หอธรรมศิลป์ล้านนา

Page 1

หอธรรมศิลป์ล้านนา Lanna Dhamma & Contemporary Art Learning Center เจษฎา สุภาศรี อาจารย์ คณะศิล ปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้ า นนา

Jedsada Supasri Lecturer, Faculty of Art and Architecture, Rajamangala University of Technology Lanna

คํา สํา คั ญ : วิหารโถง ; ล้า นนา ; ช่ องเปิด ; ฝาย้ อ ย ; การจั ดแสง ; แสง ธรรมชาติ ; แสงทางอ้อ ม Keywords : Viharn Thong ; Lanna ; Void ; Fha Yoi ; Lighting ; Natural ; Indirect Light

บทคัดย่อ ขณะที่โลกกําลังเป็นสากลด้วยระบบข่าวสาร การเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน สังคมไทยมีการประยุกต์ใ ห้เกิด กิจกรรมและช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึง หลักธรรมคําสอน จึงเลือ กนําโครงการ “หอธรรมศิลป์ล้านนา” มาเป็นกรณี ศึกษา เพื่อเป็นสถานที่ส่งเสริมกิจกรรมและช่องทางที่เกิด ขึ้นดังกล่าวในเขต พื้น ที่ภาคเหนือของไทยซึ่งเคยเป็น ที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาในอดีต ด้วยมี ลักษณะของโครงการเป็นหอศิลป์ร่วมสมัย ที่มีเนื้อหาเชิงธรรมะ ผู้ศึกษาวิจัย จึง ได้ตระหนักถึงเรื่อง “การจัดแสง” ว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อ ลักษณะ เนื้อหา ตลอดจนการก่อ รูปงานสถาปัตยกรรมของโครงการ จากการสังเกตสภาวะ “แสงธรรมชาติ” ในอาคาร “วิหารโถง ล้านนา” พบว่ามีสภาวะแสงที่นุ่มนวลและสงบนิ่ง ซึ่งเกิด ขึ้น จาก “แบบการ ให้ความสว่างโดยวิธีใ ช้แสงสะท้อน” ลอดผ่านองค์ประกอบ “ช่องเปิด” ของ อาคารที่มีรูปแบบแตกต่างกัน จึงได้ตั้งข้อ สังเกตต่อ ไปถึง “คติ” ที่ส่งอิทธิพล แก่ “แนวคิดในการออกแบบ” วิหารโถง วิหารเอกลักษณ์แบบแรกของล้านนา ให้มีลักษณะอาคารเป็นแบบ “เปิดโล่ง หรือ โถง” และมีรูปแบบช่องเปิดรับ แสงที่แตกต่างกัน ด้วยเล็งเห็น ว่าแบบสถาปัตยกรรมและช่องเปิดในส่วนซึ่ง “ก่อ รูปจากการกําหนดขอบเขตด้วยแสงธรรมชาติ” อัน นํามาซึ่งการทําให้เกิด สภาวะแสงดังกล่าวขึ้น นั้น เป็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมไทยล้านนาอย่าง หนึ่ง วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมไทยฉบับ นี้จึงมีเป้าหมายเพื่อ ศึกษารูปแบบ และสัด ส่วน องค์ประกอบ “ช่องเปิด” และ “ฝาย้อ ย” ของตัวแบบสถาปัตยกรรม “วิหารโถงล้านนา” ต่อหน้าที่ในการกําหนดให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามา


.

วิ ห ารน้ํา แต้ ม วั ดพระธาตุ ลํา ปางหลวง ตํา บลลํา ปางหลวง อํา เภอเกาะคา จัง หวั ด ลํา ปาง หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 385


ภายในอาคาร เนื่อ งด้วยมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ละ “ชั้นซดหลังคา” และ “การยกเก็จ” ผังอาคารตามแบบแผนอย่างน่าสนใจ ตลอดจนเพื่อ ศึกษา “คติจักรวาลพุทธศาสนาลังกาวงศ์” ที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในการสรรค์สร้าง พุทธภูมิแบบล้านนาในส่วนซึ่งเกี่ยวข้องกับ แสงธรรมชาติ เพื่อ สื่อความหมายถึง “โพธิมณฑลแห่งการตรัสรู้” ด้วยเป็นแนวทาง ในการออกแบบหอธรรมศิลป์ ล้านนาให้เป็น “พื้น ที่แห่งการรู้แจ้งทางปัญญา” ที่สอดคล้องกับ โจทย์แห่งยุค สมัยในบริบทของสังคมไทยล้านนาปัจจุบัน ต่อไป

Abstract Whereas the world has been internationally communicated by the information system, activities and approaches; in terms of Buddhist propagation among Thai society, have been variously applied in order to deeply appreciate in Dhammas. To promote these existing activities located in Northern of Thailand, the “Lanna Dhamma and Comtemporary Art Learning Center” project was selectively ascertained as a case study. Formerly, Lanna Kingdom had been situated in the north where was characterized in the Contemporary Art Learning Center with Dhamma-oriented contents. In this study, the “lighting” is significantly considered as the main factor affecting to the project features and accents included to the formation of architecture. Observed the “natural light” phenomenon inside “Viharn Thong Lanna” (vihara hall), calm and soft light was occurred from the “lighting by reflect light” and it was penetrated through the “void” components of it’s diversely architecture. Therefore, the “ideology” influenced to the Viharn Thong “design concept” was subsequently noticed. The initially unique Viharn Lanna was designed in “open air or hall” styles with varied patterns of void. In terms of “formation by natural light defining”, this architectural concept; which could generate that light phenomenon, has been considerably focused as a character of Lanna Thai Architecture identity. This thesis aims to study the form, proportion and element of the “void” and “Fha Yoi” (architectural elements) ; architecturally composed in the “Viharn Thong Lanna”, which

386 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


have functionally determined the natural light shedding into the building. Owing to different forms of each “Viharn Sod’ (overlapped-structure roof) and “stacked base”, the building plan has been vital interesting. Besides, another purpose is to investigate the “Buddhist Cosmology in Theravada” which has closely influenced to the concept of Lanna Buddhist regime creation related to the natural light. Eventually, this study intends to harmoniously communicate the meaning of “Mahabodhi of Enlightenment” passing through the design guideline, which would practically be the “enlightened space” modernly corresponding to Thai-Lanna society’s context in the future.

หอธรรมศิลป์ล้านนา : แบบสถาปัตยกรรมที่ก่อรูปจากการ กําหนดขอบเขตด้วยแสงธรรมชาติ ขณะที่โลกกําลังเป็นสากลด้วยระบบข่าวสาร การเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน สังคมไทยมีการประยุกต์ใ ห้เกิด กิจกรรมและช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึง หลักธรรมคําสอน เช่น สามารถที่จะเรียนกรรมฐานจากพระสงฆ์ผ่านทางระบบ Internet ดูรายการที่เกี่ยวกับพระศาสนาผ่านทางโทรทัศน์ ฟังพระเทศนาผ่าน รายการวิทยุ เป็น ต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับ วิถีชีวิตและ วัฒนธรรมการใช้ที่ว่างที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยเล็งเห็น ถึงความสําคัญของแนวทางและพื้น ที่แห่งการเผยแผ่ พุทธศาสนาดังกล่าว จึงได้เลือกเอาโครงการ “หอธรรมศิลป์ล้านนา” มาเป็น กรณีศึกษา เพื่อ เป็นสถานที่ส่งเสริมกิจกรรมและช่องทางที่เกิด ขึ้นในเขตพื้น ที่ ภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งเคยเป็น ที่ต้ังของอาณาจักรล้านนาในอดีต ด้วยมี ลักษณะโครงการเป็นหอศิลป์ร่วมสมัย (museum of contemporary art) ที่มีเนื้อหาของสิ่งซึ่งจะมอบประสบการณ์ใ ห้แก่ผู้ใช้โครงการในเชิงธรรมะ ผู้ศึกษาวิจัยจึงได้ตระหนักถึงพื้น ที่อันเกี่ยวข้องกับ “การจัดแสง” (Lighting) เฉพาะอย่างยิ่งกับ “แสงธรรมชาติ” ว่ามีความสําคัญ ต่อ ลักษณะและเนื้อ หา ของโครงการ ตลอดจนการก่อ รูปของงานสถาปัตยกรรม โดยการศึกษาผ่าน รูปแบบองค์ประกอบ “ช่องเปิด” ของตัวแบบสถาปัตยกรรมวิหารโถงล้านนา เพื่อนําองค์ความรู้ท่ีได้จากการศึกษามาประยุกต์ใ ช้ในการออกแบบโครงการ หอธรรมศิลป์ต่อ ไป

หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 387


แนวความคิดทางสถาปัตยกรรมไทยล้านนา จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น จึงขอตัวอย่างบทบรรยายที่มีการกล่าวถึงฉากซึ่ง เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์แห่งแสงธรรมชาติภายในอาคารวิหารโถงล้านนา ดังนี้ พระพุทธรูปภายในวิหารโถงน้าํ แต้ม วัดพระธาตุลําปางหลวง จัง หวัดลําปาง ซึ่ง ประดิษฐานอยู่ ณ ห้อ งท้ายวิหาร ด้านหลังมีผ นัง ปูน ประดับลายคํา รูป ต้นโพธิ์ มีล ายแทรกรูปพระอาทิตย์ พระจันทร์ เทพเทวดา ปักษา รวมทั้ง ช่อพฤกษาทิพย์ เมื่อนํา ภาพดังกล่า วมา ประกอบเข้า กับองค์พระประธานปางมารวิชัย1 อยู่ด้านหน้า ก็จะเกิด ความสมบูรณ์ของภาพฉากเหตุก ารณ์ในพุทธประวัติต อนที่พระพุทธองค์น้ันทรงตรัสรู้ใต้ต้น พระศรีมหาโพธิ์ ซึ่ง ช่วงสภาวการณ์นี้ตาม คัมภีร์พุทธประวัติไ ด้เล่า ไว้ว่า เกิดขึ้น ณ เวลาใกล้รุ่ง สาง ท่ามกลาง ความคลุม เครื อจากแสงแห่ง ตะวัน เป็นช่วงยามที่ค วามสว่า งยัง ขับ ความมืดภายใต้แ สงจันทร์ยามราตรีออกไปได้ไม่กระจ่างชัดนัก โดยพระอาทิตย์และพระจันทร์ที่ปรากฏขึ้น นั้นนอกจากอาจเป็น สัญ ลักษณ์แ สดงถึง ตําแหน่งความเป็น ดั่ง ศูน ย์กลางจักรวาลของ พระองค์แ ล้ว จึง ยัง อาจเป็นภาพเหตุก ารณ์ที่บ่ง บอกถึง ห้วงเวลา ในช่วงยามแห่งการตรัส รู้ และพุทธะผู้ตรัส รู้ที่ทรงประทับ อยู่ ท่ามกลางต้น พระศรีมหาโพธิ์ต้น ไม้แ ห่งการตรัส รู้นั้น ด้วย2

ซึ่งจากฉากแห่งปรากฏการณ์แสงที่สร้างความหมายให้กับที่ว่างทาง สถาปัตยกรรมให้เกิดมีบ รรยากาศตามพุทธประวัติดังกล่าวนี้มีองค์ประกอบ ของเนื้อหาที่สําคัญ ได้แก่ 1. มีเหตุการณ์ที่สาํ คัญเกิด ขึ้น คือ “การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” 2. มีสถานที่เกิดเหตุการณ์คือ “ใต้ต้นโพธิ์” 3. มีการระบุถึงช่วงเวลาคือ “ณ ใกล้รุ่งสาง” 4. มีองค์ประกอบของแหล่งกําเนิดแสงธรรมชาติคือ “พระอาทิต ย์ และพระจัน ทร์”

สภาวะของแสงธรรมชาติ ในอาคารวิ ห ารโถงน้ํา แต้ ม จ.ลํา ปาง

388 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


จากการสังเกตสภาวะแสงธรรมชาติภายในอาคารวิหารโถง พบว่ามี สภาวะที่นุ่มนวลและสงบนิ่ง อันเกิด ขึ้นจาก “แบบการให้ความสว่างโดยวิธีใ ช้ แสงสะท้อน” (Indirect lighting) ซึ่งลอดผ่านองค์ประกอบ “ช่องเปิด” ที่มี รูปแบบ (ขนาด ตําแหน่ง เป็นต้น ) ต่างกัน จึงได้ตั้งข้อ สังเกตต่อ ไปถึง “คติ” ที่ ส่งอิทธิพลแก่ “แนวคิดในการออกแบบ” วิหารโถง วิหารเอกลักษณ์แบบแรก ของล้านนา3 ให้มีลักษณะเป็นอาคาร “แบบเปิดโล่ง (โถง)” และมีรูปแบบช่อง เปิด ที่แตกต่างกัน ด้วยเล็งเห็น ว่าแบบสถาปัตยกรรมและช่องเปิดในส่วนซึ่ง “ก่อ รูปจากการกําหนดขอบเขตด้วยแสงธรรมชาติ” ที่สร้างให้เกิดสภาวะแสง ดังกล่าวขึ้นเพื่อ สื่อความหมายถึงโพธิมณฑลแห่งการตรัสรู้น้ัน เป็นเอกลักษณ์ ทางสถาปัต ยกรรมไทยล้านนา (Lanna Style) อย่างหนึ่ง จึงมุ่งศึกษา “ตัว แบบสถาปัตยกรรมวิหารโถงล้านนา” ใน 2 ส่วน คือ 1. รูปแบบขององค์ประกอบ “ช่องเปิด” ต่อ หน้าที่การเป็น ช่องแสง ซึ่งมีขนาดและสัด ส่วนสัมพัน ธ์กับองค์ประกอบ “ฝาย้อ ย” และ “ตัวอาคาร วิหาร” 2. “คติ” พุทธศาสนาที่ส่งอิทธิพลต่อ แนวคิดในการออกแบบ “วิหาร โถงล้านนาและช่องเปิด” เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ “คติจักรวาลพุทธศาสนา ลังกาวงศ์” เพื่อนําความรู้ท่ีได้จากการศึกษามาประยุกต์ใ ช้ในการออกแบบงาน สถาปัตยกรรมของโครงการให้เป็นดั่ง “พื้นที่แห่งการรู้แจ้งทางปัญ ญา” (Enlightenment Space) ที่สอดคล้องกับโจทย์ของยุคสมัยในบริบทของ สังคมไทยล้านนาปัจจุบัน ต่อไป

การศึกษาตัวแบบสถาปัตยกรรมวิหารโถงล้านนา จากขอบเขตของการศึกษาและการเก็บ ข้อ มูลตัวแบบสถาปัตยกรรมวิหารโถง ล้านนา4 นั้น สามารถระบุตําแหน่งอาคารวิหารโถงบนแผนผังเขตพุทธาวาส ของวัดต่างๆ ได้ดังนี้ คือ (A) วัดพระธาตุลําปางหลวง (B) วัดเวียงเถิน (C) วัดไหล่หิน (D) วัดปงยางคก และ (E) วัดคะตึกเชียงมั่น ตามลําดับ ซึ่ง วัด ทั้งหมดนั้นอยู่ในจังหวัด ลําปาง ทั้งนี้พบว่า “แผนผังเขตพุทธาวาสของวัด พระธาตุลําปางหลวงมีความสมบูรณ์ท่ีสุด”5 เนื่อ งด้วยช่องเปิดของอาคารวิหารโถงล้านนานั้น มีรูปแบบและสัด ส่วน ระยะมิติต่อองค์ประกอบฝาย้อยที่แตกต่างกันในแต่ละชั้นซดหลังคาและการ ยกเก็จตามแบบแผนผังอาคาร ผู้ศึกษาวิจัยจึงได้กําหนดแนวทางการสํารวจ เก็บ ข้อ มูล โดยการวัดระยะมิติ ผังพื้นอาคาร รูปด้านทิศตะวันออก (ด้าน ทางเข้า) และด้านทิศใต้ (ด้านที่แสงแดดส่องในช่วงวัน) รูปตัดขวางในแต่ละ ชั้นซดหลังคา ตลอดจนรูป ตัดตามยาว ซึ่งมีมุมมองเพื่อ สังเกตช่องเปิดและฝา ย้อ ยที่เปิด รับแสงด้านทิศเหนือ

หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 389


แสดงตํา แหน่ ง อาคารวิ ห ารโถงในแผนผั ง ของวั ด ที่ ทํา การศึก ษาและเก็ บ ข้ อ มูล โดย ตํา แหน่ ง ของวั ด ต่า งๆ บนพื้ น ผิ ว โลก อยู่ ในช่ ว ง 18 องศาเหนื อ 99 องศา ตะวั น ออก

390 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


การเปรี ย บเที ย บขนาดของวิ ห ารโถงแต่ ล ะหลั ง ที่ ทํา การเก็ บ ข้ อ มู ล ตามลํา ดั บ ดั ง นี้ (01) วิห ารพระพุท ธ (02) วิห ารหลวง (03) วิ ห ารน้ํา แต้ ม (04) วิ ห ารวั ด เวี ย งเถิ น (05) วิห ารวั ด ไหล่ หิ น (06) วิ ห ารจามเทวี และ (07) วิ ห ารวั ดคะตึ ก เชี ย งมั่ น / (ซ้า ย) รู ป ด้า นข้า งทิ ศ ใต้ (ขวา) รู ปด้ า นหน้ า ทิ ศ ตะวัน ออก

หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 391


ซ้ า ย : รู ป แบบช่ อ งเปิ ด ของวิ ห ารโถงแบบมาตรฐาน ขวา : รู ป ตั ด ขวางแสดงแนวคิ ด ของผู้ ศึ ก ษาวิ จั ย ที่ มี ต่ อ ลั ก ษณะช่ อ งเปิ ด ของอาคารวิห ารโถงที่ มี อิ ท ธิ พ ล ต่ อ การก่ อ รู ป และแบบการใช้ แ สงธรรมชาติ ท างอ้ อ ม

แนวทางการเก็ บข้ อ มู ล ตั ว แบบสถาปั ต ยกรรมวิ ห ารโถง เพื่ อ การศึ ก ษา

392 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


ทั้งนี้จากการเก็บ ข้อ มูลตัวแบบอาคารวิหารโถงทั้งหมด6 พบว่า เนื่อ ง จากอาคารแต่ละหลังมีขนาดที่แตกต่างกัน จึงทําการศึกษาโดยการเทียบระยะ “ค่าสัด ส่วน” ซึ่งสามารถวิเคราะห์และสรุปผลจากการศึกษาได้ ดังนี้ 1. สัดส่วนตัวอาคาร 1.1 ทุกมุขซดของอาคารคือ (C) (B) และ (A) นั้น มีสัด ส่วนระยะ A > C > B และ ระยะ B+C (แนวดิ่ง) > ระยะ A (แนวนอน) ในทุกมุขซดของ วิหารโถงทุกหลังที่ทําการเก็บ ข้อ มูล 1.2 ไม่มีค่าสัด ส่วนระยะ A : B : C ที่ตายตัวแน่นอนหรืออาจ กล่าวได้ว่า “อาคารวิหารโถงแต่ละหลังที่ทําการศึกษานั้น แม้มีแบบการก่อรูป ขึ้นทรงที่เหมือนกัน แต่มีสัด ส่วนต่างกัน จึงส่งผลต่อ ลักษณะอาคารในแต่ละ หลังที่มีสัด ส่วนความงามเฉพาะตัว”

2. สัดส่วนองค์ประกอบช่องเปิด 2.1 ช่องเปิดอาคารด้านทิศตะวันออก (ด้านหน้า/ ทางเข้าหลัก อาคาร) มีสัด ส่วน ระยะดิ่ง A : B และ ระยะช่วงเสา c : d ดังนี้ - มีระยะ A > B เสมอ โดยมีสัดส่วนอยู่ในช่วงประมาณ 1.3-1.7 เท่า - มีระยะ c > d เสมอ โดยมีสัดส่วนอยู่ในช่วงประมาณ 1.3-2 เท่า - มีระยะ e (ช่วงยกเก็จ) จะมีช่วงระยะตั้งแต่ 0.5-0.9 ม. 2.2 ฝาย้อยและช่องเปิดของอาคารด้านทิศเหนือ-ใต้ มีสัด ส่วน ระยะ X (ส่วน บังแสง) : Y (ส่วนเปิด รับแสง) ดังนี้ - มีระยะ X1 < Y1 อยู่ในช่วงประมาณ 0.85-0.95 เท่า - มีระยะ X2 < Y2 อยู่ในช่วงประมาณ 0.70-0.75 เท่า - มีระยะ X3 < Y3 อยู่ในช่วงประมาณ 0.56-0.65 เท่า

หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 393


อาจกล่าวโดยสรุป คือ ด้านทิศตะวันออก “จะเน้น ช่องเปิดในช่วงเสา กลางที่มีขนาดกว้างและสูงกว่าด้านข้าง แต่ไม่เกิน 2 เท่า และเน้นเปิดรับแสง ทางตรง” ส่วนด้านทิศเหนือ-ใต้น้ัน “ระดับ ตีนฝาย้อยจะสูงกว่าระดับ กึ่งกลาง ของเสาระเบียงขึ้นมาเพียงเล็กน้อยทั้ง 3 มุขซดหลังคาอาคาร และเน้น เปิด รับ แสงทางอ้อมที่สะท้อนจากลานทรายโดยรอบบริเวณเข้ามาในอาคาร” ทั้งนี้จึง สัมพัน ธ์กับ สัด ส่วนตัวอาคารวิหารโถงที่มีการออกแบบให้มีลักษณะที่เตี้ยแจ้ เป็นต้น

คติสัญลักษณ์ ตัวอย่างคติพุทธศาสนา7 ที่ส่งอิทธิพลต่อ แนวคิดในการออกแบบ “อาคารวิหาร โถงล้านนาและช่องเปิด” มีดังนี้ 1. คติจักรวาลพุทธศาสนาลังกาวงศ์ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-18 บริเวณอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน เกิดนครรัฐขึ้นใหม่จํานวนหนึ่ง ขณะเดียวกันพุทธเถรวาทลังกาวงศ์จากเกาะ ลังกาก็เข้ามาแทนที่ความเชื่อ เดิม ซึ่งมีผลกระทบทั้งในทางวัฒนธรรมและ อารยธรรมต่อ ชุมชนใหม่ ทั้งทางโลกทัศน์ ประเพณี ศิลปะ สถาปัตยกรรมและ เมือ ง ฯลฯ “โดยนําคติการสร้างพระธาตุเจดีย์เข้ามาด้วย” เพื่อ เป็น สัญ ลักษณ์ ทางจิต วิญญาณใหม่ของชุมชน ด้วยมีการสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นไว้เป็น ศูนย์ กลางของเมืองและวัด ทั้งนี้ก็เนื่องมาแต่ “คติจักรวาลและเขาพระสุเมรุของ พุทธศาสนาเถรวาท” ในบริเวณลุ่มแม่น้ําปิงทางภาคเหนือนั้นคติดังกล่าวส่งอิทธิพลต่อ “การวางผังรูปจักรวาลของวัดในล้านนา” ตลอดจน “สถาปัตยกรรมในวัดที่ ใช้แผนภาพแบบจักรวาล” เช่น เจดีย์ มณฑป ประตูโขง โขงพระเจ้า เป็นต้น โดยมีสัญ ลักษณ์ทางแผนภาพร่วมกันอย่างเป็นสากล คือ การใช้แกนดิ่งและ แกนราบเป็น ตัวกําหนดศูนย์ของอาคาร ในลักษณะเป็นโครงสร้างจุลจักรวาล

394 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


ของตัวเอง (Microsom) ที่สัมพัน ธ์กับแกนจักรวาลใหญ่ (Macosom) ใน ระดับต่างๆ8 2. วิหารบีบ สําเภาปราสาท สะเปาคํา ข้อ สังเกตต่อการดํารงชีวิตแบบชาวน้ํา รวมถึงสภาพภูมิประเทศ และ แนวความคิดเกี่ยวกับระบบจักรวาล ซึ่งมีผลต่อ งานสถาปัตยกรรม รวมไปถึง สัญ ลักษณ์แห่งน้ําในวัฒนธรรมไทย เช่น พญานาค ที่นํามาเป็นองค์ประกอบใน บ้านเรือนและศาสนสถาน ไม่ว่าจะเป็น ป้านลม ช่อ ฟ้า บันไดนาค เป็นต้น ตลอดจนความสัน ทัดของคนไทยในการสร้างเรือ ซึ่งทําให้สามารถสร้างวิหาร ที่มีโครงสร้างไม้สลับ ซับ ซ้อนได้อ ย่างพิถีพิถัน เช่น “วิหารน้าํ แต้ม วัดพระธาตุ ลําปางหลวง”9 เป็นต้น ยังมีแนวคิด วิเคราะห์เชิงสัญ ลักษณ์ว่า “วิหารหักจ๊อก” หรือ “วิหารบีบ” อันเป็นการสร้างรูป สัญ ลักษณ์ในรูป ทรงสําเภา ทรงปราสาท วิมาน ตามคติวิมานที่ประทับของพระพุทธเจ้า โดยมีรูป เป็น สี่เหลี่ยมผืน ผ้าลด ส่วนหัวท้ายของผนังซึ่งเรียกว่า หักจ๊อ ก หรือ หักมุม10 ลักษณะเด่นของวิหารล้านนาที่สร้างก่อน พ.ศ. 2400 มีการออกแบบ โครงสร้างเพื่อสร้างความรู้สึกทางสายตา เช่น มุมมองจากภายในห้องท้าย วิหารสู่ช่องประตูทางเข้าจะพบว่า ตัววิหารมีการบีบตัวลงในทุกช่วงห้อง ลักษณะเช่น นี้จึงเป็นเหตุใ ห้เรียกวิหารแบบนี้ว่า “วิหารบีบ” อัน สมมุติได้ดัง “สําเภาปราสาท” 11 อันเสมือนพระธรรมคําสอนและเป็น ที่ประทับ ของ พระพุทธเจ้า ผู้นําพาสัต ว์ออกจากภพชาติไปยังพระนิพพานเป็น ที่สุด แต่การ บีบ ตัวเข้านั้น ก็มิได้สร้างความรู้สึกอึด อัด เพราะมีการใช้มุมมองทางสายตาที่ เปิดโล่งใต้ฝาย้อยออกไปได้ ลั ก ษณะการยกเก็จ ผั ง การ วางแนวเสาหลวงและเสา ระเบี ย งที่ บี บ ตั ว เข้ า หากั น ในช่ ว งหั ว -ท้ า ยวิห าร และ ทํา ให้ เ กิ ด การซ้ อนซด และ ตั บ หลั ง คาอั น เป็ นเหตุ ที่ ม า ของวิ ห ารบี บ หั ก จ๊อ ก สั ญ ลั ก ษณ์ ใ นรู ป ทรงสํา เภา จากตั ว อย่ า งอาคาร (01) วิ ห ารน้ํา แต้ ม (02) วิ ห ารวั ดคะตึ ก เชีย งมั่ น

สอดคล้องกับ คําให้พร (กําปั๋นปอน) ของพระเณรบวชใหม่ ภาษา คําเมืองที่มีการกล่าวถึง “สะเปาคําลําประเสริฐนําเมือเกิดเมืองสวรรค์”12 ตลอดจนคําหยาดน้ํา (กรวดน้าํ ) แบบล้านนาในบางบทที่กล่าวว่า “ขอหื้อ เป็น สะเปาเงิน สะเปาคํา น้อมนําดวงจิต วิญญาณของต๋น ตั๋ว…ไปสู่ปรโลกปายหน้า ตกไปถึงยามเจ้าขอหื้อ เป๋น ข้าวงาย ตกไปถึงยามขวายขอหื้อ เป๋น เสื้อเป๋นผ้า ตกไปลูนปุ่นหล้าขอฮื้อ เป๋น ข้าวติ๊บ น้ําติ๊บ สิบประก๋าน” เป็นต้น ซึ่งความหมาย ของ “สะเปา” ในที่นี้คือ “สําเภา หรือ เรือ สําเภา” และความหมายของ “คํา” คือ “ทอง” นั่น เอง ฉะนั้นแล้ว “สะเปาคําลําประเสริฐ นําเมือเกิด เมือ ง สวรรค์” ในที่นี้ก็คือ “เรือ สําเภาทองคํา (มีคุณค่ามาก) หรือพระธรรมคําสอน หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 395


ซึ่งทําหน้าที่นําพาดวงจิตดวงวิญญาณของผู้คนให้ไปเกิดในเมืองสวรรค์ หรือใน ภพภูมิท่ีดี” ดังนั้นหากแทนค่าความหมายแห่งสัญ ลักษณ์ของวิหาร ด้วย ยานพาหนะเรือ สําเภาทองคําดังกล่าวแล้วก็จะเห็น ถึงความสัมพัน ธ์ร่วมกับการ วางผังของวัด และการกําหนดขอบเขตก่อ รูป ขึ้นทรงของวิหารโถงล้านนาในอีก มิติหนึ่ง

แผนภาพแสดงแนวคิ ด การก่ อ รู ป ของ “วิ ห ารบี บ ” อั น สมมุ ติ ไ ด้ ดั ง “สํา เภา ปราสาท” ที่ ล อยอยู่ บ น สี ทั น ดรสมุ ท รมุ่ ง สู่ เ ขา พระสุ เ มรุ ใ นแผนภาพ จั ก รวาล

แผนภาพแสดงการ เที ย บเคี ย งระหว่า งแผนผั ง จั ก รวาลไตรภู มิ กั บ แผนผั ง เขตพุ ท ธาวาส วั ดพระธาตุ ลํา ปางหลวง และทิ ศ ทางการ หั น หน้ า อาคารวิ ห ารโถงไป ทางทิ ศ ภายภาพด้ า น ตะวั น ออก

396 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


ซ้ า ย : ฉากหลั ง รูป ต้ น พระศรี มหาโพธิ์ในวิ ห ารโถง ของวั ด ไหล่ หิ น กลาง : ฉากหลั งรู ป ต้ น พระ ศรี ม หาโพธิ์ ใ นวิ หารโถงของ วิ ห ารจามเทวี วั ดปงยางคก ขวา : ฉากหลั ง รูป ต้ น พระ ศรี ม หาโพธิ์ ใ นวิ หารโถงของ วิ ห ารวั ดคะตึ ก เชีย งมั่ น ทั้ ง นี้ จะสั ง เกตมี รู ป เทพ เทวดา มาเนรมิ ต เรื อ นแก้ ว ให้ เ ป็ น ที่ ป ระทั บ ของพระพุ ท ธเจ้ า ด้ ว ย

ทั้งนี้ตัววิหารโถงล้านนานั้นแม้เปรียบดั่งสัญ ลักษณ์ของ “ยาน พาหนะ” (คล้องกับญาณ = ปัญญา) ที่มาจากชมพูทวีปมุ่งเข้าสู่เขาพระสุเมรุ ซึ่งควรเน้น ทิศอุดมคติตามแบบแผนผัง จักรวาลไตรภูมิ ที่ต้องเปิดรับทางเข้า จากทางชมพูทวีป ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ “แต่ในทางกายภาพนั้น กลับ เน้น ทิศที่อิง ปรากฏการณ์จากแสงธรรมชาติ” 13 เพื่อ ก่อ รูปงานสถาปัตยกรรมซึ่งแสดงออก โดยเน้น ทิศการหันด้านหน้าตัวอาคารและการเปิดทางเข้าประตูจากทางทิศ ตะวันออก 3. โพธิมณฑล ในพุทธประวัติ ขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนม์ได้ 35 พรรษา วัน ที่พระองค์ทรงตรัสรู้น้ัน นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส ณ ใต้ต้นไทร และเมื่อเสวยเสร็จทรงนําถาดทองที่นางสุช าดาใส่ข้าวมาถวายให้น้ันลงไปลอย ในแม่น้ําเนรัญชรา แล้วทรงอธิษฐานเสี่ยงทายถึงการบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นในเวลาเย็นนายโสตถิยะได้ถวายหญ้าคา 8 กํามือ “ปูลาดเป็น อาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ์” ริมฝั่งแม่น้ํานั้น เอง ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะ บรรลุโพธิญาณ จากนั้น จึงทรง “ประทับ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก” แล้วทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น ด้วยใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง โดยสัมพัน ธ์กับช่วงยามแห่งปรากฏการณ์แสงต่างๆ ดังนี้คือ เวลาปฐมยาม ส่วนที่หนึ่งของกลางคืน ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือความรู้อัน เป็น เหตุใ ห้ระลึกชาติได้ เวลามัชฌิมยาม ส่วนท่ามกลางราตรี ทรงบรรลุจุตุปปาต ญาณคือ รู้เรื่องเกิด เป็น อยู่ ตายของสัต ว์ท้ังหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่ต น กระทําเอาไว้ เวลาปัจฉิมยาม ส่วนสุด ท้ายของราตรี ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือความรู้ท่ีทําให้สิ้นอาสวะหรือ กิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ 4 และช่วงเวลา “ตัมพารุณสมัย” ยามเช้าพระอาทิต ย์ทอแสง ทรงตรัสรู้พระสัพพัญ ญุตญาน เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและทรงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทั้งนี้ได้ แสดงถึงพุทธประวัติอันเกี่ยวข้องกับสภาวะแสงตามธรรมชาติในมิติของการ บอกช่วงเวลาสําคัญ

หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 397


4. สัตตมหาสถาน และเรือนแก้ว ภายหลังการตรัสรู้ เป็น ช่วงที่พระองค์ทรงเสวยวิมุติสุข (สมาธิอัน บรมสุข) จากการหลุด พ้น วัฏสงสารเป็นเวลา 7 สัปดาห์ โดยทรงทําสมาธิใน อิริยาบถต่างๆ กระจายอยู่ในทิศสําคัญ รอบบริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ 7 แห่ง เรียกว่า “สัตตมหาสถาน” หรือ สถานที่อันยิ่งใหญ่เจ็ดแห่ง14 เช่น ในสัปดาห์ ที่ 1 ณ โพธิบัลลังก์ (บัลลังก์แห่งต้นโพธิ์) ด้วยการประทับนั่ง และในสัปดาห์ ที่ 4 ณ รัตนฆรเจดีย์ (สถานที่ควรเคารพบูชาแห่ง “เรือนแก้ว”) ทางด้านทิศ ตะวันตก หรือตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยการประทับนั่ง เป็นต้น ทั้งนี้ “มหาสถานทั้ง 7 อัน รวมทั้งมหาโพธิ์น้ันเชื่อ ว่าตั้งอยู่ที่สายดือ ชมพูทวีป” 15 ตามคติจักรวาลและเขาพระสุเมรุ ฉากหลั ง พระประธานเป็ น ลายคํา รู ป ต้ น พระศรี ม หาโพธิ์ มี ล ายแทรกเป็ น รูป พระ อาทิ ต ย์ (ซ้ า ย-ภายในมี รู ป นกยู ง ) พระจั น ทร์ (ขวาภายในมี รู ป กระต่า ย) เทพ เทวดา ตลอดจนปั ก ษา ช่ อ พฤกษาทิ พ ย์

ในส่วนของ “เรือนแก้ว” 16 คือ เรือ น (ปราสาท) ที่ทําด้วยแก้วอัน มีค่า ถูกกล่าวถึงในพุทธประวัติช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการเสวยวิมุติสุข คือตั้งแต่ ข้างขึ้น 7 ค่ํา เดือน 7 17 โดยทรงเสด็จจากการเดินจงกรม ณ รัตนจงกลมเจดีย์ ไปยังทิศพายัพของต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วจึงประทับ ทําสมาธิเป็นเวลา 7 วัน ณ โพธิมณฑลแห่งนี้เทวดาได้เนรมิต “เรือนแก้ว” (รัตนฆระ หรือ รัตนคฤหะ) ขึ้นให้เป็น ที่ประทับของพระองค์ และเนื่องจากเหตุท่ีช่องเปิดประตู-หน้าต่าง ตลอดจนซุ้มจระนํา ซึ่งแต่เดิมนั้น ล้วนเป็น สัญลักษณ์ของ “เรือนแก้ว” ที่แทน ความหมาย “โพธิมณฑลแห่งการตรัสรู้” ด้วยการจําลองหรือถอดรูป ลักษณ์ ของอาคารซึ่งประดิษฐานพระพุทธองค์อยู่ภายในลงมาทั้งสิ้น18 ทั้งนี้ผู้ศึกษาวิจัยจึงได้ยกตัวอย่างแสดงตัวแบบอาคารวิหารโถงน้ําแต้ม วิหารทิศด้านเหนือ ขององค์พระธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุลําปางหลวง ประกอบ การอธิบายเพื่อสร้างจินตนาการประกอบความเข้าใจระหว่าง โพธิม ณฑลโพธิบัลลังก์-เรือนแก้ว-ซุ้มจระนํา (ประตู-หน้าต่าง) -ช่อ งเปิด ที่สัมพัน ธ์กัน ดังภาพ

398 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


รู ป ตั ด ขวางแสดง พระประธานปางมารวิ ชัย ประดิ ษ ฐานบนโพธิ์ บั ล ลั ง ก์ ซึ่ ง ถู ก ครอบครองห่ อ หุ้ ม ที่ ว่ า ง ด้ ว ยแบบอาคาร วิ ห ารโถง อั น มี รู ป ทรงของที่ ว่ า ง ตลอดจนลั ก ษณะของ ช่ อ งเปิ ด ดั ง ภาพแสดง

(01) รู ป ตั ด แสดงเนื้ อ หา ของสิ่ ง ที่ ตั้ ง อยู่ ภ ายใน และ ตั ว อาคาร (02) รู ป ด้า นหน้ า ทิ ศ ตะวั น ออกแสดงแบบ ช่ อ งเปิ ด ลั ก ษณะรู ป ร่ า ง และ รู ป ทรงอาคารวิ ห ารน้ํา แต้ ม ที่ สั ม พั น ธ์ กั บ พระประธาน ภายในอาคาร

จากภาพแสดงแบบอาคารวิหารโถง ซึ่งในบริบ ทนี้อ าจเปรียบได้ดั่ง “เรือนแก้ว ณ โพธิมณฑลแห่งการตรัสรู้” ที่เทพเทวดาเนรมิตให้เป็น ที่ประทับ ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการเสวยวิมุตติน้ันเอง ทั้งนี้หากพิจารณาร่วมกับ องค์ประกอบพระอาทิต ย์และพระจันทร์ท่ีอ ยู่เหนือต้นโพธิ์ ณ ภาพลายคําฉาก หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 399


หลังของพระประธานในวิหารนั้น ก็ย่ิงเป็นการเน้นย้ําว่าต้นโพธิ์ดังกล่าวเป็น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่อ ยู่ใ จกลาง (สะดือ ) ของชมพูทวีปตามคติความเชื่อแบบ จักรวาลทัศน์ล้านนา ตัวอย่างคติความเชื่อต่างๆ ที่มีมิติซ้อนทับ กันข้างต้น มีอิทธิพลต่อ การกําหนดโครงสร้างที่ว่างในระดับ ผังวัดและระดับตัวอาคาร ตลอดจน แนวคิดในการออกแบบวิหารล้านนาให้มีลักษณะอาคารแบบโถงโล่ง ทั้งนี้ พบว่าวิหารโถงที่ทําการศึกษาทั้งหมดนั้นให้ความสําคัญ กับ ช่องเปิดด้านทิศ ตะวันออกและทิศเหนือ ซึ่งสอดคล้องกับ คุณสมบัติของแสงธรรมชาติที่ เกี่ยวข้องกับการจัดแสดงงานศิลปกรรมภายในอาคาร เช่น “แสงจากทิศ เหนือ” จะมีสีนา้ํ เงินมาก ซึ่งเหมาะสําหรับจัดแสดงภาพเขียนและ “แสง จากทิศใต้” ซึ่งมีสีแดงและสีเหลืองมากนั้น เหมาะสําหรับการจัดแสดง ประติมากรรม เป็นต้น19 เมื่ อ พิ จ ารณาคติ ร่ว มกั บ การศึ ก ษาตั ว แบบอาคาร วิ ห ารโถงพบว่า ให้ ค วาม สํา คั ญ กั บ “ช่ อ งเปิ ด ” เพื่ อ รั บ แสงจากทิ ศ ตะวั น ออก (แสงทางตรง-ช่ ว งเวลาสั้ น) และจากทิ ศ เหนื อ (แสงทาง อ้ อ ม-ทิ ศ จากล่ า งขึ้ น บนตลอดช่ ว งวั น-เป็ น แสงสี ฟ้ า ที่ เ หมาะสมกั บ งานจิ ต รกรรม) และจากทิ ศ ใต้

การออกแบบสถาปัตยกรรม : Architectural Concept design โดยการกําหนดแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม (Organizing Space) ให้เป็น “พื้น ที่แห่งการรู้แจ้งทางปัญญา” (Enlighten space) ซึ่งโดยนัยยะ ความหมายของคําว่า “แจ้ง” นั้นหมายถึง [ว.] กระจ่าง, สว่าง, ชัด และ [ก.] เข้าใจ, รู้, แสดงให้รู้, บอกให้รู้ เป็น ต้น ผู้ศึกษาวิจัยจึงได้นํามาเป็น แนวทางในการกําหนด 1. แนวคิดในการออก “แบบผังโครงการ” (โครงสร้างที่ว่างในระดับ กลุ่มอาคาร) 2. แนวความคิดในการออก “แบบตัวอาคาร” (โครงสร้างที่ว่างใน ระดับตัวอาคาร)

400 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


ผลการออกแบบ โดยแบบผังโครงการนั้น เนื่อ งด้วยลักษณะโครงการเป็นหอศิลป์ท่ีจัดแสดง ผลงานและกิจกรรมทางศิลปะเชิงธรรมะ ทั้งนี้ตัวงาน “สถาปัตยกรรม” ใน โครงการเองก็จัด เป็นงานศิลปะหรือการแสดงออกแห่งศิลป์ประเภทหนึ่งที่ต้อ ง แสดงออกและนําเสนอเนื้อหาในมิติซ่ึงมีที่มาจากหลักธรรมหรือคติความเชื่อ ในฝ่ายพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ ดังนั้นแผนผังพื้น ที่แห่งการรู้แจ้งของ โครงการย่อมเป็นปริม ณฑลอัน ก่อ รูป ขึ้นจากคติจักรวาลไตรภูมิ ทั้งนี้เพื่ออาศัย โครงสร้างจักรวาลในการออกแบบวาง “ผังโครงการ” ที่เสมือนเป็นแผนที่ เครื่อ งนําทางดั่ง “ปัญญาในทางพุทธศาสนา หรือการรู้แจ้ง” แสดงแนวคิ ด การเลื อ กที่ ตั้ ง โครงการ ซึ่ ง คื อ บริ เ วณ ทั ณ ฑสถานหญิ ง เดิ ม ใน ปั จ จุ บั น

แสดงแผนผั ง บริ เ วณโครงการ หอธรรมศิ ล ป์ ล้ า นนา

หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 401


3

บนและขวา : แสดงทั ศ นี ย ภาพโครงการ หอธรรมศิ ล ป์ ล้ า นนา มุ ม มองด้า นทิ ศ ตะวั น ออก

รู ป ด้ า นทิ ศ ตะวั น ออก ด้ า น ทางเข้ า หลั ก ที่ ช่ อ งแสงเน้ น เปิ ด รั บ แสงทางตรงในยาม เช้ า พระอาทิ ต ย์ ข้ึน

รู ป ด้ า นทิ ศ ตะวั นตกที่ ไ ม่ ใ ห้ ความสํา คั ญ กั บปรากฏการณ์ แสงมากนั ก

402 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


1. แบบผังโครงการ [01] ส่วน Activity Hall คือ ส่วนกิจกรรมสําคัญ ถูกกําหนดให้ตัว อาคารประธานของผัง ตั้งบนจุด ตัดระหว่างแกนตั้งกับแกนนอน (แกนทิศ สําคัญ) มีรูปแบบและรูป ทรงที่คลี่คลายมาจาก “องค์พระธาตุเจดีย์” และ “ดอกบัว” ซึ่งการใช้ดอกบัวเป็น สัญ ลักษณ์ของ “จักรวาล” นี้ใ ช้ท่ัวไปทั้งใน ประเทศอินเดียเองในส่วนเหนือจนถึงประเทศจีน20 [02] ส่วน Event gallery ใช้การจัดแสงธรรมชาติเป็นหลัก จึงกําหนดใช้ตัวแบบอาคารวิหารโถงที่ลดทอนองค์ประกอบอาคารที่แสดง “ฐานานุศักดิ์” แต่คงไว้ซึ่ง “แบบช่องเปิด” [03] ส่วน Main gallery ใช้การจัดแสงประดิษฐ์ร่วมกับแสง ธรรมชาติ ถูกกําหนดใช้ตัวแบบอาคารทรงเรือ สําเภา ตามภาพแสดง [04] เนื่องจากข้อ จํากัดของที่ตั้ง (Site) ตลอดจนข้อ กําหนดที่ต้อ ง ชักนําผู้ใ ช้โครงการให้เข้าถึง (access) ตัวอาคารจากด้านทิศตะวันออกเป็น หลัก จึงต้องขยับ ร่นกลุ่มอาคารประธานออกไปด้านทิศตะวันตก แล้วเปิดให้ พื้น ที่ด้านทิศตะวันออกให้เป็น พื้น ที่ส่วนบริการ [05] ส่วนต้อนรับและบริการ กําหนดให้เป็นอาคารเครื่องล้อ ม (เสมือนศาลาบาตรในแบบแผนผังเขตพุทธาวาสของวัดในล้านนา ซึ่งเป็น สัญ ลักษณ์แทน “ขอบเขตกําแพงจักรวาล” โดยการวางแนวตัวอาคารได้แบ่ง ที่ว่างในระดับโครงสร้างผังโครงการออกเป็น ๒ ส่วนจากกันชัดเจน ทั้งนี้ยัง แบ่งที่ว่างด้านทิศตะวันออกจากกัน ด้วยส่วนศาลาอเนกประสงค์ (ส่วน Drop off) ประกอบด้วยส่วนจอดรถโครงการและลานกิจกรรม (Plaza หรือ people walk in) [06] ส่วน People gallery ถูกกําหนดให้ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือใช้ รูปแบบอาคารวิหารโถงและสถาปัตยกรรมที่เป็นเครื่องล้อมเพิ่มเป็นแกนรอง ของผัง ตลอดจนทําให้เกิดการแบ่งพื้น ที่ว่างภายในขึ้น ส่วนห้องสมุดอยู่ด้าน ทิศใต้ เป็น อาคาร ๒ ชั้น ติด กับถนนหน้าโครงการ ซึ่งต้องสะดวกในการเข้าถึง และไม่จําเป็น ต้องผ่านส่วนต้อนรับเพื่อเข้าสู่ส่วนจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ [07] ทั้งนี้ในส่วนของอาคาร People gallery และอาคารห้องสมุด โดยตําแหน่งที่ตั้งในโครงสร้างผังแล้วเสมือนเป็น วิหารทิศในเขตพุทธาวาสของ วัดในล้านนา (เป็นยานพาหนะนําพาผู้คนไปสู่ความรู้แจ้ง) ซึ่งสอดคล้องตาม หน้าที่ใ ช้สอยในมิติทางคติสัญลักษณ์ในส่วนของอาคาร Activity Hall ซึ่งเป็น อาคารประธานของผัง แต่เมื่อพิจารณาถึงช่วงเวลาการใช้อาคารแล้วไม่จําเป็น ต้องผ่านส่วนต้อนรับและจัดแสดงของโครงการเช่น กัน จึงต้องมีส่วนรับรอง แยกส่วนไปต่างหาก โดยต้องการดึงคนจากถนนหลัก (ด้านทิศใต้) เข้าสู่ โครงการ ตลอดจนไม่เน้นสภาวะอันเกิดจากการ จัดแสงธรรมชาติมากนัก จึงกําหนดให้วางตัวอาคารตามแนวเหนือ-ใต้

หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 403


[08] พื้น ที่ฝ่ังทิศใต้ของผังกําหนดให้เชื่อมความสัมพัน ธ์ระหว่าง ส่วนกิจกรรม พื้น ที่ใช้สอยต่างๆ ด้วยอาคารศาลาบาตร โดยในขณะที่เป็น Walk way แล้วยังทําหน้าที่เสมือนเป็นอาคารเครื่องล้อมที่กัน สิ่งรบกวนจาก ภายนอกโครงการ สร้างให้เกิดความสงบนิ่งขึ้นภายใน เสริมกิจกรรมการชม นิทรรศการศิลปะ ซึ่งพื้น ที่โล่งแจ้งจะถูกกับหนดให้เป็นลานทราย 2. แบบตัว อาคาร โดยแนวคิดในการออก “แบบอาคาร” ที่จําเป็นต้องอาศัยสภาวะแสง ธรรมชาติในการสร้างความหมายให้แก่ที่ว่างตามพุทธประวัติดังที่ได้ทําการ ศึกษามาแล้ว เพื่อนํามาใช้ประโยน์แห่งการรู้แจ้ง สว่าง สลัว บอกเวลา ฯลฯ เพื่อประโยชน์แห่งกิจกรรมการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะเชิงธรรมะ ซึ่งจาก การศึกษาและเก็บ ข้อ มูลตัวแบบสถาปัตยกรรมวิหารโถงล้านนาและองค์ ประกอบช่องเปิด ทําให้ได้ทราบว่า สภาวะแสงดังกล่าวจําลองขึ้นเพื่อสร้าง ฉากสถานที่แห่งโพธิมลฑลและเรือนแก้ว อาคารซึ่งเทวดาได้เนรมิตให้เป็น ที่ประทับอันเกี่ยวเนื่องกับ พุทธประวัติตอนตรัสรู้และเสวยวิมุติสุข ณ ใต้ต้น พระศรีมหาต้นโพธิ์น่ันเอง

ส่ ว นจั ด นิ ท รรศการสํา หรั บ ศิ ล ปิ น (People gallery) ใช้ แ นวคิ ด จากคติ “โพธิ มณฑล” และ “เรื อ นแก้ ว ” ตลอดจนสั ด ส่ ว นลั ก ษณะของ ช่ อ งเปิ ด ในการก่ อ รู ป อาคาร

404 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


ในส่ ว นจั ด แสดงหลั ก (Main gallery) ใช้ แนวคิ ด “สํา เภา ปราสาท” หรื อ “สะเปาคํา ” ในการออกแบบ

แสดงการนํา รู ป แบบ ขนาด และสั ด ส่ ว นที่ ไ ด้ จ าก การศึ ก ษามาใช้ ในการ ออกแบบอาคาร หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 405


สรุป คติพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์และพุทธประวัติได้ส่งอิทธิพลต่อโลกทัศน์ ตลอดจนเป็นแรงบัน ดาลใจให้สล่า (ช่าง) ล้านนาสร้างสรรค์ฉากเหตุการณ์ทาง พุทธประวัติ อัน เป็นการจัดองค์ประกอบของที่ว่างที่เอื้อให้เกิดบรรยากาศแห่ง แสงธรรมชาติ ซึ่งจําลองช่วงยามต่างๆ จวบจน ณ ขณะที่พระพุทธองค์ต รัสรู้ เมื่อแสงอาทิต ย์ส่องผ่านช่องเปิด รูปโค้งของอาคารด้านทิศตะวันออกเข้ามา กระทบองค์พระประติมาและฉากหลัง (ต้นโพธิ์ เทพยดา ฯลฯ) ให้แสดงตัว ออกมาจากความมืดสลัวแห่งราตรี หากลองจินตนาการถึงในวันพระวัน ศีล ศรัทธาชาวพุทธล้านนาที่ ส่วนหนึ่งถือ ศีลนอนวัดในวิหารก็เสมือนได้เข้าเฝ้าอยู่ร่วมกับพระพุทธองค์ใน โพธิมลฑลนั้น ตลอดช่วงยามสําคัญต่างๆ อีกส่วนหนึ่งคือ ผู้ที่เดินทางจากเฮือน มาวัด ช่วงเช้ามืดเพื่อ ร่วมประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในวิหาร ครั้นเมื่อ ถึงเวลา พระอาทิต ย์ทอแสงแรก ผู้คนก็จะเห็นฉากแห่งปรากฏการณ์ ณ ช่วงยามที่ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ซึ่งช่วง “ฤกษ์” ยามนี้เองที่ป ริมณฑลของโลก ศักดิ์สิทธิ์ได้เชื่อมกับโลกสาธารณ์21 ผ่านการรับ รู้จากปรากฏการณ์แห่งแสง ธรรมชาติที่งานสถาปัตยกรรมล้านนาเอื้อให้เกิด ขึ้น ทั้งนี้ผู้ศึกษาวิจัยเชื่อ ว่าสภาวะแสงธรรมชาติท่ีเกิด ขึ้นจากแบบ สถาปัตยกรรมดังกล่าวยังคงสามารถนํามาปรับใช้ใ ห้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ควบคู่กับการใช้แสงประดิษฐ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อโครงการที่มีลักษณะเป็น “หอศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้อ งกับ พุทธศาสนาและหลักความจริงตามธรรมชาติ (ธรรมะ)” เป็นต้น หุ่ น จํา ลอง

406 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


เชิงอรรถ 1

อยู่ ใ นพระอิ ริ ย าบถนั่ ง ขั ด สมาธิ พระหั ต ถ์ ซ้ า ยหงายวาง บนพระเพลา พระหั ต ถ์ ข วาวางคว่ํา ลงที่ พ ระชานุ นิ้ ว พระ หั ต ถ์ ชี้ ลงที่ พื้ น ธรณี ในคราวที่ พ ระองค์ ท รงเอาชนะมารได้ . 2 นคร สํา เภาทิ พ ย์ , “บทนํา ,” เมื องโบราณ 23, 2 (เมษายน-มิ ถุน ายน 2540) : 4. 3 วรลั ญ จก์ บุณ ยสุ รั ต น์ , วิ ห ารล้ านนา (กรุ ง เทพฯ : เมื อ งโบราณ, 2544), 352. 4 ขอบเขตและเกณฑ์ ใ นการเลื อ กตัว แบบสถาปั ต ยกรรม เพื่ อ ทํา การศึ กษานั้ น ผู้ ศึ ก ษาวิ จั ย มี ค วามสนใจต่ อ สถานภาพการศึ ก ษาวิ จั ย กลุ่ ม วิ ห ารพื้ น เมื องล้ า นนา โดย วรลัญ จก์ บุณ ยสุ รั ต น์ ซึ่ง มีข อบเขตของการศึ กษา ใน 3 ประเด็ น สําคั ญ คื อ 1) ขอบเขตช่ ว งเวลาระหว่ า งพุ ท ธศตวรรษที่ 20-24 (ล้ า นนายุค ทอง) 2) ขอบเขตแบบแผนทางศิ ล ปกรรมเฉพาะส่ ว นที่ มี ความสํา คั ญ ในภาพรวมเป็ น หลั ก 3) ขอบเขตของพื้น ที่ วั ฒ นธรรมล้ านนาคื อ 8 จั ง หวั ด ภาคเหนื อ ตอนบน ด้ ว ยมี วิห ารทั้ ง สิ้ น 10 หลั ง จาก 8 วั ด ซึ่ ง ในจํา นวนนี้ มี วิ ห ารโถงที่ ส ามารถ ทํา การศึ ก ษาและเก็ บ ข้ อ มู ลได้ 7 หลั ง จาก 5 วั ด. 5 ดูเพิ่มใน พรรณนิภา ปิณฑวณิช, “การศึกษารูปแบบทาง สถาปั ต ยกรรมวั ด พระธาตุ ลํา ปางหลวง จั ง หวั ด ลํา ปาง,” หน้ า จั่ ว ว่ า ด้ ว ยประวั ติ ศ าสตร์ ส ถาปัต ยกรรมและ สถาปั ต ยกรรมไทย 3, 4 (กั น ยายน 2549) : 101. 6 ดู เ พิ่ ม ใน เจษฎา สุ ภ าศรี , “หอธรรมศิ ลป์ ล้ านนา” (วิ ท ยานิ พ นธ์ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิช า สถาปั ต ยกรรมไทย บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร, 2556), 138-202. 7 ดู พ ระพุ ท ธศาสนาและคติ ค วามเชื่อ ล้ า นนาที่ มีผ ลต่ อ การสร้ า งสรรค์ ง านสถาปั ต ยกรรม เพิ่ ม ใน พรรณนิ ภ า ปิ ณ ฑวณิ ช , “การศึกษารูปแบบทางสถาปั ต ยกรรมวั ด พระธาตุ ลํา ปางหลวง จั ง หวั ด ลํา ปาง,” 102. 8 อนุ วิ ท ย์ เจริญ ศุ ภ กุ ล, “คติ จั ก รวาลพุ ท ธศาสนาเถรวาท ลั ง กาวงศ์ ที่ มี อิท ธิพ ลต่ อ แบบเมื อ งและสถาปั ต ยกรรมใน ประเทศไทย,” อั ก ษรศาสตร์ มหาวิท ยาลั ย ศิ ล ปากร 6, 1-2 (10 มิ . ย. 2526) : 322-323. 9 สุ เ มธ ชุม สาย และคนอื่ น ๆ, ลั ก ษณะไทย 1 (กรุ ง เทพฯ : ไทยวั ฒ นพานิช , 2525), 150.

10

ปฐม พั ว พั น ธ์ สกุ ล , “วิ ห ารบี บ ‘วิ ห ารหั ก จ๊ อ ก’,” บทความประกอบสั ม มนานานาชาติไ ทยศึ กษา ครั้ ง ที่ 3, 14 ตุ ล าคม 2539. 11 วรลั ญ จก์ บุ ณ ยสุ รั ต น์ , วิ ห ารล้ านนา, 272. 12 ดู เ พิ่ ม ใน ทวี เขื่ อ นแก้ ว , สวดมนต์ ฉ บั บ ภาคเหนื อ (กรุ ง เทพฯ : รุ่ง เรื อ งสาสน์ , 2531), 213. 13 เมื่ อ พิ จ ารณาในรู ป ของห้ ว งจั ก รวาล (sphere) จะเป็น การเน้ นถึง สั ญ ลั กษณ์ ข องปากทางเข้ าเขาพระสุ เ มรุ มากกว่ า ทิ ศ ทางกายภาพ ดู เ พิ่ ม ใน อนุ วิ ท ย์ เจริ ญ ศุ ภกุ ล , “คติ จั ก รวาลพุ ท ธศาสนาเถรวาทลั ง กาวงศ์ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ แบบเมื อ งและสถาปั ต ยกรรมในประเทศไทย,” 337-338. 14 เชษฐ์ ติง สั ญ ชลี , สั ต ตมหาสถาน พุ ท ธประวั ติ ต อนเสวย วิ มุ ต ติ สุข กับ ศิล ปกรรมอิ น เดีย และเอเชี ย อาคเนย์ (กรุ ง เทพฯ : เมื อ งโบราณ, 2555), 13. 15 มาลา คํา จั น ทร์, มองโลกแบบล้ านนาผ่ า นอรุ ณ วดี สูต ร (เชี ย งใหม่ : สั น ติ ภ าพ, 2548), 90. 16 สมคิ ด จิ ร ะทั ศ นกุ ล , คติ สั ญ ลั ก ษณ์ และความหมาย ของซุ้ ม ประตู - หน้ า ต่ า งของไทย (กรุ ง เทพฯ: คณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร, 2546), 78. 17 ตามเดื อ นในปฏิ ทิ น ล้ านนาคื อ เมษายน เป็ น ช่ ว งเวลาที่ เมื่ อ พระอาทิ ต ย์ ขึ้ น ทอแสงจะมี ลํา แสงและเงาตกกระทบที่ เกื อ บขนานไปกั บ แนวแกนทิ ศ ตะวั น ออก-ตก โดยโคจร อ้ อ มใต้ เ ล็ ก น้ อ ย 18 สมคิ ด จิ ร ะทั ศ นกุ ล , คติ สั ญ ลั ก ษณ์ และความหมาย ของซุ้ ม ประตู - หน้ า ต่ า งของไทย, 90. 19 จี้ เ ท้ง ปิ ย ะกาญจน์ , โครงการวิ จั ย เรื่ อ งการจั ด การด้ า น การออกแบบพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ (กรุ ง เทพฯ : กรม ศิ ล ปากร, 2547), 170. 20 อนุ วิ ท ย์ เจริ ญ ศุ ภ กุ ล, “คติ จั ก รวาลพุ ท ธศาสนาเถรวาท ลั ง กาวงศ์ ที่ มี อิท ธิ พ ลต่ อ แบบเมื อ งและสถาปั ต ยกรรมใน ประเทศไทย,” 332. 21 ดู ค วามหมายโลกศั ก ดิ์ สิท ธิ์ แ ละโลกสาธารณ์ เพิ่ ม ใน ชาตรี ประกิ ต นนทการ, “โรงแรมศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ , ” วารสารอ่ า น 2, 1 (เมษายน-กั น ยายน 2552) : 74.

หน้าจั่ว ฉ. 12  2558 | 407


บรรณานุกรม จี้ เ ท้ง ปิย ะกาญจน์ . โครงการวิ จั ย เรื่ อ งการจั ด การ ด้ า นการออกแบบพิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ . กรุ ง เทพฯ : กรมศิ ล ปากร, 2547. เจษฎา สุภ าศรี. “หอธรรมศิ ลป์ ล้ านนา.” วิ ท ยานิ พนธ์ ปริ ญ ญามหาบัณ ฑิ ต สาขาวิ ช าสถาปั ต ยกรรม ไทย บัณ ฑิ ต วิท ยาลั ย มหาวิท ยาลั ย ศิ ล ปากร, 2556. ชาตรี ประกิต นนทการ. “โรงแรมศัก ดิ์ สิ ท ธิ์ .” วารสาร อ่ า น 2, 1 (เมษายน-กั น ยายน 2552) : 7383. เชษฐ์ ติ ง สั ญ ชลี. สั ต ตมหาสถาน พุท ธประวั ติ ต อน เสวย วิ มุ ต ติ สุข กั บ ศิ ล ปกรรมอิ น เดีย และเอเชี ย อาคเนย์. กรุ ง เทพฯ : เมื องโบราณ, 2555. ทวี เขื่ อ นแก้ ว . สวดมนต์ ฉ บั บ ภาคเหนื อ . กรุ ง เทพฯ : รุ่ ง เรื องสาสน์ก ารพิ ม พ์ , 2531. นคร สําเภาทิ พ ย์. “บทนํา .” เมื อ งโบราณ 23, 2 (เมษายน-มิ ถุน ายน 2540) : 4. ปฐม พั ว พัน ธ์ ส กุ ล. “วิ ห ารบี บ ‘วิ ห ารหั ก จ๊ อ ก’.” บทความ ประกอบการสั ม มานานานาชาติ ไ ทยศึ กษา ครั้ ง ที่ 3, 14-19 ตุ ล าคม 2539. พรรณนิ ภ า ปิณ ฑวณิ ช . “การศึ กษารู ป แบบทาง สถาปั ต ยกรรมวั ด พระธาตุ ลํา ปางหลวง จั ง หวั ด ลํา ปาง.” หน้ า จั่ ว ว่ า ด้ ว ยประวั ติ ศาสตร์ สถาปั ต ยกรรมและสถาปั ต ยกรรมไทย 3, 4 (กั น ยายน 2549) : 100-119. มาลา คํา จัน ทร์ . มองโลกแบบล้ า นนาผ่ า นอรุ ณ วดี สู ต ร. เชี ย งใหม่ : โรงพิ มพ์ สั น ติ ภ าพ, 2548 วรลั ญ จก์ บุณ ยสุ รัต น์ . วิ ห ารล้ า นนา. กรุ ง เทพฯ : เมื อง โบราณ, 2544 สมคิ ด จิ ร ะทั ศ นกุล . คติ สัญ ลั กษณ์ และความหมายของ ซุ้ ม ประตู- หน้ า ต่ า งของไทย. กรุ ง เทพฯ : คณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร, 2546. สุ เ มธ ชุ ม สาย และคนอื่ น ๆ. ลั ก ษณะไทย 1. กรุ ง เทพฯ : ไทยวั ฒ นพานิ ช , 2525. อนุ วิ ท ย์ เจริ ญ ศุภกุ ล . “คติ จั ก รวาลพุ ท ธศาสนาเถรวาท ลั ง กาวงศ์ ที่ มี อิท ธิ พ ลต่ อ แบบเมื อ งและ สถาปัตยกรรมในประเทศไทย.” อักษรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร 6, 1-2 (10 มิ ถุ น ายน 2526) : 321-351.

408 | หน้าจั่ว ฉ. 12  2558


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.