Payam islam - 36/1

Page 1


CONTENTs สาส์ น อิ ส ลาม MESSAGE OF ISLAM

สาส์นเพื่อการสืบสานอารยธรรม

‫پيام اسالم‬

ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2558 Vol. 36 No.1 January-April 2015 ISSN : 0859-7162

ผู้อ�ำนวยการ : Director มุสฏอฟา นัจญอรียอนซอเดะฮ์ Mostafa Najarian Zadeh บรรณาธิการอ�ำนวยการ : Editor-in-Chief เชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ บรรณาธิการ : Editor อรุณ เด่นยิ่งโยชน์ กองบรรณาธิการ : Section Editor กวีฮัยดัร พุ่มภักดี จะมีลฮัยดัร แสงศรี นูรรีฎอ แสงเงิน อับดุลมาลิก อาเมน อาซียะฮ์​์ พุ่มเพ็ชร ออกแบบรูปเล่ม : Design/Artwork 14 พับลิเคชั่น E-mail : thaqalayn12@gmail.com โทร. 02 7325563 โทรสาร 02 7325564 ผลิตโดย : Published by ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ 106-106/1 ซอยเจริญมิตร สุขุมวิท 63 เอกมัย 10 แยก 6 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2392-2620-2 โทรสาร 0-2392-2623 CULTURAL CENTER THE EMBASSY OF ISLAMIC REPUBLIC OF IRAN BANGKOK 106-106/1 SOI CHAROENMITR SUKHUMVIT 63 EKAMAI 10 YEAK 6 KLONGTON NUA VADHANA BANGKOK 10110 THAILAND

ทรรศนะและความคิดเห็นในนิตยสารนี้ ไม่จ�ำเป็นต้องถือว่าเป็นจุดยืนอย่างเป็นทางการ ของศูนย์วัฒนธรรมฯ เรายินดีต้อนรับข้อเขียน จากนักเขียนและนักวิชาการทั่วไป ขอสงวนสิทธิ์ ในการคัดเลือกและตัดตอนข้อความที่ไม่สมควร โดยไม่ปิดบังความหมายของผู้เขียน และผู้เขียน บทความนั้นๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบบทความของตน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 1


EDITORIAL บทบรรณาธิการ

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์พระผู้ทรงเมตตา พระผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ

การร�ำลึกถึงขบวนการของท่ านอิมาม ฮุเซน (อ.) และการสัมผัสกับ ความเป็ นอมตะของชุหะดา ในกรอปของประวันติศาสตร์

เมื่อเดือนมุฮัรรอมมาถึงฉันได้แต่เศร้าโศกเสียใจ น�้ำตาของฉันได้หลั่งไหลดังล�ำธารฟุรอต เมื่อเดือนมุฮัรรอมมาถึงจิตใจฉันช่างเศร้าหมอง เขาคือใครที่อยู่ท่ามกลางจิตใจอันเศร้าหมองของฉัน (จากบทความของท่านฮุจญะตุลอิสลามอิบรอฮีม อันศอรี) การร�ำลึกถึงความเป็นอมตะตลอดกาลของขบ วนการฮุซัยนีได้ถูกก�ำหนดขึ้น ถ้าบรรดาชุหะดาที่อยู่ร่วม ในเหตุการณ์การเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุเซนบุตรของ ท่านอิมามอะลี (อ.) ในวันอาชูรอ ยังมีชีวิตลอดอยู่ก็คงไม่ สามารถที่จะน�ำความส�ำเร็จในการเป็นชะฮาดัตมาใช้ได้ เป็นควมถูกต้องที่พระผู้เป็นเจ้า ที่พระองค์ทรงบัญญัติให้ บรรดาชุหะะดายังคงมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และเพื่อให้เป็น แบบอย่างในหน้าประวัติศาตร์แก่ประชาชาติ แต่เครื่อง มือที่พระผู้เป็นเจ้าทรงใช้ในกกิจการนี้ก็คือการแสดงออก ของพวกเรา ที่พวกเราสามารถที่จะเลือกในการที่จะ ท�ำการร�ำลึกถึงบรรดาชุหะดา และท�ำให้ปรัชญาแห่งการ เป็นชะฮาดัตนั้นยังคงมีชีวิตชีวาอยู่ (ค�ำพูดปราศรัยของ ฯฑณฯ ผู้น�ำสูงสุดทางจิต วิญญาณ)

2 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

http// Bangkok.icro.ir การกล่าวร�ำลึกถึงเรื่องราวในนามของท่านอิ มาม ฮุเซน (อ.) และบรรดาชุหะดา ที่ท�ำให้น�้ำตาของ บรรดาชีอะห์ต้องไหลนองเสมือนดังล�ำธารฟุรอต และ ปากก็พร�่ำเรียกร้องว่า ยาฮุเซน ด้วยความรักที่มีต่อท่าน นั้น พวกเราขอมอบความรักแด่ท่านเมื่อเดือนมุฮัรรอม ได้เริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งในวันอาชูรอที่ท่านได้เสียสละเลือดเนื้อ ความเศร้าโศกของเรานั้นได้ทอดยาวไปจนถึงอัรบะอีน (40วัน) ในการร�ำลึกถึงท่านผู้เป็นประมุขของบรรดาชุ หะดาทั้งหลาย ดังที่ได้กล่าวว่า “นับเป็นความเศร้าโศก ของพวกเราถึงสามสิบทิวาราตรีและจากวันเวลาที่ผ่าน มาแล้วสิบทิวาราตรีจนมันครบถึงสี่สิบทิวาราตรีในการ ร�ำลึกถึงท่าน” วันนี้ดวงใจของความรักที่มีต่อท่านอิมามฮุเซน (อ.) หนทางสู่กัรบะลาเปิดแล้ว ที่สามารถจะเดินทางไป เพื่อจุมพิศบนหลุมฝังศพของบรรดาชุหะดาแห่งนัยนา วา และท�ำการร�ำลึกถึงวีรกรรมแห่งสัจธรรมนั้น วันนี้พกว ท่านสามารถที่จะสัมผัสอย่างใกล้ชิดกันท่านอิมาม ฮุ เซน (อ.) และยังได้ร�ำลึกถึงวีรกรรมของผู้ที่ต้องการจะดับ ความกระหายน�้ำเยี่ยงท่านอับบาสบุตรของท่านอิมาม อะลี (อ.) วันเวลาแห่งการมอบสัตยาบันได้เริ่มขึ้นใหม่ อีกครั้งในวันอาชูรอ เดือนมุฮัรรอมและอาชูรอเป็นช่วง เวลาอันบริสุทธิ์ของการมอบความรักแด่บรรดาชุหะดา เดือนมุฮัรรอม และเดือนศอฟัรยังท�ำให้เราได้ร�ำลึกนึกถึง วันเวลาที่ดวงอาทิตย์ได้ส่องแสงทองมายังโลกนี้เพื่อดับ ความโง่เขลาเบาปัญญา พวกเราต่างร�่ำไห้ด้วยการถูก กดขี่วันอาชูรอคือวันที่ท�ำให้ได้ร�ำลึกถึงพวกเขาเหล่านั้น ที่ พวกเขาได้ยืนหยัดปกป้องสัจธรรมจากเหล่าอธรรมทั้ง


หลาย

ในช่วงเวลาพบค�่ำความกระหายแห่งวันอาชูรอ เมื่อใบไม้ของต้นไม้ที่อยู่ท่ามกลางความมืด เวลาที่ดวง วิญญาณของบรรดาชุหะดาได้สงบลง เวลาที่เสียงแห่งการท�ำลาย และเปลวไฟที่ลุกเผาไหม้คัยมะห์ที่พัก พวก เพชฌฆาตฆาตกรต่างพากันที่บุกปล้นสดม เจ็ดสิบสี่ชีวิตของบรรดาเด็กๆและสตรีที่ตกอยู่ท่ามกลางคมหอกและคม ดาบ ต่างก็ถูกร้อยด้วยโซ่ตรวน บรรดาศัตรูต่างได้เฝ้ามองดู และน�ำพาสตรีและเด็กเป็นเชลย โดยมีศรีษะของบรรดาชุ หะดาที่ถูกเสียบบนปลายกหอกแห่น�ำหน้าขบวน แต่แสงรัศมีของท่านหญิงซัยนับ (อ.) , ท่านอิมามสัจญาด (อ.) ที่เฝ้า จับมองไปยังศรีษะของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) ที่ถูกเสียบอยู่ปลายหอกพร้อมกับรรดาชุหะดาที่ถูกสังหารอย่างทารุณ ที่สุด เดือนมุฮัรอมและเดือนศอฟัรเป็นโอกาสที่เหล่าบรรดาผู้ถูกกดขี่ แต่ในเวลาเดียนวกันท่านหญิงซัยนับ (อ.) ก็ คงยังต้องเรียกร้องให้การหห้ามปรามความชั่ว และแนะน�ำความดีที่เป็นอาวุธของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) คงอยู่ตลอด ไปพวกเราได้ยังได้รับบทเรียนจกาท่านอิมามฮุเซน (อ.) โดยผ่านท่านอิมาม อะลีซัยนุลอาบิดีน (อ.) และท่านหญิงฟาฏิ มะห์ ซัยนับ (อง) แห่งยุคสมัยนั้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางแห่งวิลายัต เป็นทางน�ำในหนทางของการต่อสู้ส�ำหรับผู้ที่มี ความรักต่อไป เรื่องราวของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) การด�ำเนินชีวิต และการยืนหยัดของท่านถือว่าเป็นแบบอย่างและระบบ แนวทางแห่งความคิดรูปแบบหนึ่ง ที่เสมือนธงแห่งเกียรติยศของสัคมมนุษยชาติในการชี่แนะน�ำทางในการปกป้อง สัจธรรม ท่านอะลาอับดิลลาฮ์ ฮุเซน (อ.) เป็นแบบอย่างในการเรียกร้องเสรีภาพ และการเรียกร้องสู่ความเป็นเตาฮีด ความเป็นหนึ่ง สู่จริยธรรม ความกล้าหาญ และในภาพรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในวันอาชูรอ คือการปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลง แนวทางการยืนหยัดต่อสู้ และเช่นกันระบบขบวนการนี้ที่ผ่านมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันยังคงอยู่ จากแนวทางนี้พระผู้เป็นเจ้าและบรรดาศาสดาที่ได้รับภารกิจนี้มาปฏิยัติก่อนหน้า จนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในวัน อาชูรอ บการขับเคลื่อนในขบวนการของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงให้มะลาอิกะห์ญิบรออีลแจ้งข่าว เรื่องราวของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) แก่ท่านศาสดาอาดัม (อ.) , ท่านศาสดา นุฮ์ (อ.) , ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และ บรรดาศาสดา (อ.) ทั้งหลาย และบรรดาศาสดา (อ.) ทั้งหลายก็ได้รับบทเรียบวีรกรรมการต่อสู้ของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) เพราะอาชูรอคือสิ่งที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีคุณค่าอย่างมากมาย แม้กระทั้งการด�ำรงอยู่ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ศาสดาท่านสุดท้าย เช่นกันในวันที่ท่านซัยยิดุชชุหะดา (อ.) ประสูติ ท่านศาสดา (ศ.) ได้รับร็เรื่องราวตลอด ในวันประ วสูติของท่านอะบาอับดิลลาฮ์ (อ.) ท่านศาสดา (ศ.) ได้ตอบค�ำถามแก่บุคคลรอบด้านที่ถามท่านว่าท�ำไมต้องร้องไห้ เสียใจ ซึ่งท่านได้กล่าวในวันแรกของวันประสูติอิมามฮุเซน (อ.) เช่นกันท่านอะมีรุลมุอ์มินีน (อ.) ในช่วงของสงครามศิฟฟีน วันหนึ่งท่านได้นิมิตฝันเห็นเหตุการณ์ในแผ่นดิน กัรบะลา เมื่อท่านตกใจตื่นขึ้น ท่านก็ร้องไห้ จนกระทั้งอัสฮาบของท่านได้เอ่ยถามว่า ท่านอะมีรุลมุอ์มีนิน ท่านรอ้ง ไห้ท�ำไม ? ท่านก็ได้กล่าวตอบว่า “ฉันได้เห็นฮุเซนของฉันในความฝันเขาได้นอนจมอยู่ในทะเลเลือด” และสิ่งนี้ก็เป็น ปรากฏารณ์การปรากฎของอิมามแห่งยุคสมัย อิมามซะมาน (อญ.) ที่จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือด (ยาซาละตัลฮุเซน” และ สิ่งแรกที่ท่านจะได้ปฏิบัติในโลกนี้คือสิ่งนี้ พร้อมกับการด�ำรงไว้ถึงเรื่องราวแห่งกัรบะลา นั้นคือการยืนหยัดต่อสู้ของอิ มาม ฮุเซน (อ.) เป็นความถูกต้องในเดือนมุฮัรรอม เป็นเดือนแห่งความทุกข์ แผ่นดินกัรบะลาร้อนระอุประดุจดังความร้อน ของดวงอาทิตย์ที่ก�ำลังเดือนผล่านด้วยทะเลเลือด ในวันนั้นที่บรรดาผู้ท�ำการร�ำลึกต่างๆร้อนรุ่มในจิตวิญญาณตราบ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 3


จนถึงพบค�่ำ แผ่นดินสั่นสะท้าน ท้องฟ้ามัวหมอง ด้วยการอาลัยอาวรณ์ถึงเรื่องราวของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) ผู้ถูกกดขี่ ถูกทารุณกรรม และบรรดาชุหะดาแห่งนัยนาวา เป็นความถูกต้องในเดือนมุฮัรรอมการแสดงออกซึ่งความรัก ประดุจดังที่ได้ยืนอยู่ที่ยอดปล่องภูเขาไฟ สอง มือที่ยกขึ้นตบลงมาที่อก ที่ศรีษะ เพื่อแสดงออกถึงความเจ็บปวดที่บรราดาผู้ถูกกดขี่ได้รับ พร้อมกับการเปล่งเสียง คร�่ำครวญไปถึงชั้นฟากฟ้าถึงความตายอันแสนเจ็บปวดที่พวกเขาได้รับ เป็นความถูกต้อง เพื่อสิ่งใดที่พวกเราพร้อมหมู่ชนได้ยืนหยัด ? ไม่ใช่เพราะว่าทุกวันเป็นวันอาชูรอ และทุก แผ่นดินคือกัรบะลาหรือ ? ไม่ใช่ในเวลายามเช้าของวันศุกร์ที่ต้องมาอ่านดุอาอ์นุตบะห์ ในประโยคที่กล่าวว่า “ท่านผู้ เป็นผู้ทวงหนี้เลือดในกัรบะลาท่านอยู่ไหน ? ด้วยความหวังว่าในวันหนึ่งผู้เป็นนายผู้ปกครองของเราจะได้มาปรากฎ ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุอานว่า “และแท้จริงเราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์ซะบูรจะมีบุรุษหนึ่งที่ เขาเป็นผู้ปฏิบัติดีจะเป็นผู้รับมรดกในการปกครองแผ่นดินนี้” และในวันนี้ก็เช่นกัน เราก็ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ได้อยู่ร่วมกับบรรดาชุหะดาแห่งกัรบะลา และบรรดาชะฮีดใน แนวทางของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) เราขอเป็นทหารหาญของท่านผู้ปกครอง ผู้รกัษาวัฒนธรรมให้พ้นจากแนวทางของ พวกพ้องของยะซีด เราไม่ขอที่จะจับมือ หรือให้สัตยาบันกับพวกมัน ดังที่ท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) ไกด้ปฏิบัติมาแล้ว เรา ขอที่ยืนหยัดเคียงข้างท่านผู้น�ำสูงสุด ผู้ที่ด�ำรงต�ำแหน่งวิลายะตุลอัมร์แห่งยุคสมัย ตัวแทนของท่านอิมามฮุจญัต (อญ.) ท่านอิมาม อะลี คอมาเนอี (ขออัลลอฮ์ทรงปกป้องท่าน) และเราขอความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) ให้พวกเราได้เป็นส่วนหนึ่งของบรรดาชุหะดาในวันนั้นด้วยเทอญ “ข้าฯ แต่พระผู้อภิบาล ขอให้ทรงประทานความ ส�ำเร็จแก่เราให้ได้อยู่ร่วมกับบรรดาชุหะดาที่ได้เสียสละในแนวทางของพระองค์ด้วยเถิด อามีน ร็อบบิลอาละมีน” ดวงดาวที่ส่องสว่างบนชายคาบ้าน เราขอเปล่งเสียงตักบีรควบคู่ไปกับเสียงแห่งสตรี การแสดงออกซึ่งความรักของพวกเรา เราขอมอบดุอาอ์ฟาติฮะห์นั้นแด่วิญญาณอันบริสุทธิ์ มุศฏอฟา นัจยารียอน ซอเดะฮ์ Mostafa Najjarian Zadeh ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน กรุงเทพฯ

4 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


สาส์น ถึงเยาวชนยุโรป และอเมริกาเหนือ

ถอดความโดย เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ ล่าสุดที่เกิดขึน้ ในฝรั่ งเศส เกี่ยวกับการสร้ างความเกลียดกลัวต่ ออิสลาม (Islamophobia) ท่ านอายะตุลลอฮ์ ซยั ยิดอะลี คอเมเนอี ผู้นำ� สูงสุดของการปฏิวตั อิ สิ ลาม ได้ เขียนจดหมาย เปิ ดผนึกส่ งตรงถึงเยาวชนในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ เนือ้ ความของจดหมาย มีดงั ต่ อไปนี ้

‫الرحیم‬ ّ ‫الرحمن‬ ّ ‫بسم‌ اهلل‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผูท้ รงเมตตายิ่ ง ผูท้ รงปรานีเสมอ ถึงเยาวชนทั้งหลายในยุโรปและอเมริกาเหนือ เหตุการณ์ล่าสุดในฝรั่งเศสและเหตุการณ์ต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันในตะวันตกบางประเทศ ท�ำให้ข้าพเจ้า เห็นถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องพูดคุยกับพวกเธอโดยตรงเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้ ข้าพเจ้าจะขอพูดคุยกับพวก เธอเยาวชนทั้งหลายเป็นการเฉพาะ แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ให้ความส�ำคัญต่อบิดามารดาของพวกเธอ แต่ เนื่องจากข้าพเจ้าเห็นว่าอนาคตของชาติและแผ่นดินของพวกเธอนั้นอยู่ในมือของพวกเธอ และข้าพเจ้าก็พบว่า ส�ำนึกในการแสวงหาความจริงในหัวใจของพวกเธอนั้นมีความเข้มแข็งมากกว่าและตื่นตัวมากกว่า เช่นเดียวกัน นี้ ในจดหมายฉบับนี้ ข้าพเจ้าจะไม่ขอพูดกับบรรดานักการเมืองและผู้น�ำรัฐบาลของพวกเธอ เนื่องจากข้าพเจ้า เชือ่ ว่าพวกเขาได้แยกแนวทางทางการเมืองออกจากเส้นทางของความซือ่ สัตย์สจุ ริตและความถูกต้องอย่างจงใจ ข้าพเจ้าต้องการพูดคุยกับพวกเธอเกีย่ วกับอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิง่ เกีย่ วกับภาพลักษณ์และรูปโฉมของ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 5


อิสลามที่ถูกน�ำเสนอแก่พวกเธอ นับจากสองทศวรรษ ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ กล่าวคือ หลังจากการล่มสลาย ของสหภาพโซเวียตโดยประมาณ มีความพยายาม ต่างๆ มากมายเกิดขึน้ เพือ่ ทีจ่ ะท�ำให้ศาสนา (อิสลาม) ที่ ยิง่ ใหญ่นถี้ กู แสดงให้เห็นในสถานะของความเป็นศัตรูที่ น่ากลัวและอันตราย เป็นทีน่ า่ เศร้าใจทีก่ ารปลุกปัน่ ความ รูส้ กึ หวาดกลัวและความเกลียดชังและการใช้ประโยชน์ จากมันนัน้ มีอดีตอันยาวนานในประวัตศิ าสตร์การเมือง ของตะวันตก ในที่นี้ข้าพเจ้าไม่ต้องการที่จะกล่าวถึง "ความ เกลียดกลัว" ต่างๆ ทีห่ ลากหลายทีถ่ กู ปลูกฝังแก่ชนชาติ ตะวันตกทัง้ หลาย พวกเธอเองหากได้ทำ� การศึกษาและ พิจารณาจากภาพรวมโดยสังเขปเกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ พวกเธอก็จะเห็นได้ว่าในการเขียนประวัติศาสตร์ต่างๆ ใหม่นนั้ มีพฤติกรรมทีป่ ราศจากความซือ่ สัตย์และการใช้ ความรุนแรง เป็นการต�ำหนิประณามจากบรรดารัฐบาล ตะวันตกทีม่ ตี อ่ ชนชาติอนื่ ๆ และวัฒนธรรมต่างๆ ในโลก ประวัติศาสตร์ของยุโรปและอเมริกาเกี่ยวกับ การค้าทาสนั้นเป็นเรื่องที่ที่น่าอับอาย ประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับยุคการล่าอาณานิคมก็เป็นที่น่าอับอาย และ

6 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการกดขี่กลุ่มชนสีผิวและผู้ที่ ไม่ใช่ชาวคริสเตียนก็เป็นทีน่ า่ อับอาย บรรดานักค้นคว้า วิจัยและนักประวัติศาสตร์ของพวกเธอเองต่างก็รู้สึก อับอายขายหน้าอย่างที่สุด ต่อการหลั่งเลือดต่างๆ ใน ชือ่ ของนิกายทางศาสนาทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างคาทอลิกและ โปรเตสแตนต์ หรือในนามของเชือ้ ชาติและหมูช่ นทีเ่ กิด ขึ้นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีส่วนที่น่าชื่นชมอยู่บ้าง แต่ จุดประสงค์ของข้าพเจ้าในการเปิดเผยถึงส่วนหนึ่งจาก รายละเอียดทีย่ ดื ยาวนีไ้ ม่ใช่ตอ้ งการจะต�ำหนิประณาม ประวัตศิ าสตร์แต่อย่างใดทัง้ สิน้ เพียงแต่ขา้ พเจ้าต้องการ ให้พวกเธอถามจากบรรดาปัญญาชนของพวกเธอว่า ท�ำไมมโนธรรมส�ำนึกของสาธารณชนในตะวันตกจึง ตื่นตัวและรับรู้ล่าช้าอยู่เสมอเป็นเวลาหลายสิบปี หรือ งบางทีอาจเป็นหลายร้อยปี? ท�ำไมการตรวจสอบและ การแก้ไขปรับปรุงจิตส�ำนึกสาธารณะจึงถูกท�ำให้กลาย เป็นเรือ่ งของอดีตอันไกลโพ้นและไม่ใช่ปญ ั หาในปัจจุบนั ? ท�ำไมในประเด็นทีส่ ำ� คัญอย่างเช่นวิธกี ารปฏิสมั พันธ์กบั วัฒนธรรมและแนวความคิดอิสลาม จึงมีการกีดกันไม่ให้ มีการก่อรูปขึ้นในการรับรู้ของสาธารณชน?


พวกเธอก็ทราบดีว่า การดูถูกเหยียดหยาม การ สร้างความเกลียดชังและความกลัวที่เป็นภาพลวงตา ที่มี "ต่อผู้อื่น" นั้น จะเป็นพื้นฐานร่วมกันของบรรดาผู้ แสวงหาผลประโยชน์ที่อธรรมทั้งมวล ตอนนี้ข้าพเจ้า ต้องการให้พวกเธอถามตัวเองว่า เพราะเหตุใดนโยบาย เดิมๆ ในการสร้างความเกลียดกลัวและความเกลียดชัง ในครัง้ นีจ้ งึ พุง่ เป้าไปทีอ่ สิ ลามและชาวมุสลิมอย่างรุนแรง มากเป็นประวัติการณ์? ท�ำไมโครงสร้างอ�ำนาจในโลก ปัจจุบันจึงต้องการที่จะท�ำให้แนวความคิดแห่งอิสลาม ออกไปอยู่ชายขอบโดยปราศจากการเคลื่อนไหว? หรือ ว่าแนวคิดและค่านิยมต่างๆ ของอิสลามนั้นไปรบกวน และกีดขวางแผนการของบรรดามหาอ�ำนาจ และมีผล ประโยชน์อะไรอยู่เบื้องหลังในการสร้างภาพลักษณ์ที่ ผิดๆ เกีย่ วกับอิสลามกระนัน้ หรือ? ดังนัน้ ความต้องการ ประการแรกของข้าพเจ้า (จากพวกเธอ) ก็คอื ขอให้พวก เธอตัง้ ค�ำถามและค้นหาค�ำตอบเกีย่ วกับแรงจูงใจต่างๆ ทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังการสร้างความแปดเปือ้ นอย่างกว้างขวาง ในการต่อต้านท�ำลายอิสลามนี้ ความต้องการประการที่สองของข้าพเจ้าก็คือ ในการแสดงปฏิกิริยาต่อกระแสความอคติและการ

โฆษณาชวนเชือ่ ต่างๆ ในทางลบนัน้ พวกเธอจงพยายาม ท�ำความรูจ้ กั โดยตรงต่อศาสนานีโ้ ดยไม่ตอ้ งผ่านสือ่ กลาง ใดๆ ตรรกะทีถ่ กู ต้อง (และสติปญ ั ญาอันบริสทุ ธิ)์ นัน้ จะ บอกว่า อย่างน้อยทีส่ ดุ พวกเธอจะต้องรับรูใ้ ห้ได้วา่ สิง่ ที่ พวกเขาก�ำลังท�ำให้พวกเธอหนีและกลัวนัน้ มันคืออะไร? และมีเนือ้ แท้อย่างไร? ข้าพเจ้าจะไม่ยนื กรานรบเร้าว่าให้ พวกเธอยอมรับความคิดเห็นของข้าพเจ้าหรือทัศนะของ บุคคลอืน่ ๆ เกีย่ วกับศาสนาอิสลาม แต่ขา้ พเจ้าต้องการ จะบอกกับพวกเธอว่า อย่าปล่อยให้ความจริงที่เป็นอยู่ และมีผลกระทบที่ส�ำคัญในโลกปัจจุบัน ถูกแนะน�ำให้ พวกเธอรับรู้ด้วยกับเป้าหมายและมีเจตนาที่สกปรก เคลือบแฝงอยู่ อย่าปล่อยให้พวกเขาได้แนะน�ำแก่พวก เธอด้วยการโกหกหลอกลวงว่าบรรดาผู้ก่อการร้ายที่ คอยรับใช้พวกเขาอยู่นั้นเป็นตัวแทนของอิสลาม (และ ชาวมุสลิม) จงท�ำความรู้จักอิสลามจากแหล่งอ้างอิง ดัง้ เดิมและจากหนังสือต่างๆ ในช่วงแรกเริม่ ของอิสลาม พวกเธอจงท�ำความรู้จักกับอิสลามโดยผ่านคัมภีร์อัลกุ รอานและชีวประวัติของท่านศาสดา (ขอพระผู้เป็นเจ้า ทรงประทานพรและความสันติแด่ทา่ นและวงศ์วานของ ท่าน) ผู้ยิ่งใหญ่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 7


ในที่นี้ข้าพเจ้าอยากจะถามพวกเธอว่า จนถึง ขณะนี้พวกเธอเคยอ่านคัมภีร์อัลกุรอานของชาวมุสลิม โดยตรงด้วยตัวเองแล้วหรือยัง? พวกเธอเคยศึกษาค�ำ สอนต่างๆ ของท่านศาสดาของอิสลาม (ขอพระผู้เป็น เจ้าทรงประทานพรและความสันติแด่ทา่ นและวงศ์วาน ของท่าน) อันเป็นค�ำสอนแห่งมนุษยธรรมและศีลธรรม แล้วหรือยัง? จนถึงขณะนี้นอกเหนือจากสื่อมวลชน ต่างๆ แล้ว พวกเธอเคยรับสาส์นของอิสลามจากแหล่ง อื่นบ้างหรือไม่? พวกเธอเคยถามตัวเองบ้างหรือไม่ว่า ตลอดเวลายาวนานหลายศตวรรษ ศาสนาอิสลามได้ วางรากฐานอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทางด้านความรู้ และแนวความคิดของโลกไว้อย่างไรและบนพืน้ ฐานของ ค่านิยมแบบใด? และอิสลามได้ผลิตบรรดานักวิชาการ และนักคิดชั้นน�ำที่สุดของโลกได้อย่างไร? ข้าพเจ้าขอเรียกร้องพวกเธอว่า อย่าปล่อยให้การ ท�ำลายภาพลักษณ์ต่างๆ ที่สร้างความเสื่อมเสียและ เป็นเรื่องโง่เขลาเหล่านั้น ได้สร้างปราการทางอารมณ์ และความรูสึกอคติขึ้นมาปิดกั้นระหว่างพวกเธอกับข้อ เท็จจริง และอย่าท�ำลายโอกาสในการตัดสินด้วยใจ เป็นธรรมหลุดลอยไปจากพวกเธอ วันนีเ้ ครือ่ งมือสือ่ สาร ต่างๆ ได้ทำ� ลายพรมแดนทางด้านภูมศิ าสตร์ลงไปหมด แล้ว ดังนั้นพวกเธออย่าปล่อยให้ตัวเองถูกปิดกั้นอยู่ใน พรมแดนต่างๆ ทางความคิดทีจ่ อมปลอม (ทีถ่ กู สร้างขึน้ ) แม้จะไม่มใี ครสามารถอุดช่องว่างต่างๆ ทีถ่ กู สร้างขึน้ ได้ โดยล�ำพัง แต่พวกเธอทุกคนสามารถสร้างสะพานเชือ่ ม ต่อทางความคิดและความมีใจเป็นธรรมขึน้ บนช่องว่าง เหล่านั้นได้ ด้วยจุดมุ่งหมายในการสร้างความกระจ่าง และความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ตัวเองและสภาพแวด ล้อมรอบๆ ตัว นี่คือความท้าทายและอุปสรรคที่ถูกวางแผนไว้ ตั้งแต่ต้นแล้ว ระหว่างอิสลามกับพวกเธอเยาวชนทั้ง หลาย แม้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่น่าขมขื่น แต่มันสามารถ สร้างค�ำถามใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในความคิดที่ใฝ่แสวงหา ค�ำตอบและใฝ่ศึกษาของพวกเธอได้ ความพยายามใน

8 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

การค้นหาค�ำตอบต่อค�ำถามเหล่านี้ ก�ำลังเปิดโอกาสอัน ดีงามส�ำหรับการค้นหาข้อเท็จจริงใหม่ๆ ทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหน้า ของพวกเธอ ดังนัน้ อย่าปล่อยให้โอกาสในการท�ำความ เข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งและการรั บ รู ้ โ ดยปราศจากความมี อคติต่ออิสลามนี้หลุดลอยไป เพื่อว่าบางทีด้วยกับ ความรับผิดชอบของพวกเธอทีม่ ตี อ่ ข้อเท็จจริงนี้ เพือ่ ว่า ในอนาคตลูกหลานจะได้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การมีปฏิสมั พันธ์ระหว่างตะวันตกกับอิสลามด้วยความ ระคายเคืองที่น้อยลง ด้วยมโนธรรมส�ำนึกที่สงบมั่น มากยิ่งขึ้น

ซัยยิดอะลี คอเมเนอี 21 มกราคม 2015


36 ปี

บทความโดย ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

กับการสถาปณา สาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน

ผ.อ.ศูนย์อิสลามและอิหร่านศึกษา และภาษาเปอร์เซีย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

อิหร่านหรือเปอร์เซีย เป็นอาณาจักรเก่าแก่ และ เจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาการและอารยธรรมมายาว นานกว่า 3,000 ปี ในสมัยพระเจ้าไซรัสมหาราชทรง ถูกขนานนามว่าจักรพรรดิสามทวีป เพราะอาณาจักร ของพระองค์ครอบคลุมตั้งแต่อาฟริกาเหนือ ยุโรปบาง ส่วน และเอเชียทีก่ ว้างไกลถึงแม่นำ�้ สินธุเปอร์เซียถือเป็น แหล่งอารยธรรมส�ำคัญของโลกอีกแห่งหนึ่ง จักรวรรดิมเี ดีย่ น ราชวงศ์อาคาเมนิด (Achaemenid, 550-333 BCE) ได้รับการยกย่องว่าเป็นจักรวรรดิที่เก่า แก่และยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในยุคโบราณ ครอบครองพืน้ ทีก่ ว้าง ใหญ่ไพศาล ตั้งแต่ด้านทิศตะวันตก คลุมพื่นที่อนาโต เลีย คือ เอเชียตะวันตก กินพื้นที่ตุรกีทั้งหมด ล้อมทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ด้านบนคลุมปากแม่น�้ำดานูบของโร

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 9


เมเนีย บุลเกเรีย จรดกรีก ครอบครองหมู่เกาะในทะเล เมดิเตอเรเนียน และคลุมลงมาด้านล่าง กินพื้นที่อียิปต์ และลีเบีย ส่วนด้านบนไปจนถึงตะวันออก กินพืน้ ทีก่ ว่า ครึ่งของทะเลแคสเบียน จรดทะเลอาราล ครอบคลุมเต อร์กไมนิสถาน อุซเบกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน จรดอินเดียที่แม่น�้ำอินดุส ต่อมาอิหร่านประสบกับการเปลีย่ นแปลงอย่างต่อ เนือ่ ง โดยเฉพาะในช่วงทีม่ กี ารปฏิวตั อิ สิ ลามโดยอิหม่าม โคมัยนี เป็นผู้น�ำขบวนการปฏิวัติของประชาชนและ นักศึกษาล้มล้างการปกครองแบบเผด็จการของกษัตรย์ ชาร์ปาเลวี จวบจนปัจจุบันเวลาก็ล่วงเลยมามากกว่า สามสิบปีแล้ว และปีนเี้ ป็นที3่ 6 ของการเปลีย่ นแปลงการ ปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์(Absolute Monarchy) เป็นสาธารณรัฐ อิสลาม (Islamic Republic ) เป็นการ ปกครองในระบอบอิสลาม(Islamic State) ซึง่ ฐานความ คิดของระบอบการปกครองนัน้ ผ่านการกลัน่ กรองอย่าง ตกผลึกตามหลักคิดทางปรัชญาการเมืองอิสลาม ผูท้ วี่ าง รากฐานของระบอบการปกครองในประเทศอิหร่าน คือ

10 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

ท่าน อะยาตุลลอฮ์ อิมามโคมัยนี ท่ า นอิ ม ามโคมั ย นี ไ ด้ น� ำ เสนอทฤษฎี ป รั ช ญา การเมืองว่าด้วยเรื่องระบอบการปกครองอิสลามไว้ว่า แท้จริงหลักศาสนบัญญัติอิสลาม ไม่ว่าด้านภาคศาสน พิธ(ี พิธกี รรม) หรือด้านภาคการพาณิชย์ การเมือง จ�ำเป็น จะต้องด�ำรงอยูจ่ นถึงวันอวสานโลก จากหลักคิดนี้ เป็น เหตุให้จะต้องมีระบบการบริหารและการปกครองที่ สามารถน�ำหลักศาสนบัญญัติมาถือปฏิบัติและบังคับ ใช้เพื่อสร้างความสมดุลภาพและความเหมาะสมของ การด�ำเนินชีวิตของมนุษยชาติ ท่านอิมามโคมัยนี ได้กล่าวว่า แท้จริงการเกิด ขึ้นของรัฐอิสลามถือว่าเป็นภาระกิจหนึ่งของปราชญ์ และยังถือว่าเป็นข้อบังคับหนึ่งของศาสนา(วายิบกิฟา อี) เพราะว่าการรักษาสิง่ ทีเ่ ป็นหลักการศาสนาหรือการ ควบคุมการออกนอกลูน่ อกทางของมุสลิม ต้องอาศัยกล ไกลของสร้างรัฐอันมั่นคง ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวอีกว่า.. “การเป็นผู้ปกครอง และเป็นผู้น�ำรัฐใดรัฐหนึ่ง


นั้นถือว่าเป็นหน้าที่ของนักการศาสนา นักนิติศาสตร์ ที่ทรงคุณธรรม และยังถือว่าเป็นความเหมาะสมของ นักนิติศาสตร์อยู่ในฐานะเป็นปราชญ์ในการเป็นผู้น�ำ ของประชาชนมุสลิมดังนั้นการจัดตั้งรัฐอิสลาม ถือว่า เป็นข้อบังคับหนึ่งทางศาสนาประเภทกิฟาอี (ข้อบังคับ ซึ่งถ้ามีบุคคลใดได้กระท�ำแล้วบุคคลอื่นเป็นอันตกไป) ดังนั้นถ้ามีนักนิติศาสตร์ท่านใด ได้จัดตั้งรัฐอิสลามขึ้น ถือว่านักนิติศาสตร์คนอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตาม และถือว่า จ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญและสนับสนุน” (หน้า 33 จาก หนังสือซอฮีฟะตุลนูร) อิหร่านได้จดั ระบอบโครงสร้างทางการเมืองและ การปกครอง โดยยึดระบอบการปกครองอิสลาม อันมี ราชาปราชญ์เป็นประมุขหรือเรียกว่า “ระบอบปราชญาธิป ไตย” โดยมีรปู แบบเป็นระบบรัฐสภา อันมีประธานาธิบดี (President) และรัฐสภา (Parliament) ทีม่ าจากการเลือก ตัง้ ของประชาชน (Electorate) และประธานาธิบดีจะเป็น ผูแ้ ต่งตัง้ คณะรัฐมนตรี (Cabinet) ทีต่ อ้ งได้รบั การยอมรับ จากรัฐสภา อสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านมีสถาบัน

สูงสุด คือ สถาบันแห่งประมุขสูงสุด (Supreme Leader) เป็นผู้น�ำทางจิตวิญญาณ ผู้น�ำรัฐและเป็นผู้ปกครองที่ อยู่ในฐานะราชาปราชญ์ ซึ่งเป็นผู้รับรองผลลัพธ์การ เลือกตั้งประธานาธิบดี และยังมีอ�ำนาจแต่งตั้งสถาบัน ส�ำคัญอื่นๆ คือกองทัพ (Military) ประมุขฝ่ายตุลาการ (Head of Judiciary) และ( Expediency council)สภา พิเศษซึง่ ท�ำหน้าทีไ่ กล่เกลีย่ ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภา และ สภาผูช้ นี้ ำ� (Guardian council) หรือแม้แต่สภาอีก สภาหนึง่ คือสภาผูช้ ำ� นาญการ (Assembly of experts) ท่ า นอิ ม ามโคมั ย นี ไ ด้ น� ำ เสนอทฤษฎี ป รั ช ญา การเมืองว่าด้วยเรื่องระบอบการปกครองอิสลามไว้ว่า แท้จริงหลักศาสนบัญญัติอิสลาม ไม่ว่าด้านภาคศาสน พิธ(ี พิธกี รรม) หรือด้านภาคการพาณิชย์ การเมือง จ�ำเป็น จะต้องด�ำรงอยูจ่ นถึงวันอวสานโลก จากหลักคิดนี้ เป็น เหตุให้จะต้องมีระบบการบริหารและการปกครองที่ สามารถน�ำหลักศาสนบัญญัติมาถือปฏิบัติและบังคับ ใช้เพื่อสร้างความสมดุลภาพและความเหมาะสมของ การด�ำเนินชีวิตของมนุษยชาติ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 11


ท่านอิมามโคมัยนี ได้กล่าวว่า” แท้จริงการเกิด ขึ้นของรัฐอิสลามถือว่าเป็นภาระกิจหนึ่งของปราชญ์ และยังถือว่าเป็นข้อบังคับหนึ่งของศาสนา(วายิบกิฟา อี) เพราะว่าการรักษาสิง่ ทีเ่ ป็นหลักการศาสนาหรือการ ควบคุมการออกนอกลูน่ อกทางของมุสลิม ต้องอาศัยกล ไกลของสร้างรัฐอันมั่นคง” ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวอีกว่า.. “การเป็นผู้ปกครอง และเป็นผู้น�ำรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้นถือว่าเป็นหน้าที่ของนักการศาสนา นักนิติศาสตร์ที่ ทรงคุณธรรม และยังถือว่าเป็นความเหมาะสมของนัก นิตศิ าสตร์อยูใ่ นฐานะเป็นราชาปราชญ์ในการเป็นผูน้ ำ� ของประชาชนมุสลิมดังนั้นการจัดตั้งรัฐอิสลาม ถือว่า เป็นข้อบังคับหนึ่งทางศาสนาประเภทกิฟาอี (ข้อบังคับ ซึ่งถ้ามีบุคคลใดได้กระท�ำแล้วบุคคลอื่นเป็นอันตกไป)

12 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

ดังนั้นถ้ามีนักนิติศาสตร์ท่านใด ได้จัดตั้งรัฐอิสลามขึ้น ถือว่านักนิติศาสตร์คนอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตาม และถือว่า จ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญและสนับสนุน” (หน้า 33 จาก หนังสือซอฮีฟะตุลนูร) โครงสร้างหรือระบบการเมืองของสาธารณรัฐ อิสลามอิหร่าน อยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญปี 1979 ประกอบด้วยสถาบันการเมืองตามระบอบอิสลาม อัน มีราชาปราชญ์เป็นประมุข หรือเรียกตามหลักรัฐศาสตร์ อิสลามคือระบอบวิลายะตุลฟะกี(ปราชญาธิปไตย) โดย มีราชาปราชญ์เป็นประมุขสูงสุด (Supreme Leader) เป็นผู้ควบคุมและดูแลโครงสร้างของการก�ำหนดแนว นโยบายทั่วไปของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และ ถือว่ารัฐธรรมนูญทุกมาตรานัน้ ถูกวินจิ ฉัย ทีม่ โี ครงสร้าง มาจากหลั ก อิ ส ลาม จึ ง เรี ย กรั ฐ ธรรมนู ญ นี้ ว ่ า เป็ น รัฐธรรมนูญแห่งอิสลาม มาตรา ๔ ได้กล่าวถึงกฎหมายที่ถูกตราขึ้นว่า ประมวลกฎหมายทั้งหมด ทั้งกฎหมายแพ่งพา นิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายการคลัง การเศรษฐกิจ กฎหมายการบริหารการปกครอง วัฒนธรรม การทหาร การเมือง ตลอดทั้งระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆเหล่านั้นที่ เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีแหล่งที่มาซึ่งวาง อยู่บนหลักการแห่งบทบัญญัติอิสลาม มาตรานี้ย่อม มีอำ� นาจควบคุมสูงสุดและอย่างกว้างขวางไปถึงมาตรา อืน่ ๆทัง้ หมดแห่งรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกันกับหลักการและ ระเบียบกฏเกณฑ์อื่นๆที่จ�ำต้องตัดสินโดยใช้ดุลยพินิจ พิจารณาและวินจิ ฉัยให้เป็นไปตามหลักนิตศิ าสตร์ของ สภาพิทักษ์ฯ และอ�ำนาจการปกครองของประมุขสูงสุดนั้น เป็นหน้าที่ของบุคคลที่อยู่ในฐานะราชาปราชญ์ เป็น


นักการศาสนาที่เคร่งครัด เป็นผู้ทรงธรรมและยุติธรรม ดังรัฐธรรมนูญกล่าวไว้ว่า มาตรา ๕ ในช่วงเวลาที่อิมามท่านที่สิบสอง (อิมามมะฮ์ด)ี อยูใ่ นสภาพทีเ่ ร้นกาย สาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน จะอยูภ่ ายใต้การปกครองและการชีน้ ำ� โดย ความรับผิดชอบของนักการศาสนา ผูเ้ ป็นปราชญ์สงู สุด มีความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ ทรงคุณธรรมและ ยุตธิ รรม รูร้ อบต่อสถานการณ์แห่งยุคสมัย เป็นผูม้ คี วาม กล้าหาญพร้อมด้วยความสามารถในการจัดการ อยูใ่ น ฐานะเป็นราชาแห่งปราชญ์(วิลายะตุลฟะกีย)์ ประชาชน ส่วนใหญ่รู้จักและยอมรับให้เป็นผู้น�ำ มาตราที่ ๑๐๗ เมื่อใดที่นักการศาสนา อยู่ใน ฐานะปราชญ์ ทีม่ คี ณ ุ สมบัตคิ รบเงือ่ นไขต่างๆตามมาตรา ๕ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลนั้นจะเป็นผู้น�ำอยู่ในฐานะ ผู้ทรงอ�ำนาจสูงสุด และเป็นราชาปราชญ์ เป็นผู้น�ำแห่ งการปฎิวตั ิ เหมือนอย่างท่าน อายาตุลลอฮ์ อิมามโคมัย นี ถือว่าเป็นประมุขสูงสุด มีความศักดิ์สิทธิ์ในการออก ค�ำสั่งและมีความรับผิดชอบทั้งมวล

อิมามโคมัยนีกับรัฐอิสลาม เงื่อนไขที่จ�ำเป็นส�ำหรับผู้ปกครองรัฐอิสลามนั้น จะเกีย่ วข้องโดยตรงกับวิธกี ารทางธรรมชาติของระบอบ การปกครองรัฐอิสลาม ซึง่ นอกจากเงือ่ นไขโดยรวมแล้ว อันได้แก่ การมีสติปญ ั ญาและมีหลักบริหารจัดการบ้าน เมืองที่ดีแล้ว ยังมีอีกสองเงื่อนไขพื้นฐานที่ส�ำคัญ คือ: 1 – มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 2 – อยู่ในฐานะ ปราชญ์ และมีความยุติธรรม ทว่าผูท้ จี่ ะขึน้ ครองรัฐหรือเป็นผูป้ กครองนัน้ จ�ำต้อง เป็นบุคคลทีป่ ระเสริฐทีส่ ดุ เป็นทรงธรรมและมีคณ ุ ธรรม เพราะว่า รัฐอิสลามเป็นรัฐแห่งกฎหมายทีไ่ ด้นำ� ธรรมนูญ มาจากคัมภัรอ์ ลั กุรอานและซุนนะฮ์พระศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ดังนั้น ผู้ปกครองจ�ำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญ และสันทัดในด้านกฎหมาย หลักนิติศาสตร์อิสลาม ส�ำหรับผู้ปกครองรัฐแล้วนั้น จะต้องมีความรู้ เชีย่ วชาญและสันทัดในศาสตร์อนั นีเ้ ป็นพิเศษกว่าบุคคล อื่นใด บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์(อ)ทายาทแห่งศาสดา(ศ) ก็ได้ใช้หลักการเช่นนี้ในการพิสูจน์ถึงการเป็นผู้น�ำ(อิ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 13


มาม)ของตน ซึ่งอิมาม(ผู้น�ำ)จะต้องมีความประเสริฐ กว่าบุคคลอื่นๆทั้งหมดในทุกๆเรื่องและในมุมมองของ อิสลาม ถือว่าผู้เชี่ยวชาญ ผู้สันทัดด้านกฎหมาย และ ความยุตธิ รรมนัน้ เป็นเงือ่ นไขและพืน้ ฐานหลักทีส่ ำ� คัญ ในการด�ำรงต�ำแหน่งผู้น�ำหรือผู้ปกครองรัฐอิสลาม ดังนั้นต�ำแหน่งในการบริหารรัฐที่แท้จริงจะต้อง ตกอยู่ในมือของปราชญ์ผู้ช�ำนาญการและผู้เชี่ยวชาญ (ฟุกอฮาห์)เท่านั้น หาใช่บุคคลที่มีความโง่เขลาในด้าน กฎหมาย และผู้ปกครองจ�ำต้องมีความเพียบพร้อม สมบูรณ์ไปด้วยหลักความศรัทธา หลักคุณธรรมและ หลักจริยธรรม อีกทัง้ ทรงยุตธิ รรมและ ห่างไกลจากความ ผิดบาป. ผูท้ ตี่ อ้ งการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวคือ การน�ำ กฎหมายอิสลามมาใช้, ถือกองคลัง(บัยตุลมาล) และใช้ จัดสรรงบประมาณในการบริหารประเทศชาติ ซึ่งพระ องค์อัลลอฮ์(ซบ) ก็ทรงอนุมัติสิทธิต่างๆเหล่านี้ให้เขา

14 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

มีอ�ำนาจในการบริหารจัดการ นั้น ก็จะต้องเป็นผู้ที่ห่าง ไกลจากการท�ำบาปอย่างสิ้นเชิง ดังโองการอัลกุรอาน ได้กล่าวว่า“พันธสัญญาของข้านั้นจะไม่ถึงแก่บรรดาผู้ อธรรม” ซึ่ง องค์อัลลอฮ์(ซบ)จะไม่ให้สิทธิ์ในลักษณะ เช่นนี้แก่ผู้อธรรมอย่างเด็ดขาด หากผู้ปกครองไม่ทรง ยุติธรรม การเลือกปฏิบัติในเรื่องสิทธิของบรรดามุสลิม การเก็บภาษี การใช้จ่ายงบประมาณ และการบังคับใช้ กฎหมายนั้นจะไม่มีวันได้เห็นความยุติธรรมเกิดขึ้นมา อย่างแน่นอน.และอาจเป็นไปได้ที่จะใช้อ�ำนาจในการ แต่งตัง้ ตามวงศ์ตระกูลของตนขึน้ มาด�ำรงต�ำแหน่งและ ถลุงเงินกองคลังเพื่อใช้จ่ายในเรื่องส่วนตัวและคามสุข ความรื่นเริงให้กับตัวเอง (คัดย่อจากบทความในเวปซ์ ไซต์ http:www.leader.ir/langs/th/) อ้างอิง เดอะ พับลิก ออนไลน์ : บทความโดย : ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน ศูนย์วจิ ยั ไทย-อิหร่านศึกษา www.immjournal.com www.press tv .com www.leader.ir


แนวคิดทางการเมือง และการปกครองของ

อิมามโคมัยนี (ร.ฮ) รั ฐอิสลาม การปกครองที่ยุตธิ รรม หรื อการ ปกครองที่ยุตธิ รรมภายใต้ บทบัญญัตแิ ห่ งอิสลาม คือสโลแกนหลักของขบวนการต่ อสู้ของท่ านอิมาม โคมัยนี (ร.ฮ) หากจะถามว่ า รั ฐอิสลาม หมายถึง โครงสร้ างทางอ�ำนาจการปกครอง หรื อ เป็ นเพียง แค่ สัญลักษณ์ หนึ่งแห่ งการปกครองเท่ านัน้ ตามทฤษฎี ข องท่ า นอิ ม ามโคมั ย นี (ร.ฮ) “รัฐอิสลาม” หมายถึง อ�ำนาจการปกครองที่ยตุ ธิ รรม ตามครรลองของอิสลาม ที่จะต้ องถูกบังคับใช้ ต่อ รัฐหนึ่ง ซึ่งแตกต่ างจากการปกครองในบางประเทศ ที่ น� ำ อิ ส ลามมากล่ า วอ้ า ง แต่ ใ นทางปฏิ บั ติ นั น้ จะเห็นว่ าโครงสร้ างทัง้ หมดในรู ปแบบการบริหาร ประเทศขัดกับ ธรรมนูญแห่ งอิสลาม หรื ออิสลาม เป็ นเพียงแค่ สัญลักษณ์ หนึ่งที่ถูกกล่ าวอ้ างขึน้ มา

บทความโดย ซัยยิดมุบาร็อก ฮูซัยนี นายกสมาคมนักเรียนเก่าไทย -อิหร่าน แนวคิดทางการเมืองและการปกครองของท่าน อิมามโคมัยนี (ร.ฮ) หมายถึง รัฐบาลศาสนา ที่มีความ ยุติธรรมเท่านั้น ที่สามารถจะปกครองประชาชาติได้ โดยท่านได้ให้ความส�ำคัญในเรื่องความยุติธรรมมา เป็นล�ำดับต้นก่อนอ�ำนาจการปกครองเสียอีก ซึ่งท่าน ได้กล่าวว่า “ตราบใดที่ความยุติธรรมยังไม่ถูกปฏิบัติ ก็ ไม่สามารถที่จะน�ำหลัก ชารีอัต มาบังคับใช้ได้” ดังนั้น แนวคิดของท่านอิมาม ต่อเรือ่ งการเมืองและการปกครอง หมายถึง รัฐบาลแห่งศาสนาที่ทรงความยุติธรรม ท่าน ได้นำ� เสนอถึงรูปแบบการปกครองอิสลาม ตามแบบฉบับ จากท่านศาสดา จนมาถึงในยุคสมัยเเห่งการเร้นกายของ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 15


อิมามมะฮ์ดี นั้นคือ ระบอบวิลายะตุลฟะกีฮ์ ท่านอิมามซัยยิด อาลี จึงกล่าวว่า “สถาบั น การเมื อ งของอิ ม ามโคมั ย นี (ร.ฮ) ไม่สามารถแยกออกจากคุณสมบัตแิ ละบุคลิกภาพของ ท่านได้ รหัสลับแห่งความส�ำเร็จของท่านอยู่ในสถาบัน การเมืองที่ท่านได้น�ำเสนอไป และท่านสามารถท�ำให้ มันปรากฏขึ้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในเชิงกระบวนการ และน�ำเสนอต่อสายตาชาวโลก ถึงแม้นชัยชนะของการ ปฏิวตั อิ สิ ลามครัง้ นี้ มาจากการต่อสูข้ องประชาชน และ ประชาชนได้แสดงศักยภาพและความสามารถของตน ในการปฏิวัติครั้งนี้อย่างเต็มรูปแบบ แต่หากไร้ซึ่งนาม ของโคมัยนีและสถาบันการเมืองของท่าน การปฏิวัตินี้ ก็ไม่สามารถยิ่งใหญ่ได้เช่นนี้” สถาบั น การเมื อ งและแนวคิ ด ของท่ า นอิ ม าม โคมัยนี (ร.ฮ) ได้เปิดสนามแห่ง “การเมืองใหม่” อย่าง กว้างขว้าง และสนามแห่งนี้ กว้างขว้างยิ่งใหญ่กว่า สนามทีถ่ กู สร้างขึน้ มาในรัฐอิสลามเสียอีก สถาบันและ แนวคิดการเมืองของอิมามโคมัยนี (ร.ฮ) ที่ท่านได้ต่อสู้

16 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

และทุ่มเท และท่านได้น�ำเสนออย่างเป็นรูปธรรมนั้น ทัง้ หมดล้วนเป็นทฤษฎีและแนวทางทีใ่ หม่แก่ประชาคม โลก สถาบันและแนวคิดเช่นนีเ้ อง ทีส่ ามารถตอบสนอง ความกระหายของประชาชาติได้ แนวคิดเช่นนีจ้ งึ จะใหม่ อยูต่ ลอดและจะไม่มวี นั เก่าลงได้ ผูใ้ ดก็ตามทีพ่ ยายามจะ น�ำเสนอให้อมิ ามเป็นบุคคลประวัตศิ าสตร์หรือบุคคลใน อดีตนัน้ พวกเขาจะไม่มวี นั ประสพความส�ำเร็จในความ พยายามของตน อิมามยังคงมีชวี ติ อยูใ่ นแนวคิดและใน สถาบันการเมืองของท่าน ตราบใดทีส่ ถาบันการเมืองและ แนวคิดนีย้ งั คงอยู่ อิมามก็จะยังคงอยูใ่ นหมูป่ ระชาชาติ อิสลาม และมวลมนุษยชาติด้วยเช่นกัน สถาบันการเมืองและแนวคิดของท่านอิมาม มี ความโดดเด่นอยู่หลายประการ 1. จิตวิญญาณและการเมืองถูกรวมเข้าด้วยกัน ในสถาบันการเมืองของท่านอิมาม สองสิ่งนี้จะไม่ถูกแยกออกจากกัน การเมืองและ รหัสยะ, การเมืองและจริยธรรมอันประเสริฐ, และตัวท่า นอิมามโคมัยนีเอง คือรูปธรรมของทฤษฎีนี้ ท่านมีทงั้ จิต


วิญญาณที่สูงส่งและมีทั้งการเมืองควบคู่กัน สิ่งนี้คือ แนวทางของท่าน แม้นกระทั้งการต่อสู้ในเวทีการเมือง ท่านก็ยังคงยึดมั่นในหลักการแห่งจิตวิญญาณของตน ทุกอริยาบถของท่าน ในการปฏิบัติทุกภารกิจล้วนเพื่อ พระองค์ทงั้ สิน้ อิมามทรงเชือ่ มัน่ ในพระประสงค์ของพระ ผูเ้ ป็นเจ้าทัง้ ในรูปแบบแห่งบทบัญญัติ (ตัชรีอ)ี และทัง้ ใน รูปแบบแห่งการดลบันดาล (ตักวีนี) และอิมามทราบดี ว่า ผูใ้ ดก็ตามทีท่ ำ� การเคลือ่ นไหวเพือ่ ให้บทบัญญัตขิ อง พระองค์ถูกบังคับใช้ กฎเกณฑ์และระบบแห่งการสร้าง ทัง้ หมดก็จะช่วยเหลือเขาเอง ท่านอิมามมัน่ ใจอย่างแน่ว แน่วา่ "และไพร่พลแห่งชัน้ ฟ้าและแผ่นดินเป็นของอัลลอฮ์ และพระองค์คอื ผูท้ รงรอบรูแ้ ละปรีชาญาณเสมอ" อิมาม ยึดมัน่ ในกฎเกณฑ์และบทบัญญัตขิ องพระองค์ และใช้ สิง่ นีใ้ นการขับเคลือ่ นขบวนการต่อสูข้ องท่าน ขบวนการ เคลือ่ นไหวและการต่อสูข้ องท่านอิมามเพือ่ ให้ประชาชน และประเทศชาตินนั้ พบกับความผาสุขทีจ่ รี งั บนพืน้ ฐาน ของอิสลาม และท่านถือว่าสิง่ นีเ้ ป็นหน้าทีจ่ ากพระผูเ้ ป็น เจ้า ด้วยกับอุดมการณ์เพือ่ พระผูอ้ ภิบาลทีท่ า่ นอิมามให้

ความส�ำคัญ จึงเปรียบเสมือนเป็นกุญแจส�ำคัญที่ได้ไข ชัยชนะอันยิ่งใหญ่นี้ให้กับท่านและประชาชาติอิสลาม 2. ท่านมีความเชื่อมั่นต่อบทบาทของประชาชน ในแนวคิดและสถาบันการเมืองของท่านถือว่าประชาชน ทุกคนนัน้ มีคณ ุ ค่าและมีความสูงส่ง ทัง้ ในด้านความเป็น มนุษย์และในด้านการก�ำหนดทิศทางต่างๆ ของสังคม และถือว่าสิง่ นีค้ อื คุณค่าทีต่ อ้ งสรรเสริญ พลังอ�ำนาจของ ประชาชน มีบทบาทในการก�ำหนดชะตากรรมของสังคม กล่าวคือ มติของประชาชนและสังคมนัน้ เป็นสิง่ ส�ำคัญ ในการก�ำหนดโครงสร้างของระบอบการปกครองเพื่อ ประชาชนสูป่ ระชาชนบนพืน้ ฐานอิสลาม มิใช่ประชาธิปไตย อันจอมปลอมอย่างอเมริกาหรือพวกพ้องของเขา ทีเ่ ป็น เพียงแต่สโลแกนหลอกลวงประชาชนเท่านั้น 3. การท�ำให้เวทีโลกหันมาสนใจต่อแนวคิดและ สถาบันการเมืองเช่นนี้ การน�ำเสนอทัศนะทางการเมือง ของท่าน อิมามมีมายังมนุษยทุกชาติพนั ธ์ุ มิได้จำ� กัดเฉพาะ ประชาชนชาวอิหร่านเพียงเท่านัน้ แต่ประชาชาติอหิ ร่าน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 17


ได้รับฟัง ยืนหยัดและน�ำมันมาสู่การปฏิบัติ, ต่อสู้จน ได้มาซึ่งเกียรติยศและความเป็นไทของตน ท่านอิมาม ต้องการส่งสาส์นนีใ้ ห้แก่มนุษยชาติทวั่ โลก แนวคิดและ สถาบันการเมืองของอิมามต้องการมอบ ความเป็นอิสระ ศักดิศ์ รี และศรัทธา ให้แก่ประชาชาติอสิ ลาม รวมถึงเป็น สาส์นที่ส่งไปยังประชาคมโลกอีกด้วย ท่านมีความเชื่อ ว่า สิ่งนี้คือภาระหน้าที่ของมุสลิมคนหนึ่ง ความแตก ต่างระหว่างแนวคิดของอิมามกับแนวคิดอืน่ คือ แนวคิด นีไ้ ม่ตอ้ งใช้ระเบิดรถถัง ลูกกระสุนหรืออาวุธใดๆ ในการ เรียกร้องความสนใจจากผู้คน อเมริกาเชื่อว่า หน้าที่ ตนต่อประชาคมโลกนั้น คือการขยายความค�ำว่าสิทธิ มนุษยชน และประชาธิปไตย วิธกี ารขยายประชาธิปไตย ของตนคือการใช้ระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมา ! และการใช้ ระเบิด รถถัง การท�ำสงคราม และการท�ำรัฐประหาร เช่น ในละตินอเมริกา และแอฟริกา! ปัจจุบนั ในตะวันออกกลาง ก็สามารถพบเห็นการเล่นตลก การหลอกลวง การกดขี่ และอาชญากรรมอย่างมากมาย พวกเขาต้องการขยาย ค�ำว่า สิทธิมนุษยชนและประกาศสาส์นของตนเองด้วย วิธกี ารเช่นนี้ !! ส่วนสถาบันการเมืองแห่งอิสลาม ได้ปา่ ว ประกาศสาส์นของตน ดั่งเช่นสายลมพัดพากลิ่มหอม ของดอกไม้ให้ตลบอบอวลต่อความหอมกรุ่น 4. แนวคิดและสถาบันการเมืองของอิมามโคมัยนี (ร.ฮ) คือการปกป้องรักษาคุณค่าทัง้ หลาย ซึง่ ท่านอิมาม ได้กล่าวถึงอย่างชัดเจนในประเด็นของวิลายะตุลฟะกีฮฺ หลังจากการปฏิวัติอิสลามและการตั้งรัฐอิสลามขึ้นคน หลายกลุม่ พยายามน�ำเสนอประเด็นของวิลายะตุลฟะกิฮฺ ในรูปแบบที่ไม่ถูกต้อง เสียหาย และตรงข้ามกับความ เป็นจริง การตีความทีบ่ ดิ เบือนจากความจริง การโกหก การเรียกร้องในสิ่งทีข่ ัดกับระบอบการเมืองของอิสลาม

18 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

และขัดกับแนวคิดทางการเมืองของท่านอิมาม จนเป็น เหตุให้ ศัตรูนำ� ไปประกาศเพือ่ โจมตีรฐั อิสลาม ซึง่ สิง่ นีม้ ี มาตัง้ แต่ยคุ แรกของการปฏิวตั ิ มิใช่เพิง่ เกิดขึน้ ในปัจจุบนั 5. ประเด็นสุดท้าย เกี่ยวกับความโดดเด่นของ แนวคิดและสถาบันการเมืองของอิมามโคมัยนี คือ ความ ยุติธรรมในสังคม สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดในสถาบันการเมือง การปกครองของท่านอิมาม คือการรักษาความยุตธิ รรม ต่อสังคม ในทุกๆกระบวนการการปกครอง ทัง้ ในการร่าง กฏหมาย การบังคับใช้ การตัดสินความ จะต้องให้ความ ส�ำคัญและค�ำนึงถึงความยุตธิ รรมและการเติมเต็มช่อง ว่างความต่างของระดับชนชั้นในชาติเป็นหลัก


อิมามมะฮ์ดี

ในมุมมองของ ปรัชญาประวัติศาสตร์

บทความโดย เชคมิกด๊าด วงศ์เสนาอารีย์

แนวคิดเรื่องอิมามมะฮ์ดมี ไิ ด้เป็ นแนวคิด ที่อุปโลกน์ ขนึ ้ โดยชนชาติใดชนชาติหนึ่ง และ มิได้ เป็ นนิยายปรั มปราที่แต่ งขึน้ โดยผู้ด้อย โอกาสและผู้ถกู กดขี่ในหน้ าประวัตศิ าสตร์ เพื่อ ทดแทนสภาพความเป็ นอยู่ท่เี ลวร้ ายของพวก เขา ทว่ ามันเป็ นความเชื่ออันมั่นคงที่มีอยู่ใน ทุกศาสนา อีกทัง้ ยังเป็ นความเชื่อที่เป็ นที่เห็น พ้ องต้ องกันในหมู่มุสลิมถึงแม้ ว่าจะมีข้อแตก ต่ างในรายละเอียดปลีกย่ อยบ้ างก็ตาม ซึ่งใน กระบวนทัศน์ ของอิสลาม ความเชื่อดังกล่ าวมี ที่มาจากตัวบทที่ชัดเจนของอัลกุรอาน รวม ไปถึงหะดีษที่มีอยู่เป็ นจ�ำนวนมากถึงระดับที่ สร้ างความมั่นใจในความถูกต้ องและขจัดข้ อ สงสัยในความเป็ นเท็จของมันได้ (ตะวาตุร)

ในท่ามกลางนิกายต่างๆ ของศาสนาอิสลาม ถือได้ว่าชีอะฮ์เป็นนิกายที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ในการน�ำเสนอแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับอิมามมะฮ์ดี ซึ่ง ชีอะฮ์ได้ให้ความส�ำคัญกับแนวคิดนีเ้ ป็นพิเศษ อีกทัง้ ยัง มีตวั บททางศาสนาและรายละเอียดทีบ่ นั ทึกไว้มากกว่า นิกายอืน่ ๆ ทัง้ หมด ในบทความนีเ้ ราจะพยายามศึกษา ถึงรายละเอียดใหม่ ๆ เกี่ยวกับปรัชญาประวัติศาสตร์ที่ สามารถวิเคราะห์ได้จากโลกทัศน์อิสลามโดยรวมตาม หลักคิดของชีอะฮ์ทมี่ คี วามเชือ่ ในอิมามท่านที่ 12 รวมไป ถึงการเร้นกาย (อัลฆ็อยบะฮ์) การรอคอย (อัลอินติซอร) และการปรากฏกาย (อัซซุฮูร) ซึ่งชีอะฮ์เป็นเพียงนิกาย เดียวทีก่ ล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านีไ้ ว้อย่างชัดเจน รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีได้ ก่อให้เกิดค�ำถามและข้อสงสัยขึน้ เกีย่ วกับกฎเกณฑ์ทาง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 19


ประวัติศาสตร์ (สุนัน อัตตารีค) รวมไปถึงการปรากฏ กาย บทบาทของมหาบุรุษ (อัลมะฮ์ดี) ที่โดดเด่นเหนือ มวลชน แนวคิดที่เกี่ยวกับการรอคอย และการปฏิเสธ บทบาทหน้าที่ของปัจเจกบุคคลและประชาชาติในการ สร้างอารยธรรม ซึ่งทั้งหมดนี้ท�ำให้การน�ำเสนอราย ละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องอิมามมะฮ์ดีและผลกระ ทบของแนวคิดนี้ที่มีต่อความเข้าใจในประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจและควรแก่การศึกษา และในบทความนีเ้ ราจะท�ำการศึกษาในประเด็น ที่ส�ำคัญต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความเชื่อในอิมามมะฮ์ดีขัดแย้งกับแนวคิด เรื่องกฎเกณฑ์ทางประวัติศาสตร์หรือไม่? 2. บทบาทของอิมามมะฮ์ดที มี่ ตี อ่ ประวัตศิ าสตร์ เป็นเหตุผลที่จะมาปฏิเสธหน้าที่ความรับผิดชอบของ ประชาชาติหรือไม่? 3. พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ตามโลกทัศน์ แห่งอัลมะฮ์ดี

20 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

1. อัลมะฮ์ ดกี ับกฎเกณฑ์ ทางประวัตศิ าสตร์ ในขณะทีค่ นกลุม่ หนึง่ ท�ำการศึกษาเกีย่ วกับบทบาท ของอิมามมะฮ์ดีในการปฏิรูปและการน�ำสังคมมนุษย์ ไปสู่ความสมบูรณ์และความผาสุก เขาก็อาจคิดไปได้ ว่าขบวนการทางประวัติศาสตร์และการสร้างอนาคต นั้นขึ้นอยู่กับผู้น�ำท่านนี้เท่านั้น โดยที่องค์ประกอบ อื่นๆ ไม่มีความส�ำคัญใดๆ เพราะบุคคลคนเดียวที่ สามารถสร้างชัยชนะอันยิง่ ใหญ่ได้กค็ อื อิมามผูเ้ ร้นกาย (อัลอิมาม อัลฆออิบ) เมือ่ เป็นเช่นนีแ้ ล้วจะถือว่าความเชือ่ ในอัลมะฮ์ดี ขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ทางประวัตศิ าสตร์ (สุนนั อัตตารีค) หรือไม่? ก่อนจะตอบค�ำถามข้างต้น เป็นการดีที่เราจะ ท�ำการแก้ไขปัญหาในระดับทฤษฎีโดยรวม เพราะว่า ข้อสงสัยดังกล่าวโดยพื้นฐานแล้วตั้งขึ้นมาเพื่อถาม เกี่ยวกับกฎและเจตจ�ำนงเสรีของมนุษย์ว่า ทั้งสองสิ่งนี้ สามารถรวมกันได้หรือไม่? แล้วมนุษย์จะก�ำหนดชะตา กรรมของเขาได้อย่างไรในขณะที่กฎเกณฑ์ต่างๆ นั้น


ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแปรผัน? ด้วยเหตุนี้เอง คน บางกลุม่ จึงคิดว่าการปกป้องหลักการทีว่ า่ ด้วยเจตจ�ำนง เสรีของมนุษย์เป็นการปฏิเสธแนวคิดทีว่ า่ ด้วยกฎเกณฑ์ โดยยกเว้นไว้เพียงเรื่องของประวัติศาสตร์เท่านั้น และ เช่นเดียวกันนี้ พวกเขาก็กล่าวว่า ความเชื่อในอิมาม มะฮ์ดีในฐานะที่ท่านเป็นผู้น�ำการปฏิวัติโลกจ�ำเป็นจะ ต้องควบคู่ไปกับการปฏิเสธแนวคิดที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์ ทางประวัติศาสตร์ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ความ เชื่อในกฎเกณฑ์อันแน่นอนของประวัติศาสตร์มิได้ขัด แย้งกับเจตจ�ำนงเสรีของมนุษย์แต่อย่างใด ตามทีช่ ะฮีด มุฮัมมัด บากิร อัศศ็อดร์ ได้กล่าวไว้ว่า “กฎเกณฑ์ทางประวัตศิ าสตร์มไิ ด้มาจากฟากฟ้า แต่มนั มาจากน�ำ้ มือของมนุษย์เอง ‘แท้จริงอัลลอฮไม่ทรง เปลีย่ นแปลงกลุม่ ชนใด จนกว่าพวกเขาจะเปลีย่ นแปลง ตัวของพวกเขาเอง’ ‘มาตรแม้นว่าพวกเขาด�ำรงอยู่ใน หนทางที่เที่ยงตรง เราก็ให้สายน�้ำไหลหลั่งลงมาสู่พวก เขาอย่างมากมาย’ ฉะนั้น มนุษย์ก็ยังคงมีจุดยืนทาง ศรัทธาทีแ่ สดงให้เห็นถึงอิสรภาพ การเลือกสรร และการ ตัดสินใจของเขา ซึง่ จุดยืนดังกล่าวจะน�ำมาซึง่ ความเชือ่ ม โยงกับกฎเกณฑ์ทางประวัติศาสตร์ อันจะน�ำไปสู่การ ตอบแทนทีเ่ หมาะสม และผลทีเ่ หมาะสมกับเหตุของมัน” และตามที่กล่าวมานี้ก็ถือได้ว่า ข้อสงสัยที่กล่าว ว่าแนวคิดทีเ่ ชือ่ ในกฎเกณฑ์ทางประวัตศิ าสตร์และความ เชื่อในผู้น�ำผู้ปลดปล่อยมีความขัดแย้งกันก็ถือเป็นข้อ สงสัยที่ไร้น�้ำหนัก เพราะความเชื่อในผู้น�ำท่านนี้มิได้ ปฏิเสธองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีส่วนส�ำคัญในขบวนการ ทางประวัติศาสตร์ นั่นก็เพราะว่าองค์ประกอบที่มีส่วน ในการผลักดันขบวนการทางประวัติศาสตร์นั้นมีหลาก หลาย ทัง้ มนุษย์ มหาบุรษุ กฎเกณฑ์ สภาวะทีพ่ น้ ญาณ

วิสัย (อัลฆ็อยบ์) ฯลฯ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อัลมะฮ์ดีนั้น เป็นส่วนหนึง่ ของเงือ่ นไขทีจ่ ะก่อให้เกิดการปฏิวตั โิ ลก ซึง่ ทัง้ หมดนีก้ ล็ ว้ นแต่ยอ้ นกลับไปยังแผนการของพระเจ้าที่ มีต่อการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์และการเกิดขึ้นของ สังคมแห่งความยุตธิ รรมทีป่ กครองโดยอิมามผูป้ ราศจาก ความผิดพลาด (อัลอิมาม อัลมะอ์ศูม) โดยที่เราจะเห็น ได้ถงึ แผนการของพระผูเ้ ป็นเจ้าจากการพิทกั ษ์รกั ษาชีวติ ของผู้น�ำการปฏิวัติโลก รวมถึงการประทานอายุขัยอัน ยืนยาวให้แก่ท่าน ดังที่เป็นประเด็นศึกษากันในหัวข้อ ปรัชญาของการเร้นกาย 2. อิมามกับประชาชาติ ประเด็ น ที่ ส องที่ จ ะต้ อ งท� ำการศึ ก ษากั น ก็ คื อ ความเชื่อในผู้น�ำและอิมามผู้ปลดปล่อยเป็นเหตุผลที่ จะมาปฏิเสธหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของประชาชาติ ดัง เช่นทีบ่ างแนวคิดทีม่ คี วามเข้าใจผิดเกีย่ วกับการรอคอย เชื่อกันหรือไม่?

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 21


หากพิจารณาตามค�ำสอนของอัลกุรอาน ประชาชาติ กายของอิมามยังก่อให้เกิดภาระหน้าที่ใหม่ท่ีให้ความ อิสลามถือเป็นกลุ่มชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไม่มีที่ ส�ำคัญแก่ประชาชาติในการบรรลุถึงเป้าหมายอีกด้วย สิน้ สุด ซึง่ สิง่ นีเ้ ป็นสิง่ ทีต่ วั บทมากมายได้กล่าวถึงไว้ เช่น การเร้นกายของอิมามมิได้หมายถึงการเกิดช่อง ว่างในการชี้น�ำจนประชาชาติต้องกลายเป็นเหมือนฝูง ُ ُ ِ ‫‌ون بِال ْ َم ْع ُر‬ ِ َّ‫‌ج ْت لِلن‬ ‫‌وف‬ َ ‫اس تَ ْأ ُم ُر‬ َ ‫ُكنتُ ْم َخ ْي َ‌ر أ َّم ٍة أ ْخ ِر‬ แกะที่ปราศจากผู้เลี้ยงดู ทว่ายังตัวแทนที่ท�ำการชี้น�ำ َ ‫َوتَ ْن َه ْو َن َعنِ ال ْ ُم‬ ‫ون بِاللَّـ ِه‬ َ ُ‫نك ِر‌ َوتُ ْؤ ِمن‬ และปกปักรักษาสาส์นแห่งการเป็นตัวแทนของพระเจ้า “สูเจ้าเคยเป็นประชาชาติทดี่ ที สี่ ดุ ทีไ่ ด้ถกู น�ำมาสู่ บนหน้าแผ่นดิน (ริสาละฮ์ อัลอิสติคลาฟ) ซึ่งนี่ก็ถือเป็น มวลมนุษย์ ก�ำชับกันให้ทำ� ความดีและห้ามปรามการท�ำชัว่ รูปแบบหนึง่ ของภาระหน้าทีท่ ปี่ ระชาชาติมี นัน่ ก็คอื การ และศรัทธาในอัลลอฮ์” (บทอาลุอิมรอน โองการที่ 110) ปกปักรักษาสถาบันแห่งการวินิจฉัย (อัลอิจญ์ติฮาด) َ ِ ‫ َو َك َذل‬การสนับสนุน และผลักดันให้มีผู้น�ำทางนิติบัญญัติที่มี ‫ك َج َع ْلنَا ُك ْم أُ َّم ًة َو َس ًطا ل ِّتَ ُكونُوا ُش َه َد َاء َع َلى‬ ُ ‫‌س‬ ِ َّ‫ الن‬ศักยภาพในการชี้น�ำประชาชาติอิสลามเกิดขึ้น ‫يدا‬ ً ‫ول َع َل ْي ُك ْم َش ِه‬ َ ‫اس َويَ ُك‬ َّ ‫ون‬ ُ ‫الر‬ กล่าวโดยสรุปคือ ประชาชาติและอิมามนั้นถือ “และเช่นนีท้ เี่ ราได้กำ� หนดให้สเู จ้าเป็นประชาชาติ เป็นปีกสองข้างทีค่ อยพยุงประวัตศิ าสตร์ไว้ดว้ ยกัน และ สายกลาง เพือ่ ทีส่ เู จ้าจักได้เป็นสักขีพยานแก่มวลมนุษย์ เป็นไปไม่ได้ทขี่ บวนการนีจ้ ะทะยานสูฟ่ ากฟ้าแห่งการสิน้ และศาสนทูตก็จะเป็นสักขีพยานแก่สูเจ้า” (บทอัล สุดโดยปราศจากปีกข้างใดข้างหนึง่ สิง่ นีเ้ ป็นสิง่ ทีเ่ ข้าใจ บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 143) ได้จากรากค�ำในทางภาษาของค�ำสองค�ำนี้ คือ ค�ำว่า ประชาชาติที่อัลกุรอานกล่าวถึงนี้เป็นไปไม่ได้ที่ “อัลอุมมะฮ์” (ประชาชาติ) และ “อัลอิมาม” (ผูน้ ำ� ) ซึง่ อิมาม อุดมการณ์ของมันจะหยุดนิ่งลง ในทางตรงกันข้าม นั้นท�ำการน�ำประชาชาติ (ยะอุมมุลอุมมะฮ์) อีกทั้ง กลับจะต้องเป็นสังคมทีม่ กี ารเคลือ่ นไหวไปสูเ่ ป้าหมาย ประชาชาติ (อุมมะฮ์) ก็จ�ำเป็นจะต้องมีผู้น�ำ (อิมาม) ปลายทางอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้เป็นการ ที่คอยน�ำพวกเขาในการเดินหน้า (อัลอิมาม ยะกูดุล เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องที่ไม่มีการหยุดนิ่งไม่ว่าจะอยู่ อุมมะฮ์ อิลัลอะมาม) ในสถานการณ์ใดก็ตาม นั่นก็เพราะว่าอุดมการณ์ของ ดังนัน้ ในยุคแห่งการเร้นกาย (อัศร์ อัลฆ็อยบะฮ์) ประชาชาตินี้ยึดโยงอยู่กับอัลลอฮผู้ไม่มีวันตาย อีกทั้ง ประชาชาติกย็ งั คงมีหน้าทีต่ อ่ สังคมในการเป็นสักขีพยาน ยังยึดโยงอยู่กับผู้เป็นสักขีพยานอย่างท่านศาสดาและ ต่อมวลมนุษย์ สนับสนุนการท�ำความดีและห้ามปราม บรรดาอิมาม และถึงแม้วา่ การปรากฏกายของอิมามจะ การท�ำชัว่ การด�ำรงไว้ซงึ่ ศาสนาและพิทกั ษ์รกั ษาเสาหลัก มีส่วนช่วยให้ประชาชาติปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ของมัน เช่นเดียวกับทีม่ หี น้าทีใ่ นการสร้างความสมบูรณ์ แต่ทว่าการเร้นกายของท่านก็ไม่อาจเป็นเหตุผลทีจ่ ะมา ให้แก่เงือ่ นไขในการปรากฏกาย (อัซซุฮรู ) ด้วยการสร้าง ผ่อนปรนประชาชาติจากหน้าทีท่ างศาสนาและความรับ ผูน้ ำ� ทางจิตวิญญาณทีม่ คี วามบริสทุ ธิใ์ จ ผูท้ ไี่ ด้ผา่ นความ ผิดชอบทีม่ ตี อ่ ประวัตศิ าสตร์ได้เลย ยิง่ ไปกว่านัน้ การเร้น ยากล�ำบาก บททดสอบ และการต่อสู้เพื่อพิทักษ์รักษา

22 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


ศาสนา และเป็นผูใ้ ห้การช่วยเหลือมนุษย์ผถู้ กู กดขีแ่ ละ ด้อยโอกาส การเกิดขึ้นของผู้น�ำในลักษณะดังกล่าวใน ประชาชาติอสิ ลามถือเป็นหลักประกันในการสร้างกลุม่ คนทีจ่ ะให้การช่วยเหลืออิมามในระยะยาว อีกทัง้ ยังสร้าง กลุม่ คนแนวหน้าทีม่ คี วามสามารถในการบริหารกิจการ ของรัฐบาลโลกและสังคมแห่งความยุตธิ รรมเพือ่ เตรียม รับการมาปรากฏกายของอิมามอีกด้วย

อันอมตะของพระผู้เป็นเจ้า อย่างไรก็ดี ระหว่างจุดเริ่ม ต้นและจุดสิ้นสุดมีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์อัน ยาวนาน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสี่ขั้นได้ดังนี้ • ขัน้ ทีห่ นึง่ : การสร้างอาดัมและการพ�ำนักอยูใ่ น สวรรค์ • ขัน้ ทีส่ อง: ธรรมชาติบริสทุ ธิ์ (อัลฟิฏเราะฮ์) และ ความเป็นเอกภาพ • ขั้นที่สาม: ความขัดแย้งและความแตกแยก 3.วิวัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์ ตามโลกทัศน์ แห่ ง • ขั้นที่สี่: สังคมแห่งอุดมคติ อัลมะฮ์ ดี ประวัติศาสตร์นั้นมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ซึ่ง ขัน้ ที่หนึ่ง: การสร้างอาดัมและการพ�ำนักอยู่ในสวรรค์ จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ตามโลกทัศน์ของอิสลาม ในอัลกุรอานมีโองการมากมายทีก่ ล่าวถึงวิวฒ ั นาการ ก็คอื การสร้างอาดัมและเฮาวาอ์ ส่วนจุดสิน้ สุดและเป้า ในขัน้ นีแ้ ละรายละเอียดของมัน เช่น ซูเราะฮ์อลั บะเกาะ หมายของประวัตศิ าสตร์กค็ อื การเกิดขึน้ ของสังคมแห่ง เราะฮ์ โองการที่ 29-238 ซุเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ โองการที่ อารยชนทีป่ ระสบความส�ำเร็จอย่างสมบูรณ์ในการสร้าง 10-25 ซูเราะฮ์ฏอฮา โองการที่ 115-126 ซูเราะฮ์อลั หิจร์ การเคารพบูชาพระเจ้าทีส่ มบูรณ์แบบ (อัลอุบดู ยี ะฮ์ อัล โองการที่ 28-43 ซูเราะฮ์อลั อิสรออ์ โองการที่ 62-65 และ กามิละฮ์) รวมไปถึงการส�ำแดงให้โลกได้เห็นถึงคุณค่า ซูเราะฮ์ศอด โองการที่ 71-85 ซึง่ การศึกษาโองการต่างๆ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 23


เหล่านีจ้ ะท�ำให้เราพบได้วา่ วิวฒ ั นาการในขัน้ นีเ้ ป็นเป็น รากฐานของประวัติศาสตร์มนุษย์ และยังส่งผลกระทบ ต่ออนาคตของประวัตศิ าสตร์มนุษย์อกี ด้วย มีเหตุการณ์ ส�ำคัญมากมายที่เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ก.การสร้างมนุษย์โดยมีสว่ นประกอบจากดินและ วิญญาณของพระเจ้า ข.การเทิดเกียรติอาดัมเหนือมวลมลาอิกะฮ์ ค.จุดเริ่มต้นของความเป็นปฏิปักษ์กันระหว่าง มนุษย์และชัยฏอน ง.การลงมาสูพ่ นื้ ดินของอาดัมและการเริม่ ต้นของ ขบวนการทางประวัติศาสตร์ ขัน้ ที่สอง: ธรรมชาติบริสุทธิ์ (อัลฟิฏเราะฮ์) และความ เป็นเอกภาพ 24 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

ตามหลักฐานที่ระบุไว้ในอัลกุรอานมนุษย์ในยุค เริ่มแรกยังคงอยู่ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ ในช่วงเวลา นั้นธรรมชาติบริสุทธิ์ (อัลฟิฏเราะฮ์) ยังคงปกคลุมไป ทัว่ สังคม และเอกานุภาพแห่งพระผูเ้ ป็นเจ้า (อัตเตาฮีด) ก็ยงั คงเป็นความเชือ่ ทีส่ งั คมยึดถือ ซึง่ การอธิบายในรูป แบบนี้แตกต่างจากทฤษฎีที่อธิบายว่ามนุษย์ยุคปฐม บรรพ์ด�ำรงอยู่อย่างห่างไกลจากศาสนาและความเชื่อ ในพระเจ้า สังคมของมนุษย์ในยุคปฐมบรรพ์เป็นสังคมที่ เรียบง่ายและมีขอบเขตจ�ำกัดในด้านของศักยภาพและ ความสามารถ อีกทั้งยังเป็นสังคมที่สมบูรณ์ไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ ท�ำให้ความขัดแย้งและความเป็นศัตรู ระหว่างมนุษย์เกิดขึน้ ได้นอ้ ย แต่นนั่ ก็ไม่ได้หมายความ ว่าความขัดแย้งและความเป็นศัตรูระหว่างมนุษย์จะไม่ เกิดขึน้ เลย เนือ่ งจากอัลกุรอานได้กล่าวถึงเรือ่ งของบุตร ทั้งสองของอาดัมที่มีนามว่าฮาบีลและกอบีล ซึ่งความ อิจฉาริษยาทีก่ อบีลมีตอ่ ฮาบีลได้เป็นเหตุให้เกิดการเข่น ฆ่าสังหารกันจนกลายมาเป็นอาชญากรรมแรกทีเ่ กิดขึน้ ในหน้าประวัติศาสตร์ และสืบเนื่องมาจากการแพร่ขยายของสังคม มนุษย์ในยุคปฐมบรรพ์ การเพิ่มขึ้นของจ�ำนวนสมาชิก ในสังคม การเกิดความแตกต่างขึ้นอย่างชัดเจน รวม ไปถึงความแตกต่างในลักษณะนิสยั และความต้องการ ความขัดแย้งจึงได้เกิดขึน้ ระหว่างสมาชิกในสังคม ท�ำให้ ความเป็นเอกภาพต้องสั่นคลอน เมื่อเป็นเช่นนี้ มนุษย์ จึงมีความจ�ำเป็นต้องอาศัยสิ่งที่จะมาก�ำหนดวิถีชีวิตที่ ถูกต้องให้แก่เขา จึงได้เกิดศาสดาที่มีหน้าที่ในการออก บทบัญญัติขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้ง และนี่ก็คือการเริ่ม ต้นของวิวฒ ั นาการขัน้ ใหม่ นัน่ คือขัน้ แห่งความแตกแยก


ขัน้ ที่สาม: ความแตกต่างและความแตกแยก

ِ ‫اس أُ َّم ًة َو‬ ‫‌ين‬ َ ‫َك‬ َ ‫ين ُمبَ ِّش ِر‬ َ ِّ‫اح َد ًة فَبَ َع َث اللَّـ ُه النَّبِي‬ ُ َّ‫ان الن‬ َ َ ‫ومن ِذ ِر‬ ‫اب بِال ْ َح ِّق لِيَ ْح ُك َم ب َ ْي َن‬ َ َ‫‌ين َوأن َز َل َم َع ُه ُم ال ْ ِكت‬ َُ ِ َّ‫الن‬ ‫اختَ َل ُفوا فِي ِه‬ ْ ‫يما‬ َ ِ‫اس ف‬

“มนุษย์เคยรวมตัวกันเป็นประชาชาติเดียว จาก นั้นอัลลอฮจึงได้ทรงส่งบรรดาศาสดามาเพื่อเป็นผู้แจ้ง ข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือน และพระองค์ได้ทรงประทาน คัมภีร์อันเปี่ยมไปด้วยความจริงมาพร้อมกับพวกเขา เพือ่ ทีม่ นั จักได้ตดั สินมวลมนุษย์ในสิง่ ทีพ่ วกเขาขัดแย้ง กัน” (บทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 213) ตามธรรมชาติบริสทุ ธิ์ (อัลฟิฏเราะฮ์) มนุษย์เป็นผูท้ ี่ มีความต้องการในสังคม ซึง่ ธรรมชาติบริสทุ ธิจ์ ะเรียกร้อง มนุษย์ไปสูก่ ารรวมตัวกันและการช่วยเหลือซึง่ กันและกัน แต่เช่นเดียวกันกับที่ธรรมชาติบริสุทธิ์เรียกร้องไปสู่การ รวมตัวกัน มันก็จะเรียกร้องให้มนุษย์ให้ความส�ำคัญ กับความต้องการและประโยชน์ส่วนตนของเขาก่อนผู้ อืน่ ด้วย และเช่นเดียวกับทีธ่ รรมชาติบริสทุ ธิเ์ รียกร้องไป สูก่ ารรวมตัวและการเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันมันก็จะเป็น เหตุทกี่ อ่ ให้เกิดความขัดแย้งด้วยเช่นกัน ดังทีอ่ ลั ลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีผู้เขียนตัฟซีรอัลมีซานได้อธิบายไว้ว่า “มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐาน ของการรวมตัวกันและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ใน ช่วงแรกมนุษย์ยังคงรวมตัวกันเป็นประชาชาติเดียว ต่อมาก็ได้เกิดความขัดแย้งในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ โดยเป็นไปตามธรรมชาติบริสุทธิ์ เป็นเหตุให้ต้องมีการ บัญญัตกิ ฎหมายทีม่ ายุตขิ อ้ พิพาทและข้อขัดแย้งในสิง่ ที่ เกีย่ วข้องกับการด�ำเนินชีวติ แล้วกฎหมายก็ได้กลายมา เป็นศาสนาทีท่ ำ� หน้าทีใ่ นการแจ้งข่าวดีและเตือนถึงผล

รางวัลและการลงโทษ อีกทัง้ ท�ำการปฏิรปู การเคารพบูชา พระเจ้าด้วยการส่งศาสดาและศาสนทูต ต่อมามนุษย์ก็ มีความคิดเห็นแตกต่างกันในความรูด้ า้ นศาสนา รวมถึง จุดก�ำเนิดและบัน้ ปลายชีวติ ก่อให้เกิดความสัน่ คลอนต่อ เอกภาพของศาสนา แล้วเกิดเป็นกลุม่ คนและชนชาติตา่ ง ๆ จากนัน้ ความแตกต่างอืน่ ๆ ก็เกิดขึน้ มาเป็นล�ำดับ ซึง่ ความแตกต่างประการทีส่ องนีม้ ใิ ช่สงิ่ อืน่ ใดนอกจากการ ละเมิดของผูท้ ไ่ี ด้รบั คัมภีร์ และปฏิบตั ใิ นสิง่ ทีเ่ ป็นอธรรม หลังจากทีห่ ลักการพืน้ ฐานและความรูไ้ ด้เป็นทีก่ ระจ่าง ชัดส�ำหรับพวกเขา อีกทั้งข้อพิสูจน์ยังได้มาสู่พวกเขา อย่างสมบูรณ์” ขัน้ ที่ส่ ี: สังคมแห่งอุดมคติ ทัศนคติของอิสลามทีม่ ตี อ่ ปรัชญาประวัตศิ าสตร์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 25


“และเราได้มอบมรดกให้แก่กลุม่ ชนทีเ่ คยถูกกดขี่ ซึง่ ประจิมทิศและบูรพาทิศของผืนพิภพทีเ่ ราได้บนั ดาล ความจ�ำเริญไว้ในนัน้ และพระพจนารถอันดีงามขององค์ อภิบาลของเจ้าก็ได้เป็นที่บริบูรณ์แล้วแก่ลูกหลานแห่ง อิสราเอลในการที่พวกเขาได้อดทน และเราได้ท�ำลาย สิ่งที่ฟาโรห์และกลุ่มชนของเขาได้ท�ำขึ้น และสิ่งที่พวก เขาได้สร้างไว้” (บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ 137) ซึ่งการมอบมรดกของพระผู้เป็นเจ้าที่กล่าวถึง ในโองการเหล่านี้ก็คือการที่พระองค์ทรงปฏิบัติตาม พันธสัญญาของพระองค์ทที่ รงประสงค์ให้ผศู้ รัทธาได้มี อ�ำนาจและเป็นตัวแทนของพระองค์ในสังคมทีป่ ราศจาก เป็นทัศนคติที่มองโลกในแง่ดี อิสลามมองอนาคตของ ซึ่งการตั้งภาคี มนุษยชาติในแง่บวกและมีความเห็นสอดคล้องกับส�ำนัก ‫ات‬ ِ ‫الصال ِ َح‬ ُ ‫آمنُوا ِم‬ َّ ‫نك ْم َو َع ِم ُلوا‬ َ ‫َو َع َد اللَّـ ُه ال َّ ِذ‬ َ ‫ين‬ คิดอืน่ ๆ ทีเ่ ชือ่ ในอนาคตทีเ่ ต็มไปด้วยความผาสุก ความ َ ْ ‫لَيَ ْستَ ْخلِ َفنَّ ُه ْم فِي‬ ِ ‫ال ْر‬ ‫ين ِمن قَ ْبلِ ِه ْم‬ َ ‫‌ض َك َما ْاستَ ْخ َل َف ال َّ ِذ‬ รุง่ โรจน์ และความยุตธิ รรม ซึง่ อิสลามมองว่าในจุดสิน้ สุด ِ َِ َ َ ‌ْ ‫َولَيُ َم ِّكنَ َّن ل َ ُه ْم ِدينَ ُه ُم ال َّ ِذي‬ ของวิถีทางทางประวัติศาสตร์ บรรดากัลยาณชนและผู้ ‫ارتَ َضى ل ُه ْم َوليُبَ ّدلنَّ ُهم ّمن‬ ทีม่ คี วามย�ำเกรงต่อพระเจ้าจะได้เป็นใหญ่ อีกทัง้ ผูท้ ถี่ กู ‫ون بِي َش ْيئًا َو َمن‬ َ ‫ب َ ْع ِد َخ ْوفِ ِه ْم أَ ْمنًا يَ ْعبُ ُدونَنِي َل يُ ْش ِ‌ر ُك‬ กดขี่ก็จะได้ปกครองผืนแผ่นดิน ดังโองการที่กล่าวว่า ِ ‫ك ُه ُم ال ْ َف‬ َ ِ‫ك فَ ُأولَـئ‬ َ ِ ‫َك َف َر‌ ب َ ْع َد َذل‬ ‫ون‬ َ ‫اس ُق‬ َ ْ ‫َول َ َق ْد َكتَ ْبنَا فِي ال َّزبُو ِر‌ ِمن ب َ ْع ِد ال ِّذ ْك ِ‌ر أَ َّن‬ ‫‌ض‬ َ ‫ال ْر‬ “อัลลอฮได้ทรงสัญญาไว้กบั ผูศ้ รัทธาในหมูส่ เู จ้า ‫ون‬ َّ ‫ يَ ِر‌ثُ َها ِعبَا ِد َي‬และผู้ที่ปฏิบัติดีว่า พระองค์จักทรงให้พวกเขาได้เป็น َ ‫الصال ِ ُح‬ “เราได้บนั ทึกไว้ในซะบูรหลังจากอัซซิกร์ (เตารอต) ตัวแทนบนหน้าแผ่นดินเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรง ว่า แผ่นดินนีจ้ กั สืบทอดโดยปวงบ่าวของข้าทีม่ คี ณ ุ ธรรม” ให้ชนก่อนหน้าพวกเขาเป็นตัวแทน และพระองค์จกั ทรง ท�ำให้ศาสนาของพวกเขาที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย (บทอัลอันบิยาอ์ โองการที่ 105) เป็นที่มั่นคงแก่พวกเขา และหลังจากความหวาดกลัว َ َ ْ ‫‌ق‬ َّ ِ ْ َ َِ ‫ون َم َشا‬ ِ ‫ال ْر‬ ‫‌ض‬ ‫ر‬ ‫ف‬ ‫ع‬ ‫ض‬ ‫ت‬ ‫س‬ ‫ي‬ ‫وا‬ ‫ن‬ ‫ا‬ ‫ك‬ ‫ين‬ ‫ذ‬ ‫ل‬ ‫ا‬ ‫م‬ ‫و‬ ‫ق‬ ‫ل‬ ‫ا‬ ‫ا‬ ‫ن‬ ‫ث‬ ‫ر‬ ‌ ‫و‬ ‫أ‬ ‫و‬ َ َُ ْ َ ُْ ُ َ َ ْ َ َ ْ َ ْ َ ของพวกเขาพระองค์ก็จะทรงเปลี่ยนให้มันเป็นความ َ ِّ ‫ار ْكنَا فِي َها َوتَ َّم ْت َكلِ َم ُت َ‌رب‬ ‫ك ال ْ ُح ْسنَى‬ ‌َ َ ‫ َو َم َغا ِر‌ب َ َها الَّتِي ب‬ปลอดภัย ให้พวกเขาได้เคารพบูชาข้า และไม่ต้ังภาคี َ ِ ‫ َع َلى بَنِي إ ِْس َر‌ائ‬ต่อข้าด้วยสิง่ ใด และหากผูใ้ ดปฏิเสธหลังจากนัน้ ก็ถอื ว่า ‫ان يَ ْصنَ ُع‬ َ ‫يل ب ِ َما َصبَ ُر‌وا َو َد َّم ْ‌رنَا َما َك‬ ‫ون‬ ُ ‫ فِ ْ‌ر َع ْو ُن َوقَ ْو ُم ُه َو َما َكانُوا يَ ْع ِر‬พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ชั่วช้า” (บทอันนูร โองการที่ 55) َ ‫‌ش‬

26 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


สังคมแห่งความดีงามนี้เป็นความจ�ำเป็นทาง ประวัติศาสตร์ที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ว่ากาล เวลาจะเนิน่ นานเพียงใด ซึง่ นีเ่ ป็นสิง่ ทีต่ วั บทรายงานได้ กล่าวถึงไว้ในทุกๆ นิกายของอิสลามว่า ‫لو لم يبق من الدهر إال يوم لبعث اهلل رجال من‬ ‫أهل بيتي يملؤها عدال كما ملئت جورا‬ “มาตรแม้นว่ากาลเวลาจะเหลืออยู่เพียงหนึ่งวัน อัลลอฮผูท้ รงสูงส่งก็จะส่งบุรษุ หนึง่ มาจากวงศ์วานของ ฉัน เขาจะท�ำการเติมเต็มโลกนี้ด้วยความยุติธรรม เฉก ที่มันเคยเต็มไปด้วยความฉ้อฉล” ‫لو لم يبق من الدنيا إال يوم لطوله اهلل تعالى حتى‬ ‫يملك رجل من أهل بيتي جبل ديلم وقسطنطنية‬ “ถึงแม้ว่าโลกดุนยานี้จะมีเวลาเหลืออยู่เพียงวัน เดียว อัลลอฮผู้ทรงสูงส่งก็จะทรงยืดเวลาของวันนั้นให้ ยาวนานขึ้น จนกว่าบุรุษหนึ่งจากวงศ์วานของฉันจักได้ ครอบครองภูเขาดัยลัมและคอนสแตนติโนเปิล”

ยุคต่ างๆ ของสังคมแห่ งอุดมคติ เพื่อที่บทความของเราจะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผูเ้ รียบเรียงมีความเห็นว่าเราน่าจะปิดท้ายประเด็นการ ศึกษาของเราเกีย่ วกับอิมามมะฮ์ดใี นมุมมองของปรัชญา ประวัตศิ าสตร์ดว้ ยทฤษฎีทกี่ ล่าวถึงยุคต่างๆ ของสังคม แห่งอุดมคติซึ่งเป็นประเด็นศึกษาที่น่าสนใจในเรื่องนี้ ท่านชะฮีดมุฮัมมัด อัศศ็อดร์ ผู้เขียนสารานุกรม อิมามมะฮ์ดี (เมาสูอะฮ์ อัลอิมาม อัลมะฮ์ดี) ได้ท�ำการ ศึกษาเกี่ยวกับโลกภายหลังจากการปรากฏกายของ อิมามมะฮ์ดีไว้ โดยอาจแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ได้ดังนี้ • ยุคแห่งการปรากฏกาย (อัศร์ อัซซุฮูร) • ยุคของกัลยาณมิตรผู้ทรงคุณธรรม (อัศร์ อัล เอาลิยาอ์ อัศศอลิฮีน) • ยุคของสังคมแห่งผู้ปราศจากความผิดพลาด (อัศร์ อัลมะอ์ศูม) ในยุคแห่งการปรากฏกาย สังคมมนุษย์จะเข้า สู่ความรุ่งเรือง ความผาสุก ความยุติธรรม และความ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 27


เจริญก้าวหน้าที่มนุษย์ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในยุคใด ซึง่ ตัวบทรายงานทางศาสนากล่าวถึงระยะเวลาของยุค นีไ้ ว้ตา่ งกัน รายงานบางบทกล่าวว่ายุคนีจ้ ะมีระยะเวลา ยาวนานถึงเจ็ดปี บางบทกล่าวว่าเก้าปี บางบทกล่าวว่า สิบเจ็ดปี หรือบางบทกล่าวว่าสีส่ บิ ปี แต่อย่างไรก็ดี หลัง จากการปรากฏกายของอัลมะฮ์ดปี ระวัตศิ าสตร์กจ็ ะเข้า สูย่ คุ ใหม่ทเี่ รียกว่ายุคแห่งอัลมะฮ์ดยี นู (ผูไ้ ด้รบั การชีน้ ำ� ) หรือที่ชะฮีดมุฮัมมัด อัศศ็อดร์ เรียกว่า “กัลยาณมิตร ผู้ทรงคุณธรรม” (อัลเอาลิยาอ์ อัศศอลิฮีน) ซึ่งภายหลัง จากอิมามมะฮ์ดโี ลกก็จะอยูภ่ ายใต้การปกครองของคน กลุ่มหนึ่งที่มีกล่าวถึงไว้ในตัวบทรายงานว่า “อัลมะฮ์ดี ยูน” ดังวจนะของศาสดามุฮัมมัดที่บันทึกอยู่ในบิหาร อัลอันวาร ว่า ‫يا علي سيكون من بعدي اثنا عشر إماما ومن‬ ‫بعدهم اثنا عشر مهديا فأنت أول االثنا عشر إماما‬

ก็เป็นคนแรกของอิมามสิบสองคนนัน้ ” และในค�ำวิงวอน (ดุอาอ์) บทหนึ่งก็กล่าวว่า ّ ‫اللهم‬ ‫صل على والة عهده واألئمة من بعده وبلغهم‬ ‫آمالهم وزد في آجالهم وأع ّز نصرهم‬

“ข้าแต่อลั ลอฮ ขอโปรดทรงประสาทพรแด่บรรดา ผูส้ บื ทอดต�ำแหน่งของเขา ผูเ้ ป็นอิมามภายหลังจากเขา และขอทรงท�ำให้ความปรารถนาของพวกเขาเป็นจริง และโปรดทรงเพิ่มระยะเวลาให้แก่พวกเขา และขอทรง ประทานเกียรติยศให้แก่ชัยชนะของพวกเขา ...” ชะฮีดมุฮัมมัด อัศศ็อดร์ กล่าวว่า “การปกครองของกัลยาณมิตรผูท้ รงคุณธรรมจะ เกิดขึน้ ในช่วงเวลาแห่งการวางรากฐานหรือการเปลีย่ น ผ่านที่จะน�ำสังคมโลกไปสู่ยุคแห่งการปราศจากความ ผิดพลาด (อัศร์ อัลอิศมะฮ์) ซึ่งความเห็นส่วนรวมที่ เป็นเอกฉันท์จะปราศจากความผิดพลาด (อัลมะอ์ศูม) “โอ้อะลี ภายหลังจากฉันจะมีอิมามสิบสองคน และเมื่อนั้นก็จะไม่มีความจ�ำเป็นใดที่จะต้องมีการแต่ง และหลังจากพวกเขาก็จะมีอลั มะฮ์ดสี บิ สองคน และเธอ ตั้งผู้น�ำเหมือนกับยุคของกัลยาณมิตรผู้ทรงคุณธรรม

28 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


แต่การเป็นผู้น�ำจะก�ำหนดโดยสภาและการคัดเลือก” ยุคของอัลมะฮ์ดยี นู หรือยุคแห่งกัลยาณมิตรผูท้ รง คุณธรรมจะมีระยะเวลานานนับสิบปี และหลังจากนั้น โลกก็จะเข้าสู่ยุดสุดท้ายของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ คือ ยุคของสังคมแห่งผู้ปราศจากความผิดพลาด (อัศร์ อัลมะอ์ศมู ) ทีส่ งั คมมนุษย์จะมีความเป็นเอกเทศในจัด บริหารจัดการโดยไม่ตอ้ งอาศัยผูน้ ำ� ทีม่ าจากการแต่งตัง้ แต่การบริหารปกครองทัง้ หมดจะอยูภ่ ายใต้อำ� นาจของ ผูท้ ไี่ ด้รบั การคัดเลือก ซึง่ คนกลุม่ นีก้ เ็ ป็นกลุม่ เดียวกันกับ กัลยาณมิตรผูท้ รงคุณธรรม เพียงแต่ขอ้ แตกต่างระหว่าง ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกกับกัลยาณมิตรผู้ทรงคุณธรรม (ดังที่ชะฮีดมุฮัมมัด อัศศ็อดร์ ได้กล่าวไว้) อยู่ตรงที่ “บรรดากัลยาณมิตรผู้ทรงคุณธรรมที่มาจากอัลมะฮ์ ดียูนนั้นเกิดขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติจากการอบรมที่ พิเศษ และได้รับอ�ำนาจจากอ�ำนาจที่เป็นไปตามหลัก การพื้นฐานและกฎเกณฑ์ที่ได้รับมาจากอิมามมะฮ์ดี ส่วนผูป้ กครองทีม่ าจากการเลือกตัง้ นัน้ มาจากความเห็น

ส่วนรวมที่เปี่ยมไปด้วยคุณธรรม ซึ่งจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่ บรรลุถงึ ความยุตธิ รรมขัน้ สูงถึงระดับของการปราศจาก ความผิดพลาด (อิศมะฮ์) ที่เกิดขึ้นโดยมิได้อาศัยความ จ�ำเป็นใดๆ ” ยุ ค สมั ย ดั ง กล่ า วจะมี ร ะยะเวลายาวนานอยู ่ หลายศตวรรษ ต่างกับบางทฤษฎีที่กล่าวว่ายุคแห่ง สังคมอุดมคติจะด�ำรงอยูเ่ พียงระยะเวลาสัน้ ๆ แล้วหลัง จากนั้นประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็จะเข้าสู่ความ อยุตธิ รรมความและความมืดมิดอีกครัง้ หนึง่ โดยอ้างอิง ตัวบทรายงานที่ไม่ได้รับการยอมรับบทหนึ่งที่กล่าวว่า “กาลเวลา (วันสิน้ โลก) จะอุบตั ขิ นึ้ เหนือเหล่าทุรชน” อย่างไรก็ตาม ความยุตธิ รรมของพระเจ้าก�ำหนด ว่ายุคแห่งสังคมอุดมคติจะต้องด�ำรงอยูอ่ ย่างยาวนานเท่า ทีจ่ ะเป็นไปได้ เพือ่ เป็นการทดแทนให้มนุษยชาติสำ� หรับ ความอยุติธรรมและการกดขี่ที่พวกเขาต้องประสบพบ เจอมาตลอดหน้าประวัติศาสตร์ อนึ่ง เราจะพบได้ว่า มีตัวบททางศาสนามากมายที่ยืนยันถึงความเชื่อของ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 29


เรา เช่น “พลพรรคแห่งสัจธรรมยังคงอยู่ในสภาพที่ยาก ล�ำบาก จนกระทั่งถึงช่วงเวลาที่ใกล้เข้ามา ซึ่งความสุข สบายในช่วงเวลานัน้ ยาวนานยิง่ ” ซึง่ วจนะบทนีบ้ ง่ บอก ถึงความสุขสบายทีย่ าวนานมิใช่ระยะเวลาสัน้ ๆ ทีส่ ญ ู สิน้ ไปอย่างรวดเร็ว อีกทัง้ ยังมีหะดีษกุดสียบ์ ทหนึง่ กล่าวว่า ‫وعزتي وجاللي ألظهرن بهم ديني وألعلن بهم كلمتي‬ ‫وألط ّهرن األرض بآخرهم من أعدائي وألم ّلكنه مشارق‬ ‫وألداولن األيام‬ ‫ ثم ألديمن ملكه‬... ‫األرض ومغاربها‬ ّ ‫بين أوليائي إلى يوم القيامة‬ “ขอสาบานด้วยเกียรติยศและความยิง่ ใหญ่ของ ข้า ข้าจะท�ำให้ศาสนาของข้าได้ปรากฎด้วยพวกเขา และจะเทิดวจนะของข้าด้วยพวกเขา และจะช�ำระล้าง ผืนแผ่นดินให้หมดสิน้ ไปจากศัตรูของข้าด้วยคนสุดท้าย ของพวกเขา และจะท�ำให้เขามีอำ� นาจในปัจฉิมทิศและ บูรพาทิศของผืนแผ่นดิน ... จากนั้นข้าก็จะบันดาลให้ 30 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

อ�ำนาจการปกครองของเขามีเวลาอันยาวนาน และข้า จะเปลี่ยนผ่านวันเวลาระหว่างกัลยาณมิตรของข้าไป จนถึงวันแห่งการฟื้นคืนชีพ” ซึง่ หะดีษกุดสียบ์ ทนีบ้ ง่ บอกอย่างชัดเจนว่า สังคม อุดมคติทจี่ ะสถาปนาขึน้ โดยอิมามมะฮ์ดจี ะด�ำรงอยูไ่ ป จนถึงวันแห่งการฟืน้ คืนชีพ และเช่นนีเ้ องทีส่ งั คมจะเข้าสู่ ความเจริญก้าวหน้าทางจิตวิญญาณหลังจากทีไ่ ด้ทำ� การ แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และ การแบ่งสันปันส่วนทรัพยากร เพื่อที่สมาชิกทุกคนใน สังคมจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสัมพันธ์อัน ใกล้ชิดกับพระผู้สร้าง “เพื่อที่คนทุกคนจะเฝ้าคอยการกลับไปพบกับ อัลลอฮผู้ทรงยิ่งใหญ่อย่างเต็มไปด้วยความปีติยินดีใน การบรรลุถงึ ความพึงพอพระทัยอันยิง่ ใหญ่ของพระองค์ และความโปรดปรานอันยืนนาน ซึ่งอัลลลอฮผู้ทรงยิ่ง ใหญ่และเกรียงไกรจะทรงประสงค์ที่จะรับพวกเขาไป สู่พระองค์โดยถ้วนหน้ากัน เสมือนเจ้าบ่าวที่รับตัวเจ้า สาว และคนรักที่กลับไปหาคนรักของตน จากนั้นพวก เขาทั้งหมดจะพบกับความตายในสภาพที่เหมือนกับ การดมกลิน่ อันหอมหวนของร็อยฮาน (พืชทีม่ กี ลิน่ หอม ชนิดหนึง่ ) และเมือ่ นัน้ ประวัตศิ าสตร์ของมนุษยชาติกจ็ ะ ปิดฉากลง เพือ่ เข้าสูก่ ารเริม่ ต้นของวันแห่งการฟืน้ คืนชีพ”


จริ ย ธรรม ในการอิบาดะฮ์ บทความโดย เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

"อิบาดะฮ์" เป้าหมายของการสร้าง และแก่นแท้ของอิบาดะฮ์ ค�ำน�ำ เป็นทีช่ ดั เจนยิง่ ว่า จริยธรรม (อัคลาก) และอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) มีผลกระทบโดยตรงต่อ กัน กล่าวคือ ในด้านหนึง่ จริยธรรมทีด่ งี ามจะเป็นสือ่ น�ำ และช่วยเสริมสร้างจิตวิญญาณในการอิบาดะฮ์ (การ เคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ให้เกิดขึ้นในตัวเรา ในอีก ด้านหนึง่ จากผลทีช่ ดั เจนและแน่นอนทีส่ ดุ ของอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ก็คือการช�ำระขัดเกลา จิตใจ (ตะฮ์ซีบุนนัฟซ์) หรือการประดับประดาตนเอง ด้วยคุณลักษณะต่างๆ ที่สวยงาม และการปลดเปลื้อง ตนเองออกจากคุณลักษณะทีไ่ ม่ดงี าม ตัวอย่างเช่น คัมภีร์ อัลกุรอานได้ชี้ให้เห็นถึงผลที่ชัดเจนจ�ำนวนมากมายที่ มนุษย์จะได้รับจากการอิบาดะฮ์ต่างๆ อย่างเช่น การ นมาซ การถือศีลอดและการจ่ายซะกาต (ทานภาคบังคับ และทานอาสา) โดยกล่าวว่า

‫الصلو َة تَ ْنهى َعنِ ال ْ َف ْحشا ِء َو ال ْ ُم ْن َك ِر‬ َّ ‫ا ِ َّن‬

“แท้ จริงการนมาซจะยับยั้ง (มนุษย์ ) จากสิ่ง น่ าเกลียดและความชั่ว” (1)

‫ُخ ْذ ِم ْن ا َ ْموال ِ ِه ْم َص َدقَ ًة تُ َط ِّه ُر ُه ْم َو تُ َز ّكي ِه ْم بِها‬

“(โอ้มฮุ มั มัด) เจ้าจงเอาส่ วนหนึง่ จากทรัพย์สนิ ของพวกเขาเป็ นทาน (ซะกาต) เพื่อเจ้ าจะท�ำให้ พวกเขาสะอาดบริสุทธิ์ และช�ำระขัดเกลาพวกเขา ด้ วยทานนั้น” (2) ท่านชะฮีดมุเฏาะฮ์ฮะรี ได้เขียนเกีย่ วกับเรือ่ งนีว้ า่ “ผลของอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) คือ การหลุดพ้นออกจากขอบเขตจ�ำกัดอันเล็กน้อยของการ ยึดติดตัวตน การหลุดพ้นออกจากขอบเขตของความ ทะเยอทะยานและอารมณ์ปรารถนาต่างๆ ที่เป็นความ จ�ำกัดและชั่วคราว กล่าวอีกส�ำนวนหนึ่งก็คือ ผลของ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 31


รักษามารยาทบางอย่างและปัญหาทางด้านจริยธรรม บางประการเกี่ยวกับอิบาดะฮ์นั้น ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ จ�ำเป็นมากยิ่งขึ้น ซึ่งมันจะประกอบขึ้นเป็นส่วนส�ำคัญ ของ “จริยธรรมในการอิบาดะฮ์” ด้วยเช่นกัน อิบาดะฮ์ เป้าหมายของการสร้ าง และแก่ นแท้ ของอิบาดะฮ์ ความหมายของอิบาดะฮ์ : “อิบาดะฮ์” คือ การ แสดงออกถึงความเป็นบ่าวและความต้องการ ณ เบื้อง พระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง และการอธิบาย ความต้องการและความปรารถนาในการพัฒนาสูค่ วาม สมบูรณ์จากพระองค์ ท่านอัฏฏอรีฮี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิบาดะฮ์ (การเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) จะท�ำมนุษย์ “มัจญ์มะอุลบะห์ร็อยน์” ว่า หลุ ด พ้ น ออกจากวงจรของความมุ ่ ง หวั ง และความ ‫ هى غاية الخضوع و التذلل و لذلك ال‬: ‫العبادة‬ ปรารถนาต่างๆ ทีจ่ ำ� กัด ผลของอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดี ‫تحسن اال هلل تعالى الذى هو مولى اعظم النعم فهو‬ ‫حقيق بغاية الشكر‬ พระผู้เป็นเจ้า) คือการพึ่งพิง (ยังพระผู้เป็นเจ้า) คือการ “ค�ำว่า อิ บาดะฮ์ (ในทางภาษา) หมายถึง การ ตัดความผูกพัน (จากทุกสิ่งทุกอย่าง) ผลของอิบาดะฮ์ (การเคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ในความเป็นจริงก็คือ แสดงถึงความนอบน้อมถ่อมตนและการยอมจ� ำนนขัน้ การที่มนุษย์จะโบยบินและออกจากขอบเขตอันจ�ำกัด สูงสุด ด้วยเหตุนีเ้ องจึ งไม่คู่ควรส�ำหรับสิ่ งอื น่ นอกจาก ของตน ออกจากความหลงตน การบูชาตนเอง ออก พระผูเ้ ป็ นเจ้าผูท้ รงสูงส่ง ซึ่งพระองค์ทรงเป็ นเจ้าของสูง จากความมุ่งหวัง ความปรารถนาและสิ่งต่างๆ ที่เป็น สุดของเนีย๊ ะอ์มตั (ความโปรดปรานและปั จจัยอ�ำนวย เรื่องเล็กน้อยและมีความจ�ำกัด... สภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สุข) ทัง้ ปวง ดังนัน้ พระองค์คือผูท้ รงคูค่ วรต่อการขอบคุณ มีเกียรติที่สุด สวยงามที่สุดและน่าประทับใจที่สุด คือ อย่างสุดซึ้ง” (4) และท่านยังได้กล่าวอีกว่า สภาพของการเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ต่อพระผู้เป็นเจ้า ‫ المواظبة على‬:‫والعبادة بحسب االصطالح هي‬ ที่เกิดขึ้นกับตัวมนุษย์” (3) ‫فعل المأمور به‬ เป็นสิง่ ชัดเจนแล้วว่า ลักษณะทีน่ า่ เกลียดหรือความ “และค�ำว่า“อิ บาดะฮ์ ในส�ำนวนวิ ชาการ หมาย สวยงามทางจริยธรรมบางประการนั้น ในรูปภายนอก ถึง การระวังรักษาการกระท�ำต่างๆ ทีเ่ ป็ นค�ำสัง่ (จาก แล้วมีความสัมพันธ์อย่างมากต่ออิบาดะฮ์ (การเคารพ พระผูเ้ ป็ นเจ้า)” (5) ภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ต่างๆ และเช่นเดียวกันนี้ การระวัง ท่านชะฮีดมุเฏาะฮ์ฮะรี ได้กล่าวเกีย่ วกับบทบาท

32 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


และความส�ำคัญของการอิบาดะฮ์ (การนมัสการพระผู้ เป็นเจ้า) ว่า “การอิบาดะฮ์ตา่ งๆ ถูกก�ำหนดขึน้ มาเพือ่ ที่ ว่าประชาชนจะได้ไม่ลมื ผูท้ วี่ างบทบัญญัติ และจะเสริม สร้างสายสัมพันธ์กับพระองค์อยู่ตลอดเวลา พวกเขา จะร�ำลึกอยูเ่ สมอว่าพวกเขามีพระผูเ้ ป็นเจ้า พระองค์จะ สอดส่องพวกเขาอยู่ตลอดเวลา และพระผู้เป็นเจ้าคือ ผูท้ รงวางบทบัญญัตทิ เี่ ทีย่ งธรรมในระหว่างพวกเขา” (6)

2. การกระท�ำ (อะมั้ล) บางอย่างหากกระท�ำ ด้วยเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า (กุรบะตัน อิลัลลอฮ์) แล้ว จะถูกนับว่าเป็นอิบาดะฮ์ และจะได้รับผลรางวัลเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การ ก�ำชับความดีและการห้ามปรามความชัว่ การสนองตอบ ค่าใช้จ่าย (นะฟะเกาะฮ์) ให้แก่ครอบครัว เป็นต้น 3. การละทิ้งและการกระท�ำ (อะมั้ล) ทุกอย่าง เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดและความพึงพอพระทัยจาก ประเภทของอิบาดะฮ์ พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งในกรณีเช่นนี้ การกระท�ำทั้งมวลของ ในมุมมองหนึ่งการอิบาดะฮ์ สามารถแบ่งออก มนุษย์จะกลายเป็นการอิบาดะฮ์ ดังเช่นทีท่ า่ นศาสนทูต เป็น 3 ประเภท คือ แห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้สัญญาไว้แก่ผู้ที่ถือศีลอดใน 1. การกระท�ำ (อะมัล้ ) บางอย่างซึง่ มีลกั ษณะของ เดือนรอมฎอนว่า ความเป็นอิบาดะฮ์อย่างแท้จริง และจ�ำเป็นต้องกระท�ำ ‫نومکم فیها عبادة و انفاسکم فیها تسبیح‬ ด้วยเจตนาเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้า “การนอนหลับของพวกท่านในเดื อนนี ้คือการ (กุรบะตัน อิลัลลอฮ์) หากมิเช่นนั้นแล้วจะไม่ถูกต้อง อิ บาดะฮ์ และลมหายใจของพวกท่านในเดือนนีค้ ือการ (บาฏิล) เช่น การอาบน�้ำฆุซุล การท�ำวุฎูอ์ การนมาซ สรรเสริ ญสดุดี (ตัสเบี ย๊ ะห์) ต่อพระผูเ้ ป็ นเจ้า” (7) การท�ำฮัจญ์ การจ่ายคุมซ์ ซะกาต (ทานบังคับ) และอืน่ ๆ ท�ำนองเดียวกัน ทุกๆ การกระท�ำ อย่างเช่น การ MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 33


มองไปยังใบหน้าของผู้รู้ (อาลิม) บิดาและมารดา การ เรียนรู้ปัญหาต่างๆ ของศาสนา การคิดใคร่ครวญ การ รักษาสิทธิ์ของผู้ศรัทธา การนิ่งเงียบ และอื่นๆ ก็ถือว่า เป็นอิบาดะฮ์ด้วยเช่นเดียวกัน (8) ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) กล่าวว่า

“แท้จริ งชนกลุม่ หนึง่ เคารพภักดีอลั ลอฮ์ดว้ ยความ มุง่ หวัง นัน่ คืออิบาดะฮ์ (การเคารพภักดี) แบบพ่อค้า และ แท้จริ งชนกลุม่ หนึง่ เคารพภักดีอลั ลอฮ์ดว้ ยความหวัน่ เกรง นัน่ คืออิ บาดะฮ์ (การเคารพภักดี) แบบทาส และแท้จริ ง ชนกลุ่มหนึ่งเคารพภักดีอลั ลอฮ์ดว้ ยการขอบคุณ นัน่ คือ ‫ ما يَتَ َق َّر ُب إِل َ َّى َع ْبدى ب ِ ِم ْثلِ أدا ِء َما ا ْفتَ َر ْض ُت َع َل ْي ِه‬อิ บาดะฮ์ (การเคารพภักดี) แบบเสรี ชน” (10) ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวไว้เช่นกันว่า “ไม่มสี ิ่งใดทีบ่ า่ วคนหนึง่ จะใช้เป็ นสือ่ ในการแสวงหา ความใกล้ชิดต่อข้าที ่ (ดียิ่ง) เหมื อนกับการปฏิ บตั ิ ตาม ‫ قوم عبدوا اهلل عز وجل خوفا فتلك‬:‫العبادة ثالثة‬ ‫ وقوم عبدوا اهلل تبارك وتعالى طلب‬،‫عبادة العبيد‬ สิ่ งทีข่ า้ ได้ก�ำหนดบังคับเหนือเขา” (9) ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีนอะลี (อ.) ยังได้แบ่งการอิ ‫ وقوم عبدوا اهلل عز‬،‫الثواب فتلك عبادة األجراء‬ บาดะฮ์ออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกับอีกมุมมองหนึ่งคือ ‫ وهي أفضل العبادة‬،‫وجل حبا له فتلك عبادة األحرار‬ “การเคารพภัก ดี (อิ บาดะฮ์ ) มี สามประเภท 1) การอิบาดะฮ์เชิงพาณิชย์ ชนกลุ่มหนึ่งเคารพภักดีอลั ลอฮ์ ผูท้ รงเกริ กเกี ยรติ ผูท้ รง 2) การอิบาดะฮ์เนื่องจากความกลัว เกรี ยงไกร เนือ่ งจากความหวัน่ กลัว นัน่ คือการอิ บาดะฮ์ 3) การอิบาดะฮ์แบบเสรีชน ของทาส และชนกลุม่ หนึง่ เคารพภักดีอลั ลอฮ์ ผูท้ รงจ�ำเริ ญ โดยท่านได้กล่าวว่า ‫ وإن‬،‫ إن قوما عبدوا اهلل رغبة فتلك عبادة التجار‬ผูท้ รงสูงส่ง เนือ่ งจากความมุง่ หวังในผลรางวัล นัน่ คือการ ‫ وإن قوما‬،‫ قوما عبدوا اهلل رهبة فتلك عبادة العبيد‬อิบาดะฮ์ของพ่อค้า และชนกลุม่ หนึ่งเคารพภักดีอลั ลอฮ์ ‫ عبدوا اهلل شكرا فتلك عبادة األحرار‬ผูท้ รงเกริ กเกี ยรติ ผูท้ รงเกรี ยงไกร เนือ่ งจากความรักทีม่ ี 34 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


ต่อพระองค์ นัน่ คือการอิ บาดะฮ์ของเสรี ชน และมันคือ กลายเป็นผูท้ มี่ คี ณ ุ ค่ามากขึน้ เพียงนัน้ กล่าวอีกส�ำนวน การอิ บาดะฮ์ทีป่ ระเสริ ฐทีส่ ดุ ” (11) หนึ่งก็คือ ในโลกแห่งการสร้างสรรค์ บรรทัดฐานในการ ก�ำหนดคุณค่าของมนุษย์กค็ อื อิบาดะฮ์และการยอมตน คุณค่ าของการอิบาดะฮ์ เป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ว่ามนุษย์จะแสดงออกถึง อิบาดะฮ์ (การเคารพภักดี) และการยอมมอบ ความอ่อนแอ ความไร้ค่า การเชื่อมความสัมพันธ์ของ ตนเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งนั้น คือสื่อน�ำ ตนเองต่อพระผูเ้ ป็นเจ้าโดยหนทางของการอิบาดะฮ์มาก สู่ความย�ำเกรง (ตักวา) และความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็น เท่าใด เขาก็จะได้รับเกียรติศักดิ์ศรีและความเป็นอิสระ เจ้า คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า ชนมากขึ้นเพียงนั้น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : วัน หนึง่ ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้เข้ามาหาบรรดาผูช้ ว่ ยเหลือ َ ‫ذين‬ َ َّ ‫اس ا ْعبُ ُدوا َرب َّ ُك ُم الَّذى َخ َل َق ُك ْم َو ال‬ ُ ّ‫يا أيُّ َها الن‬ ของท่าน ภายหลังจากการสรรเสริญสดุดีต่อพระผู้เป็น ِ ِ ُ ُ ّ َ َ ‫ون‬ ‫ق‬ ‫ت‬ ‫ت‬ ‫م‬ ‫ك‬ ‫ل‬ ‫ع‬ ‫ل‬ ‫م‬ ‫ك‬ ‫ل‬ ‫ب‬ ‫ق‬ ‫ن‬ ‫م‬ َ ُ َ َ َّ ْ َ ْ ْ ْ เจ้าและการซอละวาตต่อท่านศาสดาแล้วท่านกล่าวว่า “โอ้ หมู่ชนเอ๋ ย! จงเคารพภักดีพระผู้อภิบาล ‫یا ایها الناس ان اهلل ما خلق العباد اال لیعرفوه‬ ของพวกท่ าน ผู้ซงึ่ ได้ ทรงสร้ างพวกท่ านขึน้ มาและ ‫فاذاعرفوه عبدوه فاذا عبدوه استغنوا بعبادته عن‬ บรรดาผู้ทม่ี าก่ อนพวกท่ าน หวังว่ าพวกท่ านจะได้ ‫عبادة من سواه‬ (12) ย�ำเกรง” “โอ้หมู่ชนเอ๋ย! พระผูเ้ ป็ นเจ้าไม่ได้สร้างปวงบ่าว ไม่ว่ามนุษย์จะย่างก้าวไปบนเส้นทางของอิบา ของพระองค์ขึ้นมา (เพือ่ อืน่ ใด) นอกจากเพือ่ ให้พวกเขา ดะฮ์ (การเคารพภักดี) พระผู้เป็นเจ้ามากเท่าใด เขาก็ ท�ำความรู้จกั พระองค์ และเมือ่ พวกเขารู้จกั พระองค์แล้ว จะกลายเป็นที่รัก ณ พระผู้เป็นเจ้าและมวลมนุษย์ และ พวกเขาก็จะท�ำการเคารพภักดี พระองค์ และเมื ่อพวก

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 35


ส�ำคัญนี้ไว้โดยกล่าวว่า

ِ ‫َو ما َخ َل ْق ُت ال ْ ِج َّن َو ا‬ ّ ِ‫س إ‬ ‫دو ِن‬ ُ ُ‫ال لِيَ ْعب‬ َ ْ‫الن‬

“และข้ ามิได้ สร้ างญินและมนุษย์ ขึน้ มา (เพือ่ อืน่ ใด) นอกจากเพือ่ ให้พวกเขาเคารพภักดีต่อข้ า” (15) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ด้วยกับการเคารพภักดี พระผู้เป็นเจ้า มนุษย์จะสามารถยกระดับสถานะและ เกียรติศักดิ์ศรีของตนเองให้เกิดความสูงส่งได้ และเป็น ทีช่ ดั เจนว่า พระผูเ้ ป็นเจ้าไม่มคี วามต้องการใดๆ ต่อการ อิบาดะฮ์ของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของ การสร้างมนุษย์ พระผู้เป็นเจ้าได้เอาค�ำมั่นสัญญาจาก มนุษย์ว่า เขาจะต้องย่างก้าวไปบนเส้นทางของการ อิบาดะฮ์ (เคารพภักดีพระผู้เป็นเจ้า) ซึ่งมันคือแนวทาง อันเที่ยงตรง (ซิรอฎุ้ลมุสตะกีม) และจะต้องไม่เคารพ ภักดีสิ่งอื่นใดนอกจากพระองค์ ซึ่งนั่นคือแนวทางของ มาร (ชัยฏอน) พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งทรง ตรัสไว้ใน เขาเคารพภักดีพระองค์แล้ว พวกเขาก็จะพอเพียงจาก คัมภีร์อัลกุรอานว่า ‫أن ال تَ ْعبُ ُدوا‬ ‫كـ ْم‬ การเคารพภักดีสิ่งอืน่ จากพระองค์” (13) ْ ‫يـابـنى ا َد َم‬ َ ُ ‫هـ ْد إِل َ ْيـ‬ َ ‫أعـ‬ ْ ‫أل َ ْم‬ ดังนั้นความลับและคุณค่าของการอิบาดะฮ์จึง ‫أن ا ْعب ُدونى هذا‬ َّ َ ‫الش ْي‬ ٌ ‫طان إِن َّ ُه ل َ ُك ْم َع ُد ُّو ُم‬ ُ ِ ‫بين َو‬ อยู่ที่ว่า จะต้องท�ำให้มนุษย์ไร้ความต้องการและการ ٌ ‫ِص‬ ‫راط ُم ْستَقيم‬ พึ่งพาสิ่งถูกสร้างทั้งมวล และท�ำให้เขาด�ำรงตนอยู่ใน “โอ้ลกู หลานของอาดัมเอ๋ย! ข้าไม่ได้เอาสัญญา ความเป็นเสรีชนและความมีเกียรติศกั ดิศ์ รีขนั้ สูงสุด ด้วย ต่ อพวกเจ้ ามาก่ อนหรือว่ า พวกเจ้ าอย่ าเคารพบูชา การผูกสัมพันธ์ตวั เองเข้ากับพระผูเ้ ป็นเจ้าเพียงพระองค์ มารร้ าย เพราะมันคือศัตรู ท่ีชัดแจ้ งของพวกเจ้ า เดียวเท่านัน้ ซึง่ นัน่ ก็คอื ความส�ำเร็จนัน้ เอง ดังเช่นทีท่ า่ น และพวกเจ้ าจงเคารพภักดีข้า นี่ คือแนวทางอัน อะมี รุ ้ ล มุ อ ์ มิ นี น อะลี (อ.) กล่ า วว่ า ‫ا َل ْ ِعبا َد ُة فَ ْو ٌز‬ เทีย่ งตรง” (16) (14) “การเคารพภักดีพระผูเ้ ป็ นเจ้าคือความส�ำเร็ จ” ในโองการนี้ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง พร้อมกับ เป้าหมายของการสร้ างในทัศนะของคัมภีร์อลั กุรอาน การห้ามมนุษย์จากการเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) และ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีเป้าหมายที่ส�ำคัญยิ่งในการ การเชื่อฟังมารร้าย (ชัยฏอน) ซึ่งพระองค์ทรงชี้ให้เห็น สร้างมนุษย์ คัมภีร์อัลกุรอานได้แนะน�ำถึงเป้าหมายที่ ว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของการมีชีวิตอยู่ คือการ 36 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


เคารพภักดีและการเชื่อฟังพระองค์ และพระองค์ทรง อ้างพันธสัญญาและกฎแห่งการสร้างมาเป็นสักขีพยาน ยืนยันในเรือ่ งนีว้ า่ มนุษย์จะต้องเลือกความเป็นบ่าวของ พระผูเ้ ป็นเจ้าเหนือความเป็นบ่าวของสิง่ อืน่ จากพระเจ้า และพระองค์ได้ชใี้ ห้เห็นถึงเหตุผลของมัน นัน่ ก็คอื ความ เที่ยงตรงและถูกต้องของแนวทางนี้ (17) เป้าหมายของการสร้างในค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) ในฮะดีษ (วจนะ) และค�ำพูดต่างๆ ของบรรดาผู้น�ำผู้ บริสุทธิ์ ได้ชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายของการสร้างมนุษย์ ว่า คือการเคารพภักดีและการยอมตนของมนุษย์ต่อ การเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ ท่าน อะมีรลุ้ มุอม์ นิ นี (อ.) พร้อมกับการอธิบายถึงระดับต่างๆ ของเตาฮีด (การยอมรับในเอกานุภาพของพระผูเ้ ป็นเจ้า) ท่านกล่าวว่า

“(พระผูเ้ ป็ นเจ้า) ผูซ้ ึ่งทรงสร้างสิ่ งถูกสร้างขึ้นมา เพือ่ การเคารพภักดี พระองค์ และทรงท� ำให้พวกเขามี ความสามารถในการเชื อ่ ฟั งพระองค์” (18) ท่านอิมามซอดิก (อ.) มีชายผู้หนึ่งได้ถามท่าน ว่า “พระผูเ้ ป็ นเจ้าได้ทรงสร้ างมนุษย์ ขึ้นมาเพื อ่ อะไร” ท่านตอบว่า

‫قـ ُه‬ َ ‫إ َِّن اللّ َتـ‬ َ ‫خـ ْل‬ َ ‫خـ ُل ْق‬ ْ ‫بـار َك َو َتـعـالى ل َ ْم َيـ‬ ِ ‫بـثـ ًا َو ل َ ْم يَ ْت ُر ْك ُه ْم ُس ًدى ب َ ْل َخ َل َق ُه ْم‬ ‫ال ْظها ِر قُ ْد َرتِ ِه‬ َ ‫عـ‬ َ

َ ِ ‫َو لِيُ َك ّلِ َف ُه ْم طا َعتَ ُه فَيَ ْستَ ْو ِجبُوا بِذل‬ ‫ َو ما‬،‫ك ِر ْضوان َ ُه‬

‫َخ َل َق ُه ْم لِيَ ْجلِ َب ِم ْن ُه ْم َم ْن َف َع ًة َو ال لِيَ ْدفَ َع ب ِ ِه ْم َم َض َّر ًة ب َ ْل‬ ِ ُ‫َخ َل َق ُه ْم لِيَ ْن َف َع ُه ْم َو ي‬ َ ‫وص َل ُه ْم إِلى نَعي ِم ا‬ ‫الب َ ِد‬

“แท้จริ งพระผูเ้ ป็ นเจ้า ผูท้ รงจ� ำเริ ญ ผูท้ รงสูงส่ง มิ ได้สร้ างสิ่ งถูกสร้ างของพระองค์ ขึ้นมาอย่างไร้ สาระ ‫اَلَّذى َخ َل َق ال ْ َخ ْل َق ل ِ ِعبا َدتِ ِه َو أ ْق َد َر ُه ْم َعلى طا َعتِ ِه‬ และพระองค์ มิได้ทรงปล่อยพวกเขาไว้อย่างเดี ยวดาย

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 37


โดยปราศจากเป้ าหมาย แต่ทว่าพระองค์ทรงสร้างพวก เขาขึ้ นมาเพือ่ ที จ่ ะทรงแสดงให้เห็นถึงเดชานุภาพของ พระองค์ และเพื ่อที ่พระองค์ จะทรงมอบหมายภาระ หน้าทีแ่ ก่พวกเขาในการเชื อ่ ฟั งพระองค์ โดยทีด่ ว้ ยกับ สิ่ งนัน้ จะท� ำให้พวกเขาได้รับความพึงพอพระทัยจาก พระองค์ และพระองค์มิได้ทรงสร้างพวกเขาขึ้นมาเพือ่ แสวงหาผลประโยชน์จากพวกเขา และมิใช่วา่ เพือ่ จะขจัด โทษภัยใดๆ ด้วยสือ่ พวกเขา แต่ทว่าพระองค์ทรงสร้าง พวกเขาขึ้นมาเพือ่ ทีพ่ ระองค์จะทรงให้คณ ุ ประโยชน์แก่ พวกเขา และจะทรงท�ำให้พวกเขาไปถึงยังปัจจัยอ�ำนวย สุขต่างๆ อันเป็ นนิ รนั ดร” (19) ด้วยกับการคิดใคร่ควรเพียงเล็กน้อยในการสร้าง ตัวเราและโลกเราก็จะพบว่า การที่พระผู้เป็นเจ้าทรง สร้างเราขึน้ มานัน้ เนือ่ งจากความกรุณาและโปรดปราณ ของพระองค์ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์คือสิ่งสัมบูรณ์ ทรง

38 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

เดชานุภาพ และทรงไว้ซึ่งความดีงามอย่างเพียบพร้อม สมบูรณ์ และพระองค์ทรงบริสทุ ธิจ์ ากความต้องการทัง้ ปวง ในอีกด้านหนึง่ การด�ำรงอยูข่ องสิง่ มีชวี ติ ทัง้ มวลคือ ความโปรดปรานและความเมตตาจากพระองค์ทมี่ ตี อ่ สิง่ เหล่านั้น ดังนั้นการขอบคุณพึงมีแด่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรง เอกะ ทีพ่ ระองค์ทรงประทานของขวัญ คือการรูจ้ กั พระผู้ เป็นเจ้า (มะอ์ริฟะตุลลอฮ์) แก่มนุษย์ พระองค์ทรงตรัส ไว้ในฮะดีษกุดซีว่า

‫أن أُ ْع َر َف َو َخ َل ْق ُت‬ ْ ‫أحبَ ْب ُت‬ ْ َ‫ُك ْن ُت َك ْنزا ً َم ْخ ِفيّ ًا ف‬ ‫ال ْ َخ ْل َق ل ِ َك ْى أُ ْع َر َف‬

“แต่ ก่ อ นข้ า เป็ นขุ ม คลั ง ที่ซ่ อ นเร้ น ดั ง นั้ น ข้ าปรารถนาที่ข้าจะเป็ นที่ถูกรู้ จัก และข้ าได้ สร้ าง บรรดาสิ่งถูกสร้ างขึน้ มา เพื่อทีข่ ้ าจะได้ ถูกรู้ จัก” (20) ในทีน่ กี้ เ็ ช่นเดียวกัน ได้ชใี้ ห้เห็นว่า เป้าหมายของ การสร้างนั้นก็เพื่อการรู้จักพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้เนื่องจาก


ความรูแ้ ละการรูจ้ กั (มะอ์รฟิ ะฮ์) คือรากฐานส�ำคัญของ เชิงอรรถ : (1) ซูเราะฮ์ อัลอังกะบูต/อายะฮ์ที่ 45 การเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) และการยอมตนเป็นบ่าวต่อ (2) ซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์/อายะฮ์ที่ 103 พระผู้เป็นเจ้า (3) ฟัลซะฟะฮ์ อัคลาก (ปรัชญาจริยศาสตร์) ชะฮีดมุเฏาะฮ์ ฮะรี หน้าที่ 121-122 บทสรุ ป : (4) มัจญ์มะอุลบะห์ร็อยน์ เล่มที่ 3 หน้าที่ 92 การอิบาดะฮ์ หมายถึง ความต�่ำต้อยและการ (5) มัจญ์มะอุลบะห์ร็อยน์ เล่มที่ 3 หน้าที่ 95 แสดงความนอบน้อมถ่อมตนและความอ่อนแอ ณ เบือ้ ง (6) ฮะดัฟ ซินเดกี (เป้าหมายแห่งชีวิต) ชะฮีดมุเฏาะฮ์ พระพักต์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพอย่าง สมบูรณ์ และสภาพเช่นนี้ไม่คู่ควรต่อสิ่งอื่นจากพระผู้ ฮะรี หน้าที่ 16 (7) บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 96 หน้าที่ 356 เป็นเจ้า เนือ่ งจากพระผูเ้ ป็นเจ้าเพียงเท่านัน้ ทีท่ รงบริสทุ ธิ์ (8) ดูเพิ่มเติมจาก มีซานนุลฮิกมะฮ์, มุฮัมมะดี เรย์ ชะฮ์ จากทุกข้อบกพร่องและข้อต�ำหนิทั้งมวล ในค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ ชีใ้ ห้เห็นว่า สาเหตุของการอิบาดะฮ์เกิด รี เล่มที่ 6 หน้าที่ 16-21 (9) วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 78 จาก 3 สาเหตุ คือ ความหวัน่ กลัวจากไฟนรก หรือความ (10) ชัรห์ ฆุร่อรุลฮิกัม, ออมะดี เล่มที่ 2 หน้าที่ 578 มุ่งหวังในสวนสวรรค์ หรือด้วยเหตุผลของความรักและ (11) วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 62 ความผูกพันทีบ่ ่าวมีต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งสาเหตุทสี่ ามนี้ (12) ซูเราะฮ์อัลบากอเราะฮ์/อายะฮ์ที่ 21 ประเสริฐเหนือทั้งหมด (13) บิฮารุลอันวาร เล่มที่ 5 หน้าที่ 314 คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงเป้าหมายของการ (14) ชัรห์ ฆุร่อรุลฮิกัม, ออมะดี เล่มที่ 1 หน้าที่ 25 สร้างมนุษย์ว่า เพื่อการเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) เพื่อการ (15) ซูเราะฮ์อัซซาริยาต/อายะฮ์ที่ 56 สรรเสริญขอบคุณต่อพระผู้สร้างผู้ทรงสูงส่ง เป็นการ (16) ซูเราะฮ์อัซซาริยาต/อายะฮ์ที่ 60-61 เตือนมนุษย์จากการเคารพภักดีสงิ่ อืน่ จากพระผูเ้ ป็นเจ้า (17) ตัฟซีร นะมูเนะฮ์ เล่มที่ 18 หน้าที่ 424-427 และอย่าได้กา้ วเดินไปบนเส้นทางของมารร้าย (ชัยฏอน) (18) มุสตัดร็อก ซะฟีนะตุลบิฮาร เล่มที่ 7 หน้าที่ 49 และอย่าเชือ่ ฟังปฏิบตั ติ ามมัน ในค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) (19) อิละลุชชะรอเอี๊ยะอ์ เชคซุดูก หน้าที่ 9 ต่างๆ ได้แนะน�ำเช่นกันว่า เป้าหมายของการสร้างมนุษย์ (20) ตัฟซีร นะมูเนะฮ์ เล่มที่ 22 หน้าที่ 394 ขึน้ มาก็เพือ่ การเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) และการยอมตน เป็นบ่าวของพระผูเ้ ป็นเจ้า เพือ่ ว่าด้วยกับการกระท�ำดัง กล่าวจะท�ำให้มนุษย์รอดพ้นจากทางแห่งความหลงทาง และความเบี่ยงเบน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 39


กุรอานปริทัศน์

"กุรอานกับความสงบ" บทความโดย เชคอิมรอน พิชัยรัตน์ ดูเหมือนว่ า “ความสงบ” จะเป็ นสิ่งที่หายไปแล้ วจากชีวิตยุคเครื่ องจักรกลและเทคโนโลยี มนุษย์ ยุคปั จจุบันเจริญก้ าวหน้ าทางด้ านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่ างกว้ างขวาง ซึ่งความจริง น่ าจะท�ำให้ ชีวติ ของมนุษย์ สะดวกสบายและมีเวลามากขึน้ แต่ ทว่ ามันกลับสวนทางกัน ความกังวล และความสับสนเข้ ามารุ มเร้ าจิตวิญญาณและจิตใจองมนุษย์ วิถีชีวิตที่เป็ นดั่งเครื่ องจักรยนต์ ของ มนุษย์ ยุคนี ้ ท�ำให้ พวกเขาหมดเวลาไปกับการไขว่ คว้ าหาความสุขและความสงบที่เพ้ อฝั น จะค้ นหา “ความสงบ” ท่ ามกลางความจอแจของผู้คน ตึกราบ้ านช่ อง หรื อที่เรี ยกกันว่ า ป่ าคอนกรี ต ได้ หรื อ ไม่ อิสลามและอัลกุรอานกล่ าวถึงหนทางในการได้ รับความสงบไว้ อย่ างไรบ้ าง นั่นคือที่มาของ บทความที่ผ้ ูเรียบเรียงอยากหยิบยกมาเรียงร้ อยถ้ อยแถลงแลกเปลี่ยน ทัง้ นีใ้ ห้ เราท่ านได้ ค้นพบกับ “ความสงบ” ที่แท้ จริงเสียที แน่นอนมนุษย์เป็นสิง่ ถูกสร้างหนึง่ ในโลกแห่งวัตถุ ซีง่ รายล้อมไปด้วยสิง่ ต่างๆมากมาย การปฏิสมั พันธ์กบั ผูค้ นหลากหลายในฐานะภาพต่างๆทีถ่ กู ปรุงแต่งขึน้ จึง ท�ำให้ชีวิตประจ�ำวันของมนุษย์คละเคล้าไปด้วยความ ทุกข์ ความกังวล ความสับสัน ซึง่ กล่าวได้วา่ ไม่มชี ว่ งยุค สมัยใดเลยทีม่ นุษย์จะใช้ชวี ติ โดยปราศจากซึง่ ความทุกข์ ความกังวลและความสับสน จนท�ำให้บางคนคิดว่ามัน

40 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558

เป็นสิง่ ทีค่ กู่ นั กับชีวติ มนุษย์ เมือ่ มีหวานย่อมมีขม กุหลาบ งามย่อมมีหนามคม และทุกคนต่างก็มีประสบการณ์นี้ ด้วยกันทัง้ นัน้ ทว่ามนุษย์ยคุ ปัจจุบนั อาจจะถวิลหาความ สงบมากกว่ายุคใด นัน่ คงเป็นเพราะการดิน้ รนต่อสูเ้ พือ่ ปากท้อง เพื่อความก้าวหน้าของอาชีพเพื่อความมั่นคง ของชีวิตทางโลก ท�ำให้เขาหมกมุ่น สาละวน ขวนขวาย ตั้งแต่เช้าจรดค�่ำยอมแลกกับความเหน็ดเหนื่อยของ


ร่างกาย จนท�ำให้ลืมย้อนกลับมองถึงแก่นแท้ของชีวิต กระทั่งเมื่อมีภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความสูญเสียคน รักหรืออื่นๆ มาประสบกับเขา ท�ำให้เขารวบรวมความ คิดย้อนมองชีวิตบ้างเป็นครั้งคราว ค�ำถามต่างๆ เริ่ม ร้อยเรียงขึ้นในเส้นหยักของสมอง เป้าหมายของชีวิต คืออะไร ความตายคืออะไร หลังจากโลกนี้แล้วมีโลก หลัง ความตายหรือไม่ มนุษย์คอื อะไร โลกคืออะไร และ อีกนับร้อยค�ำถาม แต่น่าเสียดายที่มันค่อยจางลงและ เลือนลางไปเมือ่ เหตุการณ์นนั้ ๆผ่านพ้นไป เขาก็กลับเข้า สู่สภาพและวิถีชีวิตจักรกลเช่นเดิมอีกครั้ง และเป็นเช่น นี้ครั้งแล้วครั้งเล่า จึงเป็นที่มาของการค้นคว้าวิจัยของ เหล่านักจิตวิทยาและนักวิชาการแขนงต่างๆ ทั้งนี้พวก เขาเห็นถึงภัยอันตรายของการปล่อยให้สภาพจิตใจของ มนุษย์เป็นเช่นนี้ ซึ่งย่อมสะท้อนให้เห็นผลในด้านต่างๆ ทางลบไม่วา่ ในมุมของปัจเจกบุคคลหรือสังคม และย่อม คุกคามความปลอดภัยทางสังคมและการเมืองจนน�ำไป สู่วิกฤติของสังคมนั้นๆ ได้

บ้างก็เชื่อว่าการค้นหา “ความสงบ” เป็นเหตุให้ มนุษย์ค้นพบ การมีครอบครัว การอยู่ร่วมกันเป็นเผ่า ประชาชาติ จัดตั้งรัฐและองค์กรต่างๆ ที่ซับซ้อนของ สังคม การตัง้ กฎระเบียบ ขนบธรรมเนียมประเพณีตา่ งๆ ทีห่ ลากหลายขึน้ ทัง้ หมดทีก่ ล่าวมานีพ้ อทีจ่ ะท�ำให้มอง เห็นภาพได้วา่ เรือ่ ง “ความสงบ” เป็นเรือ่ งทีส่ ำ� คัญยิง่ ตัง้ แต่ ไหนแต่ไรมา กระทัง่ แม้แต่ความเชือ่ และศรัทธาก็ถกู น�ำ มาเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของการน�ำพามนุษย์สู่ความสงบ ในการค้นหาค�ำตอบทีส่ มบูรณ์และถูกต้องนัน้ เรา ท่านลองท่องสูส่ าระธรรมค�ำสอนจากอัลกุรอาน เพือ่ จะ ดูวา่ อัลกุรอานได้กล่าวถึงเหตุปจั จัยใดบ้างทีท่ ำ� ให้มนุษย์ เกิดทุกข์ กังวลและสับสน และมีวธิ กี ารใดบ้างทีจ่ ะหลุด พ้นจากความทุกข์และสู่ชีวิตที่สงบในโลกนี้ได้ “ความสงบ” คือสภาพหนึ่งของมนุษย์ซึ่งไม่ใช่ เป็นเรือ่ งด้านวัตถุ แต่เกีย่ วข้องกับจิตทีม่ นั ปรากฏขึน้ ใน มนุษย์ แต่มันก็ได้ฉายผลแห่งความสงบนั้นออกสู่โลก ภายนอกแห่งภาวะร่างกายของมนุษย์ ฉะนั้นจึงไม่อาจ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 41


“บรรดาผู้มศี รัทธาและไม่ ได้ ผสมผสานความ ศรัทธาของพวกเขาเข้ ากับความอธรรม บุคคลเหล่ า นี้พวกเขาได้ รับความปลอดภัยและพวกเขาเป็ นผู้ ได้ รับทางน�ำ” (บทอันอาม โองการที่ 82)

‫ند‬ َ ‫ب َ َلى َم ْن أَ ْس َل َم َو ْج َه ُه ِ ّل َو ُه َو ُم ْح ِس ٌن فَ َل ُه أَ ْج ُر ُه ِع‬ َ ‫ال َخ ْو ٌف َع َل ْي ِه ْم َو‬ َ ‫َرب ِّ ِه َو‬ ‫ون‬ َ ُ ‫ال ُه ْم يَ ْح َزن‬

“ใช่ แ ล้ ว บุ ค คลใดก็ ต ามที่ น บนอบใบหน้ า ของเขาเพื่ อ อั ล ลอฮ์ แ ละเป็ นผู้ ก ระท� ำ การงาน ที่ ดี เ ยี่ ย ม เขาจะได้ รั บ รางวั ล ของเขาที่ อ ยู่ ณ

กล่าวได้ว่าตรงข้ามกับ “ความสงบ” คือ “ความทุกข์” “ความกังวล” แต่ความจริงแล้วมันคือความหนาบางของ ความสงบนัน้ ต่างหากทีเ่ ปลีย่ นไปตามสภาพของจิตจึง ไม่อาจแบ่งประเภทของความสงบได้ แต่สามารถแบ่ง เหตุปัจจัยที่น�ำสู่ความสงบหรือตัวกีดขวางเป็น ความ สงบทางความศรัทธา ความสงบทางธรรมชาติ และ ความสงบทางจิตใจ

พระผู้อภิบาลของเขาจะไม่ มีความหวาดกลั วใด (บังเกิดขึน้ ) กับพวกเขาและพวกเขาจะไม่ทกุ ข์ระทม” (บทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 112)

َ ‫لس‬ ِ‫ال ِم َويُ ْخر ُِج ُهم ِّمن‬ َّ ‫يَ ْه ِدي ب ِ ِه اللّ َمنِ اتَّبَ َع ِر ْض َوان َ ُه ُسبُ َل ا‬

ٍ ‫ات إِلَى ال ُّنو ِر ب ِ ِإ ْذن ِ ِه َويَ ْه ِدي ِه ْم إِلَى ِص َر‬ ِ ‫ا ُّلظ ُل َم‬ ‫يم‬ ٍ ‫اط ُّم ْستَ ِق‬ “ด้ วยคัมภีร์น้ันแหละ อัลลอฮ์ จะทรงแนะน�ำผู้ ทีป่ ฏิบตั ติ ามความพึงพระทัยของพระองค์ ซง่ึ บรรดา ทางแห่ งความปลอดภัย และจะทรงให้ พวกเขาออก จากความมืดไปสู่แสงสว่ างด้ วยอนุมัตขิ องอัลลอฮ์ และจะทรงแนะน� ำ พวกเขาสู่ ท างอั น เที่ย งตรง” (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 16)

ก. ความสงบทางความศรั ทธา ชี้ให้เห็นถึง “ความสงบ” ภายใต้การมีศรัทธา ซึ่ง ً َ‫َو َض َر َب اللّ َمث‬ ‫ال قَ ْريَ ًة َكان َ ْت آ ِمنَ ًة ُّم ْط َمئِنَّ ًة يَ ْأتِي َها‬ หมายถึงความสงบแห่งจิตวิญญาณ การละวางจาก َ ّ َ ٍ ‫ِر ْزقُ َها َرغَدا ً ِّمن ُك ِّل َم َك‬ ความกลัว ความกังวล ความสับสน และความทุกข์ ‫ان فَ َك َف َر ْت بِأنْ ُع ِم الل فَأذَاقَ َها‬ ّ‫لل‬ โดยได้หลอมตนเองเข้ากับการศรัทธามั่นต่อวิวรณ์และ ‫ون‬ ِ ‫اس ال ْ ُج‬ َ ‫وع َوال ْ َخ ْو ِف ب ِ َما َكانُواْ يَ ْصنَ ُع‬ َ َ‫ا لِب‬ เอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า “และอัลลอฮ์ ทรงยกอุทาหรณ์ เมืองหนึ่งซึ่ง

َ ِ‫آمنُواْ َول َ ْم يَ ْلبِ ُسواْ إ َِيمان َ ُهم ب ِ ُظ ْل ٍم أُ ْولَـئ‬ ‫ك ل َ ُه ُم‬ َ ‫ ال َّ ِذ‬ปลอดภัยและสงบ ปั จจัยยังชีพของมันมีมาอย่ าง َ ‫ين‬ َ อุดมสมบูรณ์ ทกุ แห่ งหน แล้ วมันก็ปฏิเสธต่ อความ ‫ون‬ َ ‫األ ْم ُن َو ُهم ُّم ْهتَ ُد‬ 42 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


โปรดปรานของอัลลอฮ์ ดังนั้น อัลลอฮ์ จงึ ทรงให้ มนั ลิม้ รสความรู้สกึ แห่ งความหิวและความกลัว ตามที่ พวกเขาได้ เคยกระท�ำไว้ ” (บทอันนะหล์ โองการที่ 112) กลุ่มโองการต่างๆ นี้ชี้ให้เห็นว่าภายใต้ศรัทธา อันบริสุทธิ์ นบนอบต่อพระผู้เป็นเจ้า ด้วยการปฏิบัติ สิ่งดีงามเพื่อความพึงพอพระทัยของพระองค์ โดยยก ประวัติศาสตร์ยืนยันถึงความปลอดภัยความสงบของ เมืองหนึง่ ก่อนการปฏิเสธในความโปรดปรานของพระองค์ เป็นปัจจัยน�ำพามนุษย์สู่ความสงบอย่างแท้จริงได้ ข. ความสงบทางธรรมชาติ ความสงบทางธรรมชาติ คือความสงบที่บาง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติท�ำให้มนุษย์รู้สึกสงบ เช่น การนอนหลับในยามค�่ำคืนท�ำให้มนุษย์สงบซึ่งแตก ต่างกันกับการนอนในยามกลางวัน และประสบการณ์ ก็ปรากฏให้เห็นว่าผูท้ นี่ อนไม่เต็มอิม่ ในยามกลางคืนจะ รู้สึกไม่สบายตัวไม่สดชื่นทั้งวัน และทางวิทยาศาสตร์ ก็ได้ยืนยันแล้วว่าการนอนในยามกลางคืนนั้นส่งผล ต่อระบบประสาทของมนุษย์ ซึ่งอัลกุรอานก็ได้ชี้ให้เห็น

ถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกัน ทว่าไม่เพียงแต่การนอนในยาม กลางคืนเท่านัน้ ทีท่ ำ� ให้มนุษย์สงบแต่การมีอยูข่ องกลาง คืนนั้นก็ท�ำให้มนุษย์สงบเช่นกัน

ً ‫ار ُم ْب ِصرا‬ َ ‫ُه َو ال َّ ِذي َج َع َل ل َ ُك ُم اللَّ ْي َل لِتَ ْس ُكنُواْ فِي ِه َوالنَّ َه‬ ٍ َ‫ك آلي‬ َ ِ ‫إ َِّن فِي َذل‬ ‫ون‬ َ ‫ات ل ِّ َق ْو ٍم يَ ْس َم ُع‬

“พระองค์ ผ้ ูทรงบันดาลกลางคืนให้ แก่ พวก ท่ าน เพื่อพวกท่ านจะได้ พักผ่ อนในมัน และกลาง วันเพื่อจะได้ มองเห็น แท้ จริ งในการนั้ นแน่ นอน ย่ อมเป็ นสัญญาณแก่ หมู่ชนทีไ่ ด้ ยนิ เพือ่ ใคร่ ครวญ” (บทยูนุส โองการที่ 67)

َ َ ً ‫ار ُم ْب ِصرا‬ َ ‫أل َ ْم يَ َر ْوا أن َّا َج َع ْلنَا اللَّ ْي َل لِيَ ْس ُكنُوا فِي ِه َوالنَّ َه‬

ٍ َ‫ك َلي‬ َ ِ ‫إ َِّن فِي َذل‬ ‫ون‬ َ ُ‫ات ل ِّ َق ْو ٍم يُ ْؤ ِمن‬

”พวกเขามิได้ พิจารณาดูหรื อว่ า แท้ จริ งเรา ได้ ให้ กลางคืนไว้ ส�ำหรั บพวกเขาได้ พักผ่ อน และ กลางวันให้ เห็นแสงสว่ าง แท้ จริ งในการนั้ นย่ อม เป็ นสั ญญาณมากหลายส�ำหรั บหมู่ชนผู้ศรั ทธา” (บทนัมล์ โองการที่ 86)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 43


หนังปศุสัตว์ ซึ่งท�ำให้ พวกเจ้ ารู้ สึกเบาในยามเดิน ‫ار لِتَ ْس ُكنُوا فِي ِه‬ َ ‫َو ِمن َّر ْح َمتِ ِه َج َع َل ل َ ُك ُم اللَّ ْي َل َوالنَّ َه‬

‫ون‬ َ ‫َولِتَ ْبتَ ُغوا ِمن فَ ْضلِ ِه َول َ َعلَّ ُك ْم تَ ْش ُك ُر‬

ทางของพวกเจ้ า และในยามพักของพวกเจ้ า และ จากขนของมั น และปุ ย ของมั น และผมของมั น ท�ำเป็ นเครื่ องใช้ และสิ่งมีประโยชน์ ชั่วเวลาหนึ่ง” (บทนะหล์ โองการที่ 80) และอีกปัจจัยหนึ่งคือคู่ครองมนุษย์จะรู้สึกสงบ เมื่อได้อยู่กับคู่ครอง และอัลกุรอานก็กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ เช่นกันว่า

“และเพราะความเมตตาของพระองค์ พระองค์ ทรงท�ำให้ มกี ลางคืนและกลางวัน เพือ่ พวกเจ้ าจะได้ พักผ่ อนในเวลานั้น และเพือ่ พวกเจ้ าจะได้ แสวงหา จากความโปรดปรานของพระองค์ และเพือ่ พวกเจ้ า จะได้ ขอบคุณ” (บทกอศอศ โองการที่ 73) และอีกปัจจัยทางธรรมชาติที่ท�ำให้เกิดความ ‫َو ِم ْن آيَاتِ ِه أَ ْن َخ َل َق ل َ ُكم ِّم ْن أَن ُف ِس ُك ْم أَ ْز َواج ًا‬ สงบ ได้แก่ บ้าน มนุษย์จะรู้สึกสงบเมื่ออยู่ที่บ้านตนเอง ِّ ِ ซึ่งไม่สัมผัสความสงบนี้ได้จากที่อื่น อัลกุรอานได้กล่าว ‫لتَ ْس ُكنُوا إِل َ ْي َها َو َج َع َل ب َ ْينَ ُكم َّم َو َّد ًة َو َر ْح َم ًة إِ َّن في‬ ٍ َ‫ك َلي‬ َ ِ ‫َذل‬ ถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ‫ون‬ َ ‫ات ل ِّ َق ْو ٍم يَتَ َف َّك ُر‬

‫َواللّ َج َع َل ل َ ُكم ِّمن بُيُوتِ ُك ْم َس َكن ًا َو َج َع َل ل َ ُكم ِّمن‬ َ ‫ُج ُلو ِد‬ ‫األنْ َعا ِم بُيُوت ًا تَ ْستَ ِخفُّون َ َها يَ ْو َم َظ ْعنِ ُك ْم َويَ ْو َم‬ ‫امتِ ُك ْم َو ِم ْن أَ ْص َوافِ َها َوأَ ْوبَا ِر َها َوأَ ْش َعا ِر َها أَثَاث ًا‬ َ َ‫إِق‬ ٍ‫َو َمتَاع ًا إِلَى ِحين‬

“และหนึง่ จากสัญญาณทัง้ หลายของพระองค์ คือ ทรงสร้ างคู่ครองให้ แก่ พวกเจ้ าจากตัวของพวก เจ้ า เพื่อพวกเจ้ าจะได้ มีความสุขอยู่กับนาง และ ทรงมีความรักใคร่ และความเมตตาระหว่ างพวกเจ้ า แท้ จริงในการนี้ แน่ นอน ย่ อมเป็ นสัญญาณแก่ หมู่ “และอั ล ลอฮ์ ท รงท� ำ ให้ มี ที่ พ� ำ นั ก ในบ้ า น ชนผู้ใคร่ ครวญ” (บทรูม โองการที่ 21) ของพวกเจ้ า และทรงท�ำให้ พวกเจ้ ามีบ้านท�ำจาก

44 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558


ค. ความสงบทางจิต ความสงบอีกประเภทหนึง่ นัน้ ก็คอื ความสงบทาง จิต กล่าวคือ โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ตอ้ งการทีจ่ ะหลีก ห่างจากความบกพร่องและมุง่ สูค่ วามสมบูรณ์ พวกเขา จะเพียรพยายามเพื่อแสดงออกถึงความสามารถและ ศักยภาพต่างๆ ของตนออกมา เพื่อมุ่งสู่ความสมบูรณ์ ฉะนั้นจึงไม่อาจท�ำให้พวกเขาละความเพียรพยายาม ลงได้ พวกจะเปลีย่ นแปลงสภาพต่างๆ ของตนอยูเ่ สมอ เมื่อไปถึงยังจุดหนึ่งของความส�ำเร็จพวกเขาก็จะเพียร พยายามให้ไปถึงยังอีกจุดหนึง่ ทีส่ งู กว่านัน้ อีกไปเรือ่ ยๆ สภาพเช่นนีท้ ำ� ให้เกิดความกังวลไม่อาจพบกับความสงบ ได้ ทว่าสภาพเช่นนี้อัลกุรอาน ถือว่าเป็นเรือ่ งธรรมชาติและยังบอกหนทางและ ข้อเสนอแนะเพื่อละวางจากสภาพนี้ไว้ด้วยเช่นกัน นั้น คือการสร้างความเข็มแข็งในการร�ำลึกถึงพระผู้เป็น เจ้าให้เกิดขึ้นกับตนเอง ประจักษ์แจ้งถึงสถานภาพ ของตนเองและความเป็นพระองค์ พระผู้ทรงเป็นที่ไว้ วางใจและมอบหมายทุกกิจการงาน แล้วเขาจะพบกับ ความสงบ พระองค์ตรัสว่า

ّ ‫ال ب ِ ِذ ْك ِر‬ ّ ‫ال َّ ِذين آمنُواْ وتَ ْطمئِ ُّن قُ ُلوب ُهم ب ِ ِذ ْك ِر‬ َ َ‫الل أ‬ ‫الل‬ ُ َ َ َ َ ‫وب‬ ُ ‫تَ ْط َمئِ ُّن ال ْ ُق ُل‬

“บรรดาผู้ศรั ทธา และจิตใจของพวกเขาสงบ ด้ วยการร�ำลึกถึงอัลลอฮ์ พึงทราบเถิด! ด้ วยการร�ำ ลึกถึงอัลลอฮเท่ านั้นท�ำให้ จิตใจสงบ” (บทเราะอด์ โองการที่ 28) อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอีย์ ถือว่า ความสงบทาง จิตนั้นเป็นสภาพของปราชญ์และผู้ที่มีสถานภาพทาง ศรัทธาทีส่ งู ส่ง ท่านเชือ่ ว่าบนพืน้ ฐานของสัญชาติญาณ

แห่งธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ คือการคิดไตร่ตรองถึง ความเหมาะสมและผลเสียหายของการกระท�ำต่างๆ สภาพเช่นนีจ้ ะคงมีอยูต่ ราบเท่าทีย่ งั ไม่เกิดช่องว่างทีม่ า ท�ำลายจิตของพวกเขา ดังนั้นต้องค้นหาตัวกีดขวาง ความสงบหรือตัวการที่ส�ำคัญของการท�ำให้เกิดความ กังวลในจิตของตน จิตที่น�ำพามนุษย์ออกห่างจากทาง สายกลายในการด�ำเนินชีวิต และละเมิดขอบเขตของ พระผู้เป็นเจ้า ฉะนั้นสิ่งส�ำคัญนั่นก็คือการระมัดระวัง รักษาความสงบในจิตแห่งตน และสกัดตัวการที่จะ ก่อให้เกิดความกังวล ความทุกข์ด้วยการด�ำเนินชีวิต ทางสายกลางที่มีความสมดุล ซึ่งอัลกุรอานกล่าวไว้ว่า นั่นก็ด้วยการไม่ท�ำบาป เพราะบาป ถือเป็นอาวุธของ จิตใฝ่ต�่ำที่จะท�ำลายความสมดุลของการด�ำเนินชีวิต และท�ำลายความสงบของมนุษย์ บทความนีเ้ ป็นเพียงส่วนหนึง่ ของสาระธรรมแห่ง คัมภีร์อัลกุรอานที่ชี้ให้เห็นถึงฐานะอันสูงส่งของการ เป็นรัศมีแห่งทางน�ำส�ำหรับมนุษยชาติ มนุษย์ผู้เป็น หนึ่งในสิ่งถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้เพื่อให้ปวง บ่าวของพระองค์พบกับความสงบที่แท้จริงแห่งชีวิต ซึ่ง เมื่อเขามีสภาพจิตที่มั่นคงและสงบแล้วนั้น เขาก็กลาย เป็นผู้ที่มีบุคคลิกภาพที่งดงามที่ฉายภาพออกมาใน วิถีชีวิตด้านปัจเจกบุคคลอันส่งผลต่อสังคมโดยรวม จนสังคมมนุษย์กลายเป็นสังคมทีส่ งบร่มเย็นบนพืน้ ฐาน แห่งสัญชาติญาณดั้งเดิมของการเรียกร้องและถวิลหา พระผู้เป็นเจ้า อันเป็นวิถีชีวิตทางสายกลางที่มีความ สมดุลในตัวของมันเอง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 36 No. 1 January - April 2015 45


46 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 36 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2558



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.