Payam Islam 34-2

Page 1



ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลาคม-ธันวาคม 2555 Vol. 34 No. 2 October-December 2012

ความสำเร็จและความก้าวหน้าทั้งปวง ของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน คือดรรชนีแสดงความล้มเหลว ของโลกตะวันตกที่จะดับรัศมีแห่งอิสลาม


ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลาคม-ธันวาคม 2555 Vol. 34 No.2 October-December 2012 ISSN : 0859-7162 ผู้อ�ำนวยกำร : Director มุสฏอฟำ นัจญอรียอนซอเดะฮ์ Mostafa Najarian Zadeh บรรณำธิกำรอ�ำนวยกำร : Editor-in-Chief เชคมุฮัมมัด นำอีม ประดับญำติ บรรณำธิกำร : Editor อรุณ เด่นยิ่งโยชน์ กองบรรณำธิกำร : Section Editor กวีฮัยดัร พุ่มภักดี จะมีลฮัยดัร แสงศรี นูรรีฎอ แสงเงิน อับดุลมำลิก อำเมน อำซียะฮ์​์ พุ่มเพ็ชร ออกแบบรูปเล่ม : Design/Artwork 14 พับลิเคชั่น E-mail : thaqalayn14@hotmail.com โทร. 02 7325563 โทรสำร 02 7325564 ผลิตโดย : Published by ศูนย์วัฒนธรรม สถำนเอกอัครรำชทูต สำธำรณรัฐอิสลำมแห่งอิหร่ำน ประจ�ำกรุงเทพฯ 106-106/1 ซอยเจริญมิตร สุขุมวิท 63 เอกมัย 10 แยก 6 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนำ กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2392-2620-2 โทรสำร 0-2392-2623 CULTURAL CENTER THE EMBASSY OF ISLAMIC REPUBLIC OF IRAN BANGKOK 106-106/1 SOI CHAROENMITR SUKHUMVIT 63 EKAMAI 10 YEAK 6 KLONGTON NUA VADHANA BANGKOK 10110 THAILAND

ทรรศนะและความคิดเห็นในนิตยสารนี้ ไม่จ�าเป็นต้องถือว่าเป็นจุดยืนอย่างเป็นทางการ ของศูนย์วัฒนธรรมฯ เรายินดีต้อนรับข้อเขียน จากนักเขียนและนักวิชาการทั่วไป ขอสงวนสิทธิ์ ในการคัดเลือกและตัดตอนข้อความที่ไม่สมควร โดยไม่ปิดบังความหมายของผู้เขียน และผู้เขียนบทความนั้นๆจะเป็นผู้รับผิดชอบ บทความของตน

CONTENTs สารบัญ บทบรรณาธิการ ค�าปราศรัยของ ฯพณฯ อายะตุลลอฮ์ ซัยยิดอะลี คาเมเนอี ผู้น�าสูงสุด ทางจิตวิญญาณ ในการประชุมสุดยอด ขบวนการประเทศไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด ครั้งที่ 16 ณ กรุงเตหะราน ค�าแถลงการณ์เตหะราน การประขุมสุดยอดกลุ่มประเทศ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ครั้งที่ 16 รัศมีแห่งทางน�า ค�าวินิจฉัยปัญหาศาสนา ของท่านผู้น�าสุงสุด ค�าอรรถาธิบายอัลกุรอาน บทอัลบะกอเราะฮ์ ประวัติการเกิดแนวคิดทางปรัชญา อิสลามและการวิวัฒนาการ ศาสนากับอรรถปริวรรตศาสตร์ การตื่นตัวของศาสนา ในยุคโลกาภิวัฒน์ คุณสมบัติผู้ศรัทธา ความส�าคัญของการศึกษากุรอานวิทยา วิเคราะห์ วิจักษ์และวิธานรหัสยวิทยาแท้ ในศาสนาอิสลาม อิสลามศาสนาแห่งความเมตตา ความรักและมิตรภาพ งานวันอัลกุดส์สากล กิจกรรมและความเคลื่อนไหว

หน้า 2

3 12 17 24 34 44 49 56 60 67 80 86 99

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 1


EDITORIAL บทบรรณำธิกำร

http// Bangkok.icro.ir

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์พระผู้ทรงเมตตา พระผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ สถานการณ์โลกในปัจจุบันทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและการทหาร มีความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่ หลวงและอย่างมีนัยยะส�าคัญ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อมนุษยชาติในอานาคตทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างมากมาย เราต้องยอมรับว่าภายหลังการล่มสลายของระบบอคอมมิวนิสต์และประเทศต่างๆ ทีเ่ คยปกครองด้วยระบอบต่าง ทะยอยกันเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือไม่ก็ปรับตัวอยางขนานใหญ่เพื่อควาอยู่รอดของตนเอง ท�าให้ในระยะแรกดูเหมือน ว่าสหรัฐอเมริกาจะกลายเป็นมหาอ�านาจเดียวของโลก แต่ระยะเวลาที่ผ่านไปการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความเป็นอิสระ เพื่อ รักษาผลประโยชน์ตนเองท�าให้ประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ พยายามต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความเป็นอิสระและเพื่อรักษา ผลประโยชน์ของตนเอง รวมทั้งเพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเองด้วย การเคลื่อนไหวนี้ท�าให้เกิดการกระทบกับผล ประโยชน์ของผู้ที่ควบคุมเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองการทหารของโลกเดิม และปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มปรเทศมุสลิมเป็น ประเทศที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้อย่างสูงยิ่ง ค�าว่า Arab Spring และ Islamic Awakening จึงเป็นค�าที่คุ้น หูยิ่งในปัจจุบัน และท�าให้ผู้ที่ไม่มีความหวังดีและเตนาร้ายต่ออิสลามพยายามหาทางท�าลายหรือหยุดการเปลี่ยนแปลง นี้ กรณีการสร้างภาพยนตร์ดหู มิศ่ าสนาอิสลามในสหรัฐอเมริกาและสารคดีทสี่ ร้างภาพในทางลบต่อท่านศาสดามุฮม� มัด ในอังกฤษคือตัวอย่างที่ชัดเจนยิ่ง ในสถานการณ์ดงั กล่าว ดูเหมือนสาธารณรัฐแห่งอิหร่านจะเป็นประเทศทีไ่ ด้รบั การกล่าวถึงและจับตามองมากทีส่ ดุ ทั้งจากประเทศมุสลิมด้วยกันเอง ประเทศที่ก�าลังมองหาโมเดลในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง ในฐานะประเทศ ที่มีบทบาทส�าคัญยิ่งในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอันแหลมคมนี้ และที่จับตาดูสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านอย่าง ใกล้ชดิ ยิง่ ด้วยก็คอื กลุม่ ประเทศอภิมหาอ�านาจทีม่ องว่าสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเป็นภัยคุกคามของพวกเขา ดังนัน้ การแซงค์ชั่นทางเศรษฐกิจ การพยายามกล่าวหาสาธาณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านในเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ตลอด จนความพยายามทีจ่ ะจ�ากัดบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน จึงเป็นวาระทีช่ าติ มหาอ�านาจด�าเนินการมาอย่างต่อเนื่องและเอาจริงเอาจัง แต่ผลแห่งความส�าเร็จในการพัฒนาประเทศอย่างจริงจังของสาหธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านตลอดกว่า 30 ปี ภายหลังการปฏิวัติอิสลามเมื่อ ค.ศ. 1979 การแสดงจุดยืนและยืนยันว่า การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดต่อ บทบัญญัติของอิสลามและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านพัฒนาขึ้นเป็นไปเพื่อความสันติ รวม ทั้งการจัดประชุมขบวนการประเทศผู้ไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด (NAM) และเข้ารับหน้าที่ประธานขบวนการในอีก 3 ปีข้างหน้าคือ ตัวอย่างแห่งความส�าเร็จทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ทีช่ ดั เจนยิง่ รายละเอียดทั้งหมดนี้ปรากฏอยู่ในสาส์นอิสลามฉบับนี้แล้ว ขอขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทานความส�าเร็จแก่ประชาชาติมุสลิม มีความเข้มแข็งและเป็นตัวอย่างแก่ มนุษชาติ และหวังว่าพระองค์จะทรงช่วยเหลือเราตลอดไป มุศฏอฟา นัจยารียอน ซอเดะฮ์ Mostafa Najjarian Zadeh

2 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555


ถอดความโดย

เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ค�ำปรำศรัยเปิดกำรประชุมสุดยอด ขบวนกำรประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ำยใด (NAM) ครั้งที่ 16 ณ กรุงเตหะรำน 26-31 สิงหำคม 2555

‫‌الرحيم‬ ّ ‫‌الرحمن‬ ّ ‫‌بسم‌اهلل‬ ‫الرسول‬ ّ ‌‫‌الحمد‌هلل‌رب‌العالمين‌و‬ ّ ّ ‌‫الصالة‌و‬ ّ ‌‫السالم‌على‬ ّ ‌‫‌األعظم‌األمين‌و‌على‌اله‬ ‫الطاهرين‌‌و‌صحبه‌المنتجبين‬ ‫و‌على‌جميع‌األنبياء‌و‌المرسلين‬. ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ มวลการสรรเสริ ญ เป็ น สิ ท ธิ์ แ ด่ อั ล ลอฮ์ พ ระผู ้ อภิบาลแห่งสากลโลก ขอการอ�านวยพรและความ ศานติพึงมีแด่ท่านศาสนทูตผู้ยิ่งใหญ่ผู้ได้รับความไว้ วางใจ และแด่วงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่าน และบรรดา สาวกผู้ได้รับการคัดสรรของท่านและแด่บรรดาศาสดา และศาสนทูตทั้งมวล ข้าพเจ้า ขอกล่าวแสดงความยินดีและต้อนรับ ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผู้น�าและคณะผู้แทนของกลุ่ม สมาชิกประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดรวมทั้งผู้เข้าร่วมในการ ประชุมระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ทุกท่าน เรามารวมตั ว กั น ในที่ ส ถานที่ แ ห่ ง นี้ เพื่ อ ที่ ว ่ า ด้วยกับการน�าทางและการช่วยเหลือจากพระผู้เป็น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 3


ผู้ก่อตั้งขบวนการประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดเมื่อ ค.ศ. 1961 (จาก)ซ้าย) นายก รัฐมนตรีเยาฮราล เนฮ์รู (ค ศ. 1889-1964) แห่งอินเดีย ประธานาธิบดี ควาเม่ ครูมาฮ์ (ค.ศ. 1909-1972) แห่งกานา ประธานาธิบดีกามาลอับดุล นาซิร (ค.ศ. 1918-1970) ประธานาธิบดีอะฮ์มัด ซูการ์โน (ค.ศ. 19011970) แห่งอินโดนีเซียและประธานาธิบดีโจซิพบรอส ตีโต (ค.ศ. 18921980) แห่งยูโกสลาเวีย (ในขณะนั้น)

เจ้า เราจะมาสานต่อกระแสการขับเคลื่อนที่สอดคล้อง ต่อสถานการณ์และความจ�าเป็นของโลกปัจจุบัน ซึ่ง บรรดาผู้น�าทางการเมืองที่มีความห่วงใยและมีส�านึก ในหน้าที่รับผิดชอบ เพียงไม่กี่คนได้วางรากฐานไว้ด้วย ความชาญฉลาด กล้าหาญ และเข้าใจสถานการณ์ใน ช่วงหกทศวรรษที่ผ่านมา และยิ่งไปกว่านั้น เราจะขับ เคลื่อนและให้ชีวิตใหม่แก่มันอีกครั้งหนึ่ง บรรดาแขกจากภู มิ ภ าคต่ า งๆ ทั้ ง ไกลและ ใกล้ม ารวมตั วกั นในสถานที่แ ห่งนี้ เป็นประชาชาติ และเชื้ อ ชาติ ต ่ า งๆ ที่ มี ค วามเชื่ อ ทางด้ า นศาสนา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ที่หลากหลาย แต่ดังที่ประธานาธิบดี "อะฮ์มัด ซูการ์โน" หนึ่งในผู้ก่อ ตัง้ ขบวนการเคลือ่ นไหวนีไ้ ด้กล่าวไว้ในทีป่ ระชุมทีเ่ ลือ่ ง ลือ ในเมืองบันดุงเมื่อปี ค. ศ. 1955 ว่า พื้นฐานส�าคัญ ของการก่อตัง้ กลุม่ ประเทศไม่ฝกั ใฝ่ฝา่ ยใดนัน้ ไม่ได้อยูท่ ี่ ความเป็นหนึง่ เดียวกันทางด้านภูมศิ าสตร์หรือเชือ้ ชาติ และศาสนา แต่มันคือความเป็นหนึ่งเดียวกันในความ จ�าเป็น ซึ่งในช่วงเวลานั้นสมาชิกของกลุ่มประเทศไม่ ฝักฝ่ายใด (NAM) มีความจ�าเป็นด้านความสัมพันธ์ ประการหนึง่ ซึง่ จะท�าให้พวกเขาปลอดภัยจากการครอบ ง�าของเครือข่ายจอมเผด็จการและผู้กดขี่ที่ไม่รู้จักพอ ปัจจุบันนี้ด้วยกับความก้าวหน้าและการพัฒนาของ 4 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

เครื่องมือต่างๆ ในการครอบง�า จึงท�าให้ความจ�าเป็น ดังกล่าวยังคงต้องมีอยู่ ข้าพเจ้าจะขอหยิบยกความจริงอีกประการหนึ่ง นัน่ ก็คอื อิสลามสอนเราว่า มนุษย์ทงั้ หลายแม้จะมีความ แตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรม แต่ ก็มสี ญ ั ชาตญาณทางธรรมชาติหรือฟิฏเราะฮ์เหมือนกัน ที่จะเรียกร้องพวกเขาไปสู่ความสะอาดบริสุทธิ์ ความ ยุติธรรม ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและ ความร่วมมือ สัญชาตญาณทางธรรมชาติดังกล่าวนี้มี เหมือนกันทุกคน ซึ่งหากมันสามารถหลุดพ้นออกจาก แรงจูงใจต่างๆ ที่ท�าให้หลงผิดไปได้อย่างปลอดภัย แล้ว มันจะชี้น�ามนุษย์ไปสู่การยอมรับในเอกานุภาพ (เตาฮีด) และการรู้จัก (มะอ์ริฟะฮ์) ต่ออาตมันอันสูงส่ง ของพระผู้เป็นเจ้า ข้อเท็จจริงที่กระจ่างชัดดังกล่าวนี้ มีศักยภาพ ที่ จ ะเป็ น รากฐานและเป็ น หลั ก ประกั น ในการจั ด ตั้ ง ประชาคมที่เป็นอิสระ มีความภาคภูมิ มีความเจริญ ก้ า วหน้ า และความยุ ติ ธ รรมในเวลาเดี ย วกั น และ จะท�าให้รัศมีแห่งจิตวิญญาณฉายแสงเหนือทุกการ เคลื่อนไหวทางด้านวัตถุและ ทางโลกของมวลมนุษย์ และจะจัดเตรียมสวรรค์แห่งโลกนี้ให้แก่พวกเขาก่อน ที่จะถึงสวรรค์แห่งปรโลกที่ ถูกสัญญาไว้โดยบรรดา ศาสนาแห่งพระผูเ้ ป็นเจ้า ข้อเท็จจริงร่วมกันทีเ่ ป็นสากล นี้เช่นกัน ที่จะเป็นรากฐานที่ส�าคัญส�าหรับความร่วม มือกันฉันท์พี่น้องของประชาชาติทั้งหลาย ซึ่งในด้าน ลักษณะภายนอก อดีตทางประวัติศาสตร์และพื้นที่ ทางด้านภูมภิ าคไม่มคี วามคล้ายคลึงกันแต่อย่างใดเลย ความร่วมมือในระดับนานาชาตินนั้ เมือ่ ใดก็ตาม ทีว่ างอยูบ่ นรากฐานทีม่ นั่ คงเช่นนีไ้ ด้แล้ว เมือ่ นัน้ รัฐบาล ทั้งหลายจะมิต้องสถาปนาความสัมพันธ์ในระหว่าง กันบนพื้นฐาน ของความหวาดกลัวและการข่มขู่ หรือ ความมักมากและผลประโยชน์ต่างๆ เพียงฝ่ายเดียว หรืออาศัยบุคคลที่เป็นผู้ทรยศและขายตัว แต่ทว่าจะ อยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ต่างๆ ที่ดีงามร่วมกัน


และเหนือยิ่งไปกว่านั้นคือผลประโยชน์ของมนุษยชาติ และจะท�าให้ส�านึกทางด้านมโนธรรมที่ตื่นตัวของตน และจิตใจของประชาชนของตนเกิด ความสงบมั่นจาก ทุกข์กังวลต่างๆ ความเป็นระบบระเบียบของอุดมคตินี้จะวางอยู่ ตรงข้ามกับระบอบที่ครอบง�าในช่วงหลายศตวรรษที่ ผ่านมา ที่มหาอ�านาจผู้ครอบง�าแห่งตะวันตก รัฐบาล อเมริกาผู้กดขี่และผู้รุกรานในปัจจุบัน เป็นผู้กล่าวอ้าง เป็นผู้โฆษณาชวนเชื่อและเป็นหัวหอกของมัน ท่ า นผู ้ มี เ กี ย รติ ทั้ ง หลาย! วั น นี้ อุ ด มคติ ห ลั ก ของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แม้จะผ่านพ้นมาถึง หกทศวรรษก็ยังคงมีชีวิตอยู่และด�ารงอยู่อย่างมั่นคง อุดมคติอย่างเช่น การปลดปล่อยตนเองจากการเป็น อาณานิ ค ม อิ ส รภาพทางการเมื อ ง เศรษฐกิ จ และ วัฒนธรรม ความไม่ฝักใฝ่ต่อขั้วอ�านาจต่างๆ และการ ส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและความร่วมมือระหว่าง ประเทศสมาชิก ความเป็นจริงต่างๆ ของโลกปัจจุบัน ยั ง มี ค วามห่ า งไกลกั บ อุ ด มคติ ทั้ ง หลาย แต่ ก ารมี เจตนารมณ์ร่วมกันและความพยายามของทุกฝ่ายเพื่อ ที่จะข้ามผ่านความจริงเหล่านี้ และการบรรลุสู่อุดมคติ ต่างๆ นั้น แม้ว่าจะเต็มไปด้วยความท้าทายแต่ก็เป็นสิ่ง ที่ให้ความหวังและจะบังเกิดผล ในอดีตที่ผ่านมาไม่นานนัก เราได้เห็นความล้ม เหลวของนโยบายต่างๆ ในยุคสงครามเย็นและลัทธิ เอกภาคี (Unilateralism) ในยุคต่อจากนี้ ด้วยบทเรียน จากประสบการณ์แห่งประวัติศาสตร์นี้ โลกก�าลังอยู่ใน ช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบสากลใหม่ และ กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (NAM) มีความสามารถ และจ�าเป็นต้อง รับผิดชอบบทบาทใหม่ ระบอบนีจ้ ะต้อง ตัง้ มัน่ อยูบ่ นพืน้ ฐานของการมีสว่ นร่วมของทุกฝ่ายและ ความเสมอ ภาคในสิทธิของชาติทงั้ หลาย และเพือ่ ที่จะ สร้างระบอบใหม่นี้ ความเป็นปึกแผ่นของเราทีเ่ ป็นกลุม่ ประเทศสมาชิกนีน้ บั ว่าเป็นส่วนหนึง่ จากความจ�าเป็นที่ ชัดเจนยิ่งในปัจจุบัน

นับเป็นความโชคดีที่ภาพการเปลี่ยนแปลงของ โลกก�าลังแจ้งข่าวดี ซึ่งฝ่ายในระบอบดังกล่าวนี้ขั้ว อ�านาจเดิมจะต้องให้ที่ของพวกเขาแก่กลุ่มประเทศไม่ ฝักใฝ่ฝ่ายใด วัฒนธรรมและอารยธรรมที่หลากหลาย แหล่ ง ที่ ม าทางด้ า นเศรษฐกิ จ สั ง คมและการเมื อ ง เหตุ ก ารณ์ ต ่ า งๆ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ที่ เ ราได้ เ ห็ น ในช่ ว งสาม ทศวรรษที่ผ่านมา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การ ปรากฏตัวของอ�านาจใหม่เกิดขึน้ พร้อมกับความอ่อนแอ ของอ�านาจเก่า การเปลี่ยนผ่านอ�านาจแบบค่อยเป็น ค่อยไปนีเ้ ปิดโอกาสให้กบั กลุม่ ประเทศไม่ ฝักใฝ่ฝา่ ยใด เพื่อจะเข้ามารับผิดชอบบทบาทส�าคัญที่เหมาะสมใน เวทีโลก และจัดเตรียมพื้นฐานการบริหารจัดการที่มี ความยุตธิ รรมและการมีสว่ นร่วมอย่าง แท้จริงทัว่ ทัง้ โลก พวกเราประเทศสมาชิกของกลุ่มนี้สามารถรักษาความ เป็นปึกแผ่นและสายสัมพันธ์ของ ตนในขอบข่ายของ อุดมคติต่างๆ ร่วมกันไว้ได้ในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน แม้จะมีความหลากหลายในมุมมองและความเชื่อสิ่ง นี้ คือความส�าเร็จที่มิใช่เรื่องธรรมดาที่เล็กน้อย ความ สัมพันธ์นี้จะเป็นประโยชน์ส�าหรับการเปลี่ยนแปลงไป สู่ระบอบที่ยุติธรรมและมีมนุษยธรรม สถานการณ์ของโลกในขณะนี้ เป็นโอกาสหนึ่ง ซึ่งบางทีอาจจะไม่เกิดขึ้นอีกส�าหรับกลุ่มประเทศไม่ ฝักใฝ่ฝ่ายใด ดังนั้นค�าพูดของเราก็คือ ห้องบัญชาการ ของโลกจะต้องไม่ถูกควบคุมโดยเผด็จการตะวันตก เพียงไม่กี่ประเทศ จะต้องสามารถก่อรูปและสร้างหลัก ประกันการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยที่เป็น สากล

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 5


ในด้านการบริหารจัดการระหว่างประเทศให้เกิดขึ้นให้ ได้ นี่คือความจ�าเป็นของทุกประเทศที่ได้ประสบหรือ ก�าลังจะประสบกับความสูญเสียจากการล่วงละเมิด ทัง้ โดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมจากประเทศผูก้ ดขีแ่ ละ ครอบง�าเพียงไม่กี่ประเทศ สภาความ มั่นคงแห่งสหประชาชาติมีโครงสร้าง และกลไกการท�างานที่ไม่มีตรรกะ ไม่เป็นธรรมและไร้ ความเป็นประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง นี่คือเผด็จการที่ชัด แจ้ง มีสภาพที่โบราณ ล้าสมัยและหมดอายุการใช้งาน แล้ว ด้วยกับการใช้ประโยชน์ในทางไม่ชอบจากกลไก นี้เองที่ท�าให้อเมริกาและพันธมิตร ของมันสามารถ บังคับใช้ก�าลังการกดขี่ต่างๆ ของตนเองต่อชาวโลก ภายใต้เสื้อคลุมของแนวความคิดที่มีเกียรติ พวกเขา กล่าวว่า "สิทธิมนุษยชน" แล้วใช้การบริหารจัดการผล ประโยชน์ต่างๆ ของโลกตะวันตก พวกเขากล่าวว่า “ประชาธิปไตย” แล้วแทรกแซงทางทหารในประเทศ ต่างๆ แทนสิ่งนั้น พวกเขากล่าวว่า "การต่อสู้กับการ ก่อการร้าย" แต่ท�าให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์ในชนบทและ เมืองต่างๆ ตกเป็นเป้าของระเบิดและอาวุธของพวก เขา ในมุมมองของพวกเขา มนุษยชาติจะถูกแบ่งออก เป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง ชั้นสองและชั้นสาม พวกเขาจะ ตีค่าชีวิตของประชาชนในเอเชีย แอฟริกาและละติน อเมริกาว่าไม่มรี าคา ส่วนในอเมริกาและยุโรปตะวันตก มีราคาแพง ความมั่นคงสงบสุขของอเมริกาและยุโรป จะถูกนับว่ามีความส�าคัญ ส่วนความมัน่ คงสงบสุขของ มนุษยชาติส่วนที่เหลือนั้นไม่มีความส�าคัญ การทรมานและการลอบสังหาร หากเกิดขึ้นโดย มือของชาวอเมริกัน ชาวไซออนิสต์และบรรดาหุ่นเชิด ของพวกเขาจะเป็นที่อนุญาตและสามารถมองข้ามได้ อย่างแท้จริง เรือนจ�าลับของพวกเขาที่อยู่ในจุดต่างๆ ของทวีปทัง้ หลายจะพบเห็นพฤติกรรมต่างๆ ทีน่ า่ เกลียด และน่าขยะแขยงที่สุดที่ปฏิบัติต่อบรรดานักโทษผู้ไร้ที่ พึ่งพิง ไร้ทนาย และไม่มีการพิจารณาคดีความ ท�าร้าย และทรมานจิตใจของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นคนเลวและ

6 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

คนดีจะถูกตัดสินและถูกอธิบายแต่เพียงฝ่ายเดียว พวก เขาบังคับเอาผลประโยชน์ของตัวเองจากชาติตา่ ง ๆ ใน ชือ่ ของ "กฎหมายสากล" และค�าพูดทีเ่ ป็นเผด็จการและ ไม่ชอบด้วยกฎหมายของตัวเองในนาม "ประชาคมโลก" และพวกเขาจะอ�าพรางเรื่องโกหกต่างๆ ของตนเอง ให้เห็นเป็นเรื่องถูกต้อง สร้างสิ่งที่เป็นความมดเท็จให้ เห็นเป็นเรื่องจริง และมองเห็นความอธรรมของตนเอง เป็นการเรียกร้องความยุตธิ รรม และในทางตรงกันข้าม พวกเขาจะเรียกทุกค�าพูดทีเ่ ป็นเรือ่ งจริงทีจ่ ะเปิดเผยการ ฉ้อฉลหลอกลวงของพวกเขาว่าเป็นเรื่องโกหก และทุก การเรียกร้องที่ถูกต้องชอบธรรมว่าเป็นการก่อจลาจล โอ้ มวลมิตรทั้งหลาย! สภาพการณ์ที่น่าต�าหนิ และเต็มไปด้วยความเสียหายนี้ไม่อาจที่จะด�าเนินอยู่ ต่อ ไปได้อีกแล้ว ทั้งหมดล้วนเบื่อหน่ายต่อการค�านวณ และออกแบบที่ผิดพลาดของนานาชาติ ขบวนการ 99 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนในอเมริกาที่ลุกขึ้นต่อต้าน ศูนย์กลางของความมัง่ คัง่ และอ�านาจใน ประเทศนี้ การ ประท้วงคัดค้านของสาธารณชนในกลุ่มประเทศยุโรป ตะวันตกต่อนโยบายทางด้าน เศรษฐกิจของรัฐบาล ของพวกเขา ก็เป็นเครือ่ งแสดงให้เห็นถึงการหมดความ อดทนอดกลั้นของประชาชนที่มีต่อสภาพ การณ์เช่น นี้แล้วสภาพการณ์ที่ไร้ตรรกะเช่นนี้ควรจะได้รับการ เยียวยาแก้ไข


ความสัมพันธ์ที่มั่นคงแข็งแกร่ง ความมีตรรกะ และครอบคลุมทุกด้านของกลุม่ สมาชิกประเทศไม่ฝกั ใฝ่ ฝ่ายใดจะส่งผล กระทบต่าง ๆ ทีล่ มุ่ ลึกส�าหรับการค้นหา และการแสวงหาแนวทางแก้ไข โอ้ แขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย! สันติภาพ และความ มั่นคงระหว่างประเทศนับเป็นส่วนหนึ่งจากปัญหาที่ แหลมคมของโลกปัจจุบันของเรา และการปลดอาวุธ มหาประลัยทีม่ อี า� นาจท�าลายล้างสูงนัน้ คือความจ�าเป็น เร่งด่วน และเป็นความต้องการของประชาชนทั้งหมด ในโลกปัจจุบัน ความมั่นคงสงบสุข คือปรากฏการณ์ ร่วมกันและไม่อาจเลือกปฏิบัติได้ ผู้ที่ก�าลังสะสมอาวุธ ท�าลายล้างมนุษยชาติไว้ในคลังแสงของตนนั้น พวก เขาไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกตัวเองว่าเป็นผู้ถือธงแห่งการ รักษาความมั่นคง สงบสุขของโลกได้ ไม่ต้องสงสัยเลย ว่า สิ่งนี้ไม่สามารถแม้แต่จะน�าความมั่นคงสงบสุขมา ให้แม้แต่ตัวพวกเขาเอง วันนี้เป็นที่น่าอนาถใจอย่าง มากที่พบเห็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์มากที่ สุดไม่มี ความตั้งใจอย่างจริงจังและจริงใจในการที่จะท�าลาย อาวุธมหาประลัยเหล่านี้ ออกจากหลักการทางด้าน การทหารของตนเอง และยังคงเชื่อมั่นว่ามันคือสิ่งที่จะ ขจัดภัยคุกคามและเป็นตัวชี้วัดที่ส�าคัญ ในการแสดง สถานะทางด้านการเมืองและในระดับนานาชาติของ

ตนเอง การคาดคิดเช่น นี้ไม่เป็นที่ยอมรับและ ถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิง อาวุธนิวเคลียร์ ไม่อาจสนองตอบความ มั่ น คงสงบสุ ข และไม่ อาจเป็นสื่อเสริมสร้าง ความแข็ ง แกร่ ง ให้ แ ก่ อ� า นาจทางการเมื อ ง ได้เลย แต่กลับเป็นภัย คุ ก คามต่ อ ทั้ ง สองสิ่ ง นี้ เหตุ ก ารณ์ ใ นช่ ว ง ทศวรรษที่ 90 ของศตวรรษที่ 20 ชี้ให้เห็นว่า การมี อาวุธเหล่านีไ้ ม่สามารถทีจ่ ะรักษารัฐบาลอย่างเช่นอดีต สหภาพโซเวียตเอาไว้ได้ วันนี้ก็เช่นเดียวกัน เรารับรู้ถึง ประเทศที่แม้จะมีระเบิดปรมาณูแต่ก็ก�าลังเผชิญกับ กระแสคลื่นของความไม่สงบที่ร้ายแรงยิ่ง สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านถือว่าการใช้ อาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเคมีและอื่นๆ ที่เหมือนกันนี้ เป็น บาปใหญ่และไม่อาจอภัยให้ได้ เราได้น�าเสนอไปแล้ว ถึงค�าขวัญของเราที่ว่า "ตะวันออกกลางปลอดจาก อาวุธนิวเคลียร์" และจะเป็นผู้ยืนหยัดอย่างมั่นคงต่อ สิ่ ง นี้ แต่ นั่ น ไม่ ได้ ห มายถึ ง การมองข้ ามสิ ท ธิ ใ นการ ใช้ประโยชน์ในทางสันติจากพลังงาน นิวเคลียร์และ การผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ประโยชน์ในทาง สันติจากพลังงานนี้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศคือ สิทธิอันชอบธรรมของทุกประเทศ ทุกประเทศควรจะ สามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานที่ปลอดภัยนี้ในการ ใช้สอยที่จ�า เป็นของประเทศและของประชาชนในรูป ที่หลากหลาย และการใช้สิทธินี้ไม่ควรขึ้นอยู่กับประเท ศอื่นๆ ประเทศตะวันตกหลายประเทศที่ตัวเองมีอาวุธ นิวเคลียร์และกระท�าในสิ่งที่ผิด กฎหมายเหล่านี้ พวก เขาปรารถนาที่จะรักษาความสามารถในการผลิตเชื้อ เพลิงนิวเคลียร์ไว้เป็น สิทธิ์เฉพาะของตนเท่านั้น การ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 7


เคลือ่ นไหวลึกลับก�าลังเกิดขึน้ เพือ่ ทีจ่ ะผูกขาดการผลิต และการขายเชือ้ เพลิงนิวเคลียร์ไว้ในศูนย์กลางต่างๆ ใน ชื่อของนานาประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องการ จะสร้างให้มั่นคงและถาวรอยู่ในอุ้งเล็บของโลก ตะวัน ตกเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น สิ่ ง ที่ น ่ า ขบขั น ที่ ข มขื่ น ในยุ ค สมั ย ของเราก็ คื อ รัฐบาลอเมริกา ทีม่ อี าวุธนิวเคลียร์และอาวุธท�าลายล้าง สูงมากทีส่ ดุ และมีอนั ตรายร้ายแรงทีส่ ดุ และเป็นเพียงผู้ เดียวที่ใช้มันมาแล้ว แต่วันนี้กลับต้องการจะท�าหน้าที่ ถือธงคัดค้านต่อต้านการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์! พวกเขาและบรรดาภาคีตะวันตกของพวกเขาได้ติด อาวุธนิวเคลียร์ให้กับรัฐบาลไซออนิสต์ผู้ฉกชิง และ ท�าให้ภัยคุกคามที่ร้ายแรงเกิดขึ้นในภูมิภาคที่ส�าคัญนี้ แต่จอมลวงโลกกลุ่มนี้เองกลับไม่ยอมให้ประเทศที่มี ความเป็นอิสระใช้ประโยชน์ ในทางสันติจากพลังงาน นิ ว เคลี ย ร์ กระทั่ ง ว่ า แสดงความเป็ น ปรปั ก ษ์ อ ย่ า ง เต็มความสามารถเท่าที่มีอยู่ต่อการผลิต เชื้อเพลิง นิวเคลียร์ส�าหรับเภสัชรังสีและการใช้งานในทางสันติ เพื่อมนุษยธรรม ด้านอื่นๆ ข้ออ้างที่มดเท็จของพวกเขา คือความกลัวในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ในกรณีของ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านนั้น พวกเขารู้ดีว่า (ชาว อิหร่าน) จะไม่พูดโกหก แต่นั่นเป็นเกมการเมือง แม้จะ ไม่มีร่องรอยทางด้านจิตวิญญาณเลยแม้แต่น้อย พวก เขาก็ถือว่าอนุญาตให้โกหกได้ ผู้ที่ยังกล่าวอ้างถึงภัย คุกคามของนิวเคลียร์ในศตวรรษที่ 21 อยู่ และไม่มี ความรู้สึกละอายนั้น เขาจะละเว้นและละอายจากการ พูดเท็จกระนั้นหรือ! ข้าพเจ้า ขอย�้าว่า สาธารณรัฐอิสลามไม่คิดมุ่ง แสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ แต่ก็จะไม่หยุดยั้งจากสิทธิอัน ชอบธรรมของชาติของตนทีจ่ ะใช้ประโยชน์ในทาง สันติ จากพลังงานนิวเคลียร์ ค�าขวัญของเราคือ "พลังงาน นิ ว เคลี ย ร์ เ ป็ น สิ ท ธิ ข องทุ ก คน แต่ อ าวุ ธ นิ ว เคลี ย ร์ ไม่ใช่สิทธิของใครทั้งสิ้น" เราจะยืนหยัดบนค�าพูดทั้ง สองประโยคนี้ และเราถือว่าการท�าลายการผูกขาด

8 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ของตะวันตกเพียงไม่กี่ประเทศในการผลิตพลังงาน นิวเคลียร์ในกรอบของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธ นิวเคลียร์ (The Treaty of Non-Proliferation of Nuclear Weapons : NPT) จะต้องเป็นคุณประโยชน์ของทุก ประเทศที่เป็นเสรี และส่วนหนึ่งของมันคือกลุ่มสมาชิก ประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ประสบการณ์ 3 ทศวรรษ ของการยืนหยัดที่ ประสบความส�าเร็จในการเผชิญหน้ากับการข่มขู่และ การกดดันต่างๆ ในทุกด้านของอเมริกาและพันธมิตร ของมัน ท�าให้สาธารณรัฐอิสลามมีความเชื่อมั่นอย่าง แน่ น อนแล้ ว ว่ า การยื น หยั ด ต่ อ สู ้ ข องประชาชนชา ติหนึ่งๆ ที่มีความเป็นเอกภาพ และมีเจตนารมณ์ที่ มั่นคงนั้นสามารถที่จะเอาชนะเหนือความเป็นปรปักษ์ และความ อาฆาตมาดร้ายทั้งมวลได้ และมันจะเปิด เส้นทางอันน่าภาคภูมิใจไปสู่เป้าหมายต่างๆ ที่สูงส่ง ของตน ความก้าวหน้าในทุกๆ ด้านของประเทศของ เราในช่วงสองทศวรรษหลังนี้คือข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ต่อสายตา ของทุกคน และบรรดาผู้สังเกตการณ์อย่าง เป็นทางการของนานาชาติก็ยอมรับครั้งแล้วครั้ง เล่า ในเรื่องนี้ และสิ่งนี้ก็เกิดในสถานการณ์การคว�่าบาตร และการกดดันต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจ และการโหม กระหน�่าในการโฆษณาชวนเชื่อของบรรดาเครือข่ายที่ ขึ้นตรงกับอเมริกา และอิสราเอล การคว�่าบาตรต่าง ๆ ที่พวกคุยโวกล่าวว่าจะท�าให้เป็นง่อยมัน ไม่เพียงแต่ไม่ อาจท�าให้เราเป็นง่อยเพียงเท่านัน้ แต่กลับท�าให้ยา่ งก้าว


ของเราแข็งแกร่งขึน้ ท�าให้ความพยายามของเราแน่วแน่ มากยิง่ ขึน้ และความมัน่ ใจของเราต่อความถูกต้องของ การวิเคราะห์ต่างๆ ของตนเอง และต่อความสามารถ ที่รังสรรค์จากด้านในของประชาชนของเราเกิดความ มั่นคงมากยิ่งขึ้น เราได้เห็นถึงการช่วยเหลือของพระผู้ เป็นเจ้าในความท้าทายเหล่านี้บ่อยครั้ง มาก โอ้ แ ขกผู ้ มี เ กี ย รติ ! ข้ า พเจ้ า เห็ น ว่ า จ� า เป็ น ที่ ข้าพเจ้าจะต้องพูดปัญหาหนึง่ ทีส่ า� คัญมากในทีน่ ี้ แม้วา่ มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคของเรา แต่มิติต่างๆ ที่กว้างขวางของมันก้าวไกลมากไปกว่าภูมิภาคนี้ และ มันส่งผลกระทบต่อการเมืองต่างๆ ของโลกในตลอด ช่วงหลายทศวรรษนี้ และนั่นก็คือปัญหาที่น่าเจ็บปวด ของปาเลสไตน์ เนือ้ หาโดยสรุปของเรือ่ งนีก้ ค็ อื ประเทศ ที่เป็นเอกราชประเทศหนึ่งและมีเอกสารหลักฐานทาง ประวัตศิ าสตร์ที่ ชัดเจนในนาม "ปาเลสไตน์" แต่ดว้ ยการ สมรูร้ ว่ มคิดทีน่ า่ สะพรึงกลัวของตะวันตกโดยการน�าของ อังกฤษในทศวรรษที่ 40 ของศตวรรษที่ 20 ได้ท�าการ แย่งชิงโดยใช้กา� ลังอาวุธ การเข่นฆ่าและการหลอกลวง แล้วน�าไปมอบให้กบั ชนกลุม่ หนึง่ ซึง่ ส่วนใหญ่อพยพมา จากประเทศต่างๆ ในยุโรป การแย่งชิงครัง้ ใหญ่นเี้ ริม่ ต้น ขึ้นพร้อมกับการฆ่าสังหารหมู่ประชาชนที่ไม่สามารถ ปกป้องตนเองในเมืองและหมู่บ้านต่างๆ และขับไล่ ประชาชนออกจากบ้านเรือนของพวกเขาไปยังประเทศ

ทีม่ พี รมแดนติดกัน เป็นระยะเวลายาวนานมากกว่าหก ทศวรรษ อาชญากรรมต่าง ๆ ก็ยังด�าเนินไปเช่นนี้ และ ปัจจุบันก็ยังคงด�าเนินอยู่ นี่คือหนึ่งในปัญหาที่ส�าคัญ ที่สุดของสังคมมนุษยชาติ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ผูน้ า� ทางการเมืองและการ ทหารของรัฐบาลไซออนิสต์ผู้ฉกชิง ไม่เคยละเว้นจาก อาชญากรรมทุกรูปแบบ เริ่มจากการฆ่าประชาชน การ ท�าลายบ้านเรือนและไร่สวนของพวกเขา การจับกุมคุม ขัง การทรมานผู้ชายและผู้หญิงและแม้แต่เด็ก ๆ ของ พวกเขา รวมไปถึงการดูถูกและเหยียดหยามศักดิ์ศรี ของชนชาตินี้ ความพยายามในการท�าลายและการย่อย สลายมันในกระเพาะของผูบ้ ริโภคสิง่ ต้องห้าม (ฮะรอม) ของระบอบไซออนิสต์ และการโจมตียังค่ายพักต่าง ๆ ของพวกเขาในแผ่นดินปาเลสไตน์เองและในประเทศ เพื่อนบ้าน ที่ได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้พลัดถิ่นจ�านวนหลาย ล้านคน ชื่อต่างๆ อย่างเช่น "ซ็อบรอ" "ชะตีลา" "กานา" "เดรยาซีน" และอื่น ๆ ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของ ภูมิภาคของเรา พร้อมกับเลือดของประชาชนที่ถูกกดขี่ ของปาเลสไตน์ ขณะนี้แม้ว่าจะผ่านมาถึง 65 ปี อาชญากรรม เยี่ยงพฤติกรรมของสุนัขป่าที่ดุร้ายแห่งไซออนิสต์ก็ ยังคงด�าเนินอยู่ ที่กระท�าต่อผู้ที่ยังเหลืออยู่ในดินแดน ที่ถูกยึดครอง และพวกเขาก�าลังท�าให้ภูมิภาคเผชิญ กับวิกฤตใหม่ น้อยวันที่จะไม่มีการรายงานข่าวเกี่ยว กับการฆาตกรรม การท�าร้ายร่างกายและการจับกุม คุมขังบรรดาเยาวชนที่ยืนหยัดเพื่อปกป้องบ้านเกิด เมืองนอนและเกียรติศักดิ์ศรีของพวกเขา การประท้วง ต่อต้านการท�าลายไร่สวนและบ้านเรือนของพวกเขา รัฐบาลไซออนิสต์ผซู้ งึ่ เปิดฉากสงครามท�าลายล้าง การ เข่นฆ่าประชาชนและการยึดครองดินแดนต่างๆ ของ อาหรับ การจัดตั้งลัทธิการก่อการร้ายในระดับรัฐบาล ขึ้นในภูมิภาคและในโลก หลายทศวรรษแล้วที่พวก เขาท�าการลอบสังหาร ก่อสงครามและความชั่วร้ายขึ้น พวกเขาเรียกประชาชนปาเลสไตน์ที่ยืนหยัดขึ้นและ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 9


ท�าการต่อสู้เพื่อทวงคืนสิทธิอันชอบธรรมของตนเองว่า “ผู้ก่อการร้าย” เครือข่ายสื่อที่เป็นของลัทธิไซออนิสต์ และของตะวันตกและสมุนรับจ้างจ�านวนมาก ก็กล่าว ย�า้ การโกหกทีร่ า้ ยแรงนี้ โดยเหยียบย�า่ ความรับผิดชอบ และจริยธรรมทางด้านสือ่ ผูน้ า� ทางการเมืองทีก่ ล่าวอ้าง ถึงเรื่องของสิทธิมนุษยชนก็ปิดตาจากอาชญากรรม ทัง้ หมดเหล่านี้ และปกป้องรัฐบาลผูก้ อ่ ความเสียหายนี้ โดยปราศจากความละอายใดๆ และแสดงบทบาทออก มาในฐานะทนายความปกป้องมัน สิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งการจะกล่ า วก็ คื อ (แผ่ น ดิ น ) ปาเลสไตน์เป็นของชาวปาเลสไตน์ การยึดครองสืบ เนือ่ งต่อไปคือความอธรรมอันใหญ่หลวงทีไ่ ม่อาจอดทน ได้ และเป็นภัยคุกคามที่ส�าคัญต่อสันติภาพและความ มัน่ คงของโลก วิธกี ารทัง้ มวลทีต่ ะวันตกและวอชิงตันน�า เสนอและด�าเนินการส�าหรับ "การแก้ปญ ั หาปาเลสไตน์" นั้น เป็นวิธีการที่ผิดพลาดและไม่ประสบความส�าเร็จ และในอนาคตก็จะยังคงเป็นเช่นนี้ เราได้เสนอแนะแนว ทางแก้ไขอย่างยุติธรรมและเป็นประชาธิปไตยอย่าง แท้จริงไป แล้ว (นั่นก็คือ) ให้ชาวปาเลสไตน์ทั้งหมด ไม่ ว่าจะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในขณะนี้ หรือผู้ที่ถูกขับไล่ออก ไปอยู่ในประเทศอื่นๆ ที่ยังรักษาสถานะความเป็นชาว ปาเลสไตน์ของตนเองไว้ ทั้งที่เป็นมุสลิม คริสต์และยิว พวกเขาจงเข้าร่วมในการลงประชามติ โดยมีการก�ากับ ดูแลทีร่ อบคอบและเป็นทีม่ นั่ ใจได้ และให้พวกเขาเลือก โครงสร้างระบอบการเมืองของประเทศนีเ้ อง และให้ชาว ปาเลสไตน์ทั้งหมดที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการพลัด ถิ่นมาเป็นเวลาหลายปี จงกลับไปยังประเทศของตน และเข้าร่วมในการลงประชามตินี้ ต่อจากนั้น (จงเข้า ร่วมใน) การร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งแล้วเมื่อ นั้นสันติภาพจึงจะเกิดขึ้น ในที่นี้ข้าพเจ้าปรารถนาจะตักเตือนด้วยความ หวังดีต่อนักการเมืองชาวอเมริกัน ที่จนถึงขณะนี้ได้ ปรากฏตัวอยู่ในเวทีในฐานะผู้ปกป้องและผู้ให้การ สนับสนุน รัฐบาลไซออนิสต์มาโดยตลอดว่า จนถึง

10 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ขณะนี้ รั ฐ บาลนี้ ไ ด้ สร้ า งปั ญ หาความ เดือดร้อนมากมายแก่ พวกท่ า น ท� า ให้ พ วก ท่ า นกลายเป็ น ผู ้ ถู ก เกลี ย ดชั ง ท่ า มกลาง ประชาชนในภู มิ ภ าค และท� า ให้ พ วกท่ า น ถูกมองว่าเป็นผู้มีส่วน ร่ ว มในอาชญากรรม ต่าง ๆ ของไซออนิสต์ ผู้ยึดครอง ค่าใช้จ่าย ทางด้ า นวั ต ถุ แ ละจิ ต วิ ญ ญ า ณ ที่ ถู ก บี บ บังคับของรัฐบาลและประชาชน ชาวอเมริกาในช่วง ตลอดระยะเวลายาวนานหลายปีในแนวทางนี้นั้น เป็น สิ่งที่หนักหน่วงยิ่งนัก และเป็นไปได้ว่าในอนาคตหาก วิธีการเช่นนี้ยังคงด�าเนินอยู่ต่อไป จะท�าให้ค่าใช้จ่าย ของพวกท่านหนักหน่วงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจงหันมา พิจารณาใคร่ครวญถึงข้อเสนอแนะของสาธารณรัฐ อิสลามเกี่ยวกับการลงประชามติ และจงช่วยเหลือตัว เองให้ปลอดภัยจากปมปัญหาที่ไม่อาจเยียวยาแก้ไข ขณะนี้ ด้วยการตัดสินใจอย่างกล้าหาญ ไม่ต้องสงสัย เลยว่าประชาชนในภูมิภาคและเสรีชนทั้งมวลของโลก จะให้การยอมรับ ต่อการด�าเนินการเช่นนี้ โอ้ แขกผู้มีเกียรติ! ข้าพเจ้า ขอกลับมาสู่เนื้อหา ค�าพูดในช่วงเริม่ ต้น สถานการณ์ของโลกมีความเปราะ บาง และโลกก�าลังอยูใ่ นสภาพการเปลีย่ นแปลงจากหัว เลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์ที่ส�าคัญอย่างมาก คาด หวังว่าการจัดระเบียบใหม่ก�าลังจะเกิดขึ้น ทั้งหมดของ กลุม่ ประเทศไม่ฝกั ใฝ่ฝา่ ยใดโดยประมาณแล้วมีจา� นวน สองในสามของสมาชิกในหมู่ประชาคมโลก สามารถ ที่จะรับผิดชอบบทบาทส�าคัญในการก�าหนดอนาคต ได้ การจัดประชุมสุดยอดที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในกรุงเตหะราน


นี้ โดยตัวของมันเองก็เป็นปรากฏการณ์ที่เปี่ยมไปด้วย ความหมายที่จะน�ามาคิดค�านวณ เราซึ่งเป็นสมาชิก ของกลุ่มนี้ ด้วยกับโอกาสต่าง ๆ ของความร่วมมือกัน และศักยภาพที่กว้างของเรา เราสามารถที่จะเสริม สร้างบทบาทอันเป็นประวัติศาสตร์และยั่งยืนเพื่อปลด ปล่อย โลกให้พน้ จากความไม่สงบสุข สงครามและการ ครอบง�าได้ เป้าหมายดังกล่าวนี้จะเป็นจริงได้ด้วยกับความ ร่วมมืออย่างเต็มที่ในทุกด้านของพวกเราเพียงเท่านั้น ในหมู่พวกเรามีประเทศที่มีความมั่งคั่งเป็นอย่างมาก และมีประเทศทีม่ อี ทิ ธิพลในระหว่างประเทศอยูจ่ า� นวน ไม่น้อย การเยียวยาแก้ไขปัญหาต่างๆ จะเป็นจริง ได้อย่างสมบูรณ์นั้นต้องอาศัยความร่วมมือทางด้าน เศรษฐกิจ ด้านการสื่อและการถ่ายทอดประสบการณ์ ทีจ่ ะช่วยขับเคลือ่ นไปข้างหน้าและก่อให้เกิดการพัฒนา เราจะต้องท�าให้เจตนารมณ์ของเราเกิดความมั่นคง แข็งแกร่ง เราจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อเป้าหมายต่างๆ จะต้องไม่หวาดกลัวต่อความไม่พอใจของมหาอ�านาจที่ กดขี่ และอย่าหลงกลดีใจกับรอยยิม้ ของพวกเขา เราจง เชือ่ มัน่ ว่า พระประสงค์ของพระผูเ้ ป็นเจ้าและกฎเกณฑ์ ต่าง ๆ แห่งการสร้างนัน้ เป็นหลักประกันของเรา จงมองดู ด้วยการพิจารณาถึงบทเรียนแห่งความล้มเหลวอันเป็น ประสบการณ์จากค่ายคอมมิวนิสต์ในช่วงสองทศวรรษ ทีผ่ า่ นมา และความล้มเหลวของนโยบายต่างๆ ของค่าย

ที่เรียกว่าเสรีนิยมประชาธิปไตยของตะวันตกในขณะ นี้ พวกเขาก�าลังพบกับสัญญาณต่างๆ ของมันในท้อง ถนนของหมู่ประเทศในยุโรปและอเมริกาและปัญหา ต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ที่ไม่อาจ เยียวยาแก้ไขได้ และท้ายที่สุด การถูกโค่นล้มของจอมเผด็จการ ที่ขึ้นตรงกับอเมริกาและผู้ที่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ไซออนิสต์ในแอฟริกาเหนือ และการตื่นตัวของอิสลาม ในประเทศต่างๆ ของภูมิภาค ถือเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ เราสามารถที่จะคิดใคร่ครวญในการยกระดับ "การใช้ ประโยชน์ทางด้านการเมืองของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใด" ในการบริหารจัดการในระดับโลก เราสามารถ ทีจ่ ะจัดเตรียมเอกสารอันเป็นประวัตศิ าสตร์สา� หรับการ เปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการนี้ และการเตรียมความ พร้อมเครื่องมือในการด�าเนินการต่างๆ ของมัน เรา สามารถที่จะออกแบบการขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางของ ความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพทางด้านเศรษฐกิจและ ก�าหนดแบบอย่างต่างๆ ของความสัมพันธ์ทางด้าน วัฒนธรรมในระหว่างพวกเรากันเอง ไม่ต้องสงสัยเลย ว่าการจัดตั้งกองเลขาธิการที่มีความกระตือรือร้นและ เปีย่ มไป ด้วยแรงบันดาลใจในการท�างาน ส�าหรับองค์กร นีส้ ามารถมีสว่ นช่วยทีส่ า� คัญและมีประสิทธิภาพยิง่ ทีจ่ ะ น�าไปสู่ความส�าเร็จในวัตถุประสงค์เหล่านี้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 11


แปลโดย

เชคมุอัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ค�ำแถลงกำ แถลงกำรณ์เตหะรำ ตหะรำน

กำรประขุมสุดยอด

กลุ่มประเทศ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ำยใด ครั้งที่ 16

ราบรรดาผู้น�าประเทศสมาชิกกลุ่มไม่ฝักฝ่าย ใดได้ ม ารวมตั ว กั น ในการประชุ ม สุ ด ยอด ครั้งที่ 16 ของตนที่จัดขึ้นในวันที่ 9 และ 10 เดือนชะฮ์ รีวัร ปี 1391 ในกรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่าน และเราได้มาทบทวนสภาวะเงื่อนไขต่างๆ ใน ระหว่ างประเทศโดยมีเป้า หมายที่จ ะมีส ่ว นช่ว ยกั น อย่างมีประสิทธิภาพในการแก่ไขปัญหาต่างๆ ที่ส�าคัญ ซึ่งเป็นสาเหตุที่มาของความกังวลของประเทศสมาชิก ของกลุ่มทั้งหมดและของมนุษยชาติทั้งมวล และโดย อาศัยแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์ หลักการและเป้า หมายต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศไม่ฝักฝ่ายใดซึ่งได้ถูก เน้นย�้าในการประชุมต่างๆ ของเมืองบันดุง (ในปี ค.ศ. 1955) และเมืองเบลเกรด (ในปี ค.ศ. 1961) และพื้น ฐานความพยายามต่าง ๆ ของเรา คือเพื่อให้บรรลุซึ่ง โลกที่มีสันติภาพ มีความเสมอภาค ความร่วมมือและ

12 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ความกินดีอยู่ดีส�าหรับชาติทั้งหลาย และเช่นเดียวกัน นี้ ด้วยกับการยึดถือเอาประสบการณ์ของกลุ่มในอดีต ที่ผ่านมาและศักยภาพของกลุ่มที่มีอยู่ในขณะนี้ พร้อม กับการตอกย�้าอีกครั้งหนึ่งถึงกรณีที่ว่า กลุ่ม หลักการ และเป้าหมายต่างๆ ของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเงื่อนไขต่าง ๆ ระหว่างประเทศในขณะนี้ยังคงเป็น ที่ได้รับการยอมรับเช่นเดิม โดยการอาศัยความส�าเร็จ ต่าง ๆ ในอดีตของกลุ่มในการต่อสู้กับจักรวรรดินิยม ลัทธิล่าอาณานิคม การล่าอาณานิคมยุคใหม่ การ เหยียดชนชาติ การเหยียดผิว การใช้อ�านาจบาตรใหญ่ และทุกรูปแบบของการแทรกแซงจากต่างประเทศ การ รุกราน การยึดครอง การครอบง�า และการเน้นย�้าถึง ความจ�าเป็นในการอยู่เคียงข้างกันเพื่อการผนึกก�าลัง กันและการเผชิญหน้าต่างๆ ซึ่งยังคงเป็นแกนหลักของ ของนโยบายต่างๆ ของกลุ่ม พร้อมกับการทบทวนข้อ


ตกลงใหม่อีกครั้งตามหลักการและเป้าหมายต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศไม่ฝักฝ่ายใด และเช่นเดียวกันนี้การ ให้ค�ามั่นสัญญาต่อความพยายามเพื่อที่จะมีส่วนช่วย เหลืออย่างสร้างสรรค์ส�าหรับการยกร่างใหม่ในความ สัมพันธ์ ระหว่างประเทศที่วางพื้นฐานอยู่บนหลักการ ต่างๆ อย่างเช่น การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ความ ร่วมมือกันอย่างยุติธรรมในระหว่างชาติทั้งหลาย สิทธิ ที่มีความเสมอภาคของประเทศทั้งหลาย พร้อมกับการ เน้นย�้าถึงหลักการที่ครอบคลุมถึงอ�านาจอธิปไตยของ ชาติทั้งหลาย ความเท่าเทียมกันของรัฐบาลทั้งหลาย บูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศทั้งหลายและการ ไม่แทรกแซงในกิจการของประเทศเหล่านั้น โดยอาศัย การน�าเอามาตรการที่จ�าเป็นมาใช้เพื่อป้องกันจากการ ด�าเนินการที่เป็นการล่วงละเมิดและการยับยั้งจากการ ด�าเนินการเหล่านี้ หรือประเภทอื่นๆ ของการละเมิด สันติภาพ การส่งเสริมและการสนับสนุนสมาชิกทัง้ หมด ในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศ ด้วยวิธกี ารทีส่ นั ติ หรือด้วยวิธกี ารอย่างใดอย่างหนึง่ ทีจ่ ะไม่ทา� ให้สนั ติภาพ และความสงบสุขของนานาชาติและความยุติธรรม ตกอยู่ในอันตราย พร้อมกับการยับยั้งตนจากการข่มขู่ คุกคราม และหรือการใช้ก�าลังบังคับเหนือบูรณภาพ เหนือดินแดน หรืออิสรภาพทางด้านการเมืองของทุก ประเทศ ด้วยกับทุกวิธีการที่ขัดแย้งกับเป้าหมายและ หลักการต่าง ๆ ของกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ ด้วยกับการพิจารณาถึงประเด็นต่างๆ ข้างต้น เราขอ ประกาศว่า : 1 – การสร้างระบบที่มีความยุติธรรม มีความ ครอบคลุม โปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการร่วมกันทั่วโลก บนพื้นฐานของความยุติธรรม ความเที่ยงธรรมและการมีส่วนร่วมของทุกชาติ ที่จะ เผชิญหน้ากับความท้าทายและความเสี่ยงต่าง ๆ ใน ขณะนี้ ซึ่งเกิดจากภัยคุกคามทางด้านความมั่นคง ภัย อันตรายทางด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศ การโยกย้ายถิ่นฐาน โรคติดต่อ การ

ด�าเนินการทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศและอื่น ๆ ถือเป็นสิ่งจ�าเป็น เพื่อที่จะท�าให้เกิดระบอบเช่นนี้ บรรดาสมาชิกของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดจ�าเป็น จะต้องประสานท่าทีตา่ งๆ ของตนให้สอดคล้องกันและ ระดมก�าลังต่าง ๆ ของตนเอง และจะต้องย่างก้าวไปใน ทิศทางที่จะสนองตอบผลประโยชน์ของกลุ่มประเทศที่ ก�าลังพัฒนา เกี่ยวกับเรื่องนี้สิ่งจ�าเป็นต่างๆ ในอันดับ แรกนัน้ จ�าเป็นจะต้องพิจารณาดูในรายละเอียดต่อไปนี้ : ก – พื้นที่ของการบริหารจัดการร่วมกันของโลก นั้ น มี ข อบข่ า ยที่ ก ว้ า งอย่ า งมากและนอกเหนื อ จาก ประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนาแล้ว ยังรวมถึงปัญหา และประเด็นอื่นๆ อีกมากมายที่ควรให้ความสนใจและ น่าวิตกกังวลของประเทศต่างๆ โลกก�าลังเผชิญหน้า กับความท้าทายทางด้านความมั่นคง ด้านสังคม ด้าน สิ่งแวดล้อมในการด�าเนินชีวิต ด้านอนามัย ปัญหาผู้ลี้ ภัย ยาเสพติด การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ การโจมตี ทางโลกไซเบอร์และการก่อการร้าย การรักษาสันติภาพ และความมัน่ คงระหว่างประเทศยังคงเป็นวาระเร่งด่วน ในหลายๆ ประเทศ โครงสร้างปัจจุบันของการตัดสินใจ ระหว่างประเทศในด้านที่เกี่ยวกับสันติภาพและความ มั่นคงนั้นไร้ประสิทธิภาพ และแสดงการต้านทานจาก ตนเองมากยิ่งขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลง ข – องค์การสหประชาชาติควรในฐานะที่เป็น หน่ ว ยงานสากลจ� า เป็ น จะต้ อ งรั บ ผิ ด ชอบบทบาท ส�าคัญในการสร้างกรอบเชิงกฎหมายและพื้นฐานใน การบริหารจัดการระดับโลก ด้วยเหตุนี้องค์กรเหล่า นี้ องค์ ก ารนี้ มี ค วามสามารถและควรจะมี บ ทบาท ส� า คั ญ ในความพยายามที่ จ ะหาทางแก้ ไ ขร่ ว มกั น ส�าหรับปัญหาที่มีส่วนร่วมกัน อย่างเช่น การประสาน งานระหว่างองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมดในระดับ ภูมิภาคและในระดับสากลอื่นๆ เนื่องจากว่าองค์การ สหประชาชาติตั้งอยู่ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการก�ากับ ดูแลทัว่ โลก การเสริมสร้างความเข้มแข็งและการปฏิรปู มันจ�าเป็นจะต้องอยูใ่ นศูนย์กลางของความสนใจ เพือ่ ที่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 13


จะบรรลุสู่เป้าหมายเช่นนี้ การฟื้นฟูและการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กับบทบาทของสมัชชาสหประชาชาติ อย่างเช่น ในเรื่องของการรักษาสันติภาพและความ มั่นคงระหว่างประเทศ การปรับปรุงแก้ไขโครงสร้าง สภาความมั่นคงด้วยกับเป้าหมายที่ว่า ทั้งสองหน่วย งานนี้ คือตัวสะท้อนถึงข้อเท็จจริงของโลกปัจจุบัน จึง นับว่ามีความจ�าเป็น ค –ความส�าคัญและสถานะที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม ประเทศที่ก�าลังพัฒนาในแง่ของเศรษฐกิจนั้นจ�าเป็น จะต้องได้รับการสะท้อนออกมาให้เห็นในโครงสร้าง ต่าง ๆ ของการบริหารจัดการของบรรดาองค์กรระหว่าง ประเทศที่ส�าคัญ การตัดสินใจที่ส�าคัญที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็นของการบริหารจัดการโลกนั้นไม่สามารถที่จะ ผูกขาดโดยกลุ่มเล็กๆ ของบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้อกี ต่อไป เมือ่ พิจารณาถึงกรณีทวี่ า่ การวางนโยบายที่ จะถูกกระท�าเกีย่ วกับประเด็นต่างๆ จ�านวนมากซึง่ จะมี ผลกระทบต่อบรรดาประเทศทัง้ หมดนัน้ จ�าเป็นทีบ่ รรดา ประเทศที่ก�าลังพัฒนาจะต้องเข้าร่วมและมีบทบาทที่ มากขึน้ ในหน่วยงานต่าง ๆ ทีส่ า� คัญทีท่ า� หน้าทีป่ ระสาน ความร่วมมือทางด้านนโยบายในระดับนานาประเทศ ง- วิกฤติการณ์ต่าง ๆ ในช่วงหลายปีมานี้ มันได้ เปิดเผยให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพและความล้ม เหลวขององค์กรต่างๆ ทางด้านการเงินและเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศที่มีผลกระทบในทางเลวร้ายต่อความ สามารถของตนที่จะจัดการกับวิกฤติการณ์ และการ ขับเคลื่อนไปในทิศทางที่จะสร้างความความร่วมมือที่ จ�าเป็นในระดับมหภาค จากกรณีทวี่ า่ หน่วยงานเหล่านี้ ได้ถกู จัดตัง้ ขึน้ ในช่วงยุคหลังจากสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง แต่กย็ งั ไม่สามารถเยียวยาแก้ไขความท้าทายต่างๆ ของ โลกขณะนี้ได้ และสิ่งนี้มีผลกระทบที่เลวร้ายต่อบรรดา ประเทศที่ก�าลังพัฒนา จ – ประชาคมระหว่างประเทศแต่ละประเทศ นั้นมีค่านิยมและความคิดเห็นต่างๆ อันเป็นเฉพาะ ของตัวเอง การด�าเนินชีวิตที่สงบสันติและประกอบไป

14 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ด้วยความร่วมมือนั้นจะเป็นจริงขึ้นได้ในกรณีที่ ความ หลากหลายในประชาคมระหว่างประเทศ ได้ถกู ยอมรับ อย่างเป็นทางการและได้รบั การเคารพ ด้วยเหตุนี้ ความ พยายามทีจ่ ะก�าหนดบังคับค่านิยมต่าง ๆ เหนือสมาชิก อื่น ๆ ของประชาคมระหว่างประเทศนั้น จ�าเป็นจะต้อง หลีกเลี่ยง 2 – การยึ ด ครองดิ น แดนปาเลสไตน์ แ ละ อาชญากรรมที่ด�าเนินอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลไซออ นิสต์บนดินแดนที่ถูกยึดครองนั้น ยังคงเป็นสาเหตุหลัก ของสถานการณ์ทเี่ ป็นวิกฤติในตะวันออกกลางอยูเ่ สมอ มา วิธีการใดๆ ก็ตามส�าหรับการแก้ไขวิกฤติดังกล่าวนี้ จ�าเป็นจะต้องน�าไปสู่การยุติการยึดครอง การมอบคืน สิทธิอันชอบธรรมของประชาชนชาวปาเลสไตน์โดย เฉพาะสิทธิการก�าหนดชะตากรรมของพวกเขาเอง และ สร้างประเทศทีม่ นั่ คงยัง่ ยืนและเป็นอิสระในปาเลสไตน์ โดยมีอัลกุดส์อันศักดิ์สิทธิ์ (เยรูซาเล็ม) เป็นเมืองหลวง การมอบคืนสิทธิแห่งชาติของประชาชนชาวปาเลสไตน์ เป็นเพียงวิธเี ดียวเท่านัน้ ทีจ่ ะก่อให้เกิดสันติภาพทีย่ งั่ ยืน และเป็นธรรมขึ้นในภูมิภาค 3 – การเหยียดผิวและการเหยียดเชื้อชาตินั้น คือการดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างชัดเจนต่อเกียรติศักดิ์ ศรีและความเท่าเทียมกันของมวลมนุษย์ รูปแบบใหม่ ๆ ของการเหยียดเชื้อชาติและอาชญากรรมที่เกี่ยวข้อง กับมัน ที่ก�าลังเกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลกได้ก่อให้ เกิดความวิตกกังวลอย่างมาก ด้วยเหตุนเี้ อง จึงมีความ จ�าเป็นที่จะต้องด�าเนินการด้วยกับการตัดสินใจที่เด็ด ขาดและการมีเจตนารมณ์ที่มั่นคงทางด้านการเมือง ในการจัดการกับทุกรูปแบบและทุกสัญลักษณ์ของการ เหยียดเชื้อชาติ การเหยียดผิว การสร้างความเกลียด กลัวต่อต่างชาติ การสร้างความเกลียดกลัวต่ออิสลาม และอืน่ ๆ รวมทัง้ การความเป็นทาสในรูปแบบใหม่ๆ และ การค้ามนุษย์ในทุกที่ที่ก�าลังเกิดขึ้น 4 – ทุกประเภทของสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งเชื่อม โยงกันโดยไม่อาจแยกออกจากกันได้ ปัญหาที่เกี่ยว


กับสิทธิมนุษยชนจ�าเป็นจะต้องพิจารณาบนพื้นฐาน ความร่วมมือและวิธีการที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่การเผชิญ หน้า ไม่เลือกปฏิบัติ มีความยุติธรรม มีความเป็นกลาง ไม่เลือกฝ่าย มีความสมดุล ปฏิบัติให้เป็นจริง และห่าง ไกลจากการค�านึงในเรื่องของการเมือง การเคารพต่อ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม อธิปไตยแห่งชาติ และบูรณภาพเหนือดินแดน การไม่แทรกแซงในกิจการ ภายในของประเทศอืน่ ๆ พร้อมกับการพิจารณาลักษณะ เฉพาะทางด้านวัฒนธรรม ศาสนา สังคม ประวัตศิ าสตร์ และการเมืองของแต่ละประเทศนัน้ ถือเป็นอีกหนึง่ หลัก การซึ่งจ�าเป็นจะต้องเป็นพื้นฐานในการด�าเนินการใน ประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แต่ละประเทศควรจะ ขึน้ อยูก่ บั ประเด็นสิทธิมนุษยชน การให้ความสนใจเป็น พิเศษต่อสิทธิและความสามารถของบรรดาสตรีและ เยาวชน และการมีสว่ นร่วมของพวกเขาในกระบวนการ ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมคือสิง่ ทีม่ คี วามจ�าเป็น 5 – อาวุธนิวเคลียร์ คืออาวุธทีไ่ ร้มนุษยธรรมมาก ที่สุดที่ได้ถูกผลิตขึ้นมาจนถึงขณะนี้ การบ�ารุงรักษา ศักยภาพทางด้านเทคนิคและกลยุทธ์ของนิวเคลียร์และ ความทันสมัยอย่างต่อเนื่องของมัน และหลักการใหม่ ทางด้านการทหารซึ่งเป็นการอธิบายเหตุผลเกี่ยวกับ การใช้ของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการต่อต้าน กลุ่มประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์นั้น คือการคุกคามที่ ใหญ่หลวงที่สุดต่อมนุษยชาติ สนธิสัญญาว่าด้วยการ ห้ามแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์นั้นจะไม่ก่อให้เกิด

สิทธิอย่างหนึง่ ส�าหรับบรรดาประเทศทีม่ อี าวุธนิวเคลียร์ เพือ่ การรักษาคลังสรรพาวุธของตนเองอย่างไร้ขอบเขต จ�ากัด บรรดาประเทศดังกล่าวจ�าเป็นจะต้องปฏิบตั ติ าม ค�ามั่นสัญญาของตนเองในกรอบของมาตราที่ 6 ของ สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามแพร่กระจาย ส�าหรับการ ท�าลายอาวุธนิวเคลียร์ทงั้ หมดของตนในกรอบของเวลา ที่กา� หนดอย่างชัดเจน และในเรื่องนี้ การร่างอนุสัญญา ทีค่ รอบคลุมเกีย่ วกับการก�าจัดอาวุธนิวเคลียร์นนั้ ถือว่า มีความจ�าเป็น 6 – ทุ ก ประเทศควรจะต้ อ งสามารถได้ รั บ ประโยชน์จากสิทธิ์อันชอบธรรมและไม่อาจปฏิเสธได้ ของตนที่จะพัฒนา ผลิตและการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เพื่อเป้าหมายในทางสันติโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติและ สอดคล้องกับข้อบังคับทางกฎหมาย ดังนั้นจะต้องไม่ ตี ค วามสิ่ ง ใดในลั ก ษณะที่ จ ะท� า การยั บ ยั้ ง สิ ท ธิ ข อง ประเทศต่าง ๆ ส�าหรับการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพือ่ เป้าหมายในทางสันติห้าม หรือเป็นการจ�ากัดขอบเขต การตัดสินใจและการเลือกของประเทศทั้งหลาย อย่าง เช่น สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านในกรณีเกีย่ วกับการ ใช้ประโยชน์ในทางสันติจากเทคโนโลยีนิวเคลียร์และ โรงงานต่าง ๆ ของประเทศเหล่านั้นในกระบวนการของ เชื้อเพลิง จ�าเป็นจะต้องได้รับการเคารพ 7- การคุ้มครองกิจกรรมทางด้านนิวเคลียร์เพื่อ เป้าหมายในทางสันตินั้นจะต้องได้รับการเคารพ และ ทุกประเภทของการโจมตี และหรือการข่มขู่ว่าจะโจมตี โรงงานนิวเคลียร์เพื่อสันติที่ก�าลังปฏิบัติการ หรืออยู่ใน ระหว่างการสร้างนัน้ ถือว่าอยูใ่ นฐานะภัยคุกคามทีร่ า้ ย แรงต่อมวลมนุษย์และต่อสภาพแวดล้อมในการด�าเนิน ชีวิตและเป็นการละเมิดที่ร้ายแรงต่อกฎหมายระหว่าง ประเทศ ต่อหลักการและวัตถุประสงค์ของกฎบัตรของ สหประชาชาติและข้อบังคับของส�านักงานพลังงาน ปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ดังนั้นการร่างเอกสาร ทีค่ รอบคลุมและเป็นสากลทีจ่ ะยับยัง้ การโจมตีและหรือ การข่มขู่ว่าจะโจมตีโรงงานนิวเคลียร์ที่ใช้ส�าหรับการ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 15


ผลิตพลังงานนั้น จึงเป็นสิ่งจ�าเป็นอย่างเร่งด่วน 8 – บรรดาประเทศสมาชิกของกลุ่มประเทศไม่ ฝักฝ่ายใด ได้ตกลงกันว่าจะยับยัง้ ตนจากการพิจารณา การการอนุมัติ หรือด�าเนินการต่าง ๆ หรือกฎหมายต่าง ๆ ที่บีบบังคับเพียงฝ่ายเดียวหรือครอบคลุมทุกด้าน อัน ประกอบด้วยมาตรการคว�่าบาตรทางเศรษฐกิจเพียง ฝ่ายเดียว และมาตรการอืน่ ๆ ทีเ่ ป็นการข่มขูต่ อ่ ประเทศ ทั้งหลาย และการด�าเนินการอันเป็นการจ�ากัดต่างๆ โดยพลการต่อการเดินทางของบุคคลต่าง ๆ โดยที่เป้า หมายของพวกเขาคือการกดดันบรรดาประเทศสมาชิก ของกลุม่ ผูไ้ ม่ฝกั ฝ่ายใด โดยหนทางของการข่มขูค่ กุ คาม ต่ออ�านาจอธิปไตย ความมีอสิ ระและเสรีภาพในการค้า และการลงทุน บรรดาประเทศสมาชิกของกลุ่มยังได้ตกลงกัน อีกว่า จะเป็นผู้ขัดขวางการคุกคามสิทธิของประเทศ ทั้งหลายที่จะตัดสินใจบนพื้นฐานเจตจ�านงเสรีของตน และในขอบข่ายของระบบทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของตน ทั้งนี้เนื่องจากว่า การด�าเนินการเช่น นี้ และหรือกฎเกณฑ์ในลักษณะเช่นนี้ เท่ากับเป็นการ ละเมิดอย่างชัดแจ้งต่อกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมาย ระหว่างประเทศ ระบบการค้าพหุภาคีและบรรทัดฐาน และหลักการที่ปกคลุมอยู่เหนือความสัมพันธ์ฉันมิตร ระหว่างประเทศทั้งหลาย ในทิศทางดังกล่าวนี้เอง ที่ ประเทศทั้งหลายได้ตกลงกันที่จะต่อต้านการด�าเนิน การ กฎเกณฑ์ และแนวทางการปฏิบัติเช่นนี้ของพวก เขา และจะประณามพวกเขา และจะหาทางท�าลาย ความพยายามเช่นนี้อย่างจริงจัง เช่นเดียวกับสมัชชา และหน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติ สมาชิกของ กลุ่มประเทศไม่ฝักฝ่ายใดก็จะของเรียกร้องให้ประเทศ ทั้งหลายปฏิบัติไปในทิศทางนี้ บรรดาสมาชิกของกลุ่ม ประเทศไม่ฝักฝ่ายใดยังเรียกร้องอีกเช่นกันว่า บรรดา ประเทศที่ต้องการจะยึดถือการด�าเนินการเช่นนี้หรือ จะก�าหนดกฎเกณฑ์เช่นนี้ ให้พวกเขายกเลิกการด�าเนิน การดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ในทันที

16 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

9 – การปฏิบัติการในการก่อการร้ายทั้งหมด อย่ า งเช่ น การก่ อ การร้ า ยระดั บ รั ฐ บาล จ� า เป็ น จะ ถูกประณามโดยไม่ต้องสงสัย เกี่ยวกับกรณีของการ คุกคามของลัทธิการก่อการร้ายที่ส่งผลกระทบในทาง ลบต่อสันติภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพและ การพัฒนาของบรรดาประเทศสมาชิกจ�านวนมากของ กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดนั้น บรรดารัฐบาลทั้งมวล จะต้องยืนหยัดมั่นคงในค�าขู่เตือนที่เป็นสากลของตน และจะต้องพยายามในทิศทางที่จะท�าให้บรรลุสู่โลก ที่ปราศจากลัทธิการก่อการร้าย เหยื่อของการก่อการ ร้ายทั้งหมด อย่างเช่น บรรดานักวิทยาศาสตร์และนัก วิจยั ชาวอิหร่านทีต่ กเป็นเหยือ่ ของปฏิบตั กิ ารการก่อการ ร้ายต่อต้านมนุษยชาตินนั้ สมควรจะได้รบั ความเห็นอก เห็นใจที่สุดซึ่งที่สุด 10 – เป็นสิ่งจ�าเป็นที่จะต้องคัดค้านต่อต้าน ความพยายามต่าง ๆ ที่จะโน้มน�าไปสู่การก�าหนด บังคับวัฒนธรรมเดียวหรือการก�าหนดบังคับรูปแบบ เฉพาะ ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย หรือวัฒนธรรม และสนทนาระหว่างศาสนา วัฒนธรรม และอารยธรรมต่าง ๆ ทีส่ ามารถช่วยส่งเสริมในการสร้าง สันติภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพและความ ก้าวหน้า ความเคารพต่อแนวคิดความหลากหลายบน พื้นฐานของความยุติธรรมความเป็นพี่เป็นน้องและ ความเสมอภาคและการลดความขัดแย้งนั้น จะต้องได้ รับการพัฒนายกระดับให้ดีขึ้น 11 – กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดจ�าเป็นจะต้อง น�าเอาปัจจัยที่เป็นไปได้ทั้งหมดของตนและของบรรดา สมาชิกไปใช้ส�าหรับการด�าเนินการตามการตัดสินใจ ต่าง ๆ และตามเจตนารมณ์ของบรรดาผู้น�าประเทศ สมาชิกซึ่งจะถูกสะท้อนให้เห็นในเอกสารต่าง ๆ ของ กลุ่ม บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ กลุ่มประเทศไม่ฝักฝ่ายใด จ�าเป็นจะต้องพยายามทีจ่ ะสร้างกลไกทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ส�าหรับการติดตามเป้าหมายต่าง ๆ และการด�าเนินการ ตามบทบัญญัติของตน


แปลโดย

เชคกวี ฮัยดัร

บทบัญญัติ

รัศมี

แห่งทางน�า ค�ำวินิจฉัยของวะลียุลอัมริลมุสลิมีน หัซรัตอำยะตุลลอฮ์อัลอุซมำ ซัยยิดอะลี คอมำเนอีย์

รวบรวมค�ำวินิจฉัยโดย ฮุจญะตุลอิสลำมเชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต

บทที่ 1 การตักลีด ‫بـــــــــــسم‌اهلل‌الرحمن‌الرحيم‬ ‫ون‬ َ ‫اس َألُوا‌أَ ْه َل‌ال ِّذ ْكرِ‌إِن‌ ُكنتُ ْم َ‌ل‌تَ ْع َل ُم‬ ْ َ‫‌ف‬ (ดังนั้น ถ้าเจ้าไม่รู้ จงถามจากผู้รู้) (บทที่ 21 (อัล อัมบิยาอ์) โองการที่ 7) ท่านอิมามฮาซัน อัลอัสการี (อ.) กล่าวว่า : “บรรดาฟะกีฮ์ ผู้ซึ่งปกป้องแนวทางศาสนาของ พวกเขา โดยพวกเขาไม่ใช้อารมณ์ฝา่ ยต�า่ เป็นทีต่ งั้ และ ปฏิบัติตามผู้ปกครองของพวกเขาอย่างเคร่งครัด ดัง นั้นจงเชื่อฟังปฏิบัติตามฟะกีฮ์ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ แต่ คุณสมบัตินี้จะมีอยู่กับบรรดาฟะกีฮ์ที่เป็นชีอะฮ์เท่านั้น

ไม่รวมถึงกลุ่มอื่น” 1. ความจ�าเป็นของการตักลีด เพราะเหตุใดเราจะต้องตักลีดกับมัรญิอ์ ตอบ จากกฎและเหตุผลทางสติปัญญา ที่บ่ง บอกว่า ผูท้ ไี่ ม่เชีย่ วชาญช�านาญการ จะต้องปฏิบตั ติ าม ผู้เชี่ยวชาญช�านาญการที่เหนือกว่า 2. แนวทางที่จะท�าให้รู้จักว่า ผู้ใดเหนือกว่าใครในด้าน การวินิจฉัย (ปัญหาศาสนบัญญัติ) มีบุคคลสองคน ที่มีความเป็นธรรม มีสติสัมป ชัญญะครบถ้วน ซึ่งข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นในตัวของ เขา ได้แนะน�าให้ข้าพเจ้ารู้จักความถูกต้อง ในกรณีทบี่ คุ คลผูน้ นั้ มีความรูด้ า้ นวินจิ ฉัยทีเ่ หนือ กว่า ซึง่ สามารถทีจ่ ะตักลีดตามเขาได้ ขอเรียนถามว่าใน กรณีนกี้ ารปฏิบตั กิ ารตักลีด การตัดลีดจะถูกต้องหรือไม่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 17


ตอบ ถ้าผูท้ สี่ ง่ ข่าวหรือแนะน�าเป็นผูม้ คี วามเป็น ธรรม ถือว่าไม่เป็นไรในเรื่องตักลีด 3. การเลือกมัรญิอ์ตักลีดด้วยการชี้แนะ ของผู้มีความเป็นธรรมคนเดียว หลายปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าตักลีดกับมัรญิอ์ท่าน หนึ่ง ตามค�าชี้แนะของบุคคลที่มีความเป็นธรรมคน หนึ่ง แต่ต่อมาทราบว่า บุคคลที่มีความเป็นธรรมที่ สามารถจะชี้แนะมุจญ์ตะฮิดได้ จะต้องมีจ�านวนถึง สองคน ดังนั้นขอเรียนถามว่า หน้าที่ของข้าพเจ้าจะ ต้องปฏิบัติอย่างไร และการปฏิบัติตามบัญญัตินั้นจะ ต้องท�าอย่างไร ตอบ ถ้าท่านตักลีดกับมุจญ์ตะฮิด ซึ่งมีบุคคล สองคนเป็นผูช้ แี้ นะให้รจู้ กั มุจญ์ตะฮิด และท่านก็ปฏิบตั ิ ตามวินิจฉัยของผู้ที่ชี้แนะ ซึ่งถ้าค�าวินิจฉัยจากเขาตรง กับมุจญ์ตะฮิดที่แนะน�าให้ท่านตักลีด ก็ถือว่าถูกต้อง และถ้าค�าวินิจฉัยของเขา ตรงกันข้ามกับวินิจฉัยของ มัรญิฮท์ เี่ ขาแนะน�าให้ทา่ นตักลีด จ�าเป็นอย่างยิง่ ทีท่ า่ น จะต้องก่อฎอ (ชดใช้) คือปฏิบัติใหม่อีกครั้งหนึ่งให้ตรง กับค�าวินิจฉัยของมัรญิอ์

18 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

4. การเปลี่ยนมัรญิอ์ตักลีด ข้าพเจ้าอยากทราบว่า ถ้าบุคคลผูห้ นึง่ ต้องการที่ จะเปลีย่ นมัรญิอต์ กั ลีด ด้วยเหตุผลบางประการ จ�าเป็น หรือไม่ที่จะต้องขออนุญาตมัรญิอ์เดิม ที่ตนตักลีดอยู่ ทุกคนที่ตักลีดกับมัรญิอ์ที่ตนเองตักลีดอยู่ ใน การเปลีย่ นการตักลีด หรือเปลีย่ นการปฏิบตั ตามในบาง มาตราจากมัรญิอท์ ตี่ นเองตักลีดอยู่ จ�าเป็นทีเ่ ขาจะต้อง ขอทรรศนะอนุญาตจากมัรญิอ์เดิมที่เขาตักลีดอยู่ก่อน 5. เงื่อนไขในการย้อนกลับไปยังมัรญิอ์ ท่านอื่นในบัญญัติที่เฉพาะ ในกรณีทผี่ ตู้ กั ลีดถามค�าถามยังมัรญิอต์ กั ลีด แต่ มัรญิอ์ไม่ได้ตอบค�าถามแก่เขา และเขาเองก็ได้รับค�า ตอบจากมัรญิอ์ท่านอื่นๆ ที่ค�าตอบนั้นแตกต่างกัน ใน กรณีนี้ เขาสามารถที่จะเลือกปฏิบัติตามทรรศนะสติ ปัญญาของเขาได้หรือไม่ ตอบ ดังค�าถามทีถ่ ามมาข้างต้นนี้ ยังไม่สามารถ ที่จะปฏิบัติตามทรรศนะสติปัญญาของตนเองได้ และ จ� า เป็ น ต้ อ งระมั ด ระวั ง ในการปฏิ บั ติ และหากการ ระมัดระวังแล้วยังมีข้อสงสัย ดังนั้นจะต้องย้อนกลับไป หาค�าวินจิ ฉัยของมัรญิอท์ ใี่ ห้คา� วินจิ ฉัยไว้ และพิจารณา ว่ามัรญิฮ์ท่านที่สูงกว่า ให้ปฏิบัติตามค�าวินิจฉัยของ มัรญิอ์ท่านนั้น 6. การเริ่มต้นตักลีดกับมัรญิอ์ท่านแรก จากนั้นก็ย้อนกลับไปยังมัรญิอ์ท่านที่สอง มัรญิอ์ตักลีดของข้าพเจ้า ให้วินิจฉัยเกี่ยวกับ การนมาซของนักศึกษาว่า เป็นนมาซเดินทางและการ ถือศีลอดถูกยกเลิกในขณะเดินทาง ในกรณีข้าพเจ้า ย้อนไปปฏิบัติตามมัรญิอ์ท่านอื่น ทั้งที่ข้าพเจ้าทราบ ดีว่าผิด และมีบาป ด้วยเหตุที่ว่าข้าพเจ้าจะเดินทาง ไปกลับอยู่เป็นประจ�า และการถือศีลอดเป็นการสร้าง ความล�าบากให้แก่ข้าพเจ้า ดังนั้น ข้าพเจ้าสามารถที่ จะย้อนกลับไปปฏิบัติตามวินิจฉัยของมัรญิอ์ท่านแรก ได้หรือไม่ โดยที่ข้าพเจ้าจะได้นมาซเป็นนมาซเดินทาง และจะได้ไม่ต้องถือศีลอด


ตอบ ไม่เป็นไร โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า การ เปลี่ยนแปลงนั้น จะต้องไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเหมือน เปลี่ยนของเล่น 7. การตักลีดกับบทบัญญัติใหม่ นอกเหนือจากวินิจฉัยของมัรญิอ์ ที่เสียชีวิตไปแล้ว ข้าพเจ้าตักลีดกับท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) อยู่ ข้าพเจ้าสามารถทีจ่ ะเปลีย่ นตักลีดไปยังมัรญิอท์ า่ นอืน่ ๆ ในบางบัญญัตมิ าตราได้หรือไม่ ในขณะทีก่ ารตักลีดของ ข้าพเจ้าต่อท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) ยังคงมีอยู่ ตอบ การย้อนกลับไปปฏิบัติตามมุจญ์ตะฮิด ที่มีชีวิตอยู่จากมุจญ์ฮิดที่สิ้นชีวิตไปแล้ว ถือเป็นการ อนุญาต 8. การวิเคราะห์ในเรื่องของอุซูลุดดีน ถ้ามุสลิมคนหนึ่ง ได้วิเคราะห์ในเรื่องความเห็น ต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้อพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า หรือการปฏิเสธการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ข้อพิสูจน์ เกีย่ วกับวันอาคิเราะฮ์ จิตวิญญาณและเรือ่ งอืน่ ๆ ความ มุง่ มัน่ นีจ้ ะมีความผิดบาปหรือไม่ และจะมีผลกระทบต่อ หลักการศรัทธาทีเ่ ขาศรัทธาอยูห่ รือไม่ ด้วยเหตุทวี่ า่ คน หนุม่ สาวมุสลิมส่วนใหญ่ ไม่เคยวิเคราะห์แบบนีม้ าก่อน ตอบ การวิเคราะห์ไม่ถือว่าเป็นความผิดบาป แต่ถ้าเขามีจิตใจคล้อยตาม การวิเคราะห์ของเขาเอง เท่ากับมันมีผลกระทบต่อหลักศรัทธาของเขา ถ้าเขา สามารถหาข้อโต้แย้งอันถูกต้องได้ ก็สามารถวิเคราะห์ ได้ มิฉะนั้นถือว่าไม่เป็นการอนุญาต 9. บทบัญญัติของการอิบาดะฮ์ ที่ปราศจากการตักลีดถูกต้อง ข้าพเจ้าต้องการทีจ่ ะทราบว่า ถ้าบุคคลทีม่ คี วาม เชื่อมั่นในตัวเอง ได้ปฏิบัติอิบาดะฮ์โดยปราศจากการ ตักลีด ตามบทบัญญัติแล้วการปฏิบัติของเขาจะเป็น เช่นไร ตอบ ถ้าการปฏิบัติของเขาตรงกับข้อวินิจฉัย และข้อระมัดระวังของมุจญ์ตะฮิด ซึ่งเขาจะต้องมีหน้า

ที่ตักลีดตาม ก็ถือว่าการปฏิบัติของเขาถูกต้อง 10. การแบ่งแยกในการตักลีด เป็นไปได้หรือไม่วา่ จะปฏิบตั ติ ามค�าวินจิ ฉัยของ มัรญิอ์ท่านหนึ่งในเรื่องหนึ่ง และอีกเรื่องหนึ่ง ปฏิบัติ ตามค�าวินิจฉัยของมุจญ์ตะฮิดท่านอื่น ตอบ การแบ่งแยกการตักลีดครั้งแรก ถือว่าไม่ เป็นไร และถ้าบทบัญญัติของสองท่านวินิจฉัยออกมา คล้ายกันจ�าเป็นต้องปฏิบัติตาม มุจญ์ตะฮิดที่มีความรู้ สูงกว่า ด้วยเหตุนี้การแบ่งแยกในการตักลีด ในกรณีที่ ค�าวินิจฉัยมีความขัดแย้งกันอยู่ ก็เป็นข้อบังคับให้เขา ต้องแบ่งแยกในการตักลีด 11. การย้อนกลับไปยังมัรญิอ์ท่านอื่น ถ้าข้าพเจ้าต้องการที่จะเปลี่ยนมัรญิอ์ จ�าเป็น ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างไร ตอบ ข้อควรระมัดระวังที่เป็นวาญิบ ของการ ละจากมุจญ์ตะฮิดที่มีชีวิตอยู่ ไปยังมุจญ์ฮิดท่านอื่น ไม่เป็นการอนุญาต เว้นเสียแต่ว่าเขามีความมั่นใจว่า มุจญ์ตะฮิดคนที่สองที่ความรู้ที่สูงกว่าคนแรก ในกรณี การย้อนกลับไปยังมัรญิอ์ท่านอื่น ถือว่าเป็นข้อควร

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 19


ระมัดระวังที่เป็นวาญิบ 12. การปฏิบัติของผู้ที่ตักลีดกับท่านผู้น�า สูงสุดทางจิตวิญญาณ ข้าพเจ้ามีอายุครบ ทีจ่ ะต้องรับผิดชอบอะมัล้ ของ ตนเอง และเต็มใจทีจ่ ะตักลีดกับท่านผูน้ า� สูงสุด ทางจิต วิญญาณ ไม่ทราบว่าจะต้องท�าอย่างไร ตอบ ให้หาหนังสือที่เกี่ยวกับบทบัญญัติภาค อิ บาดะฮ์ ในเรื่องค�าถามค�าตอบ มะนาซิกฮัจญ์ บทวินิจ ฉัยฟัตวาของท่านผู้น�าสูงสุดทางจิตวิญญาณ ที่มีข้อ แตกต่างจากวินิจฉัยของท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) มา ศึกษาและปฏิบตั ติ าม โดยจะต้องไม่ปฏิบตั ติ ามวินจิ ฉัย ทีม่ คี วามขัดแย้งในทรรศนะฟัตวา หรือไม่กส็ ามารถทีจ่ ะ ปฏิบัติตามวินิจฉัยของท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) ได้ หรือ วินิจฉัยที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต 13. วิลายะตุลฟะกีฮ์ วะลียฟ์ ะกีฮค์ อื มุจญ์ตะฮิด ทีบ่ รรดาผูร้ บั ผิดชอบ การอิบาดะฮ์ของตนเองตักลีดใช่หรือไม่ หรือเป็นบุคคล ทีบ่ รรดามุจญ์ตะฮิดยกให้เป็นผูน้ า� การปกครอง และโดย พื้นฐานแล้ววิลายะตุลฟะกีฮ์คืออะไร ตอบ ความหมายของวิลายะตุลฟะกีฮข์ องสังคม มีเงื่อนไขดังนี้ แนวทางอิสลามซึ่งเป็นแนวทางสุดท้าย ของพระผูเ้ ป็เนจ้า และแนวทางอิสลามนีจ้ ะคงอยูต่ อ่ ไป ตราบจนถึงวันกิยามะฮ์และจะต้องอยูค่ กู่ บั สังคมต่อไป ดังนั้น การบริหารงานในสังคมมุสลิม ที่จะต้องอยู่ภาย 20 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ใต้การบริหารงานของวะลียุลอัมริ ซึ่งเป็นทั้งผู้ปกครอง และผู้น�า เพื่อทีจะน�าประชาชาติมุสลิมให้หลุดพ้นจาก ศัตรูของอิสลาม และท�าหน้าทีบ่ ริหารสังคมมุสลิม สร้าง ความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ขจัดการกดขี่ และ การเอารัดเอาเปรียบ การละเมิดสิทธิ การพัฒนาสร้าง ความเข้มแข็งให้กบั วัฒนธรรม การเมืองและสังคมของ อิสลาม 14. อายุของบาลิฆ อายุของบาลิฆ และผูท้ ตี่ อ้ งรับผิดชอบการปฏิบตั ิ ตามบทบัญญัติชัรอีย์ด้วยตัวเอง ในระหว่างเด็กผู้ชาย และเด็กผู้หญิง จะมีอายุเท่าไร ตอบ อายุเข้าขั้นบาลิฆของเด็กผู้หญิงจะมีอายุ ครบ 9 ปีบริบูรณ์ (ตามจันทรคติ) และในส่วนของเด็ก ผูช้ ายจะมีอายุครบ 15 ปีบริบรู ณ์ (ตามจันทรคติ) แต่ถา้ เด็กผูช้ ายคนใดมีการหลัง่ น�า้ อสุจมิ าก่อนอายุครบ 15 ปี หรือมีขนขึ้นที่โหนกเหนืออวัยวะเพศ ก็เป็นสิ่งแสดงให้ เห็นว่าเขาเข้าขั้นบาลิฆ หรือต้องรับผิดชอบการปฏิบัติ ตามบทบัญญัติชัรอีย์ 15. การตักลีดครั้งแรก บุคคลที่อายุของเขาเข้าขั้นบาลิฆ หรือเขาจะ ต้องรับผิดชอบหน้าที่การปฏิบัติตามบัญญัติชัรอีย์ เขา สามารถที่จะเลือกตักลีดกับมุจญ์ตะฮิด ที่เสียชีวิตไป แล้วได้หรือไม่ ตอบ ข้อควรระมัดระวังที่เป็นวาญิบของการตัก ลีด ครั้งแรกกับมุจญ์ตะฮิดที่เสียชีวิตไปแล้วนั้น ไม่เป็น ที่อนุญาต 16. ข้อควรระมัดระวังที่เป็นวาญิบ และการย้อนกลับไปยังมุจญ์ตะฮิดท่านอื่น ในกรณีของบัญญัตทิ กี่ ล่าวว่า ข้อควรระมัดระวัง ที่ เ ป็ น วาญิ บ นั้ น สามารถที่ จ ะย้ อ นกลั บ ไปหายั ง มุจญ์ตะฮิดท่านอื่นได้หรือไม่ ตอบ ความหมายของบัญญัติที่กล่าวว่า ข้อควร ระมัดระวังที่เป็นวาญิบนั้น คือผู้ที่ตักลีดสามารถที่จะ ปฏิบตั ติ ามบทบัญญัตนิ นั้ ได้ หรือสามารถทีจ่ ะย้อนกลับ


ไปหามุจญ์ตะฮิดท่านอื่นได้ แต่มุจญ์ตะฮิดที่ย้อนไปหา นั้นจะต้องมีความรู้สูงกว่ามุจญ์ตะฮิดทั้งหลาย 17. ไม่เข้าใจในเรื่องตักลีด ในขณะที่พึ่ง เข้าขั้นบาลิฆ บุตรีของข้าพเจ้า อายุเข้าสูข่ นั้ บาลิฆ และจ�าเป็น ที่เธอจะต้องเลือกมัรญิอ์เพื่อตักลีด แต่การสร้างความ เข้าใจในบทบัญญัตขิ องการตักลีดเป็นสิง่ ทีย่ ากส�าหรับ เธอ ดังนั้น หน้าที่ของข้าพเจ้าส�าหรับเธอแล้ว จะต้อง ปฏิบัติเช่นไร ตอบ ถ้าส�าหรับเขาแล้วไม่สามารถทีป่ ฏิบตั ติ าม หลักเกณฑ์ชัรอีย์ในเรื่องนี้ได้ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของท่าน ที่จะต้องชี้แนะและน�าทางให้แก่เธอ 18. การตักลีดกับอุละมาอ์ในประเทศอื่นๆ เป็นการอนุญาตหรือไม่ ในการตักลีดกับอุละมาอ์ ในประเทศอื่นๆ ซึ่งการติดต่อกับอุละมาอ์ท่านนั้น เป็น สิ่งที่ไม่สามราถกระท�าได้ ตอบ การตักลีดตามมุจญ์ตะฮิดที่อยู่ภายใต้ เงื่อนไขที่ถูกก�าหนดไว้แล้วนั้น ไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้อง ตักลีดกับมุจญ์ตะฮิด ที่อยู่ในประเทศของผู้ตักลีด หรือ จะต้องไปพักอาศัยในประเทศของมุจญ์ตะฮิดที่ตนเอง ตักลีด 19. ตระหนักถึงปัญหาในวันเวลา ของการวินิจฉัย ไม่ทราบว่าจากสถานการณ์ของเวลาและสถาน ที่นั้นเป็นเงื่อนไขของการวินิจฉัยหรือไม่ ตอบ เงื่อนไขเป็นไปได้ เพราะบางปัญหาต้อง อาศัยเงื่อนไขนี้ 20. เงื่อนไขของมัรญิอ์ตักลีด เราจะต้องตักลีดกับบุคคลใด ตอบ ตักลีดกับมุจญ์ตะฮิดทีอ่ ยูภ่ ายใต้เงือ่ นไขที่ สามารถวินจิ ฉัยบทบัญญัตชิ รั อีย์ และข้อควรระมัดระวัง จะต้องมีความรู้สูงที่สุดในทรรศนะของผู้ตักลีด

21. ต�าแหน่งมัรญิอ์และท่านผู้น�าสูงสุด ทางจิตวิญญาณ ในกรณีที่ฟัตวา (ค�าวินิจฉัย) ของวะลียุลอัมริล มุสลิมีนกับฟัตวา (ค�าวินิจฉัย) ของมัรญิอ์ แตกต่างกัน ในประเด็นปัญหาทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรม หน้ า ที่ ข องบรรดามุ ส ลิ ม กั บ ชั ร อี ย ์ บ ทบั ญ ญั ติ นี้ จ ะ ต้องปฏิบัติอย่างไร การวัดระดับส�าหรับการแบ่งแยก บทบัญญัติของด้านมัรญิอ์ และวะลียุลฟะกีฮ์มีหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าทรรศนะของวินิจฉัยของมัรญิอ์ และ วะลายะตุลฟะกีฮ์ ในเรื่องดนตรี วินิจฉัยแตกต่างกัน การปฏิบัติด้านใดที่ถือเป็นวาญิบต้องปฏิบัติ ดังนั้น บทบัญญัติที่ใช้บริหารการปกครอง ในทรรศนะของ วะลียลุ ฟะกีฮท์ สี่ งู กว่าฟัตวาของมัรญิอน์ นั้ อยูใ่ นส่วนใด ตอบ ประเด็ น ปั ญ หาที่ เ กี่ ย วกั บ การบริ ห าร ประเทศอิสลาม และกิจการของบรรดามุสลิมโดยรวม ขึน้ อยูก่ บั ทรรศนะวินจิ ฉัยของวะลียลุ อัมริลมุสลิมนี ทีท่ กุ คนต้องปฏิบัติตาม แต่ในประเด็นปัญหาส่วนบุคคลนั้น ผู้ที่รู้รับผิดชอบในบทบัญญัติชัรอีย์ จ�าเป็นต้องปฏิบัติ ตามวินิฉัยของมัรญิอ์ที่ตนเองตักลีดอยู่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 21


22. การไม่เชื่อต่อวิลายะตุลฟะกีฮ์ บุคคลที่ไม่มีความเชื่อต่อวิลายะตุลฟะกีฮ์ ถือว่า บุคคลนั้น เป็นมุสลิมที่แท้จริงหรือไม่ ตอบ การไม่เชื่อฟังวิลายะตุลฟะกีฮ์นั้นขึ้นอยู่ กั บ เรื่ อ งอิ จ ญ์ ติ ฮ าด ในยุ ค ที่ ท ่ า นอิ ม ามฮุ จ ญะฮ์ อั ล มะฮ์ดี (อ.) ไม่ปรากฎเท่านั้น จึงไม่สามารถนับได้ว่า บุคคลที่ไม่เชื่อนั้นออกนอกแนวทางของอิสลาม 23. ข้อผูกพันกับบทบัญญัติ ของวิลายะตุลฟะกีฮ์ ค�าสั่งของวิลายุลฟะกฮ์มีความผูกพันกับบรรดา มุสลิมหรือไม่ หรือมีเฉพาะบุคคลที่ตักลีดเท่านั้นที่ต้อง ปฏิบัติตาม หรือว่าบุคคลที่เขาตักลีดกับมัรญิอ์อยู่แล้ว และเขาไม่เชือ่ ในวิลายะตุลฟะกฮ์ ดังนัน้ การปฏิบตั ติ าม วิลายะตุลฟะกีฮ์เป็นวาญิบหรือไม่ ตอบ บนพื้นฐานของมัสฮับชีอะฮ์ ซึ่งบรรดา มุสลิมทุกคน ต้องปฏิบัติตามค�าสั่งของวะลียุลฟะกีฮ์ ซึ่งเขาเหล่านั้นเป็นผู้ยอมจ�านนในเรื่องของการแนะน�า ให้กระท�าความดี และการห้ามปรามจากความชั่ว และ บทบัญญัติ ยังครอบคลุมไปถึงบรรดาฟุเกาะฮาอ์ที่มี ความรูส้ งู สุดทัง้ หลายด้วย ไม่ใช่เพียงผูท้ ตี่ กั ลีดแต่เพียง ฝ่ายเดียว ในทรรศนะวินจิ ฉัยของเราความผูกพันยังวิลา ยะตุลฟะกีฮ์ ไม่สามารถที่จะแยกจากอิสลามและวิลา ยะฮ์ของอะอิมมะอ์มะอ์ซูมีน (อ.) ได้ 24. ลักษณะของวิลายะตุลฟะกีฮ์ ค� า ว่ า วิ ล ายะฮ์ มุ ฏ ลั ก เกาะฮ์ ในยุ ค สมั ย ของ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ให้ความหมายว่า การใช้คือถ้า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ออกค�าสั่งใช้ให้บุคคลใดบุคคล หนึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ ถึงแม้ว่ภารกิจหน้าที่ดังกล่าวจะ ยากล�าบากสักเพียงใดก็ตาม ถือเป็นข้อบังคับที่จะ ต้องปฏิบัติตาม และด้วยตัวอย่างที่ว่า ถ้าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ออกค�าสั่งให้บุคคลผู้นั้นสังหารตัวเองให้ตาย บุคคลนั้น ก็จะต้องฆ่าเองให้ตายตามบัญชาที่สั่งมา ค�าถามมีอยูว่ า่ ต�าแหน่งของวิลายะตุลฟะกีฮใ์ นยุคสมัย ของเรานี้ จะเหมือนกับยุคสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)

22 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

และบรรดามะอ์ซูมีน (อ.) หรือไม่ เพราะในยุคนี้ไม่มี วะลียุลมะอ์ซูม ที่มีความหมายเหมือนในยุคของท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) ตอบ ความหมายของวิ ล ายะฮ์ มุ ฏ ลั ก เกาะฮ์ ฟะกีฮ์ที่อยู่ภายใต้ข้อก�าหนด คือการปกป้องศาสนา อิ สลาม ซึ่ ง เป็ น ศาสนาสุ ดท้ ายจากพระผู ้ เป็ น เจ้ าที่ ประทานมาให้อยู่ตราบจนถึงวันกิยามะฮ์ และการจัด ตัง้ รัฐอิสลาม รวมทัง้ บริหารกิจการงานด้านสังคม ดังนัน้ ในทุกสังคมของประชาชาคมอิสลามย่อมต้องมีวะลียลุ อัมริหรือผู้ปกครอง (ฮากิม) และท่านผู้น�าสูงสุดทางจิต วิญญาณ เพื่อท�าหน้าที่ปกป้องประชาชาติอิสลามให้ รอดพ้นจากการคุกคามของศัตรู และท�าหน้าที่ปกป้อง ดูแลระบบการบริหารสังคมมุสลิม และจะต้องวางอยู่ บนพื้นฐานความเที่ยงธรรม ขจัดการกดขี่ การเอารัด เอาเปรียบ ให้ความปลอดภัยในการพัฒนาวัฒนธรรม การเมือง สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า โดยที่จะต้อง ไม่ยึดติดกับกิเลส ความโลภ อีกทั้งยังต้องเป็นอิสระ จากการควบคุมของบุคคลอื่นๆ เป็นผู้ปกครองบรรดา มุสลิม หลังจากนั้นก็ท�าหน้าที่เป็นผู้ควบคุมบทบัญญัติ ชัรอียใ์ นฐานะทีเ่ ป็นผูน้ า� และจะต้องส่งค�าสัง่ ของตนเอง ไปยังที่อื่นๆ และนี่คือการตัดสินใจของผู้มีอ�านาจใน ต�าแหน่งของวะลียลุ ฟะกีฮท์ มี่ ตี อ่ อิสลาม และประชาคม


อะไร

มุสลิม ในกรณีที่ประชาชนมีความขัดแย้ง จ�าเป็นต้อง สร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาติ นี่คือภารกิจ แรกของผู้ปกครอง และนี่คือความหมายพอสังเขปของ ต�าแหน่งวิลายะฮ์มุฏลักเกาะฮ์ 25. วิลายะฮ์ในการบริหาร บางครั้งผู้บริหารได้ยินเกี่ยวกับมาตรา ในเรื่อง วิลายะฮ์ในการบริหาร คือความหมายที่ให้ปฏิบัติตาม ค�าสั่งผู้บริหารระดังสูงที่ไม่ชอบธรรม ในทรรศนะของ ฯพณฯ มีทรรศนะอย่างไรเกีย่ วกับเรือ่ งนีแ้ ละหน้าที่ ชัร อีย์ของเราคืออะไร ตอบ การบริหาร หรือออกกฏหมายที่ขัดต่อ บทบัญญัติของการบริหารที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นการ อนุญาตให้ปฏิบัติ ซึ่งในหลักการของอิสลาม วิลายะฮ์ ในการบริหารไม่มี 26. ญาฮิลมุก็อศศิร ความหมายของญาฮิลมุก็อศศิร ผู้ที่ไม่รู้ล้มสั้น คือบุคคลประเภทใด ตอบ ผู้ที่ไม่รู้ล้มสั้น ใช้เรียกบุคคลที่ไม่รู้ถงึ ความ เขลาเบาปัญญาของตนเอง แต่รู้ว่าจะขจัดความเขลา ของเขาได้อย่างไร แต่การเรียนรู้บทบัญญัติส�าหรับเขา สั้นมาก 27. ญาฮิลกอศิร ญาฮิลกอศิรคือใคร ตอบ ญาฮิลกอศิรคือ บุคคลที่ไม่รู้ตัวเองเลยว่า เป็นคนเขลาเบาปัญญา และไม่มีหนทางใดที่จะบ�าบัด ความเขลาเบาปัญญาของเขาได้เลย

28. ความหมายของอิฮ์ติยาฏวาญิบ อิฮ์ติยาฏ (ข้อควรระมัดระวัง) ที่เป็นวาญิบคือ

ข้อบังคับให้ปฏิบัติ หรือการหลีกเลี่ยงด้วยความ ระมัดระวัง 29. ความหมาย (ฟีฮิอิชกาล) ในฟัตวา ในบางวินิจฉัย (ฟัตวา) ใช้ค�าว่า ฟีฮิอิชกาล ค�านี้ แสดงถึงฮุรมะฮ์ (ฮะราม) หรือไม่ ตอบ ขึ้นอยู่กับกรณีบัญญัติวินิจฉัยที่แตกต่าง กัน เพราะจะให้ความหมายที่แตกต่างกัน ถ้าอิชกาล (ผิดพลาด) ในหลักของการอนุญาต แสดงให้เห็นว่าเป็น ฮะรามในการปฏิบัติ 30. ความแตกต่างระหว่างไม่อนุญาตกับ ฮะราม อะไรคือความแตกต่าง ระหว่างไม่อนุญาตกับ ฮะราม ตอบ ในทางปฏิบัติแล้วทั้งค�านี้ไม่มีความแตก ต่างกันเลย

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 23


แปลโดย

เชค ดร. มุฮัมมัดชะรีฟ เกตุสมบูรณ์

ค�ำอรรถำ อรรถำธิบำย อัลกุรอำ อำน

บทอัลบะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 61

َ ِ‫ك‌يخر ِْج‌لَنَا‌م َّما‌تُنب‬ ‫ا‌و‬ ‫َّصبر‌ َع‬ ْ َّ ‫ا‌رب‬ َ َ ‫ا‌و‌قِثَّائ َه‬ َ ‫ت‌األ ْرض‌ ِمن‌ب َ ْقلِ َه‬ َ ‫لى‌طع‬ َ َ َ‫ام‌و ِحد‌فَا ْد ُع‌لَن‬ َ ‫‌و‌إِذْ‌قُ ْلتُ ْم‌يَ ُموسى‌لَن‌ن‬ َ َ َ‫ا‌و‌بَصلِ َها‌ق‬ ‫‌و‬ َ ‫ون‌ال َّ ِذى‌ ُه َو‌أَ ْدنى‌بِال َّ ِذى‌ ُه َو‬ َ ُ ‫ال‌أَ‌تَستَ ْب ِدل‬ َ ‫ير‌ا ْهبِطوا‌ ِمصراً‌فَ ِإ َّن‌لَكم‌ َّما‌سألْتُ ْم‬ َ ‫ا‌و‌ َع َد ِس َه‬ َ ‫‌فُو ِم َه‬ ٌ ‫‌خ‬ َّ ‫ون‌بِئَايَ ِت‬ َّ ‫‌و‌بَاءو‌ب ِ َغضب‌ ِّم َن‬ ِّ ‫‌ضرِبَت‌ َع َل ْي ِه ُم‬ ‫ين‬ َ ‫‌و‌يَ ْقتُ ُل‬ َ ‫‌اهللِ‌ َذلِك‌ب ِ َأن َّ ُه ْم‌كانُوا‌يَ ْك ُف ُر‬ َ ِّ‫ون‌النَّبِي‬ َ ِ ‫‌اهلل‬ َ ‫‌الذل َّ ُة‬ ُ َ ‫‌و‌ال ْ َمسكنَ ُة‬ ِ ‫ب ِ َغيرِ‌ال ْ َح ِّق‌ َذل‬ ‫ون‬ َ ‫ك‌بما‌ َعصوا‌ َّو‌كانُوا‌يَ ْعتَ ُد‬ َ

ความหมาย

61. และจงร�าลึกถึง เมื่อสูเจ้ากล่าวว่า โอ้มูซา (อ.) เราไม่สามารถทนต่ออาหารชนิดเดียวได้ ดังนั้น จง วิงวอนต่อพระผู้อภิบาลของท่านแทนเราเถิด ให้น�าออกมาส�าหรับเรา จากสิ่งที่งอกเงยขึ้นจากดิน ได้แก่พืชผัก แตงกวา กระเทียม ถั่วและหัวหอม มูซา (อ.) กล่าวว่า พวกท่านต้องการเปลี่ยนเอาสิ่งที่เลวกว่า แทนที่สิ่งที่ดีกว่า กระนั้นหรือ พวกท่านจงลงไปอยู่ในเมืองเถิด เนื่องจากมีสิ่งที่ท่านขอส�าหรับพวกท่าน และพวกเขาถูกหวดด้วย ความอัปยศ ความขัดสน และพวกเขาถูกกริ้วโกรธจากอัลลอฮ์นั่นเป็นเพราะพวกเขาปฏิเสธสัญญาณต่างๆ ของ

24 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555


อัลลอฮ์และยังฆ่าบรรดาศาสดาโดยอยุติธรรม นั่นเป็น เพราะพวกเขาดื้อดึง และพวกเขาละเมิด

ค�าอธิบาย

ความปรารถนาในอาหารหลากรส โองการที่ผ่านมา กล่าวถึงความเมตตาหลาก หลาย ที่พระเจ้าทรงประทานให้พวกบนีอิสรออีล ส่วน โองการนีอ้ ธิบายถึงการปฏิเสธ และการไม่ยอมขอบคุณ ความโปรดปรานของพวกเขา ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าพวก เขาเป็นพวกอวดดีชอบการเย้ยหยัน และดูแคลนบุคคล อื่น และไม่มีชนกลุ่มใดในประวัติศาสตร์ที่เป็นเหมือน พวกบนีอิสรออีล พวกเขาได้รับความโปรดปรานพิเศษ หลายครั้งจากพระเจ้า แต่ในบั้นปลายสุดท้ายพวกเขา กับทรยศ และไม่ขอบคุณพระองค์

ประเด็นส�าคัญ

จุดประสงค์ค�าว่า มิซร์ ณ ที่นี้หมายถึงที่ใด นักอรรถาธิบายบางท่านเชื่อว่า มิซร์ ในที่นี้บ่ง ชี้ไปยังความเข้าใจโดยรวมของเมืองทั้งหมด หมายถึง ขณะนี้พวกเจ้าก�าลังถูกทดสอบอยู่กลางทะเลทราย ณ ทีน่ ไี้ ม่มอี าหารหลากหลาย ถ้าพวกเจ้าต้องการจงเข้าไป ในเมือง เนื่องจากที่นั้นมีสิ่งที่พวกเจ้าต้องการ แต่ใน เมืองจะไม่มีการสร้างสรรค์ตนเองอีกต่อไป

เหตุผล

ดังที่ทราบกันดีว่า พวกบนีอิสรออีลขอร้องว่า พวกตนต้องการกลับไปยังมิซร์อีกครั้ง มิใช่กลับไปยัง ทุกที่ที่ต้องการ บางท่านกล่าวว่า จุดประสงค์ของมิซร์ ณ ที่นี้ หมายถึงประเทศมิซร์หรืออียิปต์ปัจจุบัน หมายถึงถ้า พวกเจ้าไม่พอใจกับอาหารประเภทเดียว บนความเสรี ซึ่งพวกเจ้าปรารถนาในอาหารหลากรส ไม่ว่าจะได้มา อย่างไรก็ตาม ดังนั้น พวกเจ้าจงกลับไปยังมิซร์ และ เลือกอาหารหลากรสที่ฟิรอาวน์เหลือไว้ให้พวกเจ้า

การเลือกที่หลากหลายเป็น ธรรมชาติของมนุษย์หรือ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความหลากหลายรสชาติ ในการด�าเนินชีวิต เป็นส่วนเหนึ่งในความต้องการของ มนุษย์ และเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ เนื่องจาก ถ้ามนุษย์ท�าสิ่งใดซ�้ากันอยู่นานๆ จะมีความรู้สึกว่า เบื่อหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่รับประทานทุก วัน ดังนั้น การขอเปลี่ยนอาหารให้หลากหลายรสชาติ ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เพราะเหตุใดเมื่อพวกบนีอิสรออีล ขอเปลี่ยนจึงถูกประณาม เนื่องจากการด�ารงชีวิตของมนุษย์ มีความจริง ประการหนึ่ง ซึ่งเป็นฐานหลักส�าหรับการจัดระบบชีวิต มนุษย์จะต้องไม่ยุติชีวิตเพียงแต่การกิน การนอนพัก ผ่อน และความสนุกสนานเท่านั้น กาลเวลาเป็นเครื่อง พิสูจน์ให้เห็นว่า ความสนใจที่มีต่อภารกิจเหล่านี้มาก เกินไป จะน�าพามนุษย์ออกจากเป้าหมายหลักได้แก่ ความศรัทธา ความย�าเกรง และจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ และยังท�าให้มนุษย์ หลุดพ้นจากการเป็นผู้มีอิสรภาพ สิ่งจ�าเป็นคือพยายามออกห่างจากสิ่งเหล่านี้ ความ ต้องการหลากหลาย ในความเป็นจริงแล้วคือกับดักอัน ยิ่งใหญ่ ที่บรรดานักทุนนิยมทั้งในอดีตและปัจจุบันส่ง เข้ามาในสังคม และการอาศัยประโยชน์จากสิง่ เหล่านัน้ ท�าให้ประชาชนจ�านวนมากมาย ตกเป็นทาสของความ ศิวิไลซ์ กลายเป็นพวกบริโภคนิยม ทั้งอาหาร เสื้อผ้า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 25


ยานพาหนะ และที่อยู่อาศัย ที่ส�าคัญลืมความเป็นตัว ของตัวเอง พวกเขาเสนอตัวเองยอมเป็นทาสให้กับสิ่ง เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ พวกบนีอิสรออีลจึงถูกประณาม เนือ่ งจากเป็นนักบริโภคนิยม และดูถกู ความโปรดปราน อัลมันนะ และซัลวาดีกว่าอาหาร ประเภทอื่นหรือ ไม่ต้องสงสัยว่าอาหารประเภทธัญพืชที่พวกบนี อิสรออีลขอจากมูซา (อ.) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทาง โภชนาการ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่ามนุษย์จะต้องไม่มองชีวิต เพียงด้านเดียว ถามว่าถูกต้องแล้วหรือ การที่มนุษย์ ต้องการเพียงแค่ความหลากหลายในรสชาติของอาหาร เขายอมตนเป็นเชลย และยอมให้ดูถูกเหยียดหยาม ขณะที่ อันมันนะ เป็นน�้าผึ้งธรรมชาติ ที่น�า มาจากเนิ น เขาสู ง ชั น บางคนกล่ า วว่ า เป็ น น�้ า ตาล ประเภทหนึง่ ทีม่ คี ณ ุ สมบัตคิ ล้ายกับน�า้ ผึง้ มีคณ ุ ค่าทาง โภชนาการ และเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงมาก พร้อม กันนัน้ พระองค์ได้ประทานอาหารทีม่ คี ณ ุ ค่าทางโปรตีน สูงในเนือ้ สัตว์ใหม่ เช่น นกคุม่ หรือ อัซซัลวา อีกด้านหนึง่ อาหารที่มีคุณค่าโปรตีน และวิตตามินสูง เช่น ถั่ว และ พืชผักต่างๆ พระองค์ก็ประทานให้แก่พวกเขา ฟูมิ เป็นอีกหนึ่งในอาหารที่พวกบนีอิสรออีลขอ จากท่านศาสดามูซา (อ.) บางคนกล่าวว่า หมายถึง ข้าว สาลี และบางคนกล่าวว่าหมายถึงกระเทียม อย่างไร ก็ตามทั้งสองมีคุณค่าทางโภชนาที่ไม่แตกต่างกัน แต่ บางคนเชื่อว่า ข้าวสาลีน่าจะถูกต้องกว่า เนื่องจาก อาหารของพวกเขาไม่น่าจะปราศจากข้าวสาลี

26 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

เพราะเหตุใดพวกเขาจึงถูกหวด ด้วยความอัปยศ จากโองการข้างต้นเข้าใจได้ว่า พวกเขาถูกหวด ด้วยความอัปยศ เนื่องจากเหตุผล 2 ประการ กล่าวคือ พวกเขาปฏิเสธและฝ่าฝืนค�าสั่งของพระเจ้า และหันเห ออกจากความเป็นเอกะของพระองค์ไปสู่การตั้งภาคี อีกประการหนึ่งพวกเขาสังหารบุรุษ และบรรดา ศาสดาของพระเจ้าอย่างอยุติธรรมที่สุด หัวใจทีแข็ง กระด้างของพวกเขา และการไม่ใส่ใจต่อกฎเกณฑ์ของ พระเจ้า ทว่ากฎเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปของมนุษย์พวกเขาก็มิ เคยใส่ใจตราบจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีของชาว โลกทั้งหลายว่า ยะฮูดีเป็นประชาชาติเดียวที่บิดพลิ้ว สัญญา ทรยศ และหักหลังมากที่สุด

โองการที่ 62

‫ين‬ َ ِ‫ى‌و‌الصبِئ‬ َ ‫وا‌و‌ال َّ ِذ‬ َ ‫‌إ َِّن‌ال َّ ِذ‬ َ ‫صر‬ َ ‫ين‌ َها ُد‬ َ ُ‫‌ء َامن‬ َ ‫ين‬ َ َّ‫وا‌و‌الن‬ َّ ِ ‫َ‌م ْن‌ ء َام َن‌ ب‬ َ ‫اهللِ‌ َو‌ الْيَ ْو ِم‌ ا‬ ‫ل ِخرِ‌ َو‌ َع ِم َل‌ صلِح ًا‌ فَ َل ُه ْم‬ َ ‫ون‬ َ ‫ند َ‌رب ِّ ِه ْم َ‌و‬ َ ‫‌‌أَ ْج ُر ُه ْم‌ ِع‬ َ ُ ‫‌يح َزن‬ ْ ‫‌ل‌خ ْو ٌف‌ َع َلي ِه ْم َ‌و‌ل‌ ُه ْم‬

ความหมาย

62. แท้จริงบรรดาผูศ้ รัทธา และบรรดาผูท้ เี่ ป็นยิว คริสต์และอัซซอบิอนี (ผูป้ ฏิบตั ติ ามยะฮ์ยา หรือนูฮ์ หรือ อิบรอฮีม) ผู้ใดศรัทธาในอัลลอฮ์และวันสุดท้าย และ ประกอบการดี ดังนัน้ พวกเขาจะได้รบั รางวัลของพวก เขา ณ พระผูอ้ ภิบาลของเขา จะไม่มคี วามหวาดกลัวแก่ พวกเขา และพวกเขาจะไม่เสียใจ

ค�าอธิบาย

กฎทั่วไปของการช่วยเหลือ ข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพวกบนีอิสรออีล ใน โองการต่อไปนี้ อัลลอฮ์(ซบ.) ทรงชี้ให้เห็นกฎเกณฑ์ ที่เป็นหลักโดยทั่วไป ซึ่งยิวและชาวคริสตร์สร้างให้กับ ตนเองว่า ศาสนาของพวกเขาเป็นศาสนาทีด่ ที สี่ ดุ สรวง สวรรค์ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ ดังนั้น


โองการจึงกล่าวถึงกฎโดยทั่วไป เพื่อเป็นการเตือนสติ แก่ทุกคนว่า บรรดาผู้มีศรัทธาแต่ภายนอก โดยมิได้ ปฏิบัติคุณงามความดี ไม่ว่าจะเป็นมุสลิม คริสต์ ยูดาย และนักถือศาสนาอื่นๆ ถือว่าไร้ค่าทั้งสิ้น เฉพาะบุคคล ที่มีความศรัทธามั่นคง และมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระผู้ เป็นเจ้าเท่านัน้ วันแห่งการฟืน้ คืนชีพ จะคูค่ วรเฉพาะแต่ การงานทีด่ ี และมีคณ ุ ค่า ณ องค์พระผูอ้ ภิบาล ด้วยเหตุ นี้ บรรดาผูศ้ รัทธามัน่ คงจะไม่มคี วามหวาดกลัว และจะ ไม่มีความทุกข์ระทมใจเด็ดขาด จุดประสงค์ของ ฮาดู หมายถึงผู้นับถือศาสนา ยูดายหรือยิวในปัจจุบัน ส่วนจุดประสงค์ของ นะซอรอ หมายถึงชาวคริสต์ทั้งหลาย ความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า วันสุดท้าย และการประกอบความดี โดยมิได้ยอมรับอิสลาม ถูกต้องหรือไม่ บางคนใช้โองการข้างต้น เป็นเหตุผลประกอบ ความคิดที่ไม่ถูกต้องของตน ซึ่งในความเป็นจริงทุก คนมีหน้าที่ปฏิบัติตามค�าสอนของศาสนาตนเองอย่าง เคร่งครัด พวกเขากล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ ไม่จา� เป็นทีพ่ วกยิว คริสต์และผูท้ นี่ บั ถือศาสนา ต้องยอมรับอิสลาม เพียงแค่ เชือ่ ว่ามีพระเจ้า และเชือ่ วันแห่งการฟืน้ คืนชีพ พร้อมกับ ปฏิบัติคุณงามความดีเท่านั้นก็เพียงพอ เป็นที่ทราบกันดีว่าโองการอัลกุรอาน อธิบาย ความซึ่งกันและกัน อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน โองการ ที่ 85 กล่าวว่า ْ ‫‌و َمن‌يَ ْبتَ ِغ‌غ َْي َر‬ ‫‌ال ِْس َال ِم‌ ِدينًا‌فَ َلن‌يُ ْقبَ َل‌ ِم ْن ُه‬ َ ِ ‫ي‌ال ِخ َر ِة‌ ِم َن‌ال ْ َخ‬ ْ ِ‫َو ُه َو‌ف‬ ‫ِين‬ َ ‫اسر‬

"และผูใ้ ดแสวงหาศาสนาอืน่ จากอิสลาม ศาสนา นั้น ก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาดและในปรโลกเขา จะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน" นอกจากนีแ้ ล้ว ยังมีโองการอืน่ อีกมากมายทีเ่ ชิญ ชวนชาวยิว คริสต์ และผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ให้เข้ารับ อิสลาม ถ้าการอธิบายข้างต้นถูกต้องถือว่าอัลกุรอาน ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ จ�าเป็นต้องค้นหา ความหมายที่แท้จริงของโองการ ณ จุดนี้มี 2 ค�าอธิบายที่ให้ความหมายชัดเจน ที่สุด กล่าวคือ 1. ถ้าชาวยิวและชาวคริสต์ปฏิบัติตามคัมภีร์ และค�าสอนของศาสนาตนอย่างเคร่งครัด แน่นอนพวก เขาต้องยอมรับศาสดาแห่งอิสลาม เนือ่ งจากคัมภีรข์ อง พวกเขาได้กล่าวแนะน�า ท่านศาสดาพร้อมกับอธิบาย คุณสมบัติ และสัญลักษณ์ตา่ งๆ ไว้อย่างชัดเจน เช่น อัล กุรอาน บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 68 กล่าวว่า ِ َ‫‌قُ ْل‌ يَا‌ أَ ْه َل‌ ال ْ ِكت‬ ‫يموا‬ ُ ‫اب‌ ل َ ْستُ ْم‌ َع َلى‌ َش ْي ٍء‌ َحتَّى‌ تُ ِق‬ َ ‫ِنج‬ ِ ‫‌و ْال‬ ‫‌و َما‌أُنز َِل‌إِل َ ْي ُكم‌ ِّمن‌ َّرب ِّ ُك ْم‬ َ ‫يل‬ َ ‫‌التَّ ْو َرا َة‬ "จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) โอ้ชาวคัมภีร์ทั้งหลาย พวกท่านไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด จนกว่าพวกท่านจะ ยึดมั่นอัตเตารอต อัลอินญีล และสิ่งที่ถูกประทานลง มาแก่พวกท่านจากพระผูอ้ ภิบาลของท่าน (เช่น ศรัทธา ต่อศาสดาแห่งอิสลาม ซึง่ ได้แจ้งการปรากฏไว้ในคัมภีร์ ของพวกท่าน)" สองโองการข้างต้น เป็นค�าถามแก่มุสลิมในยุค แรกที่ยอมรับอิสลามใหม่ๆ พวกเขาคิดว่าถ้าแนวทาง แห่งการช่วยเหลือมีเฉพาะในอิสลามเท่านั้น ฉะนั้น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 27


บรรพชนก่อนหน้านัน้ ตลอดจนบิดามารดาของพวกเขา จะเป็นอย่างไร พวกเขาไม่รู้จักศาสดาแห่งอิสลาม และ ไม่ได้ศรัทธาต่อท่าน จะถูกลงโทษหรือไม่ โองการข้างต้นจึงถูกประทานลงมา และประกาศ วา บุคคลใดก็ตามในสมัยของตน ถ้าศรัทธาต่อท่าน ศาสดา คั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อานและปฏิ บั ติ คุ ณ งามความ ดี ถือว่าเป็นผู้ได้รับการช่วยเหลือ โดยไม่ต้องมีความ คลางแคลงใจ หรือเป็นห่วงเป็นใยแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ ชาวยิวทีม่ คี วามศรัทธา และประพฤติ ปฏิบัติคุณงามความดี ก่อนการมาของอีซา ถือว่าเป็น ผู้ได้รับการช่วยเหลือ ท�านองเดียวกันชาวคริสต์ที่เป็นผู้ ศรัทธาเคร่งครัด ก่อนการมาของอิสลาม อัซซออิบาน หมายถึงใคร รอฆิบ อิศฟาฮานีกล่าวว่า พวกเขาคือกลุ่มชน ที่ปฏิบัติตามท่านศาสดานูฮ์ (อ.) และการน�าพวกเขา มากล่าวในระดับเดียวกันกับชาวยิว และคริสต์นั้น เนื่องจากว่าพวกเขาเป็นผู้ยึดมั่น หนึ่งในศาสนาแห่ง ฟากฟ้าเช่นกัน มีความเชื่อในพระเจ้าและวันแห่งการ ฟื้นคืนชีพ บางคนเชื่อว่า พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่เคารพ สักการะดวงดาวต่างๆ บางคนเชื่อว่าพวกเขาคือ พวก โซโรอัสเตอร์ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากโองการที่ 17 บทอัลฮัจญ์ น�าพวกตั้งภาคีและโซโรอัสเตอร์มากล่าว ไว้คู่กับพวกซออิบาน โดยกล่าวว่า แท้จริงบรรดาผู้ ศรัทธา บรรดาชาวยิว พวกซอบิอีน พวกนะซอรอ พวก บูชาไฟและบรรดาผู้ตั้งภาคี แท้จริงอัลลอฮ์ทรงตัดสิน ในระหว่างพวกเขาในวันกิยามะฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์ทรง เป็นพยานต่อทุกสิ่ง ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าซออิบานนั้น มิใช่พวกมุชริก

โองการที่ 63 และ 64

َ ‫‌خ ُذوا‬ ‫‌رفَ ْعنَا‌فَ ْوقَ ُك ُم‬ ُ ‫‌الطور‬ َ ‫‌و‌إِذْ‌أ َخ ْذنَا‌ ِميثَ َق ُك ْم‬ َ َ َ ‫‌و‬ ‫ون‬ َ ‫وا‌ما‌فِي ِه‌ل َ َعلَّ ُك ْم‌تَتَّ ُق‬ َ ‫ا‌ءاتَ ْينَ ُكم‌ب ِ ُق َّو‬ َ ‫ة‌و‌ا ْذ ُك ُر‬ َ َ ‫‌‌م‬ َّ ‫ضل‬ ُ َ‫‌ثُ َّم‌تَ َول َّ ْيتُم‌ ِّمن‌ب َ ْع ِد‌ َذلِك‌فَ َل ْو‌ل‌ف‬ ‫‌اهللِ‌ َع َل ْي ُك ْم‬ 28 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

‫ِين‬ َْ ‫‌ر ْح َمتُ ُه‌ل َ ُكنتُم‌ ِّم َن‬ َ ‫‌الخ ِسر‬ َ ‫َو‬

ความหมาย

63. และจงร�าลึกถึง เมื่อเราได้เอาค�ามั่นสัญญา จากสูเจ้า และเราได้ยกภูเขาขึ้นเหนือสูเจ้า จงยึดสิ่งที่ เราได้ประทานแก่สูเจ้าด้วยความเข้มแข็ง และจงร�าลึก ถึงสิ่งที่มีอยู่ในนั้น เพื่อสูเจ้าจะได้ส�ารวมตนจากความ ชั่ว 64. แล้วสูเจ้าก็หันหลังให้หลังจากนั้น ดังนั้น หา กอัลลอฮ์มิทรงประทานความโปรดปราน และความ กรุณาแก่พวกเจ้าแล้ว สูเจ้าต้องอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน แน่นอน

ค�าอธิบาย

โองการต่อไปนี้ กล่าวถึงการเอาค�ามั่นสัญญา จากพวกบนีอิสรออีล ให้ปฏิบัติตามคัมภีร์เตารอต หลัง จากนัน้ กล่าวถึงการฝ่าฝืนข้อตกลงของพวกเขา ประเด็น ที่ควรพิจารณาดังต่อไปนี้ 1. จุดประสงค์ของค�ามั่นสัญญาคืออะไร ดังที่ กล่าวไปแล้วในโองการที่ 40 บทเดียวกันนี้ และโองการ ที่ 83 และ 84 ซึง่ จะอธิบายต่อไป จุดประสงค์ของค�ามัน่ สัญญาคือ ความเป็นเอกภาพของพระผูเ้ ป็นเจ้า การท�า ดีต่อบิดามารดา ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ผู้ยากไร้ มารยาทที่ดีงาม การด�ารงนมาซ การบริจาคทานบังคับ (ซะกาต) หลีกเลีย่ งการนองเลือด ซึง่ สิง่ เหล่านีม้ กี ล่าวไว้ ในเตารอตเช่นกัน และจากอัลกุรอานโองการที่ 12 ของ บทอัลมาอิดะฮ์กล่าวว่า พระเจ้าทรงเอาสัญญาจากพวก


ยิวว่า ต้องศรัทธากับบรรดาศาสดาทั้งหมด และต้อง สนับสนุนพวกเขา พร้อมทั้งบริจาคทานบนหนทางของ พระเจ้า และในโองการเดียวกันกล่าวเพิม่ เติมว่า ถ้าพวก เจ้าปฏิบัติตามสัญญา จะได้เป็นชาวสวรรค์" 2. พระองค์ยกเขาขึ้นเหนือพวกบนีอิสรออีลได้ อย่างไร ฏูรคือชื่อภูเขา หรือหมายถึงภูเขาทั้งหมด หรือ จุดประสงค์คือภูเขาฏูร ซึ่ง ณ ที่นั้นเองที่วะฮ์ยูได้ถูก ประทานลงมาแก่มูซา (อ.) ท่านมัรฮูมเฏาะบัรซีย์ นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน เล่าจากค�าพูดของเซดว่า เมื่อมูซากลับจากภูเขาฏูร พร้อมกับคัมภีร์เตารอต ได้ประกาศแก่ประชาชนของ ตนว่า ฉันได้น�าคัมภีร์จากฟากฟ้ามา ประกอบด้วย บทบัญญัติของศาสนา สิ่งอนุมัติ และสิ่งไม่ได้อนุมัติ และค�าสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เกี่ยวกับกิจการที่เกี่ยวข้อง กับพวกเจ้า พวกเจ้าจงรับสิง่ นีแ้ ละน�าไปปฏิบตั ิ แต่พวก เขากับหาข้ออ้างต่างๆ ว่าเป็นภาระทีย่ งุ่ ยากส�าหรับพวก เขา ในทีส่ ดุ พวกเขาไม่ยอมปฏิบตั ิ พระเจ้าจึงให้มวลมะ ลาอิกะฮ์ลงมา โอบอุ้มก้อนหินขนาดใหญ่จากภูเขาฏูร ขึ้นเหนือศีรษะของพวกเขา เวลานั้นมูซากล่าวกับพวก เขาว่า จงยอมรับข้อตกลงและปฏิบัติตามบัญญัติของ พระองค์ จงกลับตัวกลับใจและลุแก่โทษในบาปกรรม เถิด เพื่อว่าพระองค์จะอภัยในบาปของพวกเจ้า ถ้าไม่ เช่นนั้นพวกเจ้าจะต้องตายทั้งหมด พวกเขาจึงยอม จ�านน และยอมรับคัมภีร์เตารอต พร้อมกับก้มกราบ พระองค์ ขณะที่ภูเขาพร้อมที่จะถล่มลงมาตลอดเวลา แต่เนื่องจากมรรคผลของการลุแก่โทษ พระองค์จึงยก โทษให้แก่พวกเขา แต่มีค�าถามว่า พระองค์ทรงยกภูเขาไว้เหนือ ศีรษะของพวกเขาได้อย่างไร อาจเป็นไปได้ว่าก้อนหินขนาดใหญ่นั้นเกิดจาก บัญชาของพระองค์ จากการสั่นสะเทือนและสายฟ้า ผ่าอย่างรุนแรงท�าให้แตกออกจากที่ของมัน และลอย อยู่เหนือศีรษะของพวกเขาขณะหนึ่ง เมื่อพวกเขาเห็น

เช่นนั้น จึงกลัวว่าหินจะตกใส่ศีรษะของพวกตน ดัง นั้น จึงขอลุแก่โทษ และหลังจากลุแก่โทษอันตรายก็ถูก ถอดถอนออกไป

โองการที่ 65 และ 66

ُ ‫ين‌ا ْعتَ َد ْوا‌ ِم‬ ‫‌فى‌السب ِت‬ ‫نك ْم‬ َ ‫‌و‌ل َ َق ْد‌ َعلِ ْمتُ ُم‌ال َّ ِذ‬ َ ْ ‫ين‬ َ ‫‌فَ ُق ْلنَا‌ل َ ُه ْم‌ ُكونُوا‌قِ َر َد ًة‬ َ ِ‫‌خ ِسئ‬ ً ‫‌فج َع ْلنَ َها‌ن َ َك‬ ‌‫ا‌خ ْل َف َها‬ َ ‫ا‌و َ‌م‬ َ َ ‫ال‌ل ِّ َما‌ب‬ َ َ ‫ين‌يَ َدي َه‬ ‫ين‬ َ ‫‌و َ‌م ْو ِعظ ًة‌ل ِّ ْل ُمتَّ ِق‬ َ

ความหมาย

65.และแน่นอน สูเจ้ารู้ถึงพวกในหมู่สูเจ้า ผู้ ละเมิดในวันสับบาโต (วันเสาร์) แล้วเราได้กล่าวแก่พวก เขาว่า พวกเจ้าจงเป็นลิงที่น่าเกลียด 66. ดังนั้น เราได้ให้การลงโทษเป็นเยี่ยงอย่าง แก่ประชาชาติที่อยู่ในสมัยนั้น และประชาชาติที่ตาม มาภายหลัง และเป็นข้อเตือนส�าหรับผู้ส�ารวมตนจาก ความชั่ว

ค�าอธิบาย

การท�าบาปในวันเสาร์ โองการทั้งสองต่อไปนี้ เหมือนกับโองการก่อน หน้านี้ ที่กล่าวถึงการฝ่าฝืน และการไม่ยอมปฏิบัติตาม ค�าสั่งของพระเจ้า ที่ครอบง�าจิตใจของพวกยิว และ ความหลงใหลในกิจการทางโลก ค�าว่า คอซีอี มาจากรากศัพท์ของค�าว่า คอซอัน หมายถึง ความตกต�่า น่ารังเกียจ ซึ่งความหมายตาม รากศัพท์เดิมหมายถึง การขับออกให้พน้ จากสภาพเดิม กลายเป็นสุนัข และต่อมาถูกน�ามาใช้ในความหมายที่ กว้างขึ้น คือ การขับหรือเนรเทศออกไปพร้อมกับการ เหยียดหยาม โองการนี้กล่าวถึงจิตวิญญาณที่ฝ่าฝืน และไม่ ยอมปฏิบตั ติ ามค�าสัง่ พระเจ้าของชาวยิว ประกอบความ หลงใหลอย่างรุนแรงของพวกเขาที่มีต่อโลก พระเจ้า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 29


ทรงสั่งพวกยิวว่า ให้หยุดวันเสาร์ ซึ่งมีบางกลุ่มอาศัย อยู่แถบชายฝั่ง และเพื่อทดสอบค�าบัญชา พระองค์สั่ง ว่าวันเสาร์จงอย่าจับปลา เผอิญว่าวันนั้นมีปลาจ�านวน มากมายลอยตัวเหนือผิวน�้า พวกเขาคิดหาเล่ห์กลทาง กฎบัญญัติเพื่อจับปลาในวันนั้น พระเจ้าทรงลงโทษ พวกเขาอย่างรุนแรง เนื่องจากพวกเขาฝ่าฝืนค�าสั่งของ พระองค์ โดยสาปให้พวกเขากลายเป็นลิงที่น่าเกลียด ประโยคที่ ก ล่ า วว่ า พวกเจ้ า จงเป็ น ลิ ง ที่ น ่ า เกลียด เป็นการบ่งชีถ้ งึ การกระท�าทีร่ วดเร็ว ซึง่ ค�าสัง่ ของ พระองค์ได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของพวกฝ่าฝืนอย่าง ฉับพลัน ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในโองการที่ 143 – 146 บทเดียวกัน อินชาอัลลอฮ์

โองการที่ 67-74

َ ْ َّ ‫ال‌موسى‌ل ِ َقو ِم ِه‌إ َِّن‬ ‫بحوا‌ب َ َق َر ًة‬ ُ ‫‌اهللَ‌يَأ ُم ُر ُك ْم‌أن‌تَ ْذ‬ َ ُ َ َ‫‌و‌إِذْ‌ق‬ ْ َّ ِ ‫ال‌أَ ُعو ُذ‌ب‬ َ َ‫‌قَالُوا‌أَ‌تَتَّ ِخ ُذنَا‌ ُه ُزواً‌ق‬ ‫ين‬ َ ‫اهللِ‌أَ ْن‌أَ ُك‬ َ ِ‫الج ِهل‬ َْ ‌‫ون‌ ِم َن‬ ُ ‫ال‌إِن َّ ُه‌يَ ُق‬ َ َ‫ا‌ما‌ ِه َى‌ق‬ ‫ول‬ َ َ‫ا‌ربَّك‌يُبَين‌لَّن‬ َ َ‫)‌قَالُوا‌ا ْد ُع‌لَن‬67(‌ ‫ين‬ ٌ ‫‌إِن َها‌ب َ َق َر ٌة‌ل‌فَا ِر‬ ُ ‫‌و‌ل‌ب ِ ْك ٌر‌ َع َو‬ َ َ ‫ان‌ب‬ َ ‫ض‬ 68‌‫ون‬ َ ‫وا‌ما‌تُ ْؤ َم ُر‬ َ ‫َذلِك‌فَا ْف َع ُل‬ ُ ‫ال‌إِن َّ ُه‌يَ ُق‬ َ َ‫ا‌ما‌ل َ ْون ُ َها‌ق‬ ‫ول‌إِن َها‬ َ َ‫ا‌ربَّك‌يُبَين‌لَّن‬ َ َ‫‌قَالُوا‌ا ْد ُع‌لَن‬ 69‌‫ِين‬ َ ‫سر‌النَّ ِظر‬ ُّ َ‫‌ب َ َق َر ٌة‌ص ْف َر ُاء‌فَاقِ ٌع‌ل َّ ْون ُ َها‌ت‬ ‫ا‌ما‌ ِه َى‌إ َِّن‌الْبَ َق َر‌تَشبَ َه‌ َع َل ْينَا‬ َ َ‫ا‌ربَّك‌يُبَين‌لَّن‬ َ َ‫‌قَالُوا‌ا ْد ُع‌لَن‬ َّ ‫‌‌و‌إِن َّا‌إِن‌شاء‬ 70‌‌‫ون‬ َ ‫‌اهللُ‌ل َ ُم ْهتَ ُد‬ َ َ َ ‫ول‌ تُثِير‬ ُ ‫ال‌ إِن َّ ُه‌يَ ُق‬ َ َ‫‌ ق‬ ‫ض‌و‌ل‬ ‫‌األ ْر‬ َ ُ ٌ ُ ‫ول‌ إِن َها‌ب َ َق َر ٌة‌ل‌ َذل‬ ِ ‫ث‌مسلَّ َم ٌة‬ ِ ‫‌ل‌شيَ َة‌ فِي َها‌ قَالُوا‌الْئَ َن‬ ‫‌ج ْئت‬ ‫‌تَس ِق‬ َْ ُ ‫ى‌الح ْر‬ 71‌‫ون‬ َ ‫ا‌و َ‌ما‌كا ُدوا‌يَ ْف َع ُل‬ ُ ‫‌بِال ْ َح ِّق‌فَ َذ‬ َ ‫بحو َه‬ ‫‌و‌إِذْ‌قَتَ ْلتُ ْم‌ن َ ْفس ًا‌فَا َّد َر ْأتُ ْم‌فِي َها‬ َ َّ ‫‌و‬ 72‌‫ون‬ ْ ُ‫‌اهلل‬ َ ‫‌مخر ٌِج‌ َّما‌ ُكنتُ ْم‌تَ ْكتُ ُم‬ َ َّ ِ‫وه‌بِب ْع ِض َها‌ َك َذلِك‌يُ ْحى‬ ‫‌اهللُ‌ال ْ َم ْوتى‬ َ ُ ُ ‫‌فَ ُق ْلنَا‌اضرِب‬

30 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

73‌‫ون‬ َ ‫‌ءايَتِ ِه‌ل َ َعلَّ ُك ْم‌تَ ْع ِق ُل‬ َ َ ‫ِيكم‬ ْ ‫‌و‌يُر‬ ِْ ‫‌ثُ َّم‌قَست‌قُ ُلوب ُ ُكم‌ ِّمن‌ب َ ْع ِد‌ َذلِك‌فَ ِه َى‬ ‫شد‬ ُّ َ‫ار ِة‌أَ ْو‌أ‬ َ ‫‌كالح َج‬ َ ‫ار ِة‌ل َ َما‌يَتَ َف َّجر‌ ِم ْن ُه‬ ِْ ‫‌و‌إ َِّن‌ ِم َن‬ ‫‌و‌إِ َّن‬ َ ‫‌األنْ َه ُر‬ َ ‫سو ًة‬ َ ‫‌الح َج‬ َ َ‫‌ق‬ ُ ‫‌و‌إ َِّن‌ ِمن َها‌ل َ َما‌ي ْهبِط‬ َ ‫اء‬ ُ ‫‌ ِمن َها‌ل َ َما‌يَشق َُّق‌فَيَ ْخ ُر ُج‌ ِم ْن ُه‌ال ْ َم‬ َّ ‫‌و َ‌م‬ َّ ‫‌خشي ِة‬ 74‌‫ون‬ َ ‫ا‌اهللُ‌ب ِ َغ ِفل‌ َع َّما‌تَ ْع َم ُل‬ َ ِ ‫‌اهلل‬ َ َ ‫ِم ْن‬

ความหมาย

67. และจงร�าลึกถึง เมื่อมูซากล่าวแก่ประชาชน ของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้ เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง พวกเขากล่าวว่า ท่านเอาพวก เราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ มูซากล่าวว่า ฉันขอความ คุ้มครองต่ออัลลอฮ์ให้พ้นจากการที่ฉันจะอยู่ในหมู่ผู้ โฉดเขลา 68 . พวกเขากล่าวว่า จงร้องขอต่อพระผูอ้ ภิบาล ของท่านเพื่อพวกเรา ให้พระองค์อธิบายแก่เราว่า วัว ตัวเมียเป็นอย่างไร มูซากล่าวว่า แท้จริงพระองค์ตรัส ว่า แน่แท้มันเป็นวัวตัวเมียที่ไม่แก่และไม่อ่อน อยู่ใน วัยกลางระหว่างนัน้ ดังนัน้ จงปฏิบตั ติ ามสิง่ ทีพ่ วกท่าน ถูกบัญชาเถิด 69 . พวกเขากล่าวว่า จงร้องขอต่อพระผูอ้ ภิบาล ของท่านเพื่อพวกเรา ให้พระองค์อธิบายแก่เราว่า วัว มีสีอะไร มูซากล่าวว่า แท้จริงพระองค์ตรัสว่า มันเป็น วัวสีเหลืองแก่ สีของมันเข้ม เป็นที่ปลื้มใจแก่ผู้พบเห็น 70 . พวกเขากล่าวว่า จงร้องขอต่อพระผูอ้ ภิบาล ของท่านเพื่อพวกเรา ให้พระองค์อธิบายแก่เราว่า วัว เป็นเช่นไร เนื่องจากวัวเป็นที่สงสัยแก่พวกเรา และหา กอัลลอฮ์ทรงประสงค์ พวกเราจะได้รับทางน�าแน่นอน 71 . มูซากล่าวว่า แท้จริงพระองค์ตรัสว่า มันเป็น วัวที่ไม่เคยถูกเทียมคันไถให้ไถดิน และไม่เคยถูกให้ทด น�า้ เข้านา สมบูรณ์ ปราศจากต�าหนิ ไม่มสี อี นื่ ใดแซมใน ตัวมัน พวกเขากล่าวว่า บัดนี้ท่านได้น�าความจริงมาให้ แล้ว แล้วพวกเขาได้เชือดมัน ทัง้ ทีพ่ วกเขาไม่อยากกระท�า 72 . และจงร�าลึกถึง เมือ่ สูเจ้าฆ่าคนคนหนึง่ หลัง จากนัน้ เกีย่ วกับ (ผูฆ้ า่ ) เขาสูเจ้าซัดทอดกัน และอัลลอฮ์


ทรงเปิดเผยสิ่งที่สูเจ้าปิดบังไว้ 73 . ดังนั้น เรากล่าวว่า พวกเจ้าจงบางส่วน ของวัวฟาดลงบนผู้ถูกฆ่า (จะได้ฟื้นเพื่อชี้ผู้ฆ่า) ใน ท�านองนั้น อัลลอฮ์ทรงท�าให้ผู้ตายมีชีวิต และทรง แสดงสัญญาณต่าง ๆ ของพระองค์แก่สูเจ้า เพื่อสูเจ้า จะได้เข้าใจ 74. แล้ ว หลั ง จากนั้ น หั ว ใจของสู เ จ้ า ก็ แ ข็ ง กระด้าง เป็นประหนึ่งหิน หรือแข็งกระด้างยิ่งกว่า เนือ่ งจากในหมูห่ นิ นัน้ จะแตกออก และมีธารน�า้ พวยพุง่ ออกมา และแท้จริงในหมู่หินนั้นเมื่อแตกออก แล้วมีน�้า ไหลออกจากมัน และแท้จริงในหมูห่ นิ นัน้ มีสว่ นทีท่ ลาย ลงมาด้วยความกลัวต่ออัลลอฮ์(แต่หัวใจของมนุษย์ไม่ เคยสลายเพราะความเกรงกลัว ไม่เคยให้ความรู้และ ความรัก และไม่เคยมีนา�้ ใจแก่เพือ่ นมนุษย์) และอัลลอฮ์ ไม่ทรงเฉยเมยในสิ่งที่สูเจ้ากระท�า

ค�าอธิบาย

เรื่องราวเกี่ยวกับวัวของบนีอิสรออีล นับจาก โองการนีเ้ ป็นต้นไป เรือ่ งราวของพวกบนี อิสรออีล จะแตกต่างจากโองการ ที่กล่าวผ่านมา ซึ่งที่ ผ่านมาได้อธิบายในเชิงสรุป แต่โองการนี้ จะอธิบาย รายละเอียดพร้อมกับประเด็นที่เป็นบทเรียน มากมาย เช่น บรรดาพวกบนีอิสรออีลที่ชอบหาข้ออ้างทั้งหลาย ได้ปรากฏโฉมหน้าที่แท้จริงออกมา และจากค�าพูดขอ งมูซาท�าให้รู้ถึงระดับความศรัทธาของพวกเขา และ ส�าคัญทีส่ ดุ คือ เหตุผลทีย่ นื ยันถึงความเป็นไปได้ของวัน แห่งการฟื้นคืนชีพ และเรื่องราวที่อัลกุรอานสาธยายไว้

กล่าวคือ มีวงศ์วานอิสรออีลคนหนึ่งถูกกล่าวหาว่าฆ่า คน ทั้งๆ ที่คนฆ่าไม่เป็นที่รู้แน่ชัดว่าเป็นใคร ชนเผ่าต่างๆ ของพวกบนีอิสรออีลทะเลาะวิวาท กัน ซัดทอดกันจนวุ่นวายไปหมด ในที่สุดได้ไปหามูซา (อ.) เพือ่ ให้ตดั สิน ท่านศาสดามูซาวิงวอนขอความช่วย เหลือจากพระเจ้า และด้วยอภินิหารท�าให้ปัญหายุติลง ตามค�าสาธยายของโองการ แต่เป็นการเริ่มต้นศักราช ใหม่ของพวกเขา รอฆิบ อิศฟาฮานีกล่าวว่าค�าว่า ฟาริฎุน หมาย ถึงวัวแก่ แต่นักอรรถาธิบายบางท่านกล่าวว่าเป็นวัวที่ เพิ่งจะย่างเข้าสู่วัยแก่ และไม่สามารถมีลูกได้อีกต่อไป ค�าว่า อะวานุน หมายถึงระหว่างกลางของอายุไม่อ่อน หรือแก่เกินไป ประโยคที่กล่าวว่า จงร้องขอต่อพระผู้อภิบาล ของท่ า น การร้ อ งขอของพวกเขากระท� า หลายครั้ ง ติดต่อกัน ถือเป็นการกลั่นแกล้ง หรือการเย้ยหยันอย่าง หนึ่ง ประหนึ่งพวกเขาต้องการแยกพระเจ้าของมูซากับ พระเจ้าของพวกเขาออกจากกัน อย่างไรก็ตาม มูซา (อ.) ตอบพวกเขาว่า พระเจ้าตรัสว่า แน่แท้มันเป็นวัวตัวเมีย ที่ไม่แก่และไม่อ่อน อยู่ในวัยกลางระหว่างนั้น แต่เพือ่ ป้องกัน ไม่ให้พวกเขาระเริงมากจนเกินไป หรือไม่ต้องการให้พวกเขาเย้ยหยันมากกว่านี้ มูซามิได้ ปล่อยให้ล่าช้า กล่าวตัดบทอย่างฉับพลันว่า จงปฏิบัติ ตามสิ่งที่พวกท่านถูกบัญชาเถิด ค�าว่า ฟากิอุน หมายถึง สีเหลืองแก่ บริสุทธิ์ไม่มี สีใดแซมหรือเจือปน แต่นิสัยของพวกบนีอิสรออีล เป็นชนที่ชอบดูถูก และชอบเย้ยหยันคนอื่น พวกเขาไม่ยอมจบสิ้นยังคง แสดงความเย้ยหยันต่อไป พวกเขากล่าวว่า จงร้องขอ ต่ อ พระผู ้ อ ภิ บ าลของท่ า นเพื่ อ พวกเรา ให้ พ ระองค์ อธิบายแก่เราว่า วัวมีสีอะไร มูซากล่าวว่า แท้จริง พระองค์ตรัสว่า มันเป็นวัวสีเหลืองแก่ สีของมันเข้ม เป็น ที่ปลื้มใจแก่ผู้พบเห็น แน่นอนวัวทีพ่ ระเจ้าทรงประสงค์มคี วามสวยงาม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 31


สีสนั ของมันฉุดฉาดสะดุดตาผูพ้ บเห็น แต่สงิ่ ทีป่ ระหลาด ไปกว่านั้นคือ พวกเขาไม่ยอมยุติข้ออ้างและการล้อ เลียน ยังคงหาข้ออ้างอื่นๆ มากลั่นแกล้งมูซาให้หนักใจ และเบื่อหน่าย มูซาพยายามจ�ากัดขอบเขตของวัวให้ แคบลงแล้ว แต่พวกเขาก็ยังไม่ยอมปฏิบัติตาม พวกเขาหาข้ออ้างมาอีกว่า จงร้องขอต่อพระผู้ อภิบาลของท่านเพื่อพวกเรา ให้พระองค์อธิบายแก่ เราว่า วัวเป็นเช่นไร เนื่องจากวัวเป็นที่สงสัยแก่พวก เรา และหากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ พวกเราจะได้รับทาง น�าแน่นอน มูซาแสดงความใจเย็นต่อความอคติ และความ โง่เขลาของพวกเขา ท่านตอบว่า แท้จริงพระองค์ตรัสว่า มันเป็นวัวทีไ่ ม่เคยถูกเทียมคันไถให้ไถดิน และไม่เคยถูก ให้ทดน�้าเข้านา สมบูรณ์ ปราศจากต�าหนิและไม่มีสีอื่น ใดแซมในตัวมัน เมื่อถึงจุดนี้ ประหนึ่งว่าพวกเขาไม่รู้ว่าจะหาข้อ อ้างอันใดมาอ้างอีก พวกเขากล่าวว่า บัดนี้ท่านได้น�า ความจริงมาให้แล้ว แล้วพวกเขาได้เชือดมัน ทั้งที่พวก เขาไม่อยากกระท�า อัลกุรอานหลังจากกล่าวถึงความอคติ และการ เย้ยหยันของพวกเขาแล้ว ได้กล่าวถึงความเป็นคนมี จิตใจที่หยาบกระด้าง และนิสัยที่หยาบคายของพวก เขาว่า และจงร�าลึกถึง เมือ่ สูเจ้าฆ่าคนคนหนึง่ หลังจาก นัน้ เกีย่ วกับ (ผูฆ้ า่ ) เขาสูเจ้าซัดทอดกัน และอัลลอฮ์ทรง เปิดเผยสิ่งที่สูเจ้าปิดบังไว้ หลังจากนั้น เรากล่าวว่า พวกเจ้าจงบางส่วน ของวัวฟาดลงบนผู้ถูกฆ่าจะได้ฟื้นขึ้นมาเพื่อชี้ตัวผู้ฆ่า ในท�านองนั้น อัลลอฮ์ทรงท�าให้ผู้ตายมีชีวิต และทรง แสดงสัญญาณต่างๆ ของพระองค์แก่สูเจ้า เพื่อสูเจ้า จะได้เข้าใจ โองการสุดท้ายกล่าวถึง จิตใจทีแ่ ข็งกระด้าง ของ พวกเขาว่า หัวใจของสูเจ้าก็แข็งกระด้าง เป็นประหนึ่ง หินหรือแข็งกระด้างยิ่งกว่า เนื่องจากในหมู่หินนั้นจะ แตกออก และมีธารน�้าพวยพุ่งออกมา และแท้จริงใน

32 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

หมู่หินนั้นเมื่อแตกออก แล้วมีน�้าไหลออกจากมัน และ แท้จริงในหมู่หินนั้นมีส่วนที่ทลายลงมาด้วยความกลัว ต่ออัลลอฮ์แต่หวั ใจของมนุษย์ไม่เคยสลายเพราะความ เกรงกลัว ไม่เคยให้ความรู้และความรัก และไม่เคยมี หยาดน�้าใจแก่เพื่อนมนุษย์ หัวใจประเภทนี้ไม่มีคุณค่า อันใด พระองค์จึงเปรียบหัวใจที่แข็งกระด้างว่าเหมือน กับก้อนหินที่ไร้ชีวิต ทว่าร้ายกาจยิ่งกว่า เนื่องจากหินที่ จัดว่าแข็งแล้ว เมื่อมีน�้าเซาะ หรือหยดน�้าตกลงบนมัน มันยังกร่อน ยังร้าวหรือบางครั้งก็ละลายลงเนื่องจาก ความเกรงกลัว แต่หัวใจที่แข็งกระด้างไม่มีท่าทีว่าจะ สั่นสะท้านหรือเกรงกลัว ประโยคสุดท้าย กล่าวว่า และอัลลอฮ์ไม่ทรง เฉยเมยในสิ่งที่สูเจ้ากระท�า เป็นประโยคที่ใช้บ�าราบ ใน เชิงของการคาดโทษ ส�าหรับพวกบนีอิสรออีล และทุก คนที่ท�าตนเยี่ยงพวกเขา หรือเจริญรอยตามแนวทาง ของพวกเขา

ประเด็นส�าคัญ

ค�าถามมากมายที่ไร้ประโยชน์ แน่ น อนว่ า ค� า ถามได้ ถู ก ถามขึ้ น เพื่ อ ขจั ด ข้ อ สงสัยหรือความโง่เขลาที่ไม่รู้ แต่ถ้าสิ่งนั้นเกินขอบเขต หรือถามไม่ตรงประเด็น หรือถามเพื่ออวดคนอื่นว่า ตนมีข้อมูล หรือถามให้บุคคลอื่นไขว่เขวออกไปจาก ความจริง ดังทีไ่ ด้เห็นจากเรือ่ งราวของพวกบนีอสิ รออีล พระเจ้าทรงต้องการให้พวกเขาเชือดวัว หน้าที่ของพวก เขาคือ การปฏิบัติตามค�าบัญชาของพระองค์ แต่พวก เขากลับแสดงความไม่สนใจ และเริ่มตั้งค�าถามต่างๆ เพื่อเป็นข้ออ้าง จะได้หลีกเลี่ยงไม่ต้องปฏิบัติตามค�า บัญชา แต่ในทีส่ ดุ พวกเขาก็ยอมเชือดวัว ทัง้ ๆ ทีไ่ ม่อยาก ท�าสิง่ นัน้ ซึง่ สิง่ นีแ้ สดงให้เห็นว่า พวกเขารูจ้ กั พระเจ้าเป็น อย่างดี และทุกครัง้ ทีเ่ ขาถามพระเจ้าทรงก�าหนดหน้าที่ ของเขาให้ยากขึน้ ด้วยเหตุนี้ รายงานจากอิมาม อะลี อัร ริฎอ (อ.) กล่าวว่า ถ้าหากพวกเขา ปฏิบตั ติ ามค�าบัญชา ตัง้ แต่แรก โดยเลือกวัวมาตัวหนึง่ แล้วเชือดพลีทกุ อย่าง


ก็ จบลงแล้ว แต่ เป็นเพราะว่าพวกเขาเรือ่ งมาก พระเจ้าจึงก�าหนดหน้าที่ของเขาให้ยากขึ้นตามล�าดับ คุณสมบัตวิ วั ทัง้ หมดถูกก�าหนดมาเพือ่ อะไร คุณสมบัตขิ องวัวทีก่ ล่าวถึง เป็นการบ่งชีถ้ งึ แก่น แท้ของสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่ ซึ่งสิงนั้นคือการยอม จ�านนโดยปราศจากเงื่อนไข ท�านองเดียวกันการด�ารง ชีวติ ของมนุษย์ไม่ควรเลือกสีสนั ให้หลากหลายมากจน เกินไป ทว่าเพียงสีทมี่ คี วามบริสทุ ธิเ์ พือ่ พระเจ้าเท่านัน้ ก็ เพียงพอแล้ว เช่นกัน ทรัพย์สินสฤงคารต่าง ตลอดจน ความยากจน ความร�่ารวย อ�านาจ มารมีและลาภยศ สรรเสริญอื่นๆ ต้องไม่มีอิทธิพลกับชีวิตและจิตใจ ดัง นัน้ บุคคลทีม่ พี ระเจ้าอยูใ่ นใจ เขาจะยืนหยัดอยูก่ บั การ ยอมรับพระเจ้า และสัจธรรมเท่านั้น เจตนารมณ์ในการฆ่าคืออะไร ประวัติศาสตร์ และหนังสืออธิบายอัลกุรอาน กล่าวถึงอุดมการณ์ของการสังหาร ในหมู่บนีอิสรอ อีลคือทรัพย์สินหรือเรื่องการแต่งงาน เนื่องจากว่ามี พวกบนีอิสรออีลคนหนึ่งมีฐานะร�่ารวย เขามีทรัพย์สิน มากมาย แต่ไม่มีทายาทรับมรดก มีเพียงลูกชายของ อาเพียงคนเดียวเท่านั้น เขาเป็นคนมีอายุยืน ซึ่งหลาน ชายต้องการคอบครองมรดกของเขา จึงวางแผนลอบ สังหาร และน�าศพไปทิ้งระหว่างทาง บางที่โองการต้องการบ่งชี้ว่า ในความเป็นจริง

แล้วแหล่งที่มาของความชั่วร้าย การ เข่นฆ่า และการก่ออาชญากรรมอืน่ ๆ มีอยู่ 2 ประเด็นกล่าวคือ การแก่งแย่ง ทรัพย์สินกับความเสรีทางเพศ ประเด็นบทเรียน เรื่องราว ของบนีอิสรออีล เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ว ่ า อ� า นาจ ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ของพระผู้อภิบาล ควบคุ ม เหนื อ ทุ ก สรรพสิ่ ง เป็ น เหตุผลที่ชัดเจน ส�าหรับปัญหาเรื่องการฟื้นคืนชีพ และเป็นการแสดงให้เห็นว่า ถ้าหากพระผู้เป็นเจ้าทรง โกรกริ้วประชาชาติใดแล้ว ย่อมเป็นไปตามเหตุผลมิใช่ ด้วยอ�านาจทีพ่ ระองค์ทรงมี กิรยิ าของพวกบนีอสิ รออีล แสดงต่อหน้ามูซา (อ.) เป็นการบ่งบอกถึงอุปนิสัย และ สันดานที่ต�่าทราม ไร้มารยาทของพวกเขาเมื่ออยู่ต่อ หน้าศาสดา หรือเมื่อย้อนกลับไปยังพระเจ้าผู้เป็นของ อ�านาจ แต่เพียงพระองค์เดียว ฉะนั้น ถ้ามนุษย์มิใช่ผู้ วุ่นวาย หรือเรื่องมากก่อน พระเจ้าก็มิทรงบัญชาสิ่งที่ ยากล�าบากส�าหรับเขา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 33


บทความ

ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

ประวัติกำรเกิดแนวคิดทำง

ปรัชญำอิสลำม และกำรวิวัฒนำกำร

าสนาอิสลามอุบัติขึ้น จากกรอบแนวคิด ที่ตั้งอยู่บนหลักคิดเชิงปรัชญา โดยท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นบุคคลแรกที่ได้น�าเสนอ กระบวนทัศน์ทางปรัชญา เพื่อให้เข้ากับบริบททาง สังคม และวัฒนธรรมในสมัยนั้น ถ้าจะสืบค้นแนวคิด ทางปรัชญาอิสลาม แน่นอนที่สุดสามารถกล่าวได้ว่า ก่อตัวและเริ่มปรากฏขึ้น ตั้งแต่ในสมัยของศาสดามุฮัม มัด(ศ็อลฯ) และท่านศาสดา(ศ็อลฯ) เป็นบุคคลแรกทีน่ า� หลักคิดเชิงปรัชญามาใช้ในศาสนาอิสลาม ซึ่งมีความ เป็นอัตลักษณ์ทเี่ ฉพาะและพิเศษกว่าปรัชญาอืน่ ๆ ก่อน การมาของอิสลาม และทัง้ หลายทัง้ ปวงนัน้ ศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) เองก็ได้รบั วิวรณ์จากพระผูเ้ ป็นเจ้าในการน�า เสนอกรอบทางปรัชญา ไม่วา่ ในเรือ่ งอภิปรัชญาว่าด้วย เรื่องของพระเจ้า ความเป็นเอกะของพระเจ้า หรือการ สร้างของพระเจ้า หรือคุณลักษณะของพระเจ้า และด้าน อภิปรัชญาขั้นสูงอื่นๆ อีกหลายมิติทีเดียว 34 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ก่อนการมา ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) คาบ สมุทรอาหรับ หรือดินแดนอาระเบียเป็นที่อยู่ของเผ่า เบดูอิน เป็นชนเผ่าที่ไม่ขึ้นกับใครมีความเป็นอิสระ มี อาชีพเลี้ยงสัตว์หรือปล้นสะดม มีขนบธรรมเนียมของ เผ่าทีไ่ ม่อยูเ่ ป็นหลักเป็นแหล่ง มักจะท่องเทียวไปเรือ่ ยๆ และขณะเดียวกัน ยังมีกลุ่มชนอีกบางกลุ่มคนที่ถ้า เปรียบเทียบกับกลุ่มชนอาหรับจะมีอารยธรรมสูงกว่า มีวัฒนธรรมที่เป็นปราชญ์หรือเป็นผู้รู้อยู่บ้าง เช่น ทาง ตอนใต้ของอาณาจักรแห่งราชินีบิลกิส (ชีบา) ซึ่งด�ารง ต�าแหน่งมาจนถึงสมัยคริสเตียน ภายใต้การปกครอง ของอบิสซีเนียหรือเอธิโอเปีย และทางตะวันตกมีนคร ยัษริบหรือนครมะดีนะฮ์ และนครมะกะฮ์เป็นศูนย์กลาง ของการค้าขายและคมนาคม และทางทิศเหนือไป ทาง ดินแดนแห่งเปอร์เซีย มีอาณาจักรลัขมิด (อ้างจากหนังสือปรัชญาอิสลาม ฉบับสมบูรณ์ ส�านักพิมพ์อิสลามิกอะคาเดมี กรุงเทพฯ พ.ศ. 2550)


อาหรั บ โบราณ สมั ย ก่ อ นการมาของศาสนา อิ ส ลาม เป็ น ผู ้ เ ชื่ อ ในเรื่ อ งโชคชะตาอย่ า งรุ น แรง ประชาชนหลงใหลอยู่กับ ลัทธิเชื่อถือเรื่องโชคชะตา อย่างหน้ามืดตามัว และเชือ่ ว่ามนุษย์เป็นเพียงเรือ่ งเล่น ของโชคชะตา ดังนั้นท�าให้พวกเขาเกลียดชังต่อความ ตาย น�าไปสู่การไปสร้างสรรค์และการกระท�าการใดๆ ที่เป็นการพัฒนาทางชีวภาพและทางจิตวิญญาณใดๆ ซึ่งก่อนการมาของศาสดามุฮัมมัด พวกเขาไม่ได้คบคิด ด้านความจริงสูงสุด หรือความมีอยูห่ รือหลักอภิปรัชญา ใดๆ หรือแม้แต่จะส�ารวจความต้องการของชีวิตหรือ หลักความจริงของชีวิต แต่เมือ่ ศาสดามุฮมั มัดถูกแต่งตัง้ และเป็นศาสดา มาเผยแผ่หลักธรรมค�าสอน จะพบว่าหลักอภิปรัชญา และหลักคิดทางปรัชญา ปรากฏเป็นหลักฐานที่ชัดเจน ทั้งจากคัมภีร์อัลกุรอาน แบบฉบับและวจนะของท่าน ศาสดาเอง คั ม ภี ร ์ อั ล กุ ร อาน ต่ อ การน� า เสนอแง่ มุ ม ทาง อภิปรัชญาหลายหัวข้อทีเดียว ซึ่งเราสามารถแบ่งออก เป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้ ก. อัลกุรอานกับความจริงสูงสุด ข. อัลกุรอานกับประเด็นทฤษฎีความรู้ ค. อัลกุรอานกับประเด็นการสร้างโลก ง. อัลกุรอานกับชีวิตและความตาย จ. อัลกุรอานกับวิญญาณ ฉ.อั ล กุ ร อานกั บ ความสั ม พั น ธภาพ ระหว่ า ง พระเจ้ากับมนุษย์ ช. อัลกุรอานกับเจตจ�านงเสรี

ซ.อัลกุรอานกับชีวิตหลังความตายและปรโลก การต่อยอดแนวคิดทางปรัชญาอิสลาม ในสมัยคอลีฟะฮ์ทั้งสี่ เมือ่ ศาสนาอิสลามเกิดขึน้ ณ ดินแดนแห่งอาหรับ และชาวอาหรับยอมรับศาสนาอิสลาม ในช่วงศตวรรษ ที่ 7 ในช่วงแรกๆ ชาวอาหรับได้กระตือรือร้นทีจ่ ะปฏิบตั ิ ตามค�าสั่งสอนของศาสดามุฮัมมัด และยึดหลักการ ต่างๆ ทีเ่ ป็นค�าสัง่ ใช้และค�าสัง่ ห้ามจากคัมภีรอ์ ลั กุรอาน จะไม่ค่อยเห็นภาพของการถกเถียง หรือความขัดแย้ง ทางความคิดสักเท่าไหร่นัก เพราะว่าทุกปัญหาและทุก เรื่องของกรอบความเชื่อ และหลักปฏิบัติของศาสดา มุฮัมมัดจะเป็นผู้ตัดสิน และให้ค�าตอบแก่บรรดาชาว อาหรับในยุคนั้น และความขัดแย้งต่างๆ ในท่ามกลาง มุสลิมก็จะไม่คอ่ ยจะเห็นและการวิพากษ์ตา่ งๆ ก็มนี อ้ ย มาก จะมีเพียงเรื่องเล็กๆ เท่านั้น เป็นสภาพของความ สมานฉันท์และความเป็นเอกภาพสูงมากทีเดียว เมือ่ ศาสดามุฮมั มัดเสียชีวติ ลง อาณาจักรอิสลาม เป็นของคอลีฟะฮ์และเป็นอ�านาจการปกครองทีศ่ าสดา มุฮมั มัดได้ทา� นายและกล่าวไว้กอ่ นทีท่ า่ นจะเสียชีวติ ว่า “ภายหลังจากฉันจะมีคอลีฟะฮ์ ผูป้ กครองถึง 12 ท่าน ทั้งหมดเป็นชาวกุเรช” ท่ า นอบู บั ก รถื อ ว่ า เป็ น บุ ค คลแรกที่ ถู ก เลื อ ก เป็นคอลีฟะฮ์ และเป็นผู้ปกครองอาณาจักรอิสลาม โดยมีนครมะดีนะฮ์เป็นศูนย์กลางและศูนย์บัญชาการ บทบาททางแนวคิดทางปรัชญาในยุคการปกครองของ คอลีฟะฮ์อบูบักร ยังไม่มีการถกเถียงกันมากเท่าใดนัก เนื่องจากมีประเด็นปัญหาอื่นๆ ที่เข้ามาแซกแซงใน แวดวงมุสลิมในยุคนั้น มีความขัดแย้งในเรื่องต�าแหน่ง ผู้น�าภายหลังศาสดา มีสาวกของท่านศาสดาบางกลุ่ม ไม่ยอมรับการเป็นคอลีฟะฮ์ของอบูบักร และเชื่อว่า ต�าแหน่งผู้น�านั้นเป็นสิทธิของท่านอะลี บินอบีฎอลิบ ดังนั้น ระบบทางกระบวนการคิดทางปรัชญายังอยู่ ในวงแคบๆ และยังคงยึดหลักความเชื่อที่ท่านศาสดา มุฮัมมัดเคยสอนสั่งไว้ หรือจากคัมภีร์อัลกุรอานยังไม่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 35


เข้าประเด็นปลีกย่อย ท่านอุมรั อิบนิคอ็ ฏฏ็อบเป็นคอลีฟะฮ์สบื ต่อจาก คอลีฟะฮ์อบูบกั รและอุศมาน อิบนิอฟั ฟานเป็นผูส้ บื ทอด คนต่อมา สภาพทางการเมืองดุเดือดและเป็นประเด็น ปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มสาวกของศาสดา และมุสลิมอาหรับได้ปะทุเกิดสูญญากาศ จนน�าไปสู่ การลอบสังหารคอลีฟะฮ์อุศมาน ปัญหาทางปรัชญา หรือปัญหาด้านอภิปรัชญายังคงทรงตัว ไม่มีประเด็น ใหม่ๆ หรือต่อยอดกรอบแนวคิดใดๆ เนื่องจากมุสลิม หมกมุ่นอยู่กับปัญหาภายใน และการพิชิตเมืองต่างๆ และจนกระทั่งมาถึงการปกครองของคอลีฟะฮ์อะลีบิน อบีฎอลิบ เป็นช่วงปฎิรูปทางการเมืองและการต่อยอด กรอบแนวคิดทางปรัชญา จนเป็นประจักษ์พยานจาก ผู้ศึกษา จะเห็นว่าค�าสอนของอิมามอะลีที่ถูกบันทึกไว้ เป็นการน�าประชาชนและมุสลิมสู่โลกแห่งปรัชญาและ อภิปรัชญาขัน้ สูงกว่า จนปรากฏสานุศษิ ย์และสาวกของ ท่านมากมาย ที่เชี่ยวชาญด้านปรัชญาและมีความเข้า ถึงฌาณวิสัย ไม่ว่าจะเป็นท่านกุเมล อิบนิซิยาด ท่าน ฮัมมามและท่านอืน่ ๆ และสิง่ ทีเ่ ป็นประจักษ์พยานอย่าง ชัดเจนทีส่ ดุ เป็นหลักฐานจวบจนถึงวันนี้ คือการปรากฏ ของหนังสือ "นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” ที่บันทึกโดยท่าน ซัยยิดชะรีฟ อัรรอฎีย์ เกี่ยวกับธรรมาเทศนา สาส์นและ สุนทโรวาทของอิมามอะลี ซึ่งในถ้อยค�าเหล่านั้นมีหลัก คิดทางปรัชญาขั้นสูง และปรากฏเป็นหลักปรัชญาของ นักปรัชญาในยุคต่อมาเลยทีเดียว และเราจะขอหยิบ บางประเด็นที่เป็นหลักคิดทางปรัชญา ในค�าสอนของ อิมามอะลี ดังนี้ 1. หลักความจริงสูงสุด 2. หลักเอกะของพระเจ้า 3. ชีวิตและความตาย 4. ชีวิตหลังความตาย 5. โลกสสารและโลกจิตวิญญาณ 6. ชีวิตหลังความตายและชีวิตโลกหน้า 7. ปรัชญาการเมือง

36 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

8. ปรัชญาจริยะ 9. ญาณวิทยา 10. มานุษยวิทยา หลังจากนั้น อิสลามแผ่ขยายออกไปอย่างกว้าง ขวางในดินแดนต่างๆ เริ่มจาก ค.ศ. 800 แผ่ขยายสู่ อียปิ ต์ เปอร์เซีย อิรกั เข้าสูย่ โุ รปและแอฟริกาเหนือ และ มีนครรัฐเกิดขึ้นมากมาย อยู่ภายใต้การปกครองของ อาณาจักรอิสลาม นครมะดีนะฮ์ นครมักกะฮ์ แบกแดด และดามัสกัส กลายเป็นแหล่งแห่งอารยธรรมอิสลาม และวิชาการของอิสลาม และท�าให้นักคิดและปราชญ์ ในศาสนาอื่นๆ เข้ายอมรับอิสลาม และพวกเขาก็ได้ ตีความอัลกุรอานตามความเชื่อเดิม และค�าสอนเดิม ของศาสนาของพวกเขา จนเป็นเหตุให้เกิดหลักคิด และความเชือ่ ทีแ่ ตกต่างขึน้ จนเป็นสาเหตุหนึง่ ของการ ก�าเนิดส�านักคิดทางเทววิทยา มีนกิ ายต่างๆ เกิดขึน้ และ น�าไปสู่การขยายตัว ของความคิดทางปรัชญาอิสลาม ในยุคนั้นด้วย และต่อมาความคิดในเรื่องเสรีภาพแห่ง ความประสงค์ของมนุษย์ และความคิดในเรื่องความ กฏสภาวะแห่งการลิขติ ของพระเจ้าได้ปะทะทางแนวคิด ระหว่างกันและกัน ความคิดนี้ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างจน น�าไปสู่การก�าเนิดส�านักคิดขึ้นและลัทธิทางศาสนาขึ้น และมีอา� นาจรัฐเข้ามาสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็ง ในหลักปรัชญานั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และได้น�าพา ไปสู่การตั้งส�านักทางความคิดขึ้น จากมะดีนะฮ์สู่นคร ดามัสกัส กูฟะฮ์ บัศเราะฮ์และแบกแดด จนการปรากฏ ของการปกครองราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ ที่นิยมในด้าน


เหตุผลนิยมและเป็นแหล่งทีม่ าของปรัชญาอิสลามและ การน�าปรัชญาต่างชาติเข้ามาสู่โลกอาหรับอีกโสตหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน หลังจากที่อิมามฮูเซน ผู้เป็น หลานของศาสดาถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม ณ แผ่นดิน กัรบาลาอ์ และการโจมตีนครมะดีนะฮ์ของมุอาวิยะฮ์ ท�าให้ห้องบรรยายของครูและอาจารย์ ต้องปิดฉากลง ไม่มีใครกล้าสนทนาทางวิชาการกันมากมาย เหมือน สมัยก่อนหน้านั้นเท่าใดนัก จนกระทั้งมาถึงสมัยของ มุฮัมมัด อัลบากิรผู้เปรื่องปราดทางปัญญา และวิทยา ปัญญา ท�าให้การน�าเสนอเนื้อหาวิชาปรัชญา กลับมา มีชวี ติ ชีวาอีกครัง้ หนึง่ และอิมามซอดิก (อ.) ผูม้ บี ทบาท สูงได้น�าหลักคิดทางปรัชญาทีแ่ หลมคมมาน�าเสนอ จน สร้างปรากฏการณ์ทางศาสตร์ปรัชญาอิสลาม และ เป็นต้นก�าเนิดปรัชญาอิสลามของส�านักคิดชีอะฮ์ ที่น่า สนใจขึ้น และในยุคนั้นมีการถกเถียงประเด็นปัญหา ทางอภิปรัชญาระหว่างศาสนาต่างๆ มีกวี นักปรัชญา มาประลองความคิดทางปรัชญา กันอย่างดุเดือดที เดียว (อ้างจากหนังสือปรัชญาอิสลาม ฉบับสมบูรณ์ พ.ศ. 2550) ส�านักปรัชญามัชชาอียะฮ์ ส� า นั ก ปรั ช ญามั ช ชาอี ย ะฮ์ เริ่ ม ก่ อ ตั ว ขึ้ น โดย ท่านกินดีย์ ซึ่งต่อมามีการพัฒนาทางด้านแนวคิดทาง ปรัชญามากขึ้น โดยการน�าของท่านฟารอบี ซึ่งถือว่า เป็นผู้มีบทบาทส�าคัญ ในการท�าให้ส�านักปรัชญานี้มี ความรุ่งเรือง และต่อมาได้มาถึงยุคของอิบนุ สินาซึ่ง ถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองที่สุดของปรัชญาส�านักมัชชา อียะฮ์ เพราะว่าต�าราปรัชญาของส�านักนี้ถูกเขียน และ ถูกน�าเสนอขึ้นอย่างชัดเจน และรุ่งเรืองสู่โลกตะวันตก โดยการเผยแพร่ของท่านอิบนุมสั กุวยั อิบนุบจั ญะฮ์และ อิบนุรุชด์ ซึ่งมีบทบาทมากในการน�าปรัชญาอิสลาม ส�านักมัชชาอียะฮ์ไปสู่ตะวันตกและหลังจากนั้นในโลก อาหรับเช่นในอิรัก ท่านนะซีรุดดีน ฏูซีย์ได้น�าแนวทาง ของส�านักปรัชญามัชชาอียะฮ์มาเผยแพร่ต่อ และต่อ มาเดินทางเข้าสู่เปอร์เซีย

รูปแบบและลักษณะเด่น ของปรัชญาส�านักนี้ คล้ายกับปรัชญากรีกในแนวอริสโตเติล ซึ่งเป็นแนว เหตุผลนิยม และเราจะน�าทรรศนะทางปรัชญาของ ส�านักนี้และนักปรัชญาคนส�าคัญมากล่าว ดังนี้ 1. ท่านกินดีย์ (เสียชีวิตปี ค.ศ.873) ชื่อเต็มของท่านคือ อบูยูซุฟ ยะอ์กูบ บินอิสฮาก บินศ็อฟบาฮ์ บินอิมรอน บินอิสมาอีล บินอัชอัส บิน เกส อัลกินดีย์ จากสร้อยนามของท่านที่เรียกว่า "กิน ดีย์” เนื่องจาก ท่านมาจากเผ่าอาหรับยิ่งใหญ่ก่อน อิสลามเผ่าหนึ่งชื่อว่า "กินดะฮ์” และบรรพบุรุษของ ท่านคืออัชอัส บินเกส ซึ่งเป็นสาวกคนหนึ่งของท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) บิดาของเขาคืออิสฮาก บินศ็อฟบาฮ์ อยูใ่ นสมัยการปกครองของบนีอบั บาส ช่วงการปกครอง คอลีฟะฮ์มะฮ์ดแี ละฮารูน อัรรอชีด ซึง่ เขาถูกแต่งตัง้ เป็น ผู้ปกครองเมืองกูฟะฮ์ และท่านกินดีย์ถือก�าเนิดมาใน ช่วงประมาณ 10 ปีก่อนการตายของฮารูน อัรรอชีดคือ ใน ฮ.ศ.ที่ 185 หรือประมาณ ค.ศ.ที่ 851 ในช่วงศตวรรษที่สอง และที่สามแห่งฮิจเราะฮ์ ศักราช ในเมืองกูฟะฮ์และบัศเราะฮ์ เป็นช่วงที่สังคม อาหรับได้เจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเมืองกูฟะฮ์ เป็นศูนย์กลางแห่งปรัชญา ดัง นัน้ ท่านกินดียจ์ งึ ถือก�าเนิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อม แห่งปรัชญาและความอิสระทางแนวคิด ในช่วงแรกของ เขาได้เรียนวิชาการอิสลามเหมือนกับคนอืน่ ๆ เช่นเรียน วิชาอัลกุรอาน วิชานะฮ์วุ ซอร็อฟ(ไวยากรย์อาหรับ) ต่อมาได้เริ่มเรียนนิติศาสตร์อิสลาม และวิชาการด้าน อิลมุกะลาม (เทววิทยาอิสลาม) และท่านกินดียม์ คี วาม นิยมชมชอบศาสตร์ปรัชญา และเทววิทยามากกว่า ศาสตร์อื่นๆ และต่อมาท่านอพยพไปยังกรุงแบกแดด และอุทิศชีวิตของท่าน เพื่อศึกษาวิชาการด้านปรัชญา และเทววิทยา จนกระทัง่ มีความช�านาญในด้านปรัชญา ถึงกับมีความสามารถทางภาษากรีก สามารถอ่านต�ารา ปรัชญากรีกด้วยตนเอง และเขาก้ได้แปลต�าราปรัชญา กรีกเป็นภาษาอะหรับหลายเล่มทีเดียว ซึ่งได้ยืนยัน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 37


จากนักวิชาการยุคหลังอย่างเป็นเอกฉันท์ในเรื่องนี้ ดัง ที่ท่าน อัลก็อฟฎี (นักประวัติศาสตร์ปรัชญาชื่อดังร่วม สมัยของอียปิ ต์) กล่าวว่า "ท่านกินดียแ์ ปลต�าราปรัชญา กรีกหลายเล่ม และเขาท�าให้ความยากของปรัชญาง่าย ลง อธิบายและสรุปประเด็นส�าคัญทางเนื้อหาปรัชญา กรีกไว้อย่างละเอียด”(หนังสือ ตารีกฮุกามาห์ หน้า๒๔๑ พิมพ์ไคโร) ท่านกินดียเ์ ข้าพบกับผูป้ กครองอับบาสิยะฮ์ เช่น มะมูน มุอต์ ะซิมบิลละฮ์ในแบกแดด จนกระทัง่ ได้รบั การ แต่งตัง้ ให้เป็นครูประจ�าราชส�านัก และเขียนต�าราหลาย เล่ม และมอบต�าราเล่มหนึง่ ซึง่ เป็นต�าราส�าคัญของท่าน แก่มุอ์ตะซิมบิลละฮ์ ดังที่ท่านอิบนินะบาตะฮ์กล่าวว่า “กินดีย์ได้มอบต�าร�าส�าคัญบางเล่มให้คอลีฟะฮ์ มุอ์ตะซิมบิลละฮ์”(ชัรฮุ รีซาละฮ์ อิบนิซัยดูน หน้า 113 พิมพ์ทไี่ คโร) และต่อมาท่านกินดียม์ ชี อื่ เสียงมาก เป็นที่ รูจ้ กั กันดีในสมัยของมุตะวักกิลบิลละฮ์ ความมีชอื่ เสียง ทางวิชาการของท่าน ประชาชนจึงเรียกห้องสมุดของคอ ลีฟะฮ์ว่า “ห้องสมุดกินดีย์” ผลงานด้านวิชาการและงานประพันธ์ นักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า แท้จริงท่านกินดีย์ เขียนต�ามากถึง 250 เรือ่ ง แต่สญ ู หายไปเกือบหมด ไม่มี ร่องรอยเหลือไว้ และบทความต่างๆ ที่เขียนไว้หลาย เรื่องมีดังนี้ 1. บทความด้านปรัชญา 2. ด้านตรรกวิทยา 3. ด้านเรขาคณิต

38 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

4. ดนตรี 5. ดาราศาสตร์ 6. คณิตศาสตร์ 7. การแพทย์ และอื่นๆ อีกมากมาย จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่ยืนยันงานเขียน ของกินดีย์ในศาสตร์สาขาต่างๆ ชี้ให้เห็นว่า ท่านมี ความรอบรู้และเป็นนักวิชาการระดับสูงมาก ซึ่งท�าให้ ต�าราบางเล่มของท่านถูกแปลเป็นภาษาลาติน นักแปล งานของกินดีย์ที่มีชื่อเสียง เช่น เจอร์ราดแห่งครีโมนา (Gerard of Cremona) ท�าให้กินดีย์มีอิทธิพต่อแวดวง วิชาการตะวันตกในยุคกลางเป็นอย่างมาก และคาโด โน (Cardono) ยังถือว่ากินดีย์เป็นหนึ่งจากสิบสองนัก วิทยาศาสตร์เอกของโลก ต�าราของกินดีย์ที่แปลเป็น ภาษาลาตินที่มีชื่อเสียง เช่น - Albino Nagy เป็นต�าราด้านการแพทย์ - De intellectu เป็นต�าราเกี่ยวกับปัญญา - Desomno et Visione เป็นต�าราเกี่ยวกับการ ระเบียบการนอนและการท�านายฝัน - Liber inteoductorius in artem logicare หนังสือเกี่ยวกับศาสตร์ตรรกะและวิธีหาเหตุผล ต่อมามีการค้นพบร่องรอยทางวิชาการ ด้าน ปรัชญาของกินดีย์ที่เป็นภาษาอาหรับ และถูกน�ามาตี พิมพ์ในเมืองอิสตันบูล ตุรกี จึงสามารถจะวิเคราะห์ แนวคิดทางปรัชญาของท่านได้อย่างถูกต้อง 1. ปรัชญาในมุมมองของท่านกินดีย์ ท่านกินดีย์มองปรัชญาว่า เป็นวิชาการขั้นสูงสุด เพราะเป็นศาสตร์แห่งการสืบค้น หาความจริงแท้สงู สุด และการศึกษาปรัชญาคือการเข้าถึงความจริงแท้ ดังนัน้ ท่านกินดีย์จึงให้นิยามปรัชญาไว้ว่า “ปรัชญาคือ การรู้จักความจริงแท้ของสรรพสิ่ง และความจริงสูงสุด เท่าที่มนุษย์มีความสามารถ” จากค�านิยามของกินดีย์ สามารถวิเคราะห์ได้ ว่า แท้จริงกินดีย์เชื่อว่ามีความจริงแท้สูงสุดอยู่เหนือ


โลกวัตถุนี้ ซึ่งเป็นอมตะและอวัตถุและมีความจริงแท้ ของสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นวัตถุ และการจะเข้าใจต่อ สารัตถะของความจริงแท้สูงสุดและเอกภพนั้น ต้องพึ่ง ศาสตร์ปรัชญา และกินดียย์ งั มีมมุ มองว่า เป้าหมายของ ปรัชญา คือการเข้าถึงแก่นแท้ของความจริงสูงสุด และ พร้อมกับการมีด้านปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี จึงจะเข้า ถึงความจริงสูงสุด หรือที่กินดีย์เรียกในต�าราของท่าน ว่า "อะกีเกะฮ์” คือพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง และท่านถือว่า เนื้อหาของปรัชญาคือ”พระเจ้า” กินดีย์ยังถือว่าความจริงสูงสุด มีเพียงหนึ่งเดียว แต่มคี ณ ุ ลักษณะมากมายเช่นเรียกว่า พระผูส้ ร้าง ผูท้ รง เอกะ คือผู้บริหารและให้ความเป็นระบบระเบียบต่อ เอกภพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์เอง และถ้าได้ วิเคราะห์ทรรศนะของกินดีย์จะเห็นว่า ทรรศนะในเรื่อง นี้เหมือนกับทรรศนะของอริสโตเติล นักปรัชญากรีก โบราณ แต่แตกต่างอยูท่ วี่ า่ กินดียใ์ ช้คา� แทนค�าว่า ความ จริงสูงสุดว่า ผู้สร้าง(คอลิก) แต่อริสโตเติลใช้ค�าว่าผู้ขับ เคลื่อน (มุฮัรริก) ท่านกินดียแ์ บ่งประเภทปรัชญาเป็นสองประเภท คือ 1. ปรัชญาเชิงทฤษฎี ได้แก่ สาขาวิชาอภิปรัชญา ธรรมชาติวิทยาและคณิตศาสตร์ 2. ปรัชญาเชิงปฏิบตั ิ ได้แก่สาขาวิชาจริยศาสตร์ การเมืองและเศรษฐศาสตร์ ตามทรรศนะของกิ น ดี ย ์ ตรรกศาสตร์ ไ ม่ ไ ด้ เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา แต่เป็นเพียงเครื่องมือช่วย เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ในต�าราของกินดีย์จะไม่เห็นการอ้าง ตรรกศาสตร์เอาไว้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งการยากในการ ท�าความเข้าใจต่อทรรศนะทางปรัชญาของท่าน จน กระทั่งถึงสมัยของอบูนัศร์ ฟารอบี จึงน�าตรรกศาสตร์ มาเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของปรั ช ญา และถื อ ว่ า เป็ น วิ ธี คิ ด ของอิสลาม จนท่านฟารอบีได้รับการยกย่องว่าเป็น "ปรมาจารย์คนที่สอง” (มุอัลลิมซานี) เนื่องจากท่าน เป็นผูน้ า� ตรรกศาสตร์เข้ามาในปรัชญาอิสลาม (อ้างจาก

หนังสือฟัลซะฟะฮ์ ดัร อิสลาม เล่ม 1 หน้า 598 พิมพ์ที่ อิหร่านปี 1362 (ปีอิหร่าน) แปลมาจากหนังสือเดิมคือ "A History of Muslim Philosophy ) 2. ทรรศนะของกินดีย์ในเรื่องศาสนศาสตร์กับ ปรัชญา กินดีย์พยายามอย่างมาก ในการน�าเสนอต่อ สังคมว่า ปรัชญากับศาสนานั้นไม่ได้ขัดแย้งกัน ซึ่งพื้น ฐานปรัชญามาจากปัญญา และพื้นฐานศาสนามา จากวิวรณ์ และตรรกศาสตร์เป็นเครื่องมือของปรัชญา ส่วนการศรัทธาต่อค�าสอน และความจริงแท้ เช่น เรื่อง พระเจ้าหรือคุณลักษณะของพระเจ้า ชีวติ โลกหน้า และ บรรดาศาสดาทีถ่ กู กล่าวไว้ในคัมภีรอ์ ลั กุรอานคือวิธคี ดิ ของศาสนา สาเหตุที่ท�าให้ท่านกินดีย์ ต้องพยายามน�าเสนอ เรือ่ งนีใ้ ห้เด่นชัดขึน้ มาในสังคม เนือ่ งจากในยุคของการ ปกครองมุตะวักกิลบิลละฮ์ เป็นยุครุ่งเรืองของส�านัก อะฮ์ลุลฮะดีษหรือส�านักจารีตนิยมในอิสลาม ดังนั้น กระแสการโจมตีนักปรัชญามีสูงมาก ถึงกับกล่าวว่า นักปรัชญาคือผู้สร้างอุตริในศาสนา น�าสิ่งที่เป็นอุตริ กรรมมาสู่ศาสนา ท�าให้ท่านกินดีย์ลุกขึ้นต่อสู้ในเรื่องนี้ เพือ่ สร้างความเข้าใจต่อนักศาสนศาสตร์วา่ ปรัชญากับ ศาสนาไม่ได้ขัดแย้งกันเลย และจากค�าวินิจฉัยของนัก นิติศาสตร์อิสลามของส�านักจารีตนิยมว่า "การศึกษา หรือค้นคว้าหาความจริงแท้ของเอกภพ และสรรพสิ่ง (ด้วยทฤษฎีทางปรัชญา) ถือว่าเป็นผู้นอกศาสนา (ผู้ ปฏิเสธ)” และท่านกินดีย์ยังโต้ตอบพวกนักการศาสนา เหล่านั้นว่า “พวกเขา (นักนิติศาสตร์อิสลามพวกจารีตนิยม) ได้รักษาต�าแหน่งของตนไว้ ด้วยหนทางที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมเลย เพื่อเพียงแต่แสวงหาอ�านาจและ ท�าการค้ากับศาสนา จึงประกาศสงครามกับบุรุษแห่ง พระเจ้า (คือนักปรัชญา)” (อัลฟัลซะฟะตุลอูลา หน้า 82 พิมพ์ไคโร ปี ค.ศ. 1957 ปรับปรุงโดยอัลอะฮ์วานีย์) ท่านกินดีย์น�าเหตุผลมาอ้าง ถึงความสัมพันธ์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 39


(ซ้าย) อัลกินดีย์ (ค.ศ.801-873) นักเทววิทยาและนักปรัชญายุคแรกของอิสลาม (ที่สองจากซ้าย) อัลฟารอบี (ค.ศ. 872-950) นักปรัชญาอิสลามผูไ้ ด้ชอื่ ว่า "ครูคนทีส่ อง" (ทีส่ องจากขวา) อบูอะลีอบิ นุสนิ า (ค.ศ. 980-1038) นักปรัชญานักการแพทย์มสุ ลิม ชาวเปอร์เซียผู้มีชื่อเสียง (ขวา) อิบนุรุชด์ (ค.ศ.1126-1198) นักปรัชญามุสลิมชาวสเปน

ระหว่างศาสนากับปรัชญาดังนี้ 2.1 เนื้ อ หาในเรื่ อ งของพระเจ้ า และพระคุ ณ ลักษณะพระเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา 2.2 วิวรณ์แห่งศาสดากับเนื้อหาทางปรัชญา สอดคล้องกัน 2.3 การสืบค้นการมีอยุ่พระเจ้าหรือความเชื่อใน เรื่องเตาฮีด ต้องมาจากหนทางของสติปัญญา 2.4 สาขาของปรัชญาในการแบ่งของกินดีย์ ท่าน ได้ชใี้ ห้เห็นว่า แม้แต่จริยศาสตร์ ศาสนศาสตร์กเ็ ป็นส่วน หนึ่งของปรัชญา ท่านกินดียเ์ ขียนต�าราเล่มหนึง่ ชือ่ "กัมมียะตุกตุ บุ ุ อะรัสตู” ซึ่งท่านชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างของรูปแบบ ของศาสนากับรูปแบบปรัชญาในแนวอริสโตเติล และ ท่านต้องการจะสื่อให้สังคมมุสลิมรับรู้ว่า ท่านนั้นเป็น มุสลิม ยอมรับพระผูเ้ ป็นเจ้า ยอมรับค�าสอนทางศาสนา และกินดีย์แยกแยะให้เห็นว่า ปรัชญากับค�าสอนทาง ศาสนาที่ท่านศาสดาน�ามา โดยผ่านตัวบทอัลกุรอาน เช่น ในเรือ่ งพระเจ้า เป็นค�าสอนทีส่ งู กว่าเนือ้ หาปรัชญา ทัว่ ๆ ไป และศาสนาในมุมมองของกินดียค์ อื ค�าสอนทาง ด้านทฤษฎีในเรื่องพระเจ้า และหลักศรัทธาอื่นๆ พร้อม กับภาคปฏิบัติควบคู่ไปด้วย และท่านได้แยกแยะว่าวิธี การสืบค้นปรัชญานั้น คือการพิสูจน์ด้วยปัญญา แต่

40 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

วิธีการทางศาสนาคือการศรัทธา และความรู้ของท่าน ศาสดา(ศ็อลฯ)ได้มาจากวะอยู แต่ความรู้ทางปรัชญา ได้มาจากการพิสูจน์ (ทางปัญญา) ท่านกินดียไ์ ด้อรรถาธิบายอัลกุรอานด้วยปรัชญา ดดยท�าให้เห็นว่าศาสนากับปรัชญาเข้ากันได้ เช่น ท่าน เขียนบทความหนึ่งในหัวข้อเรื่อง "สุญูดของเอกภพต่อ พระผู้สร้าง” โดยอ้างหลักฐานการสนับสนุนทฤษฎีทาง ปรัชญาในโองการหนึ่งของอัลกุรอานบทอัลนัจม์ เช่น ได้ให้ความหมายค�าว่าสุญูดเช่น การสุญูดในนมาซ การเชื่อฟัง การพัฒนาจากจุดที่อ่อนแอสู่จุดที่สมบุรณ์ และได้อ้างถึงการซูญูุดของดวงดาวและสรรพสิ่งทั้งใน ชั้นฟ้าและชั้นดิน ด้วยความพยายามของกินดีย์ ท�าให้กระแสการ โจมตีต่อปรัชญาอิสลามลดกระแสลง จนกระทั่งสมัย ต่อมาเช่น ฟารอบี อิบนุสินายึดแนวทางเดียวกับท่าน กินดีย์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระหว่างศาสนากับปรัชญาไม่ ได้ขัดแย้งกันเลย 3. มุมมองในเรื่องพระเจ้าในปรัชญาของกินดีย์ จากเป้าหมายสูงสุดของปรัชญาอิสลาม คือการ บรรลุขั้นแห่งการรู้จักพระเจ้า และการสืบค้นหาความ จริงทั้งๆ หลายในสิ่งที่เป็นอวัตถุ ด้วยเหตุนี้ท่านกินดีย์ จึงพยายามอย่างมาก ในการที่จะน�าปรัชญากรีกสู่โลก


อาหรับ ดังนั้น ท่านจึงมีมุมมองในเรื่องพระเจ้าว่า คือ ความจริงสูงสุด เป็นปฐมเหตุแรกของทุกสิ่ง ซึ่งท่าน อธิบายไว้ว่า “พระเจ้าคือสาเหตุของการก�าเนิดสรรพสิ่ง เป็น ผู้สร้างและเป็นผู้ให้การเคลื่อนไหว (แก่เอกภพ) เป็น อมตะดั้ ง เดิ ม ไม่ ส ามารถมองเห็ น ด้ ว ยสายตา ไม่ เคลื่อนไหว แต่ท�าให้สิ่งอื่นเคลื่อน พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีส่วนประกอบ ไม่สามารถแบ่งหรือแยกเป็นส่วนๆ ได้ พระองค์ไม่ใช่วัตถุ ไม่เป็นเรือนร่างไม่ใช่สสาร”(อัล กินดีย์ว่า อัลบัฎลัมยุซ หน้า 449) จากมุ ม มองของกิ น ดี ย ์ ใ นเรื่ อ งพระเจ้ า ท่ า น น�าศัพท์ทางปรัชญามาแทนคุณลักษณะต่างๆ ของ พระองค์ ซึง่ เป็นการริเริม่ ในปรัชญาอิสลามเรือ่ งพระเจ้า ซึ่งในยุคต่อมาได้น�าศัพท์เหล่านั้น มาเขียนไว้ในต�ารา ปรัชญาอิสลามของส�านักมัชชาอียะฮ์และคุณลักษณะที่ กินดีย์กล่าวไว้นั้น มีอยู่ในอัลกุรอาน เช่น พระองค์เอกะ (จงกล่าวเถิดโอ้มุฮัมมัดว่าอัลลอฮ์ทรงเอกะ) พระองค์ เป็นที่พึ่งของสรรพสิ่ง (อัลลฮทรงเป็นที่พึ่งของทุกๆ สิ่ง) และทุกสิง่ ต้องพึง่ พายังพระองค์ (โอ้ มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้า ต้องพึ่งพายังอัลลอฮ์) ในทรรศนะของกินดีย์ การน�าคุณลักษณะเชิง ปฏิเสธ (ซีฟาตซัลบียะฮ์) ต่อพระองค์เป็นการเหมาะสม กว่าการน�าคุณลักษณะแบบซุบตู ี เช่น กล่าวว่า พระองค์ ไม่มีเรือนร่าง พระองค์ไม่ใช่วัตถุ พระองค์ไม่ใช่สสาร พระองค์ไม่พึ่งพา (อัลฟัลซะฟะตุลอูลา หน้า140) ทรรศนะของกิ น ดี ย ์ ในเรื่ อ งพระเจ้ า และ คุณลักษณะของพระเจ้า มีความคล้ายกับส� านักคิด มุ อ ์ ต ะซี ล ะฮ์ นั่ น ก็ คื อ ส� า นั ก คิ ด มุ อ ์ ต ะซี ล ะฮ์ ป ฏิ เ สธ คุณลักษณะของพระเจ้า หมายถึงพวกเขาปฏิเสธการ กล่าวถึงคุณลักษณะซุบูตียะฮ์ แต่พวกเขาจะกล่าวถึง คุณลักษณะซัลบียะฮ์ เช่น พระองค์ไม่มีสอง พระองค์ ไม่มีส่วนประกอบ พระองค์ไม่เป็นวัตถุ พระองค์ไม่มี เรื อ นร่ า ง และแม้ ก ระทั้ ง ซี ฟ าต ความรอบรู ้ ความ สามารถ ความประสงค์ก็คือย้อนกลับไปยังซีฟาตซัลบี

ยะฮ์ ซึง่ แตกต่างกับส�านักอะฮ์ลลุ ฮะดีษหรือส�านักจารีต นิยมในอิสลาม โดยการน�าของอิมาม อะฮ์มัด อิบนิ ฮัมบัลซึง่ เชือ่ ว่าซีฟาตอัลลอฮ์ทมี่ นุษย์จะเรียกนัน้ ต้องมี ตัวบทอยูใ่ นอัลกุรอานหรือซุนนะฮ์ ห้ามสร้างอักษรหรือ ประโยคใดๆ ที่ใช้เรียกพระองค์ และห้ามตีความ ถ้าอัล กุรอานกล่าวว่า พระองค์มมี อื ก็ตอ้ งเชือ่ ว่าพระองค์มมี อื กินดียม์ ที รรศนะ ในเรือ่ งการพิสจู น์การมีพระเจ้า โดยใช้กฎแห่งการหาสาเหตุ (กออิดะฮ์ฮีลลียะฮ์) นั่นก็ คือทุกๆ สิ่งที่เกิดมา ย่อมมีสาเหตุ และทุกๆ สาเหตุต้อง ไปหยุดอยูท่ สี่ าเหตุสดุ ท้าย ซึง่ เป็นสาเหตุของทุกสิง่ (อิล ละตุลอิลัล) หรือมองจากข้างบนคือปฐมเหตุแรกของ ทุกๆ สิ่งคือพระเจ้า ในปรั ช ญาของอริ ส โตเติ ล แบ่ ง ประเภทของ สาเหตุ (อิละฮ์)ไว้หลายประเภท และถือว่าสาเหตุที่ ท�าให้เกิดเอกภพและสรรพสิ่งคือสาเหตุผู้กระท�าที่มีจุด ประสงค์ (สาเหตุฟาอีลีย์) ในปรัชญากินดีย์ก็เชื่อเช่นนี้ ว่าอัลลอฮ์คือสาเหตุแรกของการท�าให้เกิดสาเหตุอื่นๆ (เป็นอิลละฮฟาอีลีย์) กินดีย์แบ่งประเภทอีลละฮ์ฟาอี ลีเป็น 2 ประเภทคือ 1. อิลละฮ์ฟาอีลีฮะกีกีย์คือเป็นสาเหตุแท้ของ ทุกสิ่ง คือการเกิดและการกระท�าถูกเนรมิตมาจากนั้น คือเริ่มจากการไม่มีสู่การมี ซึ่งกินดีย์เชื่อว่าพระเจ้าเป็น อิลละฮ์ฟาอีลีอะกีกีย์ คือเป็นผู้สร้างจากจุดเริ่มต้นการ ไม่มีสู่การมี 3. อิลละฮ์ฟาอีลี บิลวาซีเฎาะฮ์คือตัวมันเป็น สาเหตุของการเกิดขึ้นอีกสิ่งหนึ่ง และมันก็เป็นปลาย เหตุของอีกสิ่งหนึ่งเช่นกัน เช่น มนุษย์เป็นอิลละฮ์ฟาอี ลีแบบวาซีเฏาะฮ์คือเขามีสาเหตุให้ลูกเกิดมา และตัว ของเขาก็เป็นปลายเหตุที่มีสาเหตุอื่นให้เขาเกิดมาอีก 4. กินดีย์กับทรรศนะเรื่องเอกภพ ในปรัชญาของอริสโตเติลกล่าวว่า แท้จริงเอกภพ เป็นสิง่ ทีส่ ญ ู สลายไม่นริ นั ด์ แต่เวลาเป็นสภาวะทีน่ ริ นั ด์ ด้วยเหตุนกี้ ารเคลือ่ นของอกภพ ด้วยกับอ�านาจของผูท้ ี่ ท�าให้เคลือ่ นนัน้ ทีต่ วั ตนไม่เคลือ่ นและทรงมาแต่ดงั้ เดิม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 41


(กอดีม) ในปรั ช ญาอิ ส ลาม มี ค วามเชื่ อ แตกต่ า งกั บ ปรัชญาอริสโตเติลคือ แท้จริงแล้วเอกภพนั้นมีสภาวะ สูญสลายและเอกภพเป็นสิ่งใหม่ ไม่ใช่สิ่งมาแต่เดิม (ดังความเชื่อของอริสโตเติล) ดังนั้น ปรัชญาอิสลาม พยายามอย่างหนัก ในการที่จะแก้ปัญหาทางปรัชญา ในเรื่องนี้ เพื่อให้สอดคร้องกับค�าสอนทางศาสนา โดย เฉพาะอย่างยิ่งอิบนุ สินาและอิบนุรุชด์ถูกกล่าวหา ว่าเป็นพวกนอกรีต เนื่องจากปัญหาในเรื่องนี้ ท�าให้ อิมามฆอซาลีเขียนหนังสือ "ตะฮาฟุตุลฟัลซะฟะฮ์” ซึ่ง ได้ตั้งกระทู้ถามนักปรัชญามุสลิมถึง 20 ค�าถามทีเดียว หนึ่งในยืี่สิบค�าถามคือ เรื่องของความดั้งเดิมเอกภพที่ ส�านักปรัชญาอิสลามมัชชาอียะฮ์เชื่อ ท่านกินดียน์ า� ทฤษฎีทางปรัชญามาอธิบายเกีย่ ว กับความเชื่อในเรื่องเอกภพว่าเป็นสิ่งใหม่ และไม่อยู่ นิรันดร์ดังนี้ ก. สสารประกอบด้วย มาตดะฮ์และซูเราะฮ์ คือ รูปร่างและเนื้อหา และมีกาลและมีสถานที่ ซึ่งด้วยสอง คุณลักษณะหลัง ท�าให้สสารมีการเคลื่อนที่ ข. เมือ่ ทัง้ สองมีการเคลือ่ น ท�าให้สสารทีม่ รี ปู ร่าง และเนื้อหาเคลื่อนไปด้วย และทุกๆ ที่เคลื่อนต้องสูญ สลาย และทุกๆสิ่งที่สูญสลายไม่ได้เป็นนิรันดร์ กิ น ดี ย ์ น� า ข้ อ พิ สู จ น์ ใ นเรื่ อ งนี้ มากล่ า วไว้ ใ น หนังสือ "ฟียุรมิอาลัม อัลมุตะนาฮี” (ในความเป็นสสาร ของเอกภพที่สูญสลาย) ว่า 1. ในสององค์ประกอบของสสารใด ที่อันหนึ่งไม่ ใหญ่กว่าอีกอันหนึ่ง เรียกว่า เท่าเทียมกัน 2. ถ้ามีหนึ่งองค์ประกอบของสสารใด ได้ใหญ่ กว่าอีกอันหนึ่ง เรียกว่า ไม่เท่าเทียมกัน 3. และสององค์ประกอบที่เกิดในสสารเดียวกัน ซึง่ อันหนึง่ ใหญ่กว่าอีกอันหนึง่ แน่นอนมันต้องสูญสลาย ไม่อยู่ถาวรตลอดไป 4. ดังนัน้ สององค์ประกอบทีม่ คี วามคุญลักษณะ สูญสลาย ไม่ถาวร รวมอยู่ในสสารหนึ่ง เท่ากับว่าสสาร

42 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

นัน้ ต้องสลายและไม่ถาวรเช่นกัน ดังนัน้ เอกภพประกอบ ด้วยประเภทของสสารทีไ่ ม่เท่าเทียมกัน ซึง่ แน่นอนต้อง สูญสลาย ดังนัน้ เอกภพจึงไม่ถาวรและสูญสลาย มีเพียง พระเจ้าเท่านัน้ ทีถ่ าวรและไม่สญ ู สลาย(อ้างจากหนังสือ ตารีกฟัลซะฟะฮ์ดัร อิสลาม เล่ม 1 หน้า 605) 5. วิญญาณในทรรศนะของกินดีย์ กินดีย์ได้รับอิทธิพลทางแนวคิด จากอริสโตเติล ในเรื่องวิญญาณ มุมมองของเขาในเรื่องนี้เหมือนกับที่ อริสโตเติลเชื่อ นั่นก็คือแท้จริงวิญญาณคือสภาวะการ มีหนึ่งที่เป็นอวัตถุ และเป็นสภาวะการมีที่บริสุทธิ์ไม่มี ส่วนประกอบใดๆ และแท้จริงวิญญาณนั้นเป็นสิ่งถูก สร้างหนึ่งจากพระเจ้า และวิญญาณเป็นสิ่งที่สมบูรณ์ และมันจะต้องแยกออกจากร่างเมือ่ ถึงเวลาของมัน และ เมือ่ วิญญาณได้ออกจากร่างมนุษย์แล้ว มันสามารถรับ รู้สิ่งต่างๆในโลกนี้ได้โดยไม่ต้องเรียนรู้ และจะพบกับ ความจริงแท้ ที่มีอยู่ในโลกแห่งอวัตถุหรือโลกแห่งทิพย์ และเมื่อออกจากร่างกายแล้ว ก็จะกลับคืนสู่ความเป็น ทิพย์ และหลังจากนั้นก็กลับคืนสู่พระผู้สร้าง กินดีย์เชื่อว่า วิญญาณถ้ามีความสะอาดทาง ด้านภายใน วิญญาณสามารถควบคุมการฝันของเขา ได้ทุกเรื่อง และสามารถจะสนทนากับวิญญาณอื่นๆ ได้อย่างอิสระ (อ้างจากหนังสือรีซาละฮมาอิอะตุลเนา มิ วะรุอยะฮ์ หน้า 46) ทรรศนะของกินดีย์เชื่อว่า วิญญาณมี 3 องค์ ประกอบคือ พลังแห่งความคิดและปัญญา พลังแห่งความอารมณ์ พลังแห่งความโกรธ ท่านกินดีย์ยังมีต�าราเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณและ พลังแห่งปัญญาอยู่หลายเล่ม ซึ่งมีอยู่เล่มหนึ่งหนังสือ ของเขาได้ถูกแปลเป็นภาษาลาติน และภาษาต่างชาติ ท�าให้อิทธิพลความคิดของเขา มีต่อนักคิดของตะวัน ตกมากทีเดียว ท่านอิสฮากอัลกินดียถ์ อื ว่าเป็นนักปรัชญามุสลิม


ในยุคต้น ท่านมีแนวคิดเกีย่ วกับเรือ่ งของญาณวิทยาไว้ ว่าแท้จริงการที่มนุษย์จะสืบค้นหาความจริงและเข้าถึง ความจริงได้ มีเพียง 3 หนทางคือ ก.หนทางของประสาทสัมผัส ข.หนทางสติปัญญา ค.หนทางของวิวรณ์ การรู้แจ้งด้วยทางจิต ท่านกินดีย์ถือว่า การเข้าถึงญาณวิทยาและ การประจักษ์ด้วยหนทางของวิวรณ์นั้น ถือว่าเป็นการ ประจักษ์รู้ที่มั่นคงและเข้มแข็งกว่า และเขาถือว่าการ รู้ด้วยประสาทสัมผัส หรือด้วยการทดลองโดยผ่าน ประสาทผัสสะทั้ง 5 ก็สามารถรับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวของ มนุษย์เองได้สว่ นปัญญาหรือหนทางสติปญ ั ญา เป็นการ ประจักษ์รเู้ ชิงกฏเกณท์ทเี่ ป็นเรือ่ งสากล เป็นหลักคิดใน เชิงนามธรรม ผ่านกระบวนการคิดทางปัญญาและผ่าน การพัฒนาการจากการใช้การเปรียบเทียบหรือการเดา สู่มหรือการมโนภาพจากส่วนย่อยแล้ว สรุปเป็นหลัก คิดในเชิงสากล ออกมาเป็นกฏเกณท์ทางสติปัญญา แต่ท่านกินดีย์เชื่อว่าหลักสติปัญญา เป็นกระบวนการ ของการใช้ความคิดในเชิงความรอบรู้ทั่วไป และเขา เชื่อว่าสติปัญญา ไม่ใช่เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ เหมือนประโยคที่คุ้นเคยและเข้าใจที่กล่าวกัน เช่นทุกๆ ผลของเหตุย่อมมีมูลแห่งเหตุทุกครั้ง เมื่อมีรอยเท้าอูฐ ก็ย่อมมีอูฐ และท่านกินดีย์เชื่อว่าการเข้าถึงความจริง หรือการสืบค้นความจริงของสิง่ ใดสิง่ หนึง่ จะใช้หลักสติ ปัญญาเท่านัน้ ส่วนประสาทสัมผัสเป็นเพียงความเข้าใจ ในเปลือกนอกเท่านัน้ และบทบาทของประสาทสัมผัสมี ได้เพียงเรื่องประเภทย่อย ส่วนการรับรู้ประเภทกฏหรือ หลักสากลนัน้ จะต้องใช้หลักคิดทางสติปญ ั ญาและท่าน กินดีย์เชื่อในเรื่องหลักคิดทางสติปัญญา เหมือนกับที่ อริสโตเติลแจกแจงไว้คือ ปัญญาในรูปของการคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ปัญญาในรูปของศักยาภาพคือ จะเกิดมาเป็น วิญญาณ ปัญญาในการถ่ายโอนจากวิญญาณ จากภาวะ

ของศักยภาพสู่ปัจจุบัน ปัญญาแห่งการแจ่มแจ้ง ท่านกินดีย์เชื่อว่าประสาทสัมผัส และปัญญาใน เรื่องสามัญส�านึก ไม่จ�าเป็นจะต้องให้หลักพิสุจน์หรือ การอ้างอิงเหตุผล และกินดียเ์ ชือ่ ว่ามนุษย์จะมีศกั ยภาพ ทางปัญญาและการประจักษ์รู้และการสัมผัสรู้ ขึ้นอยู่ กับความสามารถทางความคิดและและประสาทสัมผัส ของตนเอง สรุปแนวคิดของท่านกินดีย์ในเรื่องญาณวิทยา ได้ดังนี้คือ ก.ปัญญาและหลักสติปัญญาสามารถจะสืบค้น หาความจริงแท้และความจริงสูงสุดได้ ส่วนเนื้อหาที่ เป็นสามัญส�านึก ไม่จ�าเป็นต้องพึ่งพาต่อหลักฐานการ พิสูจน์หรือการอ้างเหตุผล ข.การประจักษ์แจ้งในความจริง หรือขอบข่าย ของการเข้ า ถึ ง การประจั ก ษ์ แ จ้ ง ต้ อ งพึ ง พายั ง กระบวนการทางความคิดทางปรัชญา ค. กระบวนการทางปัญญา และปรัชญาแข็งแรง กว่ากระบวนการทางผัสสะกระท�าการสัมผัสรู้ ง. การเปลี่ ย นแปลง อาจจะเกิ ด ขึ้ น ได้ จ าก กระบวนการทางด้านผัสสะและประสาทสัมผัส จ.พระเจ้าคือปฐมเหตุแรกของทุกสิ่ง และถือว่า ทุกสิง่ ทีอ่ บุ ตั ขิ นึ้ มา อยูภ่ ายใต้กฏของมูลเหตุและผลแห่ง เหตุและถือว่าการแม่นย�าและความถูกต้องของกฎแห่ง เหตุและผลของเหตุจะไม่เปลี่ยนแปลง ฉ.การเข้าถึงแก่นความจริงโดยผ่านกระบวนการ ทางความคิด และกระบวนการทางประสาทสัมผัสขึ้น อยู่กับความสามารถ และศักยภาพของมนุษย์แต่ละ คน และถือว่าทัง้ สองหนทางสามารถเข้าถึงความจริงได้ ระดับหนึ่งอยู่บนพื้นฐานและตัวแปรหรือองค์ประกอบ อื่นด้วย ต่อฉบับหน้า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 43


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคอิมรอน พิชัยรัตน์

ศำสนำกับ

อรรถปริวรรตศำสตร์ การตีความที่แตกต่างกันของศาสนา ซึ่งหนึ่งใน หลักการพืน้ ฐานของสิง่ นัน้ คืออรรถปริวรรตศาสตร์ และ อีกประการหนึง่ คือการรูจ้ กั ศาสตร์ตา่ งๆ ในศาสนาและ การวิจัย ซึ่งผู้ที่เชื่อถือในเรื่องนี้ต่างเชื่อว่า ผลทั้งหมด ของการเริ่มต้น และก่อนการรับรู้ของนักอรรถาธิบาย ขณะที่มีความเข้าใจเนื้อหา การตีความหลากหลาย ของศาสนามีมุมมองที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าหัวข้อการ สนทนาอรรถปริวรรตศาสตร์ (Hermeneutics) จะเป็น หัวข้อใหม่อันทันสมัยในทางปรัชญาของศาสนา ซึ่ง เป็นผลจากการอภิปรายของนักวิชาการตะวันตก แต่มี การตีความ การแปลความหมายและความเข้าใจเนื้อ ความคล้ายศาสตร์บางประเภทในอิสลาม เช่น วิชาอุซู ลุลฟิกฮ์ (วิชาว่าด้วยกฎระเบียบการวินจิ ฉัย) แนวทางที่ กล่าวถึงในแง่ของเงือ่ นไขทีจ่ า� เป็น เนือ่ งจากเงือ่ นไขและ มาตรฐานการตีความ ไม่อาจตัดสินระหว่างความหลาก หลายในศาสนา ซึง่ ในความเป็นจริงแล้วเป็นเพียงความ สัมพันธ์ในการท�าความเข้าใจเท่านัน้ เอง แต่ปญ ั หาของ อรรถปริวรรตศาสตร์ (Hermeneutics) คือไม่สามารถ ตัดสินความถูกต้องของทุกการตีความได้ และโดยความ เป็นจริงแล้วความเข้าใจของมนุษย์ทุกคน ขึ้นอยู่กับกฎ 44 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

เกณฑ์และความเข้าใจ ซึง่ ท�าความเข้าใจนัน้ มีหลักอยูท่ ี่ การเอาใจใส่ถานะของผู้พูด และผู้เขียนระบบค�าศัพท์ และภาษาที่เขาเลือก และการที่ผู้พูดมีความประสงค์ จริงในความเข้าใจอันเฉพาะ การตีความที่แตกต่างกันของศาสนา การตี ค วามที่ แ ตกต่ า งกั น หรื อ อรรถปริ ว รรต ศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งในสาขาของนักวิชาการศาสนา ซึ่ง บรรดาผูส้ นับสนุนต่างเชือ่ ว่า ผลทัง้ หมดของการเริม่ ต้น ความรู้พื้นฐานต่างๆ ของผู้ตีความอยู่ในระหว่างการ แปลข้อความ หรือการท�าความเข้าใจ ในทรรศนะของอรรถปริวรรตศาสตร์ (Herme neutics) มีทฤษฎีและทรรศนะที่หลากหลาย ซึ่งจะชี้ให้ เห็นเป็นดังต่อไปนี้ 1. ทรรศนะของเฟรเดอริค ชไลมาเคอร์ (Frede ric Schleiermacher) กล่าว่า อรรถปริวรรตศาสตร์ (Hermeneutics) เป็นวิธีการแปลความหมายของตัว บทและหลีกเลี่ยงความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ดี ซึ่ง เกิดจากช่องว่างของเวลา ระหว่างผู้อธิบายความกับ ตัวบท 2. ทรรศนะของวิ ล เฮล์ ม ดิ ล เทย์ (Wilhelm


(ซ้าย) เฟรนด์ริช แดเนียล เอิร์นส์ ชไลมาเคอร์ (ค.ศ.1768-1834) นักเทววิทยาและนักปรัชญาชาวเยอรมัน (ที่สองจากซ้าย) วิลเฮล์ม ดิลเทย์ (ค.ศ. 1833-1911) นักประวัติศาสตร์ นักปรัชญา นักจิตวิทยาและนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน (ที่สองจาก ขวา) มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (ค.ศ. 1889-1976) นักปรัชญาแนวอัตถิภาวนิยม ชาวเยอรมัน (ขวา) ฮันซ์ จอร์จ กาดาเมอร์ (ค.ศ. 1900-2002) นักปรัชญาชาวเยอรมัน

Dilthey) กล่าว่า อรรถปริวรรตศาสตร์คอื พืน้ ฐานส�าหรับ วิชามนุษยศาสตร์ ซึง่ ตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เขาเชื่อว่า ประวัติศาสตร์มีส่วนร่วมในการตีความของ นักอธิบายความทั้งหลาย 3. ทรรศนะของมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ (Martin Heidegger) กล่าว่า อรรถปริวรรตศาสตร์คือการ อธิบายลักษณะของความเข้าใจ เงื่อนไขของความ ส�าเร็จของมัน เขาได้เปลี่ยนแนวทางของอรรถปริวรรต ศาสตร์กบั ปรัชญาของการรูจ้ กั การมีอยู่ และบนพืน้ ฐาน ทางสังคมวิทยา สิง่ นัน้ จึงอยูใ่ นฐานะของการอธิบายถึง สิ่งที่มีคืออะไร และองค์ประกอบของความเข้าใจ และ เงื่อนไขของการส�าเร็จของมัน 4.ทรรศนะของเอช จี กาดาเมอร์ (H. G. Gadamer) กล่าว่า อรรถปริวรรตศาสตร์คือการรวม ขอบเขตต่างๆ เข้าด้วยกัน เขาน�าเอาข้อวิภาษด้าน อภิปรัชญาของไฮเดกเกอร์มาเสนอ ในรูปของเรื่อง ญาณวิทยา และในความเป็นจริงแล้ว เขาได้สร้างความ เข้าใจเกี่ยวกับภววิทยา และอรรถปริวรรตศาสตร์ของ กาดาเมอร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการอธิบายขั้นตอนเพื่อให้ เกิดความเข้าใจ โดยไม่ใส่ใจต่อความถูกต้อง ความน่า เชื่อถือหรือการขาดความน่าเชื่อถือใดๆ ทั้งสิ้น ในทรรศนะของเขา ความคิดของผู้อธิบายความ ประกอบขึ้นด้วย ความเชื่อและข้อมูล ความคาดหวัง

สมมติฐาน พื้นฐานเริ่มต้นของโครงสร้าง ซึ่งจะก�าหนด "ความคิด" หรือ "ภูมทิ ศั น์" ของผูต้ คี วาม แน่นอนภูมทิ ศั น์ จะขับเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา กับผู้อธิบาย ความและการที่ได้ย้อนไปสู่โลกหรือวัตถุและตัวบท สิ่ง นีก้ จ็ ะถูกปรับและเปลีย่ นแปลงไป ซึง่ การกระท�าของการ แปลความหมายก็คือ การประกอบภูมิทัศน์เข้าด้วยกัน กล่าวคือ การประกอบและการเชื่อมต่อ ภูมิทัศน์ของ ความเข้าใจของผู้ตีความให้เข้ากับตัวบท ซึ่งงานของ อรรถปริวรรตศาสตร์ ก็คอื การท�าให้ภมู ทิ ศั น์เหล่านีเ้ ชือ่ ม ต่อเข้าด้วยกัน หรือท�าการตกลงระหว่างชนิดของการ สนทนาและการเจรจา ระหว่างผูอ้ ธิบายความกับตัวบท ซึง่ แหล่งทีม่ าของความแตกต่างในการตีความ ก็คอื การ อาศัยค่าเริ่มต้นและภูมิทัศน์เหล่านี้นั่นเอง ความเห็นของกาดาเมอร์ ไม่มที รรศนะใดมีความ สัมบูรณ์ ทีเ่ ป็นไปได้ทจี่ ะแบกรับมุมมองด้านในทัง้ หมด หรือทุกสายพันธุ์ และภูมทิ ศั น์ ทว่าทุกชนิดของการแปล ความหมาย จะด�ารงอยู่ในชนิดหรือขอบข่ายที่มีความ เฉพาะ โดยให้ค�าตรงกับข้อความ ดังนั้น การตีความ บนพื้นฐานดังกล่าวจะให้เกิดความเป็นกลางเป็นไปไม่ ได้ ประกอบกับไม่มีการตัดสินเด็ดขาดขั้นสุดท้าย ใน ความเป็นจริงแล้ว อรรถปริวรรตศาสตร์ในทรรศนะของ กาดาเมอร์การค้นพบความตัง้ ใจบริสทุ ธิห์ รือเจตนาของ ผูเ้ ขียน มิใช่สงิ่ ทีต่ อ้ งพิจารณา เนือ่ งจากจะต้องไม่เอาตัว

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 45


บทมาเป็นภาพทางความความคิดผู้เขียน [7] การวิจารณ์ทฤษฎีของกาดาเมอร์ เนื่องจากการถกเถียงในแง่ของเทววิทยา และ แนวทางปรัชญาของปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าสิ่งนั้นย้อน กลับไปสูท่ รรศนะของกาดาเมอร์เสียเป็นส่วนใหญ่ และ มีจ�านวนมากกว่าวิธีการอื่นๆ และถูกให้ความส�าคัญ มากกว่า ซึ่งตรงนี้จะชี้ให้เห็นการวิจารณ์บางอย่างใน มุมมองของกาดาเมอร์ ประการแรก : ด้วยความหมายอะไร ที่เราต้อง ไม่พจิ ารณาตัวบทและจุดประสงค์ของผูเ้ ขียน โดยให้คดิ ในมุมกว้างทั่วๆ ไป ผู้อธิบายความไม่สามารถแยกหรือ คิดต่างไปตามเกณฑ์ของอัตนัย ในการจ�าแนกขอบข่าย ความคิดของตน ไปจากความคิดของผูเ้ ขียนกระนัน้ หรือ ประการที่สอง : พื้นฐานแนวคิดของกาดาเม อร์จะเห็นถึงประเภทของความสัมพันธ์ ได้อย่างชัดเจน ระหว่างความเข้าใจถูกต้องและผิดพลาด โดยไม่หลง เหลือเขตแดนอีกต่อไป และในความเป็นจริงแล้วทฤษฎี นี้มีความคล้ายคลึงกับทฤษฎี "ความสัมพันธ์" ของ คานต์ (Kant) ประการทีส่ าม : ทัง้ ทฤษฎีและรูปแบบทัว่ ไปของ กาดาเมอร์สามารถท้วงติงได้ การยอมรับประสิทธิผล ของการเริ่ ม ต้ น การตัดสิน และประเพณีต่า งๆ ซึ่ ง ทั้งหมดเป็นภารกิจหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ประการที่สี่ : หากทุกความเข้าใจต้องการการ เริ่มต้น แน่นอนว่า การเริ่มต้นนั้นก็ต้องการค่าเริ่มต้น ด้วยเช่นกัน และสิ่งนี้ในความเป็นจริงก็คือเหตุผลวน และน�าไปสู่การสิ้นสุดที่ล�าดับซึ่งไม่ถูกต้อง[8] ประเด็นเกี่ยวกับการตีความต่างๆ ของศาสนา จนถึงปัจจุบันได้อธิบายอรรถปริวรรตศาสตร์ และการ ตีความต่างๆ ของศาสนาไปแล้ว และได้นบั ทฤษฎีตา่ งๆ เหล่านั้นไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรรศนะของกาดา เมอร์ ซึง่ สะท้อนต่อนักคิดร่วมสมัยอย่างมากมาย ซึง่ ได้ อธิบายประเด็นต่างๆ ไปแล้ว แต่ส�าหรับความสมบูรณ์ ของการวิภาษ จ�าเป็นต้องพิจารณาถึงประเด็นดังต่อ

46 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ไปนี้

ประเด็ น ที่ ห นึ่ ง : ถึ ง แม้ ว ่ า ปั ญ หาของ"การ ตี ค วามต่ า งๆ ของศาสนา" ส่ ว นใหญ่ จ� า น� า มาจาก อรรถปริ ว รรตศาสตร์ ข องปรั ช ญาสมั ย ใหม่ แต่ ก าร อภิปราย การตีความ และความเข้าใจตัวบทก็มีอยู่ใน ประวัติศาสตร์ของศาสตร์อิสลาม ตั้งแต่โบราณแล้ว อาจกล่าวได้ว่า ศาสตร์ในแง่ของอรรถปริวรรตศาสตร์ ในอิ ส ลาม โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในตั ฟ ซี ร อั ล กุ ร อาน อิลม์อุซูลและอิรฟานทางทฤษฎี ก็ได้รับการแนะน�าเอา ไว้ ตัวอย่างเช่น สามารถกล่าวถึงการวิภาษในเรื่อง การตีความ อัลกุรอานประเภทต่างๆ ด้วยเหตุผลของสติปัญญา การอ้างอิงรหัสยะ การประจักษ์ การตีความออัลกุรอาน ด้วยอัลกุรอาน การตีความตามแนวคิดของตัวเอง การ วิภาษเรื่องของค�า และวิธีอื่นอีกมากมาย ประเด็นที่สอง : เนื่องจากตัวบทอันศักดิ์สิทธิ์ ทางศาสนาเป็นการสร้างและเผยแผ่วฒ ั นธรรมของชาว มุสลิม ซึ่งมีบทบาทส�าคัญที่สุดจะต้องรับผิดชอบการ ประพันธ์ศาสตร์ต่างๆ ในศาสนาอิสลาม เราสามารถ กล่าวได้ว่า การแสดงทฤษฎีหรือการศึกษาเกี่ยวกับ วิธีการล้วนอยู่ในขอบข่ายของความเข้าใจทั้งสิ้น การ ตีความ หรือการท�าความเข้าใจกับตัวบท ถือเป็นบทน�า ที่เหมาะสมที่สุดในการวิภาษเรื่องเทววิทยา ดังนั้น สาเหตุและวิธีการที่ถูกน�าเสนอ และความเชื่อในความ เป็นไปได้ของ "การตีความที่หลากหลาย" จากค�าสอน และความเชื่อทางศาสนา มีความท้าทายอย่างใหญ่ หลวงในพืน้ ทีเ่ หล่านี้ วิธกี ารเหล่านีส้ ว่ นใหญ่เกิดขึน้ โดย ปัญญาชนอาหรับและมิใช่อาหรับ ในช่วงปีทผี่ า่ นมา ซึง่ ส่วนใหญ่ได้น�ามาจากอรรถปริวรรตศาสตร์ ของกาดา เมอร์ นักคิดเหล่านี้ได้พยายามน�าเอาหลักอุซูลและวิธี วิภาษของอรรถปริวรรตศาสตร์ปรัชญา มาใช้ในการตี ความอัลกุรอาน และรายงานของศาสนา และน�าไปใช้ ในตรรกะความเข้าใจของศาสนาอีกด้วย แน่นอนว่า การ เลือกของเขาในกรณีเหล่านี้สามารถสรุปได้ดังนี้


1. บทบัญญัติและตัวบทศาสนาเงียบและไม่ ออกเสียง 2. สมมติฐานอัตนัยทัง้ ในและภายนอกความเห็น ของผู้อธิบายความและผู้ฟัง มีผลต่อการตีความตัวบท 3. สาระส�าคัญของความจริงของศาสนา จะไม่ ตกอยู่มือของผู้ตีความ 4.จะไม่มกี ารตีความทีบ่ ริสทุ ธิห์ รือมีความบริสทุ ธิ์ อันใดทั้งสิ้น และเราจะอยู่ท่ามกลางการผสมผสาน ระหว่างความถูกต้องและไม่ถูกต้อง ประเด็นที่สาม : มุมมองของนักคิดจ�านวนมาก ที่กล่าวถึงข้างต้น มิได้ให้ข้ออ้างจ�าเป็นต่อเกณฑ์และ มาตรฐานต่างๆ ที่สามารถประเมินผลและการตัดสิน การตีความที่แตกต่างได้ และไม่ได้ความพยายามที่จะ แยกระหว่างการตีความที่ถูกต้อง ออกจากความไม่ถูก ต้อง หรือความสอดคล้องออกจากความไม่สอดคล้อง กัน อีกนัยหนึง่ ความเข้าทัง้ หมดจะมีคา่ เท่ากัน ในกรณี ที่วางอยู่บนพื้นฐานทางศาสนา และทฤษฎีที่ดีกว่า ผู้ ตีความจะต้องพยายามแยก และท�าความรูจ้ กั ขอบข่าย สติปัญญาของตนออกจากขอบข่ายของ "ผู้ประพันธ์" และตามเกณฑ์ และมาตรฐานในการแก้ไขทรรศนะของ ตน เพิ่งปรับให้เข้ากันกับความตั้งใจของผู้พูด มิฉะนั้น มุมมองและแนวทางใหม่นี้ นอกเหนือจากความเข้าใจ ศาสนาแล้ว ยังได้ครอบคลุมวิธีการรู้จักความเข้าใจ ทางศาสนาด้วย ตามทรรศนะของนักวิชาการอิสลาม ยอมรับ ความแตกต่างในการท�าความเข้าใจศาสนาว่า เป็น ความจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้มานานแล้ว แต่ความ แตกต่างกันนี้ "เป็นเกณฑ์" ซึง่ ความหมายของเกณฑ์ใน ลักษณะหนึง่ ได้ตคี วามตัวบทของศาสนา ดังนัน้ "ความ พยายามในการท�าความเข้าใจ" หรือ "ความต่างใน ศาสนา" หมายถึง "การตีความตามทรรศนะตัวเอง" และ การก�าหนดความคิดของตน ที่มีต่อตัวบทของศาสนา ซึ่งมิได้ให้ความน่าเชื่อถือในทุกความแตกต่างเหล่านั้น ประเด็นที่สี่ : ดังนั้น สิ่งที่ถูกกล่าวว่าทั้งผู้เสนอ

และผู้สนับสนุน อรรถปริวรรตศาสตร์ปรัชญา และการ ตีความที่แตกต่างกันของศาสนา จะต้องยอมรับ "ผู้ อธิบายความเป็นศูนย์กลาง" ในขณะที่ทฤษฎีของนัก คิดอิสลาม จะแสวงหาความหมายและความตั้งใจจริง ของผู้พูด (นั่นคือพระเจ้าหรือทูตของพระองค์) เป็นวิธี การหนึ่ง ซึ่ง "ผู้ประพันธ์" คือศูนย์กลาง จากสาตุนี้เอง ในมุมมองนี้ผู้อธิบายความ จึงอยู่ในฐานะของผู้ด�าเนิน ตามตัวบท (อัลกุรอานหรือฮะดีษ) ไปตามความตั้งใจ ของเจ้าของค�าพูด ซึง่ สามารถยอมรับทรรศนะทีว่ า่ “ตัว บทคือศูนย์กลาง” ทุกความพยายามและการขวนขวาย ของผูอ้ ธิบายความ ซึง่ ให้ผปู้ ระพันธ์เป็นแกนหรือตัวบท เป็นแกน ถ้าหากการค้นพบมีความละเอียดอ่อนถูกต้อง และเป็นไปตามความหมายของผู้พูดมากเท่าใด และ จากทุกเงือ่ นไขทีเ่ ขาได้ชว่ ยให้เขาเข้าถึง ผูอ้ ธิบายความ ก็จะได้รบั ประโยชน์มากเท่านัน้ เงือ่ นไขและข้อบ่งชีเ้ ช่น เอกสารหลักฐานและพยานหลักฐาน ก็ต้องการฐาน ความรู้พื้นฐานเป็นสิ่งส�าคัญ เช่น กฎการใช้ภาษาของ ผู้พูด การรู้จักกฎเกณฑ์ของภาษา เช่น กฎทั่วไปและ เฉพาะเจาะจง ความกว้างอย่างไร้เงือ่ นไขหรือมีเงือ่ นไข คลุมเครือหรือชัดเจน ขอบข่ายหรือเป็นสาเหตุของการ ประทานตัวบท ฉะนัน้ ไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่า การให้ผปู้ ระพันธ์เป็น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 47


แกน มิได้หมายความว่าเป็นการปฏิเสธความหมายของ ค่าเริม่ ต้นทัง้ หมด แม้วา่ ค่าเริม่ ต้นบางส่วนจะเป็นสาเหตุ สนับสนุนความคิดของผู้อธิยายความที่มีต่อตัวบท อัน เป็นสาเหตุของการตีความ ไปตามทรรศนะของตนเอง กระนั้นค่าเริ่มต้น และความรู้พื้นฐานก็เป็นสิ่งจ�าเป็น และเป็นตัวเลือกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 1. ความรู้พื้นฐานและสมมุติฐานต่างๆ ซึ่งเป็น บทน�าส�าหรับการวินิจฉัย และดึงความหมายจากแก่น แท้ของตัวบท เช่น กฎทางวรรณกรรมและทางภาษา 2. ค่าเริ่มต้นของค�าพูดและความเชื่อ เช่น วิทย ปัญญาของพระเจ้า การชี้น�าด้วยค�าพูดของพระองค์ การเป็นผูพ้ ดู ของอัลกุรอาน ความชัดแจ้งของอัลกุรอาน ข้อพิสูจน์ของคัมภีร์และแบฉบับของท่านศาสดา 3. ค่ า เริ่ ม ต้ น ที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ค� า ถามขึ้ น ทางสติ ปัญญาและข้อสงสัยเพือ่ สอบถามและส�ารวจตัวบทใหม่ ประเด็นที่ห้า: ประเด็นสุดท้ายซึ่งการพิจารณา จุดนี้มีความจ�าเป็นอย่างยิ่ง การตอบค�าถามนี้เป็น เหตุผลที่แม้กระทั่ง ในบริบทของกฎระเบียบที่ชัดเจน การท�าความเข้าใจ และการวินิจฉัยต่างๆ จึงได้เกิดขึ้น ส�าหรับค�าตอบสามารถกล่าวโดยสรุปเช่นนี้ เป็น ที่แน่นอนว่า ความขัดแย้ง ความหลากหลายและความ ขัดแย้งที่ไม่จริงและความแตกต่างในการตีความ ซึ่งใน ความเป็นจริงแล้ว ควรที่จะเก็บเกี่ยวในแนวตั้งของสิ่ง เหล่านั้น ตัวอย่างเช่น เรื่องหลักกฎหมายที่บางครั้ง กฎขัดแย้งกับค�าตัดสิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับสองเวลา สอง โหมดเงื่อนไขและสองสถานะ หรือสองประเด็นที่แตก ต่างกัน ซึ่งในกรณีที่วิเคราะห์โดยละเอียดถึงกรณีที่ขัด แย้ง สามารถขจัดความขัดแย้งออกไปได้ทงั้ หมด อีกนัย หนึง่ คือ สามารถน�าเอาความขัดแย้งเหล่านัน้ มารวมกัน เพื่อหาทางออกที่สมควร อีกประเภทหนึ่งของความหลากหลาย และแตก ต่างเกี่ยวกับการมาตรฐานการคิด ที่ครอบคลุมของผู้ วิจัย หรือผู้ออกความเห็นและผู้อธิบายความ อีกนัย หนึ่ง เนื่องจากต้นก�าเนิดมาจากความแตกต่าง ค่าเริ่ม

48 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ต้น จึงเป็นค�าถาม ซึ่งผู้ตีความจ�านวนมาก บางครั้ง ใช้ความเสมอภาพ และบางครั้งก็ใช้ความแตกต่าง ตั้ง เป็นค�าถามทีแ่ ตกต่างกันต่อคัมภีรศ์ กั ดิส์ ทิ ธิ์ ครอบคลุม หลายด้านของตัวบท รวมทั้งความลึกในแง่ต่างๆ ด้าน ในของคัมภีร์ อันเป็นท�าให้ได้รับค�าตอบที่หลากหลาย ซึ่งในความเป็นจริงค�าตอบทั้งหมดอยู่ในแนวตั้ง และมี ความเห็นเข้าด้วยกัน มิได้อยู่ในแนวนอนและมีความ ขัดแย้งกัน แต่ในกรณีของความหลากหลาย และความขัด แย้ง ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่แท้จริงแต่มิได้อยู่ในแนวตั้ง ที่ พาดพิงไปยังความแตกต่าง ในการตีความเหตุผลของ สิง่ เหล่านีส้ ามารถกล่าวได้เช่นนี้ ไม่สนใจหรือผิดพลาด ในกฎระเบียบของไวยากรณ์อาหรับและวรรณคดี เช่น ไม่ใส่ใจและละเลยต่อข้อยกเว้น หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ ปรากฏอยู่ในตัวบท ขาดการประยุกต์ใช้หลักการของ เหตุผลและตรรกะ เพียงแค่คิดในวิธีการตีความ โดย ขาดความสนใจในเทคนิค บริบท เครื่องหมายต่างๆ และสมมาตรทั่วไปของผู้พูด ไม่ใส่ใจต่อเหตุผลและ เครื่องหมายของสติปัญญา มีการค้นคว้าสายรายงาน และเอกสารประกอบที่ไม่เพียงพอ ขาดการประยุกต์ใช้ ความรู้บางอยาง เช่น อิลมุริญาลและดิรอยะฮ์ สรุ ป ความหลากหลายในตี ค วามตั ว บทของ ศาสนาหนึ่ง หรือคัมภีร์เล่มหนึ่งในลักษณะของ "หลัก เกณฑ์มาตรฐาน" เหมาะสมและในเวลาเดียวกัน "มี ความจ�ากัด" เป็นสิง่ ทีป่ ฏิเสธและหลีกเลีย่ งไม่ได้ในกรณี ที่มีจ�านวนมาก แต่ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คนที่ไม่มี ความ สามารถเพียงพอที่จะใช้ตัวบทหนึ่ง อาจจะเรียกร้อง "การตีความใหม่” (Rereading) จากศาสนาหรือจากตัว บทของศาสนา แน่นอนว่า ความถูกต้องของสิ่งนั้น เป็น หน้าทีข่ องผูเ้ ชีย่ วชาญ และนักวิชาการผูเ้ ชีย่ วชาญด้าน ศาสนาและภาษา ที่ต่องเป็นผู้ก�าหนด


บทความ

เชคชะรีฟ ฮาดีย์

กำรตื่นตัวของ

ศำสนำ

ในยุคโลกำภิวัฒน์ ม

นุษย์คือสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่ง ที่ประกอบ ด้วยร่างกายและวิญญาณ มีสติปัญญา และมีอารมณ์ และมนุษย์ยังมีสัญชาตญาณบริสุทธิ์ที่ เรียกร้อง และพยายามแสวงหาค�าตอบให้กับชีวิต ทั้ง ส่วนทีเ่ ป็นความสุขทางกายภาพแ ทางจิตและวิญญาณ และยังได้แสวงหาสืบค้นบางอย่างให้พบเพือ่ ไปสูค่ วาม สมบูรณ์สูงสุดของตัวตน การด�าเนินชีวิตของมนุษย์มีสองด้าน คือด้าน เอกบุคคลและด้านสังคม เหมือนกับอวัยวะทุกส่วน ของร่างกายมีผลต่อการด�าเนินชีวิตของมนุษย์ และ ต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นมนุษย์ จึงมี ความจ�าเป็นต่อแบบแผนการด�าเนินชีวิตหนึ่ง ที่จะเป็น หลักประกันความผาสุก ทั้งทางกายภาพและทางจิต วิญญาณ ทั้งทางการด�าเนินชีวิตที่เป็นปัจเจกบุคคล และทางสังคม กระบวนแบบแผนนี้ เรียกว่า “ศาสนา” ซึ่งเป็นความจ�าเป็นที่สัญชาตญาณของมนุษย์เรียกหา ดังที่อัลลอฮ์ตรัสว่า

َ َ ‫‌و ْج َه‬ ‫‌حنِي ًفا‌فِ ْط َر َت‬ َ ِ‫ك‌لِل ِّدين‬ َ ‫‌فَأقِ ْم‬ ‫اس‌ َع َل ْي َه‬ َ َّ‫اللَّـ ِه‌الَّتِي‌فَ َط َر‌الن‬ “จงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนา อันเที่ยงแท้เถิด ซึ่ง เป็นฟิฏเราะฮ์ของอัลลอฮ์ทที่ รงสร้างให้มนุษย์มีมันอยู่” (บทที่ 30 (บทอัรอัรรูม) โองการที่ 30) และสิ่ ง มี ชี วิ ต ทุ ก อย่ า ง มี ส ถานะของความ สมบูรณ์อยู่ ซึ่งจะต้องพัฒนาไปสู่จุดสูงสุดของความ สมบูรณ์นั้น และไม่มีหนทางใดที่จะไปสู่ความสมบูรณ์ สูงสุดนั้นได้ นอกจากจะต้องยึดปฏิบัติตามที่ได้ถูก ก�าหนดด้วยพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นระเบียบแบบแผนที่ ชัดเจน และเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด มิได้เฉพาะ กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ดังที่อัลกุรอานกล่าวยืนยันไว้ว่า َ َ‫ق‬ ‫‌خ ْل َق ُه‌ثُ َّم‌ َه َدى‬ َ ‫‌ش ْي ٍء‬ َ ‫‌ربُّنَا‌ال َّ ِذي‌أَ ْع َطى‌ ُك َّل‬ َ ‫ال‬ “มูซากล่าวว่า พระผู้อภิบาลของเรา คือผู้ที่ทุก สิ่งอุบัติขึ้นมา และพระองค์ทรงชี้น�าทางมัน” (บทที่ 20 (ฎอฮา) โองการที่ 50) ค�าว่า “ตืน่ ” ซึ่งตรงข้ามกับค�าว่า “หลับ” และการ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 49


หลับนัน้ คือสภาวะทางร่างกายขณะไม่มสี ติสมั ปชัญญะ การรับรูโ้ ลกภายนอก และความสามารถในการป้องกัน ตนเองจะลดลงอย่างมาก ไม่มกี จิ กรรมต่างๆของการใช้ ชีวิต มนุษย์หายใจในขณะหลับแต่ไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่มีการคิด และการ “ตื่ น ” หมายถึงการกลับมามี สติสัมปชัญญะ กลับมามีชีวิตชีวา ดังนั้น “การตื่นตัวของศาสนา” ให้ความหมาย ในเชิงบวกคือ “การฟื้นฟูศาสนา” นั่นก็หมายถึงการ ท�าให้อิสรภาพ ความยุติธรรมและหลักธรรมค�าสอน ของศาสนามีชีวิตชีวา เป็นการฟื้นฟูศาสนา ให้ความ ส�าคัญต่อค�าสอนของศาสนา ทั้งทางด้านปัจเจกและ ทางด้านสังคม เป็นการน�าหลักการศาสนามาแก้ไข ตัวเองและสังคม แต่ไม่ใช่เป็นการ “ดัดแปลงศาสนา” ทว่าเป็นขบวนการแห่ง “การฟื้นฟูศาสนา” หมายถึง การให้มนุษย์และสังคมกลับมามีชวี ติ ตามครรลองและ บรรทัดฐานของศาสนา ส่ วนความหมายของศาสนา หมายถึงพัน ธะ สัญญาต่างๆ ที่มีต่อพระเจ้า ซึ่งจะขับเคลื่อนมนุษย์ให้ ประคองตนสอดคล้องกับบทบัญญัตทิ ปี่ ระทานแก่ทา่ น ศาสดาเพื่อเป็นวิถีชีวิต ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความหมาย เชิงกว้างของค�าว่าศาสนา ที่สามารถปรับประยุกต์และ น�ามานิยามบทบัญญัตจิ ากพระเจ้า ทีป่ ระทานแก่เหล่า ศาสดาทุกท่าน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาสนาอุดม ไปด้วยแนวความเชื่อ ศีลธรรมจรรยา และประมวล บทบัญญัติจากพระเจ้านั่นเอง การยอมรับว่าบ่อเกิดของศาสนา มาจากตัวของ มนุษย์เอง ก็คงจะเป็นค�าตอบแก่ตัวของเขาว่าแท้จริง การเชื่อดังกล่าวไม่ใช่ความถูกต้องเลย เนื่องจากตัว ของมนุษย์นั้น จะสูญสลายไปพร้อมกับศาสนาก็เป็น ไปได้ หรือนักสังคมวิทยาหรือนักปรัชญาทางสังคมได้ เชื่อว่าการเชื่อ หรือศรัทธาในศาสนาเป็นช่วงเวลาที่ อ่อนแอของมนุษย์ ดังค�ากล่าวของนักสังคมวิทยานัก ปรัชญาลัทธิปฏิฐานนิยม ศาสตราจารย์ออกุ​ุสต์ คองต์ (Auguste Comte) ชาวฝรัง่ เศสผูม้ ชี อื่ เสียงกล่าวถึงการ

50 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

วิวัฒนาการของกระบวนการคิดของมนุษย์ว่า มีสาม ระดับ (three stages of human mind) คือ 1. ระดับต�า่ สุดคือระดับการคิดทางศาสนา (Theo logical stage) เข้าใจทุกอย่างในเชิงลึกลับในท�านอง เหนือธรรมชาติ พิสจู น์ไม่ได้ มีมปี ญ ั หาใดๆ ก็จะยอมรับ ฟังและจ�านนตามค�าสอนนัน้ (ปราศจากการพิสจู น์และ การทดลอง) 2. ระดั บ รองลงมาคื อ การคิ ด ทางอภิ ป รั ช ญา (Metaphysical stage) เข้าใจอะไรก็จะอ้างได้เป็น ระบบ เมื่อเป็นระบบแล้วก็จะพอใจ ไม่ค�านึงว่าระบบ นั้นจะผิดหรือถูก 4. ระดับสูงสุดคือขั้นปฎิฐาน (Positive stage) ขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้นสุดยอดของจิตใจมนุษย์ จะยอมรับ อะไรเป็ น ความรู ้ ด ้ ว ยการทดลอง และการคิ ด ตาม แนวทางวิทยาศาสตร์ และถือว่าผู้ที่ไปถึงขั้นที่สามจัด อยู่ในระดับของพุทธิปัญญา และเขากล่าวว่าส่วนมาก มนุษย์ยังอยู่ในระดับแรก นั่นคือมีกระบวนการคิดเชิง ศาสนายังไม่บรรลุระดับพุทธิปัญญา ส่วนความเชื่อที่ว่า ศาสนาเป็นผลของการสร้าง มนุษย์หรือมาจากการค้นคิดประดิษฐ์ของมนุษย์ บาง ครั้งการอุบัติของศาสนานั้น มีเป้าหมายเพื่อแสวงหา อ�านาจ การล่าอาณานิคม ซึ่งเป็นเป้าหมายทางการ เมืองและอ�านาจการปกครอง หรืออาจจะมีเป้าหมาย ทางด้านเศรษฐกิจ การครอบครองทรัพยากรต่างๆ ไว้ ใ นอาณั ติ ข องตนเอง กล่ า วคื อ ด้ ว ยกระบวนการ ทางการศรัทธาการเชื่อ สามารถครอบครองทรัพยากร อันส�าคัญของโลก ซึ่งโดยกระบวนการสร้างศาสนาดัง กล่าวนี้ สามารถประสบความเร็จทางด้านการครอบ ครองทรัพยากรต่างๆ และสามารถจะควบคุมกลไกล ทางด้านเศรษฐกิจได้ อยู่ในก�ามือของผู้แสวงหาสิ่งดัง กล่าว ซึ่งประจักษ์พยานได้ไม่ว่าจากวิถีของชนชาติใน ยุคโบราณ เช่น ในยุคอียิปต์โบราณ ในสมัยของการ ปกครองกษัตริย์ฟาโรห์ นั ก จริ ย ศาสตร์ ในอดี ต ต่ า งก็ ข บคิ ด ปั ญ หา


จริยธรรมและได้ใช้วธิ กี ารสังคมศาสตร์กา� หนดจริยธรรม อันเหมาะสมไว้แล้วในแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่กล็ า้ สมัย ไปตามกาลเวลา หากยังคงใช้ตามเดิมก็คงจะดูรุ่มร่าม ล้าสมัยสิ้นดี จ�าเป็นต้องคิดสร้างจรรยาบรรณใหม่ ส�าหรับสายอาชีพต่างๆ ที่ต้องเผชิญปัญหา รวมทั้ง เหตุการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีต เป็นหน้าที่ ของนักจริยศาสตร์ปัจจุบัน ที่จะต้องช่วยกันจัดหาสิ่งที่ เหมาะสมกับสมัยมาเสนอ ปัญหาและเหตุการณ์ใหม่ ที่อยู่เบื้องหลังของปัญหาดังกล่าวนี้เอง เรียกตามศัพท์ ปรัชญาของนักหลังนวยุคว่าความเป็นจริงใหม่ (New reality) ความเป็นจริงใหม่ทนี่ กั ปรัชญาหลังนวยุคสังเกต ได้ มีดังต่อไปนี้เป็นอาทิ 1. สังคมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจนตั้งกฎ เกณฑ์ตายตัวก�ากับไม่ได้ นอกจากชี้ให้เห็นสภาพการ เปลี่ยนแปลง 2. ข้อเท็จจริงใหม่ๆในวงการครอบครัว เช่น - ทดลองอยู่กันก่อนแต่งงาน - เหินฟ้าขึ้นไปแต่งงานกันในอากาศหรือด�าลง ไปใต้ทะเลลึก - หย่าร้างกันมากมาย - เรียกร้องสิทธิแต่งงานระหว่างคนเพศเดียวกัน - ท�าบุตรในหลอดแก้ว - ขอสิทธิท�าโคลนนิ่งอย่างเสรี - ขอสิทธิท�าแท้งอย่างเสรี 3. การสื่อสารรวดเร็วท�าให้โลกดูเหมือนว่าเล็ก ลงเท่าหมู่บ้านเดียว 4. การเมืองเปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นว่าเงิน ซื้อได้ทุกอย่าง สร้างความไม่ไว้ใจกันอย่างกว้างขวาง 5. จริยศาสตร์มีแนวโน้มทางประโยชน์นิยมส่วน ตัวและส่วนกลุ่มรุนแรงชัดเจนขึ้นทุกขณะ ปรากฏการณ์ทางความคิด และพฤติกรรมต่างๆ เหล่านัน้ ล้วนแล้วแต่นา� พาไปสูค่ วามสูญเสียความเป็น มนุษย์และการห่างไกลของการเข้าถึงแก่นแท้แห่งชีวิต

ดังนั้นศาสนากับการตื่นตัวในยุคโลกาภิวัฒน์ จึงถือว่า เป็นเรื่องจ�าเป็นที่ทุกๆ ศาสนาต้องหันมาพูดคุยและ สร้างกระบวนทัศน์ที่ถูกต้องแก่ชาวโลก แนวโน้มของจริยธรรมใหม่ 1. ศาสนาต่างๆ มีระบบจริยธรรมควบคุมความ ประพฤติของสมาชิกของตนทุกสายอาชีพอยู่แล้ว ต้อง พิจารณาเป็นศาสนาๆ ไป มีบทลงโทษก�าหนดอยู่แล้ว ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า สมาชิกของแต่ละศาสนาพึง ปฏิบัติตามด้วยศรัทธา และผู้อื่นพึงให้การสนับสนุน ด้วยความย�าเกรงและจริงใจ 2. ปรัชญานวยุคซึง่ ใช้วจนศูนย์เป็นหลัก ก�าหนด จริยธรรมตามความเชื่อที่มีต่อวจนศูนย์ของแต่ละลัทธิ พึงไม่กา้ วก่ายกันแต่พงึ เห็นใจกันและหวังดีตอ่ กันอย่าง จริงใจ 3. ปรัชญาหลังนวยุคสุดขั้ว (Extreme post modernism or deconstructionism) ปฎิเสธวจนศูนย์ อย่างสิ้นเชิง จึงไม่รับจริยธรรมใดๆ ทั้งสิ้น และคิดว่า จริยธรรมเป็นเพียงค�าพูดหรูๆ ที่ท�าไปโดยมารยาทใน สังคมเท่านั้น แต่ก็พึงเกรงใจกันด้วยมารยาทเป็นอย่าง น้อย 4. ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง (Moderate postmodernism or reconstructionism) เชื่อว่ามีวจน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 51


ศูนย์ (Logocenter) แต่มนุษย์เรารูก้ นั คนละส่วน จึงต้อง เคารพความรู้ของกันและกัน และเรียนรู้จากกันในทาง ปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมก็พึงพร้อมใจตกลง กันในแต่ละกลุ่ม ซึ่งอาจจะปรับปรุงได้เสมอตามความ เหมาะสม โดยเชื่อว่าจริยธรรมใดที่ออกมาจากปัญญา และน้าใจดีของมนุษย์ย่อมมีส่วนถูกบ้างด้วยกันทั้งนั้น จริยศาสตร์กับสถานภาพความประพฤติ ในปัจจุบัน จริ ย ศาสตร์ (Ethics) คื อ วิ ช าว่ า ด้ ว ยความ ประพฤติ แบ่งออกเป็น 5 สาขา คือ วิทยาศาสตร์จริยจิต วิทยาจริยะ สังคมวิทยาจริยะ ปรัชญาจริยะ ภูมปิ ญ ั ญา ชาวบ้านหรือขนบจริยะ แต่ที่ง 5 สาขา ต้องการนิยาม เพื่อความชัดเจน และมีประวัติศาสตร์เฉพาะด้านของ ตน จึงนับรวมได้เป็นการศึกษาจริยศาสตร์ 7ด้าน หรือ 7 แท่ง Morality นอกจากจะแปลว่ า จริ ย ธรรมหรื อ ประมวลคุ ณ ธรรมแล้ ว ยั ง อาจจะหมายความถึ ง สถานภาพความประพฤติ ไ ด้ ด ้ ว ย ไม่ ว ่ า สถานภาพ เฉพาะบุคคลหรือสถานการในสังคมในเรื่องของความ ประพฤติ สถานภาพความประพฤติในปัจจุบัน มีปัญหา มาก ถ้าจะรวบรวมให้รอบด้านจริงๆ ก็จะพบว่า ปัญหา จริยธรรมทีม่ นุษย์ในโลกหลังนวยุคกาลังต้องเผชิญหน้า และต้องดิ้นรนหาทางแก้ให้ตกนั้น ส่วนหนึ่งเป็นปัญหา จริงๆ อันเกิดขึ้นกับมนุษย์แห่งยุคโลกาภิวัตน์แบบหลัง นวยุคโดยเฉพาะ เพราะคนรุ่นก่อนไม่รู้จักและไม่มีส่อ เค้าว่าเคยประสบ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ ปัจจุบันโดยแท้ อย่างปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติ ปัญหาโคลนนิ่ง ปัญหาฟรีเซ็กซ์และเซ็กซ์หมู่ ปัญหา ปั่นหุ้น บางปัญหาก็เป็นปัญหาเก่าในรูปแบบใหม่ เป็น ปัญหาที่คนรุ่นก่อนเผชิญหน้ามาแล้วอย่างโชกโชน จน คิดว่าแก้ปัญหาตกไปแล้ว แต่บัดนี้ปรากฏขึ้นมาในรูป แบบใหม่ อย่างเช่น ปัญหาโสเภณีแอบแฝง ปัญหาฉ้อ ราษฎร์บังหลวง ปัญหาซื้อสิทธิ์ขายเสียง

52 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ปัญหาเอาศาสนาบังหน้าหาเงิน ปัญหาการพนัน ด้วยเทคโนโลยี ปัญหายาเสพติดซ่อนรูป ปัญหาทีก่ ล่าว มาข้างต้นก�าลังรุมล้อมกรอบคนในยุคปัจจุบันอย่างไม่ ให้ลืมหูลืมตา รายการสัมมนาแก้ปัญหาจริยธรรมที่จัด กันอย่างมากมายในปัจจุบัน ก็เพื่อหาทางจัดการกับ ปัญหาเหล่านีท้ งั้ เพ ประเด็นเหล่านีน้ กั เขียนจริยศาสตร์ รุน่ ก่อนไม่สไู้ ด้กล่าวถึงหรือบางคนก็ไม่พดู ถึงเอาเสียเลย ด้วยซ�้า จะตาหนิพวกเขาก็ไม่ถูก เพราะปัญหาเหล่า นี้แต่ก่อนไม่ปรากฏในประสบการณ์ของมนุษย์ จะขอ ยกตัวอย่างเฉพาะในระดับชีวิตประจ�าวันเท่านั้น ก็พบ ปัญหาจริยธรรมมากมาย เช่น การเอาเปรียบกันในชีวติ คู่ ความคิดเรื่องชู้สาวและบรรยากาศภายในครอบครัว อันเป็นผลมาจากการลดระดับมาตรฐานของสถาบันลง ต�่ามากๆ อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ มีการยืดหยุ่นกันมากเกิน ควร ปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ แม้แต่ ขนบประเพณีกเ็ ถอะ บางข้อต้องฟันฝ่ามรสุมรุนแรงเพือ่ จะคงอยู่รอดมาได้ บางข้อเลิกล้มไปแล้วกลับคืนชีพมา นิยมกันใหม่ก็มี บางข้อก็กุขึ้นมาตามใจชอบ บางข้อ ถูกลุ้นให้น่าเชื่อถือและมีประกาศิตให้เป็นบรรทัดฐาน ความประพฤติ ทั้งๆ ที่ไม่มีหวังจะได้รับการยอมรับ ทั่วไปให้อยู่ในระดับคุณค่าและมาตรการที่เชื่อได้เสีย


(ซ้าย) ออกุสต์ คองก์ (ค.ศ.1857-1798) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ก่อตั้งสาขาวิชาสังคมวิทยา ลัทธิปฏิฐานนิยม และถือเป็นนัก ปรัชญาวิทยาศาสตร์คนแรก (ที่สองจากซ้าย) เจเรมี เบนแทม (ค.ศ. 1748-1832) นักเขียน นักกฎหมายและนักปรัชญาชาวอังกฤษ (ที่ สองจากขวา) จอห์น สจ๊วต มิลล์ (ค.ศ. 1806-1873) นักปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองชาวอังกฤษ (ขวา) อิมมานูเอล คานท์ (ค.ศ. 17241804) นักปรัชญาชาวเยอรมัน

ด้วยซ�้า แต่กลับได้รับการยกย่องขึ้นเป็นมาตรการที่กัน เชื่อว่า จะช่วยผู้มีศรัทธาให้สบายใจได้โดยไม่ต้องรับ ภาระคิดหาด้วยตนเอง ก็เลยยอมหมอบราบคาบแก้ว รับด้วยศรัทธาแต่โดยดี ที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นก็คือ มีจริยธรรมเกิด ใหม่ในบริบทโลกาภิวัตน์ของชีวิตปัจจุบัน เสนอเป้า หมายทีส่ ดุ ขัว้ ไม่รอบคอบ เพียงแต่จบั โน่นนิดจับนีห่ น่อย เอามาผสมผสานกัน เสนอให้ประชาชนทัว่ ไปรับเป็นวิถี ชีวติ ทัง้ ๆ ทีม่ องเห็นอยูว่ า่ เสีย่ งอันตรายอย่างไม่เคยมีมา ก่อนในประวัตศิ าสตร์ เสีย่ งหายนะใหญ่หลวงจริงๆ คาด คะเนล่วงหน้าไม่ถกู ว่าความเสียหายจะร้ายแรงเพียงใด จะหลีกเลีย่ งก็ไม่ได้ เพราะเป็นส่วนของโครงสร้างสังคม ทุกครั้งที่วางแผนจะท�าอะไรสักอย่าง ก็ต้องยอมรับเข้า มาอย่างไม่มีทางเลี่ยงได้ อย่างเช่นประชาธิปไตยครึ่ง ใบ ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมอย่างเลยเถิด ระบบการ ศึกษาที่ไม่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ และพัฒนาคุณภาพ ชีวติ เป็นต้น ปัญหาต่างๆ ของสถานภาพความประพฤติ จะปรากฏในการศึกษาค้นคว้าของจริยศาสตร์อยูเ่ สมอ เพราะเป็นข้อมูลที่จาเป็นและเป็นพื้นฐานให้ใช้เหตุผล ต่อไป ในความคิดของนักปรัชญาหลังนวยุค ซึง่ ประยุกต์ ออกมาเป็นจริยศาสตร์หลังนวยุค จึงนับว่าสถานภาพ ความประพฤติในปัจจุบัน เป็นข้อมูลสาคัญให้คิดออก

มาเป็นแนวคิดของจริยศาสตร์หลังนวยุคเพือ่ แก้ปญ ั หา คุณธรรมจริยธรรมหลังนวยุค ปัญหาที่กล่าวถึงข้างต้น คงจะต้องยกขึ้นมา เตือนความจ�ากันบ่อยๆ เพื่อมิให้การศึกษาค้นคว้า ของเราหลงทิศ ทั้งนี้จะเป็นพื้นฐานให้จริยศาสตร์ใน ยุคปัจจุบันของเรานี้ดาเนินความคิดได้ เราจะต้องตีแผ่ ปัญหาเหล่านีใ้ ห้เชือ่ มโยงกับประสบการณ์ทเี่ ป็นบริบท เพือ่ ให้ระบบจริยธรรมหลังนวยุคมีทรรศนวิสยั มีทศิ ทาง เสนอตัวสู่ประชาชนอย่างมีรูปแบบได้ รูปแบบที่เกิด ขึ้นในท�านองนี้ จะต้องสามารถชี้ให้เห็นความสาคัญ ว่า ทัศนวิสัยของจริยศาสตร์หลังนวยุคจะมีบทบาท อย่างไรและเพียงไหน ในการช่วยแก้ปัญหาทางตันที่ ประสบกันอยู่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกันค้นคว้า ให้เป็นรูปธรรมว่า จริยศาสตร์หลังนวยุคจะต้องคิดแก้ ปัญหาอะไร จะดาเนินไปทางไหน มีรูปแบบอย่างไรถึง เรียกว่าหลังนวยุคการแก้ปญ ั หาจริยธรรมมีมาพร้อมกับ ปรัชญา เพราะจริยศาสตร์ก็คือด้านปฏิบัติของปรัชญา ทั้งนี้ตลอดทุกยุคของประวัติปรัชญา มนุษย์แสวงหาอะไรในแต่ละยุค ยุคดึกด�าบรรพ์ มาตรฐานความประพฤติของยุคนี้ ก็คือความ เกรงกลัวเบื้องบน และความพร้อมเอาใจเบื้องบนทุก

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 53


ประการ ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดเฉพาะตัวและการได้ เปรียบเหนือคนอื่นและสิ่งอื่นทั้งหมด แต่ละปัจเจก พร้อมที่จะสละบุตรภรรยาให้เทพหรือคนของเทพถ ้า มีสัญญาณบ่งบอกว่าต้องการ ยอมฆ่าคนแม้ลูกของ ตนบูชายัญที่เบื้องบนต้องการอย่างอับราฮัมในไบเบิล เป็นตัวอย่าง ยุคโบราณ ระยะเริ่มต้นด�าเนินชีวิตตามกฎธรรมชาติ ระยะ รุ่งเรืองแสวงหาปรีชาญาณ ระยะเสื่อมแสวงหาความ สุขในโลกนี้ ยุคกลาง สละโลกให้มากทีส่ ดุ และปฏิบตั ศิ าสนกิจให้มาก ที่สุดและเข้มข้นที่สุด เพื่อแลกกับความสุขในโลกหน้า ท�าราวกับว่าบุญบาปเป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง ยุคใหม่หรือนวยุค แสวงหาเกณฑ์ให้ผู้อยู่ในสังคมเดียวกัน มีความ

54 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

สุขในสังคมร่วมกันโดยไม่ค�านึงว่านับถือศาสนาใด มี 3 มาตรการคือ 1) แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวให้มากที่สุดภาย ใต้กฎหมายบ้านเมืองโดยมีเจเรมี เบนแทม (Jeremi Bentham)เป็นหัวหอก 2) แสวงหาประโยชน์สว่ นรวมแล้วประโยชน์สว่ น ตัวจะตามมาเองโดยอัตโนมัติโดยมีจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) เป็นหัวหอก 3) ท�าตามหน้าที่จะได้สบายใจ โดยมีเอมมานู เอล คานต์ (Emmanuel Kant) เป็นหัวหอก หลั ง ยุ ค ใหม่ ห รื อ หลั ง นวยุ ค พวกสุ ด ขั้ ว เอา สุนทรียภาพเป็นจริยธรรม พวกสายกลางมุ่งพัฒนา คุณภาพชีวิตแล้วคุณธรรมจะเกิดขึ้นและพัฒนาสูงขึ้น โดยอัตโนมัติ พฤติกรรมของมนุษย์หลังนวยุค ประเด็นที่เราต้องการศึกษากันก็คือทรรศนวิสัย หลังนวยุค ประเด็นแรกที่จะแฉให้เห็นว่าปรัชญา นวยุคทีค่ น้ คว้ากันมาหลายร้อยปีนนั้ ได้มาถึงจุด ทีป่ รัชญานวยุคเองจะต้องวิจารณ์ตวั เอง บางครัง้ จะต้อง ถล่มตนเองและจะต้องลอกคราบตัวเองด้วยหลายๆ วิธี พฤติกรรมเหล่านีป้ รัชญาหลังนวยุคจะต้องรับถ่ายทอด มาดาเนินต่อไป เพื่อจับให้ได้ว่ามีแนวทางดาเนินชีวิต หลายแนวทาง ที่ทฤษฎีจริยศาสตร์ได้เคยกาหนดไว้ แล้วนั้น บัดนี้กลายเป็นทางตันไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ ความห่วงใยต่อคุณภาพจริยธรรมให้เราต้องดูแลกันต่อ ไป แล้วเราก็พบว่ามีทางเป็นไปได้ใหม่เปิดสูค่ วามเข้าใจ ใหม่เอีย่ มให้เข้าใจปรากฏการณ์ใหม่เกีย่ วกับจริยธรรม จริ ย ธรรมใหม่ คื อ จริ ย ธรรม แบบหลั ง นวยุ ค จ�าเป็นต้องศึกษาปรัชญาหลังนวยุค ให้เข้าใจอย่าง ถ่องแท้แล้วช่วยกันจูงใจ ให้สนใจจริยธรรมหลังนวยุค ซึ่งจะต้องช่วยกันค้นคว้า เพราะไม่มีสูตรสาเร็จรูปวาง ขายในท้องตลาด สังคมโลกาภิวัฒน์ต้องการมุมมองใหม่ จริยศาสตร์ตามแนวหลังนวยุค และที่ต้องเรียก


คุณูประการต่อโลกนี้มาโดยตลอด และสร้างสันติภาพ อย่างยั่งยืนแก่มนุษยชาติ

ว่าหลังนวยุค ก็เพราะตระหนักได้ว่าปรัชญานวยุคมา ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ซึ่งเมื่อประเมินผลงานของตนเองด้วย ตนเอง (Self-critical) ก็ต้องยอมรับว่ามีประเด็นน่า ต�าหนิมากมาย (self– denigrating) และต้องยอมถอด ใจในหลายๆ ด้าน (Self–dismantling)ปรากฏการณ์ ต่างๆ เหล่านี้คือประเด็นที่ปรัชญาหลังนวยุคมีบทบาท จะต้องจับให้ถกู ประเด็นและเสนอให้สงั คมรับรูแ้ ละเมือ่ ทาได้เช่นนี้แล้วก็จะพบว่าหลายๆ วิถีที่เคยได้รับการ สนับสนุนจากทฤษฏีจริยธรรมหลายๆ ทฤษฏีกลับพบ ทางตัน จึงต้องสละทิ้งมุมมองที่ล้าสมัย แต่ทว่าความ พยายามและความสนใจท�าความดี (concern) ไม่เคย ล้าสมัย แต่กลับเปิดทางให้เข้าใจปรากฏการณ์ทาง จริยธรรมชนิดใหม่ถอดด้ามจริงๆ ซึง่ จะต้องหาทางออก ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ ดังนั้น การตื่นตัวของศาสนาในโลกยุคปัจจุบัน และการหันหน้าเข้ามาสานเสวนา ทางด้านวัฒนธรรม และศาสนามากขึ้น เนื่องจากได้ประจักษ์พยานแล้ว ว่าขบวนการแห่งนวยุคภาพ (Modernity) หรือลัทธิ นวยุค (Modernism) สร้างความเสียหายทางด้านศีล ธรรมและคุณธรรมแห่งมนุษยชาติเป็นอย่างยิง่ และมอง ศาสนาเป็นเรือ่ งงมงายหรือเป็นเรือ่ งของคนโง่เขลา ทัง้ ๆ ที่บทบาทของศาสนาในทุกยุคและทุกสมัย ยังคงสร้าง

บรรณานุกรม กีรติ บุญเจือ ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอร์น รู้จัก ปรัชญา เล่ม 1 กรุงเทพฯ , มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2545 คณาจารย์จากคณะอุศูลุดดีน สถาบันดัรรอเอฮัก เมือง กุม แปลโดย เชคซัยนุลอาบีดีน ฟินดี้ 2540 รากฐานศาสนา อิ สลาม กรุ ง เทพฯ : ศู นย์ วั ฒ นธรรมสถานเอกอัค รราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ากรุงเทพฯ ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. 2539. “ชาติพันธุ์และความขัด แย้ง : มรดกอันตราย ณ จุดเปลี่ยนศตวรรษ”. ในวีระศักดิ์ จงสู่ เชคชะรี ฟ ฮาดี ย ์ 2551. ค� า สอนจากนะฮฺ ญุ ล บะ ลาเฆาะฮฺ กรุงเทพฯ. : สถานศึกษา ดารุลอิลม์ มูลนิธิ อิมามคูอี สนิท ศรีส�าแดง. พุทธศาสนากับหลักการศึกษา : ภาค ทฤษฎีความรู้. กรุงเทพฯ: นีลนาราการพิมพ์, 2535. Ayatullah Misbah Yazdi. Jami ah wa Tareek. Qom Iran : Sazman Tabliqat 1372 Ali Rubbani Kulbaikani .Hukumat vila ee wa Imamat Rahbari. Qom Iran 1388 Ayatullah Misbah Yazdi. Amozis falsafah. Qom Iran : Sazman Tabliqat 1370 Ayatullah Misbah Yazdi. Dar_yuzteju hirfan islami. Qom Iran : Sazman Tabliqat 1382 Ayatullah Motahari. Kalam Hirfan wa Hikmat Hamali. Qom Iran : Sazman Tabliqat 1370 AbdolHossein Khoropanah. Philosophy of Islamic Philosophy Qom Iran : Sazman Intisharath.1387

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 55


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคฮูเซน บินซาเล็ม

คุณสมบัติ

ผู้ศรัทธำ ใ

นหนังสือมะอานี อัลอัคบาร และคิศอลของ เชคศอดดูก (รฮ.) รายงานมาจากอะมีรุล มุอ์มินีน (อ.) กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงซ่อน 4 ประการไว้กับ อีก 4 ประการ คือ ประการแรก พระองค์ ท รงซ่ อ นความพึ ง พอ พระทัยของพระองค์ไว้กับการเชื่อฟังพระองค์ และพึง อย่าคิดว่า การเชื่อฟังพระองค์เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะ บางทีมันคือสิ่งที่สอดคล้องกับความพึงพอพระทัยของ พระองค์ แต่ท่านไม่รู้ ประการที่สอง พระองค์ทรงซ่อนความโกรธกริ้ว ของพระองค์ ไว้กบั การฝ่าฝืนและไม่เชือ่ ฟังพระองค์ และ พึงอย่าคิดว่า การฝ่าฝืนและไม่เชือ่ ฟังพระองค์เป็นเรือ่ ง เล็กน้อย เพราะบางทีมนั คือสิง่ ทีส่ อดคล้องกับความกริว้ โกรธของพระองค์ แต่ท่านไม่รู้ ประการทีส่ าม พระองค์ทรงซ่อนการตอบรับของ

56 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

พระองค์ไว้ในการวอนขอกับพระองค์ และพึงอย่าคิดว่า การวอนขอต่อพระองค์เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราบางที มันอาจสอดคล้องกับการตอบรับของพระองค์ แต่ท่าน ไม่รู้ ประการที่สี่ พระองค์ทรงซ่อนมิตร (วะลี) ของ พระองค์ไว้อยู่ในท่ามกลางปวงบ่าวของพระองค์ และ พึงอย่าคิดว่าบ่าวจากปวงบ่าวของอัลลอฮ์(ซบ.) เป็น เรื่องเล็กน้อย เพราะบางทีเขาอาจจะเป็นมิตร (วะลี) ของพระองค์ก็ได้ แต่ท่านไม่รู้” ฮะดีษลักษณะนี้ มีรายงานอยู่อีกหลายบทด้วย กันทีร่ ายงานโดยอิมามมะอ์ซมู นี ฮะดีษทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ ว กับจริยธรรม ผู้ที่แสวงหาหรือพยายามขัดเกลาทางจิต วิญญาณ เขาจะให้ความส�าคัญเสมอ และไม่เห็นสิ่งใด ว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อยเลย มิเช่นนั้นแล้วเขาจะกลาย เป็นคนเหลิงและหลงตนเอง มันจะน�ามาซึ่งความทุกข์ ระทม


บุ ค คลที่ แ สวงหาความสมบู ร ณ์ ทางจิ ต วิญญาณนั้น สิ่งใดก็ตามที่ส่งผลให้ประสบผลส�าเร็จ ได้ แม้ว่ามันเป็นการกระท�าสิ่งเล็กน้อยก็ตาม เขาจะไม่ มองข้ามมัน ดังที่ฮะดีษข้างต้นกล่าวเอาไว้ ถือเป็นสิ่งที่ ไม่ควรมองข้าม และควรน�าไปปฏิบัติให้เป็นส่วนหนึ่ง ของการด�ารงชีวิตประจ�าวัน อธิบายฮะดีษข้างต้นได้ดังนี้ คือ ประการที่ 1 พระองค์ ท รงซ่ อ นความพึ ง พอ พระทัยของพระองค์ไว้กับการเชื่อฟังพระองค์ และพึง อย่าคิดว่าการเชื่อฟังพระองค์เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะ บางทีมันคือสิ่งที่สอดคล้องกับความพึงพอพระทัยของ พระองค์ แต่ท่านไม่รู้ สิง่ ทีเ่ ข้าใจได้จากฮะดีษวรรคนีค้ อื การทีจ่ ะท�าให้ พระองค์อลั ลอฮ์ (ซบ.) ทรงพอพระทัยได้นนั้ ต้องปฏิบตั ิ ตามค�าบัญชา และภักดีตอ่ พระองค์เท่านัน้ ดังทีอ่ ะมีรลุ มุอ์มินีนได้กล่าวไว้ในนะฮ์ญุลบะละเฆาะฮ์ตอนหนึ่งว่า ِ ‫‌ر‬ ‫ون‬ َ ‫اج ُع‬ َ ‫إِن َّا‌لِلَّـ ِه‬ َ ‫‌وإِن َّا‌إِل َ ْي ِه‬ “แน่แท้เราเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์(ซบ.) และแน่แท้ เราจะไปยังพระองค์" (อัลกุรอานบทที่ 2 (อัลบะเกาะ เราะฮ์) โองการที่ 156) ความชัว่ ปรากฏขึน้ แล้ว และไม่มผี ใู้ ดทีจ่ ะคัดค้าน และเปลีย่ นแปลงมัน ไม่มใี ครทีจ่ ะห้ามปรามและล้มเลิก จากมัน ด้วยคุณภาพนีพ้ วกท่านหวังจะได้รบั ทีพ่ กั พิงอัน มั่นคงในบริเวณอันบริสุทธิ์ของอัลลอฮ์ (ซบ.) และถูก นับว่าเป็นคนรักทีแ่ ท้จริงของพระองค์หรือน่าประหลาด อัลลอฮ์ (ซบ.) จะไม่ทรงถูกหลอกลวงเกี่ยวกับสวรรค์ ของพระองค์ และจะไม่บรรลุถงึ ความพึงพอพระทัยของ พระองค์ เว้นแต่ดว้ ยการเชือ่ ฟังพระองค์เท่านัน้ อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงลงโทษผู้ที่แนะน�าให้ท�าความดี แต่ตัวเองไม่ กระท�า และผูท้ หี่ า้ มผูอ้ นื่ กระท�าความชัว่ แต่ตวั เองกระท�า อีกประการหนึ่งในเนื้อหาฮะดีษ บ่งบอกถึงการ ตอบรับอะมัลหรือการปฏิบตั ขิ องเขาเป็นสิง่ ส�าคัญโดยที่ ไม่จ�าเป็นว่า จะต้องเป็นการปฏิบัติที่มากมายหรือยิ่ง ใหญ่จนเกินไป โดยในเนือ้ หาต่างๆ ของบทขอพรทีก่ ล่าว

วอนขอต่อพระองค์ว่า “โอ้ พ ระองค์ ผู ้ ซึ่ ง ให้ อ ย่ า งมากมาย ด้ ว ยการ ปฏิบัติอะมัลเพียงเล็กน้อย” หรือในอีกบทหนึ่งกล่าวว่า “โอ้พระผู้ซึ่งยอมรับอะมัลการกระท�า เพียงเล็ก น้อย และทรงอภัยโทษอย่างมากมาย” หรือรายงานอีกบทหนึ่ง ที่ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน (อ.) รายงานไว้ว่า “พวกท่านทัง้ หลายจงให้ความส�าคัญต่อการตอบ รับอะมัลมากยิ่งกว่าตัวอะมัลเถิด” เนื้อหาอีกประการหนึ่ง ที่ฮะดีษเน้นให้เห็นถึง ความส�าคัญของการเชื่อฟัง ภักดีและการฝ่าฝืนนั้น ซึ่ง จะต้องไม่คิดว่ามันเป็นเรื่อง หรือการกระท�าที่เล็กน้อย ดังรายงานบทหนึ่ง ที่ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนกล่าวไว้ว่า “พวกท่านทั้งหลายจงพึงรู้ไว้เถิดว่า แท้ที่จริงสิ่ง ใดก็ตามจะส่งผลเสียในวันฟื้นคืนชีพ มิใช่เป็นเรื่องเล็ก น้อยเลย และสิง่ ใดก็ตาม ทีย่ งั ประโยชน์ในวันฟืน้ คืนชีพ ก็มิใช่เป็นเรื่องเล็กน้อยเช่นเดียวกัน” ในด้านจริยธรรม มีรายงานจ�านวนมากกล่าว เน้นย�้าถึงความส�าคัญและคุณค่าของการปฏิบัติอะมัล ต่างๆ ซึ่งเป็นเงื่อนไขและท�าให้อะมัลมีน�้าหนัก เช่น ความ ตักวา (ความย�าเกรง) ที่ควบคู่กับการปฏิบัติ แต่มันมิใช่เป็นการปฏิบัติอะมัล ในจ�านวนที่มากเพียง อย่างเดียว จากเรื่องเล่าที่กล่าวไว้ในหนังสืออัลกาฟี ที่

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 57


สายรายงานมาจากฮาซัน บินญะฮ์มฺรายงานมาจาก ท่านอิมามอบุลฮาซัน (อ.) ชายคนหนึ่งจากพวกบนี อิสรออีล ได้ท�าอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) นานถึง 40 ปี และท�ากุรบาน (การพลี) แต่ไม่ถูกตอบรับจากพระองค์ เขาจึงกล่าวต�าหนิตัวเองว่า “สภาพอะไรเช่ น นี้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น แก่ ข ้ า พระองค์ นอกจากตัวข้าพระองค์แล้วคงไม่มใี ครเป็นผูท้ ที่ า� ความ ชั่วอีก” อิมาม (อ.) กล่าวว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) ลงวะฮ์ญู แก่เขาว่า “การที่ต�าหนิตัวเองนั้น มันดีกว่าการที่เจ้าท�า อิบาดะฮ์มาถึง 40 ปีเสียอีก" ประการที่สอง พระองค์ทรงซ่อนความโกรธกริ้ว ของพระองค์ ไว้กบั การฝ่าฝืนและไม่เชือ่ ฟังพระองค์ และ พึงอย่าคิดว่า การฝ่าฝืนและไม่เชือ่ ฟังพระองค์เป็นเรือ่ ง เล็กน้อย เพราะบางทีมนั คือสิง่ ทีส่ อดคล้องกับความกริว้ โกรธของพระองค์ แต่ท่านไม่รู้ สิง่ ทีเ่ ข้าใจได้จากฮะดีษบทนีค้ อื จะต้องไม่กระท�า บาป ที่ส�าคัญจะต้องไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย ใน ทรรศนะของบรรดาผู้รู้ในสายจริยธรรมนั้น กล่าวกันว่า ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นการกระท�าบาปแล้ว ไม่มีเล็กหรือใหญ่ ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นบาปใหญ่ทั้งสิ้น ดังที่รายงาน บทหนึ่งที่ท่านศาสดามูฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลาย จงอย่ามองว่ามันเป็นบาป เล็ก แต่จงมองว่าใครเป็นผู้ที่ฝ่าฝืนและกระท�ามัน” หรืออีกบทหนึ่งที่ท่านอะมีรุลมุอ์มินีนกล่าวไว้ใน

58 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ตอนหนึ่งว่า “บาปที่รุนแรงที่สุด คือผู้ที่กระท�ามันคิดว่ามัน เป็นสิ่งเล็กน้อย” ประการทีส่ าม พระองค์ทรงซ่อนการตอบรับของ พระองค์ไว้ในการวอนขอกับพระองค์ และพึงอย่าคิดว่า การวอนขอต่อพระองค์เป็นเรือ่ งเล็กน้อย เพราบางทีมนั อาจสอดคล้องกับการตอบรับของพระองค์ แต่ท่านไม่รู้ สิง่ ทีเ่ ข้าใจได้จากฮะดีษวรรคนีค้ อื ผูศ้ รัทธานัน้ จะ ต้องไม่สิ้นหวัง ในการวอนขอต่อพระองค์อัลลอฮ์(ซบ.) บทวิงวอนทุกบทล้วน แต่มีความส�าคัญทั้งสิ้น โองกา รอัลกุรอานและรายงานจ�านวนมากเน้นถึงความส�าคัญ ในการวอนขอต่อพระองค์อัลลอฮ์(ซบ.) ดังที่มีรายงาน บทหนึ่งจากอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “เป็นความจ�าเป็นส�าหรับพวกท่านทีต่ อ้ งวอนขอ ดุอา ไม่มีสิ่งใดที่จะท�าให้ท่านเข้าใกล้ชิดยิ่งไปกว่ามัน อีกแล้ว และอย่าละทิ้งการวิงวอนเนื่องจากว่าเป็นบท วิงวอนบทเล็กๆ เพราะแท้จริงผู้ที่เป็นเจ้าของบทเล็กๆ นั้นก็เป็นเจ้าของบทใหญ่ๆ ด้วย” จากแบบอย่างของบรรดาศาสดาก็เช่นเดียวกัน ให้วอนขอต่ออัลลอฮ์(ซบ.) ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระท�า เรื่องเล็กๆ ก็ตาม ดังที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซบ.) กล่าว ไว้ว่า “จงวอนขอต่ออัลลอฮ์(ซบ.) ทุกสิง่ ทุกอย่างทีท่ า่ น ปรารถนา แม้กระทั่งเชือกผูกรองเท้าก็ตาม” ประการที่สี่ พระองค์ทรงซ่อนมิตร (วะลี) ของ พระองค์ไว้อยู่ในท่ามกลางปวงบ่าวของพระองค์ และ พึงอย่าคิดว่าบ่าวจากปวงบ่าวของอัลลอฮ์(ซบ.) เป็น เรื่องเล็กน้อย เพราะบางทีเขาอาจจะเป็นมิตร (วะลี) ของพระองค์ก็ได้ แต่ท่านไม่รู้ สิ่ ง ที่ เ ข้ า ใจได้ จ ากฮะดี ษ วรรคนี้ คื อ ผู ้ ศ รั ท ธา นั้นมิควรที่จะมองข้ามบ่าวคนใดของอัลลอฮ์เลย โดย เฉพาะอย่างยิ่ง การไม่ควรดูหมิ่นดูแคลนคนอื่น ที่เรา ไม่รู้จักเขา และเราไม่สามารถวัดคุณค่าของคนได้ด้วย หน้าตา หรือรูปลักษณ์ภายนอก เพราะเขาอาจจะเป็น


มิตรแท้ของอัลลอฮ์(ซบ.) ก็เป็นได้ ดังที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ้อลฯ) ได้กล่าวว่า “มนุษย์ที่ต�่าต้อยที่สุด คือบุคคลที่ ดูถกู เหยียดหยามบุคคลอืน่ ” เช่นเดียวกันลุกมาน ฮะกีม ได้สั่งสอนบุตรของท่านว่า “โอ้ลูกรัก จงอย่าดูแคลนคน อืน่ เนือ่ งจากเสือ้ ผ้าเก่าๆของเขา เพราะว่าพระผูอ้ ภิบาล ของเจ้ากับของเขานั้น คือองค์เดียวกัน” ในรายงานอีกบทหนึ่ง จากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลาย อย่าดูแคลนพี่น้องมุสลิม เพราะแท้จริง ถึงแม้ว่าเขาเป็นบุคคลที่ต�่าต้อย แต่ ณ พระองค์อัลลอฮ์แล้วเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่” เรื่องเล่าเรื่องหนึ่งจากหนังสือ อิสบาตุลวะซียะฮ์ ของมัสอูดี รายงานจากซะอีด บินมุซัยยับเล่าว่า มีอยู่ปี หนึ่งเป็นปีที่แห้งแล้งกันดาร ประชาชนจึงรวมตัวกันมา ขอฝน ฉันเหลือบไปเห็นชายคนหนึ่ง ยืนอยู่บนก�าแพง วอนขอดุอาอ์อยูซ่ งึ่ แยกจากฝูงชน ซึง่ ฉันพยายามเข้าไป ฟังใกล้แต่ก็ไม่ได้ยิน ดุอาอ์ยังไม่ทันจบก็มีเมฆฝนครึ้ม ด�าปกคลุมไปทั่ว เขาขอบคุณต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) และ รีบเดินจากไป ฝนตกหนักจนกระทั่งน�้าใหลหลาก ฉัน ได้ตามชายคนนั้นไป และเห็นเขาเข้าไปในบ้านของ ท่าน อะลี อิบนิฮูเซน เขาเป็นทาสผิวด�า ฉันจึงถามท่าน

อะลี อิบนิฮเู ซน (อ.) ว่า ในบ้าน ของท่านมีทาสรับใช้ผวิ ด�าหรือ เปล่า ฉันต้องการจะซือ้ เขาจาก ท่านอิมาม (อ.) จึงได้ตอบว่า ท�าไมจะไม่ได้ล่ะสะอีด ท่านอิมาม จึงเรียกทาส ทั้งหลาย ออกมารวมกัน แต่ ไม่ใช่คนที่เขาตามหา อิมาม จึงกล่าวว่า “เช่นนั้นก็ยังเหลือ คนเฝ้าคอกม้าและอูฐ อยู่คน หนึ่ง" เมื่อสะอีดเห็น พบว่าเป็น คนเดียวกับที่ขอดุอาอ์ เมื่อวัน ก่อน เมื่อ สะอีดยืนยันที่จะซื้อ อิมาม (อ.) จึงกล่าวแก่ทาสผู้นั้นว่า “สะอีดเป็นเจ้าของ ในตัวเจ้าแล้ว” ทาสผิวด�าจึงกล่าวแก่ฉันว่า “ท่านหรือ ที่ จ ะเป็ น คนที่ พ รากฉั น จากเจ้ า นายของฉั น ” ฉั น จึ ง ตอบเขาไปว่า “เพราะสิ่งที่ฉันเจ้าท่านเมื่อวันก่อนบน ก�าแพง” เมือ่ เขาฟังจบจึงยกมือขึน้ สูฟ่ ากฟ้า วอนขอต่อ อัลลอฮ์(ซบ.) เขาวอนขอต่ออัลลอฮ์ให้น�าชีวิตของเขา กลับไปสู่พระองค์ เมื่ออิมาม (อ.) และสะอีดรวมทั้งคน ที่อยู่ในเหตุการณ์ เห็นดังนี้ต่างก็ร�่าไห้ในความซื่อสัตย์ ที่ทาสผิวด�ามีต่ออิมาม (อ.) เมื่อฉันกลับมาถึงบ้านก็มี คนน�าสาส์นจากอิมามซัยนุลอาบิดีนมาบอกว่า “หาก ต้องการที่จะร่วมละหมาดญะนาซะฮ์ เพื่อนของท่าน ก็จงมาเถิด” เมื่อฉันไปยังบ้านของอิมาม (อ.) ก็พบว่า เขาคือทาสผิวด�าคนนั้น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 59


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคอิมรอน พิชัยรัตน์

ควำมส�ำคัญ

ของกำรศึกษำ

กุรอำนวิทยำ แ

น่นอนที่สุด พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานคือ พระมหาคัมภีร์ที่มีความส�าคัญอย่างยิ่ง ใน การด�าเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะพระองค์ตรัสไว้อย่าง ชัดเจน ถึงเป้าหมายของการประทานคัมภีร์อัลกุรอาน ลงมา นั่นก็คือ “เพื่อเป็นทางน�าส�าหรับมนุษยชาติ” “เพื่อเป็นทางน�าส�าหรับบรรดาผู้ย�าเกรง” นอกจากนั้น พระองค์ยังตรัสถึงคุณสมบัติ ของคัมภีร์อัลกุรอานไว้ หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์ที่แยกแยะระหว่าง ผิดถูก คัมภีร์ที่ไม่มีสิ่งโมฆะใดๆ คืบคลานเข้ามาได้ไม่ ว่าจะจากด้านหน้าหรือด้านหลัง เป็นคัมภีร์ที่ถูกพิทักษ์ ไว้ด้วยพระองค์เอง ฉะนั้นเมื่อพระองค์ ทรงประทานอัลกุรอานลง มาให้แก่ปวงบ่าวของพระองค์ โดยการวะฮ์ยูแก่ท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) จึงเป็นหน้าส�าหรับเราที่จะ

60 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ต้องเข้าหาและศึกษาค้นคว้า ท�าความเข้าใจคัมภีร์เล่ม นี้ ทว่ามันไม่ง่ายนักที่จะเข้าหาและท�าความเข้าใจกับ พจนารถแห่งพระผูเ้ ป็นเจ้า แต่พระองค์กม็ ไิ ด้ทรงปิดกัน้ ส�าหรับปวงบ่าวของพระองค์ ประตูแห่งการเรียนรูย้ งั คง เปิดเสมอส�าหรับปวงบ่าวผ่านการอรรถาธิบายของท่าน ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาลูกหลานผู้บริสุทธิ์ ยิง่ ของท่านในฐานะผูม้ คี วามหยัง่ ลึกในวิทยปัญญา ดัง นั้นก้าวแรกในการเข้าสู้เนื้อหาสารธรรมแห่งหลักธรรม ค�าสอนของพระมหาคัมภีรอ์ ลั กุรอานก็คอื การท�าความ รู้จักกับคัมภีร์อัลกุรอานโดยรวม เป็นการท�าความรู้จัก ภายนอก เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าสู่สารธรรมอันลึก ซึ่งแห่งคัมภีร์ และ “กุรอานวิทยา” ก็เป็นศาสตร์ที่ตอบ สนองสิ่งนี้ได้อย่างตรงประเด็น ผู ้ เ รี ย บเรี ย งจึ ง อยากน� า เสนอบทความ เกี่ ย ว


กับ “กุรอานวิทยา” เพื่อเป็นการปูฐานสู่การศึกษา สาระธรรมแห่งคัมภีร์ต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะยัง ประโยชน์แก่นักอ่านที่เคารพทุกท่าน กุรอานวิทยากับประวัติความเป็นมา (1) กุรอานวิทยา (‫وم‌ ال ُقرآن‬ ُ ‫ ) ُع ُل‬เป็นศาสตร์ ที่กล่าวถึงสภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัลกุรอาน และ เนื้อหาทั้งหมดของศาสตร์นี้คืออัลกุรอาน มีทรรศนะมากมาย ที่ให้ค�าตอบเกี่ยวกับค�าถาม ที่ว่า "อะไรคือสิ่งที่มาจ�าแนกระหว่างศาสตร์ต่างๆ บ้าง ก็ถือว่า บรรทัดฐานของการจ�าแนกระหว่างศาสตร์ ต่างๆ คือวัตถุประสงค์ของศาสตร์นนั้ ๆ ตามบรรทัดฐาน นี้ การมีหลายเนื้อหาหรือเนื้อหาเดียว หรือการมีหลาย เนื้อเรื่องหรือเนื้อเรื่องเดียว ไม่ได้มีบทบาทอะไรเลยใน การจ�าแนกศาสตร์ต่างๆ เพราะหากการจ�าแนกศาสตร์ ต่างๆ อยู่ที่ความแตกต่างของเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องแล้ว ศาสตร์ดา้ นนะฮว์ ทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับค�าทีถ่ กู ให้รอ๊ ฟ (มัร ฟูอาต) เช่นเรื่อง “อัลฟาอิลมัรฟูอุน” “อัลมับดะอ์ มัรฟู อุน” “อัลคอบัร มัรฟูอนุ ” และอืน่ ๆ ซึง่ ต่างก็เป็นเนือ้ เรือ่ ง เดียวกัน ก็จา� เป็นทีจ่ ะต้องให้เนือ้ เรือ่ งเหล่านีเ้ ป็นศาสตร์ ที่แยกออกมาต่างหาก ส่วนศาสตร์ด้าน “กุรอานวิทยา” ที่มีเนื้อหาเดียว กล่าวคืออัลกุรอาน แต่มีหลายเนื้อ เรื่อง แน่นอนการมีเนื้อเรื่องที่มากมายเช่นนี้ย่อมไม่ใช่ บรรทัดฐานของการจ�าแนกศาสตร์ต่างๆ บ้างก็ถือว่าบรรทัดฐานของการจ�าแนก ระหว่าง ศาสตร์ต่างๆ คือ การมีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกันหรือมี เนื้อเรื่องที่ไมเกี่ยวข้องกันระหว่างศาสตร์นั้นๆ ซึ่งเนื้อ เรื่องของแต่ละศาสตร์ ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน และ เนื่องจากความเกี่ยวข้อง ที่เป็นแก่นแท้ของแต่ละเนื้อ เรื่อง โดยไม่จ�าเป็นต้องน�ามาวิเคราะห์กันอีก ความ คล้ า ยคลึ ง กั น และความเกี่ ย วข้ อ งกั น นี้ คื อ สิ่ ง ที่ ม า จ�าแนกศาสตร์ต่างๆ ออกจากกัน ตามที่ ไ ด้ อ ธิ บ ายมาแล้ ว ข้ า งต้ น ก็ เ ป็ น นิ ย าม ที่ครอบคลุมและรัดกุมส�าหรับทุกๆ ศาสตร์ ซึ่งพอที่ จะจ�ากัดขอบเขตของแต่ละศาสตร์ได้ระดับหนึ่ง และ

ผลสรุปก็คือ สามารถน�าบรรทัดฐานของการมีความ เกี่ยวข้องกันระหว่างเนื้อเรื่องในแต่ละศาสตร์ มาแก้ ปั ญ หาส� า หรั บ เนื้ อ เรื่ อ งต่ า งๆ ที่ ยั ง สงสั ย ว่ า มี ค วาม เกี่ยวข้อง หรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์ใดศาสตร์ หนึ่ง และยังเป็นบรรทัดฐานที่ดียิ่ง ส�าหรับเนื้อหาของ “กุรอานวิทยา” และสามารถชี้แจงถึงค�านิยามต่างๆ เกี่ยวกับ “กุรอานวิทยา” เช่นที่กล่าวกันว่า “กุรอาน วิทยา” คือศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์ อัลกุรอานในด้านของการประทานอัลกุรอาน การเรียบ เรียง การรวบรวม การบันทึก การอ่าน การอรรถาธิบาย ความเป็ น ปาฏิ ห าริ ย ์ โองการที่ ม ายกเลิ ก (นาสิ ก ) ,โองการที่ถูกยกเลิก ( มันสูก) และอื่นๆ (1) ด้ ว ยเหตุ นี้ เป้ า หมายของนั ก ค้ น คว้ า ด้ า นอั ล กุรอานเกี่ยวกับ “กุรอานวิทยา” คือวิชาความรู้ต่างๆ ทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นหนึ่งเดียวที่ท�าให้ เข้าใจอัลกุรอานได้ดียิ่งขึ้น และเนื่องจากอัลกุรอานมี หลายด้าน ความเพียรพยามยามในการท�าความเข้าใจ กับด้านต่างๆ นั้น จึงเป็นเหตุให้พบศาสตร์ต่างๆ ขึ้น มากมายเช่น ศาสตร์สาเหตุการประทาน( อัสบาบุน นุซูล) ศาสตร์การอ่าน (กิรออาต) ศาสตร์หลักการอ่าน (ตัจวีด) และศาสตร์โองการทีม่ ายกเลิกและโองการทีถ่ กู ยกเลิก (นาสิกและมันสูก) เหล่านี้ เป็นต้น อีกด้านหนึ่ง เนื่องจากศาสตร์เหล่านี้ทั้งหมด มี ความเกีย่ วข้องกับอัลกุรอาน นักค้นคว้าด้านอัลกุรอาน จึงเรียกศาสตร์เหล่านี้ทั้งหมดว่า “กุรอานวิทยา” (อุลูม อัลกุรอาน) ปัจจุบันชื่อนี้กลายเป็นชื่อเฉพาะ ส�าหรับศาสตร์ นี้ และตามพืน้ ฐานของการเรียกว่า “อุลมู อัลกุรอาน” จึง ไม่สามารถทีจ่ ะจ�ากัดหัวข้อทีเ่ ฉพาะเจาะจงและตายตัว ได้ ดังนั้นศาสตร์นี้อยู่ในฐานะของการท�าความรู้จักกับ ด้านต่างๆ ของอัลกุรอาน โดยรวมแล้วจะเป็นการมอ งอัลกุรอานจากภายนอก ไม่ใช่เป็นการมองจากภายใน ซึ่งแตกต่างจากศาสตร์ “การอรรถาธิบายอัลกุรอาน” (ตัฟซีร) และศาสตร์อื่นๆ ที่อยู่ภายใต้เนื้อหาของ มะอา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 61


ริฟอัลกุรอาน ทีจ่ ะเข้าสูต่ วั บทและการท�าความเข้าใจกับ โองการต่างๆ โดยจะเป็นการมองอัลกุรอานจากภายใน (2) การให้ความส�าคัญและความผูกพันอย่าง มากของมุสลิมที่มีต่ออัลกุรอานในช่วงแรกของอิสลาม จึงเป็นเหตุให้วิวรณ์แห่งฟากฟ้า และปาฏิหาริย์อัน นิรนั ดร์นี้ นับแต่ชว่ งศตวรรษแรกเป็นต้นมา เป็นทีส่ นใจ ของบรรดาสาวกที่ยิ่งใหญ่ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บรรดาผูร้ แู้ ละนักวิชาการในยุคต่อมา เกีย่ วกับด้านต่าง ๆ ของการอรรถาธิบายอัลกุรอานและทุกเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้อง กับอัลกุรอาน ตามความเชื่ อ ของนั ก วิ ช าการด้ า น “อุ ลู ม อั ล กุรอาน” ในหมู่บรรดาสาวกของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อิมามอะลี บินอบีฏอลิบ (อ.) คือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการอรรถาธิบายอัลกุรอานและด้านอุลมู อัลกุรอาน และแม้กระทัง่ ผูท้ รงคุณวุฒอิ ย่างท่าน อิบนิอบั บาส ก็ยงั ศึกษาการอรรถาธิบายอัลกุรอานมาจากท่าน (2) ผู้ที่รายงานเกี่ยวกับอุลูมอัลกุรอาน มากที่สุดใน หมู่คอลีฟะฮ์คืออะลี บินอบีฏอลิบ (3) อับดุลลอฮ์ บินอับบาส อับดุลลอฮ์บนิ มัสอูดและ อุบยั บินกะอ์บ บินเกสก็เป็นหนึง่ ในกลุม่ ผูท้ มี่ สี ถานภาพ

62 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ที่สูงส่งด้านการอรรถาธิบายอัลกุรอานและการอ่านอัล กุรอาน โดยที่ผู้คนได้ศึกษาอัลกุรอานจากท่านเหล่านี้ เรื่อยมา งานเขียนการอรรถาธิบายอัลกุรอาน และเรื่อง เกี่ยวกับอัลกุรอาน เริ่มขึ้นในช่วงศตวรรษที่สอง ต่อ มานักวิชาการมากมายก็สร้างผลงานต่างๆ ด้านอัล กุรอาน ขึ้น จ�าเป็นต้องกล่าวว่า ศัพท์เฉพาะทางวิชาการ “อุลูมอัลกุรอาน” ที่แพร่หลายในปัจจุบันนี้ แตกต่าง จากการใช้ศัพท์เฉพาะนี้ในยุคแรก “อุลูมอัลกุรอาน” ในอดีต ครอบคลุมถึงการอรรถาธิบายอัลกุรอานด้วย เช่นกัน ซึ่งเดิมที ศาสตร์การอรรถาธิบายอัลกุรอาน เคยเป็นศาสตร์หนึ่งที่อยู่ใน “อุลูมอัลกุรอาน” เช่นเดียว กับศาสตร์ปาฏิหาริย์แห่งอัลกุรอาน ประวัติอัลกุรอาน นาสิกและมันสูกและอื่นๆ แต่ต่อมาเนื่องจากการมี เนื้อหาที่มากมายและหลากหลาย จึงท�าให้มีขอบเขต ขึ้นระหว่าง “อุลูมอัลกุรอาน”กับ ศาสตร์การอรรถา ธิบายอัลกุรอาน (4) ซัรกอนีกล่าวว่า "เป็นที่รู้กันในหมู่นักเขียนเกี่ยวกับศาสตร์ “อุลูม อัลกุรอาน” ว่า ศัพท์เฉพาะทางวิชาการนี้เริ่มขึ้นใน ศตวรรษที่ 7 แต่ข้าพเจ้าพบต�าราอัลบุรฮาน ฟี อุลูมิล กุรอานมีทั้งหมด 30 เล่ม ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 15 เล่ม ใน ดารุลกุตุบของอียิปต์ ซึ่งเป็นผลงานของท่านอะลี บิน อิบรอฮีม บินสะอีด ซึ่งถูกรู้จักในนามเฮาฟี (เสียชีวิตปี ฮิจเราะฮ์ศักราช 430) ด้วยเหตุนี้จึงสามารถกล่าวได้ว่า ศาสตร์นี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 (5) หลังจากที่ท่านได้ถกเถียง เกี่ยวกับเรื่องความ เป็นมาของศาสตร์ “อุลมู อัลกุรอาน” ท่านก็ได้รบั บทสรุป ว่า “อุลูมอัลกุรอาน” เริ่มเป็นศาสตร์หนึ่งในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 4 โดยอิบรอฮีม บินสะอีด เฮาฟี และรับช่วง ต่อในศตวรรษที่ 6 และศตวรรษที่ 7 โดยอิบนุเญาซี (เสีย ชีวติ ปีฮิจเราะฮ์ศกั ราชที่ 597) ต่อมาก็ทา่ นสะคอวี (เสีย ชีวิตปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 641) และท่านอบูชามะฮ์ (เสีย


ชีวิตปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 665) และในช่วงศตวรรษที่ 8 โดยท่านซัรกะชี และสมบูรณ์ในศตวรรษที่ 9 ด้วยความ เพียรพยายามของท่านกาฟีญแี ละท่านญะลาลุดดีน บัล กีนี ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 9 และช่วงต้นศตวรรษ ที่ 10 ท่านสุยฏู ไี ด้เป็นผูเ้ ข้ามาท�าให้เป็นรูปเป็นร่างขึน้ (6) งานเขียนที่ครอบคลุมประเภทต่างๆ ของ “อุลูม อัลกุรอาน” เริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 ด้วยการเขียนต�า ราอัลบุรฮาน ฟี อุลูมิลอัลกุรอาน ซึ่งเป็นผลงานของท่า นอบู อับดิลละฮ์ ซัรกะชี ถือว่าเป็นต�าราที่ครอบคลุม ประเภทต่างๆ เกีย่ วกับอุลมู อัลกุรอาน ทีไ่ ม่เคยมีมาก่อน ในยุคสมัยนั้น แม้กระทั่งท่านสุยูฏีที่วิจารณ์งานเขียน ต่างๆ ที่ไม่ครอบคลุมอุลูมอัลกุรอานไว้ทั้งหมด แต่หลัง จากที่ท่านได้อ่านต�ารา อัลโบรฮาน ท่านได้แสดงความ ชืน่ ชม จนเป็นแรงบันดาลใจให้ทา่ นเรียบเรียงต�าราเกีย่ ว กับเรื่องนี้ขึ้น (7) ต�าราอัลอิตกอน ฟี อุลมู ลิ อัลกุรอาน ผลงานการ เขียนของท่าน ญะลาลุดดีน สุยฏู ี (เสียชีวติ ในปีฮจิ เราะฮ์ ศักราชที่ 911) ถือได้ว่าเป็นต�าราอ้างอิงที่ส�าคัญที่สุด ของศาสตร์ อุลูมอัลกุรอาน ซึ่งหนึ่งในต�าราที่สุยูฏี ใช้ อ้างอิงคืออัลบุรฮาน หลังจากต�าราอัลอิตกอน ความก้าวหน้าทาง ด้านงานเขียนเกี่ยวกับศาสตร์อุลูมอัลกุรอาน ก็หยุด ชะงักไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากส่วนมากงานเขียนต่างๆ

ด้าน อุลูมอัลกุรอาน จะเขียน ในเนื้อหาที่เฉพาะเท่านั้น จน ท�าให้กลิ่นอายของศาสตร์อุลู มอัลกุรอานนั้นเจือจางลง แต่เป็นที่น่ายินดี ที่ใน ศตวรรษนีม้ บี รรดานักวิชาการ ด้านอุลูมอัลกุรอาน ได้เรียบ เรี ย งต� า ราต่ า งๆ ที่ มี คุ ณ ค่ า ขึน้ มากมาย ซึง่ จะขอกล่าวถึง เพียงบางเล่มดังนี้ มุก็อดดิมะฮ์ ตัฟซีร อา ลาอุรเราะฮ์มาน ผลงานการเขียนของท่า นอัลลามะฮ์มุญาฮิด มุฮัมมัด ญะวาด บะลาฆี มะนาฮิลลุ อิรฟาน ฟีอลุ มู ลิ อัลกุรอาน ผลงานการ เขียนของท่าน มุฮัมมัด อับดุลอะซีม ซัรกอนี มะบาฮิษ ฟี อุลูมิลอัลกุรอาน ผลงานการเขียน ของท่าน ดร. ศุบฮีศอลีห์ ตารี คุลอั ลกุ ร อาน ผลงานการเขี ย นของท่ า น อายาตุลลอฮ์ อบูอับดิลลาฮ์ ซันญานี ตารีคอัลกุรอาน ผลงานการเขียนของท่าน ดร. มะฮ์หมูด รอมยอร พะญูฮิชี ดัร ทอรีเค กุรออเนกะรีม ผลงานการ เขียนของท่าน ดร. ซัยยิดมุฮัมมัด บาเกร ฮุจญะตี อัลบะยาน ฟี ตัฟซีรลิ อัลกุรอาน ผลงานการเขียน ของอายาตุลลอฮ์ ซัยยิดอะบุลกอซิม คูอีย์ อัลกุรอาน ดัรอิสลาม ผลงานการเขียนของท่าน อัลลามะฮ์ ซัยยิดมุฮัมมัด ฏอบาฏอบาอีย์ อัตตัมฮีด ฟี อุลูมิลอัลกุรอาน ผลงานการเขียน ของอายาตุลลอฮ์ มุฮัมมัด ฮาดี มะอ์รีฟัต มูญซิ ุ อุลมู ลิ อัลกุรอาน ผลงานการเขียนของ ดร. ดาวูด อัลอัฏฏอร ฮะกออิกุน ฮามมะติ เฮาลิ้ลกุรอานิ้ลกะรีม ผล งานการเขียนของท่านอัลลามะฮ์ ซัยยิดญะอ์ฟัร มุรตะ ฎอ ออมูลี (8)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 63


อัลมุอ์ญิซะตุลคอลิดะฮ์ ผลงานการเขียนของ ท่านมุฮัมมัดอบูซุฮ์เราะฮ์ อิบนุ นะดีมบันทึกรายชื่อนักวิชาการพร้อมกับ ต�าราต่างๆเกี่ยวกับอัลกุรอาน ของพวกเขาไว้มากมาย จนถึงยุคสมัยของท่าน (กล่าวคือศตวรรษที่ 4) ไว้ใน ต�ารา อัลฟะฮ์รสิ ต์ของท่าน ซึง่ ส่วนมากจะเป็นงานเขียน เกีย่ วกับอัลกุรอานในด้านต่างๆ มากมาย และเราจะขอ กล่าวในที่นี้เพียงบางส่วนดังนี้ ตัฟซีร : ประมาณ 45 เล่ม ลูเฆาะฮ์ตุลกุรอาน : 6 เล่ม อันนักฏุ วัชชิกลุ ลิลกุรอาน : 6 เล่ม นาสิคุลกุรอาน วะมันสูคิฮี : 18 เล่ม มะอานิลอัลกุรอาน : มากกว่า 20 เล่ม กิรออาต : มากกว่า 20 เล่ม มุตะชาบิฮุลอัลกุรอาน : 10 เล่ม (9) ประวัติความเป็นมาของการเขียนต�ารา เกี่ยวกับอุลูมอัลกุรอานในช่วงแรก (10) ศตวรรษที่ 1 ยะฮ์ยา บินยะมูร (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ที่ 85) เจ้าของต�ารา กิตาบฟิลกิรออะฮ์ (11) ศตวรรษที่ 2 1. ฮาซั น บั ศ รี เ ป็ น นั ก รายงานฮะดี ษ และนั ก อรรถาธิบายอัลกุรอานที่มีชื่อเสียง (เสียชีวิตฮิจเราะฮ์ ศักราชที่ 110) เจ้าของต�ารา นุซูลุลอัลกุรอาน วะอะดะ ดุ อายิลอัลกุรอาน 2. อับดุลลอฮ์ บินอามิร อุซอยบี (เสียชีวิตในปี ฮิจเราะฮ์ศักราช 118) เจ้าของต�าราอิคติลาฟุมะศิหิฟิช ชาม วัลหิญาซ อัลอิรัก วัลมักตูอ์ วัลเมาศูล ซึ่งเกี่ยวกับ การหยุดและการต่อโองการต่าง ๆ 3. เซด บินอะลี (เสียชีวติ ในปีฮจิ เราะฮ์ศกั ราช122) เจ้าของต�ารา อัลกิรออะตุ วะตัฟซีรุ ฆอรีบิลอัลกุรอาน 4. อะฏออ์ บินอะบีมุสลิม มัยสะเราะตุล คุรอ ซอนี ต�าราเกี่ยวกั นาสิกและมันสูก 5. อะบาน ตัฆลิบ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ศักราช

64 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

141) นัก รายงาน ฮะดีษที่ยิ่ง ใหญ่ของชีอะฮ์ เจ้าของ ต�าราฆอรีบุล กุรอาน และต�ารา เกี่ยวกับ กิรออาต 6. มุฮมั มัด บินซาอิบ กัลบี (12) (เสียชีวติ ฮิจเราะฮ์ ศักราช146) เจ้าของต�าราอะฮ์กามุลอัลกุรอาน 7. มะกอติล บินสุไลมาน (เสียชีวิตในปีฮิจเร าะฮ์ศักราช 150) เจ้าของต�าราอัลลุฆอตุ ฟิลอัลกุรอาน อัลญะวาบาตุ ฟิลอัลกุรอาน อันนาสิคุ วัลมันสูคุ ฟิลอัล กุรอาน อัลวุญฮู ุ วันนะซอฮิรุ ฟิลอัลกุรอานและอัลอายา ตุล มุตะชาบิฮาต 8. อบู อัมร์ บินอะลาอ์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ ศักราช 154) หนึ่งในจ�านวน กุรเราะอ์สับอะฮ์ (นักอ่าน ทั้งเจ็ด) เจ้าของต�าราอัลวักฟุ วัลอิบติดาอ์ และกิตา บุลกิรออาต 9. ฮัมซะฮ์ บินหะบีบ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ ศักราช156) หนึง่ ในจ�านวนนักอ่านทัง้ เจ็ดและเป็นสาวก ของท่านอิมามซอดิก (อ) เจ้าของต�าราอัลกิรออัต มุตะ ชาบิฮลุ อัลกุรอาน อัลมักฏูอุ วัลเมาศูลุ ฟิลกุรอาน อัสบา อุอัลกุรอาน และหุดูดุอายิลกุรอาน 10. อะลี บิน ฮัมซะฮ์ กิซาอีย์ (เสียชีวิตฮิจเราะฮ์ ศักราช 189) หนึ่งในจ�านวนนักอ่านทั้งเจ็ด เจ้าของ ต�ารา มะอานิลอัลกุรอาน อัลกิรออาตุ วะมักฏูอุลอัล กุรอาน วะเมาซูลิฮี


ศตวรรษที่ 3 1. ยะฮ์ยา บิน ซิยาด ฟัรรออ์ (เสียชีวิตฮิจเราะฮ์ ศักราช 207) เจ้าของต�าราอิคติลาฟุ อะฮ์ลิลกูฟะฮ์ วัล บัศเราะฮ์ วัชชาม ฟิลมะศอหิฟ อัลญัมอุ วัตตัษนียะตุ ฟิลกุรอาน ลุฆอตุลอัลกุรอาน วัลมะศอดิรุ ฟิลกุรอาน 2.อบู อะบีด มุอมั มัร บินอัลมุษนั นา (เสียชีวติ ในปี ฮิจเราะฮ์ศกั ราช 209) เจ้าของต�ารามะญาซุลอัลกุรอาน 3.อบู อะบีด กอซิม บินสัลลาม (เสียชีวิตในปี ฮิ จเราะฮ์ศักราช 224) เจ้าของต�าราอัลมักศูดุ วัลมัมดูด อัลกิรออาต อันนาสิกวัลมันสูก ฟะฎออิลุลอัลกุรอาน และฆอรีบุลอัลกุรอาน 4.ฮาซั น บิ น อะลี บิ น ฟั ฎ ฎอล (เสี ย ชี วิ ต ในปี ฮิจเราะฮ์ศักราช 224) เป็นสาวกของท่านอิมามริฎอ (อ.) เจ้าของต�าราอันนาสิกวัลมันสูกและอัชชะวาฮิดุ มินัลอัลกุรอาน 5. อะลี บินอับดิลลาฮ์ ญะอ์ฟัร มัดยะนีย์ (เสีย ชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 234) เจ้าของต�าราอัสบาบุน นุซูล 6.อบู มุฮมั มัด อับดุลลอฮ์ บินมุสลิม บิน กุตยั บะฮ์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 276) เจ้าของต�าราตะอ์ วีลุ มุชกิลิลกุรอาน ตัฟซีรุ ฆอรีบิลกุรอาน อีอ์รอบุลกุ รอานและอัลกิรออาต 7.อบู ฮาติม สะฮล์ บินมุฮมั มัด บินอุศมาน สะญิส ตานี (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 255) เจ้าของต�ารา อีอร์ อบุลอัลกุรอาน อัลกิรออาตและอิคติลาฟุลมะศอหิฟ 8. อบุลกอซิม สะอด์ บินอับดิลลาฮ์ อัชอะรี กุมมี (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 299) เป็นฟะกีฮ์และนัก วิชาการด้านหลักศรัทธาของชีอะฮ์ เจ้าของต�ารา นาสิ คุลกุรอาน วะมันสูคิฮ์ วะมุฮ์กะมิฮ์ วะมุตะชาบิฮ์ มุฮัมมัด บินยะซีด วาสิฏี (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ ศักราช 306) เจ้าของต�าราอิอ์ญาซุลอัลกุรอาน ฟีนัซ มิฮี วะตะอ์ลีฟิฮ์ ศตวรรษที่ 4 1. มุฮัมมัด บินยะซีด วาสิฏี (เสียชีวิตฮิจเราะฮ์

ศักราช 306) เจ้าของต�าราอิอ์ญาซุลกุรอาน ฟีนัซมิฮี วะตะอ์ลีฟิฮ์ 2. มุฮัมมัด บินคิลัฟ บินฮัยยาน (เสียชีวิตในปี ฮิจเราะฮ์ศกั ราช 306) เจ้าของต�าราอะดะดุอายิล้ กุรอาน 3. ฮาซัน บินมูซา นูบัคตี (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ ศักราช 310) เจ้าของต�าราอัตตันซียะฮ์ วะซิกรุมุตะชา บิฮิลกุรอาน 4.อบูอะลี ฮัสซัน บินอะลี บินนัศริ ฏูซี หรือรูจ้ กั ใน นามกุรดุช (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 312) เจ้าของ ต�ารานัซมุลกุรอาน 5.อบูบักร์ อับดุลลอฮ์ บินสุลัยมาน สะญิสตานี (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 316) เจ้าของต�าราอัลมุ ศอฮัฟ อันนาสิควัลมันสูค ริซาละตุนฟิลกะรออาต ฟะ ฎออิลุลกุรอานและนัซมุลกุรอาน 6.อบู บั ก ร มุ ฮั ม มั ด บิ น อะซี ซ สะญิ ส ตานี (เสี ย ชี วิ ต ในปี ฮิ จ เราะฮ์ ศั ก ราช 330) เจ้ า ของต� า รา เฆาะรีบุลกุรอาน 7.อบู ญะอ์ฟรั อะฮ์มดั บิน มุฮมั มัด นะฮ์ฮาส (เสีย ชีวติ ในปีฮจิ เราะฮ์ศกั ราช 338) เจ้าของต�าราอิอร์ อบุลอัล กุรอาน มะอานีลอัลกุรอานและอันนาสิควัลมันสูค 8.อบู อับดุลลอฮ์ อะฮ์มัด บินมุฮัมมัด บินสัยยาร (เสียชีวติ ในปีฮจิ เราะฮ์ศกั ราช 368) เจ้าของต�ารา ซะวา บุลอัลกุรอาน วัลตันซีล วัลตะฮ์รีฟ 9.อบูลฮาซันอะลี บินอีซา รุมมานี (เสียชีวิต ในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 384) เจ้าของต�าราอันนิกตุ ฟี

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 65


นามและคุณลักษณะนามของอัลกุรอานว่า อัลกุรอา นมีกี่นาม มีกี่คุณลักษณะและทั้งสองมีความแตกต่าง กันอย่างไร มีผลต่อนามของอัลกุรอานอย่างไร และอัล กุรอานมีความหมายว่าอย่างไร ท�าไมจึงเรียกคัมภีรเ์ ล่ม นีว้ า่ อัลกุรอานหรือแม้แต่คา� ถามทีว่ า่ ท�าไมอัลกุรอานจึง ต้องเป็นภาษาอาหรับ ท�าไมไม่เป็นภาษาอืน่ ทัง้ หมดจะ ได้แจกแจงแถลงไขในตอนต่อไป

เอะอ์ญาซุลกุรอาน 10.อบู สุไลมาน ฮัมด์ บินมุฮัมมัด บินอิบรอฮีม คิฏอบี (เสียชีวิตในปีฮิเราะฮศักราช์ 388) เจ้าของต�ารา บะยานุ อิอ์ญาซิลกุรอาน สรุป กุรอานวิทยา (อุลูมอัลกุรอาน) คือวิทยาการ ที่กล่าวถึงสภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอัลกุรอาน และ เนื้อหาทั้งหมดของศาสตร์นี้คืออัลกุรอาน หรือกล่าวอีก ได้วา่ ความรูต้ า่ งๆ ทัง้ หมดทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกันในการ รับใช้การเข้าใจอัลกุรอานให้ดียิ่งขึ้น 1. การเขียนเกี่ยวกับกุรอานวิทยาเริ่มต้นขึ้นช่วง ปลายศตวรรษแรก 2. เดิมทีกุรอานวิทยา (อุลูมอัลกุรอาน)ให้ความ หมายกว้างขวางและครอบคลุมถึงการอรรถาธิบายอัล กุรอาน (ตัฟซีร) และหลักการอ่านอัลกุรอาน (ตัจวีด) อีกด้วย 3. ช่ ว งศตวรรษที่ 5 กุ ร อานวิ ท ยา (อุ ลู ม อั ล กุรอาน) ถูกให้ความหมายเชิงวิชาการที่แพร่หลาย กันในยุคปัจจุบันนี้ และเริ่มเขียนต�าราต่างๆ เกี่ยวกับ ศาสตร์นี้ขึ้น 4. ต�าราอุลูมอัลกุรอานเล่มแรกที่สมบูรณ์คือ อัล บูรฮาน ฟี อุลูมิลกุรอาน เป็นผลงานของท่านซัรกะชีใน ช่วงศตวรรษที่ 8 ในบทความต่อไป จะน�าเสนอเกี่ยวกับเรื่องของ

66 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

หมายเหตุ 1. มะนาฮิลุลอิรฟาน เล่ม 1 หน้า 27 มุก็อดดิมะตุลบุร ฮาน ฟีอุลูมิลอัลกุรอาน เล่ม 1 หน้า 31 2. อัลบุรฮาน ฟี อุลูมิลอัลกุรอาน เล่ม 2 หน้า 157 3. อัลอิตกอน ฟี อุลูมิลอัลกุรอาน 4. วิชาตัจวีด ที่แยกเป็นวิชาหนึ่งในปัจจุบันก็เคยอยู่ใน ศาสตร์ “อุลูมอัลกุรอาน” เช่นกัน 5. มะนาฮิลุลอิรฟาน เล่ม 1 หน้า 35 6. อ้างอิงเดิม หน้า 39 นักค้นคว้าบางท่านเชือ่ ว่า หนังสือ ของท่านเฮาฟี ไม่ได้เป็นต�าราด้าน อุลูมอัลกุรอาน ตามความ หมายของศัพท์เฉพาะที่ใช้กัน แต่เป็นต�าราการอรรถาธิบายอัล กุรอาน นิตยสาร บัยยินาต หลายเลข 5 หน้า 3 7. อัลอิตกอน เล่ม 1 หน้า 7 16 8. โปรดดูหนังสือ “ ดอชนอเมะฮ์ อัลกุรอาน พะญูฮชิ ”ี ผล งานจากความเพียรพยามของท่าน บะฮาอุดดีน โครรัมชาฮี เล่ม 1-2 เพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับต�าราเหล่านี้ 9. อัลฟะฮ์ริสต์ หน้า 52-59 10. การรายงานเกี่ยวกับงานเขียนต�าราเหล่านี้ได้มา จาก มะกอลอเต อัลกุรอาน ของท่าน ออฆอ มุฮัมหมัด อะลี มะฮ์ดะวีรอด และกรุณาดูในนิตยสาร บัยยินาต หมายเลข 3 -6 8-10 และ 12 11. มีการบันทึกความแตกต่างของแต่ละมุศหัฟไว้ใน ต�าราเล่มนี้ ซึ่งเป็นต�าราอ้างอิงจนถึงศตวรรษที่ 4 เกี่ยวกับการ รู้จัก การอ่านต่าง ๆ 12. เชื่อกันว่าท่านคือผู้ที่ริเริ่มเขียนต�าราเกี่ยวกับ อะฮ์ กามุลอัลกุรอาน


แปลและเรียบเรียงโดย

เชคชะรีฟ ฮาดีย์

วิเครำะห์ วิจักษ์และวิธำน

รหัสยวิทยำแท้ ในศำสนำอิสลำม เ

พื่ อ ความง่ า ยดาย และการยอมรั บ ของผู ้ แสวงหาความจริงในด้านรหัสยวิทยาอิสลาม สิ่งแรกที่น่าจะน�ามาพิสูจน์และวิเคราะห์จะขอเริ่มด้วย หลักฐานทางสติปัญญา และหลักปรัชญาพื้นฐาน หลัง จากนั้นจะน�าหลักฐานตัวบทจากคัมภีร์อัลกุรอาน และ แบบฉบับของศาสดา(ศ็อลฯ) และทายาทของท่านผูอ้ ยู่ ในฐานะเป็นผู้สืบทอดต�าแหน่งผู้น�า ภายหลังจากท่าน เพื่อความเข้าถึงและเข้าใจ ในเชิงลึกของรหัสย วิทยาอิสลาม ถือว่าจ�าเป็นจะต้องกล่าวบทน�าพื้นฐาน สักเล็กน้อย ดังนี้ ประการที่ 1 ศาสตร์นี้คือวิทยาการ ที่สืบค้นหาวิธีการการเข้า ถึง และประจักษ์แจ้งต่อความจริงสูงสุดและการเข้าถึง พระเจ้า ด้วยหนทางของจิตและหัวใจนั่นหมายความ ว่าวิชารหัสยวิทยาคือวิชาทีส่ อนให้รจู้ กั พระเจ้า และเข้า ถึงพระเจ้าคุณลักษณะของพระเจ้าอย่างประจักษ์แจ้ง ด้วยหนทางของหัวใจ ไม่ใช่หนทางของการพิสูจน์และ

ปรัชญา และรหัสยวิทยาคือศาสตร์หนึ่ง ที่สอนให้รู้จัก ตนเองและรู้จักพระเจ้าด้วยการเห็นด้วยตาใจ เป็นการ เข้าถึงทางด้านในของจิตวิญญาณ รหัสยวิทยาแบ่งออก สองสาขาคือด้านทฤษฎี และด้านปฏิบตั ิ ซึง่ ภาคปฏิบตั ิ นั้นเป็นรูปแบบและวิธีการของการปฏิบัติธรรม และ ปฏิบตั จิ ติ ฝึกจิตอย่างเป็น กระบวนการของการขัดเกลา จิตใจ เพือ่ ให้บรรลุธรรมขัน้ สูง และการเข้าถึงรหัสยะนัย คือมนุษย์จะพัฒนา ไปสู่การเข้าพิชิตต�าแหน่งทางจิต วิญญาณ ซึ่งเป็นต�าแหน่งที่ผ่านขึ้นไปโดยระดับขั้นที่ผู้ จาริก มีความพร้อมที่ผ่านมันไปให้ได้ซึ่งในแวดวงของ เหล่าซูฟชี น และนักรหัสยนิยมมีคา� ก�าจัดความและการ เรียกขานทีแ่ ตกต่างกันออกไปเราคงไม่มเี วลาจะพูดคุย ถึงประเด็นนี้ แต่จากการวิเคราะห์บทวิงวอนภาวนาและ การดุอาอ์ของศาสดา (ศ็อลฯ) และอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ผู้ เป็นทายาทของศาสดา จะพูดถึงการบรรลุถึงต�าแหน่ง ทางจิตวิญญาณดังกล่าวไว้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 67


ประการที่ 2 สิ่งที่ควรท�าความเข้าใจ ในประเด็นที่สองนี้ก็คือ แท้จริงการเข้าถึงต�าแหน่งทางจิตวิญญาณ หรือการ บรรลุธรรมตามระดับของรหัสยะนั้น ยังไม่ถือว่าเป็น ความสมบูรณ์สูงสุดของมนุษย์ และไม่ถือว่ามนุษย์พบ กับความสมบูรณ์แท้ เพราะว่าความสมบูรณ์แท้หรือ การเข้าถึงความเป็นมนุษย์ผสู้ มบูรณ์ผนู้ นั้ คือการเข้าถึง พระเจ้า การอยูก่ บั พระเจ้าและการจ�านนต่อพระเจ้าทุก คณะจิต ซึง่ นัน่ คือเป้าหมายสูงสุดของการบรรลุศาสตร์ นี้ ดังอัล กุรอานกล่าวไว้ว่า ِ ‫ِنس‌إ َِّل‌لِيَ ْعبُ ُد‬ ‫ون‬ َ ‫َو َم‬ َ ‫ا‌خ َل ْق ُت‌ال ْ ِج َّن‬ َ ‫‌و ْال‬ "และข้ามิได้สร้างมวลญินและมนุษย์ มาเพื่อ อื่นใด เว้นเสียแต่ให้ภักดีต่อข้า" (บทที่ 51(อัซซาริยาต) โองการที่ 56) เป้าหมายการสร้าง และการรังสรรค์ของพระเจ้า คือการให้มนุษย์เข้าถึง ประจักษ์แจ้งและแสดงออกใน ความเป็นบ่าวต่อพระองค์ นั่นคือการเข้าถึงการเป็น บ่าวแห่งผู้ภักดี และการเกิดภาวะแห่งผู้ภักดีคือบทน�า ของการเข้าถึงพระเจ้าและการบรรลุถงึ พระองค์อลั ลอฮ์ ดังนั้น เป้าหมายของรหัสยะภาคปฏิบัติคือการเข้าถึง พระเจ้า และการเข้าถึงจุดหมายทางแห่งการสร้างของ พระเจ้า ประการที่ 3 พระองค์อัลลอฮ์ทรงวิทยปัญญา คือทุกสิ่งทุก อย่าง หรือทุกบทบัญญัติที่ก�าหนดให้มนุษย์ล้วนแล้ว แต่เป็นสื่อที่น�าพามนุษย์ไปสู่เป้าหมาย นั่นคือการเข้า ถึงเป้าหมายการสร้างของพระองค์ นั บ ได้ ว่ าเป็ นกฏสากลส�าหรับ พระเจ้า ทรงมี คุ ณ ลั ก ษณะในด้ า นผู ้ ท รงวิ ท ยปั ญ ญาสู ง กล่ า วคื อ ทุกงานสังสรรค์ของพระองค์ย่อมมีเป้าหมาย และมี ประโยชน์ ซึง่ ประโยชน์ดงั กล่าวจะย้อนกลับไปยังสิง่ ถูก สร้าง และเป็นไปไม่ได้ที่การอุบัติมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในเอกภพนี้ จะไม่มีเป้าหมายและไม่มีประโยชน์ไม่ว่า จะเป็นสิ่งเล็กที่สุดหรือมองไปถึงสิ่งใหญ่ที่สุด รวมทั้ง

68 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

การก�าหนดบทบัญญัติทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นค�าสั่ง ใช้หรือค�าสั่งห้าม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่พระองค์ทรง วางไว้อย่างมีเป้าหมาย และบางเป้าหมายยังเป็นเป้า หมายที่เฉพาะอีกด้วย เมื่ อ เราผ่ านบทน� า หรื อ การเกริ่ น น� า ด้ วยการ วิเคราะห์สามประการข้างต้น ก็พอที่จะวิจักษ์ได้ว่า แท้ จริงรหัสยวิทยาอิสลามมีเอกลักษณ์ดังต่อไปนี้คือ 1. เป็นศาสตร์ทคี่ รอบคลุมทุกด้านดังเหตุผลทีเ่ รา วิเคราะห์ผา่ นมา รหัสยวิทยาทีเ่ ป็นรหัสยวิทยาสมบูรณ์ จะต้องยังประโยชน์ต่อทุกสรรพสิ่ง และมนุษย์ทุกคนก็ มีศักยภาพที่จะเข้าถึงรหัสยะได้เท่าเทียมกัน โดยไม่มี การยกเว้นและรหัสยวิทยาแท้ไม่ใช่ถูกตีความว่า เป็น ศาสตร์ที่เฉพาะหรือเป็นองค์ความรู้ที่เฉพาะกลุ่ม หรือ เฉพาะมนุษย์ที่มีศักยภาพสูง จึงสามารถเข้าถึงรหัส ยะนัยได้ ส่วนมนุษย์ที่อ่อนแอไม่สามารถไปถึงรหัสยะ นัยหรือเชื่อว่าบางกลุ่มชนไม่มีศักยภาพเลยที่จะเข้าถึง รหัสยะหรือจะบรรลุธรรมขั้นสูงได้ นั่นเป็นความเข้าใจ ที่ผิดพลาด เพราะอัลลอฮ์ทรงวิทยปัญญาสูงส่ง ทรง รู้รอบและทรงยุติธรรม พระองค์ทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้น มาอย่างมีเป้าหมาย และทุกคนจะต้องไปถึงเป้าหมาย ได้อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นถ้าหากว่าการไปถึงรหัสยะ หรือการบรรลุธรรมถูกจ�ากัดโดยโครงสร้าง และเฉพาะ บุคคล แน่นอนก็จะขัดแย้งกับคุณลักษณะของพระองค์ ที่ทรงฮะกีม (ทรงวิทยปัญญาสูง) ประโยชน์ของศาสตร์ นีจ้ ะมีมนุษย์ทกุ คน จะไม่สง่ ผลร้ายแก่คนบางกลุม่ และ มีประโยชน์กับคนอีกบางกลุ่ม หรือเป็นศาสตร์ที่เป็น อันตรายและท�าลายผู้ที่เข้ามาแสวงหา 2. เป็ น ศาสตร์ ที่ ป ราศจากความขั ด แย้ ง กั บ ธรรมชาติดั้งเดิม หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ เป็นกระบวน การทางความคิดและทางการปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับ ธรรมชาติ ดั้ง เดิ ม กล่ าวคื อ แรงปรารถนาและความ ต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์มีหลายด้าน แต่ด้าน ที่ถือว่าเป็นด้านส�าคัญคือ ความปรารถนาที่จะพัฒนา ตนเอง การแสวงหาความจริงสูงสุดและการปรารถนา


ที่จะบรรลุและเข้าถึงความจริงสูงสุด ถือว่าเป็นความ ปรารถนาที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ และ จะเป็นแรงปรารถนา ในการแสวงหาความก้าวหน้าและ การพัฒนาจิตวิญญาณ ด้วยการแสวงหาด้านรหัสยะ และความต้องการจะบรรลุธรรม คือความต้องการและ ความจ�าเป็นประการหนึง่ ของสัญชาตญาณดัง้ เดิมของ มนุษย์ เพื่อต้องการจะบรรลุความสมบูรณ์สูงสุดของ ความเป็นมนุษย์ 3. เป็นศาสตร์ที่ไม่ขัดแย้งกับหลักปฏิบัติศาสน บั ญ ญั ติ ความชั ด เจนที่ แ ท้ จ ริ ง ธรรมชาติ ดั้ ง เดิ ม ก็ สนับสนุนหลักปฏิบตั ศิ าสนกิจอยูแ่ ล้ว แต่ทว่าธรรมชาติ ดั้งเดิมบางครั้งอาจจะเกิดภาวะความอ่อนล้า หรือสี นั้นอาจจะไม่เข้ม ด้วยปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน หรืออาจจะตัวแปรอื่นๆ อาจจะท�าให้ความปรารถนา ทางการแสวงหาทางจิตวิญญาณอ่อนแอลง และท�าให้ เขาผู้นั้นไม่สนอกสนใจ ในประเด็นปัญหาด้านรหัสยะ นัย หรืออาจจะท�าให้เกิดความหลงลืม หรือเกิดท�าให้ เขาเบือ่ หน่าย และบางครัง้ ในด้านของธรรมชาติดงั้ เดิม เองก็ไม่ตอบสิ่งที่ควรจะเป็น หรืออาจจะกล่าวได้ว่าใน ธรรมชาติดั้งเดิมก็มีขอบเขตของมัน ดังนั้นจ�าเป็นจะ ต้องมีตวั ช่วยในเรือ่ งดังกล่าว นัน่ คือศาสนบัญญัติ หลัก ค�าสอนของศาสนาเป็นตัวสนับสนุน ส่วนศาสนบัญญัติ เป็นตัวชี้น�า และสร้างความสมดุลแก่สัญญาตญาณ ดัง้ เดิม ศาสนบัญญัตยิ งั เป็นตัวก�าหนดให้มนุษย์มคี วาม เหมาะสมและเกิดความสมดุล ดังนั้น จึงสามารถกล่าว ได้วา่ ศาสนบัญญัติ หรือค�าสอนของศาสนาเป็นตัวแปร ส�าคัญ ที่จะท�าให้มนุษย์ไปสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้น การทีจ่ ะต้องมีการจัดระเบียบการฝึกปฏิบตั ธิ รรม การแสวงหาด้านรหัสยนัย และการจะเข้าถึงรหัสยนัย ก็เพราะว่าศาสนา และศาสนบัญญัติมีองค์ประกอบ ส�าคัญในการสร้างความสมบูรณ์แก่มนุษย์ ด้วยเหตุนี้ ประเด็นปัญหาด้านรหัสยวิทยาและ การเข้าถึงรหัสยนัยนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและ ต้องการการจัดระเบียบอย่างถูกวิธี เพื่อการเข้าถึงและ

การบรรลุในการจาริกยังพระเจ้า และศาสนบัญญัตหิ รือ ค�าสอนของศาสนาเป็นสิ่งส�าคัญ ที่จะเข้ามามีบทบาท ในการสรรค์สร้างหลักรหัสยวิทยา ซึ่งนั่นหมายความ ว่ารหัสยวิทยา จะต้องไม่ขัดแย้งกับค�าสอนของศาสนา และจะต้องเดินทางไปด้วยกันและเกือ้ กูลซึง่ กันและกัน จะต้องมีสัมพันธภาพต่อกันและกัน ผู ้ จ ะจาริ ก ทางด้ า นรหั ส ยนั ย นั้ น จะต้ อ งผ่ า น กระบวนการการปฏิบตั ศิ าสนกิจเป็นเบือ้ งต้นก่อน และ จะต้องไม่สลัดทิ้งกฎระเบียบทางศาสนบัญญัติใดๆ ถ้า ส�านักรหัสยนิยมใด ได้แสดงหลักปฏิบัติธรรมหรือมีรูป แบบที่ขัดแย้งกับศาสนบัญญัติ เราถือว่านั่นไม่ใช่ของ แท้และไม่ใช่รหัสยวิทยาของอิสลาม แต่เป็นส�านักทีห่ า่ ง ไกลจากความจริงแท้นั่นเอง รหัสยวิทยาอิสลามในบริบทของอัลกุรอาน และอัลฮะดีษ ถ้าเราเพ่งพินจิ พิจารณาจากตัวบทของอัลกุรอาน อัลฮะดีษของท่านศาสดาและทายาทของท่าน จะพบว่า แท้จริงแล้วรหัสยวิทยา ไม่ขัดแย้งกับตัวบทอัลกุรอาน แบบฉบับของท่านศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) และแนวทาง ปฏิบตั ขิ องสาวกผูท้ รงเกียรติของศาสดาเลย ดังทีเ่ ราจะ วิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าว ดังนี้ ก. หลักค�าสอนเกีย่ วกับรหัสยวิทยาสอดคล้องกับ ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ จากบทพิสูจน์ข้างต้นด้วยหลักปรัชญา และสติ ปัญญา พร้อมกับหลักฐานในเชิงประวัติศาสตร์ยืนยัน ว่ารหัสยวิทยาที่ถูกต้องและเป็นของแท้นั้น จะต้องไม่ ขัดแย้งกับธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ ซึ่งโดยรากเหง้า ที่แท้ของมนุษย์ คือความพยายามและการมุ่งมั่นสู่การ ไปถึงจุดสูงสุด นั่นคือการค้นพบความจริงสูงสุดและ การเข้าถึงพระเจ้า ซึ่งในประเด็นดังกล่าว เป็นเรื่อง ของสัญชาตญาณการแสวงหาพระเจ้า และการรู้จัก พระองค์ ซึ่งมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และอิสลามให้การ สนับสนุนในเรือ่ งดังกล่าว โดยอัลกุรอานว่ามนุษย์นนั้ มี สัญชาตญาณในการรูจ้ กั พระเจ้าและการค้นหาพระเจ้า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 69


อยู่ในตัวทุกคน ดังโองการที่ว่า َ ‫‌فَ َأقِ ْم َ‌و ْج َه‬ ‫‌حنِي ًفا‌فِ ْط َر َت‌اللَّـ ِه‌الَّتِي‌فَ َط َر‬ َ ِ‫ك‌لِل ِّدين‬ َ ِ ‫يل‌ل ِ َخلْقِ ‌اللَّـ ِه‌ َذل‬ َ ‫ا‌ل‌تَ ْب ِد‬ َ ‫اس‌ َع َل ْي َه‬ ‫ين‌ال ْ َقيِّ ُم‬ ُ ‫ك‌ال ِّد‬ َ َّ‫الن‬ “ดังนั้นจงยืนหยัดขึ้นมา ด้วยใบหน้าของเจ้าต่อ ศาสนาอันพิสทุ ธิ์ เป็นสัญชาตญาณบริสทุ ธิแ์ ห่งพระเจ้า ซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ทรงสร้างให้กับมวลมนุษย์ มันไม่มี วันจะเปลี่ยนแปลงไปได้ นั่นคือศาสนาที่มั่นคง” (บทที่ 30 (อัรรูม) โองการที่ 30) การอรรถาธิบายของโองการนี้ ตามค�ารายงาน และฮะดีษคือมนุษย์มคี วามเชือ่ ต่อเรือ่ งหลักเอกานุภาพ ของพระเจ้าอยูแ่ ล้ว และมนุษย์ถกู สร้างมาในลักษณะที่ รู้จักพระเจ้า การแสวงหาพระเจ้าและการเข้าหารหัสย นัยคือสิ่งที่สนับสนุนธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ ข. รหัสยวิทยาครอบคลุมทุกด้าน จากการที่เราได้วิเคราะห์ด้วยหลักปรัชญา และ สติปัญญาผ่านมาแล้วว่า รหัสยวิทยาเป็นเนื้อหาที่ เกือ้ กูลและครอบคลุม นัน่ หมายความว่าจะยังประโยชน์ ทุกมิตขิ องมนุษย์ ไม่ใช่เพียงบางมิตหิ รือบางบทบาท ซึง่ อัลกุรอานเองก็สนับสนุนหลักการดังกล่าวไว้ ดังนี้ َ ْ ‌‫ي‌جا ِع ٌل‌فِي‬ َ ُّ ‫ال َ‌رب‬ َ َ‫‌وإِذْ‌ق‬ ِ ‫األ ْر‬ ‫‌خلِي َف ًة‬ َ ‫ض‬ َ ِّ ‫ك‌ل ِ ْل َم َالئ ِ َك ِة‌إِن‬ َ‌ َ ُ ‫ا‌ويَ ْس ِف‬ ‫اء‬ َ ‫ا‌من‌يُ ْف ِس ُد‌فِي َه‬ َ ‫‌قَالُوا‌أتَ ْج َع ُل‌فِي َه‬ َ ‫ك‌ال ِّد َم‬ َ َ ‫س‌ل‬ ‫ك‬ َ ‫َون َ ْح ُن‌ن ُ َسبِّ ُح‌ب ِ َح ْم ِد َك‬ ُ ‫‌ون ُ َق ِّد‬ “และครั้นเมื่อองค์อภิบาลของเจ้า กล่าวกับมวล มลาอิกะฮ์ว่า แท้จริงข้าจะก�าหนดตัวแทนของข้าบน หน้าแผ่นดินขึ้นมา เหล่ามะลาอิกะฮ์นั้นกล่าวว่า แล้ว พระองค์จะสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดินและให้มี การนองเลือดเกิดขึน้ กระนัน้ หรือ ทัง้ ๆ ทีเ่ ราได้สรรเสริญ และสดุดตี อ่ พระองค์อยูแ่ ล้ว” (บทที่ 2 (อัลบะกอเราะฮ์) โองการที่ 30) การอ้างของมะลาอิกะฮ์ว่า พวกเขาสรรเสริญ และสดุดีต่อพระเจ้า และพวกเขาเหมาะสมกว่าใน การจะเป็นตัวแทนของพระเจ้า คือเป็นคอลีฟะฮ์ของ พระองค์ ดังนั้นพระองค์ตรัสต่อไปว่า 70 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

َ َ‫ق‬ َ ‫ال‌إِن ِّي‌أَ ْع َل ُم َ‌م‬ ‫ون‬ َ ‫ا‌ل‌تَ ْع َل ُم‬ "แท้จริงข้ารู้รอบในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้”(บทที่ 2 (อัลบะกอเราะฮ์) โองการที่ 30) ดังนัน้ มนุษย์จงึ มีศกั ยภาพและขีดความสามารถ ทีจ่ ะเป็นตัวแทนของพระเจ้า บนหน้าแผ่นดิน ดังโองการ ที่กล่าวข้างต้น เป้าหมายหรือตัวชี้วัดว่า ผู้จะไปถึง ต�าแหน่ง ”ตัวแทนของพระเจ้า” คือจะต้องมีองค์ความ รูใ้ นเรือ่ งนามต่างๆ ดังทีท่ า่ นอาดัม (อ.)ได้รบั องค์ความ รู้ดังกล่าว َ ْ ‫َو َعلَّ َم‌آ َد َم‬ ‫اء‌ ُكلَّ َها‬ َ ‫‌األ ْس َم‬

“และองค์อลั ลอฮ์ทรงสอนอาดัมถึงนามต่างๆ นัน้ ทั้งหมด”(บทที่ 2 (อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 31) และการเข้าถึงความเป็นตัวแทนของพระเจ้าของ ท่านศาสดาอาดัม เนือ่ งจากสาเหตุนคี้ อื การมีองค์ความ รู้ต่อนามทั้งหลาย และการสดุดีการสรรเสริญ ไม่ใช่ว่า อาดัมจะส�าแดงออกได้เพียงผูเ้ ดียว หรือเหนือว่าบรรดา มะลาอิกะฮ์ เพราะอัลกุรอานยืนยันว่ามะลาอิกะฮ์ต่าง ก็สดุดี และสรรเสริญต่ออัลลอฮ์อยู่แล้ว แต่สิ่งที่บรรดา มะลาอิกะฮ์ไม่มีคือการรู้ถึงนามต่างๆ นั้น และตาม ค�ารายงาน และฮะดีษจากแนวทางชีอะฮ์ถือว่าบรรดา อะฮ์ลลุ บัยต์คอื นามต่างๆ ดังกล่าว จากการทีอ่ าดัม (อ.) รูแ้ ละเข้าถึงนามต่างๆ ท�าให้อาดัม (อ.) ถูกยกระดับเป็น ตัวแทนของพระเจ้า (คอลีฟะตุลลอฮ์) และเราก็เชื่อว่า บรรดาอะฮ์ลลุ บัยต์ (อ.)ทายาทผูบ้ ริสทุ ธิศ์ าสดามุฮมั มัด เป็นเงื่อนประการหนึ่งที่จะบรรลุต�าแหน่งตัวแทนแห่ง พระเจ้าด้วยเช่นกันเพราะว่า ในบทการอ่านคารวะดวง วิญญาณของบรรดา อิมาม (ซิยาเราะฮ์) (อ) กล่าวว่า บรรดาอิมามคือคอลีฟะฮ์ของพระเจ้า และเป็นตัวแทน ของพระเจ้าด้วยเช่นเดียวกันดังนั้น การไปถึงต�าแหน่ง คอลีฟะฮ์ของพระเจ้า จะต้องมีความพร้อมและมีความ ศักยาภาพ ไม่ใช่ว่ามนุษย์จะสามารถไปถึงต�าแหน่งดัง กล่าวได้ทกุ คน แต่ความพร้อมขึน้ อยูก่ บั ศักยภาพแต่ละ คน ซึ่งบรรดาอิมาม (อ.) พร้อมและมีศักยภาพ ส่วน


มนุษย์อื่นๆ หรือบรรดาสรรพสัตว์ เป็นผู้ที่ไม่มีความ สามารถจะไปถึงได้ ดังโองการที่ว่า ْ ِ ‫‌و ْال‬ ‫وب‬ ٌ ‫ِنس‌‌ل َ ُه ْم‌قُ ُل‬ َ ِ‫يرا‌ ِّم َن‌ال ْ ِج ّن‬ َ ً ِ‫‌ول َ َق ْد‌ذ َ​َرأنَا‌ل ِ َج َهنَّ َم‌ َكث‬ َّ ‫ا‌ول َ ُه ْم‌أَ ْعيُ ٌن‬ َّ ‫َان‬ ٌ ‫ا‌ول َ ُه ْم‌آذ‬ َ ‫‌ل‌يُ ْب ِص ُر‬ َ ‫‌ل‌يَ ْف َق ُه‬ َ ‫ون‌ب ِ َه‬ َ ‫ون‌ب ِ َه‬ َ ْ ‫ك‌ َك‬ َّ َ ِ‫ون‌ب ِ َها‌‌أُولَـئ‬ ‫األنْ َعا ِم‌ب َ ْل‌ ُه ْم‌أَ َض ُّل‬ َ ‫‌ل‌يَ ْس َم ُع‬ َ ِ‫أُولَـئ‬ ‌‫ون‬ َ ‫ك‌ ُه ُم‌ال ْ َغافِ ُل‬ "แน่นอนเราบังเกิดส�าหรับนรกญะฮันนัม ซึ่งมา จากญินและมนุษย์ โดยที่พวกเขามีหัวใจแต่ไม่ใช้มัน ท�าความเข้าใจ มีตาแต่ไม่ใช้มนั ดู มีหพู วกเขาก็ไม่ใช้มนั ฟัง ชนเหล่านีแ้ หละประหนึง่ ปศุสตั ว์ ใช่แต่ทว่าพวกเขา หลงทางยิง่ กว่า ชนเหล่านัน้ เป็นกลุม่ ชนทีเ่ ผลอเรอ”(บท ที่ 7 (อัลอะอ์ร็อฟ) โองการที่ 179) เป็นที่กระจ่างชัดว่าปศุสัตว์และเดรัจฉาน จะ ไม่มีสิทธิ์ในการจะเป็นตัวแทนของพระเจ้า บนหน้า แผ่นดินนี้ ดังนั้น จึงเหลือเพียงมนุษย์ที่เป็นสิ่งถูกสร้าง ของพระเจ้าทีม่ คี วามเป็นพิเศษ และสามารถจะส�าแดง ออกถึงพระนามและคุณานุภาพแห่งพระเจ้า นั่นคือ มนุษย์มีโครงสร้างที่สมบูรณ์แบบ มีศักยภาพสูงซึ่งถูก รวบรวมอยู่ในตัวของมนุษย์เอง สามารถขับเคลื่อน และจาริกสูพ่ ระเจ้าอย่างงดงามและน่าทึง่ ยิง่ นัก มนุษย์ สามารถสร้างความผูกพันอย่างเหมาะสม และมนุษย์ ยังมีคณ ุ ลักษณะอีกประการหนึง่ คือการก้าวไปข้างหน้า และมุ่งทะยานสู่ความสูงส่ง และบางคนยังมีศักยภาพ ที่จะทะยานสูงไปมากกว่าคนอื่นๆ บางคนอาจไปไกล ได้ร้อยก้าว บางคนไปไกลได้ถึงหนึ่งพันหรือหนึ่งหมื่น ก้าว นั่นเป็นการบ่งบอกว่า มนุษย์มีความพร้อมและมี องค์รวมที่อยู่ในตัวของตนเอง และนั่นคือการแยกแยะ ให้เห็นความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์อื่นๆ และ จากพลังความสามารถดังกล่าวของมนุษย์ ถ้าผู้ใดใช้ มันก็จะมุง่ ทยานสูข่ นั้ สูงสุด แต่ในทางกลับกันถ้าบุคคล ใดไม่ใช้มนั ในการขับเคลือ่ นหรือการจาริก ก็จะไม่บรรลุ ถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้เลย ขอกล่าวสนับสนุนและเน้นย�้า ณ ที่นี้ว่าแท้จริง

มนุษย์มคี ณ ุ ลักษณะ ”ความครอบคลุม” และมีศกั ยภาพ สูงเมื่อเปรียบเทียบกับสรรพสัตว์อื่นๆ และความเป็น พิเศษของมนุษย์ที่สมบูรณ์คือ สามารถฉายแสงแห่ง พระเจ้าได้ครบถ้วน หรือสามารถส�าแดงนามและคุณา นุภาพแห่งพระเจ้าออกมาได้ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว อัลลอฮ์ ก็จะทรงสร้างสรรพสืง่ อืน่ ๆ ไว้มากมายทีส่ ามารถส�าแดง คุณลักษณะ และพระนามของพระองค์ได้เหมือนกัน แต่ในสิ่งถูกสร้างที่มีอยู่ มนุษย์สามารถส�าแดง คุณานุภาพและพระนามของพระเจ้าได้ทั้งหมด และ ครบถ้วน โดยที่สิ่งถูกสร้างอื่นท�าไม่ได้ ดังนั้น การขับ เคลื่อนของมนุษย์ และการจาริกทางจิตวิญญาณของ มนุษย์จะไปทัง้ กระบวน ไปทัง้ โครงสร้าง นัน่ หมายความ ว่า การไปถึงมนุษย์ทสี่ มบูรณ์จงึ เร็วกว่าและเข้มข้นกว่า อีกทั้งเป็นการรวมขีดความสามารถทั้งหมดของมนุษย์ ที่มีอยู่แล้วขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน จนไปบรรจบลง ณ พระเจ้าแต่เพียงผู้เดียว ถ้าการจาริกและการขับเคลือ่ นของมนุษย์มเี พียง ด้านหนึง่ ด้านใด การไปสูเ่ ป้าหมายแห่งพระเจ้าคงจะไม่ เกิดขึน้ หรือถ้าเกิดขึน้ คงไม่ไปสูจ่ ดุ สูงสุดได้ ดังนัน้ มนุษย์ จึงมีความพิเศษ ในการขับเคลื่อนที่ครอบคลุมทุกด้าน และทุกอิรยิ าบท โดยเป้าหมายสุดท้ายคือการไปถึงการ ”เปิดเผยคุณานุภาพแห่งพระเจ้า" ได้ทั้งหมด ดังนั้นถ้า การไปไม่ถึงเป้าหมายดังกล่าว และไม่มีศักยภาพที่จะ ไปให้ถึงได้ เท่ากับการรังสรรค์แห่งพระเจ้าเป็นโมฆะ หรือเท่ากับว่าพระเจ้าตัง้ ใจทีจ่ ะไม่ให้ไปถึง เมือ่ เป็นเช่น นั้นจะขัดแย้งกับคุณลักษณะแห่ง ”ฮะกีม” หรือผู้ทรง วิทยปัญญาของพระเจ้านั่นเอง ต่อไปเราลองมาตรวจสอบดู ในหลักรหัสยวิทยา หรือด้านอัชฌัตติญาณ ถ้าหากสมมติฐานว่า รหัสย วิทยานั้นเข้าถึงได้เพียงบางส่วนหรือบางบุคคล และ ส่วนอื่นๆ ไม่สามารถเข้าถึงได้ โปรดสังวรไว้ว่า นั่นคือ ไม่ใช่ของแท้ ไม่ใช่เป็นรหัสยะแท้ แต่เป็นของปลอม เพราะว่ามีนักซูฟีหรือนักรหัสยนิยมมากมาย แอบอ้าง ว่าพวกเขาเข้าถึงคุณานุภาพแห่งพระเจ้า เข้าถึงอ�านาจ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 71


แห่งพระองค์ แต่ทว่าเมื่อตรวจสอบแล้วพวกเขาไปได้ เพียงบางส่วน ไม่ใช่ทงั้ หมดของการส�าแดงออกถึงคุณา นุภาพแห่งพระเจ้าหรืออาตมันแห่งพระเจ้า ถ้าเราจะเปรียบเปรย หรือกล่าวถึงการพัฒนา ด้านจิตวิญญาณให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ก็คล้ายๆ กับการ พัฒนาการของด้านสรีระ นั่นคือภายนอกทางกายภาพ และทางชีวภาพมนุษย์มีความสมดุล มีแขนขา มีหน้า ตาที่สวยงาม มีผิวผ่องใสและมีร่างกายที่สมส่วน ซึ่ง เป็นการบ่งบอกว่า เขามีความสมบูรณ์ทางร่างกายและ สุขภาพแข็งแรง ถ้าสมมติวา่ มีคนๆ หนึง่ แขนยาวจนเกิน ไป หรือมีรปู หน้าท้องไม่สมดุลกับร่างกาย ตัวสัน้ พุงป่อง พองโตอะไรท�านองนัน้ ก็คงจะสรุปได้เลยว่าคนๆ นัน้ ไม่ สมส่วนหรือไม่สมประกอบ ในด้านจิตวิญญาณหรือรูปลักษณ์แห่งจิต หรือ จิตภาพนั้นก็ต้องสมสว่น สมดุล ไม่ขาดไม่เกิน ทุกส่วน ของจิตจะต้องพัฒนาและก้าวหน้าและเดินทางไปสูเ่ ป้า หมายสูงสุดของมันให้ได้ ถ้าไม่สมส่วนหรือไม่สมดุล เปรียบได้ดงั ว่า คนๆ นัน้ มีศรี ษะโต แต่รปู ร่างเล็กและขา แขนลีบ ดังนัน้ เขาจะส�าแดงถึงคุณานุภาพแห่งพระเจ้า และนามแห่งพระเจ้าได้อย่างไร ดั ง นั้ น จ� า เป็ น ที่ เ ราจะต้ อ งแสวงหาแนวทาง หรือรูปแบบที่เป็นทางสายกลาง เป็นหนทางให้ความ สมบูรณ์ทุกอิริยาบท เป็นความสมบูรณ์ที่ครอบคลุม ทุกส่วน และพร้อมจะเดินทางไปด้วยกันและจาริกไปสู่ พระเจ้าอย่างสมบูรณ์และมัน่ คง อัลกุรอานแนะน�าและ เรียกร้องให้มนุษย์สกู่ ารต่อสูก้ บั ตนเองและเข้าสูห่ นทาง ของพระเจ้าเพื่อบรรลุยังพระองค์ดังนี้ บรรดาผู้ที่นั่งอยู่จากหมู่ผู้ศรัทธา ที่มิใช่ผู้มีความ เดือนร้อน และบรรดาผู้ต่อสู้และเสียสละในทางของ อัลลอฮ์ทั้งด้วยทรัพย์สมบัติและชีวิตของพวกเขานั้น หาเท่าเทียมกันไม่ อัลลอฮ์ทรงให้บรรดาผู้ต่อสู้และ เสียสละด้วยทรัพย์สมบัติและชีวิตของพวกเขา เหนือ กว่าบรรดาผูท้ นี่ งั่ อยูข่ นั้ หนึง่ และทัง้ หมดนัน้ อัลลอฮ์ทรง สัญญาไว้ให้ซึ่งสิ่งที่ดีเยี่ยม และอัลลอฮ์ทรงให้บรรดาผู้

72 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ทีต่ อ่ สูแ้ ละเสียสละเหนือกว่าบรรดาผูท้ นี่ งั่ อยูด่ ว้ ยรางวัล ที่ยิ่งใหญ่ ‫ين‌ب ِ َأ ْم َوال ِ ِه ْم‬ َ ‫‌فَضَّ َل‌اللَّـ ُه‌ال ْ ُم َجا ِه ِد‬ ‫ين‌ َد َر َج ًة‬ َ ‫َوأَن ُف ِس ِه ْم‌ َع َلى‌ال ْ َقا ِع ِد‬ "อัลลอฮ์ทรงให้บรรดาผู้ที่ต่อสู้ และเสียสละด้วย ทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขา เหนือ กว่าบรรดาผู้ที่นั่งอยู่ขั้นหนึ่ง" (บทที่ 4 (นิซาอ์) โองการ ที่ 95) ยังมีฮะดีษบทหนึ่งรายงานไว้ว่า ท่านศาสดา มุฮัมมัดกล่าวว่า “ไม่มีการงานและกิจกรรมใด ที่จะประเสริฐไป กว่าการต่อสู้ในหนทางแห่งพระเจ้า” และอิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ประเสริฐสุดของการกระท�า คือการนมาซใน เวลาของมัน และการท�าดีต่อบิดามารดา และการต่อสู้ ในหนทางแห่งพระผู้เป็นเจ้า” ศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) กล่าวถึงความพิเศษของ รางวัลผูท้ ตี่ อ่ สูใ้ นหนทางของพระเจ้าและผูเ้ ป็นชะฮีดคือ “คุณลักษณะพิเศษข้อทีเ่ จ็ดส�าหรับบรรดาชะฮีด คือ พวกเขาจะผินหน้าสู่พระพักตร์แห่งพระเจ้า” ดังนั้นถ้ามีส�านักรหัสยนิยมใด หรือส�านักซูฟี ใดได้กล่าวว่า อย่าต่อสู้หรือมุ่งสู่สมรภูมิรบ หรือกล่าว ธรรมะกั บ นั ก สู ้ ไ ม่ เกี่ ย วข้ อ งกั น แต่ เราจะต้ อ งไปนั่ ง วิปัสนา นั่งสมาธิปลีกวิเวกจากผู้คน จะถือว่าแนวทาง นั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องได้กระนั้นหรือ และถ้าถูกต้อง จะสามารถน�าพามนุษย์ ไปสู่ความสมบูรณ์ในทุกด้าน ได้ครบกระนัน้ หรือ และขอถามว่าการต่อสูก้ บั ศัตรูไม่ใช่ เป็นหลักปฏิบตั ขิ อ้ หนึง่ ทีอ่ ยูใ่ นหลักปฏิบตั อิ สิ ลาม ซึง่ อยู่ ในหมวดเดียวกับการนมาซ และการถือศีลอดกระนั้น หรือ และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่ได้กล่าวดอกหรือ ว่าถ้าผู้ใดจะบรรลุถึงพระเจ้า ให้ต่อสู้ในหนทางของ พระองค์ ดังนัน้ ส�านักซูฟหี รือส�านักรหัสยนิยมใดทีก่ ล่าว ว่า ให้ละทิ้งการญิฮาด การต่อสู้ในหนทางของพระเจ้า เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วกระนั้นหรือ


แนวทางแห่ ง รหั ส ยะที่ ถู ก ต้ อ งนั้ น จะต้ อ ง ครอบคลุ ม ทุ ก ด้ า นของการด� า เนิ น ชี วิ ต เช่ น นั ก รหัสยะต้องท�างาน ท�ามาหากิน ต้องเรียนหนังสือ ต้อง นมาซ ต้องอ่านดุอาอ์ ต้องเสียสละ ต้องมีจิตอาสา จิตสาธารณะ ต้องแต่งงาน ต้องรักครอบครัว ดูแล ครอบครัวและนั่นคือการภักดีต่อพระเจ้าทั้งสิ้น และ นั้นคือการจาริกและการก้าวเดินทางไปสู้พระเจ้า และ ในขณะเดียวกันก็แบ่งเวลา เพื่อการร�าลึกถึงพระเจ้า และการพูดคุยกับพระเจ้า โดยเป็นมิติหนึ่งของชีวิต ดัง โองการที่ว่า ‫ى‌جنُوب ِ ِه ْم‬ َ ‫ين‌يَ ْذ ُك ُر‬ َ ‫ال َّ ِذ‬ ُ ‫ا‌و َع َل‬ َ ‫ا‌وقُ ُعو ًد‬ َ ‫ام‬ ً َ‫ون‌اللَّـ َه‌قِي‬ “(ผู้ศรัทธา) นั้นคือบรรดาผู้ที่ร�าลึกถึงพระเจ้าอยู่ ทุกขณะจิต ทั้งยามยืน ยามนั่งและยามนอน” (บทที่ 3 (อาลิอิมรอน) โองการที่ 195) และมีรายงานจากท่านศาสดาว่า “แท้จริงการร�าลึกถึงพระเจ้า เป็นความสวยงาม ยิ่งและยังผลถึงความดีงามทุกสภาวะเลยทีเดียว” มาถึง ณ ที่นี้แล้วสรรพสัตว์อื่นๆ เล่าจะร�าลึกถึง พระเจ้าหรือไม่ แน่นอนค�าตอบก็คือ มนุษย์เป็นสิ่งถูก สร้างสิง่ เดียวทีม่ ศี กั ยภาพสามารถจะส�าแดงคุณานุภาพ แห่งพระเจ้า และพระนามของพระเจ้าได้ครบสมบูรณ์ ส่วนสรรพสิ่งอื่นได้เป็นบางส่วนเท่านั้น ดังโองการที่ว่า َ ْ ‫‌و‬ ‫‌‌وإِن‬ ُ ‫األ ْر‬ ُ ‫او‬ َّ ‫ات‬ َّ ‫‌تُ َسبِّ ُح‌ل َ ُه‬ َ ‫‌و َمن‌فِي ِه َّن‬ َ ‫ض‬ َ ‫‌الس ْب ُع‬ َ ‫‌الس َم‬ َّ ‫ـك‬ ِ َ ‫ن‌ش ْي ٍء‌إ َِّل‌يُ َسبِّ ُح‌ب ِ َح ْم ِد ِه َ‌ول‬ ‫يح ُه ْم‬ َ ‫ِّم‬ َ ‫ن‌ل‌تَ ْف َق ُه‬ َ ِ‫ون‌تَ ْسب‬ “บรรดาชั้ น ฟ้ า ทั้ ง เจ็ ด และผื น แผ่ น ดิ น นั้ น จะ สดุดีสรรเสริญต่อพระองค์อัลลอฮ์และผู้ที่อยู่ในมัน ทั้งสอง(ก็ได้สรรเสริญพระองค์) และไม่มีสิ่งใดเลย นอกจากจะสรรเสริญและสดุดีต่อพระองค์”(บทที่ 17 (อัลอิสรออ์) โองการที่ 44) จากการตรวจสอบโองการ บทรายงาน และแบบ ฉบับของท่านศาสดามุฮัมมัด และสมาชิกในครอบครัว ของท่ า นผู ้ บ ริ สุ ท ธิ์ พวกเขาเน้ น หนั ก และสนั บ สนุ น แนวทางแห่งรหัสยะ แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ได้ชี้แนะให้

เลือกหาหนทางที่ถูกต้องและเป็นรหัสยะแท้ นั่นคือมี คุณสมบัติที่ครอบคลุมทุกกิริยาบทของมนุษย์และเป็น รหัสยะที่สร้างความสมดุลแก่ทุกส่วน ของการด�าเนิน ชีวิต ค. รหัสยวิทยาแท้ตอ้ งไม่ขดั แย้งกับหลักศาสนกิจ ข้อที่สามของเงื่อนไขรหัสยะแท้ นั่นคือหลักค�า สอนของรหัสยะต้องไม่ขดั แย้ง หรือไปสร้างความโมฆะ ให้หลักปฏิบัติศาสนกิจข้อหนึ่งข้อใดเป็นอันขาด กล่าว คือในอัลกุรอานและวจนะของท่านศาสดาเอง ก็กล่าว ไว้ว่า ระหว่างรหัสยะกับศาสนบัญญัติต้องไม่ขัดแย้ง กันและกัน แต่จะต้องเกื้อกูลกันและกัน ต้องสนับสนุน ต่อไป ดังโองการที่ว่า ‫وا‌ما‌أُنز َِل‌إِل َ ْي ُكم‌ ِّمن‌ َّرب ِّ ُك ْم‬ َ ‫‌اتَّبِ ُع‬ َ ‫اء‬ َ َ‫َو َل‌تَتَّبِ ُعوا‌ ِمن‌ ُدون ِ ِه‌أ ْولِي‬

“จงยึดปฏิบัติตาม สิ่งที่ถูกประทานมายังพวก เจ้า ซึ่งมาจากพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าเอง และอย่า ปฏิบัติสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากพระองค์เด็ดขาด” (บทที่ 7 (อัลอะอ์รอฟ) โองการที่ 3) ‫ون‌اللَّـ َه‌فَاتَّبِ ُعونِي‌يُ ْحبِ ْب ُك ُم‌اللَّـ ُه‬ َ ‫قُ ْل‌إِن‌ ُكنتُ ْم‌تُ ِح ُّب‬

“จงกล่าวเถิด (โอ้มุฮัมมัด) ถ้าพวกเจ้ารักต่อองค์ อัลลอฮ์ก็จงปฏิบัติตามฉันเถิด แล้วอัลลอฮ์จะทรงรัก พวกเจ้า”(อาลิอิมรอน โองการที่ 31) َ ٌ َ‫ـذا‌ ِكت‬ َ ‫‌و َه‬ ‫وه‬ ُ ‫ار ٌك‌فَاتَّبِ ُع‬ ُ َ‫اب‌أن َزلْن‬ َ َ َ‫اه ُ‌مب‬ ‫ون‬ َ ‫َوات َّ ُقوا‌ل َ َعلَّ ُك ْم‌تُ ْر َح ُم‬ “คั ม ภี ร ์ เ ล่ ม นี้ เราประทานลงมา เป็ น ความ สิรมิ งคลยิง่ ดังนัน้ จงปฏิบตั คิ มั ภีรน์ นั้ เถิด และจงส�ารวม ตนต่อพระองค์เถิด หวังว่าพวกท่านจะได้รับความ เมตตา”(บทที่ 6 (อัลอันอาม) โองการที่ 155) จากโองการข้างต้นชี้ให้เห็นว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงสัง่ ให้ปฏิบตั ติ ามพระองค์ ปฏิบตั ติ ามศาสนทูตของ พระองค์ และสิ่งที่อยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน และห้ามการ ปฏิบัติตามสิ่งอื่นนอกเหนือจากพระองค์ ดังนั้น เป็นไป

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 73


ได้กระนั้นหรือที่ในการจาริกจิตวิญญาณสู่พระเจ้าเพื่อ บรรลุขนั้ การสลายตัวตนและเพือ่ เข้าสูพ่ ระองค์ เรากลับ ไปน�าเอาหลักการหรือแนวทางอืน่ ทีอ่ ลั ลอฮ์ไม่สนับสนุน มาใช้ และอัลกุรอานกล่าวยืนยันไว้แล้วว่า เงือ่ นไขของ การบรรลุธรรมและการเข้าถึงพระเจ้า จะต้องมีความรัก และปฏิบัติตามศาสนทูตของพระองค์ และการปฏิบัติ ตามศาสดามุฮมั มัด คือการอยูใ่ นกรอบของหลักศาสนา และหลักศาสนบัญญัติ ที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และหลักปฏิบัติศาสนกิจประจ�าวันของมุสลิม ต้องไม่ ละเลยอย่างเด็ดขาด ดังโองการที่กล่าวก�าชับไว้ว่า ِ ُ‫‌اتَّبِ ْع َ‌ما‌أ‬ َ ِّ ‫ك‌ ِمن‌ َّرب‬ َ ‫وح َي‌إِل َ ْي‬ َ ‫ك‬ ‫‌‌ل‌إِلَـ َه‌إ َِّل‌ ُه َو‬ ‌‫ين‬ ْ ‫َوأَ ْعر‬ َ ‫ِض‌ َعنِ ‌ال ْ ُم ْش ِر ِك‬ “จงปฏิบตั ติ ามสิง่ ทีถ่ กู วิวรณ์ลงมายังเจ้า มาจาก พระผูอ้ ภิบาลของเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า และไม่มี พระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น และ จงออกห่างจากผู้ตั้งภาคีกับพระองค์เถิด”(บทที่ 6 (อัล อันอาม) โองการที่ 106) َ ‫اء َك‌ ِم َن‌ ال ْ ِع ْل ِم‬ َ‌ َ ‫‌ولَئِنِ ‌ اتَّبَ ْع َت‌ أ ْه َو َاء ُهم‌ ِّمن‌ ب َ ْع ِد‌ َما‌ َج‬ َ ‫إِن‬ ‫ين‬ َ ‫َّك‌إِذًا‌ل َّ ِم َن‌ال َّظال ِ ِم‬ “และถ้าหากเจ้ายึดปฏิบัติ ตามอารมณ์อยาก ของพวกเขา หลังจากที่มีหลักฐานอันชัดแจ้งมายังเจ้า แล้ว นั่นเท่ากับว่าเจ้ามาจากผู้ฉ้อฉล” (บทที่ 2 (อัล บะกอเราะฮ์) โองการที่ 145) َ ‫اء َك‌ ِم َن‌ال ْ َح ِّق‬ َ ‫َو َل‌تَتَّبِ ْع‌أ ْه َو َاء ُه ْم‌ َع َّم‬ َ ‫ا‌ج‬

“และอย่​่ายึดปฏิบัติตาม อารมณ์อยากของตน จากสิ่งที่มายังเจ้าแล้ว จากความจริงนั้น”(บทที่5 (อัล มาอิดะฮ์) โองการที่ 48) َ ْ ‌‫َوإِن‌تُ ِط ْع‌أَ ْكثَر َ‌من‌فِي‬ َ ‫ض‌يُ ِض ُّل‬ ِ ‫األ ْر‬ ‫ن‌سبِيلِ ‌اللَّـ ِه‬ َ ‫وك‌ َع‬ َ "และถ้าหากเจ้า เชื่อปฏิบัติตามบุคคลส่วนมาก ทีอ่ ยูบ่ นหน้าแผ่นดินนี้ พวกเขาจะท�าให้เจ้าหลงทางจาก ทางของพระองค์อัลลอฮ์”(บทที่ 6 (อัลอันอาม โองการ ที่ 116)

74 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

‫َو َم ْن‌أَ َض ُّل‌ ِم َّمنِ ‌اتَّبَ َع‌ َه َو ُاه‌ب ِ َغ ْيرِ‌ ُه ًدى‌ ِّم َن‌اللَّـ ِه‬ “และผูใ้ ดทีห่ ลงทาง ด้วยการปฏิบตั ติ ามอารมณ์ อยาก เขาจะไม่พบกับทางน�าแห่งอัลลอฮ์อย่างเด็ดขาด” (บทที่ 28 (อัลเกาะศอศ) โองการที่ 50) ِ ‫ـذ‬ َ ‫‌وأَ َّن‌ َه‬ ‫وه‬ ُ ‫يما‌فَاتَّبِ ُع‬ َ ُ ‫ا‌ص َرا ِط‬ ً ‫ي‌م ْستَ ِق‬ ‫ن‌سبِيلِ ِه‬ ‫َو َل‌تَتَّبِ ُع‬ ُّ َ ‫وا‌السبُ َل‌فَتَ َف َّر َق‌ب ِ ُك ْم‌ َع‬ “นี่คือหนทางของข้าที่เที่ยงตรง ดังนั้นจงปฏิบัติ ตามเขาเถิด และอย่าปฏิบัติตามหนทางอื่นๆ แล้วเจ้า จะถูกแยกออกไปจากทางของพระองค์”(บทที่ 6 (อัล อันอาม โองการที่153) َّ ُ‫ق‬ ‫ين‬ َ ‫ل‌ل‌أَتَّبِ ُع‌أَ ْه َو َاء ُك ْم‌‌قَ ْد‬ َ ‫ًا‌و َما‌أَنَا‌ ِم َن‌ال ْ ُم ْهتَ ِد‬ َ ‫‌ض َل ْل ُت‌إِذ‬ “จงกล่าวเถิด ข้าฯ จะไม่ปฏิบัติตามอารมณ์ อยากของพวกเจ้า เพราะท�าให้ข้าฯ หลงทางแน่ และ ข้าฯ จะไม่มาจากผู้ที่ได้รับทางน�าเป็นแน่”(บทที่ 6 (อัล อันอาม) โองการที่ 56) َ َ َ ‫الر ُس‬ ‫ول‌ ‌ فَإِن‌ تَ َول َّ ْوا‌ َوإِن‬ َّ ‌‫‌قُ ْل‌ أ ِط ُيعوا‌ اللَّـ َه‌ َوأ ِط ُيعوا‬ ‫ا‌ح ِّم ْلتُ ْم‬ ُ ‫تُ ِط ُيع‬ ُ ‫ا‌ح ِّم َل َ‌و َع َل ْي ُكم‌ َّم‬ ُ ‫وه‌تَ ْهتَ ُدوا‌فَ ِإن َ​َّما‌ َع َل ْي ِه َ‌م‬ "จงกล่าวเถิด จงเชือ่ ฟังต่ออัลลอฮ์และจงเชือ่ ฟัง ต่อศาสนทูตผูน้ นั้ เถิด และถ้าหากพวกเจ้าเชือ่ ฟังปฏิบตั ิ ตามเขา(ศาสนทูต) พวกเจ้าจะได้รับทางน�า” (บทที่ 24 (อันนูร) โองการที่ 54) และยังมีโองการอืน่ ๆ อีกหลายโองการทีก่ ล่าวถึง การเชื่อปฏิบัติตามศาสดา และศาสนทูตของพระองค์ นั่นหมายความว่า ให้ยึดปฏิบัติสิ่งที่ศาสดาน�ามา นั่น คือการยึดปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด และยังมีบท รายงานที่เป็นรูปแบบของบทวิงวอน บทดุอาอ์ และ อัลฮะดีษกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้หลายบททีเดียว ซึ่งเราจะ หยิบยกบางบทจากบทดุอาอ์นั้นมา ดังนี้ ِ ‫‌م َح َّم ٍد‌ال ْ ُف ْل‬ ِ ‌‫لى‌م َح َّم ٍد‌و‬ ‫ك‌الْجا ِريَ ِة‬ َ ‫‌اَل ّل ُه َّم‬ ُ ‫َآل‬ ُ ‫‌ص ِّل‌ َع‬ ‫ها‌و‌يَ ْغ َر ُق َ‌م ْن‌تَ َر َك َها‬ َ َ‫‌ر ِكب‬ َ َ‫‌فِى‌ال ُّل َج ِج‌الْغا ِم َر ِة‌ي‬ َ ‫ام ُن َ‌م ْن‬ ‫‌وال ْ ُمتَ َا ِّخ ُر‌ َع ْن ُه ْم‌زا ِه ٌق‬ َ ‫‌ال ْ ُمتَ َقدِّ ُم‌ل َ ُه ْم‌ما ِر ٌق‬


ِ ‫ال ِز ُم‌ل َ ُه ْم‬ ّ ‫َوال‬ ‫‌لح ٌق‬ “โอ้อัลลอฮ์ โปรดประสาทพรแก่ศาสดามุฮัมมัด และวงศ์วานของศาสดามุฮัมมัดด้วยเถิด พวกเขาคือ นาวาแห่งความปลอดภัย ใครก็ตามได้ขึ้นบนเรือล�านั้น แล้วไซร้ จะปลอดภัย และใครที่ผลักใส ไม่ยอมขึ้นบน นาวานั้น จะจมน�้า ผู้ที่ล�้าหน้าพวกเขาจะพินาศ และผู้ ที่ล่าช้าจากพวกเขาออกนอกเส้นทางศาสนานั้น และ นั่นเป็นความจ�าเป็นยิ่งที่เราจะยึดและจับพวกเขาไว้” (มะฟาติฮุลญินาน บทดุอาอ์เดือนชะบาน) “การรังเกียจพวกท่าน (อะฮ์ลุลบัยต์) คือการ ออกนอกเส้นทาง ส่วนการยึดพวกท่านไว้ คือการเข้า ถึงศาสนาและพบกับความจริงแท้ การละเลยไม่ยอมรับ พวกท่านคือความหายนะ เพราะว่าสัจธรรมอยูก่ บั พวก ท่านและอยู่ในพวกท่านและมาจากพวกท่านและจะ คืนสู่พวกท่าน เพราะพวกท่านคือเจ้าของสัจธรรมนั้น และเป็นแหล่งแห่งสัจธรรมนั้น” (มะฟาติฮุลญินาน บท ซียาเราะฮ์ญามีอะฮ์กะบีเราะฮ์) ดั ง นั้ น เราเสาะแสวงหาแนวทางและบุ ค คล ต้นแบบเพื่อความถูกต้องและแม่นย�า ดังโองการที่ กล่าวว่า ِ ‫ـذ‬ َ ‫‌وأَ َّن‌ َه‬ ‫وه‬ ُ ‫يما‌فَاتَّبِ ُع‬ َ ُ ‫ا‌ص َرا ِط‬ ً ‫ي‌م ْستَ ِق‬ ‫َو َل‌تَتَّبِ ُع‬ ‫ن‌سبِيلِ ِه‬ ُّ َ ‫وا‌السبُ َل‌فَتَ َف َّر َق‌ب ِ ُك ْم‌ َع‬ “นี่คือทางของข้าที่เที่ยงตรง จงปฏิบัติตามเขา เถิด และอย่าปฏิบัติตามทางอื่นๆ แล้วพวกเจ้าจะออก จากเส้นทางสัจธรรมนั้น” (บทที่ 6 (อัลอันอาม) โองการ ที่ 153) หลักปฏิบตั ศิ าสนกิจอิสลามหรือทีเ่ รียกว่า “หลัก ชะรีอะฮ์” มีประเด็นว่าด้วยหลักการภาคปฏิบตั เิ กีย่ วกับ ปัจเจกบุคคล และด้านการปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าในเรื่องการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรื่องครอบครัว เรื่อง สังคม จนกระทั่งว่าด้วยเรื่องของการปกครอง ความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง และ ในหลักปฏิบัติศาสนกิจมีบทว่าด้วยเรื่อง "จ�าเป็นต้อง

ปฏิบัติ”(วายิบ) เช่น เรื่องการนมาซวันละห้าเวลา การ ถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน การประกอบพิธฮี จั ญ์ และ อื่นๆ และการกระท�าที่จะต้องละเว้น หรือ "ฮารอม” เช่น ห้ามการดื่มสุรา ห้ามการเล่นการพนันและอื่นๆ และมี หลักปฏิบตั ทิ คี่ วรกระท�า เรียกว่า”มุสตะฮับ” เป็น กระท�า ที่เสริมความดีงาม เช่น การนมาซนะฟีละฮ์ การถือศีล อดทีไ่ ม่ใช่ในเดือนรอมาฎอน การบริจาคทานอาสาและ อื่นๆ และมีสิ่งที่ควรละเว้นและละทิ้งเรียกว่า "มักรูฮ์” เช่น การกินของหมักดอง การหัวเราะเสียงดังจนเกิน ไปและอื่นๆ ดังนั้น ในประเด็นเรื่องหลักปฏิบัติศาสน กิจและการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ มีมากมายหลาย ข้อ ทั้งหมดเราจะต้องเรียนรู้และท�าความเข้าใจ เพื่อ ท�าให้จิตใจสะอาด มิตทิ างด้านวัตถุและจิตวิญญาณเป็นสองมิติ ที่เป็นเส้นขนานกันกระนั้นหรือ เรื่องหนึ่งที่ถือว่า เป็นความเข้าใจผิดในแวดวง ของนักซูฟีและส�านักรหัสยนิยมคือ เชื่อว่ามนุษย์มีสอง ด้าน คือด้านวัตถุและด้านจิตวิญญาณที่ต้องแยกจาก กัน ถ้ามุ่งด้านวัตถุจะสูญเสียด้านจิตวิญญาณหรือ ในทางกลับกัน ถ้ามุ่งด้านจิตวิญญาณจะต้องสูญเสีย ด้านวัตถุ โดยที่ทั้งสองภาคนี้ไม่สามารถรวมอยู่ในคน คนเดียวกันได้ จะต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่ง ดังนั้นจะ พบว่าบรรดานักซูฟี จึงสอนให้เลือกด้านปรโลกเพียง อย่างเดียวให้ถือสันโดษหรือบวชเป็นนักพรตเป็นฤาษี ไปเลย ทั้งหมดนี้ถือเป็นความเข้าใจผิด ซึ่งเราจะน�ามา อธิบายดังต่อไปนี้ การอิบาดะฮ์ คือการเคารพภักดีตอ่ พระผูเ้ ป็นเจ้า ผู้ทรงเอกะ นั่นคืออัลลอฮ์ (ซบ.) โดยละเว้นการภักดีสิ่ง อืน่ นอกเหนือจากพระองค์ ซึง่ ถือว่าเป็นค�าสอนทีส่ า� คัญ ที่สุดของศาสนาอิสลาม และเป็นค�าสอนของบรรดา ศาสดาทั้งหลายด้วย การอิบาดะฮ์ นอกจากเป็นเรื่องที่ส�าคัญแล้ว อิสลามยังถือว่าการอิบาดะฮ์ต่อพระเจ้า เป็นค�าสอนที่ พึงต้องแสดงออก และถือว่าการอิบาดะฮ์เป็นสิ่งที่มา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 75


คู่กับการด�าเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์จะแยกตัวเอง ออกจากการอิบาดะฮ์ไม่ได้ ซึ่งโดยหลักปรัชญาก็กล่าว สนับสนุนถึงเรือ่ งนีไ้ ว้ กล่าวคือ มนุษย์เป็นสิง่ ถูกสร้าง ที่ พระเจ้าสร้างมา ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ผู้รับต้องรู้จักขอบคุณ ต่อผู้ให้ ดังนั้น เมื่อมนุษย์เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมา ให้ก�าเนิดขึ้น มีชีวิตและมีปัจจัยยังชีพ จ�าเป็นที่มนุษย์ ต้องขอบคุณต่อผู้สร้าง การขอบคุณดังกล่าวก็คือการ อิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์โดยไม่ตั้งภาคีกับสิ่งอื่นใด การอิบาดะฮ์บางรูปแบบ อยู่ในลักษณะการ กระท�าเป็นหมู่คณะ และบางประเภทเป็นการกระท�า ส่วนบุคล ซึ่งมีการนมาซเป็นรูปแบบการอิบาดะฮ์ที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุด และเป็นการแสดงออกถึงการเคารพภักดี ต่ออัลลอฮ์ที่ดีที่สุด เป็นรูปแบบการปฏิบัติที่มีลักษณะ เฉพาะ บางคนอาจไปนั่งนมาซในมุมหนึ่งเป็นการส่วน ตัว เป็นการให้เวลาการเคารพภักดีระหว่างตัวของเขา กับพระเจ้าผู้ทรงเมตตาเป็นการเฉพาะ ในทรรศนะอิสลาม ถือว่าทุกๆ กิจการงานที่ดี และมีประโยชน์ที่มนุษย์กระท�าไป พร้อมกับมีเจตนา เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์ หรือกระท�าเพื่อ ความพึงพอใจของพระองค์ ล้วนเป็นอิบาดะฮ์ทั้งสิ้น ดังนั้นการเรียนหนังสือ การอ่านต�ารา การท�ามาหากิน การช่วยเหลือผู้อื่นและอื่นๆ ที่กระท�าเพื่อพระองค์คือ การอิบาดะฮ์ จากค�าสอนของอิสลามเช่นกัน ที่ให้ยึดความสุข ทางกายและทางจิตใจควบคู่กันไป นั่นหมายความว่า ความสมบูรณ์ของมนุษย์มีอยู่ในทั้งสองด้าน เมื่อใดที่ ร่างกายมีความสมบูรณ์ ก็จะเสริมสร้างให้จิตมีความ สมบูรณ์ได้เช่นกัน ถ้าผู้ใดปรารถนาจะให้จิตวิญญาณ มีความเข้มแข็งและมีพลังทางจิตที่งดงาม สิ่งที่สมควร กระท�าอย่างยิ่งคือสร้างความเข็มแข็งทางร่างกายด้วย กระนั้นก็ยังมีคนบางกลุ่มกล่าวและสอนว่า การ หมกมุ่นอยู่กับโลกนี้และชีวิตทางโลก จะท�าให้ชีวิตทาง ปรโลกขาดทุน หรือท�าให้ความเข้มแข็งของชีวิตโลก หน้าต้องอ่อนแอลงไป หรือในทางกลับกันถ้าหมกมุ่น

76 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

อยู่กับชีวิตปรโลกเพียงอย่างเดียว จะท�าให้ขาดความ สุขทางโลกนี้ไป โดยพวกเขามองชีวิตโลกนี้และชีวิตใน ปรโลกเสมือนเส้นขนาน ถ้าต้องการด้านหนึ่ง ก็จะต้อง สูญเสียอีกด้านหนึง่ ไป ดังนัน้ จึงมีกลุม่ คนหนึง่ แสวงหา ชีวิตในปรโลกเพียงอย่างเดียว โดยที่ละทิ้งชีวิตโลกนี้ ไม่มีครอบครัว ไม่ท�ามาหากินและไม่สมาคมกับเพื่อน บ้าน แต่ปลีกวิเวกถือสันโดษ และจะบ�าเพ็ญพรอยู่ใน ถ�้าและป่าเขาเป็นฤาษี ดังที่พบเห็นได้ในศาสนาต่างๆ เช่น ศาสนาฮินดู พุทธศาสนา คริสตศาสนา หรือแม้แต่ ในศาสนาอิสลามก็มีส�านักซูฟีบางกลุ่ม พยายามจะ ตีความศาสนาในลักษณะเช่นนี้ นี่คือการตีความเนื้อหาของศาสนา ที่ผิดพลาด และเป็นความเข้าใจผิด ต่อหลักค�าสอนของอิสลาม เป็นการยึดหลักธรรมทีไ่ ม่ถกู ต้องและหลงคิดไปว่าชีวติ โลกนีก้ บั ชีวติ ในปรโลกเป็นเส้นขนานกัน ถ้าอยากได้โลก ใด ก็จะต้องทิ้งอีกโลกหนึ่ง ตามความเป็นจริงแล้วอิสลามยอมรับทัง้ สองโลก โดยทัง้ สองโลกนัน้ จะต้องเกือ้ กูลต่อกัน และมนุษย์เองก็ มีสองด้าน คือด้านภายนอกและด้านภายใน ด้านวัตถุ และด้านจิตวิญญาณ ซึ่งทั้งสองด้านที่ผ่านการฝึกฝน และการทดสอบแล้วจะบรรลุสคู่ วามส�าเร็จ และอิสลาม ก็ไม่ปฎิเสธของโลกทัง้ สอง หรือกล่าวว่าทัง้ สองโลกเป็น ปรปักษ์ต่อกัน อิสลามไม่เคยบอกว่าห้ามกินอาหารที่ อร่อยหรือห้ามกินอาหารให้อิ่ม เพราะจะท�าให้ชีวิตโลก หน้าล�าบาก หรือห้ามการสืบพันธุ์ เพราะว่าการสืบพันธุ์ เป็นสาเหตุของความตกต�า่ และน�าไปสูค่ วามอิม่ เอมทาง กามราคะและโลกียะเพียงอย่างเดียว และจะท�าให้จิต วิญญาณตกต�่าลง แต่อิสลามสอนว่าทั้งสองโลกต้อง เดินไปด้วยกัน สิ่งที่อิสลามสอน คือสอนให้สองโลก จะต้อง ปฏิบัติทั้งสองโลกให้สมบูรณ์ และเดินทางไปยังทั้งสอง โลกให้สมบูรณ์ นัน่ คือการตัง้ ใจและความปรารถนาดีใน การด�าเนินชีวติ เพือ่ ชีวติ ทีด่ ขี องตน โดยการกระท�าทุกสิง่ ทุกอย่างด้วยจิตใจและเจตนาบริสทุ ธิต์ อ่ พระเจ้าเท่านัน้


ไม่สร้างภาวะทางจิตทีข่ ดั แย้งกับพระเจ้าเป็นอันขาด ซึง่ ความขัดแย้งและอุปสรรคทีม่ าขวางกัน้ คืออารมณ์ฝา่ ย ต�่าและความอยากทางโลกียะนั่นเอง ดังโองการที่ว่า َ َ ‫‌وأَ َضلَّ ُه‌اللَّـ ُه‌ َع َلى‌ ِع ْل ٍم‬ َ ‫أفَ َرأ ْي َت َ‌منِ ‌ات َّ َخ َذ‌إِلَـ َه ُه‌ َه َو ُاه‬ “เจ้าไม่เห็นดอกหรือ ผู้ที่เอาอารมณ์ฝ่ายต�่ามา เป็นพระเจ้า ดังนั้นองค์อัลลอฮ์ทรงให้เขาหลงทางด้วย การรอบรู้ (ของพระองค์)” (บทที่ 45 (อัลญาซียะฮ์) โองการที่ 23) ความหมายของการประจักษ์แจ้ง ต่อพระเจ้า และการเข้ า ถึ ง พระเจ้ า มิ ไ ด้ ห มายความว่ า จะต้ อ ง ละทิ้งตัวเองหรือละทิ้งสังคม ละทิ้งชีวิตทางโลก หรือ การไม่ใช้สอยจากปัจจัยต่างๆ หรือออกห่างจากความ สะดวกสบายทางโลก แต่ทว่าถ้าเรื่องต่างๆเหล่านั้นที่ เป็นกิจกรรมทางโลกกระท�าเพือ่ พระเจ้าและมีเป้าหมาย เพื่อพระองค์ ไม่ละเมิดสิทธิของผู้ใด นั่นคือการน�าไปสู่ ความใกล้ชดิ ยังพระเจ้าได้เหมือนกัน และนัน่ คือหนทาง หนึ่งของการจาริกสู่พระองค์ และในทางกลับกันภาพ ภายนอกได้กระท�าอิบาดะฮ์ ปฏิบัติธรรมอย่างหามรุ่ง หามค�่า ตื่นนมาซยามกลางคืน ถือศีลในเวลากลาง วัน นั่งสมาธิเป็นเวลาหลายชั่วยาม แต่ถ้าไม่ใช่ท�าเพื่อ พระเจ้า ไม่ได้แสวงหาความใกล้ชดิ ต่อพระองค์ สิง่ เหล่า นั้นก็ไม่มีประโยชน์แม้แต่นิดเดียว การใช้ชีวิตในโลกนี้อย่างที่เป็นอยู่ ไม่มากจน เกินไปและไม่น้อยจนเกินไป คือการมุ่งสู่แนวทางของ

อั ล ลอฮ์ ดั ง นั้ น หลั ก รหั ส ยวิ ท ยาของอิ ส ลามสอนให้ มนุษย์รักทั้งสองโลก และยึดปฏิบัติตามหน้าที่ของทั้ง สองด้านอย่างสมบูรณ์ การใช้ชีวิตก็เพื่ออัลลอฮ์การ อิบาดะฮ์ก็เพื่อพระเจ้า การท�ามาหากินเลี้ยงชีพก็เพื่อ อัลลอฮ์สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดก็คือการแสวงหาความใกล้ ชิดต่อพระเจ้าและเป็นการอิบาดะฮ์ เป็นการภักดีต่อ พระเจ้า ดังที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “บุ ค คลที่ อ อกไปแสวงหาปั จ จั ย ยั ง ชี พ เพื่ อ ครอบครั ว ของตน เสมื อ นกั บ ว่ า เขาออกไปต่ อ สู ้ ใ น หนทางของอัลลอฮ์” อิมามมุฮัมมัด อัลบากิร (อ.) กับหลักรหัสยวิทยาที่ถูกต้อง อัตชีวประวัติของอิมามมุฮัมมัด อัลบากิร (อ.) ที่ สนทนากับท่านมุฮัมมัด บินมุนกะดัร ให้สาระในด้าน รหัสยะแก่เราเป็นอย่างดีว่า แท้จริงรหัสยวิทยาที่ถูก ต้องในอิสลาม คือการยึดเอาทั้งสองโลก ไม่ใช่ยึดเพียง ปรโลกโดยละทิ้งชีวิตโลกนี้ และอิมามยังกล่าวสอนไว้ ว่า การใช้ชวี ติ ในโลกนีด้ ว้ ยการมีเป้าหมายและมีเจตนา เพือ่ พระเจ้านัน้ คือการภักดีตอ่ พระองค์ และการภักดีคอื ทุกชนิดน�าไปสู่ความใกล้ชิดพระเจ้า ท่านมุฮัมมัด บินมุนกะดัรเป็นนักพรต เป็นผู้ ปฏิบัติถือสันโดษ เป๊นผู้มีความสมถะสูง ในช่วงหนึ่ง ของชีวิตเขาเดินทานไปยังนครมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นฤดูร้อน และ ณ เวลานั้นมีอากาศที่ร้อนระอุมาก ขณะนั้นเขา เห็นชายคนหนึ่งก�าลังเดินมา ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อน เปรี้ยง ประหนึ่งว่าเขาเตรียมจะไปเพาะปลูกอะไรสัก อย่างหนึง่ และเขายังเห็นคนรับใช้อกี สองคนเดินมาด้วย และช่วยเหลือเขาเพาะปลูกในสวนนั้น ดังนั้นเขาจึงคิด อยู่ในใจของเขาว่า “ชายคนนั้นเป็นใคร ท�าไมจึงอุตสาหะและเพียร พยายามเพื่อโลกนี้เสียเหลือเกิน ทั้งๆ ที่แดดร้อนเช่นนี้ ยังหมกมุ่นอยู่กับเรื่องทางโลกอีก” เมือ่ เขาเดินเข้าไปใกล้ๆ ท�าให้เขาต้องตกตลึงและ แปลกใจเป็นอย่างยิง่ ว่า ผูช้ ายทีเ่ ขาเห็นแต่ไกลคืออิมาม

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 77


มุฮัมมัด อัลบากิร เขาจึงร�าพึงกับตนเองว่า “ท�าไมชายผู้สูงส่งผู้นี้ จึงหลงในโลกนี้และชีวิต ในโลกนี้เสียเหลือเกิน คิดว่าข้าฯ จะขอตักเตือนเขาสัก หน่อยแล้ว” ดังนั้น เขาจึงเดินเข้าไปใกล้ๆ แล้วกล่าวทักทาย ท่านอิมามบากิร (อ.) ตอบสลามเขาในสภาพที่เสียงไม่ ค่อยจะดังนัก เนื่องจากก�าลังเหนื่อย และมีเหงื่อออก ท่วมตัว มุฮัมมัด บินมุนกะดัรจึงกล่าวว่า "เป็นความเหมาะสมแล้วใช่ใหม ทีบ่ คุ คลทีส่ งู ส่ง เช่นท่าน จะมาตรากตร�าในการท�างานเพื่อโลกนี้ และ แสวงหาสิ่งที่เป็นโลกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่ ก�าลังขุดดินเพื่อเพาะปลูกอากาศก็ร้อนระอุ ใครจะรู้ว่า ความตายอาจมาเยือนท่านก็ได้ และถ้าจากโลกนีไ้ ปใน สภาพเช่นนี้ ท่านจะท�าอย่างไร ไม่เป็นสิ่งสมควรเลยที่ จะตรากตร�าในเรื่องชีวิตทางโลกให้มากนัก ไม่ ข้าฯ ขอ บอกว่า ไม่เป็นการเหมาะสมเอาเสียเลย” อิมามบากิร (อ.) กล่าวตอบว่า “ถ้ า ความตายมาเยื อ นฉั น ในขณะนี้ และฉั น จากโลกนี้ไป เท่ากับฉันได้เคารพภักดีและอิบาดะฮ์ต่อ อัลลอฮ์แล้ว เพราะการท�างานและการท�ามาหากินคือ การภักดีหนึ่งต่อพระเจ้าประเภทหนึ่ง ท่านคิดว่าการ ภักดีตอ่ พระเจ้ามีเฉพาะการนมาซ การร�าลึกถึงพระองค์ และวิงวอนดุอาอ์เพียงอย่างเดียวกระนัน้ หรือ แท้จริงฉัน มีค่าใช้จ่าย มีชีวิตต่างๆ ที่ต้องเลื้ยงดู ดังนั้น ฉันจะต้อง อุสาหะและท�างาน หรือว่าจะให้ฉนั แบมือขอเหมือนกับ ท่าน หรือเหมือนกับบุคคลอื่นๆ ที่คล้ายๆ กับท่าน ฉัน ท�ามาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ และไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น ไม่ ต้องแบมือขอใคร” มุฮัมมัด บินมุนกะดัรกล่าวว่า “จากค�าตอบของอิมามมุฮมั มัด บาเกร (อ.) ท�าให้ ฉันเข้าใจชีวิต และท�าให้ฉันเข้าใจว่าใครคือผู้ที่สมควร แก่การตักเตือน เพราะฉันนั้นอยู่กับการคิดที่ผิดพลาด มาตลอด” (อ้างจากหนังสือบิฮารุลอันวาร เล่ม 46 เกีย่ ว กับบทเรื่องชีวประวัติอิมามบากิร)

78 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

จากจุดยืนและสิ่งที่แสดงออกมา ของส�านักซูฟี ในอดีต ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดแห่งการละทิ้งทางโลก เพื่อ หาทางหลุดพ้นจากทุกข์ทงั้ หลาย และพยายามจะบอก กับมิตรสหายว่า ส�านักซูฟีคือต้องอยู่อย่างสมถะ ไม่ยุ่ง เรื่องทางโลก มุ่งมั่นในการท�าอิบาดะฮ์ ขัดเกลาจิตใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา ท�าให้นักวิชาการบาง กลุ่ม โดยเฉพาะนักบูรพาคดีบางคนกล่าวว่า ส�านัก ซูฟีเกิดมาจากอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์ ศาสนา ฮินดูและศาสนาพุทธ เช่น ท่านญุนัยด์ (บัฆดาดีย์) ซึ่ง จากประวัตขิ องเขา เป็นผูท้ มี่ าจากคนทีใ่ ช้ชวี ติ อย่างสุข สบาย แล้วได้สละตนเอง ไปบ�าเพ็ญพรตในป่า เหมือน กับพระพุทธเจ้าของศาสดาของพุทธศาสนา นักบูรพคดีบางคนมีทรรศนะว่า ส�านักซูฟีใน อิสลาม ได้รับอิทธิพลมาจากชาวเปอร์เซียโบราณ เช่น เออร์เนสต์ รีแนน (E. Renan) ซึ่งแม้แต่เฮนรี กูรแบน (H.Gubran) ก็กล่าวว่า ส�านักซูฟีของท่านชะฮาบุดดีน ซุรอวัรดี (หรือเชคอิชร็อก เจ้าส�านักปรัชญาอิชรอกียะฮ์) มีความสัมพันธ์อย่างลึกซึง้ ต่อส�านักรหัสยะของชาวโซโร อัสเตอร์ (H.Gubran Islam Iranain, Vol.2 Paris 1972) นักวิชาการตะวันตกอีกจ�านวนหนึง่ เชือ่ ว่า ส�านัก ซูฟีอิสลาม ได้รับอิทธิพลจากศาสนายูดายและศาสนา คริสต์ เพราะว่าลักษณะของการรักสันโดษหรืออยูอ่ ย่าง สมถะนั้น มีนักบุญและนักพรตของชาวยิวและชาว คริสต์ยึดถือปฏิบัติมาก่อนแล้ว แม้แต่นิโคลสันซึ่งเป็น บูรพาคดีของตะวันตกได้เขียนเกีย่ วกับกลุม่ รหัสยะนิยม อิสลามว่า ได้รบั อิทธิพลมาจากคริสต์ศาสนา โดยทีพ่ วก เขาได้อ้างเหตุผลดังนี้ 1. การใส่เสือ้ ผ้าทีห่ ยาบ และมีตสั บิฮ์ (ลูกประค�า) ติดตัวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนักพรตของคริสเตียนได้ปฏิบัติ มาก่อน เช่น การปฏิบัติของท่านยุนัยด์ ซึ่งเป็นนักซูฟี ระดับแนวหน้าของมุสลิมก็ยึดถือปฏิบัติ และสิ่งเหล่านี้ ได้ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์ตัลมูดของชาวยิว 2. มี วิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ธ รรมที่ เ หมื อ นกั บ นั ก พรต ชาวยิวและชาวคริสต์ เช่น การมีสมุดตรวจสอบความ


(ซ้าย) วิลเลียม โจนส์ (ค.ศ.1794-1746) นักปรัชญาชาวนักปรัชญาชาวอังกฤษ เวลส์ (ที่สองจากซ้าย) อิบนิอัลอารอบี (ค.ศ. 1165-1240) นักปรัชญามุสลิม (ที่สองจากขวา) ฮาฟิซ อัชชีรอซี (ค.ศ. 1325-1389) กวีมุสลิมผู้มีชื่อเสียง ชาวเปอร์เซีย (ขวา) อบูรอยฮาน อัลบิรูนี (ค.ศ. 983-1048) นักปรัชญาและนักดาราศาสตร์มุสลิมคนส�าคัญ

ประพฤติ หรือมีการตรวจสอบจิตของพวกเขา 3. มีคา� และประโยคทีไ่ ด้รบั มาจากชาวคริสต์และ ชาวยิว ซึ่งเป็นประโยคที่ไม่เคยมีในวัฒนธรรมอิสลาม มาก่อน เช่น ค�าว่าลาฮูต รอบบานี รูฮานี (จากหนังสือ Nicholson. Article on sufi, New York 1928) อีกทรรศนะหนึ่งจากนักเขียนตะวันตก กล่าว ว่า แท้จริงตะเซาวุฟหรือซูฟีของอิสลาม ได้รับอิทธิพล มาจากศาสนาฮินดู และนักเขียนตะวันตกคนแรกที่น�า ทรรศนะนี้มากล่าวคือเซอร์วิลเลี่ยม โจนส์ (W. Jones จากหนังสือ Asiatic Researches พิมพ์ที่ลอนดอน ปี ค.ศ.1803) นั่นก็คือเรื่อง “วะฮ์ดะตุลวุยูด” ซึ่งเป็นหลัก ความเชื่อส�าคัญเรื่องหนึ่งของส�านักซูฟี ที่ถูกถ่ายทอด มาจากนักซูฟีชื่อดัง เช่น อิบนิ อารอบี ฮาฟีซหรือเมา ลานา รูมี แม้แต่อบูรอยฮาน อัลบิรูนีก็กล่าวเปรียบเทียบ และเชือ่ ว่าตะเซาวุฟอิสลามได้รบั อิทธิพลมาจากตะเซา วุฟของฮินดู เช่น จากผลงานของนักซูฟีระดับแนวหน้า ไม่ว่าอบูยาซีด บัสฏอมี ฮัลลาจหรือชับลี และอัลบิรูนีได้ อ้างเหตุผลมากมาย ทีก่ ล่าวสนับสนุนว่าซูฟขี องอิสลาม ได้รบั อิทธิพลจากซูฟขี องฮินดูอย่างมาก (ดูหนังสือ ตะกี กุนมาลิลฮินดี มินมะกูละฮ์ บทที่ 37 และ 43 พิมพ์ปี ค.ศ.1925) อีกทรรศนะหนึง่ ของนักบูรพคดีตะวันตก เชือ่ ว่าที่

จริงแล้วส�านักซูฟหี รือตะเซาวุฟอิสลามได้รบั อิทธิพลมา จากส�านักซูฟีของกรีกโบราณ เช่น มาจากเฮนนี่ ซึ่งเป็น นักซูฟีและนักพรตของกรีก ก่อนคริสตศักราชประมาณ 331 ปีหรือได้รับอิทธิพลจากเพลโตหรือแนวคิดนิโอ เพลโต เช่นในหนังสือ “ออซูลูลียาอะรอสตู” ซึ่งเป็นผล งานทางวิชาการที่ถูกบันทึกไว้ ซึ่งบางคนกล่าวว่าเป็น ของอริสโตเติล และบางคนกล่าวว่าเป็นค�าสอนของ พลาโต ซึง่ ในเนือ้ หาของต�ารา มีความคล้ายคลึงกับเรือ่ ง ความเชื่อของนักซูฟีบางส�านัก ดังนั้นเมื่อต�าราดังกล่าว ถูกแปลเป็นภาษาอาหรับ ชาวอาหรับได้รับอิทธิพลจาก ต�าราและค�าสอนเหล่านั้น หรือต�าราอื่นๆ ของปราชญ์ ชาวกรีกถูกน�ามาเผยแพร่ ท�าให้ค�าสอนดังกล่าวถูกน�า มาถ่ายทอดในแวดวงของนักซูฟี และมีอิทธิพลโดยที่ นักซูฟีน�ามาเขียนไว้ในต�าราของพวกเขา เช่น หนังสือ ของกุชัยรี ซิลมี ชะรอนี ฮีระวีและยามี (อ้างจากหนังสือ ของ A.E. Afifi. The influence of Hermetic literature in Muslim thought พิมพ์ปี ค.ศ. 1950) อ่านต่อฉบันหน้า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 79


เรียบเรียงโดย

เชคอิมรอน พิชัยรัตน์

อิสลำม

ศำสนำแห่งควำมเมตตำ ควำมรักและมิตรภำพ َّ ‫‌آمنُوا‌ات َّ ُق‬ ‫‌ول‌ تَ ُموتُ َّن‬ َ ‫‌يَا‌أَيُّ َها‌ال َّ ِذ‬ َ َ‫وا‌اهلل‬ َ ‫‌ح َّق‌ تُ َقاتِ ِه‬ َ ‫ين‬ َ ‫‌إ‬ َّ ِ‫‌وا ْعتَ ِصموا‌ ب ِ َحبل‬ ‫ا‌ول‬ َ ‫‌م ْسلِ ُم‬ َ ِ ‫‌اهلل‬ َ ‫‌ج ِم ًيع‬ َ ‫ون‬ َ ُ ‫ِل‌وأنْتُ ْم‬ ُ ْ َّ ‫وا‌وا ْذ ُكروا‌ن ِ ْعم َة‬ ‫‌اهللِ‌ َع َل ْي ُك ْم‌إِذْ‌ ُك ْنتُ ْم‌أَ ْع َد ًاء‌فَ َأل َّ َف‬ َ ُ َ ُ‫‌تَ َف َّرق‬ َ ‫ى‌ش َفا‬ َ ‫ا‌و ُك ْنتُ ْم‌ َع َل‬ َ ً ‫‌ب َ ْي َن‌قُ ُلوب ِ ُك ْم‌فَأ ْصبَ ْحتُ ْم‌بِنِ ْع َمتِ ِه‌إ ِْخ َوان‬ َ َّ ‌‫ك‌ يُبيِ ُن‬ ‫اهللُ‌ ل َ ُك ْم‬ ُ ّ َ َ ِ ‫‌ح ْف َر ٍة‌ ِم َن‌ النَّا ِر‌ فَأنْ َق َذ ُك ْم‌ ِم ْن َها‌ َك َذل‬ ‫ون‬ َ ‫‌آيَاتِ ِه‌ل َ َعلَّ ُك ْم‌تَ ْهتَ ُد‬ อัลลอฮ์(ซบ.) ตรัสว่า : “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงย�าเกรงอัลลอฮ์อย่าง แท้จริงเถิด และพวกเจ้าจงอย่าตายเป็นอันขาดนอกจาก ในฐานะที่พวกเจ้าเป็นผู้นอบน้อมเท่านั้น และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮ์ โดย พร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน และจงร�าลึก ถึ ง ความเมตตาของอั ล ลอฮ์ ที่ มี แ ต่ พ วกเจ้ า ขณะที่ พวกเจ้าเป็นศัตรูกัน แล้วพระองค์ทรงให้สนิทสนมกัน ระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพี่ น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์ และพวกเจ้าเคย 80 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ปรากฏอยู่บนปากหลุมแห่งไฟนรก แล้วพระองค์ก็ทรง ช่วยพวกเจ้าให้พน้ จากปากหลุมแห่งนรกนัน้ ในท�านอง นั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงแก่พวกเจ้าซึ่งบรรดา โองการของพระองค์เพื่อว่า พวกเจ้าจะได้รับแนวทาง อันถูกต้อง” (บทที่ 3 (อาลิอิมรอน) โองการที่ 102-103) ศรัทธาคือสิ่งส�าคัญ ในการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างมนุษย์ เพราะศรัทธาจะเรียกร้องเขาให้ละวาง จากความอาฆาตแค้ น ความชิ ง ชั ง การตั้ ง ตนเป็ น ศัตรูต่อกัน เข้าสู่อ้อมกอดแห่งความเมตตา ความรัก และมิตรภาพ จึงเห็นได้ว่าอัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสถึงความ โปรดปรานทีย่ งิ่ ใหญ่และคุณค่าทางจิตวิญญาณทีส่ งู ส่ง ในการขับเคลือ่ นและเปลีย่ นแปลงสังคม เกีย่ วกับความ เมตตา ความรักและมิตรภาพไว้ในหลายๆ โองการ นั่นคือการละวางจากความชิงชัง ในการเหยียด ชนชาติ สีผิวและห่างไกลจากความไร้อารยธรรมทั้ง ปวง โดยยึดตามแนวทางแห่งศาสดา(ศ็อลฯ) รวมทั้ง ของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ ในการชี้น�าสังคมสู่ความเป็น ภราดรภาพ เอกภาพและมิตรภาพที่ขับเคลื่อนสังคม


ด้วยปัญญาและหัวใจ สังคมที่ขับเคลื่อนไปในทิศทางนี้ ด้านหนึ่งต้อง สร้างสัมพันธภาพระหว่างตัวเขาเอง กับพระผู้เป็น เจ้ า และสาส์ น ของพระองค์ อี ก ด้ า นหนึ่ ง ต้ อ งสร้ า ง สัมพันธภาพระหว่างตัวเขากับบุคคลอื่นในสังคม สิ่ง จ�าเป็นที่สุด ในการสร้างสัมพันธภาพทางจิตวิญญาณ หลังจากการมีศรัทธาต่อพระผูเ้ ป็นเจ้าแล้วนัน่ ก็คอื การ แผ่ความเมตตา ความรักและมิตรภาพ หากสิง่ นีไ้ ด้หยัง่ รากลึกในสังคมใดแล้ว สังคมนั้นจะมีความมั่นคงเข้ม แข็ง ไม่อาจมีสิ่งใดมาท�าลายสังคมนั้นได้เลย แนวทางแห่งศาสดา (ศ็อลฯ) แนวทางแห่งศาสดา(ศ็อลฯ) เปรียบดังเสาหลักที่ มัน่ คง แข็งแกร่งและอบอุน่ ทีต่ งั้ ตระหง่านให้มนุษยชาติ พึ่งพิง อันเป็นแนวทางที่เป็นแบบอย่างและบรรทัดฐาน ในการด�ารงชีวิต และเปรียบดังดวงประทีปอันเจิดจ้า ที่ส่องทางชีวิต เปรียบดังกระจกเงาบานใหญ่ส�าหรับ ชาวโลก หากผู้ใดศึกษาค้นคว้าวิถีชีวิตของท่านศาสดา (ศ็ อ ลฯ) ในขณะที่ ท ่ า นเผยแผ่ ส ารธรรมอยู ่ ใ นนคร มักกะฮ์และมะดีนะฮ์อย่างมุมานะ พากเพียรและบาก บั่น ฝ่าฟันอุปสรรคปัญหาต่างๆ นานัปการ ก็จะสัมผัส ได้วา่ แนวทางส�าคัญทีท่ า่ นศาสดา (ศ็อลฯ) วางรากฐาน สู่การฟื้นฟู ปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงสังคม คือการจัด ระบบระเบียบแบบแผน การด�าเนินชีวิตของมนุษย์ใน ทุกด้าน บนบรรทัดฐานของสารธรรมแห่งพระผู้เป็น เจ้าและแนวทางการสร้างสัมพันธภาพกับผูอ้ นื่ ในสังคม จนผลพวงแห่งหลักธรรมค�าสอนนั้น ได้เผยปรากฏให้ ประจักษ์ต่อสายตาประชาคมโลก แม้จะผ่านล่วงเลย มาพันกว่าปีแล้วก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่บรรดามุสลิมมีอยู่ เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ยิง่ กว่าเพชรนิลจินดาใดๆ จริยธรรมและจรรยามารยาท อันงดงามทีถ่ กู ถ่ายทอดผ่านอิรยิ าบทอันนอบน้อม อ่อน โยน อย่างหาที่เปรียบมิได้ของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึง่ แหล่งทีม่ าก็คอื “วะฮ์ย”ู ทีห่ ลัง่ ลงมาจากพระผูเ้ ป็นเจ้า ได้ร้อยดวงใจทุกดวง แม้จะต่างเผ่าพันธุ์ ชาติพันธุ์ ยุค

สมัยและสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ผู้ที่อ่านชีวประวัติและ วิถีชีวิตของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะเห็นได้ถึงวิถีปฏิบัติ ด้วยจริยธรรมอันงดงาม ทีท่ า่ นศาสดา(ศ็อลฯ)มีตอ่ ผูค้ น จนท�าให้ผู้คนในยุคนั้นประทับใจอย่างไร มีฮะดีษบท หนึง่ ทีท่ า่ นศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวไว้วา่ “ผูท้ เี่ ป็นทีร่ กั และ ใกล้ชดิ ฉันมากทีส่ ดุ ในวันกิยามะฮ์ คือผูท้ มี่ จี ริยธรรมทีด่ ี ทีส่ ดุ ” และยังกล่าวไว้อกี ว่า “ผูศ้ รัทธาทีม่ ศี รัทธาสมบูรณ์ กว่า นั่นคือผู้ที่มีจริยธรรมที่ดีกว่า” และยังกล่าวเอาไว้ อีกว่า “ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะท�าให้ตาชั่ง (การกระท�าของ มนุษย์) มีน�้าหนักมากไปกว่าการมีจริยธรรมที่ดีงาม” สังคมอิสลาม ที่เริ่มต้นด้วยจริยธรรมอันงดงามได้ตรา ตรึงหัวใจของผู้คนกระทั่งได้แผ่ความเมตตา ความรัก และมิตรภาพต่อกัน จนในที่สุดชัยชนะอันยิ่งใหญ่ก็ ปรากฏให้ประจักษ์ในหน้าประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ศาสนาอิ ส ลามให้ ค วามส� า คั ญ กั บ การสร้ า ง สัมพันธภาพ มิตรภาพและความรักระหว่างมนุษย์ด้วย กัน แม้วา่ จะต่างๆ ชาติพนั ธุ์ เผ่าพันธุแ์ ละสีผวิ ก็ตาม อีก ทั้งย�้าถึงการท�าลายวิถีปฏิบัติตน ที่สร้างความเลื่อมล�้า แบ่งชนชั้นระหว่างคนรวย คนจนและปัจจัยอื่นที่พระผู้ เป็นเจ้าให้แก่เขามาเป็นข้อต่อรองความเหนือกว่าผู้อื่น ภารกิ จ แรกที่ ท ่ า นศาสดามุ ฮั ม มั ด (ศ็ อ ลฯ) ปฏิบัติหลังจากอพยพเข้าสู่นครมะดีนะฮ์ คือการสร้าง สัมพันธภาพ บนพื้นฐานของการภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า จนสามารถท�าลายความเป็นศัตรูกัน ระหว่างเผ่าเอา ส์และเผ่าคอซร็อจ ที่ท�าสงครามกันมายาวนานได้ด้วย การการหยิบยื่นมิตรภาพด้วยไมตรีจิต และความรักให้ แก่กัน และท้ายที่สุดจากศัตรูกลายเป็นมิตรและพี่น้อง ร่วมศรัทธาเดียวกัน อัลลอฮ์(ซบ.) ตรัสว่า َّ ‫‌وا ْذ ُكروا‌ن ِ ْعم َة‬ ‫‌اهللِ‌ َع َل ْي ُك ْم‌إِذْ‌ ُك ْنتُ ْم‌أَ ْع َد ًاء‬ َ ُ َ ‫فَ َأل َّ َف‌ب َ ْي َن‌قُ ُلوب ِ ُك ْم‌فَ َأ ْصبَ ْحتُ ْم‌بِنِ ْع َمتِ ِه‌إ ِْخ َوانًا‬

“และจงร�าลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีแต่ พวกเจ้า ขณะทีพ่ วกเจ้าเป็นศัตรูกนั แล้วพระองค์ได้ทรง ให้สนิทสนมกันระหว่างหัวใจของพวกเจ้า แล้วพวกเจ้า ก็กลายเป็นพี่น้องกันด้วย ความเมตตาของพระองค์”

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 81


(บทที่ 3 (อาลิอิมรอน) โองการที่ 103) จึ ง กล่ าวได้ ว่ า ปาฏิหาริย์แ รกที่อิส ลามสร้ าง ปรากฏการณ์ขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์มนุษยชาติ นั่น ก็คือการสร้างสัมพันธภาพ ความรักความผูกพันขึ้นใน หัวใจของกลุ่มชนที่ตั้งตนเป็นศัตรู และท�าสงครามกัน มายาวนาน สาส์นแห่งความรัก ความเมตตาของท่าน ศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ประสบความส�าเร็จอย่างน่าทึง่ ในระยะเวลาไม่นานนัก ความรัก มิตรภาพและไมตรีจติ ก็สร้างสัมพันธภาพระหว่างประชาชาติ ให้อยู่กันอย่าง ร่มเย็นเป็นสุข หลักปฏิบัติและคุณค่า ที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ปฏิบตั ไิ ว้เป็นแบบอย่างนัน้ เป็นหลักการส�าคัญ ในการปฏิบตั ติ นของมนุษย์ หากสังคมยึดมัน่ ปฏิบตั ติ าม หลักการทีท่ า่ นศาสดา (ศ็อลฯ) ปฏิบตั เิ ป็นแบบอย่างไว้ ความล้าหลัง ความแตกแยกและสงครามก็จะไม่เกิดขึน้ และโลกใบนีก้ จ็ ะเต็มเปีย่ มไปด้วยความรัก ความเมตตา มิตรภาพและด�ารงชีวิตอย่างร่มเย็นเป็นสุข มั่นคงและ ปลอดภัย ในบทความนี้ ผู้เรียบเรียงต้องการที่ชี้ให้เห็นถึง หลักการสามประการ ที่อิสลามให้ความส�าคัญเป็นวิถี ปฏิบัติที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ปฏิบัติไว้เป็น แบบอย่าง ได้แก่ 1. อิ ส ลาม เป็ น ศาสนาแห่ ง การให้ อ ภั ย และ เมตตา ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึง “เราะฮ์มะฮ์” (ความ เมตตา) ไว้ในหลายๆโองการ เช่นความรักความผูกพัน ระหว่างบรรดาผู้ศรัธทา ْ ‫ين‌اتَّبعوه‬ ِ ‫‌و َج َع ْلنَا‌فِي‌قُ ُل‬ ‫‌و َر ْح َم ًة‬ َ ‫‌رأفَ ًة‬ َ َ ُ ُ َ َ ‫وب‌ال َّ ِذ‬ “และเราบันดาลความสงสาร และความเมตตา ให้เกิดขึน้ ในจิตใจของบรรดาผูท้ เี่ ชือ่ ฟังปฏิบตั ติ ามเขา” (บทที่ 57 (อัลหะดีด) โองการที่ 27) เป็นความรักความเมตตาที่พระองค์ทรงบันดาล ให้บังเกิดขึ้นในจิตใจ และเบ่งบานด้วยหลักธรรมค�า สอนของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นสัมพันธภาพ

82 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ทีส่ านสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กบั พระเจ้า ระหว่างมนุษย์ กับศาสดาและหลักธรรมค�าสอนแล้วเบ่งบานพรั่งพรูสู่ มนุษย์ด้วยกัน เป็นวิถีชีวิตแห่งศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ดังพระองค์ตรัสว่า َّ ‫ول‬ ُ ‫‌ر ُس‬ ‫ين َ‌م َع ُه‌أَ ِش َّد ُاء‬ َ ‫‌وال َّ ِذ‬ َ ِ ‫‌اهلل‬ َ ‫ُ‌م َح َّم ٌد‬ ‫اء‌ب َ ْينَ ُه ْم‬ ُ ‫َع َلى‌ال ْ ُكفَّا ِر‬ ُ ‫‌ر َح َم‬

“มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์และบรรดาผู้ ที่อยู่ร่วมกับเขา เป็นผู้เข้มแข็งกล้าหาญต่อพวกปฏิเสธ ศรัทธา เป็นผู้เมตตาระหว่างพวกเขาเอง” (บทที่ 48 (อัลฟัตฮ์) โองการที่ 29) ความเมตตา ความอ่อนโยนของท่านศาสดามุ ฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่ได้ถูกจ�ากัดและเลือกปฏิบัติเพียง บรรดามุสลิมเท่านัน้ ทว่าเป็นความรักความเมตตา และ จริยธรรมอันงดงามที่มีส�าหรับทุกคน พระองค์ตรัสว่า َّ ‫ا‌ر ْحم ٍة‌ ِم َن‬ ‫‌ول َ ْو‌ ُك ْن َت‬ َ ‫‌اهللِ‌ل ِ ْن َت‌ل َ ُه ْم‬ َ َ ‫‌فَبِ َم‬ َ ِ‫فَ ًّظا‌ َغل‬ َ ِ ‫‌ح ْول‬ ‫ك‬ َ ‫يظ‌ال ْ َق ْل ِب‌لنْ َفضُّ وا‌ ِم ْن‬

“เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า (มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหาก เจ้าเป็นผูป้ ระพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซ้ ร แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้า กันแล้ว” (บทที่ 3 (อาลิอิมรอน) โองการที่ 159) และตรัสไว้ในบทอัตเตาบะฮ์ โองการที่ 128 อีกว่า َ ٌ ‫‌ر ُس‬ ‫‌ما‌ َعنِ ُّت ْم‬ َ ‫‌ل َ َق ْد‬ َ ‫ول‌ ِم ْن‌أنْ ُف ِس ُك ْم‌ َعزِي ٌز‌ َع َل ْي ِه‬ َ ‫اء ُك ْم‬ َ ‫‌ج‬


‫يم‬ ٌ ‫‌ر ُء‬ ٌ ‫َحر‬ َ ِ‫ِيص‌ َع َل ْي ُك ْم‌بِال ْ ُم ْؤ ِمن‬ َ ‫وف‬ َ ‫ين‬ ٌ ‫‌ر ِح‬ “แท้จริงมีศาสนทูตผู้หนึ่งจากพวกท่านเองได้มา หาพวกท่านแล้ว เป็นทีล่ า� บากใจแก่เขาในสิง่ ทีพ่ วกท่าน ได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใยย่าน เป็นผู้เมตตา ผู้ กรุณาสงสาร ต่อบรรดาผู้ศรัทธา” 2. อิสลามเป็นศาสนาแห่งความรัก ศาสนาอิสลามน�าเสนอประเด็นความรัก ออกสู่ สังคม โดยถือว่าเป็นเนื้อแท้ของศาสนา การมอบความ รักและมีมิตรภาพต่อกัน ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า ความเกลียดชัง และการเป็นศัตรูต่อผู้ที่เป็นศัตรูกับ พระผู้เป็นเจ้า ถือเป็นหลักเอกานุภาพ (เตาฮีด) และ เท่ากับเป็นการหลีกห่าง จากการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็น เจ้า มีรายงานจากอิมามมุฮมั มัดบาเกร (อ.) ว่า “ศาสนา เป็นเรื่องที่นอกเหนือ ไปจากความรักหรืออย่างไร” อัลลอฮ์(ซบ.) ตรัสว่า ‫‌و َزيَّنَ ُه‌فِي‌قُ ُلوب ِ ُك ْم‬ َ ‫‌اليم‬ َ ‫ان‬ َ ‫َحبَّ َب‌إِل َ ْي ُك ُم‬ “อัลลอฮ์ทรงให้การศรัทธา เป็นที่รักแก่พวกเจ้า และทรงประดับประดามันไว้ในหัวใจของพวกเจ้า” (บท ที่ (อัลหุญุรอต) โองการที่ 7) และตรัสอีกว่า َّ ‫ون‬ َّ ‫‌اهللَ‌فَاتَّبِ ُعونِي‌يُ ْحبِب ُكم‬ ُ‫‌اهلل‬ َ ‫قُ ْل‌إ ِْن‌ ُك ْنتُ ْم‌تُ ِح ُّب‬ ُ ْ “จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่าน รัก อัลลอฮ์กจ็ งปฏิบตั ติ ามฉัน อัลลอฮ์กจ็ ะทรงรักพวกท่าน” (ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน โองการที่ 31) ดังนั้นรักเพื่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ถือเป็นหลักส�าคัญ ของการด�าเนินชีวติ และเป็นฐานของความรักต่อสิง่ อืน่ ทั้งมวล ดังนั้น ต้องพัฒนาและเสริมสร้างความรักต่อ พระองค์ให้หนักแน่นและเข้มแข็งมากยิง่ ขึน้ เพราะหาก ความรักต่อพระองค์มั่นคง และเข้มแข็งมากขึ้นเท่าใด ความรักต่อสรรพสิ่งอื่นที่เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ก็ จะมีทิศทาง มีเป้าหมาย สร้างสรรค์ และเป็นรักนิรันดร์ พระองค์ตรัสว่า َ ‫ان‌آبا ُؤ ُكم‌وأَبنَا ُؤ ُكم‌وإ ِْخوان ُ ُكم‬ ‫اج ُك ْم‬ ُ ‫‌وأ ْز َو‬ َ ْ َ َ ْ ْ َ ْ َ َ ‫‌قُ ْل‌ إ ِْن‌ َك‬ ٌ ‫ير تُ ُك ْم ‌ َو أَ ْم َو‬ ‫ار ٌة ‌ تَ ْخ َش ْو َن‬ َ َ ‫ال ‌ ا ْقتَ َر ْفتُ ُمو َها‌ َو تِ َج‬ َ ‫‌و َع ِش‬

َ َّ ‌‫ب‌إِلَي ُكم‌ ِم َن‬ ‫اهلل ِ َ‌و َر ُسول ِ ِه‬ َ ‫‌ َك َسا َد َه‬ ْ ْ َّ ‫ا‌و َم َسا ِك ُن‌تَ ْر َض ْون َ َها‌أ َح‬ َّ ‫وا‌حتَّى‌يَ ْأتِي‬ ‫‌اهللُ‌ب ِ َأ ْم ِر ِه‬ َ ‫ي‌سبِيلِ ِه‌فَتَ َرب َّ ُص‬ َ َ ِ‫‌و ِج َها ٍد‌ف‬ َ َّ ‫َو‬ ِ ‫اهللُ‌ل‌يَ ْه ِدي‌ال ْ َق ْو َم‌ال ْ َف‬ ‫ين‬ َ ‫اس ِق‬ “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า หากบรรดาบิดาของ พวกเจ้า บรรดาลูกๆ ของพวกเจ้า บรรดาพีน่ อ้ งของพวก เจ้า บรรดาคูค่ รองของพวกเจ้า บรรดาญาติของพวกเจ้า บรรดาทรัพย์สมบัติที่พวกเจ้าแสวงหาไว้ สินค้าที่พวก เจ้ากลัวว่าจะจ�าหน่ายมันไม่ออก บรรดาที่อยู่อาศัยที่ พวกเจ้าพึงพอใจมันนั้น เป็นที่รักใคร่แก่พวกเจ้ายิ่งกว่า อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์ และการต่อสู้ในทาง ของพระองค์แล้วไซ้ร ก็จงรอคอยกันเถิดจนกว่าอัลลอฮ์ จะทรงน�ามาซึ่งบัญชาของพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นจะ ไม่ทรงน�าทางแก่กลุม่ ชนทีล่ ะเมิด” (บทที่ 9(อัตเตาบะฮ์) โองการที่ 24) ดังนั้นต้องพัฒนาความรัก ระหว่างตนกับพระ ผู้เป็นเจ้าให้หนักแน่น กว่าความรักที่มีต่อสรรพสิ่งอื่น ทั้งหมด พระองค์ตรัสว่า َ ِ ‫‌ح ًّبا‌هلل‬ َ ‫َوال َّ ِذ‬ ُ ‫‌آمنُوا‌أ َش ُّد‬ َ ‫ين‬ “แต่บรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นผู้ที่รักอัลลอฮ์มากยิ่ง กว่า” (บทที่ 2 (อัลบะเกาะเราะฮ์) โองการที่ 165) ความรักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ถูกแสดงออกมา ด้วยการเชื่อฟัง ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ตรัสว่า َ َ َ‫وا‌اهلل‬ َ ‫وا‌الر ُس‬ ‫ول‬ َ ‫‌يَا‌أَيُّ َها‌ال َّ ِذ‬ َ َّ ‫‌آمنُوا‌أ ِط ُيع‬ َ ‫ين‬ َّ ‫‌وأ ِط ُيع‬ ِ ‫َوأُول‬ ‫ي‌األمرِ‌ ِم ْن ُك ْم‬ ْ “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์เชื่อฟัง ศาสนทูตเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย” (บท ที่ 4 (อันนิซาอ์) โองการที่ 59) ดังนัน้ การเชือ่ ฟังผูป้ กครองก็คอื การเชือ่ ฟังศาสน ทูตที่เชื่อมโยงยังการเชื่อฟังอัลลอฮ์(ซบ.) เมื่อความ รักถูกแสดงออกด้วยการเชื่อฟังและภักดี ฉะนั้นการมี ความรักต่อผูป้ กครองและศาสนทูตก็คอื การมอบความ รักยังอัลลอฮ์(ซบ.) นั่นเอง มีรายงานจากท่านศาสดา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 83


มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ว่า “ขอสาบานต่อพระผู้ที่ชีวิตของข้า อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ ว่า ไม่มีผู้ใดจากพวกท่าน ที่จะมีศรัทธาต่อข้า นอกจากเขาจะรักข้ามากกว่า บิดา มารดาและบุตรของพวกเขา” และสายใยแห่งรักถูกถัก ทอยังลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่าน และบรรดาตัวแทน ของพวกท่าน ปัจจัยที่จะน�าสู่ความรัก 1. การมีเจตนารมณ์ที่ดีงามและบริสุทธิ์ อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่มีเจตนารมณ์ที่ดีงาม และบริสุทธิ์ มรรคผลของเขาจะเพิม่ พูน และชีวติ ของเขาก็จะพบแต่ ความผาสุก....” 2. การคิดดีต่อผู้อื่น อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ผู ้ ใ ดคิ ด ดี ต ่ อ ผู ้ อื่ น เขาก็ จ ะได้ รั บ ความรั ก ตอบแทน” 3.การอยู่ร่วมกันอย่างดีงาม อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “การอยูร่ ว่ มกันอย่างดีงาม และพูดจาดี จะท�าให้ ความรักเพิ่มพูนในหัวใจของผู้คน” 4. การมีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “การมีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส คือตาขายดัก ความรัก” 5.การมีมารยาทที่ดีงาม มีฮะดีษบทหนึ่งกล่าวว่า “หนึ่งในคุณสมบัติของผู้มีศาสนา คือ การมี มารยาทที่ดีงาม” 6. ความอ่อนโยนต่อผู้อื่น มีฮะดีษบทหนึ่งกล่าวว่า “ความอ่อนโยนคือครึ่งหนึ่งของการด�าเนินชีวิต” 7. การถ่อมตน อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “สามสิง่ ทีจ่ ะได้รบั ความรักมา คือ การมีมารยาท

84 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ที่ดีงาม ความอ่อนโยนและความถ่อมตน” 8. ความเผื่อแผ่ อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “การมีความเผื่อแผ่ จะได้รับความรักตอบแทน” 9.การแสดงความรักต่อผู้อื่น มีรายงานจากอิมามมุฮัมมัดบาเกร (อ.) ว่า มี อาหรั บ เผ่ า บะนี ต ะมี ม เข้ า พบท่ า นศาสดามุ ฮั ม มั ด (ศ็ อ ลฯ) และต้ อ งการให้ ท ่ านสั่ ง สอนพวกเขา ท่ าน ศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวแก่พวกเขาว่า “จงรักผู้อื่น แล้วผู้อื่นจะรักท่าน” 3. อิสลามศาสนาแห่งความเป็นพี่น้อง ความเป็นพี่น้องกัน คือระดับขั้นแห่งมิตรภาพ ที่ เ หนื อ กว่ า มิ ต รภาพอื่ น ๆ และการที่ เ รี ย กบรรดาผู ้ ศรัทธาว่า “พี่น้อง” ชี้ให้เห็นถึงความรักความผูกพันอัน แน่นแฟ้นระหว่างกัน พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า ‫ون‌إ ِْخ َو ٌة‬ َ ُ‫إِن َ​َّما‌ال ْ ُم ْؤ ِمن‬ “แท้ที่จริงบรรดาผู้ศรัทธาเป็นพี่น้องกัน” (บทที่ 49 (อัลหุญุรอต) โองการที่ 10) อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาเป็นพี่น้องกันและกัน เป็นดวงตาและ แนะน�าทางแก่กัน ไม่ทรยศ ไม่กดขี่ ไม่หลอกลวงและ ไม่ผิดสัญญาแก่กัน” ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “บรรดาผู้ศรัทธาเป็นพี่น้องกัน เลือดของพวก เขามีความเท่าเทียมกัน พวกเขาจะร่วมมือร่วมใจกัน”


ฉะนั้นสามารถสรุปได้ว่า หลักส�าคัญในการขับ เคลื่อนสังคมก็คือ “ความเป็นเอกภาพ” เป็นเอกภาพ ที่หล่อหลอมดั่งเรือนร่างเดียวกัน เหมือนดั่งหนึ่งใน สมาชิ ก ครอบครั ว ที่ มี ค วามรั ก ความห่ ว งใย ความ สามั ค คี ต ่ อ กั น มี ร ายงานบทหนึ่ ง จากอิ ม ามซั ย นุ ล อาบิดีน (อ.) ว่าท่านกล่าวแก่ซุฮ์รีว่า “โอ้ซฮุ ร์ ี ท�าไมท่านจึงไม่มองว่ามุสลิมอยูใ่ นฐานะ ครอบครัวของท่าน และถือว่าผูใ้ หญ่เปรียบดังพ่อ เด็กๆ เปรียบดังลูกๆ และคนรุ่นราวเดียวกันเป็นพี่น้องของ ท่านเล่า” สังคมที่มีจิตส�านึกเช่นนี้ จะน�าพาสังคมสู่ความ รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ความรัก ความสมัครสมาน และความกลมเกลียวกัน เป็นสังคมที่มีหัวใจเดียวกัน เชื่อมโยงต่อกันและสมาชิกของสังคมนั้น ก็จะปฏิบัติ ภาระหน้าที่ต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติภาระหน้าที่ต่อ ตนเอง จากหลักการดังกล่าวนี้จึงเห็นได้ว่าศาสนา อิสลามให้ความส�าคัญกับเรื่องสิทธิบุคคล และมนุษย ชนเป็นอย่างมาก ท่านศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “หากผู้ใดได้ยินเสียงขอความช่วยเหลือ จาก มุสลิมคนหนึ่ง แต่ไม่ให้ความช่วยเหลือ เท่ากับว่าเขา ไม่ใช่มุสลิม” การให้ความช่วยเหลือกัน จึงเป็นภาระหน้าที่ ที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติโดยไม่มีกรณียกเว้น หากมี มุสลิมคนหนึง่ ในมุมใดมุมหนึง่ ของโลกร้องขอความช่วย เหลือ เป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนทั่วโลกที่ต้องขานรับ เสียงร้องขอความช่วยเหลือนั้น ซึ่งตามหลักการของ นิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) แล้วเรียกว่า “วาญิบกิฟาอีย์” ตราบใดที่ยังไม่มีมุสลิมคนใดขานรับเสียงร้องขอความ ช่วยเหลือนีภ้ าระหน้าทีน่ กี้ จ็ ะคงตกเป็นภาระหน้าทีข่ อง มุสลิมทุกคน ทั้งสามหลักการแห่งหลักธรรมค�าสอน ของ ศาสนาอิสลามส ชี้ให้เห็นถึงความส�าคัญของการมอบ ความเมตตา ความรักและความเป็นพีน่ อ้ งกันในศาสนา อิสลาม อันเป็นพื้นฐานหลักของการด�าเนินชีวิตที่ท่าน

ศาสดาแห่งอิสลาม ท่านศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ปฏิบตั ิ ไว้เป็นแบบอย่าง ซึง่ ท่านไม่ได้จา� กัดความเมตตา ความ รักไว้เพียงมุสลิมเท่านั้น ทว่าประวัติศาสตร์แห่งวิถีชีวิต ของท่านเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าความเมตตา และ ความรักของท่านปกคลุมสากลโลก ดังพจนารถของ พระผู้เป็นเจ้าที่ตรัสว่า “และเราไม่ได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อ ความเมตตาแก่สากลโลก” แม้ ศัตรู อิ สลาม จะพยายามหยิ บยกประเด็ น สงคราม การต่อสู้ในหนทางของศาสนา มาเป็นสาระ ส�าคัญในการโจมตีศาสนาอิสลามก็ตาม แต่ก็ไม่อาจ ปกปิดหลักธรรมอันสัจธรรมแห่งความรัก ความเมตตา ที่พระองค์ทรงยืนยันไว้ ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานได้ นอกจากนั้นวิถีปฏิบัติของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาลูกหลานผูบ้ ริสทุ ธิย์ งิ่ ของท่านก็ประจักษ์ชดั แล้วถึงความรัก ความเมตตาที่พวกท่านมีต่อปวงบ่าว ของอัลลอฮ์(ซบ.) ฉะนั้น เราในฐานะประชาชาติของท่านศาสดา มุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ผูเ้ ป็นแบบอย่าง และมหาบุรษุ แห่งหน้า ประวัติศาสตร์มนุษยชาติ อันน�ามาซึ่งความภาคภูมิ ก็ จะต้องยึดมั่นในวิถีปฏิบัติอันงดงาม แห่งความเมตตา ความรัก และความเป็นพีน่ อ้ งกัน เพือ่ ชีวติ ทีส่ งบสุขและ สังคมในอุดมคติทเี่ ปีย่ มด้วยความรัก ความเมตตา เป็น สังคมที่ร่มเย็น ปลอดภัยไร้การคุกคาม เป็นสังคมที่เอื้อ อาทร เห็นอกเห็นใจ ห่วงใย และ ฯลฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความที่ผู้เรียบเรียงได้ หยิบยกมานี้จะยังประโยชน์ต่อผู้เรียบเรียงเอง และผู้ อ่านทุกท่าน ด้วยการน�าหลักธรรมแห่งความรัก ความ เมตตา และความเป็นพี่น้องกัน มาเป็นวิถีปฏิบัติให้ ชาวโลกประจักษ์ถงึ หลักธรรมค�าสอนด้านนีข้ องศาสนา อิสลาม ต่อสู้กับการโฆษณาชวนเชื่อของศัตรูอิสลามที่ ฉายภาพลักษณ์อสิ ลามว่าเป็นศาสนาแห่งความรุนแรง ความโหดร้าย ป่าเถื่อน สงคราม และการเข่นฆ่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 85


เรียบเรียงโดย

กองบรรณาธิการ

งำนวัน

อัลกุดส์สำกล เพื่อกำรต่อต้ำน รัฐยิวไซออนิสต์ และสนับสนุนกำรต่อสู้ ของชำวปำเลสไตน์

นื่องในโอกาสการประกาศขององค์กรความร่วม มือประเทศอิสลาม (OIC) ขานรับค�าเชิญชวน ของอิมามโคมัยนี (รฮ.) ที่เรียกร้องประชาชาติมุสลิม ให้ ก�าหนดวันศุกร์สุดท้ายของเดือนรอมาฎอน เป็นวันเรียก ร้องสู่การปลดปล่อยอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม) ที่ถูกศัตรูอิสลาม คือไซออนิสต์เข้ายึดครองให้กลับคืนมาสูป่ ระชาชาติมสุ ลิม และร�าลึกถึงพีน่ อ้ งผูศ้ รัทธาชาวปาเลสไตน์ ผูถ้ กู กดขีแ่ ละถูก ขับไล่ออกจากดินแดนของตนเอง โดยน�้ามือของอิสราเอล และอภิมหาอ�านาจ สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม ร่วมมือกับชมรมคนรักวิลายะตุลฟะกีฮ์แห่งประเทศไทย และชาวไทยมุสลิม จึงจัดงานวันอัลกุดส์สากล ภายใต้ หัวข้อ กุดส์ : พันธะสัญญาของประชาชาติมุสลิม ในการ ตื่นตัวของโลกอิสลาม" ขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555 ณ อาคารเอนกประสงค์ อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย โดยจัดให้มีการฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับมุสลิมชาวปาเลสไตน์ นิทรรศการการต่อสู้ของผู้ศรัทธาชาวปาเลสไตน์และการ บรรยายของนักวิชาการ

86 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

การบรรยายของ อาจารย์อับดุลฮามีด ดาราฉาย อาจารย์ประจ�า อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ท่าน

ขอความสันติสุขจงมีแก่พี่น้องผู้ศรัทธาที่เคารพทุก

ขอขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทานความ เมตตาให้ข้าพเจ้ามีโอกาสมาบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง กับกุดส์ : พันธะสัญญาของประชาชาติมุสลิม และการ ตื่นโตของโลกอิสลาม ซึ่งในห้วข้อนี้บรรดาพี่น้องมุสลิมซุน นีไม่ได้ให้ความส�าคัญเท่าไรนัก ข้าพเจ้านั่งสนทนากับพี่ น้องของเราคนหนึ่ง ซึ่งกล่าว่าในทุกปี วันศุกร์สุดท้ายของ เดือนรอมาฎอนคือวันกุดส์โลก ดังนั้น ข้าพจ้าก็จะขอกล่าว เกีย่ วกับค�าว่ากุดส์ ดังทีพ่ นี่ อ้ งผูศ้ รัทธาทราบกันดีอยูแ่ ล้วถึง ความหมายของมัน ถ้ า จะกล่ า วเกี่ ย วกั บ ค� า ว่ า กุ ด ส์ ก็ คื อ สถานที่ ตั้ ง


(ซ้าย) ชะรีฟ ฮูเซน บินอะลี (ค.ศ.1854-1931) ผู้ปกครองแผ่นดินฮิญาซระหว่าง ค.ศ. 1908-1917 (กลาง) เซอร์เฮนรี แม็คมาฮอน (ค.ศ. 1862-1949) ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจ�าอียิปต์ระหว่าง ค.ศ. 1915-1917 (ขวา) อับดุลอะซีซ อัลสะอู๊ด (ค.ศ. 1876-1953) ผู้สถาปนา และกษัตร์คนแรกของซาอุดิอาระเบีย (เมื่อ ค.ศ. 1932) ขณะพบกับเซอร์เปอร์ซี ค็อกซ์ (ค.ศ. 1864-1936)

ของมั ส ยิ ด อั ล อั ก ซอ กิ บ ลั ต แรกของประชาชาติ มุ ส ลิ ม และยั ง เป็ น มั ส ยิ ด หลั ง แรกที่ มี ค วามส� า คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ ประชาชาติมุสลิม มุสลิมชาวอียิปต์คนหนึ่งกล่าวว่า จงดูเถิดว่า ท�าไม พวกยะฮูดีท�าอะไรก็ประสบความส�าเร็จ มีเหตุผลอยู่สอง ประการคือ ประการแรกเมื่อพวกเขาลงทุนอะไรก็แล้วแต่ จะต้องมีดอกเบี้ยผลประโยชน์เกิดขึ้น ประการที่สองยิว ครอบครองบรรดาสื่อทั้งหลายไว้ในมือของพวกเขา ดังจะ ดูได้เมื่อชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารอย่างทารุณ สื่อทั้งหลาย จะนิง่ เงียบไม่โจมตี ไม่ประณาม แต่ถา้ ยะฮูดถี กู สังหารบ้าง สื่อจะกระพือข่าวไปทั่วโลก พวกเราก�าลังท�าอะไรกันอยู่หรือ ในขณะที่บรรดา มุสลิมต่างประเทศ ต่างก็ชว่ ยเหลือร่วมมือกัน พยายามทีจ่ ะ เป็นกระบอกเสียงให้พนี่ อ้ งมุสลิมชาวปาเลสไตน์ ได้รบั การ ปลดปล่อยให้เป็นอิสลระจากน�้ามือของรัฐบาลอิสราเอล ในขณะเดียวกันที่บรรดามุสลิมส่วนใหญ่ของประเทศไทย ก�าลังรบกันด้วยสงครามน�้าลาย พิจารณาเถิดว่า สังคม มุ ส ลิ มที่ พยายามส่ง บุต รหลานให้ไปเรียน ไปศึกษาใน โรงเรียนของยิวและคริสเตียนไปรับเอาวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ เป็นวัฒนธรรมอิสลามมา แม้กระทั่งเจ็บป่วยก็ต้องไปโรง พยาบาลที่มีเครื่องหมายของคริสเตียน คือไม้กางเขน พี่น้องผู้ศรัทธาที่รัก บรรดายิวมองล่วงหน้าไปถึง ปี 2020 แล้ว ในขณะที่พวกเรายังมองไม่เห็นอะไรเลย แม้ กระทั่งวันนี้ก็ตาม วันนี้ถ้าพี่น้องที่เดินทางมาร่วมมงาน วัน อัลกุดส์โลก มองยังภาพนิทรรศการที่จัดไว้ แล้วพิจารณา

ว่า ถ้าบุคคลในภาพเป็นบิดา มารดาและพี่น้องของพวก เรา พวกเราจะกระท�าเช่นไร และถ้าพวกเรากล่าวว่าพวก เราจะเป็นอย่างไร ดังนัน้ แม้เราไม่มอี �านาจทีจ่ ะให้การช่วย เหลือพีน่ ้องชาวปาเลสไตน์เหล่านัน้ ได้ แต่พวกเราก็ยงั สมา รถยกมือขอดุอาอ์ให้เขาเหล่านั้นได้มิใช่หรือ พีน่ อ้ งผูศ้ รัทธาทีเ่ คารพรัก วันนีถ้ า้ พวกเรายังคิดทีจ่ ะ แบ่งว่าฉันคือซุนนี นั่นคือชีอะฮ์ บทสรุปสุดท้ายก็คือความ หายนะทีจ่ ะมีมาถึงพวกเราและอิสลามอย่างแน่นอน ตราบ ใดที่เรายังหลงกลของไซออนิสต์ที่แบ่งแยกพวกเรา และให้ เราทอดทิ้งค�าบัญชาของอัลลอฮ์ (ซบ.) ที่ตรัสว่า “จงยึด สายเชือกแห่งอัลลอฮ์และอย่าแตกแยกกัน” เราต้องพินาศ แน่นอน

การบรรยายของ คุณฟารีด เด่นยิ่งโยชน์ ที่ปรึกษา สถาบันส่งเสริมการศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม

อัสลามุอะลัยกุมว่าเราะฮ์มะตุลลอฮิวะบะร่อกาตุฮ์ ก่ อ นอื่ น ต้ อ งขอย้ อ นกลั บ ไปในโลกอิ ส ลามสมั ย อาณาจักรอุศมานียะฮ์ ซึ่งสามารถยึดอ�านาจปกครองของ อาณาจักรไบแซนไทน์มาได้ และกลายเป็นมหาอ�านาจของ โลกในศตวรรษที่ 14-15 ต่อมาชาติตะวันตก โดยเฉพาะ อย่างยิง่ อังกฤษและฝรัง่ เศสมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 87


(ซ้าย) เซอร์มาร์ค ไซกี้ (ค.ศ.1879-1919) นักการทูตชาวอังกฤษ (ที่สองจากซ้าย) ฟรานซิส จอร์จ พิคอต (ค.ศ. 1870-1953) นักการ ทูตชาวฝรั่งเศส (ที่สองจากขวา) อาร์เธอร์ เจมส์ บัลโฟร์ (ค.ศ. 1848-1930) อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศอังกฤษ (ขวา) บารอน รอธไชลด์ (ค.ศ. 1840-1915) นายธนาคารยิวและผู้น�าขบวนการไซออนิสต์สากลในอังกฤษ

มากขึ้น และออกล่าอาณานิคมระหว่างศตวรรษที่ 16- 17 และเข้ามาบ่อนท�าลายสร้างความอ่อนแอให้อาณาจักร อุศมานียะฮ์ในหลายรูปแบบด้วยกัน วิธีการหนึ่งคือการ ด�าเนินการทางการเมืองและการทหาร ขณะนั้นแผ่นดินฮิญาซ ในคาบสมุทรอาหรับซึ่งเป็น ทีต่ งั้ สถานทีส่ า� คัญของโลกอิสลามสองแห่งคือมักกะฮ์และ มะดีนะฮ์ โดยมีผปู้ กครองทีม่ าจากตระกูลของบนีฮาชิมซึง่ สืบเชือ้ สายมาจากตระกูลของท่านศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ปกครองในแผ่นดินนี้อยู่ นามว่าชะรีฟฮูเซน บินอะลี ใน ค.ศ. 1915 ชะรีฟฮูเซน บินอะลีมีการติดต่อทาง จดหมายกับเซอร์เฮนรี แม็คมาฮอนซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ อังกฤษประจ�าอียิปต์ และตกลงกันว่า อังกฤษจะสนับสนุน ให้ชะรีฟฮูเซน บินอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ของโลกอิสลามแทน สุลต่านอุศมานียะฮ์ โดยมีเงือ่ นไขว่า ชะรีฟฮูเซน บินอะลีจะ ต้องช่วยอังกฤษรบกับอุศมานียะฮ์ โดยให้เหตุผลว่าชะรีฟ ฮูเซน บินอะลีเป็นอาหรับและพวกอุศมานียะฮ์เป็นชาวเติรก์ ซึง่ จะเห็นว่าท่านศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ท�าลายความแตก ต่างระหว่างชาติ เผ่าพันธุแ์ ละสีผวิ เป็นทีเ่ รียบร้อยแล้วตัง้ แต่ 1,400 ปีที่แล้ว แต่อังกฤษก็ยังใช้ข้อแตกต่างดังกล่าวมา เป็นเหตุผลให้เกิดสงครามและการต่อสู้กันระหว่างมุสลิม ขณะเดี ย วกั น ใน ค.ศ. 1916 อั บ ดุ ล อะซี ซ อั ล สะอู๊ด เตรียมการที่จะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นผู้ปกครอง ฮิญาซอีกคนหนึ่ง และเดินทางไปยังอิรักเพื่อพบกับเซอร์ เปอร์ซี ค็อกซ์ ตัวแทนของรัฐบาลอังกฤษประจ�าอิรักและ คู เ วต โดยขอความช่ ว ยเหลื อ ในการรวบรวมแผ่ น ดิ น

88 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ฮิญาซเพื่อตั้งประเทศใหม่ขึ้นมา ซึ่งเงื่อนไขการช่วยเหลือ ของเซอร์เปอร์ซี คอกซ์คือ อับดุลอะซีซ อัลสะอู๊ดจะต้อง ให้การสนับสนุนอังกฤษในการตัง้ ถิน่ ฐานชาวยิวในแผ่นดิน ปาเลสไตน์ ต่อมาอับดุลอะซิซ อัลสะอู๊ดลงนามรับรองเป็น ลายลักษณ์อักษรยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว และหลักฐาน นี้ยังอยู่จนถึงในปัจจุบัน สรุปใจความในเอกสารส�าคัญนี้ คืออับดุลอะซีซ อัลสะอู๊ดยอมรับให้ชาวยิวตั้งถิ่นฐานขึ้น ในปาเลสไตน์โดยไม่เข้าไปขัดขวางและละเมิดสัญญานี้ โดยเด็ดขาด ในปีเดียวกันนั้นเอง ตัวแทนของอังกฤษคือ เซอร์ มาร์ก ไซกีแ้ ละฟรานซิส จอร์จ พิคอต ตัวแทนฝรัง่ เศส มีการ ประชุมลับกันและตกลงแบ่งแผ่นดินในตะวันออกกลางใน ส่วนที่เป็นซีเรีย อิรัก จอร์แดนและปาเลสไตน์ ต่อมาใน ค.ศ. 1917 ลอร์ด บัลโฟร์ร์รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษส่งจดหมายฉบับหนึ่ง และต่อมาเรียกว่า ค�าประกาศของบัลโฟร์ ไปถึงบารอน รอธไชลด์ นายนายธนาคารสากลชาวยิว หัวหน้าชุมชนชาว ยิวในอังกฤษและเป็นประธานขบวนการไซออนิสต์สากล ประจ�าอังกฤษว่า รัฐบาลของประเทศอังกฤษตกลงที่จะให้ มีการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวขึ้นในแผ่นดินปาเลสไตน์ ขบวนการไซออนิ ส ต์ ส ากลนี้ คื อ ขบวนการที่ ก ่ อ ตั้ ง โดยนายธี โ อดอร์ เฮอร์ เ ซิ ล ซึ่ ง เป็ น นั ก หนั ง สื อ พิ ม พ์ ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในดินแดนออสเตรีย-ฮังการี โดยมีการ ประชุมสมัชชาไซออนิสต์สากลขึ้นใน ค.ศ. 1897 ที่เมือง บาเซิล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยการสนับสนุนของนาย


(ซ้าย) ธีโอดอร์ เฮอร์เซิล (ค.ศ.1904-1860) ผู้ก่อตั้งขบวนการไซออนิสต์สากล (ที่สองจากซ้าย) เอ็ดมันด์ เจมส์ เดอ รอธไชลด์ (ค.ศ. 1845-1934) นายธนาคารยิวสากลชาวฝรั่งเศส (ที่สองจากขวา) เชม ไวส์แมน (ค.ศ. 1874-1952) ประธานขบวนการไซออนิสต์สากล และประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล (ขวา) กษัตริย์ไฟซอลที่ 1 แห่งอิรักและซีเรีย (ค.ศ. 1885-1933)

เอ็ดมันด์ รอธไชลด์ นายธนาคารยิวแห่งฝรัง่ เศส ซึง่ เป็นญาติ กับบารอนรอธไชลด์ โดยมติในการประชุมสมัชชาครั้งนั้น ก็คือ จะต้องมีการแสวงหาสถานที่ตั้งถิ่นฐานชาวยิวขึ้นใน สถานที่แห่งแห่งใดแห่งหนึ่ง หลังจากการตกลงกับลอร์ดบัลโฟร์แล้ว นายเชม ไวส์ แ มน ซึ่ ง ขณะนั้ น ด� า รงต� า แหน่ ง ประธานขบวนการ ไซออนิ ส ต์ ส ากล ได้ เ ดิ น ทางไปพบกษั ต ริ ย ์ ไ ฟซอลที่ 1 กษัตริย์อิรักและซีเรีย บุตรชายคนที่สามของชะรีฟฮูเซน บินอะลี ซึง่ เป็นบุตรชายคนทีส่ าม ของชารีฟฮูเซน บินอะลีที่ กรุงปารีสและมีการเจรจาและตกลงกันว่า ให้มกี ารยินยอม ก่อตั้งประชาคมยิวขึ้นในแผ่นดินปาเลสไตน์ ในปี ค.ศ. 1926 อับดุลอะซีซ อัลสะอู๊ดสามารถ รวบรวมดิ น แดนในแผ่ น ดิ น ฮิ ญ าซได้ โ ดยรบชนะเหนื อ ชะรีฟฮูเซน บินอะลี และตั้งตนเป็นสุลต่านแห่งฮิญาซ ต่อมาในปี ค.ศ. 1932 ราชวงศ์อังกฤษก็รับรองให้เขาเป็น ผู้ปกครองซาอุดิอาระเบียอย่างสมบูรณ์ รายละเอี ย ดข้ อ มู ล ตรงนี้ ก็ คื อ ในประวั ติ ศ าสตร์ อิ ส ลามก่ อ นหน้ า นี้ ไ ม่ เ คยมี ป ระเทศซาอุ ดิ อ าระเบี ย อยู ่ ในแผ่นดินฮิญาซและในคาบสมุทรอาหรับ แต่ที่เรียกว่า ซาอุดอิ าระเบียนัน้ เพราะเป็นราชอาณาจักรของคนตระกูล สะอู๊ดที่เป็นชาวอาหรับ ฉะนั้นประเทศซาอุดิอาระเบียจึง ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับอิสลามเลย นอกจากจะเป็น เรื่องของเชื้อชาตินิยมและเผ่าพันธุ์นิยมเท่านั้นเอง ฉะนั้นการก่อเกิดขึ้นของประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยพฤตินัยแล้ว ท�าให้มักกะฮ์และมะดีนะฮ์ กุญแจส�าคัญ

ที่สุดสองดอกของโลกอิสลาม ตกไปอยู่ใต้อิทธิพลของ อังกฤษโดยมียิวไซออนิสต์อยู่เบื้องหลัง ดังนั้นในปี ค.ศ. 1932 เท่ากับโลกอิสลามสูญเสียดินแดนทั้งสองแห่งไป เรียบร้อยแล้ว ฝ่ายชะรีฟฮูเซน บินอะลี เมือ่ ถูกหักหลังจากอังกฤษ ก็ได้รับการปลอบใจโดยให้บุตรชายคนที่สองคืออับดุล ลอฮ์ไปปกครองจอร์แดน อับดุลลอฮ์ผู้นี้คือต้นตระกูลของ ราชวงศ์ฮาชิมี ซึง่ เป็นกษัตริยจ์ อร์แดนมาจนถึงปัจจุบนั ส่วน กษัตริยไ์ ฟซอลทีห่ นึง่ น้องชายของอับดุลลอฮ์ทไี่ ปเจรจากับ นายเชม ไวส์แมนทีฝ่ รัง่ เศสเมือ่ ปี ค.ศ.1919 ก็ได้รบั การแต่ง ตัง้ ให้เป็นกษัตริยแ์ ห่งซีเรียและอิรกั แต่ตอ่ มาไม่นานถูกนาย ทหารซีเรียที่นิยมแนวสังคมนิยมแห่งพรรคบาธปฏิวัติยึด อ�านาจ แต่ทว่าส่วนในอรักตระกูลฮาชิมีปกครองมาจนถึง ค.ศ. 1953 ก็ถูกยึดอ�านาจโดยนายทหารอิรักที่นิยมแนว สังคมนิยมเช่นเดียวกัน ส่วนชะรีฟฮูเซน บินอะลี ผูเ้ ป็นบิดาเดินทางไปพ�านัก ที่เยรูซาเล็มและเสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1936 ต่อมาในปี ค.ศ. 1951 กษัตริย์อับดุลลอฮ์ที่หนึ่งแห่งจอร์แดนเดินทางไป เยือนกรุงเยรูซาเล็มและถูกสังหารโดยชาวปาเลสไตน์ ซึง่ ไม่ ไว้วางใจตระกูลฮาชิมีว่าจะไปลงนามสนธิสัญญากับไซออ นิสต์เพือ่ ยกดินแดนปาเลสไตน์เป็นสถานทีต่ งั้ ถิน่ ฐานชาวย ยิวในวันใดวันหนึง่ เพือ่ ทีจ่ ะรักษาราชวงศ์ของตนเองเอาไว้ ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกากับ ตระกูลผูป้ กครองของซาอุดอิ าระเบีย มีความใกล้ชดิ กันมาก ขึ้น เมื่อได้มีการขุดพบน�้ามันในปีเดียวกันกับที่ตั้งประเทศ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 89


(ซ้าย) มุสฏอฟา เคมาล (ค.ศ.1870-1937) ผู้น�าคนแรกของสาธารณรัฐตุรกี (ที่สองจากซ้าย) เรซ่า ชาฮ์ (ค.ศ. 1878-1944) ชาฮ์แห่ง อิหร่าน (ที่สองจากขวา) มุฮัมมัด เรซ่า(ค.ศ. 1819-1980) ชาฮ์แห่งอิหร่านคนสุดท้ายก่อนการปฏิวัติอิสลาม (ขวา) กษัตริย์ฟูอ๊าด(ค.ศ. 1868-1936) กษัตริย์อียิปต์

ท�าให้บริษทั น�า้ มันของสหรัฐอเมริกาเข้ามาถือหุน้ กับตระกูล สะอู๊ดเพื่อขุดเจาะน�้ามันและตั้งบริษัทซาอุดีอารามโก้ลขึ้น ซึ่งแหล่งน�้ามันส่วนใหญ่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ตั้งอยู่ ทางทิศตะวันออกของประเทศซาอุดิอาระเบีย ที่มีดินแดน ติดต่อกับประเทศบะฮ์เรน ซึ่งในเมืองเหล่านัน้ ไม่ว่าจะเป็น เมืองคอตีฟ ดัมมัมหรือดาฮ์ราน ประชากรส่วนใหญ่จะเป็น ผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์อิมามียะฮ์แทบทั้งสิ้น เช่นเดียวกับในบะฮ์เรน และนีก่ เ็ ปรียบเสมือนกับไข่แห่งการ ปฏิวัติก�าลังจะฟักและจะตื่นตัวขึ้นมาในอนาคต จากที่ ก ล่ า วแล้ ว ว่ า การก่ อ ก� า เนิ ด ของประเทศ ซาอุ ดิ อ าระเบี ย เปรี ย บเสมื อ นเมื อ งส� า คั ญ ทั้ ง สองของ อิสลามถูกตะวันตกและไซออนิสต์ยดึ ครองโดยทางพฤตินยั ไปแล้ว นอกจากนี้แล้วอังกฤษและฝรั่งเศสยังสร้างความ มั่นคงให้กับประเทศซาอุดิอาระเบียอีกทางหนึ่งคือ การ สนับสนุน มุศฏอฟา เคมาล ขึ้นเป็นผู้ปกครองตุรกี หลัก งจากอุศมานียะฮ์ล่มสลายด้วยอุดมการณ์การเมืองการ ปกครองในระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย และสนับสนุนเร ซ่า ข่านขึ้นเป็นผู้ปกครองอิหร่าน ใน ค.ศ. 1925 หลังการ ล่มสลายอาณาจักรซอฟาวียะฮ์และราชวงศ์ตา่ งๆ ภายหลัง จากนั้น และหลังจากเรซา ข่านถูกยึดอ�านาจแล้ว ตะวัน ตกก็สนับสนุนมุฮัมมัด เรซาชาฮ์บุตรชายของเขา ขึ้นเป็น กษัตริย์ชาฮ์แห่งอิหร่านในปี ค.ศ. 1941 ส่วนที่ประเทศ อียิปต์อังกฤษสนับสนุนให้ฟุอ๊าดขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 1922 และต่อมาเมื่อฟุอ๊าดเสียชีวิตใน ค.ศ. 1936 ฟารุค ที่หนึ่งก็ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ในอียิปต์แทนบิดา ผู้ปกครองทั้ง

90 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

สามประเทศนั้นล้วนมีทรรศนะว่าความเจริญของมุสลิม ในประเทศของตนจะได้มาก็ตอ่ เมือ่ ต้องด�าเนินตามระบอบ เสรีนิยมประชาธิปไตยแบบตะวันตกเท่านั้น และเห็นว่า อุดมการณ์ของอิสลามเป็นสาเหตุความตกต�่าล้าหลังของ ประเทศ จึงสั่งห้ามน�าหลักการอิสลามมาปฏิบัติ และให้มี การสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่แนวแนวทางตะวัน ตกเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้มหาอ�านาจตะวันตกยังตั้งประเทศเล็กๆ ในอ่าวเปอร์เซียขึ้นมาอีก 4 ประเทศคือ คูเวตภายใต้การ ปกครองของตระกูลอัซซอบะฮ์ บะฮ์เรนภายใต้การปกครอง ของตระกูลอัลคอลีฟะฮ์ กาตาร์ภายใต้การปกครองของตระ กูลอัซซานี ส่วนสหรัฐอมิเรต (ยูเออี) เป็นการรวมตัวของรัฐ เล็กๆ 7 รัฐ ทัง้ 4 ประเทศนีเ้ ป็นทีท่ ราบกันดีวา่ อยูภ่ ายใต้การ อ�านาจและอิทธิพลของอังกฤษ และต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ เข้ามามีอทิ ธิรว่ มกับอังกฤษด้วย จากนัน้ ก็ตงั้ ฐานทัพตนเอง ไว้ในทุกประเทศที่กล่าวมา ถ้าพิจารณาดูภายนอกจะเห็น ว่าอังกฤษและสหรัฐอเมริกาสร้างความมั่นคงทางทหาร ให้ภูมิภาคนี้ แต่ในอันที่จริงแล้วเป็นการป้องการรุกเข้าไป ในซาอุดิอาระเบียและเป็นการคุมเชิงสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่านไปในตัว เมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว ในปี ค.ศ.1948 ขบวนการ ไซออนิสต์สากลก็ตั้งประเทศอิสราเอล โดยประกาศในที่ ประชุมต่อหน้ารูปภาพของนายธีโอดอร์ เฮอร์เซิลผู้ก่อตั้ง ขบวนการ ผูป้ ระกาศคือนายเดวิด เบนกูเรียน ซึง่ รับต�าแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลขณะทีน่ ายเชม ไวส์แมน


(ซ้าย) กษัตริย์ฟารุค (ค.ศ.1920-1965) กษัตริย์อียิปต์ บุตรของกษัตริย์ฟูอ๊าด (กลาง) เดวิด เบ็นกูเรียน (ค.ศ. 1886-1973) นายกรัฐมนตรี คนแรกของอิสราเอล (ขวา) การประกาศสถาปนาประเทศอิสราเอลเมื่อ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948

ด�ารงต�าแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล นายเชม ไวส์แมน ผูน้ เี้ ป็นทัง้ ประธานขบวนการไซออนิสต์สากลและ นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมี ทัง้ ยังเป็นเพือ่ นสนิทของอัลเบิรต์ ไอสไตน์นักวิทยาสาสตร์ชื่อก้องดลกด้วยด้วย หลังจากนั้นชาวยิวทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรปตะวัน ออก เช่น รัสเซีย โปแลนด์ ลิธวั เนีย ลัตเวียและฮังการีเป็นต้น ก็เริ่มอพยพเข้ามาในแผ่นดินปาเลสไตน์โดยการสนับสนุน และงบประมาณการอพยพจากนายธนาคารยิวสากลใน ยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะตระกูลรอธไชลด์ ซึง่ เป็น ตระกูลนายธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น เมื่ อ ชาวยิ ว อพยพเข้ า มาตั้ ง ถิ่ น ฐานแผ่ น ดิ น ปาเลสไตน์มากขึน้ ผูเ้ ป็นเจ้าของดินแดนเดิมก็ถกู ขับไล่ออก จากดินแดนของตนเอง มีการบังคับขูเ่ ข็ญ หากไม่ยนิ ยอมไป ก็จะถูกรือ้ ถอนบ้าน ท�าลายทรัพยืสนิ เรือสวน ไร่นาและตาม มาด้วยการถูกสังหาร ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวปาเลสไตน์ เจ้าของแผ่นดิน ก็จา� ต้องอพยพลีภ้ ยั ไปอยูใ่ นประเทศเพือ่ น บ้านเช่น ซีเรีย เลบานอนและจอร์แดน เป็นต้น ในที่สุดส�าคัญกุญแจดอกที่สามของโลกอิสลามคือ นครเยรูซาเล็มก็ถูกยึดครองอย่างเด็ดขาดโดยชาวตะวัน ตก และขบวนการยิวไซออนิสต์สากล ท�าให้ดินแดนที่เป็น กุญแจส�าคัญของโลกอิสลามทั้งสามแห่ง โดยพฤตินัย แล้วไม่หลงเหลืออยู่ในการครอบครองของโลกอิสลาม อีกต่อไป ภายหลังจากในปี ค.ศ. 1948 แม้ว่าในขณะนั้น โลกอิสลามจะมีผู้น�าจ�านวนมากที่มีชื่อเสียงและเข้มแข็ง แต่ว่าอุดมการณ์ในการปกครองประเทศส่วนมากจะเป็น

อุดมการณ์เสรีนิยมและสังคมนิยม ผสมกับดุดมการณ์ ชาตินิยม ท�าให้โลกอิสลามแตกเป็นสองขั้ว ขั้วหนึ่งจะอยู่ กับสหรัฐอเมริกา อีกขั้วหนึ่งอยู่กับสหภาพโซเวียต ประเทศมุสลิมประเทศหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาให้การ สนับสนุนอย่างยิ่งคือ อิหร่านในสมัยของมุฮัมมัดเรซา จน กล่าวกันว่าความเข้มแข็งทางการทหารของประเทศอิหร่าน ในสมัยนั้นอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก เพราะเงินที่ได้รับจาก การขายน�้ามันจ�านวนมหาศาลหมดไปกับการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ รวมทั้งอิหร่านในสมัยชาฮ์ ปาเลวี มีนโยบาย พัฒนาประเทศตามแบบตะวันตกอย่างเต็มรูปแบบ จน ท�าให้ศีลธรรมเสื่อมโทรม แม้สถาบันศาสนาที่เข้มแข็งก็มิ อาจต้านทานการปกครองของชาฮ์ปาเลวีได้ ในขณะที่ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ) ผู้น�าศาสนาสูงสุด ของอิหร่านในสมัยนั้น ตัดสินใจลุกขึ้นต่อต้านการปกครอง ของชาฮ์ ปาเลวีใน ค.ศ.1963 และต่อสู้อย่างยาวนานถึง กว่า 15 ปี ถูกเนรเทศออกไปพ�านักอยู่ในต่างประเทศ จน กระทั่งในที่สุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1979 ท่านอิมาม โคมัยนีก็เดินทางกลับมาเพื่อสถาปนาสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่านขึ้นส�าเร็จ การปฏิวตั อิ สิ ลามและการก�าเนิดขึน้ ของสาธารณรัฐ อิสลามแห่งอิหร่านท�าให้มหาอ�านาจชาติตะวันตกและ บรรดาผู้ปกครองมุสลิมในตะวันออกกลาง ต่างตกตะลึง เป็นอย่างมาก เพราะพวกเขารู้ดีว่า การมาของสาธารณรัฐ อิสลามแห่งได้สร้างความอันตรายให้โลกตะวันตกและผู้ ปกครองมุสลิมที่ไม่นิยมอิสลามอย่างใหญ่หลวง จึงสมคบ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 91


(ซ้าย) อิมามโคมัยนี (รฮ.) (ค.ศ.1902-1989) ผู้สถาปนาสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (กลาง) ซัดดัม ฮุสเซน (ค.ศ. 1937-2006) ผู้น�า อิรักที่รบกับอิหร่านนาน 8 ปี (ขวา) อันวาร์ ซาดัต (ค.ศ. 1918-1981) ประธานาธิบดีอียิปต์ขณะจับมือกับนายเมนาเฮม เบกิน (ค.ศ. 19131992) นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 ขณะจับมือกันหลังลงนามสนธิสัญญาสันติภาพต่อหน้านายจิมมี่ คาร์เตอร์ (เกิด ค.ศ. 1924) ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1979

กันและให้การสนับสนุนซัดดัม ฮุสเซนเปิดสงครามกับ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านในปี ค.ศ.1980 ภายหลังการ ปฏิวัติเพียง 1 ปี ซึ่งโลกมุสลิมขณะนั้น เหลือไม่กี่ประเทศ ที่ให้การสนับสนุนสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน หนึ่งใน จ�านวนนั้นคือซีเรีย สงครามระหว่างทั้งสองประเทศดูเหมือนว่าเป็น รบกันเอง แต่เบื้องหลังสงครามนี้ บรรดามหาอ�านาจชาติ ตะวันตกเกือบทุกประเทศให้การสนับสนุนทัง้ ทางด้านอาวุธ ยุทโธปกรณ์และงบประมาณแก่อิรัก แต่อย่างไรก็ตามถึง แม้ว่าสงครามจะยาวนานถึง 8 ปี โดยการสนับสนุนของ สหรัฐอเมริกา แต่ทางตะวันตกดังกล่าว ก็ไม่สามารถที่จะ หยุดยั้งหรือท�าลายสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านได้ จึงมี การเจรจาสงบศึกกันในปี ค.ศ. 1988 โดยการด�าเนินการ ของสหประชาชาติ การคงอยู่ของสาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่านมีผลกระทบในระยะยาวทั้งต่อสหรัฐอเมริกาและ ไซออนิสต์ ต่อมาไม่นาน ซัดดัม ฮุสเซนกระท�าสิ่งที่ไม่คาดคิด ขึ้น นั่นคือเขาอ้างว่า คูเวตเคยเป็นของอิรักมาก่อน ซึ่งนั่น ก็เป็นความจริง ซัดดัม ฮุสเซนจึงบุกยึดคูเวตใน ค.ศ. 1993 แต่เหตุผลที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังก็คือ ค่าแรงค่าจ้างในการท�า สงคราม 8 ปี ระหว่างอิรักกับอิหร่านนั้น ตะวันตกไม่ได้จ่าย เให้ซัดดัม ฮุสเซนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซัดดัมจึงต้อง ด�าเนินการหาค่าใช้จ่ายของตนเอง ซึ่งก็คือในการบุกเข้า ยึดบ่อน�้ามันในคูเวตนั่นเอง

92 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ผลกระทบส�าคัญอีกประการหนึง่ คือ ในช่วงสถาปนา สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน อันวาร์ ซาดัตประธานาธิบดี อียิปต์เจรจากับนายเมนาเฮม เบกิ​ินนายกรัฐมนตรีของ อิสราเอล ที่สหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1978 และบรรลุผลใน ว่าอียิปต์จะรับรองการมีอยู่ของอิสราเอลและลงนามสนธิ สัญญาสันติภาพกัน ซึง่ เป็นการตบหน้าโลกอิสลามทัง้ หมด ผลที่ตามมาคือ ประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัตถูกนายทหาร องครักษ์สงั หารเสียชีวติ ในการสวนสนามประจ�าปีของกอง ทัพอียปิ ต์ หลังจากอันวาร์ ซาดัตเสียชีวิต ฮุสนี มุบาร็อกขึน้ เป็นประธานาธิบดีต่อ ตั้งแต่ ค.ศ.1981 สิ่งที่อันวาร์ ซาดัตกระท�ามีผู้เลียนแบบคือยัซเซอร์ อารอฟัต ผู้น�าพีแอลโอของปาเลสไตน์ ซึ่งเจรจากับนาย ยิซฮัก ราบินนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ในปี ค.ศ. 1993 ที่ สหรัฐอเมริกาเช่นกัน และสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ เช่นเดียวกับคู่ของอันวาร์ ซาดัตและเมนาเฮม เบกิน แต่ใน คราวนี้เป็นคราวของนายยิซฮัก ราบินที่ถูกหนุ่มชาวยิวหัว รุนแรงยิงเสียชีวิต เนื่องจากทรยศต่ออุดมการณ์ไซออนิสต์ ไปเจรจาคู่อริของตนเอง หลังเกิดเหตุการณ์ถล่มตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เมื่อ ค.ศ. 2001 สหรัฐอเมริการ่วมกับกลุ่มนาโตกุเรื่องกลุ่ม อัลกออิดะฮ์ส่งทหารส่งทหารจ�านวนนับแสนคนเข้าไปใน อัฟกานิสถาน ต่อมา กล่าวหาว่า ซัดดัม ฮุสเซนมีอาวุธร้าย แรงอยูใ่ นครอบครองจึงส่งทหารบุกอิรกั ในปี ค.ศ. 2003 จน ในที่สุดซัดดัม ฮัสเซนถูกจับตัวได้ในหลุมหลบภัย และถูก


(ซ้าย) นายยิซฮัก ราบิน (ค.ศ.1922-1995) นายกรัฐมนตรีอิสราเอลขณะจับมือกับยัซเซอร์ อาราฟัต (ค.ศ. 1929-2004) ผู้น�าปาเลสไตน์ ต่อหน้าประธานาธิบดีบิล คลินตัน (เกิด ค.ศ. 1946) หลังเจราจาสันติภาพใน ค.ศ. 1993 (กลาง) ดร. มุอัมมัด มุรซี (เกิด ค.ศ. 1951) ประธานาธิบดีอียิปต์ (ขวา) นายนูรี มาลิกี (เกิด ค.ศ. 1950) นายกรัฐมนตรีอิรัก

ตัง้ ข้อหาอาชญากรสงครามและฆ่าล้างเผ่าพันธุม์ นุษยชาติ และถูกน�าตัวขึน้ สอบสวนในสาลและถูกตัดสินประหารชีวติ ในเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าการรวมกลุ่มของประเทศอาหรับมุสลิมใน ตะวันออกกลางจะเป็นไปอย่างเหนียวแน่น และอยู่ในการ ควบคุมของสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตกในยุโรปอย่าง สิ้นเชิง แต่จากการที่ถูกกดขี่ ต้องทนอยู่ในสภาพตกต�่าไร้ ศักดิศ์ รี ถูกเหยียบย�า่ มาโดยตลอด ท�าให้ประชาชาติมสุ ลิม ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางเกิดการตืน่ ตัว ต่อต้าน ผู้ปกครองของตนที่ทั้งอยู่ในอ�านาจมาอย่างยาวนาน ทั้ง ฉ้อฉลกลโกงและทั้งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมหาอ�านาจ ชาติตะวันตก จนกระทัง่ ในทีส่ ดุ สามารถขับไล่ผนู้ า� เหล่านัน้ ออกไปได้ในที่สุด ถึงแม้ว่าจะมีบางประเทศที่ยังไม่ประสบ ความส�าเร็จอย่างเช่นบะฮ์เรนและเยเมนก็ตาม คราวนี้เรามาดูการเปลี่ยนแปลงที่ที่มีนัยยะส�าคัญ ก็คือในอิรัก เมื่อสามารถก�าจัดซัดดัม ฮุสเซนได้แล้ว มี การเลือกตั้งและได้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชนโดยมีนายนูรี อัลมาลิกีเป็นนายกรัฐมนตรี และความจริงที่เพิ่งปรากฏต่อโลกอิสลามก็คือประชาชน ส่วนใหญ่ของอิรักเป็นมุสลิมในส�านักคิดชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ประมาณร้อยละ 70 และตลอดการปกครองของซัดดัม ฮุสเซนนั้น ได้เข่นฆ่ามุสลิมชีอะฮ์ไปเป็นจ�านวนหลายแสน คน ในบางรายงานกล่าวว่าเกือบล้านคน สิ่งที่พิสูจน์ได้ก็ คือหลังจากซัดดัม ฮัสเซนหมดอ�านาจลงแล้วมีการขุดค้น พบหลุมฝังศพใหญ่ ทีฝ่ งั ศพไว้เป็นพันๆ คน จ�านวนมากมาย

อียิปต์มีความก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ หลังการ ปฏิวัติของประชาชน มีการเลือกตั้งซึ่งพรรคการเมืองที่ สนับสนุนประชาธิปไตยได้รับเลือกตั้งอย่างท่วมท้น และ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ดร. มุฮัมมัด มุรซีผู้สมัคร จากพรรคการเมืองของขบวนการอิควานอัลมุสลิมูน ได้ รับการเลือกตั้ง แต่ถ้าหากเราเปรียบเทียบกับการปฏิวัติ ในอิหร่านที่น�าโดยท่านอิมามโคมัยนีแล้ว ในอียิปต์เป็น เพียงการปฏิรูป ซึ่งการปฏิรูปนั้นไม่สามารถหลุดรอดของ การแทรกแซงของตะวันตกไปได้ และในที่สุดหากต้องการ ความรอดพ้นอียิปต์จะต้องเดินทางไปสู่การปฏิวัติและขุด รากถอนโคนระบบเก่า ดังที่อิมามโคมัยนีได้ท�าการปฏิวัติ ในช่วงท้ายนี้จะขอกล่าวถึงค�าพูดของท่านอิมาม โคมัยนีที่กล่าวไว้ว่า “หนทางแห่งการปลดปล่อยอัลกุดส์จะต้องเดินทาง ผ่านสู่กัรบาลา” ในขณะที่ อิ ม ามพู ด นั้ น อิ รั ก ยั ง อยู ่ ภ ายใต้ ก าร ปกครองของซัดดัม ฮัสเซนและยังมองไม่เห็นหนทางเลยว่า ประธานาธิบดีซดั ดัม ฮัสเซนจะหมดอ�านาจได้เมือ่ ใด แต่วนั นีม้ นั พิสจู น์แล้วว่า เราจะต้องเดินทางสูอ่ ลั กุดส์โดยผ่านกัร บาลาได้อย่างแน่นอน ท่านอิมามยังกล่าวไว้อีกว่า “ชาวอียิปต์ต้องรู้ว่าถ้าหากพวกเขาลุกขึ้นเหมือนที่ ชาวอิหร่านทีร่ วมพลังกัน พวกเขาก็จะประสบความส�าเร็จ อย่างแน่นอน ชาวอียิปต์จงอย่าสนใจในกฎอัยการศึกดังที่ ชาวอิหร่านได้ท�าลายมันจนพินาศและเดินออกมาบนท้อง

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 93


ถนน บรรดานักวิชาการอียปิ ต์ตอ้ งลุกขึน้ มาปกป้องอิสลาม" ในวันนี้ก็เป็นจริงแล้วที่อียิปต์มีการเปลี่ยนแปลง ตามอุดมการณ์ของไซออนิสต์ รัฐอิสราเอลจะอยูอ่ ยูร่ ะหว่าง แม่น�้ายูเฟติสและแม่น�้าไนล์ และในวันนี้โลกอิสลามได้ ท�าลายท�านบแห่งแม่น�้ายูเฟติสและแม่น�้าไนล์ไปแล้ว ตาม ค�ากล่าวที่ท่านอิมามเคยกล่าวไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว อีกประเด็นหนึ่งคือในประเทศซาอุดิอาระเบียนั้น มี พีน่ อ้ งมุสลิมชีอะฮ์อมิ ามียะฮ์มากกว่า 3 ล้านคน และสิง่ ทีจ่ ะ เป็นกุญแจดอกส�าคัญดอกหนึ่งในการปลดปล่อยประเทศ ซาอุดิอาระเบีย โดยผ่านการลุกขึ้นของประเทศมุสลิมใน แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางก็คือพี่น้องมุสลิมเหล่า นี้ สถานการณ์ปัจจุบันในซาอุดิอาระเบียคือมีการจ�ากุม เชค นิมร์ อัลนิมร์นักวิชากาและผู้น�าชีอะฮ์ของประเทศ ซาอุดิอาระเบียไปจ�าคุก เพราะท่านเป็นแกนน�ามุสลิมใน ประเทศซาอุดิอาระเบีย ขณะนี้ท่านยังถูกขังคุกในประเทศ ซาอุดิอาระเบีย จนกระทั่งภรรยาของท่านเกิดการเครียด และเสียชีวิตลงไปแล้ว ปัจจุบันมุสลิมชาวซาอุดิอาระเบีย ยังคงเดิขบวนเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัว ท่านโดยด่วน ประเด็นสุดท้ายคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียซึ่ง ถูกโจมตีอย่างหนัก อันเป็นการสนับสนุนของมหาอ�านาจ ตะวันตกและประเทศอาหรับมุสลิมเกือบทั้งหมด โดยใช้ กระแสการตื่นตัวในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง มาเป็นเงื่อนไขในการขับไล่รัฐบาลซีเรียภายใต้การน�าของ ประธานาธิบดีบะชัร อัลอัซซัด เนือ่ งจากซีเรียสนับสนุนและ เป็นพันธมิตรกับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านกับกลุ่ม ฮิซบุลลอฮ์ นอกจากนี้ซีเรียยังเป็นเส้นทางการปลดปล่อย อัลกุดส์ที่เดินทางมาจากกัรบาลา (ซึ่งเปิดแล้ว) ตามค�า กล่าวของอิมามโคมัยนี โดยเราจะเข้าทางจอร์แดนไม่ได้ จะ ไปเข้าทางตุรกีกไ็ ม่ได้เพราะฉะนัน้ การทีจ่ ะสกัดปลดปล่อย อัลกุดส์ก็จะต้องท�าลายซีเรียลงให้จงได้ การประชุมโอไอซี เมื่อวันที่ 14-15 สิงหาคมที่ผ่าน มาโดยการด�าเนินการของประเทศซาอุดิอาระเบีย ก็เป็น ส่วนหนึ่งที่จะสกัดกั้นไม่ให้โลกอิสลามตื่นตัวไปมากกว่า นี้ ถึงแม้ว่าผลสรุปมีเพียงสองประเทศเท่านั้นที่คัดค้านไม่ ยอมให้การขับไล่ซีเรียออกจากโอไอซี แต่เราก็สามารถที่ ประมวลได้วา่ การก่อก�าเนิดของประเทศซาอุดอี ารเบียและ

94 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ประเทศในอ่าวเปอร์เซียทั้งหมด เกิดมาได้อย่างไร ฉะนั้น เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศเหล่านี้จะลงมติสนับสนุนการด�ารง อยู่ของประเทศซีเรียภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี บะชัร อัลอัซซัด นอกจากนีเ้ ราก็ทราบกันดีอยูแ่ ล้วว่า โอไอซี ได้ลงมติ ยอมรับวันอัลกุดส์วา่ เป็นวันอัลกุดส์สากล นับจากวันแรกที่ ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ) ประกาศให้วนั ศุกร์สดุ ท้ายของเดือน รอมาฏอนเป็นวันแห่งกุดส์ มีแต่เสียงเยาะหยันจากประเทศ มุสลิมหลายๆ ประเทศ แต่วนั นีพ้ สิ จู น์แล้วว่า สิง่ ทีท่ า่ นอิมาม โคมัยนีประกาศนัน้ สามารถมองเห็นได้ในอนาคต กล่าวคือ ท่านด�าริที่จะน�ากุญแจดอกส�าคัญดอกที่สามมาจากไซออ นิสต์เสียก่อน จากนัน้ จึงจะน�ากุญแจดอกนีม้ าไขเอากุญแจ ดอกที่สองและดอกที่หนึ่งคือมะดีนะฮ์และมักกะฮ์ให้กลับ มาสู่ในอ้อมกอดของมุสลิมทั่วโลกอย่างแท้จริง

การบรรยายของ เชคกอซิม อัสการี ประธาน มุลนิธิส่งเสริมการศึกษาอัลกุรอาน อัรรอซูลอัลอะอ์ซอม (ศ็อลฯ)

ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตากรุณา ปรานียิ่งเสมอ อัสสลามุอะลัยกุมฯ ขอความสันติจงมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) และบรรดาลูกหลานของท่าน ในค�่าคืนนี้ ผมมีความรู้ สึกปลาบปลื้มใจกับการให้ ความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องในการเดินขบวนประท้วง ให้พี่น้องชาวปาเลสไตน์ของเรา ที่ หน้าสถานทูตอิสราเอล และขอขอบคุณบรรดาคนหนุม่ สาว ซึง่ เป็นหัวใจหลักในการ ประท้วงครัง้ นี้ ซึง่ เราต้องฝากความหวังของสังคมไว้กบั คน หนุ่มสาวเหล่านี้ของเรา พี่น้องที่เคารพคงจะทราบดีว่า วันอัลกุดส์คือวัน ที่ ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ) ก�าหนดให้วันศุกร์สุดท้ายของ เดือนรอมาฏอน เป็นวันแห่งกุดส์ เพื่อร�าลึกถึงศาสนสถาน อันยิง่ ใหญ่ ร�าลึกถึงแผ่นดินทีถ่ กู ยึดครองอย่างอธรรม ท�าไม


ท่านจึงเลือกวันศุกร์สุดท้ายของเดือนรอมาฏอน แน่นอน ทีส่ ดุ เดือนรอมาฏอนเป็นเดือนทีย่ งิ่ ใหญ่ เป็นเดือนแห่งการ ขัดเกลาจิตวิญญาณ ฉะนัน้ การทีเ่ ราปฏิบตั อิ ามัลมาถึงหนึง่ เดือน เปรียบเสมือนเราได้ต่อสู้กับอารมณ์ใฝ่ต�่าและสิ่งที่ ไม่ดีทั้งหลาย และศุกร์สุดท้าย ก็อยู่ในช่วงสัปดาห์สุดท้าย ซึ่งจะต้องแสดงการต่อสู้ที่เป็นรูปธรรมให้บรรดาศัตรูของ อิสลามเห็น ในวันนี้มีการประท้วงเหมือนอย่างที่เราก�าลัง กระท�าและรวมตัวกันหลังนมาซวันศุกร์ ถ้ า หากเราเป็ น มุ ส ลิ ม และตื่ น ขึ้ น มาโดยที่ ไ ม่ ส น กิจการงานของพีน่ อ้ งมุสลิมและความยากล�าบากของพวก เขา เราจะสามารถเรียกตนเองว่าเป็นมุสลิมได้หรือ ท่านอายะตุลลอฮ์ ซัยยิดอะลี คอเมเนอีกล่าวไว้ อย่างชัดเจนและท่านรู้ว่ามันเป็นการแทรกแซงของศัตรู อิสลามเพื่อจะสกัดกั้นเรื่องอัลกุดส์ เป็นเป้าหมายของ อเมริกาและอิสราเอล โดยใช้คา� พูดของนักปราชญ์บางท่าน ที่ไม่เข้าใจปัญหาของโลกอิสลามมาเป็นข้ออ้าง ท่านผูน้ า� สุงสุดทางจิตวิญญาณ บอกไว้อย่างชัดเจน ว่าประเด็นที่เกี่ยวกับปาเลสไตน์ไม่ใช่เรื่องที่จะล่อลวงให้ มุสลิมมาเป็นพรรคพวกของเรา แต่เรื่องปาเลสไตน์มาจาก ความศรัทธาอันลึกซึ้งของเราที่มีต่ออิสลามและเป็นหน้าที่ ของพวกเรา ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ) กล่าวว่าประเทศใดก็ได้ ถ้าพร้อมที่จะปกป้องปาเลสไตน์ก็เชิญออกมาแถวหน้าได้ เลย ถ้าต้องการก็เชิญมาได้ แต่ไม่มีใครยอมออกมาและยัง

ต�าหนิพวกเราอีก วันนีพ้ นี่ อ้ งทัง้ หลายเห็นพีน่ อ้ งปาเลสไตน์ ถูกกระท�าอะไรบ้างหรือไม่ ท่านเคยเห็นผู้น�าปาเลสไตน์ ไปเยือนอิหร่านหรือไม่ คนในปาเลสไตน์รู้ดีว่า เขามีความ ผูกพัน (กับอิหร่าน) เพราะเขารู้ว่าอิหร่านมีความจริงใจที่ จะยืนอยู่เคียงข้างพวกเขามาโดยตลอด ขณะนี้ถ้าท่านดูข่าวในประเทศซีเรีย จะเห็นว่าพวก เขาได้พยายามตอกย�้าความแตกแยกแยกระหว่างชีอะฮ์ กับซุนนีออกไป และประโคมข่าวว่ารัฐบาลของซีเรียเป็น ชีอะฮ์ พวกเขาใช้งบประมาณมหาศาลเพื่อเสนอข่าวใน ทางลบ โดยสหรัฐอเมริกาและอิสราเอลเป็นผูส้ นับสนุนหลัก โดยอาศัยใช้ประเทศมุสลิมใหญ่ๆ สามประเทศ ในเรือ่ งการ เงินมาจากซาอุดีอารเบีย อาวุธยุทโธปกรณ์มาจากกาตาร์ โดยใช้ตุรกีเป็นทางผ่าน และตอนนี้ตุรกีเป็นตัวเลือกใหม่ที่ จะท�าให้เกิดสมดุลในโลกของอิสลาม และผมก�าลังจะบอก ว่าตุรกีจะประสบปัญหาเดียวกับปากีสถานทีส่ ร้างบทบาท ในอัฟกานิสถาน และมีนักวิเคราะห์กล่าวว่าซีเรียจะเป็น ปัญหาต่อไปส�าหรับตุรกี เราไม่ได้ปกป้องซีเรีย แต่ปัญหา ซีเรียประชาชนซีเรียต้องเป็นผูท้ ตี่ ดั สินใจ แต่ปจั จุบนั บุคคล ภายนอกเข้าไปแทรกแซง และน�าอาวุธไปต่อต้านรัฐบาล เพื่อเหตุผลเดียวคือถ้าล้มรัฐบาลนี้ได้ ความปลอดภัยของ อิสราเอลจะมีสูงขึ้น และเรื่องความมั่นคงของพวกเขาดีขึ้น ประเด็นเดียว หลังจากนั้นศัตรูของอิสลามต้องการที่จะล้ม ฮิซบุลลอฮ์ และเป้าหมายสุดท้ายคืออิหร่าน เพราะฉะนั้น ซาอุดีอารเบียก�าลังท�าอะไร กาตาร์ก�าลังทุ่มงบประมาณ ทางด้านการเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ นานมากมาย เข้าไปยังประเทศซีเรียท�าไม ขณะนี้ตุรกีก�าลังมีแนวคิดที่จะเป็นผู้น�าโลกอิสลาม ในยุครูปแบบใหม่ ที่จะน�าอิสลามแบบตุรกี (มาใช้) ผูน้ า� อิหร่านออกมาเตือนอยูเ่ สมอว่าให้สนใจแนวคิด และความต้องการของประชาชนบ้าง และถ้าวันนี้รัฐบาล ใดๆ ก็ตามในโลกอิสลาม ยังดื้อดึงที่จะยึดติดกับอิสราเอล ประชาชนจะขับไล่พวกเขาออกไป เหมือนที่เราเห็นใน ตูนีเซีย อียิปต์ ลิเบียและอีกหลายๆ ประเทศ ซัยยิดฮาซัน นัศรุลลอฮ์ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ของอิหร่านว่า “เรารบชนะอิสราเอลใน ค.ศ. 2006 เนื่องจากเป็น ความเมตตาจากอัลลอฮ์(ซบ.) และในวันนี้ เรามีอาวุธ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 95


ยุทโธปกรณ์มากกว่าเดิม เรามี ขีปนาวุธ ในขณะที่ใน หลายๆ ประเทศยังไม่มี และเรามีความสามารถที่จะเลือก ยิงในอิสราเอลในจุดไหนก็ได้" และข้าพเจ้าขอถามหน่อยว่า มันเป็นความภาค ภูมิใจส�าหรับชีอะฮ์หรือ เปล่าเลย มันเป็นความภาคภูมิใจ ส�าหรับโลกอิสลาม และนี้คือสิ่งที่ข้าพเจ้าจะขอฝากไว้กับ พี่น้องทุกๆ ท่าน สุดท้ายนี้ขอวิงวอนต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงปกป้อง พี่น้องในปาเลสไตน์ และเราหวังว่าจะได้เห็นชัยชนะใน ปาเลสไตน์ และวันหนึ่งเราจะได้เห็นอิสราเอลจะถูกลบไป จากแผนที่โลก วัสลามฯ

การบรรยายโดย ซัยยิดมุบาร็อก ซาร์ยิด ประธานชมรมรักวิลายะตุลฟะกีฮ์ แห่งประเทศไทย อัสลามุอะลัยกุมฯ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิแด่อัลลอฮ์(ซบ.) ขอความสันติจงมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่าน ขอความสันติจงมีแด่บรรดาพีน่ อ้ งศรัทธาทุกท่าน วัน นี้พวกเราได้แสดงพลังและจุดยืนอันชัดเจนในการต่อต้าน ยิวไซออนิสต์ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนเราก็ ทราบกันดีว่า ท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) ประกาศให้วันศุกร์ สุดท้ายของเดือนรอมาฏอนเป็นแห่งการปลดปล่อยมัสยิด อัลอักซอ เพื่อที่จะร่วมกันร�าลึกถึงกิบลัตแรก และในทุกๆ ปี เราจะมีการจัดขบวนการเดินร่วมกันในหลายๆ สถานที่ และในหลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทยด้วย และในปี นี้ ขอแสดงความยินดีที่ทางโอไอซีประกาศว่า วันอัลกุดส์ เป็นวันอัลกุดส์สากล เปรียบเสมือนกับเป็นการเชิญชวน มวลมนุษยชาติมาช่วยกันขับเคลื่อนและแสดงจุดยืนใน การขับไล่ยวิ ไซออนิสต์ออกจากแผ่นดินปาเลสไตน์ และเช่น เดียวเป็นนิมติ รหมายทีด่ นี นี้ า� มาซึง่ ในการเปลีย่ นแปลงของ สังคมไทย เนื่องจากมีการรวมตัวกันจากทุกองค์กร มัสยิด

96 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ฮุซัยนียะฮ์ ฯลฯ ให้มีการจัดตั้งองค์กรร่วมขึ้นมาเพื่อที่จะ เป็นขบวนการเพื่อที่จะขับเคลื่อนต่อการประกาศจุดยืนที่ ชัดเจนเกี่ยวกับมัสยิดอัลอักซอ และเราได้รับความร่วมมือ จากทุกท่าน ปัจจุบนั เราได้จดั ตัง้ สมาพันธ์อลั กุดส์นานาชาติ แห่งประเทศไทยขึ้นมา และก็มีสมาชิกจากทุกองค์กร ในปี นี้เรามีทั้งเยาวชนคนหนุ่มสาวและคนรุ่นผู้ใหญ่ ต่อไปนี้เป็นแถลงการณ์วันอัลกุดส์ ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณายิ่ง มวลการสรรเสริญทัง้ มวลเป็นสิทธิของพระองค์ ขอเรียกร้องความหาญกล้าของผูร้ กั ความเป็นธรรม ทั้งหลาย ร่วมส�าแดงพลังและยืนหยัดสนับสนุนเพื่อปลด ปล่อย “อัลกุดส์” และพี่น้องชาวปาเลสไตน์ ผู้ถูกกดขี่จาก รัฐเถื่อนไซออนิสต์อิสราเอลและผู้สนับสนุน “กุดส์” เป็นค�าจากภาษาอาหรับ หมายถึง ความ บริสุทธ์ ความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งใช้เรียกเป็นสัญลักษณ์ของ มั ส ยิ ด อั ล อั ก ซอ ศาสนสถานส� า คั ญ ของมุ ส ลิ ม และ เยรูซาเล็มเป็นเมืองทีร่ อ้ ยจิตวิญญาณแห่งสามศาสนาใหญ่ ของโลกคือยูดาย คริสต์และอิสลาม ปฐพีแห่งปาเลสไตน์ แทบจะหาช่วงเวลาของความ


สงบสุขเกือบไม่ได้เลยจวบจนปัจจุบัน และแม้แต่อนาคตก็ ไม่อาจคาดหวังได้ ว่าผืนแผ่นดินที่มีเรื่องราวความส�าคัญ ในด้านจิตวิญญาณแห่ง 3 ศาสนานี้จะคืนสู่ความสงบสุข ได้เมื่อไหร่ หากมองจากบริบทของเมืองซึง่ เป็นเมืองส�าคัญของ ศาสนา ปาเลสไตน์นา่ จะเป็นดินแดนทีก่ รุน่ ด้วยกลิน่ ไอของ ความสงบสุขและเสรีภาพที่บานสะพรั่ง แต่อนิจจาผืนแผ่น ดินนีก้ ลับตกอยูใ่ นเปลวไฟของสงครามนับแต่อดีตกาลเรือ่ ย มา เรื่องราวของมหาสงครามศาสนา ที่รู้จักกันในนาม “ครู เสด” ได้ทา� ลายทัง้ ชีวติ และทรัพย์สนิ ของประชาชนไปเหลือ คณานับ ตลอดระยะเวลา หลายร้อยปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผืนแผ่นดินที่มีท่าทีจะ สงบเงียบกลับร้อนผ่าวด้วยไฟสงครามอีกครั้ง หลังจาก มหาอ�านาจอย่างสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ จับมือกันผลัก ดันชาวยิวจากยุโรปให้กลับคืนสูแผ่น ดินปาเลสไตน์เพือ่ ให้ รักษาผลประโยชน์ให้มหาอ�านาจทั้งสองในภูมภาคนี้ โดย ข้ออ้างความเป็นเจ้าของ “ดินแดนแห่งพันธสัญญา”ตาม คัมภีร์ โตราห์ คลืน่ ชาวยิว จากยุโรปและรัสเซียต่างไหลบ่ามุง่ หน้า สู่ดินแดนปาเลสไตน์ เพื่อเป้าหมายในการก่อตั้งรัฐยิวขึ้น ใหม่บนดินแดนปาเลสไตน์ ภายใต้การน�าของขบวนการ “ไซ ออนิสต์ ยิวชาตินยิ มหัวรุนแรง” จากยุโรปการกระทบกระทัง่ กับเจ้าของแผ่นดินเดิมเริ่มบานปลาย เจ้าของบ้านถูกขับ ไล่ออกจากผืนแผ่นดินตัวเอง และต้องตั้งกองก�าลังเพื่อ ต่อสู้ด้วยอาวุธอย่างเป็นทางการ ขบวนการแล้วขบวนการ เล่า แต่ไม่อาจต้านทานผู้รุกรานที่ได้รับการสนับสนุนจาก “มารทั้งยุโรปและอเมริกามหาซาตาน” ตลอดจนโจรถ่อย ไซออนิสต์สามารถตั้งรัฐเถื่อนของตนเองบนมาตุภูมิของ ชาวปาเลสไตน์นามว่า “อิสราเอล” รัฐเถื่อนของโจรถ่อย ชาวปาเลสไตน์ต้องถูกขับไล่กระเซอะกระเซิงออก จากแผ่นดินเกิดไปอาศัยในประเทศอาหรับต่างๆ ในสภาพ ผูพ้ ลัดถิน่ จากประเทศหนึง่ สูป่ ระเทศหนึง่ อย่างไมรูบ้ ทสรุป ในชะตากรรมใดๆ แต่หัวใจของทุกคนยังคงเต็มเปี่ยมด้วย ความหวังว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะได้กลับคืนสู่มาตุภูมิอีก ครั้ง เพื่อกราบกรานพระผู้เป็นเจ้าของเขา ณ ลานแห่งกุดส์ กว่าครึง่ ศตวรรษทีผ่ า่ นมา ทีข่ บวนการไซออนิสต์ได้ ยึดครองผืนแผ่นดินนีด้ ว้ ยการกดขีข่ มเหงต่อชาวปาเลสไตน์

ต่างๆ นานา กลับเป็นความชอบธรรมบนสื่อสารมวลชน ของโลกที่แพร่กระจายข่าวสารจากการควบคุมของไซออ นิสต์และพวกพ้อง เพื่อตบตาชาวโลก และยัดเหยียด การ ก่อการร้ายให้ผู้ปกป้องสิทธิอันชอบธรรม การละเมิดกฎ เกณฑ์ต่างๆ กลายเป็นเรื่องธรรมดา การเข่นฆ่าผู้คนโดย ปราศจากอาวุธ ไม่เว้น เด็ก สตรี คนชรา การแบ่งแยก เชื้อชาติ การเผาท�าลายบ้านเรือน โดยเฉพาะแถบฉนวน กาซ่า การสกัดกั้นความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม เรื่องปัจจัยยังชีพ ทั้งทางด้านเวชภัณฑ์ อาหาร ยารักษา โรค อาทิการถล่มกองเรือกาชาดสากลที่บรรทุกเวชภัณฑ์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับเคราะห์กรรมในฉนวนกา ซ่า การพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ การสร้างเมืองใหม่ การ ขยายอาณานิคม อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างที่พ�านักของชาว ยิวและผลักดันชาวปาเลสไตน์ออกจากถิ่นฐานพร้อมๆ กัน การท�าลายด้านเศรษฐกิจ การควบคุมยึดครองศาสนสถาน ทางจิตวิญญาณ เป็นต้น แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา “รัฐบาลเถื่อน” ไซออนิสต์ ผู้ช่วงชิง กลับสร้างภาพให้เห็นว่าพวกเขาเป็นผู้ช่วยเหลือ การวางแผนให้คนเชื้อชาติยิวเท่านั้นมีสิทธิครอบครอง “อัล กุดส์” แต่เพียงฝ่ายเดียว ขณะเดียวกันพวกเขาก็ พยายามขุดเจาะเพื่อท�าลายมัสยิดอัลอักซอ ศูนย์รวมทาง จิตวิญญาณของโลกมุสลิม ซึ่งเปรียบเสมือนเสี้ยนหนามที่ ต�าตาให้พน้ ทาง การสอนหรือให้ความรูก้ บั เด็กและเยาวชน ด้วยทัศนคติที่บิดเบือนเพื่อปลูกฝังความคิดที่ผิดๆ ต่อชาว ปาเลสไตน์ และเพื่อท�าลายร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของ ศาสนสถานแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ความหวังของชาวปาเลสไตน์กลับเรืองรองขึ้นอีก ครั้ง หลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านใน ปี 1979 โดยการน�าของมหาบุรุษแห่งศตวรรษที่ 21 นาม อะยาตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี หรือรู้จักกันในนามอิมาม โคมัยนี ผูน้ า� ศาสนาทีพ่ ชิ ติ กองก�าลังอันดับ 5 ของโลกอย่าง อิหร่าน สู่การเป็นรัฐอิสลาม จวบจนปัจจุบัน และเป็นผู้ประกาศก้องต่อชาวโลก ในการประกาศ การยืนหยัดเคียงข้างผู้ถูกกดขี่ทั่วโลก ไม่จ�ากัดว่าจะเป็น มุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิม และโดยเฉพาะเรื่องชาวปาเลสไตน์ ซึ่งถือเป็นสิ่งกระทบโดยตรงทางสายเลือดแห่งศรัทธา ที่ อิสลามถือว่า ผู้ศรัทธาทั่วโลกคือเรือนร่างอันเดียวกัน ส่วน

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 97


หนึ่งส่วนใดเจ็บ ก็จะท�าให้ส่วนอื่นเจ็บปวดไปด้วย การประกาศวันแห่งกุดส์ของท่านอิมามโคมัยนี จึง เปรียบเสมือน งูร้ายไซออนิสต์โดนตีหางอย่างจัง “วันอัล กุดส์” จึงเปรียบเสมือนความประสงค์ทตี่ กผลึกของมวลหมู่ ประชาชาติอสิ ลาม เป็นแรงดึงดูดให้ตอ้ งใช้ความเป็นพีน่ อ้ ง ร่วมแรงร่วมใจกัน ด้วยศรัทธา และความเชื่อมั่นต่อพระผู้ เป็นเจ้า คือเคล็ดลับและ เป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะสามารถ ต่อต้าน อ�านาจความอธรรมของผู้น�าและผู้ปกครองในดิน แดนกุดส์ได้ และด้วยพลังอันนี้ คือสิ่งที่จะช่วยกันพยุงให้ ชาวปาเลสไตน์ผู้ถูกกดขี่ได้มีพลังในการยืนหยัดต่อกรกับ รัฐเถื่อนไซออนิสต์ ผู้ช่วงชิงและปล้นสะดม ด้วยพลังอันนี้ เองจะช่วยส่งเสียงตะโกนก้องเพื่อขอความเป็นธรรมสู่ชาว โลก ให้สง่ แรงกดดันต่อรัฐบาลไซออนิสต์ให้คนื เสรีภาพ แก่ นักโทษชาวปาเลสไตน์ผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมได้กลับ สู่อ้อมกอดของครอบครัว ใช้ชีวิตอย่างอิสระบนดินแดน มาตุภูมิของเขาอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยพลังอันนี้เองจะเป็น พลังให้ผถู้ กู กดขีท่ วั่ โลกมีสา� นึกและยืนหยัดในการต่อสูเ้ พือ่ อิสรภาพให้ตวั เอง และด้วยพลังอันนีเ้ อง ประชาชาติอสิ ลาม จะสามารถปลดปล่อย อัลกุดส์ คืนสู่ประชาชาติอิสลาม จากน�้ามือของผู้รุกราน ไซออนิสต์ผู้ยึดครองอยู่ในปัจจุบัน วันแห่ง “กุดส์” ใช่จะเป็นวันอันเป็นสัญลักษณ์ใน การเรียกร้องให้ปลดปล่อยศาสนสถานที่ส�าคัญยิ่ง 1 ใน 3 แห่งของโลกอิสลามเท่านั้น แต่เป็นการประกาศและเรียก ร้องความเห็นใจต่อบรรดาผู้รักความเป็นธรรมทั้งโลก ช่วย

98 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

แสดงให้ผู้กดขี่และอธรรมแห่งโลก ได้ตระหนักถึงพลังแห่ง ผูม้ ใี จเป็นธรรมทีป่ ระกาศยืนหยัดเคียงข้าง ชาวปาเลสไตน์ ผู้ถูกกดขี่ และร่วมแสดงพลังรวมเป็นหนึ่งเดียวกันโดยไม มีการแบ่ง เผ่าพันธุ์และสีผิว ส่งแรงใจให้ชาวปาเลสไตน์ ปลดแอกจากผู้ยึดครองส�าเร็จ และคืนกลับสู่มาตุภูมิอย่าง มีเกียรติและสมศักดิ์ศรีในเร็ววัน โอ้ผู้รักความเป็นธรรมทั้งหลาย อย่าปล่อยให้ความ รูส้ กึ นัน้ นอนซุกตัวอยูใ่ นก้นบึง้ ของหัวใจอีกเลย โปรดส�าแดง สิ่งนั้นออกมาให้โลกได้รับรู้ว่า “เรื่อง ของอัลกุดส์ และ ปาเลสไตน์” ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องของอิสลามกับยิวไซออนิสต์ เท่านัน้ แต่ปาเลสไตน์คอื ภาพสะท้อนอันชัดแจ้ง ของผูก้ ดขี่ และผู้ถูกกดขี่ เป็นการปะทะกันระหว่างธรรม กับอธรรม ที่ เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด ...เราไม่เชือ่ ว่า ท่านจะจิตใจกระด้าง เมือ่ ได้เห็นแวว ตาของเด็กน้อยชาวปาเลสไตน์ ...เราไม่เชื่อว่า จมูกของพวกท่าน จะยังคงด้าน ชาจาก กลิ่น คาวเลือดของเด็กน้อย สตรี และคนชราที่ไร้ หนทางป้องกันตัวเอง นอกจากสองมือเปล่าที่อ่อนล้า ...เราไม่เชือ่ ว่า โสตประสาทของผูร้ กั ความเป็นธรรม อย่างท่าน จะไม่ได้ยนิ และอดทนกับเสียงกัมปนาท ของระเบิด และกระสุนที่รัวกระหึ่มท่ามกลางเสียงกรีดร้อง โดยไม่มี ฤดูกาลจากกาซ่า อีกต่อไป ปากของผู้รักความเป็นธรรมอย่างพวกท่าน เคย กล่าวตะโกนประณามต้อโศกนาฏกรรมทีร่ ฐั เถือ่ นไซออนิสต์ ได้ก่อไว้บ้างหรือยัง ด้วยเหตุนี้ วันศุกร์สุดท้ายของเดือนรอมฏอน จึงขอ ร่วมแสดงพลังต่อต้าน การยึดครอง ปาเลสไตน์ โดย รัฐเถือ่ น ไซออนิสต์ โดยพร้อมเพรียงกัน ทั่วทุกมุมโลก สมาพันธ์อัลกุดส์นานาชาติแห่งประเทศไทย วัสลามฯ


กิจกรรมและความเคลื่อนไหว

กองบรรณาธิการ

Activities & Movement สัมมนำฮัฮัจญ์ "ฮัจญ์ : ประจักษ์ และตื่นรู้ บนเอกภำพ อิสลำม” ณ มหำวิทยำลัย ศรีนครินทรวิโรฒ (ประสำนมิตร)

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ณ ศูนย์ดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 1 ชั้น 4 อาคารนวัตกรรม : ดร. สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 99


ค�าปราศรัยของ นายมุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะห์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�ากรุงเทพฯ ด้วยพระนามของอัลลอฮ์พระผูท้ รงเมตตา พระผูท้ รง กรุณาปรานีเสมอ َّ َ‫ان‌الْبَ ْي ِت‌أ‬ ْ ‫ن‌ل‌ تُ ْشر‬ ِ َ ‫‌وإِذْ‌ب َ َّو ْأن‬ ‫ي‌ش ْيئًا‬ َ ِ ‫ِك‌ ب‬ َ ‫‌م َك‬ َ َ ‫يم‬ َ ‫ا‌لِبْ َرا ِه‬

บรรดามุสลิมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ด�าริโดยศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�า ประเทศไทย และได้รบั ความร่วมมือจากศาสตราจารย์ นาย แพทย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ซึ่งเอื้อเฟื้อสถานที่หอ ประชุมที่สวยงามของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นสถานที่จัด งานครั้งนี้ และเช่นกันก็ได้รับความร่วมมือจากจาก ฯพณฯ อับดุลอาศิส บินอิสมาอีล พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี แห่งราชอาณาจักไทย ดาโต๊ะอิหม่ามเฟาซัน หลังปูเต๊ะ อิ ห ม่ า มมั ส ยิ ด ต้ น สน ท่ า นฮุ ญ ะตุ ล อิ ส ลามเชคอาบิ ดี น ฟินดี้ อิมามมัสยิดนุรุลนะซีฮะฮ์และด�ารงต�าแหน่งนายก สมาคมนักเรียนเก่าไทย อิหร่าน ฮุจญะตุลอิสลามเชค มุฮมั มัดนาอีม ประดับญาติ อิมามมัสยิดซอฮิบซุ ซะมาน (อ.) และด�ารงต�าแหน่งผู้อ�านวยการสถาบันส่งเสริมการศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับอิสลามและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ได้ร่วมกันจัดงานสัมมนา ฮัจญ์นานาชาติขึ้น ก่อนที่จะมีพิธีเปิดการประชุมนานชาติ ข้าพเจ้าขอน�าสุนทรพจน์ของท่านอิมาม โคมัยนี (รฮ.) และ ฯพณฯ อิมาม คาเมเนอี ผูน้ า� สูงสุดทางจิตวิญญาณมากล่าว ให้แขกผู้มีเกียรติได้รับทราบ การประกอบพิ ธี ฮั จ ญ์ นั บ ว่ า เป็ น เวลามที่ เ หมาะ ส�าหรับการแลกเปลี่ยนความคิด และปรับแต่งแนวความ คิดทีแ่ ตกต่างกันในเรือ่ งส�านักคิดแห่งอิสลามให้เหมือนกัน เป็นช่วงเวลาทีพ่ นี่ อ้ งมุสลิมจะได้ถามข่าวสารทุกข์สขุ ซึง่ กัน กันและกัน ดังทีผ่ นู้ า� แห่งศรัทธาชน อิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า

‫‌الس ُجو ِد‬ َ ‫‌وال ْ َقائ ِ ِم‬ َ ‫‌‌و َط ِّه ْر‌ب َ ْيتِ َي‌لِل َّطائ ِ ِف‬ ُّ ‫الر َّك ِع‬ َ ‫ين‬ َ ‫ين‬ َ ُّ ‫‌و‬ َ ُ‫اس‌بِال ْ َح ِّج‌يَ ْأت‬ ِ َّ‫‌وأَ ِذّن‌فِي‌الن‬ ‫وك‌ ِر َجال‬ َ ٍ‫ين‌ ِمن‌ ُك ِّل‌فَ ٍّج‌ َع ِميق‬ َ ‫‌و َع َلى‌ ُك ِّل‬ َ ِ‫‌ضا ِمرٍ‌يَ ْأت‬ َ "และจงร� า ลึ ก เมื่ อ เราได้ ชี้ แ นะสถานอั ล บั ย ต์ แ ก่ อิบรอฮีม เจ้าอย่าตั้งภาคีต่อข้าแต่อย่างใด และจงท�าบ้าน ของข้าให้สะอาด ส�าหรับผู้มาเวียนรอบ ผู้ยืนนมาซ ผู้รุกูอ์ และผูส้ ญ ุ ดู และจงประกาศแก่มนุษย์ทวั่ ไปเพือ่ การท�าฮัจญ์ พวกเจาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุก ตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง" บทที่ 22 (ฮัจญ์) โองการ ที่ 26 และ 27) ฯพณฯ ฮุจญะตุลอิสลาม วัลมุสลิมีนซัยยิดกอฎี อัสกัร ตัวแทนวะลียุลฟะกีฮ์และอะมีรุลฮัจญ์ ‌‫الحج‌تقوية‌الدين‬ ฯพณฯ อับดุลอาศีส บินอิสมาอีล พิทักษ์คุมพล "ปรั ช ญาของฮั จ ญ์ คื อ การเสริ ม ความย� า เกรงให้ จุฬาราชมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ฯพณฯ ฮูเซน กะมาลิยอน เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐ ศาสนา" และยังกล่าวต่อไปอีกว่า อิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�าประเทศไทย ‫‌و‌جعله‌سبحانه‌و‌تعالى‌لسالم‌علما‬ บรรดาคณาจารย์ อุลามาอ์ นักวิชาการและนักการ ทูตจากประเทศอิสลาม "พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงให้ธงแห่งอิสลามคือกะอ์บะฮ์" แขกผู้มีเกียรติ สุภาพบุรูษและสุภาพสตรี ท่านชะฮีดมุเฏาะฮารีอรรถาธิบาบค�าพูดของท่าน ยินดีต้อนรับสู่การประชุมฮัจญ์นานาชาติ และขอ อิมาม (อ.) ว่า ขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมประชุมในงานนี้ "ค� า ว่ า ธงนั้ น หมายถึ ง ความเป็ น เอกภาพของ การจั ด ประชุ ม ด้ า นวิ ช าการมี ก ารน� า เสนอและ ประชาชน ที่จะต้องสร้างความเป็นภราดรเดียวกันในขณะ พิจารณาเรื่องความเป็นเอกภาพและภราดรภาพระหว่าง

100 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555


ที่พวกเขามีชีวิตอยู่ กะอ์บะฮ์ของอิสลามเป็นเช่นนี้" ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ.) กล่าวถึงความ มั่นคงของศาสนาคือฮัจญ์ ซึ่งท่านกลล่าวว่า ‫"ل‌يزال‌الدين‌قائما‌ما‌قامت‌الكعبة‬ "ตราบใดที่กะอ์บะฮ์ยังยืนหยัดอยู่ อิสลามก็ยังยืน หยัดอยู่เช่นกัน" ท่านอิมาม อะลี (อ.) ในช่วงวาระสุดท้ายของอายุขยั ของท่าน ท่านได้สั่งเสียว่าแก่บุตรหลานของท่านว่า ‌‫‌اهلل‌اهلل‌فى‌بيت‌ربكم‌ل‌تخلوه‌ما‌بقيتم‌فانه‬ ‫ان‌ترك‌لمتناظروا‬ "ขอสาบานด้วยนามแห่งอัลลอฮ์ขณะที่พวกท่าน ยังมีชีวิตอยู่จงอย่าปล่ยปะละเลยบ้านของอัลลอฮ์และจง อย่าปล่อยบ้านของอัลลอฮ์ให้ว่างเว้นส�าหรับที่มาประกอ บพิธฮี จั ญ์ ถ้าพกวท่านปล่อยให้บา้ นของอัลลอฮ์ปราศจาก ผู้มาเยือน ความหายนะจะบังเกิดขึ้นกับตัวของพวกท่าน เอง” นายวิลเลียม แกล็ดสโตน อดีตนายกรัฐมนตรีเชื้อ สายยิวแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย กล่าวว่า "เมื่ออัลกุรอานถูกอ่านนามของมุฮัมมัดก็จะถูกล่าว ขานด้วย การตะวาฟรอบกะอ์บะฮ์และการนมาซญุมอะฮ์ ที่เริ่มต้นขึ้น ชาวยุโรปไม่สามารถจะเข้าใจได้เลยว่าตะวัน ตกของอิสลามคืออะไร ถึงแม้วา่ ตัวข้าพเจ้าจะเป็นผูบ้ ริหาร แห่งราชอาณาจักรของอังกฤษก็ตาม" ภายหลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลาม ภายใต้ การน�าของท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) ท่านเน้นอยู่เสมอใน เรือ่ งของเอกภาพอิสลามในพิธฮี จั ญ์ ท่านกล่าวเชิญบรรดา ประชาคมมุสลิมว่าฮัจญ์คือสัญลักษณ์ของเอกภาพที่จะ เผชิญหน้ากับบรรดาผู้หยิ่งทนงของโลก ท่านอิมาม (รฮ.) กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “บรรดาพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงจ�าเป็นต้อง รู้ว่าความส�าคัญแห่งปรัชญาของการประกอบพิธีฮัจญ์ คื อ การสร้ า งความเข้ า ใจในบทบั ญ ญั ต ์ ข องความเป็ น ภราดรภาพเดียวกัน” ท่านยังกล่าวอีกว่า “ฮัจญ์คือการแสดงออกซึ่งความรักในการด�านเนิน

(ซ้าย) อายะตุลลอฮ์มุรตะฎอ มุเฏาะฮารี (ค.ศ. 1920-1979) (ขวา) วิลเลียม แกล็ดสโตน (ค.ศ. 1809-1898) อดีตนายกรัฐมนตรี อังกฤษ 4 สมัย

ชีวติ ของมนุษย์คนหนึง่ และสังคมหนึง่ ทีจ่ ะน�าพาไปสูค่ วาม สมบูรณ์แบบ และบทบัญญัติของฮัจญ์ คือบทบัญญัติของ การด�าเนินชีวิต ซึ่งทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั่นต้องแสดงบทบาท หนึง่ ในฐานะเป็นบทบาทของท่านศาสดาอิบราฮีม (อ.) และ ก็ต้องเป็นบทบาทที่แสดงออกถึงความเป็นประชาชาติที่ดี ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ฮัจญ์ยังเป็นเครื่องหมาย ที่แสดงถึงความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า” ฯพณฯ ผู้น�าสูงสุดทางจิตวิญญาณกล่าวเกี่ยวกับ เรือ่ งการประกอบพิธฮี จั ญ์ไว้ ซึง่ ข้าพเจ้าขออนุญาตทีจ่ ะยก ค�าพูดบางตอนของท่านมากล่าวเกี่ยวกับฮัจญ์เป็นความ ประจักษ์ตื่นรู้ของมนุษย์ ท่านกล่าว่า ‫ان‌لراحل‌اليك‌قريب‌المسافة‬ "จงก้าวเดินไปในหนทางของพระผูเ้ ป็นเจ้า เพือ่ จิตใจ ของมนุษย์จะได้รับแสงแห่งทางน�า และจิตนั้นจะอ่อนโยน สนิมที่เกาะติดการตื่นรู้ของมนุษย์จะสะอาดขึ้น และก้าว ต่อไปของมนุษย์จะเป็นสิ่งที่ง่ายส�าหรับเขา" นีค่ อื หัวข้อการประชุมนานาชาติฮจั ญ์ในครัง้ นี้ ซึง่ จะ ไม่ได้พบเห็นที่ใดมาก่อน แน่นอนการขับเคลื่อนของกลุ่มชนในการประกอบ พิธีฮัจญ์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการตะวาฟ การสะอีย์ การหยุดพักทีอ่ ะระฟาต การหยุดพักทีม่ ชั อัรและ มินา การร่วมมือในการระมีทญ ี่ ะมะรอต ชัยฏอน ส่วนใหญ่ ของการปฏิบตั ติ อ้ งร่วมมือกันกระท�า ซึง่ เป็นการแสดงออก ถึงพลังแห่งความเป็นเอกภาพของบรรดามุสลิม ที่ต้องยื่น

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 101


ในสภานที่เดียวกัน กระท�าในสิ่งเดียวกัน ดังที่พระผู้เป็น เจ้าทรงตรัสว่า ِ َّ‫ْ‌ج َع ْلنَا‌الْبَ ْي َت َ‌مثَاب َ ًة‌ل ِّلن‬ ‫‌وأَ ْمنًا‬ َ ‫‌وإِذ‬ َ ‫اس‬ َ "และจงร�าลึกถึงขณะที่เราได้ให้บ้านหลังนั้นเป็นที่ กลับมาส�าหรับมนุษย์และเป็นที่ปลอดภัย" นี่คือประชาชาติมุสลิม ประชาชาติแห่งอิสลาม ที่ มีความแตกต่างในการด�าเนินชีวิต ภาษา ต่างส�านัก ต่าง ความคิด ที่มารวมกันอยู่ในสถานที่เดียวกัน ต้องปฏิบัติใน สิ่งเดียวกัน กล่าวสรรเสริญด้วยภาษาเดียวกัน นับว่าเป็น สิ่งที่ประเสริฐยิ่ง ทั้งยังแสดงถึงแนวความคิดเรื่องเอกภาพ ความผูกพันของจิตใจและเรือนร่างในสนามแห่งการเมือง ไม่ใช่เรื่องการญิฮาด แม้การเดินทางไปยังบ้านของพระผู้ เป็นเจ้า อิสลามให้ความส�าคัญที่จิตใจและเรือนร่างนั้นจะ ต้องมีความมั่นคงดังอัลกุรอานกล่าวว่า ‫‌ج ِم ًيعا‬ َ ‫‌وا ْعتَ ِص ُموا‌ب ِ َح ْبلِ ‌اللَّـ ِه‬ َ "การยึดสายเชือกแหงอัลลอฮ์อย่างพร้อมเพรียง" ค�าว่า ‫ جميعا‬มีความหมายส�าคัญมากกว่าพร้อม เพรียง และจะต้องพิจารณาค�าสั่งของพระผู้เป็เนจ้าให้ดี การอยู่ร่วมกันนั้นเป็นสิ่งจ�าเป็นยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ เรือนร่างและแนวความคิดก็ตาม ฯพณฯ ผู้น�าสูงสุดทางจิตวิญญาณกล่าวอีกว่า "แน่นอนฮัจญ์ของอิบรอฮีมเป็นสัญลักษณ์ของการ ตื่นรู้ เอกภาพของบรรดามุสลิมและเป็นสื่อการสอนอบรม ขัดเกลาจิตวิญญาณของความเป็นภราดรภาพเดียวกัน แสดงถึงพลังอ�านาจของประชาชาติของท่านศาสนทูตแห่ง อัลลอฮ์(ศ็อลฯ)" ด้วยสถานการณ์วกิ ฤติทเี่ กิดขึน้ ทัว่ โลกอิสลาม ท�าให้ ประชาคมมุสลิมต้องตืน่ ตัวขึน้ เรียกร้องสิทธิขนั้ พืน้ ฐานของ ตนทีถ่ กู ละเมิดและนีค่ อื การตืน่ ตัวของโลกอิสลาม จนกลาย เป็นคลื่นมหาชน ที่หันมาพึ่งอ�านาจแห่งพระผู้อภิบาล การจัดประชุมนานาชาติฮัจญ์ขึ้นครั้งนี้ มีเป้าหมาย เพื่อจะจุดประกายให้มุสลิมตื่นขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งความ รักสามัคคี ดังที่พระผู้เป็นเจ้าตรัสไว้ในอัลกุรอานบทที่ 2 โองการที่199 ว่า

102 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

‫‌و ْاستَ ْغ ِف ُروا‌اللَّـ َه‬ َ َ‫‌ح ْي ُث‌أَف‬ ُ ِ‫‌‌ثُ َّم‌أَف‬ َ ‫يضوا‌ ِم ْن‬ َ ‫اس‬ ُ َّ‫اض‌الن‬ ‫يم‬ ٌ ‫‌إ َِّن‌اللَّـ َه‌ َغ ُف‬ ٌ ‫ور‌ َّر ِح‬

"แล้วพวกเจ้าจงหลั่งไหลกันออกไปจากที่ผู้คนได้ หลั่งไหลกันออกไป และจงขออภัยต่ออัลลอฮ์เถิด แท้จริง อัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตายิ่ง" ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณต่อแขกผูม้ เี กียรติ ตลอดจน ผู้ที่มีส่วนร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมฯ ในการจัดงานครั้งนี้ด้วย ‫‌و‌ آخر‌ دعوانا‌ الحمد‌ هلل‌ رب‌ العالمين‌ والسالم‌ على‬ ‫عباداهلل‌الصالحين‬ ท้ายนีข้ อขอบคุณต่ออัลลอฮ์พระผูอ้ ภิบาลแห่งสากล โลกและขอความสันติจงประสบแด่ผทู้ เี่ ป็นบ่าวทีด่ ขี องพระ องค์อัลลอฮ์

การกล่าวต้อนรับของ ดร. อรพรรณ วีระวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรียน ฯพณฯ ฮูเซน กะมาลียอน ท่านมุศฏอฟา นัจญาริยอนซอเดะห์ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒ เป็ น สถาบั น อุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆ ออกไปรับใช้สังคม มาเป็นเวลากว่า 63 ปี มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผู้ บริ ห ารมหาวิ ท ยาลั ย มี แ นวความคิ ด การพั ฒ นาแบบ บูรณาการ หมาวิทยาลัยสูม่ ติ หิ ใม่กบั การพัฒนาเป็น “มหา วิทบาลัยรับใช้สงั คม” ซึง่ ผ่านการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ มีจติ อาสา มีความเป็นเลิศ มีดุลยภาพ และการบูรณาการและ ส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณค่าในระดับ สูง โดยเฉพาะพันธกิจ 4 ด้าน ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ การ วิจัยสร้างองค์ความรู้และพัฒนาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรม การส่งผ่านองค์ความรูไ้ ปสูช่ มุ ชน สังคม และการท�านุบา� รุง วัฒนธรรมและศิลปะ เพื่อเป็นผู้ชี้น�าต่อสังคม ในโอกาสนี้ ดิ ฉั น มี ค วามยิ น ดี ที่ มี โ อกาสต้ อ นรั บ


เป็นสัญลักษณ์แห่งความ ฯพณฯ ฮูเซน กามาลียอน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ เป็ น เอกภาพและภารดร อิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�าประเทศไทย ท่านมุศฏอฟา ภาพของบรรดามุ ส ลิ ม มา นั จ ญาริ ย อน ซอเดะห์ ที่ ป รึ ก ษาฝ่ า ยวั ฒ นธรรม ศู น ย์ สนทนาและวิเคราะห์ และ วัฒนธรรมสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่ง ข้าพเจ้ามุ่งหวังความส�าเร็จ อิหร่าน ท่านวิทยากรและแขกผูม้ เี กียรติทกุ ท่าน ในโอกาสนี้ จากพระผู้เป็นเจ้าแก่พวก ขอขอบคุณผูท้ มี่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง และผูป้ ฏิบตั งิ านทีผ่ ลักดันให้ ท่านทุกคน เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถือเป็น แขกผูเ้ กียรติทงั้ หญิง เกียรติอย่างยิ่งและหวังว่าคงได้รับเกียรติจากท่านและรับ และชายทีเ่ คารพรักทุกท่าน ใช้สงั คมในธอกาสต่อไป สุดท้ายนีข้ อให้การด�าเนินงานครัง้ โองการอั ล กุ ร อาน นี้ลุล่วงไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ และฮะดีษมากมาย กล่าวถึงฮัจญ์ไว้ในสถานภาพพิเศษ ขอขอบพระคุณ และถือเป็นนมัสการหนึง่ ทีเ่ ผยให้เห็นผลลัพธ์อนั แท้จริง อัน เป็นผลพวงทั้งในโลกนี้และปรโลกจากการมารวมกันของ ค�าปราศรัยเปิดการสัมมนา มหาฝูงชนแห่งบรรดาฮุจญาจ ฯพณฯ ฮูเซน กะมาลียอน โดยหลั ก การแล้ ว ศาสนพิ ธี อั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ห่ ง เอกอัครราชทูตสาธารณรับอิสลาม พระผูเ้ ป็นเจ้านีว้ างอยูบ่ นพืน้ ฐานของความสามัคคี เกลียว แห่งอิหร่าน ประจ�าประเทศไทย คลื่นแห่งเอกภาพและภารดรภาพซัดสาดอยู่ในทุกๆ อิริยา บทของศาสนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ทุกปีผู้คนจากทั่วสารทิศ วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรง ของโลก ไม่ว่าจะอยู่ในนิกายใด สัญชาติใดและภาษาใด กรุณายิ่ง ต่างกล่าวลับบัยก์ตามเสียงเรียกร้องของศาสดาอิบรอฮีม ในเวลาเดียวกัน ในสถานที่เดียวกัน ได้ปฏิบัติศาสนกิจ َّ ِ ِ َ ّ ْ ْ ْ َ ِ َّ‫اما‌للن‬ ‌‫اس‬ ً َ‫َج َعل‌اللـ ُه‌الك ْعبَ َة‌البَ ْي َت‌ال َح َر َام‌قي‬ เดียวกันตามบัญชาแห่งพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกัน ในห้องเรียนทีย่ งิ่ ใหญ่แห่งพระผูเ้ ป็นเจ้านีไ้ ด้รวบรวม “อัลลอฮ์ทรงให้อัลกะอ์บะฮ์อันเป็นบ้านที่ต้องห้าม ศาสนพิธที วี่ างอยูบ่ นพืน้ ฐานของเอกภาพไว้ บรรดาฮุจญาจ นั้นเป็นที่ด�ารงอยู่ส�าหรับมนุษย์” ขอความสั น ติ สุ ข ความเมตตาความจ� า เริ ญ จง ทั้งหมดต่างครองชุดเอี๊ยะฮ์รอม เดินเวียนรอบ (ฏอวาฟ) ประสบแก่ท่านฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีนกอฎี อัสกั​ัร ผู้ บ้านแห่งอัลลอฮ์ร่วมกัน เดินสะแอร่วมกันระหว่างซอฟา แทนวิลายะตุลฟะกีฮ์และอะมีรุลฮัจญ์สาธารณรัฐอิสลาม และมัรวะฮ์ ร่วมกันเคลื่อนสู่อารอฟาตและพ�านักอยู่ ณ แห่งอิหร่าน ฯพณฯ อาศีส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ศาสนสถานอันศักดิส์ ทิ ธิท์ นี่ นั่ ร่วมกัน ทีม่ ชั อัรและมีนาก็ยงั แห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์เฉลิมชัย บุญยะ คงปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน ศาสนกิจทั้งหมดนีต้ า่ งประกอบ ลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และแขก ไปด้ ว ยจิ ต วิ ญ ญาณแห่ ง ความสามั ค คี เอกภาพและ ภราดรภาพ มหาฝูงชนได้สร้างปรากฏการณ์แห่งเกียรติยศ ผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน ในโอกาสที่ ดี ง ามยิ่ ง นี้ ข ้ า พเจ้ า ต้ อ งขอขอบคุ ณ และความยิ่งใหญ่ ซึ่งเชื่อได้ว่าในโลกนี้ไม่อาจพบตัวอย่าง แขกผู้มีเกียรติที่เคารพรักทุกท่านที่ให้เกียรติเข้าร่วมใน ใดเหมือนกับศาสนพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ได้อีกแล้ว เราต้อง การสัมมนาครั้งนี้ และต้องขอขอบคุณคณาจารย์ คณะ ขอขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าที่พระองค์ทรงประทานความ เจ้ า หน้ า ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ ท รวิ โ รฒที่ ร ่ ว มกั น จั ด โปรดปรานทีย่ งิ่ ใหญ่นแี้ ก่พวกเราซึง่ เป็นความโปรดปรานที่ สัมมนาทางจิตวิญญาณซึ่งวางอยู่พื้นฐานแห่งความเป็น เปีย่ มไปด้วยบทเรียนแห่งเอกานุภาพ การขับเคลือ่ นสูค่ วาม พี่น้องกันของอิสลาม โดยการน�าประเด็นของ “ฮัจญ์” อัน ใกล้ชดิ พระองค์ เสรีภาพ ความมีเกียรติและความเป็นบ่าว

ด้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 103


แขกผู้เกียรติทั้งหญิงและชายที่เคารพรัก ไม่ ต ้ อ งสงสั ย เลยว่ า ฝู ง ชนที่ ห นาแน่ น และยิ่ ง ใหญ่แห่งฮัจญ์ ย่อมมีบทบาทอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ใน การท� า ลายการบุ ก รุ ก และคุ ก คามโลกอิ ส ลามของชาติ มหาอ�านาจ และแผนการณ์ที่จะสร้างความแตกแยกให้ เกิดขึน้ ในหมูม่ สุ ลิม พวกเขาคุกคามทางการเมือง ทางด้าน สื่อ การเข้ายึดครอง เข้าแทรกแซงกิจการภายในของกลุ่ม ประเทศอิสลาม กีดกันทางด้านวิชาการและเศรษฐกิจ ยัง คงพัฒนาการแทรกแซง และวางแผนการณ์ที่อันตรายใน กลุ่มประเทศมุสลิม เพื่อที่จะยับยั้งและท�าลายการตื่นตัว ของอิสลามซึ่งมีรากฐานจากความสามัคคี เอกภาพและ การตื่นรู้โลกอิสลาม ในทางกลับกันบรรดามุสลิมผู้มุ่งหวังยังพระผู้เป็น เจ้า ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลต่างมุ่งสู่การเดินทางแห่งจิต วิญญาณด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยความรักต่อพระผู้เป็นเจ้า และมิตรภาพต่อบรรดาผู้ยึดมั่นปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ ศาสนกิจแห่งมุฮมั มัด (ศ็อลฯ) และได้เข้าร่วมกับมหาฝูงชน ทีย่ งิ่ ใหญ่แห่งฮัจญ์โดยทิง้ ปัจจัยทีจ่ ะน�าสูค่ วามขัดแย้งและ แตกแยกทั้งหมด และแสดงให้เห็นถึงเอกภาพ เกียรติยศ ความยิ่งใหญ่และภราดรแห่งอิสลามในระดับขั้นที่สูงส่ง ที่สุด ด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยความรักและความเป็นพี่น้อง กันของอิสลาม อีกประเด็นหนึ่งก็คือ จิตวิญญาณแห่งฮัจญ์ จิต วิญญาณแห่งการเป็นพี่น้องกันคือความรักและมิตรภาพ ที่มีต่อกันโดยไม่มีความแตกแยกและแบ่งฝ่าย และท�าให้ ความเพี ย รพยามของผู ้ ที่ ส ร้ า งความแตกแยกและรอย ร้าวให้เกิดขึ้นในแถวเป็นโมฆะและไร้ผล มหาฝูงชนที่หา ที่เปรียบไม่ได้แห่งพระผู้เป็นเจ้านี้คือสิ่งที่เผยให้เห็นถึง โองการอัลกุรอานที่ว่า “แท้ จ ริ ง นี่ คื อ ประชาชาติ ข องพวกเจ้ า ซึ่ ง เป็ น ประชาชาติเดียวกัน และข้าเป็นพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ดังนั้นพวกเจ้าจงเคารพภักดีข้าเถิด" แขกผู้เกียรติทั้งหญิงและชายที่เคารพรักทุกท่าน ศาสนพิ ธี แ ห่ ง การนมั ส การและการเมื อ งแห่ ง ฮัจญ์ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการยกระดับความคิดและและ แนวความคิดอันสูงส่งของอิสลาม และเป็นที่ที่ดีในการ ปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างนิกายอิสลาม และเป็น

104 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

สะพานที่ดีในการเชื่อมมิตรภาพ สัมพันธภาพของความ เป็นพี่น้องกันระหว่างพวกเขา ท�าให้รู้ถึงสภาพความเป็น อยู่ของพี่น้องร่วมศรัทธาในกลุ่มประเทศอิสลามและร่วม กันคิดแก้ปัญหาที่มีอยู่ ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตื่นตัวของโลก อิสลามซึ่งสามารถที่จะอรรถาธิบายไว้ในประมวลของเป้า หมายแห่งฮัจญ์อบิ รอฮีม สามารถน�าการปฏิบตั ใิ นลักษณะ นี้ การตอบโต้อย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์มาเป็นกรณี วิเคราะห์และวิจัย การตื่ น ตั ว ของอิ ส ลามเป็ น หนทางที่ เ ปี ่ ย มด้ ว ย เกียรติภูมิที่ได้รับประกับเกียรติยศแห่งอิสลามและความ เจริญก้าวหน้าของสังคมมุสลิม เพียงแค่การนมัสการพระ ผูเ้ ป็นเจ้าก็สามารถทีจ่ ะได้มาซึง่ เอกภาพสังคมอิสลาม และ การยืนหยัดต่อสู้ในหนทางอันผาสุกของหลักการศาสนา แห่งศาสดา และแน่นอนต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างต่อ เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าและชี้น�าทางอันเปี่ยมด้วยความ จ�าเริญแก่พวกเราที่พระองค์ตรัสว่า “บรรดาผู้ซึ่งยืนหยัดต่อสู้ในหนทางของเรา แน่นอน เราจะชี้น�าทางของเราแก่พวกเขา”

ค�าปฐกถาพิเศษ ฯพณฯ ฮุจญะตุล อิสลามวัลมุสลิมีน ซัยยิดกอฎี อัสกัร ตัวแทนวะลียุล ฟะกีฮ์ และอะมีรุลฮัจญ์ บทบาทและสถานภาพของฮัจญ์ในการตรวจสอบ บนแนวทางของอิสลาม ปรัชญาคือการสร้างพืน้ ฐานการเรียนรู้ และท�าความ เข้าใจ การเรียนรู้ที่จะพัฒนาไปสู่ความเข้าใจได้นั้นก็ต้องมี โองประกอบด้วยการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชดิ กับมนุษย์ ที่ จะตรวจสอบซึง่ กันและกัน และน�ามาซึง่ ความเป็นเอกภาพ บทบัญญัติของศาสนาที่น�าพาแนวความคิดจาก


ภายในมาสูภ่ ายนอก เช่นเดียวกันกับการประกอบพิธฮี จั ญ์ ทีม่ บี ทบัญญัตทิ สี่ า� คัญหลากหลายประการด้วยกัน ปรัชญา การเรียนรู้ที่มาจากการสร้างความใกล้ชิดเพื่อบังเกิดเป็น เอกภาพ และแนวทางที่จะสามารถสร้างเอกภาพได้นั้นก็ คือแนวทางของอิสลาม ทีส่ อนให้ความเคารพต่อสุนทรพจน์ ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านอะลี (อ.) และบรราดาดิ มาม ผู้น�าทั้งหลาย : สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นที่ประจักษ์ เพ ราะฮัจญ์มีปัจจัยส�าคัญคือการสร้างความเป็นเอกภาพ ที่ มีการปฏิบัติร่วมกัน ในก�าหนดเวลาและสถานที่เดียวกัน และบุคคลที่ร่วมกันปฏิบัติหรือแสดงต่างก็มีศรัทธายึดมั่น ต่อความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ศรัทธาเชื่อมั่นต่อวัน แห่งการตัดสิน และปฏิบัติตามอัลกุรอานและทรรศนะการ วินิจฉัยของบรรดาฟะกีฮ์ สถานที่ที่ใช้ร่วมในการปฏิบัติคือ เมืองมักกะห์ เมืองที่ปลอดภัยที่สุด แม้กระทั่งการน�า หรือ พกพาอาวุธไปในเมืองนั้นก็เป็นการต้องห้าม การผ่านเข้า ออกของผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นสิ่งต้องห้าม ในส่วนทั้งหลายนี้ ที่มุสลิมจ�าเป็นต้องรักษาปกป้องภาพรวมเหล่านี้ ในขณะ ที่อยู่ในเมืองนี้ก็จ�าเป็นต้องรักษาความปลอดภัยของชีวิต กิรยิ ามารยาทและปกป้องจิตวิญญาณทุกลมหายใจในการ เข้าร่วมประชุมครั้งยิ่งใหญ่นี้ ในการที่จะมาถึงผลลัพธ์ของความเป็นเอกภาพ เดียวกันนัน้ บรรดามุสลิมจ�าเป็นต้องปฏิบตั ติ ามหัวข้อดังนี้ 1. ปฏิบัติตามอัลกุรอาน 2. ปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) 3. ปฏิบัติตามทายาทของท่านศาสดา (อ.) 4. การรักษาสิทธิของผู้อื่น 5. การรั ก ษากิ ริ ย าและห่ า งพ้ น จากความหยาบ กระด้าง 6. การดูแลสารทุกข์สุขของผู้อื่น 7. ห่างพ้นจากอคติ 8. ให้เกียรติต่อผู้อื่น 9. ยอมรับในความถูกต้อง 10. ให้ความสนใจต่อเรื่องต่างๆ ที่จ�านาไปสู่การ สร้างเอกภาพความปรองดองให้บังเกิดขึ้นกับประชาชาติ อิสลาม ในขณะที่ด�ารงอยู่ในเมืองของพระผู้เป็นเจ้า และ ในขณะที่ด�าเนินการประกอบพิธีฮัจญ์ตะมัตตุอ์ พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมนุษยชาติจากเพศชายและ

เพศหญิงขึน้ มาเป็นคูแ่ รก และให้เขาทัง้ สองมีความสัมพันธ์ อันดีต่อกัน จากนั้นให้มีการแพร่บุตรหลาน และให้รู้จัก ซึ่งกันและกันดังอัลลลอฮ์(ซบ.) ตรัสไว้ในบทอัลหุญุร็อต โองการที่ 13 ว่า “โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้า จากเพศชาย และเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็น เผ่า และตระกูลเพื่อจะได้รู้กัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่ พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮ์นั้น คือผู้ที่มีความย�าเกรงยิ่งในหฒุ่ พวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียด ถี่ด้วน” การเรียนรู้จักซึ่งกันและกัน ถือว่าเป็นพื้นฐานใน การที่จะน�าซึ่งความผูกมัดในด้านความคิด และจิญญาน เดียวกัน และในส่วนนีเ้ องทีส่ ามารถจะก้าวไปถึงความเป็น อัญมณีอันล�้าค่าของค�าว่าเอกภาพ จากเป้าหมายนี้ นับ ว่าเป็นบัญญัติที่ส�าคัญและมีคุณค่ายิ่งในค�าอรรถาธิบาย เกี่ยวกับอิสลามจากประโยคข้อบังคับอันยิ่งใหญ่ของการ ประกอบพิธีฮัจญ์ ท่านฮิชามบุตรของท่านฮะกัมหนึง่ จากสหายรักและ ลูกศิษย์ของท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า เขาถาม อิมาม (อ) เกี่ยวกับปรัชญาของการประกอบพิธีฮัจญ์ และการตะ วาฟรอบวิหารกะอ์บะฮ์ ท่านอิมามซอดิก (อ.) ตอบว่า : ‫‌ان‌اهلل‌خلق‌الخلق‌– الى‌ان‌قال‌– وامرهم‌بمايكون‌من‬

‫‌امر‌الطاعة‌فى‌الدين‌و‌مصلحتهم‌من‌امر‌دنياهم‌فجعل‬

‫‌فيه‌الجتماع‌من‌الشرق‌و‌الغرب‌ليتعارقوا‌و‌لينزع‌كل‬ ‫‌قوم‌من‌التجارات‌من‌بلد‌الى‌بلد‌و‌لينفع‌بذلك‌المكارى‬ ‫‌و‌الجمال‌و‌لتعرف‌آثار‌رسول‌اهلل‬ ‫و‌تعرف‌اخباره‌و‌يذكر‌ول‌ينسى‬

"แท้จริงอัลลอฮ์ทรงสร้างมนุษยชาติ...และพรองค์ ได้ทรงก�าหนดบทบัญญัติในเรื่องของศาสนา และเรื่อง ของโลกนี้แก่พวกเขา โดยให้พวกเขาได้มาอยู่ร่วมกันเป็น รประชาชาติ มุ ส ลิ ม ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ไ ม่ ว ่ า จะมาจากทิ ศ ตะวั น ออก หรือทิศตะวันตก หรือทุกสารทิศ (ให้มารวมอยู่ในบัย ตุลลอฮุลฮะรอม) ในการประกอบข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่อง ฮัจญ์ เพื่อพวกเขาจะได้ท�าความรู้จักซึ่งกันและกัน (ล่วงรู้

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 105


‫‌و‌منفعة‌من‌فى‌المشرق‌و‌المغرب‌ومن‌فى‌البر‬ ‫‌والبحر‌و‌ممن‌يحج‌و‌من‌ليحج‬

บรรดาผู้ที่ร่วมชุมนุม และน�ามาซึ่งการพักพิง ณ บ้านแห่งพระผู้อภิบาล พวกท่านจงพิจารณาไปยังเป้ามาย อันยิง่ ใหญ่ของการเดินทางมาในครัง้ นี้ โดยพวกท่านได้สละ ผลประโยชน์ ความสุขส่วนตัวและทรัพย์สินเงินทอง เพื่อที่ จะมาแสวงหาความเป็นเอกภาพบนอุปสรรคนานาประการ และนีค่ อื อัญมณีทมี่ คี า่ ยิง่ ส�าหรับประเทศชาติทไี่ ด้เสียสละ" บรรดามุสลิมทั่วทุกมุมโลกที่เดินทางมาร่วมชุมนุม ที่บัยตุลลอฮ์ ต่างก็มีความคิดอันหลากหลายดังที่สามารถ ข่าวสารข้อมูลและอุปสรรคต่างๆ ของกันและกัน)" น�าเสนอได้ดังนี้ : ดังที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวไว้ว่า "จงท�าความ 1. ศรัทธาต่อความมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า ดัง รู้จักซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และ ที่ต้องเคารพภักดีต่อพระองค์ และยังพระองค์ที่ต้องร�าลึก ไม่หลงลืมกัน" ถึงว่าได้มาร่วมชุมนุมอยู่ในสถานที่บ้านของพระองค์ดังค�า ตรงนี้เป็นความคิดที่ส�าคัญ ในการสร้างเอกภาพ ล่าวที่ว่า ให้บังเกิดขึ้นในระหว่างประชาชาติอิสลาม เพื่อให้หลีก ‫و‌ان‌هذه‌امتكم‌امة‌واحدة‌و‌انا‌ربكم‌فاتكون‬ ห่างจากภัยอันตรายที่เป็นท�าลายเอกภาพ ดังที่ท่านอิมาม "แท้ จ ริ ง นี่ คื อ ประชาชาติ ข องพวกเจ้ า ซึ่ ง เป็ น ซอดิก (อ.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ‫ ‌و‌لو‌كان‌كل‌قوم‌انما‌يتكلون‌على‌بالدهم‌و‌ما‌فيها‬ประชาชาติเดียวกัน และข้าเป็นพระเจ้าของพวกเจ้า ดังนัน้ พวกเจ้าจงเคารพภักดีข่าเถิด" ‫‌هلكوا‌و‌خرجت‌البالد‌وسقطت‌الجلب‬ 2. ศรัทธาต่อต�าแหน่งนบูวัตของท่านศาสนะทูตขอ ‫و‌الرباع‌و‌عميت‌الخبار‬ "ถ้าประชาชาติใดที่พวกเขาด็เป็นผู้ท�าลายสถาน งอัลลอฮ์(ศ็อลฯ) และปฏิบัตติตามแบบอย่างของท่าน 3. ศรัทธาต่อวันกิยามะฮ์ ที่พักพิง และเมืองต่างๆขอตนเอง แน่นอนความจ�าเริญ 4. ศรัทธาต่ออัลกุรอาน ต่างๆก็จะไม่บงั เกิดขึน้ กับประเทศของเขา และพวกเขาย่อม 5. ปฏิบัติตามนักวิชาการด้านศาสนบัญญัติ ไม่ได้รับดีอย่างแน่นอน" (วะซาอิลุชชีอะฮ์) 6. การมีส่วนร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น ที่อยู่ในเงื่อนไข ท่านอิมามอะลีบตุ รอบีฏอลิบ (อ.) ในฐานะผูน้ า� ด้วย ความชอบธรรม ผู้ถือธงชัยแห่งอิสลาม ผู้ที่บรรดามุสลิมได้ เหล่านี้ สถานที่ของการชุมนุม รับการปกป้องไม่วา่ ผูน้ นั้ จะอยูใ่ นมุมใดของโลกก็ตาม ท่าน นอกจากที่กล่าวแล้วข้างต้นส�าหรับสถานที่ชุมนุม เป็นผูช้ ว่ ยเหลือในการแก้ไขอุปสรรคนานาประการของโลก อิสลาม และนีน่ บั ว่าเป็นคุณประโยชน์อนั ยิง่ ใหญ่ทมี่ โี อกาส คือกะอ์บะฮ์ และสถานที่ที่ส�าคัญในส่วนอื่นๆ ซึ่งสามารถ ในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ และเช่นเดียวกันก็เป็น สร้ า งความเป็ น เอกาพให้ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ซึ่ ง ถสานที่ นั้ น มี โอกาสที่ดี ในการที่จะใช้ความรู้ความสามารถในแผ่นดิน คุณสมบัติดังนี้ : 1. ความปลอดภัย แห่งเอกภาพนี้ ด้วยค�าขอพรของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ทีข่ อจาก ท่านอิมาม ริฎอ (อ.) กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าว่า َ ‫‌اج َع ْل‌ َه‬ ‫ـذا‌الْبَ َل َد‌آ ِمنًا‬ ْ ‫‌ر ِّب‬ َ

106 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555


“ข้าแต่พระผูเ้ ป็นเจ้าของข้า ขอพระองค์โปรดทรงให้ ที่นี้เป็นเมืองที่ปลอดภัย” (บทที่ 14 โองการที่ 35) ดังนัน้ ผูใ้ ดทีเ่ ดินทางไปประกอบพิธฮี จั ญ์ตามบัญชา ของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเขาเข้าสู่เมืองนี้ พวกเขาก็ได้รับการ คุ้มครองความปลอดภัย ดังที่พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า ‫ان‌آ ِمنًا‬ ٌ َ‫ات‌بَيِّن‬ ٌ َ‫‌‌‌فِي ِه‌آي‬ َ ‫‌و َمن‌ َد َخ َل ُه‌ َك‬ ُ ‫ات‌ َّم َق‬ َ ‫يم‬ َ ‫ام‌إِبْ َرا ِه‬ “ในบ้ า นนั้ น มี ห ลายสั ญ ญาณที่ ชั ด แจ้ ง คื อ มะ กอมอิบณอฮีม และผู้ใดได้เข้าไปในบ้านนั้น เขาก็เป็นผู้ ปลอดภัย” (บทที่ 3 โองการที่ 97) ความปลอดภัยนี้ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์(ศ็อลฯ) กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามที่สังหารมนุษย์ และก่อบาป และ เขาหลบมาพักพิงในฮะรอม ในขณะทีเ่ ขาได้อยูพ่ กั พิงในฮะ รอม เขาก็จะได้รับความคุ้มครอง จงอย่าลงโทษเขา หรือ ท�าการจับกุมเขาเด็ดขาด” (ตะฮ์ซีบเล่ม 5 หน้า 449) จากจุดนี้ที่จะต้องพิจารณาว่าความปลอดภัยจาก ฮะรอมเพียงพอส�าหรับมนุษย์เท่านั้นหรือ แต่แม้กระทั่ง สัตว์เดรัจฉาน นกและสัตว์ปกี ทุกชนิดก็ได้รบั ความคุม้ ครอง ด้วยเช่นกัน ดังที่ท่านอับดุลลอฮ์บุตรซะนานกล่าวถามว่า โองการที่ว่า ‫ان‌آ ِمنًا‬ َ ‫‌و َمن‌ َد َخ َل ُه‌ َك‬ َ หมายถึงใคร ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวตอบว่า

ในวันยึดมักกะฮ์ว่า “พระผู้เป็นเจ้า พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และพระองค์ทรงประทานพื้นแผ่นดินมักกะฮ์ให้เป็นที่ตั้ง ฮะรอมอันถาวรตราบจนวันกิยามะฮ์ และก่อนหน้าฉัน หรือหลังจากฉันแล้ว ไม่มีผู้ใดที่จะยกเลิกค�าบัญชานี้ได้ เลย และโดยเฉพาะตัวฉันแล้วก็ไม่มีเสี้ยวเวลาแม้กระทั่ง หนึ่งชั่วโมงของวันที่จะเป็นสถานที่ฮะลาลได้เลย” (กุลัยนี เล่ม 3 หน้า 226) 2. ข้อห้ามในการพกและน�าพาอาวุธ มักกะฮ์และฮะรอมเป็นสถานที่ปลอดอาวุธ เพราะ สถานที่นี้เป็นสถานที่ได้รับความคุ้มครองความปลอดภัย อย่างถาวร ดังท่านอิมามอะลี บุตรอบีฏอลิบ (อ.) กล่าวว่า ‫‌ل‌تخرجوا‌بالسيوف‌الى‌الحرم‌و‌ل‌يصلين‌احدكم‌وبين‬ ‫يدديه‌سيف‌فان‌القبلة‌آمن‬

"พวกท่านจงอย่าพกพาอาวุธเข้าไปในบริเวณ และ จงอย่าวางอาวุธของพวกท่านไว้ขา้ งหน้าในขณะทีพ่ วกท่าน นมาซ เพราะว่ากิบละห์เป็นสถานที่อันปลอดภัย กะอ์บะฮ์ และฮะรอมเป็นสถานทีท่ ไี่ ด้รบั การคุม้ ครองความปลอดภัย" (คิซอลของเชคซอดูก เล่ม 1 หน้า 414) 3. การห้ามบุคคลที่ไม่ใช่มุสลิมเข้ายังฮะรอม อัลกุรอานกล่าวในเรื่องว่า ‫س‌ فَ َال‌ يَ ْق َربُوا‬ َ ‫آمنُوا‌ إِن َ​َّما‌ ال ْ ُم ْش ِر ُك‬ َ ‫‌يَا‌ أَيُّ َها‌ ال َّ ِذ‬ َ ‌‫ين‬ ٌ ‫ون‌ ن َ َج‬ ‫‌من‌دخل‌الحرم‌من‌النس‌مستجيرا‌به‌فهو‌آمن‌من‌سخط‬ َ ‫‌ال ْ َم ْس ِج َد‌ال ْ َح َر َام‌ب َ ْع َد‌ َعا ِم ِه ْم‌ َه‬ ‫ـذا‬ ‫‌اهلل‌و‌من‌دخله‌من‌الوحش‌و‌الطير‌كان‌آمنا‌من‌ان‌يهاج‬ "บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงบรรดามุชริกนั้น โสมม ดังนัน้ พกวเขาจงอย่าเข้าใกล้อลั มัสยิดลิ ฮะรอม หลัง ‫او‌يؤذى‌حتى‌يخرج‌من‌الحرم‬ จากปีของพวกเขานี้ ...." (บทที่ 9 โองการที่ 28) "บุคคลใดท�าร้ายบุคคลอื่นและเข้าไปหลบพักพิงใน ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ฮะรอม ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงพิโรธการกระท�าของเขา แต่ ‫‌ل‌يدخل‌اهل‌الذمة‌الحرم‌و‌ل‌دار‌الهجرة‬ พระองค์ให้การคุ้มครองเขา และบรรดาสัตว์รัจฉาน และ บรรดาสัตว์ปีกที่เข้ามายังฮะรอม พวกมันจะรอดพ้นจาก ‫و‌يخرجون‌منها‬ การถูกโจมตี จนกว่าพวกเขาหรือพวกมันจะออกไปจาก "จงอย่าให้บรรดาผู้ปฏิเสธเข้าสู่บริเวณฮะรอม และ ฮะรอมสถานที่นั้น" แผ่นดินฮิจญเราะฮ์ (นครมะดีนะฮ์) และถ้าหากพวกเขา การปกป้องคุมครองความปลอดภัยนีม้ เี สถียรภาพ เข้าไปในแผ่นดินนั้น จงขับไล่พวกเขาให้พ้นแผ่นดินต้อง ตลอดกลาล ไม่มเี วลาใดทีจ่ ะยกเลิกค�าสัง่ บัญชานีไ้ ด้เลย ดัง ห้าม) ทีท่ า่ นศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) กล่าวต่อหน้าประชาชน ตรงนี้ ส ามารถที่ จ ะกล่ า วได้ ว ่า ไม่ มีการต้ อ นรั บ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 107


บุคคลที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าสู่แผ่นดินฮะรอม และถือว่าเป็น ส่วนหนึ่งของความปลอดภัยของจิตวิญญาณและสถาน ที่พักพ�านัก 4. ปกป้องสภาพแวดล้อม ในอาณาบริเวณฮะรอมการล่าสัตว์ และการถอด ถ้อนต้นไม้ ใบหญ้าถือเป็นการห้ามกระท�าอย่างเด็ดขาด ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์(ศ็อลฯ) กล่าวในวันยึดมักกะฮ์ ต่อหน้าประชาชนว่า ‫‌ان‌هذا‌البلد‌حرمه‌اهلل‌يوم‌خلق‌السماوات‌و‌الرض‬

‫‌فهو‌حرام‌بحرمة‌اهلل‌تعالى‌و‌انه‌لم‌يحل‌القتال‌فيه‌لحد‬ ‫‌قبلى‌و‌لم‌يحل‌لى‌ال‌ساعة‌من‌نهار‌فهو‌حرام‌بحرمة‬ ‫‌اهلل‌الى‌يوم‌اقيامة‌ل‌يعضد‌شوكه‌و‌ل‌ينفر‌صيده‬

"มักกะห์เป็นเมืองทีพ่ ระผูเ้ ป็นเจ้า เมือ่ ครัง้ ทีพ่ ระองค์ ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน พระองค์ได้ทรงปะรทานความ เมตตาแก่เมืองนีไ้ ว้แล้ว และควาเมตตาของเมืองนีจ้ ะคงอยู่ ตราบจนถึงวันกิยามัต ดังนั้นในเมืองนี้จะไม่มีการฆ่าฟัน การล่าสัตว์และการถ้อนต้นไม้แม้กระทั้งต้นหญ้า หรือสิ่ง ที่มีชีวิตใดๆ โดยเด็ดขาด) (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์) 5. การปกป้องทรัพย์สิน ในบริเวณของฮะรอม ถ้าบุคคลใดได้พบทรัพย์สนิ ไม่ ว่าผูใ้ ดก็หยิบทรัพย์สนิ นัน้ ไปไม่ได้ ดังทีท่ า่ นศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ‫و‌ل‌يلتفط‌لفصله‌ال‌من‌عرفها‬ "พบเห็นสิ่งใดในฮะรอมห้ามหยิบเด็ดขาด เว้นเสีย แต่ต้องการประกาศหาเจ้าของที่แท้จริงว่าเป็นของผู้ใด” 6. การปกป้องกิริยามารยาท จากความสูงส่งของบุคคลอื่น ดังนั้นเป็นสิ่งจ�าเป็น ที่จะต้องหลีกห่างข้อโต้เถียง ค�าสาบาน การแสดงความ ไม่พอใจ และรักษาไว้ซึ่งเกียรติยศ ดังที่อัลกุรอานกล่าวใน เรื่องนี้ว่า ‫فال‌رفث‌ول‌فسوق‌ول‌جدال‌فيالحج‬ "ในขณะที่ อ ยู ่ ใ นฮะรอมไม่ เ ป็ น การอนุ ญ าตที่ จ ะ แสดงอาการไม่พอใจ การพูดจาโกหก การก่อความขัด แย้ง และต่อสู้"

108 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

7. การปกป้องจิตวิญญาณ ท่านสะมาอะฮ์บุตรท่านมิห์รอนกล่าวว่า "เขาได้ถามจากท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า มีผเู้ ป็นหนี้ ข้าพเจ้า ซึง่ ข้าพเจ้าติดตามเขาอยูน่ านพอควร และข้าพเจ้า ก็พบเขาอยู่ในมัสยิดอัลฮะรอม ข้าพเจ้าเห็นว่าเขาก�าลัง ฏอวาฟ ข้าพเจ้าสามารถที่จะทวงหนี้สินจากเขาได้หรือไม่ ท่านอิมามซอกดิก (อ.) กล่าวตอบว่า “ไม่ได้และจงอย่าให้ สลามแก่เขา จงรอให้เขาปฏิบัติภารกิจจนเสร็จ และออก นอกบริเวณฮะรอมเสียก่อน” (กุลัยนี เล่ม 4 หน้า 241) คุณสมบัติของสถานที่ตั้งของฮะรอมถูกจัดเตรียม พร้อมส�าหรับการสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใน การแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ของโลกอิสลาม และทีน่ า่ สนใจมาก ทีส่ ดุ คือพระผูเ้ ป็นเจ้าทรงเป็นผูบ้ ริหารศูนย์กลางนี้ ซึง่ ทุกคน มีสิทธิในการใช้สถานที่ ดังที่พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า ‫‌وما‌كانوا‌اوليائه‌ان‌اولياؤه‌ال‌المتقون‬ "และพวกเขาก็มิใช่เป็นผู้ปกครองมัสยิดนั้นด้วย บรรดาผู้ปกครองมัสยิดนั้นใช่ใครอื่นไม่ นอกจากบรรดาผู้ ย�าเกรงเท่านั้น" (บทที่ 8 โองการที่ 34) วิธีการให้บรรลุสู่เป้าหมาย แม้กระทัง่ การขับเคลือ่ นแกนต่างๆ ทีม่ อี ยูใ่ นบริเวณ นั้น เพื่อจะได้มาซึ่งความเป็นเอกภาพก็ตาม ในแกนขับเคลือ่ นของอัลกุรอานเกีย่ วกับสายเชือก แห่งอัลลอฮ์ดังที่ตรัวว่า ‫وا‌وا ْذ ُك ُروا‌ن ِ ْع َم َت‬ َ ‫‌وا ْعتَ ِص ُموا‌ب ِ َح ْبلِ ‌اللَّـ ِه‬ َ ُ‫ا‌و َل‌تَ َف َّرق‬ َ ‫‌ج ِم ًيع‬ َ ‫‌اللَّـ ِه‌ َع َل ْي ُك ْم‌إِذْ‌ ُكنتُ ْم‌أَ ْع َد ًاء‌فَ َأل َّ َف‌ب َ ْي َن‌قُ ُلوب ِ ُك ْم‬ "และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮ์โดยพร้อม กันทั้งหมด และจงอย่าแตกแยกกัน และจงร�าลึกถึงความ เมตตาของอัลลอฮ์ที่มีแด่พวกเจ้า ขณะที่พวกเจ้าเป็นศัตรู กัน แล้วพระองค์ได้ทรงให้สนิทสนามกันระหว่างหัวใจของ พวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็กลายเป็นพีน่ อ้ งกันด้วยความเมตตา ของพระองค์" (บทที่ 3 โองการที่ 103) นอกจากอัลกุรอาน ก็ยงั มีแบบอย่างของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ที่สามารถเป็นแกนน�า ในการขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นเอกภาพของประชาชาติ อิสลาม ในฤดูกาลของการประกอบพิธีฮัจญ์ จงใช้สรรพสิ่ง


เหล่านี้ เพื่อสร้างเอกภาพของความเป็นสากลของอิสลาม ให้บังเกิดขึ้น ในวัฒนธรรมของชีอะฮ์ บรรดาผูน้ า� ทางศาสนาต่าง ก็มอบก�าหนดการนี้ไว้ให้ ถ้าผู้ใดถือปฏิบัติตามจะประสบ ความสัมฤทธิ์ผลดังเป้าหมายในการสร้างเอกภาพ แต่ใน การปฏิบัติย่อมมีเงื่อนไขดังนี้ ก. แนะน�าให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามอัลกุรอาน ‫ا‌و َل‌تَ َف َّرقُوا‬ َ ‫‌وا ْعتَ ِص ُموا‌ب ِ َح ْبلِ ‌اللَّـ ِه‬ َ ‫‌ج ِم ًيع‬ َ "และพวกเจ้าจงยึดสายเชือกของอัลลอฮ์โดยพร้อม กันทัง้ หมด และจงอย่าแตกแยกกัน" (บทที่ 3 โองการที่ 103) ‫‌فاذا‌التبست‌عليكم‌الفتن‌كقطع‌اليل‌المظلم‬

มะดีนะฮ์ ท่านกล่าวกับกลุม่ ชนชาวอันศอร และมุฮาญิรนี ให้ มีความเสมอภาคไม่แตกแยกกัน โดยท่านกล่าวว่า : ‫‌المسلم‌اخو‌المسلم‌ل‌يظلمه‌ول‌يسلمه‌(صحيح‌بخارى‬ ‫‌باب‌ل‌يظلم‌المسلم‌المسلم‬,‌‫‌كتاب‌المظالم‬,)

"มุสลิมคือพี่น้องของมุสลิม จงอย่ากดขี่ข่มเหงกัน และจงอย่าทะเลาะแตกแยกกัน" ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า : ‫‌المسلم‌اخو‌المسلم‌هو‌عينه‌و‌مرآته‌و‌دليله‬ ‫"ل‌يخدعه‌و‌ل‌يظلمه‌ول‌يكدبه‌ول‌يغتابه‬

"มุสลิมเป็นพี่น้องมุสลิม ต่างก็เป็นกระจกเงาซึ่งกัน และกัน จงอย่าทะเลาะวิวาทกัน อย่าหลอกลวงซึ่งกันและ ‫فعليكم‌بالقرآن‬ กัน อย่ากดขี่กัน อย่าโกหกซึ่งกันและกัน และจงอย่าพูดจา "เมื่อแผนร้ายต่างๆ อุบัติขึ้นท่ามกลางความมืดใน ใส่ร้ายแก่กันและกัน" การโจมตีพวกท่าน ขอให้พวกท่านย้อนกลับไปยังกุรอาน" จ. การรีกษาความสุภาพอ่อนโยน และหลีกห่างจาก (อัลกาฟี เล่ม 2 บทที่ 598) การเป็นศัตรู ข. การปฏิ บั ติ ต ามแบบอย่ า งของท่ า นศาสดา ‫‌معاشر‌الشيعة‌كونوا‌لنا‌زينا‌و‌ل‌تكونوا‌علينا‬ (ศ็อลฯ) ดังอัลกุรอานกล่าวว่า ُ ‫‌الر ُس‬ ‫‌و َما‌ن َ َها ُك ْم‌ َع ْن ُه‌فَانتَ ُهوا‬ ‫‌شينا‌قولوا‌للناس‌حسنا‌و‌احفظوا‌السنتكم‬ ُ ‫ول‌فَ ُخ ُذ‬ َ ‫وه‬ َ َّ ‫‌و َما‌آتَا ُك ُم‬ "และอันใดที่ศาสดาน�ามายังพวกเจ้าจงยึดเอาไว้ ‫وكفوها‌عن‌الفضول‌و‌قبيح‌القول‬ และอันใดที่ท่านห้ามพวกเจ้าก็จงละเว้นเสีย" (บทที่ 59 "โอ้ บรรดาชีอะฮ์ทั้งหลาย พวกท่านคือ เครื่อง โองการที่ 7) ประดับของเรา จงอย่าเหยียดหยามผู้อื่น พวกท่านจงมอบ ค. ปฏิบัติตามทายาทของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ค�าพูดอันไพเราะกับผู้อื่น จงรักษาวาจาค�าพูดของตนเอง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า อย่าพูดในสิ่งที่ไม่เป็นมงคล" ‫‌انى‌مخلف‌فيكم‌الثقلين‌ما‌ان‌تمسكتم‌بهما‌لن‌تضلوا‬ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี (อ.) ในขณะกล่าวเตือน และกล่าวชม ก็มีเสียงของผู้คนกล่าวขัดแย้งกันอยู่ ท่านจึง ‫‌و‌لن‌تزلواكناب‌اهلل‌و‌عترتى‌ماان‌تمسكتم‌به‬ กล่าวเตือนบรรดาผูศ้ รัทธาว่าเวลาพูดสนทนาให้ชงั่ น�า้ หนัก ‫لن‌تضلوا‌من‌بعدى‬ ค�าพูดของตนเอง และกล่าวต�าหนิแผนการของศัตรู โดย "ฉันละทิ้งสองอัญมณีที่มีคุณค่ายิ่งในหมู่พวกท่าน ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : เมือ่ พวกท่านยึดสองสิง่ นีไ้ ว้ พวกท่านจะไม่หลงทาง สิง่ แรก 5313‌‫‌ح‬,‌‫رب‌حرب‌جنيت‌من‌لفظة‌غررالحكم‬ คืออัลกุรอานคัมภีร์พระด�ารัสของพระผู้เป็นเจ้าสิ่งที่สอง "บางทีสงครามนั้นอาจเริ่มต้นด้วยค�าพูดเพียงค�า คือครอบครัวทายาทของฉัน เพื่อพวกท่านยึดสองสิ่งนี้แล้ว เดียว) พวกท่านจะได้ไม่หลงทาง" ฉ. การหลีกห่างจากการมีอคติ ง. การรักษาสิทธิของผู้อื่น และการเคารพต่อพี่น้อง การปะทะหรือการมีอคติต่อกันเป็นหนทางที่สกัด ในแนวทางแห่งอิสลาม ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ภายหลังจากอพยพมายังนคร กั้นความเป็นเอกภาพ ดังที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 109


‫‌اياكم‌و‌الخصومة‌فانها‌تشغل‌القلب‬:‌)‫ ‌قال‌الصادق‌(ع‬แก่นแท้ของอัลกุรอาน แบบฉบับของท่านศาสดา ทายาท ของท่านศาสดา เพื่อความเป็นเอกภาพ เพราะฮัจญ์สอน ‫و‌تورث‌النفاق‌و‌تكسب‌الضغائن‬ ให้บรรดามุสลิมหลีกห่างจากความเขลา ความหยิง่ ทนงตน “มนุษย์ปรารถนาทีจ่ ะได้รบั ความสงบสุขจากการพัก เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยุ๋ในสังคมของอิสลาม ผ่อนของจิตวิญญาณ และไม่ปรารถนาที่จะมีศัตรู และไม่ การที่จะได้มาซึ่งความเป็นเอกภาพนั้นส่วนหนึ่งมา พึ่งปรารถนาที่จะอยู่โดเดี่ยวในสังคม” จากความมีสิริมงคลของการประกอบพิธีฮัจญ์ และการ ช. การให้ความเคารพต่อเกียรติยศของบุคคลอื่น เยี่ยมเยือนบัยตุลลอฮิลฮะรอม และด้วยกิจกรรมที่ถูกต้อง ส่วนนี้ถือว่าส�าคัญที่สุดในส่วนทั้งหลายที่จ�าต้อง ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ สามารถเดินทางมาจากทุกสารทิศ รักษา ท่านอะลีบตุ รท่านอบูฏอลิบ (อ.) กล่าวในขณะยืนต่อ ทั่วโลก เพื่อมาเรียนรู้จรรยามารยาทและความลี้ลับของ หน้ามุอาวิยะฮ์ และท่านกล่าวกับบรรดาสหายของท่านว่า ฮัจญ์ที่จะน�าไปเปลี่ยนแปลงโลกได้ และการยอมรับระบบ "‫"اكره‌لكم‌ان‌تكونوا‌سبابين‬ การเมืองให้เป็นระบบเดียวกัน และใช้ประโยชน์ในการบริ "ฉันไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่งที่พวกท่านมอบความ หารธุกจิ ร่วมกัน กลุม่ ประเทศอิสลามก็จะมีได้รบั ชัยชนะ ซึง่ สามารถจะพิสจู น์และกระท�าได้ในเรือ่ งนี้ แต่นบั ว่าเป็นสิง่ ที่ เป็นศัตรูให้แก่กันและกัน" พระผู้เป็นเจ้ายังตรัสห้ามในเรื่องการเป็นศัตรูกับ น่าเสียดาย เพราะไม่ใช่เพียงไม่ใช้รูปแบบนี้ปฏิบัติแล้ว แต่ ในปีที่ผ่านมา แหล่งข้อมูล และความมั่งคั่งของอิสลาม ก็ บรรดามุชริกทั้งหลาย ว่า เกิดเป็นความขัดแย้ง จนมุสลิมแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ เพราะ ِ ‫ون‌ ِمن‌ ُد‬ ‫ون‌اللَّـ ِه‬ َ ‫ين‌يَ ْد ُع‬ َ ‫‌و َل‌تَ ُس ُّبوا‌ال َّ ِذ‬ َ พวกเขาต้องการท�าให้มสุ ลิมแตกแยกกัน แม้กระทัง่ ปัจจุบนั ْ‫‌فَيَ ُس ُّبوا‌اللَّـ َه‌ َع ْد ًوا‌ب ِ َغ ْيرِ‌ ِعل ٍم‬ นีก้ ย็ งั มีการกล่าวประณามว่ามุสลิมด้วยกันเป็นกาฟิรผูป้ ฏิ "จงอย่าสร้างศัตรูกับบุคคลที่ไม่ได้เคารพภักดีต่อ สเธ การ กระท�าเช่นนีถ้ อื ว่าเป็นการกระท�าทีข่ ดั แย้งกับแบบ อัลลอฮ์เพราะบางครั้งพวกเขาจะใช้ความเท็จด่าทอพระผู้ แบับของท่านศาสดา ซึ่งท่านกล่าวว่า : เป็นเจ้าของพวกเจ้า" (บทที่ 6 โองการที่ 8) ‫من‌كفر‌مؤمنا‌صار‌كافرا‌موطا‌ملك‬ ซ. การยอมรับข้อเท็จจริง "บุ ค คลใดที่ ก ล่ า วหาว่ า ผู ้ ศ รั ท ธาว่ า เปป็ น กาฟิ ร การทีจ่ ะได้ซงึ่ ความเป็นเอกภาพนัน้ จ�าเป็นต้อกล่าว แท้จริงตัวเขาคือกาฟิร" ยอมรับข้อเท็จจริงต่างๆ เพราะถ้าไม่มกี ารยอมรับความเป็น ในรายงานอื่นๆ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า : จริงแล้วเอกภาพย่อมไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ‫انما‌امرء‌قال‌لخيه‌كافرا‌فقد‌باء‌به‌احدهما‬ "‫‌لم‌يدرك‌الحق‬,‌‫‌من‌كان‌غرضه‌الباطل‬:‌)‫‌قال‌على‌(ع‬ "ไม่มีบุคคลใดที่จะเรียกพี่น้องของเขาเองว่าเป็น 9023‌‫‌ح‬,‌‫)و‌لو‌كان‌اشهر‌من‌الشمس‌(غرر‌الحكم‬ กาฟิร เว้นแต่ว่าตัวของเขาเองต่างหากที่ตกเป็นกาฟิร) (บุคคลยื่นอยู่ด้านความเป็นโมฆะ เขาก็จไม่ได้รับ แม้กระทั้งบรรดานักวิชาการของส�านักคิดต่างๆ สัจธรรม ถึงแม้วา่ สัจธรรมนัน้ จะส่องแสงสว่างมากกว่าแสง ต่างก็ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ผิดพลาดนี้ แต่น่าเสียดาย แหงดวงอาทิตย์ก็ตาม) ที่มีบางกลุ่มในบางประเทศที่อาจขัดสนเรื่องทรัพย์สิน ก็ พยายามที่จะท�าตนให้เป็นคนหัวรุนแรง และการปรากฎ ผลลัพธ์ที่ได้รับ ของคนกลุม่ นี้ ซึง่ เดินทางไปทุกประเทศ เพือ่ สังหาร การวาง ผลลัพธ์ทบี่ รรดามุสลิมจะได้รบั จากการประกอบพิธี ระเบิด ฆาตกรรมทั้งสตรีเพศและบุรุษและเด็กที่ปราศจาก ฮัจญ์ ก็คอื สถานทีต่ งั้ ฮะรอม และเมืองมักกะฮ์ ทีม่ วลมุสลิม ความผิดไม่เคยมีบาปก็ยังถูกสังหาร โลกจะมารวมตัวกันอยู่ ณ ที่นั้น และปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น การกระท�าของคนกลุม่ นี้ พวกเขาท�าลายภาพพจน์ที่

110 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555


ดีของอิสลามจนเสียหาย เป็นเหตุให้อภิมหาอ�านาจใช้ช่อง โหว่กล่าวโจมตีอสิ ลามว่า เป็นศาสนาแห่งความป่าเถือ่ น จน ท�าให้ผู้ที่สนใจที่จะเข้ามาสู่สัจธรรมของอิสลาม ต่างได้ยิน แล้วก็ไม่กล้าเข้าร่วม หวังว่าบรรดานักวิชาการและนักท�างานเกี่ยวกับ วัฒนธรรมของโลกอิสลาม จะยืนหยัดปกป้องอิสลาม ด้วย ความร่วมมือ แสดงพลังของความเป็นเอกภาพออกมา และ รับกับการตื่นตัวของโลกอิสลาม ที่ปัจจุบันฉายแสงรัศมีไป ทั่วโลก ประเทศมุสลิมต่างเป็นสักขีพยานที่แสดงให้เห็นถึง พลังอันยิง่ ใหญ่เอกภาพทีม่ อี ยูใ่ นประชาชาติอสิ ลามทัว่ โลก ด้วยความเมตตาโปรดปรานทีพ่ ระผูเ้ ป็นเจ้าทรงช่วย การประชุมครั้งนี้เ สมือนประตูที่จะน�า ไปสู ่ เ ดื อ น เหลือบรรดามุสลิมให้ประสลความส�าเร็จ รอมาฎอนอันจ�าเริญ เดือนที่บรรดาผู้ศรัทธาเป็นแขกรับ เชิญของพระผูเ้ ป็นเจ้า ด้วยเงือ่ นไขทีว่ า่ สิง่ ทีบ่ รรดาศัตรูคดิ มุฮัมมัด ริฎอ บอกิรี แผนการอันชัว่ ร้าย และการโจมตีโลกอิสลามทีม่ อี ยูท่ กุ วันนี้ และเมล็ดพันธ์ของความเกีลยดชังที่ถูกแผ่ไปทั่วโลก เกิด รองผู้อ�านวยการฝ่ายต่างประเทศ ส�านักงานผูน้ า� สูงสุดสาธารณรัฐอิสลาม ความแตกแยกในระหว่างประชาชาติในเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ นี้ ผูน้ า� สูงสุดของอิหร่าน ฯพณฯ ผูน้ า� สูงสุดทางจิตวิญญาณ บรรดา แห่งอิหร่าน ผูน้ า� ศาสนา ต่างตระหนักอย่างยิง่ จึงพยายามเป็นอย่างยิง่ ด้วยพระนามของอัลลอฮ์พระผู้เทตตา ที่จะน�าเอาสัจธรรมความจริง และความเป็นเอกภาพของ พระผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ ประชาชาติกลับคืนมา บรรดานักวิชาการในด้านการเมือง ขอความสันติจงมีแด่ทา่ นนักวิชาการ แขกผูม้ เี กียรติ การปกครองโลกอิสลามต่ารีบเร่งในการแก้ไขและน�าเสนอ ฝ่ายสตรีและบุรษุ ทีไ่ ด้เข้าร่วมอยูใ่ นทีป่ ระชุมแห่งนี้ ข้าพเจ้า หลักเอกภาพขึน้ ด้วยการแก้ไขกฎระเบียบ และก้าวเป็นขัน้ ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ที่มีส่วนจัดการประชุม ตอนในการปกป้องประชาชาติอิสลามให้พ้นจาการโจมตี นานาชาติครั้งนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะศูนย์วัฒนธรรม สถาน ของอภิมหาอ�านาจ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และท่าน สิ่งที่น่าเสียใจคือ ในขณะที่โลกอิสลามก�าลังตกอยู่ อธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในความขมขืน่ เวลาเดียวกันมหาอ�านาจก็กา� หนดกฎเกณฑ์ การประกอบพิธีฮัญ์ถือว่าเป็นเครื่องหมายบ่งบอก เพื่อเป็นผู้ครองโลกฝ่ายเดียว และภายหลังจากการล่ม การยกสถานภาพความเป็นเอกภาพของบรรดามุสลิม และ สลายของตะวันออก (คอมมูนิสต์) สิ่งเดียวที่เป็นอุปสรรค การชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ของอิสลาม เพื่อจะให้ไปถึงเป้าหมาย การปกครองของพวกเขาคือ การต่อต้านของขบวนการ โดยการผ่านอุปสรรคนานาประการและภัยคุกคามต่างๆ เคลือ่ นไหวเพือ่ อิสลาม วันนีแ้ ผนหลอกลวงต่างๆ ทีต่ อ้ งการ ที่เกิดขึ้นกับโลกอิสลาม และการค้นหาทางออกโดยผ่าน ท�าลายเอกภาพของประชาติอิสลามก็ถูกเปิดเผยออกมา ความร่วมมือในวิถีทางที่ดีงาม ซึ่งเต็มไปด้วยความย�าเกรง พร้อมกับความล้มเหลวของภูมิภาคตะวันกลางที่ยิ่งใหญ่ และประกาศให้ผู้ร่วมทางรับรู้ ข้าพเจ้าวิงวอนขอต่อพระ การคงเหลือเพียงชื่อในนามของการเมืองและสังคมที่ถูก ผู้เป็นเจ้า ขอพระองค์ทรงประทานความจ�าเริญให้เกิดขึ้น เรียกว่าเป็นประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนอันจอมปลอม กับการจัดประชุมนานาชาติในครั้งนี้ และขอให้การประชุม การการกระท�าอันเป็นฟิตนะห์ต่างๆ ในความแตกแยก นานาชาติ รวมทัง้ ผูท้ ใี่ ห้เกียรติเข้าร่วมนัน้ ได้รบั ความเมตตา ทางการเมืองการปกครอง สงครานองเลือดภายในที่เกิด จ�าเริญจากพรองค์ด้วยเถิด

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 111


ขึ้น แต่ขบวนการการเมืองที่ก่อตัวขึ้นมา จนกลายเป็นการ ตรากฎหมายอันไม่ชอบธรรม การเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด ของประเทศอิสลามในบางส่วนที่ได้เกิดขึ้น การปฏิวัติของ ประเทศเหล่านั้นน�ามาซึ่งการเบี่ยงเบนและการยึดครอง ทรัพยากรอันมหาศาล น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ในสังคมมุสลิม มีกลุ่มคนที่ รู้หรือไม่รู้ก็ตามก�าลังสร้างความหายนะตามแผนการของ อภิมหาอ�านาจ จนลืมเลือนและเพิกเฉยต่อบัญญัติของ อัลกุอาน จนกลายเป็นฟิรอูนแห่งยุคสมัยในการแสวงหา อ�านาจปกครองแบ่งแยกพื้นแผ่นดินปกครองเพียงฝ่าย เดียว กลุ่มคนจากพวกเขาเหล่านั้นที่ถูกละเมิดสิทธิคือผู้ ยากไร้ทถี่ กู ขับไล่ เพียงมหาอ�านาจต้องการทีห่ ว่านเล็ดพันธ์ุ ของความเป็นศัตรู และสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นใน ระหว่างพวกเขากันเอง บุคคลเหล่านีไ้ ด้ใช้สา� ลีอดรูหขู องเขา ไม่รบั ฟัง แม้กระทัง่ บัญชาของพระผูเ้ ป็นเจ้า ท�าตัวเป็นมิตร สหายที่ดีต่อศัตรูของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ พวกเขาห่างไกลจากการศรัทธา ดังที่พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า َّ ْ ‫‌والْيَ ْو ِم‬ ‫ون‬ َ ‫‌ال ِخرِ‌يُ َوا ُّد‬ َ ُ‫‌ل‌تَ ِج ُد‌قَ ْو ًما‌يُ ْؤ ِمن‬ َ ‫ون‌بِاللَّـ ِه‬ َ َ ‫اء ُه ْم‬ َ ‫َ‌م ْن‬ َ ‫‌و َر ُسول َ ُه‬ َ ‫‌حا َّد‌اللَّـ َه‬ َ َ‫اء ُه ْم‌أ ْو‌أبْن‬ َ َ ‫‌ول َ ْو‌ َكانُوا‌آب‬ َ َ َ ِ‫يرتَ ُه ْم‌‌أُولَـئ‬ ‫ك‌ َكتَ َب‌فِي‌قُ ُلوب ِ ِه ُم‬ َ ‫‌أ ْو‌إ ِْخ َوان َ ُه ْم‌أ ْو‌ َع ِش‬ ْ ‫وح‌ ِّم ْن ُه‬ ٍ ‫‌وأَي َّ َد ُهم‌ب ِ ُر‬ َ ‫ِيم‬ َ ‫ان‬ َ ‫‌ال‬ "เจ้าจะไม่พบหมู่ชนใดที่พวกเขาศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลกรักใคร่ชอบพอผูท้ ตี่ อ่ ต้านอัลลอฮ์และศาสดา ของพระองค์ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นพ่อของพวกเขา หรือ ลูกหลานของพวกเขาหรือพี่น้องของพวกเขา หรือเครือ ญาติของพวกเขาก็ตาม และได้เสริมพวกเขาให้มีพลังมาก ชึ้นด้วยการสนับสนุนของพระองค์" (บทที่ 58 (อัลมุญา ดะละฮ์) โองการที่ 22) บนพื้นฐานค�าสอนต่างๆ ของอิสลาม ความขัดแย้ง ต่างๆ ที่ต้องใช้ความคิด การพิจารณาทางวิชาการ จะต้อง เป็นภาระหน้าที่ของบรรดาผู้รู้ ผู้ที่มีความเชียวชาญพิเศษ หรืออย่างน้อยเป็นผู้ที่มีกรอบงานในการค้นคคว้าจากฝ่าย ปกครอง และฝ่านผูท้ มี่ อี า� นาจทีจ่ ะสามารถจะชีน้ า� ทางการ เมือง เศรษฐกิจได้ แต่วันนี้มีบุคคลที่มีความพยายามจะ สร้างปัญหาอุปสรรคนานาประการอยู่ต่อไป โดยการส่ง

112 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

เสริมสื่อ ทั้งสื่อผ่านดาวเทียม อินเตอร์เน็ต เว็ปไซต์ สร้าง ฟิตนะห์ขึ้นมาท�าลายความเป็นเอกภาพของประชาชาติ อิสลาม ฯพณฯ อายะตุลลอฮ์ อัลอุซมาซัยยิดคามาเนอี ผูน้ า� สูงสุดทางจิตวิญญาณ ท่านตักเตือนและชี้แนะอยู่เสมอว่า - ส�าหรับการยกสถานภาพของอิสลามจ�าเป็นต้อง อยู่บนพื้นฐานความร่วมมือของประชาชาติมุสลิม - การสร้างความเข้าใจกันได้ไม่ดีนั้น เป็นความผิด พลาด ดังนั้นจ�าเป็นจะต้องสื่อสารให้ตรงกันและถูกต้อง - การกระตุ้นอารมณ์ในเรื่องของมัซฮับที่ก่อให้เกิด ความแตกแยกนถือเป็นบาปและบุคคลที่ก่อเรื่องนี้ให้เกิด ขึน้ เท่ากับเป็นสายลับ และช่วยเหลือองค์กรอุบาทย์ แน่นอน เขาจะได้รับการลงโทษอย่างหนักหน่วงจากพระผู้เป็นเจ้า แขกผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน ข้าพเจ้าต้องขออนุญาตที่จะน�าเสนอการปฏิบัติที่ น�าไปสู่การสร้างเอกภาพ ให้พวกท่านได้รับทราบดังนี้ 1. ไม่มีข้อสงสัย ภายหลังจากความเป็นเอกะของ พระผูเ้ ป็นเจ้า การปฏิบตั ติ ามศาสนทูตของพระองค์ (ศ็อลฯ) และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) คือการน�าพาไปสู่ความเป็น เอกภาพของอิสลาม 2. การปฏิ บั ติ ลั ก ษณะอื่ น ๆ ส� า หรั บ การค้ น หา เอกภาพ คือการยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู ทุกครั้งที่ยืนหยัด ต่อสู้กับพวกนี้จะต้องมีศรัทธามั่นอยู่ในใจเสมอ แต่ถ้าเรา รู้จักศัตรูของเราน้อยไป เราก็ไม่ควรจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ แผนการอันชั่วร้ายที่ศัตรูวางไว้ 3. การปฏิ บั ติ ต ามบทบั ญ ญั ติ ข องศาสนาอย่ า ง เคร่งครัด ด้วยการวิเคราะห์อย่างถีถ่ ว้ น โดยไม่คกุ คามผูอ้ นื่ เพราะการแสวงหาหนทางของการสร้างเอกภาพนัน้ เป็นข้อ บังคับที่จ�าเป็นมาก 4. การขับเคลื่อนไปสู่กระบวนการเสวนาในเรื่อง อิสลามและการหาช่องทางแก้ไขอุปสรรคทีเ่ กิดขึน้ โดยการ แสวงหาแนวร่วมในการสร้างเอกภาพของอิสลาม เพราะ เอกภาพคือพลังอ�านาจของมุสลิม หาช่วงเวลาทีจ่ ะประสาน ความร่วมมือ จนท�าให้กิจการต่างๆ ของอิสลาม มีความ เจริญก้าวหน้าจนสามารถที่พัฒนาความเจริญก้าวหน้า ทางความรู้และพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ของโลกอิสลามให้สูงส่งขึ้นไป สร้างความโดดเด่นให้สังคม


อิสลามเสมือนดังว่า อิสลามมีความสามารถเป็นพิเศษ ทีจ่ ะ แสดงออกให้ผู้อื่นได้เห็นและรับรู้ การรุกรานอธิปไตยของกลุ่มประเทศอิสลาม การ ปล้นทรัพย์สินของประเทศเหล่านั้นและก่อให้เกิดความ แตกแยกระหว่างประชาชาติมุสลิม การบุกรุกละเมิดสิทธิ ของดินแดนประเทศอื่น โดยน�้ามือของผู้ปกครองอิสราเอล เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประชาชาติอิสลามหลงลืมปัญหาพื้น ฐานและเป็นปัญหาแรกของโลกอิสลาม หมายถึงเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นกับปาเลสไตน์ ด้วยการปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน การยึดครอง อั น ไม่ ช อบธรรมบนดิ น แดนกุ ด ส์ นั บ ว่ า เป็ น เรื่ อ งใหญ่ สาธารณรัฐอิสลามจึงเปลี่ยนสถานทูตอิสราเอลในกรุง เตหะรานเป็นสถานทูตปาเลสไตน์ และให้การปกป้องดูแล การปฏิวัติของปาเลสไตน์ และกิจกรรมอันมากมายนับ ร้อยกิจกรรมที่ทางสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน มีให้กับ ปาเลสไตน์ แต่หามีโลกอิสลามให้ความสนใจต่อปัญหา ของปาเลสไตน์ไม่ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นบทเรียนราคาแพง ที่ตะวันออกกลางไม่ยืนหยัดต่อสู้ และปล่อยให้ปัญหาของ บรรดามุสลิมไม่ได้รับการแก้ไข ท่านสุภาพสตรีและสภาพบุรุษที่เคารพ การเคลื่ อ นไหวและการตื่ น ตั ว ของอิ ส ลามที่ เ กิ ด ขึ้ น ครั้ ง ล่ า สุ ด ในการให้ ค� า ตอบเกี่ ย วกั บ ความพิ น าศ ในภาวะฉุ ก เฉิ น ของบางประเทศที่ เ กิ ด ขึ้ น ความเสี ย หายครั้ ง นี้ เ ป็ น ตั ว อย่ า งของความเจ็ บ ปวดที่ บ รรดาผู ้ ปกครองรั ฐ อ้ า งว่ า เป็ น ความชอบธรรมถู ก ต้ อ งตาม กฎหมาย แต่ ก ฎเกณฑ์ ที่ ผู ้ ป กครองสร้ า งขึ้ น มา เพื่ อ ปกป้องผลประโยชน์ที่พวกเขาครอบครองอยู่ เกียรติยศ ศั ก ดิ์ ศ รี ข องชาติและประชาชาติอิส ลามไร้ผู้ปลอบประ โลมใจ ผู ้ ป กครองของพวกเขายื น เคี ย งข้ า งอยู ่ กั บ ผู ้ น� า อิสราเอล และปล่อยให้ประชาชนทีถ่ กู กดขี่ มีสภาพเหมือน ชาวปาเลสไตน์ ที่ ต ้ อ งเผชิ ญ กั น ความน่ า กลั ว ในการถู ก ละเมิด และถูกกระท�าเยี่ยงสัตว์ การเคลือ่ นไหวด้วยความเชือ่ มัน่ กับบทสอบในอดีต คัง้ นี้ และปฏิกริ ยิ าการปฏิบตั ทิ ไี่ ม่ถกู ต้องในการแทรกแซงที่ ประทศตะวันตกกระท�าขึ้น และก็ยังมีการกระท�าอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นการกระท�าอย่างชั่วคราว การตื่นตัวในปัจจุบัน เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของ

ความเป็นตัวตนที่แท้จริงของอิสลาม ที่บรรดามุสลิมโดย เฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวและเยาวชนเป็นผู้ริเริ่ม วันนี้ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของฝ่ายตะวันตกโดยเครื่องมือ เทคโนโลยีนนั้ เริม่ จะหมดหวังลง แต่พวกเขาก็ยงั พยายามที่ จะแอบแฝงเข้ามาสูใ่ นกระบวนการตืน่ ตัวลุกขึน้ ของอิสลาม ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน และบางคครั้งพวกเขาก็ก่อสิ่งที่ไม่ ดีขนึ้ จนกระทัง่ อุดมการณ์ของอิสลามต้องสับเปลีย่ นกลไก ในการรวมพลจากสังคมต่างๆ เพื่อให้รู้ทันแผนการของ ศัตรูที่แอบแฝงมาเป็นผู้ประท้วงเสียเอง และพยายามที่จะ โยงใยว่าเป็นการกระท�าของอิสลาม กระนัน้ การรวมพลของ อิสลามก็ได้รับความส�าเร็จในที่สุด ผู้ชี้น�าที่ยิ่งใหญของโลกอิสลาม เช่น ท่านอิมาม โคมัยนี (รฮ.) ท่านซัยยิดญะมาลุดดีน อะสัดออบอดี ท่าน อิกบาล ลาโฮรี ท่านเชคมุฮัมมัด อับดุฮ์ ท่านซัยยิดกุฎฏุบ และบุคคลทีเ่ ป็นผูช้ นี้ า� ทัง้ หลาย ทีม่ คี วามเข้าใจ และเห็นใจ บุคคลอืน่ มิใช่วา่ บุคคลเหล่านีจ้ ะแสวงหาความส�าคัญและ ความสมบูรณ์ให้แก่ตัวเอง แต่ท่านเหล่านี้ให้การช่วยเหลือ เพือ่ ให้ประชาชาติหลุดพ้นจากความเป็นทาสของความยาก ล�าบากสู่ความเจริญรุ่งเรือง ในกระบวนการของการตื่นตัวของโลกอิสลามนั้น ต่างก็มีความพยายามที่จะขจัดความขัดแย้งระหว่างกัน และกันให้หมดสิ้นไป ให้คงเหลือเพียงความเป็นพี่น้อง ความใกล้ ชิ ด ที่ จ ะต้ อ งช่ ว บกั น พั ฒ นาวิ ช าความรู ้ การ ค้นคว้า การเผยแพร่ การพัฒนาส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรม การปกป้องโลกอิสลาม ส่งเสริมให้การปฏิบัติกิจกรรม วัฒนธรรมและสังคมนั้น เป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องรับ ผิดชอบ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บรรดานักวิชาการที่ อยู่ ณ ที่ประชุมนี้ คงจะได้ผลประโยชน์จากจิตวิญญาณ ของการประกอบพิธีฮัจญ์ และขอให้ทุกท่านประสบความ ส�าเร็จดังเป้าหมายทีว่ างเจตนารมณ์ของการจัดงานนีข้ นึ้ มา ‫‌ويُثَبِّ ْت‌أَ ْق َد َام ُك ْم‬ ُ َ‫نص ُروا‌اللَّـ َه‌ي‬ ُ َ‫‌إِن‌ت‬ َ ‫نص ْر ُك ْم‬ หากพวกเจ้ า สนั บ สนุ น อั ล ลอฮ์ พ ะองค์ ก็ จ ะทรง สนับสนุนพวกเจ้า และจะทรงตรึงเท้าของพวกเจ้าให้มนั่ คง (บทที่ 47 โองการที่ 7)

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 113


วัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮ์มะตุลลอฮ์ วะบะเราะกาตุฮ์

ดร. มุฮัมมัด ริฎอ เดะฮ์ชีรี รองผู้อ�านวยการฝ่ายการศึกษา และวิจัยองค์การวัฒนธรรม และประชาสัมพันธ์อิสลาม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ท่านประธาน ผูแ้ ทนผูท้ รงเกียรติ แขกผูม้ เี กียรติทกุ ท่าน สุภาพบุรุษและสุภาพสตรี กระผมขอเริม่ ต้นด้วยการแสดงความขอบคุณอย่าง สุดซึ้งต่อผู้จัดงานสัมมนาที่สมควรได้รับการยกย่องในการ จัดสัมนาในครัง้ นี้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ศูนย์วฒ ั นธรรมสถาน เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ประจ�ากรุงเทพฯ ที่ให้โอกาสผมแสดงความเห็นและมุมมองเกี่ยวกับฮัจญ์ และการตระหนักตื่นรู้ของอิสลามต่อหน้าที่ประชุมใหญ่ที่ มีความส�าคัญเช่นนี้ อัลลลอฮ์ (ซบ.) ผูท้ รงมหิธานุภาพ ให้คา� จ�ากัดความ ถึงกะอ์บะฮ์ไว้ว่า َ ِ َّ‫‌و ِض َع‌لِلن‬ ‫ار ًكا‬ ُ ‫‌إ َِّن‌أ َّو َل‌ب َ ْي ٍت‬ َ َ‫اس‌لَلَّ ِذي‌بِبَ َّك َة ُ‌مب‬

‫ين‬ َ ‫‌و ُه ًدى‌ل ِّ ْل َعال َ ِم‬ َ "แท้จริง สถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธ์แห่งแรกส�าหรับมนุษยชาติ ก็คือที่บักกะฮ์ (ชื่อเดิมของมักกะฮ์) อันเป็นสถานที่ที่ได้รับ การสรรเสริญและเป็นทางน�าแก่ผคู้ น" (บทที่ 3 โองการที่ 96) สถานที่ที่ได้รับการสรรเสริญซึ่งบุคคลใดก็ตามที่ เดินทางเข้าไปควรที่จะแสวงหาแนวทางในการด�ารงชีวิต ที่จะให้ความมั่นใจถึงความปลื้มปิติในโลกนี้และการหลุด พ้นในวันที่พระองค์บันดาลให้เกิดขึ้นในวันข้างหน้า ชีวิต ซึ่ง ความเขลา ความเชื่ออย่างงมงายในทางไสยาศาสตร์ การผิดศีลธรรม การกดขี่ ความอัปยศอดสู การค้าทาส (ใน รูปแบบสมัยใหม่) ความโลภ ความอิจริษยา ความเกลียด ชัง ความเป็นศัตรู จะได้รับการทดแทนโดยความรู้จาก พระผู้เป็นเจ้า พร้อมความตระหนัก เชาวน์ปัญญา และ จริยธรรม สัมพันธภาพ ความเป็นพี่น้อง อิสรภาพ ความ

114 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

เห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ความกรุณา ความมีใจกุศลต่อ เพื่อนมนุษย์ และความเป็นเอกภาพ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็ คือ พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงก�าหนดให้ฮัจญ์เป็นเส้นทาง เดินสูจ่ ติ วิญญาณในมุมมองทุกด้าน ไม่เฉพาะพิธกี รรมทาง ศาสนาเท่านั้น ฮัจญ์เป็นการแสดงออกอย่างชัดแจ้งในความเป็น เอกภาพ ความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกัน และความเห็นอก เห็นใจกันในหมู่มุสลิม ผู้ศรัทธานับล้านจากส่วนต่างๆ ของโลกถูกน�าเข้าไปยังดินแดนแห่งการประกาศเผยแพร่ (มักกะฮ์) ทุกปี เพื่อการรวบรวมจิตวิญญาณอันเป็นการ แสดงออกถึงจิตใจที่มีความเป็นเอกภาพของประชาชาติ มุสลิม ในดินแดนศักดิส์ ทิ ธิท์ สี่ ดุ แห่งนี้ ฮัจญ์ทา� ให้เกิดความ ส�านึกและไตร่ตรองสอดคล้องกับความประสงค์ของพระ ผู้เป็นเจ้า อันมาจากแก่นแท้แห่งห้วงลึกของจิตใจบรรดา ประชาชาติมุสลิม ให้แปรเปลี่ยนเป็นความตระหนักรู้แห่ง มนุษยชาติและความส�านึกตามค�าบัญชาที่สูงส่งของพระ องค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ความจริงจังและความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้กับพิธีกรรมทุกๆ อย่างที่แสดงออกในการท�าฮัจญ์ นัน้ เป็นการสะท้อนถึงความจริงทีว่ า่ ผูท้ า� ฮัจญ์ จ�าต้องส�านึก และตืน่ ตัวตลอดชีวติ และต้องขจัดความละเลยหรือหลงลืม ในชีวิตส่วนตัวที่อาจเกิดขึ้นออกไปให้หมด พร้อมกับการ รักษาไว้ซึ่งกิจกรรมในสังคมอิสลาม ฮัจญ์สอนผู้แสวงบุญ ไม่ให้หวาดกลัวต่อมารร้ายและการทรยศของพวกมัน และ ไม่ให้ละเลยต่อคุณความดี เช่น ความยุติธรรมและเที่ยง ธรรมเมือ่ ต้องท�ากิจกรรมกับผูอ้ นื่ ฮัจญ์สอนให้มสุ ลิมเข้าใจ ความส�าคัญของเอกภาพและภราดรภาพในการปกป้อง


ศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิของอิสลามและมุสลิม ทั้งยังสอน บรรดามุสลิมให้มีความเห็นใจ ใตร่ตรอง และท�าตัวให้เป็น ประโยชน์ต่อกันและกัน หน้าที่อีกประการหนึ่งของฮัจญ์ก็คือการน�ามุสลิม เข้ า มารวมกั น เพื่ อ จะได้ รั บ รู ้ ถึ ง สภาพการณ์ ที่ เ ป็ น อยู ่ ในโลกมุสลิม เป็นการแบ่งปันแลกเปลี่ยนมุมมองและ ประสบการณ์อันเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น อีกทั้งเป็นการมอง ปัญหาในองค์รวมที่เกิดในโลกอิสลาม เพื่อหาหนทางและ วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการและหาทางออกให้ แก่ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่ถือเป็นการกล่าวเกินเลยความจริงแต่ ประการใดที่ว่า ฮัจญ์มีจุดมุ่งหมายอยู่สองประการ คือการ สร้างความตระหนักแบบพหุภาคีกบั บรรดามุสลิมทัง้ ในชีวติ ส่วนตัวและในทางสังคม รวมทั้งเป็นการปลุกให้คนมุสลิม มองเห็นอุปสรรคและก�าแพงที่ขวางกั้นมุสลิมจากความ เป็นเอกภาพและภราดรภาพ เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ มุสลิมด�ารงชีวิตอยู่อย่างมีเกียรติ ศักดิ์ศรี มีความตระหนัก รู้อย่างถ่องแท้ มีอิสรภาพ เป็นอิสระจากการกดขี่และทร ราชย์ในทุกวิถีทาง แต่ฮัจญ์จะส่งผลกระทบต่อการตระหนักรู้อย่าง ถ่องแท้และการตื่นตัวของบรรดาอุมมะฮ์มุสลิมได้อย่างไร ในมุ ม มองสภาพการณ์ ป ั จ จุ บั น ของโลกอิ ส ลาม และสิ่งที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศในตะวันออกกลาง และในแอฟริกาเหนือจากการลุกฮือของมุสลิมต่อเหล่า ทรราช การกดขี่ ความอยุติธรรม ความเสื่อมเสีย การ เข้าครอบง�าจากต่างชาติและการแทรกแซงจากต่างประเทศ ต่อกิจการภายในของประเทศมุสลิม รวมถึงการฉ้อราษฏร์ บังหลวงในส่วนของเผด็จการที่ได้รับการสนับสนุนจาก ลัทธิจักรวรรดินิยม จึงถือเป็นหน้าที่ของผู้แสวงบุญที่ ต้องให้ความส�าคัญเป็นพิเศษต่อประเด็นอุมมะฮ์มุสลิม ดังกล่าว ควรจะต้องมีการพบปะปรึกษาหารือกัน ค้นหา ทางออกที่เหมาะสมต่อปัญหาหลักๆ ที่เกิดกับมุสลิมเพื่อ ปกป้องศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิแห่งมนุษยชาติมุสลิม และ เป็นการฟื้นฟูความยุติธรรมในสังคมมุสลิมด้วย นอกจาก นั้นแรงกระเพื่อมจากคลื่นแห่งการตื่นตัวของอิสลามใน ตะวั น ออกกลางและภู มิ ภ าคแอฟริ ก าเหนื อ ยั ง แผ้ ว ถาง หนทางในการหล่อหลอมอารยธรรมอิสลามขึ้นใหม่ด้วย

โดยเน้นไปที่พลวัตรแห่งโลกอิสลามที่มีความเคลื่อนไหว ต่อการตื่นตัวนี้ อย่างไรก็ตาม คลื่นการตื่นตัวของอิสลาม ซึ่งแพร่กระจายออกไปยังส่วนต่างๆ ของโลกมุสลิมอย่าง รวดเร็วก�าลังเผชิญกับภัยในรูปแบบต่างๆ และการสมรู้ ร่วมคิดจากต่างชาติและเหล่าผู้ปกครองที่เป็นสมุนรับใช้ ในภูมิภาค โดยที่จะเบี่ยงเบนความเคลื่อนไหวเหล่านี้ให้ ออกห่างจากความจริง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ประกอบพิธี ฮัจญ์ที่จะต้องขยายผลความเห็นอกเห็นใจรวมทั้งให้การ สนับสนุนความเคลือ่ นไหวในการลุกฮือขึน้ ของอิสลามทีเ่ กิด ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือในช่วงระหว่างการ ชุมนุมพบปะของบรรดามุสลิมอันยิ่งใหญ่นี้ และเพื่อความ มั่นใจได้ว่า ความเคลื่อนไหวที่กล่าวนั้นไม่ได้ถูกเบี่ยงเบน ออกไปจากหนทางหลักหรือท�าลายเอกภาพของอุมมะฮ์ อิสลาม ยิง่ กว่านัน้ ยังถือเป็นหน้าทีข่ องสังคมและการเมือง มุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่านักปราชญ์และผู้ทรงภูมิที่ จะต้องให้การสนับสนุนคลืน่ การตืน่ ตัวของอิสลามร่วมสมัย ด้วยการตระหนักรู้อย่างถ่องแท้รวมทั้งการเฝ้าระวังด้วย สิง่ ต่างเหล่านีค้ อื ประเด็นทีท่ า่ นอิมามโคมัยนี (ร.ฮ.) ผู้ล่วงลับเน้นความส�าคัญในช่วงเวลาที่โลกอิสลามต้องทน ทุกข์กับอาการป่วยเรื้อรัง เช่น ความเขลา ความหลงใน ไสยศาสตร์ การละเลย ความบาดหมางและการแบ่งฝักแบ่ง ฝ่าย ความศรัทธาในศาสนาของคนหมูม่ ากถูกแปดเปือ้ นไป ด้วยแนวคิดที่เป็นของปลอมและความงมงาย สรรพสิ่งทั้ง มวลกลายมาเป็นนักโทษในอุ้งมือของนักล่าอาณานิคมผู้ หยิ่งยโส ความคิดและจิตวิญญาณโดยรวมได้ถูกกักขังไว้ ด้วยความอับอายและความเสื่อมเสีย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ที่ได้รับ การพัฒนาขึน้ ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือในช่วง สองปีที่ผ่านมา เป็นการสะท้อนถึงการตื่นตัวที่เกิดขึ้นใน บรรดาประเทศมุสลิมพร้อมไปกับการไม่ยอมรับต่อการคง อยูข่ องอ�านาจทีห่ ยิง่ ยะโสในภูมภิ าคนี้ ความเคลือ่ นไหวทัง้ ปวงมีองค์ประกอบสามอย่างของความเป็นอิสลาม การต่อ ต้านอเมริกันและต่อต้านไซออนิสต์ มีความมุ่งหวังที่จะน�า อัตลักษณ์อันสูงส่งของประเทศอิสลามเหล่านี้กลับคืนมา และเก็บเกี่ยวศักดิ์ศรี เกียรติยศของประชาชาติในประเทศ ที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น จึงถือเป็นความรับผิดชอบของนักปราชญ์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 115


มุสลิม ภาคการศึกษาและวัฒนธรรม รวมทั้งในแวดวง สือ่ สารชัน้ น�าทัว่ โลก จะต้องใช้ความพยายามทุกวิถที างเพือ่ ให้มคี า� ตอบในการขยายตัวของคลืน่ ลูกใหม่แห่งการตืน่ ตัว ของอิสลาม เพือ่ ช่วยมุสลิมทีถ่ กู บีบคัน้ และผูแ้ สวงหาความ จริงอีกทั้งเป็นการค้นหาแผนการณ์ใหม่ๆ เพื่อหยุดยั้งการ กดขี่และทารุณกรรมที่ประเทศมุสลิมเผชิญอยู่ บรรยากาศ ของพิธีฮัจญ์ ทั้งในส�านึกที่เป็นจริงและในส�านึกของการ สื่อสารเป็นการสร้างโอกาศอย่างใหญ่หลวงเพื่อแบ่งปัน ความคิดและมุมมองในหนทางและวิธีการที่หลากหลาย ผ่านไปยังมุสลิมผู้รักอิสรภาพจะได้บรรลุความต้องการที่ ถูกต้องได้ สามารถต้านทานการครอบง�าของชาติตะวันตก และขจัดความเสื่อมเสียที่เกิดขึ้นจากน�้ามือของผู้ปกครอง เผด็จการและลัทธิจักรวรรดินิยม ด้วยแนวคิดเดียวกัน พิธีฮัจญ์มีผลกระทบที่ชัดเจน มากต่อบรรดามุสลิม ทั้งในด้านส่วนตัวและสังคม สิ่งแรก เป็นการสร้างสันติภาพให้เกิดขึน้ ภายใน เกิดความสงบ และ ความกลมเกลียว ซึ่งถือเป็นผลพวงจากธรรมชาติของการ นบนอบอ่อนน้อมต่อค�าบัญชาของอัลลอฮ์ (ซบ.) และ ผลก ระทบที่พิธีฮัจญ์มีต่อสาระส�าคัญที่อยู่ภายในของผู้แสวง บุญ สิง่ ทีส่ อง ฮัจญ์เอือ้ อ�านวยให้เกิดปฏิสมั พันธ์บนพืน้ ฐาน ความเป็นพี่น้องและความร่วมมือในระหว่างมุสลิมผู้แสวง บุญต่อการรวมตัวของอิสลามิกชนผูค้ น้ พบตนเองว่ามีความ ใกล้ชิดกับพี่น้องผู้ศรัทธา แม้มาจากต่างชาติพันธุ์ สัญชาติ วัฒนธรรมและภาษารวมทัง้ ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ แห่งความร่วมมือระหว่างกัน สิ่งที่สามเป็นการสร้างสรรพ ก�าลังอย่างนุม่ นวลภายในทีม่ ตี อ่ บรรดามุสลิมโดยการเรียน รู้ความเป็นเอกภาพจากบรรดามุสลิมในการเผชิญหน้ากับ การสมรู้ร่วมคิดที่หลากหลายจากเหล่าศัตรูร่วม ท้ายสุด ควรต้องมีการบันทึกถึงผลลัพธ์ที่เกิดจาก การตื่นตัวในสังคมมุสลิม ความเป็นเอกราชของรัฐมุสลิม เป้าหมายอิสลามในสังคมมุสลิมและคุณค่าทีเ่ ป็นสากลของ อิสลาม ความเป็นเอกราชของรัฐมุสลิมแสดงออกให้เห็น ในรูปแบบของสถานการณ์ ซึ่งประเทศมุสลิมอยู่ในสถานะ ที่จะต้องตัดสินใจในชะตากรรมของตนเองอย่างเป็นอิสระ โดยปราศจากการแทรกแซงจากต่างชาติและการตระหนัก ถึงสิทธิที่จะพิจารณาด้วยตนเอง เป้าประสงค์ของอิสลามในสังคมมุสลิมสะท้อนให้

116 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

เห็นถึงการมีบทบัญญัติกฏหมายอิสลาม และหลักการ ในการบริหารประเทศที่มีความหลากหลายทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งคลื่นการตื่นตัวของ อิสลามขยายผลออกไปและหยั่งรากลึกอีกทั้งประชาชนก็ มีความต้องการรูปแบบจ�าลองของสาธารณรัฐอิสลามที่ สามารถเชือ่ มโยงความทันสมัยควบคูไ่ ปกับประเพณีดงั้ เดิม ของอิสลามได้ ด้วยแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ของ การปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน แบบจ�าลองประชาธิปไตย อิสลามท�าให้เกิดรูปทรงหลายๆ อย่างในสังคมที่มีความ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและบรรทัดฐาน ในทางวัฒนธรรม สุดท้ายก็จะมาถึงความเป็นสากลของ คุณค่าแห่งอิสลาม ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของหลัก การอิสลาม บรรทัดฐานและคุณค่าที่เป็นการรับประกันถึง ศักดิ์ศรีและความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของบรรดามุสลิม ซึ่ง เป็นการน�าไปสูค่ วามสง่างามและรุง่ เรืองของชุมชนอิสลาม ในระดับสากล

การเสวนาเรื่อง “ฮัจญ์ : ประจักษ์และตื่นรู้ บนเอกภาพของอิสลาม” ด�าเนินการเสวนาโดย อาจารย์การุณ กูใหญ่ ดาโต๊ะ ดร. เฟาซัน หลังปูเต๊ะ อิหม่ามมัสยิดต้นสน เสมอ

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานี

อันทีจ่ ริงเรือ่ งการประกอบพิธฮี จั ญ์ เริม่ ต้นตัง้ แต่เมือ่ ย่างก้าวออกพ้นประตู้บ้าน และเป็นสิ่งที่เราภูมิใจที่ในชีวิต ได้เกิดมาเป็นบ่าวทีจ่ งรักภักดีตอ่ อัลลอฮ์ (ซบ.) จนวันนี้ เรา ได้เป็นแขกรับเชิญพิเศษของอัลลอฮ์ (ซบ.) เพราะฉะนัน้ ย่าง ก้าวแรกจึงความส�าคัญมากที่สุดของชีวิต เริ่มต้นของพิธีฮัจญ์นั้น เมื่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) น�าท่านหญิงฮาญัรไปยังแผ่นดินทุรกันดาร ไม่มีบุคคล ใดสักคนเดียว ไม่มีบัยตุลลอฮ์ ไม่มีน�้า ไม่มีอาหารและไม่มี


คนเดินทางผ่าน เป็นแผ่นดินที่อยู่ก้นกะทะ ระหว่างเชิงเขา ศอฟาอ์และเชิงเขามัรวะฮ์ เมื่อเราเดินทางไปประกอบพิธี ฮัจญ์เราจะนึกถึงช่วงนั้นอย่างมาก ในขณะที่สองแม่ลูก ถูกน�าไปทิ้งไว้ ผมจะขอสรุปว่า เริม่ ต้นตัง้ แต่ออกจากบ้านและย้อน ไปเมื่อ 3,000-4,000 ปี ที่แล้ว ท�าให้เรานึกถึงค�าพูดของ ท่านหญิงฮาญัรที่มีต่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นค�า พูดทีย่ นื ยันส�าหรับพวกเราจนถึงทุกวันนีว้ า่ การเดินทางไป ประกอบพิธีฮัจญ์ ท�าให้เราตื่นรู้และประจักษ์ต่อความเป็น จริงที่ว่า สิ่งใดก็ตามถ้าเราท�ามันด้วยความศรัทธา ส�าหรับ ชีวิตของเขานั้นมีแต่ทางรอดพ้น การประกอบพิธีฮัจญ์ยังสอนใจเราว่า ทุกย่างก้าว ของการไปประกอบพิธฮี จั ญ์ เราจะต้องน�ากลับมาใช้ในชีวติ ประจ�าวัน เช่น การทีท่ า่ นหญิงฮาญัร สะแอย์อยู่ คนทีค่ ลอด บุตรใหม่ๆ เดินจากเชิงเขาซะฟาอ์และเชิงเขามัรวะฮ์ ท�าให้ เห็นประจักษ์แห่งความจริงที่ว่า ชีวิตของเราคือการต่อสู้ การทีจ่ ะได้สงิ่ ใดมานัน้ ไม่ใช่มาเพราะยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ ได้มาเพราะผิดธรรมชาติ แต่อยากจะรวยก็ต้องขยันหมั่น เพียรและวิริยอุสาหะ วิงวอนต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ฉะนั้นหน้าที่ ของเรา ความพยายามคือหน้าที่ ความส�าเร็จอยู่ ณ พระผู้ เป็นเจ้า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ย่างก้าวไปสู่พิธีการฮัจญ์ ล้วนจะ เป็นการสอนใจแก่เรา และน�าไปประยุกต์ใช้จนกว่าแผ่น ดินจะกลบหน้า ในการประกอบพิธีฮัจญ์ ถ้าเราน�ามาเแก้ ไขสังคม ไม่ใช่ไปซิยาเราะฮ์ แต่มนั คือการประจักษ์และการ ตืน่ ตัวและกลับมาเพือ่ หาเอกภาพแห่งความเป็นจริงให้เกิด ขึ้นในสังคมของเราให้ได้

ฮุจญะตุลอิสลามเชคซัยนุลอาบิดีน ฟินดี้ อิหม่ามมัสยิดนูรุ้นนะซีฮะห์

ขอความสันติ จงมีแด่แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ถ้าเรามามองดูในหัวข้อ “ฮัจญ์ : ประจักษ์และตื่น รู้บนเอกภาพอิสลาม” จะตีความว่ายากก็ยาก จะตีความ ง่ายก็ง่าย ที่ว่ายากก็คือว อีกสิบปีจึงจะถึงจุดมุ่งหมาย เสียที แทบจะเรียกได้ว่าเวลาเราพูดถึงเรื่องฮัจญ์ มันจะ สบายๆ ง่ายๆ หรือจะย้อนกลับไปเรื่องพิธีกรรมล้วนๆ เลย ก็ได้ เพราะพิธีกรรมของฮัจญ์ ก็คือการที่บ่งบอกตามที่เรา

ตั้งหัวข้อไว้ทั้งหมด แต่เนื่องจาก ทั้งประจักษ์ ก็ไม่เกิด ตื่นรู้ ก็อย่าได้หวัง เอกภาพอิสลามไม่ต้องไปหา อย่างไรก็ตามในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งจะต้องท�า หน้าที่ในส่วนนั้นต่อๆ ไป แต่ผมยากจะเรียนให้พี่น้องที่ เคารพรักด้วยความรูส้ กึ เป็นกันเอง ในหัวข้อดังกล่าว ค�าว่า เรียนรูแ้ บบประจักษ์นนั้ หมายถึง การเรียนรูแ้ บบนอกกรอบ เหมือนอย่างทีบ่ รรดาผูจ้ ดั ฮัจญ์ทงั้ หลายสอนบุคคลทีจ่ ะไป ประกอบพิธฮี จั ญ์วา่ ต้องเริม่ ต้นอย่างไร อบน�า้ อย่างไร ครอง อิห์รอมอย่างไร ฏอวาฟอย่างไร ซะแอย์อย่างไร ยืนนมาซ ตรงนีไ้ ด้หรือไม่ได้ ฯลฯ เขาเรียกว่า เรียนรูอ้ ยูใ่ นกรอบต�ารา ในมิ ติ ทั้ ง หลายของการท� า ฮั จ ญ์ ทั้ ง หมด บรรดา ผู้รู้ และนักวิชาการทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาจาก สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเป็นผูอ้ ธิบายได้หลากหลาย และครอบคลุมมากที่สุด เมื่อเรามาดูความเป็นวีรสตรีของท่านหญิงฮาญัร การแสดงออกถึงการเสียสละความอดทนอย่างกล้าหาญ ก็เพราะโองการของอัลลอฮ์ (ซบ.) ซึ่งบอกไว้ส�าหรับภรรยา ของท่านศาสดาแม่ของท่านศาสดาไม่มีสิทธิ ก็อย่าสิ้นหวัง ความเมตตาจากอัลลอฮ์ (ซบ.) โดยเด็ดขาด ในอดีตคนทีท่ า� ลายเรือ่ งฮัจญ์ ทีท่ า่ นศาสดา (ศ็อลฯ) และท่านอิมามอะลี (อ.) ปฏิบัติ นั่นคือมุอาวิยะฮ์ คนที่ ท�าลายเนื้อหาของการท�าฮัจญ์ ให้แยกให้เห็นอย่างชัดเจน ทีส่ ดุ และก็ไม่มโี อกาสทีจ่ ะสือ่ สารระหว่างอิมามกับมะอ์มมู ระหว่างผู้น�าไม่สามารถที่จะต่อกันติด นับตั้งแต่วันนั้น เป็นต้นมา นี่คือปัญหาส�าคัญที่สุด และถามว่าบรรดา อะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ท่านแก้ไขด้วยการไปประกอบพิธีฮัจญ์

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 117


นัน้ เพือ่ ทีจ่ ะไปรูจ้ กั กับประชาชาติของท่าน เพราะท่านเป็น อิมามอยู่แล้ว ท่านมีสิทธิ์ และนี่คือช่องทางที่ท่านก�าลังจะ ไปสอนวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ และท่านจะใช้เวทีนี้สอน สั่ง ไม่ว่าจะเป็นอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) อิมาบาเกร (อ.) และอิมามญะฟัร อัซซอดิก (อ.) ท่านก็ใช้การท�าฮัจญ์ให้ เป็นประโยชน์ ฉะนัน้ เราก็ตอ้ งใช้ตน้ แบบเหล่านีเ้ ช่นเดียวกัน เราจะต้องเรียนจากของจริงในความรู้สึกและต้องสกัดให้ ได้ มันจะสกัดตัง้ แต่การอาบน�า้ ฆุซลู มันสะกัดอย่างไร ก็ใน ขณะทีค่ ณ ุ อาบน�า้ อยูน่ นั้ คุณหวังทีจ่ ะให้ความผิดหลุดออก ไปจากตัวคุณ การเหนียตอาบน�า้ นัน่ คือให้ความผิดทัง้ หมด ออกจากร่างกายของเราไปให้หมด เสมือนน�้าที่ช�าระออก ไป และเราก็เริ่มครองชุดเอียะฮ์รอม และใช้ระยะเวลาใน การทีจ่ ะพิสจู น์วา่ เจ็ดวัน ตรงนีค้ ณ ุ สามารถอยูไ่ ด้ไหม และ ลักษณะของการเรียนรู้ที่น่าเสียดายที่สุดก็คือ การที่เราจะ ยอมรับว่าคนต่างสีผิว คนต่างเชื้อชาติที่เป็นมุสลิมด้วยกัน และซ�า้ ร้ายไปยิง่ กว่านัน้ เขาถูกกดขีข่ ม่ เหงด้วย สรุปแล้วเรา อาจไม่ผ่านบทนี้ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวต่อไปว่า เรือ่ งอะไรทีเ่ ป็น กิจการทางโลก มันขึน้ กับความเหมาะสมของพวกคุณ และ ตกลงกันให้ได้ และมันไม่มคี วามจ�ากัดกาลเวลาและสถาน ทีใ่ ดๆ ทัง้ สิน้ แม้กระทัง่ ในบาฮ์เรนมีความเหมาะสมไหม ใน ซีเรียก็เกิดในลักษณะเช่นนี้ มันเหมาะสมไหม และอยากให้ พวกเรา ไม่วา่ จะเป็นบาฮ์เรน ซีเรีย หรือประเทศมุสลิมต่างๆ ในโลก ฯลฯ ซึ่งแน่นอนถ้าเรามาพูดถึงเรื่อง บาฮ์เรน เป็น เรื่องการเมืองเข้ามาแต่ท�าอย่างไรล่ะ และถ้าเราไม่รวมตัว กัน พวกศัตรูของอิสลามก็จะฆ่าพวกเราอยู่เรื่อยๆ มีฮะดีษบทหนึ่งที่กล่าวว่า “บุคคลที่ไปประกอบพิธี ฮัจญ์แล้ว บุคคลนั้นเปรียบเสมือนผู้ที่เกิดใหม่จากครรภ์ ของมารดา” ในประเด็นต่อมาการท�าฮัจญ์นนั้ ก็เพือ่ ทีจ่ ะให้มี ทุนหมุนเวียนในการค้าขาย และได้นา� สินค้ามาแลกเปลีย่ น ซึ่งกันและกัน ฯลฯ เพราะท่านอิมามญะฟัร อัซซอดิก (อ.) ท่านต้องการให้เกิดขึน้ เพือ่ ทีจ่ ะได้พบปะและพูดคุยกันและ ติดต่อค้าขายและรวมตัวขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ฮุจญะตุลอิสลาม เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

118 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

อิหม่ามมัสยิดซอฮิบุซซะมาน (อ.)

ด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณา ปรานีเสมอ อัสลามุอะลัยกุม ฯ อัลฮัมดุลิลละฮ์ ส�าหรับวันนี้นับเป็นครั้งแรก เพราะ ส่วนมากนัน้ กระผมจะเป็นนักแปล นักเขียนและนักบรรยาย อินชาอัลลอฮ์ แน่นอนทีส่ ดุ พีน่ อ้ งบรรดาผูศ้ รัทธาทีเ่ คารพอิบาดะฮ์ ในพิธกี รรม และการปฏิบตั ศิ าสนกิจต่างๆ ในศาสนาอิสลาม นัน้ จะมีมติ ติ า่ งๆ มิตหิ นึง่ ของการอิบาดะฮ์ ทุกเรือ่ งก็คอื การ เสริมสร้างตักวา การช�าระขัดเกลาจิตวิญญาณให้เกิดขึน้ กับ มนุษย์ แต่ในอิสลาม ในอิบาดะฮ์ทั้งหลายไม่ได้อยู่ในมิติ เดียวและในบางอิบาดะฮ์มหี ลายมิตอิ ย่างเช่น การถือศีลอด การถือศีลอดนอกจะเป็นการช�าระขัดเกลาจิตวิญญาณของ ผู้ที่ถือศีลอด และยังมีแง่มุมของเรื่องความเห็นอกเห็นใจ หรือเรื่องของสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นในพระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน บรรดาวิลายะฮ์ได้ชี้ให้เห็น และในท�านองเดียวกัน ในเรื่องการท�าฮัจญ์ จากมิตินี้เพื่อเสริมสร้างการตักวาให้ เกิดขึน้ ในหัวใจ และเพือ่ เสริมสร้างความใกล้ชดิ ต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) เพราะฉะนั้นในมิติต่างๆ ของการท�าฮัจญ์ ยังมีมิติ ต่างๆ ทีย่ งั แอบแฝงอยู่ ซึง่ อรรถประโยชน์และคุณประโยชน์ ต่างๆ ที่เราจะได้รับจากการประกอบฮัจญ์มีมากมาย ดั่ง ที่วิทยากรบางท่านกล่าวไปแล้วนั้น แต่โดยสรุปจากคุณ ประโยชน์ตา่ งๆ ทีเ่ ราจะได้รบั จากฮัจญ์ อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็คอื สี่ด้านด้วยกันคือ การช�าระขัดเกลาจิตใจเป็นประเด็นหลัก ในด้านทีส่ องคือเรือ่ งการเมือง ด้านทีส่ ามคือเรือ่ งวัฒนธรรม และด้านทีส่ คี่ อื เรือ่ งทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทัง้ หมดจะรวม


อยู่ในฮัจญ์และยังมีข้อปลีกย่อยอีกที่ยังอยู่ในนี้ แน่นอนที่สุดในเรื่องของฮัจญ์ จะเหมือนกับเรื่อง การนมาซญะมาอะฮ์หรือนมาซญุมอะฮ์ ซึ่งจะมุ่งเน้นเป็น พิเศษถึงเรื่องมิติทางการเมือง ถ้าหากเราจะพิจารณาและ สังเกตว่า ท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) จะมีส�านวนอยู่ส�านวน หนึ่งก็คือ แม้กระทั่งนมาซญุมอะฮ์ “การอิบาดะฮ์ทางด้าน การเมือง” และในอันที่จริงแล้วถ้าเราพิจารณาพิธีฮัจญ์ จะมีสัญลักษณ์ต่างๆ ส�าหรับประชาชาติมุสลิมที่ให้ข้อคิด ต่างๆ บุคคลที่จะไปท�าฮัจญ์เขาจะต้องศึกษาให้ถ่องแท้ ว่าเป้าหมายของการท�าฮัจญ์นั้นจริงๆ แล้วไม่ใช่เพียงการ อิบาดะฮ์เพียงอย่างเดียว แต่จะมีเป้าหมายต่างๆ ทีแ่ อบแฝง อยู่ในการฮัจญ์ แม้กระทั่งนักการเมืองที่ไม่ใช่มุสลิมคนหนึ่งที่เขามี ความเข้าใจในพิธกี รรมฮัจญ์ “ความหายนะจงเป็นแด่มสุ ลิม ทัง้ หลายทีเ่ ขาไม่รคู้ วามหมายของการฮัจญ์ และความวิบตั ิ จะมีต่อบรรดาเหล่าศัตรูของอิสลาม ถ้าหากชาวมุสลิมทั้ง หลายได้รคู้ ณ ุ ค่าทีแ่ ท้จริงของการประกอบฮัจญ์ ฉะนัน้ ตรงนี้ เรานัน้ จ�าเป็นจะต้องเรียนรูแ้ ละเป้าหมายของการประกอบ ฮัจญ์ นอกเหนือจากการช�าระขัดเกลาทางด้านจิตวิญญาณ การแสวงหาการใกล้ชดิ ต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ) และการเสริมสร้าง การตักวาต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราจะ พูดถึงสัญลักษณ์ของฮัจญ์นั้นก็คือ เอกภาพ เพราะว่าใน พิธีกรรมของฮัจญ์นั้น ทุกๆ มนุษยชาติ ทุกๆ เผ่าพันธุ์ ทุกสี ผิว ไม่วา่ จะเป็นคนรวยหรือคนจนทัง้ หมดล้วนจะต้องไปอยู่ ในสถานทีท่ เี่ ดียวกัน ก็คอื บัยตุลลอฮ์ (บ้านของอัลลอฮ์) และ จะต้องยืนอยู่ในแถวเดียวกัน และทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความ แตกต่างกันจะต้องสลัดทิ้งออกไปทั้งหมด และจะต้องเป็น บ่าวของอัลลอฮ์ (ซบ.) เพียงองค์เดียว ฮัจญ์นั้นคือสัญลักษณ์ของการมีเอกภาพ ฮัจญ์คือ การท�าลายของ การต่อสูเ้ ชือ้ ชาติ เผ่าพันธุน์ ยิ ม เรือ่ งของการ ยึดติดในกลุม่ ชนต่างๆ ในลักษณะการเหยียดสีผวิ เชือ้ ชาติ ฮัจญ์นั้นคือการสู้ของการยืนหยัดในการต่อสู้กับการกดขี่ ข่มเหงต่างๆ และเป็นสัญลักษณ์ในการยืนหยัดปลดตัวเอง ให้พน้ จากอ�านาจของการคอบง�าต่างๆ ของบรรดาศัตรูของ อิสลาม นีก้ ค็ อื ส่วนหนึง่ ในมิตขิ องฮัจญ์ ในทางด้านการเมือง แม้กระทั่งในคัมภีร์อัลกุรอานก็ชี้ชัดว่า “อัลลอฮ์ ได้ทรงบันดาลกะอ์บะฮ์ขึ้นมาก็เพื่อเป็นสถานที่ยืนหยัด

ส�าหรับท�าให้มนุษย์ยืนหยัดในศาสนาของตนเองได้ หรือ ในฮาดีษของท่านอะลี (อ.) ซึ่งท่านกล่าวว่า อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงก�าหนดพิธฮี จั ญ์ขนึ้ มาก็เพือ่ ทีจ่ ะท�าให้ศาสนานัน้ มัน่ คง แข็งแกร่ง เพื่อการยืนหยัดของศาสนาอิสลาม ทุกข้อบังคับเป็นสิ่งที่ถูกมอบหมายจากหลักการใน ศาสนาอิสลามซึ่งเป็นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้ทรงก�าหนด ซึ่งไม่ใช่เป็นสิ่งที่เรานั้นท�าเพียงอย่างเดียวโดยปราศจาก จุดหมาย ซึ่งบางครั้งเราจ�าเป็นต้องเรียนรู้ เป้าหมายหรือ ฮิกมะฮ์ของมันให้ได้ โดยเฉพาะเป้าหมายของ การฏอวาฟ การเดิน การขว้างเสาหิน ฯลฯ เพราะอัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ทรง ก�าหนดให้แก่เราทุกอย่างจะต้องมีเป้าหมายในตัวของมัน เอง พระผู้เป็นเจ้าทรงก�าหนดพิธีฮัจญ์ขึ้นมาก็คือเพื่อแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคในชีวิตของสังคมโลกมุสลิมที่มีปัญหา ให้หมดไป และพวกเราต้องพยายามไปให้ถึงเป้าหมาย การใช้สื่อของฮัจญ์ และการด�ารงอยู่ของกะอ์บะฮ์ คือ สื่อ เดียวที่จะท�าให้อิสลามสามารถด�ารงอยู่ด้วย ท่านอิมาม ซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ศาสนาจะด�ารงอยู่ได้ตราบเท่าที่มัก กะฮ์ยังด�ารงอยู่” และนั่นหมายความว่าผู้ที่จะท�าฮัจญ์จะ ต้องรู้เป้าหมายรู้เจตนารมณ์ของฮัจญ์ โดยสื่อดังกล่าวจะ ต้องช่วยกันรักษาศาสนาและประชาชาติของท่านศาสดา (ศ้อลฯ) ให้อยู่เหนือของการควบคุมของเหล่าบรรดาศัตรู ได้ตลอดทุกๆ ยุคทุกสมัยนั่นเอง วัสลามฯ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 119


งำนเฉลิมฉลอง คล้ำยวันวิลำดัต อิมำมฮำซัน อัลมุจตะบำ (อ.) ณ ฮุซัยนียะฮ์ บำบุลฮำวำอิจญ์ นนทบุรี

มื่อวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2555 ฮุซัยนียะฮ์บา บุ ล ฮะวาอิ จ ญ์ จั ง หวั ด นนทบุ รี มี ก ารจั ด งาน เฉลิมฉลองวันคล้ายวันประสูติท่านอิมามฮาซันมุจญะ ตะบา (อ.) ในงานเฉลิมฉลองดังกล่าว ท่านอายะตุลลอฮ์ ชาฮ์รูคี ตัวแทน ฯพณฯ ผู้น�าสูงสุดทางจิตวิญญาณ ที่ดูแล กิจการงานด้านเอเซียตะวันออก ฮุจญะตุลอิสลามเชคมุ ฮัมมัด ตับรีซียาน ตัวแทนของท่านอายะตุลลอฮ์ซิสตานีย์ ฮุจญะตุลอิสลาม เชคญิดดีย์ นายมุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะห์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม สถาน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�า กรุงเทพฯ และบรรดาผูศ้ รัทธาชีอะห์เข้าร่วมงานเฉลิมฉลอง ดังกล่าว กิจกรรมเริม่ ต้นด้วยการนมาซญะมาอัตมัฆริบอิชาอ์ ด้วยการเป็นอิมามญะมาอัตของฮุจญะตุลอิสลาม เชคมุฮมั มัด ตับรีซียาน ตัวแทนอายะตุลลอฮ์ซิสตานีย์ จากนั้นเป็นการอัญเชิญอัลกุรอาน โดยนายอะลี ซอเดะห์ นักกอรีอันดับต้นๆ ของสาธารณรัฐอิสลามแห่ง

120 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

อิหร่าน ต่อด้วยการข�าขานบทกวี และตะวาเชียฮ์ จากคณะ ตะวาเชียฮ์เกาะมัร บะนีฮาชิม (อ.) ต่ อ มาเป็ น การบรรยายเกี่ ย วกั บ ชีวประวัติและเกียรติยศของท่านอิมาม ฮาซัน มุจญะตะบา (อ.) และอุปสรรค การปกครองในยุคของท่านอิมาม โดยท่านอายะตุลลอฮ์ ชาฮ์รคู ี ได้ กล่าวบรรยายว่า ท่ า นอิ ม ามฮาซั น (อ.) เจริญเติบโตอยู่บนตักของท่าน หญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) ในช่วงเยาว์ วัยของท่าน ได้รบั การเรียนรู้ และ ท่ อ งจ� า โองการของอั ล กุ ร อาน ที่ถูกประทานมายังท่านศาสดา มุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ทุกครัง้ ทีก่ ลับมายัง บ้านท่านอิมาม (อ.) จะอ่านโองการขอ งอัลกุรอานที่ท่านตาสอนให้มารดาของ ท่านฟัง ซึ่งค�าสอนที่ท่านศาสนะทูตแห่ง อัลลอฮ์ (ศ็อลฯ) ถ่ายทอดให้ทา่ นอิมามอะลี (อ.) เรียนรรู้นั้น จะถูกถ่ายทอดให้อิมามฮาซัน (อ.) เรียน รู้ด้วย และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) จะอ่านให้อิมาม อะลี (อ.) ฟัง ท่านอิมามอะลี (อ.) จะถามว่าได้ยินโองการนี้จาก ใคร ท่านหญิงก็จะตอบว่าได้ยินโองการเหล่านี้จากฮาซัน วันหนึง่ ท่านอิมามฮาซัน (อ.) ต้องการทีจ่ ะกล่าวเรือ่ ง จรรยามารยาทของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “บุคคลใดทีม่ คี วามปรารถนาจะขอสิง่ ใดจากท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) แน่นอนความปรารถนาของเขาจะได้รบั การ ตอบรับ ซึ่งเขาผูน้ นั้ จะต้องเป็นผู้ให้การช่วยหลือพีน่ ้องของ ตนเองต่อไป ซึ่งฉันเองได้ยินท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า บุคคลใดที่นมาซศุบฮ์ นมาซศุบฮ์จะเป็นก�าแพงขวางกั้น ระหว่างเขากับไฟนรก” ท่านอายะตุลลอฮ์ ชาฮ์รคู ี ยังบรรยายโดยการน�าค�า กล่าวของท่านศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ทีก่ ล่าวเกีย่ วกับท่าน อิมามฮาซัน มุจญะตะบา (อ.) ว่า : “บุคคลใดปรารถนาทีจ่ ะพบเห็นผูป้ กครองชายหนุน่ แห่งสวนสวรรค์ให้มองไปยังฮาซัน (อ.) “ วันหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อยู่บนมินบัรในเวลา


พบปะระหว่ำง ฯพณฯ นำยมุศฏอฟำ นัจญำรอนียอน ซอเดฮ์ ที่ปรึกษำฝ่ำยวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม สถำนเอกอัครรำชทูต สำธำรณรัฐอิสลำมแห่งอิหร่ำนกับ นัน้ ท่านอิมามฮาซัน(อ.) ก็นงั่ อยูเ่ ดียงข้างท่าน และท่านมอง ไปยังประชาชนทีม่ ารวมกัน ณ ทีน่ นั้ และกล่าวว่า “นีค่ อื บุตร ชายของฉัน ซึง่ พระผูเ้ ป็นเจ้าพระองค์ทรงมอบความเมตตา ของพระองค์ยงั บรรดามุสลิมผูศ้ รัทธาผ่านยังฮาซันของฉัน” ตลอดชีวติ ของท่าน ท่านอิมามฮาซัน (อ.) มอบความ รักและความเมตตาแก่บรรดาผู้ศรัทธา และเป็นผู้ชี้แนะ แนวทางให้บรรดาผู้ศรัทธา แม้แต่ศัตรูของท่าน ดังนั้น เกียรติยศของท่านอิมามฮาซัน(อ.) จึงมีความส�าคัญยิง่ ท่าน มีจติ ใจทีเ่ อือ้ เฟือ้ ต่อบุคคลอืน่ ๆ บรรดาผูย้ ากไร้ ผูย้ ากจนไม่ เคยมือเปล่ากลับไป เมือ่ พวกเขามาพบกับท่าน อิมามฮาซัน (อ.) อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเหตุการณ์ส�าคัญยิ่งที่ท่านอิมามฮา ซัน (อ.) สัง่ สอนบรรดามุสลิมว่า ความเจริญก้าวหน้าของอิส ลามนมิได้ขนึ้ อยูป่ ลายดาบทีข่ บู่ งั คับ อิสลามทีท่ า่ นศาสดา (ศ็อลฯ) น�ามาสอนสั่งขึ้นอยู่กับความเมตตาและสันติ แต่ ถ้าคิดว่าการเผยแพร่แนวทางแหงอิสลามต้องขึน้ อยูก่ บั คม ดาบแล้ว ก็ไม่สมควรที่จะกระท�าเช่นนั้น จากนั้นท่านฮุจญะตุลอิสลาม เชคมุฮัมมัด ตับรีซี ยาน ตัวแทนของอายะตุลลอฮ์ซิสตานีย์ กล่าวบรรยายว่า ด้วยความจ�าเริญที่เต็มไปด้วยคุณงามความดีของเดือน รอมาฎอนอันจ�าเริญ และเกียรติยศของท่านอิมามฮาซัน มุจญะตะบา (อ.) ดังนั้น บรรดามุสลิมจะต้องมีความรัก ความสมานฉันท์สามัคคีกัน เพราะมนุษยชาติที่ถูกสร้าง มา ไม่ได้มีความแตกต่างกัน มนุษย์ทุกคนเป็นบ่าวของ อัลลอฮ์(ซบ.) ทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน ไม่มีบุคคลใดที่มี สิทธิเหนือกว่าอีกคนหนึง่ พระผูเ้ ป็นเจ้า พระผูเ้ มตตากรุณา ปรานี ทรงประทานความเมตตาให้มนุษย์ด�ารงชีวิตอย่าง ผาสุข ไม่ว่ามนุษย์ผู้นั้นจะอยู่ในแนวทางใดก็ตาม ต่างก็ ต้องมีความรักสามัคคีซึ่งกันและกัน

คณะผู้บริหำร สถำนีโทรทัศน์ช่อง13 ณ ส�ำนักงำน ศูนย์วัฒนธรรมฯ

มือ่ วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม 2555 คณะผูบ้ ริหาร สถานีโทรทัศน์ช่อง 13 สยามไทยเดินทางเข้า พบปะสนทนากับที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมฯ ณ ส�านักงาน ศูนย์วัฒนธรรมฯ คณะผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่องสยามไทย (ช่อง 13) เดินทางเข้าพบนายมุศฏอฟา นัจญาริยอนซอเดะห์ที่ ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม และ ท่านอายะตุลลอฮ์ ชาฮ์รูคี เพื่อ ประสานเกี่ยวกับงานด้ายวัฒนธรรม ที่ปรึกษาสถานีโทรทัศน์สยามไทยกล่าวขอบคุณ ท่านทีป่ รึกษาฝ่ายวัฒนธรรมฯ ทีใ่ ห้โอกาสคณะของผูบ้ ริหาร สถานีโทรทัศน์ฯ เข้าพบปะสนทนา และรับทราบเกี่ยวกับ กิจกรรมด้านวัฒนธรรมของศูนย์วัฒนธรรมฯ ซึ่งทางสถานี โทรทัศน์สยามไทยพร้อมที่จะให้การบริการ จัดท�ารายการ เกี่ยวกับวัฒนธรรม ทางสถานีโทรทัศน์สยามไทย ที่มีผู้ เข้าชมรายการจ�านวนมาก โดยเฉพาะรายการท่องเที่ยว อิหร่าน เพื่อจะน�าประเทศอิหร่าน สถานที่ท่องเที่ยว ขนบ ธรรมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวอิหร่านมาสู่สายตา ของชาวไทย ที่ปรึกษาถสานีโทรทัศน์สยามไทย ยังกล่าวต่อไป อีกว่า เราทราบดีว่าแนวทางศาสนาของอิหร่านคือศาสนา และการเมืองต้องไม่แยกออกจากกัน ในโลกปัจจุบนั มนุษย์ ต่างใฝ่หาที่จะพบกับความสันติทางจิตวิญญาณด้วยการ เข้าหาทางศาสนา เพื่อใช้ศาสนาควบคลุมอารมณ์ใฝ่ต�่า ของตนเอง นายมุศฏอฟา นัจญาริยอนญอ ซอเดะห์ ที่ปรึกษา ฝ่ า ยวั ฒ นธรรมฯ กล่ า วขอบคุ ณ คณะผู ้ บ ริ ห ารสถานี

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 121


โทรทั ศ น์ ส ยามไทยช่ อ ง 13 ที่ เ ดิ น ทางมาเยื อ นศู น ย์ วัฒนธรรม โดยท่านกล่าวว่า ขอพิจารณาว่าในวันนี้นัก วิชาการทีย่ งิ่ ใหญ่ของโลก ซึง่ อยูใ่ นสังคมมนุษยชาติทหี่ ลาก หลาย พวกเขากระท�าสิ่งใดบ้างส�าหรับโลกในอนาคตที่น่า สะพรึงกลัว วันนีแ้ ม้แต่โป๊ป ผูน้ า� คริสต์ศาสนาต้องเรียกร้อง ให้ชาวคริสเตียนโรมันคาทอลิกให้ออกมาร่วมกันสวดมนต์ เพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณ ขณะเดียวกับที่อีกซีกหนึ่งของ โลกตะวันตกไม่เคยได้รับข่าวคราวเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า ทีแ่ ท้จริงและยังสร้างความแตกแยกให้มนุษยชาติ อยูต่ ลอด เวลา ซึ่งสิ่งนี้ที่น่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง นายนัจญาริยอน ซอเดะห์ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ถ้า จะกล่าวว่าศาสนาในแนวทางใดจะหยุดยัง้ มิให้มนุษย์ออก ห่างจากการท�าบาปและสร้างสันติให้แก่สังคมโลก ขอให้ พิจารณาเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่สอนให้มนุษย์รู้จักเพียง พอ ท�าจิตวิญญาณให้สงบ ส�าหรับอิหร่านเราผ่านการ ทดสอบมานานถึง 34 ปีในการที่ใช้แนวทางแห่งศาสนามา เป็นเครื่องมือทางการเมืองและการปกครอง และให้อิสระ เสรีภาพแก่ประชาชน ทีส่ ามารถจะเลือกแนวทางการปฏิบตั ิ เรามีค�าขวัญเพียงว่าไม่มีตะวันออกไม่มีตะวันตก เราให้ เกียรติและเคารพต่อมิตรประเทศ สร้างความสมานฉันท์ กับทุกประเทศไม่แบ่งแยก ค�าขวัญของเราคือการเมือง และการเมืองของเราคือ ศาสนา อิหร่านตั้งอยู่บนพื้นฐานการปกครองโดยรัฐที่จัด ตั้งโดยประชาชนที่ทุกคนมีศาสนาอยู่ในจิตวิญญาณของ ตนเอง และประชาชนเป็นผู้มีสิทธิในการบริหารการเมือง ดังทีท่ า่ นศาสดา (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมามผูบ้ ริสทุ ธิก์ ระท�า ไว้เป็นตัววอย่าง สุดท้ายผู้อ�านวยการสถานีโทรทัศน์สยามไทยช่อง 13 ขอให้ท่านที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมจัดส่งข้อมูลข่าวสาร เกีย่ วกับความสัมพันธ์ของสังคม ศาสนาและประชาชนชาว อิหร่านให้ทางสถานี อีกทัง้ ข้อมูลเรือ่ งอารยธรรมวัฒนธรรม ของอิหร่านด้วย ซึง่ ทีป่ รึกษาฝ่ายวัฒนธรรมรับว่าจะด�าเนิน การให้

122 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

ภำรกิจของ ฮุจญะตุลอิสลำมวัลมุสลิมีน

ฮัจญ์ ซัยยิดกอฎี อัสกัร ตัวแทน ฯพณฯ ผู้น�ำสูงสุด ทำงจิตวิญญำณ

อะมีรุลฮัจญ์และกำรซิยำรัต สำธำรณรัฐอิสลำมแห่งอิหร่ำน

พบปะกับ พี่น้องมุสลิมชีอะฮ์ในประเทศไทย ณ ฮุซัยนียะห์วิลำยะฮ์ ศูนย์วัฒนธรรม สถำนเอกอัครรำชทูต สำธำรณรัฐอิสลำม แห่งอิหร่ำน กรุงเทพมหำนคร

มื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 ท่านฮุจญะตุลอิส ลามวัลมุสลิมีน ฮัจญีซัยยิด กอฎี อัสกัร ตัวแทน ฯพณฯ ผู้น�าสูงสุดทางจิตวิญญาณ ด�ารงต�าแหน่ง อะมี รุลฮัจญ์และการซิยารัต พร้อมด้วยคณะซึง่ ประกอบไปด้วย ท่านบากิรีย์ ซึ่งเป็นรองผู้อ�านวยการฝ่ายกิจการฮัจญ์และ การซิยารัต ส�านังานผู้น�าสูงสุดทางิตวิญญาณ ท่าน ดร. เดะห์ชรี ยี ์ รองผูอ้ า� นวยการฝ่านการศึกษาและวิจยั องค์การ วัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์อิสลาม ได้จัดประชุมพบปะ กับบรรดาผู้ศรัทธาชีอะฮ์แห่งประเทศไทย ณ ฮูซัยนียะฮ์ วิลายะฮ์ ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐ


อิสลามแห่งอิร่าน ประจ�ากรุงเทพฯ ก�าหนดการเริ่มต้นด้วยการนมาซญะมาอัตมัก ริบ และอีชาอ์ โดยอิมามญะมาอัต ท่านฮุจญะตุลอิสลาม วัล มุสลิมีน ฮัจญ์ซัยยิด กอฎี อัสกัร ตัวแทน ฯพณฯ ผู้น�าสูงสุดทางจิตวิญญาณ ด�ารงต�าแหน่งอะมีรุลฮัจญ์ และการซิยารัต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และเปิด การประชุมด้วยการอัญเชิญอัลกุรอาน โดยครูฮารูน ริฏอ เมฆลอย จากนั้นนายมุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะห์ ที่ ปรึ ก ษาฝ่ า ยวั ฒ นธรรมฯ กล่ า วต้ อ นรั บ ท่ า นฮุ จ ญะตุ ล อิสลาม วัลมุสลิมนี ฮัจญ์ซยั ยิกอฎี อัสกัรและแขกผูม้ เี กียรติ และกล่าวเชิญ ฯพณฯ ฮูเซน กะมาลียอน เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�าประเทศไทย ขึ้น กล่าวเปิดการประชุมพบปะ ซึ่ง ฯพณฯ เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแหงอิหร่าน ได้กล่าวขอบคุณต่อท่าน ฮุ จ ญะตุ ล อิ ส ลาม วั ล มุ ส ลิ มี น ฮั จ ญี ซั ย ยิ ด กอฎี อั ส กั ร พร้อมคณะที่มาร่วมประชุมพบปะกับผู้ศรัทธาชีอะฮ์ใน ประเทศไทย และขอบคุณต่อที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมฯ ที่ จัดการประชุมพบปะครั้งนี้ขึ้น ต่อมาเป็นการบรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อิลยาส เกียรติธารัย ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษา อิสลามและการพัฒนา และซัยยิดมุบาร็อก ฮูซยั นี ประธาน ชมรมคนรักวิลายะฮ์ จากนั้นเป็นการร้องตะวัชเชียะอ์​์ของ นักเรียนศาสนาจากสถาบันอัลมะฮ์ดี จ. นครศรีธรรมราช ต่ อ จากนั้ น ท่ า นฮุ จ ญะตุ ล อิ ส ลาม วั ล มุ ส ลิ มี น ฮัจญีซัยยิดกอฎี อัสกัรกล่าวบรรยายว่า ข้าพเจ้ามีความ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มานั่งร่วมประชุมพบปะกับบรรดาผู้ ศรัทธาชีอะฮ์ในประเทศไทย เดือนรอมาฎอนอันจ�าเริญก�าลังใก้เข้ามาในเร็ววัน ซึ่งเดือนนี้เป็นเดือนที่บ่าวของพระผู้เป็นเจ้าจะได้ปฏิบัติ ศาสนกิจและเป็นแขกรับเชิญของพระผูเ้ ป็นเจ้า ภาระหน้าที่ ของบรรดาผูศ้ รัธาชีอะฮ์แห่งประเทศไทยนัน้ หนัก ท่ามกลาง สรรพสิ่งยั่วยวนต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือหลักการอิสลามนั้น มีมาก ซึ่งพวกท่านจะต้องให้ความส�าคัญต่อหลักการของ ศาสนาให้มาก และพยายามแนะน�าให้บรรดาพี่น้องชีอะฮ์ มีความย�าเกรง และอย่าละเลยการท�าอิบาดะห์ โดยเฉพาะ เรื่องนมาซและบทบัญญัติข้อบังคับของศาสนา

ท่านกล่าวถึงเรื่องการตื่นตัวของโลกอิสลามว่า โดยยกตัวย่างจากท่านอิมามโคมัยนี (รฮ.) ที่มีสาส์นไปถึง ผู้น�าโซวียตที่เรียกกันว่า สาส์นแห่งพระผู้อภิบาล ในการ เชิญชวนผู้น�าโซเวียตให้หันมาศึกษาเกี่ยวกับหลักการของ อิสลาม แม้กระทั่งการที่ท่านอิมาม (รฮ.) กล่าวเกี่ยวกับซัด ดัมที่ถูกโค่นล้ม วันนี้เราทุกคนก็เป็นพยานยืนยันแล้วว่า ค�าพูดที่ท่านอิมาม (รฮ.) กล่าวไว้นั้นเป็นความจริง ท่าน ยังกล่าวเกี่ยวกับโองการอัลกุรอานและฮะดีษในเรื่องการ ปฏิบัติตัวของบรรดาชีอะฮ์ที่ดีว่า จ�าเป็นต้องปฏิบัติตาม แนวทางส�านักคิดของท่านอิมามซอดิก (อ.) โดยเรื่องแรก คือเรือ่ งจริยธรรม กิรยิ ามารยาท ท�าอย่างไรทีจ่ ะให้เมือ่ ผูอ้ นื่ พบเห็นท่าน พวกเขาก็จะกล่าวว่านี่คือจริยธรรม มารยาท ในหนทางของส�านักอิมามซอดิก (อ.) เรื่องที่สองคือการ มีความศรัทธาและความย�าเกรง เรื่องที่สามการศึกษา หาความรู้และการพัฒนาตัวเอง ท่านฮุจญะตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน ฮัจญี ซัยยิดกอ ฎี อัสกัร กล่าวในค�าบรรยายช่วงสุดท้ายว่า ในการวิงวอน ดุอาอ์ จงอย่าลืมอ่านดุอาอ์ฟะระญะฮ์ โดยเฉพาะพี่น้อง ชีอะฮ์ชาวไทย

พบปะกับ ผู้บริหำรสถำบันอัลมะฮ์ดียะฮ์ ณ สถำบันอัลมะฮ์ดียะฮ์ กรุงเทพมหำนคร

มื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ท่านฮุจญะตุล อิสลาม วัลมุสลิมีน ซัยยิด กอฎี อัสกัร ตัวแทน ของ ฯพณฯ ผู้น�าสูงสุดทางจิตวิญญาณ พร้อมด้วยท่าน ดร. บากิรีย์ รองผู้อ�านวยการส�านักงานฮัจญ์ ฝ่ายต่างปะ เทศ , ท่าน ดร. เดะห์ชีรีย์ รองผู้อ�านวยการ องค์การวัฒน ธรนรมและประชาสัมพันธ์อสิ ลาม ฝ่ายการศึกษาและวิจยั , ฯพณฯ ฮูเซน กะมาลียอน เอกอัคราชทูต สาธาณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน ประจ�าประเทศไทย , นายมุศฏอฟา นัจญาริ ยอน ซอเดะห์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม และท่านฮุจญะตุล อิสลาม วัลมุสลิมีน เชคคอลิกพูร ตัวแทนจากองค์การญา

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 123


มิอะตุลมุศฏอฟาฯ ประจ�าประเทศไทย ก�าหนดการเริม่ ต้นด้วยอัญเชิญพระมหาคัมภ์อลั กุรอานโดยนักศึกษาของสถาบันการศึกษาอิสลามอัลมะฮ์ ดียะห์ จกานั้นเป็นการฉายวีดีทัศน์แนะน�าผลงานของ สถาบันการศึกษาฯ โดยอาจารย์ซัยิดะห์บุชรอ ฮูซัยนี และ กล่าวต้อนรับโดยท่านฮุจญะตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน เชค คอลิกพูร ตัวแทนจากองค์การญามิอะตุลมุศฏอฟาฯ ต่อ มาเป็นการกล่าวให้โอวาทโดย ท่านฮุจญตุลอิสลาม วัลมุ สลิมีน ซัยยิด กอฎี อัสกัร ตัวแทน ฯพณฯผู้น�าสูงสุดทางจิต วิญญาณ ด�ารงต�าแหน่งอะมีรุลฮัจญ์และการซิยารัต โดย ท่านได้กล่าวว่า ขอขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้า ที่พระองค์ได้ ทรงประทานความเมตตาให้แก่เรา ทีไ่ ด้มโี อกาสเดินทางมา เยือนสถาบันการศึกษาอิสลามอัลมะฮ์ดียะห์ และไดมานั่ง ท่ามกลางพวกท่านเหล่าสตรีผมู้ เี กียรติ ขอพระผูเ้ ป็นเจ้าได้ ทรงโปรดประทานความเมตตาของพระองค์ และทรงน�าแสง แห่งทางน�ามาสู่พวกท่านทั้งหลายด้วยเถิด เป็นสิ่งจ�าเป็น อย่างยิง่ ทีข่ า้ พเจ้าจะต้องกล่าวในเรือ่ งคุณลักษณะของสตรี อิสลามได้มองให้ความส�าคัญต่อสตรีเพศเป็นอย่างยิง่ พวก ท่านลองพิจารณาดูว่าอิสลามได้ให้ความส�าคัญกับสตรี เพศอย่างไร เมือเ่ ปรียบเทียบพวกท่านกับสตีรชาวตะวันตก ท�าไมในอัล-กุรอานไม่ได้แบ่งแยกความส�าคัญของสตรีเพศ และบุรษุ เพศ แต่ทว่าทัง้ สองต่างต้องมีความสัมพันธ์กนั ดัง โองการของอัลกุรอานได้กล่าวว่า แท้จริงบรรดาผูศ้ รัทธาทัง้ ชายและหญิงต่างได้มสี ายสัมพันธ์แก่กนั ...เพือ่ ทีท่ งั้ สองจะ ได้สร้างความย�าเกรง ดังเช่นท่านหญฺงอาซียะห์ภริยาของฟิ รอูน ทีพ่ ระผูเ้ ป็นเจ้าทรงยกสถานภาพของนางสูง แต่ตรงกัน ข้ากับภริยาของท่านศาสดาลูฏ (อ.) ทีพ่ ระองค์ทรงลงทัณฑ์ ท่านอะมีรุลฮัจญ์ ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า อิสลาม ปรารถนาที่ให้สตรีนั้นมัความสมบูรณ์ในการเป็นสตรีเพศ ดังเช่นบรรดาสตรีในประเทศสาธารรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ทีพ่ วกนางได้ประสบความส�าเร็จไม่วา่ จะเป็นในเรือ่ งความรู้ การศึกษา และเรือ่ งทางศาสนาก็ตาม สุดท้านของค�าโอวาท ท่านตัวแทนของ ฯพณฯ ผู้สูงสุดทางจิตวิญญาณ ด�ารงต แหน่งอะมีรุลฮัจญ์ ยังได้กล่าวว่า ท่านหญิง ซะห์รอ (อ.) ได้ ปฏิบตั แิ บบอย่างอันดีงามไว้ให้พวกท่าน ในฐาะทีพ่ วกท่าน คือทูตานุทูตของอะห์ลุลบัยต์ (อ.) และฯพณฯ ผู้น�าสูงสุด ทางจิตวิญญาณก็ได้ฝากสลามสันติมายังพวกท่านด้วย

124 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

พบปะกับ อิมำมญุมอะฮ์ มูลนิธิเพื่อศูนย์กลำง อิสลำมแห่งประเทศไทย ณ มูลนิธิเพื่อศูนย์กลำงอิสลำม แห่งประเทศไทย กรุงเทพมหำนคร

มื่อวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555 ท่านฮุจญะตุล อิสลามวัลมุสลิมนี ฮัจญีซยั ยิดกอฎี อัสกัร ตัวแทน ฯพณฯ ผูน้ า� สูงสุดทางจิตวิญญาณ อมีรลุ ฮัจญ์และการซิยา รัต พร้อมด้วย ดร. บากิรีย์ รองผู้อ�านวยการส�านักงานฮัจญ์ ฝ่ายต่างประเทศ ดร. เดะห์ชีรีย์ รองผู้อ�านวยการองค์การ วัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์อิสลาม ฝ่ายการศึกษาและ วิจัย ท่านมุศอฟา นัจญาริยอน ซอเดะห์ ที่ปรึกษาฝ่าย วัฒนธรรมฯ ประจ�ากรุงเทพและท่านกาลอมียอน บีพรู ฝ่าย วัฒนธรรมของสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่าน ประจ�าประเทศไทย เดินทางเข้าพบปะสนทนากับ อาจารย์ชาฟิอี นภากร อิหม่ามญุมอะฮ์มัสยิดศูนย์กลาง อิสลามแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ ในการเข้าพบปะสนทนาครั้งนี้ ตัวแทน ฯพณฯ ผู้น�า สูงสุดทางจิตวิญญาณ ด�ารงต�าแหน่งอะมีรุลฮัจญ์และ การซิยารัต ได้กล่าวเกี่ยวกับฮัจญ์ที่มีบทบาทต่อการสร้าง เอกภาพในระหว่างประชาคมโลกอิสาม ฮัจญ์ถกู ขนานนาม ว่าเป็นอุดมการณ์ของการสร้างเอกภาพของประชาชาติ อิสลาม ซึง่ พระผูเ้ ป็นเจ้า ทรงประสงค์ให้บรรดามุสลิมสร้าง ความเป็นภราดรภาพเดียวกัน มีความสามัคคีกันและนับ ว่าครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดี ที่มีโอกาสมาเยือน และเยี่ยมเยืยน บรรดาชาวไทยมุสลิม ท่านอาจารย์ชาฟิอี นภากรอิหม่ามญุมอะฮ์มัสยิด ศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวขอบคุณตัวแทน ฯพณฯ ผู ้ น� า สู ง สุ ด ทางจิ ต วิ ญ าณ ฯ พร้ อ มคณะที่ ใ ห้ เกียรติเดินทางมาเยือนมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยและนมาซญุมอะฮ์ ร่วมกับบรรดามุสลิมที่ มัสยิดศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย แน่นอนปรัชญา ของฮัจญ์ คือการสร้างความเป็นเอกภาพของบรรดามุสลิม


พบปะกับ พระธรรมโกศำจำรย์ อธิกำรบดี

มหำจุฬำลงกรณ์ รำชวิทยำลัย ณ มหำจุฬำลงกำร์รำชวิทยำลัย จ. พระนครศรีอยุธยำ

มื่อวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2555 ท่านฮุจญะ ตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน ฮัจญี ซัยยิดกอฎี อัสกัร ตัวแทนวิลฟี ะกีฮ์ ด�ารงต�าแหน่งอะมีรลุ ฮัจญ์และการซิยารัต ที่เดินทางมาร่วมประชุมนานาชาติ ฮัจญ์ :ประจักษ์และตื่น รู้ บนเอกภาพอิสลาม ได้เดินทางเข้าพบปะสนทนากับพระ ธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัย ณ อ�าเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการพบปะสนทนาครั้งนี้ท่านฮุจญะตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน ฮัจญี ซัยยิดกอฎี อัสกัรพร้อมด้วยคณะผู้ร่วม ทางประกอบด้วย ฯพณฯ ฮูเซน กะมาลียอนเอกอัครราช ทูตสาธาณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�าประเทศไทย นาย มุศฏอฟา นัจญาริยอน ซอเดะห์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลาม แห่งอิหร่าน ประจ�ากรุงเทพฯ ท่านบากิรีย์ รองผู้อ�านวย การส�านักงานตัวแทนวิลายะตุ้ลฟะกีฮ์ ในกิจการฮัจญ์และ การซิยารัต และท่าน ดร. เดะห์ชีรีย์ รองผู้อ�านวยการฝ่าย การศึกษาและวิจัย องค์การวัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์ อิสลาม ก� า หนดการเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการเยี่ ย มห้ อ งสมุ ด ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ฯ จากนั้นจึงเข้าพบท่าน อธิการบดี พระธรรมโกศาสจารย์ โดยท่านฮุญะตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน ฮัจญ์ ซัยยิด กอฎี อัสกัร กล่าวว่า : การที่มี โอกาสมาเยือน และพบสนทนากับนักวิชาการทางศาสนา และมัซฮับต่างๆ เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง และโดยเฉพาะการ แลกเปลีย่ นทรรศนะกันจะท�าให้โลกมุง่ ไปสูก่ ารพัฒนา และ

จะท�าให้ประชากรของประเทศนัน้ ๆ ได้รบั ผลประโยชน์มาก ที่สุด ในอัลกุรอาน พระผู้เป็นเจ้าทรงส่งศาสนทูตมาเป็น จ�านวนมากเพือ่ ท�าหน้าทีท่ แี่ ตกต่างกัน เช่น ท�าหน้าทีน่ า� ทาง มนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ เพื่อท�าให้ศักดิ์ศรีของ ความเป็นมนุษย์สูงขึ้น เพื่อท�าให้แผ่นดินในยุคสุดท้ายนี้ เต็มไปด้วยความยุติธรรม ปราศจากผู้กดขี่ ดังที่ศาสดา แห่งอิสลามแจ้งไว้และทุกส�านักคิดก็กล่าวแจ้งโดยศาสดา ของเขาแล้ว แม้กระทั่งในแนวทางของพุทธศาสนาก็เป็น เช่นเดียวกันนี้ ปั จ จุ บั น โลกต้ อ งพบกั บ อุ ป สรรคนานาประการ เพราะคนจน คนหิวกระหาย และการกดขี่ที่มีอยู่ทุกวัน ใน ระหว่างสิง่ เหล่านีจ้ า� เป็นต้องมีผหู้ นึง่ ขับเคลือ่ นผลักดัน เพือ่ ให้การด�าเนินชีวติ ของมนุษยชาติประสบความผาสุก ตรงนี้ ทีข่ า้ พเจ้า ต้องการเรียนถามท่านว่า เมือ่ เป็นเช่นนีเ้ ราจะท�า อย่างไร เป็นการดีหรือไม่เราควรจะร่วมมือกันในการสร้าง ความมั่นคง และการประชุมแลกเปลี่ยนทรรศนะของพุทธ ศาสนากับอิสลาม ท่าน ดร.เดะห์ชีรีย์ รองผู้อ�านวยการฝ่ายการศึกษา และวิจัย องค์การวัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์อิสลาม กล่าวว่าทางองค์การวัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์อสิ ลาม มีความพร้อมทีจ่ ะให้ความร่วมมือจัดการประชุมครัง้ ทีส่ อง ขึ้น ข้าพเจ้าทราบมาว่า ท่านอธิการบดีฯ เป็นนักวิชาการ มีแนวคิดสร้างสรรค์ ข้าพเข้าหวังว่าเราจะเริ่มงานกันใน ไม่ช้า ข้าพเจ้าต้องการจะทราบทรรศนะของท่านว่าเป็น อย่างไร เพราะอิสลามของเรา เป็นอิสลามที่ท่านศาสดา มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) น�ามา อิสลามที่เรียกร้องสันติ และความ สงบอยูแ่ ผ่นดิน แต่ปจั จุบนั ก็ยงั มีกลุม่ ชนทีห่ นั เหออกจากค�า สอนของกุรอาน ไม่เชื่อฟังบทบัญญัติที่ถูกวางไว้ เช่น กลุ่ม ตาลีบันในอัฟกานิสถานที่ท�าลายพระพุทธรูปที่ชาวพุทธ นับถือและการฆาตรกรรมอย่างทารุณ นี่คือส่วนหนึ่งของ มนุษย์ที่อ้างตนว่าเป็นมุสลิมแต่อันที่จริงไม่ใช่ อิสลามเป็นศาสนาที่เรียกร้องความสันติ อิสลามที่ เรียกร้องสู่เอกภาพ ความผาสุกของเราคือการมอบความ เมตตาให้ผอู้ นื่ เราจะต้องให้ความเคารพซึง่ กันและกัน และ แลกเปลี่ยนทรรศนะกันระหว่างอิสลามกับศาสนาอื่นๆ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 125


ขอขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้า ที่ในการพบปะครั้งนี้ มี ฯพณฯ เอกอัคคราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�าประเทศไทย นายนัจญาริยอน ซอเดะห์ทปี่ รึกษาฝ่าย วัฒนธรรมฯ ทั้งสองท่านนี้จะเป็นผู้ประสานงานมายังท่าน เพื่อจะเชื่อมโยงงานเก่าสานงานใหม่ และต้องขอขอบคุณ ต่อทางเจ้าหน้าที่ที่ให้การช่วยเหลือเราในงานที่ผ่านๆ มา พระธรรมโกษาจารย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวขอบคุณท่านฮุจญะตุล อิสลาม วัลมุสลิมีน ฮัจญี ซัยยิดกอฎี อัสกัรและคณะที่ เดินทางมาเยือน โดยท่านกล่าวว่า หลังจากที่ทางเรากับ ศูนย์วัฒนธรรมฯ เคยจัดประชุมอิสลามและพุทธขึ้นครั้ง แรก ซึ่งในครั้งที่สองตกลงไว้ว่าจะไปจัดการประชุมขึ้นที่ กรุงเตหะราน อิหร่าน ทางเรามีความพร้อมอยู่เสมอ เรา เชื่อว่าการจัดประชุมลักษณะนี้ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มาก ทึ่สุดคือผู้ที่มาร่วมงานกับเรา เพื่อสร้างมิตรไมตรีของสอง ประเทศที่มีมาช้านาน และต้องการให้ทางอิหร่านส่งนัก วิชาการ ผู้เชี่ยวชาญมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย แห่งนี้ด้วย พระธรรมโกศาจารย์ยังกล่าวเสริมอีกว่า ข้าพเจ้า ทราบดีวา่ โลกปัจจุบนั นีต้ อ้ งเผชิญกับอุปสรรคนัปการ ทีเ่ รา จะต้องแบกภาระหน้าที่หนักกว่าเดิม ดังที่ท่านน�าเสนอมา นั้นก็เป็นสิ่งที่ดี ที่ว่าจะให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อ ที่สาธาณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ในประวัติศาสตร์ประเทศทั้งสองที่มีความสัมพันธ์ กันตั้งแต่สมัยของท่านเฉกอะฮ์มัด กุมมี ซึ่งท่านน�าหลัก การอิสลามที่กล่าวถึงเข้ามาสู่แผ่นดินสยาม เป็นอิสลาม ที่มีสันติภาพ มีความสงบสุข เป็นมิตรกับทุกศาสนา และ โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันของสองศาสนาคือพุทธศาสนา และอิสลาม ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งจ�าเป็น ที่ทางมหาวิทยาลัย แห่งนีจ้ ะต้องจัดประชุมแลกเปลีย่ นทรรศนะความรูร้ ะหว่าง อิสลามกับพุทธ แม้กระทั่งการแลกเปลี่ยนคณาจารย์กับ มหาวิทยาลัยของท่าน เพื่อว่านักศึกษาของเราจะได้มี โอกาสศึกษาแนวทางของอิสลาม จากนั้นฯพณฯ ฮูเซน กะมาลียอนเอกอัครราชทูต สาธารณรั ฐ อิ ส ลามแห่ ง อิ ห ร่ า น ประจ� า ประเทศไทย

126 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555

กล่าวเพียงสั้นๆว่า ส�า หรับข้าพเจ้าเพิ่งมารับต�า แหน่ง เอกอัครราชทูต แต่กพ็ ร้อมให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดให้มีขึ้น จากนั้น ท่าน ดร. เดะห์ชีรีย์ รองผู้อ�านวยการฝ่าย การศึกษาและวิจัย องค์การวัฒนธรรมและประชาสัมพันธ์ อิสลาม ได้กล่าวขอบคุณต่อท่านอธิการบดีมหาจุฬาลงกรณ์ ราชวิทบาลัย ที่ให้ความร่วมมืออย่างดีในการจัดประชุม แลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างอิสลามและพุทธศาสนาครั้ง ที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดทางอิหร่านเองได้จัดสัมมนาการตื่นตัว ของโลกอิสลาม เช่นเดียวกันทางพุทธศาสนาเองก็คงจะมี ความหมายในการตืน่ ตัวของจิตวิญญาณ ซึง่ ถ้าองค์กรของ เราพร้อมที่จะจัดการสัมมนาขึ้น เราควรที่จะหัวข้อของการ ตื่นตัวทางจิตวิญญาณของมนุษยชาติขึ้นมา เพื่อว่ามนุษย์ จะได้รับรู้และมีการตื่นตัวกับเรื่องของศาสนามากขึ้น จากนั้นนายนัจญาริยอน ซอเดะห์ที่ปรึกษาฝ่าย วัฒนธรรมฯ กล่าวว่าทางศูนย์วัฒนธรรมฯ มีหนังสือ ต�ารา ภาษาไทยมากว่า125 เรื่อง ซึ่งเราจะส่งมายังห้องสมุดของ มหาวิทยาลัยของท่านต่อไป ในวันเดียวกันท่านฮุจญะตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน ฮัจญี ซัยยิดกอฎี อัสกัร พร้อมคณะเดินทางไปเยี่ยมเยียน หลุมฝังศพของท่านเฉกอะห์มัด กุมมี ในมหาวิทยาลัย ราชภัฎพระนครศรีอยุธยา จากนั้นเดินทางไปเยือนสถาบัน เทคโนโลยีแห่งอโธยา เข้าพบปะสนทนากับเชคชะรีฟ ฮาดีย์ (ดร. ประเสริฐ สุขศาสนกวิน) คณะบดีคณะอิสลามศึกษา พร้อมคณะ และถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกันด้วย


ภำรกิจของ ฯพณฯ อำยะตุลลอฮ์ชำฮ์รูคี

ที่ปรึกษำฝ่ำยวัฒนธรรม ตัวเทนวิลำยะตุลฟะกีฮ์ และสมำชิกสภำ คัดเลือกผู้น�ำสูงสุด รับผิดชอบภำรกิจ ภูมิภำคเอเซียตะวันออก

พบปะกับ

คณะผู้บริหำร

สถำบันส่งเสริม กำรศึกษำและวิจัย เกี่ยวกับอิสลำม ณ ส�ำนักงำนสถำบันฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ท่านฮุจญะ ตุลอิสลาม วัลมุสลิมีน ฮัจญี ซัยยิด กอฎี อัสกัร ตัวแทนวะ ลีฟะกีฮ์ ด�ารงต�าแหน่งอะมีรุลฮัจญ์และการซิยารัต แห่ง สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน พร้อมด้วยคณะซึง่ ประกอบ ด้วย ฯพณฯ กามาลิยอน เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐ อิสลามแห่งอิหร่าน ประจ�าประเทศไทยและท่านมุศกอฟา นัจญารอนียอน ซอเดะฮ์ ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรม ศูนย์ วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่ง อิหร่าน กรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเดินทางมาพบปะกับ คณะผู้บริหารของสถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยว กับอิสลาม ที่ส�านักงานของสถาบันฯ ดดยมีเชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ อิมามญุมอะฮ์มัสยิดซอฮิบุซซะมาน และผู้อ�านวยการสถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยว กับอิสลาม พร้อมคณะกรรมการสถาบันฯ ให้การต้อนรับ

เมือ่ วันที่ 25 กรกฏาคม 2555 ท่านอายะตุลลอฮ์ ชาฮ์ รูดี ตัวแทนวิลายะตุลฟะกีฮ์ และก�ารงต�าแหน่งสมาชิกสภา คัดเลือกผู้น�าสูงสุด ที่ดูแลงานในแถบภูมิภาคเอเซียตะวัน ออก ได้เดินทางมายังกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เพื่อ พบปะกับบรรดาพี่น้องมุสลิม นักวิชาการศาสนาและอดีต นักเรียนไทยที่เคยศึกษาที่ประเทศอิหร่าน รวมทั้งอิมามญุ มอะฮ์และตัวแทนฮูซัยนียะฮ์ทั่วประเทศด้วย นอกจากนี้ ท่ายังให้เกียรติเดินทางไปเยี่ยมและสอบถามการท�างาน ของสถาบันส่งเสริมการศึกษาและวัยเกี่ยวกับอิสลามด้วย โดยมีอาจรย์อิลยาส เกียรติธารัย ประธานมูลนิธิส่งเสริม การศึกษาอิสลามและการพัฒนา เชคมุฮมั มัดนาอีม ประดับ ญาติ ผูอ้ า� นวยการสถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจยั เกีย่ ว กับอิสลามและคณะกรรมการสถาบันให้การต้อนรับ

MESSAGE OF ISLAM : Vol. 34 No.2 October-December 2012 127


กำรเดินขบวน แสดงพลัง ต่อต้ำนอิสรำเอล และสนับสนุน กำรต่อสู้ของ ชำวปำเลสไตน์

ณ หน้ำสถำนทูตอิสรำเอล

ชาวปาเลสไตน์ไปครอบครองเป็นของตนเอง ด้วยค�าขวัญ ถนนอโศก กรุงเทพ ที่ได้กล่าวในการเดินขบนว่า ความพินาศจงมีแก่อิสราเอล ความพินาศจงมีแก่รัฐบาลอเมริกา และพวกบรรดาสมุนที่ ร่วมกันกระท�าการเยี่ยงโจรปล้นแผ่นดิน นอกจากนี้ในวันอังคารที่ 11 กันยายน 2555 ที่ผ่าน มาบรรดาพี่น้องมุสลิมผู้มีความรักในท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ยังได้จัดเดินขบวนประท้วงสหรัฐอเมริกาที่หน้า สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจ�าประเทศไทย ถนนวิทยุ ต่อ กรณี มีการสร้างและฉายภาพยนตร์เรื่อง Innocence of Muslim ที่มีเนื้อหาดูหมิ่นท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) มีพี่ น้องมุสลิมเข้าร่วมประมาณ 1,000 คน นอกจากนี้ยังมีการ ประท้วงของพี่น้องมุสลิมในจังหวัดเชียงใหม่ที่หน้าสถาน ในวันวันศุกร์สุดท้ายของเดือนรอมฎอนอันจ�าเริญ กงสุลสหรัฐอเมริกา ประจ�าจังหวัดเชียงใหม่ด้วย อนึง่ ภาพยนตร์ทดี่ หู มิน่ ท่านศาสดามุฮมั มัด (ศ็อลฯ) ตรงกับวันกุดส์โลก ตามค�าประกาศเชิญชวนของ ฯพณฯ ผู้น�าสูงสุดที่เรียกร้องให้บรรดาประชาชาติมุสลิมท�าการ นี้ถูกประท้วงอย่างรุนแรงจากมุสลิมทั่วโลก ประท้วงผู้น�าที่ล่วงละเมิดสิทธิอิสราเอล ในการเข้าครอบ ครองดินแดนแห่งกุดส์ ดังนั้นบรรดาชาวไทยมุสลิม นัก วิชาการ นิสติ นักศึกษา คณาจารย์ของมหาวิทยาลัย นักการ ศาสนา และประชาชนที่รักความเป็นธรรมได้ออกมาเดิน ขบวนประท้วงการกระท�าของรัฐบาลอิสราเอลทีท่ า� ด้วยเป็น โจรปล้นดินแดน ซึง่ การเดินขบวนประท้วงครังนีเ้ กิดขึน้ เมือ่ ช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555 ณ ทีต่ งั้ ของสถาน ทูตอิสราเอล ถนนอโศก การเดิ น ขบวนประท้ ว งครั้ ง นี้ เป้ า หมายเพื่ อ ต้องการประกาศให้ชาวโลกได้รู้ถึงการกระท�าเยี่ยงโจรของ รัฐบาลอิสราเอลที่ได้ล่วงละเมิดสิทธิช่วงชิงดินแดนของ

128 สำส์นอิสลำม : ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ตุลำคม - ธันวำคม 2555


 http://Bangkok.icro.ir


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.