payamislam13

Page 1



CONTENTs ปีที่ 34 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-มิถุนายน 2555 Vol. 34 No.1 July-September 2012 ISSN : 0859-7162 ผู้อ�ำนวยการ : Director มุสฏอฟา นัจญอรียอนซอเดะฮ์ Mustafa Najariansadeh บรรณาธิการอ�ำนวยการ : Editor-in-Chief เชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ บรรณาธิการ : Editor อรุณ เด่นยิ่งโยชน์ กองบรรณาธิการ : Section Editor กวีฮัยดัร พุ่มภักดี จะมีลฮัยดัร แสงศรี นูรรีฎอ แสงเงิน อับดุลมาลิก อาเมน อาซียะฮ์​์ พุ่มเพ็ชร ออกแบบรูปเล่ม : Design/Artwork 14 พับลิเคชั่น E-mail : thaqalayn14@hotmail.com โทร. 02 7325563 โทรสาร 02 7325564 ผลิตโดย : Published by ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ 106-106/1 ซอยเจริญมิตร สุขุมวิท 63 เอกมัย 10 แยก 6 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2392-2620-2 โทรสาร 0-2392-2623 CULTURAL CENTER THE EMBASSY OF ISLAMIC REPUBLIC OF IRAN BANGKOK 106-106/1 SOI CHAROENMITR SUKHUMVIT 63 EKAMAI 10 YEAK 6 KLONGTON NUA VADHANA BANGKOK 10110 THAILAND

ทัศนะและความคิดเห็นในนิตยสารนี้ ไม่จ�ำเป็นต้องถือว่าเป็นจุดยืนอย่างเป็นทางการ ของศูนย์วัฒนธรรมฯ เรายินดีต้อนรับข้อเขียน จากนักเขียนและนักวิชาการทั่วไป ขอสงวนสิทธิ์ ในการคัดเลือกและตัดตอนข้อความที่ไม่สมควร โดยไม่ปิดบังความหมายของผู้เขียน และผู้เขียนบทความนั้นๆจะเป็นผู้รับผิดชอบ บทความของตน

สารบัญ

หน้า

บทบรรณาธิการ 2 วิเคราะห์แนวความคิดอิมามโคมัยนี กรณีศึกษาการปกครองและรัฐ 3 การอรรถาธิบายอัลกุรอานแนวรหัสยวิทยา ในมุมมองของอิมามโคมัยนี 9 บทบัญญัติรัศมีแห่งทางน�ำ 13 ค�ำอรรถาธิบายบทอัลบะกอเราะฮ์ 20 สิทธิสตรีในอิสลาม 29 คุณลักษณะท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ 39 แหล่งก�ำเนิดปรัชญาอิสลาม 43 รอมาฏอนเดือนแห่งความเมตตา 50 ผู้ปลดปล่อยโลกเป็นใคร 60 คุณสมบัติผู้ศรัทธา 70 รัฐบาลในแนวคิดและการฏิบัติ ของอิมามอะลี อ. 74 บทบาทศาสนาและการตื่นตัว ของประชาคมโลกในมุมมองของ อิมามโคมัยนี 82 โลกกับการตื่นตัวของอิสลาม 86 ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ ในมุมมองของท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ.) 90 สัมมนา ครอบรอบ 23 ปี อสัญกรรม อิมามโคมัยนี (รฎ.) 94 การประชุมร่วมระหว่างที่ปรึกษาฝ่าย วัฒนธรรมกับ ผวจ.พระนครศรีอยุธยา 109 งานวันคล้ายวันประสูติท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ 112 กิจกรรม เยี่ยมเยียน 113

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 1


EDITORIAL บทบรรณาธิการ

http// Bangkok.icro.ir

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ พระผู้ทรงเมตตา พระผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ

ในวาระครบรอบปีที่ 23 แห่งการอสัญกรรมของท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) สิ่งส�ำคัญที่สุดนับว่ามีคุณค่ายิ่งส�ำหรับ มวลมนุษยชาติคือ การตื่นตัวไม่ว่าจะเป็นการตื่นตัวทางด้านการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสังคมก็ตาม ที่จะต้อง หมุนไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่สิ่งที่มวลมนุษยชาติตระหนัก และพิจารณาก็คือ สิ่งใดที่เป็นแรงจูงใจในการปลุก เร้าจิตวิญญาณให้ตื่นขึ้น เช่นเดียวกันในโลกอิสลาม ก็ยังมีมหาบุรุษ และสตรีอีกมากมายที่เป็นแบบอย่างอันดี ให้มวล มุสลิมปฏิบัติตาม ในยุคของโลกาภิวัฒน์ ปัจจุบันโลกอิสลามได้รับมรดกทางความคิดของบรรดาผู้ปกครอง ที่น�ำโลก อิสลามออกจากยุคมืดอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือมรดกทางความคิดของท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) สู่การตื่นตัวของโลกอิสลาม ชีวประวัติของมหาบุรุษท่านนี้ เมื่อมองยังอาภรณ์เครื่องแต่งกายก็จะพบเสื้อคลุม (อะบา) สีน�ำตาล อะมามะฮ์ (ผ้าโพกศรีษะ) สีด�ำ เคราที่ขาว พร้อมกับความเป็นอยู่ที่เรียบว่าย ตั้งแต่ชีวิตเยาว์วัยจนชราภาพ มหาบุรุษท่านนี้ก็ใช้ ชีวิตคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แน่นอนท่านเป็นผู้จุดประกายแสงสว่างแห่งทางน�ำที่เกิดจากจิตวิญญาณ ท่านเป็นผู้ท�ำให้ ความหวังนั้นเป็นจริง ทุกคนที่อยู่รายรอบท่านต่างได้รับคุณค่าการพัฒนาบุคลิภาพและการช่วยเหลือ ไม่มีผู้ใดผิดหวัง จากการที่ท่านปรากฎกาย ณ ณ สถาน ที่ใดก็ตาม ก็จะท�ำให้จิตวิญญาณของผู้ใกล้ชิดนั้น ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปใน หนทางที่ดีงามขึ้น ขณะที่ท่านนั่งอยู่บนเก้าอี้ เสมือนผู้ปกครองคนหนึ่งที่มีอ�ำนาจการบัญชาการ อ�ำนาจการสั่งการของท่าน เสมือนพายุทอร์นาโด ถ้าผู้ใดที่ไม่ได้ให้ความสนใจในสิ่งนี้ ก็ควรคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า ท่านผู้นี้ คือใคร แต่บุคคลผู้นี้เป็นใครหรือ ท�ำใมจึงใช้ชีวิตอันเรียบง่ายเช่นนี้ จากอดีตมาก็ยังไม่พบบุคคลใดที่อยู่ในฐานะ ผู้ปกครอง ผู้น�ำ ที่มีบุคลิกที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ แต่ก็สมารถจะกล่าวได้ว่า การด�ำเนินชีวิตของท่านเหมือนแบบอย่างการด�ำเนินชีวิตของบรรดาศาสดาที่ผ่าน มา เช่นเปรียบดังศาสดามูซาที่ถูกก�ำหนดมาเพื่อท�ำลายฟิรอูน (ฟาโรห์) ผู้ปฏิเสธ และบรรดาผู้ปฏิเสธให้หมดไปจาก หน้าแผ่นดินแห่งอียิปตืดบราณ เสียงของท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) ส�ำหรับคนอิหร่านแล้วเปรียบเสมือนเสียงค�ำสั่งของ พระผู้เป็นเจ้า มือของท่านเปรียบเสมือนอ�ำนาจที่ได้รับมอบหมายมาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งวางอยู่บนพื้นแผ่นดินที่ เชื่อมต่อจากชั้นฟากฟ้า ท่านเปรียบเสมือน (ศาสดา) อีซาแห่งยุคสมัย ที่ใช้มือของท่านบ�ำบัดความทุกข์ยาก เชานเดียวกับยุคสมัยของ ท่านศาสดาอีซาบุตรของท่านหญิงมัรยัม (อ.) มุศฏอฟา นัจยารียอน ซอเดะฮ์ Mustafa Najjarian Sadeh

2 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


บทความ เชคชะรีฟ ฮาดีย์

วิเคราะฮ์แนวคิด กรณีศึกษาปรัชญาการปกครองและรัฐ

ด้

วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณา มวลมนุษยชาติ ดังที่อัลกุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ ‫ُي ْؤ ِتي ا ْل ِح ْك َم َة َمن َي َشاء َو َمن ُي ْؤ َت ا ْل ِح ْك َم َة َف َق ْد‬

การศึกษากรอบแนวคิด หรือหลักคิดของบุคคลผู้ เป็นปราชญ์ ไม่ว่าอยู่ในฐานะใด จะเป็นศาสดา หรือผู้น�ำ ลัทธิทางศาสนา หรือ นักปรัชญา ถือว่ามีประโยชน์อย่าง มากมายทีเดียว ซึ่งจะยังประโยชน์ทั้งส่วนปัจเฉกบุคคล และสังคม โดยที่มนุษย์ในยุคหลังสมัยนั้นน�ำค�ำสอนนั้น มาเป็นหลักคิด เพื่อการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ ด้าน การเมืองและวัฒนธรรมและด้านอื่นๆ อิมามโคมัยนี (ร.ฎ.) คือปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค สมัย ท่านได้สร้างปรากฏการณ์ทางสังคม ทางการเมือง ทางวัฒนธรรมอย่างที่ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้ อิมาม โคมัยนี (ร.ฎ.) ได้สถาปนาสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เพื่อเป็นการปูทางไปสู่ชัยชนะสูงสุด และความส�ำเร็จที่ ยิ่งใหญ่แห่งมวลมนุษยชาติ นั่นคือการสร้างวัฒนธรรม อันพิสุทธิ์แห่งอิสลามให้ชาวโลกประจักษ์ว่า อิสลามคือ ศาสนาแห่งทางน�ำและเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตที่แท้จริง ของมนุษย์ เมื่อกล่าวถึงปวงปราชญ์ ผู้รู้ทางด้านศาสนา ผู้น�ำ ทางจิตวิญญาณ นักปรัชญา ซึ่งพวกเขาถูกเรียกว่า ”ฮุ กามาอ์” คือบรรดาผู้ทรงมีวิทยปัญญาขั้นสูง พวกเขา คือ ผู้ให้ชีวิตชีวาแก่สังคม และให้ความดีงามอย่างอนันต์ต่อ

َ ‫ال ُأ ْولُوْا ا‬ َّ ‫ك ُر ِإ‬ ‫اب‬ ِ ‫أل ْل َب‬ َّ ‫يرا َو َما َي َّذ‬ َ ‫ُأو ِت َي َخ ْي ًرا‬ ً ‫ك ِث‬ “อัลลอฮ์ทรงมอบวิทยปัญญา (อัลฮิกมะฮ์) ให้ผู้ใด ก็ได้ ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดก็ตามได้รับวิทย ปัญญานั้น (ฮิกมะฮ์) แน่นอนเขาได้รับความดีงามอย่าง มากมายทีเดียว” (อัลบะก่อเราะฮ์ โองการที่ 269) อิมามโคมัยนีคือปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นนักปรัชญา ระดับสูง เป็นทั้งนักปกครองและ นักปราชญ์ จึงถือว่าเป็น ความท้าทายอย่างสูงยิ่งของนามผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ ท่าน สร้างปรากฏการณ์ทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรม สมัยหลังนวยุค จนท�ำให้นักคิดและนักวิชาการในโลก ปัจจุบันทั้งที่เป็นมุสลิม และไม่ใช่มุสลิมต้องกลับไปทบ ทวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกันใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีและ หลักคิดของพวกเขา อิมามโคมัยนีกล่าวถึงเรื่องรัฐ และระบอบการ ปกครองว่า “การเป็นผู้ปกครอง และผู้น�ำของประชาชนถือว่า เป็นหน้าที่ของนักการศาสนา นักนิติศาสตร์ทรงคุณธรรม และถือว่าเป็นความเหมาะสม ของนักนิติศาสตร์ที่สุด ในการเป็นผู้น�ำของประชาชนมุสลิม ดังนั้น การจัดตั้งรัฐ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 3


การปกครองที่ดีที่สุด เพราะเป็นระบอบการปกครองของ บรรดาศาสดา และบรรดาผู้น�ำหลังจากศาสดาที่อยู่ใน ฐานะของผู้ปกครองที่ศาสดาได้สั่งเสียไว้ อิมามโคมัยนีเชื่อว่า ระบอบอิสลามจะเป็นระบอบ ที่สร้างหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการบ้านเมือง โดยน�ำหลักนิติรัฐนิติธรรมมาปกครอง และสามารถน�ำ ความยุติธรรมให้เกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์ได้

อิมามโคมัยนีกับทฤษฎี ทางการเมือง

อิมามโคมัยนีน�ำเสนอการปกครอง และการเมือง อิสลาม ถือว่าเป็นวายิบ ประเภทกิฟาอี (ข้อบังคับซึ่งถ้ามี ในยุคนี้ด้วยมุมมองทางปรัชญาส�ำนัก "ปรีชาญาณสูงส่ง” ว่าด้วยทฤษฎี “ความเป็นเอกภาพในพหุภาพ” (Unity and บุคคลใดได้กระท�ำแล้วบุคคลอื่นเป็นอันตกไป) “ดังนั้น ถ้ามีนิติศาสตร์ท่านใด ได้จัดตั้งรัฐอิสลาม Diversity) อธิบาย ขึ้น ถือว่าเป็นนิติศาสตร์ท่านอื่น ๆ ถือว่าจ�ำเป็นต้องปฏิบัติ ในปรัชญาของอิสลาม มีเนื้อหาหนึ่งที่เป็นเนื้อหา ตาม และถือว่าจ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญและสนับสนุน” ส�ำคัญและถือว่าเป็นอัตลักษณ์ของส�ำนักปรัชญาอิสลาม (หน้า 33 จากหนังสือซอฮีฟะตุลนูร) คือเรื่อง "หลักเอกภาพในพหุภาพ” เป็นหลักคิดที่มีมุม อิมามโคมัยนีกล่าวอีกว่า “ด้วยเหตุนี้ ถือว่าเป็นสิ่งจ�ำเป็นต่อนักนิติศาสตร์ มองต่อเอกภพในองค์รวมดังนี้ 1. ตามหลักปรัชญาและทฤษฎีทางปรัชญาเชื่อว่า อิสลาม ต้องน�ำหลักศาสนบัญญัติมาบังคับใช้ และจะ ต้องด�ำเนินการด้านการเงิน ทรัพย์สินจากเงินคุมซ์จาก โลกใบนี้และเอกภพมีความหลากหลาย และความแตก ประชาชน จะต้องแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน ต่างนั้น แบ่งออกได้ 3 ประเภทกลุ่มดังนี้ ก. ความหลากหลายทางกายภาพ ได้แก่ สิ่งไม่มี ความเป็นอยู่ของประชาชน และหน้าที่ที่กล่าวมานี้ถือว่า ท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดาอิมาม (อ.) ปฏิบัติมา ชีวิต เช่น แร่ธาตุ ดิน น�้ำ อากาศ ทะเลทราย ภูเขา ป่าไม้ แล้ว และเป็นหน้าที่ของพวกท่าน (อ.) และส�ำหรับนัก แม่น�้ำ ล�ำคลอง เป็นต้น ข. ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ สิ่งที่มีชีวิต นิติศาสตร์ผู้ทรงคุณธรรม จะต้องมีหน้าที่เช่นนี้ด้วยเช่น เช่น ต้นไม้ สัตว์ เชื้อโรค สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับสิ่ง กัน” (หน้า 33 หนังสือศอฮีฟะตุลนูร) อิมามโคมัยนีเชื่อและยืนยันว่า แท้จริงมนุษยชาติ แวดล้อมทางกายภาพ ค. ความหลากหลายทางสังคม เป็นสิ่งแวดล้อมที่ และสังคมโลกจะยืนอยู่บนความสงบสุข และสันติภาพ ที่แท้จริงได้ สังคมโลกต้องอยู่ภายใต้การปกครองใน เกิดขึ้นจากมนุษย์ เช่น ประชากร เศรษฐกิจ การเมือง การ ระบอบอิสลาม ซึ่งเป็นระบอบถึอว่าเป็นโครงสร้างหลัก ปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม พิธีกรรมทางศาสนาและ ของการจัดตั้งรัฐ ซึ่งในระบอบอิสลามจะเป็นตัวจักรและ เทคโนโลยี เป็นต้น ในระบบองค์รวม สิ่งแวดล้อมทั้งสามชนิดของ โครงสร้างย่อยอื่นที่มาบริหารจัดการบ้านเมือง อิมามโคมัยนีเชื่อว่า ระบอบอิสลามคือระบอบ มนุษย์จะต้องด�ำรงอยู่ในลักษณะประสานสัมพันธ์ สอด 4 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


คล้องกลมกลืนกัน เพื่อให้เกิดภาวะดุลยภาพ 2. ทุกๆ ความแตกต่างนั้นมีความเหมือน นั่นคือ ภาวะความมีอยู่ หรือสถานะของความมีอยู่ ความเป็น ภวันตภาพ กล่าวคือ ถ้าเราได้สังเคราะฮ์แยกเนื้อหาย่อยของ กระบวนการคิดแล้วมาวิเคราะฮ์ และแจกแจงมัน จะ พบว่าในเอกภพและสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนโลกใบนี้มีความ เหมือนกัน และมีสถานะอันเดียวกัน นั่นคือ ความมีหรือ ความเป็นภวันต์เพราะว่า ทุกๆ สิ่งปรากฏและด�ำรงอยู่ ถ้าสิ่งเหล่านั้นเป็นมายา ไม่มีอยู่จริง เราคงไม่สามารถให้ เนื้อหาแก่มันได้ว่า เป็นนก เป็นนายแดง เป็นผักบุ้งและ อื่นๆ ระหว่างความเหมือน กับความต่างของสรรพสิ่ง มีอยู่ภาวะหนึ่งเป็นแก่นแท้ กล่าวคือจากความหลาก หลายที่เราประจักษ์ด้วยสายตา หรือจากความต่างที่ เรารับรู้ด้วยผัสสะของเรา หลักปรัชญาอิสลามได้น�ำมาวิ เคราะฮ์ว่า แท้จริงแล้วในความต่างและความเหมือนนั้น มีโครงสร้างอยู่ 2 อย่าง และหนึ่งจากสองโครงสร้างเป็น แก่นแท้ เป็นเนื้อแท้ของสรรพสิ่งนั้น และโครงสร้าง 2 อย่างคือ ก. ภวันตภาพ คือความมีและการเป็นอาตมัน เช่น ความมีอยู่ของตัวเสือ ความมีอยู่ของตัวแมว ข. คุณานุภาพคือ ลักษณะเฉพาะหรือความเป็น เอกลักษณ์ของตัวตน เช่น ความเป็นแมวและความเป็น เสือ เป็นต้น หลักปรัชญาอิสลามเชื่อว่า ภวันตภาพนั้นคือตัว แท้ของสรรพสิ่ง ส่วนความเป็นแมว ความเป็นเสือ เรียกว่า คุณานุภาพ เป็นผลผลิตของภวันตภาพ - การสร้างความยุติธรรมทางเมือง และทางการ ปกครอง คุณลักษณะของผู้ปกครอง หรือผู้น�ำรัฐอิสลาม จะ ต้องไม่มีความลุ่มหลงในอ�ำนาจ หรือลุ่มหลงในตัณหา เพราะสิ่งนั้นถือว่า เป็นอันตรายใหญ่หลวงทีเดียว แต่ต้อง สร้างความเป็นธรรมและความยุติธรรมแก่สังคม มอบ

สิทธิและเสรีภาพต่อผู้ยากไร้ และก�ำจัดการกดขี่ทุกรูป แบบให้หมดไป อิมามอะลีกล่าวคุฏบะฮ์บทหนึ่ง หลังจากยอมรับ การปกครองแก่มุสลิม ที่เข้ามาขอร้องในเวลานั้น และ ให้การสัตยาบันต่อท่านว่า “โอ้ อัลลอฮ์ พระองค์รู้สิ่งที่ออกมาจากตัวของข้า พระองค์ดี แท้จริง มันไม่ได้มาจากความใคร่หรือความ อยากในการจะเป็นผู้น�ำแต่อย่างใดเลย และไม่ใช่เพราะ การแสวงหาประโยชน์ทางโลก แต่ที่ข้าพระองค์ปฎิบัติ นั้น เนื่องจากต้องการน�ำศาสนาที่บริสุทธิ์ของพระองค์ กลับคืนมา และจะปฎิรูปเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เพื่อให้ ผู้ยากไร้ ผู้ถูกกดขี่มีความสุข ได้รับความเป็นธรรม ความ ปลอดภัย และน�ำหลักการของพระองค์ที่ถูกละเลยเมิน เฉย น�ำมาปฎิบัติอีกครั้ง” อิมามอะลีกล่าวว่า “ท่านจงปฏิบัติกับประชาชน ด้วยความยุติธรรม เถิด โดยการให้สิทธิอันชอบธรรมแก่พวกเขา และจง อดทนต่อความยากล�ำบากของพวกเขา เพราะเจ้ามีหน้า ที่ต้องดูแลรักษาสิทธิของพวกเขา” (สาส์นฉบับที่ 50 ของ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) -การหลีกเลี่ยงการใช้อ�ำนาจรัฐแบบเผด็จการ สาส์นฉบับหนึ่งที่อิมามอะลีเขียนถึงอัชอัส บินเกส เมื่อเขาถูกแต่งตั้งให้ปกครองมืองหนึ่ง ในอาเซอร์ไบจันว่า “การปกครองบ้านเมืองไม่ใช่อาหาร และอาภรณ์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 5


ของท่าน แต่คือภารกิจและหน้าที่เหนือท่าน ที่ท่านต้องรับ ผิดชอบมัน และพวกเขาต้องการที่จะให้ท่านเป็นผู้ดูแล” อิมามอะลีส่งสาส์นให้มาลิก อัชตัร มีใจความว่า “จงน�ำค�ำขวัญเป็นคติต่อตัวเองเสมอว่า ต้องมี ความเมตตาและความรัก ในการปกครองพวกเขานั้น และโอบอ้อมอารี และอย่าเป็นดั่งสัตว์ดุร้าย ที่คอยจะกัด กินพวกเขา เพราะว่าประชาชนนั้นมีสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่ง พวกเขาเป็นพี่น้องร่วมศาสนากับท่าน หรือถ้าไม่เป็นเช่น นั้น พวกเขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับท่าน” อิมามอะลีกล่าวว่า “จงรู้เถิดว่า แท้จริงการปกครองที่อยู่ในมือของ ท่าน ไม่ใช่เป็นดั่งอาหาร (ที่ท่านคอยจะกินมัน) แต่ทว่า มันคืออะมานะฮ์ (ของฝาก) ที่อยู่เหนือคอของท่านต่าง หาก และท่านมีหน้าที่ต้องดูแล โดยให้ความยุติธรรม และปกป้องรักษาสิทธิอันชอบธรรม และอย่าให้ตัวของ ท่านเป็นผู้ใช้อ�ำนาจ (เผด็จการ) ปฏิบัติต่อประชาชน ตามอ�ำเภอใจอย่างเด็ดขาด” (สาส์นฉบับที่ 5 นะญุลบะ ลาเฆาะฮ์) -การไม่ให้โอกาสแก่ผู้แสวงผลประโยชน์ทางการ เมือง อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ขอสาบานด้ยวพระนามแห่งอัลลอฮ์ว่า ข้าฯ มิได้ เป็นเหมือนอย่างหมีที่หลับไหล (ไม่รับรู้เหตุการณ์ใดๆ) เป็นเหยื่อของนายพราน ที่มานั่งอยู่เพื่อลวงและจับมัน เขาเอามือหรือไม้เคาะพื้นดินเบาๆ จนกระทั่งถูกจับใน ที่สุด แต่ทว่าข้าฯ จะร่วมมือกับคนที่ยอมรับในสัจธรรม เชื่อฟังและปฏิบัติตาม จัดการและท�ำสงครามกับคนที่ ฝ่าฝืน และหันหลังให้สัจธรรมให้สิ้นซาก" (ค�ำเทศนาที่ 6 จากนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) -การตัดสินและพิพากษา ต้องตั้งอยู่บนหลัก นิติธรรม อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “เจ้าจงเลือกการตัดสินระหว่างประชาชน ด้วย การตัดสินที่ดีที่สุด โดยไม่เอนเอียงเถิด และอย่าตัดสิน

6 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ระหว่างคนสองคนที่ทะเลาะกัน ด้วยความรู้สึกตัวเอง (โดยเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่ง) อย่าหวั่นไหวใดๆ” (สาส์นฉบับ ที่ 51 ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) -การสร้างความปรองดองคนในชาติ คุฎบะฮที่ 146 "สถานภาพของผู้น�ำมุสลิมและของผู้ปกครอง รัฐอิสลาม ประดุจดังกระดูกซี่โครง ที่เรียงกันเป็นระบบ ถ้ามันแยกจากกัน ท�ำให้เกิดกระจัดกระจาย และไม่ สามารถท�ำให้เกิดความสมดุลและรวมกันได้ ถึงแม้ว่า วันนี้ชนชาวอาหรับจะมีจ�ำนวนน้อยก็ตาม และด้วยการ ยอมรับอิสลามของพวกเขาจะท�ำให้จ�ำนวนมุสลิมเพิ่ม ขึ้น และจากความเป็นเอกภาพ และเป็นหนึ่งเดียวกันของ ประชาชาติอิสลาม จะท�ำให้มีอ�ำนาจเหนือ และมีพลังอัน ยิ่งใหญ่ ดังนั้น ท่านจงเป็นดังแกนกลางของโม่เถิด ซึ่งโม่ จะหมุนได้ ก็เพราะมีแกนกลางนั้น และจงน�ำเขากลับคืน ด้วยความเป็นอาหรับเถิด และจงให้พวกเขาออกห่างจาก ไฟแห่งสงครามเหล่นั้น” -คุณลักษณะของผู้น�ำและภาวะผู้น�ำ คุฎบะฮ์ที่ 163 “จงรู้เถิดว่า ผู้ประเสริฐที่สุดจากบ่าวของอัลลอฮ์ คือผู้น�ำผู้ทรงธรรม ที่ได้รับการชี้น�ำ และเขาจะชี้น�ำผู้อื่น และยึดหลักแบบฉบับแห่งศาสดามุฮัมมัดมาปฎิบัติ และ ท�ำลายสิ่งที่เป็นอุตริกรรมทางศาสนา และความเลวร้าย ทั้งหลายในสังคม และแท้จริงจงรู้เถิดว่าแบบฉบับอันดี งามนั้นจะปรากฏประจักษ์เป็นบุคคล และสิ่งที่เป็นอุตริ กรรมก็จะปรากฏประจักษ์เป็นเครืองหมายให้เห็น” "ผู้น�ำไม่ใช่ใครเลย นอกจากเป็นผู้ที่ยึดหยัดปฎิบัติ ตามค�ำสั่งที่อัลลอฮ์ทรงบัญชาให้ โดยท�ำหน้าที่ประกาศ ตักเตือน และมีความอุตสาหะในการอบรมตักเตือน ประชาชน และฟื้นฟูแบบฉบับแห่งท่านศาสดา และน�ำ บทลงโทษส�ำหรับผู้กระท�ำผิดอย่างเหมาะสม และน�ำ ส่วนแบ่งจากทรัพย์สินกองกลางมอบให้ผู้ที่มีสิทธิในการ จะได้รับ”(คุฎบะฮที่ 104) - การดูแลผู้ยากไร้และผู้อ่อนแออย่างใกล้ชิด


“จงเกรงกลัวต่ออัลลอฮ์เถิด จงนั่งร่วมและดูแล กลุ่มคนที่เป็นผู้ยากไร้ ผู้อนาถา ผู้ไร้ความสามารถเหล่า นั้นเถิด เพราะว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่จะแสดงออกถึง ความต�้ำถ้อย และความยากไร้ของตนออกมาให้คนอื่น เห็น และเช่นเดียวกันส�ำหรับกลุ่มคนที่มีคุณลักษณะดัง กล่าว ก็จงดูแลพวกเขา ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่แสดงออกถึง คุณลักษณะนั้นก็ตาม และจงปกป้องพวกเขา เพื่ออัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์เรียกร้องให้เจ้าปกป้องในสิทธินั้นของพวกเขา และจงมอบส่วนแบ่งจากเงินกองกลางแก่พวกเขา และ จงน�ำส่วนแบ่งที่เก็บภาษี มาจากรายได้ของทรัพย์สิน ต่างๆ และจงก�ำหนดให้พวกเขาทุกพื้นที” (จดหมายที่ 53) "และจงรู้เถิดว่า แท้จริงส�ำหรับกลุ่มคนที่เป็นผู้ยาก ไร้และผู้อนาถา ถือเป็นวายิบต้องช่วยเหลือพวกเขา และ ณ อัลลอฮ์พวกเขา เป็นกลุ่มคนที่พึงจะได้รับสิทธิ์นั้น” -การประเมินการปฎิบัติงานของหน่วยงานรัฐ มีรายงานกล่าวว่าอิมามอะลีเขียนสาส์นฉบับหนึ่ง ถึงชุรัย์ บินฮาริษ ซึ่งเป็นผู้พิพากษา ในสมัยของอิมามเขา ซื้อบ้านหลังหนึ่งเป็นเงินเป็ดสิบดีนาร ข่าวนี้ไปถึงหูอิมาม ท่านอิมามจึงเรียกเขามาชี้แจงในเรื่องนี้ อิมามอะลีกล่าว ว่า “ฉันได้รับข่าวมาว่า เจ้าได้ซื้อบ้านหลังหนึ่งเป็นเงิน 80 ดีนาร ซึ่งมีพยานหลักฐานพร้อมค�ำยืนยันในเรื่องนี้” ชุรัยกล่าวว่า “โอ้อะมีรุลมุอ์มีนีน ใช่ เป็นดังที่ท่าน ทราบ” อิมามอะลีมองชุรัย ด้วยความโกรธเคืองเป็นอย่าง มาก แล้วกล่าวว่า "โอ้ชุรัย ในไม่ช้า อิสรอฟีล(มะลาอิกุลเมาต์)จะมา หาเจ้า ซึ่งเขาผู้นั้นจะไม่มองยังสิ่งที่เจ้าบันทึก และไม่ถาม เกี่ยวกับบ้านของเจ้า จนกระทั้งจะน�ำเจ้าออกไปจากบ้าน นั้น แล้วจะส่งเจ้าสู่หลุมฝังศพแต่เพียวผู้เดียว (ไม่มีใคร มาอยู่เป็นเพื่อนเจ้าได้)” (จดหมายที่ 3) จดหมายฉบับหนึ่ง อิมามอะลีเขียนถึงมัศกอละฮ์ บินฮุบัยเราะฮ์ ชัยบานี ซึ่งเป็นตัวแทนของในการปกครอง เมืองกุรเราะฮ์ (เมืองหนึ่งแถบมณฑลฟอร์ในอิหร่าน) ว่า “มีข่าวจากท่านว่า ท่านกระท�ำสิ่งที่ท�ำให้อัลลอฮ์

และผู้น�ำของท่านโกรธเคือง เพราะท่านยึดทรัพย์สิน อาวุธ พาหนะของทรัพย์สินบรรดามุสลิม นองเลือดพวก เขาอีก และยังแบ่งแยกอาหรับออกจากผู้ไม่ใช่อาหรับจน เป็นส่วนๆ” (สาส์นฉบับที่ 43) อิมามอะลี (อ.) กล่าวกับมาลิก อัชตัร ว่า “จงน�ำค�ำขวัญเป็นคติต่อตัวเองเสมอว่า ต้องมี ความเมตตาและความรักในการปกครองพวกเขา และ จะต้องมีความโอบอ้อมอารี และอย่าเป็นดั่งสัตว์ดุร้าย ที่ คอยจะกัดกินพวกเขา เพราะประชาชน มีสองกลุ่ม หนึ่ง พวกเขาเป็นพี่น้องร่วมศาสนากับท่าน หรือถ้าไม่เป็นเช่น นั้น พวกเขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับท่าน” สรุปทฤษฎี การปกครอง จะต้องปกครองและสร้างรัฐที่อยู่ บนพื้นฐานของความแตกต่าง แต่ด�ำรงหลักการที่เป็น โครงสร้างของสังคม และการปกครองที่เป็นเอกภาพ และหนึ่งเดียวไว้ นั่นคือทุกชาติหรือรัฐต้องยึดโครงสร้าง เอกภาพในระบอบ “เทวาธิปไตย” (Theocracy) โดยมี หลักการ 2 ประการ ก. ผู้ปกครองที่ทรงธรรม อยู่ในฐานะเป็นปราชญ์ เป็นนักการศาสนา “Philosopher King” หรือ “วิลายะ ตุลฟะกีย์ ข. หลักกฏหมาย หรือรัฐธรรมนูญวางอยู่บนหลัก นิติรัฐหลักนิติธรรม ในความหมายคือเป็นการตรากฏ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 7


หมายที่มีแม่บทมาจากพระเจ้า ความเป็นพหุภาพ นั่นคือความแตกต่างทางศาสนา และสีผิวหรือ ทางวัฒนธรรมและทางอารยธรรม แต่ละชาติและแต่ละ ชาติรัฐ จะต้องไม่ท�ำลายศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน โดยยึด หลักการสร้างความยุติธรรม และความมีเสรีภาพให้สิทธิ และเสรีภาพตามบริบทของตนที่พึงจะมี และพึงจะเป็น โดยมีโครงสร้างดังนี้ ก.ให้สิทธิและเสรีภาพ ที่ตั้งอยู่บนกฏเกณท์แห่ง ความชอบธรรม ข. สนับสนุนและเกื้อกูลต่อกันและกัน ทั้งภาค สังคม ภาคเศรษฐกิจ ภาควัฒนธรรม ศาสนา ค. เคารพในศักดิ์ศรีและเกียรติยศ แห่งความมี มนุษยธรรม ทฤษฎีการเมืองตามนักปรัชญาหลังนวยุค (Post Modern Philpsophy) แนวคิดปรัชญาการเมืองสมัยปัจจุบัน เน้นที่ความ เป็นประชาธิปไตยและนักปรัชญาโลกาภิวัตน์เสนอสังคม ที่เชื่อว่า จะเหมาะที่สุดส�ำหรับยุคโลกาภิวัตน์คือ การ สร้างสังคมอารยะ (Civil Society) เป็นการปกครองโดย ประชาชนมีส่วนร่วม หรือเรียกว่าประชาสังคม ประชาชน เป็นเจ้าของสังคมร่วมกัน โดยแบ่งรับผิดชอบระหว่าง สถาบันการเมือง สถาบันเอกชนและสถาบันศาสนา เป็นสังคมอารยะ ที่เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยอยู่ในลักษณะของพหุนิยม (Pluralistie) ไม่แบ่ง แยกสีผิว ภาษา ศาสนาและลัทธิ เป็นการปกครองแบบ สาธารณรัฐ โดยตรากฎหมาย และหลักนิติรัฐที่ยืนอยู่บน ความเป็นจริงและตามบริบททางการเมือง และสังคมซึ่ง ไม่มีหลักเกณท์เฉพาะตัวหรือเป็น แบบที่ตายตัว ทฤษฎีทางการเมืองอื่น ก. ทฤษฎีแบ่งแยกแล้วปกครอง (Divide and Rule) เป็นแนวคิดของกลุ่มประเทศจักรวรรดินิยม กลุ่ม ประเทศล่าอาณานิคมทั้งหลาย เช่น อังกฤษหรือฝรั่งเศส สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

8 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ข. ทฤษฎีสร้างเป็นหนึ่งเดียวแล้วปกครอง (Unity and Rule) เป็นทฤษฎีการเสนอทางออกของฮันทิงตันน ในการรวมอารยธรรมทั้งหลาย (Civilizations) เข้าด้วย กัน แล้วสถาปณา หนึ่งอารยธรรม (Civilization) หรือที่ เรียกตามศัพท์การเมืองวันนี้คือ การจัดระเบียบโลกใหม่ (The new world order) คือ 1. สร้างทุกชาติรัฐเป็นการปกครอง ในระบอบ ประชาธิปไตย แบบเสรีนิยม 2. สลายขั้วอ�ำนาจแบบสองขั้ว ในเคยเกิดในอดีต เหลือเพียงขั้วเดียว 3. การจัดสรรปันส่วนของทรัพยากร อยู่ที่การ ตกลงกันและกัน 4. ให้สิทธิและเสรีภาพ บรรณานุกรม 1. เชคชะรีฟ ฮาดีย์ แบบเรียนศาสนาอิสลามตามแนวทาง ชีอะฮ เล่ม 5 พิมพ์โดยสถานศึกษา ดารุลอิลม์ มูลนิธิคูอีย์ ปีที่พิมพ์ 2552 2. เชคชะรีฟ อัลฮาดีย์ 2548 การก�ำเนิดส�ำนักต่างๆในอิสลาม กรุงเทพฯ : ศูนย์วัฒนธรรมสถานเอกอัคร ราชทูต สาธารรัฐอิสลามแห่ง อิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ 3. พีชวออีแปลโดย ไซม่า ซาร์ยิด ภาพลักษณ์ทางการเมืองขอ งอิมาม 12 พิมพ์โดยสถาบันศึกษาอัลกุรอาน รอซูลอัลอะอ์ซอม ปี ที่พิมพ์ 2551 4. พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺ โต) ปรัชญาการศึกษาไทย พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : กองศาสนศึกษา กรมศาสนา โรงพิมพ์การ ศาสนาปีที่พิมพ์ 2528 5. Ayatullah Misbah Yazdi. Jami ah wa Tareek. Qom Iran : Sazman Tabliqat 1372 6. Ayatullah Javadi Amoli Falsafah Hukok Bashar. Qom Iran : Isra Puplication Cente


บทความ เชคอิมรอน พิชัยรัตน์

การอรรถาธิบาย

อัลกุรอาน

แนวรหัสยวิทยา ในมุมมองของ

อิมามโคมัยนี(รฎ.) ห

นึ่ ง ในแนวการอรรถาธิ บ ายอั ล กุ ร อานคื อ แนวอิรฟาน (รหัสยวิทยา) จากผลงานด้าน นี้ของท่านอิมามโคมัยนีชี้ให้เห็นว่า ท่านให้ความส�ำคัญ กั บ การอรรถาธิ บ ายแนวนี้ ท ่ า นพยายามดึ ง ประเด็ น ที่ละเอียดอ่อนทางด้านรหัสยะจากโองการต่างๆ มา อรรถาธิบาย ในบทความนี้ผู้เรียบเรียงจะพยายามน�ำ เสนอแนวทางการอรรถาธิบาย อัลกุรอานแบบอิรฟาน ในมุมมองของท่านอิมามโคมัยนี ความแตกต่างของการ อรรถาธิบายแนวทางนี้กับการอรรถาธิบายตามอ�ำเภอ ใจ และยกตัวอย่างการอรรถาธิบายแนวอิรฟานของอิ มามโคมัยนีจากบทอัลฟาติฮะฮ์ หวังเป็นอย่างยิ่งจะยัง ประโยชน์แก่นักอ่านทุกท่าน อิมามโคมัยนีคือนักอรรถาธิบายผู้ยิ่งใหญ่ท่าน หนึ่งที่ให้ความส�ำคัญกับการอรรถาธิบายแนวอิรฟาน ก่อนที่เราจะเข้าสู่เนื้อหาการอรรถาธิบายแนวรหัสยะ อันดับแรกเราต้องท�ำความรู้จักกับ “แนวการอรรถาธิบาย แบบ รหัสยะ” โดยอิงจากการอรรถาธิบายแนวนี้ของอิ มามโคมัยนี และท�ำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง การอรรถาธิบายตามอ�ำเภอใจกับการอรรถาธิบายแนว รหัสยะในมุมมองของอิมามโคมัยนี และจะยกตัวอย่าง การอรรถาธิบายแนวนี้ของอิมามโคมัยนีจากบทฟาติฮะฮ์

ความเป็นมาของการอรรถาธิบายแนวอิรฟาน เมื่ อ เราศึ ก ษาค้ น คว้ า และอ่ า นผลงานด้ า นการ อรรถาธิบายของอิมามโคมัยนี จะเห็นได้ว่านอกจากท่าน จะให้ความส�ำคัญในการพินิจใคร่ครวญความหมายของ ค�ำด้านภายนอกแล้วท่านยังให้ความสนใจเป็นพิเศษกับ ความหมายด้านนัยและอิรฟานของโองการต่างๆ อีกด้วย การอรรถาธิบายแนวรหัสยะคือการอรรถาธิบาย ซึ่งจะอธิบายนัยยะของโองการและความหมายเชิงรหัส ยะของโองการต่างๆ การอรรถาธิบายแนวนี้วางอยู่บน พื้นฐานของรหัสยวิทยาและการเดินทางทางจิตวิญญาณ (ซีรวะสุลูก) และได้รับมาจากหนทางของการเห็นแจ้งทาง จิต (ชุฮูด) ดังนั้นการอรรถาธิบายแนวระหัสยะ จึงแตก ต่างอย่างมากจากแนวสติปัญญา อายะตุลลอฮ์ฮาดีย์ มะอ์รีฟัตให้นิยามการ อรรถาธิบายแนวระหัสยะ ไว้ว่า “การอรรถาธิบายแนวรหัสยะคือ การตีความด้าน เปิดเผย (ซอฮิร) ของโองการโดยย้อนกลับสู่ด้านนัยยะ ของโองการและเชื่อมั่นต่อรหัสยะและสัญลักษณ์ของ โองการ ไม่ใช่แนวด้านเปิดเผยของโองการ แต่อย่างไร ก็ตามขึ้นอยู่กับกลิ่นอายของเทววิทยา และรสนิยมทาง ด้านรหัสยะ" บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานแนวรหัส ยะ มีภาระหน้าที่ด้านในและนัยยะของโองการ โดยเชื่อ ว่าถึงแม้โองการอัลกุรอานจะมีด้านภายนอก (ซอวาฮิร)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 9


การอรรถาธิบายิลกิตาบิลลาฮ์ อัลมะลิกุล ญับบาร ของมุ ฮัมหมัดตะกี กัซวีนี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 1270) บะยานุสสะ อาดะฮ์ ฟี มะกอมิลอิบาดะฮ์ เป็นการอรรถาธิบายที่เชื่อม โยงถึงมุฮัมหมัด บิน ฮัยดัร ฆุนอบอดี หรือถูกรู้จักในนาม ของมุลลา สุลฏอน อะลี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.1327)

การอรรถาธิบายแนวระหัสยะ ในมุมมองของอิมามโคมัยนี

แต่ก็มีความหมายที่มีนัยยะและรหัสยะที่ลุ่มลึกเช่นกัน ซึ่งผู้ที่จะเข้าถึงได้นั้นมีเฉพาะผู้ที่เข้าถึงความเร้นลับของ หลักการศาสนา และเนื่องจากอัลกุรอานอธิบายความ หมายด้านในไว้ส�ำหรับผู้ที่เข้าถึงรหัสยะเหล่านั้น และ พวกเขาก็อรรถาธิบายความเร้นลับรหัสยะเหล่านั้นด้วย แนวรหัสยะ ส่วนด้านเปิดเผยของอัลกุรอานนั้นเป็นการ อรรถาธิบายส�ำหรับบุคคลทั่วไป การอรรถาธิบายแนวอิรฟานที่ส�ำคัญ ได้แก่การ อรรถาธิบายที่ถูกเชื่อมโยงถึงอิมามซอดิก (อ.) การอร รถาธิบายตุสตะรีของสะฮ์ล บินอับดิลลาฮ์ ตุสตะรี (เสีย ชีวิตปี ฮ.ศ. 283) การอรรถาธิบายอะบูอับดุรเราะฮ์มาน สุ ละมี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 412) ซึ่งถูกรู้จักในนามของอะกออิกุ ตการอรรถาธิบาย ละฏออิฟุลอิชารอต กุชัยรี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 465) กัชฟุลอัสรอรวะอุดดะตุลอับรอร มัยบุดี (เสีย ชีวิตปี ฮ.ศ. 480) ซึ่งต้นฉบับเดิมนั้นเป็นของคอเจะฮ์ อับ ดุลลอฮ์ อันซอรี ต่อมามัยบุดีน�ำมาอธิบาย เราะฮ์มะตุม มินัรเราะฮ์มาน ฟี การอรรถาธิบาย วะ อิชารอติลกุรอาน ของอิบนุอะรอบี มุฮ์ยุดดีน อันดะลีซี มาลิกี ซูฟี (เสียชีวิต ปี ฮ.ศ. 638) ตับศีเราะตุรเราะฮ์มาน วะตัยซีรุลมันนาน ของท่านอะลี บินอะฮ์มัด บิน อิบรอฮีม มะฮายิมี (เสียชีวิต ปี ฮ.ศ. 835) อัลฟะวาติฮุลอิลาฮิยะฮ์ วัลมะฟาติฮุลฆอยบี ยะฮ์ อัลเมาฏิหะฮ์ ลิลกะละมิลกุรอานียะฮ์ วัลฮุกมิล ฟุรก อนียะฮ์ ของเนี้ยะมะตุลลอฮ์ นัคญะวานี (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 290) การอรรถาธิบายอัลกุรอานุลกะรีม ของศ็อดรุดดีน ชีรอซี ถูกรู้จักในนามของ ศ็อดรุลมุตะอัลลิฮีน (เสียชีวิต ปี ฮ.ศ. 1050) มะนาซิรุลอันวาร วะ มะซอฮิรุลอัซรอร ฟี 10 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

อิมามโคมัยนี มีมุมมองด้านรหัสยะในการพินิจ โองการต่างๆ ของอัลกุรอาน ด้วยเหตุนี้การอรรถาธิบาย ของท่านจึงมีรหัสยะ สัญลักษณ์ ศัพท์แสงทางด้านรหัส ยะ มุมด้านรหัสยวิทยา รสนิยมด้านใน ความลึกซึ้งด้าน รหัสยะและอื่นๆ ท่านเชื่อว่าในอัลกุรอานมีรหัสยะ มีนัย ยะซ่อนเร้นอีกมากมาย ซึ่งการเข้าถึงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ส�ำหรับทุกคน และท่านกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า อั ล กุ ร อานและวจนะของท่ า นศาสดาคื อ แหล่ ง รวบรวมวิทยาการที่อธิบายไว้ในลักษณะที่ให้ประชาชน เข้าใจ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงและเข้าใจทั้งหมด บาง ส่วนมีลักษระเป็นรหัสยะระหว่างผู้พูดหรือกลุ่มเฉพาะ อัลกุรอานก็มีรหัสยะในลักษณะนี้ กระทั่งมีรายงานกล่าว ไว้ว่า แม้แต่ญิบรออีลผู้น�ำเทวะโองการ (วะฮ์ยู) ลงมา ก็ยัง ไม่สามารถเข้าใจความหมายของโองการนั้นๆ เลย เฉพาะ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบุคคลกลุ่มเฉพาะที่ได้รับการ ถ่ายทอดจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงจะสามารถถอดรหัส เหล่านั้นได้ (กัชฟุลอัสรอร หน้า 322) ท่านถือว่าอักษรย่อ (ฮุรูฟมุก็อฏฏออาต) ก็จัดอยู่ ในประเภทรหัสยะ โดยท่านกล่าวไว้ว่า “มีทัศนะต่างๆมากมายเกี่ยวกับอักษรย่อที่ขึ้นต้น ซูเราะฮ์ต่างๆ และประการหนึ่งที่ให้ความเชื่อถือมากกว่า นั้นก็คือ อักษรย่อเหล่านี้เป็นหนึ่งในรหัสยะระหว่างผู้ให้ ความรัก (พระเจ้า)กับผู้ที่ถูกมอบความรัก (ท่านศาสดา)” (จะเฮลฮะดีษ หน้า 351) ท่านเชื่อว่าอัลกุรอานครอบคลุมประเด็นต่างๆที่ ส�ำคัญที่สุดด้านรหัสยะเอาไว้ และไม่มีต�ำราด้านรหัสยะ เล่มใดที่จะดีไปกว่าอัลกุรอานอีกแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่นัก


ปรัชญาและนักรหัสยะมี ล้วนแล้วแต่ได้มาจากอัลกุรอา นทั้งสิ้น ประเด็นที่ดีที่สุดด้านรหัสยะที่ถูกหยิบยกมากล่า วกันในหมู่นักรหัสยะในยุคนี้ก็ได้มาจากอัลกุร อาน แม้ กระทั่งประเด็นที่นักปรัชญากรีกโบราณ และนักปรัชญา อย่างอริสโตเติลและเพลโตไม่สามารถเข้าถึงได้ก็มีอยู่ ในอัลกุรอาน นักปรัชญาและนักรหัสยะอิสลามที่เติบโต มาในเปลแห่งอัลกุรอาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มา ล้วนมา จากอัลกุรอานทั้งสิ้น รหัสยะที่มีอยู่ในอัลกุรอานนั้น ไม่มี ปรากฏในต�ำราเล่มใด (ญิลเวะฮ์ ฮอเยระฮ์มอนี หน้า 24) ท่านอิมามเชื่อว่ารหัสยวิทยามีบทบาทอย่างมาก ในการเข้ า ใจศาสนาและการอรรถาธิ บ ายอั ล กุ ร อาน ฉะนั้น เป็นสิ่งส�ำคัญในการที่จะท�ำให้ฐานของศาสนา สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและสามารถเข้าใจศาสนาได้มากขึ้น ด้วย มุมมองด้านรหัสยะ และหากปราศจากด้านนี้ การจะ กล่าวว่าอัลกุรอานคือคัมภีร์เทวะโองการ “วะฮ์ยู” แห่ง พระผู้เป็นเจ้า ย่อมมีปัญหาและอุปสรรค ท่านกล่าวไว้ว่า “ผู้ใดก็ตามที่มองด้านรหัสยะแห่งคัมภีร์และนักร หัสยะอิสลามที่ได้รับวิทยาการจากอัลกุรอาน และเปรียบ เทียบพวกเขากับบรรดานักวิชาการต่างศาสนิกอื่นๆ กับ ผลงานด้านวิชาการของพวกเขา ก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า รากฐานแห่งวิทยาการของอิสลาม และอัลกุรอานซึ่ง เป็นฐานหลักของศาสนา คือคัมภีร์สุดท้ายแห่งการแต่ง ตั้งท่านศาสดาและการประทานคัมภีร์ต่างๆ และก็จะ ยอมรับว่านี่แหละคือคัมภีร์เทวะโองการแห่งพระผู้เป็น เจ้า และวิทยาการเหล่านี้คือ วิทยาการแห่งพระผู้เป็น เจ้า” (การอรรถาธิบายซูเราะฮ์ฮัมด์ หน้า 45)

ความแตกต่างระหว่างการอรรถาธิบาย แนวรหัสยะกับการอรรถาธิบาย ตามอ�ำเภอใจ

อิมามโคมัยนีเชื่อว่า ระหว่างการอรรถาธิบายแนว อิรฟานกับการอรรถาธิบายตามอ�ำเภอใจนั้นมีความแตก ต่างกันอย่างมากมาย ท่านกล่าวถึงกรณีความแตกต่าง ระหว่างทั้งสองไว้อย่างน่าสนใจ 1.การอรรถาธิบายตามอ�ำเภอใจ เกี่ยวกับการ

อรรถาธิบายโองการหลักปฏิบัติศาสนบัญญัติ (อะฮ์ กาม) ซึ่งในโองการต่างๆนี้ จะไม่มีกลิ่นอายของการใช้ สติปัญญาและอิรฟานเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นโองการที่ ต้องปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว (ตะอับบุด) และฮะดีษ ต่างๆ ที่ห้ามการอรรถาธิบายประเภทนี้ไว้ก็เกี่ยวกับการ อรรถาธิบายโองการประเภทนี้ แม้กระทั่งบางฮะดีษ กล่าวไว้ในลักษณะนี้ เพื่อเตือนบรรดานักวินิจฉัยศาสนา เช่น “ไม่มีสิ่งใดที่จะห่างไกลจากสติปัญญามากไปกว่า การอรรถาธิบาย” (มัจลิซี เล่ม 89 หน้า 95) หรือ “ไม่อาจ พบศาสนาของอัลลอฮ์ได้ด้วยปัญญา” ท่านได้อธิบาย ไว้ว่า เป้าหมายของ “ศาสนาของอัลลอฮ์” นั้นหมายถึง หลักปฏิบัติศาสนกิจ (อะฮ์กาม) เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว วิทยาการด้านการพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็น ความ เอกะของพระเจ้า การฟื้นคืนชีพ และวิทยาการอื่นๆ อีก มากมายที่เป็นสนามแห่งการใช้ปัญญา (อิมามโคมัยนี อาดาบุศซอลาต หน้า 200) 2. การอรรถาธิบายตามอ�ำเภอใจหมายถึง นัก อรรถาธิบายตัดสินไว้ล่วงหน้า โดยการยัดเยียดความ เชื่อและสมุติฐานของตนเข้าไปในอัลกุรอาน ซึ่งตรงข้าม กับการน�ำความเข้าใจด้านรหัสยะ ที่ได้มาภายหลังจาก ได้ศึกษาค้นคว้าตัวบทอัลกุรอาน โดยไม่ได้น�ำมาใช้เพื่อ พิสูจน์ สนับสนุนหรือยืนยันทัศนะใดเป็นการเฉพาะ ท่ า นเชื่ อ ว่ า ผู ้ ที่ ก ารอรรถาธิ บ ายตามอ� ำ เภอใจ นั้น ไม่ให้ความส�ำคัญกับตัวบทของอัลกุรอาน แต่จะมุ่ง ประเด็นไปยังเป้าหมายของตน พยายามยัดเยียดสมุติ ฐานของตนเพื่อยืนยัน สนับสนุนทัศนะของตน โดยได้การ อรรถาธิบายและตีความไปตามนั้น ซึ่งการกระท�ำเช่นนี้ อิสลามถือว่าเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) 3. การใคร่ครวญ การพินิจโองการของอัลกุรอาน โดยใช้ประโยชน์จากด้านรหัสยะและจริยธรรม นั้นเป็น เรื่องที่กว้างกว่าการอรรถาธิบาย ฉะนั้นจึงไม่ใช่ประเด็นที่ จะจัดอยู่ในประเภทการอรรถาธิบายตามอ�ำเภอใจ ท่านเชื่อว่าความเข้าใจด้านรหัสยะ ซึ่งเกี่ยวข้อง กับนัยของอัลกุรอานนั้น ไม่ใช่เป็นการอรรถาธิบาย แต่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 11


ถือว่าเป็นการตีความนัยของอัลกุรอาน ท่านกล่าวไว้ว่า “หากใครกล่าวถึงพจนารถของพระองค์ที่ว่า “อัล ฮัมดุลิ้ลลาฮิร็อบบิ้ลอาละมีน” ว่า การสรรเสริญเฉพาะ มวลการสรรเสริญทั้งหมดแด่พระผู้เป็นเจ้า ชี้ถึงหลักเอกา นุภาพด้านการกระท�ำ (เตาฮีดอัฟอาลี) โดยกล่าวว่า ได้ รับประโยชน์จากโองการข้างต้นได้ว่า ทุกความสัมบูรณ์ ความสมบูรณ์ ความไพจิตรที่มีอยู่ในโลก ทั้งหมดล้วน เป็นสิทธิแด่พระผู้เป็นเจ้าทุกสิ่งที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหมด ไม่มีสิ่งใดที่มาจากตัวของมันเอง ดังนั้นมวลการสรรเสริฐ ทั้งหมดเป็นสิทธิแด่พระผู้เป็นเจ้า ไม่มีผู้ใดร่วมในความ คู่ควรแห่งการได้รับการสรรเสริญ สิ่งนี้เกี่ยวข้องอะไรกับ การอรรถาธิบาย จึงจะเรียกมันว่าเป็น การอรรถาธิบาย ตามอ�ำเภอใจ" (อาดาบุศซอลาต หน้า 199)

การอรรถาธิบายแนวรหัสยะ ในซูเราะฮ์ฮัมด์

ท่ า นอธิ บ ายประเด็ น ด้ า นรหั ส ยะไว้ ใ นการ อรรถาธิบาย ซูเราะฮ์ฮัมด์ ซึ่งถือเป็นผลงานที่ส�ำคัญของ การอรรถาธิบายแนวรหัสยะของท่าน โดยผู้เรียบเรียงขอ หยิบยกมาเพียงบางส่วน ดังนี้ 1. อัลฮัมดุลิ้ลลาฮิร็อบบิ้ลอาละมีน ท่านอธิบาย “อัลฮัมดุ” ไว้ว่า เนื่องจาก “มนุษย์ที่ สมบูรณ์” คือป้าหมายสูงสุดในการอบรมสั่งสอนของพระ ผู้เป็นเจ้า ฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงเป็นผู้ที่คู่ควรต่อการได้ รับการสรรเสริญแต่เพียงพระองค์เดียว ท่านได้กล่าวว่า “เนื่องจากการอบรม ระบบโลกต่างๆ นับจากโลก แห่งเอกภพ (ฟะลัก ) โลกแห่งธาตุ (อุนศุร) โลกแห่งการ เปลี่ยนแปลง (โญฮะรี) โลกแห่งคุณา (อะรอฎี)นั้นเป็น อารัมภบทเพื่อการมี “มนุษย์ที่สัมบูรณ์” อันที่จริงแล้ว มนุษย์ที่สัมบูรณ์นี้คือสิ่งที่ถูกสกัดออกมาจากโลกที่เกิด ขึ้นและคือเป้าหมายสูงสุดของโลกทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสิ่งสุดท้าย และเนื่องจากโลกแห่งเทวทูต เป็นโลก แห่งการเปลี่ยนแปลงในตัวของมันเองอยู่ทุกช่วงขณะ" (ฮะรอกัตโญฮะรียะฮ์ซาตียะฮ์) และการเปลี่ยนแปลในตัว ของมันเองนี้เป็นความสมบูรณ์ เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไปยัง

12 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

จุดสิ้นสุด จุดนั้นก็คือเป้าหมายสูงสุดของการสร้าง และ จุดสูงสุดของการเดินทาง ดังนั้น การอบรมของพระผู้เป็นเจ้าในบ้านทุกหลัง (โลกทั้งหลาย-ผู้เรียบเรียง) นั้นก็เพื่ออบรมมนุษย์ หลังจากนั้นท่านก็ได้การอรรถาธิบายค�ำว่า “อัล ฮัมด์” ด้วยการกล่าวถึงเป้าหมายในการกระท�ำของพระผู้ เป็นเจ้านั้นคือ การอบรมมนุษย์ ท่านก็กล่าวว่าเป้าหมาย สูงสุดของการสร้างและการอบรมมนุษย์ นั้นก็คือองค์ สัมบูรณ์เจ้า (ซาต) และการคืนกลับสู่พระองค์ มาจาก พระผู้เป็นเจ้า อยู่ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยพระผู้ เป็นเจ้าและสู่พระผู้เป็นเจ้า ท่านยังกล่าวถึง “อัลฮัมดุลิ้ลลาฮิร็อบบิ้ลอาละ มีน” เอาไว้อีกว่า ไม่ได้ให้ความว่า การสรรเสริญเป็นขอ งอัลลอฮ์ เท่านั้น ทว่าหมายถึง การสรรเสริญไม่อาจเกิด ขึ้นกับใครสิ่งใดได้เลยนอกจากพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ท่าน กล่าวว่า ซูเราะฮ์ฮัมด์เป็นซูเราะฮ์แรกและเป็นซูเราะฮ์ที่ใช้ อ่านนมาซในทุกเวลา นมาซที่ปราศจากซูเราะฮ์ฮัมด์ย่อม ไม่ใช่นมาซ ในซูเราะฮ์ฮัมด์นี้มีวิทยาการทั้งหมดรวมอยู่ ในนั้น ทว่าเป็นประเด็นที่ต้องใคร่ครวญซึ่งเราไม่ใช่ผู้นั้น ส�ำหรับมันเรากล่าวว่า “อัลฮัมดุลิ้ลลาฮิร็อบบิ้ลอาละมีน” หมายถึง อัลลอฮ์คือผู้ทรงคู่ควรในการได้รับการสรรเสริฐ ทั้งมวล แต่อัลกุรอานไม่ได้กล่าวไว้เช่นนี้ ทว่าอัลกุรอานก ล่าวไว้ว่า การสรรเสริญไม่อาจเกิดขึ้นกับใครและสิ่งใดได้ เลยนอกจากพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น การสรรเสริญของพวก บูชารูปปั้นนั้น ก็เป็นการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า ทว่าเขา ไม่รู้ ปัญหามันมาจากตัวเราที่เราไม่รู้ (อิมามโคมัยนี การ อรรถาธิบายซูเราะฮ์ฮัมด์ หน้า 200) นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่ง จากการอรรถาธิบายของ ท่าน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าท่านใช้แนวรหัสยะในการอรรถาธิบาย ของท่านและเชื่อว่าในอัลกุรอานมีรหัสยะมากมาย ซึ่งผู้ เชี่ยวชาญเฉพาะเท่านั้นที่สามารถจะเข้าถึงและเข้าใจได้ และถือว่าได้ว่าการอรรถาธิบายซูเราะฮ์ฮัมด์ เป็นตัวอย่าง หนึ่งของการอรรถาธิบายแนวรหัสยะที่โดดเด่นของท่าน


บทความ

แปลโดย เชคกวี ฮัยดัร

บทบัญญัติ

รัศมีแห่งทางน�ำ ค�ำวินิจฉัยของวะลียุลอัมริลมุสลิมีน หัซรัตอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา เพื่อรักษากิริยามารยาทของอิสลาม ถือว่าไม่เป็นไร 1 ซัยยิดอะลี คอมาเนอีย์ รวบรวมค�ำวินิจฉัยโดย ฮุจญะตุลอิสลามเชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต

บทที่ 2 ความสะอาด และสิ่งที่เป็นนะญิส ค�ำถามที่ 1 ความหมายของบรรดาอะฮ์ลุลกิ ตาบคือบุคคลประเภทใด การคบหาสมาคมกับบุคคล เหล่านี้ มีบรรทัดฐานอย่างไรบ้าง ค�ำตอบ ความหมายของบรรดาอะฮ์ลุลกิตาบ คือบุคคลที่มีศรัทธาในศาสนาหนึ่งของพระผู้อภิบาล และเป็นผู้ปฏิบัติตามตามศาสดา ซึ่งเป็นศาสนทูต ของพระผู้อภิบาล (รวมทั้งศาสดาของเราและวงศ์วาน ทายาทของท่าน) และปฏิบัติคัมภีร์เล่มหนึ่งจากพระ ผู้อภิบาลที่ทรงประทานมายังศาสนทูต (อ.) เช่น ยะฮ์ู ดี (ยิว) คริสเตียน ศาสนาบูชาไฟ (โซโรอัสเตอร์) และ บุคคลที่ถูกพิจารณาแล้วว่าเป็นพวกอะฮ์ลุลกิตาบ ตามบทบัญญัติ การคบหาสมาคมกับบุคคลเหล่านี้

ค�ำถามที่ 2 บุคคลใดที่จะกล่าวว่าเขาคือผู้ ปฏิเสธศรัทธา (กาฟิร) ค�ำตอบ บุคคลที่ไม่ยอมรับอิสลาม หรือยอมรับ แต่ปฏิเสธกฎข้อบังคับของศาสนา ซึ่งการปฏิเสธ ของเขาเป็นการปฏิเสธต่อสาส์น และปฏิเสธต่อท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ทั้งยังไม่ยอมรับบทบัญญัติ บุคคลผู้ นั้นจะถูกเรียกว่ากาฟิร 2 ค�ำถามที่ 3 ฟุกเกาะฮาอ์ (นักวิชาการด้าน ศาสนบัญญัติ) บางท่านมีวินิจฉัยว่าบรรดาอะฮ์ลุลกิ ตาบเป็นนะญิส และบางท่านวินิจฉัยว่าสะอาด ไม่ ทราบว่าทัศนะของ ฯพณฯ เป็นเช่นไรในเรื่องนี้ ค�ำตอบ การเป็นนะยิสแก่นแท้ของบุคคลเหล่า นี้ยังไม่กระจ่าง ในทัศนะของเราแก่นแท้ของพวกเขา นั้นสะอาด ค�ำถามที่ 4 เสื้อผ้าที่มอบให้ร้านซักแห้งไปซัก นั้นในเรื่องของความสะอาดมีบทบัญญัติอะไร จ�ำเป็น หรือไม่ที่จะต้องบอกเขา อย่างน้อยเป็นพวกยิวและ คริสเตียน เช่นเดียวกันเสื้อผ้าที่ให้ทางร้านซักและรีด ให้แห้ง ซึ่งเราทราบดีว่าเจ้าของร้านได้ใช้น�้ำยาในการ ซักเสื้อผ้า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 13


ค�ำตอบ ถ้าได้มอบเสื้อผ้าให้ร้านซักรีด และ ก่อนหน้าเสื้อที่มอบไปให้ซักรีดนั้น ไม่เปื้อนนะญิส บทบัญญัติถือว่าสะอาด ดังนั้นการแตะต้องเสื้อผ้าถึง แม้ว่าจะเป็นพวกอะฮ์ลุลกิตาบก็ไม่ถือว่าเป็นนะญิส 3 ค�ำถามที่ 5 สถานศึกษาและสถานที่พักอาศัย ของเรา ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ของบรรดาพุทธศาสนิกชน ถ้านักศึกษามุสลิมได้เช่าที่อาศัย จากพวกเขาเหล่านั้น สถานที่ หรือบ้านหลังนั้นในด้านของความสะอาดจะมี บทบัญญัติใดบ้าง หรือจ�ำเป็นต้องช�ำระล้างท�ำความ สะอาดบ้านหรือที่พักนั้น ดังที่กล่าวมาแล้วส่วนใหญ่ บ้านหรือที่อาศัยในภูมิภาคนี้สร้างจากไม้ยากต้องการ ช�ำระล้าง โรงแรมต่างๆ อาทิเช่นเฟอร์นิเจอร์ และเรื่อง ใช้ไม้ส้อยในบ้าน หรือโรงเรม มีบทบัญญัติอย่างไรใน เรื่องของความสะอาด ค�ำตอบ ถ้าท่านยังไม่มั่นใจว่าเครื่องใช้ หรือ อุปกรณ์ใดๆ ทที่ท่านจะใช้ว่าสัมผัสกับมือ หรือร่าง ของกาฟิรที่ไม่ใช่พวกอะฮ์ลุลกิตาบ บทบัญญัติก็ยัง ถือว่าไม่เป็นนะญิส ในกรณีที่ท่านมั่นใจว่าเป็นนะญิส เช่นกันไม่เป็นวาญิบที่จะต้องช�ำระล้างประตู ก�ำแพง ของบ้าน หรือโรงแรม และเครื่องใช้ไม้สร้อย สิ่งที่จะ ต้องช�ำระล้างนะญิส ก็เพียงภาชนะที่ต้องใช้ในการรับ ประทาน และภาชนะที่ใช้ดื่ม และสถานที่ที่ใช้นมาซ 4 ค�ำถามที่ 6 มีคนอยู่จ�ำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ใน คูซิสถาน ซึ่งกลุ่มชนกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “พวกศอนิอะฮ์”

14 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

พวกเขาเรียกร้อง ให้ปฏิบัติตามท่านศาสดายะฮ์ยา (อ.) พวกเขากล่าวว่าคัมภีร์ของพวกเขานั้นมีเรื่องราว ของเราอยู่ด้วย บรรดาอุลามาอ์ได้พิสูจน์แล้วว่า พวก เขาเหล่านี้คือ พวกศอบิอูนที่ถูกบัญญัติไว้ในอัลกรุ อาน ดังนั้นขอให้ ฯพณฯ ได้ให้ทัศนะว่ากลุ่มชนพวกนี้ เป็นพวกอะฮ์ลุลกิตาบด้วยหรือไม่ ค�ำตอบ กลุ่มชนที่กล่าวมา พวกเขาจัดว่าเป็น พวกอะฮ์ลุลกิตาบ 5 ค�ำถามที่ 7 ขอให้ ฯพณฯ กรุณาตอบค�ำถามต่อ ไปนี้ : 1.การอยู่ร่วมระหว่างนักเรียนมุสลิมกับนักเรียน นิกายบะฮาอีย์ผู้หลงทาง ส่วนใหญ่จากพวกเขาเป็น เด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายหรือเป็นผู้ที่รู้นิติภาวะ หรือไม่ณุ้ นิติภาวะ ที่ได้อญู่ในสถานศึกษาหรือนอกสถานศึกษา ในชั้นเรียนอนุบาล หรือชั้นเรียนประถมและมัธยมก่อน ที่จะเข้าไปสู่การศึกษาในมหาวิทยาลัย ส�ำหรับคน ประเภทนี้มีบทบัญญัติใดบ้าง 2.การปฏิบัติตัวของคณาจารย์ และผู้อบรมดูแล ที่จะต้องปฏิบัติตัวอย่างเปิดเผย กับบรรดานักเรียนที่ เป็นพวกนิกายบะฮาอีย์ ในกรณีที่เรามั่นใจว่าพวกเขา คือพวกบะฮาอีย์ จะต้องปฏิบัติอย่างไร 3.การใช้เครื่องมือใช้สอย ที่นักเรียนร่วมใช้ด้วย อาทิเช่นก้อกน�้ำกิน สายยางในห้องห้องน�้ำ สบู่ล้างมือ ซึ่งเราว่ามือและส่วนของร่างกายของพวกเขาได้สัมผัส กับเครื่องมือใช้ส้อยเหล่านี้ ดังนั้นจะมีบทบัญญัติใด ค�ำตอบ บรรดาพวกบะฮาอีย์ ตามบทบัญญัติ พวกเขาป็นนะญิส และในกรณีที่จะต้องติดต่อสัมพันธ์ หรือใช้ของร่วมกับคนพวกนี้ วาญิบ จ�ำเป็นที่จะต้อง ระวังเรื่องความสะอาดแต่การปฏิบัติตัวของคณาจารย์ และผู้อบรมดูแลนักศึกษาที่เป็นพวกบะฮาอีย์ จะต้อง ปฏิบัติตามบทบัญญัติ และปฏิบัติตามจรรยามารยาท แบบอิสลาม 6 ค�ำถามที่ 8 บรรดาชาวชนบทที่ข้าพเจ้าได้ ศึกษาอยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งพวกเขาไม่เคยนมาซ แต่พวกเขา


ก็อยู่ในกลุ่มที่มีสัจธรรมและส�ำหรับเราการรับประทาน อาหาร หรือการซื้อนาน (ขนมปัง) จากพวกเขา เพราะ เราได้อาศัยอยู่ที่นั้นตลอด ดังนั้นการปฏิบัตินมาซของ เราจะมีปัญหาหรือไม่ ค�ำตอบ ถ้าพวกเขาไม่ได้ปฏิเสธ ความเป็น เอกะของพระผู้เป็นเจ้าและต�ำแหน่งนบูวัต หรือสิ่ง ส�ำคัญของแนวทางแห่งอิสลาม แต่การปฏิบัติตัวของ พวกเขานั้น ขาดตกบกพร่องในสาส์นที่ท่านศาสนทูต ผู้ประเสริฐ (ศ็อลฯ) ได้รับมา บทบัญญัติส�ำหรับพวก เขาไม่ใช่นะญิส ถ้านอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวถามมา การคบหาสมาคม การรับประทานอาหารของพวก เขาเหล่านั้น จ�ำเป็นที่จะต้องระวังในเรื่องของความ สะอาด และเรื่องนะญิส 7 ค�ำถามที่ 9 บางกลุ่มชนของบรรดาอะฮ์ลุล กิตาบ ที่พวกเขามีความเชื่อศรัทธายังสาส์นของท่าน ศาสดา ท่านสุดท้าย (ศ็อลฯ) แต่การปฏิบัติของพวก เขายังคงปฏิบัติ ตามวิธีที่บรรพบุรุษของพวเขาปฏิบัติ คนประเภทนี้จัดอยู่ในบัญญัติของกาฟิรด้วยหรือไม่ ค�ำตอบ ความเชื่อต่อสาส์นของท่านศาสดา ท่านสุดท้าย (ศ็อลฯ) แต่เพียงอย่างเดียวที่จะบ่งบอก ว่าอยู่ในบทบัญญํติของอิสลามนั้นยังไม่เพียงพอ แต่ ถ้าพวกเขาถูดจัดว่า อยู่ในหมู่ชนของบรรดาอะฮ์ลุลกิ ตาบ ก็ถือว่าพวกเขาสะอาด 8 ค�ำถามที่ 10 เก้าอี้นั่งในรถสาธารณะ และ รถไฟ ในกรณีที่มุสลิมและกาฟิรต้องใช้ร่วมกัน โดย สานที่มีกาฟิรอาศัยอยู่มากกว่าจ�ำนวนของมุสลิม และ อากาศร้อบอบอ้าว เกิดเหงื่อและความเปียกชื้นของ ร่างกาย ถือว่าของที่ต้องใช้ร่วมกันนี้ ตามบทบัญญัติ แล้วสะอาดหรือไม่ ค�ำตอบ กาฟิรที่เป็นอะฮ์ลุลกิตาบ บทบัญญัติ ถือว่าสะอาด และในกรณีที่บรรดามุสลิมและกาฟิร ต้องใช้สิ่งของร่วมกัน ถ้าสติปัญญายังไม่ได้บอกว่า เป็นนะญิส บทบัญญัติถื่อว่าสะอาด 9 ค�ำถามที่ 11 ข้าพเจ้าได้พักอาศัยอยู่ในประเทศ

ของพุทธศาสนา ซึ่งในฤดูฝนเสื้อผ้าอาภรณ์จะเปียก และเมื่อไปสัมผัสกับเสื้อผ้าอาภรณ์ของพวกเขา ดังนั้น บทบัญญัติ เกี่ยวกับเสื้อผ้าอาภรณ์ของเราจะเป็นเช่น ไร ค�ำตอบ ดังค�ำถามถือว่าสะอาด 10 ค�ำถามที่ 12 เครื่องหนังที่ค้าขายอยู่ในประเทศ ที่ไม่ใช่มุสลิม หรือเป็นเครื่องหนังที่สั่งเข้ามาจ�ำหน่าย เพื่อน�ำมาตัดกระเป๋า และรองเท้า ถือว่าสะอาดหรือไม่ ค�ำตอบ ถ้ามีความมั่นใจว่า หนังสัตว์นั้นเชือด ตามหลักการของอิสลาม ถือว่าสะอาด แต่ถ้ามีความ มั่นใจว่าไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลาม ถือว่าเป็น นะญิส 11 ค�ำถามที่ 13 เครื่องหนังจากประเทศที่ไม่ได้เป็น ประเทศอิสลาม ที่แปรรูปท�ำเป็นเครื่องใช้หรือตัดเย็บ เสื้อผ้าอาภรณ์ ในกรณีนี้การถูกแตะต้องเครื่องหนังใน ขณะที่มือเปียกน�้ำ จะมีบทบัญญัติอย่างไร สามารถ จะปฏิบัตินมาซในอาภรณ์ชนิดนี้ได้หรือไม่ ค�ำตอบ บทบัญญัติในเรื่องนี้ ตอบในค�ำถาม ที่ผ่านมา (ค�ำถามที่ 12) ในกรณีที่สงสัยเกี่ยวกับเรื่อง เครื่องแต่งกายที่จากหนังสัตว์ ถือว่าการปฏิบัตินมาซ กับเครื่องแต่งกายนั้นไม่ถูกต้อง 12 ค�ำถามที่ 14 หนังงูเป็นนะญิสหรือไม่ ค�ำตอบ สะอาด13 ค�ำถามที่ 15 การน�ำพากระเป๋า หรือเครื่องใช้ อื่น ที่ท�ำจากหนังงูที่บัญญัติว่าสะอาด แต่ในที่ปฏิบัติ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 15


นมาซเป็นการอนุญาตหรือไม่ ค�ำตอบ หนังงูสะอาด แต่การปฏิบัติกับสิ่งนี้ถือ ว่านมาซบาฏิล (เป็นโมฆะ) 14 ค�ำถามที่ 16 ในขณะที่สวมใส่รองเท้าที่ท�ำจาก หนังของสัตว์ ที่ไม่ได้ถูกเชือดตามบัญญัติทางศาสนา เป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) ใช่หรือไม่ว่าตลอดเวลาก่อนที่ จะท�ำวุฏูจ�ำเป็นต้องล้างเท้าเสียก่อน เพราะบางคน กล่าวว่า ในขณะที่สวมใส่รองเท้าที่ท�ำจากหนังสัตว์ ที่ไม่ฮะลาลนั้น เมื่อมีเหงื่อไหลออกจากบริเวณเท้า จ�ำเป็นต้องล้างเท้าก่อนท�ำวุฏู จากการทดลองแล้ว ปรากฏว่า ในขณะที่สวมใส่รองเท้านั้นจะมีเหลือที่เท้า ไหลออกมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นในเรื่องนี้ ฯพณฯ จะให้ ทัศนะอย่างไร ค�ำตอบ ถ้ามีความมั่นใจว่ารองเท้าที่เขาสวม ใส่ท�ำจากหนังสัตว์ที่ไม่ฮะลาล และในขณะที่เขาสวม ใส่รองเท้านั้น ที่เท้าของเขามีเหงื่อไหลออกมา ดังนั้น เมื่อเขาต้องการที่จะนมาซจ�ำเป็นที่เขาจะต้องล้างเท้า ก่อน แต่ในกรณีที่เขาเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเหงื่อที่ไหล ออกจากเท้า หรือสงสัยว่าหนังสัตว์นั้นถูกเชือดตาม บัญญัติหรือไม่ บทบัญญัติถือว่าสะอาด 15 ค�ำถามที่ 17 ครีม สบู่ น�้ำหอมและเครื่องใช้ อื่นๆ ที่ถูกน�ำเข้ามาจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศอิสลาม ถือว่าสะอาดหรือเป็นนะญิส ค�ำตอบ ถ้าไม่มีการรับรองว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ มีสิ่งที่เป็นนะญิสผสมอยู่ หรือว่าในการผลิตนั้นได้ถูก ร่างกายของกาฟิร ที่ไม่ใช่พวกอะฮ์ลุลกิตาบ ก็ถือว่า สะอาด 16 ค�ำถามที่ 18 โคโลญจ์ที่ผลิตจากต่างประเทศ ที่ บรรดาสตรีและบุรุษ ไม่ทราบว่าผลิตจากแอลกอฮอล์ สามารถใช้ได้หรือไม่ ค�ำตอบดังค�ำถามที่ถามมา การใช้มันเป็นการ อนุญาต 17 ค�ำถามที่ 19 แอลกอฮอล์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ที่ผสมอยู่ในโคโลญ น�้ำหอมชนิดต่างๆ สีและยาบาง

16 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ชนิด บางครั้งก็ผสมในแชมพู สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็น นะญิสหรือไม่ ค�ำตอบ ถ้าแอลกอฮอล์ที่ใช้ ไม่ใช่ชนิดที่น�ำมา ท�ำของมึนเมา ถือว่าสะอาด และกรณีที่เกิดมีข้อสงสัย เช่นกันบัญญัติได้ว่าเป็นสิ่งที่สะอาด 18 ค�ำถามที่ 20 ศิลปิน จิตรกร นักวาดรูปและคัด ลายมือที่ต้องใช้ภู่กัน และภู่กันที่ดีที่สุดนั้น ส่วนใหญ่ ท�ำมาจากขนของสุกร และน�ำเข้ามาจากประเทศที่ ไม่ใช่ประเทศอิสลามเพื่อการมาจ�ำหน่ายให้ศูนย์กลาง การเผยแพร่งานด้านวัฒนธรรม การใช้ภู่กันจากขน ของสุกร มีบทบัญญัติอย่างไร ค�ำตอบ ขนของสุกรถือว่าเป็นนะญิส และการ ใช้ภู่กันหรือเครื่องมือชนิดนี้ ที่จะประดิษฐ์ชิ้นงานนั้น สะอาดนั้น ไม่เป็นการอนุญาต แต่ถ้าไม่ปรารถนาที่จะ ให้ชิ้นนั้นต้องสะอาด ถือว่าไม่เป็นไร และถ้าไม่มั่นใจ ว่าภู่กันที่ใช้ท�ำจากขนของสุกรหรือไม่ การใช้ภู่กันนั้น เมื่อชิ้นงานที่สะอาด ก็ถือว่าอนุญาต 19 ค�ำถามที่ 21 การรับประทานเนื้อที่สั่งเข้ามา จากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศอิสลาม ถือว่าฮะลาลหรือ ไม่ และบทบัญญัติของมันเกี่ยวกับเรื่องสะอาด และ นะญิสคืออะไร ค�ำตอบ ถ้าไมได้รับค�ำยืนยันว่า เนื้อสัตว์นั้นไม่ ได้เชือดตามหลักการ การรับประทานมันถือว่าฮะราม (ต้องห้าม) แต่ในเรื่องของความสะอาด ถ้ามั่นใจว่าไม่ ได้เชือดตามหลักการ ตัวเนื้อของสัตว์นั้นสะอาด 20 ค�ำถามที่ 22 การรับประทานหอย และปูทะเล อนุญาตหรือไม่ ค�ำตอบ การรับประทานสิ่งเหล่านี้ ไม่เป็นที่ อนุญาต 21 ค�ำถามที่ 23 อุจจาระของนกที่เนื้อของมันเป็น ฮะราม อาทิเช่นอีกา นกอินทรีย์ และนกแก้ว ถือว่าเป็น นะญิสหรือไม่ ค�ำตอบ อุจจาระของนกที่เนื้อของมันฮะรอม ถือว่าไม่เป็นนะญิส 22


ค�ำถามที่ 24 แอลกอฮอล์เป็นนะญิสหรือไม่ ค�ำตอบ แอลกอฮอล์ที่ท�ำให้มึนเมา ข้อควร ระมัดวังเป็นนะญิส 23 ค�ำถามที่ 25 บุคคลหนึ่งซึ่งแนวทางศาสนาของ เขานั้นไม่บ่งชัดเจน และเขาได้เดินทางมาจากประเทศ อื่น มาอาศัยอยู่ในประเทศอิสลาม เขาได้มาเปิดร้าน ขายอาหาร หรือมาเป็นลูกมือท�ำอาหาร ในขณะที่เขา ปรุงอาหารนั้น เหงื่อจากร่างกายของเขาได้สัมผัสกับ อาหาร ดังนั้น การสอบถามเขาเกี่ยวกับเรื่องแนวทาง ศาสนาเป็นข้อบังคับหรือไม่ หรือขึ้นอยู่กับสิ่งที่สะอาด อยู่แล้วนั้นสามารถบอกได้ว่าสะอาด 23 ค�ำตอบ การสอบถามเขาเกี่ยวกับเรื่อง ศาสนา ไม่ใช่วาญิบ (ข้อบังคับ) และความสะอาดของสิ่งต่างๆ ที่เคยสะอาดอยู่แล้วกับเหงื่อจากร่างกายของเขาที่ได้ สัมผัส ก็ถือว่าสะอาดตาม 24 ค�ำถามที่ 26 ในสถานที่หนึ่ง ที่ข้าพเจ้าไปรับใช้

เป็นทหาร ได้มีกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งที่ได้อาศัยอยู่ ซึ่งพวก เขาได้ยึดถือสัจธรรม ดังนั้น การให้พวกเขาได้รีดนม หรือท�ำชีสนั้น เป้นการอนุญาตหรือไม่ ค�ำตอบ ถ้าพวกเขามีศรัทธาต่อพื้นฐานอิสลาม ในเรื่องบัญญัติของความสะอาดและนะญิส ตามบท บัญญัติแล้ว พวกเขาถือว่าเป็นมุสลิม25 ค�ำถามที่ 27 เครื่องส�ำอางบางชนิดได้ผลิตจาก บางส่วนของสัตว์ ดังนั้นการใช้เครื่องส�ำอางที่ผลิตจาก ประเทศที่ไม่ใช่ประเทศอิสลาม เป็นการอนุญาตหรือ ไม่ ค�ำตอบ ถ้าสติปัญญาความมั่นใจยังไม่ระบุชัด ว่าเป็นนะญิส บทบัญญัติถือว่าสะอาด 26 ค�ำถามที่ 28 การด�ำรงอยู่ของนักศึกษาต่าง ประเทศ ที่จะต้องอยู่พักอาศัยร่วมสังคม กับบรรดา กาฟิร ในกรณีที่เกี่ยวกับเรื่องอาหารที่ผลิตปรุงแต่ง โดยมือของกาฟิรนั้น บางครั้งเครื่องปรุงแต่งอาหาร เช่น เนื้อที่ไม่ได้ผ่านการเชือดตามหลักการของศาสนะ บัญญัติ หรือว่าได้ผ่านมือของกาฟิร ในกรณีนี้มี บทบัญญัติอย่างไรบ้าง ค�ำตอบ อาหารที่เพียงแค่ผ่านมือของกาฟิร ส�ำหรับของบังคับของการหลีกเลี่ยงนั้นยังไม่พอ แต่ถ้า ยังไม่มีความมั่นใจ ก็ถือว่าสะอาด กาฟิรถ้าเป็นพวก อะฮ์ลุลกิตาบ ถือว่าไม่ใช่นะญิส และการแตะต้องหรือ สัมผัสกับอาหาร ก็ถือว่าไม่ท�ำให้อาหารเป็นนะญิส 27 ค�ำถามที่ 29 เสื้อผ้าอาภรณ์ที่ซักโดยบุคคลที่ ไม่ใช่มุสลิม และเขาตากอาภรณ์นั้นกลางแสงแดดจน แห้ง เสื้อผ้าอาภรณ์นั้นสะอาดหรือไม่ ค�ำตอบ ถ้ากาฟิรที่เป็นพวกอะฮ์ลุลกิตาบ บน พื้นฐานคนพวกนี้สะอาดอยู่แล้ว และถ้าไม่ใช่พวกอะฮ์ ลุลกิตาบ โดยเสื้อผ้าอาภรณ์ที่เปียกชื้นถูกแตะต้อง โดยกาฟิรที่ไม่ใช่พวกอะฮ์ลุลกิตาบ ถือว่าเป็นนะญิส และการท�ำให้แห้งด้วยแสงแดดก็ไม่ถือว่าสะอาด 28 ค�ำถามที่ 30 มุสลิมได้รับซักรีดเสื้อผ้าของ มุสลิม และไม่ใช่มุสลิม ในกรณีนี้บทบัญญัติจะถือว่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 17


เป็นนะญิสหรือไม่ ค�ำตอบ ถ้าไม่มั่นใจว่าเสื้อผ้าเป็นนะญิส บท บัญญัติถือว่าสะอาด 29 ค�ำถามที่ 31 สามารถที่จะใช้อุปกรณ์สิ่งของ ต่างๆ ของกาฟิร เช่น ผ้าเช็ดตัว หรือแก้วน�้ำ ได้หรือ ไม่ และเช่นกันผ้าเช็ดตัวของโรงแรมในต่างประเทศ ที่ทางโรงแรมจัดไว้ให้ใช้ มีบทบัญญัติหรือไม่ ส่วนการ สอบถามเรื่องความสะอาดนั้นเป็นสิ่งจ�ำเป็นหรือไม่ ค�ำตอบ ถ้าเป็นของอะฮ์ลุลกิตาบ ถือว่าไม่ เป็นไร และถ้าไม่ใช่ ก็ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ของใช้เหล่า นั้นไม่ถูกแตะต้อง ความเปียกชื่นจากร่างกายของ กาฟิร ถือว่าไม่เป็นไร ส่วนการสอบถามเรื่องความ สะอาดนั้น ถือว่าไม่จ�ำเป็น 30 ค�ำถามที่ 32 โดยทั่วไปในต่างประเทศบางคนก็ จะน�ำสุนัขเข้ามาในโรงแรม และบางครั้งภาชนะเครื่อง ใช้ก็จะถูกสุนัขเลีย หรือบางครั้งสุนัขก็กินอาหารที่ เหลือในภาชนะนั้น ถ้าน�ำภาชนะนั้นมาช�ำระล้างด้วย น�้ำ ถือว่าสะอาดหรือไม่ ค�ำตอบ ด้วยความเข้าใจในเรื่องของนะญิสดัง ค�ำถามที่ถามมา ถือว่าไม่สะอาด แต่ถ้าเข้าใจวิธีการ ช�ำระล้างนะญิส ก็ถือว่าสะอาด 31 ค�ำถามที่ 33 ถ้าน�้ำลายของสุนัขมาถูกเสื้อของ ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะช�ำระล้างได้อย่างไร บทบัญญัติ เกี่ยวกับการท�ำความสะอาดเสื้อผ้า กับบทบัญญัติ ของภาชนะที่ถูกน�้ำลายสุนัขเลียแตกต่างกันหรือไม่ ค�ำตอบ บทบัญญัติการช�ำระความสะอาดเสื้อ ผ้าที่ถูกน�้ำลายของสุนัข ไม่เหมือนกับบทบัญญัติการ ท�ำความสะอาดภาชนะที่ถูกน�้ำลายสุนัข เพราะว่าการ ท�ำความสะอาดเสื้อผ้านั้น หลังจากก�ำจัดนะญิสออก จากเสื้อผ้าด้วยการซักด้วยน�้ำแล้ว ก็จะต้องปิดเสื้อผ้า ให้น�้ำนั้นไหลออกไป 32 ค�ำถามที่ 34 บทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องขนมปัง ทุกชนิดที่ได้ผลิตจากเครื่องมือ แต่คาดว่าผ่านความ เปียกชื้นจากมือของกาฟิร จะสามารถรับประทานได้

18 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

หรือไม่ ค�ำตอบ เพียงคาดคิดขนมปังที่กล่าวมาบัญ ญัติถือว่าสะอาด การรับประทานเป็นการอนุญาต 33 ค�ำถามที่ 35 เครื่องมืออุตสาหกรรมบางประ เภทมือสองที่ใช้งานแล้วและถูกน�ำเข้ามา ซึ่งเครื่องมือ ประเภทดังกล่าวได้ผ่านมือของผู้คนจ�ำนวนมาก ซึ่งใน ทัศนะของบรรดาฟะกีฮ์อิสลาม ได้กล่าวว่ากาฟิรนั้น เป็นนะญิส ในการใช้งานเครื่องมืออุตสาหกรรมนั้นจะ ต้องเติมน�้ำมันหรือสสารบางประเภทด้วยมือ ด้วยเหตุ นี้ การที่จะกล่าวว่าเครื่องมือนั้นสะอาด คงเป็นไปไม่ ได้ และเช่นกันเมื่อเวลาใช้เครื่องมือประเภทนี้ร่างกาย และเสื้อผ้าจะต้องไปถูกแตะต้องกับเครื่องมือนั้น และ เมื่อเวลานมาซมาถึง ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะช�ำระล้าง ร่างกาย หรือเสื้อผ้าให้สาอดได้ ดังนั้นหน้าที่ของพวก เขาเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติอย่างไร ค�ำตอบ ด้วยการคลาดคิดว่าเครื่องมือนั้นได้ สัมผัสกับความเปียกชื้นของกาฟิร ถ้าเป็นพวกอะฮ์ ลุลกิตาบ บทบัญญัติก็ถือว่าสะอาด ดังนั้นในเวลาที่ ใช้เครื่องมือควรสวมใส่ถุงมือ ถ้ามั่นใจว่าเครื่องมือนั้น ได้ผ่านมือของกาฟิรที่ใช้มาก่อนหน้านี้ แต่ในกรณีที่


มั่นใจว่าเครื่องมือที่ใช้ผ่านมือ และความเปียกชื่นขอ งกาฟิรมาแล้ว การท�ำความสะอาดร่างกายให้สะอาด เวลานมาซ ถือว่าเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) และเช่นกัน ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือท�ำความสะอาดเสื้อผ้าก็เป็นวา ญิบในขณะที่จะปฏิบัตินมาซ 34 1. 316 ‫ سئوا ل‬، ‫اجوبة االستفتائات‬ 2. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 3. 291 ‫ سئوا ل‬، ‫اجوبة االستفتائات‬ 4. 321 ‫اجوبه االستفتئات سئوال‬ 5. 322 ‫اجوبه االستفئات سئوال‬ 6. 328 ‫اجوبه االستفتائات سئوال‬ 7. 326 ‫اجوبـه الستفتائات سئوال‬ 8. 314 ‫اجوبة االستفتائات سئوال‬ 9. 332 ‫اجوبة االستفتائات سئوال‬ 10. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 11. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 12. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 13. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 14. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 15. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 16. 284 ‫اجوبة االستفتائات سئوال‬ 17. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 18. ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์

19. 20 21. 22. 23. 24. 25. 26. 27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34.

ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 274 ‫اجوبة االستفتائات سئوال‬ 275 ‫اجوبة االستفتائات سئوال‬ ‫االستفتائات ازطریق اینترنت‬ 279 ‫اجوبة االستفتائات سئوال‬ 301 ‫اجوبة االستفتائات سئوال‬ 299 ‫اجوبة الستفتائات سئوال‬ 325 ‫اجمبة االستفتاةات ‘ سةوال‬ 333 ‫اجوبـة االستفتائات سئوال‬ ค�ำถาม-ตอบนี้ยังไม่ได้จัดพิมพ์ ค�ำถาม-ตอบนี้ยังไม่ได้จัดพิมพ์ ค�ำถาม-ตอบนี้ยังไม่ได้จัดพิมพ์ ค�ำถาม-ตอบนี้ยังไม่ได้จัดพิมพ์ ค�ำถาม-ตอบจากอินเตอร์เน็ต ค�ำถาม-ตอบยังไม่ได้จัดพิมพ์ 434 ‫اجوبة االستفتائات سئوال‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 19


บทความ เชค ดร. มุฮัมมัด ชะรีฟ เกตุสมบูรณ์

ค�ำอรรถาธิบาย อัลกุรอาน

บทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 51 52 53 และ 54

‫] ُث َّم‬51[ ‫ون‬ َ ‫ُم َظا ِل ُم‬ َ ‫َر َب ِع‬ ُ ‫ين َل ْي َل ًة ُث َّم ا َّت َخ ْذت‬ َ ‫َوإ ِْذ َو‬ ْ ‫ُم ا ْل ِع ْج َل ِمن َب ْع ِد ِه َوأَنت‬ ْ ‫وسى أ‬ َ ‫اع ْد َنا ُم‬ ‫ان‬ ُ ‫َع َف ْو َنا َع‬ َ ‫نك ِم ِّمن َب ْع ِد َذ ِل‬ َ ‫ك َل َع َّل ُك ْم َت ْش ُك ُر‬ َ ‫اب َوا ْل ُف ْر َق‬ َ ‫وسى ا ْل ِك َت‬ َ ‫] َوإ ِْذ آ َت ْي َنا ُم‬52[ ‫ون‬ ‫ك ُم‬ ُ ‫ُم أ‬ ُ ‫َنف َس ُك ْم بِا ِّت َخا ِذ‬ َ ‫] َوإ ِْذ َق‬53[ ‫ون‬ َ ‫َل َع َّل ُك ْم َت ْه َت ُد‬ ْ ‫وسى ِل َق ْو ِم ِه َيا َق ْو ِم ِإ َّن ُك ْم َظ َل ْمت‬ َ ‫ال ُم‬ ‫اب َع َل ْي ُك ْم ِإ َّن ُه‬ ِ ‫ند َب‬ ِ ‫ا ْل ِع ْج َل َفتُو ُبوْا ِإ َلى َب‬ ُ ‫اق ُتلُوْا أ‬ ْ ‫ار ِئ ُك ْم َف‬ َ ‫َنف َس ُك ْم َذ ِل ُك ْم َخ ْي ٌر َّل ُك ْم ِع‬ َ ‫ار ِئ ُك ْم َف َت‬ 4]54[ ‫يم‬ ُ ‫ُه َو ال َّت َّو‬ ُ ‫الر ِح‬ َّ ‫اب‬

ความหมาย

51. และจงร�ำลึกถึง เมื่อเราได้สัญญาแก่มูซาสี่สิบคืน (เขาได้ไปยังเขาฏูรเพื่อรอรับพระด�ำรัส) หลังจาก นั้นสูเจ้าได้ยึดถือลูกวัว (เป็นพระเจ้า) ขณะที่การกระท�ำเช่นนี้ เป็นการอธรรมต่อตนเอง 52. แล้วเราได้ให้อภัยแก่สูเจ้า หลังจากนั้น เพื่อสูเจ้าจะได้ขอบคุณ 53. และจงร�ำลึกถึง เมื่อเราประทานคัมภีร์ข้อวิจารณ์อันเด่นชัดแก่มูซา (อ.) เพื่อสูเจ้าจะได้รับทางน�ำ 54. และจงร�ำลึกถึง เมื่อมูซากล่าวแก่ประชา ชาติของเขาว่า โอ้ประชากรของฉัน ! แท้จริงพวกท่านได้ อ ยุติธรรมต่อตัวของพวกท่านเอง โดยที่พวกท่านยึดถือลูกวัว ( เป็นที่เคารพสักการะ) ดังนั้น จงลุแก่โทษและกลับ คืนสู่พระผู้ทรงบังเกิดพวกท่านเถิด แล้วจงฆ่าตัวของพวกท่าน นั่นเป็นการดีกว่าส�ำหรับพวกท่าน ณ พระผู้ทรง 20 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


บังเกิดพวกท่าน แล้วพระองค์ทรงนิรโทษสูเจ้า แท้จริง พระองค์คือผู้ทรงนิรโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ"

ค�ำอธิบาย

การหลงทางที่ใหญ่ที่สุดของบนีอิสรออีล อัลกุรอานสี่โองการนี้ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์มากมายของชาวบนีอิสรอีล เป็นการ ร�ำลึกถึงความทรงจ�ำ ที่สร้างความหวั่นไหวแก่วงศ์วาน อิสรออีลอย่างยิ่ง โองการเหล่านี้กล่าวถึงการหลงทางครั้งยิ่งใหญ่ ของบนีอิสรออีล บนหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งสิ่งนั้นคือ การหันเหออกจากพระเจ้าองค์เดียว ไปสู่การตั้งภาคี โดยยึดถือลูกวัวเป็นเทพเจ้าบูชา อัลกุรอานเตือนสติ พวกเขาว่า ครั้งหนึ่งพวกเจ้าเคยก่อความเสียหายบน หน้าแผ่นดินมาแล้ว บนความโง่เขลาและความอวดดี จนกระทั่งตกระก�ำล�ำบากกันถ้วนหน้า พวกเจ้าจง ตื่นขึ้นเถิด บัดนี้ แนวทางแห่งพระเจ้าองค์เดียว (อัลกุ รอาน และอิสลาม) ได้เปิดกว้างส�ำหรับพวกเจ้าแล้ว จงละทิ้งความโง่เขลาเสีย อัลกุรอานจึงเน้นว่า และจง ร�ำลึกถึง เมื่อเราได้สัญญาแก่มูซาสี่สิบคืน (เขาได้ไป ยังภูเขาซินายเพื่อรอรับพระด�ำรัส) หลังจากนั้นสูเจ้า ได้ยึดถือลูกวัว (เป็นพระเจ้า) ขณะที่การกระท�ำเช่นนี้ เป็นการอธรรมตนเอง โองการถัดมา หลังจากพระองค์ทรงช่วยเหลือ พวกบนีอิสรออีล ให้รอพ้นจากการกดขี่ และการ ทรมานที่ชั่วช้า โดยให้บริวารของฟิรอาวน์จมน�้ำตาย หลังจากนั้น พระองค์ทรงมอบหน้าที่ให้ศาสดามูซา (อ.) เพื่อรับคัมภีร์เตารอตที่ภูเขาฏูรเป็นเวลา 30 วัน แต่เพื่อทดสอบประชาชาติพระเจ้าทรงยึดเวลาออกไป อีก 10 วัน ซามิรีย์ยิวคนหนึ่งเป็นคนเจ้าเล่ฮ์เพทุบาย อย่างมาก ได้ฉวยโอกาสในช่วงนั้นน�ำแก้วแหวนเงิน ทอง ที่พวกบนีอิสรออีลลักรอบ น�ำติดตัวมา ขณะหนีบ ริวารของฟิรอาวน์ มาประดิษฐ์เป็นรูปลูกวัวโดยมีเสียง ร้องที่เฉพาะเจาะจง หลังจากนั้นได้เชิญชวนให้พวก บนีอิสรออีลมาสักการบูชา

พวกบนีอิสรออีลส่วนใหญ่เชื่อฟังเขา และหันมา สักการลูกวัวแทน ศาสดาฮารูน (อ.) ในฐานะตัวแทน ของศาสดามูซา (อ.) กับสาวกจ�ำนวนน้อยนิดยังคง ยึดมั่นอยู่กับศาสนาที่เชื่อมั่น ในพระเจ้าองค์เดียวต่อ ไป และไม่ว่าท่านจะพยายามอย่างไรเพื่อให้พวกเขา รอดพ้นจากการหลงทางครั้งยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ส�ำเร็จ แม้แต่ตัวท่านศาสดาฮารูนเองก็เกือบเอาตัวไม่รอด หลังจากศาสดามูซา (อ.) กลับมาจากภูเขา ฏูร เมื่อเห็นประชาชนกระท�ำเช่นนั้น ท่านจึงโกรธมาก และประณามพวกเขาอย่างรุนแรง เมื่อพวกเขารู้สึกตัว ว่าได้ท�ำสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างยิ่งลงไป จึงขอโอกาสเพื่อ ลุแก่โทษ ศาสดามูซาจึงวอนขอต่อพระเจ้าให้ลุแก่โทษ แก่พวกเขาชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน โองการต่อมา กล่าวว่า และจงร�ำลึกถึง เมื่อเรา ได้ประทานคัมภีร์ ข้อวิจารณ์อันเด่นชัดแก่มูซา (อ.) เพื่อสูเจ้าจะได้รับทางน�ำ ทั้งกิตาบและฟุรกอนอาจ หมายถึง คัมภีร์เตารอต หรืออาจเป็นไปได้ว่า กิตาบ นั้นหมายถึงเตารอต ส่วน ฟุรกอน นั้นหมายถึง ความ มหัศจรรย์หรืออภินิหาร ที่พระเจ้าทรงประทานให้มูซา (อ.) เนื่องจาก ฟุรกอน ในเชิงของภาษาหมายถึง ข้อ วิจารณ์ หรือสิ่งจ�ำแนกความจริงออกจากความเท็จ ค�ำว่า บารีย์ (‫ )باری‬หมายถึง พระผู้ทรงสร้าง ตามความหมายเดิมหมายถึง การแยกสิ่งหนึ่งออก จากอีกสิ่งหนึ่ง เนื่องจากพระผู้ทรงสร้าง ทรงแยกสิ่ง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 21


ถูกสร้างของพระองค์ ออกจากวัตถุเดิม และออกจาก อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่า การลุแก่โทษที่หนัก หน่วงนี้ ผู้ที่จะให้แก่เจ้าได้คือ พระผู้ทรงสร้างเจ้ามา ตั้งแต่แรก

ความผิดอันยิ่งใหญ่กับการ ขอลุแก่โทษที่ไม่เคยมีมาก่อน

ไม่เป็นที่สงสัยว่า การสักการะลูกวัวของซามิรียฺ มิใช่เรื่องเล็กน้อย เนื่องจากประชาชาติที่เพิ่งจะเห็น สัญลักษณ์ต่างๆ ของพระเจ้า และเห็นอภินิหารของ ศาสดาของตนมาหมาดๆ แต่พวกเขากลับลืมอย่าง ง่ายดาย ช่วงเวลาอันสั้นที่ศาสดามูซา (อ.) ไม่ได้อยู่กับ พวกเขา พวกเขาได้ละทิ้งรากฐานแห่งเตาฮีด (พระเจ้า องค์เดียว) และศาสนาของพระองค์ โดยน�ำสิ่งเหล่า นี้ไปไว้ใต้ฝ่าเท้าของตน และหันกลับไปบูชาเทวรูปที่ พวกเขาประดิษฐ์ขึ้นแทน แน่นอนถ้าสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้ขุดรากถอนโคนออก จากความคิด และสมองของพวกเขา พวกเขาก็จะก่อ อันตรายได้ทุกเวลา หากมีโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากศาสดามูซาจากไป อาจเป็นไปได้ที่พวกเขา จะท�ำลายค�ำสอนและการเผยแผ่ทั้งหมดของมูซา (อ.) ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าทรงมีค�ำสั่งอย่างรุนแรง นอกจากให้ ลุแก่โทษ และกลับมาสู่การเคารพบูชาในพระเจ้าองค์ เดียวแล้ว ยังสั่งให้ประหารชีวิตกลุ่มชนที่ก่อความผิด ในครั้งนี้ ค�ำสั่งของพระองค์ครั้งนี้ ต้องปฏิบัติในลักษณะ

22 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ที่เจาะจง หมายถึงพวกเขาต้องจับดาบ และฆ่ากันเอง ซึ่งการฆ่ากันเป็นการลงโทษอย่างรุนแรง มิหน�ำซ�้ำ ยังต้องมาฆ่าคนรู้จักและมิตรสหายอีกต่างหาก บาง รายงานกล่าวว่าศาสดามูซา (อ.) สั่งให้บุคคลที่มีส่วน ร่วมในการประดิษฐ์ลูกวัวเพื่อบูชา อาบน�้ำ ใส่เสื้อผ้า เข้าแถวและสังหารพวกเขาในคืนเดียว บางคนอาจคิดว่า เพราะเหตุใดการลุแก่โทษ ครั้งนี้จึงต้องโหดร้าย และป่าเถื่อน ถ้าปราศจากการ หลั่งเลือด พระองค์จะไม่ยอมรับการลุแก่โทษหรือ ปัญหาเรื่องการหันเห ออกจากความเป็นเอก ภาพของพระเจ้า และกลับไปสู่การตั้งภาคีกับพระองค์ มิใช่เรื่องเล็กน้อย ในความเป็นจริงศาสนาแห่งฟากฟ้า ทั้งหมด สามารถสรุปได้ที่การเคารพภักดีต่อพระเจ้า องค์เดียว การปฏิเสธพื้นฐานหลักก็เท่ากับเป็นการ ท�ำลายศาสนาทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ การประดิษฐ์ลูกวัว ขึ้นบูชาถ้าถือเป็นเรื่องเล็กน้อย บางทีอาจกลายเป็น แบบฉบับส�ำหรับชนรุ่นต่อไปในอนาคต ดังนั้น จ�ำเป็น ต้องลงโทษอย่างรุนแรงเพื่อให้เป็นบทเรียน และเป็น ความทรงจ�ำที่ดีแก่หมู่ชนในทุกยุคทุกสมัย และเพื่อ ป้องกันมิให้บุคคลอื่น คิดที่จะประดิษฐ์พระเจ้าจอม ปลอมขึ้นมาบูชาอีก อัลกุรอานโองการที่กล่าวว่า นั่น เป็นการดีกว่าส�ำหรับพวกท่าน ก็จะต้องการบ่งชี้ถึง ประเด็นนี้

โองการที่ 55 และ 56 ‫ُؤ ِم َن َلك َحتى‬ ْ ‫ُم َي ُموسى َلن ّن‬ ْ ‫َو إ ِْذ ُق ْلت‬ َ​َ‫َن َرى ّه‬ ِ ‫ُم‬ ‫الل َج ْه َر ًة َفَأ َخ َذ ْت ُك ُم‬ ْ ‫الصع َق ُة َو أَنت‬ ‫ثم َب َع ْث َن ُكم ِّمن َب ْع ِد َم ْو ِت ُك ْم‬ َ ‫نظر‬ ُ ‫َت‬ َّ ]55[ ‫ون‬ ]56[ ‫ون‬ ُ ‫كم َت‬ َ ‫شك ُر‬ ْ ‫َل َع َّل‬

ความหมาย

55. และจงร�ำลึกถึง เมื่อสูเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา (อ.)! เราจะไม่ศรัทธาต่อท่านเป็นอันขาด จนกว่าเรา


จะได้เห็นอัลลอฮ์โดยเปิดเผย ขณะนั้นสายฟ้าได้คร่า สูเจ้า ขณะที่สูเจ้ามองดูอยู่ 56. หลังจากนั้นเราได้ให้สูเจ้าฟื้นขึ้น หลังจากที่ สูเจ้าได้ตายไป เพื่อสูเจ้าจะได้ขอบคุณ"

ค�ำอธิบาย

การขอร้องที่ประหลาด สองโองการต่อไปนี้ กล่าวถึงความโปรดปราน อีกประเภทหนึ่ง ที่พระเจ้าได้ประทานให้พวกบนีอิส รออีล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นประชาชาติที่ล้อ เลียน และหาข้ออ้างเสมอ ขณะเดียวกันพระองค์แสดง ให้เห็นว่า การลงโทษของพระองค์นั้นสาหัสเพียงใด กระนั้นพระองค์ก็ยังการุณย์แก่พวกเขา พวกเขาขอดูพระผู้เป็นเจ้า ก่อนจะศรัทธา ซึ่งข้อ เสนอของพวกเขา อาจเป็นเพราะความโง่เขลา เนื่อง จากความเข้าใจของคนโง่เขลา ไม่ได้สูงไปกว่าความ รู้สึก ด้วยเหตุนี้ จึงขอดูพระเจ้ากับตาตนเอง หรือบางที อาจเป็นเพราะว่า ต้องการล้อเลียนจึงหาข้ออ้างมา กล่าว ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะของพวกยิว อย่างไรก็ตาม ณ ที่นั้น ไม่มีทางเลือกเป็นอย่าง อื่น พระองค์จึงให้พวกเขา มองดูสิ่งถูกสร้างบางอย่าง ที่สายตาไม่อาจทนได้ เพื่อจะได้รู้ว่า สายตาของตน ไร้ความสามารถ เมื่อต้องมองสิ่งถูกสร้างอื่นๆ อีก มากมาย แล้วพวกเขาจะมองดูอาตมันบริสุทธิ์ของ พระองค์ได้อย่างไร ขณะนั้นเสียงเสียงฟ้าผ่าดังสนั่น หวั่นไหวบังเกิดขึ้นที่ภูเขา ประกายฟ้าแลบได้โฉบเฉี่ยว สายตา เสียงฟ้าร้องดังกึกก้องจนพื้นดินหวั่นไหว ทุก คนตกตะลึงด้วยความหวาดกลัวแล้วล้มลงกองกับพื้น อย่างราบคาบ มูซามองดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความเศร้าใจ เนื่องจากบรรดาผู้ที่อยู่ในระดับแนวหน้า ต้องตายไป ถึง 70 คน ผู้ที่ชอบหาข้ออ้างได้ยึดเอาเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นเป็นข้ออ้างส�ำหรับตน แล้วได้วอนขอต่อพระเจ้า ให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง พระเจ้าทรงตอบรับค�ำ อ้อนวอนของพวกเขา อัลกุรอานกล่าวว่า หลังจากนั้น

เราได้ให้สูเจ้าฟื้นขึ้น หลังจากที่สูเจ้าได้ตายไป เพื่อ สูเจ้าจะได้ขอบคุณ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็น ว่า บรรดาศาสดาทั้งหลายต้องอดทนอย่างสูง และ ต้องเผชิญปัญหามากมาย ในการเชิญชวนบรรดาผู้ โง่เขลา อวดดี และชอบล้อเลียน สู่การเคารพภักดีต่อ พระเจ้าองค์เดียว บางครั้งพวกเขาเรียกร้องอภินิหาร จากศาสดา และบางครั้งก็ขอมองเห็นพระเจ้าด้วย สายตา พวกเขากล่าวด้วยความมั่นใจว่า ถ้าไม่ท�ำตาม ข้อเสนอ พวกเราจะไม่เชื่อท่านอย่างแน่นอน ขณะเดียวโองการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโองการที่ บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ของการร็อจอะฮ์ หมายถึงการก ลับมาใช้ชีวิตอีกครั้งหนึ่งบนโลกนี้ เนื่องจากเกิดสิ่งนั้น เพียงครั้งเดียว ย่อมเป็นเหตุผลที่เพียงพอส�ำหรับการ เกิดในครั้งต่อไป นักอรรถาธิบายบางท่าน กล่าวว่าจุดประสงค์ คือหลังจากที่พระเจ้า ท�ำให้พวกเขาตายโดยให้ฟ้าผ่า ลงมา จากนั้นพระเจ้าทรงประทานบุตรหลาน อย่าง มากมายแก่พวกเขาให้เป็นผู้สืบทอดต่อไป เพื่อว่าสาย ตระกูลจะได้ไม่ขาดลง แต่การอธิบายท�ำนองนี้ขัดแย้ง กับความเป็นจริงของโองการข้างต้น เนื่องจากโองการ ที่กล่าวว่า หลังจากนั้นเราได้ให้สูเจ้าฟื้นขึ้น หลังจาก ที่สูเจ้าได้ตายไป ความหมายของโองการไม่สอดคล้อง กับค�ำอธิบาย

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 23


โองการที่ 57 ‫َنز ْل َنا َع َل ْي ُك ُم ا ْل َم َّن‬ َ ‫ام َو أ‬ ُ ‫َو ظ َّل ْل َنا َع َل ْي‬ َ ‫كم ا ْل َغ َم‬ ‫ِب ِت َما َر َز ْق َن ُك ْم َو‬ ّ ‫َو الس ْل َوى كلُوا ِمن‬ َ ‫طي‬ ‫ون‬ ُ ‫َما ظ َل ُمو َنا َو َل ِكن كانُوا أ‬ َ ‫سه ْم َيظ ِل ُم‬ ُ ‫َنف‬

ความหมาย

57. และเราได้ให้เมฆมาบังสูเจ้า และได้ให้อัลมันนะ (น�้ำตาลก้อนเหนียวที่อร่อยมาก) และอัซ-ซัล วา (นกคุ่มลักษณะคล้ายนกพิราบ) แก่สูเจ้า สูเจ้าจง บริโภคสิ่งที่สะอาด ที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่สูเจ้า (แต่สูเจ้าปฏิเสธ) พวกเขามิได้อธรรมต่อเรา แต่ทว่า พวกเขาอธรรมต่อตัวของพวกเขาเอง

ค�ำอธิบาย

ความโปรดปรานที่หลากหลาย ดังที่โองการที่ 20 และ 22 บทอัลมาอิดะฮ์กล่าว ว่า หลังจากที่วงศ์วานอิสรออีล ได้รอดพ้นจากบริวาร ของฟิรอาวน์แล้ว พระเจ้าได้มีบัญชาแก่พวกเขา ให้ อพยพไปยังปาเลสไตน์ พื้นแผ่นดินบริสุทธิ์ และพ�ำนัก อยู่ที่นั่น แต่พวกบนีอิสรออีลมิได้ปฏิบัติตามบัญชา ของพระองค์ และกล่าวว่า โอ้มูซา (อ.)แท้จริงในแผ่น ดินอันบริสุทธิ์นั้นมีพวกที่เหี้ยมโหด และพวกเราจะไม่ เข้าไปในแผ่นดินนั้นเป็นอันขาด จนกว่าพวกเขาจะ ออกไปจากที่นั้น แต่ถ้าพวกเขาออกไปจากที่นั้นแล้ว พวกเราจึงจะเป็นผู้เข้าไป เมื่อมูซา (อ.) ได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดโทสะมาก และได้ร้องเรียนกับพระเจ้า และในที่สุดพวกบนีอิสรอ อีลต้องเร่ร่อนอยุ่กลางทะเลทราย ซีนา นานถึง 40 ปี บางกลุ่มจากพวกเขาส�ำนึกผิด และกลับใจมาสู่สาย ธารของพระเจ้าอีกครั้ง พระองค์ทรงเมตตาต่อพวกเขา จึงได้ประทานความโปรดปรานแก่พวกเขาอีก ซึ่งบาง ส่วนของความโปรดปราน กล่าวไว้ในโองการต่อไปนี้ กล่าวว่า และเราได้ให้เมฆมายังสูเจ้า แน่นอนคนเดินทางตั้งแต่เช้าจรดเย็น ท่ามกลาง

24 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ความร้อนระอุของแสดงแดด ถ้าได้รับร่มเงาแม้ว่า เป็นกลุ่มเมฆ ก็สามารถสร้างความชื่นใจแก่ผู้เดินทาง ได้ไม่น้อย อีกด้านหนึ่งถ้าเดินทางกลางทะเลทรายที่ แห้งแล้ง ร้อนระอุ ในระยะเวลาที่นานถึง 40 ปี จ�ำเป็น ต้องมีเสบียงอาหารมากพอ แต่ใครจะสามารถเตรียม เสบียงอาหารได้นานขนาดนั้น แน่นอนพระเจ้าทรง ขจัดปัญหาเหล่านี้แก่พวกเขา อัลกุรอานประโยคต่อ มากล่าวว่า และได้ให้อัลมันนะ (น�้ำตาลก้อนเหนียว ที่อร่อยมาก) และอัซซัลวา (นกคุ่มลักษณะคล้ายนก พิราบ) แก่สูเจ้า สูเจ้าจงบริโภคสิ่งที่สะอาดที่เราได้ให้ เป็นปัจจัยยังชีพแก่สูเจ้า

ประเด็นส�ำคัญ

มันนะและซัลวาคืออะไร เกี่ยวกับเรื่องนี้มีหลายทัศนะด้วยกัน บางคน กล่าวว่า อัลมันนะ (‫ )ال ْ َم َّن‬ในเชิงภาษาหมายถึง หยด เล็กๆ คล้ายกับหยดน�้ำค้างบนยอดไม้และใบหญ้า มีรสชาติหวาน หรืออีกนัยหนึ่งคล้ายกับยางไม้บาง ประเภทมีรสหวาน บางคนกล่าวว่า มีรสชาติอมเปรี้ยว อมหวาน ส่วน ซัลวา ตามหลักภาษาหมายถึง ความ สงบเรียบร้อย นักอักษรศาสตร์และนักอรรถาธิบายกุ รอานส่วนใหญ่กล่าวว่าหมายถึง นกชนิดหนึ่งมีรูปร่าง คล้ายนกพิราบ บางท่านกล่าวว่าเป็น นกคุ่ม บางคนกล่าวว่า จุดประสงค์ของอัลมันนะ หมายถึง ความโปรดปรานทั้งหมด ที่พระผู้เป็นเจ้า ทรงประทานให้พวกบนีอิสรออีล ส่วนค�ำว่า อัซซัลวา


ต้อนรับแขก เนื่องจากค�ำว่า อินซาล และค�ำว่า นุซุล อยู่ในรูปเดียวกับ รุซุล หมายถึง การให้การต้อนรับ ดัง เช่นที่อัลกุรอาน กล่าวถึงชาวนรกบางกลุ่มว่า

หมายถึงความเมตตาทั้งหมด อันเป็นสาเหตุให้พวก เขามีความสงบเรียบร้อย นักอรรถาธิบายบางคนกล่าวว่า อัลมันนะ เป็น น�้ำผึ้งธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งพวกบนีอิสรออีลได้ใช้ ประโยชน์จากน�้ำผึ้งนั้น ตลอดระยะเวลาที่เดินทางอยู่ กลางทะเลทราย เนื่องจากเส้นทางที่พวกเขาลัดเลาะ ไปนั้น เป็นเขาสลับกับทะเลทรายและมีตาน�้ำอยู่บ้าง เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่า อันซัลนา (เราให้) สิ่งที่ต้องพิจารณาคือค�ำว่า อัลซัลนา มิได้ หมายความว่าเป็นการประทานจากเบื้องบน หรือส่ง ลงมาจากข้างบนเสมอไป ดังโองการที่ 6 บทอัซซุมัร กล่าวว่า ِ ‫س َو‬ ٍ ‫َخ َل َق ُكم ِّمن ن َّ ْف‬ ‫اح َد ٍة ثُ َّم َج َع َل ِم ْن َها َز ْو َج َها‬ َ ْ‫َوأَن َز َل ل َ ُكم ِّم ْن أ‬ ٍ‫النْ َعا ِم ثَ َمانِيَ َة أَ ْز َواج‬ พระองค์ทรงสร้างพวกเจ้าจากชีวิตหนึ่ง แล้วจากชีวิตนั้นทรงท�ำให้เป็นของคู่ครองของมัน และทรงประทานปศุสัตว์แปดตัวเป็นคู่แก่พวกเจ้า ท�ำให้ทราบว่าปศุสัตว์ตามที่โองการกล่าวถึง ไม่ ได้ถูกส่งลงมาจากฟากฟ้า ด้วยเหตุนี้ค�ำว่า อันซัลนา ที่ ใช้ในลักษณะเช่นนี้อาจหมายถึง นุซูลมะกอมมี (การ ลงมาโดยต�ำแหน่ง) กล่าวคือ ความโปรดปรานจาก สถานภาพหนึ่งที่ดีกว่าไปสู่สถานภาพที่ต�่ำกว่า หรือบางครั้งมาจากค�ำว่า อินซาล หมายถึง การ

‫فَنُ ُز ُل ِم َن َح ِم ْي ٍم‬ พวกเขาถูกต้อนรับด้วยฮะมีม (เครื่องดื่มที่เผาไหม้ของนรก) ขณะที่พวกบนีอิสรออีล อยู่บนแผ่นดินของ อัลลอฮ์ เป็นแขกของพระองค์ อัลกุรอานจึงกล่าวว่า และได้ให้อัลมันนะ (น�้ำตาลก้อนเหนียวที่อร่อยมาก) และอัซซัลวา ‫َو أَن َزلْنَا َع َل ْي ُك ُم ال ْ َم َّن َو الس ْل َوى‬ อัลเฆาะมามะ หมายถึงอะไร บางคนกล่าวว่า อัลเฆาะมามะและซะฮาบ ทั้ง สองค�ำหมายถึงเมฆ ซึ่งไม่แตกต่างกัน แต่บางคน เชื่อว่า อัลเฆาะมามะ หมายถึงเมฆสีขาว ค�ำๆ นี้ ใน เชิงภาษามาจากรากศัพท์ของค�ำว่า ฆอม หมายถึง การปกปิดสิ่งหนึ่ง และการที่เรียกเมฆว่า ฆอมมะ เนื่องจากเมฆแผ่ปกคลุมชั้นฟ้า และบางครั้งเรียก ทรวงอกว่า ฆอมมะ เนื่องจากว่าได้ห่อหุ้มหัวใจเอาไว้ และการที่อัลกุรอาน กล่าวเช่นนี้เนื่องจากว่า พวกบนี อิสรออีล นอกจากใช้ประโยชน์จากเงาเมฆแล้ว ยังมี แสงสว่างที่เพียงพอเนื่องจากความขาวของเมฆได้แผ่ ปกคลุม ท�ำให้ท้องฟ้าไม่สว่างจ้าจนเกินไป

โองการที่ 58 และ 59

‫َو إ ِْذ ُق ْل َنا ْاد ُخلُوا َه ِذ ِه ا ْل َق ْر َي َة َفكلُوا ِم ْن َها‬ ‫سجداً َو‬ َّ ‫ُم َر َغداً َو ْاد ُخلُوا ا ْل َباب‬ ْ ‫َح ْيث ِش ْئت‬ ‫يد‬ ‫طي ُك ْم َو‬ ِ ُ ‫سنز‬ ْ ‫ُقولُوا ِحط ٌة َّن ْغ ِف ْر َل‬ َ ‫كم َخ‬ ً ‫ين ظ َل ُموا َق ْو‬ ‫ال‬ َ ‫) َف َب َّد َل ا َّل ِذ‬58( ‫ين‬ َ ‫ا ْل ُم ْح ِس ِن‬ ‫ين‬ َ ‫ير ا َّل ِذى ِق‬ َ ‫يل َل ُه ْم َفَأ‬ َ ‫نز ْل َنا َعلى ا َّل ِذ‬ َ ‫َغ‬ ‫ِما كانُوا‬ ‫ظ َل ُموا ِر ْجزاً ِّم َن‬ َ ‫السما ِء ب‬ َ 59( ‫ون‬ ُ ‫َي ْف‬ َ ‫سق‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 25


ความว่า

58 และจงร�ำลึกเมื่อเรากล่าวว่าสูเจ้าจงเข้าไป ในเมืองนี้ (บัยตุลมุก็อดดัซ) แล้วจงบริโภคจากที่นั้น อย่างอุดม ตามแต่สูเจ้าปรารถนา และจงเข้าประตูไป ด้วยความนอบน้อม และจงกล่าวว่า อิฏเฏาะฮ์​์ เราจะ อภัยโทษให้สูเจ้า ซึ่งความผิดต่าง ๆ ของสูเจ้า และเรา จะเพิ่มพูนแก่บรรดาผู้ประกอบการดี 59 แต่บรรดาผู้อธรรมได้เปลี่ยนค�ำพูดให้เป็นอื่น จากที่ได้ถูกกล่าวแก่พวกเขา ดังนั้น เราจึงได้ให้การ ลงโทษจากฟากฟ้า แก่บรรดาผู้อธรรม เนื่องจากพวก เขาฝ่าฝืน

ค�ำอธิบาย

การล้อเลียนอย่างรุนแรงของวงศ์วานอิสรออีล โองการนี้ต้องการกล่าวอีกแง่มุมหนึ่งของวิถีชีวิตของ วงศ์วานอิสรออีล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเข้าไปในแผ่นดิน บริสุทธิ์ (ปาเลสไตน์) ค�ำว่า กอรยะฮ์​์ แม้ว่าในปัจจุบันจะหมายถึง หมู่บ้าน แต่ในกรุอานและปทานุกรมอาหรับหมายถึง

26 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ทุกสถานที่ ๆ ประชาชนรวมกันอยู่ บางครั้งบางครั้ง หมายถึงเมืองใหญ่ หรือหมู่บ้าน แต่ในที่นี้หมายถึง บัยตุลมุก็อดดัซ หรือ แผ่นดินบริสุทธิ์ ค�ำว่า ฮิฏเฏาะฮ์​์ ในเชิงภาษาหมายถึง การก้ม ต�่ำลง หรือการน�ำลงมาด้านล่าง แต่ในที่นี้หมายถึง พระเจ้าทรงขอให้สูเจ้าลดบาปลง พระผู้เป็นเจ้าทรงสั่งพวกเขาว่า เพื่อลดบาปของ พวกเจ้าให้ลดน้อยลง ดังนั้น พวกเจ้าจงกล่าวประโยค ต่อไปนี้ออกจากใจ และทรงสัญญากับพวกเขาว่า ถ้า หากพวกเจ้าปฏิบัติเช่นนี้จริง ฉันจะลดความผิดของ เจ้า และเพื่อความเหมาะสมพระองค์จึงเลือกประตู ด้านหนึ่งของบัยตุลมุก็อดดัซ นามว่าบาบุลฮิฏเฏาะฮ์​์ เพื่อปวงบ่าวที่สะอาดบริสุทธิ์ และนอกจากนั้นแล้ว ทรงอภัยบาปความผิดต่าง ๆ และเพิ่มพูนผลรางวัลแก่ พวกประกอบคุณงามความดี โองการถัดมา กล่าวถึงความอคติและการชอบ ล้อเลียนของพวกบนีอิสรออีล ซึ่งกลุ่มหนึ่งจากพวกเขา ห้ามแม้แต่การกล่าวประโยคที่พระเจ้าตรัสกับพวกเขา และแทนที่ประโยคดังกล่าวด้วยค�ำพูดทีเย้ยหยัน รอฆิบ เอซฟาอานียฺ กล่าวว่า ค�ำว่า ริจซุน ตาม หลักภาษาหมายถึง สิ่งเกินความจ�ำเป็น หันเห และ ความไม่มีระเบียบ เฏาะบัรซียฺ นักอรรถาธิบายอัล-กุรที่ มีชื่อเสียง กล่าวไวในมัจมะอุลบะยานว่า ริจซุน หมาย ถึง การลงโทษประเภทหนึ่ง ซึ่งได้ลงโทษประชาชาติ ก่อนหน้านั้น จากจุดนี้ท�ำให้ประจักษ์ว่าเพราะเหตุใดบาง รายงานที่น�ำมาอธิบายโองการดังกล่าว จึงให้ความ หมายค�ำว่า ริจซุน ว่าหมายถึงโรคติดต่อร้ายแรง สิ่งที่ ชั่วร้าย หรือสิ่งที่เป็นภัย ซึ่งได้แพร่ขยายในหมู่บนีอิสรอ อีลอย่างรวดเร็ว และไม่นานนักได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็น จ�ำนวนมากมาย ผลข้างเคียงร้ายแรงของโรคติดต่อคือ การ แพร่ขยายเชื้อโรคในหมู่ผู้คน ท�ำให้สังคมขาดระเบียบ และวินัยในด้านความสัมพันธ์ การให้ความหมาย


ของเจ้าฟาดลงบนหิน ก้อนนั้น แล้วตาน�้ำสิบ สองตาก็พวยพุ่งขึ้นจาก ก้อนหินแน่นอนกลุ่มชน แต่ละกลุ่มย่อมรู้แหล่งน�้ำ ดื่มของตน จงกินและจง ดื่มจากเครื่องยังชีพขอ งอัลลอฮ์ และจงอย่าเกเร ตามแผ่นดิน ในฐานะผู้ บ่อนท�ำลาย เช่นนี้ มีความสอดคล้องกับความหมายตามรากศัพท์ อย่างยิ่ง ขณะที่โองการข้างต้นแทนที่ค�ำว่า ฟะอันซัล นา อะลัยอิม ด้วยประโยคว่า ฟะอันซัลนา อะลัลละ ซีนะ เซาะละมู ริจซัน เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ว่า การ ลงโทษของพระเจ้าบังเกิดขึ้น เฉพาะกับพวกบนีอิสรอ อีลเท่านั้น ตราบที่พวกเขายังกดขี่อยู่ จากค�ำอธิบายประโยคข้างต้น บ่งชี้ให้เห็น ว่าพวกเขา กระท�ำสิ่งชั่วร้ายซ�้ำหลายครั้ง และยังคง ด�ำเนินต่อไป ท�ำให้รู้ว่าเมื่อบาปกลายเป็นความเคยชิน ของสังคม แน่นอนว่าพระเจ้าต้องลงโทษผู้คนในสังคม อย่างแน่นอน

โองการที่ 60

‫اضرب‬ ‫سقى ُموسى ِل َق ْو ِم ِه َف ُق ْل َنا‬ ِ َ ‫َو ِإ ِذ اس َت‬ ‫شر َة‬ َ ‫ِعصاك ا ْل َح َج َر َف‬ َ ‫ّب‬ َ ‫انف َج َرت ِم ْن ُه ْاث َن َتا َع‬ ‫شر َب ُه ْم كلُوا َو‬ ُّ ‫َع ْينًا َق ْد َع ِل َم‬ َ ‫كل ُأ َناس َّم‬ َ ‫الل َو ال َت ْع َث ْوا فى ا‬ ِ َ‫اشر ُبوا ِمن ِّر ْز ِق ّه‬ ‫ض‬ ِ ‫أل ْر‬ َ 06( ‫ين‬ َ ‫ُم ْف ِس ِد‬

ความหมาย

60. และจงร�ำลึกถึง เมื่อมูซาขอน�้ำดื่มให้แก่ ประชาชาติพวกเขา แล้วเราได้สั่งว่า เจ้าจงใช้ไม่เท้า

ค�ำอธิบาย

การไหลพุ่งของตาน�้ำกลางทะเลทราย โองการต่อไปนี้อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงกล่าวถึง ความโปรดปรานอีกประการหนึ่งของพวกบนีอิสรออีล ทว่าพวกบนีอิสรออีลก็ยังคงเหมือนเดิมอกตัญญู และ ไม่รู้จักคุณค่าของความโปรดปราน หินพิเศษก้อนดังกล่าว เป็นหินอะไร นัก อรรถาธิบายบางท่านกล่าวว่า เป็นโขดหินธรรมดา อยู่ทางด้านหนึ่งของภูเขาทางทิศตะวันออกของทะเล ทราย อัลกุรอาน บท อัลอะอ์รอฟ โองการที่ 160 กล่าว โดยใช้ค�ำว่า อันยะซัต แสดงให้เห็นว่าตอนแรกน�้ำพวก พุ่งที่ละน้อยออกจากก้อนหิน หลังจากนั้นได้กลายเป็น แหล่งน�้ำขนาดใหญ่ เผ่าต่างๆ ของบนี อิสรออีล กับสัตว์พาหนะได้ดื่มน�้ำจากแหล่งน�้ำจนอิ่มส�ำราญ และสิ่งนี้ถือว่าเป็นอภินิหาร อย่างหนึ่งของท่านศาสดา อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า ด้านหนึ่งพระเจ้าทรง ประทานน�้ำตาล และนกคุ่มเป็นอาหาร ส่วนอีกด้าน หนึ่ง ทรงประทานน�้ำดื่ม ที่พอเพียงแก่ประ ชาชนขอ งมูซา (อ.) และในบั้นปลาย พระองค์ประณามว่า ฉัน ประทานความโปรดปราน ที่ยิ่งใหญ่แก่พวกเจ้า อย่าง น้อยที่สุดพวกเจ้าควรขอบคุณฉัน แต่นี่พวกเจ้ากลับ เนรคุณ ช่างอกตัญญูสิ้นดี มิหน�้ำซ�้ำยังเย้ยหยัน และ กลั่นแกล้งศาสดาของฉัน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 27


แต่อย่างใด แม้ว่าวันแรกพระองค์จะสร้างเหตุและผล ให้อยู่ในแนวตั้งก็ตาม มนุษย์ต่างหากที่ยึดถือสิ่งเหล่า นี้ ดังนั้น การเกิดของสิ่งที่พ้นญาณวิสัย มนุษย์จึง ถือว่าเป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเคยชิน และเป็นไปไม่ได้ ความแตกต่างระหว่างค�ำว่า อินฟะญะรอต (‫ )انفجرت‬กับค�ำว่า (‫)انبَ َج َس ْت‬ โองการที่ก�ำลังกล่าวถึง เมื่อกล่าวว่าตาน�้ำพวย พุ่งออกมา จะใช้ค�ำว่า (‫ )انفجرت‬ขณะที่โองการที่ 160 บท อะอฺรอฟ จะใช้ค�ำว่า (‫ )انبَ َج َس ْت‬แทนที่ค�ำ ๆ นี้ ซึ่งค�ำแรกหมายถึง น�้ำไหลแรง ส่วนค�ำที่สองหมาย ถึง น�้ำไหลอ่อน หรือค่อย ๆ ไหลที่ละน้อยอย่างอ่อนนุ่ม อาจเป็นไปได้ว่า ที่โองการที่สองต้องการบ่ง ประเด็นส�ำคัญ ชี้ถึงการไหลของน�้ำในตอนแรก เป็นการไหลเบาๆ ความแตกต่างระหว่างค�ำว่า ตะอฺเซา กับ มุฟซิ เนื่องจากไม่ต้องการให้พวกบนีอิสรออีลตกใจ จะได้ ดีนคืออะไร สามารถใช้น�้ำได้อย่างสบาย ขณะที่อินฟะญะรอต นั้น ค�ำว่า ลาตะอฺเซา (‫ )التعثوا‬มาจากรากศัพท์ เป็นการไหลในขั้นสุดท้าย และไหลแรง ของค�ำว่า อะซิยะ (‫ )عثي‬หมายถึง การก่อความเสีย หายอย่างหนัก เพียงแต่ค�ำนี้ส่วนมากจะใช้เกี่ยวกับ ความเสียหายด้านศีลธรรมเป็นหลัก ดังนั้น ประโยค ที่กล่าวว่า ลาตะอฺเซา หมายถึง การก่อความเสียหาย เช่นกันแต่เป็นการเน้นเพื่อให้รู้ว่า เสียหายอย่างรุนแรง ความเคยชินกับความมหัศจรรย์ ของบนีอิสรอ อีล บางคนที่ไม่มีความคุ้นเคย กับตรรกของความ อัศจรรย์ เช่น ตาน�้ำที่พวยพุ่งจากโขดหิน หรือตาน�้ำที่ ไหลออกมา 12 ตา จะไม่เชื่อว่าเป็นความมหัศจรรย์ ขณะที่อิสลามถือว่า สิ่งเหล่านี้เป็นความมหัศจรรย์ ส่วนหนึ่งของบรรดาศาสดา เนื่องในทฤษฎีของเหตุ และผลนั้น จะเห็นวาการกระท�ำที่เป็นไปไม่ได้ หรือได้ รับการยกเว้นจะไม่เกิดขึ้นเด็ดขาด เว้นเสียแต่ว่าการ กระท�ำนั้นเป็นสิ่งพ้นญาณวิสัย หมายถึงขัดกับเหตุ และผลที่มนุษย์ยึดถืออยู่ เป็นที่แน่ชัดว่าทฤษฎีแห่งเหตุและผล เป็นเรื่อง ธรรมส�ำหรับพระเจ้า พระผู้ทรงสร้างท้องฟ้า แผ่นดิน และสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่บนโลกนี้ ซึ่งไม่มีอุปสรรค

28 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


บทความ

เขียนโดย ชะฮีดมุเฏาะฮารีย์ แปล/เรียบเรียงโดย : ศ. ดร. ไรน่าน อรุณรังษี

สิทธิสตรี ในอิสลาม

ฐานะความเป็นมนุษย์ ของสตรีในอัลกุรอาน * อิสลามกล่าวถึงหลักการสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย เช่นเดียวกันส�ำหรับสตรีและบุรุษ * อิสลามไม่แบ่งแยกสิทธิต่างๆ ระหว่างสตรี และบุรุษ แต่อิสลามก็คัดค้านการที่จะให้ทั้งสองเพศมี สิทธิเดียวกัน * อิสลามได้ท�ำการยุติในการปฏิบัติที่จะมอง ดูเพศหญิงในลักษณะที่ต�่ำทรามและในลักษณะที่ เสื่อมโทรม * อัลกุรอาน ได้รักษาสมดุลไว้ในประวัติศาสตร์ ที่สัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ นั่นคือ วีรชนของอิสลามนั้น มิใช่มีแต่เพียงบุรุษเท่านั้น * ถ้าสตรีต้องการที่จะมีส่วนร่วมในสิทธิแห่ง ความเสมอภาคกับบุรุษแล้วสตรีเหล่านั้นก็จะต้องห่าง ไกลจากความคิดที่ว่า พวกเธอสามารถที่จะมีสิทธิ เดียวกัน * บรรดาผู้รู้ (อุละมาอ์) ของอิสลามได้สร้างพื้น

ฐานปรัชญาว่าด้วยสิทธิต่างๆ โดยการอธิบายถึงหลัก การแห่งความยุติธรรม * การประกาศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนั้นเป็น ปรัชญา ไม่ใช่กฎหมาย จะต้องมอบให้นักปรัชญาท�ำ หน้าที่ในการพิจารณาเห็นชอบ ไม่ใช่ให้แก่นักการ เมืองอาชีพทั้งหลาย * ศักดิ์ศรีของมนุษย์นั้นเป็นพื้นฐานของหลัก การประกาศแห่งสิทธิมนุษยชนได้เป็นสิ่งที่ถูกยอมรับ ในอิสลามมานานแล้ว และชาวตะวันออกก็ได้ยอมรับ สิ่งเหล่านี้มาเป็นเวลานานแล้ว * โลกตะวันตกได้ลดฐานะของมนุษย์ในสิ่งที่ เป็นไปได้ลงสู่ระดับต�่ำที่สุดแต่ในอีกด้านหนึ่งตะวันตก ก็ได้ประกาศหลักการดังกล่าวนี้ในนามของสิทธิมนุษย ชนด้วยการกระพือเสียงดังลั่น * ความโชคร้ายต่างๆ ของมนุษย์สมัยปัจจุบัน นั้นเกิดมาจากสิ่งที่ว่า มนุษย์ได้พากันลืมตัวของเขา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 29


เอง

* ศักดิ์ศรีของมนุษย์เข้ากันได้กับชาวตะวันออก แต่ไม่เข้ากันกับปรัชญาตะวันตก อิสลามยอมรับสตรี เพศไว้ในฐานะประเภทไหน อิสลามได้ถือว่าสตรีเพศ มีความเท่าเทียมกับบุรุษในด้านศักดิ์ศรี และให้ความ เคารพอย่างจริงใจต่อเธอ หรือสตรีเหล่านั้นถูกถือว่า เป็นเพียงประเภทที่ต�่ำต้อย นี้คือค�ำถามซึ่งเราต้องการ ที่จะตอบ ณ บัดนี้ ปรัชญาเด่นชัดของอิสลาม ที่เกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของครอบครัว อิสลามมีปรัชญาที่เด่นชัดที่เกี่ยวกับ สิทธิต่างๆ ของครอบครัว อันเป็นสิทธิของบุรุษ และ สตรี ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งซึ่งได้เกิดขึ้นมาแล้วเป็นเวลา ถึง 14 ศตวรรษและสิ่งนั้นก็ก�ำลังเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ในปัจจุบัน อิสลามไม่เชื่อในสิทธิเพียงประเภทหนึ่งใน ประเภทหนึ่งของหน้าที่ และในประเภทหนึ่งของการ ลงโทษส�ำหรับทั้งบุรุษและสตรีในทุกๆ ตัวอย่าง แต่ อิสลามพิจารณาถึง การครบองค์ประกอบของสิทธิ ต่างๆ และหน้าที่ต่างๆ ตลอดทั้งการลงโทษต่างๆ ว่า เป็นสิ่งซึ่งเหมาะสมยิ่งกว่าส�ำหรับบุรุษ และอีกองค์ ประกอบหนึ่งนั้น ย่อมเหมาะสมยิ่งกว่าส�ำหรับสตรี ตามผลที่เกิดขึ้นนั้น ในบางโอกาสอิสลาม ยึดถือฐานะ ที่เหมือนกันในการยอมรับทั้งบุรุษและสตรี และใน บางโอกาสก็ยอมรับฐานะที่แตกต่างกัน ท�ำไมถึงเป็น เช่นนั้นและอะไรคือพื้นฐานของมัน อิสลามเหมือน กับศาสนาอื่นๆ เช่นนั้นหรือที่มีทัศนะถือว่าสตรีเพศ

30 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

อยู่ในสภาพที่ด้อยกว่า และอยู่ในสภาพที่ก่อให้เกิด ความเสื่อมทราม หรือว่าอิสลามมีเหตุผลเป็นอย่าง อื่น และมีปรัชญาเป็นอีกอย่างหนึ่ง ท่านผู้อ่าน อาจจะ เคยได้ยินอย่างซ�้ำซากในค�ำปราศรัย ค�ำบรรยายและ ข้อเขียน ของกลุ่มบุคคลที่นิยมชมชอบแนวความคิด แบบตะวันตก ที่บุคคลเหล่านั้นถือว่ากฎหมายอิสลาม ที่เกี่ยวกับเรื่องสินสอด ค่าเลี้ยงดู การหย่าร้างและ การอนุมัติให้บุรุษมีภรรยาได้หลายคน และกฎหมาย อื่นๆ เหมือนอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นสิ่งที่ดูถูก เหยียบย�่ำเกียรติยศของสตรีเพศ ในท�ำนองดังกล่าวนี้ ที่บุคคลประเภทนั้น พยายามจะสร้างความประทับใจ ผิดๆ ขึ้นมาว่า เงื่อนไขแห่งหลักการดังกล่าวเหล่านั้น ก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า บุรุษเพศเท่านั้นที่เป็น ฝ่ายได้รับความนิยมที่สูงกว่า บุคคลประเภทนั้นกล่าว ว่า กฎหมายและระเบียบแบบแผนทั้งหมดในโลกก่อน ศตวรรษที่ 20 นั้นวางอยู่บนหลักการแห่งความคิดที่ ว่า บุรุษเพศอันเนื่องจากความเป็นเพศชายของเขา นั้นย่อมจะมีเกียรติสูงส่งกว่าสตรีและสตรีเพศนั้น ถูก สร้างขึ้นมา ก็เพื่อที่จะให้เป็นประโยชน์ใช้สอยแก่ฝ่าย บุรุษ ฉะนั้นแล้ว สิทธิต่างๆ ในอิสลามก็ย่อมจะคล้อย ไปตามวงโคจรในท�ำนองเดียวกันนี้ ที่จะให้ประโยชน์ และก�ำไรแก่ฝ่ายบุรุษ บุคคลประเภทนั้นกล่าวว่า อิสลามเป็นศาสนาส�ำหรับบุรุษเพศฉะนั้น อิสลาม จึงมิได้ยอมรับสตรี ให้อยู่ในฐานะที่เป็นมนุษย์อย่าง สมบูรณ์ ด้วยเหตุเช่นนั้น อิสลามจึงมิได้วางตัวบท กฎหมายไว้เพื่อสตรีเพศ ในอันที่จะเป็นความจ�ำเป็น ส�ำหรับความเป็นมนุษย์ของพวกนาง หากอิสลาม ยอมรับว่า สตรีเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จริงแล้ว อิสลาม ก็ต้องไม่อนุมัติในหลักการ ให้ผู้ชายมีภรรยามากกว่า หนึ่งคน อิสลามก็จะต้องไม่ให้สิทธิในการหย่าร้างแก่ ผู้ชาย อิสลามก็จะต้องไม่ให้ฐานะของการเป็นพยาน โดยให้แก่ผู้หญิงสองคนจึงจะเทียบเท่า กับการเป็น พยานของผู้ชายเพียงหนึ่งคน อิสลามก็จะต้องไม่ให้ ความเป็นหัวหน้าครอบครัวแก่ผู้เป็นสามี อิสลามก็จะ


ต้องไม่ท�ำให้สิทธิในการรับมรดกของสตรี ได้เพียงหนึ่ง ในสี่ของสิทธิรับมรดกของชายอิสลามก็จะไม่ถือเอาว่า ผู้หญิงจะต้องได้รับสินสอดในนามของมะฮัร อิสลาม ก็จะต้องไม่จัดการไว้เพื่ออิสรภาพทางเศรษฐกิจ และ สังคมของนาง และอิสลามก็จะไม่ท�ำให้นางเป็นผู้รับ เงินค่าเลี้ยงดูจากฝ่ายผู้ชาย ผู้มีพันธะจะต้องเลี้ยงดู นาง จากสิ่งต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้ บุคคล ประเภทนั้นกล่าวว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องชี้ให้เห็น ว่าอิสลามได้ท�ำการดูถูกเหยียดหยาม และมีทัศนะที่ หมิ่นต่อสตรีเพศ และได้น�ำพวกเธอมาให้เป็นเพียงแต่ เครื่องมือของการให้ก�ำเนิดพืชพันธุ์ เพื่อเพิ่มมนุษย์ขึ้น มาเท่านั้น กล่าวคือ น�ำสตรีเพศมาใช้เพื่อความจ�ำเป็น ที่จะก่อให้เกิดมีสิ่งดังกล่าวนั้นขึ้นมา บุคคลประเภท นั้นยังเพิ่มเติมอีกว่า แม้ว่าอิสลามจะเป็นศาสนาแห่ง ความเสมอภาค และยังคงด�ำรงไว้ซึ่งความเสมอภาค อย่างแท้จริง ในสถานการณ์อื่นๆ ก็ตาม แต่ในกรณี ของสตรีเพศและบุรุษแล้ว อิสลามมิได้ค�ำนึงถึงสตรี เพศเลย บุคคลประเภทนั้นกล่าวว่า อิสลามได้จัดการ จ�ำแนกและให้สิทธิต่างๆ แก่บุรุษเพศมากกว่าถ้า อิสลามไม่ได้มีความคิดในการแบ่งแยก และให้สิทธิ แก่บุรุษเพศมากกว่าแล้ว อิสลามก็จะต้องไม่ประกาศ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย แบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ออกมา ถ้าเราแก้ข้ออ้างของบรรดาสุภาพบุรุษเหล่านี้ ด้วยวิธีการตามหลักตรรกวิทยาแบบอริสโตเติล แล้วก็ จะมีรูปแบบดังต่อไปนี้: ถ้าอิสลามถือว่า สตรีเพศเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ แบบจริงแล้ว อิสลามก็จะประกาศหลักการแห่งกฎ หมายให้ความเท่าเทียมกัน และให้สิทธิเช่นเดียวกัน ส�ำหรับนาง แต่อิสลามมิได้ประกาศหลักกฎหมาย ที่เสมอภาค และให้สิทธิเดียวกันส�ำหรับนาง เพราะ ฉะนั้นอิสลาม จึงมิได้ถือว่าสตรีมีความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ความเสมอภาค หรือความเหมือนกันทุกอย่าง ประเด็นพื้นฐาน ซึ่งถูกน�ำมาใช้ในข้อเสนอ

เหล่านี้ก็คือว่า ผลที่จ�ำเป็นของการร่วมในศักดิ์ศรีและ เกียรติยศของบุรุษและสตรีนั้นก็คือ สิทธิต่างๆ ของ บุคคลเหล่านั้นจะต้องให้เป็นสิ่งที่เหมือนกัน ฉะนั้น สิ่ง ที่จะต้องเป็นไปหากพูดกันในเชิงปรัชญาแล้ว เราก็จะ ต้องนับนิ้ว เพื่อเป็นการก�ำหนดให้แน่นอนลงไปทีเดียว ว่าสิ่งใดเป็นผลอันจ�ำเป็นของการมีส่วนร่วมในศักดิ์ศรี ของมนุษย์ของฝ่ายบุรุษและสตรี มันเป็นความจ�ำเป็น ด้วยหรือที่จะสรุปว่า แต่ละเพศนั้นจะต้องมีสิทธิอย่าง เท่าเทียมกันกับอีกเพศหนึ่ง จนกระทั่งแต่ละเพศก็ไม่ ต้องมีอภิสิทธิ์ในสิทธิใด หรือความน่านิยมชมชอบกว่า อีกเพศหนึ่ง หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า มันเป็น ความจ�ำเป็นที่สิทธิของบุรุษและสตรีนั้นนอกจากจะให้ มีฝ่ายละเท่าเทียมกันแล้ว ก็จะต้องเป็นสิทธิที่เหมือน กันเลยทีเดียวและนั่นก็คือว่า จะต้องไม่มีการแบ่ง แยกไม่ว่าในงานและหน้าที่ใดๆ ไม่ต้องสงสัยการแบ่ง ความเท่าเทียมกัน และศักดิ์ศรีของมนุษย์ทั้งบุรุษและ สตรีนั้นในฐานะเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการแล้ว ก็จะต้อง แบ่งอย่างเท่าเทียมกันในสิทธิของความเป็นมนุษย์ แต่ จะให้เป็นสิทธิเหมือนกันไปทุกๆ อย่างนั้นจะสามารถ ท�ำได้อย่างไร ถ้าเราสามารถเริ่มวางออกไปห่างๆ เสียสักชั่ว

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 31


ครู่ในเรื่องของการเลียนแบบ และการตามปรัชญา ตะวันตกอย่างหลับหูหลับตา และปล่อยให้ตัวเราเอง ได้คิดค�ำนึงถึงความคิดเชิงปรัชญา และความคิดเห็น ต่างๆ ที่ได้มาจากตะวันตกแล้ว เราก็จะต้องเห็นเป็น ประการแรกว่า ความเหมือนกันของสิทธิต่างๆ นั้น จ�ำเป็นหรือไม่ หรือว่าไม่จ�ำเป็นส�ำหรับความเท่าเทียม กันของสิทธิต่างๆ ความ เหมือนกันของสิทธิต่างๆ นั้นจ�ำเป็นหรือไม่ หรือ ว่าไม่จ�ำเป็นส�ำหรับความเท่าเทียมกัน ของสิทธิต่างๆ ความเสมอภาคนั้น แตกต่างจากความเหมือนกัน ความเสมอภาค หมายถึงส่วนแบ่งที่เท่าเทียมกันและ ความสามารถที่จะกระท�ำให้เท่าเทียมกัน ส่วนความ เหมือนกันนั้นหมายความว่า สิ่งเหล่านั้นเหมือนกัน เลยทีเดียว เป็นไปได้ที่ว่าบิดาคนหนึ่งแจกจ่ายทรัพย์ สมบัติของเขา ไปให้ลูกชายแต่ละคนของเขาอย่างเท่า เทียมกันและเสมอภาคกัน แต่บิดาผู้นั้นก็ไม่อาจที่จะ แบ่งทรัพย์สินนั้นแจกจ่ายกันไปให้เหมือนกัน ในแต่ละ คนยกตัวอย่าง เป็นไปได้ที่บิดาอาจจะมีทรัพย์สินที่ มีชนิดแตกต่างกันออกไป เช่น บิดาอาจจะมีห้างร้าน ค้าพานิชที่ดินที่ท�ำการเพาะปลูก และยังมีที่ดินที่เป็น อสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อเขาได้พิจารณาดูลูกชายแต่ละ คนของเขาแล้ว เขาก็เห็นว่าลูกแต่ละคนมีสติปัญญา แตกต่างกันออกไปตัวอย่างเช่น บางคนมีพรสวรรค์ใน การค้าขาย และบางคนมีความสามารถในการเพาะ ปลูก และคนที่สามมีความสามารถในการจัดการเรื่อง ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ เมื่อบิดาคนนั้นจะท�ำการ แจกจ่ายทรัพย์สินไปให้แก่ลูกๆ ของเขา ในบั้นปลาย แห่งชีวิตของเขานั้น เขาก็คิดอยู่ในใจว่าเขาจะต้องให้ ทรัพย์สินแก่ลูกๆ ทุกคนโดยให้เท่าเทียมกันในด้าน คุณค่าของทรัพย์สินนั้นๆ เพื่อจะไม่ให้เกิดความรู้สึก แบ่งแยกหรือเกิดความรู้สึกว่า รักลูกคนนั้นมากกว่า คนนี้ เขาจึงจัดแยกทรัพย์สินให้ตามสติปัญญาของ ลูกๆ แต่ละคนว่าใครถนัดด้านไหน ปริมาณนั้นแตกต่างจากคุณภาพ ความเสมอ

32 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ภาคหรือความเท่าเทียมกันนั้น แตกต่างจากความ เหมือนกันเลยทีเดียว สิ่งที่แน่นอนประการหนึ่งก็คือว่า อิสลามนั้นมิได้พิจารณาถึงความเหมือนกัน หรือความ เหมือนกันเลยทีเดียวของสิทธิต่างๆ ระหว่างบุรุษและ สตรีแต่อิสลามก็มิได้ใช้หลักการจ�ำแนกไปเพื่อการแบ่ง แยกหรือความนิยมชมชอบเพศหนึ่งเพศใดให้มากกว่า อีกเพศหนึ่งเป็นต้นว่า มิได้ให้ความพึงพอใจชมชอบ แก่บุรุษให้มากกว่าสตรี ก็หาไม่ อิสลามได้ยึดถือหลัก การแห่งความเสมอภาคระหว่างบุรุษและสตรี อิสลาม มิได้คัดค้านหลักความเท่าเทียมกัน ของบุรุษและสตรี แต่อิสลามไม่ตกลง ด้วยความเหมือนกันของสิทธิ ต่างๆ ของทั้งสองเพศนั้นค�ำต่างๆ เช่น “ความเสมอ ภาค” และ “ความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย” นับเป็น ค�ำที่ให้ความศักดิ์สิทธิ์ เพราะว่ามันมีความหมายที่ ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน และไม่มีการจ�ำแนก ค�ำ เหล่านี้ก่อให้เกิดความประทับใจ และท�ำให้เกิดความ น่าเคารพจากผู้ฟังทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ค�ำเหล่านี้ถูกใช้เชื่อมต่อกับค�ำว่า “สิทธิต่างๆ” “ความ เสมอภาคแห่งสิทธิต่างๆ” มันช่างเป็นค�ำเชื่อมต่อที่ เต็มไปด้วยความไพเราะงดงาม และศักดิ์สิทธิ์เสียนี่ กระไร! บุคคลจะสามารถเป็นผู้มีมโนธรรมและมีความ รู้สึกภายใน ด้านศีลธรรมไปได้อย่างไร ถ้าบุคคลนั้นไม่ ให้ความเคารพในสองค�ำเช่นนี้แล้ว แต่ท�ำไมเล่ามันจึงกลายเป็นเช่นนั้นไป พวก เราซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้ชูธงมาตรการแห่งความรู้ ปรัชญาและตรรกศาสตร์ แต่ไฉนต้องมาอยู่ในฐานะ ที่ให้บุคคลอื่นๆ ซึ่งต้องการที่จะยัดเหยีดความคิดเห็น ต่างๆ ของพวกเขาต่อพวกเรา ให้เกิดความสับสนใน ความสัมพันธ์ของค�ำที่มีความหมาย ความเหมือนกัน ของสิทธิต่างๆ ของบุรุษและสตรีมาให้สับสนกับค�ำที่ ศักดิ์สิทธิ์ของค�ำที่มีความหมายว่า ความเสมอภาค แห่งชีวิตต่างๆ ไปได้หากเป็นอย่างนั้นแล้ว มันก็เหมือน อย่างที่บุคคลหนึ่งต้องการที่จะขายหัวผักกาดต้ม แต่ กลับมาเรียกสิ่งนั้นไปว่า เป็นลูกแพร์ไปเสียนี่ สิ่งที่


แน่นอนก็คือว่า อิสลามไม่อนุมัติให้สิทธิต่างๆ เหมือน กันแก่บุรุษและสตรี ในทุกสิ่งทุกอย่าง ในท�ำนอง เดียวกันอิสลามก็มิได้ให้หน้าที่และหลักการลงโทษแก่ ทั้งสองเพศเหมือนกันในทุกๆ โอกาส อย่างไรก็ตามผล รวมทั้งหมดของสิทธิทุกๆ อย่างที่ได้ถูกจัดไว้ให้แก่สตรี นั้นมีค่าน้อยกว่าสิทธิต่างๆ ที่ได้มอบให้แก่บุรุษเช่นนั้น หรือ ไม่อย่างแน่นอน ซึ่งเราจะได้พิสูจน์กันต่อไปใน ที่นี้ ปัญหาทั้งสองก็เกิดขึ้น ท�ำไมอิสลามจึงอนุมัติให้ สิทธิต่างๆ ไม่เหมือนกันเลยทีเดียวแก่บุรุษและสตรีใน กรณีหนึ่งๆ ท�ำไมอิสลามจึงไม่อนุญาตให้สิทธิต่างๆ แก่ทั้งสองเพศให้เหมือนกันเลยทีเดียวเล่า มันจะไม่ เป็นการดีกว่าหรือส�ำหรับสิทธิต่างๆ ของบุรุษและสตรี ที่จะให้ทั้งสองมีอย่างเท่าเทียมกันและเหมือนกันเลยที เดียว หรือว่าอิสลามชอบที่จะให้สิทธิต่างๆ เป็นเพียง ให้เท่าเทียมกัน แต่ไม่ให้เหมือนกันเลยทีเดียว การ

ศึกษาประเด็นนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วนนั้นนับเป็นความ จ�ำเป็นที่เราจะต้องถกกันในประเด็นนี้ในสามหัวข้อต่อ ไปนี้ : 1. ทัศนะของอิสลาม เกี่ยวกับฐานะความเป็น มนุษย์ของสตรีมองจากทัศนะของการสร้างสรรค์ 2. อะไรคือเหตุผลส�ำหรับความแตกต่างซึ่งมีอยู่ ในการสร้างมนุษย์ผู้ชายและมนุษย์ผู้หญิง ความแตกต่างเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิด ความไม่เหมือนกันในสิทธิต่างๆตามธรรมชาติของทั้ง สองเพศหรือไม่ 3. ปรัชญาพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังความแตกต่าง ซึ่งมีอยู่ในกฎหมายอิสลาม ทั้งส�ำหรับบุรุษและสตรี ซึ่งได้ถูกวางลงไว้ในฐานะต�ำแหน่งที่แตกต่างกันอย่าง แน่นอน เหตุผลด้านปรัชญาเหล่านี้ยังคงสามารถน�ำ มาใช้วินิจฉัย และยังคงเป็นสิ่งดีหรือไม่เพียงใดใน ปัจจุบันนี้ ก่อนอื่น คัมภีร์อัลกุรอาน นั้นมิใช่เป็นเพียง การรวบรวมประมวลกฎหมายไว้เท่านั้น คัมภีร์อัลกุ รอาน มิใช่บรรจุไว้แต่เพียงบทบัญญัติแห่งค�ำสั่งที่แห้ง แล้งและประมวลกฎหมายที่ปราศจากการวิพากษ์ ก็ หามิได้ อัลกุรอาน บรรจุไว้ทั้งประมวลกฎหมายและ ประวัติศาสตร์คัมภีร์อัลกุรอาน มีทั้งค�ำเร่งเร้า ค�ำขอ ร้อง ค�ำตักเตือนและการตีความการสร้างสรรค์ในทุก สรรพสิ่ง และยังมีเรื่องอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เพียงแต่ คัมภีร์อัลกุรอาน ได้วางระเบียบกฎเกณฑ์ของการ ปฏิบัติในรูปแบบของตัวบทกฎหมายในบางโอกาส เช่นนี้แหละที่คัมภีร์อัลกุรอาน ได้ให้การวิพากษ์ถึง การด�ำรงอยู่และภาวะของสิ่งต่างๆ อัลกุรอาน ได้ อรรถาธิบายให้เห็นถึงความเร้นลับต่างๆ แห่งการ สร้างสรรค์โลกและชั้นฟ้าอากาศ พืชพันธุ์ต่างๆ สัตว์ ต่างๆ และชาติพันธุ์มนุษย์ตลอดทั้งความลับแห่งชีวิต และความตายความยิ่งใหญ่และความทุกข์ทรมาน ความเจริญเติบโตและความเสื่อมสลาย ความมั่งคั่ง และความยากจน คัมภีร์อัลกุรอาน ไม่ใช่บทความว่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 33


ด้วยปรัชญา แต่มันก็ส�ำแดงออกไว้อย่างชัดแจ้งถึง ทัศนะต่างๆ ที่เกี่ยวกับหัวข้อพื้นฐานสามประการของ ปรัชญา นั่นคือเรื่องจักรวาล มนุษยชาติและสังคม คัมภีร์อัลกุรอานไม่เพียงแต่สั่งสอนบรรดาผู้ศรัทธา ให้ รู้ถึงประมวลกฎหมายเท่านั้น และไม่เพียงแต่ให้ค�ำ แนะน�ำตักเตือนขอร้องและเร่งเร้าเท่านั้น แต่คัมภีร์อัล กุรอาน ยังให้แก่บรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามในสิ่งซึ่งเป็นวิธี การพิเศษในด้านการคิด โลกทัศน์ที่แน่นอนเป็นพิเศษ โดยการตีความการสร้างสรรค์สรรพสิ่งต่างๆ ของมัน พื้นฐานแห่งบทบัญญัติของอิสลามทั้งมวลนั้นสัมพันธ์ กับเรื่องราวทางสังคม เป็นต้นว่า ความเป็นเจ้าของ รัฐบาล สิทธิต่างๆ ของครอบครัวและเรื่องอื่นๆ อีก มากมายในความสัมพันธ์ด้านต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งสิ่ง ต่างๆ เหล่านั้น เป็นการอรรถาธิบายไว้อย่างชัดแจ้งซึ่ง คัมภีร์อัลกุรอาน ได้ให้การสร้างสรรค์และให้พิจารณา เพื่อเข้าใจในสรรพสิ่งต่างๆ ทั่วสากลโลก เพื่อที่จะยอม จ�ำนนในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว และการยอมรับใน กฎศีลธรรมสูงสุด ซึ่งเป็นการชี้โลกทัศน์ให้มวลมนุษย์ วิวัฒนาการก้าวหน้า ไปสู่สภาวะที่เจริญสูงสุดในโลก ที่เร้นลับ ซึ่งสูงส่งยิ่งกว่านี้เรื่องหนึ่งในบรรดาเรื่องทั้ง หลายที่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานนั้น ก็ คือเรื่องการสร้างมนุษย์เพศหญิงและเพศชาย ใน เรื่องนี้ คัมภีร์อัลกุรอานก็มิได้เงียบเสียงที่จะไม่กล่าว ถึงและอัลกุรอานก็ไม่เปิดโอกาสให้แก่คนเหล่านั้น ที่ พูดในเรื่องเหลวไหล ด้วยการสอดใส่ปรัชญาของเขา เองลงไปในตัวบทกฎหมาย ที่เกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์ ทั้งเพศชายและเพศหญิง แหละแล้วก็มากล่าวหาว่า อิสลามมีทัศนะที่หมิ่นแคลนต่อสตรีเพศ โดยใส่ไว้ อย่างแข็งกร้าวในทฤษฎีของพวกเขาเอง อิสลามได้ วางทัศนะของมันไว้อย่างเรียบร้อยแล้ว เกี่ยวกับเรื่อง สตรีเพศถ้าเราต้องการที่จะดูว่าอัลกุรอาน มีทัศนะ อย่างไร เกี่ยวกับเรื่องการสร้างสตรีเพศและบุรุษแล้ว ก็จ�ำเป็นที่จะต้องพิจารณา เข้าไปถึงปัญหาแห่งการ สร้างสรรค์ของทั้งสองเพศนั้นว่า ในคัมภีร์แห่งศาสนา

34 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

อื่นๆ นั้นมีกล่าวไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งนี้คัมภีร์อัลกุรอาน ก็มิได้เฉยเมยไม่กล่าวไว้แต่ประการใด เราจะต้องดูว่า คัมภีร์อัลกุรอาน นั้นถือว่าสตรีและบุรุษนั้นเป็นอินทรีย์ เดียวกันหรือเป็นสอง กล่าวอีกนัยหนึ่งสตรีและบุรุษ นั้น มีธรรมชาติแห่งอินทรีย์เป็นหนึ่งเดียวหรือว่าเป็น สอง ในเรื่องนี้ คัมภีร์อัลกุรอานได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ในหลายโองการ เช่นที่ว่า “เราสร้างเพศหญิง จากธรรมชาตินั้นของมนุษย์ และจากอินทรีย์เดียวกันนั้น เหมือนอย่างธรรมชาติ แห่งอินทรีย์ของเพศชาย” เกี่ยวกับอาดัม มนุษย์คนแรก คัมภีร์อัลกุรอาน ได้ระบุไว้ว่า “พระผู้ซึ่งทรงสร้างสูเจ้าจากวิญญาณหนึ่ง และ ทรงสร้างจากวิญญาณนั้นซึ่งคู่ครองของมัน” (อัลกุร อาน 4 : 1) ส่วนที่เกี่ยวกับมนุษย์ทั้งมวล คัมภีร์อัลกุรอาน ระบุไว้หลายแห่งด้วยกัน เช่น “อัลลอฮ์ (ซย.)ทรงสร้างคู่ครองของสูเจ้า จาก ชนิดเดียวกันของสูเจ้าเอง” สิ่งที่ปรากฏในอัลกุรอาน มีหลายอย่างที่ไม่


สามารถจะหาได้พบในคัมภีร์อื่นๆ และเช่นเดียวกัน ที่ไม่อาจจะหาได้พบในคัมภีร์อัลกุรอาน ในสิ่งซึ่งมี ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อื่นๆ เป็นต้นว่าคัมภีร์อื่นมีระบุไว้ว่า สตรีนั้นถูกสร้างออกมาจากส่วนที่ต�่ำต้อยกว่าของบุรุษ ซึ่งท�ำให้สตรีมีฐานะเป็นเหมือนกาฝาก และมีฐานะที่ ด้อยกว่าบุรุษ หรือปรากฏในบางคัมภีร์ว่า คู่ครองของ อาดัม มนุษย์คนแรกนั้นถูกสร้างขึ้นมาจากซี่โครงด้าน ซ้ายอันหนึ่งของเรือนร่างอาดัม นอกจากนั้นแล้ว ใน อิสลามไม่มีทัศนะที่จะถือว่า สตรีมีความต�่ำต้อยหรือ เสื่อมทรามในธรรมชาติดั้งเดิม ตั้งแต่เกิดมาของสตรี ทัศนะที่เหยียบย�่ำสตรีอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีปรากฏมาแล้ว ในอดีต และยังคงหลงเหลือผลอันไม่น่าชื่นชมยินดี และไม่น่าปรารถนานี้ไว้ในวรรณกรรมของโลก นั่นคือ ความคิดที่ถือว่า สตรีเป็นบ่อเกิดของความบาปและ การด�ำรงชีวิตอยู่ของสตรีเพศนั้น คือบ่อเกิดของความ บาป ความชั่ว และการยั่วเย้าให้มนุษย์ผู้ชายหันเหไป สู่ความชั่วร้าย สตรีจึงเป็นซาตานหรือปีศาจตัวน้อยๆ บุคคลเหล่านั้นกล่าวว่า ความชั่วความบาปหรือการก ระท�ำผิดทุกๆ อย่างที่ผู้ชายได้กระท�ำลงไปนั้น ผู้หญิงมี ส่วนทั้งสิ้น ตามความเชื่อของคนพวกนั้นถือว่ามนุษย์ ผู้ชายนั้นโดยส่วนตัวแล้วเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ ไร้มลทินจาก บาปใดๆ แต่เพราะผู้หญิงที่ลากดึงให้ผู้ชายไปสู่ความ บาป บุคคลเหล่านั้นกล่าวว่า ซาตานนั้นไม่สามารถจะ รู้หรือหาพบช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่ผู้ชายได้โดยตรงแต่ ต้องผ่านไปทางเพศหญิงเท่านั้น ที่ซาตานจะสามารถ หลอกลวงผู้ชายได้ ซาตานยั่วเย้าผู้หญิง และผู้หญิงก็ มายั่วเย้าผู้ชาย บุคคลเหล่านั้นกล่าวว่าอาดัม ซึ่งเป็น มนุษย์คนแรกนั้นก็ถูกหลอกลวงโดยซาตาน จึงต้อง ออกไปอยู่นอกสวนสวรรค์แห่งความสุข และซาตานที่ ยั่วเย้าอาดัมได้นั้น ก็โดยการหลอกลวงผ่านทางผู้หญิง นั่นคือซาตานยั่วเย้าอีวา โดยหลอกให้อีวาไปยั่วเย้า อาดัม คัมภีร์อัลกุรอานแจ้งเรื่องราวของสวนสวรรค์ขอ งอาดัมไว้ด้วย แต่อัลกุรอานไม่เคยบอกว่าซาตานหรือ งูตัวนั้นยั่วเย้าอีวา และอีวาไปยั่วเย้าอาดัม คัมภีร์อัล

กุรอาน ไม่เคยอธิบายเอาไว้ว่าอีวาเป็นบุคคลที่จะต้อง รับผิดชอบแต่ผู้เดียว และอัลกุรอานก็มิได้ให้นางพ้นไป จากความบาปนั้น คัมภีร์อัลกุรอานระบุไว้ว่า “โอ้ อาดัม เจ้าและภริยาของเจ้าจงรับมรดก แห่งสวนนี้และจงบริโภคในสิ่งซึ่งเจ้าประสงค์” ในที่ซึ่งคัมภีร์อัลกุรอานอรรถาธิบายถึงเรื่องการ ยั่วเย้าของซาตาน อัลกุรอานใช้สรรพนามในรูปแบบ ของทวิพจน์ (คืออ้างถึงทั้งสองบุคคล) อัลกุรอานระบุ ไว้ว่า “ซาตานได้ยั่วเย้าทั้งสองนั้น” “ดังนั้น มารก็น�ำเขาทั้งสองไปโดยการหลอก ลวง” “และซาตานสาบานแก่เขาทั้งสองว่า แท้จริงฉัน เป็นที่ปรึกษาผู้มีความจริงใจต่อท่านทั้งสอง” ในท�ำนองนี้ คัมภีร์อัลกุรอานปฏิเสธอย่างแข็ง ขันในความคิดที่ผิดๆ ซึ่งแผ่คลุมไปในเวลานั้น และก็ ยังคงพบว่ามีความคิดเช่นนั้น กระเส็นกระสายอยู่ใน หลายๆ กลุ่มของบุคคลในโลกนี้ อัลกุรอานได้ตักเตือน เพื่อให้เพศสตรีพ้นจากการถูกกล่าวหาว่า สตรีนั้นเป็น บ่อเกิดของการยั่วเย้าและความบาป และให้พ้นจาก การที่กล่าวหาว่าสตรีเพศนั้น เป็นครึ่งหนึ่งของซาตาน ความคิดที่เหยียดหยามอีกอย่างหนึ่ง ที่มีอยู่และ เกี่ยวข้องกับสตรีเพศ นั่นก็คือในด้านความสามารถ ทางจิตวิญญาณของนาง บุคคลเหล่านั้นกล่าวว่า “สตรีนั้นไม่สามารถจะไปสวรรค์ได้ สตรีไม่สามารถที่ จะผ่านขั้นตอนทางด้านจิตวิญญาณ และขั้นตอนอัน เป็นทิพย์ของการรู้แจ้งเห็นจริงได้ สตรีนั้นไม่สามารถที่ จะได้รับหรือบรรลุถึงการเป็นตัวแทนของพระผู้เป็นเจ้า ได้เหมือนอย่างที่บุรุษได้เป็น” ในด้านตรงกันข้าม คัมภีร์อัลกุรอานได้ท�ำให้ ประเด็นนี้เป็นที่ชัดแจ้ง ซึ่งปรากฏในโองการต่างๆ จ�ำนวนมาก ที่เกี่ยวกับการตอบแทนรางวัลในชีวิตหลัง จากความตาย และความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้ขึ้นอยู่กับเรื่องเพศหญิงหรือเพศชาย แต่ขึ้นอยู่กับ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 35


ความศรัทธาและการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือ ชายก็ตาม ส�ำหรับบุคคลที่เป็นผู้ทรงคุณธรรมและเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ทุกๆ คนนั้น คัมภีร์อัลกุรอาน ก็ได้ระบุนาม สตรีผู้ทรงคุณธรรม และผู้ยิ่งใหญ่ไว้คู่เคียงกันกับบุรุษ ผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้ระบุนามไว้ เป็นต้นว่า บรรดาภริยาของ ศาสดา เช่น ศาสดาอาดัม ศาสดาอิบรอฮีม (อับรา ฮัม) มารดาของศาสดามูซา (โมเสส) และมารดาของ ศาสดาอีซา (เยซู) ก็ได้รับการเอ่ยนามไว้ในฐานะที่ได้ รับการยกย่องอย่างสูง แม้ว่าคัมภีร์อัลกุรอานจะได้อ้าง ถึงภริยาของศาสดานูฮ์ (โนอา) และศาสดา ลูฏ (ล๊อต) ว่าไม่อยู่ในฐานะที่คู่ควรกับสามีของนางก็ตาม แต่อัล กุรอานก็มิได้เมินเฉย ที่จะกล่าวถึงภริยาของฟิรอูน (ฟาโรฮ์) ในฐานะที่เป็นสตรีที่มีลักษณะดีเด่นที่อยู่ภาย ใต้การควบคุมของบุรุษผู้น่าชิงชัง อาจจะกล่าวได้ว่า คัมภีร์อัลกุรอาน มีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหาการรักษา ไว้ซึ่งดุลยภาพในประวัติศาสตร์ของมันและบทบาทน�ำ ในบุคคลเหล่านั้น ก็มิได้จ�ำกัดอยู่แต่เพียงบุรุษเท่านั้น เกี่ยวกับมารดาของ ศาสดา มูซา นั้น คัมภีร์อัลกุรอาน ได้ระบุไว้ว่า “ดังนั้น เราได้ดลใจแก่มารดาของมูซาว่า “จง ให้เขากินนมแล้ว เมื่อเจ้ากลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่เขา จงจับเขาวางลงไปในน�้ำนั้นและจงอย่ากลัว อีกทั้งอย่า ระทมส�ำหรับเรานั้นจะน�ำเขากลับมายังเจ้าอีก” (28 : 7) เกี่ยวกับท่านหญิงมัรยัม (แมรี มารีหรือมาเรีย) มารดาของศาสดาอีซา คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า นาง ได้บรรลุถึงระดับทางจิตวิญญาณอันสูงส่ง จนท�ำให้ บรรดามะลาอิกะฮ์ มาเยือนนางในที่ๆ นางนมาซและ สนทนากับนาง ส่วนอาหารและปัจจัยยังชีพนางก็ได้ รับจากสภาพพ้นญาณวิสัย นางได้บรรลุถึงฐานะอัน สูงส่ง ที่ได้รับความโปรดปรานจากพระผู้เป็นเจ้าซึ่ง ก่อให้เกิดความมหัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง แก่ศาสดาแห่ง ยุคนั้น เพราะนางได้บรรลุถึงระดับเดียวกับที่ศาสดาผู้ เป็นบุรุษได้รับ ศาสดาซะกะรียาพบกับความฉงนเมื่อ

36 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ท่านพบนาง และรู้ถึงสภาพเช่นนั้นในประวัติศาสตร์ อิสลามเองนั้น ก็มีประวัติของบรรดาสตรีผู้ดีเด่นและ ผู้ทรงคุณธรรมจ�ำนวนมากมาย บุรุษจ�ำนวนน้อย มาก ที่จะสามารถบรรลุถึงฐานะอันสูงส่งอย่างเช่น ท่านหญิงคอดีญะฮ์ และไม่มีบุรุษคนใดนอกจากท่าน ศาสดาและท่านอะลี ที่สามารถบรรลุถึงสถานภาพ ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ และนางนั้น ประเสริฐกว่าบุตรของนาง (บรรดาอิมาม) และบรรดา ศาสดาก็เช่นเดียวกัน ยกเว้นศาสดาสุดท้ายที่อยู่ใน ฐานะคอตะมันนะบียีน (ศาสดามุฮัมมัด) อิสลามมิได้ ท�ำให้แตกต่างกันระหว่างบุรุษและสตรีในการเดินทาง จากโลกนี้ไปสู่ อัล-ฮัก (สัจธรรมสู่พระผู้เป็นเจ้า) ความ แตกต่างมีอยู่เพียงว่า อิสลามได้ท�ำให้เกิดความแตก ต่างในการเดินทางจากอัลฮัก มาสู่โลกนี้ในการกลับสู่ มนุษยชาติ และในการเชิดชูน�ำมาซึ่งสาส์นแห่งศาสดา นั้น โดยอิสลามได้ยอมรับสถานภาพของบุรุษให้อยู่ใน ฐานะที่เหมาะสมยิ่งกว่าในภารกิจนั้น ความคิดในด้าน เสื่อมทรามอีกประการหนึ่ง ซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่อง ของการละเว้นใน ด้านทางเพศ และการถือว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์ ของการด�ำรงชีวิตแบบไม่ครองเรือน และไม่มีการ สมรส โดยแยกชีวิตห่างจากเพศคู่ ตามที่รู้กันมานั้น ในบางศาสนาถือว่า เพศสัมพันธ์โดยเนื้อแท้แล้วไม่ สะอาด ตามการปฏิบัติของผู้ที่ยึดถือตามศาสนาเหล่า นี้ถือว่า เฉพาะบุคคลที่ใช้ชีวิตโดยไม่เกี่ยวข้องกับเพศ คู่นั้น จะสามารถบรรลุถึงสถานทางจิตวิญญาณอัน สูงส่งได้เท่านั้น ผู้น�ำทางด้านศาสนาที่รู้จักกันดีทั่วโลก คนหนึ่งได้กล่าวว่า “ขุดพฤกษาแห่งการสมรสออกไป ด้วยจอบเสียมแห่งสาวพรหมจารี” บรรดาผู้น�ำศาสนา ดังกล่าว จึงยอมให้สมรสได้ก็แต่เพียงเพื่อที่จะท�ำให้ ความชั่วร้ายอย่างหนึ่งนั้น จะได้ขจัดความชั่วร้ายที่ ยิ่งใหญ่กว่าออกไป กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลเหล่านั้น ยังคงยืนยันว่า ในฐานะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ สามารถที่จะเข้ามาสู่การครองชีวิตแบบสันโดษ ที่ไม่มี


คู่ครองได้ ซึ่งเป็นชีวิตที่ต้องอดกลั้นอย่างหนักหน่วง และอาจจะสูญเสียการควบคุมตนเองลงไปได้ แล้ว ตกไปเป็นเหยื่อของความเสื่อม ที่ผันแปรไปสู่ความ ผิดพลาดโดยหันไปมีเพศสัมพันธ์ กับผู้หญิงจ�ำนวน มากมาย ฉะนั้นแล้ว มันจะเป็นการดีกว่าที่บุคคลเหล่า นั้นจะได้สมรส และจะได้ไม่ต้องไปมีเพศสัมพันธ์กับ ผู้หญิงอื่นๆ มากกว่าผู้หญิงคนเดียว สาเหตุที่แท้จริง ของการละเว้นจากเรื่องเพศ และใช้ชีวิตแบบไม่สมรส นั้นก็คือความรู้สึกที่รังเกียจสตรีเพศนั่นเอง ซึ่งแฝงฝัง อยู่ในจิตส�ำนึกบุคคลเหล่านี้ถือว่า ความรักในผู้หญิง นั้น เป็นสิ่งหนึ่งของความเสื่อมทรามทางด้านศีลธรรม ที่ยิ่งใหญ่ อิสลามได้ท�ำการรณรงค์อย่างเกรี้ยวกราด ที่สุดในการต่อต้านความโง่งมงายแบบนี้ อิสลามถือว่า การสมรสนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการครองชีวิตโดย ไม่สมรสนั้น เป็นการกระท�ำที่ไม่บริสุทธิ์อิสลามถือว่า ความรักในสตรีเพศนั้น เป็นส่วนหนึ่งแห่งศีลธรรมของ ความเป็นศาสดาและกล่าวว่า “ความรักในสตรีเพศ เป็นส่วนแห่งศีลธรรมของ บรรดาศาสดา”

ท่านศาสดาสุดท้ายได้เคยกล่าวไว้ว่า “สามสิ่งเป็นที่รักแก่ฉัน กลิ่นหอม สตรี และการ นมาซ” เบอร์ทรันด์ รัสเซลกล่าวว่า “ในประมวลกฎหมายทั้งหมด ที่เกี่ยวกับการ ประพฤติปฏิบัติทางด้านศีลธรรม มีปรากฏประเภท ของการรังเกียจ ในความสัมพันธ์ทางเพศยกเว้นใน อิสลาม” อิสลามวางบทบัญญัติ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ และข้อจ�ำกัดต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์นี้ เพื่อเหตุผลต่างๆ ทางสังคมแต่อิสลามไม่เคยพิจารณา ว่าสิ่งนี้ เป็นเรื่องของความไม่สะอาดและเป็นสิ่งที่ น่ารังเกียจน่าขยะแขยง ความคิดที่เหยียบย�่ำสตรีอีก ประการหนึ่ง โดยที่ถือว่าสตรีนั้นเป็นแต่เพียงเครื่อง มือส�ำหรับก่อให้เกิดมนุษย์เท่านั้น ฉะนั้นแล้ว สตรีจึง ถูกสร้างมาเพื่อบุรุษความคิดเช่นนี้ ไม่อาจจะท�ำให้ พบในอิสลาม อิสลามอธิบายอย่างชัดแจ้งที่สุดถึงพื้น ฐานของสาเหตุสุดท้าย อิสลามได้บอกไว้อย่างชัดแจ้ง ทีเดียวว่า โลกและชั้นฟ้า หมู่เมฆและลมชนิดต่างๆ พืชพันธุ์และสัตว์ชนิดต่างๆ นั้น ทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูก สร้างขึ้นมาเพื่อมนุษย์ แต่อิสลามไม่เคยกล่าวว่า สตรี ถูกสร้างขึ้นมาส�ำหรับบุรุษ แต่อิสลามกลับบอกว่าบุรุษ และสตรีนั้นแต่ละฝ่ายถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเกื้อกูลต่อกัน “นางทั้งหลายเป็นอาภรณ์ส�ำหรับสูเจ้า (ผู้ชาย) และสูเจ้าก็เป็นอาภรณ์ส�ำหรับนางทั้งหลาย” (อัลกุร อาน 2 : 178) ถ้าอัลกุรอานถือว่า สตรีเป็นเพียงเครื่องมือที่ จะท�ำให้บุรุษ และเป็นบางสิ่งบางอย่างที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อบุรุษแล้ว อัลกุรอาน ก็จะต้องรักษาความจริงข้อนี้ ไว้ในประมวลกฎหมายอิสลามอย่างแน่นอน อิสลาม นั้นในการอธิบายถึงการสร้างสรรค์สรรพสิ่งนั้น มิได้มี ความคิดดังกล่าวนี้แอบแฝงไว้เลย และมิได้ถือว่าสตรี เป็นเสมือนกาฝาก หรือเป็นส่วนประกอบในการด�ำรง ชีวิตของบุรุษแต่อย่างใด ฉะนั้น จึงไม่อาจที่จะหาได้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 37


อะไรเลยในการที่ก่อก�ำเนิดบุตรมาให้แก่โลกนี้ ชาว อาหรับในสมัยก่อนอิสลาม และในกลุ่มประชาชาติ อื่นๆ นั้นถือว่าบรรดาสตรีเป็นแค่เพียงแหล่งเก็บน�้ำเชื้อ อสุจิของชายเท่านั้นซึ่งตามความคิดเห็นของพวกเหล่า นั้นแล้วถือว่า ฝ่ายชายเป็นผู้สืบพืชพันธุ์ที่แท้จริงของ เด็กที่เกิดมา และบุคคลเหล่านั้นกล่าวว่า ส่วนของผู้ หญิงนั้นก็คือเป็นแหล่งที่เก็บรักษาพืชพันธุ์ และท�ำการ หล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ไว้เท่านั้น ในเรื่องนี้ คัมภีร์อัลกุรอาน ได้กล่าวไว้ในหลายโองการว่า “สูเจ้าถูกสร้างขึ้นมาจากชายและหญิง” ในโองการอื่นๆ เมื่อได้ท�ำการวิเคราะฮ์โดยการ อรรถาธิบายให้เหตุผลไปแล้ว จะเห็นว่าเป็นการให้ค�ำ ตอบสุดท้ายไว้ในท�ำนองเดียวกัน จากสิ่งซึ่งได้กล่าว มาแล้วแต่เบื้องต้นนั้นเป็นที่ชัดเจนว่า ทั้งจากทัศนะ เชิงปรัชญา และทั้งจากการอรรถาธิบายตามธรรมชาติ ของการสร้างสรรค์แล้ว อิสลามมิได้มีทัศนะไปในทาง เสื่อมโทรมใดๆ เลยในสภาพที่เกี่ยวกับสตรีเพศ และ ยิ่งกว่านั้นอิสลามยังมองว่า ทัศนะที่มองไปในทางผิด พลาดและเสื่อมโทรมเกี่ยวกับสตรีเพศนั้น เป็นสิ่งที่ถูก ขจัดออกไปในทัศนะแบบอิสลาม บัดนี้ นับว่าถึงเวลา พบร่องรอยหรือความคิดสะท้อนใดๆ ในมติเช่นนี้ใน อันเหมาะสมแล้วที่จะพิจารณาว่า ท�ำไมจึงไม่มีการน�ำ บทบัญญัติต่างๆ อันเป็นพิเศษในเรื่องดังกล่าวนี้เกี่ยว เอาความเหมือนกันมาไว้ในสิทธิต่างๆ ของบุรุษและ กับฐานะของบุรุษและสตรี ความคิดที่เสื่อมโทรมอีก สตรี ประการหนึ่งที่ได้ปรากฏอยู่ในอดีต นั่นก็คือว่า การ ถือว่าสตรีเป็นความชั่วร้ายที่หลีกเลี่ยงมิได้ และเป็น ความชั่วร้ายที่จ�ำเป็นคือ เกิดขึ้นในตัวสตรีมาตั้งแต่ เกิด บุรุษส่วนมากทั้งๆ ที่ได้รับประโยชน์มาจากสตรี เหล่านั้น ก็ได้แสดงอาการหยามหมิ่นและถือว่าสตรี เป็นที่มาของความทุกข์ยากล�ำบาก และเป็นที่มาของ ความโชคร้าย แต่คัมภีร์อัลกุรอาน ได้ระบุถึงความจริง ข้อนี้อย่างเป็นพิเศษว่า สตรีนั้นเป็นความโปรดปราน หนึ่งของพระผู้เป็นเจ้าส�ำหรับบุรุษ และเป็นแหล่งที่จะ ก่อให้เกิดความสุขความปิติชื่นชม และความบรรเทา ความเครียดให้แก่จิตใจของบุรุษความคิดที่เสื่อมโทรม อีกประการหนึ่งก็คือว่า สตรีนั้นมีบทบาทไม่ส�ำคัญ 38 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


คุณลักษณะ

ท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์

อัซซะฮ์รอ (อ.)

ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) แตกต่างไปจากผู้หญิง คนอื่นๆ ทั้งหมดทั้งในด้านคุณสมบัติอันสูงส่งของนาง และในด้านคุณลักษณะอันสง่างาม ซึ่งท�ำให้นางอยู่ ในสถานภาพสูงสุดในด้านความประเสริฐ และความ สมบูรณ์แบบ นางคือแบบคุณธรรมและความคิดอย่าง หนึ่งของบิดาของนาง นางมีความศรัทธาในอัลลอฮ์ อย่างลึกซึ้งเฉกเช่นผู้เป็นบิดา อุทิศตนและละเว้น จากความสุขส�ำราญทางโลกนี้ ซึ่งจะขอกล่าวถึง คุณลักษณะบางประการของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ปราศจากความผิดบาป ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) คือผู้ปราศจากความ ผิดบาป และนี่คือข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงช�ำระขัดเกลานางให้พ้นจากความบาปและ ข้อบกพร่องทุกประการ และได้มอบคุณความดีทุก อย่างให้แก่นาง เพื่อท�ำให้นางเป็นแบบอย่างส�ำหรับ สตรี ทั้งหมดในโลกนี้ นางคือแบบอย่างที่ดีเลิศในด้าน ความศรัทธาการเคารพภักดีความบริสุทธิ์การขัดเกลา การท�ำกุศล และความเมตตาต่อคนยากจนและผู้ถูก

ตัดสิทธิ์ ข้อพิสูจน์เรื่องการปราศจาก ความผิดบาปของนาง 1. จากโองการ ซึ่งกล่าวถึงการช�ำระขัดเกลา อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสว่า "อัลลอฮ์เพียงแต่ประสงค์จะ ขจัดความโสมมออกไปจากพวกเจ้า โอ้ สมาชิกแห่ง วงศ์ตระกูลเอ๋ย (อะฮ์ลัลบัยต์) และทรง (ประสงค์) ที่ จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์" (อัลกุรอานบทที่ 33 โองการที่ 33) สมาชิกแห่งวงศ์ตระกูล (อะฮ์ลัลบัยต์) คือ ท่าน อิมามอะลี (อ.) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮาซัน (อ.) และอิมามฮูเซน (อ.) โองการนี้พิสูจน์อย่างชัดเจน ถึงการปราศจาก ความผิดบาปและความสะอาดบริสุทธิ์ จากความ บาป และความผิดพลาดทุกประการของท่านเหล่านี้ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงคัดเลือกท่านเหล่านี้เพื่อเป็นแบบ อย่างส�ำหรับประชาชาติของพระองค์ และเป็นผู้ชี้น�ำ ทางให้แก่ผู้ที่เชื่อฟังและพึงพอใจของพระองค์ มันเป็น ไปไม่ได้ที่อัลลอฮ์ (ซบ.) จะทรงมอบพรสวรรค์เหล่านี้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 39


ให้แก่คนบาปหรือคนผิด การปราศจากความผิดบาป จะไม่ห่างไกลไป จากอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ผู้เป็นศูนย์กลางแห่งความรู้ และวิทยปัญญาในอิสลาม ตลอดระยะเวลาสี่สิบปีที่ ข้าพเจ้าศึกษาคนคว้า และเขียนหนังสือเกี่ยวกับพวก ท่านเหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถค้นพบความพลาด พลั้งของพวกท่านทั้งด้านค�ำพูด หรือด้านการกระท�ำ แม้แต่ศัตรูของพวกท่าน ที่เต็มไปด้วยความขุ่นเคือง เคียดแค้นพวกท่าน ก็ไม่เคยกล่าวถึงความผิดพลาด หรือความพลั้งเผลอของพวกท่านแต่อย่างใดเลย อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ถ้าหากฉันได้รับมอบเจ็ดอาณาจักร พร้อมกับทุกสิ่ง ที่อยู่ใต้ฟ้าของพวกมัน เพื่อให้ดื้อดึงขัดขืนต่ออัลลอฮ์ ในการแย่งเศษร�ำจากเมล็ดข้าวบาเลย์ จากปากของ แมลง ฉันก็จะไม่ท�ำมันอย่างเด็ดขาด" 2. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท�ำให้ประชาชาติ ทั้งหมดของท่านได้รู้ โดยผ่านค�ำพูดย�้ำเตือนหลายครั้ง ของท่านกล่าวว่า ฟาฏิมะฮ์(อ.) เป็นส่วนหนึ่งจากตัว ท่าน และสิ่งใดก็ตามที่ท�ำให้นางพึงพอใจก็จะท�ำให้ ท่านพึงพอใจ และสิ่งใดก็ตามที่ท�ำให้นางโกรธเคือง ก็จะท�ำให้ท่านโกรธเคืองด้วยเช่นกัน ในเมื่อนางเป็น ส่วนหนึ่งจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ก็ย่อมหมายความ ว่า นางคือผู้ปราศจากความผิดบาปเพราะท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือผู้ปราศจากความผิดบาป 3. รายงานฮะดีษที่ถูกต้องที่ถูกถ่ายทอดมาจาก ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ได้ยืนยันแล้วว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) จะทรงพึงพอพระทัย กับความพึงพอใจของท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ (อ.) และจะทรงไม่พึงพอพระทัยกับความ ไม่พึงพอใจของนาง ฮะดีษเหล่านี้หมายความว่า ท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เข้าถึงความศรัทธาและความ ย�ำเกรงในระดับที่จะท�ำให้นางอยู่ในกลุ่มเดียวกัน กับ บรรดาศาสดาผู้ปราศจากความผิด ผู้ซึ่งเคารพเชื่อ ฟังต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และรู้จัก พระองค์อย่างที่พระองค์ทรงเป็น

40 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

4. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เทียบเคียงเชื้อสายของ ท่านเองกับคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ดังปรากฏอยู่ในฮะดีษ มุ ตะวาฏิร เรื่อง "อัษษะกอลัยน์" และเนื่องจากคัมภีร์ขอ งอัลลอฮ์เป็นคัมภีร์ที่ปราศจากข้อผิดพลาดใดๆ ดังนั้น อะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ก็เช่นเดียวกัน มิฉะนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ก็คงจะไม่เทียบเคียงพวกท่านกับคัมภีร์ของ อัลลอฮ์เป็นแน่ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) อยู่ในต�ำแหน่งแถวหน้า ของเชื้อสายผู้บริสุทธิ์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และ เป็นมารดาของบรรดาอิมาม ผู้ปราศจากความผิดทุก ท่าน (ยกเว้นอิมามอะลี) ผู้ซึ่งอัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงช�ำระ ขัดเกลาพวกท่านให้พ้นจากความโสโครกทั้งปวง การบริจาคแก่คนยากจน ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เป็นนักบริจาคและมี น�้ำใจอย่างมากต่อคนยากจนและขัดสน ตัวนาง สามี ของนางและลูกชายสองคนของนาง เป็นบุคคลที่ ถูกกล่าวถึงในโองการอัลกุรอานความว่า "และพวก เขาได้มอบอาหารเนื่องด้วยความรักต่อพระองค์แก่ คนยากจน เด็กก�ำพร้า และเชลยศึก (พวกเขากล่าว ว่า) แท้จริงเราให้อาหารแก่พวกท่าน โดยหวังความ


โปรดปรานของอัลลอฮ์ เรามิได้หวังการตอบแทนและ การขอบคุณจากพวกท่านแต่ประการใด" (อัลกุรอาน บทที่ 76 โองการที่ 8-9) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) โม่ข้าวสาลีและข้าว บาเล่ย์เพื่อมอบให้เพื่อนบ้านที่ยากจนของนาง ที่ไม่ สามารถท�ำเช่นนั้นได้ นางช่วยขนน�้ำให้เพื่อนบ้านที่ อ่อนแอผู้ซึ่งไม่สามารถหาน�้ำได้ ในคืนวันแต่งงาน ของนางท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) สวมชุดใหม่ เมื่อนางรู้ว่าหญิงสาวคนหนึ่งจาก ชาวอันศอรไม่สามารถหาชุดสวมได้ นางจึงถอดชุด ส�ำหรับงานแต่งของนาง แล้วมอบมันให้แก่หญิงสาว คนนั้น ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ห่างไกลจากความพึง พอใจทางวัตถุทุกอย่าง และเลือกความพึงพอพระทัย ของอัลลอฮ์เหนือสิ่งอื่นใด ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อัลอันศอรีกล่าวว่า "ครั้งหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) น�ำพวก เราท�ำนมาซอัศริ และเมื่อท่านเสร็จการนมาซนาฟิละฮ์ (นมาซอาสา) แล้ว ท่านนั่งอยู่โดยมีสาวกห้อมล้อม ท่าน ชายชราคนหนึ่งเข้ามาร้องเรียนถึงความหิวโหย ของเขาแล้วกล่าวว่า "โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ฉัน หิวเหลือเกิน โปรดให้อาหารฉันด้วย ฉันเปล่าเปลือย (ไม่มีเสื้อผ้า) โปรดให้ฉันได้สวมใส่เสื้อผ้าด้วย" ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงบอกให้ชายชราคนนั้น ไปยังบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) บุตรสาวของ ท่าน ชายชราคนนั้นจึงไปที่บ้านท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ และกล่าวกับนางจากด้านนอกประตูว่า "โอ้บุตรสาว ของมุฮัมมัด ฉันเปล่าเปลือยและหิวโหย ท่านจะช่วย เหลือฉันได้ไหม ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาท่าน" ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เองก็อยู่ในสภาพที่ ขาดแคลน นางไม่พบว่ามีอะไรที่จะมอบให้แก่ชายคน นั้นได้นอกจากหนังแกะที่อิมามฮาซัน (อ.) และอิมามฮู เซน (อ.) บุตรชายของท่านใช้ปูนอน ชายชราคนนั้นไม่ ชอบและคืนมันให้แก่นาง ดังนั้น ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) จึงถอดสร้อยคอที่ได้รับมอบเป็นของขวัญจาก

ฟาฏิมะฮ์ บินติฮัมซะฮ์ บินอับดุลมุฏฏอลิบ ลูกพี่ลูก น้องของนาง แล้วมอบมันให้แก่ชายคนนั้น ชายชรารับสร้อยเส้นนั้น แล้วกลับมาหาท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) และกล่าวว่า "ฟาฏิมะฮ์มอบสร้อยเส้น นี้ให้กับฉัน และกล่าวกับฉันว่า 'จงขายมัน ขออัลลอฮ์ ตอบแทนท่านด้วยความดีส�ำหรับมัน" ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ร้องบอกว่า "และอัลลอฮ์ จะไม่ตอบแทนท่าน ด้วยความดีส�ำหรับมันได้อย่างไร ในขณะที่บุตรสาวของมุฮัมมัด นายหญิงของลูกสาว ของอาดัม ได้มอบมันให้แก่ท่าน" ท่านอัมมาร บินยาซิรกล่าวกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า "โอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ท่านจะ อนุญาตให้ฉันซื้อสร้อยเส้นนี้หรือไม่" ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า "จงซื้อมันเถิด อัม มารฺ ถ้ามนุษย์หรือญิณมีส่วนร่วมในการนี้ อัลลอฮ์จะ ไม่ทรงลงโทษพวกเขาด้วยไฟนรก" อัมมารกล่าวว่า "โอ้เชค (ชายชรา) สร้อยเส้นนี้ ราคาเท่าไหร่" ชายชรากล่าวว่า "ฉันจะขายมันเพื่ออาหารมื้อ หนึ่งที่มีขนมปังและเนื้อ เสื้อผ้าแบบเยเมนหนึ่งชุดที่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 41


(ศ็อลฯ) และเจ้าจะเป็นผู้รับใช้ของเขา" เมื่อทาสคนนั้นน�ำสร้อยคอนี้ ไปมอบให้แก่ท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขอให้เขาน�ำไป มอบให้แก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ซึ่งนางได้รับมันไว้ และปล่อยทาสคนนั้นให้เป็นอิสระ ทาสคนนั้นยิ้ม ท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) จึงถามว่าอะไรท�ำให้เขายิ้ม เขา กล่าวว่า “สิ่งที่ท�ำให้ฉันยิ้มก็คือ ความประเสริฐของสร้อย เส้นนี้ มันท�ำให้คนหิวได้อิ่ม ท�ำให้คนมีเสื้อผ้าใส่ ท�ำให้ คนจนร�่ำรวย ท�ำให้ทาสเป็นอิสระ แล้วหลังจากนั้น ก็ได้คืนกลับมายังเจ้าของของมัน”

ฉันจะปิดคลุมอวัยวะสงวนของฉัน เพื่อท�ำนมาซต่อ อัลลอฮ์ได้ และเงินหนึ่งดินารเพื่อฉันจะได้กลับไปหา ครอบครัวของฉัน" ท่านอัมมารกล่าวแก่เขาว่า "ฉันจะให้ท่านยี่สิบ ดินาร สองพันดิรฮัม เสื้อผ้าแบบเยเมนหนึ่งชุด อูฐของ ฉันเพื่อพาท่านกลับไปหาครอบครัว และอาหารหนึ่ง มื้อที่มีขนมปังข้าวสาลีและเนื้อ" ชายชราคนนั้นกล่าวว่า "โอ้ พ่อหนุ่ม ท่านใจ กว้างเหลือเกิน" เขาจากไปด้วยความดีใจ และกล่าว ว่า "โอ้ อัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ โอ้อัลลอฮ์ โปรดประทานสิ่งที่ไม่เคยมีตาคู่ใดมองเห็น และไม่เคยมีหูคู่ใดเคยได้ยินให้แก่ ฟาฏิมะฮ์ด้วยเถิด" อัมมารชโลมน�้ำหอมบนสร้อยเส้นนั้น ห่อด้วย ผ้าแบบเยเมน และมอบให้ทาสคนหนึ่งของเขาโดย กล่าวว่า "น�ำสร้อยเส้นนี้ไปให้แก่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์

42 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


บทความ เชค ดร. ชะรีฟ ฮาดีย์

แหล่งก�ำเนิด

ปรัชญา

อิสลาม ป

รัชญาอิสลาม ถือว่าเป็นศาสตร์หนึ่งที่มี บทบาทส�ำคัญ ในการอิสลามอย่างมาก เป็นสมบัติล�้ำค่าของศาสตร์แห่งอิสลาม ก่อนยุคสมัย อิสลามและยุคต้นของอิสลาม ชาวอาหรับไม่รู้จักค�ำว่า ”ฟัลสะฟะฮ์” แต่พวกเขารู้จักปรัชญาในนาม "ฮิกมะฮ์” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า "wisdom” (ปัญญา) หรือตรง ภาษากรีกว่า ”Sophia” ดังต�ำราปรัชญาชื่อดังขของท่า นมุลลา ศ็อดรอ (นักปรัชญาชาวชีอะฮ์​์เจ้าของส�ำนัก “ฮิ กมะตุลมุตะอาลียะฮ์”) ให้ชื่อว่า ”อัลฮิกมะตุลมุตะอา ลียะฮ”(ปรัชญาอันสูงส่ง) หรือในหนังสือของอิบนุสินา กล่าวถึงนักปรัชญาว่า ”ฮุกามาฮ์” วิชาปรัชญามีจุดมุ่งหมายประการหนึ่งคือ เพื่อ ที่จะประสาน ให้เกิดความสอดคล้องกัน ระหว่างวะฮ์ยู กับปัญญา และสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ระหว่างนัก เทววิทยาบางส�ำนัก ที่ไม่ยอมรับหลักการหรือทฤษฎีทาง ปรัชญา หรือระหว่างนักนิติศาสตร์อิสลามที่กล่าวว่านัก ปรัชญาเป็นพวกนอกรีตหรือกล่าวว่าศาสตร์แห่งปรัชญา ไม่ใช่ศาสตร์ของอิสลาม ซึ่งเราจะกล่าวรายละเอียดใน เรื่องนี้ในตอนต่อไป

แท้จริงแล้วส�ำนักคิดในยุคหลัง เช่น ส�ำนักมุอ์ตะ ซีละฮ์น�ำหลักการ และทฤษฎีทางปรัชญามาแก้ปัญหา หลักการศรัทธาจนท�ำให้เกิดผลดีอย่างมากมาย ต่อมา ส�ำนักอะชาอิเราะฮ์ ได้มีนักเทววิทยาบางท่านได้น�ำหลัก การทางด้านปรัชญามาแก้ปัญหาทางหลักอะกีดะฮ์​์ และ ในส�ำนักชีอะฮ์ก็เช่นกัน ได้น�ำศาสตร์ปรัชญานี้มาให้มี บทบาทในการอรรถาธิบายศาสนา เช่น คอญะฮ์ นาศีรุด ดีน ฏูซี อัลลามะฮ์ฮิลลี จนกระทั่งในศาสตร์แห่งเทววิทยา ของชีอะฮ์อิมามียะฮ มีศาสตร์ปรัชญาปะปนอยู่อย่างเห็น ได้จัด ซึ่งแท้จริงแล้วด้วยความพยายามของนักปรัชญา อิสลามในยุคแรกๆ ท�ำให้นักการศาสนามุสลิมเห็นว่า วะฮ์ ยูกับปรัชญาไม่ได้ขัดแย้งกันเลย แต่เป็นการสนับสนุน ซึ่งกันและกัน และความเชื่อหรือความศรัทธาที่ประกอบ ด้วยปรัชญานั้น จะสร้างความสงบสุขแก่จิตใจ และผู้ที่ นับถือศาสนาที่มีปรัชญาอยู่ในจิตใจ จะท�ำให้การนับถือ ศาสนามีเหตุผล และปรัชญาของเขาเป็นปรัชญาที่มีหลัก ศาสนาเป็นพื้นฐาน และหลังจากที่เราได้รู้แล้วว่า ศาสตร์ แห่งปรัชญานั้นมีคุณประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่เรียนและ ศึกษา แต่ยังมีค�ำถามข้อหนึ่งเกิดขึ้นในตัวของข้าพเจ้าว่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 43


แล้วศาสตร์แห่งปรัชญามีแหล่งที่มา มาจากไหน ณ ที่นี้นักวิชาการและนักค้นคว้าได้มีทัศนะดังนี้

1) ปรัชญาอิสลาม มีแหล่งก�ำเนิดจากค�ำสอนอิสลาม

หลายของพระองค์ ให้แจ่มแจ้งแก่ปวงชนผู้รู้” 4. บทอัน นะฮ์ลุ โองการที่ 17 َّ ‫ك َمن‬ ‫ون‬ ُ ‫ال َي ْخل‬ ُ ‫َف َمن َي ْخل‬ َ ‫ُق أ‬ َ‫أ‬ َّ ‫َفال َت َذ‬ َ ‫ُق‬ َ ‫ك ُر‬

“ดังนั้นผู้สร้าง จะเสมือนผู้กับผู้ไม่สร้างกระนั้น หรือสูเจ้าไม่ใคร่ครวญหรือ” นี่คือบางโองการ ที่ได้กล่าวถึงความเป็นมาของ สากลโลก เพื่อให้มนุษย์ได้คิดในเชิงปรัชญา ตรึกตรอง ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ และยังมีโองการที่กล่าว ถึงเรื่องพรเจ้าและพระคุณลักษณะของพระเจ้า ซึ่งใน โองการเหล่านั้นมีค�ำสอนเชิงทฤษฎีทางปรัชญาอยู่ เช่น โองการหนึ่งที่ว่า ُ َّ‫ال ه‬ ِ َّ‫ان ه‬ ِ ‫ان ِف‬ َّ ‫يه َما آ ِل َه ٌة ِإ‬ ‫الل‬ َ ‫َل ْو‬ َ ‫الل َل َف َس َد َتا َف ُس ْب َح‬ َ‫ك‬ ‫ون‬ ِ ‫َر ِّب ا ْل َع ْر‬ َ ‫ش َع َّما َي ِص ُف‬

ส่วนมากนักปรัชญา หรือผู้ที่สนับสนุนศาสตร์ แห่งปรัชญาเชื่อว่า ศาสตร์แห่งปรัชญามาจากอัลกุรอาน และวจนะท่านศาสดา มีโองการอยู่หลายโองการที่กล่าว กระตุ้นให้มนุษย์ใช้สติปัญญา ตรึกตรองสรรพสิ่งที่มี อยู่ ให้มนุษย์ได้รู้จักและเคารพภัคดีต่อพระผู้เป็นเจ้า ดัง โองการต่อไปนี้ 1.บทอัซซุมัร โองการที่ 27 ِ ‫اس ِفي َه َذا ا ْل ُق ْر‬ ‫ك ِّل‬ ِ ‫َو َل َق ْد َض َر ْب َنا ِلل َّن‬ ُ ‫آن ِمن‬ ‫ون‬ َّ ‫َم َث ٍل َّل َع َّل ُه ْم َي َت َذ‬ َ ‫ك ُر‬ “และโดยแน่นอนยิ่ง เรายกอุทาหรณ์ทุกประการ “มาตรแม้นว่าชั้นฟ้าและชั้นแผ่นดิน มีพระเจ้า ส�ำหรับมนุษย์ใว้ในอัลกุรอาน เพื่อพวกเขาจะใคร่ครวญ” อื่นอีกนอกเหนือจากพระองค์อัลลอฮ์ แน่นอนโลกนี้ต้อง 2. บทอัซ ซาริยาติ โองการที่ 20-22 พินาศ” (อัลกุรอานบทที่ 21 โองการที่ 22) ในโองการนี้สามารถน�ำทฤษฎีทางปรัชญามา َ ‫ون * َو ِفي ا‬ ‫ض‬ ِ ‫أل ْر‬ ُ ‫َو ِفي أ‬ َ ‫َنف ِس ُك ْم أ‬ َ ‫َفال ت ُْب ِص ُر‬ กล่าวได้ดังนี้ ِ ‫ات ِّل ْل ُم‬ ‫الس َما ِء ِر ْز ُق ُك ْم َو َما‬ ٌ ‫آ َي‬ َ ‫وق ِن‬ َّ ‫ين * َو ِفي‬ หนึ่ง มาตรแม้นว่าโลกนี้มีพระเจ้ามากว่าหนึ่งองค์ ‫ون‬ ‫د‬ ‫ُوع‬ ‫ت‬ َ َُ แน่นอนโลกนี้ต้องพินาศ “และในแผ่นดินนี้ มีสัญลักษณ์ต่างๆ ส�ำหรับ สอง เมื่อโลกนี้ไม่พินาศ บรรดาผู้เชื่อมั่น และในตัวของสูเจ้าเอง สูเจ้าไม่เห็นดอก สาม แน่นอนพระเจ้ามีองค์เดียว หรือ และในฟากฟ้ามีปัจจัยยังชีพของสูเจ้า และสิ่งที่สูเจ้า ซึ่งเป็นตรรกศาสตร์แห่งการหาเหตุผล ในการ ถูกสัญญาไว้” พิสูจน์การมีพระเจ้าองค์เดียว และเป็นต้นก�ำเนิดแห่งการ สนับสนุนให้มนษย์ใช้ปัญญา และใช้ความคิด 3.บทยูนุส โองการที่ 5 ในค�ำสอนของท่านศาสดา ได้มีเนื้อหาและศาสตร์ ِ ِ ِ ‫يها‬ ‫ف‬ ‫م‬ ‫ُه‬ ‫ت‬ ‫ي‬ ‫ح‬ ‫ت‬ ‫و‬ ‫م‬ ‫ه‬ ‫ل‬ ‫ال‬ ‫ك‬ ‫ن‬ ‫ا‬ ‫ح‬ ‫ب‬ ‫س‬ ‫ا‬ ‫يه‬ ‫ف‬ ‫م‬ ‫اه‬ ‫و‬ ‫ع‬ ‫د‬ ّ َ َ َ َ ُ ُ ُ َ ْ َّ َ َّ َ ْ ُ َ ْ َ ْ َ แห่งปรัชญาอยู่มากมาย ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าศาสตร์ ِ ‫ َسال ٌم َو‬แห่งปรัชญานั้นมีแหล่งมาจากอิสลาม ِ ‫اه ْم أ‬ ‫ين‬ ُ ‫آخ ُر َد ْع َو‬ َ ‫َن ا ْل َح ْم ُد للِ هَّ ِ َر ِّب ا ْل َعا َل ِم‬ และค�ำสอน “พระองค์คือผู้ทรงท�ำให้ดวงตะวัน มีแสงจรัสจ้า และดวงเดือนมีแสงนวล และทรงก�ำหนดต�ำแหน่งไว้แก่ มันเพื่อสูเจ้าจะได้รู้จ�ำนวนของปีและการค�ำนวณ อัลลอฮ์ มิได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านี้เพื่ออื่นใด (โดยไร้ประโยชน์) เว้น แต่เพื่อความจริง พระองค์ได้ทรงจ�ำแนกสัญญาณทั้ง

44 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

อิสลามได้สนับสนุนในเรื่องนี้ ดังที่ท่านศาสดาได้กล่าว ก่อนแก่ทายาท (อะฮ์ลุลบัยต์) ของท่าน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งอิมามอะลี อิบนิอบีฎอลิบ ซึ่งเป็นทายาททางวิชาการ และเป็นผู้สืบทอดต�ำแห่งผู้น�ำ ภายหลังจากท่านศาสดา และต่อมาอิมามอะลี ได้ถ่ายทอดวิชาการแห่งล�้ำลึกแห่ง


ศาสตร์ปรัชญานี้แก่ลูกของท่านและสาวกของท่าน ดัง ที่มีรายงานไว้ในหนังสือ อุซูลุลกาฟี ว่าด้วยบทเตาฮีด หรือบทแห่งความรู้ และบทแห่งพระคุณลักษณะของ พระเจ้า ซึ่งในต�ำรานั้นได้น�ำวจนะมากมายจากอิมามผู้ เป็นทายาทแห่งท่านศาสดามากล่วไว้ และต�ำราอีกเล่ม หนึ่งที่ลืมเสียไม่ได้ นั่นก็คือ”นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” โดยได้ รวบรวมค�ำพูด (คุฎบะฮ์) ของอิมามอะลี ซึ่งในต�ำราเล่ม ดังกล่าว กล่าวถึงเนื้อหาและทฤษฎีแห่งปรัชญาในการ พิสูจน์การมีพระเจ้า ค�ำสอนในเรื่องโลก ค�ำสอนในเรื่อง วิญญาณ และเรื่องอื่นๆ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ถือว่า เป็นหนังอีกเล่มหนึ่งที่ ได้รวบรวมสุนทโรวาทของอิมามอะลี (อ.) เป็นถ้อยที่มีค�ำ สอนเกี่ยวกับอภิปรัชญา เป็นค�ำสอนที่ล�้ำลึก ซึ่งสิ่งเหล่า นั้นเป็นที่มาของทฤษฎี และหลักการแห่งปรัชญา เช่นเรื่อ เตาฮีดหลักเอกานุภาพของพระเจ้าร และบางบทกล่าวถึง เรื่องพระผู้สร้าง และบางบทกล่าวถึงเรื่องงานสร้างของ พระองค์และเรื่องคุณลักษณะของพระองค์ ดังคุฎบะฮ์ที่ 177 ว่า “พวกเขาไม่ได้พิจารณา ยังสิ่งที่ถูกสร้างที่เล็กที่สุด ดอกหรือ ซึ่งถูกสร้างอย่างละเอียดอ่อนและมีความน่า ทึ่ง(ด้วยกับการสร้างนั้น) พระองค์ได้สร้างพลังแห่งการ ฟังและพลังแห่งการได้ยิน และได้ให้กระดูกที่มั่นคงต่อ มัน ในตัวมด พระองค์ได้สร้างจากสรีระที่เล็ก แต่มีความ มหัศจรรย์และน่าทึ่งทีเดียว ด้วยกับความเล็กสุดของส่วน อวัยวะของมันมองด้วยตาไม่เห็น พวกมันได้อยู่ในโลกนี้

ได้อย่างไร และมีสัญชาตญาณที่ดีเยี่ยม โดยมีความรัก ต่อการรวบรวมอาหารจากส่วนเมล็ดเล็กๆ แล้วแบกกัน ไปเป็นกลุ่มๆ เพื่อไปเก็บไว้ในตอรฤดูหนาว โดยที่พวก มันรู้ว่า เมื่อฤดูหนาวมาเยือนการออกหาอาหารนั้นอยาก ล�ำบากจึงได้เก็บไว้ พระเจ้าได้สอนพวกมัน โดยที่พวก มันไม่ลืมจากสิ่งที่ได้รับสอนมา ดังนั้นพวกเจ้าจงพิจรณา ดูเถิดถึงความมหัศจรรย์แห่งงานสร้างของพระเจ้า” ค�ำสอนเรื่องคุณลักษณ์ของพระเจ้า หรือพระคุณ ลักษณะของพระเจ้า ในคุฎบะฮ์ที่หนึ่ง “สิ่งแรกสุดของศาสนาคือ การรู้จักพระผู้เป็นเจ้า ความสมบูรณ์ของการรู้จักคือการเชื่อมั่น ความสมบูรณ์ ของการเชื่อมั่น อยู่ที่การยอมรับความเป็นเอกะของ พระองค์ ความสมบูรณ์ในการเชื่อมั่นต่อความเอกะอยู่ ที่การเชื่อถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์ และทรงเหนือ ธรรมชาติ” “ผู้ใดก็ตามได้อ้างคุณลักษณะ (ที่บกพร่อง) ต่อ พระองค์ เท่ากับยอมรับว่า มีสิ่งคล้ายคลึงกับพระองค์ ผู้ใดยอมรับว่ามีสิ่งหนึ่งคล้ายคลึงกับพระองค์ เท่ากับ ยอมรับว่าพระองค์มีสอง ผู้ใดยอมรับว่าพระองค์มีสอง เท่ากับแยกพระองค์ออกเป็นส่วนๆ ผู้ใดแยกพระองค์ออก เป็นส่วนๆ เท่ากับเขาเข้าใจผิดต่อพระองค์ และผู้ใดที่ เข้าใจผิด เท่ากับเขาชี้ยังพระองค์ ผู้ใดชี้ยังพระองค์เท่ากับ เขายอมรับขีดจ�ำกัดในพระองค์ และผู้ใดที่ได้ยอมรับขีด จ�ำกัดของพระองค์ ก็เท่ากับว่าเขาได้นับพระองค์ว่ามี จ�ำนวนเท่าใด ใครก็ตามที่กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮ์อยู่ในอะไร ก็เท่ากับยอมรับว่า พระองค์อยู่บรรจุอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ใครก็ตามที่กล่าวว่าพระองค์อยู่บนอะไร ก็เท่ากับยอมรับ ว่าพระองค์อยู่บนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พระองค์เป็นพระเจ้าที่ เกิดขึ้นมาไม่ใช่เป็นสภาวะสิ่งใหม่ พระองค์มีอยู่แต่เดิม ไม่ได้มาจากสิ่งที่มีอยู่ พระองค์ทรงอยู่กับทุกสิ่ง แต่ไม่ได้ อยู่ร่วมกับสิ่งเหล่านั้น พระองค์ทรงแยกกับทุกสิ่งแต่ไม่ แยกจากสิ่งนั้น (เหมือนแยกทางร่างกาย) พระองค์ทรง กระท�ำ ไม่ไม่ได้ใช้เครื่องมือและการเคลื่อนไหว พระองค์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 45


ทรงเห็น แม้ว่าไม่อะไรให้มองดูจากสิ่งที่พระองค์ทรง สร้างก็ตาม พระองค์ทรงเอกะเพียงผู้เดียว แม้ว่าจะไม่ผู้ ใดที่อยู่ร่วมด้วย” ในส�ำนักคิดชีอะฮ์ ความนิยมต่อศาสตร์แห่ง ปรัชญาเป็นสิ่งที่โดดเด่นมาก จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะว่านักการศาสนา และนักวิชาการในส�ำนักชีอะฮ์ ได้ยึดค�ำสอนมาจากอิมามอะลี และลูกหลานของท่านอีก 11 ท่าน ซึ่งในค�ำสอนของพวกท่านเหล่านั้นได้สนับสนุน การคิดเชิงปรัชญา และสอนให้ยึดศาสนาแบบมีเหตุมี ผล เพราะจากค�ำสอนของอิมามอะลีในเรื่องต่างๆ ทาง ศาสนาโดยเฉพาะปัญหาด้านหลักการศรัทธานั้น มุ่งเน้น ให้มุสลิมมีความเชื่อที่มีเหตุมีผล และไม่ยึดติดกับบรรพ ชน โดยใช้หลักปรัชญาหรือเหตุผลทางปัญญาในการแก้ ปัญหา ดังที่อัลกุรอานได้เรียกร้องให้มนุษย์ใช้ปัญญา และต�ำหนิการยึดติดบรรพบุรุษ หรือการปฏิบัติตามที่ไร้ เหตุผล จากค�ำสอนในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ท�ำให้เรา มุสลิมต้องหันมาสนใจ อรรถชีวประวัติอิมามอะลีให้มาก ยิ่งขึ้น และด้วยกับค�ำสอนจากท่านศาสดาก้ได้ชี้ให้เห็น ชัดวว่าอิมามอะลี คือทายาทแห่งท่านศาสดา ความรู้ และสิ่งที่ต่างๆ ที่ท่านสอนให้กับสาวกของท่านคือความ รู้ที่ท่านได้รับมาจากท่านศาสดา ดังนั้นไม่เป็นการแปลก เลยที่เราจะอ้างว่า ท่านศาสดาได้สนับสนุนศาสตร์แห่ง ปรัชญาและสนับสนุนให้มุสลิม ยึดถือศาสนาแบบมี เหตุผล ท่านอัลลามะฮ์ฎอบะฎอบาอี ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า “เนื้อหาทางปรัชญาถือว่าเป็นบทบาทหนึ่งที่น�ำมา แก้ไขปัญหาต่างๆ (ที่มนุษย์ยังคลุมเครือ) ซึ่งเนื้อหานั้น ในแวดวงของมุสลิมยังไม่ให้การยอมรับเท่าที่ควร และ ในโลกอะหรับก่อนอิสลาม ก็ยังไม่มีต�ำราที่เฉพาะใน เรื่องนี้ จนกระทั้งได้มีการพัฒนามาเรื่อยโดยนักปรัชญา อิสลามได้น�ำเนื้อหาทางปรัชญา มากล่าวเป็นรูปแบบ ทางวิชาการมากขึ้น เช่นน�ำเรื่อง ความเป็นเอกภาพของ พระเจ้า การพิสูจน์ต่อการมีอยู่(วูยูด) วูยูดวายิบ (การมี

46 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

อยู่ที่เป็นของแท้ไม่พึ่งพา) วุยูดมุมกิน(การมีอยู่ที่เป็นการ พึ่งพา)....(ได้เกิดขึ้นในปรัชญาอิสลาม) (นัชรีอะตุ รีซาละ มักตับชีอะฮ์ เล่ม 2 หน้า 120 ดังนั้น ปรัชญาอิสลามได้ฉายแสงแห่งศาสตร์ ปรัชญาอย่างน่าทึ่งและโดดเด่น ไม่มีวันตาย เป็นการ เพ่งพินิจใช้ความคิด จากระดับหนึ่งสู่ในอีกระดับหนึ่ง เพื่อจะทะยานไปสู่ความสมบูรณ์สูงสุด เป็นรูปแบบ เชิงพิพากษา และตรวจสอบวาทกรรมทางปรัชญาทั้ง ภายในและภายนอก เรียนรู้ประวัติปรัชญาเพื่อเข้าถึง บริบททางปรัชญา ใช้หลักตรรกะเป็นเครื่องมือควบคู่กับ หลักปรัชญาอย่างเกื้อกูลกันและกัน นั่นหมายความว่า นักปรัชญามุสลิม น�ำทฤษฎีทางปรัชญามาอธิบายและ แจกแจงประเด็นปัญหาโดยรูปแบบทางปรัชญาและรูป แบบทางตรรกวิทยาด้วย ในโลกของตะวันตก ซึ่งได้หมกมุ่นอยู่กับศาสตร์ แห่งวัตถุ และเชื่อมั่นต่อวิทยาศาสตร์ที่ได้ผ่านการทดลง หรือได้รับการพิสูจน์ ดังนั้นศาสตร์แห่งอภิปรัชญาหรือ ปรัชญาแบบบริสุทธิ์ พวกเขาไม่ให้ความส�ำคัญสักเท่า ไหร่ เมื่อแนวคิดทางอภิปรัชญาของอิสลามได้เข้าไปมี บทบาทในโลกตะวันตก ท�ำให้นักวิชาการและนักค้นคว้า จ�ำนวนไม่น้อย ได้แสดงทัศนะที่เป็นลบต่อแนวคิดทาง


(ซ้าย) มุลลาฮ์ศ็อดรุดดีน ชีรอซี (ค.ศ.1572-1640) นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ชาวเปอร์เซีย) (กลาง เซนต์ดทมัส อะควินัส (ค.ศ. 1225-1274) นักบวช นักปรัชญาและนักดาราศาสตร์ ชาวอิตาลี ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กาลิเลโอ (ขวา) เบเนดิค เดอสปิโนซา (ค.ศ. 1632-1677) นักปรัชญาชาว ฮอลแลนด์

ปรัชญาของอิสลาม และพวกเขาพยายามจะออกทัศนะ ว่าแท้จริงแล้วบรรดานักปรัชญาอิสลาม หรือนักรหัสย นิยมของอิสลามไม่ได้น�ำแนวทาง หรือค�ำสอนใดมาจาก คัมภีร์อัลกุรอานเลย และกล่าวว่าในคัมภีร์อัลกุรอานไม่ ได้พูดถึงเรื่องปรัชญาไว้เลย ดังนั้นในตรงนี้ขพเจ้าจะน�ำ เนื้อหาของอัลกุรอาน และอัลฮะดีษของท่านศาสนาที่ได้ มีค�ำสอนเป็นเนื้อหาทางอภิปรัชญาไว้อย่างน่าทึ่งทีเดียว อัลกุรอานคือคัมภีร์ของพระเจ้า ที่ได้ประทานลง มาให้กับท่านศาสดามุฮัมมัด เพื่อชี้น�ำประชาชาติ และ เป็นแสงสว่างแก่มวลมนุษย์ ซึ่งค�ำสอนหนึ่งทางศาสนา ต่อคัมภีร์อัลกุรอานคือ แท้จริงวคัมภีร์อัลกุรอานมีสอง ลักษณะคือหนึ่ง ลักษณะภายนอก (ซอฮีรียะฮ) เป็น เนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งให้ความหมายตามตัวบทของอัล กุรอาน เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับหลักปฏิบัติ (อะฮ์กาม) ไม่ต้อง ตีความ หรือขยายความของโองการเหล่านั้น สองโองการที่กล่าวถึงด้านในของอัลกุรอาน (บาฎี นียะฮ) เป็นโองการที่ต้องตีความหรือต้องขยายความจึง จะเข้าใจของเนื้อหาโองการเหล่านั้น ซึ่งโองการเหล่านั้น มีนัยของความเป็นอภิปรัชญา หรือปรัชญาชั้นสูงอยู่ เช่น เกี่ยวกับเรื่องของพระเจ้า พระคุณลักษณะของพระเจ้า ชีวิตหลังความตาย หรือเรื่องชีวิตโลกหน้า และเราจะน�ำ เนื้อหาทางอภิปรัชญามากล่าวพอสังเขปดังนี้

ค�ำสอนเกี่ยวกับเรื่องพระเจ้า

แท้จริงอัลกุรอานได้น�ำหลักฐานและข้อพิสูจน์การ มีพระเจ้าองค์เดียวไว้หลายโองการ ซึ่งโองการเหล่านั้น ได้มีความล�้ำลึก ซึ่งจะเข้าใจต่อความหมายด้านในของ โองการเหล่านั้นต้องอาศัยพื้นฐานทางปรัชญา เพราะว่า เนื้อหา และความหมายที่แท้จริงของโองการนั้นได้มีค�ำ สอนเชิงปรัชญาไว้ ดังบทอัตเตาฮีด "จงกล่าวเถิด (โอ้ มุฮัมมัด) ว่า อัลลอฮ์ทรงเอกะ" ความเข้าใจของความเป็นเอกะในโองการนี้ คือ ความเป็นหนึ่งทางปรัชญา นั่นก็คือสามารถอรรถาธิบาย โดยทฤษฏีทางปรัชญาดังนี้ 1.ถ้าหากว่าพระเจ้ามีมากกว่าหนึ่ง ดังนั้นพระเจ้า ทั้งสองยอ่มมีสิ่งที่เหมือนและสิ่งที่แตกต่าง สิ่งที่เหมือน กันคือความเป็นพระเจ้า และสิ่งที่แตกต่างคือพระคุณ ลักษณะของแต่ละองค์ที่มีอยู่ 2.เมื่อมีสิ่งที่เหมือนและสิ่งที่แตกต่าง ย่อมพึ่งพา ซึ่งกันและกัน 3.เมื่อมีการพึ่งพา พระเจ้ามีสภาวะของสิ่งใหม่ 4.สภาวะของสิ่งใหม่ คือสิ่งถูกสร้าง และทุกสิ่งทุก สร้างย่อมมีจุดก�ำเนิด เมื่อมีจุดก�ำเนิดย่อมมีจุดจบ ด้วย เหตุนี้พระเจ้ามีองค์เดียวเท่านั้น.

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 47


(ซ้าย) โรเจอร์ เบคอน (ค.ศ.1214-1294) นักปรัชญาชาวอังกฤษ (กลาง) เฟรเดอริค อัลเบิร์ต แลง (ค.ศ. 1828-1875) นักปรัชญาชาวเยอรมัน (ขวา) อิบนิรุชด์ (อเวโรส) (ค.ศ. 1126-1198 นักปรัชญามุสลืมแห่งสเปน

2. ปรัชญาอิสลาม มีแหล่งก�ำเนิดจากต่างชาติ

หลังจากที่ท่านศาสดาได้สิ้นประชนญ์ เสียชีวิต ลง อนาจักรอิสลามได้แผร่อ�ำนาจไปทั่วทุกสารทิศ และ ขยายออกไปครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ อย่างขว้างขวาง โดย เฉพาะอย่างยิ่งชาติที่เคยมีอารยธรรม มีความเจริญมา ก่อน จึงได้เกิดผสมผสานทางวัฒนธรรม กล่าวคือชาว มุสลิมได้น�ำวัฒนธรรมของกรีก โรมัน เปอร์เซีย บาบิ โลน อียิปต์ อีนเดีย และจากจุดเริ่มต้นนี้ท�ำให้วัฒนธรรม เหล่านั้นเข้ามามีบทบาทในมุสลิม โดยเฉพาะแนวคิด ทางปรัชญา ซึ่งได้น�ำต�ำรับต�ำราปรัชญากรีกมาแปล เป็นภาษาอะหรับ ท�ำให้นักวิชาการมุสลิมได้น�ำทฤษฎี ทางปรัชญา มาแก้ปัญญาทางหลักการศรัทธาได้ผลเกิน ขาด และท�ำให้ความรุ่งเรืองทางด้านปรัชญาเกิดความ รุ่งเรืองในสมัยการปกครองของราชวงศ์บะนีอับบาสียะฮ แห่งกรุงแบกแดด การสร้างกรุงแบกแดดเสมือนสนาม แห่งวิทยาการที่ดึงแนวคิด และนักคิดจากตะวันออก และวันตกมารวมกัน และชุมนุมกัน แลกเปลี่ยนทัศนะ ในทางวิชาการ จนกรุงแบกแดดกลายเป็นศูนย์กลาง แห่งวิชาการและศูนย์กลางแห่งอารยธรรม จนกระทั้งใน สมัยการปกครองคอลีฟะฮมะมูน(ค.ศ.813-833) ได้ตั้ง

48 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

สถาบัน ”บัยตุลฮิกมะฮ์” (The House of Wisdom ) เป็น เป็นแหล่งวิทยาการ และเป็นที่รวบรวมหนังสือนานา วิชาการทั้งภาษากรีก และภาษาซีเรีย และมีการแปลเป็น ภาษาอาหรับ ประธานคณะกรรมการแปลที่ได้รับการ แต่งตั้งคนแรกได้แก่ท่าน ฮุนัยน์ บินฮิสฮาก จนท�ำให้ต�ำรา ปรัชญานั้นได้รับการแพร่หลายในสังคมมุสลิม และส�ำนัก คิดที่นิยมในศาสตร์ปรัชญามากส�ำนักหนึ่ง คือส�ำนักมุตะ ซีละฮ เพราะได้รับการสนับสนุนจากคอลีฟะฮในสมัยนั้น. จากการที่มุสลิมได้เกี่ยวพันกับต่างชาติ และต่าง ศาสนิกมากมาย ท�ำให้นักปราชญ์มุสลิมต้องหาข้อพิสูจน์ เพื่อเป็นค�ำตอบต่อความเชื่อของตน และพิทักษ์หลักค�ำ สอนของอิสลามให้คงความบริสุทธ์ไว้ จึงท�ำให้การศึกษา ศาสนาเชิงปรัชญามีความจ�ำเป็นมากขึ้น จึงเป็นที่มาของ ศาสตร์ปรัชญาอิสลาม (อ้างจากหนังสือปรัชญาอิสลาม หน้า 5 จัดท�ำโดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ปี2524) ในโลกปรัชญา เราจะพบว่าชื่อของนักปรัชญา มุสลิมที่มีชื่อเสียงได้กระจายไปทั่ว เช่น อัลฟารอบี หรือ ท่านอะวิเชนน่า ท่าน อิบนุบาญะฮ์(อะเว็นเพส) ท่านอิ บนุ รุชด์(อะเวโรส) อัลฆอซาลี และท่านอื่นๆอีกมากมาย โดยเฉพาะแนวคิดของ อิบนุสีนา และอิบนุ รุชด์ มีอิทธิพล


(ซ้าย) หนังสือ Arabic Thought and Its Place in History ของเดอลารี โอเลียรี (กลาง) หนังสือ The History of Materialism

and Criticism of Its Present Importance ของเฟรเดอริค อัลเบิร์ต แลง (ขวา) หนังสือ Novum Oganum ของ ฟรานซิส เบคอน อย่างมากในหมู่นักปราชญ์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดอิทธิพลของอิบนุ รุชด์ในยุโรป หรือที่เรียก ว่า”ลัทธิอเวโรส” มิใช่เป็นแนวคิดที่เปิดทางแก่ยุคฟื้นฟุ เท่านั้น แต่ยังเป็นบิดาแห่งแนวคิดแบบตะวันตกสมัยใหม่ ด้วย. แนวคิดของอิบนุรุชด์ มีอิทธิพลเข้าสู่ยุโรปโดยผ่าน นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงหลายท่านเช่น 1.โธมัส อคิวนัส 2.เบอร์เนดิกตัส เออะสปีโนซ่า 4.ฟรานซิส เบคอน 4. เดอเลซี โอเลียรี เขียนบทความไว้ตอนหนึ่งใน หนังสือ ”Arabic Thought and Its Place in History “ ว่า “เราเดินตามรอย ที่นักปราชญ์ชาวเฮเลน (กรีก) ได้ เดินผ่านจากชาวกรีกสู่ชาวซีเรีย จากชาวซีเรียไปสู่ชาว มุสลิมที่พูดภาษาอะหรับ และมุสลิมนี่เองที่น�ำจากเอเชีย สู่ตะวันตก” ท่าน ดร.เฟรดริก อัลเบิร์ต แลงได้กล่าวถึงเรื่องนี้ใน หนังสือ”The History of Materialism" หน้า 178 ว่า

“อิบนุรุชด์ ผู้ท�ำให้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก (ปรัชญา) เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง (การ อธิบาย) เกี่ยวกับการเกิด และการสิ้นสลายของทุกสิ่ง ที่มีอยู่ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าเพียงแต่แสดงอานุภาพของ พระองค์ในเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในรูป ที่ชัดแจ้ง”(อ้างจากหนังสือ ปรัชญาอิสลาม โดยกระทรวง ศึกษาธิการปีการศึกษา 2524หน้า 6) ในหนังสือ ”Novun Organum" ของฟรานซิส เบคอน เน้นว่าการเสริมของปรัชญาอิสลามท�ำให้ปรัชญา ที่พบในโลกตะวันตกปัจจุบันสมบูรณ์ยิ่งขึ้น (จากหนังสือ ปรัชญาอิสลาม โดยกระทรวงศึกษาธิการปีการศึกษา 2524 หน้า 6)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 49


บทความ

ดร. เชคมุฮัมมัด ชะรีฟ เกตุสมบูรณ์

รอมาฎอน เดือนแห่ง ความเมตตา

อั

ลลอฮ์ (ซบ.) ทรงแนะน�ำเดือนรอมฏอนว่า “เดือนรอมฏอน เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ ถูกประทานลงมา เพื่อเป็นทางน�ำส�ำหรับมนุษยชาติ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนจากทางน�ำ เป็นการ จ�ำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น บุคคล ใดในหมู่พวกเจ้า ได้ประจักษ์เดือนรอมาฎอนอย่างชัด แจ้ง จงถือศีลอด และผู้ใดเจ็บป่วย หรือก�ำลังเดินทางก็ จงถือศีลอดชดเชยในวันอื่นแทน อัลลอฮ์ทรงประสงค์ ความสะดวกแก่สูเจ้า ไม่ทรงประสงค์ความล�ำบาก แก่สูเจ้า และสูเจ้าจงนับวันให้ครบถ้วน และจงสดุดี ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮ์ ในสิ่งที่พระองค์ทรงชี้น�ำ สูเจ้า เพื่อสูเจ้าจะขอบคุณ” (อัลกุรอานบทที่ 2 โองการ ที่ 158) เมื่อเดือนรอมาฎอนเวียนมาถึง เดือนรอมาฎอน จึงไม่ใช่เดือนแห่งเทศกาลการถือศีลอด ทว่าเป็นเดือน แห่งการขัดเกลาจิตวิญญาณ เดือนแห่งการลุแก่โทษ เดือนแห่งการพัฒนาจิตใจ เดือนแห่งความรัก เดือน แห่งการให้อภัย เดือนแห่งการอโหสิกรรม เดือนแห่ง

50 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

รอยยิ้ม และเป็นเดือนแห่งการนมัสการ ซึ่งศีลอดเป็น สื่อหนึ่งที่จะน�ำพามนุษย์ให้ผ่านสิ่งเหล่านี้ เพื่อไปสู่ ความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ยิ่งกว่า นั่นคือการเป็นผู้ มีคุณธรรม มีมโนธรรม และมีศีลธรรมประจ�ำใจ ดังที่ อัลกุรอานกล่าวว่า “โดยหวังว่า พวกเจ้าจะมีความส�ำรวมตนยิ่งขึ้น ต่อไป”

บทน�ำ

ค�ำว่า รอมาฎอน มาจากรากศัพท์ค�ำว่า “ร่อ มะ ฎะ” ค�ำว่า “รอมฎุน” หมายถึง ความร้อนระอุของ หิน เนื่องจากแสงแดดที่ร้อนจัด หรือหมายถึงฝนตก ตอนต้นฤดูใบไม้ร่วง ช�ำระล้างอากาศให้สะอาดจาก ฝุ่นละอองที่ตกค้างมาจากฤดูร้อน หรือหมายถึงความ ร้อนรุนแรง ส่วนสาเหตุที่ตั้งชื่อเดือนนี้ว่ารอมาฎอน เนื่องจากวัฒนธรรมโบราณมักตั้งชื่อเดือนต่างๆ ไป ตามกาลเวลาของปี และในช่วงที่ตั้งชื่อเดือนนี้ว่า รอ มาฎอน นั้นเป็นช่วงที่อากาศร้อนระอุมากที่สุด ท่านซะมัคชะรีย์ (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 528/ค.ศ.


1133) กล่าวว่า เนื่องจากศีลอดเดือนรอมาฎอน เป็น อิบาดะฮฺที่ยาวนาน และอาหรับได้ตั้งชื่อนี้ ตรงกับช่วง ที่มีอากาศร้อนระอุมาก ความหิวโหยที่เกิดจากความ ร้อน และการลิ้มรสความยากล�ำบากของเดือนนี้ ขณะเดียวกันรายงานจ�ำนวนมากมาย กล่าว ถึงสาเหตุของการตั้งชื่อเดือนว่า รอมาฎอน เนื่องจาก เดือนรอมาฎอน เป็นเดือนช�ำระล้างท�ำความสะอาด จิตวิญญาณให้สะอาดบริสุทธิ์ จากความสกปรก โสมมและบาปกรรม ช�ำระขัดเกลาสนิมใจที่เกิดจาก ข้อผิดพลาดให้สะอาด ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า َ ِ‫ضان؛ أ‬ ُّ ‫ض‬ ‫نوب‬ ُ ‫ل ن َّ ُه یُر ِم‬ ُ ‫إنّما ُس ِّم َی َر َم‬ َ ‫الذ‬

"อันที่จริงการตั้งชื่อเดือนนี้ว่า รอมาฎอน เนื่อง จากบาปกรรมจะถูกเผาผลาญสิ้น” ฉะนั้น การถือศีลอดเดือนรอมาฎอน จึงเป็น เสมือนการเผาผลาญความผิดต่างๆ ที่ตนได้กระท�ำไว้ ‫هو شهر اوله رحمة و اوسطه مغفرة‬ เมื่อสิ้นเดือนรอมาฎอนจึงเหมือนกับคนใหม่ ที่มีความ ‫و اخره عتق من النار‬ สะอาดบริสุทธิ์ “รอมาฎอนคือ เดือนซึ่งต้นเดือนเป็นความ รอมาฏอน เป็นเดือนเดียวที่อัลกุรอานกล่าวนา เมตตา กลางเดือนคือการอภัย และปลายเดือนคือ มไว้ในอัลกุรอาน ดังที่กล่าวว่า ความอิสระจากไฟนรก” ‫آن ُه ًدی‬ ُ ‫ضان ا َّلذی ُأ ْن ِز َل فی ِه ا ْل ُق ْر‬ َ ‫َش ْه ُر َر َم‬ รอมาฎอนเดือนแห่งเมตตา ‫اس‬ ِ ‫ِلل ّن‬ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงเป็นปฐมบทของทุกสรรพ “เดือนรอมฏอน เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูก สิ่ง ทรงเป็นพระผู้สร้างท้องฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ประทานลงมา เพื่อเป็นทางน�ำส�ำหรับมนุษยชาติ” ในโลกทัศน์แห่งพระเจ้านั้น จะมีบางสถานที่และบาง รอมาฎอนตรงกับเดือนที่ 9 ของปีจันทรคติ ซึ่ง เวลา มีความพิเศษเฉพาะอันมิอาจหาทรัพย์ใดมาแลก ในเดือนนี้การถือศีลอดเป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) ส�ำหรับ เปลี่ยนได้ เช่น เดือนรอมาฎอน เป็นต้น มุสลิมทุกคน นอกจากนี้ตามค�ำสอนของอิสลาม ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า และอัลกุรอาน ยังถือว่าเดือนรอมฏอน เป็นเดือนที่ ‫لو يعلم العبد ما فى رمضان لود‬ มีความจ�ำเริญ เนื่องจากอัลกุรอานได้ถูกประทาน ‫ان يكون رمضان السنة‬ ลงมาในเดือนนี้ ดังโองการที่กล่าวแล้วข้างต้น และ มาตรว่าปวงบ่าวรู้ว่า ในเดือนรอมาฎอนมีอะไร บรรดามุสลิมทั้งหลายต่างมีความเชื่อว่า ลัยละตุล [มีความจ�ำเริญใดในเดือนนี้] ก็อดรฺ (ค�่ำคืนอานุภาพ) ก็อยู่ในช่วงเดือนรอมฏอนอี เขาก็จะปรารถนาให้รอมฏอนมีทั้งปี” กด้วย รอมฏอนเป็นเดือนแห่งพระเมตตา ท่านศาสดา เดือนๆ นี้ถูกนับว่าเป็นเดือนแห่งพระผู้เป็น (ศ็อลฯ) กล่าวว่า เจ้า วันและเวลาในเดือนนี้มีความพิเศษ และมีความ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 51


ประเสริฐกว่าเดือนอื่น ดังทีท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าว ว่า “โอ้ มวลมุสลิมทั้งหลาย แท้จริงเดือนแห่งอัลลอฮ์ ได้เวียนมาสู่พวกเธอด้วยความจ�ำเริญ ความเมตตา และการอภัย เป็นเดือนเดียวทีมีความประเสริฐยิ่ง ณ พระองค์ ทั้งช่วงเวลากลางคืนและกลางวันของเดือน เป็นช่วงเวลาประเสริฐสุด อีกทั้งเป็นเดือนที่พวกเธอ จะได้รับเชิญให้เป็นแขกของอัลลอฮ์ และพวกเธอได้ ถูกรวมเข้ากับบรรดาผู้ที่ได้รับเกียรติยิ่งทั้งหลาย ณ อัลลอฮ์ เดือนนี้ลมหายใจเข้าออกของพวกเธอถือ เป็นการถวายความสดุดีต่ออัลลอฮ์ การนอนของพวก เธอถือเป็นอิบาดะฮฺ การงานของพวกเธอจะถูกยอมรับ ดุอาอฺค�ำวิงวอนขอพรของพวกเธอจะถูกตอบรับ ดัง นั้น พวกเธอจงวิงวอนขอพรต่ออัลลอฮ์เถิด ขอพระองค์ ทรงอ�ำนวยโอกาสในการถือศีลอด อ่านอัลกุรอาน และ ขอดุอาอฺแก่พวกเธอ” เดือนรอมาฎอนจึงเป็นโอกาสที่ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงหยิบยื่นให้มนุษย์ เพื่อการลุแก่โทษ แต่สิ่งนี้จะไม่มีความหมายอีกต่อไป ถ้าหลังจากเดือน รอมาฎอนสิ้นสุดลงแล้ว เขาได้ย้อนกลับไปท�ำความ ผิดอีก ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ّ‫هر ه‬ ‫هر‬ َ ‫هر َر َم‬ ُ ‫ضان َش‬ ُ ‫َش‬ ٌ ‫الل َع َّز َو َج َّل َو ُه َو َش‬ ِ ‫الح َس‬ ِ ‫ُي‬ ‫نات َو َيمحو في ِه‬ ‫ضاع ُف الل‬ َ ‫هّ‏ُ في ِه‬ ِ ‫الس ّي‬ ‫ك ِة؛‬ َ ‫الب َر‬ ُ ‫ِئات َو ُه َو َش‬ َّ َ ‫هر‬ “เดือนรอมฏอนคือ เดือนของอัลลอฮ์ เป็นเดือน ซึ่งอัลลอฮ์ จักทรงเพิ่มพูนความดีงาม และลบล้าง ความผิด และเป็นเดือนที่มีความจ�ำเริญยิ่ง” ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ‫ان ابواب السماء تفتح فى اول ليلة من‬ ‫شهر رمضان و ال تغلق الى اخر ليلة منه‬ “ประตูแห่งสรวงสวรรค์จะเปิดออกตั้งแต่วันแรก ของเดือนรอมาฎอน และจะไม่ปิด จนกระทั่งถึงค�่ำคืนสุดท้ายของเดือน” จากพระวัจนะของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท�ำให้ ทราบได้ทันทีว่า สาเหตุใดทีเดือนรอมาฎอนมีความ

52 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ประเสริฐกว่าเดือนอื่น แน่นอน เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า บรรดาความโปรดปราน (นิอฺมัต) ของอัลลอฮ์ (ซบ.) ล้วนเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง ซึ่ง ณ ที่นี้การชี้น�ำ (ฮิดายะฮ์) ถือว่า เป็นความโปรดปรานที่ประเสริฐที่สุด ที่พระองค์ได้ ประทานให้กับบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เนื่องจาก ไม่มีความโปรดปรานใดที่จะสูงไปกว่า การที่ อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้เชิญให้มนุษย์เป็นแขกของพระองค์ และทรงชุบชีวิตที่ตายแล้วของพวกเขาให้มีชีวิตอีกครั้ง ด้วยน�้ำแห่งคุณธรรม ไม่มีความโปรดปรานใดจะสูงไปกว่า การที่ มนุษย์สามารถน�ำพาชีวิตให้หลุดพ้นจากพันธนาการ ของโลก อ�ำนายฝ่ายต�่ำและวัตถุปัจจัย ไปสู่เสรีภาพ แห่งความสัจจริง ไม่มีความโปรดปรานใดสูงไปกว่า การที่มนุษย์ สามารถสลัดสภาพความเป็นเดรัจฉานในตัวเอง การ ไม่ตกเป็นทาสของอ�ำนาจฝ่ายต�่ำ และชัยฏอนไปสู่ มนุษย์ผู้มีความสมบูรณ์ ไม่มีความโปรดปรานใดจะสูงไปกว่า การที่ มนุษย์พัฒนาความสมบูรณ์ของตนไปสู่พระเจ้า และ มีความเชื่อว่าสิ่งนั้นมีคุณค่าและสูงส่งกว่าทรัพย์สิน และสิ่งอื่นใดทั้งปวง อิสลามประณาม การฝึกฝนร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อไปสูการเชื่อฟังปฏิบัติตามอารมณ์และ ตัณหา อิสลามสรรเสริญบุคคลที่บ�ำรุงรักษาร่างกาย ของตนให้สมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นสื่อในการพัฒนา


จิตใจไปสู่คุณธรรมขั้นสูงสุด ฉะนั้น ณ ตรงนี้การกระ ท�ำใดก็ตามที่ก่อให้เกิดเสียหาย และเป็นอันตรายต่อ ตัวเองถือว่าเป็นฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระท�ำ ถึงแม้ว่า สิ่งนั้นจะเป็นบัญญัติจากพระผู้เป็นเจ้าก็ตาม อาทิ เช่น การถือศีลอด อิสลามได้ก�ำหนดว่าการถือศีลอด เป็น บัญญัติส�ำหรับมุสลิมทั้งหลาย แต่ถ้าการศีลอดเป็น อันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ก็ไม่อนุญาตให้ถือ บาง ทัศนะถือว่าเป็นฮะรอมด้วยซ�้ำ ด้วยกฎที่ว่า อัลลอฮ์ไม่ ทรงประสงค์ให้มนุษย์ได้รับความยากล�ำบาก กฎเกณฑ์และบทบัญญัติมากมาย ที่อิสลาม ได้ก�ำหนดขึ้น เพื่อการรักษาสุขภาพและพลานามัยให้ สมบูรณ์ อาจเป็นไปได้ที่บางคนอาจมองไม่เป็นความ แตกต่าง ระหว่างการดูแลรักษาสุขภาพพลานามัย กับ การดูแลรักษาสภาพจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องของศีลธรรม พวกเขาคิดว่า อิสลามคงจะไม่เห็นด้วยในเรื่องการ รักษาสุขภาพ ทั้งที่ในความเป็นจริงอิสลามได้ให้ความ ส�ำคัญต่อเรื่องสุขภาพ ไม่น้อยไปกว่าการให้ความ ส�ำคัญเรื่องจิตใจ ฉะนั้น จะเห็นว่าภารกิจใดก็ตามที่ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนเอง ทั้งเรื่องการกินการดื่ม การสูบ และการกระท�ำอื่นๆ ซึ่งอิสลามถือว่าไม่ถูกต้อง และไม่อนุญาตให้กระท�ำ ฉะนั้น เกณฑ์ของการห้าม หรือฮะรอม ตามค�ำสอนของอิสลามเกิดจากอันตราย เช่นเดียวกับการปฏิบัติตามอ�ำนาจฝ่ายต�่ำ อิสลาม ถือว่าเป็นสิ่งตรงกันข้าม และเป็นภาพลักษณ์ที่ขัดแย้ง กับการพัฒนาจิตวิญญาณ และยังเป็นสาเหตุก่อให้

เกิดโรคร้ายแก่จิตใจ การไม่ดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย ให้สะอาด หรือท�ำไม่ถูกวิธีก็เป็นสาเหตุท�ำให้ร่างกาย ป่วยและไม่สบาย สิ่งเหล่านี้ตามค�ำสอนของอิสลาม ถือว่าไม่ถูกต้อง ฉะนั้น รอมาฎอน เป็นเดือนที่มีความพิเศษ ยิ่งกว่าเดือนอื่นทั้งหลาย เป็นของขวัญที่พระเจ้าทรง ประทานแก่มนุษย์ เป็นโอกาสที่ไม่ควรปล่อยให้หลุด ลอยไปจากมือ บุคคลที่ฉลาดคือ บุคคลที่มองเห็น ความแตกต่างของเดือนนี้ กับเดือนอื่นโดยสิ้นเชิง และ เมื่อมาถึงเดือนนี้ เขาจะไม่ยอมสูญเสียเวลาไปโดย เปล่าประโยชน์แม้แต่นิดเดียว เพราะเขาทราบเป็น อย่างดีว่า เดือนนี้คือเดือนของอัลลอฮ์ อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ‫شهر رمضان شهر اللله‬ รอมาฎอนคือเดือนของอัลลอฮ์

ความส�ำคัญของศีลอด

การถือศีลอดมีประโยชน์ กับมนุษย์ทั้งทาง ร่างกายและจิตวิญญาณ ศีลอดมิได้กล่าวถึงเฉพาะ ศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ศาสนาแห่งฟากฟ้าก่อนหน้า อิสลามไม่ว่าจะเป็นศาสนายะฮูดียฺ หรือมะซีฮียฺ ก็ได้ ถือศีลอดมาแล้วเช่นกัน ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธา การถือศีลอดได้ถูกก�ำหนดแก่สูเจ้า แล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกก�ำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้า สูเจ้า” เพียงแต่ว่าการถือศีลอดอาจจะมีวิธีการปฏิบัติ และรูปแบบแตกต่างไปจากที่มุสลิม ถือปฏิบัติอยู่ใน ปัจจุบัน นอกจากนี้ พระพุทธศาสนาก็สอนให้ถือศีลอด เช่นกัน เนื่องจากพระพุทธเจ้าทรงแนะน�ำบรรดาสาวก ว่า วันหนึ่งให้ฉันท์อาหารแต่เพียงมื้อเดียว ซึ่งนิกาย ต่างๆ ในพระพุทธศาสนาต่างถือปฏิบัติกันอย่างต่อ เนื่องเรื่อยมา โดยปกติจะถือศีลกันในวันที่ 14 ทุกเดือน และวันส�ำคัญทางศาสนา ตามค�ำสอนของศาสนา พุทธ การถือศีลอดหมายถึง การหลีกเลี่ยงไม่บริโภค อาหารหนัก หรืออาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยให้ดื่ม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 53


น�้ำหรือของเหลวอื่นแทน ซึ่งการถือศีลอดตามค�ำสอน ของพระพุทธเจ้าคือ การช�ำระขัดเกลาจิตวิญญาณใน สะอาดบริสุทธิ์ โดยปกติพระภิกษุสงฆ์ จะถือปฏิบัติโดยการ บริโภคอาหารแต่เพียงมื้อเดียว หลังฉันท์เพลแล้วจะไม่ รับประทานอาหารใดอีก และจะถือศีลสมบูรณ์ในทุก ต้นเดือนและกลางเดือน ส่วนประชาชนทั่วไปจะถือศีล อดเดือนหนึ่ง 4 ครั้ง พร้อมกับสารภาพความผิดบาป ของตน และจะถือศีลอีกในวันคล้ายวันปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า โดยจะถือศีลติดต่อกัน 5 วัน พร้อม กับหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ อิมามบากิร (อ.) กล่าวถึงศีลอดว่า เป็นฐานราก อันส�ำคัญยิ่งของอิสลาม กล่าวว่า ‫ على الصلوة‬،‫بنى االسالم على خمسة اشياء‬ ‫و الزكاة و الحج و الصوم و الواليه‬ “อิสลามวางอยู่บนรากฐานส�ำคัญ 5 ประการได้แก่ นมาซ ศีลอด ซะกาต ฮัจญฺ และวิลายะฮฺ (ผู้น�ำอิสลาม) กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “จงถือศีลอดเพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง” “ศีลอดคือโล่ป้องกันไฟนรก” ด้วยสาเหตุนี้เอง การถือศีลอดชดเชย (เกาะฎอ) ปรัชญาการถือศีลอด ศีลอดที่ไม่ได้ถือจึงเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) แม้กระทั่ง ปรัชญาการถือศีลอด เพื่อรักษาร่างกายและ สตรีที่มีรอบเดือนในช่วงเดือนรอมฏอน เมื่อหมดรอบ จิตใจให้สมบูรณ์แข็งแรง ดังค�ำพูดทีว่าสติปัญญาที่ เดือนแล้วเธอต้องถือศีลอดชดเชย ขณะที่นมาซที่มิได้ สมบูรณ์ขึ้นอยู่กับร่างกายที่แข็งแรง บรรดานักวิชาการ ปฏิบัติในช่วงนั้นไม่วาญิบต้องชดเชย ทั้งที่เป็นมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิม ได้เขียนหนังต�ำรา การถือศีลอดนั้นเท่ากับเป็นการลดการท�ำงาน มากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ บางส่วนของเนื้อหาสาระ ของอวัยวะทุกส่วนบนร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกระเพราะ ที่ต�ำราเหล่านั้นกล่าวถึงคือ เรื่องการขจัดการย่อย อาหาร เส้นเลือด ต่อมต่าง ๆ ระบบปราสาท ล�ำไส้ และ อาหารที่ไม่ดี การสนับสนุนสุขภาพพลานามัยส่วนรวม อวัยวะส่วนอื่น เพราะการท�ำงานตลอดทั้งวันทั้งคืน การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ การท�ำความ ของอวัยวะเหล่านั้น โดยไม่มีการพักผ่อนย่อมน�ำมาซึ่ง สะอาดช่องทางเดินปัสสาวะ การรักษาโรคติดต่อต่าง การเสื่อมสภาพและการทรุดโทรม ฉะนั้น การถือศีล ๆ โรคผิวหนัง และการขจัดไขมันส่วนเกิน ศีลอดมีผลอ อดจึงเปรียบเสมือนซะกาต ที่มนุษย์มอบแก่ร่างกาย ย่างมากต่อการรักษาโรคต่างๆ ที่ไม่อาจรักษาให้หาย ของเขา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ได้ อย่างไรก็ตามมนุษย์ไม่สามารถปฏิเสธคุณค่าของ ‫لكل شيئى زكاة و زكاة االبدان الصيام‬ การถือศีลอดที่ว่าการ ถือศีลอดท�ำให้ร่างกายและจิต “ส�ำหรับทุกสิ่งนั้นมีซะกาต ซึ่งซะกาต วิญญาณมีความสมบูรณ์แข็งแรง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ของร่างกายคือการถือศีลอด”

54 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


อาจหาความสุขใดมาเปรียบเทียบได้ เพราะว่าบุคคล ที่ถือศีลอดได้ระวังเรื่องการกินและการดื่มตลอดทั้ง วัน ครั้นเมื่อถึงเวลาละศีลอดเขาจึงมีความรู้สึกว่าตน ได้อิสรภาพจากกฎเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งอิสรภาพนั้น เองเป็นตัวน�ำเอาความปราโมทย์มาสู่มนุษย์ รายงาน จากอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ‫للصائم فرحتان فرحة عند افطاره‬ ‫و فرحة عند لقاء ربه‬ “ผู้ถือศีลอดจะมีความสุขอยู่สองช่วง กล่าวคือ ช่วงเวลาละศีลอด และช่วงเวลาที่เขาได้พบ กับอัลลอฮ์ (ตายและฟื้นคืนชีพในวันกิยามะฮ์)

ศีลอดที่แท้จริง

แต่ต้องไม่เข้าใจผิดว่าการถือศีลอดคือ การพัก ผ่อนร่างกายจากการงานทั้งหมด ร่างกายยังไม่ได้หยุด การท�ำงาน เพียงแต่ท�ำงานช้าและลดน้อยลง เพื่อจะ ได้มีโอกาสพักผ่อน ด้วยเหตุนี้เอง จะพบว่าการถือศีล อดจะช่วยลดอาการปัสสาวะกระปริดกระปอย โรค ความอ้วน โรคกระเพราะอาหาร และโรคล�ำไส้อักเสบ จึงได้มีค�ำกล่าวว่า การถือศีลอดนั้นจะท�ำให้อายุยืน ร่างกายกระปรี่กระเป่า ลดความเกียจคร้านและความ อ่อนแอไปจากร่างกาย นอกจากนั้นยังช่วยบรรเทา อาการเจ็บป่วยจากโรคภัยต่าง ๆได้มากมายอีกด้วย ปัจจุบันประเทศในแถบยุโรป เปิดโรงพยาบาล ขึ้นหลายแห่ง โดยใช้วิธีถือศีลอดเป็นการบ�ำบัดรักษา โรคร้ายต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อเดือนรอมาฎอนเวียนมาถึง พฤติกรรมของชีวิตจึงต้องเปลี่ยนไป เท่ากับเป็นการ สร้างสิ่งใหม่ๆ ให้แก่ร่างกาย และน�ำความยินดีปรีดา มาสู่จิตวิญญาณ เพราะจิตวิญญาณของมนุษย์รับรู้ ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชีวิต นักจิตวิทยาได้ค้นพบ ว่า ความสุขที่ผู้ถือศีลอดได้รับขณะละศีลอดนั้น ไม่

เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า การถือศีลอดนั้นมี 2 ลักษณะ กล่าวคือ การถือศีลอดทางกายภาพ และจิต วิญญาณ 1) การถือศีลอดทางกายภาพ หมายถึง การงดการกินและดื่มตั้งแต่อะซาน ซุบฮ์จนอะซานมักริบ ซึ่งในช่วงระหว่างวันผู้ถือศีลอด จะต้องไม่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นสาเหตุท�ำให้ศีลอดเสีย มีทั้ง สิ้น 9 ประการด้วยกันได้แก่ การกินและดื่ม การร่วม เพศ การส�ำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง การพูดความ เท็จที่เกี่ยวข้องกับอัลลอฮ์ (ซบ.) หรือนบี การปล่อย ฝุ่นละอองที่หนาทึบเข้าไปในล�ำคอ การด�ำน�้ำ การ คงสภาพการมีญูนุบ เฮดหรือนิฟาส จนถึงอะซานซุบ ฮ์ การสวนทวาร และการอาเจียน ฉะนั้น ผู้ถือศีลอด คนใดตั้งใจกระท�ำสิ่งเหล่านี้ ถือว่าศีลอดเสีย จะต้อง ถือศีลอดชดเชยภายหลัง แต่ถ้าการการกระท�ำนั้นฮะ รอม เช่น การส�ำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง นอกจาก ต้องถือศีลชดเชยแล้ว ยังต้องจ่ายกะฟาเราะฮฺรวมอีก ต่างหาก ด้วยเหตุนี้ การละศีลอดหรือการท�ำให้ศีลอด เสีย นอกจากจะมีโทษทางกายแล้วยังมีโทษทางจิต วิญญาณด้วย อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ‫من افطر يوما من شهر رمضان‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 55


“ผู้ถือศีลอดถ้าหากไม่ระวังรักษาลิ้น หู สายตา และ อวัยวะอื่นๆ ศีลอดของเขา จะยังประโยชน์ได้อย่างไร” 2) การถือศีลอดทางจิตวิญญาณ หมายถึง การละเว้นทุกสิ่งอันเป็นข้อห้าม หรือการก ระท�ำทุกอย่างที่ฮะรอม ซึ่งการถือศีลอดประเภทนี้เอง คือ วัตถุประสงค์แท้จริงของอัลลอฮ์ (ซบ.) และอัลกุ รอาน ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “ศีลอดได้ถูกก�ำหนด แก่สูเจ้าแล้ว ... เพื่อว่าสูเจ้าจะได้ส�ำรวมตน” โองการ บ่งบอกให้เห็นอย่างชัดเจนว่าศีลอดเป็นเพียงพาหนะ หรือเครื่องมือภายนอกที่ได้ถูกน�ำเสนอแก่มนุษย์ เพื่อ น�ำพาเขาไปสู่อาณาจักรด้านในที่มีความล�้ำลึก เป็น ความจริงและเป็นความสมบูรณ์ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ ฉะนั้น วัตถุประสงค์ของ การถือศีลอด ก็เพื่อให้มนุษย์ได้พบกับตัวตนที่แท้จริง ของตนเอง ถ้าสังเกตอัลกุรอานจะพบว่า เมื่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงแนะน�ำเดือนรอมาฎอนแก่ประชาชาติ พระองค์มิทรงกล่าวว่า เดือนรอมาฎอนคือ เดือนแห่ง การถือศีลอด แต่ทรงแนะน�ำว่า “เดือนรอมฏอนเป็น เดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา เพื่อเป็นทางน�ำ ส�ำหรับมนุษยชาติ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนจาก ทางน�ำ เป็นการจ�ำแนกระหว่างความจริงกับความ เท็จ” ฉะนั้น จุดประสงค์ของการประทานอัลกุรอาน ก็เพื่อเป็นทางน�ำและเครื่องจ�ำแนกความจริงกับความ เท็จ ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสูงสุด และเป็นมาตรวัด ความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง เนื่องจากมนุษย์ผู้ไม่ได้รับ “การนอนหลับของผู้ถือศีลอดคือ อิบาดะฮฺ ทางน�ำคือ คนหลงผิด หรือมนุษย์ผู้ได้รับทางน�ำแล้ว การนิ่งเงียบของเขาคือการถวายสดุดี แต่ไม่มี ฟุรกอน (เครื่องจ�ำแนก) เขาก็คือ ฟาซิก หรือ ดุอาอฺของเขาจะถูกตอบรับ การงานของเขา มุนาฟิกีน เนื่องจากเขาเปลี่ยนแปลงเฉพาะรูปโฉมทาง จะถูกเพิ่มเป็นสองเท่า และดุอาอฺของผู้ถือศีลอด กายภาพ โดยน�ำเอาเครื่องแบบอิสลามเป็นอาภรณ์มา ขณะละศีลนั้นจะไม่ถูกละเลย” สวมใส่แต่งองค์ทรงกายแต่ภายนอก ประหนึ่งว่าได้รับ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) กล่าวถึงศีลอดทาง ทางน�ำแล้ว แต่จิตใจด้านในยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายว่า ดังที่อัลกุรอาน กล่าวแก่ชาวอรับสมัยก่อนว่า “พวก ‫ما يصنع الصائم بصيامه اذا لم يصن لسانه‬ เจ้ายังมิได้ศรัทธาแต่จงกล่าวว่า พวกเราเข้ารับอิสลาม ‫و سمعه و بصره و جوارحه‬ แล้ว เพราะความศรัทธายังมิได้เข้าสู่หัวใจของพวก ‫خرج روح االيمان منه‬ “บุคคลใดละศีลอด วันหนึ่งในเดือนรอมาฎอน (โดยปราศจากเหตุผล) จิตวิญญาณแห่งอีมาน ได้ออกห่างจากเขา” แต่กระนั้นการถือศีลอดทางกาย ก็ยังมิใช่เรื่อง ง่ายอย่างที่หลายๆ คนคาดคิด เพราะใช่ว่าผู้ถือศีล ทุกคนจะเข้าถึงการถือศีลอดทางร่างกาย จริงอยู่แม้ดู จากภายนอกจะเป็นเรื่องง่าย ซึ่งบุคคลใดประสงค์ก็ สามารถท�ำได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นจะมีความแตกต่างอัน ใดระหว่างมุสลิมกับผู้ที่มิได้เป็นมุสลิม ฉะนั้น แม้แต่ การถือศีลอดทางกายก็จะต้องมีความพิเศษด้วย อิมามซอดิก (อ.) กล่าวถึง ศีลอดทางกายว่า ‫اذا صمت فليصم سمعك‬ ‫و بصرك و شعرك و جلدك‬ “เมื่อท่านถือศีลอด ดังนั้น หู สายตา ผมขน และผิวหนังของเธอต้องถือศีลอดด้วย” หมายถึง ผู้ถือศีลอดจะต้องไม่น�ำพาตัวเองเข้า สัมผัสกับสภาพแวดล้อม หรือบรรยากาศต้องห้ามทั้ง หลาย ด้วยเหตุนี้เอง อิมามอะลี (อ.) จึงกล่าวแนะน�ำ แก่ผู้ถือศีลอดทั้งหลายว่า ‫سبيح‬ ُ َ‫ن‬ ٌ َ‫وم الصائِم ِعبا َد ٌة َو َصمتُ ُه ت‬ ‫ف‬ ٌ ‫جاب َو َع َم ُل ُه ُمضا َع‬ ٌ َ‫و ُدعا ُؤ ُه ُمست‬. َ ‫عو ًة التُ َر ُّد؛‬ َ ‫ا ِ َّن للصائ ِ ِم ِع‬ َ ‫ند اِفطا ِر ِه َد‬

56 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


เจ้า” พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงเฉพาะภายนอกให้ดูดี แก่สายตาของคนอื่น แต่จิตใจด้านในยังต�่ำทรามเช่น เดิม เท่ากับยังไม่หลุดพ้นยังคงเป็นบัวใต้น�้ำอยู่เหมือน เดิม แม้ว่าจะได้รับทางน�ำแล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังไป ไม่ถึงชั้นของฟุรกอน จึงไม่อาจจ�ำแนกได้ว่าความจริง กับความเท็จเป็นอย่างไร จิตใจยังมัวเมาอยู่กับความ อิจฉาริษยา ความอคติ การถืออัตตาตัวตนเป็นใหญ่ ต�ำแหน่ง และ ...ดังนั้น บุคคลที่ได้รับอัลกุรอาน ทาง น�ำ และฟุรกอนที่แท้จริงคือ บุคคลที่มีความส�ำรวมตน (ตักวา) ซึ่งหนทางหนึ่งที่จะท�ำให้เขาได้รับตักวาก็คือ การถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน ศีลอดจึงเป็นเครื่อง มือชนิดหนึ่ง ที่จะท�ำให้มนุษย์เข้าใกล้ชิดอัลกุรอาน เมื่อมนุษย์ใกลิ้ชิดอัลกุรอานแล้ว ทางน�ำและฟุรกอน ก็จะตามมา แต่สิ่งที่เห็นอยู่ในสังคมคือ ผู้คนจ�ำนวน มากมายได้ถือศีลอดอย่างขะมักเขม้น แต่บั้นปลาย สุดท้ายเขาก็ยังไม่ได้รับฟุรกอน หลังจากเดือนรอ มาฎอนผ่านไปแล้ว พฤติกรรมของเขายังคงเหมือน เดิมไม่ได้มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง แล้วจะนับประสาอะไร กับบุคคลที่ไม่เคยให้ความส�ำคัญต่อการถือศีลอด นั่น หมายถึงว่า เขาจะไม่มีวันได้สัมผัสกับทางน�ำและฟุ รกอนที่แท้จริง หรืออีกนัยหนึ่งคือ เขาจะไม่มีโอกาส สัมผัสความเป็นมนุษย์ ผู้มีความสมบูรณ์เด็ดขาด มนุษย์ผู้สมบูรณ์หมายถึง บุคคลที่สามารถจ�ำแนก ความถูกผิดชั่วดีได้ว่าคืออะไร จิตใจมีแต่คุณธรรมและ มโนธรรมเป็นพื้นฐานส�ำคัญ เท่ากับเขาได้รับทางน�ำ และมีฟุรกอนแล้วนั่นเอง ดังนั้น ศีลอดที่แท้จริง ก็คือ การถืออดทั้งกาย วาจาและจิตใจ ดังที่ อิมามอะลี (อ.) กล่าวถึง แก่นแท้ของศีลอดว่า ِ ‫وم ا‬ َ ‫شر ِب‬ ‫ال‬ َّ ‫يس‬ ُ ‫الص‬ َ ‫الم َكلِ َو‬ َ ِ‫مساك َعن‬ َ َ ‫ل‬، َ ‫الم‬ ِّ ّ‫كر ُه ُه ه‬ ِ ‫وم ا‬ ُ ‫الل ُسبحانَه؛‬ ‫ال‬ َّ ُ ‫الص‬ َ َ‫مساك َعن ُكل ماي‬ “ศีลอดมิใช่การถืออด โดยงดการกินและดื่มเท่านั้น ทว่าศีลอดหมายถึง การหลีกเลี่ยงจากทุกสิ่ง ที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงถือว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ดี” ศีลอดที่แท้จริงในทัศนะอิสลามคือ การถืออด

ทางจิตวิญญาณควบคู่ไปกับการถืออดทางใจ แต่มี ความส�ำคัญยิ่งกว่าการถือศีลอดทางกาย และจะต้อง ไม่ลืมว่าการถือศีลอดทางกาย มีความส�ำคัญและเป็น ความจ�ำเป็นของศีลอดทางใจ ซึ่งถ้าจะเปรียบศีลอด ทางกายก็เสมือนพาหนะหนึ่ง ที่น�ำมนุษย์ไปสู่การ ถือศีลอดทางจิตวิญญาณ ทั้งสองเป็นความสมบูรณ์ ของกันและกัน จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ อิมาม อะลี (อ.) กล่าวถึงศีลอดที่แท้จริงอีกว่า ‫الصيام اجتناب المحارم كما يمتنع الرجل‬ ‫من الطعام و الشراب‬ “ศีลอดคือการหลีกเลี่ยง จากสิ่งฮะรอมทั้งปวง ปรหนึ่ง ว่าบุคคลนั้นได้หลีกเลี่ยงจากการกินและดื่ม” หมายถึงขณะที่กาย และประสาทสัมผัสทั้งห้า ถือศีลอด ใจต้องถือศีลอดควบคู่ไปด้วย เพราะการอด กายเพียงอย่างเดียว แต่ไม่อดใจ ศีลอดจะไม่มีความ หมายสมบูรณ์ ดั้งนั้น ถ้าหากศีลอดมีความหมาย เพียงแค่ งดการกินและดื่มหรือการถืออดทางกายภาพ เท่านั้น อัลลอฮ์ ไม่จ�ำเป็นต้องก�ำหนดบทบัญญัติการ ถือศีลอดแก่มนุษย์ก็ได้ เพราะมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ สามารถถือศีลอดกันได้อย่างถ้วนหน้า แม้แต่ผู้ป่วย ที่รอการผ่าตัด แพทย์สั่งให้งดอาหารเป็นเวลาอย่าง น้อย 12 ชั่วโมง เขายังสามารถปฏิบัติตามได้ แล้วจะ นับประสาอะไรกับคนธรรมดาที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็ง แรง เมื่อเป็นเช่นนี้ศีลอดส�ำหรับชาวมุสลิมจะมีความ หมายอะไร ด้วยเหตุนี้ ศีลอดที่แท้จริงจึงมิใช่การอด ทางกายเท่านั้น แต่ต้องถืออดทั้งร่างกายและจิตใจ ไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ ถ้าบุคคลหนึ่งถือศีลอดแล้วก ล่าวนินทาว่าร้ายบุคคลอื่น ศีลอดของเขาจะไม่ถูก ยอมรับ หมายถึงว่า ศีลอดของเขาเสีย แม้ว่าเขาจะ ไม่ได้กระท�ำสิ่งใดอันเป็นสาเหตุท�ำให้ศีลอดเสียก็ตาม ทว่าเมื่อศีลอดด้านใน [ทางจิตวิญญาณ] เสีย ศีลอด ภายนอก [กายภาพ] ก็พลอยเสียตามไปด้วย ท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า การนินทา คือสาเหตุท�ำให้ ศีลอดไม่ถูกตอบรับ กล่าวว่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 57


ّ‫اغتاب ُمسلِما أَو ُمسلِ َم ًة لَم يَقبَلِ ه‬ ِ‫َمن‬ ‫الل َصالتَ ُه‬ َ ِ ‫ال أَن يَغ ِف َر ل َ ُه‬ ّ ِ‫عين يَوما َولَي َل ًة إ‬ ‫صاحبُ ُه‬ ‫َو‬ َ َ ‫الصيام ُه أَرب‬ َ “บุคคลลใดนินทาว่าร้ายชาย หรือหญิงมุสลิม อัลลอฮ์ จะไม่ตอบรับนมาซและศีลอดของเขา นานถึง 40 วัน 40 คืน นอกเสียจากว่า ผู้ถูกนินทาจะยกโทษและอภัยแก่เขา” ด้วยเหตุนี้ มีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ส�ำหรับผู้ ถือศีลอด นอกจากต้องระมัดระวังปาก จากการกิน และดื่ม หรือการนินทาผู้อื่นแล้ว ยังต้องระมัดระวัง จิตใจอย่างดีเป็นพิเศษ เพราะจิตคือศูนย์บัญชาการที่ ก่อให้เกิดการกระท�ำติดตามมา อิมามอะลี (อ.) กล่าวถึง ศีลอดที่ดีที่สุดว่า ‫صوم القلب خير من صيام اللسان‬ ‫و صوم اللسان خير من صيام البطن‬ “การถือศีลอดทางใจดีกว่าการถือศีลอดทางลิ้น การถือศีลอดทางลิ้น ย่อมดีกว่าการถือศีลอด ทางกระเพราะ” อิมามอะลี (อ.) กล่าวถึง ศีลอดที่ดีที่สุดอีกว่า ّ ‫لب عن ال ِفر فی ا‬ ِ ‫صیام ال َق‬ ‫لش‬ َ ‫الثا ِم‬ ُ ‫أفض‬ ُ َّ ‫ِمن صیا ِم البَطن‬ ‫الطعا ِم؛‬ “ศีลอดทางใจที่คิด [หลีกเลี่ยง] จากบาปกรรม ต่างๆ ดีกว่าศีลอดทางกระเพราะและอาหาร” 58 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ฉะนั้น ศีลอดที่แท้จริง ต้องเป็นแหล่งก�ำเนิด ความเมตตาของพระเจ้าที่ได้ไหลรินอยู่ภายในใจของ ผู้ถวิลหาความจริง ต้องเป็นส�ำรับอาหารสวรรค์ ที่ได้ ตั้งอยู่กลางใจของผู้ถือศีลอดเสมอ เป็นพลังที่ช่วยให้ จิตวิญญาณยืนหยัดได้อย่างสมเกียรติในสนามของ ความอดทน เป็นพลังที่มาเปลี่ยนความมืดมิดจาก ความเห็นแก่ตัว และการถืออัตตาตัวตน ให้เป็นรัศมี ของความนอบน้อมถ่อมตน และความเสียสละ เป็น พลังช่วยเหลือผู้กระท�ำความผิดบาปที่ส�ำนึกตน ให้ รอดพ้นจากไฟนรก เป็นพลังในการเลี้ยงดู และเป็น แรงกระตุ้นความดีที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ เป็นปัจจัยเสริม สร้างความสวยงาม ให้แก่บุคคลที่มุ่งมั่นอยู่กับการ ท�ำอิบาดะฮฺ ให้มีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นพลังโน้มน�ำ จิตวิญญาณของมนุษย์ไปสู่ความเมตตาของพระเจ้า เป็น ตัวช�ำระล้างจิตวิญญาณให้สะอาดบริสุทธิ์จาก ความผิดและการไร้สาระ เป็นสะพานทอดให้มนุษย์ เดินผ่านอ�ำนาจฝ่ายต�่ำไปสู่ชายฝั่งแห่งความผาสุก เป็น พลังทีคอยปลุกจิตมนุษย์ให้ตื่นอยู่เสมอ เป็น สื่อ ที่น�ำพาหูและจิตวิญญาณของผู้ศรัทธา ไปเชื่อมต่อกับ พลังอันยิ่งใหญ่แห่งพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้นไม้แรกแย้ม แห่งความศรัทธาที่ขึ้นอยู่ท่ามกลางจิตวิญญาณ เป็น อาวุธประหัตถ์ประหารชัยฏอน ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจ ส�ำหรับการชี้น�ำ (ฮิดายะฮ์)

สรุปความ

รอมาฎอนเดือนแห่งความเมตตา และเป็นแขก ของอัลลอฮ์ เดือนนี้ผู้ศรัทธาได้รับเชิญด้วยบัตรเชิญ พิเศษว่า ِّ ‫ك ِت َب َع َل ْي ُك ُم‬ ‫ام‬ ُ ‫آمنُوْا‬ ُ ‫الص َي‬ َ ‫َيا َأ ُّي َها ا َّل ِذ‬ َ ‫ين‬ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถู ก�ำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว จากอัลลอฮ์ (ซบ.) ซึ่งแขกรับเชิญของพระองค์ มีความพิเศษหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ ผู้เชื้อ เชิญแขกคือ อัลลอฮ์ (ซบ.) ซึ่งพระองค์ได้เชิญแขกด้วย พระองค์เอง


สากลจักรวาล เป็นผู้ทรงร�่ำรวย ผู้ สร้าง ผู้ทรงเป็นนิรันดร์ ผู้ทรงพลัง และผู้ทรงสูงส่งได้เป็นเจ้าภาพเชิญ มนุษย์ แขกผู้โง่เขลา ยากจน สูญ สลาย ถูกสร้าง และต�่ำต้อยน้อยค่า พระองค์ตรัสว่า “ข้าจะตอบสนอง การวิงวอนของเจ้า ลมหายใจเข้าออก ของเจ้าในเดือนนี้ ข้าจะให้เป็นตัสบีฮฺ เป็นรางวัลแก่เจ้า

- สิ่งที่พระองค์ใช้ต้อนรับคือ ลัยละตุลก็อดฺรฺ การ ประทานอัลกุรอาน การลงมาของมวลมลาอิกะฮฺ การ ตอบรับดุอาอฺ การขัดเกลาจิตวิญญาณ และการท�ำให้ ตนออกห่างจากไฟนรก - เวลาของการต้อนรับคือ ช่วงเดือนรอมาฎอน ซึ่งริวายะฮฺกล่าวว่าช่วงต้นเดือนคือความเมตตา กลาง เดือนคือการอภัย และปลายเดือนคือผลรางวัล - ขั้นตอนของการต้อนรับ ส�ำหรับค�่ำคืนแห่ง อานุภาพนั้น พระองค์ทรงตอบสนองความต้องการใน ระยะเวลาหนึ่งปีแก่บ่าวของพระองค์ และทรงประดับ ประดาคืนดังกล่าวด้วยกับการลงมาของมวลมลาอิก ะฮฺ - อาหารของเดือนนี้ เป็นอาหารที่จัดเตรียมไว้ พิเศษส�ำหรับจิตวิญญาณ เพื่อพัฒนาจริยธรรมและ จิตวิญญาณให้เติบโต ไม่ใช่อาหารที่ถูกจัดเตรียมเพื่อ การเติบโตของร่างกาย และอาหารที่พระองค์ทรงมอบ ให้กับแขกที่ได้รับเชิญคือ โองการอัลกุรอาน ซึ่งการอ่า นอัลกุรอาน เพียงแค่โองการเดียวในเดือนนี้ เขาจะได้ รับผลบุญเท่ากับการอ่านอัลกุรอาน จบทั้งเล่มในเดือน อื่น แขกประจ�ำเดือนรอมาฎอน ไม่อาจเทียบได้กับ แขกทางโลก เพราะ อัลลอฮ์ (ซบ.) พระผู้อภิบาลแห่ง

แหล่งอ้างอิง : 1. อัลกุรอาน 2. ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺมะการิมชีรอซียฺ 3. อูซูลกาฟียฺ ฉบับภาษาฟาร์ซียฺ 4.วะซาอิลุชชีอะฮ์โฮร อามีลียฺ 5. พจนานุกรมภาษาอาหรับ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 59


บทความ เชค ดร. มุฮัมมัด ชะรีฟ เกตุสมบูรณ์

ผู้ปลดปล่อย

โลก

เป็นใคร

วิ

กฤติการอันเลวร้ายของโลกทุกวันนี้ เกินก�ำลัง ความสามารถ ของมนุษย์บุถุชนธรรมดาจะ รับมือไหว เหตุการณ์พัฒนาไปสู่ความเลวร้ายทุกระดับ ยากเกินกว่าการแก้ไข หากจะแก้ไขปัญหาสังคมโลกที่ ก�ำลังด�ำเนินอยู่ในปัจจุบัน มนุษย์คงต้องพึงพาอ�ำนาจที่ เหนือกว่า หรือพึ่งพามนุษย์ผู้มีความวิเศษมากกว่าบุคคล ทั่วไป ฉะนั้น บทความนี้ก�ำลังกล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งทุก ชาติ และทุกศาสนาก�ำลังรอคอยเขา เพื่อให้มาปรับปรุง แก้ไขโลกให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ วันที่ 15 ขะอฺบาน วันคล้ายวันประสูติของอิมาม มะฮ์ดีย์ (อ.) อิมามผู้ถูกรอคอย อิมามผู้เป็นความหวัง ของผู้ได้รับการกดขี่ อิมามผู้มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโลก และเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลก ดุจดังที่โลกเคยเปี่ยม

60 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ล้นด้วยความอยุติธรรมมาแล้ว ดังนั้น นิซฟูชะอฺบาน จึง มิใช่วันแห่งเทศกาลการท�ำบุญ หรือเฉลิมฉลองกันเพียง อย่างเดียว แต่เป็นวันแห่งการคิดใคร่ครวญ หาทางแก้ไข ปัญหาประชาคมโลก ค้นหาวิถีทางที่จะด�ำเนินต่อไป และ การธ�ำรงค�ำสอนศาสนาไว้ให้มั่นคง

บทน�ำ

โลกทุกวันนี้แม้ว่าจะก้าวไปสู่ยุคของการสื่อสารไร้ พรมแดน และนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ชนิดที่มนุษย์ แถบจะตามไม่ทัน กระนั้นมนุษย์ก็ยังไหลหลงอยู่กับวัตถุ เหล่านั้นจนเกือบเป็นบ้าเป็นหลัง ลืมสิ้นความเป็นมนุษย์ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีที่ดีของตน แทนที่มนุษย์ จะพัฒนาบุคลิกภาพของตน ให้ควบคู่ไปกับนวัตกรรม ใหม่ที่ตนประดิษฐ์ขึ้นมา กลับปล่อยตนให้เป็นผู้ล้าหลัง และถอยห่างความเจริญด้านจิตวิญญาณ ยุคนี้จึงกลาย


มีใครสักคนแก้ไขได้ก็คงจะท�ำเสียตั้งนานแล้ว คงไม่ ปล่อยให้เหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้ด�ำเนินต่อไป แต่นี่เป็น เพราะว่าไม่มีใครสักคนเดียว สามารถแก้ไขสถานการณ์ ได้ ทุกคนจึงต้องรอให้ผู้มากด้วยบารมีมาจัดการแก้ไข วิกฤติการณ์อันเลวร้าย ในนามของผู้ปลดปล่อยโลก ซึ่ง ทุกชาติทุกศาสนาต่างรอคอยบุรุษผู้นั้น เพียงแต่ว่ามีการ เรียกนามท่านแตกต่างกันออกไป ศาสนาอิสลามเรียก ท่านว่า อิมามมะฮ์ดีย์อิมามผู้ถูกรอคอย ศาสนาพุทธ เรียกว่า พระศรีอริยะเมตไตรย ศาสนาฮินดูเรียก พระกัลกี (Kalki) และศาสนาโซโรอัสเตอรฺเรียกว่า พระอัสทรัตอิรา เป็นยุคสมัยแห่งความตกต�่ำของวัฒนธรรม อย่างที่สุด ตา (Astrat- Ersta) ฯลฯ สิ่งที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้าคือ การเข่นฆ่าชีวิตผู้อื่นอย่าง พระศรีอริยะเมตไตรยคือใคร ไร้มนุษย์ธรรม การปล้นสะดมทรัพย์สินของผู้อื่น การ สิ่งที่จะกล่าวถึงคือค�ำสอนที่มีอยู่ใน พระพุทธ กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอกว่า การใช้ก�ำลังเข้าระรานประเทศ ศาสนา ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในศาสนาสากล มีผู้นับถือ เล็กประเทศน้อยโดยพวกมหาอ�ำนาจ การคร่าสังหาร จ�ำนวนมากในอันดับต้นๆ ได้กล่าวถึง พระศรีอริยะเมต ประชาชาติมุสลิมแถบไม่เว้นแต่ละวัน พร้อมกับข้อกล่าว ไตรย เอาไว้และตามค�ำสอนของพระพุทธศาสนา กล่าว หาที่ว่ามุสลิมเป็นพวกหัวรุนแรง บ้าคลั่งลัทธิศาสนา และ ว่า ท่านเป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง ที่จะปรากฏ เป็นโจรก่อการร้าย ทุกสิ่งเกิดขึ้นล้วนเป็นแผนการชั่วร้าย มาก่อนยุคสุดท้าย ภายหลังจากความเสื่อมได้ครอบง�ำ ของยิวไซออนิสต์ทั้งสิ้น แต่ผู้ที่รับกรรมคือ มุสลิมตาด�ำๆ ศาสนา พระศรีอริยะเมตไตรยจะเป็นผู้น�ำพาโลกไปสู่ ที่นิยมการอยู่อย่างสันติและความเป็นพี่น้อง แต่พวกเขา ความสงบสันติ โดนรังแกและถูกระรานโดยผู้อธรรม เมื่อพวกเขาต้องการ ค�ำว่า “เมตไตรย” หมายถึง พระนามของ ปกป้องตัวเอง ก็ถูกตราหน้าทันทีว่าเป็นพวกนิยมความ พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า รุนแรง ป่าเถื่อนและโหดร้าย แล้วใครจะเป็นผู้ช่วยเหลือ ซึ่งตามค�ำสอนที่มีอยู่ใน พระพุทธศาสนา มิได้ ปลดปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระ ก�ำหนดว่า องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นพระพุทธเจ้า มนุษย์ก�ำลังตกอยู่ในภาวะที่ขาดทุน เนื่องจาก องค์สุดท้าย จากหลักฐานใน “จักกวัตติสูตร” แห่ง สุตตัน จัดการตัวเองไม่ได้เราต้องให้พวกมาร ยะฮุดีย์ มั่วกาม ตปาฏิกวรรคพระบาลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน รมย์ คนไม่รู้ คนกินเหล้าเมายามาจัดการปกครอง เรา ได้ทรงตรัสเล่าถึงยุคที่พระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์จะมา ปล่อยให้คนเสพกามส�่ำส่อน ทุกจริต โง่งมงาย อวิชชา ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใหม่ไว้ว่า “อสีติวสฺส มาจัดการโลกใบนี้ซึ่งพวกเขามืดทั้งตาเนื้อตาใจ ขณะที่ สหสฺสายุเกสุ ภิกฺขเว มนุสฺเสสุ เมตฺเตยฺโย ภควา โลเก อุปฺ พระเจ้าตรัสว่า "มนุษย์คือเคาะลิฟะตุลลอฮฺ ตัวแทนของ ปชฺชิสฺสติ” พระองค์บนหน้าแผ่นดิน มีหน้าที่จัดการดูแลแผ่นดิน" แต่ แปลว่า “ดูก่อน! ภิกษุทั้งหลาย ในยุคที่มนุษย์ เรากลับถูกคนอื่นที่ไม่มีความเป็นมนุษย์ดูแล มีอายุ 80000 ปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เมต ฉะนั้น วิกฤติการณ์เช่นนี้ใครจะเป็นผู้แก้ไขหรือ ไตรย เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้มีโชค จัก แน่นนอน หากมีประเทศหนึ่งประเทศใดกระท�ำได้ หรือ อุบัติขึ้นในโลก”

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 61


ตามหลักฐานอ้างอิงสมบูรณ์ จากพระไตรปิฎก เล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตร ท่อนที่ 48 ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกของพระพุทธ ศาสนานิกายเถรวาท โดยถือกันว่ารักษาเนื้อหาได้ สมบูรณ์ที่สุดในบรรดาทุกนิกาย กล่าวไว้ดังนี้ว่า .. “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ 80,000 ปี พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่า เมตไตรย จะเสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ถึง พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จ�ำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกใน บัดนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควร ฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้ง หลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จ�ำแนกพระธรรม พระผู้ มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรยพระองค์นั้น จักทรงท�ำ โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย พระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-*พราหมณ์เทวดา และมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ท�ำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มาร โลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคต เองแล้ว สอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดา และมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมต ไตรยพระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์

62 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งาม ในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้ง อรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มี พระภาคพระนามว่าเมตไตรยพระองค์นั้น จักทรงบริหาร ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลาย ร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ” หรือดังมีพระพุทธพจน์ ปรากฏอยู่ในตอนท้ายแห่ง อุทเศที่ 1 ของ ทสโพธิสัตตุปปัตติกถา ว่า “โภ สารีปุตฺต ธมฺมราช สพฺโพ ชโน มยฺหํ รูปกายํ น ปสฺสติ ฯ สเจ มยฺหํ สาสนํ ลภิตฺวา ทานํ เทติ สีลํ รกฺขติ ภา วนํ ภาเวติ เตน ผเลน อริยเมตฺเตยฺยสฺส พุทธสฺส สนฺติเก อุปฺ ปชฺชิสฺสตีติฯ” “ดูกร! พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้เจริญชนทั้ง หลายมิได้พบเห็นรูปกายของเรา หากเขาได้พบพระ ศาสนาของเราแล้วบ�ำเพ็ญทาน รักษาศีลและเจริญ ภาวนาไซร้ ด้วยผลแห่งกุศลกรรมนั้นเขาจักได้อุบัติใน ส�ำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “อริย เมตไตรย” แลฯ” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากหนังสือ โอวาทสมเด็จโต ส�ำนักปู่สวรรค์ เล่ม 1 เรื่อง ก�ำเนิดโลก มนุษย์ (โอวาทสมเด็จโต) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เทศน์ไว้เมื่อวันวิสาขบูชา23 พฤษภาคม 2510 เวลา 24.00 น. ว่า “พระศรีอริยเมตไตรย จะมาเป็นพระพุทธเจ้า องค์หนึ่งมาในอนาคต โลกนี้จะมีความสงบสุข และพระ ศาสนาจะมีความรุ่งเรืองกว่า ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจะ มีพระอริยบุคคลมากกว่า และประชาชนจะมีความสุข อย่างยิ่ง คือจะไม่มีเรื่องร้อนใจเลย ทุกคนพอใจในความ เป็นอยู่ ไม่มีการเบียดเบียน ตอนนอนไม่ต้องปิดประตู ก็ได้ บ้านเลยไม่ต้องท�ำประตูก็ได้ เรื่องคนร้าย หรือขโมย ก็ไม่ต้องกลัว แล้วก็คนจะเป็นคนดีเหมือนกันหมด ไม่มี คนพาล จนกระทั่งลงจากบ้าน ก็ไม่มีใครจ�ำได้ว่าใครเป็น ใคร เพราะมันดีเหมือนกันหมด มันสุภาพเหมือนกันหมด


เมตไตรย ตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎก

อัสทรัตอิราตา

มันสวยเหมือนกันหมด จนเมื่อกลับเข้าบ้าน จึงจะจ�ำ ได้ว่า นี่คือภรรยาของเรา นี่คือสามีของเรา นี่คือลูกของ เรา และต้องการอะไรก็ได้ มันมีต้นไม้พิเศษที่เรียกว่า ต้น กัลปพฤกษ์ อยู่ทุกทิศ อยากได้อะไรก็ไปขอที่ต้นไม้ จะ สะดวกสบาย แม้แต่การคมนาคม การไปการมา จนว่าน�้ำ ในแม่น�้ำนั้น จะไหลลงข้างหนึ่ง จะไหลขึ้นข้างหนึ่ง เพื่อ จะสะดวกต่อการใช้เรือ สรุปว่าไม่มีความทุกข์ อยู่กันเป็น ผาสุก ไม่มีอันธพาล ทุกอย่างได้อย่างใจ”

สรุปความ

จากสิ่งที่กล่าวมา ตามค�ำสอนของพระพุทธ ศาสนา พระศรีอริยเมตไตรยคือพระพุทธเจ้าอีกองค์ หนึ่ง จะบังเกิดในโลกก่อนยุคสุดท้าย พระองค์ทรงแสดง โอวาทสั่งสอนให้โลกเกิดความรุ่งเรือง สงบและมีแต่ ความสันติยิ่ง ดังโอวาทของสมเด็จโตที่กล่าวไว้ข้างต้น ฉะนั้น ไม่เป็นที่สงสัยว่าพระพุทธศาสนาเชื่อว่า พระผู้มี พระภาคทรงพระนามว่า เมตไตรย ที่จะมาบังเกิดในยุค สุดท้ายนั้น พระองค์จะมาท�ำหน้าที่โปรดสัตว์ให้หลุดพ้น จากความทุกข์ ขจัดความชั่วร้ายและความฉ้อฉลอธรรม ทั้งหลายให้สิ้นไปจากโลก น�ำพาโลกไปสู่ความสงบสุข โดยแท้ แน่นอน พระศรีอริยเมตไตรย หรือพระศรี อาริย์ คือบุคคลที่ถูกรอคอย ตามค�ำสอนของพระพุทธศาสนา เช่นกัน หากจะมีค�ำอธิบาย หรือการตีความต่างกันไป บ้าง นั่นเป็นเรื่องของความเข้าใจ แต่สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธ ได้คือ ค�ำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องพระศรีอริย

ในพระคัมภีร์อเวสตะ ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ อธิบายว่า จะมีผู้ไถ่บาปมายังโลกนี้เหมือนแสงสว่างส่อง มาในวันใหม่ และกล่าวว่า โซโรอัสเตอร์จะเป็นผู้ไถ่บาป คนหนึ่ง ศาสนิกในศาสนาโซโรอัสเตอร์เชื่อวา เมื่อโซโรอัส เตอร์มรณกรรมแล้ว จะกลับมาเป็นผู้ไถ่บาป (Messiah) หากไม่มาด้วยตัวเอง อย่างน้อยสุดจะมาในรูปของพระ บุตรสามองค์ ของโซโรอัสเตอร์ที่จะถือก�ำเนิดขึ้นมาใน ช่วง 1,000 ปีจากน�้ำกามของพระองค์ ผู้ไถ่บาปองค์ สุดท้ายชื่อ อัสทรัตอิราตา (Astrat- Ersta) ศาสนาโซโรอัสเตอร์ กล่าวแนะน�ำถึงผู้มาปลด ปล่อยว่ามีสามองค์ ซึ่งองค์สุดท้ายเป็นองค์ที่มีความ ส�ำคัญที่สุดชื่อตามภาษาเปอร์เซียโบราณว่า ซูชี อันติ ซึ่ง ในภาษาอื่นเรียกว่า อัสทรัตอิราตา คัมภีร์อเวสตะ เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาโซ โรอัสเตอร์ตอนหนึ่งกล่าวว่า โอ้ ผู้บริสุทธิ์จะปรากฏมาในวันรุ่งอรุณที่สดใส ส่องสว่างไปด้วยพระรัศมี พระองค์จะบ�ำรุงศาสนาที่เที่ยง ธรรมให้มั่นคง และประกาศเชิญชวนให้ผู้คนมาสู่ศาสนา ของพระองค์ ด้วยวิทยปัญญาและสันติวิธี แล้วผู้ใดเล่า ที่ละทิ้งศาสนาของพระองค์ ขณะที่ผู้ตอบรับค�ำเชิญได้ กลายเป็นมิตร และผู้ช่วยเหลือพระองค์ ดังนั้น เพื่อแจ้ง ข่าวการปรากฏกายของผู้ปลดปล่อยเราขอแต่งตั้งเจ้า โอ้ อาหุรา

กัลกี (Kalki)

กัลกีคือผู้น�ำในยุคสุดท้าย ตามความเชื่อของชาว ฮินดู ในศาสนาฮินดูโบราณ กัลกีคือมหาอวตารที่ 10 และเป็นมหาอวตารสุดท้ายของพระวิษณุเทพผู้คุ้มครอง โลก กัลกีมาสู่โลกระหว่างการสิ้นสุดของกลียุค ชื่อ "กัลกิ" เป็นการอุปมาความเป็นนิรันดรและเวลา ต้นก�ำเนิดของ ชื่อนี้อาจจะมาจากค�ำว่า "กันคา" ซึ่งหมายถึง สิ่งสกปรก หรือ สิ่งโสโครก หรือ ความคดโกง ดังนั้น "กัลกิ" จึงหมาย ถึง ผู้ท�ำลายความคดโกงผู้ท�ำลายความเขลาผู้ท�ำลาย

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 63


นอกจากการปรากฏตัว ของพระเยซูคริสต์แล้ว พระองค์ยังจัดการแนวทางทั้งหลาย ให้เป็นทางเดียวกัน เพื่อความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย พระวารสารนักบุญมาร์ค ขณะที่เน้นย�้ำถึงเรื่องรูป แบบที่ผ่านมา ยังกล่าวถึงการรวบรวมบรรดาสหาย โดย พระเยซูคริสต์กล่าวว่า “หลังจากนั้นพระเยซู จะกลับมาพร้อมกับความ รุ่งเรืองและพลัง พระองค์จะท�ำให้บรรดาทูตสวรรค์ (มะ ลาอิกะฮ์) อยู่ภายใต้ค�ำสั่งของพระองค์ และส่งพวกเขา ออกไปทั่วโลก พระองค์จะเลือกผู้แทนของพระองค์จาก ทั่วทุกมุมโลก จากจุดที่สูงที่สุดของฟากฟ้า จนถึงจุดที่ต�่ำ ที่สุดของแผ่นดิน รายงานของอิสลามกล่าวยืนยันว่า ศาสดาอีซา ความสับสนวุ่นวาย หรือ ผู้ท�ำลายความมืดมน กัลกี ขี่ม้าขาวในมือถือดาบปรากฏตัวออกมา เพื่อ (อ.) จะปรากฏกายออกมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งท่านศาสดา ขจัดความชั่วร้าย และการกดขี่และสร้างความยุติธรรม (ศ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ُ ‫وش َك َّن ا َ ْن يُنَ َّز َل‬ ‫فيك ُم‬ َ ُ‫َوالَّذي ن َ ْفسي بِيَ ِد ِه لَي‬ และคุณธรรม ม้าสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของอ�ำนาจและ การเรียนรู้ เขาจะเอาชนะศัตรูได้ทั้งหมด ‫ابْ ُن َم ْريَ َم َح َكما َع ْد ًال َو اِماما ُم ْق ِسطا‬ เขาเป็นผู้ได้รับชัยชนะ เหนือกองก�ำลังของมนุษย์ “ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉัน อยู่ในพระหัตถ์ ทั้งหมด และสร้างแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ท�ำลายความเลว ของพระองค์ว่า แน่นอน อีซา บุตรของมัรยัม ร้ายให้หมดไปจากโลก จะกลับมายังหมู่พวกเธอ ในฐานะของผู้พิพากษา สิ่งที่ส�ำคัญก็คือ ศาสนาฮินดูต่างยอมรับตาม ที่ยุติธรรม และผู้น�ำที่ชอบธรรม” ปริมาณค�ำคาดการณ์ที่มีอยู่ แต่จะไม่อยู่ภายใต้อิทธิพล นักตัฟซีรอัลกุรอาน อธิบายโองการที่ 159 บท ทางความคิดของผู้ใด ซึ่งเขาจะไม่คิดแลกเปลี่ยนศาสนา นิซาอฺว่า หมายถึงการกลับมาของอีซา บุตรมัรยัม ใน กับผู้ใด แต่จะพัฒนาให้เป็นศาสนาสากลที่มีศักยภาพ ยุคสุดท้าย และกล่าวว่า โองการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ ปกครองโลกได้ เพียงแต่ในปัจจุบันพวกเขามิได้แนะน�ำ ประเด็นที่ก�ำลังกล่าวถึง อย่างไรก็ตามการกลับมาของ สิ่งนี้แก่ผู้ใด ศาสดาอีซา (อ.) ในปลายยุคสุดท้ายเป็นความเชื่อร่วมใน คริสต์ชนและการกลับมา เรื่องการรอคอยผู้ปลดปล่อยร่วมกัน ระหว่างอิสลามกับ ศาสนาคริสต์ ของพระคริสต์ อิสลามมีความเชื่อเรื่องผู้ปลดปล่อย ที่ได้รับการ ส่วนคริสต์ศาสนา นอกจากจะเน้นเรื่องการกลับ มาของเยซูและผลตอบแทนที่ไม่คาดคิดแล้ว ยังได้เน้นย�้ำ สัญญาไว้ โดยแนะน�ำว่า ผู้นั้นหมายถึง อิมามมะฮ์ดี (อ.) ถึงวัตถุประสงค์ของการกลับมาของเยซู ซึ่งวัตถุประสงค์ ท่านคืออิมามแห่งยุคสมัย และเป็นอิมามท่านสุดท้าย นั้นคือ การจัดตั้งรัฐบาลแห่งพระเจ้าขึ้นปกครองโลก และ ตามรายงานที่กล่าวว่า น�ำเอากฎเกณฑ์ของพระเจ้ามาปกครอง

64 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


‫عيسي بْ ُن َم ْريَ َم‬ َ ‫َك ْي َف ب ِ ُك ْم (اَنْتُ ْم) اِذا ن َ َز َل‬ ُ ‫مام ُك ْم ِم ْن ُك ْم‬ ُ ِ ‫فيك ْم َو ا‬ “พวกท่านจะเป็นเช่นไรหรือ เมื่ออีซาบุตรของ มัรยัมปรากฏตัวออกมาท่ามกลางพวกท่าน และได้เป็น อิมามของพวกท่าน ซึ่งมาจากพวกท่านเอง” อีกรายงานหนึ่งจากอิมามมฺุฮัมมด อัลบากิร (อ.) กล่าวว่า ‫الدنْيا فَال يَ ْبقي‬ ُّ ‫يام ِة اِلَي‬ َ ‫يَ ْنز ُِل قَ ْب َل يَ ْو ِم ال ْ ِق‬ ‫آم َن ب ِ ِه قَ ْب َل َم ْوتِ ِه‬ ٍّ ‫ا َ ْه ُل ِملَّ ِة يَ ُه‬ ٍّ ‫ودي َو ال ن َ ْص‬ َ ‫راني ا ِ ّال‬ ‫دي‬ ِّ ‫َو يُ َص ّلي َخ ْل َف ال ْ َم ْه‬ “ก่อนวันกิยามะฮ์ (อีซา) จะลงมาสู่โลกนี้ และไม่มีประชาชาติยิวและคริสต์หลงเหลืออยู่ เว้นเสียแต่ว่าก่อนที่จะตายพวกเขาได้ศรัทธาต่อเขา (อีซา) จะนมาซตามหลังมะฮ์ดีย์”

อิมามมะฮ์ดี (อ.)

อิสลามเชื่อว่าก่อนสิ้นยุคสุดท้ายของโลก จะมี บุรุษหนึ่งจากบุตรหลานของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นามว่ามะฮ์ดีย์ ปรากฏตัวมาในยุคสุดท้าย ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า "มะฮ์ดีย์ (อ.) เป็นบุตรของฉัน ชื่อของเขาคือชื่อ ของฉัน ฉายานามของเขาคือฉายานามของฉัน เขามี

อุปนิสัยและกริยาท่าทางเหมือนฉัน ยิ่งกว่าผู้ใดบนโลก นี้ เขาจะเร้นกายไปช่วงหนึ่ง และประชาชาติในยุคนั้นจะ หันเหออกไปจากทางน�ำ แล้วเขาจะปรากฏกายออกมา อีกครั้งหนึ่ง ประหนึ่งที่ถูกท�ำให้สว่างไสวด้วยทิวา โลกจะ เคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว และแผ่นดินจะถูกเติมเต็มด้วย ความยุติธรรม" (บิฮารุลอันวาร เล่ม 51 หน้า 72 กะมาลุด ดีน เล่ม 1 หน้า 286) อิบนุอะษีร (เสีชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 630/ค.ศ.1232) กล่าว ถึงเหตุการณ์ในช่วงปี ฮ.ศ. 260 (ค.ศ. 873) ว่า อบูมุฮัมมัด อัสการีย์ (อิมามฮาซันอัสการีย์) เกิดในปี ฮ.ศ. 232 (ค.ศ. 846) และเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 260 เขาคือ บิดาของมุฮัมมัด ซึ่งฝ่ายชีอะฮ์เรียกเขาว่า อิมามมุนตะซัร อิมามมะฮ์ดีย์ (อ.) ถือก�ำเนิดเมื่อวันที่ 15 เดือน ชะอฺบาน ปี ฮ.ศ.255 (ค.ศ.868) ที่เมืองสมัรรออ์ ฉายา นามของท่านคือ อบุลกอซิม บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ท่าน อื่นปฏิเสธที่จะเรียกนามจริงของท่าน ฉายานามหรือชื่อเล่นของอิมามคือ ฮุจญะฮ์ กออิม คัลฟุซอลิฮฺ ซอฮิบุซซะมาน บะกียะตุลลอฮฺ และที่ถูกเรียก จนเป็นที่มักคุ้นที่สุดคือ มะฮ์ดีย์ บิดาของท่านคือ อิมามฮาซัน (อ.) อิมามท่านที่ 11 แห่งสายธารชีอะฮ์อิมามียะฮ์มารดาของท่านคือ สตรีมี เกียรติยิ่งนามว่า นัรญิซ หรือรอยฮานะฮ์ ซูซัน หรือเซาะ ฟีล เกียรติยศที่สูงศักดิ์และสภาพจิตใจที่สูงส่งของท่าน หญิงที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี อิสลามเชื่อว่าก่อนการสิ้นยุคสุดท้าย อิมามมะฮ์ ดีย์ จะปรากฏกายออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจัดระเบียบ โลกใหม่ ท�ำลายความชั่วร้าย การอธรรม และอบายมุขให้ สูญสิ้นไปจากโลกนี้ ท่านจะท�ำหน้าที่จัดตั้งรัฐบาลโลกขึ้น ปกครองโลกนี้ อัลกุรอานกล่าวถึง การจัดตั้งรัฐขึ้นปกครองโลก ว่า เป็นรัฐที่มีความยุติธรรมที่สุดมีผู้ปฏิบัติตามที่สะอาด บริสุทธิ์ โองการกล่าวว่า ِ ‫ور ِمن َب‬ ‫أن‬ ِ ‫الذ‬ ِ ‫الز ُب‬ ّ ‫عد‬ ّ ‫لقد كتبنا ِفى‬ ّ ‫كر‬ َ ‫َو‬ ‫ون‬ َ َ ‫الصا ِل ُح‬ ّ َ‫األرض َي ِرثُها ِعبا ِد َى‏‬

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 65


“แน่นอน เราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์อัซซะบูร หลัง จากที่ได้บันทึกไว้แล้วใน (เตารอต) ว่า ปวงบ่าวของเราที่ เป็นกัลญาณชน มีคุณธรรมจะเป็นผู้สืบมรดก (ปกครอง) แผ่นดิน” โองการลักษณะเช่นนี้ นักอรรถธิบายอัลกุรอาน ส่วนใหญ่เมื่อน�ำฮะดีซของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มาเป็น องค์ประกอบในการอธิบาย ได้กล่าวตรงกันว่า เป็น โองการที่กล่าวถึงอิมามมะฮ์ดีย (อ.) การปรากฏกาย และ การยืนหยัดต่อสู้ของท่าน มัรฮูมเฏาะบัรซียฺ นักตัฟซีรที่มีชื่อเสียง กล่าวว่า วจนะทั้งชีอะฮ์และซุนนีย์ ได้รายงานจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ถ้าโลกนี้มีเวลาเหลือเพียงแค่วันเดียว อัลลอฮ์ จะทรงท�ำให้วันนั้นยาวนานออกไป จนกว่าจะมีบ่าวที่ บริสุทธิ์จากครอบครัวของเราปรากฏออกมา และท�ำให้ โลกนี้เปี่ยมล้นไปด้วยคุณธรรมและความยุติธรรม ดั่งที่ โลกเคยเปี่ยมล้นด้วยความอยุติธรรมมาแล้ว” นอกจากนี้ประเด็นดังกล่าว ยังกล่าวไว้ในคัมภีร์ มะซามีร ดาวูด ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับ เก่า (เตารอต) ในนั้นพรรณนาถึงบทดุอาอฺและค�ำขอพร ต่าง ๆ ของท่านศาสดาดาวูด (อ.) ด้วยค�ำกล่าวที่แตกต่าง กัน เช่น ในบรรพ์ที่ 37 กล่าวว่า

66 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

"ความเลวร้าย ทั้ง หลายจะสิ้นสุดลง และผู้ แทนผู้บริสุทธิ์ ของพระผู้ เป็นเจ้า จะท�ำหน้าที่สืบทอด มรดกของพระองค์ บนหน้า แผ่นดิน และคนชั่วจ�ำนวน น้อยนิดที่ปฏิเสธ ซึ่งผู้คน ส่วนใหญ่ ให้การต้อนรับ และแผ่นดิน จะเต็มไปด้วย ความสงบสุข" แน่นอนว่า ผู้แทน บริสุทธิ์ ของพระผู้เป็นเจ้า ในที่นี้ หมายถึงผู้ที่จะท�ำ หน้าที่ปกครองโลก อันหมายถึงอิมามมะฮ์ดีย์ (อ.) ริวา ยะฮ์จ�ำนวนมากมายกล่าวถึง ปวงบ่าวที่เป็นกัลป์ญาณ ชนมีคุณธรรม จะท�ำหน้าที่ปกครองแผ่นดินว่า หมายถึง พลพรรคของมะฮ์ดีย์ ดังนั้น อัลกุรอาน ยืนยันว่าการอิบา ดะฮ์อย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการเป็นผู้สืบมรดกอย่าง แน่นอน แต่ต้องมีความสามารถและทรงคุณธรรมด้วย พระองค์จึงตรัสว่าผู้ปกครองของฉันต้องเป็น ปวงบ่าวที่ดี เป็นกัลญาณชนและมีคุณธรรม เมื่อความเลวร้ายที่สุด อบายมุข และการกดขี่ อธรรมได้ปกครองโลก ซึ่งมิมีผู้ใดสามารถก�ำจัดหรือหยุด ยั้งความชั่วเหล่านั้นได้ ค�ำสอนศาสนาจะถูกขว้างทิ้งเยี่ยง ของที่ไร้ค่า มนุษย์จะด�ำเนินชีวิตอย่างระหกระเหินไร้จุด หมายปลายทาง แต่หลังจากเมฆได้ล่องลอยเลือนหาย ไป พระอาทิตย์ที่ไม่เคยอัสดงได้เปล่งแสงแดงจ้าออก มาสร้างความสว่างไสว แก่สายตาของบรรดาผู้รอคอย ทั้งหลายทั่วทั้งพื้นทราย และทุ่งหญ้า เมื่อนั้นพระองค์จะ ทรงให้อิมามมะฮ์ดีย์ (อ.) ปรากฏตัวออกมาเพื่อปรับปรุง และแก้ไขสังคม รัฐบาลของอิมาม (อ.) เป็นรัฐบาลที่เพียบ พร้อมด้วยความยุติธรรม และมโนธรรม ความอธรรมทั้ง หลายจะถูกพิพากษา ความยุติธรรมจะขึ้นมาแทนที่ เพื่อ ให้ทุกคน และทุกสรรพสิ่งกลับไปสู่สถานที่ดั้งเดิมของตน


หุ้นส่วน และปรากฏการณ์ ทั้งหลาย ที่เป็นสิทธิของ แต่ละคน จะถูกส่งกลับ เจ้าของ ด้วยความยุติธรรม บั้นสุดท้าย มนุษยชาติจะ ได้เห็นรัฐบาล ที่ด�ำรงความ ยุติธรรม และความสัตย์ จริง บนโลกจะไม่หลงเหลือ ความชั่วร้าย และการกดขี่ แม้แต่น้อย ประชาโลกจะ ไม่มีการกดขี่กัน และกัน อีกต่อไป โลกจะคงเหลือ เฉพาะรัฐบาล ซึ่งเป็นแหล่งเปิดเผยคุณลักษณะ ที่สง่า งาม ของพระเจ้าแห่งสากลโลก ประชาชาติจะด�ำรงชีวิต อยู่อย่างมีความสุข สิ่งที่พวกเขาเคยลืมเลือน จะถูกน�ำ กลับมาอีกครั้ง ดังโอวาทของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี กล่าวว่า “เมื่อพระศรีอริยเมตไตรย จะมาเป็นพระพุทธเจ้า องค์หนึ่งมาในอนาคต โลกนี้จะมีความสงบสุข และพระ ศาสนาจะมีความรุ่งเรืองกว่า ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจะ มีพระอริยบุคคลมากกว่า และประชาชนจะมีความสุข อย่างยิ่ง คือจะไม่มีเรื่องร้อนใจเลย ทุกคนพอใจในความ เป็นอยู่ ไม่มีการเบียดเบียน” ซึ่งรายละเอียดการปกครองของอิมามมะฮ์ดีย์ (อ.) เป็นอย่างไรนั้น มิอาจกล่าวถึงได้ในบทความนี้ เนื่องจาก

ความหวังและความปรารถนา ที่จะได้พบพระ ศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยก็ยังต้องนับว่า “ห่างไกล จากความจริง” มากทีเดียว มนุษย์มีความเชื่อ ตามต�ำนานการได้เข้าไปใน ยุคของพระศรีอริยะเมตไตรย โดยการบูชามหาชาติหรือ ดอกไม้หนึ่งพันดอก หรือฟังให้ครบทั้งพันภาษาหรือทั้ง พันคาถา อย่างนี้เป็นต้น บุญบารมีท�ำได้หลายอย่าง หลักๆ คือ 1. ทาน การให้ทานทุกชนิด 2. ศีล การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ 3. ภาวนา การไปปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ หรือภาวนา ด้วยวิธีอื่นก็ได้ ตามค�ำสอนของอิสลาม รายงานจากบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้อธิบายเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้รอคอยการ หน้าที่ของผู้รอคอย ปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดีย์ (อ.) ไว้หลายประการ ณ อิมามมะฮ์ดีย์ (อ.) ที่นี่ จะขอน�ำเสนอบางประการเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี พระพุทธศาสนาสอนว่า ผู้ที่ปรารถนาจะได้ งาม เช่น พบพระศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย จึงต้องเร่งรีบ 1. การรู้จักอิมาม ขวนขวายบ�ำเพ็ญทาน สมาทานศีลและเจริญภาวนา อิมามมุฮัมมัดบากิร (อ.) กล่าวว่า “บุคคลใดตาย ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างต่อเนื่อง และเต็มก�ำลัง ไป ขณะที่เขารู้จักอิมามของตนอย่างดีความเสียหายจะ ความสามารถอย่าหลงมัวเมาด้วยความประมาทว่า ไม่เกิดกับเขาเด็ดขาด ไม่ว่าการปรากฏกายของอิมามจะ “ยังมีเวลาเหลืออีกมากมายนัก” เกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ตาม และบุคคลที่ตายไปขณะที่เขา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 67


พระองค์ว่า ข้าฯ จะไม่ถอดถอนค�ำสัญญาและสัตยาบัน และข้าฯ จะรักษาให้มั่นคงต่อไป โอ้ อัลลอฮ์ ได้โปรดดลบันดาลให้ข้าพระองค์เป็นผู้ ช่วยเหลืออิมาม ผู้รับใช้อิมาม เป็นผู้ปกป้องอิมาม เป็นผู้ รีบเร่งไปยังอิมามเพื่อกระท�ำสิ่งที่เป็นความปรารถนาของ ท่าน เป็นผู้ปฏิบัติตามค�ำสั่งของท่าน เป็นผู้สนับสนุนการ มีอยู่ของท่าน เป็นผู้ล่วงหน้าไปยังการสนองเจตนารมณ์ ของท่าน และเป็นผู้พลีชีวิต “ชะฮีด” ณ เบื้องหน้าท่าน รู้จักอิมามของตนอย่างดี เสมือนว่าเขาได้อยู่ร่วมเต็นท์ ที่พักเดียวกันกับอิมาม

4. มีความเป็นเอกภาพ และมีความเห็นอกเห็นใจ

สังคมของผู้รอคอย ต้องพยายามพัฒนาตนเอง 2. ประพฤติตนดี เพื่อเป็นแบบอย่างกับสิ่งอื่น และต้องพยายามสร้าง อิมามญะอฺฟัร อัซซอดิก (อ.) กล่าวว่า “บุคคลใด บรรยากาศที่จ�ำเป็น เพื่อเตรียมรับการปรากฏกายของอิ ก็ตามปรารถนาเป็นพลพรรคของมะฮ์ดีย์ เขาจ�ำเป็นต้อง มามในฐานะของผู้ปลดปล่อยโลก รอคอย และขณะที่รอคอยเขามีความส�ำรวมตนจาก 5. ปฏิบัติตามวิลายะตุลฟะกีฮ์ ความผิดมีจริยธรรม และประพฤติปฏิบัติแต่ความดีงาม การรอคอย ส�ำหรับผู้ที่รอคอยการปรากฏกายอัน แน่นอน เขาคือผู้รอคอย” จ�ำเริญ ย่อมมีการเคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายที่ดีงาม และ 3. ร�ำลึกถึงอิมาม ยิ่งผู้รอคอย เข้าใกล้แก่นแท้ของการรอคอยมากเท่าใด ภาพที่สวยงามที่สุด ส�ำหรับการร�ำลึกถึงอิมาม การเคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมาย ก็จะทวีความเร็วมากขึ้น มะฮ์ดีย์ (อ.) ส�ำหรับผู้ที่รอคอยการปรากฏกายของท่าน เท่านั้น ฉะนั้น การจะไปสู่เป้าหมายสมบูรณ์สมกับการ คือ การให้สัตยาบันใหม่กับท่านทุกวัน ซื่อสัตย์ต่อพันธะ รอคอยอิมามมะฮ์ดีย์ (อ.) คือยึดมั่นอยู่บนแนวทางของ สัญญาและยืนหยัดค�ำสัญญา ที่ให้ไว้กับท่านอย่างมั่นคง อิสลามที่แท้จริง ส่วนความจ�ำกัดและความเหมาะสมจะ ดังตอนหนึ่งของบทค�ำขอพรอัลอะฮ์ดิกล่าวว่า น�ำเสนอในโอกาสต่อไป َ ُ ّ َ ‫بيح ِة َي ْومى هذا َوما‬ َ ‫الل ُه َّم ِانّى ا َج ِّد ُد ل ُه فى َص‬ สรุปความ ‫ِع ْش ُت ِم ْن َا ّيامى َع ْهد ًا َو َع ْقد ًا َو َب ْي َع ًة َل ُه فى ُعنُقى‬ 1. พระศรีอริยเมตไตรย พระอัสทรัตอิราตา พระ ُ ‫ول َع ْنها َوال َا ُز‬ ُ ‫ال َا ُح‬ ‫اج َع ْلنى ِم ْن‬ ْ ‫ول َا َبد ًا َال ّل ُه َّم‬ กัลกี (Kalki) และอิมามมะฮ์ดีย์คือผู้ที่จะมาปลดปล่อย ‫عين‬ ِ ‫صار ِه َو َا ْعوان‬ ِ ‫ين َع ْن ُه َوا ْل ُم‬ ِ ‫َا ْن‬ َ ‫سار‬ َ ‫ِه َوال ّذا ّب‬ โลก ท�ำหน้าที่เดียวกัน ซึ่งจะบังเกิดในยุคสุดท้าย แต่มี ‫وام ِر ِه‬ ِ ‫ِلين َِال‬ ِ ‫ِا َل ْي ِه فى َقضآ ِء َحوآئ‬ َ ‫ِج ِه َوا ْل ُم ْم َتث‬ นามชื่อเรียกแตกต่างกันอออกไป ซึ่งผู้เขียนมิต้องการ ‫ِه‬ ‫َوا ْل ُم‬ ِ ‫قين اِلى اِرا َدت‬ َ ‫السا ِب‬ َ ّ ‫حامين َع ْن ُه َو‬ กล่าวว่าทั้งหมดจ�ำเป็นต้องมีชื่อเรียกเดียวกัน แต่ต้องการ ‫دين َب ْي َن َي َد ْي ِه‬ ْ ‫َوا ْل ُم ْست‬ َ ‫َش َه‬ กล่าวว่า ศาสนาสากลส่วนใหญ่กล่าวถึงท่านผู้ปลด ปล่อยเอาไว้ โอ้ อัลลอฮ์ ในเช้าของวันนี้และวันที่ข้าฯ มีชีวิตอยู่ 2. ความเชื่อเรื่องผู้ปลดปล่อยโลก เป็นความเชื่อ ในห้วงวันทั้งหลายของข้าฯ ข้าฯ ขอให้ค�ำมั่นสัญญา และ สากล เนื่องจากศาสนาทั้งหลายต่างมีความเชื่อเหมือน สัตยาบัน (ต่ออิมาม) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของข้า

68 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555


ด้วยอุเบกขา (ตะวักกัล) คือการปล่อยวาง ไม่ล�ำเอียง ไม่ อคติ ฉะนั้น สิ่งเดียวที่ยังคงหลงเหลืออยู่คือสัจจะ ความ จริงหรือธรรมอันเป็นแก่นแท้แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่จะน�ำพา เหล่ามวลมนุษย์ สู่จุดหมายแห่งชีวิตสู่อุดมคติ ที่ทุกคน คาดหวัง และใฝ่ฝัน ไปได้ชั่วนิจนิรันดร 7. ผู้บ�ำเพ็ญตนอยู่ในศาสนา หากต้องการเป็นผู้ หนึ่งที่ได้พบกับผู้ปลดปล่อยตามค�ำสอนของศาสนา สิ่งที่ เขาจักต้องกระท�ำคือ การสั่งสมความดีงาม ด�ำรงตนอยู่ ในศาสนา อย่าออกนอกลู่นอกทางเด็ดขาด แหล่งอ้างอิง : 1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ครั้งที่ 32552หน้า 872 2. สุชีพ ปุญญานุภาพพระไตรปิฎกฉบับส�ำหรับประชาชน พิมพ์ครั้งที่ 172550หน้า 351 3. พระไตรปิฎก เล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 3 ทีฆ นิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตร ท่อน 48 ย่อหน้า 4.จามเช็ด เค. ฟอสดาร์ พระพุทธศรีอริยเมตไตรยอมิตา ภา 5. เพชรน�้ำเอกแห่งการสร้าง 6.มาฟาตีฮุลญันนาน บทดุอาอฺอะฮ์ดิ 7.พระพุทธเจ้าองค์ใหม่ที่จะตรัสรู้ต่อจากเจ้าชาย

กันว่า ในยุคสุดท้ายก่อนการอวสานของโลกจะมีบุรุษผู้ หนึ่ง อุบัติขึ้นมาท�ำหน้าที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโลก ให้ กลับคืนไปสู่ภาวะปกติอันเป็นภาวะแห่งความดีงาม ใน ยุคนั้นจะไม่มีความเดือนเนื้อร้อนใจอันใดทั้งสิ้น 3. บุรุษผู้มาปลดปล่อยโลกให้พ้นวิกฤติอันเลวร้าย อาจมีนามชื่อแตกต่างกัน แต่มีจุดหมายอันเดียวกันคือ สร้างความสงบสันติ แผ่เมตตาธรรม สร้างคุณงามความ สิทธัตถะ ดี และธ�ำรงความยุติธรรมให้บังเกิดบนโลกนี้ 4. บุรุษผู้มาปลดปล่อยโลก จะเติมเต็มความเลว ร้ายของโลกที่เคยมีมาก่อน ด้วยความดีงามทั้งผอง และ ความยุติธรรม 5. บุรุษผู้มาปลดปล่อยโลก จะน�ำพามนุษย์ไปสู่จุด หมายสูงสุดของศาสนาเดียวกันนั่นคือ ศาสนาแห่งความ จริง ซึ่งมีเพียงหนึ่งเดียว และ มีสิ่งเคารพสูงสุดเดียวกัน 6. บุรุษผู้มาปลดปล่อยโลก จะน�ำพามนุษย์ชาติไป สู่การแสวงหาความจริงด้วยความบริสุทธิ์ใจ มอบความ รักต่อพี่น้องของตน คือมนุษย์ทั้งมวล ด้วยความเมตตา (เราะฮฺมาน) คือมอบความสุข หรือสิ่งที่ดี แก่ผู้อื่นด้วย ความกรุณาปรานี (เราะฮีม) คือปลดเปลื้องความทุกข์ ให้กับผู้อื่นด้วยมุทิตา (ริฎอ) คือความยินดีปรีดา ต่อผู้อื่น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 69


บทความ เชค ฮูเซน บินซาเล็ม

คุณสมบัติ

ผู้ศรัทธา ซั

ลมาน ฟารซีรายงานว่าท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ผู้เป็นที่รักของฉันกล่าววะซียัต (สั่งเสีย) แก่ ฉันถึงคุณสมบัติ 7 ประการ ฉันจะไม่ทิ้งมันไม่ว่าจะอยู่ใน สภาพใดก็ตาม คือ 1. ให้มองบุคคลที่ต�่ำกว่าตน 2. อย่ามองบุคคลที่สูงกว่าตน 3. ให้รักบุคคลที่ยากจนขัดสน 4. ให้กล่าวในสิ่งที่เป็นสัจจะ แม้ว่ามันจะขมขื่น 5. ให้เชื่อมความสัมพันธ์ทางเครือญาติ แม้ว่าเขา จะผินหลังให้ และตัดความสัมพันธ์กับเรา 6. มิให้ขอสิ่งใดจากประชาชน 7. และให้ฉันกล่าวซิกร์ “ลาเฮาละ วะลากูวะตะ อิ้ล ลาบิ้ลลา ฮิลอะลียิ้ลอะซีม” มากๆ เพราะมันคือคลังหนึ่ง จากสรวงสวรรค์ ฮะดีษบทนี้บันทึกไว้ ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์ อ้างมาจากหนังสือ ชะรออิร มุฮัมมัด บิน อิดรีส รายงานมา จากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ฮะดีษบทอื่นที่มีส�ำนวนคล้ายกับบทนี้ ซึ่งท่าน 70 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ศาสดา (ศ็อลฯ) ซึ่งสั่งเสียอบูซัร ฆอฟฟารี เชคศ็อดดูกก็ บันทึกไว้ในหนังสือคิศอล โดยอับดุลเลาะฮ์ บิน ซอมัต รายงานมาจากอบูซัร

อธิบายรายละเอียดฮะดีษ

1. ให้มองบุคคลที่ต�่ำกว่าตน 2. อย่ามองบุคคลที่สูงกว่าตน จากตัวบทฮะดีษท�ำให้เราเข้าใจได้ว่า มนุษย์ไม่ ควรหมิ่นความโปรดปรานของอัลลอฮ์ (ซบ.) และควร พอใจในสิ่งที่พระองค์จัดสรรปันส่วนให้ รายงานบทหนึ่งที่อิมามอัซซอดิก (อ.) กล่าวกับฮัม รอน บินอะฮ์ยันว่า “โอ้ฮัมรอน จงมองไปยังบุคคลที่ต�่ำกว่าท่าน และ อย่ามองบุคคลที่สูงกว่าท่านแท้จริงในการด�ำรงชีวิต มัน มั่นคงส�ำหรับท่านในสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ก�ำหนดแก่ท่าน หากต้องการมากขึ้น ก็จงแสวงจากพระผู้อภิบาลของ ท่าน” ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้


ว่า

“ใครก็ตามที่มองทรัพย์สิน ที่อยู่ในครอบครองของ คนอื่น จะท�ำให้เขาโศกเศร้าอย่างยาวนาน” สิ่งนี้เป็นเสมือนบทบัญญัติ ของบรรดาผู้น�ำแห่ง พระผู้เป็นเจ้า ดังที่ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลี บินอบีฏอลิบ กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ (ซบ.) ก�ำหนดให้บรรดาอิมามที่ ทรงสิทธิ ให้ใช้ชีวิตเพียงเช่นประชาชนทั่วไป (ด้อยโอกาส) เพื่อที่ความยากจนจะไม่ท�ำให้เกิดแรงยั่วยุ” ในรายงานบทหนึ่งกล่าวว่า มีชายคนหนึ่งไปที่ บ้าน ท่านซัลมาน ฟารซี (รฎ.) แต่ไม่พบสิ่งใดเลยนอกจาก ดาบและอัลกุรอาน เขาจึงถามว่าไม่มีสิ่งอื่นเลยหรือ ซัล มานตอบว่า “แท้จริงหนทางข้างหน้าของเรา ยังมีความยาก ล�ำบากยิ่งนัก ฉันจึงได้ตระเตรียมเสบียงเอาไว้ใช้ในบ้าน หลังนั้นแล้ว” จากฮะดีษดังกล่าว เสมือนเป็นหน้าที่ของบรรดา ผู้น�ำที่จะต้องสืบสานและน�ำสาส์น เป็นแบบอย่างให้ ประชาชน แต่ก็มีบรรดาสาวกและสานุศิษย์ พยายามที่จะ ปฏิบัติให้เป็นวิถีการด�ำเนินชีวิตโดยเฉพาะซัลมาน (ร.ฎ.) และอบูซัร (ร.ฎ.) ที่มีในรายงานฮะดีษบทนี้ 3. ให้รักบุคคลที่ยากจนขัดสน นี่คือค�ำสั่งเสียล�ำดับที่สามที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สั่งเสียแก่ท่านซัลมาน (ร.ฎ.) ให้มีความรักและใกล้ชิดคน ยากจนขัดสน ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นแบบอย่างที่ดีใน คุณลักษณะดังกล่าว ดังที่อัลลอฮ์ (ซบ.) บัญชาให้ท่านได้ ถือปฎิบัติ ดังในโองการที่ 28 ซูเราะฮ์อัลกะฮ์ฟิ กล่าวว่า “และจงอดทนต่อตัวของพวกเจ้า ร่วมกับบรรดา ผู้วิงวอนต่อองค์อภิบาลของเขา ทั้งยามเช้าและยาม เย็น โดยปรารถนาความโปรดปรานของพระองค์ และ อย่าให้สายตาของเจ้าหันเหออกจากพวกเขา ขณะที่เจ้า ประสงค์ความสวยงานแห่งชีวิตโลกนี้ และเจ้าอย่าเชื่อฟัง ผู้ที่เราท�ำให้หัวใจของเขา ละเลยจากการร�ำลึกถึงเราและ ปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต�่ำของเขา และกิจการงานของเขา

สูญสลาย” สาเหตุของการลงโองการนี้ ในตัฟซีรอะลี บินอิบ รอฮีมกล่าวว่า คือเกี่ยวกับเรื่องของท่านซัลมาน ฟาร ซี (ร.ฎ.) ที่ท่านมีแต่เสื้อคลุม ไม่มีเสื้อซับใน เมื่ออากาศ ร้อน เหงื่อออกมากจนส่งกลิ่น ท่านนั่งอยู่กับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เมื่อบุตรของฮัศฟ์เข้ามาหาศาสดา(ศ็อลฯ) รู้สึก ร�ำคาญกลิ่นเหงื่อของท่านซัลมาน(ร.ฎ.) จึงกล่าวกับท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า “เมื่อฉันมาหาท่านโปรดให้ชายคนนี้ ไปไกลๆ เถิด เมื่อฉันไปแล้วจึงให้เขาเข้ามาใหม่” อัลลามะฮ์มัจญ์ลิซีอธิบายโองการนี้ว่า ถือเป็นการ ยกย่องสรรเสริญบรรดาบุคคลที่ยากจน ส่งเสริมให้อยู่ ร่วมใกล้ชิดกับพวกเขา หากพวกเขาคือผู้ย�ำเกรง ร�ำลึก ถึงอัลลอฮ์ (ซบ.) ด�ำรงนมาซ และควรเลี่ยงมิให้ร่วมวงกับ บรรดาผู้คนร�่ำรวย ที่หลงลืมอัลลอฮ์ (ซบ.) และหยิ่งยะโส รายงานบทหนึ่ง กล่าวถึงเหตุการณ์ค�่ำคืนอิสรออ์ เมี๊ยะรอจ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า “โอ้ อะฮ์มัด ความรักและมิตรภาพของข้าคือความ รักที่มีต่อคนยากจน ดังนั้น เจ้าจงใกล้ชิดกับคนยากจน เถิด เพื่อเจ้าจะได้ใกล้ชิด” ท่านอมีรุลมุอ์มินีนอะลี (อ.) กล่าวสั่งเสียบุตรของ ท่านก่อนจะสิ้นลมหายใจว่า “ฉันขอสั่งเสียแก่เจ้าว่า จงให้ความรักคนยากจน ขัดสนและพึงร่วมวงกับพวกเขา 4. ให้กล่าวในสิ่งที่เป็นสัจจะ แม้ว่ามันจะขมขื่น การพูดในสิ่งที่เป็นสัจธรรม ค�ำว่า สัจธรรมเป็นสิ่ง ที่เราต้องท�ำความเข้าใจว่า ให้ความหมายอะไรบ้าง เช่น ปฏิบัติตามแนวทางแห่งสัจธรรม ปกป้องสัจธรรม การ รู้จักสัจธรรมและอธรรม แต่ฮะดีษบทนี้กล่าวถึงค�ำพูดที่ เป็นสัจธรรม ดังที่มีรุลมุอ์มีนีนอะลี (อ.) กล่าวสั่งเสียแก่บุตรชาย ทั้งสองของท่านว่า “ขอสั่งเสียแก่เจ้าทั้งสองว่า ให้มีความย�ำเกรงต่อ อัลลอฮ์(ซบ.) อย่าลุ่มหลงในโลกนี้ หากมันท�ำให้เจ้าทั้ง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 71


สองหลงมัน หากเจ้าสูญเสียสิ่งใดในโลกนี้ ก็อย่าเสียใจ จงพูดสิ่งที่เป็นสัจธรรม และจงปฏิบัติอะมั้ลเพื่อปรโลก” แบบอย่างในการด�ำรงชีวิต ของท่านศาสนทูต ล้วนเป็นแบบอย่างแก่ผู้ที่ยึดมั่นในความสัจจริง ซึ่งได้ แก่ บรรดาสาวก โดยซัลมาน (ร.ฎ.) และอบูซัร (ร.ฎ.) ที่เป็น รายงานฮะดีษบทนี้ แบบอย่างของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เมื่อครั้งได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูต ขณะที่ท่านเผยแผ่ศาสนา ด้วยวาจาที่เปี่ยมด้วยสัจธรรม ประชาชนก็ยังปฏิเสธ ดูถูก เหยียดหยาม ดังอัลกุรอานสะท้อนค�ำพูดของพวกเขาว่า “และจงร�ำลึกขณะพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่อัลลอฮ์ ถ้าหากว่าสิ่งนี้คือสัจธรรมที่มาจากพระองค์แล้วไซร้ ก็ โปรดได้ทรงให้หินจากฟากฟ้า ตกลงมาดังเม็ดฝนยังพวก เราเถิด หรือไม่ก็ทรงน�ำมาซึ่งพวกเราด้วยการลงโทษอัน เจ็บปวดด้วยเถิด” แบบอย่างที่ท่านอมีรุลมุอ์มีนีนอะลี (อ.) ถือปฏิบัติ ตามค�ำสั่งเสียที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อบรมสั่งสอน โดย เฉพาะในขณะที่ท่านมีอ�ำนาจปกครอง จนน�ำมาซึ่งความ ไม่พึงพอใจของผู้ที่สูญเสียผลประโยชน์ และเกิดสงคราม ขึ้นอย่างมากมาย ตลอดจนลูกหลานของท่านถูกลิดรอน สิทธิ และถูกกดขี่ข่มเหงอย่างหนัก เนื่องจากรักษาไว้ซึ่ง สัจธรรมตามแนวทางของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อบูซัร (ร.ฎ.) เป็นแบบอย่างที่ดียิ่งในการธ�ำรงไว้ซึ่ง สัจธรรม แม้ว่าจะประสพกับความขมขื่นก็ตาม เช่น เมื่อ ครั้งที่คอลีฟะฮ์อุศมาน มอบต�ำแหน่งผู้ดูแลท้องพระคลัง บัยตุลมาลให้แก่มัรวาน บินฮะกัม อบูซัรกล่าวเตือนพวก เขาด้วยโองการที่ว่า “บรรดาผู้ที่สะสมทองและเงิน และไม่จ่ายมันใน หนทางของอัลลอฮ์ จงแจ้งข่าวดีแก่พวกเขาเถิด ด้วยการ ลงโทษอันเจ็บปวด" เมื่อประชาชนทราบเรื่องกัน จนวันหนึ่งพวกเขา จึง ได้ถามคอลีฟะฮ์อุสมานว่า “เป็นที่อนุญาตหรือ ที่คอลีฟะฮ์จะหยิบยืมเอาเงิน บัยตุลมาล เมื่อมีเงินแล้วจึงน�ำมาคืน”

72 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

กะฮ์บุล อะฮ์บารกล่าวว่า “ไม่เป็นอะไรหรอก ส�ำหรับเขา” อบูซํรจึงกล่าวว่า “โอ้บุตรชายของยะฮูดี เจ้า จะสอนเราเกี่ยวกับศาสนาของเรากระนั้นหรือ" จนเป็น เหตุให้ท่านอบูซัรถูกเนรเทศไปอยู่ซีเรีย 5. ให้เชื่อมความสัมพันธ์ทางเครือญาติ แม้ว่าเขา จะผินหลังให้ และตัดความสัมพันธ์กับเรา การเชื่อมความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ถือเป็นสิ่ง ส�ำคัญ ดังที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ก�ำชับให้บรรดาผู้ศรัทธา ทั้งหลายถือปฏิบัติ แม้ว่าจะถูกตัดความสัมพันธ์ก่อน ก็ตาม รายงานบทหนึ่งที่อับดุลลอฮ์ อิบนิซินานเป็นผู้ รายงาน เขาเข้าไปพบอิมามอัซซอดิก (อ.) แล้วถามว่า “ฉันมีลุงอยู่คนหนึ่ง ฉันพยายามจะเชื่อมความสัมพันธ์ ทางเครือญาติกับเขาแต่เขาก็ตัดความสัมพันธ์กับฉัน จน ฉันคิดที่จะตัดความสัมพันธ์กับเขา การกระท�ำเช่นนี้เป็น ที่อนุญาตส�ำหรับฉันหรือไม่” อิมาม (อ.) ตอบว่า “หากท่านเชื่อมความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับ เขา แต่เขาตัดความสัมพันธ์ท่าน อัลลอฮ์ (ซบ.) ก็จะทรง เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างท่านทั้งสองให้คงอยู่ หาก ท่านตัดความสัมพันธ์กับเขาและเขาก็ตัดท่าน อัลลอฮ์ (ซบ.) ก็จะทรงตัดความสัมพันธ์ของท่านทั้งสอง" รายงานอีกหลายบทของท่านอิมามอัซซอดิก (อ.) ซึ่งรายงานมาจากบรรพบุรุษของท่าน จากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีผู้ถามว่า “ซอดาเกาะฮ์ชนิดใดถือว่าประเสริฐ ที่สุด” ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตอบว่า “การเชื่อมความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้ที่เป็น ศัตรูต่อเขา” รายงานฮะดีษจ�ำนวนหนึ่ง บอกถึงผลเสียของการ ตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติ คือท�ำให้อายุสั้นหรือ ท�ำให้อายุขัยถึงก�ำหนดเร็วกว่าเดิม 6. มิให้ขอสิ่งใดจากประชาชน คุณลักษณะที่โดดเด่นที่บรรดาศาสนทูตถือปฏิบัติ ตลอดจนบรรดาผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะ


อย่างยิ่งอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดา สานุศิษย์ของท่าน ฮะดีษบทหนึ่ง รายงานมาจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ใครก็ตามปิดประตูแห่งการขอเพื่อตนเอง อัลลอฮ์ จะทรงเปิดประตู 70 บานแห่งความยากจนให้เขา สิ่งเล็ก น้อยที่สุดของมันคือเขาไม่ได้อะไร” อะฮ์มัด บินฟะฮัด ฮิลลีรายงานจากท่านอิมาม อัซ ซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ชีอะฮ์ของเราคือผู้ที่ไม่ขอจากคนอื่น แม้จะตาย ด้วยกับความหิวก็ตาม” ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นศาสนทูตที่ยิ่งใหญ่ ท่านหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติที่เป็นเลิศมากมาย จนได้รับขนาน นามว่า “คะลีลุรเราะฮ์มาน (สหายแห่งพระผู้เป็นเจ้า)” การที่ได้รับการขนานนามเช่นนี้ เพราะมีฮะดีษบทหนึ่งที่ รายงานจากอิมามริฎอ (อ.) ซึ่งรายงานมาจากบรรพบุรุษ ของท่านกล่าวว่า “อันที่จริงที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงขนานนามอิบรอฮีม (อ.) ว่าคะลีล (สหาย) นั้น เพราะท่านไม่เคยปฏิเสธค�ำขอ ของใครเลย และไม่เคยขอสิ่งใดจากคนอื่นเลยนอนกจาก อัลลอฮ์ (ซบ.) แบบอย่างของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นที่ ประจักษ์แล้วว่า แม้จะเป็นช่วงที่วิกฤตและสาหัสที่สุด ที่ ท่านต้องตกอยู่ในกองไฟของนัมรู๊ด มะลาอิกะฮ์ญิบรีลมา หาท่านและถามว่า “ท่านมีอะไรให้ฉันช่วยไหม” อิบรอฮีม (อ.) ตอบว่า “ถ้าหากจากท่านละก็ไม่หรอก” นี่คือระดับขั้นสูงสุด ของการมอบหมายต่อตัวเอง อัลลอฮ์ (ซบ.) ให้พระองค์พึงพอพระทัย และยอมจ�ำนนใน การก�ำหนดของอัลลอฮ์ (ซบ.) 7. ให้กล่าวซิกร์ “ลาเฮาละ วะลากูวะตะ อิ้ลลาบิ้ล ลา ฮิลอะลียิ้ลอะซีม” มากๆ เพราะมันคือคลังหนึ่งจาก สรวงสวรรค์ การกล่าวร�ำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซบ.) ถือเป็นสิ่งส�ำคัญ

ไม่ว่าจะด้วยประโยคใดก็ตามแต่ส�ำหรับประโยคดังกล่าว มีคุญลักษณะพิเศษ ที่จะได้รับประโยชน์มากมายทั้งใน โลกนี้และปรโลก ฟะฎอละฮ์ บินอะบีดรายงานมาจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ใครก็ตามต้องการคลังแห่งสรวงสวรรค์ จ�ำเป็น ส�ำหรับเขาต้องกล่าวว่า “ลาเฮาละ วะลากูวะตะ อิ้ลลา บิ้ลลา” ในรายงานอีกบทหนึ่งฮาซัน บัศรีรายงานมาจาก อิมามบากิร (อ.) ขณะที่ท่านอยู่ที่ทุ่งมินาด้วยกันในปี หนึ่ง มีผู้ศรัทธาคนหนึ่งเสียชีวิต อิมามเชิญชวนพวกเรา ไปร่วมละหมาดญะนาซะฮ์ ขณะที่ถึงหลุมฝังศพ อิมาม กล่าวว่า “ฉันจะบอกพวกท่านให้เอาไหมว่า 5 ประการ ต่อไปนี้ถือว่าเป็นการกระท�ำความดี ซึ่งความดีจะน�ำเขา เข้าสู่สวรรค์” ฉันได้ตอบว่า “เอาขอรับ” อิมามได้กล่าวว่า “การปกปิด และซ่อนเร้นความทุกข์ระทมของตนการท�ำ ศอดาเกาะฮ์ กระท�ำด้วยมือขวา โดยที่มือซ้ายไม่ได้ล่วงรู้ (ปกปิด) การกระท�ำความดีกับบุพการีทั้งสอง ซึ่งแท้จริง จะท�ำให้อัลลอฮ์พึงพอพระทัย การกล่าวร�ำลึกอย่างมาก ด้วยประโยค “ลาเฮาละ วะลากูวะตะ อิ้ลลาบิ้ลลา ฮิลอะลี ยิ้ลอะซีม”และความรักที่มีต่อมุฮัมมัด และลูกหลานของ มุฮัมมัด” การกล่าวประโยคดังกล่าว มีมรรคผลมากมาย จากรายงานต่างๆ เช่น ใช้เยียวยาคนเจ็บไข้ได้ป่วย หรือ อย่างน้อย ก็บ่งบอกถึงการยอมจ�ำนนต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ดัง ที่มีรายงานบทหนึ่งจากอิมามอัซซอดิก (อ.) ที่รายงานมา จากบรรพบุรุษของท่านกล่าวว่า “เมื่อบ่าวคนใดได้กล่าว ว่า “ลาเฮาละ วะลากูวะตะ อิ้ลลาบิ้ลลา ฮิลอะลียิ้ลอะซีม” อัลลอฮ์ (ซบ.) จะตรัสกับบรรดามะลาอิกะอ์ว่า "บ่าวได้ ยอมจ�ำนนแก่ข้าแล้ว จงตอบรับตามที่เขาได้ขอ” จากฮะดีษดังกล่าวเป็นบทเรียน หรือหลักในการ ปฏิบัติของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หวังว่าอัลลอฮ์ (ซบ.) จะทรงประทานความส�ำเร็จให้กับบรรดาผู้ศรัทธา และผู้ ที่น�ำแบบอย่างจากฮะดีษบทนี้ไปปฏิบัติ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 73


แปลโดย เชค มุอัมมัด นาอีม ประดับญาติ

รัฐบาลในแนวคิด และการปฏิบัติของ

อิมามอะลี (อ.) ความหมายของค�ำว่า “รัฐ” และ “รัฐบาล” แนวคิดเกี่ยวกับรัฐและรัฐบาล เป็นแนวคิดทาง ด้านการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด แม้การพัฒนาการทางด้าน ประวัติศาสตร์ของมัน จะท�ำให้สภาพและโครงสร้างของ รัฐในยุคสมัยของเรา มีความแตกต่างกับยุคสมัยอดีต ก็ตาม แต่ทว่าในกรณีที่เกี่ยวกับเนื้อแท้ของมันนั้นมีความ สอดคล้องตรงกันในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท�ำให้แนวคิดเกี่ยว กับรัฐ จึงมีความเป็นหนึ่งเดียวกันในทุกยุคสมัย จวบ จนถึงขณะนี้ในแวดวงการเมืองนั้นค�ำว่า “รัฐ” (เดาละฮ์) ถูกน�ำมาใช้ในสามขอบข่ายคือ 1. รัฐ ในความหมายว่า “ประเทศ” ซึ่งได้แก่ การ รวมตัวของประชาชนจ�ำนวนหนึ่งในแผ่นดินหนึ่ง อันเป็น เฉพาะ ด้วยกับรัฐบาลที่ถูกจัดตั้งขึ้นซึ่งจะเป็นรัฐบาลที่ใช้ อ�ำนาจปกครองเหนือพวกเขา 2. รัฐ ในความหมายว่า “รัฐบาล” ได้แก่ คณะ ผู้บริหารปกครอง หน่วยงานราชการและองค์กรต่างๆ ทั้งหมดของรัฐบาล 74 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

3. รัฐ ในความหมาย ภาคส่วนของการบริหารและ คณะรัฐมนตรีในประเทศหนึ่ง และในช่วงสมัยของรัฐบาล หนึ่ง ความหมายนี้เป็นความหมายที่มีขอบข่ายการใช้ งานเฉพาะที่สุดของค�ำว่า “รัฐ” เช่นเดียวกับที่ความหมาย แรก เป็นความหมายที่มีความครอบคลุมกว้างที่สุด ซึ่ง มีองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ ประชากร ดินแดน รัฐบาลและอ�ำนาจการปกครอง และรัฐบาลนั้นคือองค์ ประกอบพื้นฐานที่ส�ำคัญที่สุดของรัฐ และไม่มีรัฐใดที่จะ ด�ำรงอยู่โดยปราศจากรัฐบาล ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง ข้อเขียนที่อยู่ในเบื้องหน้าผู้อ่านนี้ นอกจากจะกล่าวถึง ความหมายทั่วไปของค�ำว่า “รัฐ” แล้ว ยังจะชี้ให้เห็นถึง ประเด็นเกี่ยวกับรัฐในมุมมองและแนวคิดของอิมามอะลี (อ.) อีกด้วย ค�ำรายงานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า รัฐของ อิมามอะลี (อ.) มีขอบเขตที่กว้างขวางมาก ทิศตะวัน ออกครอบคลุมไปถึงทรานโซเซียนา (Transoxiana ซึ่ง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมาวารานนาร์ Mavarannahr) และ ชายแดนที่ติดกับประเทศจีนและอินเดีย และทิศตะวัน ตกครอบคลุมไปถึงบางส่วนของทวีปแอฟริกา (อียิปต์


ลิเบียและซูดาน) แผ่นดินชาม (ซีเรีย จอร์แดน เลบานอน ปาเลสไตน์ปัจจุบัน) ไซปรัส กรีซและคาบสมุทรอาหรับ ทั้งหมด ซึ่งในยุคนั้นหากพิจารณาทางด้านประชากรถือ เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด และทางด้านการปกครองจะเป็นการ บริหารโดยรัฐบาลกลาง ผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ ได้รับการ แต่งตั้งโดยค่อลีฟะฮ์ (ผู้ปกครองสูงสุดจากส่วนกลาง) และขอบข่ายการปกครองของเขา จะมีความเป็นอิสระ ในระดับหนึ่ง และจะมีความเกี่ยวข้องและพึ่งพารัฐบาล กลางในเฉพาะบางกรณีเพียงเท่านั้น การสอดส่งดูแล และการควบคุมของค่อลีฟะฮ์ (ผู้ปกครองสูงสุดจากส่วน กลาง) ส่วนใหญ่จะอยู่ในขอบข่ายของข้อก�ำหนดต่างๆ ของข้อบัญญัติ (ชะรีอัต) แห่งอิสลามและส�ำนักงานของ รัฐบาลกลาง ในส่วนของรัฐบาลกลางก็เช่นเดียวกัน อ�ำนาจ จะต้องถูกกระจายไปยังส่วนต่างๆ ของการบริหาร ภาย ใต้ชื่อส�ำนักงานต่างๆ อย่างเช่น ส�ำนักงานเกี่ยวกับการ ทหาร ส�ำนักงานประเทศ และหน่วยงานต่างๆ เกี่ยว กับการคลัง (บัยตุ้ลมาล) การตัดสินความและอื่นๆ ซึ่ง สามารถกล่าวอย่างเต็มปากว่า รัฐบาลของอิมามอะลี (อ.) ไม่ได้อยู่ในรูปการปกครองแบบซุลต่าน (กษัตริย์) สมบูรณาญาสิทธิราชย์และแบบเผด็จการ ท�ำนองเดียว กัน ก็มิใช่เป็นการปกครองแบบหมู่คณะในรูปของชูรอ (สภาปรึกษา) คณะผู้บริหารหรือขุนนาง (ชนชั้นสูง) หรือ เผ่าตระกูลแต่อย่างใด ในรัฐบาลของอิมามอะลี (อ.) นอกจากอ�ำนาจทางจิตวิญญาณ และการปกครองของ ค่อลีฟะฮ์ (ผู้ปกครองสูงสุด) แล้ว อ�ำนาจในการบริหาร และอ�ำนาจตุลาการ จะถูกกระจายไปในรัฐบาลนั้น และ จะออกมาในรูปของล�ำดับชั้น โดยที่แต่ละภาคส่วนจะ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อภาคส่วนที่สูงกว่า และเจ้าหน้าที่ใน ระดับแรกของรัฐบาลเพียงเท่านั้น ที่จะเป็นผู้ตอบค�ำถาม และรับผิดชอบ ในอ�ำนาจของตนที่มีต่อค่อลีฟะฮ์ (ผู้ ปกครองสูงสุด) และอิมามอะลี (อ.) ก็เช่นกัน เป็นผู้เดียว เท่านั้นที่พวกเขารู้จักท่านในนามเจ้าหน้าที่ (ผู้มีความรับ ผิดชอบ) ในการปลดและแต่งตั้งพวกเขา ส่วนเจ้าหน้าที่

ในระดับต่าง ๆ ที่ต�่ำลงมา ผู้ปกครองหัวเมืองและแคว้น ต่าง ๆ จะเป็นผู้ปลดและท�ำการแต่งตั้งเอง

ความจ�ำเป็นของการมีรัฐบาล

ประวัติศาสตร์การด�ำเนินชีวิตของมนุษยชาติ ชี้ ให้เห็นว่า ตลอดเวลามนุษย์จะต้องอาศัยอยู่ในสังคม และตระหนักเป็นอย่างดีว่า ภายใต้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่คณะเท่านั้น ที่จะท�ำให้ตนเองด�ำรงอยู่ได้ กรณี ที่ว่าสิ่งนี้เป็นไปตามกฎของสัญชาติญาณ (ฟิฏเราะฮ์) และมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคมโดยธรรมชาติ ความจ�ำเป็น ต่างๆ ในการด�ำเนินชีวิตได้บีบบังคับให้เขาต้องเข้ามาสู่ สังคม ประเด็นเหล่านี้คือสิ่งที่นักวิชาการมีการพิจารณา ใคร่ครวญกันเสมอมา นักปรัชญากรีกโบราณเชื่อว่า ความโน้มเอียงไป สู่การใช้ชีวิตในรูปของสังคมนั้น เกิดจากธรรมชาติและ สัญชาตญาณ (ฟิฏเราะฮ์) ของมนุษย์เอง แต่ความโน้ม เอียงทางสัญชาตญาณ อันเป็นธรรมชาติดังกล่าวนี้จะ ต้องไม่ปฏิเสธอ�ำนาจในการเลือก และการตัดสินใจของ มนุษย์ และจะไม่ก่อให้เกิดการบีบบังคับแต่อย่างใด แต่ เนื่องจากการยอมรับชีวิตแบบสังคมนั้น จะเป็นสื่อใน การสนองตอบผลประโยชน์ต่างๆ ทางด้านวัตถุและจิต วิญญาณของมนุษย์ ความโน้มเอียงตามธรรมชาติดัง กล่าวนี้จึงอยู่ควบคู่ไปกับความจ�ำเป็นอันเป็นเหตุผลทาง สติปัญญาและการเลือกด้วยความสมัครใจ แต่สิ่งที่จะ ท�ำให้สังคมมนุษย์เป็นแหล่งแห่งความมั่นคงสงบสุขและ ปลอดภัยได้นั้น คือการมีอยู่ของอ�ำนาจและอธิปไตยใน การปกครองลักษณะหนึ่งซึ่งจะเป็นยอมรับได้ในรูปแบบ ต่างๆ และจะต้องไม่มีผู้ใดปฏิเสธมันยกเว้นในบางกรณี เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในประวัติศาสตร์อิสลาม มีคนเพียงกลุ่มเดียว เท่านั้นที่ในสภาวะเงื่อนไขบางอย่าง อันเป็นเฉพาะได้ ปฏิเสธการปกครอง และอ�ำนาจทางการเมือง ทุกรูป แบบ นั่นคือพวกคอวาริจญ์ ในเหตุการณ์การแต่งตั้ง อนุญาโตตุลาการ (ฮะกะมียะฮ์) ในสงครามซิฟฟีน พวก เขาปฏิเสธรัฐบาล และอ�ำนาจการปกครองทุกรูปแบบที่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 75


นอกเหนือไปจากพระผู้เป็น ด้วยกับการปฏิเสธมุมมอง และแนวคิดของพวกเขา ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้อ้าง เหตุผลทางสติปัญญาที่ชี้ให้เห็นถึงความจ�ำเป็นในการมี อยู่ของรัฐบาลและอ�ำนาจการปกครอง และด้วยกับการ ค�ำนึงถึงเป้าหมายและหน้าที่เฉพาะต่าง ๆ ของทุกรัฐบาล นั้น ท่านถือว่าแกนหลักของความมั่นคงและการด�ำรงอยู่ ของทุกสังคมนั้นขึ้นอยู่กับมัน ท่านอิมามได้ชี้ถึงคติพจน์ ของพวกคอวาริจญ์ที่ว่า «‫»ال حم اال هلل‬ “ไม่มีอ�ำนาจการปกครองใด ๆ เว้นแต่อัลลอฮ์เพียง เท่านั้น” โดยท่านกล่าวเช่นนี้ว่า “(คติพจน์นี้คือ) ค�ำพูดที่เป็นสัจธรรม แต่จุด ประสงค์จากสิ่งนี้เป็นความเท็จ ใช่! ไม่มีอ�ำนาจการ ปกครองใดนอกจากของพระผู้เป็นเจ้าเพียงเท่านั้น แต่ ทว่าพวกเขาเหล่านี้ก�ำลังกล่าวว่า “ไม่มีอ�ำนาจการ บัญชาการใดๆ นอกจากเป็นของพระผู้เป็นเจ้าเพียง เท่านั้น” เพราะแท้จริงแล้ว ประชาชนจ�ำเป็นต้องมีผู้ ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นคนดีมีคุณธรรมหรือจะเป็นคนชั่ว ก็ตาม เพื่อที่มีผู้ศรัทธาจะได้ปฏิบัติงาน (ของตนเอง) ใน การปกครองของเขา และผู้ปฏิเสธก็จะได้รับประโยชน์ (ของตน) ในการปกครองของเขา และเมื่อพระผู้เป็นเจ้า ได้ทรงให้ก�ำหนดเวลา (แห่งสัญญา) เมื่อมาถึงช่วงการ ปกครองของเขา ภาษีอากรต่างๆ ก็จะต้องเก็บรวบรวม โดยเขา การต่อสู้กับศัตรูก็จะต้องกระท�ำโดยเขา เส้นทาง สัญจรต่าง ๆ จะมีความปลอดภัยโดยเขา และการเรียก ร้องจากผู้ที่เข้มแข็งเพื่อมอบให้แก่ผู้ที่อ่อนแออ่อนโดยเขา เพื่อว่าคนดีจะได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย และได้รับการ พิทักษ์ให้ปลอดภัยจากคนชั่ว” (1) การอนุมานอย่างถูกต้องเกี่ยวกับค�ำพูดของอิมาม อะลี (อ.) และความเชื่อของพวกค่อวาริจญ์นั้นวางอยู่บน สมมุติฐานที่ว่า วิกฤติอ�ำนาจการปกครอง (คิลาฟะฮ์) นั้น ด�ำเนินไปบนแกนของค่อลีฟะฮ์ (ผู้ปกครอง) อิสลาม จวบ จนถึงยุคสมัยการปกครองของอิมามอะลี (อ.) และหลัก

76 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

การของการปกครองและต�ำแหน่งผู้ปกครอง (คิลา ฟะฮ์) ได้ถูกอธิบายไว้บนแกนของผู้ตัดสินชี้ขาด (ฮากิม) และ ผู้บังคับบัญชา (อะมีร) ด้วยเหตุนี้เอง การปฏิเสธอ�ำนาจ การปกครองก็ย่อมหมายถึงการปฏิเสธผู้ที่จะท�ำหน้าที่ ตัดสินชี้ขาด (ฮากิม) ด้วยเหตุผลดังกล่าว แม้ว่าคติพจน์ ของพวกค่อวาริจญ์จะยืนกราน อยู่บนการปฏิเสธค�ำ ตัดสินชี้ขาด (ฮุกม์) แต่อิมามอะลี (อ.) กลับเน้นย�้ำถึง ความจ�ำเป็นในการมีอยู่ของ "ผู้ปกครอง" (ผู้ที่จะท�ำการ ตัดสินชี้ขาด) สิ่งที่นับว่ามีความส�ำคัญอย่างยิ่ง ในค�ำ ตอบโต้ของอิมามอะลี (อ.) ที่มีต่อพวกค่อวาริจญ์ นั้นคือ ท่านอิมาม (อ.) ได้พิจารณาถึงเป้าหมายและศักยภาพ ของหลักการแห่งการปกครองและการมีรัฐบาล (ไม่ได้ พิจารณาในประเด็นที่ว่า ผู้ปกครองหรือรัฐบาลนั้นจะดี หรือเลว) ซึ่งเป็นสาเหตุจ�ำเป็นในการมีอยู่ของมัน และ การปฏิเสธของพวกเขา (ค่อวาริจญ์) จะเป็นสาเหตุของ ความโกลาหล ความวุ่นวายและฟิตนะฮ์ (วิกฤติการณ์) ต่าง ๆ ที่จะด�ำรงอยู่อย่างต่อเนื่องในสังคม ด้วยกับการให้ เหตุผลเช่นนี้ จึงไม่มีสังคมใดที่จะสามารถด�ำรงอยู่ได้โดย ปราศจากรัฐบาล ในอีกครั้งหนึ่งท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าว ว่า ٍ ‫سلطان ظلوم‬ ‫خیر من‬ ٌ ‫ا َ َس ٌد حطوم‬ ‫و سلطان ظلوم خیر من فتنٍ تدوم‬ “ราชสีฮ์ที่ดุร้ายย่อมดีกว่าผู้ปกครองที่อธรรม และ ผู้ปกครองที่อธรรมย่อมดีกว่าฟิตนะฮ์(วิกฤติการณ์) ต่างๆ ที่ด�ำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง” (2) ผลของแนวคิดในการปฏิเสธ อ�ำนาจการปกครอง (รัฐ) ของพวกค่อวาริจญ์ คือการมอบสิทธิ์การปกครองให้ เป็นเรื่องของพระผู้เป็นเจ้า และการยึดมั่นต่อศาสนาโดย ไม่มีรัฐปกครอง แม้จะไม่สามารถชี้ถึงรายละเอียดเกี่ยว กับความขัดแย้งต่างๆ ทางด้านแนวคิดและพฤติกรรม ของพวกค่อวาริจญ์ไว้ในเนื้อที่อันจ�ำกัดนี้ได้ แต่สิ่งที่เป็น ประเด็นส�ำคัญก็คือ พวกค่อวาริจญ์ไม่ได้กล่าวอ้าง “การ แยกศาสนจักรออกจากอาณาจักร” และพวกเขามีความ


เชื่อมั่นว่า ศาสนาสามารถเยียวยาแก้ไขปัญหาทั้งมวล ได้ และพวกเขามีความเชื่อมั่นต่อศาสนาในระดับที่สูง มากทีเดียว กลุ่มแรกของพวกค่อวาริจญ์มีความเชื่อว่า ตามข้อบัญญัติ (ฮุกม์) ของศาสนา ดาบทั้งหลายที่หลั่ง เลือดกันในสงครามซิฟฟีนจะต้องได้รับการตัดสินชี้ขาด ให้ชัดเจนลงไป แต่ท�ำไมมาคราวนี้ถึงกลับปฏิเสธอ�ำนาจ การปกครอง และพวกเขาปรารถนาที่จะท�ำให้สังคมของ อิสลามหลุดพ้นออกจากวิกฤต และปัญหาความวุ่นวาย ภายในด้วยบทบัญญัติ (ฮุกม์) ของศาสนาได้อย่างไร ดู เหมือนว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ความเชื่อที่จริงแท้ของพวกเขา แต่ ทว่าเหตุการณ์อนุญาโตตุลาการ (ฮะกะมียะฮ์) ซึ่งตาม ความเชื่อมั่นของพวกค่อวาริจญ์นั้น คือบาปอันมหันต์ (บาปใหญ่) ที่ชักน�ำพวกเขาไปสู่ทิศทางดังกล่าว ภายหลัง จากการปฏิเสธ อ�ำนาจการปกครองของมุอาวิยะฮ์และ ของท่านอิมามอะลี (อ.) แล้ว พวกค่อวาริจญ์ก็หันไปให้ สัตยาบัน (บัยอัต) ต่ออับดุลลอฮ์ บินวะฮับ รอซิดี ในฐานะ ผู้ปกครองของตนเองในทันทีทันใด ด้วยเหตุนี้ ผลพวงที่ติดตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ของการปฏิเสธอ�ำนาจการปกครองและรัฐบาล คือสิ่งที่ จะให้เกิดความไร้เสถียรภาพ ความไม่สงบ การสูญเสีย ความยุติธรรม และความเป็นระบบระเบียบทางสังคม และจะเป็นสาเหตุท�ำให้ความวุ่นวาย ความอลหม่านและ ความไร้ขื่อไร้แปรแพร่กระจายออกไปทั่วในสังคม ศาสนา ที่ปราศจากอ�ำนาจรัฐและการปกครองนั้น จะไม่สามารถ ยับยั้งความอธรรม การกดขี่ การละเมิดและการรุกราน ต่างๆ ได้ ในสภาวะเงื่อนไขต่างๆ ที่ไร้ซึ่งอ�ำนาจรัฐและ การปกครองนั้น แม้แต่ตัวของศาสนาเองก็จะตกอยู่ใน อันตรายและความเสียหายด้วยเช่นเดียวกัน และหนทาง แห่งความรอดพ้นและความส�ำเร็จของมนุษยชาติก็จะถูก ท�ำลายไป นัศร์ บินมุซาฮิม มันกีรี (มีชีวิตอยู่ในระหว่าง ปี ฮ.ศ.120-212) ในบทสนทนาของท่านอิมามอะลี (อ.) กับ "นัรซา" ที่เขาเล่าสภาพของบรรดากษัตริย์แห่งอิหร่าน และเรื่องราวการฆาตกรรมกษัตริย์คอสโร ให้ท่านอิมาม (อ.) ฟัง เขาอ้างอิงค�ำพูดตอนหนึ่งท่านอิมาม (อ.) ไว้ใต้ค�ำ

สนทนานี้ซึ่งท่านกล่าวว่า ‫ال تقوم مملکة أ ّال بتدبیر و البّد من إمارة‬ “อาณาจักรไม่อาจจะด�ำรงอยู่ โดยปราศจากการบริหาร จัดการ ดังนั้นจ�ำเป็นต้องมีการปกครอง” (3) หนึ่งในค�ำถามพื้นฐาน เกี่ยวกับรัฐและอ�ำนาจการ ปกครองครองก็คือ หลักเกณฑ์ของสิทธิในการใช้อ�ำนาจ อธิปไตยของรัฐ และความจ�ำเป็นในการเชื่อฟังปฏิบัติ ตามของพลเมืองนั้น คืออะไร ใคร คือผู้มีสิทธิ มีคุณสมบัติ คู่ควรและมีอ�ำนาจในการบริหารสังคม แหล่งที่ของของสิทธินี้คืออะไร ความสัมพันธ์ สองฝ่ายระหว่างรัฐบาลกับประชาชน จะเป็นไปในรูป ที่ว่าบรรดาผู้ปกครองทั้งหมด ตลอดระยะเวลาแห่ง ประวัติศาสตร์ ต่างพยายามที่จะหาค�ำอธิบายและการให้ เหตุผลที่ตรงกับสติปัญญาส�ำหรับการท�ำหน้าที่ปกครอง ของตนเอง เพื่อที่ว่าด้วยสื่อดังกล่าวจะแสวงหาความ พึงพอใจจากสาธารณชน ในฐานะที่เป็นปัจจัยส�ำคัญ ที่ท�ำให้เกิดความชอบธรรม และการเป็นที่ยอมรับได้ ส�ำหรับตนเอง ด้วยเหตุนี้ความชอบธรรมที่ประกอบไป ด้วยความสามารถของรัฐบาลหนึ่ง ๆ ในการสร้างและการ รักษาความเชื่อนี้ ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติเมื่อประชาชน พึงพอใจ และยอมรับองค์กรทางการเมืองที่มีอยู่ แต่ อย่างไรก็ตามความพึงพอใจ และการยอมรับดังกล่าวจะ เป็นผลมาจากปัจจัยและสภาวะเงื่อนไขต่างๆ ทางด้าน ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม ความเชื่อและวัฒนธรรม ประชาชาติ ที่มีความเชื่อในศาสนาหนึ่ง ย่อมเป็น ธรรมชาติที่พวกเขาจะยอมรับ และพึงพอใจต่ออ�ำนาจ การปกครองทางศาสนา และประชาชนที่ไม่คิดในเรื่องใด นอกจากปัญหาต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจ ความต้องการ ของพวกเขาก็คือ รัฐบาลซึ่งจะสามารถให้ประสิทธิผล และสนองตอบผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ และปาก ท้องได้มากที่สุด และประชาชาติซึ่งด้วยเหตุผลทางด้าน วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ได้ยอมมอบกายให้กับ รัฐบาลและอ�ำนาจการปกครองต่าง ๆ แบบขุนนางชนชั้น สูงและการสืบทอดสันติวงศ์นั้น โดยธรรมชาติพวกเขา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 77


ย่อมพึงพอใจต่อการปกครองที่เป็นอยู่ จากอีกด้านหนึ่ง มีสองแนวทางที่แตกต่างส�ำหรับ หลักการของความชอบธรรมของรัฐบาลคือ แนวทาง แรก ความชอบธรรมในมุมองของสังคมวิทยาการเมือง (Political sociology) ค�ำถามหลักในมุมมองนี้ก็คือ ประสิทธิภาพของรัฐบาลจะเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีใด และด้วย สภาพเงื่อนไขอะไรบ้าง ที่รัฐบาลจะสามารถด�ำรงอยู่ได้ อย่างยาวนาน เป็นที่ยอมรับของสังคมและได้รับความพึง พอใจจากสาธารณชน ในแนวทางนี้ ความชอบธรรมมิได้ พิจารณาที่สิทธิอันชอบธรรม (ความถูกต้องชอบธรรม) หรือไม่มีสิทธิอันชอบธรรม (ความไม่ถูกต้องชอบธรรม) ของผู้ปกครองและรัฐบาล แต่จะพิจารณาแค่เพียงความ เป็นที่ยอมรับและฐานทางสังคมของมันเพียงเท่านั้น แนวทางที่สอง ความชอบธรรมในมุมมองของ ปรัชญาการเมือง (Political Philosophy) ค�ำถามหลักใน แนวทางของปรัชญาการเมืองก็คือ สิทธิอันชอบธรรมของ อ�ำนาจการปกครองเป็นของใคร ใครมีสิทธิที่จะท�ำหน้าที่ ในการปกครอง ประเภทของรัฐบาลและตัวของผู้ปกครอง อยู่บนความถูกต้องชอบธรรม (เป็นสัจธรรม) หรือไม่ ดัง นั้นความชอบธรรมในแนวทางนี้ หมายถึง สิทธิอันชอบ ธรรมที่ตรงข้ามกับการแย่งชิง หรือการยึดครองสิทธิ์ จะ มีความแตกต่างกับความเป็นที่ยอมรับซึ่งหมายถึงระดับ การยอมรับของสังคม หรือเป็นไปได้ว่าทั้งสองกรณีอาจมี ความจ�ำเป็นควบคู่กัน ความชอบธรรมในทัศนะของอิสลาม หมายถึงการ ที่รัฐบาล และผู้ปกครองจะต้องมีพื้นฐานทางศาสนา มี ความสอดคล้อง และปฏิบัติตามบันทัศฐานหลักค�ำสอน ต่าง ๆ ของศาสนา ซึ่งในกรณีนี้เท่านั้นที่เขาจะมีสิทธิอัน ชอบธรรมอย่างแท้จริง และในขณะเดียวกัน ผู้ปกครอง อิสลามจะต้องได้รับอ�ำนาจ และการเป็นผู้ปกครองของ ตน มาจากพื้นฐานความต้องการของบรรดามุสลิมส่วน ใหญ่ และได้รับความยอมรับจากสาธารณชนด้วยเช่น กัน ดังนั้นรัฐบาลอิสลามที่แท้จริง จะต้องมีหลักเกณฑ์ ของความชอบธรรมทั้งสองประการร่วมกันคือ ทั้งสิทธิอัน

78 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ชอบธรรม และความพึงพอใจหรือการเป็นที่ยอมรับของ ประชาชน เกี่ยวกับความชอบธรรมของรัฐบาลอิสลาม นั้นมีสองทฤษฎีหลักด้วยกัน ซึ่งทั้งสองทฤษฎีนี้เป็นผลมา จากหลักฐานต่าง ๆ ทางบทบัญญัติของศาสนา ทฤษฎีแรกคือ รัฐบาลหรือการปกครองเป็นเรื่อง ของมนุษย์ และจะต้องอาศัยเสียงและความต้องการของ ประชาชน และบนพื้นฐานความต้องการของสาธารณชน ชนิดของรัฐบาล และผู้ปกครองจะได้รับการคัดเลือกขึ้น มา ซึ่งทฤษฎีนี้จะถูกกล่าวถึงด้วยชื่อว่า “ประชาธิปไตย” (Democracy) ด้วยเช่นกัน อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือ อ�ำนาจ อธิปไตยเป็นเรื่องที่อยู่เหนือขอบข่ายของมนุษย์และเป็น เรื่องของพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ทฤษฎีนี้จะถูกกล่าวถึงใน ชื่อว่า “เทวาธิปไตย” (Theocracy) หรือ “การปกครองโดย ถือพระเจ้าเป็นผู้ปกครองสูงสุด” หรือ “รัฐศาสนา” เช่นกัน เพื่ออธิบายเกี่ยวกับสองทฤษฎีนี้ เราจะมาตรวจ สอบและประเมินหลักฐานอ้างอิงจากค�ำรายงาน (ริวา ยะฮ์) เกี่ยวกับมุมมองทั้งสอง

หลักฐานที่ว่าความชอบธรรม เป็นของพระผู้เป็นเจ้า

บนพื้นฐานทฤษฎีนี้ อ�ำนาจการปกครองคือของ ฝากและความไว้วางใจ (อะมานะฮ์) แห่งพระผู้เป็น เจ้า ซึ่งด้วยเงื่อนไขต่างๆ อันเป็นเฉพาะ มันจะถูกมอบ หมาย แก่บุคคลบางคนโดยเฉพาะ ความเห็นและการ ออกเสียงของประชาชนจะไม่มีบทบาทใดๆ เกี่ยวกับมัน ด้วยเหตุผลแห่งความรอบรู้ของพระผู้เป็นเจ้า ที่มีต่อผล ประโยชน์ และสิ่งดีงามต่างๆ ส�ำหรับมนุษย์ทั้งในโลก นี้และในปรโลก พระองค์จึงเป็นผู้ก�ำหนดประเภทของ การปกครองครอง และตัวผู้ปกครองด้วยพระองค์เอง ดังนั้นผลประโยชน์ต่างๆ ของประชาชนจะต้องมาก่อน ความต้องการของพวกเขา ในกรณีที่ประชาชน ไม่รู้ถึง ผลประโยชน์ และสิ่งที่จะก่อให้เกิดความดีงามส�ำหรับ ตน และเขาอาจปฏิเสธอ�ำนาจการปกครองแห่งศาสนา บรรดาผู้ปกครองที่มีความชอบธรรม ตามศาสนบัญญัติ สามารถจัดตั้งรัฐบาล และรีบรุดในการชี้น�ำประชาชน


ในหลักความเชื่อของชีอะฮ์ อิมาม (ผู้น�ำ) และผู้ปกครอง อิสลามในขั้นตอนของการบัญญัติ (ษุบูต) นั้นจะต้องมี เงื่อนไขต่าง ๆ ของความเป็นผู้น�ำ ซึ่งได้แก่ ความบริสุทธิ์ จากความผิดบาป (อิศมะฮ์) ความเป็นผู้มีความรู้สูงสุด (อะอ์ละมียะฮ์) และความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เป็นต้น (4) ในขั้นตอนถัดไป เขาจะต้องได้รับการแต่งตั้งโดยการ แต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า อาจจะโดยตรงหรือโดยผ่านสื่อ กลางก็ตาม ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวในเรื่องนี้ว่า ‫أحق الناس بهذا األمر أقواهم علیه‬ ّ ‫إن‬ ّ ‫و أعلمهم بأمراهلل فیه‬ “แท้จริงมนุษย์ที่คู่ควรต่อกิจการ (การปกครอง) นี้ มากที่สุด คือผู้ที่มีความสามารถมากที่สุดในการนี้ และ เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้ามาก ที่สุด” (5) อีกที่หนึ่งท่านกล่าวว่า “มนุษย์ที่มีความคู่ควรต่อ การเป็นผู้ปกครองประชาชาติมากที่สุด ไม่ว่าจะในอดีต หรือปัจจุบัน คือผู้ที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงต่อศาสดา มากที่สุด มีความรู้ในคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้ามากที่สุด มีความเข้าใจที่ลึกซึ่งในศาสนามากที่สุด รีบรุดในความ เป็นมุสลิมมากที่สุด มีความเหนือกว่ามากที่สุดในการ ญิฮาด (ต่อสู้) และมีความสามารถมากที่สุดในแบกรับ ภารกิจหน้าที่การเป็นผู้ปกครองเหนือประชาชาติ” (6) เหล่านี้คือเงื่อนไขต่าง ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิด “ความ มีสิทธิอันชอบธรรม” ส�ำหรับอิมาม (ผู้น�ำ) ดังเช่นที่ท่าน กล่าว ‫إن لنا حق ًا إن نعطه نأخذه‬ َ " “แท้จริงส�ำหรับเรานั้นมีสิทธิอันชอบธรรมอยู่ หาก พวกเขามอบมันให้เรา เราก็จะรับมัน” (7) ด้วยกับความมีสิทธิอันชอบธรรมของอิมาม (ผู้น�ำ) การปกครองก็จะเกิดความชอบธรรม ไม่ว่าประชาชนจะ ยอมรับหรือปฏิเสธก็ตาม ดังนั้นในทฤษฎีนี้ ประชาชน ไม่มีบทบาทในการก�ำหนดการปกครองหรือรัฐบาล แม้ รัฐบาลอิสลามจะไม่มีศักยภาพ ในการสนองตอบผล

ประโยชน์ต่าง ๆ ของพวกเขาก็ตาม

หลักฐานเกี่ยวกับการยอมรับ และความพึงพอใจของประชาชน

บนพื้นฐานของทฤษฎีนี้ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบ ภารกิจในการปกครองให้เป็นหน้าที่ของประชาชน และ ความชอบธรรมของผู้ปกครองแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับความ ต้องการของประชาชน ประเด็นเกี่ยวกับมุมมองของอิมามอะลี (อ.) และ ความชอบธรรมของรัฐบาลของท่านนั้น มีการอ้างอิงหลัก ฐานจากค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ ที่มาจากท่าน ซึ่งใน ค�ำรายงานเหล่านั้นเราจะเห็นส�ำนวนต่างๆ อย่างเช่น “ชู รอ” (คณะที่ปรึกษา) "บัยอะฮ์" (การให้สัตยาบัน) และ "การ เห็นพ้องต้องกันของประชาชน" ในค�ำรายงานบทหนึ่ง อิมาม (อ.) กล่าวกับมุอาวิยะฮ์ว่า ‫إنّما الشوری للمهاجرین و األنصار فإن اجتمعوا علی‬ ‫رضی‬ ّ ‫رجلٍ و‬ ً ‫سموه إمام ًا ان ذل هلل‬ “อันที่จริงชูรอ (คณะที่ปรึกษา) จากชาวมุฮาญิรีน และชาวอันศอรนั้น หากพวกเขาเห็นพร้องในบุคคลใด และเรียกบุคคลนั้นว่าอิมาม (ผู้น�ำ) ของเขา สิ่งนั้นก็จะ เป็นความพึงพอพระทัยส�ำหรับพระผู้เป็นเจ้า” (8) หนึ่งวันหลังจากการเลือกตั้ง อิมามอะลี (อ.) ได้ กล่าวกับประชาชนว่า “โอ้ประชาชนเอ๋ย! ภารกิจ (การ ปกครอง) นี้เป็นเรื่องของพวกท่าน และไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ใน การปกครองเหนือพวกท่าน นอกจากบุคคลที่พวกท่าน ได้เลือกเขาขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง (อะมีร) ของตนเอง เมื่อ วานหลังจากที่เราแยกย้ายจากกัน ฉันไม่ปรารถนาที่จะ ยอมรับอ�ำนาจการปกครองเหนือพวกท่าน แต่พวกท่าน ไม่ยอมนอกจากว่าฉันจะต้องจัดตั้งรัฐบาล แล้วพวกจึง จะพอใจ ท่านทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ฉันมิใช่ผู้ถือกุญแจคลัง ของพวกท่าน และฉันไม่สามารถแม้แต่จะเอาเงินเพียง หนึ่งดิรฮัมจากบัยตุ้ลมาล (กองคลัง) โดยไม่ชอบธรรมได้" (9)

การรวมตัวกันของประชาชน

ผู้ปฏิวัติจากดิน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 79


แดนต่างๆ ที่กรูกันเข้ามาในเมืองมะดีนะฮ์ เพื่อที่จะให้ สัตยาบัน (บัยอะฮ์) ต่ออิมาม (อ.) นั้น ท่านได้กล่าวว่า ‫ و اعلموا انی ان اجبتم‬.... ‫دعونی و التمسوا غیری‬ ‫ربت بم ما اعلم و لم اصغ الی قول القائل و عتب‬ ‫ و ان ترتمونی فانا احدم و لع ّلی‬،‫العاتب‬ ‫اسمعم و اطوعم لمن ولیتموه امرم‬ “โอ้ประชาชนเอ๋ย! จงละไปจากฉันเถิด และจง ไปขอร้องคนอื่นจากฉัน... และท่านทั้งหลายจงรู้เถิดว่า แท้จริงแล้ว หากฉันตอบรับการเรียกร้องของพวกท่าน ฉันจะปฏิบัติกับพวกท่านตามสิ่งที่ฉันรู้ และฉันจะไม่ รับฟังค�ำพูดของผู้พูด และการติเตียนของผู้ติเตียนคน ใด และถ้าหากพวกท่านละวางไปจากฉัน ฉันก็จะเป็น เหมือนกับพวกท่าน และบางทีฉันอาจจะเป็นผู้รับฟังและ เป็นผู้ปฏิบัติตามบุคคล ที่พวกท่านเลือกเขาให้ท�ำหน้าที่ ปกครองพวกท่านได้ดีกว่าพวกท่าน” (10) จากส�ำนวนค�ำพูดเหล่านี้ ส�ำหรับการยอมรับและ ความพึงพอใจของประชาชนในการเลือกผู้ปกครองนั้น สามารถสรุปได้เช่นนี้คือ 1. ตามเงื่อนไขในค�ำปราศรัย (คุฏบะฮ์) นี้คือ ประชาชนมีเสรีภาพที่จะเลือกหรือไม่เลือกผู้ปกครองคน ใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ 2. จากส�ำนวนค�ำพูดที่ว่า «‫»إِن أجبتم‬ "หากฉันตอบรับ (การเรียกร้องของ) พวกท่าน" จะ เข้าใจได้ว่า การร้องขอและความต้องการของประชาชนมี บทบาทส�ำคัญในการคัดเลือกท่านให้ท�ำหน้าที่ผู้ปกครอง (คิลาฟะฮ์) 3. จากส�ำนวนค�ำพูดที่ว่า «‫»إن ترتمونی‬ "หากพวกท่านละวางไปจากฉัน" เป็นที่เข้าใจได้ว่า ถ้าหากพวกเขาละวางไปจากตัวอิมาม (อ.) ท่านก็จะไม่ ได้เป็นผู้ปกครอง 4. จากส�ำนวนค�ำพูดที่ว่า « ‫» من ولیتموه امرم‬

80 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

“ผู้ที่พวกท่านเลือกเขา ให้ท�ำหน้าที่ปกครองพวก ท่าน” ท�ำให้ทราบว่า การมอบหมายอ�ำนาจการปกครอง ให้ผู้ใดนั้นอยู่ในอ�ำนาจการตัดสินใจของประชาชน ดังนั้นในทางทฤษฎีนี้ การปกครองหรือรัฐบาล ถือว่าเป็นเรื่องของมนุษย์ ที่จะเลือกได้ตามเจตนารมณ์ และความต้องการของประชาชน และมีความพยายามที่ จะท�ำให้ความชอบธรรม ในการปกครองแห่งอิสลามนั้น เข้าใกล้กับระบอบประชาธิปไตย (Democracy) การรวมระหว่างค�ำรายงานทั้งสองกลุ่ม เกี่ยวกับ ความชอบธรรม สมมุติฐานความถูกต้อง (ซอเฮี๊ยะฮ์) ของค�ำ รายงาน (ริวายะฮ์) ต่างๆ เหล่านี้ สมมุติฐานนี้เป็นสิ่ง ชัดเจนยิ่งว่า ความขัดแย้งในมุมมองของบรรดาอิมาม (อ.) เป็นเรื่องที่ถูกปฏิเสธและย่อมจะไม่เกิดขึ้น และสิ่ง ที่ปรากฏในเนื้อหาต่างๆ ของค�ำรายงานทั้งหลายนั้น เป็นการบ่งชี้ถึงแง่มุมต่างๆ ของข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น บางส�ำนวนของจดหมายและค�ำปราศรัย (คุฏบะฮ์) เหล่านี้ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นในสภาพเงื่อนไข บางอย่างอันเป็นเฉพาะส�ำหรับบุรุษที่สอง (ผู้ฟังและผู้รับ จดหมาย) และเฉพาะกลุ่มของการโต้แย้งและยึดเอา เหตุผลตามความเชื่อของบุรุษที่สอง (บุคคลที่สนทนา ด้วย) (11) อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าวิธีการที่ดีที่สุด คือ การรวมระหว่างค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) เหล่านี้ นั่นก็คือ เนื่องจากกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ของการเกิด ขึ้นของอ�ำนาจการปกครองนั้นมีความแตกต่างกัน ค�ำ รายงาน (ริวายะฮ์) เหล่านั้นจึงถูกกล่าวออกมาตามความ สอดคล้องกับขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ 1. ขั้นตอนของการพิสูจน์คุณสมบัติ ในขั้นตอนนี้ ผู้ปกครองเพียงแต่ แสดงให้เห็นถึง เงื่อนไขและคุณลักษณะเฉพาะต่างๆ ของการเป็นตัวแทน ผู้สืบทอดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) มีสิทธิอันชอบธรรม ในต�ำแหน่งการท�ำหน้าที่ปกครอง เป็นไปได้ว่า ผู้ปกครองผู้นี้อาจจะไม่ประสบความส�ำเร็จ ในอ�ำนาจการปกครอง และการเป็นผู้น�ำประชาชาติ


อิสลาม แต่ในขั้นตอนนี้ เขาได้รับในส่วนของความชอบ ธรรมแล้ว เหมือนกับกรณีเช่น นายแพทย์ผู้หนึ่งซึ่งด้วยกับ ความจ�ำเป็นในวิชาชีพและความเชี่ยวชาญ ท�ำให้เงื่อนไข หรือคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ของการเป็นแพทย์เกิดขึ้นแล้ว ส�ำหรับเขา ไม่ว่าประชาชนจะยอมรับเขาและไปหาเขา เพื่อให้เยียวยารักษาความเจ็บป่วย หรือไม่มีใครยอมรับ เขาอย่างเป็นทางการ และไม่ไปหาเขาเพื่อให้เยียวยา รักษาก็ตาม บรรดาอิมามของชีอะฮ์ก็เช่นกัน ด้วยเหตุผล ของ “การแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า” และมีคุณลักษณะ ต่างๆ ของความเป็นผู้น�ำ (อิมามะฮ์) พวกท่านคือผู้มี ความชอบธรรมจากพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ดังเช่นที่ท่าน ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวเกี่ยวกับอิมามฮา ซัน (อ.) และอิมามฮูเซน (อ.) ว่า «‫»الحسن و الحسین إمامان قاما أو قعدا‬ "ฮาซันและฮูเซนนั้นคืออิมาม (ผู้น�ำ) ไม่ว่าเขาทั้ง สองจะยืนหยัดหรือจะนั่ง (อยู่กับบ้าน) ก็ตาม" (12) ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) เหล่านี้ได้ตอกย�้ำถึง “สิทธิอันชอบธรรม” ในขั้นตอนนี้ 2. ขั้นตอนของการปฏิบัติ เกี่ยวกับแพทย์ แม้ว่าจะไม่มีผู้ป่วยมาพบ เขาก็ยัง คงมีสิทธิและความชอบธรรมในความเป็นแพทย์อยู่ แต่ ในความจริงเขาเพียงไม่ได้รับเตาฟีก (ความส�ำเร็จ) หรือ โอกาสในการรักษาผู้ป่วยเท่านั้น และเป็นเหตุท�ำให้สังคม ถูกลิดรอนจากการด�ำรงอยู่ของเขา อิมาม (ผู้น�ำ) ของชาว มุสลิมก็เช่นเดียวกัน แม้ในขั้นตอนของการพิสูจน์หรือ การปรากฏของคุณสมบัตินั้นจะมีความชอบธรรมก็ตาม แต่ตราบใดที่โอกาสยังไม่เปิดให้ การยอมรับของสังคม และความพึงพอใจของประชาชนก็ยังไม่เกิดขึ้น เขาก็ไม่ สามารถที่จะท�ำให้ภารกิจหน้าที่ต่าง ๆ ของความเป็นผู้น�ำ เป็นจริงขึ้นมาได้ ในทัศนะของชีอะฮ์ ตลอดระยะเวลา 25 ปีของ อิมามอะลี (อ.) ที่นั่งอยู่กับบ้านนั้น ท่านมีความชอบธรรม และมีสิทธิ์อันชอบธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า และบรรดา ค่อ ลีฟะฮ์ (ผู้ปกครอง) คือผู้แย่งชิงสิทธิ์ของท่าน แม้ว่าท่านจะ

มี "สิทธิ" และความชอบธรรมก็ตาม สังคมได้ถูกลิดรอน และถูกยับยั้งจากความดีงามของความเป็นผู้น�ำของท่าน ดังนั้นในขั้นตอนนี้ การเปิดทางของประชาชนและการ ยอมรับของสาธารณชนในตัวผู้ปกครองอิสลาม ถือเป็น เงื่อนไขส�ำคัญขั้นพื้นฐานในการใช้อ�ำนาจปกครอง และ ค�ำรายงาน (ริวายะฮ์) ที่ชี้ถึงการยอมรับของประชาชน และการให้สัตยาบัน (บัยอะฮ์) ของสาธารณชน รวมทั้ง ในเรื่องของชูรอ (สภาที่ปรึกษา) ของชาวมุฮาญิรีนและ ชาวอันซ๊อร ล้วนเป็นค�ำรายงานที่อ้างถึงขั้นตอนนี้ จาก สิ่งที่ได้อธิบายไปนั้นสามารถสรุปได้ว่า ความชอบธรรม ของรัฐบาลอิสลามนั้นมีสองขั้นตอนด้วยกัน ขั้นตอนแรก คือ การได้รับมาซึ่งเงื่อนไขและคุณลักษณะต่าง ๆ ของ ความเป็นผู้น�ำและการแต่งตั้งจากพระผู้เป็นเจ้า ส่วนขั้น ตอนที่สองคือ ได้รับการยอมรับและความพึงพอใจจาก สาธารณชน ดังนั้นการปกครองและรัฐบาลของอิมามอะ ลี (อ.) จึงมีความชอบธรรมอย่างสมบูรณ์ เชิงอรรถ 1) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์อัลกะลาม 3 2) บิฮารุลอันวารอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซึเล่มที่ 75 หน้า 359 3) วักอะฮ์ ซิฟฟีนนัศร์ บินมุซาฮิมหน้า 15 4) บิฮารุลอันวารอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซึเล่มที่ 25 หน้า 164 5) ชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์อิบนุอะบิลฮะดีดเล่มที่ 9 หน้า 328 6) ชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์อิบนุอะบิลฮะดีดเล่มที่ 3 หน้า 310 7) ชัรฮ์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์อิบนุอะบิลฮะดีดเล่มที่ 6 หน้า 167 8) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์อัรริซาละฮ์ 6 9) อัลกามิล ฟิตตารีคอิบนุอะซีรเล่มที่ 3 หน้า 193-194 10) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์อัลคุฎบะฮ์ 91 11) วิลายะเต่ ฟะกีฮ์อับดุลลอฮ์ ญะวาดี ออมูลีหน้า 118119 12) เดาลัต ดัรอันดีเชฮ์ ซียาซี ฟอราบีหน้า 123-131

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 81


บทความ เชค อิมรอน พิชัยรัตน์

บทบาทศาสนา และการตื่นตัวของ

ประชาคมโลก

ในมุมมองของ

อิมามโคมัยนี

ารศึกษาท�ำความเข้าใจและวิเคราะฮ์เกี่ยว กับประเด็นการตื่นตัวของโลกอิสลาม อยู่ ในแผนงานที่ชาติมหาอ�ำนาจได้วิจัยอย่างเอาจริงเอา จัง ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากความกลัว ความหวาดระแวง ที่พวกเขามี อีกทั้งเพื่อหาหนทางในการเผชิญและ ท�ำลายคลื่นแห่งการตื่นตัวนี้ เจ้าทฤษฎีแห่งยุคต่างก็ ยอมรับว่าการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านภายใต้การน�ำ ของอิมามโคมัยนีคือปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลต่อการตื่นตัว ของโลกอิสลาม ท่ า นผู ้ น� ำ สู ง สุ ด แห่ ง สาธารณรั ฐ อิ ส ลามแห่ ง อิหร่าน กล่าวถึงปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า“ก่อนการ ปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านกลุ่มประเทศอิสลามมีกลุ่ม ต่างๆ กลุ่มคนหนุ่มสาว กลุ่มนักเคลื่อนไหว กลุ่มพวก เรียกร้องเสรีภาพ เข้าสู่สนามแห่งนี้ แต่หลังจากการ ปฏิ วั ติ อิ ส ลามแห่ ง อิ ห ร่ า นเกิ ด ขึ้ น บรรทั ด ฐานของ การขับเคลื่อนและขบวนการเรียกร้องเสรีภาพก็เป็น อิสลาม ทุกพื้นที่ของโลกอิสลามยุคนี้ที่มีกลุ่มเรียกร้อง

82 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

เสรีภาพ ต่อต้านชาติมหาอ�ำนาจ บรรทัดฐานหลักและ อุดมการณ์หลักของกลุ่มเหล่านั้นก็คืออิสลาม” อุปสรรคขวางกั้นการตื่นตัวของโลกอิสลามใน มุมมองของอิมามโคมัยนี ได้แก่ 1. การบิดเบือนอิสลาม การให้สังคมอิสลามเหินห่างจากหลักธรรมค�ำ สอนของอิสลาม และดัดแปลงสาส์นหลักแห่งการเรียก ร้องความยุติธรรมของอิสลาม ท�ำให้ศาสนานี้ร่วงโรย จากความรุ่งโรจน์ และต้องประสบกับการบิดเบือน หลักธรรมค�ำสอน ความหมายอันทรงคุณค่าของหลัก ธรรมค�ำสอนอิสลาม เช่น ความยุติธรรม การพลีชีพ ฮัจญ์ การต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า (ญิฮาด) การเชิญ ชวนสู่การท�ำความดี การห้ามปรามจากการท�ำความ ชั่วและ ฯลฯ ถูกบิดเบือนจากความหมายอันบริสุทธิ์ หรือถูกท�ำให้ลืมเลือนไป อันเนื่องจากเป็นความหมาย ที่เป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของชาติมหาอ�ำนาจ โดยพยายามน�ำความหมายอื่นเข้ามาสอดแทรก เช่น


การก�ำหนด การลิขิต (กอฎอ กอดัร ) การเกิดขึ้นใหม่ (ฮุดู ษ)หรือความดั้งเดิม (กอดีม) ของอัลกุรอาน และความ หมายอื่ น ๆในลั ก ษณะนี้ เ พื่ อ ที่ จ ะควบคุ ม อุ ณ หภู มิ ศาสนาของผู้คนและให้นักวิชาการสาละวนอยู่กับการ หาค�ำตอบทางวิชาการของความหมายต่างๆ นั้น อีกด้านหนึ่งความเป็นนิกาย ความเป็นอาหรับ บทบาททางความคิดของกรีกที่เข้ามาในโลกอิสลาม วัฒนธรรมที่นอกเหนือจากวัฒนธรรมอิสลาม อิทธิพล ทางการศึกษาของโลกตะวันตก ท�ำให้อุดมการณ์ของ อิสลามค่อยๆจางหายไป จนในที่สุดท�ำให้เกิดความคิด หนึ่งขึ้นว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ไม่เข้ากับยุค กลุ่มปัญญาชนลืมความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม ของตน กลับเห็นว่ากุญแจไขสู่การพัฒนา แม้แต่ความ รอดพ้ น ของสั ง คมนั้ น อยู ่ ที่ ก ารศึ ก ษาจากโลกตะวั น ตก อิมามโคมัยนีได้กล่าวถึงประเด็นนี้กับคณะเจ้า หน้าที่ที่ได้เข้าพบท่านว่า พวกศัตรูเห็นทางรอดของ พวกเขาแล้วว่า อิสลามต้องไม่มีอยู่ในประเทศนี้หรือ มีอิสลามแต่ไม่มีแก่นสารอันใดแม้ว่าพวกเขาไม่อาจ ที่จะท�ำลายอิสลามให้สิ้นซากไปได้ แต่อย่างน้อยพวก เขาก็ประสบความส�ำเร็จในการท�ำลายเนื้อหาสาระ ของศาสนาอิสลาม จึงเห็นได้ว่านักฟื้นฟูแนวคิดอิสลามในสังคม อย่างเช่นท่านซัยยิดญะมาลลุดดีน เชคมุฮัมมัด อับดุฮ์ มุฮัมมัด อิกบาลและดร. อะลี ชะรีอะตี เป็นต้น พยายาม น�ำความหมายที่ถูกบิดเบือนและท�ำให้ลืมเลือนไปจาก สังคมอิสลามนั้นกลับคืนมาอีกครั้ง อิมามโคมัยนีตอบ ค�ำถามเกี่ยวกับรากเหง้าและที่มาของการปฏิวัติ ค�ำถาม “ฉันคิดว่า ขบวนการที่เกิดขึ้นในอิหร่าน ถือได้ว่าเป็นยุคเรอเนซองส์ของชีอะฮ์ ท่านช่วยอธิบาย ได้ไหมว่าอะไรคือภารกิจและการต่อสู้ในช่วงสามสิบปี หลังนี้” ค�ำตอบ “หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นยิ่งของ ชีอะฮ์ตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงปัจจุบันนี้คือ การยืนหยัด ต่อสู้กับเผด็จการและการกดขี่ ซึ่งประจักษ์ได้จาก

ประวัติศาสตร์ของชีอะฮ์ ถึงแม้ว่าจุดสูงสุดของการยืน หยัดต่อสู้นี้จะมีปรากฏในบางช่วงยุคสมัย ในช่วงหนึ่ง ร้อยปีหลังนี้ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้นซึ่งขบวนการ ทั้งหมดนั้นส่งผลต่อประชาชาติอิหร่านในวันนี้” อิ ม ามโคมั ย นี เ พี ย รพยายามให้ ก ารปกครอง เป็นการปกครองของประชาชน นับได้ว่าการเกิดขึ้น ของระบบการปกครองแบบสาธารณะรัฐที่วางอยู่บน พื้นฐานของอิสลามและนักวินิจฉัยศาสนา เป็นเรื่อง ใหม่และน่าทึ่ง 2. ผู้ปกครองกลุ่มประเทศอิสลาม หนึ่งในปัญหาอุปสรรคขวางกั้นขบวนการการ ตื่นตัวของโลกอิสลามคือ ผู้ปกครองกลุ่มประเทศ อิสลาม พวกเขาคิดว่าอิสลามอันบริสุทธิ์นั้นขัดกับผล ประโยชน์ส่วนตัวของพวกเขา อิมามโคมัยนีกล่าวว่า “ปัญหาของมุสลิมคือการปกครองของมุสลิมเอง การ ปกครองเหล่านี้นี่เองที่วันนี้ได้พาบรรดามุสลิมมาถึง จุดนี้” “สนธิสัญญาอันอัปยศของบรรดาผู้ปกครอง ที่ไม่มีประโยชน์อันใดแก่กลุ่มประเทศอิสลาม ชี้ให้ เห็ น ถึ ง ความเจ็ บ ปวดที่ ร ่ า งอั น รวยริ น ของอิ ส ลาม และบรรดามุสลิมได้รับ แต่เราก็หวังว่าขบวนการนี้ที่ น� ำ ความกระจ่ างมาให้ แก่ ประชาชาติ อิ ห ร่ า นจะน� ำ ความกระจ่างมาให้แก่ประชาชาติอื่นๆ ด้วย ขณะนี้ ประชาชาติต่างๆอยู่กับเรา หากปลายหอกถูกถอด ออกจากจากกลุ่มประเทศอิสลาม ถูกถอดออกจาก อิรัก จากตุรกี ทั้งหมดก็จะพร้อมเพรียงกันกับเรา ที่จะ ขัดขวางปลายหอกนั้น ทว่าอิหร่านได้หักปลายหอกนั้น ทิ้งไป และยืนหยัดต่อสู้...” อิมามโคมัยนีถือว่าบรรดา ผู้ปกครองกลุ่มประเทศอิสลามคือผู้ค�้ำจุนอ�ำนาจมาร ร้ายที่ให้บรรดามุสลิมออกห่างจากอิสลามอันบริสุทธิ์ 3. ความแตกแยกขัดแย้ง กับผู้ที่มองอะไรอย่างผิวเผิน อิมามโคมัยนีไม่ได้มองว่าเอกภาพเป็นเทคนิค หรื อ เครื่ อ งมื อ ที่ จ ะท� ำ ให้ ก ารปฏิ วั ติ บ รรลุ เ ป้ า หมาย ทางการเมือง อิมามโคมัยนีได้ให้นิยามแก่ “เอกภาพ”

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 83


ว่าเป็นหลักการของอิสลาม และเป็นสิ่งที่จะน�ำไปสู่ ความส�ำเร็จในการเผชิญกับพวกศัตรู และให้บรรดา มุสลิมหลุดพ้นจากสภาพที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ทั้งที่ท่าน เป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่ออะฮ์ลุลบัยต์ แต่ท่าน ไม่เห็นด้วยที่จะจัดการประชุมสร้างความแตกแยกขึ้น มาในหัวข้อสนับสนุนอะฮ์ลุลบัยต์ อิมามโคมัยนีกล่าว ว่า “ฉันขอประกาศอย่างชัดเจนว่า สาธารณรัฐ อิสลามแห่งอิหร่านจะเพียรพยายามอย่างเต็มก�ำลัง ในการฟื้นฟูอัตลักษณ์แห่งอิสลามของบรรดามุสลิม ทั่วโลกและไม่มีเหตุผลใดเช่นกันที่มุสลิมจะไม่เรียก ร้องเชิญชวนประชาคมโลกให้ปฏิบัติตามหลักการแห่ง การครอบครองอ�ำนาจ และจะไม่ขัดขวางการสวาปาม ของชาติมหาอ�ำนาจ เราต้องจัดระเบียบแบบแผนขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและพิทักษ์ผลประโยชน์ของ ประชาชาติอิหร่าน เราต้องสานสัมพันธ์กับประชาชน ทั่วโลก และเข้าถึง" ปัญหาของมุสลิม ให้การสนับสนุนบรรดาผู้ด้อย โอกาสอย่างเต็มก�ำลัง เราต้องเตรียมพร้อมตัวเองใน การเผชิญหน้ากับตะวันออกและตะวันตก ด้วยอ�ำนาจ แห่งอิสลาม แห่งความเป็นมนุษยธรรม ด้วยกับนาม อิสลามและการปฏิวัติของเรา มือที่ไม่บริสุทธิ์ที่เข้า มาสร้างความแตกแยกระหว่างซุนนีและชีอะฮ์ เท่ากับ ได้ จ� ำ กั ด ผลและอิ ท ธิ พ ลของการปฏิ วั ติ อิ ส ลามแห่ ง อิหร่าน และเท่ากับเป็นการขัดขวางการขยายผลการ ปฏิวัติอิสลามสู่ภูมิภาคซุนนี เพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมาย อันนี้จะเห็นได้ว่าอิมามโคมัยนีได้ปฏิบัติเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเรื่องปาเลสไตน์ เรื่องกุดส์ เรื่องฮัจญ์ เป็นต้น 4. การฉายภาพลักษณ์ความศักดิ์สิทธิ์ ที่แห้งผาก อิมามโคมัยนีถือว่าการฉายภาพลักษณ์ความ ศักดิ์สิทธิ์ที่แห้งผาดนั้นคือหนึ่งในปัญหาและอุปสรรค ในการขบวนการตื่นตัวของมุสลิม จ�ำเป็นที่จะต้อง ท�ำความรู้จักกับความเขลานี้และต่อสู้กับมัน อิมาม

84 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

โคมัยนีกล่าวว่า “อเมริกาและชาติมหาอ�ำนาจมีบุคลากรในทุก ภาคสนาม ในสถาบันศาสนา ในมหาวิทยาลัย ฉันย�้ำถึง อันตรายจากพวกที่ฉายภาพความศักดิ์สิทธิ์หลายครั้ง แล้ว พวกเขาได้ท�ำลายการปฏิวัติจากด้านในด้วยการ ฉายภาพความศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาได้แนะน�ำความไม่มี ศาสนาด้วยมาดแห่งการอยู่ฝ่ายสัจธรรม ฝ่ายศาสนา และวิลายัต เราต้องขอความคุ้มครองจากความชั่วร้าย ของพวกนี้ยังอัลลอฮ์ ปัจจุบันโลกกระหายอิสลามอัน บริสุทธิ์” พวกนี้จะแสดงตนเป็นผู้เคร่งครัดผู้สมถะ และ กลุ่มนี้นี่เองที่ได้ฟาดฟันเรือนร่างอิสลามมาแล้วใน หน้าประวัติศาสตร์ ดังเช่นกลุ่มมาริกีนในยุคอิมามอะ ลี (อ.) ที่ภายนอกแสดงตนเป็นผู้เคร่งครัดศาสนา แต่ พวกเขานี่ เองที่ ฟาดฟั น การปกครองของอิ มามอะลี (อ.) ต้องไม่ถือว่าอันตรายจากกลุ่มพวกนี้เป็นเรื่องเล็ก น้อย กลุ่มพวกนี้จะตกเป็นเครื่องมือของศัตรูได้อย่าง ง่ายดาย พวกนี้จะตกหลุมพรางแห่งการหว่านล้อม และท้ายที่สุดก็ยังยืนกรานว่าที่ท�ำไปนั้นเป็นหน้าที่อีก ต่างหาก ! 5. ฉายภาพลักษณ์ความเป็นปัญญาชน ดังที่การฉายภาพความศักดิ์สิทธิ์เป็นปัจจัยขัด ขวางการตื่นตัวของโลกอิสลาม การคลั่งไคล้ตะวัน ออกและตะวั น ตกเป็ น เป็ น ปั จ จั ย ให้ อ อกห่ า งจาก อิสลามเช่นกัน ปัจจุบันประชาชาติต่างๆได้จุดประกาย ความเป็นปัญญาชนขึ้น และเป็นยุคแห่งการขับเคลื่อน ของประชาชาติต่างๆ แต่สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากฝัง ประชาชาติต่างๆไว้ก็คือ อย่ายึดถือว่าบรรทัดฐานของ ความเป็นปัญญาชนนั้นมาจากการปฏิบัติตามตะวัน ตก และปล่อยให้การแนะน�ำอิสลามเป็นหน้าที่ของ พวกเขา 6. นักการศาสนาที่แสวงหาอ�ำนาจ และหลงทางโลก ในขณะที่อิมามโคมัยนีให้เกียรติยกย่องบรรดา นักการศาสนาอย่างมาก ท่านก็ท้วงติงพวกเขาอย่าง


เอาจริงเอาจังเช่นกัน อิมามโคมัยนีรังเกียจนักการ ศาสนาที่แสวงหาอ�ำนาจและหลงทางโลกนั้นเลวร้าย ยิ่งสายลับซาวักเสียอีก และถือว่าพวกนี้เป็นเครื่องมือ ที่ดีส�ำหรับศัตรูอิสลาม อิมามโคมัยนีกล่าวว่า “การสร้างความแตกแยกระหว่างนิกายต่างๆ นั้นเป็นแผนการของชาติมหาอ�ำนาจที่ได้ผลประโยชน์ จากความแตกแยกของหมู่มุสลิม เราประสบกับปัญหา กั บ บางกลุ ่ ม ที่ เ ผยแผ่ อิ ส ลามซึ่ ง บ้ า งก็ เ ป็ น นั ก การ ศาสนาที่มีบทบาทในประเทศต่างๆ ได้กล่าวว่าเรา เป็นผู้ปฏิเสธ (กาเฟร) ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่เป็นผู้ที่อยู่ ในชุดมุฟตี (ผู้วินิจฉัยศาสนา) การกระท�ำต่างๆนี้ขัด แย้งกับหลักการของอิสลามและเป็นที่ถูกอกถูกใจของ ชาติมหาอ�ำนาจ หากพวกเขายอมปล่อยบังเหียนแห่ง อ�ำนาจการปกครอง และไม่ท�ำลายความเป็นเอกภาพ ของพวกเรา แน่นอนเราย่อมได้รับชัยนะ อินชาอัลลอฮ์” การตื่ น ตั ว ของกลุ ่ ม ประเทศอิ ส ลามในช่ ว ง ทศวรรษหลังนี้นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่าทึ่งทีเดียว เป็นปรากฏการณ์ที่ชาติมหาอ�ำนาจให้ความสนใจและ ท�ำการศึกษาค้นคว้า วิจัย ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากความ กลัว ความหวาดผวา และเพื่อหาทางเผชิญ จ�ำกัด การขยายวงกว้างของการตื่นตัวและท�ำลายการตื่น ตัวนี้ เห็นได้ว่าในช่วงแรกของการปฏิวัติอิสลามแห่ง อิหร่าน ชาติมหาอ�ำนาจพยายามที่จะใช้กองก�ำลังเข้า จู่โจมอิหร่าน เพราะพวกเขาเล็งเห็นแล้วว่าการปฏิวัติ อิ ส ลามแห่ ง อิ ห ร่ า นคื อ มี บ ทบาทที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ในการ จุดประกายไฟแห่งการเรียกร้องเสรีภาพ อิสรภาพ อัต ลักษณ์แห่งอิสลามและมีอิทธิพลส่งผลที่จะฝังรากลึก ลงในกลุ่มประเทศต่างๆ อิทธิพลของการปฏิวัติอิสลาม แห่งอิหร่านต่อการตื่นตัวของโลกอิสลาม นักทฤษฎีแห่งยุคต่างก็เชื่อว่าการปฏิวัติอิสลาม แห่งอิหร่านคือปัจจัยส�ำคัญในการตื่นตัวของมุสลิม เห็นได้ว่าการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านมีอิทธิพลต่อ กลุ่มประเทศอิสลามจากการบรรยายของเหล่าแกน

น�ำที่ได้ยึดเอาการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเป็นแบบ อย่าง ซึ่งอิมามโคมัยนีกล่าวไว้ว่า “เสียงแห่งการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ในอิหร่าน ได้ สะท้อนในกลุ่มประเทศอิสลาม และเป็นเสียงที่สร้าง ความภาคภูมิ” ก่อนการปฏิวัติจะเกิดขึ้นประมาณ 10 วัน นัก ข่าวได้ถามอิมามโคมัยนีว่า “ท่านคิดว่าสถานการณ์ ในอิหร่านจะขยายวงกว้างสู่ตุรกีหรือไม่” อิมามโคมัยนี กล่าวว่า “ขบวนการอันศักดิ์สิทธิ์ของอิหร่านเป็นขบวน การที่เป็นอิสลาม ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่จะส่งผลต่อ มุสลิมทั่วโลก” การตื่นตัวของมุสลิม โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ อิสลาม การย้อนกลับสู่คัมภีร์อัลกุรอาน การยึดมั่นใน วัฒนธรรมอันมั่งคั่งของอิสลามการถือเอาการปฏิวัติ อิสลามแห่งอิหร่านเป็นแบบอย่าง ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เป็น เรื่องง่ายเลยที่ชาติมหาอ�ำนาจจะสลายมันให้หมดไป ในพริบตา อเล็กซานเดอร์เฮก อดีตรัฐมนตรีกระทรวง ต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ในยุคประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกนกล่าวไว้ว่า “ผมคิดว่าปัญหาที่อันตรายกว่านี้ คือการขยาย วงกว้างของขบวนการอิสลาม ที่เกิดขึ้นในอิหร่าน และ ตอนนี้ ไ ด้ รุ ก คื บ สู ่ อิ รั ก และกลุ ่ ม ประเทศอาหรั บ สาย กลาง หากไม่อาจควบคุมได้ ก็จะเป็นอันตรายที่สุดต่อ ผลประโยชน์ของชาติมหาอ�ำนาจ การยึดเอาอิหร่าน เป็นต้นแบบของมวลมุสลิมยังคงถูกถ่ายทอดออกมา เป็ น หนั ง สื อ ที่ ตี ต ลาดหนั ง สื อ และถู ก น� ำ เสนอในสื่ อ ต่างๆอย่างหนาหูหนาตา” แทบไม่เชื่อสายตาเลยว่า ในยุคนี้จะได้เห็น การปฏิวัติอิสลามเกิดขึ้น ต้องยอมรับว่าการปฏิวัติ อิสลามแห่งอิหร่านปลุกความคิดอิสลามให้ฟื้นขึ้นอีก ครั้ง และได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าหลักการของอิสลาม ยั ง คงด� ำ รงอยู ่ แ ละสามารถน� ำ มาปฏิ บั ติ ไ ด้ จ ริ ง ใน สังคมยุคปัจจุบัน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 85


บทความ เชค อิมรอน พิชัยรัตน์

โลก กับการตื่นตัวของ อิสลาม บ

ทความนี้ เ ป็ น บทความหนึ่ ง ที่ ผู ้ เ รี ย บเรี ย ง ต้องการน�ำเสนอ ซึ่งอาจไม่ใช่เนื้อหาใหม่ เพราะเป็นประเด็น ที่มีการพูดถึงบ่อยครั้ง ผู้ติดตาม สถานการณ์โลกคงได้อ่านหนังสือหรือบทความที่เกี่ยว กับประเด็นดังกล่าวนี้มาแล้ว เพียงแต่ว่าสถานการณ์โลก ปัจจุบันปรากฏให้เห็นเด่นชัดถึงกระบวนการตื่นตัวของ โลกอิสลาม ซึ่งเปรียบดังเกรียวคลื่นจากแม่น�้ำหลายสาย ที่เกิดจากต้นน�้ำแห่งพลังศรัทธาของบรรดามุสลิมหลาก หลายชาติพันธุ์ ความจริ ง เกลี ย วคลื่ น แห่ ง การตื่ น ตั ว ของโลก อิ ส ลามมี ป รากฏให้ เ ห็ น อย่ า งเด่ น ชั ด ในพิ ธี ฮั จ ญ์ อั น ศักดิ์สิทธิ์ ที่มุสลิมหลากหลายชาติพันธุ์ มารวมกันที่ บัยตุลลอฮ์ ด้วยศรัทธามั่นต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน ประกาศก้องถึงเอกานุภาพของพระองค์ด้วยประโยค เดียวกัน อาภรณ์เดียวกัน เดินรอยตามแบบอย่างของ บุคคลแห่งพระผู้เป็นเจ้า ณ ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่ง นี้เหมือนกัน โดยลืมความต่างแห่งชาติพันธุ์และสีผิว และ พลังแห่งเกรียวคลื่นอันมหาศาลนี้ ไม่ได้หมุนอยู่เพียงรอบ

86 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

บัยตุลลอฮ์อีกต่อไป แต่มันได้เขม็งเกรียวเพิ่มมากขึ้น มาก ขึ้น ในทุกมุมโลก ไม่ว่าจะทางทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ทิศเหนือ หรือทิศใต้ของโลกอิสลาม ที่ปรากฏให้เห็นอย่าง เด่นชัด การสร้างสถานการณ์ที่เลวร้ายแก่โลกอิสลามจาก ชาติมหาอ�ำนาจแห่งโลกตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกา และอังกฤษ นั้นเป็นผลมาจากความกังวลในการตื่นตัว ของโลกอิสลามนั่นเอง การเลือกใช้ค�ำว่า “ตื่น” ซึ่งตรงข้ามกับค�ำว่า “หลับ” และการหลับนั้นคือสภาวะทางร่างกายขณะไม่มี สติสัมปชัญญะ การรับรู้โลกภายนอก และความสามารถ ในการป้องกันตนเองจะลดลงอย่างมาก ไม่มีกิจกรรม ต่างๆของการใช้ชีวิต มนุษย์หายใจในขณะหลับแต่ไม่มี สติสัมปชัญญะ ไม่มีการคิด และการ “ตื่น” หมายถึง การกลับมามีสติสัมปชัญญะ กลับมามีชีวิตชีวา อัลลอฮ์ (ซบ.) และศาสนทูตแห่งพระองค์ได้เรียกร้องมนุษย์สู่การ มีชีวิตชีวา อันที่จริงแล้ว “การตื่นตัวของโลกอิสลาม” นั้น ให้ความหมายของ “การฟื้นฟูอิสลาม”นั่นก็หมายถึงการ


ท�ำให้ อิสรภาพ ความยุติธรรมและหลักธรรมค�ำสอนของ อิสลามมีชีวิตชีวา ซึ่งเป็นการฟื้นฟูศาสนา ไม่ใช่เป็นการ “แก้ไขศาสนา” ที่โลกตะวันตกต้องการให้ศาสนาต้อง ปรับเปลี่ยนเข้ากับยุคสมัย ทว่า “การฟื้นฟูศาสนา” หมาย ถึง การให้มนุษย์และสังคมกลับมามีชีวิตตามครรลอง และบรรทัดฐานของศาสนา หากเรามองย้ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ก็ จ ะเห็ น ได้ ว ่ า การฟื้นฟูศาสนานั้นเกิดขึ้นแล้วเมื่อ 14 ทศวรรษก่อน อิ ส ลามถู ก ประกาศขึ้ น ท่ า มกลางความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง ทางด้านอารยธรรม วัฒนธรรมของมหาอ�ำนาจแห่ง กรีก อาณาจักรโรมและเปอร์เซีย นับเป็นการพลิก ประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ อิสลาม มาปรากฏโดยได้ลบพรมแดนแห่งชาติพันธุ์ เผ่าพันธุ์ และภูมิศาสตร์ด้วยประโยค “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจา กอัลลอฮ์” เป็นพรมแดนใหม่ที่กว้างใหญ่ที่รวมชาติพันธุ์ เผ่าพันธุ์แห่งมนุษยชาติทั้งหมดเข้าด้วยกัน จนกลายเป็น พลังแห่งเกรียวคลื่นอันทรงพลังล้มชาติมหาอ�ำนาจแห่ง ยุคลงอย่างราบคาบ พรมแดนทางภูมิศาสตร์มิอาจขวาง กั้นเกรียวคลื่นนี้ได้อีกต่อไป มันได้ซอกซอนอารยธรรม วัฒนธรรม แนวคิด อุดมการณ์ หลักธรรมค�ำสอนเข้าสู่ ทุกๆส่วนของภูมิศาสตร์บนโลกใบนี้ เป็นยุคแห่งการเบ่ง บานอารยธรรมอิ ส ลามและในทางกลั บ กั น ถื อ เป็ น ยุ ค ตกต�่ำของโลกตะวันตกจนเรียกกันว่าเป็น “ยุคมืด” ของ โลกตะวันตก เพราะในการเผชิญกับอิสลามพวกเขาไม่มี สิ่งใดที่จะน�ำเสนอสู่มนุษยชาติอีกต่อไป สงครามครูเสด อันที่จริงแล้วเป็นจุดตรวจหนึ่งที่ โลกตะวันตกน�ำเข้ามาในโลกอิสลาม แม้ว่า 2 ศตวรรษที่ พวกเขาไม่อาจเอาชนะโลกอิสลามได้ด้วยกองก�ำลังทาง ทหาร แต่อย่างน้อยก็ท�ำให้พวกเขาได้รู้จักกับอารยธรรม วัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางด้านความคิดของโลก อิสลามอย่างช้าๆ จนเป็นการปูทางสู่การตื่นตัวของโลก ตะวันตกอีกครั้ง ยุคเรเนซองส์ (Renaissanc) ของโลก ตะวันตก เป็นยุคหลังจากยุคมืดสู่ยุคแห่งการเบ่งบาน พวกเขาสามารถเก็บเกี่ยวผลพวงจากโลกอิสลามท�ำให้

โลกตะวันตกค่อยๆพัฒนาขึ้นอย่างช้าๆจนเจริญก้าวหน้า อย่างน่าทึ่ง และศตวรรษที่ 1718และ19 ถือเป็นยุคเบ่ง บานของโลกตะวันตก และในช่วงศตวรรษนี้เอง เป็นยุคที่ น่าเสียดายที่โลกอิสลามหลับใหล อันเนื่องจากสองปัจจัย คือ หนึ่ง ผลพวงจากการล่าอาณานิคมทางความคิดและ ทางภูมิศาสตร์ที่ส�ำคัญของภูมิภาคนี้ สอง ความเผด็จการ และหลงทางของบรรดาผู้ปกครองของโลกอิสลามมุ่ง สู่เส้นทางแห่งการหลงทางจากแนวคิดอันบริสุทธิ์ของ อิสลาม บาดแผลที่ฝากไว้แก่โลกอิสลามจากสงครามโลก ครั้งที่หนึ่งคือ การล่มสลายของราชวงศ์อุษมานี ในยุค นี้ คือช่วงศตวรรษที่ 20 อันที่จริงแล้วถือเป็นยุคเริ่มต้นที่ โลกตะวันตกจู่โจมทางด้านกองก�ำลังทหารและทางด้าน ความคิดต่อโลกอิสลาม จนโลกอิสลามลืมอัตลักษณ์ของ ตน มองโลกตะวันตกเป็นต้นแบบและหวังว่าจะเจริญ รุ่งเรืองและพัฒนาได้อย่างโลกตะวันตก เพื่อชดเชยความ ล้าหลังของตน แต่ในยุคนี้ก็มีผู้ที่เข้าใจความเป็นจริงว่า สาเหตุความล้าหลังและหลับใหลของโลกอิสลามนั้นคือ การออกห่างจากอิสลาม ออกห่างจากแนวคิดอันบริสุทธิ์ ของอิสลาม บุคคลอย่างเช่นท่าน ซัยยิด ญะลาลุดดีน อะ ซัด ออบอดี ซัยยิดกุฏฏุบ ฮาซันบันนา ได้เพียรพยายาม อย่างมากเพื่อให้มุสลิมตื่นจากการหลับใหล ให้พวกเขา ได้เข้าใจว่าอะไรคือสาเหตุที่ท�ำให้พวกเขาพ่ายแพ้และล้า หลัง อี ก บาดแผลหนึ่ ง ที่ โ ลกตะวั น ตกฟาดฟั น โลก

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 87


อิสลามคือ การก่อรูปก่อร่างยิวไซออนิสต์ ที่ฝังหน่อไว้ ในประเทศปาเลสไตน์ที่ตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะครอบครอง ตั้งแต่ลุ่มน�้ำไนล์ (Niles ) จนถึงยูเฟรติส(Euphrates) ใน ยุคนี้เองนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษอาร์โน ลด์ โจเซฟ ทอยน์บี (Arnold Joseph Toynbee) ได้กล่าว ประโยคที่ส�ำคัญและเป็นประโยคประวัติศาสตร์ไว้ใน การวิเคราะฮ์อารยธรรมต่างๆไว้ในหนังสือ Civilization on Trial ว่า “อิสลามก�ำลังหลับใหล แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องค�ำนึงด้วยว่า หากพวกด้อยโอกาสของโลกได้ลุก ขึ้นต่อต้านโลกตะวันตก และต้องการผู้น�ำที่ต่อต้านโลก ตะวันตก การหลับใหลนี้ก็ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมา และเป็น ไปได้ที่เสียงแห่งการต่อต้านนี้ส่งผลต่อการลุกขึ้นทางจิต วิญญาณแห่งกองก�ำลังทหารของอิสลาม และหากจิต วิญญาณนี้มีมากเท่ากับบรรดาผู้หลับใหลเจ็ดชั้นย่อม ส่งผลอย่างไม่อาจชดเชยได้เลย เพราะเป็นไปได้ที่เสียง สะท้อนของยุคหนึ่งจะฉายแสงสู่ความเป็นวีรบุรุษ หาก ท�ำให้สถานการณ์ตอนนี้ของมนุษยชาติไปสู่สงครามเชื้อ ชาติหรือสงครามทางความเชื่อ ก็เป็นไปได้ที่อิสลามจะ ลุกขึ้นมาฉายบทบาททางประวัติศาสตร์ของตนอีกครั้ง” นี่คือเนื้อหาที่ อาร์โนลด์ ทอยน์บีน�ำเสนอไว้ในปี ค.ศ. 1947 กล่าวคือเมื่อ 50 กว่าปีก่อน และการท�ำนายของเขา ก็เป็นจริงขึ้นด้วยการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน ภายใต้ การน�ำของอิมามโคมัยนี (รฎ.) ซึ่งอิมามเรียกว่า “เป็นการ ระเบิดของรัศมี” การปฏิวัติที่เกิดขึ้นด้วยมือเปล่า ด้วย การมอบหมายต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ด้วยประโยค “อัลลอฮุ อักบัร – อัลลอฮ์ยิ่งใหญ่กว่า” คืนสู่อัตลักษณ์และคุณค่า แห่งอิสลาม ยืนหยัดต่อสู่กับชาติมหาอ�ำนาจ ซึ่งไม่เพียง แต่พลิกประวัติศาสตร์ของอิหร่านเท่านั้น ทว่าเป็นการ ปฏิวัติที่พลิกประวัติศาสตร์โลกอิสลามและยิ่งไปกว่านั้น เป็นการปฏิวัติที่พลิกประวัติศาสตร์มนุษยชาติ การปฏิ วั ติ ค รั้ ง นี้ ไ ด้ ป ลุ ก ให้ ม วลมุ ส ลิ ม ทั่ ว โลก ตื่นขึ้นจากการหลับใหล และขจรขจายไปทั่วโลกอย่าง รวดเร็วจนเกินที่จะหยุดยั้งไว้ได้ จะเห็นได้ว่าในเลบานอน ซึ่งเป็นชนชาติที่ถูกกดขี่ แต่บรรดาคนหนุ่มที่ศรัทธามั่น

88 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ได้ท�ำให้ชาติมหาอ�ำนาจ อย่างอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี อิสราเอล ต้องจ�ำนนและพ่ายแพ้ ในอัฟกานิสถาน ที่รู้จักกันในนามว่า “ป่าช้าของชาติมหาอ�ำนาจ” หลัง จากที่ได้ท�ำให้ชาติมหาอ�ำนาจอย่างอังกฤษ รัสเซีย และ อเมริกาต้องจ�ำนน ในตุรกี ในแอลจีเรีย และกลุ่มประเทศ อิสลามอีกมากมาย เสียงที่ดังก้องขึ้นในทุกพื้นที่นั่นก็คือ “อิสลาม” มุสลิมตื่นขึ้นแล้วบนหลักการสามประการที่ ส�ำคัญ คือ หนึ่ง การคืนกลับสู่อิสลามอันบริสุทธิ์ ที่ในช่วงต้น ของอิสลามสามารถพิชิตเหนือชาติมหาอ�ำนาจมาแล้ว ทว่าต้องเข้าใจว่าความหมายของ “การคืนกลับ” นั้นไม่ ได้หมายถึงการคืนกลับสู่ประวัติศาสตร์ แต่หมายถึงการ ย้อนกลับสู่อิสลาม การกลับตัวกลับใจและการชดเชยให้ แก่สังคม นั่นก็หมายความว่า สังคมอิสลามต้องตระหนัก ถึงช่องว่างทางด้านศรัทธา ทางจริยธรรม และคุณค่า อิสลาม และต้องพยายามชดเชยความเพิกเฉยต่างๆใน ช่วงศตวรรษหลังนี้ และเป้าหมายของการคืนกลับนี้ คือ การสร้างอารยธรรมอิสลามใหม่ ที่วางอยู่บนพื้นฐานของ วัฒนธรรมอิสลามและใช่ประโยชน์จากประสบการณ์ เพื่อรับใช้อิสลาม ทว่าการนี้ปราศจากการวินิจฉัย การ ย่อยอย่างเข้มแข็งของอิสลาม เพื่อแยก วิเคราะฮ์ ปฏิเสธ และรับสิ่งต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อโลกยุคปัจจุบัน นั้นย่อม เป็นไปไม่ได้ กระบวนการการตื่นตัวของโลกอิสลามต้องมุ่งสู่ การสร้างอารยธรรมุฮัมหมัดสากลที่ได้รวมปัญญาเข้ากับ จิตวิญญาน รวมอ�ำนาจเข้ากับจริยธรรม รวมความรู้เข้า คุณค่า รวมความรู้เข้ากับการปฏิบัติ สอง ความเป็นเอกภาพของอิสลาม ซึ่งมันคือ ความกระเหี้ยนกระหือรือของชาติมหาอ�ำนาจที่พยายาม จะสร้างความแตกแยก ความร้าวฉานระหว่างนิกายใน โลกอิสลามบนทฤษฎีที่ว่า “สร้างความแตกแยกแล้ว ปกครอง” มีต�ำรับต�ำรามากมายที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อกระตุ้น ความเกลียดชังต่อนิกายอื่นๆ มีรายการโทรทัศน์ที่มีผู้ บรรยายที่พยายามน�ำเสนอให้เกิดความร้าวฉานระหว่าง


นิกาย ทั้งหมดเป็นความอยากของชาติมหาอ�ำนาจที่จะ ให้เกิดขึ้นในโลกอิสลาม สาม คือการทรนงและยืนหยัดต่อสู่กับชาติ มหาอ�ำนาจแห่งยุค การยืนหยัดอย่างมีเกียรติ และ ศักดิ์ศรีในทุกสนาม ไม่ว่าการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ การขับเคลื่อนตามหลักการสามประการ นี้ แน่นอนยิ่งว่าอิสลามต้องได้รับชัยชนะและชาติ มหาอ�ำนาจต้องพ่ายแพ้อย่างแน่นอน อั น ความเป็ น จริ ง แล้ ว การปฏิ วั ติ อิ ส ลามแห่ ง อิหร่านภายใต้การน�ำของอิมามโคมัยนีนั้นไม่ใช่เป็นเพียง แค่การปลุกโลกอิสลามเท่านั้น แต่เป็นการปฏิวัติที่ปลุก ประชาคมโลกให้ตื่นขึ้นจากการหลับใหล และการปฏิวัติ อิสลามแห่งอิหร่าน ถือเป็นจุดที่ประวัติศาสตร์โลกต้อง ย้อนกลับ เริ่มจากบุคลิกภาพของอิมามโคมัยนี วิถีชีวิต อิสลามของอิมามโคมัยนี ไม่เพียงแต่โดดเด่นอยู่ในโลก อิสลามเท่านั้น ทว่ามันได้ฉายสู่สายตาของประชาคมโลก ได้ประจักษ์เพราะในหลายศตวรรษที่ผ่านมาประชาคม โลกขาดและกระหาย ผู้น�ำที่มีบุคลิกภาพเช่นอิมาม โคมัยนี วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ปรุงแต่งด้วยหรูหรา ความ อลังการ ท่านเป็นผู้ที่มีความย�ำเกรง จริยธรรมอิสลามที่ สวยงาม การปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศและการสนทนา ระหว่างอารยธรรมต่างๆ และถือได้ว่าด้านบุคลิกภาพขอ งอิมามโคมัยนี เป็นด้านที่มีความส�ำคัญและมีบทบาท อย่างยิ่งในการปลุกโลกอิสลามให้ตื่นจากการหลับใหล ซึ่งเป็นด้านที่ต้องน�ำมาศึกษากันต่อไป อิมามโคมัยนีได้

เปลี่ยนความหมายของค�ำว่า “อ�ำนาจ” ที่หมายถึง อ�ำนาจ ทางวัตถุ คือการมีอาวุธยุทโธปกรณ์มากมายและล�้ำสมัย เป็น อ�ำนาจที่เหนือวัตถุ นั่นคือ ศรัทธา ที่มีแสนยานุภาพ ยิ่งกว่าอ�ำนาจใดๆ อิ ม ามโคมั ย นี ไ ด้ ท� ำ ลายความเป็ น แม่ แ บบของ ชาติตะวันตกลงแล้วได้น�ำเสนอแม่แบบที่เป็นสากลแก่ ประชาคมโลก โดยได้น�ำเสนอทฤษฎี “วิลายะตุลฟะกีฮ์” ซึ่งเป็นทฤษฎีหลักที่ส�ำคัญในการเผชิญกับทฤษฎีการ สร้ า งโลกใหม่ ข องตะวั น ตกที่ ไ ม่ พ ้ น ระบบเผด็ จ การ เบ็ ด เสร็ จ ที่ โ ลกตะวั น ตกยั ด เยี ย ดให้ กั บ ประชาคมโลก นั่นคือประชาคมโลกไม่ต้องคิด ไม่ต้องพูด ไม่ต้องเสนอ แต่เราจะเป็นผู้บริหารจัดการ พวกท่านเพียงแต่ท�ำและ ปฏิบัติตามที่เราคิดไว้ให้นั่นเอง จะมีเผด็จการใดจะเลว ร้ายยิ่งไปกว่าเผด็จการทางความคิด และการน�ำเสนอ ระบบโลกใหม่ภายใต้ทฤษฎี “วิลายะตุลฟะกีฮ์” จึงแตก ต่างอย่างสิ้นเชิงกับทฤษฎีการสร้างโลกใหม่ที่โลกตะวัน ตกต้องการจะยัดเยียดให้กับประชาคมโลก ประเด็น “วิลายะตุลฟะกีฮ์” ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ ต ้ อ งการพื้ น ที่ ใ นการอธิ บ ายซี ง ไม่ อ าจบรรจุ ไ ว้ ใ นบท ความสั้นๆนี้ได้ และในไม่ช้านี้คงจะมีหนังสือที่อธิบาย ทฤษฎีนี้เป็นภาษาไทยออกมาให้เราท่านได้อ่านท�ำความ เข้าใจถึงความยิ่งใหญ่ในวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของอิมาม โคมัยนี

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 89


บทความ เชค แปลดดย เชคกวี ฮัยดัร

ท่านหญิง

ฟาฏิมะฮ์

อัซซะฮ์รอ (อ.) ในมุมมองของ อะมีรุลมุอ์มินีน (อ.) จากวารสารการวิเคราะฮ์ ข้อมูลข่าวสารของนะฮ์ญุลบะลาฆะฮ์

ศั

กดิ์ศรีเกียรติยศและสถานะอันสูงส่งของ ท่านหญิงซะฮ์รอ (อ.) ที่อิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงสถานภาพของสตรีที่มีในบุคลิกของท่าน หญิงซะฮ์รอ (อ.) ซึ่งสตรีสามารถจะปฏิบัติได้ และ เป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งส�ำหรับผู้ที่เป็นสามี เช่นอิมาม อะลี (อ.) แม้ว่าการกล่าวถึงความยิ่งใหญ่ ในสถานภาพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในทัศนะ มุมมองของอิมาม อะลี (อ.) ที่ท่านได้ท�ำการวิเคราะฮ์ อย่างเป็นอิสระด้วยตัวของท่านเองก็ตาม แต่ในที่นี้จะ น�ำมากล่าวเพียงบางส่วนในบุคลิกภาพที่สูงส่งของ สตรีในยุคสมัยของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ความภาคภูมิใจของอิมาม อะลี (อ.) ที่มีต่อท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ภริยาสุดที่รัก ด้วยบุคลิกที่ยิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่อิมามอะลี (อ.) ได้ มอบเกียรติไปยังท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ภริยาสุด

90 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ที่รักของท่าน และในสถานภาพของการเป็นภริยาที่มี คุณธรรมเหนือกว่าบุคคลอื่นๆ ที่จะต้องแบกรับภารกิจ อั น หนั ก อึ้ ง กั บ สามี ผู ้ ที่ ด� ำรงต� ำ แหน่ ง ผู ้ ป กครองโลก อิสลาม บางส่วนที่อิมาม อะลี (อ.) ได้พิสูจน์ความชอบ ธรรมของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ผู้เป็นภริยา โดยของ ยกอ้างอิงจากหลักฐานดังนี้ : ในการตอบจดหมายยังมุอาวิยะฮ์ ที่อิมามอะลี (อ.) ชี้ให้เห็นถึงคุณธรรมของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) โดยได้กล่าวว่า “สตรีที่ประเสริฐที่สุดในโลกมาจากเรา และความตกต�่ำ เอาฟืนแห่งไฟนรกนั้นมาจากท่าน” ในกรณีที่คอลีฟะฮ์ที่สองได้เลือกตัวแทนหกคน ให้เป็นตัวแทนของเขา อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “มีใคร บ้างในระหว่างพวกท่าน เว้นแต่ตัวของฉัน ที่มีภริยา เป็นประมุขสตรีสองพิภพ” อิมามอะลี (อ.) ได้ตอบจดหมายยังมุอาวิยะฮ์


อีกว่า “บุตรีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นภริยา ของฉัน เลือดเนื้อของนางผสมผสานอยู่เลือดเนื้อของ ฉัน บุตรหลานของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และ ฉันเกิดจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ความประเสริฐ ของเขาเหล่านั้นอยู่ที่ตัวของฉัน ซึ่งท่านไม่มี” ในเรื่องของสะกีฟะฮ์ อิมามอะลี (อ.) กล่าว กับอบูบักรเกี่ยวกับพฤติกรรมและความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ ซึ่งภายหลังจากที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สั่งเสีย ไว้ก่อนที่ท่านจะวะฟาตว่าตัวท่านจะเป็นผู้ปกครอง และเป็นผู้ชี้น�ำประชาชาติมุสลิม อิมาม (อ.) ได้กล่าว ว่า “อะบูบักร์ฉันของสาบานในนามแห่งพระผู้อภิบาล ว่า บุคคลที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้มอบบุตรีของท่าน ให้เป็นภริยา ดังที่พระผู้เป็นเจ้าทรงปารถนาเช่นนั้น บุคคลนั้นคือ อะลี ตัวของฉัน หรือว่าตัวของท่าน” ท่า นอะบูบักร์กล่าวตอบว่า “ตัวของท่าน” ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) คือเสาหลักของอิมาม อะลี (อ.) จากสถานภาพอั น มี เ กี ย รติ ข องท่ า นศาสดา (ศ็อลฯ) และท่านฟาฏิมะฮ์ (อ.) ถือว่าเป็นเสาหลัก ส�ำหรับอิมามอะลี (อ.) ในฮะะดีษบทหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวกับอิมาม อะลี (อ.) ว่า : ‫سالم عليك يا ابا الريحانتين‬ ‫فعن قليل ذهب رکناك‬ การตี ค วามในบทหะดี ษ เป็ น สิ่ ง ที่ ง ดงาม ส�ำหรับอิมาม อะลี (อ.) เกี่ยวกับสถานภาพของภริยา ของท่าน คือภริยาของท่านเปรียบเสมือนดอกไม้แห่ง สวนสวรรค์ ดังนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้กล่าวว่า : “สันติจงมีแด่ท่าน โอ้บิดาของดอกไม้สองดอก (ซัยนับ และกุลซูม) ในเร็ววันเสาหลักทั้งสองจะจากท่านไป” ภายหลังจากการเป็นชะฮาดัตของท่ านหญิ ง ฟาฏิมะฮ์ (อ.) อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ‫بمن العزاء یا بنت محمد ؟ کنت بک اتعزی ففیم‬ ‫العزاء من بعدک ؟‬

“โอ้บุตรีของมุฮัมมัด ฉันได้รับความผ่อนคลาย เศร้าโศกจากสิ่งทั้งหลายแล้วหรือ และตัวของฉันก็ได้ รับการบ�ำบัดรักษาแล้วด้วยตัวของท่าน ภายหลังจาก ที่ท่านจากฉันไปแล้วจะมีสิ่งใดเล่าจะช่วยผ่อนคลาย ความเศร้าของฉันได้ ” ภายหลังจากการเป็นวะฟาตของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “นี่คือเสาหลักหนึ่ง ที่จากฉันไป” ภายหลังจากการเป็นชะฮาดัตของท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) อิมามอะลี (อ.) ก็กล่าวว่า “และนี่ ก็เป็นอีกเสาหลักหนึ่งที่จากฉันไป” ผู้ช่วยเหลือที่ปฏิบัติตามบัญชาขององค์พระผู้ อภิบาล บรรดาศาสดาและบรรดาผู้ปกครองที่บริสุทธิ์ เป็ น ผู ้ น� ำ ทางเอาความสมบู ร ณ์ ค วามสุ ข มายั ง มนุ ษ ยชาติ เ พื่ อ ที่ จ ะให้ พ วกเขาได้ ป ฏิ บั ติ ต ามพระ บัญชาสั่งขององค์พระผู้อภิบาล ดังนั้น บุคคลที่จะ ประสพความส�ำเร็จ และความผาสุกในการด�ำเนิน ชีวิต ก็คือบุคคลที่ให้การช่วยเหลือยังพวกเขา เราได้อ่านพบว่าอิมามอะลี (อ.) กล่าวตอบท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) เมื่อท่านถามว่า “ภริยาของท่านเป็น อย่างไร ” อิมามอะลี (อ.) กล่าวตอบว่า “นางเป็นผู้ช่วย เหลือที่ประเสริฐยิ่งในแนวทางของการปฏิบัติตามพระ บัญชาของพระผู้เป็นเจ้า” เอกสารของอิมามอะลี (อ.) จากค�ำพูดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในหะดีษอัรรอบิอ์มาอะฮ์ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) กล่าวค�ำพูดในงานท�ำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรดา ผู้วายชนม์ที่ได้ถูกจัดให้มีขึ้น โดยที่ท่านหญิงกล่าวว่า : ‫فان بنت محمد صلی اهلل علیه وآله لما قبض ابوها‬ ‫ ساعدتها جمیع بنات بنی هاشم قالت‬: ‫دعوا التعداد و علیم بالدعا‬ “ภายหลังจากที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ เป็นวะฟาต ท่านหญิงซะฮ์รอ (อ.) ได้กล่าวกับบรรดา สตรีของบนีฮาชิม ที่พวกนางได้มาช่วยเหลือนาง และ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 91


ตบแต่งอาภรณ์ไว้ทุกข์ โดยท่านหญิงได้กล่าวว่า ขอให้ พวกท่านอยู่ในสภาพเช่นนี้ และขอให้พวกท่านจงช่วย กันวิงวอนของพรจากพระผู้เป็นเจ้าเถิด” ในขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) วะฟาตจากไป ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) กล่าวถึงค�ำสั่งเสียของท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า “ขอการปกป้องจากองค์พระผู้อภิบาล พระองค์ ทรงอ�ำนาจยิ่ง พระองค์ทรงท�ำให้ข้าฯ นั้นปราศจาก มลทิน และเป็นผู้ด�ำรงตนอยู่ในคุณธรรมที่ดีงาม บุคคลใดที่คิดเป็นศัตรูต่อข้าฯ พระองค์ทรงรอบรู้ และ พระองค์จะทรงวิจารณ์พวกเขาเมื่อสิ้นบิดาของข้าฯ แล้วก็คงไม่มีใครเหลียวแลพวกเรา แต่เราก็ไม่เคยคิด เกลียดชังพวกเขาขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ว่าความเศร้าโศกเสียใจจากการเป็นวะฟาตของศาสน ทูตของพระองค์นั้น ยังไม่เสื่อมคลายลง แต่ความทุกข์ โศกของข้าฯ นั้นยิ่งใหญ่นัก เป็นความเศร้าโศกที่ไม่มี มนุษย์คนใด เมื่อทราบข่าวแล้วก็รับไม่ได้ว่าท�ำไมพวก เขาจึงได้กระท�ำกับบุตรีของศาสดา (ศ็อลฯ) เช่นนี้” ด้วยอิมาม อะลี (อ.) เป็นผู้บริสุทธิ์) ค�ำพูดของ ท่านถือว่าเป็นฮุจญัต (ข้อพิสูจน์) แต่ส�ำหรับเอกสาร เรื่องราวที่เกี่ยวกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) นั้นเป็นข้อ อ้างอิงที่มีคุณค่ายิ่งที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของท่าน หญิงเศาะดีเกาะฮ์ ฏอฮิเราะฮ์ (ฟาฏิมะฮ์) (อ.) ว่าทุก อิริยาบถ การปฏิบัติของท่านหญิงนั้นเป็นฮุจญัต ด้วย เหตุนี้จึงไม่มีความแตกต่างเลยระหว่างสตรีหรือบุรุษ เพียงค�ำพูดเท่านั้น ที่ปลอบใจอิมามอะลี (อ.) ภายหลังจากการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) อิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวประโยคหนึ่งว่า ‫بمن العزاء یا بنت محمد ؟ نت ب‬ ‫اتعزی ففیم العزاء من بعدك ؟‬ “โอ้บุตรีของมุฮัมมัด ฉันได้รับความผ่อนคลาย เศร้าโศกจากสิ่งทั้งหลายแล้วหรือ และตัวของฉันก็ได้ รับการบ�ำบัดรักษาแล้วด้วยตัวของท่าน ภายหลังจาก ที่ท่านจากฉันไปแล้วจะมีสิ่งใดเล่าจะช่วยผ่อนคลาย

92 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ความเศร้าของฉันได้ ” ความพิโรธของพระผู้เป็นเจ้ากับความโกรธของ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) อิมามอะลี (อ.) รายงานที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ว่า ‫ان اهلل عزوجل لیغضب لغضب فاطمة‬ ‫و یرضی لرضاها‬ “แท้จริงพระอัลลอฮ์ (ซบ.) จะทรงพิโรธกับ บุคคลที่ท�ำให้ฟาฏิมะฮ์โกรธ และจะทรงพึงพอพระทัย กับบุคคลที่ท�ำให้ฟาฏิมะฮ์พอใจ” อิมาม อะลี (อ.) ยังกล่าวต่อไปอีกว่า : “พระผู ้ เป็ น เจ้ าทรงประสงค์ ที่ จะให้ ฟาฏิ มะฮ์ กลับไปพบกับท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) เร็ว กว่าบุคคลอื่นๆ ภายหลังการจากไปของฟาฏิมะฮ์ ความอดทนอดกลั้นของฉันก็ถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่รักและ หวงแหนต้องจากไป แต่การจากไปของฟาฏิมะฮ์ ฉัน ยังต้องอดทนต่อไป นอกเหนือความตายของฟาฏิมะฮ์ แล้วไม่มีอะไรหลงเหลือต่อไปอีกแล้วในความอดทน ของฉันความอดทนอดกลั้นของฉันนั้นช่างล�ำบากยาก เข็ญเหลือเกิน หลังจากฟาฏิมะฮ์แล้วฉันได้มองไปยัง ชั้นฟ้าและแผ่นดินดูช่างไร้ค่าเสียเหลือเกินไม่มีสิ่งใดที่ อยู่ในระหว่างมันทั้งสองที่จะดับความทุกข์ของฉันได้ ดวงตาของฉันไม่เคยได้หลับพักผ่อน จิตวิญญาณของ ฉันร้อนรุ่มอยู่ตลอดเวลาจนกว่าพระผู้เป็นเจ้าจะได้ ทรงกรุณาให้ฉันไปอยู่ร่วมกับฟาฏิมะฮ์ ความตายของ ฟาฏิมะฮ์ที่ถูกกระหน�่ำเฆี่ยนตีจากทรชนคนชั่ว ที่ท�ำให้ จิตใจอันเข้มแข็งของฉันนั้นต้องย่อท้อเหนื่อยหน่ายกับ ชีวิต เมื่อไรหนอที่เราจะได้กลับไปอยู่ร่วมกัน” และในหะดีษบทหนึ่งอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า ‫ان اهلل لیغضب لغضب و یرضی لرضاك‬ “แท้จริงพระอัลลอฮ์ (ซบ.) จะทรงพิโรธกับ บุคคลที่ท�ำให้เธอ (ฟาฏิมะฮ์)โกรธ และจะทรงพึงพอ พระทัยกับบุคคลที่ท�ำให้เธอ (ฟาฏิมะฮ์) พอใจ” ได้รับการแต่งตั้งโดยท่านศาสดา


มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ในห่วงเวลาของความเศร้าโศกของอิมามอะลี (อ.) ที่มีต่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ท่านกล่าวร�ำพันกับ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า ‫قل یا رسول اهلل عن صفیتك صبری‬ “โอ้ ศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ผู้ช่วเหลือ ของท่าน สตรีที่บริสุทธิ์ของท่าน บุคคลที่ท่านได้แต่ง ตั้งให้เป็นประมุขสตรีทั้งสองพิภพ นางได้จากไปแล้ว ความอดทนของข้าฯ นั้นสุดที่จะพรรณนาเหลือเกิน” ไม่มีความทุกข์โศกใดที่จะเหมือนกับความทุกข์ โศกของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นวะฟาต สตรี ผู้ประเสริฐสุดแห่งอิสลาม ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้ กล่าวร�ำพันว่า : “ขอการปกป้องจากองค์พระผู้อภิบาล พระองค์ ทรงอ�ำนาจยิ่ง พระองค์ทรงท�ำให้ข้าฯ ปราศจากมลทิน และเป็นผู้ด�ำรงตนอยู่ในคุณธรรมที่ดีงาม บุคคลใดที่ คิดเป็นศัตรูต่อข้าฯ พระองค์ทรงรอบรู้ และพระองค์จะ ทรงวิจารณ์พวกเขา เมื่อสิ้นบิดาของข้าฯ แล้วก็คงไม่มี ใครเหลียวแลพวกเราแต่เราก็ไม่เคยคิดเกลียดชังพวก เขา ขอสามบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ว่าความ เศร้าโศกเสียใจจากการเป็นวะฟาตของศาสนทูตของ พระองค์นั้น ยังไม่เสื่อมคลายลง แต่ความทุกข์โศก ของข้าฯ นั้นยิ่งใหญ่นัก เป็นความเศร้าโศกที่ไม่มี มนุษย์คนใด เมื่อทราบข่าวแล้วก็รับไม่ได้ว่าท�ำไมพวก เขาจึงได้กระท�ำกับบุตรีของศาสดา (ศ็อลฯ) เช่นนี้” ประโยคแรกจากค�ำขอร้อง ของท่านฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในขณะที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) จะกล่าวค�ำ สั่งเสีย กับอิมาม อะลี (อ.) ทั้งสองต่างก็ร้องไห้เสียใจ จากนั้นอิมาม อะลี (อ.) ได้ยกศีรษะมุบารักของท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) วางระหว่างทรวงอกของท่าน และ ท่านก็กล่าวว่า : “ท่านต้องการจะสั่งเสียอะไร ก็เชิญสั่ง เสียเถิด ฉันมีความมั่นใจ และน้อมที่จะปฏิบัติตามสิ่ง

ที่ท่านขอร้อง ซึ่งค�ำขอร้องของท่านนั้นส�ำหรับฉัน ถือ เป็นสิ่งที่จะต้องรีบเร่งในการปฏิบัติก่อนหน้าสิ่งอื่นใด” สิ้นสุดความอดทนอดกลั้น ของอิมาม อะลี (อ.) อิมาม อะลี (อ.) เป็นแบบอย่างของความอดทน แต่จากการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ท่านจะควบคุมความเศร้าโศกเสียใจอย่างสุดซึ้งได้ อย่างไร จนกระทั่งได้น�ำร่างของภริยาสุดที่รักไปฝัง ด้วยความเจ็บปวดรวดเร้าที่สุด ซึ่งท่านได้กล่าวกับ หลุมฝังพระศพของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า : “พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ที่จะให้ท่านหญิง ฟาฏิ ม ะฮ์ ก ลั บ ไปพบกั บ ท่ า นศาสนทู ต ของอั ล ลอฮ์ (ศ็อลฯ) เร็วกว่าบุคคลอื่นๆ ภายหลังการจากไปของ ฟาฏิมะฮ์ ความอดทนอดกลั้นของฉันก็ถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่รักและหวงแหนต้องจากไป แต่การจากไปของ ฟาฏิมะฮ์ ฉันยังต้องอดทนต่อไป นอกเหนือความตาย ของฟาฏิมะฮ์แล้วไม่มีอะไรหลงเหลือต่อไปอีกแล้วใน ความอดทนของฉัน ความอดทนอดกลั้นของฉันนั้น ช่างล�ำบากยากเข็ญเหลือเกิน หลังจากฟาฏิมะฮ์แล้ว ฉันได้มองไปยังชั้นฟ้า และแผ่นดินดูช่างไร้ค่าเสียเหลือ เกิน ไม่มีสิ่งใดที่อยู่ในระหว่างมันทั้งสองที่จะดับความ ทุกข์ของฉันได้ ดวงตาของฉันไม่เคยได้หลับพักผ่อน จิตวิญญาณของฉันร้อนลุ่มอยู่ตลอดเวลา จนกว่าพระ ผู้เป็นเจ้าจะทรงกรุณาให้ฉันนั้นได้ไปอยู่ร่วมกับฟาฏิ มะฮ์ ความตายของฟาฏิมะฮ์ที่ถูกกระหน�่ำเฆี่ยนตีจาก ทรชนคนชั่ว ที่ท�ำให้จิตใจอันเข้มแข็งของฉันนั้นต้อง ย่อท้อเหนื่อยหน่ายกับชีวิต เมื่อไรหนอที่เราจะได้กลับ ไปอยู่ร่วมกัน ถ้าความหวาดกลัวของประชาชนกับผู้ ปกครองที่อธรรมไม่มีอยู่ ส�ำหรับตัวของฉันก็ขอนอน อยู่ข้างหลุมฝังศพซะฮ์รอ (อ.) ตลอดกาล นี่คือความ เศร้าโศกเสียใจที่ยิ่งใหญ่ จนน�้ำตาของความเป็นลูก ผู้ชายอย่างฉันต้องมารินไหล ก็เพราะที่ผู้เป็นมารดา สุดที่รักของบรรดาลูกน้อยต้องมาจากไป”

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 93


รายงาน กองบรรณาธิการ

งานครบรอบ 23 ปี แห่งการอสัญกรรมของ อิมามโคมัยนี (รฎ.)

มรดกทางความคิดของ

อิ ม ามโคมั ย นี สู่การตื่นตัวของโลกอิสลาม วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2555 ณ ห้อง 202 ชั้น 2 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศู

นย์วัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูตสาธารณ รัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจ�ำกรุงเทพฯ ร่วม กับศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และชมรมคนรักวิลายะตุลฟะกีฮ์แห่ง ประเทศไทย จัดงานครบรอบ 23 ปีแห่งการอสัญกรรม ของอิมามโคมัยนี (รฎ.) ขึ้น ในงานดังกล่าวมีนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ศรัทธาเข้าร่วมงานดังกล่าวจ�ำนวน มาก อาทิ นายมุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะฮ์ ที่ปรึกษา ฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ นาย

94 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

อะฮ์มัด อบุลฮะซะนีย์ ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์ วัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่าน นายบากิร พูร เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจ�ำประเทศไทย ซัยยิด สุไลมาน ฮูซัยนี อิมามญะมาอะฮ์มัสยิดรูฮุลลอฮ์ อดีต นายกสมาคมนักเรียนเก่าอิหร่าน เชคกุลามอะลี อบอษัร อิมามญะมาอัตมัสยิดอัลฮุดา เชคฮูเซน บินซาเล็ม อิมามญะมาอัตมัสยิดอิมามอะลี (อ.) ด�ำรงต�ำแหน่งผู้ อ�ำนวยการสถาบันการศึกษาศาสนาดารุลอิลม์ เชค ดร. ชะรีฟ ฮาดีย์ คณบดีคณะศิลปะศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี


แห่งอโยธยา ดร. ภัทรพงศ์พันธ์ สิงฮ์ก�ำหาญ คณบดี ค�ำกล่าวเปิดงานโดย คณะนิติศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา เชคมุ นายมุศฏอฟา นัจญาริยอน ฮัมมัดอะลี สุขส�ำราญ อิมามญะมาอัตมัสยิดกุฎีหลวง ซอเดะฮ์ กรุงเทพ ดร. ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซัยยิดมุ ศูนย์วัฒนธรรม บาร็อก ฮูซัยนี ประธานชมรมคนรักวิลายะตุลฟะกีฮ์แห่ง สถานเอกอัครราชทูต ประเทศไทย อาจารย์ซัยยิดมะฮ์มูดชาฮ์ ฮูซัยนี เชคกอซิม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน อัสการี ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษากุรอานอัรรอซูล ลุลอะอ์ซอม (ศ็อลฯ) และบรรดาแขกผู้มีเกียรติอื่นๆ ประจ�ำกรุงเทพฯ ภายหลังเปิดงานด้วยการอัญเชิญ์อัลกุรอานโดย อความสันติจงมีแด่ท่าน โอ้ รูฮุลลอฮ์ อิมาม อาจารย์ชุกรี บัลบาฮ์ นักกอรีอันดับหนึ่งของประเทศไทย โคมัยนี ขอความสันติจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตร แล้วเป็นการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการสัมมนาโดยซัยยิด หลานแห่งศาสนทูตของอัลลอฮ์ และทายาทผู้บริสุทธิ์ของ มุบาร็อก ฮูซัยนี ประธานชมรมคนรักวิลายะตุลฟะกีฮ์แห่ง ท่าน ซึ่งเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เป็นผู้ปฏิบัติตามบัญชาแห่ ประเทศไทย งอัลลอฮ์ และศาสนทูตของพระองค์ รวมถึงบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) วันนี้เป็นงานครบรอบ 23 ปีแห่งการอสัญกรรม ของ อิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้สถาปนาสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน และร�ำลึกถึงวีรกรรมแห่งการยืนหยัดต่อสู้ใน วันที่ 15 โครดอดของบรรดาผู้ที่เสียสละเลือดเนื้อ บรรดา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 95


ชุฮาดาอ์ที่เสียสละแม้แต่ชีวิต ปีแห่งการครบรอบอสัญกรรมของอิมาม (รฎ.) เป็นปีที่ให้โอกาสเราทั้งหลาย ที่จะเรียนรู้และปฏิบัติตาม แนวทางของอิมามโคมัยนี (รฎ.) โดยวันนี้ไม่มีสิ่งใดที่จะ เบี่ยงเบนเราได้เลย ภายหลัง 23 ปีของการอสัญกรรมของ อิมามผู้ล่วงลับ ท่านกลายเป็นแรงจูงใจให้บรรดามุสลิมที่ มีความศรัทธาตื่นตัวพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า อิมามคาเมเนอี (ขออัลลอฮ์ทรงพิทักษ์ปกป้อง ผู้น�ำ สูงสุดทางจิตวิญญาณ) กล่าวประโยคสั้นๆ ที่เต็มเปี่ยม ด้วยความหมายเกี่ยวกับอิมามโคมัยนี (รฎ.) ว่า “อิมามโคมัยนีคือสัจธรรมที่คงมีอยู่ตลอดกาล” ข้ า พเจ้ า ขอเสนอสั จ ธรรมของอิ ม ามผู ้ ล ่ ว งลั บ (รฎ.) ซึ่งก็คือแนวทางอิสลามแห่งมุฮัมมะดีย์ (ศ็อลฯ) ที่ เป็นแนวทางในการปกครองโลก และเป็นขบวนการตาม เจตนารมณ์ของอัลลอฮ์ (ซบ.) การร�ำลึกถึงอิมาม (รฎ.) เสมือนเป็นการร�ำลึกถึงสัจธรรมที่คงอยู่ตลอดกาล และ ประวัติศาสตร์ของอิมามโคมัยนี (รฎ.) เป็นประวัติศาสตร์ ที่เป็นนิรันดร์ ไม่มีวันดับสูญ อิมามผู้ล่วงลับ (รฎ.) ผู้ก�ำหนดทฤษฎี แห่งวิลายะตุลฟะกีฮ์ ที่เป็นเอกลักษณ์ ของการตื่นตัวของอิสลาม อิมามโคมัยนี (รฎ.) คือลักษณะของการยืนหยัด ต่อสู้ด้วยตัวเองในโลกอิสลาม เป็นแบบอย่างการต่อสู้ ทางจิตวิญญาณแก่บรรดาประชาชาติมุสลิมในปัจจุบัน แนวทางการด�ำเนินชีวิตของท่าน เป็นเครื่องยืนยันว่า เป็น “การยืนหยัดเพื่อด�ำรงไว้ซึ่งสัจธรรม” อิมามผู้ล่วง ลับ (รฎ.) วางโครงร่างทางการเมืองการปกครองในระ บอบฟิกฮ์ ตามทฤษฎีแห่งวิลายะตุลฟะกีฮ์ ตราบใดที่ดวง อาทิตย์ไม่หมดแสงรัศมี แนวทางของท่านจะคงอยู่และ ฉายรัศมีเป็นแสงแห่งทางน�ำตลอดไป เป็นบุคลิกของผู้ที่ สถาปนิาสรรค์สร้างการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ อิมามโคมัยนี (รฎ.) เป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริมแนว ความคิดบนแนวทางของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อให้มนุษยชาติ ในยุคปัจจุบันนี้ได้ตื่นตัวในการสร้างความสมานฉันท์

96 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

โดยที่ อิ ม ามผู ้ ล ่ ว งลั บ ได้ เ สริ ม สร้ า งให้ เ กิ ด เสรี ภ าพแก่ ประชาชน โดยน�ำนโยบายต่างๆ มาเพื่อการปลดแอกให้ รอดพ้นจากอภิมหาอ�ำนาจของโลก และในปัจจุบันนี้การ เคลื่อนไหวในขบวนการตื่นตัวของอิสลาม ก็ตื่อนตัวขึ้น ภายใต้การชี้น�ำของวิลายะตุลฟะกีฮ์ ผู้น�ำสูงสุดทางจิต วิญญาณของสาธารณรัฐอิสลาม ดังนั้น ขบวนการตื่น ตัวของอิสลามที่เคยอยู่ในเงื่อนไขที่ยากล�ำบาก และอยู่ ท่ามกลางความมืดมน ก็เผยตัวของมันออกมาจากการ ครองง�ำของลัทธิต่างๆ ทั้งตะวันตกและตะวันออก แต่ จะต้องสังเกตว่าอิสลามแท้ ซึ่งเป็นยเอกลักษณ์ที่เกิดขึ้น ใหม่นี้มีคุณประโยชน์ต่อพวกเราอย่างยิ่ง อิมามผู้ล่วงลับ (รฎ.) ซึ่งงนักต่อสู้ผู้ที่ยิ่งใหญ่ท่านนี้ ได้สร้างและปลูกฝัง เอกลักษณ์ให้แก่ประชาชาติมุสลิม อิมามโคมัยนี (รฎ.) ผู้ สถาปนารัฐบาลที่มีศาสนาและวิลายะฮ์ขึ้นในโลก อิมาม โคมัยนี (รฎ.) สอนบทเรียนของความเสียสละ บทเรียน แห่งความรักที่มีตอ่พระผู้เป็นเจ้า บทเรียนแห่งจริยธรรม ที่จะท�ำให้มนุษย์ไปสู่เป้าหมายของการด�ำเนินชีวิตอย่าง ผาสุก และเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ อิมามโคมียนี (รฎ.) ผู้ชี้น�ำในยุคสมัยปัจจุบัน ของประชาชาติมุสลิม ผู ้ น� ำ สู ง สุ ด ทางจิ ต วิ ญ ญาณกล่ า วอี ก ว่ า อิ ม าม โคมัยนี (รฎ.) เปรียบเสมือนกระจกเงา เมื่อส่องสะท้อน ให้เป็นภาพของการศึกษา ซึ่งท่านเป็นแบบอย่างในเรื่อง จริยธรรมของความเป็นมนุษย์ให้แก่ผู้อื่น ท่านด�ำรงอยู่ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าและการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด การขัดเกลาจิตวิญญาณของท่าน ท�ำให้ผู้อื่นเห็นเป็น ตัวอย่าง ท่านเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ท่านเสมือนไม้เท้าขอ งมูซา ท่านเสมือนฟุรกอนของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ที่ ให้การช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้ถูกกดขี่ให้รอดพ้นจาการกด ขี่ของฟิรอูนแห่งยุคสมัย ท่านเสมือนแสงสว่างทางน�ำให้ ประชาชาติหลุดพ้นจากการเคารพบูชาตัวตน ท่านคือ ผู้น�ำสุดที่รักของเรา ท่านเป็นบ่าวที่ดีของพระผู้เป็นเจ้า ที่ สอนให้เราร�ำลึกถึงพระงอค์อยู่ตลอดเวลา


สิ่งที่ปรากฎขึ้นในปัจจุบัน คือการตื่นตัวของ ประชาชาติอิสลาม ที่เราเรียกขบวนการนี้ว่า การตื่นตัว ของอิสลาม วันนี้สิ่งต่างๆ เสมือนมวลคลื่นที่ก�ำลังซัดไป มา การตื่นตัวของประชาชาติอิสลามเป็นโนมิโนเกิดขึ้น ที่ยังผลให้อิสลามได้มีคุณค่าส�ำหรับประชาติเพิ่มมากขึ้น ดังที่อิมาม (รฎ.) กล่าวกับพวกเราว่า “ถ้าเราไม่ย้อนกลับไปสู่อิสลาม และกลับไปสู่ อิสลามในยุคของศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) อุปสรรค นานาประการที่มีอยู่ก็หมดหนทางที่จะแก้ไข แม้กระทั้ง เรื่องปาเลสไตน์ อัฟกานิสถานและประชาชาติอื่นๆ ของ อิสลาม” พื้นฐานในการปฏิบัติของอิมาม (รฎ.) เกี่ยวกับ การตื่นตัวของโลกอิสลามก็คือการคงไว้ซึ่งแนวทางของ อิสลาม แนวทางคิดและขบวนการที่อิมาม (รฎ.) น�ำมา เป็นค�ำขวัญในการปลุกเร้าตื่นตัวของประชาชาติอิสลาม คือ “ทุกๆ วันคืออาฃูรอ และทุกๆ แผ่นดินคือกัรบะลา” และ “ในทุกๆ วัน ประชาชนของเราควรตระหนักอยู่เสมอ ว่าวันนี้คือาอชูรอ ซึ่งเราต้องยืนหยัดต่อสู้กับเหล่าอธรรม ผู้กดขี่อยู่เสมอ” ค�ำพูดหนึ่งท่านกล่าวคือ “การส่งออกการปฏิวัติ ของเราคือการท�ำให้ประชาชนในประเทศนั้นตื่นตัว และ ยืนหยัดต่อสู้กับเหล่าอธรรม ผู้กดขี่และผู้ละเมิดสิทธิทั้ง หลาย เพราะเป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่พวกเขาจะพบ ความผาสุกในการด�ำเนินชีวิต” ในขณะเดียวกันมุสลิมตื่นตัวขึ้นแล้ว จะย้อนกลับ ไปยังรากฐานทั้งสามประการคือ กลับไปยังอิสลามแท้ ความเป็นเอกภาพของโลกอิสลามและการสร้างความ เป็นธรรมให้เกิดขึ้นในหมู่พี่น้องร่วมประชาชาติเดียวกัน และสร้างเอกภาพให้เกิดแก่ประชาชาติทั้งหลาย นี่คือบท เรียนการตื่นตัวที่อิมาม (รฎ.) ส่งมอบไว้ให้ ขบวนการตื่น ตัวที่มีมาประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันจ�ำเป็นต้องเรียนรู้ อดีตและสร้างปัจจุบันให้ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด กาลเวลาที่ผ่านพ้นมาถึง 23 ปีที่อิมามผู้เป็นสุด ที่รักของเราทิ้งมรดกอันล�้ำค่ายิ่ง คืออ�ำนาจการปกครอง

ในระบบวิลายะตุลฟะกีฮ์และเป็นวิลายะฮ์อันชอบธรรม ของอิมามคามาเนอี (ขออัลลอฮ์ทรงปกป้องท่าน) ที่อิมาม โคมัยนี (รฎ.) มอบให้พวกเรา เพื่อที่จะให้เป็นผู้น�ำในการ ตื่นตัวของประชาชาติอิสลามสืบต่อไป ด้วยเหตุนี้ การร�ำลึกถึงบุรุษที่ยิ่งใหญ่ ผู้น�ำการ ปฏิวัติอิสลามแห่งอิร่านท่านนี้ สอนให้เราเรียนรู้สัจธรรม ที่ท่านสอนและปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เพื่อที่เราท่านจได้ เป็นทหารหาญของวิลายะฮ์ และเป็นผู้ที่ปูพื้นทางการมา ปรากฎของอิมามมะฮ์ดี (อญ.) *วัสลามุอะลัยกุม วะอะลา อิบาดิลลาฮิซซอลิฮีน วะอินนะฮุ ค็อยรุน นาศิรุน วะมุอีน

การเสวนาทางวิชาการเรื่อง “มุมมองของอิมามโคมัยนี ( รฎ.) กับมิติใหม่ทางการเมือง และการปกครอง” ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บิสมิลลาฮิรเราะฮ์มานิรร่อฮีม อัสสะลามมุอะลัยกุมฯ เป็นที่ทราบกันดีว่า เกิดการปฏิวัติอิสลามขึ้นใน อิหร่านเมื่อ ค.ศ. 1979 หลังจากนั้นจึงเกิดสงคราม 8 ปี กับ ประเทศอิรัก และเกิดความวุ่นวายตลอดมาโดยประเทศ มหาอ�ำนาจคุมอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งความไม่เข้าใจของ โลกมุสลิมด้วยกันเอง แต่ถึงแม้จะประสบปัญหาต่างๆ ประเทศอิหร่านก็่พัฒนาไปไกลมาก และพัฒนาทั้งทาง ด้านจิตวิญญาณกับด้านวัตถุควบคู่กัน การกลับมาของอิสลาม ปลุกกระแสให้เกิดการ สร้างองค์ความรู้ที่ใช้หลักการและเหตุผล นั่นเพราะเหตุ ว่า ศาสนาอิสลามสามารถกระตุ้นประชาคมมุสลิมให้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 97


ใช้เหตุผล พร้อมที่จะหาความรู้ใหม่ๆ ควบคู่กันไปพร้อม กับการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ ฉะนั้นประเด็นที่ จะพูดก็คือ จริงๆ แล้วปัญหาของโลกมุสลิม ไม่ได้อยู่ที่ ประเด็นเรื่องการแยกหรือไม่แยกศาสนาออกจาการเมือง แต่ปัญหาโลกของมุสลิมคือ ปัญหาการจัดความส�ำคัญ ระหว่างศาสนากับการเมือง นี่คือปัญหาของโลกมุสลิม ตลอดช่วงเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา ถ้าสังเกตขณะนี้ ประเทศมุสลิมบางประเทศ ก�ำเนิดขึ้นมาจากการแยก ประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม แยกตัวออกมาเพื่อที่จะบอกว่า ตนเองเป็นรัฐอิสลาม แต่ท้ายสุดก็น�ำศาสนาไปใช้เป็น อาวุธทางการเมือง ข่มเหงคนกลุ่มน้อย ท้ายที่สุดแล้วใน ประเทศเหล่านี้ก็เกิดความวุ่นวายอย่างมากมาย จะเห็น ว่าบางประเทศ สถาบันศาสนากับผู้ปกครองรัฐร่วมมือ กันจัดตั้งประเทศขึ้นมาตั้งแต่ต้น แต่สรุปได้ว่า ศาสนา ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมในการปกครอง ของตนเอง จนท�ำให้ขณะนี้มีความแตกแยกกัน นั่น หมายถึง มีนักเคลื่อนไหวและขบวนการอิสลามที่เป็น สายกลาง ออกมาต่อต้านอ�ำนาจรัฐ และบางประเทศใช้ ศาสนาวัฒนธรรมและประเพณี จนท�ำให้เกิดอุดมการณ์ ทางศาสนาที่มีความเคร่งครัดมากๆ จนผิดธรรมชาติของ มนุษย์ และทุกประเทศเหล่านี้ก็ยังวุ่นวายในสถานการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เพราะประเทศเหล่ า นี้ ถู ก แทรกแซงจาก มหาอ�ำนาจที่เป็นตัวป่วนของโลก การจัดองค์กรการเมืองการปกครอง หลังการ ปฏิวัติอิสลาม (ในอิหร่าน) ของอิมามโคมัยนี มีความน่า สนใจ กล่าวคือสถาบันการบริหารการปกครองในระบบ ทางโลก จะถูกควบคุมโดยหลักค�ำสอนทางศาสนา ซึ่งเป็น มิติที่น่าสนใจมาก ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ทั่ว โลกการปกครองของอิหร่านในปัจจุบันก้าวหน้ามากกว่า การปกครองประเทศมุสลิมในหลายๆ ประเทศ มีผู้ถาม เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในอิหร่าน ว่า "สามารถกล่าวได้ว่า ระบบการเมืองการปกครองของ อิหร่านเป็นเผด็จการศาสนาหรือไม่" ซึ่งในทัศนะของผม ถ้าถามอย่างนี้ ผมตอบไม่ได้ แต่ตอบได้เพียงว่า เราไม่

98 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

สามารถเปรียบเทียบมาตรฐานการด�ำเนินการปกครอง ของโลกตะวันตกกับประเทศในโลกของมุสลิมได้ การ ที่อิหร่าน มีการเมืองการปกครองที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ แสดงให้เห็นว่า อิมามโคมัยนี (รฎ.) ไม่ได้ค�ำนึงถึงอ�ำนาจ ของตัวเองจะมีอยู่ แต่ระบบการเมืองการปกครองที่มีอยู่ ถูกกลั่นกรองมาจากแนวความคิดที่มีทางรากฐานทาง ศาสนาและประวัติศาสตร์ความเป็นมา ซึ่งอิงจากความ เปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ปัญหาของโลกมุสลิมไม่ใช่ว่ารัฐและศาสนาจะ ต้องแยกกันหรือไม่ แต่ปัญหาของโลกอิสลามก็คือจะจัด ความส�ำคัญอย่างไร ระหว่างรัฐกับศาสนา และตามความ เป็นจริง แบบอย่างของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน เป็นแบบอย่างที่มีความน่าสนใจและประสบความส�ำเร็จ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับเป็นเพียงการปรากฏ การย่อยของการปรากฏการณ์ใหญ่ ซึ่งปรากฏการณ์ ใหญ่นั้น เราต้องให้ความส�ำคัญ เพราะเป็นกระบวนการ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากประเทศตูนีเซียมีปัญหา แต่มีการ พัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม จนกระทั่งในยุคสมัย ใหม่ จึงกลายเป็นปรากฏการณ์ และวิกฤตการณ์ต่างๆ


ที่เกิดขึ้นในโลกมุสลิม ส่งผลให้กับความเข้มแข็งของ ขบวนการปฏิวัติอิสลามในประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น วิกฤตความพ่ายแพ้ในสงคราม ปี ค.ศ. 1967 หรือสงคราม 6 วัน เป็นความเจ็บปวดของ โลกมุสลิมทั้งหมด เพราะอิสราเอลเป็นประเทศเล็กๆ แต่ สามารถชนะสงครามโลกมุสลิมที่มีดินแดนกว้างใหญ่ มาก และสามารถยึดครองพื้นที่หลายส่วนของประเทศ มุสลิม ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ ซีเรียและเลบานอน ฯลฯ รวมถึง พื้นที่การยึดครองที่เราเห็นในปัจจุบัน เหตุการณ์ครั้งนั้น สะท้อนให้เห็นอุดมการณ์ความคิดต่างๆ ที่โลกมุสลิมเคย ใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นชาตินิยมหรือสังคมนิยม ฯลฯ ปรากฏ ว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาโลกมุสลิมได้ เพราะฉะนั้นใน สงคราม ค.ศ. 1967 โลกมุสลิมจะโหยหาการกลับไปสู่ ค�ำสอนที่แท้จริง หลังจากนั้น จึงเกิดการรวมตัวของโลก มุสลิมขึ้นในหลังสงคราม ค.ศ. 1967 ปั จ จั ย ที่ ท� ำ ให้ ข บวนการอิ ส ลามเข้ ม แข็ ง ขึ้ น ใน ปัจจุบันก็คือ ประการแรก ความอ่อนแอของรัฐอาหรับ ใหม่ ความอ่อนแอนี้ สังเกตได้จากการที่ผู้น�ำรัฐอาหรับ ไปแอบอิงกับประเทศตะวันตก ไม่มีความเป็นตัวของตัว เอง ประการที่สอง ความไม่สามารถจะเป็นกระบอกเสียง ให้กับปาเลสไตน์ได้ ประการที่สาม ความไม่สามารถที่จะ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองของตนเอง อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยได้ ปัจจุบันโลก เข้าสู่ยุคไร้พรมแดนเป็นยุคโลกาภิวัตน์ แต่การเมืองการ ปกครองของรัฐนั้นยังไม่เกิด

ฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่า ขณะนี้นอกจากอิรัก ที่มีการ ปฏิวัติประชาชนและอีกหลายๆ ประเทศที่เกิดขบวนการ การปฏิวัติ อย่างเช่น อียิปต์ ตูนีเซียและอีกหลายๆ ประเทศ เราจะเห็นได้ว่า ขบวนการอิสลามเกือบทั้งหมด ได้รับการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายความว่า ขบวนการ เลือกตั้งเหล่านี้จะทะยานไปสู่ความส�ำเร็จ เพราะเรา ต้องแยกว่า อุดมการณ์กับศาสนาอิสลามแตกต่างกัน เพราะศาสนาอิสลามมาจากพระผู้เป็นเจ้า เพราะศาสนา อิสลามคือสิ่งที่สมบูรณ์แล้ว แต่อุดมการณ์คือสิ่งที่ปฏิบัติ กันมากี่คนแล้ว เพราะฉะนั้น วันนี้เมื่อเกิดอาหรับสปริง ส์ขึ้น การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้น ขบวนการอิสลามกลาย เป็นผู้น�ำการเมืองการปกครอง แต่ความส�ำเร็จยังมีความ สลับซับซ้อนมาก เพราะขบวนการเหล่านี้ไม่เคยผ่าน ประสบการณ์การตั้งองค์กร การบริหารระบบเศรษฐกิจ ขนดใหญ่ ฯลฯ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ส�ำคัญก็คือ ขบวนการ อิสลามจะปรับตัวได้อย่างไร เพราะชนะการเลือกตั้งแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารรัฐชาติสมัยใหม่ๆ นี่คือ ระบบที่ส�ำคัญมาก

เชคชะรีฟ ฮาดีย์ คณะบดีคณะอิสลามศึกษา สถาบันเทคโนโลยีแห่งอดยะยา

บิสมิลลาฮิรเราะฮ์มานิรเราะฮีม อัสลามุอะลัยกุม ฯ เรามีโอกาสพูดถึงบุคคลส�ำคัญของโลก ซึ่งในยุค นี้ไม่มีใครที่ไม่รู้จักอิมามโคมัยนี (รฏ) แต่รู้จักในด้านไหน ขึ้นอยู่กับมุมมองและความคิดของแต่ละบุคคลว่าจะไป ในทิศทางใด ประเด็นอยู่ที่ความน่าสนใจของการปกครองใน สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ที่จริงแล้ว ค�ำว่า สาธารณ ถู ก เรี ย กร้ อ งมานานแล้ ว ที่ จ ะให้ เ กิ ด ขึ้ น ในรั ฐ ชาติ ข อง ประเทศต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่งถ้าท้าวความให้ท่านผู้ฟังมอง ประเด็นนี้ในการสร้างความเข้าใจว่าการปกครองและ แนวคิดทางด้านการปกครองในมิติใหม่ๆ นั้นอิมาม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 99


โคมัยนี (รฎ) น�ำเสนออย่างไร ในโลกปัจจุบันถ้าเราสืบหา ค้นคว้าในระบบการปกครองส่วนมากแล้วบุคคลที่เรียน ในด้านรัฐศาสตร์ ศาสนศาสตร์ จะมีตัวอย่างการปกครอง ในยุคคลาสสิก ยุคก่อนเป็นการกรณีศึกษา โดยแบ่งเป็น สองลักษณะคือ การปกครองแบบเทวาธิปไตยกับการ ปกครองแบบประชาธิปไตย ในระบอบการปกครองแบบ ประชาธิปไตย จะได้ยินกันบ่อย เพราะเป็นการประโคม จากนโยบายของชาติมหาอ�ำนาจ ที่ต้องการจัดระเบียบ โลกใหม่ ให้ทุกภูมิภาคในโลกอยู่ภายใต้การปกครองแบบ ประชาธิปไตยทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้มีรายละเอียดมาก แต่ จะน�ำเสนอ เรื่องการปกครองแบบเทวาธิปไตย เพื่อให้ ความรู้กับผู้ฟังในวันนี้ว่า เมื่อพูดถึงการปกครองและรัฐ อิสลาม จะจัดอยู่ในประเภทใดและมีการวิวัฒนาการ แบบไหนในยุคปัจจุบัน ในระบบการปกครองแบบเทวธิปไตยคือ มีความ เชื่อว่า อ�ำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของพระผู้เป็น เจ้าเท่านั้น แต่ระบอบนี้ถูกท�ำลายลงไม่ให้ความส�ำคัญ เนื่องจากผลเกิดจากลัทธิ Secularism ที่ถูกน�ำมาใน ยุคกลางโดยการน�ำของออกุส คองก์ ซึ่งอยู่ในลัทธิที่ ต้องการที่จะบอกว่า แท้จริงแล้วศาสนานั้นเป็นระดับที่ ต�่ำที่สุด และอออุส คองก์เป็นหัวหน้าลัทธิทางปรัชญาที่ เชื่อในด้านของทางด้านวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งแบ่งความ คิดของมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ระดับแรกคือระดับ ศาสนา เขาบอกว่าระดับศาสนาเป็นระดับที่งมงายและ ต�่ำที่สุด อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นทางด้านศาสนา จะต้องสลัด ทิ้งไป ซึ่งต้องการที่จะเรียกร้องว่า ศาสนาเป็นแนวคิด ที่ล้าหลัง จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องน�ำเอาความคิดแบบ ประชาธิปไตย ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยก็มีหลายรูป แบบอีกเช่นกัน จากจุดเปลี่ยนในระบอบเทวาธิปไตย มาสู่ระบอบ ประชาธิปไตย ท�ำให้เห็นว่าโครงสร้างแนวคิดในการ ปฏิวัติอิสลามนั้นอยู่ตรงไหน อยู่ตรงที่ว่า เมื่อแนวคิดที่ ต้องการที่จะสอดคล้อง และดดอกุสต์ คองก์ยังชี้ให้เห็นว่า การปกครองในระบอบเทวาธิปไตย โดยน�ำเอากฎหมาย

100 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ของพระผู้เป็นเจ้ามาเป็นใหญ่ และผู้ที่น�ำเอากฎหมาย ของพระผู ้ ส ร้ า งในการปกครองเป็ น มาปกครองมวล มนุษยชาติ สร้างความยุติแก่สังคมนั้น เป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ เนื่องจากเป็นการครอบง�ำและสอดคล้องกับที่ว่า แนวคิด ทางด้านศาสนานั้นเป็นแนวคิดที่ต�่ำสุด แนวคือที่สองที่อออุส คองค์กล่าวก็คือ ประเภท ของนักปรัชญา ซึ่งระดับที่ดีที่สุดก็คือทฤษฎีของ วิทยา ศาสตร์ นั่นคือการสร้างความเจริญรุ่งเรือง สร้าง อารยธรรมที่โดดเด่นให้สังคมนั้นอย่างดีที่สุด แต่อิมามโคมัยนี (รฎ) ได้วางพื้นฐานจาก โครงสร้างหลักในการที่จะน�ำรัฐอิสลาม การปฏิวัติ อิสลามมาเป็นการดึงศักดิ์สิทธิในระบอบเทวาธิปไตย ขึ้น มาอีกครั้ง แต่ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ หมายถึงในรูป ลักษณ์แบบใหม่ ทว่ามิติใหม่นั้นคืออะไร ในมิติใหม่ที่อิมามโคมัยนี (รฏ) น�ำมาก็คือระบบวิ ลายะตุลฟะกิฮ์ หรือผู้น�ำสูงสุดทางด้านจิตวิญญาณของ ศาสนา ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป อิมามโคมัยนี (รฏ) น�ำประเด็นที่เป็นมูลรากฐาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่จะน�ำการปกครองของมวลมนุษยชาติ ไปสู่ความยุติธรรมและเสรีภาพที่แท้จริงให้เกิดขึ้น โดย น�ำระบอบนี้ มาให้ประชาคมโลกได้เล็งเห็นว่า ไม่ใช่เป็น ระบอบที่ตายไปแล้ว แต่เป็นระบอบที่ยังคงอยู่ และเป็น ระบอบที่สร้างขวัญและก�ำลังใจแก่ชาวโลกได้ ซึ่งมีราย ละเอียดดังต่อไปนี้ โครงสร้างที่อิมามโคมัยนี (รฏ.) บอกว่า ในระบอบ การปกครองแบบเทวาธิปไตยที่ยึดหลักของการปกครอง โดยวิลายะตุลฟะกิฮ์ หรือการมีอ�ำนาจการปกครองของ ปราชญ์ผู้รู้ จริงๆ แล้ว ถ้าสืบค้นตามขบวนการความคิด ทางด้านรัฐศาสตร์ จะสืบได้จนถึงแนวคิดทางการเมือง ปรัชญาของเพลโตด้วยซ�้ำไป คือที่เพลโตบอกว่า ถ้า ต้องการรัฐที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยความยุติธรรม หนึ่ง ในสามต้องมีผู้ที่อยู่ในฐานะการปกครอง จะต้องเป็นนัก ปราชญ์หรือที่เรียกกันว่า ราชาแห่งปราชญ์ ซึ่งในตอนนี้ ผ่านกระบวนการ การขบคิดและกลั่นกรองโดยภายใต้


ของการปกครองทางความคิดทุกอย่าง จนกระทั่งมาถึง ยุคหนึ่งที่อิมามโคมัยนี (รฏ) น�ำมาสู่เป็นรูปธรรมและท่าน ท�ำให้เราได้เห็น แต่ว่ามันมีความละเอียดมากกว่าที่เรา จะเข้าใจได้ ฉะนั้นแบบอย่างที่อิมามโคมัยนีน�ำมา เป็นแบบ อย่างที่ยิ่งใหญ่ของการอยู่รวมกันในสังคมโลก โดยไม่ แบ่งชนชั้น และสร้างความอยุติธรรมให้เกิดขึ้นบนหน้า แผ่นดิน อิมามโคมัยนีน�ำเสนอระบอบวิลายะตุลฟะกิฮ์ อย่ า งตรงประเด็ น และหน้ า ที่ จ ะทางเลื อ กให้ นั ก ต่ อ สู ้ ทั้งหลายหันมาวิเคราะฮ์ และท�ำการวิเคราะฮ์ในราย ละเอียดว่าเป็นความเหมาะสมลงตัวในยุคปัจจุบัน และ ในยุคของการปกครองในสังคมโลกจริงๆ เพื่อความเข้าใจ และความแม่นย�ำในความคิดอันนี้ว่าด้วยการปกครอง ระบอบวิลายะตุลฟะกิฮ์ ภายใต้โครงสร้าง หลักเอกภาพ ในพหุภาพ อิมามก็น�ำโองการอัลกุรอาน และค�ำสอนใน การปกครอง เป็นต้นแบบจากอิมามอะลี (อ.) ซึ่งจริงๆ แล้ว อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า “ประชาชาติทั้งหมด บอกถึงโครงสร้างของมนุษย์นั้นมี ความเป็นเอกภาพ และในขณะเดียวกันก็มีความเป็นพหุ ภาพเช่นกัน มีความหลากหลายอยู่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้" อันดับแรก อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงตรัสถึงเรื่องของ พหุภาพ ก่อนพูดถึงเรื่องการเกิดขึ้นบนโลกนี้ก่อนว่า แท้จริง เราสร้างสูเจ้ามาจากชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง และ เราก�ำหนดให้สูเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นก็กเป็นเหล่า และ

มีชาติพันธ์ุมากมาย เพื่อที่จะให้ได้รู้จักกัน เพื่อให้มีการ ปฏิสัมพันธ์กัน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สร้าง มิตรภาพระหว่างรัฐกับรัฐ และอีกโองการหนึ่ง กล่าวว่า ในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ฉบับสาส์น ในสาส์นที่ 353 ที่อิมามอะลีเขียนถึงท่านอาลิก อัซตารซึ่งก�ำลังจะไป ปกครองอียิปต์ อิมามอะลี (อ.) ซึ่งในปี ค.ศ 2002 มติของ สหประชาชาติประกาศให้แก่ชาติอาหรับทั้งหลายว่า ให้ น�ำเอาสาส์นของอิมามอะลี (อ.) ฉบับนี้ไปเผยแผ่ต่อกลุ่ม ชาติอาหรับทั้งหลาย เพื่อเป็นแนวทางการปกครองแบบ ธรรมาธิปไตย โดยยึดหลักนี้ ในสาส์นฉบับนี้อิมามโคมัยนี (รฏ) ได้น�ำมาเป็นพื้นฐานในระบอบวิลายะตุลฟะกิฮ์

การปราศรัยของ ฮุจญตุลอิสลามวัลมุสลิมีน ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี อิมมามมัสยิดรูฮุลลอฮ์ และผู้อ�ำนวยการสถาบันอัลมะฮ์ดี จ. นครศรีธรรมราช อัสลามุอะลัยกุม ฯ

ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอบคุณต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) และ ทุ ก ท่ า นที่ ม าร่ ว มกั น ร� ำ ลึ ก ถึ ง เรื่ อ งราวอั น ยิ่ ง ใหญ่ ใ น ประวัติศาสตร์ วันนี้เป็นวันครบรอบอสัญกรรมของอิมามโคมัยนี (รฏ) นักปฏิวัติ บุคคลส�ำคัญคนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 101


แห่งมนุษยชาติ และวั น นี้ ก็ ต รงกั บ วั น คล้ า ยวั น ถื อ ก� ำ เนิ ด ของ ท่าน อิมามอะลี (อ.) ซึ่งตรงกับการอสัญกรรมของท่าน อิมามโคมัยนี (รฏ) พอดี จึงถือว่าเป็นฮิกมะฮ์ประการหนึ่ง เพราะเรื่องอิมามโคมัยนีกับเรื่องอิมามอะลี (อ.) เป็นเรื่อง เดียวกัน และถ้าเราศึกษาค้นคว้าจะพบว่า สิ่งหนึ่งที่อิมา มอะลี (อ.) พยายามต่อสู้ตลอดชีวิตของท่าน เสียสละการ ต่อสู้ในสงครามต่างๆ ในภาคชีวิตส่วนตัวเป้าหมายอัน ยิ่งใหญ่ของท่านก็คือ ต้องการให้เกิดรัฐหนึ่งขึ้นมาในโลก นี้ รัฐนี้ถ้าเราจะตั้งชื่อในนามของมุสลิม เราจะเรียกว่า รัฐ อิสลาม และถ้าเราถอดออกจากความเป็นอิสลามไป เรา ก็จะเรียกรัฐว่า รัฐแห่งธรรม รัฐแห่งศาสนา รัฐที่มีความ บริสุทธิ์ยุติธรรมกับคนทุกชนชั้น แน่นอนรัฐแห่งธรรม ย่อม เป็นรัฐที่สูงกว่ารัฐแห่งประชาธิปไตย นี่คือสิ่งที่อิมาม อะลี (อ.) ก�ำลังต่อสู้ การปกครองของท่านอธิบายว่า รัฐอิสลาม คืออะไร หรือ รัฐธรรมของพระผู้เป็นเจ้านั้นคือรัฐอะไร จาก การปฏิบัติตัวของท่าน จุดประสงค์ของรัฐนี้หมายความ ว่าอย่างไร และถ้าเข้าไปศึกษาในประวัติศาสตร์ว่า เรา จะพบอิมาม อะลี (อ.) ได้อรรถาธิบายความยิ่งใหญ่นี้ของ มวลมนุษยชาติทุกคน ไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาใดๆ ใน การปกครองและการปฏิบัติตนเองของท่าน ดังนั้นเราต้องท�ำความเข้าใจกับรัฐที่อิมามอะลี (อ.) สถาปนาเสียก่อน ก่อนที่เราจะเข้าใจถึงรัฐที่อิมาม โคมัยนี (รฏ) สร้างขึ้นมา รัฐของอิมามอะลี (อ.) ซึ่งท่าน มีเวลาการปกครองเพียง 4 ปีเท่านั้น เพราะในสมัยของ ท่านมีสงครามเกิดขึ้นอย่างมากมายในขณะที่ท่านขึ้น ปกครอง เกิดการสงครามต่อต้านรัฐของอิมามอะลี (อ.) พวกเราอ่านข่าวทุกวันว่า ยิวกับมุสลิมเป็นศัตรู กัน ต้องเข่นฆ่ากัน ซึ่งไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป เราต้อง เข้าใจกันก่อนว่า ยิวนี้คือยิวที่อยู่ในขบวนการไซออนิสต์ ส่วนยิวที่ไม่ได้อยู่ในขบวนการไซออนิสต์ จริงๆ แล้วคือ พี่น้องในศาสนา และถ้าจะนับกัน ยิวคือพี่คนโต คริสต์ เตียนเป็นพี่ลองและมุสลิมคือน้องเล็ก แต่น้องเล็กมีความ ส�ำคัญที่สุด ถ้าจะนับตามอายุ เพราะว่าทั้งหมดมาจาก

102 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ศาสนาที่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว ในขณะที่เราถูกปลูก ฝังให้เกียรติคนยิวโดยไม่แยกแยะ แต่ในรัฐของอิมามอะ ลี (อ.) น�ำเสนอทัศนะคติแบบอื่น ในวันหนึ่งในยามค�่ำคืน อิมามอะลีขึ้นไปบนมิมบัร และร้องตะโกนเสียงดังจน คนในบริเวณแถวนั้นตื่นขึ้นทั้งหมด และวิ่งมาในมัสยิด โดยคิดว่ามีปัญหาอะไร หรือว่าท่านต้องการที่จะประกาศ สงคราม ท่านบอกว่า มีกองลาดตระเวน รายงานข่าวให้ ทราบว่า มีหญิงชาวยิวคนหนึ่งถูกปล้นตามเส้นทางใน ขณะเดินทาง หญิงยิวคนนี้อยู่ในแผ่นดินการปกครองของ เรา หญิงยิวคนนี้เป็นพลเมืองที่ดี ถึงแม้ว่าจะยิว แต่ก็จ่าย ภาษีให้รัฐอิสลาม นางถูกปล้นในแผ่นดินของอิสลาม ชีวิต ของยิวไม่มีความปลอดภัยในแผ่นดินอิสลาม ถ้ามุสลิม เขาสิ่งนี้หมายความว่าอิมามอะลี (อ.) ก�ำลังน�ำเสนอรัฐ อิสลามที่ทุกคนจะต้องอยู่อย่างสันติ คือรัฐที่มนุษย์ไม่ เบียดเบียนซึ่งกันและกัน มีความเสมอภาคที่แท้จริง ไม่มี ข้ออ้างใดๆ ไม่ว่าผู้ใดที่จะท�ำตนสูงกว่ามนุษย์ ความเป็น อัครสาวกก็ไม่ใช่ตั๋วหรือใบเสร็จใดๆ ที่ชี้ให้เห็นเหนือกว่า มนุษย์คนอื่นๆ สหรัฐอเมริกาคือศัตรูของมวลมนุษยชาติทั้งหมด ไม่ใช่ศัตรูของอิหร่านและไม่ใช่ศัตรูของมุสลิมแต่เพียง ผู้เดียว ฉะนั้นการที่อิมามโคมัยนี่ตัดความสัมพันธ์กับ อเมริกา เพราะพวกเขาเป็นจักรวรรดินิยมยุคใหม่ เป็น นักล่าอาณานิคมยุคใหม่ ตัดความสัมพันธ์กับอิสราเอล เพราะเป็นรัฐเถื่อนบนพื้นฐานของการกดขี่ เพียงแต่ การน�ำเสนอของสื่อยังไม่เป็นธรรม ตัวอย่างอย่างเช่น ข่าว ปาเลสไตน์แผ่นดินที่ถูกกดขี่ไม่ใช่เป็นของเพียงมุสลิม เพียงอย่างเดียว มีทั้งคริสต์เตียน มียิว มีมุสลิม อยู่ร่วมกัน มาอย่างยาวนานก่อนการก่อตั้งรัฐอิสราเอล นั่นก็คือถ้า ปล้นปาเลสไตน์ ก็เท่ากับปล้นคริสต์เตียน ปล้นยิวที่เคร่ง ศาสนา ยิวที่ไม่ได้เป็นยิวไซออนิสต์ ท่านตัดความสัมพันธ์ กับยิวเพราะว่าตรงนี้ เพียงแต่ปาเลสไตน์นั้นมีมุสลิม อยู่มากมาย ส่วนการตัดความสัมพันธ์กับแอฟริกาใต้ อิหร่านไม่เคยมีปัญหากับแอฟริกาใต้ ก่อนหน้าของอิมาม โคมียนี และในสมัยกษัตริย์ชาฮ์ก็ไม่มีปัญหา แต่เพราะใน


แอฟริกามีการแบ่งแยกสีผิว กดขี่สีผิว กดขี่ทุกรูปแบบ คน ผิวด�ำไม่มีสิทธิไม่มีอ�ำนาจในการปกครองประเทศ ไม่มี สิทธิเข้าโรงเรียนของคนขาว คนผิวด�ำไม่สามารถท�ำงาน กับคนผิวขาวได้ ฯลฯ ทั้งๆ ที่คนด�ำเป็นเจ้าของประเทศ อิสลามก็ไม่ยอมรับการแบ่งแยกสีผิว ค�ำสั่งสอนของท่าน ศาสดา (ศ็อลน) กล่าวว่าคนขาวไม่ดีไปกว่าคนด�ำ และ คนด�ำไม่ดีไปกว่าคนขาว และอาหรับก็ไม่ดีไปกว่าอารยัน และอารยันก็ไม่ดีไปกว่าอาหรับ อิมามโคมัยก�ำลังน�ำเสนออะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ที่ สมบูรณ์ให้มุสลิม ซึ่งเป็นพื้นฐานเพื่อรองรับการมาของ อิมามมะฮ์ดี (อ.) รัฐของอะฮ์ลุลยชบัยต์อันยิ่งใหญ่ และ ทุกศาสนาจะเป็นหนึ่งเดียวกัน และส�ำหรับที่ไม่ใช่มุสลิม รัฐที่เคร่งครัดศาสนาและศีลธรรม สามารถที่จะพัฒนา ให้เจริญก้าวหน้าได้ทุกอย่าง ขณะนี้อิหร่านไม่ได้เจริญ ก้าวหน้าทางด้านนิวเคลียร์เพียงอย่างเดียว แต่ด้านการ แพทย์และอื่นๆ ก็เจริญก้าวหน้าไปไกลไม่แพ้ประเทศ อื่นๆ ใดๆ ในโลก นั่นคือมรดกอันยิ่งใหญ่และความภาค ภูมิใจในทางด้านศาสนา เมื่อมวลมุสลิมมองแล้วว่า 33 ปีผ่านไป ไม่มีใคร สามารถที่จะโค่นรัฐอิสลามได้ และกระแสการตื่นตัว ของโลกอิสลามท�ำให้ทางตะวันตกไม่ทันตั้งตัว ขณะนี้ ประเทศต่างๆ อย่างเช่นอียิปต์ ตูนีเซีย บะฮ์เรน รวมทั้ง ขณะนี้ในประเทศชาอุดิอารเบียก็ก�ำลังเกิดการตื่นตัวขึ้น อย่างกว้างขวาง มรดกชิ้นสุดท้ายที่จะขอฝากให้แก่ท่านผู่มีเกียรติ ทุกท่านก็คือ จะต้องปกปักษ์ รักษาและพิทักษ์ก็คือระบบ

การปกครองของวิลายะตุลฟะกีฮ์ นี่คือมรดกที่ส�ำคัญเป็น เกาะป้องกันอันยิ่งใหญ่ แน่นอนไม่ใช่รัฐของศาสดา ไม่ใช่ รัฐของอิมาม มันจะต้องมีระบบหนึ่งต้องรับประกันว่า รัฐ นี้จะอยู่ต่อไปจนถึงการปรากฏตัวของอิมามมะฮ์ดี (อ.) และในทางพุทธศาสนาก็เชื่อรัฐนี้จะต้องอยู่ถึง พระเจ้า ศรีอานต์ และการปกครองที่สูงสุดนั้นจะต้องอยู่ที่บรรดา อุลามาอ์ หรืออยู่ในมือของสงฆ์ อ�ำนาจสูงสุดจะต้องอยู่ ในมือของคนที่มีศาสนา จะต้องอยู่ในมือของบุคคลที่ ทรงศีลทรงธรรมอย่างสมบูรณ์ ที่ได้รับการยอมรับโดย เอกฉันท์เท่านั้น ที่จะตัดสินชะตากรรมของชาติ และ บ้านเมืองจะต้องอยู่กับบุคคลเหล่านี้ เพราะถ้าผ่านทาง ระบบประชาธิปไตยมันง่ายมาก เพราะประชาธิปไตยมัน สามารถซื้อเสียงก็ได้ ประธานาธิบดีคนนี้เคยทรยศต่อ ประเทศอิหร่านมาแล้ว ซึ่งอิมามโคมัยนีก็รู้ว่าเขาทรยศ แต่เพราะเขามาจากระบอบประชาธิปไตย และเมื่อเขามา จากประชาธิปไตยก็ให้ไปแบบประชาธิปไตย จนกระทั่ง ภาพพวกทรยศปรากฏขึ้น ประชาชนทั่วทั้งประเทศ จ�ำนวนสิบล้านกว่าคนออกมาเดินขบวนว่า เราขอเสียง ของพวกเราคืน อิมามโคมัยนีก็บอกกับประธานาธิบดีว่า พวกประชาชนเขาขอสิทธิคืน หลังจากนั้นประธานาธิบดี ก็หนีออกนอกประเทศไป มรดกของอิมามโคมัยนี (รฏ) คือรัฐอิสลามที่ส่ง มาถึงพวกเรา ซึ่งพวกเราจะต้องภาคภูมิใจ สิ่งที่ส�ำคัญ อีกอย่างหนึ่ง ที่จะเป็นหลักประกันที่ยังคงเหลืออยู่ก็คือ ระบบการปกครองของวิลายะตุลฟะกีฮ์ ซึ่งเราจะต้อง ปกป้องรัฐ หมายความว่า พวกเราปกป้องรัฐของอิมาม อะลี (อ.) และปกป้องรัฐแห่งความอยุติธรรม และถ้าไม่ เข้าใจรัฐนี้ ก็จะไม่เข้าใจรัฐของอิมามมะฮ์ดี (อ.)

การบรรยาย "การเปรียบเทียบรัฐอิมามโคมัยนี กับลัทธิของมหาตมะ คานธี" โดย ดร.ภัทรพงศ์พันธ์ สิงฮ์ก�ำหาญ คณบดี สถาบันเทคโนโลยี อโยธยา พระนครศรีอยุธยา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 103


ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอท�ำความเข้าใจกับท่านพิธีกรที่ แนะน�ำเมื่อสักครู่ ว่าผมและเดินไปอิหร่านและกลับเป็น มุสลิม ขอเรียนว่า ผมยังอยู่ที่จุดเดิมของผมก็คือศาสนา พุทธยังไม่ได้เปลี่ยนไป ผมพูดด้วยความสัตย์จริง แต่สิ่ง ที่ผมชื่นชมอย่างมากที่สุด ก็คือในเรื่องมุสลิมนิกายชีอะฮ์ ซึ่งท�ำให้ผมเข้าใจและอยากจะศึกษาให้รู้ถึงแก่นแท้จริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้ของอิมามโคมัยนี ในเรื่องศาสนานั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เพราะส่วนตัวผมเองเป็นชาวพุทธ และมีโอกาสไปบวช ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ประเทศอินเดีย ส่วนพ่อแม่ ของผมทุกคนเป็นคริสเตียน กระผมเป็นอาจารย์สอน คณะนิติศาสตร์อยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ซึ่ง นักศึกษาส่วนมากเป็นมุสลิม ดังนั้นชีวิตของผมอยู่กับ หลักของศาสนาพอสมควร ผมมองว่าศาสนาเป็นสิ่งที่ งดงาม เพราะเปรียบเสมือนดอกไม้ที่อยู่ในแจกัน ถ้าหาก มีดอกไม้ขนาดเดียวกันอยู่ในแจกันใบหนึ่ง แจกันใบนั้น จะไม่สวยงาม หากในแจกันนั้นมีสีสัน มีสั้นมียาวบ้าง ผสมกันอยู่ ผมคิดว่าในโลกนี้จะงดงามที่สุด ผมมีความศรัทธาในพระพุทธเจ้า ครั้งหนึ่งผมมี แนวคิดว่า จะให้พ่อแม่ของผมมาเป็นพุทธกับผม เพราะ ผิดคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด ในขณะเดียวกันพ่อแม่ของ ผม ท่านก็บอกว่า พระเจ้าของพ่อแม่ดีที่สุดส�ำหรับพวก เขา และท่านมีความปรารถนาที่จะให้ผมไปเป็นคริสต์ เหมือนกับท่าน ผมเดินทางไปศึกษาต่อที่อินเดีย ในด้าน ศาสนาเปรียบเทียบ ผมได้เห็นสังคมที่แตกต่างและเห็น มุมมองที่หลากหลาย ผมกลับมาคิดใหม่ว่า ผมจะให้พ่อ

104 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

แม่ของผมซึ่งแก่ชราภาพเปลี่ยนแปลงความคิดและหัน มาอยู่ในจุดที่ผมอยู่ และจะท�ำอย่างไรให้พ่อแม่ของผม มีความสุขที่สุด โดยที่ท่านไม่ต้องเปลี่ยนแปลง แต่ผม ต้องเปลี่ยนแปลงตัวของผมเอง เพราะผมยังเด็กจะต้อง ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ไม่ให้ท่านรู้สึกเป็นทุกข์ เพราะ ถ้าสองศาสนาอยู่ด้วยกันถ้าหากไม่มีความเข้าใจซึ่งกัน และกัน มันค่อนข้างที่จะล�ำบาก และต่อมาผมก็ศึกษา คัมภีร์ไบเบิลเป็นระยะเวลาสองปี เพราะอยากจะทราบ ว่าศาสนานั้นสอนอะไรบ้าง ผมจึงรู้ว่าศาสนาคริสต์ก็ไม่ แตกต่างกับสิ่งที่เราเคารพนับถือเพียงแต่ต่างกันทางด้าน ภาษา เพราะมันมีสวรรค์ของพระเจ้า และผมก็ถามแม่ ว่า สวรรค์ของพระเจ้าเจ้าเป็นเช่นไร แต่แม่ก็ตอบผมไม่ ได้ และถ้าเขาถามกลับมาว่า สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร ผมก็ตอบไม่ได้ เพราะผมก็ยังไปไม่ถึง ดังนั้นผมกลับมา เรียนรู้เพื่อที่จะศึกษาให้เข้าใจ และก็ยอมรับในสิ่งที่เป็น อยู่ และผมก็เข้าใจในวีถีชีวิตของพ่อและแม่ในศาสนา คริสต์ และผมก็ยอมรับในสิ่งนั้น และเราสามารถอยู่กับ ครอบครัวได้อย่างมีความสุข และในขณะที่ผมเข้าไปอยู่ ในมหาวิทยาลัยที่มีมุสลิม และศาสนาอิสลามเป็นสิ่งใหม่ ส�ำหรับผม ผมไม่ได้รังเกียจและผมก็ไม่มีภาพลบ แต่ผม เฉยๆ เพราะผมไม่รู้ ผมรู้สึกกลัวๆ ถ้าผมเข้าไปมีสัมผัสกับ การคลุมหน้าคลุมหัว เพราะกลัวไปกระท�ำผิดๆ แต่ผมได้ คุยกับ ดร.ชะรีฟและได้รับโอกาสให้เดินทางไปบรรยาย ทางด้านศาสนสัมพันธ์ ณ ประเทศอิหร่าน ท�ำให้ผมสนใจ ศาสนาอิสลามมากขึ้น ผมมีโอกาสเข้าพบผู้น�ำมากมาย และที่ประทับใจมากที่สุดก็คืออะยาตุลลอฮ์ บะฮ์ยัต ณ เมืองกุม ประเทศอิหร่าน และท่านก็ได้ให้แหวนและกล่าว กับผมว่า ในเรื่องชีวิตนั้นมีอยู่แค่สามส่วน คือ กาย จิต และวิญญาณอันบริสุทธิ์ ไม่ว่าท่านจะนับถือศาสนาใด ก็ ขอให้ไปให้ถึงสิ่งนั้นเถิด และเราจะได้เจอกันที่นั่น สิ่งนั้น เป็นสิ่งที่อยู่ในใจผมตราบเท่าทุกวันนี้ เพราะเป็นค�ำพูดที่ ท้าทายผมมากที่สุด ที่จะไปให้ถึงตรงนั้นให้ได้ในชีวิต วันนี้ผมได้รับเกียรติอย่างยิ่งให้มาเปรียบเทียบ อิมามโคมัยนีกับท่านมหาตมะ คานธี และผมมีโอกาส


เข้าไปในประเทศอินเดีย 3 ปี และได้แนวความคิดในด้าน นี้มากพอสมควร และผลก็ได้ไปอิหร่านและศึกษาแนวคิด ของอิมามโคมัยนี อย่างที่ผมได้ชมภาพยนตร์สารคดีที่ ผ่านมา ผมรู้สึกว่า ท�ำไมผู้น�ำคนสามารถคลุมหัวใจคนได้ เป็นล้านๆ คน และเกิดค�ำถามกับผมมากมาย และผู้น�ำ ของเราก็ท�ำและมันไม่ประสบความส�ำเร็จ และผมก็ได้ มองท่านมหาตมะ คานธีเช่นกัน คนจ�ำนวนล้านเหมือน กันที่ชื่นชมยินดีและต้องการที่จะพบและสัมผัสพูดคุยกับ ท่านผู้นี้ ซึ่งบุคคลทั้งสองนั้นเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ ท่านสร้างความศรัทธาให้ยิ่งใหญ่ขึ้น ดังนั้น เอกภาพของอิมามโคมัยนีหมายความว่า รัฐต้องการผู้น�ำที่เป็นนักปราชญ์ และเป็นผู้ทรงคุณธรรม อย่างยิ่ง และรัฐจ�ำเป็นจะต้องมีหลักนิติธรรมจะต้องไม่ คัดค�ำสั่งสอนทางศาสนา ถ้าเป็นมุสลิมก็คือหลักค�ำสอน ในอัลกุรอาน สิ่งนี้เคยเกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ แต่ว่า โลกของเราถูกเปลี่ยนแปลงไป ผมได้เห็นสังคมในชนบท หรือผู้ใหญ่บ้านจะมาจากคนที่เป็นคนดีและมีคุณธรรม และถูกยกย่องขึ้นมาในหมู่บ้านเหล่านั้น มีปัญหาอะไร ก็ให้เข้าไปหาผู้ใหญ่บ้าน ผมจะยกตัวอย่างในปัจจุบัน ผู้ใหญ่บ้านมาจากการซื้อเสียง และยังเขียนหนังสือย ไม่เป็น แต่ปล่อยเงินกู้นอกระบบและน�ำเงินมาซื้อหัว คะแนน ถ้าหากไม่มีความเข้มแข็งภายในอย่างที่อิมาม โคมัยนีบอกแล้วว่า มันไม่สามารถที่จะหยุดยั้งในระบบ นี้ได้ ระบบการซื้อสิทธิขายเสียงยังเกิดขึ้น กระผมนั้นมี ความระอายต่อสิ่งนี้ที่มันเกิดในประเทศของเรา ซึ่งผม อยากจะมีผู้น�ำทางด้านจิตวิญญาณลักษณะนี้ให้เกิดขึ้น และสร้างระบบใหม่ในสังคมไทย สุ ด ท้ า ยไม่ ใ ช่ เ ปลี่ ย นแปลงในเรื่ อ งของการเป็ น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นรัฐอิสลามเพียง เท่านั้น แต่ท่านยังมีความต่อเนื่องที่จะให้หันมาสู่เส้นทาง อันบริสุทธิ์ตามความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ส่วนท่านมหาตมะ คานธีก็มีเป้าหมายอันชัดเจน เหมือนกันเพื่อจะปลดแอกอินเดียจากการปกครองของ อังกฤษที่มีมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกันท่านก็ใช้วิธี

การต่ อ สู ้ กิ เ ลสภายในเพื่ อ ให้ ห ลุ ด พ้ น น� ำ ไปสู ่ อิ ส รภาพ ที่แท้จริง ไม่ใช่หลุดจากอังกฤษเพียงเท่านั้น แต่ท่าน ต้องการให้ทุกๆ คนหลุดจากิเลสที่ครอบง�ำภายในด้วย และซึ่งวิธีการต่อสู้ของทั้งสองท่านนั้น เป็นการต่อสู้ที่มี การปฏิรูปและปฏิวัติ ท่านทั้งสองเริ่มจากปฏิรูปและปฏิวัติภายในจิตใจ ของตนเอง ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ภายในในประเทศ และสังคม และดังนั้นท่านทั้งสองจึงท�ำให้บรรดาบุคคล ต่างๆ เหล่านี้เกิดการศรัทธาในตัวท่านทั้งสอง มหาตมะ คานธีก็เช่นกัน ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะมา เปลี่ยนแปลงอินเดียได้ ท่านต่อสู้กับกิเลสในตัวตน อย่าง มหาศาล เพื่อที่จะคัดเกลาตนเองให้มีความบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้น ยิ่งมีความบริสุทธิ์มากเท่าใด พลังของท่านและการ ศรัทธาของท่านก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ต่อมาก็คือพลังศรัทธาอันแรงกล้าของท่านทั้งสอง เป็นการศรัทธาที่อยู่ต่างพื้นที่อยู่ต่างศาสนา แต่มีใจหนึ่ง เดียวคือท�ำเพื่อพระผู้เป็นเจ้า ผมไม่ทราบว่าพระผู้เป็นเจ้า ทั้งสองนั้นอยู่ในสภาวะอย่างใด แต่ทั้งสองท่านมีความ ศรัทธาสุดหัวใจ ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตของท่านทั้งสอง นั้นดื่มด�่ำกับองค์พระผู้เป็นเจ้า และสิ่งใดที่พระผู้เจ้าทรง ห้ามและบัญญัติไว้ที่ชั่วร้ายท่านก็ไม่ท�ำ แต่ในสิ่งที่ดีงาม ท่านทั้งสองก็ท�ำ ดังนั้นกระผมเห็นว่าอิมามโคมัยนีนั้น มี แบบในการต่อสู้เป็นตัวอย่างอยู่แล้วอย่างเช่น คัมภีร์อัลกุ รอาน กล่าว อิมามโคมัยนีศรัทธาในค�ำว่ “จงย�ำเกรงต่ออัลลอฮ์ และพระองค์จะเป็นผู้สอนท่าน แท้จริงพระองค์ทรงปก ป้องมวลบรรดาผู้ศรัทธา พระผู้เป็นเจ้าจะปกป้องแก่ผู้ ศรัทธาเท่านั้น ส่วนผู้ไม่ศรัทธา พระผู้เป็นเจ้าก็จะไม่ทรง ปกป้อง ผมศึ ก ษาจากต� ำ ราพระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ทรงตรั ส ไว้ ถึงเรื่องศรัทธานั้น มีอยู่สองอย่าง และศรัทธาในพระผู้ เป็นเจ้า และศรัทธาในวันตัดสิน พระองค์ได้ทรงเลือก คุณค่าของอิสลามและของมวลมนุษยชาติ คือการต่อสู้ ในหนทางของอัลลอฮ์ (ซบ.) และต่อศัตรูกับศัตรูของ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 105


พระองค์ และเหล่าบรรดามนุษยชาติ และพระองค์ทรง เลือกการญิฮาดเหนือไว้คุณค่าทางด้านอื่นๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง ตอนที่ผมได้ดูอิมามในทีวี เวลาท่านเดิน นั้น ท่านเดินอย่างสง่างามมาก หน้าของท่านจะตรงและ เชิด นัยน์ตาของท่านจะมองที่ต�่ำด้วยความอ่อนโยน ความโอบอ้อมอารี ไม่ใช่ก้าวร้าว และถ้ามองในแววตา นั้น จะเห็นว่าท่านมีความเด็ดเดี่ยวและหนักแน่น และ เด็ดขาด โดยเฉพาะกับสิ่งที่ชั่วร้าย แต่ท่านจะมีความ ประนีประนอมกับประชาชน สิ่งที่ท่านสื่อและสิ่งที่ท่าน ท�ำก็คือหลักค�ำสอนของท่านที่เป็นมาตรฐาน ท�ำให้ดู และ อยู่ให้เห็น สอนให้เป็น แต่ไม่ใช่สอนแบบหนึ่ง แต่ความ ประพฤติไม่ใช่ ฉะนั้นความศรัทธาก็จะไม่เกิดในตัวท่าน ฉะนั้นท่านมหาบุรุษทั้งสองของโลกนั้น เป็นต้น แบบ และเป็นแบบอย่างให้ชาวโลกได้ประพฤติและ ปฏิบัติตาม และในเรื่องการคัดเกลาของบุคคลทั้งสอง ผมมีโอกาสไปบ้านพักที่อิมามโคมัยนีอยู่อาศัย ใช้ในการ สร้างความคิด ผมไม่เชื่อว่าคนที่ยิ่งใหญ่แบบนี้ จะอยู่บ้าน หลังเล็กๆ ระบบเป็นบ้านเช่าด้วย และหลังจากนั้นผมก็ไป ดูอีกสถานที่หนึ่ง มันเป็นที่พักพิงของกษัตริย์พระเจ้าชาฮ์

106 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

บนเนินเขาเป็นสถานที่ที่สวยงามมาก เป็นพระราชวังที่ เขาอนุรักษ์เป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ประชาชน นักศึกษา มาค้นคว้าในเรื่องประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่นี้ อิมามมีบ้าน เล็กๆ และก็ไม่มีทรัพย์สินอะไรมากมาย แต่สามารถโค่น ล้มกษัตริย์ได้ เป็นอะไรที่น่าคิด เพราะใช้ความจริงใน อัลกุรอาน ฉะนั้น ความจริงพร้อมที่จะขจัดสิ่งที่ไม่จริง ออกไปได้ทุกๆ อย่างสัตย์ซื่อต่อตนเองและผู้อื่น ยอมรับ ในสิ่งที่ผิด และยอมรับด้วยความองอาจ แต่คนนี้เป็น ทนายความมาก่อนจึงท�ำให้ผมสนใจเป็นพิเศษในฐานะ ที่เป็นทนาย ในที่สุดท่านก็เลิกจากการเป็นทนาย ดังนั้น ไม่มีอะไรสูงส่งไปจากความจริง ตัวความจริงของพระเจ้า ของมหาตะมะ คานธี ก็คือตัวเดียวกัน แยกไม่ออก ส่วนวิถี ในการต่อสู้ของท่านจะใช้วิธีอหิงสา จะไม่ใช้ความรุนแรง และมีเป้าหมายที่ชัดเจนและเป้าหมายนั้นเป็นเป้าหมาย ที่มีเหตุผลรองรับ ไม่ใช่ตั้งเป้าหมายมั่วๆ และก็ไปประท้วง อดข้าว ไม่ใช่ มันต้องมีเหตุผลที่มีความจริงอยู่ในนั้น และ นอกจากจะมีเป้าหมายแล้ว จะต้องมีความอดทน จะยอม เจ็บปวดต่อตนเอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยอาศัย การสวดมนต์ และขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าให้ประสบความ ส�ำเร็จ สรุปมหาบุรุษทั้งสองท่าน มีเป้าหมายอย่างชัดเจน และมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า และลงมือกระท�ำอย่าง ต่อเนื่อง แม้แต่ตนเองจะอยู่ในต่างประเทศ แต่ความคิด ของท่านจะด�ำรงอยู่เสมอ เพื่อให้สิ่งเหล่านั้นบรรลุความ ส�ำเร็จและท�ำด้วยความรักในพระผู้เป็นเจ้า ขอให้ ทุ ก คนก้ า วไปข้ า งหน้ า เพื่ อ แสวงหาความ รู้ที่ดีกว่า ให้แก่ท่านในสภาพที่พึ่งตนเองในขอบเขตที่ สมบูรณ์และไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตราบใดที่ท่านด�ำรงอยู่ ในทางการรับใช้พระผู้เป็นเจ้า และอ�ำนวยผลประโยชน์ แก่ ค วามก้ า วหน้ า ความสู ง ส่ ง อั น ดี ง ามกั บ ประเทศ อิ ส ลามนี้ แ ล้ ว วิ ญ ญาณร่ ว มหมื่ น และพระหั ต ถ์ ข อง พระเจ้าจะคงอยู่กับท่าน นี่เป็นค�ำพูดที่ผมประทับใจกับค�ำพูดเหล่านี้ และ ไม่สามารถแยกค�ำพูดได้ว่าค�ำพูดใด เป็นค�ำพูดของ


พระเจ้า และสิ่งใดที่เป็นความพระประสงค์ของพระเจ้า ได้เห็นความส�ำคัญเช่นนี้ แต่เมื่ออดีตก่อนนั้น ถึงแม้ว่า เพราะเป็นค�ำพูดนี้มันรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ประเทศไทยจะหล้าหลังก็ตาม แต่ก็เป็นประเทศที่ถือ ธรรม จึงมีค�ำสอนเตือนใจ คนไทยทั้งหลายว่า “ประเทศ การเสวนาทางวิชการเรื่อง ใดไร้ธรรมอ�ำไพร ชาติใดไร้ธรรมอ�ำไพร ชาตินั้นบรรลัย “บทบาทของศาสนากับรัฐ” แน่นอน ค�ำอภิปรายของ มุสลิมมีนักต่อสู้ที่มีสติปัญญามากมาย การเปิด อาจารย์ไพศาล พืชมงคล ศักราชใหม่ของอิมามโคมัยนี ในการสถาปนารัฐอิสลาม ก่อนอื่นขอขอบคุณผู้แทนทางด้านศาสนา และ ในโลกเป็นแห่งแรก ความจริงคือครั้งที่สองต่อจากอิมาม ท่านที่ปรึกษาทูตฝ่ายวัฒนธรรมฯ และพี่น้องมุสลิมทุก อะลี อิมามอยู่ได้ 4 ปี อิมามโคมัยนี อยู่ได้ 33 ปีแล้ว และ ท่าน เมื่อก่อนนี้ผมเคยมาพูดบนเวที เนื่องในโอกาสครบ เป็นต้นแบบของรัฐอิสลามที่ก�ำลังส่งผลสะเทือนไปทั่ว รอบ 15 ปีของการอสัญกรรมของอิมามโคมัยนี เมื่อ 8 โลก เป็นที่น่ายินดีที่มุสลิมได้ก่อตั้งรัฐอิสลามขึ้น เป็นรัฐ ปี มาแล้ว ในครั้งนั้น ผมมีโอกาสที่ผู้น�ำทางด้านศาสนา ที่ถือธรรมน�ำหน้า ชาติใดไร้ธรรม ชาตินั้นบรรลัยแน่นอน ส�ำคัญๆ เดินทางมาประเทศไทยก็คือ ท่านอยาตุลลอฮ์ เพราะฉะนั้นเพียงไม่กี่ปีจากที่สถาปนาการสาธารณรัฐ ชาฮ์รูคีก็มีโอกาสแสดงธรรมของท่านให้ชาวพุทธและ อิสลามขึ้นมา ก็ได้ท�ำให้ประเทศนั้นพ้นจากความยากจน ท�ำให้คนอย่างผมเข้าใจในอิสลามากยิ่งขึ้น ผมได้ยินค�ำ ขณะนี้ ยุโรปก�ำลังล้มละลาย ภาวะล้มละลาย กล่าวของท่านให้ไปเผยแพร่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าในสภา ทั้งหมดนี้ จะน�ำไปสู่สงคราม มีแต่ประเทศที่ปฏิบัติธรรม และหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ กรมศาสนา ฯลฯ และประเทศที่มีประชากรที่อยู่ในศีลธรรมเท่านั้น จึงจะ เพราะผมเห็นว่าค�ำกล่าวของท่านแสดงทัศนะอันสูงส่ง สามารถจรรโลงอยู่ได้ ในโอกาสแห่งอสัญกรรมครบรอบ อย่างยิ่งของอิสลาม ถ้าชาวโลกทั้งหลาย โดยเฉพาะเหล่า 23 ปีของอิมามโคมัยนีนี้ ก็เชื่อว่าพวกเราจะเห็นความ มหาอ�ำนาจผู้ที่เป็นนักล่าอาณานิคมทั้งหลาย ได้ศึกษา เจริญรุ่งเรืองของการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน และจะน�ำ อิสลามอันท่องแท้แล้ว ผมเชื่อว่าสันติภาพและสันติสุข ธรรมะทางศาสนามาประพฤติปฏิบัติ ผมเป็นชาวพุทธ ใน จะเกิดขึ้นในโลก ผู้ที่ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมกับบรรดา ศาสนาพุทธก็มีการรอคอยพระศรีอริยเมตตัย เหมือนกับ ประเทศเหล่านั้น และเมื่อความเข้าใจอันนี้ได้ขยายแพร่ ที่มุสลิมก�ำลังคอยการปรากฏของอิมามมะฮ์ดี (อ.) ออกไป และในตอนนั้นอิหร่านเป็นเจ้าภาพในการประชุม ระบบการปกครองของจีน ซึ่งเขาเคยดูถูกดูแคลน สภาผู้น�ำของโลกศาสนาอิสลาม จีนผิด ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่มีการเลือกตั้ง ฯลฯ แต่ จริงๆ แล้วพี่น้องชีอะฮ์ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เพราะ ท�ำไมจีนวันนี้มีเงินมากที่สุดในโลก เป็นเจ้าหนี้อเมริกา อันที่จริงพี่น้องมุสลิมชีอะฮ์มีบทบาทมาตั้งแต่สมัยกรุง นี่คือที่นักเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ของประเทศไทยไม่ ศรีอยุธยาแล้ว พี่น้องบางคนมีบทบาทและมีความส�ำเร็จ สามารถที่จะตอบค�ำถามเหล่านี้ได้ ในการท� ำ หน้ า ที่ ข ้ า ราชการบ้ า นเมื อ งและแผ่ น ดิ น มา ค�ำอภิแรายของ และได้รับความพระราชหฤทัย เช่น ผู้บัญชาการทหาร เชคกอซิม อัสการี เรือ สมุหนายก จุฬาราชมนตรี ทุกท่านในยุคที่พระมหา ประธานมูลนิธิอัลกุรอาน กษัตริย์แต่งตั้งมุสลิมชีอะฮ์ทั้งสิ้น ที่คือความสัมพันธ์อัน ลึกซึ้งระหว่างพี่น้องชีอะฮ์ และไทยกับอิหร่าน อัรร่อซูลอัลอะซอม (อ.) เพราะฉะนั้นในบ้านเมืองของเรา ในเรื่องความ อัสลามุอะลัยกุมฯ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ สัมพันธ์หรือระหว่างบทบาทของรัฐกับศาสนานั้น จึง แด่อัลลอฮ์ (ซบ.) ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านมุฮัมมัด

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 107


(ส้อลฯ) และลูกหลานอันบริสุทธิ์ของท่าน ศาสนาคือค�ำสอนอันบริสุทธิ์ที่มีส่วนเกี่ยวกับภาค ศรัทธา ภาคปฏิบัติและเน้นในเรื่องของศีลธรรม ส่วนรัฐ ก็หมายความว่า อ�ำนาจการปกครอง สิ่งที่กระผมจะน�ำ เสนอคือ จริงๆ แล้วขอให้เราเริ่มมองที่สังคมก่อน ก็คือ มนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม เหมือนอย่างนักปราชญ์ บางท่านกล่าวว่า มนุษย์นั้นคือสัตว์ของสังคม แน่นอน มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกัน และอยู่รวมกันในสังคมเล็กๆ จาก สังคมครอบครัว สังคมหมู่บ้าน สังคมเมือง สังคมจังหวัด สังคมประเทศรวมไปจนถึงสังคมโลก ในขณะที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกัน แน่นอนที่สุด สิ่งสิ่ง หนึ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ การกระทบกระทั่งกันในเรื่องสิทธิ ในเรื่องของผลประโยชน์ ยกตัวอย่างง่ายๆ แค่บ้านอยู่ติด กัน มีการทะเลาะกันในเรื่องของที่ดิน ท�ำไมมีความขัด แย้งกันในหมู่ของมนุษย์ ก็เพราะว่า มนุษย์นั้นไม่มีความ เพียงพอปรารถนาในสิ่งต่างๆ ที่เขามี อยากจะมีมากยิ่งๆ ขึ้น นี่คือสิ่งทั่วๆ ไปที่มนุษย์มีอยู่ ดังนั้น เมื่อมีการกระทบ กระทั่งกัน สิ่งที่สามารถที่จะแก้ไขการกระทบกระทั่งกัน และให้พวกเขานั้นด�ำรงอยู่ในโลกนี้ได้ นั่นก็คือระเบียบ กฎเกณฑ์หรือกติกา ซึ่งเราเรียกว่ากฎหมาย เพราะมีสิ่ง เหล่านี้อยู่ในสังคมท�ำให้สังคมอยู่ได้ ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์ กฎหมาย สังคมมนุษย์อยู่ด้วยกันไม่ได้ ในมุมมองของศาสนาอิสลาม ผู้ที่จะมีคุณสมบัติ ก�ำหนดกฎเกณฑ์ทางสังคมได้จะต้องมีคุณสมบัติสอง

108 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ประการด้วยกัน 1. จะต้องรู้จักมนุษย์ได้ดีที่สุด จะต้องรู้ก่อนว่า มนุษย์เป็นอย่างไร เพราะกฎหมายที่ก�ำหนดนั้นเพื่อที่จะ ให้กับมนุษย์ และอะไรคือความผาสุกของมนุษย์ กลุ่ม บุคคลหนึ่งซึ่งผู้ที่ยังฝักใฝ่อยู่ในด้านกามารมณ์ ถูกเก็บ กดในเรื่องของเพศ ก็ต้องเรื่องหลักเสรีภาพเป็นหลัก เสรีภาพในเรื่องของเพศ ถ้าจะก�ำหนดกฎหมายเพราะ อะไร เพราะวิเคราะฮ์ในลักษณะเช่นนั้นมันอยู่ที่การวิ เคราะฮ์ว่า มนุษย์นั้นคืออะไร นี่คือประเด็นส�ำคัญ เราต้อง รู้จักมนุษย์ให้ดีที่สุด ถึงจะก�ำหนดกฎหมายได้ 2. จะต้องไม่มีผลประโยชน์อันใด กับกฎหมายนั้น ไม่มีการแอบแฝง หรือได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากกลุ่มทุน กลุ่มใดก็ตาม ในคัมภีร์อัลกุรอาน ได้บอกเรื่องราวเกี่ยวกับท่าน ศาสดาหลายท่าน ท�ำไมชาวยิวถึงรับนบีมูซา หรือท่าน โมเสสเป็นศาสดาเพราะท่านน�ำเสนอสิ่งหนึ่งออกมาที่ ทุกๆ คนที่ไม่สามารถท�ำได้ นั่นก็คือไม้เท้า ไม้เท้าของ ท่านนบีมูซา ที่สามารถตีลงไปในทะเลแดง และทะเลก็ แยกออกจากกันที่ช่วยกลุ่มบรรดาบนีอิสรออีล และชาว ยิวก็เชื่อในสิ่งนี้เช่นกัน ในยุคของท่านเยซู สิ่งหนึ่งที่พระ เยซูคริสต์กระท�ำคือ การรักษาผู้ป่วยด้วยน�้ำมือของท่าน ลูบไปบนเรือนล่างแม้กระทั่งผู้ป่วยนั้นเป็นโรคเรื้อนตั้งแต่ ก�ำเนิด และตาบอดตั้งแต่ก�ำเนิดก็รักษาได้ แต่คุณหมอ ทั่วไปนั้นรักษาไม่ได้ และศาสนาอิสลามที่มีผู้น�ำบัญญัติ ของพระองค์มาให้กับมนุษยชาติ นั้นน�ำอะไรมา สิ่งที่ท่าน ศาสดามุฮัมมัด น�ำมาและพิสูจน์ในการเป็นตัวแทนของ พระผู้เป็นเจ้าก็คือคัมภีร์อัลกุรอาน และเป็นคัมภีรที่กล้า กล่าวท้าทายที่เชื่อว่า เป็นสิ่งอัศจรรย์เป็นคัมภีร์บนโลก นี้ที่กล่าวกล้าท้าทาย ถ้าไม่เชื่อว่าคัมภีร์เล่มนี้ที่มาจาก พระเจ้า ให้มนุษย์ทั้งหมดไปรวมตัวกันท�ำมาให้เหมือน อัลกุรอาน เล่มนี้กล้าท้าทายว่า ทั้งหมดนี้ มี 114 บท ท่าน ไม่ต้องท�ำมา 114 บทหรอก เพียงแค่ 1 บท ก็เพียงพอแล้ว ส�ำหรับพวกท่าน


การประชุมร่วม

ระหว่างที่ปรึกษา ฝ่ายวัฒนธรรม กับผู้ว่าราชการจังหวัด พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2555 ได้มีการพบปะร่วมประชุมระหว่างที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม สาธารณรัฐ อิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ กับนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อจัดเตรียม งานโครงการอยุธยามรดกโลก : ความสัมพันธ์อยุธยา – อิหร่าน ขึ้น ในการพบปะสนทนาร่วมประชุมครั้งนี้ได้ มีคุณปรียา ปาลิโพธิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ให้การต้อนรับที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม และมี ตัวแทนของมูลนิธิเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหฺมัด) อธิการบดีมหาวิยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หน่วย งานภาครัฐ และเอกชนได้เข้าร่วมประชุมในการจัดเตรียมงานดังกล่าวที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายมุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะฮ์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมได้กล่าวขอบคุณต่อนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้ด�ำริโครงการอยุธยามรดกโลก : ความสัมพันธ์อยุธยา – อิหร่าน ขึ้นใน ครั้งนี้ นับว่าเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือในงานด้านวัฒนธรรมระหว่างสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านกับ ราชอาณาจักรไทย โดยมีเจตนามุ่งหวังที่จะให้ประชาชนของทั้งสองประเทศนั้นได้เรียนรู้เกี่ยวกับสายสัมพันธ์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 109


ของทั้งสองประเทศที่มีมาช้านาน ที่ปรึกษาฝ่าย วัฒนธรรม ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ด้วยความเมตตา ที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบให้แก่เราท่านทั้งหลาย ที่ ท�ำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศของเรามีความ เจริญก้าวหน้าและแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นมาก สิ่งที่ส�ำคัญ คื อ การเรี ย นรู ้ จั ก วั ฒ นธรรมที่ ส องประเทศมี อ ยู ่ ร ่ ว ม กัน โดยผ่านมาทางท่านเฉกอะฮ์มัดกุมมี ที่ถือว่าเป็น มรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน เราเองก็มีความยินดีกับ ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะชาวกรุงศรีอยุธยา เรา เชื่อมั่นว่าพระนครศรีอยุธยา ถือว่าเป็นเมืองที่มีความ ส�ำคัญยิ่ง และยังเป็นเมืองหลวงของกรุงสยาม ดังที่เราท่านได้ทราบดีว่า ท่านเฉกอะฮ์มัด กุมมี ท่านได้น�ำสาสน์แห่งสันติ และความปรารถนาดี มาสู่ชาวไทยในยุคอดีต วันนี้ท่านเฉกอะฮ์มัดกุมมีจึง กลายเป็นมรดกวัฒนธรรมบุคคลร่วมของสองประเทศ และท่านยังเป็นบุคคลที่เชื่อมความสัมพันธ์อันดีจาก หน้าประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบันของสาธารณรัฐ อิสลามแห่งอิหร่านกับราชอาณาจักรไทย จากนั้นนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ได้กล่าวขอบคุณที่ปรึกษาฝ่าย วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำ กรุงเทพฯ ที่ได้ตอบรับการเชิญมาร่วมพบปะประชุมใน ครั้งนี้ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่านกับราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ยุคสมัยของ ท่านเฉกอะฮ์มัดกุมมีมาจนถึงปัจจุบันมีความเจริญ ก้าวหน้าไปมาก เราเองก็มีความเชื่อมั่นว่า ด้วยความ ร่วมมือของประชาชนทั้งสองประเทศจะได้แสดงออก ให้เห็นถึงความอุตสาหะที่ท่านเฉกอะฮ์มัดกุมมี และ บุ ต รหลานของท่ า นที่ ไ ด้ ส ร้ า งความเจริ ญ ในด้ า น วัฒนธรรม การเมือง และด้านเศรษฐกิจให้แก่กรุง สยามนั้นเจริญก้าวหน้าอย่างไรบ้าง โดยเหตุนี้จึงได้ มี โ ครงการจั ด งานสื บ สานสายสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสอง ประเทศขึ้น และจะเป็นการดีที่ประชาชนของสอง

110 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ประเทศนั้นจะได้ร่วมมือกันในงานดังกล่าว ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า ในทุกๆ ปีทางมูลนิธิเจ้าพระยา บวรราชนายก (เฉกอะหฺมดั) ได้จัดงานอทิศส่วนกุสล ขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยมีพี่ น้องในสายสกุลท่านเฉกอะหฺมดั เดินทางเข้าร่วมงาน ดร. บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครีอยุธยา ได้กล่าวเกี่ยว กั บ การจั ด งานอุ ทิ ศ ส่ ว นกุ ส ลให้ ท ่ า นเฉกอะฮ์ มั ด ที่จัดขึ้นในทุกๆ ปี โดยได้กล่าวว่า สถานที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ แห่งประวัติศาสตร์ โดยเป็นสถานที่ของท่านเฉกอะฮ์ มัดกุมมี โดยผู้บริหาร คณาจารย์ และนิสิตนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่างได้รู้ถึงพระคุณของท่านเฉกอะฮ์ มัดเป็นอย่างดี จากนั้ น ตั ว แทนจากคณะกรรมการอิ ส ลาม ประจ�ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กล่าวถึงภารกิจ หน้าที่ของคณะกรรมการอิสลามว่า ท่านนั้นเป็น บุ ค คลหนึ่ ง ที่ เ ป็ น กรรมการอิ ส ลามมี ภ าระหน้ า ที่ ให้ ก ารต้ อ นรั บ บรรดามุ ส ลิ ม ผู ้ ม าเยื อ นจั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะได้มีโอกาสน�ำพาพี่น้อง มุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเข้า คารวะเยี่ยมที่ฝังศพของท่านเฉกอะมัด และจะกล่าว แนะน� ำถึง ชีวประวัติของท่านเฉกอะฮ์มัดที่เป็น ชาว ต่างชาติที่ได้เดินทางมาสู่กรุงสยาม และท่านก็ได้รับ ใช้ชาติบ้านเมืองมาโดยตลอดชีวิตของท่าน ตัวแทน


กรรมอิสลามประจ�ำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้กล่า เรียกร้องให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม และผู้บริหารมหาวิทยา ลับราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้สร้างมัสยิดกุฎีทอง ซึ่งเป็นมัสยิดหลังแรกของกรุงสยาม ที่เดิมนั้นตั้งอยู่ บริเวณอาคาร 1 ใกล้กับที่ฝังศพของท่านเฉกอะฮ์มัด เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานขึ้น จากนั้ น นายท� ำ เนี ย บแสงเงิ น กรรมการ มูลนิธิเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหฺมัด) ใน ฐานะตัวแทนมูลนิธิ ได้กล่าวเสริมว่า จ�ำเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อท่านเฉกอะฮ์ มั ด ในฐานะที่ ท ่ า นเป็ น ปฐมจุ ฬ าราชมนตรี ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองบรรดา ชาวไทยมุสลิม และเป็นที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์ใน ด้านกิจการงานของมุสลิม ซึ่งบุตรหลานของท่านใน ราชนิกุลต่างๆ ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น อหะ หมัดจุฬา บุนนาค อากาหยี่ ศรีเพ็ญ สุวกูล จุฬารัตน์ ...ฯลฯ ซึ่งในทุกๆปี ทางมูลนิธิเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหฺมัด) ได้จัดท�ำบุญอุทิศส่วนกุสลให้ท่าน โดยมี บรรดาบุตรของท่านเฉกอะฮ์มัดทั้งที่เป็นชาวไทยพุทธ และมุสลิมเดินทางมาร่วมพบปะกัน ณ ที่ฝังศพของ ท่านในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ กล่าวว่า การจัดงานโครงการอยุธยามรดกโลก : ความ สัมพันธ์อยุธยา – อิหร่าน จะจัดให้มีขึ้นราววันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2555 ณ ลานด้านหน้าของที่ตั้งศาลา กลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลังเก่า) โดยจัดให้มี กิจกรรมดังนี้ 1. การแสดงละครเวทีเรื่องเฉกอะหฺมัด 2. การแสดงเครื่องแต่งกายชาวอิหร่าน ที่เป็น มรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน 3. การแสดงภาพตั้งแต่ยุคของเศาะฟาวีของ อิหร่าน 4.การแสดงถึงกองคาระวานการค้าขายและ

การบริหารงานด้านทหารของสองประเทศ 5. ศิลปะของอิหร่านที่ตกทอดอยู่ในราชอาณา จักรไทย 6.การแสดงถึงเครื่องแต่งกายสตรีชาวอิหร่าน 7.การแสดงถึงภาษาฟอระซี (เปอร์เซีย) ที่มี อิทธิพลต่อภาษาไทยที่คงใช้อยู่ในปัจจุบัน 8. อิทธิพลสายสกุลเฉกอะฮ์มัดความสัมพันธ์ ระหว่างอิหร่าน – ไทย ในแผ่นดินของพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 9. การแสดงอาหารอิหร่าน และอิทธิที่ตกค้าง อยู่ในอาหารไทย 10. การแสดงสินค้าหัตกรรมอิหร่าน 11. การแสดงพรมเปอร์เซีย 12. การแสดงดนตรีพื้นเมืองอิหร่าน หรือการ แสดงวัฒนธรรมอิหร่าน ที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐ อิสลาม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 111


งานวันคล้ายวันประสูติ ท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ (อ.)

“วันสตรี” บทบาทของสตรี ต่อการเปลี่ยนแปลง ของโลก

ณ โรงแรมเอสซี ปาร์ค กรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2555 ศูนย์ วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ ร่วมกับมูลนิธิแม่บ้าน ไทยมุ ส ลิ ม และสถาบั น การศึ ก ษาศาสนาอั ล มะฮ์ ดี ยะฮ์ จั ด งานวั น คล้ า ยวั น ประสู ติ ท ่ า นหญิ ง ฟาฏิ ม ะฮ์ (อ.) “วันสตรี” ขึ้น ณ ห้องเทพลีลาบอลรูม โรงแรม เอสซีปาร์คซึ่งในงานดังกล่าวได้รับเกียรติจากมาดาม บี ซ มาร์ ค ภริ ย าเอกอั ค รราชทู ต สาธารณรั ฐ อิ ส ลาม แห่งอิหร่าน ประจ�ำประเทศไทย ดร. ฟะยาต คณบดี คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยอัลลามะฮ์ฏอบาฏอบา อีย์ ดร. ฮุซัยนีจากมหาวิทยาลัยอัลลามะฮ์ฏอบาฏอ บาอีย์ นายมุศฏอฟา นัจญาริยอนซอเดะฮ์ที่ปรึกษา ฝ่ายวัฒนธรรมศูนย์วัฒนธรรมสาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่าน ฮัจญะฮ์ดารา ขัตติยะอารี ประธานมูลนิธิแม่ บ้านไทยมุสลิม อาจารย์ชาฟิอี นภากร อิหม่ามมัสยิด

112 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

เพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ฮัจยีไพศาล พรมยงค์ ประธานมูลนิธิอัลเกาษัร เชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ อิมามมัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.) และผู้ อ�ำนวยการสถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับ อิสลาม เชคฆุลามอะลี อบาษัร อิมามมัสยิด อัลฮุดา ผู้อ�ำนวยการสถาบันอัลมะฮ์ดีย์ ซัยยิดะฮ์บุชรอ ฮูซัยนี ผู้อ�ำนวยการสถาบันการศึกษาศาสนา อัล-มะฮ์ดียะฮ์ บรรดานักวิชาการ และพี่น้องผู้ศรัทธาชีอะฮ์และสุนนี เข้าร่วมงานดังกล่าว

ค�ำกล่าวต้นรับของ นายมุศฏอฟา นัจญาริยอนซอเดะฮ์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ

ด้ ว ยพระนามแห่ ง อั ล ลอฮ์ ผู ้ ท รงกรุ ณ าปรานี


ผู้ทรงเมตตาเสมอ ในนามของศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราช ทูตสาธารรรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน กรุงเทพฯ ขอต้อนรับ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน เข้าสู่งานที่มีเกียรติ และสิริ มงคลในวันนี้ ขณะที่ วั ฒ นธรรมของชนชาติ อ าหรั บ เดิ ม นั้ น มองตรงกันข้าม พวกเขาฝังทารกหญิงแรกเกิดทั้งเป็น พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ว่า “เป็ น หน้ า ที่ ที่ เ จ้ า จะต้ อ งรั ก ษาจริ ย ธรรมแก่ มนุษยชาติ” จริยธรรมนั้นก็คือการให้คุณค่าแก่ทารกหญิงทั้ง หลาย และเป็นการคืนศักดิ์ศรีให้แก่มนุษยชาติ พระ ผู้เป็นเจ้ามีบัญชาให้ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ต้อง ดูแลเลี้ยงดูฟาฏิมะฮ์บุตรีของท่าน เพราะว่าบุคคลที่อยู่ ในสังคมยุคนั้นต่างไม่มีความเข้าใจในการดูแลทารก หญิง บรรดาผู้คนในยุคนั้นพยายามที่จะน�ำแบบอย่าง การเลี้ยงดูบุตรีมาจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ท่าน เลี้ยงดูฟาฏิมะฮ์ ดังนั้นพระผู้เป็นเจ้าจึงได้ให้จริยธรรม อันสูงส่งแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เพื่อเป็นแม่แบบ บทบาทของบรรดาสตรีทั้งหลายในยุคปัจจุบัน ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) กล่าวแก่บุคคลที่นาง พบว่า ท่านเป็นบุตรีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านหญิงเป็นผู้ที่ปฏิบัติให้เห็นมากว่าที่จะพูด ท่าน กล่าวอยู่เสมอว่าบทบาทของสตรีมุสลิมขึ้นอยู่กับการ ด�ำรงชีวิต เริ่มตั้งแต่การแต่งกายอาภรณ์ตามหลักการ

อิสลาม คือเรื่องของฮิญาบ การดูแลครัวเรือน การดูแล อบรมบุตรและธิดา ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ที่ส�ำคัญยิ่ง สิ่ง เหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่หล่อล้อมให้บทบาทของสตรีนั้นดู ส่งศักดิ์โดดเด่น การเชื่อฟัง และการให้ความเคารพ ต่อผู้เป็นสามี สิ่งเหล่านี้จะด�ำรงคุณค่าทางครอบครัว และยังได้สืบสานต่อไปในชุมชนสังคมตลอดไป สาธารณรั ฐ อิ ส ลามแห่ ง อิ ห ร่ า นประกาศ เจตนารมณ์ว่า บทบาทของสตรีเป็นเรื่องส�ำคัญมาก เพราะสตรีในยุคปัจจุบันจ�ำเป็นต้องสร้างให้เกิดเป็น สถาบันในความเชื่อในทุกมิติของการที่เราจะมองไป ยังสตรีว่ามีบทบาทเสมอกับบุรุษเพศนั้น สะท้อนมา จากบทบาทที่ส�ำคัญยิ่งของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) การที่จะมีคุณค่าอย่างแท้จริงของความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวตนของมนุษย์ ท่านอายะตุลลอฮ์ ซัยยิดอะลี คามาเนอีผู้น�ำ สู ง สุ ด ทางจิ ต วิ ญ ญาณกล่ า วย�้ ำ ถึ ง เจตนาที่ อิ ม าม โคมัยนี (รฎ.) ที่ท่านกล่าวถึงบทบาทของสตรีว่า สตรี นั้นย่อมมีบทบาทที่สามารถจะผลักดันสังคม ประเทศ ชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปได้เพราะสตรีมีสิทธิ ที่เท่าเทียมกับบุรุษในการพัฒนาสังคม และประเทศ ชาติที่นางรักและหวงแหนด้วยเช่นเดียวกัน ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เป็นบุคคลที่ทั้งร่างกาย และจิ ต วิ ญ ญาณของนางมี ค วามสั น ติ แ ละเจริ ญ รุ่งเรืองในทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะของการเป็น ธิดา ภริยา มารดาและเป็นผู้น�ำของปวงสตรีเพศทั้ง สองภพ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เป็นสตรีนักต่อสู้ ที่มี ความรอบรู้ มีความระมัดระวัง ท่านหญิงประดุจดังนัก วิทยาศาสตร์ นักทดลอง และในเวลาเดียวกันท่านก็ ปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นภริยาได้อย่างสูงส่ง ท้ายสุดแล้ว ข้าพเจ้าในนามของศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ก็ ต้องขอขอบคุณต่อฮัจญะฮ์ดารา ขัตติยะอารีในนาม ของมูลนิธิแม่บ้านไทยมุสลิม ซัยยิดะฮ์บุชรอ ฮูซัยนี ใน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 113


นามของสถาบันการศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดียะฮ์ ผู้ที่มี ส่วนร่วมจัดงานครั้งนี้ขึ้นมา และต้องขอบคุณต่อแขกผู้ มีเกียติที่ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้

กล่าวเปิดงานโดย มาดามบีซมาร์ค ภริยา ฯพณฯ เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำประเทศไทย

ขอความสันติจงมีแก่แขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่ วมอยู่ในงานสัมมนาครั้งนี้ และขอแสดงความยินดี ต่อแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน เนื่องในวโรกาสวันคล้าย วันประสูติของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ซึ่งวันนี้ได้ถูก สถาปนาให้เป็นวันสตรี พวกเราทุกคนต้องตระหนักคิดว่า ท�ำไมวันนี้ จึงถูกสถาปนาให้เป็นวันสตรี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) จากพวกเราไปประมาณ 1,400 กว่าปีแล้ว แต่ท�ำไมตัว ของท่านและการด�ำเนินชีวิตของท่าน จึงยังเป็นแบบ อย่างของหญิงทุกคน จะเห็นว่ายุคปัจจุบัน โลกของเรามีการเปลี่ยน แปลงไปอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ขบวนการ หรือสิ่งต่างๆใหม่ๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างมาก เราจะพบเห็นได้ว่า ในการเปลี่ยนแปลง ไปนั้ น บรรดาสตรี ต ่ า งก็ เ ข้ า มามี บ ทบาทในทุ ก สถานการณ์ และทุกเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ขบวนการเคลื่อนไหวบรรดาสตรีให้ความสนใจ

114 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

เป็นอย่างมาก สตรีเข้ามามีบทบาทต่อการเคลื่อนไหว ต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม หรือไม่ว่าจะมี เหตุ ก ารณ์ ใ ดๆเกิ ด ขึ้ น ก็ ต ามบรรดาสตรี จ ะให้ ค วาม ร่วมมือร่วมใจกับพวกที่อยู่ในขบวนการเคลื่อนไหว ถึง แม้ว่า สิ่งที่เป็นสิ่งที่เล็กน้อยไม่มีใครให้ความสนใจ สตรีนั้นก็ยังให้ความสนใจต่อสิ่งที่เล็กน้อยตรงนี้ เราจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิด ขึ้นในการด�ำรงชีวิตของเรานั้นถือว่ามีความจ�ำเป็นต่อ การด�ำเนินชีวิตของเรา สตรีทราบดีว่าเขาไม่สมควรที่ จะอยู่เฉย หรืองมงายอยู่กับเรื่องที่ไม่ได้สร้างสรรค์ให้ มีคุณค่า สตรีนั้นจะให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลง และร่วมมือกันพัฒนา ร่วมมือในการตัดสินใจ ให้ สังคมนั้นอยู่ดี และก้าวเดินต่อไปเป็นสังคมที่สมบูรณ์ สตรีพยายามที่จะไม่หลงเชื่อต่อการตัดสินใจ ของผู้อื่น ที่ให้พวกเขาต้องอยู่ในหนทางที่หลงผิด ซึ่ง การตัดสินใจนั้นจะขึ้นนอยู่กับการตัดสินใจของพวก นางเอง บรรดาเหล่าสตรีนั้นต่างแสวงหาแบบอย่าง ในการด�ำรงชีวิตของพวกนาง และจะมีแบบอย่างใด เล่าที่จะดี และประเสริฐไปกว่าแบบอย่างที่ท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ (อ.) ผู้ซึ่งเป็นบุตรีของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ถึงแม้ว่าท่านหญิงจะจากเราไปแล้วเป็นเวลา ถึง 1,400 ปีเศษ แต่ถึงกระนั้นพวกเราก็ยังมารวมตัว กันที่จะกล่าวร�ำลึกถึงความยิงใหญ่ของท่านหญิงฟาฏิ มะฮ์ (อ.) จวบจนกระทั้งได้มีการจัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้น มา ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ถือว่าเป็นแบบอย่าง ของอิสลามที่สมบูรณ์แบบ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ถูก อบรมสั่งสอนจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) สอนให้รู้ถึงความยากล�ำบาก การต่อสู้ ค�ำสอนของท่านศาสดาต่อท่านหญิงจะท�ำให้เป็นแบบ อย่าง หรือแบบฉบับส�ำหรับพวกเรา

การบรรยายพิเศษโดย มาดาม ดร. ฟะยาต ประธานกรรมาธิการการศึกษา


สภาสูงสุดด้านวัฒนธรรม คณบดีคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฏอบาฏอบาอีย์

บิสมิลลาฮิรเราะฮ์มานนิรร่อฮีม ขอความสั น ติ จ งมี ยั ง แขกผู ้ มี เ กี ย รติ ทั้ ง สภาพ บุรุษและสภาพสตรี เนื่องจากการรวมตัวของพวกเรา ในวันนี้ เนื่องจากการแสดงความเคารพต่อบุตรีผู้ทรง เกียรติของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ท่านหญิงฟาฎิ มะฮ์ (อ.) ไม่ใช่เป็นแบบอย่างเฉพะมุสลิมในโลกเพียง เท่านั้น และอีกทั้ง ท่านหญิงยังทรงเป็นแบบอย่างของ มนุษย ชาติผู้แสวงหาสัจธรรม ตามความคิดและมุม มองของอิสลาม ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ยังเป็นผู้มี คุณค่าของความเป็นมนุษย์ถึงขั้นที่เป็นตัวแทนของ พระผู้เป็นเจ้า (ซบ.) บนหน้าแผ่นดิน ในตัวตนของ ท่านหญิง นั้ น ได้ ร วบรวมไว้ ซึ่ งคุ ณลั กษณะอัน ดีง าม ซึ่งมนุษย์ผู้หนึ่งที่จะสามารถรวบรวมไว้ได้ และผู้ที่ แสวงหาความบรรลุผลในความเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ นั้น จะต้องยึดมั่นในการเจริญตามค�ำสอนสั่ง และ ปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านหญิงแสดงไว้เท่านั้นจึงได้ รับชัยชนะ ด้วยเหตุนี้เราจึงให้ความส�ำคัญกับวันคล้าย วันประสูติของท่านหญิงตลอดจนให้กับความส�ำคัญ กับวันคล้ายวันเสียชีวิต (วะฝาต) ท่านเสียชีวิตของ ท่านหญิงเพื่อเทิดเกียรติบุตรีผู้ประเสริฐท่านนี้ ซึ่งท่าน หญิงได้สอนให้บทเรียนแก่เราว่า ในการแสวงหาความ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้น เราจ�ำเป็นต้องเรียนรู้แบบ อย่างจากผู้ใด และผู้ใดกันที่ครอบครองคุณลักษณะ อันดีงามดังกล่าวเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ด้วยการเข้าถึงคุณลักษณะต่างๆ ของ ท่านหญิงเท่านั้น จึงจะท�ำให้เราเห็นภาพความเป็น มนุษย์ผู้สมบูรณ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม พวกเราจะต้อง ตั้งปณิธานเอาไว้ว่า เราจะต้องเรียนรู้ผู้เป็นแบบอย่าง ของท่านหญิงเพื่อก้าวไปสู่ความส�ำเร็จ ซึ่งเราจะเปิด โอกาสให้ได้ตรวจสอบตนเอง และความบกพร่องที่ ตนเองมีอยู่ เพื่อที่จะได้ขจัดความบกพร่องอันนั้นให้

หมดสิ้นไป และรวบรวมไว้ซึ่งคุณสมบัติอันดีงามที่พระ ผู้เป็นเจ้าได้ทรงสอนไว้ ปัจจุบันนี้ สตรีชาวอิหร่านมากกว่า ครึ่งหนึ่ง ของประเทศเป็นนักศึกษาและให้ความส�ำคัญกับการ ศึ ก ษาในระดั บ ขั้ น สู ง สตรี มุ ส ลิ ม ในประเทศอิ ห ร่ า น ล้วนแต่เป็นบุคคลผู้มีบทบาทส�ำคัญในการช่วยผลัก ดั น การพั ฒ นาประเทศให้ ก ้ า วไปข้ า งหน้ า และใน ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านแพทย์ศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์หรือสังคมศาสตร์จากสตรี แสดงบทบาท ของตนได้เป็นอย่างดี ซึ่งพวกเธอแสดงบทบาทและ ความสามารถไปพร้อมๆ กับการรักษากฎเกณฑ์และ บทบัญญัติของศาสนาอย่างครบถ้วน เช่นเดียวกัน นอกเหนือไปจากบทบาททางด้านสังคมแล้วสตรีชาว อิหร่านนั้นยังคงเจริญรอยตามของท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ (อ.) ในการที่จะขัดเกลาตน อบรมบ่มจริยธรรมของ ตนเอง เพื่อจะได้มีจิตวิญญาณที่สูงส่งเช่นกัน เหล่า บรรดาผู้น�ำของเรา ไม่ว่าจะเป็นอิมามโคมัยนี หรือ ท่านอายะตุลลอฮ์ซัยยิด อะลี คามาเนอี ต่างเห็นพ้อง ต้องกันในเรื่องของสิทธิสตรี และคุณค่าของสตรี แน่นอนถ้าหากบรรดาสตรี ไม่ได้ลุกขึ้นมาสั่ง สอนบุตรหลานของตน ให้ปกป้องสิทธิของตนเอง และต่อสู้กับอธรรมแล้วไซร้ จะไม่มีผู้ใดลุกขึ้นมาต่อสู้ กับอธรรมบนโลกนี้เลย ครั้ ง หนึ่ ง ท่ า นผู ้ น� ำ กล่ า วต่ อ นั ก วิ ช าการและ บรรดาผู้รู้ทั้งหลายในประเทศอิหร่านให้รู้ถึงคุณค่า ของบรรดาสตรี และท่านเหล่านั้นให้ความเห็นว่า เหล่าบรรดาสตรีสามารถที่จะยืนอยู่เคียงข้างกับบุรุษ เพศ และมีบทบาทส�ำคัญในทางสังคมไปพร้อมกับ การรั ก ษาตนให้ อ ยู ่ ภ ายใต้ ข อบเขตของบทบั ญ ญั ติ ของศาสนาได้ และเราดีใจและภาคภูมิใจเหลือเกิน ที่ ศาสนาเป็ น สิ่ ง เสริ มสร้ างคุ ณ ค่ าของสตรี แ ละเป็ น เกราะป้องกันคุณค่าของสตรีมิให้เลือนหายไป ในขณะ ที่พวกเธอได้ปฏิบัติการอีก ตามทัศนะของท่านผู้น�ำของเรามีความเห็นว่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 115


เรื่องราวของเพศไม่ได้เป็นหลักส�ำคัญประการใด ใน การที่มนุษย์ผู้หนึ่งจะปฏิบัติหน้าที่ของตนเองได้เป็น อย่างดี เรื่องราวของเพศเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่ง ที่สร้างหน้าที่ให้เกิดขึ้นระหว่างเพศชายและเพศหญิง ประหนึ่งเหมือนการท�ำงานขององค์ประกอบของเรือน ร่างของมนุษย์ อย่างเช่น มือและเท้า ดวงตาหรือหู ไม่ แตกต่างกัน แต่ละส่วนท�ำหน้าที่ของตนเองและชี้ชัด ว่า ส่วนใดมีค่ากว่าส่วนใด ข้าพเจ้าขอวิงวอนต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ขอให้ พระองค์ทรงให้การช่วยเหลือและเปิดใจเราทุกคนจะ ได้รวบรวมสมบัติอันประเสริฐมาสู่ตน และขอวิงวอน ต่อท่านหญิงฟาฎิมะอ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ให้ช่วงวิงวอน ไปยังพระผู้เป็นเจ้า ให้เราทุกคนนั้นให้มีก�ำลังขับ เคลื่อนตนให้ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และเพื่อ ชัยชนะในโลกนี้และโลกหน้า และในโลกหน้านั้นขอ ให้ท่านหญิงอย่าทอดทิ้งเราด้วยเทอญและขอให้เรา ฟื้นคืนชีพในวันกิยามัต พร้อมกับบรรดาลูกหลานของ ท่านศาสดา (ศ็อล) และท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ อัซ-ซะฮ์ รอ (อ.) ด้วยเทอญ เพราะแน่แท้การฟื้นคืนชีพ กับท่าน หญิงฟาฎิมะฮ์นั้น เทียบเท่ากับการฟื้นคืนชีพกับคุณ งามความดีทั้งปวงในสากลโลก ขอความคุ้มครองจา กอัลลอฮ์ (ซบ.) จงประสบแด่ทุกๆ ท่าน และขอให้ท่าน ได้มีวันที่งดงามต่อไป

การบรรยายพิเศษของ มาดาม ดร. ฮัจญะฮ์ ฮุซัยนี

ขอความสันติสุขต่อบรรดาผู้เข้าร่วมสัมมนาใน ครั้งนี้ทุกท่าน ข้ า พเจ้ า สั ง เกตบนใบหน้ า ของทุ ก ท่ า นจะมี การอ่อนเพลียและเหนื่อยอ่อน เพราะเป็นการฟัง อยู่ฝ่ายเดียว เพื่อเป็นการคลายความเหนื่อยและ ความเครียดของผู้ฟัง เราจะมาเปลี่ยนเป็นการถาม ตอบของผู้ฟังและผู้พูดด้วย และจะมาเริ่มด้วยการ ถามค�ำถามและตอบถามถ้าเรามองในโลกยุคปัจจุบัน ในการเปลี่ยนแปลงของ มนุษย์ชาติแล้ว เราก�ำลังมอง

116 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

หาสิ่งใดอยู่ และถ้าเรามองในแง่ของสิทธิมนุษยชน ในปัจจุบันก็มีการโต้เถียงกันว่า บุรุษมีสิทธิมากกว่า หรือสตรีมีสิทธิมากกว่า หรือไม่ว่าเราจะมองในแง่ของ ศาสนาหรือนิกายต่างๆ ก็แล้วแต่ บรรดาบุรุษพยายาม ที่จะแสวงหาวิธีการต่างๆ ที่จะประกาศตนให้โลกได้รับ รู้ว่า เขามีสิทธิเสรีภาพเหนือกว่าบรรดาสตรี และสตรี ก็เช่นกัน ก็พยายามหาหนทางประกาศให้โลกได้รับรู้ ว่าตนเองก็มีสิทธิเหนือกว่าบุรุษเช่นกัน และก่อนที่เรา จะตอบปัญหาเหล่านี้ ท่านก็ยากจะน�ำเสนอสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นแนวคิดในการตอบค�ำถาม และก่อน ที่เราจะแสวงหาว่าสิทธิของใครหรือกว่าของใครนั้น เราจะต้องย้อนกับไปดูว่า หน้าที่พึงปฏิบัติของตนเอง ว่า ตนเองนั้นมีหน้าที่อะไรบ้างและจะต้องปฏิบัติและ ได้กระท�ำมัน และตอนนี้ดิฉันก็ยากจะรับฟังความ คิดเห็นจากค�ำถามที่บอกว่า ด้วยโลกกับยุคปัจจุบันที่ มีการเปลี่ยนแปลงนั้น มนุษย์ก�ำลังแสวงหาสิ่งใดอยู่ ความเป็นผู้หญิงหรือสตรีจริงๆ แล้ว ในประเด็นปัญหา ที่ท้าทายทุกวันมันเป็นเช่นนี้ เราเชื่ออยู่ในสังคมของ อ�ำนาจที่มีบุรุษเพศเป็นผู้สร้างกฎเกณฑ์ และในที่จริง แล้วเราไม่ได้แสวงหาการมีอ�ำนาจที่จะเหลือกว่าบุรุษ เพศ ไม่ใช่ เพราะพวกทราบกันดีว่า แม้แต่ในรัฐสภา ของประเทศไทยปัจจุบันนี้ มีผู้แทนของสตรีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็น และในตอนนี้เราต้องเข้าใจว่า โครงสร้างมัน สลับสับซ้อน แต่จริงๆ แล้วมันพื้นฐานของประเทศทั้ง หลายในประโลก โดยเฉพาะในแถบเอเชีย และในอัฟ ริกา แม้กระทั่งในยุโรป สตรีก็มีสิทธิมีเสียงในการเลือก ตั้งได้ยังไม่ถึง 20 ปี แต่ก็น่าดีใจเมืองไทยผู้หญิงก็ได้ เลือกตั้งพร้อมผู้ชาย เมื่อ 70 ปีที่แล้ว เรียนปัญหาว่า เราต้องการอะไร ความต้องการมันมีหลายอย่าง มัน ก็ขึ้นอยู่กับมิติและกาลเวลา และบางทีกาลเวลาใน ปัจจุบัน เราอาจจะต้องการความสงบสุขในโลก แต่ใน โลกปัจจุบันมีแต่ความรุนแรง ความขัดแย้ง การเอา เปรียบ การข่มเหง การรังแก จากผู้ที่มีอ�ำนาจเหนือ กว่า กับผู้มีอ�ำนาจน้อยกว่า


ดังนั้น เกียรติยศศักดิ์ศรีของมนุษย์ ในแต่ละคน ไม่ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย แต่อยู่ ที่ว่าจิตวิญญาณของเขาเป็นอย่างไร รุฮ์ (วิญญาณ) วิญญาณไม่มีเพศหญิงและเพศชาย ถ้าเรามองใน เรื่องของการวันฟื้นคืนชีพ ที่บอกว่าในวันกิยามะฮ์ (วัน สิ้นโลก) เราจะได้รับผลบุญหรือได้รับรางวัลในกิจการ งานที่เราท�ำอยู่บนโลกใบนี้ เราจะเห็นว่า โองการในอัล กุรอาน ถ้าบุรุษเพศกระท�ำในสิ่งที่ดี ในวันกิยามัตเขา ก็จะได้รับผลรางวัลในการตอบแทน และก็เช่นกัน ถ้าสตรีในโลกนี้เขากระท�ำในสิ่งที่ดีๆ ในโลกหน้าเขา ก็จะได้รับผลตอบแทนที่พระองค์ทรงมอบให้ ไม่มีการ แตกต่างกันเลยระหว่างบุรุษและสตรี เราจะเห็นได้ว่า บุรุษหรือว่าสตรีท่านใด นั้นได้กระท�ำฝ่าฝืนในหลักการ ในศาสนบัญญัติของศาสนา เราไม่เคยเห็นโองการใน อัลกุรอาน หรือในฮะดีษต่างๆ รายงานว่า บุรุษจะได้ รับโทษน้อยหรือมากกว่า สตรีได้รับโทษมากกว่าบุรุษ เพราะเราไม่เคยเห็นในรายงานตรงนี้ ดังนั้นในความ เป็นแก่นแท้ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศ ชาย ทั้งผู้มีเกียรติยศและมีศักดิ์ศรี เท่าเทียมกัน แต่ ทว่ามันก็มีความแตกต่างอยู่ในนั้นของมันด้วย ความ แตกต่างตรงนั้นจะย้อนกลับไปในเรื่องของวัตถุในการ สร้างมนุษย์ ดังนั้น มนุษย์เราก็ไม่ใช่ผู้บริสุทธิ์ และถ้า มนุษย์ต้องการที่จะเข้าไปสู่หนทางที่เที่ยงตรง หรือ หนทางที่มนุษย์จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบแล้วล่ะ ก็ เขาจะต้องแสวงหาแบบฉบับการด�ำรงชีวิตของพวก เขาด้วย และดังนั้นมนุษย์จะต้องหาค�ำตอบเหล่านี้ ฉัน คือใคร และที่นี่คือที่ไหน และเรามาอยู่ในโลกดุนยานี้ เพื่ออะไร และถ้ามนุษย์เราสามารถตอบค�ำถามเหล่า นี้ได้ว่า ฉันคือใคร และที่นี่คือที่ไหน และฉันอยู่ในโลก นี้เพื่ออะไร และถ้าเราหาค�ำตอบได้แล้ว แน่นอนที่สุด เราก็สามารถด�ำรงชีวิตของเราอยู่ในหนทางที่เที่ยง ตรง และตามความพอพระทัยของอัลลอฮ์ (ซบ.) และ ดังที่พวกเราหลายคน ที่ได้ยินและได้กล่าวตรงนี้แล้ว ว่า แบบฉบับหรือสิ่งที่เราสามารถน�ำมาปฏิบัติเป็นพื้น

ฐานในการด�ำรงชีวิตที่ดีของเราก็คือ “บุตรีของท่าน ศาสดา” ท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ (อ.) ถือว่าเป็นสตรีที่มี เกียรติอันสูงส่ง ส�ำหรับบรรดามนุษย์ทุกๆ คน และใน ด้านส�ำคัญที่สุดในการด�ำรงชีวิตของท่านหญิงหญิง ก็คือ ในเรื่องเศรษฐกิจเพราะท่านหญิงมีแบบแผน ในการด�ำเนินชีวิต ในด้านเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ ท่านหญิงยังเป็นแบบอย่างทาง ด้านการเมือง อิมามโคมัยนีผู้น�ำการปฏิวัติอิสลามใน อิหร่าน กล่าวถึงท่านหญิงฟาฎิมะอ์ (อ.) ไว้ดังนี้ ด้วยความประเสริฐและความยิ่งใหญ่ของท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ขอให้บรรดาประชาชาติอิสลาม ไม่ว่าจะอยู่ ณ ประเทศใดหรือสถานที่ใด ที่อยู่ภาย ใต้การกดขี่ของบรรดาเหล่าศัตรู และขอให้พวกเขา ประสบกับชัยชนะ สุดท้ายนี้ข้าพเจ้ามีความภูมิใจเป็นอย่างมากที่ อยู่ในการสัมมนาในครั้ง ที่มีความเป็นพี่น้องฉันท์มิตร และอยากจะวิงวอนขอพรต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ด้วยสิ่ง ดีๆ ต่างๆ ที่พระองค์ทรงประทานให้มนุษย์ในยุคสมัย ต่างๆ สิ่งที่ดีขอให้พระองค์ทรงประทานให้พวกเราด้วย วัสลามมุอะลัยกุม ฯ

การเสวนาหัวข้อ “บทบาทของสตรีต่อ การเปลี่ยนแปลงของโลก” ดร. นูรีดา หะยียะโกะ อาจารย์ประจ�ำภาควิชา ภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สลามมุอะลัยกุม ฯ สตรีคือพลังของสังคม ซึ่งสังคมจะไม่สามารถ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 117


สมบูรณ์ได้ ถ้าเราไม่เป็นคนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนสังคม ให้ด�ำเนินไป แม้ว่าอิสลามโดยภาพรวมจะมอบให้ สุภาพบุรุษเป็นหัวหน้าครอบครัวและเป็นผู้น�ำ แต่สตรี ก็อยู่ในบทบาทที่จะน�ำครอบครัวให้ไปถึงเป้าหมาย ด้วย สตรีมีความส�ำคัญมาก เพราะเป็นผู้สร้างเยาวชน ต้องอบรมเพื่อจะผลักดันบุรุษทั้งหลาย ฉะนั้นบทบาท สตรีใ นปั จ จุ บั นที่ เ ราเห็นตั้งแต่การปฏิวัติอิส ลามใน อิหร่านของอิมามโคมัยนี มีบทบาทมากขึ้น หลัง จากสงบเงียบมาเป็นเวลานาน เนื่องจากปล่อยให้ วัฒนธรรมตะวันตกรุกล�้ำหรือล�้ำหน้าเข้าไป สตรี มุ ส ลิ ม จ� ำ เป็ น ต้ อ งรู ้ ถึ ง กระบวนการของ โลกาภิวัตน์ เราอยู่ในยุคแห่งวัตถุนิยม ปุจจุบันทุก ครอบครัวมีอินเตอร์เนต มีไอแพคและไอโฟนมากมาย ซึ่งตัวดิฉันเองยังตามไม่ทันแล้ว เรื่องนี้เราจะต้องอยู่ ให้เท่าทันไม่ให้วัฒนธรรมตะวันตกเข้าครอบง�ำพวก เรา สตรีมุสลิมจะต้องมีจุดยืนที่มั่นคงต้องสร้างสภาพ แวดล้อมและวัฒนธรรมที่เป็นอิสลาม ทั้งในครอบครัว และในสังคม ปัจจุบันนี้ อัลฮัมดุลลิ้ลลาฮ์ เรามีเพื่อน มุสลิมะฮ์มากขึ้นและอบอุ่น ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหนก็มี ความมั่นใจว่า เราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคม ด้วยที่วัฒนธรรมตะวันตก เข้ามามากมายตรงนี้ ดังนั้นพวกเราจะต้องน�ำวัฒนธรรมอิสลามและน�ำพา ตัวเองให้ไปอยู่ในวัฒนธรรมของอิสลาม และเชื่อว่า พ่อแม่หรือพี่น้องและกลุ่มของพวกเราจะเป็นผู้น�ำเรา ไม่ให้หลุดออกไปจากจุดนี้และต้องปฏิบัติค�ำสั่งของ ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อล) ซึ่งท่านทิ้งมรดกอันล�้ำค่าให้ พวกเราปฏิบัติตามไว้สองอย่างคืออัลกุรอาน และซุน นะฮ์ และท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อล) ได้กล่าวว่า “ตราบ ใดที่เรายึดมั่นปฏิบัติตามค�ำสั่งสอนของอัลลอฮ์ (ซบ.) และปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านศาสดา (ศ็อล) ชีวิต ของเรา ไม่ว่าจะเป็นโลกนี้หรือโลกหน้า จะต้องมีชีวิต ที่ดีงามอย่างแน่นอน เราในฐานะที่เป็นมุสลิมหรือมุ สลิมะฮ์ ในฐานะที่เราเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ (ซบ.) และ เป็นผู้แทนของท่านศาสดา หน้าที่ของมุสลิมะฮ์คือ

118 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

เป็นบ่าวที่ต้องปฏิบัติตามค�ำสั่งใช้ มีหน้าที่เป็นผู้เผย แพร่ศาสนา ดิฉันพบในบทความของ ดร. มุฮัมมัด อะ ลี อัซอาบี บทความของอาจารย์สุชาติ ท่านบอกเราว่า ผู้หญิงไม่ใช่มีบทบาทแค่อยู่ในบ้าน และบทบาทต่างๆ ที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ก�ำหนดให้แก่สตรี ส่วนมากจะอยู่อัล นิสาอ์ และซูเราะฮ์อื่นๆ อีกมากมาย แต่ในฐานะที่ เรามีบทบาทในสังคมด้วย ท่าน ดร. มุฮัมมัดอะลีก็ได้ บอกว่า จริงๆ แล้ว เราต้องท�ำหน้าที่เป็นวีรสตรีที่กล้า หาญเพื่อเผยแพร่ศาสนาของพระองค์ให้สังคมโลกรับ รู้ และหนึ่งในนั้นที่เราสามารถกระท�ำได้ ก็ต้องน�ำ บทบัญญัติของพระองค์มาเผยแพร่และปฏิบัติในชีวิต ประจ�ำวัน ในตัวตนที่เรามีอยู่ในสภาพแวดล้อม หรือ ทุกการกระท�ำของการด�ำเนินชีวิต ด้วยขอบเขตหรือ ค�ำสั่งของพระองค์ที่ทรงห้ามไม่ให้กระท�ำ ต้องยึดมั่น ในตัวตนตรงนี้ และพวกเราก็จะไม่ถูกครอบง�ำหรือ หลอมละลายไปกับวัฒนธรรมตะวันตกที่ถูกตีค่าว่า เป็นวัฒนธรรมที่สูงส่ง ซึ่งไม่ใช่ว่าเราจะไม่ยอมรับ แต่ เราจะรับในสิ่งที่ดี นั่นคือบทบาทของเราในชีวิตประจ�ำ วันจะต้องเดินทางไปอย่างชาญฉลาด และน�ำความ เจริญก้าวหน้าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติของอิสลามของ เรามาใช้ เพื่อที่จะน�ำพาสังคมของเราให้เจริญก้าวหน้า เช่นกัน แต่พึงระวังว่า วัฒนธรรมความเจริญก้าวหน้า จะต้องไม่ขัดกับวัฒนธรรมอิสลามของเรา ดิฉันมีโอกาสไปสัมมนาทางวิชาการมุสลิมโลก ในประเทศอิหร่าน พอไปถึงดิฉันรู้สึกมีความปลื้มใจ เป็ น อย่ างมากที่ เรามี พี่น ้ อ งที่ เป็ น มุ สลิ มะฮ์ เก่ ง มาก ดิฉันไปที่มหาวิทยาลัยเตหะราน พบกับมุสลิมะฮ์ที่ เป็นนักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ และอาชีพการงานในสังคม ภายนอก ซึ่งจะมองว่าสตรีมุสลิมะฮ์ถูกกดขี่ข่มเหง และอยู่แต่ในบ้านเพียงเท่านั้น นั่นเขามองในมุมมอง ของพวกเขา อย่างที่บอกแล้วคือหน้าที่หลักของมุสลิมะฮ์จะ ต้องเป็นผู้เผยแพร่ตัวตนของเรา ศาสนาของเราไม่มี การห้าม ที่จะไม่ให้สตรีไปท�ำงานนอกบ้าน ในอดีต


กลางวันไปเรียนหนังสือ แต่ตอนกลางคืนอยู่ร่วมกับ เพื่อน สภาพเช่นนี้ ท�ำให้เขาหลุดออกจากสภาพ แวดล้อมแบบอิสลาม จนกระทั่งอยู่ตรงนั้นโดยคิดว่า ไม่ได้กระท�ำผิด ถ้าเราสังเกตไม่ว่าจะยุคใด ก็จะมีประพฤติผิด ประเวณี แต่เมื่อมีเรื่องกฎของการแต่งงาน บอกว่า การแต่งงานจะต้องท�ำอย่างไร เมื่อดิฉันน�ำมาเสนอ เพื่อนร่วมงานที่ไม่ใช่มุสลิม เพื่อนร่วมงานจะบอกว่า ท�ำได้หรือ ไม่ใช่อิสลามรับได้หรือ เราต้องยอมรับว่า เราจะท�ำอะไร ต้องน�ำเสนออิสลามเข้าไปด้วย สตรี มุ ส ลิ ม ะฮ์ เ ป็ น ผู ้ อ ยู ่ เ คี ย งบ่ า เคี ยงไหล่ ข องผู ้ ช าย และช่วยกันหาปัจจัยยังชีพเข้าบ้าน แต่อยู่ในกรอบที่ ว่า ถ้าเราจะออกไปนอกบ้าน เราต้องออกไปในสภาพ ที่ส�ำรวม แต่งกายมิดชิด ไม่เป็นที่ล่อตาล่อใจของเพศ ตรงข้ามและมีรายงานวจนะของท่านศาสดาบอกว่า สตรีได้รับการอนุมัติให้ออกนอกบ้าน ถ้ามีกิจการงาน เราจะต้องฝึกฝนตัวเองที่จะไม่พึ่งรายได้จากสามีเพียง อย่างเดียว เพราะจะต้องเตรียมตัวว่า ถ้าวันหนึ่งมี เหตุการณ์เกิดขึ้นกับสามีและบรรดาลูกๆ ของเรา ในโลกปัจจุบันเราไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้ เลยว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) จะน�ำเรากลับไปเมื่อใด และจะ น�ำสามีของเรากลับไปเมื่อได ฉะนั้น เราจะต้องพร้อม ที่จะอยู่ก้าวย่างด้วยตัวของเราเอง เราต้องปฏิบัติตามค�ำสั่งของอัลลอฮ์ (ซบ.) และ ทุกๆ ข้อก�ำหนดของอัลลอฮ์ (ซบ.) เราจะต้องปฏิบัติ และช่วยกันเผยแพร่ เช่นส่วนเมื่อสังคมเรา มีผู้หญิงไป ท�ำแท้ง ข่าวที่เราได้รับฟังจะต้องมีมุสลิมอยู่ด้วยอย่าง แน่นอน เพราะที่เราเห็นในปัจจุบัน นักศึกษาหลายคน หลุดออกจากสภาพแวดล้อมของวัฒนธรรมอิสลาม เพราะพวกเขาอยู ่ ใ นกลุ ่ ม นั ก ศึ ก ษาที่ รั บ วั ฒ นธรรม ตะวันตก และอยู่ตรงนั้นโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองถูกกลืน ไป ไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองท�ำไปนั้นผิด เราจะพบว่า นั ก ศึ ก ษาในปั จ จุ บั น แม้ ก ระทั่ ง มุ ส ลิ ม ที่ อ ยู ่ ใ นหอพั ก

อาจารย์พรพรรณ โปร่งจิตร อาจารย์ประจ�ำ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)

ดิฉันมีค�ำถามทุกท่านว่าประเทศไทยมีอะไรติด อับดับโลกบ้าง กินเนสบุคกล่าวไว้ว่า “ประเทศไทย มีมหากษัตริย์ที่มีการครองราชย์นานที่สุดในโลก มี เมืองหลวงชื่อที่ยาวที่สุดในโลก อันนี้คือด้านบวก แต่ ในด้านลบที่ทุกท่านอาจจะนึกถึง อาจจะได้ยินมาบ้าง แต่ไม่ค่อยสนใจมากนัก ดิฉันก็ยากจะบอกก็คือว่า ใน เดือนกุมภาพันธ์ 2012 ที่ผ่านมาไม่กี่เดือน มีหญิงไทย ท�ำแท้งมากที่สุดในโลก และก็มีรางานอีกว่า วัยรุ่น ไทยตั้งครรภ์ในวันเรียนมากที่สุดอันดับหนึ่งของเอเชีย อับดับสองของโลก ได้ยินแล้วรู้สึกเป็นอย่างไรบ้านค่ะ ไทยติดอับดับของโลกอีกแล้ว เป็นการติดอับดับโลกที่ น่าตกใจฟังดูแล้ว ไม่น่าจะเกิดขึ้นของเรา สิ่งที่เกิดขึ้น กับสังคมไทย ณ ปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า บทบาทของ ผู้หญิงไทย และเรามีนายกที่เป็นผู้หญิงดังที่เราทราบ กัน แต่ว่าบทบาทในด้านอื่นๆ เรามองข้ามไป ท�ำไม วัยรุ่นไทยและปัญหาที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับสังคมไทย ส่วนหนึ่งที่เราต้องย้อนกลับมา บทบาทของสตรีใน ฐานะมารดาหรือแม่ ซึ่งเป็นหน่วยย่อยที่สุดของสังคม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 119


หน่วยเล็กที่สุดในสังคมที่จะสามารถหล่อหลอมให้กับ สังคม สร้างสรรค์สังคมไทยให้ดีขึ้นหรือว่า ให้ลบสถิติ อันนี้ออกไปเสียให้ได้ ดิฉันจึงเห็นว่า ในเรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้หญิง สตรีไม่ว่าจะเป็นในฐานะของมารดาหรือในฐานะของ ลูกควรจะให้ความร่วมมือ เราตระหนักอย่างเดียว เรา จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ดังนั้น การเสวนาในครั้ง นี้ ดิฉันคิดว่าเรา ควรที่จะหาวิธีในการป้องกันแก้ไข ปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งก็อาจมีหน่วยงานหรือองค์กร ต่างๆ ที่พยายามหรือก�ำลังศึกษารื่องนี้อยู่ ทว่าจะ เป็นไปไม่ได้เลย ถ้าเราขาดความร่วมมือในสังคม ไม่ ว่าจะในศาสนาใด ทุกศาสนาก็มุ่งที่จะให้ทุกคนเป็น ดีหรือสร้างสรรค์ให้กับสังคม และในด้านศาสนา อิสลามมารดาเป็นบุคคลส�ำคัญ เป็นผู้ที่หล่อหลอม บุตรดังนั้นดิฉันเห็นว่า ในการที่เรามาพูดกันในครั้งนี้ ค�ำว่าการเปลี่ยนแปลงไปของโลก ไม่ได้หมายความ ว่าเปลี่ยนแปลงในด้านบวกเพียงอย่างเดียว ในด้าน ลบที่เกิดขึ้นกับสังคมที่เราควรจะให้ความส�ำคัญ และ พยายามที่ แ ก้ ไ ขหรื อ ว่ า ตระหนั ก ถึ ง สิ่ ง นี้ ใ ห้ ม ากขึ้ น เพราะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในเชิงลบนั้นมันจะส่งผล ร้ายให้แก่ลูกหลานและครอบครัวของเราในอนาคต ดิฉันก็ไม่ยากที่จะใช้เวลามาก เพียงยากจะบอกสถิติ อันนี้ให้ทราบ หลังจากการเสวนาครั้งนี้ จะไม่หยุดแค่ ว่าเรารับฟัง เรารับรู้ แต่เราไม่ได้แก้ปัญหา ก็ฝากไปยัง ทุกๆ ท่าน ในสังคมหรือในชุมชนของท่าน เราอาจจะ น�ำเรื่องนี้ไปพูดหรือเผยแพร่ หรืออย่างน้อยก็เป็นการ กระตุ้นกับบุตรหลานของตนไม่ให้หลงไปกับสภาพ ของสังคมที่เปลี่ยนไป โดยไม่ค�ำนึงถึงคุณงามความดี ของศีลธรรม ขอขอบคุณท่านวิทยากรทุกท่าน ที่ได้ให้แนวคิด วิถีทางที่ในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลของโลกใน ปัจจุบัน ส�ำหรับดิฉันก็ยังให้แนวคิดในข้อมูลแรกที่ให้ ไป และในฐานะดิฉันนักประวัติศาสตร์ ก็ยากจะให้ ทุกๆ ท่านย้อนไปดูเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ย้อนดู

120 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตว่าสังคมในอดีตเราอยู่อย่าง มีความสุขได้อย่างไร และเกิดปัญหาได้อย่างไร ซึ่ง สิ่งในนั้นก็คือการยึดถือในแนวทางของศาสนา ไม่ว่า ศาสนาใดๆ ก็ตามที่ท่านวิทยากรอธิบายในเบื้องต้น ดิฉันก็เห็นด้วยกับแนวคิดอันนี้ และก็ที่อยากจะขอ ฝาก เราไม่สามารถที่จะย้อนกลับไปแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น มาแล้ว หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาแล้ว คือ ถึง แม้ว่ามันจะเกิดขึ้นมาสักสองสามเดือนที่ผ่านมา แต่ มันคือประวัติศาสตร์ไปแล้ว และมันเป็นประวัติศาสตร์ ที่จารึกในสังคมไทยว่ามันมีความตกต�่ำอย่างไรบ้าง เราเปลี่ยนประวัติศาสตร์ไม่ได้ แต่เราจะแก้ไขสิ่งที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตได้ จากการเสวนาครั้งนี้ ดิฉันหวังว่า อาจจะเป็นแนวทางหรือวิธีการที่จะแก้ไขสังคมของเรา ที่เกิดขึ้น ขอบคุณ อินชาอัลลอฮ์

อาจารย์กรรณาภรณ์ อัครพิศาล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่

อัสลามุอะลัยกุม ฯ และสวัสดีทุกๆ ท่าน ตัวข้าพเจ้าเองไม่ถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เพราะ ส่วนมากงานที่ท�ำจะเป็นทางด้านสันติภาพเป็นส่วน ใหญ่ เมื่อได้มานั่งตรงนี้ ได้ฟังท่าน ดร.นูรีดา และ อาจารย์พรพรรณแล้ว อยากจะขอสนับสนุนอาจารย์ นูรีดา ผู้หญิงเรามีหน้าที่ตามบทบัญญัติยากจะให้เรา กลับไปบ้านที่เราน�ำอัลกุรอานไว้ในที่สูงๆ เพราะว่า เป็นคีมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ น�ำลงมาเปิดอ่าน ดูซิว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) และท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) บอกว่าผู้หญิง นั้นมีหน้าที่อะไร ส่วนของอาจารย์พรพรรณ ก็ขอ ขอบคุณมาก สถิติแรกก็น่ายินดีหน่อย ส่วนสถิติหลัง ก็น่ากลัวมาก อันนี้ดิฉันขอเสริมนิดหนึ่งว่า สตรีวัย รุ่นของเรามีครรภ์ก่อนวัยเรียน มีครรภ์ก่อนอายุอัน สมควร ถ้าเราคิดตามหลักการของอิสลาม ก็คือมีการ ผิดประเวณีอย่างแพร่หลาย มันไม่ได้อยู่ไกลตัวของเรา แล้ว


สมัยก่อนนี้ใครท�ำซินา มันไม่ใช่ลูกหลานมุสลิม แต่เดี๋ยวนี้เราได้เห็นได้รู้ อันนี้เป็นเพราะว่าผู้หญิงละทิ้ง บทบาทหน้าที่ส�ำคัญๆ ของเรา และไปท�ำบทบาท หน้าที่ของเรา ที่ที่ตามตะวันตกหรือเปล่า เราต้องหยุด คิดสักนิดหนึ่ง เพราะว่าตัวดิฉันเองเวลาท�ำงานก็ได้ มีโอกาสถูกส่งไปท�ำงานในประเทศอเมริกาบ่อยๆ ไป คุยเรื่องนั้นเรื่องนี้ ผู้หญิงที่อเมริกาส่วนมากจะไม่พูด ถึงเรื่องหน้าที่ของความเป็นแม่ เขาอาจจะพูดในบ้าน ของเขา ผู้หญิงเราต้องมีการเคารพในตัวเอง คนอื่นจะ ได้เคารพเรา ยิ่งเราไปในโลกตะวันตกและเราแต่งตัว แบบนี้ เคยไปเป็นตัวแทนจะขึ้นพูดที่สหประชาชาติ ขณะรอจะเดินทางไป พอลงมาไปนั่งรออยู่ที่ล็อบบี้ มีฝรั่งเขาเรียกตัวเองว่า เฟมมินิสต์หรือนักกิจกรรม สตรี แต่งตัวเปิดเผยมาก เขาเข้ามาขอคุยด้วย คุยกัน สักพัก เขาก็บอกว่า คุณก็เหมือนกับคนที่มีการศึกษา ดีน่ะ ท�ำไมท�ำอย่างนี้กับตัวเอง และก็ชี้ที่ฮิญาบจนถึง ปลายเท้าเลย อย่างนั้นเราก็ต้องคุยกันนานแล้ว และ คุณมีเวลาไหม เขาบอกว่ามีเวลา และเราก็ได้นั่งคุย กันและเขาก็บอกว่า ท�ำไมยอมให้ใครมากดขี่ข่มเหง และให้แต่งตัวแบบนี้ เราก็บอกว่าถ้าเราจะคุยกันคุณ ต้องหยุดใช้ความเป็นมาตรฐานอเมริกัน มาพิพากษา ฉันก่อน คืออย่าใช้มาตรฐานของเธอมาบอกว่าฉันถูก กดขี่ข่มเหง และดิฉันก็บอกเขาไปว่า จริงๆ แล้ว ตลอด ชีวิตของฉันไม่ได้คลุมมาตลอด ดิฉันเริ่มมาคลุมตอน อายุ 29 ปี ดิฉันก็เลยบอกว่า ในสายตาของฉันที่มอง คุณ คุณรู้ไหมว่าคุณถูกกดขี่ เขาโกรธมาก ถ้าคุณไม่ รับฟังก็ไม่ต้องพูดคุยกัน และเขาก็หายใจลึก ไหนคุณ บอกมาซิว่า ฉันถูกกดขี่ตรงไหน ดิฉันก็บอกว่าคุณต้อง แต่งตัวแบบนี้คุณอยากจะให้ใครดู คุณเก็บเงินเยอะๆ มาเสริมอก ตัดตรงนั้น เสริมตรงนี้ ให้ยุ่งไปหมด เพราะ คุณอยากให้ใครดู แต่นี่ส�ำหรับเราคุณถูกกดขี่ แต่ ส�ำหรับดิฉัน ฉันคลุมอย่างนี้ฉันศึกษาแล้ว เขาถามว่า คุณพ่อหรือสามีที่เป็นคนให้คลุม

ดิฉันตอบไปว่า ไม่มี คุณพ่อไม่เคยยุ่งเลย เพียงแต่ถ้า มีค�ำถามในเรื่องศาสนา คุณพ่อของดิฉันก็จะน�ำอัล กุรอาน และฮาดีษมาให้อ่าน แล้วเรามาคุยกัน นี่คือ พ่อกับแม่ที่บ้าน ส่วนสามีที่บ้านก็ตามซุนนะฮ์ อ่อน โยน เรียบร้อยคือไม่มาดุมาว่าและบังคับใดๆ พอวัน ที่ดิฉันคลุมฮิญาบ เขาก็ดีใจมากๆ ที่เล่านี่ไม่ใช่ว่า อยากจะให้ไปเก่งกล้ากับใคร แต่เราต้องเก่งและกล้า ในสถานการณ์ที่เราต้องเก่งและกล้า แต่อย่าก๋ากั่น เท่านั้นเอง เพราะว่าความก๋ากั่นไม่แสดงว่าเราเก่ง แต่ ถ้ามีใครเขามาคิดกับเราในทางที่ผิด อย่างวันนี้ หัวข้อ คือ “บทบาทสตรีต่อการเปลี่ยนแปลงไปของโลก” โลก ก�ำลังเปลี่ยนแปลงไปทางไหน ไปในทางที่เป็นอคติกับ อิสลามและมุสลิม เยอะมาก เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ หญิงเรา น่าจะเป็นการเตรียมตั้งรับ ต้องเคารพตัวเอง และต้องมีความรู้ หมั่นศึกษาหาความรู้ ความรู้ไม่ใช่ เพียงแต่ละคร สุดท้าย ในฐานะที่เราเป็นมุสลิมในโลกนี้ ภาษา ควรจะอ่านได้หนึ่งหรือสองภาษา ความรู้ของอิสลาม มีจุดยืนของเราไปที่ไหน อย่างเช่นที่อาจารย์นูรีดา บอกตรงนี้ตอนกรณีที่วัดหนองจอกนั้น อาจจะเป็น กรณีที่จะศึกษาพิเศษมาก เพราะว่าจริงๆ แล้วในสังคม ของเรา สมัยที่รับปริญญาที่ธรรมศาสตร์ ในหลวง กับพระเทพฯ เสด็จมอบให้ เขาก็บอกว่าจะต้องมอบ คลาน กราบอะไร ตนเองก็อาจจะเป็นรุ่นแรกๆ ที่ท�ำ หนังสือไปอธิบายที่ส�ำนักพระราชวัง ว่ากรณีอย่างนี้ มีเด็กมุสลิมหลายคน ไม่ทราบว่าจะท�ำอย่างไร อันนี้ เราอธิบายไปให้เขาเข้าใจ และเราก็ได้รับค�ำตอบมา ว่า เป็นค�ำตอบที่น่าทึ่งมาก ในหลวงของเราศึกษาอัล กุรอานและรู้ศาสนาอิสลาม ส�ำหรับบรรดานักศึกษา มุสลิมที่เข้ารับปริญญาในปีนั้นให้เพียงยกมือสวัสดี ก็ เพียงพอ เราไม่ได้ท�ำให้ตัวของเราเพียงคนเดียว และ เพื่อนๆ ของเราก็ได้รับตรงนี้ไปด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จากที่เล่ามาไม่ใช่ว่าฉันเก่ง ฉันกล้า แต่จะบอกให้ลูกหลานตรงนี้ มั่นใจในตนเอง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 121


และภูมิใจในความเป็นมุสลิมของเรา ศึกษาให้ดีกล้า ที่จะพูด เพราะเราเป็นคนไทย เราเหยียบบนแผ่นดินนี้ หนักเท้าพอๆ กับคนอื่นๆ เท่ากันหมด และอย่าลืมว่า เราประกาศตนเป็นมุสลิม อย่าไปข่มเหงและละเมิด สิทธิของมุสลิมคนอื่นๆ ด้วยการกระท�ำที่ไม่ใช่หลัก การของอิสลาม ส�ำหรับวันนี้ดิฉันดีใจมาก ที่ลงมาจากเชียงใหม่ และมาพบกับพี่น้องของเราในวันนี้ และขอขอบคุณ ต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) และขอให้ทุกคนหวังว่าจะได้รับอะไร บ้างในการเสวนาครั้งนี้ อัสสลามุอะลัยกุมฯ

ซัยยิดะฮ์บุซรอ ฮูซัยนี ผู้อ�ำนวยการสถาบัน การศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดียะฮ์

อัสสลามุอะลัยกุมฯ ด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตา กรุณาปรานียิ่งเสมอ เนื่องในวันประสูติท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ซึ่ง ในอันที่จริงผ่านมาเกือบสัปดาห์ แต่ก็ยังอยู่ในช่วง สัปดาฮ์สตรี ดิฉันขอแสดงความยินดีไปยังมุสลิมทั่ว โลก เนื่องจากที่คือของขวัญอันยิ่งใหญ่ ที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ประทานแก่มวลมนุษยชาติ ไม่เพียงแต่มุสลิม เท่านั้นที่ได้รับท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ลงมา ส�ำหรับการเสวนาในวันนี้ หัวข้อค่อนข้างที่จะ กว้าง บทบาทสตรีต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ดิฉัน นั่งฟังวิทยากรหลายท่านรู้สึกใจชื้นขึ้นมา เพราะทุกๆ ท่านมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก็จะเป็น อื่นไปจากนี้ไม่ได้ แต่ด้วยความคิดที่ว่า หัวข้อเสวนา กว้างมาก ดิฉันอยากให้เรานึกถึงเจตนารมณ์ของผู้ ตั้งหัวข้อเสวนาในวันนี้ว่าเราต้องการที่จะพูดถึงเรื่อง ราวใด วันนี้ซึ่งถือว่าเป็นสัปดาฮ์สตรีที่ทางสาธารณรัฐ อิสลามแห่งอิหร่าน สถาปนาขึ้นมาสืบเนื่องจากวัน คล้ายวันประสูติของท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ (อ.)

122 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

บทบาทของสตรี สามารถพูดถึงได้ในสาม แบบแต่ในวันนี้ ไม่สามารถท�ำให้เราวิเคราะฮ์เจาะ ลึก เข้าไปสู่ประเด็นอย่างละเอียดได้ แต่ดิฉันก็จะ พยายามสรุปโดยย่อ ที่ผ่านมาสตรีในยุคก่อนมีรูป ลักษณะอย่างไร มีบทบาทอย่างไร แล้วบทบาท ของสตรีถูกวางไว้โดยพระผู้เป็นเจ้า (ซบ.) ตั้งแต่ยุค แห่งการสร้างโลก ในแต่ละยุค แต่ละสมัยของช่วง ประวัติศาสตร์ เราจะพบเห็นบรรดาสตรีที่ประสบ ความส�ำเร็จในการแสดงบทบาทของตนเองออกมาใน แต่ละยุคแต่ละสมัย ไม่ว่าจะเป็นท่านหญิงอาซียะฮ์ ภรรยาของฟาโรฮ์ (ฟิรอูน) และท่านหญิงมัรยัม ที่เรา รู้จักกันดีในคริสต์ศาสนาและในอิสลามไม่ว่าจะเป็น ท่านหญิงคอดีญะฮ์ภรรยาของท่านศาสดา(ศ็อล) ท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เป็นผู้ซึ่งแสดงบทบาทสตรีไว้อย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด แต่ละนามที่ดิฉันได้กล่าวขึ้น มา จะต้องขอความร่วมมือจากท่านผู้ฟังทุกท่าน เพื่อ ที่จะให้ทุกคนเปิดดูในหน้าประวัติศาสตร์ว่าพวกท่าน เหล่านั้น แสดงบทบาทอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านหญิงอาซียะฮ์ ที่อยู่ เคียงข้างกับกษัตริย์ฟาโรฮ์และมีสามีอ้างตนเองว่า เป็นพระเจ้า แต่เรื่องราวของท่านหญิงอาซียะฮ์กับถูก บันทึกไว้ในคัมภีร์ในฐานะเป็นแบบอย่าง เพราะพระผู้ เป็นเจ้า (ซบ.) ต้องการจะยกตัวอย่างถึงท่านหญิงอาซี ยะฮ์ที่เป็นภรรยาของฟาโรฮ์ และพระผู้เป็นเจ้าต้องการ ชี้ให้เห็น ฐานอันดรอันสูงส่งของสตรีว่า เมื่อสตรีแสดง บทบาทได้อย่างสมบูรณ์ นางสามารถไปถึงขั้นใดได้ นั้น พระผู้เป็นเจ้าได้ให้มองดูทุกค�ำกล่าวนี้มีในพระ มหาคัมภีร์อัลกุรอาน พระผู้เป็นเจ้าบอกว่า จงมองดู ไปที่อาซียะฮ์ ว่านางประสบความส�ำเร็จถึงขั้นสิ่งที่นาง ได้สมความปรารถนา ค�ำวิงวอนที่ท่านหญิงวิงวอนไว้ กับพระผู้เป็นเจ้าว่า โอ้อัลลอฮ์ ขอให้ข้าพระองค์เป็น เพื่อนบ้านของพระองค์ในสรวงสวรรค์ หมายความว่า ท่านหญิงอาซียะฮ์ปฏิเสธทุกๆ สิ่งทุกอย่างอันเป็นวัตถุ แห่งโลกนี้ และมองเห็นความส�ำเร็จของตนเองว่า จะ


ต้องได้เป็นเพื่อนบ้านกับพระผู้เป็นเจ้า ค�ำว่า “เพื่อนบ้าน” นั้น บ่งบอกถึงความใกล้ชิด นางแสวงหาความใกล้ชิดทั้งๆ ที่นางอยู่เคียงข้างสามี ผู้อ้างตนเป็นพระเจ้า ในยุคนั้น และท่านหญิงท่านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นท่านหญิงคอดีญะฮ์ ที่แสดงบทบาทของ ตนเอง ในความเป็นภรรยาของท่านศาสดา (ศ็อล) ในการปกป้องเกื้อหนุนในการสนับสนุนท่านศาสดา (ศ็อล) ในการปฏิบัติภารกิจการเผยแพร่ศาสนา จน กระทั่งท่านศาสดา (ศ็อล) ประกาศให้ปีที่สูญเสียท่าน หญิงคอดีญะฮ์และท่านอบูฏอลิบ ให้เป็นปีแห่งความ โศกเศร้า เนื่องจากสูญเสียท่านหญิงผู้เป็นภรรยา และท่านอบูฏอลิบผู้เป็นลุง เพราะท่านหญิงไม่ได้เป็น ภรรยาแบบทั่วๆ ไป เพราะท่านหญิงเป็นทั้งผู้ให้การ สนับสนุนทางด้านการเงิน ทางด้านจิตวิญญาณ และ ทางด้านก�ำลังใจ และท่านหญิงนั้นเป็นสตรีคนแรกที่ ได้เข้ารับอิสลาม และก็ขานรับการเผยแพร่ของท่าน ศาสดา (ศ็อล) ถ้าเราศึกษาค้นคว้าชีวิตการเป็นอยู่ของท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะมองไปด้าน ใดนั้น เราก็จะเห็นความสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องในครัวเรือน เรามีฮะดีษมากมาย ที่บ่งบอกถึง ท่านหญิงโม่แป้ง ดูแลบุตรหลานของตนเอง ท่านหญิง

ท�ำงานหนักภายในบ้านเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องของการเมืองเมื่อเช้าเราได้ฟังจากบรรดาวิทยากร ผู้ทรงเกียรติที่เดินทางมาจากอิหร่าน ที่บรรยายให้ เราฟังว่า ท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ (อ.) มีบาบาทในด้าน การเมือง มีบทบาทในทางปฏิบัติ บทบาทในด้าน ความรู้ ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เป็นแบบอย่างที่ได้ถูกแสดง เอาไว้ ในยุ ค ปั จ จุ บั น นี้ จึ ง เริ่ ม มี แ นวคิ ด ปะปนต่ า งๆ เข้ามา ในนามว่าสิทธิสตรี ในนามของสิทธิเท่าเทียม กัน สตรีต้องมีบทบาทในสังคม สตรีต้องมีความเท่า เทียมกับบุรุษเพศ จนกระทั่งมากขึ้นๆ จนกระทั่งเริ่ม ผิดประเด็น นิยามของค�ำว่าสิทธิสตรีและบทบาท สตรีเริ่มเปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งเป็นที่ทกเถียงกัน ในสหประชาชาติ และในที่สุดเมื่อมีคนหนึ่งยกมือขึ้น ในสหประชาชาติ และก็บอกว่าสตรีและบุรุษต้องมี ความเท่าเทียมกัน ตามความเหมาะสม แต่บุคคลนั้นก็ กล่าวว่า ตามความเหมาะสมก็ถูกปฏิเสธ และต่อต้าน อย่างรุนแรง และกล่าวว่า ความเหมาะสมอันนี้จะ มาลิดรอนจะมากดขี่สิทธิของสตรี ไม่ให้พูดแม้กระทั่ง ความเหมาะสม การปะปนอันนี้ได้เบี่ยงเบนความเชื่อ ให้ผิดออกไป เมื่อทุกคนมี สโลกแกนว่า ต้องมีบทบาท ทางสังคม สตรีจะต้องเท่าเทียมกับบุรุษ บรรดาผู้หญิง เราก็ได้เริ่มหันมามองว่า บุรุษท�ำอะไร เราก็ท�ำด้วย แต่ถ้าเรามัวนั่งอยู่ในบ้าน ไม่ได้ออกข้างนอก ไม่ได้มี งานท�ำข้างนอก เลี้ยงลูกอยู่แต่ในบ้าน แสดงว่าเราไม่ ได้มีบทบาททางสังคม ไม่ได้แล้ว เราจะต้องออกไป ข้างหน้าเพื่อที่จะได้มีบทบาทางสังคม เพราะฉะนั้น ความเชื่อนี้ได้เกิดขึ้นในมุมมอง ของสตรี ทุ ก คนทุ ก คนแสวงหาจะออกไปที่ บ รรดา บุรุษท�ำ ทุกคนแสวงหาที่จะออกไปมีบทบาทในทาง สังคมข้างนอก ถึงแม้ว่าในขณะเดียวกันก็มีสตรีบาง กลุ่มแสดงศักยภาพตนเองอย่างเต็มที่ในการที่จะมี บทบาททางสังคมและก็ไม่ได้ถูกปนเปื้อนไปด้วย เมื่อ ความเชื่อเช่นนี้เกิดขึ้น นานวันเข้าเหล่าศัตรูผู้ที่ไม่หวัง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 123


ดี พยายามท�ำให้สตรีกลุ่มนี้ตกเป็นเหยื่อของความ ต้องการของเขา สตรีตกเป็นเหยื่ออารยธรรมที่ตกต�่ำ สตรีตกเป็นเหยื่อความเชื่อที่ผิดแปลก โอ้อวดเรือนร่าง ของตนเอง จะต้องออกข้างนอกมากที่สุด จึงจะเป็นสิ่ง ที่ดีที่สุด จนกระทั่งในที่สุดสตรีกายเป็นเพียงบรรดา กลุ่มผู้ที่จะต้องพิงกายอยู่เคียงข้างกับสินค้าต่างๆ ที่ มีชื่อเสียง และท�ำไมเยาวชน วัยรุ่นหน้าตาดีๆ หน้าตา ใสๆ ของเรา ดูเป็นเด็กฉลาดและน่ารักจะต้องไปยืน อยู่ข้างๆ มอเตอร์ไซด์คันงามในงานมอเตอร์โชว์ และ ท�ำไมสตรีที่มีความงามของเราจะต้องไปยืนอยู่ข้างๆ รถรุ่นล่าสุด จนกระทั่งสุดท้ายแล้ว บรรดาสตรีก็ถูก นิยามคุณค่าไปในลักษณะนั้น ถ้าสตรีคนใดแต่งตัวไม่ แก่ง ใครมีเสื้อผ้าน้อย ใครออกข้างนอกน้อย ไม่น่าคบ เพราะยุคปัจจุบันนี้เป็นเช่นนั้นไปแล้ว เรื่องราวต่อไปนี้ ดิฉันจะเสนอในเรื่องถึงหลัก ใหญ่ๆ ที่เราพูดกันถึงสามภาค ของเรื่องราวบทบาท ของสตรี เรามาถึงต้องที่เราพูดคุยกันว่า ความเชื่อ และแนวคิดที่ผิดต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมา จนกระทั่งเป็น เหตุให้เราหลงประเด็นออกไป และสตรีบางกลุ่มก็ตก เป็นเหยื่ออารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมต่างๆ ที่ สอดแทรกเข้ามา แต่ตอนนี้ไม่ได้แล้ว วัฒนธรรมตะวัน ตกอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เพราะวัฒนธรรมเกาหลีก็เข้า มาด้วย อะไรก็เกาหลีไปหมด แม้เราจะเดินไปในตลาด เกาหลีเต็มไปหมด จับเสื้อสักตัวหนึ่ง พอเราถามราคา

124 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

เขาจะตอบว่า อันนี้แพงเพราะเป็นผ้าจากเกาหลี ความแตกต่างในการถูกสร้าง ระหว่างสตรีและ บุรุษ ที่วิทยากรทุกท่านก็พูดกันไปมากพอสมควร และ ท่านวิทยากร ดร. นูรีดา ก็อธิบายความต่างที่สตรีและ บุรุษมี เพื่อแต่ละคนได้แสดงและกระท�ำหน้าที่ของ ตนเอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของสตรีคืออะไร หน้าที่ ของบุรุษคืออะไร ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้น�ำและนักวิชาการต่างๆ จึงกล่าวว่า “สตรีเป็นผู้ขับเคลื่อนสังคม ด้วยเหตุนี้ อิสลามและท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) จึงมีค�ำกล่าว ที่ว่า “สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของมารดา” ฮะดีษนี้ดิฉันพูด ทุกปี แต่จะให้ความหมายต่างกัน แต่ปีนี้ดิฉันก�ำลัง จะบอกว่า สตรีเป็นผู้คุมเกมส์ถึงขั้นที่ว่าสวรรค์อยู่ใต้ ฝ่าเท้าของมารดา อันนี้เป็นส�ำนวนของท่านศาสดา (ศ็อล) ที่บ่งบอกถึงหน้าที่อันทรงเกียรติของสตรี สตรี สามารถที่จะน�ำสวรรค์เข้ามาในบ้านได้ และในขณะ เดียวกันสตรีก็สามารถที่จะสร้างนรกในบ้านได้เช่น เดียวกัน เพราะฉะนั้นหน้าที่บทบาทอันส�ำคัญของสตรี นั้นขึ้นอยู่กับว่า นางจะรู้ค่าตัวเองและการปฏิบัติหน้า ของตนเองได้ดีขนาดไหน ถ้าหากว่าสตรีคลุมเกมส์ ได้ดี ปลูกฝังตนเองให้พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความ เปลี่ยนแปลงไปของโลกได้เป็นอย่างดี บุตรหลานของ เราจะเผชิญหน้ากับเทคโนโลยีและสื่อต่างๆ อย่าง ปลอดภัย แทนที่เราจะตกเป็นทาสสื่อต่างๆ เหล่านี้ บรรดาบุตรหลานของเราจะใช้สื่อต่างๆ เหล่านี้เป็น ทาสเรา และตอนนี้ เฟสบุกส์ก�ำลังมาแรงมาก เรา อย่าไปกล่าวหาว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ดี เราจะท�ำอย่างไรให้ ลูกหลานของเราได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ให้มันมารับใช้เรา แต่อย่าให้ลูกหลานของเราไปเป็น เหยื่อ ดิฉันยังแอบดีใจเมื่อเข้าในในเฟสบุกส์ เยาวชน ตัวเล็กๆ ของเรา ก�ำลังน�ำฮะดีษต่างๆ ของท่านศาสดา (ศ็อล) เข้าไปโพสต์ หรือน�ำประโยชน์ดีต่างๆ น�ำมา สอนกันและกัน นอกจากตัวเองจะมีแนวคิดอย่าง


นี้ และยังสามารถที่จะแบ่งปันความคิดหรือแนวคิด ของตัวเองให้กับผู้อื่นได้ อันนี้คือในด้านที่ดี ที่ไม่ดี นั้นก็มากมาย ฉะนั้นในขณะนี้เราต้องมามองดูของ ความเปลี่ยนแปลงของโลกนั้นก�ำลังก้าวไปสู่ทางลบ มากกว่าทางบวก สืบเนื่องมาจากว่าบรรดาสตรีนั้น ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ไม่ได้แสดงบทบาท ของตนเองอย่างเต็มเปี่ยม บรรดาสตรีมีมุมมองที่ผิด แปลก วันนี้เรากลับบ้านและส�ำรวจแนวคิดของตัวเอง ดูว่า เรามีแนวคิดอย่างไร เรามีแนวคิดว่าเป็นผู้ให้ บทบาทกับสังคม หรือไม่ ถ้าใช่ และเราก�ำลังท�ำอะไร กันอยู่ กุญแจส�ำคัญอันหนึ่งที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ได้ทิ้งแบบฉบับไว้ให้กับสตรี ท�ำไม เราต้องเชื่อท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) เพราะว่าท่านหญิง เป็นผู้ที่ไปถึง เส้นชัยแล้ว เธอชนะแล้ว เธอท�ำได้แล้วและถ้าเราจะ ประสบความส�ำเร็จ เราต้องไปดูบุคคลที่ประสบความ ส�ำเร็จแล้ว มีฮะดีษบทหนึ่งของท่านหญิงฟาฎิมะฮ์ (อ.) ก็คือ “สตรีผู้ประเสริฐคือนางที่เห็นบุรุษแปลกหน้า น้อยน้อยที่สุด” มี อี ก ฮะดี ษ จากท่ า นหญิ ง อี ก บทหนึ่ ง ที่ จ ะ อรรถาธิบายฮะดีษข้างต้นนี้ เมื่อมีการถามท่านศาสดา มุฮัมมัด (ศ็อล) สตรีในสภาพใดที่อยู่ในความพึงพอใจ ของอัลลอฮ์ (ซบ.) มากที่สุด บรรดาสาวกกล่าวตอบ และค�ำตอบนั้นยังเป็นที่ไม่พึงพอใจของท่านศาสดา (ศ็อล) จนท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ตอบว่าคือ เมื่อสตรี อยู่ในมุมหนึ่งของบ้านที่ไหนก็ได้ ล้างจานอยู่ก็ได้ ปู ที่นอนอยู่ก็ได้ หรือใส่น�้ำแจกันอยู่ก็ได้ ดูแลลูกอยู่ก็ได้ อ่านหนังสืออยู่ก็ได้ ท�ำนมาซอยู่ก็ได้ อยู่อย่างใดก็ได้ แต่ขอให้อยู่ในมุมหนึ่งของบ้าน เพราะว่าในบ้านนั้น เป็นสถานที่ท�ำงานของสตรี สถานที่บังคับบัญชาการ ของสตรี ทุกท่านนึกสภาพถึงเรือว่า กัปตันเรือนั้น ต้องอยู่ที่พวงมาลัย ถ้ากัปตันเรืออยากจะไปเป็นคน ที่อยู่ข้างบนและส่องกล้องส่องทางไกลดูทิศทาง ถ้า

กัปตันเรือทิ้งห้องท�ำงานของตนเอง เรือล�ำนี้จะต้อง อับปางเป็นแน่ กัปตันเรือทั้งหลาย พวกท่านทั้งหลาย อย่าลุกจากที่ของตัวเอง อย่าลุกออกจากการเป็นผู้ บังคับบัญชาการ ผู้บังคับบัญชาการนี้หมายความ ว่า คุณทั้งหลายเป็นผู้คุมเกมส์ สังคมจะเป็นอย่างไร นั้น ขึ้นอยู่กับพวกคุณ บรรดาสตรีจะเป็นคนสร้างพลัง ในด้านความคิดให้กับโลกปัจจุบันสาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้ โลกเปลี่ยนแปลงไปในทางลบคือ ความไร้สาระ และ ปล่อยเวลาผ่านไปในด้านไร้สาระ เวลาเราเข้าไปในเฟสบุกส์ เราจะให้สาระหรือไร้ สาระก็ได้ แต่ไร้สาระก็ได้เป้นอย่างดี การสร้างระบบ ของเฟสบุกส์และอินเตอร์เนตเหล่านี้มีเป้าหมายสอง แง่สองง่าม คือ หนึ่งคือ เอื้ออ�ำนวยประโยชน์ สอง คือสร้างความเพลิดเพลินให้เกิดขึ้น เมื่อมีความ เพลิดเพลินเกิดขึ้น สติปัญญาจะคิดน้อยลง และเมื่อ สติปัญญาคิดน้อยลง เราตรวจสอบกิจวัตรประจ�ำวันของเราดูว่าเวลา ผ่านไปอย่างไร้สาระหรือเปล่า เราชอบที่จะเดินตลาด มากกว่าที่จะนั่งอยู่ในบ้านกับลูกหรือเปล่า เรากอด ลูกน้อยหรือเปล่า เราพูดจาไพเราะกับลูกน้อยไปหรือ เปล่า เราเป็นเจ้าของแนวคิดของลูกหรือเปล่า ทั้งๆ ที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงให้ศักยภาพและให้ทุกสิ่งทุกอย่าง มาในสตรี ให้สติปัญญาแก่สตรี ให้ความงดงามแก่ สตรีเพื่ออะไร ให้มาเพื่องานต่างๆ เหล่านี้ เพราะสตรี มีอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างครบครัน ฉะนั้นบทบาทของ สตรียิ่งใหญ่เหลือเกิน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 125


การพบปะสนทนาระหว่าง

มาดาม ดร. ฟายาด มาดาม ดร. ฮัจญะฮ์ ฮุซัยนี กับนักเรียนศาสนา สถาบันอัลมะฮ์ดียะฮ์ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 มาดาม ดร. ฟะ ยาฎ หัวหน้ากรรมาธิการ การเรียนการสอนของสภา สูงสุดด้านวัฒนธรรมและคณบดีคณะจิตวิทยา มหา วิทยาลัยฏอฏอบาอีย์และ ดร. ฮัจญะฮ์ ฮุซัยนี พร้อม ด้วยนายอะฮ์มัดอะบุลฮะซะนีย์ ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรม เดินทางเยือนนักศึกษาศาสนา ณ สถาบันการศึกษา ศาสนาอัล-มะฮืดียะฮ์ ในการเข้าพบครั้งนี้คณาจารย์ และนักศึกษา ของสถาบันการศึกษาศาสนาอัล-มะฮ์ดียะฮ์ให้การ ต้อนรับ นายอะบุลฮะซะนีย์กล่าวขอบคุณต่อคณาจารย์ ของสถาบัน ที่เสียสละเวลาให้การต้อนรับ และกล่าว ชื่นชมคณาจารย์ที่ได้มีความอุตสาหะในการด�ำรงไว้ ซึ่งแนวทางของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) การพบปะครั้งนี้ได้เริ่มต้นด้วยการอัญเชิญบาง โองการของอัลกุรอาน จากนั้น อาจารย์ฮิดายะฮ์ ได้ กล่าวให้การต้อนรับ และกล่าวถึงความเป็นมาของ สถาบันการศึกษาศาสนาอัล-มะฮ์ดียะฮ์ และยังได้ล่าว แนะน�ำคณาจารย์ผู้สอนของสถาบันให้รับทราบ ต่อมา มาดาม ดร ฟะยาฎกล่าวถึงสถานภาพ ของสตรีในอิสลามและได้ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของการ

126 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

ศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาในวิชาการศาสนาที่ถือว่า เป็นข้อบังคับจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ท่านกล่าวอีกว่าบรรดา นักการศาสนาที่ได้ศึกษาวิชการศานามาจากสถาบัน การศาสนานั้น จ�ำเป็นต้องรู้จักภาระหน้าที่ ท่ะต้อง น�ำวิชาการที่เรียนรู้มาเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับ ทราบ เพื่อพวกเขาจะได้น�ำไปปฏิบัติในการด�ำเนิน ชีวิต สุดท้ายท่านมาดาม ดร. ฟะยาฎ ได้กล่าวขอพรให้ นักศึกษาวิชการศานาได้ประสบความส�ำเร็จดังความ ตั้งใจ


การบรรยายของ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพมหานคร

มื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2555 ที่ปรึกษา ฝ่ายวัฒนธรรม เดินทางเข้าร่วมนมาซญุ มอะฮ์ และเยือนพี่น้องผู้ศรัทธาที่มัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.จังหวัด ปทุมธานี และได้ได้กล่าวบรรยายพิเศษ นายมุศฏอฟา นัจญาอริยอนซอเดะฮ์ ที่ ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ได้เข้าพบเชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ อิมามญุมอะฮ์มัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.) ได้กล่าวขอบคุณที่ให้ให้การต้อนรับ และอนุญาติให้ บรรยายพิเศษหลังจากนมาซญุมอะฮ์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงความ ส�ำคัญของเดืนอรอญับ และความหมายของเดือนี้ โดยได้กล่าวว่า เดือนรอญับนี้เป็นเดดือนที่มีวัน แว ลาที่มีคุณค่าเต็มไปด้วยความเมตตาที่พระผู้เป็นเจ้า ทรงประทานให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์ ซึ่งในเดืนอ นี้บรรดาบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าควรจะกล่าขออภัยต่อ พระผู้เป็นเจ้าให้มาก ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ได้น�ำหะดีษที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ เดื อ นรอญั บ ต่ อ บรราดาผู ้ ที่ ร ่ ว มนมาซ ว่า พวกท่านจงอย่าเพิกเฉยในการอิบาดะฮ์ เดือนกา รอิบาดะฮ์ของพวกท่านจะเป็นที่โปรดปรานของพระ ผู้เป็นเจ้า ในเดืนอนี้ยังมีวาระที่ส�ำคัญมากมายเช่น วันคล้ายวันประสูติของอิมาม มุฮัมมัด บากิร (อ.) วัน คล้ายวันประสูติของอิมาม อะลี (อ.) อิมามมุฮัมมัด ญะวาด (อ.) และยังมีวาระของมับอัษวันที่ท่านศาสดา มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้รับการสถาปนาแต่งตั้งเป็นศาสดา ของประชาชาติ ด้วยเหตุนี้เดือนนี้จึงถือว่าเป็นเดือน

หลังนมาซญุมอะฮ์ ณ มัสยิด ซอฮิบุซซะมาน (อ.) จังหวัดปทุมธานี อันจ�ำเริญยิ่งของบรรดาบ่าวของพระผู้อภิบาลแห่ง สากลโลก ในค�่ำคืนแต่ละค�ำคืนของเดือนนี้ให้ท�ำกา รอิบาดะฮ์ให้มาก เพื่อว่าในช่วงแห่งวันจะได้มีจิตใจ ที่ผ่องใส จงขอความใกล้ชิดยังองค์พระผู้อภิบาลเถิด เราท่านทั้งหลายจงวิวอนขอพรให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา ทั้งหลาย โดยเฉพาะในเดือนนี้จะมีวันคล้ายวันประสูติ ของผู้ปกครองของบรรดาผู้ศรัทธา คืออิมาม อะลี (อ.) จงอย่าให้เดือนรอญับนั้นจากเราไปโดยที่เราไม่ ได้ใส่ใจให้ความส�ำคัญต่อเดือนนี้ เพราะตามรายงาน ได้กล่าวแจ้งแล้วว่าเดือนรอญับเป็นเดือนของพระผู้ เป็นเจ้า เดือนชะอ์บานเป็นเดือนแห่งศาสนทูตของ พระองค์ และเดือนรอมาฎอนนั้นเป็นเดือนของบรรดา บ่าวที่ศรัทธายึดมั่น ดังนั้นพวกท่านจงมาเถิด มาช�ำระ จิตวิญญาณด้วยการท�ำความดี เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ เดือนชะอ์บานอันจ�ำเริญ อินชาอัลลอฮ์ มัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1987 เป็นมัสยิดของมุสลิมชีอะฮ์ ตั้งอยู่ที่คลอง 13 จังหวัดปทุมธานี มีเชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับ ญาติ นักศึกษา และนักวิชการศาสนา จากเมืองกุม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ด�ำรงต�ำแหน่งอิมาม ญุมอะฮ์ และญะมาอัต

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.1 July - September 2012 127


มื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2555 ที่ปรึกษาฝ่าย วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำกรุงเทพฯ เดินทางเข้าพบปะสนทนากับดร. วร ยุทธ ศรีวรากรณ์คณบดี คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัอัสสัมชัญ ดร. อิมติยาซ ยูซุฟ ดร. โรมัน มีนโอลัดและคณาจารย์ของคณะศาสนาและปรัชญา ดร. อิมติยาซ ยูซุฟ ให้การต้อนรับนาย มุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะฮ์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒน ธรม และคณะ จkกนั้นได้กล่าวแนะน�ำคณบดีและ คณาจารย์ของคณะศาสนาและปรัชญาให้ทราบ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ได้กล่าขอบคุณ ต่อคณาจารย์ของคณะศาสนาและปรัชญาที่ได้การ ต้อนรับอย่างอบอุ่น และกล่าวหวังว่าในการพบปะ สนทนาในครั้งนี้ จะมีโอกาสท�ำงานร่วมกัน ระหว่าง ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ำ กรุงเทพฯ กับมหาวิยาลัยอัสสัมชัญ ดังที่ทราบแล้ว ว่าที่ผ่านมานั้นทางศูนย์วัฒนธรรมฯ ได้รับความร่วม มือจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญมาโดยตลอดซึ่งครั้ง ล่าสุดได้มีการจัดงานโนรูซ ปีใหม่ของอิหร่าน โดยมี การแสดงดนตรีพื้นเมืองของอิหร่านขึ้นที่มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ ทางศูนย์วัฒนธรรมฯ มีความพร้อมในการ ความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในกากร เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในวิชาอิสลามศึกษา อิหร่านศึกษา ภาษาฟารซี และเปิดห้องอิหร่านเพื่อให้ นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้เรียนรู้เกี่ยวกับอิหร่านวันนี้ และเราสามารถท�ำงานร่วมกันในงานด้านวัฒนธรรม ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม กล่าวต่อไปอีกว่า ใน คณะศาสนาและปรัชญานี้ เราสามารถที่จะท�ำงาน ร่วมกันในงานด้านวิชาการ โดยมีการจัดสัมมนาด้าน วิชาการเกี่ยวกับอิหร่าน อิสลาม และศาสนาต่างๆ ดร. โรมันมีน โอลัด อาจารย์ชาวเยอรมัน กล่าวว่า ในสาขาวิชาของคณะเราสามารถที่ท�ำงาน ด้านวิชาการ เรื่องวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมอัน มีคุณค่าย่างของอิหร่าน โดยจัดให้มีการแลกเปลี่ยน

128 สาส์นอิสลาม : ปีที่ 34 ฉบับที่ กรกฎาคม - กันยายน 2555

การพบปะสนทนาระหว่าง

ที่ปรึกษา ฝ่ายวัฒนธรรม กับคณบดี และคณาจารย์

คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

งานด้านวิชาการระหว่างกันและกัน ดร.อิมติยาซ ยูซุฟ กล่าวว่า ทางคณะศาสนา และปรั ช ญาของมหาวิ ท ยาลั ย อั ส สั ม ชั ญ มี ค วาม ปรารถนาที่จะให้ความร่วมมือกับศูนย์วัฒนธรรมใน การพั ฒ นาส่ ง เสริ ม ความสั ม พั น ธ์ ง านด้ า นวิ ช าการ และศาสนาระหว่างอิหร่านกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ให้มีความเจริญก้าวหน้า ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมกล่าวว่า เราสามารถที่ จัดการสัมมนาด้านวิชาการขึ้น ดังที่เรียนชี้แจงให้ท่าน อธิการบดี ทราบไปแล้วเบื้องต้น ซึ่งปัจจุบันี้มีนักศึกษา ชาวอิหร่านที่ได้ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญนี้ ประมาณ 70 คน คิดว่าพวกเขาเหล่านั้นจะได้เป็นส่วน หนึ่งในการสานงานต่อไปได้ รองคณบดีฯ กล่าว่า ข้าพเจ้าเคยเดินทางไปอิ ร่าน ขอยอมรับว่าอิหร่านมีวัฒนธรรม ที่เก่าแก่และ งดงาม ได้เดินทางเข้าชมพิพิธภัณฑ์แล้วน่าทึ่งมาก และยังได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับอิหร่านอย่างมาก ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมกล่าวขอบคุณ และ กล่ า วว่ า อิ ห ร่ า นเป็ น ประเทศที่ มี อ ารยธรรมเก่ า แก่ และยังกล่าวถึงการเดินทางมาสู่กรุงสยามของท่าน เฉก อะฮ์มัดกุมมีและเฉกสุไลมาน โดยน�ำวัฒนธรรม ประเพณีของชาวอิหร่านมาเผยแผร่ และตกทอดเป็น มรดกของประชาชนชาวไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.