Payam islam 35-2

Page 1



ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม-ธันวาคม 2556 Vol. 35 No. 2 October-December 2013

สถานภาพของศาสดาอิบรอฮีมในอัลกุรอาน บทบัญญัติแสงสว่างแห่งทางนำ การเมืองในอิสลาม กุรอานวิทยา


CONTENTs สาส์ น อิ ส ลาม MESSAGE OF ISLAM

สาส์นเพื่อการสืบสานอารยธรรม

‫پيام اسالم‬

ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม-ธันวาคม 2556 Vol. 35 No.2 October-December 2013 ISSN : 0859-7162 ผู้อ�ำนวยการ : Director มุสฏอฟา นัจญอรียอนซอเดะฮ์ Mostafa Najarian Zadeh บรรณาธิการอ�ำนวยการ : Editor-in-Chief เชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ บรรณาธิการ : Editor อรุณ เด่นยิ่งโยชน์ กองบรรณาธิการ : Section Editor กวีฮัยดัร พุ่มภักดี จะมีลฮัยดัร แสงศรี นูรรีฎอ แสงเงิน อับดุลมาลิก อาเมน อาซียะฮ์​์ พุ่มเพ็ชร ออกแบบรูปเล่ม : Design/Artwork 14 พับลิเคชั่น E-mail : thaqalayn12@gmail.com โทร. 02 7325563 โทรสาร 02 7325564 ผลิตโดย : Published by ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ 106-106/1 ซอยเจริญมิตร สุขุมวิท 63 เอกมัย 10 แยก 6 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2392-2620-2 โทรสาร 0-2392-2623 CULTURAL CENTER THE EMBASSY OF ISLAMIC REPUBLIC OF IRAN BANGKOK 106-106/1 SOI CHAROENMITR SUKHUMVIT 63 EKAMAI 10 YEAK 6 KLONGTON NUA VADHANA BANGKOK 10110 THAILAND

สารบัญ

ค�ำปราศรัยของ ฯพณฯ ผู้น�ำสูงสุด ทางจิตวิญญาณ เนื่องในเทศกาลฮัญ์ ค�ำปราศรัยของ ฯพณฯ ผู้น�ำสูงสุด ทางจิตวิญญาณ ต่อคณะสภาผู้เชี่ยวชาญ ค�ำปราศรัยของ ฯพณฯ ประธานาธิบดี สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ณ สหประชาชาติ ค�ำปราศรัยของ ฯพณฯ ผู้น�ำสูงสุด ทางจิตวิญญาณ บทบัญญัติรัศมีแห่งทางน�ำ ค�ำอรรถาธิบายอัลกุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮ์ ค�ำปราศรัยของ ฯพณฯ ผู้น�ำสูงสุด ทางจิตวิญญาณ การเมืองในอิสลาม กรุอานวิทยา ค�ำตอบของค�ำถามเกี่ยวกับ อิมามมะฮ์ดี (อ.) สถานภาพของศาสดาอิบรอฮีม ในอัลกุรอาน ชีวประวัติอิมามอะลี อัรริฎอ (อ. นมาซมุซตะฮับ อย่าแสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์ฯ กิจกรรมของศูนยืวัฒนธรรมฯ

หน้า 5 11

20 29 33 41 54 61 68 75 79 86 92 100 104

ทรรศนะและความคิดเห็นในนิตยสารนี้ ไม่จ�ำเป็นต้องถือว่าเป็นจุดยืนอย่างเป็นทางการ ของศูนย์วัฒนธรรมฯ เรายินดีต้อนรับข้อเขียน จากนักเขียนและนักวิชาการทั่วไป ขอสงวนสิทธิ์ ในการคัดเลือกและตัดตอนข้อความที่ไม่สมควร โดยไม่ปิดบังความหมายของผู้เขียน และผู้เขียนบทความนั้นๆจะเป็นผู้รับผิดชอบ บทความของตน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 1


EDITORIAL บทบรรณาธิการ

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์พระผู้ทรงเมตตา พระผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ

การร�ำลึกถึงขบวนการของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) และการสัมผัสกับ ความเป็นอมตะของชุหะดา ในกรอปของประวันติศาสตร์

เมื่อเดือนมุฮัรรอมมาถึงฉันได้แต่เศร้าโศกเสียใจ น�้ำตาของฉันได้หลั่งไหลดังล�ำธารฟุรอต เมื่อเดือนมุฮัรรอมมาถึงจิตใจฉันช่างเศร้าหมอง เขาคือใครที่อยู่ท่ามกลางจิตใจอันเศร้าหมองของฉัน (จากบทความของท่านฮุจญะตุลอิสลามอิบรอฮีม อันศอรี) การร�ำลึกถึงความเป็นอมตะตลอดกาลของขบ วนการฮุซัยนีได้ถูกก�ำหนดขึ้น ถ้าบรรดาชุหะดาที่อยู่ร่วม ในเหตุการณ์การเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุเซนบุตรของ ท่านอิมามอะลี (อ.) ในวันอาชูรอ ยังมีชีวิตลอดอยู่ก็คงไม่ สามารถที่จะน�ำความส�ำเร็จในการเป็นชะฮาดัตมาใช้ได้ เป็นควมถูกต้องที่พระผู้เป็นเจ้า ที่พระองค์ทรงบัญญัติให้ บรรดาชุหะะดายังคงมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ และเพื่อให้เป็น แบบอย่างในหน้าประวัติศาตร์แก่ประชาชาติ แต่เครื่อง มือที่พระผู้เป็นเจ้าทรงใช้ในกกิจการนี้ก็คือการแสดงออก ของพวกเรา ที่พวกเราสามารถที่จะเลือกในการที่จะ ท�ำการร�ำลึกถึงบรรดาชุหะดา และท�ำให้ปรัชญาแห่งการ เป็นชะฮาดัตนั้นยังคงมีชีวิตชีวาอยู่ (ค�ำพูดปราศรัยของ ฯฑณฯ ผู้น�ำสูงสุดทางจิต วิญญาณ)

2 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

http// Bangkok.icro.ir การกล่าวร�ำลึกถึงเรื่องราวในนามของท่านอิ มาม ฮุเซน (อ.) และบรรดาชุหะดา ที่ท�ำให้น�้ำตาของ บรรดาชีอะห์ต้องไหลนองเสมือนดังล�ำธารฟุรอต และ ปากก็พร�่ำเรียกร้องว่า ยาฮุเซน ด้วยความรักที่มีต่อท่าน นั้น พวกเราขอมอบความรักแด่ท่านเมื่อเดือนมุฮัรรอม ได้เริ่มขึ้นแล้ว ซึ่งในวันอาชูรอที่ท่านได้เสียสละเลือดเนื้อ ความเศร้าโศกของเรานั้นได้ทอดยาวไปจนถึงอัรบะอีน (40วัน) ในการร�ำลึกถึงท่านผู้เป็นประมุขของบรรดาชุ หะดาทั้งหลาย ดังที่ได้กล่าวว่า “นับเป็นความเศร้าโศก ของพวกเราถึงสามสิบทิวาราตรีและจากวันเวลาที่ผ่าน มาแล้วสิบทิวาราตรีจนมันครบถึงสี่สิบทิวาราตรีในการ ร�ำลึกถึงท่าน” วันนี้ดวงใจของความรักที่มีต่อท่านอิมามฮุเซน (อ.) หนทางสู่กัรบะลาเปิดแล้ว ที่สามารถจะเดินทางไป เพื่อจุมพิศบนหลุมฝังศพของบรรดาชุหะดาแห่งนัยนา วา และท�ำการร�ำลึกถึงวีรกรรมแห่งสัจธรรมนั้น วันนี้พกว ท่านสามารถที่จะสัมผัสอย่างใกล้ชิดกันท่านอิมาม ฮุ เซน (อ.) และยังได้ร�ำลึกถึงวีรกรรมของผู้ที่ต้องการจะดับ ความกระหายน�้ำเยี่ยงท่านอับบาสบุตรของท่านอิมาม อะลี (อ.) วันเวลาแห่งการมอบสัตยาบันได้เริ่มขึ้นใหม่ อีกครั้งในวันอาชูรอ เดือนมุฮัรรอมและอาชูรอเป็นช่วง เวลาอันบริสุทธิ์ของการมอบความรักแด่บรรดาชุหะดา เดือนมุฮัรรอม และเดือนศอฟัรยังท�ำให้เราได้ร�ำลึกนึกถึง วันเวลาที่ดวงอาทิตย์ได้ส่องแสงทองมายังโลกนี้เพื่อดับ ความโง่เขลาเบาปัญญา พวกเราต่างร�่ำไห้ด้วยการถูก กดขี่วันอาชูรอคือวันที่ท�ำให้ได้ร�ำลึกถึงพวกเขาเหล่านั้น ที่ พวกเขาได้ยืนหยัดปกป้องสัจธรรมจากเหล่าอธรรมทั้ง


หลาย

ในช่วงเวลาพบค�่ำความกระหายแห่งวันอาชูรอ เมื่อใบไม้ของต้นไม้ที่อยู่ท่ามกลางความมืด เวลาที่ดวง วิญญาณของบรรดาชุหะดาได้สงบลง เวลาที่เสียงแห่งการท�ำลาย และเปลวไฟที่ลุกเผาไหม้คัยมะห์ที่พัก พวก เพชฌฆาตฆาตกรต่างพากันที่บุกปล้นสดม เจ็ดสิบสี่ชีวิตของบรรดาเด็กๆและสตรีที่ตกอยู่ท่ามกลางคมหอกและคม ดาบ ต่างก็ถูกร้อยด้วยโซ่ตรวน บรรดาศัตรูต่างได้เฝ้ามองดู และน�ำพาสตรีและเด็กเป็นเชลย โดยมีศรีษะของบรรดาชุ หะดาที่ถูกเสียบบนปลายกหอกแห่น�ำหน้าขบวน แต่แสงรัศมีของท่านหญิงซัยนับ (อ.) , ท่านอิมามสัจญาด (อ.) ที่เฝ้า จับมองไปยังศรีษะของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) ที่ถูกเสียบอยู่ปลายหอกพร้อมกับรรดาชุหะดาที่ถูกสังหารอย่างทารุณ ที่สุด เดือนมุฮัรอมและเดือนศอฟัรเป็นโอกาสที่เหล่าบรรดาผู้ถูกกดขี่ แต่ในเวลาเดียนวกันท่านหญิงซัยนับ (อ.) ก็ คงยังต้องเรียกร้องให้การหห้ามปรามความชั่ว และแนะน�ำความดีที่เป็นอาวุธของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) คงอยู่ตลอด ไปพวกเราได้ยังได้รับบทเรียนจกาท่านอิมามฮุเซน (อ.) โดยผ่านท่านอิมาม อะลีซัยนุลอาบิดีน (อ.) และท่านหญิงฟาฏิ มะห์ ซัยนับ (อง) แห่งยุคสมัยนั้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางแห่งวิลายัต เป็นทางน�ำในหนทางของการต่อสู้ส�ำหรับผู้ที่มี ความรักต่อไป เรื่องราวของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) การด�ำเนินชีวิต และการยืนหยัดของท่านถือว่าเป็นแบบอย่างและระบบ แนวทางแห่งความคิดรูปแบบหนึ่ง ที่เสมือนธงแห่งเกียรติยศของสัคมมนุษยชาติในการชี่แนะน�ำทางในการปกป้อง สัจธรรม ท่านอะลาอับดิลลาฮ์ ฮุเซน (อ.) เป็นแบบอย่างในการเรียกร้องเสรีภาพ และการเรียกร้องสู่ความเป็นเตาฮีด ความเป็นหนึ่ง สู่จริยธรรม ความกล้าหาญ และในภาพรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในวันอาชูรอ คือการปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลง แนวทางการยืนหยัดต่อสู้ และเช่นกันระบบขบวนการนี้ที่ผ่านมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันยังคงอยู่ จากแนวทางนี้พระผู้เป็นเจ้าและบรรดาศาสดาที่ได้รับภารกิจนี้มาปฏิยัติก่อนหน้า จนถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในวัน อาชูรอ บการขับเคลื่อนในขบวนการของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงให้มะลาอิกะห์ญิบรออีลแจ้งข่าว เรื่องราวของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) แก่ท่านศาสดาอาดัม (อ.) , ท่านศาสดา นุฮ์ (อ.) , ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และ บรรดาศาสดา (อ.) ทั้งหลาย และบรรดาศาสดา (อ.) ทั้งหลายก็ได้รับบทเรียบวีรกรรมการต่อสู้ของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) เพราะอาชูรอคือสิ่งที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีคุณค่าอย่างมากมาย แม้กระทั้งการด�ำรงอยู่ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ศาสดาท่านสุดท้าย เช่นกันในวันที่ท่านซัยยิดุชชุหะดา (อ.) ประสูติ ท่านศาสดา (ศ.) ได้รับร็เรื่องราวตลอด ในวันประ วสูติของท่านอะบาอับดิลลาฮ์ (อ.) ท่านศาสดา (ศ.) ได้ตอบค�ำถามแก่บุคคลรอบด้านที่ถามท่านว่าท�ำไมต้องร้องไห้ เสียใจ ซึ่งท่านได้กล่าวในวันแรกของวันประสูติอิมามฮุเซน (อ.) เช่นกันท่านอะมีรุลมุอ์มินีน (อ.) ในช่วงของสงครามศิฟฟีน วันหนึ่งท่านได้นิมิตฝันเห็นเหตุการณ์ในแผ่นดิน กัรบะลา เมื่อท่านตกใจตื่นขึ้น ท่านก็ร้องไห้ จนกระทั้งอัสฮาบของท่านได้เอ่ยถามว่า ท่านอะมีรุลมุอ์มีนิน ท่านรอ้ง ไห้ท�ำไม ? ท่านก็ได้กล่าวตอบว่า “ฉันได้เห็นฮุเซนของฉันในความฝันเขาได้นอนจมอยู่ในทะเลเลือด” และสิ่งนี้ก็เป็น ปรากฏารณ์การปรากฎของอิมามแห่งยุคสมัย อิมามซะมาน (อญ.) ที่จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือด (ยาซาละตัลฮุเซน” และ สิ่งแรกที่ท่านจะได้ปฏิบัติในโลกนี้คือสิ่งนี้ พร้อมกับการด�ำรงไว้ถึงเรื่องราวแห่งกัรบะลา นั้นคือการยืนหยัดต่อสู้ของอิ มาม ฮุเซน (อ.) เป็นความถูกต้องในเดือนมุฮัรรอม เป็นเดือนแห่งความทุกข์ แผ่นดินกัรบะลาร้อนระอุประดุจดังความร้อน ของดวงอาทิตย์ที่ก�ำลังเดือนผล่านด้วยทะเลเลือด ในวันนั้นที่บรรดาผู้ท�ำการร�ำลึกต่างๆร้อนรุ่มในจิตวิญญาณตราบ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 3


จนถึงพบค�่ำ แผ่นดินสั่นสะท้าน ท้องฟ้ามัวหมอง ด้วยการอาลัยอาวรณ์ถึงเรื่องราวของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) ผู้ถูกกดขี่ ถูกทารุณกรรม และบรรดาชุหะดาแห่งนัยนาวา เป็นความถูกต้องในเดือนมุฮัรรอมการแสดงออกซึ่งความรัก ประดุจดังที่ได้ยืนอยู่ที่ยอดปล่องภูเขาไฟ สอง มือที่ยกขึ้นตบลงมาที่อก ที่ศรีษะ เพื่อแสดงออกถึงความเจ็บปวดที่บรราดาผู้ถูกกดขี่ได้รับ พร้อมกับการเปล่งเสียง คร�่ำครวญไปถึงชั้นฟากฟ้าถึงความตายอันแสนเจ็บปวดที่พวกเขาได้รับ เป็นความถูกต้อง เพื่อสิ่งใดที่พวกเราพร้อมหมู่ชนได้ยืนหยัด ? ไม่ใช่เพราะว่าทุกวันเป็นวันอาชูรอ และทุก แผ่นดินคือกัรบะลาหรือ ? ไม่ใช่ในเวลายามเช้าของวันศุกร์ที่ต้องมาอ่านดุอาอ์นุตบะห์ ในประโยคที่กล่าวว่า “ท่านผู้ เป็นผู้ทวงหนี้เลือดในกัรบะลาท่านอยู่ไหน ? ด้วยความหวังว่าในวันหนึ่งผู้เป็นนายผู้ปกครองของเราจะได้มาปรากฎ ดังที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุอานว่า “และแท้จริงเราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์ซะบูรจะมีบุรุษหนึ่งที่ เขาเป็นผู้ปฏิบัติดีจะเป็นผู้รับมรดกในการปกครองแผ่นดินนี้” และในวันนี้ก็เช่นกัน เราก็ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ได้อยู่ร่วมกับบรรดาชุหะดาแห่งกัรบะลา และบรรดาชะฮีดใน แนวทางของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) เราขอเป็นทหารหาญของท่านผู้ปกครอง ผู้รกัษาวัฒนธรรมให้พ้นจากแนวทางของ พวกพ้องของยะซีด เราไม่ขอที่จะจับมือ หรือให้สัตยาบันกับพวกมัน ดังที่ท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) ไกด้ปฏิบัติมาแล้ว เรา ขอที่ยืนหยัดเคียงข้างท่านผู้น�ำสูงสุด ผู้ที่ด�ำรงต�ำแหน่งวิลายะตุลอัมร์แห่งยุคสมัย ตัวแทนของท่านอิมามฮุจญัต (อญ.) ท่านอิมาม อะลี คอมาเนอี (ขออัลลอฮ์ทรงปกป้องท่าน) และเราขอความเมตตาจากพระผู้เป็นเจ้าของท่านอิมาม ฮุเซน (อ.) ให้พวกเราได้เป็นส่วนหนึ่งของบรรดาชุหะดาในวันนั้นด้วยเทอญ “ข้าฯ แต่พระผู้อภิบาล ขอให้ทรงประทานความ ส�ำเร็จแก่เราให้ได้อยู่ร่วมกับบรรดาชุหะดาที่ได้เสียสละในแนวทางของพระองค์ด้วยเถิด อามีน ร็อบบิลอาละมีน” ดวงดาวที่ส่องสว่างบนชายคาบ้าน เราขอเปล่งเสียงตักบีรควบคู่ไปกับเสียงแห่งสตรี การแสดงออกซึ่งความรักของพวกเรา เราขอมอบดุอาอ์ฟาติฮะห์นั้นแด่วิญญาณอันบริสุทธิ์ มุศฏอฟา นัจยารียอน ซอเดะฮ์ Mostafa Najjarian Zadeh ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน กรุงเทพฯ

4 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


ถอดความโดย

เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

สาส์น ถึงการชุมนุม ที่ยิ่งใหญ่ในพิธี

“ฮัจญ์”

ท่

านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาคอเมเนอี ได้ออกสาส์นเนื่องในโอกาสการชุมนุมอันยิ่งใหญ่ของพิธีฮัจญ์ สาส์นฉบับนี้ถูกอ่านในวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 1434 โดย ท่านฮุจญะตุ้ล อิสลามกอฎี อัสกัร ตัวแทนของท่านวะลียุ้ลฟะกีฮ์ และผู้ดูแลกิจการฮัจญ์ของชาวอิหร่าน ในพิธีประกาศการไม่ ยุ่งเกี่ยวและการเป็นปฏิปักษ์ต่อบรรดาผู้ตั้งภาคี (อัลบะรออะฮ์ มินัลมุชริกีน) ณ ทุ่งอะรอฟะฮ์ เนื้อความของ สาส์นมีดังต่อไปนี้

ّ‫ِه‬ ‫الرحِ ْی ِم‬ َّ ‫الر ْحم ِن‬ َّ ‫بِ ْس ِم الل‬ ّ‫ِه‬ ‫والسال ُم َعلی َسیِّدِ االَ ْنبِ َیا ِء َو ا ْل ُم ْر َسلِ ْی َن‬ َّ ‫َوا ْل َح ْم ُد للِ َر ِّب ا ْل َعال َ ِم ْی َن َو‬ َّ ‫الصال ُة‬ ّ ‫َو َعلی آل ِ ِه‬ ‫الطیِّبِ ْی َن َو َص ْحبِ ِه ا ْل ُم ْنتَ َجبِ ْی َن‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงปรานีเสมอ มวล การสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก การประสิทธิ์ประสาทพรและความ สันติพงึ มีแด่นายของปวงศาสดาและศาสนทูต และแด่วงศ์วานผูบ้ ริสุทธิ์ของท่าน รวมทั้งแด่บรรดาสาวกผู้ได้รับ การคัดสรรของท่าน การ เวียนมาถึงของเทศกาลฮัจญ์นั้น ต้องถือว่าเป็นการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ของประชาชาติอิสลาม เป็น โอกาสที่ดีงามยิ่งที่วันอันทรงคุณค่าเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับบรรดามุสลิม ทั่วโลกในทุกๆ ปี มันคือเคมีอันมหัศจรรย์ โดยทีห่ ากรูถ้ งึ คุณค่าของมันและถูกน�ำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ปัญหาและความทุกยากต่างๆ มากมายในโลกอิสลามจะได้รับการเยียวยาแก้ไข

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 5


“ฮัจญ์” เป็นตาน�ำ้ อันพรัง่ พรูของพระมหากรุณาธิคณ ุ แห่งพระผูเ้ ป็นเจ้า ผูแ้ สวงบุญแต่ละท่านนัน้ ท่านทัง้ หลาย เป็นผู้โชคดี บัดนี้พวกท่านได้บรรลุถึงโอกาสอันสูงส่งนี้ แล้ว ซึง่ การกระท�ำ (อะมัล้ ) เหล่านีใ้ นพิธกี รรมทีเ่ ต็มเปีย่ ม ไปด้วยความผ่องแผ้วและจิตวิญญาณนี้ ท่านทั้งหลาย จะได้ช�ำระล้างหัวใจและจิตวิญญาณครั้งใหญ่ และจะ ได้สะสมเสบียงส�ำหรับอายุขัยทั้งหมดของตนเอง จาก แหล่งแห่งความเมตตา เกียรติศกั ดิศ์ รีและพลังอ�ำนาจนี้ ความนบนอบและการยอมจ�ำนนต่อพระผูเ้ ป็นเจ้าผูท้ รง เมตตา ความมุ่งมั่นในการรักษาหน้าที่ต่างๆ ที่ถูกมอบ หมายให้เป็นภาระหน้าที่เหนือชาวมุสลิม ความมีชีวิต ชีวา การเคลื่อนไหวและการด�ำเนินการเกี่ยวกับงาน ด้านศาสนาและทางโลก การแสดงความเมตตาและ การให้อภัยในการปฏิสัมพันธ์กับบรรดาพี่น้อง ความ กล้าหาญและความเชื่อมั่นในตัวเองในการเผชิญหน้า กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่ยากล�ำบาก การมีความหวังต่อ การช่วยเหลือและการให้การอนุเคราะห์ของพระผู้เป็น เจ้าในทุก ที่และในทุกสิ่ง กล่าว โดยสรุปแล้ว การสร้างและพัฒนามนุษย์ใน รูปแบบของความเป็นมุสลิม ในสนามแห่งการฝึกฝนและ การขัดเกลาแห่งพระผู้เป็นเจ้านี้ ท่านทั้งหลายสามารถ

6 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ท�ำให้เกิดขึ้นกับตนเองและเสริมแต่งตนเองด้วยเครื่อง ประดับที่งดงามเหล่านี้ได้ และน�ำเสบียงเหล่านี้กลับ ไปเป็นของฝากส�ำหรับประเทศชาติของตัวเอง และท้าย ที่สุด ส�ำหรับประชาชาติอิสลาม ประชาชาติมุสลิมในปัจจุบัน ต้องการบุคคลที่มี การเสริมสร้างทางความคิดและการกระท�ำควบคูไ่ ปกับ ความศรัทธา ความจริงใจและความบริสุทธิ์ใจ การยืน หยัดเผชิญหน้ากับเหล่าศัตรูผู้อาฆาตพยาบาท เคียงคู่ ไปกับการช�ำระขัดเกลาจิตใจและจิตวิญญาณมากกว่า ทุกสิง่ นีค่ อื ทางรอดเดียวของสังคมทีย่ งิ่ ใหญ่ของมุสลิม จากปัญหาความทุกข์ยากทัง้ หลาย ทีม่ นั ได้จมดิง่ ลงใน สิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยมือของศัตรูอย่างเปิดเผย หรือด้วยความอ่อนแอของเจตนารมณ์ ความศรัทธาและ วิสัยทัศน์ที่มีมานับเป็นยาวนาน ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าปัจจุบันนี้ เป็นยุคของการ ตื่นตัวและการค้นพบอัตลักษณ์ของชาวมุสลิม ข้อเท็จ จริงนี้ยังสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนจากความท้าทาย ต่างๆ ที่ประเทศมุสลิมทั้งหลายก�ำลังเผชิญหน้ากับมัน ในสถานการณ์เช่นนี้เองที่เจตนารมณ์และความตั้งใจ จริงทีว่ างอยูบ่ นพืน้ ฐานของ ความศรัทธา ความไว้วางใจ ต่อพระผูเ้ ป็นเจ้า ความมีวสิ ยั ทัศน์และการจัดการทีด่ ี จะ


สามารถน�ำพาประชาชาติมุสลิมไปสู่ชัยชนะและความ ภาคภูมใิ จในความท้าทายเหล่า นี้ และจะน�ำเกียรติและ ศักดิ์ศรีมาสู่ชะตากรรมของพวกเขา แนวรบของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่อาจอดทนต่อการ ตื่นตัวและเกียรติศักดิ์ศรีของมุสลิม ได้นั้น พวกเขาเข้า สู่สนามด้วยความพยายามอย่างเต็มที่ และก�ำลังใช้ เครื่องมือทั้งมวลทางด้านความมั่นคง ด้านจิตวิทยา การทหาร เศรษฐกิจและการโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อการ ปราบปราม การยอมจ�ำนนโดยดุษณีของมุสลิม การ ท�ำให้พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับตัวเอง การพิจารณาถึง สถานการณ์ในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันตก จาก ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ไปจนถึงซีเรีย อิรกั ปาเลสไตน์ และประเทศทัง้ หลายในอ่าวเปอร์เซีย และเช่นเดียวกันนี้ บรรดาประเทศในแอฟริกาเหนือ อย่างเช่น ลิเบีย อียปิ ต์ ตูนเิ ซีย ไปจนถึงซูดานและประเทศอืน่ ๆ อีกบางประเทศ จะท�ำให้เห็นข้อเท็จจริงต่างๆ ได้อย่างชัดเจน สงครามกลางเมือง ความอคติทางศาสนาและ ทางด้านนิกายอย่างหูหนวกตาบอด ความไร้เสถียรภาพ ทางการเมือง การแพร่ระบาดของลัทธิกอ่ การร้ายทีโ่ หด ร้ายป่าเถื่อน การเกิดของกลุ่มและกระแสแนวคิดต่างๆ ทีส่ ดุ โต่ง ทีพ่ วกเขาได้ผา่ อกและได้กดั กินหัวใจของมนุษย์ ด้วยวิธีการเดียวกับหมู่ชนที่ป่าเถื่อนในประวัติศาสตร์ บรรดาผูต้ ดิ อาวุธทีเ่ ข่นฆ่าสังหารเด็กและสตรี ตัดศีรษะ ของเหล่าบุรษุ และล่วงละเมิดพรหมจารีของบรรดาสตรี

ในหลายๆ กรณีทพี่ วกเขาได้กอ่ อาชญากรรมทีน่ า่ อับอาย และน่าขยะแขยงนี้ภายใต้ชื่อและ ร่มธงของศาสนา ทั้ง หลายทัง้ ปวงเหล่านีเ้ ป็นผลผลิตของแผนการทีช่ วั่ ร้ายและ อหังการของบรรดา เจ้าหน้าทีด่ ้านความมั่นคงของต่าง ชาติและสมุนรับใช้ของรัฐบาลในภูมิภาคที่ ร่วมมือกับ พวกเขา ซึง่ อาจเกิดขึน้ ได้ในขอบข่ายต่างๆ ทีม่ คี วามเป็น ไปได้ในประเทศทัง้ หลาย ซึง่ ท�ำให้ยคุ สมัยของประชาชน ของชาติทั้งหลายกลายเป็นสีด�ำและท�ำให้พวกเขาต้อง ประสบกับความขมขื่น แน่นอนยิง่ ในสถานการณ์และสภาพการณ์เช่นนัน้ ไม่อาจที่จะคาดหวังได้เลยว่า บรรดาประเทศมุสลิมจะ ท�ำการฟืน้ ฟูซอ่ มแซมช่องว่างต่างๆ ทางด้านวัตถุและจิต วิญญาณของตนได้ และไม่อาจไปถึงความมัน่ คงสงบสุข ความเจริญรุง่ เรือง ความก้าวหน้าทางความรูแ้ ละอ�ำนาจ ระหว่างประเทศ ทีเ่ ป็นผลพวงของความดีงามต่างๆ ของ การตื่นตัวและการได้มาซึ่งอัตลักษณ์ของตนได้ สถานการณ์ทที่ กุ ข์เข็ญเช่นนีอ้ าจท�ำให้การตืน่ ตัว ของอิสลามกลายเป็นหมัน ซึง่ จะท�ำลายสภาพความพร้อม ต่างๆ ทางด้านจิตวิญญาณทีเ่ กิดขึน้ แล้วในโลกอิสลามให้ หมดไปได้ และจะน�ำพาประชาชาติมสุ ลิมไปสูค่ วามหดหู่ การถูกโดดเดีย่ วและความตกต�ำ่ ในช่วงเวลาทีย่ าวนาน อีกครัง้ หนึง่ และจะท�ำให้ปญ ั หาต่างๆ ทีส่ ำ� คัญของพวก เขา อย่างเช่น การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การปลดปล่อย ประชาชาติมสุ ลิมจากการรุกรานของสหรัฐอเมริกาและ ลัทธิไซออนิสต์ ต้องถูกหลงลืมไป การเยียวยาแก้ไขขั้นพื้นฐานที่ส�ำคัญสามารถ สรุปได้จากประโยคสองประโยคนี้ที่ถือ เป็นหัวใจ ทั้ง สองประโยคนี้เป็นบทเรียนที่ชัดเจนที่สุดของพิธีฮัจญ์ ประโยคแรก : ความสามัคคีและความเป็นพี่น้องกัน ของชาวมุสลิม ภายใต้ร่มธงแห่งเตาฮีด (การยอมรับ ในเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) และประโยคที่สอง : การรู้จักศัตรูและการเผชิญหน้ากับแผนการและวิธีการ ต่างๆ ของศัตรู การเสริมสร้างจิตวิญญาณของความเป็นพี่น้อง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 7


และความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน คือบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ ของพิธฮี จั ญ์ ณ ทีแ่ ห่งนีแ้ ม้แต่การโต้เถียงและการพูดจา หยาบคายต่อผูอ้ นื่ ก็เป็นทีต่ อ้ งห้าม การสวมใส่เสือ้ ผ้าที่ เหมือนกัน การกระท�ำ (อะมั้ล) ต่างๆ ที่เหมือนกัน และ การเคลือ่ นไหวต่างๆ ทีเ่ หมือนกัน พฤติกรรมทีแ่ สดงออก ถึงความเมตตา ณ ทีแ่ ห่งนี้ หมายถึงความเสมอภาคและ ภราดรภาพส�ำหรับทุกคนที่มีความเชื่อมั่นและมีหัวใจ ผูกพันต่อศูนย์กลางแห่งเตาฮีด (เอกานุภาพของพระผู้ เป็นเจ้า) สิ่งนี้คือการปฏิเสธที่ชัดเจนของอิสลามที่มีต่อ แนวคิด ความเชื่อและการเรียกร้องเชิญชวนที่กล่าวหา ว่ามุสลิมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อมั่นต่อกะอ์บะฮ์ และเตาฮีด (เอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) ต้องออก จากวงจรของอิสลาม บรรดากลุ่มตักฟีรีซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นเครื่อง มือทางการเมืองของชาวไซออนิสต์ผู้หลอก ลวง และผู้ สนับสนุนชาวตะวันตกของพวกเขา ทีก่ ำ� ลังก่ออาชญากรรม ต่างๆ ทีน่ า่ สยองขวัญ พวกเขาก�ำลังหลัง่ เลือดของมุสลิม ผูบ้ ริสทุ ธิ์ บรรดาผูท้ อี่ า้ งว่าเป็นผูเ้ คร่งครัดศาสนาและสวม ใส่อาภรณ์ของนักวิชาการศาสนา ทีก่ ำ� ลังโหมกระพือไฟ แห่งความแตกแยกระหว่างชีอะฮ์และซุนนี และอื่นๆ ที่ เหมือนกันนี้ พวกเขาจงรู้เถิดว่า ตัวของพิธีกรรมต่างๆ ของฮัจญ์ คือสิง่ ทีจ่ ะท�ำให้คำ� กล่าวอ้างของพวกเขากลาย เป็นโมฆะ ช่างน่าประหลาดใจยิ่งนัก! บรรดาผู้ที่กล่าว อ้างว่า พิธีประกาศการไม่ยุ่งเกี่ยวและการเป็นปฏิปักษ์ ต่อบรรดาผู้ตั้งภาคี (อัลบะรออะฮ์ มินัลมุชริกีน) ซึ่งมี รากฐานที่มาที่ฝังลึกอยู่ในการปฏิบัติ (อะมั้ล) ของท่าน ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ (ซ็อลฯ) นั้นเป็นการวิภาษ (ญิด้าล) ที่ ต้องห้าม แต่ตวั พวกเขากลับมีบทบาททีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในการ สร้างความขัดแย้งนองเลือด ระหว่างมุสลิมด้วยกันเอง ข้าพเจ้า ก็เช่นเดียวกับนักวิชาการ (อุละมาอ์) อิสลามที่มีความห่วงใยต่อประชาชาติมุสลิม และขอ ประกาศอีกครัง้ หนึง่ ว่า ทุกค�ำพูดและการกระท�ำทีจ่ ะเป็น สาเหตุของการจุดไฟแห่งความแตกแยกขึน้ ระหว่าง ชาว มุสลิม หรือการดูหมิน่ สิง่ ต่างๆ อันเป็นทีเ่ คารพนับถือของ

8 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

มุสลิมแต่ละกลุ่ม หรือการกล่าวหามัซฮับ (นิกาย) หนึ่ง ของอิสลามว่าเป็นผู้ปฏิเสธ (ตักฟีร) คือการรับใช้ค่าย ของผู้ปฏิเสธ ผู้ตั้งภาคี อีกทั้งเป็นการทรยศต่ออิสลาม และถือเป็นทีต่ อ้ งห้าม (ฮะรอม) ตามศาสนบัญญัติ การ รูจ้ กั ศัตรูและวิธกี ารต่างๆ ของศัตรู คือหลักการประการ ที่สอง ประเด็นแรก เราจะต้องไม่เผลอเลอและหลงลืม จากการมีอยูข่ องศัตรูผอู้ าฆาตแค้น การขว้างเสาหินซ�ำ้ กันหลายครัง้ ในพิธฮี จั ญ์ คือสัญลักษณ์ทชี่ ดั เจนทีจ่ ะต้อง ตระหนักในเรื่องนี้อยู่ตลอดไป ประเด็น ทีส่ อง การรูจ้ กั ศัตรูหลักซึง่ ปัจจุบนั ก็คอื แนวรบของมหาอ�ำนาจแห่งโลกและอาชญากรใน เครือ ข่ายลัทธิไซออนิสต์สากล ก็จะต้องไม่ผิดพลาด และ ประเด็นทีส่ าม จะต้องแยกแยะให้ได้เป็นอย่างดีถงึ วิธกี าร ต่างๆ ของศัตรูผู้มีทิฐิ ซึ่งได้แก่ การสร้างความแตกแยก ในหมู่ชาวมุสลิม การแพร่ขยายการทุจริตทางการเมือง และความเสือ่ มทรามทางศีลธรรม การข่มขูแ่ ละการติด สินบนบรรดาบุคคลชั้นน�ำ การกดดันทางเศรษฐกิจต่อ ชนชาติต่างๆ และการสร้างความคลางแคลงในความ เชื่อต่างๆ เกี่ยวกับอิสลาม และจะต้องรับรู้ถึงเครือข่าย และตัวแทนของพวกเขาจากหนทางนี้ บรรดารัฐบาลจอมอหังการและแนวหน้าของพวก เขาคืออเมริกา จะปกปิดโฉมหน้าทีแ่ ท้จริงของตนเอง โดย เครือ่ งมือทางด้านสือ่ สารมวลชนทีค่ รบวงจรและทันสมัย และด้วยกับค�ำกล่าวอ้างในการเป็นผูส้ นับสนุนเกีย่ วกับ สิทธิมนุษยชนและ ประชาธิปไตย พวกเขาจะใช้วิธีการ ที่เจ้าเล่ห์หลอกลวงความคิดของสาธารณชนของชาติ ต่างๆ ขณะที่พวกเขากล่าวอ้างเรื่องสิทธิของประชาชน ในชาติทงั้ หลายนัน้ ประชาชนชาวมุสลิมกลับต้องสัมผัส


กับไฟแห่งความแตกแยกต่างๆ ด้วยร่างกายและหัวใจ ของเขาที่มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมในทุกๆ วัน การมองไปยังประชาชนผูถ้ กู กดขีข่ องปาเลสไตน์ หลายทศวรรษแล้วทีพ่ วกเขาได้รบั บาดแผลจากอาชญากรรม ต่างๆ ของระบอบไซออนิสต์และผูส้ นับสนุนมัน ในแต่ละ วันนั้นการมองไปยังประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอิรัก ซึ่งลัทธิก่อการร้ายที่เป็นผลผลิตของนโยบาย ต่างๆ ของลัทธิจกั รวรรดินยิ มและตัวแทนในภูมภิ าคของ พวกเขา ได้ท�ำให้ชีวิตของประชาชนของประเทศเหล่า นั้นต้องพบกับความขมขื่น หรือการมองไปยังซีเรียด้วย ความผิดทีใ่ ห้การสนับสนุนขบวนการต่อต้านไซออนิสต์ ท�ำให้เกิดกระแสคลืน่ แห่งความเกลียดชังจากผูค้ รอบง�ำ ต่างชาติและบรรดาตัวแทนใน ภูมภิ าคของพวกเขา และ ต้องประสบกับสงครามกลางเมืองที่นองเลือด หรือการ มองไปยังบาห์เรนหรือเมียนมาร์ แต่ละประเทศชาวมุสลิม จะได้รบั ความทุกข์ยากและถูกละเลยในลักษณะหนึง่ ใน ขณะที่ศัตรูของพวกเขาได้รับการสนับสนุน หรือมองไป ยังชาติอื่นๆ ซึ่งถูกคุกคามด้วยการโจมตีทางทหาร หรือ การถูกคว�่ำบาตร หรือการท�ำลายทางด้านความมั่นคง อย่างต่อเนื่องโดยอเมริกาและบรรดาพันธมิตรของ มัน (ทั้งหมดเหล่านี้) ท�ำให้ทุกคนได้รับรู้ถึงโฉมหน้า ที่แท้จริงของบรรดาผู้น�ำระบอบครอบง�ำเหล่านี้ ได้ บรรดาชนชั้นน�ำทางการเมือง ทางวัฒนธรรมและทาง ศาสนาในทั่วทุกมุมของโลกอิสลาม ที่จะต้องส�ำนึกอยู่ เสมอว่าตัวเองมีทำ� หน้าทีใ่ นการเปิดโปงข้อเท็จจริงเหล่า นี้ นี่คือหน้าที่ทางศีลธรรมและทางศาสนาของพวกเรา ทุกคน แต่น่าเศร้าใจที่วันนี้ บรรดาประเทศในแอฟริกา เหนือต้องตกอยู่ภายใต้ความขัดแย้งภายในต่างๆ ที่ลุ่ม ลึก ก่อนอื่นใดทั้งหมดจะต้องให้ความส�ำคัญต่อความ รับผิดชอบอันยิ่งใหญ่นี้ กล่าวคือ การรู้จักศัตรู วิธีการ และเล่ห์เหลี่ยมกลลวงต่างๆ ของศัตรู การด�ำเนินต่อ ไปอย่างต่อเนื่องในความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแนวคิด ต่างๆ ภายในชาติ และการหลงลืมจากสงครามภายใน ของประเทศเหล่านี้ คืออันตรายที่ใหญ่หลวง ซึ่งความ

เสียหายของมันส�ำหรับประชาชาติอิสลามนั้นไม่อาจที่ จะชดเชยได้ในช่วง เวลาที่รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เราไม่คลางแคลงสงสัยเลยว่า ประชาชนทีย่ นื หยัดขึน้ ในภูมภิ าค ซึง่ ท�ำให้การตืน่ ตัวของ อิสลามเป็นรูปเป็นร่างขึน้ มานัน้ ด้วยการอนุมตั ขิ องพระ ผู้เป็นเจ้า พวกเขาจะไม่ยอมปล่อยให้เวลาแห่งยุคสมัย ของบรรดาผู้ปกครองที่ชั่วร้าย ผู้เป็นทาสรับใช้ต่างชาติ และเป็นเผด็จการได้ถอยหลังกลับมาอีก แต่การเผลอเลอ จากแผนการของบรรดามหาอ�ำนาจจอมอหังการในการ สร้างวิกฤติความขัด แย้งและการแทรกแซงทีบ่ อ่ นท�ำลาย นัน้ จะท�ำให้งานของพวกเขากลายเป็นเรือ่ งยาก และยุค สมัยของความมีเกียรติศกั ดิศ์ รี ความสงบสุขและความ เจริญรุ่งเรืองจะต้องถอยหลังไปอีกหลายปี เรามีความ เชื่อมั่นจากส่วนลึกในความสามารถของประชาชนทั้ง หลาย และพลังอ�ำนาจทีพ่ ระผูเ้ ป็นเจ้าผูท้ รงปรีชาญาณ ได้ทรงก�ำหนดไว้ในเจตนารมณ์ที่ มั่นคง ความศรัทธา และความมีวิสัยทัศน์ของมวลมหาประชาชน ซึ่งเรา ก็ได้เห็นสิ่งนี้ด้วยกับสายตาและได้เรียนรู้ด้วยตัวเองใน สาธารณรัฐ อิสลามแห่งอิหร่าน ในช่วงเวลาที่ยาวนาน มากกว่าสามทศวรรษ ความพยายามของเราคือการเรียก ร้องประชาชาติมสุ ลิมทัง้ มวลสูป่ ระสบการณ์ของพี่ น้อง มุสลิมของพวกเขา ในประเทศที่มีความภาคภูมิใจและ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยนี้ ข้าพเจ้า ขอวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง โปรดแก้ไขปรับปรุงสภาพของประชาชาติมสุ ลิมและโปรด ท�ำลายแผนการของบรรดาศัตรูและข้าพเจ้าขอวิงวอนต่อ พระองค์โปรดประทานฮัจญ์ทถี่ กู ยอมรับ ความมีสขุ ภาพ ทีส่ มบูรณ์ของร่างกายและจิตใจและเสบียงทีเ่ ปีย่ มล้นไป ด้วยจิตวิญญาณให้แก่ผแู้ สวงบุญ ณ บัยตุลลอฮ์ทกุ ท่าน ‫والسالم علیكم و رحمة الل‬ ّ ขอความสันติและความเมตตาจากอัลลอฮ์จง ประสบแด่ท่านทั้งหลาย ซัยยิดอะลี คอเมเนอี วันที่ 5 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 1434

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 9


ถอดความโดย

เชคมุฮัมมดนาอีม ประดับญาติ

ค�ำปราศรัย ต่อประธานสภา ผู้เชี่ยวชาญ คัดสรรผู้น�ำ และคณะ َ ‫‌الرحيم‬ ّ ‫هّ‌الرحمن‬ ّ ‫‌بسم‌الل‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงปรานีเสมอ ข้าพเจ้า ขอแสดงความยินดีและกล่าวต้อนรับ ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย บรรดานักวิชาการที่โดดเด่น และนักการศาสนาจากทัว่ ประเทศ อัลฮัมดุลลิ ลาฮ์ (มวล การสรรเสริญขอบคุณพึงมีแด่อัลลอฮ์) ที่ท่านทั้งหลาย ได้มารวมตัวกัน ณ ที่ประชุมแห่งนี้ แม้ว่าหน้าที่หน้าที่ ของสภาผู้เชี่ยวชาญจะเป็นหน้าที่ที่มีขอบเขตจ�ำกัดใน รัฐ ธรรมนูญ แต่จิตวิญญาณในการจัดการประชุมและ การรวมตัวของ ฯพณฯ ท่านทั้งหลาย ได้น�ำไปสู่การ อภิปรายในเนื้อหาจ�ำนวนมากมายเกี่ยวกับแง่มุมและ เวทีต่างๆ ของประเทศ ฯพณฯ ท่านทั้งหลายได้ร่วมกัน แสดงความคิดเห็น และบรรดาเจ้าหน้าที่ (รัฐบาล) ก็ได้ เข้าร่วมในการประชุมนี้ด้วย นั บ เป็ น ความโชคดี ที่ ท ่ า นประธานาธิ บ ดี ผู ้ มี 10 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

เกียรติและบรรดาเจ้าหน้าที่ผู้มี เกียรติอีกบางส่วนก็ เป็นสมาชิกของสภานี้ ท�ำให้มีความหวังเพิ่มมากขึ้นที่ ว่า ทัศนะความเห็นของ ฯพณฯ ท่านทั้งหลายจะได้รับ ความสนใจมากยิ่งขึ้น อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็น เจ้าทรงประสงค์) เราหวังว่าจะเป็นเช่นนี้ เราเองก็เช่น กัน เท่าที่มีความสามารถ เท่าที่เป็นไปได้และเท่าที่การ เปิดกว้างของสนามแห่งความรับผิดชอบและอ�ำนาจ มี ความเป็นไปได้ อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็นเจ้า ทรงประสงค์) เราก็จะช่วยอีกแรงหนึ่งในสิ่งที่เป็นความ ต้องการของ ฯพณฯ ท่านทั้งหลาย อีก ประเด็นหนึง่ ทีข่ า้ พเจ้าถือว่าจ�ำเป็นทีข่ า้ พเจ้า จะต้องกล่าวถึง นั่นคือ การจัดพิธีศพของบรรดาชะฮีด (ผูเ้ สียสละชีพ) ทีไ่ ด้จดั ขึน้ ในช่วงก่อนเริม่ ต้นการประชุม นี้ เป็นการด�ำเนินการที่มีคุณประโยชน์และสร้างสรรค์ มาก (2) การ ที่ประชาชนได้เห็นบุคคลส�ำคัญที่เป็นที่ เคารพ ท่านประธานสภา (ผูเ้ ชีย่ วชาญ) และบุคคลอืน่ ๆ


ที่ได้แสดงการคารวะให้เกียรติต่อเรือนร่างและโลงศพ ของบรรดาชะฮีด บรรดาชะฮีดที่แม้จะไม่รู้จักว่าเป็น ใคร แค่เพียงว่าบุคคลเหล่านี้คือบรรดาชะฮีด (ผู้สละ ชีพ) ในหนทางของสัจธรรมและการปฏิวัติ ทุกคนต่าง ก็เข้าไปร่วมแบกโลงศพและติดตามไปส่งศพ (ตัชเญี๊ ยะอ์ญะนาซะฮ์) นี่คือบทเรียนหนึ่งส�ำหรับสังคมของ เรา และข้าพเจ้าขอกล่าวว่า ประเทศของเราและสังคม ของเรามีความสิ่งจ�ำเป็นต่อสิ่งนี้ที่ว่า การร�ำลึกบรรดา ชะฮีด (ผู้เสียสละชีพ) นั้นจะต้องด�ำรงอยู่ และแนวทาง ของบรรดาชะฮีดก็จะต้องคงอยู่ตลอดไปตราบชั่วระยะ เวลาอันยาวนาน ประเด็ น ที่ เ ข้ า มาในความคิ ด ของข้ า พเจ้ า ที่ ข้าพเจ้าจะขอกล่าวก็คือ ระดับต่างๆ ของการตัดสิน ใจและการตัดสินใจของระบอบนั้น เป็นหน้าที่ของเรา ที่จะต้องมองดูปัญหาต่างๆ ของประเทศด้วยการพินิจ พิเคราะห์อย่างครอบคลุม เป็นที่ชัดเจนว่า เหตุการณ์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งอยู่นอกเหนืออ�ำนาจการควบคุมของ เรา ไม่ว่าจะในระดับภูมิภาคหรือในระดับโลก หรือ แม้แต่ในระดับประเทศ ในระบอบอิสลาม บรรดาเจ้า หน้าทีแ่ ละผูท้ เี่ ป็นเสาหลักคอยรักษาระบอบนี้ จะมีหน้า ที่ต่างๆ เคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับประชาชน ไม่สามารถ ที่จะอธิบายหน้าที่เหล่านี้ไปตามเหตุการณ์ต่างๆ ได้ กล่าวคือ เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น เราก็จะแสดง การเคลื่อนไหวอย่างหนึ่งออกมาในรูปของปฏิกิริยา ที่มีต่อ เหตุการณ์นี้ แสดงท่าทีอย่างหนึ่งออกมาหรือ ด�ำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาในทันที อย่างนี้ ไม่ถูกต้อง สิ่งนี้หมายถึงการดึงเอาระบอบสาธารณรัฐ อิสลามไปสู่ทิศทางโน้นและทิศทางนี้ จ�ำเป็นจะต้อง มองปัญหาต่างๆ ให้รัดกุมและรอบคอบ แต่อัลฮัมดุลิล ลาฮ์ (มวลการสรรเสริญขอบคุณพึงมีแด่พระผู้เป็นเจ้า) ทีใ่ นประเทศ (ของเรา) การมองอย่างรัดกุมและรอบคอบ นี้ก็ยังคงมีอยู่ มิใช่ว่าหลังจากการปฏิวัติมาจนถึงวัน นี้ บรรดาเจ้าหน้าที่ของเราจะเผอเรอจากสิ่งนี้ ก็ขอให้ รักษาสิ่งนี้เอาไว้ เราจะต้องแสดงจุดยืนต่อเหตุการณ์

ต่างๆ ด้วยการพิจารณาอย่างครอบคลุมเช่นนี้ และเรา จะต้องท�ำความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระบอบสาธารณรัฐอิสลามได้กอ่ ตัวขึน้ ท่ามกลาง พายุร้ายของเหตุการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย ค�ำพูดนี้ถูก กล่าวย�ำ้ ไปบ่อยครัง้ แล้ว แต่เราจะต้องไม่ลมื ว่า ระบอบ ทีค่ ำ� ขวัญของมันคือการท�ำให้ศาสนาของพระผูเ้ ป็นเจ้า บรรลุสู่ความจริงใน สังคมและชีวิตของประชาชนใน ประเทศ ค�ำขวัญของมันคือการสร้างรูปแบบให้กบั ชีวติ ทางสังคมของเราด้วยกับบทบัญญัติ แห่งพระผูเ้ ป็นเจ้า ด้วยกับศาสนาของพระผูเ้ ป็นเจ้า ด้วยกับกฎเกณฑ์และ ค่านิยมต่างๆ แห่งพระผูเ้ ป็นเจ้า ระบอบเช่นนีใ้ นโลกเมือ่ สองสามศตวรรษได้ย่างก้าวไปสู่ทิศทางของวัตถุนิยม และ ก่อรูปขึน้ อย่างรวดเร็ว มันเหมือนกับปาฏิหาริยแ์ ละ ความมหัศจรรย์ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว นับจากช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้งระบอบอิสลาม การต่อต้านต่างๆ ก็ได้เริ่มต้นขึ้นโดย "อาศัยอิสลาม" เรา จะไม่ขอกล่าวว่า ความเป็นอิสรภาพของประเทศ หรือนโยบายในการต่อสู้กับระบอบความเป็นเจ้าโลก นั้น ได้กลายเป็นสาเหตุการเป็นศัตรูของพวกเขา ซึ่งข้อ เท็จจริงก็เป็นเช่นนี้ เพียงแต่วา่ การต่อสูก้ บั ความเป็นเจ้า โลก (จอมอหังการ) นัน้ มันไหลพุง่ ออกมาจากหัวใจของ อิสลาม ความเป็นประชาธิปไตยของเรามันได้ประทุออก มาจากหัวใจของอิสลาม ดังที่ได้กล่าวไปหลายครั้งแล้ว มิใช่ว่าเมื่อเรา กล่าวว่า “ประชาธิปไตยทางศาสนา” สิ่ง นี้จะหมาย

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 11


ถึงการประสมประสานกันระหว่างประชาธิปไตยกับ แนวคิดอย่างหนึ่ง และ (การประสมประสาน) ศาสนา เข้ากับแนวคิดอีกอย่างหนึง่ มันไม่เช่นนี!้ ประชาธิปไตย ของเรามีต้นก�ำเนิดมาจากศาสนา อิสลามได้แสดง แนวทางนี้ให้เราเห็น และด้วยกับการชี้น�ำของอิสลาม ที่เราได้มาถึงยังระบอบสาธารณรัฐอิสลาม หลังจากนี้ ก็เช่นกัน ด้วยการประทานความส�ำเร็จ (เตาฟีก) ของ พระผู้เป็นเจ้า มันก็จะเป็นเช่นนี้ ความเป็นศัตรูได้รวม ศูนย์และพุ่งเป้ามาที่อิสลาม หากพวกเขาลบระบอบ นี้ออกไปจากอิสลาม สิ่งที่เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นมาจาก อิสลาม ก็จะถูกลบออกไปโดยปริยาย หรือจะอ่อนแอ และลดคุณค่าลงไป จ�ำเป็นจะต้องวิเคราะห์ปญ ั หาต่างๆ ด้วยมุมมองเช่นนี้ เมื่อมีการแบ่งฝ่ายต่างๆ เกิดขึ้นใน โลก และส่วนมากของการแบ่งฝ่ายเหล่านี้เรามักจะอยู่ ในฝ่ายที่เป็นกรณี จ�ำเป็นที่เราจะต้องมองดูว่าฝ่ายตรง ข้ามของเราเป็นใคร? มันคืออะไร? ท�ำไมเขาจึงแสดง ความเป็นศัตรู? ท�ำไมเราจะต้องยืนหยัดต่อต้านเขา? สิ่งเหล่านี้จ�ำเป็นจะต้องมองดูด้วยการพิจารณาอย่าง รอบคอบ พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า

‫أَفَ َمن يَ ْمشِ ي ُمك ِّبًا َعلَى َو ْج ِه ِه أ َ ْه َدى أ َ َّمن ي َ ْمشِ ي‬ ‫َس ِويًّا َعلَى صِ َراطٍ ُّم ْستَقِي ٍم‬

“ผูท้ เี่ ดินคว�ำ่ หน้าของเขา (โดยไม่สนใจต่อสิง่ ใด) จะได้รับการชี้น�ำมากกว่า หรือว่าผู้ที่เดินตรงแน่ว (มอง อย่างรอบคอบ) ไปบนแนวทางที่เที่ยงตรง” (3) ความหมายของค�ำว่า «‫» َس ِويّاً َعلى صِ راطٍ ُمستَقيم‬ (ผู้ที่เดินตรงแน่วไปบนแนวทางที่เที่ยงตรง)

12 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

นั่นก็คือ การมีสายตาที่เปิดกว้าง มีวิสัยทัศน์ มี มุมมองที่ลึกซึ้ง ด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบในทุก ด้านนั้น เราจะรับรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร เส้นทาง (ที่จะ ไปถึงยัง) เป้าหมายนี้คืออะไร และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มี อยูใ่ นเส้นทางของเรานัน้ สิง่ เหล่านีค้ อื อะไร เราจะตัดสิน ใจและย่างก้าวไปโดยพิจารณาตามสิ่งเหล่านี้ วันนี้ ท่านทัง้ หลายจะเห็นได้วา่ มีเหตุการณ์ตา่ งๆ ทีห่ ลากหลายก�ำลังด�ำเนินอยูใ่ นภูมภิ าคของเรา นับจาก หลายปีทผี่ า่ นมา จวบจนวันนีห้ น่วยงานของมหาอ�ำนาจ ได้ยึดเอาเอเชียตะวันตกเป็นภูมิภาคในการ รุกราน แม้ จะมีการปรากฏตัวและมีการเคลือ่ นไหวของมหาอ�ำนาจ ที่ปฏิบัติการอยู่ในภูมิภาคนี้ แต่การตื่นตัวของอิสลาม ก็ได้เกิดขึ้น ข้าพเจ้าขอกล่าวว่า การตื่นของอิสลามไม่ ได้จบสิ้นลง มันไม่ใช่อย่างที่พวกเราก�ำลังคาดคิดที่ว่า ขณะนี้เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบางประเทศมันได้ ท�ำลายการตื่นตัวของอิสลามลงไปแล้ว การตื่ น ตั ว ของอิ ส ลามมิ ไ ด้ เ ป็ น เหตุ ก ารณ์ ทางการเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่เหมือนกับการ ท�ำรัฐประหาร เหมือนกับการสับเปลี่ยนที่คนหนึ่งมา และคนหนึ่งไป หลังจากนั้นอีกคนหนึ่งก็มาก�ำจัดเขา ออกไปอีก การตื่นตัวของอิสลามมีความหมายดังนี้คือ เป็นสภาพของการตื่นตัว การเกิดจิตส�ำนึกและความ เชื่อมั่นในตัวเอง ด้วยการพึ่งพาอาศัยอิสลามที่ปรากฏ ขึ้นในหมู่ประชาคมมุสลิม ในแอฟริกาเหนือก็เป็นไป ตามสถานการณ์ต่างๆ ในลักษณะหนึ่ง ตัวอย่าง เช่นในอียิปต์หรือในตูนิเซีย หรือก่อน หน้าประเทศเหล่านี้เช่นในซูดาน และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน (ประเทศ) อื่นๆ ก็เช่นกัน บริบทเดียวกันนี้ มีศักยภาพที่จะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ มิใช่อย่างที่เรา คิดที่ว่า การตื่นตัวของอิสลามนั้นได้หมดไปแล้ว หาใช่ เช่นนั้นไม่! นี่คือข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ซ่อนอยู่ภาย ใต้ผิวเปลือกภายนอกของสังคมทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ เองท่านทั้งหลายจะเห็นในประเทศใดที่กล่าวอ้างการ เปลีย่ นแปลงไป สูอ่ สิ ลาม ประชาชนก็จะลงคะแนนเสียง


ให้กับรัฐบาลที่โน้มเอียงมายังอิสลาม นี่คือสัญญาณ ของการหันกลับสู่อิสลามและการให้ความสนใจต่อ อิสลาม ด้วยเหตุนี้ เหตุการณ์การตื่นตัวของอิสลามจึง เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่มากเหตุการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ้น แล้ว แม้มหาอ�ำนาจจะเป็นผูส้ ร้างเหตุการณ์นขี้ นึ้ มา แต่ มันกลับตรงกันข้ามกับความต้องการของมหาอ�ำนาจ มันจึงเป็นเรือ่ งปกติทตี่ อ้ งมีปฏิกริ ยิ าเกิดขึน้ จากฝ่ายนัน้ วันนี้เราก�ำลังเห็นปฏิกิริยาจากแนวรบของศัตรู ทั้งใน ตะวันออกของภูมภิ าคของเรา คือในพืน้ ทีข่ องปากีสถาน และอัฟกานิสถาน ไปจนถึงตะวันตกของเอเชีย คือพืน้ ที่ ของซีเรียและเลบานอน ที่มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น แนวรบของมหาอ� ำ นาจ ที่ เ ป็ น หั ว โจกก็ คื อ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา พวกเขาได้ให้ค�ำจ�ำกัดความผล ประโยชน์ต่างๆ ของตนเองในภูมิภาคนี้ด้วยมุมมอง แบบมหาอ�ำนาจ คือมุมมองของลัทธิล่าอาณานิคม แห่งศตวรรษที่สิบเก้าด้วยรูปแบบใหม่ และพวกเขา ก�ำลังมุ่งหาทางที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งหมดของ ภูมิภาค ให้เป็นไปตามผลประโยชน์ที่พวกเขาได้ให้ค�ำ จ�ำกัดความไว้ส�ำหรับตัวเอง กรณีของซีเรียก็เป็นเช่นนี้ กรณีของบาห์เรนก็เป็นแบบเดียวกันนี้ การปรากฏตัว ของมหาอ�ำนาจในภูมิภาคนี้ เป็นการปรากฏตัวอย่างผู้ รุกราน เห็นแก่ตัว และการใช้อ�ำนาจข่มขู่ ทุกๆ การต่อ ต้านที่อยู่เบื้องหน้าเขา เขาก็จะท�ำลายลง แต่อัลฮัมดุ ลิลลาฮ์ (มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮ์) จนถึง ขณะนีพ้ วกเขายังไม่สามารถและพวกเขาจะไม่สามารถ (กระท�ำเช่นนั้นได้) ภูมภิ าคนีเ้ ป็นพืน้ ทีท่ อี่ ดุ มไปด้วยความมัง่ คัง่ และ มีสถานะที่ส�ำคัญมากทางธรรมชาติด้านภูมิศาสตร์ แน่นอนพวกเขาจึงมุ่งความสนใจมายังภูมิภาคนี้ ซึ่ง หากเราพิจารณาจากค�ำพูดต่างๆ ของพวกเขาและสิ่ง ที่พวกเขาได้กระท�ำไปแล้วจนถึงขณะนี้ เป้าหมายของ พวกเขาก็คือ พวกเขาจะท�ำให้ภูมิภาคนี้เป็นของพวก เขา โดยมีศูนย์กลางคือระบอบไซออนิสต์ และพวกเขา

จะท�ำให้อ�ำนาจอธิปไตยของตนเองมั่นคงในภูมิภาคนี้ ซึ่งพวกเขาก�ำลังมุ่งแสวงหาสิ่งนี้ ในกรณีตา่ งๆ ช่วงล่าสุดของซีเรียท่านทัง้ หลายก็ ก�ำลังเห็นอยู่ ข้ออ้างที่พวกเขากล่าวถึงล่าสุดก็คือเรื่อง ของอาวุธเคมี แน่นอนขณะนี้เป็นการเล่นภาษาและค�ำ พูด พวกเขาพยายามทีจ่ ะแสดงให้เห็นว่า เนือ่ งจากเรือ่ ง ของสิทธิมนุษยธรรมทีท่ ำ� ให้พวกเขาต้องเข้ามาสูป่ ญ ั หา นี้ มีใครในโลกหรือที่ไม่รู้ถึงความมดเท็จของค�ำกล่าว อ้างนี้! ไม่เป็นที่สงสัยใดๆ เลยว่า สิ่งนี้ไม่มีอยู่ในบรรดา นักการเมืองของอเมริกา นั่นก็คือแง่มุมต่างๆ ทางด้าน สิทธิมนุษยธรรม พวกเหล่านี้คือผู้ซึ่ง ในค่ายกักกันกวน ตานาโม และก่อนหน้านัน้ ในค่ายกักกันอบูฆอรีบ (Abu Ghraib) ใน อิรัก พวกเขาได้คุมขังนักโทษจ�ำนวนหลาย พันคนไว้เป็นเวลายาวนานหลายปีโดยไม่มีการ ด�ำเนิน คดี เพียงแค่ตงั้ ข้อกล่าวหาเท่านัน้ จนถึงขณะนีส้ ว่ นหนึง่ ของพวกเขาก็ยังอยู่ที่นั่น ดังนั้นนี่หรือคือมนุษยธรรม! คนเหล่านี้คือผู้ที่เห็นการการทิ้งระเบิดสารเคมี อย่างกว้างขวางของซัดดัมในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองฮาลับจาของอิรัก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นในเมืองต่างๆ ของเรา เช่น ซาร์ดัชต์ (sardasht) และที่อื่นๆ แต่พวกเขากลับไม่โวยวายใดๆ ยิ่งไปกว่า นั้น กลับให้การช่วยเหลือด้วยซ�้ำไป หากเราสมมุติกัน ว่า การช่วยเหลือไม่ใช่ความหมายนี้ที่ว่า อเมริกาได้ให้ อุปกรณ์ต่างๆ ทางด้านเคมีแก่พวกเขา แต่ในความเป็น จริงแล้วพวกตะวันตกได้ให้ ซึ่งไม่มีข้อสงสัยใดๆ เลยใน เรื่องนี้ เพราะข้อมูลต่างๆ ของมันอยู่ในมือเรา แต่อย่าง น้อยทีส่ ดุ เมือ่ ชาวอเมริกนั ได้เห็น ได้รบั รู้ แต่กม็ ไิ ด้ทำ� การ ทักท้วงใดๆ เลยแม้แต่นอ้ ย ประเด็นเรือ่ งมนุษยธรรมของ พวกเหล่านี้จึงเป็นแบบนี้ ในอัฟกานิสถาน ในปากีสถาน พวกเขาได้กราด กระสุนใส่ขบวนงานแต่งงานของประชาชน พวกเขา สังหารผู้คนต่างๆ พวกเขาสังหารและท�ำลายล้างผู้คน หลายแสนคนในอิรักด้วยอ�ำนาจบาตรใหญ่และความ อธรรม ในขณะนีบ้ รรดาสมุนของพวกเขาก็ยงั คงกระท�ำ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 13


สิ่งนี้อยู่ พวกเขาก็ไม่ได้โวยวายใดๆ ปัญหามนุษยธรรม คือสิง่ ทีไ่ ม่มใี ครในโลกจะเชือ่ ได้วา่ ชาวอเมริกนั ก�ำลังมุง่ แสวงหาสิ่งนี้ ในขณะนี้พวกเขาก�ำลังเล่นค�ำ พวกเขา ก�ำลังเล่นลิน้ พวกเขาก�ำลังกล่าวสิง่ นีก้ เ็ พือ่ ทีว่ า่ พวกเขา จะสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการ เคลื่อนไหวของตนเอง ได้ ซึ่งแน่นอนว่าความเชื่อของเราก็คือ พวกเขาก�ำลัง ผิดพลาด พวกเขาก�ำลังท�ำผิด และพวกเขาจะได้รู้สึก ถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในเรื่องนี้ และ แน่นอนยิ่งพวกเขาจะพบกับความสูญเสียในกรณีนี้ อย่างไม่มขี อ้ สงสัยใดๆ และนีค่ อื สถานการณ์ในภูมภิ าค ระบอบสาธารณรัฐอิสลาม เป็นประวัติการณ์ ปาฏิหาริยท์ ปี่ รากฏขึน้ ท่ามกลางพายุรา้ ยของเหตุการณ์ เหล่านี้ ต่อจากนั้นก็ได้ยืนหยัดเผชิญหน้ากับการต่อ ต้านต่างๆ ตลอดช่วงเวลายาวนานหลายปี ไม่เพียงแต่ มิได้อ่อนแอลงเพียงเท่านั้น ค�ำขวัญต่างๆ ก็มิได้จืดจาง ลง ในทางตรงกันข้าม กลับยิง่ แข็งแกร่งขึน้ อย่างแท้จริง ในทุกวัน สาธารณรัฐอิสลามในวันนี้เมื่อเปรียบเทียบ กับสาธารณรัฐอิสลามเมื่อสามสิบปี และยี่สิบห้าปีที่ ผ่านมา ในแง่ของอ�ำนาจและการแผ่ขยายอิทธิพลและ ศักยภาพต่างๆ ภายในนั้น จะมีความแตกต่างกันราว ฟ้ากับดิน และค�ำขวัญต่างๆ ก็ยงั คงเป็นค�ำขวัญทีม่ นั่ คง

14 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

หนักแน่น เมือ่ พิจารณาถึงแผนการของศัตรูในภูมภิ าคนี้ แล้ว เราควรทีจ่ ะต้องรูว้ า่ จ�ำเป็นจะต้องท�ำอะไร สิง่ ทีเ่ รา คิดว่าเป็นภาระของเรา เป็นภาระหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ของประเทศนี้ทั้งหมด เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลของ สาธารณรัฐอิสลาม เหล่านี้เราจ�ำเป็นจะต้องพิจารณา ถึงสามองค์ประกอบที่ส�ำคัญต่อไปนี้ ในการตัดสินใจ และด�ำเนินการต่างๆ องค์ ป ระกอบแรกคื อ อุ ด มคติ แ ละเป้ า หมาย ต่างๆ ของระบอบสาธารณรัฐอิสลาม ซึ่งเป้าหมายและ อุดมคติทงั้ หมดเหล่านีจ้ ะต้องไม่ถกู หลงลืม อุดมคติของ ระบอบสาธารณรัฐอิสลามสามารถสรุปได้ในประโยค สั้นๆ คือ "การสร้างอารยธรรมอิสลาม" อารยธรรมแห่ง อิสลามหมายถึง ห้วงบรรยากาศ ซึ่งในห้วงบรรยากาศ นั้นมนุษย์สามารถที่จะพัฒนาก้าวหน้าได้ทั้งในด้าน ของจิตวิญญาณและวัตถุ และสามารถไปถึงยังเป้า หมายต่างๆ ที่พึงปรารถนา ที่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ได้สร้างเขา (มนุษย์) ขึ้นมาเพื่อเป้าหมายเหล่านั้น จะ ต้องมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีชีวิตที่มีเกียรติศักดิ์ศรี มนุษย์ทมี่ เี กียรติศกั ดิศ์ รีคอื คนทีม่ พี ลังความสามารถ มี เจตนารมณ์ มีความคิดริเริม่ มีความคิดสร้างสรรค์เกีย่ ว กับโลกของธรรมชาติ อารยธรรมอิสลามหมายถึงสิ่งนี้


เป้าหมายของระบอบสาธารณรัฐอิสลามและอุดมคติ ของระบอบสาธารณรัฐอิสลามคือสิ่งนี้ องค์ประกอบที่สองคือ แนวทางต่างๆ ที่จะท�ำให้ เราไปถึงเป้าหมายเหล่านี้ ยุทธศาสตร์ต่างๆ โดยทั่วไป ที่เป็นสากล ยุทธศาสตร์เหล่านี้จ�ำเป็นที่เราจะต้อง ท�ำความเข้าใจ คือการพึ่งพิงอยู่บนความเป็นอิสลาม การพิจารณาถึงความไม่เป็นผู้กดขี่และไม่เป็นผู้ถูก กดขี่ ในการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ตามที่ (ท่านอิมามอะลี) ได้กล่าวว่า ّ ‫كُونا ل‬ ً‫وم َعونا‬ ِ ُ‫ِلظال ِ ِم َخصماً و ل ِل َمظل‬ “จงเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้อธรรม และจงเป็นผู้ช่วย เหลือผู้ถูกอธรรม” (4) นี่คือภาระหน้าที่ประการหนึ่ง นี่คือยุทธศาสตร์ โดยทั่วไปประการหนึ่ง ยุทธศาสตร์ในการพึ่งพาอาศัย ความคิ ด เห็ น ของประชาชน สิ่ ง ที่ จ ะก่ อ รู ป ขึ้ น เป็ น ประชาธิปไตย และยุทธศาสตร์อื่นๆ ในลักษณะเช่นนี้ เหล่านี้คือนโยบายต่างๆ ที่ส�ำคัญและเป็นพื้นฐาน เป็น ยุทธศาสตร์หลักของระบอบสาธารณรัฐอิสลาม เพื่อที่ จะให้บรรลุเป้าหมายยังอุดมคติเหล่านั้น การท�ำงาน ของประชาชน ความอุตสาห์พยายามของประชาชน ความคิดริเริ่มของสาธารณชน เอกภาพของประชาชน สิ่งต่างๆ ในลักษณะเช่นนี้ก็จะต้องมีอยู่ด้วย (องค์ประกอบที่สามคือ) กรณีข้อเท็จจริงต่างๆ : ข้อเท็จจริงก็จ�ำเป็นจะต้องมองให้เข้าใจ ซึ่งข้าพเจ้าได้ เคยกล่าวไปแล้วกับบรรดาเจ้าหน้าที่และพนักงานของ ระบอบในช่วง เดือนรอมฎอน (5) ว่า สิ่งที่เราจ�ำเป็นต้อง มีคอื อุดมคติ เนือ่ งจากการมองข้อเท็จจริงต่างๆ จ�ำเป็น จะต้องท�ำความเข้าใจต่อข้อเท็จจริงเหล่านั้นอย่างถูก ต้อง และข้อเท็จจริงทีจ่ ะน�ำไปสูพ่ ลังความสามารถนัน้ ก็ จ�ำเป็นจะต้องรูจ้ กั ข้อเท็จจริงทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารขาด (พลัง ความสามมารถ) และความบกพร่องก็จำ� เป็นทีจ่ ะต้องรู้ สิง่ ทีจ่ ะเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลือ่ นไปก็จำ� เป็นจะต้อง รู้ เหล่านีจ้ ำ� เป็นจะต้องรูถ้ งึ ข้อเท็จจริงเหล่านี้ และจะต้อง ท�ำความเข้าใจอย่างถูกต้อง

ข้าพเจ้า เคยกล่าวถึงส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริง ต่างๆ ไปแล้ว ในที่นั้นสิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ หวานชื่นที่เรามีอยู่ ทั้งหมดนี้เราจะต้องไม่มองว่าเป็น ข้อบกพร่องหรือมองว่าเป็นจุดอ่อน เรามีนักคิดที่โดด เด่น มีกลุ่มคนที่ท�ำงานอย่างแข็งขันและมีความคิด สร้างสรรค์ การแพร่ขยายการรู้จัก (มะอ์ริฟะฮ์) ทาง ศาสนาและจิตวิญญาณในภาคส่วนที่กว้างขวางใน หมู่เยาวชนคนหนุ่มสาว การคงอยู่ของค�ำขวัญต่างๆ ทางศาสนาและอิสลาม อิทธิพลที่เพิ่มพูนขึ้นทุกวันของ ระบอบสาธารณรัฐอิสลามในภูมิภาคและในโลก เหล่า นีค้ อื ข้อเท็จจริงทีม่ อี ยู่ จ�ำเป็นต้องมองข้อเท็จจริงเหล่านี้ ด้วย แต่อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงทีข่ มขืน่ เคียงคูก่ บั สิง่ เหล่า นี้ก็มีอยู่ เช่นเดียวกับการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคน ที่ผสมผสานไปด้วยหวานชื่นและความขมขื่น แต่ด้วย กับการอาศัยข้อเท็จจริง ที่หวานชื่นและการเสริมสร้าง พัฒนามัน จึงจ�ำเป็นต้องอุตสาห์พยายามเพือ่ ที่จะขจัด ข้อเท็จจริงทีข่ มขืน่ และไม่นา่ พึงปรารถนาให้หมดไปหรือ ให้ลดน้อยลง ทั้งสามองค์ประกอบนี้จ�ำเป็นจะต้องให้ความ ส�ำคัญ กล่าวคือจะต้องไม่หลงลืมจากอุดมคติ (และเป้า หมาย) ต่างๆ จะต้องไม่หลงลืมจากยุทธศาสตร์ทงั้ หลาย อย่างไรก็ดี จะต้องมองดูขอ้ เท็จจริงด้วย หากเราไม่มอง ดูถึงข้อเท็จจริงแล้ว เราก็จะไม่สามารถก้าวไปบนเส้น ทางที่ถูกต้องได้ แต่ทว่าการมีอยู่ของข้อเท็จจริงต่างๆ เหล่านั้นจะต้องไม่ท�ำให้เราเบี่ยงเบนออกจากเส้นทาง ของเรา โดยที่ว่าหากมีหินก้อนหนึ่งขวางทางอยู่ แล้ว จะท�ำให้เราหันหลังกลับจากเส้นทาง เราได้กระท�ำผิด พลาดแล้ว! และหากการมีอยู่ของหินนั้นถูกปล่อยปละ ละเลย และมนุษย์ย่างก้าวไปข้างหน้าอย่างผลีผลาม ก็ เป็นการกระท�ำผิดพลาดเช่นเดียวกัน แต่ถา้ เราพิจารณา และมองไปรอบๆ ก้อนหินนี้ว่าเราจะสร้างหนทางต่างๆ ได้อย่างไร หรือว่าเราจะมีวิธีการใดที่จะสามารถเอา ก้อนหินนี้ออกไปได้ หรือสร้างช่องทางขึ้นมาเพื่อให้ ผ่านมันไปได้ หรือหาเส้นทางเบี่ยงคู่ขนานส�ำหรับมัน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 15


นี่คือการมองอย่างถูกต้องต่อข้อเท็จจริง สิ่งนี้ก็เป็นสิ่ง เดียวกันกับทีท่ า่ นอิมาม (โคมัยนี) ผูเ้ ป็นทีเ่ คารพรักของ เรา ได้กระท�ำในช่วงแรกของการปฏิวตั ิ หมายถึงในช่วง สิบปีของการชี้ชะตากรรมที่มีความส�ำคัญอย่างมาก ท่านอิมามผูม้ เี กียรติจะไม่ปดิ ตาของท่านจากข้อ เท็จจริงต่างๆ แต่ทา่ นก็ไม่เคยท้อถอย ไม่ลมื ยุทธศาสตร์ ท่านทั้งหลายจงพิจารณาสถานะของท่านอิมาม ชีวิต ของท่านอิมาม ค�ำขวัญต่างๆ ของท่านอิมาม ในกรณี ปัญหาของระบอบไซออนิสต์นั้น ท่านอิมามผู้มีเกียรติ มิได้ปิดบังอ�ำพรางใครทั้งสิ้น ค�ำพูดที่ว่า “ระบอบไซออ นิสต์คือมะเร็งร้ายที่จะต้องถูกขจัดออกไป” นี่คือค�ำพูด ของท่านอิมามในการเผชิญหน้ากับความชั่วร้ายต่างๆ ของมหาอ�ำนาจจอมอหังการและการแทรกแซงของ อเมริกา ท่านไม่เคยอ�ำพรางและไม่ไว้หน้าใครทัง้ สิน้ ค�ำ พูดทีว่ า่ “อเมริกาคือซาตาน (ชัยฏอน) ตัวใหญ่” นีก่ เ็ ป็น ค�ำพูดของท่านอิมาม กรณีการบุกของบรรดาเยาวชนมุสลิมที่เข้าไป ในสถานทูตอเมริกา และยึดอุปกรณ์และเอกสารเกี่ยว กับการสอดแนมต่างๆ ของพวกเขานั้น ท่านอิมาม ถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งที่สอง ซึ่งบางทีอาจจะมีความ ส�ำคัญกว่าการปฏิวัติครั้งแรกด้วยซ�้ำไป นี่ก็คือค�ำพูด ของท่านอิมาม เหล่านี้คือค�ำพูดของท่านอิมาม เหล่า นี้คือแนวทางของท่านอิมาม ในกรณีของสงครามท่าน กล่าวว่า “จงท�ำสงครามจนกว่าฟิตนะฮ์ (วิกฤติการณ์ อันเลวร้าย) จะถูกขจัดให้หมดไป” นีก่ เ็ ป็นค�ำพูดของท่า นอิมาม บุคคลอืน่ อาจจะกล่าวว่า “จงท�ำสงคราม จงท�ำ สงครามจนกว่าจะได้รบั ชัยชนะ” แต่ทา่ นอิมามกล่าวว่า “จงท�ำสงครามจนกว่าฟิตนะฮ์ (วิกฤติการณ์อนั เลวร้าย) จะถูกขจัดให้หมดไป” นีค่ อื การยืนหยัดทีท่ ำ� ให้รากฐาน ของระบอบนี้เกิดความมั่นคงแข็งแกร่ง ในประเทศต่างๆ บรรดาผู้คนที่ไม่รู้จักแนวทาง นี้ พวกเขาจึงปฏิบัติอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อที่จะท�ำให้ บรรดามหาอ�ำนาจพึงพอใจ พวกเขาจึงละทิ้งออกจาก หลักการต่างๆ ของตนเอง และหลงลืมค�ำขวัญต่างๆ ที่

16 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ส�ำคัญของตนเอง พวกท่านจะเห็นว่าพวกเขาได้ตกอยู่ ในสภาพเช่นใด ดังเช่นในอียิปต์ พวกเขาเคยเป็นผู้ที่ มีค�ำขวัญในการต่อต้านอิสราเอล หากพวกเขาไม่โอน อ่อนตามค�ำมัน่ สัญญาต่างๆ ของอเมริกาและเหล่าสมุน ของอเมริกาแล้ว ก็ไม่แน่ว่าพวกเขาอาจจะไม่เป็นเช่น นี้ กล่าวคือจะไม่เป็นเช่นนี้ที่ว่าจอมเผด็จการสามสิบ ปีได้สร้างความต�่ำต้อยไร้ เกียรติให้กับประชาชนชาว อียิปต์จะถูกปล่อยตัวออกมาจากคุก และผู้ที่ได้รับการ คิดเลือกเข้ามาโดยเสียงของประชาชน มีความเป็นไป ได้ว่าจะถูกตัดสินประหารชีวิต เรื่องเช่นนี้มันไม่น่าที่จะ เกิดขึน้ ได้ บรรดาผูท้ ยี่ นื อยูใ่ นสนามได้ชคู ำ� ขวัญต่อต้าน ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งที่ขาด ความเข้าใจเหล่านี้ ถ้าหาก ยังมัน่ คงอยูก่ บั จุดยืนทีเ่ ป็นหลักการต่างๆ แล้ว ครึง่ หนึง่ ของประชาชนเหล่านัน้ หรือมากกว่านัน้ จะมาอยูใ่ นฝ่าย ของพวกเขา กล่าวคือ จะไม่มมี ใี ครยืนเผชิญหน้าและต่อ ต้าน (พวกเขา) เมือ่ ใครก็ตามทีถ่ อยหลังออกจากจุดยืน ต่างๆ ทีเ่ ป็นหลักการก็จะเป็นเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม เหล่า นี้คือสิ่งที่จะต้องระมัดระวัง สิ่งที่เรามีความรู้สึกว่าจ�ำเป็นจะต้องกระท�ำเพื่อ ขจัดปัญหาซึ่งก็ไม่ใช่เฉพาะปัญหาในปัจจุบันเท่านั้น ปัญหาในทุกประเทศต่างก็มีมาอยู่ตลอดเวลา กล่าว คือ หากใครคิดว่าขณะนี้ในบางประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือบางประเทศในยุโรปหรือตะวันตก หรือประเทศ ที่มั่งคั่งหรือมีประชากรมากหรือมีประชากรน้อย ไม่มี ปัญหา นั่นคือความคิดที่ผิดพลาด ปัญหานั้นมีอยู่ใน ทุกที่ เป็นธรรมดาของการท�ำงานในแต่ละประเทศ นั่น ก็คือ ในการท�ำงานในที่สุดมันก็จะมีปัญหาต่างๆ เกิด ขึ้น บรรดาเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องขจัดปัญหาเหล่านั้นให้ หมดไป และจะต้องด�ำเนินการขับเคลื่อนต่อไป บางคน ต้องการที่จะแก้ไขปัญหาโดยขอความช่วยเหลือจากผู้ อื่น ด้วยการพึ่งพาอาศัยผู้อื่น โดยการให้สินบนแก่ผู้ อื่น ด้วยการแสดงความต�่ำต้อยไร้เกียรติเบื้องหน้าผู้ อื่น บางคนก็ไม่เป็นเช่นนั้น พวกเขาต้องการที่จะแก้ไข ปัญหาต่างๆ ด้วยก�ำลังของตนเอง ด้วยศักยภาพภายใน


(ประเทศ) ของพวกเขาเอง ความเชือ่ ของเราก็คอื ว่า เรา จ�ำเป็นจะต้องให้ความส�ำคัญกับการเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้เกิดขึ้นภายใน ระบอบ นี่คือพื้นฐานส�ำคัญ ของงาน เราจะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับตัว เราจากภายใน การเสริมสร้างความเข้มแข็งภายในด้วย กับแนวความคิดที่สมบูรณ์แบบ ด้วยกับการมองอย่าง มีสติปัญญาและมีความเข้าใจ นั้นคือสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ว่าจะโดยอาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ไม่ ว่าจะโดยอาศัยการผลิตและการบริหารจัดการที่ดีทาง ด้านเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้ในมุมมองของเราถือเป็นเรื่อง ที่เป็นไปได้ทั้งสิ้น วันนี้พวกท่านจงพิจารณาดูเถิด เมื่อพวกเขา กดดันเราในประเด็นของน�้ำมัน พวกเราก็จะประสบ กับปัญหา สิ่งนี้เกิดจากอะไร มัน เกิดจากการที่เราพึ่ง พิงอยู่กับน�้ำมัน นับจากหลังยุคของสงครามและการ สิ้นสุดสงครามจนถึงวันนี้ เราก็ยังไม่สามารถท�ำให้มัน ลดน้อยลงไปได้ แต่ถ้าหากเราสามารถท�ำให้การพึ่งพา อาศัยน�้ำมันของเราลดน้อยลงได้เมื่อใด การกดดันไป ที่น�้ำมันก็จะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่เราถึงเพียง นี้ ดังนั้นเราจะต้องหันกลับมายังตัวของเราเอง เราจะ ต้องเรียกร้องจากตัวของเราเองให้แก้ไขปมปัญหาต่างๆ ด้วยพลังแห่งเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่น

อัลฮัมดุลิลลาฮ์ (มวลการสรรเสริญของคุณพึง มีแด่พระผู้เป็นเจ้า) ที่ในวันนี้เรามีรัฐบาลที่มีลมหายใจ ใหม่ หนึง่ ในข้อได้เปรียบของเราในสถานการณ์ปจั จุบนั นีก้ ค็ อื รัฐบาลทีม่ ลี มหายใจใหม่ทไี่ ด้เข้ามาสูก่ ารปฏิบตั ิ งานด้วยความคิดริเริ่มใหม่ๆ ด้วยกับกลุ่มบุคคลที่มี ความสามารถพิเศษ ที่ต้องการปฏิบัติงานและท�ำให้ งานเดินไปข้างหน้า อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็นเจ้า ทรงประสงค์) ขอให้บรรลุสู่ทิศทางของเป้าหมายต่างๆ ที่พวกเขาได้ประกาศไว้ ท่านประธานาธิบดีผู้มีเกียรติ ก็เป็นนักวิชาการศาสนาที่มีประสบการณ์ที่ท�ำงานแข็ง ขันในเวทีการปฏิวัติต่างๆ ของประเทศ สิ่งนี้ก็เป็นอีก หนึ่งจากจุดเด่นที่มีอยู่ในธรรมชาติของการท�ำงาน คือ การที่เราทุกจะต้องให้การช่วยเหลือ ข้าพเจ้าก็ถือว่า ตัวข้าพเจ้าเองมีหน้าที่ต้องช่วยเหลือ ทุกรัฐบาลเรา ก็ได้ให้การช่วยเหลือ เราได้ให้การสนับสนุนทุกรัฐบาล มาแล้ว รัฐบาลนี้ก็เช่นกันที่เราจะต้องให้การช่วยเหลือ และสนับสนุนอย่างแน่นอน และบรรดาเจ้าหน้าที่ก็จะ เป็นเช่นเดียวกันนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนของข้าพเจ้าที่มี ต่อรัฐบาลต่างๆ นัน้ ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้องยอม ต่อการท�ำงานทั้งหมดของรัฐบาลเหล่านั้น หาใช่เช่น นั้นไม่! ในสมัยต่างๆ นั้นมีรัฐบาลที่หลากหลาย ซึ่งเรา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 17


ก็ให้การสนับสนุนพวกเขาทั้งหมด ในขณะเดียวกันเรา ก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อพวกเขาทั้งหมดในด้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน แต่การวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นจะต้องไม่ เป็นสาเหตุท�ำให้เราคิดว่ารัฐบาลแปลก แยกไปจากตัว เราและมือของทุกคนทีค่ วรจะให้การสนับสนุนและช่วย เหลือไปยัง รัฐบาล ซึง่ เราจะไม่กระท�ำสิง่ นี้ อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์) ความจ�ำเป็นจากการ สนับสนุนและการช่วยเหลือนีจ้ ะต้องเกิดขึน้ และเราจะ ช่วยวิงวอนขอ (ดุอาอ์) และให้ค�ำแนะน�ำ ค�ำแนะน�ำนั้นก็เป็นสิ่งที่จ�ำเป็น “‫( ”ال َّنصي َح ُة ألَئ ِ َّمة ال ُمؤمِنين‬ค�ำแนะน�ำส�ำหรับ บรรดาผู้น�ำของปวงผู้ศรัทธา) หมายถึงค�ำพูดที่เกิด จากความปรารถนาดี ซึ่ ง บางครั้ ง ค� ำ พู ด ที่ เ กิ ด จาก ความปรารถนาดีนี้อาจจะรุนแรงและบาดใจไปบ้าง ซึ่ง ธรรมชาติของการท�ำงานก็เป็นแบบนี้ เพราะหากบรรดา เจ้าหน้าทีท่ ไี่ ด้รบั ฟังค�ำพูดทีร่ นุ แรงและบาดใจเช่นนี้ ก็จง คิดในทางที่ถูกต้อง ข้าพเจ้าคิดว่าพวกเขาคงพึงพอใจ ถึงแม้ค�ำพูดเหล่านั้นจะรุนแรงและบาดใจ แต่ก็จะเป็น ประโยชน์ต่อพวกเขา อย่างไรก็ตาม เมื่อข้าพเจ้ามองไปที่สถานภาพ และอนาคตของประเทศ แม้ในขณะนี้จะมีปัญหาบาง อย่างที่มิตรสหายหลายคนได้กล่าวถึงและอีกหลาย คนก็มิ ได้กล่าวถึงมัน แต่ข้าพเจ้าก็มองเห็นว่าอนาคต จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ข้าพเจ้าก�ำลังมองเห็นทางที่สดใส อุดมคติต่างๆ ของเราเป็นอุดมคติที่มีความชัดเจน เรารู้ ว่าเราต้องการจะท�ำอะไร แนวทางทีจ่ ะมุง่ ไปสูอ่ ดุ มคติก็ 18 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

เป็นแนวทางที่สดใสและชัดเจน ยุทธศาสตร์ต่างๆ ของ เราก็ไม่มีความคลุมเครือใดๆ และเป็นที่ชัดเจนว่าจะ ต้องท�ำอะไร ในช่วงหลายปีมานี้ การจัดแนวรบในภูมิภาค และในระดับโลกก็ปรากฏอย่างชัดเจนแล้วเช่นกัน แต่ อย่างไรก็ตาม ความนุ่มนวล ความยืดหยุ่นและการ ประลองยุทธ์อย่างมีศิลปะและอย่างกล้าหาญในทุกๆ เวทีทางการเมืองก็เป็นสิ่งที่ดีงามและเป็นที่ยอมรับ แต่ การประลองยุทธ์อย่างมีศิลปะเหล่านี้จะต้องไม่หมาย ถึงการข้ามเส้นแดงต่างๆ หรือการหันหลังออกจาก ยุทธศาสตร์ที่ส�ำคัญ หรือการไม่สนใจต่ออุดมคติต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องระมัดระวัง แน่นอนแต่ละรัฐบาล แต่ละบุคคลย่อมมีวิธีการและมีความคิดสร้างสรรค์ ต่างๆ พวกเขาจะกระท�ำตามความคิดสร้างสรรค์เหล่า นี้ และ (งาน) ก็จะพัฒนาไปข้างหน้า ข้าพเจ้ามองใน แง่ดอี ย่างแท้จริง และข้าพเจ้าเชือ่ ว่าปัญหาต่างๆ ทีม่ อี ยู่ ไม่วา่ จะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาทางการเมือง หรือ ปัญหาด้านความมัน่ คง และทีส่ ำ� คัญกว่าอืน่ ใดทัง้ หมด คือปัญหาทางวัฒนธรรม ซึ่งลึกซึ้งและมีความส�ำคัญ มากกว่าปัญหาเศรษฐกิจ แม้เป็นไปได้วา่ ความเร่งด่วน ของภารกิจบางอย่างทางด้านเศรษฐกิจจะมีมากกว่า แต่ปัญหาทั้งมวลเหล่านี้สามารถที่จะแก้ไขได้ และเส้น ทางสามารถที่จะก้าวเดินต่อไปได้ เราขอให้พระผู้เป็น เจ้าผู้ทรงสูงส่งได้โปรดให้ความช่วยเหลือ ข้าพเจ้า จะขอกล่าวประเด็นนี้ด้วย ซึ่งข้าพเจ้า ได้จดบันทึกไว้ (คือ) จะต้องตระหนักว่า ยุทธศาสตร์ ที่ส�ำคัญประการหนึ่งของบรรดาศัตรูของอิสลาม โดย เฉพาะอย่ า งยิ่ ง บรรดาศั ต รู ข องระบอบอิ ส ลามใน ภูมิภาค นั่นคือยุทธศาสตร์การสร้างความขัดแย้งทาง ด้านกลุ่มชนและนิกาย (มัซฮับ) และประเด็นชีอะฮ์ และซุนนี พวกท่านจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ และคน สองกลุ่มที่กลายเป็นเครื่องมือและสมุนรับใช้ของศัตรู ในเรื่องนี้นั้น กลุ่มหนึ่งคือชาวซุนนีและอีกกลุ่มหนึ่งก็ คือชาวชีอะฮ์ กลุ่มหนึ่ง (จากซุนนี) ก็คือพวกตักฟีรีที่


เบีย่ งเบนออกไปจากข้อเท็จจริงของศาสนา ส่วนอีกกลุม่ หนึ่ง (จากชีอะฮ์) ก็คือผู้ที่ท�ำงานให้กับศัตรู เนื่องจาก ด้วยกับชื่อของชีอะฮ์และด้วยนามของชีอะฮ์ที่พวกเขา ได้ปลุกปั่นความ รู้สึกต่างๆ ของผู้อื่น จะอธิบายเหตุผล ความเป็นปรปักษ์ตา่ งๆ และโหมกระพือไฟแห่งฟิตนะฮ์ (วิกฤติที่เลวร้ายและความแตกแยก) คนทุกกลุ่ม ทุก หน่วยงานและทุกรัฐบาลที่หลงกลต่อแผนร้ายที่ใหญ่ หลวงนี้และจมปักอยู่ใน เรื่องนี้ และคนทุกกลุ่มที่ผิด พลาด (ในเรื่องนี้) แน่นอนยิ่งพวกเขาจะสร้างความเสีย หายต่อขบวนการขับเคลือ่ นของอิสลามและต่อ ระบอบ อิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิง่ ความเสียหายจะมาประสบ กับประเทศของเรา ข้าพเจ้า ขอย�้ำว่าบรรดานักวิชาการศาสนาผู้ อาวุโส ไม่ว่าจะเป็นชีอะฮ์หรือซุนนี และไม่ว่าจะใน อิหร่านหรือในพื้นที่อื่นๆ จะต้องตระหนักว่าความแตก ต่างระหว่างนิกายของอิสลามนั้น จะต้องไม่เป็นเหตุ ท�ำให้เราเปิดแนวรบใหม่เบือ้ งหน้าของเราเอง และท�ำให้ เราพลั้งเผลอจากศัตรูหลักซึ่งเป็นศัตรูต่อรากฐานของ อิสลาม เป็นศัตรูของอิสรภาพและเป็นศัตรูของความ เจริญก้าวหน้าของประชาชนในภูมิภาค อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์) เราหวังว่าพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งจะทรงช่วยเหลือ พวกเราทุกคนด้วยความเอาใจใส่และขอให้พร (ดุอาอ์) ของท่านบะกียะตุ้ลลอฮ์ (ดวงวิญญาณของเราขอพลี เพื่อท่าน) จะครอบคลุมถึงพวกท่านและพวกเราทุกคน َّ‫ه‬ ‫رحمةالل و بركاته‬ ‫‌والسالم عليكم و‬ ّ ขอความสันติ ความเมตตาและความเป็นสิริ มงคลจากอัลลอฮ์จงประสบแด่ท่านทั้งหลาย

กรรมการค้นหาผู้สูญหายของคณะเสนาธิการของกองทัพ ได้ ค้นพบชะฮีด (ผู้เสียสละ) 92 ศพ ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ อิรัก อย่างเช่น ในพื้นที่ปฏิบัติการสู้รบในเมืองฟอว์และเกาะ มัจญ์นูน และในวันที่ 24 เดือนมุรด๊อดของปีนี้ ได้เคลื่อนย้าย ข้ามผ่านชายแดนชะลัมเชะฮ์ ไปยังประเทศสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน ในพิธกี ารนีศ้ พของทหารอิรกั จ�ำนวน 61 คน ถูกแลก เปลี่ยนในพิธีการครั้งนี้ และในวันที่ 11 ของเดือนชะฮ์รีวัร (วันที่ 1 กันยายน) ตรงกับกับวันครบรอบปีการเป็นชะฮีด (เสียชีวิต) ของท่านอิมามญะอ์ฟรั ซอดิก (อ.) ได้มกี ารจัดพิธศี พ (ตัชเยีย๊ ะอ์ ญะนาซะฮ์) บรรดาชะฮีดเหล่านี้ในกรุงเตหะราน 3) ซูเราะฮ์อัลมุลก์/อายะฮ์ที่ 22 4) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จดหมายอันดับที่ 47 5) 30/04/1392 (ตรงกับปี ฮ.ศ. 1434)

เชิงอรรถ : 1) การเข้ า พบครั้ ง นี้ เ นื่ อ งในโอกาสการจั ด ประชุ ม ทางการครั้งที่ 14 ในสมัยที่ 4 ของสภาผู้เชี่ยวชาญคัดสรรผู้น�ำ ที่ถูกจัดขึ้นในวันที่ 12 และ 13 เดือนชะฮ์รีวัรของปีนี้ (ตรงกับ วันที่ 2 และ 3 กันยายน ค.ศ. 2013) 2) ในการค้ น หานอกพรมแดนครั้ ง ล่ า สุ ด ของคณะ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 19


ถอดความโดย

เชคมุฮัมมดนาอีม ประดับญาติ

ค�ำปราศรัย

ประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน

‫بسم اهلل الرحمن الرحیم‬ ‫الحمدهلل رب العالمین و الصلوة و السالم‬ ‫علی سیدنا و نبینا محمد و آله الطاهرین و‬ ‫صحبه المنتجبین‬

ด้

วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงปราณีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิข์ องพระผูอ้ ภิบาลแห่ง สากลโลก การประสิทธิ์ประสาทพรและความสันติสุข พึงมีแด่นายและศาสดาของเรา คือท่านศาสดามุฮัม มัดและวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ และบรรดาสาวกผู้เป็นคนดี ของท่าน ฯพณฯ ประธาน! ฯพณฯ เลขาธิการ! บรรดาท่าน ผู้มีเกียรติ ทั้งสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ! ในช่วงเริ่มต้น นี้ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีด้วยความจริงใจ เนื่อง ในโอกาสการเลือกตั้งที่เหมาะสมของ ฯพณฯ ให้ด�ำรง ต�ำแหน่งประธานสมัชชา และขอแสดงความชื่นชมต่อ ความอุตสาห์พยายามต่างๆ ของ ฯพณฯ บันกีมนุ (Ban Ki-moon) ฯพณฯ ประธาน! โลกของเราเป็นโลกที่เปี่ยมไป

20 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ด้วยความหวาดกลัวและความหวัง ความหวาดกลัว สงครามและความสัมพันธ์ต่างๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ใน ภูมิภาคและระดับโลก ความหวาดกลัวในการเผชิญ หน้าของอัตลักษณ์ต่างๆ ทางศาสนา กลุ่มชนและ ชาติพันธุ์ อันจะน�ำไปสู่ความหายนะ ความหวาดกลัว ต่อการจัดตั้งอย่างเป็นทางการของความรุนแรงและ แนวความคิดสุด โต่ง ความกลัวต่อความยากไร้และการ เลือกปฏิบัติที่เป็นตัวบั่นทอนท�ำลายความกลัวความ กลัวต่อความเสียหายและการถูกท�ำลายของแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติที่ส�ำคัญ ความกลัวต่อการไม่ใส่ใจ ในเกียรติศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชน และความกลัวต่อ การละเลยในเรื่องของศีลธรรม * การเลือกเอาสันติภาพและการปฏิเสธสงคราม ด้วยความกลัวทั้งหมดเหล่านี้ก็ยังมีความหวัง ใหม่ใหม่ๆ อยูด่ ว้ ยเช่นกัน คือ ความหวังทีป่ ระชาชนและ บรรดาชนชั้นน�ำในทั่วทุกมุมโลกจะหันกลับมาสู่ “การ เรียกหาสันติภาพและการปฏิเสธสงคราม” และความ หวังต่อการเลือกเอาการสนทนาแทนการทะเลาะวิวาท และความเป็นสายกลางแทนความสุดโต่ง ตัวออย่างหนึ่งที่เป็นจริง คือการเลือกอย่างมี จิตส�ำนึกในการเอา “ความหวัง การวางแผนจัดการ


ที่ดีและความเป็นสายกลาง” ใน การเลือกตั้งล่าสุด ประชาชนชาวอิหร่านที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งด้วยกับการตกผลึก ของความเป็นประชาธิปไตยทางศาสนาและการผ่อง ถ่ายเปลี่ยน โอนอ�ำนาจบริหารอย่างสันติ ได้แสดงให้ เห็นว่าอิหร่านเป็นอ่าวของความมั่นคงที่อยู่ท่ามกลาง ทะเลแห่งความ ไม่สงบต่างๆ ของภูมิภาค ความเชื่อมั่นที่มั่นคงหนักแน่นของรัฐบาลและ ประชาชนของเราที่มีต่อสันติภาพอัน ยั่งยืน ความมี เสถียรภาพ ความสงบสุข การแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ ด้วยสันติวธิ ี การพึง่ พาอาศัยความคิดเห็นของประชาชน ในฐานะที่เป็นตัวค�้ำจุนอ�ำนาจ การเป็นที่ยอมรับและ ความชอบธรรมนั้นมีบทบาทอย่างสูงในการจัดเตรียม สภาพแวด ล้อมที่สงบสุขเช่นนี้ ฯพณฯ ประธาน! ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรษุ ทั้งหลาย ! ยุคของการเปลี่ยนผ่านที่มีความส�ำคัญใน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในขณะ นี้ เต็มไป ด้วยภยันตรายต่างๆ และแน่นอน มันก็ประกอบไปด้วย โอกาสต่างๆ ที่ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน ทุกรูปแบบของการวิเคราะห์ค�ำนวณที่ผิดพลาด ต่อสถานภาพของตนเองและของผู้อื่นนั้น จะน�ำมาซึ่ง ความเสียหายต่างๆ อันเป็นประวัติศาสตร์ ถึงขั้นที่ว่า ความผิดพลาดของผู้เล่น (นักการเมือง) คนหนึ่ง จะน�ำ มาซึ่งผลกระทบต่างๆ ในทางลบต่อปัจเจกชนทั้งหมด

* ความเปราะบางคือปรากฏการณ์ที่ครอบคลุม อยู่ทั่วโลก บนเส้ น ทางการเปลี่ ย นผ่ า นอั น เปราะบางใน ประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ ยุค ของเกมต่างๆ ที่ผลรวมเป็นศูนย์ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ จนถึงขณะนีก้ ย็ งั มีผเู้ ล่นเกมไม่กคี่ นยังคงใช้วธิ กี ารและ เครือ่ งมือเก่าๆ ทีไ่ ร้ประสิทธิภาพอย่างแท้จริงอยูเ่ ช่นเดิม เพื่อที่จะรักษาความเหนือกว่าและการครอบง�ำในอดีต ของตนไว้ให้ได้ การใช้อ�ำนาจทางการทหาร การใช้เครื่องมือ ต่างๆ ทางการทหารและความก้าวร้าว เพื่อที่จะปราบ ปรามและให้ผู้อื่นยอมตามนั้น เป็นตัวอย่างหนึ่งของ ความไร้ ประสิ ท ธิ ภาพในการที่ จะให้ วิธีปฏิ บั ติ เ ก่ า ๆ ด�ำเนินอยู่ต่อไปได้ในสภาพเงื่อนไขใหม่ * การแผ่ขยายคุณค่าต่างๆ แบบตะวันตก ใน นามคุณค่าสากลนัน้ เป็นการต่อต้านศักดิศ์ รีของความ เป็นมนุษย์ มาตรการต่างๆทีใ่ ช้กำ� ลังบีบบังคับทางเศรษฐกิจ และการทหาร เพื่อที่จะรักษาและท�ำให้อ�ำนาจการ ครอบง�ำและความเหนือกว่าในอดีตด�ำเนินต่อไป ด้วย กับกรอบความคิดต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นการต่อต้าน สันติภาพ ต่อต้านความมัน่ คง ต่อต้านศักดิศ์ รีของความ เป็นมนุษย์ และต่อต้านอุดมคติต่างๆ ของมนุษยชาติ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 21


ส่วนหนึ่งจากกรอบทางความคิดเหล่านี้ คือการ ท�ำให้ประชาคมทั้งหลายเป็นแบบเดียวกันและการ แพร่ขยายคุณค่าต่างๆ แบบตะวันตก ในนามคุณค่า สากล กรอบทางความคิดอีกประการหนึง่ คือการรักษา วัฒนธรรมของสงครามเย็น และแบ่งโลกออกเป็นสอง ค่าย คือ “ฉันเหนือกว่า” และ “ประเทศอืน่ ๆ ต�ำ่ กว่า” อีก กรอบความคิดหนึ่ง คือการสร้างความหวาดกลัวและ การข่มขูค่ กุ คามต่อบรรดาผูเ้ ล่นใหม่ๆ ในประชาคมโลก ในบรรยากาศเช่นนี้ ความรุนแรงต่างๆ ทั้งจาก รัฐบาลและที่ไม่ใช่รัฐบาล ทั้งทางกลุ่มศาสนา นิกาย และแม้แต่ทางเชื้อชาติ ได้เพิ่มทวีขึ้น และไม่มีหลักประ กันใดๆ เลยว่า ยุคของความสงบสันติในระหว่างบรรดา มหาอ�ำนาจจะไม่ตกเข้าไปอยู่ในกับดักของวาท กรรม ทัศนคติและพฤติกรรมต่างๆ ที่รุนแรง ผลกระทบที่จะ น�ำมาซึ่งความหายนะของเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นความ สุดโต่งและความรุนแรงนั้น ไม่ควรจะมองว่าเป็นเรื่อง เล็กน้อย * การเปลี่ยนแปลงระบอบต่างๆ ทางการเมือง จากภายนอกพรมแดนนั้นเป็นอันตรายที่ร้ายแรงอย่าง มาก ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้ การใช้ความรุนแรงเป็น กลยุทธ์ในความพยายามเพื่อที่จะลบท�ำลายผู้เล่นใน ภูมิภาค ออกไปจากบรรยากาศของการปฏิบัติอันเป็น ธรรมชาติของพวกเขา นโยบายต่างๆ อันเป็นที่รู้จักกัน ในนามการควบคุมบังเหียน การเปลี่ยนแปลงระบอบ ต่ า งๆ ทางการเมื อ งจากภายนอกเขตแดน ความ พยายามที่ถูกสะท้อนออกมาให้เห็นเพื่อที่จะท�ำลาย กฎเกณฑ์และข้อจ�ำกัดต่างๆ ทางการเมืองนั้น เป็นสิ่ง ที่อันตรายอย่างมากและจะท�ำให้เกิดความตึงเครียด วาทกรรมทางการเมืองระหว่างประเทศที่พบอยู่ โดยทั่วไปนั้น ได้ฉายภาพให้เห็นว่ามีศูนย์กลางหนึ่งที่ มีความเป็นศิวิไลซ์ที่ล้อมรอบไปด้วย ประเทศต่างๆที่ ยังไม่เจริญ ในภาพฉายนี้มีการพิจารณาในเชิงเปรียบ เทียบว่า ศูนย์กลางอ�ำนาจของโลกทีม่ ตี อ่ ประเทศรอบๆ

22 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

นั้น เปรียบเสมือนผู้บัญชาการ วาทกรรมการรวมศูนย์ อ�ำนาจของซีกโลกเหนือ และการเป็นบริวารรายล้อม ของซีกโลกใต้ น�ำไปสู่การเกิดขึ้นของระบบการพูดคน เดียว (Monologue) และ การสั่งการเพียงผู้เดียว ใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศการสร้างพรมแดนต่างๆ ทางด้านอัตลักษณ์ที่ไม่ถูกต้อง และความเกลียดกลัว ชาวต่างชาติที่รุนแรงที่แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ เป็นผล พวงจากการท้าทายของวาทกรรมอันนี้ * วาทกรรมต่างๆ ในการสร้างความเกลียดกลัว ต่ อ อิ ส ลามและความเกลี ย ดกลั ว ต่ อ อิ ห ร่ า น คื อ ภั ย คุกคามที่ร้ายแรงต่อความมั่นคงของโลก วาทกรรมต่างๆ ของการโฆษณาชวนเชื่อและ การต่ อ ต้ า นศาสนาที่ ไ ม่ มี มู ล ความจริ ง การเกลี ย ด กลัวอิสลาม การเกลียดกลัวชีอะฮ์และการเกลียดกลัว อิหร่านนั้น โดยแท้จริงแล้วมันคือภัยคุกคามอย่างร้าย แรงต่อความมั่นคงของโลกและต่อความ สงบสุขของ มนุษยชาติ วาทกรรมจากการโฆษณาชวนเชื่อ ด้วย กับการวางแผนและการเหนี่ยวน�ำให้เห็นถึงภัยคุกคาม ต่างๆ นั้นก่อให้เกิดสมมุติฐานและจินตนาการในรูปที่ เป็นอันตรายขึ้น หนึง่ ในภัยคุกคามทีเ่ ป็นจินตนาการ (ภาพหลอน) คือภัยคุกคามจากอิหร่านที่เป็นภาพจินตนาการเกี่ยว กับอิหร่าน ด้วยข้ออ้างของภัยคุกคามทีจ่ อมปลอมนี้ ได้ มีการด�ำเนินการที่โหดร้ายป่าเถื่อนและมีอาชญากรรม ใดๆ บ้าง ที่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา? การติดอาวุธให้กบั ซัดดัม ฮุเซน ด้วยอาวุธเคมีตา่ งๆ และ การสนับสนุนกลุ่มตอลิบาน นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง ของอาชญากรรมเหล่านั้น * บุคคลต่างๆ ทีท่ กุ ลมหายใจพยายามทีจ่ ะกล่าว หาอิหร่านว่าเป็นภัยคุกคาม ตัวพวกเขาเองนั้น คือภัย คุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงสงบสุข ข้าพเจ้า ขอประกาศอย่างชัดเจนและหนักแน่น ด้วยกับการอ้างอิงเอกสารและพยานหลักฐานต่างๆ ที่ มั่นใจได้ว่า บุคคลต่างๆ ที่ทุกลมหายใจพยายามที่จะ


กล่าวหาอิหร่านว่าเป็นภัยคุกคามนั้น ตัวของพวกเขา เองต่างหากคือภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมัน่ คง สงบสุขระหว่าง ประเทศ หรือไม่ก็ท�ำการข่มขู่คุกคาม เสียเอง อิหร่านไม่เพียงแต่ไม่เป็นภัยคุกคามแล้ว ยิ่ง ไปกว่านั้น ในอุดมคติและการปฏิบัติ คือผู้เรียกร้อง สันติภาพอย่างยุติธรรมและความมั่นคงในทุกๆ ด้าน * สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ กั บ ประชาชนผู ้ ถู ก กดขี่ แ ห่ ง ปาเลสไตน์นั้น คือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ฯพณฯ ประธาน! ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรษุ ทั้งหลาย! ในส่วนน้อยจากจุดต่างๆ ของโลก ที่ความ รุนแรงได้สร้างความหายนะ เหมือนกับเอเชียตะวันตก และแอฟริกาเหนือ การแทรกแซงทางทหารในอัฟกานิสถานและ สงครามของซัดดัม ฮุเซนที่กระท�ำกับอิหร่าน การบุก ยึดคูเวต การแทรกแซงทางทหารต่ออิรกั และพฤติกรรม ที่ หยาบช้ าในการปราบปรามประชาชนปาเลสไตน์ การลอบสังหารบุคคลส�ำคัญทางการเมืองและปุถุชน ธรรมดาในอิหร่าน การทิ้งระเบิดในประเทศต่างๆ ใน ภูมิภาคตะวันออกกลาง อย่างเช่น อิรัก อัฟกานิสถาน และเลบานอน เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในในภูมิภาคนี้ในช่วงสาม ทศวรรษที่ผ่านมา สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับประชาชนผูถ้ กู กดขีช่ าวปาเลสไตน์ นั้ น ไม่ ใ ช่ สิ่ ง อื่ น ใด นอกจากเป็ น ความรุ น แรงในเชิ ง โครงสร้าง ดินแดนปาเลสไตน์ตอ้ งตกอยูใ่ นการยึดครอง สิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ของชาวปาเลสไตน์ถูกละเมิด อย่างย่อยยับ พวกเขาถูกกีดกันจากการกลับสูบ่ า้ นเกิด เมืองนอนและการเข้าถึงมาตุภูมิของตน อาชญากรรมต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ประชาชนผู ้ บริสุทธิ์ของปาเลสไตน์นั้นแสดงให้เห็นถึงความ รุนแรง ที่หยั่งรากฝังลึก การที่จะอธิบายถึงสิ่งดังกล่าว ค�ำว่า “Apartheid” (การเหยียดเชื้อชาติสีผิว) ดูเหมือนว่าจะ มีความหมายและเป็นรูปค�ำที่มีน�้ำหนักน้อยเกินไป * วิกฤตซีเรียไม่มีหนทางแก้ไขทางการทหาร โศกนาฏกรรมด้านมนุษยธรรมในประเทศซีเรีย

นั้น เป็นตัวอย่างที่เจ็บปวดที่เกิดจากการขยายวงของ ความรุนแรงและความสุดโต่งที่ สร้างความหายนะใน ภูมิภาคของเรา ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของวิกฤต นับจากช่วงเวลาที่ ผู้เล่นบางคนในระดับภูมิภาคและในระหว่างประเทศ ด้วยการทุ่มเทแหล่งอาวุธและข้อมูลข่าวกรอง รวม ทั้งการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มหัวรุนแรง พวกเขามีพยายามที่จะท�ำให้วิกฤตนี้กลายเป็นเรื่อง ทางการทหาร เราขอย�้ำว่าวิกฤตซีเรียนั้นไม่มีหนทาง แก้ไขได้ในทางการทหาร และไม่อาจที่จะท�ำให้เป้า หมายต่างๆ ทางด้านยุทธศาสตร์ การขยายอ�ำนาจ การท�ำลายดุลอ�ำนาจและการถ่วงดุลอ�ำนาจในระดับ ภูมิภาค บรรลุผลเป็นจริงได้ด้วยการแฝงตัวอยู่ภายใต้ ค�ำว่า “มนุษยธรรม” เป้าหมายร่วมกันของประชาคมระหว่างประเทศ นัน่ คือ จะต้องยุตกิ ารสังหารหมูป่ ระชาชนผูบ้ ริสทุ ธิอ์ ย่าง รวดเร็วที่สุด * ทุ ก รู ป แบบของการใช้ อ าวุ ธ เคมี จ ะต้ อ งถู ก ประณาม พร้อมกับการประณามในทุกรูปแบบของการ ใช้อาวุธเคมี เราขอแสดงความยินดีกับการยอมรับ อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีของซีเรีย เราเชื่อมั่นต่อสิ่งนี้ที่ ว่า หากกลุ่มหัวรุนแรงและบรรดาผู้ก่อการร้ายสามารถ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 23


เข้าถึงอาวุธเหล่านีไ้ ด้นนั้ จะเป็นภัยคุกคามทีใ่ หญ่หลวง ที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับภูมิภาค ซึ่งจ�ำเป็นจะต้องพิจารณา ในเรื่องนี้ พร้อมกับนั้น การใช้ประโยชน์ที่ผิดกฎหมาย และไร้ประสิทธิภาพจากการข่มขู่คุกคามหรือการใช้ ก�ำลัง จะท�ำให้ความรุนแรงและวิกฤตในภูมิภาคขยาย ตัวมากขึ้นเพียงเท่านั้น การก่อการร้ายและการสังหาร ประชาชนผู้บริสุทธิ์ คือจุดสูงสุดของความสุดโต่งและ ความรุนแรง จะท�ำให้ความรุนแรงและการก่อการร้าย แพร่ระบาดและขยายวงกว้างข้ามพรมแดน * การใช้เครื่องบินไร้คนขับโจมตีประชาชนผู้ บริสุทธิ์จะต้องถูกประณาม ส่วนความรุนแรงและความสุดโต่งต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ภายใต้ชื่อ “การต่อสู้กับการก่อการร้าย” ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องบินไร้คนขับโจมตีประชาชนผู้บริสุทธิ์ สิ่งนี้ ก็จะต้องถูกประณามเช่นเดียวกัน ณ ที่ นี้ ข ้ า พเจ้ า จ� ำ เป็ น จะต้ อ งพู ด ถึ ง การลอบ สังหารบรรดานักวิทยาศาสตร์ นิวเคลียร์ของอิหร่าน โดย เหล่าอาชญากรด้วยเช่นกัน พวกเขาถูกลอบสังหารด้วย ความผิดอันใดหรือ? ค�ำถามที่จ�ำเป็นจะต้องถามจาก สหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงก็คือ บรรดา อาชญากรถูกประณามแล้วหรือยัง?! * การคว�่ำบาตรต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรม คือตัวอย่าง หนึ่งของความรุนแรงและการต่อต้านสันติภาพ การคว�ำ่ บาตรต่างๆ ทีไ่ ม่เป็นธรรม ในฐานะทีเ่ ป็น ตัวอย่างหนึง่ ของความรุนแรงนัน้ โดยตัวของมันเองแล้ว คือการต่อต้านสันติภาพและการต่อต้านมนุษยชาติ ซึ่ง ตรงข้ามกับการโฆษณาชวนเชือ่ ของบรรดาผูท้ ำ� การคว�ำ่ บาตร โดยที่พวกเขามิได้ก�ำหนดเป้าหมายไปที่รัฐบาล ต่างๆ และบรรดาชนชั้นทางการเมือง แต่ผู้ที่ตกเป็น เหยื่อของค�ำกล่าวอ้างต่างๆ ทางการเมืองของพวกเขา นั้นคือปุถุชนคนธรรมดามากกว่าบุคคลอื่นๆ ทั้งหมด เราไม่ลมื ประชาชนชาวอิรกั จ�ำนวนหลายล้านคน ซึ่งด้วยผลของการคว�่ำบาตรที่ถูกแนบไปกับกระดาษ

24 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ฟอยล์ห่อเงินเดือนในองค์กร ระหว่างประเทศทั้งหลาย ท�ำให้พวกเขาต้องทนทุกข์ทรมานและเสียชีวิต และ จนถึงขณะนี้อีกจ�ำนวนมากของพวกเขายังคงต้องทน ทุกข์ทรมานไปตลอดชีวติ การคว�ำ่ บาตรเหล่านีค้ อื ความ รุนแรง ไม่มคี ำ� ว่าอัจฉริยะและไม่อจั ฉริยะ และไม่มคี ำ� ว่า ฝ่ายเดียวและหลายฝ่าย * ไฟของมาตรการคว�่ำบาตร จะปลกคลุมถึง บรรดาผู้คว�่ำบาตรด้วย การคว�่ำบาตรเหล่านี้ คือการละเมิดสิทธิมนุษย ชนที่ชัดเจน อย่างเช่น สิทธิทางด้านสันติภาพ สิทธิใน การพัฒนา สิทธิในการได้รับมาซึ่งสุขภาพพลานามัย ที่ดี สิทธิในการศึกษา และที่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดคือ สิทธิในการมีชีวิตอยู่ ผลของการคว�่ำบาตรนอกเหนือไปจากการเล่น ส�ำนวนและการเล่นค�ำแล้ว มันคือการก่อไฟ การก ระหายสงคราม และการท�ำลายล้างมนุษย์ ผู้ที่ตก เป็นเหยื่อของกองเพลิงนี้ ไม่ใช่แค่เพียงผู้ถูกคว�่ำบาตร เท่านัน้ ทว่ามันจะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและ ชีวิตของประชาชนในสังคมทั้งหลายที่ ถูกคว�่ำบาตร ด้วยเช่นกัน ฯพณฯ ประธาน! ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรษุ ทั้งหลาย! ความรุนแรงและความสุดโต่งในปัจจุบัน นี้ ไม่ใช่แค่เพียงมิติต่างๆ ทางด้านวัตถุเท่านั้น แต่ทว่า มันได้ครอบคลุมถึงมิติต่างๆ ทางจิตวิญญาณของการ ด�ำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมในปัจจุบันด้วยเช่นกัน


ความเป็นสายกลางนั้นหมายถึง การขับเคลื่อน ไปอย่างมีภูมิปัญญา อย่างชาญฉลาด มีก�ำหนดเวลา และสถานที่ในการผสมผสานอุดมคติต่างๆ อันสูงส่ง ตัวเลือกต่างๆ ทางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยการ พิจารณาถึงข้อเท็จจริงต่างๆ * สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน คือหนึ่งใน มหาอ�ำนาจในระดับภูมิภาค ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ประชาชนชาวอิหร่าน มีการเคลือ่ นไหวอย่างชาญฉลาด พวกเขาได้ลงคะแนน เสียงให้กบั วาทกรรมแห่งความหวังในการบริหารจัดการ ที่ดีและ ความเป็นสายกลาง การผสมผสานกันของความหวัง การบริ ห าร จั ด การที่ ดี แ ละความเป็ น สายกลางในนโยบายต่ า ง ประเทศ ในความหมายที่ว่า สาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิ ห ร่ า น ในฐานะที่ เ ป็ น หนึ่ ง ในมหาอ� ำ นาจในระดั บ ภูมิภาค จะปฏิบัติอย่างมีความรับผิดชอบต่อความ มั่นคงสงบสุขของภูมิภาคและของโลก และมีความ พร้อมที่จะร่วมมือในทุกๆ ด้านกับผู้เล่นคนอื่นๆ ที่เป็น ผู้รับผิดชอบในสนามเหล่านี้ * ไม่มีหนทางใดๆ ส�ำหรับความรุนแรง ในวิกฤติ ต่างๆ ของโลก เราจะสนับสนุนสันติภาพที่วางพื้นฐานอยู่บน ความเป็นประชาธิปไตยและการลงคะแนน เสียงใน ทุกๆ ที่ของโลก รวมทั้งในซีเรีย ในบาห์เรนและในประ เทศอื่นๆ ของภูมิภาคตะวันออกกลาง และเราเชื่อมั่น ว่า จะไม่มีหนทางใดๆ ส�ำหรับความรุนแรงในวิกฤติ ต่างๆ ของโลก และด้วยกับการอาศัยสติปัญญาแห่ง ความเป็นมนุษย์ ด้วยกับปฏิสัมพันธ์ต่อกันและความ เป็นสายกลางเท่านัน้ ทีจ่ ะสามารถพิชติ เหนือข้อเท็จจริง ต่างๆ อันขมขื่นของสังคมแห่งมนุษยชาติได้ ด้ ว ยเหตุ นี้ การให้ ห ลั ก ประกั น สั น ติ ภ าพและ ความเป็นประชาธิปไตย การสนองตอบผลประโยชน์ ต่างๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายของทุกประเทศในโลก

ความรุนแรงและความสุดโต่ง จะไม่เหลือที่ไว้ ส�ำหรับความปรองดองและการสร้างความเข้าใจที่ดี ต่อกัน ซึ่งเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับชีวิตมนุษย์และสังคม สมัยใหม่ ความไร้ความอดทนอดกลั้น คือปัญหาของโลก ของเราในปัจจุบัน เราจ�ำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความ อดทนอดกลัน้ ภายใต้แนวคิดต่างๆ ทางศาสนา แนวทาง ต่างๆ ทางวัฒนธรรมและวิธีการต่างๆ ทางการเมือง * ประชาชนชาวโลก เหนือ่ ยหล้าแล้วจากสงคราม ความรุนแรงและความสุดโต่ง สังคมมนุษย์จ�ำเป็นจะต้องยกระดับจากความ อดทนอดกลั้นในทางลบไปสู่ระดับของความร่วม มือ ร่วมใจกัน ไม่ใช่เพียงแค่อดทนอดกลั้นต่อผู้อื่นเท่านั้น แต่จะต้องอดทนกับการท�ำงานร่วมกับผู้อื่น ประชาชน ชาวโลกนั้นเหนื่อยหล้าแล้วจากสงคราม ความรุนแรง และความสุดโต่ง และสิ่งนี้คือโอกาสที่ไม่มีใครเหมือน พวกเขามีความมุ่งหวังต่อการเปลี่ยนแปลงของ สภาพการณ์ปัจจุบัน สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านมี ความเชือ่ มัน่ ว่า ด้วยกับการผสมผสานอย่างชาญฉลาด ระหว่างความหวังและความเป็นสายกลาง จะสามารถ บริหารจัดการกับความท้าทายทั้งมวลได้ บรรดาผู้ก่อ ไฟสงครามต้องการที่จะท�ำให้ความหวังต่างๆ ร่วงโรย ไป ในขณะที่ความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงในทางบวก นั้น คือแนวคิดอันเป็นสัญชาติญาณทางธรรมชาติ เป็น แนวคิดทางศาสนา เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและเป็น สากล โครงสร้างพื้นฐานของความหวัง คือความเชื่อ มั่นต่อเจตนารมณ์ของสาธารณชนของโลก ในการที่จะ ต่อสูก้ บั ความรุนแรงและความสุดโต่ง การยอมรับความ เปลีย่ นแปลง การต่อต้านโครงสร้างต่างๆ ทีเ่ ป็นการบีบ บังคับ การให้คณ ุ ค่าต่อการเลือกและการปฏิบตั อิ ย่างมี ความรับผิดชอบของมนุษย์ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า “ความ หวัง” คือหนึ่งในของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระผู้เป็น เจ้าผู้ทรงเมตตา ที่มอบให้แก่มนุษย์ทุกคน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 25


คนอื่นๆ มันคือเป้าหมายของสาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่านมาโดยตลอดและจะเป็นเช่นนี้ต่อไป อาวุธนิวเคลียร์และอาวุธท�ำลายล้างขั้นสูงนั้น ไม่มีอยู่ในแบบแผนของการป้องกันตนเองของอิหร่าน อย่างแน่นอน และเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักความเชื่อ ขั้นพื้นฐานทางศาสนาและทางศีลธรรมของ เรา ผล ประโยชน์ของชาติของเรา จะเป็นตัวก�ำหนดบังคับว่า เราจะต้องขจัดทุกรูปแบบของความกังวลที่เป็นตรรกะ เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ ของอิหร่านออกไป สอง : เป้าหมายประการที่สอง หมายถึง การ ยอมรั บ การใช้ สิ ท ธิ ใ นการเสริ ม สมรรถนะยู เ รเนี ย ม และสิทธิอื่นๆ เกี่ยวกับนิวเคลียร์ในแผ่นดินอิหร่านนั้น เป็นเพียงวิธีเดียวที่จะตอบสนองเป้าหมายแรก ความ รู้เกี่ยวกับนิวเคลียร์ในอิหร่านกลายเป็นเรื่องพื้นฐาน ทางเทคโนโลยีด้าน นิวเคลียร์ เช่น การเสริมสมรรถนะ ยูเรเนียมนัน้ ก้าวมาถึงระดับของการผลิตได้เป็นจ�ำนวน มากแล้ว ดั ง นั้ น การคาดคิ ด ว่ า การขั ด ขวางโครงการ นิวเคลียร์ของอิหร่าน โดยอาศัยวิธีการกดดันต่างๆ ที่ ผิดกฎหมายนั้น จะสามารถให้หลักประกันความสันติ ของโครงการนี้ ถือเป็นเรื่องเพ้อฝันและไร้เหตุผลความ เป็นจริงอย่างที่สุด * สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน จะยืนกรานใน การใช้สิทธิต่างๆ ของตนเอง ดั ง นั้ น พร้ อ มกั บ ยื น กรานในการใช้ สิ ท ธิ ต ่ า งๆ ของตนเอง ความจ�ำเป็นในการเคารพเกียรติและการ ให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในการใช้ สิทธิเหล่า นี้ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านมีความพร้อมส�ำหรับ การเจรจาต่างๆ โดยไม่รีรอ เพื่อการสร้างความเชื่อมั่น ต่อกัน และเพือ่ ขจัดความเคลือบแคลงสงสัยของทัง้ สอง ฝ่ายด้วยวิธีการที่โปร่งใสอย่าง แท้จริง อิ ห ร่ า นมุ ่ ง แสวงหาการปฏิ สั ม พั น ธ์ อ ย่ า ง สร้างสรรค์กบั ประเทศอืน่ ๆ บนพืน้ ฐานของความเคารพ ในผลประโยชน์ซงึ่ กันและกัน และในบริบทนีก้ ม็ ไิ ด้มงุ่ ที่

26 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

รวมทั้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยอาศัยการใช้ ก�ำลังทหารนั้นจะไม่บรรลุผลความเป็นจริงได้ อิหร่าน ก�ำลังมุง่ แสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ทีไ่ ม่ใช่การ สร้างปัญหา ไม่มีกรณีและประเด็นใดที่ไม่อาจเยียวยาแก้ไข ได้ ด้วยกับความหวังและการธ�ำรงความเป็นสายกลาง การเคารพซึ่งกันและกัน และการปฏิเสธความรุนแรง และความสุดโต่ง * การยอมรับสิทธิอันชอบธรรมของอิหร่าน คือ แนวทางแก้ไขปัญหานิวเคลียร์อิหร่านที่ง่ายดายที่สุด ขออนุ ญ าตให้ ข ้ า พเจ้ า ได้ ก ล่ า วถึ ง กรณี เ กี่ ย ว กับนิวเคลียร์ของอิหร่าน... การยอมรับสิทธิอันเป็น ธรรมชาติที่ถูกต้องตามกฎหมายและชอบธรรมของ อิหร่าน ที่เป็นไปตามค�ำพูดของท่านผู้น�ำผู้ปรีชาญาณ ของการปฏิวัติอิสลาม นั่นคือวิธีการที่ง่ายที่สุดในการ แก้ไขปัญหา สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นแค่เพียงค�ำขวัญทางการ เมือง แต่ทว่าเป็นไปตามพืน้ ฐานของความเข้าใจอย่าง ลึกซึ้งถึงสถานะของเทคโนโลยีใน อิหร่าน สถานการณ์ ระหว่างประเทศ และการจบสิ้นลงของเกมต่างๆ ด้วย กับผลรวมทีเ่ ป็นศูนย์ และความจ�ำเป็นในการค้นหาเป้า หมายและผลประโยชน์ต่างๆ ร่วมกัน เพื่อให้บรรลุการ สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันอย่างมั่นคงสงบสุขร่วมกัน กล่าวอีกส�ำนวนหนึ่งก็คือ อิหร่านและผู้เล่นคน อื่นๆ จะต้องมุ่งแสวงหาสองเป้าหมายร่วมกัน ในฐานะ สองส่ วนที่ ไม่ อ าจแยกจากกั น ได้ ของแนวทางแก้ ไข ปัญหาทางการเมือง เกีย่ วกับกรณีนวิ เคลียร์ของอิหร่าน หนึ่ง : โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านและประเท ศอื่นๆ ทั้งหมด จะต้องเป็นไปในทิศทางของเป้าหมาย ต่างๆ ในทางสันติเพียงเท่านั้น * อาวุธนิวเคลียร์และอาวุธท�ำลายล้างขั้นสูงนั้น ไม่มีอยู่ในแบบแผนของการป้องกันตนเองของอิหร่าน ณ ที่นี้ข้าพเจ้าของประกาศอย่างชัดเจนว่า เป้า หมายดัง กล่ าวนี้ โดยมิได้ค�ำนึง ถึง จุดยืน ของผู้เล่น


ทั้งหลาย! ในหลายปีมานี้ เสียงที่โดดเด่นที่ได้ยินซ�้ำ แล้วซ�้ำเล่าอย่างต่อเนื่องที่ว่า “ตัวเลือกสงครามนั้นอยู่ บนโต๊ะเจรจา” แต่วันนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายเปิดโอกาส ให้ข้าพเจ้าได้พูดโต้ตอบค�ำพูดที่ไร้ประสิทธิภาพและ ไร้ความชอบธรรมนี้ ด้วยค�ำพูดที่ว่า “สันติภาพนั้นอยู่ แค่เอื้อม” * ข้อเสนอแนะของ ดร.รูฮานี ทีม่ ตี อ่ สหประชาชาติ ดังนัน้ ในนามของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ในย่างก้าวแรก ข้าพเจ้าขอเสนอแนะว่า ควรก�ำหนด แผน “โลกต่อต้านความรุนแรงและความสุดโต่ง” ให้ อยู่ในวาระการปฏิบัติการขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศ และองค์กรพัฒนา เอกชนทัง้ หมด ทีจ่ ะต้องจัดระเบียบความพยายามต่างๆ ใหม่ เพื่อขับเคลื่อนโลกไปสู่ทิศทางนี้ จ�ำเป็นจะต้องคิด ไตร่ตรองถึง “พันธมิตรเพื่อสันติภาพที่ยั่งยืน” เข้ามา แทนทีต่ วั เลือกทีไ่ ร้ประสิทธิภาพทีว่ า่ “พันธมิตรเพือ่ การ ท�ำสงคราม” ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก วันนี้สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ขอเรียก ร้องท่านทั้งหลายและประชาคมโลกทั้งมวลมาสู่การ ย่างก้าวไปข้างหน้า เราจะต้องตอบรับการเชิญชวน

จะเพิ่มความตึงเครียดให้กับประเทศสหรัฐฯ แต่อย่าง ใดทั้งสิ้น * ในกรณี ที่ ห ากอเมริ ก ามี ค วามตั้ ง ใจจริ ง ก็ สามารถทีจ่ ะบรรลุกรอบส�ำหรับการบริหารจัดการความ ขัดแย้งต่างๆ ได้ ข้า พเจ้ า ได้ ติดตามค� ำพูดต่ างๆ ในวั น นี้ ข อง ประธานาธิบดีโอบามาอย่างตัง้ ใจ ในกรณีทหี่ ากมีความ ตัง้ ใจจริงทางการเมืองของบรรดาผูน้ ำ� ของอเมริกา และ การยับยัง้ ตนจากการไล่ลา่ ผลประโยชน์ตา่ งๆ ของกลุม่ กดดันทั้งหลายที่กระหายสงครามแล้ว ก็สามารถที่ จะบรรลุกรอบส�ำหรับการบริหารจัดการความขัดแย้ง ต่างๆ ได้ ในกรอบของจุดยืนที่เท่าเทียมกันนี้ การเคารพ เกียรติซงึ่ กันและกัน หลักการทีช่ ดั เจนและเป็นทีย่ อมรับ ในระดับสากล จะต้องถูกก�ำหนดขึน้ เป็นพืน้ ฐาน อย่างไร ก็ตามในบริบทนี้ ความคาดหวังของเราจากวอชิงตัน คือ การที่จะได้รับฟังเสียงพูดที่เป็นหนึ่งเดียวกัน * สันติภาพนั้นอยู่แค่เอื้อม ฯพณฯ ประธาน! ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรษุ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 27


ความสงสัยใดๆ เลยว่า อนาคตจะสดใส ความเป็นสาย กลางจะท�ำให้อนาคตของโลกสดใส ความหวั ง ของข้ า พเจ้ า นอกเหนื อ ไปจาก ประสบการณ์ส่วนตัวและ (ประสบการณ์) ของชาติ แล้ว ยังเกิดจากความเชื่อร่วมกันของศาสนาแห่งฟาก ฟ้าทั้งมวลที่ว่า โลกในท้ายที่สุดจะเกิดความดีงามและ สดใส โดยที่ (พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า)

‫َول َ َق ْد َكتَ ْبنَا فِي ال َّزبُو ِر ِمن ب َ ْع ِد ال ِّذ ْك ِر أَ َّن‬ َ ْ‫أ‬ ‫ون‬ َ ‫ال ْر‬ َ ‫الصال ِ ُح‬ َّ ‫ض يَ ِرثُ َها ِعبَا ِد َي‬

“และแน่นอนยิ่ง เราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์ซะบูร หลังจากซิกร์ (คัมภีร์เตารอต) ว่า แผ่นดินนั้น ปวงบ่าว ที่ดีมีคุณธรรมของเราจะเป็นผู้สืบมรดกมัน” (บทอัลอัน บิยาอ์/โองการที่ 105) ขอขอบคุณ ฯพณฯ ประธาน! ของ “โลกต่อต้านความรุนแรงและลัทธิสุดโต่ง” และ ณ ที่นี้ เราสามารถที่จะเปิดขอบฟ้าใหม่ ซึ่งในของฟ้า นี้จะพบเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นที่ว่า สันติภาพ จะเข้ามา แทนที่สงคราม การประนีประนอมจะเข้ามาแทนที่การ ใช้ความรุนแรง ความเจริญก้าวหน้าจะเข้ามาแทนที่ การหลั่งเลือด ความยุติธรรมจะเข้ามาแทนที่การเลือก ปฏิบัติ การได้รับสิทธิประโยชน์จะเข้ามาแทนที่ความ ยากจน และเสรีภาพจะเข้ามาแทนความเป็นเผด็จการ ในทั่วทุกมุมโลก * ความเป็นสายกลางจะท�ำให้อนาคตของโลก สดใส ตามค�ำกล่าวของฟิรดูซี กวีผเู้ รืองนามของอิหร่าน “ท่านทั้งหลายจงพยายามท�ำความดี เนื่องจากท่านทั้ง หลายก็ได้เห็นมิใช่หรือว่า ความหนาวเย็นนั้น จะท�ำให้ ฤดูใบไม้ผลิติดตามมา” แม้ จะมีปัญหาต่างๆ มากมาย เหล่านี้ แต่ข้าพเจ้ามีความมุ่งหวังอย่างแท้จริงจากส่วน ลึกส�ำหรับอนาคต ด้วยกับการผนึกก�ำลังกันของโลกใน การต่อต้านความรุนแรงและความสุดโต่ง ข้าพเจ้าไม่มี

28 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


ถอดความโดย เชคมาลิกี ภักดัี

ค�ำปราศรัย

ฯพณฯ ผู้น�ำสูงสุด ทางจิตวิญญาณ

เกี่ยวกับอัลกุดส์ อัชชะรีฟ

วันนี้โลกอิสลามมีปัญหาที่ส�ำคัญและ เป็นวาระเร่งด่วนที่เกี่ยวโยงกับประชา ชาติอิสลามทั่วทั้งโลกโดยตรง คือปัญหาเกี่ยวกับพี่ น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์ ผืนแผ่นดินปาเลสไตน์ และ อัลกุดส์ ปัญหาปาเลสไตน์เป็นบาดแผลที่เรื้อรัง สร้าง ความเจ็บปวดแก่ประชาชาติมุสลิมและโลกอิสลาม มายาวนาน โดยการยึดครองของรัฐเถื่อนไซออนิสต์ และการช่วยเหลือของชาติมหาอ�ำนาจพันธมิตร ของ อิสราเอล และนับวันการรุกราน การยึดครอง การเข่น ฆ่าสังหาร การจับกุมตัวประชาชนผูไ้ ม่มที างสูโ้ ดยน�ำ้ มือ ของอิสราเอลจะยิ่งทวีความรุนแรง ยิ่งขึ้น เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางใน ขณะนี้ เป็นเหตุให้โลกอิสลามมองปัญหาที่เกิดขึ้นใน ปาเลสไตน์มายาวนานเป็นเรื่องเล็ก และเมินเฉยกับ ปัญหาปาเลสไตน์ทีละนิดๆๆๆ โดยที่โลกอิสลาม และ ประชาชาติมุสลิมลืมนึกไปว่าเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิด

ขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ทั่วตะวันออกลาง คือการส่งเสริม การ สนับสนุนของอิสราเอลทั้งสิ้น เพื่อที่รัฐอิสราเอลจะได้ ฉวยโอกาสวันเวลาเหล่านัน้ ในการรุกราน เข่นฆ่าสังหาร ประชาชนชาวปาเลสไตน์ได้สะดวกยิ่งขึ้นไปอีก โดย เฉพาะการอพยพชาวยิวจ�ำนวนมากจากนานาประเทศ เข้าสู่แผ่นดินปาเลสไตน์ และขยายอาณาเขตการยึด ครองของตนออกไปเรื่ อ ยๆ ความทุ ก ข์ ร ะทมความ เจ็บปวดที่มากกว่านั้น ซึ่งพี่น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์ ก�ำลังได้รับก็คือ การเมินเฉยไม่รู้ไม่ชี้ของบรรดาผู้น�ำ ชาติอาหรับทั้งหลายต่อความทุกข์ความ เจ็บปวดที่ อิสราเอลได้ปฏิบัติกับพวกเขาทั้งที่ผ่านมาและในเวลา นี้แม้แต่นิด เดียว โอ้ประชาชาติอิสลาม เอ๋ย..... โอ้โลกอิสลาม เอ๋ย.... จงอย่าเมินเฉย จงอย่าหลงลืมปัญหาปาเลสไตน์ อย่างเด็ดขาด จงลุกขึน้ ต่อสูเ้ รียกร้องสิทธิของพีน่ อ้ งชาว ปาเลสไตน์กลับคืนมาให้จงได้ โอ้ ประชาชาติอิสลามเอ๋ย..... โอ้โลกอิสลาม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 29


เอ๋ย.... สหรัฐอเมริกา อิสราเอล และพันธมิตรของพวก มัน พวกเขาไม่ลดละความพยายามทีจ่ ะก่อสถานการณ์ ต่างๆ นานาขึ้นมาในภูมิภาคเพื่อให้ประชาชาติอิสลาม หมกมุ่นอยู่กับสถานการณ์เหล่า นั้น และหลงลืมต่อ ปัญหาปาเลสไตน์ ลดละความสนใจในสิ่งที่พวกเขา ก�ำลังปฏิบัติต่อประชาชนชาวปาเลสไตน์ ดังนั้นเรา ประชาชาติมุสลิมทั่วทั้งโลกจงอย่าได้หลงกลของพวก มัน จงให้ความส�ำคัญกับปัญหาปาเลสไตน์เถิด วันอัลกุดส์ คือวันแห่งการร�ำลึกถึงวีรกรรมต่างๆ ของท่านอิมามโคมัยนี (ร.ฮ) ของพวกเราทุกคน จงท�ำให้ "วันอัลกุดส์สากล" ยิ่งใหญ่และมีเกียรติในโลกอิสลาม มวลประชาชาติอิสลามทั้งหลาย จงอย่านิ่งเฉย จงอย่า เมินเฉย จงให้ความส�ำคัญกับปัญหาในปาเลสไตน์ แม้นพวกท่านจะต้องถูกต่อต้านจากรัฐบาลที่ปกครอง พวกท่านอยู่ก็ตาม บรรดารัฐบาลหุ่นเชิดของรัฐเถื่อน อิสราเอลที่มือของพวกเขาแปดเปื้อนเลือดของ พี่น้อง ชาวปาเลสไตน์ พวกเขาจะต้องได้รบั การลงโทษ ปัญหา ปาเลสไตน์ไม่ใช่เรือ่ งเล็ก เนือ่ งจากผ่านไปนานหลายสิบ ปีแล้วทีท่ พี่ นี อ้ งชาวปาเลสไตน์ตอ้ งทนทุกข์อยูใ่ น สภาพ

30 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

เช่นนั้น บรรดานั ก คิ ด นั ก เขียน นักพูดนักบรรยาย นั ก ก า ร เมื อ ง ขอ ง โ ลก มุ ส ลิ ม หลายต่ อ หลาย คนได้ อ อกมากล่ า วได้ ออกมาให้ทัศนะเกี่ยวกับ ปั ญ หาปาเลสไตน์ นั บ พันคนที่ต้องเสียสละชีวิต ไปในหนทางนี้ แล้ ว จะ เป็นไปได้อย่างไรที่เราจะ ปล่ อ ยให้ ส ่ ว นหนึ่ ง ของ โลกอิสลามอย่างแผ่นดิน ปาเลสไตน์อยู่ภายใต้การ ยึดครองของอิสราเอลศัตรู อิ ส ลาม? เราจะนั่ ง คอยดู พ วกศั ต รู ขั บ ไล่ พี่ น ้ อ งชาว ปาเลสไตน์ออกจากถิน่ ฐานทีพ่ กั ของพวก เขาอย่างไม่รู้ สึกรู้สาเลยหรือ? ศาสนาอิสลามมีค�ำสอนให้นั่งคอย ดูพี่น้องมุสลิมด้วยกันถูกรังแก ถูกกดขี่ ถูกเข่นฆ่า ถูก ยึดครองหรือ? ประชาชาติอิสลามทั่วทั้งโลกจะไม่ยอม ให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นในแผ่นดินปาเลสไตน์อีก ต่อไป..... การเจรจาปัญหา ปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นซ�้ำแล้ว ซ�้ำอีก ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาปาเลสไตน์ได้อย่าง แน่นอน การเจรจาปัญหาปาเลสไตน์ครั้งแล้วครั้งเล่าที่ เกิดขึ้นก็เป็นอีกแค่กลเกม หนึ่งของบรรดาศัตรูเท่านั้น เอง ประชาชนชาวปาเลสไตน์จะไม่ได้อะไรเลยจากการ เจรจาเหล่านั้น หนทางเดียวที่ชาวปาเลสไตน์จะได้รับ ชัยชนะในการรุกรานของอิสราเอล ก็คอื บรรดาคนหนุม่ สาว บุรษุ และสตรีชาวปาเลสไตน์จำ� เป็นจะต้องยืนหยัด ในอุดมการณ์การต่อสู้กับรัฐเถื่อน อิสราเอล จะต้อง ล่วงรู้ถึงจุดด้อยของฝ่ายศัตรูให้ได้เพราะจุดนั้นจะน�ำ มาซึ่งความพ่าย แพ้ของศัตรูได้ง่ายยิ่งขึ้น และอีกด้าน ประชาชาติมุสลิมทั่วทั้งโลกจะต้องเป็นผู้สนับสนุนการ


ต่อสู้ของ ประชาชนชาวปาเลสไตน์ในด้านต่างๆ อย่าง เต็มที่ สองพลังนี้หากเกิดขึ้นเมื่อไหร่ปัญหาปาเลสไตน์ ก็จะจบลงในทันทีด้วยความพ่าย แพ้อย่างยับเยินของ ศัตรู จงให้เกียตริตอ่ วันอัลกุดส์สากล จงประกาศก้อง วันอัลกุดส์ไปทัว่ ทัง้ โลก มาดแม้นว่าสือ่ ต่างๆ ของตะวัน ตก และสื่อต่างๆ ของพันธมิตรตะวันตกจะพยายาม ปกปิด "วันอัลกุดส์สากล" ก็ไม่ต้องไปแยแสกับสื่อต่างๆ เหล่านัน้ ทว่าบรรดาพีน่ อ้ งชาวปาเลสไตน์ทถี่ กู คุมขังอยู่ ในคุกของอิสราเอลทุกคนล่วงรู้ และได้กล่าวแก่พวกเรา ทุกคนว่า "เราทราบดีตอ่ การมาของวันอัลกุดส์ และการ ออกมาประกาศก้องของมวลประชาชาติอิสลามในวัน อัลกุดส์ด้วยความบริสุทธิ์ ใจ" โอ้บรรดาพีน่ อ้ ง ชาวปาเลสไตน์เอ๋ย..... โอ้บรรดา พีน่ อ้ งชาวปาเลสไตน์ทถี่ กู คุมขังอยูใ่ นห้องขังแคบๆ ของ รัฐบาลเถือ่ นอิสราเอลเอ๋ย.... อย่าได้มคี วามรูส้ กึ ว่าพวก ท่านโดดเดี่ยวเพื่อที่ท่านจะได้ลุกขึ้นสู้กับ ศัตรู การออก มาแสดงพลังในวันอัลกุดส์ การร�ำลึกถึงอัลกุดส์ในวัน ศุกร์สุดท้ายของเดือนรอมฎอน คือการสนับสนุน การ ให้ก�ำลังใจแก่บรรดาสตรี บุรุษ คนหนุ่มสาว และเด็กๆ

ชาวปาเลสไตน์ทกี่ ำ� ลังถูกตามล่า ถูกทุบ ถูกตี โดยทหาร อิสราเอลตามซอกซอยต่างๆ ในฉนวนกาซ่าเขตยึดครอง ของอิสราเอล เพื่อที่พวกเขาจะได้ลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้ โอ้ประชาชาติ มุสลิมเอ๋ย... โอ้บรรดาผู้น�ำชาติ อาหรับเอ๋ย.... พวกท่านจะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ พี่น้องปาเลสไตน์ เราสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีหน้าทีภ่ ารกิจให้ความช่วยเหลือพีนอ้ งชาว ปาเลสไตน์ มวลมุสลิมทุกคนมีภารกิจปลดปล่อยอัลกุดส์ และแผ่น ดิ น ปาเลสไตน์ อ อกจากการถู ก ยึ ด ครองของรั ฐ บาล เถื่อนอิสราเอล เป็นปัญหาของโลกอิสลาม ประชาชาติ อิสลาม ที่จะต้องร่วมกันปฏิบัติภารกิจนี้ให้ลุล่วง.... อิน ชาอัลลอฮฺ - มวลมุสลิมทั่วทั้งโลกเชื่อว่า วันกุดส์สากล คือ วันแห่งอิสลาม และเป็นวันของบรรดาผู้ถูกกดขี่ - อิสราเอลไซอออนิสต์ ไม่สามารถทีจ่ ะต้านทาน กับการต่อสู้ของบรรดาเยาวชนชาวปาเลสไตน์ได้อีก ต่อไป - รั ฐ บาลอิ ส ราเอลผู ้ รุ ก รานในผื น แผ่ น ดิ น ปาเลสไตน์ จะต้องล่มสลายในเร็ววัน - มวลมุสลิมทัว่ ทัง้ โลกเชือ่ ว่า อิสราเอลไซออนิสต์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 31


คือศัตรูตัวฉกาจของโลกอิสลาม - มาดแม้นการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ จะน�ำไปสู่ การหลงลืมปัญหาปาเลสไตน์ทมี่ อี ยูอ่ ย่างมากมาย ทว่า ปัญหาปาเลสไตน์จะยังคงคุกรุ่นอยู่ในหัวใจของมวล มุสลิม และในอนาคตชาวปาเลสไตน์จะเป็นผู้มีชัยชนะ - แม้การรุกราน การเข่นฆ่าสังหารชาวปาเลสไตน์ จะมีอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งโดยรัฐบาลอิสราเอล ทว่าพวกเขา ก็ไม่สามารถทีจ่ ะหยุดยัง้ การต่อสูข้ องชาวปาเลสไตน์ได้ ตลอดไป - ในศาสนาอิสลาม เชื่อว่าปัญหาปาเลสไตน์ คือ ปัญหาทางศาสนา และเป็นภารกิจจ�ำเป็นส�ำหรับมวล มุสลิมทุกคน - หนทางเดี ย วที่ ส ามารถจะแก้ ไ ขปั ญ หา ปาเลสไตน์ และขจัดมะเร็งร้ายอย่างอิสราเอลออกจาก แผ่นดินปาเลสไตน์ได้ คือการยืนหยัดต่อสู้ - นโยบายการเมืองของสหรัฐอเมริกา อิสราเอล และชาติพนั ธมิตรของพวกมัน คือพยายามท�ำให้ปญ ั หา ปาเลสไตน์ถูกลดความส�ำคัญลงในเวทีโลก - ปัญหาที่ส�ำคัญยิ่งของโลกอิสลามในวันนี้ คือ ปัญหาปาเลสไตน์ ที่จะต้องมีการยืนหยัดต่อสู้ไปอย่าง ไม่ลดละ

32 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

- รัฐบาลเถื่อนอิสราเอลที่ก�ำลังรุกรานยึดครอง แผ่นดินปาเลสไตน์ คือรัฐบาลการเหยียดสีผิว และการ แบ่งชนชั้น - นานาประเทศมุ ส ลิ ม ควรที่ จ ะน� ำ ปั ญ หา ปาเลสไตน์มาเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของทุกๆ ประเทศ - จุดก�ำเนิดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์ คือการมีอยู่ของรัฐบาลเถื่อนอิสราเอล - การตื่นตัวของโลกอิสลามในวันนี้ ได้เปิดหูเปิด ตาประชาชาติอิสลามเกี่ยวกับปัญหาปาเลสไตน์แล้ว - มวลมุสลิมทั่วทั้งโลกจะต้องเป็นผู้สนับสนุนใน ทุกๆ ด้านแก่ประชาชาติปาเลสไตน์ทั้งภายในประเทศ และภายนอกประเทศให้สามารถต่อสู้ กับอิสราเอลได้ - วันกุดส์ คือวันที่จะชี้ชะตากรรมของพี่น้องชาว ปาเลสไตน์


แปลและเรียบเรียงโดย เชคกวี ฮัยดัร

บทบัญญัติ

รัศมี

แห่งทางน�ำ ค�ำวินิจฉัยของวะลียุลอัมริลมุสลิมีน หัซรัตอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา ซัยยิดอะลี คอมาเนอีย์ รวบรวมค�ำวินิจฉัยโดย ฮุจญะตุลอิสลามเชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต ความสะอาด และสิ่งที่เป็นมลทิน

1. ความสะอาดของอะห์ลุลกิตาบ (บุคคลที่ นับถือศาสนาที่ได้รับคัมภีร์) บรรดาฟุกเกาะฮาอ์บางท่านได้ให้ค�ำวินิจฉัยว่า บรรดาอะห์ลลุ กิตาบเป็นนะญิส และอีกบางท่านวินจิ ฉัย ‫بســـــــم اهلل الرحمن الرحیم‬ ว่าสะอาด ไม่ทราบว่าในวินิจฉัยทัสนะของ ฯพณฯ จะ ‫ِين‬ َ ‫ين َويُ ِح ُّب ال ْ ُمتَ َط ِّهر‬ َ ِ ‫ إ َِّن اللَّـ َه يُ ِح ُّب التَّ َّواب‬เป็นเช่นไร "แท้จริงอัลลอฮ์ทรงชอบบรรดาผู้ส�ำนึกผิด กลับ ความเป็นนะญิสด้วยก�ำเนิดของอะห์ลุลกิตาบ เนื้อกลับตัว และทรงชอบบรรดาผู้ที่ท�ำตนให้สะอาด” นั้ น ไม่ แ น่ ชั ด แต่ ใ นทั ศ นะของเราขอวิ นิ จ ฉั ย ว่ า บร (‫قال رسول اهلل (ص‬ รดาอะห์ลุลกิตาบนั้นสะอาดตั้งแต่ก�ำเนิด 2. ชี้เฉพาะยังบรรดาอะห์ลุลกิตาบ ‫ سخي‬, ‫ان اهلل تعالی جمیل یحب الجمال‬ บรรดาอะห์ลุลกิตาบคือบุคคลประเภทไหน กฎ ‫ نظیف یحب النظافة‬, ‫یحب السخاء‬ เกณฑ์ในการเข้าร่วมสังคมกับบรรดาอะห์ลุลกิตาบ มี แท้จริงพระองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงรักผูท้ รี่ กั ความ กฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง สวยงามและทรงรักผู้ที่เอื้ออาทร และทรงรักผู้ที่รักษา บรรดาอะห์ลุลกิตาบ คือบุคคลที่เขามีศรัทธายัง ความสะอาด) ศาสนาใดศาสนาหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า และเขาเป็น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 33


ปฏิบัติตามศาสดาท่านใดท่านหนึ่งจากบรรดาศานะ ทูตของพระผู้เป็นเจ้า และเป็นศาสดาที่พระผู้เป็นเจ้า ทรงประทานคัมภีร์มาให้ เช่นพวกยะฮูดี และสริสเตียน ดังที่พวกเราได้กล่าวเรียกพวกเขาว่าเป็นพวกอะห์ลุลกิ ตาบ ซึ่งในบทบัญญัติของอิสลาม การคบหาสมาคม กับบุคคลเหล่านี้ ถือว่าอนุญาต 3. ความสะอาดของบรรดาคริสเตียนที่ได้ปฏิ เสธขข้อมูลของศาสนา มีผู้กล่าวว่า บรรดาคริสเตียน ปัจจุบันพวกเขา ได้ปฏิเสธข้อบังคับทางศาสนาของพวกเขา เช่นต้อง ห้ามในการดื่มแอลกอฮอลล์ และบทบัญญติมีอยู่ว่า พวกนี้ตกอยู่ในหฒุ่ผู้ปฏิเสธ ของท่านช่วยกรุณาเกี่ยว กับเรื่องนี้ด้วย บรรดาอะห์ ลุ ล กิ ต าบตั้ ง แต่ ก� ำ เนิ ด พวกเขา สะอาด และดังค�ำถามนั้น ไม่มีในบทบัญญติปรากฎที่ จะปรากฎ 34 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

4. กาฟิรคือใคร จะเรียกบุคคลใดว่าเป็นกาฟิร บุคคลใดที่ม่เลือกอิสลามเป็นศาสนาของเขา หรือบุคคลที่ยอมรับเอาอิสลามเป็นศาสนาของตนเอง แต่ปฏิเสธข้อบังคับของศาสนา ดังนั้นการปฏิเสธของ เขา ก็เท่ากับเป็นผู้ปฏิเสธค�ำสอนของท่านศาสดา (ศ.) บุคคลเหล่านี้ ที่ถูกเรียกว่า “กาฟิร” 5. การตรวจสอบศาสนาที่ไมใช่เป็นมุสลิม ในประเทศต่ า งของสหภาพโซเวี ย ตเดิ ม ได้ วิเคราะห์ว่าบุคคลต่างๆเป็นพวกนอกรีต หรืออะห์ลุลกิ ตาบที่จ�ำเป็นต้องตั้งค�ำถามในการตรวจสอบ ขอความ กรุณาจาก ฯพณฯ ช่วยพิจารณาว่ามีบทบัญญัตสิ ำ� หรับ ผู้คนประเภทนี้ไหม และจ�ำเป็นต้องตรวจสอบหรือไม่ ถ้าส่วนหใญ่ของบุคคลเหล่านี้เป็นพวกนอกรีต การคบกาสมาคมของท่านกับบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ถือว่า เป็นนะญิส และถือว่าไม่เป็นไร


6. อะห์ลุลกิตาบของพวกศอบิอะห์ มีกลุ่มชนจ�ำนวนมากที่ได้อาศัยอยู่ในแทบคูซิ สถานซึง่ กลุม่ ชนีถ้ กู เรียกว่า “ศอบิอะห์” พวกเขาได้เรียก ร้องว่าเป็นผู้ปฏิบัติตามท่านศาสดายะห์ยา (อ.) และ เรียกร้องว่าคัมภีร์ของพวกเขาก็มีปรากฎส�ำหรับพวก เรา บรรดาอุลามาอ์ได้พิสูจน์แล้วว่า คนพวกนี้คือ พวก อบิอนู ทีถ่ กู ระบุไว้ในกุรอานด้วยเช่นกัน ขอความกรุณา ให้ ฯพณฯ ได้ชว่ ยวินจิ ฉัยด้วยว่า กลุม่ ชนเหล่านีเ้ ป็นพวก อะห์ลุลกิตาบด้วยหรือไม่ กลุ่มชนดังที่กล่าวมา พวกเขาเป็นพวกอะห์ลุลกิ ตาบ 7. นะญิสของพวกบาไฮ และบรรทัดฐานการ สมาคมร่วมด้วย ขอความกรุณาช่วยตอบค�ำถามเหล่านี้ : 7.1 การร่วมสมาคม ไม่วา่ จะเป็นในเรือ่ งของการ ศึกษาของนักเรียนที่เป็นมุสลิมกับนักเรียนของกลุ่มผู้ หลงทางพวกบาไฮ จะเป็นเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย จะรู้นิติภาวะหรือไม่รู้นิติภาวะ การเรียนร่วมกันทั้งใน โรงเรียนและนอกนอกโรงเรียน จะเป็นตัง้ แต่ชนั้ อนุบาล ประถมศึกษา มัธยม หรือมหาวิทยาลัย การร่วมสมาคม กับบุคคลเหล่านี้มีบทบัญญัติอย่างไร 7.2 เรามีความมั่นใจว่าการกระท�ำของอาจารย์ และผู้ดูแลเด็กนักเรียนเขาเป็นพวกบาไฮที่อาจก่อให้ เกิดปัญหา เราจะต้องปฏิบัติเช่นไร 7.3 การใช้ สิ่ ง ของร่ ว มกั น ของนั ก เรี ย นที่ เ ป็ น มุสลิมกับนักเรียนที่เป็นพวกบาไฮ เช่นก๊อกน�้ำดื่ม สาย ฉีดในห้องน�้ำ ภาชนะในห้องน�้ำ สบู่ หรือสิ่งต่างๆ ซึ่ง ทราบดีว่าสิ่งต่างๆนั้น จะต้องถูกสัมผัสจากการใช้ร่วม กัน ในกรณีนี้จะมีบทบัญญัติข้อบังคับอะไรบ้าง บทบัญญัติที่เกี่ยวกับพวกบาไฮผู้หลงทาง พวก เขาเหล่านีเ้ ป็นนะญิส ดังนัน้ การร่วมสมาคม หรือการใช้ ภาชนะสิง่ ของร่วมปนกับคนพวกนี้ เป็นวาญิบทีจ่ ะต้อง ระมัดระวังในเรือ่ งของความสะอาด แต่ในเรื่องการเป็น อาจารย์ หรือผู้ดูแลเด็กนักเรียนที่เป็นพวกบาไฮนั้น จะ

ต้องยืนหยัดอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย และจริยธรรม อิสลาม 8. นิกายหนึ่งที่เรียกว่าอะห์ลิฮัก ข้าพเจ้าได้ศึกษาอยู่ในชนบทสถานที่หนึ่ง ซึ่ง บุคคลในชนบทนี้ พกวเขาไม่อ่านนมาซ และเขาเรียก พวกเขาเองว่าเป็นนิกายอะห์ลิฮัก และข้าพเจ้าก็ต้อง ถูกบังคับทีจ่ ะต้องทานอาหารและขนมปังทีพ่ วกเขาปรุง มา ซึ่งข้าพเจ้าจะต้องอาศัยในชนบทนั้นตลอดทั้งกลาง คืนและกลางวัน ดังนัน้ การปฏิบตั นิ มาซของข้าพเจ้าจะ เป็นเช่นไร ถ้าพวกเขาไม่ปฏิเสธเรื่องเตาฮีด นะบูวัต และ ไม่ปฏิเสธข้อบังคับของอิสลาม หรือว่าเขาไม่ปฏิเสธใน สาส์นค�ำสัง่ สอนของท่านศาสนะทูตของอัลลอฮ์ (ศ.) ดัง นั้นจะลงบัญญัติว่าพวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) และ เป็นนะญิสไม่ได้ กรณีที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ในการสมาคม และการทานอาหารของพวกเขา จ�ำเป็น ต้องรักษาในบัญญัติของความสะอาดไว้ด้วย 9. บุคคลที่มีศัรทธาต่อสาส์นของท่านศาสดา ท่านสุดท้าย (ศ.) แต่เขากลับไปปฏิบัติตามแนวทางที่ บรรพบุรุษของเขาปฏิบัติสืบต่อกันมา กลุ่มชนหนึ่งจากบรรดาอะห์ลุลกิตาบที่มีศรัทธา ต่อสาส์นของท่านศาสดา ท่านสุดท้าย (ศ.) แต่พวกเขา กลับไปปฏิบตั ติ ามทีบ่ รรพบุรษุ ของพวกขาได้ปฏิบตั กิ นั มาด้วยความเคยชิน ในกรณีนี้ ในเรือ่ งของความสะอาด กับบทบัญญัติความเป็นกาฟิรจะมีอยู่หรือไม่ เพี ย งแคร่ มี ค วามศรั ท ธาต่ อ สาส์ น ของท่ า น ศาสดา ท่านสุดท้าย (ศ.) ส�ำหรับการบ่งบอกเกี่ยวกับ บทบัญญัติอิสลามยังพวกเขานั้นยังไม่เพียงพอ แต่ถ้า พกวเขาถูกยอมรับว่าเป็นพวกอะห์ลลุ กิตาบ บทบัญญัติ ก็ถือว่าพวกเขาสะอาด 10. การตรวจสอบศาสนาของบุคคลต่างชาติ บางกลุ่มจากลูกเรือขนส่งสินค้า และลูกเรือขย ส่งสินค้าต่างประเทศ การตวรจสอบว่าพวกเขาเป็นพวก อะห์ลุลกิตาบหรือไม่นั้น เป็นสิ่งจ�ำเป็นหรือไม่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 35


การตรวจสอบไม่เป็นสิ่งจ�ำเป็น ในกรณีที่เกิดมี ความสงสัย บทบัญญัติถือว่าสะอาด 11. การขนส่งสาธารณะในประเทศต่างๆ ทีไ่ ม่ใช่ ประเทศอิสลาม ที่นั่งของรถยนตร์ รถประจ�ำทาง รถไฟ ที่ต้อง ใช้ร่วมกันระว่างบรรดามุสลิมกับบรรดากาฟิร ซึ่งส่วน ใหญ่แล้วบรรดากาฟิรนั้นจะใช้มากกว่าบรรดามุสลิม ในช่วงที่อากาศร้อยอบอ้าวและมีความชื้นของเหงือ ที่นั่งของรถสาธารณะเหล่านี้ ตามบทบัญญัติถือว่าอ สะอาดหรือไม่ กาฟิรทีเ่ ป็นพวกอะห์ลลุ กิตาบ บัญญัตถิ อื ว่าพวก เขาสะอาด และในกรณีเกี่ยวกับสิ่งของที่ต้องใช้ร่วม กันระกว่างมุสลิมกับกาฟิร ถ้าไม่มั่นใจว่าเป็นนะญิส บทบัญญัติถือว่าสิ่งนั้นสะอาด 12. อาภรณ์เครือ่ งแต่งกายของมุสลิมกับอาภรณ์ เครื่องแต่งกายที่เปียกชื้นของบรรดากาฟิรได้มาสัมผัส กันในวันเวลาที่ฝนตก ข้าพเจ้าได้อาศัยอยู่ในประเทศ ที่ประชาชนส่วน ใหญ่เป็นชาวพุทธบูชาเทวรูป ในขณะที่ฝนตกอาภรณ์ เครือ่ งแต่งกายก็จะเปียกชืน้ และบางครัง้ อาภรณ์เครือ่ ง แต่งกายที่เปียกชื้นของมุสลิมต้องไปสัมผัสกับอาภรณ์ เครื่องแต่งกายที่เปียกชื้นของบรรดาชาวพุทธ ดังนั้น

36 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

การที่รักษาบัญญัติความสะอาด อาภรณ์เครือ่ งแต่งกายของเรา จะ ต้องปฏิบัติเช่นไร ดั ง ค� ำ ถาม บทบั ญ ญั ติ ถือว่าสะอาด 13. การว่ า จ้ า งบุ ค คลที่ ไม่ ใ ช่ มุ ส ลิ ม มาท� ำ งานเกี่ ย วกั บ เครื่องมือด้านอุตสาหกรรม ในการด� ำ เนิ น การ น� ำ เครื่องมืออุตสาหกรรมที่จะต้อง ประกอบโดยช่างผู้ช�ำนาญ บาง ครั้งเป็นช่างที่ไม่ใช่เป็นมุสลิม ซึ่ง ในบทบัญญัติของอิสลามกล่าวว่ากาฟิรนั้นเป็นนะญิส ในกรณีทชี่ า่ งผูเ้ ชีย่ วชาญทีไ่ ม่ใช่มสุ ลิมนัน้ เขาต้องใช้มอื ทั้งสองข้างของเขาประกอบครื่องจักรอุตสาหกรรมใส่ น�ำ้ มันฟล่อลืน่ ซึง่ ในกรณีการทีจ่ ะรักษาให้เครือ่ งจักรอุต สหกรรมสะอาดนั้นเป็นไปด้วยความยากล�ำบากมาก ดังนั้นการสัมผัสกับร่างกายหรืออาภรณ์ของคนงาน เหล่านี้ และในเวลาของนมาซก็ไม่มีเวลาที่จะสามารถ ท�ำความสะอาดอาภรณ์และร่างกายให้สะอาดอย่าง สมบูรณ์ได้ ดังน้นหน้าที่ของเราเกี่ยวกับเรื่องนมาซจะ ต้องปฏิบัติอย่างไร การท�ำงานร่วมกับบรรดากาฟิรในงานด้านอุสห กรรมครื่องจักรกล ถ้าพวกเขาเป็นพวกอะห์ลุลกิตาบ บทบัญญัติถือว่าสะอาด แต่ถ้าต้องสัมผัสกับบรรดา คนงานที่เป็นกาฟิรที่มีความเปียกชื้นจากร่างกายของ เขา มาสัมผัสกับอาภรณ์เครื่องแต่งกาย หรือร่างกาย ของมุสลิม ในขณะที่ต้องการจะอ่านนมาซ เป็นวาญิบ ให้เขาเปลี่ยนอาภร์เครื่องแต่งกาย และท�ำความสาอด ร่างกายของเขา 14. ความสะอาดและนะญิสของหนังสัตว์จาก ต่างประเทศ บรรดาหนังสัตว์ทซี่ อื้ ขายจากต่างประเทศทีไ่ ม่ใช่ ประเทศมุสลิม หรือหนังสัตว์จากต่างประเทศทีน่ ำ� มาท�ำ


กระเป๋า รองเท้า ที่น�ำเข้ามาวางขายอยู่ในปรเทศ ถือว่า สะอาดหรือไม่ หนั ง สั ต ว์ ที่ ถู ก เชื อ ดตามหลั ก การของอิ ส ลาม ถือว่าสะอาด แต่ถ้ามั่นใจว่าหนังสัตว์นั้นไม่ได้ถูกเชือด ตามหลักการของอิสลาม ถือว่าเป็นนะญิส 15. นมาซบนอาภรณ์หนังสัตว์จากต่างประเทศ หนังสัตว์จากต่างประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม และน�ำมาตัดเย็บเป็นอาภรณ์เครื่องแต่งกาย ในกรณี ที่สัมผัสกับหนังสัตว์เหล่านี้ด้วยสัมผัสที่ไม่เปียกชื้นนั้น มีบัญญัติอะไรบ้าง และสามารถที่จะสวมใส่เครื่องแต่ง กายเหล่านี้ในเวลานมาซได้หรือไม่ บทบัญญัติได้กล่าวไว้แล้วในค�ำถามที่ผ่านมา แต่ในกรณีที่มีความสงสัยในเรื่องเครื่องแต่งกายของผู้ ปฏิบัตินมาซ ถือว่าไม่อนุญาต 16. สถานทีๆ่ พักอาศัย ทีผ่ อู้ าศัยเดิมเป็นผูน้ บั ถือ ศาสนาพุทธ ในสถานที่พักอาศัย และสถานที่เราได้ส่วนใหญ่ เป็นสถานทีข่ องบุคคลทีน่ บั ถือศาสนาพุทธ ถ้านักศึกษา ได้เช่าบ้านของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ บ้านหลังที่ เช่าอยู่นั้นในบัญญัติเกี่ยวกับความสะอาดและนะญิส เป็นเช่นไร การท�ำความสะอาดโดยการล้างบ้านเป็น สิ่งจ�ำเป็นหรือไม่ และบ้านส่วนใหญ่ของภูมิภาคนี้จะ สร้างด้วยไม้ ซึ่งการล้างท�ำความสะอาดจะเป็นความ ยากล�ำบาก และถ้าเป็นโรงแรมเครื่องใช้ไม้ส้อยที่มีอยู่ ในห้องพักจะมีบทบัญญัติอย่างไรบ้าง จนกระทัง้ ท่านมีความมัน่ ใจว่าเครือ่ งใช้ไม้สอ้ ยที่ ท่านเองต้องหยิบใช้ไม่ได้ถกู กาฟิรในขณะทีร่ า่ งกายเขา เปียกชื้น ซึ่งเขาไม่ใช่อะห์ลุลกิตาบ บทบัญญัติกล่าวว่า ยังไม่เป็นนะญิส ส่วนกรณีที่มีควมมั่นใจว่าเครื่องใช้ไม้ ส้อยเปือ้ นนะญิส ก็ไม่เป็นวาญิทจี่ ะน�ำน�ำ้ มาล้างก�ำแพง ฝาผนัง หรือเครื่องใช้ไม้ส้อยของบ้านพักหรือโรงแรม การท�ำความสะอาดเครื่องใช้ไม้ส้อยที่เปื้อนนะญิส ก็ เพียงแคร่ภาชนะใส่อาหาร เครื่องดื่ม และสถานที่ที่ เกี่ยวข้องกับการอ่านนมาซเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว

17. การท�ำความสะอาดด้วยกระดาษทิชชู่ ในระหว่างการเดินทางไปยังต่างประเทศ เป็น สิ่งที่น่าเสียใจการช�ำระล้างในขณะที่ขับถ่ายอุจจาระ นั้นเป็นสิ่งที่ยากล�ำบาก และเวลาที่จะจัดหาเตรียม อุปกรณ์ในล้างช�ำระก็ไม่สะดวก จึงต้องการให้ท่านได้ ตอบค�ำถามในเรื่องนี้ว่า การแสวงหาอุปกรณ์ที่ต้อง ช�ำระความสะอาด เพื่อจะได้ปฏิบัตินมาซที่เป็นวาญิบ นั้นมีบทบัญญัติอะไรบ้าง การอ่านนมาซด้วยเงื่อนไข ที่ใช้กระดาษทิชชู่ท�ำความสะอาดเพียงอย่างเดียวมี บทบัญญัติอย่างไร การขับถ่ายปัสสาวะ สามารถท�ำความสะอาดได้ มีเพียงน�้ำอย่างเดียว เพื่อที่จะได้อ่านนมาซได้ถูกต้อง และส�ำหรับการอ่านนมาซที่นอกเหนือจากการช�ำระ ด้วยน�้ำ ถือว่าใช้ไม่ได้ และในการขับถ่ายอุจจาระ การ ชะร�ำด้วยกระดาษทิชชู่ ถือว่าไม่เป็นไร และการอ่าน นมาซเช่นกันถือว่าถูกต้อง 18. อุปกรณ์การแพทย์ , น�้ำหอม และโคโลญที่ ผลิตจากประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่ประเทศอิสลาม ครีม สบู่ น�้ำหอมและที่ผลิตในประเทศที่ไม่ใช่ ประเทศอิสลาม สะอาดหรือเป็นนะญิส ถ้าไม่ได้พรรณาว่ามีสิ่งอื่นที่เป็นนะญิสผสมอยู่ หรือจับต้องโดยส่วนต่างๆจากร่างกายของกาฟิรทีไ่ ม่ใช่ พวกอะห์ลุลกิตาบ ถือว่าสะอาด 19. โคโลญ์ชนิดต่างๆ ทีไม่แน่ใจว่าผลิตจาก แอลกอฮอล์ โคโลญ์ชนิดต่างๆ ของผู้หญิง และผู้ชายที่ไม่ ทราบว่ามีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือไม่ สามารถที่ จะใช้ได้หรือไม่ ดังค�ำถามนั้น การใช้ถือว่าไม่เป็นไร 20. แอลกอฮอล์ อุ ต สาหกรรมน� ำ มาผสมใน โคโลญ์ การน�ำแอลกอฮอล์อสุ าหกรรมมาผสมในโคโลญ์ และน�ำ้ หอมชนิดต่างๆ และบางครัง้ ก็ผสมในสีตา่ งๆ ดัง นัน้ การใช้แชมพูสระผม ทีบ่ างชนิดระบุวา่ มีแอบกอฮอล์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 37


ผสมอยู่ จะเป็นนะญิสหรือไม่ ถ้ า แอลกอฮอล์ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ช นิ ด ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความ มึนเมา ถือว่าสะอาด ถึงแม้ว่าจะเกิดข้อสงสัยก็ตาม บัญญัติก็ถือว่าสะอาดเช่นกัน 21. การใช้โคโลญ์ โดโลญ์ทผี่ สมแอลกอฮอล์ทที่ ำ� จากแอลกอฮอล์ที่ มึนเมา มีบทบัญญัติอย่างไร การใช้โคโลญ์ชนิดนั้น ถือว่าไม่เป็นไร และไม่มี ข้อแตกต่างว่าจะเป็นของในประเทศหรือต่างประเทศ ก็ตาม 22. เครื่ อ งส� ำ อางที่ ผ ลิ ต จากประเทศที่ ไ ม่ ใ ช่ อิสลาม เครื่องส�ำอางบางชนิดท�ำมาจากบางส่วนของ สัตว์ บทบัญญัตใิ นใช้เครือ่ งส�ำอางดังกล่าวทีไ่ ม่ได้ผลิต จากประเทศอิสลาม จะเป็นเช่นไร ไม่สามารถจะพิสจู น์ได้วา่ เป็นนะญิส บทบัญญัติ นั้นถือว่าสะอาด 23. พู่กันที่ท�ำจากขนของสุกร การเขียนภาพที่จะต้องใช้พู่กัน แต่พู่กันชนิดที่ดี ทีส่ ดุ คือพูก่ นั ทีท่ ำ� มาจากขนของสุกร และน�ำเข้ามาจาก ประเทศทีไ่ ม่ใช่ประเทศอิสาม ทีน่ ำ� มาใช้ในงานเผยแพร่ วัฒนธรรม การใช้พู่กันชนิดนี้จะมีบทบัญญัติอย่างไร ขนสุกรเป็นนะญิส และการใช้ขนสุกรด้วยเงือ่ นไข ถือว่าที่จให้สะอาดนั้น ไม่เป็นการอนุญาต แต่การใช้ พู่กัน ที่ ท�ำจากขนสุ กรนั้นก็ไ ม่ถือว่าจะเป็นชิ้นงานที่ สะอาด แต่การใช้ก็ถือว่าไม่เป็นไร ถ้าไม่รู้ว่าพู่กันที่ใช้ ถูกท�ำจากขนของสุกร หรือไม่ แม้กระทั้งผลงานที่ออก มาก็ถือว่าสะอาดเช่นกัน 24. เนื้อที่น�ำเข้ามาจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศ อิสลาม การรั บ ประทานเนื้ อ ที่ น� ำ เข้ า มาจากประเทศ ที่ ไ ม่ ใ ช่ ป ระเทศอิ ส ลามถื อ ว่ า ฮะลาลหรื อ ไม่ และ บทบัญญัติในเรื่องของความสะอาดและนะญิสเกี่ยว กับเรื่องนี้คือะไร

38 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

จนกว่ า ชั ร อี ย ์ เ กี่ ย วกั บ การพิ จ ารณายั ง ไม่ ถู ก ยอมรับ การรับประทานเนื้อชนิดนั้นถือว่าฮะราม แต่ ในทัศนะของความสะอาด ถ้ามีความมัน่ ใจว่าได้รบั การ พิจารณาแล้ว ถือว่าสะอาด 25. อุจจาระของบรรดานกที่เนื้อเป็นฮะราม อุจจาระของบรรดานกทีเ่ นือ้ เป็นฮะราม เช่น อีกา , นกอินทรีย์ และนกแก้ว เป็นนะญิสหรือไม่ อุจจาระของบรรดานกที่เนื้อเป็นฮะรามนั้นไม่ เป็นนะญิส 26. หนังงู หนังงูเป็นนะญิสหรือไม่ สะอาด 27. นะญิสของเดรื่องดื่มแอลกอฮอล์ • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นนะญิสหรือไม่ เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ทที่ ำ� ให้มนึ เมา ข้อควรระวัง เป็นนะญิส 28. อาหารที่สงสัยว่าสะอาด บุคคลซึ่ง ไม่ท ราบว่ าอยู่ใ นศาสนาอะไร และ เขาได้เดินทางมาจากประเทศอื่นมาท�ำการค้าขายอยู่ ในประเทศอิสลาม โดยได้เปิดร้านขายวัสดุเครื่องปรุง แต่งอาหาร ซึ่งในขณะที่เขาได้ขายวัสดุเครื่องปรุงแต่ง อาหารมือหรือร่างกายที่ชื้นของเขาได้ไปสัมผัสกับวัสดุ เครื่องปรุงแต่งอาหาร ตรงนี้เป็นสิ่งจ�ำเป็นหรือไม่ที่จะ ต้องถามเขาเกี่ยวกับเรื่องศาสนาของเขา หรือเครื่อง ปรุงแต่งอาหารสะอาดอยูแ่ ล้ว ก็ถอื ว่าผ่านมือของผูข้ าย ก็สะอาดตาม ไม่เป็นวาญิบที่จะต้องถามเขาว่าอยู่ในศาสนา ใด และสิ่งของที่สะอาดอยู่ได้ผ่านมือ หรือเรือนร่างของ เขาในขณะที่มีความชื้น สิ่งของเหล่านั้นก็ยังคงสะอาด เหมือนเดิม 29. ความเป็นไปได้ในการสัมผัสกับกาฟิรด้วย ทางเครื่องปรุงอาหาร การด�ำเนินชีวิตของนัศึกษาในต่างประเทศที่จะ ต้องอยู่ร่วมสังคม และสมาคมกับบรรดากาฟิร ดังนั้น


การใช้เครื่องปรุงแต่งอาหารที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า จะต้องไม่เป็นฮะราม เช่นเนื้อที่ไม่ได้รับการพิจารณา แต่ความเป็นไปได้ว่าความชื้นบนร่างกายของกาฟิรได้ มาสัมผัสกับเครื่องปรุงแต่งอาหารนั้น จะมีบทบัญญัติ อย่างไรบ้าง ล�ำพังความเป็นไปได้ทคี่ วามชืน้ บนมือของกาฟิร ที่ได้มาสัมผัสกับเครื่องปรุงแต่งอาหารนั้น เพียงข้อ บังคับที่ให้หลีกเลี่ยงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่ทว่า มีความมั่นใจว่ามือของกาฟิรที่มาสัมผัสนั้นจริงหรือไม่ บทบัญญัตถิ อื ว่าเครือ่ งปรุงแต่งอาหารนัน้ ยังสะอาดอยู่ แต่ถา้ กาฟิรบุคคลนัน้ เป็นอะห์ลลกิตาบซึง่ ลักษณะของ เขานัน้ ไม่ใช่นะญิส และการสัมผัสมือของเขาทีเ่ ปียกชืน้ ก็ถือว่าไม่เป็นนะญิส 30. เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ท�ำจากขนนก เสื้อผ้าที่ด้านในของมันตัดเย็บด้วยขนนก และ ผลิ ต มาจากประเทศที่ ไ ม่ ใ ช่ ป ระเทศอิ ส ลาม จะมี บทบัญญัติใดบ้าง ขนนกทุกชนิดถือว่าสะอาด แต่ในกรณีที่ขนนก ของนกที่เนื้อเป็นฮะราม และน�ำมาเป็นอาภรณ์เครื่อง แต่งกายในนมาซ ก็จะท�ำให้นมาซนั้นเป็นโมฆะ 31. เสื้อผ้าที่ซักโดยบุคคลที่ไม่ใช่มุสลิม และน�ำ ไปตากด้วยแสงดวงอาทิตย์จนแห้ง เสื้ อ ผ้ า ที่ ถู ก ซั ก โดยบุ ค คลที่ ไ ม่ ใ ชเป็ น มุ ส ลิ ม

และน�ำไปตากกับแสงของดวง อาทิตย์ ถือว่าสะอาดหรือไม่ ถ้ า บุ ค ลที่ ซั ก ท� ำ ความ สะอาดเสื้ อ ผ้ า เป็ น กาฟิ ร พวก อะห์ลุลกิตาบ ถือว่าสะอาด แต่ ถ้ า เป็ น กาฟิ ร ที่ ไม่ ใ ช่ พวกอะห์ ลุ ล กิ ต าบ ซึ่ ง ในขณะที่ ที่ เ ขา ซักหรือท�ำความสะอาดเสื้อผ้า มื อ เขามี ค วามเปี ย กชื่ น อยู ่ ถื อ ว่ า เป็ น นะญิ ส ซึ่ ง แสงของ ดวงอาทิตย์ก็ไม่สามารถท�ำให้

เสื้อผ้าสะอาดได้ 32. การรีดผ้าโดยผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม การรีดผ้าโดยผู้ที่เป็นมุสลิม ซึ่งเขาได้น�ำเสื้อผ้า ของมุสลิม และบุคคลทีไ่ ม่ใช่มสุ ลิมมารีดรวมกัน ดังนัน้ เสื้อที่รีดรวมกันจะไม่เป็นนะญิสหรือ ถ้าเดิมเสือ้ ผ้าไม่ได้เปือนนะญิส บทบัญญัตถิ อื ว่า สะอาด 33. การซักรีดอาภรณ์เสือ้ ผ้าของพวกยะฮูดี และ พวกคริสเตียน การน�ำเสื้อผ้าไปให้ร้านซักรีดนั้น มีบทบัญญัติ เกีย่ วกับเรือ่ งความสะอาดอย่างไรบ้าง จ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง กล่าวอธิบายเพิม่ เติมดังนี้ คือเสือ้ ผ้าของพวกยะฮูดี หรือ คริสเตียนจ�ำนวนน้อยที่ส่งมายังร้านซักรีด เพื่อซัก และ รีดให้เรียบ และเราเองก็ทราบดีวา่ ทางร้านซักรีดนีเ้ ขาได้ ใช้น�้ำยาในขณะที่ซักรีดด้วย ถ้าได้สง่ เสือ้ ผ้าไปยังร้านซักรีด ซึง่ ก่อนหน้าไม่ได้ เปือนนะญิส ถือว่าเสื้อนั้นสะอาด แต่การได้น�ำเสื้อผ้า ซักรวมกับเสื้อผ้าของอะห์ลุลกิตาบ ที่ส่งมาซักรีดมี จ�ำนวนน้อยกว่า ก็ถือว่าเสื้อผ้านั้นไม่เป็นนะญิส 34. การใช้ผา้ เช็ดตัว และแก้วน�ำ้ ในโรงแรมต่างๆ ของต่างประเทศ สามารถที่จะใช้เครื่องใช้ไม้สร้อยของกาฟิร ดัง เช่นผ้าเช็ดตัว หรือแก้วน้ได้หรือไม่ และเช่นกันผ้าเช็ดตัว

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 39


สุนัข

ในโรงแรมต่างประเทศที่ถูกใช้แล้ว จะมีบทบัญญัติ อย่างไร การพิสูจน์ในเรื่องความสะอาดเป็นสิ่งจ�ำเป็น หรือไม่ ถ้าเป็นอะห์ลุลกิตาบ ถือว่าไม่เป็นไร แต่ภ้าไม่ใช่ ก็ขึ้นว่าถ้ามีมั่นใจว่าเครื่องใช้ใสร้อยโดยมือ หรือส่วน ของร่างกายกาฟิรที่ไม่มีความชื้น ถือว่าไม่เป็นไร และ การตรวจสอบนั้น ถือว่าไม่จ�ำเป็น 35. การใช้สิ่งอ�ำนวยความสะดวกของโรงแรม ต่างๆ ในประเทศที่ใม่ใช่มุสลิม การจั บ แตะต้ อ งสิ่ ง ที่ อ� ำ นวยความสะดวกใน โรงแรมต่างของประเทศทีไ่ ม่ใช่ประเทศอิสลาม (ประเท ศกาฟิร หรือประเทศอะห์ลุลกิตาบ) สิ่งอ�ำนวยความสะดวก เช่น ผ้าปูที่นอน เครื่อง ท�ำความสะอาด ....จะเป็นเช่นไร สิง่ อ�ำนวยความสะดวกทีจ่ ะต้องจับต้อง จะมีกฎ เกณฑ์อย่างไร ทั้งสองกรณี ถือว่าสะอาด 36. การท�ำความสะอาดภาชนะที่ถูกสุนัขเลีย โดยทั่วไปในต่างประเทศ บางคนจะน�ำสุนัขเข้า มาในโรงแรมทีพ่ กั และอาจเป็นไปได้วา่ ภาชนะทีใ่ ช้อาจ จะถูกสุนัขเลีย หรือน�ำภาชนะใส่อาหารให้สุนัขกิน ดัง นั้นการท�ำความสะอาด เพียงใช้น�้ำล้างภาชนะที่เปือน นะญิสนั้น ถือว่าสะอาดหรือไม่ ดังค�ำถาม ที่ได้กล่าวอธิบายมานั้น ถือว่าเป็น นะญิสไม่สะอาด หรือถ้าไม่ใช่ดงั ทีก่ ล่าวมาถือว่าสะอาด 37. การท�ำความสะอาดเสื้อผ้าที่ถูกน�้ำลายขอบ

40 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ถ้าเสือ้ ผ้าของข้าพเจ้าถูกน�ำ้ ลายสุนขั ข้าพเจ้าจะ ท�ำความสะอาดอย่างไร การท�ำความสะอาดเหมือนกับ ภาชนะที่ถูกน�้ำลายสุนัขหรือไม่ การท�ำความสะอาดเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ถูกน�้ำลาย สุนัขแตกต่างกันกับการท�ำความสะอาดภาชนะที่ถูก น�้ำลายสุนัข การท�ำความสะอาดเสื้อเพียงใช้น�้ำฉีดให้ นะญิสนั้นหใดไปจากเสื้อผ้า เป็นการเพียงพอ 38. ความคิดที่ถูกครอบง�ำ ข้าพเจ้าเป็นเด็กหนุ่มอายุประมาณ 32 ปี น่า เสี ย ใจเป็ น อย่ า งยิ่ ง หลายปี ที่ ผ ่ า นมาความคิ ด ของ ข้าพเจ้าถูกครอบง�ำในเรื่องความสะอาด และสิ่งที่เป็น นะญิสของอาภรณ์เสื้อผ้า ที่พักอาศัย และ....หลายต่อ หลายครั้งข้าพเจ้าได้ไปพบแพทย์ แต่ก็ไม่เป็นผล ขอ ให้ ฯพณฯ ช่วยกรุณาชี้แนะข้าพเจ้าด้วยว่าจะต้องท�ำ อย่างไร ในทัศนะของอิสลาม เรือ่ งของความสะอาด และ นะญิสบนสิ่งที่เดิมสะอาดอยู่แล้ว ถือว่าสิ่งนั้นสะอาด หมายถึงสิ่งใดๆก็ตามที่อาจจะมีนะญิสเพียงเล็กน้อย อยู่ในสิ่งนั้น บทบัญญัติถือว่ามันสะอาด บุคคลใดทีค่ ดิ วิตกอย่างมาในเรือ่ งของนะญิส ถ้า บางครั้งมีความมั่นจว่าสิ่งใดๆ ไม่ใช่นะญิส มันก็ไม่ใช่ นะญิส เว้นเสียแต่จะพบนะญิสนั้นด้วยสายของตนเอง ก็ถือว่าสิ่งนั้นเป็นนะญิส ดังนั้นการที่ปล่อยให้ความ คิดถูกครอบง�ำ และสงสัยอยู่ร�่ำไป เป็นงานของซาตาน ควรจะหลีกเลี่ยงข้อสงสัยอย่างมากมาย จนเป็นเหตุให้ ความคิดนั้นถูกครอบง�ำ


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคมุฮัมมัด ชะรีฟ เกตุสมบูรณ์

ค�ำอรรถาธิบาย อัลกุรอาน

บทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 106 และ 107 َ َّ‫ه‬ )106( ‫ير‬ ْ َ ‫َما ن‬ ٌ ِ‫شىء قَد‬ َ ِّ‫نسخ م ِْن َءايَة أ َ ْو نُنسِ َها ن َ ْأتِ ب َخير م‬ ْ ‫نها أ َ ْو ِم ْثل َِها أ َ ل َ ْم ت َ ْعلَ ْم أ َ َّن الل َعلى ك ِّل‬ َّ‫ه‬ َّ‫أ َ لَم تَعلَم أ َ َّن ه‬ )107( ‫لى َو ال ن َصِ ير‬ ِ ‫الل َ ل َ ُه ُم ْلك الس َم َوتِ َو األَ ْر‬ ْ ْ ْ ّ ‫ض َو َما لَكم مِّن ُدونِ الل ِ مِن َو‬ ความหมาย

106.ไม่มีบัญญัติใดที่ยกเลิก หรือถูกท�ำให้ลืมเลือน (ล่าช้าในการยกเลิก) เราจะน�ำมาที่ดีกว่านั้น หรือเยี่ยง นั้น สูเจ้าไม่รู้หรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์ อานุภาพ เหนือทุกสิ่ง 107. เจ้าไม่รู้หรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงมีอ�ำนาจ (ปกครอง) แห่งชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน (ทรงสิทธิ์ใน การเปลี่ยนแปลงบัญญัติตามประสงค์) นอกจากอัลลอฮแล้ว ไม่มีผู้คุ้มครอง และผู้ช่วยเหลืออื่นใดส�ำหรับสูเจ้า (พระองค์ทรงรอบรู้ความเหมาะสมของสูเจ้าและทรงก�ำหนด)

ค�ำอธิบาย

จุดประสงค์ของการยกเลิก (นัซคฺ) โองการกล่าวถึงการเผยแผ่ในหนทางเสื่อมเสียของพวกยะฮูดีย์ ที่ต่อต้านมุสลิม บางครั้งพวกเขากล่าวแก่ มุสลิมว่า ศาสนา คือศาสนาของยะฮูดีย์ กิบละฮ์ คือกิบละฮ์ของยะฮูดีย์ ด้วยเหตุนี้ ขณะนมาซ ศาสดาของพวก ท่านหันหน้ามาทางกิบละฮ์ของเรา (บัยตุลมุก็อดดิซ) แต่เมื่อบัญญัติเกี่ยวกับกิบละฮ์เปลี่ยนแปลง ตามโองการที่ 144 บทเดียวกันนี้ บรรดามุสลิมจึงหันหน้ามาสูก่ ะอ์บะฮ์ (บัยตุลลอฮ์) นับเป็นโอกาสทองทีม่ สุ ลิมได้หยิบฉวยจาก MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 41


พวกยะฮูดยี ์ แต่พวกเขาก็หาข้อท้วงติงใหม่ ๆ ขึน้ มา โดย กล่าวว่า ถ้าหากกิบละฮ์แห่งแรกถูกต้อง กิบละฮ์แห่งที่ สองจะมีความหมายอะไร ถ้าบัญญัติที่สองถูกต้อง สิ่ง ทีเ่ ราและบรรพชนของท่านกระท�ำผ่านมาในอดีต ถือว่า โมฆะ (บาฏิล) อัลกุรอานจึงประทานลงมาเพื่อตอบข้อ ท้วงติงของพวกเขา และสร้างความชัดเจนแก่บรรดาผู้ ศรัทธาทั้งหลายว่า เจ้าไม่รู้หรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์ ทรง มีอ�ำนาจ (ปกครอง) แห่งชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน (ทรงสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงบัญญัติตามประสงค์) นอกจากอัลลอฮแล้ว ไม่มีผู้คุ้มครอง และผู้ช่วยเหลือ อื่นใดส�ำหรับสูเจ้า (พระองค์ทรงรอบรู้ความเหมาะสม ของสูเจ้าและทรงก�ำหนด) หากพิจารณา จะพบว่าประโยคแรกของโองการ นี้บ่งชี้ถึง การมีอ�ำนาจของพระเจ้าเกี่ยวกับบทบัญญัติ และทรงอานุ ภ าพเหนื อ การจ� ำ แนกความเหมาะสม ของปวงบ่าวทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ บรรดามุสลิมต้องไม่ ใส่ใจต่อค�ำพูด และข้อท้วงติงของพวกยะฮูดีย์ เกี่ยวกับ ปัญหาการยกเลิกบทบัญญัติ ประโยคที่สอง ย�้ำเตือนว่า มุสลิมต้องไม่พึ่งพา อ�ำนาจอื่นใดนอกจากอ�ำนาจของพระเจ้า เนื่องจาก อ�ำนาจทัง้ หลายบนโลกนีล้ ว้ นพึง่ พิงอ�ำนาจของพระองค์

ประเด็นส�ำคัญ

1. การยกเลิกบทบัญญัติอนุญาตหรือไม่ ค�ำว่า นัซคฺ ในเชิงภาษาหมายถึง การท�ำลาย หรือการท�ำให้สญ ู สิน้ ส่วนในเชิงของชัรอียห์ มายถึง การ เปลี่ยนแปลงกฎบัญญัติ การแทนที่ หรือการตั้งกฎใหม่ แทนกฎเก่า เช่น มุสลิมหลังจากอพยพไปยังมะดีนะฮ์ นมาซหัน หน้าไปทางบัยตุลมุก็อดดิซอยู่นานประมาณ 16 เดือน หลังจากนัน้ มีคำ� สัง่ ให้เปลีย่ นกิบละฮ์ มุสลิมทัง้ หมดจึง หันหน้าไปทางกะอ์บะฮ์ อัลกุรอาน บทนิซาอ์ โองการที่ 15 ก�ำหนดการ ลงโทษหญิงผิดประเวณี (ซินา) ว่า และผู้หญิงที่ท�ำสิ่ง ลามก จากในหมู่หญิงของสูเจ้า ดังนั้น จงให้มีพยานสี่

42 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

คนจากในสูเจ้ายืนยันต่อนาง ถ้าพวกเขายืนยัน ดังนั้น จงกักขังนางไว้ในบ้าน จนกระทั่งความตายปลิดชีวิต พวกนาง หรืออัลลอฮ์ทรงเปิดหนทางอืน่ ส�ำหรับพวกนาง บทบัญญัติของโองการข้างต้น ถูกยกเลิกโดย โองการที่ 2 ของซูเราะฮ์นูร ซึ่งโองการนี้เปลี่ยนการ ลงโทษผูท้ ผี่ ดิ ประเวณีเป็นการเฆีย่ นตี กล่าวว่า พวกเจ้า จงโบยแต่ละคนในสองคนนัน้ คนละหนึง่ ร้อยที และอย่า ให้ความสงสารยับยั้งการกระท�ำของพวกเจ้า ตรงนี้มีข้อท้วงติงที่ได้ยินกันเป็นประจ�ำว่า ถ้า บทบัญญัตแิ รกดีและมีความเหมาะสม ท�ำไรต้องยกเลิก ถ้าไม่มีเพราะเหตุใดจึงเริ่มวางบทบัญญัตินี้ตั้งแต่แรก หรืออีกนัยหนึ่ง จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าตั้งแต่เริ่มประกาศ บทบัญญัตไิ ด้ขยายเติบโต และไม่ตอ้ งการเปลีย่ นแปลง หรือยกเลิก เป็นที่แน่นอนว่า ความต้องการของมนุษย์บาง ครั้งต้องพังพินาศลง เนื่องจากกาลเวลา และเงื่อนไข สังคมผันแปรเปลี่ยนไป บางครั้งก็มั่นคงอยู่กับที่ วัน หนึ่งโครงการของตนอาจเป็นหลักประกันความสุข แต่ อีกวันหนึ่งเนื่องจากเงื่อนไขเปลี่ยนไปโครงการนั้นกลับ กลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นวิถีชีวิตก็ได้


วั น นี้ ย าบ� ำ บั ด เพื่ อ รั ก ษาอาการป่ ว ยไข้ เ ป็ น ประโยชน์อย่างยิ่ง แพทย์ส่วนใหญ่สั่งให้ใช้ยานั้น แต่ ต่อมาเนือ่ งจากอาการไข้เลวร้ายขึน้ ยาทีเ่ คยมีประโยชน์ อาจให้โทษก็ได้ แพทย์จึงสั่งระงับการใช้ยาประเภทนั้น และผลิตยาตัวใหม่ขึ้นมาแทนที่ ประเด็นดังกล่าวนี้ ถ้าหากพิจารณาถึงกฎเกณฑ์ ความสมบูรณ์ของมนุษย์ และสังคมจะท�ำให้ประจักษ์ ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะความสมบูรณ์ของมนุษย์บางครั้ง กิจกรรมต่างๆ ก็เป็นประโยชน์ และมนุษย์ตอ้ งการสิง่ นัน้ แต่บางครัง้ ก็ไม่มปี ระโยชน์และจ�ำเป็นต้องเปลีย่ นแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการปฏิวัติ สังคม และความ ศรัทธาจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนไป ยิ่งเวลาผ่านไปมากเท่าใด ก็ยิ่งชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น แน่นอนต้องไม่ลืมว่า หลักการและบทบัญญัติ ต่างๆ ของพระเจ้าคือพื้นฐานส�ำคัญส�ำหรับการจัดตั้ง และทั้งหมดนั้นเท่าเทียมกัน หลักความเป็นเอกะของ พระเจ้า ความยุติธรรมของสังคม และกฎเกณฑ์อื่น ๆ อีกมากมายที่คล้ายคลึงกันจะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนที่ เปลี่ยนแปลงคือประเด็นที่เล็กรองลงมา เป็ น ที่ รู ้ กั น ว่ า พวกยะฮู ดี ย ์ ป ฏิ เ สธการยกเลิ ก ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงท้วงติงบรรดามุสลิมเมื่อ

ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงกิบละฮ์ แต่ตามหลักการของ ศาสนาของพวกเขาแล้วจ�ำเป็นต้องยอมรับ แม้ว่าคัมภีร์เตารอตจะกล่าวว่า ขณะที่ศาสดา นูฮ์ (อ.) ขึ้นจากเรือ พระเจ้าทรงอนุมัติให้สัตว์ทั้งหมด ฮะลาล แต่ในหลักการของศาสนามูซากฎนี้ถูกยกเลิก ไป และสัตว์บางประเภทถูกห้ามรับประทาน 2. การอธิบายประโยคที่ว่า หลงลืมไป (นุนซิฮา) ประโยคที่กล่าวว่า นุนซิฮา ในโองการที่ก�ำลัง กล่าวถึงตามหลักภาษาอาหรับถือว่า เป็นประโยคที่ อัฏฟ์ (ต่อเชื่อมและสามารถแทนทีประโยคแรกได้) บน ประโยค มานันซัค มาจากรากศัพท์ค�ำว่า อันซาอุน (‫ ) انساء‬หมายถึง การลืม การปล่อยให้ล่าช้า การตัด หรือการขจัดให้ออกไปจากสมอง อาจมีคำ� ถามว่าความเข้าใจของประโยคดังกล่าว โดยพิจารณาที่ประโยค มานันซัค คืออะไร จุดประสงค์ของโองการ ณ ที่นี้ต้องการกล่าวว่า ถ้าหากเราต้องการยกเลิกโองการ หรือยกเลิกตามความ เหมาะสมแต่ล่าช้า ซึ่งทั้งสองกรณีเราจะน�ำสิ่งที่ดีกว่า หรือเยีย่ งนัน้ มาแทนที่ ด้วยเหตุนี้ ประโยคทีก่ ล่าวว่า เรา จะยกเลิก บ่งชี้ไปที่การยกเลิกในระยะสั้น ส่วนประโยค ที่กล่าวว่า นุนซิฮา บ่งชี้ถึงการยกเลิกในระยะยาว

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 43


3. ค�ำอธิบายประโยคที่กล่าวว่า หรือเยี่ยงนั้น จุดประสงค์ของค�ำว่า เยี่ยงนั้นหมายถึงอะไร ถ้า สมมุตวิ า่ กฎนัน้ เหมือนกับกฎทีผ่ า่ นมา การเปลีย่ นแปลง ถือเป็นสิ่งไร้สาระ เนื่องจากการยกเลิกกฎหนึ่งและน�ำ กฎที่คล้ายคลึงกันเยี่ยงนั้นมาแทนที่ โดยปกติสิ่งที่มา ยกเลิก หรือสิ่งที่มาแทนที่ต้องดีกว่าสิ่งที่ถูกยกเลิก เพื่อ ว่าการยกเลิกจะได้เป็นที่ยอมรับ จุดประสงค์ของ ค�ำว่า เยี่ยงนั้น หมายถึง การน�ำ กฎหรือบัญญัติที่ภายหลังจากนั้นผลของมันคล้ายหรือ เหมือนกับกฎก่อนหน้านีใ้ นอดีต อีกนัยหนึง่ อาจเป็นไป ได้ว่า กฎเกณฑ์ในวันนี้ มีประโยชน์และเป็นผลอย่าง ยิ่ง แต่วันพรุ่งนี้ประโยชน์เหล่านี้จะหมดไป ในกรณีนี้ กฎเกณฑ์ดังกล่าวจ�ำเป็นต้องยกเลิก และน�ำกฎใหม่ มาแทนที่ถึงแม้ว่ากฎใหม่จะไม่ดีไปกว่ากฎเก่าก็ตาม แต่อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีผลเหมือนกับกฎเก่าในอดีต ที่ผ่านมา แต่เป็นกฎใหม่ในสมัยนี้ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่า ไม่มีข้อท้วงติงหลงเหลืออีกต่อไป

โองการที่ 108 ‫ون أَن تَسئَلُوا َرسولَك ُْم َك َما سئ َل‬ َ ‫ِيد‬ ُ ‫أ َ ْم تُر‬ ‫ُموسى مِن قَ ْب ُل َو َمن يَتَ َب َّد ِل ا ْلكفْ َر بِاالي َم ِن‬ )108( ‫يل‬ ِ ِ‫فَق َْد ض َّل س َوا َء السب‬

44 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ความหมาย

108. หรือสูเจ้าจะขอร้องศาสดาของสูเจ้า ดั่งที่ มูซาเคยถูกขอร้องมาก่อนแล้ว และผู้ใดเปลี่ยนเอาการ ปฏิเสธแลกกับการศรัทธา แน่นอนเขาได้หลงทางไปจาก แนวทางเที่ยงตรง

สาเหตุแห่งการประทานลงมา

อิบนิอับบาซ กล่าวว่า วะฮับ บุตรของซัยดฺ และ รอฟิอ์ บุตรของฮุรมะละฮ์ ได้มาหาท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และกล่าวว่า ท่านให้พระเจ้าส่งจดหมายมายังทีอ่ ยูข่ อง พวกเราซิ เพื่อว่าพวกเราจะได้อ่าน และศรัทธาต่อท่าน หรือไม่ก็ให้มีล�ำธารน�้ำไหลส�ำหรับพวกเรา เพื่อว่าพวก เราจะได้ปฏิบัติตามท่าน อีกกลุ่มได้ขอร้องท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่า ให้อัลลอฮ์ ปรากฏองค์ให้พวกเขาเห็น เพื่อ พวกเขาจะได้มองดูพระองค์ และศรัทธาต่อท่าน และ บางคนขอร้องท่านศาสดาให้ประดิษฐ์เทวรูปจากต้นไม้ ที่เฉพาะเจาะจงชื่อว่า ซาตุน อันวาฏ เพื่อจะได้เคารพ สักการะ ซึ่งการขอร้องของพวกเขาเหมือนดั่งเช่นที่ ประชาชาติของมูซาได้ขอร้องมูซามาก่อนหน้านั้นแล้ว

ค�ำอธิบาย

ค�ำขอร้องที่ไม่แก่นสาร แม้ว่าโองการข้างต้นจะไม่ได้กล่าวถึงพวกยะฮู


ดีย์ แต่กล่าวถึงมุสลิมกลุ่มหนึ่ง ที่มีศรัทธาอ่อนแอ หรือ พวกตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้าก็ตาม แต่ท่านจะพบว่า ความหมายมิได้ตดั ขาดจากพวกยะฮูดยี แ์ ม้แต่นดิ เดียว บางทีหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงกิบละฮ์ แล้ว อาจเป็นเพราะผลของการการะซิบกระซาบจาก พวกยะฮูดยี ์ ทีม่ ตี อ่ มุสลิมและพวกตัง้ ภาคีทงั้ หลาย พวก เขาจึงได้ขอร้องท่านศาสดาด้วยความโง่เขลา ซึ่งการกระท�ำของพวกเขาเป็นการและเปลี่ยน ความศรัทากับการปฏิเสธ และสุดท้ายของโองการกล่าว ว่า และผู้ใดเปลี่ยนเอาการปฏิเสธแลกกับการศรัทธา แน่นอนเขาได้หลงทางไปจากแนวทางเที่ยงตรง อั ล กุ ร อานต้ อ งการเตื อ นสติ บ รรดามุ ส ลิ ม ทั้ ง หลายว่า ถ้าหากพวกท่านติดตามแนวทางการข้อร้องที่ ไร้แก่นสารเยีย่ งนัน้ ภัยพิบดั ก็จะเกิดกับพวกเจ้า เหมือน ดั่งที่เกิดกับประชาชาติของมูซามาแล้ว แต่ ต ้ อ งไม่ สั บ สนว่ า อิ ส ลามมิ เ คยสั่ ง ห้ า มการ ถามเรื่องวิชาการ หรือการเรียกร้องเรื่องมหัศจรรย์จาก บรรดาศาสดา เพื่อโน้มน�ำไปสู่สัจธรรมความจริง และ ค�ำเชิญชวนของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เนื่องจากวิถีทาง แห่งความเข้าใจ และศรัทธาเกิดจากขั้นตอนดังกล่าว แต่คำ� ขอร้องของพวกคนโง่เขลา และบรรดาพวก ตัง้ ภาคีทงั้ หลายมิได้บง่ บอกถึงเรือ่ งความยากรูย้ ากเห็น หรือความฉลาดของพวกเขาแม้แต่นดิ เดียว ดังนัน้ อัลกุ รอานจึงแนะน�ำบรรดามุสลิมทัง้ หลายว่า พวกท่านต้อง ไม่ใส่ใจต่อข้ออ้าง ค�ำท้วงติง และความอิจฉาริษยาของ พวกยะฮูดีย์ แต่พวกท่านจงปฏิบัติหน้าที่ต่อพระเจ้าให้ ดีที่สุด

โองการที่ 109 และ110 ‫ِير مِّ ْن أ َ ْه ِل ا ْل ِكتَ ِب ل َ ْو ي َ ُر ُّدونَكُم مِّن بَ ْعدِ إِي َمنِك ُْم‬ ٌ ‫َو َّد كث‬ ‫ُكفَّارا ً َحسدا ً مِّ ْن عِندِ أَنفُسِ ِهم مِّن بَ ْعدِ َما ت َ َبي َن ل َ ُه ُم‬ َّ‫ا ْلح ُّق فَاعفُوا و اص َفحوا حتى ي ْأتى ه‬ ‫اللُ بِأَ ْم ِر ِه إ ِ َّن‬ ْ َ َ َ َ َ ُ َّ‫ه‬ َ ‫) َو أَقِي ُموا الصلَو َة َو‬109( ‫ير‬ ٌ ِ‫شىء قَد‬ ْ ‫الل َعلى ك ِّل‬ ‫َءاتُوا ال َّزكَو َة َو َما تُ َق ِّد ُموا ألَنفُسِ كم مِّ ْن َخير ت ِج ُدو ُه‬

َّ‫الل ِ إ ِ َّن ه‬ َّ‫ِند ه‬ )110( ‫ير‬ َ ُ‫الل َ بِ َما ت َ ْع َمل‬ َ ‫ع‬ ٌ ِ‫ون بَص‬ ความหมาย

109. ส่วนมากจากหมูช่ าวคัมภีร์ เนือ่ งจากความ อิจฉาริษยาจากตัวพวกเขาเอง ใคร่ที่จะให้สูเจ้ากลับ ใจเป็นผู้ปฏิเสธหลังจากการศรัทธาของสูเจ้า หลังจาก สัจธรรมได้ประจักษ์แก่พวกเขาแล้ว ดังนัน้ จงอภัยและ จงยกโทษพวกเขา จนกว่าอัลลอฮ์ จะประทานบัญชา (การสงคราม) ของพระองค์ลงมา แท้จริงอัลลอฮ์ ทรง อานุภาพเหนือทุกสิ่ง 110. จงด�ำรงนมาซ และจงบริจาคซะกาต (ทาน บังคับ) และจงประกอบความดีงามได้ไว้ล่วงหน้าเพื่อ ตัวสูเจ้า และสูเจ้าจะพบมัน ที่อัลลอฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงเห็นสิ่งที่สูเจ้าปฏิบัติ

ค�ำอธิบาย

ความริษยาที่น่ารังเกียจ อัลกุรอานโองการนี้ได้สั่งบรรดามุสลิมว่า เมือ ต้องเผชิญหน้ากับพวกที่ริษยา หรือพวกที่พยายาม ท�ำให้พวกเจ้าหลงทาง จงอภัยแก่พวกเขา และจงยก โทษให้พวกเขา จนกว่าพระเจ้าจะมีบัญชามายังพวก เจ้า ถ้าหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะเห็นว่าค�ำสั่งดัง กล่าวต้องการเน้นย�้ำแก่บรรดามุสลิมทั้งหลายว่า เมื่อ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ การโฆษณาชวนเชื่ อ และการบี บ คั้ น ของบรรดาศัตรู บนเงื่อนไขเช่นนั้นสูเจ้าจงให้อภัยเป็น อาวุธ และจงสร้างตนเองและสังคมอิสลาม พร้อมกับ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 45


รอบัญชาจากพระเจ้า จุดประสงค์ของบัญชา ในโองการดังกล่าวคือ การญิฮาด หรือสงครามศาสนา ซึ่งจนถึงบัดนั้นยัง มิได้ถูกประทานลงมา บางที่อาจเป็นเพราะว่าขณะนั้น มุสลิมยังไม่มคี วามพร้อมในทุกๆ ด้านกับค�ำสัง่ ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ส่วนมากจึงเชื่อว่าบัญญัติของโองการนี้ถูก ยกเลิกโดยโองการญิฮาด ซึ่งจะกล่าวอธิบายต่อไป โองการถัดมา กล่าวถึง 2 ค�ำบัญชาแห่งการ สร้ า งสรรค์ ที่ ถู ก ประทานลงมาแก่ บ รรดาผู ้ ศ รั ท ธา ประการแรก เกี่ยวกับนมาซ ซึ่งถือว่าเป็นการเชื่อม สายสัมพันธ์ที่มั่นคงระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอีก ประการหนึง่ เกีย่ วกับซะกาต (ทานบังคับ) ซึง่ ถือว่าเป็น รหัสแห่งการประสานสังคมให้มคี วามเป็นหนึง่ เดียวกัน และทั้งสองค�ำบัญชาถือว่าจ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อชัยชนะที่ มีเหนือศัตรู อัลกุรอาน กล่าวว่า จงด�ำรงนมาซ และจง บริจาคซะกาต (ทานบังคับ) และจงพัฒนาร่างกายและ จิตวิญญาณให้มีความแข็งแรงด้วยสื่อทั้งสอง หลังจากนั้นเสริมว่า สูเจ้าจงอย่าคิดว่าความ ดีงามต่ า งๆ ที่ กระท�ำ ไว้ หรือทรัพ ย์สินที่บ ริจ าคบน หนทางของพระเจ้าจะสูญเปล่า มิได้เป็นเช่นนั้น สิ่งที่ เป็นคุณงามความดีทั้งหลายที่สูเจ้ากระท�ำ และส่งไปล่ วงหน้า สูเจ้าจะได้พบความดีเหล่านั้น ณ อัลลอฮ์ และ พระองค์เท่านั้นที่ทรงรอบรู้ และทรงมองเห็นสิ่งที่สูเจ้า กระท�ำ และทรงรู้ดีว่าการงานใดบ้างที่สูเจ้ากระท�ำเพื่อ พระองค์ หรือเพื่อสิ่งอื่น

ประเด็นส�ำคัญ

1. ประโยคที่กล่าวว่า วัซฟะฮู (‫ ) َو اص َف ُحوا‬มา จากรากศัพท์ของค�ำว่า เซาะฟะฮะ หมายถึง เชิงเขา หรือส่วนแบนของดาบ หรือหน้า โดยปกติแล้วประโยค นี้หมายถึง การกลับ หรือการยกเลิกความคิด ประกอบ กับเครื่องหมายในประโยคที่ว่า จงอภัยพวกเขา ท�ำให้ รู้ว่าการเมินหน้าออก มิได้เกิดจากความโกรธ หรือการ ไม่ศรัทธา การกล่าวเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า มุสลิมในเวลา

46 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

นั้นมีอ�ำนาจ และมีบารมีพอที่จะไม่อภัยแก่พวกเขา อีก ทั้งยังสามารถเผชิญหน้ากับศัตรูได้อีกต่างหาก แต่ที่ ประวิงเวลาไว้เพือ่ ต้องการจ�ำแนกว่า บุคคลใดสามารถ ปรับปรุงแก้ไขได้บา้ ง อันดับแรกจึงสัง่ ว่า จงอภัยและยก โทษแก่พวกเขา อีกนัยหนึ่งต้องการกล่าวว่า เมื่ออยู่ต่อ หน้าศัตรู ไม่สมควรใช้ความรุนแรง แต่จงใช้มารยาทที่ ดีของอิสลามเข้าแก้ไขปัญหา โดยเริม่ จากการอภัยและ การยกโทษให้แก่พวกเขา ถ้าการอภัยไม่สัมฤทธิ์ผล จึง ค่อยใช้ความรุนแรงในล�ำดับต่อมา 2. ประโยคที่ ก ล่ า วว่ า แท้ จ ริ ง อั ล ลอฮ์ ทรง อานุภาพเหนือทุกสิ่ง อาจเป็นไปได้ที่ต้องการบ่งชี้ว่า ในเวลานั้นพระเจ้าทรงสามารถท�ำให้พวกเจ้ามีชัยชนะ เหนือศัตรูได้ โดยวิธีการที่ไม่เป็นธรรมชาติ แต่เพื่อ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ และโลกแห่งการ สร้างสรรค์ การกระท�ำทุกอย่างจึงต้องค่อยเป็นค่อยไป ตามขั้นตอน 3. ประโยคทีก่ ล่าวว่า เนือ่ งจากความอิจฉาริษยา จากตัวพวกเขาเอง อุดมคติของพวกเขาคือ ความอิจฉา ริษยาที่เกิดจากตัวเอง ในบางครั้งความริษยาอาจเป็น เป้าหมาย และให้สสี นั แก่ศาสนาของตน แต่ความริษยา ที่พวกเขามีบ่งบอกให้เห็นว่าไม่มีแม้แต่สีสันดังกล่าว ทว่าเป็นเรื่องส่วนตัวเสียมากว่า ขณะที่ อั ล กุ ร อาน กล่ า วถึ ง ความต้ อ งการ ที่เฉพาะเจาะจงของยะฮูดีย์ และคริสต์ ได้กล่าวถึง มาตรฐานความสุข ของโลกหน้าว่า อยูท่ กี่ ารยอมจ�ำนน ต่อพระผู้เป็นเจ้า กล่าวว่า

โองการที่ 111 และ112 ‫صرى‬ َ ‫َو قَالُوا لَن ي َ ْد ُخ َل ا ْل َجنَّ َة إِال َمن‬ َ َ ‫كان ُهودا ً أ َ ْو ن‬ ‫كم إِن كن ُت ْم صدِ قِي َن‬ ْ ‫ت ِ ْلك أ َ َمانِيُّ ُه ْم ق ُْل َهاتُوا بُ ْر َه َن‬ َّ‫ه‬ ‫محسِ ٌن فَلَ ُه أ َ ْج ُر ُه‬ ْ ‫) بَلى َم ْن أَسلَ َم َو ْج َه ُه لل ِ َو ُه َو‬111( )112( ‫ون‬ َ ُ‫ِند َرب ِّ ِه َو ال َخ ْوفٌ َعلَ ْي ِه ْم َو ال ُه ْم ْيح َزن‬ َ ‫ع‬ ความหมาย 111. และพวกเขากล่าวว่า ไม่มีผู้ใดเข้าสวรรค์ ได้ นอกจากผู้เป็นยิวหรือเป็นคริสต์ นี่เป็นความเพ้อฝัน


ของพวกเขา จงกล่าวเถิด (มุฮมั มัด) จงน�ำหลักฐานของ พวกท่านมา ถ้าพวกท่านเป็นผู้พูดจริง 112. มิใช่เช่นนัน้ ผูใ้ ดทีย่ อมสวามิภกั ดิต์ อ่ อัลลอฮ์ และ เขาเป็นผู้กระท�ำการดี รางวัลของเขาอยู่ที่พระผู้ อภิบาลของเขา ไม่มีความหวาดกลัว แก่พวกเขา และ พวกเขาจะไม่ระทม (ด้วยเหตุนี้สรรค์ของพระเจ้ามิให้ เฉพาะเจาะจงส�ำหรับกลุ่มใด)

ค�ำอธิบาย

สวามิภักดิ์ต่อพระผู้อภิบาลโดยดุษณี ส่วนเงื่อนไขต่อ มา ผลพวงแห่งความศรัทธาของพวกเขาปรากฏเป็น รูปธรรม ดัวยการกระท�ำความดีงาม พวกเขาเป็นผู้ ประกอบการดีเมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลอื่นทั่วไป ฉะนั้น จะเห็นว่าอัลกุรอานปฏิเสธความเป็น ชาตินิยม การหลงในเชื้อชาติ และความอคติอย่างสิ้น เชิง พร้อมกับน�ำความสุขนิรันดรออกจากชนชาติที่ เฉพาะเจาะจง ขณะที่แนะน�ำว่ามาตรฐานของผู้สัตย์ จริงคือ ความศรัทธาและการประกอบการดี มิใช่สิ่งอื่น ประเด็นส�ำคัญ 1. ค�ำว่า อะมานียุฮุม เป็นพหูพจน์ของค�ำว่า อุ มนียะฮ์ หมายถึงความหวัง หรือความเพ้อฝันที่มนุษย์ ไม่อาจไปถึงได้ แน่นอน ค�ำกล่าวอ้างของชาวคัมภีร์ ณ ที่นี้เป็น เพียงความเพ้อฝันที่ว่า สวรรค์เป็นของพวกเขาเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของความเพ้อฝันทั้งหลาย 2. โองการข้างต้น สอนบรรดามุสลิมทั้งหลาย ว่า จงอย่าหลงกลค�ำพูดทีป่ ราศจากเหตุผลเด็ดขาด ใคร ก็ตามทีก่ ล่าวอ้างสิง่ ใดออกมา ให้นำ� หลักฐานมายันยัน ค�ำกล่าวอ้างด้วย 3. การกล่าวประโยคว่า วะฮุวะ มุฮ์ซินุน หลัง จากการอธิบายถึง การยอมสวามิภกั ดิ์ (ตัซลีม) บ่งบอก ว่าตราบใดที่ยังไม่มีศรัทธามั่นคง ค�ำว่าคุณงามดีก็จะ ไม่มีความหมาย การปฏิเสธความหวาดกลัว และการไม่ทุกข์ ระทมของมวลผู้ศรัทธาที่ยึดมั่นอยู่กับแนวทางของพระ ผู้เป็นเจ้า เนื่องจากพวกเขาเกรงกลัวเฉพาะพระผู้เป็น เจ้า ไม่เกรงกลัวสิ่งใด ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธและตั้งภาคี ทั้งหลาย มีความหวาดกลัวต่อทุกสิ่ง กลัวค�ำพูด กลัว ธรรมชาติ และสิ่งอื่นอีกมากมาย

สวรรค์คือความต้องการอันเฉพาะ อัลกุรอานโองการข้างต้นกล่าวถึงค�ำกล่าวอ้างที่ ไม่มีแก่นสาร และไม่มีเหตุผลของพวกยิวและ คริสต์ ที่ ว่า ไม่มีผู้ใดเข้าสวรรค์ได้ นอจากผู้ที่เป็นยิวและคริสต์ อัลกุรอานได้ตอบอย่างเจ็บปวดว่า นี่เป็นความเพ้อฝัน ของพวกเขา ซึง่ จะไม่มวี นั สมหวังอย่างเด็ดขาด หลังจาก นั้นกล่าวต่อท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ว่าให้บอกพวกเขาว่า ให้น�ำหลักฐานมายืนยันค�ำกล่าวอ้างด้วย ถ้าหากพวก เจ้าพูดจริง ต่อมาอัลกุรอานพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขา ไม่มหี ลักฐานประกอบค�ำกล่าวอ้างแม้แต่ประการเดียว การกล่าวว่าสวรรค์เป็นของพวกตนแต่เพียงฝ่ายเดียว เป็นค�ำกล่าวอ้างลอย ๆ เหมือนคนละเมอและเป็นความ เพ้อฝันของพวกที่ชอบจินตนาการ มาตรฐานอันเป็น แก่นส�ำหรับการเข้าสวรรค์ ถูกอธิบายไว้เป็นกฎรวมโดย ทั่วไปว่า ผู้ใดที่ยอมสวามิภักดิ์ต่ออัลลอฮ์ และ เขาเป็น ผูก้ ระท�ำการดี รางวัลของเขาอยูท่ พี่ ระผูอ้ ภิบาลของเขา ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าบุคคลดังกล่าวไม่มีความ หวาดกลัว ไม่มีความระทม สรุปได้ว่าสวรรค์ รางวัลที่ พระผู้อภิบาล และความสุขอันเป็นนิรันดรมิได้เฉพาะ เจาะจงว่ า เป็ น ของชนกลุ ่ ม ใด แต่ บุ ค คลใดก็ ต ามมี เงื่อนไข 2 ประการดังต่อไปนี้ล้วนเป็นชาวสวรรค์ทั้งสิ้น ได้แก่ การยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าองค์เดียว และ พระบัญชาแห่งสัจธรรม พร้อมกับละเว้นการแบ่งแยก โองการที่ 113 การปฏิบัติตามบัญญัติของพระองค์ มิใช่ว่าพระบัญชา ِ‫شىء َو قَالَت‬ َ َّ‫َو قَالَتِ ا ْل َي ُهو ُد ل َ ْيستِ الن‬ ْ ‫صرى َعلى‬ ใดเข้ากับผลประโยชน์ของตนได้ ก็ยอมรับ ส่วนที่ขัด ‫ون ا ْل ِك َتب‬ َ ُ‫شىء َو ُه ْم ي َ ْتل‬ َ َّ‫الن‬ ْ ‫صرى ل َ ْيستِ ا ْل َي ُهو ُد َعلى‬ َّ‫ون ِمث َْل قَول ِ ِهم ف ه‬ แย้งต่างปฏิเสธและโยนทิ้งอย่างสิ้นเชิง พวกเขายอม ‫َاللُ ْيحك ُ​ُم ب َ ْي َن ُه ْم‬ َ ‫ك َ​َذل ِك قَا َل الَّذِ ي َن ال ي َ ْعلَ ُم‬ ْ ْ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 47


113( ‫ُون‬ َ ‫)يَ ْو َم ا ْل ِق َي َم ِة فِي َما كانُوا فِي ِه ْيختَلِف‬ ความหมาย 113. และพวกยิวกล่าวว่า พวกคริสต์มิได้ตั้งอยู่ บนสิง่ ใด และพวกคริสต์กล่าว่า ชาวยิวมิได้ตงั้ อยูบ่ นสิง่ ใด ทัง้ ๆ ทีพ่ วกเขาอ่านคัมภีร์ ในท�ำนองเดียวกัน พวกที่ ไม่มคี วามรู้ (บรรดามุชริก) ก็ยงั กล่าวเยีย่ งค�ำกล่าวของ พวกเขา ดังนั้น ในวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮ์จะทรงตัดสิน ระหว่างพวกเขาในเรื่องที่พวกเขาขัดแย้งกัน

สาเหตุแห่งการประทานลงมา

นักอรรถาธิบายส่วนใหญ่รายงานจากท่านอิ บนิอับบาซว่า ขณะที่คริสเตียนกลุ่มหนึ่ง (นัจรอน) มา พบท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีผู้รู้ชาวยิวกลุ่มหนึ่งอยู่ก่อน หน้านั้นแล้ว พวกเขาโต้เถียงกันต่อหน้าท่านศาสดา และพูดจาถากถางกันอย่างรุนแรง รอฟิอ์ บุตรของฮุ รมะละฮ์ เป็นยิวคนหนึ่งหันไปทางกลุ่มคริสเตียน และ กล่าวว่า ศาสนาของพวกท่านไม่มีที่มาและไม่รากฐาน มัน่ คง เขาปฏิเสธสภาวะความเป็นศาสดาของศาสดาอี ซา และคัมภีร์อินญิล ชายคริสเตียนคนหนึ่ง ลุกขึ้นและ

48 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

กล่าวเยี่ยงที่เขากล่าวว่า ศาสนายิวก็ไม่มีแก่นสารและ รากฐานมัน่ คงแต่อย่างไร ขณะนัน้ อัลกุรอานได้ประทาน ลงมา กล่าวถึงความไม่ถูกต้องของพวกเขาพร้อมกับ ประณามพวกเขา

ค�ำอธิบาย

การต่อต้านเกิดจากความเห็นแก่ตัว โองการทีผ่ า่ นมาได้แสดงให้เห็นถึงค�ำกล่าวอ้างที่ ไม่มีเหตุผลของพวกยิวและคริสเตียน เมื่อรากฐานของ การกล่าวอ้างไม่มีเหตุผล ผลลัพธ์จึงลงเอยด้วยความ เห็นแก่ตัว และการต่อต้าน ประโยคที่กล่าวว่า มิได้ตั้ง อยู่บนสิ่งใด แสดงให้เห็นว่า ณ องค์พระผู้อภิบาลแล้ว พวกเขามิได้มีเกียรติหรือต�ำแหน่งใด ๆ ทั้งสิ้น หรือีกนัย หนึ่งศาสนาของพวกเขามิได้รับการพิจารณา หลังจาก นั้นตรัสว่า พวกเขาพูดขณะที่พวกเขาอ่านคัมภีร์ หมายถึง พวกเขามีคัมภีร์ของพระเจ้าอยู่ในมือ สามารถเอาคัมภีร์มาเป็นทางน�ำได้แต่กลับไม่ท�ำเช่น นัน้ ค�ำพูดของพวกเขาบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า ได้ออกมา จากก้นบึ้งของความอคติและความดื้อรั้นอันเป็นนิสัย


ดั้งเดิมของพวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่หน้าประหลาดอย่างยิ่ง โองการข้างต้นกล่าวว่าแหล่งทีม่ าของความอคติ คือ ความโง่เขลา เนื่องจากบุคคลที่โง่เขลามักจ�ำกัด ขอบเขตการด�ำเนินชีวิตให้อยู่ในแวดวงจ�ำกัด จะไม่ ยอมรับสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากตน พวกเขาเคยชินกับ ศาสนาของบรรพบุรุษมาตั้งแต่เด็ก แม้ว่าศาสนาเหล่า นั้นจะถูกเสริมเติมแต่ง และไม่มีแก่นสารความจริง แต่ พวกเขากลับมีจติ ใจผูกพันอย่างลึกซึง้ ชนิดทีไ่ ม่สามารถ เปลีย่ นไปสูศ่ าสนาทีม่ คี วามถูกต้องได้ และปฏิเสธค�ำสัง่ สอนของศาสนาอื่นทั้งหมด ขณะเดียวกันโองการข้างต้นได้ปลอบประโลม บรรดามุสลิมให้มคี วามอุน่ ใจว่า ถ้าพวกเขาต่อสูก้ นั บน พื้นฐานศาสนาของตน ต่างฝ่ายต่างปฏิเสธศาสนาของ กันและกัน ฉะนั้น พวกเจ้าไม่ต้องเป็นกังวล เนื่องจาก พวกเขาต่างไม่ยอมรับกันและกัน ซึ่งปกติแล้วความโง่ เขลามักออกมาจากความอคติ ซึ่งอคตินั้นออกมาจาก ความเห็นแก่ตัว

โองการที่ 114 َّ‫ه‬ ‫ِيها‬ َ ‫َو َم ْن أَظلَ ُم ِم َّمن مَّنَ َع َمس ِج َد الل ِ أَن يُ ْذك َ​َر ف‬ ‫كان ل َ ُه ْم أَن‬ َ ‫اس ُم ُه َو س َعى فى َخ َراب ِ َها أُولَئك َما‬ ‫ي َ ْد ُخلُو َها إِال َخائفِي َن ل َ ُه ْم فى ال ُّد ْن َيا خِ ْز ٌى َو ل َ ُه ْم‬ )114( ‫يم‬ ٌ ‫فى االَخِ َر ِة َع َذ‬ ٌ ِ‫اب َعظ‬ ความหมาย 114. และผู้ใดเล่าอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่ห้าม มิให้ ร�ำลึกถึงพระนามของพระองค์ ในมัสยิดของออัลลอฮ์ และพยายามในการท�ำลาย พวกเหล่านี้ ไม่สมควรแก่ พวกเขาที่จะเข้าไปในมัสยิด เว้นแต่โดยย�ำเกรง และ ส�ำหรับพวกเขาในโลกนีค้ อื ความอัปยศอดสู และส�ำหรับ พวกเขาในปรโลกคือ การลงโทษอันมหันต์ สาเหตุแห่งการประทานลงมา นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน กล่าวถึงสาเหตุแห่ง การประทานลงมาไว้หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น รายงาน จากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า โองการนี้ประทาน

ให้กับพวกกุเรช ขณะที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก�ำลังจะ เข้ามักกะฮ์และมัสญิด อัล-ฮะรอม พวกเขาได้กีดขวาง บางท่านกล่าวว่า สาเหตุแห่งการประทานลงมา คือ บรรดามุชริกีนได้ท�ำลาย สถานที่แสดงความเคารพ ภักดีของมุสลิมในมักกะฮ์ ภายหลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อพยพไปยังมะดีนะฮ์

ค�ำอธิบาย

ผู้อยุติธรรมที่สุดในหมู่ประชาชน เมือ่ พิจารณาถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จะ เห็นว่าโองการกล่าวถึงคนสามกลุ่มคือ พวกยิว คริสต์ และผู้ตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า แม้ว่าโองการก่อน หน้านี้ ส่วนมากจะกล่าวถึงพวกยิว และบางครั้งกล่าว ถึงคริสเตียน พวกยิวได้หยุแหย่ และกระซิบกระซาบ มุสลิมเรื่องการเปลี่ยนกิบละฮ์ ขณะที่มุสลิมนมาซโดย หันหน้าไปทางบัยตุลมุก็อดดัซ พวกเขาก็ต�ำหนิติเตียน จนกระทั่งพระเจ้าทรงมีบัญชาให้เปลี่ยนทิศนมาซไปสู่ อัล-กะอ์บะฮ์ พวกเขาก็ยงั ต�ำหนิเหมือนเดิม อีกด้านหนึง่ พวกตั้งภาคีเทียบเทียมในมักกะฮ์ กีดขวางท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดามุสลิมไม่ให้เดินทางไปบ�ำเพ็ญหัจญ์ และประสงค์ที่จะท�ำลายอัลกะบะฮ์ ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอานจึงประณามพวกที่กีดขวาง ไม่ให้เข้ามักกะฮ์วา่ เป็นกลุม่ ชนทีช่ วั่ ช้า และเป็นกลุม่ ชน ที่อยุติธรรมที่สุดบนโลกนี้ เนื่องจากไม่มีการกดขี่ใดจะ เลวร้ายไปกว่าการท�ำลายรากฐานของเตาฮีด (ความ เป็นเอกะของพระเจ้า) และสัง่ ห้ามประชาชนไม่ให้รำ� ลึก พระนามของพระเจ้า ขณะที่ตนขยายแนวทางการตั้ง ภาคี และสร้างความเสียหายแก่สังคม วิธีการท�ำลายมัสญิด ไม่ต้องสงสัยว่าความเข้าใจของโองการข้างต้น นั้นกว้างขวาง ไม่มีเวลาและสถานที่ก�ำหนดแน่นอน เหมือนกับโองการที่ประทานลงมาบนเงื่อนไขที่เจาะจง แต่กฎของโองการครอบคลุมอยู่เหนือกาลเวลาในทุก ยุคสมัย ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าบุคคล หรือกลุ่มใดก็ตามที่ พยายามจะท�ำลายมัสญิดของพระเจ้า หรือเป็นอุปสรรค

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 49


ละฮ์จะเปลี่ยนไป หลังจากนั้นโองการได้ถูกประทานลง มา และตอบพวกเขาว่า ทั้งทิศตะวันออกและทิศตะวัน ตกเป็นสิทธิของอัลลอฮ์

ค�ำอธิบาย

ที่นั่น

ไม่ว่าสูเจ้าจะหันหน้าไปทางใด อัลลอฮ์ทรงอยู่

โองการก่อนหน้านี้กล่าวถึงพวกกดขี่ที่กีดขวาง ไม่ให้เข้ามัสญิด และพยายามที่จะท�ำลายล้าง ซึ่งใน ความเป็นจริง ถ้าหากพวกกีดขวางไม่ให้เข้ามัสญิด หรือกีดขวางไม่ให้เรียนรูจ้ กั พระเจ้า มิได้หมายความว่า แนวทางแห่งการเคารพภักดีจะถูกปิดไปด้วย เนือ่ งจาก ไม่มีที่ใดบนโลกนี้จะปราศจากพระเจ้า พระองค์ทรง อานุภาพเหนือทุกสิ่ง และทรงอยู่ทุกที ไม่ว่าสูเจ้าจะหัน ไปทางใดก็จะพบพระองค์ทั้งสิ้น จุ ด ประสงค์ ข องตะวั น ออกและตะวั น ตก ใน โองการมิได้บ่งชี้เฉพาะสองทิศเท่านั้น ทว่าเป็นการ เปรียบเทียบให้เห็นทุกทิศ อีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า การทีก่ ล่าวถึงตะวันออกและตะวันตกเป็นเพราะว่า ทิศ กีดขวาง พวกเขาเหล่านั้นล้วนมีส่วนร่วมในการลงโทษ แรกที่มนุษย์รู้จักคือ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนทิศ อื่นๆ ถูกรู้จักเนื่องจากรู้จากทิศทั้งสองนั้นเอง อันมหันต์ทั้งสิ้น

โองการที่ 115 ‫َو هَّلل ِ المَْشر ُِق َو الم َْْغرِب فَأَ ْي َن َما تُ َولُّوا فَ َث َّم‬ َّ‫ه‬ َ َّ‫ه‬ )115( ‫ِيم‬ ٌ ‫َو ْج ُه الل ِ إ ِ َّن الل َو ِس ٌع َعل‬ ความหมาย

115. ทั้ ง ทิ ศ ตะวั น ออกและทิ ศ ตะวั น ตกเป็ น สิทธิของอัลลอฮ์ เพราะไม่ว่าสูเจ้าจะหันหน้าไปทางใด อัลลอฮ์ทรงอยู่ที่นั่น แท้จริงอัลลอฮ์ คือผู้ทรงไพบูลย์ ผู้ทรงรอบรู้

สาเหตุแห่งการประทานลงมา

อิบนิอับบาซ กล่าวว่า โองการข้างต้นเกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนกิบละฮ์ เนื่องจากกิบละฮ์ของมุสลิมได้ เปลี่ยนจากบัยตุลมุก็อดดัซ ไปสู่อัล-กะอ์บะฮ์ พวกยิว ต่างปฏิเสธ และทวงติงมุสลิมว่า เป็นไปได้อย่างไรทีก่ บิ

50 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ประเด็นส�ำคัญ

1. ปรัชญาของกิบละฮ์ กล่าวว่า พระเจ้าทรงอยู่ทุกที่ แล้วท�ำไมต้องหัน หน้าไปทางกิบละฮ์ ... การหั น หน้ า ไปสู ่ กิ บ ละฮ์ มิ ไ ด้ ห มายความว่ า เป็นการก�ำหนดขอบเขตความเข้าใจเกี่ยวกับอาตมัน บริสุทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์เป็นสรรพสิ่งที่มีเรือน ร่าง ซึ่งจะต้องนมาซโดยหันหน้าไปด้านหนึ่ง พระองค์ จึงมีบัญชาให้มุสลิมทั้งหมดนมาซ โดยหันหน้าไปใน ทิศทางเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม และเพื่ อ หลี ก เลี่ ย งความไม่ เ สมอภาค และความ แตกแยกในหมู่มุสลิม ดังนั้น ทิศที่ถูกก�ำหนดให้ทุกคน หันไปสู่คือ กิบละฮ์ อันจุดที่มีความศักดิ์สิทธ์ และเป็น จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้จักพระผู้เป็นเจ้า การหันหน้า


ไปทางกิบละฮ์ ประหนึง่ เป็นการเตือนความทรงจ�ำเกีย่ ว กับความเป็นเอกภาพของพระองค์ 2. โองการกล่าวถึง พระพักตร์ของอัลลอฮ์ มิได้ หมายความถึงใบหน้าของพระองค์ แต่ค�ำว่า วัจฮุน ใน ที่นี้หมายถึง อาตมัน (ซาต) บริสุทธิ์ของพระองค์

โองการที่ 116 และ 117 َّ‫و قَالُوا ات َخ َذ ه‬ ‫اللُ َولَدا ً س ْب َح َن ُه بَل ل َّ ُه َما فى الس َم َوتِ َو‬ َ ‫ض‬ ِ ‫األَ ْر‬ ِ ‫) بَدِ ي ُع الس َم َوتِ َو األَ ْر‬116( ‫ون‬ َ ‫ض ك ُّل ل َّ ُه قَنِ ُت‬ ُ ‫َو إ ِ َذا قَضى أ َ ْمرا ً فَإِن َّ َما يَق‬ )117( ‫ُون‬ ُ ‫ُول ل َ ُه كُن فَ َيك‬ ความหมาย

116. (ยิว คริสเตียน และมุชริก) กล่าวว่า อัลลอฮ์ ทรงเลือกบุตร มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ ทว่าสรรพสิ่ง ทั้งหลายที่อยู่ในชั้นฟ้าและแผ่นดิน เป็นของพระองค์ โดยที่ทั้งหมดนอบน้อมต่อพระองค์ 117. ผูท้ รงประดิษฐ์ชนั้ ฟ้าทัง้ หลาย และแผ่นดิน และเมื่อพระองค์ทรงก�ำหนดกิจการใด ดังนั้นพระองค์ เพียงแค่ประกาศิตแก่สิ่งนั้นว่า จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็น ขึ้นมา

ค�ำอธิบาย

เทียม

ความเชือ่ ผิเของยิว คริสเตียน และผูต้ งั้ ภาคีเทียบ

ความเชื่ อ ผิ ด ๆ ที่ ว ่ า พระเจ้ า ทรงมี บุ ต รเป็ น ที่ ยอมรั บ ของพวกคริ ส เตี ย น พวกตั้ ง ภาคี เ ที ย บเที ย ม และยิว โองการถูกประทานลงมาเพื่อท�ำลายความเชื่อ ที่ไม่เหตุผลเหล่านั้น กล่าวว่า (ยิว คริสเตียนและมุช ริก) กล่าวว่าอัลลอฮ์ ทรงเลือกบุตร มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่ พระองค์ พระองค์ทรงบริสทุ ธิจ์ ากสิง่ ทีพ่ วกเขากล่าวหา พระเจ้าทรงเลือกบุตรเพื่อพระองค์เพื่อการใด พระองค์ทรงปรารถนาบุตรกระนั้นหรือ ทรงมีขอบเขต จ�ำกัดหรือ ทรงปรารถนาความช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือ อย่างไร หรือว่าพระองค์ทรงปรารถนาให้เผ่าพันธุ์ของ พระองค์หลงเหลืออยู่ ทว่าสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งในฟาก ฟ้าและแผ่นดินเป็นกรรมสิทธิข์ องพระองค์ ทัง้ หมดเหล่า นัน้ นอบน้อมต่อพระองค์ พระองค์มไิ ด้ทรงสิทธิส์ รรพสิง่

ทั้งหลายบนโลกนี้เท่านั้น ทว่าพระองค์คือผู้ทรงสร้าง สรรพสิ่งเหล่านั้นทั้งในฟากฟ้าและแผ่นดิน ทรงสร้าง โดยไม่ต้องมีแบบมาก่อน และปราศจากวัตถุดิบ เพียง แค่พระองค์ตรัสว่า จงเป็น สิง่ เหล่านัน้ ก็จะบังเกิดขึน้ มา ฉะนั้น พระองค์ทรงปรารถนาบุตรเพื่อการใด เนื่องจาก เมือ่ ใดก็ตามถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์ให้สงิ่ นัน้ มี ทรง ประกาศิตแก่สิ่งนั้นว่า จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมา

ประเด็นส�ำคัญ

เหตุผลที่ปฏิเสธบุตร ค�ำกล่าวที่ว่า พระเจ้าทรงมีบุตร มิต้องสงสัย เลยว่า ความคิดนี้เกิดจากมนุษย์ผู้ไร้ความสารมารถ โดยน�ำพระเจ้าไปเปรียบเทียบกับสรรพสิ่งที่มีขอบเขต จ�ำกัดของพวกเขา มนุษย์ต้องการบุตร เนื่องจากพวก เขามีอายุสั้น จ�ำกัดและเพื่อต้องการให้เผ่าพันธุ์ของตน ด�ำรงสืบไป จ�ำเป็นต้องมีบตุ รเพือ่ สืบสายตระกูล เมือ่ ถึง วัยชราต้องการผูป้ รนนิบดั เอาใจใส่ และคอยช่วยเหลือ ดูแลตน และถ้าจะมองด้านความรัก และความสัมพันธ์ ทางสังคมแล้ว มนุษย์ปรารถนาเกียรติยศ และความมัก คุ้นในสังคมที่ตนอาศัยอยู่ และสิ่งนี้บุตรและธิดาคือผู้ ต่อเติมความสมบูรณ์เหล่านั้น เป็นที่ประจักษ์ว่าสิ่งที่ กล่าวมาทั้งหมด เมื่อน�ำไปเทียบเทียมกับพระเจ้าผู้ทรง สร้างสรรค์จกั รวาล ทรงอานุภาพเหนือทุกสรรพสิง่ และ ทรงอมตะนิรันดรกาล จะไม่มีความหมายใด ๆ ทั้งสิ้น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 51


เราเห็นคือโลกมีการเปลีย่ นแปลง รูปโฉมอยูต่ ลอดเวลา ซึง่ ไม่ใช่ตวั โลก จากสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ท�ำให้รวู้ า่ รูปโฉมปัจจุบนั ซึ่งเมื่อก่อนไม่เคยมีแต่ได้มีขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ไม่มี มีขึ้นได้ อย่างไร สิ่งที่มีเกิดจากสิ่งที่ไม่มีกระนั้นหรือ ถ้าเป็นเช่น นี้ สิง่ ทีไ่ ม่มจี ะให้กำ� เนิดสิง่ ทีม่ ไี ด้อย่างไร เช่น การวาดรูป ทิวทัศน์ทสี่ วยงาม โดยใช้พกู่ นั และสีระบายลงกระดาษ พวกวัตถุนยิ มกล่าวว่า ตัวสีเป็นสิง่ ทีม่ อี ยู่ ส่วนทิวทัศน์ไม่ เคยมีมาก่อน ดังนั้น ทิวทัศน์เกิดขึ้นได้อย่างไร ด้ ว ยเหตุ นี้ ความหมายของประโยคที่ ว ่ า พระเจ้าทรงสร้างโลกจากสิง่ ไม่มี หมายถึง พระองค์ทรง ก�ำเนิดตัวตนจากสภาพทีไ่ ม่เคยมีมาก่อน ให้มเี กิดขึน้ มา ค�ำอธิบายประโยคที่กล่าวว่า จงเป็น (กุนฟะยะ อีกนัยหนึง่ เสือ้ ผ้าบนร่างกายย่อมบ่งบอกถึงผูส้ วมใส่ ดัง กูน) นัน้ สิง่ ทีไ่ ม่มตี วั ตนแต่มขี นึ้ มาได้ยอ่ มบ่งบอกถึงผูส้ ร้างที่ ประโยคนีเ้ ป็นสิ่งทีบ่ ง่ ชี้ถงึ พระประสงค์ทเี่ ป็นตัก ทรงอานุภาพ วีนยี ์ (อ�ำนาจแห่งการสร้างสรรค์เฉพาะพระองค์เท่านัน้ ) โองการที่ 118 และ 119 และอ�ำนาจแห่งการปกครอง จุดประสงค์ของประโยคที่ ْ َ ُ َّ‫ه‬ َ َ ‫َو قَا َل الَّذِ ي َن ال يَ ْعلَ ُم‬ ِّ กล่าวว่า จงเป็น หมายถึงเมือ่ พระประสงค์ของพระองค์ ‫ون ل ْو ال يُكل ُم َنا الل أ ْو تَأت ِي َنا‬ ‫َءايَ ٌة ك َ​َذل ِك قَا َل الَّذِ ي َن مِن قَ ْبلِ ِهم مِّث َْل ق َْول ِ ِه ْم‬ บังเกิดกับสิง่ ใดสิง่ หนึง่ ไม่วา่ จะใหญ่หรือเล็ก ง่ายหรือยุง่ ‫تَش َب َهت قُلُوبُ ُه ْم ق َْد بَيَّنَّا االَيَتِ لِق َْوم يُوقِ ُنون‬ ยาก เล็กเท่ากับอะตอม หรือใหญ่เท่ากับแผ่นฟ้า หรือ แผ่นดิน ไม่ทรงต้องการผู้ช่วยอื่นใดทั้งสิ้นในการสร้าง ‫) إِنَّا أ َ ْرس ْلنَك بِا ْل َح ِّق بَشِ يرا ً َو ن َذِ يرا ً َو ال‬118(َ และระหว่างพระประสงค์ในการสร้างสรรพสิ่งจะไม่มี )119( ‫تُسئَ ُل َع ْن أَص َح ِب الجَْحِي ِم‬ การทิ้งช่วงแม้เสี้ยววินาที มิได้หมายความว่าทุกสิ่งที่ ความหมาย พระองค์ทรงประสงค์ สิ่งนั้นจะบังเกิดขึ้น แต่หมายถึง 118. บรรดาผูไ้ ม่รกู้ ล่าวว่า ไฉนอัลลอฮ์จงึ ไม่ตรัส ไม่ว่าพระองค์ประสงค์อย่างไร สิ่งนั้นก็จะเป็นเช่นนั้น แก่เรา หรือไม่มีโองการหรือสัญญาณมายังเรา บรรดา สิ่งที่ไม่มีบังเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ชนก่อนหน้าพวกเขา ก็ได้พูดเยี่ยงการกล่าวของพวก ค�ำว่า บะดีอ์ มาจากรากศัพท์ของค�ำว่า บะดะอะ เขา หัวใจของพวกเขาคล้ายคลึงกัน แต่เราได้แจกแจง หมายถึงการท�ำให้บางสิง่ เกิดขึน้ โดยทีส่ งิ่ นัน้ ไม่เคยมีมา สัญญาณต่าง ๆ แล้ว แก่ประชาชนผู้เชื่อมั่น (แสวงหา ก่อน หมายถึง พระเจ้าทรงบังเกิดท้องฟ้าและแผ่นดิน สัจธรรม) โดยไม่มีแบบ หรือวัตถุดิบในการสร้าง 119. แท้จริงเราได้สง่ เจ้าพร้อมด้วยสัจธรรม เพือ่ อาจมีคนถามว่า เป็นไปได้อย่างไรสิ่งที่ไม่เคยมี แจ้งข่าวดี และตักเตือนประชาโลก และเจ้าจะไม่ถูก มาก่อน (อะดัม) จะมีขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งค�ำว่าอะดัม ไต่สวนเกี่ยวกับชาวนรกที่ลุกโชติช่วง (หลังจากเผยแผ่ (ไม่มี) สิ่งตรงข้ามคือ วุญูด (มี) ดังนั้น อะดัม จะเป็นที่ สาส์นแล้ว) มาของวุญูดได้อย่างไร ค�ำอธิบาย พวกวัตถุนิยม เชื่อว่าโลกนี้เป็นสิ่งเก่าแก่และ เพราะเหตุใดพระเจ้าจึงไม่ตรัสกับเรา นิรันดร จนถึงปัจจุบันไม่มีสิ่งใดลดน้อยลงไป แต่สิ่งที่ 52 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


โองการก่อนหน้านีก้ ล่าวถึงค�ำกล่าวอ้างของพวก ยิว ส่วนโองการนี้กล่าวถึงกลุ่มอื่นที่ชอบหาข้ออ้างต่อ ร้องกับท่านศาสดาเช่นกัน ได้แก่บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบ เทียมพระเจ้า พวกเขากล่าวว่า ท�ำไมพระเจ้าไม่พูดกับ เรา ท�ำไม่โองการและสัญญาณต่าง ๆ ไม่ประทานลง มาให้เรา อั ล กุ ร อานตอบข้ อ กล่ า วอ้ า งของพวกเขาว่ า บรรดาชนก่อนหน้าพวกเขา ก็ได้พูดเยี่ยงการกล่าว ของพวกเขา หัวใจของพวกเขาคล้ายคลึงกัน แต่เรา ได้แจกแจงสัญญาณต่าง ๆ แล้ว แก่ประชาชนผู้เชื่อมั่น (แสวงหาสัจธรรม) ถ้าหากพวกเขามีเจตนาค้นหาสัจธรรมและ ความจริงแล้วละก็ เพียงแค่โองการนี้ที่ประทานให้ท่าน ศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็เพียงพอแล้วต่อการยืนยันความสัตย์ จริงของท่าน มีความจ�ำเป็นอันใดทีโ่ องการต้องประทาน ให้ทุกคนต่างหาก และมีความจ�ำเป็นอันใดที่ต้องเห็น พระเจ้าด้วยตาตนเอง ประการที่สอง เป็นไปไม่ได้ที่โองการและสิ่ง มหัศจรรย์จะถูกประทานให้ทุกคน เนื่องจากเงื่อนไข ส�ำคัญของการรับโองการคือ ต้องมีความดีงาม และจิต วิญญาณต้องสะอาดเพียงพอ พร้อมที่จะรับโองการ โองการต่อมาได้กล่าวแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ถึงเรื่องหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อท่านต้องเผชิญกับการ ขอร้องเรื่องความมหัศจรรย์ และค�ำกล่าวอ้างต่าง ๆ พระองค์ตรัสว่า เจ้ามีหน้าที่อธิบายค�ำบัญชาของฉัน แก่ประชาชน แสดงความมหัศจรรย์ให้ประชาชนได้เห็น และอธิบายสัจธรรมความจริงด้วยตรรกะ การเชิญชวน ของเจ้าต้องควบคูก่ บั การปฏิบตั คิ ณ ุ งามความดี ให้หลัก ประกันแก่คนท�ำบาป เหล่านีเ้ ป็นหน้าทีข่ องเจ้า แต่ถา้ มี บางกลุม่ จากพวกเขาไม่ศรัทธาต่อเจ้า หลังจากทีเ่ จ้าได้ อธิบายสาส์นของฉันอย่างครบถ้วนแล้ว ดังนัน้ เจ้าไม่มี หน้าที่รับผิดชอบคนบาปทั้งหลาย

การคาดโทษ ทั้งหมดเป็นหนึ่งในอุดมการณ์ของ การ อบรมสัง่ สอน การจัดตัง้ และการขับเคลือ่ นสังคม มนุษย์ มีหน้าที่ให้การสนับสนุนการกระท�ำการดี และห้าม ปรามการท�ำความชั่ว เพื่อการเตรียมพร้อม ในการ ด�ำเนินสู่แนวทางแรก และหยุดยั้งตนเองมิให้ก้าวเดิน ไปในแนวทางที่สอง การสนับสนุนมิใช่เพือ่ การไปถึงยังความสมบูรณ์ ของบุคคลหรือสังคมเพียงอย่างเดียว ทว่าเป็นการให้ ความมั่นใจแก่มนุษย์ว่าจะไม่กระท�ำบาปอีกต่อไป ความสมดุลระหว่างทั้งสองถือว่าจ�ำเป็นอย่าง ยิ่ง เนื่องจากถ้ามีการสนับสนุนมากจนเกินขอบเขต จะ ท�ำให้มนุษย์กลายเป็นผู้หลงลืม แต่ถ้าการระทมทุกข์ มีมากเกินกว่าเหตุ จะท�ำให้มนุษย์หมดหวัง แสงสว่าง แห่งความรักและการขับเคลื่อนก็จะยุติลง ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอานจึงใช้คำ� ว่า ตักเตือน (นะซีร) แจ้งข่าวดี (อินซอร) ไว้เคียงข้างกัน หรือบางครัง้ การแจ้ง ข่าวดีกม็ าก่อนการตักเตือน ดังเช่นโองการทีก่ ำ� ลังกล่าว ถึงในขณะนี้ แม้วา่ โองการอัลกุรอานส่วนใหญ่ จะใช้คำ� ว่า จงแจ้งข่าวดีก่อนการตักเตือนก็ตาม ซึ่งเป็นการบ่ง ชี้ว่าความเมตตาของพระเจ้า อยู่เหนือความโกรธกริ้ว และการลงโทษของพระองค์ โอ้พระผู้ซึ่งความเมตตา ของพระองค์อยู่เหนือความกริ้วโกรธ

ประเด็นส�ำคัญ

การแจ้งข่าวดี การเชิญชวน การสนับสนุน และ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 53


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ

ค�ำปราศรัย

ต่อคณะเจ้าหน้าที่

กิจการฮัจญ์ อายะตุลลอฮ์ ซัยยิดอะลี คาเมเนอี ผู้น�ำสูงสุดทางจิตวิญญาณ สาธารรรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ‫‌الرحيم‬ ّ ‫‌اهلل‌الرحمن‬ ّ ‫‌بسم‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตายิ่ง ผู้ทรงปรานีเสมอ ประการแรกขอกล่าวแสดงความยินดีและต้อนรับพีน่ อ้ งผูม้ มี เี กียรติทงั้ หลาย ทัง้ สุภาพบุรษุ และสุภาพสตรี ซึง่ เป็นเจ้าหน้าทีท่ เี่ ปีย่ มไปด้วยความภาคภูมใิ จในการรับใช้บริการทีย่ งิ่ ใหญ่ประการหนึง่ ในสังคมอิสลาม นัน่ คือ “ฮัจญ์อิบรอฮีมี” การ เยือนบ้านแห่งพระผู้เป็นเจ้าและนครมะดีนะฮ์อัลมุเนาวะเราะฮ์ และเราหวังว่าความภาค ภูมใิ จอันยิง่ ใหญ่นจี้ ะเป็นเสบียงสะสมในปรโลก (อาคิเราะฮ์) ส�ำหรับท่านทัง้ หลาย และท่านทัง้ หลายจงขับเคลือ่ น ความอุตสาห์พยายามในการปฏิบตั หิ น้าทีโ่ ดยรวม ทัง้ หมดทีม่ คี วามจ�ำเริญยิง่ นี้ ด้วยความบริสทุ ธิใ์ จอย่างแท้จริง ซึ่งมันจะจรัสแสงในบัญชีแห่งอะมั้ล (การกระท�ำ) ของพวกท่านดั่งเช่นดวงอาทิตย์ อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็น เจ้าทรงประสงค์) ข้าพเจ้าขอขอบคุณต่อความเหนื่อยยากต่างๆ ที่บรรดาเจ้าหน้าที่กิจการฮัจญ์และท่านสุภาพ บุรุษผู้มีเกียรติจะต้องแบกรับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรต่อการยกย่องชื่นชมโดยแท้จริง การด�ำเนินการต่างๆ เหล่านี้ตามที่ พวกเขาได้กล่าวถึง ไม่ว่าจะในด้านวัฒนธรรม ด้านจิตวิญญาณ ด้านจริยธรรมและการอบรมขัดเกลา หรือไม่ว่า จะเป็นในด้านปฏิบัติการ การบริหารจัดการและการจัดระบบองค์กร สิ่งที่ส�ำคัญก็คือ การที่เราจะรับรู้ว่าพิธีฮัจญ์คือหนึ่งในจุดแข็งต่างๆ ของศาสนาอิสลามอันศักดิ์สิทธิ์ แม้ว่า จุดแข็งเหล่านีใ้ นภาพรวมของบทบัญญัตทิ งั้ หมดของอิสลามมิได้มแี ค่เพียง หนึง่ หรือสองอย่าง มันมีอยูไ่ ม่นอ้ ยเลย ทีเดียว แต่เนือ่ งจากในพิธฮี จั ญ์นนั้ มีคณ ุ ลักษณะพิเศษต่างๆ อยู่ ซึง่ ท่านทัง้ หลายก็มคี วามรูใ้ นเรือ่ งของคุณลักษณะ พิเศษเหล่านีไ้ ม่มากก็นอ้ ย ถึงความโดดเด่นประการหนึง่ ของมัน ในความเป็นจริงแล้วสามารถกล่าวได้วา่ พิธฮี จั ญ์ คือบ่อเกิดแห่งพลังอ�ำนาจของสังคมอิสลาม คือบ่อเกิดแห่งพลังอ�ำนาจของประชาชาติมสุ ลิม ในวันทีพ่ วกเราชาว มุสลิมในประเทศต่างๆ จากมัซฮับ (นิกาย) ต่างๆ จะได้รับเตาฟีก (ความส�ำเร็จ) และวุฒิภาวะทางความคิดนี้ ที่ ว่า ในความเป็นจริงและในความหมายที่แท้จริงแล้ว พวกเราก�ำลังจะจัดตั้ง “ประชาชาติแห่งอิสลาม” ขึ้น แต่เป็น

54 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


ทีน่ า่ เสียใจทีจ่ นถึงขณะนี้ พวกเราชาวมุสลิมยังไม่ได้รบั เตาฟีก (ความส�ำเร็จ) นี้ พวกเรายังไม่บรรลุถงึ วุฒภิ าวะ ทางด้านการเมือง ทางด้านความคิดและจริยธรรมนี้ เลย และเรายังไม่สามารถท�ำให้มวลมุสลิมจากจุดต่างๆ ทางทิศตะวันออกไปจนถึงทิศตะวันตกของโลกอิสลาม อันไกลโพ้น กลายเป็นประชาติหนึ่งเดียวได้ แม้ว่าจะมี รัฐบาลต่างๆ ที่หลากหลาย แต่เมื่อวันนั้นมาถึงพวกเรา จะเข้าใจได้ว่า พิธีฮัจญ์จะเป็นบ่อเกิดของพลังอ�ำนาจ ความแข็งแกร่ง ความก้าวหน้าและเกียรติศักดิ์ศรีของ ประชาชาตินี้ได้อย่างไร? วันนี้ระบอบสาธารณรัฐอิสลามก็เช่นกัน จ�ำเป็น จะต้องมองดูพิธีฮัจญ์ด้วยสายตาเช่นนี้ : สื่อของพลัง อ�ำนาจ คือพลังอ�ำนาจแบบใดหรือ? จุดประสงค์ของ เราจากพลังอ�ำนาจนี้มันเหมือนกับพลังอ�ำนาจต่างๆ ทางวัตถุ ทางการเมืองและการทหาร หรือแม้กระทั่ง พลังอ�ำนาจต่างๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ เหมือนกับพลัง อ�ำนาจทางวัฒนธรรม (และ) ทางด้านภาษาอย่าง กระนัน้ หรือ? ไม่เลย! ทว่ามันสูงส่งยิง่ กว่านีม้ ากมายนัก “พิธีฮัจญ์” นอก จากจะมีพลังอ�ำนาจทางด้านการเมือง นอกจากจะแสดงพลังอ�ำนาจทางด้านวัฒนธรรมของ ระบอบอิสลามให้โลกได้เห็นแล้ว ยังมีพลังอ�ำนาจทาง ด้านจิตวิญญาณอีกด้วย กล่าวคือ มันจะสร้างให้ด้าน ในของมนุษย์ พร้อมที่จะข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ที่ยาก

ล�ำบาก จะเปิดตาของพวกเขาไปสูข่ อ้ เท็จจริงต่างๆ หาก ปราศจากการเข้าร่วมในสนามของพิธีฮัจญ์ ข้อเท็จจริง ต่างๆ เหล่านี้ ก็จะไม่สามารถมองเห็นและไม่อาจจะ สัมผัสได้ ณ ทีแ่ ห่งนัน้ เท่านัน้ ทีม่ นุษย์จะเข้าใจถึงข้อเท็จ จริงต่างๆ ทางจิตวิญญาณและการขัดเกลาของอิสลาม ได้ เช่นนี้คือพิธีฮัจญ์ที่แท้จริง หนึ่งในความหมายและสิ่งจ�ำเป็นที่แท้จริงของ พิธีฮัจญ์ ก็คือ ในช่วงของการท�ำฮัจญ์และในสนามของ ข้อก�ำหนดอันยิ่งใหญ่ของอิสลามนี้ ผู้บ�ำเพ็ญฮัจญ์จะ ต้องแสดงออกต่อกันเหมือนพี่น้องกันอย่างแท้จริง จะ ต้องมองดูกันและกันด้วยสายตาของพี่น้อง ไม่ใช่ด้วย สายตาของคนแปลกหน้า ไม่ใช่สายตาของศัตรู พวกเขา จะต้องมองดูกันด้วยสายตาของผู้ที่ก�ำลังขับเคลื่อนไป สู่เป้าหมายเดียว กัน มุ่งแสวงหาสิ่งเดียวกัน ขับเคลื่อน ไปรอบๆ แกนหลักอันเดียวกัน การที่ (พระผู้เป็นเจ้า) ได้ทรงตรัสว่า

‫ُسوق َو ال ِجدا َل فِى ال َح ّج‬ َ ‫فَال َرف َ​َث َو ال ف‬

“ดังนั้นจะไม่มีเพศสัมพันธ์ ไม่มีการประพฤติชั่ว และไม่มีการพิพาทใดๆ ต่อกันในพิธีฮัจญ์” (1) จุดประสงค์ของค�ำว่า “ไม่มีการพิพาท” มิได้ หมายถึงการพิพาทกับศัตรู แต่บังเอิญว่าแท้จริงแล้ว พิธีฮัจญ์คือสัญลักษณ์ของการพิพาทต่อสู้กับศัตรู คน ที่สายตาเอียงและมีจิตใจชั่วร้ายบางคนต้องการที่จะ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 55


กล่าวเช่นนี้ว่า "‫( "ال جدال فى الح ّج‬ไม่มีการพิพาท ใดๆ ต่อกันในพิธีฮัจญ์) แล้วท�ำไมพวกท่านจึงจัดให้มี พีธี “บะรออัต” (ประกาศความเป็นปฏิปักษ์ต่อศัตรู) ขึ้นในพิธีฮัจญ์ การพิพาททีม่ อี ยูใ่ นพิธี “บะรออัต” คือการพิพาท กับการตัง้ ภาคี (ชิรก์) คือการพิพาทกับการปฏิเสธ (กุฟร์) สิ่งนี้คือส่วนหนึ่งจากแนวทางส�ำคัญขั้นพื้นฐานที่สุด ของอิสลาม การพิพาทที่ไม่สมควรมีอยู่ในพิธีฮัจญ์ คือ การพิพาทระหว่างพี่น้องกันเอง การพิพาทระหว่างผู้ ศรัทธาด้วยกันเอง การพิพาทระหว่างผูท้ มี่ หี วั ใจเชือ่ มัน่ ในเอกภาพ (เตาฮีด) ของพระผู้เป็นเจ้าด้วยกันเอง การ พิพาทเช่นนี้จะต้องไม่เกิดขึ้น เราจะต้องพยายามไม่ให้ มันเกิดขึ้น มิใช่แต่เพียงการพิพาทกันทางวาจาเท่านั้น แม้แต่ความเกลียดชังต่อกันในหัวใจก็จะต้องไม่มีด้วย ตรงข้ามกับวันนีท้ บี่ รรดาศัตรูของอิสลามก�ำลังพยายาม ที่จะท�ำให้มันเกิดขึ้นใน สังคมอิสลาม สิ่งนี้พวกท่านจะ ต้องระมัดระวัง ความแตกต่ า งทางด้ า นมั ซ ฮั บ (นิ ก าย) ของ อิสลาม ความแตกต่างระหว่างชีอะฮ์และซุนนี อยู่ใน ระดับของความแตกต่างทางด้านความเชื่อ ฝ่ายหนึ่งมี ความเชื่ออย่างหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งก็มีความเชื่ออีกอย่าง หนึ่ง ทั้งหมดเหล่านี้มีความเห็นแตกต่างกัน แต่ก็ไม่ ก่อให้เกิดปัญหาแต่อย่างใด ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ความแตกต่างทางความเชื่อน�ำไปสู่ความขัดแย้งทาง จิต วิญญาณและความขัดแย้งทางพฤติกรรม ไปสู่การ เผชิญหน้ากัน ไปสู่ความเป็นปฏิปักษ์และความเป็น ศัตรูกัน บรรดาศัตรูของโลกอิสลามก�ำลังพยายามให้เกิด ความคิดเช่นนี้ พวกเขาก�ำลังด�ำเนินแผนการนี้ พวกเขา เข้าใจดีว่าถ้าหากในโลกอิสลาม มัซฮับ (นิกาย) ต่างๆ ของอิสลามหันมาเผชิญหน้ากัน เริ่มต้นความขัดแย้ง กันเองแล้ว ระบอบไซออนิสต์ผู้บุกรุกก็จะหายใจได้ สะดวกขึน้ พวกเขาเข้าใจได้ดแี ละเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ในเรื่องนี้ ในด้านหนึ่งพวกเขาก็สร้างกลุ่มตักฟีรี (กลุ่ม

56 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

แนวคิดอิสลามที่บิดเบือนที่กล่าวให้ร้ายผู้อื่นว่าเป็นผู้ ปฏิเสธและ ไม่ใช่มุสลิม) ขึ้นมา ไม่ใช่กับเฉพาะชีอะฮ์ เท่านัน้ ทีพ่ วกเขากล่าวหาว่าเป็นผูป้ ฏิเสธ ทว่ากลุม่ ต่างๆ จ�ำนวนมากของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ พวกเขาก็กล่าวหาว่า เป็นผู้ปฏิเสธ (ไม่ใช่อิสลาม) อีกด้านหนึ่งก็เช่นกัน พวก เขาจะใช้สมุนรับจ้างกลุ่มหนึ่งก่อกองไฟ ราดเชื้อเพลิง ลงไปบนกองไฟนั้น ซึ่งพวกท่านจะยิน ได้เห็น หรือได้ รับรู้ข่าวจากสื่อต่างๆ พวกเขาจะมอบเครื่องมือการสื่อสารมวลชนให้ อยู่ในอ�ำนาจการใช้งานของบุคคลเหล่านี้ ในที่ใดบ้าง? ในอเมริกา! ที่ไหนอีก? ใน ลอนดอน! ความเป็นชีอะฮ์ (ตะชัยยุอ์) ที่ถูกถ่ายทอดออกไปทั่วโลกจากลอนดอน และจากอเมริกานั้น ความเป็นชีอะฮ์ดังกล่าวจะไม่ก่อ ประโยชน์ใดๆ แก่ชอี ะฮ์เลย บรรดาผูน้ ำ� ทางศาสนาของ ชีอะฮ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังชัยชนะของการปฏิวัติ อิ ส ลาม ท่ า นอิ ม ามโคมั ย นี ผู ้ มี เ กี ย รติ แ ละท่ า นอื่ น ๆ ทั้งหมดเหล่านี้ต่างเน้นย�้ำถึงการรักษาความสามัคคี ของประชาชาติอิสลามและ ความเป็นพี่น้องกันของ มุสลิม แต่แล้วก็มคี นกลุม่ หนึง่ ทีถ่ ว้ ยนัน้ ร้อนกว่าน�ำ้ แกง พยายามที่จะก่อไฟ พยายามที่จะสร้างความขัดแย้ง และความแตกแยก นี่ก็คือสิ่งที่ศัตรูต้องการ นี่คือสิ่ง ที่ศัตรูของโลกอิสลามต้องการให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ชีอะฮ์ ไม่ว่าจะเป็นซุนนี่ พวกเขาไม่ชอบทั้งฝ่ายนี้และ


ไม่ชอบทั้งฝ่ายนั้น พวกเขาก�ำลังพยายามท�ำมัน (การ สร้างความแตกแยกในระหว่างสองฝ่าย) สิ่งเหล่านี้เรา จะต้องเข้าใจและจะต้องระมัดระวัง ประเด็ น ส� ำ คั ญ อี ก ประการหนึ่ ง ที่ เ ป็ น จุ ด แข็ ง ของพิธีฮัจญ์ และเป็นบ่อเกิดแห่งพลังอ�ำนาจของพิธี ฮัจญ์เช่นกัน นั่นก็คือ การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม อันบริสุทธิ์ของอิสลามที่จะเกิดขึ้นระหว่างมวล มุสลิม การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ของอิสลามที่จะ เกิดขึ้นในหมู่มวลมุสลิม เราอาจจะเคยได้ยินสิ่งต่างๆ จากประเทศอิสลามบางประเทศ แต่การได้ยินนั้นจะ แตกต่างจากการที่เราจะนั่งร่วมวงกับประชาชนที่เป็น พลเมืองของประเทศนั้นๆ และรับฟังโดยตรงจากพวก เขา พวกเขาเองก็เช่นกัน เคยได้ยินสิ่งที่เกี่ยวกับอิหร่าน อันเป็นประเทศอิสลามที่รักของเรา พวกเขาจะเปรียบ เทียบสิ่งนั้นกับสิ่งที่พวกเขาจะได้เห็นในหมู่พวกท่าน และได้ รับฟังจากพวกท่าน จะท�ำให้พวกเขาค้นพบ ความจริงถึงลักษณะของการโฆษณาชวนเชือ่ ทีต่ อ่ ต้าน

ระบอบ สาธารณรัฐอิสลาม จากบรรดาสื่อต่างๆ ที่เป็น ขั้นตอนที่น่ากลัว วิธกี ารหลากหลายทีแ่ สดงถึงการต่อต้านระบอบ สาธารณรัฐอิสลามที่มีอยู่ในโลกนั้น มีจ�ำนวนตัวเลขที่ น่าตกตลึง ชายหนุม่ คนหนึง่ ทีเ่ ป็นชาวแอฟริกาประเทศ หนึ่ง หรือเป็นชาวเอเชียประเทศหนึ่ง หรือเป็นชาว อาหรับและไม่ใช่อาหรับประเทศหนึง่ เมือ่ เขานัง่ อยูห่ น้า อินเตอร์เน็ตหรือนัง่ อยูห่ น้าสือ่ ต่างประเทศ หรือถือสือ่ สิง่ พิมพ์ต่างประเทศฉบับหนึ่งอยู่ในมือ เขาจะรู้ได้อย่างไร ว่าสิง่ ทีถ่ กู เขียนอยูใ่ นนัน้ ทีเ่ กีย่ วกับประเทศอิสลาม แห่ง อิหร่าน เป็นเรือ่ งทีข่ ดั แย้งกับความเป็นจริง? การ ปรากฏ ตัวของพวกท่านในพิธีฮัจญ์ใน ในเวทีระหว่างประเทศ จะเปิดโอกาสให้แก่พวกท่านที่จะถ่ายทอดข้อเท็จจริง ต่างๆ ไม่ใช่แค่เพียงค�ำพูดเท่านั้น แต่ทว่าด้วยทั้งค�ำพูด และการปฏิบัติ พวกท่านจะต้องพูดถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ของอิสลาม จะพูดข้อเท็จจริงต่างๆ ของชีอะฮ์ ข้อเท็จ จริงต่างๆ ของการปฏิวัติอิสลาม พวกท่านจะพูดเรื่อง ราวต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประเด็นที่ส�ำคัญและเป็นเรื่องหลักอีกประการ หนึ่งในพิธีฮัจญ์ ก็คือสิ่งที่ได้กล่าวถึงไปบ้างแล้ว คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับจิตวิญญาณด้านใน ตัวของตัวเอง โอ้ ผูเ้ ป็นทีร่ กั ของข้าพเจ้า! พวกเราจะสามารถยืน หยัดอยูใ่ นสนามต่างๆ ของการต่อสู้ (ญิฮาด) ในทางของ พระผู้เป็นเจ้าได้ ก็ต่อเมื่อหัวใจของพวกเราเต็มเปี่ยม ไปด้วยความศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า และเปี่ยมล้นไป ด้วยการมอบหมายต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง หาก ปราศจากเรือ่ งของจิตวิญญาณก็ไม่อาจทีจ่ ะขับเคลือ่ น ไปได้ หากปราศจากการมีความศรัทธาที่แข็งแกร่งก็ไม่ อาจที่จะย่างก้าวไปบนทางผ่านที่ ยากล�ำบากได้ หาก ปราศจากการมอบหมายต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง สายตาก็จะยึดติดอยูท่ พี่ ลังอ�ำนาจภายนอกของบรรดา อ�ำนาจทั้งหลาย และไม่อาจมองเห็นพลังอ�ำนาจที่แท้ จริงได้ ดังนั้นจ�ำเป็นต้องมีการมอบหมาย (ตะวักกุ้ล)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 57


จ�ำเป็นต้องมีความศรัทธา (อีหม่าน) จ�ำเป็นต้องมีการ คิดในทางดีงามต่อสัญญาแห่งพระผู้เป็นเจ้า สิ่งเหล่า นี้จะได้รับการสนองตอบในพิธีฮัจญ์ ณ ที่นั้นที่มนุษย์ จะไป « ‫( » ل ِ َي ْش َه ُدوا َم َنافِ َع ل َ ُه ْم‬เพื่อพวกเขาจะได้ ประจักษ์ถึงผลประโยชน์ต่างๆ ของพวกเขา) (2) ผล ประโยชน์เหล่านี้มิใช่ผลประโยชน์เฉพาะทางโลกเพียง อย่างเดียวเท่านั้น แต่มีทั้งผลประโยชน์ทางโลกและผล ประโยชน์ทางปรโลก ผลประโยชน์ทางจิตวิญญาณและ ผลประโยชน์ทางด้านจิตใจ “นี่คือฮัจญ์” วั น นี้ พวกท่ า นจะเห็ น ว่ า ในโลกอิ ส ลามนั้ น นอกจากสิ่งต่างๆ ที่บรรดาศัตรูก�ำลังสร้างให้เกิดความ ขัดแย้งภายในทางด้านความคิด ด้านจิตวิญญาณและ ความเชือ่ แล้ว พวกเขายังท�ำการโหมกระพือไฟสงคราม อีกด้วย พวกท่านลองพิจารณาดูในประเทศเพื่อนบ้าน ของเรา ในปากีสถานนั้นแบบหนึ่ง ในอิรักแบบหนึ่ง ใน ซีเรียแบบหนึ่ง ในบาห์เรนก็อีกแบบหนึ่ง พวกเขาก�ำลัง โหมกระพือไฟสงครามอย่างไรในหมู่ประชาชน ด้วยข้อ อ้างของความเป็นชีอะฮ์และซุนนี่ ในที่นี้ไม่ใช่ปัญหา ของชีอะฮ์และซุนนี่ พวกเขาก็จะใส่ชื่อชีอะฮ์และซุนนี่

58 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ให้กบั มัน ข้าพเจ้าได้ชใี้ ห้เห็นซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่าถึงกรณีตา่ งๆ เหล่านี้ พวกเขาพร้อมที่จะจุดไฟขึ้นในภูมิภาคนี้ เพื่อ เป้าหมายต่างๆ ทางการเมือง พวกมหาอ�ำนาจจะเป็น แบบนี้ พวกมหาอ�ำนาจจะไม่ใส่ใจใดๆ ต่อการระเบิด หนึ่งที่จะเกิดขึ้นในเมืองหนึ่งของอิรัก แม้ประชาชน 50 คน จะต้องเสียชีวิตในการระเบิดนี้ พวกเขาจะไม่ใส่ใจ ใดๆ ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศซีเรีย โดยที่ประเทศหนึ่งจะกลายเป็นซากปรักหักพัง หรือใน ประเทศอียปิ ต์ หรือในทีอ่ นื่ ๆ ก็ตาม แต่เพือ่ ผลประโยชน์ ต่างๆ ทีไ่ ร้ความชอบธรรมของพวกเขาแล้ว มหาอ�ำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาและที่เหมือนกับอเมริกา พวกเขา จะกระท�ำสิ่งเหล่านี้ ขณะนี้วิธีการใหม่ของอเมริกันที่มีต่อกรณีของ (3) ซีเรีย เรา หวังว่าจะเป็นสิ่งที่จริงจัง สิ่งนี้ขออย่า ให้เป็นการเล่นเกมทางการเมืองอีกก็แล้วกัน หลาย สัปดาห์ที่พวกเขาข่มขู่ประชาชนของภูมิภาคนี้ว่าจะท�ำ สงคราม จะท�ำให้เกิดการปะทะที่เต็มไปด้วยความเสีย หาย เพื่อผลประโยชน์ต่างๆ ที่พวกเขาได้ให้ค�ำจ�ำกัด ความไว้ส�ำหรับพวกเขาเอง พวกเขาถือว่าการปกป้อง


ผลประโยชน์เหล่านี้เป็นความชอบธรรมส�ำหรับพวก เขา แม้ว่าจะต้องเหยียบย�่ำท�ำลายผลประโยชน์ต่างๆ ของประเทศอื่นและชาติอื่นนับสิบประเทศก็ตาม พวก เขาเป็นแบบนี้ การมองอย่างเป็นธรรมไปยังผลประโยชน์ต่างๆ ของมนุษยชาติและเพื่อนมนุษย์ และผลประโยชน์ของ มวลมหาประชาชนแต่ละคนนั้น ไม่มีความส�ำคัญใดๆ ส�ำหรับพวกเขา พวกเขาจะให้ชื่อมันว่า “ผลประโยชน์ ของชาติ” ซึ่ง ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่ใช่ผลประโยชน์ ของชาติของตัวเองแต่อย่างใด แต่มันคือผลประโยชน์ ของชาวไซออนิสต์ เป็นผลประโยชน์ของบรรดาศัตรู ของมนุษยชาติ เป็นผลประโยชน์ของบรรดานายทุน ผู้ ซึ่งตลอดระยะเวลาเจ็ดสิบแปดสิบปีที่ผ่านมาได้แสดง ให้เห็นแล้วว่า พวกเขาไม่เคยยึดมั่นต่อหลักการขั้นพื้น ฐานใดๆ ของความเป็นมนุษย์เลย พวกเขาให้ชอื่ สิง่ นีว้ ่า ผลประโยชน์แห่งชาติของพวกเขา และเพือ่ ผลประโยชน์ แห่งชาติทกี่ ล่าวอ้างนี้ พวกเขาพร้อมทีจะโหมกระพือไฟ ทุกอย่าง ขณะนีเ้ ป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้วทีพ่ วกเขาได้ ท�ำให้ภูมิภาคนี้เกิดความอึกทึก ครึกโครมด้วยการข่มขู่ จะท�ำสงครามและข่มขู่ว่าจะทิ้งระเบิด ดังนั้นวิธีการ ล่าสุดนี้หากเป็นสิ่งที่มีความจริงจังแล้ว ก็จะเป็นการ หันออกไปจากการกระท�ำที่ผิดพลาดตามอ�ำเภอใจที่

พวกเขาได้พยายามใน ช่วงหลายสัปดาห์มานี้ เราหวัง ว่าจะเป็นเรือ่ งทีจ่ ริงจัง นีค่ อื สถานการณ์ในภูมภิ าคและ สถานการณ์ของโลก สาธารณรัฐอิสลามจะมองดูปญ ั หาต่างๆ เหล่านี้ ด้วยความเอาใจใส่ ด้วยมุมมองและสายตาที่เปิดกว้าง สิ่งที่เราเข้าใจก็คือว่า เราในฐานะที่เป็นชาติหนึ่ง ใน ฐานะที่เป็นประชาคมขนาดใหญ่ที่มีจ�ำนวนเจ็ดสิบถึง แปดสิบล้าน ทีต่ งั้ อยูใ่ นภูมภิ าคทีม่ คี วามส�ำคัญของโลก เราจะต้องท�ำให้ที่ยืนของเราเกิดความมั่นคงแข็งแกร่ง ด้วยกับมุมมองที่ถูกต้อง ด้วยกับการใช้ประโยชน์จาก พลังอ�ำนาจแห่งอิสลาม เราจะต้องท�ำให้เป้าหมาย ต่างๆ ของความเป็นมนุษย์ที่มีความสูงส่งของเราที่ ได้รับมาจากอิสลาม ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของ มนุษยชาติทั้งมวล และเราจะเชิญชวนมนุษยชาติมาสู่ สิ่งที่อิสลามได้มอบให้เป็นของขวัญแก่ มนุษยชาติ นี่ คือภาระหน้าที่ของเรา ข้าพเจ้า ได้กล่าวซ�ำ้ ไปหลายครัง้ แล้วว่า การทีจ่ ะ สร้างพลังอ�ำนาจให้เกิดขึน้ ภายในประเทศได้นนั้ อันดับ แรกจะต้องเกิดจากการมีความศรัทธาที่ถูกต้องและ มัน่ คง การสร้างความสามัคคีให้เกิดขึน้ ในหมูป่ ระชาชน การกระท�ำที่ถูกต้องของบรรดาเจ้าหน้าที่ของประเทศ ความร่วมมือกันของบรรดาเจ้าหน้าที่และประชาชน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 59


ทุกหมู่เหล่า และการมอบหมายต่อพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรง สูงส่ง หมายความว่า การใช้ภูมิปัญญา จิตวิญญาณ การมอบหมายต่อพระผู้เป็นเจ้า ในการขับเคลื่อนและ กระท�ำสิ่งดังกล่าว ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะส่ง ผลกระทบต่อสถานการณ์ต่างๆ ในภูมิภาคด้วยเช่นกัน เหมือนดังที่มันได้ส่งผลกระทบมาแล้วจนถึงขณะนี้ อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์) เราหวังว่าการปรากฏตัวทางด้านจิตวิญญาณในเวที ต่างๆ รวมถึงการปรากฏตัวของพวกท่านในพิธีฮัจญ์ ด้วยกับตรรกะทีแ่ ข็งแกร่ง และด้วยกับมุมมองทีม่ คี วาม ชัดเจนนี้ จะสามารถตอบสนองสิ่งที่อิสลามต้องการให้ เกิดขึ้นกับระบอบ กับประชาชนของโลก กับมวลมุสลิม กับผูท้ ไี่ ม่ใช่มสุ ลิม และกับมนุษยชาติได้ และจะเป็นการ ช่วยจัดเตรียมสื่อต่างๆ ส�ำหรับความผาสุกไพบูลย์ของ สาธารณชนได้ เรามุง่ หวังในดุอาอ์ (การวิงวอนขอให้แก่เรา) จาก พวกท่านทุกคน อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็นเจ้าทรง ประสงค์) เราหวังว่าฮัจญ์ในปีนจี้ ะมีความดีงามส�ำหรับ พวกท่าน และขอให้การประทานความส�ำเร็จต่างๆ จาก

60 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

พระผูเ้ ป็นเจ้า (และ) พระมหากรุณาธิคณ ุ แห่งพระผูเ้ ป็น เจ้า จงปกคลุมเหนือพวกท่านทุกคน และเหนือบรรดาผู้ แสวงบุญทัง้ ชาวอิหร่านและผูแ้ สวงบุญ ณ บัยติลลาฮิล ฮะรอมทุกคนจากทั่วโลกอิสลาม ขอให้ฮัจญ์ของพวก ท่านได้รับการยอมรับ อินชาอัลลอฮ์ (หากพระผู้เป็น เจ้าทรงประสงค์)

‫‌والسالم عليكم و رحمةاهلل و بركاته‬ ّ

ขอความสันติสุข ความเมตตาและความเป็นสิริ มงคลจากพระผู้เป็นเจ้า จงประสบกับท่านทั้งหลาย

(1) ซูเราะฮ์อัลบากอเราะฮ์/ส่วนหนึ่งจากอายะฮ์ที่ 197 (2) ซูเราะฮ์ฮัจญ์/ส่วนหนึ่งจากอายะฮ์ที่ 28 (3) ภาย หลังจากข้อเสนอของรัสเซียและการต้อนรับ ของซีเรียในการทีจ่ ะมอบอาวุธเคมีทงั้ หมดของตนให้อยูภ่ ายใต้ การควบคุมดูแลขององค์การระหว่างประเทศ อเมริกาซึ่งก�ำลัง เตรียมพร้อมที่จะบุกประเทศนี้ เกิดความลังเลใจและล่าถอย จากท่าทีของการแสวงหาสงคราม


แปลและเรียบเรียงโดย เชคอิมรอน พิชัยรัตน์

การเมือง ใน

อิสลาม

ารเมืองหมายถึงการวางกฎระเบียบเพื่อ บริหารจัดการสังคม การปกครองที่มีเป้า หมายเพื่อบริหารสังคมจ�ำเป็นต้องมีกฎระเบียบที่ถูก ต้อง และเป็นกฎระเบียบที่มีประโยชน์ครอบคลุมทุก คนในสังคม อีกทั้งรับประกันถึงความยุติธรรมในสังคม มนุษย์ถกู สร้างมาให้มเี สรีภาพ ดังนัน้ จึงมีสทิ ธิ ในการเลือก ทว่าบ้างครั้งสิทธิในการเลือกนี้อาจท�ำให้ เกิดการปะทะและขัดแย้งกัน ตรงนี้นั่นเองที่กฎหมาย เข้ามาก�ำหนดขอบเขตของสิทธิแต่ละบุคคลในสังคม และบรรดานักการเมืองมีหน้าที่รับผิดชอบในการน�ำ กฎหมายมาใช้อย่างถูกต้อง ทว่าการที่จะน�ำกฎหมาย มาใช้อย่างถูกต้องได้นั้น ต้องมีเงื่อนไขหลักที่ส�ำคัญ 3 ประการคือ 1. ความสามารถ 2.ความยุติธรรม 3. ความรู้ ต้องยอมรับว่าทุกสังคมไม่ว่าเป็นสังคมเล็ก ๆ

หรือสังคมใหญ่ ย่อมต้องประสบกับปัญหาส่วนรวมซึ่ง จ�ำเป็นต้องมีการตัดสินใจทีค่ รอบคลุมอันเป็นตัวกระตุน้ ให้คนในสังคมยอมรับในต�ำแหน่งหน้าทีน่ ี้ ประเด็นทีน่ า่ สนใจก็คอื ว่า นับตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั เรือ่ งการเมือง และอ�ำนาจทางการเมืองเป็นที่สนใจของบรรดานักคิด และนักวิชาการตลอดมา หลักฐานยืนยันค�ำพูดนี้เห็น ได้จากหนังสือต่างๆ เช่น หนังสือคลาสสิคของเพลโตที่ ชื่อ replublic (สาธารณรัฐ)ซึ่งเป็นต�ำราสอนรัฐศาสตร์ ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน และหนังสือ “รัฐศาสตร์”ของ โสกราติส

สถานภาพการเมืองในศาสนา

ศาสนาก็คือการเมืองที่ขับเคลื่อนประชาชน คือ ทุกสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน และนั่นก็คือหนทางอันเที่ยงตรง เรามีความเชื่อว่าการ เมืองก็คอื ศาสนา เพราะทุกสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในโลกใบนี้ ย่อม มีร่องรอยปรากฏให้เห็นอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงการ เกิดขึ้นของสิ่งนั้นๆได้เป็นอย่างดี บนพื้นฐานอันนี้จึง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 61


ถือได้วา่ การคงอยูข่ องอิสลามจากหน้าประวัตศิ าสตร์ชี้ ให้เห็นความจริงอันนีว้ า่ การเมืองนัน้ คืออิสลาม ส�ำหรับ หนทางในการพิสูจน์ว่าอิสลามคือศาสนาแห่งสังคม และมีขอบข่ายทีก่ ว้างกว่าชีวติ ส่วนบุคคลของปัจเฉกชน ทว่าเป็นศาสนาที่ครอบคลุมระบบสังคมและการเมือง นั้นมีอยู่สองหนทาง คือ 1. วิธกี ารอุปนัย กล่าวคือ เข้าหาคัมภีรแ์ ละซุนนัต และน�ำหลักธรรมค�ำสอนต่างๆของอิสลาม ในบทต่างๆ ของนิติศาสตร์อิสลามมาวิเคราะห์ 2. ด้วยวิธีการยึดมั่นในคุณสมบัติบางประการ ของอิสลาม เช่น “ศาสนาที่สมบูรณ์” “ศาสนาสุดท้าย” และคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่อธิบายไว้ส�ำหรับทุก อย่าง ซึง่ โดยหลักของสติปญ ั ญาและตรรกะแล้วผลทีไ่ ด้ รับก็คือ ศาสนาย่อมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในขอบข่าย ของสังคมและการเมือง เป็นวิธีการที่หาความสัมพันธ์ ระหว่ า งความสมบู ร ณ์ ข องศาสนากั บ บทบั ญ ญั ติ ที่ ครอบคลุมเรื่องสังคมและการเมือง การไม่มีเรื่องสังคม และการเมืองเข้ามาในศาสนาก็เท่ากับศาสนาขาดตก บกพร่องและไม่สมบูรณ์

ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา กับการเมืองในอัลกุรอาน

ความครอบคลุมของอัลกุรอานคือคุณสมบัติ อันโดดเด่นของคัมภีร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งหมด หาก เราอ่านคัมภีร์อัลกุรอานจะเห็นได้ว่าอัลกุรอานกล่าว ถึงเรื่องต่างๆไว้มากมาย นั่นเป็นการชี้ให้เห็นถึงความ หลากหลายในวิทยาการ ความลุ่มลึกและความสูงส่ง ของคัมภีร์ เนื้อหาหนึ่งที่อัลกุรอานให้ความส�ำคัญนั้นก็ คือเรือ่ ง “การเมือง” เราสามารถทีจ่ ะค้นหาเรือ่ งทีส่ ำ� คัญ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมืองได้ ในอัลกุรอาน และเมื่อเราค้นหาแล้วก็จะยิ่งท�ำให้เรา ได้ค้นพบกับเรื่องต่างๆอีกมากมายเกี่ยวกับประเด็นนี้ เช่น ความจ�ำเป็นในการจัดตั้งรัฐบาลและการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สภาและการปรึกษา หารือทางการเมือง เป็นต้น

62 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ความจ�ำเป็นในการจัดตั้งรัฐบาล และการปกครอง

ในมุมมองของอัลกุรอานถือว่ารัฐเป็นเรือ่ งหนึง่ ที่ฝังตัวอยู่ในศาสนา อัลกุรอานได้กล่าวถึงเหตุผลสาม ประการที่บ่งชี้ถึงความจ�ำเป็นในการจัดตั้งรัฐบาลและ การปกครองไว้ ได้แก่ 1. เรื่องราวของบนีอิสรออีล เมื่อครั้งที่เกิดความ โกลาหลขึ้นภายใน และไม่มีรัฐปกครองที่เข้มแข็ง จึง ต้องพบกับความอ่อนและพ่ายแพ้ในที่สุด 2. กองทัพญาลูตพ่ายแพ้ต่อบนีอิสรออีล หาก ไม่มีอ�ำนาจการปกครองที่เข้มแข็งและสกัดพวกกบฏ แล้วไซร้ ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน 3.การต่อสู้ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า (ญิฮาด) คือโครงสร้างที่เป็นระบบทั้งในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและอื่นๆ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในเหตุผลที่ชี้ให้เห็น ถึงความจ�ำเป็นในการจัดตั้งรัฐบาลและการปกครอง ส่วนเรื่องเป้าหมายการปกครองในอิสลามนั้นมีโองกา รอัลกุรอานและฮะดีษต่างๆมากมาย เช่น

‫َوقَا َل الَّذِ ي ْاشتَ َرا ُه م ِْن م ِْص َر ال ْم َرأَت ِ ِه أَكْ ِرمِي‬ ‫َم ْث َوا ُه َع َسى أ َ ْن يَ ْن َف َع َنا أ َ ْو نَتَّخ َِذ ُه َول َ ًدا‬ ‫ض َول ِ ُن َعلِّ َم ُه‬ ِ ‫األر‬ ْ ‫وس َف فِي‬ ُ ‫َوك َ​َذل َِك َم َّكنَّا ل ِ ُي‬ َّ‫يل األحادِيثِ و ه‬ ‫اللُ َغال ٌِب َعلَى أ َ ْم ِر ِه‬ َ ِ ‫م ِْن ت َ ْأ ِو‬ َ ‫ون‬ ِ َّ‫َول َ ِك َّن أَكْ ث َ​َر الن‬ َ ‫اس ال ي َ ْعلَ ُم‬

“และผู้ที่ซื้อเขามาจากอียิปต์กล่าวกับภริยาของ


อั ล ลอฮ์ ท รงสั ญ ญากั บ บรรดาผู ้ ศ รั ท ธาในหมู ่ พวกเจ้า และบรรดาผู้กระท�ำความดีทั้งหลายว่า(*1*) แน่นอนพระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงใน แผ่นดิน เสมือนดังทีพ่ ระองค์ทรงให้บรรดาชนก่อนพวก เขา เป็นตัวแทนสืบช่วงมาก่อนแล้ว(*2*) และพระองค์จะ ทรงท�ำให้ศาสนาของพวกเขาซึง่ พระองค์ทรงโปรดปราน เป็นทีม่ นั่ คงเป็นเกียรติแก่พวกเขา และแน่นอนพระองค์ จะทรงเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาได้รับความปลอดภัย หลังจากความกลัวของพวกเขา โดยที่พวกเขาจะต้อง เขาว่า “จงให้ที่พักแก่เขาอย่างมีเกียรติ บางทีเขาจะท�ำ เคารพภักดีข้าไม่ตั้งภาคีอื่นใดต่อข้า และผู้ใดปฏิเสธ ประโยชน์ให้เราได้บ้างหรือรับเขาเป็นบุตร” และเช่น ศรัทธาหลังจากนัน้ (*3*) ชนเหล่านัน้ พวกเขาคือผูฝ้ า่ ฝืน นั้นแหละเราได้ท�ำให้ยูซุฟมีอ�ำนาจในแผ่นดินและเพื่อ (ซูเราะฮ์อันนูร โองการที่ 55) เราจะได้สอนให้เขารู้วิชาท�ำนายฝัน และอัลลอฮ์ทรง ‫ض فَاحكُم‬ َ ‫يَا َدا ُو ُد إِنَّا َج َع ْل َن‬ ْ ‫اك َخلِي َف ًة فِي‬ ْ ْ ِ ‫األر‬ เป็นผู้พิจิตในกิจการของพระองค์ และแต่ว่าส่วนใหญ่ ‫ك َع ْن‬ َ َّ‫اس بِا ْل َح ِّق َوال تَتَّبِ ِع ا ْل َه َوى فَ ُيضِ ل‬ ِ َّ‫بَ ْي َن الن‬ ของมนุษย์ไม่รู้” َّ‫ه‬ َّ‫ه‬

‫ض يَتَ َب َّوأُ ِم ْن َها‬ ِ ‫األر‬ ْ ‫وس َف فِي‬ ُ ‫َوك َ​َذل َِك َم َّكنَّا ل ِ ُي‬ ‫يب ب ِ َر ْح َمتِ َنا َم ْن ن َ َشا ُء‬ ُ ِ‫َح ْي ُث يَ َشا ُء نُص‬ ‫َوال نُضِ ي ُع أ َ ْج َر ا ْل ُم ْحسِ نِي َن‬

‫يل الل ِ ل َ ُه ْم‬ ِ ‫ون َع ْن َس ِب‬ َ ُّ‫َس ِبي ِل الل ِ إ ِ َّن الَّذِ ي َن يَضِ ل‬ ‫اب‬ ِ ‫يد بِ َما ن َ ُسوا ي َ ْو َم ا ْلح َِس‬ ٌ ِ‫اب شَد‬ ٌ ‫َع َذ‬

“โอ้ดาวูด๊ เอ๋ย ! เราได้แต่งตัง้ เจ้าให้เป็นตัวแทนใน แผ่นดินนี้ ดังนั้น เจ้าจงตัดสินคดีต่างๆ ระหว่างมนุษย์ ด้วยความยุติธรรม และอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต�่ำ มันจะท�ำให้เจ้าหลงไปจากทางของอัลลอฮ์ แท้จริง บรรดาผู้ที่หลงไปจากทางของอัลลอฮ์นั้น ส�ำหรับพวก เขาจะได้รับการลงโทษอย่างสาหัส เนื่องด้วยพวกเขา ลืมวันแห่งการช�ำระบัญชี” (ซูเราะฮ์ศอด โองการที่ 26)

“และเช่นนัน้ แหละ เราได้ให้ยซู ฟุ มีอำ� นาจในแผ่น ดินเขาจะพ�ำนักอยู่ที่ใดได้ตามต้องการ เราให้ความ เมตตาของเราแก่ผู้ที่เราประสงค์ และเราจะมิให้รางวัล ของบรรดาผู้ท�ำความดีสูญหาย” (ซูเราะฮ์ยูซุฟ โองการ ที่ 21 และ 54) ‫ض َوآت َ ْينَا ُه م ِْن ُك ِّل ش َْي ٍء َسبَبًا‬ ِ ‫األر‬ َّ‫إ ِ َّن ه‬ ْ ‫إِنَّا َم َّكنَّا ل َ ُه فِي‬ ‫الل َ يَ ْأ ُم ُرك ُْم أ َ ْن تُ َؤ ُّدوا األ َمان َاتِ إِلَى أ َ ْهل َِها َوإ ِ َذا‬ “แท้จริงเราได้ให้อำ� นาจแก่เขาในแผ่นดิน และเรา َ َّ‫ه‬ ‫اس أ َ ْن ت َ ْح ُك ُموا بِا ْل َع ْد ِل إ ِ َّن الل‬ ِ َّ‫َح َك ْم ُت ْم بَ ْي َن الن‬ ให้เขาทุกสิ่งที่เขาต้องการ” (ซูเราะฮ์อัลกะฮ์ฟ โองการ َّ‫ن ِ ِعما يع ُِظكُم بِ ِه إ ِ َّن ه‬ ‫يرا‬ َ ‫الل َ ك‬ ْ َ َّ ً ِ‫َان َسمِي ًعا بَص‬ ที่ 84) “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงใช้พวกเจ้าให้มอบคืนบรรดา ُ َّ‫ه‬ ِ‫الصال ِ َحات‬ َّ ‫َو َع َد الل الَّذِ ي َن آ َم ُنوا ِم ْنك ُْم َو َع ِملُوا‬ ของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสิน ‫ض َك َما ْاستَ ْخلَ َف الَّذِ ي َن م ِْن‬ ِ ‫األر‬ ْ ‫ ل َ َي ْستَ ْخلِ َفنَّ ُه ْم فِي‬ระหว่างผูค้ น พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุตธิ รรม ‫ قَ ْبلِ ِه ْم َول َ ُي َم ِّك َن َّن ل َ ُه ْم دِي َن ُه ُم الَّذِ ي ْارت َ َضى ل َ ُه ْم‬แท้จริงอัลลอฮ์ทรงแนะน�ำพวกเจ้าด้วยสิ่งซึ่งดีจริง ๆ ‫َول َ ُيبَ ِّدلَنَّ ُه ْم م ِْن ب َ ْعدِ َخ ْوفِ ِه ْم أ َ ْمنًا يَ ْع ُب ُدونَنِي ال‬ แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงได้ยินและได้เห็น” (ซูเราะฮ์อัน ‫ِك‬ َ ‫ُون بِي َش ْيئًا َو َم ْن َكف َ​َر بَ ْع َد َذل َِك فَ ُأولَئ‬ َ ‫ يُ ْش ِرك‬นิซาอ์ โองการที่ 58) ท่านอายาตุลลอฮ์มะการิมชีรอซีกล่าวว่า เป้า ‫ُون‬ َ ‫ُه ُم ا ْلفَا ِسق‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 63


‫يل يَ ْأ ُم ُر ُه ْم‬ ِ ‫َمكْ ُتوبًا ِع ْن َد ُه ْم فِي التَّ ْو َرا ِة َواإل ْن ِج‬ ‫بِا ْل َم ْع ُروفِ َوي َ ْن َها ُه ْم َع ِن ا ْل ُم ْن َك ِر َويُ ِح ُّل ل َ ُه ُم‬ ‫اب‬ َّ َ َ‫الط ِّي َباتِ َويُ َح ِّر ُم َعلَ ْي ِه ُم ا ْل َخ َبائ َِث َويَ َض ُع َع ْن ُه ْم لَق َْد أ َ ْر َس ْلنَا ُر ُسلَنَا بِا ْل َب ِّينَاتِ َوأ َ ْن َز ْلنَا َم َع ُه ُم ا ْل ِكت‬ ‫يد‬ َ ‫األغال َل الَّتِي كَان َ ْت َعلَ ْي ِه ْم فَالَّذِ ي َن آ َم ُنوا َوا ْلمِي َز‬ َ ِ‫اس بِا ْلق ِْسطِ َوأ َ ْن َز ْل َنا ا ْل َحد‬ ُ َّ‫ان ل ِ َيقُو َم الن‬ ْ ‫إ ِ ْص َر ُه ْم َو‬ َّ‫ه‬ ُ ‫اس َول ِ َي ْعلَ َم الل َم ْن‬ ِ َّ‫يد َو َمنَافِ ُع ل ِلن‬ ٌ ِ‫فِي ِه بَ ْأ ٌس شَد‬ ‫بِ ِه َو َع َّز ُرو ُه َون َ َص ُرو ُه َوات َّ َب ُعوا النُّو َر‬ َّ‫ه‬ َ ‫يَ ْن ُص ُر ُه َو ُر ُسلَ ُه بِا ْل َغ ْي ِب إ ِ َّن الل قَ ِو ٌّي َعزِي ٌز‬ ‫ون‬ َ ‫الَّذِ ي أُ ْن ِز َل َم َع ُه أُولَئ‬ َ ‫ِك ُه ُم ا ْل ُمفْ لِ ُح‬

หมายของการแต่งตั้งบรรดาศาสนทูตนั้นก็คือสร้าง ความเทีย่ งธรรมและยุตธิ รรมให้เกิดขึน้ บนหน้าแผ่นดิน

“โดยแน่นอนเราได้ส่งบรรดาศาสนทูตของเราพร้อม ด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้งและเราได้ประทาน คัมภีร์และความยุติธรรมลงมาพร้อมกับพวกเขาเพื่อ มนุษย์จะได้ด�ำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม แลเราได้ให้มี เหล็กขึ้นมา เพราะในนั้นมีความแข็งแกร่งมาก และมี ประโยชน์มากหลายส�ำหรับมนุษย์ และเพื่ออัลลอฮฺจะ ได้ทรงรู้ถึงผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์ และบรรดาร่อซูลของ พระองค์ (มีความเชือ่ มัน่ ) โดยทางลับ (ต่อพระองค์) แท้ จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงอ�ำนาจ” (ซูเราะฮ์ อัลหะดีด โองการที่ 25) ศาสนามาเพื่อปลดพันธนาการแห่งความเป็น ทาสของมนุษย์สู่ความเป็นไท อิสรภาพและเสรีภาพ แห่งมนุษยชาติ

“คือบรรดาผู้ปฏิบัติตามศาสนทูตผู้เป็นศาสดาที่เขียน อ่านไม่เป็นที่พวกเขาพบเขาถูกจารึกไว้ ณ ที่พวกเขา ทัง้ ในอัต-เตารอต และในอัล-อินญีลโดยทีเ่ ขาจะใช้พวก เขาให้กระท�ำในสิ่งที่ชอบและห้ามพวกเขามิให้กระท�ำ ในสิ่งที่ไม่ชอบและจะอนุมัติให้แก่พวกเขาซึ่งสิ่งดีๆ ทั้ง หลาย และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่เลว ทั้งหลาย และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขา ซึ่งภาระ หนักของพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา ดังนั้นบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา และให้ความส�ำคัญแก่ เขาและช่วยเหลือเขา และปฏิบัติตามแสงสว่างที่ถูก ประทานลงมาแก่เขาแล้วไซร้ ชนเหล่านีแ้ หละคือบรรดา ผู้ที่ส�ำเร็จ” (ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ โองการที่ 157) ศาสนามาเพื่อช่วยเหลือให้บรรดาผู้ด้อยโอกาส ‫الر ُسو َل النَّبِ َّي األ ِّم َّي الَّذِ ي ي َ ِج ُدون َ ُه‬ َ ‫ الَّذِ ي َن يَتَّبِ ُع‬รอดพ้นจากอุ้งมือของพวกอธรรม ฉะนั้นเป็นที่ชัดเจน َّ ‫ون‬

64 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


ยิ่งว่า เป้าหมายที่สูงส่งและยิ่งใหญ่เช่นนี้ไม่อาจบรรลุ ได้หากปราศจากซึง่ การจัดตัง้ การปกครอง หากศาสนา แยกออกจากการเมือง การบริหารจัดการตนเองก็ต้อง หลุดมือไปและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวก อธรรม ชะฮีดมุเฏาะฮ์ฮารีย์ กล่าวว่า ต้องให้ประชาชน เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการเมือง ซัยยิดญะมาลปฏิเสธและประณามแนวคิดการแยก ศาสนาออกจากการเมือง และถือว่าอิสลามศาสนา แห่งการเมือง อิสลามคือศาสนาแห่งสังคม โองการที่ สามารถหยิบยกมาอ้างอิงถึงการจัดตั้งการปกครอง ได้ก็คือโองการที่ 25 ซูเราะฮ์ศอด บรรดานักเขียนและ นักอรรถาธิบายต่างก็กล่าวอธิบายโองการข้างต้นว่า การจัดตั้งการปกครองที่เข้มแข็ง ไม่ว่าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และอื่นๆ นั้นไม่ได้ขัดแย้งกับฐานะภาพทาง จิตวิญญาณแต่อย่างใด

สมมติฐานต่างๆของทฤษฎี secularism (การแยกศาสนาออกจากการเมือง)

ก่ อ นที่ เ ราจะเข้ า สู ่ เ หตุ ผ ลที่ ว ่ า ศาสนาไม่ แยกออกจากการเมื อ ง นั้ น จ� ำ เป็ น ที่ เ ราจะต้ อ ง มาท� ำ ความเข้ า ใจและ วิ เ คราะห์ เ กี่ ย วกั บ ทฤษฎี secularism เสียก่อน และ ขอหยิ บ ยกสมมติ ฐ านที่ ส�ำคัญของทฤษฎีนี้ ดังนี้ 1. ปัญญานิยม มุมมองนี้ จะยึดเอาปัญญาเป็นหลัก โดยจะปฏิ เ สธเรื่ อ งเบื้ อ ง หลังปรากฏการณ์ทั้งหมด แต่ในมุมมองของอิสลาม ถื อ ว ่ า ป ั ญ ญ า มี ฐ า น ะ ภาพที่ส�ำคัญยิ่ง กระทั่งมี รายงานกล่าวไว้วา่ ปัญญาคือพยานยืนยัน (ฮุจญัต)ด้าน ในของมนุษย์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะยึดเป็นหลัก ในทุกกรณี ทว่าปัญญาจะต้องควบคู่ไปกับอัลกุรอาน ซุนนัตและมติเอกฉันท์ของบรรดาผู้รู้ 2. มนุษย์นิยม humanism ส�ำหรับมุมมองนี้จะถือว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีนั้นเพื่อมนุษย์ และหากมีกฎหมาย ทางสังคมและการเมืองใดขัดแย้งกับมนุษย์ กฎหมาย นั้นย่อมพ่ายแพ้ไปในที่สุด แต่ในมุมมองของอิสลาม แม้จะถือว่ามนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐ แต่มนุษย์ จะสูงส่งก็ต่อเมื่อเดินตามหนทางของพระผู้เป็นเจ้า ไม่ เช่นนั้นแล้วเป็นไปได้ที่มนุษย์จะดิ่งลงสู่ระดับขั้นต�่ำสุด ของความเป็นมนุษย์ แม้กระทั่งต�่ำกว่าสัตว์เดรัจฉาน หลังจากผ่านพ้นยุคมืดของคริสตจักรที่แวดวงวิชาการ มีทัศนคติในทางลบต่อศาสนา เป็นยุคที่วิทยาศาสตร์ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและปฏิเสธความรู้ เกี่ยวกับเบื้องหลังปรากฏการณ์อย่างสิ้นเชิง (มาวะรอ อุตฏอบีอะฮ์) ชะฮีดมุเฏาะฮารีย์ เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 65


มนุษย์กำ� หนดขึน้ เอง ก็ยอ่ มมีกฎเกณฑ์ในการปฏิบตั ติ น โดยพื้นฐานแล้วไม่มีสังคมใดที่จะยอมรับว่า ไม่มีเส้น แดงในการบริหารสังคม นั่นก็เนื่องจากว่าการด�ำรงอยู่ ของสังคมนัน้ ต้องมีขอบเขตเพือ่ รักษาสังคมส่วนรวมเอา ไว้ เช่น บทลงโทษต่างๆ ต่อผู้กระท�ำผิด พวกหัวขโมย พวกลิดรอนสิทธิผู้อื่น เป็นต้น

ที่มาของแนวคิดแยกศาสนา ออกจากการเมืองในโลกอิสลาม

“จุ ด ย้ อ นกลั บ ในยุ ค ใหม่ น� ำ โดยกลุ ่ ม หนึ่ ง ซึ่ ง ระดั บ แถวหน้าของนักวิชาการก็คือ René Descartes และ Francis Bacon และค�ำพูดของเขาก็คอื แนวเหตุผลนิยม (Rationalism) ของวิทยาการนั้นต้องมอบให้กับแนว ประสาทสัมผัสและการทดลอง หลังจากปรากฏการณ์ ทางความคิดนี้ปรากฏขึ้น ก็มีความคิดหนึ่งเกิดขึ้นว่า แนวเหตุผลนิยมไม่อาจสร้างความเชื่อมั่นได้อีกต่อไป หากวิทยาการใดก็ตามที่ไม่ผ่านกระบวนการทดลอง ถื อ ว่ า เป็ น วิ ท ยาการที่ ไ ร้ แ ก่ น สาร และเนื่ อ งจากว่ า วิทยาการด้านเบื้องหลังปรากฏการณ์เป็นวิทยาการที่ ไม่อาจน�ำมาท�ำลองได้ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นวิทยาการที่ ไม่อาจสร้างความเชื่อมั่นได้ กล่าวคือกลุ่มนี้ได้ขีดเส้น แดงล้อมรอบวิทยาการด้านนี้เอาไว้.....” ซึ่งแตกต่าง จากกลุ่มที่มีความเชื่อขัดแย้งกับประเด็นข้างต้น คือ กลุ่มมุสลิมและนักวิชาการศาสนา กล่าวคือในยุคที่นัก วิชาการ (ศตวรรษที่ 5-6)ถูกกวดขันอย่างเข้มงวดจาก คริสตจักร กลับเป็นยุคที่วิทยาการในโลกอิสลามเบ่ง บาน จนถึงขนาดที่ว่าวิทยาการทางด้านการแพทย์ใน โลกอิสลามมีความเจริญก้าวหน้าจนนักวิชาการตะวัน ตกต้องเดินทางมายังดินแดนอิสลามเพือ่ ศึกษาด้านการ แพทย์กับนักวิชาการมุสลิม 3. เสรีนิยมอย่างไร้ขอบเขต เป็นกลุ่มที่รักเสรี อย่างไร้ขอบเขตโดยปราศจากกฎเกณฑ์ของศาสนา อันทีจ่ ริงแล้วเป็นแนวคิดทีไ่ ม่มศี าสนาใดให้การยอมรับ แม้กระทัง่ ไม่ใช่ศาสนาทีม่ าจากฟากฟ้าแต่เป็นศาสนาที่ 66 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ศัตรูอิสลามได้รุกคืบสู่ความเชื่อและศรัทธาของ มุสลิมด้วยการคุกคามทางด้านวัฒนธรรมผ่านการ โฆษณาชวนเชื่อจนได้ลูกค้าจากมุสลิมไปบ้าง จะด้วย การรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่อย่างไรก็ท�ำให้มุสลิมเหล่า นีข้ บั เคลือ่ นสูท่ ศิ ทางของพวกศัตรูทขี่ ดุ เจาะไว้ เนือ่ งจาก ไม่เข้าใจความหมายของการเมืองในอิสลาม ท�ำให้ พวกเขาไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวด้านการเมืองและสังคม จน ท�ำให้พวกล่าอาณานิคมขึ้นมามีบทบาทชี้น�ำและเผย แพร่แนวคิดที่ไร้แก่นสารนี้ออกสู่ประชาคมโลกอย่าง เป็นหลักการ และน�ำความอัปยศสู่สังคมมุสลิมในที่สุด ทว่าหลังจากการปฏิวตั อิ สิ ลามแห่งอิหร่านเกิดขึน้ ความ หวังในโลกอิสลามก็บังเกิดขึ้นเช่นกัน ทว่าเส้นทางนี้ยัง คงอีกยาวไกลกว่าจะถึงสุดหมายปลายทางแห่งการมา ปรากฏของอิมามมะฮ์ดี (อ.)

สาเหตุที่มุสลิมให้ความสนใจ กับ secularism (การแยกศาสนา ออกจากการเมือง)

1. การโฆษณาชวนเชื่อและช่องว่าง ตั้งแต่ยุค ท่านศาสดาอาดัม (อ.)จนถึงยุคอิมามมะฮ์ดี มันคือ ความจริงที่ว่ามีปัจจัยเป็นเหตุให้อ�ำนาจการเมืองการ ปกครองไม่ได้อยู่ในมือของโลกอิสลาม มันจึงเกิดช่อง ว่างขึน้ จนกระทัง่ ยอมรับกันว่าอิสลามกับการเมืองเป็น สิง่ ทีแ่ ยกออกจากกัน และมันก็ได้หยัง่ รากลึกเข้าสูค่ วาม คิดของมวลมุสลิม อิมามโคมัยนี กล่าวถึงเรือ่ งนีว้ า่ “สือ่ ของพวกล่าอาณานิคมได้ประโคมโฆษณาชวนเชื่อว่า ศาสนาแยกออกจากการเมือง เป็นทีน่ า่ เสียดายทีม่ กี ลุม่


หนึ่งหลงเชื่อและตกอยู่ใต้อิทธิพลการโฆษณาชวนเชื่อ นัน้ ...” ทว่าหลังจากการปฏิวตั อิ สิ ลามแห่งอิหร่านได้เกิด ขึ้น ท�ำให้ความคิดนี้เจือจางลง แต่อย่างไรก็ตามศัตรู อิสลามก็ไม่หยุดนิ่งที่จะเผยแพร่แนวคิดนี้ต่อไป 2. ไม่เข้าใจประวัติศาสตร์อย่างถ่องแท้ อีก ปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้เคลิบเคลิ้มไปกับค�ำโฆษณาชวนเชื่อ ของศัตรูเกี่ยวกับการแยกศาสนาออกจากการเมือง คือ การไม่เข้าใจประวัตศิ าสตร์อย่างถ่องแท้ ปราศจากการ วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆที่ขวางกั้นไม่ให้บรรดาอิ มามมะอ์ซมู (อ.) จัดตัง้ รัฐปกครองขึน้ จึงเป็นเหตุปจั จัย ให้ลืมเลือนประเด็นการเมืองการปกครองไปในที่สุด 3. เป็ น อั น ตรายต่ อ ผลประโยชน์ ข องชาติ ล ่ า อาณานิคม เรื่องนี้ชัดแจ้งยิ่งกว่าแสงอาทิตย์ที่ส่อง แสงยามเที่ยงวันเสียอีก แต่ก็ไม่เป็นการตอกย�้ำให้รู้ว่า ยุทธศาสตร์ของชาติล่าอาณานิคมนั้นขัดแย้งกับแก่น และวิญญาณของศาสนาอิสลามอย่างสิ้นเชิง อิสลาม ทีช่ ธู งชัยแห่งอิสรภาพและเสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ ปฏิเสธผลประโยชน์ที่ไร้มนุษยธรรมมานับ ตัง้ แต่วนั แรก แน่นอนทีส่ ดุ ศาสนาอิสลามและผูท้ นี่ บั ถือ ศาสนาอิสลามย่อมเป็นเป้าในการจู่โจม คุกคาม เพื่อ ท�ำลายให้พ้นไปจากยุทธศาสตร์แห่งการสวาปามของ พวกมัน อิมามโคมัยนีกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ พวกเขาเห็นพลังของอิสลาม ที่รุกคืบเข้าสู่

ตะวันตกและพวกมันก็รู้ว่าอิสลามบริสุทธิ์นี้ขัดแย้งกับ ยุทธศาสตร์ของพวกมัน และก็เข้าใจแล้วว่าไม่อาจ ครอบครองนักการศาสนาที่แท้จริงได้ พวกมันจึงมุ่ง เพียรพยายามตัง้ แต่แรกเพือ่ ก�ำจัดเสีย้ นหนามนีอ้ อกไป จากเส้นทางยุทธศาสตร์ของพวกมัน” 4. ความกลัวต่ออิสลาม หลังจากพิชติ สเปนโดย ฏอริก บินซิยาด กว่า 700 ปีทมี่ สุ ลิมทีน่ นั่ ได้ศกึ ษาหาความรู้ มารยาทอิสลามและ การพัฒนา จนท�ำให้ชาวตะวันตกตะลึงในความเจริญ ก้าวหน้าของมวลมุสลิม พวกเขารู้สึกว่าความเจริญ รุ่งเรืองของอิสลามในใจกลางยุโรปนั้นเป็นอันตราย จึง วางแผนการเปิดสถานเริงรมย์และอบายมุขมอมเมา เยาวชน ทัง้ โจมตีทางกองก�ำลังทหารอีกทางหนึง่ ในทีส่ ดุ การปกครองทีย่ าวนานกว่า 700 ปีกจ็ บลง และพวกเขา ก็เล็งเห็นแล้วว่าวิธกี ารทีจ่ ะสะกัดและท�ำลายอันตรายนี้ ได้นั้นคือการรุกรานทางด้านวัฒนธรรมทุกรูปแบบและ พยายามน�ำเสนอรูปแบบทางการเมืองตามแบบฉบับ ของพวกเขาฝังไว้ในกลุ่มประเทศอิสลาม อ้างอิง 1. มุฮัมหมัดมะฮ์ดี มะอ์รีฟัต บทความ “ผู้น�ำและการ บริหารจัดการทางด้านการเมืองในอิสลาม” 2.ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 3 หน้า 144

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 67


แปลและเรียบเรียงโดย เชคอิมรอน พิชัยรัตน์

กุรอานวิทยา วะฮ์ยู

ความหมายของวะฮ์ยู

เนื่ อ งจากอั ล กุรอานมีความสัม พันธ์กับ วะฮ์ ยู อย่างแนบแน่น จึงท�ำให้นักค้นคว้าด้านประวัติอัลกุ รอานจึงเริ่มค้นคว้าเรื่องวะฮ์ยูก่อนเป็นอันดับแรก ความหมายตามพจนานุกรม อิบนุมันซูร กล่าวไว้ใน ลิซานุลอะร็อบ ว่า : "วะฮ์ยูหมายถึง การชี้ การเขียน จดหมาย การ ดลจิต ค�ำกล่าวที่เร้นลับและทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้สื่อกับ ผู้อื่น" ประโยคที่ว่า “ วะฮา อิลัยฮิ วะเอาฮา” หมายถึง กล่าวกับเขาในลักษณะที่เร้นลับกับผู้อื่น ตามทัศนะของท่านรอฆิบ อิศฟะฮานี รากศัพท์ ของค�ำว่า “วะฮ์ย”ู ให้ความหมายของการชีอ้ ย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้จึงเรียกทุกๆ การงานที่กระท�ำอย่างรวดเร็ว ว่า “วะฮ์ยู” ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่อาจจะเป็นค�ำพูดที่มีรหัส และเป็นค�ำพูดที่เป็นการสื่อถึงอะไรบางอย่าง อาจจะ เป็นเพียงเสียงทีป่ ราศจากค�ำหรืออาจจะเป็นการชีด้ ว้ ย อวัยวะบางส่วนหรืออาจจะด้วยการเขียน 1 บางครั้งจะมีการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษของ “การ เร้นลับ”เข้าไปในความหมายด้วย นัน่ ก็เนือ่ งจากว่าโดย ปกติแล้วการชีท้ รี่ วดเร็วนัน้ จะเป็นสิง่ ทีป่ กปิดและเร้นลับ ส�ำหรับผู้ที่ถูกชี้ 2 68 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี เชื่อว่าสามารถเข้าใจ ความหมายจากกรณีการใช้คำ� ว่า “วะฮ์ย”ู ได้วา่ การสือ่ ความหมายทีป่ กปิดและเร้นลับส�ำหรับผูอ้ นื่ นัน้ คือ “วะฮ์ ยู” ด้วยเหตุนี้ การเข้าใจความหมายต่างๆ ของพวกสัตว์ ด้วยสัญชาตญาณและการเข้าใจความหมายในความ ฝันของมนุษย์ (โองการที่ 7 ซูเราะฮ์กอศ็อศ) การกระซิบ กระซาบหรือการชี้ ทัง้ หมดนีค้ อื “วะฮ์ย”ู 3 อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไม่สามารถที่จะปฏิเสธการใช้ค�ำว่า “วะฮ์ยู”ใน ความหมายของการสื่อความหมายที่ควบคู่กับความ รวดเร็วและการปกปิด แต่ก็ไม่อาจที่จะยอมรับได้ว่า จ�ำเป็นต้องใช้คุณสมบัติพิเศษต่างๆ นี้ใน ทุกๆ กรณี ซึ่งอัลกุรอานเองก็ใช้ในกรณีต่าง ๆ ที่ไม่มีคุณสมบัติทั้ง สองนั้นเลยเช่นกัน 4 ความหมายในเชิงวิชาการ วะฮ์ยใู นความหมายเชิงวิชาการ หมายถึง ความ สัมพันธ์ทางจิตวิญญาณและเร้นลับระหว่างพระผู้เป็น เจ้ากับบรรดาศาสดาของพระองค์ ศาสดาคือผูร้ บั สาส์น ของพระผู้เป็นเจ้าจากผู้ที่ส่งสาส์นนั้นมาด้วยสื่อของ ความสัมพันธ์อันนี้ และไม่มีใครที่เหมาะสมที่จะได้รับ สาส์นอันนีไ้ ด้เลยนอกจากท่านเท่านัน้ เราจะกล่าวเกีย่ ว กับประเด็นนี้ในหมวดที่ 3 ต่อไป


คือ บรรดาชัยฏอนที่เป็นมนุษย์ และญินโดยที่บางส่วน ของพวกเขาจะกระซิบกระซาบแก่อีกบางส่วน” 9

‫ون إِلَى أ َ ْول ِ َيائِ ِه ْم ل ِ ُي َجا ِدلُوك ُْم‬ َ ‫وح‬ ُ ‫َوإ ِ َّن الشَّ َياطِ ي َن ل َ ُي‬

“และแท้จริงบรรดาชัยฏอนนัน้ จะกระซิบกระซาบ แก่บรรดาสหายของมัน เพื่อพวกเขาจะได้โต้เถียงกับ พวกเจ้า” 10 5. การชี้

‫اب‬ ِ ‫فَ َخ َر َج َعلَى ق َْو ِم ِه ِم َن ا ْلم ِْح َر‬ ‫فَأَ ْو َحى إِل َ ْي ِه ْم أ َ ْن َس ِّب ُحوا بُكْ َر ًة َو َعشِ يًّا‬

“แล้วเขาได้ออกจากแท่นสวดมายังหมู่ชนของ เขา และเขาได้ชี้ใบ้แก่พวกของเขาว่าพวกท่านจงกล่าว สดุดีในยามเช้าและยามเย็น” 11 6. การชี้น�ำด้วยสัญชาตญาณ

“วะฮ์ยู” ในอัลกุรอาน

วะฮ์ยูในอัลกุรอาน ใช้เกี่ยวกับมะลาอิกะฮ์ ชัย ‫ك إِلَى النَّ ْح ِل‬ َ ُّ ‫َوأ َ ْو َحى َرب‬ 5 ฏอน มนุษย์ สัตว์และผืนดิน “และพระผูอ้ ภิบาลของเจ้า ทรงดลใจแก่ผงึ้ ...” 12 1. การดลจิ ต จากพระผู ้ อ ภิ บ าลไปยั ง บรรดา มีรายงานที่น่าสนใจหนึ่งซึ่งรายงานจากท่าน มะลาอิกะฮ์ : อิมามอะลี (อ.) โดยได้แบ่งการใช้ค�ำว่าวะฮ์ยูในอัล ‫ك إِلَى ا ْل َمالئِ َك ِة أَنِّي َم َعك ُْم‬ َ ُّ ‫إ ِ ْذ يُوحِ ي َرب‬ กุรอานไว้ในหลายกรณี เช่น นุบูวัต การดลจิต การชี้ “จงร�ำลึกขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าประทาน การก�ำหนด(ตักดีร) การบัญชา วะฮ์ยทู เี่ ป็นเท็จ (ในกรณี โองการแก่มะลาอิกะฮ์ว่า แท้จริงข้านั้นร่วมอยู่กับพวก ของบรรดาชัยฏอน) วะฮ์ยทู ใี่ ห้ความหมายของการแจ้ง เจ้าด้วย” 6 ข่าว เป็นต้น และแต่ละกรณีทา่ นได้ยกโองการอัลกุรอาน 2. การดลจิตจากพระผู้อภิบาลยังมนุษย์: มาก�ำกับไว้ด้วยเช่นกัน 13

‫َوأ َ ْو َح ْي َنا إِلَى أُ ِّم ُمو َسى أ َ ْن أ َ ْرضِ عِي ِه‬

“และเราดลใจแก่มารดาของมูซาจงให้นมแก่

วะฮ์ยูแห่งศาสดาและประเภทต่างๆ

วะฮ์ ยู ที่ ถู ก ใช้ ม ากที่ สุ ด คื อ วะฮ์ ยู ข องบรรดา เขา” ศาสดา ซึ่งอัลกุรอานใช้ค�ำนี้และค�ำที่แตกออกจากมัน 3. การดลจิตจากพระผู้อภิบาลไปยังสรรพสิ่ง : เกีย่ วกับบรรดาศาสดาเป็นการเฉพาะกว่า 70 ครัง้ โดยที่ ‫ك أ َ ْو َحى ل َ َها‬ َ َّ ‫) بِأَ َّن َرب‬٤( ‫ ي َ ْو َمئِذٍ تُ َح ِّد ُث أ َ ْخ َبا َر َها‬ใช้ในกรณีและความหมายอืน่ น้อยมากเมือ่ เปรียบเทียบ “ในวั น นั้ น มั น จะบอกข่ า วของมั น ว่ า แท้ จ ริ ง กับการใช้ในความหมายนี้ การครอบคลุมค�ำนี้เฉพาะ ส�ำหรับบรรดาศาสดานั้นมันกลายเป็นสิ่งที่ถูกก�ำหนด พระเจ้าได้มีบัญชาแก่มัน” 8 ไปแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงพบว่าในศาสนาอิสลามเราจะไม่ 4. การกระซิบกระซาบของชัยฏอน : ใช้คำ� นีใ้ นความหมายอืน่ ทีน่ อกเหนือจากการใช้สำ� หรับ ‫َج َع ْلنَا ل ِ ُك ِّل نَبِ ٍّي َع ُد ًّوا َش َياطِ ي َن اإل ْن ِس‬ บรรดาศาสดา 14 ‫ض‬ ٍ ‫َوا ْل ِج ِّن يُوحِ ي ب َ ْع ُض ُه ْم إِلَى بَ ْع‬ วะฮ์ยู คือปรากฏการณ์หนึ่งที่อยู่เหนือความคิด “และเช่นนั้น เราได้ให้มีศัตรูขึ้นแก่ทุกๆ ศาสดา และปัญญาของมนุษย์ มันเป็นปรากฏการณ์ที่เร้นลับ 7

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 69


‫فَقَا َل ا ْل َمأل الَّذِ ي َن َكف َُروا م ِْن ق َْو ِم ِه َما َه َذا‬ ‫ِيد أ َ ْن يَتَف ََّض َل َعلَ ْيك ُْم‬ ُ ‫إِال بَ َش ٌر ِم ْثلُك ُْم يُر‬ َّ‫ولَو َشاء ه‬ ً‫اللُ أل ْن َز َل َمالئِ َكة‬ َ ْ َ

“แล้วหัวหน้าของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาในหมู่ ชนของเขาได้กล่าวขึ้นว่า “เขาผู้ที่มิใช่ใครอื่นนอกจาก เป็นปุถุชนคนธรรมดาเช่นเดียวกับพวกท่าน เพียงแต่ เขาต้องการที่จะท�ำตัวให้ดีเด่นเหนือพวกท่าน และหา กอัลลอฮ์ ทรงประสงค์แล้ว แน่นอนพระองค์จะทรงส่ง มะลาอิกะฮ์ลงมา” 16 เนื่ อ งจากเป็ น การยากที่ จ ะเชื่ อ ต่ อ สิ่ ง ที่ เ หนื อ ปัญญา พวกเขาจึงใส่ไคล้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่าเป็น ผู้วิกลจริต :

และเป็นปรากฏการณ์ที่สัมพันธ์กับอีกโลกหนึ่ง เพื่อให้ มนุษย์ผู้หนึ่งที่ถูกเลือกสรรแล้วเป็นผู้ที่ได้รับสาส์นอัน เร้นลับที่สูงส่งที่สุดด้วยการรับรู้ที่ปราศจากการเรียนรู้ (อิลมุลฮุฎูรี) เฉพาะเขาผู้นั้นเท่านั้นที่จะเข้าถึงแก่นแท้ ของวะฮ์ยู ส่วนส�ำหรับผู้อื่นเป็นเพียงการรับรู้ที่อยู่ภาย ใต้แก่นแท้นั้นที่ได้รับมาจากร่องรอยและสัญลักษณ์ ٌ ต่างๆ ของวะฮ์ยูเท่านั้น เป็นการรับรู้ที่อยู่ภายใต้วะฮ์ ‫إ ِ ْن ُه َو إِال َر ُجل ب ِ ِه ِجنَّ ٌة فَتَ َرب َّ ُصوا ب ِ ِه َحتَّى حِ ي ٍن‬ “เขามิได้เป็นอะไรนอกจากเป็นคนวิกลจริต ดัง ยูส�ำหรับศาสดา สรุปโดยรวมแล้วเป็นการรับรู้ที่แตก ต่างอย่างสิ้นเชิงจากประสบการณ์ การใช้ปัญญาด้วย นั้นพวกท่านจงอดทนคอยเขาสักระยะเวลาหนึ่ง” ‫فَقَالُوا أَبَ َش ٌر يَ ْه ُدون َ َنا فَ َكف َُروا َوت َ َول َّ ْوا‬ เหตุและผล หรือด้วยการบรรลุถึงขั้นเห็นแจ้งของอิร “แต่พวกเขาได้กล่าวว่ามนุษย์สามัญชนเช่นนีน้ ะ ฟาน การรับรู้นี้ของบรรดาศาสดาแตกต่างอย่างสิ้นเชิง จากการรับรู้ด้วยวิธีต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งเป็นการรับรู้ที่ หรือจะชีน้ ำ� ทางให้แก่เรา พวกเขาได้ปฏิเสธศรัทธา และ ผินหลังให้” 17 เฉพาะและพิเศษหนึ่งส�ำหรับบรรดาศาสดาเท่านั้น หลังจากอัลกุรอานประกาศการเป็นมนุษย์ปถุ ชุ น ความหมายที่ให้ไว้ส�ำหรับค�ำว่า ของบรรดาศาสดาทั้งหมด ซึ่งย่อมไม่มีความแตกต่าง “วะฮ์ยู” คือ ระหว่างพวกท่านกับผู้อื่น แต่พระองค์ตรัสถึงความ วะฮ์ยู คือ วจนะแห่งชั้นฟ้า (ที่ไม่ใช่โลกแห่งวัตถุ) แตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่มนี้ไว้ในการได้รับวะฮ์ยูของ ซึ่งไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้ด้วยประสาทสัมผัสและ บรรดาศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้าว่า : ปัญญา แต่ทว่าเป็นการรับรู้อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีเพียง ‫وحى إِل َ َّي‬ َ ُ‫ق ُْل إِن َّ َما أَنَا ب َ َش ٌر ِم ْثلُك ُْم ي‬ บางคนเท่านัน้ ทีพ่ ระผูเ้ ป็นเจ้าประสงค์ให้ได้รบั สาส์นอัน “จงกล่าวเถิด(มุฮัมหมัด) “แท้จริง ฉันเป็นเพียง เร้นลับ (ทีป่ ระสาทสัมผัสและปัญญามิอาจจะเข้าถึงได้) ด้วยหนทางของวะฮ์ยแู ละการสอนจากพระผูเ้ ป็นเจ้า 15 มนุษย์สามัญ18ชนคนหนึ่งเหมือนพวกท่าน นอกจากมี ปรากฏการณ์ทเี่ หนือปัญญา เป็นสภานภาพหนึง่ วะฮ์ยูแก่ฉัน” โดยพื้นฐานแล้วศาสนาของบรรดาศาสดาวาง ที่สูงส่งที่สุดที่เป็นจุดต่างของบรรดาศาสดาออกจาก ผู้อื่น นอกจากอัลกุรอานจะตอกย�้ำถึงเรื่องที่ว่าบรรดา อยูบ่ นรากฐานแห่งวะฮ์ยู ซึง่ ไม่ได้วางอยูบ่ นบรรทัดฐาน ศาสดาก็เป็นมนุษย์ปุถุชน พระองค์ทรงอธิบายถึงการ ของปัญญา ศาสนาไม่ใช่เป็นสิ่งที่ได้รับมาจากปัญญา ของมนุษย์ แต่เป็นสิ่งที่มีแหล่งที่มาจากวะฮ์ยู ปฏิเสธท่านศาสดาของพวกปฏิเสธศรัทธาว่า : โองการที่ 4-5 ของซูเราะฮ์นจั ม์ ซึง่ เป็นทีม่ าของ

70 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


ประเภทหลังนีค้ อื “ทูต” (มะลาอิกะฮ์) เป็นผูน้ ำ� สาส์นมา ด้วยตนเอง แต่ “ม่านกั้น” เป็นสื่อกลางหนึ่งที่วะฮ์ยูเกิด ขึ้นเบื้องหลังของสิ่งนั้น 23 ในโองการนีบ้ ง่ ชีว้ า่ วะฮ์ยเู ป็นการสนทนาทีไ่ ม่มี สื่อกั้น แต่วะฮ์ยูที่ให้ความหมายกว้างนั้นครอบคลุมทั้ง สามประเภท กล่าวอีกอย่างได้วา่ วะฮ์ยู ทัง้ สามประเภท ได้แก่ : 1.วจนะของพระผู้เป็นเจ้า ที่ไม่มีสื่อกั้นระหว่าง พระผู้เป็นเจ้ากับสรรพสิ่งที่ถูกสร้าง 2. วจนะของพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ยินจากเบื้องหลัง ม่านกั้น เช่น ต้นฏูรที่ท่านศาสดามูซา (อ.) ได้ยินวจนะ ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นวจนะที่มาจากพระองค์ ความเชือ่ มัน่ ได้อธิบายถึงความสูงส่ง ความบริสทุ ธิข์ อง 3. วจนะของพระผู้เป็นเจ้าที่ทูตผู้หนึ่งเป็นผู้น�ำ สถานภาพแห่งวะฮ์ยูไว้ว่าแม้แต่เสี้ยวหนึ่งของอารมณ์ มาให้แก่มนุษย์ 24 ใฝ่ต�่ำและความผิดพลาดก็มิอาจมาจับต้องมันได้เลย โองการต่ อ มาได้ ชี้ เ ฉพาะประเภทของวะฮ์ ยู ‫وحى‬ َ ُ‫)إ ِ ْن ُه َو إِال َو ْح ٌي ي‬٣( ‫ َو َما ي َ ْنطِ ُق َع ِن ا ْل َه َوى‬ส�ำหรับท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ไว้ว่า : “และเขามิได้พดู ตามอารมณ์ อัลกุรอานมิใช่อนื่ ‫ك ُرو ًحا م ِْن أ َ ْم ِرنَا َما ُك ْن َت‬ َ ‫َوك َ​َذل َِك أ َ ْو َح ْي َنا إِل َ ْي‬ 19 ใดนอกจากเป็นวะฮ์ยูที่ถูกประทานลงมา” ‫ان‬ ُ ‫اب َوال اإلي َم‬ ُ َ‫ت َ ْدرِي َما ا ْل ِكت‬ วะฮ์ยูส�ำหรับบรรดาศาสดาในอัลกุรอานก็ยังใช้ “และเช่นนั้น เราได้วะฮ์ยูรูห์หนึ่งจากพระบัญชา ค�ำอื่นเช่นกัน อาทิ “ตักลีม”20 และ “อิลกออ์”21 ของเราแก่เจ้าโดยที่เจ้าไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าอะไรคือ วะฮ์ยูแห่งศาสดาประเภทต่างๆ คัมภีร์ และอะไรคือการศรัทธา” 25 เราเรียกความสัมพันธ์อันเร้นลับระหว่างบรรดา “รูห์” ในโองการข้างต้นคือ รูหุลอะมีน (รูห์ผู้ ศาสดากับพระผู้เป็นเจ้าว่า “วะฮ์ยู” ตามตัวบทของอัล ซื่อสัตย์) ดังมีปรากฏในโองการที่193-194 ของซูเราะฮ์ กุรอานวะฮ์ยูสามารถเกิดขึ้นได้ใน 3 ลักษณะ ดังนี้ : ชุอะเราะอ์ว่า “อัรรูห์ ผู้ซื่อสัตย์ ได้น�ำมันลงมา ยังจิตใจ َّ‫َان لِب َش ٍر أ َ ْن ي َكلِّم ُه ه‬ ‫اللُ إِال َو ْحيًا‬ ‫ك‬ ‫ا‬ ‫م‬ ‫و‬ َ ُ َ َ َ​َ ของเจ้าเพื่อเจ้าจักได้เป็นผู้ตักเตือนคนหนึ่ง” รูหุลอะ َ َ َ ‫اب أ ْو يُ ْرسِل َر ُسوال‬ ٍ ‫أ ْو م ِْن َو َرا ِء حِ َج‬ มีน เป็นผู้น�ำอัลกุรอานสู่จิตใจของเจ้า ด้วยเหตุนี้อัลกุ “และไม่เป็นการบังควรแก่มนุษย์คนใดที่จะให้ รอานทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน ญิบรออีลและรูหุลอะ อัลลอฮ์ตรัสแก่เขาเว้นแต่โดยทางวะฮ์ยู หรือโดยทาง มีน เป็นสื่อกลางที่น�ำวะฮ์ยูลงมา ( ซึ่งจัดอยู่ในประเภท เบื้องหลังม่าน หรือโดยที่พระองค์จะส่งทูตมา” 22 ที่สามของการวะฮ์ยู) ส่วนประเภทแรกของวะฮ์ยูนั้น โองการนี้ได้อธิบายถึงการสนทนาของพระผู้ เฉพาะส�ำหรับโลกที่อยู่เหนือวัตถุและการรู้แจ้ง ซึ่งโลก เป็นเจ้ากับมนุษย์ไว้ใน 3 ลักษณะเท่านั้น คือ ประเภท ที่เข้าใจสรรพสิ่งต่างๆ ด้วยสื่อของความหมายและ ที่หนึ่งเป็นวะฮ์ยูที่ไม่ต้องผ่านสื่อใด ๆ ทั้งสิ้นแต่เป็นวะฮ์ ความรู้ที่ได้มาด้วยการต้องศึกษามิอาจที่จะเข้าถึงได้ ยูโดยตรง ประเภทที่สองและที่สามเป็นการสนทนาที่มี ไม่วา่ จะเป็นค�ำทีเ่ ป็นอาหรับหรือไม่ใช่อาหรับ ในความ เงื่อนไขของม่านกั้นหรือทูต ความแตกต่างระหว่างสอง หมายของการปราศจากซึ่งสื่อกลาง ไม่ใช่เพียงแต่การ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 71


ไม่ตระหนักถึงสื่อกลางเท่านั้น แต่ทว่าแท้ที่จริงแล้วสิ่ง แปลกปลอมอื่น ๆ มิอาจมาเป็นสื่อกลางได้เลย 26

วะฮ์ยูแบบโดยตรง

วะฮ์ ยู ที่ ย ากล� ำ บากมากที่ สุ ด คื อ วะฮ์ ยู แ บบ โดยตรง กล่าวคือ ขณะเมื่อท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ต้อง สื่อสารกับปฐมเหตุของทุกสรรพสิ่งด้วยตัวของท่านเอง โดยไม่มสี อื่ กลางใดๆ ทัง้ สิน้ ถึงแม้วา่ เราไม่สามารถทีจ่ ะ เข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องนี้ได้ แต่กไ็ ม่ใช่เรื่องยากในการที่ จะมโนภาพและยืนยันถึงความหนักอึ้งของวะฮ์ยูนั้นได้ หลังจากที่อัลกุรอานได้อธิบายไว้ 27 และรายงานต่างๆ มากมายทั้งจากสายชีอะฮ์และซุนนะฮ์ จะเข้าใจถึงความยิง่ ใหญ่ของวะฮ์ยแู บบโดยตรง ได้กต็ อ่ เมือ่ เรารูว้ า่ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีจติ วิญญาณที่ มีพลังอย่างน่าอัศจรรย์ โดยพื้นฐานแล้วเมื่อผู้ที่มีความ รักผู้หนึ่งมีศักยภาพพร้อม ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถ ให้ตนเองอยู่ในห้วงรัศมีแห่งวะฮ์ยูและอยู่ภายใต้พระ บัญชาที่ยิ่งใหญ่นี้ได้ ทั้งๆ ที่ท่านมีสิ่งนี้ แต่ความหนัก อึ้งของวะฮ์ยูก็ท�ำให้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) รับมันเอาไว้ อย่างยากยิ่ง ตัวอย่างจากรายงานต่างๆ : 1. ท่านฏอบริซี ได้รายงานหนึ่งไว้ใต้โองการที่ 5 ของซูเราะฮ์มุซซัมมิลว่า ท่านฮาริษ บินฮิชามถามท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า : วะฮ์ยูถูกประทานลงมายังท่าน อย่างไร ท่านกล่าวว่า บางครั้งมีเสียงดังมาซึ่งเป็น

72 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

สภาพของวะฮ์ยูที่รุนแรงที่สุดส�ำหรับฉัน จนท�ำให้ฉัน อ่อนเพลียและเหน็ดเหนือ่ ย ในขณะทีฉ่ นั ก็จดจ�ำถ้อยค�ำ ทั้งหมด และบางครั้งก็มีเทวทูตท่านหนึ่งในรูปร่างของ มนุษย์ลงมาและฉันก็จดจ�ำในสิ่งที่เขากล่าว 28 2. อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร กล่าวว่า : ฉันถามท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ถึงความรู้สึกในการได้รับวะฮ์ยู ท่าน กล่าวว่า : ฉันจะได้ยินเสียง ในขณะนั้นฉันจะนิ่งเงียบ วะฮ์ยูจะไม่ถูกประทานลงมาให้แก่ฉันเลยนอกจากฉัน คิดว่าชีวิตฉันก�ำลังออกจากร่าง 29 เชคศอดู ก รายงานจากท่ า นซุ ร อเราะฮ์ ไ ว้ ใ น หนังสือของท่านว่า ซุรอเราะฮ์กล่าวแก่อิมามซอดิก (อ.) ว่า ฉันขอมอบชีวิตให้แก่ท่าน การหมดสติของท่าน ศาสดา(ศ็อลฯ)ในขณะทีว่ ะฮ์ยถู กู ประทานลงมานัน้ เป็น เช่นไร ท่านกล่าวว่า : วะฮ์ยูในลักษณะเช่นนี้เป็นช่วง ที่ไม่มีใครเป็นสื่อกลางระหว่างเขากับอัลลอฮ์ (ซบ.)ใน ขณะนั้นพระผู้เป็นเจ้าจะทรงส�ำแดงถึงความยิ่งใหญ่ และความสูงส่งของพระองค์แก่เขา 30 3. มีรายงานหนึ่งจากอาอิชะฮ์ว่า ในวันที่อากาศ หนาวเหน็บวันหนึ่ง วะฮ์ยูถูกประทานลงมายังท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) หลังจากที่จบสิ้นการประทานวะฮ์ยู เหงื่อได้ไหลออกมาจากหน้าผากของท่าน 31 สภาพเช่นนีข้ องการวะฮ์ยแู บบโดยตรงเป็นสิง่ ที่ หนักอึง้ ยิง่ ส�ำหรับท่านศาสดา(ศ็อลฯ) จนกระทัง่ ในบาง รายงานได้ใช้ประโยคทีว่ า่ “ความรุนแรงของอาการเป็น ไข้แห่งวะฮ์ยู” ในช่วงท้ายของหมวดนี้ เราจะขอกล่าวถึงสภาพ ต่างๆ ของวะฮ์ยูตามพื้นฐานของรายงานต่างๆ จาก หนังสือตารีเคอัลกุรอาน ซึ่งเป็นผลงานอันทรงคุณค่า ของ ดร. มะห์หมูด รอมยอร : 1. ได้ยินเสียงคล้ายเสียงระฆัง หรือคล้ายเสียงที่ โลหะสองชิ้นมากระทบกัน หรือคล้ายเสียงของผึ้ง 2. มีอาการปวดแสบปวดร้อน เหล่าสาวกจะน�ำ น�้ำมาลูบตัวท่านเพื่อให้หายจากอาการดังกล่าว


3. รู้สึกร้อนอย่างรุนแรงในขณะที่อากาศหนาว โดยมีเหงื่อไหลออกมาทั่วใบหน้าของท่าน 4. มีสีหน้าแดงก�่ำ 5. หมดสติ 6. มีอาการอดทนต่อความทรมานอย่างหนักและ มีอาการปวดหัว 7. บางครัง้ ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) มีอาการทีห่ นักอึง้ จนท�ำให้สตั ว์ทที่ า่ นขีอ่ ยูน่ นั้ ไม่สามารถเดินทางต่อไป 32 รายงานต่ า งๆ ที่ อ ธิ บ ายถึ ง สภาพต่ า งๆ ใน การได้รับวะฮ์ยูต่างก็ยืนยันว่า การรับวะฮ์ยูนั้นเป็นไป รายงานนี้ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ถึ ง ความยิ่ ง ใหญ่ ข องท่ า น อย่างผู้ที่รับรู้และรู้สึก ความหนักอึ้งของวะฮ์ยู ไม่อาจมี ศาสดา (ศ็อลฯ) เมื่ออยู่กับญิบรออีล ซึ่งอัลกุรอาน อิทธิพลเหนือพลังทางปัญญาของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) กล่าวถึงญิบรออีลว่า ผู้ทรงพลังอ�ำนาจอันมากมาย ได้เลย แต่ทว่าท่านรับสาส์นของอัลลอฮ์ (ซบ.) อย่างผู้ (ชะดีดุลกุวา)ด้วยเหตุนี้การรับวะฮ์ยูโดยผ่านญิบรออีล ที่มีปัญญาและการรับรู้ที่สมบูรณ์ที่สุด นัน้ ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ส�ำหรับเรือ่ งราวของท่าน วะฮ์ยูแบบทางอ้อม หญิงมัรยัมอัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงการลงมาของญิบรอ َ َ َ ُ ْ ‫ن‬ ‫ِي‬ ‫م‬ ‫ل‬ ‫ا‬ ‫ع‬ ‫ل‬ ‫ا‬ ‫ب‬ ‫ر‬ ‫ِيل‬ ‫ز‬ ‫ن‬ ‫ت‬ ‫ل‬ ‫ه‬ ‫ن‬ ‫إ‬ ‫و‬ ‫وح‬ ‫الر‬ ‫ه‬ ‫ب‬ ‫ل‬ ‫ز‬ ‫ن‬ )١٩٢( َ َ ِّ َ ْ َ ُ َّ ِ َ อีลในร่างของมนุษย์ไว้อย่างชัดเจน 34 แต่ส�ำหรับท่าน ُ ُّ ِ ِ َ َ ‫ُون ِم َن ا ْل ُم ْنذِ رِي َن‬ َ ِ‫) َعلَى قَ ْلب‬١٩٣( ‫ِين‬ َ ‫ك لِتَك‬ ُ ‫ األم‬ศาสดา (ศ็อลฯ) นั้น มีรายงานมากมายกล่าวถึงเรื่อง ”และแท้จริงมัน (อัลกุรอาน) เป็นการประทานลง นี้ไว้อย่างชัดเจน 35 กล่าวว่า ญิบรออีลลงมาหาท่าน มาของพระผูอ้ ภิบาลแห่งสากลโลก อัรรูห์ ผูซ้ อื่ สัตย์ได้ ศาสดา (ศ็อลฯ) ในร่างของดิห์ยะฮ์ บินคอลีฟะฮ์ กัลบี น�ำมันลงมายังหัวใจของเจ้าเพือ่ เจ้าจักได้เป็นผูห้ นึง่ จาก เนือ่ งจากท่าน ดิหย์ ะฮ์ เป็นชายหนุม่ ทีส่ ง่างามทีส่ ดุ แห่ง บรรดาผู้ตักเตือน” 33 เมืองมะดีนะฮ์ 36 ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะรับวะฮ์ยดู ว้ ยจิตวิญญาณ แม้ว่าญิบรออีลจะเป็นผู้ซื่อสัตย์ เป็นผู้น�ำวะฮ์ยู ของท่ า นทั้ ง หมด โดยที่ อ วั ย วะภายนอกมิ ไ ด้ มี ส ่ ว น แห่งพระผู้เป็นเจ้า แต่โองการอัลกุรอานกล่าวยกย่อง เกี่ยวข้องในเรื่องนี้แต่อย่างใด หากไม่เป็นเช่นนี้แล้ว เป็นพิเศษ และได้รบั ความคุม้ ครองอย่างสมบูรณ์ โดยที่ ประชาชนทัว่ ไปก็สามารถทีจ่ ะเห็นและได้ยนิ ทุกสิง่ ท่าน เทวทูตกลุม่ หนึง่ จากเหล่าเทวทูตของพระผูเ้ ป็นเจ้าร่วม ศาสดา (ศ็อลฯ) เห็นและได้ยินเช่นกัน ลงมากับญิบรออีลด้วย สามารถเข้าใจการประทานวะฮ์ยูแบบทางอ้อม )١٢( ‫) فَ َم ْن َشا َء َذك َ​َر ُه‬١١( ‫كَال إِن َّ َها ت َ ْذك َِر ٌة‬ จากรายงานต่างๆ ได้ว่า การประทานในลักษณะนี้ไม่ )١٤( ‫) مرفُوع ٍة م َطهر ٍة‬١٣( ‫ف مكَرم ٍة‬ َ َّ ُ ٍ ‫فِي ُص ُح‬ َ َّ ُ َ ْ َ ได้เป็นอุปสรรคส�ำหรับท่านศาสดา(ศ็อลฯ) บางครัง้ ญิบ ‫) ك َِر ٍام بَ َر َر ٍة‬١٥( ‫بِأَ ْيدِ ي َسف َ​َر ٍة‬ รออีลจะลงมาหาท่านในร่างของมนุษย์ มีรายงานบท “มิใช่เช่นนัน้ แท้จริงมัน (อัลกุรอาน)เป็นข้อเตือน หนึ่งจากอิมามซอดิก (อ.) ว่า : เมื่อญิบรออีลจะลงมา ใจ ดังนั้นผู้ใดประสงค์ก็ให้ร�ำลึกถึงข้อเตือนใจนั้น ซึ่ง หาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เขาจะนั่งต่อหน้าท่านศาสดา มีอยู่ในคัมภีร์อันทรงเกียรติ ที่ได้รับการเทิดทูน ได้รับ (ศ็อลฯ) เหมือนดังบ่าวคนหนึง่ และเขาจะไม่เข้าหาโดย ความบริสุทธิ์ ด้วยมือของมวลมลาอิกะฮ์ ผู้ทรงเกียรติ ไม่ได้รับอนุญาต

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 73


ทรงคุณธรรม” 37 ซูเราะฮ์ญิน โองการที่ 336 ก็กล่าวถึงความ สัจจริงนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า :

)٢٦( ‫َعال ُِم ا ْل َغ ْي ِب فَال يُ ْظ ِه ُر َعلَى َغ ْيبِ ِه أ َ َح ًدا‬ ‫إِال َم ِن ْارت َ َضى م ِْن َر ُسولٍ فَإِن َّ ُه يَ ْسلُ ُك م ِْن ب َ ْي ِن‬ ‫) ل ِ َي ْعلَ َم أ َ ْن ق َْد أ َ ْبلَ ُغوا‬٢٧( ‫ي َ َد ْي ِه َوم ِْن َخ ْل ِف ِه َر َص ًدا‬ َ ‫ِر َساالتِ َربِّ ِه ْم َوأ َ َح‬ ‫اط بِ َما ل َ َد ْي ِه ْم‬ ‫َوأ َ ْح َصى ُك َّل َش ْي ٍء َع َد ًدا‬

“พระผู้ทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับ ดังนั้นพระองค์จะไม่ ทรงเปิดเผยสิ่งเร้นลับของพระองค์แก่ผู้ใด นอกจากผู้ที่ พระองค์ทรงยินดีเช่น ศาสนทูต ดังนัน้ พระองค์จะทรงส่ง ผูพ้ ทิ กั ษ์เฝ้าดูแลข้างหน้าและข้างหลังเขา เพือ่ พระองค์ จะทรงรู้ว่า แน่นอนพวกเขาได้เผยแผ่สาส์นของพระผู้ อภิบาลของพวกเขาแล้ว และพระองค์ได้ทรงห้อมล้อม (รอบรู้) ทุกสิ่งที่อยู่ ณ ที่พวกเขา และพระองค์ทรงนับ จ�ำนวนทุก ๆ สิ่งไว้อย่างครบถ้วน” 38

292

1. มุฟรอดาต อัลฟาซุลอัลกุรอาน ค�ำว่า “วะฮ์ยู” 2. อัตตัมฮีด ฟี อุลูมิลอัลกุรอาน เล่ม 1 หน้า 3 3. อัลมีซาน ฟี ตัฟซีริลอัลกุรอาน เล่ม 12 หน้า 4. ซูเราะฮ์ มัรยัม โองการที่ 11 27. ซูเราะฮ์ มุซซัมมิล โองการที่ 5

74 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

28. มัจมะอุลบะยาน เล่ม 1 หน้า 570 บิฮารุล อันวาร เล่ม 18 หน้า 260 ศอฮีห์บุคอรี เล่ม 1 หน้า 58 29. อัลอิตกอน เล่ม 1 หน้า 141 30. บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 256 อัลมีซาน ฟี ตัฟซีริลอัลกุรอาน เล่ม 18 หน้า 79 31. บิฮารุลอันวาร เล่า 18 หน้า 261 อัลมีซาน ฟี ตัฟซีริลอัลกุรอาน เล่ม 18 หน้า 79 32. ตารีเคอัลกุรอาน หน้า 108-109 33. ซูเราะฮ์ชุอะรออ์ โองการที่ 192-194 34. แล้วเราได้ส่งวิญญาณของเรา(ญิบรออีล) ไปยังนาง แล้วเขาได้จำ� แลงตนแก่นางให้เป็นชายอย่าง สมบูรณ์ (ซูเราะฮ์ มัรยัม โองการที่ 17) 35. บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 260 ศอฮีห์ บุ คอรี เล่ม 1 หน้า 58 36. อัตตัมฮีด ฟี อุลูมิ้ลอัลกุรอาน เล่ม 1 หน้า 36 ดอนิชนอเมะฮ์เย กุรออน วะกุรออน พะญูฮี เล่ม 1 หน้า 1043 37. ซูเราะฮ์อะบะซะ โองการที่ 11-16 อัลมีซาน ฟี ตัฟซีริ้ลอัลกุรอาน เล่ม 20 หน้า 307 38. ซูเราะฮ์ญนิ โองการที่ 26-28 อัลมีซาน ฟีตฟั ซีริ้ลอัลกุรอาน เล่ม 20 หน้า 53-55


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคมุอัมมัด นาอีม ประดับญาติ

ค�ำตอบ ส�ำหรับ ค�ำถาม เกี่ยวกับ

มะฮ์ดี (อ.)

นเนื้ อ หาต่ อ ไปนี้ คื อ ค� ำ ตอบโดยสั ง เขป ส�ำหรับสี่ค�ำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ประเด็นของค�ำถามต่างๆ มีดัง ต่อไปนี้คือ 1. ความเจริญก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีภายใต้รัฐบาลของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) 2. อายุของท่านอิมาม (อ.) ในช่วงเวลาของการ ปรากฏกาย (ซุฮูร) 3. สถานทีแ่ น่นอนของการปรากฏกาย (ซุฮรู ) และ วิธีการเข้าสมทบกับท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ของบรรดาผู้ ช่วยเหลือของท่าน และ 4. เมืองก็อรกิซียาและความสัมพันธ์ของมันกับ การปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.)

ความเจริญก้าวหน้าด้าน อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ในรัฐบาลของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.)

แม้จะมีค�ำกล่าวอ้างที่ไร้สาระของคนบางกลุ่ม ที่กล่าวว่า ความเชื่อเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลโลกของ ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) นัน้ เป็นเรือ่ งมดเท็จ เป็นบ่อเกิด ของความล้าหลังและการย้อนยุคของมนุษยชาติกลับ ไปสู่วิธีการด�ำเนินชีวิตแบบยุคดึกด�ำบรรพ์ แต่อย่างไร ก็ดีตามความเชื่อของมุสลิม ยุคสมัยที่สดใสของการ ปกครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.ญ.)นั้น เป็นยุคสมัยที่ เจริญรุ่งเรืองที่สุดของมนุษยชาติในด้านอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและการพัฒนาในทุกๆด้าน : การก่อสร้าง การฟืน้ ฟูและการพัฒนาเมืองจะเป็นไปอย่างกว้างขวาง สูท่ ศิ ทางของความสมบูรณ์ขนั้ สูงสุด มัสยิดจะกลายเป็น สัญลักษณ์ของการพัฒนาและความเจริญอันยิง่ ใหญ่นี้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 75


‫إِل َ ْی ِه َو ُه َو فِی َمكَان ِ ِه‬.

ในบางรายงาน (ริวายะฮ์) ได้อธิบายถึงตัวอย่างของการ พัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในอุตสาหกรรมการก่อ สร้างและสถาปัตยกรรมดังกล่าวไว้เช่นนี้ว่า มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ซึ่งท่าน กล่าวว่า

‫إ ِ َّن قَائِ َمنَا إ ِ َذا قَا َم یُ ْبنَى ل َ ُه فِی َظ ْه ِر ا ْلكُوفَ ِة َم ْس ِج ٌد‬ ‫وت ا ْلكُوفَ ِة بِنَ َه ِر ك َْربَلاَ َء؛‬ ٍ َ ‫ل َ ُه أ َ ْل ُف ب‬ ُ ‫اب؛ َو تَتَّصِ ُل بُ ُی‬ ‫الر ُج ُل یَ ْو َم ا ْل ُج ُم َع ِة َعلَى ب َ ْغلَ ٍة َسفْ َوا َء‬ َّ ‫َح َّتى یَ ْخ ُر َج‬ ‫ِید ا ْل ُج ُم َع َة فَلاَ یُ ْد ِرك َُها‬ ُ ‫یُر‬

“แท้จริงกออิมของเรา เมือ่ เขายืนหยัดขึน้ อัลลอฮ์ (ผู้ทรงเกริกเกียรติผู้ทรงเกรียงไกร) จะ ทรงทอดสายตา และการรับฟังแก่ชีอะฮ์ของเรา จนกระทั่งว่า ไม่ต้องมีผู้ สื่อสารใดๆ ระหว่างพวกเขาและกออิม โดยที่พวกเขา จะได้ยินและจะมองเห็นเขา ในขณะที่เขาอยู่ในสถาน ที่ของเขา” (2) เป็นไปได้ทวี่ า่ จุดประสงค์ของรายงาน(ริวายะฮ์) บทนี้อาจหมายถึงการที่พระผู้เป็นเจ้าจะทรงให้การ อนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษแก่บรรดาผู้ช่วย เหลือของ ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) โดยที่สายตาและหูของพวกเขา จะได้รับอ�ำนาจในการเห็นและการได้ยินที่เหนือปกติ ธรรมชาติหลายเท่าทวีคูณ แต่หากจุดประสงค์ของค�ำ รายงาน (ริวายะฮ์) บทนี้ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่เรียกว่า “กะ รอมัต” หรือปาฏิหาริย์ที่เหนือธรรมชาติแล้ว แน่นอน ยิ่ง มันคือสิ่งที่อธิบายถึงความเจริญก้าวหน้าทางด้าน อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคแห่ง การปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ดัง เช่นที่ส่วนหนึ่งในปัจจุบันนี้ที่ถูกท�ำให้เห็นเป็นรูปธรรม ในรูปของดาว เทียม ระบบสือ่ สารมวลชนและเครือข่าย ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันทางโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งนับได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งจากร่องรอยและสัญญาณต่างๆ ของการ ปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) และ ส่วนทีส่ มบูรณ์มากกว่านีจ้ ะถูกท�ำให้เป็นรูปธรรมขึน้ ใน ยุคสมัยการปรากฏกาย (ซุฮูร) และยุคแห่งภูมิปัญญา ของท่าน

“แท้จริงกออิมของเรา เมื่อเขายืนหยัดขึ้น มัสยิด แห่งหนึ่งซึ่งมีประตูถึงหนึ่งพันประตูจะถูกสร้างขึ้นใน เมืองกูฟะฮ์ บ้านเรือนต่างๆ ของเมืองกูฟะฮ์จะเชื่อมต่อ ไปจนถึงแม่นำ�้ กัรบาลาอ์ (การพัฒนาและการขยายของ เมืองจะเป็นไปถึงขัน้ ทีว่ า่ ) คนทีข่ ลี่ อ่ ฝีเท้าเร็วจะออกเดิน ทางไปในวันศุกร์ ด้วยเจตนาจะไปร่วมนมาซวันศุกร์นนั้ (เนื่องจากว่าระยะทางที่ยาวไกลและความกว้างขวาง ของเมือง) เขาจะเดินทางไปไม่ทัน” (1) ในความเจริญก้าวหน้าต่างๆ ทางด้านอุตสาห กรรมและเทคโนโลยีก็จะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง อย่างน่าทึ่งเช่น เดียวกัน ถึงขั้นที่ว่าระหว่างท่านอิมาม ในช่วงของการปรากฏกาย (ซุฮูร) มะฮ์ดี (อ.) และบรรดาผูช้ ว่ ยเหลือของท่าน ไม่จำ� เป็นจะ ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะอยู่ในวัยใด ต้องมีผู้ถือสาส์นใดๆ ท่านจะพูดและพวกเขาจะอยู่ ณ ดังทีก่ ล่าวไปแล้วก่อนหน้านีว้ า่ ท่านอิมามมะฮ์ดี จุดใดก็ตาม พวกเขาจะเห็นท่านและได้ยนิ เสียงของท่าน (อ.ญ.) ถือก�ำเนิดขึ้นในวันที่ 15 เดือนชะอ์บาน ปี ฮ.ศ. ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า 255 (3) ภาย ลังจากการเป็นชะฮีด (เสียชีวติ ) ของท่านอิ ّ‫ُه‬ َ ‫ إ ِ َّن قَائِ َم َنا إ ِ َذا قَا َم َم َّد الل ( َع َّز َو َج َّل ) ل ِشِ ی َعتِ َنا‬มามฮะซัน อัสกะรี (อ.) การเร้นกายระยะสั้น (ฆ็อยบะฮ์ ‫ُون ب َ ْینَ ُه ْم‬ َ ‫ فِی أ َ ْس َما ِع ِه ْم َو أ َ ْب َصا ِره ِْم؛ َح ّتَى لاَ یَك‬ซุฆรอ) ของท่านก็ได้เริม่ ต้นขึน้ ติดตามด้วยการเร้นกาย ‫ون‬ َ ‫ون َو ی َ ْن ُظ ُر‬ َ ‫ِید یُ َكلِّ ُم ُه ُم فَ َی ْس َم ُع‬ ٌ ‫ َو بَ ْی َن ا ْلقَائِ ِم بَر‬ครั้งยาวนาน (ฆ็อยบะฮ์ กุบรอ) ของท่านจวบจนถึง 76 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


ปัจจุบัน ไม่มีบุคคลใดที่จะล่วงรู้ถึงระยะเวลาของการ เร้นกายนี้และช่วงเวลาของการ ปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านได้นอกจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่ง ดังนั้น ส�ำหรับการทีจ่ ะรับรูช้ ว่ งวัยทีแ่ ท้จริงของท่านอิมามมะฮ์ ดี (อ.ญ.) ในช่วงของการปรากฏกายของท่านนัน้ จ�ำเป็น ที่เราจะต้องรอคอยการปรากฏกายของท่านนั่นเอง แต่ อย่างไรก็ดี มีค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) หลายบทที่ได้ชี้ถึง ประเด็นนี้ ในขณะที่อธิบายถึงวิธีการและสัญญาณ ต่างๆ ของการปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) โดยที่ในช่วงเวลาของการปรากฏกายของท่าน นั้น ท่านจะดูประหนึ่งผู้ที่อยู่ในวัยสี่สิบปีหรือว่าอาจจะ น้อยกว่านั้น ท่านอิมามฮะซัน มุจญ์ตะบา (อ.) กล่าวว่า “...พระผูเ้ ป็นเจ้าจะทรงท�ำให้อายุขยั ของเขา (กอ อิม (อ.)) ยืนยาวในช่วงเวลาของการเร้นกาย (ฆ็อยบะฮ์) แล้วหลังจากนัน้ เขาจะปรากฎกาย (ซุฮรู ) ในสภาพของ ชายหนุ่มที่มีอายุน้อยกว่าสี่สิบปี ด้วยเดชานุภาพของ พระผู้เป็นเจ้า...” (4) อบาซอลัต ฮะรอวี ได้เล่าว่า ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวว่า “เครื่อง หมายของกออิมของเราก็คือ ใน วัยชราภาพ เขาจะปรากฏตัวในรูปลักษณ์ของคนหนุ่ม โดยทีท่ กุ คนทีเ่ ห็นเขาจะคิดว่าเขามีอายุสสี่ บิ ปีหรือน้อย กว่านัน้ และจวบจนถึงการตายของเขา จะไม่ปรากฏร่อง รอยของความแก่ชราใดๆ ในตัวเขา” (5) ตามค�ำรายงานเหล่านี้ ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) ใน ช่วงการปรากฏกาย (ซุฮรู ) ของท่านนัน้ ดูตามรูปลักษณ์ ภายนอกแล้วประหนึ่งชายหนุ่มคนหนึ่ง โดยผู้ที่พบเห็น ท่านจะเข้าใจว่าท่านมีอายุสี่สิบปีหรือน้อยกว่านั้น

ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะปรากฏกาย ณ บริเวณใดของโลก

ตามค� ำ รายงานมุ ต ะวาติ ร (ค� ำ รายงานที่ มี ผู ้ รายงานมากมายและต่อเนื่องในทุกยุคสมัย) ทั้งของ ชีอะฮ์และซุนนี การยืนหยัดขึ้นของนักปฏิรูป (มุศลิห์) ผู้ที่จะมาแก้ไขปรับปรุงโลกผู้นี้ จะเริ่มต้นขึ้นจากแผ่น

ดินแห่งนครมักกะฮ์ ในมัสยิดิลฮะรอมเคียงข้างอัล กะอ์บะฮ์ พร้อมกับบุคคลจ�ำนวน 313 คน จากบรรดา ผู้ช่วยเหลือของท่าน ซึ่งจะเป็นผู้บัญชาการกองทัพ และผู้ปกครองประเทศของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะให้ สัตยาบัน (บัยอัต) ต่อท่านอิมามในระหว่างรุกน์ (มุม ของอาคารกะอ์บะฮ์) และมะกอม (ทีย่ นื ของท่านศาสดา อิบรอฮีม (อ.)) และเมือ่ จ�ำนวนของผูใ้ ห้สตั ยาบันต่อท่าน ครบจ�ำนวนหนึ่งแสนคน ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) จะ เคลื่อนกองทัพออกจากนครมักกะฮ์เพื่อท�ำการปฏิรูป และปฏิวัติโลก (6) มุฟัฎฎ็อล ได้ถามท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า “โอ้นายของฉัน! ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) จะ ปรากฏกายทีใ่ ดและด้วยสภาพเช่นไร” ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “โอ้ มุฟัฎฎ็อล! เขาจะปรากฏกายขึ้นโดย ล�ำพังคนเดียว และจะมาอยู่เคียงข้างอาคารกะอฮ์บะฮ์ โดยล�ำพังคนเดียว และใช้เวลายามค�ำ่ คืนอยูท่ นี่ นั่ เพียง ล�ำพังคนเดียว” (7)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 77


ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ซุฟยานีจะมีชัยเหนือบรรดาศัตรู (ของตน) หลัง จากนั้นระหว่างเขาและศัตรูคนอื่นๆ จะท�ำสงครามกัน ในเมือง “ก็อรกิซยี า” โดยทีน่ กจากท้องฟ้าและสัตว์ดรุ า้ ย จากพืน้ ดินจะอิม่ หมีพลีมนั จากซากศพทีถ่ กู ฆ่าตาย” (11) เช่นเดียวกันนี้ พวกเขาถือว่า “ก็อรกิซียา” คือ สถานที่ที่อยู่ใกล้กับแม่น�้ำยูเฟรตีส (12) ด้วยเหตุนี้ดูเหมือนว่า “ก็อรกิซียา” เป็นชื่อสถาน ที่ซึ่งบางส่วนของสัญญาณการปรากฏกาย (ซุฮูร) ของ ท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะเกิดขึ้นที่นั่น และในหนังสือ ต่างๆ ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดใดๆ มากไปกว่านี้

อีกค�ำรายงานหนึ่งกล่าวว่า “เมื่อมะฮ์ดี (อ.) ปรากฏกายขึ้น เขาจะเข้าสู่ มัสยิดิลฮะรอม เขาจะยืนหันหน้าไปยังอาคารกะอ์บะฮ์ เชิงอรรถ : และหันหลังให้กับมะกอมอิบรอฮีม (อ.) เขาจะท�ำ 1) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 97, หน้าที่ 385 2) อัลกาฟี, เล่มที่ 8, หน้าที่ 240 นมาซสองรอกะอัต หลังจากนั้นเขาประกาศขึ้นว่า โอ้ 3) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 51, หน้าที่ 4 ประชาชนเอ๋ย! ฉันคือผู้สืบทอดมรดกของอาดัม ฉัน 4) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 52, หน้าที่ 279 คือผู้สืบทอดมรดกของนูห์ ฉันคือผู้สืบทอดมรดกขอ 5) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 97, หน้าที่ 285 งอิบรอฮีม ฉันคือผู้สืบทอดมรดกของอิสมาอีล ฉันคือ 6) “ญะฮอน บะอ์ดาซ ซุฮูร” หรือ “ฟุรูฆ บี นิฮายัต” ผู้สืบทอดมรดกของอีซาและมุฮัมมัด ฉันคือผู้พิทักษ์ หน้าที่ 94 คัมภีรอ์ ลั กุรอานและเป็นผูฟ้ น้ื ฟูซนุ นะฮ์. (แบบฉบับของ 7) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 53, หน้าที่ 7 (8 ศาสดา) ...” ) 8) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 97, หน้าที่ 9

ประเด็นเกี่ยวกับเมืองกิรกิซียา และความสัมพันธ์ของมัน ที่มีต่อการปรากฏกาย (ซุฮูร) ของท่านอิมามมะฮ์ดี (อ.) คืออะไร

188

9) อิมามมะฮ์ดี อาซ วิลาดัต ทอ ซุฮูร, หน้าที่ 454 10) เล่มเดิม, หน้าที่ 251 11) ฟัรฮังก์ เมาอูด, ฮุเซน กะรีม ชาฮี บีดกุลี , หน้าที่

12) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 13, มะฮ์ดีเมาอูด, แปลโด “ก็อรกิซียา” (Karkisiya หรือ Circesium) ซึ่งใน ยอะลี ดะวานี, หน้าที่ 983

หนังสือบางเล่มได้บันทึกไว้ว่า “ก็อรยะฮ์ ซะบะอ์” เป็น แหล่งอ้างอิง : อิมามมะฮ์ดี เมาญูด เมาอูด, อายะ ชื่อของเมืองหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในประเทศซีเรีย และปัจจุบัน ตุลลอฮ์ญะวาดี ออมูลี ; อิมามมะฮ์ดี (อ.), ร่อซูลริฎวี่ ตัง้ อยูใ่ กล้กบั ชายแดนของอิรกั และซีเรีย (9) และบางคน เชื่อว่า มันมาจากค�ำว่า “กุรเกซิยอฮ์” ในสัญญาณต่างๆ ของการปรากฏกายของท่า นอิมามมะฮ์ดี (อ.) จะถูกกล่าวถึงเกี่ยวกับการออกมา ของซุฟยานี เขาจะเข้าสู่สถานที่ที่มีชื่อดังกล่าวนี้ และ จะมีเหตุการณ์สำ� คัญเกิดขึน้ กับเขาในสถานทีแ่ ห่งนี้ (10)

78 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคอิมรอน พิชัยรัตน์

สถานภาพของ

ศาสดาอิบรอฮีม ในกุรอาน

ชื่อของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มีปรากฏในอัล กุรอานถึง 69 ครั้งใน 25 ซูเราะฮ์ จากการพิจารณา โองการต่างๆ ของอัล กุรอาน ชีใ้ ห้เห็นว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้มอบสถานภาพอันสูงส่งแก่ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เช่น ท่ า นคื อ บรรพบุ รุ ษ ของประชาชาติ อิ ส ลาม (ซูเราะฮ์ฮัจญ์ โองการที่ 78) ท่ า นคื อ แบบอย่ า งของมนุ ษ ย์ ผู ้ ส มบู ร ณ์ แ บบ ส�ำหรับมนุษยชาติ(ซูเราะฮ์มุมตะฮินะฮ์ โองการที่ 4) ท่านคือผู้น�ำส�ำหรับมนุษยชาติ (ซูเราะฮ์บะเกาะ เราะฮ์ โองการที่ 124) ท่านคือผูท้ ที่ า่ นศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ถูกรับสัง่ ให้ปฏิบัติตามแนวทางนั้น (ซูเราะฮ์นะหฺลฺ โองการที่ 123) ท่านคือผู้ที่ได้รับฐานันดรแห่งความเป็นมิตรกับ พระผู้เป็นเจ้า (ซูเราะฮ์นิสาอ์ โองการที่ 125) จากโองการเหล่านี้ ชีใ้ ห้เห็นว่าตลอดช่วงอายุขยั ของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) นั้นเปี่ยมไปด้วยการเคารพ ภักดีและเป็นบ่าวที่ดีของพระองค์ เป็นผู้ที่ต่อสู้กับการ ตั้งภาคีและการบูชารูปปั้นอีกทั้งการกราบไหว้ดวงดาว จนในที่สุดท่านก็ถูกรับสั่งให้บูรณะศูนย์กลางแห่งการ ยอมจ�ำนนต่อพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งเป็นกิบละฮ์ส�ำหรับ

มวลมุสลิม คุ ณ ลั ก ษณะอั น โดดเด่ น อี ก ประการหนึ่ ง ของ ศาสดาอิ บ รอฮี ม (อ.) ก็ คื อ การที่ ฮั จ ญ์ ไ ด้ เ กี่ ย วพั น ระหว่างท่านกับฮัจญ์ ซึ่งปรัชญาหนึ่งของการบ�ำเพ็ญ ฮัจญ์ ก็คือการร�ำลึกถึงวิถีชีวิตของท่าน ซึ่งได้ถูกหล่อ หลอมเข้ากับพิธีฮัจญ์ จนสามารถกล่าวได้ว่าฮัจญ์ที่ ปราศจากการร�ำลึกถึงศาสดาอิบรอฮีม (อ.) นั้นเป็น ฮัจญ์ที่ไม่สมบูรณ์

ปรัชญาของการเกี่ยวพันกะอ์บะฮ์ และฮัจญ์กับศาสดาอิบรอฮีม (อ.)

ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มีสถานภาพที่สูงส่งยิ่ง จนเป็นที่รักและเทิดทูน ของมนุษย์ทุกหมู่เหล่า พวกเขาต่างปรารถนาที่จะสาน สัมพันธ์กับท่าน และกล่าวถึงความเกี่ยวพันทางเชื้อ สายกับท่าน ไม่ว่าจะเป็นยิว คริสต์ หรือพวกมุชริก แต่ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสถึงกลุ่มชนที่ยึดมั่นและปฏิบัติ ตามท่านอย่างแท้จริงไว้ว่า “จงกล่าว (ตอบไป)ว่าศาสนาของอิบรอฮีมนั้น เป็นศาสนาที่มุ่งสู่สัจธรรม และเขาไม่ได้เป็นหนึ่งใน บรรดาผูต้ งั้ ภาคี” (ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 135) และตรัสอีกว่า :

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 79


“แท้จริงผู้คนที่สมควรยิ่งต่ออิบรอฮีมนั้น ย่อม ได้แก่บรรดาผู้ปฏิบัติตามเขา และปฏิบัติตามนะบีนี้ (ศาสดามุฮัมมัด) และบรรดาผู้ที่ศรัทธา” (ซูเราะฮ์อาลิ อิมรอน โองการที่ 68) เพื่อยืนยันและพิสูจน์ว่าศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และประชาชาติอิสลามนั้นมีเชื้อสายมาจากศาสดาอิ บรอฮีม (อ.) กะอ์บะฮ์กับฮัจญ์จึงมีความเกี่ยวพันกับ ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) โดยให้ท่านเป็นผู้ที่บูรณะ กะอ์บะฮ์ให้เป็นกิบละฮ์สำ� หรับมวลมุสลิมและให้สถาน ทีห่ นึง่ ทีอ่ ยูข่ า้ งกะอ์บะฮ์มชี อื่ ว่า “มะกอมอิบรอฮีม” เพือ่ เป็นการสานสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างประชาชาติ อิสลามกับศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ดังนั้นปรัชญาที่แท้ จริ ง ในประเด็ น นี้ ก็ คื อ การประกาศทายาทที่ แ ท้ จ ริ ง ของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และนั่นก็คือศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และประชาชาติอิสลาม ซึ่งเป็นผลมาจากค�ำ วิงวอนของศาสดาอิบรอฮีม(อ.) ที่ว่า : “ข้าแต่พระผู้อภิบาลของพวกข้าพระองค์โปรด ส่งศาสนทูตคนหนึ่งจากพวกเขาแก่พวกเขา” (ซูเราะฮ์ อัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 129) และพระองค์ก็ตอบ รับค�ำวิงวอนด้วยการแต่งตั้งมุฮัมมัดเป็นศาสนทูต

หนึ่งชื่อว่า ฮาญัร ให้แก่ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เพื่อหวัง ว่าจะได้มีบุตร ต่อมาไม่นานนักพระองค์ก็ทรงประทาน บุตรชายคนหนึ่งนามว่า อิสมาอีล หลังจากนั้นท่านก็ ถูกบัญชาให้ออกเดินทางจากปาเลสไตน์ไปยังมักกะฮ์ ซึ่งเป็นที่แห้งแล้งกันดาร เมื่อเดินทางไปถึง ณ ที่แห่ง นั้น ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ก็ต้องการที่จะเดินทางกลับ พระนางฮาญัร กล่าวว่า “ ท่านจะทิ้งเราให้อยู่ในสถาน ที่แห่งนี้ที่แห้งแล้งกันดารไม่มีน�้ำและพืชผลเลยกระนั้น หรือ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) กล่าวว่า นี่คือพระบัญชาขอ งอัลลอฮ์ (ซบ.) แล้วท่านก็ได้ยกมือขึ้นขอพรว่า : “โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา แท้จริงข้าพระองค์ได้ให้ลูกหลาน ของข้าพระองค์พ�ำนักอยู่ ณ ที่ราบลุ่มนี้โดยไม่มีพืชผล ใดๆ ซึง่ อยูใ่ กล้บา้ นอันเป็นเขตหวงห้ามของพระองค์ โอ้ พระผูอ้ ภิบาลของเรา เพือ่ ให้พวกเขาด�ำรงการนมาซ ขอ พระองค์ทรงให้จิตใจของมนุษย์มุ่งไปยังพวกเขา และ ทรงประทานปัจจัยยังชีพที่เป็นพืชผลแก่พวกเขาหวัง ว่าพวกเขาจะขอบคุณ” (ซูเราะฮ์อิบรอฮีม โองการที่37)

ต้นก�ำเนิดน�้ำซัมซัม

อากาศทีร่ อ้ นระอุ และแห้งแล้งของมักกะฮ์ ท�ำให้ อิสมาอีล ทารกน้อย กระหายน�้ำอย่างมาก พระนาง ฮาญัร จึงวิ่งหาน�้ำเพื่อช่วยชีวิตบุตรชาย พระนางได้วิ่ง ไปมาจากภูเขาศอฟาและมัรวะฮ์ถึง 7 รอบ แต่ก็ไม่เจอ น�้ำ พระนางจึงเดินกลับมาหาบุตรชายอย่างสิ้นหวัง แต่ ทันใดนั้นพระนางก็เห็นตาน�้ำไหลรินจากผืนดินที่เท้า ของบุตรได้ตะเกียกตะกาย เมื่อเผ่าญุรฮัม รู้ข่าวพวก เขาจึงพากันมาขออนุญาตพระนางฮาญัรเพื่อพ�ำนัก ณ ที่แห่งนั้น และนีค่ อื ปาฏิหาริยอ์ ย่างหนึง่ ทีพ่ ระองค์ทรงให้มี ตาน�้ำเกิดขึ้นในผืนดินที่แห้งแล้ง ไม่มีพืชผล และมุสลิม ทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะเดินทางไปท�ำฮัจญ์และดื่มน�้ำ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ซัมซัม หรือไม่ก็น�ำมาเป็นของฝาก ตามแบบฉบับของ อพยพจากปาเลสไตน์สู่มักกะฮ์ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่ท่านด�ำรัสแก่ผู้ที่ได้รับ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) มีอายุถึง 100 ปี ก็ยังไม่มี โอกาสไปท�ำฮัจญ์ว่า : จงเอาน�้ำซัมซัมมาเป็นของฝาก บุตรกับพระนางซาเราะฮ์ พระนางจึงยกทาสหญิงคน ให้ฉันด้วย

80 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) กับการบูรณะกะอ์บะฮ์

“และ(จงร�ำลึก)เมื่อครั้งที่อิบรอฮีมและอิสมาอีล ได้ก่อฐานของบ้านหลังนั้นให้สูงขึ้น (ทั้งสองได้กล่าว วิงวอนว่า) ข้าแต่พระผู้อภิบาลของพวกข้าพระองค์ โปรดรับ(งาน) จากพวกข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริง พระองค์นั้นทรงได้ยินและทรงรอบรู้” (ซูเราะฮ์บะเกาะ เราะฮ์ โองการที่ 127) ในช่วงขณะที่อพยพมายังมักกะฮ์ อิสมาอีล ยัง เป็ นทารกอยู่ จึงไม่อาจที่จ ะช่ว ยบิดาในการบู ร ณะ กะอ์บะฮ์ได้ ดังนัน้ การบูรณะกะอ์บะฮ์จงึ เริม่ ขึน้ หลังการ อพยพเมื่ออิสมาอีลถึงวัยเจริญเติบโตพอที่จะช่วยบิดา ในภารกิจนี้ได้จากโองการนี้ชี้ให้เห็นว่าเดิมที กะอ์บะฮ์ มีฐานอยู่แล้ว และศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้ยกฐานนั้น ให้สูงขึ้น และอีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับจากโองการนั้นก็ คือ การกล่าวชื่อศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ก่อนอิสมาอีล ชี้ให้เห็นว่าศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นผู้รับภาระหน้าที่ หลักในการบูรณะกะอ์บะฮ์ ส่วนอิสมาอีลนั้นเป็นผู้ที่ ให้การช่วยเหลือ

ออกเป็นสองกลุ่มดังนี้คือ 1. รายงานกลุ่มหนึ่งบ่งชี้ว่า รอยเท้าของท่าน (อ.) เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ท่านบูรณะกะอ์บะฮ์ ท่านยืนบน หินก้อนนั้น และรอยเท้าของท่านก็ปรากฏเป็นร่องรอย ให้เห็นจนถึงปัจจุบัน 2. รายงานอีกกลุ่มหนึ่งบ่งชี้ว่า หลังจากเสร็จสิ้น จากภารกิจการบูรณะกะอ์บะฮ์ ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ถูกสั่งให้ประกาศฮัจญ์ส�ำหรับประชาชาติ ขณะ นั้นท่านได้ยืนบนหินแล้วประกาศสิ่งที่ถูกมอบหมาย มะกอมอิบรอฮีม “จงยึดเอาที่ยืนของอิบรอฮีมเป็นที่นมาซเถิด” จากพระองค์ และรอยเท้าของท่านก็ปรากฏให้เห็นจนถึง ปัจจุบันนี้ (ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 125) ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) “ในบ้านนัน้ มีหลายสัญญาณทีช่ ดั แจ้ง(ส่วนหนึง่ นั้น)คือมะกอมอิบรอฮีม” (ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน โองการ กับการประกาศฮัจญ์ ที่ 97) “และจงประกาศแก่มนุษย์ทวั่ ไปเพือ่ การท�ำฮัจญ์ มะกอมอิบรอฮีมคือหินที่ท่านศาสดาอิบรอฮีม พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียว (อ.) ยืนแล้วเกิดปาฏิหาริย์เป็นรอยเท้าของท่านปรากฏ ทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง” (ซูเราะฮ์ฮัจญ์ บนหินนั้น ปัจจุบันหินนั้นอยู่ในโดมเล็กๆ อยู่ห่างจา โองการที่ 27) กกะอ์ บ ะฮ์ป ระมาณ 13 เมตร บรรดาผู ้ แสวงบุ ญ หลังจากเสร็จจากภารกิจบูรณะกะอ์บะฮ์ ศาสดา (ฮุจญาจ) จะไปท�ำนมาซหลังมะกอมอิบรอฮีม หลังจาก อิบรอฮีม (อ.) ถูกสั่งให้ประกาศฮัจญ์แก่ประชาชาติ ดัง เสร็จจากการเดินเวียน (ฏอวาฟ) กะอ์บะฮ์ รายงานหนึ่งที่ว่า : ส�ำหรับค�ำถามทีว่ า่ รอยเท้าของศาสดาอิบรอฮีม เมื่ อ อิ บ รอฮี ม (อ.) เสร็ จ จากภารกิ จ บู ร ณะ (อ.) ที่ปรากฏบนหินนั้นเกิดขึ้นในยุคใด กะอ์บะฮ์แล้ว อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงสัง่ ให้ทา่ นประกาศฮัจญ์ ค�ำตอบที่ได้รับจากรายงานต่างๆ สามารถแบ่ง แก่ประชาชาติ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) กล่าวว่า : โอ้พระ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 81


ผู้อภิบาลของข้าพระองค์ เสียงของข้าพระองค์นั้นย่อม ไปไม่ถึง อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสว่า : เจ้าจงประกาศไปเถิด หน้าทีข่ องเจ้าคือการประกาศ และหน้าทีข่ องเราคือการ ส่งค�ำประกาศให้ทวั่ ถึง แล้วท่านก็ได้ขนึ้ ไปยืนยังสถานที่ ประกาศนั้น” (นูรุษษะกอลัยน์ เล่ม 3 หน้า 488)

ใครคือคู่สนทนาของโองการดังกล่าว

มัรฮูมฏอบริซีและนักค้นคว้าส่วนใหญ่เชื่อว่าคู่ สนทนาของโองการดังกล่าวคือ ศาสดาอิบรอฮีม (อ. ) ซึง่ รูปประโยคของโองการนีก้ บ็ ง่ ชีเ้ ช่นนี้ (หนังสือมัจมะอุ ลบะยาน) นอกจากนีย้ งั มีรายงานหนึง่ ทีก่ ล่าวสนับสนุน ไว้ว่า ท่านฮะละบีถามอิมามซอดิก (อ.) ว่า : เหตุใดจึง มีการ กล่าวตัลบียะฮ์ อิมาม (อ.) กล่าวว่า : แท้จริง อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงวะฮ์ยูแก่ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ว่า “และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการท�ำฮัจญ์ พวก เขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุก ตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง” (นูรุษษะกอลัยน์ เล่ม 3 หน้า 487) สาระที่ได้รับจากโองการข้างต้น : 1. ประโยค “ยะอ์ ตู ก ะ” (พวกเขาจะมาหา เจ้า) และ “ยะอ์ตีนา” (จะมา) นั้นชี้ให้เห็นว่า อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงตอบรับสัญญาแก่ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ที่ ประชาชาติจากทัว่ ทุกสารทิศจะมุง่ สูก่ ะอ์บะฮ์ และนีค่ อื เป็นค�ำตอบส�ำหรับค�ำบัญชาที่ว่า “จงประกาศ” อาจเป็นไปได้ที่ที่สัญญานี้ จะเป็นการตอบรับ ดุอาอ์ ค�ำขอพรของศาสดาอิบรฮีม (อ.) ก็เป็นได้ที่ท่าน 82 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

เคยขอพรไว้ว่า : “ขอพระองค์ทรงให้จติ ใจจากปวงมนุษย์มงุ่ ไปยัง พวกเขา” (ซูเราะฮ์อิบรอฮีม โองการที่ 37) 2. จากประโยคที่ว่า “ยะอ์ตูกะ” (พวกเขาจะมา หาเจ้า) ชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายคือการมายังศาสดาอิ บรอฮีม (อ.) มายังสถานทีท่ ศี่ าสดาอิบรอฮีม (อ.) เคยมา อีกทั้งมาดูสิ่งต่างๆ ที่ศาสดาอิบรอฮีมเคยเห็น ไม่เพียง แต่ให้ความหมายของการท�ำฮัจญ์เท่านั้น เพราะอัล กุ รอานไม่ได้กล่าวว่าให้ท�ำฮัจญ์ แต่กล่าวว่า “ยะอ์ตูกะ” (พวกเขาจะมาหาเจ้า) 3. อาจเป็นไปได้ที่ว่า การกล่าว “ทางเท้า” ก่อน การเดินทางอื่นๆ นั้น เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความ ประเสริฐของการเดินทางด้วยทางเท้ามากกว่าการเดิน ทางด้วยการขี่ยานพาหนะ ดังมีรายงานหนึ่งจากท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า : ใครก็ตามที่เดินทางไปท�ำฮัจญ์ ทุก ๆ ก้าวเขาจะได้รบั 700 ความดี และส�ำหรับการเดิน ทางโดยพาหนะเขาจะได้รับเพียง 70 ความดีงาม (มัจ มะอุลบะยาน) ซึ่งวิถีชีวิตของบรรดาอิมามของก็ยืนยัน ถึงประเด็นนี้ เช่น อิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) หรืออาจจะ เป็นการบ่งบอกถึงความส�ำคัญของการไปท�ำฮัจญ์ว่า จะต้องไปท�ำฮัจญ์ไม่ว่าจะด้วยเส้นทางใด 4. ประโยคที่กล่าวถึงอูฐ ชี้ให้เห็นถึงความยาก ล� ำ บากของเส้ น ทางไม่ อ าจท� ำ ให้ ก ารท� ำ ฮั จ ญ์ ห มด สภาพจากการเป็นวาญิบไปได้ กล่าวคือ ต้องเดินทาง ไปท�ำฮัจญ์แม้เส้นทางนั้นจะยากล�ำบากจนเป็นเหตุ ให้สัตว์ต้องผอมแห้งแรงน้อยก็ตาม อีกประการหนึ่ง เป็นการเตือนให้อดทนต่อความยากล�ำบากนี้ หรืออาจ จะเป็นการบ่งบอกถึงการต้องไปท�ำฮัจญ์แม้จะด้วย สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่สุด 5. ประโยค “ฟัจญะอะมีก” (ทางไกลทุกทิศทาง) ชี้ให้เห็นว่า การไปท�ำฮัจญ์ไม่เกี่ยวกับว่าเส้นทางนั้นจะ ใกล้หรือไกล แต่ทว่าจากทั่วทุกสารทิศต้องเดินทางไป ท�ำฮัจญ์


โองการที่ 125) โองการดังกล่าวถึงการมี ฮัจญ์ในสมัยศาสดา อิบรอฮีม (อ.) และพิธีฮัจญ์บางประการอีกด้วย เพราะ พระองค์ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ท�ำความ สะอาดบ้านของพระองค์ส�ำหร้บผู้ที่ท�ำการเดินเวียน (ฏอวาฟ ) การพ�ำนัก (เอี้ยะอ์ติกาฟ) และท�ำนมาซ

ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ณ. สถานทีก่ รุ บาน

ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) กับการประกอบพิธีฮัจญ์

สิ่งที่แน่นอนจากโองการและรายงานต่างๆ คือ การประกอบพิธีฮัจญ์มีในสมัยศาสดาอิบรอฮีม (อ.) โองการต่างๆ ที่กล่าวถึงประเด็นนี้ได้แก่ : “และจงประกาศแก่มนุษย์ทวั่ ไปเพือ่ การท�ำฮัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียว ทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง เพื่อพวกเขาจะได้ มาร่วม เป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และ กล่าวพระนามอัลลอฮ์ในวันที่รู้กันอยู่แล้ว” (ซูเราะฮ์ ฮัจญ์ โองการที่ 27-28) โองการข้างต้นไม่เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่า ฮัจญ์ มีใน สมัยศาสดาอิบรอฮีม (อ.) แต่ยงั กล่าวถึงเป้าหมายและ การท�ำฮัจญ์ไว้อีกด้วย หากพิธีฮัจญ์ไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ ในสมัยศาสดาอิบรอฮีม (อ.) แล้วไซ้รการประกาศแก่ ประชาชาตินั้นหมายความว่าอย่างไร “และเราได้ให้อิบรอฮีม และอิสมาอีลสัญญาว่า เจ้าทั้งสองต้องท�ำความสะอาดบ้านของข้าเพื่อบรรดา ผู้ท�ำการเฎาะวาฟ และบรรดาผู้ท�ำการเอียะติกาฟและ บรรดาผู้ที่ท�ำรุกัวะและสุยูด” (ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์

อีกโองการหนึ่งที่บ่งชี้ถึงฮัจญ์และบางพิธีกรรม ในการบ�ำเพ็ญฮัจญ์ “ครัน้ เมือ่ เขา (อิสมาอีล) เติบโตขึน้ ไปไหนมาไหน กับเขา (อิบรอฮีม) ได้แล้ว อิบรอฮีมได้กล่าวขึ้นว่า “โอ้ ลูกเอ๋ย ! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า จงคิดดูซิว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไร? “ เขากล่าวว่า “โอ้ พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด หา กอัลลอฮ์ทรงประสงค์ พ่อจะเห็นฉันว่า ฉันอยู่ในหมู่ผู้มี ความอดทน ครั้นเมื่อทั้งสอง (พ่อและลูก) ได้ยอมมอบ ตน (แด่อลั ลอฮ์) อิบรอฮีมได้ให้อสี มาอีลคว�ำ่ หน้าลงกับ พื้น และเราได้เรียกเขาว่า “โอ้ อิบรอฮีม เอ๋ย!“แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว” แท้จริง เช่นนั้นแหละ เราจะตอบแทนผู้กระท�ำความดีทั้งหลาย แท้จริง นั่น คือ การทดสอบที่ชัดแจ้งแน่นอน และเราได้ให้ค่าไถ่ตัว เขาด้วยสัตว์เชือดพลีอันใหญ่หลวง” (ซูเราะฮ์ศอฟฟาต โองการ102-107) ตามรายงานและต�ำราอรรถาธิบายกุรอานต่าง ๆ เช่น อัลบุรฮาน นูรษุ ษะกอลัยน์ มัจมะอุลบะยาน อัดดุร รุลมันษูรและต�ำราตัฟซีรอื่น ๆ ต่างก็ยืนยันว่าโองการนี้ กล่าวถึงอีกพิธีกรรมของการบ�ำเพ็ญฮัจญ์ ซึ่งนั่นก็คือ การท�ำกุรบาน (การเชือดสัตว์) เรือ่ งก็มอี ยูว่ า่ เมือ่ ครัง้ ทีท่ า่ นศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ถูกบัญชาในฝันว่าให้ทา่ นท�ำการเชือดบุตรชายของท่าน ซึ่งท่านฝันถึงค�ำบัญชานี้ถึงสามครั้ง ท่านจึงเล่าความ ฝันนั้นแก่อิสมาอีลบุตรชายของท่านว่า “โอ้ลูกเอ๋ย ! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า จงคิดดู ซิว่าเจ้าจะเห็นเป็นอย่างไร” บุตรชายของท่านตอบว่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 83


“โอ้พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ พ่อจะเห็นฉันว่า ฉันอยู่ในหมู่ ผูม้ คี วามอดทน” จากโองการนีช้ ใี้ ห้เห็นว่า ประการแรก อิสมาอีลเรียกผู้เป็นบิดาด้วยค�ำว่า “อะบุน” ซึ่งเป็นการ ย�้ำให้เข้าใจว่าการต้องท�ำตามค�ำบัญชานี้ท่านก็ยังเป็น พ่อของลูกอยู่ ประการที่สอง อิสมาอีลกล่าวว่า “ พ่อจง ปฏิบัตตามที่พ่อได้ถูกบัญชาเถิด” ท่านไม่ได้กล่าวว่า พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อฝันเถิด เนื่องจากการทดสอบนี้เป็นการทดสอบที่ส�ำคัญ และยิ่งใหญ่ “แท้จริง นั่นคือ การทดสอบที่ชัดแจ้ง แน่นอน” ชัยฏอนจึงพยายามที่จะยับยั้งและขัดขวาง ภารกิจนี้อย่างเต็มก�ำลัง ตามการรายงานบันทึกไว้ว่า ชัยฏอนมุ่งสู่ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เมื่อมาถึงยัง สถานที่ปาเสาหินแรก ศาสดาอิบรฮีม (อ.) ได้ปาหิน เจ็ดก้อนใส่ชยั ฏอน เมือ่ มาถึงยังสถานทีป่ าเสาหินทีส่ อง ท่านเห็นชัยฏอนอีกครัง้ ท่าน (อ.) จึงปาหินใส่ชยั ฏอนอีก เจ็ดก้อน และท่าน (อ.) ก็ทำ� เช่นนีอ้ กี ครัง้ เมือ่ เห็นชัยฏอน แสดงตัวที่เสาหินที่สาม (ตัฟซีรอะบุลฟุตูห์รอซี และตัฟ ซีรอัดดุรรุลมันษูร) เมื่อช่วงเวลาที่ต้องปฏิบัติตามค�ำ บัญชากระชั้นชิดขึ้น ท่าน (อ.) ได้ให้บุตรชายนอนคว�่ำ ลง ท่าน (อ.) ได้ใช้มีดเชือดไปที่ตั้นคอของบุตรชาย แต่ ปรากฏว่ามีดอันคมกริบไม่อาจเชือดต้นคอของบุตรชาย ได้ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ประหลาดใจยิ่งนัก จึงเชือด

84 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ลงไปอีกครั้ง ทันใดนั้นมีเสียงดังขึ้นว่า “โอ้ อิบรอฮีม เอ๋ย!“แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว” เมื่อศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้ผ่านการทดสอบ ที่ยิ่งใหญ่นี้ ญิบรออีลกล่าวด้วยความประหลาดใจว่า “อัลลอฮุ อักบัร อัลลอฮุ อักบัร” ต่อมาอิสมาอีลกล่าวว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ วัลลอฮุ อักบัร” แล้วท่านศาสดา อิบรอฮีม (อ.) กล่าวว่า “อัลลอฮุอกั บัร วะลิลลาฮิลฮัมด์” ( นูรุษษะกอลัยน์ เล่ม 4 หน้า 420 และ ตะอ์รีคฏอบะรี เล่ม 1 หน้า 141) บางรายงานได้กล่าวไว้วา่ ปรัชญาของการตักบัร หลังจากนมาซนัน้ เริม่ จากเรือ่ งราวนี้ และดังทีม่ รี ายงาน เกี่ยวกับปรัชญาการตั้งชื่อผืนแผ่นดินแห่งนั้นว่ามีนา ก็เนื่องจากว่าเมื่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ผ่านการ ทดสอบที่ยิ่งใหญ่แล้ว ญิบรออีลกล่าวแก่ท่าน (อ.) ว่า “เจ้าจงขอทุกอย่างที่เจ้าต้องการจากพระผู้เป็นเจ้า”

ฮัจญ์อิบรอฮีม

เป้าหมายของฮัจญ์อิบรอฮีมคือ ฮัจญ์ที่แท้จริง ที่ ท ่ า นศาสดาแห่ ง อิ ส ลามได้ ถู ก บั ญ ชาให้ เ ชิ ญ ชวน ประชาชาติสู่การบ�ำเพ็ญฮัจญ์ “และจงประกาศแก่ ม นุ ษ ย์ ทั่ ว ไปเพื่ อ การ ท�ำฮัจญ์” (ซูเราะฮ์ฮจั ญ์ โองการที่ 27) คือฮัจญ์ทศี่ าสดา ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองท่านได้ถูกบัญชาให้กะอ์บะฮ์สะอาด จากการตั้งภาคีใดๆ เพื่อให้ผู้ที่ท�ำการฏอวาฟและผู้มา เยือนกะอ์บะฮ์ทำ� พิธไี ด้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ เป็นฮัจญ์ที่ มีเป้าหมายเพือ่ ฟืน้ ฟูหลักการเตาฮีดและการเคารพบูชา พระเจ้าองค์เดียวและท�ำลายการ กราบไหว้รปู ปัน้ ต่างๆ “และจงร�ำลึกเมื่อเราได้ชี้แนะสถานอัลบัยต์ แก่ อิบรอฮีมว่า “เจ้าอย่าตั้งภาคีต่อข้าแต่อย่างใด และจง ท�ำบ้านของข้าให้สะอาด ส�ำหรับผู้มาเวียนรอบ ผู้ยืน ละหมาด ผู้รุกัวะ และผู้สุญูด” (ซูเราะฮ์ฮัจญ์ โองการ ที่ 26) ด้วยเหตุนี้ท่าน (อ.) จึงยกมือขึ้นขอดุอาข้าง กะอ์บะฮ์ว่า “ทรงให้ขา้ พระองค์และลูกหลานของข้าพระองค์


พ้นจากการบูชาเจว็ด” (ซู เราะฮ์ อิ บ รอฮีม โองการ ที่ 35) กล่าวได้วา่ ปรัชญา ของฮั จ ญ์ อิ บ รอฮี ม คื อ ปรั ช ญาแห่ ง การยอมรั บ พระเจ้ า องค์ เ ดี ย ว (เตา ฮีด) ในทุกช่วงขณะของ ชีวิต ซึ่งก้าวแรกนั้นก็คือ การต่ อ สู ้ กั บ การตั้ ง ภาคี ในทุ ก รู ป แบบ และท่ า น ศาสดาอิ บรอฮีม (อ.) ก็ ด� ำ เนิ น ตามวิ ถี ท างนี้ ทั้ ง ค�ำพูดและการกระท�ำ เพื่อพิสูจน์ถึงหลักการแห่งเตา ฮีด ท่านจึงถูกบัญชาให้บูรณะศูนย์รวมแห่งเตาฮีดขึ้น ฮัจญ์อิบรอฮีม คือฮัจญ์ที่ตั้งขึ้นเพื่อความเข้มแข็งของ สังคมมนุษย์ “อัลลอฮ์ทรงให้อัลกะอ์บะฮ์ อันเป็นบ้านที่ต้อง ห้ามนั้นเป็นที่ยืนหยัดส�ำหรับมนุษย์”(ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ โองการที่ 97) อีกทัง้ เพือ่ ผลประโยชน์ของมนุษย์โดยรวมทัง้ ทาง โลกและทางธรรม นอกจากนัน้ เพือ่ จะได้รำ� ลึกถึงผูเ้ ป็นเจ้าของบ้าน แห่งกะอ์บะฮ์ และเห็นสถานที่ที่ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เคยมาเยือนและเคยปฏิบัติภาระหน้าที่ในการ เผชิญหน้ากับการกราบไหว้รูปปั้น หากในสมัยของ ศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) สิ่ง ที่พวกเขากราบไหว้จะเป็นรูปปั้นที่ไร้ชีวิต แต่ปัจจุบัน ผู้คนก�ำลังตกเป็นทาสและกราบไหว้ชาติมหาอ�ำนาจ ฮัจญ์อบิ รอฮีม คือฮัจญ์แห่งการกระชับความเป็นพีน่ อ้ ง ความเสมอภาคไม่วา่ จะมาเชือ้ ชาติใด ชนชาติใด มีผวิ สี ใด เป็นฮัจญ์ที่ขานรับเสียงเรียกร้องของผู้ที่ถูกกดขี่ คือ ฮัจญ์ทจี่ ะต้องน�ำปัญหาภายในหนึง่ ปีของมุสลิมทัว่ โลก มาวิเคราะห์เพือ่ หาทางแก้ไขและพัฒนาต่อไป คือฮัจญ์

ทีส่ านสัมพันธ์ระหว่างบ่าวกับเจ้าของบ้านแห่งกะอ์บะฮ์ คือฮัจญ์ที่เดินทางมุ่งสู่พระผู้เป็นเจ้า และการเวียนฏอ วาฟบัยตุลลอฮ์ เป็นการยืนยันว่าไม่มพี ระเจ้าอืน่ ใดนอก จากอัลลอฮ์ (ซบ.)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 85


ถอดความโดย เชคกวี ฮัยดัร

ชีวประวัติ

ท่

านอิมาม ริฎอ (อ.) เป็นอิมามท่านที่แปด ของบรรดามุสลิมชีอะห์ ท่านเป็นลูกหลาน ผูบ้ ริสทุ ธิข์ องท่านศาสนทูตของพระองค์อลั ลอฮ์ (ศ็อลฯ) ท่านได้รบั การแต่งตัง้ เป็นผูป้ กครองของบรรดา ชีอะห์ในต�ำแหน่งอิมามัตเมื่ออายุ 35 ปี และการด�ำรง ต�ำแหน่งอิมามัตของท่านต้องเผชิญกับ การกดขี่ของ ราชวงศ์อับบาซียะห์ ซึ่งผู้ปกครองจากราชวงศ์อับบาซี ยะห์ในยุคนั้นคือ มะอ์มูน ท่านอิมาม (อ.) มีอายุเพียง 55 ปีก็ถึงแก่การเป็นชะฮีด จากเรื่องราวชีวประวัติการ ด�ำเนินชีวติ ของท่านอิมาม (อ.) เราจ�ำเป็นต้องมาศึกษา ถึงเรื่องราวของท่าน

อิมามอะลี อิบนิ มูซา อัรริฎอ

ชัน้ ฟากฟ้า และศาสนทูตของพระองค์ พร้อมกับบรรดาอิ มาม ผู้บริสุทธิ์ในหน้าแผ่นดิน ต่างก็พอใจกับตัวของท่า นอิมาม (อ.) และท่านเป็นอิมามผู้น�ำประชาชาติ เป็น ที่รักและปรารถนาของมิตรสหาย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดยังท่าน แม้กระทั่งบรรดาศัตรูต่างก็พอใจในตัวของท่าน” ฉายานามอีกนามหนึง่ ทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั กันทัว่ ไปคือ “อาลิม อาลิ มุฮัมมัด” ฉายานามบ่อบอกถึงความรู้ของ ท่านอิมาม (อ.) เป็นที่ยอมรับว่าในยุคสมัยการด�ำเนิน นาม ฉายานาม และสร้อยนาม ชีวิตของท่านนั้น ท่านอิมาม (อ.) เป็นผู้ที่มีความรู้ใน เรือ่ งของศาสนาต่างๆ ไม่วา่ เรือ่ งนัน้ เป็นเรือ่ งอันละเอียด ของท่านอิมาม (อ.) นามของท่านคือ อะลี ฉายานามของท่านคือ อ่อน หรือเล็กก็ตาม ท่านก็จะพูดด้วยเหตุและผล นี่คือ อะบุลฮะซัน สร้อยนามของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ข้อพิสูจน์หนึ่ง ที่ท่านอยู่ในฐานะของอิมามัต คือ ริฎอ (ความพอใจ) ท่านอิมามมุฮัมมัด ตะกีย์ (อ.) บิดา และมารดาของท่านอิมาม (อ.) : ได้กล่าวถึงสร้อยนามค�ำว่าริฎอว่า “พระผู้เป็นเจ้าทรง บิดาของท่าน คือท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ประทานสร้อยนามค�ำว่าริฎอ เพราะว่าพระผูเ้ ป็นเจ้าใน เป็นอิมามท่านที่เจ็ดของบรรดาชีอะห์ ในปีฮิจญเราะห์

86 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


ต่างก็เชื่อฟังความสอน และค�ำสั่งของท่านอิมาม (อ.) เป็นอย่างดี ท่านอิมาม (อ.) กล่าวกับมะอ์มูน ในเรื่องเกี่ยว กับวิลายะห์ อ�ำนาจการปกครอง ในเรื่องนี้ท่านอิมาม กล่าวว่า “ส�ำหรับเราแล้ว วิลายะห์ภาระหน้าที่นั้นเป็น ของเรา ในขณะที่เราอยู่ที่นครมะดีนะห์ทั้งตะวันออก และตะวันตกต้องฟังค�ำสัง่ ของเรา ประชาชนทุกสารทิศ ได้เรียกร้องยังเราให้ช่วยแก้ปัญหาอุปสรรคให้แก่พวก ศักราชที่ 183 ท่านถึงแก่การเป็นชะฮีด ด้วยน�้ำมือของ เขา ไม่มีบุคคลใดที่เขาประสบอุปสรรค และปัญหา จะ ฮารูน อับบาซียะห์ ส่วนมารดาของท่านมีนามว่า ท่าน ไม่ได้การแก้ไขจากเรา จะไม่มีน�้ำตาของผู้ที่รักเราต้อง หญิงนัจญ์มะห์ รินไหลเมื่อพวกเขาต้องประสบกับอุปสรรค”

การถือก�ำเนิดของท่านอิมาม (อ.) :

ท่านอิมาม ริฎอ (อ.) ถือก�ำเนิดเมือ่ วันที่ 15 เดือน ซุลเกาะดะห์ ฮิจญเราะห์ศกั ราชที่ 148 ณ นครมะดีนะห์ จากรายงานของมารดาของท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวว่า “ในขณะทีฉ่ นั ตัง้ ครรภ์ของท่านอิมามอยูน่ นั้ ไม่มปี รากฎ การณ์การตั้งครรภ์ปรากฏเลย แต่ทุกครั้งที่ฉันได้ล้มตัว นอน ฉันได้ยนิ เสียงตัสบีฮ์ ค�ำสรรเสริญสดุดตี อ่ พระองค์ อัลลอฮ์ (ซ.บ.) โดยกล่าวว่า "‫( "ال اله اال اهلل‬ลาอิลา ฮะอิ้ลลัลลอฮ์) ดังออกมาจากครรภ์ของฉัน แต่เมื่อฉัน ตื่นขึ้นกับไม่ได้ยินเสียงนั้นอีก และในขณะที่ฉันได้เดิน หรือนั่งก็ตามฉันจะเห็นว่ารอบๆ เรือนร่างของฉันนั้นมี แสงรัศมีอันงดงามวนเวียนอยู่”

การด�ำเนินชีวิตของท่านอิมาม (อ.) ในนครมะดีนะห์ :

ต�ำแหน่งอิมามัต ของท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) :

ต�ำแหน่งอิมามัตของท่านอิมาม ริฎอ (อ.) เป็น ต�ำแหน่งสืบทอดจากบิดาของท่าน ตามค�ำสั่งของท่าน ศาสดามุฮัมมัด ศาสนทูตผู้ประเสริฐ (ศ็อลฯ) ดังที่ท่าน อิมาม มูซา กาซิม (อ.) ได้แต่งตัง้ ให้ทา่ นอิมาม ริฎอ (อ.) เป็นตัวแทนของท่านในยุคทีท่ า่ นด�ำรงต�ำแหน่งอิมามอยู่ สหายคนหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม (อ.) ได้กล่าวว่า พวกเราหกสิบคนที่ได้นั่งร่วมอยู่กับท่าน อิมามมูซา กาซิม (อ.) ในขณะที่ท่านได้ยกมือบุตรชาย ของท่านชูขนึ้ และก็ได้กล่าวว่า “พวกท่านรูห้ รือไม่วา่ ฉัน คือใคร” พวกเราก็ตอบไปว่า ท่านคือผูป้ กครองทีย่ งิ่ ใหญ่ ของพวกเรา และท่านก็กล่าวต่อไปอีกว่า “รู้หรือไม่ว่า บุคคลทีฉ่ นั ชูมอื ของเขาขึน้ คือใคร” พวกเราก็ตอบว่า เขา คืออะลี บุตรของมูซา บุตรของญะอ์ฟัร ท่านอิมาม (อ.) กล่าวต่อไปอีกว่า “พวกท่านจงให้การเป็นพยานเถิดว่า ในขณะทีฉ่ นั ยังมีชวี ติ อยูเ่ ขาคือ ตัวแทนของฉัน และเมือ่ ฉันตายไปแล้ว เขาคือผูช้ ว่ ยเหลือฉันในต�ำแหน่ง อิมาม”

ก่อนที่ท่านอิมาม ริฎอ (อ.) จะเดินทางไปยัง ต่างแดน ท่านได้พักอาศัยกับญาติพี่น้องของท่านที่ นคร มะดีนะห์ ท่านได้ใช้ชีวิตของท่านอยู่กับการ ชี้แนะแนวทาง สัจธรรมของศาสนาให้กับผู้คนทั้งหลาย ชาวนครมะดีนะห์ตา่ งก็มอบความรักยังท่านอิมาม (อ.) ทางด้านการเมืองของท่านอิมาม เพราะท่านอิมาม ให้ความเอ็นดูต่อประชาชนเหล่า อะลี อัรริฎอ (อ.) : นั้น เสมือนพ่อที่ดูแลลูก ก่อนหน้าที่ท่านอิมามจะเดิน ระยะเวลาของการอยู่ในต�ำแหน่งอิมามัตของ ทางจากนครมะดีนะห์มานั้น ท่านได้มีอายุล่วงเลยไป ท่านอิมามริฎอ (อ.) 20 ปี ที่สามารถแบ่งออกเป็นสาม หลายปี และในการปกครองรัฐอิสลามในยุคนั้นทุกคน วาระได้ดังนี้คือ :

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 87


1. สิบปีแรกในต�ำแหน่งอิมามัตของท่านอยู่ใน ช่วงของฮารูน 2. ห้าปีภายหลังจากการปกครองของอะมีน 3. ห้าปีช่วงสุดท้ายแห่งอิมามัตของท่านอยู่ใน ช่วงการปกครองของมะอ์มนู เป็นช่วงทีร่ ศั มีของอิสลาม นั้นคล้ายรัศมีแห่งดวงจันทร์ ในช่วงระยะเวลาที่ท่านอิมามริฎอ (อ.) อยู่ในยุค สมัยของผู้ปกครองฮารูน อัรรอชีด เป็นช่วงที่ฮารูน ได้ พยายามอย่างยิ่งที่จะแสวงหาช่องทางในการสังหาร ท่านอิมาม ริฎอ (อ.) แต่ไม่มีโอกาสที่จะท�ำเช่นนั้น จน กระทั่งฮารูนได้จบชีวิตลง บุตรชายของเขา คืออะมีน ก็ ขึ้นมาปกครองแทน และเป็นช่วงที่อาณาจักรของฮารู นอ่อนแอลง จากการปกครองของอะมีนที่สร้างความ แตกแยกเกิดขึ้น การเมืองในยุคของอะมีนนั้นเป็นการ เมืองที่แก่งแยงชิงดีชิงเด่นกันระหว่างพี่น้องของเขาเอง จนท�ำให้อะมีน ไม่มีเวลาที่จะมาคิดกับท่านอิมาม ซึ่ง ในช่วงนั้นนับว่าเป็นช่วงที่สงบที่สุดส�ำหรับท่านอิมาม 88 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ริฎอ (อ.) แต่ ม ะอ์ มู น ก็ ต ้ อ ง ถู ก น้ อ งชายของเขาคื อ อะ มีน แย่งชิงต�ำแหน่งไปจาก เขาจนเขาต้องตายลง และ ไม่ ส ามารถที่ จ ะปกครอง รั ฐอิ สลามสื บต่ อ ไปได้ นั บ ว่ า เป็ น อั น ตรายยิ่ ง ส� ำ หรั บ บรรดาบุ ต รหลานของท่ า น ศาสดา (ศ็อลฯ) ในยุคของ อะมีนเองก็ได้ท�ำการเข่นฆ่า ประชาชนที่ ไ ม่ ส วามิ ภั ก ดิ์ กับเขาไปหลายต่อหลายคน ซึ่งอะมีนเองต้องการจะเป็น ใหญ่คนเดียวในสายตระกูล ของอับบาซียะห์ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงตัดสินใจที่จะเรียกร้อง จากท่านอิมาม (อ.) ให้ช่วย เหลือเขา ไม่ว่าเขาจะรับอิมาม หรือไม่รับก็ตาม แต่ เขาก็ยังเป็นผู้ปกครองในสายตระกูลอับบาซียนะห์อยู่ ด้วยเหตุนี้เอง มะอ์มูนจึงต้องการให้ท่านอิมาม (อ.) ยก ต�ำแหน่งวิลายะห์ การปกครองให้แก่เขาเพียงคนเดียว และถ้าอิมามได้มาอยู่กับเขาแล้ว แน่นอนการปกครอง บรรดามุสลิม และการออกกฎเกณฑ์ตา่ งๆ ก็จะเป็นการ ง่ายส�ำหรับเขา และบรรดาชีอะห์ของท่านอิมาม ก็จะ ต้องปฏิบตั ติ ามเขา ไม่วา่ เขาจะเป็นผูก้ ำ� หนดกฎเกณฑ์ ที่ผิดๆ ก็ตาม จะไม่มีใครที่จะมาต่อต้านเขาได้เลย เขาคิดว่าถ้าท่านอิมาม ไม่ยอมรับในต�ำแหน่ง ผู้ปกครองของเขาแล้ว เขาก็จะบีบบังคับเป็นตัวแทน ของท่านอิมาม เพือ่ ว่าการปกครองของเขาในหมูบ่ รรดา มุสลิม และบรรดาชีอะห์นั้นจะต้องเกรงใจเขา จะไม่มี ใครลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐการปกครองของอับบาซียะห์ อีกต่อไป แม้กระทั่งผู้ที่มีความรักยังอิมาม เพราะว่าท่า นอิมาม (อ.) ได้มาอยู่ใกล้ชิดยังเขา และด้วยความใกล้


ชิดกับท่านอิมาม (อ.) บรรดาชีอะห์ และบุคคลที่ปฏิบัติ ตามก็เท่ากับปฏิบตั ติ ามเขาไปด้วยเช่นกัน ใครมีคำ� ถาม อะไรเขาก็ให้ท่านอิมาม (อ.) เป็นผู้ตอบแทนเขาได้ การเดินทางสู่คุรอซอน : มะอ์มูนได้จัดส่งคณะผู้รู้ของเขาให้เดินทาง มายังนครมะดีนะห์ มาพบกับท่านอิมาม ริฎอ (อ.) เพื่อที่จะบีบบังคับให้ท่านอิมาม ริฏอ (อ). เดิน ทางไปยังคุรอซอน และมีเงือ่ นไขว่า ท่านอิมามสามารถ จะน�ำบรรดาชีอะห์ติดตามไปด้วยได้ แต่จ�ำนวนไม่มาก นัก ในเวลาเดียวกันมะอ์มูนก็เฝ้าดูว่าท่านอิมาม (อ.) จะตอบรับอย่างไร หะดีษที่เกี่ยวกับการเดินทาง : ท่านอิมาม (อ.) ในขณะเดินทางอยู่ต่างแดน ท่านอิมาม (อ). จะกล่าวอยู่เสมอไม่ว่าท่านจะหยุด พัก ณ สถานที่ใดก็ตาม ท่านก็จะให้ความช่วยเหลือแก่ ประชาชนทีม่ าหายังท่าน เมือ่ ท่านอิมาม (อ.) ได้เดินทาง มาถึงยังเมืองนีชาบูร ประชาชนเมือ่ พวกเขาได้ยนิ ว่าท่า นอิมาม (อ.) ได้มาพักอยูท่ เี่ มืองนีชาบูร พกวเขาก็จะเดิน ทางมาพบกับท่านอิมาม ประชาชนเหล่านั้นได้ถามยัง ท่านอิมามว่า เราขอยืนยันว่าท่านเป็นอิมาม ผูป้ กครอง ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นบุตรของท่านอิมามที่ยิ่งใหญ่ ขอให้ ท่านได้แจ้งสอนแก่เรายังหะดีษต่างๆ ที่บิดาของท่าน ได้น�ำมาจากท่านศาสนทูต (ศ็อลฯ) เพื่อว่าพวกเราจะ ได้จดจ�ำไว้ ท่านอิมาม (อ.) ก็ได้สอนแก่พวกเขาซึ่งหะ ดีษต่างๆ ที่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ได้รับค�ำ บัญชามาจากพระผูเ้ ป็นเจ้า ผ่านมายังมะลาอิกะฮ์ ญิบ รออีล (อ.) ที่ได้กล่าวว่า “ค�ำกล่าวลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์ นั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับฉัน และบุคคลใดที่ได้กล่าวค�ำนี้ พวกเขาก็เป็นใกล้ชิดยังฉัน และบุคคลใดที่ใกล้ชิดยัง ฉัน พวกเขาก็จะรอดพ้นจากการลงโทษ” จากนั้นท่านอิ มาม (อ.) ก็กล่าวอีกว่า “เราก็คอื เงือ่ นไขหนึง่ ในค�ำกล่าว นั้นด้วย” ค�ำอรรถาธิบายหะดีษบทนี้คือ ค�ำกล่าวที่ว่า ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์ คือสถานภาพของความเป็นเอ

กะของพระผู้เป็นเจ้าในแนวทางแห่งสัจธรรม บุคคล ใดที่ได้กล่าวปฏิญาณด้วยค�ำกล่าวนี้ เป็นสิ่งจ�ำเป็นที่ พวกเขาจะต้องเชือ่ ฟังปฏิบตั ติ ามในต�ำแหน่งอิมามัต ที่ เป็นต�ำแหน่งทีถ่ กู แต่งตัง้ มาจากพระองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) และเป็นความสัจจริงทีว่ า่ เงือ่ นไขทีจ่ ะท�ำให้รอดพ้นจาก การลงโทษ ก็คือเงื่อนไขการยอมรับยังอิมามัตว่าเป็นผู้ ปกครองด้วยความสัจจริง เมื่อท่านอิมาม (อ.) ได้เดินทางผ่านมายังมะรู มะอ์มนู ได้ตดิ ตามท่านอิมาม (อ.) อยูต่ ลอดเวลา เขาได้ กล่าวกับองค์ประชุมของพวกเขาว่า ฉันคือสายตระกูล ของอับบาซ และสายตระกูลของอะลี (อ.) ฉันไม่เคย พบเห็นผู้ใดที่จะมีเพียบพร้อมในต�ำแหน่งผู้ปกครอง นอกเหนือจากอะลีบุตรของมูซา ริฎอ (อ.) อีกแล้วไม่มี จากนั้นเขาก็หันมายังท่านอิมาม (อ.) และก็กล่าวว่า ฉันคิดว่าฉันจะต้องพักต�ำแหน่งการปกครองของฉันไว้ แต่เพียงเท่านี้ และมอบการปกครองให้อยู่ในมือของ ท่าน ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวสตอบกับมะอ์มูน ว่า “ถ้าต�ำแหน่งผู้ปกครองของท่านได้รับมาจากพระผู้เป็น เจ้าแล้ว ก็ไม่เป็นการอนุญาตที่จะสละต�ำแหน่งนี้ และ มอบให้กับผู้อื่น แต่ถ้าต�ำแหน่งผู้ปกครองนี้ ท่านเป็น ผู้ก่อตั้งขึ้นมาเอง ก็สมารถจะมอบให้กับบุคคลใดก็ได้ ตามทีท่ า่ นปรารถนา” มะอ์มนู ก็กล่าวหวังทีจ่ ะให้ทา่ นอิ มาม (อ.) แต่งตั้งเขาให้เป็นตัวแทน แต่ท่านอิมาม (อ.)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 89


ก็กล่าวขึ้นว่า “มันเป็นไปไม่ได้” เมื่อมะอ์มูนเข้าตาจน เขาจึงกล่าวขึ้นว่า ดังนั้นจงเก็บรักษาต�ำแหน่งวิลายะห์ ของท่านไว้ และหลังจากฉันแล้วท่านค่อยเป็นผู้สืบการ ปกครอง นับจากนั้นเป็นระยะเวลาสองเดือนที่มะอ์มูน ได้กล่าวเรียกร้องจากท่านอิมาม (อ.) แต่ทา่ นอิมาม (อ.) ไม่ยอมรับ และท่านก็กล่าวกับมะอ์มนู ว่า “ฉันได้ยนิ จาก บรรดาบิดาของฉันได้กล่าวว่า ฉันจะเสียชีวิตก่อนท่าน และท่านจะเป็นวางยาพิษฉัน จนฉันต้องเป็นชะฮีด ใน เวลานั้นเหล่าบรรดามะลาอิกะฮ์ทั้งชั้นฟ้า และแผ่นดิน จะร้องไห้ให้แก่ฉัน และท่านจะน�ำร่างของฉันไปฝังรวม อยู่กับร่างของฮารูน อัรรอชีดบิดาของท่าน” จากนั้นมะอ์มูนก็ได้จัดสถานที่ โดยเฉพาะไว้ ส�ำหรับท่านอิมาม (อ.) เพื่อรอจังวหะที่จะหยิบความ ตายให้แก่ท่าน ท่านอิมาม(อ.) ได้กล่าวกับเขาว่า “ถ้า ท่านบีบบังคับเราๆยินดีที่จะยอมท่าน ด้วยเงื่อนไขที่ ว่า ท่านจะต้องไม่กระท�ำการกดขี่กับผู้อื่น และอย่าได้ เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ใดๆ อย่างเปลี่ยนแปลงแบบ อย่างที่ดีงาม และขอให้ท่านเป็นผู้ปกครองตามความ

90 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ปรารถนาที่ท่านต้องการ” จากนั้นท่านอิมาม (อ.) ได้ยกมือขึ้นสู่ท้องฟ้า และก็กล่าวว่า “ข้าฯ แด่พระผูเ้ ป็นเจ้า พระองค์ทรงรอบรู้ ว่าสิ่งที่ข้าฯ พระองค์กล่าวหรือกระท�ำลงไปนั้นเป็นการ ถูกบีบบังคับ ขอพระองค์อย่าทรงพิโรธกับข้าฯ พระองค์ เลย ดังเช่นยุคสมัยของท่านศาสดายูซุฟที่ไม่ยอมรับ การเป็นกษัตริย์ของดานิยอล ด้วยเหตุนี้ ต�ำแหน่งวิ ลายะห์ที่พระองค์ทรงก�ำหนดมาแล้วนั้นย่อมไม่มีการ เปลี่ ย นแปลง ดั ง นั้ น ขอพระองค์ ท รงโปรดประทาน ความเมตตาในความส�ำเร็จแก่ขา้ ฯ ในการปกป้องรักษา แนวทางของพระองค์ และแบบอย่างของท่านศาสนทูต ของพระองค์ให้คงอยู่ต่อไป ดังที่พระองค์ทรงเป็นพระผู้ เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตา อีกทั้งทรงรอบรู้” มะอ์ มู น ได้ พ ยายามทุ ก วิ ถี ท างที่ จ ะท� ำ ลาย ความเชือ่ ถือของประชาชนทีม่ ตี อ่ ท่านอิมาม (อ.) เขาจึง ได้วางแผนที่จะเชิญนักวิชาการทั่วทุกมุมโลกมา เพื่อที่ จะให้มาโต้เถียงปัญหาต่างๆ กับท่านอิมาม (อ.) หนทาง นี้อาจจะท�ำให้ความรู้ของอิมามถูกท�ำลายลงได้ ซึ่งเรา จะน�ำบางส่วนในทีป่ ระชุมของท่านอิมาม (อ.) มากล่าว แก่ท่านผู้อ่าน ดังนี้ : เมื่อมะอ์มูนได้เชิญนักวิชาการ นักพูดมาจาก ทั่วสารทิศของโลก เพื่อจะให้ท่านอิมาม (อ.) ได้ฟังค�ำ พูด และค�ำถามจากบุคคลเหล่านี้เช่น พระราชาคณะ ของศาสนาคริสต์ พระราชาคณะของศาสนายิว พระ ราชคณะของผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางของท่านศาสดา ยะฮ์ยา (อ.) และหัวหน้านักบวชในศาสนาต่างๆ เมือ่ นัก วิชาการเหล่านี้ได้มาถึง มะอ์มูนได้กล่าวกับพวกเขาว่า เราปรารถนาที่จะให้พวกท่านได้ถามปัญหาต่างๆ กัน ท่านอิมาม ริฎอ (อ.) เวลาที่ท่านอิมาม (อ.) ได้เดินทาง เข้ามายังทีป่ ระชุม มะอ์มนู ได้กล่าวแนะน�ำ แต่ละคนให้ ท่านอิมาม (อ.) ได้รู้จัก และกล่าวอีกว่า เราปรารถนาที่ จะให้ท่านอิมาม (อ.) แนะน�ำพวกเขาเหล่านี้ในความ รู้ที่ท่านมีอยู่ จากนั้นท่านอิมาม (อ.) และนักวิชาการ เหล่านั้นก็เริ่มในการโต้เถียงกันในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา


และแนวทางของแต่ละคน จากนั้นท่านอิมาม (อ.) ก็ได้ กล่าวขึน้ ว่า “ในระหว่างพวกท่าน ถ้าบุคคลใดทรยศ หรือ ปฏิเสธต่อแนวทางของอิสลาม จะไม่มีความละอายใน ค�ำถามของตัวเองก็ถามมา” อิมรอน ศอยี หนึ่งในนัก วิชาการที่ถูกเชิญมาได้ถามปัญหา ค�ำถามอย่างอย่าง มากมายกับท่านอิมาม (อ.) และท่านอิมาม (อ.) ก็ สามารถตอบทุกค�ำถามของพวกเขาเหล่านัน้ จนกระทัง่ พวกเขาไม่มอี ะไรทีจ่ ะเรียนถามท่านอิมาม (อ.) อีกต่อไป จากการได้ยนิ ค�ำตอบจากท่านอิมาม (อ.) ท�ำให้พวกเขา ได้กล่าวปฏิญาณรับอิสลาม ด้วยปากของพวกเขาเอง เมื่อการประชุมจบลงผู้คนได้แยกย้ายจากกันแล้ว จา กนั้นอิมรอน ศอยี ได้กลับมาพบกับท่านอิมาม (อ.) อีก ครั้งหนึ่ง เพื่อมาศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแนวทางของ อิสลาม จนกระทัง่ สุดท้ายอิมรอน ศอยี ได้กลายเป็นนัก เผยแพร่ และแนะน�ำแนวทางอิสลามกับบุคคลอื่นๆ การเป็นชะฮีดของท่านอิมาม (อ.) : การเป็นชะฮีดของท่านอิมาม (อ.) ได้ถกู บันทึก ไว้ว่า มะอ์มูนได้สั่งให้บ่าวรับใช้ของเขาคนหนึ่ง ให้น�ำ ยาพิษทาไว้ที่มือ และไปถูกกับผลทับทิม บ่าวรับใช้ผู้

นัน้ ได้ปฏิบตั ติ ามค�ำสัง่ ของมะอ์มนู และมะอ์มนู ก็ได้ยก ภาชนะทีม่ ที บั ทิมทีผ่ สมยาพิษมามอบให้กบั ท่านอิมาม (อ.) เพือ่ ทีจ่ ะให้ทา่ นอิมาม (อ.) ได้ทานผลทับทิมนัน้ เมือ่ ท่านอิมาม (อ.) ได้ทานผลทับทิมที่ผสมยาพิษเข้าไป เพียงไม่กชี่ วั่ โมงอาการของยาพิษก็ได้สำ� แดงออกมา ได้ สร้างความเจ็บปวดให้ท่านอิมาม (อ.) เป็นอย่างยิ่ง จน กระทั่งเช้ามืดขอวันที่ 29 เศาะฟัร ฮิจญเราะห์ศักราชที่ 203 ท่านอิมาม (อ.) ก็ได้ถึงแก่การเป็นชะฮีด สถานที่ฝังพระศพของท่านอิมาม (อ.) : ด้วยพระเดชนุภาพแห่งพระองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ให้ท่านอิมาม ญะวาด (อ.) บุตรของท่านอิมาม ริฎอ (อ.) ได้มาท�ำการอาบน�้ำฆุสุล และนมาซให้กับท่านอิ มาม (อ.) โดยไม่ให้ใครได้เห็น และเป็นที่รับทราบของ บรรดาชีอะห์ และผู้ที่มีความรักยังท่านอิมาม (อ.)ว่า พระศพของท่านอิมาม ริฎอ (อ.) ได้ท�ำการดะฟัน (ฝัง) ที่เมืองมะชะฮีด ซึ่งในทุกๆ เวลาจะมีผู้คนเดินทางไปซิ ยาเราะห์ (เยี่ยมเยือน) สถานที่ศพของท่านอิมาม (อ.) ตลอดเวลา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 91


เชคอับดุลมาลิก อาเมน

นมาซ

มุซตะฮับ ความส�ำคัญของนมาซตามทัศนะ ของอิมามโคมัยนี(ร.ฮ.)

• นมาซที่ ดี จะขจั ด อบายมุ ข และสิ่ ง ลามก อนาจารออกจากประชาชาติได้ • พวกท่านจงรีบไปช่องทางของนมาซ จงฟื้นฟู ซุนนะฮ์ทางการเมืองอันนี้ขึ้นมาให้มีชีวิตชีวา • นมาซเป็นที่พึ่งของประชาชน • นมาซคือโรงงานสร้างคน • นมาซคือการร�ำลึกถึงอัลลอฮ์ที่สูงส่งที่สุด • พวกท่ า นจงให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ นมาซและ มัสยิด ซึ่งบันทึกต่างๆของศาลแห่งวัตถุ ไม่มีนมาซทั้ง หลายอยู่ และผูท้ ำ� นมาซทัง้ หลาย(ทีแ่ ท้จริง)ก็ไม่มบี นั ทึก อยู่ในศาล(เพื่อตัดสินลงโทษ)เช่นกัน • พวกเขาเหล่ า นั้ น ที่ ห มกมุ ่ น วกวนอยู ่ ใ น ศูนย์กลางแห่งอบายมุขคือบรรดาผู้ไม่ท�ำนมาซ • ชัยฏอนหวาดกลัวบรรดามัสยิดและนมาซ พวก มันต้องการจะหยุดยัง้ การนมาซ โดยหลังจากท�ำให้ดา้ น หลังที่ก�ำบัง(ตามแนวรบ)ว่างเปล่าได้แล้ว พวกมันก็จะ โจมตี

92 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

• นมาซเป็นงานทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทางศาสนา ซึง่ หาก ถูกยอมรับจากอัลลอฮ์ผู้ทรงรอบรู้แล้ว งาน(อิบาดะฮ์) อื่นๆก็จะถูกยอมรับไปด้วย แต่ถ้ามันไม่ถูกยอมรับ งา นอื่นๆก็ไม่ถูกยอมรับด้วยเช่นกัน • เช่นเดียวกันทีท่ ว่ามนุษย์ช�ำระล้างตัวในแม่นำ�้ สีฟ้าใสตลอดทั้งวันและคืน 5 ครั้ง สิ่งสกปรกก็จะไม่ เหลือบนร่างกายเขาเลย นมาซทัง้ ห้าก็เช่นกันช�ำระล้าง บาปต่างๆออกจากมนุษย์ • เป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องนมาซ ให้ตรงเวลา(ต้นเวลา) • คนที่คิดว่านมาซนั้นไร้ค่า ไม่เห็นความส�ำคัญ เขาเปรียบเสมือนกับคนที่ไม่ท�ำนมาซ • พวกท่านจงอย่ากล่าวว่าเราได้ท�ำการปฏิวัติ แล้ว ตอนนี้ต้องตะโกนโห่ร้อง...เฮกันดังๆ ไม่ใช่เลย! พวกท่านต้องนมาซซึง่ มันยิง่ ใหญ่กว่าการตะโกนโห่รอ้ ง ทั้งปวง • อั ล ลอฮ์ ช อบที่ ต อนเวลาร� ำ ลึ ก ถึ ง พระองค์ บ่าว(ของพระองค์)ตัด(จากสิ่งเร้าทั้งปวง)มุ่งสู่พระองค์ ด้วยสภาพที่นอบน้อมและสะอาดบริสุทธิ์


• เป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่ง งานต่างๆที่ท�ำให้ผล บุญของนมาซน้อยลงไป ก็จงอย่าท�ำ และงานต่างๆที่ ท�ำให้ผลบุญของนมาซเพิ่มมากขึ้น ก็จงท�ำ • นมาซวันศุกร์อยูใ่ นหัวแถวของการงานทัง้ หมด • สิ่งหนึ่งจากความจ�ำเริญทั้งหลายของขบวน การและการปฏิวัติครั้งนี้ก็คือการมีนมาซวันศุกร์ • นมาซวันศุกร์คือการส�ำแดงพลังทางการเมือง และสังคมแบบอิสลาม จะต้องจัดให้อย่างยิ่งใหญ่และ เต็มไปด้วยสาระมากขึ้นไปเรื่อย • พวกท่านจงจัดนมาซวันศุกร์ทั้งหลายให้ยิ่ง ใหญ่ และนมาซอื่นนอกจากนมาซวันศุกร์ก็เช่นกัน ซึ่ง บรรดาชัยฏอนนั้นหวาดกลัวการนมาซ และหวาดกลัว มัสยิด • จงอย่าเมินเฉยต่อนมาซวันศุกร์และต่อนมาซ ญะมาอะฮ์(เป็นหมู่คณะ)ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงด้าน การเมืองของนมาซ • การนมาซวันศุกร์อันนี้เป็นความช่วยเหลืออัน ยิ่งใหญ่ที่สุดจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสัจจะและสูงส่งที่ มีต่อสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ความส�ำคัญของนมาซมุซตะฮับจากมุมมองของ บรรดาผู้ทรงพิสุทธิ์(มะอ์ศูม)สลามจงมีแด่พวกท่านทั้ง หลาย

َ َ‫ق‬: ‫وسى بْنِ َج ْع َفر عليه السالم‬ َ ‫ال ُم‬ ٍ‫ان إِلَى اهلل ِ ل ِ ُك ِّل ُم ْؤ ِمن‬ ٌ َ ‫َص َلو ُة النَّ َوافِلِ قُ ْرب‬

การท�ำนมาซมุซตะฮับของผู้ศรัทธาทุกคนท�ำให้ ใกล้ชิดอัลลอฮ์ (ตุฮ์ฟุ้ลอุกูล หน้า 297)

َ َ‫ق‬ : ‫الصا ِد ُق عليه السالم‬ َّ ‫ال‬ َ ‫إ َِّن ال ْ َع ْب َد لَيُ ْرفَ ُع ل َ ُه ِم ْن َص‬ ‫التِ ِه ن ِ ْص ُف َها َو ثُ ْلثُ َها‬ ‫َو ُربْ ُع َها َو ُخ ْم ُس َها فَ َما يُ ْرفَ ُع ل َ ُه إِالَّ َما ا َ ْقبَ َل‬ ‫َع َل ْي َها ب ِ َق ْلبِ ِه َو إِن َ​َّما أُ ِم ُروا بِالنَّ َوافِلِ لِيَتِ َّم ل َ ُه ْم‬ ‫َما ن َ َق ُصوا ِم َن ال ْ َفر ِْي َض ِة‬

นมาซที่บ่าว(ของอัลลอฮ์)ได้ท�ำไปนั้นบางทีครึ่ง

หนึ่ง บางทีหนึ่งในสาม บางทีหนึ่งในสี่ บางทีหนึ่งในห้า จะถูกน�ำขึ้นสู่ฟากฟ้าเท่านั้น ซ�้ำแล้วมันจะไม่ถูกน�ำขึ้น ไปยกเว้นนมาซที่ออกมาจากใจของเขาเท่านั้น และแท้จริงทีพ่ วกเขาถูกสัง่ ให้ทำ� นมาซมุซตะฮับ ทั้งหลายก็เพื่อท�ำให้นมาซวาญิบที่บกพร่องเหล่านั้น สมบูรณ์ (บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม 78 หน้า 28)

َ َ‫ق‬ :‫الصا ِد ُق عليه السالم‬ َّ ‫ال‬ َ ‫اج ًة فَ َص ِّل َر ْك َعتَ ْينِ َو َص ِّل‬ َ ‫إِذَا أ َر ْد َت َح‬ ِ ‫َع َلى ُم َح َّم ٍد َو‬ ‫آل ُم َح َّم ٍد َو َس ْل تُ ْع ِط ِه‬

เมื่อต้องการอะไรสักอย่างหนึ่ง ดังนั้นจงนมาซ สองร่อกะอัต และจงศ่อละวาต(ประสาทพร)แก่ท่าน ศาสดามุฮมั มัดและวงศ์วานของมุฮมั มัด จากนัน้ จงวอน ขอแล้วมันจะถูกประทานลงมา (อ้างจากญะอ์ลุฮะดีษ หน้า 11)

ُ ‫ال َر ُس‬ َ َ‫ق‬: ‫ول اهلل ِ َصلَّى اهللُ َع َل ْي ِه َو آل ِ ِه َو َسلَّ َم‬ ‫ان فَ َم ْن أَ ْوفَى إ ِْستَ ْوفَى‬ َّ َ ‫ا‬ ٌ ‫لص َلو ُة ِمي َز‬

นมาซคือตาชั่ง(งานทั้งหลาย) ใครก็ตามที่ท�ำ มากกว่าก็ได้รับมากกว่า (ฟูรูอุ้ลกาฟี เล่ม 3 หน้า 267) ฮะดีษกุดซี:

‫َما تَ َق َّر َب ال ْ َع ْب ُد إِل َ َّى ب ِ َش ْى ٍء أَ ْف َض ُل ِم َّما‬ ‫ا ْفتَ َر ْض ُت َع َل ْي ِه َو إ َِّن ال ْ َع ْب َد لَيَتَ َق َّر ُب‬ ‫إِل َ َّى بِالنَّ َوافِلِ َحتَّى أُ ِحبَّ ُه‬

ไม่มีแม้แต่สิ่งเดียวที่ท�ำให้บ่าว(ของฉัน)ใกล้ชิด ฉันได้ประเสริฐไปกว่าสิง่ ทีฉ่ นั ได้กำ� หนดเป็นฟัรดูแก่เขา และแท้จริงบ่าว(ของฉัน)จะเข้าใกล้ฉนั ได้ดว้ ยนมาซมุซ ตะฮับจนกระทัง่ ฉันรักเขา (อุศลู ลุ้ กาฟี เล่ม 1 หน้า 352)

บทที่ 1

นมาซมุซตะฮับกลางวันและกลางคืน -1- นาฟิละฮ์ทั้งกลางวันและกลางคืน ประเภทต่างๆของนมาซมุซตะฮับ นมาซมุซตะฮับมีอยู่มากมาย โดยทั่วไปแบ่งเป็น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 93


2 ประเภทด้วยกันคือ ก. นาฟิละฮ์ทั้งหลาย (อยู่คู่กับนมาซประจ�ำวัน) ข. นมาซมุซตะฮับอื่นๆ นาฟิละฮ์ประจ�ำวัน 1-นาฟิละฮ์ของนมาซศุบฮ์ มีก่อนนมาซศุบฮ์ จ�ำนวน 2 ร่อกะอัต 2- นาฟิละฮ์ของนมาซฎุฮร์ มีก่อนนมาซฎุฮร์ จ�ำนวน 8 ร่อกะอัต 3- นาฟิละฮ์ของนมาซอัซร์ มีก่อนนมาซอัซร์ จ�ำนวน 8 ร่อกะอัต 4- นาฟิละฮ์ของนมาซมักริบ มีภายหลังนมาซมัก ริบ จ�ำนวน 4 ร่อกะอัต 5- นาฟิละฮ์ของนมาซอีชา มีภายหลังนมาซอีชา จ�ำนวน 1 ร่อกะอัต (2 ร่อกะอัตนั่งนมาซ) นาฟิละฮ์ตอนกลางคืน 1- นมาซกลางคืน(ศ่อลาตุ้ลลัยล์) 8 ร่อกะอัต 2- นมาซชัฟอ์ 2 ร่อกะอัต 3- นมาซวิตร์ 1 ร่อกะอัต ดังนั้นจ�ำนวนนมาซนาฟิละฮ์มีทั้งหมด 34 ร่อกะ อัต มากเป็นสองเท่าของนมาซฟัรดู ในระหว่างนมาซมุซ ตะฮับทัง้ หลายการนมาซนาฟิละฮ์ทงั้ กลางวันและกลาง คืนถูกก�ำชับไว้มากกว่า ในหนังสือฮะดีษในเรื่องเกี่ยวกับนมาซนาฟิละฮ์ ได้ถกู ย�ำ้ ไว้อย่างมาก รวมถึงผลบุญ ผลกระทบต่างๆ อีก ทัง้ ยังถูกแนะน�ำให้รจู้ กั ว่าท�ำหน้าทีใ่ ห้ความสมบูรณ์แก่ 94 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

นมาซวาญิบต่างๆอีกด้วย ในนมาซมุซตะฮับนัน้ จะมีสว่ นทีท่ ำ� ให้งา่ ยในด้าน ต่างๆ ซึ่งไม่มีในนมาซวาญิบ สิ่งง่ายดายต่างๆเหล่านี้ เพื่อดึงดูดผู้คนให้ท�ำกัน กฎเกณฑ์ต่างๆ ของนมาซมุซตะฮับ 1- นมาซมุซตะฮับทัง้ หมดจะถูกท�ำกันในรูปแบบ สองร่อกะอัต ยกเว้นนมาซวิตร์ในนาฟิละฮ์ตอนกลางคืน ซึ่งท�ำเพียง 1 ร่อกะอัต นมาซอะอ์รอบีซึ่งจะถูกท�ำแบบ 2 ร่อกะอัตหนึ่งครั้ง และ 4 ร่อกะอัตสองครั้ง 2- ในนมาซมุซตะฮับนอกจากในบางนมาซแล้ว การอ่านซูเราะฮ์ไม่เป็นวาญิบ 3- การออกจากนมาซมุซตะฮับ(เลิกนมาซกลาง ครัน)ถึงแม้ว่าจะตั้งใจก็อนุญาต 4- การเพิ่มรุก่น(เช่นการรุกั๊วะ) อันเนื่องจากการ หลงลืมของนมาซมุซตะฮับไม่ท�ำให้เป็นโมฆะ 5- ในระหว่างนมาซ ผู้นมาซเกิดสงสัยว่าเป็นร่อ กะอัตที่หนึ่งหรือร่อกะอัตที่สอง ไม่ท�ำให้นมาซนั้นเป็น โมฆะ ผู้นมาซสามารถท�ำต่อได้จากทั้งสอง 6- นมาซนาฟิ ล ะฮ์ ส ามารถนั่ ง นมาซได้ แต่ เป็นการดีกว่าให้สองร่อกะอัตนาฟิละฮ์ที่นั่งท�ำเท่ากับ หนึ่งร่อกะอัตยืนท�ำ 7- จะต้องไม่นมาซนาฟิละฮ์ของฎุฮร์และอัซร์ ตอนเดินทาง แต่(นาฟิละฮ์)ของอีชาอ์ให้ท�ำโดยตั้ง เจตนาว่า มันอาจจะเป็นที่พึงพอพระทัย 8- ส�ำหรับนมาซวาญิบ ให้ไปท�ำทีม่ สั ยิดจะดีกว่า แต่นมาซมุซตะฮับไม่มีค�ำสั่งเช่นนั้น 9- การท�ำมากหรือน้อยไปเนื่องจากการหลงลืม ในนมาซมุซตะฮับ ไม่มีซุญูดซะฮ์วี 10- หากใครไม่สามารถนมาซมุซตะฮับในเวลา ของมันได้ สามารถนมาซชดใช้(ก่อฎอ)ในเวลาอื่นได้ 11- นมาซมุซตะฮับสามารถกระท�ำในขณะเดิน ทางและอยู่ในยานพาหนะ และหากเขาอยู่ในสภาวะ ทั้งสอง การนมาซมุซตะฮับไม่จ�ำเป็นต้องหันไปทางกิบ ละฮ์ก็ได้


12- นมาซมุซตะฮับสามารถท�ำในสภาพยืน นั่ง หรือนอนในขณะเดินทางได้ ซึ่งรูปแบบนี้ส�ำหรับการ รุกั๊วะอ์และซุญูดสามารถใช้ศีรษะท�ำเป็นสัญลักษณ์ ได้ แน่นอนจะต้องระวังการผินหน้าไปทางกิบละฮ์เท่า ที่จะท�ำได้ 13- ในการนมาซมุซตะฮับ การนิง่ ของร่างกายไม่ เป็นเงื่อนไข และหากลืมรุก่นโดยเพิ่มมากกว่าหรือน้อย กว่าก็ไม่เป็นโมฆะ 14- นมาซมุซตะฮับถูกใช้ท�ำนะซัร(บนบาน)ว่า หลังจากนี้สามารถท�ำมันในสภาพนั่งหรือยืนในขณะ เดินทางได้ แต่ไม่สามารถท�ำนะซัร(บนบาน)ตั้งแต่เริ่ม ต้นได้ว่า ฉันจะท�ำนมาซมุซตะฮับเช่น แบบนั่ง ท่านอิ มาม(ร.ฮ.)กล่าวว่า “การนะซัร(บนบาน)เช่นนีม้ ปี ญ ั หา” ตามฮะดีษ อัลลอฮ์ได้ทรงอวดมะลาอิกะฮ์ด้วย ความภูมใิ จว่า “จงดูบา่ วของฉันสิ เขาชดเชย(กอฎอ)ใน สิ่งที่ฉันไม่ได้ก�ำหนดให้เป็นวาญิบกับเขาเลย” -2- นมาซกลางคืน ความประเสริฐของนมาซกลางคืน อิมามศอดิกอะลัยฮิซซะลามกล่าวว่า “นมาซ กลางคืนท�ำให้ใบหน้างดงาม รูปร่างดีและท�ำให้มนุษย์ มีกลิน่ หอม ท�ำให้ปจั จัยยังชีพเพิม่ พูน ปลดเปลือ้ งหนีส้ นิ ขจัดทุกข์โศก และท�ำให้ดวงตาเป็นประกาย” ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะอา

ลิฮีวะซัลลัมกล่าวว่า “นมาซกลางคืนเป็นเครื่องมือท�ำ ให้อลั ลอฮ์พงึ พอพระทัย และเป็นเพือ่ นกับมะลาอิกะฮ์” อิมามศอดิกอะลัยฮิซซะลามกล่าวว่า “ในบ้าน เรือนทีม่ กี ารนมาซกลางคืนและอ่านอัลกุรอานบ้านเรือน เหล่านัน้ ณ บรรดาชาวฟ้าแล้วเป็นดังเช่นดวงดาวทีส่ อ่ ง สว่างไสว” วิธีนมาซกลางคืน นมาซกลางคืนมีทั้งหมด 11 ร่อกะอัตด้วยกันคือ 1- 8 ร่อกะอัต นมาซทีละสองร่อกะอัตแบบเดียว กับนมาซศุบฮ์ โดยนมาซสองร่อกะอัต สีค่ รัง้ ด้วยเจตนา นมาซกลางคืน (ข้าพเจ้านมาซกลางคืน-ศ่อลาตุ้ลลัย ล์-สองร่อกะอัตเป็นกุรบะตันอิลัลลอฮ์) 2- 2 ร่อกะอัตนมาซชัฟอ์ เป็นการดีกว่าในร่อกะ อัตแรกหลังจากซูเราะฮ์ฮัมด์ ให้อ่านซูเราะฮ์ “อันนาซ” ในร่อกะอัตที่สองหลังจากซูเราะฮ์ฮัมด์ ให้อ่านซูเราะฮ์ “อัลฟะลัก” 3- 1 ร่อกะอัตนมาซวิตร์ โดยหลังจากซูเราะฮ์ฮัม ด์ ให้อ่านซูเราะฮ์ “เตาฮีด” สามครั้ง ซูเราะฮ์ “อัลฟะ ลัก” 1 ครั้ง และซูเราะฮ์ “อันนาซ” 1 ครั้ง หรือสามารถ อ่านแค่หนึง่ ซูเราะฮ์ได้ จากนัน้ ให้ยกมือขึน้ สูฟ่ ากฟ้าเพือ่ ท�ำกุนตู และขอพรตามความต้องการจากอัลลอฮ์ซบุ ฮา นะฮูวะตะอาลา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 95


ขอดุอาอ์ให้กบั ผูศ้ รัทธา 40 คน (หรือขออภัยโทษ โดยกล่าวว่า “อัลลอฮุมมัฆฟิร ลิ้ล(ชื่อผู้ศรัทธา)” – โอ้ อัลลอฮ์ได้โปรดอภัยโทษให้แก่(ชื่อผู้ศรัทธา) ขออภัยโทษ 70 ครั้งโดยกล่าวว่า “อัซตัฆฟิรุ้ลลอ ฮะร็อบบี วะอะตูบุอิลัยฮ์” – ข้าพเจ้าขออภัยโทษต่อ อัลลอฮ์พระผูอ้ ภิบาลของข้าฯ และขอกลับตัวสูพ่ ระองค์ จากนั้นให้กล่าวดังนี้ 7 ครั้ง “ฮาซามะกอมุ้ลอาอิ ซิบิกะมินันนาร”- นี่คือต�ำแหน่งที่ยืนของผู้ขอความ คุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากไฟนรก จากนั้นให้กล่าว 300 ครั้งว่า “อัลอัฟว์” – ได้ โปรดอภัยโทษเถิด แล้วอ่านดุอาอ์ว่า “ร็อบบิฆฟิรลี วัร ฮัมนี วะตุบอะลัยยะ อินนะกะ อันตัตเตาวาบุ้ล เฆาะฟู รุ้รร่อฮีม” – พระผู้อภิบาลของข้าฯได้โปรดอภัยโทษต่อ ข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ และยอมรับการกลับตัวของข้าฯ แท้จริงพระองค์ทรงยอมรับการกลับตัว ทรงอภัยโทษ ยิ่งและทรงเมตตายิ่ง

กฎเกณฑ์ต่างๆของนมาซกลางคืน

1- นมาซ 8 ร่อกะอัตด้วยเจตนานมาซกลางคืน จากนั้นนมาซชัฟอ์ 2 ร่อกะอัต แล้วจึงนมาซวิตร์อีก 1 ร่อกะอัต ซึ่งนมาซกลางคืนที่ประเสริฐที่สุดก็คือนมาซ ชัฟอ์กับนมาซวิตร์ โดยนมาซชัฟอ์สองร่อกะอัตดีกว่า นมาซวิตร์ 2- ส�ำหรับนมาซกลางคืนสามารถนมาซชัฟอ์และ

96 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

นมาซวิตร์ก็พอแล้ว แต่ถ้าเวลาเหลือน้อยมากแค่นมาซ วิตร์อย่างเดียวก็ถือว่าเพียงพอ 3- เวลานมาซกลางคืนเริ่มจากกึ่งกลางของคืน จนถึงเวลานมาซศุบฮ์ เวลาซะฮัรดีกว่าเวลาอื่นทั้งหมด คือคิดเป็นหนึง่ ให้สามสุดท้ายของคืน และประเสริฐทีส่ ดุ ให้นมาซกลางคืนใกล้เวลานมาซศุบฮ์ 4- อนุญาตให้มนุษย์นงั่ นมาซกลางคืนได้ตามใจ ต้องการ แต่ถ้าต้องการนั่งท�ำ เป็นการดีกว่าในแต่ละ 2 ร่อกะอัตให้คดิ เป็น 1 ร่อกะอัตแบบยืนท�ำ ด้วยเหตุนเี้ อง จะต้องท�ำนมาซสองร่อกะอัตแบบนั่ง 8 ครั้ง ในแต่ละ สองร่อกัตให้สลามหนึ่งครั้ง รวมแล้วเป็น 16 ร่อกะอัต ด้วยเจตนานมาซกลางคืน และนมาซสองร่อกะอัตอีก 2 ครั้งในแต่ละสองร่อกะอัตให้สลาม 1 ครั้งด้วยเจตนา นมาซชัฟอ์ และนมาซหนึ่งร่อกะอัต 2 ครั้งในแต่ละร่อ กะอัตให้สลาม 1 ครั้งด้วยเจตนานมาซวิตร์ แต่ทว่าอยู่ ในสภาพจ�ำเป็นหรือป่วยไข้กน็ มาซแค่เพียง 11 ร่อกะอัต เช่นเดิมถือว่าเพียงพอ 5- คนเดิ น ทางสามารถนมาซกลางคื น ก่ อ น กึ่งกลางคืนได้ 6- เยาวชนทีก่ ลัวว่าจะนอนไม่ตนื่ นมาซกลางคืน สามารถนมาซกลางคืนก่อนเวลากึ่งกลางคืนได้ 7- บุคคลที่มีปัญหากับการนมาซกลางคืนภาย หลังกึ่งกลางคืน เช่น ความชราภาพ หรือบางคนกลัว อากาศหนาว หรือกลัวว่าจะมีญนุ บุ (ฝันเปียก) สามารถ นมาซกลางคืนก่อนเวลากึ่งกลางคืนได้ 8- ไม่จำ� เป็นต้องอ่านซูเราะฮ์ในร่อกะอัตต่างๆใน นมาซกลางคืน อ่านเพียงซูเราะฮ์ฮมั ด์อย่างเดียวก็ถอื ว่า เพียงพอแล้ว เช่นเดียวกันการกุนตู ในร่อกะอัตทีส่ องเป็น มุซตะฮับ สามารถท�ำได้โดยปราศจากกุนูต 9- นมาซวิ ตร์ 1 ร่ อ กะอั ตสามารถท� ำได้ โ ดย ปราศจากการกุนูต 10- ไม่จ�ำเป็นต้องท�ำรวดเดียว 11 ร่อกะอัต แต่ สามารถแบ่งเป็นสองสามครั้งได้ ซึ่งที่จริงแล้วการแยก มันเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด เป็นรูปแบบที่ท่านศาสนทูต


ของอัลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะอาลิฮีวะซัลลัมท�ำ เป็นตะฮัจญุดไว้ 11- เป็นมุซตะฮับให้อา่ นนมาซกลางคืนด้วยเสียง ดัง เผื่อคนในครอบครัวคนใดอยากนมาซกลางคืนแล้ว จะได้ตนื่ ขึน้ มาท�ำ ดังมีรายงานฮะดีษโดยท่านชะฮีดและ คนอื่นๆ ได้แจ้งชัดถึงการเป็นมุซตะฮับไว้ เป็นทีช่ ดั เจนแล้วว่าการเป็นมุซตะฮับในการออก เสียงดังในนมาซกลางคืนถือว่าปลอดภัยจากการโอ้อวด และการได้รับชื่อเสียง แต่ถ้าอัลลอฮ์ไม่ทรงประสงค์ใน ความกลัวเรือ่ งโอ้อวด และการสร้างละก็พระองค์กค็ งจะ บัญชาให้อ่านนมาซกลางคืนเสียงเบาๆไปแล้ว

ความประเสริฐของการชดใช้ นมาซกลางคืน

หากนมาซกลางคืนของบางคนได้ผ่านไป เขา สามารถชดใช้มันได้ในเวลากลางวัน ข้อสังเกต: การชดใช้นมาซกลางคืนมีความ ประเสริฐอยู่มากมาย ดังเช่นในหนังสือ ตัฟซีรอะลีบินอิ บรอฮีมได้รายงานจากอิมามศอดิก(อะลัยฮิซซะลาม)ว่า “บุคคลหนึง่ ได้ถามท่านอิมามว่า ชีวติ ขอพลีเพือ่ ท่านใน บางครัง้ อาจเกิดเหตุบงั เอิญที่ หนึง่ เดือน สองเดือน สาม เดือนฉันได้พลาดจากนมาซกลางคืนไป ฉันสามารถ ท�ำชดใช้ในตอนกลางวันได้ไหม? เรื่องนี้อนุญาตไหม ครับ ท่านตอบว่า ขอสาบานกับอัลลอฮ์ งานนี้จะเป็น สาเหตุให้ดวงตาของท่านเป็นประกาย และท่านได้กล่าว ประโยคนี้ซ�้ำกันถึงสามครั้ง” อิสฮากอิบนิอัมมารได้เล่าแบบรายงานจากท่าน อิมามศอดิกอะลัยฮิซซะลาม ว่า ท่านได้เล่าจากบิดา ของบิดาทั้งหลาย แล้วพวกเขาได้เล่าจากท่านศาสน ทูตของอัลลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะอาลิฮีวะซัลลัม ว่า “อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ชื่นชมกับบ่าวผู้ที่ ชดใช้นมาซกลางคืนในตอนกลางวัน โดยตรัสว่า โอ้มะ ลาอิกะฮ์ของข้า บ่าวคนนีข้ องฉัน เขาได้ชดใช้สงิ่ ทีข่ า้ ไม่ ได้กำ� หนดให้เป็นวาญิบแก่เขาเลย พวกเจ้าจงเป็นพยาน ว่าข้าจะให้อภัยโทษแก่เขาอย่างแน่นอน”

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 97


หากนมาซกลางคืนอยู่แล้วเกิดเข้าเวลานมาซ ศุบฮ์ ถ้านมาซกลางคืนไปสีร่ อ่ กะอัตแล้ว เข้าเวลานมาซ ศุบฮ์ ให้นมาซกลางคืนที่เหลือแบบรวดเร็ว(มุค็อฟฟัฟ) โดยปราศจากมุซตะฮับทัง้ หลาย และถ้าไม่ทนั ครบสีร่ อ่ กะอัตแล้วเข้าเวลานมาซศุบฮ์ให้นมาซสองร่อกะอัตนัน้ ให้เสร็จ จากนัน้ จึงนมาซนาฟิละฮ์ของศุบฮ์ และต่อด้วย นมาซวาญิบศุบฮ์ แล้วจึงชดใช้ส่วนที่เหลือของนมาซ กลางคืนต่อ แต่ถ้าไม่ทันได้นมาซกลางคืนเลยแล้วเข้า เวลาศุบฮ์ ให้นมาซนาฟิละฮ์ศุบฮ์ก่อน จากนั้นนมาซ ศุบฮ์ แล้วจึงชดใช้นมาซกลางคืน ข้อสังเกต: หากนมาซกลางคืนในระหว่างเข้า เวลาศุบฮ์กับตะวันขึ้น(ฏุลูอัยน์) หมายถึงหลังอาซาน ศุบฮ์ก่อนตะวันขึ้น ดีกว่าอย่าตั้งเจตนาว่าเป็นนมาซ ในเวลา(อะดาอ์)หรือชดใช้(ก่อฎอ) แต่ให้ตั้งเจตนาว่า “มาฟิซซิมมะฮ์” (สิ่งที่ป้องกันเผื่อไว้) อธิบายอย่างนี้ว่า “มาฟิซซิมมะฮ์” ให้ความ หมายว่ า ให้ ตั้ ง เจตนานมาซกลางคืนเป็นกุรบะตั น อิ ลั ล ลอฮ์ ( เพื่ อ ความใกล้ ชิ ด ต่ อ อั ล ลอฮ์ ) อาจจะเป็ น นมาซในเวลา(อะดาอ์)หรือเป็นการชดใช้(ก่อฎอ) แล้ว แต่อัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์บัญชา

ท่านศาสนทูตผูท้ รงเกียรติศอ็ ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ อาลิฮีวะซัลลัม กล่าวว่า “จงนมาซมุซตะฮับตอนเวลา ฆ็อฟละฮ์ ถึงจะแค่สองร่อกะอัตสัน้ ๆก็ตาม เพราะนมาซ สองร่อกะอัตนีท้ ำ� ให้มนุษย์เข้าสูส่ วนสวรรค์ได้” ถามกัน ว่า โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ เวลาฆ็อฟละฮ์คือเวลา อะไรขอรับ? ท่านตอบว่า “ระหว่างมัฆริบกับอิชาอ์” นมาซฆุฟัยละฮ์มี 2 ร่อกะอัต ระหว่างเวลามัฆ ริบกับอิชาอ์ มีความประเสริฐอย่างมาก และมีผลพวง การถูกตอบรับค�ำขอความต้องการทัง้ ดุนยา(โลกนี)้ และ อาคิเราะฮ์(โลกหน้า) วิธีการนมาซฆุฟัยละฮ์ อิมามศอดิกอะลัยฮิซซะลาม กล่าวว่า “จงนมาซ สองร่อกะอัตระหว่างมัฆริบกับอิชาอ์ ในร่อกะอัตแรกต่อ จากซูเราะฮ์ฮัมด์ให้อ่านดังนี้

ِ ‫ون إِذ َّذ َه َب ُم َغ‬ ِ ‫َوذَا ال ُّن‬ ‫اضبًا فَ َظ َّن أَن لَّن ن َّ ْق ِد َر َع َل ْي ِه‬ ُّ ‫فَنَا َدى فِي‬ ِ ‫الظ ُل َم‬ َ َ ‫نت ُس ْب َحان‬ ‫ك‬ َ َ‫ات أَن لاَّ إِلَـ َه إِلاَّ أ‬ ‫استَ َج ْبنَا ل َ ُه‬ ُ ‫إِن ِّي ُك‬ َ ‫نت ِم َن ال َّظال ِ ِم‬ ْ َ‫﴾ ف‬٨٧﴿ ‫ين‬ َ ِ ‫اه ِم َن ال ْ َغ ِّم َو َك َذل‬ ِ ُ‫ك ن‬ ﴾٨٨﴿ ‫نجي ال ْ ُم ْؤ ِمنِين‬ ُ َ‫َون َ َّج ْين‬

“และ(จงร�ำลึกถึงเรื่องราวของ)ซุลนูน!(เจ้าของ เรื่องราวของปลา หมายถึง ยูนุซ ศาสดาท่านหนึ่งของ อิสลาม) เมื่อเขาจากไปด้วยความโกรธพรรคพวกของ เขา แล้วคิดว่าเราจะไม่กำ� หนด(เรือ่ งล�ำบากใดๆ)แก่เขา อีก และแล้วเขาได้ร้องเรียกท่ามกลางความมืดมนทั้ง หลาย(ในท้องปลา ใต้ทะเลลึก ตอนค�่ำในคืนเดือนมืด) ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ มหาบริสุทธิ์มี แด่พระองค์ แท้จริงฉันเป็นผู้หนึ่งจากผู้อธรรมทั้งหลาย ดังนั้นเราจึงตอบรับ(การเรียกร้อง)ของเขา และ เราได้ช่วยเขาให้รอดพ้นจากความทุกข์ระทม และ เช่นเดียวกันนี้ที่เราได้ช่วยเหล่าผู้ศรัทธาให้รอดพ้น” 3. นมาซฆุฟัยละฮ์ (ซูเราะฮ์อัลอัมบิยาอ์ โองการที่ 87 และ 88)) ความประเสริฐของนมาซฆุฟัยละฮ์ ส่วนร่อกะอัตที่สองหลังจากซูเราะฮ์ฟาติฮะฮ์ให้ หนึง่ ในนมาซมุซตะฮับต่างๆทีถ่ กู ก�ำชับอย่างมาก อ่าน ก็คือ “นมาซฆุฟัยละฮ์” ซึ่งมาจากค�ำว่า “ฆ็อฟละฮ์”

98 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


‫ُم َح َّم ٍد َو أَ ْن تَ ْف َع َل بِى َك َذا َو َك َذا‬

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงฉันขอวิงวอนขอต่อพระองค์ ด้วยกุญแจทั้งมวลแห่งความเร้นลับ ที่ไม่มีใครทราบ ยกเว้นพระองค์ ในการที่พระองค์จะอ�ำนวยพร(ศ่อ ละวาต)แก่มุฮัมมัดและวงศ์วานของมุฮัมมัด และที่ พระองค์จะบันดาลส�ำหรับฉัน อย่างนั้นและอย่างนั้น” โดยตรงที่กล่าวว่า “‫ ” َك َذا َو َك َذا‬ให้กล่าวความ ต้องการร้องขอของตนเองด้วยภาษาใดก็ได้ที่ต้องการ จากอัลลอฮ์ จากนั้นให้กล่าวว่า

‫أَللَّ ُه َّم أَنْ َت َول ِ ُّي ن ِ ْع َمتِى َوال ْ َقا ِد ُر َع َلى َطلِبَتِى‬ َ ‫اجتِى فَ َأ ْسئَ ُل‬ ‫ك ب ِ َح ِّق ُم َح َّم ٍد َو آل ِ ِه‬ َ ‫تَ ْع َل ُم َح‬ َ ‫الس‬ ‫ال ُم ل َ َّما قَ َض ْيتَ َها لِى‬ َّ ‫َع َل ْي ِه َو َع َل ْي ِه ُم‬

‫ند ُه َم َفاتِ ُح ال ْ َغ ْي ِب لاَ يَ ْع َل ُم َها إِلاَّ ُه َو َويَ ْع َل ُم َما‬ َ ‫َو ِع‬ ‫فِي الْبَ ِّر َوالْبَ ْح ِر َو َما تَ ْس ُق ُط ِمن َو َرقَ ٍة إِلاَّ يَ ْع َل ُم َها‬ َ ْ‫ات أ‬ ِ ‫َولاَ َحبَّ ٍة فِي ُظ ُل َم‬ ِ ‫ال ْر‬ ‫ض َولاَ َر ْط ٍب َول‬ ٍ َ‫س إِلاَّ فِي ِكت‬ ٍ ِ ‫يَاب‬ ﴾٥٩﴿ ٍ‫اب ُّمبِين‬

“บรรดากุญแจแห่งความเล้นรับอยู่ที่พระองค์ ไม่มีผู้ใดล่วงรู้นอกจากพระองค์ และพระองค์ทรงรอบรู้ ทัง้ ในแผ่นดินและในท้องทะเล และใบไม้จะไม่ลว่ งหล่น นอกจากพระองค์จะทรงรู้ และไม่มเี มล็ดพืชใดใต้ความ มืดมิดทั้งหลายของแผ่นดิน และไม่มีสิ่งเปียก และไม่มี สิ่งแห้งใดๆ นอกจากอยู่ในบันทึกอันชัดจ้าเท่านั้น” (ซูเราะฮ์อัลอันอาม โองการที่ 59) จากนั้นให้ยกมือขึ้นกุนูตโดยอ่านว่า

“โอ้อัลลอฮ์ พระองค์คือผู้ทรงอ�ำนาจการบริหาร ความโปรดปราน (ที่มอบให้) แก่ฉัน และผู้ทรงฤทธา นุภาพเหนือสิง่ ทีฉ่ นั แสวงหาต้องการ พระองค์ทรงรอบรู้ ถึงความต้องการของฉัน ดังนัน้ ฉันจึงวอนขอต่อพระองค์ ขอสาบานด้วยกับสิทธิของมุฮัมมัดและวงศ์วานของ มุฮัมมัด ของสลาม(ศานติ)จงมีแด่เขาและพวกเขาทั้ง มวล แล้วได้ทรงก�ำหนดสิ่งนั้นให้แก่ฉันด้วยเถิด” ยังสามารถวอนขอความต้องการของตนเองต่อ อัลลอฮ์ต่อได้อีก ด้วยความหวังอันเต็มเปี่ยมที่จะได้รับ สิ่งเหล่านั้น

َ ‫أللَّ ُه َّم إِن ِّى أَ ْسئَ ُل‬ َ ‫ك ب ِ َم َفاتِ ِح ال ْ َغ ْي ِب الَّتِى‬ ‫ال‬ ِ ‫يَ ْع َل ُم َها إِالَّ أَنْ َت أَ ْن تُ َص ِّل َى َع َلى ُم َح َّم ٍد َو‬ ‫آل‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 99


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

อย่าแสวงหา ความพึงพอใจจาก

มนุษย์ บนความกริ้วของ อัลลอฮ์

ُ : )‫رسول اهللِ(صلى اهلل علیه وآله‬ ‫قال‬ ‫َمن ْأرضى ُس ْلطان ًا بما یُ ْس ِخ ُط اهللَ َخ َر َج‬ ِ ‫ِم ْن ِدینِ اهلل‬

ٍ ‫لب ِر َضى َم ْخ‬ ‫الخالِقِ َس َّلط‬ َ ‫لوق ب ِ َس َخ ِط‬ َ ‫َم ْن َط‬ َّ‫ُه‬ َ ِ ‫وج ّل علی ِه ذل‬ ‫الم ْخلوق‬ َ ‫الل ع َّز‬ َ ‫ک‬

“ผู้ใดที่แสวงหาความพึงพอใจจากมนุษย์ (ผู้ถูก สร้าง) ด้วยความโกรธกริว้ ของพระผูส้ ร้าง อัลลอฮ์ผทู้ รง เกริกเกียรติและทรงเกรียงไกรจะทรงท�ำให้มนุษย์ผนู้ นั้ มี อ�ำนาจเหนือเขา” (ตุฮะฟุลอุกูล ฮิกมะฮ์ที่ 132) สภาพเช่นนี้คือลักษณะหนึ่งของการตั้งภาคี เราจะต้องรับรู้ว่า สภาพเช่นนี้คือลักษณะหนึ่ง ของการตั้งภาคี (ชิรก์) ต่อพระผู้เป็นเจ้า คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ.) กล่าวว่า “ใครก็ตามทีท่ ำ� ให้ผปู้ กครองพึงพอใจด้วยสิง่ ทีท่ ำ� ให้อัลลอฮ์ทรงพิโรธ เขาได้ออกจากศาสนาของอัลลอฮ์ แล้ว” (ตุฮะฟุลอุกูล ฮิกมะฮ์ที่ 172) เพือ่ จะให้มนุษย์คนหนึง่ พึงพอใจในตัวเองนัน้ เขา ได้ทำ� ให้พระผูเ้ ป็นเจ้าทรงโกรธกริว้ เขา กล่าวคือ เขาคิด ว่ามนุษย์ผนู้ นั้ มีผลกระทบต่อชะตาชีวติ ของเขามากกว่า َّ‫َو َما یُ ْؤ ِم ُن أَ ْکثَ ُر ُه ْم ب ِ ِه‬ ‫ون‬ และให้ความส�ำคัญต่อสิง่ ถูกสร้างมากกว่าการให้ความ َ ‫الل إ َاِّل َو ُه ْم ُّم ْش ِر ُک‬ ส�ำคัญต่อพระผู้สร้างของเขา อัลลอฮ์ เว้นแต่พร้อมกันนั้น พวกเขาจะเป็นผู้ตั้ง ในริวายะฮ์ (ค�ำรายงาน) อีกบทหนึง่ ท่านศาสดา ภาคี” (ซูเราะฮ์ยูซุฟ/อายะฮ์ที่ 106) (ศ.) กล่าวว่า กล่าวคือ ส่วนใหญ่ผทู้ กี่ ล่าวอ้างตนว่าศรัทธาต่อ พระผู้เป็นเจ้านั้น พวกเขาคือผู้ตั้งภาคีต่อพระองค์ ทั้งนี้

100 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


เนือ่ งจากพวกเขาเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ต่อสิง่ ถูกสร้าง และให้ความส�ำคัญต่อการดึงดูดความสนใจและความ พึงพอใจต่อสิ่ง ถูกสร้างมากกว่าพระผู้เป็นเจ้า ในการอรรถาธิบายโองการนี้ มีฮะดีษ (วจนะ) บท หนึง่ จากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ.) ซึง่ ท่านกล่าวว่า

ِّ ‫یک ُم‬ ُ ‫أخاف َع َل‬ ،‫الش ْر ُک أْال ْص َغ ُر‬ ‫أخ َو َف ما‬ ُ ْ ‫إن‬ ّ َّ‫ول ِه‬ ِّ ‫ َو َما‬:‫قالوا‬ َ ‫الش ْر ُک أْال ْص َغ ُر یا َر ُس‬ ‫الل؟‬ َّ‫یاء یقول ُه‬ ‫یام ِة‬ َ ‫الل تَعالى یَ ْو َم ال ْ ِق‬ ُ ‫ ال ِّر‬:‫قال‬ ‫ین‬ َ ‫ اذ َهبُوا إلَى ال َّ ِذ‬:‫اس بأعمال ِ ِهم‬ َ ‫إذا‬ ُ ّ‫جاء الن‬ ‫ فَانْ ُظروا‬،‫الدنْیا‬ ُ‫ُک ْنتُ ْم ت‬ ُّ ‫راؤون فى‬ َ ‫ون ِع ْن َد ُهم ِم ْن َجزا ٍء؟‬ َ ‫َه ْل تَ ِج ُد‬

“แท้จริงสิง่ ทีฉ่ นั หวัน่ กลัวมากทีส่ ดุ ทีจ่ ะเกิดขึน้ กับ พวกท่าน นั่นก็คือการตั้งภาคีเล็ก” บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ ถามว่า “โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์! การตั้งภาคีเล็ก นัน้ คืออะไร” ท่านกล่าวว่า “คือการโอ้อวด (ริยาอ์) ในวัน กิยามะฮ์ (ปรโลก) เมือ่ มนุษย์ได้มาพร้อมกับการกระท�ำ (อะมั้ล) ต่างๆ ของพวกเขา อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งจะทรง ตรัสว่า พวกเจ้าจงไปหาผูท้ พี่ วกเจ้าได้แสดงการโอ้อวด ต่อพวกเขาในขณะทีอ่ ยูใ่ นโลกเถิด แล้วจงดูเถิดว่าพวก เจ้าจะพบเห็นผลรางวัลตอบแทนใดๆ ณ พวกเขาหรือ ไม่” (ตัฟซีรนะมูเนะฮ์ เล่มที่ 10 หน้าที่ 91) บุคคลทีแ่ สวงหาปัจจัยด�ำรงชีพจากหนทางทีต่ อ้ ง ห้ามตามศาสนบัญญัติ (ฮะรอม) เขาได้ตั้งภาคีเล็ก (ชิ รก์ค่อฟี) ต่อพระผู้เป็นเจ้า กล่าวคือ เขาไม่เชื่อมั่นว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม โดยที่พระองค์จะ ทรงประทานปัจจัยด�ำรงชีพแก่เขาจากหนทางที่อนุมัติ (ฮะลาล)

ยอมรับในเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า (เตาฮีด) จะได้ ส่องประกายในหัวใจดังกล่าว ในการกระท�ำใดๆ ก็ตาม จ�ำเป็นทีเ่ ราจะต้องพิจารณาใคร่ครวญให้ดวี า่ พระผูเ้ ป็น เจ้าจะทรงพึงพอ พระทัยในสิ่งนั้นหรือไม่ ไม่ใช่ดูว่าคน อืน่ ๆ จะพึงพอใจหรือไม่ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากว่า หากเรายึดเอา ความพึงพอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าเป็นบรรทัดฐาน ความพึงพอใจของสิง่ ถูกสร้างของพระผูเ้ ป็นเจ้าจะต้อง เกิดขึ้นภายใต้ความพึงพอ พระทัยของพระองค์ ในบางริวายะฮ์ (ค�ำรายงาน) ที่มาอรรถาธิบาย โองการที่ 106 ของ ซูเราะฮ์ยูซุฟ เราจะพบว่า จุด ประสงค์ของการตั้งภาคีดังกล่าวคือการตั้งภาคีในการ ประทานเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปราน) กล่าวคือ สิ่งที่ มนุษย์ได้รับจากการประทานให้ของพระผู้เป็นเจ้า แต่ มนุษย์กลับกล่าวว่า สิ่งนี้เขาได้รับมาจากมนุษย์คนนั้น ความพึงพอใจของสิ่งถูกสร้าง (มนุษย์) คนนี้ หากไม่เป็นเพราะเขาฉันคงตายไปแล้ว หรือการ ด�ำเนินชีวติ ของฉันคงจะต้องมอดม้วยและย�ำ่ แย่เป็นแน่ ภายใต้ร่มเงาแห่งความพึงพอพระทัย บุคคลเช่นนี้ได้ยึดเอาผู้อื่นเป็นหุ้นส่วนและภาคี ของพระผู้เป็นเจ้า ต่อพระผู้เป็นเจ้าในการประทานปัจจัยด�ำรงชีพและสิ่ง สิ่ ง ที่ส�ำ คัญก็คือ หัว ใจจะต้องสะอาดบริ สุท ธิ์ อ�ำนวยสุขต่างๆ จากการตั้งภาคีเหล่านี้ เพื่อที่แสงแห่งศรัทธาและการ คุณค่าของการกระท�ำ (อะมั้ล) ขึ้นอยู่กับเจตนา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 101


บุคคลที่ท�ำการต่อสู้ (ญิฮาด) เพื่อพระผู้เป็นเจ้านั้น รางวัลของเขาจะอยู่ ณ พระผู้เป็นเจ้า และผู้ใดก็ตาม ที่ท�ำการต่อสู้ (ญิฮาด) เพื่อสิ่งอ�ำนวยสุขทางโลกนี้ กระทั่งว่าเขาจะท�ำการต่อสู้ด้วยเจตนา (เหนียต) เพื่อ ที่จะได้มาซึ่ง “อิกอล” (เชือกเล็กๆ ที่ใช้ผูกเท้าของอูฐ) สิ่งที่เขาจะได้รับก็คือสิ่งนั้นเพียงเท่านั้น ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพราะว่า “เจตนา” (เหนียต) นั้นจะเป็นตัวก่อรูปของการกระท�ำ (อะมั้ล) เสมอ ใคร ก็ตามทีก่ ระท�ำสิง่ หนึง่ เพือ่ พระผูเ้ ป็นเจ้า ความพยายาม ทั้งหมดของเขาที่ทุ่มเทไปก็เพื่อที่จะให้ประชาชนได้ รับประโยชน์ อย่างเต็มที่จากการกระท�ำนั้นๆ ของเขา มากกว่า แต่คนที่กระท�ำสิ่งหนึ่งเพื่อการโอ้อวดและเส แสร้งเพื่อให้ผู้คนเห็นนั้น เขามิได้ให้ความส�ำคัญและ มิได้ค�ำนึงว่าผู้อื่นจะได้รับประโยชน์จากมันหรือไม่ สังคม ที่เคยชินอยู่กับการเสแสร้งและโอ้อวด (ริ ยาอ์) นั้น ไม่เพียงแต่จะห่างไกลจากพระผู้เป็นเจ้า ห่าง ไกลจากจริยธรรมและคุณธรรมความดีเพียงเท่านัน้ ทว่า แผนงานต่างๆ ทางด้านสังคมทัง้ หมดของเขาจะเป็นสิง่ ที่ว่างเปล่าจากเนื้อหาและคุณค่า ริ วายะฮ์ (ค� ำรายงาน) ที่ ก ล่ า วประณามการ โอ้อวด (ริยาอ์) ริวายะฮ์หรือค�ำรายงานต่างๆ ที่ต�ำหนิประณาม การโอ้อวด (ริยาอ์) นั้นมีจ�ำนวนมากมาย ตัวอย่างเช่น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

(เหนียต) คุณค่าของทุกๆ การกระท�ำนัน้ ขึน้ อยูก่ บั เจตนา และแรงบันดาลใจ กล่าวอีกส�ำนวนหนึ่งก็คือ ในทัศนะ ของอิสลาม รากฐานของทุกการกระท�ำของมนุษย์นั้น เกิดมาจากเจตนา (เหนียต) และนัน่ ก็จะต้องเป็นเจตนา ที่บริสุทธิ์ด้วย ِ ّ‫َسیَ ْأتی َعلى الن‬ ،‫بث فی ِه َسرائ ِ ُر ُه ْم‬ ‫اس‬ ُ ‫زمان تَ ْخ‬ ٌ

،‫الدنْیا‬ ُّ ‫ َط َمع ًا فی‬،‫َوتَ ْح ُس ُن فِی ِه َعالنِیَتَ ُهم‬ ในฮะดีษ (วจนะ) อันเป็นที่รู้จักกันดีของท่าน ،ً‫ون ِدینُ ُه ْم ِریاءا‬ ُ ‫ یَ ُک‬،‫ریدون ب ِ ِه ما ِع ْن َد َرب ِّ ِه ْم‬ َ ُ‫الی‬ ศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ที่ท่านกล่าวว่า َّ‫ یَ ُع ُّم ُه ُم ُه‬،‫الیُخال ِ ُط ُه ْم َخ ْو ٌف‬ ٍ ‫الل ب ِ ِع‬ ‫ فَیَ ْد ُعون َ ُه‬،‫قاب‬ ِ ّ‫مال بِالنِّی‬ ُ ‫إنَّما األ ْع‬ ‫ َول ِ ُک ِّل ْامرِى ٍء مانَوى‬،‫ات‬ “อั น ที่ จ ริ ง การ กระท� ำ ทั้ ง หลายนั้ น ขึ้ น อยู ่ กั บ ‫جیب ل َ ُه ْم‬ ُ َ‫عاء ال َغریقِ فَالیَست‬ َ ‫ُد‬

เจตนา และแต่ละคนจะได้รับ (ภาคผล) ตามที่เขา “ในไม่ช้ายุคสมัยหนึ่งจะมาถึงประชาชน โดยที่ เจตนา” (มีซานุ้ลฮิกมะฮ์ เล่มที่ 10 หน้าที่ 277 ; วะซาอิ จิตใจของพวกเขานั้นเสื่อมทราม ในขณะที่ภายนอก ลุชชีอะฮ์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 35 ฮะดีษที่ 10) ของพวกเขาดูสวยงาม ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากความหืน่ กระหาย ในการอธิบายฮะดีษ (วจนะ) บทนี้ได้กล่าวว่า ในทางโลก พวกเขาจะไม่ปรารถนาผลรางวัลใด ณ องค์

102 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


พระผู้อภิบาลของพวกเขา การมีศาสนาของพวกเขาก็ เพียงเพือ่ การโอ้อวด ความเกรงกลัวใดๆ จะไม่มใี นหัวใจ ของพวกเขา อัลลอฮ์จะทรงท�ำให้การลงโทษปกคลุม พวกเขาทั้งหมด แม้พวกเขาจะวิงวอนขอต่อพระองค์ เหมือนกับการวิงวอนขอของคนจมน�้ำ แต่พระองค์ก็ จะไม่ทรงตอบรับพวกเขา” (อุซูลุลกาฟี เล่มที่ 2 บาบุร ริยาอ์ ฮะดีษที่ 14) เช่นเดียวกันนี้ท่านศาสดา (ศ.) ยังได้กล่าวอีกว่า

:‫أسماء‬ َّ َ َ‫المرائى یُ ْدعى یَ ْو َم ال ِقی‬ ُ ‫إن‬ ْ ‫ام ِة بِأربع ِة‬ ِ ‫فاج ُر! یا غا ِد ُر یا‬ ِ ‫یا کافِ ُر! یا‬ ‫خاس ُر! َحبِ َط‬ َ َ ‫الص ل‬ َ ‫َع َم ُل‬ ،‫ك الْیَوم‬ َ ‫ فَال َخ‬،‫أج ُر َك‬ ْ ‫ َوب َ َط َل‬،‫ك‬ ‫أج َر َك ِم َّمن ُک ْن َت تَ ْع َم ُل لَه‬ ْ ‫س‬ ْ ‫فَالْتَ ِم‬

(ปรโลก) ด้วยชื่อ 4 ชื่อคือ โอ้ผู้ปฏิเสธ! โอ้คนชั่วช้า! โอ้ คนเจ้าเล่ห์! โอ้ผู้ขาดทุน! การกระท�ำ (อะมั้ล) ของ เจ้า ได้สูญสลายไปแล้ว และรางวัลของเจ้าได้กลายเป็น โมฆะไปแล้ว วันนี้ไม่มีทางรอดพ้นส�ำหรับเจ้า ดังนั้น เจ้าจงวอนขอผลรางวัลของเจ้าจากบุคคลที่เจ้ากระท�ำ อะมั้ลเพื่อ (โอ้อวด) เขาเถิด” (วะซาอิลุชชีอะฮ์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 51 ฮะดีษที่ 16) ที่มา : บทเรียนจริยธรรมของท่านอายะตุลลอฮ์ มะการิม ชีราซี (แปลและเรียบเรียง)

“แท้ จ ริ ง ผู ้ ที่ โ อ้ อ วดจะถู ก เรี ย กในวั น กิ ย ามะฮ์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 103


การสัมมนาวิชาการ เนื่องในวาระคล้ายวันวิลาดัต

อิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ผู้ฟื้นฟูคุณค่า แห่งอิสลาม

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 ณ อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

กิ

จกรรมในการจัดสัมมนาวิชาการ เนื่องในโอกาสคล้ายวันวิลาดัต (ประสูติ) ของท่านอิมามอะลี อัร ริฎอ (อ.) ผู้ฟื้นฟูคุณค่าแห่งอิสลาม เริ่มต้นด้วยการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน โดย คุณชาฟิ อี สมาน จากนั้นเป็นการชมวีดีทัศน์สารคดีเรื่อง My Twelve Imams ต่อมาเป็นพิธีการเปิดประชุมสัมมนา ด้วย การกล่าวต้อนรับผู้เข้าสัมมนา โดยคุณมุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะห์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ โดยท่านได้กล่าวดังนี้

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ พระผู้ทรงกรุณา พระผู้ทรงปรานีเสมอ

มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิแ์ ด่พระองค์อลั ลอฮ์ พระผูอ้ ภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติจงมีแด่ทา่ น ศาสดาผู้ประเสริฐ มุฮัมมัด (ศ.) ตลอดจนวงศ์วานของท่าน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ.) ได้กล่าวว่า : “ไม่มีบุคคลใดที่จะไม่ประสบกับปัญหา ที่เขาได้เดินทางเยือน ท่านอิมาม ริฎอ (อ.) เพือ่ ว่าเขาต้องการให้ทา่ นอิมามช่วยปลดเปลือ้ งความทุกข์ยาก และอุปสรรคของเขาให้หมด สิ้น และไม่มีคนที่กระท�ำบาปใดที่จะได้รับความส�ำเร็จในการเดินทางเยือนท่านอิมาม เว้นเสียแต่มลทินบาปของ เขาได้รับการอภัย” ขอความสันติจงมีแด่ดวงวิญญานอันบริสุทธิ์และรัศมีอันประเสริฐยิ่งของบรรดาศาสดา บรรดาผู้ปกครอง และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ เราขอสลามส่งความสันติไปยังบรรดาชะฮีด ผู้ที่ได้พลีชีพในแนวทางแห่งวิลายัต และ

104 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


อิมามัต เราขอสลามและสันติจงมีแด่ท่านผู้ปกครอง ของเรา หัซรัต อิมามมะห์ดี (อญ.) และเราขอสลามและ สันติไปยังตัวแทนของท่านอิมาม (อญ.) คือ ฯพณฯ ผูน้ ำ� สูงสุดทางจิตวิญญาณ ท่านอิมามคอมาเนอี (ขออัลลอฮ์ ทรงปกป้องท่านด้วยเถิด) บานประตูทั้งหลายในชั้นฟากฟ้าถูกเปิดออก แสงสว่างทางน�ำของอิมามัตได้ถูกส่องมายังพื้นพิภพ ในวันที่ 11 ซิลเกาะดะห์ ปี ฮ.ศ. 148 รัศมีที่แปดจาก ครอบครัวของอิมามัตก็ได้ฉายแสงขึ้นที่นครมะดีนะห์ เพื่อที่จะให้มนาญชาติที่ตกอยู่ในความมืด ได้รับแสง สว่างทางน�ำด้วยคุณงามความดีของท่าน การถือก�ำเนิดของท่านอิมามอะลี อิบนุ มูซียุร ริฎอ (อ.) เพื่อว่าบรรดาผู้หลงผิด ผู้กดขี่ ผู้ปราศจาก ความเป็นธรรม จะได้หวนกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดย หันมาภักดีต่อประผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น หลายศตวรรษที่ผ่านมา แม้กระทั้งปัจจุบัน นี้ แววแห่งความเมตตาของท่านอิมาม ก็ยังแพร่ขยาย ไปทั่วโลก และเช่นกันเวลานี้ด้วยความรักที่มีต่ออะห์ลุ ลบัยต์ (อ.) ดวงตาหลายคู่ที่ได้จ้องมองไปยังโดมทอง ของท่านอิมาม เพื่อที่จะขอการช่วยเหลือให้อุปสรรค นานาประการของพวกเขาได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไป นับจากช่วงแห่งการประสูติ ความบริสทุ ธิ์ และ ความสะอาดได้บังเกิดขึ้นบนหน้าแผ่นดิน หลายดวง จิตที่ต่างเฝ้ารอคอย ผู้ปกปครองบนหน้าแผ่นดิน ต่าง ก็มีความหวัง เมื่อพวกเขาได้รับรู้ว่าท่านได้ประสูติแล้ว ความบริสุทธิ์และมารยาทอันงดงามของท่านอิมาม ริฎอ (อ.) นั้นเป็นความยิ่งใหญ่ ผู้คนที่ได้เดินทางเยือน ซิยารัตท่านั้น มีจ�ำนวนเสมอเหมือนผู้คนที่ได้เดินทาง ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ด้วยเหตุนี้สามารถที่จะกล่าวได้ ว่า มีผู้คนที่ได้เดินทางเยือนซิยารัตท่านนั้นมากกว่าบร รดาอะอิมมะห์ และเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ ดังค�ำกล่าว ของท่านอิมาม ญะวาด (อ.) ที่ท่านได้กล่าวกับสหาย ของท่านว่า “พกวท่านจงบอกแก่บรรดาสหายและผูท้ ใี่ ห้ ความรักยังเราเถิดว่า การเดินทางเยือนซิยารัตยังหลุม

ฝังศพของเรา จะได้รับคุณงามความดีเท่ากับจ�ำนวน สะวาปของการท�ำฮัจญ์ถึงพันเท่า” ผู้รายงานได้กล่าวรายงานว่า มีผู้ถามยังท่ารอิ มาม ญะวาด (อ.)ว่า “สะวาปของการท�ำฮัจญ์หนึ่งพัน เท่านั้นคือ การเดินทางเยือนซิยารัตยังหลุมฝังศพบิดา ของท่านใช่หรือไม่ ?” ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวตอบว่า “เป็นความถูกต้อง บุคคลใดก็ตามที่ได้เดินทางเยือนซิ ยารัตยังบิดาของฉัน เขาจะได้รับรางวัลสะวาปเท่ากับ พันพันเท่า หรือล้านเท่าของการประกอบการฮัจญ์” และจากหะดี ษ รายงานจากท่ า นศาสดา ผู ้ ประเสริฐ (ศ.) ได้กล่าวว่า “สะวาปของการซิยารัตนั้น จะลบล้างมลทินกุนาฮ์ทั้งหลายให้หมดสิ้น” ในระหว่างบรรดาอิมามของชีอะห์ โดยเฉพาะ ค�ำพูดของท่านอิมามริฎอ (อ.) ถ้าเราไม่ได้น�ำมากล่า วกล่าวพูด จะไม่เป็นการอันควรเป็นอย่างยิง่ โดยเฉพาะ ในเรื่องทางงวิชาการ เรื่องเตาฮีดจากความคิดเห็นของ บรรดาผูน้ ำ� แต่ละศาสนา และในเรือ่ งความยิง่ ใหญ่ของ บรรดาศาสดา (อ.) ที่ส�ำนักคิดของอะห์ลิสุนนะห์ต่าง ก็ยังไม่เห็นพ้องในเรื่องต�ำแหน่งอิมามัต เช่นกันในที่ ประชุมของมะมูน ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อับบาซียะห์ ที่ได้เชิญผู้น�ำศาสนาต่างๆมาให้เผชิญหน้ากับท่านอิ มาม (อ.) แต่แล้วผู้น�ำศาสนาเหล่านั้นต่างๆก็ยอมรับ ในค�ำชี้น�ำของท่านอิมาม (อ.) เช่นกันในยุคที่ท่านยัง มีชีวิตอยู่ ท่านอิมาม (อ.) ไม่เคยเปิดโอกาสให้มะมูน ต้องเปิดเผยตัวตนสู่อ�ำนาจการเป็นผู้ปกครอง ทุกครั้ง ที่ท่านประสบโอกาส ท่านอิมาม (อ.) ก็จ�ำท�ำการปลุก เร้าประชาชนให้ลุกขึ้นต่อสู้ และเข้าใจในเรื่องปัญหา ทางศาสนา จริยธรรม และการเมือง ด้วยเหตุนี้ ท่านอิ มาม ริฎอ (อ.) ท่านได้มนี โยบายโดยตรงในการปลุกเร้า ประชาชนให้พวกเขาได้รบั ร็วา่ สังคมอิสลาม และมุสลิม นั้นจะต้องปฏิบัติเช่นไร และวันนี้ เช่นกันเราในฐานะที่เป็นชีอะห์ของ ท่านอิมาม จ�ำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจต่อแนวทาง ของอิมามียะห์ และอะห์ลุลบัยต์ (อ.) เพื่อว่าเราจะได้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 105


เป็นชีอะห์ที่แท้จริง ดังที่ได้ถูกกล่าวแล้วว่า ชีอะห์ที่แท้ จริงของท่านอิมาม คือใคร ? “ชีอะห์ของเรา คือบุคคลที่ยอมรับในเรื่องอาม ริบิลมะอ์รูฟ และนะฮีอะนิลมุนกิร และปฏิบัติตามค�ำ สอนของเรา และเป็นศัตรูกับบรรดาศัตรูของเรา อีกทั้ง ไม่ปฏิบัติในสิ่งที่พวกเราได้ละเว้น” ท่านอิมามอะลี ริฎอ (อ.) เป็นผู้ที่มีความอด กลั้น อดทนเพื่อชีอะห์ของท่าน โดยท่านอิมาม (อ.) ได้ กล่าวว่า “แท้จริง ไม่มีชีอะห์ของเราคนใด ที่จะพบกับ ความยากล�ำบาก เว้นเสียแต่ พวกเราจะต้องมีความ อดทนอดกลั้ น เพราะพระองค์อัล ลอฮ์ (ซ.บ.) ทรง ประสงค์ที่ประทานรางวัลพันเท่าของการเป็นชะฮีดแก่ บรรดาบ่าวของพระองค์ที่มีความอดทน” แต่ส�ำหรับยุคเวลานี้ ศัตรูของอิสลาม และ บรรดามุสลิม โดยเฉพาะ บรรดาจักรวรรดินิยม เช่น อเมริกา และไซออนิสต์อิสรออีล พวกมันพยายามที่จะ ท�ำลายล้าง และท�ำการกดขีพ่ วกเราบรรดามุสลิม ไม่วา่ จะเป็นการค�ำ่ บาตรทางเศรษฐกิจ หรือทุกวิถที างทีพ่ วก เขาจะกระท�ำได้ แต่พวกเราไม่เคยย่อท้อ และไม่ท�ำให้ อีมานศรัทธาของเราสั่นคอน เราได้มอบหมายความไว้ วางใจยังพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) จิตวิญญาณของเรา นั้นมีแต่พระองค์ พระผู้อภิบาล และมุ่งขอความช่วย เหลือจากผู้ที่คงไว้ด้วยสัจธรรม และด้วยจิตใจที่ร้อนรุ่ม ของเรานั้นก็ขอมอบแด่บรรดาอะอิมมะห์ (อ.) เราขอให้ ประชาชาติของโลก จงลุกขึ้นตื่นตัว และต่อสู้กับเหล่า อธรรมทัง้ หลาย เพือ่ จะได้นำ� ความเป็นธรรมกลับคืนมา และพึง่ หวังอ�ำนาจแห่งองค์พระผูอ้ ภิบาลแห่งสากลโลก ได้ทรงให้การช่วยเหลือแก่เรา ไม่มอี ำ� นาจใดทีจ่ ะให้การ ช่วยเหลือเราได้ เว้นแต่อ�ำนาจของพระองค์เท่านั้น ขอ พระองค์ได้ทรงโปรดประทานพลังให้กับบรราดามุสลิม เหนือเหล่าศัตรู และขอให้บรรดามุสลิมได้ตระหนักถึง ต�ำแหน่งแห่งวิลายัตการเป็นผู้น�ำ ผู้ปกครอง เป็นความถูกต้อง เราบรรดามุสลิม ซึ่งพระผู้ เป็นเจ้า ทรงสัญญาไว้ในอัลกุรอานว่าชัยชนะจะเป็น

106 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ของเรา ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า “แท้จริงการช่วยเหลือ และชัยชนะของอัลลอฮ์ จะประสบแก่บรรดาผูศ้ รัทธาใน ไม่ช้า” ถ้าพระผูเ้ ป็นเจ้า ไม่ทรงให้การช่วยเหลือแก่ปวง บ่าวของพระองค์แล้ว ไม่มีผู้ใดที่จะให้การช่วยเหลือได้ ดังทีพ่ ระองค์ทรงตรัสว่า “เราจะบังเกิดผูป้ กครองในหมู่ ของบรรดาผู้ถูกกดขี่ผู้ยากไร้...” เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านอิมามมะห์ดี (อญ.) ผู้ปกครองตามสัญญาที่พระ องค์ทรงตรัวไว้นั้น จะได้มาปรากฎกาย และท�ำให้บร รดากาฟิร ผู้ปฏิเสธได้รับการลงทัณฑ์ ส�ำหรับการรีบเร่งการมาปรากฎกายของท่านอิ มาม (อญ.) เราต่างก็วิงวอนของดุอาอ์ ขอพรด้วยจิต วิญญาณแห่งความรักที่มีตอ่ท่านอิมาม (อญ.) ว่า “ข้า แด่ พระผูเ้ ป็นเจ้า จงรีบเร่งการมาปรากฎของผูป้ กครอง จกาท่านโดยเร็วเถิด...” จากนั้นเป็นการเสนอบทความโดย : เชคมุฮัมมัดนะอีม ประดับญาติ ผู้อ�ำนวยการสถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัย เกีย่ วกับอิสลาม และอิมามญุมอะห์วลั ญะมาอัต มัสญิด ซอฮิบุซซะมาน (อ.) ในหัวข้อเรื่อง “บทบาทของอิมามอะลี อัรริฏอ (อ.) ในการฟื้นฟูคุณค่าอิสลาม” บรรดาส�ำนักคิด และนักวิชาการต่างๆ ได้ตั้ง ค�ำถาม อย่างไร และทุกๆ ค�ำถาม ท่านอิมามริฏอ (อ.) นั้นสามารถให้ค�ำตอบได้ทุกเรื่อง และโดยเฉพาะ ภารกิจ อันยิ่งใหญ่ในสมัยของท่าน ในกระแสการไหล่ บ่าของอารยธรรมหรือแนวคิดอื่นที่ไม่ใช่อิสลาม โดย เฉพาะในทางด้านปรัชญากรีซ ถึงขั้นที่อับดุลรอชีด เอง นั้นส่งสาสน์ไปถึงบรรดาผู้ปกครองของกรุงโรม ให้ ส่งหนังสือต่างๆ ที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องปรัชญา ต่างๆ ใน อดีต เข้ามาในคุโรซาน และได้ท�ำการแปล และได้มี บรรดาผู้รู้ต่างๆ ได้เข้ามารับอิสลามเป็นจ�ำนวนมาก ไม่ว่าจะโดยที่เจตนาที่บริสุทธิ์ และบางส่วนก็มีเจตนา ที่แฝงเข้ามาท�ำลายอิสลามก็ตาม ปรากฏกว่า แนวคิด


ที่เอาค�ำสอนของยิว เข้ามาแทรกแซงในฮะดีษต่างๆ ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย และได้ท�ำการสร้างความสับสน ในทางด้านความเชื่อ และแนวคิดให้เกิดขึ้นกับสังคมในยุคนั้น ซึ่งถือว่าเป็น ภาระอันยิ่งใหญ่ของท่านอิมามริฏอ และท่านอิมาม จะต้องท�ำการอรรถาธิบายและชี้น�ำสิ่งที่ถูกต้องให้แก่ ประชาชนของท่านเอง ในครั้งหนึ่ง มะมูน ได้จัดท�ำการมัจญ์ลิส และ ได้เชิญชวนบรรดานักปราชญ์ และนักคิดต่างๆ และ ท�ำการได้พูดกับ นักวิชาการที่มีชื่อว่า สุไลมาน มะรอ ซี นักวิชาการ คนหนึ่งว่า เป้าหมายของฉั นจากการจัด ชุมนุมมิใช่อื่นใด นอกเสียจากว่า ฉันต้องการให้เจ้า ท�ำการปิดเส้นทางวิชาการ จากท่านอิมามริฏอ (อ.) ซึ่ง จะให้บรรดานักวิชาการทัง้ หลายจะท�ำอย่างไรก็ได้ ทีจ่ ะ ท�ำให้อิมามริฏอ (อ.) เสียหน้าในท่ามกลางต่อบรรดา นักวิชาการที่ได้เชิญมา และในขณะเดียวกันก็จะได้ พิสูจน์ให้เห็นว่าท่านอิมามริฏอ (อ.) ไม่มีความรู้อย่าง ที่ประชาชนของตนเองที่คิดนั่นเอง และสิง่ ทีส่ ามารถชีใ้ ห้เห็นถึงความยิง่ ใหญ่ ทาง ด้านวิชาความรู้ของท่าน และกล่าวกับสหายคนหนึ่ง ของท่านว่า โอ้โนฟีดี เอย เจ้าอยากจะรู้ไหม ? ว่าเมื่อ ใด ที่มะมูนจะรู้สึกเสียใจ ในการกระท�ำของเขา โนฟีดี ได้ตอบว่า ข้าฯ อยากรู้ และท่านอิมามริฏอ ได้กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่ฉั นได้พิสูจน์เหตุผลและได้อ้างหลักฐาน ต่อบรรดาชาวคัมภีรเ์ ตารอด ด้วยกับคัมภีรเ์ ตารอดของ พวกเขา เมื่อฉันได้พิสูจน์ ต่อบรรดาชาวคัมภีร์ อิลยีส ของพวกเขา และต่อผู้ที่เป็นชาวคัมภีร์ กะบูด ของพวก เขา ต่อบรรดามะยูด หมายถึงบรรดาพวกทีบ่ ชู าไฟ หรือ โซโรอัสเตอร์ ด้วยภาษาของพวกเขา และบรรดาผูท้ บี่ ชู า ดวงดาว ด้วยการวิธีการของพวกเขา และภาษาของ พวกเขา และบรรดากับพวกโรมันและกรีก ด้วยวิธีการ ของพวกเขา และภาษาของพวกเขา และฉันจะบังคับ ให้บุคคลเหล่านั้นได้ยอมรับในค�ำพูดของตนเอง เมื่อ นั้นมะมูน จะรู้สึก ส�ำนึกถึงตนเองที่คิดไม่ดีต่อฉัน และ

นัน่ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ศักยภาพของความรูอ้ นั สูงส่งของท่านอิมามริฏอ (อ.) ทีท่ า่ นได้รภู้ าษาต่างๆ แม้ กระทั่งคัมภีร์จากส�ำนักคิดต่างๆ ในแต่ละศาสนานั้นๆ และผลจากการที่โต้เถียง และอภิปราย ในทางวิชาการ กับบรรดานักวิชาการ เป็นสาเหตุทที่ ่านอิมามริฏอ (อ.) และประชาชนได้มีความศรัทธายังอิมามริฏอ มากยิ่ง ขึน้ นัน่ คือเหตุผลทีม่ าจากประชุมของนักวิชาการต่างๆ เกือบทั้งสิ้น ค�ำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) และการ ทะนุบ�ำรุงและท�ำการฟื้นฟูคุณค่าอต่างๆ ของอิสลามที่ ก�ำลังถูกคุกคาม โดยศัตรูทั้งภายนอกและภายในของ ท่านเอง และแน่นอนที่สุด คงไม่เป็นที่สงสัย ที่ว่า การ ปฏิวตั อิ สิ ลาม ของอิหร่านภายใต้การน�ำของท่านอิมาม โคมัยนี นั้น นอกจากจะได้รับอิทธิพลหรือรับแบบอย่าง ท่านอิมามฮูเซน (อ.) ดังที่ท่านอิมามโคมัยนี ได้ย�้ำอยู เสมอว่า ทุกๆ สิ่ง นั้นเราได้มาจากอาชูรอ แต่สิ่งหนึ่ง ที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ นั่นก็คือ อิทธิพลหรือแบบ อย่าง และการต่อสู้ต้านทานในความคิด ต่างศาสนิก หรือ แนวคิดที่มาจากภายนอกของท่านอิมามริฏอ ที่มี ผลต่อแนวคิดของประชาชนชาวอิหร่าน และมีผลต่อ แนวคิดจนน�ำมาสู่การปฏิวัติอิสลามภายใต้การน�ำของ ท่านอิมามโคมัยนี นั่นเอง สิ่งนี้นั้น เป็นเครื่องพิสูจน์ ให้เห็นอีกประการ หนึ่ง การที่ท่านอิมามริฏอ (อ.) ได้เดินทางเข้ามาใน เปอร์เซีย ท่านมาเพื่อเตรียมพื้นฐาน ของชนกลุ่มใหม่ ที่พระมหาคัมภีร์ อัลกุรอาน และในฮะดีษ ของท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ได้กล่าวถึงไว้ดังนี้ “โอ้ ผู้ศรัทธา ทั้งหลายเอ๋ย ใครก็ตาม ที่ผินหลังให้กับศาสนาของเขา อัลลอฮ จะทรงส่งกลุม่ ชนใหม่ ซึง่ พวกเขานัน้ รักอัลลอฮ และอัลลอฮ ก็ทรงรักพวกเขา” โองการในลักษณะเช่นนี้ นั้นมีอีกมากมาย อย่างเช่ น ซูเราะฮ์ มุฮัมมัด โองการที่ 138 ก็เช่นเดียวกัน และหากพวกเจ้าผินหลังให้ พระองค์ จะทรงเปลี่ยนหมู่ชนใหม่ ที่ไม่ใช่พวกเจ้า หลั งจากนั้น มันจะไม่เป็นเหมือนพวกเจ้า ในฮะดีษของท่านศาสดา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 107


(ศ.) และก็ได้มีบรรดาศอฮาบะฮ์ บางท่านได้ถามท่าน ศาสดา ว่า และ เขาคือกลุม่ ชนใดเล่า และท่านศาสดา ก็ได้ตบไปบนไหล่ของท่าน ซัลมาน อัลฟารซี และได้ กล่าวว่า “ถึงแม้อีมานจะถูกแขวนไว้ที่บนดาวลูกไก่ เหล่าบุรุษแห่งเปอร์เซีย ก็จะเป็นผู้ใฝ่ฟ้าน�ำมาให้จงได้ และอีกฮะดีษหนึ่ง กล่าวว่า หมู่ชนที่จะได้รับโชคผล มากทีส่ ดุ ในเรือ่ งของอิสลามนัน่ ก็คอื ชาวเปอร์เซีย นีค่ อื ตัวอย่างหนึง่ ในอัลกุรอานและในฮะดีษได้ชใี้ ห้เห็นว่า ถึง กลุ่มชนใหม่ เพราะฉะนั้น ท่านอิมามริฏอ (อ.) ที่ท่าน ต้องการที่จะไปเตรียมพื้นฐานส�ำหรับการมาส�ำหรับ กลุ่มชนใหม่ ที่พระองค์อัลลอฮ (ซ.บ.) ที่เตรียมหามา แทนส�ำหรับกลุ่มชนที่ผินหลังให้กับอิสลาม ในขณะ เดียวกันก็จะน�ำไปสู่ การเตรียมพื้นฐานส�ำหรับการมา ของอิมามอัล มะห์ดี (อ.) ที่ฮะดีษของท่านศาสดามุฮัมั ด (ศ.) ได้กล่าวว่า ชนกลุ่มหนึ่งจากชาวเปอร์เซีย โดยที่ พวกเขาจะเตรียมพร้อมส�ำหรับ การมาของอัล มะห์ดี นั่นเอง จากนั้นเป็นการเสนอบทความอีกท่าหนึ่งโดย : ผศ. อิลยาส (มนัส) เกียรติธารัย ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาอิสลามและ การพัฒนา ในหัวข้อเรื่อง “ขบวนการฟื้นฟูอิสลาม ทางสาย กลางบนเกลียวคลื่นของความคิดสุดโต่ง” หลังจากการปฏิวัติอิสลาม โดยการน�ำของท่า นอิมามโคมัยนี ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเฉลิมฉลอง การปฏิวัติที่อิหร่าน และในตอนนั้นข้าพเจ้าได้พบเจ อกับอิมามที่ญัมมะรอน กับคณะได้เดินทางไปมะชัด ตอนนั้นผมยังไม่รู้จักอิมามริฏอ เลย ว่าท่านเป็นใครไม่ เคยได้ยินเลย และกลับมาข้าพเจ้ากับมาก็เริ่มศึกษา เกีย่ วกับท่านอิมามริฏอ (อ.) ท�ำไมมุสลิมถึงไม่รจู้ กั ท่านอิ มามริฏอ (อ.) ในการร่วมคณะนัน้ ท่านอายะตุลลอฮ์ ญัน นะตีได้กล่าวปราศรัย ในหัวข้อทีว่ า่ ขบวนการฟืน้ ฟู สาย กลาง ว่าพวกสุดโต่งเป็นอย่างไร และอะไรก็แนวทางที่ ถูกต้อง ท่านอายะตุลลอฮ์ได้บอกว่า ประชาชาติสาย

108 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

กลางคือประชาชาติที่ไม่ลุ่มหลงทรัพย์สินเงินทอง และ บ้าคลั่งใสต�ำแหน่งและยศฐาบรรดาศักดิ์ เหมือนกับ พวกยะฮูดี (ยิว) และประชาชาติสายก็ไม่ใช่ พวกที่ทิ้ง ดุนยา ไปเป็นพวกฤาษี เข้าไปในป่าเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ที่เกิดขบวนการวาฮาบี ตักฟีรี และพวกทีไ่ ปใส่รา้ ยว่าพวกเขาเป็นพวกกาฟิร (ผูป้ ฏิเสธ) และขบวนการนีท้ ไี่ ด้เข้าไปเข่นฆ่าบรรดาชีอะฮ์ในอียปิ ต์ และพวกเขาก็ถือว่าขบวนการของเขานั้นถูกต้อง และ พวกเขาถือว่าพวกเขาก�ำลังฟื้นฟูอิสลาม ท�ำไมเมื่อ ก่อนเมื่อคิงส์ไฟซอล ก็เป็นหัวหน้าวาฮาบี และได้สนิท สนมกับชาห์อหิ ร่านมาก ไม่มปี ญ ั หากล่าวว่า กษัตริยช์ า อิหร่านนั้นเป็นกาเฟ้ร ทั้งๆ ที่เป็นชีอะฮ์ และผมเข้าไป ถามคนในเตหะราน บางคนชอบกษัตริยช์ าห์อย่างมาก หลังจากปฏิวตั อิ สิ ลามใหม่ ตัวแทนของอัลรอบิเตาะ ได้ กล่าวยกย่องอิมามโคมัยนี ว่าเป็นนักต่อสูแ้ ละนักปฏิวตั ิ ได้ท�ำการต่อสู้และฟื้นฟูอิสลาม หลังจากนั้นประมาณ 3-4 เดือน ได้กล่าวหาว่า อิมามนั้นเป็นกาเฟ้รไปแล้ว เพราะว่าการปฏิวตั ใิ หม่ๆ ยังตัง้ ตัวไม่ตดิ ซาอุดยี งั ตัง้ ตัว ไม่ติด เพราะมันเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ก็เลยปล่อยให้ สถานการ์ไปเป็นธรรมชาติ เพราะว่าขบวนการอิควาน ในสมัยก่อนได้ทำ� การเข่นข่ามุสลิมและได้ให้ไปพึง่ พิงซา อุดีอารเบีย แต่ตอนนี้ซาอุดีกลับท�ำการโค่นล้มอิควาน ในอียิปต์ มันสับสนวุ่นวายไปหมด ท�ำไม ? แล้วท�ำไม วาฮาบี จึงสนิทสนมกับชาห์แห่ง อิหร่านมาก หลังจากการปฏิวัติอิสลามแล้ว ท่านอิมาม ได้น�ำอิสลามมาท�ำการปกครองประเทศ กับกลายเป็น กาฟิร เรื่องเดียวก็คือ ผมประโยชน์ บัลลังก์ สะเทือน คือการปรากฏการณ์ของอิมามท�ำให้บรรดาสุลตอนทั้ง หลาย มาลิกสุลตอนทั้งหลาย สะเทือน ยังไงก็ไม่ชอบ ก็ไปยุยงการต่อต้านการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน อันนี้เป็นเรื่องจริง และท�ำไมพวกเขาจึงได้กลัว ท่านอิมาม เพราะถ้าได้เห็นหน้าท่านก็จะได้รบั รูถ้ งึ กริยา มารยาทของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ท่านอิมามโคมัยนี้ ได้ออกมาปกป้องอิสลาม


มีอยู่ครั้งหนึ่ง ซัลมาน ฟาระซีได้กล่าวหา และเหยียบ หยามท่านศาสดา (ศ.) ท่านอิมามได้ฟัตวาให้ประหาร ได้ อุลมาอ์ บางคนได้ออกมาคัดค้านท่านอิมาม และ กล่าวหาท่านแทนที่จะปกป้องท่านศาสดา (ศ.) ในข้อ เขียนหนังสือของซัลมาน เขาได้เขียนโดยสรุป ก็คือ ได้ กล่าวประณามท่านต่างๆ นานา แต่บรรดามุสลิมบาง ท่านได้นิ่งเฉยไม่รู้เรื่อง ไม่ประณามซัลมาน และรู้ไม่ว่า บรรดาตะวันตกตัดความสัมพันธ์ได้สั่งไม่ให้ท�ำการค้า กับอิหร่าน และท�ำให้อิหร่านได้เสียทางด้านเศรษฐกิจ ไปเป็นจ�ำนวนมหาศาล แต่ท่านอิมามก็ยอม อิมาม ยอมสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจเพือ่ รักษาเกียรติยศของ ท่านศาสดามุฮมั มัด (ศ.) ไว้ นีค่ อื การฟืน้ ฟู แต่บางท่าน ยอมสูญเสียทุกอย่างเพื่อที่จะได้ทรัพย์สมบัติมา ยอม เสียศักดิ์ศรี มันตรงกันข้าม และต่อมาข้าพเจ้าได้เข้าไปพบกับท่านอายะ ตุลลอฮ์ คาเมเนอี แบบตัวต่อตัว พร้อมทั้งคณะ ท่าน ได้สั่งว่า ในประการแรกส�ำหรับมุสลิมในประเทศไทย ให้ท�ำการญิฮาด การดิ้นรนต่อสู้ด้วยความรู้ นั่นคือค�ำ สั่ง ฉะนั้นที่พวกเรามาท�ำหนังสือ วิเคราะห์ วิจัย นี่ คือขบวนการฟื้นฟูอิสลาม ขั้นพื้นฐาน เพราะฉะนั้น พวกเราจะต้องมีความรู้ อย่างกว้างขวางอีกด้วย และ สามารถเปรียบเทียบ และสอง ให้มั่นติดต่อสัมพันธ์กับ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เพราะว่า การปฏิวัติ อิสลาม ได้ยืนหยัดมาตั้งแต่ ปี 1979 จวบจนถึงปัจจุบัน นี้ พี่น้องลองดูซิว่า อิหร่านไปถึงไหนแล้ว ? ปรับปรุง หลักสูตรในมหาวิทยาลัย ค้นคว้าและวิจัยมากกว่า ประเทศเราอีก ไม่ว่าจะเป็นในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตาร์ ฯลฯ เขาได้เจริญก้าวหน้าและได้พัฒนา ไปไกลมาก แต่ทา่ นอิมามโคมัยนี ก็พยายามทีจ่ ะรักษา ความเป็นเอกภาพของมุสลิม จึงมีค�ำขวัญที่ว่า “ไม่ มี สุ น นี่ แ ละไม่ มี ชี อ ะฮ์ มี แ ต่ อิ ส ลาม” หมายความว่า ใครเป็นสุนนี่ก็ปฏิบัติตามของเขาไป และใครเป็นชีอะฮ์ก็ปฏิบัติของเขาไป แต่ในปัจจุบัน อ�ำนาจมืดที่ได้ท�ำลายสังคม

มุสลิมทั่วโลก และท�ำให้พวกเราแตกแยก แต่ถ้าเรามา พิจารณาแล้ว ใครจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ มุสลิม หรือ ? เปล่า พวกยิวไซออนิสต์ เขาได้รับผลประโยชน์ อย่างเต็มๆ และใครทีท่ ำ� การต่อสูก้ นั เองเท่ากับเป็นแนว ร่วมชั้นหนึ่งของพวกตะวันตกและพวกยิวไซออนนิสต์ ในภาคบ่ า ยเป็ น การเปิ ด ตั ว นิ ต ยสาร “The Leader” จัดพิมพ์โดยสถาบันส่งเสริมการศึกษาและ วิ จั ย เกี่ ย วกั บ อิ ส ลาม จากนั้ น ก็ เ ป็ น การชมสารดคี วีดีทัศน์ในหัวข้อเรื่อง Islamic beyond the Horizon และก็เข้าสู้การอภิปรายในหัวข้อเรื่อง “ในวิกฤติการณ์ โลกอิสลาม มุสลิมไทยจะไปทางไหน” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมใน การอภิปรายดังนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. จรัญ มะลูลีม หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ดร. ศราวุฒิ อารีย์ หัวหน้าศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบัน เอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , อาจารย์วัชระ แววด�ำ นักวิชาการอิสระ , เชคมุญาฮิด เกียรติธารั ย หัวหน้าฝ่ายวิชาการสถาบันส่งเสริมและวิจัยเกี่ยว กับอิสลาม และอาจารย์การุณ กูใหญ่ ท�ำหน้าที่เป็นผู้ ด�ำเนินการอภิปราย การอภิปรายเริ่มต้น โดย : ดร. ศราวุฒิ อารีย์ หัวหน้าศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ก่อนอืน่ ข้าพเจ้าขอเรียนคณาจารย์และผูอ้ าวุโส ตลอดบรรดามุสลิมมุสลิมและมุสลิมะห์ และบรรดา ผู้ทรงคุณวุฒิทุกๆ ท่าน ก่ อ นอื่ น ข้ า พเจ้ า จะขอเสนอเน้ น ถึ ง เรื่ อ ง ขบวนการเคลื่อนไหวของอิสลามในแต่ละยุคและใน แต่ละสมัย ที่ว่ามันแตกต่างกันในแง่ของบริบทและ แม่บท แต่ก่อนนี้ขบวนการฟื้นฟูของศาสนาอิสลามมี เป้าหมายภาระกิจในการทีจ่ ะน�ำมวลชนมุสลิมกลับเข้า มาสู่อิสลามที่แท้จริงมากที่สุด หมายถึงว่า อิสลามได้ ถูกเผยแพร่มาระยะหนึง่ แล้ว ปรากฏว่าคนได้มคี วามลุม่ หลงเกีย่ วกับสัยยาศาสตร์ กับความมัวเมาเกีย่ วกับเรือ่ ง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 109


ความงมงายต่างๆ บริบทอย่างนั้นจึงท�ำให้นั้นจึงท�ำให้ นักปฏิรูปของอิสลามและนักการฟื้นฟูอิสลามต้องการ ท�ำงานทีจ่ ะน�ำบรรดาพวกเหล่านีใ้ หกลับมา พอมาถึงอีก ยุคสมัยหนึง่ ปรากฏว่ามันมีพลังอ�ำนาจจากภายนอกได้ เข้ามาแทรกแซงในโลกของมุสลิมประเทศต่างๆ ขบวนการณ์เคลื่อนไหวของอิสลามก็ได้มีการ เปลี่ยนแบบไป แต่คราวนี้ไม่ได้ดึงมวลชนเข้ามาหา อิสลามเพียงเท่านั้น แต่ยังต้องท้าทายต่อชาวตะวันตก อีกด้วย และยังมีภาระหน้าที่ขับไล่ผู้ที่ยึดครองเหล่านี้ ที่ไม่มีความเป็นท�ำให้ออกไปจากดินแดน พ อ ม า ถึ ง ส ถ า น ก า ณ ์ ใ น ต อ น นี้ มั น ก็ ไ ด ้ เปลี่ ย นแปลงไปอี ก รู ป แบบหนึ่ ง อาหรั บ สปริ ง หรื อ ขบวนการตื่นตัวของศาสนาอิสลาม จึงได้เกิดขึ้นใน ท่ามกลางบริบทที่เป็นลักษณะของการที่ขบวนการ อิ ส ลามจะต้ อ งท้ า ทายกั บ บรรดาผู ้ ป กครองหรื อ ผู้น�ำที่อ้างตนเองว่ามีความชอบธรรมหรือที่เรียกว่า ประชาธิปไตย แต่แท้จริงตนเองเป็นเผด็จการ และ อิสลามจะต้องมีการต่อต้านกับบรรดาสิ่งที่มีการฉ้อฉล เหล่านี้ อย่างนี้เป็นต้น วันนี้กระผมคิดว่า เราวิเคราะห์สถานการณ์ ทางการเมืองของโลกมุสลิมในตะวันออกกลาง เราจะ ต้องมาวิเคราะห์กันใหม่จากในอดีต เพราะอดีตเรา วิเคราะห์ในสถานการณ์คืออาจจะโยนความผิดให้กับ คนอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศตะวันตกเข้ามายึด ครองดินแดนของมุสลิม มาขีดเส้นดินแดนต่างๆ โดย ไม่ค�ำนึงถึงเรื่อง ชาติพนั ธุ์ เรื่องภาษา และศาสนาต่างๆ ฯลฯ และผลท้ายที่สุดแล้ว การขีดเส้นแบ่งดินแดนมัน น�ำมาซึ่งปัญหามากมายในโลกมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นผล ประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติ และการแย่งกันเป็น ผูน้ ำ� ในตะวันออกกลาง ซึง่ แนวคิดนีเ้ ป็นแนวคิดในอดีต ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าก็คิดว่าถูก แต่ไม่ทั้งหมด เราได้เห็น สงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอล ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ 1948 1956 1973 และอีกหลายๆครั้ง เป็นต้นมา เราก็ จะบอกว่าการที่โลกอาหรับแพ้สงครามให้กับอิสราเอล

110 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ก็เพราะว่ามหาอ�ำนาจอย่างสหรัฐอเริกา เข้ามาอยูเ่ บือ้ ง หลัง แต่วันนี้ผมคิดว่าวิธีการมองสถานการ์ณในโลก มุสลิม มันจะต้องมองในลักษณะให้รอบๆ ด้าน และ สิ่งส�ำคัญที่ผมคิดว่า มันจะช่วยในการปรับปรุงแก้ไข สังคมโลกมุสลิมโลกได้ก็คือ การวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง ท�ำไมวันนี้ ประชาชนคนมุสลิมในหลายๆ ประเทศในโลก อาหรับจึงได้ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านผู้น�ำของตนเอง และ วันนีท้ ำ� ไมประชาชนจ�ำนวนมากลุกขึน้ มาต่อต้านระบบ การคอรัปชัน่ ซึง่ เกิดจากอ�ำนาจระบอบเผด็จการในโลก มุสลิมและโลกอาหรับ ผมก� ำ ลั ง จะวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ป ระเทศซาอุ ดิ อารเบีย บทบาทของซาอุดีอารเบีย ในซีเรีย ก็เป็นไป อีกแบบหนึ่ง และอียิปต์ก็เป็นไปอีกแบบหนึ่งที่จังหวัด เชียงใหม่ ก็มีคนค้านบอกว่าไม่ เพราะประเทศซาอุ ดีอารเบียมีเหตุผลที่เขาท�ำอย่างนั้นดีอยู่แล้ว เขาไม่ ต้องการท�ำให้สถานการณ์มันลุกลามบานปลาย ไม่ ต้องการที่จะให้เกิดความเสียหายใดๆ ผมบอกว่ามัน ไม่ใช่ ถ้าประเทศซาอุดีท�ำแบบนั้น ท�ำไมประเทศซาอุ ดีในประเทศอียิปต์ จึงไม่มีจุดยืนเดียวกันกับประเทศ ซีเรีย ผมก็เลยเรียนว่า สถานการณ์ตอนนี้มันเปลี่ยน ไปแล้ว ถ้าเราจะวิเคราะห์โลกมุสลิม พวกเราจะต้องมี การวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมของเราเอง ถ้าไม่เช่นนั้น แล้ว มันจะไม่ได้ประโยชน์อะไรมาก และการที่วิพากษ์ วิจารณ์ตนเอง ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งส�ำคัญ เวลาเรามอง ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะอาณาจักร เติร์ก หรือ อาณาจักรไหน หรือมหาอ�ำนาจใดก็ตามที่เจริญ รุ่งเรืองขึ้นมาเป็นมหาอ�ำนาจของโลก จะต้องผ่านการ วิพากษ์วิจาร์ณแทบจะทั้งนั้น ซึ่งตรงนี้จะได้เป็นการหา ข้อบกพร่องของตนเอง และเป็นมิติที่ดี แล้วจะน�ำพวก เราไปสู่เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต รศ.ดร. จรัล มะลูลีม หั ว หน้ า ภาควิ ช ารั ฐ ศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ “การแทรกแซงของมุสลิมในซีเรีย”


ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้าผู้กรุณา ปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ อัสสลามุอะลัยกุมฯ ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอขอบคุณบรรดามุสลิมและ มุสลิมะ และบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิทุกๆ ท่าน กระผม กับ ดร. ศราวุฒิ ได้เดินทางไปซีเรีย เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา ก่อนจะมีเรื่องสงครามการเมืองเกิดขึ้น 1 ปี เมื่อก่อน ประเทศซีเรีย เป็นประเทศที่หน้าอยู่ ไม่ว่าคณะของเรา จะไปนมาซทีไ่ หนก็มคี นซีเรียได้ให้การต้อนรับเป็นอย่าง ดี และมีคนแนะน�ำว่า ขณะนีผ้ นู้ ำ� พูโลได้จบชีวติ ลงแล้ว ศพของเขาก็ได้ถกู ฝังทีก่ รุงดามัสกัสแล้ว และตอนทีผ่ ม ท�ำวิจยั กับท่านดร. อณัส อมารยกุล ผม ดร.สราวุฒิ และ อาจารย์ ฮารูน ฮายีมะ ได้นดั กับผูน้ ำ� ฮามาส ทีด่ ามัสกัส และพวกเขาก็น�ำพาพวกเราไป ที่เป็นดามัสกัส เมือง ใหม่ และได้เจอผู้น�ำฮามาสอีกหลายท่าน และพวก ผูน้ ำ� อีกหลายท่านไม่วา่ จะเป็นทีย่ โุ รป ฯลฯ ก็ได้เสียชีวติ และฝังศพทีน่ นั่ แต่ประเทศซีเรียนัน้ มีศลิ ปะทีง่ ดงามเป็น อย่างมาก และผมและเพื่อนๆ ก็ได้เดินเข้าไปในตลาด ตามร้านค้าต่างๆ บรรดาพ่อค้าส่วนมากก็จะเป็นคน บอสเนีย ปาเลสไตน์ ฯลฯ และสิ่งที่ลบล้างของความ คิดของบุคคลทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุนนี่ชีอะฮ์ ไม่ว่า จะเป็นองค์กรของโลกสุนนีท่ งั้ หลายทีเ่ ป็นองค์กรทีป่ ลด ปล่อยตนเองทัง้ หลาย เช่น ฮามาส พลูโล ก็อพยพมาอยู่ ที่ประเทศซีเรียมากมายซึ่งเป็นพี่น้องซุนนี่เกือบทั้งสิ้น ประเทศซี เ รี ย เป็ น ประเทศแบบเมติ เ รเนี ย มี ภูมิอากาศคล้ายคลึงกับยุโรป มีพรมแดนติดต่อกับ จอร์แดน และอย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีเหตุการณ์ใช้ สารเคมีในซีเรียนั้น อิหร่านได้ถูกสารเคมีมาก่อนเมื่อ ประธานาธิบดีสดั ดัม ฮุเซน ได้ทำ� สงคราม 8 ปีกบั อิหร่าน ประชาชนชาวอิหร่านก็ได้ถูกอาวุธเคมีของอิรัก และได้ เจ็บล้มตายไปเป็นจ�ำนวนมาก และได้ถูกส่งไปรักษา อยูท่ ปี่ ระเทศเยอรมัน เพราะไม่ประเทศใดรักษาได้ และ พวกถ้าเรายังจ�ำได้วา่ สัดดัม ได้เคยใช้อาวุธเคมีกบั ชาว เคอร์ ที่ฮาลับจา และการใช้อาวุธเคล่าสุด เรามามอง

ด้วยความเป็นธรรม รัฐบาลของซีเรียไม่รู้ว่าจะใช้อาวุธ เคมี สังหารประชาชนของตนเองได้อย่างไร ? ในเมื่อ ดินแดนเหล่านั้นถูกผู้ต่อต้านของรัฐบาลได้ถูกยึดครอง ไปหมดแล้ว หลังจากการช่วยเหลือของมหาอ�ำนาจ อิสราเอลอย่างลับๆ แต่เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในซีเรีย ถ้าจะมีการเปลีย่ น แปลงใดๆ ควรจะเป็นความปรารถนาของประชาชน คนในประเทศ ไม่ใช่คนข้างนอก อย่างเช่น อเมริกา และ ประเทศตะวันตก ฯลฯ และเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่า รัฐบาลใดก็แล้ว แต่ที่เข้มแข็งที่จะท�ำการต่อต้านกับประเทศอิสราเอล ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ไม่ได้ และการตัดสินใจที่จะมีการใช้ ความรุนแรงให้เกิดขึ้นไปอีกก็เพื่อที่จะไปกระทบชิ่งกับ ประเทศอิหร่าน ก่อนหน้านี้ประเทศอิรัก ก็มีอาวุธ เคมี ก็ถูกตะวันตกได้จัดการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อนึ่ ง ถ้ า เรามาดู เ หตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในซี เ รี ย ในปั จ จุ บั น ฝ่ า ยที่ ต ่ อ ต้ า นรั ฐ บาลนั้ น มี ค วามคิ ด ว่ า เหตุการณ์จะจบลงอย่างประเทศลิเบีย ประการต่อมา สหประชาชาติจะมีนโยบาย จะมีมติ ในปี ค.ศ.1973 ว่า ต้องการลงโทษซีเรีย แต่ระยะหลังในประสบการณ์ใน ลิเบีย ซึ่งท�ำให้จีน รัสเซีย เป็นประเทศที่รู้ทันโลกและได้ เข้าใจอะไรหลายๆ อย่าง และมีผลประโยชน์อย่างมาก กับซีเรีย จึงท�ำให้ตะวันตกจะต้องหยุดคิดใหม่เพราะ สองประเทศนี้ไม่เข้าร่วมด้วย ฉะนั้น ในความคิดของโอบามา ตั้งใจที่จะถล่ม ซีเรีย ต้องคิดใหม่เพราะว่า มีการพูดอย่างแพร่หลาย ว่าซีเรียจะไม่ได้ออ่ นเพลียจากสงครามเหมือนกับทีเ่ จอ ในอีรักมาแล้วก็ตาม แต่ทว่า ซีเรียไม่ใช่อีรัก และลิเบีย เพราะมีประเทศตะวันตกและอีกหลายประเทศ ก็ไม่เห็น ด้วยกับการน�ำกองก�ำลังไปถล่มซีเรีย และคาดการณ์ไม่ ได้วา่ จีนกับรัสเซียจะช่วยได้มากแค่ไหน ? หรือว่าจะอยู่ ข้างกับประเทศซีเรีย ในกระแสที่ นิ ย มที่ สุ ด ในอิ ส ลามนั้ น มี พ รรค อิสลามเกิดขึ้นอย่างมากมาย และมุสลิมจะท�ำอย่างไร

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 111


ที่จะท�ำให้พรรคมุสลิมในแต่ละประเทศต่างๆ สามารถ ที่จะไม่ท�ำให้เกิดการแตกแยกกัน และเป็นเครื่องมือรับ ใช้ของตะวันตกหรือศัตรูของอิสลาม มุสลิมเองจะต้องมี ความเป็นเอกภาพอันหนึง่ อันเดียวกัน และพูดว่าอีกฝ่าย หนึ่งถูก อีกฝ่ายหนึ่งผิด เราต้องหันหน้าเข้าหากันและ ยึดสายเชือกของอัลลอฮ์ไว้ให้มั่น ดังที่เอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวไว้ใน คัมภีร์อัลกุรอาน มุสลิมจะต้องตืน่ ตัวขึน้ ต้องได้รบั การเตือนภัยว่า ถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างพี่น้องสุนนีกับชีอะฮ์ ก็จะ เป็นอันตรายต่อมุสลิมทั้งหมด ผู้ที่ต้องการสร้างความ บาดหมางขึ้น ไม่ใช่ทั้งซสุนนีและชีอะฮ์ แต่พวกเขาคือ ตัวแทนของมหาอ�ำนาจและปฏิบัติภารกิจให้พวกเขา” และถ้าหากความเป็นพี่น้องในอิสลามมาอยู่ด้านหน้า พลังอันยิง่ ใหญ่กจ็ ะเกิดขึน้ ในบรรดาประเทศมุสลิม เป็น พลังที่ไม่มีพลังสากลใดๆ มาเทียบเคียงได้” เชคมุญาฮิด เกียรติธารัย หัวหน้าฝ่ายวิชาการ สถาบันส่งเสริมการศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม “ขบวนการณ์ฟื้นฟูอิสลาม ทางสายกลางบน เกลียวคลื่นของความคิดสุดโต่ง” อันที่จริง ขบวนการณ์ฟื้นฟูอิสลามนั้น ว่าไป แล้วว่า ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้น ประมาณ 100 - 200 กว่าปีที่ผ่านมา ถ้าจะพูดกันให้ลึกซึ้งลงไป เราจะต้อง พิจารณาจากรากฐานจากประวัติศาสตร์ที่ปรากกฎมา ในอัลกุรอาน และตามที่อะลุลบัยต์ (อฺ) และบรรดาศอ ฮาบะห์ ทั้งที่พี่น้องมุสลิมสุนนี่และชีอะฮ์ เริ่มแรกเลย อัลกุรอาน ซึ่งได้เป็นวจนะของเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับ การฟื้นฟูอย่างไร สิ่งนี้เป็นสิ่ง และ มันเป็นปัจจัยทีผ่ ลักดันทีใ่ ห้เกิดความเคลือ่ นไหวในการ สร้างขบวนการประมาณ 100-200 ปี อัลกุรอานได้กล่าวไว้ว่า ซูเราะห์ อาลิอิมรอน โองการ 104 ว่า “สมควรที่จะมีในหนึ่งพวกท่านได้มี คณะบุคคลที่เชิญชวนไปในที่สิ่งที่ดีงาม ต้องกระชับ กันในเรื่องของความดีและห้ามปราบกันในเรื่องของ

112 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ความชั่ว และ อัลกุรอานพยายามจะบอกว่า ควรจะ สร้างบุคลากรและผู้น�ำที่เป็นศอลิห์ และมีจริยวัตร มี ความดีงาม และไม่เพียงแต่มีความประพฤติดีเพียง อย่างเดียว แต่จะต้องเสริมให้บุคคลอื่นต้องประพฤติดี ไปด้วย อันนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมาจากอัลกุรอาน ทางความคิดที่บรรดานักกิจกรรมทั้งหลายได้มีความ กระตือรือร้นทีม่ กี ารรวมกลุม่ กันเพือ่ รักษาไว้เพือ่ อิสลาม ที่อยู่ในท่ามกลางให้เป็นขบวนการในยุคใหม่ ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ.) ได้เริ่มต้นด้วยการพัฒนา สังคมด้วยความยุตธิ รรม และได้กระจายความยุตธิ รรม ก่อนที่ท่านจะพูดเรื่องของศาสนานั้น ท่านจะเน้นเรื่อง ของความเสมอภาคก่อน ท่านบิลาลที่ได้รับอิสลาม หัน มาเข้ารับอิสลามก็เพาะว่า ท่านนบีให้เกียรติของเรื่อง การเสมอภาคของทุกชนชัน้ ต่างๆ ก่อน หลังจากนัน้ ท่าน จึงน�ำเสนอเรื่องของศาสนา และต่อมาท่านก็ได้ท�ำการ ส่งจดหมายไปยังผู้ปกครองเมืองนครต่างๆ อย่างเช่น โรมัน อียิปต์ เปอร์เซีย ฯลฯ อันนี้เป็นการเรียกร้องเชิญ ชวนมาหาอิสลาม ท่านไม่ได้ไปท�ำสงครามกับพวกเหล่า นั้น ท่านได้ใช้สันติวิธีก่อน และถ้าบรรดาประเทศต่างๆ ทีไ่ ม่ได้เข้ามาบุกรุกและท�ำลายประชาชาติอสิ ลามก่อน ญิฮาดจึงจะถูกประกาศออกไปไม่ได้ หลังจากที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ได้วะฟาต (ตาย) ไปแล้ว อาจารย์วัชระ แววด�ำ นักวิชาการอิสระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคม ขบวนการการต่อสูท้ างการเมืองของโลกอิสลาม นั้นมันมีอยู่สองกลุ่ม คือ กลุ่มรักสันติและไม่ต้องการ ที่ จ ะให้ เ กิ ด สงครามใดๆ และส่ ว นกลุ ่ ม ที่ ส องนั้ น ต้องการท�ำลายร้างอย่างสุดขั้ว และประวัติศาสตร์ ที่ ผ ่ า นมาขบวนการของอิ ส ลามนั้ น ท� ำ ให้ เ ราติ ด กั บ ประวัติศาสตร์ของอิสลาม หมายความว่า เชื่อว่าการ ต่อสู้ในปัจจุบันนี้ที่ก�ำลังเกิดขึ้นในประเทศซีเรีย ได้ไป หยิบยกในประวัติศาสตร์ของอิสลามมาอ้างกัน คงที่


จะต้องการล้มประธาธิบดี อัลอัสฮัร ก็ไปปลุกระดมผู้ หญิงให้มาตั้งกองก�ำลังเพื่อมารดาของเรา ก็คือ “กอง ก�ำลังอาอิชะฮ์” ไปหยิบประวัติศาสตร์อิสลามส่วนหนึ่ง มาสร้างความเกียรติชัง แต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ สมควร ประวัติศาสตร์มันก็คือประวัติศาสตร์ ถ้าเราจะ น�ำประวัติศาสตร์มาพูดกันมันก็จะไม่จบสิ้น เราจะต้อง ยอมรับว่าประวัติศาสตร์ เมื่อ 1400 ปี แต่ในปัจจุบัน ประเทศซีเรียนั้นมีอายุยาวนานกว่า 1400 ปี ประเทศซีเรีย ตั้งแต่ในสมัยของพ่ออัลอัสฮัร คือ ฮาฟิร้ อัสฮัร เป็นทีพ่ วกเราได้รบั รูก้ นั ว่าเป็นการเผด็จการ ทางการเมือง แต่ไม่มกี ารต่อสูท้ รี่ นุ แรง อาจจะมีบางครัง้ แต่กไ็ ม่รนุ แรง ผมมีโอกาสไปซีเรีย ประเทศซีเรียนัน้ ถ้าไม่ เป็นผูน้ ำ� ทางด้านเผด็จการ ก็จะแยกยิง่ กว่อฟั ฆานิสถาน เพราะมันเป็นพื้นที่ของความแตกต่างระหว่างชนเผ่า แตกต่างทางศาสนา ความเชื่อ ประเทศซีเรียก่อนหน้า นี้ ยกเว้นเสรีภาพทางการเมือง แต่ในเรือ่ งเสรีภาพอย่าง อื่นก็มี ซีเรียอยู่ได้โดยที่ไม่จ�ำเป็นต้องมีความมั่งคั่ง ผม ไปประเทศซีเรีย พูดได้ทุกเรื่องยกเว้นทางเรื่องทางการ เมืองเพียงอย่างเดียว ประเทศในอ่าวเปอร์เซีย 5-6 ประเทศนัน้ แรงงาน ส่วนใหญ่ที่เป็นนักวิศวกร เป็นแพทย์ นายธนาคาร หรือเป็นผู้บริหารในระดับกลาง เป็นซีเรียทั้งหมด ผม ยอมรับว่า ประเทศซีเรียนั้นมีพื้นฐานในด้านการศึกษา สูงมาก และที่ผ่านมาผู้น�ำของพรรคบาธ ก็ไม่ได้ใช้ ศาสนาเป็นเครือ่ งมือในการกดขี่ คนทีแ่ ตกต่างก็คอื พวก นักการเมือง ท่านทราบไมว่า ผลประโยชน์ในประเทศ ซีเรีย ส่วนมากผลประโยชน์จะตกอยู่กับมุสลิมสุนนี่ ไม่ใช่ชีอะฮ์ที่ได้ผลประโยชน์ และคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ สนับสนุนพรรคบาธมาโดยตลอด แต่ไม่ค่อยมีใครพูด ถึงเลย แสดงให้เห็นว่า ซีเรียทีผ่ า่ นมาในยุคของพ่อและ ลูกไม่ได้ใช้ศาสนามาเป็นเครือ่ งมือในการแบ่งแยก และ ในประวัติศาสตร์ที่ผมได้ศึกษามา ส่วนมากผู้ปกครอง ที่เป็นสุนนี่ จะท�ำการกดขี่ชีอะฮ์มาโดยตลอด ไม่ว่า ตนเองจะมีเสียงข้างมากหรือน้อย ประเด็นปัญหาทีผ่ ม

เคยเห็นมากที่สุดก็คือในประเทศบาเรน ทางตะวันตก เข้าไปแทรกแซงได้ แต่ประเทศอื่นห้ามเข้าไปแทรกแซง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบาเรนก็ไม่แตกต่างไปจากซีเรีย มากนัก เพราะมุสลิมส่วนใหญ่ต้องการที่จะปฏิวัติเพื่อ ประชาธิปไตยให้ได้มีปากมีเสียง แต่สุดท้ายรัฐบาล ซาอุดิก็ได้ส่งรถถังเข้าไปปราบปรามในบาเรน อันนี้ เป็นการชี้ชัดว่าซาอุดีได้เข้าไปแทรกแซง และบรรดา มหาอ�ำนาจก็ไม่กล้าที่จะไปต่อต้านรัฐบาลซาอุดี แต่ ไม่ค่อยมีใครพูดถึง ปัญ หาของประเทศซี เรี ยที่ เริ่ มต้ น จากปัญ หา เล็กๆ จนขยายเป็นสงครามกลางเมือง และมีประชาชน เสียชีวติ ไปเป็นจ�ำนวนมาก ถ้ามุสลิมไม่ใช้ความเกลียด ชังของศาสนา เพราะใช้ความเกลียดชัง มันมีข้อมูล อย่างชัดเจน กษัตริย์อับดุลลอฮ ก็เกิดจากแม่ที่เป็น ภรรยาของกษัตริย์อับดุลบาสิร ที่เป็นชาวซีเรีย และ ภรรยาของอับดุลลอฮสองคน ก็เป็นซีเรีย มันเป็นการที่ ชอบน�ำศาสนามาเป็นเครือ่ งมือในการท�ำลายร้าง จริงๆ แล้วผมมีความเชื่อว่า ประธานาธิบดี บะซัร อัลอัซซัด พยายามปฏิรูปประเทศมาโดยตลอด และเมื่อ 10 ปี ก่อน ผมได้มีโอกาสได้พบภรรยาของบะซัร อัลอัซซัด ที่ลอนดอน คือคุณอัซมา อัลอัซซัด ภรรยาคนนี้คนที่ เติบโตมาทางด้านธุรกิจ ณ ซึ่งตอนนั้นผมไม่ทราบว่า เธอจะเป็นมาภรรยาของผู้น�ำของซีเรีย เธอได้เคยพูด กับผมว่า สตรีมุสลิมจ�ำเป็นต้องมีการศึกษา มันถึงจะ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าผู้น�ำมุสลิมยังไม่ อยากให้ผู้หญิงมุสลิมมีการศึกษาสูงๆ หรือมีพื้นที่ให้ผู้ หญิงในสังคมและการเมือง โลกมุสลิมเราไม่สามารถ ที่จะแก้ปัญหาทางการเมือง และสังคมและการเอารัด เอาเปรียบ ตอนนัน้ อัซมาได้ทำ� งานอยูใ่ นลอนดอน และ เธอก็ได้กลับมาปฏิรูป และได้เปิดตลาดหลักทรัพย์ให้ คนต่างชาติได้เข้ามาลงทุนภายในประเทศ ซึ่งจุดนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และเมื่อผู้หญิงได้เริ่มมีบทบาท มัน จะท�ำให้เกิดการยอมรับ และทีส่ ำ� คัญเราต้องยอมรับว่า ประชากรหญิงนั้นมีมากกว่าเพศชายมาก และปัจจุบัน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 113


นีม้ สุ ลิมเราพยายามจะท�ำอะไรทีฝ่ นื กับธรรมชาติ ก็คอื ให้คนส่วนใหญ่ที่มีจ�ำนวนมาก ไม่มีสิทธิไม่มีเสียงใน ด้านทางการเมือง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมได้บอกมาโดย ตลอดว่า ถ้าการปฏิวัติอิสลามของขบวนการทางการ เมืองใดๆ ก็ตามหลีกเลี่ยงไม่ดึงพลังของสตรีและไม่ เปิดพื้นที่ให้กับสังคม การปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลง มันจะไม่จิรังยั่งยืน ปัจจุบันผมถือว่าประเทศตุรกีเป็นหน้าเป็นตา ของโลกมุสลิม เป็นประเทศมุสลิมที่ไม่ต้องมีทรัพยากร แต่ก็มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ มีความ เข้มแข็งทางด้านการทหาร และที่ส�ำคัญก็คืออยู่ร่วม กับประชาธิปไตย เพราะว่าจุดยืนของตุรกีคือเปิดพื้น ให้ทุกๆ คนในสังคมสตรีได้มามีบทบาท และรัฐบาล ตุรกีก็ได้กล่าวว่า ถ้าเขาไม่ดีจริงก็ให้ไปเลือกตั้งใหม่ ในคราวหน้า จุดตรงนี้ผมเคยบอกว่า ประชาธิปไตยไปเน้น เรื่องลัทธิคนดีเมื่อใด มันยากที่อยู่กับประชาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยโดยหลักการพื้นฐานก็คือ เสียง ส่วนใหญ่เคารพเสียงส่วนน้อย และจะต้องมีการตรวจ สอบทุกๆ คนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นคนดีต้อง ตรวจสอบทั้งหมด แต่เราจะเจอปัญหาในสังคมมุสลิม ว่า เราจะมีหลายกลุ่มและหลายๆ คน พยายามจะบอก ว่าเมือ่ ฉันเป็นคนดีแล้ว จะต้องยกเว้นจากการตรวจสอบ เอาศาสนาเอาความเชือ่ มาปิดบังจากการตรวจสอบ อัน นี้มันเป็นปัญหาถ้าเราไม่สามารถขยายความให้เข้าใจ เราจะอยู่บนโลกที่สภาวะยากล�ำบาก ปัจจุบันปัญหาในซีเรีย อียิปต์ ถ้าไม่มีคนต่าง ชาติ อย่างเช่น ซาอุดีอารเบีย การ์ต้า และตะวันตก เข้าไปวุ่นวาย และปัจจุบันการ์ต้าเข้าไปวุ่นวายเข้าไป เป็นพันธมิตรของซาอุดอี ารเบียในซีเรีย แต่ไปขัดแย้งกับ ซาอุดอี ารเบียในเรือ่ งของอียปิ ต์ จุดตรงนีแ้ สดงให้เห็นว่า ประเทศเหล่านีไ้ ม่มจี ดุ ยืน แต่ไปเพือ่ ตักตวงผลประโยชน์ และได้น�ำความเป็นซุนนี ชีอะฮ์เข้าไป เพื่อท�ำลายล้าง และท่านจะเห็นได้ว่า ทางประเทศตะวันตกนั้นลงทุน

114 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

น้อยมากจากการทีใ่ ห้ประเทศมุสลิมนัน้ มีความขัดแย้ง กัน ก็แค่นำ� ข่าวไปบอกประเทศมุสลิมเข้าไปจัดการ เมือ่ ก่อนจะต้องลงทุนลงแรงงบประมาณมหาศาล ส่งก�ำลัง ทหารเข้าไปโค่นล้ม สัดดัม ฮุสเซน ส่งก�ำลังทหารเข้าไป โค่นล้ม ฏอลิบนั ในอัฟกานิสถาน ฯลฯ แต่เดียวนีไ้ ม่ตอ้ ง ถ้าอยากจะโค่นล้มรัฐอิสลามรัฐไหน ? ก็เพียงไปหารัฐ ข้างๆ และยุแย่ และตอนนี้ผมคิดว่าประเทศตะวันตก ท�ำงานได้ง่ายขึ้น ตราบใดที่ศัตรูอิสลามเข้มแข็ง ท่าน ไม่ต้องไปดูศัตรูภายนอกหรอกครับ เพราะเราไม่มีทาง ที่จะไปต่อสู้กับพวกเขา ในเมื่อศัตรูภายในเขาเข้มแข็ง และจะจัดการกับเราเอง อันนี้เป็นสิ่งที่ผมอธิบายมา โดยตลอด และเพื่อตรอกย�้ำว่าสิ่งที่น่าเสียใจที่สุดก็คือ ภาพของความเกลียดชังที่มุสลิมเราสร้างกันว่า ถ้าไม่ เป็นมุสลิมสุนนี่หรือชีอะฮ์ เราจะต้องจ�ำกัด และพร้อม ที่จะจับมือศัตรูของศัตรูมาเข่นฆ่ากัน หลักการนี้เป็น หลักการที่เป็นอันตรายและร้ายแรงมาก ถ้ามุสลิมเรา ยังไม่เข้าใจและไม่มานั่งวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และ สิ่งที่ผลเป็นมาโดยตลอดในประเทศไทย สังคมมุสลิม ของเราหลายส่วนก็มคี วามพยายามปลุกระดมซีเรียทาง ด้านการเกลียดชัง จัดการสัมมนา ออกสือ่ พิมพ์หนังสือ ซึ่งผมได้อ่านแล้วก็มีความรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ท�ำการ ปลุกระดมยั่วยุให้เกิดการเกลียดชัง และเป็นการปลุก ระดมบนพื้นฐานที่ไม่เหตุผลอะไรลองรับเลย ? แต่ทว่า ผมจะสามารถเข้าใจได้เพราะว่าผมได้ไปเปิดหูเปิด ตาของโลกมุสลิมภายนอกบ้างพอสมควร และถ้าเรา อ่านหนังสือที่พวกเขาก�ำลังปลุกระดม ถ้าบุคคลใดไม่ คิดใคร่ครวญก็สามารถที่จะปฏิบัติตาม คือมองมุสลิม ด้วยกับการเกลียดชัง ในปัจจุบันนี้ ถ้าเราได้เห็นสื่อว่า ชีอะฮ์ในซีเรีย พวกเราก็เครียดแล้ว ทั้งที่พวกเขาไม่ได้ มาท�ำอะไรให้พวกเรา ทุกวันนี้ในตัวบริบทของความ เข้าใจในโลกอิสลามทางการเมืองมันต้องท�ำการเข้าใจ กับเรือ่ งของชีอะฮ์กบั สุนนีอ่ อกไป และก็มานัง่ พิจารณา ดูว่า การเกิดปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเพราะมันเกิดปัญหา ภายในของเขา หรือ ปัจจัยภายนอกที่เข้าไปแทรกแซง


พวกเขา อย่างซีเรียกระผมคิดว่ามันไม่รุนแรงเหมือน การถามตอบระหว่างนักวิชาการ ผู้ท�ำการอภิปรายกับ เมื่อ 50 ปีก่อนที่ผ่านมา แต่ผมก็ไม่เข้าใจว่า มันเกิด แขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมงาน ปิดงานเวลา 17.30 น. กองก�ำลังต่างๆ อย่างมากมาย และสงครามการเมือง มันเป็นเพราะอะไร ? ถ้าไม่มีต่างชาติตะวันตก แต่ที่ น่าอันตรายที่สุดก็คือ มุสลิมส่งอาวุธให้เข่นฆ่ามุสลิม ซึ่งกันและกัน มุสลิมที่ขายน�้ำมันได้ น�ำเงินที่ขายก็ไป ซื้อาวุธจากตะวันตกเพื่อไปเฆ่นฆ่ามุสลิมด้วยกัน และ มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าก็คือ ปัจจุบันนี้ มุสลิมฆ่ามุสลิม มากกว่าที่ตะวันตกฆ่าพวกเรา ตอนที่โอบามาร์ รอการ โจมตีจากสภาคองเกส ลงมติ และที่ผิดหวังมากที่สุด ก็คือมุสลิมในอ่าวเปอร์เซียบางประเทศพยายามจะให้ ตะวันตกเข้าไปโจมตีมุสลิมด้วยกันเอง ประเทศสันติบาตอาหรับออกแถลงการผิดหวังที่ สหรัฐอเมริกาไม่กล้าที่จะโจมตีซีเรีย คนที่ผิดหวังควร จะเป็นรัฐยิวมากกว่า แต่นี้เป็นการแถลงการจากสันติ บาตอาหรับ อันนี้คือตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน ว่า ศัตรูภายในของอิสลามคือเรือ่ งใหญ่ทจี่ ะต้องจัดการ ก่อนที่เราจะไปต่อว่าศัตรูภายนอกว่า ตะวันตกบ่อน ท�ำลายขบวนการต่อสูข้ องอิสลาม ตราบใดทีข่ บวนการ ของอิสลามยังไม่เลิกมีทศั นะคติผดิ ๆ ทีเ่ ชือ่ มาโดยตลอด ในการแบ่งแยก และมีเป้าหมายให้ใช้สถานที่ในการที่ แตกต่างกัน ปัจจุบันนี้ สื่อหลายสื่อได้พยายามสร้างความ แตกแยกให้กบั บรรดามุสลิมกันเอง แต่ถา้ มุสลิมยังไม่มี การให้พนื้ ทีม่ สุ ลิมกันเอง คุณอย่าไปหวังว่าคนต่างสนิก เขาให้จะพื้นที่คุณ ในประวัติศาสตร์ได้มีในหลายๆ ช่วงหลายตอน ที่ได้หยิบยกขึ้นมา รับใช้วาทะกรรมเพื่อใช้ในการเมือง เพื่อการเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน และกระผมสามารถบอก ได้เลยว่า ถ้าเราเชือ่ ในสือ่ ต่างๆ ในปัจจุบนั แสดงให้เห็น ว่า อิสลามก�ำลังมีอนั ตรายจากสือ่ เหล่านี้ ฉะนัน้ เราต้อง ช่วยกันและมีจุดยืนเดียวกัน รายการสุดท้ายก่อนท�ำการปิดสัมมนาวิขาการ ในวันคล้ายวันประสูติท่านอิมาอะลี อัรริฎอ (อ.) ก็คือ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 115


การสัมมนาวิชาการ เนื่องในวาระคล้ายวันวิลาดัต

อิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) คลังวิชาการ แห่งอะห์ลุลบัยต์

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2556 ณ หอประชุมอันยุมันอิสลาม

ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธาณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพมหานครฯ ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม ได้จัดงานสัมมนาวิชาการ เนื่องในโอกาสคล้ายวันวิ ลาดัต ท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ในหัวข้อเรื่อง “อิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) : คลังวิชาการแห่งอะห์ลุลบัยต์ ขึ้นในวัน อาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2556 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 19.00 น. ณ อาคารส�ำนักอภิธรรม อันยุมันอิสลาม เจริญกรุง กรุงเทพฯ ในงานดังกล่าว ฯพณฯ ฮุเซน กามาลิยอน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำ ประเทศไทย , นายมุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะห์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ , ศาสตราจารย์ ดร. มะห์มดู วาอิซี ทีป่ รึกษาประธานองค์การวัฒนธรรมและเผยแพร่ อิสลาม , สมาชิกสภามหาวิทยาลัยเตหะราน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศฮะรัมมุเฏาะฮัร อิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) , อาจารย์ซารีฟ ศรีเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิจากส�ำนักจุฬาราชมนตรี , เชคมุฮัมมัด นะอีม ประดับญาติ ผู้อ�ำนวย การสถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจับเกี่ยวกับอิสลาม , เชคศอลิฮ์ ภู่มีสุข อิมามญะมาอัตและนักวิชาการฮุซัย นียะห์บากิรุลอุลูม , เชคฮุเซน บินซาเล็ม อิมามญุมอะห์วัลญะมาอัต มัสญิดอิมามอะลี (อ.) และผู้อ�ำนวยการ สถาบันการศึกษาดารุลอิลมุฯ และบรรดาพี่น้องผู้เศรัทธาจากองค์มัสญิดต่างๆ ได้เดินทางเข้าร่วมงานดังกล่าว ก�ำหนดการเริม่ ต้นด้วยการลงทะเบียนส�ำหรับแขกผูม้ เี กียรติ จากนัน้ เป็นพิธเี ปิดประชุมสัมมนา ด้วยการ อัญเชิญอัลกุรอาน โดย นายฏอฮา พุ่มประพันธ์ ต่อด้วยการชมสารคดีวีดีทัศน์เรื่อง “My Twelve Imams” จาก นั้นเป็นการกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ โดย นายมุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะห์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์ 116 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556


วัฒนธรรม ถสานเอกอัครราชทูตสาธาณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ โดยท่านได้กล่าวว่า ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องความสันติจงมีต่อ ท่าน ศาสดามุฮมั มัด (ศ.) ตลอดจนบรรดาชุฮะดา และท่านอิ มามอัลมะฮ์ดี (อ.) และผูน้ ำ� สูงสุดทางด้านจิตวิญญาณ คือ ซัยยิดอะลีคอเมเนอี และแขกผู้เกียรติ โดยเฉพาะ ท่านเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และบรรดาพี่น้องมุสลิมะฮ์ มุสลิม ทุกๆ ท่าน ท่านอิมามอะลี อัรริฏอ (อ.) ได้กล่าวว่า ชีอะฮ์ ของเราคือ ผูท้ ดี่ ำ� รงต่อการพระบัญชาต่างๆ และ ยึดมัน่ ต่อสุนทโรวาท ของท่านนบีมฮุ มั มัด และอะลุลบัยต์ (อ.) ไปด�ำเนินชีวิต และถ้าผู้ใดที่ไม่ปฏิบัติตาม ก็เท่ากับว่า เขาไม่ได้เป็นชีอะฮ์ของพวกเรา ในบรรดาอิมามของเรานั้น ท่านอิมามอะลี อัร ริฏอ (อ.) ท่านเป็นราชาแห่งทางด้านจิตวิญญาณ และ ความลุม่ ลึกทางด้านวิชาการ อุดมการณ์ ความคิด และ การน�ำเสนอต่อเตาฮีด ของเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) และ การโต้ตอบกับบรรดาผูท้ รงคุณวุฒใิ นศาสนิกอืน่ ๆ และ การน�ำเสนอทางวิชาการต่างๆ ในลักษณะเช่นนี้ถือว่า เป็นการน�ำเสนอแบบอย่างที่ดีที่สุด และความบริสุทธิ์ ของการเป็นอัมบิยาที่แท้จริง ซึ่งส่งผลต่อแนวความคิด ของพี่น้องอะลิสุนนะฮ์ เช่นเดียวกัน ท่านอิมามอัรริฏอ ได้ปกป้องสถานภาพการเป็นอิมามัต ในงานมัจญ์ลีส ต่างๆ ที่ท�ำให้บนใบหน้าอันเจิดจรัสของท่านอิมามอะ ลี อัรริฏอ (อ.) ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาเหล่าบรรดา ผู้ทรงคุณวุฒิในส�ำนักคิด และในมัซฮับ ต่างๆ ในสมัยผู้ ปกครองมะมูน เป็นคอลิฟะฮ์ ในยุคสมัยนั้น ได้มีรายงานจากท่าน อิมามญะฟัร อัศศอดิก (อ.) ได้กล่าวว่า “ท่านผู้ใดได้กล่าวแก่บรรดาลูกหลาน ของท่านว่า “นี่คือ อะลี ผู้เป็นอะลิม ของอาลิมุฮัมมัด ฉะนั้นท่านจงถามเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา และสิ่งใด ก็ตามที่ท่านได้รับฟังจากเขา พวกเจ้าก็จงยึดมั่นมันไว้ ท่านอิมามอะลี อัรริฏอ (อ.) ในช่วงการด�ำเนิน ชีวิตของท่านนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วย บะรอกัตของท่าน

โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงเวลายุคของผูป้ กครองมะมูน ท่านไม่ได้อยู่นิ่งเฉย และท่านได้ท�ำให้บรรดามุสลิมได้ มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ท่านได้น�ำเสนอเรื่องราว ของการศรัทธาและเรื่องราวของศาสนา และในด้าน จริยธรรม อารยธรรมทางด้านการเมืองไว้อย่างมากมาย บุ ค คลิ ก และวิ ถี ชี วิ ต ของอิ ม ามริ ฏ อ และบร รดาอิมามของชีอะฮ์ มีอยู่สองด้านด้วยกัน สิ่งหนึ่งก็คือ บุคคลิกภาพทางด้านการกระท�ำและการปฏิบัติ ทาง ด้านวิทยาการความรู้ ด้านจริยธรรม สังคม ฯลฯ ใน ตลอดระยะเวลาการด�ำเนินชีวติ ของท่านอิมามมะอ์ศมู (อ.) เราจะเห็นได้ว่า ท่านได้เผยแพร่ให้เห็นในวิถีชีวิต การด�ำเนินชีวิตของท่านอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการที่จะได้ รับรู้และเข้าใจนี้ได้ จะต้องไม่จ�ำเป็นที่จะต้องท�ำความ เข้าใจอย่างมากมาย และปัญหาที่สับซ้อนในทางด้า นมัซฮับ และบุคคลิกภาพอีกด้านหนึ่งของท่านเหล่า นัน้ ซึง่ ได้รบั ความโปรดปรานจากเอกองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ซึ่งเราจะได้ท�ำความเข้าใจและรู้จักบุคคลิกภาพของบร รดาอะลุลบัยต์ (อ.) จะต้องมีความรู้ ไม่วา่ จะเป็นในด้าน การมีศรัทธา และการจงรักภักดี ความยุติธรรม ต่อ สาสน์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ด้วยเหตุนี้เอง การประสูติของท่านอิมามอะลี อัรริฏอ (อ.) อันเป็นทีม่ าของรัศมีอนั เจิดจรัสทีร่ ม่ เย็นต่อ บรรดาผู้ศรัทธาอันมืดมนอยู่ในยุคนั้น ซึ่งในยุคปัจจุบัน หลังจากที่ได้ผ่านมาแล้วหลายศตวรรษ ความยิ่งใหญ่ ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็ได้ทรงแผ่เมตตามายังยุคของท่า นอิมามอะลี อัรริฏอ (อ.) อีกด้วย ในยุคปัจจุบันจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการ ตื่นตัว และยึดมั่นวิถีทางของบรรดา อะอิมมะฮ์ และบร รดาอะลุลบัยต์ (อ.) และพวกเราจะได้เป็นชีอะฮ์อย่าง แท้จริง และในปัจจุบันเราได้ตระหนักดีแล้วว่า บรรดา ศัตรูของอิสลามก�ำลังมุ่งเป้าไปที่สังคม ศาสนาของ อิสลาม และยังได้ท�ำการคุกครามอยู่เสมอ และท�ำการ โฆษณาชวนเชื่อมดเท็จ และคว�่ำบาตรการโจมตีทาง ด้านทหาร วัฒนธรรม และได้สร้างความแตกแยกให้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 117


กับสังคมมุสลิม ให้การสนับสนุนนิกายต่างๆ ให้มีการ คัดแย้งกันมากขึ้น บรรดามุ ส ลิ ม ที่ มี ค วามมุ ่ ง หวั ง จากการช่ ว ย เหลือจากเอกองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) และบรรดามะฮศูมมีน จะต้องมีการตืน่ ตัวอยูต่ ลอดเวลา มีความมัน่ คง มีความ เป็นภราดรภาพ และยึดมั่นต่อสู้กันแนวทางเพื่อความ มุ่งหวังยังเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และตราบใดก็ตามที่ พระองค์ทรงให้การช่วยเหลือพวกเขา แน่นอนที่สุดก็มิ อาจที่มีผู้ใดจะท�ำการขัดต่อพระบัญชาของพระองค์ได้ และเพื่อที่จะให้การดุอาอ์ของพวกเราได้ถูก ยอมรับจากพระองค์ และด้วยความมุ่งหวังจากการรอ คอยกลับมาของอิมามอัลมะฮ์ดี (อ.) และข้าพเจ้าขอ ขอบคุณต่อคณะผู้จัดงาน ตลอดจนผู้ร่วมงานในครั้งนี้ ด้วยสลามและดุอาอ์ วัสสลามุอะลัยกุมฯ จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การ อบรมเลี้ยงดูทายาทผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ศ.)” โดยอาจารย์ ซ ารี ฟ ศรี เ จริ ญ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ส� ำ นั ก จุฬาราชมนตรี อาจารย์ซารีฟ ศรีเจริญ ได้กล่าว บรรยายว่า : ..... อัสลามมุอะลัยกุมฯ ข้ า พเจ้ า ขอคารวะต่ อ ท่ า นเอกอั ค รราชทู ต และที่ปรึกษา และศาสตราจารย์ ดร. มะฮ์มูด จาก มหาวิทยาลัยเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และเชคศอลิห์ ภูม่ สี ขุ เชคนะอีม ประดับญาติ เชคฮุเซน บินสาเล็ม และบรรดาผู้มีเกียรติทุกๆ ท่าน บรรยากาศพบปะสังสรรค์ กันในสถานทีห่ รือที่ เรียกว่า มัจญ์ลสิ หรือสถานทีใ่ ห้ความรู้ ซึง่ ถือว่าเป็นไป ตามพระประสงค์ของเอกองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ) หากว่าพวก ท่านได้ติดตามงานการรับเชิญของผม ในเวทีต่างๆ ผม ก็เป็นคนหนึง่ ทีไ่ ด้รบั เชิญและมักจะตอบสนองในส่วนที่ สามารถจะกระท�ำได้ ผมไม่ได้กลัว ไม่ได้หวัน่ วิตกในข้อ หาใดๆ ทั้งสิ้น พีน่ อ้ งทัง้ หลายครับ เราได้พดู กันถึงเรือ่ งบุคคล

118 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

และประวัติศาสตร์ ทายาทท่านนบีมุฮัมมัด (ศ.) ถ้าเรา พูดถึงบุคคลท่านเหล่านี้ เราเรียกว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และ เป็นผูท้ เี่ ป็นแบบอย่าง เด็กในบรรดาเหล่านัน้ ต้องกล่าว ถึง ก็คือ อิมามอะลี อัรริฏอ (อ.) ค�ำว่า อัรริฏอ นั้น หมายความว่า พอใจ การยินยอม ค�ำว่า รีฏอ นัน้ คือ เป็น ผูท้ มี่ เี กียรติสงู สุด และยอมรับ ในบทบัญญัตขิ องเอกอง ค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ไม่วา่ สิง่ ใดก็ตามทีพ่ ระองค์ทรงบัญญัติ และที่พระองค์ทรงห้าม และตรงนี้ ที่ทุกวันไปนมาซวัน ศุกร์ ของพี่น้องอะลิสุนนะฮ วัลญะมาอะฮ์ ก็จะมีค�ำ ว่า ย�ำเกรง กลัวเกรง คือการยอมรับในการบัญชาของ พระองค์ว่า อะไรกระท�ำได้ และอะไรท�ำไม่ได้ และต้อง ยอมจ�ำนนต่อเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ. เพียงอย่างเดียว มุสลิมเราเองนั้นจะต้องท�ำการบ้าน จะต้อง ตอบโจกย์ อยู่สองอย่าง ก็คือ อันที่หนึ่งเราจะต้องดูว่า ศาสนาอิสลามนัน้ ได้กำ� หนดให้เราปฏิบตั อิ ะไรบ้าง ? ถ้า บุคคลที่ตอบโจกย์อันนี้ได้แสดงว่า นมาซ ก็ท�ำ ศีลอดก็ ปฏิบตั ิ การท�ำฮัจญ์กไ็ ป เรือ่ งซะกาตก็จา่ ย บุคคลเหล่า นีย้ งั ถือว่ายังไม่สมบูรณ์แบบของมุสลิม มันต้องตอบโจก ย์อีกข้อหนึ่ง ก็คือ ต้องห่างไกลจากที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงห้าม มันหมายความว่า มันต้องตอบโจกย์ ให้ได้ บางคนไปนึกว่า คนนีน้ มาซครบ คนนีถ้ อื ศีลอดทุก ปี ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันเขาทุจริต คอรัปชั่น พูดปลด และชอบนินทาชาวบ้าน ในกรณีนี้เขาได้เพียงข้อเดียว แสดงว่าเขาน�ำศาสนาเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นเอง เพราะ ฉะนั้น คนที่เป็นมุสลิมจะต้องท�ำโจกย์สองข้อนี้ให้ได้ เขาจึงจะเรียกว่า ตักวา บางทีเราก็เข้าใจว่า ย�ำเกรง ฯ บางคนก็กลัวเหมือนกลัวผี มันไม่ใช่ครับ ? ฉะนั้ น ถ้ า เราพู ด ถึ ง เรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ บุ ค คล ส�ำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ หลายคนก็เรียนรู้เพียง แต่ว่า ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ.) เกิดเมื่อไร เดือนอะไร ปี ไหน เสร็จเรียบร้อยแล้ว เมือ อายุ 25 ท�ำอะไร 35 ปี เกิดอะไรขึ้น ท�ำอะไร 40 ท่านท�ำอะไร และประกาศ ศาสนาที่นคร มะดีนะฮ์ และหลังจากนั้นท่านก็ได้เป็น วะฝาต ฯลฯ


การเรียนประวัติศาสตร์อิสลามเพียงแค่นี้มัน ไม่ได้ก่อประโยชน์อะไร ? มันไม่เกิดปัญญาความรู้ เรา เรียนศาสนาเรียนประวัติศาสตร์เราจะต้องเรียนสอง อย่าง การจะเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ของท่านอิมามอะลี อัร ริฏอ (อ.) ก็เช่นกันครับ จะต้องเรียนรู้ว่า ท่านท�ำอะไรไว้ ? งานของท่านท�ำอะไร ? ในชีวิตของท่านได้ท�ำอะไร ใน เชิงวิชาการบ้าง ? ท่านเป็นหนึ่งในอะลิลบัยต์ (อ.) ที่มี ความเชี่ยวชาญ ในทางด้านความรู้ ท่านอยู่ในสามคอ ลิฟะฮ์ ที่ข้าพเจ้าได้ศึกษามา หนึ่งท่านฮารูน รอชีด อะ มีน มะมูด ซึง่ ล้วนแล้วทีท่ า่ นได้ดำ� รงอยูต่ รงนัน้ อย่างมี คุณค่าในความเป็นทายาทของท่านนบี (ศ.) แม้กระทั้ง ท่านได้ถูกกระท�ำจากคนทั้งหลายในยุคนั้นก็ตาม แต่ ท่านยืนอยู่ในความเป็นทายาทอย่างมีศักดิ์มีศรี ผมจึง อยากจะให้พวกท่านได้เรียนรู้ว่าท่านได้ท�ำอะไร ? และ ท�ำอะไรไว้เป็นแบบอย่าง ? ท่านด�ำรงชีวิตที่เป็นแบบ อย่างของประชาชนอย่างไร ? และตัวอย่างที่ดีท่านได้ ท�ำอะไร ? และเมือ่ เราได้เรียนรูแ้ ล้วเราต้องน�ำมาปฏิบตั ิ ผมเชื่อแน่ในการจัดงานในวันนี้ เพื่อระลึกถึงผู้ บริสุทธิ์ทายาทของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ.) และยากจะให้ พวกท่านได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ของท่านในเชิงที่ว่า ท่านได้ท�ำอะไรมาบ้าง ท่านปฏิบัติตนอย่างไร ? และ เป็นประโยชน์มนุษย์อย่างไร ? เป็นประโยชน์ศาสนา อิสลามอย่างไร ? และพวกเราก็จะได้น�ำสิ่งเหล่านั้นมา ใช้กบั ชีวติ ประจ�ำวัน เวลานีเ้ รานับถือศาสนา บางคนใน สังคมเรามองมติในศาสนาของเราว่า ศาสนาเป็นของ ที่สูงส่ง ศาสนาเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มากระทบไม่ได้ จับ ต้องไม่ได้ ศาสนาเลยไกลจากความรูส้ กึ ของพวกเรา ยิง่ ไปดูฝ่ายการเมือง หรือ ฝ่ายราชการนั้น พอพูดถึงเรื่อง ศาสนา ไม่กล้าทีจ่ ะกระทบเพราะมันเป็นเรือ่ งทีล่ ะเอียด อ่อน จนประชากรไทยเราจึงไม่ค่อยไปพูดเรื่องของ ศาสนา และห่างไกลออกจากศาสนา และได้นำ� ศาสนา ไว้บนหิง้ เพียงอย่างเดียวเท่านัน้ เอง แต่ไม่ได้นำ� ศาสนา มาใช้กับชีวิตประจ�ำวัน ทั้งๆ ที่อิสลามนั้นเป็นวิถีชีวิต และเป็นแบบอย่าง

ผมจะน�ำเสนอบางส่วน ในการที่เราจะได้ดูแล ผู้ บริสทุ ธิ์ เอาแบบอย่างทีเ่ อกองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) นัน้ เวลา เราจะเอาแบบอย่างแบบใครนั้น ? เราจะต้องดูด้วยว่า “ในบรรดาศาสนทูตของอัลลอฮ์นั้นย่อมเป็นแบบฉบับ ที่ดีงาม” ดังนั้นเวลาเราจะดูอะไร ? เราเป็นหมอ เรา เป็นพ่อ เราเป็นลูกศิษย์ เราเป็นครู ? ดูได้จากท่านนบี มุฮัมมัด (ศ.) บางคนรู้ว่า ท่านนั้นเป็นบรมครู แต่เคยรู้ ไหมว่า ท่านนบีได้เคยเป็นลูกศิษย์ใครบ้าง ? แน่นอน ! พระองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) บอกท่านศาสดา (ศ.) นัน้ มีแบบ อย่างทุกประการ เราก็ตอ้ งพยายามสืบให้ได้วา่ ท่านได้ เคยเป็นลูกศิษย์ใคร ท่านไม่ใช่เป็นครูเพียงอย่างเดียว ท่านเป็นลูกศิษย์ ญิบรออีล (อ.) ท่านญิบรออีล เป็นผู้ สอน อิกเราะฮ์ แปลว่า ท่านศาสดา (ศ.) นั้น ได้รับเสียง ผ่านมาจากญิบรออีล (อ.) “จงกล่าว จงกล่าว นัน้ แสดง ให้เห็นว่า ญิบรออีล นั้นเป็นครูของท่านศาสดา (ศ.) ใช่ ไหม ? และท่านนบีกไ็ ด้กล่าวตอบ .... และได้นำ� โองการ ของเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) มาเผยแพร่แก่มนุษยชาติ พอถึงเวลาเดือนรอมฏอน พวกเราได้มีการทบ ทวนอัลกุรอานกับครู เราลองมาดูทา่ นศาสดา (ศ.) ท่าน มีมารยาทอย่างไร นั่นเป็นตัวอย่างที่ดี ฉะนั้นตรงนั้น บรรดาลูกศิษย์ต้องน�ำมาเป็นแบบอย่าง ในเมื่อตอน ที่ท่านฮิจเราะฮ์เมะราด ญิบรออีล บอกให้นมาซ 2 รอ เกาะอัต ท่านก็ท�ำตาม ท่านไม่ได้ถามสักค�ำว่า ท�ำไม ? นั่นคือมารยาทของลูกศิษย์ที่มีต่อครูบาอาจารย์ พอ ท่านศาสดา (ศ.) ลงมาแล้ว ท่านจึงค่อยถามถึงเหตุผล ต่อมาพวกเรามาดูถึงในขณะที่ท่านศาสดา (ศ.) ได้มีทายาทที่บริสุทธิ์ เด็กทั้งหมดที่เกิดใหม่ เป็นเด็กที่ มีความบริสุทธิ์ยอมรับในอิสลามโดยปริยาย ที่เอกองค์ องค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงได้กำ� หนด ถ้าพูดอย่างนีแ้ ล้ว ลูก ของต่างศาสนา (กาเฟ้ร) และมุสลิมจะท�ำอย่างไร ? และ ก็มีรายงานมาบอกว่า ลูกที่เกิดจากที่พ่อแม่เป็นมุสลิม ในขณะที่ลูกได้จากไปในขณะที่ยังเล็กอยู่ และแน่นอน ที่สุด และพวกเขาได้เสียชีวิตไปในตอนยังเด็กนั้น พวก เขาจะอยู่ในบนภูเขาลูกหนึ่งในสรวงสวรรค์ คนที่เลี้ยง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 119


ดูเด็กๆ เหล่านี้คือ นบีอิบรอฮีม (อ.) กับท่านหญิงซา เราะฮ์ และพอถึงวันกิยามะฮ์ทา่ นทัง้ สองก็จะมอบเด็กๆ ทั้งหมดคืนให้แก่พอแม่ของตน และลูกที่ไม่ใช่มุสลิม ก็ มีรายงานอีกเช่นเดียวกัน ก็อยู่ในสวรรค์เช่นเดียวกัน แต่จะอยู่ในลักษณะที่ต้องรับใช้ชาวสวรรค์ ไม่ได้อยู่ใน ฐานะที่นบีอิบรอฮีมและท่านหญิงซาเราะฮ์ ที่ได้เลี้ยงดู ดังนั้นจึงท�ำความเข้าใจพี่น้องว่า “เด็กที่เกิดใหม่ นัน้ ย่อมบริสทุ ธิ”์ มันอยูท่ บี่ ดิ ามารดาของแต่ละคนทีเ่ ขา จะเลี้ยงดูให้เป็น คริสต์ ยิว มะยูสี มุสลิม ฯลฯ แต่เวลา นี้เราก�ำลัง ดังนั้นแล้ว เด็กทุกๆ คนที่เกิดมานั้นย่อมมี ความบริสุทธิ์ นั่นเอง เวลานี้เราก�ำลังท�ำให้เด็กได้แปะเปื้อนกับลูก หลานของเรา ทัง้ ๆ ทีเ่ ขาเกิดมาโดยความบริสทุ ธิ์ เพราะ ท่านศาสดา (ศ.) ท่านให้ความส�ำคัญกับเด็กที่อยู่ใน ครรภ์ แม้ยังไม่ก�ำเนิดมากก็ตาม ท่านได้ปรึกษาประวัติศาสตร์ของท่านนบี (ศ.) เมื่อตอนใกล้ที่จะอพยพจากนครมักกะฮ์ มาสู่ มะดี นะฮ์ เมื่อตอนที่ท่านนบีเสียท่านหญิงคอดีญะอ์ ภรรยา ของท่านและ อะบู ฏอลิบ ซึง่ เป็นบุคคลทีช่ ว่ ยเหลือท่าน ศาสดา (ศ.) มาตัง้ แต่ตน้ และทัง้ สองเมือ่ ได้เสียชีวติ ในปี นัน้ เราเรียกว่าเป็น “ปีแห่งความเสียใจ” ท่านนบีมคี วาม เสียใจเป็นอย่างมาก ท่านศาสดาก็พยายามทีจ่ ะออกไป เผยแพร่ เพราะตอนนั้นชาวมักกะฮ์พยายามกลั่นแกล้ง ท่านนบี (ศ.) เป็นอย่างมาก และท่านนบีก็เดินไปที่ฏ ออีฟ นั้นอยู่ห่างจากมักกะฮ์ ประมาณ 70-80 กิโลเมตร มันเป็นภูเขา และท่านก็ได้ทำ� การเผยแพร่จนท่านได้รับ การทรมานจากการถูกกลัน่ แกล้งไม่วา่ จะเป็นเด็กๆ หรือ ผูใ้ หญ่ ได้ปาก้อนหินท่านนบี และท่านได้รบั การทรมาน จนในที่สุด ท่านมะลาอิกะฮ์ที่ได้ดูแลภูเขาอยู่กลางทาง ก็ถามท่านนบี (ศ.) ว่า ท่านต้องการที่จะก�ำจัดคนที่ ท�ำร้ายกับท่านไหม ? แต่ท่านนบีกล่าวตอบไปว่า “ฉัน ไม่ต้องการที่จะท�ำร้ายเด็กๆ เหล่านั้น” แต่ฉันต้องการ ที่จะให้เด็กที่ก�ำลังคลอดออกมาจากที่เป็นคนเลว ได้ กราบไหว้ต่อเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ท่านไม่ต้องการที่

120 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

จะท�ำลายล้างประชาชาติของท่าน แต่ท่านต้องการที่ อยากจะให้คนเหล่านี้แม้แต่จะท�ำผิดพลาดไปแล้ว แต่ เพียงขอให้แต่ลูกหลานเขาที่ท�ำความผิดไปแล้ว แต่ขอ ให้เขาได้กลับเนื้อกลับตัว และกราบไหว้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั้นแสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดา (ศ.) ให้ความส�ำคัญต่อ เด็กๆ แม้ถงึ จะไม่ออกจากครรภ์มารดามาก็ตาม และใน ครัง้ หนึง่ ได้มหี ญิงได้ทำ� การผิดประเวณี และเกิดการตัง้ ครรภ์มาสารภาพของท่านศาสดา (ศ.) แต่ท่านศาสดา ไม่ได้ท�ำโทษอะไร แต่ท่านได้สงสารเด็กที่อยู่ในครรภ์ เพราะเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้กระทั่งหญิงที่อย่าขาดไป แล้วถึง 3 ครั้ง และได้ตั้งครรภ์ขึ้นมา มันจ�ำเป็นส�ำหรับ บิดาทีจ่ ะต้องรับผิดชอบ และนีค่ อื อิสลาม ถือว่าเด็กนัน้ ส�ำคัญมากแค่ไหน ? และเรามาดูประวัติศาสตร์ ว่าท่านศาสดา มีลูก แต่ก็ต้องเสียชีวิตไปในเยาวัย มีบุตรสาวที่เป็นเรื่องลือ ของท่านและมีบทบาทส�ำคัญในการปกป้องอิสลาม นั่นคือนาม ฟาฏิมะฮ์ (อ.) และเป็นบุคคลที่ท่านศาสดา (ศ.) ได้เรียกเข้ามาหา เมื่อตอนที่ท่านใกล้จะจากโลกนี้ ไป มากระซิบบอกและเป็นอะลิลบัยต์ (อ.) คนเดียว ทีไ่ ด้ ติดตามท่านศาสดา (ศ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มีบุตร ชาย 2 ท่าน คือ อิมามฮะซัน และอิมามฮุเซน (อ.) ท่าน ศาสดานั้นได้เอาใจใส่ต่อหลานทั้งสองท่านนี้มากกว่า บิดาเสียอีก ลูกนั้นขี่คอยังไม่ได้เลย แต่ท�ำไมหลานจึงขี่ คอได้ แม้กระทั่งศาสดานมาซ และลงสุญูด (ก้ม) และ เวลาเดินไปไหนๆ ก็พาหลานทั้งสองนี้ไปด้วยอยู่เสมอๆ และได้มเี หตุการณ์หนึง่ ทีท่ า่ นศาสดาได้นำ� หลานไปเดิน เล่นในตลาด หลานฮะซันได้หายไป ท่านศาสดา สั่งให้ ศอฮาบะฮ์ ไปตามหาให้ทวั่ ทัง้ บริเวณ จนปรากฏว่า ได้ หาพบ และท่านศาสดาได้ยกมือดุอาอ์ ว่า “ท่านศาสดา นั้นรักฮะซัน (อ.) หมายความว่า ยืนยัน ว่า ท่านนั้นรัก ฮะซัน และถ้าใครรักรอซูล ก็ต้องรักฮะซัน ด้วย และ ยังมีเหตุการณ์หนึ่ง ท่านศาสดาได้นมาซวันศุกร์และ ได้ท�ำการอ่านคุฏบะอ์ และได้เห็นหลานฮะซัน และฮุ เซน เดินเข้ามา ท่านต้องหยุดและเดินลงไปอุ้มหลาน


ทั้งสองมา ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดา (ศ.) ท่าน เป็นผู้ดูแลหลานด้วยตนเอง และได้สอนให้กับบรรดา ประชาชาติของท่านให้เข้าใจว่า เด็กนัน้ บริสทุ ธิ์ เมือ่ เด็ก บริสุทธิ์แล้ว ท่านสังเกตุมีศาสนาใดๆ บ้างที่สามารถ จะให้ความรู้เรื่องศาสนาตั้งแต่วันแรกเกิดของเด็ก ไม่มี นอกจากอิสลามเท่านั้น อย่างเช่น พอเด็กเกิดมาต้องก ล่าวอะซานที่หูข้างขวา และอิกอมะฮ์ที่หูข้างซ้าย และ เราขอถามว่า อะซาน กับ อิกะมะฮ์ นัน้ คืออะไร ? มันคือ การปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ มุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮ์” เมื่อสมัยก่อนคน บางคนบอกว่าอิสลามหล้าสมัย ไปสอนเด็กไม่รู้เรื่อง ? เด็กไม่สามารถจะตอบโต้ได้ ? แต่ ณ ปัจจุบันในวงการ แพทย์และวิทยาศาสตร์ยอมรับว่า เด็กที่อยู่ในครรภ์ก็ สามารถที่จะรับรู้ได้จากมารดาที่ไดด้กระท�ำทุกๆ อย่าง และในปั จ จุ บั น นี้ ถ้ า โลกเราได้ มี ก ารพั ฒ นา วิทยาศาสตร์ไปมากยิ่งเท่าไร ? ความเป็นสัจธรรม ยิ่ง มากขึ้ น เท่ า นั้ น ฉะนั้ น เวลานี้ พ วกเขาพยายามที่ จ ะ ท�ำการต่อต้านอิสลาม และกีดกันทุกสิง่ ทุกอย่าง ส�ำนัก วาติกันได้แถลงว่าเมื่อสองปีที่ผ่านมา เราไม่สามารถ ที่จะรวบรวมประชากรศาสนาคริสต์ได้ แต่เราจะต้อง มีสองอย่างที่สุดในโลกคือ โรงเรียน และโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันนี้ อิสลามเขาน�ำหน้าพวกเราไปแล้ว” ใน โลกใบนี้และในขณะนี้ มุสลิมนั้นเป็นอันดับหนึ่ง ยิ่งต่อ ต้านอิสลามมากเท่าไร ? อิสลามก็ยงิ่ เพิม่ จ�ำนวนมากขึน้ ตอนในยุโรปและอเมริกา มีอิสลามมากขึ้น จริงๆ แล้วในเรื่องของบ่มเพาะทายาทผู้บริสุทธิ์ ซึ่งได้จากค�ำสอน และจากการปฏิบัติของท่านศาสดา (ศ.) หลายๆ ประการ แต่ผมต้องการที่จะเราทั้งหลาย นั้นได้รับฟังประวัติศาสตร์ และขอให้เราได้เปิดรับมิติ ศาสนาให้มีใจ นิสัยทรรศกว้างออกไป พลังของเรา มันจึงจะเกิดขึ้น สิ่งที่เราไม่สามารถจะเดินไปได้อย่าง คล่องตัวเพราะมันมีหลายๆ ส่วนที่คอยชุดกระชากกัน อยู่ภายใน เราจึงเดินไปข้างหน้าได้ช้า เพราะเราไม่ได้ เดินไปด้วยกัน และจึงอยากจะให้พี่น้องทั้งหลาย ได้

มองเรือ่ งศาสนามองไปข้างหน้า อย่าได้เผยแพร่ศาสนา เฉพาะกลุม่ ของพวกเรากันเอง เวลานีเ้ ราเหมือนกบทีอ่ ยู่ ในกะลา เรามีสื่อมากมาย โอกาสมีมาก แต่ใช้สื่อเหล่า นัน้ มาย�ำ่ ยีพวกเรากันเอง โดยไม่ได้คำ� นึงถึงคนทีไ่ ม่เป็น มุสลิม การเผยแพร่ศาสนานั้นผิดหลัก การเผยแพร่นั้น ต้องเผยแพร่กับคนที่ไม่รู้ได้รู้ ? ให้คนที่ไม่เป็นมุสลิมมา เป็นมุสลิม แต่เวลานีเ้ ราเผยแพร่ให้คนมุสลิมมาขัดแย้ง กัน และให้แตกแยกกัน บางกลุ่มก็ประกาศว่า นี่ไม่ใช่ นั่นไม่ใช่มุสลิม ? ผมคิดว่านี้คือภัยอันหนึ่ง แต่มันไม่ใช่ เกิดขึ้นจากภายนอก ผมมีความหนักใจในฐานะของ คนที่เป็นคนหนึ่งในวงล้อของมุสลิม แต่ก็จะพยายาม ให้รู้ว่า เราต้องเดินหน้าต่อไป มันอาจจะแต่งตัวไม่สวน ไม่เหมือนเรา แต่เราจะต้องถามว่า เขาไปไหน ? เขา ไปหาอัลลอฮ์ (ซ.บ.) หรือเปล่า ? เขาไปหาท่านนบี (ศ.) หรือเปล่า ? ถ้าพวกเขาไปเราก็ไปทางเดียวกันได้ แต่ พวกเราไม่ได้ถามเขาเลย ? อย่างนี้เป็นต้น สังคมของพวกเราในเวลานี้ มันเป็นโอกาสที่จะ เผยแพร่ดีที่สุด แต่ท�ำไมผมจึงคิดเช่นนี้ เพราะยิ่งเกิด เรือ่ งในประเทศมุสลิมของพวกรา เขาจะถามว่าอิสลาม ท�ำไมถึงเป็นเช่นนี้ ? และนี่เป็นโอกาสของพวกเราที่จะ เผยแพร่ ประเทศอียิปต์ ซีเรีย ฯลฯ เป็นอย่างไร ? เรา ต้องเข้าใจว่าซีเรียก็เป็นมุสลิม เราต้องศึกษาและให้ ค�ำตอบ เราไม่จ�ำเป็นจะต้องไปให้เขา แต่เวลานี้เขา ต้องการความรู้จากเรา แต่พวกเราไม่มีความรู้ที่จะไป ให้พวกเขาได้เลย มั่วแต่มาใส่ร้ายป้ายสีซึ่งกันและกัน ผมพยายามจะบอกว่า สิ่งเหล่านี้มันไม่เป็นประโยชน์ และจะท�ำอย่างไรให้อสิ ลามนัน้ มีสาระมากยิง่ ขึน้ คนที่ จะเป็นนักเผยแพร่อสิ ลามนัน้ จ�ำเป็นจะต้องมีความรูว้ า่ หลักการ เป็นอย่างไร ? และในวันนี้เรามาจัดงานให้กับ ท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) เราจะต้องศึกษาว่าท่านนัน้ ได้ท�ำอะไร ? ปฏิบัติตน อย่างไรเพื่อที่จะให้อิสลามของ เรานั้นอยู่ได้อย่างมีศักดิ์มีศรี วัสลามุอะลัยกุมฯ จากนั้นก็เป็นการบรรยายพิเศษ โดย ฯพณฯ ฮุ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 121


เซน กามาลิยอน เอกอัครราชทูตสาธาณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน ประจ�ำประเทศไทย ฯพณฯ เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้กล่าวบรรยายว่า : ด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตา กรุณาปรานี ยิ่งเสมอ ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณ มุศฏอฟา นัจ ญาริยอน ซอเดะห์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมงาน ของสถาบันอันยุมมันอิสลาม ที่ได้ท�ำการจัดมัจญ์ลิส ขึ้น และหวังว่ าเราจะน�ำเราท่าน ความเมตตาและ ความโปรดปรานนี้ ที่พระองค์ได้ทรงประทานให้กับเรา ในมัจญ์ลิส ในลักษณะเช่นนี้ ได้รับประโยชน์จากการ สัมมนาในครั้งนี้ อย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าขอให้พวกท่านได้ตระหนักถึงในวิถีชีวิต ของท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) และวิถีชีวิตของท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ศ.) และบรรดามะอ์ศูมีน (อ.) ต้อง ให้ความชัดเจนและกระจ่างในการด�ำเนินชีวิตในยุค ปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่เราได้ประจักษ์ของท่านอิมามริฎอ (อ.) ของเราควบคู่ไปกับภาระหน้าที่อันหนักอึ้งของ บรรดาพวกท่านเหล่านัน้ โดยการปกป้องและได้เผยแพร่ สาสน์แห่งอิมามัต และการควบคูภ่ าระกิจอันหนึง่ นีก้ ค็ อื การให้ความสนใจ เกีย่ วกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ เกิดขึ้นในยุคสมัยของท่าน ในบทซิยาเราะฮ์ กะบีเราะฮ์ ก็ได้ชี้ให้เห็นถึง ประเด็นนี้ไว้อย่างได้ชัดว่า พวกท่านเหล่านั้น เป็นผู้ที่ ด�ำรงต�ำแหน่งอิมามัตที่เป็นศอฮิบ และเป็นผู้แห่งคลัง ความดีงามทั้งหมด พวกท่านเป็นผู้ที่คุมบังเหียนการ ปกครอง และรู้ในสถานการณ์ทางการเมืองในสังคม ของมุสลิม ในหน้าประวัตศาสตร์อสิ ลามได้ชใี้ ห้เห็นอย่างได้ ชัดเจนถึงบทบาททีส่ ำ� คัญของพวกท่านเหล่านัน้ เราจะ เห็นได้วา่ เมือ่ เกิดสถานการณ์ทางการเมือง ไม่เพียงแต่ บรรดาพวกท่านเหล่านั้นจะอยู่นิ่งเฉย แต่บรรดาท่าน เหล่านัน้ มีจดุ ยืนทีช่ ดั เจนในการน�ำเสนออุดมการณ์ของ ท่านเหล่านัน้ หรือแม้กระทัง่ สถานการณ์ตา่ งๆ มันได้เลว

122 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ร้าย จนกระทั่งต้องยืนหยัดจุดยืนอันสัจธรรมของพวก ท่านก็ยอมที่จะเสียสละทั้งทรัพย์สินและชีวิตของพวก ท่านเพือ่ ทีจ่ ะมอบให้อดุ มการณ์และจุดยืนของพวกท่าน ท่ า นศาสดามุ ฮั ม มั ด (ศ.) ได้ ท� ำ สงครามกั บ เหล่าบรรดามุชรีกีน อย่างมากมาย ท่านได้มีความ อดทนต่อความยากล�ำบากในหลายครั้งหลายครา จน ท่านสามารถที่จะจัดตั้งรัฐแห่งเอกานุภาพของเอกอง ค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ขึ้น และในยุคของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็เช่นเดียวกัน ท่านได้ด�ำเนินวิถีชีวิตของท่านศาสดา (ศ.) ในการต่อสู้กับบรรดาผู้ที่ท�ำลายอิสลามในสมัย ของมุอาวียะฮ์อย่างชัดเจน และท่านก็ได้ต่อสู้ต่อความ ยากล�ำบากมากมายจนท่านได้รับความโปรดปรานจา กอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ในการเป็นชะฮีด ต่อมาในยุคของท่า นอิมามฮะซัน (อ.) ที่มีความสลับซับซ้อนในยุคสมัยนั้น ท่านได้เซนสนธิสญ ั ญาสงบศึกกับมุอาวิยะฮ์ เพือ่ ท�ำการ ปกป้องสังคมอิสลามให้ปลอดภัยต่างๆ ได้ และต่อมา ในยุคของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ในเหตุการณ์กัรบาลา ที่ได้เกิดขึ้น เหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงจุดยืนของ ท่านอย่างชัดเจน ในการยืนหยัดต่อสู้กับการปกครอง ของยะซีด ในยุคนัน้ จนท่านได้เสียสละบรรดาครอบครัว และตัวของท่านเอง และทุกๆ อย่างในหนทางของเอกอง ค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ท่านอิมามสัจญาด (อ.) อิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) อิมามศอดิก (อ.) อิมามกอซิม (อ.) ในสมัยของ บรรดาอิมามทั้งหมดก็แสดงให้เห็นถึงจุดยืนในความ เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไว้อย่างชัดเจนต่อสังคมอิสลาม ว่าแนวที่ถูกต้องนั้น คืออะไร ? ในยุคของท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ก็เช่น เดียวกัน ได้มีการยอมรับและกล่าวถึงในต�ำแหน่ง กษัตริย์ที่มะอ์มูนได้มอบให้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ท่านอิมา มอะลี อัรริฎอ (อ.) เข้าใจและได้ตระหนักถึงสถานการณ์ ทางการเมืองในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี จุดยืนทางด้าน การเมื อ งของเราที่ ไ ด้ แ สดงและชี้ ใ ห้ เ ห็ น หากเราได้


ตระหนักและพิจารณาอย่างละเอียด และเราจะเห็นได้ ว่า บรรดาอิมาม (อ.) ของพวกเรา ได้ทำ� การต่อสูท้ างการ เมืองจนบรรดาท่านเหล่านัน้ จะต้องจ�ำคุกหรือไม่วา่ ก็ถกู ท�ำร้ายทรมานอย่างมากมาย ซึ่งไม่มีอิมาม (อ.) ท่าน ใดได้เสียชีวิตอย่างปกติธรรมชาติ ถ้าไม่ถูกวางยาพิษ ก็ถูกสังหาร ดังนั้นพวกเราที่ยึดมั่นและได้ปฏิบัติตาม แนวทางของบรรดาอะอิมมะฮ์ มะอ์ศูมีน (อ.) ของเรา ที่พวกท่านได้เข้าใจและรู้ถึงสถานการณ์ทางการเมือง ทางสังคม และพวกท่านก็มบี ทบาทและมีจดุ ยืนอย่างที่ ชัดเจน เราในฐานทีเ่ ป็นชีอะฮ์ ของท่านก็จะต้องมีจดุ ยืน ชัดเจนและก็น�ำเสนอศาสตร์อันนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ประเด็นที่สอง หากภาระหน้าที่นี้เป็นหน้าที่ของ บรรดามุสลิมทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องสุนนะฮ์หรือ ชีอะฮ์ ก็จะต้องตระหนักถึงอีกสองประเด็นทีส่ ำ� คัญยิง่ นี้ ประเด็นแรกก็คือ บรรดามุสลิมทั้งหมดจะต้อง ถือว่าเป็นภาระหน้าทีท่ างศาสนาถึงความเข้าใจในทาง ศาสนาที่มีการเปลี่ยนแปลงของโลก และความเป็นอยู่ ของบรรดามุสลิมพวกเราทั่วโลก ในยุ ค ปั จ จุ บั น โลกได้ พั ฒ นาเจริ ญ ก้ า วหน้ า ทางด้านสื่อสาร เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้จาก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเด็นทีส่ องการรูข้ า่ วสารนัน้ มันไม่เพียงพอ ถ้า หากพวกเราได้ฟังข่าวสารในเวปไซด์ต่างๆ ในการน�ำ เสนอข่าวนัน้ มีหลากหลายในบางครัง้ เหตุการ์ณเดียวที่ เกิดขึ้น มีการน�ำเสนอข่าวออกไปอย่างมากมาย ฉะนั้น การรูข้ า่ วเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เราจะต้องรูจ้ กั การ วิเคราะห์ข่าวให้ถูกต้องอีกด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า บรรดาสื่อต่างๆ เหล่านั้นส่วนมากไม่ใช่สื่อของมุสลิม มันน้อยมากที่เป็นสื่อของพวกเรา ฉะนั้นพวกเราจะต้องมีความระมัดระวังในการ วิเคราะห์ข่าว เราจะมาดูข่าวในยุคปัจจุบัน เมื่อเราได้ รับฟังแล้วมันเป็นสิ่งที่น่าขัน อย่างเช่น บรรดามุสลิม ในประเทศต่างๆ ของอิสลามนั้นมีการรบลาฆ่าฟันกัน ซึ่งรูปการน�ำเสนออย่างนั้นมันท�ำให้โลกมุสลิมเสื่อม

เสียในการให้ข่าวในลักษณะเช่นนี้ ? พวกเขามีเป้า หมายที่ชัดเจนเฉพาะเจาะจงอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะต้อง ระมัดระวังในวิเคราะห์ข่าวให้ถูกต้อง ประเด็นที่สาม ในยุคปัจจุบันเป็นสถานการณ์ที่ พิเศษในโลกของอิสลาม ไม่วา่ จะเป็น ในอียปิ ต์ บาห์เรน ลิเบีย ฟิลิปปินส์ ปาเลสไตน์ ฯลฯ ในประเทศของ มุสลิม ก�ำลังจะมีการเปลีย่ นแปลงส�ำคัญๆ ในหน้าเป็น ประวัตศิ าสตร์ของโลกอิสลาม และพวกเราจะต้องเข้าใจ ว่า รากฐานของการเปลี่ยนแปลงในโลกอิสลามนั้นมี ที่มาของความเป็นอิสลาม และข้าพเจ้าได้มีหลักฐาน ชี้ให้เห็นถึงความเป็นอิสลามในการเปลี่ยนแปลงของ โลกอิสลามที่ก�ำลังเกิดขึ้น เพราะเหล่าบรรดาศัตรูของ อิสลามพยายามใช้ชื่อต่างๆ มากมายต่อสถานการณ์ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในโลกอิสลาม บางก็กล่าวว่าเป็น ฤดูใบไม้ผลิส�ำหรับโลกอาหรับ เป็นขบวนการต่อสู้ของ โลกอาหรับ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สถานการณ์ทเี่ กิด ขึ้นในโลกอิสลามนั้น มันเป็นการตื่นตัวของโลกอิสลาม ข้าพเจ้าก็ไม่ได้ต่อต้านและการคัดคร้านที่พวก คุณอาจจะเรียก หรือปฏิเสธว่าบรรดาศัตรูจะตัง้ ชือ่ อะไร ก็แล้วแต่ ? แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถจะปฏิเสธได้ก็คือ แก่นแท้และความเป็นอิสลามที่อยู่ในนั้น เหตุผลในนั้นเราจะเห็นได้ว่า สถานการณ์ต่างๆ นัน้ ได้เกิดขึน้ ในประเทศอิสลาม อันทีส่ องก็คอื การเรียก ร้องของประชาชนก็คอื ต้องการเป็นอิสลาม ถ้าเราสังเกตุ ในประเทศ ตูนีเซีย หรืออียิปต์ ซึ่งสถานการณ์ที่เกิด ขึ้นของประชาชนเหล่านั้น พวกเขากล่าวโดยพระนาม ว่า “อัลลอฮุอักบัร” ได้มีการเริ่มขึ้นในมัสยิดต่างๆ การ ปฏิเสธการปกครองที่กดขี่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ชี้ให้เห็น ถึงความเป็นอิสลามที่ถูกเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นความต้องการของประชาชนที่ต้องการให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในอิสลาม นั้นก็คือ การย้อนเข้า สู่กฎหมายของอิสลามปฏิเสธต่อการมีอ�ำนาจของชาว ต่างชาติที่เข้ามามีบทบาทชี้น�ำพวกเขาเหล่านั้น ซึ่ง ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลของอิสลาม และก็เป็นเหตุผลของ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 123


พระมหาคัมภีร์คัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งมีแก่นแท้อิสลามอยู่ ในนั้น แต่ในทางกลับกันเหล่าบรรดาศัตรูก็พยายามที่ จะเบีย่ งเบนสิง่ ต่างๆ เหล่านีใ้ ห้ดวู า่ ไม่ใช่เป็นการตืน่ ตัว ของโลกอิสลาม ซึง่ ข้าพเจ้าก็จะขอกล่าวถึงประเด็นนีใ้ น บางประเด็น อย่างเช่นในยุคนีเ้ ราจะเห็นได้วา่ ยิวไซออน นิสต์ นั้นเป็นศัตรูของโลกอิสลาม พวกเขาก็พยายาม ที่จะสร้างสถานการณ์ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพี่ น้องสุนหนี่กับพี่น้องชีอะฮ์ ในสถานการณ์ยุคปัจจุบัน พวกที่เข้าใจว่าความเป็นภราดรภาพและเอกภาพของ โลกอิสลามนั้นเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นอย่างยิ่ง หรือพวกเขา เหล่านั้นพยายามที่จะกล่าวหาว่าสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่านนั้นปกป้องจ�ำเพาะเหล่าบรรดาชีอะฮ์ เพียง เท่านั้น แต่สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้ให้การ ช่วยเหลือในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอียิปต์ นับตั้งแต่เริ่ม แรก ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นชีอะฮ์ เหตุการณ์ที่ เกิดขึน้ ในตูนเี ซีย หรือในประเทศอิสลามอืน่ ๆ ซึง่ เราก็ได้ ช่วยเหลืออย่างเปิดเผย นัน่ ก็เนือ่ งจากว่าเราตระหนักถึง ความเป็นภราดรภาพและเอกภาพของโลกอิสลามอย่าง แท้จริง ท่านผูน้ ำ� สูงสุดทางด้านจิตวิญญาณคือ ฯพณฯ ซัยยิดอะลี คอเมเนอี ได้กล่าวว่า “ในยุคปัจจุบันหาก ใครก็ตามที่ได้พูดถึงเรื่องเอกภาพภราดรภาพ และเรา จะต้องให้การสนับสนุน และค�ำพูดใดก็ตามที่น�ำไปสู่ ความแตกแยกระหว่างสุนหนี่และชีอะฮ์นั้น เป็นค�ำพูด ของชัยฏอน” (มารร้าย) ประเด็นทีส่ อง เหล่าบรรดาของศัตรูพยายามทีจ่ ะ ให้มาเผชิญหน้ากับคลื่นของการตื่นตัวของโลกอิสลาม นั่นก็คือ การสร้างของกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมา มิได้มี ประโยชน์อันใดนอกเสียจากว่าจะท�ำลายอิสลามและ โลกอิสลามเพียงเท่านั้นเอง กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากโลก ตะวันตกเป็นทีช่ ดั เจน เหล่าบรรดากลุม่ เหล่านีก้ ล้าทีจ่ ะ ผ่าศพของบรรดาพี่น้องมุสลิมของเรา และได้น�ำหัวใจ ตับ ของพวกเขาขึ้นมากินเห็นอย่างได้ชัดเจน และใน ที่สุด จากการกระท�ำเหล่านี้ย่อมรู้ว่า จากกลุ่มเหล่า

124 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

นี้ พวกเขาต้องการชี้ให้เห็นถึงความเลวร้ายของโลก อิสลามและขัดต่อการด�ำเนินชีวิตของประชาคมโลก ทั้งหมดถึงความเลวร้ายของศาสนาอิสลาม ประเด็นที่สาม เหล่าบรรดาศัตรูพยายามที่จะ สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นระหว่างประเทศอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นในประเทศลิเบีย อียิปต์ อิหร่านกับโลก อาหรับ ฯลฯ ซึ่งเป็นความพยายามของพวกเขาที่จะ ให้ประเทศต่างๆ ของอิสลามนั้นมีความขัดแย้งซึ่งกัน และกัน ประเด็นที่สี่ บทบาทของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเกี่ยวกับ เรื่องนี้นั้นคืออะไร ? ประเด็ น แรกก็ คื อ ขั ด แย้ ง กั บ สิ่ ง ต่ า งๆ ที่ จ ะ พยายามชวนเชื่อ และข้าพเจ้าขอกล่าวอย่างชัดเจนที่ สาธารณรัฐอิสลามไม่ได้ท�ำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาเพื่อ ความเป็นอิหร่านหรือความเป็นชีอะฮ์เพียงเท่านั้น แต่ ประเด็นที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ ความเป็นภราดรภาพและ ความเป็นเอกภาพของโลกอิสลามเพียงเท่านั้นเอง ประเด็นทีส่ องก็คอื สาธารณรัฐอิสลามได้ทำ� การ ปกป้องคัมภีร์อัลกุรอาน และสุนนะฮ์ แนวทางของ บรรดามะอ์ศูมมีม (อฺ) และเพื่อฟื้นฟูโลกอิสลาม เรา ต้องการช่วยเหลือกับบรรดาผู้ที่ต่อสู้กับหนทางนี้ ไม่ว่า เขาจะเป็นสุนหนี่หรือชีอะฮ์ เราทั้งหมดได้อยู่ในสถานการณ์อันส�ำคัญยิ่ง ดังนั้นเราจ�ำเป็นต้องช่วยกันขอดุอาอ์ ให้บรรดามุสลิม ของพวกเราและพวกเราทุกๆ คน ต้องปฏิบัติตามภาระ หน้าที่ของเราอย่างจริงจัง แด่เอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) และหวังว่า เอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะช่วยเหลือ ในหนทางนี้ให้แก่พวกเราท่านทั้งหลาย วัสสลามุอะลัยกุมฯ จากนั้ น เป็ น การชมสารคดี เ รื่ อ ง “The Love for Imam” และต่อด้วยการบรรยายพิเศษโดยท่าน ศาสตราจารย์ ดร. มะฮ์มูด วาอิซี อาจารย์ และหนึ่งใน สภามหาวิทยาลัยเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามแห่ง


อิหร่าน และฝ่ายกิจกรรมระหว่างประเทศประจ�ำฮะรอม ของท่านอิมาม อะลี อัรริฎอ (อ.) ในการบรรยายพิเศษ ท่านได้กล่าวว่า : อัสลามมุอะลัยฯ วันนีเ้ ป็นวันทีน่ า่ จดจ�ำในการทีไ่ ด้มโี อกาสพบปะ กับพีน่ อ้ งผูท้ ปี่ ฏิบตั ติ าม และเจริญรอยตามอะห์ลลิ บัยต์ (อ.) และเป็นการเฉลิมฉลอง อันเป็นมงคลยิ่ง ก่อนอื่นข้าพเจ้าขออ�ำนวยพรผู้ที่ได้รับใช้อิมา มริฎอ และผู้มีส่วนร่วมในการดูแลสถานที่ฝังศพอัน ศักดิ์สิทธิ์ ในมัชฮัด มาฝากพวกเราทุกๆ คน และเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้มีการจัดเพราะเป็นวันตรงที่มัช ฮัดอย่างยิง่ ใหญ่ และข้าพเจ้าได้รว่ มงานอยู่ ณ ทีน่ นั้ ด้วย แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าได้ท�ำในวันนั้นก็คือในการกล่าวสลาม แทนพวกเราทุกๆ คน ต่อท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ข้าพเจ้าในฐานคนรับใช้ผู้ต�่ำต้อยคนหนึ่งขอจูบ มือท่านทุกๆ คนที่ได้มีการส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลอง และจะขอดุอาอ์ จากเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้กับผู้ที่ มีความรักและหลงใหลในท่านอิมามอะลี อัรริฏอ (อ.) และข้าพเจ้าขอขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ให้มีโอกาสให้ พวกเราได้ร่วมกันจัดงานวันเฉลิมฉลองในครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอพูดถึงเรื่องราวถึงบุคลิกภาพของท่า นอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ที่สามารถจะสัมผัสความยิ่ง ใหญ่ของท่านได้ เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ได้รับการแต่งตั้ง เป็นศาสดาแล้ว ท่านมีคู่สนทนาผู้ที่ท่านจะต้องสอน และการเผยแพร่ ก็คอื กลุม่ ทีห่ นึง่ ก็คอื ผูท้ นี่ บั ถือศาสนา ของนบีอบิ รอฮีม (อ.) กลุม่ ทีส่ อง ก็คอื คริสต์เตียน กลุม่ ทีส่ าม ยะฮูดี กลุม่ ทีส่ ี่ โซโรอัสเตอร์ กลุม่ ทีห่ า้ ผูท้ ปี่ ฏิเสธ พระเจ้า กลุ่มที่หก เชื่อในพระเจ้าและตั้งภาคีต่อพระ ผู้เป็นเจ้าด้วย ในระยะเวลา 23 ปี 13 ปีที่มักกะฮ์ และ 13 ปีที่มะดีนะฮ์ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ได้ทุ่มเท และพยายามท�ำให้คนอาหรับกลุ่มหนึ่งเปลี่ยนแปลง ทั้งมีความป่าเถื่อน และไม่เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่มีจรรยามารยาท ไร้ศีลธรรม ให้กลายเป็นกลุ่มคน

ที่มีความสมบูรณ์ในอัลกุรอานที่กล่าวว่า “พวกท่าน ทั้งหลายคือประชาชาติที่ดีที่สุด และเป็นต้นแบบ ผู้ที่ ไม่เคร่งครัดในสัญญา และได้มาเป็นผู้ที่เคร่งครัดใน สัญญา ผูท้ เี่ คยโกหกหลอกลวง มากลายเป็นผูท้ ซี่ อื่ สัตย์ สุจริต ผู้ที่ไร้ศีลธรรมจรรยา มาเป็นผู้ที่มีจรรยาธรรม มารยาทที่ดีงาม ทั้งหมดนี้ถูกอบรมบ่มเพาะบนตักอัน จ�ำเริญของท่านศาสดา (ศ.) และผลผลิตของการอบรม ในความมุมานะของท่านศาสดา อย่างเช่น ท่านอะลี อิ บนิ อะบีฏอลิบ ท่านซัลมานฟารซี ท่านมิกดาด ฯลฯ ความมุมานะ ความเสียสละ ของ 23 ปีของท่านศาสดา (ศ.) ถูกเนรคุณ ได้ถกู หันหลังและถูกเหยียบย�ำ่ ของสอง ราชวงศ์หลังยุคของท่านศาสดา ก่อนที่จะถึงยุคของท่า นอิมามอะลี (อ.) คือยุคของอุมัยยะอ์ ยุคบะนีอับบาส ถ้าเราอาจจะถามค�ำถามหนึง่ ว่า มรดกทีค่ งเหลือ อยู่ในอิสลาม อันเกิดจากฝีมือของ บะนีอุมัยยะฮ์ ค�ำ ตอบทีพ่ วกเราและง่ายด้วยก็คอื การลบล้างและท�ำลาย คุณค่าอันสูงส่งของอิสลาม การฟื้นฟูสุนนะฮ์ และ แบบแผนในยุคมือแห่งญาฮีรยี ะฮ์ การใช้จา่ ยไบตุลมาน การผลาญเงินในกองคลังอิสลามไปอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่ง ใช้จ่ายไปทางที่ผิดพลาด การท�ำให้คนกลุ่มหนึ่งที่ไร้ ศรัทธา และไร้ตกั วา ได้เข้ามามีบทบาทมาอยูใ่ นชัน้ แนว หน้าของสังคม และสุดท้ายก็คือ การสร้างความเสีย หายให้เกิดขึ้นในสังคม และการลบล้างท�ำลายความ คิดที่เป็นอิสระของผู้คนที่บริสุทธิ์ หลังจากการผลิกผัน ทางการเมืองที่ท่านศาสดา (ศ.) ได้วะฝาตแล้ว อะบูซุฟ ยานได้มายังหลุมศพของท่านฮัมซะห์ และได้ใช้เท้าอัน สกปรกเตะไปที่กุบูร และได้บอกกับซาร่า กล่าวว่า สิ่งที่ พวกเจ้าเคยแย่งชิงจากฉันในอดีต บัดนีม้ นั อยูใ่ นมือของ ฉันแล้ว และหลังจากอุมัยยะฮ์ได้ล่มสลายไปแล้ว ก็มี กลุม่ ทีส่ องคือ บะนีอบั บาส ในค�ำขวัญทีเ่ ขาได้พยายาม เรียกร้องความสนใจและการสนับสนุนจากผู้คน นั่นก็ คือ ความพึงพอใจส�ำหรับมุฮัมมัด และหลังจากที่กลุ่ม ที่สนับสนุนให้บะนีอับบาส ได้ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองแล้ว พวกเขาท�ำการหันหลังให้กับบะนีฮาชิม และตั้งตนเป็น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 125


ศัตรูกับบะนฮาชิม ในมัชฮัด มีสถานที่บะนีอับบาส ได้ ขุดไว้สงู ในความลึกก็เท่ากับตึกๆ หนึง่ ซึง่ เต็มไปด้วยศพ ของอาลิมุฮัมมัด และบะนีฮาชิม ที่ถูกสังหารและฝังไว้ ในหลุมฝังศพอันนี้ บรรดานักกวีได้แต่งกลอนทีช่ ใี้ ห้เห็น การกดขี่ ข่มเหงของบะนีอับบาส ได้อย่างชัดเจน และ ได้กล่าวว่า “ช่วยการปกครองของบนีอุมัยยะฮ์ อันน่า จะด�ำเนินต่อไป ที่จะไม่ให้บะนีอับบาสขึ้นการปกครอง เพราะพวกเขาได้เห็นว่า การกดขีข่ ม่ เหงลูกหลานของบะ นีฮาชิม ในสมัยบะนีอับบาส นั้นรุนแรงและหนักอึ้งยิ่ง กว่าที่เกิดขึ้นในสมัยของบะนีอุมัยยะฮ์เสียอีก ในสมัยของท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) เงื่อนไข ในทางสังคม ทางการเมือง ในยุคนั้น เป็นอย่างไร ? ประการทีห่ นึง่ มีการขยายดินแดน เกิดขึน้ อย่างมากมาย ขยายไปจนถึงเยเมน อียิปต์ เปอร์เซีย ท�ำให้วัฒนธรรม ของต่างชาติได้หลัง่ ไหลเข้ามาในดินแดนอิสลามของเรา ประการที่สอง ธรรมชาติหนึ่งหรือพื้นฐานของอิสลามก็ ดี ก็คือการหาความรู้ และจากธรรมชาติอันนี้สามารถ ท�ำให้หนังสือ และในดินแดนต่างๆ ได้ หลั่งไหลเข้ามา ไม่ว่าจะเป็น ในกรีก ฯลฯ มาสู่ในประชาคมของมุสลิม และได้รับค�ำตอบจากมุสลิม ประการที่สาม โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง คอลิฟะฮ์ ฮารูน และคอลิฟะฮ์ มะอ์มูน ที่ส่ง เสริมให้ความส�ำคัญในการแปลหนังสือจากภาษาต่างๆ และเป็นความรูน้ ำ� เข้า เป็นการส่งเสริมในการหาความรู้ เหตุผลเบือ้ งหน้าเบือ้ งหลังจะต้องพูดคุยในโอกาสต่อไป จากตรงน�้ำท�ำให้ปัญหาในข้อสงสัยมากมายที่ เกิดขึน้ จากเนือ้ หาต�ำหรับต�ำราทีถ่ กู แปลจากภาษาต่าง ประเทศเข้ามา เป็นภาษาอาหรับได้เกิดขึ้น และแพร่ กระจายไปในกลุ่มมุสลิม ท�ำให้เกิดปัญหามากมายใน เรื่องของความเชื่อ ในสมัยของท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ถ้าเรา เปรียบในบริบทเช่นนี้ ก็เหมือนกับว่าโลกตะวันตกได้ เข้ามาหาอิสลามและเติบโตในโลกอิสลาม ในสภาพ เช่นนี้ ท่านอิมามริฎอ (อ.) จะท�ำเช่นไร ? มะอ์มนู เห็นว่า กิจกรรม ของท่านอิมามริฎอ (อ.) ในเมืองมะดีนะฮ์ นั้น

126 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ซึง่ เป็นอันตรายต่อความมัน่ คงของรัฐและราชวงศ์อบั บา ซิยะฮ์ จึงเชิญท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ให้มายังเมือง หลวง และในขณะทีท่ า่ นอิมามริฎอ ได้เดินทางผ่าน อีรคั เยเมน ฯลฯ และท่านได้ใช้โอกาสเหล่านั้นในการเผย แพร่ในค�ำสอนของอะลิลบัยต์ (อ.) บทเรียนในตอนนีม้ นั ส�ำคัญส�ำหรับพวกเราจากวิถชี วี ติ ของท่านอิมามอะลี อัร ริฎอ (อ.) เราไม่กลัวการข่มขูเ่ ป็นอันขาด จะเข้าใจถึงการ ข่มขู่ และการใช้ข่มขู่ทุกรูปแบบจากศัตรูเพื่อประโยชน์ ของอิสลาม จากความยุ่งยาก และปัญหาเหล่านี้เป็น ที่มาของมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ในส�ำนักคิดของท่านอิมา มริฎอ (อ.) นั้น ปัญญาเป็นบรรทัดฐานหลักในการเผย แพร่ของท่าน ธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ถือเป็น บรรทัดฐาน และสิ่งใดก็ตาม ที่สติปัญญาไม่ยอมรับมัน มิใช่เป็นค�ำสอนที่อยู่ในบรรทัดฐานของอะลิลบัยต์ (อ.) ท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ได้กล่าวว่า “ความ รู้คืออีมานก่อนการปฏิบัติ” สติปัญญาที่สูงสุดคือการ ที่มนุษย์รู้จักที่จะสนทนาและพูดคุยวิภาคย์ซึ่งกันและ กัน นี่ก�ำลังบ่งบอกถึงมนุษย์ที่จะสามารถสนทนากัน ได้ พูด วิภาคย์กันได้ ? มันเป็นการบ่งบอกถึงการมีสติ ปัญญาของพวกเขา คนที่มีปัญญาสูงสุด เป็นปัญญา ชนขั้นสมบูรณ์ที่สุด คือคนที่สามารถรับใช้ผู้อื่นและมี ความจริงใจมากที่สุด นั่นก็คือ อิมามริฎอ (อ.) ท่านอิ มามได้สอนเราในเรือ่ งของการทีว่ ภิ าคย์กนั ทีค่ อื เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญคือการวิภาคย์โดยเสรี ท่านได้เปิดโอกาสในทุก ส�ำนักคิดทุกความเชือ่ สามารถบรรยายให้ผคู้ นทีพ่ สิ จู น์ ตนเองในความเชื่ออย่างเสรี และท่านอิมามก็จะตอบ ค�ำถาม หรือขัดแย้งโต้งแย้งในความคิดเหล่านั้นบนพื้น ฐานและสติปญ ั ญา ในการวิภาคย์กบั ศาสนาต่างๆ ท่าน ได้น�ำแบบการฟื้นฟูวิถีชีวิตของท่านศาสดา (ศ.) ที่มีต่อ บรรดามุชริกีน และตอบว่ามันไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง ถ้าพวกท่านถูกต้อง ฉันก็หลงทาง ? ถ้าฉันถูกต้อง พวก ท่านก็ต้องหลงทาง นี่คือวิธีที่ท่านอิมามริฎอ ได้ใช้ แต่ เปิดโอกาสได้อย่างเสรีให้ทกุ คนทุกฝ่ายสามารถพูดและ บรรยายได้ ถ้าหากข้าพเจ้าจะบรรยายในรายละเอียด


ของท่านอิมามริฎอ (อ.) กลุ่มบรรดากลุ่มต่างๆ แล้ว ก็ จะใช้เวลาถึงเที่ยงคืน ถ้าเรามาดูมิติอีกมิติหนึ่ง ในเรื่องของการปฏิบัติ ของท่านอิมาม (อ.) สิ่งที่เป็นวิสัยของท่านก็คือ ท่านให้ ความเมตตาและการดูแลสอดส่องคนยากจน ประการ ทีส่ อง ท่านท�ำทานต่อคนยากจน ท่านไม่เคยแบ่งแยก นี่ คือนาย ก นี่คือ ฯพณฯ ที่คือคนใช้ ฯลฯ ทุกคนส�ำหรับ ท่านนั้นเท่าเทียมกันทั้งหมด ยกเว้นนอกจากการมีตัก วา เอกลักษณ์หนึ่งของชีอะฮ์ของอิมามอะลี หรือ ท่า นอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ก็คือ จะต้องมีรอยยิ้มประทับ อยู่บนใบหน้าของเขาตลอดเวลา แม้แต่จะทุกข์ตรมใน หัวใจของเขาก็ตาม ท่านนัง่ อยูบ่ นเสือ่ ธรรมดา ถ้าหากมี ผู้ร้องขอความต้องการหรือพบเห็นผู้ที่ต้องการให้ความ ช่วยเหลือ ท่านจะให้การช่วยเหลือแก่ผยู้ ากไร้นนั้ ก่อนที่ ท่านจะไปท�ำอิบาดะฮ์สว่ นตน ท่านอิมามไม่เคยพูดย้อน กับผู้ใดผู้หนึ่ง ? และท่านไม่เคยยืดเท้านั่งไปหาใคร ? ไปเยี่ยมเยียนผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ประสานความสามัคคีใน ระหว่างเครือญาติ ฯลฯ อิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ไม่เคยถ่มน�้ำลายลงพื้น ปูน อิมามนัน้ หอมอยูเ่ สมอๆ ไม่เคยท�ำร้ายจิตใจใครด้วย ค�ำพูดของท่าน ความรักที่มีให้ต่อผู้คนนั้นยังมีแค่ครึ่ง หนึ่งของท่าน เซาะดะเกาะฮ์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ จ�ำเป็นด้วยเงิน แต่สามารถช่วยเหลือด้วยอย่างอืน่ ก็ได้ การซาดเกาะฮ์ทดี่ กี ค็ อื การช่วยเหลือซึง่ กันและกัน ท่าน ผูม้ เี กียรติทยี่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ก็คอื ผูท้ ใี่ จบุญสุนทานและเอือ้ อาทร จุดสูงสุดในการเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) คือ การอดทนยืดอกน้อมรับสิง่ ทีพ่ ระผูอ้ ภิบาลได้กำ� หนดไว้ สิง่ หนึง่ ทีท่ า่ นอิมามริฎอ (อ.) ได้ยำ�้ เน้นในสังคมอิสลาม ก็คอื เรือ่ งของอามานะฮ์ และถ้าท่านทัง้ หลายต้องการให้ นมาซ ซะกาต ศีลอด ฮัจญ์ ฯลฯ และความดีงามทัง้ หมด ที่ท่านได้กระท�ำได้รับการตอบรับจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ประการแรกต้องรู้จักอิมามแห่งยุคในสมัยของท่านเสีย ก่อน และสิ่งส�ำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ สังคมของอะลิ ลบัยต์ (อ.) ไม่สามารถจะอยู่ได้โดยปราศจากอิมามัต

ท่ า นอิ ม ามอะลี อั ร ริ ฎ อ (อ.) ได้ ก ล่ า วว่ า ประชาชาติของฉันจะยังคงเชื่อมต่อกันเสมอ ตราบ ที่พวกเขายังมีความรักต่อกันและกัน และขอเอกอง ค์อัลลอฮ์ ทรงปกป้องและให้พวกเราได้เป็นผู้ศรัทธา และได้ปฏิบัติตามอะลิลบัยต์ (อ.) ที่แท้จริงด้วย อินชา อัลลอฮ์ วัสสลามุอะลัยกุมฯ จากนั้นเป็นการบรรยายโดยเชคศอลิฮ์ ภู่มีสุข โดยท่านเชคได้กล่าวว่า : ก่อนอื่นที่เราจะได้เริ่มสัมมนากัน พูดถึงเรื่อง ราวในวันนี้ นั้นเราจะย้อนประวัติศาสตร์ เมื่อวันจันทร์ อังคาร วันพุธ ในเดือนกันยายน ทีผ่ า่ นมานี้ เป็นวันครบ รอบของการสังหารหมู่ของพี่น้องปาเลสไตน์ ในค่าย อพยพ เป็นจ�ำนวน 3290 กว่าชีวิต ที่เป็นชะฮีด ในการ โจมตีล้างเผ่าพันธุ์ ในเวลา 48 ชั่วโมงเต็ม ทั้งกลางวัน และกลางคืนของยิวไซออนนิสต์ ผมจึงขอให้พวกเราได้ ร่วมกันอ่านซูเราะฮ์ อัลฟาติฮะ ให้แด่บรรดาทีเ่ สียชีวติ ไป ในชีวิตของท่านอิมามอะลี อัลริฎอ (อ.) 55 ปี ในช่วงแรกของการขึ้นครองราชย์ ผู้ที่ใกล้ชิดของท่านอิ มามนั้น ได้กล่าวกับท่าน และในเมื่อ 20 ปี เราจะเห็น แนวคิดของอะลิลบัยต์ (อ.) การยึดมั่น และการอ้างอิง ของท่านศาสดา (ศ.) นั้นได้แพร่กระจายออกไปทั่วใน ดินแดนของอิสลามในขณะนั้น จนกระทั่งท�ำให้ฝ่าย ปกครองไม่สามารถท่ามทางการขยายตัวของผู้สืบ บัลลังก์นี้ได้ จนกระทั่งกษัตริย์มะมูน ได้เชิญอิมามอะ ลี อัลริฎอ (อ.) มาสังหารท่าน ซึ่งเมื่อก่อนหน้านี้ เขาได้ เชิญมาไม่มเี จตนาทีจ่ ะสังหารท่าน แต่การขยายตัวและ อิทธิพลของท่านอิมามทีไ่ ด้ให้ผคู้ นได้รบั รูเ้ รือ่ งราวต่างๆ และจึงได้สงั หารท่าน และนีค่ อื งานของเอกองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ทีพ่ ระองค์ทรงประสงค์ ทีจ่ ะท�ำให้กอ่ เกิดเนือ้ เชือ้ ไขของท่านศาสดา (ศ.) ได้ปลูกฝังอยู่ในดินแดนอันไกล โพ้น หรือ อิหร่านในประวัติศาสตร์ให้กลายมาเป็นฐาน ทีม่ นั่ หรือศูนย์กลางทางด้านวิชาการทางด้านวัฒนธรรม และ ศูนย์กลางทางกลางเมืองของส�ำนักคิดอะลิลบัยต์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 127


(อ.) แทนขึ้นที่นครมะดีนะฮ์ นี่คือการออกแบบของเอ กองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผ่านมือของศัตรูของอิสลาม ผม จะขอเสนอในมิติแรกของค�ำสอนของอะลิลบัยต์ (อ.) กระผมจะยกโองการอัลกุรอานที่พระผู้เป็นเจ้า นัน้ ได้ทรงบอกถึงคุณสมบัตไิ ว้อย่างไร ? “อัลลอฮ์ ได้ทรง ประทานคัมภีร์ ฮิกมะฮ์ และสติปัญญาไว้ให้แก่เจ้า (1) และพระองค์ได้สอนเจ้าในสิง่ ทีส่ เู จ้าไม่ร”ู้ และประโยคที่ สองที่จะเข้าไปเชื่อมจากประโยคแรก และพระองค์ได้ สอนเจ้าในสิ่งที่เจ้าไม่รู้ ในหลักภาษาอาหรับแล้ว ประโยคที่ถูกเชื่อม กับประโยคที่ถูกน�ำไปเชื่อมจะต้องมีความแตกต่างกัน เพราะมิฉะนั้นแล้ว เราไม่รู้จะไปเชื่อเพื่อเหตุผลใด และ ถ้าประโยคแรกกับประโยคหลังความหมายเดียวกันก็จะ เชื่อมไปด้วยเหตุผลใด แสดงว่า พระองค์ได้สอนเจ้าใน สิง่ ทีส่ เู จ้าไม่รู้ เป็นความรูต้ า่ งหากทีน่ อกเหนือจากกิตาบ หมายความว่า นอกจากอัลกุรอาน และฮิกมะฮ์ แต่ยงั มี ความรู้อีกต่างหาก อันนี้คือความหมายแรก และความ หมายอันหลังคือ ความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮ์ที่ ประทานให้ นีค่ อื ความรู้ ทีท่ า่ นศาสดา (ศ.) ได้ถา่ ยทอด ให้กับท่านศาสดา (ศ.) สิ่งหนึ่งที่เราได้เห็นอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ได้ สอนให้เราเชื่ออะไรก็แล้วแต่ จะต้องวางอยู่บนพื้นฐาน บนตรรก และวิธีการบนพื้นฐานทางสติปัญญาเพียง เท่านั้น ไม่ใช่พูดอย่างมีฐิถิ ที่มีอารมณ์ และความเชื่อ จะต้องวางอยู่บนหลักฐานเท่านั้น เพราะ สิ่งที่พิสูจน์ ด้วยจากตรรกะแล้ว และหลักฐานแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ทุก คนยอมรับฟังจะมีทุกคนยอมรับ และถ้าในเรื่องของ อารมณ์นั้น จะเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธ เมื่อสองสามวันที่ผ่านมาจากบทสัมภาษณ์จาก ข่าวต่างๆ ประเทศ กับนายกรัฐมนตรีของอิสราเอล จาก ทีม่ คี วามโมโหโทสะ จากค�ำพูดทีซ่ ำ�้ ซาก และค�ำพูดทีเ่ ขา กล่าวออกมานั้นมาจากอารมณ์และความมีอคติ แต่ในขณะเดียวกันทีป่ ระธานาธิบดีอหิ ร่าน ดร.รู ฮานี คนปัจจุบัน ได้ถูกสัมภาษณ์ว่า อิสราเอลจะต้อง

128 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

ถูกลบไปจากแผนที่โลกหรือไม่ ? สิ่ ง ที่ ข ้ า พเจ้ า คิ ด ว่ า เป็ น เรื่ อ งส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ก็ คื อ การที่ประเทศต่างๆ และผู้คนได้มีความใกล้ชิดกันและ สามารถละทิ้งความป่าเถื่อน และความเป็นธรรมได้ และถามว่า อิสราเอลจะต้องถูกรบไปจากแผนที่โลก หรือไม่ ? แต่มีนัยยะในการถาม เพื่อแสดงให้ตะวันตก ได้เห็นว่า อิหร่านยังยืนอยู่จุดเดิม นั่นเอง สิ่งที่เราแสวงหามันก็คืออ�ำนาจการปกครองที่ เกิดขึ้นโดยเจตนารมณ์ของประชาชนชาวปาเลสไตน์ เราเชื่อศรัธทาในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และมี ค�ำถามหนึง่ จากนายก อิสราเอล ถามว่า ท่านคือหมาป่า ในคาบของลูกแกะ และท่านประธานาธิบดีอิหร่านได้ ตอบว่า รัฐบาลอิสราเอลที่ได้มาจากการปล้นสดมภ์ ไม่มีสิทธิ์ใดๆ ที่มาวิจารณ์รัฐบาลที่ได้มาจากการเลือก ตัง้ โดยเสรี นีแ้ สดงให้เห็นถึงอะไรคือตรรกะทีถ่ กู ยอมรับ และอะไรคือสิ่งที่ไม่ถูกยอมรับ อันนีซ้ งึ่ เป็นแผนการของเอกองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ต้องการที่จะโยกย้ายฐานของท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) จากนครมะดีนะฮ์ มาสู่อิหร่าน และเราก็เห็นได้ ชัดเจนว่า ศูนย์กลางศาสนาและความรู้อะลิลบัยต์ (อ.) ได้กระจายไปทัว่ โลก ก็คอื อิหร่าน นัน่ คือ เมืองกุม ทีน่ อ้ ง สาวของท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) คือ ท่านหญิงฟาฏิ มะฮ์ (อ.) และเหล่าบรรดานักเรียนศาสนาต่างๆ จาก ทัว่ โลกก็ได้จบการศึกษาจากทีแ่ ห่งนี้ และได้นำ� ไปเผยแพร่ ในสถานที่ๆต่าง ในปัจจุบัน และการโยกย้ายของท่านอิมามริฎอ นั้น จะ ต้องมีฐานะทางการเมือง ที่เจริญเติบโตจากบรรดาอะ ลิลบัยต์ (อ.) จากผู้น�ำที่ได้มาสู่นักการศาสนา และมี ความสามารถ เราจะเห็นระบบนี้ได้ถูกสถาปนาขึ้น 35 ปี อย่างสง่างาม และก�ำลังทรงพลังสามารถท�ำลายดุลย์ อ�ำนาจทีม่ อี ยูอ่ นั เกิดจากการการปกครองแบบราชวงศ์ เผด็จการ หรือ แบบตะวันตก ฯลฯ ทุกวันนี้ในสายตาของคนทั่วโลกต้องก�ำลังเฝ้า มองการปกครองนี้ จากการพัฒนาอย่างไม่หยุดยัง้ เพรา


ฐานทางการเมืองของอะลิลบัยต์ (อ.) ซึ่งเกิดขึ้นมาจาก ท่านอิมามรีฏอ จากการกดขี่ บีบครัน้ ทัง้ ทางด้านภายใน และภายนอก ซึ่งมีการเจริญเติบโตอย่างมากมาย ปัจจุบันนี้ โลกก�ำลังเจริญเติบโตอย่างมากมาย และปัจจุบันนี้ ทุกคนได้เห็นการปกครองที่น่ารังเกียจ ระบบทุนนิยมตะวันตก และระบบอืน่ ๆ คนอืน่ ๆ ทีเ่ ป็นก ลุ่มหนึ่งเคยเป็นผู้ก่อการร้าย และอเมริกาอ้างว่า การมี อยู่ของกลุ่มนี้ คือ อัลกออิดะฮ์ ในอัฟกานิสถาน เป็นต้น เหตุให้พวกเรา ฉะนัน้ จ�ำเป็นอย่างยิง่ จะต้องท�ำลาย แต่ มาวันนี้กล่าวว่า ต้องให้ความช่วยเหลือต่อบรรดากลุ่ม ต่างๆ เหล่านั้นๆ ตอนนั้นได้เล่นเป็นบทผู้ร้าย แต่ตอนนี้ เป็นเล่นเป็นบทผูใ้ ห้การสนับสนุนในประเทศซีเรีย นีเ่ ป็น ความน่ารังเกียจและสกปรกในระบบนี้ หลังสงครามโลก ครั้ง 1- 2 ตกลงกันว่าจะก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นมา เพื่อ ป้องกันไม่เกิดการนองเลือดและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และให้ยเู อ็นมาตัดสินใจว่าจะให้ประเทศนัน้ บุกประเทศ นัน้ ประเทศนีไ้ ด้ แต่วนั นีอ้ เมริกาใช้สทิ ธิอ์ ะไนให้สภาคอง เกสตัดสินว่าจะบุกซีเรีย จะลบกับประเทศนัน้ ประเทศนี้ หรือจะไม่ลบ ? ฉะนั้น ระบบแบบนี้เป็นระบบที่มีความ อัปยศและน่ารังเกียจเป็นอย่างที่สุด เพราะฉะนั้ น ความสวยงามของระบบเอกอง ค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ประทานให้กับท่านอิมามอะลี อัร ริฎอ (อ.) และอะลิลบัยต์ (อ.) ที่วางไว้และฉายแสงให้ เห็นวันแล้ววันเล่า และปัจจุบันนี้ การที่ยอมรับจากการ ปกครองอื่นๆ ถ้าไม่ใช่การปกครองด้วยศาสนา หรือจะ กล่าวได้วา่ มันไม่สามารถทีจ่ ะเป็นไปได้อกี แล้วส�ำหรับ มนุษยชาติ ? ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงอย่างผลิกผัน ในสถานการ์ณโลกของระบบสาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่าน ท่าน ซัยยิดอะลี คอเมเนอี ผู้น�ำทางด้านจิต วิญญาณ กล่าวว่า โลกทั้งโลกได้มีการเปลี่ยนแปลง ไปอยู่สภาพการณ์ใหม่แล้ว และความจริงข้อนี้ จะ เรียกว่าธรรมข้อนี้ก็เป็นที่ยอมรับของบรรดาหัวหน้าผู้ อธรรมทั้งหลายในโลกก็ได้ และได้มีผู้น�ำของประเทศ

อิสราเอล ได้กล่าวว่า “คอเมเนอี ได้เขย่าโลกอิสลามให้ สัน่ สะเทือนตัง้ แต่ชอ่ งแคบคัยบัรในซาอุดอิ ารเบีย ไปจึง ถึงช่องแคบยิปบอนตร้าในโมรอกโคทั้งหมด และอดีต รัฐมนตรีต่างประเทศของอเมริกาได้กล่าวว่า “แผนการ ร้ายทั้งหมดที่เราได้คิดโดยมันสมองที่ดีที่สุด ใช้เวลา นานที่สุด งบประมาณมากที่สุดในการวางแผน ใช้ ผู้ด�ำเนินแผนการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญมากที่สุด แต่ ผู้น�ำอิหร่านสามารถท�ำลายแผนการณ์นี้ได้ด้วยการ ปราศรัยภายในระยะเวลา 1 ชัว่ โมง อันนีค้ อื พลังอิทธิพล และพลังอ�ำนาจของรัฐบาลและฐานทางการเมืองของ อิสลามแห่งอะลิลบัยต์ (อ.) ที่ท่านอิมามอะลี อัรริฏอ ได้วางเอาไว้ นัยยะส�ำคัญที่แฝงอยู่ในระบบนี้ คือสิ่งที่ ท่านอะลี คอเมเนอี ผู้น�ำสูงสุดได้กล่าวไว้ในที่ประชุม กับบรรดาผู้น�ำเหล่าทัพที่ผ่านมา ท่านได้กล่าวว่า เหตุ ส�ำคัญที่ท�ำให้ตะวันตกเป็นศัตรูกับอิหร่านอยู่ทุกวันนี้ มันไม่ใช่นวิ เคลียร์ ไม่ใช่อะไรทัง้ สิน้ นัน่ คือข้ออ้างเพราะ พวกเขารับสาส์นอิสลามไม่ได้ เพราะสาสน์ นั้นคือ ต้อง ไม่กดขี่ และการยอมรับการกดขี่ และนีค่ อื สาสน์ของผูน้ ำ� และถ้าสาสน์นี้ได้ยินไปถึงมนุษยชาติคนใด พวกเขาจะ หลงใหลในสาส์นนี้ ทันที ไม่มีนักการกดขี่ และต้องไม่ ยอมรับการกดขี่ เพราะฉะนั้นผู้กดขี่ในโลกนี้ ยอมรับ สาส์นนี้ไม่ได้ จึงต้องท�ำสงครามถึงทุกวันนี้ เหตุอื่นๆ นั้นเป็นข้ออ้างทั้งหมด การปฏิ วั ติ เ กิ ด ขึ้ น ในมุ ม ของโลก และค่ อ ยๆ เติบโต พวกเขาคิดว่า ภายใน 3-4 ปี มันก็จะจบลง แต่ แล้วในที่สุด ในอัลกุรอาน ได้กล่าวว่า “ รากของมัน หยั่งลึก กิ่งก้านของมันสูงเสียดฟ้า ให้ผลอย่างต่อเนื่อง กับการช่วยเหลือของผู้อภิบาลของสูเจ้า” และในที่ รัฐอิสลามของอะลิลบัยต์ (อ.) และอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ได้กลายมาเป็นมหาอ�ำนาจในภูมิภาคนี้และได้มี อิทธิพลในปัญหาระดับโลกนี้ และเป็นสิ่งที่มีบารอกัต ความจ�ำเริญในการอพยพมาของท่านอิมามอะลี อัร ริฎอ (อ.) จากนัน้ เป็นการบรรยายโดยเชคฮุเซน บินสาเล็ม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 129


หัวข้อเรื่อง “ขุมขังทางด้านวิชาการ” เชคฮุเซน ได้กล่าว บรรยายในหัวข้อนี้ว่า : ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตา กรุณา ปรานี ยิ่งเสมอ สลามุอะลัยกุมฯ ขอชุกรู ต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทีไ่ ด้มี โอกาสมาร่วมงานในการร�ำลึกถึงท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) แต่ขอ้ มูลของท่านอิมาม นัน้ มีมากมายเหลือเกิน แม้ จะพูดเรือ่ งราวเพียง 3-4 ช.ม. เราเพียงได้ขอ้ มูลของท่าน เพียงแค่ส่วนเสี้ยงเท่านั้นเอง และพวกเราจะท�ำอย่าง ที่จะตักตวงเก็บเกี่ยวเรื่องราวของท่านให้ได้มากที่สุด พอเราพูดถึงเรื่องราวของบรรดาอะลิลบัยต์ (อ.) เราจะได้ยนิ จากบรรดาฮาดีษต่างๆ ของความรูว้ า่ ท�ำไม ท่านถึงมีความรูอ้ นั ยิง่ ใหญ่และสูงส่ง นัน่ คือเรือ่ งของนูร และมีฮะดีษบทหนึง่ ทีท่ า่ นอิมามอะลี (อ.) จะน�ำเสนอพี่ น้องผูศ้ รัทธาทัง้ หลาย คือ ฮะดีษบทนีส้ ามารถทีจ่ ะตอบ โจทย์ที่จะตามมาได้เป็นร้อย ถ้าหากว่าเราจะดูความ รู้ของบรรดาลูกหลานของท่านศาสดา (ศ.) นั้น เราจะ ต้องมองไปที่ท่านศาสดา (ศ.) และตามรายงานของพี่ น้องมุสลิมในส�ำนักคิดต่างๆ ก็ได้ยอมรับในบทฮะดีษ อันนี้ เพราะสิ่งความรู้ต่างๆ ที่ได้ถูกถ่ายทอดต่อบรรดา ลูกหลานที่รุ่นต่อรุ่น และที่คนแรกของเราก็คือ มุฮัมมัด (ศ.) และคนกลาง มุฮัมมัด บากิร และคนสุดท้ายคือ มุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี (อ.) ทั้งหมดนี้คือมุฮัมมัด และเรา มาดูความแตกต่าง แต่มันไม่แตกต่างกันเลย แต่ว่าสิ่ง ที่ท่านอิมามริฎอ (อ.) ได้กล่าวถูกขนานนามว่าเป็นผู้มี ความรู้มากกว่า และสิ่งที่ในแนวทางชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ พยายามทีจ่ ะน�ำเสนอ ท�ำไมบทบาทในแต่ละท่าน ท่านอิ มามบากิร (อ.) เป็นผูก้ อ่ ตัง้ บ้านหลังแรกเล็กๆ จนกระทัง่ เป็นรูปเป็นร่างในสมัยของท่าน อิมามศอดิก (อ.) และ ได้มีลูกศิษย์ 4000 กว่าคน และถือว่าเป็นจุดสูงสุดใน อิสลามเลยก็วา่ ได้ และสิง่ ต่างๆ เหล่านัน้ ท�ำให้เห็นของ สังคมว่า วิชาการอันมากมายนั้นไม่มีวันที่จะจบสิ้น ถ้า จะเรียนรู้ จะต้องเรียนรู้อย่างดื่มด�่ำ คนที่ให้ก็จะเสมือน สายน�้ำที่ไม่มีวันที่ขาดสายจากเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)

130 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 ตุลาคม - ธันวาคม 2556

อันนี้คือความยิ่งใหญ่ที่สะท้อนให้เห็นสายธารในทาง วิชาการ ของท่านศาสดา (ศ.) ที่ได้ถ่ายทอดเอาไว้กับ บรรดาลูกหลานของท่านเอง และท่านอิมามญะอ์ฟัร ศอดิก (อ.) ได้กล่าวในฮะดีษบทหนึ่งที่ว่า “แท้จริง เอ กองค์อลั ลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงสร้างบรรดาศาสนทูต ทัง้ ห้า ท่านเพื่อความประเสริฐสุดอันสูงส่ง ผู้มีความรู้ ของบร รดาชีอะฮ์ นั้นว่า ประเสริฐกว่าบรรดาชนอื่นๆนั้น ก็คือ มาตรฐานของความรู้ เกียรติยศ และสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ได้ถกู ส่งถ่ายทอดผ่านมายังพวกเรา และทีพ่ วกเราได้รบั เกียรติตรงนีก้ ค็ อื สิง่ ทีบ่ รรดาอัมบิยาอ์ ได้ถา่ ยทอดลงมา และความรู้ที่ถ่ายทอดมายังบรรดา อัมบิยาอ์ ทัง้ หมด และนัน่ คือค�ำตอบทัง้ หมดทีเ่ ราจะได้เห็นว่า ท่า นอิมามอะลี ริฎอ (อ.) เวลาทีท่ า่ นโต้แย้งทางวิชาการกับ พวก ชาวคัมภีร์ ไม่ว่าจะเป็นยิว นัสรอนี จงถามมาซิ ? ท่านอิมามอะลี อัรริฎอ จะตอบค�ำถามแบบละเอียด หรือแม้กระทัง่ มะมูน ผูป้ กครองทีจ่ ะต่อต้านคัดค้านทาง ด้านวิชาการของโองการอัลกุรอาน ในขณะนั้นพวกเขา ก็ยังไม่เข้าใจถึงอัลกุรอานอย่างท่องแท้ของอัลกุรอาน เลย ท่านอิมามได้แสดงความรู้จากโองการของเอกอง ค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) อีกมากมายให้ที่ประชุมของบรรดา ส�ำนักคิดอีกมากมายในสมัยนั้น และมันถือว่าเป็นสิ่งที่ ประวัตศิ าสตร์ทไี่ ด้บนั ทึกไว้ทงั้ หมด เพียงแต่วา่ สังคมเรา อาจจะขาดการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ ต่อมาถ้าเราย้อนกับไปประวัติศาสตร์ ท�ำไมท่า นอิมามอะลี อัรริฎอ (อ. ) ได้รับค�ำเชิญจากผู้ปกครอง มะมูน ให้มารับแต่งแหน่งในการปกครอง แต่ท่านไม่ อยากที่จะรับต�ำแหน่ง และจากเมืองมะดีนะฮ์ แต่ท่าน เหมือนจะต้องการปลุกกองคาราวานที่เดินผ่านมายัง บัสเราะฮ์ เมืองกูฟะฮ์ ซึง่ เป็นฐานของพีน่ อ้ งชีอะฮ์ ของอิ มามอะลี (อ.) ผ่านมายังกัสวีน และได้มาถึง คุโรซาน ใน สมัยนัน้ แต่ทา่ นอิมามได้คำ� นึงถึงประโยชน์ในการรับใช้ อิสลามในการเผยแพร่ และท่านก็ได้รู้ถึงเหตุการ์ณล่วง หน้าว่า ถ้าท่านมาครัง้ นีแ้ ล้ว ท่านจะไม่สามารถกลับไป หาญาติท่านได้อีกต่อไป ฉะนั้นในตอนนี้เราจะเห็นได้


ว่า ท่านมีความรู้เรื่องเวลาของอนาคต ตรงนี้แสดงให้ เห็นว่า อิมามคือแหล่งแห่งวิชาการ และรู้แห่งมิติ อยู่ เหนือเวลา ในวันที่ท่านอิมามอะลี อัรริฎอ ได้อ�ำลาท่าน ศาสดา (ศ.) เหตุการณ์ในครั้งนี้ได้เหมือนกับการอ�ำลา ของท่านอิมามฮูเซน (อ.) และท่านได้เรียกเหล่าบรรดา ญาติของท่านมา และได้สั่งเสียกับ บรรดาญาติของท่า นอิมามก็ได้รอ้ งไห้ และท่านอิมามได้กล่าวว่า “ฉันไปใน ครั้งนี้ฉันคงไม่ได้กลับมาเยี่ยมบรรดาญาติๆ นีเ่ ป็นครัง้ สุดท้าย นีแ่ สดงให้เห็นว่า ท่านอิมามอัร ริฎอ ได้มองทะลุมิติสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า ฉะนั้น ท่าน จะท�ำอย่างไรทีจ่ ะท�ำให้การไปครัง้ สุดท้ายนีจ้ ะต้องมีผล ที่ในการเก็บเกี่ยวได้ในอนาคตข้างหน้า หรื อ แม้ ก ระทั่ ง การปฏิ วั ติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในยุ ค ขอ งอิสฟาฮานในสมัยเศาะฟาวี คือผลพวกจากการเดิน ทางของท่านอิมามอัรริฎอ (อ.) เกือบจะทัง้ สิน้ ในเวลาที่ จะท�ำให้ประชาชนชาวอิหร่านทัง้ หมดได้เปลีย่ นศาสนา แนวคิดบูชาไฟ และเทวรูปต่างๆ ให้หนั มานับถือศาสนา อิสลาม และในการหลั่งเลือดของบรรดาลูกหลานของ ท่านศาสดา (ศ.) และยังมีอีกหลายๆ สถานที่ที่ฝังเรือน ร่างของบรรดาลูกหลานของท่านนบี เหล่านี้ หลังจากที่ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ.) ได้จากโลกนี้ไป บรรดาพี่น้อง ก็คงทราบกันดี ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ได้กล่าวโต้แย้งกับบรดาผู้รู้เหล่าคัมภีร์ทั้งหลาย และ ในเรื่องรับวะลีอัต และได้มีคอวาริจญ์คนหนึ่งในห้อง ประชุมของมะอ์มูน ได้น�ำยาฟิษมาด้วย และได้ถามอิ มามว่า ท่านเป็นบุตรของท่านศาสดา (ศ.) ท�ำไมถ้าเป็น เช่นนั้น ท่านท�ำไมถึงรับต�ำแหน่งจากมะอ์มูนด้วย ถ้า อย่างนี้มันไม่ใช้เจตนารมณ์ของเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) เลย และท่านอิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ฉันจะตอบก็ต่อ เมื่อท่านจะต้องปฏิบัติตามสัญญานั่นก่อน คอวาริจญ์ ถามว่า อะไร ? ท่านจงทิ้งในสิ่งที่ท่านได้น�ำมา ส่วน คอวาริจญ์ ก็ตกใจ !! ท�ำไมท่านอิมามริฎอ (อ.) รู้ได้

อย่างไร ? และคอวาริจญ์ ก็น�ำยาพิษไปทิ้ง และท่านอิ มามอะลี อัรริฎอ (อ.) จึงได้กล่าวว่า “เจ้าเห็นว่ามะมูน นั้นไม่มีศาสนามากกว่ากษัตริย์ของอียิปต์กระนั้นหรือ ? เพราะพวกเขาเป็นผู้ปฏิเสธ เพราะเขาไม่ยอมรับใน ค�ำบัญชาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และดังนั้นจะแปลกอะไร ที่ยอมรับในวะลีอะ ดังนั้น โองการของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) “โอ้กษัตริย์ แห่งอียิปต์จงแต่งตั้งฉันเป็นผู้ดูแลในเรื่องของศาสนา เถิด เพราะฉันนั้นถนัดในเรื่องนี้ และเราถามว่ากษัตริย์ อียิปต์ เป็นใคร ? ไม่ใช่เป็นผู้นอกศาสนาหรือ ? และนี่ จากโองการของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ซึ่งเป็นตัวอย่างเดียว เท่านั้นที่อิมามอะลี อัรริฎอ (อ.) ได้สยบในแนวคิด ต่างๆ ที่ชอบเถียง ตอบเอง ฯลฯ และอีกหลายโองการ ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ที่ไม่สามารถจะอธิบายได้ นอกจาก บรรดาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ฉะนั้น และใครล่ะ ? เป็นผู้ ทีเ่ ชีย่ วชาญทางด้านวิชาการนอกเหนือจากท่านศาสดา (ศ.) และเหล่าบรรดาลูกหลานของเอกองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) วัสลามุอะลัยกุมฯ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 35 No. 2 October-December 2013 131


¾Åѧ§Ò¹¹ÔÇà¤ÅÕÂà ¤×ÍÊÔ·¸Ô·ÕèªÍº¸ÃÃÁ áÅЪѴᨌ§¢Í§ÍÔËËҹ

 http://Bangkok.icro.ir


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.