกะรอมัต อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงสอน กะรอมัต แก่มนุษย์ โดยม พระประสงค์ให้มนุษย์ทกุ คนเป็น กะรีม ซึง่ บทเรียนนีไ้ ม่ ต้องอาศัยต�ำรา เพราะเมือ่ มนุษย์รจู้ กั มักคุน้ กับพระองค์ พระองค์ทรงสามารถสอนมนุษย์จากด้านในของเขา ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ฉันได้รับการแต่งตั้ง มาเพื่อท�ำให้จริยธรรมของมนุษย์ชาติสมบูรณ์” หมาย ถึงบรรดาศาสดาทัง้ หมด ถูกประทานลงมาก็เพือ่ พิทกั ษ์ รักษาจริยธรรมมนุษย์ให้มั่นคงสืบไป ฉะนั้น อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงเป็น อักรัม พระองค์จึงเชิญชวนมนุษย์ไปสู่ กะรอมัต สื่อของพระองค์จึงต้องเป้น กะรีม ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระองค์ทรงแนะน�ำโปรแกรมศาสนา ทรงแนะน�ำ ในฐานะที่เป็น กิรอม เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ครูผู้สอน ทรง แนะน�ำว่าพวกเขาเป็น กะรีม ทั้งหมดมีหน้าที่เชิญชวน ศิษย์ไปสู่ กะรอมัต ดังนัน้ เมือ่ กล่าวว่า อัลลอฮ์ ผูเ้ ป็นอัก รัม เป็นครูผสู้ อนท่าน ขอบข่ายการสอนและการอบรมของ พระองค์คือ ศาสนาที่มีกะรอมัต ฉะนั้น บุคคลใดที่เป็น กะรีม เขาก็จะได้เป็นศิษย์ของพระองค์ หรือบุคคลใดที่ ถึงขัน้ กะรอมัต เขาก็จะได้เป็นศิษย์ของพระองค์เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เมือ่ กล่าวว่า อัลลอฮ์ ผูเ้ ป็นอักรัม (ทรง เกียรติยิ่ง) ทรงเป็นครูผู้สอนกะรอมัต ในความหมาย นี้รวมมะลาอิกะฮ์เข้าไว้ด้วย เนื่องจากอันดับแรกทรง สอนมะลาอิกะฮ์ให้รู้ หลังจากนั้นทรงมอบหมายหน้าที่ แก่พวกเขา มิได้หมายความว่า วิชากะรอมัต พระองค์ จะทรงสอนสั่งมนุษย์เพียงเท่านั้น เนื่องจากถ้าเป็นเช่น นั้น มะลาอะกะฮ์ จะไม่มีส่วนร่วมใน กะรอมัต ขณะที่ อัลกุรอาน บทอันบิยาอ์ กล่าวว่า َ ‫ون َل َي ْسبِ ُقو َن ُه بِا ْل َق ْو ِل َو ُهم بِ َأ ْم ِر ِه َي ْع َم ُل‬ َ ‫َب ْل ِع َبا ٌد ُّمك َْر ُم‬ ‫ون‬

“พวกเขา [มะลาอิกะฮ์] เป็นบ่าวผูม้ เี กียรติ์ พวก เขาจะไม่ชงิ กล่าวค�ำพูดใดก่อนพระองค์ พวกเขาปฏิบตั ิ ตามพระบัญชาของพระองค์” 18 และกะรอมัตส�ำหรับมะลาอิกะฮ์ ทีก่ ล่าวไว้ในบท อันบิยาอ์ ก็ถูกกล่าวไว้ส�ำหรับอะฮ์ลุลบัยตฺ (อ.) ในบท ซิยารัตญามิอ์ กะบีร ด้วยเช่นกัน ดังนั้น สิ่งประจักษ์ก็ คือ โดยหลักการแล้ว กะรอมัต ต้องมาจากอัลลอฮ์ (ซบ.) เท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงสอน กะรอมัต ผู้เรียนต้องเป็น กะรีม จึงจะสามารถเรียนรู้กะรอมัตจากพระองค์ได้ หนทางเข้ าถึงกะรอมัต เมื่อมนุษย์เป็นศูนย์ของพลังทั้งสอง การที่จะ พัฒนาไปสูก่ ารเป็นสิง่ ถูกสร้างทีด่ ที สี่ ดุ ได้นนั้ เขาจะต้อง ท่องเดินไปในหนทางแห่งตักวา ตักวามิได้ถกู จัดเตรียม ไว้ส�ำหรับมนุษย์ และมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องขวนขวายสร้างด้วยตัวเอง ซึ่ง หนึง่ ในหนทางสร้างตักวาคือ การยึดมัน่ และปฏิบตั ติ าม ค�ำสัง่ สอนของศาสนาอย่างเคร่งครัด การปฏิบตั ติ ามค�ำ สอนของศาสนามิใช่เป็นเพียงหน้าที่ ทว่าบุคคลนัน้ ต้อง พัฒนาไปสู่การมีส�ำนึกในการปฏิบัติ ทุกวันนี้มีผู้ละทิ้ง ค�ำสอนศาสนากันมากมาย อันเนื่องมาจากเขาปฏิบัติ ศาสนาเพราะเป็นหน้าที เมือ่ เป็นหน้าทีมเี วลาจึงปฏิบตั ิ ไม่มเี วลาก็ปล่อยปะละเลย มีโอกาสก็คดโกงเอาเปรียบ พูดโกหก และพูดใส่ร้ายคนอื่น แต่ถ้าเขาปฏิบัติศาสนา ด้วยความส�ำนึก จะมีเวลาหรือไม่ จะร�ำ่ รวยหรือยากจน สุขสบายหรือยากล�ำบาก เขาก็จะปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ยความ เคร่งครัด เพราะเขามิได้ปฏิบตั เิ พราะเป็นหน้าที่ หากแต่ เป็นความส�ำนึกในหน้าที่ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงส�ำทับกับมนุษย์ว่า การท่อง ไปบนทางของตักวา มิได้ถูกจัดเตรียมไว้ส�ำหรับมนุษย์ ทว่าขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และความมานะพยายาม ของเขา พระองค์ย�้ำเตือนว่า ความรู้ของมนุษย์ ที่หยั่งรู้ ในตักวาและความชั่วนั้นเท่าเทียมกัน อัลกุรอานกล่าว

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

65


ว่า ‫ور َها َو َت ْق َو َاها‬ َ ‫“ َف َأ ْل َ َم َها ُف ُج‬ทรงดลใจให้รู้จักทาง ชั่วและทางส�ำรวมตน”19 อ�ำนาจของมนุษย์ทมี่ ไี ปยังอีมาน และการปฏิเสธ นัน้ เท่าเทียมกัน เพียงแต่มนุษย์จะวางอ�ำนาจไว้ดา้ นใด มากกว่ากัน อัลกุรอาน กล่าวว่า “จงกล่าวเถิด สัจธรรม มาจากพระผูอ้ ภิบาลของพวกท่าน ผูใ้ ดประสงค์กศ็ รัทธา ผู้ใดประสงค์ก็ปฏิเสธ”20 ‫ال ُّق ِمن َّر ِّبك ُْم َف َمن َشا َء َف ْل ُي ْؤ‬ َ ْ ‫َو ُق ِل‬ ‫ِمن َو َمن َشا َء َف ْل َي ْك ُف ْر‬ พลังในความปรารถนาทีจ่ ะมีศรัทธา หรือเลือกที่ จะปฏิเสธนัน้ เท่ากัน เนือ่ งจากเมือ่ ความรูก้ บั พลังเท่ากัน ความปรารถนากับเป้าหมายก็เท่ากัน ฉะนั้น ความรู้ของมนุษย์ที่มีไปยัง ความน่ากลี ยดและความสวยงามเท่ากัน ความรู้ของมนุษย์ที่มีไป ยังสัจธรรม และความเท็จเท่ากัน ความรู้ของมนุษย์ที่มี ไปยังความดี และความชั่วเท่ากัน

66

แต่จิตใต้ส�ำนึกของมนุษย์ที่มีไปยังสองสิ่งที่ตรง ข้ามกัน ไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮ์ (ซบ.) จึงตรัสว่า “ข้าสร้างมนุษย์มาด้วยการมีเกียรติ์ หรือข้าสร้างจิต วิญญาณของมนุษย์ขนึ้ มาบนพืน้ ฐานของเตาฮีด” หมายถึง อามรณ์ความรู้สึก และความปรารถนาของเขามุ่งมั่น ไปสู่ศาสนา ดังนั้น ถ้าอัลลอฮ์ จักทรงหยิบยื่นศาสนา ให้มนุษย์ จึงไม่ใช่เป็นการบีบบังคับมนุษย์ให้นับถือ ทว่ามนุษย์คุ้นเคยอยู่กับสิ่งนี้อยู่แล้ว ขณะเดียวกันเรา ก็เห็นผู้คนส่วนใหญ่จะปรารถนาชีวิตทางโลกมากกว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากมนุษย์ใช้ความรู้สึกและ ผัสสะเป็นตัวก�ำหนด ซึง่ ความรูส้ กึ นัน้ จะมีความใกล้ชดิ กับธรรมชาติมากกว่า ส่วนสติหรือพลังแห่งปัญญานั้น จะอยู่ห่างไกลจากธรรมชาติมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ความ รู้สึกและภารกิจทางโลก จึงสามารถโน้มน้าวมนุษย์ให้ ใกล้ชิดกับตนเสมอ ซึ่งมันจะท�ำได้กับมนุษย์ที่มีความ อ่อนไหว มิใช่กับมนุษย์ผู้มีสติ มนุษย์ผู้มีสติจะถือว่าโลกคือ ความดับสูญสิ้น

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ส่วนผูท้ มี่ คี วามอ่อนไหวเท่านัน้ ทีเ่ ขาจะลุม่ หลงโลก ด้วย เหตุนี้ เราจะเห็นว่าระหว่างความดีกบั ความชัว่ ก็เท่ากัน อีกนัยหนึง่ ความรูข้ องมนุษย์ ทีม่ ตี อ่ คุณธรรมและความ เลวนั้นเท่ากัน ความต้องการของมนุษย์ที่มีไปยังการ เชื่อฟัง และการลืมเลือนเท่ากัน แต่การเติบโตในเรื่อง ศาสนา และการปฏิเสธไม่เท่ากัน อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัส ว่า แม้วา่ ความรูส้ กึ ของเขาจะโน้มเอียงไปทางธรรมชาติ มากกว่า แต่เราจะโน้มน้าวธรรมชาติ (ฟิตรัต) ของเขาไป ยังสัจธรรมความจริงมากกว่า เราจะโน้มน้าวเขาไปสูก่ าร รู้จักพระเจ้ามากกว่า แต่ถ้ามนุษย์ระหกระเหินไปอย่าง ไร้จุดหมาย เขาก็จะหลงกลชัยฏอน หมายถึงร่างกาย กับสติปัญญาเกิดความผิดพลาด เขาจึงหลงทางออก ไป ฟิตรัต ที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงมอบให้มนุษย์ เป็นฟิต รัตที่ต้องการความนิรันดร์ ไม่ต้องการความสุขชั่วคราว ฉะนัน้ ฟิตรัตของมนุษย์กค็ อื สิง่ ทีเ่ รียกหาความเป็นนิรนั ดร์ แต่ถ้าฟิตรัตนั้นโน้มเอียงไปสู่ความสิวิไลซ์ หรือคิด ว่าธรรมชาติมีความจีรังถาวร หรือลืมชีวิตนิรันดร์ภาย หลังความตาย เท่ากับเขาตกหลุมพลางความโง่เขลา ของตนเอง เพราะถ้าเขาไม่หลงกลความโง่เขลาแล้ว ละก็ เขาก็จะตอบเสียงเรียกร้องจากภายในของเขา ซึ่ง ภายในของมนุษย์ตอ้ งการความเป็นนิรนั ดร์ ซึง่ สิง่ เดียว ที่มีความเป็นนิรันดร์คือ อัลลอฮ์ ถ้ามนุษย์คดิ ว่าโลกนีม้ คี วามจีรงั ถาวร ก็ถอื ว่าขัด แย้งกับตรรกะของอัลกุรอาน เนือ่ งจากอัลกุรอานกล่าว่า ِ ‫س َذ ِآئ َق ُة ا َْلو‬ ٍ ‫ك ُُّل َن ْف‬ ‫ت‬ ْ

“ทุกชีวิตเป็นผู้ลิ้มรสความตาย”21 ٍ َ ‫َو َما َج َع ْلنَا لِ َب‬ ْ ‫الُ ْلدَ َأ َفإِن ِّم َّت َف ُه ُم‬ ْ ‫ش ِّمن َق ْب ِل َك‬ َ ِ‫الَال‬ ‫دُون‬

มนุษย์ทุกคนจ�ำเป็นต้องตาย ฉะนัน้ ถ้ามนุษย์มอบฟิตรัตของตนให้แก่โลก แสดง ให้เห็นว่าเขาคิดว่าโลกนีม้ คี วามถาวร ซึง่ ความคิดท�ำนอง นีเ้ กิดจาก ความโง่เขลาทัง้ ทีเ่ ขาก็รตู้ วั ว่านัน่ เป็นความโง่ หรือไม่เขาก็หลงลืมเรือ่ งสวรรค์ และนรก ซึ่งทัง้ สองเป็น ส่วนหนึ่งของโลกหน้าที่เป็นอมตะ ด้วยเหตุนี้ ถ้ามนุษย์ คิดว่าโลกนี้คือทางผ่าน และไม่หลงลืมโลกหน้าแล้วลก็ เขาจะไม่ยนื่ มือไปท�ำบาปอย่างเด็ดขาด หรือไม่หมกมุน่ กับความสิวิไลซ์ของโลก อัลลอฮ์ (ซบ.) ต้องการอธิบายแก่มนุษย์วา่ “มนุษย์ คือสิ่งมีอยู่ถาวร” และแน่นอนยิ่งความถาวรไม่มีอยู่ใน โลกใบนี้ แต่มีอยู่ ณ พระองค์ มนุษย์จึงมีหน้าที่ปาวนา ตนให้ได้ไปอยู่ ณ พระองค์ เพือ่ จะได้เป็นกะรีม ดังกล่าว ไปแล้วว่า กะรอมัต มีอยูใ่ นความจีรงั ถาวร ด้วยเหตุนสี้ งิ่ ที่สูญสลายดับไป หรือสิ่งที่มีอยู่เพียงแค่ประเดี๋ยวเดียว ไม่ถอื ว่าเป็นกะรีม เมือ่ ไม่ใช่กะรีมก็จะก้าวไปสูก่ ะรอมัต ไม่ได้ กะรีมคือ ปฐมบทของกะรอมัต ซึ่งกะรอมัต มีอยู่ ในความถาวร หากมนุษย์ตอ้ งการกะรอมัต ก็ตอ้ งพัฒนา จิตวิญญาณไปสู่ความถาวร เพื่อจะได้อยู่ในกะรอมัต และหนทางที่น�ำพามนุษย์ไปสู่กะรอมัตได้ก็มีอยู่เพียง หนทางเดียวนั่นคือ การขัดเกลาจิตวิญญาณ และยก ระดับจิตใจให้สูงส่ง อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงย�้ำเตือนมนุษย์ เสมอว่า สูเจ้าจงถวิลหาความจีรงั เถิด และทุกสิง่ ทีก่ ระท�ำ จงท�ำเพื่ออัลลอฮ์ ٍ ‫لل َب‬ ‫اق َو َلن َْج ِز َي َّن ا َّل ِذي َن‬ ِّ ‫َما ِعندَ ك ُْم َين َفدُ َو َما ِعندَ ا‬ َ ‫بو ْا َأ ْج َر ُهم بِ َأ ْح َس ِن َما كَانُو ْا َي ْع َم ُل‬ ‫ون‬ ُ َ ‫َص‬

“สิ่งที่อยู่กับพวกเจ้าย่อมอันตรธาน ส่วนที่อยู่ “เรามิได้บันดาลความอมตะ ให้แก่มนุษย์ผู้ใด ณ อัลลอฮ์นั้นจีรัง เราจะตอบแทนบรรดาผู้อดทน ด้วย 23 ก่อนหน้าเจ้า หากเจ้าตายไป พวกเขาจะมีชีวิตอมตะ รางวัลของพวกเขาที่ดียิ่งกว่าสิ่งที่พวกเขากระท�ำไว้” มนุษย์จะกลายเป็นสิง่ ถาวรได้ เขาต้องไม่ทำ� ลาย กระนั้นหรือ” 22 ความถาวรของตน ทุกการกระท�ำทีท่ ำ� เพือ่ สิง่ อืน่ นอกเหนือ ทางปรัชญากล่าวว่า จากอัลลอฮ์ มันจะไม่หยัง่ ยืน ดังนัน้ ถ้าเจ้าปรารถนาน�ำ้ ‫کل انسان فهومات بالرضورة‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

67


จบสิ้น แม้ว่าเราจะน�ำเยี่ยงนั้นมาช่วยอีกก็ตาม”26 อุปมาว่าถ้ามนุษย์มีทรัพย์มากมายเยี่ยงน�้ำใน มหาสมุทร หรือมีความเพลิดเพลินประดุจดังสายน�้ำ ที่ไหลริน ไม่มีวันจนสิ้น เจ้าก็จะไม่ได้เป็นเจ้าของมัน โดยถาวร เพราะความเพลิดเพลินไม่มีความจีรัง ขณะ ที่มนุษย์มีความจีรังโดยอนุมัติของอัลลอฮ์ ดังนั้น สอง สิ่งนี้จึงไม่อาจอยู่คู่กันได้ตลอดไป อีกนัยหนึง่ ถ้าเราจะเอาสิง่ ทีไ่ ม่มคี วามถาวร มาส ร้างหรือมาดัดแปลงให้เป็นสิ่งถาวร มันก็ไม่อาจเป็นไป ได้ เช่น น�ำเอาน�้ำในมหาสมุทรทั้งหมดเป็นน�้ำหมึก เพื่อ จดบันทึกพจนารถของอัลลอฮ์ มันก็จะเหือดแห้งไป ต่อ ให้นำ� เอาน�ำ้ จากมหาสมุทรอืน่ มาช่วยจดบันทึก ยังไม่ทนั บันทึกพจนารถ และความเมตตาของอัลลอฮ์ได้จจบสิน้ มันก็จะเหือดแห้งไปอีกเช่นกัน แห่งชีวิต มันมีอยู่ ณ อัลลอฮ์ เท่านั้น ٍ ِ ِ ‫و َلو َأنَّم ِف ْالَر‬ ดังนั้น สิ่งที่อันรธานหายไป กับสิ่งที่ด�ำรงอยู่เป็น ‫ض من َش َج َرة َأ ْق َل ٌم َوا ْل َب ْح ُر َي ُمدُّ ُه‬ ْ َ ْ َ ที่ประจักษ์แล้ว อัลกุรอานกล่าวว่า ‫َأ ْلَاك ُ​ُم ال َّتكَا ُث ُر‬ َِّ‫ِمن َب ْع ِد ِه َس ْب َع ُة َأ ْب ُح ٍر َّما ن َِفدَ ْت ك َِل َم ُت الل‬ “[เกียรติยศของ] การมีทรัพย์มากท�ำให้พวกเจ้า “ถ้าหากน�ำต้นไม้ทุกต้นที่มีอยู่ในแผ่นดิน เป็น เพลิดเพลิน” 24 ปากกา น�ำมหาสมุทรเป็นน�้ำหมึก และเอาอีกเจ็ดมหา ِ ‫ب َأ َّن َما َل ُه َأ ْخ َلدَ ُه‬ َ َ ‫ا َّلذي‬ ُ ‫ي َس‬ สมุทรมาหนุนเพิม่ เข้าไป [หลังจากเหือดแห้ง] พจนารถ ْ َ ‫ج َع َم ًال َوعَدَّ َد ُه‬ 27 “ผูซ้ งึ่ สะสมทรัพย์สมบัติ และหมัน่ นับอยูเ่ สมอ เขา ของอัลลอฮ์จะไม่หมดสิ้น” ดังนัน้ ถาวรความจีรงั ถาวรเป็นทีป่ ระจักษ์สำ� หรับ คิดว่าทรัพย์สมบัตขิ องเขา จะท�ำให้เขาอยูเ่ ป็นนิรนั ดร”25 สิ่งที่ท�ำให้มนุษย์เพลิดเพลินคือ การมีอ�ำนาจ ผูใ้ ด และเป็นทีป่ ระจักษ์สำ� หรับเขาว่า สิง่ ทีถ่ าวร ไม่อาจ บริวาร และการรวบรวมทรัพย์สนิ จ�ำนวนมากมาย ขณะ น�ำเอาสิง่ ทีไ่ ม่ถาวรมาทดแทนได้ เขาก็จะไม่ตกหลุมพลาง ทีส่ งิ่ หล่านีเ้ ป็นความสุขชัว่ ขณะ แล้วก็อนั ตรธานหายไป ความโง่เขลาของตนเอง ดังทีโ่ องการกล่าวว่า “พจนารถ มันเป็นธรรมชาติของความโลภโมโทสัน มันจึงไม่จีรัง ของอัลลอฮ์” เป็นสิง่ ถาวรแต่นำ�้ ในมหาสมุทรเป็นสิง่ ไม่จรี งั ถาวร ขณะที่ซูเราะฮ์ อัลกะฮ์ฟ์ สร้างความกระจ่างว่า ไม่วา่ มนุษย์จะท�ำอย่างไร ความไม่จรี งั ก็ไม่อาจทดแทน ความจีรังได้ ดังจะเห็นว่าน�้ำในมหาสมุทรเหือดแห้ง ِ ‫َان ا ْلبحر ِمدَ ادا ِّلك َِلم‬ ‫ت َر ِّب َلن َِفدَ ا ْل َب ْح ُر‬ ً َ ُ ْ َ َ ‫ُقل َّل ْو ك‬ แต่พจนารถของอัลลอฮ์ยังอยู่เหมือนเดิม แน่นอน เช่น ‫َق ْب َل َأن تَن َفدَ ك َِل َم ُت َر ِّب َو َل ْو ِج ْئنَا بِ ِم ْث ِل ِه َمدَ ًدا‬ เดียวกันกับมนุษย์ โดยฟิตรัตแล้วเขามุ่งมั่นไปสู่ความ “จงกล่าวเถิด มาตรว่าทะเลเป็นน�ำ้ หมึก ส�ำหรับ ถาวร เว้นเสียแต่วา่ เขาจะตกหลุมพลางของชัยฎอนมาร [บันทึก] พจนารถของพระผู้อภิบาลของฉัน ทะเลจะ ร้าย ชัยฏอนเมือ่ ต้องการลวงล่อมนุษย์ มันจะท�ำอย่างไร? เหือดแห้ง ก่อนที่พจนารถของพระผู้อภิบาลของฉันจะ 1. มันจะท�ำให้มนุษย์ตกหลุมพลางความโง่เขลา

68

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ของตนเองก่อน 2. มันจะเติมเต็มความหลงลืม และความลืม เลือนในใจของเขา 3. มันจะท�ำให้เขาหลงไปจากหลักความเชือ่ ของเขา 4. มันจะท�ำให้เขาหลงลืมขณะกระท�ำความผิด ดังนั้น เป็นไปได้ที่มนุษย์ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และ วันกิยามัต แต่เป็นเพราะความหลงลืม เขาจึงล่วงละเมิด เขตแดน และค�ำสั่งห้ามของอัลลอฮ์ ความหลงลืมของ มนุษย์ก็เหมือนกัน คนโง่ที่ไม่รู้ตัวเองว่าโง่ ขณะท�ำบาป สิ่งเหล่านี้เป็นปรปักษ์กับกะรอมัตทั้งสิ้น ท�ำนองเดียวกันพวกที่มีความเพลิดเพลินในการ สั่งสมเงินทอง ก็เนื่องจากพวกเขาคิดว่าโลกนี้คือความ จีรงั ถาวร บางคนก็พดู ว่า เราไม่คดิ ว่าจะมีโลกอืน่ นอกจาก โลกนี้อีกแล้ว พวกเขาล้วนตกหลุมพลางความโง่เขลา ทั้งสิ้น พวกเขาคิดว่ามนุษย์คงอยู่แค่โลกนี้เท่านั้น พวก เหล่านี้จัดอยู่ในพวก ญะฮิลมุร็อกกับ แต่มนุษย์บางกลุม่ ไม่ถอื ว่าโง่เขลาแบบไม่รตู้ วั ว่า โง่ เช่น มุสลิม พวกเขาเชื่อวันกิยามัต เชื่อวันสอบสวน เชื่อการลงโทษและตอบแทนหลังความตาย เชื่อว่าโลก นีไ้ ม่มคี วามจีรงั ถาวร แต่พวกเขาหลงลืม ซึง่ อัลกุรอานก ล่าวถึงพวกที่หลงลืม และพวกที่โง่เขลาเอาไว้ พวกที่โง่เขลา (ญะฮิลมุร็อกกับ) อัลกุรอานบท ชุอร์ อ โองการที่ 129 เป็นต้นไปกล่าวว่า “พวกท่านสร้าง อนุสรณ์บนที่สูงทุกแห่ง ไร้สาระตามอ�ำเภอใจ กระนั้น หรือ พวกท่านสร้างคฤหาสน์อันโอ่โถง มั่นคงสวยงาม ประหนึ่งว่า พวกท่านจะอยู่นิจนิรันดร กระนั้นหรือ”28 พวกเขาคือ คนโง่เขลาที่คิดว่าไม่มีอะไรอีกแล้วหลังค วามตาย เมื่อตายไปมนุษย์ก็สิงสถิตย์อยู่ในธรรมชาติ แต่บางพวกเข้าใจผิดในเรื่องราว พวกเขาจึงมุ่ง มั่นไปยังสิ่งที่สูญสลาย แทนสิ่งจีรังถาวร มุ่งแต่ความ สุขทางโลก แทนความสุขในโลกหน้า หลงลืมความตาย เมือ่ หลงลืมความตายจึงถูกทดสอบด้วยความสิวไิ ลซ์ของ ธรรมชาติ เมือ่ หลงเข้าสูค่ วามสิวไิ ลซ์แล้ว เขาก็จะไม่เป็น

กะรีมอีกต่อไป เนือ่ งจาก กะรอมัต มีอยู่ ณ อัลลอฮ์ เท่านัน้ ในความหมายคือ ในที่ๆ เป็นอมตะเท่านั้นที่มี กะรอมัต สิง่ ทีอ่ นั ตรธานจะไม่ใช่กะรีม ดังนัน้ ทุกสิง่ ทีเ่ ป็นธรรมชาติ หรือทุกสิง่ ทีเ่ ป็นความสิวไิ ลซ์ของโลกนี้ จะดับสูญสิน้ ไป มันจึงไม่ใช่กะรีม ไม่ใช่ปฐมบทที่น�ำจิตวิญญาณไปสู่ กะรีม เนื่องจิตวิญญาณที่เป็นกะรีม คือจิตวิญญาณที่ เป็นอมตะ แต่ความเพลิดเพลินทางโลกไม่ได้เป็นอมตะ จึงไม่ใช่ตัวน�ำไปสู่กะรีม ด้วยเหตุนี้ จิตวิญญาณที่เป็น กะรีมคือ จิตวิญญาณทีม่ งุ่ ไปสูอ่ ลั ลอฮ์ แต่ถา้ จิตวิญญาณ นัน้ มุง่ ไปสูค่ วามสิวไิ ลซ์ของธรรมชาติ มันจึงไม่อาจเป็น กะรีม และไม่อาจเข้าถึงกะรอมัตได้ ด้วยเหตุนี้ ถ้ามนุษย์สามารถปลดเปลื้องตนเอง จากความโง่ เ ขลา และช่ ว ยเหลื อ ตั ว เองให้ ร อดพ้ น จากความความหลงลื ม เขาก็ จ ะเข้ า ถึ ง กะรอมั ต อัลกุรอานจึงเน้นเรื่องการรู้จัก (มะอ์ริฟัต) การตักเตือน การปลดเปลื้องตนจากความโง่เขลา การคิดใคร่ครวญ เพือ่ จะได้หลุดพ้นความหลงลืม เนือ่ งจากสิง่ ทีจ่ ะโน้มน�ำ มนุษย์ไปสู่การบาปกรรมก็คือ ความหลงลืม หรือความ โง่เขลา ฉะนัน้ สิง่ ทีอ่ ลั กุรอานตักเตือนก็มเี ป้าหมายอยูท่ ี่ ว่า จงอย่าเข้าใจผิดเรือ่ งกะรอมัต ในความสิวไิ ลซ์จะไม่มี

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

69


กะรอมัต มนุษย์ทหี่ มกมุน่ อยูก่ บั วัตถุปจั จัย เขาไม่ใช่กะ รีม เมื่อเขาหลุดออกจากกะรีมเขาก็จะถล�ำไปสู่ความ อัปยศ อัลกุรอานกล่าวว่า “ในวันฟื้นคืนชีพ การลงโทษจะถูกเพิ่มขึ้นเป็น สองเท่าส�ำหรับเขา เขาจะอยูใ่ นนัน้ [การลงโทษ] อย่าง อัปยศไปตลอดกาล”29 และถ้าไม่สามารถเข้าถึงกะรอมัต ได้ ด้วยการขัดเกลาจิตวิญญาณ ก็จะไม่มีปัจจัยอื่นใด อีกที่จะน�ำเขาเข้าไปสู่กะรอมัตได้ ดังนั้น เขาจึงอยู่ใน การลงโทษอย่างอัปยศตลอดไป ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก จิตวิญญาณของมนุษย์นั้นเป็นอมตะ เมื่อจิตวิญญาณ เป็นอมตะ จึงต้องการอาหารที่เหมาะสมและคู่ควรกับ ความเป็นอมตะ ซึ่งก็มีอยู่ 2 อย่างอันได้แก่ อีมานและ การปฏิเสธ ซึ่งเท่ากับเขาผู้นั้นได้สร้างความเคยชิน กับ ความเป็นอมตะให้แก่ตัวเอง ฉะนั้น สมมติว่าคนหนึ่ง ท�ำบาปมา 50 ปี แล้วเขาต้องถูกลงโทษตลอดไป มิได้ เป็นเช่นนัน้ ทว่าการท�ำบาป 50 ปี เท่ากับได้สร้างความ เคยชินในบาปให้แก่ตวั เอง อันได้แก่การปฏิเสธ ซึง่ ความ เคยชินนัน้ ก็เป็นอมตะด้วย เหมือนกับคนทีป่ ล่อยให้ความ เชือ่ ผิดๆ แทรกเข้ามาในจิตใจ ความเชือ่ นัน้ มันจะไม่เป็น อรูปเหมือนจิตวิญญาณ แต่มันจะเป็นอมตะ ฉะนั้น ถ้า อัลลอฮ์ตรัสว่า “เขาจะอยู่ในนั้น [การลงโทษ] อย่าง อัปยศไปตลอดกาล” หมายถึง ตัวของเขาได้สร้างความ เคยชินที่เป็นอมตะให้แก่ตัวเอง เขาจึงถูกลงโทษตลอด ไป มิได้หมายความว่าเขาท�ำบาปมา 50 ปี จึงถูกลงโทษ ตลอดไป การท�ำบาป 50 ปี เป็นของร่างกาย ไม่ใช่ของ จิตวิญญาณ เนือ่ งจากจิตวิญญาณเป็นอรูป เนียต ความ ต้องการและความรูข้ องมนุษย์ลว้ นเป็นอรูปทัง้ สิน้ การก ระท�ำต่างหากที่สร้างให้เกิดรูป รายงานกล่าวว่า มีผู้ถามอิมามว่า เป็นเพราะ อะไร ที่คนท�ำบาป ต้องถูกลงโทษตลอดไป ท่านอิมาม ตอบว่า เนื่องจากเขาเนียตว่า ถ้าเขามีชีวิตอยู่ตลอดไป เขาก็จะท�ำบาป ไม่ใช่วา่ เขาตัง้ ใจจะกระท�ำ หรือได้กระท�ำ แต่เขาเนียตว่าจะกระท�ำเช่นนัน้ ฉะนัน้ ความหมายของ

70

ฮะดีษคือ ถ้าบุคคลใดมีความเคยชินกับการปฏิเสธ มัน จะไม่สญ ู สลายไปจากเขา แต่จะไปถึงจุดหนึง่ ทีเ่ ขาไม่อาจ ศรัทธาได้อีกต่อไป ฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกที่มุนาฟิกีน (พวกกลับกลอก) กับพวกปฏิเสธศรัทธาจะถูกลงโทษ ตลอดไป ไม่ใช่จติ วิญญาณของงานทีไ่ ด้กระท�ำ ด้วยเหตุ นีค้ นทีเ่ ป็นมุสลิมทีก่ ระท�ำผิดโดยไม่ตงั้ ใจ เนือ่ งจากไม่รู้ เขาจะไม่ถกู ลงโทษตลอดไป แต่จะถูกลงโทษในจ�ำนวน หนึ่ง หลังจากนั้นจะได้รับการอภัย ต่างไปจากผู้ปฏิเสธ ศรัทธาเขาจะได้รบั การลงโทษตลอดไป สาเหตุทเี่ ป็นเช่น นี้ เนื่องจากการปฏิเสธศรัทธาคือความเคยชิน อันเป็น ยาพิษทีไ่ ม่มวี นั สูญสลาย อัลกุรอานจึงกล่าวว่า “เขาจะ อยู่ในนั้น [การลงโทษ] อย่างอัปยศไปตลอดกาล” 30 ขณะทีโ่ องการตรงข้ามกันกล่าวว่า ‫فی جنات مکرمون‬ “พวกเขาจะอยู่ในสวรรค์อย่างผู้มีเกียรติ์” หมายถึงมุอ์ มินจะได้รับเกียรติในสวรรค์ตลอดไป ส่วนโองการข้าง บนผู้ปฏิเสธศรัทธาจะถูกลงโทษอย่างอัปยศตลอดไป เนื่องจากขณะที่อยู่บนโลก พวกเขาได้สร้างความมัก คุน้ และปกคุมจิตวิญญาณตัวเองด้วยการปฏิเสธศรัทธา ฉะนั้น ตัวตนของมนุษย์ต่างหากที่ต้องได้รับโทษทัณฑ์ ตลอดไป ไม่ใช่ร่างกาย ด้ ว ยเหตุ นี้ เ มื่ อ อั ล ลอฮ์ ทรงเชิ ญ มนุ ษ ย์ ไ ปสู ่ กะรอมัต มิได้หมายถึงทรงจัดเตรียมไว้พร้อมสรรพแล้ว ทว่ามนุษย์จะต้องขวนขวายด้วยตัวเอง เพื่อตอบรับค�ำ เชิญของพระองค์ ซึ่งมีอยู่สิ่งเดียวที่จะไม่ยอมปล่อยให้ จิตวิญญาณของมนุษย์ พัฒนาและเติบโตไปในทางที่ ดี ได้แก่ความลุ่มหลงโลก ซึ่งความลุ่มหลงโลกอาจเกิด จากความโง่เขลา หรือไม่ก็เกิดขึ้นเพราะความลืมเลือน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันจะกลายเป็น ตราบาปของจิตวิญญาณตลอดไป อัลกุรอานจึงเน้น ย�ำ้ ว่า อันดับแรกต้องท�ำให้มนุษย์รู้ หลังจากรูแ้ ล้วให้เขา รูจ้ กั คิด มิได้หมายความว่าเป็นผูร้ กู้ เ็ พียงพอแล้ว เพราะ ไปถึงเป้าหมายแล้ว หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากการ รู้เป็นเพียงบันใดขั้นแรก ขั้นต่อไปคือการคิดใคร่ครวญ

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


อัลกุรอานจึงเน้นย�้ำว่าหลายต่อหลายครั้งว่า “สูเจ้า จงใคร่ครวญถึงความตาย” ไม่ว่าจยืน จะเดิน จะนั่ง หรือจะนอนก็ตาม แบบฉบับของท่านศาสดาก็สอนไว้ เช่นนี้ เหตุผลก็เพื่อให้มนุษย์เป็นกะรีม และเข้าไปถึง กะรอมัต และป้องกันไม่ให้ความลืมเลือนมาเป็นเกราะ ปกคลุมจิตใจของเขา โลกนีเ้ ปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา อัลกุรอานจึงกล่าวว่า “หลังจากนั้นเขาศรัทธา หลังจาก นั้นเขาปฏิเสธ” นั่นหมายถึงว่าโลกไม่มีความแน่นอน หน้าที่ของมนุษย์จึงต้องอยู่กับการเตาบะฮ์ เพื่อช�ำระ ความไม่แน่นอนนั้นให้หมดไป ‫َاهم‬ َ َ ‫َو َل َقدْ ك ََّر ْمنَا َبنِي آ َد َم َو‬ ُ ‫ب َوا ْل َب ْح ِر َو َر َز ْقن‬ ُ ‫ح ْلن‬ ِّ َ ‫َاه ْم ِف ا ْل‬ ِ ً ‫َاه ْم َع َل كَثِ ٍري مَِّّ ْن َخ َل ْقنَا َت ْف ِضي‬ ‫ال‬ ُ ‫ِّم َن ال َّط ِّي َبات َو َف َّض ْلن‬ “เราให้เกียรติแ์ ก่ลกู หลานของอาดัม เราบรรทุก พวกเขา [ด้วยพาหนะ] ทั้งทางบกและทางทะเล เรา ให้ปัจจัยยังชีพต่างๆ ที่ดีแก่พวกเขา เราให้พวกเขามี เกียรติ์ เหนือกว่าสิ่งเราสร้างส่วนใหญ่”31 จากโองการข้างต้นสิง่ ทีอ่ ลั ลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะ บาอีย์ นักปรัชญาและนักตัฟซีรสมัยใหม่ กล่าวไว้ในตัฟซี รอัลมีซาน เกีย่ วกับสาเหตุของความประเสริฐของมนุษย์ ที่มีเหนือสรรพสิ่งอื่นคือ 1. มนุษย์สามารถพูดได้ 2. สามารถปรับความสมดุลในการด�ำรงอยู่ 3. นิ้วมือของมนุษย์มีพลังสามารถท�ำงานได้ หลากหลายอย่าง 4. มนุษย์รับประทานอาหารด้วยมือ 5. มนุษย์สามารถเขียนหนังสือได้ 6. มนุษย์มีใบหน้าสวยงาม 7. มนุษย์สามารถควบคุมสิ่งมีชีวิตได้จ�ำนวน มากมาย 8. บิดาแห่งมนุษย์ชาติได้ถกู สร้างขึน้ โดยพระหัตถ์ ของพระเจ้า 9. แต่งตั้งให้ มุฮัมมัดให้เป็นบรมศาสดา มาจาก

เผ่าพันธุ์มนุษย์ชาติ คุณสมบัติบางประการจาก 9 ประการนี้ บาง อย่างถือว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะส�ำหรับมนุษย์ เพราะ เป็นการเสริมสร้างด้วยสติปญ ั ญา เช่น การพูด การเขียน และการควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น32 ดังนัน้ สติปญ ั ญา ของมนุษย์จงึ ถูกจัดให้เป็นหนึง่ ในปัจจัยทีด่ กี ว่าของมนุษย์ ทีม่ ตี อ่ สรรพสิง่ อืน่ เนือ่ งจาก คุณลักษณะบางประการตามกล่าวมาข้างต้น ล้วนย้อน ไปหาสติปัญญาทั้งสิ้น ประเด็นส�ำคัญอีกประการหนึ่งจากโองการนี้ก็ คือ ค�ำว่า “กะษีร” จ�ำนวนมาก นักอรรถธิบายอัลกุรอาน กล่าวว่า สรรพสิ่งอื่นที่มีอยู่ทั้งที่เป็นรูปและอรูป เช่น สรรพสัตว์ ญิน มะลาอิกะฮ์ หรืออาจกล่าวได้วา่ หมายถึง ทุกสรรพสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายใต้ระบบของจักรวาลและโลกใบนี้ นักตัพซีรบางท่านกล่าวว่า จุดประสงค์ของการ ตักรีม (การให้เกียรติ) ในโองการ หมายถึง การให้ ประโยชน์อันมหาศาลทางโลก ส่วนวัตถุประสงค์ของ ค�ำว่า เหนือกว่า “ฟัฎฎ็อล” ในโองการหมายถึง การได้ รับประโยชน์ต่างๆ ในวันปรโลก ค�ำว่า “ตัฟฎีล” ถูกกล่าวไว้ในโองการอืน่ ด้วยเช่น กัน เช่น โองการที่กล่าวว่า ِ ِ ‫س ِائ َيل ا ْذك ُ​ُروا نِ ْع َمتِ َي ا َّلتِي َأ ْن َع ْم ُت َع َل ْيك ُْم‬ َ ْ ‫َيا َبني إ‬ ‫ني‬ َ ِ‫َو َأ ِّن َف َّض ْل ُتك ُْم َع َل ا ْل َعا َل‬ “โอ้ วงศ์ ว านอิ ส รออี ล เอ๋ ย จงร� ำ ลึ ก ถึ ง ความ โปรดปรานของข้า ทีโ่ ปรดปรานพวกเจ้า ข้ายกย่องพวก เจ้าเหนือประชาชาติทงั้ หลาย [ร่วมสมัยเดียวกับเจ้า]”33 บรรดานั ก ตั ฟ ซี ร ส่ ว นใหญ่ ก ล่ า วว่ า ค� ำ ว่ า “อาลั ม ” ในโองการหมายถึง กลุ่มชนหนึ่ง เช่น ชนอาหรับ หรือ โรม และฯลฯ ส่วนโองการที่กล่าวว่า ‫ني‬ َ ِ‫َف َّض ْلنَا َع َل ا ْل َعا َل‬ “เราโปรดปรานพวกเขา เหนือประชาชาติทั้งหลาย”34 บรรดานักตัฟซีรอธิบายว่า บรรดาศาสดาทั้งหมด มี

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

71


ฐานันดรและสาถานภาพดีกว่า ประชาชาติแห่งยุคสมัย ของตน เนือ่ งจากการชีน้ ำ� อันเฉพาะพิเศษจากอัลลอฮ์ ได้ มีมายังท่านเหล่านัน้ โดยไม่ตอ้ งผ่านสือ่ แต่อย่างใด ส่วน บุคคลอืน่ ถ้าต้องการได้รบั ทางน�ำ ต้องอาศัยและผ่านสือ่ กลางทัง้ สิน้ ซึง่ บ่งบอกให้เห็นว่า บรรดาศาสดาทัง้ หลาย มีความประเสริฐกว่าประชาชาติทกุ ยุคทุกสมัย ไม่วา่ จะ ร่วมสมัยกับท่านหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ความโปรดปราน ให้เหนือประชาชาติทง้ หลาย มิได้ครอบคลุมเหนือบรรดา ศาสดาของพระองค์ อายะตุลลอฮ์ ดร. อะฮ์มดั เบเฮชตีย์ นักวิชาการร่วม สมัยได้เขียนไว้ในหนังสือ “อินซานดัรกุรอาน” มนุษย์ใน อัลกุรอานว่า ในแง่ของวัตถุสารเผ่าพันธุ์มนุษย์ มีความ ประเสริฐกว่าสรรพสิ่งอื่นในระดับใด? 1. เผ่าพันธุ์มนุษย์เลวกว่าสิ่งถูกสร้างอื่นทั้งหมด 2. เผ่าพันธุ์มนุษย์ดีกว่าสิ่งถูกสร้างอื่นทั้งหมด 3. เผ่าพันธุม์ นุษย์ดกี ว่าสิง่ ถูกสร้างบางชนิด และ เลวกว่าบางชนิด 4. เผ่าพันธุ์มนุษย์มีความเท่าเทียมกันกับสิ่งถูก สร้างอื่น ประมวลสิง่ ถูกสร้างในอัลกุรอาน ทีส่ ามารถเปรียบ เทียบกับมนุษย์ได้มีดังนี้ 1. ญิน 2. มะลาอิกะฮ์ 3. สรรพสัตว์ 4. พืชภัณฑ์ต่างๆ 5. วัตถุที่ไม่มีชีวิต จาก 3 กลุ่มสุดท้าย มนุษย์มีความประเสริฐกว่า แน่นอน เช่น กุรอานกล่าวว่า ِ ِ ِ ْ ‫ل ًم َط ِر ًّيا َوت َْست‬ ‫َخ ِر ُجوا‬ ْ َ ‫َو ُه َوا َّلذي َس َّخ َرا ْل َب ْح َرلت َْأ ُك ُلوامنْ ُه‬ ِ ِ ‫ونَا‬ َ ‫منْ ُه ح ْل َي ًة َت ْل َب ُس‬ “พระองค์ คื อ พระผู ้ ท รงบั น ดาลทะเลให้ เ ป็ น ประโยชน์ เพื่อพวกเจ้าจะได้กินเนื้อนุ่มสด พวกเจ้าน�ำ

72

เครื่องประดับออกจากทะเลเพื่อสวมใส่”35 โองการนีช้ ใี้ ห้เห็นว่า มนุษย์ มีความประเสริฐกว่า ท้องทะเล และสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ที่อยู่ในทะเล อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า ِ ِ ‫األر‬ ‫ض‬ ْ ‫َأ َل ْت َ​َر ْوا َأ َّن اللََّ َس َّخ َر َلك ُْم َما ِف الس َ​َّم َوات َو َما ِف‬ “เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่า อัลลอฮ์ทรงบันดาลสรรพ สิง่ ทีม่ อี ยูใ่ นชัน้ ฟ้าทัง้ หลายและแผ่นดิน ให้อำ� นวยความ สะดวกแก่พวกเจ้า” 36 โองการนีก้ ล่าวว่าทุกสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นฟากฟ้า และแผ่นดิน เช่น ดวงตะวัน ดวงเดือน และดวงดาว ตลอดจนเหมือง แร่ พืชภัณฑ์ ทะเล และสรรพสัตว์ ทัง้ หมดถูกสร้างขึน้ มา เพื่ออ�ำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ทั้งสิ้น บรรดาโองการเหล่านีเ้ ข้าใจได้วา่ มนุษย์ มีความ ประเสริฐกว่าสิง่ ถูกสร้าง 3 กลุม่ สุดท้าย ได้แก่สรรพสัตว์ พืช และวัตถุไม่มีชีวิต ซึ่งความประเสริฐกว่าของมนุษย์ สืบเนื่องมาจาก สติปัญญา พลังของเหตุผล วิสัยทัศน์ อวัยวะบนร่างกายไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า และลิ้น ถ้าหากมนุษย์ไม่มีอวัยวะบนร่างกาย หรือไม่มี สติปญ ั ญาแล้วละก็ เขาไม่สามารถขยับเขยือน หรือเดิน ทางไปไหนมาไหนได้ ไม่วา่ เขาจะอาศัยเครือ่ งมือโบราณ หรือเครืองมือสมัยใหม่เพียงใดก็ตาม ฉะนัน้ เป็นทีป่ ระจักษ์วา่ เฉพาะมนุษย์ทใี่ ช้ชวี ติ อยู่ บนพื้นพิภพนี้เท่านั้น ที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว สรรพ สิ่งถูกสร้างอื่น แม้ว่าจะมีการเคลื่อนไหว มีการเดินทาง นอนหลับ และมีความต้องการ แต่กลับถูกกีดกันไม่ให้ รวมอยู่ในสิ่งที่เป็นสิทธิพิเศษส�ำหรับมนุษย์ มนุษย์ ประเสริฐกว่ าญิน หมูญ ่ นิ มีสภาพเป็นอรูปมีคล้ายคลึงกับมนุษย์ กล่าว คือ มีญนิ ดี ญินเกเร ญินทีเ่ ป็นผูศ้ รัทธา ญินผูป้ ฏิเสธ ญิน ทีย่ ดึ มัน่ ในศาสนา และไม่ยดึ มัน่ ในศาสนา แต่ในหมูญ ่ นิ ไม่มีศาสดา พวกเขาต้องปฏิบัติตามศาสดาของมนุษย์

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ِ ِ َ ‫ون َو ِمنَّا ُد‬ َ ‫ال‬ ‫ون َذلِك‬ َّ ‫َو َأنَّا منَّا‬ ُ ‫الص‬

“แท้จริง ในหมู่พวกเรามีคนดีและคนไม่ดี และ พวกเราอยู่ในกลุ่มที่แตกต่างกัน” 37 อัลกุรอานต้องการจะอธิบายว่าในหมูญ ่ นิ ก็เหมือน กับมนุษย์ แบ่งออกเป็น 2 กลุม่ กล่าวคือกลุม่ ผูศ้ รัทธาที่ ปฏิบัติการดี และกลุ่มผู้ปฏิเสธที่ประกอบกรรมชั่ว หรือ ในโองการอื่นที่กล่าวว่า ในหมู่ญินบางกลุ่มเป็นมุสลิม และบางกลุ่มมิใช่มุสลิม เช่น โองการที่กล่าวว่า ِ ‫ون و ِمنَّا ا ْل َق‬ ِ ِ َ ‫اس ُط‬ ‫ون‬ َ َ ‫َو َأنَّا منَّا ا ُْل ْسل ُم‬

ผ่านอัลกุรอาน ที่ถูกประทานแก่ท่านศาสดา ที่มาจาก มนุษย์ ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นดีกว่าญิน มนุษย์ประเสริฐกว่ามะลาอิกะฮ์ ในส่วนของมะลาอิกะฮ์นนั้ ได้มบี ญ ั ชาจากอัลลอฮ์ (ซบ.) ให้ซุญูด (กราบคารวะ) มนุษย์ ฉะนั้น ถ้าบุคคล นั้นมีความเป็นมนุษย์แท้จริงเขาคือ สถานที่ซุญูดของ มะลาอิกะฮ์ อัลกุรอานกล่าวว่า ِ ِ ِ ِ ‫يس‬ َ ‫اس ُجدُ وا آل َد َم َف َس َجدُ وا إِال إِ ْبل‬ ْ ‫َوإِ ْذ ُق ْلنَا ل ْل َمالئكَة‬

“ขณะทีเ่ รากล่าวแก่มะลาอิกะฮ์วา่ พวกเจ้าจงกราบ อาดัม พวกเขาทัง้ หมดลงกราบ นอกจากอิบลิสตนเดียว”40 จึงสรุปได้ว่ามนุษย์ผู้สมบูรณ์ มีความประเสริฐ กว่าสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหมดบนหน้าพื้นพิภพ ไม่ว่าจะ เป็นญิน หรือสรรพสัตว์ ซึง่ เป็นความประเสริฐโดยธาตุแท้ ของความเป็นมนุษย์ (ซาตียะฮ์) แต่ส�ำหรับมะลาอิกะฮ์ แล้วมนุษย์ไม่ได้ประเสริฐกว่าในแง่ของซาตียะฮ์ เนือ่ งจาก อัลกุอานกล่าวถึง มะลาอิกะฮ์ว่า َ ‫ون ال َي ْسبِ ُقو َن ُه بِا ْل َق ْو ِل َو ُه ْم بِ َأ ْم ِر ِه َي ْع َم ُل‬ َ ‫ِع َبا ٌد ُمك َْر ُم‬ ‫ون‬

“แท้จริง ในหมูพ่ วกเรามีผท้ ู เี่ ป็นมุสลิมและผูอ้ ธรรม”38 บางโองการกล่าวว่า ในหมูญ ่ นิ มีผมู้ ศี รัทธามัน่ คง และพวกเขาเชื่อฟังปฏิบัติตามนะบี อัลกุรอานกล่าวว่า ِ ِْ ‫است َ​َم َع َن َف ٌر ِم َن‬ ‫ال ِّن َف َقا ُلوا إِنَّا َس ِم ْعنَا‬ ْ ‫ُق ْل ُأوح َي إِ َ َّل َأ َّن ُه‬ ِ ‫الر ْش ِد َفآ َمنَّا بِ ِه‬ ُّ ‫ُق ْرآنًا َع َج ًبا َ ْيدي إِ َل‬ “จงกล่าวเถิด ได้มีวะฮ์ยูมายังฉันซึ่งพวกญิน จํานวนหนึ่งได้มาสดับฟัง และพวกเขากล่าวว่า แท้จริง เราได้ยนิ กุรอานทีแ่ ปลกพิสดาร ซึง่ น�ำไปสูท่ างทีถ่ กู ต้อง “[มะลาอิกะฮ์] เป็นบ่าวผูม้ เี กียรติ์ พวกเขาจะไม่ ดังนั้น พวกเราจึงศรัทธาต่ออัล-กุรอาน” 39 ชิงกล่าวค�ำพูดใดก่อนพระองค์ พวกเขาปฏิบตั ติ ามพระ โองการนีก้ ล่าวว่า ญินกลุม่ หนึง่ ได้รบั ทางน�ำโดย

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

73


บัญชาของพระองค์”41 หรือแม้แต่ตวั โลกก็ตาม และไม่วา่ สิง่ นัน้ จะอยูใ่ นสภาพ อรูป เช่น มวลมะลาอิกะฮ์ ญิน หรือสรรพสิ่งที่เป็นรูป َ ‫ون َما َت ْف َع ُل‬ َ ‫ني َي ْع َل ُم‬ ‫ون‬ َ ِ‫ني ِك َرا ًما كَاتِب‬ َ ِ‫لافِظ‬ َ َ ‫َوإِ َّن َع َل ْيك ُْم‬ ทัง้ หมด อีกนัยหนึง่ องค์ประกอบของทุกสรรพสิง่ คือ สิง่ “มีผู้พิทักษ์ [ถูกก�ำหนด] เหนือพวกเจ้า ผู้บันทึก ถูกสร้างของพระองค์ “พระองค์คอื ผูท้ รงรังสรรค์ทกุ สรรพ ที่ทรงเกียรติ์ยิ่ง พวกเขารู้ที่พวกเจ้ากระท�ำ” 42 สิ่ง” แต่พระองค์มิเคยตรัสกับสิ่งเหล่านั้นว่า สรุปได้ว่าในแง่ของซาตียะฮ์ (ธาตุแท้ความเป็น ْ ‫َف َت َب َار َك اللَُّ َأ ْح َس ُن‬ ‫ني‏‬ َ ‫الَالِ ِق‬ มนุษย์) มนุษย์กับมะลาอิกะฮ์ ไม่อาจเปรียบเทียบกัน ได้ แต่ในด้านของกะรอมัต หรือเกียรติยศหรือศักดิ์ศรี ด้วยการพัฒนามนุษย์สามารถยกระดับตนให้สงู ส่งกว่า มะลาอิกะฮ์ได้ 43 อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี ออมูลี อธิบายโองการ ต่อไปนี้ ดังนี้ ْ ‫آخ َر َف َت َب َار َك اللَُّ َأ ْح َس ُن‬ َ ‫ُث َّم َأن َْش ْأنَا ُه َخ ْل ًقا‬ ‫ني‬ َ ‫الَالِ ِق‬

“แล้วเราสร้างเขาให้เป็นอีกก�ำเนิดหนึ่ง ความ จําเริญยิ่งแด่อัลลอฮ์ ผู้ทรงเป็นเลิศแห่งปวงผู้สร้าง” 44 อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงแนะน�ำพระองค์ว่า “พระองค์ ِ คือผู้ทรงรังสรรค์ทุกสรรพสิ่ง”45 ‫ش ٍ‏ء‬ ْ َ ‫اللَُّ خال ُق ك ُِّل‬ ในความหมายคือ ไม่มีสิ่งใดบนโลกนี้อุบัติขึ้น ด้วยตัวเอง ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย ซึ่งสาเหตุหลัก คือ อัลลอฮ์ (ซบ.) มิชะรรมชาติสร้างสรรค์ ฉะนั้น ถ้า ปราศจากพระองค์ จะไม่มสี งิ่ ใดเลยอุบตั ขิ นึ้ บนโลกใบนี้

74

“ความจําเริญยิง่ แด่อลั ลอฮ์ ผูท้ รงเป็นเลิศแห่งปวง ผูส้ ร้าง” เฉพาะกับมนุษย์เท่านัน้ ทีต่ รัสเช่นนี้ จึงเข้าใจได้วา่ มนุษย์ คือสิง่ ถูกสร้างทีด่ ที สี่ ดุ และอัลลอฮ์คอื พระผูท้ รง สร้างทีเ่ ป็นเลิศทีส่ ดุ ฉะนัน้ ในแง่ของการสร้าง ถ้าหากมี สรรพสิ่งอื่นดีกว่ามนุษย์ ในการสร้างมนุษย์พระองค์จะ ไม่ตรัสว่า “ความจาํ เริญยิง่ แด่อลั ลอฮ์ ผูท้ รงเป็นเลิศแห่ง ปวงผู้สร้าง” ดังนั้น เมื่อมนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุด อัลลอฮ์ในฐานะพระผู้ทรงสร้าง พระองค์จึงเป็นเลิศใน ْ ‫َأ ْح َس ُن‬ หมู่ผู้สร้างทั้งหลาย ‫ني‬ َ ‫الَالِ ِق‬ แน่นอน การที่มนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดนั้น มิใช่ชั้นของร่างกาย เนื่องจากในชั้นนี้สรรพสัตว์จ�ำนวน มากมาย ก็มสี ว่ นร่วมทีค่ ล้ายคลึงกับมนุษย์ โดยเริม่ ต้น จากการกินอาหาร แล้วเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นสาร อาหาร กลายเป็นเชือ้ อสุจิ เมือ่ ถูกปฏิสนธิจงึ ไปฝังตัวอยู่

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ทีผ่ นังมดลูก แล้วกลายเป็นก้อนเลือด กลายเป็นก้อนเนือ้ กลายเป็นกระดูก มีเนื้อหุ้มกระดูก แล้วกลายเป็นทารก ซึ่งในชั้นนีไ้ ม่มคี วามแตกต่างกันระหว่างมนุษย์กบั สัตว์ ฉะนัน้ ถ้าไม่มกี ารเพิม่ จิตวิญญาณเข้าไป มนุษย์กบั สรรพ สิ่งอื่นก็มิได้แตกต่างกัน ดังนั้น หลังจากที่พระองค์เพิ่มจิตวิญญาณ แล้ว สร้างเขาให้เป็นอีกก�ำเนิดหนึ่ง พระองค์จึงตรัสว่า “แล้ว เราสร้างเขาให้เป็นอีกก�ำเนิดหนึ่ง ความจําเริญยิ่งแด่ อัลลอฮ์ ผูท้ รงเป็นเลิศแห่งปวงผูส้ ร้าง” ตรงนีค้ วามจ�ำเริญ ยิ่งของอัลลอฮ์ หมายถึงอะไร? เนื่องจากพระองค์ ทรงท�ำให้เชื้ออสุจิกลายเป็น ก้อนเลือด (ตัวอ่อน) กระนั้นหรือ? หรือท�ำให้กอ้ นเลือดกลายเป็นก้อนเนือ้ (เนือ้ บาง) กระนั้นหรือ? หรือท�ำให้กอ้ นเนือ้ กลายเป็นกระดูก กระนัน้ หรือ? หรือการหุ้มกระดูกเหล่านั้นด้วยเนื้อ แล้วกลาย เป็นทารกกระนั้นหรือ? หรือเนือ่ งจากว่าพระองค์ทรงท�ำให้สภาพของแข็ง ไปสู่ชีวิตของความเป็นพืช และไปสู่สภาพของความ เป็นสัตว์? ซึ่งในความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจาก มีการพัฒนาและการเจริญเติบโตอย่างมากมาย ใน สรรพสัตว์อื่น ดังนั้น จากโองการนี้จึงเข้าใจได้ว่า ความ จ�ำเริญยิง่ อัลลอฮ์ (ซบ.) มิใช่การเติมเต็มด้านร่างกาย หรือ ด้านความเป็นเดรัจฉาน ทว่าเกีย่ วข้องกับสถานะความ เป็นมนุษย์ของเขา แล้วสถานะความเป็นมนุษย์คอื อะไร? ขณะเดียวกันจิตวิญญาณทีพ่ ระองค์ทรงให้มนุษย์ ก็ ไม่เกีย่ วข้องกับร่างกาย เพราะในมะลาอิกะฮ์กม็ เี ช่นกัน แต่ ขณะทีพ่ ระองค์สร้างมะลาอิกะฮ์ขนึ้ มา พระองค์มไิ ด้ตรัสว่า ْ ‫“ َف َت َب َار َك اللَُّ َأ ْح َس ُن‬ความจําเริญยิง่ แด่อลั ลอฮ์ ‫ني‏‬ َ ‫الَالِ ِق‬ ผูท้ รงเป็นเลิศแห่งปวงผูส้ ร้าง” ซึง่ การแบ่งลักษณะนี้ แสดง ให้เห็นว่าการทีม่ นุษย์ เป็นสิง่ ถูกสร้างทีด่ ที สี่ ดุ มิได้เกีย่ วกับ ร่างกาย หรือความเป็นเดรัจฉานของเขาแต่อย่างใด

ท�ำนองเดียวกันการที่มนุษย์ เป็นสิ่งถูกสร้างที่ดี ที่สุด ก็มิได้เกี่ยวข้องกับความมีเหตุผล (อักลานียะฮ์) เนื่องจากในชั้นของอักลานียะฮ์ มะลาอิกะฮ์ ก็มีเช่นกัน ฉะนัน้ ในชัน้ นีม้ ะลาอิกะฮ์ ก็มสี ว่ นร่วมอยูก่ บั มนุษย์ดว้ ย ขณะทีม่ ะลาอิกะฮ์มไิ ด้ถกู นับว่าเป็น สิง่ ถูกสร้างทีด่ ที สี่ ดุ (อะฮ์ซะนุ มัคลูกนี ) ทัง้ ที่ อัลลอฮ์ ในฐานะของพระผูท้ รง ْ ‫) َأ ْح َس ُن‬ สร้างพวกเขา ทรงเป็นเลิศในหมูผ่ สู้ ร้าง (‫ني‬ َ ‫الَالِ ِق‬ ด้วยเหตุนี้ การที่มนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุด มิได้เกี่ยวข้องกับความเป็นเดรัจฉาน หรือสรีระ เพราะ ในชัน้ นีร้ ะหว่างมนุษย์กบั สรรพสัตว์ทงั้ หลายมีสว่ นร่วม ขณะที่สรรพสัตว์จ�ำนวนมากมายมีรูปร่างสวยงาม เช่น นกยูง พระองค์ก็มิได้ตรัสว่า นั่นคือสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุด (อะฮ์ซะนุ ตักวีม หรืออะฮ์ซะนุมัคลูกีน) แต่อย่างใด ถ้าพิจารณาในแง่ของจิตวิญญาณหรืออักลานียะฮ์ มวลมะลาอิกะฮ์กม็ สี งิ่ นัน้ ด้วย จึงไม่แตกต่างกันระหว่าง มนุษย์กบั มะลาอิกะฮ์ แต่ระหว่างสิง่ ถูกสร้างทัง้ สองนัน้ อัลลอฮ์ (ซบ.) มิเคยตรัสว่า ทรงเป็นเลิศในหมู่ผู้สร้าง ْ ‫ ) َأ ْح َس ُن‬ท�ำให้เข้าใจได้ว่าภารกิจในความ (‫ني‬ َ ‫الَالِ ِق‬ เป็นเดรัจฉาน นอกเหนือไปจากภารกิจของอักลานียะฮ์ (ความมีเหตุผล ปัญญา) และทั้งสองไม่ได้เป็นสิ่งถูก สร้างที่ดีที่สุด ในท�ำนองเดียวกันภารกิจด้านอักลานียะฮ์ นอก เหนือไปจากภารกิจทีเ่ กิดจากความรู้สกึ หรือความเป็น เดรัจฉาน สิ่งนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดเช่นกัน ทว่าสภาพความเป็นมนุษย์ตา่ งหาก ทีถ่ อื ว่เป็นสิง่ ถูกสร้าง ทีด่ ที สี่ ดุ เนือ่ งจากความเป็นมนุษย์ได้ผนวกเอา ความเป็น เดรัจฉาน และความมีสติเข้าไว้ดว้ ยกัน รายงานกล่าวว่า ‫ان اهلل تعايل خلق املالئكه و ركب فيهم العقل و خلق‬ ‫البهائم و ركب فيها الشهوه و خلق بني ادم و ركب‬ ‫ فمن غلب عقله عيل شهوه‬،‫فيهم العقل و الشهوه‬ ‫فهو اعيل من املالئكه و من غلب شهوته عيل عقله‬ .‫فهو ادين من البهائم‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

75


ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ ทรง สร้างมะลาอิกะฮ์ขึ้นมา ทรงมอบสติปัญญาแก่พวกเขา ทรงสร้างสรรพสัตว์ขนึ้ มา ทรงมอบความต้องการแก่พวก มัน และทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมา ทรงมอบทั้งสติปัญญา และความต้องการแก่พวกเขา ดังนัน้ บุคคลใดเอาเหตุผล ควบคุมเหนือความต้องการ เขาผูน้ นั้ สูงส่งกว่ามะลาอิกะฮ์ แต่ถ้าบุคคลใดเอาความต้องการควบคุมเหนือเหตุผล เขาผู้นั้นต�่ำต้อยยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน”46 ดังนั้น มนุษย์ผู้มีความสมบูรณ์ จึงมีทั้งความ เป็นเดรัจฉาน (อ�ำนาจฝ่ายต�่ำ) และความสมบูรณ์ ของมะลาอิกะฮ์ (สติปัญญา) รวมอยู่ในตัว มนุษย์จึง เป็น “สิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุด” อะฮ์ซะนุ มัคลูกีน ขณะที่ อัลลอฮ์คือ ผู้สร้างสิ่งที่ดีที่สุด พระองค์จึงเป็นเลิศใน หมู่ผู้สร้าง “อะฮ์ซะนุลคอลิกีน” ด้วยเหตุนี้ ในโลกของ มะลาอิกะฮ์ หรือในโลกของสรรพสัตว์ ถ้ามีส่ิงใดสิ่ง หนึง่ เสมอเหมือนมนุษย์ พระองค์จะไม่ตรัสกับมนุษย์วา่ ْ ‫للَّ َأ ْح َس ُن‬ ‫ني‏‬ ُ ‫“ َف َت َب َار َك ا‬ความจําเริญยิง่ แด่อลั ลอฮ์ َ ‫الَالِ ِق‬ ผู้ทรงเป็นเลิศแห่งปวงผู้สร้าง” ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่ ประจักษ์ว่า .. 1. การเป็นเลิศในหมูผ่ สู้ ร้างของ อัลลอฮ์ ก็เนือ่ งจาก ว่ามีสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดนั่นคือ “มนุษย์” 2. การเป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดของมนุษย์ มิได้ เกี่ยวข้องกับเนื้อหนังมังสาของเขา เพราะสัตว์ก็มีสิ่งนี้ 3. การเป็นสิ่งถูกสร้างที่ดีที่สุดของมนุษย์ มิได้ เกี่ยวข้องกับความสติอย่างเดียว เนื่องจากมะลาอิกะฮ์ ก็มีสิ่งนี้ 4. การเป็นสิง่ ถูกสร้างทีด่ ที สี่ ดุ ของมนุษย์ เกีย่ วข้อง กับพลังทั้งสองที่รวมอยู่ในตัวเขา ฉะนั้น ถ้าบุคคลใดส่งเสริมพลังเพียงด้านเดียว แล้วดับพลังอีกด้านหนึ่ง ก็จะไม่ได้เป็นองค์รวมของ พลังทั้งสอง เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจะไม่ถูกนับว่าเป็นสิ่ง ถูกสร้างที่ดีที่สุด พระด�ำรัสที่ตรัสว่า “ความจําเริญยิ่ง แด่อัลลอฮ์ ผู้ทรงเป็นเลิศแห่งปวงผู้สร้าง” ก็เท่ากับว่า

76

พระองค์มิได้ตรัสกับเขา เมื่อพลังทั้งสองที่รวมอยู่ในมนุษย์ ถูกพัฒนา ไปสู่ความสมบูรณ์ ท�ำให้เขาผู้นั้นกลายเป็นมนุษย์ผู้ สมบูรณ์ เมือ่ นัน้ มนุษย์จงึ กลายเป็นสถานทีซ่ ญ ุ ดู ของมวล มะลาอิกะฮ์ มีเกียรติย์ งิ่ กว่าสรรพสิง่ อืน่ ทัง้ ปวง และโดย ตัวของมนุษย์แล้วก็มีเกียรติ์ยิ่ง และเมื่อผ่านพ้นขั้นตอนการสร้างสมบูรณ์แล้ว มนุษย์จึงถูกเติมเต็มความเป็นมนุษย์เข้าไป อัลกุรอาน กล่าวว่า ِ ‫َفإِ َذا سوي ُته و َن َف ْخ ُت فِ ِيه ِمن ر‬ ِ ‫وحي َف َق ُعوا َل ُه س‬ ‫اج ِدي َن‬ َ ُ ْ َّ َ َ ُ ْ “เมื่อข้าท�ำให้เขามีรูปร่างสมบูรณ์แล้ว ข้าเป่า วิญญาณของข้าไปบนเขา ฉะนัน้ พวกเจ้าจงกราบเขาเถิด”47 ประเด็นส�ำคัญของโองการนี้คือ อัลลอฮ์ ตรัส ถึ ง วิ ญ ญาณของมนุ ษ ย์ โดยพาดพิ ง มายั ง พระองค์ และจากการเพิ่มวิญญาณของพระเจ้าไปบนมนุษย์ นั่นเอง เป็นสาเหตุท�ำให้เขากลายเป็น สถานซุญูดของ มะลาอิกะฮ์ทันที 48 ฉะนัน้ การมีบญ ั ชาให้ซญ ุ ดู อาดัม เป็นอีกเหตุผล หนึง่ ทีบ่ ง่ บอว่ามนุษย์สงู ส่งกว่ามะลาอิกะฮ์ ในความสูงส่ง กว่านีม้ ใิ ช่วา่ มนุษย์ทกุ คนบนโลกจะสูงส่งกว่ามะลาอิกะฮ์ มีเฉพาะบางกลุม่ ทีม่ คี วามเป็นมนุษย์โดยแท้จริงเท่านัน้ สูงส่งกว่า ดังนัน้ ถ้าจะก�ำหนดสิง่ ถูกสร้างในอัลกุรอาน ไว้เพียงแค่ 5 กลุ่ม อันได้แก่ ญิน มะลาอิกะฮ์ สรรพสัตว์ พืชภัณฑ์ต่างๆ วัตถุที่ไม่มีชีวิต มนุษย์มีความประเสริฐ กว่าสิ่งทั้งหมดเหล่านั้น คุณลักษณะของมนุษย์ ในคัมภีร์อัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กบั สรรพสิง่ อืน่ หรือ ความเป็นเลิศของมนุษย์จากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มันเป็นที่ ชัดเจน แต่เกีย่ วกับเรือ่ งอะไร ดังนัน้ สิง่ ทีต่ อ้ งพิจารณาคือ ความแตกต่างระหว่างคนสิง่ ถูกสร้างอืน่ ในมุมมองของ กุรอานคืออะไร? มีค�ำกล่าวว่า ความแตกต่างระหว่าง มนุษย์กบั สรรพสิง่ อืน่ คือ อยูท่ อี่ งค์ประกอบของซาตียะฮ์

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


อัลกุรอานกล่าวว่า

ِ ْ ‫إِنَّا َخ َل ْقنَا‬ َ ‫الن‬ ٍ ‫ْسان ِم ْن ُن ْط َف ٍة َأ ْم‬ ‫شاج َن ْبتَليه‬

“แท้ จ ริ ง เราได้ ส ร้ า งมนุ ษ ย์ จ ากน�้ ำ อสุ จิ ผ สม เราได้ทดสอบเขา” 49 วัตถุประสงค์ของค�ำว่า ศักยภาพ อันมากมายตาม ค�ำอธิบายในวันนีค้ อื ยีนในตัวมนุษย์ หลังจากนัน้ กล่าว ว่า มนุษย์ได้ไปถึงในขัน้ หนึง่ “เราจึงทดสอบพวกเขา เรา จึงท�ำให้เขาได้ยิน และมองเห็น” หมายถึงเมื่อมนุษย์ได้ ถึงขั้นสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเราได้สร้างเขาขึ้นมาแบบมีอิสระ และมีเจตนารมณ์เสรี ถ้าเขามีความดีและมีความคูค่ วร ต่อการปฏิบัติหน้าที่ และการทดสอบในครั้งนี้ เขาก็จะ ได้รบั คะแนนหรือรางวัลตอบแทน ขณะทีส่ งิ่ ถูกสร้างอืน่ มิได้มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้เลย เมื่อเข้าใจปฐมบทแล้ว มนุษย์ในโลกทัศน์อสิ ลามมีเรือ่ งราวทีน่ า่ ตืน่ ตาตืน่ ใจ อิสลามไม่ถอื ว่า มนุษย์เป็นเพียงสัตว์มนุษย์ทยี่ นื ตรง อยู่บนสองเท้า มีเล็บแผ่กว้าง เดินด้วยสองเท้า และพูด ได้เท่านั้น มนุษย์ในทัศนะของอัลกุรอานมีความลุ่มลึก และลึกลับมากกว่าที่จะอธิบายด้วยค�ำพูดเพียงไม่กี่ค�ำ อัลกุรอาน มีทั้งยกย่องสรรเสริญ ต�ำหนิ และ ประณาม อัลกุรอานกล่าวยกย่องมนุษย์ไว้สูงสุด ขณะ เดียวกันก็กล่าวต�ำหนิอย่างรุนที่สุดเช่นกัน อัลกุรอาน ถือว่ามนุษย์สูงส่งกว่าบรรดามะลาอิกะฮ์ ท้องฟ้า และ แผ่นดิน และในเวลาเดียวกันมนุษย์สามารถท�ำลาย เกียรติยศของตนเอง ให้ต�่ำต้อยยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน ในทัศนะของอัลกุรอาน มนุษย์คือผู้มีศักยภาพเพียง พอที่จะพิชิตโลกให้เป็นผู้รับใช้ตน ให้เหล่ามะลาอิกะฮ์ มาคอยปรนิบัตรับใช้ตน ขณะเดียวกันก็สามารถท�ำให้ ตนตกต�่ำที่สุดเลยก็ได้ และนี่คือมนุษย์ ซึ่งเขาจะต้อง ตัดสินใจ และต้องก�ำหนดชะตาชีวติ ในบัน้ ปลายของตน คุณค่ าของมนุษย์ ในอัลกุรอาน 1. หนึ่งในความเป็นเลิศของมนุษย์คือ

«‫ » َع َّل َم ُه ا ْل َبيان‏‬พระองค์ ทรงสอนวาทศิลป์แก่เขา50 สิง่ ทีเ่ ป็นสือ่ ให้มนุษย์ถา่ ยทอดวิชาการความรู้ หรือสิง่ ทีอ่ ยู่ ภายในจิตใจของเขา แก่คนอืน่ ได้คอื วาทและค�ำอธิบาย 2. มนุษย์เป็นผู้รู้จักตัวเอง ُ ‫“ » َب ِل اإلن َْس‬หามิได้ มนุษย์ «ٌ‫ان َع َل َن ْف ِس ِه َب ِص َرية‬ นัน้ รูส้ ภาพตัวเอง” 51 โองการนีย้ นื ยันว่ามนุษย์นนั้ มีความ ตระหนัก หมายถึงรู้จักสภาพตนทั้งในแง่จิตวิญญาณ และจริยธรรมเป็นอย่างดี การรู้จักและการตระหนักนั้น ถือเป็นหนึ่งในความเป็นเลิศของมนุษย์ 3. มีศักยภาพในการเรียนรู้และสอนสั่งวิชาการ อัลกุรอานยืนยันประเด็นนี้ว่า َ ‫« َع َّل َم اإلن َْس‬ » ‫ان َما َل ْ َي ْع َل ْم‬ “ทรงสอนมนุษย์ในสิง่ ทีเ่ ขาไม่ร”ู้ 52 มนุษย์สามารถ เรียนรูใ้ นสิง่ ทีเ่ ขาไม่รไู้ ด้ เพือ่ ลดความไม่รขู้ องตน เนือ่ งจาก ขอบข่ายของวิชาการมิได้จำ� มนุษย์ให้อยูใ่ นวงจ�ำกัด ทว่า สามารถปลดเปลือ้ งความเขลาของตนได้ตลอดเวลา แม้วา่ จะมีอปุ สรรคนานัปการ มนุษย์กส็ ามารถแก้ไขปัญหาได้ ศักยภาพทางความรู้ มนุษย์คอื กลุม่ ทีม่ ศี กั ยภาพ ทีใ่ หญ่ทสี่ ุด ซึ่งเป็นไปได้ที่สิ่งถูกสร้างหนึง่ อาจมีสิ่งนี้อยู่ ดังจะเห็นว่า พระองค์ทรงสอนพระนามอันไพรจิตทัง้ หมด แก่อาดัม (หมายถึงให้เขารูจ้ กั ข้อเท็จจริงทัง้ หมดในการ สร้าง) จากนั้นได้ถามมะลาอิกะฮ์เพื่อให้บอกนามเหล่า นั้นคืออะไร พวกเขากล่าวว่า พวกเราไม่รู้สิ่งใดเลย เว้น แต่ที่พระองค์ทรงสอนเรา ในความหมายก็คือ สิ่งใดที่ พระองค์ไม่ได้สอนเราโดยตรง เราไม่สามารถเรียนรู้ได้ ด้วยการเสาะแสวงหา อัลลอฮ์ ทรงมีบัญชาแก่อาดัม ว่า โอ้ อาดัมเอ๋ย เจ้าจงสอนนามเหล่านั้นแก่พวกเขา เถิด ทันใดนัน้ อาดัมได้สอนมะลาอิกะฮ์ให้รจู้ กั นามเหล่า นัน้ และอัลลอฮ์ ตรัสแก่มวลมะลาอิกะฮ์วา่ ข้ามิได้บอก พวกเจ้าดอกหรือว่า ข้าล่วงรู้ทั้งในชั้นฟ้าและแผ่นดิน (ข้ารู้ในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้) อีกทั้งยังล่วงรู้ในสิ่งที่พวกเจ้า เปิดเผย และปิดบัง 4. มนุษย์โดยธรรมชาติรู้จักพระเจ้า เขารู้จัก

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

77


พระเจ้าของเขาด้วยส่วนลึกสุดของจิตส�ำนึกของเขา ทัง้ หมดของการปฏิเสธ ความลังเล และการเบีย่ งเบนคือ แก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ ขณะที่ลูกหลานของอาดัมยังคงอยู่ในไขสันหลัง ของบรรพบุรุษของตน (ทั้งที่เกิดแล้ว และก�ำลังจะเกิด) อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงประกาศิตให้พูดเพื่อเอาสัญญาจาก พวกเขา และพวกเขาได้ให้สญ ั ญาแก่พระองค์ พระองค์ ทรงส�ำทับพวกเขาว่า จงผินหน้าของพวกเจ้าไปยังศาสนา นัน่ คือธรรมชาติของพระเจ้า ซึง่ พระองค์ทรงก�ำหนดชะตา ชีวิตของประชาชนไว้บนศาสนา 5. มนุษย์เป็นผู้คิดใคร่ครวญ หนึ่งในเหตุผลทึ่บ่ง บอกว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงเอาใจใส่มนุษย์คือ ทรงท�ำให้ เขาเป็นผู้คิดใคร่ครวญ ِ ِ ‫األر‬ َ ‫«و َي َت َفك َُّر‬ »‫ض‏‬ َ ْ ‫ون ِف َخ ْل ِق الس َ​َّم َوات َو‬ “พวกเขาใคร่ครวญ [ความมหัศจรรย์] ในการ บันดาลชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน”53 มนุษย์สามารถ คิดใคร่ครวญโองการทีก่ ล่าวถึงวันกิยามัต การรวมผูค้ น 78

และการฟืน้ คืนชีพจากหลุมฝังศพ การคิดหาเหตุผลของ ทุกสิ่งว่ามีการเริ่มต้น และต้องมีการสิ้นสุด 54 6. ชีวิตมนุษย์ นอกจากจะมีองค์ประกอบด้าน วัตถุ อันประกอบด้วยสิ่งไร้ชีวิต พืช และสัตว์แล้ว ยัง มีองค์ประกอบด้านจิตวิญญาณอยู่ด้วย มนษย์นั้นมี องค์ ป ระกอนที่ เ ป็ น ธรรมชาติ และสิ่ ง ที่ อ ยู ่ เ หนื อ ธรรมชาติพ้นญาณวิสัยของมนุษย์ ร่างกาย และศีล ธรรม ตรัสว่า “พระผู้ซึ่งทุกสรรพสิ่งที่สร้าง ทรงสร้าง อย่างดีงามทีส่ ดุ พระองค์ทรงเริม่ การสร้างมนุษย์จากดิน พงศ์พันธุ์ [บุตรหลาน] ของเขา ทรงให้สืบตระกูลมา จากน�้ำอันน่ารังเกียจ ทรงท�ำให้เขามีสัดส่วนที่สมบูรณ์ ทรงเป่าวิญญาณจากพระองค์ไปบนเขา ทรงบันดาลให้ พวกเจ้าได้ยิน มองเห็น และมีจิตใจ [แต่] ส่วนน้อย เท่านั้นที่ขอบพระคุณ”55 7. การสร้างมนุษย์ เป็นการสร้างที่ค�ำนวนแล้ว ไม่ใช่ความบังเอิญ มนุษย์คอื สิง่ ถูกสร้างทีไ่ ด้รบั การคัด เลือกและได้รบั การแต่งตัง้ อัลกุรอานกล่าวว่า “อาดัมได้ ฝ่าฝืนพระผูอ้ ภิบาลของตน เขาจึงหลงผิด ภายหลัง พระ ผู้อภิบาลของเขาทรงคัดเลือกเขา แล้วทรงอภัยโทษให้ แก่เขาและทรงแนะทางที่ถูกต้องให้เขา” 56 8. มนุษย์มีบุคลิกภาพอิสระและเสรีภาพ ผู้ดูแล ผลประโยชน์ของพระเจ้า มีภารกิจ และมีความรับผิด ชอบ มนุษย์ได้รับการขอร้องให้ใช้ความคิดริเริ่มของตน สร้างแผ่นดิน และเลือกหนึง่ ในสองทางอันเป็นความสุข หรือความทุกข์สำ� หรับตน อัลกุรอานกล่าวว่า “เราเสนอ อะมานะฮ์ แก่ชั้นฟ้าทั้งหลาย แผ่นดิน และขุนเขาทั้ง หลาย แต่เหล่านั้นปฏิเสธที่จะแบกรับ และมีความกลัว ต่อสิ่งนั้น [แต่] มนุษย์แบกรับไว้ [ยอมรับ] ซึ่งเขาเป็น ผู้อธรรม ผู้โฉดเขลายิ่ง”57 อัลกุรอาน กล่าวว่า “แท้จริง เราได้สร้างมนุษย์จากน�้ำอสุจิผสม เราได้ทดสอบเขา ดังนั้น เราจึงท�ำให้เขาได้ยิน และมองเห็น แท้จริง เรา ได้ชี้แนะแนวทางแก่เขาแล้ว บางคนก็กตัญญู และบาง คนก็เนรคุณ (บางคนด�ำเนินชีวิตไปตามการชี้น�ำจึงได้

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


พบกับความสุขแท้จริง แต่บางคนกับฝ่าฝืนและดื้อรั้น จึงระหกระเหินไปในทางที่หลงผิด) 9. มนุษย์มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีความ ประเสริฐโดยธรรมชาติ อัลลอฮ์ ทรงให้มนุษย์สูงส่งกว่า สรรพสิง่ อืน่ และสิง่ มีชวี ติ ทัง้ หลายของพระองค์ จากนัน้ จึงให้มนุษย์มีความส�ำนึก และตระหนักถึงตัวตนที่แท้ จริงของตน ซึ่งจะได้ข้าใจศักดิ์ศรีและความประเสริฐ ของตนว่า ตนสูงส่งและดีกว่าความชั่วช้า บาปกรรม การตกเป็ น ทาสของอารมณ์ และตั ณ หาทั้ ง หลาย อัลกุรอาน กล่าวว่า เราให้เกียรติแ์ ก่ลูกหลานของอาดัม เราบรรทุกพวกเขา [ด้วยพาหนะ] ทั้งทางบกและทาง ทะเล เราให้ปัจจัยยังชีพต่างๆ ที่ดีแก่พวกเขา เราให้ พวกเขามีเกียรติ์ เหนือกว่าสิ่งเราสร้างส่วนใหญ่”58 10.ศาสดาทีถ่ กู ประทานลงมา มาจากหมูม่ นุษย์ มิใช่จากหมู่สรรพสิ่งอื่น َ ‫« َيا َبنِي آ َد َم إِ َّما َي ْأتِ َينَّك ُْم ُر ُس ٌل ِمنْك ُْم َي ُق ُّص‬ ‫ون‬

พวกเขากล่าวท้วงติงว่า พระองค์จะสร้างสิง่ หนึง่ ให้มขี นึ้ มา เพือ่ ก่อความเสียหาย และนองเลือดบนหน้าแผ่นดิน “โอ้ ลูกหลานอาดัมเอ๋ย เนือ่ งจากมีบรรดาเราะซูล กระนั้นหรือ อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสว่า “ข้ารู้ในสิ่งที่พวกเจ้า จากหมูพ่ วกเจ้ามายังพวกเจ้า บอกเล่าโองการทัง้ หลาย ไม่รู้” ตรัสว่า ِ ِ ِ ِ ของข้าแก่พวกเจ้า” 59 ِ ‫األر‬ ‫ض َخ ِلي َفة‬ ْ ‫َوإِ ْذ َق َال َر ُّب َك ل ْل َمالئكَة إِ ِّن َجاع ٌل ِف‬ 11. มะลาอิกะฮ์กราบมนุษย์ “จงร� ำ ลึ ก เมื่ อ พระผู ้ อ ภิ บ าลของเจ้ า ตรั ส แก่ ِ ‫وإِ ْذ ُق ْلنَا لِ ْلم‬ ِ ‫الئك َِة اسجدُ وا آلدم َفسجدُ وا إِال إِب‬ ‫يس‬ ‫ل‬ َ ْ َ َ َ​َ ُ ْ َ มะลาอิกะฮ์ว่า [แน่นอน] ข้าจะแต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่ง َ »...‫َع َل ْيك ُْم آ َي ِات‬

“ขณะทีเ่ รากล่าวแก่มะลาอิกะฮ์วา่ พวกเจ้าจงกราบ ณ แผ่นดิน”61 พระองค์นั่นเองที่ตั้งให้เจ้า บรรดามนุษย์ อาดัม พวกเขาทัง้ หมดลงกราบ นอกจากอิบลิสตนเดียว” 60 เป็นตัวแทนของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน เพือ่ พระองค์จะ 12. มนุษย์คอื ตัวแทนของพระเจ้าบนหน้าแผ่นดิน ได้ทดสอบพวกเจ้า ด้วยความโปรดปรานทีท่ รงประทาน อีกหนึง่ ในความเป็นเลิศของมนุษย์คอื การทีอ่ ลั ลอฮ์ แก่พวกเจ้า 13. มนุษ์เป็นผู้มีจิตส�ำนึกทางศีลธรรม มีความ ทรงแต่งตัง้ ให้เขาเป็นผูแ้ ทนของพระองค์ สิง่ นีเ้ ป็นทีป่ ระจักษ์ ชัดเจนยิง่ ว่า ถ้าหากมนุษย์ไม่มคี ณ ุ สมบัตทิ เี่ พียงพอแล้ว เข้าใจเรือ่ งแรงบันดาลใจ (อิลฮาม) ความน่าเกลียด และ สวยงาม อัลกุรอานกล่าวว่า “ทรงดลใจให้รจู้ กั ทางชัว่ และ เขาจะไม่ได้รบั โอกาสให้เป็นเคาะลิฟะฮ์แน่นอน 62 วันที่พระองค์ต้องการที่จะสร้างเขา พระองค์ ทางส�ำรวมตน ผูข้ ดั เกลาจิตใจย่อมประสบความส�ำเร็จ” 14. มนุษย์จะไม่สงบเสงีย่ มด้วยการร�ำลึกถึงสิง่ อืน่ อธิบายความประสงค์ของพระองค์แก่บรรดามะลาอิกะฮ์ ทีน่ อกจากอัลลอฮ์ มนุษย์มคี วามต้องการทีไ่ ม่มที สี่ นิ้ สุด

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

79


แต่มคี วามพอเพียง เว้นเสียแต่อาตมันของพระเจ้า เขาจะ แสวงหาชนิดไม่มที สี่ นิ้ สุด อัลกุรอานกล่าวว่า “[เช่นนัน้ ] บรรดาผูศ้ รัทธาและจิตใจของพวกเขาสงบ ด้วยการร�ำลึก ถึงอัลลอฮ์ พึงรู้ไว้เถิด การร�ำลึกถึงอัลลอฮ์ ท�ำให้จิตใจ สงบ” “โอ้ มนุษย์ เอ๋ย จงพากเพียรไปสูพ่ ระผูอ้ ภิบาลของ เจ้าอย่างอดทน แล้วเจ้าจะได้พบพระองค์”64 15. แผ่นดินถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมนุษย์ ความโปรดปรานทัง้ หลายบนโลกนี้ ถูกสร้างขึน้ มา เพื่ออ�ำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ อัลกุรอาน กล่าวว่า “พระองค์คือ ผู้ทรงบันดาลสรรพสิ่งทั้งมวลบนแผ่นดิน ส�ำหรับพวกเจ้า”65 “พระองค์ทรงท�ำให้สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้า ทั้งหลาย และสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินเป็นประโยชน์แก่พวก เจ้า ทั้งหมดนี้มาจากพระองค์”66 ‫األر َض َو َض َع َها لِألنَا ِم‬ ْ ‫َو‬ “พระองค์ทรงจัดเตรียมแผ่นดินนั้นไว้ เพื่อสรรพ สิ่งที่สร้างขึ้น”67 อย่างไรก็ตามค�ำว่า “อะนาม” ในโองการนีม้ คี วาม หมายว่าอย่างไร นักตัฟซีรมีความเห็นขัดแย้งกัน บางกลุม่

80

กล่าวว่าหมายถึง ทุกซาตียะฮ์ทมี่ จี ติ วิญญาณ และบางกลุม่ กล่าว “อะนาม” ในโองการนีห้ มายถึงมนุษย์ ท่าน อัลลา มะฮ์เฏาะบาเฏาะบาอียก์ ล่าวว่า ‫ االنام الناس‬หมายถึง มนุษย์ และบางกลุม่ กล่าวว่า หมายถึงมนุษย์และญิน ดัง นัน้ ถ้าค�ำว่า “อะนาม” ในโองการหมายถึงมนุษย์เท่านัน้ โองการนีก้ ถ็ อื ว่าเป็นคุณสมบัตพิ เิ ศษส�ำหรับมนุษย์ 16. มนุษย์เป็นผู้มีเจตนารมณ์เสรีในการเลือก กระท�ำดี และกระท�ำความชั่ว ْ ِ‫ان بِالشَّ ِّ ُد َعا َء ُه ب‬ ُ ‫َو َيدْ ُع اإلن َْس‬ ‫الَ ْ ِي‬ ُ ‫َان اإلن َْس‬ َ ‫َوك‬ ‫ان َع ُجوال‬

“มนุษย์นั้นวิงวอนขอความชั่ว [สาปแช่ง] เยี่ยง การวิงวอนขอความดี มนุษย์เป็นผู้รีบร้อนเสมอ”68 17. มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนมัสการพระเจ้า แต่เพียงผู้เดียว และน้อมรับพระบัญชาของพระองค์ ดังนั้น หน้าที่ของมนุษย์คือ การชื่อฟังปฏิบัติค�ำบัญชา ของพระองค์ อัลกุรอาน กล่าวว่า “ข้ามิได้สร้างญินและ มนุษย์เพื่อการใด นอกเสียจากเพื่อแสดงความเคารพ

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ภักดีต่อข้า” 69 18. มนุษย์จะไม่แสวงหาการเคารพภักดีอื่นใด นอกพระเจ้าของพวก และถ้าพวกเขาลืมพระเจ้าของ เขา เท่ากับพวกเขาได้ลืมเลือนตนเอง เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจะไม่รู้เลยว่าเขาคือใคร เขาท�ำอะไร และก�ำลังจะ ไปไหน อัลกุรอาน กล่าวว่า “พวกเจ้าจงอย่าเป็นเฉก เช่นบรรดาผู้ที่ลืมอัลลอฮ เพราะอัลลอฮจะทรงให้พวก เขาลืมตัวเอง ชนเหล่านั้นคือผู้ฝ่าฝืน” 70 19. มนุษย์เมือ่ ออกจากโลกนี้ เรือนร่างทีเ่ คยเป็น ม่านแห่งใบหน้า และจิตวิญญาณ ก็จะถูกทิง้ ไปไกลห่าง ข้อเท็จจริงที่ครอบคลุม ที่ถูกซ่อนส�ำหรับเขาวันนี้จะถูก เปิดเผยส�ำหรับเขา “แน่นอน จ้าไม่เคยสนใจต่อเรือ่ งนี้ [วันฟืน้ คืนชีพ] เราจึงปลดม่านบังตาออกไปจากเจ้า วันนี้สายตาของ เจ้าจึงสว่างขึ้น” 71 20. มนุษย์ไม่กระท�ำสิง่ ใดเพือ่ วัตถุปจั จัยทางโลก เพียงอย่างเดียว การขับเคลื่อนของเขามิใช่เพียงความ ต้องการของชีวิตทางโลก ทว่าเพื่อเป้าหมายต่างๆ และ เพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง และทุกการเคลื่อนไหวของเขา เป็นไปเพื่อความพีงพอพระทัยของอัลลอฮ์ อัลกุรอาน กล่าวว่า “โอ้ ดวงชีวิตที่สงบมั่น เอ๋ย จงกลับมาสู่พระ ผู้อภิบาลของเจ้าเถิด ขณะที่เจ้ามีความพึงพอใจใน พระองค์ และพระองค์ยินดีในเจ้า” “อัลลอฮ์ทรงสัญญาแก่ บรรดาชายผูศ้ รัทธา และ บรรดาหญิงผู้ศรัทธาว่า ซึ่งสวนในสวรรค์หลากหลาย ณ เบือ้ งล่างมีลำ� น�ำ้ หลายสายไหลผ่าน พวกเขาจะพ�ำนัก อยู่ในนั้นนิรันดร และ [เช่นเดียวกัน] สถานพ�ำนักอันดี งามในสวรรค์หลากหลายนิรนั ดร ทว่าความปราโมทย์ของ อัลลอฮ์นั้นยิ่งใหญ่กว่า นี่คือความส�ำเร็จอันยิ่งใหญ่” 72

โองการก็กล่าวต�ำหนิ ซึ่งถ้าพิจารณาจากคุณลักษณะ ภายนอก ดูเหมือนวาโองการทั้งสองกลุ่มขัดแย้งกัน แต่ ในความเป็นจริงมิได้ขัดแย้งกัน เพราะมนุษย์เป็นสิ่งที่ มีอยู่ 2 มิติ ซึ่งมิตหนึ่งจะโน้มน้าวเชิญชวนเขาไปสู่ด้าน ของความดี ส่วนอีกมิติหนึ่งน�ำมนุษย์กลับไปยังความ สุขชั่วคราว ฉะนั้น อัลกุรอานแต่ละกลุ่มเหล่านี้ ได้ชี้ให้ เห็นถึงมิติแต่ละด้านของมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์นี่เองไม่ ว่าจะได้รับการยกย่องเพียงใดในคัมภีร์กุรอ่าน เขาก็ได้ รับการต�ำหนิไว้เช่นกัน อัลกุรอานกล่าวว่า 1. ปราศจากความอดทนและหุนหันพลันแล่น ْ ِ‫ان بِالشَّ ِّ ُد َعا َء ُه ب‬ ُ ‫َو َيدْ ُع اإلن َْس‬ ‫الَ ْي‬ ُ ‫َان اإلن َْس‬ َ ‫ِ َوك‬ ‫ان َع ُجوال‬

“มนุษย์นั้นวิงวอนขอความชั่ว [สาปแช่ง] เยี่ยง การวิงวอนขอความดี มนุษย์เป็นผู้รีบร้อนเสมอ”73 ค�ำว่า “อะญูล” หมายถึงการเรียกร้อง และการ ค้นหาบางสิ่งก่อนที่เวลาของมัน มนุษย์ถ้ามุ่งมั่นอยู่ใน สิ่งใด เขาจะตามหาสิ่งนั้นอย่างไม่ลดละ และถ้าสิ่งนั้น เป็นความชั่วร้าย มันก็จะเกิดอันตรายแก่มนุษย์ 2. มนุษย์ตระหนี่ถี่เหนียว อัลกุรอานต�ำหนิมนุษย์ แน่นอนการกล่าวถึงจุดนี้เป็นสิ่งที่จ�ำเป็น เนื่อง ُ ‫َان اإلن َْس‬ َ ‫َوك‬ ‫ُورا‬ ً ‫ان َقت‬ จากอัลกุรอานบางโองการกล่าวยกย่องมนุษย์ และบาง “มนุษย์นั้นเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว”74

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

81


3. มีความฝันยาวไกล ِ ‫َأم لِإلنْس‬ ‫ان َما َتَنَّى‬ َ ْ

“หรือว่าส�ำหรับมนุษย์นนั้ จะได้ทกุ สิง่ ทีเ่ ขาปรารถนา”75 โองการนีช้ ใี้ ห้เห็นถึงความฝันยาวไกลอันไร้มรรคผล จนกระทัง่ ตายเขาก็ไปไม่ถงึ ความฝันนัน้ อัลกุรอานมิได้ ยกย่องทุกความปรารถนา แต่กี่มากน้อยแล้วที่มีความ ปรารถนา ได้นำ� พามนุษย์ไปสูก่ ารท�ำบาปและการละเมิด โดยที่มนุษย์ไม่ได้รับประโยชน์อันใดทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอานจึงกล่าวว่านั้นเป็นจุดลบส�ำหรับมนุษย์ 4. ขัดแย้งกับความจริง ِ ‫و َل َقدْ ص ْفنَا ِف َه َذا ا ْل ُقر‬ ِ ‫آن لِلن‬ َ ‫َّاس ِم ْن ك ُِّل َم َث ٍل َوك‬ ‫َان‬ َ ْ َّ َ ُ ‫اإلن َْس‬ ‫ش ٍء َجدَ ال‬ ْ َ ‫ان َأ ْك َث َر‬

“มนุษย์เป็นผู้เนรคุณต่อพระผู้อภิบาลของเขา อย่างยิ่ง” 78 “เมือ่ ทุกข์ภยั ประสบแก่มนุษย์ เขาจะร้องเรียกหา เรา [ในทุกสภาพ] จะนอนตะแคงอยู่ หรือนั่ง หรือยืน ก็ตาม เมือ่ เราปลดทุกข์ภยั ให้พน้ จากเขา เขาเดินผ่านไป ประหนึง่ ว่า ไม่เคยเรียกร้องหาเรา [ให้ขจัด] ทุกข์ภยั ที”่ 79 7. มนุษย์มีขีดความสามารถอยู่ในระดับต�่ำ َ ‫إِ َّن اإلن َْس‬ ‫ان ُخ ِل َق َه ُلو ًعا إِ َذا َم َّس ُه الشَُّّ َج ُزو ًعا‬ ْ ‫َوإِ َذا َم َّس ُه‬ ‫الَ ْ ُي َمنُو ًعا‬ “แน่นอน มนุษย์ถูกบังเกิดขึ้นมาให้เป็นคนหวั่น ไหวไร้ความอดทน เมื่อความทุกข์มาประสบ เขาจะไม่ แสดงความสุขุมคัมภีร์ภาพ แต่เมื่อคุณความดีประสบ เขาจะหวงแหน [แสดงความตระหนี่]” 80 8. มนุษย์เป็นผู้อธรรมผู้โฉดเขลายิ่ง 81 9. มนุษย์นั้นเป็นผู้โต้เถียง ยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด 82 10 . แน่นอน มนุษย์ถูกบังเกิดขึ้นมาให้เป็นคน หวั่นไหวไร้ความอดทน 83 11. เมือ่ ความทุกข์มาประสบ เขาจะไม่แสดงความ สุขุมคัมภีร์ภาพ 84 12. แต่เมื่อคุณความดีประสบ เขาจะหวงแหน [แสดงความตระหนี่] 85 สรุ ป มนุษย์เป็นผูม้ คี วามหวัน่ ไหวมาก หากมีภยั พิบตั เิ พียงเล็กน้อยมาประสบกับเขา เขาจะแสดงความ ไม่สุขุม และก่อการเนรคุณทันที ในทางตรงกันข้าม ถ้า หากเขาได้รบั ความโปรดปรานเพียงเล็กน้อย เขาจะแสดง ความตระหนี่และกีดกันคนอื่นทันที

“ในอัลกุรอานนี้ เราชีแ้ จงการอุปมาแต่ละชนิดส�ำหรับ ปวงมนุษย์ แต่มนุษย์นนั้ เป็นผูโ้ ต้เถียง ยิง่ กว่าสิง่ อืน่ ใด”76 โองการสาธยายว่า มนุษย์เป็นผู้พิพาท สร้าง ความขัดแย้งกับความจริงมากกว่าสิ่งอื่นใด ทั้งที่ทราบ เป็นอย่างดีวา่ นัน่ คือความจริง แต่เขาไม่ยอมปฏิบตั ติ าม 5. อธรรมและดื้อรั้น ِ ْ ‫ال إِ َّن‬ َ ‫الن‬ َّ ‫َك‬ ‫ْسان َل َي ْطغى‬ “มนุษย์เป็นผู้ละเมิดฝ่าฝืนเสมอ”77 การปฏิบตั ติ ามการปฏิเสธ และการละเมิดฝ่าฝืน ถือเป็นหนึง่ ความปรารถนาอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ซึง่ การท�ำตามความปรารถนาของตนนัน่ เอง ตลอดหน้า ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เราจึงเห็นการนองเลือด และ การหลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์จ�ำนวนมากมาย มนุษย์ถูกฆ่า สังหารไปเป็นจ�ำนวนมาก การอธรรมกดขีท่ มี่ ตี อ่ ชนชาติ ที่อ่อนแอกว่า มนุษย์ที่อธรรมตลอดหน้าประวัติศาสตร์ น่ าเกลียดหรื อความสวยงาม พวกเขาได้ทรมาน กลั่นแกล้ง และข่มเหงประชาชนกัน เป็นอย่างไร? ในทัศนะอัลกุรอาน มนุษย์เป็นคน อย่างถ้วนหน้า น่าเกลียดและสง่างาม หรือน่าเกลียดและน่าเกลียด หรือ 6. มนุษย์เป็นผู้เนรคุณ ว่าสง่างามและสง่างาม? ِ ِ َ ‫إِ َّن اإلن َْس‬ ‫ان ل َر ِّبه َل َكنُو ٌد‬ หรือว่ามนุษย์เป็นสิง่ มีชวี ติ เดียวในสองชะตากรรม

82

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ครึ่งหนึ่งเป็นนูรรัศมี และอีกครึ่งหนึ่งเป็นความมืดมิด? เป็นไปได้อย่างไรทีอ่ ลั กุรอานทัง้ สรรเสริญยกย่องมนุษย์ ไว้สงู สุด ขณะเดียวกันก็ตำ� หนิตเิ ตียนไว้ตำ�่ สุด ในความ เป็นจริงก็คือทั้งการสรรเสริญ และการต�ำหนิ ไม่ได้เป็น เพราะว่ามนุษย์โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มี 2 ชะตาชีวติ ครึ่งหนึ่งได้รับการยกย่องสรรเสริญ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งได้ รับการต�ำหนิติเตียน ทัศนะอัลกุรอานกล่าวว่า มนุษย์ โดยศักยภาพแล้วมีความสมบูรณ์ จ�ำเป็นต้องพัฒนา ให้เป็นจริง ซึ่งเป็นหน้าที่ของมนุษย์เอง ที่ต้องสร้าง ตนเอง เงือ่ นไขหลักของการไปถึงยังความสมบูรณ์ โดย ศักยภาพแล้วคือ อีมาน ตักวา การประกอบการดี และ ความพยายามในหนทางของพระเจ้า โดยผ่านสื่อทาง อีมาน ซึ่งมีความรู้ถือเป็นเครื่องมือ เพื่อขับออกจากจิต แห่งกิเลส ไปสู่เครื่องอันมีประโยชน์ ดังนัน้ มนุษย์ในความเป็นจริงคือ เคาะลิฟะตุลลอฮ์ สถานสุญูดของมะลาอิกะฮ์ ทุกสิ่งบนโลกนี้ถูกสร้างขึ้น มาเพื่ออ�ำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ ในความหมายคือ ผู้ ที่มีความสมบูรณ์สูงสุดคือ มนุษย์ หมายถึงมนุษย์ที่ถูก เติมเต็มด้วยความศรัทธา มิใช่มนุษย์ทปี่ ราศจากอีมาน มีขอ้ ต�ำหนิและไม่สมบูรณ์ อย่างนีเ้ รียกว่ามนุษย์มคี วาม โลภ อิจฉาริษยา ชอบการนองเลือด ตระหนี่ ปฏิเสธ มี

ความเลวร้ายยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน อัลกุรอานมีหลายโองการทีก่ ล่าว่า มนุษย์ ทีไ่ ด้รบั การสรรเสริญยกย่องนัน้ เป็นมนุษย์เช่นไร และมนุษย์ทไี่ ด้ รับการต�ำหนิตเิ ตียนเป็นอย่างไร และจากโองการนีเ้ ข้าใจ ได้วา่ มนุษย์ทขี่ าดอีมาน และแยกออกจากพระเจ้า มิใช่ มนุษย์ทแี่ ท้จริง มนุษย์ทแี ท้จริงคือ มนุษย์ทมี่ อี มี าน เมือ่ ร�ำลึกถึงอัลลอฮ์ แล้วจิตใจของเขาอิม่ เอิบเบิกบาน และ มีความสงบ ทัง้ หมดคือองค์ประกอบของความสมบูรณ์ ถ้ามนุษย์เหินห่างจากพระเจ้า ก็เปรียบเสมือนต้นไม้ท่ี ถูกตัดออกจากราก ดังเช่น อัลกุรอานว่า ِ ْ ‫ص ـ إِ َّن‬ ٍ ْ ‫ْسان َل ِفي ُخ‬ ِ ْ ‫ـ َو ا ْل َع‬ َ ‫الن‬ ‫س ـ إِالَّ ا َّل ِذي َن آ َمنُوا َو‬ ِ ِ ِ ‫الص ْب‬ َّ ِ‫َواص ْوا ب‬ َ ‫ال ِّق َو ت‬ َ ‫الصالات َو ت‬ َّ ‫َعم ُلوا‬ َ ْ ِ‫َواص ْوا ب‬ “ขอสาบานด้วยกาลเวลา มนุษย์อยูใ่ นการขาดทุน นอกจาก บรรดาผู้ศรัทธาที่ประกอบการดี ตักเตือนซึ่ง กันและกันในสิ่งที่เป็นสัจธรรม ตักเตือนซึ่งกันและกัน ในความอดทน”86 ِْ ‫ل َهن َ​َّم كَثِري ًا ِم َن‬ ِ ْ ‫ال ِّن َو‬ ِ ‫الن‬ ‫وب‬ ٌ ‫ْس َل ُ ْم ُق ُل‬ َ ِ ‫ـ َو َل َقدْ َذ َر ْأنا‬ ِ َ ‫ال َي ْف َق ُه‬ َ ‫ص‬ ٌ ‫ون ِبا َو َل ُ ْم‬ ‫آذان‬ ٌ ُ ‫ون ِبا َو َل ُ ْم َأ ْع‬ ُ ‫ي ال ُي ْب‬ ِ ‫ون ِبا ُأ‬ ْ ‫ولئ َك ك‬ َ ‫ال َي ْس َم ُع‬ .‫َالَنْعا ِم َب ْل ُه ْم َأ َض ُّل‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

83


“เราบังเกิดหมู่ญินและมนุษย์ จ�ำนวนมากมาย ส�ำหรับนรก [เนื่องด้วย] พวกเขามีหัวใจ [สติปัญญา] แต่ไม่ทำ� ความเข้าใจ พวกเขามีตาแต่พวกเขาไม่ใช้มอง พวกเขามีหแู ต่พวกเขาไม่ใช้ฟงั ชนเหล่านีป้ ระหนึง่ ปศุสตั ว์ ใช่แต่เท่านั้น พวกเขายังหลงผิดยิ่งกว่า 87

สูงส่ง และมีกะรอมัต, วิสัยทัศน์ของเขาไม่มีสีและแรง จูงใจจากธรรมชาติ และวัตถุปัจจัย, มนุษย์มีสิทธิใช้ ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระเจ้า ตามที่ถูก ประทานแก่เขา แต่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าเขา มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ

มนุษย์ มีหลายมิติ จากสิง่ ทีก่ ล่าวมาเป็นทีช่ ดั เจนว่า มนุษย์มสี ว่ นร่วม คล้ายกับทุกสรรพสิง่ ทีม่ ชี วี ติ ขณะเดียวกันก็มคี วามต่าง อย่างใหญ่หลวงกับสิง่ เหล่านัน้ มนุษย์คอื สรรพสิง่ หนีง่ ที่ มีทั้งกายวัตถุและจิตวิญญาณ แม้ว่ามนุษย์จะมีความ คล้ายกับสรรพสิง่ มีชวี ติ อืน่ มากมาย แต่มคี วามแตกต่าง อันลุ่มลึกกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแต่ละสิ่งเหล่านั้นจะมีมิติที่ ต่างกันออกไป และรากที่มาของความแตกต่าง ขึ้นอยู่ กับการรูจ้ กั พระเจ้าของพวกเขา ดังสรุปได้ใน 3 ประการ 1. ระดับของการรับรู้ และการค้นพบโลก และตัวเอง 2. มิตขิ องการความดึงดูดต่างๆ ทีร่ ายล้อมมนุษย์อยู่ 3. มิตขิ องคุณภาพภายใต้ความดึงดูดต่างๆ และ การเลือกสรร

เชิงอรรถ

สรุป จากสิง่ ทีก่ ล่าวมา ในมุมมองของคัมภีรก์ รุ อาน มนุษย์คือ สิ่งถูกเลือกสรรจากพระเจ้า ให้เป็นตัวแทน ของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน, ครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องของจิต วิญญาณ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นเรื่องของรูปพรรณสัน ฐาน มีธรรมชาติที่เรียกร้องการรู้จักพระเจ้า, รู้พระเจ้า มีอิสระ, มีความสัตย์ในอามานะฮ์ของพระเจ้า, มีความ รับผิดชอบต่อตนเอง และโลก, มีความเชี่ยวชาญเหนือ ธรรมชาติ แผ่นดิน และท้องฟ้า, ได้รับแรงบันดาลใจทั้ง ความดีและความชั่ว, การด�ำรงอยู่ของเขาเริ่มต้นจาก ความอ่อนแอ และพัฒนาไปสู่ความแข็งแรง และความ สมบูรณ์แบบเพิ่มขึ้นและสูงขึ้นไป, มนุษย์จะไม่เงียบ สงบยกเว้นได้รำ� ลึกถึงอัลลอฮ์, ศักยภาพทางความรูไ้ ม่มี ขีดจ�ำกัด, ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์มีความประเสริฐ

84

1- อันนะฮฺลุ / 89 2- นิซาอฺ / 59 3- ฮิจญฺ 9 4- ยูซุฟ / 31 5- ฮิจญฺรฺ / 28 6- ฮิจญิรฺ / 29 7- บ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นกลุม่ ก้อนจากเหล่าสมาชิก ให้ความหมายว่ารวมกัน แต่ค�ำที่มาจากประเภทเดียวกันนี้ จะไม่มีเอกพจน์ เช่น ค�ำว่า นิซาอ์ หมายถึงบรรดาสตรี ซุยูฏีย์ ญะลาลุดดีน อัลบะฮฺญะตุล มัรฎียะฮฺ เล่ม 1 หน้า 129 8- อาลิอิมรอน / 9 9- อันนาส / 1 10- อัลบะยาน ฟี ตักซีรกุรอาน เล่ม 3 หน้า 117 11- อาลิอิมรอน / 46 12- ตัฟซีร ยามิอ์ เล่ม 1 หน้า 432-433 13- อะอฺรอฟ / 172 14- มัจญฺมะอุลบะยาน เล่ม 4 หน้า 765, 766 15- ฮิจญฺรฺ / 33 16- อัลอิสรอ /70 17- อะลัก 3-5 18- อันบิยาอฺ 19- ชัมซ์ 8 20- อัลกะฮฺฟิ 29 21- อาลิอิมรอน 185 22- อันบิยาอฺ 34 23- อันนะฮฺลุ 24- อัตตะกาซุร 1 25- อัลฮุมะซะฮฺ 2-3 26- อัลกะฮฺฟิ 109

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


27- ลุกมาน 27 28- ชุอฺอะรอ 128, 129 29- อัลฟุรกอน 69 30- อัลฟุรกอน 69 31- อัลอิสรอ /70 32- ตัฟซีร อัลมีซาน (ซูเราะฮฺ อิสรอ โองการ 70) 33- อัลบะเกาะเราะฮฺ 47 34- อัลอันอาม 86 35- อันนะฮฺลุ 14 36- ลุกมาน 20 37- ญิน 11 38- ญิน 14 39- ญิน 1,2 40- บะเกาะเราะฮฺ 34 41- อันบิยาอฺ 26, 26 42- อิงฟิฏอร 10-12 43- ดร. อะฮฺมัด เบเฮชตีย์ อินซานดัรกุรอาน 44- มุอฺมิน 14 45- เราะอฺดุ 16 46- วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 11, หน้า 164 (มีค�ำต่างกัน เล็กน้อย) 47- ฮิจญฺร์ 29 48- กะรอมัต ดัร กุรอาน หน้า 98, 99 49- อินซาน 2 50- อัรเราะฮฺมาน 4 51- กิยามัต 14 52- อัลอะลัก 5 53- อาลิอิมรอน 191 54- ตัฟซีรมีซาน ตอนอธิบายโองการดังกล่าว 55- อัซซัจญฺดะฮฺ 7-9 56- ฏอฮา 120, 121 57- อัลอะฮฺซาบ 72 58- อิสรอ 70 59- อะอฺรอฟ 35 60- บะเกาะเราะฮฺ 34 61- บะเกาะเราะฮฺ 30 62- อัชชัมซ์ 8-9

63- อัรเราะอฺดุ 28 64- อัลอิงชิกอก 6 65- บะเกาะเราะฮฺ 29 66- อัลญาซียะฮฺ 13 67- อัรเราะฮฺมาน 10 68- อัลอิสรอ 11 69- อัซซาริยาต 56 70- ฮัชรฺ 19 71- ก๊อฟ 22 72- อัตเตาบะฮฺ 72 73- อัลอิสรอ 11 74- อัลอิสรอ 100 75- อันนัจมุ 24 76- อัลกะฮฺฟิ 54 77- อัลอะลัก 6 78- อาดิยาต 6 79- ยูนุส 12 80- มะอาริจญฺ 19-21 81- อัลอะฮฺซาบ 72 82- อัลกะฮฺฟิ 54 83- มะอาริจญฺ 19 84- มะอาริจญฺ 20 85- มะอาริจญฺ 21 86- อัสรฺ 87- อะอฺรอฟ 179

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

85


อัลกุรอาน กับการพัฒนา

บทความโดย เชคซอลิฮ์ ภู่มีสุข

จิตวิญญาณ

ของมนุษย์ นิยาม

นัฟส์ (จิตวิญญาณ) ในการใช้ส�ำนวนภาษาของ กุรอานทีป่ รากฏอยูใ่ นหลายโองการ บ่งชีถ้ งึ “รูห”์ ตัวตน และสารัตถะทีแ่ ท้จริงของมนุษย์ อาทิเช่น โองการที่ ๙๗ บทอันนิสาอ์ กล่าวว่า ّ ‫ان ا ّلذین ت َ​َو َّفاهم ا َمل َل ِئک ُة َظالِی َان ُفسهم‬

ِ َ ‫َاهللُ َیت َ​َو َّفی االَن ُف َس ِح‬ ‫وتا‬ َ ‫نی َم‬

“อัลลอฮ์จะทรงเก็บวิญญาณเมื่อมันสิ้นชีวิต” และในโองการที่ ๒๗ บทอัลฟัจร์ กล่าวว่า ‫طم ِئنَّ ُة‬ ُ ‫َیا َأیَّ ت َُها الن‬ َ ‫َّفس ا ُمل‬

“โอ้ ดวงจิตที่สงบแล้วเอ๋ย” ในขณะเดียวกัน กุรอานได้ใช้สำ� นวนหลากหลาย “เหล่าผู้ที่ทวยเทพเก็บวิญญาณของพวกเขาใน เพือ่ เรียกจิตวิญญาณในขัน้ ตอนและสภาวะต่างๆ ของมัน สภาพที่พวกเขาอธรรมต่อตนเอง” อาทิเช่น ‫ – َقلب‬หัวใจ, ‫ َعقل‬- ปัญญา, ‫ – َصدر‬หัวอก, โองการที่ ๔๒ บทอัซซุมัร กล่าวว่า ‫لب َس ِل ٌم‬ ٌ ‫ َق‬- หัวใจที่เป็นปกติ เป็นต้น 86

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


การให้ ความส�ำคัญของกุรอาน ต่ อการขัดเกลาและพัฒนาจิตวิญญาณ การพัฒนาจิตวิญญาณได้รับการกล่าวถึงใน กุรอานในฐานะ “การขัดเกลา - ‫کیة‬ ّ ‫ ”تز‬ซึ่ งในทาง ภาษามาจากรากศัพท์ที่หมายถึง “การท�ำให้เติบโต” หลังจากนั้นได้ถูกน�ำมาใช้ในความหมาย “การท�ำให้ จิตใจผ่องแผ้วจากความเสื่อมทางจริยะและตัณหา”1 เนื่องจากการกระท�ำดังกล่าวเป็นที่มาของความเติบโต และความสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งในแง่ของ มรรคผลและคุณูปการที่มีต่อมนุษย์นั้น การขัดเกลา จิตจึงกลายเป็นกระบวนการที่ได้รับความสนใจและให้ ความส�ำคัญเป็นพิเศษจากทุกกลุ่มชนและทุกศาสนา ใหญ่ๆ ของโลก อาทิเช่น ศาสนิกชนในศาสนายูดาย คริสต์ และโซโรแอสเตอร์ต่างให้ความส�ำคัญต่อการ ขัดเกลาจิตวิญญาณเช่นกัน ดังที่กุรอานได้กล่าวถึง การขั ด เกลาจิ ต ใจของพวกเขาด้ ว ยการกระท� ำ บาง อย่าง เช่นในโองการที่ ๑๑๔ บทอาลิอิมรอน ได้กล่าว ถึงการอ่านพระคัมภีร์และการประกอบศาสนกิจยาม ค�่ำคืนของชาวคัมภีร์ที่เคร่งครัด

ِ ‫ون آی‬ ِ ِ ‫هل الکت‬ ِ ‫َلیسوا َس َوآ ًء ِّمن َا‬ ‫ات‬ َ َ ‫َاب ُأ َّم ٌة قآئم ٌة َیت ُل‬ ِ ‫اهللِ ءانَآ َء ال‬ ‫سجدون‬ ُ ‫َّیل و هم َی‬

“พวกเขาไม่เหมือนกันทั้งหมด บางคนจากชาว คัมภีรย์ นื หยัด (ในความจริงและการมีศรัทธา) อ่านพระ วาจาของพระเจ้าในยามค�ำ่ คืนเป็นนิจสิน ในขณะทีพ่ วก เขากราบกราน” ในโองการที่ ๑๗ บทมัรยัม กล่าวถึงการปลีกวิเวก เพื่อการบ�ำเพ็ญตะบะและขัดเกลาจิตใจ ِ ‫و اذکُر فی‬ ِ ‫الکت‬ ‫َاب َمر َی َم اِ ِذ ان َت َب َذت‬ َ ِ ‫ِمن َا‬ ‫هل َها َمکانًا َش ِق ًّیا‬ “จงร�ำลึกถึงมัรยัมในคัมภีร์นี้ เมื่อครั้งที่นางแยก ตัวจากครอบครัวมาปลีกวิเวกในบริเวณตะวันออก (ของ บัยตุลมักดิส)” และในโองการที่ ๒๗ บทอัลหะดีด กล่าวถึง การสละโลกและเลื อ กการเป็ น นั ก พรตนั ก บวชของ คริสตศาสนิกชน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

87


‫َو َج َعلنَا فی ُق ُلوب الذی َن ا َّت َب ُعو ُه َرأ َف ًة‬ ‫و رمح ًة و َره َبانِیَّ ًة ابتَدَ ُعوها ما کتَبنَاها َعلیهم‬ ِ ‫إِلَّ ابتِ َغآء ِرضو‬ ِ‫ان اهلل‬ َ َ

“และเราได้บนั ดาลให้มคี วามรักและความเมตตา ขึน้ ในหัวใจของผูป้ ฏิบตั ติ ามเขา (อีซา) รวมทัง้ การครอง ตนเป็นนักบวชที่พวกเขาประดิษฐ์มันขึ้นมาเองด้วยจุด ประสงค์เพือ่ หวังความพึงพอพระทัยของอัลลอฮ์ โดยทีเ่ รา มิได้กำ� หนดให้เป็นข้อบังคับเหนือพวกเขาแต่อย่างใด...” ส่วนในศาสนาอิสลามนัน้ ได้ให้ความส�ำคัญเป็น พิเศษในการขัดเกลาจิตใจและการซักฟอกศาสนิกชนข องตนให้ผ่องแผ้วจากความแปดเปื้อนของการปฏิเสธ พระเจ้าและการท�ำบาป และความโสมมทางจริยะ ดัง จะเห็นได้จากกรณีต่างๆ ต่อไปนี้ ๑) การขัดเกลาคือเป้าหมายของการส่งศาสดา มายังมนุษยชาติ กุรอานในโองการที่ ๑๕๑ บทอัลบา กอเราะฮ์ ได้กล่าวกับมุสลิมว่า ‫ك َ​َم َأ ْر َس ْلنَا فِيك ُْم َر ُسوالً ِّمنك ُْم َي ْت ُلو‬ ‫َع َل ْيك ُْم آ َياتِنَا َو ُي َزكِّيك ُْم‬ 88

“ในท�ำนองเดียวกันกับที่เราได้ส่งศาสนทูตหนึ่ง จากหมูข่ องพวกเจ้าไปอยูใ่ นหมูพ่ วกเจ้า เพือ่ อ่านโองการ ของเราแก่พวกเจ้า และขัดเกลาพวกเจ้าให้ผ่องแผ้ว...” ในโองการที่ ๑๖๔ บทอาลิอิมรอน กุรอานถือว่า การส่งศาสดามาเพือ่ ขัดเกลามนุษย์นนั้ เป็นบุญคุณอัน ใหญ่หลวงของพระเจ้า ِ ‫َل َقدْ من اللُّ َع َل ا ُْل‬ ‫ني إِ ْذ َب َع َث فِ ِيه ْم َر ُسوالً ِّم ْن‬ َ ِ‫ؤمن‬ َّ َ ِ ‫َأن ُف ِس ِه ْم َي ْت ُلو َع َل ْي ِه ْم آ َياتِ ِه َو ُي َزك‬ ‫ِّيه ْم‬

“อัลลอฮ์ทรงโปรดประทานความเมตตาอันใหญ่ หลวงแก่เหล่าศรัทธาชน เมือ่ ครัง้ ทีพ่ ระองค์ทรงส่งศาสน ทูตหนึ่งจากหมู่ของพวกเขาไปอยู่ในหมู่พวกเขา เพื่อ อ่านโองการของพระองค์แก่พวกเขา และขัดเกลาพวก เขาให้ผ่องแผ้ว...” และในโองการที่ ๑๒๙ บทอัลบากอเราะฮ์ ศาสดา อิบรอฮีม (อ) และอิสมาอีล (อ) ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่สอง ท่านของพระเจ้า ได้วอนขอให้พระองค์ทรงส่งศาสดา มาขัดเกลาสายตระกูลและทายาทในอนาคตของตนให้ ผ่องแผ้วจากความแปดเปือ้ นและความเสือ่ มเสียทัง้ ปวง

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


ً ‫َر َّبنَا َوا ْب َع ْث فِ ِيه ْم َر ُس‬ ‫ول ِّمن ُْه ْم َي ْت ُلو َع َل ْي ِه ْم آ َياتِ َك‬ ِْ ‫ويع ِّلمهم ا ْل ِكتَاب و‬ ِ ‫الك َْم َة َو ُي َزك‬ ‫ِّيه ْم‬ َ َ ُ ُ​ُ ََُ

ِ ‫الش ْم‬ َّ ‫َو‬ ‫اها‬ َ ‫س َو ُض َح‬

ขอสาบานด้วยดวงอาทิตย์และการแผ่ออกไป ของแสงของมัน “ข้าแต่พระผู้อภิบาล โปรดทรงส่งศาสนทูตหนึ่ง ‫َالها‬ َ ‫َوا ْل َق َم ِر إِ َذا ت‬ จากหมูข่ องพวกเขาไปอยูใ่ นหมูพ่ วกเขา เพือ่ อ่านโองการ ของพระองค์แก่พวกเขา สอนคัมภีรแ์ ละวิทยปัญญาแก่ ขอสาบานด้วยดวงจันทร์เมื่อโคจรมาหลังดวง พวกเขา และขัดเกลาพวกเขาให้ผ่องแผ้ว...” อาทิตย์ จากประมวลโองการข้างต้น สามารถกล่าวได้ ِ ‫َوالن َ​َّه‬ ‫ار إِ َذا َجال َ​َّها‬ ว่าการขัดเกลาจิตใจถือเป็นเป้าหมายส�ำคัญทีส่ ดุ ประการ ขอสาบานด้วยยามกลางวันเมื่อท�ำให้พ้ืนโลก หนึ่งของศาสดาทุกท่าน สว่างไสว ๒) ความรอดพ้นและชัยชนะบัน้ ปลายของมนุษย์ ‫اها‬ َ ‫َوال َّل ْي ِل إِ َذا َي ْغ َش‬ ขึน้ อยูก่ ารขัดเกลาจิต การบรรลุถงึ ความส�ำเร็จทีแ่ ท้จริง อันเป็นนิรนั ดร์ในปรโลกถื อเป็นหนึง่ ในเป้าหมายสูงสุด ขอสาบานด้วยยามค�่ำคืนเมื่อปกคลุมพื้นโลก ของศรัทธาชน ซึ่งกุรอานได้เผยให้รู้ว่าหนทางในการไป ‫َاها‬ َ ‫َوالس َ​َّمء َو َما َبن‬ ถึงซึง่ เป้าหมายดังกล่าวนัน้ ได้แก่ การต่อกรกับอารมณ์ ขอสาบานด้วยแผ่นฟ้าและพลังที่เป็นโครงสร้าง ปรารถนาของจิตทีส่ วนทางกับปัญญาและศาสนา ดังที่ ของมัน กุรอานในบทอัลอะอ์ลา โองการที่ ๑๔ ได้กล่าวว่า ِ ‫َواألَ ْر‬ ‫اها‬ َ ‫ض َو َما َط َح‬ ‫َقدْ َأ ْف َل َح َمن ت َ​َزك َّٰى‬ ขอสาบานด้วยแผ่นดินและพลังที่แผ่ขยายมัน “ผู้ที่ใฝ่หาความผ่องแผ้วและขัดเกลาตนย่อม ٍ ‫َو َن ْف‬ ‫س َو َما َس َّو َاها‬ มีชัยอย่างแน่นอน”

ในโองการที่ ๑ และ ๔ บทอัลมุอม์ นิ นู กุรอานถือว่า ขอสาบานด้วยดวงจิตและสิ่งที่ท�ำให้มันสมดุลย์ ศรัทธาชนที่บากบั่นในการขัดเกลาจิตใจคือผู้รอดพ้น ‫ور َها َو َت ْق َو َاها‬ َ ‫َف َأ ْل َ َم َها ُف ُج‬ และได้รับชัยชนะ แล้ ว พระองค์ ท รงดลให้ มั น รู ้ ผิ ด ชอบชั่ ว ดี ِ ‫َاة َف‬ ِ ‫ وا َّل ِذين هم لِ َّلزك‬.... ‫ُون‬ ِ ‫َقدْ َأ ْف َلح ا ُْل ْؤ‬ َ ‫اع ُل‬ َ ‫ون‬ ‫ن‬ ‫م‬ َ َ ْ ُ َ (บทอัชชัมส์, โองการที่ ๑-๘) “ศรัทธาชนได้รับชัยชนะแล้ว... พวกเขาคือผู้ที่ พระเจ้าทรงสาบานด้วยสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เห็น ปฏิบตั ใิ นเรือ่ งของซะกาต” ซึง่ ค�ำว่า “ซะกาต” ในโองการ ความส�ำคัญและเผยกับมนุษย์ว่า ความรอดพ้นและ นี้ครอบคลุมทั้งเรื่องการจ่ายซะกาตทรัพย์สินและการ ชัยชนะที่แท้จริงอยู่ใน “ความเป็นมนุษย์” อันเกิดจาก ขัดเกลาจิตใจ การขัดเกลาตนเท่านั้น แต่เนื่องจากมนุษย์มักจะไม่เชื่อว่าความผาสุก ‫َّاها‬ َ ‫اها َقدْ َأ ْف َل َح َمن َزك‬ َ ‫اب َمن َد َّس‬ َ ‫َو َقدْ َخ‬ และชัยชนะที่แท้จริงอยู่ในการขัดเกลาจิตใจ แต่อยู่ใน “ผู้ที่ขัดเกลาจิตให้ผ่องแผ้ว ย่อมมีชัย และผู้ที่ ทรัพย์ ต�ำแหน่งฐานะ ชื่อเสียง ฯลฯ ดังนั้น พระเจ้าจึง ท�ำให้ดวงจิตของตนแปดเปือ้ นด้วยการท�ำบาปย่อมสิน้ ทรงน�ำสิง่ สร้างต่างๆ ของพระองค์มาสาบานถึง ๑๑ครัง้ หวัง (และหมดโอกาสทีจ่ ะบรรลุถงึ ความสมบูรณ์ทางจิต

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

89


วิญญาณได้)” (บทอัชชัมส์, โองการที่ ๙-๑๐) ๓) การเรียงล�ำดับการขัดเกลาจิตใจไว้ก่อนหน้า การสอนองค์ความรู้ กุรอานได้กล่าวถึงการขัดเกลาจิตใจ ควบคู่ไปกับการสอนคัมภีร์และสารธรรมในฐานะพันธ กิจส�ำคัญของบรรดาศาสดาไว้ในสี่โองการ โดยกล่าว ถึงการขัดเกลาเป็นล�ำดับแรกไว้ในสามโองการต่อไปนี้ ِ ِ ‫كم َة‬ َ ‫َو ُي َزكّيكُم َو ُي َع ِّل ُمك ُ​ُم الك‬ َ ‫تاب َواحل‬

กล่าวเกิดขึน้ ได้โดยปราศจากการสัง่ สอนและเรียนรูแ้ ล้ว ก็ไม่มคี วามจ�ำเป็นต้องมีการสัง่ สอนของศาสดา ในขณะ เดียวกันความรูท้ ไี่ ด้จากการสัง่ สอนของศาสดานัน้ หาก ปราศจากการขัดเกลา ก็จะเป็นเสมือนการบรรทุกต�ำรา ไว้บนหลังสัตว์เท่านั้น ِْ ‫كَم َث ِل‬ ‫ي ِم ُل َأ ْس َف ًارا‬ ْ َ ‫ال َم ِر‬ َ

“และสอนคัมภีรแ์ ละวิทยปัญญาแก่พวกเขา และ ขัดเกลาพวกเขาให้ผอ่ งแผ้ว เพราะพระองค์ทรงยิง่ ใหญ่ (ไม่มีสิ่งใดพิชิตพระองค์ได้) และทรงปรีชาญาณ” (บท อัลบากอเราะฮ์, โองการที่ ๑๒๙) การกล่าวถึงการขัดเกลาเป็นล�ำดับแรกในที่นี้ไม่ ได้มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการและขั้นตอนในการ ปฏิบัติหน้าที่ของศาสดาที่เกิดขึ้นจริง แต่เกี่ยวข้องกับ ล�ำดับความส�ำคัญของการขัดเกลาจิตใจ กล่าวคือ การ ทุม่ เทและการสัง่ สอนทัง้ หมดของศาสดาเป็นการปูทาง และบทน�ำไปสู่การขัดเกลาจิตใจ ซึ่งหากเป้าหมายดัง

ได้เผยถึงปัจจัยดังกล่าวทั้งในโลกภายนอกและภายใน ตัวมนุษย์ที่ต่างมีบทบาทในการขัดเกลาของมนุษย์ทั้ง สิ้น อาทิเช่น ความช่วยเหลือของพระเจ้า ปัจจัยทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ใน การขัดเกลาของมนุษย์ ได้แก่ การช่วยเหลือของพระเจ้า และการตระเตรียมปัจจัยและสื่อที่จ�ำเป็นในการนี้ของ พระองค์ ซึ่งหากปราศจากการช่วยเหลือและความ เมตตาของพระองค์ในเรื่องนี้แล้ว จะไม่มีมนุษย์คนใด สามารถขัดเกลาตนให้ผ่องแผ้วได้เลย

“พวกเขาประหนึง่ ลาแบกคัมภีร”์ (บทอัลญุมอะฮ์, َ ‫َو ُي َع ِّل ُمكُم ما َل تَكونوا تَع َل‬ โองการที่ ๕) ‫مون‬ จากความส�ำคัญและความจ�ำเป็นของการขัดเกลา “และขัดเกลาพวกเจ้าให้ผอ่ งแผ้ว และสอนคัมภีร์ และวิทยปัญญาแก่พวกเจ้า และสอนพวกเจ้าในสิง่ ทีพ่ วก จิตใจดังกล่าวข้างต้น กุรอานจึงก�ำชับศรัทธาชนถึงความ เจ้าไม่สามารถรูไ้ ด้” (บทอัลบากอเราะฮ์, โองการที่ ๑๕๑) จ�ำเป็นของการยืนหยัดในการขัดเกลาจิตใจให้ผอ่ งแผ้วว่า ِْ ‫ِّيهم ويع ِّلمهم ا ْل ِكتَاب و‬ َ ‫َيا َأ ُّ َيا ا َّل ِذي َن آ َمنُوا َع َل ْيك ُْم َأن ُف َسك ُْم‬ ‫ض‬ ‫ي‬ ‫ل‬ ‫ن‬ ‫م‬ ‫ُم‬ ‫ك‬ ُ ِ َ ْ َ ْ ُّ ‫الك َْم َة‬ ‫ك‬ ‫ز‬ ‫ي‬ ‫و‬ َ َ َ َُ ُ ُ​ُ ََُ ْ ٍ ‫َوإِن كَانُو ْا ِمن َق ْب ُل َل ِفي َض‬ ‫َض َّل إِ َذا ْاهتَدَ ْيت ُْم‬ ٍ ِ‫الل ُّمب‬ ‫ني‬ “โอ้ บรรดาผูศ้ รัทธา จงเฝ้าระวังตนเถิด หากพวกจ้า “และขัดเกลาพวกเขาให้ผอ่ งแผ้ว และสอนคัมภีร์ และวิทยปัญญาแก่พวกเขา แม้วา่ ก่อนหน้านีพ้ วกเขาจะ ได้รบั ทางน�ำแล้ว ความหลงผิดของผูห้ ลงผิดย่อมจะไม่ให้ อยู่ในความหลงผิดอันชัดแจ้งก็ตาม” (บทอาลิอิมรอน, โทษใดๆ แก่พวกเจ้า” (บทอัลมาอิดะฮ์, โองการที่ ๑๐๕) โองการที่ ๑๖๔ และ บทอัลญุมอะฮ์, โองการที่ ๒) และกล่าวถึงการสอนคัมภีร์และองค์ความรู้เป็น ปั จจัยและองค์ ประกอบของการขัดเกลาจิตใจ เนือ่ งจากความส�ำคัญอย่างยิง่ ยวดของการขัดเกลา ล�ำดับแรกไว้ในอีกโองการหนึ่ง จิตใจ ปัจจัยหลากหลายประการจึงได้รบั การตระเตรียม ِ ‫الكتاب و‬ ِ ‫ويع ِّلمهم‬ ِ ‫كم َة َو ُي َزك‬ ‫ّيهم‬ ‫احل‬ َ َ ُ َ ُ َ َ ُ ُ ไว้สำ� หรับมนุษย์เพือ่ ผลักดันและส่งเสริมให้มนุษย์ประสบ ِ ‫كيم‬ َ ‫إن ََّك َأ‬ ُ ‫نت ال َع‬ ُ ‫حل‬ َ ‫زيز ا‬ ความส�ำเร็จในภารกิจอันส�ำคัญและจ�ำเป็นยิง่ นี้ กุรอาน

90

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559


‫ح ُت ُه َما َزك َٰى ِمنكُم ِّم ْن‬ َ ْ ‫َو َل ْو َل َف ْض ُل اللَِّ َع َل ْيك ُْم َو َر‬ ِ ِ ٍ ِ ‫يم‬ ٌ ‫َأ َحد َأ َبدً ا َو َٰلك َّن اللََّ ُي َزكِّي َمن َي َشا ُء َواللَُّ َسم‬ ٌ ‫يع َعل‬ “หากมิใช่เพราะความโปรดปรานและความเมตตา ของอัลลอฮ์ตอ่ พวกเจ้าแล้ว ย่อมไม่มใี ครจากพวกเจ้าจะ ขัดเกลาตนได้สกั คน แต่อลั ลอฮ์ทรงขัดเกลาผูท้ พี่ ระองค์ ทรงประสงค์ และอัลลอฮ์เป็นผูท้ รงได้ยนิ และผูท้ รงรอบรู”้ (บทอันนูร, โองการที่ ๒๑) อัลลอฮ์ได้ทรงปูทางและทรงตระเตรียมปัจจัย ในการขัดเกลาไว้ให้มนุษย์อย่างพร้อมสรรพ อาทิเช่น พระองค์ทรงส่งบรรดาศาสดาและผูน้ ำ� ทางมาเพือ่ ท�ำให้ มนุษย์ได้รจู้ กั และคุน้ เคยกับสารธรรมของศาสนาและเพือ่ ขัดเกลาพวกเขาให้ผอ่ งแผ้ว, คัมภีรก์ รุ อาน, โอกาสในการ ขอลุแก่โทษของมนุษย์และการยอมรับการสารภาพผิด, ศาสนกิจและกุศลกรรมต่างๆ ตามศาสนบัญญัติ ฯลฯ อนึ่ง การขัดเกลาของอัลลอฮ์ในโองการข้างต้น นัน้ จะครอบคลุมเฉพาะผูท้ มี่ คี วามพร้อมในการขัดเกลา และร้องขอการขัดเกลาจากพระองค์เท่านัน้ ซึง่ ประโยค ِ ِ ที่ว่า “‫يم‬ ٌ ‫ َواللَُّ َسم‬- และอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงได้ยิน ٌ ‫يع َعل‬ และผู้ทรงรอบรู้” ได้บ่งชี้ถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี กล่าวคือ อัลลอฮ์ทรงได้ยนิ การร้องขอของผูท้ ปี่ รารถนาจะขัดเกลา

และทรงล่วงรู้ถึงผู้ที่มีความพร้อมในการขัดเกลานั้น ส่วนผู้ที่หันหลังให้กับศาสนาและความศรัทธา และก้าวเดินอยู่ในวิถีของการปฏิเสธนั้น จะไม่ได้รับ อานิสงก์จากการขัดเกลาของอัลลอฮ์ดังกล่าว ِ ِ ِ ‫وب ْم‬ ُ َ ‫ُأو َلئ َك ا َّلذي َن َل ْ ُي ِرد اللَُّ َأ ْن ُي َط ِّه َر ُق ُل‬

“พวกเหล่านี้คือผู้ที่อัลลอฮ์มิทรงประสงค์ที่จะ ขัดเกลาหัวใจของพวกเขา...” (บทอัลมาอิดะฮ์, โองการ ที่ ๔๑) ซึ่งการปฏิเสธ, การกลับกลอก, การฝ่าฝืน, การ ท�ำบาป รวมทั้งชัยฏอนนั้น ถือเป็นอุปสรรคขวางกั้น มิให้มนุษย์ได้รับการเติบโตทางจิตวิญญาณและการ ขัดเกลาจิตใจ ความเกรงกลัวพระเจ้าในหัวใจมนุษย์ คือปัจจัย ส�ำคัญอีกประการหนึง่ ทีส่ ามารถยับยัง้ จิตไม่ให้ปรารถนา ในสิง่ ทีส่ วนทางกับปัญญาและค�ำสัง่ ของศาสนาและออก ห่างจากการท�ำบาปได้ ดังที่กุรอานกล่าวว่า * ‫اف َم َقا َم َر ِّب ِه َو َنَى النَّ ْف َس َع ِن ْال َ َوى‬ َ ‫َو َأ َّما َم ْن َخ‬ ‫النَّ َة ِه َي ا َْل ْأ َوى‬ َ ْ ‫َفإِ َّن‬

“และผู้ที่เกรงกลัวสถานภาพของพระผู้อภิบาล ของเขา และยับยั้งจิตจากความปรารถนา (ที่สวนทาง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 37 No. 1 JANUARY - APRIL 2016

91


กับปัญญาและศาสนา) สวรรค์ย่อมเป็นที่พ�ำนักของ จิตใจ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) กล่าวว่า ِ ِ ِ เขาอย่างแน่นอน” (บทอันนาซิอาต, โองการที่ ๔๐-๔๑) ‫لم َما َل َیع َل ُم‬ َ ‫َمن َعم َل َب َم َعل َم َو َر َث َه اهللُ ع‬ “ผู้ใดปฏิบัติตามสิ่งที่รู้มา อัลลอฮ์จะทรงให้เขา ในการสร้ างตนและการขัดเกลาจิต เข้าใจสิ่งที่เขาไม่รู้”5 เราจะเริ่มต้ นที่ไหน? หะดีษบทนี้สอดคล้องกับโองการกุรอานที่ว่า ในทีน่ จี้ ะน�ำเสนอเพียงภาพรวมของการขัดเกลา ِ ‫اهدُ وا فِينَا َلن َْه ِد َين َُّه ْم ُس ُب َلنَا‬ َ ‫َوا َّلذي َن َج‬ จิตวิญญาณเท่านัน้ โดยขัน้ ตอนแรกสุดของกระบวนการ นี้ ได้แก่ “การตื่นรู้” และตระหนักว่าต้องเริ่มต้นขัดเกลา ตนให้ผ่องแผ้วจากมลทินและความโสมม ต้องตื่นรู้ว่า “โลกนี้ไม่ใช่สถานพ�ำนักถาวร และความพร้อมทั้งหมด ที่ถูกตระเตรียมไว้ รวมทั้งการส่งศาสดาทั้งหลายมายัง มนุษย์นั้น ไม่ใช่เพื่อการมีชีวิตแบบเดรัจฉาน” 2 หลังจากขัน้ ตอนของการตืน่ รู้ ก็ถงึ ขัน้ ตอนของการ “กลับตัว” กล่าวคือ ขั้นตอนของการชดเชยสิ่งที่ปล่อย หลุดมือไปในอดีต ชดเชยสิทธิของผู้อื่นที่ถูกเราละเมิด และชดเชยสิทธิของพระเจ้าที่ยังคงอยู่บนบ่าของเรา การกลับตัวนีต้ อ้ งควบคูไ่ ปกับ “เจตจ�ำนงค์ทแี่ น่ว แน่” กลับตัวจากสิ่งที่ได้กระท�ำไปและแน่วแน่ในการไป สูจ่ ดุ หมาย ท่านอิมามโคมัยนียไ์ ด้กล่าวถึงนิยามและจุด ประสงค์ของการมีเจตจ�ำนงค์ที่แน่วแน่ดังกล่าว่า “การก�ำหนดว่าจะละทิง้ การฝ่าฝืน ปฏิบตั สิ งิ่ ทีเ่ ป็น ข้อบังคับ และชดเชยสิ่งที่ผ่านไปในอดีต และตั้งเจตนา แน่วแน่ว่าจะท�ำให้รูปลักษณ์ของตนเป็นมนุษย์ตามวิถี ของปัญญาและศาสนา”3 และขั้นตอนถัดไป ได้แก่ “การละทิ้งการฝ่าฝืน พระเจ้าและปฏิบัติสิ่งที่พระองค์ทรงก�ำหนดให้เป็นสิ่ง จ�ำเป็น” ท่านอายะตุลลอฮ์ บะฮ์ญตั ได้กล่าวในเรือ่ งนีว้ า่ “การละทิง้ ความชัว่ ตลอดชีวติ ถือว่าเพียงพอแล้ว แม้วา่ จะสักพันปีกต็ าม”4 ดังนัน้ ในขัน้ ตอนนีเ้ ราจะต้องปฏิบตั ิ สิ่งที่พระเจ้าทรงก�ำหนดว่าจ�ำเป็นเท่าที่เรารู้ และละทิ้ง สิ่งต้องห้ามเท่าที่เรามีความรู้เช่นกัน ซึ่งการกระท�ำดัง กล่าวจะเป็นเหตุให้พระเจ้าทรงประทานความรู้ใหม่แก่ เรา อันจะน�ำมาซึ่งความเติบโตในกระบวนการขัดเกลา

92

“ผู้ที่บากบั่นในทางของเรา เราจะให้พวกเขาได้ เห็นช่องทางและจะน�ำทางพวกเขา” (บทอัลอันกะบูต, โองการที่ ๙๙) นอกจากนัน้ เราจะต้องตระหนักอยูเ่ สมอว่า ตราบ เท่าที่มนุษย์ยังคงมีชีวิตอยู่นั้น เขาไม่ไม่มีวันหยุดนิ่งอยู่ กับที่ เขาอาจจะเคลื่อนไปสู่รัศมีแห่งทางน�ำ หรืออาจ จะเคลื่อนไปสู่ความมืดทึบของความหลงผิด และสิ่งที่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ก็คอื การก�ำหนดทิศทางการเคลือ่ นตัวให้มงุ่ หน้าไปสู่รัศมีนั่นเอง เชิงอรรถ 1- : ‫التزکیة التطهری من األخالق الذمیمة‬ 203 ‫ ص‬1 ‫ ج‬،‫جممع البحرین‬ 2- อิมามโคมัยนีย์, สี่สิบหะดีษ, หน้า ๗๖ 3- อ้างเล่มเดียวกัน, หน้า ๗ 4- ‫به سوی حمبوب (دستورالعملها و راهنامیی‬ 58 ‫ ص‬،)‫های حرضت آیت اهلل هبجت‬ 5- บิฮารุลอันวาร, เล่ม ๘๙ หน้า ๑๗๒

สาส์นอิสลาม : ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.