บทที่1 ‘ปากไก่และใบเรือ’ หลักหมายสำคัญหนึ่งของไทยศึกษา

Page 1

บทที่ 1

‘ปากไก่และใบเรือ’ หลักหมายส�ำคัญหนึ่ง ของไทยศึกษา


46

คราสและควินิน

บทนำ�

‘ปากไก่และใบเรือ…ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์–วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์’ (ต่อไปขอเรียกว่า ‘ปากไก่และใบเรือ’) เป็นหนังสือทีร่ วบรวมบทความของศาตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จำ�นวน 5 ชิน้ ทีพ่ มิ พ์เผยแพร่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2522–2525 ต่อมาได้พิมพ์รวมเป็นเล่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 พิมพ์ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2538 พิมพ์ครั้งที่สามในปี พ.ศ. 2543 และพิมพ์เป็นฉบับภาษาอังกฤษในปี พ.ศ. 2548 ใน ชื่อว่า ‘Pen & Sail: Literature and History in Early Bangkok’ (ต่อไปขอเรียกว่า ‘Pen & Sail’) ล่าสุดมีการพิมพ์เป็นครัง้ ทีส่ ใ่ี นปี พ.ศ. 2555 โดยสำ�นักพิมพ์ฟา้ เดียวกัน บทความ 5 ชิ้นที่อยู่ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ ประกอบไปด้วย 1. ‘วัฒนธรรมกระฎุมพีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ (2525)’ เสนอประกอบ การสัมมนา ‘สองศตวรรษรัตนโกสินทร์: ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย’ ของสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2525 2. ‘สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี (2524)’ เป็นเอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง ‘ประวัตศิ าสตร์สงั คมสมัยต้นรัตนโกสินทร์’ จัดโดยชมรมประวัตศิ าสตร์ศกึ ษา (สมศ.) เมื่อวันที่ 17–19 มกราคม พ.ศ. 2524 3. ‘อันเนื่องมาจากมหาชาติเมืองเพชร (2524)’ ปรับปรุงจาก “อันเนื่องมาจาก มหาชาติเมืองเพชร” พิมพ์ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 10 เล่มที ่ 4 (2524) 4. “โลกของนางนพมาศ (2522)” ปรับปรุงจาก “โลกของนางนพมาศ” พิมพ์ใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 9 เล่มที่ 1 (2522) 5. ‘พระปฐมสมโพธิกถากับความเคลือ่ นไหวทางศาสนาในต้นรัตนโกสินทร์ (2524)’ เสนอประกอบการบรรยายของสมาคมสังคมศาสตร์เรือ่ ง ‘พระปฐมสมโพธิกถา: ธรรมประวัติ หรือชีวประวัติ’ (2524)1

วีระศักดิ ์ กีรติวรนันท์, “การอ่านและการวิจารณ์ ตัง้ คำ�ถามกับปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษา ประวัติศาสตร์–วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (มกราคม–มีนาคม 2551), หน้า 230–231. 1


�����������������������������������������������

47

โดยใน ‘Pen & Sail’ (2548) และ ‘ปากไก่และใบเรือ’ (2555) ซึง่ เป็นการพิมพ์ ครัง้ ทีส่ ี่ มีการเพิม่ บทความ “ประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา (2521)” เข้าไปด้วยเป็นบทที่ 62 วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์ ได้สรุปเนื้อหาโดยย่อของบทความ 5 ชิ้น ใน ‘ปากไก่และ ใบเรือ’ (ไม่รวมถึงบทความ ประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา (2521)) เอาไว้ดังนี้ ในบทความทั้ง 5 เรื่องนั้น บทความแรก “วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้น รัตนโกสินทร์” เป็นบทความเดียวที่เน้น การศึกษาภาพรวม จากจารีตการเขียน วรรณกรรมสองชนชั้น ไปจนถึงการอธิบายความแตกต่างของวรรณกรรมและการค้า ระหว่างสมัยอยุธยากับสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะการเปรียบเทียบแสดงความ แตกต่างว่าการค้าสมัยอยุธยามีขนาดเล็กกว่าและสอดคล้องกับผูค้ นมีโลกทัศน์นยิ มทาง ศาสนามากกว่าผูค้ นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทม่ี โี ลกทัศน์นยิ มวัตถุมากกว่าและสอดคล้อง กับขนาดการค้า (มีการจำ�แนกปริมาณ มูลค่า ความหลากหลายของสินค้า) ทีใ่ หญ่กว่า บทความ 4 เรือ่ งต่อมา มีลกั ษณะเป็น การศึกษาเฉพาะเรือ่ ง โดย บทความเรือ่ ง ที่สอง “สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี” เป็นการศึกษาโลกทัศน์ต้นรัตนโกสินทร์จาก วรรณกรรมของสุนทรภู่ โดยอธิบายว่าวรรณกรรมสุนทรภู่แสดงออกถึงเรื่องราวการ รับรูเ้ กีย่ วกับภูมศิ าสตร์การเดินเรือร่วมสมัย และการให้คณ ุ ค่าทางวัตถุของสุนทรภูก่ บั ผู้อ่านในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ บทความเรื่องที่สาม “อันเนื่องมาจากมหาชาติเมือง เพชร” เป็นการวิพากษ์จารีตการเขียนวรรณกรรมที่แตกต่างกันระหว่างสมัยอยุธยา กับรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเปรียบเทียบสำ�นวนการเขียนจากวรรณกรรมการเทศน์ มหาชาติหลายสำ�นวนทัง้ สมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ บทความเรือ่ งทีส่ ี่ “โลกของ นางนพมาศ” เป็นการวิพากษ์วรรณกรรมเรื่องหนึ่ง กล่าวถึงตัวเอกเป็นคนในสมัย สุโขทัย และยอมรับกันว่าเป็นวรรณกรรมทีแ่ ต่งขึน้ ในสมัยสุโขทัย แต่มกี ารแก้ไขหรือ แต่งใหม่สว่ นหนึง่ ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึง่ สะท้อนโลกทัศน์ทใี่ ห้คณ ุ ค่าทางวัตถุสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ และ บทความเรื่องที่ห้า “พระปฐมสมโพธิกถากับการเคลื่อนไหว ทางศาสนาในต้นรัตนโกสินทร์” เป็นการเปรียบเทียบวรรณกรรมพุทธประวัติจำ�นวน  3 ฉบับจากผู้แต่ง 3 ท่านโดยลำ�ดับต่อเนื่องกันในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

2

นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 367


48

คราสและควินิน

ที่มา:

หน้าปก ‘ปากไก่และใบเรือ’ พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527

http://khunmaebook.tarad.com/product.detail_646347_th_5910400

เข้าถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2559

บทความทั้ง 4 เรื่องนำ�มาสู่การอธิบายการเปลี่ยนแปลงจารีตการเขียนวรรณกรรมจากสมัยอยุธยาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งสอดคล้องกับความแตกต่างของ ขนาดทางการค้าระหว่างสมัยอยุธยากับสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อันนำ�ไปสู่ข้อสรุปใน บทความ ‘วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์’ หรือกล่าวได้ว่า บทความ 4 เรื่องหลังของ ‘ปากไก่แ ละใบเรื อ ’ ซึ่ ง เสนอและพิ ม พ์ ในช่ ว งปี  พ.ศ.  2522–2524 เป็นทีม่ าของการได้ขอ้ สรุปในบทความแรกของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ซึง่ เสนอในปี พ.ศ. 25253

วีระศักดิ ์ กีรติวรนันท์, “การอ่านและการวิจารณ์ ตัง้ คำ�ถามกับปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษา ประวัติศาสตร์–วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์,” หน้า 230–231. 3


�����������������������������������������������

49

คำ�วิจารณ์ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล4

หลังจากข้อสรุปใน “วัฒนธรรมกระฎุมพีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” เมือ่ ปี พ.ศ.  2525 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ก็ได้เขียนบทความปริทัศน์ในปีเดียวกันคือ “สังคมไทย จากศักดินาสู่ทุนนิยม” ลงใน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับ 2 (มิถุนายน พ.ศ.  2525) โดยสมศักดิ์ก็ได้เขียนถึงนิธิอย่างยกย่องว่า “นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักประวัตศิ าสตร์คนสำ�คัญ ทีม่ คี วามสามารถมากทีส่ ดุ ในยุคนี้ ผลงานของเขาแม้จะมีไม่มากคือมีประมาณ 10 เรือ่ งเท่านัน้ (ราวครึง่ หนึง่ เป็นงานประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์) แต่แทบทุกเรือ่ งได้รบั การยอมรับอย่างกว้าง ขวางในเวลาอันสั้น (นิธิ เพิ่งจะมีผลงานอย่างสมํ่าเสมอ ในช่วงหลังปี 2521 นี้เอง) และคงไม่เป็นการเกินเลยไป ถ้าจะกล่าวว่าผลงานทางประวัติศาสตร์ ของนิธแิ ทบทุกเรือ่ ง ตัง้ แต่ “ประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ในพระราชพงศาวดาร อยุธยา”, “การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์” จนถึง “สุนทรภู่: มหากวี กระฎุมพี” มีผลให้เกิดการ เปลี่ยน หรือ เกือบจะเปลี่ยน การตีความทาง ประวัตศิ าสตร์ ในเรือ่ งนัน้  ๆ เลยทีเดียว เฉพาะประเด็นนีป้ ระเด็นเดียว ก็ท�ำ ให้ งานของนิธิมีลักษณะโดดเด่นออกมา มากกว่านักประวัติศาสตร์คนใดในยุค เดียวกัน”5 สมศักดิ์ ได้บรรยายถึงพัฒนาการของการผลิตงานทางประวัตศิ าสตร์ของนิธ ิ เอียว­ ศรีวงศ์ ทีเ่ ริม่ เผยแพร่บทความประกอบปาฐกถาเรือ่ ง “ประวัตศิ าสตร์รตั นโกสินทร์ใน พระราชพงศาวดารอยุธยา” (2521) ซึ่งต้องการแสดงให้เห็นโลกทัศน์ที่เปลี่ยนแปลง ไปของชนชัน้ นำ�สมัยต้นรัตนโกสินทร์ซงึ่ แตกต่างไปจากชนชัน้ นำ�​สมัยอยุธยาโดยแสดงออกผ่านการชำ�ระพระราชพงศาวดารอยุธยา นอกจากนี้ ชนชัน้ นำ�สมัยรัตนโกสินทร์ ก็ยงั ใช้เหตุผลและหลักศาสนาพุทธในการอธิบายมากกว่าการอ้างอำ�นาจลึกลับ อิทธิฤทธิป์ าฏิหาริย์ ตามชนชัน้ นำ�สมัยอยุธยา ส่วนในบทความเรือ่ ง “โลกของนางนพมาศ” สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ที่ 2 (มิถุนายน 2525): 5  สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ที่ 2 (มิถุนายน 2525): 4

“สังคมไทย จากศักดินาสู่ทุนนิยม.” วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 11, ฉบับ หน้า 128–164 “สังคมไทย จากศักดินาสู่ทุนนิยม.” วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 11, ฉบับ หน้า 143


50

คราสและควินิน

หน้าปก ‘ปากไก่และใบเรือ’ พิมพ์ครั้งที่สามในปี พ.ศ. 2543

(2522) นัน้ ก็ได้พสิ จู น์ตอ่ ไปว่าหนังสือเรือ่ ง “นางนพมาศ” เป็นวรรณกรรมทีส่ ะท้อน “โลก” ที่กำ�ลังเปลี่ยนแปลงในความคิดของคนไทย (ชั้นสูง) เอาไว้อย่างเด่นชัด อย่างไรก็ตาม สมศักดิเ์ ห็นว่างานเขียนในช่วงแรกนีก้ ย็ งั เป็นแค่งานประวัตศิ าสตร์ ความคิด หากต้องรอจนถึง “สุนทรภู:่ มหากวีกระฎุมพี” (2524) ทีส่ มศักดิเ์ ห็นว่า นิธไิ ด้เชือ่ มโยงการเปลีย่ นแปลงด้านวรรณกรรมเข้ากับการเปลีย่ นแปลงด้านเศรษฐกิจ ได้อย่างยอดเยี่ยม โดยนิธิชี้ให้เห็นว่า “วรรณกรรมของชนชั้นสูงในต้นรัตนโกสินทร์ ได้ละทิ้งจารีตทางวรรณกรรมของอยุธยาไปหลายอย่าง จนทำ�ให้เกิดลักษณะเด่นของ ตนเอง” คือ “การรับเอาจารีตทางวรรณกรรมของประชาชนเข้าไปอย่างมาก” ในขณะ ที่วรรณกรรมอยุธยาส่วนใหญ่ “มีลักษณะเป็นวรรณกรรมของศักดินาโดยแท้” นิธิ อธิบายว่า “ต้นรัตนโกสินทร์เป็นยุคทีก่ ารค้ากับจีนเจริญถึงขีดสุด การค้าสำ�เภากับ ทีอ่ นื่  ๆ ก็เพิม่ ขึน้ มาก จึงมีคนจำ�นวนมากถูกกระทบด้วยเศรษฐกิจแบบเงินตรา โดย สุนทรภูแ่ ละวรรณกรรมของเขาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของสังคมกระฎุมพีในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ได้เป็นอย่างดี”


�����������������������������������������������

51

สมศักดิ์อธิบายว่าในบทความเรื่อง “พระปฐมสมโพธิกถา: ธรรมประวัติหรือชีวประวัต”ิ (2524) ว่าการเปลีย่ นแปลงโลกทัศน์สมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีผลให้การมอง “พระพุทธเจ้า” เปลีย่ นจากจากเดิมทีเ่ น้นการอธิบายพุทธประวัตแิ บบ “ธรรมประวัต”ิ หรือลักษณะของธรรมะทีด่ �ำ รงอยูช่ วั่ กาล ไม่จ�ำ กัดเพียงบุคคลใดเพียงคนเดียว แต่ได้ ลดการพูดถึงอภินิหารลงแล้วกลับมาเน้นการอธิบายพุทธประวัติแบบ “ชีวประวัติ” ที่ เน้นตัวบุคคลจริง และสะท้อนว่าชนชัน้ นำ�สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้หนั มายึดถือ “ความจริงตามประสบการณ์” จนถึงบทความชิ้นสุดท้ายคือ “วัฒนธรรมกระฎุมพี กับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” (2525) ซึง่ สมศักดิเ์ ห็นว่านิธไิ ด้เปลีย่ นจุดหลักจาก เรื่องความเปลี่ยนแปลงด้านความคิด โดยหันมาเน้นที่เรื่อง “กระฎุมพีในเศรษฐกิจ แบบส่งออก” นิธเิ ริม่ ต้นอธิบายให้เห็นภาพการเปลีย่ นแปลงด้านวรรณกรรมเปรียบเทียบระหว่าง สมัยอยุธยากับรัตนโกสินทร์ตอนต้นว่า วรรณกรรมสมัยอยุธยามีลกั ษณะวรรณกรรม สองชนชั้นคือ “วรรณกรรมราชสำ�นัก” ซึ่งมีหน้าที่ด้านพิธีกรรมเป็นส่วนใหญ่ กับ “วรรณกรรมไพร่” อันมีหน้าทีด่ า้ นบันเทิงอย่างเด่นชัด แต่วรรณกรรมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์มลี กั ษณะที ่ “วรรณกรรมราชสำ�นัก” ได้รบั เอาจารีตของวรรณกรรมประชาชน ไปใช้ในวรรณกรรมของชนชัน้ สูงเพิม่ มากขึน้ เช่น การเขียน “บทอัศจรรย์” ในขณะที่ ลักษณะวรรณกรรมราชสำ�นักได้ลดลักษณะพิธกี รรมลงและไม่ศกั ดิส์ ทิ ธิล์ ลี้ บั เท่าสมัย อยุธยา ส่วนในอีกด้านหนึง่ คือ “วรรณกรรมไพร่” มีการขยายตัวในลักษณะของ วรรณกรรมสำ�หรับอ่านเพื่อความบันเทิง ซึ่งขยายตัวไปมากในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ สมศักดิ์ชี้ว่านิธิตระหนักดีในความแพร่หลายของแนวคำ�อธิบายแบบ “ฉัตรทิพย์ และคณะ” ที่ว่าระบบเศรษฐกิจไทยก่อน ค.ศ. 1855 มีลักษณะแบบยังชีพ การค้าถึง จะมีกไ็ ม่มากและเป็นระบบผูกขาดโดยพระคลังสินค้า แต่ค�ำ อธิบายของนิธไิ ด้เน้นความ สำ�คัญของการค้าต่างประเทศในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทเ่ี พิม่ ขึน้ ชัดเจน เนือ่ งจากรัฐสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ตอ้ งเผชิญหน้ากับความเสือ่ มสลายของระบบควบคุมกำ�ลังคน รายได้ หลักของรัฐมาจากการค้าต่างประเทศ รัฐจึงเพิม่ ความต้องการเงินตราไว้เพือ่ นำ�ไปจ้าง แรงงานและหาซื้ออาวุธ นิธไิ ด้อา้ งหลักฐานจากบันทึกของชาวตะวันตกทีเ่ ดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ ในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ และชีใ้ ห้เห็นถึงความคึกคักของการค้าไทย–จีน กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่า ที่มีปริมาณการค้ามากเป็นอันดับที่สองรองจากเมือง กังตั๋งในจีน ทั้งนี้ไม่นับเมืองท่า ในเอเชียที่เป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก ยิ่งไปกว่านั้น กรุงเทพฯ มีปริมาณการค้า มากกว่าการค้าสมัยอยุธยาอย่างชัดเจน และประเภทสินค้าก็เพิม่ ขึน้ จากสินค้าของป่า ขยายไปถึงสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมซึ่งต้องผ่านกระบวนการผลิตไม่มากก็น้อย


52

คราสและควินิน

หน้าปก ‘ปากไก่และใบเรือ’ พิมพ์ครั้งที่สี่ในปี พ.ศ. 2555

ทั้งสิ้น นอกจากนี้ลักษณะการจัดเก็บภาษีในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนแปลงไปจาก การจัดเก็บภาษีทต่ี วั สินค้าเป็นการจัดเก็บภาษีทก่ี ระบวนการผลิตสินค้าผ่านระบบเจ้า­ ภาษีนายอากร จากการเปลีย่ นแปลงของการค้าต่างประเทศส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจ– สังคมตามมา โดยเฉพาะการอพยพเข้ามาของคนจีนซึ่งมีบทบาทสำ�คัญในเศรษฐกิจ การผลิตเพือ่ ส่งสินค้าออกทีเ่ ริม่ ก่อตัวขึน้ ก่อนการทำ�สนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ ใน ค.ศ. 1855  ซึง่ เกิดควบคูไ่ ปกับการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบเงินตราและวัฒนธรรมแบบกระฎุมพี กล่าวโดยสรุป สมศักดิเ์ ห็นว่า นิธยิ อมรับว่าการเปลีย่ นแปลงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ นัน้ มีขอบเขตจำ�กัดกว่ามาก ถ้าเปรียบเทียบกับขนาดของการเปลีย่ นแปลงในสมัยการ ปฏิรูปราชวงศ์จักรี แต่การวิเคราะห์และให้ความสำ�คัญกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงใน สมัยต้นรัตนโกสินทร์นั้น ก็เป็นสิ่งสำ�คัญซึ่งได้มาจากความแตกต่างของมรรควิธีทาง ประวัตศิ าสตร์ของนิธิ อันมีความแตกต่างจากมรรควิธที างเศรษฐศาสตร์การเมืองของ ฉัตรทิพย์ กล่าวคือใน “ขณะที่ฉัตรทิพย์มุ่งที่จะศึกษา ‘วิถีการผลิต’ ที่สำ�คัญ และ ลักษณะทัว่ ไปของมัน ซึง่ ดำ�รงอยูต่ ลอดช่วงของประวัตศิ าสตร์หนึง่ นิธกิ ลับสนใจทีจ่ ะ


�����������������������������������������������

53

ศึกษาลักษณะพิเศษเฉพาะของประวัติศาสตร์ในส่วนที่ละเอียดลงไป”6 ถัดจากบทความของสมศักดิอ์ กี  23 ปีตอ่ มา คริส เบเกอร์ (Chris Baker) ซึง่ เป็น บรรณาธิการของหนังสือ ‘Pen & Sail’ หรือ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ในภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งพิมพ์ในปี พ.ศ. 2548 ก็ได้กล่าวยกย่องนิธิใน “คำ�ตาม” ว่า หนังสือเล่มนี้ “ได้ สถาปนาให้นธิ  ิ เอียวศรีวงศ์ เป็นนักประวัตศิ าสตร์ทสี่ ร้างสรรค์ และได้รบั การยอมรับ อย่างมากที่สุดในนักประวัติศาสตร์รุ่นเดียวกัน...ผลงานที่รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์” “สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี” และ “ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา” ได้สร้างชือ่ เสียงระดับรากฐานให้แก่นธิ ยิ ง่ิ กว่างานชิน้ ใด ๆ”7 หนังสือเล่มนีไ้ ด้พลิกมุมมอง เกีย่ วกับประวัตศิ าสตร์ไทยทีไ่ ม่เพียงแต่ชว่ งเวลาในการศึกษาของหนังสือเล่มนีเ้ ท่านัน้ แต่วิธีวิทยาที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ได้เป็นการเปิดมุมมองในการศึกษาสังคมไทย ในมิติต่าง ๆ ที่มากกว่าประวัติศาสตร์ ในส่วนคำ�นำ�ของสำ�นักพิมพ์ฟา้ เดียวกันใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ (2555) ก็ได้กล่าว ไว้ตอนหนึ่งว่า “ปากไก่และใบเรือ: รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้น รัตนโกสินทร์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดพิมพ์หนังสือชุดสยามพากษ์ ซึ่ง เราได้คัดเลือกหนังสือที่เห็นว่ามีความสำ�คัญในการศึกษาทำ�ความเข้าใจความ เปลีย่ นแปลงของสังคมการเมืองไทยในยุคสมัยนัน้  ๆ ขณะเดียวกันจุดร่วมของ หนังสือชุดนีค้ อื การท้าทายหรือหักล้างงานศึกษาก่อนหน้านัน้ ด้วยข้อมูลและ/ หรือกรอบทฤษฎี แน่นอนว่าไม่มีงานวิชาการชิ้นไหนที่ปราศจากจุดอ่อนให้ วิพากษ์หักล้าง ไม่เว้นแม้แต่งานที่เราได้คัดสรรมาจัดพิมพ์ แต่เราเชื่อว่า

วีระศักดิ ์ กีรติวรนันท์, “การอ่านและการวิจารณ์ ตัง้ คำ�ถามกับปากไก่และใบเรือ: ว่าด้วยการศึกษา ประวัติศาสตร์–วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์,” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (มกราคม–มีนาคม 2551), หน้า 230–231. 7  คริส เบเกอร์, “ประวัติศาสตร์หลัง 6 ตุลา: การตอบรับของสังคมไทยต่อ ปากไก่และใบเรือของ นิธ ิ เอียวศรีวงศ์,” แปลโดย สายชล สัตยานุรกั ษ์ ฟ้าเดียวกัน ปีท ่ี 10, ฉบับที ่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2555), หน้า 145. บทความนี้แปลจาก “Afterword” ใน Nidhi Eoseewong, Pen and Sail: Literature and History in Early Bangkok, edited by Chris Baker et al. ( Chiangmai, Thailand: Silkworm Books, 2005). 6


54

คราสและควินิน

หนังสือชุด “สยามพากษ์” นีเ้ ป็นงานที่ “ต้องอ่าน” ไม่วา่ จะเห็นพ้องต้องกัน ด้วยหรือไม่ก็ตาม”8 (เน้นโดยผู้เขียน) จากทีอ่ ธิบายมาทัง้ หมด เราจึงกล่าวได้วา่ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ถือเป็น ‘หลักหมาย’ หนึง่ ของวิชาไทยศึกษาซึง่ นักวิชาการด้านต่าง ๆ ทีส่ นใจศึกษาประวัตศิ าสตร์และวรรณกรรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แทบทุกคนจะต้องมีการอ้างอิงถึง ไม่วา่ เขาจะเห็นด้วยกับ งานชิ้นนี้ของนิธิมากน้อยเพียงใดก็ตาม คำ�วิจารณ์ของกุลลดา เกษบุญชู มี้ด และเก่งกิจ กิติเรียงลาภ9

ในบทความ “การถกเถียงเรื่องการเปลี่ยนผ่านและรัฐไทย: บทสำ�รวจ (Transition Debates and The Thai State: An Observation (2013)” ของกุลลดา เกษบุญชู มี้ด และเก่งกิจ กิตเิ รียงลาภ ทัง้ สองได้ตงั้ ข้อสังเกตว่า หลังจากทีส่ มศักดิ ์ เจียมธีรสกุล ได้ เขียนยกย่องนิธิผ่านไปแล้วกว่า 24 ปี แต่กลับมีงานเขียนที่มีบทสนทนากับความคิด และข้อเสนอของนิธใิ น ‘ปากไก่และใบเรือ’ น้อยมาก หรือแทบจะไม่มงี านเขียนชิน้ สำ�คัญ ชิน้ ใดเลย นอกจากงานของสมศักดิ ์ เจียมธีรสกุล ทีส่ มควรต้องได้รบั การประเมินใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น นอกเหนือจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่ต่อมาถูกนำ�มาพิมพ์ เป็นหนังสือของสายชล สัตยานุรักษ์ และอรรถจักร สัตยานุรักษ์ ลูกศิษย์คนสำ�คัญ ของนิธแิ ล้ว ก็ไม่ปรากฏงานเขียนทางประวัตศิ าสตร์ชนิ้ สำ�คัญชิน้ ใดทีส่ านต่อข้อเสนอ หรือมรรควิธีที่นิธิได้บุกเบิกไว้ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ อีกแม้แต่ชิ้นเดียว ตามที่คริส  เบเกอร์ ได้ตงั้ ข้อสังเกตในปี พ.ศ. 2005 ต่อนิธแิ ละ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ว่า “มันไม่มี งานวิจารณ์ทางวิชาการต่อ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ตัง้ แต่ทพี่ มิ พ์ออกเป็นหนังสือ และ ไม่มีความพยายามที่จะวิจารณ์งานทางประวัติศาสตร์ของนิธิในภาพรวม10 นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 11 Kullada Kesboonchoo–Mead and Kengkij Kitirianglarp, “Transition Debates and the Thai State: An Observation,” in Essays on Thailand’s Economy and Society for Professor Chatthip Nartsupha at 72, Pasuk Phongpaichit and Chris Baker, Editor., (Bangkok, Sangsan, 2013), pp. 91–118 10  “there has been no academic review of Pen and Sail since it appeared in book form, and there has been no general attempt to review Nidhi’s historical work as a 8

9


�����������������������������������������������

55

จวบจนปัจจุบนั ไม่มงี านเขียนเชิงวิพากษ์ชน้ิ สำ�คัญทีม่ ตี อ่ นิธแิ ละ ‘ปากไก่และใบเรือ’ หรือหากจะมีอยู่ก็เพียง 2–3 ชิ้น คือ 1) งานของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล11 ในปี พ.ศ.  2525 2) งานวิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ ของทวีศักดิ์ เผือกสม12 ในปี 2540 และ 3) งานเขียนของคริส เบเกอร์13 ในปี พ.ศ. 2005 ซึง่ เขียนขึน้ ในช่วง ระยะเวลาที่ห่างกันกว่า 15 ปี และ 9 ปี ตามลำ�ดับ ความย้อนแย้งดังกล่าวทำ�ให้ กุลลดาและเก่งกิจสรุปว่า ความสำ�เร็จของนิธ ิ เอียวศรีวงศ์ ในปัจจุบนั ไม่ได้มที มี่ าจาก นิธิที่เป็นนักประวัติศาสตร์ ซึ่งอยู่ในงานประวัติศาสตร์ชิ้นหลัก ๆ ของเขา แต่ความ สำ�เร็จของนิธิในปัจจุบันกลับเป็นนิธิที่เป็นปัญญาชนสาธารณะ ซึ่งผู้คนรู้จักเขาผ่าน คอลัมน์ของหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์มากกว่า จากนั้นกุลลดาและเก่งกิจก็ได้เปรียบเทียบความต่างและความเหมือนของสำ�นัก ฉัตรทิพย์และสำ�นักนิธิ ใน 4 ประเด็นสำ�คัญ14 ประเด็นแรก ในขณะที่ฉัตรทิพย์มองว่าสังคมเศรษฐกิจไทยก่อนการเข้ามาของ เบาว์รงิ เป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ โดยเกีย่ วพันกับระบบเศรษฐกิจภายนอกน้อยมาก15 นิธกิ ลับชีใ้ ห้เห็นอย่างน่าสนใจว่า เศรษฐกิจสยามต้นรัตนโกสินทร์ตา่ งจากสมัยอยุธยา อย่างสิน้ เชิง คือ ระบบเศรษฐกิจของสยามเข้าไปเกีย่ วพันกับระบบเศรษฐกิจของเอเชีย­ ตะวันออกเฉียงใต้และจีนอย่างมาก ซึ่งการค้ากับต่างประเทศดังกล่าวส่งผลสะเทือน ต่อผู้คนในแทบทุกระดับของสยามต้นรัตนโกสินทร์16 กล่าวอีกอย่างก็คือ ในขณะที่ ฉัตรทิพย์มองว่า ก่อนหน้าเบาว์รงิ สังคมสยามมีลกั ษณะปิด หยุดนิง่ ไม่เปลีย่ นแปลง whole.” Chris Baker, “Afterword,” in Nidhi Eoseewong, Pen & Sail: Literature and History in Early Bangkok (Chiangmai: Silkworm Books, 2005), p. 374.

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. “สังคมไทย จากศักดินาสู่ทุนนิยม.” วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 11, ฉบับ ที่ 2 (มิถุนายน 2525): หน้า 128–164 12  ทวีศกั ดิ ์ เผือกสม, “การปรับตัวทางความรู้ ความจริง และอำ�นาจของชนชัน้ นำ�สยาม พ.ศ. 2325– 2411,” วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์, ภาควิชา ประวัติศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 13  Chris Baker, “Afterword,” in Nidhi Eoseewong, Pen & Sail: Literature and History in Early Bangkok (Chiangmai: Silkworm Books, 2005), pp. 360–87. 14  Kullada Kesboonchoo–Mead and Kengkij Kitirianglarp, “Transition Debates and the Thai State: An Observation,” pp. 94–95 15  ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และคณะ, ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจและสังคม (กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์, 2527), หน้า 330. 16  Nidhi Eoseewong, Pen & Sail: Literature and History in Early Bangkok (Chiangmai: Silkworm Books, 2005), p. 65. 11


56

คราสและควินิน

แต่นธิ กิ ลับเสนอตรงกันข้ามว่า สังคมสยามโดยเฉพาะต้นรัตนโกสินทร์เป็นสังคมเปิด มีพลวัตและความเปลี่ยนแปลงอย่างสำ�คัญเกิดขึ้น ประเด็นที่สอง ในขณะที่ฉัตรทิพย์เสนอว่า ชนชั้นนำ�ในสังคมสยามมีลักษณะ ไม่เปลีย่ นแปลงไปจากสังคมอยุธยาคือ เป็นชนชัน้ ศักดินาทีข่ ดู รีดจากการเป็นเจ้าของ ทีด่ นิ และต้องรอการเข้ามาของเบาว์รงิ จึงจะเกิดชนชัน้ กระฎุมพีขนึ้ แต่นธิ กิ ลับชีว้ า่ ​ การขยายตัวของการค้าในต้นรัตนโกสินทร์มผี ลสำ�คัญให้เกิดชนชัน้ กระฎุมพีขนึ้ เป็น ครัง้ แรก โดยเฉพาะการที ่ “ชนชัน้ สูงในต้นรัตนโกสินทร์เป็นคนทีม่ รี ากมาจากแวดวง การค้าและการเป็นขุนนาง จึงอยูใ่ นฐานะทีพ่ ร้อมจะเปลีย่ นวิธถี อื ประโยชน์จากการค้า ต่างประเทศซึ่งกำ�ลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างกระฉับกระเฉง เพราะไม่ผูกมัดด้วยจารีต ประเพณีและแบบปฏิบตั ทิ ม่ี มี า”17 ส่วนกระฎุมพีอกี พวกคือ พ่อค้าจีน ซึง่ “มิใช่การค้า ของพ่อค้าอิสระ แต่เป็นพ่อค้าที่พร้อมจะสมยอมต่อระบอบศักดินา และพร้อมจะถูก ดูดซึมเข้าไปในระบบนั้นเพื่อถือประโยชน์จากระบบให้แก่การค้าของตน การค้าต่าง ประเทศซึ่งเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมากในต้นรัตนโกสินทร์นี้จึงแทนที่จะก่อให้เกิดชนชั้น ใหม่ที่เป็นอิสระจากระบบศักดินา กลับไม่ก่อให้เกิดอะไรขึ้น แต่มีผลทำ�ให้ชนชั้นนำ� ในระบบศักดินาเปลี่ยนแปลงลักษณะตนเองไปเป็นกระฎุมพีมากขึ้น”18 ประเด็นที่สาม ไม่ว่านิธิและฉัตรทิพย์จะเห็นต่างในแง่ของช่วงเวลากำ�เนิดของ ชนชั้นกระฎุมพีอย่างใดก็ตาม แต่ทั้งสองคนกลับได้ข้อสรุปอย่างเดียวกัน คือ สังคม สยาม (แม้ภายหลังการเข้ามาของเบาว์รงิ ก็ตาม) ไม่มชี นชัน้ กระฎุมพีทเี่ ป็นอิสระจาก ระบบศักดินา ชนชั้นกระฎุมพีของไทยผูกพันและเป็นส่วนหนึ่งของระบบศักดินา ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อโค่นล้มระบบศักดินาแบบที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตก19 และประเด็นที่สุดท้าย ในขณะที่นิธิจำ�กัดตัวอยู่ที่การอธิบายเฉพาะช่วงต้นรัตนโกสินทร์ว่าสังคมไทยในช่วงนี้ “ไม่อาจจัดได้ว่าเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยม แม้ว่ามี ลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็ตาม... จุดเริ่มต้นหรือพื้นฐาน สำ�คัญของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในประเทศไทยได้ก�ำ เนิดขึน้ แล้วในสมัยนี้ อันจะเป็น ปัจจัยที่มีส่วนช่วยกำ�หนดพัฒนาการของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งจะเฟื่องฟูขึ้นหลัง Ibid., p. 66. Ibid., p. 76. 19  Ibid., pp. 77, 100–101.; ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และคณะ, ประวัตศ ิ าสตร์เศรษฐกิจและสังคม, หน้า ​ 341–3; Chatthip Nartsupa and Somphop Manarungsan, “Introduction,” in Chatthip Nartsupha and Somphop Manarungsan editors, Prawatsat settakit thai chon teung 2484 [Thai economic history until 1941] (Bangkok: Thammasat University Press, 1984), p. 5. 17

18


�����������������������������������������������

57

สนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ ”20 ฉัตรทิพย์กลับเสนอแบบทัว่ ไป ครอบคลุมช่วงเวลาหลังจากนัน้ ว่า “จนถึง พ.ศ. 2484 วิถกี ารผลิตศักดินายังคงดำ�รงอยูใ่ นสังคมไทยเป็นวิถกี ารผลิต หลัก และสังคมเศรษฐกิจที่ปรากฏเป็นสังคมเศรษฐกิจศักดินาโดยพื้นฐาน ทุนนิยม เป็นส่วนที่เข้ามาผสมปรากฏเป็นส่วนรอง มีอิทธิพลในด้านการค้ากับต่างประเทศใน การผลิตเป็นส่วนใหญ่ โครงสร้างชนชั้นและความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นส่วนสำ�คัญ รัฐและวัฒนธรรม ยังคงเป็นลักษณะศักดินานิยม”21 แม้วา่ กุลลดาและเก่งกิจจะยอมรับว่างานของนิธจิ ะชีใ้ ห้เห็นพลวัตของสังคมไทย ยุคต้นรัตนโกสินทร์ได้อย่างค้านได้ยาก ซึง่ ทำ�ให้ขอ้ เสนอของฉัตรทิพย์สญ ู เสียความ หนักแน่นลงไปอย่างไม่มวี นั ฟืน้ กลับมาได้อกี แต่ทงั้ สองก็ได้วจิ ารณ์วา่ นิธแิ ทบไม่มี ข้อเสนอในการวิเคราะห์ลกั ษณะสังคมไทยร่วมสมัยอย่างเป็นระบบอีกหลังจากงาน ‘ปากไก่และใบเรือ’ เนือ่ งจากมีงาน 2–3 ชิน้ ทีน่ ธิ พิ ยายามชีใ้ ห้เห็นลักษณะของชนชัน้ กระฎุมพีไทยร่วมสมัย หนึง่ ในนัน้ คือ บทความชิน้ เล็ก ๆ เกีย่ วกับวัฒนธรรมชนชัน้ กลาง ไทย และลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.522 ที่ขยับขยายการวิเคราะห์จากการจำ�กัดเฉพาะต้น รัตนโกสินทร์มาเป็นข้อสรุปทั่วไป เกี่ยวกับชนชั้นกระฎุมพีไทย โดยชนชั้นกระฎุมพี ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์กบั ชนชัน้ กระฎุมพีปจั จุบนั มีลกั ษณะร่วมกันทีส่ �ำ คัญคือ การ ยอมรับและยึดโยงตนเองอยูภ่ ายใต้รากฐานทางภูมปิ ญ ั ญา/วิธกี ารมองโลกแบบศักดินา มากกว่าที่จะสร้างรากฐานทางภูมิปัญญาของชนชั้นตนเองขึ้นมา อย่างไรก็ตามคริส เบเกอร์ ก็ได้วิจารณ์กรอบการวิเคราะห์ในลักษณะดังกล่าวว่า นิธไิ ด้แต่อธิบายซาํ้  ๆ ถึงความต่อเนือ่ งระหว่างชนชัน้ กระฎุมพีในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (ซึ่งเป็นพวกชนชั้นสูง) มาจนถึงกระฎุมพีในยุคปัจจุบัน23 Nidhi Eoseewong, Pen & Sail: Literature and History in Early Bangkok, p. 114. Chatthip and Somphop, “Introduction,” Prawatsat settakit thai chon teung 2484 [Thai economic history until 1941], p. 8. 22  Nidhi Eoseewong, “Wattanatam kong chonchan klang thai” [Culture of Thai middle class] in Pasuk Phongpaichit and Rungsit Piriyarungsan eds., Chonchan klang bon krasae prachatippatai [ Thai middle class in Democratization] ( Bangkok: Political Economy Studies Center, Chulalongkorn University, 1993), pp. 60–65.; ลัทธิพิธีเสด็จ พ่อ ร.5 (Bangkok: Silpawattanatham, 1993) 23  “It repeatedly emphasized the continuities between the bourgeoisie of the early Bangkok era (meaning, mainly the court) and the bourgeoisie of the present day.” Chris Baker, “Afterword,” in Nidhi Eoseewong, Pen & Sail: Literature and History in Early Bangkok, p. 370. 20  21


58

คราสและควินิน

กุลลดาและเก่งกิจจึงตั้งคำ�ถามต่อกรอบการวิเคราะห์ของนิธิว่า จริงหรือที่ชนชั้น กระฎุมพีไทยไม่มคี วามเปลีย่ นแปลงอย่างมีนยั ยะสำ�คัญเลยตลอดกว่า 200 ปี หาก เป็นเช่นนัน้ จริง เราจะอธิบายบทบาทของคณะราษฎรทีล่ กุ ขึน้ มาท้าทายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และขบวนการ เสือ้ แดงในปัจจุบนั ได้อย่างไร หลังจากนัน้ ทัง้ คูก่ ส็ รุปว่า ปัญหาหลักมาจากการที ่ แม้วา่ นิธิจะชี้ว่ามีพลวัตอย่างมหาศาลในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ แต่เมื่อนิธิพูดถึงสังคมไทย ร่วมสมัย โดยเฉพาะสถานะของชนชัน้ กระฎุมพีไทยแล้ว นิธกิ ลับมองไม่เห็นพลวัต หรือความเปลี่ยนแปลงของชนชั้นกระฎุมพีในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด ปัญหาของนิธิก็คือ ไม่สามารถชี้ให้เห็นได้ว่าการเกิดขึ้นของชนชั้นกระฎุมพีใน ช่วงปลายอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์มนั เปลีย่ นแปลงไปหรือหายไป “หลัง” จาก ที่เบาว์ริงเข้ามาอย่างไร ข้อสรุปของนิธิจึงไม่ต่างจากฉัตรทิพย์คือ ต้องรอให้เบาว์ริง เข้ามาก่อน รัฐสยามจึงจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ แต่ก็เป็นสมัยใหม่ที่ ไม่ได้แตกหักกับระบบศักดินา ซึง่ ก็ไม่สามารถบอกได้วา่ รัฐในช่วงเวลาดังกล่าวมีลกั ษณะ อย่างไร และสัมพันธ์กับพลังทางสังคมต่าง ๆ โดยเฉพาะชนชั้นกระฎุมพีที่ถือกำ�เนิด ขึ้นมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์อย่างไร24 ในส่วน “กระฎุมพีและความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย (The Bourgeoisie and Changes in Thai Society)” เก่งกิจและกุลลดาแสดงความไม่เห็นด้วยบางส่วนกับนิธิ ทีเ่ สนอว่า ชนชัน้ กระฎุมพีประกอบไปด้วยชนชัน้ ขุนนางและพ่อค้าชาวจีนได้ถอื กำ�เนิด ขึ้นในต้นรัตนโกสินทร์ ทั้งสองเห็นว่าชนชั้นขุนนางดังกล่าวไม่อาจจัดเป็นชนชั้น กระฎุมพีได้ ถึงแม้ขุนนางบางคนได้มีส่วนร่วมกับกิจการการค้ากับจีน แต่พวกเขาก็ ไม่ได้สลัดทิ้งเอกลักษณ์ทางประเพณีของชนชั้นศักดินา พร้อมกับเปลี่ยนเอกลักษณ์ ใหม่มาเป็นชนชัน้ กระฎุมพีไป พวกขุนนางเหล่านีย้ งั มีความพอใจกับผลประโยชน์ทเี่ ขา ได้จากสถานะเดิมในระดับศักดินาอยู่ อย่างไรก็ตามทัง้ สองก็ยอมรับว่าพ่อค้าชาวจีน ในตอนนัน้ ถือได้วา่ เป็นชนชัน้ กระฎุมพีกลุม่ แรกในสังคมสยาม แต่กไ็ ม่ได้เป็นชนชัน้ ทีเ่ ป็นอิสระจากระบบศักดินา ส่งผลให้บคุ คลเหล่านีไ้ ม่ใช่พลังสำ�คัญในการเปลีย่ นแปลง อำ�นาจรัฐในเวลาต่อมา25

Kullada Kesboonchoo–Mead and Kengkij Kitirianglarp, “Transition Debates and the Thai State: An Observation,” pp. 96–97 25  Ibid., p. 112 24


�����������������������������������������������

59

คำ�วิจารณ์ของสุมาลี วีระวงศ์

หลักฐานทีน่ ธิ ใิ ช้ ในการอธิบายการก่อตัวของโลกทัศน์กระฎุมพีของชนชัน้ นำ�ไทยใน สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่มาจากการตีความทางวรรณกรรม อย่างเช่นงานของ สุนทรภู่ หรือหนังสือนางนพมาศ เป็นต้น โดยนักวิชาการทีท่ �ำ งานด้านประวัตศิ าสตร์ ก็มักจะยอมรับในการตีความของนิธิ อย่างเช่นที่สมศักดิ์วิจารณ์ว่า“สุนทรภู่: มหากวี กระฎุมพี” (2524) ทำ�ให้เห็นว่านิธไิ ด้เชือ่ มโยงการเปลีย่ นแปลงด้านวรรณกรรมเข้ากับ การเปลีย่ นแปลงด้านเศรษฐกิจได้อย่างยอดเยีย่ ม ทัง้  ๆ ทีก่ ารตีความของนิธโิ ดยเฉพาะ ใน ‘วัฒนธรรมกระฎุมพีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์’ ได้รบั การโต้แย้งจากนักวิชาการ ด้านวรรณคดีศกึ ษาของบ้านเรา ไม่วา่ จะเป็นสุมาลี วีระวงศ์26 และดวงมน จิตร์จ�ำ นงค์27 เป็นต้น ใน “บทความปริทัศน์ ข้อคิดเนื่องจากบทความเรื่อง ‘วัฒนธรรมกระฎุมพีกับ วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์’ ของนิธ ิ เอียวศรีวงศ์” ซึง่ ตีพมิ พ์ในวารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2525 สุมาลีได้ปฏิเสธข้อความที่ เธอเรียกว่าความคิดรวบยอดของนิธคิ อื “ยุคปฏิรปู ในพุทธศตวรรษที ่ 25 นัน้ ‘มีความ สืบเนือ่ งกับยุคต้นรัตนโกสินทร์ยงิ่ กว่ายุคต้นรัตนโกสินทร์มคี วามสืบเนือ่ งกับอยุธยา’” ซึ่งสุมาลีเห็นว่าทำ�ให้ “การวิเคราะห์วรรณกรรม...ถูกจำ�กัดด้วยความคิดรวบยอดนี้ ไปด้วย... มีหลายตอนทีส่ งั เกตได้วา่ มีลกั ษณะเป็นการเลือกอ้างข้อมูลจากวรรณกรรม ต่าง ๆ มาใช้เพียงเพือ่ สนับสนุนแนวความคิดของผูเ้ ขียน โดยมิได้พจิ ารณาวรรณกรรม ชิน้ นัน้  ๆ อย่างรอบด้าน และยุตธิ รรมเพียงพอ ประกอบกับมิได้ตดิ ตามศึกษาวิจยั ทาง ประวัตแิ ละลักษณะวรรณกรรมไทยให้ทว่ั ถึง ข้อมูลทีอ่ า้ งจึงมีหลายตอนที.่ ..ผิดพลาด... ไปอย่างน่าเสียดายยิ่งนัก”28 (เน้นโดยผู้เขียน) สุมาลีปฏิเสธการแยกวรรณกรรมเป็นสองประเภทของนิธิ คือวรรณกรรมไพร่กับ วรรณกรรมของชนชั้นมูลนาย โดยให้เหตุผลว่า “แม้ว่าวิถีชีวิตจะต่างกัน แต่สภาพ สุมาลี วีระวงศ์. “ข้อคิดเนือ่ งจากบทความเรือ่ ง ‘วัฒนธรรมกระฎุมพีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์’ ของนิธิ เอียวศรีวงศ์.” วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (2525): 113–125. 27  ดวงมน จิตร์จ�ำ นงค์. คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540), หน้า 61–62 28  สุมาลี วีระวงศ์. “ข้อคิดเนือ่ งจากบทความเรือ่ ง ‘วัฒนธรรมกระฎุมพีกบั วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์’ ของนิธิ เอียวศรีวงศ์.”: 113–125. 26


60

คราสและควินิน

แวดล้อมของคนทัง้ สองกลุม่ นัน้ (หมายถึงไพร่กบั มูลนาย) เป็นสภาพเดียวกัน สังคม ที่บรรยายไว้ในพงศาวดารเหนือก็ไม่แปลกไปจากที่พรรณนาไว้ในลิลิตพระลอนัก จะ ต่างกันก็ด้วยมุมมองผู้ประพันธ์” การวิเคราะห์การใช้ฉันทลักษณ์ที่แตกต่างกันในวรรณกรรมสองชนชั้นของนิธิ ที่ อธิบายว่ามีแต่วรรณกรรมแบบมูลนายที่รับฉันทลักษณ์แบบวรรณกรรมไพร่มาใช้ ตัวอย่างคือกลอน ซึ่งเป็นฉันทลักษณ์ของวรรณกรรมไพร่ แต่มูลนายรับมาพัฒนาใน ช่วงอยุธยาตอนปลาย ในขณะที่วรรณกรรมไพร่ไม่ได้รับฉันทลักษณ์วรรณกรรมแบบ มูลนายมาใช้ แต่สมุ าลีแย้งว่า “บทสูข่ วัญแต่งงาน หรือทำ�ขวัญนาค ซึง่ นิธคิ งกำ�หนดเป็นวรรณกรรมไพร่นั้น ใช้ฉันทลักษณ์แบบร่ายยาวโดยตลอด บทพากย์หนังแบบโบราณที่เห็น เค้าในบทเบิกโรงสมุทรโฆษคำ�ฉันท์กใ็ ช้ฉนั ทลักษณ์แบบกาพย์ฉบังเป็นหลัก และศัพท์ ทีใ่ ช้นนั้ ก็อา่ นเข้าใจง่ายโดยตลอด บทหนัง บทมโหรีและขับไม้ตา่ ง ๆ เป็นเครือ่ งบันเทิง ของทั้งไพร่และมูลนายได้เสมอกัน ปฏิสัมพันธ์เชิงฉันทลักษณ์จึงน่าจะมีอยู่ตั้งแต่ ต้นมา ในลักษณะซึ่งกันและกันมากกว่าจากฝ่ายเดียว” สุมาลียังได้โต้แย้งการวิเคราะห์วรรณกรรมของนิธิอีกหลายประเด็น เช่น (1) นิธิอธิบายว่า ประณามพจน์เป็นลักษณะศักดิ์สิทธิ์แบบพิธีกรรมที่ถือเคร่งใน สมัยอยุธยา แต่มาเสือ่ มคลายในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่สมุ าลีเห็นว่าหน้าที่ ของประณามพจน์ คือคำ�ไหว้ครู ขอพร เป็นจารีตของไพร่ผดู้ เี สมอกัน ดังนัน้ การเห็นคุณค่าของวรรณกรรมโดยไม่เกีย่ วกับพิธกี รรมไม่ได้เกิดขึน้ ในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว (2) นิธิอธิบายจุดเด่นของวรรณกรรมไพร่เรื่องหนึ่งคือ บทอัศจรรย์ และสุมาลี ยอมรับว่า บทอัศจรรย์ในวรรณกรรมไพร่อาจเด่นชัดกว่าวรรณกรรมราชสำ�นัก ด้วยข้อจำ�กัดในเรื่องความสุภาพของภาษาและขนบธรรมเนียม แต่วรรณกรรมราชสำ�นักก็มีบทอัศจรรย์เช่นกัน (3) นิธิอธิบายว่าวรรณกรรมไพร่มีหน้าที่ในการสร้างความบันเทิงแตกต่างจาก วรรณกรรมของมูลนายมีหน้าทีท่ างพิธกี รรม แต่สมุ าลีแย้งว่าหน้าทีข่ องวรรณกรรมไม่ได้มแี ค่วรรณกรรมไพร่ทส่ี ร้างความบันเทิง กับวรรณกรรมของมูลนาย ที่มีหน้าที่เชิงพิธีกรรม แต่หน้าที่ของวรรณกรรมและงานเขียนทุกเรื่องขึ้น อยู่กับจุดประสงค์ของผู้แต่งซึ่งมีหลากหลายกว่าที่นิธิระบุไว้ (4) สมุ าลีเสนอว่าวัฒนธรรมทางวรรณกรรมสมัยต้นรัตนโกสินทร์ไม่ได้เกิดขึน้ เองโดยปราศจากความเกี่ยวพันกับช่วงอยุธยาตอนปลาย และรากเหง้าที่ หยั่งลึกลงไปในอดีต


�����������������������������������������������

61

(5) ส มุ าลีวจิ ารณ์วา่ นิธไิ ม่ได้ศกึ ษาพัฒนาการของมหรสพอย่างเป็นกลาง และไม่ พยายามยอมรับว่ามหรสพต่าง ๆ เป็นสมบัตริ ว่ มระหว่างคนในระดับต่าง ๆ ของ สังคม (6) สมุ าลีสรุปว่าวรรณกรรมไทยนับตัง้ แต่สมัยอยุธยาตอนต้นทีไ่ ม่มจี ดุ ประสงค์ เพื่อพิธีกรรม แต่ล้วนมีเพื่อความบันเทิงทั้งสิ้น ไม่ใช่พึ่งเริ่มมีวรรณกรรม เพือ่ ความบันเทิงในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยสุมาลีเชือ่ ว่าวรรณกรรมอยุธยา ที่เรารู้จักกัน มีน้อยกว่าที่เคยมีอยู่จริงในสมัยอยุธยาอยู่มาก แต่ไม่มีการ ตกทอดมาถึงสมัยหลัง29 อนึ่งถ้าภาพการเปลี่ยนแปลงด้านวรรณกรรมเปรียบเทียบระหว่างสมัยอยุธยากับ รัตนโกสินทร์ตอนต้นตามที่นิธิเสนอในบทความ ‘วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรม ต้นรัตนโกสินทร์’ มีความไม่ถูกต้องตามคำ�วิจารณ์ของสุมาลี ก็จะทำ�ให้ข้อเสนอของ นิธใิ นเรือ่ ง “กระฎุมพีในเศรษฐกิจแบบส่งออก” พลอยได้รบั ผลกระทบกระเทือนตาม ไปด้วย ประวัติศาสตร์กับวรรณกรรม

นอกจากข้อโต้แย้งจากนักวิชาการด้านวรรณกรรมศึกษาแล้ว ประเด็นสำ�คัญอีกเรื่อง ที่นักประวัติศาสตร์ซึ่งนำ�เอาข้อสรุปของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ไปใช้ มักไม่ค่อยได้ พิจารณาถึง ก็คือความแตกต่างระหว่างประวัติศาสตร์และวรรณกรรม กล่าวคือ ประวัตศิ าสตร์และวรรณกรรมมีความแตกต่างกันในด้านวิธกี าร หลักวิชา และจุด­ ประสงค์ในการศึกษา กล่าวคือ วรรณกรรมเป็นศิลปะทีม่ งุ่ เน้นในการแสดงอารมณ์ ความรูส้ กึ จินตนาการและความงดงามของภาษา เมือ่ มีการบันทึกเหตุการณ์ในอดีต จึงมักมีการสอดแทรกอารมณ์ ความรูส้ กึ นาํ้ เสียง และทัศนคติของตนลงไปในเนือ้ หา ด้วย หรือแม้แต่การเพิม่ เติมข้อมูลบางส่วนทีม่ ไิ ด้ปรากฏว่าเกิดขึน้ จริง เพือ่ สร้างสีสนั และอรรถรสในการอ่าน วรรณกรรมจึงมิได้มุ่งเน้นที่ข้อเท็จจริง

สรุปจาก วีระศักดิ์ กีรติวรนันท์, “การอ่านและการวิจารณ์ ตั้งคำ�ถามกับปากไก่และใบเรือ: ว่า ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์–วรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ของนิธิ เอียวศรีวงศ์,” หน้า 230–231.

29


62

คราสและควินิน

ในขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจากกระบวนการ สืบสวน ค้นคว้า วิจยั พิจารณา วินจิ ฉัย และตีความตามระเบียบวิธวี ทิ ยาศาสตร์ โดย ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก เมื่อมองในแง่นี้ประวัติศาสตร์จึงมีความแตกต่าง จากวรรณคดี อันทีจ่ ริงแล้ว วรรณกรรมอาจเป็นแหล่งข้อมูลทีส่ �ำ คัญให้กบั นักประวัตศิ าสตร์ได้ และนักประวัตศิ าสตร์อย่าง สุเนตร ชุตนิ ธรานนท์ ก็สามารถนำ�เนือ้ หาในวรรณกรรม มาอธิบายประวัติศาสตร์ทางภูมิปัญญาของไทยได้อย่างลึกซึ้ง30 อย่างไรก็ตามเรา ไม่อาจใช้ข้อมูลจากวรรณกรรมแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อนำ�มาตีความอย่างที่นิธิได้ทำ� ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ คำ�อธิบายเรื่องชนชั้นกระฎุมพีของนิธิ (ถ้าชนชั้นนี้มีอยู่จริง) นอกจากการใช้หลักฐานทางวรรณกรรมมาสนับสนุนแล้ว ยังจำ�เป็นต้องใช้ข้อมูลจาก แหล่งอืน่ มาประกอบด้วย ไม่วา่ จะเป็นหลักฐานทีแ่ สดงถึงความสัมพันธ์ทางครอบครัว การบริโภค การใช้จา่ ย ความเป็นอยู่ บทบาทของสตรี การเลีย้ งดูบตุ ร การศึกษาของ บุตรธิดา ความสนใจหรือรสนิยมในศิลปะ ความเชือ่ ทางศาสนา ฯลฯ ของคนในชนชัน้ กระฎุมพีดังกล่าว ธเนศ วงศ์ยานนาวาได้กล่าวถึงแนวคิดของเยอร์เก้น ค็อกค้า (Jurgen Kocka) นักประวัตศิ าสตร์ชาวเยอรมัน ทีใ่ ห้ความสำ�คัญต่อสถาบันครอบครัวต่อการสร้างชนชัน้ กระฎุมพีในทวีปยุโรปว่า “สถาบันครอบครัวเป็นหนึง่ ในสถาบันสำ�คัญของชนชัน้ กลาง ทัง้ นีอ้ ย่างน้อย ๆ  ชนชั้นตํ่าหรือกรรมกรก็ไม่สามารถที่จะมีทรัพยากรทางวัตถุและวัฒนธรรม ตลอดจนความมัน่ คงมากพอทีจ่ ะจรรโลงคุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่วา่ นัน่ จะเป็น​ การมีสาวใช้ หรือผูห้ ญิงในฐานะแม่ทจี่ ะต้องไม่ท�ำ งานนอกบ้าน แม่จงึ สามารถ ทุ่มเวลาทั้งหมดให้กับการเลี้ยงดูลูกที่ดำ�เนินไปตามแนวคิดเรื่องการเลี้ยงดูลูก ด้วยตนเอง อันเป็นความคิดทีเ่ กิดขึน้ ในศตวรรษที ่ 18 ในฐานะเครือ่ งมือในการ โจมตีชนชัน้ สูง แม้วา่ ชนชัน้ สูงจะมีคนรับใช้ ไว้เลีย้ งดูลกู ตามแนวทางของชนชัน้ สูง ที่ไม่นิยมเลี้ยงลูกด้วยตนเองหรือแม้กระทั่งทำ�กับข้าวเองก็ตาม ทั้งนี้แม่หรือ ผูห้ ญิงในสถาบันครอบครัวเท่านัน้ ทีถ่ อื ว่ามีความสำ�คัญในการสร้างและถ่ายทอด

ดู สุเนตร ชุตินธรานนท์, พม่ารบไทย: ว่าด้วยการสงครามระหว่างไทยกับพม่า, พิมพ์ครั้งที่ 11 (กรุงเทพฯ: มติชน, 2555). หรือดู สุเนตร ชุตินธรานนท์, บุเรงนอง (กะยอดินนรธา): กษัตริย์ พม่าในโลกทัศน์ ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: มติชน, 2548).

30


�����������������������������������������������

63

ทุนทางวัฒนธรรมทางชนชั้นให้กับลูก ๆ ได้ การถ่ายทอดทุนทางวัฒนธรรม เหล่านี้ จึงไม่สมควรทีจ่ ะให้สาวใช้ทม่ี าจากชนชัน้ ตํา่ หรือชาวนาเป็นตัวถ่ายทอด”31 อนึ่งเราไม่จำ�เป็นต้องใช้ปัจจัยเรื่องสถาบันครอบครัวแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อมา อธิบายการเกิดขึ้นของชนชั้นกระฎุมพีในประเทศไทยเหมือนกับที่ค็อกค้าได้ทำ�ไว้ แต่ เราจำ�เป็นต้องใช้ปัจจัยทางสังคมบางประการมาอธิบายการเกิดขึ้นหรือการล่มสลาย ของชนชัน้ กระฎุมพีของไทย (เช่น มองจาก “ชีวติ ด้านวัตถุ” การบริโภค หรือความเชือ่ ทางศาสนา เป็นต้น) ซึ่งทำ�ให้ชนชั้นกระฎุมพีนี้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำ�คัญกับ ชนชั้นอื่น ๆ กล่าวสั้น ๆ ได้ว่าเราต้องมีประวัติศาสตร์สังคม (Social History) ของ ชนชัน้ กระฎุมพีไทย มิฉะนัน้ เวลาทีเ่ รากล่าวถึงชนชัน้ กระฎุมพี เราก็จะมีเพียงคำ�อธิบาย ทีด่ เู ป็นเรือ่ งทีจ่ งใจสร้างขึน้ มากกว่าจะแสดงให้เห็นถึงการคลีค่ ลายของประวัตศิ าสตร์ ที่ใช้ระยะเวลายาวนาน เครก เรย์โนลด์ ได้อธิบายว่า ประวัตศิ าสตร์สงั คมเกีย่ วข้องกับชีวติ ทางสังคม ปฏิสัมพันธ์ของผูค้ น พฤติกรรม และกิจกรรมของคนตามสภาพทางสังคม ถ้าเราตัดสถาบัน การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมบางประการ (เช่น ความเชือ่ และอุดมการณ์ออก ไป) สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือประวัติศาสตร์สังคม โดยที่ “ชนชั้น” ก็เป็นหัวข้อหนึ่งของ ประวัตศิ าสตร์สงั คม อย่างเช่น การเคลือ่ นไหวของฐานะทางชนชัน้ ความสัมพันธ์ระหว่าง ชนชั้น ชนชั้นและอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้น เป็นต้น32 ‘ปากไก่และใบเรือ’ นั้นไม่ได้เป็นงานประวัติศาสตร์ทางสังคม แต่น่าจะเป็น ประวัตศิ าสตร์ทางภูมปิ ญ ั ญา ตามทีก่ ล่าวไปแล้วว่าหลักฐานทีน่ ธิ ใิ ช้ในการอธิบายการ ก่อตัวของโลกทัศน์กระฎุมพีของชนชัน้ นำ�ไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์นนั้ ส่วนใหญ่มา จากการตีความทางวรรณกรรม โดยที่นิธิไม่ได้ใช้ปัจจัยทางสังคมใด ๆมาอธิบายการ เกิดขึ้นหรือการล่มสลายของชนชั้นกระฎุมพีไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาดังที่กุลลดา และเก่งกิจได้วจิ ารณ์ไว้ ก็คอื นิธไิ ม่สามารถชีใ้ ห้เห็นได้วา่ การเกิดขึน้ ของชนชัน้ กระฎุมพี

ธเนศ วงศ์ยานนาวา, “วัฏจักรของทฤษฎีและประวัตศิ าสตร์ของชนชัน้ กลาง: จากการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศส สู่พฤษภามิฬ/19 กันยายน,” หน้า 18–19. หรือดู Jurgen Kocka, “The Middle Class in Europe,” Journal of Modern History Vol. 67, No. 4 (December, 1995), p. 787. 32  เครก เจ. เรย์โนลด์, เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา และคนสามัญ: รวมบทความประวัติศาสตร์ของ เครก เจ. เรย์โนลด์, บรรณาธิการแปลโดย วารุณี โอสถารมย์ (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำ�รา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550), หน้า 60–65. 31


64

คราสและควินิน

ในช่วงปลายอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ มันเปลีย่ นแปลงไปหรือหายไป “หลัง” จาก ที่เบาว์ริงเข้ามาอย่างไร และเมื่อนิธิพูดถึงสังคมไทยร่วมสมัย โดยเฉพาะสถานะของ ชนชัน้ กระฎุมพีไทย นิธกิ ไ็ ม่สามารถอธิบายให้เห็นถึงพลวัตหรือความเปลีย่ นแปลงของ ชนชั้นกระฎุมพีในประวัติศาสตร์แต่อย่างใด นอกจากนี้ ในทางทฤษฎีแล้ว เราจะประสบปัญหามากมายในการตีความตัวบท วรรณกรรม เพื่อมุ่งหาความจริงที่แน่นอน (Fact) ในโลกภายนอก ที่วรรณกรรม เรือ่ งนัน้ อ้างอิงถึง (อันเกิดมาจากแนวคิดแบบสัจนิยม ตามคำ�อธิบายของนิธเิ อง) การ ตีความจากงานทางวรรณกรรมอย่างเช่นงานของสุนทรภู่ หนังสือนางนพมาศ หรือ วรรณกรรมชิน้ อืน่  ๆ ทีน่ ธิ ไิ ด้ท�ำ ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ เพือ่ แสดงให้เห็นถึงการก่อเกิด ชนชัน้ (หรือโลกทัศน์) กระฎุมพีกเ็ ช่นกัน ทีจ่ ะทำ�ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ตามที่ จะกล่าวถึงต่อไปอย่างละเอียดในหนังสือเล่มนี้ ตามทีก่ ลุ ลดาและเก่งกิจตัง้ ข้อสังเกตว่า นอกเหนือจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ทีต่ อ่ มาถูกนำ�มาพิมพ์เป็นหนังสือของสายชล สัตยานุรกั ษ์ และอรรถจักร สัตยานุรกั ษ์ ลูกศิษย์คนสำ�คัญของนิธิแล้ว ก็ไม่ปรากฏงานเขียนทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำ�คัญชิ้นใด ที่สานต่อข้อเสนอหรือมรรควิธีที่นิธิได้บุกเบิกไว้ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ อีกแม้แต่ชิ้น เดียว ผูเ้ ขียนขอเสริมตรงนีว้ า่ ความไม่ตอ่ เนือ่ งดังกล่าว ส่วนหนึง่ น่าจะเกิดจากปัญหา ในทางมรรควิธีของนิธิ ที่ทำ�การตีความตัวบททางวรรณกรรม เพื่อมุ่งหาความจริงที่ แน่นอนในโลกภายนอก ความคลุมเครือของ “กระฎุมพี”

คำ�ว่า ‘กระฎุมพี’ หรือ ‘Bourgeoisie’ มักใช้ในการเรียกชนชัน้ ทางสังคมกลุม่ หนึง่ ซึง่ อยูใ่ นกลุม่ ชนชัน้ กลางหรือชนชัน้ พ่อค้าวาณิช ซึง่ ได้สถานะทางสังคมหรืออำ�นาจมาจาก หน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกอภิชน (Aristocrat) ซึง่ ได้สถานะทางสังคมหรืออำ�นาจมาจากชาติก�ำ เนิด เมือ่ มองในความหมายนี้ ชนชัน้ ‘กระฎุมพี’ จะต้องมีคุณสมบัติที่แยกตัวออกมาได้จากพวกอภิชน (หรือพวกชนชั้น ศักดินา) แต่ถา้ เราใช้ ‘กระฎุมพี’ ตามกรอบคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ก็จะหมายถึง พวกนายทุนหรือผู้ที่ครอบครองปัจจัยการผลิต (means of production) และอาศัย ปัจจัยการผลิตเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน (surplus value) จาก ชนชั้นที่ไม่มีปัจจัยการผลิต ซึ่งก็คือชนชั้นแรงงาน เมื่อมองในแง่นี้ชนชั้น ‘กระฎุมพี’


�����������������������������������������������

65

ก็ต้องสามารถแยกตัวออกมาได้จากชนชั้นแรงงาน (Labour) อย่างไรก็ตามคำ�ว่า ‘กระฎุมพี’ ในความหมายของนิธิที่ใช้ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ นั้น นอกจากจะหมายถึงพวกพ่อค้าแล้ว ยังรวมไปถึงชนชั้นนำ�ในระบบศักดินาที่ได้ เปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นกระฎุมพี ตามที่นิธิเรียกรวมกันว่า เจ้าและขุนนางเจ๊สัว ราษฎรผูม้ ที รัพย์ และชนชัน้ นำ�เหล่านีก้ ค็ อื กลุม่ ทีส่ ร้างวัฒนธรรมแบบกระฎุมพีขนึ้ มา นิธอิ ธิบายว่า ชนชัน้ นำ�เหล่านี้ ถึงแม้จะจัดเป็นพวกศักดินา แต่กเ็ ป็นศักดินาชนิด พิเศษ ซึง่ มีความแตกต่างจากพวกศักดินาในสมัยอยุธยา คือเป็นพวกศักดินาทีม่ คี วาม­ คิดหรือโลกทัศน์แบบกระฎุมพี อย่างเช่น การรังเกียจไสยศาสตร์บางชนิด การให้ความ สำ�คัญกับความจริงจากประสบการณ์ มีความเป็นมนุษยนิยม ฯลฯ อย่างไรก็ตามมีคำ�ถามเกิดขึ้นต่อคำ�อธิบายเรื่องชนชั้นกระฎุมพีแบบนี้ เนื่องจาก ความหมายทีน่ ธิ ใิ ช้ ไม่ได้ท�ำ ให้ชนชัน้ ‘กระฎุมพี’ สามารถแยกตัวออกมาได้จากชนชัน้ ศักดินา ความถูกต้องของนิยามที่นิธิใช้ จึงไม่ได้เป็นเพียงระดับของความสอดคล้อง ระหว่างกรอบคิดทฤษฎีกับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง แต่เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายใน กรอบทฤษฎีเรื่องชนชั้น (Class) เนื่องจากการอธิบายว่ากระฎุมพีเป็นชนชั้นนำ�ของ ไทย แต่ก็เป็นชนชั้นศักดินาด้วย หมายความว่าชนชั้นนำ�ของไทยสามารถเป็นได้ทั้ง ชนชั้นศักดินา (Nobility) และชนชั้นกระฎุมพี (Bourgeois) ไปพร้อม ๆ กันอย่าง นั้นหรือ? สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนัน้ เป็นสังคมแบบจารีต (Traditional Society) ทีม่ กี ารระบบการแบ่งชนชัน้ ตามระบบไพร่ทเ่ี คร่งครัด คือมีการแบ่งคนในสังคมออกเป็น สองกลุ่มคือ พวกมูลนาย อันได้แก่ กษัตริย์ ขุนนาง กับผู้ที่ขึ้นอยู่กับสังกัดภายใต้ ความควบคุมของมูลนาย อันได้แก่ ไพร่กับทาส ระบบไพร่ยังประกอบไปด้วยการใช้ ศักดินาเป็นเครื่องกำ�หนดสถานะของคนในสังคมเป็นลำ�ดับชั้น33 ชาวจีนทีเ่ ข้ามาอาศัยอยูใ่ นประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึง่ นิธใิ ห้ความ สำ�คัญเป็นอย่างมากนั้น มีอยู่สองสถานะ พวกหนึ่งอยู่ในระบบไพร่ เพราะชาวจีน เหล่านี้ต้องเสียภาษีอากรให้กับรัฐเป็นรายหัวเรียกว่า ‘ผูกปี้’ สำ�หรับชาวจีนที่ไม่เงิน ผูกปี้ก็ต้องถูกเกณฑ์แรงงานทำ�ให้หลวง เราจึงจัดคนจีนที่ถูกเกณฑ์แรงงานว่าอยู่ใน

ยังมีปัญหาในการตีความระบบศักดินาของสังคมไทยว่าหมายถึงการครอบครองที่ดินหรือการ ควบคุมกำ�ลังคน ดู อัญชลี สุสายัณห์, ความเปลีย่ นแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2552), หน้า 36–46.

33


66

คราสและควินิน

ระบบไพร่34 กับอีกพวกหนึง่ เป็นคนนอกระบบไพร่ ซึง่ มีสทิ ธิประกอบอาชีพและสามารถ เดินทางไปที่ต่าง ๆ ได้35 ในสมัยนั้นประเด็นเรื่องชาติพันธุ์ (Ethnic) ของชาวจีนไม่ใช่ เป็นเรือ่ งสำ�คัญเทียบเท่ากับความสัมพันธ์ของชาวจีนกับระบบไพร่36 เนือ่ งจากรัฐไทย ในระบบจารีต ต้องการรวบรวมผูค้ นเป็นหลัก มากกว่าจะคำ�นึงถึงประเด็นเรือ่ งเชือ้ ชาติ สำ�หรับชาวจีนทีอ่ ยูน่ อกระบบไพร่เหล่านีบ้ างคนทำ�ตัวเข้ากับขุนนางไทยได้ดี จึงได้ รับตำ�แหน่งแบบกึง่ ข้าราชการเป็นเจ้าภาษีนายอากรมีหน้าทีใ่ นการรวบรวมภาษีมาส่ง ให้รฐั 37 โดยรัฐได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาประมูลผูกขาดภาษี เนือ่ งจากภาษีในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์ได้เปลีย่ นรูปจากสิง่ ของมาเป็นตัวเงิน ทำ�ให้การเก็บภาษีในรูปของตัว เงินมีความยุ่งยากทั้งการเก็บและการคำ�นวณ รัฐจึงมอบหมายหน้าที่นี้ให้กับเจ้าภาษี นายอากร โดยจะต้องจัดหาเงินจำ�นวนที่แน่นอนมาให้กับรัฐ อย่างไรก็ตามเจ้าภาษี นายอากรก็ถกู ดูดกลืนเข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของระบบศักดินาไป คือมีบรรดาศักดิ์ หรือ ได้สร้างสัมพันธ์โดยการสมรสกับชนชัน้ นำ�ในระบบศักดินา รวมทัง้ มีการส่งบุตรสาว ของตนเข้าไปเป็นข้าบาทบริจาริกาให้กับขุนนางหรือกษัตริย์ เป็นต้น38 พรรณี บัวเล็ก ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “เจ้านายภาษีอากรซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน มีบทบาทสำ�คัญต่อการหารายได้ ของรัฐในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คนกลุ่มนี้จัดได้ว่าต้นกำ�เนิดของชนชั้น นายทุนไทย คนกลุม่ นีถ้ อื ได้วา่ เป็นนายทุน เนือ่ งจากต้องประกอบกิจกรรมทาง เศรษฐกิจโดยการลงทุน ต้องประมูลภาษีอากร และต้องจ่ายเงินส่วนหนึ่งให้ รัฐก่อนที่จะเก็บภาษีแสวงหากำ�ไรให้ตัวเอง เจ้าภาษีอากรกลุ่มนี้จึงถือกำ�เนิด ภายใต้ระบบศักดินาและได้รบั การอุปถัมภ์จากชนชัน้ ศักดินาให้ด�ำ เนินกิจกรรม ดู วราภรณ์ จิวชัยศักดิ,์ นโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้า­ เจ้าอยูห่ วั (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 ), หน้า 93. หรือ ดู ศรศักดิ ์ ชูสวัสดิ์, “ผูกปี้: การจัดเก็บเงินค่าแรงแทนการเกณฑ์แรงงานจากคนจีน ในสมัยรัตนโกสินทร์,” (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2524), หน้า 15. นอกจากนี้ดู Kasien Teijapira, “Pigtail: A Pre–History of Chineseness in Siam,” Sojourn vol. 7, no. 1 (February 1992), pp. 107–108. 35  อัญชลี สุสายัณห์, ความเปลี่ยนแปลงของระบบไพร่และผลกระทบต่อสังคมไทย ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, หน้า 83–84. 36  Kasien Teijapira, “Pigtail: A Pre–History of Chineseness in Siam,” pp. 107–8. 37  พรรณี บัวเล็ก, สยามในกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลง: ประวัติศาสตร์ ไทยตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 5 (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2541), หน้า 77–79. 38  นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 96 34


�����������������������������������������������

67

ทางเศรษฐกิจ เนือ่ งจากระบบเจ้านายภาษีอากรนัน้ จำ�เป็นต้องอาศัยโครงสร้างในระบบศักดินาในการแสวงหาประโยชน์ ระบบนี้เอื้ออำ�นวยให้กับ ชนชัน้ นำ�ของไทยทัง้ กลุม่ ไม่ใช่เพียงกษัตริยผ์ เู้ ดียว เพราะปรากฏว่าเบือ้ งหลัง ของเจ้าภาษีอากรก็คอื ขุนนางและเจ้านายบางพระองค์ซงึ่ เป็นเจ้าภาษีลบั  ๆ  เสียเอง ระบบเจ้าภาษีอากรจึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระบบศักดินา”39 (เน้น โดยผู้เขียน) สำ�หรับข้อเสนอของนิธทิ วี่ า่ ชนชัน้ นำ�ในระบบศักดินาทีไ่ ด้เปลีย่ นแปลงตัวเองไปเป็น กระฎุมพีนน้ั จัดว่ามีความน่าสงสัยอยูไ่ ม่นอ้ ย เนือ่ งจากเป็นเรือ่ งธรรมดาทีก่ ษัตริยแ์ ละ เหล่าขุนนางไทยในสมัยก่อนมีความสามารถในการส่งเรือสำ�เภาไปค้าขายกับต่างชาติได้ อันเป็นเรื่องที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ทำ�ให้เกิดการสร้างรายได้ ให้กับชนชั้นสูงเหล่านี้ ในสมั ย รั ช กาลที่  2–3 ไทยมี ก ารค้ า กั บ จี น เป็ น ปริ ม าณมาก (ตามที่ อ ธิ บ ายไว้ ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’) ถึงขนาดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ รัชกาลที่ 2 ทรง เรียกล้อพระราชโอรสองค์โตของพระองค์ คือในหลวงรัชกาลที ่ 3 ขณะทีท่ รงดำ�รงพระ ยศเป็นก​ รมหมืน่ เจษฎาบดินทร์และทรงรับผิดชอบกรมท่าในเวลานัน้ ว่าเป็น “เจ้าสัว”40 มีขอ้ สังเกตว่า คำ� “เจ้าสัว” หรือ “เจ๊สวั ” อาจไม่ได้มาจากภาษาจีน แต่มาจาก ภาษาไทยว่า “เจ้าขรัว” ทำ�ให้ประเด็นเรือ่ งการรับวัฒนธรรมจีนของชนชัน้ สูงไทยตาม ที่นิธิอธิบายไม่น่ามีความเชื่อถือ เนื่องจากคนจีนที่เข้ามาในเมืองไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์นั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่ไม่มีการศึกษา พวกเขาจึงไม่สามารถถ่ายทอด วัฒนธรรมชั้นสูงของชาวจีนให้แก่ชนชั้นสูงของไทยในตอนนั้นได้ ดังจะเห็นว่าคำ� ไทย–จีน ทีเ่ ราใช้กนั ในปัจจุบนั ล้วนเป็นคำ�ทีใ่ ช้ในหมูค่ นธรรมดาทัว่ ไป แต่ไม่มกี าร ใช้กันในหมู่คนชั้นสูง41

พรรณี บัวเล็ก, สยามในกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลง: ประวัติศาสตร์ ไทยตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 5, หน้า 74–79. 40  วราภรณ์ ทินานนท์, “การค้าสำ�เภาของไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตอนต้น,” (วิทยานิพนธ์อักษร­ ศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัตศิ าสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522), หน้า 67. หรือดูใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ­ นัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั (ทีร่ ะลึกงานพระราชทางเพลิงศพนาย กระเจิน่ สิงหเสนี ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม  17 ธันวาคม 2537), หน้า 37. 41  ดูสว่ น “คำ�นำ�” ใน วรศักดิ ์ มหัทธโนบล, คำ�จีนสยาม: ภาพสะท้อนปฏิสมั พันธ์ไทยจีน (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์อมรินทร์, 2555), หน้า 33, 40. 39


68

คราสและควินิน

อนึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างคนต่าง ๆ ในสังคมไทยด้วยกันเอง เราย่อมไม่อาจจัด เชื้อพระวงศ์หรือเหล่าขุนนางเหล่านี้ว่าเป็นเพียงคนรํ่ารวยได้ จะเห็นว่า ‘เจ้าสัว’ เป็น คำ�ที่ในหลวงรัชกาลที่ 2 ทรงเรียกล้อพระราชโอรสองค์โตของพระองค์ แต่ไม่ใช่เป็น คำ�ที่คนอื่น ๆ จะนำ�ใช้เรียกกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ เพราะถ้าขืนเรียกแบบนั้น มีสิทธิ์หัวขาดได้ คนไทยส่วนใหญ่ในตอนนั้นมีความรู้สึกนึกคิดต่อพระมหากษัตริย์ และเหล่าขุนนางในฐานะที่เป็นพวกมูลนาย พระมหากษัตริย์ซึ่งปกครองไพร่ฟ้าย่อม ทรงอำ�นาจเด็ดขาดที่จะลงโทษประหารชีวิต หรือบำ�เหน็จความชอบให้แก่บุคคลใด บุคคลหนึ่งตามแต่จะทรงพอพระทัย พระองค์คือเจ้าชีวิตที่ทรงสามารถสั่งตัดหัวใคร ก็ได้ พระองค์ยังมีพระราชอำ�นาจที่จะยึดทรัพย์สินและกวาดต้อนผู้คนของคน ๆ นั้น เข้ามาเป็นของพระองค์ จึงเป็นเรือ่ งเหมาะสมกว่าถ้าจะเรียกชนชัน้ สูงเหล่านีว้ า่ เป็น ชนชั้นศักดินา (หรือมูลนาย) ไม่ใช่พ่อค้าหรือกระฎุมพีในความหมายของชนชั้น ถึงแม้รายได้ของคนเหล่านี้บางส่วนจะมาจากการค้าก็ตาม ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลก เพราะกษัตริย์ในสมัยอยุธยาก็มีการส่งเรือไปค้าขายกับจีนเช่นกัน นอกจากนี้นิธิได้เขียนเรื่อง “กระฎุมพี” ตอนหนึ่งว่า “เมื่อกล่าวถึงกระฎุมพีไทยในต้นรัตนโกสินทร์จึงหมายถึงชนชั้นนำ�ในระบบ ศักดินา ผสมกับชาวจีนและเชื้อสายจำ�นวนมากทั้งที่ได้ถูกกลืนเข้าไปใน ระบบศักดินาแล้วและยังไม่ได้ถูกกลืนเป็นส่วนใหญ่ คนเหล่านี้คุมอำ�นาจ ทางการเมืองของระบบศักดินาไว้อย่างเหนียวแน่นและประกอบกันขึ้นเป็น ชนชั้นสูงของสังคมไทย มีบทบาทในพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชนชั้นสูง ของสังคม ”42 (เน้นโดยผู้เขียน) จากคำ�อธิบายข้างบน จะเห็นว่านิธใิ ช้ค�ำ ‘กระฎุมพี’ในความหมายทีข่ ดั แย้งในตัว เอง เพราะเป็นการรวมเอากลุม่ คนทีไ่ ม่นา่ เข้ากันได้ มารวมอยูด่ ว้ ยกัน43 ยกตัวอย่าง เช่น ประโยคครึง่ แรกทีว่ า่ “กระฎุมพีไทยในต้นรัตนโกสินทร์คอื ชนชัน้ นำ�ในระบบ ศักดินาผสมกับชาวจีนและเชื้อสายจำ�นวนมาก ทั้งที่ได้ถูกกลืนเข้าไปในระบบ ศักดินาแล้ว” ประโยคนี้หมายถึงชนชั้นนำ�ในสังคม ซึ่งก็คือกษัตริย์และพวกขุนนาง

นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4 (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2555), หน้า 132 ผมได้ความคิดนี้มาจากการอ่าน ดวงมน จิตร์จำ�นงค์, คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย สมัยต้นรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540), หน้า 62–63.

42

43


�����������������������������������������������

69

รวมไปถึงพวกพ่อค้าชาวจีน (หรือชาติอื่น ๆ) ที่มีอำ�นาจ (อันได้แก่พวกเจ้านายภาษี­ อากร เป็นต้น) ซึง่ คนเหล่านีค้ มุ อำ�นาจทางการเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เอาไว้ แต่ พวกเขาก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งหรือถูกกลืนอยู่ในระบบศักดินาทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพวกนี้จะเป็นชนชั้นกระฎุมพีไปได้อย่างไร สำ�หรับคำ�อธิบายในประโยคครึ่งหลัง ซึ่งกล่าวถึง “กระฎุมพีไทยในต้นรัตนโกสินทร์คอื ชาวจีนและเชือ้ สายจำ�นวนมาก…(ที)่ ยังไม่ได้ถกู กลืน (ในระบบศักดินา) เป็นส่วนใหญ่” อนึง่ การทีค่ นกลุม่ นีไ้ ม่ได้ถกู กลืนอยูใ่ นระบบศักดินา (เพราะอยูห่ า่ งไกล กับชนชั้นสูง) พวกเขาจึงน่าจะมีความเป็นตัวของตัวเองมากกว่าคนกลุ่มแรก เราจึง น่าจะจัดให้พวกเขา (ซึง่ เป็นพวกพ่อค้า) เป็นพวกกระฎุมพีได้งา่ ยกว่าพวกแรก (ที่ กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้เขียนเชื่อว่ามีชนชั้นกระฎุมพีในสมัยนั้นแล้ว แต่เป็น​ การกล่าวในเชิงเปรียบเทียบกับคนจีนกลุม่ แรก) อย่างไรก็ตามในเมือ่ พวกเขาไม่ได้เป็น พวกศักดินา จึงไม่ได้รบั บรรดาศักดิใ์ ด ๆ เขาจึงหมดโอกาสทีจ่ ะไต่เต้าเข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของชนชัน้ นำ�ในสังคมไทยได้ เมือ่ เป็นเช่นนัน้ พวกเขาจะมีบทบาทในพัฒนาการทาง วัฒนธรรมกระฎุมพีของชนชั้นสูงได้อย่างไร จะเห็นว่าการใช้มโนทัศน์ “กระฎุมพี” ทำ�ให้นธิ สิ ามารถนำ�คนสองกลุม่ ทีแ่ ตกต่าง กันให้เข้ามารวมไว้เป็นกลุม่ เดียวกัน โดยนำ�คุณสมบัตทิ แ่ี ตกต่างกันของคนสองกลุม่ มาผสมเข้าด้วยกันจนกลายไปเป็นคุณสมบัตริ ว่ มของคนทัง้ สองกลุม่ ไป ยกตัวอย่าง เช่น พ่อค้าคนจีนทีก่ ลายเป็นชนชัน้ ศักดินา กับพ่อค้าคนจีนทีไ่ ม่ได้เป็นศักดินา (ซึง่ มี ความเป็นกระฎุมพีมากกว่า) เข้ามาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน จนทำ�ให้พ่อค้าทั้งสองกลุ่ม กลายไปเป็นกระฎุมพีและก็เป็นชนชัน้ นำ� (คือเป็นศักดินา) ในเวลาเดียวกัน และ ด้วยตรรกะเดียวกัน มโนทัศน์ “กระฎุมพี” ยังทำ�ให้นธิ สิ ามารถอธิบายให้กษัตริยแ์ ละ เหล่าขุนนางที่เป็นศักดินากลายมาเป็นพวกกระฎุมพีได้อีกเช่นกัน อนึง่ นิธจิ ะเสนอในเวลาต่อมาว่าชนชัน้ นำ�เหล่านี้ ถึงแม้จะจัดเป็นพวกศักดินาก็จริง แต่ก็เป็นศักดินาชนิดพิเศษ (ซึ่งมีความแตกต่างจากพวกศักดินาในสมัยอยุธยา) คือ เป็นพวกศักดินาทีม่ คี วามคิดแบบกระฎุมพีค�ำ ‘กระฎุมพี’ ในทีน่ จี้ งึ ไม่ได้หมายถึงชนชัน้ แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้กลายเป็นความรู้สึกนึกคิด โลกทัศน์ หรือวัฒนธรรม (อย่างเช่น การรังเกียจไสยศาสตร์บางชนิด การให้ความสำ�คัญกับความจริงจาก ประสบการณ์มากกว่าจะเชื่อตำ�รา ฯลฯ) อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนีต้ อ้ งการปฏิเสธคำ�อธิบายดังกล่าว โดยผูเ้ ขียนขอเสนอ ว่าโลกทัศน์แบบกระฎุมพี (ตามคำ�อธิบายของนิธิ) เป็นเพียงแบบอุดมคติ (หรือ “Ideal type” ตามมักซ์ เวเบอร์ (Max Weber)) ที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ไม่มีความ สอดคล้องกับความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (ไม่ว่าจะเป็น


70

คราสและควินิน

พระมหากษัตริย์ ขุนนาง แม่ทัพนายกอง หรือแม้กระทังไพร่) เราจึงอาจกล่าวสรุป ได้สั้น ๆ ว่า โลกทัศน์ดังกล่าวไม่มีอยู่จริง แต่ก่อนที่จะวิจารณ์เรื่องโลกทัศน์ต่อไป ผู้เขียนขออธิบายถึงเรื่อง ‘กระบวนทัศน์กระฎุมพี’ อันเป็นแนวคิดที​ี่ฝังรากลึกอยู่ใน วัฒนธรรมตะวันตก (รวมไปถึงนักวิชาการไทย) ซึง่ เป็นตัวกำ�หนดกรอบของการถกเถียง ในทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าผู้ถกเถียงจะอยู่ฝ่ายใดก็ตาม การปฏิวัติฝรั่งเศสไม่ได้เป็น “การปฏิวัติกระฎุมพี”

ในบทความ “สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี” นิธิได้เขียนตอนหนึ่งว่า “กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ–สังคมของไทยขยายตัวขึ้นเสมอมา หลังจากนั้น (หมายถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์...ผู้เขียน) สนธิสัญญาเบาว์ริง ยิง่ เร่งเร้ากระบวนการนี้ ให้แผ่ไปกว้างขวางขึน้ และดำ�เนินไปอย่างรวดเร็วขึน้ นั่นหมายความว่าจำ�นวนของประชาชนที่เข้ามาเกี่ยวข้องผูกพันกับเศรษฐกิจ แบบตลาดก็เพิม่ ขึน้ ตามไปด้วย การรักษาโครงสร้างอำ�นาจการเมืองในกรอบ โครงของศักดินาแบบเก่าไม่สามารถจะทำ�ได้อีกต่อไป แม้การปฏิรูปอย่าง กว้างขวางในรัชกาลที่ 5 ก็ได้แต่ยืดอายุของโครงสร้างของอำ�นาจต่อไปอีก ประมาณครึ่ง ศตวรรษเท่านั้น การปฏิวัติของพวกกระฎุมพีใน พ.ศ. 2475 จึงเกิดขึ้นเพื่อจัดสรรโครงสร้างของอำ�นาจในหมู่กระฎุมพีด้วยกันใหม่ นับ เป็นความสืบเนือ่ งในประวัตศิ าสตร์ทยี่ าวนาน อันอาจมองย้อนหลังไปได้ถงึ ต้นรัตนโกสินทร์”44 (เน้นโดยผู้เขียน) นิธมิ องการปฏิวตั ใิ นปี พ.ศ. 2475 ของไทยเป็นการปฏิวตั ขิ องพวกกระฎุมพี อัน เป็นความเชือ่ ตาม “ความเป็นประวัตศิ าสตร์” ของพวกมาร์กซิสต์ทตี่ อ้ งการทำ�ให้ พวกกระฎุมพีมบี ทบาทสำ�คัญในการเปลีย่ นแปลงการปกครองแบบดัง้ เดิม การทำ�ให้ กระฎุมพีมบี ทบาทต่อการล้มล้างระบอบศักดินา เป็นความเชือ่ หลักของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ที่ปรากฏอยู่ใน “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” ตามที่มาร์กซ์เขียน ตอนหนึ่งว่า 44

นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปากไก่และใบเรือ, พิมพ์ครั้งที่ 4, หน้า 259.


�����������������������������������������������

71

“ในประวัติศาสตร์ ชนชั้นกระฎุมพี เคยมีบทบาทที่ปฏิวัติอย่างยิ่ง ในที่ที่ ชนชัน้ นายทุนยึดการปกครองได้แล้ว ชนชัน้ นี้ ได้ท�ำ ลายบรรดาความสัมพันธ์ แบบศักดินาแบบพ่อค้าและแบบบทเพลงชนบทลงจนหมดสิ้น ชนชั้นนี้ ได้ ทำ�ลายเครื่องพันธนาการศักดินาชนิดต่าง ๆ ซึ่งผูกมัดผู้คนไว้กับผู้เป็นใหญ่ โดยธรรมชาติให้หักสะบั้นอย่างไม่ปรานี ทำ�ให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนด้วย กันไม่มีอะไรอื่นใดอีกเลยนอกจากความสัมพันธ์ ในด้านผลได้ผลเสียอย่าง เปิดเผยล่อนจ้อน และการค้าชำ�ระเงินสดอย่างหน้าเลือดไร้ความปรานี” 45 (เน้นโดยผู้เขียน) เหตุการณ์ทมี่ คี วามสำ�คัญทีส่ ดุ ต่อความเชือ่ เรือ่ งการปฏิวตั ขิ องพวกกระฎุมพีในการ ทำ � ลายการปกครองของพวกศั ก ดิ น าลง ก็ คื อ การปฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศส ค.ศ. 1789 ซึ่ ง นักประวัติศาสตร์สายมาร์กซิสต์​์ชาวฝรั่งเศสที่สำ�คัญคือ จอร์จส์ เลอแฟบ (Georges Lefebvre, 1874–1959) และอาล์แบร์ โซบัว (Albert Soboul, 1914–1982) พากัน อธิบายว่าเป็นการปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพี อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1968 การเล่าเรื่องทางประวัติศาสตร์ ทีใ่ ห้ความสำ�คัญแก่ชนชัน้ กระฎุมพีของการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสก็คอ่ ย ๆ หมดความหมายไป (ผู้เขียนหมายถึงโลกวิชาการของตะวันตก แต่นักวิชาการไทยส่วนใหญ่แม้ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสายมาร์กซิสต์หรือเสรีนิยมก็ตาม ส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นการปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพีอยู่)46 อนึ่งการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในโลกวิชาการตะวันตกน่าจะมีจุดเริ่มต้นจากงาน ของนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษที่ชื่อ อัลเฟรด คอบเบน (Alfred Cobban, 1901– 1968) ซึ่งได้กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “The Myth of the French revolution” ในปี  ค.ศ. 1954  โดยเขาได้ปฏิเสธความเชือ่ ของนักประวัตศิ าสตร์สายมาร์กซิสต์ชาวฝรัง่ เศส ในเรื่องการปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพี เหตุผลหลักของคอบเบนก็คือ บรรดานักปฏิวัติที่ล้มล้างระบอบทั้งหลายต่างก็มี รายได้และมีวิถีชีวิตที่ไม่ได้แตกต่างไปจากบรรดาขุนนางทั้งหลายซึ่งเป็นคนชั้นสูงของ ดูบทที ่ 2 ใน George C. Comninel, Rethinking the French Revolution: Marxism and the Revisionist Challenge (London: Verso, 1987), pp. 28–32. หรือดู คาร์ล มาร์กซ และเฟรเดอริค  45

เองเกลส์, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (ม.ป.ท.: สำ�นักพิมพ์โลกทัศน์, ม.ป.ป.), หน้า 57. 46  ดูความเห็นของเกษียร เตชะพีระ ใน “ทางแพร่งแห่งการปฏิวตั กิ ระฎุมพีไทย,” ประชาไท, http:// prachatai.com/journal/2007/09/14190 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2552).


72

คราสและควินิน

สังคมฝรัง่ เศส อย่างเช่น มีต�ำ แหน่งในสังคม มีรายได้ทมี่ าจากการเก็บค่าเช่า เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้นมันจึงไม่ได้เป็นการปฏิวัติของพวกกระฎุมพี (ที่เป็นนายทุน) แต่กลับ เป็นการปฏิวตั ขิ องชนชัน้ สูงทีท่ รยศต่อชนชัน้ ของตัวเอง ฝรัง่ เศสในตอนนัน้ ยังไม่ได้ มีโรงงานทีท่ นั สมัยเหมือนกับอังกฤษ สภาพทางเศรษฐกิจก่อนการปฏิวตั กิ ไ็ ม่ได้มคี วาม แตกต่างไปจากสภาพในปี ค.ศ. 1650 ยิ่งไปกว่านั้นผลของการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1789 ยังทำ�ให้ฝรัง่ เศสเกิดการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เกิดการเติบโตอย่างทีค่ นส่วนใหญ่ เชื่อกัน แม้แต่การปฏิวัติต่อมาในปี ค.ศ. 1830 เศรษฐกิจของประเทศก็ยังเกิดขึ้นใน โครงสร้างแบบเดิมที่เคยเป็นมาในศตวรรษก่อน47 นอกจากนีภ้ าพของความขัดแย้งทางชนชัน้ ก็ไม่ได้ปรากฏในการรับรูข้ องหนังสือพิมพ์ และสำ�นึกของผูค้ นในช่วงก่อนและหลังการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศส ท่ามกลางความขัดแย้งทาง​ การเมืองทีร่ นุ แรงในตอนนัน้ ไม่มใี ครทีจ่ ะตระหนักว่านีเ่ ป็นความขัดแย้งทางชนชัน้ เนื่องจากภาพลักษณ์ความเป็นเอกภาพทางการเมือง ยังคงเป็นกรอบของความเข้าใจ ที่สำ�คัญของผู้คนในฝรั่งเศสในครึ่งหลังของศตวรรษที่สิบแปด48 หลังจากการปาฐกถาดังกล่าว อีกสิบปีต่อมาคอบเบนได้พิมพ์หนังสือที่ชื่อ “The Social Interpretation of the French Revolution” ในปี ค.ศ. 1964 ซึ่งได้กลายเป็น คัมภีรห์ ลักของพวกนักประวัตศิ าสตร์แนวแก้ไข (Revisionism) ไป แต่ไม่วา่ นักประวัต-ิ ศาสตร์สายแอลโกลแซกซอนที่ได้อิทธิพลจากคอบเบนจะเขียนหนังสือหรือบทความ ไม่เห็นด้วยกับการตีความของนักประวัติศาสตร์สายมาร์กซิสต์ชาวฝรั่งเศสมากมาย เพียงใด มันก็ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบอะไรมากมายกับโลกทางวิชาการในประเทศ ฝรัง่ เศส (ประเทศทีใ่ ห้ก�ำ เนิดการปฏิวตั )ิ จนกระทัง่ ฟรานคัว ฟูเรต (Francois Furet, 1927–1997) นักประวัตศิ าสตร์ชาวฝรัง่ เศสได้เขียนหนังสือในปี ค.ศ. 1978 ทีแ่ ปลเป็น ภาษาอังกฤษได้ว่า “Interpretation the French Revolution” อันเป็นการปฏิเสธการ ตีความของนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสสายมาร์กซิสต์ก่อนหน้านี้ในเรื่องการปฏิวัติ ของพวกกระฎุมพี ฟูเรตนั้นมีการอ้างอิงแนวคิดบางอย่างของคอบเบน แต่เขาก็ให้ ความสำ�คัญเป็นอย่างมากต่อการศึกษาประวัตศิ าสตร์แบบวัฒนธรรม โดยนักประวัต-ิ ศาสตร์สายแอลโกลเซกซันที่ได้อิทธิพลจากฟูเรตก็ได้แก่ ลินน์ ฮันท์ (Lynn Hunt) และ คีทห์ มิเชล เบเกอร์ (Keith Michael Baker) เป็นต้น อันทำ�ให้เกิดการศึกษา Jerrold Seigel, Modernity and Bourgeois Life: Society, Politics and Culture in England, France, and Germany since 1750 (Cambridge: Cambridge University Press, 2012), p. 4. 48  ธเนศ วงศ์ยานนาวา, “เส้นทางความคิดเรื่อง ‘ประชาชน’: จากโรมันโบราณถึง Emmanuel Abbe Sieyes,” รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 32, ฉบับที่ 3 (กันยายน–ธันวาคม 2554), หน้า 218–220. 47


�����������������������������������������������

73

การปฏิวัติฝรั่งเศสที่เน้นไปที่ด้านวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ มากกว่าจะเน้นไปที่ เศรษฐกิจการเมืองเหมือนพวกมาร์กซิสต์ หนังสือของฟูเรตเล่มนี้ได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อวงการประวัติศาสตร์ของ ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1989 ฟูเรต อาจถือเป็นนักประวัติศาสตร์ด้านการปฏิวัติ ฝรัง่ เศสทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ในโลก และหลังจากนัน้ ก็ได้เกิดการถกเถียงกันมากมายต่อความ น่าเชือ่ ถือในเรือ่ งการปฏิวตั กิ ระฎุมพี แม้นกั ประวัตศิ าสตร์ส�ำ นักมาร์กซิสต์อ์ ย่างจอร์จ  ซี. คอร์มิเนล (George C. Comninel) ก็ได้เขียนหนังสือ “Rethinking the French Revolution... Marxism and the Revisionist Challenge” เพื่ออธิบายการตีความเรื่อง กระฎุมพีทผี่ ดิ พลาดของมาร์กซ์ จนในปัจจุบนั เรากล่าวได้วา่ ในแวดวงการวิชาการด้าน การปฏิวตั ฝิ รัง่ เศส ไม่มนี กั ประวัตศิ าสตร์คนใดทีม่ คี วามเชือ่ มัน่ ว่าการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศส เป็นการปฏิวัติกระฎุมพี เหมือนกับคนในรุ่นเลอแฟบ อีกต่อไป49 กระบวนทัศน์กระฎุมพี

นอกจากนักวิชาการที่ทำ�งานด้านประวัติศาสตร์ที่ใช้ข้อสรุปของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ จะไม่ค่อยสนใจต่อคำ�ทักท้วงของนักวรรณกรรมศึกษาแล้ว พวกเขายังยอมรับใน กระบวนทัศน์กระฎุมพี (Bourgeois paradigm) คือความเชื่อว่าในโลกตะวันตกนั้น ชนชั้นกระฎุมพีที่เป็นอิสระจะเป็นผู้โค่นล้นระบบศักดินาลง ตามที่กุลลดาและเก่งกิจ ได้เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า “จริงหรือที่ชนชั้นกระฎุมพีไทยไม่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำ�คัญเลย ตลอดกว่า 200 ปี หากเป็นเช่นนัน้ จริง เราจะอธิบายบทบาทของคณะราษฎร ทีล่ กุ ขึน้ มาท้าทายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การต่อสูข้ องพรรคคอมมิวนิสต์ ดู “Introduction” ของ Gwynne Lewis ใน Alfred Cobban, The Social Interpretation of the French revolution, second edition (Cambridge: Cambridge University Press, 1999). หรือดู Gary Kates (ed.), The French Revolution: Recent Debates and New Controversies, second edition (New York: Routledge, 2006). หรือดู Gwynne Lewis, The French Revolution: Rethinking the Debate (New York: Routledge, 1993). หรือดู T.C.W Blanning, The French Revolution: Class War or Culture Clash?, second edition (Basingstoke, U.K.: Macmillan Press, 1998) 49


74

คราสและควินิน

แห่งประเทศไทย และขบวนการเสื้อแดงในปัจจุบันได้อย่างไร”50 (เน้นโดย ผู้เขียน) “ผู้เขียน (หมายถึงกุลลดาและเก่งกิจ) เห็นพ้องในประเด็นที่นิธิเสนอ ว่า พ่อค้าจีนเป็นชนชั้นกระฎุมพีกลุ่มแรกในสังคมสยาม และลักษณะของ ชนชั้นกระฎุมพีชาวจีนไม่ได้เป็นชนชั้นที่เป็นอิสระจากระบบศักดินา ส่งผล ให้บคุ คลเหล่านี้ ไม่ใช่พลังสำ�คัญในการเปลีย่ นแปลงอำ�นาจรัฐในเวลาต่อมา แต่ สิ่งที่ผู้เขียนให้ความสนใจก็คือ บทบาทของกระฎุมพีในการเปลี่ยนแปลง รูปแบบรัฐ ซึ่งในกรณีของสยาม ก็คือ ชนชั้นกระฎุมพีที่มาจากพ่อค้าไม่ได้ มีบทบาทในการเปลีย่ นแปลงรูปแบบรัฐ แต่ชนชัน้ กระฎุมพีขา้ ราชการ (bureaucratic bourgeoisie) ซึง่ หมายถึง ชนชัน ้ ใหม่ทเี่ กิดขึน้ จากระบบการศึกษา สมัยใหม่ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพื่อตอบสนองความ ต้องการของระบบทุนนิยม ไม่วา่ จะเกิดขึน้ ในรัฐไทยหรือรัฐอาณานิคม ชนชัน้ นี้ทำ�หน้านี้เป็นกลไกในระบบราชการของรัฐสมัยใหม่ ดังนั้น เหตุการณ์การ ปฏิวตั  ิ 2475 จึงถือเป็นการสิน้ สุดของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซงึ่ เป็นช่วงท้าย ของรัฐศักดินา และถือว่าเป็นจุดกำ�เนิดของรัฐประชาชาติแบบทุนนิยม นัยยะ สำ�คัญคือพลังของชนชั้นกระฎุมพีเข้ามาเป็นผู้กำ�หนดนโยบายของรัฐแทน ชนชั้นศักดินา”51 (เน้นโดยผู้เขียน) แม้ว่ากุลลดาและเก่งกิจจะวิจารณ์นิธิได้ลึกซึ้งเพียงใด แต่ทั้งสอง (ซึ่งรวมทั้งนิธิ และฉัตรทิพย์) ก็ล้วนยังมีความเชื่อใน ‘กระบวนทัศน์กระฎุมพี’ ร่วมกันอยู่ ในกรณี ของกุลลดาและเก่งกิจ ทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื ความสนใจของทัง้ สองต่อบทบาทของกระฎุมพี ในการเปลีย่ นแปลงรูปแบบของรัฐ (ซึง่ ทัง้ สองหมายถึง ‘กระฎุมพีขา้ ราชการ’ ใน พ.ศ.  2475) เอลเลน มีกซินส์ วูด (Ellen Meiksins Wood, 1942–2016) นักทฤษฎีการเมือง ชาวอเมริกัน สำ�นักคิดมาร์กซิสต์​์ ได้อธิบายถึง “กระบวนทัศน์กระฎุมพี (Bourgeois paradigm)” อันเป็นแนวคิดทีฝ ี่ งั รากลึกอยูใ่ นวัฒนธรรมตะวันตก52 ซึง่ เป็นตัวกำ�หนด Kullada Kesboonchoo–Mead and Kengkij Kitirianglarp, “Transition Debates and the Thai State: An Observation,” p. 96 51  Ibid., p. 112 52  Ellen Meiksins Wood, “Capitalsim,” in The Ellen Meiksins Wood Reader, edited by Larry Patriquin (Leiden & Boston: Brill, 2012), pp. 32–36. 50


�����������������������������������������������

75

กรอบของการถกเถียงในทางประวัตศิ าสตร์ ไม่วา่ ผูถ้ กเถียงจะอยูฝ่ า่ ยใดก็ตาม กระบวน­ ทัศน์กระฎุมพีนเ้ี กิดจากการใช้องั กฤษเป็นแม่แบบในการกำ�หนดพัฒนาการความก้าวหน้า  (Progress) ทางประวัตศิ าสตร์ทป่ี ระเทศต่าง ๆ จะต้องดำ�เนินตาม กระบวนทัศน์กระฎุมพี นี้สามารถอธิบายได้จากการใช้มโนทัศน์คู่ตรงข้ามที่ง่าย ๆ อย่างเช่น ชนบทกับเมือง, เกษตรกรรมกับการค้าและอุตสาหกรรม, ชุมชนกับปัจเจก, ความไม่มเี หตุผล (อย่าง เช่น ไสยศาสตร์ สิง่ มหัศจรรย์ หรือแม้แต่ศาสนา) กับความมีเหตุผล, ฐานะ (status) กับสัญญา (contract) และที่สำ�คัญที่สุดคือ พวกศักดินากับพวกกระฎุมพี หลักการ ของความเปลีย่ นแปลงระหว่างมโนทัศน์คตู่ รงข้ามเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ของความรู้ เหตุผล หรือเทคโนโลยีของมนุษย์ โดยที่ความก้าวหน้าเหล่านี้ทำ�ให้เกิด รูปแบบของกรอบทัว่ ไปในการผงาดขึน้ หรือการร่วงหล่นของชนชัน้ ต่าง ๆ จนถึงชัยชนะ ของชนชั้นกระฎุมพีที่ครอบครองความรู้ นวัตกรรม และความก้าวหน้า จนในที่สุดก็ ทำ�ให้เกิดระบบทุนนิยมขึ้น สิ่งที่น่าสงสัยต่อกระบวนทัศน์กระฎุมพีนี้ ถึงแม้มันจะมีส่วนของความจริงอยู่บ้าง แต่มนั ก็ไม่ได้มคี วามสอดคล้องกับเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในประวัตศิ าสตร์ ในประเทศ อังกฤษที่เกิดระบบทุนนิยมขึ้น แต่มันก็ไม่ได้เกิดจากชนชั้นกระฎุมพี ในประเทศ ฝรั่งเศส อาจเกิดชัยชนะของพวกกระฎุมพี แต่ชัยชนะดังกล่าวก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ระบบทุนนิยม ไม่มปี ระเทศใดทีร่ ะบบทุนนิยมเป็นผลมาจากการแข่งขันระหว่างความ พ่ายแพ้ของพวกศักดินากับชัยชนะของพวกกระฎุมพี และไม่มที ใี่ ดทีร่ ะบบทุนนิยม จะเกิดจากการแข่งขันระหว่างเมืองที่มีความเป็นพลวัตกับชนบทที่มีความสถิต กระบวนทัศน์กระฎุมพี จึงเป็นการนำ�ประสบการณ์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส มา สวมครอบระบบทุนนิยมในอังกฤษ หรือในทางกลับกันเป็นการตีความประสบการณ์ ทางการเมืองของฝรั่งเศส บนพัฒนาการทางเศรษฐกิจของอังกฤษ อย่างไรก็ตามพัฒนาการทางของระบบทุนนิยมในประเทศอังกฤษไม่ได้มีความ สอดคล้องกับกระบวนทัศน์กระฎุมพี พลวัตของระบบทุนนิยมภาคเกษตรกรรมของ อังกฤษ เกิดจากการกระตือรือร้นของพวกเจ้าของที่ดินในทางการค้า รวมทั้งการ ขาดเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างพวกกระฎุมพีกับพวกศักดินา (ดังที่จะอธิบายต่อไป) ทัง้ หมดนีแ้ สดงให้เห็นถึงรูปแบบอืน่ ในการเปลีย่ นแปลงทางประวัตศิ าสตร์ เราอาจเห็น ได้จากงานของจอห์น ล็อค (John Locke) ซึง่ จัดได้วา่ เป็นนักปรัชญาของพวกกระฎุมพี โดยที่ล็อคมองความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในแง่มุมอื่น ความแตกต่างระหว่างระบบเก่า และระบบใหม่ ในสายตาของล็อค แน่นอนว่าเกิดจากความก้าวหน้าของความรู้ แต่ มันไม่ได้อยู่ในรูปแบบของความแตกต่างทางชนชั้นระหว่างพวกศักดินากับพวก กระฎุมพี หรือมาจากการเผชิญหน้ากันระหว่างเมืองและชนบท หรือระหว่างภาค


76

คราสและควินิน

เกษตรกรรมและการค้า แต่ล็อคมองความแตกต่างนี้ว่าเกิดมาจากสิ่งที่ก่อให้เกิด ผลผลิต และสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต รวมทั้งความแตกต่างระหว่างทรัพย์สินที่เกิด จากการเช่าที่มีความสถิต กับความก้าวหน้าทางเกษตรกรรม เกณฑ์ที่ล็อคใช้มองนี้ สามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเท่าเทียมกันต่อพวกเจ้าของที่ดิน คนที่อาศัยอยู่ใน เมือง พวกศักดินาและพวกกระฎุมพี นอกจากนี้ เอลเลน มีกซินส์ วูด ยังได้อา้ งอิงงานของนักประวัตศิ าสตร์ชาวอังกฤษ คือ โรเบิร์ต เบรนเนอร์ (Robert Brenner)53 โดยเสนอว่าทุนนิยมในอังกฤษนั้น มี จุดเริ่มต้นมาจากภาคเกษตรกรรม54 อันเป็นข้อเสนอที่น่าประหลาดใจมาก อังกฤษ ในศตวรรษที่ 19 เป็นสังคมอุตสาหกรรมแห่งแรก แต่การโลดแล่นของทุนนิยมใน ศตวรรษที ่ 18 คือสิง่ ทีท่ �ำ ให้สงั คมอุตสาหกรรมในศตวรรษที ่ 19 เกิดขึน้ ได้ อนึง่ มักมี ความเชือ่ ว่าทุนนิยมอังกฤษในศตวรรษที ่ 18 น่าจะเกิดมาจากการเติบโตของทุนนิยม แบบพ่อค้าวาณิชย์ที่เกิดก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะในรูปแบบของบริษัทอีสต์อินเดีย อย่างไรก็ตามทุนนิยมแบบพ่อค้าวาณิชย์ไม่ได้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการผลิตแบบ ทุนนิยม แต่อปุ สงค์ภายในต่างหากทีข่ บั เคลือ่ นการเติบโตของการผลิตในศตวรรษ ที ่ 18 ไม่ใช่อปุ สงค์จากต่างประเทศ โดยเราสามารถโยงอุปสงค์ภายในนีไ้ ด้ไกลถึงการ เติบโตของการผลิต การบริโภค และตลาดในอังกฤษในช่วงศตวรรษที ่ 16 ซึง่ การผลิต ในช่วงนี้ยังมีขนาดเล็ก และทำ�กันในอาคารห้างร้านหรือในครัวเรือน ไม่ใช่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ แต่ถึงกระนั้นก็เป็นช่วงที่มีการขยายตัวอย่างมาก ที่สำ�คัญก็คือการ เปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ของสังคมในชนบท ที่ความสัมพันธ์แบบตลาดได้ เข้ามาแทนที่ความสัมพันธ์แบบศักดินา เจ้าขุนมูลนายกลายเป็นเจ้าของที่ดิน โดย ยังชีพด้วยค่าเช่าที่ดินซึ่งจ่ายโดยชาวนาผู้เช่า ขณะที่ชาวนาก็แข่งขันในตลาดสิทธิใน การเช่าทีด่ นิ ทีด่ นิ ถูกใช้ประโยชน์โดยแรงงานรับจ้างมากขึน้ และกลายเป็นทรัพย์สนิ ที่สามารถซื้อขายกันได้ เนื่องจากศักดินาในอังกฤษลงหลักปักฐานไม่มั่นคงเท่าที่อื่น ในสังคมศักดินา อำ�นาจตุลาการและการทหารจะถูกกระจายไปให้เจ้าขุนมูลนายในแต่ละท้องถิ่น พวก เขาใช้อ�ำ นาจในการกวาดต้อนชาวไร่ชาวนามาอยูใ่ นสังกัด และใช้ประโยชน์จากแรงงาน Robert Brenner, “Agarian Class Structure and Economic Development, in Pre– industrial Europe,” Past & Present No. 70 (Feb., 1976), pp. 30–75. 54  Ellen Meiksins Wood, The Origin of Capitalism (New York: Monthly Review Press, 53

1999). โดยในส่วนนีท้ งั้ หมดผมเอามาจาก เจมส์ ฟุลเชอร์, ทุนนิยม: ความรูฉ้ บับพกพา, แปลโดย ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย (กรุงเทพฯ: Openworlds, 2554), หน้า 54–76.


�����������������������������������������������

77

ของคนเหล่านี้ แต่อังกฤษเป็นสังคมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ค่อนข้างเป็นเอกภาพ มีระเบียบและเหนียวแน่น อังกฤษได้กลายเป็นรัฐในยุโรปทีเ่ ป็นศักดินาน้อยทีส่ ดุ เป็น เอกภาพและรวมศูนย์มากทีส่ ดุ ชนชัน้ ปกครองของอังกฤษจึงไม่สามารถใช้ก�ำ ลังทหาร ในการขูดรีดเอาส่วนเกินจากชาวนาชาวไร่ได้หนักหน่วงเท่ากับชนชั้นนำ�ในยุโรปภาค พืน้ ทวีปทำ�กัน ชนชัน้ นำ�ในอังกฤษจึงพึง่ พากลไกทางเศรษฐกิจทีม่ าจากการเป็นเจ้าของ ที่ดิน ค่าเช่า และแรงงานรับจ้าง จนกลายมาเป็นพื้นฐานให้เกิดพัฒนาการของระบบ ทุนนิยมต่อไป อนึ่งเมืองมีบทบาทในการพัฒนาของทุนนิยมในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นเมืองในอิตาลี บรูกส์ (Bruges) อันต์เวิร์ป อัมสเตอร์ดัม และลอนดอน อย่างไรก็ตามการบอกว่า เมืองเป็นคำ�อธิบายหนึง่ เดียวของกำ�เนิดทุนนิยมในยุโรปมีปญ ั หาหลายประการ ใน ช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 เมืองมีความเป็นอิสระมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในหลายศตวรรษ ถัดมา เมืองก็สญ ู เสียอิสรภาพในการปกครองตนเอง ช่วงแรกก็เสียให้กบั ชนชัน้ ศักดินา ที่ฟื้นขึ้นมาใหม่ และต่อมาก็เสียให้กับรัฐชาติ นอกจากนี้การผลิตแบบทุนนิยมยัง พัฒนาอย่างเข้มแข็งในชนบทมากกว่าในเมือง เนื่องจากสมาพันธ์วิชาชีพในเมืองขัด ขวางไม่ให้นายทุนแสวงหาวิธกี ารผลิตใหม่และแรงงานราคาถูก อย่างน้อยในอังกฤษที่ การเปลีย่ นแปลงในภาคกสิกรรมมีสว่ นสำ�คัญต่อการเติบโตของการผลิตแบบทุนนิยม จากตัวอย่างของอังกฤษที่อธิบายมา จึงเป็นไปได้ที่ระบบทุนนิยมจะเกิดมาจาก ระบบศักดินา อนึ่งเป็นความเชื่อโดยทั่วไปว่าสังคมศักดินาเป็นบ่อเกิดของกระแส อนุรักษนิยมที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทุนนิยม อย่างไรก็ตามสังคมศักดินาก็มี ความยืดหยุ่นและมีพลวัต (อย่างเช่นในอังกฤษหรือยุโรปตะวันตก แต่ไม่ใช่ยุโรป ตะวันออก) ลักษณะที่สำ�คัญของทุนนิยม อย่างเช่น ตลาดและแรงงานรับจ้าง สามารถเกิดขึน้ ในสังคมศักดินาได้งา่ ยกว่าสังคมทีใ่ ช้แรงงานทาส ระบบศักดินาทำ�ให้ ผูผ้ ลิตมีอสิ รภาพในระดับหนึง่ เพราะพวกเขาแตกต่างจากทาสตรงทีม่ พี นั ธะหน้าทีต่ อ่ เจ้าผูค้ รองทีด่ นิ ในขณะทีไ่ พร่สามารถหาเงินจากการขายแรงงานหรือขายการผลิตใน ตลาด ส่วนเจ้าผู้ครองที่ดินก็กระตุ้นการค้าและการผลิตผ่านการใช้จ่ายรายได้ที่ได้มา จากการนั่งกินนอนกินไปกับผลิตภัณฑ์ที่หรูหราฟุ่มเฟือย ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การปฏิวัติฝรั่งเศสน่าจะจัดเป็นการปฏิวัติของชนชั้นสูงที่ ทรยศต่อชนชั้นของตัวเอง ไม่ใช่การปฏิวัติของพวกกระฎุมพี อย่างไรก็ตามภายหลัง เหตุการณ์การปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสไม่นาน นักประวัตศิ าสตร์ชาวฝรัง่ เศสทีม่ หี วั เสรีนยิ มอย่าง เช่น โอกุสแต็ง ตีแยรี (Augustin Thirrey, 1795–1856) และ ฟร็องซัว กีโซ (Francois Guizot, 1787–1874) กลับมองเหตุการณ์สงครามกลางเมือง (civil war) ของอังกฤษ ผ่านเลนส์ของการปฏิวัติฝรั่งเศส ว่าเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างพวกกระฎุมพี


78

คราสและควินิน

หัวก้าวหน้ากับพวกชนชั้นศักดินาที่ล้าหลัง มาร์กซ์ซึ่งได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจาก งานของนักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในครึ่งแรกของศตวรรษที่สิบเก้าดังกล่าว จึงได้ อธิบายเหตุการณ์การปฏิวตั ใิ นอังกฤษและฝรัง่ เศสว่าเป็นการปฏิวตั ขิ องพวกกระฎุมพี ประกอบกับคำ�อธิบายแบบวัตถุนยิ มเชิงประวัตศิ าสตร์ (Historical Materialism) อัน ทรงอิทธิพลของมาร์กซ์ ทำ�ให้เกิดเป็นกระบวนทัศน์กระฎุมพีขึ้น55 จะเห็นว่าคำ�อธิบายของนิธทิ วี่ า่ การปฏิวตั ใิ น พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวตั ขิ องพวก กระฎุมพี อันทำ�ให้เกิดการจัดสรรโครงสร้างของอำ�นาจในหมูก่ ระฎุมพีใหม่ดว้ ยกัน ใหม่ นับเป็นความสืบเนื่องในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานอันมองย้อนหลังไปได้ถึงต้น รัตนโกสินทร์ คำ�อธิบายดังกล่าวมีฐานคิดมาจากกระบวนทัศน์กระฎุมพีนั้นเอง อย่างไรก็ตามทีเ่ อลเลน มีกซินส์ วูด ได้วจิ ารณ์ไว้กล่าวคือ กระบวนทัศน์นไี้ ม่ได้มคี วาม สอดคล้องกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือประเทศใด ๆ ในโลก นอกจากนี้จากตัวอย่างของอังกฤษ แสดงให้เห็นว่าระบบ ทุนนิยมสามารถเกิดได้ในระบบศักดินา ระบบศักดินาจึงไม่ได้มีความหยุดนิ่ง แต่ สามารถปรับตัวได้อย่างมีพลวัต เมื่อเปรียบเทียบกับไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ซึ่ง ถือได้วา่ เป็นรัฐแบบศักดินา ทีย่ งั ไม่ใช่รฐั แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์56 ผูเ้ ขียนจึงเห็น ว่าไม่มีความจำ�เป็นใด ๆ ที่ต้องนำ� “ชนชั้นกระฎุมพี” หรือแม้กระทั่ง “โลกทัศน์ กระฎุมพี” ตามคำ�อธิบายของนิธิ มาเป็นปัจจัยในการอธิบายสภาพทางเศรษฐกิจ สังคมของไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

Robert Brenner, Bourgeois revolution and transition to capitalism, in The First Modern Society: Essays in English History in Honour of Lawrence Stone, edited by A.L. Beier et al. (Cambridge: Cambridge University Press, 1989), pp. 271–303. 56  ดูบทแรก “The Siamese State, Society and the World–Economies before Absolutism” ใน Kullada Kesboonchoo Mead, The Rise and Decline of Thai Absolutism ( London: Routledge Curzon, 2004), pp. 10–37. 55

ดู


�����������������������������������������������

79

ชนชั้นกระฎุมพีกับบทบาททางการเมือง

มักมีความเชื่อโดยทั่วไปว่าพวกกระฎุมพีมีความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism) และเป็ น ผู้ นิ ย มระบบการเมื อ งแบบประชาธิ ป ไตย ( Democracy) พวก กระฎุมพีจงึ มีบทบาทสำ�คัญทางการเมืองในการล้มล้างระบบศักดินาและการปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลง (นีค่ อื ทัศนคติทนี่ ธิ แิ ละฉัตรทิพย์มรี ว่ มกัน ถึงแม้นธิ ิ จะค้นพบพวกกระฎุมพีก่อนการเข้ามาของสนธิสัญญาเบาว์ริง ในขณะที่ฉัตรทิพย์จะ ค้นไม่พบก็ตาม) แม้แต่กุลลดาและเก่งกิจ ก็ยังเรียกกลุ่มข้าราชการที่ทำ�ให้เกิดการ ปฏิวัติ 2475 ของไทยว่าพวก “ข้าราชการกระฎุมพี”57 แสดงให้เห็นว่า “กระฎุมพี” มักมีความหมายประหวัดไปถึงผู้ที่มีความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยม หรือเป็นผู้มี ความนิยมในการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามการวิจัยทางประวัติศาสตร์ของตะวันตกในรอบห้าสิบปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นความเคลือบแคลงสงสัยต่อความเชือ่ มัน่ ต่อบทบาททางการเมืองของชนชัน้ กระฎุมพีดงั กล่าว แน่นอนทีก่ ระฎุมพีในฐานะทีเ่ ป็นปัจเจกย่อมมีอ�ำ นาจหรืออิทธิพล บางอย่างอันมาจากความมั่งคั่งในฐานะของเขา แต่ความพยายามในการหาความ สัมพันธ์ระหว่างรูปแบบเฉพาะทางการปกครองประเทศ (ไม่วา่ จะเป็นแบบประชาธิปไตย หรือแบบอืน่ ) กับความสนใจ (Interest) ของพวกกระฎุมพีในฐานะทีเ่ ป็น ชนชั้น โดยไม่สนใจความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นกระฎุมพีกับชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม เป็นความพยายามที่ประสบความยากลำ�บากมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นที่น่าสังเกตว่ารัฐบาลในยุโรปในศตวรรษที่ 19 (โดยที่อีริค ฮอบสบอม (Eric Hobswarm) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษเรียกช่วง ค.ศ. 1848–1875 ว่าเป็น “ยุค แห่งทุนนิยม”) ทีส่ นับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายขอบเขตทางการศึกษา และออกกฎหมายคุม้ ครองสิทธิในทรัพย์สนิ นัน้ อันเป็นยุคทีพ่ วกกระฎุมพีมคี วามเจริญ รุ่งเรืองที่สุดนั้น นโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มีลักษณะของเสรีนิยม ไม่ได้มาจาก บทบาททางการเมืองของพวกกระฎุมพี ในประเทศฝรัง่ เศสภายหลังการปฏิวตั  ค.ศ. 1848 สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ไม่ใช่รฐั บาลของพวก กระฎุมพี แต่เป็นรัฐบาลแบบอำ�นาจนิยมของสาธารณะที่สอง (Second republic) ที่ มีนโปเลียนทีส่ ามเป็นประธานาธิบดีคนแรก นโปเลียนทีส่ ามมีนโยบายทีแ่ ข็งกร้าวต่อ Kullada Kesboonchoo–Mead and Kengkij Kitirianglarp, “Transition Debates and the Thai State: An Observation,” p. 112 57


80

คราสและควินิน

คูแ่ ข่งทางการเมืองของเขา โดยได้จบั คนเหล่านีเ้ ข้าคุกหรือไม่กเ็ นรเทศออกนอกประเทศ (วิกเตอร์ ฮูโก (Victor Hugo) ก็อยูใ่ นกลุม่ ทีถ่ กู เนรเทศด้วย) ในขณะเดียวกันนโปเลียน ทีส่ ามก็ได้สนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของระบบรถไฟในประเทศ มีการสร้างเมืองปารีส ขึน้ ใหม่ตามการออกแบบทีท่ นั สมัยของบารอน เฮาส์มนั น์ (Baron Haussmann) มีการ ลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม แต่พวกกระฎุมพีกลับต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เนื่องจากกังวลว่าผลประโยชน์ของพวกเขาจะได้รับผลกระทบ และรัฐจะได้รับอำ�นาจ มากจนเกินไปจากนโยบายเหล่านี58้ ที่อังกฤษได้เกิดการออกกฎหมาย The Reform Bill ในปี 1832 เพื่อขยายสิทธิ ในการเลือกตัง้ ไปสูค่ นชัน้ กลาง อย่างไรก็ตามผูผ้ ลักดันให้เกิดกฎหมายดังกล่าว ไม่ใช่ พวกกระฎุมพี แต่เป็นพวกวิกส์ (Whig) ซึ่งเป็นกลุ่มขุนนางชั้นสูง ที่ครองอำ�นาจ ทางการเมืองของอังกฤษในตลอดศตวรรษที่ 19 ในเยอรมนี บิสมาร์ค (Bismarck) เสนาบดีเหล็กได้รวมเยอรมันเป็นประเทศได้ส�ำ เร็จในปี 1871 หลังจากการรวมประเทศ เยอรมันได้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีการสร้างรัฐสวัสดิการขึ้นเป็น แห่งแรกของโลก มีการสร้างระบบกฎหมายที่เป็นรากฐานต่อประชาสังคมสมัยใหม่ ก่อนทีจ่ ะล่มสลายลงภายหลังสงครามโลกครัง้ ที ่ 1 ความสำ�เร็จของบิสมาร์คเกิดมาจาก การใช้ก�ำ ลังทหาร และการหาเสียงสนับสนุนทางการเมืองในช่วง 1862–1871 ทีส่ ามารถ เอาชนะนักการเมืองพวกกระฎุมพี (Burger) และได้รบั การสนับสนุนจากพวกจุงเกอร์ (Junger) ซึง่ เป็นกลุม่ ขุนนางทีม่ รี ายได้หลักมาจากค่าเช่าทีด่ นิ 59 จะเห็นว่านโยบายแบบ เสรีนิยมในอังกฤษและเยอรมนีในช่วงศตวรรษที่ 19 เกิดมาจากบทบาทของขุนนาง หรือชนชั้นสูง มากกว่าจะมาจากพวกกระฎุมพี ในฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน ในเวลาต่อมา อำ�นาจของพวกขุนนางจะค่อย ๆ  ลดลง แต่มนั ก็เกิดขึน้ พร้อมกันกับการเติบโตของชนชัน้ กรรมาชีพ อิทธิพลทางการเมือง ของพวกกสิกร พวกนายทุนน้อย (petit bourgeosie) ทีช่ นชัน้ กระฎุมพีจะต้องประนีประนอมด้วย โดยกาเร็ท สเตดแมน โจนส์ (Gareth Stedman Jones) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมนิยม (socialism) ได้อธิบายตอนหนึ่งว่า

David Pinkney, The French Revolution of 1830 (Princeton: Princeton Univercity Press, Jerrold Seigel, Modernity and Bourgeois Life: Society, Politics and Culture in England, France, and Germany since 1750 (New York: Cambridge University Press, 2002), p. 4. 59  Jerrold Seigel, Modernity and Bourgeois Life..., pp. 4–5. 58

1972) อ้างถึงใน


�����������������������������������������������

81

“ความก้าวหน้าอันเหลือ่ มลาํ้ ของอุตสาหกรรมได้สร้างการเผชิญหน้าทางชนชัน้ ขึน้ มาสารพัดระนาบ โดยทัว่ ไป พัฒนาการของทุนนิยมอุตสาหกรรมยิง่ มีมาก ขึ้นเพียงใด มันก็ยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพวกกระฎุมพีรายใหญ่ กับ ผู้ผลิตรายเล็กและพวกพ่อค้าคนกลางจำ�นวนมาก ซึ่งระบบมันพัฒนาขึ้นมา อย่างไรก็ตามหากอุตสาหกรรมพัฒนาไปน้อยและพวกกระฎุมพียังไม่พัฒนา ไปมาก ความแตกต่างระหว่างพวก ‘กระฎุมพี’ กับ ‘กระฎุมพีนอ้ ย’ ก็จะมีนอ้ ย และความแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวของประชาชนก็จะมีมาก”60 ยิ่งระบบอุตสาหกรรมแบบทุนนิยมเติบโตขึ้น ช่องว่างระหว่างพวกกระฎุมพีกับ ชนชั้นต่าง ๆ ก็เพิ่มมากขึ้นพวกกระฎุมพีจึงต้องเผชิญหน้ากับการท้าทายของพวก นายทุนน้อยและชนชั้นกรรมาชีพซึ่งมีจำ�นวนมากกว่า ในขณะที่ระบบการปกครอง แบบประชาธิปไตยก็มีการเติบโตขึ้น สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งจึงได้กระจายไปสู่ ชัน้ กรรมาชีพด้วย ทำ�ให้พวกนักการเมืองทีม่ าจากชนชัน้ กระฎุมพีตอ้ งประนีประนอม กับชนชั้นกรรมาชีพเหล่านี้เพื่อให้ ได้เสียงสนับสนุนจากการเลือกตั้ง แต่พวกเขาก็ไม่ ต้องการเสียผลประโยชน์ของพวกตนที่ได้มาจากการขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน (Surplus value) ในระบบการผลิตจากชนชั้นกรรมาชีพ (ถ้าเราใช้ภาษาแบบมาร์กซ์) เมื่อมอง ในแง่นี้ มันจึงไม่มคี วามจำ�เป็นของทีพ่ วกกระฎุมพีจะมีความนิยมในการปกครองแบบ ประชาธิปไตย ที่ทำ�ให้คนชั้นล่างมีสิทธิในการเลือกตั้งเท่าเทียมกับพวกเขา จ็อฟ เอลเล (Geoff Elley) นักประวัตศิ าสตร์ชาวอังกฤษผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเยอรมนี ได้เขียนตอนหนึ่งว่า

60

“For

the uneven progress of industrialzation produced a whole spectrum of differing forms of class confrontation. In general, the more industrial capitalism developed the stronger was the economic power of the grande bourgeosie in relation to the masses of small producers and dealers from which it had sprung, and the greater the distance between their respective aims. Conversely, the less developed the bourgeosie, the smaller the gulf between ‘bourgeosie’ and ‘petit bourgeosie’ and the greater the preponderance and cohesion of the popular movement.” G.S. Jones, “Society and Politics at the Beginning of the World Economy: Reviewing: Eric Hobsbawm, The Age of Capital 1848–1875,” Cambridge Journal of Economics vol. 1, no. 1 (March 1977), p. 84.


82

คราสและควินิน

“การทีก่ ลุม่ เสรีนยิ มแบบต่าง ๆ ปรากฏตัวขึน้ ในพืน้ ทีห่ รือประเทศหนึง่  ๆ ณ จุด เวลาหนึ่ง มันขึ้นอยู่กับดุลยภาพของพลังทางการเมืองในเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ทล่ี กั ษณะเฉพาะ เช่นเดียวกับทีม่ นั ขึน้ อยูก่ บั รากฐานของพัฒนาการทาง เศรษฐกิจ (ซึง่ มักไม่เท่ากัน) หากมองในมุมนี้ เราจะเห็นว่ามันมีความไม่แน่นอน ในหลายระดับในการก่อตัวของการเมืองแบบเสรีนิยม ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่อง น่ากังขาถ้าเราจะขืนสรุปอย่างทือ่  ๆ และสัน้  ๆ แม้มนั จะมีความสะดวกเพียงใด ว่า ‘เสรีนิยม’ มีลักษณะของ ‘กระฎุมพี’ เสมอไป”61 (เน้นโดยผู้เขียน) เนื่องจากนโยบายแบบเสรีนิยม เกิดมาจากสมดุลของอำ�นาจในประเทศนั้น ๆ ใน ช่วงประวัติศาสตร์หนึ่ง ๆ นโยบายดังกล่าวไม่ได้เกิดจากอำ�นาจทางการเมืองของฝ่ายกระฎุมพีแต่เพียงอย่าง เดียว และยังมีตัวแปรเฉพาะหน้า (contingency) หลายประการที่มีผลกระทบต่อ การเมืองแบบเสรีนยิ ม ทำ�ให้เราไม่สามารถเหมารวมได้วา่ “ลัทธิเสรีนยิ ม” เป็นสิง่ เดียวกับความเป็น “กระฎุมพี” โครงสร้างของหนังสือ

สิ่งที่ผู้เขียนจะทำ�ต่อไปในหนังสือเล่มนี้ คือการอธิบายให้เห็นว่า “โลกทัศน์แบบ กระฎุมพี” เป็นเพียงแนวคิดหรือสมมติฐานทีไ่ ม่มคี วามสอดคล้องกับความเชือ่ ของ คนไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อาจกล่าวสั้น ๆ ได้ว่า โลกทัศน์ดังกล่าวไม่มีอยู่จริง ซึง่ ถ้าผูเ้ ขียนมีความเข้าใจในเรือ่ งนีถ้ กู ต้อง ก็ตคี วามได้วา่ ชนชัน้ กระฎุมพีไทยในสมัย “Exactly which groups liberalism may have presented in a particular region or country at a particular point of time depended very much on the balance of political forces in the particular historical conjuncture, as well as on the fundamental (an uneven) movements of the economy. In view of this complexity–the several levels of contingency in the formation of liberal politics– it is doubtful whether liberalism can reasonbly be regarded –however shorthand or convenient the formulation–as straightwordly ‘bourgeois’ at all. David Blackbourn and Geoff Elley, The Peculiarities of German History: Bourgeois Society and Politics in Nineteenth–Century Germany (Oxford: Oxford University Press, 1984), p. 77. 61


�����������������������������������������������

83

ต้นรัตนโกสินทร์ตามคำ�อธิบายของนิธิ พลอยไม่มีอยู่จริงตามไปด้วย คริส เบเกอร์ ได้ให้ความเห็นว่า แกนหลักทีเ่ ชือ่ มความเรียงทัง้ หมดใน ‘ปากไก่ และใบเรือ’ ไม่ใช่การศึกษาประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจ แต่เป็นการศึกษาประวัตศิ าสตร์ ภูมิปัญญา (Intellectual history) ของสมัยต้นรัตนโกสินทร์1 ความเห็นของคริสข้างต้นมีความสอดคล้องกับของทวีศักดิ์ เผือกสม ที่เสนอว่า หัวใจของปากไก่และใบเรือ อยูท่ กี่ ารเสนอภาพโลกทัศน์และจิตสำ�นึกแบบกระฎุมพี ที่ ให้ความสำ�คัญกับความเป็นเหตุเป็นผล และความจริงเชิงประจักษ์ บวกกับความเป็น มนุษยนิยม ทีป่ รากฏอยูใ่ นงานวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ อันแตกต่างจากจิตสำ�นึก และโลกทัศน์ในวรรณกรรมของสังคมปลายอยุธยา2 ในขณะทีส่ มภพ มานะรังสรรค์ ได้เขียนบทความ “การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ ไทยในช่วงต้นศตวรรษที่ 19” เพื่อวิจารณ์คำ�อธิบายเรื่องการขยายตัวทางการค้าของ นิธิ โดยสมภพยอมรับข้อเสนอของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ในเรื่องการขยายตัวของ เศรษฐกิจตลาดในต้นศตวรรษที ่ 19 ก่อนหน้าสนธิสญ ั ญาเบาว์รงิ่ เพียงแต่สมภพเห็น ว่าเศรษฐกิจตลาดที่ขยายตัวขึ้นนี้ ไม่มีความเป็นกอบเป็นกำ� คือไม่ได้มีความ เข้มแข็งและขอบเขตของความเปลี่ยนแปลงนั้นมีไม่มากนัก3 อย่างไรก็ตามนิธไิ ด้เขียนบทความตอบกลับว่า เขาไม่ได้มคี วามเห็นทีแ่ ตกต่างจาก สมภพในเรื่องขีดจำ�กัดของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ นิธิอธิบายว่าความสนใจ ที่แท้จริงของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ ไม่ได้อยู่ที่การชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจของต้นรัตนโกสินทร์ แต่ตอ้ งการชีใ้ ห้เห็นถึงการเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรม ของชนชัน้ นำ�ของสังคมไทยในเวลานัน้ ซึง่ สังเกตได้ชดั จากหลักฐานด้านวรรณกรรม4 คำ�อธิบายของนิธิแสดงให้เห็นว่าความสนใจของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ อยู่ที่การอธิบาย ถึงความเปลี่ยนแปลงทางโลกทัศน์ (หรือภูมิปัญญา) มากกว่าความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ คริส เบเกอร์, “ประวัติศาสตร์หลัง 6 ตุลา: การตอบรับของสังคมไทยต่อ ปากไก่และใบเรือของ นิธิ เอียวศรีวงศ์,” หน้า 160. 2  ทวีศักดิ์ เผือกสม, “การปรับตัวทางความรู้ ความจริง และอำ�นาจของชนชั้นสยาม พ.ศ. 2325– 2411,” (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540), หน้า 22–26. 3  สมภพ มานะรังสรรค์, “การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงต้นศตวรรษที ่ 19,” เอเชียปริทศั น์ ปีที่ 10 (มกราคม–เมษายน 2532), หน้า 96–107. 4  นิธิ เอียวศรีวงศ์, “ปฏิกริยาจาก นิธิ เอียวศรีวงศ์,” เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 10 (มกราคม–เมษายน 2532), หน้า 107–108. 1


84

คราสและควินิน

ด้วยความเข้าใจเบื้องต้นดังกล่าว หนังสือเล่มนี้จะเน้นหนักไปที่การวิจารณ์มโน ทัศน์ทางภูมปิ ญ ั ญาทีน่ ธิ ใิ ช้ ไม่วา่ จะเป็น “ความเป็นเหตุเป็นผล” และ “ความจริง เชิงประจักษ์” รวมทั้ง “ความเป็นมนุษยนิยม” ในบททีส่ อง ผูเ้ ขียนต้องการกล่าวถึงร่องรอยทางความคิดของมักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมนี ที่มีต่อแนวคิดเรื่อง “ความเป็นเหตุเป็นผล” ที่ นิธิใช้ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ และจากการเปรียบเทียบนิธิกับเวเบอร์จะทำ�ให้เราเห็น ได้วา่ นิธเิ ชือ่ ว่าความคิดแบบ “เหตุผลนิยม (หรือสัจนิยม)” ของชนชัน้ นำ�ไทย (ตาม ที่สังเกตได้จากลักษณะของวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาได้เอง อย่างอัตโนมัติจากการที่ชนชั้นนำ�ของไทยเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แบบส่งออกที่ขยายตัวในช่วงนั้น ในขณะที่เวเบอร์เชื่อว่าการที่ผู้คนในตะวันตกเน้น ความสนใจมายังกิจกรรมทางโลก รวมทั้งปฏิเสธความสำ�คัญของเวทมนตร์หรือสิ่ง เหนือธรรมชาติต่างๆนั้น เกิดมาจากมาจากคำ�สอนของลัทธิคาลวินอันเป็นผลมาจาก การปฏิรปู ทางศาสนา (Reformation) ทีเ่ กิดในทวีปยุโรปช่วงศตวรรษที ่ 16 โดยนิธจิ ะ ไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่าคำ�สอนชุดใดในพุทธศาสนาทีท่ �ำ ให้ชนชัน้ นำ�ของไทยในสมัย ต้นรัตนโกสินทร์มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดหรือโลกทัศน์ไปเป็นแบบ “เหตุผล­นิยม (หรือสัจนิยม)” อนึ่งการที่ผู้เขียนเปรียบเทียบนิธิกับเวเบอร์นั้น ไม่ได้มีเจตนาลดคุณค่าของนิธิ หรือปฏิเสธคุณูปการที่ ‘ปากไก่และใบเรือ’ มีต่อไทยศึกษา แต่การกล่าวถึงแนวคิด ของเวเบอร์ จะทำ�ให้ผเู้ ขียนสามารถใช้เป็นฐานในการวิจารณ์แนวคิด “ความเป็นเหตุ­ เป็นผล” ในบททีส่ ามต่อไปได้ โดยผูเ้ ขียนต้องการชีใ้ ห้เห็นว่า “ความเป็นเหตุ­เป็นผล” ไม่ได้อยู่ในด้านตรงกันข้ามกับ “ไสยศาสตร์” อย่างที่นิธิเสนอ ในบทที่สี่ จะเป็นการอธิบายลักษณะของการรับวิทยาการตะวันตกของชนชั้นนำ� ของไทย บทนี้ผู้เขียนต้องการแย้งนิธิที่เสนอว่า การรับวิทยาการตะวันตกของไทย ทำ�ให้เกิดการสั่นคลอนพื้นฐานอารยธรรมไทยอย่างรุนแรง โดยผู้เขียนมองว่าการรับ วิทยาการตะวันตกของไทย มีลักษณะของการเลือกรับในสิ่งที่ไม่ขัดแย้งกับความเชื่อ พื้นฐานของไทย บทที่ห้า ผู้เขียนเสนอการตีความหนังสือ “นางนพมาศ” ที่มีความแตกต่างจาก การตีความของนิธิ โดยการตีความของผู้เขียนตั้งอยู่บนคติความเชื่อดั้งเดิมของไทย นั่นคือคัมภีร์ไตรภูมิและแนวคิดพระเจ้าจักรพรรดิราช อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้ ต้องการเสนอว่าการตีความของผู้เขียนมีความถูกต้องอย่างสมบูรณ์ โดยผู้เขียนจะ กล่าวทิ้งท้ายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการตีความวรรณกรรมเพื่อหาความจริงจากโลก ภายนอก


�����������������������������������������������

85

บทที่หก เป็นการวิจารณ์แนวคิดเรื่องสัจนิยมในวรรณกรรมไทย (โดยเฉพาะงาน ของสุนทรภู่) ผู้เขียนต้องการเสนอว่า เราไม่ควรอ่านงานของสุนทรภู่ (โดยเฉพาะ นิราศ) เพื่อมุ่งความสำ�คัญไปที่ข้อเท็จจริงแต่เพียงอย่างเดียว แต่เราต้องคำ�นึงถึง เนือ้ หาทีเ่ กิดจากจินตนาการของผูแ้ ต่ง รวมไปถึงขนบธรรมเนียมในการแต่งวรรณกรรม ของคนไทยในสมัยนั้น บทที่เจ็ด เป็นการชี้ให้เห็นว่า แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง ได้รบั การยอมรับจากนักประวัตศิ าสตร์สว่ นใหญ่วา่ เป็นนักปราชญ์และรัฐบุรษุ ผูเ้ ริม่ ต้น การเปลีย่ นแปลงครัง้ ยิง่ ใหญ่ให้กบั ประเทศไทยไปสูค่ วามทันสมัย แต่ถา้ เราศึกษาพระ­ ราชประวัติของพระองค์อย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยไม่พยายามปฏิเสธ (หรือลดความ สำ�คัญ) ต่อการกระทำ�ที่มีลักษณะไม่เป็นวิทยาศาสตร์ของพระองค์ท่าน (คือการไม่ ยึดติดกับกรอบโลกทัศน์แบบกระฎุมพี ทีเ่ น้นความมีเหตุมผี ลและความรูเ้ ชิงประจักษ์) เราก็จะพบว่าโลกทัศน์ของพระองค์ ไม่ได้มคี วามเป็นเหตุเป็นผลแบบตะวันตก (หรือ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์) ที่ชัดเจน ตามคำ�อธิบายของนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ บทที่แปด เป็นการปฏิเสธการตีความของ ‘ปากไก่และใบเรือ’ เรื่อง “ความเป็น มนุษยนิยม” และ “เหตุผลนิยม” ในธรรมยุตกิ นิกายทีถ่ กู สถาปนาโดยพระวชิรญาณ หรือเจ้าฟ้ามงกุฎ โดยผูเ้ ขียนต้องการเสนอว่า “ความเป็นมนุษยนิยม” ไม่ใช่เป็นสิง่ ที่ เพิง่ เกิดในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ และธรรมยุตกิ นิกายก็ไม่ได้มแี นวโน้มของ “เหตุผล­ นิยม” อย่างที่ ‘ปากไก่และใบเรือ’ พยายามจะบอกกับเราแบบนั้น ในส่วนท้าย (Appendix) ของหนังสือเล่มนีม้ อี ยูส่ องส่วน ส่วนแรกเป็นการวิจารณ์ “ความรูจ้ ากประสบการณ์” โดยผูเ้ ขียนต้องการแย้งนิธทิ เี่ สนอว่า ผูเ้ ขียนหนังสือนาง­ นพมาศได้เขียนถึงความจริงแบบใหม่ ที่มาจากประสบการณ์ (หรือประสาทสัมผัส ทัง้ ห้าเป็นหลัก) โดยผูเ้ ขียนต้องการเสนอว่าทัง้ คนในอดีตและปัจจุบนั ต่างจำ�เป็นต้อง ศึกษาหาความรูจ้ ากตำ�ราหรือจากคำ�บอกเล่าของผูอ้ นื่ ด้วยกันทัง้ สิน้ ไม่มใี ครสามารถ หาความรู้จากลำ�พังประสบการณ์ที่จำ�กัดของตัวเองได้ สำ�หรับส่วนท้ายทีส่ อง เป็นการนำ�บทความทีผ่ เู้ ขียนเคยเขียนเกียี่ วกับชนชัน้ กลาง มาลงรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ โดยผูเ้ ขียนต้องการชีใ้ ห้เห็นถึงความนิยมในหมูน่ กั วิชาการ ทีน่ �ำ เอาแนวคิด “ชนชัน้ กลาง” มาอธิบายการเปลีย่ นแปลงทางการเมืองของไทย โดย ผูเ้ ขียนคิดว่านอกจากอิทธิพลของมาร์กซ์แล้ว เรายังอาจสืบสาวความนิยมนีไ้ ด้มาจาก แนวคิดเรื่อง “กระฎุมพี” ที่ปรากฏอยู่ใน ‘ปากไก่และใบเรือ’ นั่นเอง



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.