บทที่ 2
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของ มักซ์ เวเบอร์
88
คราสและควินิน
คำ�นำ�
ในตอนท้าย ๆ ของบทความ “การอ่านและการวิจารณ์ ตัง้ คำ�ถามกับปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์–วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์” วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์ ได้ตั้งข้อสังเกตที่สำ�คัญตอนหนึ่งว่า “ใน ปากไก่และใบเรือ ทัง้ 5 บทความ ไม่มกี ารอ้างอิงงานเขียนของคาร์ล มาร์กซ์ หรือมาร์ค บล็อค (Marc Bloch) นักประวัตศิ าสตร์ส�ำ นัก Annales แต่กม็ กี าร อ้างอิงงานเขียนของมักซ์ เวเบอร์ รวมทั้งงานเขียนที่เกี่ยวกับมักซ์ เวเบอร์ จำ�นวน 2 รายการ ในบทความ “วัฒนธรรมกระฎุมพีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” คือ เรื่อง The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism และ Max Weber: An Intellectual Portrait คำ�ถามที่น่าสนใจคือ ทำ�ไมนิธิ จึงอ้างอิงงานเขียนที่เกี่ยวกับเวเบอร์ใน ปากไก่และใบเรือ... ประเด็นน่าสนใจไม่ได้อยู่ที่การพิสูจน์ว่านิธิอ้างอิงเวเบอร์หรือนักคิดใด ไม่...แต่ประเด็นที่น่าสนใจกว่าคือการเข้าใจความแตกต่างของมุมมองว่า สำ�หรับมาร์กซ์มองกฎพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เป็นเรื่องความก้าวหน้า ด้วยพลังความขัดแย้งทางการผลิตและอุดมการณ์ สำ�หรับ Annales School มองการอธิบายประวัตศิ าสตร์เป็นเรือ่ งการอธิบายภาพรวมเศรษฐกิจและสังคม ในยุ ค สมั ย หนึ่ ง ในขณะที่ สำ � หรั บ เวเบอร์ แ ล้ ว ได้ เ ปลี่ ย นเป็ น การศึ ก ษา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ และตั้งคำ�ถามกับความเป็นตะวันตกที่มีรากทาง วัฒนธรรม เช่น จริยธรรมของโปรเตสแตนต์ เป็นต้น”1 (เน้นโดยผู้เขียน) ผูเ้ ขียนขออธิบายเพิม่ เติมว่า ส่วนทีห่ นึง่ ของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ คือ “วัฒนธรรม กระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” นิธิมีการอ้างอิงถึงมักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) อยู่สองครั้ง ครั้งแรกเป็นการอ้างถึงงานสำ�คัญที่เวเบอร์แต่ง คือ “จริยธรรม โปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม (The Protestant Ethic and the Spirit
วีระศักดิ ์ กีรติวรนันท์, “การอ่านและการวิจารณ์ ตัง้ คำ�ถามกับปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษา ประวัติศาสตร์–วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (มกราคม–มีนาคม 2551), หน้า 230–231. 1
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
89
of Capitalism)”
ครั้งที่สองเป็นการอ้างถึงหนังสือที่อธิบายแนวคิดหลัก ๆ ของเวเบอร์ นั่นคือ “มักซ์ เวเบอร์: ภาพเหมือนทางภูมิปัญญา (Max Weber: An Intellectual Portrait)” ซึง่ แต่งโดยไรน์ฮาร์ด เบนดิก (Reinhard Bendix, 1916–1991) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกนั เชือ้ สายเยอรมัน หนังสือของเบนดิกเล่มนี้ ได้รบั ความนิยมมากจาก ผู้อ่านในช่วงก่อนศตวรรษที่ 212 คือพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 และ 1962 และ พิมพ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1977 ในขณะที่นิธิอ้างถึงหนังสือของเบนดิกที่พิมพ์ ในปี ค.ศ. 19623 วีระศักดิย์ งั ได้ ให้ความเห็นอีกว่าเนือ้ หาในบทความ “พระปฐมสมโพธิกถากับความ เคลือ่ นไหวทางศาสนาต้นรัตนโกสินทร์” และการอธิบายหัวข้อ “สัจนิยม (Realism)” ในบทความ “วัฒนธรรมกระฎุมพีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” ของ ‘ปากไก่และ ใบเรือ’ นัน้ มีความสอดคล้องกับแนวคิดของเวเบอร์ทใี่ ห้ความสำ�คัญกับความเชือ่ ทาง ศาสนาว่าเป็นปัจจัยหลักที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจทุนนิยมตะวันตก ในบทนี้ผู้เขียนต้องการสานต่อในสิ่งที่วีระศักดิ์ ได้เริ่มไว้ โดยขอเสนอเพิ่มเติมว่า “ความเป็นเหตุเป็นผล” ของโลกทัศน์แบบกระฎุมพี และลักษณะแบบสัจนิยม (คือ การพรรณนาถึงประสบการณ์ทเี่ ป็นจริง) ในวรรณกรรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทอี่ ธิบาย อยู่ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ นั้น เป็นแนวคิดที่นิธิได้รับอิทธิพลมาจากมักซ์ เวเบอร์
เฟรดดริก เทนบรัคซ์ (Friedrich H. Tenbruck) ผู้เชี่ยวชาญด้านเวเบอร์คนหนึ่ง ได้วิจารณ์ หนังสือเล่มนี้ของเบนดิกว่าไม่ได้ ให้ความสนใจต่อการอธิบายแนวคิดทางวิธีวิทยา (Methodology) และปัญหาในทางทฤษฎีของเวเบอร์ นอกจากนี้ ในยามทีเ่ บนดิกอธิบายแนวคิดต่าง ๆ ของเวเบอร์ เขา ไม่ได้ ให้ความสำ�คัญต่อตัวบททีเ่ วเบอร์เขียนมากเท่ากับความพยายามในการสร้างความเป็นเนือ้ เดียวกัน (Theme) ให้กบั แนวคิดต่าง ๆ ของเวเบอร์ (อันเป็นจุดเด่นของหนังสือเล่มนีเ้ พราะทำ�ให้งา่ ยต่อความ เข้าใจ แต่กก็ ลายเป็นจุดด้อยตามคำ�วิจารณ์ของเทนบรัคซ์ ไปด้วย) ในความเห็นของเทนบรัคซ์ เบนดิก ทำ�ให้แนวคิดเรือ่ ง “กระบวนการสร้างความเป็นเหตุเป็นผล (Rationalization)” กลายมาเป็นเนือ้ หา หลักของงานทัง้ หมดของเวเบอร์ ไปเสีย อันเป็นสิง่ ทีเ่ ทนบรัคซ์ ไม่เห็นด้วย อนึง่ ข้อสังเกตของเทนบรัคซ์ ดังกล่าว ดูจะสอดคล้องกับการเน้น “ความเป็นเหตุเป็นผล” ของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ (ตามที่ผม จะอธิบายต่อไป) เราอาจเดาว่านิธิใช้แนวคิดของเวเบอร์ผ่านการตีความของเบนดิกอีกต่อหนึ่ง ดู Friedrich H. Tenbruck, “ The problem of thematic unity in the works of Max Weber,” in Reading Weber, edited by Keith Tribe (London: Routledge, 1989), p. 53. 3 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 453. 2
90
คราสและควินิน
เวเบอร์และจริยธรรมแบบโปรเตสแตนต์
มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber, 1864–1920) เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองและนัก สังคมวิทยาชาวเยอรมัน เขาถือได้ว่าเป็นหนึ่งในปรมาจารย์ผู้ก่อตั้งวิชาสังคมวิทยา สมัยใหม่ (เคียงคูไ่ ปกับมาร์กซ์ (Marx) และเดอร์ ไคม์ (Durkheim)) งานทีม่ ชี อื่ เสียง และมีคนรูจ้ กั กันมากทีส่ ดุ ของเวเบอร์ (รวมทัง้ เป็นงานทีก่ อ่ ให้เกิดข้อถกเถียงมากทีส่ ดุ ตามไปด้วย) คือความเรียงสองชิ้นซึ่งเวเบอร์เขียนในช่วงปี ค.ศ. 1904–1905 ซึ่งต่อ มาได้กลายมาเป็นหนังสือในชือ่ “จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณแห่งทุนนิยม” (ต่อไปจะเรียกว่า “จริยธรรมโปรเตสแตนท์”) เล่มที่นิธิอ้างถึงนั่นเอง ในขณะที่งาน ชิน้ ทีใ่ หญ่กว่านัน้ มากคือ “เศรษฐกิจและสังคม (Economy and Society)” ถือเป็นงาน คลาสสิกทางสังคมวิทยาที่ทำ�ให้เวเบอร์กลายเป็น ‘มนุษย์เทพประทาน (Charisma)’ (สำ�นวนของธเนศ วงศ์ยานนาวา)4 งานของเวเบอร์ยงั มีอทิ ธิพลอย่างมากต่อการศึกษาทางด้านบริหารรัฐกิจ ทีเ่ ห็นได้ ชัดก็คอื ‘แนวคิดความชอบธรรม (Legitimacy)’ ทีไ่ ด้กลายเป็นกรอบครอบงำ�การศึกษา เรือ่ งความชอบธรรมได้อย่างชอบธรรม (อีกเช่นกันทีเ่ ป็นสำ�นวนของธเนศ) หรือทฤษฎี ราชการ (Bureaucracy) ทีผ่ ศู้ กึ ษาการบริหารองค์กรหรือรัฐประศาสนศาสตร์แทบทุกคน ต้องอ้างอิงถึง สำ�หรับ “จริยธรรมโปรเตสแตนต์ฯ” เวเบอร์เสนอว่าศาสนาเป็นหนึง่ ในสาเหตุหลัก ๆ ทีน่ �ำ ไปสูเ่ ส้นทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมทีแ่ ตกต่างกันระหว่างโลกตะวันตก (The Occident) กับโลกตะวันออก (The Orient) เราสามารถตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น ในทีน่ ี้ ได้วา่ เวเบอร์ให้ความสนใจกับพลังความคิดหรือความเชือ่ ของมนุษย์ ในขณะ ทีม่ าร์กซ์ (Marx) จะให้ความสนใจกับสิง่ แวดล้อมภายนอกหรือระบบการผลิต ใน สารานุกรมของวิกิพีเดีย ได้อธิบายเรื่องนี้ ได้อย่างกระชับว่า “ประเด็นหลักของการศึกษาค้นคว้าของเวเบอร์ก็คือคำ�ถามที่ว่า “อะไรคือ ลักษณะเฉพาะที่ทำ�ให้สังคมตะวันตกแตกต่างจากที่อื่น?” ความแตกต่างที่ สำ�คัญทีเ่ ขาสนใจเช่น การเกิดขึน้ ของระบบทุนนิยม หรือความแตกต่างในการ จัดระดับชนชั้นภายในสังคม ในขณะที่คาร์ล มาร์กซ์ วิเคราะห์โดยเริ่มจาก ธเนศ วงศ์ยานนาวา, ความสมเหตุสมผลของความชอบธรรม (การครอบงำ�) (กรุงเทพฯ: คณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555), หน้า 194.
4
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
91
ฐาน หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แต่เวเบอร์มงุ่ ประเด็นไปทีโ่ ครงสร้างส่วนบน ซึง่ เกีย่ วกับอุดมการณ์และความเชือ่ ในการวิเคราะห์การเปลีย่ นแปลงสังคม เวเบอร์พยายามหาจุดเปลีย่ นของความเชือ่ พืน้ ฐานและ “ปัจจัย” ทีท่ �ำ ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงนั้น ปัจจัยดังกล่าวอาจไม่เหลือร่องรอยใด ๆ หรืออาจดูไร้เหตุผล โดยสิ้นเชิงกับความเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะว่าหน้าที่ของมันมีเพื่อ กระตุน้ การเปลีย่ นแปลงความเชือ่ ของคนกลุม่ ใหญ่เท่านัน้ หลังจากทีค่ วามเชือ่ พืน้ ฐานได้เปลีย่ นไปแล้ว ทุกอย่างจะถูกทำ�ให้ดสู มเหตุสมผลอย่างสมบูรณ์ ในตัวเอง โดยไม่จ�ำ เป็นต้องอ้างอิงกับปัจจัยหรือสาเหตุเริม่ ต้นของการเปลีย่ นแปลงนั้นอีกต่อไป”5 (เน้นโดยผู้เขียน) ผู้เขียนเห็นว่าความเข้าใจต่อเนื้อหาบางส่วนใน “จริยธรรมโปรเตสแตนต์ฯ” จะ ช่วยให้เรามองเห็นอิทธิพลของเวเบอร์ทมี่ ตี อ่ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ได้ โดยในบทความ “ศาสนากับการกำ�เนิดของระบบทุนนิยม” ของรองศาสตราจารย์ ดร.ทวีวฒ ั น์ ปุณฑริก วิวัฒน์ นักวิชาการด้านศาสนา ได้อธิบายเรื่องนี้ ได้อย่างชัดเจนและกระชับว่า “ระบบทุนนิยม” (Capitalism) เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 17 หลังจากนั้นได้เติบโตขึ้นในยุโรปตะวันตก และสหรัฐอเมริกา และขยายตัวอย่างรวดเร็ว และต่อเนือ่ งไปยังส่วนอืน่ ของโลกจนกระทัง่ ถึงปัจจุบัน มูลเหตุของการเกิดระบบทุนนิยมในความหมายสมัยใหม่ยังเป็นที่ ถกเถียงกันอยู่ โดยทีม่ นุษย์รจู้ กั ทำ�การค้าขาย การใช้เงินตรา และการแสวงหา กำ�ไรมาหลายพันปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในอารยธรรมจีน อินเดีย อียิปต์ กรีซ หรือจักรวรรดิโรมัน และมนุษย์ก็มีความโลภมาทุกยุคทุกสมัย แต่ “การค้า เงิน กำ�ไร และความโลภ” มิได้ก่อให้เกิด “ระบบทุนนิยม” ขึ้นในความ หมายอย่างทีเ่ รารูจ้ กั กันในปัจจุบนั เมือ่ เป็นเช่นนีแ้ ล้ว “ระบบทุนนิยม” เกิดขึน้ ได้อย่างไร และอะไรคือสาเหตุทแ่ี ท้จริงของการกำ�เนิดระบบทุนนิยมสมัยใหม่น”้ี มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) (ค.ศ. 1864–1920) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ได้ เสนอทฤษฎี “การกำ�เนิดระบบทุนนิยม” ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง ในหนังสือเรื่อง Protestant Ethic and The Spirit of Capitalism (จริยธรรมโปรเตสแตนต์และจิตวิญญาณ ดูจาก “มักซ์ เวเบอร์,” วิกิพีเดีย, พฤจิกายน 2551). 5
https://th.wikipedia.org/wiki/มักซ์_เวเบอร์
(เข้าถึงวันที่ 4
92
คราสและควินิน
มักซ์ เวเบอร์ (Max
Weber)
แห่งทุนนิยม) เวเบอร์กล่าวว่า “ระบบทุนนิยมเกิดขึ้นในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนที่ถูกครอบงำ�ด้วยศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์รูปแบบ หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิคาลวิน (Calvinism)” ตามทรรศนะของเวเบอร์ “ระบบทุนนิยม” เป็นผลมาจาก “การสร้างระบบ เหตุผล” (Rationalization) ขององค์การและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ “ระบบเหตุผล” นี้มิได้เกิดจากความต้องการชีวิตที่สุขสบาย (บ่อยครั้งที่นายทุนในยุคแรกใช้ชีวิตที่ เรียบง่าย เคร่งครัด และอดออมเป็นอย่างยิง่ ) แต่เกิดจากความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องพิสจู น์ ให้ ได้ว่า “ตนเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับความโปรดปราน และความรอดจากพระเจ้า” ตามคำ�สอนของลัทธิคาลวิน ผลกำ�ไรและความมัง่ คัง่ จะเป็นข้อพิสจู น์ทวี่ า่ ตนเองได้ รับพรจากพระเจ้า และถูกรวมอยู่ในบรรดาผู้ที่พระเจ้าเลือกสรรแล้ว (the elect หรือ the predestined) ให้เป็นผู้รอดพ้น ผูท้ ถี่ กู พระเจ้าเลือกสรรแล้ว ไม่เพียงแต่ท�ำ งานทีด่ เี ป็นเรือ่ ง ๆ ไปเท่านัน้ แต่จะ ต้องมี “ชีวิตการงานที่ดี” อีกด้วย “การงานที่ดี” ในที่นี้มิได้หมายถึง “การงานทาง ศาสนา” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง “การงานทางโลก” อีกด้วย
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
93
เพราะฉะนัน้ “ความเคร่งวินยั ” (Asceticism) จึงมิได้ถกู จำ�กัดอยูแ่ ต่ภายในกำ�แพง โบสถ์เท่านั้น แต่ยังดำ�รงอยู่ในโรงงาน และสถานที่ทำ�งานอีกด้วย ผลกำ�ไรและความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในยุคแรก จึงมิได้ถูกนำ�ไปใช้ อย่างฟุม่ เฟือยสุรยุ่ สุรา่ ยเพือ่ ความสุขสบายของชีวติ แต่กลับถูกนำ�ไปลงทุนเพิม่ ใน การงาน และธุรกิจของตนเองเป็นหลักใหญ่ ทำ�ให้ก�ำ ไร และทรัพย์สนิ กลับเพิม่ เป็น ทวีคูณขึ้นมาอีก (อันเป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นอีกว่า ตนเองได้รับความรอดจาก พระเจ้า) นอกเหนือจากการลงทุนเพิม่ แล้ว นายทุนในยุคแรกได้ ใช้เงินส่วนหนึง่ ในการ บริจาคทานให้แก่ผู้ที่ยากจน อย่างไรก็ตามในยุคหลังแรงจูงใจทางศาสนาที่ผลักดัน ให้เกิด “ระบบทุนนิยม” ขึ้นนั้น ได้เลือนหายไปเป็นส่วนใหญ่ แต่อุปนิสัยและ “ระบบเหตุผล” ที่เกิดจากแรงจูงใจทางศาสนาตั้งแต่ต้นนั้นยังคงอยู่ และสืบทอด มาจนถึงทุกวันนี้ กล่าวโดยสรุป เวเบอร์ ได้ศกึ ษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับชีวติ ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิง่ เงือ่ นไขทางจิตวิทยาทีท่ �ำ ให้เกิดระบบทุนนิยมขึน้ ในตะวันตก เวเบอร์ ได้วเิ คราะห์ความเชือ่ มโยงระหว่างคำ�สอนของลัทธิคาลวินกับท่าทีใหม่ตอ่ การแสวงหา ความมั่งคั่งในอังกฤษ และยุโรปยุคหลังการปฏิรูป (Post–Reformation) กล่าวคือ คำ�สอนทีว่ า่ “ผูซ้ งึ่ พระเจ้าเลือกสรรแล้ว” จะมีสญ ั ญาณบอกโดยการเป็นผูป้ ระสบ ความสำ�เร็จจากการงานทีด่ ี ทำ�ให้ผทู้ น่ี บั ถือลัทธิคาลวินใช้ความพยายามอย่างยิง่ ยวด ในการอดออมเพือ่ การลงทุน และความสำ�เร็จทางธุรกิจ อันเป็นข้อพิสจู น์วา่ ตนเอง ก็เป็น “คนที่พระเจ้าเลือกแล้ว” คนหนึ่งเช่นกัน อันก่อให้เกิดการสะสมทุน และ ระบบทุนนิยมขึ้นในเวลาต่อมา นับเป็นท่าทีใหม่ของศาสนาคริสต์ที่ยอมรับการที่ มนุษย์แสวงหาความมัง่ คัง่ ใน ทรัพย์สนิ และบางครัง้ ถึงขนาดสนับสนุนว่าเป็นสิง่ ทีถ่ กู ต้อง ตามหลักการของศาสนา”6(เน้นโดยผู้เขียน)
ดูบทความ ทวีวฒ ั น์ ปุณฑริกวิวฒ ั น์, “ศาสนากับการกำ�เนิดของระบบทุนนิยม,” http://www.yim whan.com/board/show.php?user=UNCLE–CHALOKE&topic=14&Cate=5 (เข้าถึงวันที่ 4 6
พฤศจิกายน 2551).
94
คราสและควินิน
ร่องรอยของเวเบอร์ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’
นอกเหนือไปจากความสำ�คัญของคริสต์ศาสนาโดยเฉพาะคำ�สอนของลัทธิคาลวินแล้ว เวเบอร์ยังได้อธิบายถึงปัจจัยต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ–สังคม ซึ่งทำ�ให้บางประเทศในทวีป ยุโรปสามารถมีพฒ ั นาการของระบบเศรษฐกิจไปเป็นแบบทุนนิยม อันเป็นปรากฏการณ์ ที่เวเบอร์เชื่อว่าไม่เคยเกิดขึ้นในทวีปเอเชียไม่ว่าจะเป็นอินเดียหรือจีนมาก่อน โดยเรา จะพบคำ�อธิบายของเวเบอร์ดังกล่าวในส่วนคำ�นำ�ของผู้เขียนในหนังสือ “จริยธรรม โปรเตสแตนต์ฯ” เล่มทีเ่ ป็นงานแปลจากภาษาเยอรมันเป็นภาษาอังกฤษของทัลคอตต์ พาร์สันส์ (Talcott Parsons, 1902–1979) นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้นำ� แนวคิดของเวเบอร์ ไปเผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นคนแรก ๆ เป็นทีน่ า่ สังเกตว่าส่วนของคำ�นำ�นีเ้ วเบอร์เขียนในปี ค.ศ. 1920 ให้กบั งานเขียนทาง สังคมวิทยาด้านศาสนาของเขา (ซึง่ เป็นภายหลังทีเ่ ขาเขียนบทความจริยธรรมโปรเตส แตนต์ฯ ไปแล้ว) แต่พาร์สนั ส์ตดั สินใจนำ�คำ�นำ�นีม้ าพิมพ์รวมไว้ ในหนังสือ “จริยธรรม โปรเตสแตนต์ฯ” ทีต่ นแปลด้วย เพราะเชือ่ ว่าคำ�นำ�นีจ้ ะช่วยให้ผอู้ า่ นเข้าใจปัญหาและ ความคิดพื้นฐานของเวเบอร์ ได้ดีขึ้น7 อนึ่งในคำ�นำ�นี้ เวเบอร์ ได้กล่าวถึง 1. การแยกภาคธุรกิจออกจากภาคครัวเรือนใน ยุโรปซึ่งมีความก้าวหน้ากว่าเอเชียมาก 2. การกำ�เนิดของเมืองที่มีความสำ�คัญต่อ ชนชั้นกระฎุมพี 3. ธรรมเนียมที่ได้จากระบบกฎหมายของโรมัน ซึ่งทำ�ให้เกิดการ พัฒนาการของระบบกฎหมายทีม่ เี หตุผล 4. การพัฒนาของรัฐชาติภายใต้การบริหาร งานของข้าราชการทีท่ �ำ งานเต็มเวลา 5. การพัฒนาระบบบัญชีคู่ (Double entry) ใน ยุโรป ทีเ่ วเบอร์มองว่ามีความสำ�คัญต่อการควบคุมองค์กรภาคธุรกิจ 6. การพัฒนาที่ ทำ�ให้เกิดแรงงานแบบเสรี เป็นต้น8 ถ้าเราย้อนกลับมาดูเนือ้ หาใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ ดูบา้ ง จะเห็นว่าในขณะทีเ่ วเบอร์ ให้ความสำ�คัญต่อระบบบัญชีคู่ที่บันทึกรายรับ–รายจ่ายของภาคธุรกิจ นิธิก็กล่าวถึง ความสำ�คัญของระบบบัญชีไว้เช่นกัน โดยในส่วน “กระฎุมพีและวัฒนธรรมกระฎุมพี” Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, translated by Talcott Parsons, with an Introduction by Anthony Giddens (London: Routledge, 2002), pp. xxxii–xxxviii. ซึง่ เป็นส่วนของ “Author’s Introduction” และดูค�ำ อธิบายของผูแ ้ ปลได้ ใน p. xxvi. 8 ส่วนนี้ผมนำ�มาจาก Anthony Giddens, “Introduction,” in Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, pp. xvi–xvii. 7
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
95
ซึ่งอยู่ในบทที่ 1 “วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” นิธิเขียนว่า “ความคุน้ เคยกับการค้าและการลงทุนของชนชัน้ นำ�ในต้นรัตนโกสินทร์ท�ำ ให้ มีการพัฒนาระบบบัญชีที่ละเอียดขึ้น เป็นต้นว่าบัญชีที่นายเรือต้องถวาย รายงานเกี่ยวกับการค้าของสำ�เภาหลวงในเมืองจีน...บัญชีเหล่านี้บอกรายการ ละเอียดเป็นตัวเงินจนถึงขั้นสลึงขั้นเฟื้อง ทั้งราคาสินค้าที่เป็นต้นทุน โสหุ้ย และราคาที่ขายได้ บัญชีเหล่านี้สะท้อนลักษณะของการประกอบการในเชิง ธุรกิจ เพราะบัญชีการค้าทำ�ให้รู้ว่าจะหากำ�ไรกับสินค้าอะไร อย่างใด ตลอด จนรู้จุดอ่อนของตนได้อย่างถูกต้อง คือเปลืองค่าโสหุ้ยมากเกินไปเพราะภาพ ของเรือสำ�เภาจีนต่อเรือกำ�ปั่นแบบฝรั่ง ทำ�ให้การธุรกิจของกระฎุมพีเหล่านี้ “เป็นเหตุเป็นผล” มากขึ้นและลดส่วนที่เป็นการเก็งกำ�ไรและการเมืองใน ธุรกิจของตนลง”9 (เน้นโดยผู้เขียน) ในขณะที่หนังสือ “จริยธรรมโปรเตสแตนต์ฯ” (ฉบับแปลของพาร์สันส์) เวเบอร์ ได้เขียนในส่วนที่เป็นคำ�นำ�ตอนหนึ่งว่า “โลกตะวันตกได้ผลิตองค์กรอุตสาหกรรมที่มีเหตุผลอันปรับตัวเข้ากับตลาด เพือ่ หากำ�ไร แทนทีจ่ ะเข้าหาฝ่ายการเมืองเพือ่ หากำ�ไรหรือพยายามเก็งกำ�ไร กับสิ่งที่ไม่มีเหตุผล แต่นั่นก็ไม่ใช่ลักษณะเดียวที่เป็นเอกลักษณ์ของทุนนิยม ตะวันตก จริง ๆ แล้วมันมีอีกสองปัจจัยสำ�คัญที่เป็นรากฐานที่ทำ�ให้ทุนนิยม ตะวันตกพัฒนาอย่างที่มันเป็นได้ ปัจจัยแรกคือการแยกธุรกิจออกจากครัว เรือน อันกลายมาเป็นแนวทางประกอบธุรกิจทีม่ บี ทบาทในการกำ�หนดในชีวติ ทางเศรษฐกิจสมัยใหม่โดยสมบูรณ์ ส่วนปัจจัยที่สองที่เกี่ยวพันกับปัจจัยแรก อย่างใกล้ชิดก็คือ แนวทางการทำ�บัญชีแบบมีเหตุผล”10 (เน้นโดยผู้เขียน) นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 134 “Rational industrial Organization, attuned to a regular market and neither to political nor irrationally speculation opportunities for profit, is not, however, the only peculiarity of Western capitalism. The modern rational organization of the capitalistic important factors in its development: the separation of business from household, which completely dominates modern economic life, and closely connected with it, rational book–keeping.” Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, p. xxxv. 9
10
96
คราสและควินิน
จากประโยคข้างต้น เวเบอร์มองว่าองค์กรภาคธุรกิจทีด่ �ำ เนินงานแบบมีเหตุผลนัน้ มีกลไกในการปรับตัวให้เข้ากับตลาด โดยมีการหลีกเลีย่ งปัจจัยทางการเมืองและการ เก็งกำ�ไรที่ไม่มีเหตุผล เขามองว่าการแยกภาคธุรกิจออกจากภาคครัวเรือน และการ ใช้ระบบบัญชี คือรูปแบบสำ�คัญของการดำ�เนินงานที่มีเหตุผล จะเห็นสิง่ ทีน่ ธิ อิ ธิบายข้างต้นมีความคล้ายคลึงกับสิง่ ทีเ่ วเบอร์เขียนถึง แม้วา่ ระบบ บัญชีของพ่อค้าไทย–จีนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ได้เป็นระบบที่มีเหตุผลเหมือนกับ ของตะวันตก และนิธิก็ไม่ได้อ้างถึงเวเบอร์ในตอนนี้ แต่ผู้เขียนคิดว่าเราน่าจะยอมรับ ถึงอิทธิพลของเวเบอร์ต่อคำ�อธิบายในเรื่องระบบบัญชีของนิธิได้ สำ�หรับเรือ่ งความสำ�คัญของเมืองทีเ่ วเบอร์กล่าวว่ามีความสำ�คัญต่อชนชัน้ กระฎุมพี นัน้ จะเห็นว่านิธกิ ใ็ ห้ความสำ�คัญกับเมืองเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในส่วนที ่ 4 “วัฒนธรรมกระฎุมพีในวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” ซึ่งอยู่ในบทที่ 1 นิธิได้อธิบายว่า “เมืองในวรรณกรรมของต้นรัตนโกสินทร์เป็นเมืองของพวกกระฎุมพี โดยมี กษัตริยก์ เ็ ป็นหนึง่ ในหมูผ่ ทู้ หี่ นั มาเป็นกระฎุมพีนี้ จึงเป็นเมืองทีใ่ ห้ความสำ�คัญ แก่การค้าขายอย่างมาก และเนื่องจากการค้าของไทยในต้นรัตนโกสินทร์เป็น เรือ่ งของการค้าส่งออก จึงให้ความสำ�คัญแก่เรือและการเดินเรือในวรรณกรรม อย่างมาก เหมือนเป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่ในสำ�นึกปกติของผู้เขียน”11 อย่างไรก็ตามนิธไิ ด้เขียนตอนหนึง่ ในส่วนของ “ข้อจำ�กัดของการเปลีย่ นแปลง” เพือ่ อธิบายว่าประเทศไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ได้มปี จั จัยทุกอย่างในการทีจ่ ะพัฒนา ระบบเศรษฐกิจไปสู่ระบบทุนนิยม ตามที่เขียนว่า “แม้วา่ อำ�นาจทีเ่ กิดจากระบบศักดินาจะมีคแู่ ข่ง คืออำ�นาจทีเ่ กิดจากการสะสม ทรัพย์สมบัติ แต่ระบบศักดินาก็ไม่เสือ่ มสลายลง เพราะพวกทีม่ ที รัพย์และพวก ที่มีอำ�นาจอันเนื่องมาจากระบบศักดินาเป็นคนพวกเดียวกัน หรืออย่างน้อยก็ มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ความกํ้ากึ่งของระบบศักดินาและการ เติบโตของกระฎุมพีในต้นรัตนโกสินทร์ทำ�ให้เศรษฐกิจของสมัยนี้ ไม่เป็น ทุนนิยมไปได้ การดำ�เนินกิจการหลายอย่างทางเศรษฐกิจมิได้มจี ดุ มุง่ หมาย เพื่อเก็บเกี่ยวผลกำ�ไรอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งมักซ์ เวเบอร์ เรียกว่าขาดลักษณะ 11
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 156.
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
97
ที่เป็นเหตุเป็นผล) กำ�ไรที่ได้มาจำ�นวนมากโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นนำ�ของ ศักดินาไม่ได้ถูกนำ�มาหมุนเวียนเป็นทุนอีก แต่ใช้สิ้นเปลืองไปในกิจการที่ไม่ เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ การสะสมทรัพย์เพื่อเป็น ‘ทุน’ จำ�นวนมากจึงไม่ เกิดขึน้ แรงงานทีใ่ ช้ ในการผลิตจำ�นวนมากมิได้เป็นแรงงานเสรี แม้แต่แรงงาน จีนเองก็ยังไม่เป็น แรงานที่เสรีทั้งหมด มีการตั้งสมาคมอั้งยี่ในพวกคนจีน กันเอง...ธุรกิจทั้งของชาวจีนและของศักดินาไทย ตลอดจนการบริหาร ราชการแผ่นดินยังเป็นแบบครอบครัว ไม่มีการแยกบ้านกับที่ทำ�งานออก จากกัน จึงเป็นเรื่องของการดำ�เนินงานของครอบครัวมากกว่าจะเปิดกิจการ เป็นสาธารณะโดยแท้ (ดู Max Weber, 1958: 12–31)”12 (เน้นโดยผูเ้ ขียน) จากประโยคข้างต้นจะเห็นว่านิธิมีการอ้างอิงถึงเวเบอร์ นิธิยังเสนอว่าประเทศ สยามในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ได้มีปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมที่เอื้อให้เกิดพัฒนาการ เพื่อไปสู่ระบบทุนนิยมตามที่เวเบอร์อธิบาย ไม่ว่าจะเป็นระบบแรงงานแบบเสรี การ แยกภาคธุรกิจออกจากภาคครัวเรือน และระบบเศรษฐกิจทีม่ จี ดุ หมายในการทำ�กำ�ไร อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น แสดงให้เห็นว่านิธิใช้กรอบของเวเบอร์ในการมองพัฒนาการ ระบบทุนนิยมของสยาม อย่างไรก็ตามนิธิได้อธิบายในช่วงต่อมาว่า “แม้วา่ จะมีขอ้ จำ�กัดอยูห่ ลายประการดังทีไ่ ด้กล่าวนี้ การพิจารณาเศรษฐกิจสังคม ของต้นรัตนโกสินทร์โดยอาศัยรูปแบบของระบบศักดินาแท้ ๆ อย่างอยุธยาเป็น กรอบโครงก็จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนไปได้มาก เพราะความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ ในยุคสมัยนี้ ได้เปลีย่ นลักษณะของชนชัน้ นำ�ของ ระบบศักดินาไปไม่นอ้ ย ร่วมกับชาวจีนทีส่ มั พันธ์กบั กลุม่ ศักดินาชัน้ สูงอย่าง แนบแน่น ได้ทำ�ให้ชนชั้นนำ�ในสังคมไทยมีลักษณะเป็นกระฎุมพีมากขึ้น ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกีย่ วกับชนชัน้ นำ�ซึง่ เป็นกระฎุมพีของต้นรัตนโกสินทร์ จะช่วยให้สามารถเข้าใจความเปลีย่ นแปลงซึง่ ชนชัน้ นำ�ของไทยเป็นผูก้ อ่ ให้เกิดขึน้ หลังสนธิสัญญาเบาว์ริงได้อย่างแท้จริง มีความสืบเนื่องกันระหว่างสมัยต้น รัตนโกสินทร์และสมัย “ปฏิรูปใหญ่” ซึ่งให้กำ�เนิด “สยามใหม่” อย่าง มากกว่าที่เคยเข้าใจกันมา”13 (เน้นโดยผู้เขียน)
12 13
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 153. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุร:ี ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 153.
98
คราสและควินิน
ถึงแม้สยามจะไม่ได้มีปัจจัยทุกอย่าง (ตามคำ�อธิบายของเวเบอร์) ที่จะเปลี่ยนไป สู่ระบบทุนนิยมแบบตะวันตก แต่นิธิก็เห็นว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีความแตกต่าง จากสมัยอยุธยาอย่างมีนัยสำ�คัญ ชนชั้นนำ�ในสังคมไทยมีลักษณะของกระฎุมพี มากขึ้น หลังจากนั้นนิธิก็ได้วิเคราะห์ลักษณะของวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์เพื่อ แสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์แบบกระฎุมพี ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมที่สนใจเรื่องของเมือง เป็นวรรณกรรมที่เน้นความโอ่อ่าแบบศักดินา แต่ก็สนุกด้วยสีสันตระการตาและการ ใช้จา่ ยทีฟ่ มู ฟายแบบกระฎุมพี หรือเป็นวรรณกรรมเพือ่ การอ่าน รวมทัง้ มีลกั ษณะของ สัจนิยม (Realism) และมนุษยนิยม เป็นต้น จากสัจนิยมในวรรณกรรมถึงเหตุผลนิยมในพุทธประวัติ
ถ้ า เราอ่านอย่างผิว เผิน ดูเ หมือนว่านิธิ ไ ม่ ไ ด้ อ้ า งเวเบอร์ ในการอธิ บายความเป็ น กระฎุมพี อันเป็นประเด็นหลักของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ตามทีน่ ธิ วิ เิ คราะห์ความเป็น กระฎุมพีจากลักษณะของวรรณกรรมไทย เนือ่ งจากเวเบอร์ ไม่ได้เขียนเรือ่ งวรรณกรรม ซึง่ ถ้าเป็นเช่นนัน้ จริง ก็หมายความว่าเวเบอร์ ไม่นา่ มีอทิ ธิพลมากมายต่อแนวคิด หลักของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ อย่างไรก็ตามประเด็นที่ผู้เขียนต้องการเสนอก็คือ การ วิเคราะห์ว่าวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์มีลักษณะของสัจนิยมนั้น นิธิน่าจะได้รับ อิทธิพลมาจากเวเบอร์ ในบทหนึ่งในหนังสือ “จริยธรรมโปรเตสแตนต์ฯ” ที่มีชื่อว่า “พื้นฐานทางศาสนา ของความเคร่งวินัยทางโลก (The Religions Foundations of Worldly Asceticism)” เวเบอร์ ได้อธิบายถึงกระบวนการทีส่ �ำ คัญมากอย่างหนึง่ ทางประวัตศิ าสตร์ของตะวันตก คือ “กระบวนการขจัดเวทมนตร์ออกไปจากศาสนา” หรืออาจเรียกตามเวเบอร์ ได้อีก อย่างว่า “การทำ�ให้โลกสูญเสียมนตรา” (“Disenchantment of the world”) อันเกิด จากกระบวนการสร้างระบบเหตุผล (Rationalization) โดยเวเบอร์ ได้เขียนตอนหนึง่ ว่า “การทีศ่ าสนาพัฒนาขึน้ มาและกำ�จัดเวทมนตร์ไปจากจากโลกเป็นกระบวน การทางประวัตศิ าสตร์ทส่ี �ำ คัญ และมันเริม่ จากแนวทางศาสนาของพวกประกา ศกชาวยิวและแนวความคิดแบบวิทยาศาสตร์ของชาวกรีกเฮเลนิก แนวทาง พวกนี้มองว่าการใช้เวทมนตร์เพื่อการหลุดพ้นนั้นเป็นความงมงายและเป็น บาป และในที่สุดแนวทางแบบนี้ก็มาสู่บทสรุปอันสมเหตุสมผลของมันใน
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
99
การปฏิรูปศาสนาคริสต์ ชาวพิวริทันที่แท้จริงจะปฏิเสธสัญลักษณ์ต่างทาง ศาสนาในงานศพ และพวกเขาจะก็จะฝังคนใกล้ชิดของพวกเขาโดยปราศจาก บทเพลงและพิธีกรรมใด ๆ การที่พวกเขาทำ�แบบนี้ก็เพราะเขาไม่ต้องการให้ ความงมงายต่าง ๆ เข้ามาย่างกราย พวกเขาไม่เชือ่ ว่าเวทมนตร์และพิธกี รรม ศักดิ์สิทธิ์ ใด ๆ จะส่งผลให้เกิดการไถ่บาปเพื่อการหลุดพ้นได้”14 (เน้นโดย ผู้เขียน) “พวกพิวริทนั ได้ท�ำ ให้โลกมีเหตุผลและกำ�จัดเวทมนตร์ออกจากแนวทางเพือ่ การหลุดพ้นอย่างเข้มข้นทีส่ ดุ ในระดับทีช่ าวคาทอลิกและชาวยิวทีเ่ คยทำ�สิง่ เหล่านี้มาก่อนก็เทียบไม่ได้เลย สำ�หรับชาวคาทอลิกการให้อำ�นาจสูงสุดกับ ศาสนจักรเป็นเพียงการชดเชยความไม่สมบูรณ์ของตนเท่านัน้ พวกพระก็เป็น เหมือนผู้วิเศษที่สร้างปาฏิหาริย์ในพิธีกรรมการเปลี่ยนไวน์และขนมปังเป็น เลือดเนื้อของพระเยซู ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวก็ทำ�ให้พวกพระเป็นผู้กุมกุญแจ สู่ชีวิตอมตะ”15 (เน้นโดยผู้เขียน) เวเบอร์เชื่อว่าเวทมนตร์หรือความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ที่เคยมีอยู่ใน คำ�สอนดัง้ เดิมทางคริสต์ศาสนา เมือ่ มาถึงยุคของการปฏิรปู ศาสนา มันก็จะค่อย ๆ ถูก ขจัดออกไป เขาเชื่อว่าเราสามารถสังเกตเห็นกระบวนการนี้ ได้จากความเชื่อของลัทธิ คาลวิน (Calvinism) ทีเ่ น้นความหลุดพ้นของผูค้ นจากการทำ�งานหนักในโลกนีพ้ ร้อม great historic process in the development of religions, the elimination of magic from the world which had begun with the old Hebrew prophets and, in conjunction with Hellenistic scientific thought, had repudiated all magic means to to salvation as superstition and sin, came here to its logical conclusion. The genuine Puritan even rejected all signs of religious ceremony at the grave and buried his nearest and dearest without song or ritual in order that no superstition, no trust in the effects of magical and sacramental forces on salvation, should creep in.” Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, p. 61. 15 “The rationalization of the world, the elimination of Magic as a means to salvation, the Catholics had not carried nearly so far as the Puritans (and before them the Jews) had done. To the Catholic the absolution of his Church was a compensation for his own imperfection. The priest was a magician who performed the miracle of transubstantiation, and who held the key to eternal life in his hand.” Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, p. 71. 14
“That
100
คราสและควินิน
กับการควบคุมตนเอง (ของผู้ที่พระเจ้าเลือกสรรแล้ว) ที่เรียกว่า” ความเคร่งวินัยใน ทางโลก (Asceticism)” ความเคร่งวินยั นีเ้ องทีเ่ ป็นแรงผลักดันสำ�คัญซึง่ ทำ�ให้เกิดจิตวิญญาณของระบบ ทุนนิยมขึ้นมา ในขณะที่เวเบอร์กลับมองว่าลัทธิคาทอลิกยังคงมีความเชื่อในเรื่อง เวทมนตร์อยู่ โดยมีพระเป็นผู้วิเศษ (Magician) ทำ�หน้าที่คอยปลอบประโลมใจและ ขจัดบาปของมนุษย์ พร้อมกับให้ความหวังต่อการขึน้ สวรรค์ในโลกหน้า อย่างเช่นการ ประกอบพิธกี รรมของพระในลัทธิคาทอลิกทีม่ กี ารเปลีย่ นไวน์และขนมปังเป็นเลือดเนือ้ ของพระเยซู ลัทธิคาทอลิกในสายตาของเวเบอร์จงึ ไม่ได้ท�ำ ให้เกิดจิตวิญญาณของระบบ ทุนนิยม เพราะไม่ได้เน้นในเรื่องทางโลก ในทางตรงกันข้ามลัทธิคาลวินจะไม่ให้ความหวังในโลกหน้าแบบนั้น เนื่องจากมี ความเชื่อว่าเมื่อพระเจ้าได้เลือกใครแล้ว คนที่พระเจ้าไม่ได้เลือกก็จะต้องตกนรกโดย ไม่มีทางแก้ ไขใด ๆ ได้ พวกที่เชื่อในคำ�สอนของลัทธิคาลวินและเชื่อว่าตนเป็นผู้ที่ พระเจ้าเลือก จึงจำ�เป็นที่จะต้องพิสูจน์ ให้ ได้ว่า “ตนเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับความ โปรดปราน และความรอดจากพระเจ้า” พวกเขาจึงต้องมีความเคร่งวินยั ซึง่ จะทำ�ให้ มี “ชีวิตการงานที่ดี” ผลกำ�ไรและความมั่งคั่งที่ได้จะเป็นข้อพิสูจน์ว่าตนเองได้รับ พรจากพระเจ้าและถูกรวมอยู่ในบรรดาผู้ที่พระเจ้าเลือกสรรแล้ว การให้ความสำ�คัญต่อการเคร่งวินยั ในทางโลกดังกล่าว จึงทำ�ให้ความเชือ่ ในเรือ่ ง เวทมนตร์หรือสิง่ เหนือธรรมชาติตา่ ง ๆ ไม่มคี วามสำ�คัญต่อความเชือ่ ของลัทธิคาลวิน อีกต่อไป เวเบอร์จงึ เชือ่ ว่าจิตวิญญาณของระบบทุนนิยม เกิดจากการให้ความสนใจ ในกิจกรรมทางโลก รวมทัง้ การปฏิเสธความสำ�คัญของเวทมนตร์หรือสิง่ เหนือธรรมชาติตา่ ง ๆ เป็นแนวโน้มทีเ่ กิดขึน้ พร้อมกันของพัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์ของชาว ตะวันตก ถ้าเราย้อนกลับมาดู ‘ปากไก่และใบเรือ’ บ้าง จะพบว่าในบทที ่ 1 คือ “วัฒนธรรม กระฎุมพีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” นิธมิ กี ารอธิบายความเป็นสัจนิยมในวรรณกรรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์วา่ เป็นการเน้นความเป็นจริงอันเป็นเรือ่ งทีอ่ ยูใ่ กล้ตวั และ การแสดงทัศนคติที่รังเกียจไสยศาสตร์อยู่บ้าง ในขณะที่วรรณกรรมอยุธยาไม่ค่อย สะท้อนลักษณะของความสนใจเรือ่ งทีอ่ ยูใ่ กล้ตวั และไม่มที ศั นคติทรี่ งั เกียจไสยศาสตร์ ดังกล่าว โดยนิธิเขียนตอนหนึ่งว่า “สัจนิยมทำ�ให้เริม่ รังเกียจไสยศาสตร์บางประเภท ในขณะเดียวกันพุทธศาสนา แนวทีไ่ ด้รบั การฟืน้ ฟูในต้นรัตนโกสินทร์กเ็ น้นความสำ�คัญของ ‘โลกนี’้ มาก ขึ้น อีกทั้งความสนใจต่อความจริงเชิงประสบการณ์ของชนชั้นสูงทำ�ให้เห็น
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
101
ความสำ�คัญของมนุษย์กว่าสมัยที่เหนือขึ้นไป เราอาจเรียกความสนใจเช่นนี้ กว้าง ๆ ว่า มนุษยนิยมคือ เห็นมนุษย์เป็นศูนย์กลางของอุบตั กิ ารณ์ตา่ ง ๆ และ เชือ่ ในการกำ�หนดชะตาชีวติ ของตนเองโดยมนุษย์มากขึน้ ลักษณะมนุษยนิยม เช่นนี้ ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนในวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งทำ�ให้ วรรณกรรมในสมัยนีแ้ ตกต่างไปจากวรรณคดีอยุธยาอย่างมาก”16 (เน้นโดย ผู้เขียน) ในบทที ่ 2 “สุนทรภู:่ มหากวีกระฎุมพี” นิธไิ ด้อธิบายความมีเหตุผลของกระฎุมพี ซึ่งปรากฏอยู่ในงานของสุนทรภู่ว่า “ลักษณะเด่นของความคิดของพวกกระฎุมพีที่มีต่อโลกรอบตัวก็คือความมี เหตุผล ความลี้ลับและปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ไม่ว่าในระบบการเมือง เศรษฐกิจ หรือศาสนา ไม่คอ่ ยมีเสน่หแ์ ก่พวกกระฎุมพี งานของสุนทรภูส่ ะท้อนความ มีเหตุผลในแง่นี้ แม้จะมีการคละเคล้าอยู่กับรูปแบบและจารีตวรรณกรรมที่ นิยมปาฏิหาริย์และความลี้ลับของพวกศักดินาอยุธยา แต่ความมีเหตุมีผลก็ ปรากฏให้เห็นในงานของสุนทรภู่อยู่เสมอ”17 (เน้นโดยผู้เขียน) การกล่าวถึงท่าทีแบบสัจนิยมที่รังเกียจไสยศาสตร์ การอธิบายว่าพุทธศาสนาที่ ได้รบั การฟืน้ ฟูในตอนต้นรัตนโกสินทร์มกี ารเน้นความสำ�คัญของ ‘โลกนี’้ มากขึน้ การ บรรยายว่าพวกกระฎุมพีมีความคิดแบบมีเหตุผล และไม่ชอบความลี้ลับ ปาฏิหาริย์ ต่าง ๆ ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนมีความคล้ายคลึงกับการวิเคราะห์คำ�สอนในลัทธิคาลวินที่ เวเบอร์เชื่อว่าทำ�ให้ผู้คนเน้นความสนใจมายังกิจกรรมทางโลก รวมทั้งปฏิเสธความ สำ�คัญของเวทมนตร์หรือสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ในบทที่ 5 คือ “พระปฐมสมโพธิกถากับความเคลื่อนไหวทางศาสนาต้นรัตนโกสินทร์” นิธิได้อธิบายแนวคิดแบบ “เหตุผลนิยม” ซึ่งปรากฏอยู่ในวรรณกรรมทาง พุทธศานาอันเป็นแนวคิดทีน่ ธิ เิ ชือ่ ว่ามีอทิ ธิพลต่อชนชัน้ นำ�ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดย จากการวิเคราะห์วรรณกรรมสามชิน้ ทางพุทธประวัติ ซึง่ เขียนขึน้ ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึง่ แต่งโดยสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชติ ชิโนรส สมเด็จพระสังฆราช (สา) และสมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส อันเป็นพระสงฆ์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นั้น 16 17
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 183–184. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 230.
102
คราสและควินิน
ทำ�ให้นธิ ติ อ้ งการแย้งความเชือ่ เดิมเรือ่ งสาเหตุความเคลือ่ นไหวของการตัง้ นิกายธรรมยุต ของเจ้าฟ้ามงกุฎ (หรือพระวชิรญาณในตอนนั้น) ความเชือ่ เดิมทีว่ า่ ก็คอื แหล่งบันดาลใจของนิกายธรรมยุตมีก�ำ เนิดมาจากภายนอก สังคมไทย นั่นคืออิทธิพลของตะวันตก กล่าวคือ ธรรมยุติกนิกายเป็นทั้งส่วนหนึ่ง ของการฟืน้ ฟูพทุ ธศาสนาของกษัตริย์ ไทยหลังการล่มสลายของอยุธยา รวมทัง้ เป็นการ ปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานของวิทยาศาสตร์และเหตุผลนิยมของตะวันตก แต่นิธิเสนอว่า แท้จริงแล้วความเคลื่อนไหวของธรรมยุติกนิกายนั้นเป็นความ เคลื่อนไหวทางศาสนาที่เกิดขึ้นและมีพัฒนาการจากภายในสังคมไทยเอง อันเป็น ผลมาจากความเคลื่อนไหวทางศาสนาครั้งใหญ่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (คือสมัย รัชกาลที ่ 1) มิได้เกิดจากผลกระทบจากภายนอกแต่ประการใด ความพยายามของ พระวชิรญาณ (คือเจ้าฟ้ามงกุฎฯ) ทีต่ อ้ งการปฏิรปู พุทธศาสนาให้บริสทุ ธิน์ นั้ เป็นสิง่ ที่คนทั่วไปในสมัยนั้นสามารถเข้าใจกันได้ เนื่องจากเป็นความเปลี่ยนแปลงภายในที่ เกิดขึน้ อย่างช้า ๆ จากพัฒนาการของกระฎุมพีในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทมี่ แี นวโน้ม ของความเป็นมนุษยนิยมและเหตุผลนิยมมากขึน้ อันเป็นแรงผลักดันของปัญญาชน สยามในขณะนั้นมากกว่าจะมาจากการรับแนวคิดของตะวันตก18 นิธิได้กล่าวไว้ตอน หนึ่งว่า “ความสนใจในที่ให้แก่พระไตรปิฎกโดยเฉพาะพระสูตรนี้เองที่มีอิทธิพลต่อ ความคิดของชนชั้นนำ�ในต้นรัตนโกสินทร์อย่างมาก โน้มนำ�ไปในทางที่อาจ เรียกกว้าง ๆ ว่า “เหตุผลนิยม” ลักษณะเหตุผลนิยมนี้เห็นได้ชัดเจนใน พระสูตร และพระสูตรนีเ้ องน่าจะเป็นแรงบันดาลใจอย่างดีแก่การขยายตัว ของเหตุผลนิยมในความคิดของปัญญาชนไทยมากกว่าแนวคิดตะวันตกซึ่ง ยังไม่แพร่หลายในประเทศไทยเมื่อต้นรัตนโกสินทร์”19 (เน้นโดยผู้เขียน) นิธยิ งั อธิบายต่อว่าลักษณะเหตุผลนิยมนีน้ บั เป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึง่ ของความ เคลือ่ นไหวธรรมยุตกิ นิกาย พระวชิรญาณวโรรสทรงรังเกียจคำ�อธิบายใด ๆ ทีอ่ งิ อยูก่ บั
สรุปจาก พิชญา สุม่ จินดา, “ธรรมยุตกิ นิกาย: การศึกษาความสัมพันธ์กบั สมณวงศ์ของลังกาผ่าน พุทธศิลป์,” วารสารไทยคดีศกึ ษา (ฉบับย้อนกำ�เนิดเ กิดความหลากหลาย) ปีท ่ี 3, ฉบับที ่ 1 (ตุลาคม 2548–มีนาคม 2549), หน้า 172. 19 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 363. 18
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
103
ประเพณี เมือ่ ใดทีท่ รงถามเหตุผลของการปฏิบตั ิ ก็มกั ไม่ได้รบั การตอบ เพียงแต่บอกว่า เคยทำ�ตามกันมาอย่างนี้ พระวชิรญาณยังได้ทรงโจมตีพระสยามวงศ์ (หรือที่เรียกว่า มหานิกาย) ว่าไม่นบั ถือและปฏิบตั ติ ามพระบาลี แต่กลับยึดมัน่ ทีจ่ ะปฏิบตั ติ ามประเพณี ที่สืบทอดกันมาว่าถูกต้องโดยปราศจากการตั้งคำ�ถาม การตั้งคำ�ถามถึงที่มาของข้อ ปฏิบัติต่าง ๆ เป็นลักษณะอีกอย่างหนึ่งของ “เหตุผลนิยม” นิธิจึงสรุปตอนหนึ่งว่า “ลักษณะเหตุผลนิยมมิใช่เพิ่งเกิดขึน้ เมือ่ พระวชิรญาณทรงตั้งธรรมยุติกนิกาย หากแต่เป็นลักษณะสำ�คัญอย่างหนึ่งของความเคลื่อนไหวทางศาสนาในหมู่ ชนชัน้ นำ�นับตัง้ แต่รชั กาลที ่ 1 เป็นอย่างน้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกเองได้มพี ระราชปุจฉาในเชิงเหตุผลนิยมนีห้ ลายครัง้ กับพระราชาคณะ เช่น ทรงค้านว่าหากเทศนาเรือ่ งปลาว่ายนํา้ ตามฟังธรรมจนสำ�เร็จอรหัตผลแล้ว ก็จะทำ�ให้เข้าใจผิดได้วา่ สักแต่ฟงั ธรรมก็จะได้บรรลุอรหัตผล (สายชล 2525, 113)”20 (เน้นโดยผู้เขียน) นิธิได้นำ�คำ�อธิบายเรื่อง “เหตุผลนิยม” จากความเคลื่อนไหวทางพุทธศาสนาใน สมัยรัชกาลที ่ 1 มาจากวิทยานิพนธ์ (ทีก่ ลายมาเป็นหนังสือ) ของสายชล สัตยานุรกั ษ์ (นามสกุลเดิมคือ วรรณรัตน์) อันเป็นวิทยานิพนธ์ที่มีนิธิเป็นที่ปรึกษา คือ “พุทธ ศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ. 2325–2352)” โดยสายชลได้เขียนตอนหนึ่งว่า “โดยบุคลิกภาพส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรง มีความคิดอย่างกระฎุมพีอย่างชัดเจน คือไม่ถอื เคร่งครัดในเรือ่ งโชคลางและ จารีตประเพณีเก่า ๆ หากแต่เชื่อมั่นอย่างมากในสติปัญญาของมนุษย์ว่าจะ นำ�ไปสูค่ วามสำ�เร็จในโลกนี้ ได้...ในเมือ่ ทรงมีพน้ื ฐานความคิดดังกล่าวมาข้างต้น ในด้านศาสนาจึงทรงให้ความสำ�คัญแก่ลักษณะที่เป็นพิธีกรรมน้อยลงมาก แต่จะให้ความสำ�คัญแก่ศาสนาทีม่ พี นื้ ฐานอยูบ่ นประสบการณ์ตามทีเ่ ป็นจริง มากขึน้ เห็นได้ชดั ว่าทรงมีพระบรมราโชบายทีจ่ ะเปลีย่ นมาเน้นการสัง่ สอนให้ เกิดปัญญาความรู้ ให้สามารถพิจารณาสภาวะต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผลจนเกิด เป็นความเข้าใจหลักคำ�สอนทางศาสนาแล้วจึงนำ�มาปฏิบัติเพื่อจะได้มี “ชีวิต 20
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 364.
104
คราสและควินิน
ที่ดี” ในโลกนี้ กิจกรรมทางพุทธศาสนาของราชสำ�นักส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อ จุดมุ่งหมายดังกล่าวนี้ทั้งสิ้น”21 (เน้นโดยผู้เขียน) จากคำ�อธิบายของสายชลในเรื่อง “เหตุผลนิยม” เราจะเห็นว่ามันไม่ได้มีความ แตกต่างจากคำ�อธิบายเรื่องสัจนิยมในวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ของนิธิแต่อย่างไร กล่าวคือ “เหตุผลนิยม” ก็ยงั เป็นท่าทีทรี่ งั เกียจไสยศาสตร์ (บางประเภท) แต่ให้ ความสำ�คัญกับความสำ�เร็จของชีวติ ในโลกนี้ ซึง่ อีกเช่นกันทีม่ คี วามคล้ายคลึงกับการ วิเคราะห์ค�ำ สอนในลัทธิคาลวินของเวเบอร์ ดูเหมือนว่าสายชลจะยืมแนวคิดกระฎุมพี มาจากนิธิ แต่สายชลไปไกลกว่าโดยการอธิบายให้รชั กาลที ่ 1 มีความคิดแบบกระฎุมพี ในทางกลับกันนิธกิ น็ �ำ คำ�อธิบายเรือ่ ง “เหตุผลนิยม” ของพุทธศาสนาในช่วงรัชกาลที ่ 1 ของสายชลกลับมาใช้อีกต่อหนึ่ง ความแตกต่างพื้นฐานระหว่างนิธิกับเวเบอร์
ถึงแม้เราสามารถมองเห็นร่องรอยของเวเบอร์ ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ แต่ถ้าเรา พิจารณาในรายละเอียด ก็จะพบว่าจริง ๆ แล้วนิธิมีความคิดพื้นฐานที่แตกต่างจาก เวเบอร์เป็นอย่างมาก ก่อนอื่นเรามาดูที่นิธิกันก่อน โดยที่เขากล่าวในบทสรุปของ บทที่ 1 “วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” ว่า “เศรษฐกิจแบบส่งออกซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็วในต้นรัตนโกสินทร์ทำ�ให้ ชนชั้นนำ�ในระบบศักดินาเปลี่ยนแปลงตนเองไปเป็นกระฎุมพีมากขึ้น... วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ถูกผลิตและบริโภคในสภาพเศรษฐกิจและ ลักษณะเช่นนี้ จึงทำ�ให้จารีตทางวรรณกรรมของศักดินาจากสมัยอยุธยา คลอนคลายลง การหันไปรับจารีตทางวรรณกรรมของประชาชนอันเป็น วรรณกรรมทีม่ พี ลังและมีชวี ติ ทีจ่ ะปรับตนเองอยูไ่ ด้ตลอดเวลาเข้าไว้ ในวรรณกรรมของชนชั้นสูงเป็นผลให้วรรณกรรมของชนชั้นสูงมีพลังอย่างเดียวกับ
สายชล สัตยานุรกั ษ์, พุทธศาสนากับแนวคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก (พ.ศ. 2325–2352), หน้า 112–113. 21
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
105
วรรณกรรมไพร่ นับเป็นยุคสำ�คัญของประวัติวรรณกรรมไทยอีกยุคหนึ่ง”22 (เน้นโดยผู้เขียน) นิธิเชื่อว่าความคิดแบบ “เหตุผลนิยม (หรือสัจนิยม)” ของชนชั้นนำ�ในระบบ ศักดินาของสยาม ที่สังเกตได้จากลักษณะของวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์เป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นได้เองอย่างอัตโนมัติ จากการที่พวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทาง เศรษฐกิจแบบส่งออกที่ขยายตัวในช่วงนั้น จนทำ�ให้ชนชั้นนำ�ดังกล่าวเปลี่ยนแปลง ตนเองไปเป็นกระฎุมพีมากขึ้น ในบทที่ 5 คือ “พระปฐมสมโพธิกถากับความเคลื่อนไหวทางศาสนาต้นรัตนโกสินทร์” ถึงแม้นธิ จิ ะอธิบายว่า ‘เหตุผลนิยม’ เป็นลักษณะสำ�คัญอย่างหนึง่ ของความ เคลื่อนไหวทางศาสนาในหมู่ชนชั้นนำ�นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นอย่างน้อย ซึ่งอาจ ตีความได้ว่า ‘เหตุผลนิยม’ เกิดมาจากอิทธิพลของทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะความ สนใจต่อพระสูตรในพระไตรปิฎก แต่นิธิก็ได้เขียนเพิ่มเติมในเชิงอรรถในบท “พระ ปฐมสมโพธิกถาฯ” “การปรากฏขึน้ ของ “เหตุผลนิยม” นี้ สืบเนือ่ งกับการขยายตัวและการเพิม่ ความเข้มข้นของเศรษฐกิจแบบส่งออก ซึง่ เริม่ ครอบงำ�กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของชนชัน้ นำ�ในต้นรัตนโกสินทร์ รายละเอียดของข้อเสนอนี้ พร้อมทัง้ การใช้ ข้อเสนอนี้เพื่อศึกษาวรรณกรรมของต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นบทที่ 1 ของ หนังสือเล่มนี้”23 (เน้นโดยผู้เขียน) สรุปได้ว่า นิธิเชื่อว่าความเคลื่อนไหวทางพุทธศาสนาดังกล่าวที่แสดงให้เห็นการ ปรากฏของ ‘เหตุผลนิยม’ ก็ยังเกิดมาจากการขยายตัวและการเพิ่มความเข้มข้นของ เศรษฐกิจแบบส่งออก ซึ่งเริ่มครอบงำ�กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชนชั้นนำ�ในต้นรัตนโกสินทร์ อย่างไรก็ตามหากมองในแง่มมุ ของเวเบอร์แล้ว ข้อเสนอของนิธดิ งั กล่าวไม่นา่ เป็น สิง่ ทีเ่ วเบอร์สามารถยอมรับได้ โดยเวเบอร์ ได้เขียนตอนหนึง่ ในส่วนคำ�นำ�ของผูเ้ ขียน ว่า
22 23
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 191–192. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 346.
106
คราสและควินิน
“อันที่จริงแรงขับในการอยากครอบครองสิ่งต่าง ๆ การมุ่งหาผลประโยชน์ การมุ่งหาเงินจำ�นวนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ นั้นล้วนไม่มีความจำ�เป็นต้อง เกีย่ วข้องกับทุนนิยมโดยตัวมันเองเลย แรงขับทีว่ า่ นีม้ อี ยูใ่ นคนสารพัดตัง้ แต่ บริกร หมอ คนขับรถม้า ศิลปิน โสเภณี ข้าราชการกังฉิน ทหาร ผูม้ ตี ระกูล นักรบครูเสด นักพนัน ไปจนถึงขอทาน เราอาจกล่าวได้ดว้ ยซํา้ ว่าคุณลักษณะ เหล่านี้เป็นเรื่องปกติทั่วไปของมนุษย์ทุกแบบไม่ว่าเขาจะอยู่ใต้เงื่อนไขอะไร ไม่ว่าเขาจะอยู่ในช่วงเวลาใดหรืออยู่ส่วนใดของโลก มันเป็นเรื่องปกติที่ พวกเขาจะพยายามหาเงินจำ�นวนมากที่สุดถ้าพวกเขาเห็นว่ามันเป็นไปได้ เราควรจะเลิกสอนกันในโรงเรียนอนุบาลทางประวัตศิ าสตร์วฒ ั นธรรมได้แล้ว ว่าทุนนิยมมันเกิดจากสิ่งเหล่านี้ ความละโมบทางเศรษฐกิจอย่างไร้ทสี่ นิ้ สุดไม่ใช่สงิ่ เดียวกับทุนนิยม และ มันก็ไม่ใช่จติ วิญญาณของทุนนิยมเช่นกัน ในทางตรงข้าม ทุนนิยมอาจ เป็น สิ่งเดียวกับความสามารถในการระงับยับยั้งแรงขับดันอันไม่มีเหตุผลนี้ หรือ อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็คอื ความสามารถในการควบคุมแรงขับดันนีอ้ ย่างมีเหตุผลต่าง หาก ทุนนิยมคือสิ่งเดียวกับการไล่ล่าผลกำ�ไร และสร้างผลกำ�ไรขึ้นมาใหม่ อย่างไม่สนิ้ สุดผ่านองค์กรทุนนิยมทีม่ เี หตุผลและทำ�งานได้อย่างต่อเนือ่ ง”24 (เน้นโดยผู้เขียน) เวเบอร์ ไม่ได้เชื่อว่าการมุ่งหาเงินจำ�นวนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อย่างเช่นการ ทำ�การค้า ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วไปของมนุษย์ทุกแบบ มีความจำ�เป็นต้องเกี่ยวข้องกับ ทุนนิยมแบบตะวันตก เวเบอร์จงึ ไม่นา่ ยอมรับแนวคิดทีว่ า่ การขยายตัวและการเพิม่ ความเข้มข้นของเศรษฐกิจแบบส่งออก จะทำ�ให้ชนชั้นนำ�ของสยามเกิดมีแนวคิด แบบ ‘เหตุผลนิยม (หรือ ‘สัจนิยม’) ขึน้ มาได้เองอย่างอัตโนมัติ เพราะการทีผ่ คู้ น ในตะวันตกเน้นความสนใจมายังกิจกรรมทางโลก รวมทั้งปฏิเสธความสำ�คัญของ เวทมนตร์หรือสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ (หรือที่นิธิเรียกลักษณะดังกล่าวว่า ‘เหตุผล นิยม’) เวเบอร์เชื่อว่าเกิดมาจากมาจากคำ�สอนทางศาสนาของลัทธิคาลวิน ไม่ใช่เกิด มาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตามที่อธิบายไปแล้วในตอนต้นของบทนี้ว่า นอกเหนือไปจากคำ�สอนของลัทธิ คาลวินแล้ว เวเบอร์ยังได้อธิบายถึงปัจจัยต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ–สังคม ซึ่งทำ�ให้บาง 24
Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, pp. xxxi–xxxii
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
107
ประเทศในทวีปยุโรปสามารถมีพฒ ั นาการของระบบเศรษฐกิจไปเป็นแบบทุนนิยม ได้แก่ 1. การแยกภาคธุรกิจออกจากภาคครัวเรือน 2. การกำ�เนิดของเมือง 3. ธรรมเนียม ที่ได้จากระบบกฎหมายของโรมัน ซึ่งทำ�ให้เกิดการพัฒนาการของระบบกฎหมายที่มี เหตุผล 4. การพัฒนาของรัฐชาติภายใต้การบริหารงานของข้าราชการที่ทำ�งานเต็ม เวลา 5. การพัฒนาระบบบัญชีคู่ (Double entry) ในยุโรป 6. การเกิดแรงงานแบบ เสรี25 เวเบอร์เชื่อว่าปัจจัยทั้ง 6 อย่างนี้ เมื่อรวมกับคำ�สอนทางศาสนาของลัทธิคาลวิน ก็อาจทำ�ให้เกิดระบบทุนนิยมขึ้นมาในตะวันตกได้ และนิธิเองก็ใช้ปัจจัย 6 อย่างของ เวเบอร์ในการมองพัฒนาการระบบทุนนิยมของสยามเช่นกัน26 โดยเขาเสนอว่าประเทศ สยามในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ได้มีปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมที่เอื้อให้เกิดพัฒนาการ เพื่อไปสู่ระบบทุนนิยมตามที่เวเบอร์อธิบาย ไม่ว่าจะเป็นระบบแรงงานแบบเสรี การ แยกภาคธุรกิจออกจากภาคครัวเรือน และระบบเศรษฐกิจทีม่ จี ดุ หมายในการทำ�กำ�ไร อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น แต่นิธิก็ยังเห็นว่าสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีความแตกต่างจากสมัยอยุธยาอย่างมีนัย สำ�คัญ ยกตัวอย่างเช่น ชนชัน้ นำ�ในต้นรัตนโกสินทร์มกี ารพัฒนาระบบบัญชีทลี่ ะเอียด ขึน้ ทำ�ให้การธุรกิจของกระฎุมพีเหล่านี้ “เป็นเหตุเป็นผล” มากขึน้ และลดส่วนทีเ่ ป็น การเก็งกำ�ไรและการเมืองในธุรกิจของตนลง27 “ความเป็นเหตุเป็นผล” เช่นนี้ ยังนำ� ไปสูก่ ารตืน่ ตัวของพวกกระฎุมพีชนั้ นำ�ต่อการรับวัฒนธรรมตะวันตก28 เกิดวัฒนธรรม การอ่านออกเขียนได้29 ฯลฯ จนทำ�ให้ชนชัน้ นำ�ในสยามมีลกั ษณะของกระฎุมพีมากขึน้ และมีความเป็นเหตุผลนิยม มากขึน้ จนทำ�ให้เกิดการรังเกียจไสยศาสตร์บางประเภท รวมทั้งให้ความสำ�คัญต่อ "โลกนี้" มากขึ้น ในขณะทีเ่ วเบอร์เชือ่ ว่ากระบวนการขจัดเวทมนตร์ออกไปจากศาสนาและความเคร่ง วินยั ในทางโลกทีเ่ กิดกับชาวตะวันตกอันทำ�ให้เกิดจิตวิญญาณของทุนนิยมนัน้ มีสาเหตุ มาจากคำ�สอนของลัทธิคาลวิน แต่นธิ จิ ะไม่ได้อธิบายเหมือนเวเบอร์ ว่าอะไรคือสาเหตุ ที่ทำ�ให้โลกทัศน์ของชนชั้นนำ�ไทยมีการเปลี่ยนแปลงจนมีความเป็น ‘เหตุผลนิยม (หรือสัจนิยม)’ มากขึ้น หรือคำ�สอนทางพุทธศาสนาชุดใดที่ทำ�ให้โลกทัศน์ของ Anthony Giddens, “ Introduction,” in Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, pp. xvi–xvii. 25
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 153. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 134 28 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 135. 29 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 137. 26 27
108
คราสและควินิน
ชนชัน้ นำ�ไทยมีการเปลีย่ นแปลงจนเป็นกระฎุมพีมากขึน้ แต่นธิ จิ ะทึกทัก (take it for granted) เอาว่า การเปลีย ่ นแปลงเหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ได้เองจากความสำ�เร็จ ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบส่งออก ดังที่สังเกตได้จากหลักฐานทางวรรณกรรม ตามการวิเคราะห์ของนิธิเอง นอกจากนี้เวเบอร์ยังเขียนอีกด้วยว่ามีแต่ในตะวันตกเท่านั้นจะมีชนชั้นกระฎุมพี “ก็จะมีแต่ในตะวันตกเท่านั้นที่มีการพัฒนามโนทัศน์พลเมืองและกระฎุมพี ขึ้นมา ในทำ�นองเดียวกัน นอกโลกตะวันตกมันก็ไม่มีชนชั้นกรรมาชีพ เพราะมันก็ไม่มีการจัดการแรงงานอิสระอย่างมีเหตุผลภายใต้ระเบียบวินัย ที่สมํ่าเสมอ นอกจากนี้ถึงเราจะสามารถเห็นการต่อสู้ทางชนชั้นที่มีส่วนผสม อันแตกต่างหลากหลายได้ทวั่ ไปในโลก ไม่วา่ มันจะเป็นการต่อสูร้ ะหว่างชนชัน้ เจ้าหนีแ้ ละชนชัน้ ลูกหนี้ ระหว่างชนชัน้ เจ้าทีด่ นิ และชนชัน้ ทีไ่ ม่มที ดี่ นิ ระหว่าง ชนชั้นพ่อค้ากับชนชั้นผู้บริโภคหรือชนชั้นเจ้าที่ดิน อย่างไรก็ดีในที่อื่น ๆ นอก ตะวันตกอย่างเต็มที่ก็เพิ่งจะเริ่มมีการต่อสู้ระหว่างชนชั้นผู้รับเหมาผลิตสินค้า รายเล็ก กับชนชัน้ คนงานเท่านัน้ ความขัดแย้งสมัยใหม่ระหว่างผูป้ ระกอบการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่กบั แรงงานอิสระทีร่ บั ค่าจ้างนัน้ ไม่พบในทีอ่ น่ื นอกจาก ตะวันตก ดังนั้นที่อื่น ๆ มันจึงไม่มีปัญหาสังคมนิยมแบบตะวันตก”30 (เน้น โดยผู้เขียน) นิธเิ องก็ยอมรับว่าสยามในตอนนัน้ ยังไม่มชี นชัน้ กรรมาชีพทีเ่ ป็นแรงงานอิสระ รวม ถึงเหล่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำ�ให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง ชนชั้นอย่างที่เกิดขึ้นในตะวันตก31 แต่เขาก็ยังต้องการใช้คำ�ว่า ‘กระฎุมพี’ อยู่ แต่ ตามที่กล่าวไปแล้วว่าการใช้คำ�นี้ของเขา ไม่ได้ทำ�ให้พวก ‘กระฎุมพี’ มีความขัดแย้ง หรือสามารถแยกตัวออกมาจากชนชั้นใด ๆ ได้ ตามที่ผู้เขียนได้วิจารณ์ในบทแรกไปแล้วว่า ‘กระฎุมพี’ ที่นิธิใช้ มีความหมายที่ คลุมเครือและมีความขัดแย้งในตัวเอง นอกจากนัน้ ข้อเสนอทีว่ า่ ‘กระฎุมพี’ มีความ เป็น ‘เหตุผลนิยม (หรือสัจนิยม)’ ยังไม่สามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นใน ต้นรัตนโกสินทร์ ตามที่ผู้เขียนจะอธิบายในบทต่อ ๆ ไป
30 31
Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, pp. xxxi–xxxvi
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 153.
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
109
จาก Calling ของลูเธอร์ ถึงหนังสือคำ�สอนของแบกซ์เตอร์
ในบททีส่ ามคือ “แนวคิดเรือ่ งเสียงกูเ่ รียกของลูเธอร์ (Luther’s concept of the calling)” ในหนังสือ “จริยธรรมโปรเตสแตนต์ฯ” เวเบอร์ ได้อธิบายแนวคิดที่เรียกว่า “Calling (เสียงกู่เรียก)” หรือ Beruf ในภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นมโนทัศน์ทางศาสนาเพราะ หมายถึงคืองานทีพ่ ระเจ้าเรียกให้ ไปทำ� จากการค้นคว้าทางประวัตศิ าสตร์ของการใช้ คำ�นี้ ในภาษาของอารยธรรมก่อน ๆ ไม่วา่ จะเป็นชาวคาทอลิกหรือชนชาติในยุคคลาสสิค เวเบอร์พบว่าไม่มกี ารใช้ค�ำ นี้ ในความหมายเดียวกับทีช่ าวโปรเตสแตนต์ใช้ โดย “เสียง กู่เรียก” ที่ชาวโปรเตสแตนต์ ใช้จะหมายถึงพันธกิจของชีวิตการทำ�งาน โดยที่ความ หมายใหม่แบบนีเ้ กิดมาจากคำ�แปลคัมภีร์ ไบเบิลของมาร์ตนิ ลูเธอร์ (Martin Luther, 1483–1546) ซึง่ เป็นผลผลิตของการปฏิรปู ศาสนา เสียงกูเ่ รียกตามการแปลของลูเธอร์ จะเป็นการให้คณ ุ ค่ากับการบรรลุหน้าทีใ่ นทางโลกย์ ว่าเป็นกิจกรรมทางศีลธรรมระดับ สูงสุดทีค่ นคนหนึง่ จะทำ�ได้ การใช้ “เสียงกูเ่ รียก” ในความหมายนีจ้ งึ ทำ�ให้กจิ กรรม ทางโลกย์ในชีวิตประจำ�วันมีความหมายทางศาสนา32 ลูเธอร์น้ันได้ค่อย ๆ พัฒนาแนวคิดนี้มาในช่วงทศวรรษแรกที่เขาเริ่มทำ�การปฏิรูป ทางศาสนา (Reformation) ในตอนแรกความคิดของลูเธอร์ยังมีสอดคล้องกับจารีต แบบยุคกลาง เพราะเขาก็คดิ ว่ากิจกรรมทางโลกย์เป็นแค่เรือ่ งของเนือ้ หนังมังสา การ ดื่มกินเป็นความจำ�เป็นทางธรรมชาติของชีวิตที่มีศรัทธาและมีลักษณะเป็นกลางทาง ศีลธรรม (คือไม่ดีและไม่เลว) อย่างไรก็ตามการพัฒนาแนวคิดการไถ่บาปบนฐาน ความศรัทธาของพวกคณะสงฆ์ของคาทอลิกทำ�ให้ลูเธอร์เกิดความรู้สึกขยะแขยงเป็น อย่างมาก เขาจึงเริ่มมองว่าชีวิตของพวกพระในอารามไม่ได้เป็นเพียงสิ่งไร้ค่าต่อหน้า พระเจ้าเท่านัน้ แต่การทีพ่ วกพระปฏิเสธการทำ�หน้าทีข่ องโลกนีย้ งั เกิดมาจากความเห็น แก่ตัวที่ต้องการถอนตัวจากภาระหน้าที่ที่ต้องทำ� ณ เวลาปัจจุบัน ในทางตรงกันข้าม ลูเธอร์มองว่าการใช้แรงงานตามการกูเ่ รียก เป็นการแสดงออกถึงความรักต่อกันฉันท์ พีน่ อ้ ง เขาจึงสอนว่าการแบ่งงานกันทำ�นัน้ เป็นการบังคับให้คนแต่ละคนต้องทำ�งานเพือ่ คนอืน่ การทำ�งานทางโลกย์ให้ส�ำ เร็จลุลว่ งในทุก ๆ สถานการณ์คอื แนวทางการดำ�เนิน ชีวิตแบบเดียวที่พระเจ้ายอมรับ การทำ�งานและการทำ�งานเท่านั้นคือประสงค์ของ พระเจ้า เสียงกู่เรียกให้ทำ�งานจึงมีนํ้าหนักพอ ๆ กับเสียงกู่เรียกของพระเจ้า เพราะ 32
Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, pp. 39-40
110
คราสและควินิน
พระเจ้าเองก็เฝ้าดูการทำ�งานของมนุษย์อยู33่ เวเบอร์จงึ มองว่าการให้เหตุผลทางศีลธรรมกับกิจกรรมทางโลกย์เป็นหนึง่ ในผลลัพธ์ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ของการปฏิรปู ทางศาสนาของลูเธอร์ อย่างไรก็ตามแนวคิดเรือ่ งเสียงกูเ่ รียก ในความหมายแบบศาสนาก็ถูกตีความไปได้หลายแนวทาง โดยเวเบอร์มองว่าคำ�สอน ของลูเธอร์ยังไม่ได้ทำ�ให้เกิดจิตวิญญาณแบบทุนนิยมขึ้นมาได้ เขาจึงได้ศึกษาคำ�สอน ของนิกายคาลวินและงานเขียนในนิกายแบบพิวริตนั (Puritan) ต่าง ๆ ซึง่ เขาเชือ่ ว่าเป็น จุดเริม่ ต้นทีแ่ สดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมแบบโปรเตสแตนต์กบั จิตวิญญาณ ของทุนนิยม โดยเฉพาะคำ�สอนเรื่อง “ผู้ซึ่งพระเจ้าเลือกสรรแล้ว (Predestination)” ของคาลวินตามที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้ว34 ในบทที่ 5 คือ “การเคร่งวินัยและจิตวิญญาณของทุนนิยม (Asceticism and the Spirit of Capitalism)” เวเบอร์ ได้ศก ึ ษาศาสนาคริสต์นกิ ายพิวริทนั ในอังกฤษ (English Puritan) ซึ่งสืบทอดหลักคำ�สอนมาจากนิกายคาลวิน โดยเฉพาะคำ�สอนของริชาร์ด แบกซ์เตอร์ (Richard Baxter, 1615-1691) ซึ่งเป็นผู้นำ�ของโบสถ์นิกายพิวริตันของ อังกฤษ โดยจากการศึกษาหนังสือเล่มต่าง ๆ ทีเ่ ขียนโดยแบกซ์เตอร์ เวเบอร์พบว่าหลัก คำ�สอนของแบกซ์เตอร์ ได้สอนให้คนทุ่มเททำ�งานหนัก อันรวมทั้งการใช้แรงกายและ กำ�ลังสมอง ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ประเสริฐของมนุษย์ โดยไม่มีคำ�ว่า “หยุดพัก” หรือ “การพักผ่อนให้สบาย” เพราะการทำ�งานหนักเป็นคุณความดีอยูใ่ นตัว จิตใจในขณะที่ ทำ�งานเป็นจิตทีบ่ ริสทุ ธิป์ ราศจากสิง่ ชัว่ ร้าย จึงไม่จ�ำ เป็นต้องมีการพักผ่อนเพือ่ ฟืน้ ฟูจติ ใจ สำ�หรับพวกพิวริทนั แล้ว การปล่อยเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์จงึ เป็นบาปที่ หนักมาก เวลาที่เสียไปควรจะเป็นเวลาที่ทำ�ประโยชน์สูงสุดในการสรรเสริญพระเจ้า ด้วยการทำ�งานตามเสียงกู่เรียก35 นอกจากนีค้ วามสนุกสนานต่าง ๆ ทีท่ �ำ ให้เกิดความบันเทิงของอารมณ์ การพักผ่อน หย่อนใจในรูปต่าง ๆ ก็จะทำ�ให้ผคู้ นหลงงมงายกับสิง่ ทีไ่ ม่มสี าระกับชีวติ ไม่ได้ท�ำ ตัวให้ เป็นประโยชน์ ยิง่ ไปกว่านัน้ พวกพิวริทนั ยังมีหน้าทีใ่ นการนำ�ทรัพย์สนิ ทีห่ ามาได้ ไปทำ� ประโยชน์ให้กบั สังคม การแสวงหาความรํา่ รวยเพือ่ ตัวเองถือว่าเป็นบาป เพราะมันจะ นำ�มาซึ่งการถูกยั่วยวนให้อยู่กับความรื่นเริงบันเทิงใจที่ไร้ประโยชน์ต่อชีวิตรวมไปถึง ความเกียจคร้าน
Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, pp. 40-41 Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, pp. 56-60 35 Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, p. 104 33
34
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
111
เวเบอร์จงึ ได้วเิ คราะห์วา่ หลักความเชือ่ ของพวกพิวริตนั จากหนังสือของแบกซ์เตอร์ ดังกล่าว เป็นหลักการทางจริยศาสตร์ทที่ �ำ ให้การทำ�งานเป็นสิง่ สำ�คัญในการดำ�รงชีวติ มันจึงเป็นการรองรับระบบการแบ่งแยกงานที่ซับซ้อนของแต่ละอาชีพที่มีการแบ่งงาน กันทำ�อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการของเหตุผล และยังเป็นหลักจริยธรรมทีร่ องรับ พัฒนาการของระบบทุนนิยมทีม่ องการสะสมทุนเป็นคุณความดีทท่ี �ำ ให้กบั สังคม เวเบอร์ ได้ยกตัวอย่างพวกพิวริตันที่ดำ�เนินชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด มีสติ สุขุมรอบคอบในการทำ�งานหนัก จนทำ�ให้คนเหล่านี้ ได้รับความสำ�เร็จอย่างสูงในทาง เศรษฐกิจ จนกล่าวได้ว่าหลักจริยธรรมของพวกพิวริตันในอังกฤษซึ่งสืบทอดคำ�สอน มาจากลัทธิคาลวินได้ทำ�ให้เกิดจิตวิญญาณของระบบทุนนิยมขึ้นมา36 คติปัญจอันตรธาน
ผูเ้ ขียนคิดว่ามีประเด็นสำ�คัญอย่างหนึง่ ทีเ่ ราควรทำ�ความเข้าใจร่วมกันก่อน นัน่ คือลำ�พัง การอธิบายว่าเราสามารถสังเกตเห็นการเปลีย่ นแปลงโลกทัศน์ของชนชัน้ นำ�ไทยทีเ่ ป็น “เหตุผลนิยม (หรือสัจนิยม)” มากขึ้น จากการวิเคราะห์ลักษณะของวรรณกรรมต้น รัตนโกสินทร์นั้น ต่อให้เป็นการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ก็ไม่ได้หมายความว่าการอ่าน วรรณกรรมเหล่านี้แต่เพียงอย่างเดียวจะทำ�ให้ผู้อ่านเกิดความคิดแบบ “เหตุผลนิยม (หรือสัจนิยม)” หรือให้ความสำ�คัญของ ‘โลกนี’้ ขึน้ มาได้เอง (ยกเว้นวรรณกรรมทาง ศาสนา หรือวรรณกรรมที่ใช้ ในการสั่งสอนความประพฤติของผู้คน แต่ไม่ใช่วรรณกรรมประเภทนิราศทีเ่ น้นไปในการบรรยายสิง่ ทีก่ วีพบเห็นในระหว่างเดินทางหรือการ แสดงอารมณ์ของกวี เป็นต้น) การใช้หลักฐานทางวรรณกรรมต่าง ๆ ในปากไก่ฯ ส่วนใหญ่จึงเป็นการอธิบายที่ ปลายเหตุหรืออาการที่เกิดขึ้น มากกว่าจะเป็นการชี้ ไปที่ต้นเหตุหรือที่มาของการ เปลี่ยนแปลงดังกล่าว (โดยที่เรายังไม่ได้อภิปรายว่าคำ�อธิบายทางวรรณกรรมต่าง ๆ ของนิธิมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด) แต่ในขณะที่เวเบอร์ยกให้แนวคิด Calling ของลูเธอร์ และแนวคิดเรื่อง “ผู้ซึ่ง พระเจ้าเลือกสรรแล้ว” ของลัทธิคาลวิน ไปจนถึงคำ�สอนของแบกซ์เตอร์ซึ่งเป็นพระ จิราภา วรเสียงสุข, ทฤษฎีสังคมวิทยายุคคลาสสิก, (กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด เอ็ม แอนด์ เอ็ม เลเซอร์พริ้นต์, 2556), หน้า 153–154 36
112
คราสและควินิน
ของนิกายพิวริตันในอังกฤษ ว่าทำ�ให้เกิดจริยศาสตร์แบบใหม่ซึ่งทำ�ให้การทำ�งานเป็น สิง่ สำ�คัญในการดำ�รงชีวติ จนทำ�ให้เกิดจิตวิญญาณแบบทุนนิยมขึน้ มา ผูเ้ ขียนกลับพบ ว่ามีคติทางพุทธศาสนาทีส่ �ำ คัญมากอย่างหนึง่ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทเี่ ป็นตัวขัดขวาง ไม่ให้เกิดการให้ความสำ�คัญต่อการทำ�งานต่อการดำ�รงชีวิต แนวคิดดังกล่าวคือคติ ปัญจอันตรธาน คติปัญจอันตรธานเป็นความเชื่อที่ว่าศาสนาพุทธจะมีอายุเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาอยู่ บนโลกตามพุทธทำ�นายเป็นเวลา 5,000 ปี หลังจากนัน้ พุทธศาสนาก็จะเสือ่ มสูญ จน อันตรธานไป คติดงั กล่าวมีพฒ ั นาการมาตัง้ แต่ชว่ งประมาณครึง่ หลังพุทธศตวรรษที ่ 10 ตัง้ แต่การรจนาคัมภีรม์ โนรถปูรณี ของพระพุทธโฆสาจารย์ ผูเ้ ป็นพระอรรถกถาจารย์ ชาวอินเดียรูปสาํ คัญยิง่ ของฝ่ายมหาวิหาร37 ผสมผสานกับความเชือ่ ของนิกายเถรวาท ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เชื่อว่าพุทธศาสนาจะถึงกาลแตกดับเมื่อครบปีที่ 5,000 หลังพุทธปรินิพพาน จนไม่มีผู้ ใดรู้จักอีกต่อไป โดยความเชื่อแบบนี้ ไม่พบใน ั จอันตรธานปรากฏครัง้ แรกในประเทศไทยในจารึก หลักที ่ 3 คัมภีรข์ องลังกา38 คติปญ จารึกนครชุม พ.ศ. 1900 พบที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จังหวัดกําแพงเพชร39 ซึ่ง สร้างขึน้ ในสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งสุโขทัย โดยก่อนหน้านี้ ไม่นาน พระองค์ ได้ทรงนิพนธ์ ไตรภูมมิ กิ ถา หรือ ไตรภูมพิ ระร่วง ในปี พ.ศ. 1888 เพือ่ สัง่ สอน ให้พทุ ธศาสนิกชนเกรงกลัวต่อการทำ�บาป เกิดความปิตใิ นการทำ�บุญทำ�กุศล และยัง สาธยายถึงวัตรปฏิบตั ขิ องพระมหากษัตริยต์ ามคติพระจักรพรรดิราช เป็นต้น ทีส่ �ำ คัญ ก็คือ ไตรภูมิพระร่วงจัดเป็นวรรณกรรมทางศาสนาเล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทย โดยแต่เดิมนัน้ วรรณกรรมทางศาสนามักแต่งเป็นภาษาบาลี ทำ�ให้คนส่วนใหญ่ไม่อาจ เข้าถึงได้ แต่จากการแต่งเป็นภาษาไทยดังกล่าว จึงได้เกิดการคัดลอกไตรภูมพิ ระร่วงอย่าง สืบต่อกันมาจนถึงสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ ทำ�ให้มนั เป็นหนังสือทีอ่ ทิ ธิพลทาง ความคิดต่อคนไทยอย่างมากมายนับตัง้ แต่โบราณจนถึงปัจจุบนั ดังปรากฏในภาพเขียน คติไตรภูมทิ วี่ าดไว้ตามฝาผนังวัด พระอุโบสถ และเขียนจำ�ลองไว้ ในสมุดภาพ เป็นต้น สิทธารถ ศรีโคตร, การศึกษาคติปัญจอันตรธานในประเทศไทยจากหลักฐานทางโบราณคดี ใน ช่วงพุทธศตวรรษท่ ี่ 19–21, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัตศิ าสตร์, ภาควิชาโบราณคดี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิยาลัยศิลปากร, พ.ศ. 2554, หน้า 29–37 38 สิทธารถ ศรีโคตร, การศึกษาคติปัญจอันตรธานในประเทศไทยจากหลักฐานทางโบราณคดี ใน ช่วงพุทธศตวรรษท่ ี่ 19–21, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัตศิ าสตร์, ภาควิชาโบราณคดี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิยาลัยศิลปากร, พ.ศ. 2554, หน้า 55-56 39 พระครูกลั ยาณสิทธิวฒ ั น์, พุทธประวัตติ ามแนวปฐมสมโพธิ., พิมพ์ครัง้ ที ่ 12. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย., 2552), หน้า 303–307 37
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
113
ในจารึกนครชุมได้กล่าวถึงอันตรธานเอาไว้ 5 ประการ คือ ปริยตั อิ นั ตรธาน (คือ พระไตรปิฎกเกิดการเสือ่ มสูญ) ปฏิบตั อิ นั ตรธาน (ไม่มพี ระสงฆ์ทบี่ �ำ เพ็ญเพียรปฏิบตั ิ ธรรมอีกต่อไป) ปฏิเวธอันตรธาน (ไม่มบี คุ คลใดสามารถสำ�เร็จเป็นพระโสดาบัน) ลิงค อันตรธาน (พระภิกษุพากันละทิ้งผ้าเหลือง ไม่ใช้ผ้าไตรจีวรกันอีกต่อไป) และธาตุ อันตรธาน (คือพระบรมสารีรกิ ธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสูญหายไป) รวมกัน เรียกว่า ปัญจอันตรธาน40 เรายังสามารถสังเกตเห็นคติความเชื่อปัญจอันตรธานใน สังคมไทยได้ ในการเทศน์มหาชาติ การสร้างพระเจดีย์ การสร้างพระเคร่อื่ ง และการ สร้างพระพุทธปฏิมากร เป็นต้น อนึง่ ในพระราชปุจฉาทีพ่ ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมีไปยังบรรดาพระ ราชคณะเมือ่ ศักราช 1146 หรือ พ.ศ. 2327 อันเป็นธรรมเนียมของการสืบสานพุทธ ศาสนาของพระมหากษัตริย์ ไทย มีข้อความตอนหนึ่งว่า “...สมเด็จพระพุทธเจ้ากำ�หนดพระพุทธสาสนาไว้ 5000 พระวัสสา แลเมื่อ ครบ 5000 พระวัสสา พระบรมธาตุเสด็จเข้าสู่พระนิพพานก็สิ้นกาลกำ�หนด พระสาสนาแล้ว แลพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ พระศรีมหาโพธิ และพระเจดีย ฐานอันใด ๆ ซึ่งยังปรากฏอยู่ มีผู้กระทำ�ประทุษร้ายนั้น จะมีบาปจะมีโทษฤๅ หามิได้ ให้ถวายพระพรวิสัชนามาจงแจ้งฯ....”41 (เน้นโดยผู้เขียน) พระราชปุจฉานี้มีเนื้อความที่แสดงความห่วงใยในตัววัตถุเนื่องในพุทธศาสนามาก เป็นพิเศษ ตามคติปญ ั จอันตรธานตามพุทธทำ�นายของเวลา 5000 ปี หลังจากนัน้ พระ ราชาคณะ อันได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช พระพิมลธรรม พระพุทธโฆษา พระโพธิวงษ์ พระปรากรม พระญาณสิทธิ พระธรรมโฆษา ทั้งสิ้น 7 รูป ได้มีพระวิสัชนาว่า “…เมือ่ วันสิน้ 5000 พระวัสสา อันว่าพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ พระเจดีย ฐานทั้งปวงนั้น ก็อันตรธานสาบสูญจากโดยอนุกรมลำ�ดับกันไปตราบเท่าสิ้น 5000 พระวัสสา ถ้าเจดียฐานอันใดยังเหลืออยู่ ก็สนิ้ พระพุทธบัญญัตแิ ล้ว เป็น พระเกรียงไกร สุทฺธมโน (ยางเครือ), การศึกษาวิเคราะห์ปัญจอันตรธานในพระพุทธศาสนา เถรวาท, ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พ.ศ. 2553, หน้า 1 41 หอพระสมุดวชิรญาณ, พระราชปุจฉาในชั้นรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1–รัชกาลที่ 5 เล่ม 1, หน้า 58-61 40
114
คราสและควินิน
พระเจดียฐานมีนอกพระพุทธบัญญัติและที่เจดียฐานอันเหลืออยู่ก็น้อยนัก มนุษย์ทงั้ ปวงก็มไิ ด้รเู้ ห็นว่าเป็นทีเ่ จดียฐาน เหตุวา่ เทวดาบันดาลปิดบังให้รกชัฏ ด้วยก้อนศิลา และต้นไม้ลดาวัลย์อนั กอปรด้วยหนาม ประสงค์วา่ จะมิให้มนุษย์ เข้าไปกระทำ�ลามกได้ ถ้าเป็นผูม้ บี ญ ุ วาสนารูเ้ ห็นว่าทีเ่ จดียฐาน และไปกระทำ� สักการบูชาด้วยกุศลเจตนาก็ได้อานิสงส์เป็นอันมาก ถ้ามีเจตนาเป็นฝ่ายอกุศล ไปทำ�ประทุษร้ายในทีพ่ ระเจดียฐานนัน้ ผูน้ น้ั ก็ได้บาปมาก...”42 (เน้นโดยผูเ้ ขียน) จากคำ�ตอบของพระราชาคณะจะเห็นว่านอกจากความเชือ่ เรือ่ งคติปญ ั จอันตรธาน แล้ว คำ�ตอบยังแสดงให้เห็นความเชื่อทีว่ า่ ความศักดิส์ ิทธิข์ องวัตถุและสถานที่เนือ่ งใน พุทธศาสนาจะหมดความสำ�คัญลง และคนธรรมดาจะหมดความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับ วัตถุศกั ดิส์ ทิ ธิ์ เนือ่ งจากมีเทวดามาบันดาลให้วตั ถุศกั ดิส์ ทิ ธิเ์ หล่านัน้ พ้นจากสายตาของ มนุษย์ธรรมดาที่อาจมาทำ�อันตรายหรือประทุษร้ายได้43 นอกจากพระราชปุจฉาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทีแ่ สดงให้เห็น ถึงคติปัญจอันตรธานแล้ว ในตำ�รา “สังคีตยวงศ์” ที่ประพันธ์โดยสมเด็จพระวันรัตน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในสมัยรัชกาลที่ 1 ปี พ.ศ. 2332 อันเป็นพงศาวดาร เรือ่ งของพระพุทธศาสนากับพงศาวดารของบ้านเมืองประกอบกัน โดยกล่าวตัง้ แต่เริม่ ปฐมสังคายนาถึงการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี44 ตำ�ราเล่มนี้ก็ได้กล่าวถึงคติ ปัญจอันตรธานไว้เช่นกัน โดยพระวันรัตน์ทรงระบุวา่ ได้ถอื ตามลำ�ดับการเสือ่ มสูญของ พระศาสนาดังที่ปรากฏอยู่ในตำ�รา “สารสังคหะ” ของล้านนา45 อย่างไรก็ตามในบทที ่ 5 คือ “พระปฐมสมโพธิกถากับความเคลือ่ นไหวทางศาสนา ต้นรัตนโกสินทร์” นิธิได้กล่าวถึงหนังสือ “พระปฐมสมโพธิกถา” ซึ่งเป็นผลงานชิ้น สำ�คัญของสมเด็จฯกรมพระปรมานุชติ ชิโนรส ซึง่ เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที ่ 1 และ ทรงดำ�รงในสมณเพศตลอดพระชนม์ชพี ในรัชกาลที ่ 3 โดยนิธอิ ธิบายว่าพระปฐมสม โพธิกถาฯ มีการบรรยายให้พระพุทธเจ้ามีความเป็นมนุษย์มากขึน้ (ตามทีเ่ รียกว่าความ เรื่องเดียวกัน วิราวรรณ นฤปิติ, การเมืองเรื่องพระพุทธรูป, (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน, 2560) หน้า 34–35 44 พระเกรียงไกร สุทฺธมโน (ยางเครือ), การศึกษาวิเคราะห์ปัญจอันตรธานในพระพุทธศาสนา เถรวาท, หน้า 39 45 สิทธารถ ศรีโคตร, การศึกษาคติปัญจอันตรธานในประเทศไทยจากหลักฐานทางโบราณคดี ใน ช่วงพุทธศตวรรษท่ ี่ 19–21, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัตศิ าสตร์, ภาควิชาโบราณคดี, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิยาลัยศิลปากร, พ.ศ. 2554, หน้า 97–98 42
43
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
115
เป็นมนุษยนิยม) นิธยิ งั กล่าวด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าฯ ซึง่ เป็นพระราช นัดดา ทรงนับถือพระองค์อย่างสูงในด้านความเป็นปราชญ์ของพระองค์ และถือว่า พระองค์ทรงเป็นศาลฎีกาในปัญหาทีเ่ กีย่ วกับศาสนาทัง้ หมด46 แต่มสี งิ่ หนึง่ ทีน่ ธิ มิ ไิ ด้ กล่าวถึงคือคติปัญจอันตรธานซึ่งปรากฏอยู่ในตอนท้ายของปฐมสมโพธิกถา ปฐมสมโพธิกถา เป็นคัมภีร์แสดงเร่ื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่เมื่อพระองค์ ประทับอยูบ่ นสวรรค์ จนมาถึงการอันตรธานแห่งพระศาสนา สมเด็จฯ กรมพระปรมา นุชติ ชิโนรส ทรงนิพนธ์ขนึ้ ขณะทีย่ งั ทรงดำ�รงพระยศกรมหมืน่ นุชติ ชิโนรส พระสมณ ฉายา สุวณ ั ณรังสี วัดพระเชตุพน โดยทรงรจนาถวายฉลองพระราชศรัทธาพระบาท สมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ท่อี่ าราธนาเมือ่ พ.ศ. 2387 มาสำ�เร็จบริบรู ณ์ในวันแรม 15 คํา่ เดือน 7 ปี มะเส็ง พ.ศ. 2388 รวมมี 29 ปริจเฉท (ฉบับบาลีม ี 30 ปริจเฉท โดยแบ่งปริจเฉทที่ 1 เป็น 2 ตอน) โดยในปริจเฉทที่ 29 ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายมีชื่อว่า อันตรธานปริวรรต ซึง่ เป็นส่วนทีอ่ ธิบายถึงคติปญ ั จอันตรธาน47 โดยปริจเฉทนีเ้ ริม่ ต้นว่า “แท้จริง อันตรธานมี ๕ ประการ ปริยตฺติอนฺตรธานํ คืออันตรธานเสื่อมสูญ แห่งปริยัติ ๑ ปฏิปตฺติอนตฺรธานํ คืออันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑ ปฏิเวธ อนตฺรธานํ คือ อันตรธานแห่งการตรัสรู้มรรคและผล ๑ ลิงฺคอนตฺรธาน คือ อันตรธานการเสือ่ มจากสมณะเพศ ๑ ธาตุอนตฺรธานํ คือ อันตรธานแห่งธาตุ ๑ จึงเป็นอันตรธาน ๕ ประการด้วยกัน”48 (เน้นโดยผู้เขียน) นอกจากนี้ ในปริจเฉทที่ 20 เมตไตรยพยากรณปริวรรต มีความตอนหนึ่งว่า “ทรงพระพุทธดําริว่าตถาคตจะประดิษฐานอยู่ในโลกมิได้นานก็จะปรินิพพาน เป็นแท้ แล เมือ่ ตถาคตปรินพิ พานแล้ว สาวกทัง้ หลายจะลําบากด้วยจตุปจั จัย จะได้ด้วยยาก พระศาสดาแห่งตถาคตก็จะมิอาจวัฒนาการไปถ้วน ๕๐๐๐ พระวัสสา เบื้องว่าตถาคตให้ถวายแก่สงฆ์กาลบัดนี้ สืบไปในอนาคตลาภ สักการบูชาก็จะปรากฏมีแก่สงฆ์ทั้งปวง ทรงทราบเหตุดังนี้จึงตรัสห้ามถึง สามครั้ง” (เน้นโดยผู้เขียน) นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 327 พระเกรียงไกร สุทฺธมโน (ยางเครือ), การศึกษาวิเคราะห์ปัญจอันตรธานในพระพุทธศาสนา เถรวาท, หน้า 39 48 http://www.e4thai.com/e4e/images/pdf/ปฐมสมโพธิกถา.pdf, เข้าถึงวันที ่ 30 มีนาคม 2560 46 47
116
คราสและควินิน
พระเกรียงไกร สุทธฺ มโน ได้ ให้ความเห็นว่าในส่วนของอันตรธานปริวรรต ซึง่ เป็น ปริจเฉทที ่ 29 ทีอ่ ธิบายถึงคติปญ ั จอันตรธานนัน้ สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชติ ชิโนรส น่าจะนำ�เนื้อความมาจากพระอรรถกถา เพราะมีเนื้อหาส่วนใหญ่ตรงกับคัมภีร์อรรถ กถา49 (ซึ่งไม่ตรงกับที่นิธิกล่าวถึงความเสื่อมลงของคัมภีร์อรรถกถาที่เกิดขึ้นในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์50) อย่างไรก็ตามนิธิยังกล่าวด้วยว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยูห่ วั ดูจะสนพระทัยต่อ “ปฐมสมโพธิ” เป็นพิเศษ โดยโปรดให้เขียนรูปปฐมสมโพธิไว้ ทีฝ่ าผนังพระอุโบสถวัดพระเชตุพนใน พ.ศ. 2374 และทรงโปรดให้เทศน์ปฐมสมโพธิ แทนมหาชาติในปีที่ไม่มีเทศน์มหาชาติของหลวง51 จะเห็นว่าพระปฐมสมโพธิกถาฉบับภาษาไทยเล่มนี้ ได้ท�ำ ให้คติปญ ั จอันตรธาน ซึง่ เป็นความเชือ่ ดัง้ เดิมของชาวพุทธเถรวาท เป็นทีร่ จู้ กั ในสังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มากขึ้น อันเป็นการสืบทอดชุดความคิดที่ว่าพระพุทธศาสนามีแต่จะเสื่อมลง จนเมื่อ ครบ 5000 ปีเมื่อใด พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมไปตามคำ�ทำ�นาย อนึ่งในขณะที่เวเบอร์ตีความคำ�สอนของริชาร์ด แบกซ์เตอร์ว่าทำ�ให้เกิดความเชื่อ ในพวกพิวริทันของอังกฤษว่าการปล่อยเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์เป็นบาปที่ หนักมาก เวลาที่เสียไปควรจะเป็นเวลาที่ทำ�ประโยชน์สูงสุดในการสรรเสริญพระเจ้า ด้วยการทำ�งานตามเสียงกู่เรียก คติปัญจอันตรธานกลับทำ�ให้ผู้คนไม่สนใจเวลาตาม ประสบการณ์ แต่กลับให้ความสำ�คัญไปทีก่ ารทำ�บุญเพือ่ สร้างสมบุญบารมี เพือ่ จะได้ ไปเกิดในยุคพระศรีอารย์ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ที่จะเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ ก่อนโลกจะแตกดับ โดยจะอุบัติขึ้นในภายหน้าหลังจากการสิ้นพุทธศาสนาแล้ว หรือ พ.ศ. 5000 โดยอรรถจักร สัตยานุรักษ์ ได้เขียนถึงเวลาที่เกิดจากคติปัญจอันตรธาน เอาไว้ว่า “ความคิดทางเวลาของคนในสังคมจารีตผูกพันอยู่กับจักรวาลแบบไตรภูมิ ที่ มนุษย์เวียนว่ายตายเกิดในภูมิต่าง ๆ นานแสนนาน นับชาติไม่ถ้วน จนกว่าจะ บรรลุนพิ พาน เวลาทีม่ คี วามหมายต่อชีวติ นี.้ ..อาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือเวลา ของมนุษย์ กับเวลาของสังคม เวลาของมนุษย์มีไม่เกินหนึ่งร้อยปี เป็นเวลา แห่งความไม่แน่นอนหรือมีลกั ษณะอนิจจัง ตัง้ อยูไ่ ม่ได้นานหรือมีทกุ ขลักษณะ พระเกรียงไกร สุทฺธมโน (ยางเครือ), การศึกษาวิเคราะห์ปัญจอันตรธานในพระพุทธศาสนา เถรวาท, หน้า 41 50 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 343 51 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 346 49
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
117
ทั้งนี้เพราะแท้ที่จริงแล้ว ทุกสิ่งรวมทั้งตัวมนุษย์เองปราศจากตัวตนที่เที่ยงแท้ หรือมีอนัตตาลักษณะ ดังนัน้ มนุษย์จงึ ควรใช้เวลาของตน ไปในการประพฤติ ธรรม เพือ่ บรรลุความรูแ้ จ้งในไตรลักษณ์จนได้นพิ พานในกาลข้างหน้า ส่วน เวลาของสังคมนัน้ มีระยะเวลายาวนานกว่า แต่กม็ ลี กั ษณะอนิจจังเช่นกัน เวลา ของสังคมทีม่ คี วามหมายต่อมนุษย์ในยุคของพระพุทธองค์ท ่ี 4 แห่งภัทรกัลป์ มีระยะเวลา 5000 ปีเป็นเวลาที่สังคมค่อย ๆ เปลี่ยนแปลง ไปในทางเสื่อม ลง ๆ ทุกทีจนเกิดกลียุคที่มนุษย์ต้องล้มตายลง... คนในสังคมจารีตทีม่ คี วามคิดทางเวลาแบบไตรภูมิ จะไม่ให้ความสำ�คัญ แก่เวลาตามประสบการณ์ กล่าวคือ ไม่ให้ความสำ�คัญแก่ความเปลี่ยนแปลง ที่เป็นจริงของชีวิตและสังคมว่าดำ�เนินมาและดำ�เนินไปอย่างไร เชื่อในการ คลีค่ ลายเปลีย่ นแปลงของชีวติ และสังคมซึง่ ต้องจะเป็นเช่นนัน้ ตามกฎแห่งเวลา ของพุทธศาสนาดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น แม้ว่าในความเป็นจริง เขาจะไม่ได้มี ชีวติ อยูใ่ นช่วงเวลาทีส่ งั คมเสือ่ มลง แต่เขาจะเชือ่ ว่าสังคมเสือ่ มลงเรือ่ ย ๆ ตาม คติปญ ั จอันตรธาน และจะเร่งทำ�บุญให้ทานสร้างสมบุญบารมี เพือ่ จะได้ ไป เกิดในช่วงเวลาที่ดีคือยุคพระศรีอารย์”52 (เน้นโดยผู้เขียน) จากทีอ่ รรถจักรอธิบายมา เราจะเห็นว่าถ้าคำ�สอนแบบพิวริทนั ของแบกซ์เตอร์ท�ำ ให้ การทำ�งานเป็นสิ่งสำ�คัญในการดำ�รงชีวิต จนทำ�ให้เกิดจิตวิญญาณแบบทุนนิยมขึ้นมา คติปญ ั จอันตรธานทีท่ �ำ ให้คนไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไม่สนใจกับเวลาตามประสบการณ์ แต่กลับให้ความสนใจกับการทำ�บุญให้ทานและการสร้างสมบุญบารมี เพื่อจะ ได้ ไปเกิดในช่วงเวลาที่ดีคือยุคพระศรีอารย์ ก็น่าจะทำ�ให้คนไทยในสมัยนั้นไม่ให้ ความสำ�คัญกับการทำ�งานในการดำ�รงชีวติ คำ�สอนเช่นนีจ้ งึ ไม่ได้เน้นความสำ�คัญ ของ ‘โลกนี้’ ให้มากขึ้น รวมทั้งไม่ได้ทำ�ให้เกิดท่าทีแบบสัจนิยมที่รังเกียจไสยศาสตร์ ความลี้ลับ และปาฏิหาริย์ต่าง ๆ และก็ไม่ได้ทำ�ให้เกิดความสนใจต่อความ จริงเชิงประสบการณ์แต่อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนั้นการทำ�งานในชีวิตประจำ�วันของคนไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จึง มีความแตกต่างเป็นอย่างมากกับแนวคิดเรื่องเสียงกู่ (Calling) ของลูเธอร์ ที่ทำ�ให้ การทำ�งานทางโลกย์ให้ส�ำ เร็จลุลว่ งในทุก ๆ สถานการณ์คอื แนวทางการดำ�เนินชีวติ แบบ เดียวที่พระเจ้ายอมรับ หรือการทำ�งานและการทำ�งานเท่านั้นคือประสงค์ของพระเจ้า อรรถจักร สัตยานุรักษ์, การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำ�ไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4– พ.ศ. 2475 (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538)., หน้า 10–11 52
118
คราสและควินิน
และถ้าทัง้ หมดทีก่ ล่าวมาถึงคติปญ ั จอันตรธานเป็นการตีความทีถ่ กู ต้อง ก็จะทำ�ให้ เกิดคำ�ถามตามมาว่าการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำ�ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไปเป็นแบบ “เหตุผลนิยม (หรือสัจนิยม)” ที่มากขึ้น รวมทั้งการให้ความสำ�คัญแก่ โลกนี้มากขึ้นตามที่นิธิอธิบายนั้นมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด? อรรถจักรยังให้ความเห็นด้วยว่าแม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรง มีพระราชดำ�ริเกี่ยวกับเวลาของรัฐว่ารัฐเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้าหรือเจริญขึ้นได้ ไม่ใช่เสือ่ มลงตามคติปญ ั จอันตรธาน แต่ไม่พบหลักฐานว่าพระองค์ได้ทรงปฏิเสธคติ ปัญจอันตรธานอย่างตรงไปตรงมาที่ใด ซึ่งอาจเป็นเพราะพระองค์ ไม่ทรงต้องการ เผชิญห น้าโดยตรงกับพุทธศาสนา โดยการปฏิเสธคติปญ ั จอันตรธานอย่างตรงไปตรงมา 53 จะเกิดขึ้นในสมัยของรัชกาลที่ 5 ไปแล้ว อนึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ารัชกาลที่ 3 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่บูรณะพระอารามที่ กรุงเทพฯ มากที่สุดพระองค์หนึ่ง อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ทำ�ให้การสร้างและการบูรณะพระ อารามหลวงที่ได้เริ่มต้นไว้แต่รัชกาลก่อนๆเสร็จสมบูรณ์ลง54 พระองค์ยังโปรดให้ช่าง หล่อรูปพระมาลัยและพระศรีอาริยเมตไตรไว้ ในพระวิหารวัดอรุณวราชวราราม ตาม คติเรื่องพระพุทธศาสนา 5000 ปี55 และเนื่องจากทรงวิตกในเรื่องความเสื่อมทั้ง 5 ตามหลักปัญจอันตรธาน พระองค์จงึ ทรงโปรดจัดการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณรให้ ได้เรียนพระปริยัติธรรม มีการเทศนาทุกวันพระ มีการสร้างพระไตรปิฎก มีการส่ง สมณฑูตไปลังกา เขมร เพือ่ นำ�พระไตรปิฎกฉบับลังกากลับมาเปรียบเทียบกับของไทย ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น พระองค์ ได้ทรงส่งเสริมให้ข้าราชบริพารบวช รวมถึงการ สร้างศาสนสถานต่าง ๆ ตามทีก่ ล่าวไปแล้ว เป็นต้น พระองค์ยงั ทรงสนับสนุนให้พอ่ ค้า คหบดีที่รํ่ารวยสร้างวัดและสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตัวเอง จนทำ�ให้เกิดจารีตของการบูชาพระพุทธรูปในวัดด้วยการผสมเข้ากับวัฒนธรรมการตัง้ เครื่องโต๊ะบูชาแบบจีน56 เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงกล่าวได้ว่าการทำ�นุบำ�รุงพระพุทธศาสนา เป็นกิจกรรมที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงให้ความสำ�คัญมากที่สุด อรรถจักร สัตยานุรักษ์, การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำ�ไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4– พ.ศ. 2475 (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538)., หน้า 25 54 วิราวรรณ นฤปิติ, การเมืองเรื่องพระพุทธรูป, หน้า 84 55 พระอธิการเกียรติศักดิ์ กิตฺติเมโธ (กุนดี), การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของพระบาทสมเด็จพระ นัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั ในการทำ�นุบ�ำ รุงพระศาสนา, ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพระพุทธ ศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พ.ศ. 2553, หน้า 19-24 56 วิราวรรณ นฤปิติ, การเมืองเรื่องพระพุทธรูป, หน้า 7 53
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
119
สุดท้ายในขณะทีเ่ วเบอร์มองว่าลัทธิคาทอลิกมีพระทำ�หน้าทีเ่ ป็นผูว้ เิ ศษ (Magician) ซึง่ คอยปลอบประโลมใจและขจัดบาปของมนุษย์ พร้อมกับให้ความหวังต่อการขึน้ สวรรค์ ในโลกหน้าด้วยการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา ลัทธิคาทอลิกในสายตาของ เวเบอร์จงึ ไม่ได้ท�ำ ให้เกิดจิตวิญญาณของระบบทุนนิยม เพราะไม่ได้เน้นในเรือ่ งทางโลก และถ้าเราหันมาดูพระพุทธศาสนาเถรวาทดูบ้าง ก็จะเห็นว่าการสร้างวัดและสร้าง พระพุทธรูปเพื่อเป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตัวเองของชนชั้นนำ�ไทย ก็มีลักษณะ เหมือนกับการทำ�พิธกี รรมของชาวคาทอลิคทีเ่ ป็นเครือ่ งปลอบประโลมใจ พร้อมกับให้ ความหวังต่อการขึน้ สวรรค์ในโลกหน้าหรือการกลับมาเกิดใหม่ในยุคพระศรีอารย์ มัน จึงไม่ได้เน้นในเรื่องทางโลกอีกเช่นกัน ‘ปากไก่และใบเรือ’ กับแนวคิดเรื่อง “ชนชั้น” แบบมาร์กซ์
ในส่วน “วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” นิธิได้เสนอว่าในสมัย อยุธยานัน้ วัฒนธรรมของชนชัน้ ปกครองและของประชาชนมีความแตกต่างกัน เนือ่ งจาก ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนมีความเหินห่างกัน คือมีไม่มากไปกว่าการ เกณฑ์แรงงาน เก็บส่วย เก็บค่านา และการสร้างกองทัพ วรรณกรรมราชสำ�นักใน อยุธยาส่วนใหญ่จึงมีหน้าที่ในด้านศาสนาไม่ว่าจะเป็นการสั่งสอนหรือในด้านพิธีกรรม ในขณะที่วรรณกรรมของประชาชนมีหน้าที่เด่นชัดในการสร้างความบันเทิง อย่างไร ก็ตามเมื่อมาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมราชสำ�นักก็มีการเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมคือมีการรับจารีตของวรรณกรรมประชาชนไปใช้เพิม่ ขึน้ ทำ�ให้มกี ารลดลักษณะ ทางพิธกี รรมจนทำ�ให้ลกั ษณะศักดิส์ ทิ ธิล์ ล้ี บั ของวรรณกรรมราชสำ�นักอยุธยาเลือนรางไป เป็นอันมาก ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นวรรณกรรมการอ่านเพือ่ ความบันเทิงเป็นหลัก อย่างไรก็ตามสุมาลี วีระวงศ์ ได้เขียนบทวิจารณ์เพือ่ ปฏิเสธการตีความเรือ่ งวรรณกรรมข้างต้น โดยเสนอว่านิธิได้ ใช้ทฤษฎีชนชั้นที่มีพื้นฐานมาจากสังคมตะวันตก แต่ทฤษฎีชนชั้นดังกล่าวไม่สามารถนำ�มาใช้กับสังคมไทยในสมัยอยุธยาได้ สุมาลี มองว่าไพร่กับมูลนายในสมัยอยุธยาไม่ได้มีความสัมพันธ์ที่แยกห่างกันเหมือนที่นิธิ เสนอ ความใกล้ชดิ ระหว่างชนทัง้ สองกลุม่ ยังทำ�ให้วรรณกรรมราชสำ�นักกับวรรณกรรม ของประชาชนไม่ได้มคี วามแตกต่างในด้านหน้าทีอ่ กี เช่นกัน สุมาลีได้ยกตัวอย่างสมุทร โฆษคำ�ฉันท์และทวาทศมาสทีน่ ธิ จิ ดั ให้เป็นวรรณกรรมชนชัน้ สูงซึง่ มีหน้าทีท่ างพิธกี รรม แต่สุมาลีกลับมองว่าวรรณกรรมทั้งสองเรื่องมีการกล่าวถึงกิจกรรมทางสังคมและ
120
คราสและควินิน
มโหรสพทีบ่ นั เทิงร่วมกันทัง้ ผูด้ แี ละไพร่รวมกันไม่ใช่นอ้ ย พิธกี รรมทีพ่ รรณนาก็ลว้ นมี ความสัมพันธ์กบั การเกษตรและชีวติ ของชาวบ้านอย่างมาก57 สรุปความเห็นของสุมาลี ได้วา่ วรรณกรรมไทยนอกจากจะมีวตั ถุประสงค์ทางวิชาการและพิธกี รรมแล้ว ส่วนใหญ่ ยังมีความประสงค์เพื่อความบันเทิงทั้งสิ้น นับได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นลงมา อย่างไรก็ตามนิธิได้เขียนบทความตอบกลับสุมาลี โดยมีความตอนหนึ่งว่า “กรอบโครงทีผ่ ม “ใช้” ในการศึกษาสังคมไทยนัน้ ตัง้ อยูบ่ นสมมติฐานทีว่ า่ โดยประวัติศาสตร์และโดยโครงสร้างของสังคมไทยในอดีต มีระบบย่อยที่ ตั้งอยู่คู่ขนานกันสองระบบ คำ�ว่าระบบที่ใช้ ในที่นี้ตั้งอยู่คู่ขนานกันสองระบบ คำ�ว่าระบบที่ใช้ ในที่นี้หมายถึงระบบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ส่วน บุคคล ระบบความเชื่อ ระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ฯลฯ และด้วยเหตุ ดังนั้นผมจึงเรียกระบบนี้ว่า “วัฒนธรรม” ในความหมายที่กว้างแบบนัก มานุษยวิทยา เนื่องจากระบบทั้งสองนี้แวดล้อมกลุ่มคนอยู่สองกลุ่ม...ไม่มี ปัญหาว่า วัฒนธรรมมูลนาย และวัฒนธรรมไพร่ ซึ่งตั้งอยู่คู่เคียงกันในวัฒนธรรมไทย ย่อมจะมีปฏิสมั พันธ์กนั เราจะมองปฏิสมั พันธ์นี้ ในรูปใด ผมสมัคร ใจจะมองปฏิสัมพันธ์น้ี ในเชิงความขัดแย้ง เหตุผลหลักที่ทำ�ให้ผมมองปฏิสัมพันธ์ของสองวัฒนธรรมนี้ว่าเป็นความขัดแย้งก็เพราะโดยการวิเคราะห์ จากประวัติศาสตร์ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็ตามระบบการเมืองก็ตาม โครงสร้างทางวัฒนธรรมก็ตาม ฯลฯ นัน้ สัมพันธ์กนั ระหว่างวัฒนธรรมทัง้ สองในเชิงขัดแย้ง กล่าวคือเมื่อฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายก็ค่อนข้างเสีย ประโยชน์”58(เน้นโดยผู้เขียน) นิธยิ งั อธิบายว่ากรอบเรือ่ ง “ชนชัน้ ” ทีใ่ ช้มไิ ด้เป็นแบบวิภาษวิธี (คือแบบมาร์กซ์) แต่เกิดจากความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ของตน ทีเ่ ป็นเช่นนีม้ ไิ ด้เกิดจากการทีต่ นรังเกียจ “ทฤษฎี” แบบมาร์กซ์ แต่เพราะรูู้ตัวว่ายังมีความเข้าใจทฤษฎีนี้ ไม่ลึกซึ้งพอ อย่างไรก็ตามผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่า สุมาลีได้ยกตัวอย่างงานวรรณกรรมไทย สุมาลี วีระวงศ์, “บทความปริทัศน์ ข้อคิดเนื่องมาจากบทความเรื่อง ‘วัฒนธรรมกระฎุมพีกับ วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์’ ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์,” วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (2525), หน้า 166. 58 นิธ ิ เอียวศรีวงศ์, “จดหมายถึงบรรณาธิการ,” วารสารอักษรศาสตร์ ปีท ี่ 6, ฉบับที ่ 1–2 (2526), หน้า 408–409. 57
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
121
หลายชิ้นเพื่อใช้โต้แย้งการแบ่งวรรณกรรมออกเป็นสองชนิดของนิธิ แต่ในบทความ ตอบกลับนั้น นิธิไม่ค่อยได้ ใช้งานวรรณกรรมมาโต้แย้งกับสุมาลี นิธิเพียงแต่ยก กรอบของตนที่มองสังคมไทยบนสองระบบย่อยที่มีความขัดแย้งกัน (ตามที่ผู้เขียน ยกมาข้างต้น) นิธอิ า้ งว่าการใช้กรอบของตนจะทำ�ให้เกิดพลังในการอธิบายสังคมไทย ได้ดกี ว่ากรอบเดิมทีม่ องว่าสังคม (หรือวัฒนธรรม) ไทยมีความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน ซึ่งนิธิมองว่าเป็นกรอบของสุมาลีรวมทั้งนักวิชาการรุ่นเก่า ๆ อนึง่ ผูเ้ ขียนจะไม่วจิ ารณ์ประเด็นเรือ่ งชนชัน้ ในสมัยอยุธยาในตอนนี้ แต่ผเู้ ขียนขอ ชีว้ า่ ถ้าเราต้องการนำ�วรรณกรรมมาใช้เป็นหลักฐานในการอธิบายการเปลีย่ นแปลงทาง สังคมหรือประวัติศาสตร์ เราก็ควรเถียงกันบนฐานของการวิเคราะห์วรรณกรรม ถึง แม้เราจะมีกรอบหรือการตีความ รวมไปถึงความเชือ่ ในเรือ่ งชนชัน้ ทีแ่ ตกต่างกันก็ตาม แต่เราก็ต้องอ้างอิงจากตัวบทของวรรณกรรมเหมือนกับที่สุมาลีได้ทำ� (ผู้เขียนไม่ได้ หมายความว่าการตีความของสุมาลีมีความถูกต้องอย่างแน่นอน แต่ผู้เขียนเห็นด้วย กับวิธีการของสุมาลีที่ให้ความสนใจกับตัวบท) เมื่อเป็นเช่นนั้นการอ้างแต่เพียงกรอบ ทีแ่ ตกต่างกัน (โดยไม่มองทีต่ วั บท) อย่างทีน่ ธิ โิ ต้กบั สุมาลีนน้ั ผูเ้ ขียนคิดว่าเป็นข้ออ้าง ที่ไม่มีความเหมาะสมต่อการตีความวรรณกรรม นอกจากนี้เนื้อหาของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ เกี่ยวข้องกับยุคต้นรัตนโกสินทร์ การ แบ่งวรรณกรรมออกเป็นสองชนิดในสมัยอยุธยาจึงไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสภาพ สังคมและเศรษฐกิจในสมัยอยุธยา เพราะ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ไม่ได้ ให้รายละเอียด ของสังคมไทยในสมัยอยุธยา แต่นิธิกลับใช้การแบ่งดังกล่าวเพื่อนำ�มาเป็นฐานในการ อธิบายลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ การทีน่ ธิ อิ า้ งว่ากรอบ ทีต่ นใช้จะทำ�ให้เกิดพลังในการอธิบายสังคมไทยได้ดกี ว่า เขาน่าจะหมายถึงสังคมไทย ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (ไม่ใช่สมัยอยุธยา) อย่างไรก็ตามผูเ้ ขียนเห็นว่าการแบ่งวรรณกรรมออกเป็นสองประเภทนีจ้ ะเกิดพลัง ในการอธิบายได้จริง ถ้าเราสามารถเชื่อมต่อการแบ่งดังกล่าวกับสภาพของสังคมไทย ในสมัยอยุธยา (ไม่ใช่สมัยต้นรัตนโกสินทร์) และถ้าปรากฏว่าการแบ่งดังกล่าวมีความ สอดคล้องอย่างมีนัยสำ�คัญ เราก็อาจนำ�การแบ่งดังกล่าวมาใช้เปรียบเทียบกับสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ตอ่ ไปได้ แต่นธิ ดิ จู ะไม่สนใจความสอดคล้องในสมัยอยุธยา เพราะให้ ความสนใจแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์เป็นหลัก59 (คือไม่ได้สนใจว่าสมมติฐานของตนมี วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์ ได้ชี้ ให้เห็นช่องว่างของการศึกษาใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ ยกตัวอย่างเช่น หลักฐานที’่ ปากไก่และใบเรือ’เลือกมาใช้เป็นหลักฐานในช่วงปลายอยุธยา ซึง่ ไม่อาจเป็นภาพตัวแทน ของการค้าต่างประเทศในสมัยอยุธยาได้หมด นอกจากนี’้ ปากไก่และใบเรือ’ ศึกษาเปรียบเทียบความ
59
122
คราสและควินิน
ความเป็นจริงหรือไม่ แต่กลับให้ความสนใจไปทีพ่ ลังในการอธิบาย ซึง่ ก็คอื การเลือก ข้อมูลต่าง ๆ แล้วจับมายัดเข้ากับกรอบของตน) และแม้ว่านิธิจะอธิบายว่ากรอบที่เขาใช้ ในการวิเคราะห์วรรณกรรมในสมัยอยุธยา ไม่ได้เป็นแบบมาร์กซิสต์แต่การให้ความสำ�คัญกับความขัดแย้งระหว่างชนชั้นจากผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมนัน้ ผูเ้ ขียนมองว่าไม่ได้มคี วามแตกต่าง จากกรอบแบบมาร์กซิสต์อย่างชัดเจนเพราะมาร์กซ์ก็มอง “ชนชั้น” ในลักษณะของ ความขัดแย้งเช่นเดียวกัน ผู้เขียนจึงมองว่านิธิรับแนวคิดบางอย่างของมาร์กซ์มาใช้ ต่อเรือ่ งนี้ กุลลดา เกษบุญชู มีด้ และเก่งกิจ กิตเิ รียงลาภ ได้อา้ งถึงความเห็นของ คริส เบเกอร์ ทีเ่ สนอว่านิธดิ จู ะได้รบั อิทธิพลจากงานของจิตร ภูมศิ กั ดิ์ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการแบ่งวรรณกรรมออกเป็น 2 ชนชัน้ คือ วรรณกรรมชนชัน้ สูง และวรรณกรรมไพร่60 ข้อเสนอดังกล่าวของคริสดูจะขัดแย้งกับความเข้าใจโดยทั่วไปที่ว่า นิธิ ไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิงต่อสำ�นักประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ อย่างไรก็ตามกุลลดา และเก่งกิจเสนอว่า เราควรจะสรุปให้แคบลงไปกว่านัน้ ว่า นิธไิ ม่เห็นด้วยกับการวิเคราะห์ ของสำ�นักมาร์กซิสต์ “ฉบับฉัตรทิพย์และคณะ” แต่นิธิไม่ได้ปฏิเสธการมองประวัติศาสตร์ของสำ�นักมาร์กซิสต์ทั้งหมด61 อย่างไรก็ตามเมื่อมาสู่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ คำ�อธิบายเรื่องวรรณกรรมของนิธิก็ ปราศจากกรอบความขัดแย้งของชนชั้นไปจนหมดสิ้น เพราะในคำ�อธิบายเรื่องวัฒนธรรมกระฎุมพีนนั้ นิธไิ ม่ได้อธิบายว่าชนชัน้ กระฎุมพีมคี วามขัดแย้งกับชนชัน้ ใด ทีเ่ ป็น เช่นนั้นสาเหตุหลักน่าจะเกิดจากการที่อธิบายให้ชนชั้นกระฎุมพีเกิดมาจากชนชั้น ศักดินาได้เอง แตกต่างระหว่างโลกทัศน์จากวรรณกรรมปลายอยุธยากับต้นรัตนโกสินทร์ มากกว่าทีจ่ ะสนใจศึกษา โลกทัศน์ปลายอยุธยาจากกวีหรือวรรณกรรมปลายอยุธยาโดยตรง ทำ�ให้ภาพโลกทัศน์ของสังคม ปลายอยุธยาทีศ่ กึ ษาจากวรรณกรรมปลายอยุธยามีความไม่ชดั เจน ดู วีระศักดิ ์ กีรติวรนันท์, “การ อ่านและการวิจารณ์ ตั้งคำ�ถามกับปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์–วรรณกรรม ต้นรัตนโกสินทร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์,” หน้า 227–230. 60 “ Afterword” ใน Nidhi Eoseewong, Pen and Sail: Literature and History in Early Bangkok, edited by Chris Baker et al. ( Chiangmai, Thailand: Silkworm Books, 2005)., p. 376. รวมทัง้ ดู จิตร ภูมศิ กั ดิ,์ บทวิเคราะห์มรดกวรรณคดีไทย ภาคผนวก ชีวติ และงาน ของปิกัสโส. (กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ศตวรรษ, 2523), หน้า 23 61 Kullada Kesboonchoo–Mead and Kengkij Kitirianglarp, “Transition Debates and the Thai State: An Observation,” in Essays on Thailand’s Economy and Society for Professor Chatthip Nartsupha at 72, Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Editor., (Bangkok, Sangsan, 2013), p. 94 (footnote 11).
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
123
อนึ่งการวิเคราะห์ลักษณะของวรรณกรรมในยุคต้นรัตนโกสินทร์โดยอ้างอิงกับ โลกทัศน์แบบกระฎุมพี ไม่วา่ จะเป็นวรรณกรรมทีส่ นใจเรือ่ งของเมือง เป็นวรรณกรรม ทีเ่ น้นความโอ่อา่ แบบศักดินา แต่กส็ นุกด้วยสีสนั ตระการตาและการใช้จา่ ยทีฟ่ มุ่ เฟือย แบบกระฎุมพี หรือเป็นวรรณกรรมเพื่อการอ่าน รวมทั้งมีลักษณะของสัจนิยมและ มนุษยนิยมนั้น ไม่ว่าจะมีความลึกซึ้ง (หรือถูกต้อง) ประการใด ก็ไม่ได้วางอยู่บน ระบบวัฒนธรรมของมูลนายและไพร่ที่มีความขัดแย้งกัน นิธิยังได้เขียนในบทสรุปและส่งท้ายตอนหนึ่งว่า “ผลในทางสังคมของความเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศก็คอื ชนชัน้ นำ�ของประเทศมีลกั ษณะเป็นกระฎุมพี และด้วยเหตุดงั นัน้ ปฏิสมั พันธ์ระหว่าง ชนชัน้ นำ�และประชาชนทัว่ ไปจึงเข้มข้นขึน้ ไม่นอ้ ยไปกว่าปฏิสมั พันธ์ระหว่าง ชนชั้นนำ� กระฎุมพี และชาวต่างชาติ พันธะทางสังคมที่ระบบศักดินาได้ สถาปนาเอาไว้เริม่ คลอนคลายลง พันธะบางอย่างก็เป็นสิง่ ทีช่ นชัน้ นำ�ยอมผ่อน ปรนหรือเลิกล้มไปเอง... วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ถูกผลิตและบริโภคกันในสภาพเช่นนี้ จึง ทำ�ให้จารีตทางวรรณกรรมของศักดินาจากสมัยอยุธยาคลอนคลายลง การ หันไปรับจารีตทางวรรณกรรมของประชาชนอันเป็นวรรณกรรมทีม่ พี ลังและ มีชวี ติ ทีจ่ ะปรับตัวเองอยูไ่ ด้ตลอดเวลาเข้าไว้ ในวรรณกรรมของชนชัน้ สูง เป็น ผลให้วรรณกรรมของชนชัน้ สูงมีพลังอย่างเดียวกับวรรณกรรมไพร่บา้ ง นับเป็น ยุคสำ�คัญของประวัติวรรณกรรมไทยยุคหนึ่ง”62 (เน้นโดยผู้เขียน) อย่างไรก็ตามดวงมน จิตร์จำ�นงค์ ได้ปฏิเสธการตีความวัฒนธรรมกระฎุมพีใน วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ดงั กล่าว งานของดวงมน (เช่นเดียวกับสุมาลี) จะนำ�เอา วรรณกรรมมาวิเคราะห์เพือ่ โต้แย้งกับนิธิ โดยงานของดวงมนจะมีรายละเอียดปลีกย่อย มากมาย แต่ที่ผู้เขียนสนใจในตอนนี้คือการที่ดวงมนวิจารณ์ตอนหนึ่งว่า รัชกาลที่ 3 น่าจะทรงมีลักษณะกระฎุมพีที่สูงกว่ารัชกาลที่ 4 แต่พระองค์กลับทรงปฏิเสธวัฒนธรรมตะวันตกมากกว่า (ในขณะที่นิธิกล่าวว่าพวกกระฎุมพีมีแนวโน้มที่ดีในการรับ วัฒนธรรมจากตะวันตก) และนอกจากนีพ้ ระปิน่ เกล้าฯ และพระยาศรีสรุ ยิ วงศ์ ซึง่ เป็น ผูส้ นใจวัฒนธรรมตะวันตกด้วยกันทัง้ คู่ ก็ไม่ได้มคี วามเป็นกระฎุมพีทเี่ ด่นชัดเมือ่ เทียบ 62
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 191.
124
คราสและควินิน
กับรัชกาลที ่ 3 เมือ่ มองในแง่นี้ ความเป็นกระฎุมพีกบั การรับวัฒนธรรมตะวันตกจึง ไม่จำ�เป็นต้องแปรผันตามกัน (ผู้เขียนจะกล่าวถึงเรื่องนี้อีกครั้งในบทที่ 3) ดวงมนยังกล่าวอีกว่ารัชกาลที่ 2 ซึ่งไม่ทรงสนพระทัยในการค้าด้วยพระองค์เอง แต่ทรงมอบให้รชั กาลที ่ 3 เมือ่ ทรงเป็นกรมหมืน่ เจษฎาบดินทร์ดแู ลทัง้ หมด แต่รชั กาล ที ่ 2 กลับเป็นผูพ้ ระราชนิพนธ์งานทีแ่ สดงลักษณะชาวบ้าน เช่นละครนอก (ซึง่ เป็นงาน ทีม่ คี วามเป็นไพร่) แต่กท็ รงพิถพี ถิ นั กับละครใน เช่น อิเหนา และการสร้างหุน่ หลวง (อันเป็นงานของมูลนาย) แสดงให้เห็นว่าพระองค์สามารถแต่งวรรณกรรมให้มีความ เป็นไพร่หรือมีความเป็นมูลนายก็ได้ โลกทัศน์แบบชนชัน้ ทีป่ รากฏในวรรณกรรมจึงไม่ได้ แปรผันโดยตรงกับชนชั้นของผู้แต่งเสมอไป และนี่อาจเป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง ของวรรณกรรม (ที่ทำ�ให้เกิดปัญหาในการตีความ) นอกจากนี้ ในขณะที่รัชกาลที่ 3 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์กลับทรงสนพระทัยทางศาสนามากกว่าการเล่นและการ มหรสพ ทรงห่วงใยการสืบต่อวรรณคดีในฐานะเครือ่ งบำ�รุงความเป็นปราชญ์ มิใช่เพือ่ การอ่านออกเขียนได้เท่านั้น63 (แสดงให้เห็นว่าถ้ารัชกาลที่ 3 ทรงเป็นกระฎุมพีจริง วรรณกรรมทีพ่ ระองค์ทรงสนับสนุน ก็ไม่ได้มลี กั ษณะของวรรณกรรมเพือ่ การอ่านของ พวกกระฎุมพีตามคำ�อธิบายของนิธิแต่อย่างไร) จากคำ�วิจารณ์ลักษณะกว้าง ๆ ของกษัตริย์โดยเทียบกับลักษณะวรรณกรรมของ ดวงมนดังกล่าว แสดงให้เห็นได้คร่าว ๆ ว่าลักษณะของวรรณกรรมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ไม่ได้มคี วามสัมพันธ์กบั ความเป็นกระฎุมพีอย่างชัดเจนอย่างทีน่ ธิ ติ อ้ งการ ให้เราเชือ่ 64 (วรรณกรรมของสุนทรภู่ รวมทัง้ เรือ่ ง “ขุนช้างขุนแผน” ซึง่ นิธจิ ดั ให้เป็น วรรณกรรมแบบกระฎุมพี ก็ไม่ได้มที า่ ทีรงั เกียจไสยศาสตร์แต่อย่างไร เราจะกล่าวถึง เรื่องนี้ ในบทที่ 6 ของหนังสือเล่มนี้)
ดวงมน จิตร์จำ�นงค์, ค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์, หน้า 61–62. นิธคิ งตระหนักถึงความไม่เห็นด้วยของบรรดาผูเ้ ชีย่ วชาญด้านวรรณคดีศกึ ษา จึงได้เขียนในคำ�นำ� ในการพิมพ์ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ครัง้ ทีส่ องตอนหนึง่ ว่า “แม้วา่ มีนกั ศึกษาวรรณกรรมไทยหลายท่าน ได้ช้ี ให้เห็นข้อผิดพลาดของงานเขียนชิน้ นี้ ไว้บา้ งแล้วผูเ้ ขียนก็ยนื ยันค่าของงานชิน้ นีด้ งั เดิม นัน่ ก็คอื มุมมองใหม่ทม่ี ตี อ่ วรรณกรรมไทยในต้นรัตนโกสินทร์ แน่นอนว่าผูเ้ ขียนย่อมเห็นด้วยว่า มุมมองใหม่น้ี สอดคล้องกับความเป็นจริงทางประวัตศิ าสตร์มากกว่ามุมมองเก่า ทีไ่ ม่เห็นความแตกต่างของภูมหิ ลัง งานวรรณกรรมระหว่างอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์” แสดงให้เห็นว่านิธเิ ชือ่ ในสิง่ ทีเ่ รียกว่า “ความ จริงทางประวัติศาสตร์” มากกว่าการตีความตามตัวบทของเหล่านักวรรณกรรมศึกษา ดู “คำ�นำ�ใน การพิมพ์ครั้งที่ 2” ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4. 63
64
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
125
ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้เขียนสนใจในตอนนี้ ไม่ใช่ลักษณะของวรรณกรรม แต่เป็น แนวคิดเรือ่ งความขัดแย้งระหว่างชนชัน้ กล่าวคือในสมัยต้นรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่นิธิบรรยายให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของการค้า ระหว่างประเทศนั้น จะมีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดขึ้นในสมัยนี้ ได้หรือไม่ คงเป็นที่ทราบกันดีว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเพิ่มเติมภาษีใหม่รวมแล้ว 38 ประเภท (ทำ�ให้มรี ายได้เพิม่ ขึน้ จากรัชกาลที ่ 2 กว่า 10 เท่า) วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ ได้ ให้ความเห็นในเรือ่ งนีว้ า่ ภาษีทเี่ รียกเก็บขึน้ ใหม่ในรัชกาลที ่ 3 ล้วนเก็บจากสิง่ จำ�เป็น ในการครองชีพของราษฎรทั้งสิ้น เช่น กระทะ เกลือ ฟืน นํ้าตาล นํ้ามัน ไต้ชัน ฯลฯ แม้มนั จะทำ�ให้รฐั ได้รายได้เพิม่ แต่กท็ �ำ ความเดือดร้อนให้กบั ราษฎร การผลิต สินค้าที่ใช้ ในชีวิตประจำ�วันของคนไทยในช่วงนั้นก็ไม่ได้มีการผลิตออกมามากมายจน เหลือเป็นส่วนเกิน เพราะสังคมไทยในตอนนั้นยังคงเป็นสังคมที่ผลิตเพื่อการยังชีพ65 การจัดเก็บภาษีอากรทั้งที่มีอยู่เดิมและที่เพิ่มขึ้นใหม่นี้ ใช้วิธีการประมูลการเก็บ ภาษีแต่ละชนิด ผู้ที่ให้ประโยชน์แก่ราชการมากที่สุด มักได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าภาษี นายอากร (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน) ทำ�หน้าที่จัดเก็บภาษีที่ประมูลได้ ในเขตพื้นที่ที่ ตกลงกัน มีประกาศนำ�ตัง้ เจ้าภาษีนายอากรอย่างเป็นทางการ ถือเป็นข้าราชการ ผูท้ ี่ ต้องรับภาระในการเสียภาษีอากรคือพวกไพร่ (โดยที่พวกมูลนายไม่ต้องเสียภาษีแต่ อย่างใด) เจ้าหน้าทีน่ ายอากรจะตัง้ ด่านเก็บภาษีสนิ ค้าทีต่ นผูกขาด ถ้าผ่านด่านจะต้อง เสียภาษี ในสมัยหลังนั้นแม้แต่ของที่ไพร่นำ�มาเป็นส่วย หรือของกำ�นัลมูลนายก็ต้อง เสียภาษีเวลาผ่านด่าน จะยกเว้นให้เฉพาะของใช้ หรือของที่นำ�มาบริโภคเท่านั้น66 ตามด่านภาษี ราษฎรก็จะไม่ได้รับความสะดวก เพราะเมื่อเรือหยุดพวกเจ้าภาษีนาย อากรก็จะลงมาค้นจนวุน่ วาย แต่ถา้ เป็นเรือขุนนางทีโ่ อ่อา่ งดงาม ก็จะไม่ถกู ตรวจภาษี อนึ่งหลวงจักรปราณี กวีในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ได้กล่าวถึงเรื่องด่านเก็บภาษีไว้ ใน นิราศพระปฐม ตอนหนึ่งว่า
วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์, นโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว, หน้า 133. 66 อัญชลี สุสายัณห์, ความเปลีย่ นแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทยในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า 169–171. 65
126
คราสและควินิน
ถึงโรงเจ้าภาษีตีฆ้องดัง ตัวโผนั่งแจ่มแจ้งด้วยแสงเทียน ไว้หางเปียเมียสาวขาวสล้าง เป็นจีนต่างเมืองมาแต่พาเหียร อันความรู้สิ่งใดไม่ได้เรียน ยังพากเพียรมาได้ถึงใหญ่โต เห็นดีแต่วิชาขาหมูใหญ่ เราเป็นไทยคิดขึ้นมาน่าโมโห มิได้ทำ�อากรและบ่อนโป มาอดโซสู้กรรมทำ�กระไร67 (เน้นโดยผู้เขียน) ในขณะที่สุนทรภู่ (ที่นิธิยกให้เป็นมหากวีกระฎุมพี) ก็ได้กล่าวถึงการส่งส่วยของ พวกไพร่ในนิราศเมืองแกลงไว้เหมือนกัน แต่กเ็ ป็นการกล่าวถึงสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ โดยปราศจาก การตำ�หนิถงึ ความไม่เป็นธรรมใด ๆ สุนทรภูเ่ พียงแต่บนั ทึกสิง่ ทีต่ วั เองเห็น ซํา้ ร้ายเขา ยังบรรยายสภาพของชาวบ้านจากแง่มุมของชาวเมืองในลักษณะที่วางเฉยหรือออกจะ เหยียดหยามด้วยซํ้า68 นอกจากนีผ้ ลผลิตบางอย่างต้องเสียภาษีหลายขัน้ ตอน เช่น นาํ้ ตาลทราย ต้นอ้อย ต้องเสียอากรสมพัตสร นํ้าอ้อยที่ได้มายังต้องเสียภาษีนํ้าอ้อย และเมื่อนำ�ไปทำ�เป็น นํ้าตาลทรายก็ต้องเสียภาษีนํ้าตาลทรายอีกครั้งหนึ่ง เท่ากับทำ�ให้ราคาสินค้าสูงขึ้น อย่างไรก็ดพี ระราชพงศาวดารระบุวา่ การเพิม่ ภาษีคราวนีท้ �ำ ให้ ได้เงินมาใช้สอยมากขึน้ และเบี้ยหวัดที่แจกแก่ข้าราชการก็เพิ่มขึ้นด้วย69 อนึ่งภาษีที่รัฐเก็บได้ ในสมัยรัชกาลที่ 3 จะถูกกำ�หนดส่วนแบ่งไปเป็นรายจ่ายของ กรมกองต่าง ๆ และพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วนทีเ่ หลือถูกนำ�มาทำ�นุบ�ำ รุงศาสนาในด้าน ต่าง ๆ และการป้องกันประเทศ ส่วนทีจ่ ะนำ�มาปรับปรุงสวัสดิการของราษฎร ไม่วา่ จะ หลวงจักรปราณี, นิราศพระปฐม (พระนคร: คุรุสภา, 2513), หน้า 23. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ใน งานฌาปนกิจศพ นางสาวเฉลียว วิไรรัตน์ จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2513 อ้างถึงใน ญาดา ประภาพันธ์, ระบบเจ้าภาษีนายอากร สมัยกรุงเทพฯ ยุคต้น, พิมพ์ครัง้ ที ่ 2 (กรุงเทพฯ: พันธกิจ, 2548), หน้า 153–154. 68 ดู สมบัติ จันทรวงศ์, โลกทัศน์สุนทรภู่ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2537), หน้า 67. 69 อัญชลี สุสายัณห์, ความเปลี่ยนแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า 168 67
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
127
เป็นการชลประทานเพือ่ การเกษตร หรือการพัฒนาเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ ในการผลิต ไม่ ปรากฏว่ามีการทำ�อย่างจริงจัง ดูเสมือนว่ารัฐเป็นฝ่ายเรียกร้องผลประโยชน์จากราษฎร แต่ฝ่ายเดียว70 การเรียกเก็บส่วยยังไม่ได้ดจู ากความสามารถของราษฎรทีถ่ กู จัดเก็บ การเก็บส่วย ในสมัยนีเ้ ป็นการเก็บรายหัวในอัตราเดียวกันตามทีร่ ฐั กำ�หนดโดยไม่ค�ำ นึงว่าราษฎรหรือ ไพร่นน้ั มีรายได้หรือสามารถเก็บผลผลิตได้มากน้อยเพียงใด การเก็บส่วยในลักษณะนี้ เป็นผลดีแก่ไพร่ส่วยผู้สามารถเก็บผลผลิตได้ ในปริมาณที่มากเกินอัตราที่รัฐเรียกเก็บ และอาจนำ�เอาผลผลิตทีเ่ ก็บได้เกินนี้ ไปขาย แต่เมือ่ ใดทีเ่ กิดภัยธรรมชาติ ไพร่สว่ ยไม่ สามารถหาผลผลิตทีต่ อ้ งการตามทีร่ ฐั กำ�หนดได้ ก็อาจได้รบั รับความเดือดร้อนจากการ ถูกเร่งรัดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ71 นอกจากนี้ความเดือดร้อนของไพร่ส่วยนี้มิได้มาจากภัยธรรมชาติเพียงอย่างเดียว บุญรอด แก้วกันหา ได้สรุปเรื่องนี้ ไว้สองประการคือ 1. ข้าราชการผู้ทำ�หน้าที่เก็บส่วยเบียดบังส่วยที่เก็บจากไพร่ส่วยไว้ แล้วแจ้งขอผัด การส่งส่วยออกไป จึงเท่ากับว่าราษฎรนั้นค้างส่งส่วยและต้องส่งส่วยเพิ่มในปีถัดไป 2. การทีร่ ฐั เร่งรัดเอาส่วยจากราษฎรไปเป็นสินค้าออกเพือ่ ให้ทนั เวลาลมมรสุมและ ในปริมาณทีเ่ พียงพอ ทำ�ให้เกิดเงือ่ นไขตามมาว่าถ้าส่วยทีไ่ ด้มาไม่เพียงพอหรือได้ ไม่ทนั เวลาที่ต้องการ ไพร่ส่วยนั้นต้องจ่ายเป็นเงินทดแทน เพื่อให้รัฐนำ�เงินนั้นไปซื้อสินค้า อื่นมาแทนต่อไป72 วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์ จึงได้สรุปตอนหนึง่ ว่า การเรียกเก็บส่วยหรือภาษีในลักษณะ นี้ ได้สร้างภาระให้แก่ไพร่อย่างยิง่ ทีต่ อ้ งทำ�งานหนักโดยเฉพาะไพร่ทไี่ ม่สามารถเก็บ วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์, นโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยูห่ วั , หน้า 133.; อนึง่ พระมหากษัตริย์ ไทยในสมัยโบราณ (ซึง่ รวมถึงรัชกาลที ่ 3) ทรงมีบทบาท ในการพัฒนาประเทศทีจ่ �ำ กัด กล่าวคือกษัตริย์ ไทยสมัยก่อนถือว่าพระองค์ทรงมีพนั ธะหน้าทีใ่ นการ ป้องกันประเทศจากภายนอกและดูแลความเรียบร้อยภายในเท่านัน้ พ้นจากนัน้ แล้ว ในเรือ่ งการกินอยู่ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนการเรียนรูท้ กั ษะวิชาต่าง ๆ เป็นเรือ่ งทีป่ ระชาชนจะต้องดูแลตนเอง ดู เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมในประเทศไทย (กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมนักข่าว หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, 2538), หน้า 1–20. 71 วราภรณ์ จิวชัยศักดิ,์ นโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้า อยู่หัว, หน้า 109–110 72 บุญรอด แก้วกันหา, “การเก็บส่วยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325–2411),” (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525), หน้า 185–186. 70
128
คราสและควินิน
ผลผลิตได้ ในจำ�นวนตามต้องการ ทางออกของราษฎรทีป่ ระสบปัญหาจากการเก็บ ส่วยของรัฐ จึงมักเป็นไปในรูปของการหนีการควบคุมด้วยวิธกี ารต่าง ๆ รวมทัง้ การ ติดสินบนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและยอมตนเป็นข้าทาสบริวารของเจ้านายขุนนางผู้ มีอ�ำ นาจ ปัญหานีเ้ ป็นปัญหาทีส่ �ำ คัญในสมัยรัชกาลที ่ 3 ทีไ่ ม่อาจควบคุมได้ แม้จะหา ทางป้องกันด้วยการทำ�บัญชีสำ�มะโนครัวและสักข้อมือไพร่เพื่อการหลบหนีก็ตาม73 อันทีจ่ ริงแล้วจิตร ภูมศิ กั ดิ์ ได้กล่าวถึงการกดขีข่ ดู รีดและการต่อสูท้ างชนชัน้ ระหว่าง พวกเจ้าขุนนางกับราษฎรในช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 4 มานานแล้วในหนังสือ “โฉมหน้าศักดินาไทย” โดยจิตรไม่ได้มองว่ารัชกาลที่ 3 และ 4 มีความแตกต่างกัน เพราะทั้งสองรัชกาลต่างเป็นตัวแทนของชนชั้นปกครองในระบบศักดินาที่ต่างก็ขูดรีด ราษฎรผ่านการเก็บภาษีหรือเลิกเก็บภาษี โดยไม่ค�ำ นึงถึงประโยชน์ทแี่ ท้จริงของราษฎร จิตรเขียนตอนหนึ่งว่า “เรื่องอากรค่านํ้านี้เป็นเรื่องสนุก ในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยเก็บอากรค่านํ้าโดย การผูกขาดมีรายได้ปีละกว่า 700 ชั่ง (56,000 บาท) ต่อมาได้เพิ่มภาษีขึ้น อีกมากมายหลายอย่าง จึงลดอากรค่านํ้าลงเหลือ 400 ชั่ง (32,000 บาท) และต่อมาเลิกหมดเลยไม่เก็บ สาเหตุนั้นมิใช่อยากจะช่วยเหลือแบ่งเบาแอก ภาษีจากบ่าราษฎร หากเป็นเพราะรัชกาลที่ 3 ธรรมะธัมโมจัดหน่อย เห็นว่า การจับปลาเป็นมิจฉาชีพ ทำ�ปาณาติบาต จึงไม่เก็บ ครัน้ มาถึงรัชกาลที ่ 4 ต้อง ลดอากรค่านา...จึงต้องขวนขวายหาทางเก็บภาษีอากรใหม่ ในทีส่ ดุ ก็มาลงเอยที่ จะเก็บอากรค่านาํ้ กะว่าจะเก็บปีละ 400 ชัง่ รายได้จริงตามทีส่ งั ฆราชปัลเลอ กัวซ์สำ�รวจ ปรากฏว่าในรัชกาลที่ 4 ได้อากรค่านํ้าถึง 70,000 บาท ครั้นจะ ประกาศเก็บเอาดื้อ ๆ ก็เกรงจะไม่แนบเนียน ผู้คนจะนินทาว่าเก็บแต่ภาษีไม่ เห็นทำ�อะไรเป็นประโยชน์ตอ่ ประชาชนสักนิด รัชกาลที ่ 4 จึงออกประกาศอ้าง ว่าการที่รัชกาลที่ 3 เลิกเก็บอากรค่านํ้านั้น...”74 วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์, นโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว, หน้า 110–111. 74 ดูรายละเอียดใน จิตร ภูมศิ กั ดิ,์ “โฉมหน้าศักดินาไทยในปัจจุบนั ,” ใน เครก เจ. โรย์โนลด์, ความคิด แหวกแนวของไทย: จิตร ภูมศิ กั ดิแ์ ละโฉมหน้าของศักดินาไทยในปัจจุบนั , แปลโดย อัญชลี สุสายัณห์ (กรุงเทพฯ, สำ�นักพิมพ์อกั ษรสาส์น, 2534), หน้า 247–248. [อ้างจาก วีระศักดิ ์ กีรติวรนันท์, “การ พรรณนาการเปลีย่ นแปลงจาก ‘สยามยุคเก่า’ เป็น ‘สยามยุคใหม่’ ในงานนิพนธ์ทางประวัตศิ าสตร์ชว่ ง ทศวรรษ 2490–2520,” รัฐศาสตร์สาร ปีท ่ี 22, ฉบับที ่ 2 (2543), หน้า156–161] หรือดูจาก จิตร ภูมศิ กั ดิ,์ โฉมหน้าศักดินาไทย, พิมพ์ครัง้ ที ่ 10 (นนทบุร:ี สำ�นักพิมพ์ศรีปญ ั ญา, 2550), หน้า 211–212. 73
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
129
จิตรมองว่าการเก็บภาษีอากรของกษัตริย์ซึ่งเป็นศักดินานั้นทำ�ความเดือดร้อนให้ ราษฎรมาก จิตรเขียนตอนหนึ่งว่า “ทำ�ให้ประชาชนเดือดร้อนมาก...รัชกาลที่ 3 กำ�ลังตัง้ หน้าตัง้ ตาสร้างวัดวาอารามขนานใหญ่ เงินทองกำ�ลังเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งการ จึงได้ ยอมรับข้อเสนอและเงือ่ นไขการผูกขาดภาษีของพวกชนชัน้ กลาง (หมายถึงเจ้าภาษี นายอากรทีส่ ว่ นใหญ่เป็นชาวจีน...ผูเ้ ขียน) อย่างดีอกดีใจเสมอมา”75 เพราะฉะนัน้ ภาพของกษัตริย์ที่เป็นธรรมราชาซึ่งเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรม บัดนี้ ในการวิเคราะห์ ของจิตรทำ�ให้กลับกลายมาเป็นภาพของการขูดรีดร่วม (Collective Exploitation)76 อันทีจ่ ริงใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ ก็ได้กล่าวถึงการขูดรีดพวกไพร่อยูเ่ หมือนกัน โดย นิธไิ ด้กล่าวตอนหนึง่ ว่า นอกจากการได้ประโยชน์จากระบบไพร่เพือ่ กิจกรรมการส่งออก ของตนแล้ว พวกมูลนายก็ยงั สามารถขูดรีดผลประโยชน์ตามใจชอบจากไพร่ตามระบบ เก่าอีกด้วย นิธิได้อ้างปัลเลอกัวซ์ที่เขียนรายงานตอนหนึ่งว่า “...เจ้านายหรือข้าราชการมักจะขู่เข็ญเอาทรัยพ์จากผู้น้อยอยู่เสมอ หัวหน้า รีดลูกน้อง ลูกน้องก็ไปรีดเอากับราษฎรอีกต่อไป ในประเทศมีคนคเนจร ทาส ที่หลบหนี คนขี้เมา และเด็กกลางถนนเป็นอันมาก ที่คอยหาโอกาสลักผลไม้ ในสวน เรือที่ผูกไว้ ใกล้บ้าน และทรัพย์สินของพ่อค้าแม่ค้าเร่...”77 อย่างไรก็ตามหลังจากทีอ่ า้ งบาทหลวงปัลเลอกัวซ์แล้ว นิธกิ ลับพยายามลดภาพของ การขูดรีดนี้ลง โดยได้เขียนต่อว่า “จะเห็นได้ว่า การกดขี่บีบคั้นไพร่จนเกินไปนั้น ก่อให้เกิดผลเสียแก่พวก กระฎุมพีเองในทีส่ ดุ เพราะความปัน่ ป่วนวุน่ วายในสังคมเป็นการบัน่ ทอนกิจการ ทางธุรกิจของกระฎุมพีเอง เพราะฉะนั้นในต้นรัตนโกสินทร์ การสั่งสอนให้ รูจ้ กั เมตตาต่อไพร่พอสมควรจึงค่อนข้างแพร่หลาย มูลนายมีความเห็นใจต่อ ความทุกข์ยากของพวกไพร่มากขึน้ ดังทีจ่ ะเห็นได้จากวรรณกรรมเรือ่ งขุนช้าง ขุนแผน ตอนที่พูดถึงชะตาชีวิตของไพร่”78 (เน้นโดยผู้เขียน)
จิตร ภูมิศักดิ์, “โฉมหน้าศักดินาไทยในปัจจุบัน,” หน้า 254–255 จิตร ภูมิศักดิ์, “โฉมหน้าศักดินาไทยในปัจจุบัน,” หน้า 87 77 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 150. 78 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 150 75
76
130
คราสและควินิน
แต่การสัง่ สอนให้มลู นายมีความเมตตาต่อไพร่ ก็ไม่ได้หมายความว่าการเก็บภาษี อากรต่อพวกไพร่จะได้รบั การลดหย่อนลงแต่อย่างไร ในทางกลับกันในหลวงรัชกาลที ่ 4 ยังทรงเพิ่มชนิดของภาษีอากรมากขึ้นไปอีก ผู้เขียนจึงมองไม่ออกว่าจากความเมตตา ของพวกมูลนาย จะทำ�ให้ความเดือดร้อนของพวกไพร่จากการถูกเรียกเก็บภาษีอากร ได้รบั การบรรเทาลงไปได้อย่างไร นอกจากนีอ้ ญ ั ชลี สุสายัณห์ เคยให้ความเห็นว่า ถ้า มูลนายมีความประสงค์จะเบียดบังไพร่แล้ว ก็คงทำ�ได้โดยที่กฎหมายควบคุมหรือ เอาผิดได้ลำ�บาก นานครั้งจึงจะมีการลงโทษมูลนายที่ละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับไพร่ให้ เห็นเป็นตัวอย่าง79 อนึ่งถ้าเรายอมรับว่ามีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นมูลนายและชนชั้นไพร่เกิดขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ 3 จริง แม้ว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะไม่ทำ�ให้เกิดความรุนแรงจนทำ�ให้ เกิดเป็นการเปลีย่ นแปลงทางการเมืองใด ๆ หรือพวกไพร่ทบี่ งั อาจก่อการกบฏ (ไม่วา่ จะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ) ได้ถูกรัฐไทยปราบปรามลงไปได้จนหมดสิ้น80 เรา จะเห็นว่าการที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำ�และประชาชนทั่วไปมีความเข้มข้นขึ้นใน ต้นรัตนโกสินทร์ตามคำ�อธิบายของนิธิ ก็ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งระหว่าง ชนชั้นจะไม่มีตามไปด้วย การที่รัฐมีการส่งออกมากขึ้น ไม่ได้หมายความว่ารัฐจะมี การขูดรีดราษฎรน้อยลง ผู้เขียนจึงเห็นว่าการวิเคราะห์ลักษณะวรรณกรรมในยุค ต้นรัตนโกสินทร์โดยอ้างอิงกับโลกทัศน์แบบกระฎุมพี จะไม่ทำ�ให้เรามองเห็นถึง ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น ทั้ง ๆ ที่คำ�อธิบายดังกล่าวเกิดมาจากการอ้างอิงการแบ่ง วรรณกรรมในสมัยอยุธยาบนกรอบความขัดแย้งระหว่างชนชั้นตามคำ�อธิบายของนิธิ อัญชลี สุสายัณห์, ความเปลี่ยนแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า 205. 80 อันที่จริงแล้วได้เกิดกบฏของไพร่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ กบฏของไพร่ครั้งใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น น่าจะเป็นกบฏสาเกียดโง้งในรัชสมัยขอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดู อัญชลี สุสายัณห์, ความเปลีย่ นแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า 179–185.; นอกจากนี้สาเหตุประการสำ�คัญของการกบฏของเจ้าอนุวงศ์แห่ง เวียงจันทน์ซึ่งเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 3 น่าจะเกิดจากความไม่พอใจในการสักข้อมืออย่างกว้างขวางของ สยามต่อชาวลาวทีอ่ ยูท่ างตอนใต้ จนสร้างความเดือดร้อนให้กบั ชาวบ้านและขุนนางท้องถิน่ ดู พวงทอง ภวัครพันธุ,์ สงคราม การค้า และชาตินยิ มในความสัมพันธ์ไทย–กัมพูชา (กรุงเทพฯ: มูลนิธโิ ครงการ ตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2552), หน้า 32–33.; พวงทองยังได้อธิบายอีกว่าในสมัย รัชกาลที่ 3 ชาวกัมพูชาเป็นจำ�นวนมากถูกกวาดต้อนให้เข้ามาในเขตที่ราบภาคกลางของสยามเพื่อ เป็นแรงงานให้กบั การปลูกอ้อย ได้แก่ นครชัยศรี ฉะเชิงเทรา และราชบุรี แม้ออ้ ยจะเป็นสินค้าออก ที่สำ�คัญของไทย แต่การปลูกอ้อยไม่ได้เกิดจากการใช้แรงงานจีนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจาก แรงงานกวาดต้อนหรือไพร่ทาสที่เป็นแรงงานฟรีอีกด้วย 79
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
131
เอง แต่กรอบนี้กลับสูญสลายไปเมื่อเข้าสู่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า นิธิมองการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2475 ของไทยเป็นการ ปฏิวัติของพวกกระฎุมพี ความเชื่อเช่นนี้มีความสอดคล้องกับ “ความเป็นประวัติศาสตร์” ของพวกมาร์กซิสต์ที่ต้องการทำ�ให้พวกกระฎุมพีมีบทบาทสำ�คัญในการ เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบดั้งเดิม การทำ�ให้กระฎุมพีมีบทบาทต่อการล้มล้าง ระบอบศักดินา (อันเป็นความเชือ่ หลักของมาร์กซ์ทปี่ รากฏอยูใ่ น “แถลงการณ์พรรค คอมมิวนิสต์”81) ซึ่งก็เท่ากับเป็นการระบุว่าสังคมที่อยู่ในขณะนี้เป็นสังคมกระฎุมพี โดยพวกมาร์กซิสต์กจ็ ะเชือ่ ต่อไปว่าด้วยแนวคิดแบบวัตถุนยิ มประวัตศิ าสตร์ สังคมใน อนาคตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือสังคมนิยม พวกนักประวัตศิ าสตร์สายเสรีนยิ มซึง่ ปฏิเสธแนวคิดวัตถุนยิ มประวัตศิ าสตร์ (รวม ถึงนิธิ) ก็จะสร้างประวัติศาสตร์ที่ยกอำ�นาจให้กับชนชั้นกระฎุมพีที่สามารถตอกยํ้า โครงสร้างอำ�นาจแบบประชาธิปไตย เมื่อเป็นเช่นนั้นแม้นิธิเคยกล่าวว่ากรอบเรื่อง “ชนชัน้ ” ทีท่ า่ นใช้ มิได้เป็นแบบวิภาษวิธี (คือแบบมาร์กซ์) แต่ผเู้ ขียนมีความเห็นว่า นิธิ (ในตอนที่เขียน ‘ปากไก่และใบเรือ’) มีความเชื่อว่าระบบศักดินาได้ถูกล้มล้างลง โดยชนชัน้ กระฎุมพี (ไม่วา่ จะเป็นการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสหรือการปฏิวตั ิ 2475 ก็ตาม) ซึง่ เป็นความเชื่อหลักอย่างหนึ่งของพวกมาร์กซิสต์ แม้วา่ จะมีความแตกต่างระหว่างนิธกิ บั เวเบอร์ โดยเฉพาะการทีน่ ธิ ทิ กึ ทัก (take it for granted) ว่าเศรษฐกิจแบบส่งออกจะมีผลต่อความเป็นกระฎุมพีของชนชัน ้ ศักดินา แต่เขาก็จะอธิบายคุณสมบัตขิ องกระฎุมพีดว้ ยแนวคิดของเวเบอร์ นัน่ คือการเน้นความ เป็นจริงอันเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และมีทัศนคติที่รังเกียจไสยศาสตร์ อันเป็นลักษณะ ที่สังเกตได้จากวรรณกรรมของคนในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เราจะเห็นว่าแนวคิดกระฎุมพี (ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’) เกิดจากการดัดแปลงแนวคิด บางอย่างของเวเบอร์ ผสมเข้ากับแนวคิด “ชนชั้นกระฎุมพี” ของมาร์กซ์ คือเป็น ‘กระฎุมพี’ ทีม่ ีเหตุผล มันจึงไม่เป็นเรือ่ งแปลกทีก่ ารแบ่งวรรณกรรมสมัยอยุธยาของ นิธิ จะมีฐานมาจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้นมูลนายและไพร่ เพราะถ้าไม่มีความ ขัดแย้ง ก็จะไม่สามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ได้ George C. Comninel, Rethinking the French Revolution: Marxism and the Revisionist Challenge, pp. 28–32. อนึง่ มาร์กซ์ ได้เขียนตอนหนึง่ ในแถลงการณ์ฯว่า “ในประวัต-ิ 81
ดูบทที ่ 2 ใน
ศาสตร์ ชนชัน้ นายทุน (ซึง่ ก็คอื ชนชัน้ กระฎุมพี...ผูเ้ ขียน) เคยมีบทบาททีป่ ฏิวตั อิ ย่างยิง่ ในทีท่ ช่ี นชัน้ นายทุนยึดการปกครองได้แล้ว ชนชั้นนี้ ได้ทำ�ลายบรรดาความสัมพันธ์แบบศักดินาแบบพ่อค้าและ แบบบทเพลงชนบทลงจนหมดสิน้ ” ดู คาร์ล มาร์กซ์ และ เฟรเดอริค เองเกลส์, แถลงการณ์พรรค คอมมิวนิสต์, (ม.ป.ท.: สำ�นักพิมพ์โลกทัศน์, ม.ป.ป.), หน้า 57.
132
คราสและควินิน
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งนี้จะหายไปเมื่อเข้าสู่ยุคต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจาก สังคมในยุคนัน้ จนถึงปัจจุบนั (ตามทีน่ ธิ เิ รียกว่าความสืบเนือ่ งในประวัตศิ าสตร์) เป็น สังคมกระฎุมพี แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมนิยมได้ (ตาม “ความเป็น ประวัตศิ าสตร์” ของเสรีนยิ ม) สังคมของกระฎุมพีจงึ ถือเป็นขัน้ ตอนสุดท้ายทีค่ วาม ขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่าง ๆ ได้สูญสลายไปหมดสิ้น82(อาจเรียกว่า The End of History) ปัญหาเรื่อง ‘เหตุผลนิยม’ ของนิธิ
แม้นิธิจะนำ�แนวคิดบางอย่างของเวเบอร์มาใช้ แต่แนวคิดพื้นฐานหลายอย่างของนิธิ ก็เข้ากันไม่ได้กับของเวเบอร์ ที่สำ�คัญก็คือคำ�อธิบายเรื่อง ‘เหตุผลนิยม’ ของนิธิ ขอทบทวนสิ่งที่เวเบอร์อธิบายในหนังสือ “จริยธรรมโปรเตสแตนต์ฯ” กล่าวคือ เนื่องจากลัทธิคาทอลิกยังคงมีความเชื่อในเรื่องเวทมนตร์อยู่ โดยมีพระเป็นผู้วิเศษ (Magician) ทำ�หน้าทีค่ อยปลอบประโลมใจและขจัดบาปของมนุษย์ พร้อมกับให้ความ หวังต่อการขึ้นสวรรค์ในโลกหน้า ลัทธิคาทอลิกในสายตาของเวเบอร์ ไม่ได้ทำ�ให้เกิด จิตวิญญาณของระบบทุนนิยม เพราะไม่ได้เน้นในเรื่องทางโลก ในทางตรงกันข้ามลัทธิคาลวินจะไม่ให้ความหวังในโลกหน้าแบบนั้น เนื่องจากมี ความเชื่อว่าเมื่อพระเจ้าได้เลือกใครแล้ว คนที่พระเจ้าไม่ได้เลือกก็จะต้องตกนรกโดย ไม่มที างแก้ ไขใด ๆ ได้ ผูท้ ม่ี ศี รัทธาทีม่ น่ั คงต่อพระเจ้าและเชือ่ ว่าตนเองเป็นผูถ้ กู เลือก ยุกติ มุกดาวิจติ ร ได้เคยวิจารณ์บทความ “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย” ของนิธติ อนหนึง่ ว่า “แม้ว่าเขาเป็นนักประวัติศาสตร์โดยอาชีพ น่าประหลาดใจที่นิธิไม่ได้ ใช้ความเป็นนักประวัติศาสตร์ ในการวิเคราะห์วัฒนธรรมการเมืองมากพอในบทความนี้ นอกจากนี้แนวการวิเคราะห์นี้ของนิธิยัง ก้าวข้ามการมองปัญหาเรื่องชนชั้น หรือความขัดแย้งเชิงโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางการเมือง ด้านอื่น ๆ แต่หันไปมองที่วัฒนธรรมทางการเมือง โดย “วัฒนธรรม” ของนิธิเป็นแนวคิดที่ล้าสมัย และอนุรกั ษนิยม ตีขลุม ให้ภาพว่าวัฒนธรรมเป็นสิง่ ทีค่ นทุกคนในสังคมมีรว่ มกันหมด” อนึง่ บทความ รัฐธรรมนูญฯนี้เขียนขึ้นใน ปี พ.ศ. 2534 (1 ปีก่อนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 อันเป็นช่วงการ เกิดของวาทกรรมคนชัน้ กลาง) ผมจึงคิดว่าเราสามารถเชือ่ มต่อแนวคิดในบทความรัฐธรรมนูญฯ เข้า กับแนวคิดกระฎุมพี (คนชั้นกลาง) ของนิธิได้ ดู ยุกติ มุกดาวิจิตร, “คนเสื้อแดงกับรัฐธรรมนูญ ฉบับวัฒนธรรมไทย,” วิภาษา ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (1 พฤษภาคม–15 มิถุนายน 2552), หน้า 5–13. และ ดู นิธิ เอียวศรีวงศ์, “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย,” ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 13, ฉบับที่ 1 (พฤศจิกายน 2534), หน้า 266–284. 82
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
133
จึงต้องมีความเคร่งวินัย ซึ่งจะทำ�ให้มี “ชีวิตการงานที่ดี” ผลกำ�ไรและความมั่งคั่ง ที่ได้จะเป็นข้อพิสูจน์ว่า ตนเองได้รับพรจากพระเจ้าและถูกรวมอยู่ในบรรดาผู้ที่ พระเจ้าเลือกสรรแล้ว การให้ความสำ�คัญต่อการเคร่งวินยั ในทางโลกดังกล่าว จึงทำ�ให้ ความเชื่อในเรื่องเวทมนตร์หรือสิ่งเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ไม่มีความสำ�คัญต่อความเชื่อ ของลัทธิคาลวินอีกต่อไป อย่างไรก็ตามการทีค่ นของลัทธิคาลวินไม่ให้ความสำ�คัญกับเวทมนตร์หรือสิง่ เหนือ ธรรมชาติใด ๆ ไม่ได้เกิดจากการที่พวกคาลวินมองว่าเวทมนตร์ (หรือไสยศาสตร์) เป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผล หรือเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ ได้ด้วยข้อเท็จจริง แต่การ ไม่ให้ความสำ�คัญดังกล่าวเกิดจากความเชือ่ ในคำ�สอนเรือ่ ง “ผูซ้ งึ่ พระเจ้าเลือกสรรแล้ว” ซึ่งในความคิดของเวเบอร์แล้ว ความเชื่อของลัทธิคาลวินดังกล่าวก็ไม่ได้มีเหตุผลมาก ไปกว่าความเชื่อของลัทธิคาทอลิก และถึงแม้ว่าคนในลัทธิคาลวินจะมีความเคร่งวินัย และต้องการมีชีวิตการงานที่ดี แต่ความเชื่อดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดจากความต้องการ ที่จะมี “ชีวิตที่ดี” ในโลกนี้แต่เพียงอย่างเดียว ความจริงแล้วพวกคาลวินก็ยังเชื่อ ในโลกหน้าเหมือนกับพวกคาทอลิก ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งพระเจ้า สวรรค์ นรก หรือการ ตัดสินครั้งสุดท้ายของพระเจ้าในวันสิ้นโลก (Last Judgment) เพียงแต่พระของพวก คาทอลิกได้ท�ำ การปลอบประโลมใจ และทำ�พิธขี จัดบาปของมนุษย์ พร้อมกับให้ความ หวังต่อการขึ้นสวรรค์ ในโลกหน้า แต่พระของลัทธิคาลวินจะไม่ให้ความหวังต่อคนใน ลัทธิเช่นนัน้ พวกคาลวินจึงรูส้ กึ กระวนกระวายใจ โดดเดีย่ ว อ้างว้าง จึงพร้อมทีจ่ ะทำ� กิจกรรมในทางโลกอย่างเข้มข้น เพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจมากขึน้ ว่าจะได้เป็นผูท้ พี่ ระเจ้า เลือกสรร เวเบอร์ยังเขียนไว้ตอนหนึ่งว่า “คำ�อธิบายสิง่ ทีว่ า่ มาทัง้ หมดอยูท่ คี่ วามเฉพาะเจาะจงของเหตุผลนิยมในวัฒนธรรมตะวันตก เวลาเราพูดถึงเหตุผล คนก็จะเข้าใจไปในทางต่าง ๆ กันไป... ตัวอย่างเช่นคนอาจจะเข้าใจถึงกระบวนการทำ�ให้มเี หตุผลอันเกิดขึน้ กับการ นึกคิดเรือ่ งลึกลับเหนือธรรมชาติอนั เป็นสิง่ ทีด่ ไู ร้เหตุผลหากมองจากมิตอิ น่ื ๆ แต่ ใ นทำ � นองเดี ย วกั น มั น ก็ มี ก ระบวนการทำ � ให้ มี เ หตุ ผ ลเกิ ด ในชี วิ ต ทาง เศรษฐกิจ เกิดในศิลปะ เกิดในการวิจยั ทางวิทยาศาสตร์ เกิดในการฝึกทหาร เกิดในระบบกฎหมาย เกิดในการบริหารรัฐกิจ เหนือไปกว่านัน้ แวดวงต่าง ๆ ทีว่ า่ มาอาจถูกทำ�ให้มเี หตุผลภายใต้คณ ุ ค่าและจุดประสงค์ทตี่ า่ งกัน และสิง่ ที่มีเหตุผลในแวดวงหนึ่งก็อาจถือว่าไม่มีเหตุผลในอีกแวดวงก็ได้ ดังนั้น กระบวนการทำ�ให้มเี หตุผลในมิตติ า่ ง ๆ กันก็ได้ด�ำ รงอยูใ่ นหลาย ๆ มิตขิ องชีวติ และในทุก ๆ อาณาบริเวณของวัฒนธรรม การจะจำ�แนกแยกแยะความแตกต่าง
134
คราสและควินิน
จากแง่มมุ ทางประวัตศิ าสตร์วฒ ั นธรรม เราจำ�เป็นต้องรูว้ า่ องค์ประกอบส่วนใด ของแต่ละแวดวงถูกทำ�ให้มเี หตุผล และมันถูกทำ�ให้มเี หตุผลไปในทางใด”83 (เน้นโดยผู้เขียน) เวเบอร์มองว่าไม่มอี ะไรทีไ่ ม่มเี หตุผลในตัวของมันเอง แต่ทกุ สิง่ จะมีเหตุผลจาก มุมมองเฉพาะหนึง่ ๆ ผูท้ ไี่ ม่เชือ่ ในศาสนา ก็มกั จะมองผูท้ เี่ ชือ่ ว่าเป็นผู้ ไม่มเี หตุผล ใน ขณะที่ผู้เชื่อในศาสนา ก็จะมองการกระทำ�ของตนว่ามีความเป็นเหตุเป็นผล เราจึง จำ�เป็นต้องรูว้ า่ องค์ประกอบส่วนใดของแต่ละแวดวงถูกทำ�ให้มเี หตุผล และมันถูกทำ�ให้ มีเหตุผลไปในทางใด และถ้าบทความ “จริยธรรมโปรเตสแตนต์ฯ” ของเขาจะก่อให้ เกิดประโยชน์ตอ่ ผูอ้ า่ น ก็นา่ จะเกิดจากการทีท่ �ำ ให้ผอู้ า่ นสามารถมองเห็นถึงความสลับ ซับซ้อนของมโนทัศน์ “ความเป็นเหตุเป็นผล (Rationality)” ซึ่งคนส่วนใหญ่เคยมอง ว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ มาก่อน84 จะเห็นว่า ‘ความเป็นเหตุเป็นผล’ ในความเห็นของเวเบอร์ไม่ได้เป็นสิง่ ทีส่ ามารถ พิสจู น์ได้ดว้ ยเหตุผลและข้อเท็จจริง และถ้าไสยศาสตร์ (Magic) เป็นสิง่ ทีไ่ ม่สามารถ พิสจู น์ ได้ดว้ ยเหตุผลและข้อเท็จจริงเช่นกัน ความเป็นเหตุเป็นผลกับไสยศาสตร์ ใน มุมมองของเวเบอร์ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ความ ไม่เชือ่ ในเวทมนตร์ของลัทธิคาลวินก็ไม่ได้มเี หตุผลมากไปกว่าความเชือ่ ในเรือ่ งเวทมนตร์ ของลัทธิคาทอลิก อย่างไรก็ตามนิธิมีมุมมองต่อไสยศาสตร์ที่แตกต่างไปจากเวเบอร์ ตามที่เขาได้ อธิบายท่าทีรังเกียจไสยศาสตร์และให้ความสนใจกับประสบการณ์ที่เป็นจริงทางโลก ของกระฎุมพี อันสังเกตได้จากความเป็นสัจนิยมในวรรณกรรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตามที่นิธิเขียนว่า
Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, p. xxxviii “A thing is never irrational in itself, but only from a particular rational point of view. For the unbeliever every religious way of life is irrational, for the hedonist every ascetic standard, no matter whether, measured with respect to its particular basic values, that opposing asceticism is a rationalization.If this essay makes any contribution at all. May it be to bring out the complexity of the only superficially simple concept of the rational.” Max Weber, The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism, p. 140, (footnote 9). 83
84
‘ปากไก่และใบเรือ’ กับอิทธิพลของมักซ์ เวเบอร์
135
“สัจนิยมทำ�ให้เริม่ รังเกียจไสยศาสตร์บางประเภท ในขณะเดียวกันพุทธศาสนา แนวทีไ่ ด้รบั การฟืน้ ฟูในต้นรัตนโกสินทร์กเ็ น้นความสำ�คัญของ ‘โลกนี’้ มาก ขึ้น อีกทั้งความสนใจต่อความจริงเชิงประสบการณ์ของชนชั้นสูง ทำ�ให้เห็น ความสำ�คัญของมนุษย์กว่าสมัยที่เหนือขึ้นไป เราอาจเรียกความสนใจเช่นนี้ กว้าง ๆ ว่า มนุษยนิยม คือ เห็นมนุษย์เป็นศูนย์กลางของอุบตั กิ ารณ์ตา่ ง ๆ และ เชือ่ ในการกำ�หนดชะตาชีวติ ของตนเองโดยมนุษย์มากขึน้ ลักษณะมนุษยนิยม เช่นนี้ ปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนในวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งทำ�ให้ วรรณกรรมในสมัยนีแ้ ตกต่างไปจากวรรณคดีอยุธยาอย่างมาก”85 (เน้นโดย ผู้เขียน) นิธอิ ธิบายว่าพุทธศาสนาแนวทีไ่ ด้รบั การฟืน้ ฟูในต้นรัตนโกสินทร์ ได้เน้นความสำ�คัญ ของ ‘โลกนี’้ มากขึน้ แต่นธิ ไิ ม่ได้อธิบาย (เหมือนเวเบอร์) ว่าถ้าคนชัน้ สูงในต้นรัตนโกสินทร์ยังมีความเชื่อในโลกหน้า หรือความเชื่อที่ว่าในระยะยาวสังคมมนุษย์จะมีแต่ ความเสือ่ มลงตามคำ�ทำ�นายเรือ่ งการสูญสิน้ ของพระพุทธศาสนาตามคติปญ ั จอันตรธาน อย่างทีป่ รากฏอยูใ่ นหนังสือเล่มสำ�คัญอย่าง "ปฐมสมโพธิกถา" แล้วเพราะเหตุใด คำ�สอน ในพุทธศาสนาในสมัยนั้นจึงได้หันมาเน้นความสำ�คัญของ ‘โลกนี้’ มากขึ้น และถึงแม้นิธิจะไม่ได้ ให้นิยามของ ‘เหตุผลนิยม’ อย่างชัดเจน แต่เขาก็อธิบาย “เหตุผลนิยม” คือท่าทีที่รังเกียจไสยศาสตร์ (บางประเภท) แต่ให้ความสำ�คัญกับ ความสำ�เร็จของชีวิตในโลกนี้ นิธิยังอธิบายความมีเหตุผลของกระฎุมพี ซึ่งปรากฏ อยู่ในงานของสุนทรภู่ว่า “ลักษณะเด่นของความคิดของพวกกระฎุมพีที่มีต่อโลกรอบตัวก็คือความมี เหตุผล ความลี้ลับและปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ไม่ว่าในระบบการเมือง เศรษฐกิจ หรือศาสนา ไม่คอ่ ยมีเสน่หแ์ ก่พวกกระฎุมพี งานของสุนทรภูส่ ะท้อนความ มีเหตุผลในแง่นี้ แม้จะมีการคละเคล้าอยู่กับรูปแบบและจารีตวรรณกรรมที่ นิยมปาฏิหาริย์และความลี้ลับของพวกศักดินาอยุธยา แต่ความมีเหตุมีผลก็ ปรากฏให้เห็นในงานของสุนทรภู่อยู่เสมอ”86 (เน้นโดยผู้เขียน)
85 86
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 183–184. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 230.
136
คราสและควินิน
นิธเิ ชือ่ ว่าไสยศาสตร์คอื สิง่ ทีไ่ ม่สามารถพิสจู น์ได้ดว้ ยเหตุผลและด้วยข้อเท็จจริง ในขณะที่ความเป็นเหตุเป็นผลสามารถพิสูจน์ ได้87 แต่เวเบอร์ ไม่ได้มองความเป็น เหตุเป็นผลในลักษณะแบบนัน้ ในบทต่อไปผูเ้ ขียนจะอธิบายแนวคิดความเป็นเหตุเป็น ผลของเวเบอร์ ซึง่ จะทำ�ให้ผเู้ ขียนสามารถใช้เป็นฐานในการวิจารณ์แนวคิด “ความเป็น เหตุเป็นผล” ของนิธติ อ่ ไปได้ โดยผูเ้ ขียนต้องการชี้ ให้เห็นว่า “ความเป็นเหตุเป็นผล” ไม่ได้อยู่ในด้านตรงกันข้ามกับ “ไสยศาสตร์” อย่างที่นิธิเสนอ
87
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 231